ประวัติผลงานความเป็นมา



#......... มุ่งส่งเสริมอนุชนช่วยพัฒนา อนุรักษ์รักษา ศิลปวัฒนธรรม  เทอดไทย ........ #

สมาคมศิลปะเพื่อเยาวชน
สำนักงานคณะกรรมการ
วัฒนธรรมแห่งชาติ




...........#  สมาคมศิลปะเพื่อเยาวชน สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย  ถ.วัฒนธรรม - เทียมร่วมมิตร ห้วยขวาง กทม. ๑๐๓๒๐ ( www.geocities.com/aayoncc ) .... โทร. ๐๒-๒๔๗๐๐๒๘ ต่อ ๔๑๖๗, #.........
ประวัติผลงานความเป็นมา ลงนามเยี่ยม http://www.geocities.com/aayoncc
วัตถุประสงค์และหลักการ ดูสมุดเยี่ยม
ศิลปวัฒนธรรมไทยที่เปิดอบรม
รายละเอียดการสมัครเป็นสมาชิก
ที่ติดต่อและที่ทำการของสมาคม
คณะกรรมการผู้บริหารสมาคมฯ
กิจกรรมเผยแพร่โดยสมาชิกฯ
ART ASSOCIATION NEWS
ร้อยเรียงรสคำกวีคีตศิลป์
 ประวัตินาฏศิลป์-ดนตรีไทย
เยาวชนวันนี้(Youth Today) ค้นหาด่วน
ปรึกษาถาม-ตอบปัญหาสุขภาพ  ห้องพูดคุย
 กระดานข่าวสมาคมฯ   รางวัลสื่อมวลชนดีเด่นเพื่อเยาวชนครั้งที่ ๑๘
ประจำปีพุทธศักราช ๒๕๔๒-๓
รางวัลดีเด่น สื่อพื้นบ้านภาคกลาง ประเภทบุคคล
ผู้ผลิตผลงานสื่อมวลชนดีเด่นเพื่อเยาวชน
ครั้งที่ ๒๐
 ลิ้งค์ที่น่าสนใจ ฟังเพลงไทยเดิม  
   
เยาวชนดีเด่น
แห่งชาติ



 
เยาวชนดีเด่น
แห่งชาติ

รางวัลพระราชทาน โล่เกียรติคุณ

องค์กรผู้ทำคุณประโยชน์แก่เยาวชนปี พ.ศ.๒๕๕๑
นายกฯและคณะฯ

พ.ศ.๒๕๕๑
    ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย
โทร.๐๒-๒๔๗๐๐๒๘ ต่อ ๔๑๖๗
โทร./
Fax.๐๒-๒๔๘๒๗๕๔
  to [email protected]
 
  Back

จากอดีตถึงปัจจุบัน

สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาต(สวช.) ได้จัดให้มีโครงการเรียการสอน ทางด้านดนตรีและนาฏศิลป์ไทย นับแต่ ปี พ.ศ.๒๕๓๐เป็นต้น
มา มีวัตถุประสงค์ที่จะปลูกฝังและสืบทอด ศิลปะวัฒนธรรมไทยด้านนี้ไปสู่เยาวชน รวมทั้งได้แสวงหารูปแบบและวิธีการที่จะส่งเสริมการเรียนการสอน
ดนตรี-นาฏศิลป์ไทยให้คงอยู่เป็นทั้งศาสตร์แขนงศิลป์และวิชาชีพอันทรงคุณค่าและเป็นเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมของชาติสืบไป

พ.ศ.๒๕๓๐(เปิดอบรมดนตรีไทย รุ่นที่๑)

ทาง
สวช.สอนดนตรีไทยให้เยาวชน อายุระหว่าง ๖-๑๗ปี หลักสูตร ๖เดือนเป็นเวลา ๗๒ช.ม. สอนสัปดาห์ละ ๓ช.ม.


พ.ศ.๒๕๓๑(เปิดอบรมดนตรีไทย รุ่นที่๒เป็นต้นมา)

พร้อมทั้งได้เปิดอบรมหลักสูตรต่อเนื่องขึ้นสำหรับผู้ที่ผ่านการอบรมจากรุ่นที่๑ โดยใช้ระยะเวลาการอบรมเท่าเดิม


พ.ศ.๒๕๓๒(จัดตั้งชมรมดนตรี-นาฏศิลป์ไทยขึ้น)
โดยการดำเนินงานของชมรมในลักษณะคล้าย สโมสรดนตรีไทย ทั้งได้เริ่มเปิดอบรมนาฏศิลป์ไทยเบื้องต้นขึ้น ต่อมาได้มีการปรับปรุงการจัดฝึกอบรม
มาเป็นรูปแบบของ ศูนย์สาธิตส่งเสริมการเรียน การสอน และ การถ่ายทอดดนตรี-นาฏศิลป์ไทย


พ.ศ.๒๕๓๖(ปรับปรุงหลักสูตรเป็น ๑ปี)

โดยขยายเวลาการรับการอบรมเป็น ๑ปี (๑๔๔ช.ม.เรียน) ทั้งนี้เพื่อส่งเสริมคุณภาพการเรียนการสอน และพัฒนาระบบการศึกษาให้เข้มแข็ง กว้างขวาง
และมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ในปีนี้ ได้มีโครงการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมกับต่างประเทศ โดยได้จัดส่ง ตัวแทนเยาวชนไทยรุ่นแรก ไปร่วมเผยแพร่และ
แลกเปลี่ยนศิลปะวัฒนธรรมกับ ประเทศญี่ปุ่น เป็นครั้งแรก


พ.ศ.๒๕๓๗(ส่งตัวแทนเยาวชนไทยไปญี่ปุ่น
ครั้งที่๒)
มีการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมกับประเทศญี่ปุ่น เป็นครั้งที่ ๒

พ.ศ.๒๕๓๘(
จัดตั้ง สมาคมนาฏศิลป์และดนตรีไทยเยาวชน สวช.)
ได้ปรับเปลี่ยนการดำเนินงาน จากรูปแบบ ชมรม มาเป็น สมาคม ในปีนี้มีโครงการ วัฒนธรรมไทยคืนถิ่น ลอสแอนเจลิส(แอลเอ) ได้จัดส่งเยาวชน
ไป แอลเอ ประเทศ สหรัฐอเมริกา แลกเปลี่ยนและเผยแพร่วัฒนธรรมกับเยาวชนไทยและเยาวชนต่างชาติในต่างแดน


พ.ศ.๒๕๔๐(
จัดตั้ง
สมาคมศิลปะเพื่อเยาวชน สวช. ขึ้น)
ในปีนี้ได้ เลิก สมาคมนาฏศิลป์และดนตรีไทยเยาวชน สวช.แล้วจึงขอจัดตั้งสมาคมขึ้นใหม่ใช้ชื่อว่า สมาคมศิลปะเพื่อเยาวชน สำนักงานคณะกรรมการ
วัฒนธรรมแห่งชาติ   ตามมติคณะกรรมการอำนวยการฝึกอบรม นาฏศิลป์และดนตรีไทยเยาวชน สวช. โดยดำเนินการบริหารงานในการจัดการส่งเสริม
การถ่ายทอดดนตรี-นาฏศิลป์ และ โขนไทย ภายใต้การกำกับดูแล ของ
สวช.โดยได้รับการอนุญาต ให้จัดตั้งสมาคมฯ.จาก สำนักงานคณะกรรมการวัฒน
ธรรมแห่งชาติ ตามใบอนุญาตที่ ต.๒๘๓/๒๕๔๐ เมื่อวันที่ ๑๕ กันยายน ๒๕๔๐ได้รับการจดทะเบียน จากนายทะเบียนสมาคม ประจำกรุงเทพมหานคร
เมื่อวันที่ ๒๗ ตุลาคม ๒๕๔๐
โดย นายพยุงศักดิ์ จันทรสุรินทร์ (เลขาธิการ สวช.) ผู้ขอก่อตั้ง

พ.ศ.๒๕๔๑(ส่งตัวแทนเยาวชนไทยไปญี่ปุ่น
งานเทศกาลเด็กนานาชาติแห่งเอเซีย ครั้งที่ ๑)
ในปีนี้ทางสมาคมได้ร่วมกับ สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติคัดเลือกเยาวชนไทยไปร่วมเผยแพร่แลกเปลี่ยนวัฒนธรรมพื้นบ้าน ในงาน
เทศกาลเด็กนานาชาติแห่งเอเซีย ครั้งที่ ๑ จัดขึ้น ณ ประเทศญี่ปุ่น

พ.ศ.๒๕๔๑-๒(จัดหา,จัดทำ,หนังสือ,อุปกรณ์,เครื่องแต่งกาย,สวัสดิการ ฯลฯ.)
ในปีที่ผ่านมา ทางสมาคมฯได้ปรับปรุงการจัดการเรียนการสอน ดนตรี-นาฏศิลป์ไทย ให้สอดคล้อง และเป็นไปตามหลักสูตร ได้จัดทำหนังสือโน้ตดนตรี
ไทยสำหรับ เครื่องดนตรีทุกประเภทที่เปิดอบรม สำหรับเยาวชนแรกเริ่มฝึกอบรมใหม่ ยังได้จัดหา ครู, อาจารย์ ที่มีความรู้ และประสบการณ์ ความชำนาญ
มาเพิ่ม เพื่อสอน ดนตรี-นาฏศิลป์ เช่น
เสริมการเรียน ด้านดนตรีพื้นบ้าน อีสาน(โปงลาง) ฯลฯ จัดซื้ออุปกรณ์เพิ่มเติมอำนวยแก่ เยาวชน เช่น เครื่อง
ดนตรี อีสาน เครื่องเสียงใช้ประกอบวง,ชุดแสดง โขน-นาฏศิลป์ ฯลฯได้เปิดอบรมเยาวชนเพิ่มมากขึ้นจากเดิม  จนมีความจำเป็นต้องจัดให้มีการอบรมใน
สถานที่ นอกศูนย์วัฒนธรรม

สมาคมฯได้จัดสวัสดิการ
ให้แก่ครู,อาจารย์,ผู้ปกครอง,และสมาชิกในเรื่องต่างๆ เช่น เครื่องดื่มอาหารกลางวัน เสื้อชุด แก่อาจารย์,กรรมการสมาคมฯ,
ทั้งจัดหาอาหาร,เครื่องดื่ม, ชุด, เครื่องสำอางค์ส่วนกลาง ให้แก่เยาวชน ยามฝึกซ้อมก่อนแสดงในงานต่างๆ  จัดหาตู้ยาและยาประจำสมาคมฯสำหรับ
ฉุกเฉิน แก่สมาชิก ไว้ ณ ที่ทำการสมาคมฯ จัดหารางวัลจับสลากให้แก่สมาชิก ในวันประชุมใหญ่ประจำปีของสมาคมฯ. จัดทำบัตรสมาชิก, จัดหาวิทยากร
ผู้มีความรู้ ประสบการณ์ มาอบรม การเป็น พิธีกร ให้แก่เยาวชน และ สมาชิกที่สนใจ, ร่วมกับสวช.ให้มี บริการห้องสมุดแก่ผู้ปกครอง ที่มารอรับเยาวชน
ที่มาเรียน ทั้งยังนำพาเยาวชน ที่มารับการอบรมทั้งหมด ได้มีการแสดงออกในงานประชุมใหญ่ประจำปีของสมาคมฯ และตัวแทนเยาวชนที่เข้าวง ได้แสดง
ในงานต่างๆ ทั้งในและ นอกศูนย์วัฒนธรรมฯ. ตลอดปีโดยสม่ำเสมอ ได้จัดสรรงบประมาณหาพนักงานมาทำงานประจำ ณ ที่ทำการสมาคมฯ จนสมาคมฯ
สามารถบริหารงานอย่างต่อเนื่องและก้าวหน้าสืบมา


พ.ศ.๒๕๔๓
(ส่งเยาวชนไปจีน,
จัดทำเว็บไซต์ ของสมาคมฯ)
สืบเนื่องมาจาก จำนวนเยาวชนและสมาชิก ที่รับการอบรมมีแต่เพิ่มมิได้ลดลง และการอบรมเยาวชนนอกศูนย์วัฒนธรรม มีปัญหาและอุปสรรคต่อการติด
ต่อประสานงานกัน งบประมาณที่มีจำกัด และจำเป็นต้องใช้ในกิจการ ของขบวนการอบรมเยาวชนที่เรียนอยู่นอกศูนย์ฯ ทางคณะกรรมการสมาคมฯ.และ
สวช.จึงได้ปรับเปลี่ยน ให้ย้ายมาใช้สถานที่เรียนร่วมกัน ณ ภายในศูนย์วัฒนธรรมฯเหมือนเช่นเดิม โดยเปลี่ยนจากอบรม
คาบละ ๓ช.ม. เป็นคาบละ ๒ช.ม.
ในช่วงเช้า
ส่วนภาคบ่าย สำหรับเยาวชนใหม่ ให้อบรมคาบละ ๓ช.ม.เช่นเดิม ทั้งนี้เพื่อให้ได้หมุนเวียนกัน ใช้เนื้อที่เรียนได้เพียงพอ แก่สมาชิกที่สมัครมา
เรียนเพิ่มมากขึ้นทุกๆปี ในปีนี้ได้คัดเลือก ตัวแทนเยาวชนไทย ไปร่วมงานแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมพื้นบ้านใน งานเทศกาลเด็กนานาชาติแห่งเอเซีย
ครั้งที่ ๒ จัดขึ้น ณ ประเทศ
จีน (๓-๙ส.ค.๒๕๔๓) โดยนำคณะ ดนตรี-นาฏศิลป์ไทย ชุด รำ ๔ภาค ไปแสดง ได้ริเริ่มโครงการ  ค่ายศิลปะ เพื่อให้
เยาวชนได้อบรมกิจกรรมศิลปะและทัศนะศึกษา ทางคณะกรรมการ และฝ่ายประชาสัมพันธ์ของสมาคม ได้เล็งเห็นความสำคัญของการติดต่อสื่อสารให้ทันยุคทันเหตุการณ์ ภายใสมาคมฯ.และเชื่อมโยง กับภายนอกได้ทั่วถึง เพื่อเผยแพร่ กิจกรรม,งานของสมาคมฯ. ทั้งยังเป็นสื่อกลาง ให้บุคคลโดยทั่วไปที่ไม่
ใช่สมาชิกได้รับรู้, และเล็งเห็นถึงความสำคัญของ ศิลปะวัฒนธรรมประจำชาติ ที่น่าภาคภูมิ เป็นเอกลักษณ์และควรค่า แก่การอนุรักษ์เผยแพร่สืบไป จึงได จัดทำ เว็บไซต์ขึ้นเผยแพร่ ข่าวและกิจกรรม ศิลปะวัฒนธรรมไทยของสมาคมฯ. ทางอินเตอร์เน็ต ขึ้นในปีนี้เพื่อให้ทันกับ
ยุค สหัสวรรษที่ ๒
(ค.ศ.๒๐๐๐) ที่
URL http:// www.geocities.com/aayoncc

พ.ศ.๒๕๔๔
(ส่งเยาวชนไปฝรั่งเศส, เปิดอบรมตลาดนัดอาชีพศิลปะ )
ในปีนี้ได้คัดเลือก ตัวแทนเยาวชนไทย ไปร่วมงานแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมพื้นบ้านใน งานเทศกาลพื้นบ้านนานาชาติ ครั้งที่ ๒๘ จัดขึ้ณ ประเทศ
ฝรั่งเศส
(๑๔-๓๐ก.ค.๒๕๔๔) โดยนำคณะดนตรี-นาฏศิลป์ไทย ชุด รำ ๔ภาค และ โขน ไปแสดงทั้งในปีนี้ได้เปิดจัดการอบรม ตลาดนัดอาชีพศิลปะ
ให้
แก่เยาวชนที่สนใจ ได้เข้ามาสมัครเรียนเป็นครั้งๆไป ทุกวันเสาร์ ณ ศูนย์วัฒนธรรม ถ.รัชดา เช่น การอัดกรอบรูปวิทยาศาสตร์, ประดิษฐ์ดอกไม้ใยบัว, ดอกไม้จากเกล็ดปลา,พับดอกกุหลาบจากธนบัตร, ประดิษฐ์ผ้าบาติค, ทำเทียนเจล, สลักลวดลายสบู่, ทำพวงกุญแจ,สร้อยข้อมือจากลูกปัด, ประดิษฐ์ตุ๊กตาผ้าขนหนู, ปั้นดินหอม, วัสดุจากใบตองแห้ง ฯลฯ จัดอบรมเชิงปฏิบัติการและทัศนศึกษานอกสถานที่ เช่น ที่ จ.ระยองฯลฯ และยัง
เปิดโอกาสให้เยาวชน
ที่มาอบรมดนตรี-นาฏศิลป์ ได้แสดง ณ ศูนย์วัฒนธรรม เป็นประจำทุกวันเสาร์แรกของเดือน


พ.ศ.๒๕๔๕-๖(ได้ขยับขยายก่อสร้างที่ทำการสมาคมฯ,จัดหาชุดแสดงไว้ใช้ในกิจกรรมเอง)
ที่ตั้งของสมาคมในระยะแรกๆมาต้อง เคลื่อนย้าย และอาศัยบริเวณภายในศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย ถ.รัชดา มาโดยตลอด จนกระทั่งในปี พ.ศ.
๒๕๔๕ เมื่อกำลังของสมาคมมั่นคงขึ้น จนสามารถ จัดหาชุดแสดงของเยาวชนไว้ใช้ในสมาคมฯ จึงมีความจำเป็นที่ต้องขยับขยายเนื้อที่ของสมาคมฯ
เพื่อให้เป็นที่ทำการ และที่เก็บชุดและอุปกรณ์ดนตรี-นาฏศิลป์ ที่สะสมไว้มากขึ้น ทางสมาคมฯได้รับอนุญาตให้ก่อสร้างห้องที่ทำการสมาคมฯหลังหอไทยนิทัศน์ บริเวณชั้นล่าง เพื่อเป็นที่ทำการ และที่สอนเยาวชนอีกด้วย และได้ทำบุญเลี้ยงพระนิมนต์พระสงฆ์ มาในพิธีเปิดที่ทำการแห่งใหม่ เมื่อ
๒๖ เม.ย.
๒๕๔๖

พ.ศ.๒๕๔๗-๘
(ได้มีการเลือกตั้งกรรมการบริหารสมาคมฯขึ้นเป็นครั้งแรก)
-
ส่งเยาวชนไปร่วมงานแสดงแลกเปลี่ยนวัฒธรรมในต่างแดน
ตลอดระยะเวลา ๑๖ ปี(พ.ศ.๒๕๓๐-๒๕๔๖) แห่งการบุกเบิกและพัฒนา จนมาเป็นสมาคมศิลปะเพื่อเยาวชน สวช. อันเป็นแหล่งส่งเสริม และขัดเกลาเยาวชนไทยให้รู้จัก การใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ เพื่ออนุรักษ์เผยแพร่ศิลปะวัฒนธรรมไทย ที่ล้ำค่าน่าหวงแหนออกสู่สายตาสังคม เพื่อก่อให้เกิดพลัง
อันเป็นส่วนร่วมของผู้ปกครองเยาวชน ที่พาบุตรหลานมาเรียน ณ ที่แห่งนี้อย่างเป็นรูปธรรม จึงได้กำหนดให้มีกฏ ระเบียบ ข้อบังคับ และ
การเลือกตั้งสมาชิกภายในสมาคมฯ ขึ้นเป็น คณะกรรมการบริหารสมาคมฯ เป็นครั้งแรก โดยมีวาระชุดละ ๒ ปี เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด อย่างแท้จริงแก่
สมาชิกและเยาวชนของสมาคมฯ และสู่สังคมภายนอก โดยเป็นที่ยอมรับและกล่าวถึง ในผลงานที่ผ่านมา
ปีนี้เป็นปีแรกที่คณะกรรมการบริหารสมาคมฯ
ได้มาจากการเลือกตั้ง เพื่อสนองตอบต่อคณะผู้ปกครองเยาวชนที่นำบุตรหลานมาอบรมที่นี่ และให้มีส่วนร่วมในกิจกรรมและการพัฒนาสมาคมฯไปตาม
ทิศทางที่ต้องการอย่างมั่นคงถาวร โดยคณะกรรมการและผู้ปกครองเยาวชน สามารถร่วมกัน ทำงานของสมาคมฯ เพื่อพัฒนาเยาวชนของสมาคมฯได้
อย่างมีประสิทธิภาพ สมาคมฯได้
ส่งเสริมให้โอกาสแก่เยาวชน ได้เดินทางไปแสดงเผยแพร่แลกเปลี่ยนวัฒนธรรม
ทั้งในประเทศและในต่างแดน(ญี่ปุ่น,สหรัฐอเมริกา,จีน,มาเลเซีย ฯลฯ) ในงานเทศกาลที่สำคัญหลายคราว ได้แก่งาน
1.มหกรรมวัฒนธรรมแห่งชาติ ครั้งที่๑๘ " ตาปีศรีวิชัยเทิดไท้มหาราชินี(๒๕-๓๑ก.ค.๒๕๔๗)
2. International Seikai Festival Okayama Japan (19-23 Aug 2004)
3. 5th Annual Thai Food Festival 2004 San Fran.,USA (10-20th Sep 2004)
4. Huang Shan International Folk Song Arts Festival China (30 Sep-8 Oct 2004)
5. Nanning International Folk Song Arts Festival (1-8 Nov. 2004 )

6. The Changshu International Folklore Festival of China 2004
( C.I.O.F.F.= Conseil International Des Oganisations De Festivals De Folklore Et  D' Arts Traditionnels )
7.การแสดงนาฏศิลป์-โปงลาง ณ เกาะปีนัง ประเทศมาเลเซีย (๔-๘ธ.ค.๒๕๔๘) [ ในวโรกาสฉลองสิริราชสมบัติครบ ๖๐ปี ] 

พ.ศ.๒๕๔๙

คัดเลือกส่งเยาวชนไปร่วมงาน เทศกาลวัฒนธรรมพื้นบ้านนานาชาติ ที่ประเทศรัสเซีย
(International Festival of Folk Arts And Crafts ๘-๒๐มิ.ย.๒๕๔๙),

ไปเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมไทยที่วัดไทยในประเทศ เยอรมัน-เบลเยี่ยม-ฝรั่งเศส (๒๒มิ.ย.-๖ก.ค.๒๕๔๙ ) เนื่องใน วโรกาส
 " ฉลองสิริราชสมบัติครบ ๖๐ ปี "


พ.ศ.๒๕๕๐
คัดเลือกเยาวชนไปเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมไทย(นาฏศิลป์ไทย) ในงานเทศกาลศิลปะ & อาหารไทย ห้าง Castra เมือง Haifa
ประเทศอิสราเอล
(๒๘มิ.ย.-๔ก.ค.๒๕๕๐)โดยคณะฯสถานทูตไทยให้การต้อนรับดูแลและประสานจัดการแสดง
ร่วม
งาน
เทศกาลดนตรีพื้นบ้านนานาชาติ ครั้งที่ ๓๗ ประเทศอิตาลี (๑๔-๑๙ส.ค.๒๕๕๐)

พ.ศ.๒๕๕
ปิดอบรมโขนช่วงปิดภาคเรียนฤดูร้อนฟรี! แก่เยาวชนไทย โดยการสนับสนุนของสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม
สมาคมฯได้จัดเยาวชนร่วมแสดง
ดนตรี-นาฏศิลป์-โขน ในงานเฉลิมพระเกียรติ๗๖พรรษามหาราชินี ๑๒ส.ค.๒๕๕๑ร่วมกับ สวช. ณ เวทีหอประชุม
ใหญ่ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย


พ.ศ.๒๕๕

คัดเลือกเยาวชนไปเผยแพร่แลกเปลี่ยนศิลปวัฒนธรรมไทย โครงการ JENESYS ณ ประเทศญี่ปุ่น

ผลงานของสมาคม

ได้รับการคัดเลือกให้เข้าร่วม งานเทศกาลเด็กนานาชาติ ณ ประเทศญี่ปุ่น,จีน,รัสเซีย ฯลฯ
งานมหกรรมวัฒนธรรมนานาชาติ ณ ต่างประเทศ (ฝรั่งเศส,ฯลฯ) และคัดเลือกส่งเยาวชนไปเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมไทยในต่างแดนภายใต้ความ
ร่วมมือช่วยเหลือประสานงานของ สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ, กระทรวงวัฒนธรรม, สถานทูตไทยในต่างประเทศ
ได้รับเชิญไปแสดงในโอกาสต่างๆทั้งในระดับท้องถิ่นและระดับชาติตลอดปี

ร่วมเฉลิมฉลองมหกรรมเพลงพระราชนิพนธ์ ปีพ.ศ.๒๕๔๓
ทั้งยังได้รับ
trophy.jpg (9470 bytes)
๑. รางวัลดีเด่น ในการพิจารณาผลงาน สื่อมวลชนดีเด่นเพื่อเยาวชน ครั้งที่ ๑๘ ประเภท สื่อพื้นบ้านภาคกลาง ประจำปีพ.ศ. ๒๕๔๒-๓
จาก
สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริม และประสานงานเยาวชนแห่งชาติ (สยช.)
๒.รางวัลดีเด่น สื่อพื้นบ้านภาคกลาง ประเภทบุคคล (อาจารย์ อาทร ธนวัฒน์ อาจารย์พิเศษของสมาคมศิลปะเพื่อเยาวชน สวช.)
จากท่านปลัดกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ในงานประกาศผลและมอบรางวัล
ผู้ผลิตผลงานสื่อมวลชนดีเด่นเพื่อเยาวชน ครั้งที่ ๒๐
เมื่อ ๓๐ ม.ค.พ.ศ.๒๕๔๖ เวลา๙.๓๐- ๑๒.๐๐น. ณ หอ ประชุม ชั้น ๓ กรมประชาสัมพันธ์
 
trophy.jpg (9470 bytes)
. รางวัลพระราชทาน เยาวชนดีเด่นแห่งชาติ(สาขาศิลปวัฒนธรรม)
ในการพิจารณาผลงานของเยาวชน  
จาก สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริม และประสานงานเยาวชนแห่งชาติ (สยช.) ประจำปีพ.ศ. ๒๕๔๐-๕
และจาก สำนักงานส่งเสริมสวัสดิภาพและพิทักษ์เด็ก เยาวชน ผู้ด้อยโอกาส คนพิการ และผู้สูงอายุ (สท.)
กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ พ.ศ.๒๕๔๖,๒๕๕๑
ได้แก่

๓.๑.นายวิชฎาลัมพก์  เหล่าวานิช      เยาวชนดีเด่นแห่งชาติ ปีพ.ศ.๒๕๔๐
๓.๒.นายกฤษฎิ์(ฤทธีฤาชา)  เลกะกุล   เยาวชนดีเด่นแห่งชาติ ปีพ.ศ.๒๕๔๑
๓.๓.น.ส.ถลัชนันท์  สุขสำราญ          เยาวชนดีเด่นแห่งชาติ ปีพ.ศ.๒๕๔๒
๓.๔.น.ส.วุฒิพร  ลิ้มประสูตร             เยาวชนดีเด่นแห่งชาติ ปีพ.ศ.๒๕๔๒
๓.๕.นายทวีศักดิ์  พวงพิกุล              เยาวชนดีเด่นแห่งชาติ ปีพ.ศ.๒๕๔๓
๓.๖.นายอธิษฐ์  สิงหพันธุ์                เยาวชนดีเด่นแห่งชาติ ปีพ.ศ.๒๕๔๓
๓.๗.น.ส.มุทิตา  ชิตเมธา                 เยาวชนดีเด่นแห่งชาติ ปีพ.ศ.๒๕๔๔
๓.๘.นายรักพงษ์  สุขสำราญ             เยาวชนดีเด่นแห่งชาติ ปีพ.ศ.๒๕๔๔  
๓.๙.นายณัฐพงศ์  รองทอง               เยาวชนดีเด่นแห่งชาติ ปีพ.ศ.๒๕๔๔
๓.๑๐.น.ส.จิตตรินทร์  ศรีระอัมพุช       เยาวชนดีเด่นแห่งชาติ ปีพ.ศ.๒๕๔๕
๓.๑๑.น.ส.บุณยนุช  พดด้วง              เยาวชนดีเด่นแห่งชาติ ปีพ.ศ.๒๕๔๕
๓.๑๒.น.ส.อัมรินทร์ ปิยะกิจสมบูรณ์     เยาวชนดีเด่นแห่งชาติ ปีพ.ศ.๒๕๔๕
๓.๑๓.นายธีรพัฒน์  แสงธูป               เยาวชนดีเด่นแห่งชาติ ปีพ.ศ.๒๕๔๖
๓.๑๔.น.ส.พรรณชนก  ชมเชย            เยาวชนดีเด่นแห่งชาติ ปีพ.ศ.๒๕๔๖
๓.๑๕.น.ส.สุชญา  ตันเจริญผล           เยาวชนดีเด่นแห่งชาติ ปีพ.ศ.๒๕๔๖
๓.๑๖.นายคเณศ  โชติวรรักษ์             เยาวชนดีเด่นแห่งชาติ ปีพ.ศ.๒๕๕๐
๓.๑๗.น.ส.สุจิตรา  อภิเมธีธำรง           เยาวชนดีเด่นแห่งชาติ ปีพ.ศ.๒๕๕


. รางวัลพระราชทาน องค์กรผู้ทำคุณประโยชน์ต่อเยาวชน (สาขาศิลปวัฒนธรรม) ประจำปีพ.ศ.๒๕๕๑
ในการพิจารณาผลงาน
จาก สำนักงานส่งเสริมสวัสดิภาพและพิทักษ์เด็ก เยาวชน ผู้ด้อยโอกาส คนพิการ และผู้สูงอายุ (สท.)
กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ 

 


. รางวัลนริศรานุวัดติวงศ์ (รางวัลแมวมอง)
ประจำปีพ.ศ.๒๕๕ จากการพิจารณาผลงานของสมาคมฯ โดย
มูลนิธิ
"นริศรานุวัดติวงศ์"


 

Update 14/05/2009

Hosted by www.Geocities.ws

1