รู้จักกับ เครื่องยนต์โฟลคเต่า

           บทความนี้ เขียนขึ้นมา สำหรับ แนะนำผู้ที่ไร้เดียงสา หรือ ผู้ที่ยังไม่รู้จักเครื่องยนต์ ลักษณะ ของเครื่องยนต์ ตลอดจนอุปกรณ์ ต่างๆทำหน้าที่ อย่างไร ตลอดจนท่านที่ใช้รถโฟลคเต่า มา แล้ว เปิดกระโปรง แต่ละครั้ง เห็น อะไร ยึกยือ ไปหมด ไม่รู้อะไร เป็น อะไร เรียกไม่ออก บอกไม่ถูก เวลาท่านมีปัญหา รถท่าน เครื่อง ของท่าน เกิดไปแอ้งเม้ง กลางทาง ต้องโทรศัทย์ ขอความช่วยเหลือ จาก ผู้รู้ หรือ เซียนบางท่าน เขาแนะนำให้ ท่าน ไปจับ นู๋น แล้ว ไปจับ นี่ เพื่อการแก้ ปัญหา ขั้นต้น ท่าน จะได้ จับ กันถูกทิศ และถูกทาง ไม่ใช่ ไปจับ เอา ของร้อน หรือ ว่ากัน ซะเละ ไปหมดแทนที่จะดี เลยหนัก ไปอีก ...เฮ้อ อารัมพบท เสียยาว มาเข้า เรื่อง กัน ..ขอให้ ท่าน ดูรูป ข้างล่าง นี้ ประกอบ การโม้ ของ ผม ไปด้วย จะช่วยได้ แยะ

เริ่มต้น หลังจาก ท่านเปิดกระโปรง จะเจอสิ่งอะไร มาก มาย แต่สีสัน ของไม่เป็น แบบนี้ อันนี้ เป็น ภาพ ที่แสดงโชว์ โดยเอาเครื่องยนต์โฟล มาตัดกันให้ เห็นกัน จะๆ เริ่มจาก สายไปเส้นโตๆ สีฟ้า วางยึกยัก ยังกะหนวด ปลาหมึก อันนั้น เขาเรียกว่า สายหัวเทียน ๆเครื่องยนต์ จะวิ่งออก จาก ฝาครอบ จานจ่าย ตรงสีแดงๆ นะมันจะมี 5เส้น โผล่ออกมา  แล้ว สายหัวเทียนมัน จะมี วิ่งไป4เส้น ไปยังหัวเทียนแต่ละสูบ วิ่งไปด้าน ละ 2สูบ โดย ด้านขวา จะเป็น สูบ 1 และ สูบ2 สูบ 1 จะอยู่ ด้านใน สุด และ 2 อยู่ด้าน นอก ส่วน ด้าน ซ้ายมือ ท่าน( หมายถึง ขณะ นี้ ท่าน กำลังก้มๆเงย ดู เครื่องนะ) จะเป็น สูบ 3 และ 4 สูบ3จะอยู่ด้านใน และ 4 ด้าน นอก ส่วน สายที่ว่า เป็น ปลาหมึก เส้นกลาง เส้นที่5 จะวิ่ง ไปยัง คอยล์ ดูรูปประกอบ ด้วย สายหัวเทียน มันก็ ทำหน้าที่ ส่ง กระแสไฟกำลัง สูงเป็น หมื่นโวลท์ ไปยังหัว เทียน เพราะฉะนั้น เวลาหยิบจับ ขณะเครื่องยนต์ ติด ระวังให้ ดี หน่อย เกิด สายหัวเทียนรั่ว ก็ จะกระตุก ท่านให้ เต้น เป็น จังหวะ คองก้า หรือ ช่า ช่า ช่า ได้ แม้น ไม่ถึง ตาย แต่มัน ก็ ไม่ดี เกิดกระตุก ไปทำให้ มือไม้ ไปโดนส่วนที่กำลังหมุนๆ อยู่ ก็ จะพิการ นะ

ทีนี้ มาว่า กัน ตรงชุดจานจ่าย ชุดที่เป็น สีแดง นะ เจอหรือ ยัง..อ้อ เจอ แล้วแก้วตา..จานจ่าย ชื่อ มัน ก็ บอก ว่า จ่าย ไม่มีรับ อยู่แล้วมันก็ ทำหน้าที่ผลิต คลื่นไฟ โดยใช้เพลาลูกเบี้ยวเป็นตัวกำหนด เพื่อส่งไปแปลงไฟที่ ชุดคอยล์ ให้ เป็นไฟแรงสูงเป็นพัน เป็น หมื่นโวลท์ ข้างใน มัน จะเป็นที่สิงสถิตย์ ของ ทองขาว แล้ว จะมีฝาครอบ ที่มีสายเป็น หนวดปลาหมึก 5เส้นที่ว่าไปแล้ว ตะกี้ นะ ที่ ตัว จานจ่าย มันจะมี ตัวกาวานา ที่มีรูปร่าง เหมือน จานบิน ดูรูปประกอบด้วย แล้วมีท่อต่อไปยัง คาร์บิว หรือ คาร์บูเรเตอร์ แล้ว แต่ใครจะเรียก เจ้า กาวาน่า ตัวนี้ ทำหน้าที่ คอยดึงคอยดัน ไม่ให้องศาการจุดระเบิดของไฟ ผิดเพี้ยนไปจากเดิมมาก เวลา เรา เร่งเครื่อง มัน จึง ต้องไปอาศัยแรงดูด จาก คาร์บิว มาดึงมาดัน ไง

เราจะเห็น ท่อสีเหลืองๆ วางอยู่หลังชุดจานจ่าย แล้ว มันเลี้ยวหาย ไปตรง ใกล้ๆ ชุดหัว เทียน และตรงกลางท่อ จะมีท่อต่อฐานขึ้นมา ไปรองรับ ชุดคาร์บูเรเตอร์ อันนี้ เขาเรียกว่า ท่อไอดี ปกติ จะ้ป็นท่อแฝดคู่ อยู่ในชุดเดียวกัน จะเป็น ท่อใหญ่กับ ท่อเล็ก มัดแฝดกันอยู่ ท่อเล็กเป็น ท่อร้อน เอามาจาท่อไอเสีย สำหรับอุ่น ท่อไอดีไม่ให้เป็น น้ำแข็ง อันนี้ใช้กับ เมืองหนาว แต่เมืองเรา มันเข้าข่าย ร้อบ..ฉิบ..วายป่วน จึงไม่มีประโยชน์อะไร ผม จึงแนะนำ ให้ เอา เหรียญ50สตางค์ไปอุดทางเข้ามันไว้ไง..ในบทความ ทีเด็ดเกล็ดรถโฟลค ท่อไอดี ก็ทำหน้าที่ รับไอน้ำมันที่ฉีดมาจาก คาร์บูเรเตอร์ ส่งเข้าไปยัง ห้องจุดระเบิด ของทั้ง 4สูบ ไง

พอมาถึง คาร์บูเรเตอร์  ตัวสีเหลืองๆที่เห็น นะ ด้านบน คาร์บูเรเตอร์ จะมีหม้อกรองอากาศ ทำหน้าที่กรองอากาศ ให้ ไร้ ผง ฝุ่น เพื่อเอา ออซิเจน มาผสม กับน้ำมันเชื้อเพลิง ในคาร์บูเรเตอร์ ในขณะเดียวกัน เจ้า คาร์บู คาร์เบ มันจะทำหน้าที่ ควบคุมปริมาณ น้ำมัน ให้ ฉีดมาก ฉีดน้อย เข้าไปห้องจุดระเบิด ตามแต่เราต้องการ เมื่อเรากดคันเร่ง ไง แม๊ะ รถ จะวิ่งเร็ววิ่งช้า มีแรงไม่มีแรง ก็ คาร์บูเรเตอร์ ทำหน้าที่กำหนดบทบาท เพราะฉะนั้น ตรงคาร์บูเรเตอร์ จะมีสายคันเร่ง ผูกติดอยู่ แล้ว ต่อไปยังห้องโดยสาร ให้ เรากระทืบเช้า กระทืบเย็น

แล้วใกล้ๆกับ ชุดจานจ่าย จะมีฐานเล็กๆโผล่มาอีก ตัว อันนี้ เราเรียก ว่า ปั้มเอซี ทำหน้าที่สูบน้ำมันเชื้อเพลิง จากถังน้ำมัน ของเรา วิ่งไปยัง คาร์บิวเรเตอร์ จะมีท่อเล็ก วิ่งมาจาก ด้านหน้า และท่อต่อไปยัง คาร์บิวฯ เจ้าท่อนี้ เป็นท่อยางหุ้มด้วย ด้ายทัก ให้ ดูแล มัน ดังดูแลใจด้วย หาก มองดูว่ามันเก่า มันเปลื่อย ก็ เปลี่ยนมันซะ เส้นหนึ่งไม่กี่ตังค์ หรอก เขาขายเป็นฟุตๆละไม่เกิน50บาท ปัญหา รถโฟลคเกิดไฟไหม้ ก็ มาจากสาเหตุ เจ้าท่อพวกนี้ เก่าหรือแตก แล้วเจ้าของไม่ดูแล ร้อยละ90..โถ เปลี่ยนครั้ง หนึ่งใช้ไปได้ไม่ต่ำกว่า 4-5ปี ดูแล มันหน่อย เพ่...

พู่เล่ย์ ๆจะมี2อัน อันล่างกับ อัน บน แล้วมีสายพาน เป็น ตัวเชื่อม ตัวล่าง เขาเรียก พู่เล่ย์เพลาข้อเหวี่ยง เพราะมัน เป็น อันเดียวกันกับ เพลาข้อเหวี่ยง ของเครื่องยนต์ อันบน เป็น พู่เล่ย์ ของไดชาร์ท และพัดลม เราจะเห็น ว่า ตัวบนจะมีเส้นผ่าศูนย์กลาง เล็กกว่า ก็ เพื่อทด รอบให้หมุน เร็วขึ้น ไฟจะได้ชาร์ท พัดลม จะได้แรง แรงพัดลม เมื่อลม พัดมา..

คัทเอ๊าท์ เป็น ลักษณะกล่องสี่เหลี่ยม ใหญ่ประมาณ ครึ่งฝ่ามือ สำหรับ รถรุ่น ตั้งแต่ปี68 ไปเจ้า ตัวนี้ เขา get out ให้มันไปอยู่ในห้องโดยสานใต้เบาะหลัง ตัวของมันทำหน้าที่ ควบคุมปริมาณกระแสไฟฟ้าที่ จะชาร์ท เข้าแบบตารี่ หาก ไฟในแบตฯ เต็ม มัน จะทำหน้าที่ตัดไม่ให้ ชาร์ท ต่อ ศัพย์แสง ทางวิชาการ เขาเรียกว่า Recgulator ก็ อย่าไปข้องใจ ว่า ตัวไหน มัน ตัวเดียวกัน แหละ และของโฟลค เขาใช้ของยี่ห้อ Boss

ส่วนจุดสุดท้ายที่จะแนะนำ ก็ จุดสำหรับ เติมน้ำมันเครื่อง อยู่ใกล้กับ ไดชาร์ท แน๊ะ แล้วก็เวลา จะเช็คว่า น้ำมันเครื่อง เรามี หรือไม่มี ก็ ให้ เช็ค โดยดึงก้านเช็ควัดระดับน้ำมัน อยู่ ตรงใกล้ๆ พู้เล่ย์เพลาข้อเหวี่ยง โดยดึงออกมาดู แล้ว จะเห็นว่า น้ำมันเกาะ ระดับไหน เขาจะมี 2ขีด ขีดบน พอดี ขีดล่างหาก ต่ำกว่า ต้องเติม  หรือ บางรุ่น อาจมี ขีดเดียว คือ ขีดพอดี การเช็ค น้ำมันเครื่อง เขานิยมเช็ค ตอนเช้าๆ ก่อน ติดเครื่อง จะรู้ระดับ แน่นอน แต่ตรงนี้ ไม่ใช่ ว่าไม่ เช้า  เช็คไม่ได้ เพียงแต่ว่า หาก เราสตารทเครื่องไปแล้ว น้ำมันเครื่อง ซึ่งเจ้าเต่า ซดน้อยอยู่แล้ว แค่2ลิตรครี่ง มันไปค้างอยู่ตามชิ้นส่วนต่างๆ หาก เรากะไม่ถูก ก็ จะคิดว่าน้ำมันเครื่อง เราพร่อง เครื่องหลวม หรือ เปล่า พาลคิดไปใหญ่ ไปโต ก็ จะประสาทกิน เอาดื้อๆ ก็ จำไว้อย่าง ว่า จะเช็คได้ระดับน้ำมันที่แน่นอน หลังจากเราดับเครื่องทิ้งไว้ สัก ชม.กว่าๆ นะดีที่สุด แล้วก็ รถต้องจอดบนที่ราบ นะ ไม่ใช่ไปจอด อยู่บนเนินเอียง เนินลง มันก็ไม่รู้อีก และ ไม่ว่า จะทิ้งไว้ สักกี่เช้า

เอาละเป็น อันว่า บัดนี้ท่านก็ ได้จบหลักสูตร มารู้จักกับเครื่องยนต์โฟลค ฉบับเร่งรัด..เอ๊า มานี่ๆ   ตรงนี้ เดี๋ยวจะมอบ ปริญญาให้สาขาดูเครื่องโฟลคเป็น  แหม ปริญญาสมัยนี้ ให้กันง่ายดีแท้ แค่ตีกร๊อฟเก่ง แบบ เจ้าวู๊ดหน่อยเดียว ก็ มีคนตัวสั่นวิ่งไปมอบปริญญาให้ แถมสถานที่ก็ ศักดิ์สิทธิ์จัง เอามันแถวโรงแรม นะ สะดวก ดี เฮ้อ เมืองไทย..ยุคผู้บริหารสมองเริ่มฝ่อ...สงสารพวกเราเรียนกันเกือบตายกว่าจะได้ มา แถมตอนรับ ต้อง ใช้เวลาเป็นวันๆ แต่มันก็ เป็นความภูมิใจที่ได้มา...........

หม่องฯ 29/11/2000

MENU

1