web browser       Web Hosting
client/server    URL
FTP    CMS
DNS Home page
Anchor   HTML
              1.web browser  หรือ โปรแกรมดูเว็บ คือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ที่ผู้ใช้สามารถดูข้อมูลและโต้ตอบกับข้อมูลสารสนเทศที่จัดเก็บในหน้าเวบที่สร้างด้วยภาษาเฉพาะ เช่น ภาษาเอชทีเอ็มแอล (html) ที่จัดเก็บไว้ที่ระบบบริการเว็บหรือเว็บเซิร์ฟเวอร์ หรือระบบคลังข้อมูลอื่น ๆ โดยโปรแกรมค้นดูเว็บเปรียบเสมือนเครื่องมือในการติดต่อกับเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่เรียกว่าเวิลด์ไวด์เว็บ
ประโยชน์ของ Web Browser
สามารถดูเอกสารภายในเว็บเซิร์ฟเวอร์ได้ อย่างสวยงามมีการแสดงข้อมูลในรูปของ ข้อความ ภาพ และระบบมัลติมีเดียต่างๆ ทำให้การดูเอกสารบนเว็บมีความน่าสนใจมากขึ้น ส่งผลให้อินเตอร์เน็ตได้รับความนิยมเป็นอย่างมากเช่นในปัจจุบัน ปัจจุบัน web browser ส่วนใหญ่จะรองรับ html 5 และ อ่าน css เพื่อความสวยงามของหน้า web page
ตัวอย่าง
1.    Internet Explorer
2.    Mozilla Firefox
3.    Google Chrome
4.    Safari
                                                                                        กลับ
            2.Web Hosting คือ รูปแบบการให้บริการสำหรับผู้ใช้อินเทอร์เน็ตอย่างหนึ่ง ซึ่งผู้ใช้งานนั้นมีความต้องที่จะฝากเว็บไซต์ของตนเองไว้กับผู้ให้บริการเซิฟเวอร์ (HSP: Hosting Service Provider) เพื่อให้เว็บไซต์ของตนเองนั้น ออนไลน์อยู่่บนโลกอินเทอร์เน็ตตลอด 24 ชม. 
        โดยที่ทางผู้ให้บริการจะจัดเก็บข้อมูลเว็บไซต์ ฐานข้อมูล อีเมล ฯลฯ ไว้ในเครื่องเซิฟเวอร์ หรือที่เรียกกันว่าเว็บเซิฟเวอร์ (Web Server) ซึ่งเว็บเซิฟเวอร์จะทำหน้าที่เป็นสื่อกลางที่จะแสดงผลหน้าเว็บไซต์ให้กับผู้ท่องอินเทอร์เน็ตทั่วไปได้เช้าชมผ่านโดเมนเนม(เช่น www.pathosting.co.th) ได้ตลอดเวลา นอกจากนี้ เรายังมีเสถียรภาพในการให้บริการออนไลน์สูง มีระบบป้องกันที่มั่นคง ระบบไม่ล่มง่าย เราอยู่ในธุรกิจนี้มากว่า 10 ปีแล้ว จึงเข้าใจและสามารถแก้ปัญหาได้ทันท่วงที หากมีสิ่งที่ไม่คาดฝันเกิดขึ้น ธุรกิจของท่านจะไม่สะดุดการมีแบนวิธสูง ทำให้เว็บกูเกิ้ล สามารถเข้ามาทำการ index เว็บของท่านได้ตลอดเวลา ทำให้มีส่วนอย่างมาก ในการทำให้เว็บของท่านติดอันดับต้นๆ ของการค้นหา บริการเว็บโฮสติ้ง ที่มีความล่าช้า โดยเฉพาะแบนวิธ ต่างประเทศ ทำให้อันดับของท่านลดลงอย่างน่าเสียดาย เว็บโฮสติ้ง ประเทศไทย (Web Hosting Thailand) ช่วยธุรกิจออนไลน์ท่านได้จริงแน่นอน
                                                             กลับ

            3. client/server คือ การที่มีเครื่องผู้ให้บริการ (server) และเครื่องผู้ใช้บริการ (client) 
เชื่อมต่อกันอยู่ และเครื่องผู้ใช้บริการได้มีการติดต่อร้องขอบริการจากเครื่องผู้ให้บริการ เครื่องผู้ให้บริการก็จะจัดการ
ตามที่เครื่องผู้ขอใช้บริการร้องขอ แล้วส่งข้อมูลกลับไปให้เครือข่ายแบบ ไคลเอนต์/เซิร์ฟเวอร์ เหมาะกับระบบเครือข่ายที่ต้องการเชื่อมต่อกับเครื่องลูกข่ายจำนวนมาก โดยการรองรับจำนวนเครื่องลูกข่าย (Client) อาจเป็นหลักสิบหลักร้อย หรือหลักพัน เพราะฉะนั้นเครื่องที่จะนำมาทำหน้าที่ให้บริการจะต้องเป็นเครื่องที่มี ประสิทธิภาพสูง เนื่องจากถูกต้องออกแบบมาเพื่อทนทานต่อความผิดพลาด ( Fault Tolerance)และต้องคอยให้บริการทรัพยากร  การให้กับเครื่องลูกข่ายตลอดเวลาโดยเครื่องที่จะนำมาทำเป็นเซิร์ฟเวอร์อาจเป็นคอมพิวเตอร์แบบเมนเฟรม มินิคอมพิวเตอร์ หรือไมโครคอมพิวเตอร์ก็ได้ เช่น
            1.ไฟล์เซิร์ฟเวอร์ (File Server) คือ เครื่องที่ให้บริการแฟ้มข้อมูลให้แก่เครื่องลูกข่าย
            2.พรินต์เซิร์ฟเวอร์ (Print Server) คือ เครื่องที่บริการงานพิมพ์ให้แก่เครื่องลูกข่าย โดยบันทึกงานพิมพ์เก็บไว้
ในรูปแบบของสพูล (Spool) และดำเนินการพิมพ์งานตามลำดับคิว
            3.ดาต้าเบสเซิร์ฟเวอร์ (Database Server) คือ เครื่องที่บริการฐานข้อมูลให้แก่เครื่องลูกข่าย
            4.เว็บเซิร์ฟเวอร์ (Web Server) คือ เครื่องที่จัดเก็บข้อมูลด้านเว็บเพจขององค์กร เพื่อให้ผู้ท่องอินเตอร์เน็ตสามารถเข้าถึงเว็บขององค์กรได้
            5.เมลเซิร์ฟเวอร์ (Maill Server) คือ เครื่องที่จัดเก็บข้อมูลด้านจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ หรือ E-mail ที่มีการรับส่ง
ระหว่างกันภายในเครือข่าย
                                        กลับ

            4. URL  คืออะไรในปัจจุบันเว็บไซต์ เป็นแหล่งที่อยู่ใหม่ของหลายๆธุรกิจช่องทางที่สามารถเข้าถึงได้อย่างง่าย และยังสามารถใช้งานได้ทุกที่ทุกเวลาเว็บไซต์เป็นแหล่งที่รวมรวบข้อมูลต่างๆไว้และแสดงให้เห็นผ่านเว็บเบราว์เซอร์ ปกติแล้วเว็บไซต์จะมีชื่อและที่อยู่ของมันเองเพื่อให้ระบุได้ว่าเป็นเว็บไซต์ของใครโดยชื่อของเว็บไซต์หรือ Domain name(โดเมน เนม) จะไม่ซ้ำกันของแต่ละเว็บซึ่งการเปิดให็บริการเว็บไซต์จะมีการจดโดเมนเนมก่อนจึงจะสามารถให้บริการได้ความสำคัญของ URL คือเวลาเราเข้าเว็บไซต์เราก็ต้องพิมพ์ URL ลงในช่อง url address ของ web browser เช่น จะเข้าเว็บ google.comก็ต้องพิมพ์ http://www.google.com หรือ จะพิมพ์ google.comก็ได้ไม่ต้องมี http://www.ก็ได้เดี๋ยว Browser มันจะเติมให้เราเอง ดังนั้นการอ้างอิงของข้อมูลบนอินเตอร์เน็ตต้องระบุ URL ให้ถูกต้อง มิฉะนั้นจะไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลนั้นได้                          กลับ
              5. FTP ย่อมาจาก File Transfer Protocol คือ โปรโตคอลเครือข่ายชนิดหนึ่ง ถูกนำใช้ในการถ่ายโอนไฟล์ ระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ อย่างการถ่ายโอนไฟล์ระหว่าง ไคลเอนต์ (client) กับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เป็นแม่ข่าย เรียกว่า โฮสติง (hosting) หรือ เซิร์ฟเวอร์ ซึ่งทำให้การถ่ายโอนไฟล์ง่ายและปลอดภัยในการแลกเปลี่ยนไฟล์ผ่านอินเตอร์เน็ต การใช้ FTP ที่พบบ่อยสุด ก็เช่น การดาวน์โหลดไฟล์จากอินเทอร์เน็ต ความสามารถในการถ่ายโอนไฟล์ ทำให้ FTP เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับทุกคนที่สร้างเว็บเพจ ทั้งมือสมัครเล่นและมืออาชีพ โดยที่การติดต่อกันทาง FTP เราจะต้องติดต่อกันทาง Port 21 ซึ่งก่อนที่จะเข้าใช้งานได้นั้น จะต้องเป็นสมาชิกและมีชื่อผู้เข้าใช้ (User) และ รหัสผู้เข้าใช้ (password) ก่อน และโปรแกรมสำหรับติดต่อกับแม่ข่าย (server) ส่วนมากจะใช้โปรแกรมสำเร็จรูป เช่น โปรแกรม Filezilla,CuteFTP หรือ WSFTP ในการติดต่อ เป็นต้น                    กลับ

                6. CMS  (Content Management System: CMS) คือ ระบบที่พัฒนา คิดค้นขึ้นมาเพื่อช่วยลดทรัพยากรในการพัฒนา (Development) และบริหาร (Management)เว็บไซต์ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของกำลังคน ระยะเวลา และเงินทอง ที่ใช้ในการสร้างและควบคุมดูแลไซต์ โดยส่วนใหญ่แล้ว มักจะนำเอา ภาษาสคริปต์ (Script languages) ต่างๆมาใช้ เพื่อให้วิธีการทำงานเป็นแบบอัตโนมัติ ไม่ว่าจะเป็น PHP, Perl, ASP, Python หรือภาษาอื่นๆ(แล้วแต่ความถนัดของผู้พัฒนา) ซึ่งมักต้องใช้ควบคู่กันกับโปรแกรมเว็บเซิร์ฟเวอร์ (เช่น Apache) และดาต้าเบสเซิร์ฟเวอร์(เช่น MySQL)  
ตัวอย่างเว็บไซต์ เว็บสำเร็จรูป เว็บบอร์ด ที่ server ของ picoHosting รองรับ
        - Drupal : Drupal เป็น CMS ที่มี forum, blog ในตัวเอง เว็บใหญ่อย่าง ubuntu.com ก็ใช้ drupal สร้างเว็บไซต์
        - Joomla : Joomla เป็น CMS ที่คนนิยมใช้งานกันมาก ทั้งในประเทศไทย และต่างประเทศ ทำให้หาข้อมูลและหนังสืออ่านได้ง่าย Joomla ไม่มี forum ในตัวเองเหมือนกับ Drupal แต่ก็สามารถติดตั้ง Component/Module สำหรับสร้างเว็บบอร์ดเพิ่มเติมได้
        - Magento : Magento เป็น E-Commerce Script เหมาะสำหรับทำร้านค้าขนาดใหญ่ มี theme default ที่สวยงาม
        - OsCommerce : OsCommerce เป็น E-Commerce Script ที่เขียนด้วย PHP ที่มีการใช้งานมายาวนานแล้ว ทำให้ตัว Script มีความเสถียร ไม่ค่อยจะมีข้อบกพร่องให้เห็น
                          กลับ

              7. DNS ซึ่งย่อมาจาก Domain Name System (ระบบชื่อโดเมน) ทำหน้าที่ควบคุมเว็บไซต์ของชื่อโดเมนและการตั้งค่าอีเมลของคุณ เมื่อผู้เยี่ยมชมไปยังชื่อโดเมนของคุณ การตั้งค่า DNS ของชื่อโดเมนจะควบคุมว่าจะติดต่อไปยังเซิร์ฟเวอร์ของบริษัทใด  ตัวอย่างเช่น หากคุณใช้การตั้งค่า DNS ของ GoDaddy ผู้เยี่ยมชมจะเข้าถึงเซิร์ฟเวอร์ของ GoDaddy เมื่อใช้ชื่อโดเมนของคุณ หากคุณเปลี่ยนการตั้งค่าเหล่านี้เพื่อใช้เซิร์ฟเวอร์ของอีกบริษัทหนึ่ง ผู้เข้าชมจะไปถึงเซิร์ฟเวอร์เหล่านั้นแทนที่จะเป็นเซิร์ฟเวอร์ของเราเมื่อไปที่โดเมนของคุณ
ตัวอย่าง DNS

  • www.kku.ac.th  แทนการจำ IP หมายเลข  202.12.97.2
  • www.hotmail.com แทนการจำ IP หมายเลข 207.68.171.203
  • www.google.com แทนการจำ IP หมายเลข  216.239.39.99                                                                               กลับ
              8. Home page   โฮมเพจ คือคำที่ใช้เรียกหน้าแรกของเว็บไซต์ โดยเป็นทางเข้าหลักของเว็บไซต์ เมื่อเปิดเว็บไซต์นั้นขึ้นมา โฮมเพจ ก็จะเปรียบเสมือนกับเป็นสารบัญและคำนำที่เจ้าของเว็บไซต์นั้นได้สร้างขึ้น เพื่อใช้ประชาสัมพันธ์องค์กรของตน นอกจากนี้ ภายในโฮมเพจก็อาจมีเอกสารหรือข้อความที่เชื่อมโยงต่อไปยังเว็บเพจอื่นๆอีกด้วย
ตัวอย่าง Home page ของ google
ในหน้าโฮมเพจของเว็บไซต์ มักประกอบด้วยส่วนต่าง ๆ ดังนี้ 
             1.โลโก้ (logo) คือสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้ผู้เข้าชมสามารถจดจำเว็บไซต์ของเราได้ นอกจากนี้แล้วโลโก้ยังช่วยให้เว็บไซต์ของเราดูมีเอกลักษณ์อีกด้วย
             2. เมนูหลัก (link menu) เป็นจุดที่เชื่อมโยงข้อมูลที่สำคัญ ซึ่งรวบรวมไว้ในรูปแบบของปุ่มเมนู หรือข้อความที่ผู้เยี่ยมชมเว็บไซต์สามารถรับรู้เรื่องราวที่น่าสนใจของเว็บไซต์ได้ ควรมีข่าวใหม่ๆ เนื้อหาใหม่ๆมาตลอด
            3. โฆษณา (Banner) เป็นส่วนที่สำคัญอีกเช่นเดียวกัน  เพราะเว็บไซต์ที่มีโฆษณาจะช่วยส่งเสริมภาพลักษณ์ ความน่าเชื่อถือ และช่วยกระตุ้นความสนใจเพราะมักใช้ภาพเคลื่อนไหว                                                                                กลับ

              9. Anchor  การเชื่อมโยงหน้าเว็บเพจในอินเทอร์เน็ตเข้าด้วยกัน เป็นสิ่งที่ทำให้เว็บเพจมีความแตกต่างจาก
เอกสารธรรมดา เพราะทำให้ผู้ใช้ไม่ต้องเปิดดูตั้งแต่หน้าแรก แต่สามารถคลิกเมาส์เปิดดูเฉพาะหน้าเว็บเพจที่สนใจได้การเชื่อมโยงบนเว็บเพจมีด้วยกันหลายรูปแบบ อาจแบ่งตามการใช้งาน หรือตามลักษณะของการเชื่อมโยงก็ได้ ถ้าแบ่งตามลักษณะการเชื่อมโยงจะแบ่งการเชื่อมโยงออกเป็น 2 ประเภท คือการเชื่อมโยงภายในเว็บเพจ และการเชื่อมโยงภายนอกเว็บเพจ แต่ถ้าแบ่งตามวัตถุประสงค์ของรูปแบบการใช้งานจะแบ่งการเชื่อมโยงบนเว็บเพจออกเป็นประเภทต่างๆ ดังต่อไปนี้
                    1. การเชื่อมโยงภายในเว็บเพจเดียวกัน
                    2. การเชื่อมโยงภายในเว็บไซต์เดียวกัน
                    3. การเชื่อมโยงไปยังเว็บไซต์อื่น
                    4. การเชื่อมโยงด้วยอีเมล์
                    5. การเชื่อมโยงไปยังไฟล์ดาวน์โหลด
                    6. การเชื่อมโยงด้วย Map Link
                                                                             กลับ

              10. HTML ย่อมาจาก Hyper Text Markup Language คือภาษาคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการแสดงผลของเอกสารบน website หรือที่เราเรียกกันว่าเว็บเพจ ถูกพัฒนาและกำหนดมาตรฐานโดยองค์กร World Wide Web Consortium (W3C) และจากการพัฒนาทางด้าน Software ของ Microsoft ทำให้ภาษา HTML เป็นอีกภาษาหนึ่งที่ใช้เขียนโปรแกรมได้ หรือที่เรียกว่า HTML Application  
      HTML เป็นภาษาประเภท Markup   สำหรับการการสร้างเว็บเพจ โดยใช้ภาษา HTML สามารถทำโดยใช้โปรแกรม Text Editor ต่างๆ เช่น Notepad, Editplus หรือจะอาศัยโปรแกรมที่เป็นเครื่องมือช่วยสร้างเว็บเพจ เช่น Microsoft FrontPage, Dream Weaver ซึ่งอํานวยความสะดวกในการสร้างหน้า HTML ส่วนการเรียกใช้งานหรือทดสอบการทำงานของเอกสาร HTML จะใช้โปรแกรม web browser เช่น IE Microsoft Internet Explorer  (IE), Mozilla Firefox, Safari, Opera, และ Netscape Navigator เป็นต้น
                                       กลับ