TELECOMUNICATIONS ENGINEERING RAJAMANGALA UNIVERSITY OF TECHNOLOGY SRIVIJAYA




ชนิดของคอนเน็คเตอร์

                FC Connector

                                FC Connector ได้รับการออกแบบโดย NTT ของญี่ปุ่น ที่ได้รับความนิยมมากในญี่ปุ่น รวมทั้ง สหรัฐและยุโรป
                ส่วนมาก Connector แบบนี้ จะถูกนำไปใช้งานทางด้านเครือข่ายโทรศัพท์ เนื่องจาก Connector แบบนี้
                อาศัยการขันเกลียว เพื่อยึดติดกับหัวปรับ ข้อดี คือ การเชื่อมต่อที่แน่นหนา แต่การเชื่อมต่ออาจต้องเสียเวลามาก

                                หัวต่อชนิดเอฟซี (FC Connector) หัวต่อแบบนี้ออกแบบเป็นปลอกเหล็กอยู่ในปลอกหุ้มอีกชั้นหนึ่ง
                ชุดแกนของหัวต่อมีเกลียวหมุนเข้ากับตัวเรือนหุ้ม การออกแบบทำเป็นพิเศษ คือตัวเสียบนั้นมีลิ่ม
                และตัวรับมีร่องเมื่อเสียบเข้ากันแล้ว หน้าสัมผัสของเส้นใยนำแสงทั้งสองข้างไม่เกิดการหมุน หรือขยับเขยื้อน
                ซึ่งอาจทำให้หน้าสัมผัสของเส้นใยนำแสงเกิดรอยขีดข่วนได้ หัวต่อชนิดนี้เมื่อใช้กับซิงเกิลโหมดจะเกิดการสูญเสีย
                อยู่ระหว่าง 0.4 ถึง 0.7 เดซิเบล หรือสูงสุดอยู่ระหว่าง 0.8 ถึง 1.0 เดซิเบลขึ้นอยู่กับคุณภาพของสินค้าผู้ผลิต



                SC Connector

                                ออกแบบโดย AT&T สำหรับการเชื่อมต่อ Fiber Optic ภายในอาคารสำนักงาน ซึ่งเครือข่าย LAN ชนิดนี้
                เหมาะสำหรับ งานที่ต้องการถอดเปลี่ยน Connector อย่างรวดเร็ว โดยไม่สนใจความแน่นหนาของ Connector


                หัวต่อชนิดเอสซี (SC Connector) หัวต่อชนิดนี้เป็นการออกแบบของเอ็นทีทีเพื่อให้ได้งานหลายอัน
                ดังรูป ข้อดีของหัวต่อชนิดนี้ คือหัวต่อชนิดนี้มีรูสอดเส้นใยนำแสงแสนั้นมีขนาดพอดีกับความโตของเส้นใยนำแสง
                และมีวิธีการผลิตที่ละเอียดอ่อนเที่ยงตรง การลดทอนสัญญาณในเส้นใยนำแสงแบบซิงเกิลโมดมีค่าประมาณ
                0.25 เดซิเบล และอาจมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ระหว่าง 0 ถึง 0.6 เดซิเบล ขณะที่เอาหัวต่อเสียบต่อกัน
                หัวต่อแบบเอสซีเป็นของใหม่เพิ่งนำออกมาวางตลาดในอเมริกามีใช้ประมาณ 1 เปอร์เซ็นต์ ของที่ติดตั้งทั้งหมด แต่ขณะนี้

                ได้รับความนิยมมากขึ้น เนื่องจากใช้ง่ายเป็นแบบถอดเข้าออกได้ และในขณะที่เอาหัวต่อกันก็ไม่ต้องหมุนหรือบิด
                แต่ใช้เสียบต่อตรงๆ นอกจากนี้หัวต่อยังเป็นชนิดปรับแกนเส้นใยนำแสงได้ด้วย



                FDDI Connector

                                ออกแบบโดย American National Standards Institute, (ANSI) สำหรับใช้งานบนเครือข่าย FDDI โดยเฉพาะ

                                หัวต่อชนิดเอฟดีดีไอ (FDDI Connector) หัวต่อแบบเอฟดีดีไอบางทีเรียกว่า "Media Interface Connector(MIC)"
                ออกแบบเพื่อวัตถุประสงค์อันแรก คือ เชื่อมต่อระบบส่งเส้นใยนำแสงจากสายส่งเส้นใยนำแสงชุดแรกไปยังชุดที่สอง หรือส่งสัญญาณ
                จากเส้นใยนำแสงผ่านหัวต่อเอฟดีดีไอแล้วแยกไปยังอุปกรณ์ต่างๆ เช่น เครื่องรับ เครื่องส่ง หรือ สวิตช์บายพาส (Bypass Switch)
                ตัวปลั๊กเสียบมีปุ่มล็อกเพื่อล็อกกับตัวรับอีกทีหนึ่ง หัวต่อชนิดนี้มีปลอกโลหะสำหรับยึดสายจำนวนสองปลอก เพื่อใช้งานกับเคเบิลแบบ
                ดูเพล็กซ์ (Duplex Cable) ตัวปลอกมีสภาพเป็นประเภทยืดหด หรือปรับตัวได้ขณะที่เสียบต่อกัน


                SMA Connector

                                เป็น Connector อีกแบบหนึ่งที่ได้รับความนิยมมาก โดยเฉพาะในงานของ NATO และในกิจการทางทหารของสหรัฐ
                ออกแบบโดย Amphenol Corp.

                                หัวต่อชนิดเอสเอ็มเอ (SMA) หัวต่อชนิดนี้เป็นที่นิยมมาก หัวต่อเป็นน๊อตหกเหลี่ยม และนิยมใช้กับสายเคเบิลแบบมัลติโหมด
                การออกแบบและประกอบหัวต่อชนิดนี้ทำได้ง่ายกว่าชนิดอื่นๆ การออกแบบหัวต่อชนิดเอสเอ็มเอ ขึ้นอยู่กับความเที่ยงตรงของปลอกที่
                บังคับหน้าสัมผัสและวิธีการออกแบบนี้ ก็ขึ้นอยู่กับเทคนิคผู้ผลิตแต่ละบริษัท





หน้าถัดไป >>>
Chanintorn Saradit     Nattapong Pintongpan