รูปแบบของสายอากาศ


สายอากาศแบ่งตามรูปแบบการรับ-ส่งคลื่นได้ดังนี้

1. สายอากาศแบบรอบตัว(Omni-directional) สามารถรับ-ส่งคลื่นได้ดีในทุกทิศทาง
เฉลี่ยกันไปโดยรอบจะออกอากาศในแนวนอน 360 องศา (เป็นค่าตายตัวของสายอากาศประเภทนี้)
ส่วนแนวตั้งขึ้นอยู่กับอัตราขยาย โดยส่วนใหญ่จะอยู่ที่ 2 - 18 dBi





2. สายอากาศแบบกึ่งรอบตัว (Directional Antenna) สามารถรับ-ส่งคลื่นได้ดีเกือบรอบตัว
“สายอากาศที่มีคุณสมบัตินการแผ่หรือรับคลื่น
สนามแม่เหล็กไฟฟ้าในทิศทางใดทิศทางหนึ่งมากกว่าทิศทางอื่นๆ
คำนี้มัก จะใช้กับสายอากาศที่มี สภาพเจาะจงทิศทางสูงสุด
(Maximum Directivity) มากกว่าของสายอากาศไดโพลความยาวครึ่งคลื่น”





3. สายอากาศแบบทิศทางเดียว สามารถรับ-ส่งคลื่นได้ดีในทิศทางที่กำหนด
มีการแพร่กระจายของคลื่นทุกทิศทางที่พร้อมกันด้วยความเข้มสนามที่เท่ากัน
เป็นสายอากาศที่ไม่สามารถสร้างขึ้นได้จริง แต่จะใช้ในการเปรียบเทียบหรือกำหนด
เป็นมาตรฐานนำไปเทียบกับสายอากาศแบบอื่น เพื่อดูลักษณะคุณสมบัติ
แสดงทิศทางของสายอากาศและจะมีอัตราขยาย (gain)สูงกว่าประเภทอื่น





อัตราขยาย (gain)

เป็นการเปรียบเทียบ out put ของสายอากาศในทิศทางใดทิศทางหนึ่งเทียบกับ out put
ของสายอากาศอ้างอิง (Reference Antenna)ปกติเรานิยมใช้สายอากาศไดโพลชนิดฮาฟเวฟ เป็นสายอากาศอ้างอิง
เช่น สมมุติว่าสายอากาศมีอัตราขยาย 20 dB (หรือ 20 เท่า) หมายความว่า ในทิศทางนั้นส่ายอากาศต้นนั้น
ลงคลื่นออกไปแรงกว่าสายอากาศอ้างอิงอยู่ 20 dB ถ้าสายอากาศออกไปได้ดีในทิศทางหนึ่ง
ส่วนทิศทางอื่นก็จะด้อยลงไป อัตราการขยาย (Gain) ของสายอากาศไม่ได้หมายความว่ากำลัง
Out put ของสายอากาศมากกว่ากำลัง In put หากแต่เป็นอัตราขยายที่คิดเทียบกับสายอากาศอ้างอิง





อ้างอิงจาก.... กดตรงนี้