Carburetor & Fuel System

      ระบบเชื้อเพลิง และ คาร์บูเรเตอร์ เป็น หัวใจสำคัญ ของเครื่องยนต์ เป็น อย่างยิ่ง รถ จะวิ่งดี หรือการ สิ้นเปลือง ของน้ำมันเชื้อเพลิง  จะเป็น อย่างไร มันก็ อยู่ที่ระบบ ตัวนี้ เป็น ส่วนใหญ่ เครื่องยนต์ไร้กำลัง อัตราเร่งไม่ ดี ซดน้ำมัน ยังกะ เจ้าของรถ มี บ่อน้ำมัน ก็เจ้านี่ แหละ แล้วก็ ระบบ เหล่า นี้ การ ทำงานของมัน ค่อนข้าง ละเอียดอ่อน การ บำรุงรักษาก็ เช่นกัน ต้องทำไปตามขั้นตอน ด้วยความปราณีต ถนุถนอม พอๆกะเมีย(น้อย) เลย ละ. ที่นี้ เราก็ มาเข้าเรื่อง ของเราเลย

      ระบบน้ำมันเชื้อเพลิง ของเครื่องยนต์โฟลค ยังเป็น ระบบทำงานด้วยกลไก โดย เฉพาะ การดูดน้ำมันเชื้อเพลิง จากถัง ก็ ทำงานด้วย ปั้มแบบกลไก (ไม่ใช่ปั้มแบบไฟฟ้า ที่เรามักเรียก ว่าปั้มติ๊ก ปั้มแต๊ก นะศัพย์ เขา เรียกว่า  Electric Fule Pump) ยกเว้น รุ่นหลัง ถึงจะเปลี่ยนมาเป็น ระบบนนั้น การทำงานด้วยระบบกลไก ก็ ดี อย่าง ในเรื่องการดูแล รักษา การเสียหาย มัน จะเริ่มส่ออาการให้ เรารู้ และเตรียมใจ เตรียมเงิน ผิด กะระบบของรถใน ระบบใหมที่ใช้ Electronics เข้าควบคุม นึกอยากจะเสีย ก็ เสีย  ไม่มีการเตือน การ เสีย ก็ ต้องเปลี่ยน ลูกเดียว กรณีหาก เสียในที่ชุนุมชน เวลากลางวัน ก็ คงไม่เท่าไร หรอก แต่ มันดันทะลึ่งเสียในที่เปลี่ยวๆ กลางคืนดึกๆ นี่ซิ สยอง..โดยเฉพาะ คุณผู้หญิง เกิดขับไปแล้ว ต้องไปเจอ เหตุการณ์ แบบนี้..หนาวแทน เลย ครับ..

     ระบบน้ำมัน และ คาร์บูเรเตอร์ ของโฟลค เขาจะใช้ ของยี่ห้อ Solex บริษัทคู่ซี้เขาล่ะ ทุกรุ่น โดยแต่ละปีรุ่นรถ กะ รุ่นของคาร์บิวฯ จะใช้ต่างๆกัน ไป แต่ จริงๆแล้ว ก็ มั่วเอามาใช้แทน กัน ได้หมด แหละ หากหาไม่ได้ แต่หาก ตรงรุ่น มัน ก็ จะเกิดความเหมาะสมกับ เครื่องยนต์ และอัตราการบริโภค ของน้ำมัน

แล้ว ก็ เปลี่ยนเป็น ระบบใหม่ เนื่องจาก ได้ นำเอา ระบบ Electronics มาเกี่ยวข้อง กับ ระบบ มาก ขึ้น

แต่อย่างไรก็ ตาม คาร์บูเรเตอร์ ของ โฟลค ทุกรุ่น จะมีระบบการทำงาน คล้ายๆกัน จะมีแแตกต่างกัน แต่ละรุ่น ก็ พวก อุปกรณ์เสริม หรือ ปั้มฉีด หรือ ปั้มเร่ง มากกว่า1ให้ อัตราเร่งได้ดี ยิ่งขึ้น ยามต้องการ แรงม้า

เราจะมาดูการทำงาน ของหลักการ คาร์บูเรเตอร์ จะขอยก เอาแบบ Solex รุ่น 28PC1 มาคุย ดูจะง่ายกว่า เนื่องจาก เป็น ระบบที่ไม่ซับซ้อน หาก ท่าน ทำความเข้าใจใน หลักการ อันนี้ได้ รุ่นใหญ่ใหม่ๆที่ซับซ้อนก็ไม่น่า จะมีอะไร เกินกำลัง

1.Choke valve   

2. Float bow1 vent tube   

 3. Gasket   

4. Fule line   

5. Float needle valve   

6. Float taggle   

7. Pilot jet air blead   

8. Pilot jet   

9. Float   

10. Main jet carrier   

11. Main jet   

12. Volume control screw   

13. Air correction jet   

14. Emulsion tube   

15. Pump air correction jet   

16.  Pump jet   

17.Venturi   

18.  Fitting tube   

19. Spraying  well   

20. Pump ball check valve upper   

21.Pump diaphragm  Spring   

22. Pump diaphragm   

23. Pump ball check valve lower   

24. Pump connection link   

25. Idle air bleeder passage   

26. Throttle  valve   

27. Throttle connection rod and spring

28. Accelerating  port   

29. Idle port

 ในลักษณะการทำงาน ของ คาร์บูเรเตอร์ จะ แบ่ง ออกเป็น 2 วงจร หลักๆ คือ วงจร เดินเบา หรือ ตอนที่เรายังไม่มีการเร่งอะไร นี่ แหละ กับ วงจรอัตราการเร่ง 

การทำงานของวงจรเดินเบา

เมื่อ ปั้มเอซี ดูดน้ำมันจากถัง มาเข้าคาร์บูฯ ตรงหมายเลข4 มายังห้องลูกลอย จะผ่านประตูควบคุมน้ำมัน หมายเลข5 เมื่อน้ำมันถึงระดับ ที่ตั้งไว้ ลูกลอย หมายเลข 9 จะไปดันกระเดื่อง หมายเลข6 ให้ไปปิดประตูน้ำมัน ทั้งนี้ เพื่อป้องกันการท่วมท้นของน้ำมัน และจะไม่เกิดอาการ น้ำมันท่วมมากเกินไป จะพอดี ครือๆ กับนมหนู หมายเลข7 เมื่อยังไม่มีการเร่ง น้ำมันปริมาณกำลังพอดี จะไหล ผ่านนมหนู หมายเลข7 เข้าสู่วงจรเดินเบา เพื่อฉีดไปยังห้องเผาไหม้ โดยจะไปผสมกับอากาศ ที่มาทางท่ออากาศ ตรงกลางคาร์บิว ตรงหมายเลข13  และลิ้นปีกผีเสื้อ ตรงหมายเลข ที่ 26 จะยังปิดอยู่ (เพื่อ ไม่ให้ อากาศ เข้า ตรงๆ)หาก เมื่อเรายังไม่ได้เหยียบเคันเร่ง น้ำมันจะผสมกับอากาศ ผ่านไปยังห้องเผาไหม้ที่ ช่อง หมายเลข 29 โดย จะมีสกรู หมายเลขที่ 12 ทำหน้าที่ปรับ และ ควบคุมส่วนผสม ของอากาศ กับ น้ำมัน เพราะฉะนั้น จุดนี้ คือจุดสำคัญ ในการปรับแต่ง คาร์บูเรเตอร์ เพราะฉะนั้น เราจะเห็นว่า ปริมาณ น้ำมันที่เข้าไปผสมกับอากาศ  นั้น จะน้อย มาก เพราะ ต้องไปสัมพันธ์ กับปริมาณ น้ำมัน ในห้องลูกลอย (หาก น้ำมันในห้องลูกลอย ไม่พอเพียง ก็ จะไม่มี น้ำมันไหลเข้าสู่วงจรเดินเบา หรือ ในทางกลับกัน หาก ปริมาณน้ำมัน ในห้องลูกลอยมากเกินไป น้ำมัน ก็ จะไหลเข้าไปในวงจรเดิน เบา มาก จนไม่ได้สัดส่วนกับอากาศ ก็ จะเกิดอาการ น้ำมันท่วม เครื่องก็ไม่ติด เช่นกัน)ตลอดจน ความโตของเส้นผ่าศูนย์กลาง ของรูนมหนู

การทำงานเมื่อเราต้องการเพิ่มอัตราเร่ง

เมื่อเราเหยียบ คันเร่ง มัน จะไปดึงให้ ลิ้นปีกผีเสื้อ หมายเลข 26 เปิด ในขณะเดียว ตรงลิ้นปีกผีเสี้อ จะมี คานต่อไปยังปั้มดูดน้ำมันในคาร์บิว ตรง ชุด หมายเลข 21 22 24 ในขณะเดียวกัน ท่อส่งน้ำมัน ในชุดเร่ง จะมี ลูกปืนเล็กๆฝังอยู เพื่อกันน้ำมันไหลเข้ามา เมื่อมีแรงดันจาก ปั้มเร่ง จะดูดน้ำมัน จาก ท่อ ภายใน ผ่านลูกปืน หมายเลข23 และ 20ฉีดออก บริเวณ ช่อง ตรงใกล้ หมายเลข15 ผ่านช่องปีกผีเสื้อที่ เปิด อยู่ ผสมกับอากาศ ที่มาจากทางด้านบน ก็ ปาก ของ คาร์บิวฯ แหละ เพราะฉะนั้น ตรง ชุดวงจรเร่ง เราจะเห็นว่า ใช้อากาศดูดตรงเข้ามาเลย ไม่มีการควบคุมปริมาณอากาศ เหมือน วงจร เดิน เบา และปริมาณ น้ำมันที่ถูกดูด จาก ปั้มเร่ง ก็ มีปริมาณ ที่มากกว่า ที่มันไหล ผ่านวงจรเดินเบา หลาย เท่า ก็ จะทำให้ ปริมาณน้ำมัน มากพอไหลเข้าห้องจุดระเบิด การสันดาบภายในห้องจุดระเบิด จะ แรง และมีกำลัง มาก ขึ้น เครื่องยนต์ ก็ ได้ แรงม้ามาก ขึ้นตาม มาไง.. จากตรงนี้ เราก็ สรุปได้ ว่า ปรับแต่ง ระบบ วงจรเร่ง จะถูกออกแบบ มาจาก โรงงาน โดยวิศวกร แล้ว ให้ ปริมาณ น้ำมัน กับ อากาศ ที่เข้ามาจากทางปาก คาร์บูเรเตอร์ ต้องสัมพันธ์ กัน จึงไม่ต้องไปยุ่งอะไร กับ มัน ยกเว้น อุปกรณ์ เหล่า นั้น ชำรุด

 

 

แสดงการทำงาน ของวงจรเดินเบา ให้สังเกต ทางเดิน ของน้ำมัน

 

 

 

 

 

 

 

 

เมื่อเริ่มเร่งเครื่อง หัวฉีดน้ำมัน จะย้ายไปที่ตัวกลาง

 

 

 

 

 

    

 

เมื่อเร่งสุด หัวฉีดน้ำมัน ตัวที่3 และ4 จะทำงาน ลิ้นปีกผีเสื้อ จะเปิดสุด

 

 Next                                 Menu

 

1