ประเภทของสายอากาศ


1.สายอากาศแบบลวดตัวนำ (wire antenna) จัดเป็นสายอากาศที่เราคุ้นหน้าตาเป็นอย่างยิ่ง
มีใช้งานในทุกรูปแบบอย่างเช่น บนรถยนต์, อาคาร, เรือ, เครื่องบิน, ยานอวกาศ และอื่น ๆ
รูปร่างของสายอากาศแบบลวดตัวนำยังแยกย่อยได้อีก เช่น แบบเส้นตรง (ไดโพล)
ลูป (วนเป็นรอบ) และแบบวงก้นหอย (คล้ายสปริง)


สายอากาศแบบลูป (Loop) ไม่จำเป็นต้องเป็นวงกลมอาจมีรูปร่างเป็นสี่เหลี่ยมจัตุรัส
สี่เหลี่ยมผืนผ้า, วงรี หรือลักษณะอื่น ส่วนลูปชนิดวงกลมนั้นจัดว่ามีใช้งานมากที่สุด เพราะง่ายใน การสร้าง



2.สายอากาศแบบช่อง (aperture antenna)เริ่มมีการใช้สายอากาศชนิดนี้
มากกว่าในอดีต โดยเฉพาะในการใช้งานย่านความถี่สูงส่วนรูปแบบต่าง ๆ


สายอากาศชนิดนี้ใช้ประโยชน์ด้านเครื่องบิน หรือยานอวกาศ เนื่องจากความสะดวกในการ
ติดตั้ง และยังสามารถหุ้มด้วยฉนวนหรือวัสดุที่ไม่เป็นสื่อไฟฟ้าได้อีก เพื่อป้องกันสภาพที่อันตรายต่อระบบสื่อสาร



3. สายอากาศแบบอาร์เรย์ (array antenna) การประยุกต์ใช้งานสายอากาศ
โดยส่วนมากแล้วจะมีคุณสมบัติของการแพร่กระจายคลื่น ไม่เหมือนกัน
ทำให้เกิดวิธีการนำอีลีเมนท์มาใช้งานร่วมกัน เพื่อสนองกับความต้องการใช้งานต่าง
ๆ ซึ่งเราสามารถกำหนดให้ทิศทางหลักในการแพร่คลื่นของสายอากาศอยู่ทางทิศใดได้


# หมายเหตุ การนำสายอากาศหลาย ๆ อีลีเมนท์มาต่อเรียงกันเป็นแผง เรียกว่าอาร์เรย์มีผลให้ค่า อัตราขยายมากขึ้น และยังควบคุมทิศทางการแพร่คลื่นได้



4. สายอากาศแบบสะท้อนคลื่น (reflector antenna) ผลจากความสำเร็จในการสำรวจอวกาศต่อวิชาสายอากาศ
ทำให้เกิดการพัฒนาไปอย่างมากทั้งนี้เพราะต้องนำมาใช้งานสื่อสารระยะไกลมาก
จึงต้องพัฒนาสายอากาศส่ง/รับคลื่นที่สามารถเดินทางได้เป็นล้านไมล์
ชนิดของสายอากาศที่ถูกนำมาใช้งานนี้อย่างมาก คือ แบบตัวสะท้อนพาราโบลิก (parabolic reflector)


สายอากาศชนิดนี้ยิ่งมีขนาดใหญ่มากก็จะให้อัตราขยายสูงมากตามไป ทำให้สามารถส่งหรือรับคลื่นในระยะไกลมากได้



5.สายอากาศแบบเลนส์ (lens antenna)แต่เดิมเลนส์ถูกใช้เพื่อรวมแสงให้ส่องผ่านไปยังจุดที่ต้องการ
ได้ในวิชาสายอากาศได้ อาศัยหลักการนี้ โดยเลือกวัสดุที่จะมาทำเลนส์ให้สามารถรวมคลื่นที่แพร่ออกให้ส่งไปยังทิศทางที่ต้องการได้
สำหรับการประยุกต์ใช้งาน เช่นเดียวกับแบบสะท้อนคลื่นพาราโบลิก โดยเฉพาะที่ความถี่สูงมาก ๆ จะใช้ได้ผลดี


โดยสรุปแล้วสายอากาศในทางทฤษฎี จะสามารถนำพลังงานทั้งหมดที่มาจากเครื่องส่งไปออกอากาศ
ได้โดยไม่มีการสูญเสียเลย แต่สายอากาศที่มีคุณภาพขนาดนั้นยังไม่มีใครทำได้สายอากาศมีมากชนิด
ซึ่งแต่ละแบบถูกสร้างให้มีรูปแบบการแพร่คลื่นแตกต่างกันไปให้เหมาะสำหรับงานที่ประยุกต์ใช้





อ้างอิงจาก.... กดตรงนี้