Fiber Optic
Welcome !! ยินดีต้อนรับทุกท่าน !! เข้าสู่เว็บไซต์เพื่อการศึกษา เส้นใยแก้วนำแสง ( Fiber Optic )

ชนิดของเส้นใยนำแสง











การเดินทางของแสงในใยแก้วนำแสง
     แสง สามารถแพร่กระจายเข้าไปในใยแก้วได้ โดยการสะท้อนหรือการหักเหแสง กล่าวคือแสงจะแพร่กระจายอย่างไร ขึ้นอยู่กับการแพร่กระจายและรูปแบบของดัชนีการหักเห โหมดของการ แพร่กระจายหรือโหมด หมายถึงทางเดิน ( Path ) ของแสงนั้นเอง ถ้าทางเดินของแสงมีเพียงทางเดียว ที่ทำให้แสงแพร่กระจายเข้าไปในใยแก้วนำแสงได้เรียกโหมดเดียว ( Single Mode ) ถ้า ทางเดินของแสงมีหลายทางๆ เรียกว่า มัลติโหมด ( Multimode ) หรือหลายโหมด แสดงการกระจายของแสงเข้าไปใน ใยแก้วแสงแบบโหมดเดียวและแบบหลายโหมด

การแบ่งชนิดเส้นใยนำแสง จะใช้โครงสร้างของค่าดรรชนีหักเห(index Profile)และโหมดการเดินทาง(Propagation Mode) ในการจำแนกชนิดของเส้นใยนำแสง ดังนี้
         ก.จำแนกตามโครงสร้างค่าดรรชนีหักเห (Index Profile) ได้แก่ เส้นใยนำแสงชนิดสเต็ปอินเด็กซ์ (Step-Index fiber:SI) และเส้นใยนำแสงชนิดเกรดอินเด็กซ์ (Graded-Index fiber: GI)
         ข.จำแนกตามโหมดการเดินทาง(Propagation Mode)ได้แก่ เส้นใยนำแสงชนิดโหมดเดี่ยว (Single-Mode fiber:SM) และเส้นใยนำแสงชนิดโหมดร่วม (Multi-mode fiber: MM)

เส้นใยนำแสงชนิดเสตปอินเด็กซ์ (Step Index)
เส้นใยนำแสงชนิดสเตปอินเด็กซ์ (SI) คือ เส้นใยนำแสงที่มีค่าดรรชนีหักเหของคอร์และแคลดดิ้งคงที่ โดยการแสดงค่าดรรชนีหักเหของเส้นใยนำแสงจะใช้กราฟแสดงค่าดรรชนีหักเห ที่เป็นฟังก์ชันกับค่าระยะแนวรัศ มี  ของเส้นใยนำแสง หรือที่เรียกว่า Refractive Index Profile ซึ่งกราฟแสดงค่า
ดรรชนีหักเหของคอร์และแคลดดิ้งของเส้นใยนำแสงชนิดสเตปอินเด็กซ์ แสดงดังรูปที่ 3.1

รูปที่ 3.1 เส้นใยนำแสงชนิดสเต็ปอินเด็กซ์ (step index)


จากรูปที่ 3.1 กราฟแสดงค่าดรรชนีหักเหหรือ Refractive Index Profile มีชื่อว่า Matched-cladding ซึ่งค่าดรรชนีหักเหของคอร์มีค่าคงที่ตลอดช่วงระยะตั้งแต่  -l     ถึง  l  หรือระยะเส้นผ่าศูนย์กลางของคอร์  เช่นเดียวกับค่าดรรชนีหักเห ของแคลดดิ้งจะมีค่าคงที่ตลอดช่วงระยะตั้งแต่ -h  ถึง h  หรือระยะเส้นผ่าศูนย์กลาง ของแคลดดิ้ง  ส่วนรูป  3.1 เป็นเส้นใยนำแสงชนิดสเต็ปอินเด็กซ์ ที่มีกราฟแสดงค่าดรรชนีหักเห เป็นลักษณะรูปตัวดับเบิ้ลยู (W-profile) หรือแบบขั้นบันไดคู่ (Double-clad) และรูปที่ 3.1 นั้นกราฟแสดงค่าดรรชนีหักเหแบบขั้นบันไดสี่เท่า (Quadruple-clad)

เส้นใยนำแสงชนิดเกรดอินเด็กซ์ (graded-index fiber)
    เส้นใยนำแสงชนิดเกรดอินเด็กซ์ (GI) คือ เส้นใยนำแสงที่มีค่าดรรชนีหักเหของคอร์เปลี่ยนแปลงไปตามแนวระยะรัศมีที่พุ่งออกจากแนวกึ่งกลางของเส้นใยนำแสงโดยที่จุดกึ่งกลางของคอร์จะมีค่าดรรชนีหักเหสูงสุด จากนั้นจะค่อยๆ ลดลง โดยการเปลี่ยนแปลงค่าดรรชนีหักเหของคอร์มีรูปแบบที่แตกต่างกันออกไป ส่วนค่าดรรชนีหักเหของแคลดดิ้งนั้น โดยทั่วไปจะมีค่าคงที่ตลอดเนื้อสาร ซึ่งลักษณะกราฟโครงร่างของค่าดรรชนีหักเหของคอร์และแคลดดิ้ง (Refractive Index Profile) ของเส้นใยนำแสงชนิดเกรดเด้ดอินเด็กซ์ แสดงดังรูปที่ 3.2

รูปที่ 3.2 เส้นใยนำแสงชนิดเกรดอินเด็กซ์ (graded-index)

ทั้งนี้มีการกำหนดค่าของเลขยกกำลัง  (a) เป็นตัวแปรที่กำหนดรูปแบบของกราฟแสดงค่าดรรชนีหักเหของเส้นใยนำแสงชนิดเกรดเด้ดอินเด็กซ์ดังกล่าว เช่นเมื่อกำหนดให้ค่าของ  (a)  มีค่าเท่ากับ 1 กราฟแสดงค่าดรรชนีหักเหในส่วนของคอร์ในช่วงระยะตั้งแต่  -l  ถึง l จะมีลักษณะกราฟโครงร่างแบบสามเหลี่ยม (triangular profile) ดังรูปที่ 3.2 และถ้าค่า  (a)  มีค่าเท่ากับ 2 ลักษณะกราฟจะเป็นโครงร่างแบบพาราโบลา (parabolic profile) ดังรูปที่ 3.2 เมื่อค่าของ  (a)  มีค่าเท่ากับอนันต์ (infinity ) จะทำให้กราฟโครงร่างของค่าดรรชนีหักเหเป็นแบบขั้นบันได (step profile) นั่นหมายความว่า เส้นใยนำแสงเส้นนั้นก็คือเส้นใยนำแสงชนิดขั้นบันไดหรือสเต็ปอินเด็กซ์ดังแสดงในหัวข้อที่ผ่านมา จากตัวอย่างในรูปที่ 3.2 รูปแบบของกราฟแสดงโครงร่างของค่าดรรชนีหักเหสามารถเปลี่ยนแปลงไปเป็นรูปแบบที่แตกต่างกันตามลักษณะการใช้งานเพื่อใช้สำหรับชดเชยผลกระทบต่างๆ ที่เกิดขึ้นหรือเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ  ของเส้นใยนำแสงให้มีมากขึ้นเช่น เส้นใยนำแสงชนิดเกรดอินเด็กซ์แบบ Dual-Shape-Core แบบ Segmented core หรือแบบ W-type -  (a)  power เป็นต้น

เส้นใยนำแสงชนิดโหมดเดี่ยว (single mode fiber)
    เส้นใยนำแสงชนิดโหมดเดี่ยว (SM) คือ เส้นใยนำแสงที่ประกอบด้วยโหมดพื้นฐาน (fundamental mode) เพียงโหมดเดียวเท่านั้น ที่เดินทางอยู่ภายใน หรือเป็นเส้นใยนำแสง ที่ยอมให้โหมดพื้นฐาน เพียงโหมดเดียวเดินทางผ่านเข้าไปได้   โครงสร้างของเส้นใยนำแสงชนิดนี้ มักจะเป็นแบบสเต็ปอินเด็กซ์ (SI-SM) โดยมีเส้นผ่านศูนย์กลาง ของคอร์ประมาณ 3-10 ไมโครเมตร และเส้นผ่านศูนย์กลาง ของแคลดดิ้งมีค่าประมาณ 80-125 ไมโครเมตร โครงสร้างและลักษณะการเดินทางของเส้นใยนำแสงชนิดโหมดเดี่ยว แสดงดังรูปที่ 3.3

รูปที่ 3.3 เส้นใยนำแสงชนิดโหมดเดี่ยว

เส้นใยนำแสงชนิดโหมดเดี่ยว นิยมถูกนำมาใช้ในระบบสื่อสารความเร็วสูง (high-speed communications) เนื่องจากสามารถส่งข้อมูล ที่มีค่าอัตราความเร็วในการส่งข้อมูล (bit rate) สูงหรือข้อมูลที่มีค่าแบนด์วิดท์สูงได้ดี

เส้นใยนำแสงชนิดโหมดร่วม (multi-mode fiber)
    เส้นใยนำแสงชนิดโหมดร่วม(MM) คือ เส้นใยนำแสงที่ยอมให้โหมดการเดินทางของแสงทุกโหมด สามารถเดินทางผ่านเข้าไปได้ ซึ่งโครงสร้างของเส้นใยนำแสงชนิดโหมดร่วม จะมีทั้งแบบสเต็ปซ์อินเด็กซ์(MM-SI) และแบบเกรดเด้ดอินเด็กซ์ (GI-MM) โดยที่ขนาดของเส้นใยนำแสงชนิดโหมดร่วมจะมีขนาดใหญ่กว่าขนาดของเส้นใยนำแสงชนิดโหมดเดี่ยวโดยเส้นผ่านศูนย์กลางของคอร์เท่ากับ 50 ไมโครเมตร หรือ 62.5 ไมโครเมตร ส่วนเส้นผ่านศูนย์กลางของแคลดดิ้งทั่วไปจะมีค่าประมาณ 125 ไมโครเมตร หรืออาจพบขนาดของ แคลดดิ้งมีค่า 200 ไมโครเมตร หรือ 250 ไมโครเมตร ของบริษัทผู้ผลิตเส้นใยนำแสงบางราย ซึ่งโครงสร้างและลักษณะการเดินทางของเส้นใยนำแสงชนิดโหมดเดี่ยว แสดงดังรูปที่ 3.4

รูปที่ 3.4 เส้นใยนำแสงชนิดโหมดร่วม

จากรูปที่ 3.4 จะพบว่ากรณีเส้นใยนำแสงชนิดโหมดร่วมแบบสเต็ปอินเด็กซ์ (SI-MM) ลักษณะการเดินทางของโหมด จะสะท้อนไปมาบริเวณรอยต่อของคอร์กับแคลดดิ้ง โดยที่โหมดพื้นฐานจะเดินทางตามแนวแกนกลางของเส้นใยนำแสง ส่วนโหมดในอันดับสูงๆ จะสะท้อนไปมา ส่วนในกรณีเส้นใยนำแสงชนิดโหมดร่วมแบบเกรดเด้ดอินเด็กซ์(GI-MM) ลักษณะการเดินทางของโหมดจะมีลักษณะเป็นเส้นโค้ง เนื่องจาก ค่าดรรชนีหักเห ของคอร์มีค่าไม่คงที่ ซึ่งเป็นไปตามคุณสมบัติของเส้นใยนำแสงแบบเกรดอินเด็กซ์

ตัวอย่างระบบสื่อสารด้วยเส้นใยนำแสงเบื้องต้น
ระบบสื่อสารด้วยเส้นใยนำแสงเป็นระบบสื่อสารที่มีองค์ประกอบคล้ายกับระบบสื่อสารชนิดอื่นๆ ที่ประกอบด้วยภาคส่งสัญญาณ ตัวกลางหรือสายนำสัญญาณ และภาครับสัญญาณ แต่จะมีความแตกต่างตรงที่ระบบสื่อสารเชิงแสงจะใช้สัญญาณแสงเป็นตัวนำสัญญาณข้อมูลจากภาคส่งไปยังภาครับ และสายนำสัญญาณ ที่ใช้ในการส่งข้อมูลจะทำมาจากแก้วบริสุทธิ์หรือพลาสติก ที่รู้จักกันในชื่อของเส้นใยนำแสง โดยระบบสื่อสารด้วยเส้นใยนำแสงเบื้องต้นแสดงดังรูปที่ 3.5

รูปที่ 3.5 ตัวอย่างลำดับการส่งผ่านสัญญาณของระบบสื่อสารด้วยเส้นใยนำแสง

จากรูปที่ 3.5 สัญญาณภาพจากกล้องจะถูกส่งไปยังตัวเปลี่ยนสัญญาณภาพเป็นสัญญาณแสง ซึ่งตัวเปลี่ยนสัญญาณภาพเป็นสัญญาณแสง ซึ่งทำหน้าที่เปลี่ยนสัญญาณภาพไปเป็น สัญญาณแสงเพื่อป้อนเข้าสู่เส้นใยนำแสง ที่จะนำสัญญาณแสงนี้เดินทางไปยังปลายทางหรือภาครับสัญญาณ ที่ภาครับสัญญาณจะมีตัวเปลี่ยนสัญญาณแสงกลับไปเป็นสัญญาณภาพดังเดิม



การเชื่อมต่อด้วยหัวต่อ ( Connector )

            หัวต่อ (Connectors) มีหน้าที่เชื่อมต่อระหว่างเส้นใยนำแสงสองเส้น หรือระหว่างเส้นใยนำแสงกับแหล่งกำเนิดแสง หรือระหว่างเส้นใยนำแสงกับดีเท็กเตอร์ทำหน้าที่ต่อ หรือปลดสายออกจากกัน ซึ่งส่วนใหญ่ใช้กับสายที่ออกจากเครื่องมือ สายเดินในบอร์ด หรือสายคัพเปลอร์ในระบบ LAN เมื่อมีหัวต่อในวงจรจะเกิดการสูญเสียในแต่ละจุดที่ใช้หัวต่อ แต่จำนวนหัวต่อที่ต้องใช้นั้นอย่างน้อยที่สุดก็ต้องมีสองจุด คือที่เครื่องส่ง 1 ตัว และเครื่องรับ 1 ตัว และถ้ามีความจำเป็นถ้าใช้สายเชื่อมต่อหรือเดินในแผง จำนวนหัวต่อก็จะเพิ่มขึ้นอีกดังนั้นการลดจำนวนหัวต่อให้น้อยที่สุดก็จะช่วยลดการสูญเสียพลังงานของแสงได้อย่างมีประสิทธิภาพ หัวต่อส่วนใหญ่จะมีค่าสูญเสียอยู่ระหว่าง 0.1 ถึง 0.7 เดซิเบล ทั้งนั้นขึ้นอยู่กับชนิด และขนาดของเส้นใยนำแสงที่ใช้ และวิธีการต่อ ค่าต่อไปนี้เป็นค่าเฉลี่ยโดยทั่วไปที่ไม่ได้จากการต่อแบบสุ่มจากเส้นใยนำแสงหลายขนาดหลายชนิด และจากผู้ผลิตต่างบริษัท

Connector สำหรับ Fiber Optic มีหลายแบบ ดังนี้


SC-connector

    แบบภาพข้างบนเรียกว่า หัว SC มี 3 สี 3 ชนิด เรียกว่า SC-connector เริ่มจาก
1. สีขาว ซ้ายมือสุด หัว SC ชนิดนี้จะใช้กับสาย Fiber Optics Multi Mode ไม่ค่อยเป็นที่นิยม เนื่องจากสาย Multi Mode ไม่ค่อยใช้กันแล้ว
2. สีน้ำเงิน ที่อยู่ตรงกลาง หัว SC ชนิดนี้ ใช้กับสาย Single Mode จะพบได้ทั่ว ๆ ไปตามบ้าน เนื่องจากงาน Fttx จะใช้งานหัวแบบนี้เป็นหลัก เนื่องจากถอดง่ายมาก เสียบง่ายมาก และถ้าถอดๆ เสียบๆ บ่อยๆ ก็เสียง่ายมาก
3. สีเขียว ที่อยู่ขวามือสุด เป็นหัว SC ที่ใช้กับสาย Single Mode เหมือนกัน แต่รายละเอียดของหัวไม่เหมือนกัน คือหัวแบบนี้ หน้าตัดของแกน Fiber Optics จะเอียงเล็กน้อย เพื่อให้มันรับกัน ซึ่งมีค่า loss น้อยกว่าหัวสีน้ำเงินมาก เวลานำมาต่อเข้าด้วยกัน แบบหัวชนหัว ด้วย Connector แบบต่อตรง SC to SC ส่วนใหญ่จะพบเจอได้ตามงาน CCTV CATV หรืองาน ระบบสัญญาณภาพ ที่ไม่ได้วิ่งบน TCP แต่มักจะเอาไปใช้ในงานด้าน Network เป็นส่วนใหญ่


ST-connector

    ST-Connector ที่ถูกนำมาใช้งานสำหรับสาย Fiber Optic ชนิด Single Mode และ Multimode มากที่สุด โดยที่ Connector ประเภทนี้ มีอัตราการสูญเสียกำลังแสงเพียงแค่ไม่เกิน 0.5 dB เท่านั้น วิธีการ เชื่อมต่อก็เพียงสอดเข้าไปที่รู Connector แล้วบิดตัวเพื่อให้เกิดการล็อคตัวขึ้น เพิ่มความทนทาน ทำให้ไม่เกิดปัญหาเนื่องจากการสั่นสะเทือน ถูกนำมาใช้กับระบบ LAN Hub หรือ Switchesหัวต่อแบบเอสที (ST Connector) หัวต่อแบบเอสทีเป็นเครื่องหมายการค้าของบริษัทเอทีแอนด์ที (AT&T) เป็นแบบที่บริษัท โทมัสแอนด์แบตต์ (Thomas&Betts) เป็นผู้ออกแบบหัวต่อในส่วนที่ยึดติดกันก็โดยการใช้แรงดัน เข้าแล้วหมุน เมื่อเร็วๆ นี้บริษัทสามเอ็ม (3M) ได้พัฒนาหัวต่อแบบพุช-พูล ขึ้นมาใหม่ การที่หัวต่อจะชนกันได้สนิทที่สุด ก็อยู่ที่ปลอกยึด และการผลิตที่ละเอียดอ่อนแม่นยำเที่ยงตรง การที่จะได้รูเจาะที่เที่ยงตรงและแม่นยำนั้นบริษัทได้พยายาม นำวัสดุหลายชนิดมาทดลองทำ เช่น เซอร์โคเนีย เซรามิค อลูมินาเซรามิกรูแก้วในเซรามิค รูแก้วในพลาสติกรวมทั้ง สเตนเลส ARCAP และวัสดุที่เป็นคอปเปอร์เบส ในกรณีของบริษัทสามเอ็มเขาใช้ปลอก
เซอร์โคเนียเซรามิคและแต่งปลายสัมผัส ให้ได้หน้าสัมผัสออฟติกที่มีการลดการหักเหของแสงได้ต่ำสุด พลาสติกที่ใช้ทำหัวต่อใจะเป็นเทอร์โมพลาสติก ปลอกโลหะที่ใช้ จะมีขนาดของรูเจาะตั้งแต่ 1 ไมโครเมตร และมีขนาดต่างกันตามความโตของเส้นใยนำแสง บริษัทสามเอ็มยังได้ประดิษฐ์หัวต่อ แบบละลายด้วยความร้อน เพื่อใช้สำหรับต่อสายมัลติโหมดโดยใช้ปลอกเซอร์โคเนียและมีกาวร้อนเป็นตัวติด เมื่อกาวเย็นลงก็จะยึดติดแน่นเสร็จแล้วค่อยขัดปลายเส้นใยนำแสง หัวต่อชนิดเอสที ค่าสูญเสียในซิงเกิลโหมดประมาณ 0.15 ถึง 0.25 เดซิเบล และค่า ลดทอนอยู่ระหว่าง 0.4 ถึง 0.7 เดซิเบล ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับผู้ผลิต สำหรับมัลติโหมด
ก็มีค่าลดทอนอยู่ระหว่าง 0.05 ถึง 0.15 เดซิเบล และสูงสุดอยู่ระหว่าง 0.1 ถึง 0.3 เดซิเบล ปัจจุบันหัวต่อชนิดเอสทีเป็นหัวต่อที่มีผู้นิยมใช้มากขึ้นทั้งนี้เพราะเป็นหัวต่อที่มี ขนาดเล็กแต่ก็ไม่ค่อยกระทัดรัดเท่ากับชนิดเอสซี ปัจจุบันได้ดัดแปลงปรับปรุงให้เป็นแบบถอดเข้าออกได้จึงทำให้ชนิดเอสซีรับความนิยมมากขึ้น หัวต่ออาจประกอบมาจากโรงงานหรือประกอบ ในจุดที่งานสนามกำลังทำอยู่ได้



FC-connector

    FC-connector ปัจจุบันนี้ เป็นที่นิยมมาก ในการทำ Patch Panel โดยเฉพาะงาน Network ของค่ายโทรศัพท์ทั้งหลาย แน่นอนว่า หัว FC นี้ ก็มีทั้ง Single Mode และ Multi Mode เช่นกัน โดยสาย Single Mode จะมีปลอกเป็นสีเหลือง หรือ ปลอกสีน้ำเงินแบบในภาพ แต่ถ้าเจอปลอกสีขาว ก็เป็น Multi Mode สำหรับหัว FC นี้ เป็นหัวเกลียว เมื่อเสียบแล้ว ต้องหมุนเกลียวเข้าให้สุด ข้อดีของมันคือ แน่นมาก ๆ แข็งแรง ทนทานกว่าแบบ ST เยอะ แต่ก็ยุ่งยากในการทำงานเช่นกัน


LC-connector

    LC-connector เป็นหัวที่มีขนาดเล็ก น่าจะเล็กที่สุด ในบรรดาหัวต่างๆ นิยมในต่อเข้ากับ Converter หรือ GBIC หรือ SFP ถ้าแบบคู่ เรียก Duplex แบบเดียวเรียก Simplex มีทั้งแบบ Single Mode และ Multi Mode เช่นกัน ข้อสังเกตุง่ายๆ เหมือนกัน คือดูที่สี ถ้าออกสีน้ำเงิน เหลือง Single Mode แน่นอน สีขาวๆ เทาๆ คือ Multi Mode (ในภาพ คือ Single Mode) หัวนี้มีข้อดีคือ ถอดเสียบง่ายมาก แค่ดึงออก หรือเสียบให้ดังแกร๊ก ก็ใช้ได้


                               FDDI Connector                            

        ออกแบบโดย American National Standards Institute, (ANSI) สำหรับใช้งานบนเครือข่าย FDDI โดยเฉพาะ    หัวต่อชนิดเอฟดีดีไอ (FDDI Connector) หัวต่อแบบเอฟดีดีไอบางทีเรียกว่า "Media Interface Connector(MIC)"  ออกแบบเพื่อวัตถุประสงค์อันแรก คือ เชื่อมต่อระบบส่งเส้นใยนำแสงจากสายส่งเส้นใยนำแสงชุดแรกไปยังชุดที่สอง หรือส่งสัญญาณ จากเส้นใยนำแสงผ่านหัวต่อเอฟดีดีไอแล้วแยกไปยังอุปกรณ์ต่างๆ เช่น เครื่องรับ เครื่องส่ง หรือ สวิตช์บายพาส (Bypass Switch) ตัวปลั๊กเสียบมีปุ่มล็อกเพื่อล็อกกับตัวรับอีกทีหนึ่ง หัวต่อชนิดนี้มีปลอกโลหะสำหรับยึดสายจำนวนสองปลอก เพื่อใช้งานกับเคเบิลแบบ ดูเพล็กซ์ (Duplex Cable) ตัวปลอกมีสภาพเป็นประเภทยืดหด หรือปรับตัวได้ขณะที่เสียบต่อกัน


SMA Connector 

    เป็น Connector อีกแบบหนึ่งที่ได้รับความนิยมมาก โดยเฉพาะในงานของ NATO และในกิจการทางทหารของสหรัฐ ออกแบบโดย Amphenol Corp. หัวต่อชนิดเอสเอ็มเอ (SMA) หัวต่อชนิดนี้เป็นที่นิยมมาก หัวต่อเป็นน๊อตหกเหลี่ยม และนิยมใช้กับสายเคเบิลแบบมัลติโหมด การออกแบบและประกอบหัวต่อชนิดนี้ทำได้ง่ายกว่าชนิดอื่นๆ การออกแบบหัวต่อชนิดเอสเอ็มเอ ขึ้นอยู่กับความเที่ยงตรงของปลอกที่ บังคับหน้าสัมผัสและวิธีการออกแบบนี้ ก็ขึ้นอยู่กับเทคนิคผู้ผลิตแต่ละบริษัท


Biconic-Connector

    หัวต่อแบบไบคอนิคเป็นตัวต่ออีกแบบหนึ่งที่นิยมใช้มากกับสายเคเบิลทั้งแบบซิงเกิลโหมด และมัลติโหมด หัวต่อเป็นพลาสติกหล่อแข็ง และกลึงเป็นลักษณะคล้ายรูปกรวยโดยมีปลอกโลหะเป็นตัวบังคับให้แกนปลายเส้นใยนำแสงอยู่ในแนวแกนที่ชนกันพอดี หัวต่อชนิดนี้มีหัวเสียบที่มีรูปคล้ายกรวย และเจาะรูตรงกลางเพื่อให้เส้นใยนำแสงแบบมัลติโหมด หรือซิงเกิลโหมดผ่านทั้งหัวเสียบ และรูเสียบ จะยึดติดกันพอดี
เมื่อเวลาประกอบกันเข้า และปลายสายจะต้องขัดให้ดีเพื่อให้ได้หน้าสัมผัสที่สุดไม่ให้พลังงานแสงเกิดการสูญเสียหัวต่อ ชนิดนี้บริษัทเบลล์แลบ (Bell Laboratory)เป็นผู้ผลิต หัวต่อชนิดนี้มีขายสำหรับใช้กับเส้นใยนำแสงเส้นผ่าศูนย์กลางภายนอกขนาด 125, 140, 250 และ 400 ไมโครเมตร และมีค่าอินเซอร์ชั่นลอส (Insertion Loss) ของทั้งซิงเกิลโหมด และมัลติโหมดอยู่ระหว่าง 0.5 ถึง 1.1 เดซิเบล ขึ้นอยู่กับลักษณะการต่อเส้นใยนำแสง การสูญเสียอันเนื่องมาจากการสะท้อนของแสงที่หน้าสัมผัสในหัวต่อมีค่าต่ำกว่า 32 เดซิเบล


MT-Connector

    หัวต่อตันได้รับการออกแบบสำหรับการใช้งานที่สามารถรองรับ 4, 6, 8, 12, 24 และเกิน 72 คอร์ในลักษณะรูปร่างที่เป็นรูปสี่เหลี่ยม ผลิตโดยสหรัฐอเมริกา Conec ข้อดี : มีความหนาแน่นของหัวต่อ MT ต่อเชื่อมสูงกว่าชนิดอื่น ๆ ของการเชื่อมต่อ ซึ่งเป็นทางเลือกที่ดีสำหรับแผง patch และเส้นทางการใช้งาน


Patch Cord

    สาย Patch Cord คือสาย Fiber Optics สำเร็จรูป ที่เข้าหัวเรียบร้อย พร้อมใช้งาน แบบในภาพ ไม่จำเป็นที่หัวสองฝั่งจะเหมือนกัน สายเป็นสาย Patch Cord แบบ FC to LC แบบ Duplex แบบนี้ หมายถึง ฝังนึงเป็น FC ฝั่งนึงเป็น LC และต้องมีสองเส้นคู่กัน แต่ถ้าจะเอาเส้นเดียว ก็ให้เรียกว่า simplex แทน


Pigtail

สาย Pigtail แบบในภาพคือ SC Pigtail คือสายที่เข้าหัว มาแค่ด้านเดียว ส่วนอีกด้านเป็นสายเปล่า สายพวกนี้ ไม่เหมาะสำหรับงาน เชื่อม Splice สาย Fiber Optics จากสายใหญ่ๆ ที่ลากกันตามท้องถนน แล้วมาเข้ากล่อง แล้วก็เอาปลายพวกนี้ต่อออกมา ซ้ายมือ เรียกว่า SC Pigtail NO Jacket ส่วนขวามือ เรียกเหมือนกัน เพียงแต่มันมี Jacket



ตารางแสดงมาตรฐานของสายไฟเบอร์ออปติกแต่ละแบบ