ค้นว่าอยู่เล่มใด แล้วกด [ctrl]+f หรือใช้คำสั่งของเครื่องหาตำแหน่งในเล่มอีกทีนะครับ



จัดรูปหน้าใหม่
เพื่อความสะดวก และสวยงาม
(เฉพาะหน้าจอใหญ่ เช่น คอมพิวเตอร์)
กรุณาคลิก จัดรูปหน้าใหม่
เพื่อให้กรอบ
ค้นข้อความ ปรากฎที่ด้านซ้ายของหน้า

พระไตรปิฎกภาษาไทย
ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ๔๕ เล่ม (ปกสีฟ้า)
ทั้งออนไลน์และออฟไลน์
ที่มาของข้อมูล : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับ มจร.
MCUTRAI Version 1.0

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๗ อภิธรรมปิฎกที่ ๐๔ กถาวัตถุ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๑. ปุคคลกถา

พระอภิธรรมปิฎก
กถาวัตถุ
_____________
ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

๑. มหาวรรค
๑. ปุคคลกถา
ว่าด้วยบุคคล
๑. สุทธสัจฉิกัฏฐะ
ว่าด้วยสภาวะที่แท้จริงล้วน ๆ๑
๑. อนุโลมปัจจนีกะ
อนุโลมปัญจกะ

[๑] สกวาที๒ ถามว่า ท่านหยั่งรู้บุคคล๓ ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์๔ ใช่ไหม๕
ปรวาที๖ ตอบว่า ใช่๗

เชิงอรรถ :
๑ หมายถึงตอนที่ว่าด้วยการซักถามถึงปรมัตถธรรมโดยไม่เกี่ยวข้องกับโอกาส กาล และอวัยวะ (องค์ธรรม
ย่อย เช่น ขันธ์ ๕)
๒ สกวาที หมายถึงพระเถระนิกายเถรวาท ซึ่งยึดหลักคำสอนเดิม ไม่มีการประยุกต์เปลี่ยนแปลงเพิ่มเติมหรือตัด
ทอนพระพุทธพจน์ตามมติที่ประชุมสังคายนาครั้งที่ ๑ ซึ่งมีพระมหากัสสปเถระเป็นประธาน (วิมติ.ฏีกา ๑/๓๘)
๓ บุคคล ในลัทธิของปรวาทีหมายถึงอัตตา สัตตะ หรือชีวะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๑/๑๒๙)
๔ สัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ แยกเป็น ๒ คำ คือ สัจฉิกัฏฐะ + ปรมัตถะ คำว่า สัจฉิกัฏฐะ แปลว่า สภาวะที่แท้จริง
เป็นได้ทั้งสมมติสัจและปรมัตถสัจ ส่วนคำว่า ปรมัตถะ แปลว่า สภาวะขั้นสูงสุด เป็นปรมัตถสัจอย่างเดียว
ได้แก่ สภาวธรรม ๕๗ คือ ขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ ธาตุ ๑๘ อินทรีย์ ๒๒ ซึ่งก็หมายถึง ปรมัตถธรรม ๔ คือ
จิต เจตสิก รูป นิพพาน แต่ในที่นี้ ปรวาทีใช้คำ ๒ คำนี้ในความหมายรวมกันว่า ความจริงแท้ขั้นสูงสุด
(อภิ.ปญฺจ.อ. ๑/๑๒๙-๑๓๐, องฺ.เอกก.อ. ๑/๑๗๐/๘๖-๘๗)
๕ คำถามนี้มีใจความว่า ท่านเห็นว่า บุคคลมีอยู่จริงใช่ไหม
๖ ปรวาที หมายถึงภิกษุในนิกายอื่นนอกจากนิกายเถรวาท ในที่นี้หมายถึงภิกษุในนิกายวัชชีปุตตกะ
นิกายสมิติยะ และพวกอัญเดียรถีย์ที่ถือสัสสตวาทะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๑/๑๒๙)
๗ เพราะมีความเห็นว่า บุคคลมีอยู่อย่างเที่ยงแท้ถาวร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๑ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๑. ปุคคลกถา
สก. สภาวธรรมใดเป็นสัจฉิกัฏฐะเป็นปรมัตถะ ท่านหยั่งรู้บุคคลนั้นได้โดย
สัจฉิกัฏฐปรมัตถ์นั้นใช่ไหม๑
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น๒
สก. ท่านจงรับนิคคหะ๓ดังต่อไปนี้
หากท่านหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า
“สภาวธรรมใดเป็นสัจฉิกัฏฐะเป็นปรมัตถะ ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลนั้นได้โดยสัจฉิกัฏฐ-
ปรมัตถ์นั้น” ท่านกล่าวคำขัดแย้งใดในตอนต้นนั้นว่า “ข้าพเจ้ายอมรับว่า ข้าพเจ้า
หยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ แต่ไม่ยอมรับว่า สภาวธรรมใดเป็นสัจฉิกัฏฐะ
เป็นปรมัตถะ ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลนั้นได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์นั้น” คำนั้นของท่านผิด
อนึ่ง หากท่านไม่ยอมรับว่า “สภาวธรรมใดเป็นสัจฉิกัฏฐะเป็นปรมัตถะ ข้าพเจ้า
หยั่งรู้บุคคลนั้นได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์นั้น” ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “ข้าพเจ้าหยั่งรู้
บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์” ท่านกล่าวคำขัดแย้งใดในตอนต้นนั้นว่า “ข้าพเจ้า
ยอมรับว่า ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ แต่ไม่ยอมรับว่า สภาว-
ธรรมใดเป็นสัจฉิกัฏฐะเป็นปรมัตถะ ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลนั้นได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์
นั้น” คำนั้นของท่านผิด

อนุโลมปัญจกะ จบ

เชิงอรรถ :
๑ ในคำถามนี้ สกวาทีจงใจแยกคำว่า สัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ออกจากกันเป็น ๒ คำ ๒ ความหมาย (ดูเชิงอรรถ
ที่ ๔ หน้า ๑) เพื่อไม่เปิดช่องให้ฝ่ายปรวาทีย้อนถามได้ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๑/๑๓๐)
๒ เพราะฝ่ายปรวาทีเห็นคล้อยตามฝ่ายสกวาทีว่า สัจฉิกัฏฐะ ปรมัตถะ มีความหมายแยกกันจริง
(อภิ.ปญฺจ.อ. ๑/๑๓๓)
๓ นิคคหะ แปลว่า การข่ม การกดขี่ การปราบ(ด้วยวาทะ) ความผิดอันเกิดจากคำพูดที่ขัดแย้งกันเอง
ในที่นี้หมายถึงความผิดอันเกิดจากคำพูดที่ขัดแย้งกันเอง (อภิ.ปญฺจ.อ. ๑/๑๓๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๒ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๑. ปุคคลกถา
ปฏิกัมมจตุกกะ
[๒] ปร. ท่านหยั่งรู้บุคคลไม่ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ใช่ไหม
สก. ใช่๑
ปร. สภาวธรรมใดเป็นสัจฉิกัฏฐะเป็นปรมัตถะ ท่านหยั่งรู้บุคคลนั้นไม่ได้โดย
สัจฉิกัฏฐปรมัตถ์นั้นใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น๒
ปร. ท่านจงรับปฏิกรรม๓ ดังต่อไปนี้
หากท่านหยั่งรู้บุคคลไม่ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า
“สภาวธรรมใดเป็นสัจฉิกัฏฐะเป็นปรมัตถะ ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลนั้นไม่ได้โดยสัจฉิกัฏฐ-
ปรมัตถ์นั้น” ท่านกล่าวคำขัดแย้งใดในตอนต้นนั้นว่า “ข้าพเจ้ายอมรับว่า ข้าพเจ้า
หยั่งรู้บุคคลไม่ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ แต่ไม่ยอมรับว่า สภาวธรรมใดเป็นสัจฉิกัฏฐะ
เป็นปรมัตถะ ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลนั้นไม่ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์นั้น” คำนั้นของท่านผิด
อนึ่ง หากท่านไม่ยอมรับว่า “สภาวธรรมใดเป็นสัจฉิกัฏฐะเป็นปรมัตถะ
ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลนั้นไม่ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์นั้น” ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “ข้าพเจ้า
หยั่งรู้บุคคลไม่ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์” ท่านกล่าวคำขัดแย้งใดในตอนต้นนั้นว่า
“ข้าพเจ้ายอมรับว่า ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลไม่ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ แต่ไม่ยอมรับว่า
สภาวธรรมใดเป็นสัจฉิกัฏฐะเป็นปรมัตถะ ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลนั้นไม่ได้โดยสัจฉิกัฏฐ-
ปรมัตถ์นั้น” คำนั้นของท่านผิด

ปฏิกัมมจตุกกะ จบ

เชิงอรรถ :
๑ เพราะมีความเห็นว่า บุคคลเป็นสมมติสัจ ซึ่งบัญญัติขึ้นโดยอาศัยขันธ์ ๕ รวมกัน(อุปาทาบัญญัติ) (อภิ.ปญฺจ.อ.
๒/๑๓๒)
๒ เพราะมีความเห็นว่า คำถามนี้คลุมเครือ โดยใช้คำว่า “สัจฉิกัฏฐะ” กับคำว่า “ปรมัตถะ” รวม ๆ จึงไม่
อาจตอบยืนยันเหมือนคำตอบที่ ๑ ได้ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๒/๑๓๒)
๓ ปฏิกรรม แปลว่า การทำคืน การทำตอบ การโต้กลับ การแก้ไข ในที่นี้หมายถึงการโต้กลับเพื่อยกนิคคหะ
คืนไป (อภิ.ปญฺจ.อ. ๒/๑๓๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๓ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๑. ปุคคลกถา
นิคคหจตุกกะ
[๓] ปร. อนึ่ง หากท่านระลึกได้ว่า “ข้าพเจ้ายอมรับว่า ข้าพเจ้าหยั่งรู้
บุคคลไม่ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ แต่ไม่ยอมรับว่า สภาวธรรมใดเป็นสัจฉิกัฏฐะเป็น
ปรมัตถะ ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลนั้นไม่ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์นั้น” ดังนั้น ท่านเมื่อ
ยอมรับด้วยปฏิญญานี้ในอนุโลมปัญจกะ๑นั้น ก็ควรถูกลงนิคคหะอย่างนี้ ฉะนั้น
ข้าพเจ้าจึงลงนิคคหะท่าน ท่านจึงเป็นอันข้าพเจ้าลงนิคคหะชอบแล้ว ดังต่อไปนี้
หากท่านหยั่งรู้บุคคลไม่ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า
“สภาวธรรมใดเป็นสัจฉิกัฏฐะเป็นปรมัตถะ ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลนั้นไม่ได้โดยสัจฉิกัฏฐ-
ปรมัตถ์นั้น” ท่านกล่าวคำขัดแย้งใดในตอนต้นนั้นว่า “ข้าพเจ้ายอมรับว่า ข้าพเจ้า
หยั่งรู้บุคคลไม่ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ แต่ไม่ยอมรับว่า สภาวธรรมใดเป็นสัจฉิกัฏฐะ
เป็นปรมัตถะ ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลนั้นไม่ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์นั้น” คำนั้นของท่านผิด
อนึ่ง หากท่านไม่ยอมรับว่า “สภาวธรรมใดเป็นสัจฉิกัฏฐะเป็นปรมัตถะ
ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลนั้นไม่ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์นั้น” ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า
“ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลไม่ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์” ท่านกล่าวคำขัดแย้งใดในตอนต้นนั้น
ว่า “ข้าพเจ้ายอมรับว่า ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลไม่ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ แต่ไม่ยอม
รับว่า สภาวธรรมใดเป็นสัจฉิกัฏฐะเป็นปรมัตถะ ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลนั้นไม่ได้โดย
สัจฉิกัฏฐปรมัตถ์นั้น” คำนั้นของท่านผิด
นิคคหจตุกกะ จบ

อุปนยนจตุกกะ
[๔] ปร. หากนิคคหะนี้เป็นการนิคคหะโดยมิชอบ ในนิคคหะที่ท่านลงแก่
ข้าพเจ้านั้น ท่านก็จงเห็นว่าเป็นอย่างนั้นเหมือนกัน
ข้าพเจ้ายอมรับว่า “ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์” แต่ไม่ยอม
รับว่า “สภาวธรรมใดเป็นสัจฉิกัฏฐะเป็นปรมัตถะ ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลนั้นได้โดย
สัจฉิกัฏฐปรมัตถ์นั้น” และข้าพเจ้าเมื่อยอมรับด้วยปฏิญญานี้ในอนุโลมปัญจกะนั้น

เชิงอรรถ :
๑ อนุโลมปัญจกะ (ข้อ ๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๔ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๑. ปุคคลกถา
ท่านไม่ควรลงนิคคหะอย่างนี้ แต่ท่านก็ยังลงนิคคหะข้าพเจ้า ข้าพเจ้าจึงถูกท่านลง
นิคคหะโดยมิชอบ ดังที่กล่าวมาว่า
“หากท่านหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า
‘สภาวธรรมใดเป็นสัจฉิกัฏฐะเป็นปรมัตถะ ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลนั้นได้โดยสัจฉิกัฏฐ-
ปรมัตถ์นั้น’ ท่านกล่าวคำขัดแย้งใดในตอนต้นนั้นว่า ‘ข้าพเจ้ายอมรับว่า ข้าพเจ้า
หยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ แต่ไม่ยอมรับว่า สภาวธรรมใดเป็นสัจฉิกัฏฐะเป็น
ปรมัตถะ ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลนั้นได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์นั้น’ คำนั้นของท่านผิด
อนึ่ง หากท่านไม่ยอมรับว่า ‘สภาวธรรมใดเป็นสัจฉิกัฏฐะเป็นปรมัตถะ
ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลนั้นได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์นั้น’ ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า ‘ข้าพเจ้า
หยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์’ ท่านกล่าวคำขัดแย้งใดในตอนต้นนั้นว่า ‘ข้าพเจ้า
ยอมรับว่า ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ แต่ไม่ยอมรับว่า สภาวธรรมใด
เป็นสัจฉิกัฏฐะเป็นปรมัตถะ ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลนั้นได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์นั้น’ คำนั้น
ของท่านผิด”
อุปนยนจตุกกะ จบ

นิคคมจตุกกะ
[๕] ปร. ท่านไม่ควรลงนิคคหะข้าพเจ้าอย่างนี้ แต่ท่านก็ยังลงนิคคหะข้าพเจ้า
ด้วยนิคคหะว่า
“หากท่านหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า
‘สภาวธรรมใดเป็นสัจฉิกัฏฐะเป็นปรมัตถะ ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลนั้นได้โดยสัจฉิกัฏฐ-
ปรมัตถ์นั้น’ ท่านกล่าวคำขัดแย้งใดในตอนต้นนั้นว่า ‘ข้าพเจ้ายอมรับว่า ข้าพเจ้า
หยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ แต่ไม่ยอมรับว่า สภาวธรรมใดเป็นสัจฉิกัฏฐะ
เป็นปรมัตถะ ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลนั้นได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์นั้น’ คำนั้นของท่านผิด
อนึ่ง หากท่านไม่ยอมรับว่า ‘สภาวธรรมใดเป็นสัจฉิกัฏฐะเป็นปรมัตถะ
ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลนั้นได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์นั้น’ ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า ‘ข้าพเจ้า
หยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์’ ท่านกล่าวคำขัดแย้งใดในตอนต้นนั้นว่า ‘ข้าพเจ้า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๕ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๑. ปุคคลกถา
ยอมรับว่า ‘ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ แต่ไม่ยอมรับว่า สภาวธรรม
ใดเป็นสัจฉิกัฏฐะเป็นปรมัตถะ ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลนั้นได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์นั้น’
คำนั้นของท่านผิด”
ฉะนั้น นิคคหะที่ท่านกระทำแล้วเป็นการกระทำโดยมิชอบ ปฏิกรรมเป็นการ
กระทำโดยชอบแล้ว การดำเนินกระบวนความ๑เป็นการกระทำโดยชอบแล้ว
นิคคมจตุกกะ จบ นิคคหะที่ ๑ จบ

๑. สุทธสัจฉิกัฏฐะ
๒. ปัจจนีกานุโลมะ
ปัจจนีกปัญจกะ
[๖] ปร. ท่านหยั่งรู้บุคคลไม่ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. สภาวธรรมใดเป็นสัจฉิกัฏฐะเป็นปรมัตถะ ท่านหยั่งรู้บุคคลนั้นไม่ได้โดย
สัจฉิกัฏฐปรมัตถ์นั้นใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น๒
ปร. ท่านจงรับนิคคหะ ดังต่อไปนี้
หากท่านหยั่งรู้บุคคลไม่ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า
“สภาวธรรมใดเป็นสัจฉิกัฏฐะเป็นปรมัตถะ ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลนั้นไม่ได้โดยสัจฉิกัฏฐ-
ปรมัตถ์นั้น” ท่านกล่าวคำขัดแย้งใดในตอนต้นนั้นว่า “ข้าพเจ้ายอมรับว่า ข้าพเจ้า
หยั่งรู้บุคคลไม่ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ แต่ไม่ยอมรับว่า สภาวธรรมใดเป็นสัจฉิกัฏฐะ
เป็นปรมัตถะ ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลนั้นไม่ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์นั้น” คำนั้นของ
ท่านผิด

เชิงอรรถ :
๑ การดำเนินกระบวนความ หมายถึงวิธีการโต้กลับตั้งแต่ปฏิกัมมจตุกกะ (ข้อ ๒) จนถึงนิคคมจตุกกะ
๒ ดูเชิงอรรถที่ ๒ หน้า ๓ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๖ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๑. ปุคคลกถา
อนึ่ง หากท่านไม่ยอมรับว่า “สภาวธรรมใดเป็นสัจฉิกัฏฐะเป็นปรมัตถะ
ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลนั้นไม่ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์นั้น” ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “ข้าพเจ้า
หยั่งรู้บุคคลไม่ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์” ท่านกล่าวคำขัดแย้งใดในตอนต้นนั้นว่า “ข้าพเจ้า
ยอมรับว่า ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลไม่ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ แต่ไม่ยอมรับว่า สภาว-
ธรรมใดเป็นสัจฉิกัฏฐะเป็นปรมัตถะ ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลนั้นไม่ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์นั้น”
คำนั้นของท่านผิด
ปัจจนีกปัญจกะ จบ

ปฏิกัมมจตุกกะ
[๗] สก. ท่านหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สภาวธรรมใดเป็นสัจฉิกัฏฐะเป็นปรมัตถะ ท่านหยั่งรู้บุคคลนั้นได้โดย
สัจฉิกัฏฐปรมัตถ์นั้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น
สก. ท่านจงรับปฏิกรรม ดังต่อไปนี้
หากท่านหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า
“สภาวธรรมใดเป็นสัจฉิกัฏฐะเป็นปรมัตถะ ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลนั้นได้โดยสัจฉิกัฏฐ-
ปรมัตถ์นั้น” ท่านกล่าวคำขัดแย้งใดในตอนต้นนั้นว่า “ข้าพเจ้ายอมรับว่า ข้าพเจ้า
หยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ แต่ไม่ยอมรับว่า สภาวธรรมใดเป็นสัจฉิกัฏฐะ
เป็นปรมัตถะ ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลนั้นได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์นั้น” คำนั้นของท่านผิด
อนึ่ง หากท่านไม่ยอมรับว่า “สภาวธรรมใดเป็นสัจฉิกัฏฐะเป็นปรมัตถะ
ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลนั้นได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์นั้น” ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “ข้าพเจ้า
หยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์” ท่านกล่าวคำขัดแย้งใดในตอนต้นนั้นว่า “ข้าพเจ้า
ยอมรับว่า ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ แต่ไม่ยอมรับว่า สภาว-
ธรรมใดเป็นสัจฉิกัฏฐะเป็นปรมัตถะ ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลนั้นได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์นั้น”
คำนั้นของท่านผิด

ปฏิกัมมจตุกกะ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๗ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๑. ปุคคลกถา
นิคคหจตุกกะ
[๘] สก. อนึ่ง หากท่านระลึกได้ว่า “ข้าพเจ้ายอมรับว่า ข้าพเจ้าหยั่งรู้
บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ แต่ไม่ยอมรับว่า สภาวธรรมใดเป็นสัจฉิกัฏฐะเป็น
ปรมัตถะ ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลนั้นได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์นั้น” ดังนั้น ท่านเมื่อ
ยอมรับด้วยปฏิญญานี้ในปัจจนีกปัญจกะ๑นั้น ก็ควรถูกลงนิคคหะอย่างนี้ ฉะนั้น
ข้าพเจ้าจึงลงนิคคหะท่าน ท่านจึงเป็นอันข้าพเจ้าลงนิคคหะชอบแล้ว ดังต่อไปนี้
หากท่านหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า
“สภาวธรรมใดเป็นสัจฉิกัฏฐะเป็นปรมัตถะ ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลนั้นได้โดยสัจฉิกัฏฐ-
ปรมัตถ์นั้น” ท่านกล่าวคำขัดแย้งใดในตอนต้นนั้นว่า “ข้าพเจ้ายอมรับว่า ข้าพเจ้า
หยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ แต่ไม่ยอมรับว่า สภาวธรรมใดเป็นสัจฉิกัฏฐะ
เป็นปรมัตถะ ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลนั้นได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์นั้น” คำนั้นของท่านผิด
อนึ่ง หากท่านไม่ยอมรับว่า “สภาวธรรมใดเป็นสัจฉิกัฏฐะเป็นปรมัตถะ
ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลนั้นได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์นั้น” ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “ข้าพเจ้า
หยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์” ท่านกล่าวคำขัดแย้งใดในตอนต้นนั้นว่า “ข้าพเจ้า
ยอมรับว่า ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ แต่ไม่ยอมรับว่า สภาวธรรม
ใดเป็นสัจฉิกัฏฐะเป็นปรมัตถะ ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลนั้นได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์นั้น”
คำนั้นของท่านผิด
นิคคหจตุกกะ จบ

อุปนยนจตุกกะ
[๙] สก. หากนิคคหะนี้เป็นการนิคคหะโดยมิชอบ ในนิคคหะที่ท่านลงแก่
ข้าพเจ้านั้น ท่านก็จงเห็นว่าเป็นอย่างนั้นเหมือนกัน
ข้าพเจ้ายอมรับว่า “ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลไม่ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์” แต่ไม่
ยอมรับว่า “สภาวธรรมใดเป็นสัจฉิกัฏฐะเป็นปรมัตถะ ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลนั้นไม่ได้

เชิงอรรถ :
๑ ปัจจนีกปัญจกะ (ข้อ ๖)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๘ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๑. ปุคคลกถา
โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์นั้น” และข้าพเจ้าเมื่อยอมรับด้วยปฏิญญานี้ในปัจจนีกปัญจกะ
นั้น ท่านไม่ควรลงนิคคหะอย่างนี้ แต่ท่านก็ยังลงนิคคหะข้าพเจ้า ข้าพเจ้าจึงถูกท่าน
ลงนิคคหะโดยมิชอบ ดังที่กล่าวมาว่า
“หากท่านหยั่งรู้บุคคลไม่ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า
‘สภาวธรรมใดเป็นสัจฉิกัฏฐะเป็นปรมัตถะ ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลนั้นไม่ได้โดยสัจฉิกัฏฐ-
ปรมัตถ์นั้น’ ท่านกล่าวคำขัดแย้งใดในตอนต้นนั้นว่า ‘ข้าพเจ้ายอมรับว่า ข้าพเจ้า
หยั่งรู้บุคคลไม่ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ แต่ไม่ยอมรับว่า สภาวธรรมใดเป็น
สัจฉิกัฏฐะเป็นปรมัตถะ ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลนั้นไม่ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์นั้น’ คำ
นั้นของท่านผิด
อนึ่ง หากท่านไม่ยอมรับว่า ‘สภาวธรรมใดเป็นสัจฉิกัฏฐะเป็นปรมัตถะ
ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลนั้นไม่ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์นั้น’ ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า
‘ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลไม่ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์’ ท่านกล่าวคำขัดแย้งใดในตอนต้นนั้นว่า
‘ข้าพเจ้ายอมรับว่า ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลไม่ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ แต่ไม่ยอมรับว่า
สภาวธรรมใดเป็นสัจฉิกัฏฐะเป็นปรมัตถะ ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลนั้นไม่ได้โดยสัจฉิกัฏฐ-
ปรมัตถ์นั้น’ คำนั้นของท่านผิด”
อุปนยนจตุกกะ จบ

นิคคมจตุกกะ
[๑๐] สก. ท่านไม่ควรลงนิคคหะข้าพเจ้าอย่างนี้ แต่ท่านก็ยังลงนิคคหะ
ข้าพเจ้าด้วยนิคคหะว่า
“หากท่านหยั่งรู้บุคคลไม่ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า
‘สภาวธรรมใดเป็นสัจฉิกัฏฐะเป็นปรมัตถะ ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลนั้นไม่ได้โดยสัจฉิกัฏฐ-
ปรมัตถ์นั้น’ ท่านกล่าวคำขัดแย้งใดในตอนต้นนั้นว่า ‘ข้าพเจ้ายอมรับว่า ข้าพเจ้า
หยั่งรู้บุคคลไม่ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ แต่ไม่ยอมรับว่า สภาวธรรมใดเป็นสัจฉิกัฏฐะ
เป็นปรมัตถะ ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลนั้นไม่ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์นั้น’ คำนั้นของ
ท่านผิด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๙ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๑. ปุคคลกถา
อนึ่ง หากท่านไม่ยอมรับว่า ‘สภาวธรรมใดเป็นสัจฉิกัฏฐะเป็นปรมัตถะ ข้าพเจ้า
หยั่งรู้บุคคลนั้นไม่ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์นั้น’ ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า ‘ข้าพเจ้าหยั่งรู้
บุคคลไม่ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์’ ท่านกล่าวคำขัดแย้งใดในตอนต้นนั้นว่า ‘ข้าพเจ้า
ยอมรับว่า ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลไม่ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ แต่ไม่ยอมรับว่า สภาว-
ธรรมใดเป็นสัจฉิกัฏฐะเป็นปรมัตถะ ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลนั้นไม่ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์นั้น’
คำนั้นของท่านผิด”
ฉะนั้น นิคคหะที่ท่านกระทำแล้วเป็นการกระทำโดยมิชอบ ปฏิกรรมเป็นการ
กระทำโดยชอบแล้ว การดำเนินกระบวนความเป็นการกระทำโดยชอบแล้ว
นิคคมจตุกกะ จบ นิคคหะที่ ๒ จบ

๒. โอกาสสัจฉิกัฏฐะ
ว่าด้วยสภาวะที่แท้จริงกับโอกาส๑
๑. อนุโลมปัจจนีกะ
[๑๑] สก. ท่านหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ท่านหยั่งรู้บุคคลได้ในโอกาสทั้งปวง๒โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น๓
สก. ท่านจงรับนิคคหะ ดังต่อไปนี้
หากท่านหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า
“ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลได้ในโอกาสทั้งปวงโดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์” ท่านกล่าวคำขัดแย้ง
ใดในตอนต้นนั้นว่า “ข้าพเจ้ายอมรับว่า ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์

เชิงอรรถ :
๑ หมายถึงตอนที่ว่าด้วยการซักถามถึงปรมัตถธรรมที่เกี่ยวข้องกับโอกาส คำว่า โอกาส มีความหมายหลาย
อย่าง เช่น ที่ ที่ตั้ง เวลาที่เหมาะสม เหตุ การขออนุญาต ในที่นี้หมายถึงที่ ที่ตั้ง เช่น สรีระ ภพ ภูมิ โลก
(อภิ.ปญฺจ.อ. ๑๑/๑๓๗)
๒ โอกาสทั้งปวง ในที่นี้หมายถึงสรีระ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๑๑/๑๓๗)
๓ เพราะมีความเห็นว่า ถ้าตอบรับก็เท่ากับยอมรับว่า มีอัตตาในรูป แต่ถ้าตอบปฏิเสธก็เท่ากับยอมรับว่า
ชีวะกับสรีระต่างกัน ซึ่งฝ่ายปรวาทียอมรับไม่ได้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๑๐ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๑. ปุคคลกถา
แต่ไม่ยอมรับว่า ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลได้ในโอกาสทั้งปวงโดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์” คำนั้น
ของท่านผิด
อนึ่ง หากท่านไม่ยอมรับว่า “ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลได้ในโอกาสทั้งปวงโดย
สัจฉิกัฏฐปรมัตถ์” ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐ-
ปรมัตถ์” ท่านกล่าวคำขัดแย้งใดในตอนต้นนั้นว่า “ข้าพเจ้ายอมรับว่า ข้าพเจ้า
หยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ แต่ไม่ยอมรับว่า ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลได้ใน
โอกาสทั้งปวงโดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์” คำนั้นของท่านผิด ฯลฯ๑
นิคคหะที่ ๓ จบ

๓. กาลสัจฉิกัฏฐะ
ว่าด้วยสภาวะที่แท้จริงกับกาล๒
๑. อนุโลมปัจจนีกะ
[๑๒] สก. ท่านหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ท่านหยั่งรู้บุคคลได้ในกาลทั้งปวง๓โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น๔
สก. ท่านจงรับนิคคหะ ดังต่อไปนี้
หากท่านหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า
“ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลได้ในกาลทั้งปวงโดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์” ท่านกล่าวคำขัดแย้งใด

เชิงอรรถ :
๑ ท่านละปฏิกัมมจตุกกะ นิคคหจตุกกะ อุปนยนจตุกกะ และนิคคมจตุกกะไว้
๒ หมายถึงตอนที่ว่าด้วยการซักถามถึงปรมัตถธรรมที่เกี่ยวข้องกับกาล คำว่า กาล ในที่นี้หมายถึงช่วงเวลา
ที่กำหนดตามเหตุการณ์ เช่น เช้า สาย บ่าย เย็น อดีต อนาคต
๓ กาลทั้งปวง ในที่นี้หมายถึงระยะเวลาของอัตภาพในอดีตชาติ อนาคตชาติและปัจจุบันชาติตั้งแต่เกิดจนถึง
ตาย (อภิ.ปญฺจ.อ. ๑๒/๑๓๗, อภิ.อนุฏีกา ๓/๑๒/๘๔)
๔ เพราะมีความเห็นว่า ถ้าตอบรับก็เท่ากับยอมรับว่าบุคคลในอดีตชาติกับบุคคลในอนาคตชาติไม่แตกต่างกัน
และบุคคลขณะมีชีวิตอยู่กับหลังจากปรินิพพานแล้วไม่มีความแตกต่างกัน ซึ่งฝ่ายปรวาทีรับไม่ได้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๑๑ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๑. ปุคคลกถา
ในตอนต้นนั้นว่า “ข้าพเจ้ายอมรับว่า ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์
แต่ไม่ยอมรับว่า ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลได้ในกาลทั้งปวงโดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์” คำนั้น
ของท่านผิด
อนึ่ง หากท่านไม่ยอมรับว่า “ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลได้ในกาลทั้งปวงโดยสัจฉิกัฏฐ-
ปรมัตถ์” ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์”
ท่านกล่าวคำขัดแย้งใดในตอนต้นนั้นว่า “ข้าพเจ้ายอมรับว่า ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคล
ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ แต่ไม่ยอมรับว่า ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลได้ในกาลทั้งปวงโดย
สัจฉิกัฏฐปรมัตถ์” คำนั้นของท่านผิด ฯลฯ
นิคคหะที่ ๔ จบ

๔. อวัยวสัจฉิกัฏฐะ
ว่าด้วยสภาวะที่แท้จริงกับอวัยวะ๑
๑. อนุโลมปัจจนีกะ
[๑๓] สก. ท่านหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ท่านหยั่งรู้บุคคลได้ในอวัยวะทั้งปวง๒โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น๓
สก. ท่านจงรับนิคคหะ ดังต่อไปนี้
หากท่านหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า
“ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลได้ในอวัยวะทั้งปวงโดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์” ท่านกล่าวคำ

เชิงอรรถ :
๑ หมายถึงตอนที่ว่าด้วยการซักถามถึงปรมัตถธรรมที่เกี่ยวข้องกับอวัยวะ คำว่า อวัยวะ หมายถึงองค์ธรรมย่อย
คือสภาวธรรม ๕๗ ดังกล่าวมาแล้ว (อภิ.ปญฺจ.อ. ๑๓/๑๓๗)
๒ อวัยวะทั้งปวง ในที่นี้หมายถึงองค์ธรรมย่อย เช่น ขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๑๓/๑๓๗)
๓ เพราะมีความเห็นว่า ถ้าตอบรับก็เท่ากับยอมรับว่า มีอัตตาในขันธ์ มีรูปขันธ์ เป็นต้น มีอัตตาในอายตนะมี
จักขายตนะ เป็นต้น ซึ่งฝ่ายปรวาทียอมรับไม่ได้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๑๒ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๑. ปุคคลกถา
ขัดแย้งใดในตอนต้นนั้นว่า “ข้าพเจ้ายอมรับว่า ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลได้โดย
สัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ แต่ไม่ยอมรับว่า ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลได้ในอวัยวะทั้งปวงโดย
สัจฉิกัฏฐปรมัตถ์” คำนั้นของท่านผิด
อนึ่ง หากท่านไม่ยอมรับว่า “ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลได้ในอวัยวะทั้งปวงโดย
สัจฉิกัฏฐปรมัตถ์” ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐ-
ปรมัตถ์” ท่านกล่าวคำขัดแย้งใดในตอนต้นนั้นว่า “ข้าพเจ้ายอมรับว่า ข้าพเจ้า
หยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ แต่ไม่ยอมรับว่า ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลได้ใน
อวัยวะทั้งปวงโดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์” คำนั้นของท่านผิด ฯลฯ
นิคคหะที่ ๕ จบ

๒. โอกาสสัจฉิกัฏฐะ
๒. ปัจจนีกานุโลมะ
[๑๔] ปร. ท่านหยั่งรู้บุคคลไม่ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. ท่านหยั่งรู้บุคคลไม่ได้ในโอกาสทั้งปวงโดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น
ปร. ท่านจงรับนิคคหะ ดังต่อไปนี้
หากท่านหยั่งรู้บุคคลไม่ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า
“ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลไม่ได้ในโอกาสทั้งปวงโดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์” ท่านกล่าวคำ
ขัดแย้งใดในตอนต้นนั้นว่า “ข้าพเจ้ายอมรับว่า ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลไม่ได้โดย
สัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ แต่ไม่ยอมรับว่า ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลไม่ได้ในโอกาสทั้งปวงโดย
สัจฉิกัฏฐปรมัตถ์” คำนั้นของท่านผิด
อนึ่ง หากท่านไม่ยอมรับว่า “ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลไม่ได้ในโอกาสทั้งปวง
โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์” ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลไม่ได้โดย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๑๓ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๑. ปุคคลกถา
สัจฉิกัฏฐปรมัตถ์” ท่านกล่าวคำขัดแย้งใดในตอนต้นนั้นว่า “ข้าพเจ้ายอมรับว่า
ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลไม่ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ แต่ไม่ยอมรับว่า ข้าพเจ้าหยั่งรู้
บุคคลไม่ได้ในโอกาสทั้งปวงโดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์” คำนั้นของท่านผิด ฯลฯ
นิคคหะที่ ๖ จบ

๓. กาลสัจฉิกัฏฐะ
๒. ปัจจนีกานุโลมะ
[๑๕] ปร. ท่านหยั่งรู้บุคคลไม่ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. ท่านหยั่งรู้บุคคลไม่ได้ในกาลทั้งปวงโดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น
ปร. ท่านจงรับนิคคหะ ดังต่อไปนี้
หากท่านหยั่งรู้บุคคลไม่ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า
“ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลไม่ได้ในกาลทั้งปวงโดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์” ท่านกล่าวคำ
ขัดแย้งใดในตอนต้นนั้นว่า “ข้าพเจ้ายอมรับว่า ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลไม่ได้โดย
สัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ แต่ไม่ยอมรับว่า ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลไม่ได้ในกาลทั้งปวงโดย
สัจฉิกัฏฐปรมัตถ์” คำนั้นของท่านผิด
อนึ่ง หากท่านไม่ยอมรับว่า “ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลไม่ได้ในกาลทั้งปวงโดย
สัจฉิกัฏฐปรมัตถ์” ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลไม่ได้โดย
สัจฉิกัฏฐปรมัตถ์” ท่านกล่าวคำขัดแย้งใดในตอนต้นนั้นว่า “ข้าพเจ้ายอมรับว่า
ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลไม่ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ แต่ไม่ยอมรับว่า ข้าพเจ้าหยั่งรู้
บุคคลไม่ได้ในกาลทั้งปวงโดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์” คำนั้นของท่านผิด ฯลฯ
นิคคหะที่ ๗ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๑๔ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๑. ปุคคลกถา
๔. อวัยวสัจฉิกัฏฐะ
๒. ปัจจนีกานุโลมะ
[๑๖] ปร. ท่านหยั่งรู้บุคคลไม่ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. ท่านหยั่งรู้บุคคลไม่ได้ในอวัยวะทั้งปวงโดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น
ปร. ท่านจงรับนิคคหะ ดังต่อไปนี้
หากท่านหยั่งรู้บุคคลไม่ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า
“ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลไม่ได้ในอวัยวะทั้งปวงโดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์” ท่านกล่าวคำขัดแย้งใด
ในตอนต้นนั้นว่า “ข้าพเจ้ายอมรับว่า ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลไม่ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์
แต่ไม่ยอมรับว่า ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลไม่ได้ในอวัยวะทั้งปวงโดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์”
คำนั้นของท่านผิด
อนึ่ง หากท่านไม่ยอมรับว่า “ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลไม่ได้ในอวัยวะทั้งปวงโดย
สัจฉิกัฏฐปรมัตถ์” ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลไม่ได้โดยสัจฉิกัฏฐ-
ปรมัตถ์” ท่านกล่าวคำขัดแย้งใดในตอนต้นนั้นว่า “ข้าพเจ้ายอมรับว่า ข้าพเจ้าหยั่งรู้
บุคคลไม่ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ แต่ไม่ยอมรับว่า ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลไม่ได้ในอวัยวะ
ทั้งปวงโดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์” คำนั้นของท่านผิด ฯลฯ
นิคคหะที่ ๘ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๑๕ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๑. ปุคคลกถา
๕. สุทธิกสังสันทนะ
การเทียบเคียงบุคคลกับสภาวธรรมล้วน ๆ๑
[๑๗] สก. ท่านหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดุจหยั่งรู้รูปได้โดย
สัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. รูปกับบุคคลเป็นคนละอย่างกันใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น๒
สก. ท่านจงรับนิคคหะ ดังต่อไปนี้
หากท่านหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดุจหยั่งรู้รูปได้โดยสัจฉิกัฏฐ-
ปรมัตถ์ ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “รูปกับบุคคลเป็นคนละอย่างกัน” ท่าน
กล่าวคำขัดแย้งใดในตอนต้นนั้นว่า “ข้าพเจ้ายอมรับว่า ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลได้โดย
สัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดุจหยั่งรู้รูปได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ แต่ไม่ยอมรับว่า รูปกับ
บุคคลเป็นคนละอย่างกัน” คำนั้นของท่านผิด
อนึ่ง หากท่านไม่ยอมรับว่า “รูปกับบุคคลเป็นคนละอย่างกัน” ท่านก็ไม่
ควรยอมรับว่า “ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดุจหยั่งรู้รูปได้โดย
สัจฉิกัฏฐปรมัตถ์” ท่านกล่าวคำขัดแย้งใดในตอนต้นนั้นว่า “ข้าพเจ้ายอมรับว่า
ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดุจหยั่งรู้รูปได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์
แต่ไม่ยอมรับว่า รูปกับบุคคลเป็นคนละอย่างกัน” คำนั้นของท่านผิด ฯลฯ
[๑๘] สก. ท่านหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดุจหยั่งรู้เวทนาได้โดย
สัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ฯลฯ ดุจหยั่งรู้สัญญา ฯลฯ ดุจหยั่งรู้สังขาร ฯลฯ ดุจหยั่งรู้
วิญญาณได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ใช่ไหม
ปร. ใช่

เชิงอรรถ :
๑ หมายถึงตอนที่ว่าด้วยการซักถามถึงการเปรียบเทียบบุคคลกับสภาวธรรมแต่ละอย่างในสภาวธรรม ๕๗
ประการ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๑๗-๒๗/๑๓๘-๑๓๙)
๒ เพราะมีความเห็นว่า ถ้าตอบรับก็จะขัดกับลัทธิของตนที่ว่ามีสภาพบางอย่างที่เป็นบุคคลซึ่งถือว่าเหมือน
กับรูปก็มิใช่ ต่างกับรูปก็มิใช่ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๑๗-๒๗/๑๓๘-๑๓๙, อภิ.มูลฏีกา ๓/๑๗-๒๗/๖๑-๖๒,
อภิ.อนุฏีกา ๓/๑๗-๒๗/๘๕-๘๖) และขัดกับพระสูตรที่ว่า พระผู้มีพระภาคไม่ทรงตอบปัญหาในเรื่องนี้
(สํ.สฬา. (แปล) ๑๘/๔๑๖/๓๔๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๑๖ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๑. ปุคคลกถา
สก. วิญญาณกับบุคคลเป็นคนละอย่างกันใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น
สก. ท่านจงรับนิคคหะ ดังต่อไปนี้
หากท่านหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดุจหยั่งรู้วิญญาณได้โดยสัจฉิกัฏฐ-
ปรมัตถ์ ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “วิญญาณกับบุคคลเป็นคนละอย่างกัน”
ท่านกล่าวคำขัดแย้งใดในตอนต้นนั้นว่า “ข้าพเจ้ายอมรับว่า ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคล
ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดุจหยั่งรู้วิญญาณได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ แต่ไม่ยอมรับว่า
วิญญาณกับบุคคลเป็นคนละอย่างกัน” คำนั้นของท่านผิด
อนึ่ง หากท่านไม่ยอมรับว่า “วิญญาณกับบุคคลเป็นคนละอย่างกัน” ท่านก็
ไม่ควรยอมรับว่า “ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดุจหยั่งรู้วิญญาณ
ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์” ท่านกล่าวคำขัดแย้งใดในตอนต้นนั้นว่า “ข้าพเจ้ายอมรับว่า
ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดุจหยั่งรู้วิญญาณได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์
แต่ไม่ยอมรับว่า วิญญาณกับบุคคลเป็นคนละอย่างกัน” คำนั้นของท่านผิด ฯลฯ
[๑๙] สก. ท่านหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดุจหยั่งรู้จักขายตนะได้
โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ฯลฯ ดุจหยั่งรู้โสตายตนะ ฯลฯ ดุจหยั่งรู้ฆานายตนะ ฯลฯ
ดุจหยั่งรู้ชิวหายตนะ ฯลฯ ดุจหยั่งรู้กายายตนะ ฯลฯ ดุจหยั่งรู้รูปายตนะ ฯลฯ
ดุจหยั่งรู้สัททายตนะ ฯลฯ ดุจหยั่งรู้คันธายตนะ ฯลฯ ดุจหยั่งรู้รสายตนะ ฯลฯ
ดุจหยั่งรู้โผฏฐัพพายตนะ ฯลฯ ดุจหยั่งรู้มนายตนะ ฯลฯ ดุจหยั่งรู้ธัมมายตนะได้
โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ฯลฯ
[๒๐] สก. ท่านหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดุจหยั่งรู้จักขุธาตุได้โดย
สัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ฯลฯ ดุจหยั่งรู้โสตธาตุ ฯลฯ ดุจหยั่งรู้ฆานธาตุ ฯลฯ ดุจหยั่งรู้
ชิวหาธาตุ ฯลฯ ดุจหยั่งรู้กายธาตุ ฯลฯ ดุจหยั่งรู้รูปธาตุ ฯลฯ ดุจหยั่งรู้สัททธาตุ
ฯลฯ ดุจหยั่งรู้คันธธาตุ ฯลฯ ดุจหยั่งรู้รสธาตุ ฯลฯ ดุจหยั่งรู้โผฏฐัพพธาตุ ฯลฯ
ดุจหยั่งรู้จักขุวิญญาณธาตุ ฯลฯ ดุจหยั่งรู้โสตวิญญาณธาตุ ฯลฯ ดุจหยั่งรู้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๑๗ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๑. ปุคคลกถา
ฆานวิญญาณธาตุ ฯลฯ ดุจหยั่งรู้ชิวหาวิญญาณธาตุ ฯลฯ ดุจหยั่งรู้กายวิญญาณ
ธาตุ ฯลฯ ดุจหยั่งรู้มโนธาตุ ฯลฯ ดุจหยั่งรู้มโนวิญญาณธาตุ ฯลฯ ดุจหยั่งรู้
ธัมมธาตุได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ฯลฯ
[๒๑] สก. ท่านหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดุจหยั่งรู้จักขุนทรีย์ได้โดย
สัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ฯลฯ ดุจหยั่งรู้โสตินทรีย์ ฯลฯ ดุจหยั่งรู้ฆานินทรีย์ ฯลฯ
ดุจหยั่งรู้ชิวหินทรีย์ ฯลฯ ดุจหยั่งรู้กายินทรีย์ ฯลฯ ดุจหยั่งรู้มนินทรีย์ ฯลฯ
ดุจหยั่งรู้ชีวิตินทรีย์ ฯลฯ ดุจหยั่งรู้อิตถินทรีย์ ฯลฯ ดุจหยั่งรู้ปุริสินทรีย์ ฯลฯ
ดุจหยั่งรู้สุขินทรีย์ ฯลฯ ดุจหยั่งรู้ทุกขินทรีย์ ฯลฯ ดุจหยั่งรู้โสมนัสสินทรีย์ ฯลฯ
ดุจหยั่งรู้โทมนัสสินทรีย์ ฯลฯ ดุจหยั่งรู้อุเปกขินทรีย์ ฯลฯ ดุจหยั่งรู้สัทธินทรีย์ ฯลฯ
ดุจหยั่งรู้วิริยินทรีย์ ฯลฯ ดุจหยั่งรู้สตินทรีย์ ฯลฯ ดุจหยั่งรู้สมาธินทรีย์ ฯลฯ
ดุจหยั่งรู้ปัญญินทรีย์ ฯลฯ ดุจหยั่งรู้อนัญญาตัญญัสสามีตินทรีย์ ฯลฯ ดุจหยั่งรู้
อัญญินทรีย์ ฯลฯ
สก. ท่านหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดุจหยั่งรู้อัญญาตาวินทรีย์ได้โดย
สัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. อัญญาตาวินทรีย์กับบุคคลเป็นคนละอย่างกันใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น
สก. ท่านจงรับนิคคหะ ดังต่อไปนี้
หากท่านหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดุจหยั่งรู้อัญญาตาวินทรีย์ได้โดย
สัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “อัญญาตาวินทรีย์กับบุคคลเป็น
คนละอย่างกัน” ท่านกล่าวคำขัดแย้งใดในตอนต้นนั้นว่า “ข้าพเจ้ายอมรับว่า
ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดุจหยั่งรู้อัญญาตาวินทรีย์ได้โดย
สัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ แต่ไม่ยอมรับว่า อัญญาตาวินทรีย์กับบุคคลเป็นคนละอย่างกัน”
คำนั้นของท่านผิด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๑๘ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๑. ปุคคลกถา
อนึ่ง หากท่านไม่ยอมรับว่า “อัญญาตาวินทรีย์กับบุคคลเป็นคนละอย่างกัน”
ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดุจหยั่งรู้
อัญญาตาวินทรีย์ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์” ท่านกล่าวคำขัดแย้งใดในตอนต้นนั้นว่า
“ข้าพเจ้ายอมรับว่า ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดุจหยั่งรู้อัญญาตา-
วินทรีย์ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ แต่ไม่ยอมรับว่า อัญญาตาวินทรีย์กับบุคคลเป็นคน
ละอย่างกัน” คำนั้นของท่านผิด ฯลฯ
[๒๒] ปร. ท่านหยั่งรู้บุคคลไม่ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตนเองมีอยู่”๑
และ๒ท่านหยั่งรู้รูปได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. รูปกับบุคคลเป็นคนละอย่างกันใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น๓
ปร. ท่านจงรับปฏิกรรม ดังต่อไปนี้
หากพระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า ‘บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตนเองมีอยู่’ และ
ท่านหยั่งรู้รูปได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “รูปกับบุคคล
เป็นคนละอย่างกัน” ท่านกล่าวคำขัดแย้งใดในตอนต้นนั้นว่า “ข้าพเจ้ายอมรับว่า
พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า ‘บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตนเองมีอยู่’ และข้าพเจ้าหยั่ง
รู้รูปได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ แต่ไม่ยอมรับว่า รูปกับบุคคลเป็นคนละอย่างกัน”
คำนั้นของท่านผิด

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ องฺ.จตุกฺก. (แปล) ๒๑/๙๖/๑๔๕, อภิ.ปุ. (แปล) ๓๖/๑๗๓/๒๐๕
๒ ความข้อนี้แปลต่างกับข้อ ๑๗-๒๑ หน้า ๑๖-๑๘ เพราะข้อความข้างหน้าใช้ในความหมายเปรียบเทียบ
ความเหมือน ส่วนในที่นี้ใช้ในความหมายเปรียบเทียบความแตกต่าง
๓ เพราะมีความเห็นว่า ปัญหานี้เกี่ยวกับความเหมือนและความต่างระหว่างสมมติ(บุคคล) กับปรมัตถ์ (รูป)
ซึ่งเป็นปัญหาที่พระผู้มีพระภาคไม่ทรงพยากรณ์ แต่ต่างกับเหตุผลที่ฝ่ายปรวาทียกขึ้นมาอ้าง(ดูเชิงอรรถที่ ๒
ข้อ ๑๗ หน้า ๑๖ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๑๗-๒๗/๑๓๙, อภิ.มูลฏีกา ๒/๑๗-๒๗/๖๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๑๙ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๑. ปุคคลกถา
อนึ่ง หากท่านไม่ยอมรับว่า “รูปกับบุคคลเป็นคนละอย่างกัน” ท่านก็ไม่
ควรยอมรับว่า “พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า ‘บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตนเองมีอยู่’
และข้าพเจ้าหยั่งรู้รูปได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์” ท่านกล่าวคำขัดแย้งใดในตอนต้นนั้นว่า
“ข้าพเจ้ายอมรับว่า พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า ‘บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตนเองมี
อยู่’ และข้าพเจ้าหยั่งรู้รูปได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ แต่ไม่ยอมรับว่า รูปกับบุคคล
เป็นคนละอย่างกัน” คำนั้นของท่านผิด ฯลฯ
[๒๓] ปร. ท่านหยั่งรู้บุคคลไม่ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตนเองมีอยู่”
และท่านหยั่งรู้เวทนา ฯลฯ หยั่งรู้สัญญา ฯลฯ หยั่งรู้สังขาร ฯลฯ
ปร. พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตนเองมีอยู่” และ
ท่านหยั่งรู้วิญญาณได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. วิญญาณกับบุคคลเป็นคนละอย่างกันใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น
ปร. ท่านจงรับปฏิกรรม ดังต่อไปนี้
หากพระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า ‘บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตนเองมีอยู่’ และ
ท่านหยั่งรู้วิญญาณได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “วิญญาณ
กับบุคคลเป็นคนละอย่างกัน” ท่านกล่าวคำขัดแย้งใดในตอนต้นนั้นว่า “ข้าพเจ้า
ยอมรับว่า พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า ‘บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตนเองมีอยู’่ และ
ข้าพเจ้าหยั่งรู้วิญญาณได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ แต่ไม่ยอมรับว่า วิญญาณกับบุคคล
เป็นคนละอย่างกัน” คำนั้นของท่านผิด
อนึ่ง หากท่านไม่ยอมรับว่า “วิญญาณกับบุคคลเป็นคนละอย่างกัน” ท่านก็
ไม่ควรยอมรับว่า “พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า ‘บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตนเองมีอยู่’
และข้าพเจ้าหยั่งรู้วิญญาณได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์” ท่านกล่าวคำขัดแย้งใดในตอน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๒๐ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๑. ปุคคลกถา
ต้นนั้นว่า “ข้าพเจ้ายอมรับว่า พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า ‘บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อ
เกื้อกูลตนเองมีอยู่’ และข้าพเจ้าหยั่งรู้วิญญาณได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ แต่ไม่ยอม
รับว่า วิญญาณกับบุคคลเป็นคนละอย่างกัน” คำนั้นของท่านผิด ฯลฯ
[๒๔] ปร. ท่านหยั่งรู้บุคคลไม่ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตนเองมีอยู่”
และท่านหยั่งรู้จักขายตนะได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ฯลฯ หยั่งรู้โสตายตนะ ฯลฯ
ปร. พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตนเองมีอยู่” และ
ท่านหยั่งรู้ธัมมายตนะได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ฯลฯ
[๒๕] ปร. ท่านหยั่งรู้จักขุธาตุได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ฯลฯ หยั่งรู้กายธาตุ
ฯลฯ หยั่งรู้รูปธาตุ ฯลฯ หยั่งรู้โผฏฐัพพธาตุ ฯลฯ หยั่งรู้จักขุวิญญาณธาตุ ฯลฯ
หยั่งรู้มโนวิญญาณธาตุ ฯลฯ หยั่งรู้ธัมมธาตุได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ฯลฯ
[๒๖] ปร. ท่านหยั่งรู้จักขุนทรีย์ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ฯลฯ หยั่งรู้โสตินทรีย์
ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ฯลฯ หยั่งรู้อัญญินทรีย์ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ฯลฯ
[๒๗] ปร. ท่านหยั่งรู้บุคคลไม่ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตนเองมีอยู่”
และท่านหยั่งรู้อัญญาตาวินทรีย์ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. อัญญาตาวินทรีย์กับบุคคลเป็นคนละอย่างกันใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น
ปร. ท่านจงรับปฏิกรรม ดังต่อไปนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๒๑ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๑. ปุคคลกถา
หากพระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตนเองมีอยู่” และ
ท่านหยั่งรู้อัญญาตาวินทรีย์ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า
“อัญญาตาวินทรีย์กับบุคคลเป็นคนละอย่างกัน” ท่านกล่าวคำขัดแย้งใดในตอนต้นนั้นว่า
“ข้าพเจ้ายอมรับว่า พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า ‘บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตนเอง
มีอยู่’ และข้าพเจ้าหยั่งรู้อัญญาตาวินทรีย์ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ แต่ไม่ยอมรับว่า
อัญญาตาวินทรีย์กับบุคคลเป็นคนละอย่างกัน” คำนั้นของท่านผิด
อนึ่ง หากท่านไม่ยอมรับว่า “อัญญาตาวินทรีย์กับบุคคลเป็นคนละอย่างกัน”
ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า ‘บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตน
เองมีอยู่’ และข้าพเจ้าหยั่งรู้อัญญาตาวินทรีย์ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์” ท่านกล่าว
คำขัดแย้งใดในตอนต้นนั้นว่า “ข้าพเจ้ายอมรับว่า พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า
‘บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตนเองมีอยู่’ และข้าพเจ้าหยั่งรู้อัญญาตาวินทรีย์ได้โดย
สัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ แต่ไม่ยอมรับว่า อัญญาตาวินทรีย์กับบุคคลเป็นคนละอย่างกัน”
คำนั้นของท่านผิด ฯลฯ
สุทธิกสังสันทนะ จบ

๖. โอปัมมสังสันทนะ
ว่าด้วยการเทียบเคียงโดยข้ออุปมา
[๒๘] สก. ท่านหยั่งรู้รูปได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดุจหยั่งรู้เวทนาได้โดย
สัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ (ดังนั้น) รูปกับเวทนาจึงเป็นคนละอย่างกันใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ท่านหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดุจหยั่งรู้รูปได้โดยสัจฉิกัฏฐ-
ปรมัตถ์ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. รูปกับบุคคลเป็นคนละอย่างกันใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๒๒ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๑. ปุคคลกถา
สก. ท่านจงรับนิคคหะ ดังต่อไปนี้
หากท่านหยั่งรู้รูปได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดุจหยั่งรู้เวทนาได้โดยสัจฉิกัฏฐ-
ปรมัตถ์ (ดังนั้น) รูปกับเวทนาจึงเป็นคนละอย่างกัน ท่านหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐ-
ปรมัตถ์ ดุจหยั่งรู้รูปได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “รูป
กับบุคคลเป็นคนละอย่างกัน” ท่านกล่าวคำขัดแย้งใดในตอนต้นนั้นว่า “ข้าพเจ้า
ยอมรับว่า ข้าพเจ้าหยั่งรู้รูปได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดุจหยั่งรู้เวทนาได้โดย
สัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ (ดังนั้น) รูปกับเวทนาเป็นคนละอย่างกัน ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลได้
โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดุจหยั่งรู้รูปได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ แต่ไม่ยอมรับว่า รูปกับ
บุคคลเป็นคนละอย่างกัน” คำนั้นของท่านผิด
อนึ่ง หากท่านไม่ยอมรับว่า “รูปกับบุคคลเป็นคนละอย่างกัน” ท่านก็ไม่
ควรยอมรับว่า “ข้าพเจ้าหยั่งรู้รูปได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดุจหยั่งรู้เวทนาได้โดย
สัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ รูปกับเวทนาเป็นคนละอย่างกัน ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลได้โดย
สัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดุจหยั่งรู้รูปได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์” ท่านกล่าวคำขัดแย้งใดใน
ตอนต้นนั้นว่า “ข้าพเจ้ายอมรับว่า ข้าพเจ้าหยั่งรู้รูปได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดุจ
หยั่งรู้เวทนาได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ (ดังนั้น) รูปกับเวทนาเป็นคนละอย่างกัน ข้าพเจ้า
หยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดุจหยั่งรู้รูปได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ แต่ไม่ยอม
รับว่า รูปกับบุคคลเป็นคนละอย่างกัน” คำนั้นของท่านผิด ฯลฯ
[๒๙] สก. ท่านหยั่งรู้รูปได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดุจหยั่งรู้สัญญา ฯลฯ ดุจ
หยั่งรู้สังขาร ฯลฯ
สก. ท่านหยั่งรู้รูปได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดุจหยั่งรู้วิญญาณได้โดยสัจฉิกัฏฐ-
ปรมัตถ์ (ดังนั้น) รูปกับวิญญาณจึงเป็นคนละอย่างกันใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ท่านหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดุจหยั่งรู้รูปได้โดยสัจฉิกัฏฐ-
ปรมัตถ์ใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๒๓ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๑. ปุคคลกถา
สก. รูปกับบุคคลเป็นคนละอย่างกันใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น
สก. ท่านจงรับนิคคหะ ดังต่อไปนี้
หากท่านหยั่งรู้รูปได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดุจหยั่งรู้วิญญาณได้โดยสัจฉิกัฏฐ-
ปรมัตถ์ (ดังนั้น) รูปกับวิญญาณจึงเป็นคนละอย่างกัน ท่านหยั่งรู้บุคคลได้โดย
สัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดุจหยั่งรู้รูปได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า
“รูปกับบุคคลเป็นคนละอย่างกัน” ท่านกล่าวคำขัดแย้งใดในตอนต้นนั้นว่า
“ข้าพเจ้ายอมรับว่า ข้าพเจ้าหยั่งรู้รูปได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดุจหยั่งรู้วิญญาณได้
โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ (ดังนั้น) รูปกับวิญญาณจึงเป็นคนละอย่างกัน ข้าพเจ้าหยั่งรู้
บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดุจหยั่งรู้รูปได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ แต่ไม่ยอมรับว่า
รูปกับบุคคลเป็นคนละอย่างกัน” คำนั้นของท่านผิด
อนึ่ง หากท่านไม่ยอมรับว่า “รูปกับบุคคลเป็นคนละอย่างกัน” ท่านก็
ไม่ควรยอมรับว่า “ข้าพเจ้าหยั่งรู้รูปได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดุจหยั่งรู้วิญญาณได้
โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ (ดังนั้น) รูปกับวิญญาณจึงเป็นคนละอย่างกัน ข้าพเจ้าหยั่งรู้
บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดุจหยั่งรู้รูปได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์” ท่านกล่าวคำ
ขัดแย้งใด ในตอนต้นนั้นว่า “ข้าพเจ้ายอมรับว่า ข้าพเจ้าหยั่งรู้รูปได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์
ดุจหยั่งรู้วิญญาณได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ (ดังนั้น) รูปกับวิญญาณจึงเป็นคนละ
อย่างกัน ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดุจหยั่งรู้รูปได้โดยสัจฉิกัฏฐ-
ปรมัตถ์ แต่ไม่ยอมรับว่า รูปกับบุคคลเป็นคนละอย่างกัน” คำนั้นของท่านผิด ฯลฯ
[๓๐] สก. ท่านหยั่งรู้เวทนาได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดุจหยั่งรู้สัญญา ฯลฯ ดุจ
หยั่งรู้สังขาร ฯลฯ ดุจหยั่งรู้วิญญาณ ฯลฯ ดุจหยั่งรู้รูปได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ฯลฯ
[๓๑] สก. ท่านหยั่งรู้สัญญาได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดุจหยั่งรู้สังขาร ฯลฯ ดุจ
หยั่งรู้วิญญาณ ฯลฯ ดุจหยั่งรู้รูป ฯลฯ ดุจหยั่งรู้เวทนาได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ฯลฯ
[๓๒] สก. ท่านหยั่งรู้สังขารได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดุจหยั่งรู้วิญญาณ ฯลฯ
ดุจหยั่งรู้รูป ฯลฯ ดุจหยั่งรู้เวทนา ฯลฯ ดุจหยั่งรู้สัญญาได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์
ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๒๔ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๑. ปุคคลกถา
[๓๓] สก. ท่านหยั่งรู้วิญญาณได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดุจหยั่งรู้รูป ฯลฯ ดุจ
หยั่งรู้เวทนา ฯลฯ ดุจหยั่งรู้สัญญา ฯลฯ
สก. ท่านหยั่งรู้วิญญาณได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดุจหยั่งรู้สังขารได้โดย
สัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ (ดังนั้น) วิญญาณกับสังขารจึงเป็นคนละอย่างกันใช่ไหม
ปร ใช่
สก. ท่านหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดุจหยั่งรู้วิญญาณได้โดย
สัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. วิญญาณกับบุคคลเป็นคนละอย่างกันใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น
สก. ท่านจงรับนิคคหะ ดังต่อไปนี้
หากท่านหยั่งรู้วิญญาณได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดุจหยั่งรู้สังขารได้โดย
สัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ (ดังนั้น) วิญญาณกับสังขารจึงเป็นคนละอย่างกัน ท่านหยั่งรู้
บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดุจหยั่งรู้วิญญาณได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดังนั้น
ท่านจึงควรยอมรับว่า “วิญญาณกับบุคคลเป็นคนละอย่างกัน” ท่านกล่าวคำขัดแย้ง
ใดในตอนต้นนั้นว่า “ข้าพเจ้ายอมรับว่า ข้าพเจ้าหยั่งรู้วิญญาณได้โดยสัจฉิกัฏฐ-
ปรมัตถ์ ดุจหยั่งรู้สังขารได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ (ดังนั้น) วิญญาณกับสังขารจึง
เป็นคนละอย่างกัน ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดุจหยั่งรู้วิญญาณ
ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ แต่ไม่ยอมรับว่า วิญญาณกับบุคคลเป็นคนละอย่างกัน”
คำนั้นของท่านผิด
อนึ่ง หากท่านไม่ยอมรับว่า “วิญญาณกับบุคคลเป็นคนละอย่างกัน” ท่านก็
ไม่ควรยอมรับว่า “ข้าพเจ้าหยั่งรู้วิญญาณได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดุจหยั่งรู้สังขาร
ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ (ดังนั้น) วิญญาณกับสังขารจึงเป็นคนละอย่างกัน ข้าพเจ้า
หยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดุจหยั่งรู้วิญญาณได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์”
ท่านกล่าวคำขัดแย้งใดในตอนต้นนั้นว่า “ข้าพเจ้ายอมรับว่า ข้าพเจ้าหยั่งรู้วิญญาณ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๒๕ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๑. ปุคคลกถา
ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดุจหยั่งรู้สังขารได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ (ดังนั้น) วิญญาณ
กับสังขารจึงเป็นคนละอย่างกัน ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดุจ
หยั่งรู้วิญญาณได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ แต่ไม่ยอมรับว่า วิญญาณกับบุคคลเป็นคน
ละอย่างกัน” คำนั้นของท่านผิด ฯลฯ
[๓๔] สก. ท่านหยั่งรู้จักขายตนะได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดุจหยั่งรู้โสตายตนะ
ฯลฯ ดุจหยั่งรู้ธัมมายตนะได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ฯลฯ ท่านหยั่งรู้โสตายตนะ ฯลฯ
หยั่งรู้ธัมมายตนะได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดุจหยั่งรู้จักขายตนะ ฯลฯ ดุจหยั่งรู้
มนายตนะได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ฯลฯ
[๓๕] สก. ท่านหยั่งรู้จักขุธาตุได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดุจหยั่งรู้โสตธาตุ ฯลฯ
ดุจหยั่งรู้ธัมมธาตุได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ฯลฯ ท่านหยั่งรู้โสตธาตุ ฯลฯ หยั่งรู้
ธัมมธาตุได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดุจหยั่งรู้จักขุธาตุ ฯลฯ ดุจหยั่งรู้มโนวิญญาณธาตุ
ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ฯลฯ
[๓๖] สก. ท่านหยั่งรู้จักขุนทรีย์ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดุจหยั่งรู้โสตินทรีย์ ฯลฯ
ดุจหยั่งรู้อัญญาตาวินทรีย์ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ฯลฯ ท่านหยั่งรู้โสตินทรีย์ ฯลฯ
หยั่งรู้อัญญาตาวินทรีย์ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดุจหยั่งรู้จักขุนทรีย์ ฯลฯ
สก. ท่านหยั่งรู้อัญญาตาวินทรีย์ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดุจหยั่งรู้อัญญินทรีย์
ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ (ดังนั้น) อัญญาตาวินทรีย์กับอัญญินทรีย์จึงเป็นคนละ
อย่างกันใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ท่านหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดุจหยั่งรู้อัญญาตาวินทรีย์ได้
โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. อัญญาตาวินทรีย์กับบุคคลเป็นคนละอย่างกันใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น
สก. ท่านจงรับนิคคหะ ดังต่อไปนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๒๖ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๑. ปุคคลกถา
หากท่านหยั่งรู้อัญญาตาวินทรีย์ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดุจหยั่งรู้อัญญินทรีย์ได้
โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ (ดังนั้น) อัญญาตาวินทรีย์กับอัญญินทรีย์จึงเป็นคนละอย่างกัน
ท่านหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดุจหยั่งรู้อัญญาตาวินทรีย์ได้โดยสัจฉิกัฏฐ-
ปรมัตถ์ ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “อัญญาตาวินทรีย์กับบุคคลเป็นคนละอย่าง
กัน” ท่านกล่าวคำขัดแย้งใดในตอนต้นนั้นว่า “ข้าพเจ้ายอมรับว่า ข้าพเจ้าหยั่งรู้
อัญญาตาวินทรีย์ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดุจหยั่งรู้อัญญินทรีย์ได้โดยสัจฉิกัฏฐ-
ปรมัตถ์ (ดังนั้น) อัญญาตาวินทรีย์กับอัญญินทรีย์จึงเป็นคนละอย่างกัน ข้าพเจ้า
หยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดุจหยั่งรู้อัญญาตาวินทรีย์ได้โดยสัจฉิกัฏฐ-
ปรมัตถ์ แต่ไม่ยอมรับว่า อัญญาตาวินทรีย์กับบุคคลเป็นคนละอย่างกัน” คำนั้น
ของท่านผิด
อนึ่ง หากท่านไม่ยอมรับว่า “อัญญาตาวินทรีย์กับบุคคลเป็นคนละอย่างกัน”
ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “ข้าพเจ้าหยั่งรู้อัญญาตาวินทรีย์ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์
ดุจหยั่งรู้อัญญินทรีย์ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ (ดังนั้น) อัญญาตาวินทรีย์กับ
อัญญินทรีย์จึงเป็นคนละอย่างกัน ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดุจ
หยั่งรู้อัญญาตาวินทรีย์ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์” ท่านกล่าวคำขัดแย้งใดในตอนต้น
นั้นว่า “ข้าพเจ้ายอมรับว่า ข้าพเจ้าหยั่งรู้อัญญาตาวินทรีย์ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์
ดุจหยั่งรู้อัญญินทรีย์ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ (ดังนั้น) อัญญาตาวินทรีย์กับอัญญิน-
ทรีย์จึงเป็นคนละอย่างกัน ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดุจหยั่งรู้
อัญญาตาวินทรีย์ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ แต่ไม่ยอมรับว่า อัญญาตาวินทรีย์กับ
บุคคลเป็นคนละอย่างกัน” คำนั้นของท่านผิด ฯลฯ
[๓๗] ปร. ท่านหยั่งรู้รูปได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดุจหยั่งรู้เวทนาได้โดย
สัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ (ดังนั้น) รูปกับเวทนาจึงเป็นคนละอย่างกันใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตนเองมีอยู่”
และท่านหยั่งรู้รูปได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ใช่ไหม
สก. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๒๗ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๑. ปุคคลกถา
ปร. รูปกับบุคคลเป็นคนละอย่างกันใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น
ปร. ท่านจงรับปฏิกรรม ดังต่อไปนี้
หากท่านหยั่งรู้รูปได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดุจหยั่งรู้เวทนาได้โดยสัจฉิกัฏฐ-
ปรมัตถ์ (ดังนั้น) รูปกับเวทนาจึงเป็นคนละอย่างกัน พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า
“บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตนเองมีอยู่” และท่านหยั่งรู้รูปได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์
ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “รูปกับบุคคลเป็นคนละอย่างกัน” ท่านกล่าวคำ
ขัดแย้งใดในตอนต้นนั้นว่า “ข้าพเจ้ายอมรับว่า ข้าพเจ้าหยั่งรู้รูปได้โดยสัจฉิกัฏฐ-
ปรมัตถ์ ดุจหยั่งรู้เวทนาได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ (ดังนั้น) รูปกับเวทนาจึงเป็นคนละ
อย่างกัน พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า ‘บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตนเองมีอยู่’ และข้าพเจ้า
หยั่งรู้รูปได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ แต่ไม่ยอมรับว่า รูปกับบุคคลเป็นคนละอย่างกัน”
คำนั้นของท่านผิด
อนึ่ง หากท่านไม่ยอมรับว่า “รูปกับบุคคลเป็นคนละอย่างกัน” ท่านก็ไม่
ควรยอมรับว่า “ข้าพเจ้าหยั่งรู้รูปได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดุจหยั่งรู้เวทนาได้โดย
สัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ (ดังนั้น) รูปกับเวทนาจึงเป็นคนละอย่างกัน พระผู้มีพระภาค
ตรัสไว้ว่า ‘บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตนเองมีอยู่’ และข้าพเจ้าหยั่งรู้รูปได้โดย
สัจฉิกัฏฐปรมัตถ์” ท่านกล่าวคำขัดแย้งใดในตอนต้นนั้นว่า “ข้าพเจ้ายอมรับว่า
ข้าพเจ้าหยั่งรู้รูปได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดุจหยั่งรู้เวทนาได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ (ดังนั้น)
รูปกับเวทนาจึงเป็นคนละอย่างกัน พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า ‘บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อ
เกื้อกูลตนเองมีอยู่’ และข้าพเจ้าหยั่งรู้รูปได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ แต่ไม่ยอมรับว่า
รูปกับบุคคลเป็นคนละอย่างกัน” คำนั้นของท่านผิด ฯลฯ
[๓๘] ปร. ท่านหยั่งรู้รูปได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดุจหยั่งรู้สัญญา ฯลฯ ดุจหยั่งรู้
สังขาร ฯลฯ ดุจหยั่งรู้วิญญาณได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ฯลฯ
[๓๙] ปร. ท่านหยั่งรู้เวทนาได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดุจหยั่งรู้สัญญา ฯลฯ
ดุจหยั่งรู้สังขาร ฯลฯ ดุจหยั่งรู้วิญญาณ ฯลฯ ดุจหยั่งรู้รูปได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์
ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๒๘ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๑. ปุคคลกถา
[๔๐] ปร. ท่านหยั่งรู้สัญญาได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดุจหยั่งรู้สังขาร ฯลฯ
ดุจหยั่งรู้วิญญาณ ฯลฯ ดุจหยั่งรู้รูป ฯลฯ ดุจหยั่งรู้เวทนาได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์
ฯลฯ
[๔๑] ปร. ท่านหยั่งรู้สังขารได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดุจหยั่งรู้วิญญาณ ฯลฯ
ดุจหยั่งรู้รูป ฯลฯ ดุจหยั่งรู้เวทนา ฯลฯ ดุจหยั่งรู้สัญญาได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์
ฯลฯ
[๔๒] ปร. ท่านหยั่งรู้วิญญาณได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดุจหยั่งรู้รูป ฯลฯ
ดุจหยั่งรู้เวทนา ฯลฯ ดุจหยั่งรู้สัญญา ฯลฯ ดุจหยั่งรู้สังขารได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์
ฯลฯ
[๔๓] ปร. ท่านหยั่งรู้จักขายตนะได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดุจหยั่งรู้โสตายตนะ
ฯลฯ ดุจหยั่งรู้ธัมมายตนะได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ฯลฯ ท่านหยั่งรู้โสตายตนะ ฯลฯ
หยั่งรู้ธัมมายตนะได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดุจหยั่งรู้จักขายตนะ ฯลฯ ดุจหยั่งรู้
มนายตนะได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ฯลฯ
[๔๔] ปร. ท่านหยั่งรู้จักขุธาตุได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดุจหยั่งรู้โสตธาตุ ฯลฯ
ดุจหยั่งรู้ธัมมธาตุได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ฯลฯ ท่านหยั่งรู้โสตธาตุได้โดย
สัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ฯลฯ หยั่งรู้ธัมมธาตุได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดุจหยั่งรู้จักขุธาตุ
ฯลฯ ดุจหยั่งรู้มโนวิญญาณธาตุได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ฯลฯ
[๔๕] ปร. ท่านหยั่งรู้จักขุนทรีย์ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดุจหยั่งรู้โสตินทรีย์ ฯลฯ
ดุจหยั่งรู้อัญญาตาวินทรีย์ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ฯลฯ ท่านหยั่งรู้โสตินทรีย์ ฯลฯ
ท่านหยั่งรู้อัญญาตาวินทรีย์ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดุจหยั่งรู้จักขุนทรีย์ ฯลฯ
สก. ท่านหยั่งรู้อัญญาตาวินทรีย์ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดุจหยั่งรู้อัญญินทรีย์
ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ อัญญาตาวินทรีย์กับอัญญินทรีย์เป็นคนละอย่างกันใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตนเองมีอยู่”
และท่านหยั่งรู้อัญญาตาวินทรีย์ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ใช่ไหม
สก. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๒๙ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๑. ปุคคลกถา
ปร. อัญญาตาวินทรีย์กับบุคคลเป็นคนละอย่างกันใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น
ปร. ท่านจงรับปฏิกรรม ดังต่อไปนี้
หากท่านหยั่งรู้อัญญาตาวินทรีย์ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดุจหยั่งรู้อัญญินทรีย์
ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ (ดังนั้น) อัญญาตาวินทรีย์กับอัญญินทรีย์จึงเป็นคนละอย่างกัน
พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตนเองมีอยู่” และท่านหยั่งรู้
อัญญาตาวินทรีย์ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “อัญญาตา-
วินทรีย์กับบุคคลเป็นคนละอย่างกัน” ท่านกล่าวคำขัดแย้งใดในตอนต้นนั้นว่า
“ข้าพเจ้ายอมรับว่า ข้าพเจ้าหยั่งรู้อัญญาตาวินทรีย์ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดุจหยั่งรู้
อัญญินทรีย์ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ (ดังนั้น) อัญญาตาวินทรีย์กับอัญญินทรีย์จึงเป็น
คนละอย่างกัน พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า ‘บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตนเองมีอยู่’
และข้าพเจ้าหยั่งรู้อัญญาตาวินทรีย์ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ แต่ไม่ยอมรับว่า อัญญาตา-
วินทรีย์กับบุคคลเป็นคนละอย่างกัน” คำนั้นของท่านผิด
อนึ่ง หากท่านไม่ยอมรับว่า “อัญญาตาวินทรีย์กับบุคคลเป็นคนละอย่างกัน”
ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “ข้าพเจ้าหยั่งรู้อัญญาตาวินทรีย์ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดุจ
หยั่งรู้อัญญินทรีย์ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ (ดังนั้น) อัญญาตาวินทรีย์กับอัญญินทรีย์
จึงเป็นคนละอย่างกัน พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า ‘บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตนเอง
มีอยู่’ และข้าพเจ้าหยั่งรู้อัญญาตาวินทรีย์ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์” ท่านกล่าวคำขัด
แย้งใดในตอนต้นนั้นว่า “ข้าพเจ้ายอมรับว่า ข้าพเจ้าหยั่งรู้อัญญาตาวินทรีย์ได้โดย
สัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดุจหยั่งรู้อัญญินทรีย์ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ (ดังนั้น) อัญญาตา-
วินทรีย์กับอัญญินทรีย์จึงเป็นคนละอย่างกัน พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า ‘บุคคลผู้
ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตนเองมีอยู่’ และข้าพเจ้าหยั่งรู้อัญญาตาวินทรีย์ได้โดยสัจฉิกัฏฐ-
ปรมัตถ์ แต่ไม่ยอมรับว่า อัญญาตาวินทรีย์กับบุคคลเป็นคนละอย่างกัน” คำนั้นของ
ท่านผิด ฯลฯ

โอปัมมสังสันทนะ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๓๐ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๑. ปุคคลกถา
๗. จตุกกนยสังสันทนะ
ว่าด้วยการเทียบเคียงโดยนัย ๔ ประการ๑
[๔๖] สก. ท่านหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. รูปเป็นบุคคล๒ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น๓
สก. ท่านจงรับนิคคหะ ดังต่อไปนี้
หากท่านหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า
“รูปเป็นบุคคล” ท่านกล่าวคำขัดแย้งใดในตอนต้นนั้นว่า “ข้าพเจ้ายอมรับว่า
ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ แต่ไม่ยอมรับว่า รูปเป็นบุคคล” คำ
นั้นของท่านผิด
อนึ่ง หากท่านไม่ยอมรับว่า “รูปเป็นบุคคล” ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า
“ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์” ท่านกล่าวคำขัดแย้งใดในตอนต้นนั้น
ว่า “ข้าพเจ้ายอมรับว่า ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ แต่ไม่ยอมรับว่า
รูปเป็นบุคคล” คำนั้นของท่านผิด ฯลฯ
[๔๗] สก. ท่านหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ใช่ไหม
ปร. ใช่

เชิงอรรถ :
๑ หมายถึงตอนที่ว่าด้วยการเทียบเคียงบุคคลกับสภาวธรรม ๕๗ โดยนัย ๔ ประการ เช่น เทียบเคียง
บุคคลกับรูป ดังนี้ (๑) รูปเป็นบุคคล (๒) บุคคลอาศัยรูป (๓) บุคคลเป็นอื่นจากรูป (๔) รูปอาศัยบุคคล
(อภิ.ปญฺจ.อ. ๔๖-๕๒/๑๔๐)
๒ นัยที่ ๑
๓ ที่ปรวาทีตอบปฏิเสธ เพราะกลัวจะเป็นอุจเฉททิฏฐิ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๔๖-๕๒/๑๔๐)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๓๑ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๑. ปุคคลกถา
สก. บุคคลอาศัยรูป๑ ฯลฯ บุคคลเป็นอื่นจากรูป๒ ฯลฯ รูปอาศัยบุคคล๓
ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น
สก. ท่านจงรับนิคคหะ ดังต่อไปนี้
หากท่านหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า
“รูปอาศัยบุคคล” ท่านกล่าวคำขัดแย้งใดในตอนต้นนั้นว่า “ข้าพเจ้ายอมรับว่า
ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ แต่ไม่ยอมรับว่า รูปอาศัยบุคคล” คำ
นั้นของท่านผิด
อนึ่ง หากท่านไม่ยอมรับว่า “รูปอาศัยบุคคล” ท่านก็ไม่ควรยอมรับ
ว่า “ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์” ท่านกล่าวคำขัดแย้งใดในตอนต้นนั้น
ว่า “ข้าพเจ้ายอมรับว่า ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ แต่ไม่ยอมรับว่า
รูปอาศัยบุคคล” คำนั้นของท่านผิด ฯลฯ
[๔๘] สก. ท่านหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เวทนาเป็นบุคคล ฯลฯ บุคคลอาศัยเวทนา ฯลฯ บุคคลเป็นอื่นจาก
เวทนา ฯลฯ เวทนาอาศัยบุคคล ฯลฯ
สัญญาเป็นบุคคล ฯลฯ บุคคลอาศัยสัญญา ฯลฯ บุคคลเป็นอื่นจากสัญญา
ฯลฯ สัญญาอาศัยบุคคล ฯลฯ สังขารเป็นบุคคล ฯลฯ บุคคลอาศัยสังขาร ฯลฯ
บุคคลเป็นอื่นจากสังขาร ฯลฯ สังขารอาศัยบุคคล ฯลฯ วิญญาณเป็นบุคคล ฯลฯ
บุคคลอาศัยวิญญาณ ฯลฯ บุคคลเป็นอื่นจากวิญญาณ ฯลฯ วิญญาณอาศัย
บุคคลใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น

เชิงอรรถ :
๑ นัยที่ ๒
๒ นัยที่ ๓
๓ นัยที่ ๔

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๓๒ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๑. ปุคคลกถา
สก. ท่านจงรับนิคคหะ ดังต่อไปนี้
หากท่านหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า
“วิญญาณอาศัยบุคคล” ท่านกล่าวคำขัดแย้งใดในตอนต้นนั้นว่า “ข้าพเจ้ายอมรับว่า
ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ แต่ไม่ยอมรับว่า วิญญาณอาศัยบุคคล”
คำนั้นของท่านผิด
อนึ่ง หากท่านไม่ยอมรับว่า “วิญญาณอาศัยบุคคล” ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า
“ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์” ท่านกล่าวคำขัดแย้งใดในตอนต้นนั้น
ว่า “ข้าพเจ้ายอมรับว่า ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ แต่ไม่ยอมรับว่า
วิญญาณอาศัยบุคคล” คำนั้นของท่านผิด ฯลฯ
[๔๙] สก. ท่านหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. จักขายตนะเป็นบุคคล ฯลฯ บุคคลอาศัยจักขายตนะ ฯลฯ บุคคลเป็น
อื่นจากจักขายตนะ ฯลฯ จักขายตนะอาศัยบุคคล ฯลฯ ธัมมายตนะเป็นบุคคล ฯลฯ
บุคคลอาศัยธัมมายตนะ ฯลฯ บุคคลเป็นอื่นจากธัมมายตนะ ฯลฯ ธัมมายตนะ
อาศัยบุคคล ฯลฯ
จักขุธาตุเป็นบุคคล ฯลฯ บุคคลอาศัยจักขุธาตุ ฯลฯ บุคคลเป็นอื่นจาก
จักขุธาตุ ฯลฯ จักขุธาตุอาศัยบุคคล ฯลฯ ธัมมธาตุเป็นบุคคล ฯลฯ บุคคล
อาศัยธัมมธาตุ ฯลฯ บุคคลเป็นอื่นจากธัมมธาตุ ฯลฯ ธัมมธาตุอาศัยบุคคล ฯลฯ
จักขุนทรีย์เป็นบุคคล ฯลฯ บุคคลอาศัยจักขุนทรีย์ ฯลฯ บุคคลเป็นอื่น
จากจักขุนทรีย์ ฯลฯ จักขุนทรีย์อาศัยบุคคล ฯลฯ อัญญาตาวินทรีย์เป็นบุคคล ฯลฯ
บุคคลอาศัยอัญญาตาวินทรีย์ ฯลฯ บุคคลเป็นอื่นจากอัญญาตาวินทรีย์ ฯลฯ
อัญญาตาวินทรีย์อาศัยบุคคลใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น
สก. ท่านจงรับนิคคหะ ดังต่อไปนี้
หากท่านหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า
“อัญญาตาวินทรีย์อาศัยบุคคล” ท่านกล่าวคำขัดแย้งใดในตอนต้นนั้นว่า “ข้าพเจ้า
ยอมรับว่า ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ แต่ไม่ยอมรับว่า อัญญา-
ตาวินทรีย์อาศัยบุคคล” คำนั้นของท่านผิด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๓๓ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๑. ปุคคลกถา
อนึ่ง หากท่านไม่ยอมรับว่า “อัญญาตาวินทรีย์อาศัยบุคคล” ท่านก็ไม่ควร
ยอมรับว่า “ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์” ท่านกล่าวคำขัดแย้งใด
ในตอนต้นนั้นว่า “ข้าพเจ้ายอมรับว่า ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์
แต่ไม่ยอมรับว่า อัญญาตาวินทรีย์อาศัยบุคคล” คำนั้นของท่านผิด ฯลฯ
[๕๐] ปร. ท่านหยั่งรู้บุคคลไม่ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตนเองมีอยู่”
ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. รูปเป็นบุคคลใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น
ปร. ท่านจงรับปฏิกรรม ดังต่อไปนี้
หากพระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า ‘บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตนเองมีอยู่’ ดังนั้น
ท่านจึงควรยอมรับว่า “รูปเป็นบุคคล” ท่านกล่าวคำขัดแย้งใดในตอนต้นนั้นว่า
“ข้าพเจ้ายอมรับว่า พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า ‘บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตนเองมี
อยู่’ แต่ไม่ยอมรับว่า รูปเป็นบุคคล” คำนั้นของท่านผิด
อนึ่ง หากท่านไม่ยอมรับว่า “รูปเป็นบุคคล” ท่านก็ไม่ควรยอมรับ
ว่า “พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า ‘บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตนเองมีอยู่’ ท่านกล่าว
คำขัดแย้งใดในตอนต้นนั้นว่า “ข้าพเจ้ายอมรับว่า พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า
‘บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตนเองมีอยู่’ แต่ไม่ยอมรับว่า รูปเป็นบุคคล” คำนั้น
ของท่านผิด ฯลฯ
[๕๑] ปร. ท่านหยั่งรู้บุคคลไม่ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตนเองมีอยู่”
ใช่ไหม
สก. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๓๔ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๑. ปุคคลกถา
ปร. บุคคลอาศัยรูป ฯลฯ บุคคลเป็นอื่นจากรูป ฯลฯ รูปอาศัยบุคคล ฯลฯ
เวทนาเป็นบุคคล ฯลฯ บุคคลอาศัยเวทนา ฯลฯ บุคคลเป็นอื่นจากเวทนา ฯลฯ
เวทนาอาศัยบุคคล ฯลฯ สัญญาเป็นบุคคล ฯลฯ บุคคลอาศัยสัญญา ฯลฯ
บุคคลเป็นอื่นจากสัญญา ฯลฯ สัญญาอาศัยบุคคล ฯลฯ สังขารเป็นบุคคล ฯลฯ
บุคคลอาศัยสังขาร ฯลฯ บุคคลเป็นอื่นจากสังขาร ฯลฯ สังขารอาศัยบุคคล ฯลฯ
วิญญาณเป็นบุคคล ฯลฯ บุคคลอาศัยวิญญาณ ฯลฯ บุคคลเป็นอื่นจากวิญญาณ
ฯลฯ วิญญาณอาศัยบุคคลใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น
ปร. ท่านจงรับปฏิกรรม ดังต่อไปนี้
หากพระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตนเองมีอยู่” ดังนั้น
ท่านจึงควรยอมรับว่า “วิญญาณอาศัยบุคคล” ท่านกล่าวคำขัดแย้งใดในตอนต้น
นั้นว่า “ข้าพเจ้ายอมรับว่า พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า ‘บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูล
ตนเองมีอยู่’ แต่ไม่ยอมรับว่า วิญญาณอาศัยบุคคล” คำนั้นของท่านผิด
อนึ่ง หากท่านไม่ยอมรับว่า “วิญญาณอาศัยบุคคล” ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า
“พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า ‘บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตนเองมีอยู่” ท่านกล่าวคำ
ขัดแย้งใดในตอนต้นนั้นว่า “ข้าพเจ้ายอมรับว่า พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า ‘บุคคล
ผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตนเองมีอยู่’ แต่ไม่ยอมรับว่า วิญญาณอาศัยบุคคล” คำนั้น
ของท่านผิด ฯลฯ
[๕๒] ปร. ท่านหยั่งรู้บุคคลไม่ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตนเองมีอยู่”
ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. จักขายตนะเป็นบุคคล ฯลฯ บุคคลอาศัยจักขายตนะ ฯลฯ บุคคล
เป็นอื่นจากจักขายตนะ ฯลฯ จักขายตนะอาศัยบุคคล ฯลฯ ธัมมายตนะเป็นบุคคล
ฯลฯ บุคคลอาศัยธัมมายตนะ ฯลฯ บุคคลเป็นอื่นจากธัมมายตนะ ฯลฯ ธัมมายตนะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๓๕ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๑. ปุคคลกถา
อาศัยบุคคล ฯลฯ จักขุธาตุเป็นบุคคล ฯลฯ บุคคลอาศัยจักขุธาตุ ฯลฯ บุคคล
เป็นอื่นจากจักขุธาตุ ฯลฯ จักขุธาตุอาศัยบุคคล ฯลฯ ธัมมธาตุเป็นบุคคล ฯลฯ
บุคคลอาศัยธัมมธาตุ ฯลฯ บุคคลเป็นอื่นจากธัมมธาตุ ฯลฯ ธัมมธาตุอาศัย
บุคคล ฯลฯ
จักขุนทรีย์เป็นบุคคล ฯลฯ บุคคลอาศัยจักขุนทรีย์ ฯลฯ บุคคลเป็นอื่นจาก
จักขุนทรีย์ ฯลฯ จักขุนทรีย์อาศัยบุคคล ฯลฯ อัญญาตาวินทรีย์เป็นบุคคล ฯลฯ
บุคคลอาศัยอัญญาตาวินทรีย์ ฯลฯ บุคคลเป็นอื่นจากอัญญาตาวินทรีย์ ฯลฯ
อัญญาตาวินทรีย์อาศัยบุคคลใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น
ปร. ท่านจงรับปฏิกรรม ดังต่อไปนี้
หากพระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตนเองมีอยู่” ดังนั้น
ท่านจึงควรยอมรับว่า “อัญญาตาวินทรีย์อาศัยบุคคล” ท่านกล่าวคำขัดแย้งใดใน
ตอนต้นนั้นว่า “ข้าพเจ้ายอมรับว่า พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า ‘บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อ
เกื้อกูลตนเองมีอยู่’ แต่ไม่ยอมรับว่า อัญญาตาวินทรีย์อาศัยบุคคล” คำนั้นของ
ท่านผิด
อนึ่ง หากท่านไม่ยอมรับว่า “อัญญาตาวินทรีย์อาศัยบุคคล” ท่านก็ไม่ควร
ยอมรับว่า “พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า ‘บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตนเองมีอยู่”
ท่านกล่าวคำขัดแย้งใดในตอนต้นนั้นว่า “ข้าพเจ้ายอมรับว่า พระผู้มีพระภาคตรัสไว้
ว่า ‘บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตนเองมีอยู่’ แต่ไม่ยอมรับว่า อัญญาตาวินทรีย์
อาศัยบุคคล” คำนั้นของท่านผิด ฯลฯ

จตุกกนยสังสันทนะ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๓๖ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๑. ปุคคลกถา
๘. ลักขณยุตติ
ว่าด้วยการซักถามถึงลักษณะ๑
[๕๓] สก. ท่านหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลมีปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น
สก. บุคคลไม่มีปัจจัยปรุงแต่ง ฯลฯ บุคคลถูกปัจจัยปรุงแต่ง ฯลฯ บุคคล
ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง ฯลฯ บุคคลเที่ยง ฯลฯ บุคคลไม่เที่ยง ฯลฯ บุคคลมีนิมิต๒
ฯลฯ บุคคลไม่มีนิมิตใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น (ย่อ)
[๕๔] ปร. ท่านหยั่งรู้บุคคลไม่ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตนเองมีอยู่”
ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. บุคคลมีปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น๓
ปร. บุคคลไม่มีปัจจัยปรุงแต่ง ฯลฯ บุคคลถูกปัจจัยปรุงแต่ง ฯลฯ บุคคล
ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง ฯลฯ บุคคลเที่ยง ฯลฯ บุคคลไม่เที่ยง ฯลฯ บุคคลมีนิมิต ฯลฯ
บุคคลไม่มีนิมิตใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น (ย่อ)
ลักขณยุตติ จบ

เชิงอรรถ :
๑ หมายถึงตอนที่ว่าด้วยการซักถามถึงลักษณะแห่งบุคคล เช่น บุคคลมีลักษณะเหมือนกับสภาวธรรมหรือไม่
(อภิ.ปญฺจ.อ. ๕๓/๑๔๒)
๒ นิมิต ในที่นี้หมายถึงเหตุให้เกิด (อภิ.ปญฺจ.อ. ๕๓/๑๔๒)
๓ เพราะมีความเห็นว่า บุคคลแม้เป็นสมมติสัจ แต่ไม่มีลักษณะแห่งความเป็นผู้มีปัจจัยปรุงแต่งหรือไม่มี
ปัจจัยปรุงแต่ง เป็นต้น (อภิ.ปญฺจ.อ. ๕๔/๑๔๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๓๗ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๑. ปุคคลกถา
๙. วจนโสธนะ
ว่าด้วยการซักฟอกถ้อยคำ
[๕๕] สก. บุคคลเป็นสภาวะที่หยั่งรู้ได้ สภาวะที่หยั่งรู้ได้เป็นบุคคลใช่ไหม
ปร. บุคคลเป็นสภาวะที่หยั่งรู้ได้ สภาวะที่หยั่งรู้ได้บางอย่างเป็นบุคคล บาง
อย่างไม่เป็นบุคคล
สก. บุคคลบางส่วนเป็นสภาวะที่หยั่งรู้ได้ บางส่วนเป็นสภาวะที่หยั่งรู้ไม่ได้ใช่
ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๕๖] สก. บุคคลเป็นสภาวะที่แท้จริง สภาวะที่แท้จริงเป็นบุคคลใช่ไหม
ปร. บุคคลเป็นสภาวะที่แท้จริง สภาวะที่แท้จริงบางอย่างเป็นบุคคล บาง
อย่างไม่เป็นบุคคล
สก. บุคคลบางส่วนเป็นสภาวะที่แท้จริง บางส่วนไม่เป็นสภาวะที่แท้จริง
ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๕๗] สก. บุคคลเป็นสภาวะที่คงอยู่ สภาวะที่คงอยู่เป็นบุคคลใช่ไหม
ปร. บุคคลเป็นสภาวะที่คงอยู่ สภาวะที่คงอยู่บางอย่างเป็นบุคคล บางอย่าง
ไม่เป็นบุคคล
สก. บุคคลบางส่วนเป็นสภาวะที่คงอยู่ บางส่วนเป็นสภาวะที่ไม่คงอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๕๘] สก. บุคคลเป็นสภาวะที่ปรากฏ สภาวะที่ปรากฏเป็นบุคคลใช่ไหม
ปร. บุคคลเป็นสภาวะที่ปรากฏ สภาวะที่ปรากฏบางอย่างเป็นบุคคล บาง
อย่างไม่เป็นบุคคล

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๓๘ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๑. ปุคคลกถา
สก. บุคคลบางส่วนเป็นสภาวะที่ปรากฏ บางส่วนเป็นสภาวะที่ไม่ปรากฏใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๕๙] สก. บุคคลเป็นสภาวะที่มีอยู่ สภาวะที่มีอยู่เป็นบุคคลใช่ไหม
ปร. บุคคลเป็นสภาวะที่มีอยู่ สภาวะที่มีอยู่บางอย่างเป็นบุคคล บางอย่าง
ไม่เป็นบุคคล
สก. บุคคลบางส่วนเป็นสภาวะที่มีอยู่ บางส่วนเป็นสภาวะที่ไม่มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๖๐] สก. บุคคลเป็นสภาวะที่มีอยู่ สภาวะที่มีอยู่ไม่เป็นบุคคลทั้งหมดใช่ไหม
ปร. ใช่ ฯลฯ
สก. บุคคลเป็นสภาวะที่ไม่มีอยู่ สภาวะที่ไม่มีอยู่ไม่เป็นบุคคลทั้งหมดใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ (ย่อ)
วจนโสธนะ จบ

๑๐. ปัญญัตตานุโยคะ
ว่าด้วยการซักถามถึงบัญญัติ
[๖๑] สก. ผู้มีรูปในรูปธาตุเป็นบุคคลใช่ไหม
ปร. ใช่๑
สก. ผู้มีกามในกามธาตุเป็นบุคคลใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

เชิงอรรถ :
๑ เพราะมีความเห็นว่า ผู้มีรูปเป็นนามบัญญัติที่ได้มาเพราะเกี่ยวข้องกับรูปภูมิ และรูปกายเป็นสิ่งที่มีปรากฏ
จริงในรูปภูมิ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๖๑-๖๖/๑๔๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๓๙ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๑. ปุคคลกถา
[๖๒] สก. ผู้มีรูปในรูปธาตุเป็นสัตว์ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ผู้มีกามในกามธาตุเป็นสัตว์ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น๑ ฯลฯ
[๖๓] สก. ผู้ไม่มีรูปในอรูปธาตุเป็นบุคคลใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ผู้มีกามในกามธาตุเป็นบุคคลใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๖๔] สก. ผู้ไม่มีรูปในอรูปธาตุเป็นสัตว์ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ผู้มีกามในกามธาตุเป็นสัตว์ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๖๕] สก. ผู้มีรูปในรูปธาตุเป็นบุคคล ผู้ไม่มีรูปในอรูปธาตุเป็นบุคคล และ
บางคนจุติจากรูปธาตุแล้วเข้าถึงอรูปธาตุใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลผู้มีรูปขาดสูญ บุคคลผู้ไม่มีรูปเกิดได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๖๖] สก. ผู้มีรูปในรูปธาตุเป็นสัตว์ ผู้ไม่มีรูปในอรูปธาตุเป็นสัตว์ และบาง
คนจุติจากรูปธาตุแล้วเข้าถึงอรูปธาตุมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่

เชิงอรรถ :
๑ เพราะมีความเห็นว่า ผู้มีกามเป็นนามบัญญัติที่มิใช่ได้มาเพราะเกี่ยวข้องกับกามภูมิ แต่เป็นบัญญัติที่ได้มา
เพราะเกี่ยวข้องกับกิเลสกาม (อภิ.ปญฺจ.อ. ๖๑-๖๖/๑๔๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๔๐ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๑. ปุคคลกถา
สก. สัตว์มีรูปขาดสูญ สัตว์ไม่มีรูปเกิดได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๖๗] สก. เมื่อบัญญัติว่า กายกับสรีระ หรือบัญญัติว่า สรีระกับกาย ให้มี
ความหมายว่า กาย โดยไม่แยก สรีระและกายนี้นั้นมีความหมายอย่างเดียวกัน
เสมอกัน มีส่วนเท่ากัน มีสภาพเหมือนกันใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เมื่อบัญญัติว่า บุคคลกับชีวะ หรือบัญญัติว่า ชีวะกับบุคคล ให้มี
ความหมายว่า บุคคล โดยไม่แยก ชีวะและบุคคลนี้นั้นมีความหมายอย่างเดียวกัน
เสมอกัน มีส่วนเท่ากัน มีสภาพเหมือนกันใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. กายกับบุคคลเป็นคนละอย่างกันใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ชีวะกับสรีระเป็นคนละอย่างกันใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น
สก. ท่านจงรับนิคคหะ ดังต่อไปนี้
เมื่อบัญญัติว่า กายกับสรีระ หรือบัญญัติว่า สรีระกับกาย ให้มีความหมายว่า
กาย โดยไม่แยก สรีระและกายนี้นั้นมีความหมายอย่างเดียวกัน เสมอกัน มีส่วน
เท่ากัน มีสภาพเหมือนกัน เมื่อบัญญัติว่า บุคคลกับชีวะ หรือบัญญัติว่า ชีวะกับ
บุคคล ให้มีความหมายว่า บุคคล โดยไม่แยก ชีวะและบุคคลนี้นั้นมีความหมาย
อย่างเดียวกัน เสมอกัน มีส่วนเท่ากัน มีสภาพเหมือนกัน กายกับบุคคลเป็นคน
ละอย่างกัน ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “ชีวะกับสรีระเป็นคนละอย่างกัน” ท่าน
กล่าวคำขัดแย้งใดในตอนต้นนั้นว่า “ข้าพเจ้ายอมรับว่า เมื่อบัญญัติว่า กายกับสรีระ
หรือบัญญัติว่า สรีระกับกาย ให้มีความหมายว่า กาย โดยไม่แยก สรีระและกายนี้
นั้นมีความหมายอย่างเดียวกัน เสมอกัน มีส่วนเท่ากัน มีสภาพเหมือนกัน เมื่อ
บัญญัติว่า บุคคลกับชีวะ หรือบัญญัติว่า ชีวะกับบุคคล ให้มีความหมายว่า บุคคล

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๔๑ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๑. ปุคคลกถา
โดยไม่แยก ชีวะและบุคคลนี้นั้นมีความหมายอย่างเดียวกัน เสมอกัน มีส่วนเท่ากัน
มีสภาพเหมือนกัน กายกับบุคคลเป็นคนละอย่างกัน แต่ไม่ยอมรับว่า ชีวะกับ
สรีระเป็นคนละอย่างกัน” คำนั้นของท่านผิด ฯลฯ
อนึ่ง หากท่านไม่ยอมรับว่า “ชีวะกับสรีระเป็นคนละอย่างกัน” ท่านก็ไม่ควร
ยอมรับว่า “เมื่อบัญญัติว่า กายกับสรีระ หรือบัญญัติว่า สรีระกับกาย ให้มีความ
หมายว่า กาย โดยไม่แยก สรีระและกายนี้นั้นมีความหมายอย่างเดียวกัน เสมอกัน
มีส่วนเท่ากัน มีสภาพเหมือนกัน เมื่อบัญญัติว่า บุคคลกับชีวะ หรือบัญญัติว่า ชีวะ
กับบุคคล ให้มีความหมายว่า บุคคล โดยไม่แยก ชีวะและบุคคลนี้นั้นมีความหมาย
อย่างเดียวกัน เสมอกัน มีส่วนเท่ากัน มีสภาพเหมือนกัน กายกับบุคคลเป็นคน
ละอย่างกัน” ท่านกล่าวคำขัดแย้งใดในตอนต้นนั้นว่า “ข้าพเจ้ายอมรับว่า เมื่อ
บัญญัติว่า กายกับสรีระ หรือบัญญัติว่า สรีระกับกาย ให้มีความหมายว่า กาย
โดยไม่แยก สรีระและกายนี้นั้นมีความหมายอย่างเดียวกัน เสมอกัน มีส่วนเท่ากัน
มีสภาพเหมือนกัน เมื่อบัญญัติว่า บุคคลกับชีวะ หรือบัญญัติว่า ชีวะกับบุคคล ให้มี
ความหมายว่า บุคคล โดยไม่แยก ชีวะและบุคคลนี้นั้นมีความหมายอย่างเดียวกัน
เสมอกัน มีส่วนเท่ากัน มีสภาพเหมือนกัน กายกับบุคคลเป็นคนละอย่างกัน แต่
ไม่ยอมรับว่า ชีวะกับสรีระเป็นคนละอย่างกัน” คำนั้นของท่านผิด ฯลฯ
[๖๘] ปร. เมื่อบัญญัติว่า กายกับสรีระ หรือบัญญัติว่า สรีระกับกาย ให้มี
ความหมายว่า กาย โดยไม่แยก สรีระและกายนี้นั้นมีความหมายอย่างเดียวกัน
เสมอกัน มีส่วนเท่ากัน มีสภาพเหมือนกันใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตนเองมีอยู่”
ใช่ไหม
สก. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๔๒ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๑. ปุคคลกถา
ปร. กายกับบุคคลเป็นคนละอย่างกันใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น
ปร. ท่านจงรับปฏิกรรม ดังต่อไปนี้
เมื่อบัญญัติว่า กายกับสรีระ หรือบัญญัติว่า สรีระกับกาย ให้มีความหมายว่า
กาย โดยไม่แยก สรีระและกายนี้นั้นมีความหมายอย่างเดียวกัน เสมอกัน มีส่วน
เท่ากัน มีสภาพเหมือนกัน พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า ‘บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูล
ตนเองมีอยู่’ ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “กายกับบุคคลเป็นคนละอย่างกัน”
ท่านกล่าวคำขัดแย้งใดในตอนต้นนั้นว่า “ข้าพเจ้ายอมรับว่า เมื่อบัญญัติว่า กายกับ
สรีระ หรือบัญญัติว่า สรีระกับกาย ให้มีความหมายว่า กาย โดยไม่แยก สรีระ
และกายนี้นั้นมีความหมายอย่างเดียวกัน เสมอกัน มีส่วนเท่ากัน มีสภาพเหมือนกัน
พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า ‘บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตนเองมีอยู่’ แต่ไม่ยอมรับว่า
กายกับบุคคลเป็นคนละอย่างกัน” คำนั้นของท่านผิด
อนึ่ง หากท่านไม่ยอมรับว่า “กายกับบุคคลเป็นคนละอย่างกัน” ท่านก็ไม่
ควรยอมรับว่า “เมื่อบัญญัติว่า กายกับสรีระ หรือบัญญัติว่า สรีระกับกาย ให้มี
ความหมายว่า กาย โดยไม่แยก สรีระและกายนี้นั้นมีความหมายอย่างเดียวกัน เสมอกัน
มีส่วนเท่ากัน มีสภาพเหมือนกัน พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า ‘บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อ
เกื้อกูลตนเองมีอยู่” ท่านกล่าวคำขัดแย้งใดในตอนต้นนั้นว่า “ข้าพเจ้ายอมรับว่า
เมื่อบัญญัติว่า กายกับสรีระ หรือบัญญัติว่า สรีระกับกาย ให้มีความหมายว่า กาย
โดยไม่แยก สรีระและกายนี้นั้นมีความหมายอย่างเดียวกัน เสมอกัน มีส่วนเท่ากัน
มีสภาพเหมือนกัน พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า ‘บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตนเองมีอยู่’
แต่ไม่ยอมรับว่า กายกับบุคคลเป็นคนละอย่างกัน” คำนั้นของท่านผิด (ย่อ)

ปัญญัตตานุโยคะ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๔๓ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๑. ปุคคลกถา
๑๑. คติอนุโยคะ
ว่าด้วยการซักถามถึงคติ
[๖๙] สก. บุคคลท่องเที่ยวจากโลกนี้ไปสู่โลกอื่น จากโลกอื่นมาสู่โลกนี้
ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลคนเดียวกันท่องเที่ยวจากโลกนี้ไปสู่โลกอื่น จากโลกอื่นมาสู่โลกนี้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น๑ ฯลฯ
[๗๐] สก. บุคคลท่องเที่ยวจากโลกนี้ไปสู่โลกอื่น จากโลกอื่นมาสู่โลกนี้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลคนละคนกันท่องเที่ยวจากโลกนี้ไปสู่โลกอื่น จากโลกอื่นมาสู่โลก
นี้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ๒
[๗๑] สก. บุคคลท่องเที่ยวจากโลกนี้ไปสู่โลกอื่น จากโลกอื่นมาสู่โลกนี้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลทั้งที่เป็นคนเดียวกันและคนละคนกันท่องเที่ยวจากโลกนี้ไปสู่โลกอื่น
จากโลกอื่นมาสู่โลกนี้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ๓

เชิงอรรถ :
๑ เพราะฝ่ายปรวาทีกลัวจะเป็นสัสสตทิฏฐิ (ลัทธิที่ถือว่าอัตตาและโลกเที่ยง) จึงตอบปฏิเสธ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๖๙-
๗๓/๑๔๖)
๒ เพราะฝ่ายปรวาทีกลัวจะเป็นอุจเฉททิฏฐิ (ลัทธิที่ถือว่าหลังจากตายแล้วอัตตาขาดสูญ) จึงตอบปฏิเสธ
(อภิ.ปญฺจ.อ. ๖๙-๗๓/๑๔๖)
๓ เพราะฝ่ายปรวาทีกลัวจะเป็นเอกัจจสัสสตทิฏฐิ (ลัทธิที่ถือว่าบางอย่างเที่ยง) จึงตอบปฏิเสธ (อภิ.ปญฺจ.อ.
๖๙-๗๓/๑๔๖)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๔๔ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๑. ปุคคลกถา
[๗๒] สก. บุคคลท่องเที่ยวจากโลกนี้ไปสู่โลกอื่น จากโลกอื่นมาสู่โลกนี้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลจะว่าเป็นคนเดียวกันก็มิใช่ จะว่าเป็นคนละคนกันก็มิใช่ท่องเที่ยว
จากโลกนี้ไปสู่โลกอื่น จากโลกอื่นมาสู่โลกนี้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ๑
[๗๓] สก. บุคคลท่องเที่ยวไปจากโลกนี้ไปสู่โลกอื่น จากโลกอื่นมาสู่โลกนี้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลคนเดียวกัน บุคคลคนละคนกัน บุคคลทั้งที่เป็นคนเดียวกันและ
คนละคนกัน บุคคลจะว่าเป็นคนเดียวกันก็มิใช่ จะว่าเป็นคนละคนกันก็มิใช่
ท่องเที่ยวจากโลกนี้ไปสู่โลกอื่น จากโลกอื่นมาสู่โลกนี้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ๒
[๗๔] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “บุคคลท่องเที่ยวจากโลกนี้ไปสู่โลกอื่น จากโลก
อื่นมาสู่โลกนี้ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า
“บุคคลนั้นท่องเที่ยวไป ๗ ชาติเป็นอย่างมาก
ก็จะทำที่สุดทุกข์ได้ เพราะสังโยชน์ทั้งปวงสิ้นไป” ๓
มีอยู่จริงมิใช่หรือ
สก. ใช่

เชิงอรรถ :
๑ เพราะฝ่ายปรวาทีกลัวจะเป็นอมราวิกเขปทิฏฐิ (ลัทธิที่พูดหลบเลี่ยงไม่แน่นอนตายตัว) จึงตอบปฏิเสธ
(อภิ.ปญฺจ.อ. ๖๙-๗๓/๑๔๖)
๒ เพราะฝ่ายปรวาทีกลัวจะเป็นสัสสตทิฏฐิ อุจเฉททิฏฐิ เอกัจจสัสสตทิฏฐิ และอมราวิกเขปทิฏฐิ จึงตอบ
ปฏิเสธ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๖๙-๗๓/๑๔๖)
๓ ดูเทียบ สํ.นิ. (แปล) ๑๖/๑๒๔/๒๒๔, ขุ.อิติ. (แปล) ๒๕/๒๔/๓๖๙

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๔๕ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๑. ปุคคลกถา
ปร. ดังนั้น บุคคลจึงท่องเที่ยวจากโลกนี้ไปสู่โลกอื่น จากโลกอื่นมาสู่โลกนี้ได้
[๗๕] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “บุคคลท่องเที่ยวจากโลกนี้ไปสู่โลกอื่น จาก
โลกอื่นมาสู่โลกนี้” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย สงสารนี้มีเบื้อง
ต้นและเบื้องปลายรู้ไม่ได้ (ที่สุด)เบื้องต้น (ที่สุด)เบื้องปลายไม่ปรากฏแก่เหล่าสัตว์
ผู้ถูกอวิชชากีดขวาง ถูกตัณหาผูกไว้ วนเวียนท่องเที่ยวไป” ๑ มีอยู่จริงมิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. ดังนั้น บุคคลจึงท่องเที่ยวจากโลกนี้ไปสู่โลกอื่น จากโลกอื่นมาสู่โลกนี้ได้
[๗๖] สก. บุคคลท่องเที่ยวจากโลกนี้ไปสู่โลกอื่น จากโลกอื่นมาสู่โลกนี้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลคนเดียวกันนั่นแหละท่องเที่ยวจากโลกนี้ไปสู่โลกอื่น จากโลกอื่น
มาสู่โลกนี้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๗๗] สก. บุคคลคนเดียวกันนั่นแหละท่องเที่ยวจากโลกนี้ไปสู่โลกอื่น จาก
โลกอื่นมาสู่โลกนี้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลบางคนเป็นมนุษย์แล้วเป็นเทวดาก็มีใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. มนุษย์กับเทวดาเป็นบุคคลคนเดียวกันใช่ไหม๒
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ สํ.นิ. (แปล) ๑๖/๑๒๔/๒๑๕
๒ ฝ่ายสกวาทีประสงค์จะแยกมนุษย์กับเทวดาว่ามีคติภพต่างกัน (อภิ. ปญฺจ.อ. ๗๗/๑๔๖)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๔๖ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๑. ปุคคลกถา
[๗๘] สก. มนุษย์กับเทวดาเป็นบุคคลคนเดียวกันใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. หากบุคคลเป็นมนุษย์แล้วจึงเป็นเทวดา เป็นเทวดาแล้วจึงเป็นมนุษย์
(ดังนั้น) ผู้เกิดเป็นมนุษย์กับเทวดาจึงเป็นคนละคนกัน คำที่ว่า “บุคคลผู้เกิดเป็น
มนุษย์คนเดียวกันนี้นั่นแหละท่องเที่ยวไป” ดังนี้ จึงผิด ฯลฯ
อนึ่ง หากบุคคลคนเดียวกันนั่นแหละท่องเที่ยวไป จุติจากโลกนี้ไปสู่โลกอื่น
มิใช่คนละคนกัน เมื่อเป็นเช่นนี้ ความตายก็จักไม่มี แม้แต่ปาณาติบาตก็หยั่งรู้ไม่ได้
กรรมมีอยู่ ผลของกรรมก็มีอยู่ ผลของกรรมทั้งหลายที่ทำแล้วก็มีอยู่ เมื่อกุศล
และอกุศลให้ผลอยู่ คำที่ว่า “บุคคลคนเดียวกันนี้นั่นแหละท่องเที่ยวไป” ดังนี้ จึงผิด
[๗๙] สก. บุคคลคนเดียวกันนั่นแหละท่องเที่ยวจากโลกนี้ไปสู่โลกอื่น จาก
โลกอื่นมาสู่โลกนี้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลบางคนเป็นมนุษย์แล้วเป็นยักษ์มีอยู่ ... เป็นเปรต ... เป็นสัตว์นรก ...
เป็นสัตว์ดิรัจฉาน ... เป็นอูฐ ... เป็นโค ... เป็นลา ... เป็นสุกร ... เป็นกระบือ
มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. มนุษย์กับกระบือเป็นบุคคลคนเดียวกันใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๘๐] สก. มนุษย์กับกระบือเป็นบุคคลคนเดียวกันใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลเป็นมนุษย์แล้วเป็นกระบือ เป็นกระบือแล้วเป็นมนุษย์ (ดังนั้น)
ผู้เกิดเป็นมนุษย์กับกระบือจึงเป็นคนละคนกัน คำที่ว่า “บุคคลผู้เกิดเป็นมนุษย์คน
เดียวกันนี้นั่นแหละท่องเที่ยวไป” ดังนี้ จึงผิด ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๔๗ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๑. ปุคคลกถา
อนึ่ง หากบุคคลคนเดียวกันนั่นแหละท่องเที่ยวไป จุติจากโลกนี้ไปสู่โลกอื่น
มิใช่คนละคนกัน เมื่อเป็นเช่นนี้ ความตายก็จักไม่มี แม้แต่ปาณาติบาตก็หยั่งรู้ไม่ได้
กรรมมีอยู่ ผลของกรรมก็มีอยู่ ผลของกรรมทั้งหลายที่ทำแล้วก็มีอยู่ เมื่อกุศลและอกุศล
ให้ผลอยู่ คำที่ว่า “บุคคลคนเดียวกันนี้นั่นแหละท่องเที่ยวไป” ดังนี้ จึงผิด
[๘๑] สก. บุคคลคนเดียวกันนั่นแหละท่องเที่ยวจากโลกนี้ไปสู่โลกอื่น จาก
โลกอื่นมาสู่โลกนี้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลบางคนเป็นกษัตริย์แล้วเป็นพราหมณ์มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. กษัตริย์กับพราหมณ์เป็นบุคคลคนเดียวกันใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๘๒] สก. บุคคลบางคนเป็นกษัตริย์แล้วเป็นแพศย์ ... เป็นศูทรมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. กษัตริย์กับศูทรเป็นบุคคลคนเดียวกันใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๘๓] สก. บุคคลบางคนเป็นพราหมณ์แล้วเป็นแพศย์ ... เป็นศูทร ... เป็น
กษัตริย์มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พราหมณ์กับกษัตริย์เป็นบุคคลคนเดียวกันใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๘๔] สก. บุคคลบางคนเป็นแพศย์แล้วเป็นศูทร ... เป็นกษัตริย์ ... เป็น
พราหมณ์มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๔๘ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๑. ปุคคลกถา
สก. แพศย์กับพราหมณ์เป็นบุคคลคนเดียวกันใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๘๕] สก. บุคคลบางคนเป็นศูทรแล้วเป็นกษัตริย์ ... เป็นพราหมณ์ ... เป็น
แพศย์มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ศูทรกับแพศย์เป็นบุคคลคนเดียวกันใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๘๖] สก. บุคคลคนเดียวกันนั่นแหละท่องเที่ยวจากโลกนี้ไปสู่โลกอื่น จาก
โลกอื่นมาสู่โลกนี้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. คนมือด้วนก็เป็นคนมือด้วนอยู่เหมือนเดิม คนเท้าด้วนก็เป็นคนเท้า
ด้วนอยู่เหมือนเดิม คนมีมือและเท้าด้วนก็เป็นคนมีมือและเท้าด้วนอยู่เหมือนเดิม ...
คนหูวิ่น ... คนจมูกโหว่ ... คนทั้งหูวิ่นทั้งจมูกโหว่ ... คนนิ้วด้วน ... คนมีหัว
แม่มือหัวแม่เท้าด้วน ... คนเอ็นใหญ่ขาด ... คนมือหงิก ... คนมือแป ... คน
เป็นโรคเรื้อน ... คนเป็นโรคต่อม ... คนเป็นโรคกลาก ... คนเป็นโรคมองคร่อ ...
คนเป็นโรคลมบ้าหมู ... อูฐก็เป็นอูฐอยู่เหมือนเดิม ... โค ... ลา ... สุกร ...
กระบือก็เป็นกระบืออยู่เหมือนเดิมใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๘๗] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “บุคคลคนเดียวกันนั่นแหละท่องเที่ยวจากโลกนี้
ไปสู่โลกอื่น จากโลกอื่นมาสู่โลกนี้” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. บุคคลผู้เป็นโสดาบันจุติจากมนุษยโลกไปเกิดในเทวโลกแล้ว ยังเป็น
โสดาบันอยู่เหมือนเดิมแม้ในเทวโลกนั้นมิใช่หรือ
สก. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๔๙ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๑. ปุคคลกถา
ปร. หากบุคคลผู้เป็นโสดาบันจุติจากมนุษยโลกไปเกิดในเทวโลกแล้ว ยังเป็น
โสดาบันอยู่เหมือนเดิมแม้ในเทวโลกนั้น ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “บุคคลคน
เดียวกันนั่นแหละท่องเที่ยวจากโลกนี้ไปสู่โลกอื่น จากโลกอื่นมาสู่โลกนี้”
[๘๘] สก. เพราะท่านเข้าใจว่า “บุคคลผู้เป็นโสดาบันจุติจากมนุษยโลกไป
เกิดในเทวโลกแล้วยังเป็นโสดาบันอยู่เหมือนเดิมแม้ในเทวโลกนั้น” จึงยอมรับว่า
“บุคคลคนเดียวกันนั่นแหละท่องเที่ยวจากโลกนี้ไปสู่โลกอื่น จากโลกอื่นมาสู่โลกนี้”
ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เพราะท่านเข้าใจว่า “บุคคลผู้เป็นโสดาบันจุติจากมนุษยโลกไปเกิดใน
เทวโลกแล้ว ยังเป็นมนุษย์อยู่เหมือนเดิมแม้ในเทวโลกนั้น” จึงยอมรับว่า “บุคคล
คนเดียวกันนั่นแหละท่องเที่ยวจากโลกนี้ไปสู่โลกอื่นจากโลกอื่นมาสู่โลกนี้” ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๘๙] สก. บุคคลคนเดียวกันนั่นแหละท่องเที่ยวจากโลกนี้ไปสู่โลกอื่น จาก
โลกอื่นมาสู่โลกนี้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลมิใช่คนละคนกัน ไม่แปรผัน ท่องเที่ยวไปใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๙๐] สก. บุคคลมิใช่คนละคนกัน ไม่แปรผัน ท่องเที่ยวไปใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. คนมือด้วนก็เป็นคนมือด้วนอยู่เหมือนเดิม ... คนเท้าด้วนก็เป็นคนเท้า
ด้วนอยู่เหมือนเดิม ... คนมีมือและเท้าด้วนก็เป็นคนมีมือและเท้าด้วนอยู่เหมือนเดิม
... คนหูวิ่น ... คนจมูกโหว่ ... คนทั้งหูวิ่นทั้งจมูกโหว่ ... คนนิ้วด้วน ... คน
มีหัวแม่มือหัวแม่เท้าด้วน ... คนเอ็นใหญ่ขาด ... คนมือหงิก ... คนเป็นโรคเรื้อน
... คนเป็นโรคต่อม ... คนเป็นโรคกลาก ... คนเป็นโรคมองคร่อ ... คนเป็นโรค

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๕๐ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๑. ปุคคลกถา
ลมบ้าหมู ... อูฐ ... โค ... ลา ... สุกร ... กระบือก็เป็นกระบืออยู่เหมือนเดิม
ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๙๑] สก. บุคคลคนเดียวกันนั่นแหละท่องเที่ยวจากโลกนี้ไปสู่โลกอื่น จาก
โลกอื่นมาสู่โลกนี้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เป็นผู้มีรูป๑ท่องเที่ยวไปใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เป็นผู้มีรูปท่องเที่ยวไปใช่ไหม
ปร. ใช่๒
สก. ชีวะกับสรีระเป็นอย่างเดียวกันใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เป็นผู้มีเวทนา ฯลฯ เป็นผู้มีสัญญา ฯลฯ เป็นผู้มีสังขาร ฯลฯ
เป็นผู้มีวิญญาณท่องเที่ยวไปใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เป็นผู้มีวิญญาณท่องเที่ยวไปใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ชีวะกับสรีระเป็นอย่างเดียวกันใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

เชิงอรรถ :
๑ หมายถึงท่องเที่ยวไปพร้อมกับรูปกาย (อภิ.ปญฺจ.อ. ๙๑/๑๔๗)
๒ เพราะมีความเห็นว่า บุคคลผู้อยู่ในอันตรภพเมื่อจุติไปเกิดในครรภ์มารดา(ในภพอื่น) จะไปพร้อมกับรูป
กายของตนขณะอยู่ในอันตรภพ (คล้ายสัมภเวสี) คำว่า อันตรภพ หมายถึงภพที่อยู่ในระหว่างตายกับเกิด
หรือถพนี้กับภพหน้า (อภิ.ปญฺจ.อ. ๙๑/๑๔๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๕๑ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๑. ปุคคลกถา
[๙๒] สก. บุคคลคนเดียวกันนั่นแหละท่องเที่ยวจากโลกนี้ไปสู่โลกอื่น จาก
โลกอื่นมาสู่โลกนี้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เป็นผู้ไม่มีรูปท่องเที่ยวไปใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น๑ ฯลฯ
สก. เป็นผู้ไม่มีรูปท่องเที่ยวไปใช่ไหม
ปร. ใช่๒
สก. ชีวะกับสรีระเป็นคนละอย่างกันใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เป็นผู้ไม่มีเวทนา ฯลฯ เป็นผู้ไม่มีสัญญา ฯลฯ เป็นผู้ไม่มีสังขาร ฯลฯ
เป็นผู้ไม่มีวิญญาณท่องเที่ยวไปใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น๓ ฯลฯ
สก. เป็นผู้ไม่มีวิญญาณท่องเที่ยวไปใช่ไหม
ปร. ใช่๔
สก. ชีวะกับสรีระเป็นคนละอย่างกันใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๙๓] สก. บุคคลคนเดียวกันนั่นแหละท่องเที่ยวจากโลกนี้ไปสู่โลกอื่น จาก
โลกอื่นมาสู่โลกนี้ใช่ไหม
ปร. ใช่

เชิงอรรถ :
๑ เพราะฝ่ายปรวาทียังยืนยันในเรื่องอันตรภพเหมือนเดิม
๒ เพราะมีความเห็นว่า บุคคลในอรูปภพเป็นผู้ไม่มีรูป (อภิ.ปญฺจ.อ. ๙๒/๑๔๘)
๓ เพราะมีความเห็นว่า มีสัญญีภพซึ่งมีเวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณจึงตอบปฏิเสธ (อภิ.ปญฺจ.อ.
๙๒/๑๔๘)
๔ เพราะมีความเห็นว่า มีอุปปัตติภพอื่นนอกจากสัญญีภพจึงตอบรับ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๙๒/๑๔๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๕๒ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๑. ปุคคลกถา
สก. รูปท่องเที่ยวไปใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. รูปท่องเที่ยวไปใช่ไหม
ปร. ใช่๑
สก. ชีวะกับสรีระเป็นอย่างเดียวกันใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ สังขาร ฯลฯ วิญญาณท่องเที่ยวไปใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. วิญญาณท่องเที่ยวไปใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ชีวะกับสรีระเป็นอย่างเดียวกันใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๙๔] สก. บุคคลคนเดียวกันนั่นแหละท่องเที่ยวจากโลกนี้ไปสู่โลกอื่น จาก
โลกอื่นมาสู่โลกนี้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. รูปไม่ท่องเที่ยวไปใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. รูปไม่ท่องเที่ยวไปใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ชีวะกับสรีระเป็นคนละอย่างกันใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ สังขาร ฯลฯ วิญญาณไม่ท่องเที่ยวไปใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

เชิงอรรถ :
๑ เพราะมีความเห็นว่า ถ้าไม่มีรูป ก็ไม่มีบุคคล ดังนั้น เมื่อบุคคลท่องเที่ยวไปจึงท่องเที่ยวไปด้วยรูปนั้น (อภิ.ปญฺจอ.
๙๓/๑๔๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๕๓ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๑. ปุคคลกถา
สก. วิญญาณไม่ท่องเที่ยวไปใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ชีวะกับสรีระเป็นคนละอย่างกันใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น (ย่อ)
สก. เมื่อขันธ์แตกดับ หากบุคคลนั้นแตกดับ
ก็จะเป็นอุจเฉททิฏฐิที่พระพุทธเจ้าได้ทรงเว้น
เมื่อขันธ์แตกดับ หากบุคคลไม่แตกดับ
บุคคลก็จะเที่ยงเสมอเหมือนนิพพาน๑
คติอนุโยคะ จบ

๑๒. อุปาทาปัญญัตตานุโยคะ
ว่าด้วยการซักถามถึงอุปาทาบัญญัติ๒
[๙๕] สก. เพราะอาศัยรูปจึงบัญญัติบุคคลใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. รูปไม่เที่ยง ถูกปัจจัยปรุงแต่ง อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น มีความสิ้นไป เสื่อมไป
คลายไป ดับไป แปรผันไปเป็นธรรมดาใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. แม้บุคคลก็ไม่เที่ยง ถูกปัจจัยปรุงแต่ง อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น มีความสิ้นไป
เสื่อมไป คลายไป ดับไป แปรผันไปเป็นธรรมดาใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น๓ ฯลฯ

เชิงอรรถ :
๑ เที่ยงเสมอเหมือนนิพพาน หมายถึง นิพพานคือภาวะที่ไม่เกิดไม่ดับ ถ้าถือว่าบุคคลเที่ยงเหมือนนิพพาน
ก็จัดเป็นสัสสตทิฏฐิ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๙๔/๑๔๘)
๒ ดูเชิงอรรถที่ ๑ ข้อ ๒ หน้า ๓ ในเล่มนี้
๓ ปรวาทียังยึดถือความเห็นเดิมของตนที่ว่า บุคคเที่ยง จึงตอบปฏิเสธ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๙๕/๑๔๙)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๕๔ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๑. ปุคคลกถา
[๙๖] สก. เพราะอาศัยเวทนา ฯลฯ เพราะอาศัยสัญญา ฯลฯ เพราะ
อาศัยสังขาร ฯลฯ เพราะอาศัยวิญญาณ จึงบัญญัติบุคคลใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. วิญญาณไม่เที่ยง ถูกปัจจัยปรุงแต่ง อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น มีความสิ้นไป
เสื่อมไป คลายไป ดับไป แปรผันไปเป็นธรรมดาใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. แม้บุคคลก็ไม่เที่ยง ถูกปัจจัยปรุงแต่ง อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น มีความสิ้นไป
เสื่อมไป คลายไป ดับไป แปรผันไปเป็นธรรมดาใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๙๗] สก. เพราะอาศัยรูปจึงบัญญัติบุคคลใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เพราะอาศัยรูปสีเขียว จึงบัญญัติบุคคลสีเขียวใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เพราะอาศัยรูปสีเหลือง ฯลฯ เพราะอาศัยรูปสีแดง ฯลฯ เพราะอาศัย
รูปสีขาว ฯลฯ เพราะอาศัยรูปที่เห็นได้ ฯลฯ เพราะอาศัยรูปที่เห็นไม่ได้ ฯลฯ
เพราะอาศัยรูปที่กระทบได้ ฯลฯ เพราะอาศัยรูปที่กระทบไม่ได้ จึงบัญญัติบุคคล
ที่กระทบไม่ได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๙๘] สก. เพราะอาศัยเวทนาจึงบัญญัติบุคคลใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เพราะอาศัยเวทนาที่เป็นกุศล จึงบัญญัติบุคคลที่เป็นกุศลใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เพราะอาศัยเวทนาที่เป็นกุศล จึงบัญญัติบุคคลที่เป็นกุศลใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๕๕ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๑. ปุคคลกถา
สก. เวทนาที่เป็นกุศล มีผล มีวิบาก มีผลน่าปรารถนา มีผลน่ายินดี มีผล
น่าพอใจ มีผลเยือกเย็น มีสุขเป็นกำไร มีสุขเป็นวิบากใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. แม้บุคคลที่เป็นกุศลก็มีผล มีวิบาก มีผลน่าปรารถนา มีผลน่ายินดี
มีผลน่าพอใจ มีผลเยือกเย็น มีสุขเป็นกำไร มีสุขเป็นวิบากใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๙๙] สก. เพราะอาศัยเวทนาจึงบัญญัติบุคคลใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เพราะอาศัยเวทนาที่เป็นอกุศล จึงบัญญัติบุคคลที่เป็นอกุศลใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เพราะอาศัยเวทนาที่เป็นอกุศล จึงบัญญัติบุคคลที่เป็นอกุศลใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เวทนาที่เป็นอกุศลมีผล มีวิบาก มีผลไม่น่าปรารถนา มีผลไม่น่ายินดี
มีผลไม่น่าพอใจ มีผลเร่าร้อน มีทุกข์เป็นกำไร มีทุกข์เป็นวิบากใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. แม้บุคคลที่เป็นอกุศลก็มีผล มีวิบาก มีผลไม่น่าปรารถนา มีผลไม่น่า
ยินดี มีผลไม่น่าพอใจ มีผลเร่าร้อน มีทุกข์เป็นกำไร มีทุกข์เป็นวิบากใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๑๐๐] สก. เพราะอาศัยเวทนา จึงบัญญัติบุคคลใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เพราะอาศัยเวทนาที่เป็นอัพยากฤต จึงบัญญัติบุคคลที่เป็นอัพยากฤต
ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๕๖ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๑. ปุคคลกถา
สก. เพราะอาศัยเวทนาที่เป็นอัพยากฤต จึงบัญญัติบุคคลที่เป็นอัพยากฤต
ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เวทนาที่เป็นอัพยากฤตไม่เที่ยง ถูกปัจจัยปรุงแต่ง อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น
มีความสิ้นไป เสื่อมไป คลายไป ดับไป แปรผันไปเป็นธรรมดาใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. แม้บุคคลที่เป็นอัพยากฤตก็ไม่เที่ยง ถูกปัจจัยปรุงแต่ง อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น
มีความสิ้นไป เสื่อมไป คลายไป ดับไป แปรผันไปเป็นธรรมดาใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๑๐๑] สก. เพราะอาศัยสัญญา ฯลฯ เพราะอาศัยสังขาร ฯลฯ เพราะอาศัย
วิญญาณ จึงบัญญัติบุคคลใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เพราะอาศัยวิญญาณที่เป็นกุศล จึงบัญญัติบุคคลที่เป็นกุศลใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เพราะอาศัยวิญญาณที่เป็นกุศล จึงบัญญัติบุคคลที่เป็นกุศลใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. วิญญาณที่เป็นกุศลมีผล มีวิบาก มีผลน่าปรารถนา มีผลน่ายินดี มีผล
น่าพอใจ มีผลเยือกเย็น มีสุขเป็นกำไร มีสุขเป็นวิบากใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. แม้บุคคลที่เป็นกุศลก็มีผล มีวิบาก มีผลน่าปรารถนา มีผลน่ายินดี
มีผลน่าพอใจ มีผลเยือกเย็น มีสุขเป็นกำไร มีสุขเป็นวิบากใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๑๐๒] สก. เพราะอาศัยวิญญาณจึงบัญญัติบุคคลใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๕๗ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๑. ปุคคลกถา
สก. เพราะอาศัยวิญญาณที่เป็นอกุศล จึงบัญญัติบุคคลที่เป็นอกุศลใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เพราะอาศัยวิญญาณที่เป็นอกุศล จึงบัญญัติบุคคลที่เป็นอกุศลใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. วิญญาณที่เป็นอกุศลมีผล มีวิบาก มีผลไม่น่าปรารถนา มีผลไม่น่ายินดี
มีผลไม่น่าพอใจ มีผลเร่าร้อน มีทุกข์เป็นกำไร มีทุกข์เป็นวิบากใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. แม้บุคคลที่เป็นอกุศลก็มีผล มีวิบาก มีผลไม่น่าปรารถนา มีผลไม่น่า
ยินดี มีผลไม่น่าพอใจ มีผลเร่าร้อน มีทุกข์เป็นกำไร มีทุกข์เป็นวิบากใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๑๐๓] สก. เพราะอาศัยวิญญาณ จึงบัญญัติบุคคลใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เพราะอาศัยวิญญาณที่เป็นอัพยากฤต จึงบัญญัติบุคคลที่เป็นอัพยากฤต
ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เพราะอาศัยวิญญาณที่เป็นอัพยากฤต จึงบัญญัติบุคคลที่เป็นอัพยากฤต
ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. วิญญาณที่เป็นอัพยากฤตไม่เที่ยง ถูกปัจจัยปรุงแต่ง อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น
มีความสิ้นไป เสื่อมไป คลายไป ดับไป แปรผันไปเป็นธรรมดาใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. แม้บุคคลที่เป็นอัพยากฤตก็ไม่เที่ยง ถูกปัจจัยปรุงแต่ง อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น
มีความสิ้นไป เสื่อมไป คลายไป ดับไป แปรผันไปเป็นธรรมดาใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๕๘ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๑. ปุคคลกถา
[๑๐๔] สก. เพราะอาศัยจักษุ ท่านจึงยอมรับว่า “บุคคลมีจักษุ” ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เมื่อจักษุดับแล้ว ท่านจึงยอมรับว่า “บุคคลผู้มีจักษุดับ” ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เพราะอาศัยโสตะ ฯลฯ เพราะอาศัยฆานะ ฯลฯ เพราะอาศัยชิวหา ฯลฯ
เพราะอาศัยกาย ฯลฯ เพราะอาศัยมโน ท่านจึงยอมรับว่า “บุคคลผู้มีมโน” ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เมื่อมโนดับแล้ว ท่านจึงยอมรับว่า “บุคคลผู้มีมโนดับ” ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น
[๑๐๕] สก. เพราะอาศัยมิจฉาทิฏฐิ ท่านจึงยอมรับว่า “บุคคลเป็นมิจฉาทิฏฐิ”
ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เมื่อมิจฉาทิฏฐิดับแล้ว ท่านจึงยอมรับว่า “บุคคลผู้เป็นมิจฉาทิฏฐิดับ”
ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เพราะอาศัยมิจฉาสังกัปปะ ฯลฯ เพราะอาศัยมิจฉาวาจา ฯลฯ เพราะ
อาศัยมิจฉากัมมันตะ ฯลฯ เพราะอาศัยมิจฉาอาชีวะ ฯลฯ เพราะอาศัยมิจฉาวายามะ
ฯลฯ เพราะอาศัยมิจฉาสติ ฯลฯ เพราะอาศัยมิจฉาสมาธิ ท่านจึงยอมรับว่า “บุคคล
เป็นมิจฉาสมาธิ” ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เมื่อมิจฉาสมาธิดับแล้ว ท่านจึงยอมรับว่า “บุคคลผู้เป็นมิจฉาสมาธิดับ”
ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๕๙ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๑. ปุคคลกถา
[๑๐๖] สก. เพราะอาศัยสัมมาทิฏฐิ ท่านจึงยอมรับว่า “บุคคลผู้เป็นสัมมาทิฏฐิ”
ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เมื่อสัมมาทิฏฐิดับแล้ว ท่านจึงยอมรับว่า “บุคคลผู้เป็นสัมมาทิฏฐิดับ”
ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เพราะอาศัยสัมมาสังกัปปะ ฯลฯ เพราะอาศัยสัมมาวาจา ฯลฯ เพราะ
อาศัยสัมมากัมมันตะ ฯลฯ เพราะอาศัยสัมมาอาชีวะ ฯลฯ เพราะอาศัยสัมมา-
วายามะ ฯลฯ เพราะอาศัยสัมมาสติ ฯลฯ เพราะอาศัยสัมมาสมาธิ ท่านจึง
ยอมรับว่า “บุคคลผู้เป็นสัมมาสมาธิ” ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เมื่อสัมมาสมาธิดับแล้ว ท่านจึงยอมรับว่า “บุคคลผู้เป็นสัมมาสมาธิดับ” ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๑๐๗] สก. เพราะอาศัยรูป เพราะอาศัยเวทนา จึงบัญญัติบุคคลใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เพราะอาศัยขันธ์ ๒ จึงบัญญัติบุคคล ๒ ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เพราะอาศัยรูป เพราะอาศัยเวทนา เพราะอาศัยสัญญา เพราะอาศัย
สังขาร เพราะอาศัยวิญญาณ จึงบัญญัติบุคคลใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เพราะอาศัยขันธ์ ๕ จึงบัญญัติบุคคล ๕ ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๖๐ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๑. ปุคคลกถา
[๑๐๘] สก. เพราะอาศัยจักขายตนะ เพราะอาศัยโสตายตนะ จึงบัญญัติ
บุคคลใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เพราะอาศัยอายตนะ ๒ จึงบัญญัติบุคคล ๒ ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เพราะอาศัยจักขายตนะ เพราะอาศัยโสตายตนะ ฯลฯ เพราะอาศัย
ธัมมายตนะ จึงบัญญัติบุคคลใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เพราะอาศัยอายตนะ ๑๒ จึงบัญญัติบุคคล ๑๒ ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๑๐๙] สก. เพราะอาศัยจักขุธาตุ เพราะอาศัยโสตธาตุ จึงบัญญัติบุคคลใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เพราะอาศัยธาตุ ๒ จึงบัญญัติบุคคล ๒ ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เพราะอาศัยจักขุธาตุ เพราะอาศัยโสตธาตุ ฯลฯ เพราะอาศัยธัมมธาตุ
จึงบัญญัติบุคคลใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เพราะอาศัยธาตุ ๑๘ จึงบัญญัติบุคคล ๑๘ ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๑๑๐] สก. เพราะอาศัยจักขุนทรีย์ เพราะอาศัยโสตินทรีย์ จึงบัญญัติบุคคลใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เพราะอาศัยอินทรีย์ ๒ จึงบัญญัติบุคคล ๒ ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๖๑ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๑. ปุคคลกถา
สก. เพราะอาศัยจักขุนทรีย์ เพราะอาศัยโสตินทรีย์ ฯลฯ เพราะอาศัย
อัญญาตาวินทรีย์ จึงบัญญัติบุคคลใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เพราะอาศัยอินทรีย์ ๒๒ จึงบัญญัติบุคคล ๒๒ ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๑๑๑] สก. เพราะอาศัยเอกโวการภพ๑ จึงบัญญัติบุคคล ๑ ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เพราะอาศัยจตุโวการภพ๒ จึงบัญญัติบุคคล ๔ ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เพราะอาศัยเอกโวการภพ จึงบัญญัติบุคคล ๑ ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เพราะอาศัยปัญจโวการภพ๓ จึงบัญญัติบุคคล ๕ ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ในเอกโวการภพมีบุคคลเพียง ๑ ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ในจตุโวการภพมีบุคคลเพียง ๔ ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ในเอกโวการภพมีบุคคลเพียง ๑ ใช่ไหม
ปร. ใช่

เชิงอรรถ :
๑ เอกโวการภพ หมายถึงภพของสัตว์ที่มีขันธ์ ๑ คือรูปขันธ์ ได้แก่ อสัญญีภพ (อภิ.วิ.อ. ๒๓๔/๑๙๘-๒๒๐)
๒ จตุโวการภพ หมายถึงภพของสัตว์ที่มีขันธ์ ๔ คือเวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ และวิญญาณขันธ์
ได้แก่ สัญญีภพ (อภิ.วิ.อ. ๒๓๔/๑๙๘-๒๒๐, ขุ.ป.อ. ๑/๕/๙๗)
๓ ปัญจโวการภพ หมายถึงภพของสัตว์ที่มีขันธ์ ๕ ได้แก่ กามภพและรูปภพ (อภิ.วิ.อ. ๒๓๔/๑๙๘-๒๒๐)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๖๒ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๑. ปุคคลกถา
สก. ในปัญจโวการภพมีบุคคลเพียง ๕ ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๑๑๒] สก. เพราะอาศัยต้นไม้จึงบัญญัติเงาไม้ ฉันใด เพราะอาศัยรูปจึง
บัญญัติบุคคล ฉันนั้นเหมือนกันใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เพราะอาศัยต้นไม้จึงบัญญัติเงาไม้ แม้ต้นไม้ก็ไม่เที่ยง แม้เงาไม้ก็ไม่เที่ยง
ฉันใด เพราะอาศัยรูปจึงบัญญัติบุคคล แม้รูปก็ไม่เที่ยง แม้บุคคลก็ไม่เที่ยง
ฉันนั้นเหมือนกันใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เพราะอาศัยต้นไม้จึงบัญญัติเงาไม้ ต้นไม้กับเงาไม้เป็นคนละอย่างกัน ฉันใด
เพราะอาศัยรูปจึงบัญญัติบุคคล รูปกับบุคคลเป็นคนละอย่างกัน ฉันนั้นเหมือนกัน
ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๑๑๓] สก. เพราะอาศัยบ้านจึงบัญญัติชาวบ้าน ฉันใด เพราะอาศัยรูปจึง
บัญญัติบุคคล ฉันนั้นเหมือนกันใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เพราะอาศัยบ้านจึงบัญญัติชาวบ้าน บ้านกับชาวบ้านเป็นคนละอย่างกัน
ฉันใด เพราะอาศัยรูปจึงบัญญัติบุคคล รูปกับบุคคลเป็นคนละอย่างกัน ฉันนั้น
เหมือนกันใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๑๑๔] สก. เพราะอาศัยรัฐจึงบัญญัติพระราชา ฉันใด เพราะอาศัยรูปจึง
บัญญัติบุคคล ฉันนั้นเหมือนกันใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๖๓ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๑. ปุคคลกถา
สก. เพราะอาศัยรัฐจึงบัญญัติพระราชา รัฐกับพระราชาเป็นคนละอย่างกัน ฉันใด
เพราะอาศัยรูปจึงบัญญัติบุคคล รูปกับบุคคลเป็นคนละอย่างกัน ฉันนั้นเหมือนกัน
ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๑๑๕] สก. ตรวนมิใช่ผู้ถูกจำตรวน ตรวนมีแก่ผู้ใด ผู้นั้นชื่อว่าผู้ถูกจำตรวน
ฉันใด รูปมิใช่ผู้มีรูป รูปมีแก่ผู้ใด ผู้นั้นชื่อว่าผู้มีรูป ฉันนั้นเหมือนกันใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ตรวนมิใช่ผู้ถูกจำตรวน ตรวนมีแก่ผู้ใด ผู้นั้นชื่อว่าผู้ถูกจำตรวน ตรวน
กับผู้ถูกจำตรวนเป็นคนละอย่างกัน ฉันใด รูปมิใช่ผู้มีรูป รูปมีแก่ผู้ใด ผู้นั้น
ชื่อว่าผู้มีรูป รูปกับผู้มีรูปเป็นคนละอย่าง ฉันนั้นเหมือนกันใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๑๑๖] สก. มีการบัญญัติบุคคลในจิตแต่ละดวงใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลย่อมเกิด แก่ ตาย จุติ ปฏิสนธิ ในจิตแต่ละดวงใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เมื่อจิตดวงที่ ๒ เกิดขึ้น ท่านไม่ยอมรับว่า “เป็นคนเดียวกันหรือเป็น
คนละคนกัน” ใช่ไหม
ปร. ใช่๑
สก. เมื่อจิตดวงที่ ๒ เกิดขึ้น ท่านไม่ยอมรับว่า “เป็นเด็กชายหรือเป็น
เด็กหญิง” ใช่ไหม
ปร. ข้าพเจ้ายอมรับ๒

เชิงอรรถ :
๑ เพราะมีความเห็นว่า บุคคลในจิตดวงที่ ๑ กับบุคคลในจิตดวงที่ ๒ จะกล่าวว่าเป็นคนเดียวกันหรือเป็นคน
ละคนกันก็ไม่ได้ เพราะถ้ายอมรับว่าเป็นคนเดียวกัน ก็เกรงจะถูกกล่าวหาว่าเป็นสัสสตทิฏฐิ และถ้ายอม
รับว่าเป็นคนละคนกันก็เกรงจะถูกกล่าวหาว่าเป็นอุจเฉททิฏฐิ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๑๑๖/๑๕๕)
๒ เพราะมีความเห็นว่า จะเป็นการขัดกับภาษาที่ชาวโลกใช้พูดกัน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๖๔ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๑. ปุคคลกถา
สก. ท่านจงรับนิคคหะ ดังต่อไปนี้
เมื่อจิตดวงที่ ๒ เกิดขึ้น หากท่านไม่ยอมรับว่า “เป็นคนเดียวกันหรือเป็น
คนละคนกัน” ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “เมื่อจิตดวงที่ ๒ เกิดขึ้น ข้าพเจ้า
ไม่ยอมรับว่า เป็นเด็กชายหรือเป็นเด็กหญิง” ท่านกล่าวคำขัดแย้งใดในตอนต้นนั้นว่า
“ข้าพเจ้ายอมรับว่า เมื่อจิตดวงที่ ๒ เกิดขึ้น ข้าพเจ้าไม่ยอมรับว่า ‘เป็นคน
เดียวกันหรือเป็นคนละคนกัน’ เมื่อจิตดวงที่ ๒ เกิดขึ้น ข้าพเจ้าจึงยอมรับว่า
เป็นเด็กชายหรือเป็นเด็กหญิง” คำนั้นของท่านผิด
อนึ่ง เมื่อจิตดวงที่ ๒ เกิดขึ้น หากท่านยอมรับว่า “เป็นเด็กชายหรือเป็น
เด็กหญิง” ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “เมื่อจิตดวงที่ ๒ เกิดขึ้น ข้าพเจ้ายอมรับว่า
เป็นคนเดียวกันหรือเป็นคนละคนกัน” ท่านกล่าวคำขัดแย้งใดในตอนต้นนั้นว่า
“ข้าพเจ้ายอมรับว่า เมื่อจิตดวงที่ ๒ เกิดขึ้น ข้าพเจ้าไม่ยอมรับว่า ‘เป็นคน
เดียวกันหรือเป็นคนละคนกัน’ เมื่อจิตดวงที่ ๒ เกิดขึ้น ข้าพเจ้าจึงยอมรับว่า
เป็นเด็กชายหรือเป็นเด็กหญิง” คำนั้นของท่านผิด
[๑๑๗] สก. เมื่อจิตดวงที่ ๒ เกิดขึ้น ท่านไม่ยอมรับว่า “เป็นคนเดียวกัน
หรือเป็นคนละคนกัน” ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เมื่อจิตดวงที่ ๒ เกิดขึ้น ท่านไม่ยอมรับว่า “เป็นสตรีหรือเป็นบุรุษ
เป็นคฤหัสถ์หรือเป็นบรรพชิต เป็นเทวดาหรือเป็นมนุษย์” ใช่ไหม
ปร. ข้าพเจ้ายอมรับ
สก. ท่านจงรับนิคคหะ ดังต่อไปนี้
หากเมื่อจิตดวงที่ ๒ เกิดขึ้น ท่านไม่ยอมรับว่า “เป็นคนเดียวกันหรือเป็น
คนละคนกัน” ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “เมื่อจิตดวงที่ ๒ เกิดขึ้น ข้าพเจ้า
ไม่ยอมรับว่า เป็นเทวดาหรือเป็นมนุษย์” ท่านกล่าวคำขัดแย้งใดในตอนต้นนั้นว่า
“ข้าพเจ้ายอมรับว่า เมื่อจิตดวงที่ ๒ เกิดขึ้น ข้าพเจ้าไม่ยอมรับว่า ‘เป็นคน
เดียวกันหรือเป็นคนละคนกัน’ เมื่อจิตดวงที่ ๒ เกิดขึ้น ข้าพเจ้าจึงยอมรับว่า
เป็นเทวดาหรือเป็นมนุษย์” คำนั้นของท่านผิด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๖๕ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๑. ปุคคลกถา
อนึ่ง เมื่อจิตดวงที่ ๒ เกิดขึ้น หากท่านยอมรับว่า “เป็นเทวดาหรือเป็นมนุษย์”
ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “เมื่อจิตดวงที่ ๒ เกิดขึ้น ข้าพเจ้ายอมรับว่า
เป็นคนเดียวกันหรือว่าเป็นคนละคนกัน” ท่านกล่าวคำขัดแย้งใดในตอนต้นนั้นว่า
“ข้าพเจ้ายอมรับว่า เมื่อจิตดวงที่ ๒ เกิดขึ้น ข้าพเจ้าไม่ยอมรับว่า ‘เป็นคน
เดียวกันหรือว่าเป็นคนละคนกัน เมื่อจิตดวงที่ ๒ เกิดขึ้น ข้าพเจ้าจึงยอมรับว่า
เป็นเทวดาหรือเป็นมนุษย์” คำนั้นของท่านผิด ฯลฯ
[๑๑๘] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์”
ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. บุคคลใดเห็น เห็นรูปใด เห็นด้วยจักษุใด บุคคลนั้นเห็น เห็นรูปนั้น
เห็นด้วยจักษุนั้นมิใช่หรือ๑
สก. ใช่๒
ปร. หากบุคคลใดเห็น เห็นรูปใด เห็นด้วยจักษุใด บุคคลนั้นเห็น เห็นรูปนั้น
เห็นด้วยจักษุนั้น ดังนั้น ท่านจึงยอมรับว่า “ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐ-
ปรมัตถ์”
[๑๑๙] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์”
ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. บุคคลใดฟัง ฯลฯ บุคคลใดดม ฯลฯ บุคคลใดลิ้มรส ฯลฯ บุคคลใด
ถูกต้อง ฯลฯ บุคคลใดรู้ รู้ธรรมารมณ์ใด รู้ด้วยมโนใด บุคคลนั้นรู้ รู้ธรรมารมณ์นั้น
รู้ด้วยมโนนั้นมิใช่หรือ
สก. ใช่

เชิงอรรถ :
๑ คำถามนี้ มีใจความว่า ผู้เห็นมีอยู่จริง รูปที่ถูกเห็นก็มีอยู่จริง ตาที่เห็นก็มีอยู่จริง
๒ เพราะมุ่งถึงสมมติสัจจึงตอบรับ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๑๑๘/๑๕๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๖๖ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๑. ปุคคลกถา
ปร. หากบุคคลใดรู้ รู้ธรรมารมณ์ใด รู้ด้วยมโนใด บุคคลนั้นรู้ รู้ธรรมารมณ์
นั้น รู้ด้วยมโนนั้น ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลได้โดย
สัจฉิกัฏฐปรมัตถ์”
[๑๒๐] สก. ท่านหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลใดไม่เห็น ไม่เห็นรูปใด ไม่เห็นด้วยจักษุใด บุคคลนั้นไม่เห็น
ไม่เห็นรูปนั้น ไม่เห็นด้วยจักษุนั้นมิใช่หรือ
ปร. ใช่๑
สก. หากบุคคลใดไม่เห็น ไม่เห็นรูปใด ไม่เห็นด้วยจักษุใด บุคคลนั้นไม่เห็น
ไม่เห็นรูปนั้น ไม่เห็นด้วยจักษุนั้น ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคล
ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์”
สก. ท่านหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลใดไม่ฟัง ฯลฯ บุคคลใดไม่ดม ฯลฯ บุคคลใดไม่ลิ้มรส ฯลฯ
บุคคลใดไม่ถูกต้อง ฯลฯ บุคคลใดไม่รู้ ไม่รู้ธรรมารมณ์ใด ไม่รู้ด้วยมโนใด บุคคลนั้นไม่รู้
ไม่รู้ธรรมารมณ์นั้น ไม่รู้ด้วยมโนนั้นใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. หากบุคคลใดไม่รู้ ไม่รู้ธรรมารมณ์ใด ไม่รู้ด้วยมโนใด บุคคลนั้นไม่รู้
ไม่รู้ธรรมารมณ์นั้น ไม่รู้ด้วยมโนนั้น ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “ข้าพเจ้าหยั่งรู้
บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์”
[๑๒๑] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “ท่านหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์”
ใช่ไหม
สก. ใช่

เชิงอรรถ :
๑ เพราะปรวาทีมุ่งหมายเอาบุคคล ๕ จำพวก คือ (๑) คนตาบอด (๒) อสัญญีสัตว์ (๓) บุคคลผู้เกิดในอรูปภพ
(๔) บุคคลผู้เข้านิโรธสมาบัติ (๕) คนตาไม่บอดแต่ไม่ดูรูป จึงตอบรับ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๑๒๐/๑๕๑-๑๕๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๖๗ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๑. ปุคคลกถา
ปร. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราเห็นหมู่สัตว์ผู้
กำลังจุติ กำลังปฏิสนธิ ทั้งชั้นต่ำและชั้นสูง งามและไม่งาม เกิดดีและเกิดไม่ดี
ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์ รู้ชัดถึงหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรม”๑ มีอยู่จริง
มิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. ดังนั้น ข้าพเจ้าจึงหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์
[๑๒๒] สก. เพราะท่านเข้าใจว่า “พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า ‘ภิกษุทั้งหลาย
เราเห็นหมู่สัตว์ผู้กำลังจุติ กำลังปฏิสนธิ ทั้งชั้นต่ำและชั้นสูง งามและไม่งาม
เกิดดีและเกิดไม่ดี ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์ รู้ชัดถึงหมู่สัตว์ผู้เป็นไป
ตามกรรม” จึงยอมรับว่า “ข้าพเจ้าจึงหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์”
ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระผู้มีพระภาคทรงเห็นรูป หรือทรงเห็นบุคคลได้ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์
เหนือมนุษย์
ปร. ทรงเห็นรูป
สก. รูปเป็นบุคคล รูปจุติ รูปปฏิสนธิ รูปเป็นไปตามกรรมใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระผู้มีพระภาคทรงเห็นรูป หรือทรงเห็นบุคคลได้ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์
เหนือมนุษย์
ปร. ทรงเห็นบุคคล
สก. บุคคลเป็นรูป เป็นรูปายตนะ เป็นรูปธาตุ เป็นสีเขียว สีเหลือง สีแดง
สีขาว สิ่งที่จะรู้ได้ทางจักษุ กระทบที่จักษุ มาสู่คลองจักษุได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ องฺ.ติก. (แปล) ๒๐/๕๙/๒๒๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๖๘ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๑. ปุคคลกถา
สก. พระผู้มีพระภาคทรงเห็นรูป หรือทรงเห็นบุคคลได้ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์
เหนือมนุษย์
ปร. ทรงเห็นได้ทั้ง ๒ อย่าง
สก. ทั้ง ๒ อย่าง เป็นรูป เป็นรูปายตนะ เป็นรูปธาตุ ทั้ง ๒ อย่างเป็นสีเขียว
ทั้ง ๒ อย่างเป็นสีเหลือง ทั้ง ๒ อย่างเป็นสีแดง ทั้ง ๒ อย่างเป็นสีขาว ทั้ง ๒
อย่างเป็นสิ่งที่จะรู้ได้ทางจักษุ ทั้ง ๒ อย่างกระทบที่จักษุ ทั้ง ๒ อย่างมาสู่คลองจักษุ
ทั้ง ๒ อย่างจุติ ทั้ง ๒ อย่างปฏิสนธิ ทั้ง ๒ อย่างเป็นไปตามกรรมใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
อุปาทาปัญญัตตานุโยคะ จบ

๑๓. ปุริสการานุโยคะ
ว่าด้วยการซักถามถึงผู้กระทำ
[๑๒๓] ปร. ท่านหยั่งรู้กรรมดีและกรรมชั่วได้ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. ท่านหยั่งรู้บุคคลผู้ทำ ผู้สั่งให้ทำกรรมดีและกรรมชั่วได้ใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น๑ ฯลฯ
[๑๒๔] สก. ท่านหยั่งรู้กรรมดีและกรรมชั่วได้ เพราะเหตุนั้น จึงหยั่งรู้บุคคล
ผู้ทำ ผู้สั่งให้ทำกรรมดีและกรรมชั่วได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ท่านหยั่งรู้บุคคลผู้สร้าง ผู้สั่งให้สร้างซึ่งบุคคลผู้ทำผู้สั่งให้ทำทั้ง ๒ นั้น
ได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น๒ ฯลฯ

เชิงอรรถ :
๑ เพราะปรวาทีมุ่งจะถามให้สกวาทียอมรับว่า อัตตามีอยู่จริง จึงตอบปฏิเสธ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๑๒๓/๑๕๒)
๒ เพราะปรวาทีเห็นว่า ถ้าตอบรับก็จะมีความผิด ๒ ประการ คือ (๑) เท่ากับยอมรับว่ามีผู้สร้างอยู่จริง (๒)
เท่ากับยอมรับลัทธิพระเจ้าสร้างโลก (อภิ.ปญ.จ.อ. ๑๒๔/๑๕๒-๑๕๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๖๙ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๑. ปุคคลกถา
[๑๒๕] สก. ท่านหยั่งรู้บุคคลผู้สร้าง ผู้สั่งให้สร้างซึ่งบุคคลผู้ทำผู้สั่งให้ทำนั้น
ได้ใช่ไหม
ปร. ใช่๑
สก. การทำที่สุดทุกข์ไม่มี การตัดขาดวัฏฏะไม่มี อนุปาทาปรินิพพานก็ไม่มี
แก่บุคคลผู้บันดาล ผู้สั่งให้บันดาลซึ่งบุคคลทั้ง ๒ ชั้นดังกล่าวมา๒นั้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๑๒๖] สก. ท่านหยั่งรู้กรรมดีและกรรมชั่วได้ เพราะเหตุนั้น จึงหยั่งรู้บุคคล
ผู้ทำ ผู้สั่งให้ทำกรรมดีและกรรมชั่วได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ท่านหยั่งรู้บุคคลได้ เพราะเหตุนั้น จึงหยั่งรู้บุคคลผู้ทำ ผู้สั่งให้ทำ
บุคคลได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๑๒๗] สก. ท่านหยั่งรู้กรรมดีและกรรมชั่วได้ เพราะเหตุนั้น จึงหยั่งรู้บุคคล
ผู้ทำ ผู้สั่งให้ทำกรรมดีและกรรมชั่วได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ท่านหยั่งรู้นิพพานได้ เพราะเหตุนั้น จึงหยั่งรู้บุคคลผู้ทำ ผู้สั่งให้ทำ
นิพพานได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๑๒๘] สก. ท่านหยั่งรู้กรรมดีและกรรมชั่วได้ เพราะเหตุนั้น จึงหยั่งรู้บุคคล
ผู้ทำ ผู้สั่งให้ทำกรรมดีและกรรมชั่วได้ใช่ไหม
ปร. ใช่

เชิงอรรถ :
๑ เพราะปรวาทียอมรับว่ามีผู้สร้างคือบิดามารดา ซึ่งทำหน้าที่ให้เกิด ตั้งชื่อ และเลี้ยงดู และยอมรับว่ามีผู้สั่ง
ให้สร้าง คือ กัลยาณมิตร หรือ ครู อาจารย์ ที่ให้ศึกษาศิลปวิทยา (อภิ.ปญฺจ.อ. ๑๒๔/๑๕๒-๑๕๓)
๒ บุคคลทั้ง ๒ ชั้นดังกล่าวมา คือ ชั้นที่ ๑ ได้แก่ ผู้ทำ ผู้สั่งให้ทำกรรม, ชั้นที่ ๒ ได้แก่ ผู้สร้าง ผู้สั่งให้สร้างซึ่งผู้ทำ
ผู้สั่งให้ทำกรรม (อภิ.ปญฺจ.อ. ๑๒๓/๑๕๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๗๐ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๑. ปุคคลกถา
สก. ท่านหยั่งรู้มหาปฐพีได้ เพราะเหตุนั้น จึงหยั่งรู้บุคคลผู้ทำ ผู้สั่งให้ทำ
มหาปฐพี ได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๑๒๙] สก. ท่านหยั่งรู้กรรมดีและกรรมชั่วได้ เพราะเหตุนั้น จึงหยั่งรู้บุคคล
ผู้ทำ ผู้สั่งให้ทำกรรมดีและกรรมชั่วได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ท่านหยั่งรู้มหาสมุทรได้ เพราะเหตุนั้น จึงหยั่งรู้บุคคลผู้ทำ ผู้สั่งให้ทำ
มหาสมุทรได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๑๓๐] สก. ท่านหยั่งรู้กรรมดีและกรรมชั่วได้ เพราะเหตุนั้น จึงหยั่งรู้บุคคล
ผู้ทำ ผู้สั่งให้ทำกรรมดีและกรรมชั่วได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ท่านหยั่งรู้ภูเขาสิเนรุได้ เพราะเหตุนั้น จึงหยั่งรู้บุคคลผู้ทำ ผู้สั่งให้ทำ
ภูเขาสิเนรุได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๑๓๑] สก. ท่านหยั่งรู้กรรมดีและกรรมชั่วได้ เพราะเหตุนั้น จึงหยั่งรู้บุคคล
ผู้ทำ ผู้สั่งให้ทำกรรมดีและกรรมชั่วได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ท่านหยั่งรู้น้ำได้ เพราะเหตุนั้น จึงหยั่งรู้บุคคลผู้ทำ ผู้สั่งให้ทำน้ำได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๑๓๒] สก. ท่านหยั่งรู้กรรมดีและกรรมชั่วได้ เพราะเหตุนั้น จึงหยั่งรู้บุคคล
ผู้ทำ ผู้สั่งให้ทำกรรมดีและกรรมชั่วได้ใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๗๑ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๑. ปุคคลกถา
สก. ท่านหยั่งรู้ไฟได้ เพราะเหตุนั้น จึงหยั่งรู้บุคคลผู้ทำ ผู้สั่งให้ทำไฟได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๑๓๓] สก. ท่านหยั่งรู้กรรมดีและกรรมชั่วได้ เพราะเหตุนั้น จึงหยั่งรู้บุคคล
ผู้ทำ ผู้สั่งให้ทำกรรมดีและกรรมชั่วได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ท่านหยั่งรู้ลมได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๑๓๔] สก. ท่านหยั่งรู้กรรมดีและกรรมชั่วได้ เพราะเหตุนั้น จึงหยั่งรู้บุคคล
ผู้ทำ ผู้สั่งให้ทำกรรมดีและกรรมชั่วได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ท่านหยั่งรู้หญ้า ไม้ และต้นไม้เจ้าป่าได้ เพราะเหตุนั้น จึงหยั่งรู้บุคคลผู้ทำ
ผู้สั่งให้ทำหญ้า ไม้ และต้นไม้เจ้าป่าได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๑๓๕] สก. ท่านหยั่งรู้กรรมดีและกรรมชั่วได้ เพราะเหตุนั้น จึงหยั่งรู้บุคคล
ผู้ทำ ผู้สั่งให้ทำกรรมดีและกรรมชั่วได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. กรรมดีและกรรมชั่วกับบุคคลผู้ทำผู้สั่งให้ทำกรรมดีและกรรมชั่วเป็นคน
ละอย่างกันใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น๑ ฯลฯ
[๑๓๖] ปร. ท่านหยั่งรู้วิบากของกรรมดีและกรรมชั่วได้ใช่ไหม
สก. ใช่

เชิงอรรถ :
๑ เพราะปรวาทีกลัวว่าจะตรงกับสักกายทิฏฐิที่ว่า (อภิ.ปญฺจ.อ. ๑๓๕/๑๕๓, ม.อุ.(แปล)
๑๔/๘๗/๙๙)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๗๒ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๑. ปุคคลกถา
ปร. ท่านหยั่งรู้บุคคลผู้เสวย(ได้รับ)วิบากของกรรมดีและกรรมชั่วได้ใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๑๓๗] สก. ท่านหยั่งรู้วิบากของกรรมดีและกรรมชั่วได้ เพราะเหตุนั้น จึงหยั่งรู้
บุคคลผู้เสวยวิบากของกรรมดีและกรรมชั่วได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ท่านหยั่งรู้บุคคลผู้เสวยซึ่งบุคคลผู้เสวยวิบากนั้นได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๑๓๘] สก. ท่านหยั่งรู้บุคคลผู้เสวยซึ่งบุคคลผู้เสวยวิบากนั้นได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. การทำที่สุดแห่งทุกข์ไม่มี การตัดขาดวัฏฏะไม่มี อนุปาทาปรินิพพาน
ก็ไม่มีแก่บุคคลผู้เสวยซึ่งบุคคลผู้เสวยทั้ง ๒ ชั้นดังกล่าวมานั้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๑๓๙] สก. ท่านหยั่งรู้วิบากของกรรมดีและกรรมชั่วได้ เพราะเหตุนั้น จึงหยั่งรู้
บุคคลผู้เสวยวิบากของกรรมดีและกรรมชั่วได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ท่านหยั่งรู้บุคคลได้ เพราะเหตุนั้น จึงหยั่งรู้บุคคลผู้เสวยบุคคลได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๑๔๐] สก. ท่านหยั่งรู้วิบากของกรรมดีและกรรมชั่วได้ เพราะเหตุนั้น จึงหยั่งรู้
บุคคลผู้เสวยวิบากของกรรมดีและกรรมชั่วได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ท่านหยั่งรู้นิพพานได้ เพราะเหตุนั้น จึงหยั่งรู้บุคคลผู้เสวยนิพพานได้
ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๗๓ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๑. ปุคคลกถา
[๑๔๑] สก. ท่านหยั่งรู้วิบากของกรรมดีและกรรมชั่วได้ เพราะเหตุนั้น จึงหยั่งรู้
บุคคลผู้เสวยวิบากของกรรมดีและกรรมชั่วได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ท่านหยั่งรู้มหาปฐพี ฯลฯ หยั่งรู้มหาสมุทร ฯลฯ หยั่งรู้ภูเขาสิเนรุ ฯลฯ
หยั่งรู้น้ำ ฯลฯ หยั่งรู้ไฟ ฯลฯ หยั่งรู้ลม ฯลฯ หยั่งรู้หญ้า ไม้ และต้นไม้เจ้าป่าได้
เพราะเหตุนั้น จึงหยั่งรู้บุคคลผู้เสวยหญ้า ไม้ และต้นไม้เจ้าป่าได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๑๔๒] สก. ท่านหยั่งรู้วิบากของกรรมดีและกรรมชั่วได้ เพราะเหตุนั้น จึงหยั่งรู้
บุคคลผู้เสวยวิบากของกรรมดีและกรรมชั่วได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. วิบากของกรรมดีและกรรมชั่วกับบุคคลผู้เสวยวิบากของกรรมดีและ
กรรมชั่วเป็นคนละอย่างกันใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๑๔๓] ปร. ท่านหยั่งรู้ทิพยสุขได้ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. ท่านหยั่งรู้บุคคลผู้เสวยทิพยสุขได้ใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๑๔๔] สก. ท่านหยั่งรู้ทิพยสุขได้ เพราะเหตุนั้น จึงหยั่งรู้บุคคลผู้เสวยทิพยสุข
ได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ท่านหยั่งรู้บุคคลผู้เสวยซึ่งบุคคลผู้เสวยทิพยสุขนั้นได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๑๔๕] สก. ท่านหยั่งรู้บุคคลผู้เสวย บุคคลผู้เสวยทิพยสุขนั้นได้ใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๗๔ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๑. ปุคคลกถา
สก. การทำที่สุดแห่งทุกข์ไม่มี การตัดขาดวัฏฏะไม่มี อนุปาทาปรินิพพาน
ก็ไม่มีแก่บุคคลผู้เสวยซึ่งบุคคลผู้เสวยทั้ง ๒ ชั้นดังกล่าวมานั้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๑๔๖] สก. ท่านหยั่งรู้ทิพยสุขได้ เพราะเหตุนั้น จึงหยั่งรู้บุคคลผู้เสวยทิพยสุข
ได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ท่านหยั่งรู้บุคคลได้ เพราะเหตุนั้น จึงหยั่งรู้บุคคลผู้เสวยบุคคลได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๑๔๗] สก. ท่านหยั่งรู้ทิพยสุขได้ เพราะเหตุนั้น จึงหยั่งรู้บุคคลผู้เสวยทิพยสุข
ได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ท่านหยั่งรู้นิพพานได้ เพราะเหตุนั้น จึงหยั่งรู้ผู้เสวยนิพพานได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๑๔๘] สก. ท่านหยั่งรู้ทิพยสุขได้ เพราะเหตุนั้น จึงหยั่งรู้บุคคลผู้เสวยทิพยสุข
ได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ท่านหยั่งรู้มหาปฐพี ฯลฯ หยั่งรู้มหาสมุทร ฯลฯ หยั่งรู้ภูเขาสิเนรุ ฯลฯ
หยั่งรู้น้ำ ฯลฯ หยั่งรู้ไฟ ฯลฯ หยั่งรู้ลม ฯลฯ หยั่งรู้หญ้า ไม้ และต้นไม้เจ้าป่าได้
เพราะเหตุนั้น จึงหยั่งรู้บุคคลผู้เสวยหญ้า ไม้ และต้นไม้เจ้าป่าได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๑๔๙] สก. ท่านหยั่งรู้ทิพยสุขได้ เพราะเหตุนั้น จึงหยั่งรู้บุคคลผู้เสวยทิพย-
สุขได้ใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๗๕ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๑. ปุคคลกถา
สก. ทิพยสุขกับบุคคลผู้เสวยทิพยสุขเป็นคนละอย่างกันใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๑๕๐] ปร. ท่านหยั่งรู้สุขของมนุษย์ได้ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. ท่านหยั่งรู้บุคคลผู้เสวยสุขของมนุษย์ได้ใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๑๕๑] สก. ท่านหยั่งรู้สุขของมนุษย์ได้ เพราะเหตุนั้น จึงหยั่งรู้บุคคลผู้เสวย
สุขของมนุษย์ได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ท่านหยั่งรู้บุคคลผู้เสวยซึ่งบุคคลผู้เสวยสุขนั้นได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๑๕๒] สก. ท่านหยั่งรู้บุคคลผู้เสวยซึ่งบุคคลผู้เสวยสุขของมนุษย์นั้นได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. การทำที่สุดแห่งทุกข์ไม่มี การตัดขาดวัฏฏะไม่มี อนุปาทาปรินิพพาน
ก็ไม่มีแก่บุคคลผู้เสวยซึ่งบุคคลผู้เสวยทั้ง ๒ ชั้นดังกล่าวมานั้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๑๕๓] สก. ท่านหยั่งรู้สุขของมนุษย์ได้ เพราะเหตุนั้น จึงหยั่งรู้บุคคลผู้เสวย
สุขของบุคคลได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ท่านหยั่งรู้บุคคลได้ เพราะเหตุนั้น จึงหยั่งรู้บุคคลผู้เสวยซึ่งบุคคลได้
ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๑๕๔] สก. ท่านหยั่งรู้สุขของมนุษย์ได้ เพราะเหตุนั้น จึงหยั่งรู้บุคคลผู้เสวย
สุขของมนุษย์ได้ใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๗๖ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๑. ปุคคลกถา
สก. ท่านหยั่งรู้นิพพานได้ เพราะเหตุนั้น จึงหยั่งรู้บุคคลผู้เสวยนิพพานได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๑๕๕] สก. ท่านหยั่งรู้สุขของมนุษย์ได้ เพราะเหตุนั้น จึงหยั่งรู้บุคคลผู้เสวยสุข
ของมนุษย์ได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ท่านหยั่งรู้มหาปฐพี ฯลฯ หยั่งรู้มหาสมุทร ฯลฯ หยั่งรู้ภูเขาสิเนรุ ฯลฯ
หยั่งรู้น้ำ ฯลฯ หยั่งรู้ไฟ ฯลฯ หยั่งรู้ลม ฯลฯ หยั่งรู้หญ้า ไม้ และต้นไม้เจ้าป่าได้
เพราะเหตุนั้น จึงหยั่งรู้บุคคลผู้เสวยหญ้า ไม้ และต้นไม้เจ้าป่าได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๑๕๖] สก. ท่านหยั่งรู้สุขของมนุษย์ได้ เพราะเหตุนั้น จึงหยั่งรู้บุคคลผู้เสวยสุข
ของมนุษย์ได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สุขของมนุษย์กับบุคคลผู้เสวยสุขของมนุษย์เป็นคนละอย่างกันใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๑๕๗] ปร. ท่านหยั่งรู้ทุกข์ที่มีในอบายได้ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. ท่านหยั่งรู้บุคคลผู้เสวยทุกข์ที่มีในอบายได้ใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๑๕๘] สก. ท่านหยั่งรู้ทุกข์ที่มีในอบายได้ เพราะเหตุนั้น จึงหยั่งรู้ผู้เสวย
ทุกข์ที่มีในอบายได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ท่านหยั่งรู้บุคคลผู้เสวยซึ่งบุคคลผู้เสวยทุกข์นั้นได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๗๗ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๑. ปุคคลกถา
[๑๕๙] สก. ท่านหยั่งรู้บุคคลผู้เสวยซึ่งบุคคลผู้เสวยทุกข์นั้นได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. การทำที่สุดแห่งทุกข์ไม่มี การตัดขาดวัฏฏะก็ไม่มี อนุปาทาปรินิพพาน
ก็ไม่มีแก่บุคคลผู้เสวยซึ่งบุคคลผู้เสวยทั้ง ๒ ชั้นดังกล่าวมานั้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๑๖๐] สก. ท่านหยั่งรู้ทุกข์ที่มีในอบายได้ เพราะเหตุนั้น จึงหยั่งรู้บุคคลผู้
เสวยทุกข์ที่มีในอบายได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ท่านหยั่งรู้บุคคลได้ เพราะเหตุนั้น จึงหยั่งรู้บุคคลผู้เสวยบุคคลได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๑๖๑] สก. ท่านหยั่งรู้ทุกข์ที่มีในอบายได้ เพราะเหตุนั้น จึงหยั่งรู้บุคคลผู้
เสวยทุกข์ที่มีในอบายได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ท่านหยั่งรู้นิพพานได้ เพราะเหตุนั้น จึงหยั่งรู้บุคคลผู้เสวยนิพพานได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๑๖๒] สก. ท่านหยั่งรู้ทุกข์ที่มีในอบายได้ เพราะเหตุนั้น จึงหยั่งรู้บุคคลผู้
เสวยทุกข์ที่มีในอบายได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ท่านหยั่งรู้มหาปฐพี ฯลฯ หยั่งรู้มหาสมุทร ฯลฯ หยั่งรู้ภูเขาสิเนรุ ฯลฯ
หยั่งรู้น้ำ ฯลฯ หยั่งรู้ไฟ ฯลฯ หยั่งรู้ลม ฯลฯ หยั่งรู้หญ้า ไม้ และต้นไม้เจ้าป่าได้
เพราะเหตุนั้น จึงหยั่งรู้บุคคลผู้เสวยหญ้า ไม้ และต้นไม้เจ้าป่าได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๗๘ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๑. ปุคคลกถา
[๑๖๓] สก. ท่านหยั่งรู้ทุกข์ที่มีในอบายได้ เพราะเหตุนั้น จึงหยั่งรู้บุคคลผู้
เสวยทุกข์ที่มีในอบายได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ทุกข์ที่มีในอบายกับบุคคลผู้เสวยทุกข์ที่มีในอบายเป็นคนละอย่างกันใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๑๖๔] ปร. ท่านหยั่งรู้ทุกข์ที่มีในนรกได้ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. ท่านหยั่งรู้บุคคลผู้เสวยทุกข์ที่มีในนรกได้ใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ท่านหยั่งรู้ทุกข์ที่มีในนรกได้ เพราะเหตุนั้น จึงหยั่งรู้บุคคลผู้เสวยทุกข์ที่
มีในนรกได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ท่านหยั่งรู้บุคคลผู้เสวยซึ่งบุคคลผู้เสวยทุกข์นั้นได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๑๖๕] สก. ท่านหยั่งรู้บุคคลผู้เสวยซึ่งบุคคลผู้เสวยทุกข์นั้นได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. การทำที่สุดทุกข์ไม่มี การตัดขาดวัฏฏะไม่มี อนุปาทาปรินิพพานก็ไม่มี
แก่บุคคลผู้เสวยซึ่งบุคคลผู้เสวยทั้ง ๒ ชั้นดังกล่าวมานั้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๑๖๖] สก. ท่านหยั่งรู้ทุกข์ที่มีในนรกได้ เพราะเหตุนั้น จึงหยั่งรู้ผู้เสวยทุกข์
ที่มีในนรกได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ท่านหยั่งรู้บุคคลได้ เพราะเหตุนั้น จึงหยั่งรู้ผู้เสวยบุคคลได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๗๙ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๑. ปุคคลกถา
[๑๖๗] สก. ท่านหยั่งรู้ทุกข์ที่มีในนรกได้ เพราะเหตุนั้น จึงหยั่งรู้บุคคลผู้เสวย
ทุกข์ที่มีในนรกได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ท่านหยั่งรู้นิพพานได้ เพราะเหตุนั้น จึงหยั่งรู้บุคคลผู้เสวยนิพพานได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๑๖๘] สก. ท่านหยั่งรู้ทุกข์ที่มีในนรกได้ เพราะเหตุนั้น จึงหยั่งรู้บุคคลผู้เสวย
ทุกข์ที่มีในนรกได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ท่านหยั่งรู้มหาปฐพี ฯลฯ หยั่งรู้มหาสมุทร ฯลฯ หยั่งรู้ภูเขาสิเนรุ ฯลฯ
หยั่งรู้น้ำ ฯลฯ หยั่งรู้ไฟ ฯลฯ หยั่งรู้ลม ฯลฯ หยั่งรู้หญ้า ไม้ และต้นไม้เจ้าป่าได้
เพราะเหตุนั้น จึงหยั่งรู้บุคคลผู้เสวยหญ้า ไม้ และต้นไม้เจ้าป่าได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๑๖๙] สก. ท่านหยั่งรู้ทุกข์ที่มีในนรกได้ เพราะเหตุนั้น จึงหยั่งรู้บุคคลผู้
เสวยทุกข์ที่มีในนรกได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ทุกข์ที่มีในนรกกับบุคคลผู้เสวยทุกข์ที่มีในนรกเป็นคนละอย่างกันใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๑๗๐] สก. ท่านหยั่งรู้กรรมดีและกรรมชั่วได้ เพราะเหตุนั้น จึงหยั่งรู้บุคคล
ผู้ทำ ผู้สั่งให้ทำ ผู้เสวยวิบากของกรรมดีและกรรมชั่วได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลคนเดียวกันทั้งทำและเสวยใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๘๐ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๑. ปุคคลกถา
[๑๗๑] สก. บุคคลคนเดียวกันทั้งทำและเสวยใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สุขและทุกข์มีตนเองเป็นตัวการ๑ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๑๗๒] สก. ท่านหยั่งรู้กรรมดีและกรรมชั่วได้ เพราะเหตุนั้น จึงหยั่งรู้บุคคล
ผู้ทำ ผู้สั่งให้ทำ ผู้เสวยวิบากของกรรมดีและกรรมชั่วได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลคนละคนกันทั้งทำและเสวยใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๑๗๓] สก. บุคคลคนละคนกันทั้งทำและเสวยใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สุขและทุกข์มีผู้อื่นเป็นตัวการใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๑๗๔] สก. ท่านหยั่งรู้กรรมดีและกรรมชั่วได้ เพราะเหตุนั้น จึงหยั่งรู้บุคคล
ผู้ทำ ผู้สั่งให้ทำ ผู้เสวยวิบากของกรรมดีและกรรมชั่วได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลทั้งที่เป็นคนเดียวกันและคนละคนกันทั้งทำและเสวยใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๑๗๕] สก. บุคคลทั้งที่เป็นคนเดียวกันและคนละคนกันทั้งทำและเสวยใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สุขและทุกข์มีทั้งตนเองเป็นตัวการและผู้อื่นเป็นตัวการใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ. ที.ปา. (แปล) ๑๑/๑๙๑/๑๕๑

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๘๑ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๑. ปุคคลกถา
[๑๗๖] สก. ท่านหยั่งรู้กรรมดีและกรรมชั่วได้ เพราะเหตุนั้น จึงหยั่งรู้บุคคล
ผู้ทำ ผู้สั่งให้ทำ ผู้เสวยวิบากของกรรมดีและกรรมชั่วได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลจะว่าเป็นคนเดียวกันก็มิใช่ จะว่าเป็นคนละคนกันก็มิใช่ทั้งทำและ
เสวยใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๑๗๗] สก. บุคคลจะว่าเป็นคนเดียวกันก็มิใช่ จะว่าเป็นคนละคนกันก็มิใช่
ทั้งทำและเสวยใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สุขและทุกข์เกิดขึ้นเองจะว่ามีตนเองเป็นตัวการก็มิใช่ จะว่ามีผู้อื่นเป็น
ตัวการก็มิใช่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๑๗๘] สก. ท่านหยั่งรู้กรรมดีและกรรมชั่วได้ เพราะเหตุนั้น จึงหยั่งรู้บุคคล
ผู้ทำ ผู้สั่งให้ทำ ผู้เสวยวิบากของกรรมดีและกรรมชั่วได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลคนเดียวกันทั้งทำและเสวย บุคคลคนละคนกันทั้งทำและเสวย
บุคคลทั้งที่เป็นคนเดียวกันและคนละคนกันทั้งทำและเสวย บุคคลจะว่าเป็นคน
เดียวกันก็มิใช่ จะว่าเป็นคนละคนกันก็มิใช่ ทั้งทำและเสวยใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๑๗๙] สก. บุคคลคนเดียวกันทั้งทำและเสวย บุคคลคนละคนกันทั้งทำและ
เสวย บุคคลทั้งที่เป็นคนเดียวกันและคนละคนกันทั้งทำและเสวย บุคคลจะว่าเป็น
คนเดียวกันก็มิใช่ จะว่าเป็นคนละคนกันก็มิใช่ ทั้งทำและเสวยใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๘๒ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๑. ปุคคลกถา
สก. สุขและทุกข์มีตนเองเป็นตัวการ สุขและทุกข์มีผู้อื่นเป็นตัวการ สุขและ
ทุกข์ทั้งมีตนเองและผู้อื่นเป็นตัวการ สุขและทุกข์เกิดขึ้นเอง จะว่ามีตนเองเป็นตัวการ
ก็มิใช่ จะว่ามีผู้อื่นเป็นตัวการก็มิใช่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๑๘๐] ปร. กรรมมีอยู่ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. บุคคลผู้ทำกรรมมีอยู่ใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๑๘๑] สก. กรรมมีอยู่ เพราะเหตุนั้น บุคคลผู้ทำกรรมจึงมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลผู้ทำกรรมนั้นมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๑๘๒] สก. บุคคลผู้ทำกรรมนั้นมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. การทำที่สุดทุกข์ไม่มี การตัดขาดวัฏฏะไม่มี อนุปาทาปรินิพพานก็ไม่มี
แก่บุคคลผู้ทำซึ่งบุคคลผู้ทำกรรมทั้ง ๒ ชั้นดังกล่าวมานั้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๑๘๓] สก. กรรมมีอยู่ เพราะเหตุนั้น บุคคลผู้ทำกรรมจึงมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๑๘๔] สก. กรรมมีอยู่ เพราะเหตุนั้น บุคคลผู้ทำกรรมจึงมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๘๓ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๑. ปุคคลกถา
สก. นิพพานมีอยู่ เพราะเหตุนั้น บุคคลผู้ทำนิพพานจึงมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๑๘๕] สก. กรรมมีอยู่ เพราะเหตุนั้น บุคคลผู้ทำกรรมจึงมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. มหาปฐพีมีอยู่ ฯลฯ มหาสมุทร ฯลฯ ภูเขาสิเนรุ ฯลฯ น้ำ ฯลฯ ไฟ
ฯลฯ ลม ฯลฯ หญ้า ไม้ และต้นไม้เจ้าป่ามีอยู่ เพราะเหตุนั้น บุคคลผู้ทำหญ้า
ไม้ และต้นไม้เจ้าป่าจึงมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๑๘๖] สก. กรรมมีอยู่ เพราะเหตุนั้น บุคคลผู้ทำกรรมจึงมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. กรรมกับบุคคลผู้ทำกรรมเป็นคนละอย่างกันใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๑๘๗] ปร. วิบากมีอยู่ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. บุคคลผู้เสวยวิบากมีอยู่ใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๑๘๘] สก. วิบากมีอยู่ เพราะเหตุนั้น บุคคลผู้เสวยวิบากจึงมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลผู้เสวยซึ่งบุคคลผู้เสวยวิบากนั้นมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๑๘๙] สก. บุคคลผู้เสวยซึ่งบุคคลผู้เสวยวิบากนั้นมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๘๔ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๑. ปุคคลกถา
สก. การทำที่สุดทุกข์ไม่มี การตัดขาดวัฏฏะไม่มี อนุปาทาปรินิพพานก็ไม่มี
แก่บุคคลผู้เสวยซึ่งบุคคลผู้เสวยวิบากทั้ง ๒ ชั้นดังกล่าวมานั้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. วิบากมีอยู่ เพราะเหตุนั้น บุคคลผู้เสวยวิบากจึงมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลมีอยู่ เพราะเหตุนั้น บุคคลผู้เสวยซึ่งบุคคลจึงมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๑๙๐] สก. วิบากมีอยู่ เพราะเหตุนั้น บุคคลผู้เสวยวิบากจึงมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. นิพพานมีอยู่ เพราะเหตุนั้น บุคคลผู้เสวยนิพพานจึงมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๑๙๑] สก. วิบากมีอยู่ เพราะเหตุนั้น บุคคลผู้เสวยวิบากจึงมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. มหาปฐพีมีอยู่ ฯลฯ มหาสมุทร ฯลฯ ภูเขาสิเนรุ ฯลฯ น้ำ ฯลฯ ไฟ
ฯลฯ ลม ฯลฯ หญ้า ไม้ และต้นไม้เจ้าป่ามีอยู่ เพราะเหตุนั้น บุคคลผู้เสวยหญ้า
ไม้ และต้นไม้เจ้าป่าจึงมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๑๙๒] สก. วิบากมีอยู่ เพราะเหตุนั้น บุคคลผู้เสวยวิบากจึงมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. วิบากเป็นอย่างหนึ่ง บุคคลผู้เสวยวิบากก็เป็นอย่างหนึ่งใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ (ย่อ)
กัลยาณวรรค๑ ที่ ๑ จบ

เชิงอรรถ :
๑ คำว่า กัลยาณวรรค นี้เป็นชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งของปุริสการานุโยคะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๑๙๒/๑๕๖)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๘๕ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๑. ปุคคลกถา
๑๔. อภิญญานุโยคะ
ว่าด้วยการซักถามถึงอภิญญา
[๑๙๓] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์”
ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. บุคคลบางคนแสดงฤทธิ์ได้ มีอยู่มิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. หากบุคคลบางคนแสดงฤทธิ์ได้มีอยู่ ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า
“ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์”
[๑๙๔] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์”
ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. บุคคลบางคนฟังเสียงด้วยทิพยโสตธาตุได้ ฯลฯ รู้จิตของบุคคลอื่นได้
ฯลฯ หวนระลึกถึงชาติปางก่อนได้ ฯลฯ เห็นรูปด้วยทิพยจักษุได้ ฯลฯ ทำให้แจ้ง
ความสิ้นไปแห่งอาสวะได้มีอยู่มิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. หากบุคคลบางคนทำให้แจ้งความสิ้นไปแห่งอาสวะได้มีอยู่ ดังนั้น ท่าน
จึงควรยอมรับว่า “ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์”
[๑๙๕] สก. เพราะท่านเข้าใจว่า “บุคคลบางคนแสดงฤทธิ์ได้มีอยู่” จึงยอม
รับว่า “ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์” ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลผู้แสดงฤทธิ์ได้เท่านั้นจึงจัดเป็นบุคคล บุคคลผู้แสดงฤทธิ์ไม่ได้ไม่
จัดเป็นบุคคลใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๘๖ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๑. ปุคคลกถา
[๑๙๖] สก. บุคคลผู้ฟังเสียงด้วยทิพยโสตธาตุได้ ฯลฯ รู้จิตของบุคคลอื่นได้
ฯลฯ หวนระลึกถึงชาติปางก่อนได้ ฯลฯ เห็นรูปด้วยทิพยจักษุได้ ฯลฯ ทำให้
แจ้งความสิ้นไปแห่งอาสวะได้ จึงจัดเป็นบุคคล บุคคลผู้ทำให้แจ้งความสิ้นไปแห่ง
อาสวะไม่ได้ไม่จัดเป็นบุคคลใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
อภิญญานุโยคะ จบ

๑๕.-๑๘. ญาตกานุโยคาทิ ๑
ว่าด้วยการซักถามถึงญาติ เป็นต้น
[๑๙๗] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “ท่านหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์”
ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. มารดามีอยู่มิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. หากมารดามีอยู่ ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคล
ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์”
[๑๙๘] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์”
ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. บิดามีอยู่ ฯลฯ พี่ชายน้องชายมีอยู่ ฯลฯ พี่สาวน้องสาวมีอยู่ ฯลฯ
กษัตริย์มีอยู่ ฯลฯ พราหมณ์มีอยู่ ฯลฯ แพศย์มีอยู่ ฯลฯ ศูทรมีอยู่ ฯลฯ
คฤหัสถ์มีอยู่ ฯลฯ บรรพชิตมีอยู่ ฯลฯ เทวดามีอยู่ ฯลฯ มนุษย์มีอยู่มิใช่หรือ
สก. ใช่

เชิงอรรถ :
๑มี ๔ ตอน คือ (๑) ญาตกานุโยคะ ว่าด้วยการซักถามถึงญาติ (๒) ชาติอนุโยคะ ว่าด้วยการซักถามถึงการเกิด
(๓) ปฏิปัตติอนุโยคะ ว่ าด้วยการซักถามถึงข้อปฏิบัติ (๔) อุปปัตติอนุโยคะ ว่าด้วยการซักถามถึงการอุบัติ
(อภิ.ปญฺจ.อ. ๑๙๗/๑๕๖)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๘๗ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๑. ปุคคลกถา
ปร. หากมนุษย์มีอยู่ ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคล
ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์”
[๑๙๙] สก. เพราะท่านเข้าใจว่า “มารดามีอยู่” จึงยอมรับว่า “ข้าพเจ้าหยั่ง
รู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์” ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลบางคนไม่เคยเป็นมารดาแล้วมาเป็นมารดามีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลบางคนไม่เคยเป็นบุคคลแล้วมาเป็นบุคคลมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลบางคนไม่เคยเป็นบิดา ฯลฯ ไม่เคยเป็นพี่ชายน้องชาย ฯลฯ
ไม่เคยเป็นพี่สาวน้องสาว ฯลฯ ไม่เคยเป็นกษัตริย์ ฯลฯ ไม่เคยเป็นพราหมณ์ ฯลฯ
ไม่เคยเป็นแพศย์ ฯลฯ ไม่เคยเป็นศูทร ฯลฯ ไม่เคยเป็นคฤหัสถ์ ฯลฯ ไม่เคย
เป็นบรรพชิต ฯลฯ ไม่เคยเป็นเทวดา ฯลฯ ไม่เคยเป็นมนุษย์แล้วมาเป็นมนุษย์มี
อยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลบางคนไม่เคยเป็นบุคคลแล้วมาเป็นบุคคลมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๒๐๐] สก. เพราะท่านเข้าใจว่า “มารดามีอยู่” จึงยอมรับว่า “ข้าพเจ้าหยั่งรู้
บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์” ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลบางคนเคยเป็นมารดาแล้วไม่เป็นมารดามีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลบางคนเคยเป็นบุคคลแล้วไม่เป็นบุคคลมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๘๘ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๑. ปุคคลกถา
สก. บุคคลบางคนเคยเป็นบิดา ฯลฯ เคยเป็นพี่ชายน้องชาย ฯลฯ เคยเป็น
พี่สาวน้องสาว ฯลฯ เคยเป็นกษัตริย์ ฯลฯ เคยเป็นพราหมณ์ ฯลฯ เคยเป็นแพศย์
ฯลฯ เคยเป็นศูทร ฯลฯ เคยเป็นคฤหัสถ์ ฯลฯ เคยเป็นบรรพชิต ฯลฯ เคยเป็น
เทวดา ฯลฯ เคยเป็นมนุษย์แล้วไม่เป็นมนุษย์มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลบางคนเคยเป็นบุคคลแล้วไม่เป็นบุคคลมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ญาตกานุโยคาทิ จบ

๑๙. ปฏิเวธานุโยคะ
ว่าด้วยการซักถามถึงผู้บรรลุธรรม (พระอริยะ)
[๒๐๑] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์”
ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. บุคคลผู้เป็นพระโสดาบันมีอยู่มิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. หากบุคคลผู้เป็นพระโสดาบันมีอยู่ ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า
“ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์”
[๒๐๒] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์”
ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. บุคคลผู้เป็นพระสกทาคามีมีอยู่ ฯลฯ บุคคลผู้เป็นพระอนาคามีมีอยู่
ฯลฯ บุคคลผู้เป็นพระอรหันต์มีอยู่ ฯลฯ บุคคลผู้เป็นอุภโตภาควิมุตมีอยู่ ฯลฯ
บุคคลผู้เป็นปัญญาวิมุตมีอยู่ ฯลฯ บุคคลผู้เป็นกายสักขีมีอยู่ ฯลฯ บุคคลผู้เป็น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๘๙ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๑. ปุคคลกถา
ทิฏฐิปัตตะมีอยู่ ฯลฯ บุคคลผู้เป็นสัทธาวิมุตมีอยู่ ฯลฯ บุคคลผู้เป็นธัมมานุสารีมีอยู่
ฯลฯ บุคคลผู้เป็นสัทธานุสารี๑มีอยู่ มิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. หากบุคคลผู้เป็นสัทธานุสารีมีอยู่ ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า
“ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์”
[๒๐๓] สก. เพราะท่านเข้าใจว่า “บุคคลผู้เป็นพระโสดาบันมีอยู่” จึงยอมรับว่า
“ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์” ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลบางคนไม่เคยเป็นพระโสดาบันแล้วมาเป็นพระโสดาบันมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลบางคนไม่เคยเป็นบุคคลแล้วมาเป็นบุคคลมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๒๐๔] สก. บุคคลบางคนไม่เคยเป็นพระสกทาคามี ฯลฯ ไม่เคยเป็นพระ
อนาคามี ฯลฯ ไม่เคยเป็นพระอรหันต์ ฯลฯ ไม่เคยเป็นอุภโตภาควิมุต ฯลฯ
ไม่เคยเป็นปัญญาวิมุต ฯลฯ ไม่เคยเป็นกายสักขี ฯลฯ ไม่เคยเป็นทิฏฐิปัตตะ ฯลฯ
ไม่เคยเป็นสัทธาวิมุต ฯลฯ ไม่เคยเป็นธัมมานุสารี ฯลฯ ไม่เคยเป็นสัทธานุสารี
แล้วเป็นสัทธานุสารีมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลบางคนไม่เคยเป็นบุคคลแล้วมาเป็นบุคคลมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๒๐๕] สก. เพราะท่านเข้าใจว่า “บุคคลผู้เป็นพระโสดาบันมีอยู่” จึงยอมรับว่า
“ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์” ใช่ไหม
ปร. ใช่

เชิงอรรถ :
๑ คำแปลและความหมายของคำเหล่านี้ ดูใน อภิ.ปุ. (แปล) ๓๖/๒๔-๓๐/๑๕๓-๑๕๔

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๙๐ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๑. ปุคคลกถา
สก. บุคคลบางคนเคยเป็นพระโสดาบันแล้วไม่เป็นพระโสดาบันมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลบางคนเคยเป็นบุคคลแล้วไม่เป็นบุคคลมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลบางคนเคยเป็นพระสกทาคามี ฯลฯ เคยเป็นพระอนาคามีแล้ว
ไม่เป็นพระอนาคามีมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลบางคนเคยเป็นบุคคลแล้วไม่เป็นบุคคลมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปฏิเวธานุโยคะ จบ

๒๐. สังฆานุโยคะ
ว่าด้วยการซักถามถึงสงฆ์
[๒๐๖] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์”
ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. อริยบุคคล ๔ คู่ คือ ๘ บุคคล มีอยู่มิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. หากอริยบุคคล ๔ คู่ คือ ๘ บุคคลมีอยู่ ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า
“ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์”
[๒๐๗] สก. เพราะท่านเข้าใจว่า “อริยบุคคล ๔ คู่ คือ ๘ บุคคล มีอยู่”
จึงยอมรับว่า “ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์” ใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๙๑ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๑. ปุคคลกถา
สก. อริยบุคคล ๔ คู่ คือ ๘ บุคคลปรากฏได้ เพราะพระพุทธเจ้า
ปรากฏใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลปรากฏได้ เพราะพระพุทธเจ้าปรากฏใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลปรากฏได้ เพราะพระพุทธเจ้าปรากฏใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เมื่อพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าปรินิพพานแล้ว บุคคลก็ขาดสูญไป
บุคคลไม่มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สังฆานุโยคะ จบ

๒๑. สัจฉิกัตถสภาคานุโยคะ
ว่าด้วยการซักถามถึงสภาวะแห่งสัจฉิกัฏฐะ
[๒๐๘] สก. ท่านหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลเป็นสภาวะที่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง(สังขตะ)ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลเป็นสภาวะที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง(อสังขตะ)ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลเป็นสภาวะที่ถูกปัจจัยปรุงแต่งก็มิใช่ ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งก็มิใช่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๒๐๙] สก. บุคคลเป็นสภาวะที่ถูกปัจจัยปรุงแต่งก็มิใช่ ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง
ก็มิใช่ใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๙๒ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๑. ปุคคลกถา
สก. นอกจากสิ่งที่ถูกปัจจัยปรุงแต่งและไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง ยังมีส่วนที่ ๓
อีกใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๒๑๐] สก. นอกจากสิ่งที่ถูกปัจจัยปรุงแต่งและไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง ยังมีส่วน
ที่ ๓ อีกใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย ธาตุ ๒ ประการนี้
ธาตุ ๒ ประการ อะไรบ้าง คือ (๑) ธาตุที่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง (๒) ธาตุที่ไม่ถูก
ปัจจัยปรุงแต่ง นี้คือ ธาตุ ๒ ประการ”๑ มีอยู่จริงมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. ดังนั้น ท่านจึงไม่ควรยอมรับว่า “นอกจากสิ่งที่ถูกปัจจัยปรุงแต่งและ
ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง ยังมีส่วนที่ ๓ อีก”
[๒๑๑] สก. บุคคลเป็นสภาวะที่ถูกปัจจัยปรุงแต่งก็มิใช่ ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง
ก็มิใช่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สิ่งที่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง สิ่งที่ไม่ถูกปัจจัย และบุคคลเป็นคนละอย่างกันใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๒๑๒] สก. ขันธ์เป็นสภาวะที่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง นิพพานเป็นสภาวะที่ไม่ถูก
ปัจจัยปรุงแต่ง บุคคลเป็นสภาวะที่ถูกปัจจัยปรุงแต่งก็มิใช่ ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งก็มิ
ใช่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ขันธ์ นิพพานและบุคคลเป็นคนละอย่างกันใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ ที.ปา. (แปล) ๑๑/๓๕๒/๓๗๑

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๙๓ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๑. ปุคคลกถา
[๒๑๓] สก. รูปเป็นสภาวะที่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง นิพพานเป็นสภาวะที่ไม่ถูก
ปัจจัยปรุงแต่ง บุคคลเป็นสภาวะที่ถูกปัจจัยปรุงแต่งก็มิใช่ ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งก็มิใช่
ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. รูป นิพพาน และบุคคลเป็นคนละอย่างกันใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ สังขาร ฯลฯ วิญญาณเป็นสภาวะที่ถูก
ปัจจัยปรุงแต่ง นิพพานเป็นสภาวะที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง บุคคลเป็นสภาวะที่ถูกปัจจัย
ปรุงแต่งก็มิใช่ ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งก็มิใช่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. วิญญาณ นิพพาน และบุคคลเป็นคนละอย่างกันใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๒๑๔] สก. บุคคลมีความเกิดขึ้นปรากฏ มีความดับสลายปรากฏ เมื่อดำรงอยู่
มีความแปรผันปรากฏใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลเป็นสภาวะที่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย สังขตลักษณะ
แห่งสังขตธรรม ๓ ประการนี้ คือ (๑) ความเกิดขึ้นปรากฏ (๒) ความดับ
สลายปรากฏ (๓) เมื่อดำรงอยู่ ความแปรผันปรากฏ”๑ บุคคลมีความเกิดขึ้นปรากฏ
มีความดับสลายปรากฏ เมื่อดำรงอยู่มีความแปรผันปรากฏ ดังนั้น บุคคลจึงเป็น
สภาวะที่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ องฺ.ติก. (แปล) ๒๐/๔๗/๒๐๘-๒๐๙

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๙๔ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๑. ปุคคลกถา
[๒๑๕] สก. บุคคลไม่มีความเกิดขึ้นปรากฏ ไม่มีความดับสลายปรากฏ เมื่อ
ดำรงอยู่ ไม่มีความแปรผันปรากฏใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย อสังขตลักษณะ
แห่งอสังขตธรรม ๓ ประการนี้ คือ (๑) ความเกิดขึ้นไม่ปรากฏ (๒) ความดับ
สลายไม่ปรากฏ (๓) เมื่อดำรงอยู่ ความแปรผันไม่ปรากฏ”๑ บุคคลไม่มีความเกิด
ขึ้นปรากฏ ไม่มีความดับสลายปรากฏ เมื่อดำรงอยู่ ไม่มีความแปรผันปรากฏ
ดังนั้น บุคคลจึงเป็นสภาวะที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง
[๒๑๖] สก. บุคคลปรินิพพานแล้วมีอยู่ในนิพพานหรือไม่มีอยู่ในนิพพาน
ปร. มีอยู่ในนิพพาน๒
สก. บุคคลปรินิพพานแล้วเป็นผู้เที่ยงใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น๓ ฯลฯ
สก. บุคคลปรินิพพานแล้วมีอยู่ในนิพพานหรือไม่มีอยู่ในนิพพาน
ปร. ไม่มีอยู่ในนิพพาน
สก. บุคคลปรินิพพานแล้วเป็นผู้ขาดสูญใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ๔
[๒๑๗] สก. บุคคลอาศัยอะไรดำรงอยู่
ปร. บุคคลอาศัยภพดำรงอยู่

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ องฺ.ติก. (แปล) ๒๐/๔๘/๒๐๙
๒ เพราะมีความเห็นว่า นิพพานเป็นสถานที่แห่งหนึ่งซึ่งบุคคลหลังจากปรินิพานแล้วจะไปอยู่ในที่นั้น (อภิ.ปญฺจ.อ.
๒๑๖/๑๕๗)
๓ เพราะฝ่ายปรวาทีกลัวจะเป็นสัสสตทิฏฐิจึงตอบปฏิเสธ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๒๑๖/๑๕๗)
๔ เพราะฝ่ายปรวาทีกลัวจะเป็นอุจเฉททิฏฐิจึงตอบปฏิเสธ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๒๑๖/๑๕๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๙๕ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๑. ปุคคลกถา
สก. ภพ๑ไม่เที่ยง ถูกปัจจัยปรุงแต่ง อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น มีความสิ้นไป เสื่อมไป
คลายไป ดับไป แปรผันไปเป็นธรรมดาใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. แม้บุคคลก็ไม่เที่ยง ถูกปัจจัยปรุงแต่ง อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น มีความสิ้นไป
เสื่อมไป คลายไป ดับไป แปรผันไปเป็นธรรมดาใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๒๑๘] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์”
ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. บุคคลบางคนเมื่อเสวยสุขเวทนาจึงรู้ชัดว่า “ข้าพเจ้าเสวยสุขเวทนามีอยู่”
มิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. หากบุคคลบางคนเมื่อเสวยสุขเวทนาจึงรู้ชัดว่า “ข้าพเจ้าเสวยสุขเวทนา
มีอยู่” ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์”
[๒๑๙] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์”
ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. บุคคลบางคนเมื่อเสวยทุกขเวทนา ฯลฯ เมื่อเสวยอทุกขมสุขเวทนาจึง
รู้ชัดว่า “ข้าพเจ้าเสวยอทุกขมสุขเวทนา” มีอยู่มิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. หากบุคคลบางคนเมื่อเสวยอทุกขมสุขเวทนาจึงรู้ชัดว่า “ข้าพเจ้าเสวย
อทุกขมสุขเวทนา” มีอยู่ ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลได้
โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์”

เชิงอรรถ :
๑ ภพ ในที่นี้หมายถึงอุปปัตติภพ (ภพคือที่เกิด ได้แก่ กามภพ รูปภพ และอรูปภพ) (อภิ.ปญฺจ.อ. ๒๑๗/๑๕๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๙๖ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๑. ปุคคลกถา
[๒๒๐] สก. เพราะท่านเข้าใจว่า “บุคคลบางคนเมื่อเสวยสุขเวทนาจึงรู้ชัดว่า
ข้าพเจ้าเสวยสุขเวทนา มีอยู่” จึงยอมรับว่า “ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐ-
ปรมัตถ์” ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลผู้ที่เสวยสุขเวทนาอยู่รู้ชัดว่า “ข้าพเจ้าเสวยสุขเวทนา” เท่านั้น
จัดเป็นบุคคล บุคคลผู้ที่เสวยสุขเวทนาอยู่แต่ไม่รู้ชัดว่า “ข้าพเจ้าเสวยสุขเวทนา”นั้น
ไม่จัดเป็นบุคคลใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลผู้ที่เสวยทุกขเวทนาอยู่ ฯลฯ บุคคลผู้ที่เสวยอทุกขมสุขเวทนา
อยู่รู้ชัดว่า “ข้าพเจ้าเสวยอทุกขมสุขเวทนา” เท่านั้นจัดเป็นบุคคล บุคคลผู้เสวย
อทุกขมสุขเวทนาอยู่แต่ไม่รู้ชัดว่า “ข้าพเจ้าเสวยอทุกขมสุขเวทนา” นั้นไม่จัดเป็น
บุคคลใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๒๒๑] สก. เพราะท่านเข้าใจว่า “บุคคลบางคนเมื่อเสวยสุขเวทนาจึงรู้ชัดว่า
เราเสวยสุขเวทนา มีอยู่” จึงยอมรับว่า “ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐ-
ปรมัตถ์” ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สุขเวทนากับบุคคลผู้เสวยสุขเวทนาอยู่รู้ชัดว่า “ข้าพเจ้าเสวยสุขเวทนา”
เป็นคนละอย่างกันใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ทุกขเวทนา ฯลฯ อทุกขมสุขเวทนากกับบุคคลผู้ที่เสวยอทุกขม-
สุขเวทนาอยู่รู้ชัดว่า “ข้าพเจ้าเสวยอทุกขมสุขเวทนา” เป็นคนละอย่างกันใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๙๗ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๑. ปุคคลกถา
[๒๒๒] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์”
ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. บุคคลบางคนพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีอยู่มิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. หากบุคคลบางคนพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีอยู่ ดังนั้น ท่านจึง
ควรยอมรับว่า “ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์”
[๒๒๓] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์”
ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. บุคคลบางคนพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนา ฯลฯ พิจารณาเห็นจิตในจิต
ฯลฯ พิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ มีอยู่มิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. หากบุคคลบางคนพิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ มีอยู่ ดังนั้น ท่านจึง
ควรยอมรับว่า “ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์”
[๒๒๔] สก. เพราะท่านเข้าใจว่า “บุคคลบางคนพิจารณาเห็นกายในกายอยู่
มีอยู่” จึงยอมรับว่า “ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์” ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลผู้พิจารณาเห็นกายในกายอยู่เท่านั้นจัดเป็นบุคคล บุคคลผู้ไม่
พิจารณาเห็นกายในกายอยู่นั้นไม่จัดเป็นบุคคลใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลผู้พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนา ฯลฯ พิจารณาเห็นจิตในจิต ฯลฯ
พิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่เท่านั้นจัดเป็นบุคคล บุคคลผู้ที่ไม่พิจารณาเห็นธรรม
ในธรรมอยู่ ไม่จัดเป็นบุคคลใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๙๘ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๑. ปุคคลกถา
[๒๒๕] สก. เพราะท่านเข้าใจว่า “บุคคลบางคนพิจารณาเห็นกายในกายอยู่
มีอยู่” จึงยอมรับว่า “ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์” ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. กายกับบุคคลผู้พิจารณาเห็นกายในกายอยู่เป็นคนละอย่างกันใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เวทนา ฯลฯ จิต ฯลฯ ธรรมกับบุคคลผู้พิจารณาเห็นธรรมในธรรม
อยู่เป็นคนละอย่างกันใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๒๒๖] สก. ท่านหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า
“โมฆราช เธอจงพิจารณาเห็นโลก๑โดยความว่างเปล่า
มีสติทุกเมื่อ ถอนอัตตานุทิฏฐิเสีย
เป็นผู้ข้ามมัจจุราชเสียได้ ด้วยอาการอย่างนี้
บุคคลพิจารณาเห็นโลกอย่างนี้ มัจจุราชจึงไม่เห็น” ๒
มีอยู่จริงมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. ดังนั้น ท่านจึงไม่ควรยอมรับว่า “ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐ-
ปรมัตถ์”

เชิงอรรถ :
๑ โลก ในที่นี้หมายถึงขันธ์ ๕ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๑๒๖/๑๕๘)
๒ ดูเทียบ ขุ.สุ. (แปล) ๒๕/๑๑๒๖/๗๗๒, ขุ.จู. (แปล) ๓๐/๘๘/๓๒๓

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๙๙ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๑. ปุคคลกถา
[๒๒๗] สก. บุคคลพิจารณาเห็น(โลก)ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พิจารณาเห็น(โลก)พร้อมกับรูปหรือเว้นจากรูป๑
ปร. พิจารณาเห็น(โลก)พร้อมกับรูป
สก. ชีวะกับสรีระเป็นอย่างเดียวกันใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พิจารณาเห็น(โลก)พร้อมกับรูปหรือเว้นจากรูป
ปร. พิจารณาเห็น(โลก)เว้นจากรูป
สก. ชีวะกับสรีระเป็นคนละอย่างกันใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๒๒๘] สก. บุคคลพิจารณาเห็น(โลก)ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. อยู่ภายใน(รูป)พิจารณาเห็นหรือออกไปภายนอก(รูป)แล้วจึงพิจารณาเห็น
ปร. อยู่ภายใน(รูป)พิจารณาเห็น
สก. ชีวะกับสรีระเป็นอย่างเดียวกันใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. อยู่ภายใน(รูป)พิจารณาเห็นหรือออกไปภายนอก(รูป)แล้วจึงพิจารณาเห็น
ปร. ออกไปภายนอก(รูป)แล้วจึงพิจารณาเห็น
สก. ชีวะกับสรีระเป็นคนละอย่างกันใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

เชิงอรรถ :
๑ รูป ในที่นี้หมายถึงรูปกาย (อภิ.ปญฺจ.อ. ๒๒๘/๑๕๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๑๐๐ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๑. ปุคคลกถา
[๒๒๙] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์”
ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. พระผู้มีพระภาคทรงเป็นสัจจวาที๑ กาลวาที๒ ภูตวาที๓ ตถวาที๔
อวิตถวาที๕ อนัญญถวาที๖ มิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตนเอง๗
มีอยู่” มีอยู่จริงมิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. ดังนั้น ข้าพเจ้าจึงหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์
[๒๓๐] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์”
ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. พระผู้มีพระภาคทรงเป็นสัจจวาที กาลวาที ภูตวาที ตถวาที อวิตถวาที
อนัญญถวาที มิใช่หรือ
สก. ใช่

เชิงอรรถ :
๑ สัจจวาที หมายถึงตรัสเรื่องจริงที่อิงอริยสัจ (ขุ.จู.อ. ๘๓/๖๔)
๒ กาลวาที หมายถึงตรัสในเวลาอันเหมาะสม (ขุ.จู.อ. ๘๓/๖๔)
๓ ภูตวาที หมายถึงตรัสสภาวะที่เป็นจริง (ขุ.จู.อ. ๘๓/๖๔)
๔ ตถวาที หมายถึงตรัสตามที่ทรงกระทำมา (ขุ.จู.อ. ๘๓/๖๔)
๕ อวิตถวาที หมายถึงตรัสเรื่องที่ไม่คลาดเคลื่อน (ขุ.จู.อ. ๘๓/๖๗)
๖ อนัญญถวาที หมายถึงตรัสเรื่องจริงแท้ไม่เป็นอย่างอื่น (ขุ.จู.อ. ๘๓/๖๖-๖๗)
๗ ดูเทียบ อภิ.ปุ. (แปล) ๓๖/๑๗๓/๒๐๕

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๑๐๑ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๑. ปุคคลกถา
ปร. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้เป็นเอก
เมื่อเกิดขึ้นในโลก ย่อมเกิดขึ้นเพื่อเกื้อกูลแก่คนหมู่มาก เพื่อสุขแก่คนหมู่มาก
เพื่ออนุเคราะห์ชาวโลก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขแก่เทวดาและมนุษย์
ทั้งหลาย” ๑ มีอยู่จริงมิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. ดังนั้น ข้าพเจ้าจึงหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์
[๒๓๑] สก. ท่านหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระผู้มีพระภาคทรงเป็นสัจจวาที กาลวาที ภูตวาที ตถวาที อวิตถวาที
อนัญญถวาที มิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ธรรมทั้งหลายทั้งปวงเป็นอนัตตา”๒
มีอยู่จริงมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. ดังนั้น ท่านจึงไม่ควรยอมรับว่า “ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐ-
ปรมัตถ์”
[๒๓๒] สก. ท่านหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระผู้มีพระภาคทรงเป็นสัจจวาที กาลวาที ภูตวาที ตถวาที อวิตถวาที
อนัญญถวาที มิใช่หรือ
ปร. ใช่

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ องฺ.เอกก. (แปล) ๒๐/๑๗๐/๒๒
๒ ดูเทียบ ม.มู. (แปล) ๑๒/๓๕๖/๓๙๑-๓๙๒, สํ.ข. (แปล) ๑๗/๙๐/๑๗๑

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๑๐๒ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๑. ปุคคลกถา
สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “อริยสาวกไม่สงสัย ไม่เคลือบ
แคลงใจว่า เมื่อเกิด ทุกข์เท่านั้นเกิดขึ้น เมื่อดับ ทุกข์เท่านั้นดับไป อริยสาวกนั้นมี
ญาณหยั่งรู้ในเรื่องนี้โดยไม่ต้องเชื่อผู้อื่นเลย กัจจานะ ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ จัดว่า
เป็นสัมมาทิฏฐิ” ๑ มีอยู่จริงมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. ดังนั้น ท่านจึงไม่ควรยอมรับว่า “ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐ-
ปรมัตถ์”
[๒๓๓] สก. ท่านหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. วชิราภิกษุณีกล่าวกับมารผู้มีบาปดังนี้ว่า
“มารเอ๋ย ทิฏฐิของเจ้าเชื่อใครหนอว่าเป็นสัตว์
ร่างกายที่เป็นกองแห่งสังขารล้วน ๆ นี้
บัณฑิตจะเรียกว่าสัตว์ไม่ได้เลย
เมื่อขันธ์ทั้งหลายมีอยู่ สมมติว่าสัตว์ก็มีได้
เหมือนเสียงพูดว่ารถย่อมมีได้
เพราะการคุมกันแห่งส่วนประกอบ
อนึ่ง ทุกข์เท่านั้นเกิดขึ้น
ทุกข์เท่านั้นดำรงอยู่และแปรผันไป
นอกจากทุกข์ไม่มีสิ่งอื่นเกิดขึ้น
นอกจากทุกข์ ไม่มีอะไรอื่นดับไปเลย” ๒
มีอยู่จริงมิใช่หรือ
ปร. ใช่

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ สํ.นิ. (แปล) ๑๖/๑๕/๒๔-๒๕
๒ ดูเทียบ สํ.ส. (แปล) ๑๕/๑๗๑/๒๒๘, ขุ.ม. (แปล) ๒๙/๑๘๖/๕๒๗-๕๒๘

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๑๐๓ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๑. ปุคคลกถา
สก. ดังนั้น ท่านจึงไม่ควรยอมรับว่า “ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐ-
ปรมัตถ์”
[๒๓๔] สก. ท่านหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ท่านพระอานนท์ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
ที่พระองค์ตรัสว่า ‘โลกว่าง โลกว่าง’ ด้วยเหตุเพียงไรเล่าหนอ จึงตรัสว่า ‘โลกว่าง’
พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “อานนท์ เพราะว่างจากอัตตาหรือสิ่งที่เนื่อง
ด้วยอัตตา ฉะนั้นจึงเรียกว่า ‘โลกว่าง’
ก็อะไรเล่าชื่อว่าว่างจากอัตตาหรือสิ่งที่เนื่องด้วยอัตตา
คือ จักษุว่างจากอัตตาหรือสิ่งที่เนื่องด้วยอัตตา รูปว่างจากอัตตาหรือสิ่งที่เนื่อง
ด้วยอัตตา ฯลฯ จักขุวิญญาณว่างจากอัตตาหรือสิ่งที่เนื่องด้วยอัตตา ฯลฯ
จักขุสัมผัสว่างจากอัตตาหรือสิ่งที่เนื่องด้วยอัตตา ฯลฯ แม้ความเสวยอารมณ์ที่เป็น
สุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัยก็ว่างจากอัตตา
หรือสิ่งที่เนื่องด้วยอัตตา โสตะว่างจากอัตตาหรือสิ่งที่เนื่องด้วยอัตตา ฯลฯ สัททะ
ว่างจากอัตตาหรือสิ่งที่เนื่องด้วยอัตตา ฯลฯ ฆานะว่างจากอัตตาหรือสิ่งที่เนื่องด้วยอัตตา
ฯลฯ คันธะว่างจากอัตตาหรือสิ่งที่เนื่องด้วยอัตตา ฯลฯ ชิวหาว่างจากอัตตาหรือ
สิ่งที่เนื่องด้วยอัตตา ฯลฯ รสว่างจากอัตตาหรือสิ่งที่เนื่องด้วยอัตตา ฯลฯ กายว่าง
จากอัตตา หรือสิ่งที่เนื่องด้วยอัตตา ฯลฯ โผฏฐัพพะว่างจากอัตตาหรือสิ่งที่เนื่อง
ด้วยอัตตา ฯลฯ มนะว่างจากอัตตาหรือสิ่งที่เนื่องด้วยอัตตา ฯลฯ ธรรมารมณ์ว่าง
จากอัตตาหรือสิ่งที่เนื่องด้วยอัตตา ฯลฯ มโนวิญญาณว่างจากอัตตาหรือสิ่งที่เนื่อง
ด้วยอัตตา ฯลฯ มโนสัมผัสว่างจากอัตตาหรือสิ่งที่เนื่องด้วยอัตตา ฯลฯ แม้ความ
เสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย
ก็ว่างจากอัตตาหรือสิ่งที่เนื่องด้วยอัตตา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๑๐๔ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๑. ปุคคลกถา
อานนท์ เพราะว่างจากอัตตาหรือสิ่งที่เนื่องด้วยอัตตา ฉะนั้น เราจึงเรียกว่า
โลกว่าง”๑ ดังนี้ มีอยู่จริงมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. ดังนั้น ท่านจึงไม่ควรยอมรับว่า “ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐ-
ปรมัตถ์”
[๒๓๕] สก. ท่านหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระผู้มีพระภาคทรงเป็นสัจจวาที กาลวาที ภูตวาที ตถวาที อวิตถวาที
อนัญญถวาที มิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย เมื่ออัตตามีอยู่
ความยึดถือว่า ‘สิ่งที่เนื่องด้วยอัตตาของเราก็จะพึงมี’ ใช่ไหม
ภิกษุทั้งหลายทูลตอบว่า ‘ใช่ พระพุทธเจ้าข้า’
เมื่อสิ่งที่เนื่องด้วยอัตตามีอยู่ ความยึดถือว่า ‘สิ่งที่เนื่องด้วยอัตตาของเราก็จะ
พึงมี’ ใช่ไหม
‘ใช่ พระพุทธเจ้าข้า’
เมื่อหาไม่พบอัตตาและสิ่งที่เนื่องด้วยอัตตาโดยความเป็นจริง โดยความแน่แท้
ทิฏฐิที่ว่า ‘นั้นโลก นั้นอัตตา เรานั้นตายแล้วจักเป็นผู้เที่ยง ยั่งยืน คงที่ ไม่มีความ
แปรผันเป็นธรรมดา จักดำรงอยู่เทียบเท่าสิ่งที่คงที่อย่างนั้น’ นี้มิเป็นพาลธรรม
(ธรรมของคนโง่) สมบูรณ์แบบละหรือ
‘ทำไมจะไม่เป็นอย่างนั้น นั้นเป็นพาลธรรมสมบูรณ์แบบทีเดียว๒ พระพุทธเจ้าข้า”
ดังนี้ มีอยู่จริงมิใช่หรือ
ปร. ใช่

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ สํ.สฬา. (แปล) ๑๘/๘๕/๗๘
๒ ดูเทียบ ม.มู. (แปล) ๑๒/๒๔๔/๒๖๐-๒๖๑

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๑๐๕ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๑. ปุคคลกถา
สก. ดังนั้น ท่านจึงไม่ควรยอมรับว่า “ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐ-
ปรมัตถ์”
[๒๓๖] สก. ท่านหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระผู้มีพระภาคทรงเป็นสัจจวาที กาลวาที ภูตวาที ตถวาที อวิตถวาที
อนัญญถวาที มิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “เสนิยะ ศาสดา ๓ จำพวก
เหล่านี้มีปรากฏอยู่ในโลก
ศาสดา ๓ จำพวกเหล่าไหน คือ
๑. ศาสดาบางคนในโลกนี้บัญญัติอัตตาในปัจจุบันโดยความเป็นของมีจริง
โดยความเป็นของยั่งยืน และบัญญัติอัตตาในภพหน้าโดยความ
เป็นของมีจริง โดยความเป็นของยั่งยืน
๒. ศาสดาบางคนในโลกนี้บัญญัติอัตตาในปัจจุบันโดยความเป็นของมีจริง
โดยความเป็นของยั่งยืน แต่ไม่บัญญัติอัตตาในภพหน้า โดยความ
เป็นของมีจริง โดยความเป็นของยั่งยืน
๓. ศาสดาบางคนในโลกนี้ไม่บัญญัติอัตตาในปัจจุบันโดยความเป็นของ
มีจริง โดยความเป็นของยั่งยืน และไม่บัญญัติอัตตาในภพหน้า
โดยความเป็นของมีจริง โดยความเป็นของยั่งยืน
บรรดาศาสดา ๓ จำพวกนั้น ศาสดาที่บัญญัติอัตตาในปัจจุบันโดยความ
เป็นของมีจริง โดยความเป็นของยั่งยืน และบัญญัติอัตตาในภพหน้าโดยความเป็น
ของมีจริง โดยความเป็นของยั่งยืน (วาทะ)นี้เรียกว่า สัสสตวาทะ (วาทะว่าอัตตา
และโลกเที่ยง)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๑๐๖ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๑. ปุคคลกถา
บรรดาศาสดา ๓ จำพวกนั้น ศาสดาที่บัญญัติอัตตาในปัจจุบันโดยความ
เป็นของมีจริง โดยความเป็นของยั่งยืน แต่ไม่บัญญัติอัตตาในภพหน้าโดยความ
เป็นของมีจริง โดยความเป็นของยั่งยืน (วาทะ)นี้เรียกว่า อุจเฉทวาทะ (วาทะว่า
อัตตาและโลกขาดสูญ)
บรรดาศาสดา ๓ จำพวกนั้น ศาสดาที่ไม่บัญญัติอัตตาในปัจจุบันโดยความเป็น
ของมีจริง โดยความเป็นของยั่งยืน และไม่บัญญัติอัตตาในภพหน้าโดยความเป็น
ของมีจริง โดยความเป็นของยั่งยืน (วาทะ)นี้เรียกว่า สัมมาสัมพุทธะ ศาสดา ๓
จำพวกนี้แหละมีปรากฏอยู่ในโลก”๑ ดังนี้ มีอยู่จริงมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. ดังนั้น ท่านจึงไม่ควรยอมรับว่า “ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐ-
ปรมัตถ์”
[๒๓๗] สก. ท่านหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระผู้มีพระภาคทรงเป็นสัจจวาที กาลวาที ภูตวาที ตถวาที อวิตถวาที
อนัญญถวาที มิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. พระผู้มีพระภาคเคยตรัสว่า “หม้อเนยใส” ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ใคร ๆ ทำหม้อเนยใส๒มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ อภิ.ปุ. (แปล) ๓๖/๑๓๑/๑๘๒
๒ หม้อเนยใส สกวาทีชี้แจงว่า หม้อที่ทำด้วยเนยใสจริง ๆ เช่น หม้อทองคำ นั้นไม่มี แต่นิยมเรียกหม้อใส่
เนยใสว่า หม้อเนยใส (อภิ.ปญฺจ.อ. ๒๓๗/๖๙๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๑๐๗ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๑. ปุคคลกถา รวมประเด็นสำคัญในปุคคลกถา ๘ ประเด็น
สก. ดังนั้น ท่านจึงไม่ควรยอมรับว่า “ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐ-
ปรมัตถ์”
[๒๓๘] สก. ท่านหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระผู้มีพระภาคทรงเป็นสัจจวาที กาลวาที ภูตวาที ตถวาที อวิตถวาที
อนัญญถวาที มิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. พระผู้มีพระภาคเคยตรัสว่า หม้อน้ำมัน ฯลฯ หม้อน้ำผึ้ง ฯลฯ
หม้อน้ำอ้อย ฯลฯ หม้อน้ำนม ฯลฯ หม้อน้ำ ฯลฯ ภาชนะน้ำดื่ม ฯลฯ
กระบอกน้ำดื่ม ฯลฯ ขันน้ำดื่ม ฯลฯ นิตยภัต ฯลฯ ธุวยาคู (ยาคูเที่ยง) ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ยาคูบางอย่างเที่ยง ยั่งยืน คงทน ไม่แปรผันไปเป็นธรรมดา มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ดังนั้น ท่านจึงไม่ควรยอมรับว่า “ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐ-
ปรมัตถ์” (ย่อ)

รวมประเด็นสำคัญในปุคคลกถา ๘ ประเด็น คือ

๑. อัฏฐกนิคคหะ ๒. เปยยาละ
๓. สันธาวนิยะ (คติอนุโยคะ) ๔. อุปาทายะ (อุปาทาปัญญัตตานุโยคะ)
๕. จิตตะ ๖. กัลยาณะ (ปุริสการานุโยคะ)
๗. อิทธิ (อภิญญานุโยคะ) ๘. สุตตาหารณะ

ปุคคลกถา จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๑๐๘ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๒. ปริหานิกถา
๒. ปริหานิกถา
ว่าด้วยความเสื่อม
๑. วาทยุตติปริหานิ
ว่าด้วยหลักการโต้วาทะในเรื่องความเสื่อม
[๒๓๙] สก. พระอรหันต์เสื่อมจากอรหัตตผลได้ใช่ไหม
ปร.๑ใช่๒
สก. พระอรหันต์เสื่อมจากอรหัตตผลได้ในโอกาส๓ทั้งปวงใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ๔
สก. พระอรหันต์เสื่อมจากอรหัตตผลได้ในโอกาสทั้งปวงใช่ไหม
ปร. ใช่๕
สก. สภาวธรรมเป็นเหตุเสื่อม๖ของพระอรหันต์ในโอกาสทั้งปวงมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระอรหันต์เสื่อมจากอรหัตตผลได้ใช่ไหม
ปร. ใช่

เชิงอรรถ :
๑ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายสมิติยะ นิกายวัชชีปุตตกะ นิกายสัพพัตถิกวาท และนิกายมหาสังฆิกะ
บางพวก (อภิ.ปญฺจ.อ. ๒๓๙/๑๖๑)
๒ เพราะมีความเห็นว่า พระอรหันต์มีโอกาสเสื่อมจากอรหัตตผลได้ หมายถึงเสื่อมจากอรหัตตผลลงไปสู่
อริยผลที่ต่ำลงไปตามลำดับ จนถึงโสดาปัตติผล และพระอรหันต์ที่จะเสื่อมได้นั้นจะต้องเป็นพระอรหันต์ใน
กามภพเท่านั้น (อภิ.ปญฺจ.อ. ๒๓๙/๑๖๑)
๓ โอกาส ในที่นี้หมายถึงภพทุกภพและภูมิธรรมของพระอริยะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๒๓๙/๑๖๑)
๔ ข้อความที่ ฯลฯ ไว้นี้ต้องเติมให้เต็มตามนัยแห่งนิคคหนัยในปุคคลกถา และในกถาอื่น ๆ ในเล่มนี้ก็ควร
เติมให้เต็มเช่นนี้
๕ เพราะมีความเห็นว่า โอกาสทั้งปวง ในที่นี้หมายถึงภพทั้งปวง จึงตอบรับ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๒๓๙/๑๖๑)
๖ สภาวธรรมเป็นเหตุเสื่อม ในที่นี้หมายถึงกามราคะ และพยาบาทซึ่งมีอยู่ในกามภพเท่านั้น (อภิ.ปญฺจ.อ.
๒๓๙/๑๖๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๑๐๙ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๒. ปริหานิกถา
สก. พระอรหันต์เสื่อมจากอรหัตตผลได้ในกาลทั้งปวงใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระอรหันต์เสื่อมจากอรหัตตผลได้ในกาลทั้งปวงใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สภาวธรรมเป็นเหตุเสื่อมของพระอรหันต์ในโอกาสทั้งปวงมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระอรหันต์เสื่อมจากอรหัตตผลได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระอรหันต์ทุกองค์เสื่อมจากอรหัตตผลได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระอรหันต์ทุกองค์เสื่อมจากอรหัตตผลได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สภาวธรรมเป็นเหตุเสื่อมของพระอรหันต์ทุกองค์มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระอรหันต์เสื่อมจากอรหัตตผลได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระอรหันต์เมื่อเสื่อมจากอรหัตตผล ย่อมเสื่อมจากผลทั้ง ๔ ประการ
ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. เศรษฐีครองความเป็นเศรษฐีอยู่ได้ก็ด้วยทรัพย์ ๔๐๐,๐๐๐ เมื่อทรัพย์
๑๐๐,๐๐๐ หมดสิ้นไปก็เสื่อมจากความเป็นเศรษฐีใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. เขาเสื่อมจากสมบัติทั้งปวงใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๑๑๐ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๒. ปริหานิกถา
สก. เศรษฐีครองความเป็นเศรษฐีอยู่ได้ก็ด้วยทรัพย์ ๔๐๐,๐๐๐ เมื่อทรัพย์
๑๐๐,๐๐๐ หมดสิ้นไปก็เสื่อมจากสมบัติทั้งปวงใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระอรหันต์เมื่อเสื่อมจากอรหัตตผล ย่อมเสื่อมจากผลทั้ง ๔ ประการ
ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
วาทยุตติปริหานิ จบ

๒. อริยปุคคลสังสันทนปริหานิ
ว่าด้วยการเทียบเคียงพระอริยบุคคลในเรื่องความเสื่อม
[๒๔๐] สก. พระอรหันต์เสื่อมจากอรหัตตผลได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระโสดาบันเสื่อมจากโสดาปัตติผลได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระอรหันต์เสื่อมจากอรหัตตผลได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสกทาคามีเสื่อมจากสกทาคามิผลได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระอรหันต์เสื่อมจากอรหัตตผลได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระอนาคามีเสื่อมจากอนาคามิผลได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระอนาคามีเสื่อมจากอนาคามิผลได้ใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๑๑๑ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๒. ปริหานิกถา
สก. พระโสดาบันเสื่อมจากโสดาปัตติผลได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระอนาคามีเสื่อมจากอนาคามิผลได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสกทาคามีเสื่อมจากสกทาคามิผลได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระสกทาคามีเสื่อมจากสกทาคามิผลได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระโสดาบันเสื่อมจากโสดาปัตติผลได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระโสดาบันไม่เสื่อมจากโสดาปัตติผลใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระอรหันต์ไม่เสื่อมจากอรหัตตผลใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระสกทาคามีไม่เสื่อมจากสกทาคามิผลใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระอรหันต์ไม่เสื่อมจากอรหัตตผลใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระอนาคามีไม่เสื่อมจากอนาคามิผลใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระอรหันต์ไม่เสื่อมจากอรหัตตผลใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๑๑๒ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๒. ปริหานิกถา
สก. พระโสดาบันไม่เสื่อมจากโสดาปัตติผลใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระอนาคามีไม่เสื่อมจากอนาคามิผลใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระสกทาคามีไม่เสื่อมจากสกทาคามิผลใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระอนาคามีไม่เสื่อมจากอนาคามิผลใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระโสดาบันไม่เสื่อมจากโสดาปัตติผลใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสกทาคามีไม่เสื่อมจากสกทาคามิผลใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๒๔๑] สก. พระอรหันต์เสื่อมจากอรหัตตผลใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระอรหันต์เมื่อเสื่อมจากอรหัตตผล ตั้งอยู่ในธรรมอะไร
ปร. ตั้งอยู่ในอนาคามิผล
สก. พระอนาคามีเมื่อเสื่อมจากอนาคามิผล ตั้งอยู่ในธรรมอะไร
ปร. ตั้งอยู่ในสกทาคามิผล
สก. พระสกทาคามีเมื่อเสื่อมจากสกทาคามิผล ตั้งอยู่ในธรรมอะไร
ปร. ตั้งอยู่ในโสดาปัตติผล
สก. พระโสดาบันเมื่อเสื่อมจากโสดาปัตติผล ตั้งอยู่ในภูมิแห่งปุถุชนใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๑๑๓ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๒. ปริหานิกถา
สก. ท่านจงรับนิคคหะ ดังต่อไปนี้
หากพระอรหันต์ เมื่อเสื่อมจากอรหัตตผล ตั้งอยู่ในอนาคามิผล พระอนาคามี
เมื่อเสื่อมจากอนาคามิผล ตั้งอยู่ในสกทาคามิผล พระสกทาคามี เมื่อเสื่อมจาก
สกทาคามิผล ตั้งอยู่ในโสดาปัตติผล ดังนั้น ท่านควรยอมรับว่า “พระโสดาบัน
เมื่อเสื่อมจากโสดาปัตติผล ตั้งอยู่ในภูมิแห่งปุถุชน”
สก. พระอรหันต์เมื่อเสื่อมจากอรหัตตผล ตั้งอยู่ในโสดาปัตติผลใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ถัดจากโสดาปัตติผล ท่านก็ทำให้แจ้งอรหัตตผลได้เลยใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๒๔๒] สก. พระอรหันต์เสื่อมจากอรหัตตผลได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระโสดาบันเสื่อมจากโสดาปัตติผลได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระอรหันต์หรือพระโสดาบัน ใครละกิเลสได้มากกว่ากัน
ปร. พระอรหันต์
สก. หากพระอรหันต์ละกิเลสได้มากกว่า พระอรหันต์ยังเสื่อมจากอรหัตตผลได้
ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “พระโสดาบันเสื่อมจากโสดาปัตติผลได้”
สก. พระอรหันต์เสื่อมจากอรหัตตผลได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสกทาคามีเสื่อมจากสกทาคามิผลได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระอรหันต์หรือพระสกทาคามี ใครละกิเลสได้มากกว่ากัน
ปร. พระอรหันต์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๑๑๔ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๒. ปริหานิกถา
สก. หากพระอรหันต์ละกิเลสได้มากกว่า พระอรหันต์ยังเสื่อมจากอรหัตตผลได้
ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “พระสกทาคามีเสื่อมจากสกทาคามิผลได้”
สก. พระอรหันต์เสื่อมจากอรหัตตผลได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระอนาคามีเสื่อมจากอนาคามิผลได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระอรหันต์หรือพระอนาคามี ใครละกิเลสได้มากกว่ากัน
ปร. พระอรหันต์
สก. หากพระอรหันต์ละกิเลสได้มากกว่า พระอรหันต์ยังเสื่อมจากอรหัตตผลได้
ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “พระอนาคามีเสื่อมจากอนาคามิผลได้”
สก. พระอนาคามีเสื่อมจากอนาคามิผลได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระโสดาบันเสื่อมจากโสดาปัตติผลได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระอนาคามีหรือพระโสดาบัน ใครละกิเลสได้มากกว่ากัน
ปร. พระอนาคามี
สก. หากพระอนาคามีละกิเลสได้มากกว่า พระอนาคามียังเสื่อมจากอนาคามิ-
ผลได้ ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “พระโสดาบันเสื่อมจากโสดาปัตติผลได้”
[๒๔๓] สก. พระอนาคามีเสื่อมจากอนาคามิผลได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสกทาคามีเสื่อมจากสกทาคามิผลได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๑๑๕ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๒. ปริหานิกถา
สก. พระอนาคามีหรือพระสกทาคามี ใครละกิเลสได้มากกว่ากัน
ปร. พระอนาคามี
สก. หากพระอนาคามีละกิเลสได้มากกว่า พระอนาคามียังเสื่อมจาก
อนาคามิผลได้ ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “พระสกทาคามีก็เสื่อมจาก
สกทาคามิผลได้”
สก. พระสกทาคามีเสื่อมจากสกทาคามิผลได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระโสดาบันเสื่อมจากโสดาปัตติผลได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระสกทาคามีหรือพระโสดาบัน ใครละกิเลสได้มากกว่ากัน
ปร. พระสกทาคามี
สก. หากพระสกทาคามีละกิเลสได้มากกว่า พระสกทาคามียังเสื่อมจาก
สกทาคามิผลได้ ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “พระโสดาบันเสื่อมจาก
โสดาปัตติผลได้”
[๒๔๔] สก. พระอรหันต์เสื่อมจากอรหัตตผลได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระโสดาบันเสื่อมจากโสดาปัตติผลได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระอรหันต์หรือพระโสดาบัน ใครเจริญมรรคได้ยิ่งกว่ากัน
ปร. พระอรหันต์
สก. หากพระอรหันต์เจริญมรรคได้ยิ่งกว่า พระอรหันต์ยังเสื่อมจากอรหัตต-
ผลได้ ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “พระโสดาบันเสื่อมจากโสดาปัตติผลได้”
สก. พระอรหันต์เสื่อมจากอรหัตตผลได้ใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๑๑๖ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๒. ปริหานิกถา
สก. พระโสดาบันเสื่อมจากโสดาปัตติผลได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระอรหันต์หรือพระโสดาบัน ใครเจริญสติปัฏฐาน ฯลฯ เจริญ
สัมมัปปธาน ฯลฯ เจริญอิทธิบาท ฯลฯ เจริญอินทรีย์ ฯลฯ เจริญพละ ฯลฯ
เจริญโพชฌงค์ได้ยิ่งกว่ากัน
ปร. พระอรหันต์
สก. หากพระอรหันต์เจริญโพชฌงค์ได้ยิ่งกว่า พระอรหันต์ยังเสื่อมจาก
อรหัตตผลได้ ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “พระโสดาบันเสื่อมจากโสดาปัตติผลได้”
สก. พระอรหันต์เสื่อมจากอรหัตตผลได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสกทาคามีเสื่อมจากสกทาคามิผลได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระอรหันต์หรือพระสกทาคามี ใครเจริญมรรค ฯลฯ เจริญโพชฌงค์
ได้ยิ่งกว่ากัน
ปร. พระอรหันต์
สก. หากพระอรหันต์เจริญโพชฌงค์ได้ยิ่งกว่า พระอรหันต์ยังเสื่อมจาก
อรหัตตผลได้ ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “พระสกทาคามีเสื่อมจากสกทาคามิผล
ได้”
สก. พระอรหันต์เสื่อมจากอรหัตตผลได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระอนาคามีเสื่อมจากอนาคามิผลได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๑๑๗ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๒. ปริหานิกถา
สก. พระอรหันต์หรือพระอนาคามี ใครเจริญมรรค ฯลฯ เจริญโพชฌงค์ได้
ยิ่งกว่ากัน
ปร. พระอรหันต์
สก. หากพระอรหันต์เจริญโพชฌงค์ได้ยิ่งกว่า พระอรหันต์ยังเสื่อมจาก
อรหัตตผลได้ ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “พระอนาคามีเสื่อมจากอนาคามิผลได้”
[๒๔๕] สก. พระอนาคามีเสื่อมจากอนาคามิผลได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระโสดาบันเสื่อมจากโสดาปัตติผลได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระอนาคามีหรือพระโสดาบัน ใครเจริญมรรค ฯลฯ เจริญโพชฌงค์ได้
ยิ่งกว่ากัน
ปร. พระอนาคามี
สก. หากพระอนาคามีเจริญโพชฌงค์ได้ยิ่งกว่า พระอนาคามียังเสื่อมจาก
อนาคามิผลได้ ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “พระโสดาบันเสื่อมจากโสดาปัตติผล
ได้”
สก. พระอนาคามีเสื่อมจากอนาคามิผลได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสกทาคามีเสื่อมจากสกทาคามิผลได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระอนาคามีหรือพระสกทาคามี ใครเจริญมรรค ฯลฯ เจริญโพชฌงค์ได้
ยิ่งกว่ากัน
ปร. พระอนาคามี
สก. หากพระอนาคามีเจริญโพชฌงค์ได้ยิ่งกว่า พระอนาคามียังเสื่อม
จากอนาคามิผลได้ ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “พระสกทาคามีเสื่อมจาก
สกทาคามิผลได้”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๑๑๘ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๒. ปริหานิกถา
[๒๔๖] สก. พระสกทาคามีเสื่อมจากสกทาคามิผลได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระโสดาบันเสื่อมจากโสดาปัตติผลได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระสกทาคามีหรือพระโสดาบัน ใครเจริญมรรค ฯลฯ เจริญโพชฌงค์ได้
ยิ่งกว่ากัน
ปร. พระสกทาคามี
สก. หากพระสกทาคามีเจริญโพชฌงค์ได้ยิ่งกว่า พระสกทาคามียังเสื่อมจาก
สกทาคามิผลได้ ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “พระโสดาบันเสื่อมจากโสดาปัตติผล
ได้ ฯลฯ”
[๒๔๗] สก. พระอรหันต์เห็นทุกข์แล้วยังเสื่อมจากอรหัตตผลได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระโสดาบันเห็นทุกข์แล้วยังเสื่อมจากโสดาปัตติผลได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระอรหันต์เห็นสมุทัยแล้วยังเสื่อมจากอรหัตตผลได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระโสดาบันเห็นสมุทัยแล้วยังเสื่อมจากโสดาปัตติผลได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระอรหันต์เห็นนิโรธแล้วยังเสื่อมจากอรหัตตผลได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระโสดาบันเห็นนิโรธแล้วยังเสื่อมจากโสดาปัตติผลได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๑๑๙ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๒. ปริหานิกถา
สก. พระอรหันต์เห็นมรรคแล้วยังเสื่อมจากอรหัตตผลได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระโสดาบันเห็นมรรคแล้วยังเสื่อมจากโสดาปัตติผลได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระอรหันต์เห็นสัจจะ ๔ แล้วยังเสื่อมจากอรหัตตผลได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระโสดาบันเห็นสัจจะ ๔ แล้วยังเสื่อมจากโสดาปัตติผลได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระอรหันต์เห็นทุกข์แล้วยังเสื่อมจากอรหัตตผลได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสกทาคามีเห็นทุกข์แล้วยังเสื่อมจากสกทาคามิผลได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระอรหันต์เห็นสมุทัย ฯลฯ เห็นนิโรธ ฯลฯ เห็นมรรค ฯลฯ เห็น
สัจจะ ๔ แล้วยังเสื่อมจากอรหัตตผลได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสกทาคามีเห็นสัจจะ ๔ แล้วยังเสื่อมจากสกทาคามิผลได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระอรหันต์เห็นทุกข์แล้วยังเสื่อมจากอรหัตตผลได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระอนาคามีเห็นทุกข์แล้วยังเสื่อมจากอนาคามิผลได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๑๒๐ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๒. ปริหานิกถา
สก. พระอรหันต์เห็นสมุทัย ฯลฯ เห็นนิโรธ ฯลฯ เห็นมรรค ฯลฯ เห็น
สัจจะ ๔ แล้วยังเสื่อมจากอรหัตตผลได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระอนาคามีเห็นสัจจะ ๔ แล้วยังเสื่อมจากอนาคามิผลได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๒๔๘] สก. พระอนาคามีเห็นทุกข์แล้วยังเสื่อมจากอนาคามิผลได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระโสดาบันเห็นทุกข์แล้วยังเสื่อมจากโสดาปัตติผลได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระอนาคามีเห็นสมุทัย ฯลฯ เห็นนิโรธ ฯลฯ เห็นมรรค ฯลฯ เห็น
สัจจะ ๔ แล้วยังเสื่อมจากอนาคามิผลได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระโสดาบันเห็นสัจจะ ๔ แล้วยังเสื่อมจากโสดาปัตติผลได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระอนาคามีเห็นทุกข์แล้วยังเสื่อมจากอนาคามิผลได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสกทาคามีเห็นทุกข์แล้วยังเสื่อมจากสกทาคามิผลได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระอนาคามีเห็นสมุทัย ฯลฯ เห็นนิโรธ ฯลฯ เห็นมรรค ฯลฯ
เห็นสัจจะ ๔ แล้วยังเสื่อมจากอนาคามิผลได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสกทาคามีเห็นสัจจะ ๔ แล้วยังเสื่อมจากสกทาคามิผลได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๑๒๑ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๒. ปริหานิกถา
[๒๔๙] สก. พระสกทาคามีเห็นทุกข์แล้วยังเสื่อมจากสกทาคามิผลได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระโสดาบันเห็นทุกข์แล้วยังเสื่อมจากโสดาปัตติผลได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระสกทาคามีเห็นสมุทัย ฯลฯ เห็นนิโรธ ฯลฯ เห็นมรรค ฯลฯ
เห็นสัจจะ ๔ แล้วยังเสื่อมจากสกทาคามิผลได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระโสดาบันเห็นสัจจะ ๔ แล้วยังเสื่อมจากโสดาปัตติผลใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๒๕๐] สก. พระโสดาบันเห็นทุกข์แล้วไม่เสื่อมจากโสดาปัตติผลใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระอรหันต์เห็นทุกข์แล้วไม่เสื่อมจากอรหัตตผลใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระโสดาบันเห็นสมุทัย ฯลฯ เห็นนิโรธ ฯลฯ เห็นมรรค ฯลฯ เห็น
สัจจะ ๔ แล้วไม่เสื่อมจากโสดาปัตติผลใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระอรหันต์เห็นสัจจะ ๔ แล้วไม่เสื่อมจากอรหัตตผลใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระสกทาคามีเห็นทุกข์ ฯลฯ เห็นสัจจะ ๔ แล้วไม่เสื่อมจาก
สกทาคามิผลใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระอรหันต์เห็นสัจจะ ๔ แล้วไม่เสื่อมจากอรหัตตผลใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๑๒๒ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๒. ปริหานิกถา
สก. พระอนาคามีเห็นทุกข์ ฯลฯ เห็นสัจจะ ๔ แล้วไม่เสื่อมจากอนาคามิผล
ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระอรหันต์เห็นสัจจะ ๔ แล้วไม่เสื่อมจากอรหัตตผลใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระโสดาบันเห็นทุกข์ ฯลฯ เห็นสัจจะ ๔ แล้วไม่เสื่อมจากโสดาปัตติผล
ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระอนาคามีเห็นทุกข์ ฯลฯ เห็นสัจจะ ๔ แล้วไม่เสื่อมจากอนาคามิผล
ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระสกทาคามีเห็นทุกข์ ฯลฯ เห็นสัจจะ ๔ แล้วไม่เสื่อมจาก
สกทาคามิผลใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระอนาคามีเห็นทุกข์ ฯลฯ เห็นสัจจะ ๔ แล้วไม่เสื่อมจากอนาคามิผล
ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระโสดาบันเห็นทุกข์ ฯลฯ เห็นสัจจะ ๔ แล้วไม่เสื่อมจากโสดาปัตติผล
ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสกทาคามีเห็นทุกข์ ฯลฯ เห็นสัจจะ ๔ แล้วไม่เสื่อมจาก
สกทาคามิผลใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๑๒๓ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๒. ปริหานิกถา
[๒๕๑] สก. พระอรหันต์ละราคะได้แล้วยังเสื่อมจากอรหัตตผลได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระโสดาบันละสักกายทิฏฐิได้แล้วยังเสื่อมจากโสดาปัตติผลได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระอรหันต์ละราคะได้แล้วยังเสื่อมจากอรหัตตผลได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระโสดาบันละวิจิกิจฉา ฯลฯ ละสีลัพพตปรามาส ฯลฯ ละราคะที่เป็น
เหตุให้สัตว์ไปสู่อบาย ฯลฯ ละโทสะที่เป็นเหตุให้สัตว์ไปสู่อบาย ฯลฯ ละโมหะที่เป็น
เหตุให้สัตว์ไปสู่อบายได้แล้ว ยังเสื่อมจากโสดาปัตติผลได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระอรหันต์ละโทสะ ฯลฯ ละโมหะ ฯลฯ ละมานะ ฯลฯ ละทิฏฐิ ฯลฯ
ละวิจิกิจฉา ฯลฯ ละถีนะ ฯลฯ ละอุทธัจจะ ฯลฯ ละอหิริกะ ฯลฯ ละ
อโนตตัปปะได้แล้วยังเสื่อมจากอรหัตตผลได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระโสดาบันละสักกายทิฏฐิได้แล้วยังเสื่อมจากโสดาปัตติผลได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระอรหันต์ละอโนตตัปปะได้แล้วยังเสื่อมจากอรหัตตผลได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระโสดาบันละวิจิกิจฉา ฯลฯ ละสีลัพพตปรามาส ฯลฯ ละราคะที่เป็น
เหตุให้สัตว์ไปสู่อบาย ฯลฯ ละโทสะที่เป็นเหตุให้สัตว์ไปสู่อบาย ฯลฯ ละโมหะที่เป็น
เหตุให้สัตว์ไปสู่อบายได้แล้วยังเสื่อมจากโสดาปัตติผลได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระอรหันต์ละราคะได้แล้วยังเสื่อมจากอรหัตตผลได้ใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๑๒๔ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๒. ปริหานิกถา
สก. พระสกทาคามีละสักกายทิฏฐิได้แล้วยังเสื่อมจากสกทาคามิผลได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระอรหันต์ละราคะได้แล้วยังเสื่อมจากอรหัตตผลได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสกทาคามีละวิจิกิจฉา ฯลฯ ละสีลัพพตปรามาส ฯลฯ ละกามราคะ
อย่างหยาบ ฯลฯ ละพยาบาทอย่างหยาบได้แล้วยังเสื่อมจากสกทาคามิผลได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระอรหันต์ละโทสะ ฯลฯ ละอโนตตัปปะได้แล้วยังเสื่อมจากอรหัตตผล
ได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสกทาคามีละสักกายทิฏฐิ ฯลฯ ละพยาบาทอย่างหยาบได้แล้วยัง
เสื่อมจากสกทาคามิผลได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระอรหันต์ละราคะได้แล้วยังเสื่อมจากอรหัตตผลได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระอนาคามีละสักกายทิฏฐิได้แล้วยังเสื่อมจากอนาคามิผลได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระอรหันต์ละราคะได้แล้วยังเสื่อมจากอรหัตตผลได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระอนาคามีละวิจิกิจฉา ฯลฯ ละสีลัพพตปรามาส ฯลฯ ละกามราคะ
อย่างละเอียด ฯลฯ ละพยาบาทอย่างละเอียดได้แล้วยังเสื่อมจากอนาคามิผลได้
ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๑๒๕ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๒. ปริหานิกถา
สก. พระอรหันต์ละโทสะ ฯลฯ ละอโนตตัปปะได้แล้วยังเสื่อมจากอรหัตตผล
ได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระอนาคามีละสักกายทิฏฐิ ฯลฯ ละพยาบาทอย่างละเอียดได้แล้วยัง
เสื่อมจากอนาคามิผลได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๒๕๒] สก. พระอนาคามีละสักกายทิฏฐิได้แล้วยังเสื่อมจากอนาคามิผลได้
ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระโสดาบันละสักกายทิฏฐิได้แล้วยังเสื่อมจากโสดาปัตติผลได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระอนาคามีละสักกายทิฏฐิได้แล้วยังเสื่อมจากอนาคามิผลได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระโสดาบันละวิจิกิจฉา ฯลฯ ละโมหะที่เป็นเหตุให้สัตว์ไปสู่อบายได้แล้ว
ยังเสื่อมจากโสดาปัตติผลได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระอนาคามีละวิจิกิจฉา ฯลฯ ละพยาบาทอย่างละเอียดได้แล้วยังเสื่อม
จากอนาคามิผลได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระโสดาบันละสักกายทิฏฐิ ฯลฯ ละโมหะที่เป็นเหตุให้สัตว์ไปสู่อบายได้
แล้วยังเสื่อมจากโสดาปัตติผลได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระอนาคามีละสักกายทิฏฐิได้แล้วยังเสื่อมจากอนาคามิผลได้ใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๑๒๖ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๒. ปริหานิกถา
สก. พระสกทาคามีละสักกายทิฏฐิได้แล้วยังเสื่อมจากสกทาคามิผลได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระอนาคามีละสักกายทิฏฐิได้แล้วยังเสื่อมจากอนาคามิผลได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสกทาคามีละวิจิกิจฉา ฯลฯ ละสีลัพพตปรามาส ฯลฯ ละกามราคะ
อย่างหยาบ ฯลฯ ละพยาบาทอย่างหยาบได้แล้วยังเสื่อมจากสกทาคามิผลได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระอนาคามีละวิจิกิจฉา ฯลฯ ละพยาบาทอย่างละเอียดได้แล้วยังเสื่อม
จากอนาคามิผลได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสกทาคามีละสักกายทิฏฐิ ฯลฯ ละพยาบาทอย่างหยาบได้แล้วยัง
เสื่อมจากสกทาคามิผลได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๒๕๓] สก. พระสกทาคามีละสักกายทิฏฐิได้แล้วยังเสื่อมจากสกทาคามิผลได้
ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระโสดาบันละสักกายทิฏฐิได้แล้วยังเสื่อมจากโสดาปัตติผลได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระสกทาคามีละสักกายทิฏฐิได้แล้วยังเสื่อมจากสกทาคามิผลได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระโสดาบันละวิจิกิจฉา ฯลฯ ละโมหะที่เป็นเหตุให้สัตว์ไปสู่อบายได้แล้ว
ยังเสื่อมจากโสดาปัตติผลได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๑๒๗ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๒. ปริหานิกถา
สก. พระสกทาคามีละวิจิกิจฉา ฯลฯ ละกามราคะอย่างหยาบ ฯลฯ ละ
พยาบาทอย่างหยาบได้แล้วยังเสื่อมจากสกทาคามิผลได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระโสดาบันละสักกายทิฏฐิ ฯลฯ ละโมหะที่เป็นเหตุให้สัตว์ไปสู่อบายได้
แล้วยังเสื่อมจากโสดาปัตติผลได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๒๕๔] สก. พระโสดาบันละสักกายทิฏฐิได้แล้วไม่เสื่อมจากโสดาปัตติผลใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระอรหันต์ละราคะได้แล้วไม่เสื่อมจากอรหัตตผลใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น
สก. พระโสดาบันละสักกายทิฏฐิได้แล้วไม่เสื่อมจากโสดาปัตติผลใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระอรหันต์ละโทสะ ฯลฯ ละอโนตตัปปะได้แล้วไม่เสื่อมจากอรหัตตผล
ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระโสดาบันละวิจิกิจฉา ฯลฯ ละโมหะที่เป็นเหตุให้สัตว์ไปสู่อบายได้แล้ว
ไม่เสื่อมจากโสดาปัตติผลใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระอรหันต์ละราคะ ฯลฯ ละอโนตตัปปะได้แล้วไม่เสื่อมจากอรหัตตผล
ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๒๕๕] สก. พระสกทาคามีละสักกายทิฏฐิได้แล้วไม่เสื่อมจากสกทาคามิผล
ใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๑๒๘ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๒. ปริหานิกถา
สก. พระอรหันต์ละราคะ ฯลฯ ละอโนตตัปปะได้แล้วไม่เสื่อมจากอรหัตตผล
ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระสกทาคามีละวิจิกิจฉา ฯลฯ ละพยาบาทอย่างหยาบได้แล้วไม่เสื่อม
จากสกทาคามิผลใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระอรหันต์ละราคะ ฯลฯ ละอโนตตัปปะได้แล้วไม่เสื่อมจากอรหัตตผล
ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๒๕๖] สก. พระอนาคามีละสักกายทิฏฐิได้แล้วไม่เสื่อมจากอนาคามิผลใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระอรหันต์ละราคะ ฯลฯ ละอโนตตัปปะได้แล้วไม่เสื่อมจากอรหัตตผล
ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระอนาคามีละวิจิกิจฉา ฯลฯ ละพยาบาทอย่างละเอียดได้แล้วไม่เสื่อม
จากอนาคามิผลใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระอรหันต์ละราคะ ฯลฯ ละอโนตตัปปะได้แล้วไม่เสื่อมจากอรหัตตผล
ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๒๕๗] สก. พระโสดาบันละสักกายทิฏฐิได้แล้วไม่เสื่อมจากโสดาปัตติผลใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๑๒๙ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๒. ปริหานิกถา
สก. พระอนาคามีละสักกายทิฏฐิ ฯลฯ ละพยาบาทอย่างละเอียดได้แล้ว
ไม่เสื่อมจากอนาคามิผลใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระโสดาบันละวิจิกิจฉา ฯลฯ ละโมหะที่เป็นเหตุให้สัตว์ไปสู่อบายได้แล้ว
ไม่เสื่อมจากโสดาปัตติผลใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระอนาคามีละสักกายทิฏฐิ ฯลฯ ละพยาบาทอย่างละเอียดได้แล้ว
ไม่เสื่อมจากอนาคามิผลใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๒๕๘] สก. พระสกทาคามีละสักกายทิฏฐิได้แล้วไม่เสื่อมจากสกทาคามิผลใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระอนาคามีละสักกายทิฏฐิ ฯลฯ ละพยาบาทอย่างละเอียดได้แล้ว
ไม่เสื่อมจากอนาคามิผลใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระสกทาคามีละวิจิกิจฉา ฯลฯ ละพยาบาทอย่างหยาบได้แล้วไม่เสื่อม
จากสกทาคามิผลใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระอนาคามีละสักกายทิฏฐิ ฯลฯ ละพยาบาทอย่างละเอียดได้แล้ว
ไม่เสื่อมจากอนาคามิผลใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๒๕๙] สก. พระโสดาบันละสักกายทิฏฐิได้แล้วไม่เสื่อมจากโสดาปัตติผลใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๑๓๐ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๒. ปริหานิกถา
สก. พระสกทาคามีละสักกายทิฏฐิ ฯลฯ ละพยาบาทอย่างหยาบได้แล้ว
ไม่เสื่อมจากสกทาคามิผลใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระโสดาบันละวิจิกิจฉา ฯลฯ ละโมหะที่เป็นเหตุให้สัตว์ไปสู่อบายได้แล้ว
ไม่เสื่อมจากโสดาปัตติผลใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสกทาคามีละสักกายทิฏฐิ ฯลฯ ละพยาบาทอย่างหยาบได้แล้ว
ไม่เสื่อมจากสกทาคามิผลใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๒๖๐] สก. พระอรหันต์เสื่อมจากอรหัตตผลได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ราคะพระอรหันต์ละได้แล้ว ตัดรากถอนโคน เหมือนต้นตาลที่ถูกตัดราก
ถอนโคนไปแล้วเหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้มิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากราคะพระอรหันต์ละได้แล้ว ตัดรากถอนโคน เหมือนต้นตาลที่ถูก
ตัดรากถอนโคนไปแล้วเหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ ท่านก็ไม่ควร
ยอมรับว่า “พระอรหันต์เสื่อมจากอรหัตตผลได้”
สก. พระอรหันต์เสื่อมจากอรหัตตผลได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. โทสะพระอรหันต์ละได้แล้ว ฯลฯ โมหะพระอรหันต์ละได้แล้ว ... มานะ
พระอรหันต์ละได้แล้ว ... ทิฏฐิพระอรหันต์ละได้แล้ว ... วิจิกิจฉาพระอรหันต์ละ
ได้แล้ว ... ถีนะพระอรหันต์ละได้แล้ว ... อุทธัจจะพระอรหันต์ละได้แล้ว ... อหิริกะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๑๓๑ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๒. ปริหานิกถา
พระอรหันต์ละได้แล้ว ... อโนตตัปปะพระอรหันต์ละได้แล้ว ตัดรากถอนโคน
เหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้วเหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไป
ไม่ได้มิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากอโนตตัปปะพระอรหันต์ละได้แล้ว ตัดรากถอนโคน เหมือนต้นตาลที่
ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้วเหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ ท่านก็ไม่ควร
ยอมรับว่า “พระอรหันต์เสื่อมจากอรหัตตผลได้”
สก. พระอรหันต์เสื่อมจากอรหัตตผลได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระอรหันต์เจริญมรรคเพื่อละราคะมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากพระอรหันต์เจริญมรรคเพื่อละราคะ ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “พระ
อรหันต์เสื่อมจากอรหัตตผลได้”
สก. พระอรหันต์เสื่อมจากอรหัตตผลได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระอรหันต์เจริญสติปัฏฐาน ฯลฯ เจริญสัมมัปปธาน ... เจริญอิทธิบาท
... เจริญอินทรีย์ ... เจริญพละ ... เจริญโพชฌงค์เพื่อละราคะมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากพระอรหันต์เจริญโพชฌงค์เพื่อละราคะ ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า
“พระอรหันต์เสื่อมจากอรหัตตผลได้”
สก. พระอรหันต์เสื่อมจากอรหัตตผลได้ใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๑๓๒ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๒. ปริหานิกถา
สก. พระอรหันต์เจริญมรรค ฯลฯ เจริญโพชฌงค์เพื่อละโทสะ ฯลฯ เพื่อละ
อโนตตัปปะมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากพระอรหันต์เจริญโพชฌงค์เพื่อละอโนตตัปปะ ท่านก็ไม่ควรยอมรับ
ว่า “พระอรหันต์เสื่อมจากอรหัตตผลได้”
[๒๖๑] สก. พระอรหันต์เสื่อมจากอรหัตตผลได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระอรหันต์เป็นผู้ปราศจากราคะ โทสะ โมหะ ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว
ปลงภาระแล้ว บรรลุประโยชน์ตนแล้ว หมดสิ้นกิเลสเป็นเครื่องผูกสัตว์ไว้ในภพแล้ว
หลุดพ้นเพราะรู้ชอบแล้ว ถอดลิ่มสลัก กลบคู ถอนเสาระเนียดได้แล้ว ไม่มีบานประตู
เป็นพระอริยะ ปลดธงคือมานะ วางภาระคือขันธ์ หมดเครื่องผูกพัน ชนะอย่าง
วิเศษแล้ว ท่านกำหนดรู้ทุกข์ ละสมุทัย ทำให้แจ้งนิโรธ เจริญมรรคแล้ว รู้ยิ่ง
ธรรมที่ควรรู้ยิ่ง กำหนดรู้ธรรมที่ควรกำหนดรู้ ละธรรมที่ควรละ เจริญธรรมที่ควร
เจริญ ทำให้แจ้งธรรมที่ควรทำให้แจ้งแล้วมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากพระอรหันต์เป็นผู้ปราศจากราคะ โทสะ โมหะ ฯลฯ ทำให้แจ้งธรรม
ที่ควรทำให้แจ้ง ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “พระอรหันต์เสื่อมจากอรหัตตผลได้”
[๒๖๒] สก. พระอรหันต์เสื่อมจากอรหัตตผลได้ใช่ไหม
ปร. พระอรหันต์ผู้เป็นสมยวิมุต๑ เสื่อมจากอรหัตตผลได้ ผู้เป็นอสมย-
วิมุต๒ ไม่เสื่อมจากอรหัตตผล
สก. พระอรหันต์ผู้เป็นสมยวิมุตเสื่อมจากอรหัตตผลได้ใช่ไหม
ปร. ใช่

เชิงอรรถ :
๑-๒ ดูเทียบ อภิ.ปุ. (แปล) ๓๖/๑-๒/๑๔๙

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๑๓๓ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๒. ปริหานิกถา
สก. พระอรหันต์ผู้เป็นอสมยวิมุตเสื่อมจากอรหัตตผลได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น
สก. พระอรหันต์ผู้เป็นอสมยวิมุตไม่เสื่อมจากอรหัตตผลใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระอรหันต์ผู้เป็นสมยวิมุตไม่เสื่อมจากอรหัตตผลใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น
สก. พระอรหันต์ผู้เป็นสมยวิมุตละราคะได้แล้วยังเสื่อมจากอรหัตตผลได้
ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระอรหันต์ผู้เป็นอสมยวิมุตละราคะได้แล้วยังเสื่อมจากอรหัตตผลได้
ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น
สก. พระอรหันต์ผู้เป็นสมยวิมุตละโทสะ ฯลฯ ละอโนตตัปปะได้แล้วยัง
เสื่อมจากอรหัตตผลได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระอรหันต์ผู้เป็นอสมยวิมุตละโทสะ ฯลฯ ละอโนตตัปปะได้แล้วยัง
เสื่อมจากอรหัตตผลได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น
สก. พระอรหันต์ผู้เป็นสมยวิมุตเจริญมรรค เพื่อละราคะ ยังเสื่อมจากอรหัตตผล
ได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระอรหันต์ผู้เป็นอสมยวิมุตเจริญมรรค เพื่อละราคะ ยังเสื่อมจากอรหัตตผล
ได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๑๓๔ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๒. ปริหานิกถา
สก. พระอรหันต์ผู้เป็นสมยวิมุตเจริญสติปัฏฐาน ฯลฯ เจริญสัมมัปปธาน ...
เจริญอิทธิบาท ... เจริญอินทรีย์ ... เจริญพละ ... เจริญโพชฌงค์เพื่อละราคะ ยังเสื่อม
จากอรหัตตผลได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระอรหันต์ผู้เป็นอสมยวิมุตเจริญสติปัฏฐาน ฯลฯ เจริญโพชฌงค์เพื่อ
ละราคะ ยังเสื่อมจากอรหัตตผลได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น
สก. พระอรหันต์ผู้เป็นสมยวิมุตเจริญมรรค ฯลฯ เจริญโพชฌงค์เพื่อละโทสะ
ฯลฯ เพื่อละอโนตตัปปะ ยังเสื่อมจากอรหัตตผลได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระอรหันต์ผู้เป็นอสมยวิมุตเจริญมรรค ฯลฯ เจริญโพชฌงค์เพื่อละ
อโนตตัปปะยังเสื่อมจากอรหัตตผลได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระอรหันต์ผู้เป็นสมยวิมุตเป็นผู้ปราศจากราคะ โทสะ โมหะ ทำกิจ
ที่ควรทำเสร็จแล้ว ปลงภาระแล้ว บรรลุประโยชน์ตนแล้ว หมดสิ้นกิเลสเป็นเครื่อง
ผูกสัตว์ไว้ในภพแล้ว หลุดพ้นเพราะรู้ชอบแล้ว ถอดลิ่มสลัก กลบคู ถอนเสาระเนียด
ได้แล้ว ไม่มีบานประตู เป็นพระอริยะ ปลดธงคือมานะ วางภาระคือขันธ์ หมดเครื่อง
ผูกพัน ชนะอย่างวิเศษแล้ว ท่านกำหนดรู้ทุกข์ ละสมุทัย ทำให้แจ้งนิโรธ เจริญมรรค
แล้ว รู้ยิ่งธรรมที่ควรรู้ยิ่ง กำหนดรู้ธรรมที่ควรกำหนดรู้ ละธรรมที่ควรละ เจริญธรรม
ที่ควรเจริญ ทำให้แจ้งธรรมที่ควรทำให้แจ้งแล้ว ยังเสื่อมจากอรหัตตผลได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระอรหันต์ผู้เป็นอสมยวิมุตเป็นผู้ปราศจากราคะ โทสะ โมหะ ฯลฯ
ทำให้แจ้งธรรมที่ควรทำให้แจ้งแล้ว ยังเสื่อมจากอรหัตตผลได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๑๓๕ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๒. ปริหานิกถา
[๒๖๓] สก. พระอรหันต์ผู้เป็นอสมยวิมุตละราคะได้แล้วไม่เสื่อมจากอรหัตตผล
ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระอรหันต์ผู้เป็นสมยวิมุตละราคะได้แล้วไม่เสื่อมจากอรหัตตผลใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น
สก. พระอรหันต์ผู้เป็นอสมยวิมุตละโทสะ ฯลฯ ละอโนตตัปปะได้แล้วไม่
เสื่อมจากอรหัตตผลใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระอรหันต์ผู้เป็นสมยวิมุตละอโนตตัปปะได้แล้วไม่เสื่อมจากอรหัตตผล
ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น
สก. พระอรหันต์ผู้เป็นอสมยวิมุตเจริญมรรค ฯลฯ เจริญโพชฌงค์เพื่อละ
ราคะได้แล้วไม่เสื่อมจากอรหัตตผลใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระอรหันต์ผู้เป็นสมยวิมุตเจริญมรรค ฯลฯ เจริญโพชฌงค์เพื่อละ
ราคะแล้วไม่เสื่อมจากอรหัตตผลใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น
สก. พระอรหันต์ผู้เป็นอสมยวิมุตเจริญมรรค ฯลฯ เจริญโพชฌงค์เพื่อละโทสะ
ฯลฯ เจริญอโนตตัปปะแล้วไม่เสื่อมจากอรหัตตผลใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระอรหันต์ผู้เป็นสมยวิมุตเจริญมรรค ฯลฯ เจริญโพชฌงค์เพื่อละ
อโนตตัปปะแล้วไม่เสื่อมจากอรหัตตผลใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๑๓๖ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๒. ปริหานิกถา
สก. พระอรหันต์ผู้เป็นอสมยวิมุตเป็นผู้ปราศจากราคะ โทสะ โมหะ ฯลฯ
ทำให้แจ้งธรรมที่ควรทำให้แจ้งแล้วไม่เสื่อมจากอรหัตตผลใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระอรหันต์ผู้เป็นสมยวิมุตเป็นผู้ปราศจากราคะ โทสะ โมหะ ฯลฯ
ทำให้แจ้งธรรมที่ควรทำให้แจ้งแล้วไม่เสื่อมจากอรหัตตผลใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๒๖๔] สก. พระอรหันต์เสื่อมจากอรหัตตผลได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสารีบุตรเถระเสื่อมจากอรหัตตผลได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระมหาโมคคัลลานเถระ ฯลฯ พระมหากัสสปเถระ ฯลฯ พระมหา
กัจจายนเถระ ฯลฯ พระมหาโกฏฐิกเถระ ฯลฯ พระมหาปันถกเถระ เสื่อมจาก
อรหัตตผลได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น
สก. พระสารีบุตรเถระไม่เสื่อมจากอรหัตตผลใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. หากพระสารีบุตรเถระไม่เสื่อมจากอรหัตตผล ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า
“พระอรหันต์เสื่อมจากอรหัตตผลได้”
สก. พระมหาโมคคัลลานเถระ ... พระมหากัสสปเถระ ... พระมหา
กัจจายนเถระ ... พระมหาโกฏฐิกเถระ ... พระมหาปันถกเถระ ไม่เสื่อมจาก
อรหัตตผลใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. หากพระมหาโมคคัลลานเถระ ฯลฯ พระมหาปันถกเถระ ไม่เสื่อมจาก
อรหัตตผล ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “พระอรหันต์เสื่อมจากอรหัตตผลได้”
อริยปุคคลสังสันทนปริหานิ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๑๓๗ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๒. ปริหานิกถา
๓. สุตตสาธนปริหานิ
ว่าด้วยการอ้างพระสูตรในเรื่องความเสื่อม
[๒๖๕] สก. พระอรหันต์เสื่อมจากอรหัตตผลได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า
“ปฏิปทาที่พระสมณะประกาศแล้วมีทั้งสูงและต่ำ
มุนีผู้ปฏิบัติจะไปถึงฝั่งถึง ๒ ครั้งหามิได้
ฝั่งนี้ผู้ปฏิบัติรู้ได้ครั้งเดียวก็หามิได้” ๑
มีอยู่จริงมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. ดังนั้น ท่านจึงไม่ควรยอมรับว่า “พระอรหันต์เสื่อมจากอรหัตตผลได้”
สก. พระอรหันต์เสื่อมจากอรหัตตผลได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. กิเลสวัฏที่พระอรหันต์ตัดได้แล้วยังมีบางอย่างที่ยังจะต้องตัดอีกใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น
สก. กิเลสวัฏที่พระอรหันต์ตัดได้แล้วยังมีบางอย่างที่ยังจะต้องตัดอีกใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ ขุ.สุ. (แปล) ๒๕/๗๒๐/๖๗๐

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๑๓๘ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๒. ปริหานิกถา
“ท่านเป็นผู้ไม่มีตัณหา ไม่มีความถือมั่น
ไม่มีกิจที่ต้องทำ กิเลสวัฏท่านตัดแล้ว ไม่มีที่จะต้องตัดอีก
ห้วงน้ำและบ่วง๑ท่านถอนได้แล้ว”
มีอยู่จริงมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. ดังนั้น ท่านจึงไม่ควรยอมรับว่า “กิเลสวัฏที่พระอรหันต์ตัดแล้ว ยังมี
บางอย่างที่ยังจะต้องตัดอีก”
[๒๖๖] สก. พระอรหันต์เสื่อมจากอรหัตตผลได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. กิจ๒ที่ทำแล้วต้องสั่งสมอีกใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น
สก. กิจที่ทำแล้วต้องสั่งสมอีกใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า
“ภิกษุผู้มีจิตสงบระงับหลุดพ้นโดยชอบ
ย่อมไม่มีการสั่งสมกิจที่ทำแล้ว ทั้งไม่มีกิจที่จะต้องทำอีก
ภูเขาหินแท่งทึบย่อมไม่สะเทือนเพราะลม ฉันใด
รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ และธรรมารมณ์ทั้งมวล
ทั้งที่เป็นอิฏฐารมณ์ และอนิฏฐารมณ์
ย่อมทำจิตของผู้คงที่ให้หวั่นไหวไม่ได้ ฉันนั้น

เชิงอรรถ :
๑ ห้วงน้ำและบ่วง คำว่า ห้วงน้ำ ในที่นี้หมายถึงห้วงน้ำคือกิเลส (กิเลโสโฆ) และคำว่า บ่วง หมายถึงบ่วงแห่งกิเลส
(กิเลสปาโส) (อภิ.ปญฺจ.อ. ๒๖๕/๑๖๕)
๒ กิจ ในที่นี้หมายถึงภาวนา (อภิ.ปญฺจ.อ. ๒๖๖/๑๖๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๑๓๙ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๒. ปริหานิกถา
จิตของผู้คงที่นั้น เป็นจิตตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว
ไม่เกาะเกี่ยวด้วยอารมณ์อะไร
เพราะท่านผู้คงที่พิจารณาเห็นความเกิดดับของจิตนั้น” ๑
มีอยู่จริงมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. ดังนั้น ท่านจึงไม่ควรยอมรับว่า “กิจที่ทำแล้วต้องสั่งสมอีกมีอยู่”
[๒๖๗] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “พระอรหันต์เสื่อมจากอรหัตตผลได้” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการนี้
ย่อมเป็นไปเพื่อความเสื่อมแก่ภิกษุผู้เป็นสมยวิมุต ธรรม ๕ ประการ คือ (๑)
ความเป็นผู้ชอบการงาน (๒) ความเป็นผู้ชอบการพูดคุย (๓) ความเป็นผู้ชอบ
การนอนหลับ (๔) ความเป็นผู้ชอบการคลุกคลีด้วยหมู่ (๕) ไม่พิจารณาจิตตาม
ที่หลุดพ้นแล้ว ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความเสื่อม
แก่ภิกษุผู้เป็นสมยวิมุต” ๒ มีอยู่จริงมิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. ดังนั้น “พระอรหันต์จึงเสื่อมจากอรหัตตผลได้”
สก. ความเป็นผู้ชอบการงานของพระอรหันต์มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น
สก. ความเป็นผู้ชอบการงานของพระอรหันต์มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ วิ.ม. (แปล) ๕/๒๔๕/๑๒-๑๓, องฺ.ฉกฺก. (แปล) ๒๒/๕๕/๕๓๘-๕๓๙
๒ ดูเทียบ องฺ.ปญฺจก. (แปล) ๒๒/๑๔๙/๒๔๖

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๑๔๐ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๒. ปริหานิกถา
สก. ราคะ กามราคะ กามราคปริยุฏฐาน กามราคสังโยชน์ กาโมฆะ
กามโยคะ กามฉันทนิวรณ์ของพระอรหันต์มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น
สก. ความเป็นผู้ชอบการพูดคุย ความเป็นผู้ชอบการนอนหลับ ความเป็นผู้
ชอบการคลุกคลีด้วยหมู่ของพระอรหันต์มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ความเป็นผู้ชอบการคลุกคลีด้วยหมู่ของพระอรหันต์มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ราคะ กามราคะ กามราคปริยุฏฐาน กามราคสังโยชน์ กาโมฆะ
กามโยคะ กามฉันทนิวรณ์ของพระอรหันต์มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น
[๒๖๘] สก. พระอรหันต์เสื่อมจากอรหัตตผลได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระอรหันต์เมื่อเสื่อมจากอรหัตตผล ถูกอะไรกลุ้มรุมจึงเสื่อม
ปร. ถูกราคะกลุ้มรุมจึงเสื่อม
สก. ความกลุ้มรุมเกิดขึ้นเพราะอาศัยอะไร
ปร. เกิดขึ้นเพราะอาศัยอนุสัย
สก. อนุสัยของพระอรหันต์มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น
สก. อนุสัยของพระอรหันต์มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๑๔๑ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๒. ปริหานิกถา
สก. กามราคานุสัย ปฏิฆานุสัย มานานุสัย ทิฏฐานุสัย วิจิกิจฉานุสัย
ภวราคานุสัย (และ) อวิชชานุสัยของพระอรหันต์มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น
สก. พระอรหันต์เมื่อเสื่อมจากอรหัตตผล ถูกอะไรกลุ้มรุมจึงเสื่อม
ปร. ถูกโทสะกลุ้มรุมจึงเสื่อม ฯลฯ ถูกโมหะกลุ้มรุมจึงเสื่อม
สก. ความกลุ้มรุมเกิดขึ้นเพราะอาศัยอะไร
ปร. เกิดขึ้นเพราะอาศัยอนุสัย
สก. อนุสัยของพระอรหันต์มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. อนุสัยของพระอรหันต์มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. กามราคานุสัย ฯลฯ อวิชชานุสัยของพระอรหันต์มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น
สก. พระอรหันต์เสื่อมจากอรหัตตผลได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เมื่อพระอรหันต์เสื่อมจากอรหัตตผล อะไรก่อตัวขึ้น
ปร. ราคะก่อตัวขึ้น
สก. สักกายทิฏฐิก่อตัวขึ้น วิจิกิจฉาก่อตัวขึ้น สีลัพพตปรามาสก่อตัวขึ้น
ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เมื่อพระอรหันต์เสื่อมจากอรหัตตผล อะไรก่อตัวขึ้น
ปร. โทสะก่อตัวขึ้น ฯลฯ
สก. เมื่อพระอรหันต์เสื่อมจากอรหัตตผล อะไรก่อตัวขึ้น
ปร. โมหะก่อตัวขึ้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๑๔๒ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๒. ปริหานิกถา
สก. สักกายทิฏฐิก่อตัวขึ้น วิจิกิจฉาก่อตัวขึ้น สีลัพพตปรามาสก่อตัวขึ้น
ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระอรหันต์เสื่อมจากอรหัตตผลได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระอรหันต์ยังสะสม(จุติและปฏิสนธิ)อยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น
สก. พระอรหันต์ไม่สะสมใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น
สก. พระอรหันต์ยังละอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น
สก. พระอรหันต์ยังยึดมั่นอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น
สก. พระอรหันต์ยังกำจัดอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น
สก. พระอรหันต์ยังก่ออยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น
สก. พระอรหันต์ยังทำลายอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น
สก. พระอรหันต์ยังปรับปรุงอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๑๔๓ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๒. ปริหานิกถา
สก. พระอรหันต์ยังสะสมอยู่ก็มิใช่ ไม่สะสมอยู่ก็มิใช่ เป็นผู้ไม่สะสมแล้วจึง
ดำรงอยู่มิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากพระอรหันต์ยังสะสมอยู่ก็มิใช่ ไม่สะสมอยู่ก็มิใช่ เป็นผู้ไม่สะสม
แล้วจึงดำรงอยู่ ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “พระอรหันต์เสื่อมจากอรหัตตผลได้”
สก. พระอรหันต์ยังละอยู่ก็มิใช่ ยึดมั่นอยู่ก็มิใช่ เป็นผู้ละได้แล้วจึงดำรงอยู่
มิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากพระอรหันต์ยังละอยู่ก็มิใช่ ยึดมั่นอยู่ก็มิใช่ เป็นผู้ละได้แล้วจึง
ดำรงอยู่ ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “พระอรหันต์เสื่อมจากอรหัตตผลได้”
สก. พระอรหันต์ยังกำจัดอยู่ก็มิใช่ ก่ออยู่ก็มิใช่ เป็นผู้กำจัดแล้วจึงดำรงอยู่
มิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากพระอรหันต์ยังกำจัดอยู่ก็มิใช่ ก่ออยู่ก็มิใช่ เป็นผู้กำจัดจึงดำรงอยู่
ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “พระอรหันต์เสื่อมจากอรหัตตผลได้”
สก. พระอรหันต์ยังทำลายอยู่ก็มิใช่ ปรับปรุงอยู่ก็มิใช่ เป็นผู้ทำลายแล้วจึง
ดำรงอยู่มิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากพระอรหันต์ยังทำลายอยู่ก็มิใช่ ปรับปรุงอยู่ก็มิใช่ เป็นผู้ทำลายแล้ว
จึงดำรงอยู่ ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “พระอรหันต์เสื่อมจากอรหัตตผลได้”

ปริหานิกถา จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๑๔๔ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๓. (ก) พรหมจริยากถา
๓. (ก) พรหมจริยกถา
ว่าด้วยพรหมจรรย์
๑. สุทธพรหมจริยกถา
ว่าด้วยพรหมจรรย์ล้วน ๆ
[๒๖๙] สก. ในหมู่เทวดา ไม่มีการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์๑ ใช่ไหม
ปร.๒ ใช่๓
สก. เทวดาทั้งหลายเป็นผู้โง่เขลา เบาปัญญา ไม่รู้เดียงสา ใช้ภาษาใบ้
ไม่สามารถจะรู้ความหมายของคำที่กล่าวดีหรือชั่วได้ ไม่เลื่อมใสในพระพุทธเจ้า
พระธรรม พระสงฆ์ ไม่เข้าไปนั่งใกล้พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า ไม่ทูลถามปัญหากับ
พระองค์ เมื่อพระองค์ทรงวิสัชนาปัญหาก็ไม่ชื่นชม เป็นผู้ประกอบด้วยเครื่องกั้น
คือกรรม เครื่องกั้นคือกิเลส เครื่องกั้นคือวิบาก ไม่มีศรัทธา ไม่มีฉันทะ มีปัญญา
ทราม ไม่ควรที่จะก้าวลงสู่นิยามอันถูกต้องในกุศลธรรมทั้งหลาย เป็นผู้ฆ่ามารดา
ฆ่าบิดา ฆ่าพระอรหันต์ ทำร้ายพระพุทธเจ้าจนถึงพระโลหิตห้อ ทำลายสงฆ์ให้
แตกกัน เป็นผู้ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม พูดเท็จ พูดส่อเสียด พูด
คำหยาบ พูดเพ้อเจ้อ มากไปด้วยอภิชฌา มีจิตคิดพยาบาท เป็นมิจฉาทิฏฐิใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เทวดาทั้งหลายเป็นผู้ไม่โง่เขลา มีปัญญา รู้เดียงสา ไม่ใช้ภาษาใบ้
สามารถรู้ความหมายของคำที่กล่าวดีหรือชั่วได้ เลื่อมใสในพระพุทธเจ้า พระธรรม
พระสงฆ์ เข้าไปนั่งใกล้พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า ทูลถามปัญหากับพระองค์ เมื่อ
พระองค์ทรงวิสัชนาปัญหา ก็เป็นผู้ชื่นชม เป็นผู้ไม่ประกอบด้วยเครื่องกั้นคือกรรม

เชิงอรรถ :
๑ การอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ ในที่นี้หมายถึงการเจริญมรรคและการบรรพชา (อภิ.ปญฺจ.อ. ๒๖๙/๑๖๖)
๒ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายสมิติยะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๒๖๙/๑๖๖)
๓ เพราะมีความเห็นว่า ในหมู่เทวดา ไม่มีการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ทั้ง ๒ อย่าง (อภิ.ปญฺจ.อ. ๒๖๙/๑๖๖)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๑๔๕ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๓. (ก) พรหมจริยากถา
เครื่องกั้นคือกิเลส เครื่องกั้นคือวิบาก เป็นผู้มีศรัทธา มีฉันทะ มีปัญญา ควรที่
จะก้าวลงสู่นิยามอันถูกต้องในกุศลธรรมทั้งหลาย ไม่เป็นผู้ฆ่ามารดา ฆ่าบิดา
ฆ่าพระอรหันต์ ไม่ทำร้ายพระพุทธเจ้าจนถึงพระโลหิตห้อ ไม่ทำลายสงฆ์ให้แตกกัน
ไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ลักทรัพย์ ไม่ประพฤติผิดในกาม ไม่พูดเท็จ ไม่พูดส่อเสียด ไม่พูด
คำหยาบ ไม่พูดเพ้อเจ้อ ไม่เป็นผู้มากไปด้วยอภิชฌา ไม่มีจิตคิดพยาบาท เป็น
สัมมาทิฏฐิ มีอยู่มิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากเทวดาทั้งหลายเป็นผู้ไม่โง่เขลา มีปัญญา รู้เดียงสา ไม่ใช้ภาษาใบ้
สามารถรู้ความหมายของคำที่กล่าวดีหรือชั่วได้ ฯลฯ เลื่อมใสในพระพุทธเจ้า ฯลฯ
เป็นสัมมาทิฏฐิ มีอยู่ ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “ในหมู่เทวดาไม่มีการอยู่ประพฤติ
พรหมจรรย์”
[๒๗๐] ปร. ในหมู่เทวดา มีการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ใช่ไหม
สก. ใช่๑
ปร. ในหมู่เทวดานั้นมีการบรรพชา การปลงผม การครองผ้ากาสาวพัสตร์
การทรงบาตร พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลายทรงอุบัติได้ พระปัจเจกสัมพุทธเจ้า
ทั้งหลายอุบัติได้ คู่พระอัครสาวกก็อุบัติได้ใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ในหมู่เทวดาไม่มีการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ เพราะเหตุนั้น ในหมู่เทวดา
จึงไม่มีการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ในที่ที่มีการบรรพชาเท่านั้น จึงมีการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ ในที่ที่ไม่
มีการบรรพชา ไม่มีการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

เชิงอรรถ :
๑ เพราะมีความเห็นว่า ในหมู่เทวดายังมีการเจริญมรรคอยู่ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๒๗๐/๑๖๖)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๑๔๖ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๓. (ก) พรหมจริยากถา
สก. ในที่ที่มีการบรรพชาเท่านั้น จึงมีการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ ในที่ที่ไม่
มีการบรรพชา ไม่มีการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ผู้ที่บรรพชาเท่านั้น จึงมีการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ ผู้ที่ไม่ได้บรรพชา
ไม่มีการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ในหมู่เทวดาไม่มีการปลงผม เพราะเหตุนั้น ในหมู่เทวดาจึงไม่มีการอยู่
ประพฤติพรหมจรรย์ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ในที่ที่มีการปลงผมเท่านั้น จึงมีการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ ในที่ที่ไม่
มีการปลงผม ไม่มีการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ในที่ที่มีการปลงผมเท่านั้น จึงมีการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ ในที่ที่ไม่
มีการปลงผม ไม่มีการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เฉพาะผู้ที่ปลงผมเท่านั้น จึงมีการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ ผู้ที่ไม่ปลงผม
ไม่มีการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ในหมู่เทวดาไม่มีการครองผ้ากาสาวพัสตร์ เพราะเหตุนั้น ในหมู่
เทวดาจึงไม่มีการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ในที่ที่มีการครองผ้ากาสาวพัสตร์เท่านั้น จึงมีการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์
ในที่ที่ไม่มีการครองผ้ากาสาวพัสตร์ ไม่มีการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๑๔๗ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๓. (ก) พรหมจริยากถา
สก. ในที่ที่มีการครองผ้ากาสาวพัสตร์เท่านั้น จึงมีการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์
ในที่ที่ไม่มีการครองผ้ากาสาวพัสตร์ ไม่มีการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ผู้ที่ครองผ้ากาสาวพัสตร์เท่านั้น จึงมีการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ ผู้ที่
ไม่ครองผ้ากาสาวพัสตร์ ไม่มีการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ในหมู่เทวดาไม่มีการทรงบาตร เพราะเหตุนั้น ในหมู่เทวดาจึงไม่มีการอยู่
ประพฤติพรหมจรรย์ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ในที่ที่มีการทรงบาตรเท่านั้น จึงมีการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์
ในที่ที่ไม่มีการทรงบาตร ไม่มีการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก ในที่ที่มีการทรงบาตรเท่านั้น จึงมีการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ ในที่ที่
ไม่มีการทรงบาตร ไม่มีการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ผู้ที่ทรงบาตรเท่านั้น จึงมีการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ ผู้ที่ไม่ทรงบาตร
ไม่มีการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลายไม่ทรงอุบัติในหมู่เทวดา เพราะเหตุนั้น
ในหมู่เทวดาจึงไม่มีการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๑๔๘ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๓. (ก) พรหมจริยากถา
สก. ในที่ที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลายทรงอุบัติเท่านั้น จึงมีการอยู่ประพฤติ
พรหมจรรย์ ในที่ที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลายไม่ทรงอุบัติ ไม่มีการอยู่ประพฤติ
พรหมจรรย์ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ในที่ที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลายทรงอุบัติเท่านั้น จึงมีการอยู่ประพฤติ
พรหมจรรย์ ในที่ที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลายไม่ทรงอุบัติ ไม่มีการอยู่ประพฤติ
พรหมจรรย์ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระผู้มีพระภาคประสูติที่สวนลุมพินี ตรัสรู้ที่ควงไม้โพธิ์ ทรงประกาศ
ธรรมจักรที่กรุงพาราณสี ในที่นั้นเท่านั้นจึงมีการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ ในที่อื่น
ไม่มีการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลายไม่อุบัติในหมู่เทวดา เพราะเหตุนั้น ในหมู่
เทวดาจึงไม่มีการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ในที่ที่พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าทั้งหลายอุบัติเท่านั้น จึงมีการอยู่ประพฤติ
พรหมจรรย์ ในที่ที่พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าทั้งหลายไม่อุบัติ ไม่มีการอยู่ประพฤติ
พรหมจรรย์ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ในที่ที่พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าทั้งหลายอุบัติเท่านั้น จึงมีการอยู่ประพฤติ
พรหมจรรย์ ในที่ที่พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าทั้งหลายไม่อุบัติ ไม่มีการอยู่ประพฤติ
พรหมจรรย์ใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๑๔๙ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๓. (ก) พรหมจริยากถา
สก. พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าทั้งหลายอุบัติในมัชฌิมชนบท ในมัชฌิมชนบท
นั้นเท่านั้นจึงมีการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ ในที่อื่นไม่มีการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์
ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. คู่พระอัครสาวกไม่อุบัติในหมู่เทวดา เพราะเหตุนั้น ในหมู่เทวดาจึงไม่มี
การอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ในที่ที่คู่พระอัครสาวกอุบัติเท่านั้น จึงมีการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์
ในที่ที่คู่พระอัครสาวกไม่อุบัติ ไม่มีการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ในที่ที่คู่พระอัครสาวกอุบัติเท่านั้น จึงมีการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์
ในที่ที่คู่พระอัครสาวกไม่อุบัติ ไม่มีการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ในมคธรัฐซึ่งเป็นที่อุบัติของคู่พระอัครสาวกเท่านั้น จึงมีการอยู่ประพฤติ
พรหมจรรย์ ในที่อื่นไม่มีการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๒๗๑] ปร. ในหมู่เทวดามีการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. ในหมู่เทวดาทั้งปวงมีการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น๑ ฯลฯ
สก. ในหมู่มนุษย์มีการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ใช่ไหม
ปร. ใช่

เชิงอรรถ :
๑ เพราะมีความเห็นว่า มีเทวดาจำพวกหนึ่งคือ อสัญญีสัตว์ประพฤติพรหมจรรย์ไม่ได้ (อภิ.ปญฺจ.อ.
๒๗๐/๑๖๖)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๑๕๐ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๓. (ก) พรหมจริยากถา
สก. ในหมู่มนุษย์ทั้งปวงมีการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น๑ ฯลฯ
ปร. ในหมู่เทวดามีการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. ในหมู่อสัญญสัตตพรหมมีการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ในหมู่มนุษย์มีการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ในชาวปัจจันตชนบทที่พวกภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกาไปไม่ถึง
และในพวกมิลักขะ๒ผู้ไม่รู้เดียงสา มีการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. ในหมู่เทวดามีการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ใช่ไหม
สก. ที่มีก็มี ที่ไม่มีก็มี
ปร. ในหมู่อสัญญสัตตพรหมที่มีการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ก็มี ที่ไม่มีการ
อยู่ประพฤติพรหมจรรย์ก็มี และในหมู่สัญญสัตตพรหมที่มีการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์
ก็มี ที่ไม่มีการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ก็มีใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. ในหมู่เทวดาที่มีการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ก็มี ที่ไม่มีการอยู่ประพฤติ
พรหมจรรย์ก็มีใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. ที่ไหนมี ที่ไหนไม่มี

เชิงอรรถ :
๑ เพราะมีความเห็นว่า มีมนุษย์พวกหนึ่งซึ่งอยู่ในปัจจันตชนบท(ห่างไกลไม่มีภิกษุสงฆ์)ไม่มีการประพฤติ
พรหมจรรย์ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๒๗๑/๑๖๖)
๒ มิลักขะ หมายถึงคนป่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๑๕๑ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๓. (ก) พรหมจริยากถา
สก. ในหมู่อสัญญสัตตพรหมไม่มีการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ แต่ในหมู่
สัญญสัตตพรหมมีการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์
ปร. ในหมู่อสัญญสัตตพรหมไม่มีการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. ในหมู่สัญญสัตตพรหมไม่มีการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. ในหมู่สัญญสัตตพรหมมีการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. ในหมู่อสัญญสัตตพรหมมีการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ในหมู่มนุษย์มีการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ใช่ไหม
ปร. ที่มีก็มี ที่ไม่มีก็มี
สก. ในชาวปัจจันตชนบทที่พวกภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกาไปไม่ถึง
และในพวกมิลักขะผู้ไม่รู้เดียงสา มีการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ก็มี ไม่มีก็มี ใน
ชาวมัชฌิมชนบทมีการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ก็มี ไม่มีก็มีใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ในหมู่มนุษย์มีการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ก็มี ไม่มีก็มีใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ที่ไหนมี ที่ไหนไม่มี
ปร. ในชาวปัจจันตชนบทที่พวกภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกาไปไม่ถึง
และในพวกมิลักขะผู้ไม่รู้เดียงสา ไม่มีการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ ในชาวมัชฌิม
ชนบทมีการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๑๕๒ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๓. (ก) พรหมจริยากถา
สก. ในชาวปัจจันตชนบทที่พวกภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกาไปไม่ถึง
และในพวกมิลักขะผู้ไม่รู้เดียงสา ไม่มีการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ในชาวมัชฌิมชนบทไม่มีการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น
สก. ในชาวมัชฌิมชนบทมีการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ในชาวปัจจันตชนบทที่พวกภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกาไปไม่ถึง
และในพวกมิลักขะผู้ไม่รู้เดียงสา มีการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. ในหมู่เทวดามีการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย มนุษย์ชาวชมพู
ทวีป เหนือกว่ามนุษย์ชาวอุตตรกุรุทวีปและเทวดาชั้นดาวดึงส์ ด้วยฐานะ ๓ ประการ
คือ (๑) เป็นผู้แกล้วกล้า (๒) เป็นผู้มีสติ (๓) เป็นผู้อยู่ประพฤติพรหมจรรย์ใน
ชมพูทวีปนี้” ๑ มีอยู่จริงมิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. ดังนั้น ในหมู่เทวดาจึงไม่มีการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์
สก. พระผู้มีพระภาคตรัสที่กรุงสาวัตถีว่า ณ ที่นี้ มีการอยู่ประพฤติ
พรหมจรรย์ใช่ไหม
ปร. ใช่

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ องฺ.นวก. (แปล) ๒๓/๒๑/๔๗๖

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๑๕๓ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๓. (ก) พรหมจริยากถา
สก. การอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ มีแต่ในกรุงสาวัตถีเท่านั้น ในที่อื่นไม่มี
ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น
[๒๗๒] สก. อนาคามีบุคคลละสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ ประการได้แล้ว แต่ยังละ
สังโยชน์เบื้องสูง ๕ ประการไม่ได้ เมื่อจุติจากโลกนี้แล้วไปปฏิสนธิในชั้นสุทธาวาสนั้น
อรหัตตผลเกิดขึ้นได้ ณ ที่ไหน
ปร. ในชั้นสุทธาวาสนั้นนั่นเอง
สก. หากอนาคามีบุคคลละสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ ประการได้แล้ว แต่ยังละ
สังโยชน์เบื้องสูง ๕ ประการไม่ได้ เมื่อจุติจากโลกนี้แล้วไปปฏิสนธิในชั้นสุทธาวาสนั้น
อรหัตตผลเกิดขึ้นได้ในที่นั้น ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “ในหมู่เทวดาไม่มีการ อยู่
ประพฤติพรหมจรรย์”
สก. อนาคามีบุคคลละสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ ประการได้แล้ว แต่ยังละ
สังโยชน์เบื้องสูง ๕ ประการไม่ได้ เมื่อจุติจากโลกนี้แล้วไปปฏิสนธิในชั้นสุทธาวาสนั้น
การปลงภาระ การกำหนดรู้ทุกข์ การละกิเลส การทำให้แจ้งนิโรธ การแทงตลอด
อกุปปธรรมมี ณ ที่ไหน
ปร. ในชั้นสุทธาวาสนั้นนั่นเอง
สก. หากอนาคามีบุคคลละสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ ประการได้แล้ว แต่ยังละ
สังโยชน์เบื้องสูง ๕ ประการไม่ได้ เมื่อจุติจากโลกนี้แล้วไปปฏิสนธิในชั้นสุทธาวาสนั้น
การแทงตลอดอกุปปธรรมมีในที่นั้น ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “ในหมู่เทวดาไม่มี
การอยู่ประพฤติพรหมจรรย์”
สก. อนาคามีบุคคลละสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ ประการได้แล้ว แต่ยังละสังโยชน์
เบื้องสูง ๕ ประการไม่ได้ เมื่อจุติจากโลกนี้แล้วไปปฏิสนธิในชั้นสุทธาวาสนั้น
การเกิดขึ้นแห่งอรหัตตผล การปลงภาระ การกำหนดรู้ทุกข์ การละกิเลส การ
ทำให้แจ้งนิโรธ การแทงตลอดอกุปปธรรมก็มีในที่นั้น เพราะเหตุไร ท่านจึงยอมรับว่า
“ในหมู่เทวดาไม่มีการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์”
ปร. เพราะว่า อนาคามีบุคคลทำให้แจ้งผลได้ในชั้นสุทธาวาสนั้นด้วยมรรคที่
ตนได้เจริญแล้วในโลกนี้

สุทธพรหมจริยกถา จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๑๕๔ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๓. (ก) พรหมจริยากถา
๒. สังสันทนพรหมจริยกถา
ว่าด้วยการเทียบเคียงพระอริยบุคคลในเรื่องพรหมจรรย์
[๒๗๓] สก. อนาคามีบุคคลทำให้แจ้งผลในชั้นสุทธาวาสนั้นด้วยมรรคที่ตน
เจริญแล้วในโลกนี้ใช่ไหม
ปร. ใช่๑
สก. โสดาบันบุคคลทำให้แจ้งผลในโลกนี้ด้วยมรรคที่ตนเจริญแล้วในพรหมโลก
นั้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น
สก. อนาคามีบุคคลทำให้แจ้งผลในชั้นสุทธาวาสนั้นด้วยมรรคที่ตนเจริญแล้วใน
โลกนี้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สกทาคามีบุคคลผู้ที่จะปรินิพพานในโลกนี้ ทำให้แจ้งผลในโลกนี้ด้วยมรรค
ที่ตนเจริญแล้วในชั้นสุทธาวาสนั้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น
สก. โสดาบันบุคคลทำให้แจ้งผลในโลกนี้ได้ด้วยมรรคที่ตนได้เจริญแล้วในโลก
นี้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. อนาคามีบุคคลทำให้แจ้งผลในชั้นสุทธาวาสนั้นด้วยมรรคที่ตนเจริญแล้ว
ในชั้นสุทธาวาสนั้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น

เชิงอรรถ :
๑ เพราะมีความเห็นว่า อนาคามีบุคคลสามารถบรรลุอรหัตตผลในชั้นสุทธาวาสได้ โดยอาศัยอนาคามิมรรค
ที่เคยเจริญแล้วในมนุษยโลก โดยไม่ต้องเจริญอรหัตตมรรค (อภิ.ปญฺจ.อ. ๒๗๓/๑๖๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๑๕๕ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๓. (ก) พรหมจริยากถา
สก. สกทาคามีบุคคลผู้ที่จะปรินิพพานในโลกนี้ ทำให้แจ้งผลในโลกนี้ด้วยมรรค
ที่ตนเจริญแล้วในโลกนี้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. อนาคามีบุคคลทำให้แจ้งผลในชั้นสุทธาวาสนั้นด้วยมรรคที่ตนเจริญแล้ว
ในชั้นสุทธาวาสนั้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลผู้ละโลกนี้แล้วจึงสำเร็จ เจริญมรรคแต่มิใช่ละกิเลสใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งโสดาปัตติผล เจริญมรรคแต่มิใช่ละกิเลส
ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลผู้ละโลกนี้แล้วจึงสำเร็จ เจริญมรรคแต่มิใช่ละกิเลสใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งสกทาคามิผล ฯลฯ เพื่อทำให้แจ้งอรหัตตผล
เจริญมรรคแต่มิใช่ละกิเลสใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งโสดาปัตติผล เจริญมรรคและละกิเลสได้ไม่
ก่อนไม่หลังกันใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลผู้ละโลกนี้แล้วจึงสำเร็จ เจริญมรรคและละกิเลสได้ไม่ก่อนไม่หลัง
กันใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๑๕๖ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๓. (ก) พรหมจริยากถา
สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งสกทาคามิผล ฯลฯ บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อ
ทำให้แจ้งอรหัตตผล เจริญมรรคและละกิเลสได้ไม่ก่อนไม่หลังกันใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลผู้ละโลกนี้แล้วจึงสำเร็จ เจริญมรรคและละกิเลสได้ไม่ก่อนไม่หลัง
กันใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น
สก. อนาคามีบุคคลทำกิจที่ควรทำแล้ว เจริญภาวนาแล้วจึงเกิดในชั้น
สุทธาวาสนั้นใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระอรหันต์ยังเกิดอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น
สก. พระอรหันต์ยังเกิดอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระอรหันต์มีการเกิดอีกใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น
สก. พระอรหันต์มีการเกิดอีกใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระอรหันต์ออกจากภพไปสู่ภพ จากคติไปสู่คติ จากสงสารไปสู่สงสาร
จากการเกิดไปสู่การเกิดใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น
สก. อนาคามีบุคคลทำกิจที่ควรทำแล้ว เจริญภาวนาแล้วยังไม่ปลงภาระ๑
เกิดในชั้นสุทธาวาสนั้นใช่ไหม
ปร. ใช่

เชิงอรรถ :
๑ ยังไม่ปลงภาระ ในที่นี้หมายถึงยังต้องทำกิจที่จะต้องทำเพื่อบรรลุธรรมในชั้นสูงยิ่ง ๆ ขึ้นไปอีก (อภิ.ปญฺจ.อ.
๒๗๓/๑๖๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๑๕๗ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๓. (ก) พรหมจริยากถา
สก. ท่านยังเจริญมรรคอีกเพื่อปลงภาระใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น
สก. อนาคามีบุคคลทำกิจที่ควรทำแล้ว เจริญภาวนาแล้ว แต่ยังไม่กำหนด
รู้ทุกข์ ยังละกิเลสไม่ได้ ยังไม่ทำให้แจ้งนิโรธ ยังไม่แทงตลอดอกุปปธรรม ไปเกิดใน
ชั้นสุทธาวาสนั้นใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ท่านยังเจริญมรรคอีกเพื่อแทงตลอดอกุปปธรรมใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น
สก. อนาคามีบุคคลทำกิจที่ควรทำแล้ว เจริญภาวนาแล้ว แต่ยังไม่ปลงภาระ
ไปเกิดในชั้นสุทธาวาสนั้น และจะไม่เจริญมรรคอีกเพื่อปลงภาระใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. อนึ่ง ท่านยังไม่ปลงภาระ ปรินิพพานในชั้นสุทธาวาสนั้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น
สก. อนาคามีบุคคลทำกิจที่ควรทำแล้ว เจริญภาวนาแล้ว แต่ยังไม่กำหนด
รู้ทุกข์ ยังละกิเลสไม่ได้ ยังไม่ทำให้แจ้งนิโรธ ยังไม่แทงตลอดอกุปปธรรม ไปเกิด
ในชั้นสุทธาวาสนั้น และไม่เจริญมรรคอีกเพื่อแทงตลอดอกุปปธรรมใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. อนึ่ง ท่านยังไม่แทงตลอดอกุปปธรรม ปรินิพพานในชั้นสุทธาวาสนั้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๑๕๘ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๓. (ข) โอธิโสกถา
ปร. เนื้อที่ถูกยิงด้วยลูกศรแม้จะไปได้ไกลก็ย่อมตาย ฉันใด อนาคามีบุคคลทำ
ให้แจ้งผลในชั้นสุทธาวาสนั้นด้วยมรรคที่ตนเจริญแล้วในโลกนี้ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน
สก. เนื้อที่ถูกยิงด้วยลูกศรแม้จะไปได้ไกลก็ตายทั้งที่มีลูกศรติดอยู่นั้นเอง ฉันใด
อนาคามีบุคคลปรินิพพานในชั้นสุทธาวาสนั้นทั้งที่ยังมีลูกศร (มรรค) ติดอยู่นั้นเอง
ด้วยมรรคที่ตนเจริญแล้วในโลกนี้ ฉันนั้นเหมือนกันใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
พรหมจริยกถา จบ

๓. (ข) โอธิโสกถา
ว่าด้วยการละกิเลสได้เป็นส่วน ๆ
[๒๗๔] สก. บุคคลละกิเลสได้เป็นส่วน ๆ ใช่ไหม
ปร.๑ใช่๒
สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งโสดาปัตติผล ละอะไรได้ด้วยการเห็นทุกข์
ปร. ละสักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส และกิเลสที่มีอยู่ในจิตดวง
เดียวกันกับกิเลสทั้ง ๓ นั้นได้บางส่วน
สก. บุคคล(คนเดียวกัน)ส่วนหนึ่งเป็นพระโสดาบัน อีกส่วนหนึ่งไม่เป็นพระ
โสดาบัน ส่วนหนึ่งเป็นผู้ถึง ได้ บรรลุ ทำให้แจ้ง เข้าถึงอยู่ สัมผัสโสดาปัตติผล
ด้วยกาย๓อยู่ อีกส่วนหนึ่งไม่สัมผัสด้วยกายอยู่ ส่วนหนึ่งเป็นพระโสดาบัน
ผู้สัตตักขัตตุปรมะ โกลังโกละ เอกพีชี ประกอบด้วยความเลื่อมใสที่ไม่หวั่นไหว

เชิงอรรถ :
๑ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอื่นมีสมิติยะ เป็นต้น (อภิ.ปญฺจ.อ. ๒๗๔/๑๖๘)
๒ เพราะมีความเห็นว่า พระอริยบุคคลไม่สามารถละกิเลสแต่ละชนิดได้สิ้นเชิงในขณะจิตเดียว (อภิ.ปญฺจ.อ.
๒๗๔/๑๖๘)
๓ กาย ในที่นี้หมายถึงนามกาย (อภิ.ปญฺจ.อ. ๑/๓๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๑๕๙ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๓. (ข) โอธิโสกถา
ในพระพุทธเจ้า พระธรรม และ พระสงฆ์ ฯลฯ ประกอบด้วยศีลที่พระอริยะชอบใจ
อีกส่วนหนึ่งไม่ประกอบด้วยศีลที่พระอริยะชอบใจใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น๑ ฯลฯ
สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งโสดาปัตติผล ละอะไรได้ด้วยการเห็นสมุทัย
ปร. ละสักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส และกิเลสที่มีอยู่ใน จิต
ดวงเดียวกันกับกิเลสทั้ง ๓ นั้นได้บางส่วน
สก. บุคคล(คนเดียวกัน)ส่วนหนึ่งเป็นพระโสดาบัน อีกส่วนหนึ่งไม่เป็น
พระโสดาบัน ฯลฯ ส่วนหนึ่งประกอบด้วยศีลที่พระอริยะชอบใจ อีกส่วนหนึ่งไม่
ประกอบด้วยศีลที่พระอริยะชอบใจใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งโสดาปัตติผล ละอะไรได้ด้วยการเห็นนิโรธ
ปร. ละวิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส และกิเลสที่มีอยู่ในจิตดวงเดียวกันกับ
กิเลสทั้ง ๒ นั้นได้บางส่วน
สก. บุคคล(คนเดียวกัน)ส่วนหนึ่งเป็นพระโสดาบัน อีกส่วนหนึ่งไม่เป็น
พระโสดาบัน ฯลฯ ส่วนหนึ่งประกอบด้วยศีลที่พระอริยะชอบใจ อีกส่วนหนึ่งไม่
ประกอบด้วยศีลที่พระอริยะชอบใจใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งโสดาปัตติผล ละอะไรได้ด้วยการเห็นมรรค
ปร. ละสีลัพพตปรามาสและกิเลสที่มีอยู่ในจิตดวงเดียวกันกับสีลัพพตปรามาส
นั้นได้บางส่วน

เชิงอรรถ :
๑ เพราะมีความเห็นว่า พระอริยบุคคลมีโสดาบันเป็นต้นที่เป็นส่วน ๆ ไม่มี (อภิ.ปญฺจ.อ. ๒๗๔/๑๖๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๑๖๐ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๓. (ข) โอธิโสกถา
สก. บุคคล(คนเดียวกัน)ส่วนหนึ่งเป็นพระโสดาบัน อีกส่วนหนึ่งไม่เป็น
พระโสดาบัน ส่วนหนึ่งเป็นผู้ถึง ได้ บรรลุ ทำให้แจ้ง เข้าถึงอยู่ สัมผัส
โสดาปัตติผลด้วยกายอยู่ อีกส่วนหนึ่งไม่สัมผัสด้วยกายอยู่ ส่วนหนึ่งเป็น
พระโสดาบันผู้สัตตักขัตตุปรมะ โกลังโกละ เอกพีชี ประกอบด้วยความเลื่อมใสที่
ไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้า พระธรรม และ พระสงฆ์ ฯลฯ ประกอบด้วยศีลที่
พระอริยะชอบใจ อีกส่วนหนึ่งไม่ประกอบด้วยศีลที่พระอริยะชอบใจใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๒๗๕] สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งสกทาคามิผล ละอะไรได้ด้วยการเห็น
ทุกข์
ปร. ละกามราคะอย่างหยาบ พยาบาทอย่างหยาบ และกิเลสที่มีอยู่ในจิต
ดวงเดียวกันกับกิเลสทั้ง ๒ นั้นได้บางส่วน
สก. บุคคล(คนเดียวกัน)ส่วนหนึ่งเป็นพระสกทาคามี อีกส่วนหนึ่งไม่เป็น
พระสกทาคามี ส่วนหนึ่งเป็นผู้ถึง ได้ บรรลุ ทำให้แจ้ง เข้าถึงอยู่ สัมผัส
สกทาคามิผลด้วยกายอยู่ อีกส่วนหนึ่งไม่สัมผัสด้วยกายอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งสกทาคามิผล ละอะไรได้ด้วยการเห็นสมุทัย
ปร. ละกามราคะอย่างหยาบ พยาบาทอย่างหยาบ และกิเลสที่มีอยู่ในจิต
ดวงเดียวกันกับกิเลสทั้ง ๒ นั้นได้บางส่วน
สก. บุคคล(คนเดียวกัน)ส่วนหนึ่งเป็นพระสกทาคามี อีกส่วนหนึ่งไม่เป็น
พระสกทาคามี ส่วนหนึ่งเป็นผู้ถึง ได้ บรรลุ ทำให้แจ้ง เข้าถึงอยู่ สัมผัส
สกทาคามิผลด้วยกายอยู่ อีกส่วนหนึ่งไม่สัมผัสด้วยกายอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งสกทาคามิผล ละอะไรได้ด้วยการเห็นนิโรธ
ปร. ละพยาบาทอย่างหยาบและกิเลสที่มีอยู่ในจิตดวงเดียวกันกับพยาบาท
นั้นได้บางส่วน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๑๖๑ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๓. (ข) โอธิโสกถา
สก. บุคคล(คนเดียวกัน)ส่วนหนึ่งเป็นพระสกทาคามี อีกส่วนหนึ่งไม่เป็น
พระสกทาคามี ส่วนหนึ่งเป็นผู้ถึง ได้ บรรลุ ทำให้แจ้ง เข้าถึงอยู่ สัมผัส
สกทาคามิผลด้วยกายอยู่ อีกส่วนหนึ่งไม่สัมผัสด้วยกายอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งสกทาคามิผล ละอะไรได้ด้วยการเห็นมรรค
ปร. ละพยาบาทอย่างหยาบและกิเลสที่มีอยู่ในจิตดวงเดียวกันกับพยาบาทนั้นได้
สก. บุคคล(คนเดียวกัน)ส่วนหนึ่งเป็นพระสกทาคามี อีกส่วนหนึ่งไม่เป็น
พระสกทาคามี ส่วนหนึ่งเป็นผู้ถึง ได้ บรรลุ ทำให้แจ้ง เข้าถึงอยู่ สัมผัส
สกทาคามิผลด้วยกายอยู่ อีกส่วนหนึ่งไม่สัมผัสด้วยกายอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๒๗๖] สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอนาคามิผล ละอะไรได้ด้วยการเห็นทุกข์
ปร. ละกามราคะอย่างละเอียด พยาบาทอย่างละเอียด และ
กิเลสที่มีอยู่ในจิตดวงเดียวกันกับกิเลสทั้ง ๒ นั้นได้บางส่วน
สก. บุคคล(คนเดียวกัน)ส่วนหนึ่งเป็นพระอนาคามี อีกส่วนหนึ่งไม่เป็น
พระอนาคามี ส่วนหนึ่งเป็นผู้ถึง ได้ บรรลุ ทำให้แจ้ง เข้าถึงอยู่ สัมผัสอนาคามิ-
ผลด้วยกายอยู่ อีกส่วนหนึ่งไม่สัมผัสด้วยกายอยู่ ส่วนหนึ่งเป็นพระอนาคามีผู้
อันตราปรินิพพายี ฯลฯ ผู้อุปหัจจปรินิพพายี ฯลฯ ผู้อสังขารปรินิพพายี ฯลฯ
ผู้สสังขารปรินิพพายี ฯลฯ ผู้อุทธังโสโตอกนิฏฐคามี อีกส่วนหนึ่งไม่เป็นพระอนาคามี
ผู้อุทธังโสโตอกนิฏฐคามีใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอนาคามิผล ละอะไรได้ด้วยการเห็นสมุทัย
ปร. ละกามราคะอย่างละเอียด พยาบาทอย่างละเอียด และกิเลสที่มีอยู่ใน
จิตดวงเดียวกันกับกิเลสทั้ง ๒ นั้นได้บางส่วน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๑๖๒ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๓. (ข) โอธิโสกถา
สก. บุคคล(คนเดียวกัน)ส่วนหนึ่งเป็นพระอนาคามี อีกส่วนหนึ่งไม่เป็น
พระอนาคามี ฯลฯ ส่วนหนึ่งเป็นพระอนาคามีผู้อุทธังโสโตอกนิฏฐคามี อีกส่วน
หนึ่งไม่เป็นพระอนาคามีผู้อุทธังโสโตอกนิฏฐคามีใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอนาคามิผล ละอะไรได้ด้วยการเห็นนิโรธ
ปร. ละพยาบาทอย่างละเอียด และกิเลสที่มีอยู่ในจิตดวงเดียวกันกับพยาบาท
นั้นได้บางส่วน
สก. บุคคล(คนเดียวกัน)ส่วนหนึ่งเป็นพระอนาคามี อีกส่วนหนึ่งไม่เป็น
พระอนาคามี ฯลฯ ส่วนหนึ่งเป็นพระอนาคามีผู้อุทธังโสโตอกนิฏฐคามี อีกส่วน
หนึ่งไม่เป็นพระอนาคามีผู้อุทธังโสโตอกนิฏฐคามีใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอนาคามิผล ละอะไรได้ด้วยการเห็นมรรค
ปร. ละกิเลสที่มีอยู่ในจิตดวงเดียวกันกับกิเลสนั้นได้
สก. บุคคล(คนเดียวกัน)ส่วนหนึ่งเป็นพระอนาคามี อีกส่วนหนึ่งไม่เป็น
พระอนาคามี ส่วนหนึ่งเป็นผู้ถึง ได้ บรรลุ ทำให้แจ้ง เข้าถึงอยู่ สัมผัส
อนาคามิผลด้วยกายอยู่ อีกส่วนหนึ่งไม่สัมผัสด้วยกายอยู่ ส่วนหนึ่งเป็นพระ
อนาคามีผู้อันตราปรินิพพายี ฯลฯ ผู้อุปหัจจปรินิพพายี ฯลฯ ผู้อสังขารปรินิพพายี
ฯลฯ ผู้สสังขารปรินิพพายี ฯลฯ ผู้อุทธังโสโตอกนิฏฐคามีใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๒๗๗] สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอรหัตตผล ละอะไรได้ด้วยการเห็น
ทุกข์
ปร. ละรูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะ อวิชชา และกิเลสที่มีอยู่ใน
จิตดวงเดียวกันกับกิเลสทั้ง ๕ นั้นได้บางส่วน
สก. บุคคล(คนเดียวกัน)ส่วนหนึ่งเป็นพระอรหันต์ อีกส่วนหนึ่งไม่เป็นพระ
อรหันต์ ส่วนหนึ่งเป็นผู้ถึง ได้ บรรลุ ทำให้แจ้ง เข้าถึงอยู่ สัมผัสอรหัตตผลด้วยกายอยู่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๑๖๓ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๓. (ข) โอธิโสกถา
อีกส่วนหนึ่งไม่สัมผัสด้วยกายอยู่ ส่วนหนึ่งเป็นผู้ปราศจากราคะ โทสะ โมหะ ทำกิจ
ที่ควรทำเสร็จแล้ว ปลงภาระแล้ว บรรลุประโยชน์ตนแล้ว หมดสิ้นกิเลสเป็นเครื่อง
ผูกสัตว์ไว้ในภพแล้ว หลุดพ้นเพราะรู้ชอบแล้ว ถอดลิ่มสลัก กลบคู ถอนเสาระ
เนียดได้แล้ว ไม่มีบานประตู เป็นพระอริยะ ปลดธงคือมานะ วางภาระคือขันธ์
หมดเครื่องผูกพัน ชนะอย่างวิเศษแล้ว กำหนดรู้ทุกข์ ละสมุทัย ทำให้แจ้งนิโรธ
เจริญมรรคแล้ว รู้ยิ่งธรรมที่ควรรู้ยิ่ง กำหนดรู้ธรรมที่ควรกำหนดรู้ ละธรรมที่ควรละ
เจริญธรรมที่ควรเจริญ ทำให้แจ้งธรรมที่ควรทำให้แจ้งแล้ว (ส่วนหนึ่งทำให้แจ้ง
ธรรมที่ควรทำให้แจ้งแล้ว) อีกส่วนหนึ่งไม่ทำให้แจ้งธรรมที่ควรทำให้แจ้งแล้วใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอรหัตตผล ละอะไรได้ด้วยการเห็นสมุทัย
ปร. ละรูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะ อวิชชา และ
กิเลสที่มีอยู่ในจิตดวงเดียวกันกับกิเลสทั้ง ๕ นั้นได้บางส่วน
สก. บุคคล(คนเดียวกัน)ส่วนหนึ่งเป็นพระอรหันต์ อีกส่วนหนึ่งไม่เป็น
พระอรหันต์ ฯลฯ ส่วนหนึ่งทำให้แจ้งธรรมที่ควรทำให้แจ้ง อีกส่วนหนึ่งไม่ทำให้
แจ้งธรรมที่ควรทำให้แจ้งใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอรหัตตผล ละอะไรได้ด้วยการเห็นนิโรธ
ปร. ละมานะ อุทธัจจะ อวิชชา และกิเลสที่มีอยู่ในจิตดวงเดียวกันกับกิเลส
ทั้ง ๓ นั้นได้บางส่วน
สก. บุคคล(คนเดียวกัน)ส่วนหนึ่งเป็นพระอรหันต์ อีกส่วนหนึ่งไม่เป็น
พระอรหันต์ ฯลฯ ส่วนหนึ่งทำให้แจ้งธรรมที่ควรทำให้แจ้ง อีกส่วนหนึ่งไม่ทำให้
แจ้งธรรมที่ควรทำให้แจ้งใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอรหัตตผล ละอะไรได้ด้วยการเห็นมรรค

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๑๖๔ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๓. (ข) โอธิโสกถา
ปร. ละอุทธัจจะ อวิชชา และกิเลสที่มีอยู่ในจิตดวงเดียวกันกับกิเลสทั้ง ๒
นั้นได้
สก. บุคคล(คนเดียวกัน)ส่วนหนึ่งเป็นพระอรหันต์ อีกส่วนหนึ่งไม่เป็น
พระอรหันต์ ส่วนหนึ่งเป็นผู้ถึง ได้ บรรลุ ทำให้แจ้ง เข้าถึงอยู่ สัมผัสอรหัตตผล
ด้วยกายอยู่ อีกส่วนหนึ่งไม่สัมผัสด้วยกายอยู่ ส่วนหนึ่งเป็นผู้ปราศจากราคะ โทสะ
โมหะ ทำกิจ ที่ควรทำเสร็จแล้ว ปลงภาระแล้ว บรรลุประโยชน์ตนแล้ว หมดสิ้น
กิเลสเป็นเครื่องผูกสัตว์ไว้ในภพแล้ว หลุดพ้นเพราะรู้ชอบแล้ว ถอดลิ่มสลัก กลบคู
ถอนเสาระเนียด ได้แล้ว ไม่มีบานประตู เป็นพระอริยะ ปลดธงคือมานะ วางภาระ
คือขันธ์ หมดเครื่องผูกพัน ชนะอย่างวิเศษแล้ว กำหนดรู้ทุกข์ ละสมุทัย ทำให้
แจ้งนิโรธ เจริญมรรค รู้ยิ่งธรรมที่ควรรู้ยิ่ง กำหนดรู้ธรรมที่ควรกำหนดรู้ ละ
ธรรมที่ควรละ เจริญธรรมที่ควรเจริญ ทำให้แจ้งธรรมที่ควรทำให้แจ้งแล้ว อีก
ส่วนหนึ่งไม่ทำให้แจ้งธรรมที่ควรทำให้แจ้งแล้วใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๒๗๘] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “บุคคลละกิเลสได้เป็นส่วน ๆ” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า
“ผู้มีปัญญาพึงกำจัดมลทินของตน
ทีละน้อย ๆ ในทุกขณะโดยลำดับ
เหมือนช่างทองกำจัดสนิมทอง” ๑
มีอยู่จริงมิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “บุคคลละกิเลสได้เป็นส่วน ๆ”
สก. บุคคลละกิเลสได้เป็นส่วน ๆ ใช่ไหม
ปร. ใช่

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ ขุ.ธ. (แปล) ๒๕/๒๓๙/๑๐๖

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๑๖๕ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๓. (ข) โอธิโสกถา
สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า
“พระโสดาบันละธรรม ๓ ประการ
คือ สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส
ได้อย่างสิ้นเชิง พร้อมกับการบรรลุโสดาปัตติมรรค
พระโสดาบันก็พ้นจากอบายทั้ง ๔ ภูมิ๑
และจะไม่ทำอภิฐาน ๖” ๒
มีอยู่จริงมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. ดังนั้น ท่านจึงไม่ควรยอมรับว่า “บุคคลละกิเลสได้เป็นส่วน ๆ”
สก. บุคคลละกิเลสได้เป็นส่วน ๆ ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย ในสมัยที่ธรรมจักษุ
ที่ปราศจากธุลี ปราศจากมลทิน เกิดขึ้นแก่อริยสาวกว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิด
เป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งหมดมีความดับเป็นธรรมดา พร้อมกับการเกิดขึ้นแห่ง
โสดาปัตติมรรค อริยสาวกย่อมละสังโยชน์ ๓ ประการ คือ สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา
สีลัพพตปรามาส” ๓ มีอยู่จริงมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. ดังนั้น ท่านจึงไม่ควรยอมรับว่า “บุคคลละกิเลสได้เป็นส่วน ๆ”

โอธิโสกถา จบ

เชิงอรรถ :
๑ อบายทั้ง ๔ ภูมิ หมายถึงภูมิที่ปราศจากความเจริญมี ๔ คือ นรก กำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน เปรต และอสุรกาย
(ขุ.ขุ.อ. ๖/๑๖๕)
๒ อภิฐาน ๖ หมายถึงฐานะอันหนัก ๖ ประการ ได้แก่ (๑) ฆ่ามารดา (๒) ฆ่าบิดา (๓) ฆ่าพระอรหันต์
(๔) ทำร้ายพระพุทธเจ้าจนถึงพระโลหิตห้อ (๕) ทำลายสงฆ์ให้แตกกัน (๖) นิยตมิจฉาทิฏฐิ (ขุ.ขุ.อ.
๖/๑๖๗), และดูเทียบ ขุ.สุ. (แปล) ๒๕/๑๐-๑๑/๑๒, ๒๓๕/๕๕๕
๓ ดูเทียบ องฺ.ติก. (แปล) ๒๐/๙๕/๓๒๘

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๑๖๖ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๔. ชหติกถา
๔. ชหติกถา
ว่าด้วยการละ
๑. นสุตตาหรณกถา
ว่าด้วยการไม่ยกพระสูตรมาอ้าง
[๒๗๙] สก. ปุถุชนละกามราคะและพยาบาทได้ใช่ไหม
ปร.๑ใช่ ๒
สก. ละได้เด็ดขาด ละได้อย่างไม่มีส่วนเหลือ ละได้อย่างไม่มีเยื่อใย ละได้
พร้อมทั้งมูล ละได้พร้อมทั้งตัณหา ละได้พร้อมทั้งอนุสัย ละได้ด้วยอริยญาณ ละได้
ด้วยอริยมรรค รู้แจ้งแทงตลอดอกุปปธรรมจึงละได้ ทำให้แจ้งอนาคามิผลจึงละได้
ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ปุถุชนข่มกามราคะและพยาบาทได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ข่มได้เด็ดขาด ข่มได้อย่างไม่มีส่วนเหลือ ข่มได้อย่างไม่มีเยื่อใย ข่มได้
พร้อมทั้งมูล ข่มได้พร้อมทั้งตัณหา ข่มได้พร้อมทั้งอนุสัย ข่มได้ด้วยอริยญาณ
ข่มได้ด้วยอริยมรรค รู้แจ้งแทงตลอดอกุปปธรรมจึงข่มได้ ทำให้แจ้งอนาคามิผล
จึงข่มได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอนาคามิผล ละกามราคะพยาบาทได้
และละได้เด็ดขาด ละได้ไม่มีส่วนเหลือ ฯลฯ ทำให้แจ้งอนาคามิผลจึงละได้ใช่ไหม
ปร. ใช่

เชิงอรรถ :
๑ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอื่นมี สมิติยะ เป็นต้น (อภิ.ปญฺจ.อ. ๒๗๙/๑๖๙)
๒ เพราะมีความเห็นว่า ปุถุชนผู้ได้ฌานสามารถละกามราคะและโทสะได้เด็ดขาด (อภิ.ปญฺจ.อ. ๒๗๙/๑๖๙)
๑ เพราะมีความเห็นว่า ปุถุชนผู้ได้ฌานสามารถละกามราคะและพยาบาทได้ เมื่อบรรลุสัจจะก็จะเป็น
พระอนาคามีได้เลย (อภิ.ปญฺจ.อ. ๒๘๐/๑๖๙)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๑๖๗ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๔. ชหติกถา
สก. ปุถุชนละกามราคะพยาบาทได้ และละได้เด็ดขาด ละได้อย่างไม่มีส่วน
เหลือ ฯลฯ ทำให้แจ้งอนาคามิผลจึงละได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอนาคามิผล ข่มกามราคะพยาบาทได้
และข่มได้เด็ดขาด ข่มได้อย่างไม่มีส่วนเหลือ ฯลฯ ทำให้แจ้งอนาคามิผลจึงข่มได้
ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ปุถุชนข่มกามราคะพยาบาทได้ และข่มได้เด็ดขาด ข่มได้อย่างไม่มีส่วน
เหลือ ฯลฯ ทำให้แจ้งอนาคามิผลจึงข่มได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ปุถุชนละกามราคะและพยาบาทได้ แต่ละไม่ได้เด็ดขาด ละไม่ได้
อย่างไม่มีส่วนเหลือ ละไม่ได้อย่างไม่มีเยื่อใย ละไม่ได้พร้อมทั้งมูล ละไม่ได้พร้อม
ทั้งตัณหา ละไม่ได้พร้อมทั้งอนุสัย ละไม่ได้ด้วยอริยญาณ ละไม่ได้ด้วยอริยมรรค
จะรู้แจ้งแทงตลอดอกุปปธรรมก็ละไม่ได้ ทำให้แจ้งอนาคามิผลก็ละไม่ได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอนาคามิผล ละกามราคะและพยาบาทได้
แต่ละไม่ได้เด็ดขาด ฯลฯ จะทำให้แจ้งอนาคามิผลก็ละไม่ได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ปุถุชนข่มกามราคะและพยาบาทได้ แต่ละไม่ได้เด็ดขาด ข่มไม่ได้อย่าง
ไม่มีส่วนเหลือ ฯลฯ ทำให้แจ้งอนาคามิผลก็ข่มไม่ได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอนาคามิผล ข่มกามราคะพยาบาทได้
และข่มไม่ได้เด็ดขาด ข่มไม่ได้อย่างไม่มีส่วนเหลือ ฯลฯ ทำให้แจ้งอนาคามิผลก็
ข่มไม่ได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๑๖๘ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๔. ชหติกถา
สก. ปุถุชนละกามราคะและพยาบาทได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ละได้ด้วยมรรคไหน
ปร. ด้วยมรรคฝ่ายรูปาวจร
สก. มรรคฝ่ายรูปาวจรนำสัตว์ออกจากวัฏฏทุกข์ ให้ถึงความสิ้นกิเลส ให้ถึง
ความตรัสรู้ ให้ถึงนิพพาน ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะ ไม่เป็นอารมณ์ของสังโยชน์
ไม่เป็นอารมณ์ของคันถะ ไม่เป็นอารมณ์ของโอฆะ ไม่เป็นอารมณ์ของโยคะ ไม่เป็น
อารมณ์ของนิวรณ์ ไม่เป็นอารมณ์ของปรามาส ไม่เป็นอารมณ์ของอุปาทาน ไม่เป็น
อารมณ์ของสังกิเลสใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. มรรคฝ่ายรูปาวจรไม่นำสัตว์ออกจากวัฏฏทุกข์ ไม่ให้ถึงความสิ้นกิเลส
ไม่ให้ถึงความตรัสรู้ ไม่ให้ถึงนิพพาน เป็นอารมณ์ของอาสวะ เป็นอารมณ์ของ
สังโยชน์ ฯลฯ เป็นอารมณ์ของสังกิเลสมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากมรรคฝ่ายรูปาวจรไม่นำสัตว์ออกจากวัฏฏทุกข์ ไม่ให้ถึงความสิ้นกิเลส
ไม่ให้ถึงความตรัสรู้ ไม่ให้ถึงนิพพาน เป็นอารมณ์ของอาสวะ เป็นอารมณ์ของ
สังโยชน์ ฯลฯ เป็นอารมณ์ของสังกิเลส ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “ปุถุชนละกามราคะ
และพยาบาทได้ด้วยมรรคฝ่ายรูปาวจร”
สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอนาคามิผล ละกามราคะและพยาบาทได้
ด้วยอนาคามิมรรค และมรรคนั้นนำสัตว์ออกจากวัฏฏทุกข์ ให้ถึงความสิ้นกิเลส
ให้ถึงความตรัสรู้ ให้ถึงนิพพาน ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะ ไม่เป็นอารมณ์ของ
สังโยชน์ ฯลฯ ไม่เป็นอารมณ์ของสังกิเลสใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๑๖๙ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๔. ชหติกถา
สก. ปุถุชนละกามราคะและพยาบาทได้ด้วยมรรคฝ่ายรูปาวจร และมรรคนั้น
นำสัตว์ออกจากวัฏฏทุกข์ ให้ถึงความสิ้นกิเลส ให้ถึงความตรัสรู้ ให้ถึงนิพพาน
ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะ ไม่เป็นอารมณ์ของสังโยชน์ ฯลฯ ไม่เป็นอารมณ์ของ
สังกิเลสใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ปุถุชนละกามราคะและพยาบาทได้ด้วยมรรคฝ่ายรูปาวจร และมรรคนั้น
ไม่นำสัตว์ออกจากวัฏฏทุกข์ ไม่ให้ถึงความสิ้นกิเลส ไม่ให้ถึงความตรัสรู้ ไม่ให้ถึง
นิพพาน เป็นอารมณ์ของอาสวะ เป็นอารมณ์ของสังโยชน์ ฯลฯ เป็นอารมณ์ของ
สังกิเลสใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอนาคามิผล ละกามราคะและพยาบาทได้ด้วย
อนาคามิมรรค และมรรคนั้นไม่นำสัตว์ออกจากวัฏฏทุกข์ ไม่ให้ถึงความสิ้นกิเลส
ไม่ให้ถึงความตรัสรู้ ไม่ให้ถึงนิพพาน เป็นอารมณ์ของอาสวะ เป็นอารมณ์ของ
สังโยชน์ ฯลฯ เป็นอารมณ์ของสังกิเลสใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๒๘๐] สก. ปุถุชนผู้ปราศจากความกำหนัดในกาม ดำรงอยู่ในอนาคามิผล
พร้อมกับการได้บรรลุธรรมใช่ไหม
ปร. ใช่๑
สก. ดำรงอยู่ในอรหัตตผลใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ปุถุชนผู้ปราศจากความกำหนัดในกาม ดำรงอยู่ในอนาคามิผล พร้อม
กับการได้บรรลุธรรมใช่ไหม
ปร. ใช่

เชิงอรรถ :
๑ เพราะมีความเห็นว่า ปุถุชนผู้ได้ฌานสามารถละกามราคะและพยาบาทได้ เมื่อบรรลุสัจจะก็จะเป็น
พระอนาคามีได้เลย (อภิ.ปญฺจ.อ. ๒๘๐/๑๖๙)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๑๗๐ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๔. ชหติกถา
สก. เจริญมรรคทั้ง ๓ ประการได้ไม่ก่อนไม่หลังใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เจริญมรรคทั้ง ๓ ประการได้ไม่ก่อนไม่หลังใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ทำให้แจ้งสามัญญผลทั้ง ๓ ประการได้ไม่ก่อนไม่หลังใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ทำให้แจ้งสามัญญผลทั้ง ๓ ประการได้ไม่ก่อนไม่หลังใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. มีการประชุมแห่งผัสสะ ๓ เวทนา ๓ สัญญา ๓ เจตนา ๓ จิต ๓
สัทธา ๓ วิริยะ ๓ สติ ๓ สมาธิ ๓ ปัญญา ๓ ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ปุถุชนผู้ปราศจากความกำหนัดในกาม ดำรงอยู่ในอนาคามิผลพร้อม
กับการได้บรรลุธรรมใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ด้วยโสดาปัตติมรรคใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ด้วยสกทาคามิมรรคใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น
สก. ด้วยมรรคไหน
ปร. ด้วยอนาคามิมรรค
สก. ละสักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาสได้ด้วยอนาคามิมรรคใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๑๗๑ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๔. ชหติกถา
๒. สุตตาหรณกถา
ว่าด้วยการยกพระสูตรมาอ้าง
[๒๘๑] สก. ปุถุชนละสักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา และสีลัพพตปรามาสได้ด้วย
อนาคามิมรรคใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระผู้มีพระภาคตรัสโสดาปัตติผล(ว่ามี) เพราะละสังโยชน์ ๓ ประการได้
มิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากพระผู้มีพระภาคตรัสโสดาปัตติผล(ว่ามี) เพราะละสังโยชน์ ๓
ประการได้ ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “ละสักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา และสีลัพพตปรามาส
ได้ด้วยอนาคามิมรรค” ฯลฯ
สก. ปุถุชนละกามราคะอย่างหยาบและพยาบาทอย่างหยาบได้ด้วยอนาคามิ-
มรรคใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ละกามราคะอย่างหยาบและพยาบาทอย่างหยาบได้ด้วยอนาคามิมรรค
ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระผู้มีพระภาคตรัสสกทาคามิผล(ว่ามี) เพราะความเบาบางแห่งกามราคะ
และพยาบาทมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากพระผู้มีพระภาคตรัสสกทาคามิผล(ว่ามี) เพราะความเบาบางแห่ง
กามราคะและพยาบาท ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “ละกามราคะและพยาบาทอย่าง
หยาบได้ด้วยอนาคามิมรรค”
สก. ปุถุชนเป็นผู้ปราศจากความกำหนัดในกาม ดำรงอยู่ในอนาคามิผล
พร้อมกับการได้บรรลุธรรมใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๑๗๒ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๔. ชหติกถา
สก. เหล่าชนผู้บรรลุธรรมได้ทั้งหมด ดำรงอยู่ในอนาคามิผล พร้อมกับการ
ได้บรรลุธรรมใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “ปุถุชนละกามราคะและพยาบาทได้” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า
“ครูทั้ง ๖ ผู้มียศ ได้รับยกย่องว่าเป็นเจ้าลัทธิในอดีต
เป็นผู้หมดกลิ่นสาบ๑ มุ่งมั่นในกรุณา
ล่วงพ้นกามสังโยชน์ คลายกามราคะเสียได้
เป็นผู้เข้าถึงพรหมโลกแล้ว
แม้สาวกหลายร้อยคนของครูเหล่านั้น
ก็เป็นผู้หมดกลิ่นสาบ มุ่งมั่นในกรุณา
ล่วงพ้นกามสังโยชน์ คลายกามราคะเสียได้
เป็นผู้เข้าถึงพรหมโลกแล้ว” ๒
มีอยู่จริงมิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. ดังนั้น ปุถุชนจึงละกามราคะและพยาบาทได้
สก. ปุถุชนละกามราคะและพยาบาทได้ใช่ไหม
ปร. ใช่

เชิงอรรถ :
๑ คำว่า กลิ่นสาบ ในที่นี้หมายถึงความโกรธ (องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๕๔/๑๓๔)
๒ ดูเทียบ องฺ.ฉกฺก. (แปล) ๒๒/๕๔/๕๓๐-๕๓๑

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๑๗๓ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๔. ชหติกถา
สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย ครูสุเนตรนั้นเป็น
ผู้มีอายุยืนนานอย่างนี้ เป็นผู้ดำรงอยู่ได้นานอย่างนี้ แต่ก็ไม่พ้นจากชาติ ชรา มรณะ
โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส เราจึงกล่าวว่า ไม่หลุดพ้นจากทุกข์ ข้อนั้น
เพราะเหตุไร เพราะไม่รู้แจ้งแทงตลอดธรรม ๔ ประการ ธรรม ๔ ประการ อะไรบ้าง
คือ (๑) เพราะไม่รู้แจ้งแทงตลอดอริยศีล (๒) เพราะไม่รู้แจ้งแทงตลอดอริยสมาธิ
(๓) เพราะไม่รู้แจ้งแทงตลอดอริยปัญญา (๔) เพราะไม่รู้แจ้งแทงตลอดอริยวิมุตติ
ภิกษุทั้งหลาย เราได้รู้แจ้งแทงตลอดอริยศีล เราได้รู้แจ้งแทงตลอดอริยสมาธิ เรา
ได้รู้แจ้งแทงตลอดอริยปัญญา เราได้รู้แจ้งแทงตลอดอริยวิมุตติ เราถอนภวตัณหา
ได้แล้ว ภวเนตติสิ้นไปแล้ว บัดนี้ ภพใหม่ไม่มีอีก”
(พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดา ได้ตรัสเวยยากรณภาษิตนี้แล้ว จึงได้ตรัส
คาถาประพันธ์ต่อไปอีกว่า)
“พระโคดมผู้มียศ ตรัสรู้ธรรมเหล่านี้ คือ
ศีล สมาธิ ปัญญา และวิมุตติอันยอดเยี่ยม
ดังนั้น พระพุทธเจ้าจึงตรัสบอกธรรม
แก่ภิกษุทั้งหลายเพื่อความรู้ยิ่ง
พระศาสดาผู้มีพระจักษุ
ทรงทำที่สุดแห่งทุกข์ ปรินิพพานแล้ว”๑
มีอยู่จริงมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. ดังนั้น ท่านจึงไม่ควรยอมรับว่า “ปุถุชนละกามราคะและพยาบาทได้”

ชหติกถา จบ

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ ที.ม. (แปล) ๑๐/๑๘๖/๑๓๒-๑๓๓, องฺ.จตุกฺก. (แปล) ๒๑/๑/๒, องฺ.สตฺตก. (แปล) ๒๓/๖๖/๑๓๖

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๑๗๔ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๕. สัพพมัตถีติกถา
๕. สัพพมัตถีติกถา
ว่าด้วยสิ่งทั้งปวงมีอยู่
๑. วาทยุตติ
ว่าด้วยหลักการใช้วาทะ
[๒๘๒] สก. สิ่งทั้งปวงมีอยู่ใช่ไหม
ปร.๑ ใช่๒
สก. สิ่งทั้งปวงมีอยู่ในโอกาส๓ทั้งปวงใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น
สก. สิ่งทั้งปวงมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สิ่งทั้งปวงมีอยู่ในกาลทั้งปวงใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น
สก. สิ่งทั้งปวงมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สิ่งทั้งปวงมีอยู่โดยประการทั้งปวงใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น
สก. สิ่งทั้งปวงมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่

เชิงอรรถ :
๑ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายสัพพัตถิกวาท (อภิ.ปญฺจ.อ. ๒๘๒/๑๗๐)
๒ เพราะมีความเห็นว่า สภาวธรรมทั้งที่เป็นอดีตและอนาคตมีอยู่จริงเหมือนปัจจุบัน ซึ่งจัดเป็นสัสสตทิฏฐิ
(อภิ.ปญฺจ.อ. ๒๘๒/๑๗๐)
๓ ดูเชิงอรรถที่ ๒ ข้อ ๑๑ หน้า ๑๐ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๑๗๕ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๕. สัพพมัตถีติกถา
สก. สิ่งทั้งปวงมีอยู่ในสภาวธรรมทั้งปวงใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น
สก. สิ่งทั้งปวงมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เพราะท่านเข้าใจว่า “สิ่งทั้งปวงไม่ประกอบกัน” จึงยอมรับว่า “สิ่งทั้งปวง
มีอยู่” ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น
สก. สิ่งทั้งปวงมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. แม้แต่สิ่งที่ไม่มีก็ชื่อว่ามีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น
สก. สิ่งทั้งปวงมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ความเห็นอย่างนี้ว่า “ความเห็นที่เห็นว่า สิ่งทั้งปวงมีอยู่ เป็นมิจฉาทิฏฐิ
ความเห็นนั้น เป็นสัมมาทิฏฐิ” มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น (ย่อ)
วาทยุตติ จบ

๒. กาลสังสันทนะ
ว่าด้วยการเทียบเคียงกาล
[๒๘๓] สก. อดีตมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. อดีตดับไปแล้ว หายไปแล้ว แปรผันไปแล้ว สูญไปแล้ว ดับสูญไปแล้ว
มิใช่หรือ
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๑๗๖ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๕. สัพพมัตถีติกถา
สก. หากอดีตดับไปแล้ว หายไปแล้ว แปรผันไปแล้ว สูญไปแล้ว ดับสูญ
ไปแล้ว ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “อดีตมีอยู่”
สก. อนาคตมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. อนาคตยังไม่เกิด ยังไม่มี ยังไม่เกิดพร้อม ยังไม่บังเกิด ยังไม่บังเกิดขึ้น
ยังไม่ปรากฏมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากอนาคตยังไม่เกิด ยังไม่มี ยังไม่เกิดพร้อม ยังไม่บังเกิด ยังไม่
บังเกิดขึ้น ยังไม่ปรากฏ ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “อนาคตมีอยู่”
สก. ปัจจุบันมีอยู่ ปัจจุบันยังไม่ดับไป ยังไม่หายไป ยังไม่แปรผันไป ยังไม่
สูญไป ยังไม่ดับสูญไปใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. อดีตมีอยู่ อดีตยังไม่ดับ ยังไม่หายไป ยังไม่แปรผันไป ยังไม่สูญไป
ยังไม่ดับสูญไปใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ปัจจุบันมีอยู่ ปัจจุบันเกิดแล้ว มีแล้ว เกิดพร้อมแล้ว บังเกิดแล้ว
บังเกิดขึ้นแล้ว ปรากฏแล้วใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. อนาคตมีอยู่ อนาคตเกิดแล้ว มีแล้ว เกิดพร้อมแล้ว บังเกิดแล้ว
บังเกิดขึ้นแล้ว ปรากฏแล้วใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๑๗๗ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๕. สัพพมัตถีติกถา
สก. อดีตมีอยู่ อดีตดับไปแล้ว หายไปแล้ว แปรผันไปแล้ว สูญไปแล้ว
ดับสูญไปแล้วใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ปัจจุบันมีอยู่ ปัจจุบันดับไปแล้ว หายไปแล้ว แปรผันไปแล้ว สูญไปแล้ว
ดับสูญไปแล้วใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. อนาคตมีอยู่ อนาคตยังไม่เกิด ยังไม่มี ยังไม่เกิดพร้อม ยังไม่บังเกิด
ยังไม่บังเกิดขึ้น ยังไม่ปรากฏใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ปัจจุบันมีอยู่ ปัจจุบันยังไม่เกิด ยังไม่มี ยังไม่เกิดพร้อม ยังไม่บังเกิด
ยังไม่บังเกิดขึ้น ยังไม่ปรากฏใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น
[๒๘๔] สก. รูปที่เป็นอดีตมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. รูปที่เป็นอดีตดับไปแล้ว หายไปแล้ว แปรผันไปแล้ว สูญไปแล้ว ดับสูญ
ไปแล้วมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากรูปที่เป็นอดีตดับไปแล้ว ฯลฯ ดับสูญไปแล้ว ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า
“รูปที่เป็นอดีตมีอยู่”
สก. รูปที่เป็นอนาคตมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. รูปที่เป็นอนาคตยังไม่เกิด ยังไม่มี ยังไม่เกิดพร้อม ยังไม่บังเกิด
ยังไม่บังเกิดขึ้น ยังไม่ปรากฏมิใช่หรือ
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๑๗๘ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๕. สัพพมัตถีติกถา
สก. หากรูปที่เป็นอนาคตยังไม่เกิด ฯลฯ ยังไม่ปรากฏ ท่านก็ไม่ควรยอมรับ
ว่า “รูปที่เป็นอนาคตมีอยู่”
สก. รูปที่เป็นปัจจุบันมีอยู่ รูปที่เป็นปัจจุบันยังไม่ดับไป ยังไม่หายไป ยัง
ไม่แปรผันไป ยังไม่สูญไป ยังไม่ดับสูญไปใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. รูปที่เป็นอดีตมีอยู่ รูปที่เป็นอดีตยังไม่ดับไป ยังไม่หายไป ยังไม่แปรผันไป
ยังไม่สูญไป ยังไม่ดับสูญไปใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น
สก. รูปที่เป็นปัจจุบันมีอยู่ รูปที่เป็นปัจจุบันเกิดแล้ว มีแล้ว เกิดพร้อมแล้ว
บังเกิดแล้ว บังเกิดขึ้นแล้ว ปรากฏแล้วใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. รูปที่เป็นอนาคตมีอยู่ รูปที่เป็นอนาคตเกิดแล้ว มีแล้ว เกิดพร้อมแล้ว
บังเกิดแล้ว บังเกิดขึ้นแล้ว ปรากฏแล้วใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น
สก. รูปที่เป็นอดีตมีอยู่ รูปที่เป็นอดีตดับไปแล้ว หายไปแล้ว แปรผันไปแล้ว
สูญไปแล้ว ดับสูญไปแล้วใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. รูปที่เป็นปัจจุบันมีอยู่ รูปที่เป็นปัจจุบันดับไปแล้ว หายไปแล้ว แปรผัน
ไปแล้ว สูญไปแล้ว ดับสูญไปแล้วใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น
สก. รูปที่เป็นอนาคตมีอยู่ รูปที่เป็นอนาคตยังไม่เกิด ยังไม่มี ยังไม่เกิดพร้อม
ยังไม่บังเกิด ยังไม่บังเกิดขึ้น ยังไม่ปรากฏใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๑๗๙ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๕. สัพพมัตถีติกถา
สก. รูปที่เป็นปัจจุบันมีอยู่ รูปที่เป็นปัจจุบันยังไม่เกิด ยังไม่มี ยังไม่เกิดพร้อม
ยังไม่บังเกิด ยังไม่บังเกิดขึ้น ยังไม่ปรากฏใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น
สก. เวทนาที่เป็นอดีตมีอยู่ ฯลฯ สัญญา ฯลฯ สังขาร ฯลฯ วิญญาณที่เป็น
อดีตมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. วิญญาณที่เป็นอดีตดับไปแล้ว หายไปแล้ว แปรผันไปแล้ว สูญไปแล้ว
ดับสูญไปแล้วมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากวิญญาณที่เป็นอดีตดับไปแล้ว ฯลฯ ดับสูญไปแล้ว ท่านก็ไม่ควร
ยอมรับว่า “วิญญาณที่เป็นอดีตมีอยู่”
สก. วิญญาณที่เป็นอนาคตมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. วิญญาณที่เป็นอนาคตยังไม่เกิด ยังไม่มี ยังไม่เกิดพร้อม ยังไม่บังเกิด
ยังไม่บังเกิดขึ้น ยังไม่ปรากฏมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากวิญญาณที่เป็นอนาคตยังไม่เกิด ฯลฯ ยังไม่ปรากฏ ท่านก็ไม่ควร
ยอมรับว่า “วิญญาณที่เป็นอนาคตมีอยู่”
สก. วิญญาณที่เป็นปัจจุบันมีอยู่ วิญญาณที่เป็นปัจจุบันยังไม่ดับไป ฯลฯ
ยังไม่ดับสูญไปใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. วิญญาณที่เป็นอดีตมีอยู่ วิญญาณที่เป็นอดีตยังไม่ดับไป ฯลฯ ยังไม่
ดับสูญไปใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๑๘๐ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๕. สัพพมัตถีติกถา
สก. วิญญาณที่เป็นปัจจุบันมีอยู่ วิญญาณที่เป็นปัจจุบันเกิดแล้ว เกิดมีแล้ว
ฯลฯ ปรากฏแล้วใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. วิญญาณที่เป็นอนาคตมีอยู่ วิญญาณที่เป็นอนาคตเกิดแล้ว ฯลฯ ปรากฏ
แล้วใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น
สก. วิญญาณที่เป็นอดีตมีอยู่ วิญญาณที่เป็นอดีตดับไปแล้ว ฯลฯ ดับสูญ
ไปแล้วใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. วิญญาณที่เป็นปัจจุบันมีอยู่ วิญญาณที่เป็นปัจจุบันดับไปแล้ว ฯลฯ ดับ
สูญไปแล้วใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น
สก. วิญญาณที่เป็นอนาคตมีอยู่ วิญญาณที่เป็นอนาคตยังไม่เกิด ฯลฯ ยังไม่
ปรากฏใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. วิญญาณที่เป็นปัจจุบันมีอยู่ วิญญาณที่เป็นปัจจุบันยังไม่เกิด ยังไม่มี
ฯลฯ ยังไม่ปรากฏใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น
[๒๘๕] สก. เมื่อบัญญัติว่า ปัจจุบันกับรูป หรือบัญญัติว่ารูปกับปัจจุบันให้มี
ความหมายว่าปัจจุบันรูป โดยไม่แยก ปัจจุบันและรูปนี้นั้น มีความหมายอย่าง
เดียวกัน เสมอกัน มีส่วนเท่ากัน มีสภาพเหมือนกันใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. รูปที่เป็นปัจจุบันเมื่อดับไป ก็ละความเป็นปัจจุบันได้ใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๑๘๑ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๕. สัพพมัตถีติกถา
สก. ละความเป็นรูปไปด้วยใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เมื่อบัญญัติว่า ปัจจุบันกับรูป หรือบัญญัติว่า รูปกับปัจจุบันให้มีความ
หมายว่าปัจจุบันรูป โดยไม่แยก ปัจจุบันและรูปนี้นั้น มีความหมายอย่างเดียวกัน
เสมอกัน มีส่วนเท่ากัน มีสภาพเหมือนกันใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. รูปที่เป็นปัจจุบันเมื่อดับไป ไม่ละความเป็นรูปใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ไม่ละความเป็นปัจจุบันใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น
ปร. เมื่อบัญญัติว่า สีขาวกับผ้า หรือบัญญัติว่าผ้ากับสีขาว ให้มีความหมาย
ว่า ผ้าสีขาว โดยไม่แยก สีขาวและผ้านี้นั้น มีความหมายอย่างเดียวกัน เสมอกัน
มีส่วนเท่ากัน มีสภาพเหมือนกันใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. ผ้าขาวเมื่อถูกย้อมย่อมละความเป็นผ้าขาวไปด้วยใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. ละความเป็นผ้าไปด้วยใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น
ปร. เมื่อบัญญัติว่า สีขาวกับผ้า หรือบัญญัติว่าผ้ากับสีขาว ให้มีความหมาย
ว่า ผ้าสีขาว โดยไม่แยก สีขาวและผ้านี้นั้น มีความหมายอย่างเดียวกัน เสมอกัน
มีส่วนเท่ากัน มีสภาพเหมือนกันใช่ไหม
สก. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๑๘๒ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๕. สัพพมัตถีติกถา
ปร. ผ้าขาวเมื่อถูกย้อมย่อมไม่ละความเป็นผ้าไปด้วยใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. ไม่ละความเป็นผ้าขาวใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๒๘๖] สก. รูปไม่ละความเป็นรูปใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. รูปเที่ยง ยั่งยืน คงที่ ไม่มีความแปรผันไปเป็นธรรมดาใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. รูปละความเป็นรูปได้ เพราะเหตุนั้น รูปจึงไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืน ไม่คงที่
มีความแปรผันไปเป็นธรรมดามิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากรูปไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืน ไม่คงที่ มีความแปรผันไปเป็นธรรมดา ท่าน
ก็ไม่ควรยอมรับว่า “รูปไม่ละความเป็นรูป”
สก. นิพพานไม่ละความเป็นนิพพาน เพราะเหตุนั้น นิพพานจึงชื่อว่าเที่ยง
ยั่งยืน คงที่ ไม่มีความแปรผันไปเป็นธรรมดาใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. รูปไม่ละความเป็นรูป เพราะเหตุนั้น รูปจึงชื่อว่าเที่ยง ยั่งยืน คงที่
ไม่มีความแปรผันไปเป็นธรรมดาใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. รูปไม่ละความเป็นรูป เพราะเหตุนั้น รูปจึงชื่อว่าไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืน ไม่คงที่
มีความแปรผันไปเป็นธรรมดาใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๑๘๓ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๕. สัพพมัตถีติกถา
สก. นิพพานไม่ละความเป็นนิพพาน เพราะเหตุนั้น นิพพานจึงชื่อว่าไม่เที่ยง
ไม่ยั่งยืน ไม่คงที่ มีความแปรผันไปเป็นธรรมดาใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. อดีตมีอยู่ อดีตไม่ละความเป็นอดีตใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. อนาคตมีอยู่ อนาคตไม่ละความเป็นอนาคตใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. อดีตมีอยู่ อดีตไม่ละความเป็นอดีตใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ปัจจุบันมีอยู่ ปัจจุบันไม่ละความเป็นปัจจุบันใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. อนาคตมีอยู่ อนาคตไม่ละความเป็นอนาคตใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. อดีตมีอยู่ อดีตไม่ละความเป็นอดีตใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ปัจจุบันมีอยู่ ปัจจุบันไม่ละความเป็นปัจจุบันใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. อดีตมีอยู่ อดีตไม่ละความเป็นอดีตใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. อดีตมีอยู่ อดีตไม่ละความเป็นอดีตใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๑๘๔ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๕. สัพพมัตถีติกถา
สก. อดีตเที่ยง ยั่งยืน คงที่ ไม่มีความแปรผันไปเป็นธรรมดาใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. อดีตไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืน ไม่คงที่ มีความแปรผันไปเป็นธรรมดามิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากอดีตไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืน ไม่คงที่ มีความแปรผันไปเป็นธรรมดา
ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “อดีตมีอยู่ อดีตไม่ละความเป็นอดีต”
สก. นิพพานมีอยู่ นิพพานไม่ละความเป็นนิพพาน เพราะเหตุนั้น นิพพาน
จึงชื่อว่าเที่ยง ยั่งยืน คงที่ ไม่มีความแปรผันไปเป็นธรรมดาใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. อดีตมีอยู่ อดีตไม่ละความเป็นอดีต เพราะเหตุนั้น อดีตจึงชื่อว่าเที่ยง
ยั่งยืน คงที่ ไม่มีความแปรผันไปเป็นธรรมดาใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. อดีตมีอยู่ อดีตไม่ละความเป็นอดีต เพราะเหตุนั้น อดีตจึงชื่อว่าไม่เที่ยง
ไม่ยั่งยืน ไม่คงที่ มีความแปรผันไปเป็นธรรมดาใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. นิพพานมีอยู่ นิพพานไม่ละความเป็นนิพพาน เพราะเหตุนั้น นิพพาน
จึงชื่อว่าไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืน ไม่คงที่ มีความแปรผันไปเป็นธรรดาใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๒๘๗] สก. รูปที่เป็นอดีตมีอยู่ รูปที่เป็นอดีตไม่ละความเป็นอดีตใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. รูปที่เป็นอนาคตมีอยู่ รูปที่เป็นอนาคตไม่ละความเป็นอนาคตใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๑๘๕ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๕. สัพพมัตถีติกถา
สก. รูปที่เป็นอดีตมีอยู่ รูปที่เป็นอดีตไม่ละความเป็นอดีตใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. รูปที่เป็นปัจจุบันมีอยู่ รูปที่เป็นปัจจุบันไม่ละความเป็นปัจจุบันใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. รูปที่เป็นอนาคตมีอยู่ รูปที่เป็นอนาคตไม่ละความเป็นอนาคตใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. รูปที่เป็นอดีตมีอยู่ รูปที่เป็นอดีตไม่ละความเป็นอดีตใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. รูปที่เป็นปัจจุบันมีอยู่ รูปที่เป็นปัจจุบันไม่ละความเป็นปัจจุบันใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. รูปที่เป็นอดีตมีอยู่ รูปที่เป็นอดีตไม่ละความเป็นอดีตใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. รูปที่เป็นอดีตมีอยู่ รูปที่เป็นอดีตไม่ละความเป็นอดีตใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. รูปที่เป็นอดีตเที่ยง ยั่งยืน คงที่ ไม่มีความแปรผันไปเป็นธรรมดาใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. รูปที่เป็นอดีตไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืน ไม่คงที่ มีความแปรผันไปเป็น
ธรรมดามิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากรูปที่เป็นอดีตไม่เที่ยง ฯลฯ มีความแปรผันไปเป็นธรรมดา ท่าน
ก็ไม่ควรยอมรับว่า “รูปที่เป็นอดีตมีอยู่ รูปที่เป็นอดีตไม่ละความเป็นอดีต”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๑๘๖ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๕. สัพพมัตถีติกถา
สก. นิพพานมีอยู่ นิพพานไม่ละความเป็นนิพพาน นิพพานจึงเที่ยง ยั่งยืน
คงที่ ไม่มีความแปรผันไปเป็นธรรมดาใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. รูปที่เป็นอดีตมีอยู่ รูปที่เป็นอดีตไม่ละความเป็นอดีต รูปที่เป็นอดีตจึง
เที่ยง ยั่งยืน คงที่ ไม่มีความแปรผันไปเป็นธรรมดาใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. รูปที่เป็นอดีตมีอยู่ รูปที่เป็นอดีตไม่ละความเป็นอดีต รูปที่เป็นอดีตจึง
ไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืน ไม่คงที่ มีความแปรผันไปเป็นธรรมดาใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. นิพพานมีอยู่ นิพพานไม่ละความเป็นนิพพาน นิพพานจึงไม่เที่ยง
ไม่ยั่งยืน ไม่คงที่ มีความแปรผันไปเป็นธรรมดาใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เวทนาที่เป็นอดีต ... สัญญาที่เป็นอดีต ... สังขารที่เป็นอดีต ฯลฯ
วิญญาณที่เป็นอดีตมีอยู่ วิญญาณที่เป็นอดีตไม่ละความเป็นอดีตใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. วิญญาณที่เป็นอนาคตมีอยู่ วิญญาณที่เป็นอนาคตไม่ละความเป็น
อนาคตใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. วิญญาณที่เป็นอดีตมีอยู่ วิญญาณที่เป็นอดีตไม่ละความเป็นอดีตใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. วิญญาณที่เป็นปัจจุบันมีอยู่ วิญญาณที่เป็นปัจจุบันไม่ละความเป็น
ปัจจุบันใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๑๘๗ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๕. สัพพมัตถีติกถา
สก. วิญญาณที่เป็นอนาคตมีอยู่ วิญญาณที่เป็นอนาคตไม่ละความเป็น
อนาคตใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. วิญญาณที่เป็นอดีตมีอยู่ วิญญาณที่เป็นอดีตไม่ละความเป็นอดีตใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. วิญญาณที่เป็นปัจจุบันมีอยู่ วิญญาณที่เป็นปัจจุบันไม่ละความเป็น
ปัจจุบันใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. วิญญาณที่เป็นอดีตมีอยู่ วิญญาณที่เป็นอดีตไม่ละความเป็นอดีตใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. วิญญาณที่เป็นอดีตมีอยู่ วิญญาณที่เป็นอดีตไม่ละความเป็นอดีตใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. วิญญาณที่เป็นอดีตเที่ยง ยั่งยืน คงที่ ไม่มีความแปรผันไปเป็น
ธรรมดาใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. วิญญาณที่เป็นอดีตไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืน ไม่คงที่ มีความแปรผันไปเป็น
ธรรมดามิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากวิญญาณที่เป็นอดีตไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืน ไม่คงที่ มีความแปรผันไป
เป็นธรรมดา ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “วิญญาณที่เป็นอดีตมีอยู่ วิญญาณที่เป็น
อดีตไม่ละความเป็นอดีต”
สก. นิพพานมีอยู่ นิพพานไม่ละความเป็นนิพพาน นิพพานจึงเที่ยง ยั่งยืน
คงที่ ไม่มีความแปรผันไปเป็นธรรมดาใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๑๘๘ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๕. สัพพมัตถีติกถา
สก. วิญญาณที่เป็นอดีตมีอยู่ วิญญาณที่เป็นอดีตไม่ละความเป็นอดีต
วิญญาณที่เป็นอดีตจึงเที่ยง ยั่งยืน คงที่ ไม่มีความแปรผันไปเป็นธรรมดาใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. วิญญาณที่เป็นอดีตมีอยู่ วิญญาณที่เป็นอดีตไม่ละความเป็นอดีต
วิญญาณที่เป็นอดีตจึงไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืน ไม่คงที่ มีความแปรผันไปเป็นธรรมดาใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. นิพพานมีอยู่ นิพพานไม่ละความเป็นนิพพาน นิพพานจึงไม่เที่ยง
ไม่ยั่งยืน ไม่คงที่ มีความแปรผันไปเป็นธรรมดาใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

วจนโสธนา
ว่าด้วยการซักฟอกถ้อยคำ
[๒๘๘] สก. อดีตไม่ใช่สภาวะที่มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. หากอดีตไม่ใช่สภาวะที่มีอยู่ คำว่า “อดีตมีอยู่” ก็ผิด ก็หรือว่า
หากสภาวะที่มีอยู่ไม่ใช่อดีต คำว่า “สภาวะที่มีอยู่เป็นอดีต” ก็ผิด
สก. อนาคตไม่ใช่สภาวะที่มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. หากอนาคตไม่ใช่สภาวะที่มีอยู่ คำว่า “อนาคตมีอยู่” ก็ผิด ก็หรือว่า
หากสภาวะที่มีอยู่มิใช่อนาคต คำว่า “สภาวะที่มีอยู่เป็นอนาคต” ก็ผิด
สก. สภาวะที่มีอยู่เป็นอนาคตแล้วจึงเป็นปัจจุบันใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๑๘๙ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๕. สัพพมัตถีติกถา
สก. อนาคตกับปัจจุบันเป็นอย่างเดียวกันใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. อนาคตกับปัจจุบันเป็นอย่างเดียวกันใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สภาวะที่มีอยู่เป็น(อนาคต) แล้วจึงเป็น(ปัจจุบัน) เป็น(ปัจจุบัน) แล้วจึง
เป็น(อนาคต) ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สภาวะที่มีอยู่เป็น(อนาคต) แล้วจึงเป็น(ปัจจุบัน) เป็น(ปัจจุบัน) แล้ว
จึงเป็น(อนาคต) ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สภาวะที่มีอยู่ไม่เป็น(อนาคต) แล้วจึงไม่เป็น(ปัจจุบัน) ไม่เป็น(ปัจจุบัน)
แล้วจึงไม่เป็น(อนาคต) ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เป็นปัจจุบันแล้วจึงเป็นอดีตใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ปัจจุบันกับอดีตเป็นอย่างเดียวกันใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ปัจจุบันกับอดีตเป็นอย่างเดียวกันใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สภาวะที่มีอยู่เป็น(ปัจจุบัน) แล้วจึงเป็น(อดีต) เป็น(อดีต) แล้วจึง
เป็น(ปัจจุบัน) ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๑๙๐ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๕. สัพพมัตถีติกถา
สก. สภาวะที่มีอยู่เป็น(ปัจจุบัน) แล้วจึงเป็น(อดีต) เป็น(อดีต) แล้วจึง
เป็น(ปัจจุบัน) ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สภาวะที่มีอยู่ไม่เป็น(ปัจจุบัน) แล้วจึงไม่เป็น(อดีต) ไม่เป็น(อดีต)
แล้วจึงไม่เป็น(ปัจจุบัน) ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เป็นอนาคตแล้วจึงเป็นปัจจุบัน เป็นปัจจุบันแล้วจึงเป็นอดีตใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. อนาคต ปัจจุบัน และอดีตเป็นอย่างเดียวกันใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. อนาคต ปัจจุบัน และอดีตเป็นอย่างเดียวกันใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สภาวะที่มีอยู่เป็นอนาคตแล้วจึงเป็น(ปัจจุบันและอดีต) เป็น(ปัจจุบัน
และอดีต) แล้วจึงเป็น(อนาคต) ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สภาวะที่มีอยู่เป็นอนาคตแล้วจึงเป็น(ปัจจุบันและอดีต) เป็น(ปัจจุบัน
และอดีต) แล้วจึงเป็น(อนาคต) ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สภาวะที่มีอยู่ไม่เป็นอนาคตแล้วจึงไม่เป็น(ปัจจุบันและอดีต) ไม่เป็น
(ปัจจุบันและอดีต) แล้วจึงไม่เป็นอนาคตใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๑๙๑ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๕. สัพพมัตถีติกถา
อตีตจักขุรูปาทิกถา
ว่าด้วยจักษุและรูปที่เป็นอดีต เป็นต้น
[๒๘๙] สก. จักขุประสาท รูปารมณ์ จักขุวิญญาณ แสงสว่าง มนสิการ
ที่เป็นอดีตมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลเห็นรูปที่เป็นอดีตได้ด้วยจักขุประสาทที่เป็นอดีตใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. โสตประสาท สัททารมณ์ โสตวิญญาณ อากาสธาตุ มนสิการ
ที่เป็นอดีตมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลได้ยินเสียงที่เป็นอดีตได้ด้วยโสตประสาทที่เป็นอดีตใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ฆานประสาท คันธารมณ์ ฆานวิญญาณ วาโยธาตุ มนสิการ
ที่เป็นอดีตมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลดมกลิ่นที่เป็นอดีตได้ด้วยฆานประสาทที่เป็นอดีตใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ชิวหาประสาท รสารมณ์ ชิวหาวิญญาณ อาโปธาตุ มนสิการ
ที่เป็นอดีตมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลลิ้มรสที่เป็นอดีตได้ด้วยชิวหาประสาทที่เป็นอดีตใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๑๙๒ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๕. สัพพมัตถีติกถา
สก. กายประสาท โผฏฐัพพารมณ์ กายวิญญาณ ปฐวีธาตุ มนสิการ
ที่เป็นอดีตมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลถูกต้องโผฏฐัพพะที่เป็นอดีตได้ด้วยกายประสาทที่เป็นอดีตใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. มโนทวาร ธรรมารมณ์ มโนวิญญาณ หทัยวัตถุ มนสิการที่เป็นอดีต
มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลรู้ธรรมารมณ์ที่เป็นอดีตได้ด้วยมโนทวารที่เป็นอดีตใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. จักขุประสาท รูปารมณ์ จักขุวิญญาณ แสงสว่าง มนสิการที่เป็นอนาคต
มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลเห็นรูปที่เป็นอนาคตได้ด้วยจักขุประสาทที่เป็นอนาคตใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. โสตประสาท ฯลฯ ฆานประสาท ฯลฯ ชิวหาประสาท ฯลฯ กาย-
ประสาท ฯลฯ มโนทวาร ธรรมารมณ์ มโนวิญญาณ หทัยวัตถุ มนสิการที่เป็น
อนาคตมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลรู้ธรรมารมณ์ที่เป็นอนาคตได้ด้วยมโนทวารที่เป็นอนาคตใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๑๙๓ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๕. สัพพมัตถีติกถา
สก. จักขุประสาท รูปารมณ์ จักขุวิญญาณ แสงสว่าง มนสิการที่เป็น
ปัจจุบันมีอยู่ บุคคลเห็นรูปที่เป็นปัจจุบันได้ด้วยจักขุประสาทที่เป็นปัจจุบันใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. จักขุประสาท รูปารมณ์ จักขุวิญญาณ แสงสว่าง มนสิการที่เป็นอดีต
มีอยู่ บุคคลเห็นรูปที่เป็นอดีตได้ด้วยจักขุประสาทที่เป็นอดีตใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. โสตประสาท ฯลฯ ฆานประสาท ฯลฯ ชิวหาประสาท ฯลฯ
กายประสาท ฯลฯ มโนทวาร ธรรมารมณ์ มโนวิญญาณ หทัยวัตถุ มนสิการที่
เป็นปัจจุบันมีอยู่ บุคคลรู้ธรรมารมณ์ที่เป็นปัจจุบันได้ ด้วยมโนทวารที่เป็นปัจจุบัน
ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. มโนทวาร ธรรมารมณ์ มโนวิญญาณ หทัยวัตถุ มนสิการที่เป็นอดีตมีอยู่
บุคคลรู้ธรรมารมณ์ที่เป็นอดีตได้ด้วยมโนทวารที่เป็นอดีตใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. จักขุประสาท รูปารมณ์ จักขุวิญญาณ แสงสว่าง มนสิการที่เป็น
ปัจจุบันมีอยู่ บุคคลเห็นรูปที่เป็นปัจจุบันได้ด้วยจักขุประสาทที่เป็นปัจจุบันใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. จักขุประสาท รูปารมณ์ จักขุวิญญาณ แสงสว่าง มนสิการที่เป็นอนาคต
มีอยู่ บุคคลเห็นรูปที่เป็นอนาคตได้ด้วยจักขุประสาทที่เป็นอนาคตใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. โสตประสาท ฯลฯ ฆานประสาท ฯลฯ ชิวหาประสาท ฯลฯ
กายประสาท ฯลฯ มโนทวาร ธรรมารมณ์ มโนวิญญาณ หทัยวัตถุ มนสิการที่
เป็นปัจจุบันมีอยู่ บุคคลรู้ธรรมารมณ์ที่เป็นปัจจุบันได้ ด้วยมโนทวารที่เป็นปัจจุบัน
ใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๑๙๔ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๕. สัพพมัตถีติกถา
สก. มโนทวาร ธรรมารมณ์ มโนวิญญาณ หทัยวัตถุ มนสิการที่เป็นอนาคต
มีอยู่ บุคคลรู้ธรรมารมณ์ที่เป็นอนาคตได้ด้วยมโนทวารที่เป็นอนาคตใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. จักขุประสาท รูปารมณ์ จักขุวิญญาณ แสงสว่าง มนสิการที่เป็นอดีต
มีอยู่ แต่บุคคลไม่เห็นรูปที่เป็นอดีตด้วยจักขุประสาทที่เป็นอดีตใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. จักขุประสาท รูปารมณ์ จักขุวิญญาณ แสงสว่าง และมนสิการที่เป็น
ปัจจุบันมีอยู่ แต่บุคคลไม่เห็นรูปที่เป็นปัจจุบันด้วยจักขุประสาทที่เป็นปัจจุบันใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. โสตประสาท ฯลฯ ฆานประสาท ฯลฯ ชิวหาประสาท ฯลฯ กาย-
ประสาท ฯลฯ มโนทวาร ธรรมารมณ์ มโนวิญญาณ หทัยวัตถุ มนสิการที่เป็น
อดีตมีอยู่ แต่บุคคลไม่รู้ธรรมารมณ์ที่เป็นอดีตด้วยมโนทวารที่เป็นอดีตใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. มโนทวาร ธรรมารมณ์ มโนวิญญาณ หทัยวัตถุ มนสิการที่เป็นปัจจุบัน
มีอยู่ แต่บุคคลไม่รู้ธรรมารมณ์ที่เป็นปัจจุบันด้วยมโนทวารที่เป็นปัจจุบันใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. จักขุประสาท รูปารมณ์ จักขุวิญญาณ แสงสว่าง มนสิการที่เป็นอนาคต
มีอยู่ แต่บุคคลไม่เห็นรูปที่เป็นอนาคตด้วยจักขุประสาทที่เป็นอนาคตใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. จักขุประสาท รูปารมณ์ จักขุวิญญาณ แสงสว่าง มนสิการที่เป็นปัจจุบัน
มีอยู่ แต่บุคคลไม่เห็นรูปที่เป็นปัจจุบันด้วยจักขุประสาทที่เป็นปัจจุบันใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๑๙๕ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๕. สัพพมัตถีติกถา
สก. โสตประสาท ฯลฯ ฆานประสาท ฯลฯ ชิวหาประสาท ฯลฯ กาย-
ประสาท ฯลฯ มโนทวาร ธรรมารมณ์ มโนวิญญาณ หทัยวัตถุ มนสิการที่
เป็นอนาคตมีอยู่ แต่บุคคลไม่รู้ธรรมารมณ์ที่เป็นอนาคตด้วยมโนทวารที่เป็นอนาคต
ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. มโนทวาร ธรรมารมณ์ มโนวิญญาณ หทัยวัตถุ มนสิการที่เป็น
ปัจจุบันมีอยู่ แต่บุคคลไม่รู้ธรรมารมณ์ที่เป็นปัจจุบันด้วยมโนทวารที่เป็นปัจจุบัน
ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

อตีตญาณาทิกถา
ว่าด้วยญาณที่เป็นอดีต เป็นต้น
[๒๙๐] สก. ญาณที่เป็นอดีตมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลทำกิจที่ควรทำด้วยญาณได้ด้วยญาณนั้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลทำกิจที่ควรทำด้วยญาณได้ด้วยญาณนั้นใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลกำหนดรู้ทุกข์ ละสมุทัย ทำให้แจ้งนิโรธ เจริญมรรคได้ด้วยญาณ
นั้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ญาณที่เป็นอนาคตมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๑๙๖ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๕. สัพพมัตถีติกถา
สก. บุคคลทำกิจที่ควรทำด้วยญาณได้ด้วยญาณนั้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลทำกิจที่ควรทำด้วยญาณได้ด้วยญาณนั้นใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลกำหนดรู้ทุกข์ ละสมุทัย ทำให้แจ้งนิโรธ เจริญมรรคได้ด้วยญาณ
นั้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ญาณที่เป็นปัจจุบันมีอยู่ บุคคลทำกิจที่ควรทำด้วยญาณได้ด้วยญาณนั้น
ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ญาณที่เป็นอดีตมีอยู่ บุคคลทำกิจที่ควรทำด้วยญาณได้ด้วยญาณนั้น
ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ญาณที่เป็นปัจจุบันมีอยู่ บุคคลกำหนดรู้ทุกข์ ละสมุทัย ทำให้แจ้งนิโรธ
เจริญมรรคได้ด้วยญาณนั้นใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ญาณที่เป็นอดีตมีอยู่ บุคคลกำหนดรู้ทุกข์ ละสมุทัย ทำให้แจ้งนิโรธ
เจริญมรรคได้ด้วยญาณนั้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ญาณที่เป็นปัจจุบันมีอยู่ บุคคลทำกิจที่ควรทำด้วยญาณได้ด้วยญาณ
นั้นใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๑๙๗ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๕. สัพพมัตถีติกถา
สก. ญาณที่เป็นอนาคตมีอยู่ บุคคลทำกิจที่ควรทำด้วยญาณได้ด้วยญาณนั้น
ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ญาณที่เป็นปัจจุบันมีอยู่ บุคคลกำหนดรู้ทุกข์ ละสมุทัย ทำให้แจ้งนิโรธ
เจริญมรรคได้ด้วยญาณนั้นใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ญาณที่เป็นอนาคตมีอยู่ บุคคลกำหนดรู้ทุกข์ ละสมุทัย ทำให้แจ้งนิโรธ
เจริญมรรคได้ด้วยญาณนั้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ญาณที่เป็นอดีตมีอยู่ แต่บุคคลไม่ทำกิจที่ควรทำด้วยญาณได้ด้วยญาณ
นั้นใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ญาณที่เป็นปัจจุบันมีอยู่ แต่บุคคลไม่ทำกิจที่ควรทำด้วยญาณได้ด้วย
ญาณนั้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ญาณที่เป็นอดีตมีอยู่ แต่บุคคลไม่กำหนดรู้ทุกข์ ไม่ละสมุทัย ไม่ทำให้
แจ้งนิโรธ ไม่เจริญมรรคได้ด้วยญาณนั้นใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ญาณที่เป็นปัจจุบันมีอยู่ แต่บุคคลไม่กำหนดรู้ทุกข์ ไม่ละสมุทัย ไม่ทำ
ให้แจ้งนิโรธ ไม่เจริญมรรคได้ด้วยญาณนั้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ญาณที่เป็นอนาคตมีอยู่ แต่บุคคลไม่ทำกิจที่ควรทำด้วยญาณได้ด้วย
ญาณนั้นใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๑๙๘ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๕. สัพพมัตถีติกถา
สก. ญาณที่เป็นปัจจุบันมีอยู่ แต่บุคคลไม่ทำกิจที่ควรทำด้วยญาณได้ด้วย
ญาณนั้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ญาณที่เป็นอนาคตมีอยู่ แต่บุคคลไม่กำหนดรู้ทุกข์ ไม่ละสมุทัย ไม่ทำให้
แจ้งนิโรธ ไม่เจริญมรรคได้ด้วยญาณนั้นใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ญาณที่เป็นปัจจุบันมีอยู่ แต่บุคคลไม่กำหนดรู้ทุกข์ ไม่ละสมุทัย ไม่ทำให้
แจ้งนิโรธ ไม่เจริญมรรคได้ด้วยญาณนั้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

อรหันตาทิกถา
ว่าด้วยพระอรหันต์ เป็นต้น
[๒๙๑] สก. ราคะที่เป็นอดีตของพระอรหันต์มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระอรหันต์ชื่อว่ามีราคะด้วยราคะนั้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. โทสะที่เป็นอดีตของพระอรหันต์มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระอรหันต์ชื่อว่ามีโทสะด้วยโทสะนั้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. โมหะที่เป็นอดีตของพระอรหันต์มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๑๙๙ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๕. สัพพมัตถีติกถา
สก. พระอรหันต์ชื่อว่ามีโมหะด้วยโมหะนั้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. มานะที่เป็นอดีตของพระอรหันต์มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระอรหันต์ชื่อว่ามีมานะด้วยมานะนั้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ทิฏฐิที่เป็นอดีตของพระอรหันต์มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระอรหันต์ชื่อว่ามีทิฏฐิด้วยทิฏฐินั้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. วิจิกิจฉาที่เป็นอดีตของพระอรหันต์มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระอรหันต์ชื่อว่ามีวิจิกิจฉาด้วยวิจิกิจฉานั้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ถีนะที่เป็นอดีตของพระอรหันต์มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระอรหันต์ชื่อว่ามีถีนะด้วยถีนะนั้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. อุทธัจจะที่เป็นอดีตของพระอรหันต์มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระอรหันต์ชื่อว่ามีอุทธัจจะด้วยอุทธัจจะนั้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๒๐๐ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๕. สัพพมัตถีติกถา
สก. อหิริกะที่เป็นอดีตของพระอรหันต์มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระอรหันต์ชื่อว่ามีอหิริกะด้วยอหิริกะนั้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. อโนตตัปปะที่เป็นอดีตของพระอรหันต์มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระอรหันต์ชื่อว่ามีอโนตตัปปะด้วยอโนตตัปปะนั้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สักกายทิฏฐิที่เป็นอดีตของพระอนาคามีมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระอนาคามีชื่อว่ามีทิฏฐิด้วยทิฏฐินั้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. วิจิกิจฉาที่เป็นอดีต ฯลฯ สีลัพพตปรามาสที่เป็นอดีต ฯลฯ กามราคะ
อย่างละเอียดที่เป็นอดีต ฯลฯ พยาบาทอย่างละเอียดที่เป็นอดีตของพระอนาคามี
มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระอนาคามีชื่อว่ามีจิตพยาบาทด้วยพยาบาทนั้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สักกายทิฏฐิที่เป็นอดีตของพระสกทาคามีมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสกทาคามีชื่อว่ามีทิฏฐิด้วยทิฏฐินั้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๒๐๑ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๕. สัพพมัตถีติกถา
สก. วิจิกิจฉาที่เป็นอดีต ... สีลัพพตปรามาสที่เป็นอดีต ... กามราคะอย่าง
หยาบที่เป็นอดีต ... พยาบาทอย่างหยาบที่เป็นอดีตของพระสกทาคามีมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสกทาคามีชื่อว่ามีจิตพยาบาทด้วยพยาบาทนั้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สักกายทิฏฐิที่เป็นอดีตของพระโสดาบันมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระโสดาบันชื่อว่ามีทิฏฐิด้วยทิฏฐินั้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. วิจิกิจฉาที่เป็นอดีต ... สีลัพพตปรามาสที่เป็นอดีต ... ราคะที่เป็นเหตุให้
สัตว์ไปสู่อบายที่เป็นอดีต ... โทสะที่เป็นเหตุให้สัตว์ไปสู่อบายที่เป็นอดีต ... โมหะที่
เป็นเหตุให้สัตว์ไปสู่อบายที่เป็นอดีตของพระโสดาบันมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระโสดาบันชื่อว่ามีโมหะด้วยโมหะนั้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๒๙๒] สก. ราคะที่เป็นอดีตของปุถุชนมีอยู่ ปุถุชนชื่อว่ามีราคะด้วยราคะ
นั้นใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ราคะที่เป็นอดีตของพระอรหันต์มีอยู่ พระอรหันต์ชื่อว่ามีราคะด้วยราคะ
นั้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๒๐๒ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๕. สัพพมัตถีติกถา
สก. โทสะที่เป็นอดีต ฯลฯ อโนตตัปปะที่เป็นอดีตของปุถุชนมีอยู่ ปุถุชนชื่อว่า
มีอโนตตัปปะด้วยอโนตตัปปะนั้นใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. อโนตตัปปะที่เป็นอดีตของพระอรหันต์มีอยู่ พระอรหันต์ชื่อว่ามีอโนตตัปปะ
ด้วยอโนตตัปปะนั้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สักกายทิฏฐิที่เป็นอดีตของปุถุชนมีอยู่ ปุถุชนชื่อว่ามีทิฏฐิด้วยทิฏฐินั้นใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สักกายทิฏฐิที่เป็นอดีตของพระอนาคามีมีอยู่ พระอนาคามีชื่อว่ามีทิฏฐิ
ด้วยทิฏฐินั้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. วิจิกิจฉาที่เป็นอดีต ฯลฯ พยาบาทอย่างละเอียดที่เป็นอดีตของปุถุชน
มีอยู่ ปุถุชนชื่อว่ามีจิตพยาบาทด้วยพยาบาทนั้นใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พยาบาทอย่างละเอียดที่เป็นอดีตของพระอนาคามีมีอยู่ พระอนาคามี
ชื่อว่ามีจิตพยาบาทด้วยพยาบาทนั้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สักกายทิฏฐิที่เป็นอดีตของปุถุชนมีอยู่ ปุถุชนชื่อว่ามีทิฏฐิด้วยทิฏฐินั้น
ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สักกายทิฏฐิที่เป็นอดีตของพระสกทาคามีมีอยู่ พระสกทาคามีชื่อว่ามีทิฏฐิ
ด้วยทิฏฐินั้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๒๐๓ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๕. สัพพมัตถีติกถา
สก. วิจิกิจฉาที่เป็นอดีต ฯลฯ พยาบาทอย่างหยาบที่เป็นอดีตของปุถุชนมีอยู่
ปุถุชนชื่อว่ามีจิตพยาบาทด้วยพยาบาทนั้นใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พยาบาทอย่างหยาบที่เป็นอดีตของพระสกทาคามีมีอยู่ พระสกทาคามี
ชื่อว่ามีจิตพยาบาทด้วยพยาบาทนั้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สักกายทิฏฐิที่เป็นอดีตของปุถุชนมีอยู่ ปุถุชนชื่อว่ามีทิฏฐิด้วยทิฏฐินั้น
ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สักกายทิฏฐิที่เป็นอดีตของพระโสดาบันมีอยู่ พระโสดาบันชื่อว่ามีทิฏฐิ
ด้วยทิฏฐินั้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. วิจิกิจฉาที่เป็นอดีต ฯลฯ โมหะที่เป็นเหตุให้สัตว์ไปสู่อบายที่เป็นอดีตของ
ปุถุชนมีอยู่ ปุถุชนชื่อว่ามีโมหะด้วยโมหะนั้นใช่ไหม ปร. ใช่
สก. โมหะที่เป็นเหตุให้สัตว์ไปสู่อบายที่เป็นอดีตของพระโสดาบันมีอยู่ พระ
โสดาบันชื่อว่ามีโมหะด้วยโมหะนั้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ราคะที่เป็นอดีตของพระอรหันต์มีอยู่ แต่พระอรหันต์ไม่ชื่อว่ามีราคะ
ด้วยราคะนั้นใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ราคะที่เป็นอดีตของปุถุชนมีอยู่ แต่ปุถุชนไม่ชื่อว่ามีราคะด้วยราคะนั้น
ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๒๐๔ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๕. สัพพมัตถีติกถา
สก. โทสะที่เป็นอดีต ฯลฯ อโนตตัปปะที่เป็นอดีตของพระอรหันต์มีอยู่ แต่
พระอรหันต์ไม่ชื่อว่ามีอโนตตัปปะด้วยอโนตตัปปะนั้นใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. อโนตตัปปะที่เป็นอดีตของปุถุชนมีอยู่ แต่ปุถุชนไม่ชื่อว่ามีอโนตตัปปะ
ด้วยอโนตตัปปะนั้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สักกายทิฏฐิที่เป็นอดีตของพระอนาคามีมีอยู่ แต่พระอนาคามีไม่ชื่อว่ามี
ทิฏฐิด้วยทิฏฐินั้นใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สักกายทิฏฐิที่เป็นอดีตของปุถุชนมีอยู่ แต่ปุถุชนไม่ชื่อว่ามีทิฏฐิด้วยทิฏฐิ
นั้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. วิจิกิจฉาที่เป็นอดีต ฯลฯ พยาบาทอย่างละเอียดที่เป็นอดีตของ
พระอนาคามีมีอยู่ แต่พระอนาคามีไม่ชื่อว่ามีจิตพยาบาทด้วยพยาบาทนั้นใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พยาบาทอย่างละเอียดที่เป็นอดีตของปุถุชนมีอยู่ แต่ปุถุชนไม่ชื่อว่ามี
จิตพยาบาทด้วยพยาบาทนั้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สักกายทิฏฐิที่เป็นอดีตของพระสกทาคามีมีอยู่ แต่พระสกทาคามีไม่
ชื่อว่ามีทิฏฐิด้วยทิฏฐินั้นใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สักกายทิฏฐิที่เป็นอดีตของปุถุชนมีอยู่ แต่ปุถุชนไม่ชื่อว่ามีทิฏฐิด้วย
ทิฏฐินั้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๒๐๕ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๕. สัพพมัตถีติกถา
สก. วิจิกิจฉาที่เป็นอดีต ฯลฯ พยาบาทอย่างหยาบที่เป็นอดีตของ
พระสกทาคามีมีอยู่ แต่พระสกทาคามีไม่ชื่อว่ามีจิตพยาบาทด้วยพยาบาทนั้นใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พยาบาทอย่างหยาบที่เป็นอดีตของปุถุชนมีอยู่ แต่ปุถุชนไม่ชื่อว่ามี
จิตพยาบาทด้วยพยาบาทนั้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สักกายทิฏฐิที่เป็นอดีตของพระโสดาบันมีอยู่ แต่พระโสดาบันไม่ชื่อว่า
มีทิฏฐิด้วยทิฏฐินั้นใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สักกายทิฏฐิที่เป็นอดีตของปุถุชนมีอยู่ แต่ปุถุชนไม่ชื่อว่ามีทิฏฐิด้วย
ทิฏฐินั้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. วิจิกิจฉาที่เป็นอดีต ฯลฯ โมหะที่เป็นเหตุให้สัตว์ไปสู่อบายที่เป็นอดีตของ
พระโสดาบันมีอยู่ แต่พระโสดาบันไม่ชื่อว่ามีโมหะด้วยโมหะนั้นใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. โมหะที่เป็นเหตุให้สัตว์ไปสู่อบายที่เป็นอดีตของปุถุชนมีอยู่ แต่ปุถุชน
ไม่ชื่อว่ามีโมหะด้วยโมหะนั้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๒๐๖ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๕. สัพพมัตถีติกถา
อตีตหัตถาทิกถา
ว่าด้วยมือที่เป็นอดีต เป็นต้น
[๒๙๓] สก. มือที่เป็นอดีตมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เมื่อมือที่เป็นอดีตมีอยู่ การจับและการวางย่อมปรากฏใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เท้าที่เป็นอดีตมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เมื่อเท้าที่เป็นอดีตมีอยู่ การก้าวไปและถอยกลับย่อมปรากฏใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ข้อพับที่เป็นอดีตมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เมื่อข้อพับที่เป็นอดีตมีอยู่ การคู้เข้าและเหยียดออกย่อมปรากฏใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ท้องที่เป็นอดีตมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เมื่อท้องที่เป็นอดีตมีอยู่ ความหิวและกระหายย่อมปรากฏใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. กายที่เป็นอดีตมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. กายที่เป็นอดีตได้รับการยกย่องและการลงโทษ ได้รับการตัดและการทำลาย
เป็นของทั่วไปแก่ฝูงกา แร้ง เหยี่ยวใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๒๐๗ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๕. สัพพมัตถีติกถา
สก. ยาพิษ ศัสตรา ไฟ พึงกล้ำกรายเข้าไปในกายที่เป็นอดีตใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. กายที่เป็นอดีตยังถูกจองจำด้วยเครื่องจองจำคือขื่อคา เครื่องจองจำ
คือเชือก เครื่องจองจำคือโซ่ตรวน เครื่องจองจำคือบ้าน เครื่องจองจำคือนิคม
เครื่องจองจำคือนคร เครื่องจองจำคือชนบท ด้วยการจองจำมีการผูกที่คอเป็นที่ ๕๑
ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. น้ำที่เป็นอดีตมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลทำกิจที่ต้องทำด้วยน้ำได้ด้วยน้ำนั้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ไฟที่เป็นอดีตมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลทำกิจที่ควรทำด้วยไฟได้ด้วยไฟนั้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ลมที่เป็นอดีตมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลทำกิจที่ควรทำด้วยลมได้ด้วยลมนั้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

เชิงอรรถ :
๑ การจองจำมีการผูกคอเป็นที่ ๕ คือ มือ ๒ เท้า ๒ คอ ๑ เรียกเครื่องจองจำนี้ว่า จำห้าประการ
ได้แก่ (๑) ตรวนใส่เท้า (๒) เท้าติดขื่อไม้ (๓) โซ่ล่ามคอ (๔) คาไม้ใส่คอทับโซ่ (๕) มือ ๒ ข้าง สอด
เข้าไปในคาและไปติดกับขื่อไม้ (พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๒๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๒๐๘ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๕. สัพพมัตถีติกถา
อตีตักขันธาทิสโมธานกถา
ว่าด้วยการประมวลขันธ์ที่เป็นอดีต เป็นต้น
[๒๙๔] สก. รูปขันธ์ที่เป็นอดีต ที่เป็นอนาคต ที่เป็นปัจจุบัน มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. รูปขันธ์มี ๓ ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ขันธ์ ๕ ที่เป็นอดีต ที่เป็นอนาคต ที่เป็นปัจจุบัน มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ขันธ์มี ๑๕ ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. จักขายตนะที่เป็นอดีต ที่เป็นอนาคต ที่เป็นปัจจุบัน มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. จักขายตนะมี ๓ ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. อายตนะ ๑๒ ที่เป็นอดีต ที่เป็นอนาคต ที่เป็นปัจจุบัน มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. อายตนะมี ๓๖ ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. จักขุธาตุที่เป็นอดีต ที่เป็นอนาคต ที่เป็นปัจจุบัน มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. จักขุธาตุมี ๓ ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๒๐๙ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๕. สัพพมัตถีติกถา
สก. ธาตุ ๑๘ ที่เป็นอดีต ที่เป็นอนาคต ที่เป็นปัจจุบัน มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ธาตุมี ๕๔ ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. จักขุนทรีย์ที่เป็นอดีต ที่เป็นอนาคต ที่เป็นปัจจุบัน มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. จักขุนทรีย์มี ๓ ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. อินทรีย์ ๒๒ ที่เป็นอดีต ที่เป็นอนาคต ที่เป็นปัจจุบัน มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. อินทรีย์มี ๖๖ ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระเจ้าจักรพรรดิที่เป็นอดีต ที่เป็นอนาคต ที่เป็นปัจจุบัน มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระเจ้าจักรพรรดิทั้ง ๓ พระองค์ทรงพบกันได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่เป็นอดีต ที่เป็นอนาคต ที่เป็นปัจจุบัน มีอยู่
ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้ง ๓ พระองค์ทรงพบกันได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๒๑๐ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๕. สัพพมัตถีติกถา
ปทโสธนกถา
ว่าด้วยการซักฟอกบท
[๒๙๕] สก. อดีตมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สภาวะที่มีอยู่เป็นอดีตใช่ไหม
ปร. สภาวะที่มีอยู่ เป็นอดีตก็มี ไม่เป็นอดีตก็มี
สก. ท่านจงรับนิคคหะ ดังต่อไปนี้
หากอดีตมีอยู่ สภาวะที่มีอยู่เป็นอดีตก็มี ไม่เป็นอดีตก็มี ดังนั้น อดีตจึงไม่
เป็นอดีต สภาวะที่ไม่ใช่อดีตจึงเป็นอดีต ท่านกล่าวคำขัดแย้งใดในตอนต้นนั้นว่า
“ข้าพเจ้ายอมรับว่า อดีตมีอยู่ สภาวะที่มีอยู่เป็นอดีตก็มี ไม่เป็นอดีตก็มี ดังนั้น
อดีตจึงไม่เป็นอดีต สภาวะที่ไม่ใช่อดีตจึงเป็นอดีต” คำนั้นของท่านผิด
อนึ่ง หากท่านไม่ยอมรับว่า “อดีตมีอยู่ สภาวะที่ไม่ใช่อดีต เป็นอดีต”
ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “อดีตมีอยู่ สภาวะที่มีอยู่เป็นอดีตก็มี ไม่เป็นอดีตก็มี”
ท่านกล่าวคำขัดแย้งใดในตอนต้นนั้นว่า “ข้าพเจ้ายอมรับว่า อดีตมีอยู่ สภาวะที่มี
อยู่เป็นอดีตก็มี ไม่เป็นอดีตก็มี ดังนั้น อดีตจึงไม่เป็นอดีต สภาวะที่ไม่เป็นอดีตจึง
เป็นอดีต” คำนั้นของท่านผิด
สก. อนาคตมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สภาวะที่มีอยู่เป็นอนาคตใช่ไหม
ปร. สภาวะที่มีอยู่เป็นอนาคตก็มี ไม่เป็นอนาคตก็มี
สก. ท่านจงรับนิคคหะ ดังต่อไปนี้
หากอนาคตมีอยู่ สภาวะที่มีอยู่เป็นอนาคตก็มี ไม่เป็นอนาคตก็มี ดังนั้น
อนาคตจึงไม่เป็นอนาคต สภาวะที่ไม่เป็นอนาคตจึงเป็นอนาคต ท่านกล่าวคำขัด
แย้งใดในตอนต้นนั้นว่า “ข้าพเจ้ายอมรับว่า อนาคตมีอยู่ สภาวะที่มีอยู่เป็นอนาคตก็มี
ไม่เป็นอนาคตก็มี ดังนั้น อนาคตจึงไม่เป็นอนาคต สภาวะที่ไม่เป็นอนาคตจึงเป็น
อนาคต” คำนั้นของท่านผิด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๒๑๑ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๕. สัพพมัตถีติกถา
อนึ่ง หากท่านไม่ยอมรับว่า “อนาคตไม่เป็นอนาคต สภาวะที่ไม่เป็นอนาคต
เป็นอนาคต” ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “อนาคตมีอยู่ สภาวะที่มีอยู่ เป็นอนาคตก็มี
ไม่เป็นอนาคตก็มี” ท่านกล่าวคำขัดแย้งใดในตอนต้นนั้นว่า “ข้าพเจ้ายอมรับว่า
อนาคตมีอยู่ สภาวะที่มีอยู่เป็นอนาคตก็มี ไม่เป็นอนาคตก็มี ดังนั้น อนาคตจึงไม่
เป็นอนาคต สภาวะที่ไม่เป็นอนาคตจึงเป็นอนาคต” คำนั้นของท่านผิด
ปร. ปัจจุบันมีอยู่ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. สภาวะที่มีอยู่เป็นปัจจุบันใช่ไหม
สก. สภาวะที่มีอยู่เป็นปัจจุบันก็มี ไม่เป็นปัจจุบันก็มี
ปร. ท่านจงรับนิคคหะ ดังต่อไปนี้
หากปัจจุบันมีอยู่ สภาวะที่มีอยู่เป็นปัจจุบันก็มี ไม่เป็นปัจจุบันก็มี ดังนั้น
ปัจจุบันจึงไม่เป็นปัจจุบัน สภาวะที่ไม่เป็นปัจจุบันจึงเป็นปัจจุบัน ท่านกล่าวคำ
ขัดแย้งใดในตอนต้นนั้นว่า “ข้าพเจ้ายอมรับว่า ปัจจุบันมีอยู่ สภาวะที่มีอยู่เป็น
ปัจจุบันก็มี ไม่เป็นปัจจุบันก็มี ดังนั้น ปัจจุบันจึงไม่เป็นปัจจุบัน สภาวะที่ไม่เป็น
ปัจจุบันจึงเป็นปัจจุบัน” คำนั้นของท่านผิด
อนึ่ง หากท่านไม่ยอมรับว่า “ปัจจุบันไม่เป็นปัจจุบัน สภาวะที่ไม่เป็น
ปัจจุบันเป็นปัจจุบัน” ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “ปัจจุบันมีอยู่ สภาวะที่มีอยู่เป็น
ปัจจุบันก็มี ไม่เป็นปัจจุบันก็มี” ท่านกล่าวคำขัดแย้งใดในตอนต้นนั้นว่า “ข้าพเจ้า
ยอมรับว่า ปัจจุบันมีอยู่ สภาวะที่มีอยู่เป็นปัจจุบันก็มี ไม่เป็นปัจจุบันก็มี ดังนั้น
ปัจจุบันจึงไม่เป็นปัจจุบัน สภาวะที่ไม่เป็นปัจจุบันจึงเป็นปัจจุบัน” คำนั้นของท่านผิด
ปร. นิพพานมีอยู่ใช่ไหม
สก. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๒๑๒ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๕. สัพพมัตถีติกถา
ปร. สภาวะที่มีอยู่เป็นนิพพานใช่ไหม
สก. สภาวะที่มีอยู่เป็นนิพพานก็มี ไม่เป็นนิพพานก็มี
ปร. ท่านจงรับนิคคหะดังต่อไปนี้
หากนิพพานมีอยู่ สภาวะที่มีอยู่เป็นนิพพานก็มี ไม่เป็นนิพพานก็มี ดังนั้น
นิพพานจึงไม่ใช่นิพพาน สภาวะที่ไม่ใช่นิพพานจึงเป็นนิพพาน ท่านกล่าวคำขัด
แย้งใดในตอนต้นนั้นว่า “ข้าพเจ้ายอมรับว่า นิพพานมีอยู่ สภาวะที่มีอยู่เป็นนิพพานก็มี
ไม่เป็นนิพพานก็มี ดังนั้น นิพพานจึงไม่ใช่นิพพาน สภาวะที่ไม่ใช่นิพพานจึงเป็น
นิพพาน” คำนั้นของท่านผิด
อนึ่ง หากท่านไม่ยอมรับว่า “นิพพานไม่ใช่นิพพาน สภาวะที่ไม่ใช่นิพพาน
เป็นนิพพาน” ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “นิพพานมีอยู่ สภาวะที่มีอยู่เป็นนิพพานก็มี
ไม่เป็นนิพพานก็มี” ท่านกล่าวคำขัดแย้งใดในตอนต้นนั้นว่า “ข้าพเจ้ายอมรับว่า
นิพพานมีอยู่ สภาวะที่มีอยู่เป็นนิพพานก็มี ไม่เป็นนิพพานก็มี ดังนั้น นิพพานจึง
ไม่ใช่นิพพาน สภาวะที่ไม่ใช่นิพพานจึงเป็นนิพพาน” คำนั้นของท่านผิด

สุตตสาธนะ
ว่าด้วยการอ้างพระสูตร
[๒๙๖] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “อดีตมีอยู่ อนาคตมีอยู่” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย รูปอย่างใดอย่าง
หนึ่ง คือ รูปที่เป็นอดีต รูปที่เป็นอนาคต รูปที่เป็นปัจจุบัน รูปที่เป็นภายในตน
รูปที่เป็นภายนอกตน รูปหยาบ รูปละเอียด รูปชั้นต่ำ รูปชั้นประณีต รูปไกล
หรือรูปใกล้ ประมวลเข้าเป็นกองเดียวกัน นี้เรียกว่า รูปขันธ์ เวทนา ฯลฯ สัญญา
ฯลฯ สังขาร ฯลฯ วิญญาณอย่างใดอย่างหนึ่ง คือวิญญาณที่เป็นอดีต วิญญาณ
ที่เป็นอนาคต วิญญาณที่เป็นปัจจุบัน วิญญาณที่เป็นภายในตน วิญญาณที่เป็น
ภายนอกตน วิญญาณหยาบ วิญญาณละเอียด วิญญาณชั้นต่ำ วิญญาณชั้นประณีต

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๒๑๓ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๕. สัพพมัตถีติกถา
วิญญาณไกล หรือวิญญาณใกล้ ประมวลเข้าเป็นกองเดียวกัน นี้เรียกว่า
วิญญาณขันธ์” ๑ มีอยู่จริงมิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. ดังนั้น อดีตจึงมีอยู่ อนาคตก็มีอยู่
สก. อดีตมีอยู่ อนาคตก็มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย หลักการ ๓
ประการนี้ คือ (๑) หลักภาษา (๒) หลักการตั้งชื่อ (๓) หลักการบัญญัติ ในอดีต
ไม่ถูกลบล้างแล้ว ไม่เคยถูกลบล้าง ในปัจจุบันไม่ถูกลบล้าง ในอนาคตก็จักไม่ถูก
ลบล้าง ไม่ถูกสมณพราหมณ์ผู้รู้คัดค้าน หลักการ ๓ ประการ เป็นอย่างไร คือ (๑)
รูปใดล่วงไป ดับไป แปรผันไปแล้ว เรียกรูปนั้นว่า “ได้มีแล้ว” ตั้งชื่อรูปนั้นว่า
“ได้มีแล้ว” บัญญัติรูปนั้นว่า “ได้มีแล้ว” (แต่) ไม่เรียกรูปนั้นว่า “มีอยู่” ไม่เรียก
รูปนั้นว่า “จักมี” เวทนาใด ฯลฯ สัญญาใด ฯลฯ สังขารใด ฯลฯ วิญญาณใดล่วงไป
ดับไป แปรผันไปแล้ว เรียกวิญญาณนั้นว่า “ได้มีแล้ว” ตั้งชื่อวิญญาณนั้นว่า
“ได้มีแล้ว” บัญญัติวิญญาณนั้นว่า “ได้มีแล้ว” (แต่) ไม่เรียกวิญญาณนั้นว่า “มีอยู่”
ไม่เรียกวิญญาณนั้นว่า “จักมี” (๒) รูปใดยังไม่เกิด ยังไม่ปรากฏ เรียกรูปนั้นว่า
“จักมี” ตั้งชื่อรูปนั้นว่า “จักมี” บัญญัติรูปนั้นว่า “จักมี” (แต่) ไม่เรียกรูปนั้นว่า
“มีอยู่” ไม่เรียกรูปนั้นว่า “ได้มีแล้ว” เวทนาใด ฯลฯ สัญญาใด ฯลฯ สังขารใด
ฯลฯ วิญญาณใดยังไม่เกิด ยังไม่ปรากฏ เรียกวิญญาณนั้นว่า “จักมี” ตั้งชื่อวิญญาณ
นั้นว่า “จักมี” บัญญัติวิญญาณนั้นว่า “จักมี” (แต่) ไม่เรียกวิญญาณนั้นว่า “มีอยู่”
ไม่เรียกวิญญาณนั้นว่า “ได้มีแล้ว” (๓) รูปใดเกิดอยู่ ปรากฏอยู่ เรียกรูปนั้นว่า
“มีอยู่” ตั้งชื่อรูปนั้นว่า “มีอยู่” บัญญัติรูปนั้นว่า “มีอยู่” (แต่) ไม่เรียกรูปนั้นว่า
“ได้มีแล้ว” ไม่เรียกรูปนั้นว่า “จักมี” เวทนาใด ฯลฯ สัญญาใด ฯลฯ สังขารใด

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ อภิ.วิ. (แปล) ๓๕/๒-๓๑/๑-๑๖

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๒๑๔ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๕. สัพพมัตถีติกถา
ฯลฯ วิญญาณใดเกิดแล้ว ปรากฏอยู่ เรียกวิญญาณนั้นว่า “มีอยู่” ตั้งชื่อวิญญาณนั้นว่า
“มีอยู่” บัญญัติวิญญาณนั้นว่า “มีอยู่” (แต่) ไม่เรียกวิญญาณนั้นว่า “ได้มีแล้ว”
ไม่เรียกวิญญาณนั้นว่า “จักมี” ภิกษุทั้งหลาย หลักการ ๓ ประการ คือ
(๑) หลักภาษา (๒) หลักการตั้งชื่อ (๓) หลักการบัญญัติ ในอดีตไม่ถูกลบล้างแล้ว
ไม่เคยถูกลบล้าง ในปัจจุบันไม่ถูกลบล้าง ในอนาคตก็จักไม่ถูกลบล้าง ไม่ถูก
สมณพราหมณ์ผู้รู้คัดค้าน
ภิกษุทั้งหลาย แม้ชนชาวอุกกลชนบทกับชนชาววัสสภัญญชนบททั้ง ๒ พวก
เป็นผู้ถืออเหตุกวาทะ๑ เป็นผู้ถืออกิริยวาทะ๒ เป็นผู้ถือนัตถิกวาทะ๓ ได้สำคัญหลักการ
๓ ประการ คือ (๑) หลักภาษา (๒) หลักการตั้งชื่อ (๓) หลักการบัญญัติ ว่าไม่
ควรติเตียน ไม่ควรคัดค้าน ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะกลัวถูกนินทา ใส่โทษและ
ถูกคัดค้าน” ๔ มีอยู่จริงมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. ดังนั้น ท่านจึงไม่ควรยอมรับว่า “อดีตมีอยู่ อนาคตมีอยู่”
สก. อดีตมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสูตรนี้ว่า “ท่านพระผัคคุณะได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า ‘ข้าแต่
พระองค์ผู้เจริญ บุคคลเมื่อจะบัญญัติพระพุทธเจ้าทั้งหลายในอดีต ผู้ตัดธรรมเป็น
เครื่องเนิ่นช้า ผู้ตัดทางได้แล้ว ผู้ครอบงำวัฏฏะได้แล้ว ผู้ล่วงพ้นทุกข์ทั้งปวงได้แล้ว
ปรินิพพานแล้ว พึงบัญญัติด้วยจักขุใด จักขุนั้นมีอยู่หรือ ฯลฯ ชิวหานั้นมีอยู่หรือ

เชิงอรรถ :
๑ อเหตุกวาทะ หมายถึงลัทธิที่ถือว่าเหตุปัจจัยที่ทำให้สัตว์บริสุทธิ์หรือเศร้าหมองไม่มี (สํ.ข.อ. ๒/๖๒/๓๐๗)
๒ อกิริยวาทะ หมายถึงลัทธิที่ถือว่าการกระทำทุกอย่างไม่มีผล ทำดีก็ไม่ได้ดี ทำชั่วก็ไม่ได้ชั่ว เป็นความ
เห็นที่ปฏิเสธกฎแห่งกรรม (ที.สี.อ. ๑/๑๖๖/๑๔๕, สํ.ข.อ. ๒/๖๒/๓๐๗)
๓ นัตถิกวาทะ หมายถึงลัทธิที่ถือว่าไม่มีเหตุปัจจัยที่ทำให้สัตว์บริสุทธิ์หรือเศร้าหมอง (ที.สี.อ. ๑/๑๖๘/๑๔๖,
สํ.ข.อ. ๒/๖๒/๓๐๗)
๔ ดูเทียบ สํ.ข. (แปล) ๑๗/๖๒/๑๐๐-๑๐๒

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๒๑๕ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๕. สัพพมัตถีติกถา
ฯลฯ บุคคลเมื่อจะบัญญัติพระพุทธเจ้าทั้งหลายในอดีต ผู้ตัดธรรมเป็นเครื่องเนิ่นช้า
ผู้ตัดทางได้แล้ว ผู้ครอบงำวัฏฏะได้แล้ว ผู้ล่วงพ้นทุกข์ทั้งปวงได้แล้ว ปรินิพพานแล้ว
พึงบัญญัติด้วยมโนใด มโนนั้นมีอยู่หรือ’
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ‘ผัคคุณะ บุคคลเมื่อจะบัญญัติพระพุทธเจ้าทั้งหลาย
ในอดีต ผู้ตัดธรรมเป็นเครื่องเนิ่นช้า ผู้ตัดทางได้แล้ว ผู้ครอบงำวัฏฏะได้แล้ว ผู้
ล่วงพ้นทุกข์ทั้งปวงได้แล้ว ปรินิพพานแล้ว พึงบัญญัติด้วยจักขุใด จักขุนั้นไม่มีเลย
ฯลฯ ชิวหานั้นไม่มีเลย ฯลฯ บุคคลเมื่อจะบัญญัติพระพุทธเจ้าทั้งหลายในอดีต
ผู้ตัดธรรมเป็นเครื่องเนิ่นช้า ผู้ตัดทางได้แล้ว ผู้ครอบงำวัฏฏะได้แล้ว ผู้ล่วงพ้นทุกข์
ทั้งปวงได้แล้ว ปรินิพพานแล้ว พึงบัญญัติด้วยมโนใด มโนนั้นไม่มีเลย”๑ มีอยู่จริง
มิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. ดังนั้น ท่านจึงไม่ควรยอมรับว่า “อดีตมีอยู่”
สก. อดีตมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสูตรที่ว่า “ท่านพระนันทกะได้กล่าวดังนี้ว่า ‘เมื่อก่อนเรามีโลภะ
เรื่องนั้นเป็นสิ่งไม่ดี บัดนี้โลภะนั้นไม่มี เรื่องนั้นเป็นสิ่งที่ดี เมื่อก่อนเรามีโทสะ ฯลฯ
เมื่อก่อนเรามีโมหะ เรื่องนั้นเป็นสิ่งไม่ดี บัดนี้โมหะนั้นไม่มี เรื่องนั้นเป็นสิ่งที่ดี”๒
มีอยู่จริงมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. ดังนั้น ท่านจึงไม่ควรยอมรับว่า “อดีตมีอยู่”

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ สํ.สฬา. (แปล) ๑๘/๘๓/๗๖
๒ ดูเทียบ องฺ.ติก. (แปล) ๒๐/๖๗/๒๖๙

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๒๑๖ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๕. สัพพมัตถีติกถา
ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “อนาคตมีอยู่” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย ถ้าราคะ(ความ
กำหนัด) นันทิ(ความเพลิดเพลิน) ตัณหา(ความทะยานอยาก) มีอยู่ในกวฬิงการาหาร
ไซร้ วิญญาณจะตั้งอยู่งอกงามในกวฬิงการาหารนั้น ที่ใดวิญญาณตั้งอยู่งอกงาม
ที่นั้นย่อมมีนามรูปหยั่งลง ที่ใดมีนามรูปหยั่งลง ที่นั้นย่อมมีความเจริญแห่งสังขาร
ทั้งหลาย ที่ใดมีความเจริญแห่งสังขารทั้งหลาย ที่นั้นย่อมมีการเกิดในภพใหม่ต่อไป
ที่ใดมีการเกิดในภพใหม่ต่อไป ที่นั้นย่อมมีชาติ ชรา และมรณะต่อไป ที่ใดมีชาติ
ชรา และมรณะต่อไป เรากล่าวว่า ‘ที่นั้นมีความโศก มีความกระวนกระวาย และ
มีความคับแค้น’ ถ้าราคะ นันทิ ตัณหามีอยู่ในผัสสาหาร ฯลฯ ถ้าราคะ นันทิ
ตัณหามีอยู่ในมโนสัญเจตนาหาร ฯลฯ ถ้าราคะ นันทิ ตัณหามีอยู่ในวิญญาณาหาร
ฯลฯ เรากล่าวว่า ‘ที่นั้นมีความโศก มีความกระวนกระวาย และมีความคับแค้น” ๑
มีอยู่จริงใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “อนาคตมีอยู่”
สก. อนาคตมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย ถ้าราคะ นันทิ
ตัณหาไม่มีในกวฬิงการาหาร วิญญาณจะไม่ตั้งอยู่งอกงามในกวฬิงการาหารนั้น ที่ใด
วิญญาณไม่ตั้งอยู่งอกงาม ที่นั้นย่อมไม่มีนามรูปหยั่งลง ที่ใดไม่มีนามรูปหยั่งลง
ที่นั้นย่อมไม่มีความเจริญแห่งสังขารทั้งหลาย ที่ใดไม่มีความเจริญแห่งสังขาร

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ สํ.นิ. (แปล) ๑๖/๖๔/๑๒๓-๑๒๕

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๒๑๗ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๖. อตีตักขันธาทิกถา
ทั้งหลาย ที่นั้นย่อมไม่มีการเกิดในภพใหม่ต่อไป ที่ใดไม่มีการเกิดในภพใหม่ต่อไป
ที่นั้นย่อมไม่มีชาติ ชรา และมรณะต่อไป ที่ใดไม่มีชาติ ชรา และมรณะต่อไป
เรากล่าวว่า ‘ที่นั้นไม่มีความโศก ไม่มีความกระวนกระวาย และไม่มีความคับแค้น’
ถ้าราคะ นันทิ ตัณหาไม่มีในผัสสาหาร ฯลฯ ถ้าราคะ นันทิ ตัณหาไม่มี
ในมโนสัญเจตนาหาร ฯลฯ ถ้าราคะ นันทิ ตัณหาไม่มีในวิญญาณาหาร ฯลฯ
เรากล่าวว่า ที่นั้นไม่มีความโศก ไม่มีความกระวนกระวาย และไม่มีความคับแค้น”๑
มีอยู่จริงใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ดังนั้น ท่านจึงไม่ควรยอมรับว่า “อนาคตมีอยู่”
สัพพมัตถีติกถา จบ

๖. อตีตักขันธาทิกถา
ว่าด้วยอดีตขันธ์ เป็นต้น
๑. นสุตตสาธนะ
ว่าด้วยการไม่อ้างพระสูตร
[๒๙๗] ปร. อดีตเป็นขันธ์ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. อดีตมีอยู่ใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ สํ.นิ. (แปล) ๑๖/๖๔/๑๒๓-๑๒๕

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๒๑๘ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๖. อตีตักขันธาทิกถา
ปร. อดีตเป็นอายตนะใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. อดีตมีอยู่ใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. อดีตเป็นธาตุใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. อดีตมีอยู่ใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. อดีตเป็นขันธ์ เป็นธาตุ เป็นอายตนะใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. อดีตมีอยู่ใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. อนาคตเป็นขันธ์ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. อนาคตมีอยู่ใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. อนาคตเป็นอายตนะใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. อนาคตมีอยู่ใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. อนาคตเป็นธาตุใช่ไหม
สก. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๒๑๙ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๖. อตีตักขันธาทิกถา
ปร. อนาคตมีอยู่ใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. อนาคตเป็นขันธ์ เป็นธาตุ เป็นอายตนะใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. อนาคตมีอยู่ใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. ปัจจุบันเป็นขันธ์ ปัจจุบันมีอยู่ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. อดีตเป็นขันธ์ อดีตมีอยู่ใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. ปัจจุบันเป็นอายตนะ ปัจจุบันมีอยู่ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. อดีตเป็นอายตนะ อดีตมีอยู่ใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. ปัจจุบันเป็นธาตุ ปัจจุบันมีอยู่ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. อดีตเป็นธาตุ อดีตมีอยู่ใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. ปัจจุบันเป็นขันธ์ เป็นธาตุ เป็นอายตนะ ปัจจุบันมีอยู่ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. อดีตเป็นขันธ์ เป็นธาตุ เป็นอายตนะ อดีตมีอยู่ใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๒๒๐ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๖. อตีตักขันธาทิกถา
ปร. ปัจจุบันเป็นขันธ์ ปัจจุบันมีอยู่ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. อนาคตเป็นขันธ์ อนาคตมีอยู่ใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. ปัจจุบันเป็นอายตนะ ปัจจุบันมีอยู่ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. อนาคตเป็นอายตนะ อนาคตมีอยู่ใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. ปัจจุบันเป็นธาตุ ปัจจุบันมีอยู่ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. อนาคตเป็นธาตุ อนาคตมีอยู่ใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. ปัจจุบันเป็นขันธ์ เป็นธาตุ เป็นอายตนะ ปัจจุบันมีอยู่ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. อนาคตเป็นขันธ์ เป็นธาตุ เป็นอายตนะ อนาคตมีอยู่ใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. อดีตเป็นขันธ์ อดีตไม่มีใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. ปัจจุบันเป็นขันธ์ ปัจจุบันไม่มีใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. อดีตเป็นอายตนะ อดีตไม่มีใช่ไหม
สก. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๒๒๑ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๖. อตีตักขันธาทิกถา
ปร. ปัจจุบันเป็นอายตนะ ปัจจุบันไม่มีใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. อดีตเป็นธาตุ อดีตไม่มีใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. ปัจจุบันเป็นธาตุ ปัจจุบันไม่มีใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. อดีตเป็นขันธ์ เป็นธาตุ เป็นอายตนะ อดีตไม่มีใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. ปัจจุบันเป็นขันธ์ เป็นธาตุ เป็นอายตนะ ปัจจุบันไม่มีใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. อนาคตเป็นขันธ์ อนาคตไม่มีใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. ปัจจุบันเป็นขันธ์ ปัจจุบันไม่มีใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. อนาคตเป็นอายตนะ ฯลฯ อนาคตเป็นธาตุ ฯลฯ อนาคตเป็นขันธ์
เป็นธาตุ เป็นอายตนะ อนาคตไม่มีใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. ปัจจุบันเป็นขันธ์ เป็นธาตุ เป็นอายตนะ ปัจจุบันไม่มีใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. รูปที่เป็นอดีตเป็นขันธ์ใช่ไหม
สก. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๒๒๒ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๖. อตีตักขันธาทิกถา
ปร. รูปที่เป็นอดีตมีอยู่ใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. รูปที่เป็นอดีตเป็นอายตนะใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. รูปที่เป็นอดีตมีอยู่ใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. รูปที่เป็นอดีตเป็นธาตุใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. รูปที่เป็นอดีตมีอยู่ใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. รูปที่เป็นอดีตเป็นขันธ์ เป็นธาตุ เป็นอายตนะใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. รูปที่เป็นอดีตมีอยู่ใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. รูปที่เป็นอนาคตเป็นขันธ์ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. รูปที่เป็นอนาคตมีอยู่ใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. รูปที่เป็นอนาคตเป็นอายตนะ ฯลฯ รูปที่เป็นอนาคตเป็นธาตุ ฯลฯ
รูปที่เป็นอนาคตเป็นขันธ์ เป็นธาตุ เป็นอายตนะใช่ไหม
สก. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๒๒๓ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๖. อตีตักขันธาทิกถา
ปร. รูปที่เป็นอนาคตมีอยู่ใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. รูปที่เป็นปัจจุบันเป็นขันธ์ รูปที่เป็นปัจจุบันมีอยู่ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. รูปที่เป็นอดีตเป็นขันธ์ รูปที่เป็นอดีตมีอยู่ใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. รูปที่เป็นปัจจุบันเป็นอายตนะ ฯลฯ รูปที่เป็นปัจจุบันเป็นธาตุ ฯลฯ
รูปที่เป็นปัจจุบันเป็นขันธ์ เป็นธาตุ เป็นอายตนะ รูปที่เป็นปัจจุบันมีอยู่ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. รูปที่เป็นอดีตเป็นขันธ์ เป็นธาตุ เป็นอายตนะ รูปที่เป็นอดีตมีอยู่ใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. รูปที่เป็นปัจจุบันเป็นขันธ์ รูปที่เป็นปัจจุบันมีอยู่ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. รูปที่เป็นอนาคตเป็นขันธ์ รูปที่เป็นอนาคตมีอยู่ใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. รูปที่เป็นปัจจุบันเป็นอายตนะ ฯลฯ รูปที่เป็นปัจจุบันเป็นธาตุ ฯลฯ
รูปที่เป็นปัจจุบันเป็นขันธ์ เป็นธาตุ เป็นอายตนะ รูปที่เป็นปัจจุบันมีอยู่ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. รูปที่เป็นอนาคตเป็นขันธ์ เป็นธาตุ เป็นอายตนะ รูปที่เป็นอนาคตมี
อยู่ใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. รูปที่เป็นอดีตเป็นขันธ์ รูปที่เป็นอดีตไม่มีใช่ไหม
สก. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๒๒๔ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๖. อตีตักขันธาทิกถา
ปร. รูปที่เป็นปัจจุบันเป็นขันธ์ รูปที่เป็นปัจจุบันไม่มีใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. รูปที่เป็นอดีตเป็นอายตนะ ฯลฯ รูปที่เป็นอดีตเป็นธาตุ ฯลฯ รูปที่เป็น
อดีตเป็นขันธ์ เป็นธาตุ เป็นอายตนะ รูปที่เป็นอดีตไม่มีใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. รูปที่เป็นปัจจุบันเป็นขันธ์ เป็นธาตุ เป็นอายตนะ รูปที่เป็นปัจจุบันไม่มี
ใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. รูปที่เป็นอนาคตเป็นขันธ์ รูปที่เป็นอนาคตไม่มีใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. รูปที่เป็นปัจจุบันเป็นขันธ์ รูปที่เป็นปัจจุบันไม่มีใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. รูปที่เป็นอนาคตเป็นอายตนะ ฯลฯ รูปที่เป็นอนาคตเป็นธาตุ ฯลฯ
รูปที่เป็นอนาคตเป็นขันธ์ เป็นธาตุ เป็นอายตนะ รูปที่เป็นอนาคตไม่มีใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. รูปที่เป็นปัจจุบันเป็นขันธ์ เป็นธาตุ เป็นอายตนะ รูปที่เป็นปัจจุบันไม่มี
ใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. เวทนาที่เป็นอดีต ฯลฯ สัญญาที่เป็นอดีต ฯลฯ สังขารที่เป็นอดีต ฯลฯ
วิญญาณที่เป็นอดีตเป็นขันธ์ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. วิญญาณที่เป็นอดีตมีอยู่ใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๒๒๕ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๖. อตีตักขันธาทิกถา
ปร. วิญญาณที่เป็นอดีตเป็นอายตนะ ฯลฯ วิญญาณที่เป็นอดีตเป็นธาตุ ฯลฯ
วิญญาณที่เป็นอดีตเป็นขันธ์ เป็นธาตุ เป็นอายตนะใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. วิญญาณที่เป็นอดีตมีอยู่ใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. วิญญาณที่เป็นอนาคตเป็นขันธ์ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. วิญญาณที่เป็นอนาคตมีอยู่ใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. วิญญาณที่เป็นอนาคตเป็นอายตนะ ฯลฯ วิญญาณที่เป็นอนาคตเป็นธาตุ
ฯลฯ วิญญาณที่เป็นอนาคตเป็นขันธ์ เป็นธาตุ เป็นอายตนะใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. วิญญาณที่เป็นอนาคตมีอยู่ใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. วิญญาณที่เป็นปัจจุบันเป็นขันธ์ วิญญาณที่เป็นปัจจุบันมีอยู่ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. วิญญาณที่เป็นอดีตเป็นขันธ์ วิญญาณที่เป็นอดีตมีอยู่ใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. วิญญาณที่เป็นปัจจุบันเป็นอายตนะ ฯลฯ วิญญาณที่เป็นปัจจุบันเป็น
ธาตุ ฯลฯ วิญญาณที่เป็นปัจจุบันเป็นขันธ์ เป็นธาตุ เป็นอายตนะ วิญญาณที่เป็น
ปัจจุบันมีอยู่ใช่ไหม
สก. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๒๒๖ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๖. อตีตักขันธาทิกถา
ปร. วิญญาณที่เป็นอดีตเป็นขันธ์ เป็นธาตุ เป็นอายตนะ วิญญาณที่เป็น
อดีตมีอยู่ใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. วิญญาณที่เป็นปัจจุบันเป็นขันธ์ วิญญาณที่เป็นปัจจุบันมีอยู่ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. วิญญาณที่เป็นอนาคตเป็นขันธ์ วิญญาณที่เป็นอนาคตมีอยู่ใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. วิญญาณที่เป็นปัจจุบันเป็นอายตนะ ฯลฯ วิญญาณที่เป็นปัจจุบันเป็น
ธาตุ ฯลฯ วิญญาณที่เป็นปัจจุบันเป็นขันธ์ เป็นธาตุ เป็นอายตนะ วิญญาณที่เป็น
ปัจจุบันมีอยู่ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. วิญญาณที่เป็นอนาคตเป็นขันธ์ เป็นธาตุ เป็นอายตนะ วิญญาณที่เป็น
อนาคตมีอยู่ใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. วิญญาณที่เป็นอดีตเป็นขันธ์ วิญญาณที่เป็นอดีตไม่มีใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. วิญญาณที่เป็นปัจจุบันเป็นขันธ์ วิญญาณที่เป็นปัจจุบันไม่มีใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. วิญญาณที่เป็นอดีตเป็นอายตนะ ฯลฯ วิญญาณที่เป็นอดีตเป็นธาตุ ฯลฯ
วิญญาณที่เป็นอดีตเป็นขันธ์ เป็นธาตุ เป็นอายตนะ วิญญาณที่เป็นอดีตไม่มีใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. วิญญาณที่เป็นปัจจุบันเป็นขันธ์ เป็นธาตุ เป็นอายตนะ วิญญาณที่เป็น
ปัจจุบันไม่มีใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๒๒๗ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๖. อตีตักขันธาทิกถา
ปร. วิญญาณที่เป็นอนาคตเป็นขันธ์ วิญญาณที่เป็นอนาคตไม่มีใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. วิญญาณที่เป็นปัจจุบันเป็นขันธ์ วิญญาณที่เป็นปัจจุบันไม่มีใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. วิญญาณที่เป็นอนาคตเป็นอายตนะ ฯลฯ วิญญาณที่เป็นอนาคตเป็นธาตุ
ฯลฯ วิญญาณที่เป็นอนาคตเป็นขันธ์ เป็นธาตุ เป็นอายตนะ วิญญาณที่เป็น
อนาคตไม่มีใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. วิญญาณที่เป็นปัจจุบันเป็นขันธ์ เป็นธาตุ เป็นอายตนะ วิญญาณที่เป็น
ปัจจุบันไม่มีใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

๒. สุตตสาธนะ
ว่าด้วยการอ้างพระสูตร
[๒๙๘] สก. ท่านไม่ยอมรับว่า “ขันธ์ ธาตุ อายตนะ ทั้งที่เป็นอดีตและ
อนาคตเหล่านี้ไม่มี” ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย หลักการ ๓
ประการนี้ คือ (๑) หลักภาษา (๒) หลักการตั้งชื่อ (๓) หลักการบัญญัติ ฯลฯ
ไม่ถูกสมณพราหมณ์ผู้รู้คัดค้าน๑ ฯลฯ” มีอยู่จริงมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. ดังนั้น ท่านจึงไม่ควรยอมรับว่า “ขันธ์ ธาตุ อายตนะ ทั้งที่เป็นอดีตและ
อนาคตเหล่านี้ไม่มี”

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ สํ.ข. (แปล) ๑๗/๖๒/๑๐๐-๑๐๒

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๒๒๘ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๗. เอกัจจมัตถีติกถา
ปร. ขันธ์ ธาตุ อายตนะ ทั้งที่เป็นอดีตและอนาคตเหล่านี้ไม่มีใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย รูปทั้งหมด ทั้งที่
เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน ฯลฯ นี้เรียกว่า รูปขันธ์ เวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ
สังขาร ฯลฯ วิญญาณทั้งหมด ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน นี้เรียกว่า
วิญญาณขันธ์” มีอยู่จริงมิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. ดังนั้น ท่านจึงไม่ควรยอมรับว่า “ขันธ์ ธาตุ อายตนะ ทั้งที่เป็นอดีต
และอนาคตเหล่านี้ไม่มีอยู่”
อตีตักขันธาทิกถา จบ

๗. เอกัจจมัตถีติกถา
ว่าด้วยบางอย่างมีอยู่
๑. อตีตาทิเอกัจจกถา
ว่าด้วยสภาวธรรมบางอย่างที่เป็นอดีต เป็นต้น
[๒๙๙] สก. สภาวธรรมที่เป็นอดีตมีอยู่ใช่ไหม
ปร.๑สภาวธรรมที่เป็นอดีตบางอย่างมีอยู่ บางอย่างไม่มี๒
สก. สภาวธรรมที่เป็นอดีตบางอย่างดับไปแล้ว บางอย่างยังไม่ดับไป บาง
อย่างหายไปแล้ว บางอย่างยังไม่หายไป บางอย่างสูญไปแล้ว บางอย่างยังไม่สูญไป
บางอย่างดับสูญไปแล้ว บางอย่างยังไม่ดับสูญไปใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

เชิงอรรถ :
๑ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายกัสสปิกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๒๙๙/๑๗๘)
๒ เพราะมีความเห็นว่า วิบากที่ยังไม่ให้ผล มีอยู่ ส่วนวิบากที่ให้ผลแล้ว ไม่มี (อภิ.ปญฺจ.อ. ๒๙๙/๑๗๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๒๒๙ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๗. เอกัจจมัตถีติกถา
สก. สภาวธรรมที่เป็นอดีตบางอย่างมีอยู่ บางอย่างไม่มีใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สภาวธรรมที่เป็นอดีตที่ยังไม่ให้ผล บางเหล่ามีอยู่ บางเหล่าไม่มีใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สภาวธรรมที่เป็นอดีตบางอย่างมีอยู่ บางอย่างไม่มีใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สภาวธรรมที่เป็นอดีตที่ให้ผลแล้ว บางเหล่ามีอยู่ บางเหล่าไม่มีใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สภาวธรรมที่เป็นอดีตบางอย่างมีอยู่ บางอย่างไม่มีใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สภาวธรรมที่เป็นอดีตที่ไม่มีวิบาก บางเหล่ามีอยู่ บางเหล่าไม่มีใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สภาวธรรมที่เป็นอดีตบางอย่างมีอยู่ บางอย่างไม่มีใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สภาวธรรมอะไรมีอยู่ สภาวธรรมอะไรไม่มีอยู่
ปร. สภาวธรรมที่เป็นอดีตที่ยังไม่ให้ผลเหล่านั้นมีอยู่ สภาวธรรมที่เป็นอดีต
ที่ให้ผลแล้วเหล่านั้นไม่มีอยู่
สก. สภาวธรรมที่เป็นอดีตที่ยังไม่ให้ผลเหล่านั้นมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สภาวธรรมที่เป็นอดีตที่ให้ผลแล้วเหล่านั้นมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สภาวธรรมที่เป็นอดีตที่ยังไม่ให้ผลเหล่านั้นมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๒๓๐ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๗. เอกัจจมัตถีติกถา
สก. สภาวธรรมที่เป็นอดีตที่ไม่มีผลเหล่านั้นมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สภาวธรรมที่เป็นอดีตที่ให้ผลแล้วเหล่านั้นไม่มีใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สภาวธรรมที่เป็นอดีตที่ยังไม่ให้ผลเหล่านั้นไม่มีใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สภาวธรรมที่เป็นอดีตที่ให้ผลแล้วเหล่านั้นไม่มีใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สภาวธรรมที่เป็นอดีตที่ไม่มีผลเหล่านั้นไม่มีใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สภาวธรรมที่เป็นอดีตที่ยังไม่ให้ผลเหล่านั้นมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สภาวธรรมที่เป็นอดีตที่ยังไม่ให้ผลดับไปแล้วมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากสภาวธรรมที่เป็นอดีตที่ยังไม่ให้ผลดับไปแล้ว ท่านก็ไม่ควรยอมรับ
ว่า “สภาวธรรมที่เป็นอดีตที่ยังไม่ให้ผลดับไปแล้วเหล่านั้นมีอยู่”
สก. สภาวธรรมที่เป็นอดีตที่ยังไม่ให้ผลดับไปแล้วเหล่านั้นมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สภาวธรรมที่เป็นอดีตที่ให้ผลดับไปแล้วเหล่านั้นมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สภาวธรรมที่เป็นอดีตที่ยังไม่ให้ผลดับไปแล้วเหล่านั้นมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๒๓๑ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๗. เอกัจจมัตถีติกถา
สก. สภาวธรรมที่เป็นอดีตที่ไม่มีผลดับไปแล้วเหล่านั้นมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สภาวธรรมที่เป็นอดีตที่ให้ผลดับไปแล้วเหล่านั้นไม่มีใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สภาวธรรมที่เป็นอดีตที่ยังไม่ให้ผลดับไปแล้วเหล่านั้นไม่มีใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สภาวธรรมที่เป็นอดีตที่ให้ผลดับไปแล้วเหล่านั้นไม่มีใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สภาวธรรมที่เป็นอดีตที่ไม่มีผลดับไปแล้วเหล่านั้นไม่มีใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สภาวธรรมที่เป็นอดีตที่ยังไม่ให้ผลดับไปแล้วเหล่านั้นมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สภาวธรรมที่เป็นอดีตที่ให้ผลดับไปแล้วเหล่านั้นไม่มีใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สภาวธรรมที่เป็นอดีต ส่วนหนึ่งให้ผลแล้ว อีกส่วนหนึ่งยังไม่ให้ผล
ดับไปแล้วเหล่านั้น บางเหล่ามีอยู่ บางเหล่าไม่มีใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “สภาวธรรมที่เป็นอดีตที่ยังไม่ให้ผลเหล่านั้นมีอยู่” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. สภาวธรรมที่เป็นอดีตที่ยังไม่ให้ผลก็จักให้ผลมิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. หากสภาวธรรมที่เป็นอดีตที่ยังไม่ให้ผลก็จักให้ผล ดังนั้น ท่านจึงควร
ยอมรับว่า “สภาวธรรมที่เป็นอดีตที่ยังไม่ให้ผลเหล่านั้นมีอยู่”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๒๓๒ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๗. เอกัจจมัตถีติกถา
สก. เพราะท่านเข้าใจว่า “สภาวธรรมที่เป็นอดีตที่ยังไม่ให้ผลจักให้ผล” จึง
ยอมรับว่า “สภาวธรรมเหล่านั้นมีอยู่” ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เพราะท่านเข้าใจว่า “สภาวธรรมที่เป็นอดีตที่ยังไม่ให้ผลจักให้ผล” จึง
ยอมรับว่า “สภาวธรรมเหล่านั้นเป็นปัจจุบัน” ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เพราะท่านเข้าใจว่า “สภาวธรรมที่เป็นอดีตที่ยังไม่ให้ผลจักให้ผล” จึง
ยอมรับว่า “สภาวธรรมเหล่านั้นเป็นปัจจุบัน” ใช่ไหม
ปร. ใช่๑
สก. เพราะท่านเข้าใจว่า “สภาวธรรมที่เป็นปัจจุบันจักดับ” จึงยอมรับว่า
“สภาวธรรมเหล่านั้นไม่มี” ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

๒. อนาคตาทิเอกัจจกถา
ว่าด้วยสภาวธรรมบางอย่างที่เป็นอนาคต เป็นต้น
[๓๐๐] สก. สภาวธรรมที่เป็นอนาคตมีอยู่ใช่ไหม
ปร.๒ บางอย่างมีอยู่ บางอย่างไม่มี๓
สก. สภาวธรรมที่เป็นอนาคตบางอย่างเกิด บางอย่างไม่เกิด บางอย่างเกิด
อย่างดี บางอย่างไม่เกิดอย่างดี บางอย่างบังเกิด บางอย่างไม่บังเกิด บางอย่าง
ปรากฏ บางอย่างไม่ปรากฏใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

เชิงอรรถ :
๑ เพราะมีความเห็นว่า กรรมที่สั่งสมไว้ซึ่งยังไม่ให้ผลเป็นสิ่งที่มีปรากฏจึงตอบรับ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๒๙๙/๑๗๙)
๒ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายกัสสปิกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๓๐๐/๑๗๕)
๓ เพราะมีความเห็นว่า วิปากธรรมบางอย่างจะเกิดขึ้นในอนาคตอย่างแน่นอน (อภิ.ปญฺจ.อ. ๓๐๐/๑๗๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๒๓๓ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๗. เอกัจจมัตถีติกถา
สก. สภาวธรรมที่เป็นอนาคต บางอย่างมีอยู่ บางอย่างไม่มีใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สภาวธรรมที่เป็นอนาคตซึ่งจักเกิดขึ้น บางเหล่ามีอยู่ บางเหล่าไม่มี
ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สภาวธรรมที่เป็นอนาคต บางอย่างมีอยู่ บางอย่างไม่มีใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สภาวธรรมที่เป็นอนาคตซึ่งจักไม่เกิดขึ้น บางเหล่ามีอยู่ บางเหล่าไม่มี
ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สภาวธรรมที่เป็นอนาคต บางอย่างมีอยู่ บางอย่างไม่มีใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สภาวธรรมอะไรมีอยู่ สภาวธรรมอะไรไม่มี
ปร. สภาวธรรมที่เป็นอนาคตซึ่งจักเกิดขึ้นเหล่านั้นมีอยู่ สภาวธรรมที่เป็น
อนาคตที่จักไม่เกิดขึ้นเหล่านั้นไม่มี
สก. สภาวธรรมที่เป็นอนาคตซึ่งจักเกิดขึ้นเหล่านั้นมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สภาวธรรมที่เป็นอนาคตซึ่งจักไม่เกิดขึ้นเหล่านั้นมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สภาวธรรมที่เป็นอนาคตซึ่งจักไม่เกิดขึ้นเหล่านั้นไม่มีใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สภาวธรรมที่เป็นอนาคตซึ่งจักเกิดขึ้นเหล่านั้นไม่มีใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๒๓๔ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๗. เอกัจจมัตถีติกถา
สก. สภาวธรรมที่เป็นอนาคตซึ่งจักเกิดขึ้นเหล่านั้นมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สภาวธรรมที่เป็นอนาคตซึ่งจักเกิดขึ้นยังไม่เกิดใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. หากสภาวธรรมที่เป็นอนาคตซึ่งจักเกิดขึ้น ยังไม่เกิด ท่านก็ไม่ควรยอม
รับว่า “สภาวธรรมที่เป็นอนาคตซึ่งจักเกิดขึ้นเหล่านั้นมีอยู่”
สก. สภาวธรรมที่เป็นอนาคตซึ่งจักเกิดขึ้นแต่ยังไม่เกิดเหล่านั้นมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สภาวธรรมที่เป็นอนาคตซึ่งจักไม่เกิดขึ้น และยังไม่เกิดเหล่านั้นมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สภาวธรรมที่เป็นอนาคตซึ่งจักไม่เกิดขึ้น และยังไม่เกิดเหล่านั้นไม่มี
ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สภาวธรรมที่เป็นอนาคตซึ่งจักเกิดขึ้น แต่ยังไม่เกิดเหล่านั้นไม่มีใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “สภาวธรรมที่เป็นอนาคตซึ่งจักเกิดขึ้นเหล่านั้นมีอยู่”
ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. สภาวธรรมที่เป็นอนาคตซึ่งจักเกิดขึ้น จักเกิดขึ้นมิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. หากสภาวธรรมที่เป็นอนาคตซึ่งจักเกิดขึ้น จักเกิดขึ้น ดังนั้น ท่านจึง
ควรยอมรับว่า “สภาวธรรมที่เป็นอนาคตซึ่งจักเกิดขึ้นเหล่านั้นมีอยู่”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๒๓๕ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๘. สติปัฏฐานกถา
สก. เพราะท่านเข้าใจว่า “สภาวธรรมที่เป็นอนาคตซึ่งจักเกิดขึ้น จักเกิดขึ้น”
จึงยอมรับว่า “สภาวธรรมที่เป็นอนาคตซึ่งจักเกิดขึ้นแน่นอนมีอยู่” ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เพราะท่านเข้าใจว่า “สภาวธรรมที่เป็นอนาคตซึ่งจักเกิดขึ้น จักเกิดขึ้น”
จึงยอมรับว่า “สภาวธรรมที่เป็นอนาคตซึ่งจักเกิดขึ้นแน่นอนเป็นปัจจุบัน” ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เพราะท่านเข้าใจว่า “สภาวธรรมที่เป็นอนาคตซึ่งจักเกิดขึ้น จักเกิดขึ้น”
จึงยอมรับว่า “สภาวธรรมที่เป็นอนาคตซึ่งจักเกิดขึ้นแน่นอนเป็นปัจจุบัน” ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เพราะท่านเข้าใจว่า “สภาวธรรมที่เป็นปัจจุบันจักดับ” จึงยอมรับว่า
“สภาวธรรมที่ปัจจุบันเหล่านั้นไม่มี” ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
เอกัจจมัตถีติกถา จบ

๘. สติปัฏฐานกถา
ว่าด้วยสติปัฏฐาน
[๓๐๑] สก. สภาวธรรมทั้งปวงเป็นสติปัฏฐานใช่ไหม
ปร.๑ใช่๒
สก. สภาวธรรมทั้งปวงเป็นสติ เป็นสตินทรีย์ เป็นสติพละ เป็นสัมมาสติ
เป็นสติสัมโพชฌงค์ เป็นทางเดียว เป็นเหตุให้ถึงความสิ้นกิเลส ให้ถึงความตรัสรู้
ให้ถึงนิพพาน ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะ ไม่เป็นอารมณ์ของสังโยชน์ ไม่เป็น
อารมณ์ของคันถะ ไม่เป็นอารมณ์ของโอฆะ ไม่เป็นอารมณ์ของโยคะ ไม่เป็นอารมณ์

เชิงอรรถ :
๑ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอันธกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๓๐๑/๑๗๙)
๒ เพราะมุ่งถึงธรรมที่เป็นอารมณ์ของสติปัฏฐาน (อภิ.ปญฺจ.อ. ๓๐๑/๑๗๙)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๒๓๖ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๘. สติปัฏฐานกถา
ของนิวรณ์ ไม่เป็นอารมณ์ของปรามาส ไม่เป็นอารมณ์ของอุปาทาน ไม่เป็น
อารมณ์ของกิเลส สภาวธรรมทั้งปวงเป็นพุทธานุสสติ ธัมมานุสสติ สังฆานุสสติ
สีลานุสสติ จาคานุสสติ เทวตานุสสติ อานาปานสติ มรณานุสสติ กายคตาสติ
อุปสมานุสสติใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น๑ ฯลฯ
สก. สภาวธรรมทั้งปวงเป็นสติปัฏฐานใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. จักขายตนะเป็นสติปัฏฐานใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. จักขายตนะเป็นสติปัฏฐานใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. จักขายตนะเป็นสติ เป็นสตินทรีย์ เป็นสติพละ เป็นสัมมาสติ เป็น
สติสัมโพชฌงค์ เป็นทางเดียว เป็นเหตุให้ถึงความสิ้นกิเลส ให้ถึงความตรัสรู้ ให้
ถึงนิพพาน ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะ ไม่เป็นอารมณ์ของสังโยชน์ ฯลฯ ไม่เป็น
อารมณ์ของสังกิเลส จักขายตนะ เป็นพุทธานุสสติ ธัมมานุสสติ สังฆานุสสติ
สีลานุสสติ จาคานุสสติ เทวตานุสสติ อานาปานสติ มรณานุสสติ กายคตาสติ
อุปสมานุสสติใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. โสตายตนะ ฯลฯ ฆานายตนะ ฯลฯ ชิวหายตนะ ฯลฯ กายายตนะ
ฯลฯ รูปายตนะ ฯลฯ สัททายตนะ ฯลฯ คันธายตนะ ฯลฯ รสายตนะ ฯลฯ
โผฏฐัพพายตนะ ฯลฯ ราคะ ฯลฯ โทสะ ฯลฯ โมหะ ฯลฯ มานะ ฯลฯ ทิฏฐิ
ฯลฯ วิจิกิจฉา ฯลฯ ถีนะ ฯลฯ อุทธัจจะ ฯลฯ อหิริกะ ฯลฯ อโนตตัปปะ
เป็นสติปัฏฐานใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

เชิงอรรถ :
๑ เพราะมีความเห็นว่าสภาวธรรมบางอย่างไม่เป็นสติ จึงตอบปฏิเสธ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๓๐๑/๑๘๐)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๒๓๗ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๘. สติปัฏฐานกถา
สก. อโนตตัปปะเป็นสติปัฏฐานใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. อโนตตัปปะเป็นสติ เป็นสตินทรีย์ เป็นสติพละ เป็นสัมมาสติ ฯลฯ
เป็นกายคตาสติ เป็นอุปสมานุสสติใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สติเป็นสติปัฏฐาน และสติที่เป็นสติปัฏฐานนั้นเป็นสติใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. จักขายตนะเป็นสติปัฏฐาน และจักขายตนะที่เป็นสติปัฏฐานนั้นเป็นสติ
ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สติเป็นสติปัฏฐาน และสติที่เป็นสติปัฏฐานนั้นเป็นสติใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. โสตายตนะ ฯลฯ กายายตนะ ฯลฯ รูปายตนะ ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะ
ฯลฯ ราคะ ฯลฯ โทสะ ฯลฯ โมหะ ฯลฯ มานะ ฯลฯ อโนตตัปปะเป็นสติปัฏฐาน
และอโนตตัปปะที่เป็นสติปัฏฐานนั้นเป็นสติใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. จักขายตนะเป็นสติปัฏฐาน แต่จักขายตนะที่เป็นสติปัฏฐานนั้นไม่เป็นสติ
ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สติเป็นสติปัฏฐาน แต่สติที่เป็นสติปัฏฐานนั้นไม่เป็นสติใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. โสตายตนะ ฯลฯ กายายตนะ ฯลฯ รูปายตนะ ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะ
ฯลฯ ราคะ ฯลฯ โทสะ ฯลฯ โมหะ ฯลฯ อโนตตัปปะเป็นสติปัฏฐาน แต่
อโนตตัปปะที่เป็นสติปัฏฐานนั้นไม่เป็นสติใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๒๓๘ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๘. สติปัฏฐานกถา
สก. สติเป็นสติปัฏฐาน แต่สติที่เป็นสติปัฏฐานนั้นไม่เป็นสติใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๓๐๒] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “สภาวธรรมทั้งปวงเป็นสติปัฏฐาน” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. สติปรารภสภาวธรรมทั้งปวงจึงตั้งมั่นได้มิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. หากสติปรารภสภาวธรรมทั้งปวงจึงตั้งมั่นได้ ดังนั้น ท่านจึงควรยอม
รับว่า “สภาวธรรมทั้งปวงเป็นสติปัฏฐาน”
สก. สติปรารภสภาวธรรมทั้งปวงจึงตั้งมั่นได้ ดังนั้น สภาวธรรมทั้งปวงจึง
เป็นสติปัฏฐานใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ผัสสะปรารภสภาวธรรมทั้งปวงจึงตั้งมั่นได้ ดังนั้น สภาวธรรมทั้งปวง
จึงเป็นผัสสปัฏฐานใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สติปรารภสภาวธรรมทั้งปวงจึงตั้งมั่นได้ ดังนั้น สภาวธรรมทั้งปวงจึง
เป็นสติปัฏฐานใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เวทนาปรารภสภาวธรรมทั้งปวงจึงตั้งมั่นได้ ฯลฯ สัญญา ฯลฯ เจตนา
ฯลฯ จิตปรารภสภาวธรรมทั้งปวงจึงตั้งมั่นได้ เพราะเหตุนั้น สภาวธรรมทั้งปวง
จึงเป็นจิตตปัฏฐานใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สภาวธรรมทั้งปวงเป็นสติปัฏฐานใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สัตว์ทั้งปวงมีสติตั้งมั่น ประกอบด้วยสติ มั่นคงด้วยสติ สติปรากฏแก่
สัตว์ทั้งปวงใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๒๓๙ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๘. สติปัฏฐานกถา
[๓๐๓] สก. สภาวธรรมทั้งปวงเป็นสติปัฏฐานใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย ชนเหล่าใดไม่
เจริญกายคตาสติ ชนเหล่านั้นชื่อว่าไม่บรรลุอมตธรรม ชนเหล่าใดเจริญกายคตาสติ
ชนเหล่านั้นชื่อว่าบรรลุอมตธรรม” ๑ มีอยู่จริงมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. สัตว์ทั้งปวงเจริญ ได้เฉพาะ ซ่องเสพ เจริญ ทำให้มากซึ่งกายคตาสติ
ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สภาวธรรมทั้งปวงเป็นสติปัฏฐานใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทาง๒นี้เป็นทางเดียว๓
เพื่อความบริสุทธ์ของเหล่าสัตว์ เพื่อล่วงโสกะและปริเทวะ เพื่อดับทุกข์และโทมนัส
เพื่อบรรลุญายธรรม๔ เพื่อทำให้แจ้งนิพพาน ทางนี้คือสติปัฏฐาน ๔”๕ มีอยู่จริง
มิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. สภาวธรรมทั้งปวงเป็นทางสายเดียวใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ องฺ.เอกก. (แปล) ๒๐/๖๐๐/๕๔
๒ ทาง หมายถึงทางดำเนินไปสู่นิพพานหรือทางที่ผู้ต้องการนิพพานควรดำเนินไป (ที.ม.อ. ๒/๓๗๑/๓๖๑)
๓ ทางเดียว มีความหมาย ๔ นัย คือ (๑) ทางที่บุคคลผู้ละการเกี่ยวข้องกับหมู่คณะไปประพฤติธรรมอยู่
แต่ผู้เดียว (๒) ทางสายเดียวที่พระพุทธเจ้าทรงทำให้เกิดขึ้น เป็นทางของบุคคลผู้เดียวคือพระผู้มีพระภาค
(๓) ข้อปฏิบัติในศาสนาเดียวคือพระพุทธศาสนา (๔) ทางดำเนินไปสู่จุดหมายเดียวคือนิพพาน (ที.ม.อ.
๒/๓๗๓/๓๕๙, ม.มู.อ. ๑/๑๐๖/๒๔๔)
๔ ญายธรรม หมายถึงอริยมรรค (ที.ม.อ. ๒/๒๑๔/๑๙๗, ม.มู.อ. ๑/๑๐๖/๒๕๑)
๕ ดูเทียบ ที.ม. (แปล) ๑๐/๓๗๓/๓๐๑, ม.มู. (แปล) ๑๒/๑๐๖/๑๐๑, สํ.ม. (แปล) ๑๙/๓๖๗/๒๑๐

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๒๔๐ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๘. สติปัฏฐานกถา
สก. สภาวธรรมทั้งปวงเป็นสติปัฏฐานใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย เพราะพระเจ้า
จักรพรรดิปรากฏ แก้ว ๗ ประการจึงปรากฏ แก้ว ๗ ประการ อะไรบ้าง คือ
(๑) จักรแก้ว (๒) ช้างแก้ว (๓) ม้าแก้ว (๔) มณีแก้ว (๕) นางแก้ว (๖) คหบดีแก้ว
(๗) ปริณายกแก้ว เพราะพระเจ้าจักรพรรดิปรากฏ แก้ว ๗ ประการนี้จึงปรากฏ
ภิกษุทั้งหลาย เพราะตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าปรากฏ แก้วคือโพชฌงค์
๗ ประการจึงปรากฏ แก้ว ๗ ประการ อะไรบ้าง คือ (๑) แก้วคือสติสัมโพชฌงค์
(๒) แก้วคือธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ (๓) แก้วคือวิริยสัมโพชฌงค์ (๔) แก้วคือปีติ-
สัมโพชฌงค์ (๕) แก้วคือปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ (๖) แก้วคือสมาธิสัมโพชฌงค์
(๗) แก้วคืออุเบกขาสัมโพชฌงค์ เพราะตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าปรากฏ
แก้วคือโพชฌงค์ ๗ ประการนี้จึงปรากฏ” ๑ มีอยู่จริงมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. เพราะตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าปรากฏ สภาวธรรมทั้งปวงที่
เป็นแก้วคือสติสัมโพชฌงค์จึงปรากฏใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สภาวธรรมทั้งปวงเป็นสติปัฏฐานใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สภาวธรรมทั้งปวงเป็นสัมมัปปธาน ฯลฯ เป็นอิทธิบาท ฯลฯ เป็น
อินทรีย์ ฯลฯ เป็นพละ ฯลฯ เป็นโพชฌงค์ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

สติปัฏฐานกถา จบ

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ สํ.ม. (แปล) ๑๙/๒๒๓/๑๕๕

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๒๔๑ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๙. เหวัตถีติกถา
๙. เหวัตถีติกถา
ว่าด้วยสภาวธรรมที่มีอยู่โดยสภาวะอย่างนี้
[๓๐๔] สก. สภาวธรรมที่เป็นอดีตมีอยู่ใช่ไหม
ปร.๑ สภาวธรรมที่เป็นอดีตมีอยู่โดยสภาวะอย่างนี้ แต่ไม่มีอยู่โดยสภาวะอย่างนี้๒
สก. สภาวธรรมที่เป็นอดีตอย่างเดียวกันนั่นแหละทั้งมีอยู่และไม่มีใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สภาวธรรมที่เป็นอดีตอย่างเดียวกันนั่นแหละทั้งมีอยู่และไม่มีใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สภาวะที่มีอยู่ก็คือสภาวะที่ไม่มีอยู่ สภาวะที่ไม่มีอยู่ก็คือสภาวะที่มีอยู่
ความมีอยู่ก็คือความไม่มีอยู่ ความไม่มีอยู่ก็คือความมีอยู่ บัญญัติว่า “มีอยู่” กับ
“ไม่มีอยู่” หรือบัญญัติว่า “ไม่มีอยู่” กับ “มีอยู่” นี้นั้นมีความหมายอย่างเดียวกัน
เสมอกัน มีส่วนเท่ากัน มีสภาพเหมือนกันใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สภาวธรรมที่เป็นอนาคตมีอยู่ใช่ไหม
ปร. สภาวธรรมที่เป็นอนาคตมีอยู่โดยสภาวะอย่างนี้ ไม่มีอยู่โดยสภาวะ
อย่างนี้
สก. สภาวธรรมที่เป็นอนาคตอย่างเดียวกันนั่นแหละทั้งมีอยู่และไม่มีใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สภาวธรรมที่เป็นอนาคตอย่างเดียวกันนั่นแหละทั้งมีอยู่และไม่มีใช่ไหม
ปร. ใช่

เชิงอรรถ :
๑ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอันธกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๓๐๔/๑๘๐)
๒ เพราะมีความเห็นว่า สภาวธรรมที่เป็นอดีตจะเปลี่ยนไปเป็นสภาวธรรมที่เป็นอนาคตและปัจจุบันไม่ได้กล่าว
คือสภาวธรรมที่เป็นอดีตก็มีอยู่โดยความเป็นอดีตอันเป็นสภาวะของตนเอง(สกภาว) ไม่เปลี่ยนเป็นอนาคต
และปัจจุบัน อันเป็นสภาวะอื่น(ปรภาว) (อภิ.ปญฺจ.อ. ๓๐๔/๑๘๐)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๒๔๒ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๙. เหวัตถีติกถา
สก. สภาวะที่มีอยู่ก็คือสภาวะที่ไม่มีอยู่ สภาวะที่ไม่มีอยู่ก็คือสภาวะที่มีอยู่
ความมีอยู่ก็คือความไม่มีอยู่ ความไม่มีอยู่ก็คือความมีอยู่ บัญญัติว่า “มีอยู่” กับ
“ไม่มีอยู่” หรือบัญญัติว่า “ไม่มีอยู่” กับ “มีอยู่” นี้นั้นมีความหมายอย่างเดียวกัน
เสมอกัน มีส่วนเท่ากัน มีสภาพเหมือนกันใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สภาวธรรมที่เป็นปัจจุบันมีอยู่ใช่ไหม
ปร. สภาวธรรมที่เป็นปัจจุบันมีอยู่โดยสภาวะอย่างนี้ ไม่มีอยู่โดยสภาวะอย่างนี้
สก. สภาวธรรมที่เป็นปัจจุบันอย่างเดียวกันนั่นแหละทั้งมีอยู่และไม่มีใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สภาวธรรมที่เป็นปัจจุบันอย่างเดียวกันนั่นแหละทั้งมีอยู่และไม่มีใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สภาวะที่มีอยู่ก็คือสภาวะที่ไม่มีอยู่ ฯลฯ นี้นั้นมีความหมายอย่างเดียวกัน
เสมอกัน มีส่วนเท่ากัน มีสภาพเหมือนกันใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๓๐๕] สก. สภาวธรรมที่เป็นอดีตมีอยู่โดยสภาวะอย่างนี้ แต่ไม่มีอยู่โดยสภาวะ
อย่างนี้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. มีอยู่โดยสภาวะอย่างไร ไม่มีอยู่โดยสภาวะอย่างไร
ปร. สภาวธรรมที่เป็นอดีตมีอยู่โดยสภาวะอย่างนี้ว่า “เป็นอดีต” ไม่มีอยู่
โดยสภาวะอย่างนี้ว่า “เป็นอนาคต” ไม่มีอยู่โดยภาวะอย่างนี้ว่า “เป็นปัจจุบัน”
สก. สภาวธรรมที่เป็นอดีตอย่างเดียวกันนั่นแหละทั้งมีอยู่และไม่มีใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สภาวธรรมที่เป็นอดีตอย่างเดียวกันนั่นแหละทั้งมีอยู่ และไม่มีใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๒๔๓ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๙. เหวัตถีติกถา
สก. สภาวะที่มีอยู่ก็คือสภาวะที่ไม่มีอยู่ สภาวะที่ไม่มีอยู่ก็คือสภาวะที่มีอยู่
ความมีอยู่ก็คือความไม่มีอยู่ ความไม่มีอยู่ก็คือความมีอยู่ บัญญัติว่า “มีอยู่” กับ
“ไม่มีอยู่” หรือบัญญัติว่า “ไม่มีอยู่” กับ “มีอยู่” นี้นั้นมีความหมายอย่างเดียวกัน
เสมอกัน มีส่วนเท่ากัน มีสภาพเหมือนกันใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สภาวธรรมที่เป็นอนาคตมีอยู่โดยสภาวะอย่างนี้ แต่ไม่มีอยู่โดยสภาวะ
อย่างนี้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สภาวธรรมที่เป็นอนาคตมีอยู่โดยสภาวะอย่างไร ไม่มีอยู่โดยสภาวะอย่างไร
ปร. สภาวธรรมที่เป็นอนาคตมีอยู่โดยสภาวะอย่างนี้ว่า “เป็นอนาคต” ไม่มี
อยู่โดยสภาวะอย่างนี้ว่า “เป็นอดีต” ไม่มีอยู่โดยสภาวะอย่างนี้ว่า “เป็นปัจจุบัน”
สก. สภาวธรรมที่เป็นอนาคตอย่างเดียวกันนั่นแหละทั้งมีอยู่และไม่มีใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สภาวธรรมที่เป็นอนาคตอย่างเดียวกันนั่นแหละทั้งมีอยู่และไม่มีใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สภาวะที่มีอยู่ก็คือสภาวะที่ไม่มีอยู่ สภาวะที่ไม่มีอยู่ก็คือสภาวะที่มีอยู่ ฯลฯ
นี้นั้นมีความหมายอย่างเดียวกัน เสมอกัน มีส่วนเท่ากัน มีสภาพเหมือนกันใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สภาวธรรมที่เป็นปัจจุบันมีอยู่โดยสภาวะอย่างนี้ แต่ไม่มีอยู่โดยสภาวะ
อย่างนี้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. มีอยู่โดยสภาวะอย่างไร ไม่มีอยู่โดยสภาวะอย่างไร
ปร. สภาวธรรมที่เป็นปัจจุบันมีอยู่โดยสภาวะอย่างนี้ว่า “เป็นปัจจุบัน” ไม่มี
อยู่โดยสภาวะอย่างนี้ว่า “เป็นอดีต” ไม่มีอยู่โดยสภาวะอย่างนี้ว่า “เป็นอนาคต”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๒๔๔ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๙. เหวัตถีติกถา
สก. สภาวธรรมที่เป็นปัจจุบันอย่างเดียวกันนั่นแหละทั้งมีอยู่และไม่มีใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สภาวธรรมที่เป็นปัจจุบันอย่างเดียวกันนั่นแหละทั้งมีอยู่และไม่มีใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สภาวะที่มีอยู่ก็คือสภาวะที่ไม่มีอยู่ ฯลฯ นี้นั้นมีความหมายอย่าง
เดียวกัน เสมอกัน มีส่วนเท่ากัน มีสภาพเหมือนกันใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “สภาวธรรมที่เป็นอดีตมีอยู่โดยสภาวะอย่างนี้ ไม่มี
อยู่โดยสภาวะอย่างนี้ สภาวธรรมที่เป็นอนาคตมีอยู่โดยสภาวะอย่างนี้
ไม่มีอยู่โดยสภาวะอย่างนี้ สภาวธรรมที่เป็นปัจจุบันมีอยู่โดยสภาวะอย่างนี้ ไม่มีอยู่โดย
สภาวะอย่างนี้” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. สภาวธรรมที่เป็นอดีตมีอยู่โดยสภาวะอย่างนี้ว่า “เป็นอนาคต” มีอยู่
โดยสภาวะอย่างนี้ว่า “เป็นปัจจุบัน” สภาวธรรมที่เป็นอนาคตมีอยู่โดยสภาวะอย่างนี้ว่า
“เป็นอดีต” มีอยู่โดยสภาวะอย่างนี้ว่า “เป็นปัจจุบัน” สภาวธรรมที่เป็นปัจจุบันมีอยู่
โดยสภาวะอย่างนี้ว่า “เป็นอดีต” มีอยู่โดยสภาวะอย่างนี้ว่า “เป็นอนาคต” ใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. ดังนั้น สภาวธรรมที่เป็นอดีตก็มีอยู่โดยสภาวะอย่างนี้ ไม่มีอยู่โดย
สภาวะอย่างนี้ สภาวธรรมที่เป็นอนาคตมีอยู่โดยสภาวะอย่างนี้ ไม่มีอยู่โดยสภาวะ
อย่างนี้ สภาวธรรมที่เป็นปัจจุบันมีอยู่โดยสภาวะอย่างนี้ ไม่มีอยู่โดยสภาวะอย่างนี้
[๓๐๖] สก. รูปมีอยู่ใช่ไหม
ปร. มีอยู่โดยสภาวะอย่างนี้ ไม่มีอยู่โดยสภาวะอย่างนี้
สก. รูปอย่างเดียวกันนั่นแหละทั้งมีอยู่และไม่มีใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๒๔๕ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๙. เหวัตถีติกถา
สก. รูปอย่างเดียวกันนั่นแหละทั้งมีอยู่และไม่มีใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สภาวะที่มีอยู่ก็คือสภาวะที่ไม่มีอยู่ สภาวะที่ไม่มีอยู่ก็คือสภาวะที่มีอยู่
ความมีอยู่ก็คือความไม่มีอยู่ ความไม่มีอยู่ก็คือความมีอยู่ บัญญัติว่า “มีอยู่” กับ
“ไม่มีอยู่” หรือบัญญัติว่า “ไม่มีอยู่” กับ “มีอยู่” นี้นั้นมีความหมายอย่างเดียวกัน
เสมอกัน มีส่วนเท่ากัน มีสภาพเหมือนกันใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ สังขาร ฯลฯ วิญญาณมีอยู่ใช่ไหม
ปร. มีอยู่โดยสภาวะอย่างนี้ ไม่มีอยู่โดยสภาวะอย่างนี้
สก. วิญญาณอย่างเดียวกันนั่นแหละทั้งมีอยู่และไม่มีใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. วิญญาณอย่างเดียวกันนั่นแหละทั้งมีอยู่และไม่มีใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สภาวะที่มีอยู่ก็คือสภาวะที่ไม่มีอยู่ ฯลฯ เสมอกัน มีส่วนเท่ากัน มี
สภาพเหมือนกันใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. รูปมีอยู่โดยสภาวะอย่างนี้ ไม่มีอยู่โดยสภาวะอย่างนี้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. รูปมีอยู่โดยสภาวะอย่างไร ไม่มีอยู่โดยสภาวะอย่างไร
ปร. รูปมีอยู่โดยสภาวะอย่างนี้ว่า “เป็นรูป” รูปไม่มีอยู่โดยสภาวะอย่างนี้ว่า
“เป็นเวทนา ฯลฯ เป็นสัญญา ฯลฯ เป็นสังขาร ฯลฯ เป็นวิญญาณ”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๒๔๖ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๙. เหวัตถีติกถา
สก. รูปอย่างเดียวกันนั่นแหละทั้งมีอยู่และไม่มีใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. รูปอย่างเดียวกันนั่นแหละทั้งมีอยู่และไม่มีใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สภาวะที่มีอยู่ก็คือสภาวะที่ไม่มีอยู่ ฯลฯ เสมอกัน มีส่วนเท่ากัน มี
สภาพเหมือนกันใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ สังขาร ฯลฯ วิญญาณมีอยู่โดยสภาวะอย่างนี้
ไม่มีอยู่โดยสภาวะอย่างนี้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. วิญญาณมีอยู่โดยสภาวะอย่างไร ไม่มีอยู่โดยสภาวะอย่างไร
ปร. วิญญาณมีอยู่โดยสภาวะอย่างนี้ว่าเป็น “วิญญาณ” วิญญาณไม่มีอยู่
โดยสภาวะอย่างนี้ว่า “เป็นรูป ฯลฯ เป็นเวทนา ฯลฯ เป็นสัญญา ฯลฯ เป็นสังขาร”
สก. วิญญาณอย่างเดียวกันนั่นแหละทั้งมีอยู่และไม่มีใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. วิญญาณอย่างเดียวกันนั่นแหละทั้งมีอยู่และไม่มีใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สภาวะที่มีอยู่ก็คือสภาวะที่ไม่มีอยู่ ฯลฯ เสมอกัน มีส่วนเท่ากัน มี
สภาพเหมือนกันใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “รูปมีอยู่โดยสภาวะอย่างนี้ ไม่มีอยู่โดยสภาวะอย่างนี้
เวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ สังขาร ฯลฯ วิญญาณมีอยู่โดยสภาวะอย่างนี้ ไม่มีอยู่
โดยสภาวะอย่างนี้” ใช่ไหม
สก. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๒๔๗ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] รวมกถาที่มีในวรรค
ปร. รูปมีอยู่โดยสภาวะอย่างนี้ว่า “เป็นเวทนา ฯลฯ เป็นสัญญา ฯลฯ
เป็นสังขาร ฯลฯ เป็นวิญญาณ” เวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ สังขาร ฯลฯ
วิญญาณ มีอยู่โดยสภาวะอย่างนี้ว่า “เป็นรูป” วิญญาณมีอยู่โดยสภาวะอย่างนี้ว่า
“เป็นเวทนา” วิญญาณมีอยู่โดยสภาวะอย่างนี้ว่า “เป็นสัญญา” วิญญาณมีอยู่
โดยสภาวะอย่างนี้ว่า “เป็นสังขาร” ใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. ดังนั้น รูปจึงมีอยู่โดยสภาวะอย่างนี้ ไม่มีอยู่โดยสภาวะอย่างนี้
เวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ สังขาร ฯลฯ วิญญาณมีอยู่โดยสภาวะอย่างนี้ ไม่มี
อยู่โดยสภาวะอย่างนี้
เหวัตถีติกถา จบ
มหาวรรคที่ ๑ จบ

รวมกถาที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. ปุคคลกถา ๒. ปริหานิกถา
๓. พรหมจริยกถา (ก) ๓. โอธิโสกถา (ข)
๔. ชหติกถา ๕. สัพพมัตถีติกถา
๖. อตีตักขันธาทิกถา ๗. เอกัจจมัตถีติกถา
๘. สติปัฏฐานกถา ๙. เหวัตถีติกถา


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๒๔๘ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒. ทุติยวรรค] ๑. ปรูปหารกถา (๑๐)
๒. ทุติยวรรค
๑. ปรูปหารกถา (๑๐)
ว่าด้วยเรื่องที่บุคคลอื่นนำเข้าไปให้
[๓๐๗] สก. น้ำอสุจิและการปล่อยน้ำอสุจิของพระอรหันต์มีอยู่ใช่ไหม
ปร.๑ ใช่๒
สก. ราคะ กามราคะ กามราคปริยุฏฐาน กามราคสังโยชน์ กาโมฆะ
กามโยคะ กามฉันทนิวรณ์ของพระอรหันต์มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ราคะ กามราคะ กามราคปริยุฏฐาน กามราคสังโยชน์ กาโมฆะ
กามโยคะ กามฉันทนิวรณ์ของพระอรหันต์ไม่มีใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. หากราคะ กามราคะ กามราคปริยุฏฐาน กามราคสังโยชน์ กาโมฆะ
กามโยคะ กามฉันทนิวรณ์ของพระอรหันต์ไม่มี ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “น้ำอสุจิ
และการปล่อยน้ำอสุจิของพระอรหันต์มีอยู่”
สก. น้ำอสุจิและการปล่อยน้ำอสุจิของปุถุชนมีอยู่ และราคะ กามราคะ
กามราคปริยุฏฐาน กามราคสังโยชน์ กาโมฆะ กามโยคะ กามฉันทนิวรณ์ของ
ปุถุชนนั้นมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. น้ำอสุจิและการปล่อยน้ำอสุจิของพระอรหันต์มีอยู่ และราคะ กามราคะ
กามราคปริยุฏฐาน ฯลฯ กามฉันทนิวรณ์ของพระอรหันต์นั้นมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

เชิงอรรถ :
๑ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายปุพพเสลิยะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๓๐๗/๑๘๑)
๒ เพราะมีความเห็นว่า ถ้าถูกมารดลใจ แม้พระอรหันต์ก็หลั่งน้ำอสุจิได้ จึงตอบรับ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๓๐๗/๑๘๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๒๔๙ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒. ทุติยวรรค] ๑. ปรูปหารกถา (๑๐)
สก. น้ำอสุจิและการปล่อยน้ำอสุจิของพระอรหันต์มีอยู่ และราคะ กามราคะ
กามราคปริยุฏฐาน ฯลฯ กามฉันทนิวรณ์ของพระอรหันต์นั้นก็มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. น้ำอสุจิและการปล่อยน้ำอสุจิของปุถุชนมีอยู่ และราคะ กามราคะ
กามราคปริยุฏฐาน ฯลฯ กามฉันทนิวรณ์ของปุถุชนนั้นไม่มีใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. น้ำอสุจิและการปล่อยน้ำอสุจิของพระอรหันต์มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เพราะเหตุไร
ปร. เพราะว่า พวกเทวดาผู้นับเนื่องในหมู่มารนำน้ำอสุจิและการปล่อยน้ำ
อสุจิเข้าไปให้แก่พระอรหันต์
สก. พวกเทวดาผู้นับเนื่องในหมู่มารนำน้ำอสุจิและการปล่อยน้ำอสุจิเข้าไป
ให้แก่พระอรหันต์ได้ใช่ไหม
ปร. ใช่๑
สก. น้ำอสุจิและการปล่อยน้ำอสุจิของพวกเทวดาผู้นับเนื่องในหมู่มารมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พวกเทวดาผู้นับเนื่องในหมู่มารไม่มีน้ำอสุจิและการปล่อยน้ำอสุจิใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. หากพวกเทวดาผู้นับเนื่องในหมู่มารไม่มีน้ำอสุจิและการปล่อยน้ำอสุจิ
ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “พวกเทวดาผู้นับเนื่องในหมู่มารนำน้ำอสุจิและการปล่อย
น้ำอสุจิเข้าไปให้แก่พระอรหันต์ได้”

เชิงอรรถ :
๑ เพราะปรวาทีมีความเห็นว่า คนผู้ไม่ใช่พระอรหันต์แต่ปฏิญาณตนว่าเป็นพระอรหันต์เป็นต้นหลั่งน้ำอสุจิได้
จึงตอบรับ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๓๐๗/๑๘๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๒๕๐ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒. ทุติยวรรค] ๑. ปรูปหารกถา (๑๐)
สก. พวกเทวดาผู้นับเนื่องในหมู่มารนำน้ำอสุจิและการปล่อยน้ำอสุจิเข้าไป
ให้แก่พระอรหันต์ได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พวกเทวดาผู้นับเนื่องในหมู่มารนำน้ำอสุจิและการปล่อยน้ำอสุจิเข้าไป
ให้แก่ตน ให้แก่คนเหล่าอื่น แก่บุคคลนั้นได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พวกเทวดาผู้นับเนื่องในหมู่มารนำน้ำอสุจิและการปล่อยน้ำอสุจิเข้าไป
ให้แก่ตน ให้แก่คนเหล่าอื่น ให้แก่บุคคลนั้นไม่ได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. หากพวกเทวดาผู้นับเนื่องในหมู่มารนำน้ำอสุจิและการปล่อยน้ำอสุจิ
เข้าไปให้แก่ตน ให้แก่คนเหล่าอื่น ให้แก่บุคคลนั้นไม่ได้ ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า
“พวกเทวดา ผู้นับเนื่องในหมู่มาร นำน้ำอสุจิและการปล่อยน้ำอสุจิเข้าไปให้แก่พระ
อรหันต์ได้”
สก. พวกเทวดาผู้นับเนื่องในหมู่มารนำน้ำอสุจิและการปล่อยน้ำอสุจิเข้าไป
ให้แก่พระอรหันต์ได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. นำเข้าไปทางขุมขนใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๓๐๘] สก. พวกเทวดาผู้นับเนื่องในหมู่มารนำน้ำอสุจิและการปล่อยน้ำอสุจิ
เข้าไปให้แก่พระอรหันต์ได้ใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๒๕๑ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒. ทุติยวรรค] ๑. ปรูปหารกถา (๑๐)
สก. เพราะเหตุไร
ปร. เพราะจะให้ท่านสงสัย
สก. ความสงสัยของพระอรหันต์มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ความสงสัยของพระอรหันต์มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ความสงสัยในพระศาสดา ในพระธรรม ในพระสงฆ์ ในสิกขา ใน
ส่วนเบื้องต้น ในส่วนเบื้องปลาย ในส่วนเบื้องต้นและเบื้องปลาย ความสงสัยใน
ปฏิจจสมุปบาทที่ว่า “เพราะธรรมนี้เป็นปัจจัย ธรรมนี้จึงมี” ของพระอรหันต์
มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ความสงสัยในพระศาสดา ในพระธรรม ในพระสงฆ์ ในสิกขา ใน
ส่วนเบื้องต้น ในส่วนเบื้องปลาย ในส่วนเบื้องต้นและส่วนเบื้องปลาย ในปฏิจจ-
สมุปบาทที่ว่าเพราะธรรมนี้เป็นปัจจัย ธรรมนี้จึงมี ของพระอรหันต์ ไม่มีใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. หากความสงสัยในพระศาสดา ฯลฯ ความสงสัยในปฏิจจสมุปบาทที่ว่า
เพราะธรรมนี้เป็นปัจจัย ธรรมนี้จึงมี ของพระอรหันต์ไม่มี ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า
“ความสงสัยของพระอรหันต์มีอยู่”
สก. ความสงสัยของปุถุชนมีอยู่ และความสงสัยในพระศาสดา ฯลฯ
ความสงสัยในปฏิจจสมุปบาทที่ว่าเพราะธรรมนี้เป็นปัจจัย ธรรมนี้จึงมี ของปุถุชน
นั้นก็มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๒๕๒ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒. ทุติยวรรค] ๑. ปรูปหารกถา (๑๐)
สก. ความสงสัยของพระอรหันต์มีอยู่ และความสงสัยในพระศาสดา ฯลฯ
ความสงสัยในปฏิจจสมุปบาทที่ว่าเพราะธรรมนี้เป็นปัจจัย ธรรมนี้จึงมี ของพระ
อรหันต์นั้นก็มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ความสงสัยของพระอรหันต์มีอยู่ แต่ความสงสัยในพระศาสดา ฯลฯ
ความสงสัยในปฏิจจสมุปบาทที่ว่าเพราะธรรมนี้เป็นปัจจัย ธรรมนี้จึงมี ของพระ
อรหันต์นั้นไม่มีใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ความสงสัยของปุถุชนมีอยู่ แต่ความสงสัยในพระศาสดา ฯลฯ ความ
สงสัยในปฏิจจสมุปบาทที่ว่าเพราะธรรมนี้เป็นปัจจัย ธรรมนี้จึงมี ของปุถุชนนั้น
ไม่มีใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. น้ำอสุจิและการปล่อยน้ำอสุจิของพระอรหันต์มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. น้ำอสุจิและการปล่อยน้ำอสุจิของพระอรหันต์เป็นผลของอะไร
ปร. เป็นผลของการฉัน การดื่ม การเคี้ยว และการลิ้ม
สก. น้ำอสุจิและการปล่อยน้ำอสุจิของพระอรหันต์เป็นผลของการฉัน การดื่ม
การเคี้ยว และการลิ้มใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ชนเหล่าใดเหล่าหนึ่งยังกิน ดื่ม เคี้ยว ลิ้มอยู่ น้ำอสุจิและการปล่อยน้ำ
อสุจิของชนเหล่านั้นทั้งหมดมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๒๕๓ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒. ทุติยวรรค] ๑. ปรูปหารกถา (๑๐)
สก. ชนเหล่าใดเหล่าหนึ่งยังกิน ดื่ม เคี้ยว ลิ้มอยู่ น้ำอสุจิและการปล่อยน้ำ
อสุจิของชนเหล่านั้นทั้งหมดมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พวกทารกยังกิน ดื่ม เคี้ยว ลิ้มอยู่ น้ำอสุจิและการปล่อยน้ำอสุจิของ
พวกทารกมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พวกบัณเฑาะก์ยังกิน ดื่ม เคี้ยว ลิ้มอยู่ น้ำอสุจิและการปล่อยน้ำ
อสุจิของพวกบัณเฑาะก์มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พวกเทวดายังกิน ดื่ม เคี้ยว ลิ้มอยู่ น้ำอสุจิและการปล่อยน้ำอสุจิของ
พวกเทวดามีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๓๐๙] สก. น้ำอสุจิและการปล่อยน้ำอสุจิของพระอรหันต์ เป็นผลของการฉัน
การดื่ม การเคี้ยว และการลิ้มใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ถุงน้ำอสุจินั้นมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. อุจจาระปัสสาวะของพระอรหันต์ เป็นผลของการฉัน การดื่ม และการ
เคี้ยว ลำไส้ใหญ่และกระเพาะปัสสาวะซึ่งเป็นที่ตั้งของอุจจาระปัสสาวะนั้นมีอยู่ ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. น้ำอสุจิและการปล่อยน้ำอสุจิของพระอรหันต์ เป็นผลของการฉัน การ
ดื่ม การเคี้ยว และการลิ้ม ถุงน้ำอสุจินั้นมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๒๕๔ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒. ทุติยวรรค] ๑. ปรูปหารกถา (๑๐)
สก. น้ำอสุจิและการปล่อยน้ำอสุจิของพระอรหันต์ เป็นผลของการฉัน การดื่ม
การเคี้ยว และการลิ้ม (แต่)ถุงน้ำอสุจินั้นไม่มีใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. อุจจาระและปัสสาวะของพระอรหันต์เป็นผลของการฉัน การดื่ม การเคี้ยว
และการลิ้ม (แต่)ลำไส้ใหญ่และกระเพาะปัสสาวะของอุจจาระปัสสาวะนั้นไม่มีใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๓๑๐] สก. น้ำอสุจิและการปล่อยน้ำอสุจิของพระอรหันต์มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระอรหันต์จะพึงเสพเมถุนธรรม จะพึงให้เมถุนธรรมเกิด จะพึงอยู่ครอบ
ครองที่นอนซึ่งยัดเยียดด้วยบุตร จะพึงใช้สอยผ้ากาสิกพัสตร์และจุรณจันทน์ จะพึง
ทัดทรงดอกไม้ ของหอม และเครื่องลูบไล้ จะพึงยินดีทองและเงินใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. น้ำอสุจิและการปล่อยน้ำอสุจิของปุถุชนมีอยู่ และปุถุชนจะพึงเสพ
เมถุนธรรม จะพึงให้เมถุนธรรมเกิด ฯลฯ จะพึงยินดีทองและเงินใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. น้ำอสุจิและการปล่อยน้ำอสุจิของพระอรหันต์มีอยู่ พระอรหันต์จะพึงเสพ
เมถุนธรรม จะพึงให้เมถุนธรรมเกิด ฯลฯ จะพึงยินดีทองและเงินใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. น้ำอสุจิและการปล่อยน้ำอสุจิของพระอรหันต์มีอยู่ และพระอรหันต์จะ
ไม่พึงเสพเมถุนธรรม จะไม่พึงให้เมถุนธรรมเกิด ฯลฯ จะไม่พึงยินดีทองและเงิน
ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. น้ำอสุจิและการปล่อยน้ำอสุจิของปุถุชนมีอยู่ และปุถุชนจะไม่พึงเสพ
เมถุนธรรม จะไม่พึงให้เมถุนธรรมเกิด จะไม่พึงอยู่ครอบครองที่นอนซึ่งยัดเยียดด้วย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๒๕๕ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒. ทุติยวรรค] ๑. ปรูปหารกถา (๑๐)
บุตร จะไม่พึงใช้สอยผ้ากาสิกพัสตร์และจุรณจันทน์ จะไม่พึงทัดทรงดอกไม้ของหอม
และเครื่องลูบไล้ จะไม่พึงยินดีทองและเงินใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. น้ำอสุจิและการปล่อยน้ำอสุจิของพระอรหันต์มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ราคะพระอรหันต์ละได้แล้ว ตัดรากถอนโคน เหมือนต้นตาลที่ถูกตัดราก
ถอนโคนไปแล้วเหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. หากราคะพระอรหันต์ละได้แล้ว ตัดรากถอนโคน เหมือนต้นตาลที่ถูกตัด
รากถอนโคนไปแล้วเหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ ท่านก็ไม่ควร
ยอมรับว่า “น้ำอสุจิและการปล่อยน้ำอสุจิของพระอรหันต์มีอยู่”
สก. น้ำอสุจิและการปล่อยน้ำอสุจิของพระอรหันต์มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. โทสะพระอรหันต์ละได้แล้ว ฯลฯ โมหะพระอรหันต์ละได้แล้ว ฯลฯ
มานะพระอรหันต์ละได้แล้ว ฯลฯ ทิฏฐิพระอรหันต์ละได้แล้ว ฯลฯ วิจิกิจฉา
พระอรหันต์ละได้แล้ว ฯลฯ ถีนะพระอรหันต์ละได้แล้ว ฯลฯ อุทธัจจะพระอรหันต์
ละได้แล้ว ฯลฯ อหิริกะพระอรหันต์ละได้แล้ว ฯลฯ อโนตตัปปะพระอรหันต์ละได้
แล้ว ตัดรากถอนโคน เหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้วเหลือแต่พื้นที่
ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้มิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากอโนตตัปปะพระอรหันต์ละได้แล้ว ตัดรากถอนโคนเหมือนต้นตาลที่
ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้วเหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ ท่านก็ไม่
ควรยอมรับว่า “น้ำอสุจิและการปล่อยน้ำอสุจิของพระอรหันต์มีอยู่”
[๓๑๑] สก. น้ำอสุจิและการปล่อยน้ำอสุจิของพระอรหันต์มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๒๕๖ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒. ทุติยวรรค] ๑. ปรูปหารกถา (๑๐)
สก. พระอรหันต์เจริญมรรคเพื่อละราคะแล้วมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากพระอรหันต์เจริญมรรคเพื่อละราคะแล้ว ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า
“น้ำอสุจิและการปล่อยน้ำอสุจิของพระอรหันต์มีอยู่”
สก. น้ำอสุจิและการปล่อยน้ำอสุจิของพระอรหันต์มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระอรหันต์เจริญสติปัฏฐาน ฯลฯ สัมมัปปธาน ฯลฯ อิทธิบาท ฯลฯ
อินทรีย์ ฯลฯ พละ ฯลฯ โพชฌงค์ เพื่อละราคะมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากพระอรหันต์เจริญโพชฌงค์เพื่อละราคะ ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า
“น้ำอสุจิและการปล่อยน้ำอสุจิของพระอรหันต์มีอยู่”
สก. น้ำอสุจิและการปล่อยน้ำอสุจิของพระอรหันต์มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระอรหันต์เจริญมรรค ฯลฯ เจริญโพชฌงค์ เพื่อละโทสะ ฯลฯ เพื่อ
ละโมหะ ฯลฯ เพื่อละอโนตตัปปะมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากพระอรหันต์เจริญโพชฌงค์เพื่อละอโนตตัปปะ ท่านก็ไม่ควรยอมรับ
ว่า “น้ำอสุจิและการปล่อยน้ำอสุจิของพระอรหันต์มีอยู่”
สก. น้ำอสุจิและการปล่อยน้ำอสุจิของพระอรหันต์มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระอรหันต์เป็นผู้ปราศจากราคะ โทสะ โมหะ ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว
ปลงภาระแล้ว บรรลุประโยชน์ตนแล้ว หมดสิ้นกิเลสเป็นเครื่องผูกสัตว์ไว้ในภพแล้ว
หลุดพ้นเพราะรู้ชอบแล้ว ถอดลิ่มสลัก กลบคู ถอนเสาระเนียดได้แล้ว ไม่มี
บานประตู เป็นพระอริยะ ปลดธงคือมานะ วางภาระคือขันธ์ หมดเครื่องผูกพัน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๒๕๗ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒. ทุติยวรรค] ๑. ปรูปหารกถา (๑๐)
ชนะอย่างวิเศษแล้ว กำหนดรู้ทุกข์ ละสมุทัย ทำให้แจ้งนิโรธ เจริญมรรคแล้ว รู้ยิ่ง
ธรรมที่ควรรู้ยิ่ง กำหนดรู้ธรรมที่ควรกำหนดรู้ ละธรรมที่ควรละ เจริญธรรมที่ควร
เจริญ ทำให้แจ้งธรรมที่ควรทำให้แจ้งแล้วมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากพระอรหันต์เป็นผู้ปราศจากราคะ โทสะ โมหะ ทำกิจที่ควรทำ
เสร็จแล้ว ฯลฯ ทำให้แจ้งธรรมที่ควรทำให้แจ้ง ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “น้ำอสุจิ
และการปล่อยน้ำอสุจิของพระอรหันต์มีอยู่”
[๓๑๒] สก. น้ำอสุจิและการปล่อยน้ำอสุจิของพระอรหันต์มีอยู่ใช่ไหม
ปร. น้ำอสุจิและการปล่อยน้ำอสุจิของพระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมของตน๑
มีอยู่ น้ำอสุจิและการปล่อยน้ำอสุจิของพระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมอื่น๒ ไม่มี
สก. น้ำอสุจิและการปล่อยน้ำอสุจิของพระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมของตน
มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. น้ำอสุจิและการปล่อยน้ำอสุจิของพระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมอื่นมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. น้ำอสุจิและการปล่อยน้ำอสุจิของพระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมอื่นไม่มีใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. น้ำอสุจิและการปล่อยน้ำอสุจิของพระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมของตน
ไม่มีใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

เชิงอรรถ :
๑ ผู้ฉลาดในธรรมของตน ในที่นี้หมายถึงพระอรหันต์ผู้เป็นปัญญาวิมุต เพราะบำเพ็ญวิปัสสนาล้วน ๆ มิได้
สัมผัสวิโมกข์ ๘ แต่สิ้นอาสวะเพราะเห็นด้วยปัญญา (อภิ.ปญฺจ.อ. ๓๑๒/๑๘๒)
๒ ผู้ฉลาดในธรรมอื่น ในที่นี้หมายถึงพระอรหันต์ผู้เป็นอุภโตภาควิมุต เพราะบำเพ็ญสมถกัมมัฏฐานได้
สัมผัสวิโมกข์ ๘ ด้วยนามกาย ได้เจโตวิมุตติขั้นอรูปสมาบัติและสิ้นอาสวะเพราะเห็นด้วยปัญญา (อภิ.ปญฺจ.อ.
๓๑๒/๑๘๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๒๕๘ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒. ทุติยวรรค] ๑. ปรูปหารกถา (๑๐)
สก. ราคะพระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมของตนละได้แล้ว (แต่)น้ำอสุจิและการ
ปล่อย น้ำอสุจิของพระอรหันต์นั้นยังมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ราคะพระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมอื่นละได้แล้ว (แต่)น้ำอสุจิและการปล่อย
น้ำอสุจิของพระอรหันต์นั้นยังมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. โทสะ ฯลฯ โมหะ ฯลฯ อโนตตัปปะ พระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมของตน
ละได้แล้ว (แต่)น้ำอสุจิและการปล่อยน้ำอสุจิของพระอรหันต์นั้นยังมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. อโนตตัปปะพระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมอื่นละได้แล้ว (แต่)น้ำอสุจิและการ
ปล่อย น้ำอสุจิของพระอรหันต์นั้นยังมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมของตนเจริญมรรค ฯลฯ เจริญโพชฌงค์ เพื่อ
ละราคะ ฯลฯ เพื่อละโทสะ ฯลฯ เพื่อละโมหะ ฯลฯ เพื่อละอโนตตัปปะ (แต่)น้ำ
อสุจิและการปล่อยน้ำอสุจิของพระอรหันต์นั้นยังมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมอื่น เจริญโพชฌงค์เพื่อละอโนตตัปปะ (แต่)น้ำ
อสุจิและการปล่อยน้ำอสุจิของพระอรหันต์นั้นยังมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมของตนเป็นผู้ปราศจากราคะ โทสะ โมหะแล้ว
ฯลฯ ทำให้แจ้งธรรมที่ควรทำให้แจ้งแล้ว น้ำอสุจิและการปล่อยน้ำอสุจิของ
พระอรหันต์นั้นมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๒๕๙ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒. ทุติยวรรค] ๑. ปรูปหารกถา (๑๐)
สก. พระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมอื่นเป็นผู้ปราศจากราคะ โทสะ โมหะแล้ว
ฯลฯ ทำให้แจ้งธรรมที่ควรทำให้แจ้งแล้ว (แต่)น้ำอสุจิและการปล่อยน้ำอสุจิของ
พระอรหันต์นั้นยังมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ราคะพระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมอื่นละได้แล้ว น้ำอสุจิและการปล่อยน้ำ
อสุจิของพระอรหันต์นั้นไม่มีใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ราคะพระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมของตนละได้แล้ว น้ำอสุจิและการ
ปล่อยน้ำอสุจิของพระอรหันต์นั้นไม่มีใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมอื่นละโทสะ ฯลฯ โมหะ ฯลฯ อโนตตัปปะ
ได้แล้ว น้ำอสุจิและการปล่อยน้ำอสุจิของพระอรหันต์นั้นไม่มีใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. อโนตตัปปะพระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมของตนละได้แล้ว น้ำอสุจิและ
การปล่อยน้ำอสุจิของพระอรหันต์นั้นไม่มีใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมอื่นเจริญมรรค ฯลฯ เจริญโพชฌงค์ ฯลฯ
เพื่อละราคะ ฯลฯ เพื่อละโทสะ ฯลฯ เพื่อละโมหะ ฯลฯ เพื่อละอโนตตัปปะ
น้ำอสุจิและการปล่อยน้ำอสุจิของพระอรหันต์นั้นไม่มีใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมของตนเจริญโพชฌงค์เพื่อละอโนตตัปปะ
น้ำอสุจิและการปล่อยน้ำอสุจิของพระอรหันต์นั้นไม่มีใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๒๖๐ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒. ทุติยวรรค] ๑. ปรูปหารกถา (๑๐)
สก. พระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมอื่นเป็นผู้ปราศจากราคะ โทสะ โมหะแล้ว
ฯลฯ ทำให้แจ้งธรรมที่ควรทำให้แจ้งแล้ว น้ำอสุจิและการปล่อยน้ำอสุจิของพระ
อรหันต์นั้นไม่มีใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมของตนเป็นผู้ปราศจากราคะ โทสะ โมหะแล้ว
ฯลฯ ทำให้แจ้งธรรมที่ควรทำให้แจ้งแล้ว น้ำอสุจิและการปล่อยน้ำอสุจิของพระ
อรหันต์นั้นไม่มีใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๓๑๓] สก. น้ำอสุจิและการปล่อยน้ำอสุจิของพระอรหันต์มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้เป็นปุถุชน
ถึงพร้อมด้วยศีล มีสติสัมปชัญญะ จำวัด น้ำอสุจิของภิกษุเหล่านั้นย่อมไม่ไหล
ออกมา น้ำอสุจิแม้ของพวกฤาษีนอกศาสนา ผู้ปราศจากความกำหนัดในกาม
ย่อมไม่ไหลออกมา ภิกษุทั้งหลาย ย่อมไม่มีทางเป็นไปได้ ไม่ใช่โอกาสที่น้ำอสุจิ
ของพระอรหันต์จะพึงไหลออกมา” ๑ มีอยู่จริงมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงไม่ควรยอมรับว่า “น้ำอสุจิและการปล่อยน้ำอสุจิ
ของพระอรหันต์มีอยู่”
ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “การที่บุคคลอื่นนำ(ปัจจัย)เข้าไปให้แก่พระอรหันต์
มีอยู่” ใช่ไหม
สก. ใช่

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ วิ.ม. (แปล) ๕/๓๕๓/๒๒๖

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๒๖๑ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒. ทุติยวรรค] ๒. อัญญาณกถา (๑๑)
ปร. บุคคลเหล่าอื่นจะพึงนำจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัช
บริขารเข้าไปให้แก่พระอรหันต์ได้มิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. หากบุคคลเหล่าอื่นจะพึงนำจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัย
เภสัชบริขารเข้าไปให้แก่พระอรหันต์ได้ ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “การที่บุคคลอื่น
นำปัจจัยเข้าไปให้แก่พระอรหันต์ก็มีได้”
สก. บุคคลเหล่าอื่นจะพึงนำจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัช
บริขารเข้าไปให้แก่พระอรหันต์ได้ เพราะเหตุนั้น การที่บุคคลอื่นนำ(ปัจจัย)เข้าไป
ให้แก่พระอรหันต์จึงมีได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลเหล่าอื่นจะพึงนำโสดาปัตติผล สกทาคามิผล อนาคามิผล หรือ
อรหัตตผลเข้าไปให้แก่พระอรหันต์ได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปรูปหารกถา จบ

๒. อัญญาณกถา (๑๑)
ว่าด้วยความไม่รู้
[๓๑๔] สก. ความไม่รู้ของพระอรหันต์มีอยู่ใช่ไหม
ปร.๑ ใช่๒

เชิงอรรถ :
๑ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกาย ปุพพเสลิยะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๓๑๔/๑๘๓)
๒ เพราะมีความเห็นว่า พระอรหันต์ที่ยังไม่รู้ชื่อและโคตรของบุคคลและสถานที่ เป็นต้น ชื่อว่ายังมีอวิชชาอยู่
(อภิ.ปญฺจ.อ. ๓๑๔/๑๘๒-๑๘๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๒๖๒ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒. ทุติยวรรค] ๒. อัญญาณกถา (๑๑)
สก. อวิชชา อวิชโชฆะ อวิชชาโยคะ อวิชชานุสัย อวิชชาปริยุฏฐาน อวิชชา-
สังโยชน์ อวิชชานิวรณ์ของพระอรหันต์มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น
สก. อวิชชา อวิชโชฆะ อวิชชาโยคะ อวิชชานุสัย อวิชชาปริยุฏฐาน อวิชชา-
สังโยชน์ อวิชชานิวรณ์ของพระอรหันต์ไม่มีใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. หากอวิชชา อวิชโชฆะ อวิชชาโยคะ อวิชชานุสัย อวิชชาปริยุฏฐาน
อวิชชาสังโยชน์ อวิชชานิวรณ์ของพระอรหันต์ไม่มี ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “ความ
ไม่รู้ของพระอรหันต์มีอยู่”
สก. ความไม่รู้ของปุถุชนมีอยู่ และอวิชชา อวิชโชฆะ อวิชชาโยคะ อวิชชานุสัย
อวิชชาปริยุฏฐาน อวิชชาสังโยชน์ อวิชชานิวรณ์ของปุถุชนนั้นมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ความไม่รู้ของพระอรหันต์มีอยู่ และอวิชชา อวิชโชฆะ อวิชชาโยคะ
อวิชชานุสัย อวิชชาปริยุฏฐาน อวิชชาสังโยชน์ อวิชชานิวรณ์ของพระอรหันต์นั้นก็
มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น
สก. ความไม่รู้ของพระอรหันต์มีอยู่ แต่อวิชชา อวิชโชฆะ อวิชชาโยคะ
อวิชชานุสัย อวิชชาปริยุฏฐาน อวิชชาสังโยชน์ อวิชชานิวรณ์ของพระอรหันต์
ไม่มีใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ความไม่รู้ของปุถุชนมีอยู่ แต่อวิชชา อวิชโชฆะ อวิชชาโยคะ อวิชชานุสัย
อวิชชาสังโยชน์ อวิชชานิวรณ์ของปุถุชนไม่มีใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๒๖๓ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒. ทุติยวรรค] ๒. อัญญาณกถา (๑๑)
สก. ความไม่รู้ของพระอรหันต์มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระอรหันต์ถูกความไม่รู้ครอบงำ จะพึงฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ พูดเท็จ พูด
ส่อเสียด พูดคำหยาบ พูดเพ้อเจ้อ ตัดช่องย่องเบา ปล้นสะดม ปล้นเรือนหลังเดียว
ดักปล้นในทางเปลี่ยว ผิดภรรยาของผู้อื่น ปล้นชาวบ้าน ปล้นชาวนิคมใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น
สก. ความไม่รู้ของปุถุชนมีอยู่ ปุถุชนถูกความไม่รู้ครอบงำจะพึงฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์
พูดเท็จ ฯลฯ ปล้นชาวบ้าน ปล้นชาวนิคมใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ความไม่รู้ของพระอรหันต์มีอยู่ พระอรหันต์ถูกความไม่รู้ครอบงำแล้ว
จะพึงฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ฯลฯ ปล้นชาวบ้าน ปล้นชาวนิคมใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น
สก. ความไม่รู้ของพระอรหันต์มีอยู่ และพระอรหันต์ถูกความไม่รู้ครอบงำแล้ว
ไม่พึงฆ่าสัตว์ ไม่พึงลักทรัพย์ ฯลฯ ไม่ปล้นชาวบ้าน ไม่ปล้นชาวนิคมใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ความไม่รู้ของปุถุชนมีอยู่ ปุถุชนถูกความไม่รู้ครอบงำแล้ว ไม่พึงฆ่าสัตว์
ไม่พึงลักทรัพย์ ฯลฯ ไม่ปล้นชาวบ้าน ไม่ปล้นชาวนิคมใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น
สก. ความไม่รู้ของพระอรหันต์มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ความไม่รู้ในพระศาสดา ในพระธรรม ในพระสงฆ์ ในสิกขา ในส่วน
เบื้องต้น ในส่วนเบื้องปลาย ในส่วนเบื้องต้นและส่วนเบื้องปลาย ในปฏิจจสมุปบาท
ที่ว่าเพราะธรรมนี้เป็นปัจจัย ธรรมนี้จึงมี ของพระอรหันต์มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๒๖๔ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒. ทุติยวรรค] ๒. อัญญาณกถา (๑๑)
สก. ความไม่รู้ในพระศาสดา ในพระธรรม ในพระสงฆ์ ในสิกขา ในส่วน
เบื้องต้น ในส่วนเบื้องปลาย ในส่วนเบื้องต้นและส่วนเบื้องปลาย ความไม่รู้ใน
ปฏิจจสมุปบาทที่ว่าเพราะธรรมนี้เป็นปัจจัย ธรรมนี้จึงมี ของพระอรหันต์ไม่มี
ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. หากความไม่รู้ในพระศาสดา ในพระธรรม ในพระสงฆ์ ฯลฯ ความไม่รู้
ในปฏิจจสมุปบาทที่ว่าเพราะธรรมนี้เป็นปัจจัย ธรรมนี้จึงมี ของพระอรหันต์ไม่มี
ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “ความไม่รู้ของพระอรหันต์มีอยู่”
สก. ความไม่รู้ของปุถุชนมีอยู่ ความไม่รู้ในพระศาสดา ในพระธรรม ใน
พระสงฆ์ ฯลฯ ความไม่รู้ในปฏิจจสมุปบาทที่ว่าเพราะธรรมนี้เป็นปัจจัย ธรรมนี้
จึงมี ของปุถุชนนั้นมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ความไม่รู้ของพระอรหันต์มีอยู่ ความไม่รู้ในพระศาสดา ในพระธรรม
ในพระสงฆ์ ฯลฯ ความไม่รู้ปฏิจจสมุปบาทที่ว่าเพราะธรรมนี้เป็นปัจจัย ธรรมนี้จึงมี
ของพระอรหันต์นั้นมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น
สก. ความไม่รู้ของพระอรหันต์มีอยู่ ความไม่รู้ในพระศาสดา ในพระธรรม
ในพระสงฆ์ ฯลฯ ความไม่รู้ในปฏิจจสมุปบาทที่ว่าเพราะธรรมนี้เป็นปัจจัยธรรมนี้
จึงมี ของพระอรหันต์นั้นไม่มีใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ความไม่รู้ของปุถุชนมีอยู่ ความไม่รู้ในพระศาสดา ในพระธรรม ใน
พระสงฆ์ ฯลฯ ความไม่รู้ในปฏิจจสมุปบาทที่ว่าเพราะธรรมนี้เป็นปัจจัย ธรรมนี้จึงมี
ของปุถุชนนั้นไม่มีใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น
[๓๑๕] สก. ความไม่รู้ของพระอรหันต์มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๒๖๕ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒. ทุติยวรรค] ๒. อัญญาณกถา (๑๑)
สก. ราคะพระอรหันต์ละได้แล้ว ตัดรากถอนโคน เหมือนต้นตาลที่ถูกตัดราก
ถอนโคนไปแล้วเหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. หากราคะพระอรหันต์ละได้แล้วตัดรากถอนโคน เหมือนต้นตาลที่ถูกตัด
รากถอนโคนไปแล้วเหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ ท่านก็ไม่ควร
ยอมรับว่า “ความไม่รู้ของพระอรหันต์มีอยู่”
สก. ความไม่รู้ของพระอรหันต์มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. โทสะ ฯลฯ โมหะ ฯลฯ อโนตตัปปะ พระอรหันต์ละได้แล้ว ตัดราก
ถอนโคน เหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้วเหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี
เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้มิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากอโนตตัปปะพระอรหันต์ละได้แล้ว ตัดรากถอนโคน เหมือนต้นตาลที่
ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้วเหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ ท่านก็ไม่ควร
ยอมรับว่า “ความไม่รู้ของพระอรหันต์มีอยู่”
สก. ความไม่รู้ของพระอรหันต์มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระอรหันต์เจริญมรรค ฯลฯ เจริญโพชฌงค์ เพื่อละราคะใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. หากพระอรหันต์เจริญโพชฌงค์เพื่อละราคะ ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า
“ความไม่รู้ของพระอรหันต์มีอยู่”
สก. ความไม่รู้ของพระอรหันต์มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๒๖๖ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒. ทุติยวรรค] ๒. อัญญาณกถา (๑๑)
สก. พระอรหันต์เจริญมรรค ฯลฯ เจริญโพชฌงค์ เพื่อละโทสะ ฯลฯ เพื่อ
ละโมหะ ฯลฯ เพื่อละอโนตตัปปะใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. หากพระอรหันต์เจริญโพชฌงค์เพื่อละอโนตตัปปะ ท่านก็ไม่ควรยอมรับ
ว่า “ความไม่รู้ของพระอรหันต์มีอยู่”
สก. ความไม่รู้ของพระอรหันต์มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระอรหันต์เป็นผู้ปราศจากราคะ โทสะ โมหะ ฯลฯ ทำให้แจ้งธรรม
ที่ควรทำให้แจ้งแล้วใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. หากพระอรหันต์เป็นผู้ปราศจากราคะ ฯลฯ ทำให้แจ้งธรรมที่ควรทำ
ให้แจ้งแล้ว ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “ความไม่รู้ของพระอรหันต์มีอยู่”
[๓๑๖] สก. ความไม่รู้ของพระอรหันต์มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ความไม่รู้ของพระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมของตนมีอยู่ ความไม่รู้ของพระ
อรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมอื่นไม่มี
สก. ความไม่รู้ของพระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมของตนมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ความไม่รู้ของพระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมอื่นมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ความไม่รู้ของพระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมอื่นไม่มีใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ความไม่รู้ของพระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมของตนไม่มีใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๒๖๗ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒. ทุติยวรรค] ๒. อัญญาณกถา (๑๑)
สก. ราคะพระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมของตนละได้แล้ว (แต่)ความไม่รู้ของ
พระอรหันต์นั้นยังมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ราคะพระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมอื่นละได้แล้ว (แต่)ความไม่รู้ของพระ
อรหันต์นั้นยังมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. โทสะ ฯลฯ โมหะ ฯลฯ อโนตตัปปะ พระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรม
ของตนละได้แล้ว (แต่)ความไม่รู้ของพระอรหันต์นั้นยังมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. อโนตตัปปะพระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมอื่นละได้แล้ว (แต่)ความไม่รู้ของ
พระอรหันต์นั้นยังมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมของตนเจริญมรรค ฯลฯ เจริญโพชฌงค์เพื่อละ
ราคะ ความไม่รู้ของพระอรหันต์นั้นมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมอื่นเจริญโพชฌงค์เพื่อละราคะ ความไม่รู้ของ
พระอรหันต์นั้นมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมของตนเจริญมรรค ฯลฯ เจริญโพชฌงค์เพื่อ
ละโทสะ ฯลฯ เพื่อละโมหะ ฯลฯ เพื่อละอโนตตัปปะ ความไม่รู้ของพระอรหันต์นั้น
มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๒๖๘ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒. ทุติยวรรค] ๒. อัญญาณกถา (๑๑)
สก. พระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมอื่นเจริญโพชฌงค์เพื่อละอโนตตัปปะ ความ
ไม่รู้ของพระอรหันต์นั้นมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมของตนเป็นผู้ปราศจากราคะ โทสะ โมหะ
ฯลฯ ทำให้แจ้งธรรมที่ควรทำให้แจ้งแล้ว (แต่)ความไม่รู้ของพระอรหันต์นั้นยังมีอยู่
ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมอื่นเป็นผู้ปราศจากราคะ โทสะ โมหะ ฯลฯ
ทำให้แจ้งธรรมที่ควรทำให้แจ้งแล้ว (แต่)ความไม่รู้ของพระอรหันต์นั้นยังมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ราคะพระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมอื่นละได้แล้ว ความไม่รู้ของพระ
อรหันต์นั้นไม่มีใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ราคะพระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมของตนละได้แล้ว ความไม่รู้ของพระ
อรหันต์นั้นไม่มีใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. โทสะ ฯลฯ โมหะ ฯลฯ อโนตตัปปะ พระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมอื่นละ
ได้แล้ว ความไม่รู้ของพระอรหันต์นั้นไม่มีใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. อโนตตัปปะพระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมของตนละได้แล้ว ความไม่รู้ของ
พระอรหันต์นั้นไม่มีใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๒๖๙ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒. ทุติยวรรค] ๒. อัญญาณกถา (๑๑)
สก. พระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมอื่นเจริญมรรค ฯลฯ เจริญโพชฌงค์ เพื่อละ
ราคะ ฯลฯ เพื่อละโทสะ ฯลฯ เพื่อละโมหะ ฯลฯ เพื่อละอโนตตัปปะ ความ
ไม่รู้ของพระอรหันต์นั้นไม่มีใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมของตนเจริญโพชฌงค์เพื่อละอโนตตัปปะ
ความไม่รู้ของพระอรหันต์นั้นไม่มีใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมอื่นเป็นผู้ปราศจากราคะ โทสะ โมหะ ฯลฯ
ทำให้แจ้งธรรมที่ควรทำให้แจ้งแล้ว ความไม่รู้ของพระอรหันต์นั้นไม่มีใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมของตนเป็นผู้ปราศจากราคะ โทสะ โมหะ
ฯลฯ ทำให้แจ้งธรรมที่ควรทำให้แจ้งแล้ว ความไม่รู้ของพระอรหันต์นั้นไม่มีใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๓๑๗] สก. ความไม่รู้ของพระอรหันต์มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวความ
สิ้นไปแห่งอาสวะของบุคคลผู้รู้อยู่ เห็นอยู่ มิได้กล่าวความสิ้นไปแห่งอาสวะของ
บุคคลผู้ไม่รู้ ไม่เห็น เมื่อบุคคลรู้ เห็นอย่างไร ความสิ้นไปแห่งอาสวะจึงมี คือ
เมื่อบุคคลรู้ เห็นอยู่ว่า รูปเป็นดังนี้ ความเกิดขึ้นแห่งรูปเป็นดังนี้ ความดับแห่ง
รูปเป็นดังนี้ เวทนาเป็นดังนี้ ฯลฯ สัญญาเป็นดังนี้ ฯลฯ สังขารเป็นดังนี้ ฯลฯ
วิญญาณเป็นดังนี้ ความเกิดขึ้นแห่งวิญญาณเป็นดังนี้ ความดับแห่งวิญญาณเป็นดังนี้
เมื่อบุคคลรู้ เห็นอย่างนี้ ความสิ้นไปแห่งอาสวะจึงมี” ๑ มีอยู่จริงมิใช่หรือ
ปร. ใช่

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ สํ.ข. (แปล) ๑๗/๑๐๑/๑๙๒-๑๙๓

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๒๗๐ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒. ทุติยวรรค] ๒. อัญญาณกถา (๑๑)
สก. ดังนั้น ท่านจึงไม่ควรยอมรับว่า “ความไม่รู้ของพระอรหันต์มีอยู่”
สก. ความไม่รู้ของพระอรหันต์มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวความ
สิ้นไปแห่งอาสวะของบุคคลผู้รู้อยู่ เห็นอยู่ มิได้กล่าวความสิ้นไปแห่งอาสวะของ
บุคคลผู้ไม่รู้ ไม่เห็น เมื่อบุคคลรู้ เห็นอย่างไร ความสิ้นไปแห่งอาสวะจึงมี คือ
เมื่อบุคคลรู้เห็นอยู่ว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา
เมื่อบุคคลรู้ เห็นอย่างนี้ ความสิ้นไปแห่งอาสวะจึงมี” ๑ มีอยู่จริงมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. ดังนั้น ท่านจึงไม่ควรยอมรับว่า “ความไม่รู้ของพระอรหันต์มีอยู่”
สก. ความไม่รู้ของพระอรหันต์มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย บุคคลเมื่อยังไม่รู้ยิ่ง
ไม่กำหนดรู้ ไม่คลายกำหนัด ไม่ละสิ่งทั้งปวง เป็นผู้ไม่ควรเพื่อความสิ้นทุกข์ แต่
บุคคลเมื่อรู้ยิ่ง กำหนดรู้ คลายกำหนัด ละสิ่งทั้งปวง เป็นผู้ควรเพื่อความสิ้นทุกข์”๒
มีอยู่จริงมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. ดังนั้น ท่านจึงไม่ควรยอมรับว่า “ความไม่รู้ของพระอรหันต์มีอยู่”
สก. ความไม่รู้ของพระอรหันต์มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ สํ.ม. (แปล) ๑๙/๑๐๙๕/๖๐๘
๒ ดูเทียบ สํ.สฬา. (แปล) ๑๘/๒๖/๒๔-๒๖

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๒๗๑ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒. ทุติยวรรค] ๒. อัญญาณกถา (๑๑)
สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า
“พระโสดาบันละธรรม ๓ ประการ คือ
สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา และสีลัพพตปรามาส
ได้อย่างสิ้นเชิงแล้ว
พร้อมกับการบรรลุโสดาปัตติมรรค
พระโสดาบันก็พ้นจากอบายทั้ง ๔
และจะไม่ทำอภิฐาน ๖”๑]

มีอยู่จริงมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. ดังนั้น ท่านจึงไม่ควรยอมรับว่า “ความไม่รู้ของพระอรหันต์มีอยู่”
สก. ความไม่รู้ของพระอรหันต์มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย ในสมัยที่
ธรรมจักษุที่ปราศจากธุลี ปราศจากมลทิน เกิดขึ้นแก่อริยสาวกว่า ‘สิ่งใดสิ่งหนึ่งมี
ความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งหมดมีความดับเป็นธรรมดา’ พร้อมกับการเกิด
ขึ้นแห่งโสดาปัตติมรรค อริยสาวกย่อมละสังโยชน์ได้ ๓ ประการ คือ สักกายทิฏฐิ
วิจิกิจฉา และสีลัพพตปรามาส”๒ มีอยู่จริงมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. ดังนั้น ท่านจึงไม่ควรยอมรับว่า “ความไม่รู้ของพระอรหันต์มีอยู่”
ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “ความไม่รู้ของพระอรหันต์มีอยู่” ใช่ไหม
สก. ใช่

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ ขุ.สุ. (แปล) ๒๕/๒๓๓-๒๓๔/๕๕๕
๒ ดูเทียบ องฺ.ติก. (แปล) ๒๐/๙๕/๒๔๙

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๒๗๒ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒. ทุติยวรรค] ๓. กังขากถา (๑๒)
ปร. พระอรหันต์ไม่รู้ชื่อและโคตรของสตรีและบุรุษ ไม่รู้ทางและมิใช่ทาง ไม่
รู้ชื่อของหญ้า ไม้ และต้นไม้เจ้าป่าได้มิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. หากพระอรหันต์ไม่รู้ชื่อและโคตรของสตรีและบุรุษ ไม่รู้ทางและมิใช่ทาง
ไม่รู้ชื่อของหญ้า ไม้ และต้นไม้เจ้าป่าได้ ดังนั้น ท่านควรยอมรับว่า “ความไม่รู้
ของพระอรหันต์มีอยู่”
สก. พระอรหันต์ไม่รู้ชื่อและโคตรของสตรีและบุรุษ ไม่รู้ทางและมิใช่ทาง ไม่รู้
ชื่อของหญ้า ไม้ และต้นไม้เจ้าป่าได้ เพราะเหตุนั้น ความไม่รู้ของพระอรหันต์
จึงมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระอรหันต์ไม่รู้โสดาปัตติผล สกทาคามิผล อนาคามิผล หรืออรหัตตผล
ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
อัญญาณกถา จบ

๓. กังขากถา (๑๒)
ว่าด้วยความสงสัย
[๓๑๘] สก. ความสงสัยของพระอรหันต์มีอยู่ใช่ไหม
ปร.๑ ใช่๒
สก. วิจิกิจฉา วิจิกิจฉาปริยุฏฐาน วิจิกิจฉาสังโยชน์ วิจิกิจฉานิวรณ์
ของพระอรหันต์มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

เชิงอรรถ :
๑ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายปุพพเสลิยะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๓๑๘/๑๘๓)
๒ เพราะมีความเห็นว่า พระอรหันต์ยังมีความสงสัยในชื่อต่าง ๆ จึงชื่อว่ายังมีความสงสัยอยู่ (อภิ.ปญฺจ.อ.
๓๑๘/๑๘๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๒๗๓ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒. ทุติยวรรค] ๓. กังขากถา (๑๒)
สก. วิจิกิจฉา วิจิกิจฉาปริยุฏฐาน วิจิกิจฉาสังโยชน์ วิจิกิจฉานิวรณ์
ของพระอรหันต์ไม่มีใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. หากวิจิกิจฉา วิจิกิจฉาปริยุฏฐาน วิจิกิจฉาสังโยชน์ วิจิกิจฉานิวรณ์ของ
พระอรหันต์ไม่มี ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “ความสงสัยของพระอรหันต์มีอยู่”
สก. ความสงสัยของปุถุชนมีอยู่ วิจิกิจฉา วิจิกิจฉาปริยุฏฐาน วิจิกิจฉา-
สังโยชน์ วิจิกิจฉานิวรณ์ของปุถุชนนั้นก็มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ความสงสัยของพระอรหันต์มีอยู่ วิจิกิจฉา วิจิกิจฉาปริยุฏฐาน วิจิกิจฉา-
สังโยชน์ วิจิกิจฉานิวรณ์ของพระอรหันต์นั้นก็มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ความสงสัยของพระอรหันต์มีอยู่ วิจิกิจฉา วิจิกิจฉาปริยุฏฐาน วิจิกิจฉา-
สังโยชน์ วิจิกิจฉานิวรณ์ของพระอรหันต์นั้นไม่มีใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ความสงสัยของปุถุชนมีอยู่ วิจิกิจฉา วิจิกิจฉาปริยุฏฐาน วิจิกิจฉา-
สังโยชน์ วิจิกิจฉานิวรณ์ของปุถุชนนั้นไม่มีใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ความสงสัยของพระอรหันต์มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ความสงสัยในพระศาสดา ในพระธรรม ในพระสงฆ์ ในสิกขา ใน
ส่วนเบื้องต้น ในส่วนเบื้องปลาย ในส่วนเบื้องต้นและส่วนเบื้องปลาย ความสงสัย
ในปฏิจจสมุปบาทที่ว่าเพราะธรรมนี้เป็นปัจจัย ธรรมนี้จึงมี ของพระอรหันต์มีอยู่
ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๒๗๔ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒. ทุติยวรรค] ๓. กังขากถา (๑๒)
สก. ความสงสัยในพระศาสดา ในพระธรรม ในพระสงฆ์ ฯลฯ ความ
สงสัยในปฏิจจสมุปบาทที่ว่าเพราะธรรมนี้เป็นปัจจัย ธรรมนี้จึงมี ของพระอรหันต์
ไม่มีใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. หากความสงสัยในพระศาสดา ในพระธรรม ฯลฯ ความสงสัยใน
ปฏิจจสมุปบาทที่ว่าเพราะธรรมนี้เป็นปัจจัย ธรรมนี้จึงมี ของพระอรหันต์ไม่มี
ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “ความสงสัยของพระอรหันต์มีอยู่”
สก. ความสงสัยของปุถุชนมีอยู่ ความสงสัยในพระศาสดา ในพระธรรม
ฯลฯ ความสงสัยในปฏิจจสมุปบาทที่ว่าเพราะธรรมนี้เป็นปัจจัย ธรรมนี้จึงมี
ของปุถุชนมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ความสงสัยของพระอรหันต์มีอยู่ ความสงสัยในพระศาสดา ในพระธรรม
ฯลฯ ความสงสัยในปฏิจจสมุปบาทที่ว่า “เพราะธรรมนี้เป็นปัจจัย ธรรมนี้จึงมี”
ของพระอรหันต์นั้นมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ความสงสัยของพระอรหันต์มีอยู่ ความสงสัยในพระศาสดา ในพระธรรม
ฯลฯ ความสงสัยในปฏิจจสมุปบาทที่ว่าเพราะธรรมนี้เป็นปัจจัย ธรรมนี้จึงมี
ของพระอรหันต์นั้นไม่มีใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ความสงสัยของปุถุชนมีอยู่ ความสงสัยในพระศาสดา ในพระ ธรรม ฯลฯ
ความสงสัยในปฏิจจสมุปบาทที่ว่าเพราะธรรมนี้เป็นปัจจัย ธรรมนี้จึงมี ของปุถุชน
นั้นไม่มีใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๓๑๙] สก. ความสงสัยของพระอรหันต์มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๒๗๕ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒. ทุติยวรรค] ๓. กังขากถา (๑๒)
สก. ราคะพระอรหันต์ละได้แล้ว ตัดรากถอนโคน เหมือนต้นตาลที่ถูกตัดราก
ถอนโคนไปแล้วเหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้มิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากราคะพระอรหันต์ละได้แล้ว ตัดรากถอนโคน เหมือนต้นตาลที่ถูกตัด
รากถอนโคนไปแล้วเหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ ท่านก็ไม่ควร
ยอมรับว่า “ความสงสัยของพระอรหันต์มีอยู่”
สก. ความสงสัยของพระอรหันต์มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. โทสะ ฯลฯ โมหะ ฯลฯ อโนตตัปปะ พระอรหันต์ละได้แล้ว ฯลฯ เจริญ
มรรค ฯลฯ เจริญโพชฌงค์เพื่อละราคะ ฯลฯ เพื่อละโทสะ ฯลฯ เพื่อละอโนตตัปปะ
พระอรหันต์เป็นผู้ปราศจากราคะ โทสะ โมหะ ฯลฯ ทำให้แจ้งธรรมที่ควรทำ
ให้แจ้งแล้วมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากพระอรหันต์เป็นผู้ปราศจากราคะ โทสะ โมหะ ฯลฯ ทำให้แจ้งธรรม
ที่ควรทำให้แจ้งแล้ว ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “ความสงสัยของพระอรหันต์มีอยู่”
[๓๒๐] สก. ความสงสัยของพระอรหันต์มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ความสงสัยของพระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมของตนมีอยู่ ความสงสัย
ของพระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมอื่นไม่มี
สก. ความสงสัยของพระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมของตนมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ความสงสัยของพระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมอื่นมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ความสงสัยของพระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมอื่นไม่มีใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๒๗๖ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒. ทุติยวรรค] ๓. กังขากถา (๑๒)
สก. ความสงสัยของพระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมของตนไม่มีใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ราคะพระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมของตนละได้แล้ว (แต่)ความสงสัยของ
พระอรหันต์นั้นยังมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ราคะพระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมอื่นละได้แล้ว (แต่)ความสงสัยของพระ
อรหันต์นั้นยังมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. โทสะ ฯลฯ โมหะ ฯลฯ อโนตตัปปะ พระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมของตน
ละได้แล้ว เจริญมรรค ฯลฯ เจริญโพชฌงค์เพื่อละราคะ ฯลฯ เพื่อละโทสะ ฯลฯ
เพื่อละโมหะ ฯลฯ เพื่อละอโนตตัปปะ ฯลฯ พระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมของตน เป็น
ผู้ปราศจากราคะ โทสะ โมหะ ฯลฯ ทำให้แจ้งธรรมที่ควรทำให้แจ้งแล้ว แต่ความ
สงสัยของพระอรหันต์นั้นยังมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมอื่นเป็นผู้ปราศจากราคะ โทสะ โมหะ ฯลฯ
ทำให้แจ้งธรรมที่ควรทำให้แจ้งแล้ว (แต่)ความสงสัยของพระอรหันต์นั้นยังมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ราคะพระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมอื่นละได้แล้ว ความสงสัยของพระ
อรหันต์นั้นไม่มีใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ราคะพระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมของตนละได้แล้ว ความสงสัยของพระ
อรหันต์นั้นไม่มีใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. โทสะ ฯลฯ โมหะ ฯลฯ อโนตตัปปะ พระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมอื่น
ละได้แล้ว ฯลฯ เจริญมรรค ฯลฯ เจริญโพชฌงค์เพื่อละราคะ ฯลฯ เพื่อละโทสะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๒๗๗ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒. ทุติยวรรค] ๓. กังขากถา (๑๒)
ฯลฯ เพื่อละโมหะ ฯลฯ เพื่อละอโนตตัปปะ ฯลฯ พระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมอื่น
เป็นผู้ปราศจากราคะ โทสะ ฯลฯ ทำให้แจ้งธรรมที่ควรทำให้แจ้งแล้ว ความสงสัย
ของพระอรหันต์นั้นไม่มีใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมของตนเป็นผู้ปราศจากราคะ โทสะ ฯลฯ ทำ
ให้แจ้งธรรมที่ควรทำให้แจ้งแล้ว ความสงสัยของพระอรหันต์นั้นไม่มีใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๓๒๑] สก. ความสงสัยของพระอรหันต์มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวความ
สิ้นไปแห่งอาสวะของบุคคลผู้รู้อยู่ เห็นอยู่ มิได้กล่าวความสิ้นไปแห่งอาสวะของ
บุคคลผู้ไม่รู้ ไม่เห็น เมื่อบุคคลรู้ เห็นอย่างไร ความสิ้นไปแห่งอาสวะจึงมี คือ
เมื่อบุคคลรู้ เห็นอยู่ว่า รูปเป็นดังนี้ ฯลฯ ความดับแห่งวิญญาณเป็นดังนี้ เมื่อ
บุคคลรู้เห็นอย่างนี้ ความสิ้นไปแห่งอาสวะจึงมี”๑ มีอยู่จริงมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. ดังนั้น ท่านจึงไม่ควรยอมรับว่า “ความสงสัยของพระอรหันต์มีอยู่”
สก. ความสงสัยของพระอรหันต์มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวความ
สิ้นไปแห่งอาสวะของบุคคลผู้รู้อยู่ เห็นอยู่ มิได้กล่าวความสิ้นไปแห่งอาสวะของ
บุคคลผู้ไม่รู้ ไม่เห็น เมื่อบุคคลรู้ เห็นอย่างไร ความสิ้นไปแห่งอาสวะจึงมี คือ

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ สํ.ข. (แปล) ๑๗/๑๐๑/๑๙๒-๑๙๓

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๒๗๘ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒. ทุติยวรรค] ๓. กังขากถา (๑๒)
เมื่อบุคคลรู้เห็นอยู่ว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา เมื่อบุคคลรู้เห็นอย่างนี้
ความสิ้นไปแห่งอาสวะจึงมี” มีอยู่จริงมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. ดังนั้น ท่านจึงไม่ควรยอมรับว่า “ความสงสัยของพระอรหันต์มีอยู่”
สก. ความสงสัยของพระอรหันต์มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย บุคคลเมื่อยังไม่รู้ยิ่ง
ไม่กำหนดรู้ ไม่คลายกำหนัด ไม่ละสิ่งทั้งปวง เป็นผู้ไม่ควรเพื่อความสิ้นทุกข์ แต่
บุคคลเมื่อรู้ยิ่ง กำหนดรู้ คลายกำหนัด ละสิ่งทั้งปวง เป็นผู้ควรเพื่อความสิ้นทุกข์”
มีอยู่จริงมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. ดังนั้น ท่านจึงไม่ควรยอมรับว่า “ความสงสัยของพระอรหันต์มีอยู่”
สก. ความสงสัยของพระอรหันต์มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “พระโสดาบันละธรรม ๓ ประการ
คือ สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา และสีลัพพตปรามาสได้อย่างสิ้นเชิงแล้ว พร้อมกับการ
บรรลุโสดาปัตติมรรค พระโสดาบันก็พ้นจากอบายทั้ง ๔ และจะไม่ทำอภิฐาน ๖”๑
มีอยู่จริงมิใช่หรือ
ปร. ใช่

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ ขุ.สุ. (แปล) ๒๕/๒๓๓-๒๓๔/๕๕๕

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๒๗๙ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒. ทุติยวรรค] ๓. กังขากถา (๑๒)
สก. ดังนั้น ท่านจึงไม่ควรยอมรับว่า “ความสงสัยของพระอรหันต์มีอยู่”
สก. ความสงสัยของพระอรหันต์มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย ในสมัยที่ธรรมจักษุ
ที่ปราศจากธุลี ปราศจากมลทิน เกิดขึ้นแก่อริยสาวกว่า ‘สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความ
เกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งหมดมีความดับเป็นธรรมดา’ พร้อมกับการเกิดขึ้น
แห่งโสดาปัตติมรรค อริยสาวกย่อมละสังโยชน์ได้ ๓ ประการ คือ สักกายทิฏฐิ
วิจิกิจฉา และสีลัพพตปรามาส”๑ มีอยู่จริงมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. ดังนั้น ท่านจึงไม่ควรยอมรับว่า “ความสงสัยของพระอรหันต์มีอยู่”
สก. ความสงสัยของพระอรหันต์มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า
“เมื่อใดแล ธรรมทั้งหลายปรากฏแก่พราหมณ์
ผู้มีความเพียร เพ่งอยู่
เมื่อนั้น ความสงสัยทั้งปวงของพราหมณ์นั้นย่อมสิ้นไป
เพราะมารู้ธรรมพร้อมทั้งเหตุ
เมื่อใดแล ธรรมทั้งหลายปรากฏแก่พราหมณ์
ผู้มีความเพียร เพ่งอยู่
เมื่อนั้น ความสงสัยทั้งปวงของพราหมณ์นั้นย่อมสิ้นไป
เพราะได้รู้ความสิ้นไปแห่งปัจจัยทั้งหลาย

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ องฺ.ติก. (แปล) ๒๐/๙๕/๓๒๘

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๒๘๐ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒. ทุติยวรรค] ๓. กังขากถา (๑๒)
เมื่อใดแล ธรรมทั้งหลายปรากฏแก่พราหมณ์
ผู้มีความเพียร เพ่งอยู่
เมื่อนั้น พราหมณ์นั้นย่อมกำจัดมารและเสนาเสียได้
ดุจพระอาทิตย์อุทัยขึ้นสาดส่องท้องฟ้าให้สว่างไสว ฉะนั้น๑
ความสงสัยเหล่าใดเหล่าหนึ่งที่มีในอัตภาพนี้หรือในอัตภาพอื่น
ที่มีในความรู้ของตนหรือในความรู้ของผู้อื่น
บุคคลผู้เพ่งพินิจ มีความเพียร ประพฤติพรหมจรรย์อยู่
ย่อมละความสงสัยเหล่านั้นทั้งหมดได้๒
ทานที่ให้แล้วแก่บุคคลผู้ข้ามความสงสัย
ผู้หมดความสงสัย
ผู้ปราศจากความสงสัยทั้งที่คนทั้งหลายยังมีความสงสัยอยู่
ย่อมมีผลมาก
การประกาศธรรมในธรรมวินัยนี้เป็นเช่นนี้
ไม่มีพระสาวกรูปไหนจะสงสัยอะไร
ในการประกาศธรรมนั้นเลย
พวกข้าพระองค์ขอนอบน้อมพระชินพุทธเจ้า
ผู้ทรงเป็นจอมคน ทรงข้ามโอฆะได้
ทรงตัดความสงสัยได้แล้ว”๓
มีอยู่จริงมิใช่หรือ
ปร. ใช่

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ วิ.ม. (แปล) ๔/๑-๓/๓-๖, ขุ.อุ. (แปล) ๒๕/๑-๓/๑๗๒-๑๗๖
๒ ดูเทียบ ขุ.อุ. (แปล) ๒๕/๔๗/๒๗๕
๓ ดูเทียบ ที.ม. (แปล) ๑๐/๓๕๔/๒๘๔

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๒๘๑ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒. ทุติยวรรค] ๓. กังขากถา (๑๒)
สก. ดังนั้น ท่านจึงไม่ควรยอมรับว่า “ความสงสัยของพระอรหันต์มีอยู่”
ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “ความสงสัยของพระอรหันต์มีอยู่” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. พระอรหันต์พึงสงสัยในชื่อและโคตรของสตรีและบุรุษ ในทางและมิใช่ทาง
ในชื่อของหญ้า ไม้ และต้นไม้เจ้าป่าได้มิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. หากพระอรหันต์จะพึงสงสัยในชื่อและโคตรของสตรีและบุรุษ ในทางและ
มิใช่ทาง ในชื่อของหญ้า ไม้ และต้นไม้เจ้าป่า ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า
“ความสงสัยของพระอรหันต์มีอยู่”
สก. พระอรหันต์จะพึงสงสัยในชื่อและโคตรของสตรีและบุรุษ ในทางและมิใช่
ทาง ในชื่อของหญ้า ไม้ และต้นไม้เจ้าป่า ดังนั้น ความสงสัยของพระอรหันต์
จึงมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระอรหันต์จะพึงสงสัยในโสดาปัตติผล สกทาคามิผล อนาคามิผล
อรหัตตผลใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

กังขากถา จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๒๘๒ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒. ทุติยวรรค] ๔. ปรวิตารณกถา (๑๓)
๔. ปรวิตารณกถา (๑๓)
ว่าด้วยการรับคำแนะนำจากผู้อื่น
[๓๒๒] สก. การรับคำแนะนำจากผู้อื่นของพระอรหันต์มีใช่ไหม
ปร.๑ใช่๒
สก. พระอรหันต์ถูกผู้อื่นนำไป ถูกผู้อื่นชักจูงไป อาศัยผู้อื่น เกาะผู้อื่น โง่เขลา
ไม่ฉลาด ย่อมไม่รู้ ไม่เห็นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระอรหันต์ไม่ถูกผู้อื่นนำไป ไม่ถูกผู้อื่นจูงไป ไม่อาศัยผู้อื่น ไม่เกาะผู้อื่น
ไม่โง่เขลา ฉลาด ย่อมรู้ ย่อมเห็นมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากพระอรหันต์ไม่ถูกผู้อื่นนำไป ไม่ถูกผู้อื่นจูงไป ไม่อาศัยผู้อื่น ไม่เกาะ
ผู้อื่น ไม่โง่เขลา ฉลาด ย่อมรู้ ย่อมเห็น ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “การรับคำ
แนะนำจากผู้อื่นของพระอรหันต์มีอยู่”
สก. การรับคำแนะนำจากผู้อื่นของปุถุชนมีอยู่ และเขาถูกผู้อื่นนำไป ถูกผู้อื่น
ชักจูงไปอาศัยผู้อื่น เกาะผู้อื่นอยู่ โง่เขลา ไม่ฉลาด ย่อมไม่รู้ ไม่เห็นใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. การรับคำแนะนำจากผู้อื่นของพระอรหันต์มีอยู่ และท่านถูกผู้อื่นนำไป
ถูกผู้อื่นชักจูงไป อาศัยผู้อื่น เกาะผู้อื่น โง่เขลา ไม่ฉลาด ย่อมไม่รู้ ไม่เห็นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

เชิงอรรถ :
๑ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกาย ปุพพเสลิยะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๓๒๒/๑๘๓)
๒ เพราะมีความเห็นว่า พระอรหันต์ต้องอาศัยผู้อื่นบอก จึงสามารถรู้ชื่อและโคตรของบุคคล และสถานที่
เป็นต้นได้ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๓๒๒/๑๘๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๒๘๓ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒. ทุติยวรรค] ๔. ปรวิตารณกถา (๑๓)
สก. การรับคำแนะนำจากผู้อื่นของพระอรหันต์มีอยู่ และท่านไม่ถูกผู้อื่นนำไป
ไม่ถูกผู้อื่นชักจูงไป ไม่อาศัยผู้อื่น ไม่เกาะผู้อื่น ไม่โง่เขลา ฉลาด ย่อมรู้ ย่อมเห็น
ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. การรับคำแนะนำจากผู้อื่นของปุถุชนมี และเขาไม่ถูกผู้อื่นนำไป ไม่ถูก
ผู้อื่นชักจูงไป ไม่อาศัยผู้อื่น ไม่เกาะผู้อื่น ไม่โง่เขลา ฉลาด ย่อมรู้ ย่อมเห็นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. การรับคำแนะนำจากผู้อื่นของพระอรหันต์มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. การรับคำแนะนำจากผู้อื่นใน(เรื่อง)พระศาสดา ใน(เรื่อง)พระธรรม
ใน(เรื่อง)พระสงฆ์ ในสิกขา ในส่วนเบื้องต้น ในส่วนเบื้องปลาย ทั้งในส่วนเบื้องต้น
และส่วนเบื้องปลาย ในปฏิจจสมุปบาทที่ว่าเพราะธรรมนี้เป็นปัจจัย ธรรมนี้จึงมี
ของพระอรหันต์มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. การรับคำแนะนำจากผู้อื่นในพระศาสดา ในพระธรรม ฯลฯ ในปฏิจจ-
สมุปบาทที่ว่าเพราะธรรมนี้เป็นปัจจัย ธรรมนี้จึงมี ของพระอรหันต์ไม่มีใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. หากการรับคำแนะนำจากผู้อื่นในพระศาสดา ในพระธรรม ฯลฯ ใน
ปฏิจจสมุปบาทที่ว่าเพราะธรรมนี้เป็นปัจจัย ธรรมนี้จึงมี ของพระอรหันต์ไม่มี
ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “การรับคำแนะนำจากผู้อื่นของพระอรหันต์มี”
สก. การรับคำแนะนำจากผู้อื่นของปุถุชนมี การรับคำแนะนำจากผู้อื่นใน
พระศาสดา ในพระธรรม ฯลฯ ในปฏิจจสมุปบาทที่ว่า “เพราะธรรมนี้เป็นปัจจัย
ธรรมนี้จึงมี” ของปุถุชนนั้นมีใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๒๘๔ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒. ทุติยวรรค] ๔. ปรวิตารณกถา (๑๓)
สก. การรับคำแนะนำจากผู้อื่นของพระอรหันต์มี การรับคำแนะนำจากผู้อื่น
ในพระศาสดา ในพระธรรม ฯลฯ ในปฏิจจสมุปบาทที่ว่าเพราะธรรมนี้เป็นปัจจัย
ธรรมนี้จึงมี ของพระอรหันต์นั้นมีใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. การรับคำแนะนำจากผู้อื่นของพระอรหันต์มีอยู่ และการรับคำแนะนำจาก
ผู้อื่นในพระศาสดา ในพระธรรม ฯลฯ ในปฏิจจสมุปบาทที่ว่าเพราะธรรมนี้เป็นปัจจัย
ธรรมนี้จึงมี ของพระอรหันต์นั้นไม่มีใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. การรับคำแนะนำจากผู้อื่นของปุถุชนมีอยู่ และการรับคำแนะนำจากผู้อื่น
ในพระศาสดา ในพระธรรม ฯลฯ ในปฏิจจสมุปบาทที่ว่าเพราะธรรมนี้เป็นปัจจัย
ธรรมนี้จึงมี ของปุถุชนนั้นไม่มีใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๓๒๓] สก. การรับคำแนะนำจากผู้อื่นของพระอรหันต์มีใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ราคะพระอรหันต์ละได้แล้ว ตัดรากถอนโคน เหมือนต้นตาลที่ถูกตัดราก
ถอนโคนไปแล้วเหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้มิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากราคะพระอรหันต์ละได้แล้ว ตัดรากถอนโคน เหมือนต้นตาลที่ถูกตัด
รากถอนโคนไปแล้วเหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ ท่านก็ไม่ควร
ยอมรับว่า “การรับคำแนะนำจากผู้อื่นของพระอรหันต์มี”
สก. การรับคำแนะนำจากผู้อื่นของพระอรหันต์มีใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. โทสะ ฯลฯ โมหะ ฯลฯ อโนตตัปปะ พระอรหันต์ละได้แล้ว ตัดรากถอน
โคน เหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้วเหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๒๘๕ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒. ทุติยวรรค] ๔. ปรวิตารณกถา (๑๓)
ต่อไปไม่ได้ ฯลฯ เจริญมรรค ฯลฯ เจริญโพชฌงค์เพื่อละราคะ ฯลฯ เพื่อละโทสะ
ฯลฯ เพื่อละอโนตตัปปะมิใช่หรือ
สก. พระอรหันต์เป็นผู้ปราศจากราคะ โทสะ โมหะ ทำให้แจ้งธรรมที่ควร
ทำให้แจ้งแล้วมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากพระอรหันต์เป็นผู้ปราศจากราคะ โทสะ โมหะ ฯลฯ ทำให้แจ้ง
ธรรมที่ควรทำให้แจ้งแล้ว ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “การรับคำแนะนำจากผู้อื่นของ
พระอรหันต์มี”
[๓๒๔] สก. การรับคำแนะนำจากผู้อื่นของพระอรหันต์มีใช่ไหม
ปร. การรับคำแนะนำจากผู้อื่นของพระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมของตนมี แต่
การรับคำแนะนำจากผู้อื่นของพระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมอื่นไม่มี
สก. การรับคำแนะนำจากผู้อื่นของพระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมของตนมีใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. การรับคำแนะนำจากผู้อื่นของพระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมอื่นมีใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. การรับคำแนะนำจากผู้อื่นของพระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมอื่นไม่มีใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. การรับคำแนะนำจากผู้อื่นของพระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมของตนไม่มีใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ราคะพระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมของตนละได้แล้ว (แต่)การรับคำ
แนะนำจากผู้อื่นของพระอรหันต์นั้นยังมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมอื่นละราคะได้แล้ว (แต่)การรับคำแนะนำจาก
ผู้อื่นของพระอรหันต์นั้นยังมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๒๘๖ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒. ทุติยวรรค] ๔. ปรวิตารณกถา (๑๓)
สก. โทสะ ฯลฯ โมหะ ฯลฯ อโนตตัปปะ พระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมของตน
ละได้แล้ว ฯลฯ เจริญมรรค ฯลฯ เจริญโพชฌงค์ เพื่อละราคะ ฯลฯ เพื่อละโทสะ
ฯลฯ เพื่อละอโนตตัปปะ ฯลฯ เป็นผู้ปราศจากราคะ โทสะ โมหะ ฯลฯ ทำให้แจ้ง
ธรรมที่ควรทำให้แจ้งแล้ว (แต่)การรับคำแนะนำจากผู้อื่นของพระอรหันต์นั้นยังมีอยู่
ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมอื่นเป็นผู้ปราศจากราคะ โทสะ โมหะ ฯลฯ
ทำให้แจ้งธรรมที่ควรทำให้แจ้งแล้ว (แต่)การรับคำแนะนำจากผู้อื่นของพระอรหันต์
นั้นยังมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ราคะพระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมอื่นละได้แล้ว การรับคำแนะนำจากผู้อื่น
ของพระอรหันต์นั้นไม่มีใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ราคะพระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมของตนละได้แล้ว การรับคำแนะนำจาก
ผู้อื่นของพระอรหันต์นั้นไม่มีใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. โทสะ ฯลฯ โมหะ ฯลฯ อโนตตัปปะ พระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรม
อื่นละได้แล้ว ฯลฯ เจริญมรรค ฯลฯ เจริญโพชฌงค์เพื่อละราคะ ฯลฯ เพื่อละโทสะ
ฯลฯ เพื่อละอโนตตัปปะ ฯลฯ เป็นผู้ปราศจากราคะ โทสะ โมหะ ฯลฯ ทำให้แจ้ง
ธรรมที่ควรทำให้แจ้งแล้ว การรับคำแนะนำจากผู้อื่นของพระอรหันต์นั้นไม่มีใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมของตนเป็นผู้ปราศจากราคะ โทสะ โมหะ
ฯลฯ ทำให้แจ้งธรรมที่ควรทำให้แจ้งแล้ว การรับคำแนะนำจากผู้อื่นของพระอรหันต์
นั้นไม่มีใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๒๘๗ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒. ทุติยวรรค] ๔. ปรวิตารณกถา (๑๓)
[๓๒๕] สก. การรับคำแนะนำจากผู้อื่นของพระอรหันต์มีใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวความ
สิ้นไปแห่งอาสวะของบุคคลผู้รู้อยู่ เห็นอยู่ มิได้กล่าวความสิ้นไปแห่งอาสวะของ
บุคคลผู้ไม่รู้ ไม่เห็น เมื่อบุคคลรู้ เห็นอย่างไร ความสิ้นไปแห่งอาสวะจึงมี คือ
เมื่อบุคคลรู้ เห็นอยู่ว่า รูปเป็นดังนี้ ฯลฯ ความดับแห่งวิญญาณเป็นดังนี้ เมื่อ
บุคคลรู้เห็นอย่างนี้ ความสิ้นไปแห่งอาสวะจึงมี”๑ มีอยู่จริงมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. ดังนั้น ท่านจึงไม่ควรยอมรับว่า “การรับคำแนะนำจากผู้อื่นของพระ
อรหันต์มี”
สก. การรับคำแนะนำจากผู้อื่นของพระอรหันต์มีใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวความ
สิ้นไปแห่งอาสวะของบุคคลผู้รู้อยู่ เห็นอยู่ มิได้กล่าวความสิ้นไปแห่งอาสวะของ
บุคคลผู้ไม่รู้ ไม่เห็น เมื่อบุคคลรู้ เห็นอย่างไร ความสิ้นไปแห่งอาสวะจึงมี คือ
เมื่อบุคคลรู้เห็นอยู่ว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา เมื่อบุคคลรู้เห็นอย่างนี้
ความสิ้นไปแห่งอาสวะจึงมี” มีอยู่จริงมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. ดังนั้น ท่านจึงไม่ควรยอมรับว่า “การรับคำแนะนำจากผู้อื่นของพระ
อรหันต์มี”
สก. การรับคำแนะนำจากผู้อื่นของพระอรหันต์มีใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย บุคคลเมื่อยังไม่รู้ยิ่ง
ไม่กำหนดรู้ ไม่คลายกำหนัด ไม่ละสิ่งทั้งปวง เป็นผู้ไม่ควรเพื่อความสิ้นทุกข์ แต่

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ สํ.ข. (แปล) ๑๗/๑๐๑/๑๙๒-๑๙๓

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๒๘๘ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒. ทุติยวรรค] ๔. ปรวิตารณกถา (๑๓)
บุคคลเมื่อรู้ยิ่ง กำหนดรู้ คลายกำหนัด ละสิ่งทั้งปวง เป็นผู้ควรเพื่อความสิ้นทุกข์”
มีอยู่จริงมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. ดังนั้น ท่านจึงไม่ควรยอมรับว่า “การรับคำแนะนำจากผู้อื่นของพระ
อรหันต์มี”
สก. การรับคำแนะนำจากผู้อื่นของพระอรหันต์มีใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “พระโสดาบันละธรรม ๓ ประการ
คือ สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา และสีลัพพตปรามาสได้อย่างสิ้นเชิงแล้ว พร้อมกับ
การบรรลุโสดาปัตติมรรค พระโสดาบันก็พ้นจากอบายทั้ง ๔ และจะไม่ทำอภิฐาน ๖”๑
มีอยู่จริงมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. ดังนั้น ท่านจึงไม่ควรยอมรับว่า “การรับคำแนะนำจากผู้อื่นของพระ
อรหันต์มี”
สก. การรับคำแนะนำจากผู้อื่นของพระอรหันต์มีใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย ในสมัยที่ธรรมจักษุ
ที่ปราศจากธุลี ปราศจากมลทิน เกิดขึ้นแก่อริยสาวกว่า ‘สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิด
ขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งหมดมีความดับเป็นธรรมดา’ พร้อมกับการเกิดขึ้นแห่ง
โสดาปัตติมรรค อริยสาวกย่อมละสังโยชน์ได้ ๓ ประการ คือ สักกายทิฏฐิ
วิจิกิจฉา และสีลัพพตปรามาส”๒ มีอยู่จริงมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. ดังนั้น ท่านจึงไม่ควรยอมรับว่า “การรับคำแนะนำจากผู้อื่นของพระ
อรหันต์มี”

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ ขุ.สุ. (แปล) ๒๕/๒๓๓-๒๓๔/๕๕๕
๒ ดูเทียบ องฺ.ติก. (แปล) ๒๐/๙๕/๓๒๘

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๒๘๙ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒. ทุติยวรรค] ๔. ปรวิตารณกถา (๑๓)
สก. การรับคำแนะนำจากผู้อื่นของพระอรหันต์มีใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า
“โธตกะ เราไม่อาจปลดเปลื้องใคร ๆ
ผู้มีความสงสัยในโลกได้ แต่เธอเมื่อรู้ทั่วถึงธรรมอันประเสริฐ
ก็จะพึงข้ามโอฆะได้เองด้วยประการฉะนี้”๑
มีอยู่จริงมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. ดังนั้น ท่านจึงไม่ควรยอมรับว่า “การรับคำแนะนำจากผู้อื่นของพระ
อรหันต์มี”
ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “การรับคำแนะนำจากผู้อื่นของพระอรหันต์มี” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. ผู้อื่นจะพึงแนะนำนามและโคตรของสตรีและบุรุษ ทางและมิใช่ทาง ชื่อ
ของหญ้า ไม้ และต้นไม้เจ้าป่าแก่พระอรหันต์ได้ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. หากผู้อื่นจะพึงแนะนำชื่อและโคตรของสตรีและบุรุษ ทางและมิใช่ทาง
ชื่อของหญ้า ไม้ และต้นไม้เจ้าป่าแก่พระอรหันต์ได้ ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า
“การรับคำแนะนำจากผู้อื่นของพระอรหันต์มี”
สก. ผู้อื่นจะพึงแนะนำชื่อและโคตรของสตรีและบุรุษ ทางและมิใช่ทาง ชื่อของ
หญ้า ไม้ และต้นไม้เจ้าป่าแก่พระอรหันต์ได้ ดังนั้น การรับคำแนะนำจากผู้อื่นของ
พระอรหันต์จึงมีใช่ไหม
ปร. ใช่

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ ขุ.สุ. (แปล) ๒๕/๑๐๗๑/๗๕๕, ขุ.จู. (แปล) ๓๐/๘๙/๑๙

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๒๙๐ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒. ทุติยวรรค] ๕. วจีเภทกถา (๑๔)
สก. ผู้อื่นจะพึงแนะนำโสดาปัตติผล สกทาคามิผล อนาคามิผล หรืออรหัตตผล
แก่พระอรหันต์ได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปรวิตารณกถา จบ

๕. วจีเภทกถา (๑๔)
ว่าด้วยการเปล่งวาจา
[๓๒๖] สก. การเปล่งวาจาของผู้เข้าฌานมีอยู่ใช่ไหม
ปร.๑ ใช่๒
สก. การเปล่งวาจาของผู้เข้าฌานมีอยู่ในโอกาสทั้งปวง๓ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น๔ ฯลฯ
สก. การเปล่งวาจาของผู้เข้าฌานมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. การเปล่งวาจาของผู้เข้าฌานมีอยู่ในกาลทั้งปวงใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น๕ ฯลฯ
สก. การเปล่งวาจาของผู้เข้าฌานมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่

เชิงอรรถ :
๑ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายปุพพเสลิยะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๓๒๖/๑๘๓)
๒ เพราะมีความเห็นว่า ในขณะที่บุคคลบรรลุโสดาปัตติผล จะมีการเปล่งเสียงว่า ทุกข์ (อภิ.ปญฺจ.อ.
๓๒๖/๑๘๓)
๓ โอกาสทั้งปวง ในที่นี้หมายถึงภพ ๓ คือ กามภพ รูปภพ และอรูปภพ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๓๒๖/๑๘๓)
๔ เพราะหมายเอารูปภพอย่างเดียว จึงตอบปฏิเสธ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๓๒๖/๑๘๓)
๕เพราะหมายเอากาลที่เข้าสมาบัติอื่นนอกจากการเข้าปฐมฌานในขณะโสดาปัตติมรรค จึงตอบปฏิเสธ
(อภิ.ปญฺจ.อ. ๓๒๖/๑๘๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๒๙๑ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒. ทุติยวรรค] ๕. วจีเภทกถา (๑๔)
สก. การเปล่งวาจาของผู้เข้าฌานทั้งปวงมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น๑ ฯลฯ
สก. การเปล่งวาจาของผู้เข้าฌานมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. การเปล่งวาจามีอยู่ในสมาบัติทั้งปวงใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. การเปล่งวาจาของผู้เข้าฌานมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. การเคลื่อนไหวกายของผู้เข้าฌานมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. การเคลื่อนไหวกายของผู้เข้าฌานไม่มีใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. การเปล่งวาจาของผู้เข้าฌานไม่มีใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. วาจาของผู้เข้าฌานมีอยู่ การเปล่งวาจาก็มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. กายของผู้เข้าฌานมีอยู่ การเคลื่อนไหวกายก็มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. กายของผู้เข้าฌานมีอยู่ การเคลื่อนไหวกายไม่มีใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. วาจาของผู้เข้าฌานมีอยู่ (แต่)การเปล่งวาจาไม่มีใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

เชิงอรรถ :
๑ เพราะหมายเอาผู้เข้าโลกิยสมาบัติเท่านั้น จึงตอบปฏิเสธ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๓๒๖/๑๘๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๒๙๒ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒. ทุติยวรรค] ๕. วจีเภทกถา (๑๔)
[๓๒๗] สก. เมื่อรู้ว่าทุกข์ ย่อมเปล่งวาจาว่าทุกข์ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เมื่อรู้ว่าสมุทัย ย่อมเปล่งวาจาว่าสมุทัยใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เมื่อรู้ว่าทุกข์ ย่อมเปล่งวาจาว่าทุกข์ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เมื่อรู้ว่านิโรธ ย่อมเปล่งวาจาว่านิโรธใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เมื่อรู้ว่าทุกข์ ย่อมเปล่งวาจาว่าทุกข์ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เมื่อรู้ว่ามรรค ย่อมเปล่งวาจาว่ามรรคใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เมื่อรู้ว่าสมุทัย แต่ไม่เปล่งวาจาว่าสมุทัยใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เมื่อรู้ว่าทุกข์ แต่ไม่เปล่งวาจาว่าทุกข์ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เมื่อรู้ว่านิโรธ แต่ไม่เปล่งวาจาว่านิโรธใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เมื่อรู้ว่าทุกข์ แต่ไม่เปล่งวาจาว่าทุกข์ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เมื่อรู้ว่ามรรค แต่ไม่เปล่งวาจาว่ามรรคใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เมื่อรู้ว่าทุกข์ แต่ไม่เปล่งวาจาว่าทุกข์ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๒๙๓ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒. ทุติยวรรค] ๕. วจีเภทกถา (๑๔)
[๓๒๘] สก. การเปล่งวาจาของผู้เข้าฌาน มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ญาณ๑มีอะไรเป็นโคจร
ปร. ญาณมีสัจจะเป็นโคจร
สก. โสตะ๒ มีสัจจะเป็นโคจรใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. การเปล่งวาจาของผู้เข้าฌานมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. โสตะมีอะไรเป็นโคจร
ปร. โสตะมีเสียงเป็นโคจร
สก. ญาณมีเสียงเป็นโคจรใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. การเปล่งวาจาของผู้เข้าฌานมีอยู่ ญาณมีสัจจะเป็นโคจร โสตะมีเสียง
เป็นโคจรใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. หากญาณมีสัจจะเป็นโคจร โสตะมีเสียงเป็นโคจร ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า
“การเปล่งวาจาของผู้เข้าฌานมีอยู่”
สก. การเปล่งวาจาของผู้เข้าฌานมีอยู่ ญาณมีสัจจะเป็นโคจร โสตะมีเสียง
เป็นโคจรใช่ไหม
ปร. ใช่

เชิงอรรถ :
๑ ญาณ ในที่นี้หมายถึงสัจจญาณ ๔ ซึ่งเป็นโลกุตตระ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๓๒๘/๑๘๔)
๒ โสตะ ในที่นี้หมายถึงโสตวิญญาณ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๑๒๘/๑๘๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๒๙๔ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒. ทุติยวรรค] ๕. วจีเภทกถา (๑๔)
สก. การประชุมแห่งผัสสะ ๒ เวทนา ๒ สัญญา ๒ เจตนา ๒ จิต ๒
มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๓๒๙] สก. การเปล่งวาจาของผู้เข้าฌานมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. การเปล่งวาจาของผู้เข้าสมาบัติที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. การเปล่งวาจาของผู้เข้าฌานมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. การเปล่งวาจาของผู้เข้าสมาบัติที่มีอาโปกสิณ ฯลฯ มีเตโชกสิณ ฯลฯ
มีวาโยกสิณ ฯลฯ มีนีลกสิณ ฯลฯ มีปีตกสิณ ฯลฯ มีโลหิตกสิณ ฯลฯ
มีโอทาตกสิณ ฯลฯ มีอากาสานัญจายตนะ ฯลฯ มีวิญญาณัญจายตนะ ฯลฯ
มีอากิญจัญญายตนะ ฯลฯ มีเนวสัญญานาสัญญายตนะเป็นอารมณ์มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. การเปล่งวาจาของผู้เข้าสมาบัติที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ไม่มีใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. หากการเปล่งวาจาของผู้เข้าสมาบัติที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ไม่มี ท่าน
ก็ไม่ควรยอมรับว่า “การเปล่งวาจาของผู้เข้าฌานมีอยู่”
สก. การเปล่งวาจาของผู้เข้าสมาบัติที่มีอาโปกสิณ ฯลฯ มีเตโชกสิณ ฯลฯ
มีวาโยกสิณ ฯลฯ มีนีลกสิณ ฯลฯ มีปีตกสิณ ฯลฯ มีโลหิตกสิณ ฯลฯ
มีโอทาตกสิณ ฯลฯ มีอากาสานัญจายตนะ ฯลฯ มีวิญญาณัญจายตนะ ฯลฯ
มีอากิญจัญญายตนะ ฯลฯ มีเนวสัญญานาสัญญายตนะเป็นอารมณ์ไม่มีใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๒๙๕ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒. ทุติยวรรค] ๕. วจีเภทกถา (๑๔)
สก. หากการเปล่งวาจาของผู้เข้าสมาบัติที่มีเนวสัญญานาสัญญายตนะเป็น
อารมณ์ไม่มี ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “การเปล่งวาจาของผู้เข้าฌานมีอยู่”
สก. การเปล่งวาจาของผู้เข้าฌานมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. การเปล่งวาจาของผู้เข้าโลกิยสมาบัติมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. การเปล่งวาจาของผู้เข้าฌานมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. การเปล่งวาจาของผู้เข้าโลกิยปฐมฌานมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. การเปล่งวาจาของผู้เข้าฌานมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. การเปล่งวาจาของผู้เข้าโลกิยทุติยฌาน ฯลฯ ตติยฌาน ฯลฯ จตุตถ-
ฌานมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. การเปล่งวาจาของผู้เข้าโลกิยสมาบัติไม่มีใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. หากการเปล่งวาจาของผู้เข้าโลกิยสมาบัติไม่มี ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า
“การเปล่งวาจาของผู้เข้าฌานมีอยู่”
สก. การเปล่งวาจาของผู้เข้าโลกิยปฐมฌานไม่มีใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. หากการเปล่งวาจาของผู้เข้าโลกิยปฐมฌานไม่มี ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า
“การเปล่งวาจาของผู้เข้าฌานมีอยู่”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๒๙๖ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒. ทุติยวรรค] ๕. วจีเภทกถา (๑๔)
สก. การเปล่งวาจาของผู้เข้าโลกิยทุติยฌาน ฯลฯ ตติยฌาน ฯลฯ จตุตถ-
ฌานไม่มีใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. หากการเปล่งวาจาของผู้เข้าโลกิยจตุตถฌานไม่มี ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า
“การเปล่งวาจาของผู้เข้าฌานมีอยู่”
[๓๓๐] สก. การเปล่งวาจาของผู้เข้าโลกุตตรปฐมฌานมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. การเปล่งวาจาของผู้เข้าโลกิยปฐมฌานมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. การเปล่งวาจาของผู้เข้าโลกุตตรปฐมฌานมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. การเปล่งวาจาของผู้เข้าโลกิยทุติยฌาน ฯลฯ ตติยฌาน ฯลฯ จตุตถฌาน
มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. การเปล่งวาจาของผู้เข้าโลกิยปฐมฌานไม่มีใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. การเปล่งวาจาของผู้เข้าโลกุตตรปฐมฌานไม่มีใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. การเปล่งวาจาของผู้เข้าโลกิยทุติยฌาน ฯลฯ ตติยฌาน ฯลฯ จตุตถฌาน
ไม่มีใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. การเปล่งวาจาของผู้เข้าโลกุตตรปฐมฌานไม่มีใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๒๙๗ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒. ทุติยวรรค] ๕. วจีเภทกถา (๑๔)
[๓๓๑] สก. การเปล่งวาจาของผู้เข้าโลกุตตรปฐมฌานมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. การเปล่งวาจาของผู้เข้าโลกุตตรทุติยฌานมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. การเปล่งวาจาของผู้เข้าโลกุตตรปฐมฌานมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. การเปล่งวาจาของผู้เข้าโลกุตตรตติยฌาน ฯลฯ จตุตถฌานมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. การเปล่งวาจาของผู้เข้าโลกุตตรทุติยฌานไม่มีใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. การเปล่งวาจาของผู้เข้าโลกุตตรปฐมฌานไม่มีใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. การเปล่งวาจาของผู้เข้าโลกุตตรทุติยฌาน ฯลฯ ตติยฌาน ฯลฯ จตุตถ-
ฌานไม่มีใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. การเปล่งวาจาของผู้เข้าโลกุตตรปฐมฌานไม่มีใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๓๓๒] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “การเปล่งวาจาของผู้เข้าฌานมีอยู่” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. พระผู้มีพระภาคตรัสว่าวิตกและวิจารเป็นวจีสังขาร (เครื่องปรุงแต่ง
วาจา) วิตกและวิจารของผู้เข้าปฐมฌานมีอยู่ใช่ไหม
สก. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๒๙๘ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒. ทุติยวรรค] ๕. วจีเภทกถา (๑๔)
ปร. หากพระผู้มีพระภาคตรัสว่าวิตกและวิจารเป็นวจีสังขาร วิตกและวิจาร
ของผู้เข้าปฐมฌานมีอยู่ ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “การเปล่งวาจาของผู้เข้า
ฌานมีอยู่”
สก. พระผู้มีพระภาคตรัสว่าวิตกและวิจารเป็นวจีสังขาร วิตกและวิจารของผู้
เข้าปฐมฌานมีอยู่ เพราะเหตุนั้น การเปล่งวาจาของผู้นั้นจึงมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. วิตกและวิจารของผู้เข้าปฐมฌานที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์มีอยู่ การ
เปล่งวาจาของผู้นั้นมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระผู้มีพระภาคตรัสว่าวิตกและวิจารเป็นวจีสังขาร วิตกและวิจารของผู้
เข้าปฐมฌานมีอยู่ เพราะเหตุนั้น การเปล่งวาจาของผู้นั้นจึงมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. วิตกและวิจารของผู้เข้าปฐมฌานที่มีอาโปกสิณ ฯลฯ มีเตโชกสิณ ฯลฯ
มีวาโยกสิณ ฯลฯ มีนีลกสิณ ฯลฯ มีปีตกสิณ ฯลฯ มีโลหิตกสิณ ฯลฯ
มีโอทาตกสิณเป็นอารมณ์มีอยู่ การเปล่งวาจาของผู้นั้นมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “การเปล่งวาจาของผู้เข้าฌานมีอยู่” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. พระผู้มีพระภาคตรัสว่าวาจามีวิตกเป็นสมุฏฐาน วิตกและวิจารของผู้
เข้าปฐมฌานมีอยู่ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. หากพระผู้มีพระภาคตรัสว่าวาจามีวิตกเป็นสมุฏฐาน วิตกและวิจาร
ของผู้เข้าปฐมฌานมีอยู่ ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “การเปล่งวาจาของผู้เข้า
ฌานมีอยู่”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๒๙๙ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒. ทุติยวรรค] ๕. วจีเภทกถา (๑๔)
สก. พระผู้มีพระภาคตรัสว่าวาจามีวิตกเป็นสมุฏฐาน วิตกและวิจารของผู้
เข้าปฐมฌานมีอยู่ เพราะเหตุนั้น การเปล่งวาจาของผู้นั้นจึงมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระผู้มีพระภาคตรัสว่าวาจามีสัญญาเป็นสมุฏฐาน สัญญาของผู้เข้า
ทุติยฌานมีอยู่ วิตกและวิจารของผู้นั้นจึงมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระผู้พระภาคตรัสว่าวาจามีวิตกเป็นสมุฏฐาน วิตกและวิจารของผู้เข้า
ปฐมฌานมีอยู่ เพราะเหตุนั้น การเปล่งวาจาของผู้นั้นจึงมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระผู้มีพระภาคตรัสว่าวาจามีสัญญาเป็นสมุฏฐาน สัญญาของผู้เข้า
ตติยฌาน ฯลฯ จตุตถฌาน ฯลฯ อากาสานัญจายตนะ ฯลฯ วิญญาณัญจายตนะ
ฯลฯ อากิญจัญญายตนะ มีอยู่ วิตกและวิจารของผู้นั้นมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๓๓๓] สก. การเปล่งวาจาของผู้เข้าฌานมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสูตรที่ว่า “การเปล่งวาจาของผู้เข้าปฐมฌานดับไป”๑ มีอยู่จริงมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากพระสูตรที่ว่า “การเปล่งวาจาของผู้เข้าปฐมฌานดับไป” มีอยู่จริง
ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “การเปล่งวาจาของผู้เข้าฌานมีอยู่”
สก. พระสูตรที่ว่า “การเปล่งวาจาของผู้เข้าปฐมฌานดับไป” มีอยู่จริง เพราะ
เหตุนั้น การเปล่งวาจาของผู้นั้นจึงมีอยู่ ใช่ไหม
ปร. ใช่

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ สํ.สฬา. (แปล) ๑๘/๒๖๓/๒๘๙

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๓๐๐ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒. ทุติยวรรค] ๕. วจีเภทกถา (๑๔)
สก. พระสูตรที่ว่า “วิตกและวิจารของผู้เข้าทุติยฌานดับไป” มีอยู่จริง เพราะ
เหตุนั้น วิตกและวิจารของผู้นั้นจึงมีอยู่ ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระสูตรที่ว่า “การเปล่งวาจาของผู้เข้าปฐมฌานดับไป” มีอยู่จริง เพราะ
เหตุนั้น การเปล่งวาจาของผู้นั้นจึงมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสูตรที่ว่า “ปีติของผู้เข้าตติยฌานดับไป ลมอัสสาสะปัสสาสะของผู้เข้า
จตุตถฌานดับไป รูปสัญญาของผู้เข้าอากาสานัญจายตนะดับไป อากาสานัญจา-
ยตนสัญญาของผู้เข้าวิญญาณัญจายตนะดับไป วิญญาณัญจายตนสัญญาของผู้เข้า
อากิญจัญญายตนะดับไป อากิญจัญญายตนสัญญาของผู้เข้าเนวสัญญานา-
สัญญายตนะดับไป สัญญาและเวทนาของผู้เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธดับไป” ๑ มีอยู่จริง
เพราะเหตุนั้น สัญญาและเวทนาของผู้เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธนั้นจึงมีอยู่ ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “การเปล่งวาจาของผู้เข้าฌานมีอยู่” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. เสียงพระผู้มีพระภาคตรัสว่าเป็นปฏิปักษ์ต่อปฐมฌาน๒ มิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. หากพระผู้มีพระภาคตรัสว่าเสียงเป็นปฏิปักษ์ต่อปฐมฌาน เพราะเหตุนั้น
ท่านจึงควรยอมรับว่า “การเปล่งวาจาของผู้เข้าฌานมีอยู่”
สก. พระผู้มีพระภาคตรัสว่าเสียงเป็นปฏิปักษ์ต่อปฐมฌาน เพราะเหตุนั้น
การเปล่งวาจาของผู้เข้าฌานจึงมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ สํ.สฬา. (แปล) ๑๘/๒๖๓/๒๘๙
๒ ดูเทียบ องฺ.ทสก. (แปล) ๒๔/๗๒/๑๕๙

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๓๐๑ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒. ทุติยวรรค] ๕. วจีเภทกถา (๑๔)
สก. พระผู้มีพระภาคตรัสว่าวิตกและวิจารเป็นปฏิปักษ์ต่อทุติยฌาน ฯลฯ
ตรัสว่าปีติเป็นปฏิปักษ์ต่อตติยฌาน ตรัสว่าลมอัสสาสะปัสสาสะเป็นปฏิปักษ์ต่อ
จตุตถฌาน ตรัสว่ารูปสัญญาเป็นปฏิปักษ์ต่อผู้เข้าอากาสานัญจายตนะ ตรัสว่า
อากาสานัญจายตนสัญญาเป็นปฏิปักษ์ต่อผู้เข้าวิญญาณัญจายตนะ ตรัสว่า
วิญญาณัญจายตนสัญญาเป็นปฏิปักษ์ต่อผู้เข้าอากิญจัญญายตนะ ตรัสว่า
อากิญจัญญายตนสัญญาเป็นปฏิปักษ์ต่อผู้เข้าเนวสัญญานาสัญญายตนะ ตรัสว่า
สัญญาและเวทนาเป็นปฏิปักษ์ต่อผู้เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ สัญญาและเวทนาของผู้
เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธนั้นมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “การเปล่งวาจาของผู้เข้าฌานมีอยู่” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “อานนท์ สาวกชื่อว่าอภิภูของ
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าสิขี สถิตอยู่ในพรหมโลก ได้
ประกาศให้หมื่นจักรวาลทราบด้วยเสียงว่า
“ท่านทั้งหลายจงปรารภความเพียร
จงทำความเพียรอย่าหยุดยั้ง
จงประกอบความเพียรในพระพุทธศาสนา
จงกำจัดกองทัพแห่งมัจจุ
เหมือนช้างกำจัดเรือนต้นอ้อ ฉะนั้น
ผู้ที่ไม่ประมาทอยู่ในพระธรรมวินัยนี้
ละการเวียนว่ายตายเกิดแล้ว จักกระทำที่สุดแห่งทุกข์ได้”๑
มีอยู่จริงมิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. ดังนั้น การเปล่งวาจาของผู้เข้าฌานจึงมีอยู่
วจีเภทกถา จบ

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ สํ.ส. (แปล) ๑๕/๑๘๕/๒๕๘

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๓๐๒ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒. ทุติยวรรค] ๖. ทุกขาหารกถา (๑๕)
๖. ทุกขาหารกถา (๑๕)
ว่าด้วยทุกขาหารญาณ๑
[๓๓๔] สก. การกล่าวว่า “ทุกข์” เป็นองค์ของมรรค นับเนื่องในมรรคใช่ไหม
ปร.๒ ใช่๓
สก. ทุกคนที่กล่าวว่า “ทุกข์” ชื่อว่าเจริญมรรคใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น๔ ฯลฯ
สก. ทุกคนที่กล่าวว่า “ทุกข์” ชื่อว่าเจริญมรรคใช่ไหม
ปร. ใช่๕
สก. พาลปุถุชนที่กล่าวว่า “ทุกข์” ชื่อว่าเจริญมรรคใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ผู้ฆ่ามารดา ฯลฯ ฆ่าบิดา ฯลฯ ฆ่าพระอรหันต์ ฯลฯ ทำร้ายพระ
พุทธเจ้าจนถึงพระโลหิตห้อ ฯลฯ ทำลายสงฆ์ให้แตกกัน กล่าวว่า “ทุกข์” ชื่อว่า
เจริญมรรคใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ทุกขาหารกถา จบ

เชิงอรรถ :
๑ ทุกขาหารญาณ หมายถึงญาณที่เกิดขึ้นขณะที่กล่าวว่าทุกข์ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๓๓๔/๑๘๔)
๒ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกาย ปุพพเสลิยะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๓๓๔/๑๘๔)
๓ เพราะมีความเห็นว่า บุคคลผู้กล่าวว่า ทุกข์ ทุกข์ คือผู้เจริญมรรคจนรู้แจ้งทุกข์ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๓๓๔/๑๘๔)
๔ เพราะหมายเอาผู้ไม่รู้แจ้งทุกข์ จึงตอบปฏิเสธ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๓๓๔/๑๘๔)
๕ เพราะหมายเอาผู้รู้แจ้งทุกข์ จึงตอบรับ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๓๓๔/๑๘๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๓๐๓ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒. ทุติยวรรค] ๗. จิตตัฏฐิติกถา (๑๖)
๗. จิตตัฏฐิติกถา (๑๖)
ว่าด้วยความตั้งอยู่แห่งจิต
[๓๓๕] สก. จิตดวงเดียวตั้งอยู่ได้ตลอดทั้งวันใช่ไหม
ปร.๑ ใช่๒
สก. กึ่งวันเป็นขณะเกิดขึ้น (ของจิต) อีกกึ่งวันเป็นขณะดับ (ของจิต) ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. จิตดวงเดียวตั้งอยู่ได้ตลอด ๒ วันใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. วันหนึ่งเป็นขณะเกิดขึ้น (ของจิต) อีกวันหนึ่งเป็นขณะดับ (ของจิต) ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. จิตดวงเดียวตั้งอยู่ได้ตลอด ๔ วัน ฯลฯ ๘ วัน ฯลฯ ๑๐ วัน ฯลฯ
๒๐ วัน ฯลฯ ๑ เดือน ฯลฯ ๒ เดือน ฯลฯ ๔ เดือน ฯลฯ ๘ เดือน ฯลฯ
๑๐ เดือน ฯลฯ ๑ ปี ฯลฯ ๒ ปี ฯลฯ ๔ ปี ฯลฯ ๘ ปี ฯลฯ ๑๐ ปี ฯลฯ
๓๐ ปี ฯลฯ ๔๐ ปี ฯลฯ ๕๐ ปี ฯลฯ ๑๐๐ ปี ฯลฯ ๒๐๐ ปี ฯลฯ ๔๐๐
ปี ฯลฯ ๕๐๐ ปี ฯลฯ ๑,๐๐๐ ปี ฯลฯ ๒,๐๐๐ ปี ฯลฯ ๔,๐๐๐ ปี ฯลฯ
๘,๐๐๐ ปี ฯลฯ ๑๖,๐๐๐ ปี ฯลฯ ๑ กัป ฯลฯ ๒ กัป ฯลฯ ๔ กัป ฯลฯ
๘ กัป ฯลฯ ๑๖ กัป ฯลฯ ๓๒ กัป ฯลฯ ๖๔ กัป ฯลฯ ๕๐๐ กัป ฯลฯ
๑,๐๐๐ กัป ฯลฯ ๒,๐๐๐ กัป ฯลฯ ๔,๐๐๐ กัป ฯลฯ ๘,๐๐๐ กัป ฯลฯ ๑๖,๐๐๐
กัป ฯลฯ ๒๐,๐๐๐ กัป ฯลฯ ๔๐,๐๐๐ กัป ฯลฯ ๖๐,๐๐๐ กัป ฯลฯ ๘๔,๐๐๐
กัปใช่ไหม
ปร. ใช่

เชิงอรรถ :
๑ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอันธกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๓๓๕/๑๘๕)
๒ เพราะมีความเห็นว่า จิตไม่มีวันเสื่อมสลาย ทั้งนี้เพราะเห็นว่า จิตที่อยู่ในสมาบัติกับภวังคจิตเป็นไปสืบต่อ
กันโดยตลอด (อภิ.ปญฺจ.อ. ๓๓๕/๑๘๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๓๐๔ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒. ทุติยวรรค] ๗. จิตตัฏฐิติกถา (๑๖)
สก. ๔๒,๐๐๐ กัป เป็นขณะเกิดขึ้น (ของจิต) อีก ๔๒,๐๐๐ กัปเป็นขณะดับ
(ของจิต) ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. จิตดวงเดียวตั้งอยู่ได้ตลอดทั้งวันใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สภาวธรรมอื่น ๆ ที่เกิดขึ้นแล้วดับไปมากครั้งในวันหนึ่งมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สภาวธรรมเหล่านั้นเปลี่ยนแปลงได้เร็วกว่าจิตใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สภาวธรรมเหล่านั้นเปลี่ยนแปลงได้เร็วกว่าจิตใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราไม่เห็นสภาว-
ธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่งที่เปลี่ยนแปลงได้เร็วเหมือนจิตนี้ จิตนี้เปลี่ยนแปลงได้เร็ว
จนเปรียบเทียบกับอะไรไม่ได้ง่าย ๆ”๑ มีอยู่จริงมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. ดังนั้น ท่านจึงไม่ควรยอมรับว่า “สภาวธรรมเหล่านั้นเปลี่ยนแปลงได้
เร็วกว่าจิต”
สก. สภาวธรรมเหล่านั้นเปลี่ยนแปลงได้เร็วกว่าจิตใช่ไหม
ปร. ใช่

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ องฺ.เอกก. (แปล) ๒๐/๔๘/๙

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๓๐๕ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒. ทุติยวรรค] ๗. จิตตัฏฐิติกถา (๑๖)
สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย ตถาคตเรียกสิ่งนี้ว่า
จิตบ้าง มโนบ้าง วิญญาณบ้าง จิตเป็นต้นนั้น ดวงหนึ่งเกิดขึ้น อีกดวงหนึ่งดับไป
ตลอดทั้งคืนและวัน เปรียบเหมือนลิงเมื่อเที่ยวไปในป่าเล็กและป่าใหญ่ จับกิ่งไม้
ปล่อยกิ่งนั้นแล้วย่อมจับกิ่งอื่น ปล่อยกิ่งนั้นแล้วย่อมจับกิ่งอื่นต่อไปฉะนั้น”๑ มีอยู่
จริงมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. ดังนั้น ท่านจึงไม่ควรยอมรับว่า “สภาวธรรมเหล่านั้นเปลี่ยนแปลงได้
เร็วกว่าจิต”
[๓๓๖] สก. จิตดวงเดียวตั้งอยู่ได้ตลอดทั้งวันใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. จักขุวิญญาณตั้งอยู่ได้ตลอดทั้งวันใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. โสตวิญญาณ ฯลฯ ฆานวิญญาณ ฯลฯ ชิวหาวิญญาณ ฯลฯ กาย-
วิญญาณ ... จิตที่เป็นอกุศล ... จิตที่สหรคตด้วยราคะ ... ที่สหรคตด้วยโทสะ ...
ที่สหรคตด้วยโมหะ ... ที่สหรคตด้วยมานะ ... ที่สหรคตด้วยทิฏฐิ ... ที่สหรคตด้วย
วิจิกิจฉา ... ที่สหรคตด้วยถีนะ ... ที่สหรคตด้วยอุทธัจจะ ... ที่สหรคตด้วยอหิริกะ ...
ที่สหรคตด้วยอโนตตัปปะ ตั้งอยู่ได้ตลอดทั้งวันใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. จิตดวงเดียวตั้งอยู่ได้ตลอดทั้งวันใช่ไหม
ปร. ใช่

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ สํ.นิ. (แปล) ๑๖/๖๑/๑๑๖

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๓๐๖ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒. ทุติยวรรค] ๗. จิตตัฏฐิติกถา (๑๖)
สก. บุคคลเห็นรูปทางตาด้วยจิตดวงใด ฟังเสียงทางหูด้วยจิตดวงนั้น ฯลฯ
ดมกลิ่นทางจมูก ฯลฯ ลิ้มรสทางลิ้น ฯลฯ ถูกต้องโผฏฐัพพะทางกาย ฯลฯ รู้
แจ้งธรรมารมณ์ทางใจ ฯลฯ รู้แจ้งธรรมารมณ์ทางใจด้วยจิตดวงใด ย่อมเห็นรูป
ทางตาด้วยจิตดวงนั้น ฯลฯ ฟังเสียงทางหู ฯลฯ ดมกลิ่นทางจมูก ฯลฯ ลิ้มรส
ทางลิ้น ฯลฯ ถูกต้องโผฏฐัพพะทางกายด้วยจิตดวงเดียวกันนั้นนั่นเองใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. จิตดวงเดียวตั้งอยู่ได้ตลอดทั้งวันใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลก้าวไปด้วยจิตดวงใด ย่อมถอยกลับด้วยจิตดวงนั้น ถอยกลับด้วย
จิตดวงใด ย่อมก้าวไปด้วยจิตดวงนั้น แลดูด้วยจิตดวงใด ย่อมเหลียวดูด้วยจิตดวงนั้น
เหลียวดูด้วยจิตดวงใด ย่อมแลดูด้วยจิตดวงนั้น คู้เข้าด้วยจิตดวงใด ย่อมเหยียดออก
ด้วยจิตดวงนั้น เหยียดออกด้วยจิตดวงใด ย่อมคู้เข้าด้วยจิตดวงนั้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๓๓๗] สก. เหล่าเทพผู้เข้าถึงชั้นอากาสานัญจายตนภพ มีจิตดวงเดียว ตั้งอยู่
ได้จนตลอดอายุใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เหล่ามนุษย์มีจิตดวงเดียวตั้งอยู่ได้จนตลอดอายุใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เหล่าเทพผู้เข้าถึงชั้นอากาสานัญจายตนภพมีจิตดวงเดียว ตั้งอยู่ได้จน
ตลอดอายุใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๓๐๗ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒. ทุติยวรรค] ๗. จิตตัฏฐิติกถา (๑๖)
สก. เหล่าเทพชั้นจาตุมหาราช ฯลฯ ชั้นดาวดึงส์ ... ชั้นยามา ... ชั้นดุสิต
... ชั้นนิมมานรดี ... ชั้นปรนิมมิตวสวัตดี ... ชั้นพรหมปาริสัชชา ... ชั้นพรหม
ปุโรหิตา ... ชั้นมหาพรหมา ... ชั้นปริตตาภา ... ชั้นอัปปมาณาภา ... ชั้นอาภัสสรา
... ชั้นปริตตสุภา ... ชั้นอัปปมาณสุภา ... ชั้นสุภกิณหา ... ชั้นเวหัปผลา ...
ชั้นอวิหา ... ชั้นอตัปปา ... ชั้นสุทัสสา ... ชั้นสุทัสสี ฯลฯ ชั้นอกนิฏฐา มี
จิตดวงเดียวตั้งอยู่ได้จนตลอดอายุใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เหล่าเทพผู้เข้าถึงชั้นอากาสานัญจายตนภพมีประมาณอายุ ๒๐,๐๐๐ กัป
ก็มีจิตดวงเดียวตั้งอยู่ได้ตลอด ๒๐,๐๐๐ กัปใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เหล่ามนุษย์มีประมาณอายุ ๑๐๐ ปี ก็มีจิตดวงเดียวตั้งอยู่ได้ตลอด ๑๐๐
ปีใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เหล่าเทพผู้เข้าถึงชั้นอากาสานัญจายตนภพ มีประมาณอายุ ๒๐,๐๐๐
กัป ก็มีจิตดวงเดียวตั้งอยู่ได้ตลอด ๒๐,๐๐๐ กัปใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เหล่าเทพชั้นจาตุมหาราชมีประมาณอายุ ๕๐๐ ปี ก็มีจิตดวงเดียวตั้ง
อยู่ได้ตลอด ๕๐๐ ปี ฯลฯ เหล่าเทพชั้นดาวดึงส์ ... ตั้งอยู่ได้ตลอด ๑,๐๐๐ ปี
ฯลฯ เหล่าเทพชั้นยามา ... ตั้งอยู่ได้ตลอด ๒,๐๐๐ ปี ฯลฯ เหล่าเทพชั้นดุสิต ...
ตั้งอยู่ได้ตลอด ๔,๐๐๐ ปี ฯลฯ เหล่าเทพชั้นนิมมานรดี ... ตั้งอยู่ได้ตลอด ๘,๐๐๐
ปี ฯลฯ เหล่าเทพชั้นปรนิมมิตวสวัตดี ... ตั้งอยู่ได้ตลอด ๑๖,๐๐๐ ปี ฯลฯ เหล่า
เทพชั้นพรหมปาริสัชชา ... ตั้งอยู่ได้ตลอด ๑ ใน ๓ ของกัป ฯลฯ เหล่าเทพชั้น
พรหมปุโรหิตา ... ตั้งอยู่ได้ตลอดกึ่งกัป ฯลฯ เหล่าเทพชั้นมหาพรหมา ... ตั้งอยู่
ได้ตลอด ๑ กัป ฯลฯ เหล่าเทพชั้นปริตตาภา ... ตั้งอยู่ได้ตลอด ๒ กัป ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๓๐๘ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒. ทุติยวรรค] ๗. จิตตัฏฐิติกถา (๑๖)
เหล่าเทพชั้นอัปปมาณาภา ... ตั้งอยู่ได้ตลอด ๔ กัป ฯลฯ เหล่าเทพชั้นอาภัสสรา
... ตั้งอยู่ได้ตลอด ๘ กัป ฯลฯ เหล่าเทพชั้นปริตตสุภา ... ตั้งอยู่ได้ตลอด ๑๖
กัป ฯลฯ เหล่าเทพชั้นอัปปมาณสุภา ... ตั้งอยู่ได้ตลอด ๓๒ กัป ฯลฯ เหล่า
เทพชั้นสุภกิณหา ... ตั้งอยู่ได้ตลอด ๖๔ กัป ฯลฯ เหล่าเทพชั้นเวหัปผลา ...
ตั้งอยู่ได้ตลอด ๕๐๐ กัป ฯลฯ เหล่าเทพชั้นอวิหา ... ตั้งอยู่ได้ตลอด ๑,๐๐๐ กัป
ฯลฯ เหล่าเทพชั้นอตัปปา ... ตั้งอยู่ได้ตลอด ๒,๐๐๐ กัป ฯลฯ เหล่าเทพชั้นสุทัสสา
... ตั้งอยู่ได้ตลอด ๔,๐๐๐ กัป ฯลฯ เหล่าเทพชั้นสุทัสสี ... ตั้งอยู่ได้ตลอด ๘,๐๐๐
กัป ฯลฯ เหล่าเทพชั้นอกนิฏฐามีประมาณอายุ ๑๖,๐๐๐ กัป ก็มีจิตดวงเดียว
ตั้งอยู่ได้ตลอด ๑๖,๐๐๐ กัปใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. เหล่าเทพผู้เข้าถึงชั้นอากาสานัญจายตนภพ มีจิตเกิดดับเป็นระยะ ๆ
ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. เหล่าเทพผู้เข้าถึงชั้นอากาสานัญจายตนภพจุติปฏิสนธิเป็นระยะ ๆ
ใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เหล่าเทพผู้เข้าถึงชั้นอากาสานัญจายตนภพ มีจิตดวงเดียวตั้งอยู่ได้จน
ตลอดอายุใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เหล่าเทพผู้เข้าถึงชั้นอากาสานัญจายตนภพ ปฏิสนธิด้วยจิตดวงใด ย่อม
จุติด้วยจิตดวงนั้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

จิตตัฏฐิติกถา จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๓๐๙ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒. ทุติยวรรค] ๘. กุกกุฬกถา (๑๗)
๘. กุกกุฬกถา (๑๗)
ว่าด้วยเถ้ารึง
[๓๓๘] สก. สังขารทั้งปวงเป็นดุจเถ้ารึงโดยไม่จำกัดใช่ไหม
ปร.๑ ใช่๒
สก. สุขเวทนา สุขทางกาย สุขทางใจ ทิพยสุข สุขของมนุษย์ สุขในลาภ
สุขในสักการะ สุขในการไป สุขในการนอน สุขในความมีอำนาจ สุขในความเป็นใหญ่
สุขของคฤหัสถ์ สุขของสมณะ สุขมีอาสวะ สุขไม่มีอาสวะ สุขมีอุปธิ สุขไม่มีอุปธิ
สุขเจืออามิส สุขไม่เจืออามิส สุขมีปีติ สุขไม่มีปีติ สุขในฌาน สุขอันเกิดจากวิมุตติ
สุขในกาม สุขในเนกขัมมะ สุขอันเกิดจากวิเวก สุขอันเกิดจากความสงบ สุขอันเกิด
จากความตรัสรู้ มีอยู่มิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากสุขเวทนา ฯลฯ สุขอันเกิดจากความตรัสรู้มีอยู่ ท่านก็ไม่ควร
ยอมรับว่า “สังขารทั้งปวงเป็นดุจเถ้ารึงโดยไม่จำกัด”
สก. สังขารทั้งปวงเป็นดุจเถ้ารึงโดยไม่จำกัดใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สังขารทั้งปวงเป็นทุกขเวทนา ทุกข์ทางกาย ทุกข์ทางใจ โสกะ ปริเทวะ
ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “สังขารทั้งปวงเป็นดุจเถ้ารึงโดยไม่จำกัด” ใช่ไหม
สก. ใช่

เชิงอรรถ :
๑ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายโคกุลิกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๓๓๘/๑๘๖)
๒ เพราะมีความเห็นว่า สังขารทั้งปวงเร่าร้อนดุจถ่านเพลิง (อภิ.ปญฺจ.อ. ๓๓๘/๑๘๖)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๓๑๐ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒. ทุติยวรรค] ๘. กุกกุฬกถา (๑๗)
ปร. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย สิ่งทั้งปวงเป็นของ
ร้อน ก็อะไรเล่าชื่อว่าสิ่งทั้งปวงเป็นของร้อน ภิกษุทั้งหลาย จักขุเป็นของร้อน รูป
เป็นของร้อน จักขุวิญญาณเป็นของร้อน จักขุสัมผัสเป็นของร้อน แม้ความเสวย
อารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์ หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ ที่เกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัสเป็น
ปัจจัยก็เป็นของร้อน ร้อนเพราะอะไร เรากล่าวว่าร้อนเพราะไฟคือราคะ เพราะไฟ
คือโทสะ เพราะไฟคือโมหะ ร้อนเพราะชาติ เพราะชรา เพราะมรณะ เพราะโสกะ
เพราะปริเทวะ เพราะทุกข์ เพราะโทมนัส เพราะอุปายาส
โสตะ (หู) เป็นของร้อน เสียงเป็นของร้อน ฯลฯ ฆานะ (จมูก) เป็นของร้อน
กลิ่นเป็นของร้อน ฯลฯ ชิวหา(ลิ้น)เป็นของร้อน รสเป็นของร้อน ฯลฯ กายเป็นของ
ร้อน โผฏฐัพพะเป็นของร้อน ฯลฯ มโน(ใจ)เป็นของร้อน ธรรมารมณ์เป็นของร้อน
มโนวิญญาณเป็นของร้อน มโนสัมผัสเป็นของร้อน แม้ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุข
หรือทุกข์ หรือที่มิใช่สุขมิใช่ทุกข์ ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย ก็เป็นของร้อน
ร้อนเพราะอะไร เรากล่าวว่าร้อนเพราะไฟคือราคะ เพราะไฟคือโทสะ เพราะไฟคือ
โมหะ ร้อนเพราะชาติ เพราะชรา เพราะมรณะ เพราะโสกะ เพราะปริเทวะ เพราะทุกข์
เพราะโทมนัส เพราะอุปายาส”๑ มีอยู่จริงมิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “สังขารทั้งปวงเป็นดุจเถ้ารึงโดยไม่จำกัด”
สก. สังขารทั้งปวงเป็นดุจเถ้ารึงโดยไม่จำกัดใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย กามคุณมี ๕
ประการนี้ กามคุณ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ (๑) รูปที่พึงรู้แจ้งทางตาที่น่าปรารถนา
น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก ชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัด (๒) เสียงที่พึงรู้แจ้ง
ทางหู ฯลฯ (๓) กลิ่นที่พึงรู้แจ้งทางจมูก ฯลฯ (๔) รสที่พึงรู้แจ้งทางลิ้น ฯลฯ

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ วิ.ม. (แปล) ๔/๕๔/๖๓-๖๔, สํ.สฬา. (แปล) ๑๘/๒๘/๒๗-๒๘

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๓๑๑ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒. ทุติยวรรค] ๘. กุกกุฬกถา (๑๗)
(๕) โผฏฐัพพะที่พึงรู้แจ้งทางกายที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก ชัก
ให้ใคร่ พาใจให้กำหนัด ภิกษุทั้งหลาย กามคุณมี ๕ ประการนี้”๑ มีอยู่จริงมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. ดังนั้น ท่านจึงไม่ควรยอมรับว่า “สังขารทั้งปวงเป็นดุจเถ้ารึงโดยไม่
จำกัด”
ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “สังขารทั้งปวงเป็นดุจเถ้ารึงโดยไม่จำกัด” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย เป็นลาภของเธอ
ทั้งหลาย เธอทั้งหลายได้ดีแล้วที่เธอทั้งหลายได้ขณะเพื่อประพฤติพรหมจรรย์ เรา
เห็นนรก๒ ชื่อว่าผัสสายตนิกะ ๖ ขุมแล้ว ในนรก ๖ ขุมนั้น สัตว์ย่อมเห็นรูป
อย่างใดอย่างหนึ่งทางตาได้ แต่เห็นได้เฉพาะรูปที่ไม่น่าปรารถนา ไม่เห็นรูปที่น่า
ปรารถนา เห็นได้เฉพาะรูปที่ไม่น่าใคร่ ไม่เห็นรูปที่น่าใคร่ เห็นได้เฉพาะรูปที่ไม่น่า
พอใจ ไม่เห็นรูปที่น่าพอใจ
ฟังเสียงอย่างใดอย่างหนึ่งทางหูได้ ฯลฯ
ดมกลิ่นอย่างใดอย่างหนึ่งทางจมูกได้ ฯลฯ
ลิ้มรสอย่างใดอย่างหนึ่งทางลิ้นได้ ฯลฯ
ถูกต้องโผฏฐัพพะอย่างใดอย่างหนึ่งทางกายได้ ฯลฯ
รู้แจ้งธรรมารมณ์อย่างใดอย่างหนึ่งทางใจได้ แต่รู้แจ้งได้เฉพาะธรรมารมณ์ที่
ไม่น่าปรารถนา ไม่รู้แจ้งธรรมารมณ์ที่น่าปรารถนา รู้แจ้งได้เฉพาะธรรมารมณ์ที่ไม่

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ ม.มู. (แปล) ๑๒/๑๖๖/๑๖๗, สํ.สฬา. (แปล) ๑๘/๒๗๙/๓๐๙
๒ นรก หมายถึงอเวจีมหานรก (สํ.สฬา.อ. ๓/๑๓๕/๕๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๓๑๒ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒. ทุติยวรรค] ๘. กุกกุฬกถา (๑๗)
น่าใคร่ ไม่รู้แจ้งธรรมารมณ์ที่น่าใคร่ รู้แจ้งได้เฉพาะธรรมารมณ์ที่ไม่น่าพอใจ ไม่รู้
แจ้งธรรมารมณ์ที่น่าพอใจ”๑ มีอยู่จริงมิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “สังขารทั้งปวงเป็นดุจเถ้ารึงโดยไม่จำกัด”
สก. สังขารทั้งปวงเป็นดุจเถ้ารึงโดยไม่จำกัดใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย เป็นลาภของเธอ
ทั้งหลาย เธอทั้งหลายได้ดีแล้วที่เธอทั้งหลายได้ขณะเพื่อประพฤติพรหมจรรย์ เรา
ได้เห็นสวรรค์๒ ชื่อว่าผัสสายตนิกะ ๖ ชั้นแล้ว ในสวรรค์ ๖ ชั้นนั้น บุคคลย่อมเห็น
รูปอย่างใดอย่างหนึ่งทางตาได้ แต่เห็นได้เฉพาะรูปที่น่าปรารถนา ไม่เห็นรูปที่ไม่
น่าปรารถนา เห็นได้เฉพาะรูปที่น่าใคร่ ไม่เห็นรูปที่ไม่น่าใคร่ เห็นได้เฉพาะรูปที่
น่าพอใจ ไม่เห็นรูปที่ไม่น่าพอใจ
ฟังเสียงอย่างใดอย่างหนึ่งทางหูได้ ฯลฯ
ดมกลิ่นอย่างใดอย่างหนึ่งทางจมูกได้ ฯลฯ
ลิ้มรสอย่างใดอย่างหนึ่งทางลิ้นได้ ฯลฯ
ถูกต้องโผฏฐัพพะอย่างใดอย่างหนึ่งทางกายได้ ฯลฯ
รู้แจ้งธรรมารมณ์อย่างใดอย่างหนึ่งทางใจได้ แต่รู้แจ้งได้เฉพาะธรรมารมณ์ที่
น่าปรารถนา ไม่รู้แจ้งธรรมารมณ์ที่ไม่น่าปรารถนา รู้แจ้งได้เฉพาะธรรมารมณ์ที่
น่าใคร่ ไม่รู้แจ้งธรรมารมณ์ที่ไม่น่าใคร่ รู้แจ้งได้เฉพาะธรรมารมณ์ที่น่าพอใจ ไม่รู้
แจ้งธรรมารมณ์ที่ไม่น่าพอใจ”๓ มีอยู่จริงมิใช่หรือ
ปร. ใช่

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ สํ.สฬา. (แปล) ๑๘/๑๓๕/๑๖๙-๑๗๐
๒ สวรรค์ หมายถึงสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ (สํ.สฬา.อ. ๓/๑๓๕/๕๒)
๓ ดูเทียบ สํ.สฬา. (แปล) ๑๘/๑๓๕/๑๗๐

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๓๑๓ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒. ทุติยวรรค] ๘. กุกกุฬกถา (๑๗)
สก. ดังนั้น ท่านจึงไม่ควรยอมรับว่า “สังขารทั้งปวงเป็นดุจเถ้ารึงโดยไม่
จำกัด
ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “สังขารทั้งปวงเป็นดุจเถ้ารึงโดยไม่จำกัด” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นพระผู้มีพระภาคตรัสว่าเป็นทุกข์ สังขารทั้งปวงไม่
่เที่ยงมิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. หากสิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นพระผู้มีพระภาคตรัสว่าเป็นทุกข์ สังขารทั้ง
ปวงไม่เที่ยง ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “สังขารทั้งปวงเป็นดุจเถ้ารึงโดยไม่
จำกัด”
สก. สังขารทั้งปวงเป็นดุจเถ้ารึงโดยไม่จำกัดใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ทานมีผลไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่เป็นที่พึงพอใจ มีผลเร่าร้อน
มีทุกข์เป็นกำไร มีทุกข์เป็นวิบากใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ศีล ฯลฯ อุโบสถ ฯลฯ ภาวนา ฯลฯ พรหมจรรย์ มีผลไม่น่าปรารถนา
ไม่น่าใคร่ ไม่เป็นที่พึงพอใจ มีผลเร่าร้อน มีทุกข์เป็นกำไร มีทุกข์เป็นวิบากใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ทานมีผลน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ มีผลเยือกเย็น มีสุขเป็นกำไร
มีสุขเป็นวิบากมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากทานมีผลน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ มีผลเยือกเย็น มีสุขเป็นกำไร
มีสุขเป็นวิบาก ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “สังขารทั้งปวงเป็นดุจเถ้ารึงโดยไม่จำกัด”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๓๑๔ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒. ทุติยวรรค] ๘. กุกกุฬกถา (๑๗)
สก. ศีล ฯลฯ อุโบสถ ฯลฯ ภาวนา ฯลฯ พรหมจรรย์ มีผลน่าปรารถนา
น่าใคร่ น่าพอใจ มีผลเยือกเย็น มีสุขเป็นกำไร มีสุขเป็นวิบากมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากพรหมจรรย์มีผลน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ มีผลเยือกเย็น มี
สุขเป็นกำไร มีสุขเป็นวิบาก ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “สังขารทั้งปวงเป็น
ดุจเถ้ารึงโดยไม่จำกัด”
สก. สังขารทั้งปวงเป็นดุจเถ้ารึงโดยไม่จำกัดใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า
“วิเวก๑เป็นความสุขของผู้สันโดษ๒
ผู้มีธรรมปรากฏแล้ว ผู้เห็นอยู่
ความไม่เบียดเบียนคือความสำรวมในสัตว์ทั้งหลาย เป็นสุขในโลก
ความเป็นผู้ปราศจากราคะคือความล่วงกามทั้งหลายได้ เป็นสุขในโลก
ความกำจัดอัสมิมานะได้ เป็นสุขอย่างยิ่ง๓
สุขยิ่งกว่าสุขนั้นเราได้ถึงแล้ว นั้นเป็นสุขอย่างยิ่ง
วิชชา ๓ เราได้บรรลุโดยลำดับแล้ว
นั่นแลเป็นสุขอย่างยิ่ง”
มีอยู่จริงมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. ดังนั้น ท่านจึงไม่ควรยอมรับว่า “สังขารทั้งปวงเป็นดุจเถ้ารึงโดยไม่จำกัด”

กุกกุฬกถา จบ

เชิงอรรถ :
๑ วิเวก หมายถึงนิพพานที่สงัดจากอุปธิกิเลส (ขุ.อุ.อ. ๑๑/๑๐๔)
๒ ผู้สันโดษ หมายถึงผู้สันโดษในมัคคญาณ ๔ (โสดาปัตติมัคคญาณ สกทาคามิมัคคญาณ อนาคามิมัคค-
ญาณ อรหัตตมัคคญาณ) (ขุ.อุ.อ. ๑๑/๑๐๕)
๓ ดูเทียบ วิ.ม. (แปล) ๔/๕/๘-๙, ขุ.อุ. (แปล) ๒๕/๑๑/๑๙๐

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๓๑๕ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒. ทุติยวรรค] ๙. อนุปุพพาภิสมยกถา (๑๘)
๙. อนุปุพพาภิสมยกถา (๑๘)
ว่าด้วยการบรรลุธรรมโดยลำดับ
[๓๓๙] สก. มีการบรรลุธรรมโดยลำดับใช่ไหม
ปร.๑ ใช่๒
สก. บุคคลเจริญโสดาปัตติมรรคได้โดยลำดับใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น๓ ฯลฯ
สก. บุคคลเจริญโสดาปัตติมรรคได้โดยลำดับใช่ไหม
ปร. ใช่๔
สก. บุคคลทำให้แจ้งโสดาปัตติผลได้โดยลำดับใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น๕ ฯลฯ
สก. มีการบรรลุธรรมโดยลำดับใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลเจริญสกทาคามิมรรคได้โดยลำดับใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลเจริญสกทาคามิมรรคได้โดยลำดับใช่ไหม
ปร. ใช่

เชิงอรรถ :
๑ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอันธกะ นิกายสัพพัตถิกวาท นิกายสมิติยะ และนิกายภัทรยานิกะ (อภิ.ปญฺจ.อ.
๓๓๙/๑๘๖)
๒ เพราะมีความเห็นว่า การบรรลุอรหัตตผลเกิดจากการละกิเลสได้โดยลำดับด้วยญาณ ๑๖ ประการ โดย
แบ่งเป็นมรรคละ ๔ ประการ เช่น ผู้บรรลุโสดาปัตติผลย่อมละกิเลสบางอย่างด้วยการเห็นทุกข์(ทุกขญาณ)
ละกิเลสบางอย่างด้วยการเห็นสมุทัย(สมุทยญาณ) ละกิเลสบางอย่างด้วยการเห็นนิโรธ(นิโรธญาณ) และ
ละกิเลสก็บางอย่างด้วยการเห็นมรรค(มัคคญาณ) การบรรลุสกทาคามิผล อนาคามิผล และอรหัตตผล
ก็มีนัยเดียวกันนี้ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๓๓๙/๑๘๖)
๓ เพราะมีความเห็นว่า ถ้าตอบรับ เกรงจะมีผู้เข้าใจผิดว่า มรรคเดียวทำให้บรรลุผลหลายอย่าง (อภิ.ปญฺจ.อ.
๓๓๙/๑๘๖)
๔ เพราะมีความเห็นว่า โสดาปัตติมรรคประกอบด้วยญาณ ๔ ประการ คือ ทุกขญาณ สมุทยญาณ นิโรธญาณ
และมัคคญาณ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๓๓๙/๑๘๖)
๕ เพราะมีความเห็นว่า เขาปรารถนาโสดาปัตติผลอย่างเดียวเท่านั้น (อภิ.ปญฺจ.อ. ๓๓๙/๑๘๖)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๓๑๖ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒. ทุติยวรรค] ๙. อนุปุพพาภิสมยกถา (๑๘)
สก. บุคคลทำให้แจ้งสกทาคามิผลได้โดยลำดับใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. มีการบรรลุธรรมโดยลำดับใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลเจริญอนาคามิมรรคได้โดยลำดับใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลเจริญอนาคามิมรรคได้โดยลำดับใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลทำให้แจ้งอนาคามิผลได้โดยลำดับใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. มีการบรรลุธรรมโดยลำดับใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลเจริญอรหัตตมรรคได้โดยลำดับใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลเจริญอรหัตตมรรคได้โดยลำดับใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลทำให้แจ้งอรหัตตผลได้โดยลำดับใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๓๔๐] สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งโสดาปัตติผล ละอะไรได้ด้วยการ
เห็นทุกข์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๓๑๗ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒. ทุติยวรรค] ๙. อนุปุพพาภิสมยกถา (๑๘)
ปร. ละสักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส และกิเลสที่มีอยู่ในจิตดวง
เดียวกันกับกิเลสทั้ง ๓ นั้นได้ ๑ ใน ๔ ส่วน๑
สก. เมื่อละกิเลสได้ ๑ ใน ๔ ส่วน เป็นพระโสดาบัน เมื่อละกิเลสได้ ๑ ใน
๔ ส่วน ไม่เป็นพระโสดาบัน เมื่อละกิเสสได้ ๑ ใน ๔ ส่วน ท่านถึง ได้ บรรลุ
ทำให้แจ้ง เข้าถึงอยู่ สัมผัสโสดาปัตติผลด้วยกาย๒ อยู่ เมื่อละกิเลสได้ ๑ ใน ๔ ส่วน
ไม่สัมผัสโสดาปัตติผลด้วยกายอยู่ เมื่อละกิเลสได้ ๑ ใน ๔ ส่วน เป็นพระ
โสดาบันผู้สัตตักขัตตุปรมะ โกลังโกละ เอกพีชี ประกอบด้วยความเลื่อมใสที่
ไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้า ฯลฯ ในพระธรรม ฯลฯ ในพระสงฆ์ ฯลฯ
ประกอบด้วยศีลที่พระอริยะชอบใจ เมื่อละกิเลสได้ ๑ ใน ๔ ส่วน ไม่ประกอบ
ด้วยศีลที่พระอริยะชอบใจใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งโสดาปัตติผล ละอะไรได้ด้วยการเห็นสมุทัย
ฯลฯ ด้วยการเห็นนิโรธ ฯลฯ ด้วยการเห็นมรรค
ปร. ละสักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส และกิเลสที่มีอยู่ในจิตดวง
เดียวกันกับกิเลสทั้ง ๓ นั้นได้ ๑ ใน ๔ ส่วน
สก. เมื่อละกิเลสได้ ๑ ใน ๔ ส่วน เป็นพระโสดาบัน เมื่อละกิเลสได้ ๑ ใน
๔ ส่วน ไม่เป็นพระโสดาบัน เมื่อละกิเลสได้ ๑ ใน ๔ ส่วน ท่านถึง ได้ บรรลุ
ทำให้แจ้ง เข้าถึงอยู่ สัมผัสโสดาปัตติผลด้วยกายอยู่ เมื่อละกิเลสได้ ๑ ใน ๔ ส่วน
ไม่สัมผัสโสดาปัตติผลด้วยกายอยู่ เมื่อละกิเลสได้ ๑ ใน ๔ ส่วน เป็นพระ

เชิงอรรถ :
๑ ๑ ใน ๔ ส่วน หมายถึงกิเลส ๑ ส่วน ใน ๔ ส่วน ที่ละได้ด้วยญาณ หนึ่ง ในจำนวน ๔ ญาณของแต่ละมรรค
(อภิ.ปญฺจ.อ. ๓๓๙/๑๘๖)
๒ ดูเชิงอรรถที่ ๓ ข้อ ๒๗๔ หน้า ๑๕๙ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๓๑๘ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒. ทุติยวรรค] ๙. อนุปุพพาภิสมยกถา (๑๘)
โสดาบันผู้สัตตักขัตตุปรมะ โกลังโกละ เอกพีชี ประกอบด้วยความเลื่อมใสที่ไม่
หวั่นไหวในพระพุทธเจ้า ฯลฯ ในพระธรรม ฯลฯ ในพระสงฆ์ ฯลฯ ประกอบ
ด้วยศีลที่พระอริยะชอบใจ เมื่อละกิเลสได้ ๑ ใน ๔ ส่วน ไม่ประกอบด้วยศีลที่
พระอริยะชอบใจใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๓๔๑] สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งสกทาคามิผล ละอะไรได้ด้วยการเห็นทุกข์
ปร. ละกามราคะ พยาบาทอย่างหยาบ และกิเลสที่มีอยู่ในจิตดวงเดียวกัน
กับกิเลสทั้ง ๒ นั้นได้ ๑ ใน ๔ ส่วน
สก. เมื่อละกิเลสได้ ๑ ใน ๔ ส่วน เป็นพระสกทาคามี เมื่อละกิเลสได้ ๑
ใน ๔ ส่วน ไม่เป็นพระสกทาคามี เมื่อละกิเลสได้ ๑ ใน ๔ ส่วน ท่านถึง ได้ บรรลุ
ทำให้แจ้ง เข้าถึงอยู่ สัมผัสสกทาคามิผลด้วยกายอยู่ เมื่อละกิเลสได้ ๑ ใน
๔ ส่วน ไม่สัมผัสสกทาคามิผลด้วยกายอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งสกทาคามิผล ละอะไรได้ด้วยการเห็นสมุทัย
ฯลฯ ด้วยการเห็นนิโรธ ฯลฯ ด้วยการเห็นมรรค
ปร. ละกามราคะอย่างหยาบ พยาบาทอย่างหยาบ และกิเลสที่มีอยู่ในจิตดวง
เดียวกันกับกิเลสทั้ง ๒ นั้นได้ ๑ ใน ๔ ส่วน
สก. เมื่อละกิเลสได้ ๑ ใน ๔ ส่วน เป็นพระสกทาคามี เมื่อละกิเลสได้ ๑
ใน ๔ ส่วน ไม่เป็นพระสกทาคามี เมื่อละกิเลสได้ ๑ ใน ๔ ส่วน ท่านถึง ได้ บรรลุ
ทำให้แจ้ง เข้าถึงอยู่ สัมผัสสกทาคามิผลด้วยกายอยู่ เมื่อละกิเลสได้ ๑ ใน ๔ ส่วน
ไม่สัมผัสสกทาคามิผลด้วยกายอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๓๑๙ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒. ทุติยวรรค] ๙. อนุปุพพาภิสมยกถา (๑๘)
[๓๔๒] สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอนาคามิผลละอะไรได้ด้วยการเห็นทุกข์
ปร. ละกามราคะอย่างละเอียด พยาบาทอย่างละเอียด และกิเลสที่มีอยู่ใน
จิตดวงเดียวกันกับกิเลสทั้ง ๒ นั้นได้ ๑ ใน ๔ ส่วน
สก. เมื่อละกิเลสได้ ๑ ใน ๔ ส่วน เป็นพระอนาคามี เมื่อละกิเลสได้ ๑ ใน
๔ ส่วน ไม่เป็นพระอนาคามี เมื่อละกิเลสได้ ๑ ใน ๔ ส่วน ท่านถึง ได้ บรรลุ
ทำให้แจ้ง เข้าถึงอยู่ สัมผัสอนาคามิผลด้วยกายอยู่ เมื่อละกิเลสได้ ๑ ใน ๔ ส่วน
ไม่สัมผัสอนาคามิผลด้วยกายอยู่ เมื่อละกิเลสได้ ๑ ใน ๔ ส่วน เป็นพระอนาคามี
ผู้อันตราปรินิพพายี ฯลฯ ผู้อุปหัจจปรินิพพายี ฯลฯ ผู้อสังขารปรินิพพายี ฯลฯ
ผู้สสังขารปรินิพพายี ฯลฯ ผู้อุทธังโสโตอกนิฏฐคามี เมื่อละกิเลสได้ ๑ ใน ๔ ส่วน
ไม่เป็นพระอนาคามีผู้อุทธังโสโตอกนิฏฐคามีใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอนาคามิผลละอะไรได้ด้วยการเห็นสมุทัย ฯลฯ
ด้วยการเห็นนิโรธ ฯลฯ ด้วยการเห็นมรรค
ปร. ละกามราคะอย่างละเอียด พยาบาทอย่างละเอียด และกิเลสที่มีอยู่ใน
จิตดวงเดียวกันกับกิเลสทั้ง ๒ นั้นได้ ๑ ใน ๔ ส่วน
สก. เมื่อละกิเลสได้ ๑ ใน ๔ ส่วน เป็นพระอนาคามี เมื่อละกิเลสได้ ๑ ใน
๔ ส่วน ไม่เป็นพระอนาคามี เมื่อละกิเลสได้ ๑ ใน ๔ ส่วน ท่านถึง ได้ บรรลุ
ทำให้แจ้ง เข้าถึงอยู่ สัมผัสอนาคามิผลด้วยกายอยู่ เมื่อละกิเลสได้ ๑ ใน
๔ ส่วน ไม่สัมผัสอนาคามิผลด้วยกายอยู่ เมื่อละกิเลสได้ ๑ ใน ๔ ส่วน เป็น
พระอนาคามีผู้อันตราปรินิพพายี ฯลฯ ผู้อุปหัจจปรินิพพายี ฯลฯ ผู้อสังขาร-
ปรินิพพายี ฯลฯ ผู้สสังขารปรินิพพายี ฯลฯ ผู้อุทธังโสโตอกนิฏฐคามี เมื่อละ
กิเลสได้ ๑ ใน ๔ ส่วน ไม่เป็นพระอนาคามีผู้อุทธังโสโตอกนิฏฐคามีใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๓๒๐ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒. ทุติยวรรค] ๙. อนุปุพพาภิสมยกถา (๑๘)
[๓๔๓] สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอรหัตตผลละอะไรได้ด้วยการเห็นทุกข์
ปร. ละรูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะ อวิชชา และกิเลสที่มีอยู่ใน
จิตดวงเดียวกันกับกิเลสทั้ง ๕ นั้นได้ ๑ ใน ๔ ส่วน
สก. เมื่อละกิเลสได้ ๑ ใน ๔ ส่วน เป็นพระอรหันต์ เมื่อละกิเลสได้ ๑ ใน
๔ ส่วน ไม่เป็นพระอรหันต์ เมื่อละกิเลสได้ ๑ ใน ๔ ส่วน ท่านถึง ได้ บรรลุ
ทำให้แจ้ง เข้าถึงอยู่ สัมผัสอรหัตตผลด้วยกายอยู่ เมื่อละกิเลสได้ ๑ ใน ๔ ส่วน
ไม่สัมผัสอรหัตตผลด้วยกายอยู่ เมื่อละกิเลสได้ ๑ ใน ๔ ส่วน เป็นผู้ปราศจากราคะ
ฯลฯ โทสะ ฯลฯ โมหะ ฯลฯ ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ปลงภาระแล้ว บรรลุ
ประโยชน์ตนแล้ว หมดสิ้นกิเลสเป็นเครื่องผูกสัตว์ไว้ในภพแล้ว หลุดพ้นเพราะรู้ชอบ
ถอดลิ่มสลัก กลบคู ถอนเสาระเนียดได้แล้ว ไม่มีบานประตู เป็นพระอริยะ ปลดธง
คือมานะ วางภาระคือขันธ์ หมดเครื่องผูกพ้น ชนะอย่างวิเศษแล้ว ท่านกำหนดรู้ทุกข์
ละสมุทัย ทำให้แจ้งนิโรธ เจริญมรรคแล้ว รู้ยิ่งธรรมที่ควรรู้ยิ่ง กำหนดรู้ธรรมที่
ควรกำหนดรู้ ละธรรมที่ควรละ เจริญธรรมที่ควรเจริญ ฯลฯ ทำให้แจ้งธรรมที่ควร
ทำให้แจ้ง เมื่อละกิเลสได้ ๑ ใน ๔ ส่วน ไม่ทำให้แจ้งธรรมที่ควรทำให้แจ้งใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอรหัตตผลละอะไรได้ด้วยการเห็นสมุทัย ฯลฯ
ด้วยการเห็นนิโรธ ฯลฯ ด้วยการเห็นมรรค
ปร. ละรูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะ อวิชชา และกิเลสที่มีอยู่ใน
จิตดวงเดียวกันกับกิเลสทั้ง ๕ นั้นได้ ๑ ใน ๔ ส่วน
สก. เมื่อละกิเลสได้ ๑ ใน ๔ ส่วน เป็นพระอรหันต์ เมื่อละกิเลสได้ ๑ ใน
๔ ส่วน ไม่เป็นพระอรหันต์ เมื่อละกิเลสได้ ๑ ใน ๔ ส่วน ท่านถึง ได้ บรรลุ
ทำให้แจ้ง เข้าถึงอยู่ สัมผัสอรหัตตผลด้วยกายอยู่ เมื่อละกิเลสได้ ๑ ใน ๔ ส่วน
ไม่สัมผัสอรหัตตผลด้วยกายอยู่ เมื่อละกิเลสได้ ๑ ใน ๔ ส่วน เป็นผู้ปราศจากราคะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๓๒๑ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒. ทุติยวรรค] ๙. อนุปุพพาภิสมยกถา (๑๘)
ฯลฯ โทสะ ฯลฯ โมหะ ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ปลงภาระแล้ว บรรลุประโยชน์
ตนแล้ว หมดสิ้นกิเลสเครื่องผูกสัตว์ไว้ในภพแล้ว หลุดพ้นเพราะรู้ชอบ ถอดลิ่มสลัก
กลบคู ถอนเสาระเนียดได้แล้ว ไม่มีบานประตู เป็นพระอริยะ ปลดธงคือมานะ
วางภาระคือขันธ์ หมดเครื่องผูกพัน ชนะอย่างวิเศษแล้ว ท่านกำหนดรู้ทุกข์ ละ
สมุทัย ทำให้แจ้งนิโรธ เจริญมรรคแล้ว รู้ยิ่งธรรมที่ควรรู้ยิ่ง กำหนดรู้ธรรมที่ควร
กำหนดรู้ ละธรรมที่ควรละ เจริญธรรมที่ควรเจริญ ฯลฯ ทำให้แจ้งธรรมที่ควร
ทำให้แจ้ง เมื่อละกิเลสได้ ๑ ใน ๔ ส่วน ไม่ทำให้แจ้งธรรมที่ควรทำให้แจ้งใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๓๔๔] สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งโสดาปัตติผล เมื่อเห็นทุกข์ ท่านจึง
ยอมรับว่า “เป็นผู้ปฏิบัติ” ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ครั้นเห็นทุกข์แล้ว ท่านจึงยอมรับว่า “เป็นผู้ตั้งอยู่ในผล” ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เมื่อเห็นสมุทัย ฯลฯ เมื่อเห็นนิโรธ ท่านจึงยอมรับว่า “เป็นผู้ปฏิบัติ”
ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ครั้นเห็นนิโรธแล้ว ท่านจึงยอมรับว่า “เป็นผู้ตั้งอยู่ในผล” ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งโสดาปัตติผล เมื่อเห็นมรรค ท่านจึงยอมรับ
ว่า “เป็นผู้ปฏิบัติ” ครั้นเห็นมรรคแล้ว ท่านจึงยอมรับว่า “เป็นผู้ตั้งอยู่ในผล” ใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๓๒๒ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒. ทุติยวรรค] ๙. อนุปุพพาภิสมยกถา (๑๘)
สก. เมื่อเห็นทุกข์ ท่านจึงยอมรับว่า “เป็นผู้ปฏิบัติ” ครั้นเห็นทุกข์แล้ว
ท่านจึงยอมรับว่า “เป็นผู้ตั้งอยู่ในผล” ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เมื่อเห็นมรรค ท่านจึงยอมรับว่า “เป็นผู้ปฏิบัติ” ครั้นเห็นมรรคแล้ว
ท่านจึงยอมรับว่า “เป็นผู้ตั้งอยู่ในผล” ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เมื่อเห็นสมุทัย ฯลฯ เมื่อเห็นนิโรธ ท่านจึงยอมรับว่า “เป็นผู้ปฏิบัติ”
ครั้นเห็นนิโรธแล้ว ท่านจึงยอมรับว่า “เป็นผู้ตั้งอยู่ในผล” ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งโสดาปัตติผล เมื่อเห็นทุกข์ ท่านจึงยอม
รับว่า “เป็นผู้ปฏิบัติ” ครั้นเห็นทุกข์แล้ว ท่านไม่ยอมรับว่า “ข้าพเจ้ายอมรับว่า
เป็นผู้ตั้งอยู่ในผล” ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เมื่อเห็นมรรค ท่านจึงยอมรับว่า “เป็นผู้ปฏิบัติ” ครั้นเห็นมรรคแล้ว
ท่านไม่ยอมรับว่า “ข้าพเจ้ายอมรับว่า เป็นผู้ตั้งอยู่ในผล” ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เมื่อเห็นสมุทัย ฯลฯ เมื่อเห็นนิโรธ ท่านจึงยอมรับว่า “เป็นผู้ปฏิบัติ”
ครั้นเห็นนิโรธสัจแล้ว ท่านไม่ยอมรับว่า “ข้าพเจ้ายอมรับว่า เป็นผู้ตั้งอยู่ในผล” ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เมื่อเห็นมรรค ท่านจึงยอมรับว่า “เป็นผู้ปฏิบัติ” ครั้นเห็นมรรคแล้ว
ท่านไม่ยอมรับว่า “ข้าพเจ้ายอมรับว่า เป็นผู้ตั้งอยู่ในผล” ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๓๒๓ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒. ทุติยวรรค] ๙. อนุปุพพาภิสมยกถา (๑๘)
สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งโสดาปัตติผล เมื่อเห็นทุกข์ ท่านจึงยอม
รับว่า “เป็นผู้ปฏิบัติ” ครั้นเห็นทุกข์แล้ว ท่านไม่ยอมรับว่า “ข้าพเจ้ายอมรับว่า
เป็นผู้ตั้งอยู่ในผล” ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. การเห็นทุกข์ ไม่มีประโยชน์ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เมื่อเห็นสมุทัย ฯลฯ เมื่อเห็นนิโรธ ท่านจึงยอมรับว่า “เป็นผู้ปฏิบัติ”
ครั้นเห็นนิโรธแล้ว ท่านไม่ยอมรับว่า “ข้าพเจ้ายอมรับว่า เป็นผู้ตั้งอยู่ในผล” ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. การเห็นนิโรธ ไม่มีประโยชน์ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๓๔๕] ปร. ครั้นเห็นทุกข์แล้วก็เป็นอันเห็นสัจจะ ๔ ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. ทุกขสัจเป็นสัจจะ ๔ ใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ครั้นเห็นรูปขันธ์โดยความเป็นสภาวะไม่เที่ยงแล้ว ก็เป็นอันเห็นขันธ์ ๕
โดยความเป็นสภาวะไม่เที่ยงใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. รูปขันธ์เป็นขันธ์ ๕ ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ครั้นเห็นจักขายตนะโดยความเป็นสภาวะไม่เที่ยงแล้ว ก็เป็นอันเห็นอายตนะ
๑๒ โดยความเป็นสภาวะไม่เที่ยงใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๓๒๔ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒. ทุติยวรรค] ๙. อนุปุพพาภิสมยกถา (๑๘)
สก. จักขายตนะเป็นอายตนะ ๑๒ ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ครั้นเห็นจักขุธาตุโดยความเป็นสภาวะไม่เที่ยงแล้ว ก็เป็นอันเห็นธาตุ ๑๘
โดยความเป็นสภาวะไม่เที่ยงใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. จักขุธาตุเป็นธาตุ ๑๘ ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ครั้นเห็นจักขุนทรีย์โดยความเป็นสภาวะไม่เที่ยงแล้ว ก็เป็นอันเห็น
อินทรีย์ ๒๒ โดยความเป็นสภาวะไม่เที่ยงใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. จักขุนทรีย์เป็นอินทรีย์ ๒๒ ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลย่อมทำให้แจ้งโสดาปัตติผลด้วยญาณ ๔๑ ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. โสดาปัตติผลมี ๔ ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลย่อมทำให้แจ้งโสดาปัตติผลด้วยญาณ ๘๒ ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. โสดาปัตติผลมี ๘ ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

เชิงอรรถ :
๑ หมายถึงญาณในอริยสัจ ๔ มีทุกขญาณ เป็นต้น (อภิ.ปญฺจ.อ. ๓๔๕/๑๘๗)
๒ หมายถึงญาณในอริยสัจ ๔ และญาณในปฏิสัมภิทา ๔ ที่มีได้ทั่วไปแก่พระสาวก (อภิ.ปญฺจ.อ. ๓๔๕/๑๘๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๓๒๕ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒. ทุติยวรรค] ๙. อนุปุพพาภิสมยกถา (๑๘)
สก. บุคคลย่อมทำให้แจ้งโสดาปัตติผลด้วยญาณ ๑๒๑ ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. โสดาปัตติผลมี ๑๒ ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลย่อมทำให้แจ้งโสดาปัตติผลด้วยญาณ ๔๔๒ ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. โสดาปัตติผลมี ๔๔ ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลทำให้แจ้งโสดาปัตติผลด้วยญาณ ๗๗๓ ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. โสดาปัตติผลมี ๗๗ ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๓๔๖] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “มีการบรรลุธรรมโดยลำดับ” ใช่ไหม
สก. ใช่

เชิงอรรถ :
๑ หมายถึงญาณในปฏิจจสมุปบาทซึ่งมีองค์ ๑๒ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๓๔๕/๑๘๗)
๒ หมายถึงญาณที่ท่านกล่าวไว้ในนิทานวรรคอย่างนี้ว่า ญาณในชราและมรณะ ญาณในชรา มรณะ และ
สมุทัย (อภิ.ปญฺจ.อ. ๓๔๕/๑๘๗)
๓ หมายถึงญาณที่ท่านกล่าวไว้ในนิทานวรรคอย่างนี้ว่า ชราและมรณะเป็นของไม่เที่ยง ถูกปัจจัยปรุงแต่ง
อาศัยกันและกันเกิดขึ้น มีความสิ้นไป คลายไป ดับไปเป็นธรรมดา (อภิ.ปญฺจ.อ. ๓๔๕/๑๘๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๓๒๖ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒. ทุติยวรรค] ๙. อนุปุพพาภิสมยกถา (๑๘)
ปร. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย ธรรมวินัยมีการ
ศึกษาไปโดยลำดับ๑ มีการบำเพ็ญไปโดยลำดับ๒ มีการปฏิบัติไปโดยลำดับ๓ ไม่ใช่
มีการบรรลุอรหัตตผลโดยทันที เหมือนมหาสมุทรต่ำลงไปโดยลำดับ ลาดลงไป
โดยลำดับ ลึกลงไปโดยลำดับ ไม่ลึกชันดิ่งไปทันที”๔ มีอยู่จริงมิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. ดังนั้น จึงมีการบรรลุธรรมโดยลำดับ
ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “มีการบรรลุธรรมโดยลำดับ” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า
“ผู้มีปัญญาพึงกำจัดมลทินของตนทีละน้อย ๆ
ทุกขณะ โดยลำดับ เหมือนช่างทองกำจัดสนิมทอง”๕
มีอยู่จริงมิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. ดังนั้น จึงมีการบรรลุธรรมโดยลำดับ
สก. ท่านยอมรับว่า “มีการบรรลุธรรมโดยลำดับ” ใช่ไหม
ปร. ใช่

เชิงอรรถ :
๑ การศึกษาไปโดยลำดับ หมายถึงการศึกษาสิกขา ๓ คือ ศีล สมาธิ และปัญญา (องฺ.อฏฺฐก.อ.
๓/๑๙/๒๔๔)
๒ การบำเพ็ญไปโดยลำดับ หมายถึงการบำเพ็ญธุดงค์ ๑๓ (องฺ.อฏฺฐก.อ. ๓/๑๙/๒๔๔)
๓ การปฏิบัติไปโดยลำดับ หมายถึงอนุปัสสนา ๙ มหาวิปัสสนา ๑๘ อารัมมณวิภัตติ ๓๘ และ
โพธิปักขิยธรรม ๓๗ (องฺ.อฏฺฐก.อ. ๓/๑๙/๒๔๔)
๔ ดูเทียบ องฺ.อฏฺฐก. (แปล) ๒๓/๑๙-๒๐/๒๔๘-๒๕๕
๕ ดูเทียบ ขุ.ธ. (แปล) ๒๕/๒๓๙/๑๐๖

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๓๒๗ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒. ทุติยวรรค] ๙. อนุปุพพาภิสมยกถา (๑๘)
สก. พระสูตรที่ว่า “ท่านพระควัมปติเถระกล่าวกับภิกษุทั้งหลายดังนี้ว่า ‘ผู้มี
อายุทั้งหลาย ผมได้สดับรับมาเฉพาะพระพักตร์พระผู้มีพระภาคว่า ภิกษุทั้งหลาย
ผู้ใดเห็นทุกข์ ผู้นั้นชื่อว่าเห็นทุกขสมุทัยบ้าง เห็นทุกขนิโรธบ้าง เห็นทุกขนิโรธ-
คามินีปฏิปทาบ้าง ผู้ใดเห็นทุกขสมุทัย ผู้นั้นชื่อว่าเห็นทุกข์บ้าง เห็นทุกขนิโรธบ้าง
เห็นทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาบ้าง ผู้ใดเห็นทุกขนิโรธ ผู้นั้นชื่อว่าเห็นทุกข์บ้าง เห็น
ทุกขสมุทัยบ้าง เห็นทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาบ้าง ผู้ใดเห็นทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา
ผู้นั้นชื่อว่าเห็นทุกข์บ้าง เห็นทุกขสมุทัยบ้าง เห็นทุกขนิโรธบ้าง”๑ มีอยู่จริงมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. ดังนั้น ท่านจึงไม่ควรยอมรับว่า “มีการบรรลุธรรมโดยลำดับ”
สก. มีการบรรลุธรรมโดยลำดับใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “พร้อมกับการได้บรรลุโสดาปัตติมรรค
ฯลฯ และเป็นผู้ไม่ควรเพื่อทำอภิฐาน ๖” มีอยู่จริงมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. ดังนั้น ท่านจึงไม่ควรยอมรับว่า “มีการบรรลุธรรมโดยลำดับ”
สก. มีการบรรลุธรรมโดยลำดับใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย ในสมัยที่ธรรม-
จักษุที่ปราศจากธุลี ปราศจากมลทิน เกิดขึ้นแก่อริยสาวกว่า ‘สิ่งใดสิ่งหนึ่งมี
ความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งหมดมีความดับเป็นธรรมดา’ พร้อมกับการเกิด

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ สํ.ม. (แปล) ๑๙/๑๑๐๐/๖๑๑

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๓๒๘ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒. ทุติยวรรค] ๑๐. โวหารกถา (๑๙)
ขึ้นแห่งโสดาปัตติมรรค อริยสาวกย่อมละสังโยชน์ได้ ๓ ประการ คือ สักกายทิฏฐิ
วิจิกิจฉา และสีลัพพตปรามาส”๑ มีอยู่จริงมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. ดังนั้น ท่านจึงไม่ควรยอมรับว่า “มีการบรรลุธรรมโดยลำดับ”
อนุปุพพาภิสมยกถา จบ

๑๐. โวหารกถา (๑๙)
ว่าด้วยพระโวหาร
[๓๔๗] สก. พระโวหารของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าเป็นโลกุตตระใช่ไหม
ปร.๒ ใช่๓
สก. พระโวหารของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า กระทบโสตะที่เป็นโลกุตตระ
ไม่กระทบโสตะที่เป็นโลกิยะ รับรู้ได้ด้วยวิญญาณที่เป็นโลกุตตระ รับรู้ไม่ได้ด้วย
วิญญาณที่เป็นโลกิยะ พระอริยสาวกรับรู้ได้ แต่ปุถุชนรับรู้ไม่ได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระโวหารของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า กระทบโสตะที่เป็นโลกิยะมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากพระโวหารของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า กระทบโสตะที่เป็นโลกิยะ
ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “พระโวหารของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าเป็นโลกุตตระ”

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ องฺ.ติก. (แปล) ๒๐/๙๕/๓๒๘
๒ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอันธกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๓๔๗/๑๙๗)
๓ เพราะมีความเห็นว่า พระโวหารที่พระพุทธองค์ทรงใช้แสดงธรรมล้วนเป็นโลกุตตระ (อภิ.ปญฺจ.อ.
๓๔๗/๑๙๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๓๒๙ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒. ทุติยวรรค] ๑๐. โวหารกถา (๑๙)
สก. พระโวหารของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้ารับรู้ได้ด้วยโลกิยวิญญาณมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากพระโวหารของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้ารับรู้ได้ด้วยโลกิยวิญญาณ
ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “พระโวหารของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าเป็นโลกุตตระ”
สก. พระโวหารของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า ปุถุชนก็รับรู้ได้มิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากพระโวหารของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า ปุถุชนก็รับรู้ได้ ท่านก็
ไม่ควรยอมรับว่า “พระโวหารของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าเป็นโลกุตตระ”
[๓๔๘] สก. พระโวหารของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าเป็นโลกุตตระใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เป็นมรรค ผล นิพพาน โสดาปัตติมรรค โสดาปัตติผล สกทาคามิมรรค
สกทาคามิผล อนาคามิมรรค อนาคามิผล อรหัตตมรรค อรหัตตผล สติปัฏฐาน
สัมมัปปธาน อิทธิบาท อินทรีย์ พละ โพชฌงค์ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระโวหารของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าเป็นโลกุตตระใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. คนบางพวกที่จะฟังพระโวหารของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้ามีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. โลกุตตรธรรมรับรู้ได้ด้วยโสตะ กระทบที่โสตะ มาสู่คลองแห่งโสตะ
ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. โลกุตตรธรรมรับรู้ไม่ได้ด้วยโสตะ ไม่กระทบที่โสตะ ไม่มาสู่คลองแห่ง
โสตะมิใช่หรือ
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๓๓๐ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒. ทุติยวรรค] ๑๐. โวหารกถา (๑๙)
สก. หากโลกุตตรธรรมรู้ไม่ได้ด้วยโสตะ ไม่กระทบที่โสตะ ไม่มาสู่คลองแห่ง
โสตะ ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “พระโวหารของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าเป็น
โลกุตตระ”
[๓๔๙] สก. พระโวหารของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าเป็นโลกุตตระใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. คนบางพวกที่จะพึงยินดีในพระโวหารของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้ามีอยู่
ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. โลกุตตรธรรมเป็นที่ตั้งแห่งราคะ เป็นที่ตั้งแห่งความยินดี เป็นที่ตั้งแห่ง
ความใคร่ เป็นที่ตั้งแห่งความเมา เป็นที่ตั้งแห่งความผูกมัด เป็นที่ตั้งแห่งความ
ลุ่มหลงใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. โลกุตตรธรรมไม่เป็นที่ตั้งแห่งราคะ ไม่เป็นที่ตั้งแห่งความยินดี ไม่เป็น
ที่ตั้งแห่งความใคร่ ไม่เป็นที่ตั้งแห่งความเมา ไม่เป็นที่ตั้งแห่งความผูกมัด ไม่เป็น
ที่ตั้งแห่งความลุ่มหลงมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากโลกุตตรธรรมไม่เป็นที่ตั้งแห่งราคะ ไม่เป็นที่ตั้งแห่งความยินดี ไม่
เป็นที่ตั้งแห่งความใคร่ ไม่เป็นที่ตั้งแห่งความเมา ไม่เป็นที่ตั้งแห่งความผูกมัด ไม่เป็น
ที่ตั้งแห่งความลุ่มหลง ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “พระโวหารของพระผู้มีพระภาค
พุทธเจ้าเป็นโลกุตตระ”
สก. พระโวหารของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าเป็นโลกุตตระใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๓๓๑ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒. ทุติยวรรค] ๑๐. โวหารกถา (๑๙)
สก. คนบางพวกที่จะพึงขัดเคืองในพระโวหารของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้ามีอยู่
ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. โลกุตตรธรรมเป็นที่ตั้งแห่งโทสะ เป็นที่ตั้งแห่งความขัดเคือง เป็นที่ตั้ง
แห่งความกระทบกระเทือนใจใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. โลกุตตรธรรมไม่เป็นที่ตั้งแห่งโทสะ ไม่เป็นที่ตั้งแห่งความขัดเคือง ไม่เป็น
ที่ตั้งแห่งความกระทบกระเทือนใจมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากโลกุตตรธรรมไม่เป็นที่ตั้งแห่งโทสะ ไม่เป็นที่ตั้งแห่งความขัดเคือง
ไม่เป็นที่ตั้งแห่งความกระทบกระเทือนใจ ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “พระโวหารของ
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าเป็นโลกุตตระ”
สก. พระโวหารของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าเป็นโลกุตตระใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. คนบางพวกที่จะพึงหลงในพระโวหารของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้ามีอยู่
ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. โลกุตตรธรรมที่เป็นที่ตั้งของโมหะ ทำความไม่รู้ ทำให้เป็นผู้ไม่มีจักษุ
เป็นที่ปิดกั้นแห่งปัญญา เป็นฝ่ายแห่งความคับแค้น ไม่เป็นไปเพื่อนิพพานมิใช่หรือ
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. โลกุตตรธรรมไม่เป็นที่ตั้งแห่งโมหะ ไม่ทำความไม่รู้ ไม่ทำให้เป็นผู้ไม่มี
จักษุ เป็นที่เจริญแห่งปัญญา ไม่เป็นฝ่ายแห่งความคับแค้น เป็นไปเพื่อนิพพาน
มิใช่หรือ
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๓๓๒ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒. ทุติยวรรค] ๑๐. โวหารกถา (๑๙)
สก. หากโลกุตตรธรรมไม่เป็นที่ตั้งแห่งโมหะ ไม่ทำความไม่รู้ ไม่ทำให้เป็นผู้
ไม่มีจักษุ เป็นที่เจริญแห่งปัญญา ไม่เป็นฝ่ายแห่งความคับแค้น เป็นไปเพื่อนิพพาน
ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “พระโวหารของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าเป็นโลกุตตระ”
[๓๕๐] สก. พระโวหารของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าเป็นโลกุตตระใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ชนเหล่าใดเหล่าหนึ่งฟังพระโวหารของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าอยู่ ชน
เหล่านั้นทั้งหมดเจริญมรรคใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ชนเหล่าใดเหล่าหนึ่งฟังพระโวหารของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าอยู่ ชน
เหล่านั้นทั้งหมดเจริญมรรคใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พาลปุถุชนฟังพระโวหารของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าอยู่ ชื่อว่าเจริญ
มรรคใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ผู้ฆ่ามารดา ฯลฯ ฆ่าบิดา ฯลฯ ฆ่าพระอรหันต์ ฯลฯ ทำร้าย
พระพุทธเจ้าจนถึงพระโลหิตห้อ ฯลฯ ทำลายสงฆ์ให้แตกกัน ฟังพระโวหารของ
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าอยู่ ชื่อว่าเจริญมรรคใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๓๕๑] ปร. กองข้าวเปลือกก็ดี กองทองก็ดี ใช้ไม้เท้าทองชี้บอกได้ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. อย่างนั้นเหมือนกัน สภาวธรรมที่เป็นโลกิยะก็ดี ที่เป็นโลกุตตระก็ดี
พระผู้มีพระภาคตรัสด้วยพระโวหารที่เป็นโลกุตตระ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๓๓๓ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒. ทุติยวรรค] ๑๐. โวหารกถา (๑๙)
สก. กองข้าวเปลือกก็ดี กองทองก็ดี ใช้ไม้เท้าต้นละหุ่งชี้บอกได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. อย่างนั้นเหมือนกัน สภาวธรรมที่เป็นโลกิยะก็ดี ที่เป็นโลกุตตระก็ดี
พระผู้มีพระภาคตรัสด้วยพระโวหารที่เป็นโลกิยะ
[๓๕๒] สก. พระโวหารของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า เมื่อตรัสโลกิยธรรมก็
เป็นโลกิยะ เมื่อตรัสโลกุตตรธรรมก็เป็นโลกุตตระใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เมื่อตรัสโลกิยธรรม พระโวหารนั้นกระทบโสตะที่เป็นโลกิยะ เมื่อตรัส
โลกุตตรธรรม กระทบโสตะที่เป็นโลกุตตระ เมื่อตรัสโลกิยธรรม ชนทั้งหลายรับรู้ได้
ด้วยวิญญาณที่เป็นโลกิยะ เมื่อตรัสโลกุตตรธรรม รับรู้ได้ด้วยวิญญาณที่เป็น
โลกุตตระ เมื่อตรัสโลกิยธรรม ปุถุชนรับรู้ได้ เมื่อตรัสโลกุตตรธรรม พระสาวก
รับรู้ได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “พระโวหารของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า เมื่อตรัส
โลกิยธรรมก็เป็นโลกิยะ เมื่อตรัสโลกุตตรธรรมก็เป็นโลกุตตระ” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. พระผู้มีพระภาคตรัสทั้งโลกิยธรรมและโลกุตตรธรรมมิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. หากพระผู้มีพระภาคตรัสทั้งโลกิยธรรมและโลกุตตรธรรม ดังนั้น ท่าน
จึงควรยอมรับว่า “พระโวหารของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า เมื่อตรัสโลกิยธรรมก็
เป็นโลกิยะ เมื่อตรัสโลกุตตรธรรมก็เป็นโลกุตตระ”
สก. พระโวหารของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า เมื่อตรัสโลกิยธรรมก็เป็น
โลกิยะ เมื่อตรัสโลกุตตรธรรมก็เป็นโลกุตตระใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๓๓๔ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒. ทุติยวรรค] ๑๑. นิโรธกถา (๒๐)
สก. เมื่อตรัสมรรคก็เป็นมรรค เมื่อตรัสสภาวธรรมที่มิใช่มรรคก็เป็นสภาวธรรม
ที่มิใช่มรรค เมื่อตรัสผลก็เป็นผล เมื่อตรัสสภาวธรรมที่มิใช่ผลก็เป็นสภาวธรรมที่
มิใช่ผล เมื่อตรัสนิพพานก็เป็นนิพพาน เมื่อตรัสสภาวธรรมที่มิใช่นิพพานก็เป็น
สภาวธรรมที่มิใช่นิพพาน เมื่อตรัสสังขตธรรมก็เป็นสังขตธรรม เมื่อตรัสอสังขตธรรม
ก็เป็นอสังขตธรรม เมื่อตรัสรูปก็เป็นรูป เมื่อตรัสสภาวธรรมที่มิใช่รูปก็เป็นสภาว-
ธรรมที่มิใช่รูป เมื่อตรัสเวทนาก็เป็นเวทนา เมื่อตรัสสภาวธรรมที่มิใช่เวทนาก็เป็น
สภาวธรรมที่มิใช่เวทนา เมื่อตรัสสัญญาก็เป็นสัญญา เมื่อตรัสสภาวธรรมที่มิใช่
สัญญาก็เป็นสภาวธรรมที่มิใช่สัญญา เมื่อตรัสสังขารก็เป็นสังขาร เมื่อตรัสสภาว-
ธรรมที่มิใช่สังขารก็เป็นสภาวธรรมที่มิใช่สังขาร เมื่อตรัสวิญญาณก็เป็นวิญญาณ
เมื่อตรัสสภาวธรรมที่มิใช่วิญญาณก็เป็นสภาวธรรมที่มิใช่วิญญาณใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
โวหารกถา จบ

๑๑. นิโรธกถา (๒๐)
ว่าด้วยนิโรธ
[๓๕๓] สก. นิโรธมี ๒ อย่างใช่ไหม
ปร.๑ใช่๒
สก. ทุกขนิโรธมี ๒ อย่างใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น๓ ฯลฯ

เชิงอรรถ :
๑ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายมหิสาสกะและนิกายอันธกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๓๕๓/๑๘๘)
๒ เพราะมีความเห็นว่า นิโรธสัจมี ๒ คือ ปฏิสังขานิโรธ(ดับโดยพิจารณา) และอัปปฏิสังขานิโรธ(ดับโดย
ไม่ต้องพิจารณา) (อภิ.ปญฺจ.อ. ๓๕๓/๑๘๘)
๓ เพราะมีความเห็นว่า การดับทุกข์มีอย่างเดียวเท่านั้น (อภิ.ปญฺจ.อ. ๓๕๓/๑๘๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๓๓๕ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒. ทุติยวรรค] ๑๑. นิโรธกถา (๒๐)
สก. ทุกขนิโรธมี ๒ อย่างใช่ไหม
ปร. ใช่๑
สก. นิโรธสัจมี ๒ อย่างใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. นิโรธสัจมี ๒ อย่างใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ทุกขสัจมี ๒ อย่างใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. นิโรธสัจมี ๒ อย่างใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สมุทยสัจมี ๒ อย่างใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. นิโรธสัจมี ๒ อย่างใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. มัคคสัจมี ๒ อย่างใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. นิโรธสัจมี ๒ อย่างใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ที่ต้านทานมี ๒ อย่าง ฯลฯ ที่เร้นมี ๒ อย่าง ฯลฯ ที่ระลึกมี ๒ อย่าง
ฯลฯ จุดมุ่งหมายมี ๒ อย่าง ฯลฯ ที่มั่นมี ๒ อย่าง ฯลฯ อมตะมี ๒ อย่าง
ฯลฯ นิพพานมี ๒ อย่างใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

เชิงอรรถ :
๑ เพราะมีความเห็นว่า ทุกข์ดับได้ด้วยอาการ ๒ อย่าง (อภิ.ปญฺจ.อ. ๓๕๓/๑๘๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๓๓๖ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒. ทุติยวรรค] ๑๑. นิโรธกถา (๒๐)
สก. นิพพานมี ๒ อย่างใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. นิพพานทั้ง ๒ อย่าง ยังมีความสูงต่ำ ความเลวและความประณีต
ความยิ่งและหย่อน เขตแดน ความแตกต่าง ร่องรอย ช่องว่างอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. นิโรธมี ๒ อย่างใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลนำสังขารที่ดับโดยไม่ต้องพิจารณามาพิจารณาให้ดับได้มิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากบุคคลนำสังขารที่ดับโดยไม่ต้องพิจารณามาพิจารณาให้ดับได้ ท่าน
ก็ไม่ควรยอมรับว่า “นิโรธมี ๒ อย่าง”
ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “นิโรธมี ๒ อย่าง” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. สังขารที่ดับโดยไม่ต้องพิจารณาก็ดี ที่ดับโดยพิจารณาก็ดี ต่างก็ดับ
สนิทแล้วมิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. หากสังขารที่ดับโดยไม่ต้องพิจารณาก็ดี ที่ดับโดยพิจารณาก็ดี ต่างก็
ดับสนิท ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “นิโรธมี ๒ อย่าง”
สก. นิโรธมี ๒ อย่างใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สังขารแม้ที่ดับโดยพิจารณา ชื่อว่าดับ เพราะอาศัยอริยมรรคใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๓๓๗ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒. ทุติยวรรค] รวมกถาที่มีในวรรค
สก. สังขารที่ดับโดยไม่ต้องพิจารณา ชื่อว่าดับ เพราะอาศัยอริยมรรคใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. นิโรธมี ๒ อย่างใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สังขารที่ดับโดยพิจารณา ไม่เกิดขึ้นอีกใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สังขารที่ดับโดยไม่ต้องพิจารณา ก็ไม่เกิดขึ้นอีกใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ดังนั้น ท่านจึงไม่ควรยอมรับว่า “นิโรธมี ๒ อย่าง”
นิโรธกถา จบ
ทุติยวรรค จบ

รวมกถาที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. ปรูปหารกถา ๒. อัญญาณกถา
๓. กังขากถา ๔. ปรวิตารณกถา
๕. วจีเภทกถา ๖. ทุกขาหารกถา
๗. จิตตัฏฐิติกถา ๘. กุกกุฬกถา
๙. อนุปุพพาภิสมยกถา ๑๐. โวหารกถา
๑๑. นิโรธกถา


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๓๓๘ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๓. ตติยวรรค] ๑. พลกถา (๒๑)
๓. ตติยวรรค
๑. พลกถา (๒๑)
ว่าด้วยกำลัง
[๓๕๔] สก. กำลังของพระตถาคต มีได้ทั่วไปแก่พระสาวกใช่ไหม
ปร.๑ ใช่๒
สก. กำลังของพระตถาคตก็คือกำลังของพระสาวก กำลังของพระสาวกก็คือ
กำลังของพระตถาคตใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. กำลังของพระตถาคต มีได้ทั่วไปแก่พระสาวกใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. กำลังของพระตถาคตกับกำลังของพระสาวกเป็นอันเดียวกัน กำลังของ
พระสาวกกับกำลังของพระตถาคตก็เป็นอันเดียวกันใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. กำลังของพระตถาคต มีได้ทั่วไปแก่พระสาวกใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. กำลังของพระสาวกก็เช่นเดียวกับกำลังของพระตถาคต กำลังของพระ
ตถาคตก็เช่นเดียวกับกำลังของพระสาวกใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. กำลังของพระตถาคต มีได้ทั่วไปแก่พระสาวกใช่ไหม
ปร. ใช่

เชิงอรรถ :
๑ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอันธกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๓๕๔/๑๘๙)
๒ เพราะมีความเห็นว่า ทสพลญาณ ๑๐ ก็มีได้ในสันดานของเหล่าพระสาวก (อภิ.ปญฺจ.อ. ๓๕๔/๑๘๙)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๓๓๙ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๓. ตติยวรรค] ๑. พลกถา (๒๑)
สก. บุรพประโยค บุรพจริยา การกล่าวธรรม การแสดงธรรมของพระสาวก
ก็เช่นเดียวกับบุรพประโยค บุรพจริยา การกล่าวธรรม การแสดงธรรมของพระ
ตถาคตใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. กำลังของพระตถาคต มีได้ทั่วไปแก่พระสาวกใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระตถาคตทรงเป็นพระชินเจ้า เป็นพระศาสดา เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
เป็นพระสัพพัญญู เป็นพระสัพพทัสสาวี เป็นพระธัมมัสสามี เป็นพระธัมม-
ปฏิสรณะใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสาวกก็เป็นพระชินเจ้า เป็นพระศาสดา เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
เป็นพระสัพพัญญู เป็นพระสัพพทัสสาวี เป็นพระธัมมัสสามี เป็นพระธัมม-
ปฏิสรณะใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. กำลังของพระตถาคต มีได้ทั่วไปแก่พระสาวกใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระตถาคตเป็นผู้ยังมรรคที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น เป็นผู้ให้กำเนิดแก่มรรค
ที่ยังไม่มีใครให้กำเนิด เป็นผู้บอกมรรคที่ยังไม่มีใครบอก เป็นผู้รู้มรรค เป็นผู้เข้าใจ
มรรค เป็นผู้ฉลาดในมรรคใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสาวกก็เป็นผู้ยังมรรคที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น เป็นผู้ให้กำเนิดแก่มรรค
ที่ยังไม่มีใครให้กำเนิด เป็นผู้บอกมรรคที่ยังไม่มีใครบอก เป็นผู้รู้มรรค เป็นผู้เข้าใจ
มรรค เป็นผู้ฉลาดในมรรคใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. กำลังของพระตถาคตคือปรีชาหยั่งรู้ตามความเป็นจริงซึ่งความยิ่งและ
หย่อนแห่งอินทรีย์ของสัตว์ (อินทริยปโรปริยัตตญาณ) มีได้ทั่วไปแก่พระสาวกใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๓๔๐ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๓. ตติยวรรค] ๑. พลกถา (๒๑)
สก. พระสาวกเป็นผู้รู้ธรรมทั้งปวง เป็นผู้เห็นธรรมทั้งปวงใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๓๕๕] ปร. พระสาวกรู้ฐานะและอฐานะใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. หากพระสาวกรู้ฐานะและอฐานะได้ ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า
“กำลังของพระตถาคตคือปรีชาหยั่งรู้ตามความเป็นจริงถึงฐานะและอฐานะ(ฐานาฐาน-
ญาณ) มีได้ทั่วไปแก่พระสาวก”
ปร. พระสาวกรู้วิบากแห่งกรรมสมาทานทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และ
ปัจจุบันโดยฐานะ โดยเหตุ ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. หากพระสาวกรู้วิบากแห่งกรรมสมาทานทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และ
ปัจจุบันโดยฐานะ โดยเหตุ ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “กำลังของพระตถาคต
คือปรีชาหยั่งรู้ตามความเป็นจริงถึงวิบากแห่งกรรมสมาทาน(กรรมวิปากญาณ)
ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบันโดยฐานะ โดยเหตุ มีได้ทั่วไปแก่พระสาวก”
ปร. พระสาวกรู้ปฏิปทาที่จะให้สัตว์ถึงคติและมิใช่คติทั้งปวงได้ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. หากพระสาวกรู้ปฏิปทาที่จะให้สัตว์ถึงคติและมิใช่คติทั้งปวงได้ ดังนั้น
ท่านจึงควรยอมรับว่า “กำลังของพระตถาคตคือปรีชาหยั่งรู้ตามความเป็นจริงถึง
ปฏิปทาที่จะให้สัตว์ถึงคติและมิใช่คติทั้งปวง(สัพพัตถคามินีปฏิปทาญาณ) มีได้ทั่วไป
แก่พระสาวก”
ปร. พระสาวกรู้โลกซึ่งมีธาตุหลายอย่างต่าง ๆ กันได้ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. หากพระสาวกรู้โลกซึ่งมีธาตุหลายอย่างต่าง ๆ กันได้ ดังนั้น ท่านจึง
ควรยอมรับว่า “กำลังของพระตถาคตคือปรีชาหยั่งรู้ตามความเป็นจริง ซึ่งมีธาตุ
หลายอย่างต่าง ๆ กัน (นานาธาตุญาณ) มีได้ทั่วไปแก่พระสาวก”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๓๔๑ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๓. ตติยวรรค] ๑. พลกถา (๒๑)
ปร. พระสาวกรู้ว่า “สัตว์ทั้งหลายมีอัธยาศัยต่าง ๆ กันได้” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. หากพระสาวกรู้ว่า “สัตว์ทั้งหลายมีอัธยาศัยต่าง ๆ กันได้” ดังนั้น
ท่านจึงควรยอมรับว่า “กำลังของพระตถาคตคือปรีชาหยั่งรู้ตามความเป็นจริงถึงความ
ที่สัตว์ทั้งหลายมีอัธยาศัยต่าง ๆ กัน (นานาธิมุตติกญาณ) มีได้ทั่วไปแก่พระสาวก”
ปร. พระสาวกรู้ความเศร้าหมอง ความผ่องแผ้ว การออกจากฌาน วิโมกข์
สมาธิ และสมาบัติได้ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. หากพระสาวกรู้ความเศร้าหมอง ความผ่องแผ้ว การออกจากฌาน วิโมกข์
สมาธิ และสมาบัติได้ ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “กำลังของพระตถาคตคือ
ปรีชาหยั่งรู้ตามความเป็นจริงถึงความเศร้าหมอง ความผ่องแผ้ว การออกจากฌาน
วิโมกข์ สมาธิ และสมาบัติ (ฌานาทิสังกิเลสาทิญาณ) มีได้ทั่วไปแก่พระสาวก”
ปร. พระสาวกรู้การระลึกถึงขันธ์ที่อาศัยอยู่ในชาติก่อนได้ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. หากพระสาวกรู้การระลึกถึงขันธ์ที่อาศัยอยู่ในชาติก่อนได้ ดังนั้น ท่านจึง
ควรยอมรับว่า “กำลังของพระตถาคตคือปรีชาหยั่งรู้ตามความเป็นจริงถึงการระลึก
ถึงขันธ์ที่อาศัยอยู่ในชาติก่อน (ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ) มีได้ทั่วไปแก่พระสาวก”
ปร. พระสาวกรู้จุติและปฏิสนธิของสัตว์ทั้งหลายได้ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. หากพระสาวกรู้จุติและปฏิสนธิของสัตว์ทั้งหลายได้ ดังนั้น ท่านจึงควร
ยอมรับว่า “กำลังของพระตถาคตคือปรีชาหยั่งรู้ตามความเป็นจริงถึงจุติและปฏิสนธิ
ของสัตว์ทั้งหลาย (จุตูปปาตญาณ) มีได้ทั่วไปแก่พระสาวก”
ปร. อาสวะของพระตถาคตสิ้นไปแล้วและของพระสาวกก็สิ้นไปแล้วมิใช่หรือ
สก. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๓๔๒ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๓. ตติยวรรค] ๑. พลกถา (๒๑)
ปร. เหตุอะไร ๆ ที่ทำให้ต่างกันระหว่างความสิ้นไปแห่งอาสวะของพระตถาคต
กับความสิ้นไปแห่งอาสวะของพระสาวก หรือระหว่างความหลุดพ้นของพระตถาคต
กับความหลุดพ้นของพระสาวกมีอยู่ใช่ไหม
สก. ไม่มี
ปร. หากไม่มีเหตุอะไร ๆ ที่ทำให้ต่างกันระหว่างความสิ้นไปแห่งอาสวะของ
พระตถาคตกับความสิ้นไปแห่งอาสวะของพระสาวก หรือระหว่างความหลุดพ้นของ
พระตถาคตกับความหลุดพ้นของพระสาวก ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “กำลัง
ของพระตถาคตคือปรีชาหยั่งรู้ตามความเป็นจริงในความสิ้นไปแห่งอาสวะ (อาสวัก-
ขยญาณ) มีได้ทั่วไปแก่พระสาวก”
[๓๕๖] ปร. กำลังของพระตถาคตคือปรีชาหยั่งรู้ตามความเป็นจริงในความสิ้น
ไปแห่งอาสวะ มีได้ทั่วไปแก่พระสาวกใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. กำลังของพระตถาคตคือปรีชาหยั่งรู้ตามความเป็นจริงในฐานะและอฐานะ
มีได้ทั่วไปแก่พระสาวกใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. กำลังของพระตถาคตคือปรีชาหยั่งรู้ตามความเป็นจริงในความสิ้นไปแห่ง
อาสวะ มีได้ทั่วไปแก่พระสาวกใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. กำลังของพระตถาคตคือปรีชาหยั่งรู้ตามความเป็นจริงในจุติและปฏิสนธิ
ิของสัตว์ทั้งหลาย มีได้ทั่วไปแก่พระสาวกใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. กำลังของพระตถาคตคือปรีชาหยั่งรู้ตามความเป็นจริงในฐานะและอฐานะ
มีได้ไม่ทั่วไปแก่พระสาวกใช่ไหม
สก. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๓๔๓ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๓. ตติยวรรค] ๑. พลกถา (๒๑)
ปร. กำลังของพระตถาคตคือปรีชาหยั่งรู้ตามความเป็นจริงในความสิ้นไปแห่ง
อาสวะ มีได้ไม่ทั่วไปแก่พระสาวกใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. กำลังของพระตถาคตคือปรีชาหยั่งรู้ตามความเป็นจริงในจุติและปฏิสนธิ
ของสัตว์ทั้งหลาย มีได้ไม่ทั่วไปแก่พระสาวกใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. กำลังของพระตถาคตคือปรีชาหยั่งรู้ตามความเป็นจริงในความสิ้นไปแห่ง
อาสวะ มีได้ไม่ทั่วไปแก่พระสาวกใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. กำลังของพระตถาคตคือปรีชาหยั่งรู้ตามความเป็นจริงถึงความยิ่งและหย่อน
แห่งอินทรีย์ มีได้ไม่ทั่วไปแก่พระสาวกใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. กำลังของพระตถาคตคือปรีชาหยั่งรู้ตามความเป็นจริงในฐานะและอฐานะ
มีได้ไม่ทั่วไปแก่พระสาวกใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. กำลังของพระตถาคตคือปรีชาหยั่งรู้ตามความเป็นจริงถึงความยิ่งและหย่อน
แห่งอินทรีย์ มีได้ไม่ทั่วไปแก่พระสาวกใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. กำลังของพระตถาคตคือปรีชาหยั่งรู้ตามความเป็นจริงในความสิ้นไปแห่ง
อาสวะ มีได้ไม่ทั่วไปแก่พระสาวกใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. กำลังของพระตถาคตคือปรีชาหยั่งรู้ตามความเป็นจริงในฐานะและอฐานะ
มีได้ทั่วไปแก่พระสาวกใช่ไหม
สก. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๓๔๔ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๓. ตติยวรรค] ๒. อริยันติกถา (๒๒)
ปร. กำลังของพระตถาคตคือปรีชาหยั่งรู้ตามความเป็นจริงถึงความยิ่งและหย่อน
แห่งอินทรีย์ มีได้ทั่วไปแก่พระสาวกใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. กำลังของพระตถาคตคือปรีชาหยั่งรู้ตามความเป็นจริงในความสิ้นไปแห่ง
อาสวะ มีได้ทั่วไปแก่พระสาวกใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. กำลังของพระตถาคตคือปรีชาหยั่งรู้ตามความเป็นจริงถึงความยิ่งและหย่อน
แห่งอินทรีย์ มีได้ทั่วไปแก่พระสาวกใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
พลกถา จบ

๒. อริยันติกถา (๒๒)
ว่าด้วยความเป็นอริยะ
[๓๕๗] สก. กำลังของพระตถาคตคือปรีชาหยั่งรู้ตามความเป็นจริงในฐานะและ
อฐานะเป็นอริยะใช่ไหม
ปร.๑ ใช่๒
สก. กำลังของพระตถาคต เป็นมรรค ผล นิพพาน โสดาปัตติมรรค
โสดาปัตติผล สกทาคามิมรรค สกทาคามิผล อนาคามิมรรค อนาคามิผล
อรหัตตมรรค อรหัตตผล สติปัฏฐาน สัมมัปปธาน อิทธิบาท อินทรีย์ พละ โพชฌงค์ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

เชิงอรรถ :
๑ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอันธกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๓๕๗/๑๙๑)
๒ เพราะมีความเห็นว่า ทสพลญาณเป็นโลกุตตระ ไม่ใช่โลกิยะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๓๕๗/๑๙๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๓๔๕ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๓. ตติยวรรค] ๒. อริยันติกถา (๒๒)
สก. กำลังของพระตถาคตคือปรีชาหยั่งรู้ตามความเป็นจริงในฐานะและอฐานะ
เป็นอริยะใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. กำลังของพระตถาคตมีสุญญตะ๑ เป็นอารมณ์ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. กำลังของพระตถาคตมีสุญญตะเป็นอารมณ์ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระตถาคตทรงใฝ่พระทัยถึงฐานะ อฐานะ และสุญญตะใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระตถาคตทรงใฝ่พระทัยถึงฐานะ อฐานะ และสุญญตะใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. มีการประชุมแห่งผัสสะ ๒ อย่าง จิต ๒ ดวงใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. กำลังของพระตถาคตคือปรีชาหยั่งรู้ตามความเป็นจริงในฐานะและ
อฐานะเป็นอริยะใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. กำลังของพระตถาคตมีอนิมิตตะเป็นอารมณ์ ฯลฯ มีอัปปณิหิตะเป็น
อารมณ์ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. กำลังของพระตถาคตมีอัปปณิหิตะเป็นอารมณ์ใช่ไหม
ปร. ใช่

เชิงอรรถ :
๑ สุญญตะ ในที่นี้หมายถึงสุญญตะ ๒ อย่าง คือ (๑) สัตตสุญญตะ ว่างจากสัตว์ หมายถึงเบญจขันธ์
(๒) สังขารสุญญตะ ว่างจากสังขารทั้งปวง หมายถึงนิพพาน (อภิ.ปญฺจ.อ. ๓๕๗/๑๙๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๓๔๖ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๓. ตติยวรรค] ๒. อริยันติกถา (๒๒)
สก. พระตถาคตทรงใฝ่พระทัยถึงฐานะ อฐานะ และอัปปณิหิตะใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระตถาคตทรงใฝ่พระทัยถึงฐานะ อฐานะ และอัปปณิหิตะใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. มีการประชุมแห่งผัสสะ ๒ อย่าง จิต ๒ ดวงใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๓๕๘] สก. สติปัฏฐานเป็นอริยะ มีสุญญตะเป็นอารมณ์ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. กำลังของพระตถาคตคือปรีชาหยั่งรู้ตามความเป็นจริงในฐานะและอฐานะ
เป็นอริยะ มีสุญญตะเป็นอารมณ์ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สติปัฏฐานเป็นอริยะ มีอนิมิตตะเป็นอารมณ์ ฯลฯ มีอัปปณิหิตะเป็น
อารมณ์ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. กำลังของพระตถาคตคือปรีชาหยั่งรู้ตามความเป็นจริงในฐานะและอฐานะ
เป็นอริยะ มีอัปปณิหิตะเป็นอารมณ์ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สัมมัปปธาน อิทธิบาท อินทรีย์ พละ โพชฌงค์ เป็นอริยะ มี
สุญญตะเป็นอารมณ์ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. กำลังของพระตถาคตคือปรีชาหยั่งรู้ตามความเป็นจริงในฐานะและอฐานะ
เป็นอริยะ มีสุญญตะเป็นอารมณ์ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๓๔๗ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๓. ตติยวรรค] ๒. อริยันติกถา (๒๒)
สก. โพชฌงค์เป็นอริยะ มีอนิมิตตะเป็นอารมณ์ มีอัปปณิหิตะเป็นอารมณ์
ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. กำลังของพระตถาคตคือปรีชาหยั่งรู้ตามความเป็นจริงในฐานะและอฐานะ
เป็นอริยะ มีอัปปณิหิตะเป็นอารมณ์ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๓๕๙] สก. กำลังของพระตถาคตคือปรีชาหยั่งรู้ตามความเป็นจริงในฐานะและ
อฐานะเป็นอริยะ แต่ท่านไม่ยอมรับว่า “มีสุญญตะเป็นอารมณ์” ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สติปัฏฐานเป็นอริยะ แต่ท่านไม่ยอมรับว่า “มีสุญญตะเป็นอารมณ์”
ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. กำลังของพระตถาคตคือปรีชาหยั่งรู้ตามความเป็นจริงในฐานะและอฐานะ
เป็นอริยะ แต่ท่านไม่ยอมรับว่า “มีอนิมิตตะเป็นอารมณ์ มีอัปปณิหิตะเป็นอารมณ์”
ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สติปัฏฐานเป็นอริยะ แต่ท่านไม่ยอมรับว่า “มีอัปปณิหิตะเป็นอารมณ์”
ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. กำลังของพระตถาคตคือปรีชาหยั่งรู้ตามความเป็นจริงในฐานะและอฐานะ
เป็นอริยะ แต่ท่านไม่ยอมรับว่า “มีสุญญตะเป็นอารมณ์ ฯลฯ มีอนิมิตตะเป็นอารมณ์
ฯลฯ มีอัปปณิหิตะเป็นอารมณ์” ใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๓๔๘ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๓. ตติยวรรค] ๒. อริยันติกถา (๒๒)
สก. สัมมัปปธาน โพชฌงค์เป็นอริยะ แต่ท่านไม่ยอมรับว่า “มีอัปปณิหิตะ
เป็นอารมณ์” ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๓๖๐] สก. กำลังของพระตถาคตคือปรีชาหยั่งรู้ตามความเป็นจริงในจุติและ
ปฏิสนธิของสัตว์ทั้งหลายเป็นอริยะใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. กำลังของพระตถาคตเป็นมรรค ผล นิพพาน โสดาปัตติมรรค
โสดาปัตติผล ฯลฯ โพชฌงค์ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. กำลังของพระตถาคตคือปรีชาหยั่งรู้ตามความเป็นจริงในจุติและปฏิสนธิของ
สัตว์ทั้งหลายเป็นอริยะใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. กำลังของพระตถาคตมีสุญญตะเป็นอารมณ์ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. กำลังของพระตถาคตมีสุญญตะเป็นอารมณ์ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระตถาคตทรงใฝ่พระทัยถึงจุติ ปฏิสนธิของสัตว์ทั้งหลาย และสุญญตะ
ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระตถาคตทรงใฝ่พระทัยถึงจุติ ปฏิสนธิของสัตว์ทั้งหลาย และสุญญตะ
ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. มีการประชุมแห่งผัสสะ ๒ อย่าง จิต ๒ ดวงใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๓๔๙ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๓. ตติยวรรค] ๒. อริยันติกถา (๒๒)
สก. กำลังของพระตถาคตคือปรีชาหยั่งรู้ตามความเป็นจริงในจุติและปฏิสนธิ
ของสัตว์ทั้งหลายเป็นอริยะใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. กำลังของพระตถาคตมีอนิมิตตะเป็นอารมณ์ ฯลฯ มีอัปปณิหิตะเป็น
อารมณ์ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. กำลังของพระตถาคตมีอัปปณิหิตะเป็นอารมณ์ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระตถาคตทรงใฝ่พระทัยถึงจุติ ปฏิสนธิของสัตว์ทั้งหลาย และอัปปณิหิตะ
ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระตถาคตทรงใฝ่พระทัยถึงจุติ ปฏิสนธิของสัตว์ทั้งหลาย และ
อัปปณิหิตะใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. มีการประชุมแห่งผัสสะ ๒ อย่าง จิต ๒ ดวงใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๓๖๑] สก. สติปัฏฐานเป็นอริยะ มีสุญญตะเป็นอารมณ์ ฯลฯ มีอนิมิตตะ
เป็นอารมณ์ ฯลฯ มีอัปปณิหิตะเป็นอารมณ์ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. กำลังของพระตถาคตคือปรีชาหยั่งรู้ตามความเป็นจริงในจุติและปฏิสนธิของ
สัตว์ทั้งหลายเป็นอริยะ มีอัปปณิหิตะเป็นอารมณ์ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สัมมัปปธาน ฯลฯ โพชฌงค์เป็นอริยะ มีสุญญตะเป็นอารมณ์ ฯลฯ
มีอนิมิตตะเป็นอารมณ์ ฯลฯ มีอัปปณิหิตะเป็นอารมณ์ใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๓๕๐ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๓. ตติยวรรค] ๒. อริยันติกถา (๒๒)
สก. กำลังของพระตถาคตคือปรีชาหยั่งรู้ตามความเป็นจริงในจุติและปฏิสนธิ
ของสัตว์ทั้งหลายเป็นอริยะ มีอัปปณิหิตะเป็นอารมณ์ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. กำลังของพระตถาคตคือปรีชาหยั่งรู้ตามความเป็นจริงในจุติและปฏิสนธิ
ของสัตว์ทั้งหลายเป็นอริยะ แต่ท่านไม่ยอมรับว่า “มีสุญญตะเป็นอารมณ์ ฯลฯ
มีอนิมิตตะเป็นอารมณ์ ฯลฯ มีอัปปณิหิตะเป็นอารมณ์” ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สติปัฏฐานเป็นอริยะ แต่ท่านไม่ยอมรับว่า “มีอัปปณิหิตะเป็นอารมณ์”
ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๓๖๒] สก. กำลังของพระตถาคตคือปรีชาหยั่งรู้ตามความเป็นจริงในจุติและ
ปฏิสนธิของสัตว์ทั้งหลายเป็นอริยะ แต่ท่านไม่ยอมรับว่า “มีสุญญตะเป็นอารมณ์
ฯลฯ มีอนิมิตตะเป็นอารมณ์ ฯลฯ มีอัปปณิหิตะเป็นอารมณ์” ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สัมมัปปธาน ฯลฯ โพชฌงค์เป็นอริยะ แต่ท่านไม่ยอมรับว่า “มี
อัปปณิหิตะเป็นอารมณ์” ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. กำลังของพระตถาคตคือปรีชาหยั่งรู้ตามความเป็นจริงในความสิ้นไปแห่ง
อาสวะเป็นอริยะใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. กำลังของพระตถาคตคือปรีชาหยั่งรู้ตามความเป็นจริงในฐานะและอฐานะ
เป็นอริยะใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. กำลังของพระตถาคตคือปรีชาหยั่งรู้ตามความเป็นจริงในความสิ้นไปแห่ง
อาสวะเป็นอริยะใช่ไหม
สก. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๓๕๑ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๓. ตติยวรรค] ๒. อริยันติกถา (๒๒)
ปร. กำลังของพระตถาคตคือปรีชาหยั่งรู้ตามความเป็นจริงในจุติและปฏิสนธิ
ของสัตว์ทั้งหลายเป็นอริยะใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. กำลังของพระตถาคตคือปรีชาหยั่งรู้ตามความเป็นจริงในฐานะและอฐานะ
แต่ท่านไม่ยอมรับว่า “เป็นอริยะ” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. กำลังของพระตถาคตคือปรีชาหยั่งรู้ตามความเป็นจริงในความสิ้นไปแห่ง
อาสวะ แต่ท่านไม่ยอมรับว่า “เป็นอริยะ” ใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. กำลังของพระตถาคตคือปรีชาหยั่งรู้ตามความเป็นจริงในจุติและปฏิสนธิ
ของสัตว์ทั้งหลาย แต่ท่านไม่ยอมรับว่า “เป็นอริยะ” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. กำลังของพระตถาคตคือปรีชาหยั่งรู้ตามความเป็นจริงในความสิ้นไปแห่ง
อาสวะ แต่ท่านไม่ยอมรับว่า “เป็นอริยะ” ใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. กำลังของพระตถาคตคือปรีชาหยั่งรู้ตามความเป็นจริงในความสิ้นไปแห่ง
อาสวะเป็นอริยะ มีสุญญตะเป็นอารมณ์ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. กำลังของพระตถาคตคือปรีชาหยั่งรู้ตามความเป็นจริงในฐานะและอฐานะ
เป็นอริยะ มีสุญญตะเป็นอารมณ์ใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. กำลังของพระตถาคตคือปรีชาหยั่งรู้ตามความเป็นจริงในความสิ้นไปแห่ง
อาสวะเป็นอริยะ มีอนิมิตตะเป็นอารมณ์ ฯลฯ มี อัปปณิหิตะเป็นอารมณ์ใช่ไหม
สก. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๓๕๒ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๓. ตติยวรรค] ๒. อริยันติกถา (๒๒)
ปร. กำลังของพระตถาคตคือปรีชาหยั่งรู้ตามความเป็นจริงในฐานะและอฐานะ
เป็นอริยะ มีอัปปณิหิตะเป็นอารมณ์ใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. กำลังของพระตถาคตคือปรีชาหยั่งรู้ตามความเป็นจริงในความสิ้นไปแห่ง
อาสวะเป็นอริยะ มีสุญญตะเป็นอารมณ์ ฯลฯ มีอนิมิตตะเป็นอารมณ์ ฯลฯ มี
อัปปณิหิตะเป็นอารมณ์ใช่ไหม
สก. ใช่ ฯลฯ
ปร. กำลังของพระตถาคตคือปรีชาหยั่งรู้ตามความเป็นจริงในจุติและปฏิสนธิ
ของสัตว์ทั้งหลายเป็นอริยะ มีอัปปณิหิตะเป็นอารมณ์ใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. กำลังของพระตถาคตคือปรีชาหยั่งรู้ตามความเป็นจริงในฐานะและอฐานะ
เป็นอริยะ แต่ท่านไม่ยอมรับว่า “มีสุญญตะเป็นอารมณ์” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. กำลังของพระตถาคตคือปรีชาหยั่งรู้ตามความเป็นจริงในความสิ้นไปแห่ง
อาสวะเป็นอริยะ แต่ท่านไม่ยอมรับว่า “มีสุญญตะเป็นอารมณ์” ใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. กำลังของพระตถาคตคือปรีชาหยั่งรู้ตามความเป็นจริงในฐานะและอฐานะ
เป็นอริยะ แต่ท่านไม่ยอมรับว่า “มีอนิมิตตะเป็นอารมณ์ มีอัปปณิหิตะเป็นอารมณ์”
ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. กำลังของพระตถาคตคือปรีชาหยั่งรู้ตามความเป็นจริงในความสิ้นไปแห่ง
อาสวะเป็นอริยะ แต่ท่านไม่ยอมรับว่า “มีอัปปณิหิตะเป็นอารมณ์” ใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๓๕๓ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๓. ตติยวรรค] ๓. วิมุตติกถา (๒๓)
ปร. กำลังของพระตถาคตคือปรีชาหยั่งรู้ตามความเป็นจริงในจุติและปฏิสนธิของ
สัตว์ทั้งหลายเป็นอริยะ แต่ท่านไม่ยอมรับว่า “มีสุญญตะเป็นอารมณ์ มีอนิมิตตะ
เป็นอารมณ์ มีอัปปณิหิตะเป็นอารมณ์” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. กำลังของพระตถาคตคือปรีชาหยั่งรู้ตามความเป็นจริงในความสิ้นไปแห่ง
อาสวะเป็นอริยะ แต่ท่านไม่ยอมรับว่า “มีอัปปณิหิตะเป็นอารมณ์” ใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
อริยันติกถา จบ

๓. วิมุตติกถา (๒๓)
ว่าด้วยความหลุดพ้น
[๓๖๓] สก. จิตมีราคะหลุดพ้นได้ใช่ไหม
ปร.๑ใช่๒
สก. จิตที่สหรคตด้วยราคะ เกิดพร้อมกับราคะ ระคนด้วยราคะ สัมปยุตด้วย
ราคะ มีพร้อมกับราคะ เป็นไปตามราคะ เป็นอกุศล เป็นโลกิยะ เป็นอารมณ์ของ
อาสวะ เป็นอารมณ์ของสังโยชน์ เป็นอารมณ์ของคันถะ เป็นอารมณ์ของโอฆะ เป็น
อารมณ์ของโยคะ เป็นอารมณ์ของนิวรณ์ เป็นอารมณ์ของปรามาส เป็นอารมณ์ของ
อุปาทาน เป็นอารมณ์ของสังกิเลส หลุดพ้นได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น๓ ฯลฯ
สก. จิตมีผัสสะหลุดพ้นได้ ทั้งผัสสะและจิตหลุดพ้นได้ใช่ไหม
ปร. ใช่

เชิงอรรถ :
๑ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอันธกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๓๖๓/๑๘๙)
๒ เพราะมีความเห็นว่า จิตที่ปราศจากราคะแล้ว ก็ไม่มีประโยชน์อะไรที่จะต้องทำให้หลุดพ้นจากราคะ จิตที่มี
ราคะเท่านั้นจะต้องทำให้หลุดพ้นจากราคะเหมือนผ้าที่แปดเปื้อนเท่านั้นที่จะต้องซักให้สะอาด (อภิ.ปญฺจ.อ.
๓๖๓/๑๘๙)
๓ เพราะมีความเห็นว่า ในขณะแห่งมรรค จิตหลุดพ้นไม่ได้ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๓๖๓/๑๙๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๓๕๔ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๓. ตติยวรรค] ๓. วิมุตติกถา (๒๓)
สก. จิตมีราคะหลุดพ้นได้ ทั้งราคะและจิตหลุดพ้นได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. จิตมีเวทนา ฯลฯ มีสัญญา ฯลฯ มีเจตนา ฯลฯ มีปัญญาหลุดพ้นได้
ทั้งปัญญาและจิตหลุดพ้นได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. จิตมีราคะหลุดพ้นได้ ทั้งราคะและจิตหลุดพ้นได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. จิตมีผัสสะ มีราคะหลุดพ้นได้ ทั้งผัสสะและจิตหลุดพ้นได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ทั้งราคะและจิตหลุดพ้นได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. จิตมีเวทนา มีราคะ ฯลฯ มีสัญญา มีราคะ ฯลฯ มีเจตนา มีราคะ ฯลฯ
มีปัญญา มีราคะหลุดพ้นได้ ทั้งปัญญาและจิตหลุดพ้นได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ทั้งราคะและจิตหลุดพ้นได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๓๖๔] สก. จิตมีโทสะหลุดพ้นได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. จิตที่สหรคตด้วยโทสะ เกิดพร้อมกับโทสะ ระคนด้วยโทสะ สัมปยุตด้วย
โทสะ มีพร้อมกับโทสะ เป็นไปตามโทสะ เป็นอกุศล เป็นโลกิยะ เป็นอารมณ์ของ
อาสวะ ฯลฯ เป็นอารมณ์ของสังกิเลสหลุดพ้นได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. จิตมีผัสสะหลุดพ้นได้ ทั้งผัสสะและจิตหลุดพ้นได้ใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๓๕๕ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๓. ตติยวรรค] ๓. วิมุตติกถา (๒๓)
สก. จิตมีโทสะหลุดพ้นได้ ทั้งโทสะและจิตหลุดพ้นได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. จิตมีเวทนา ฯลฯ มีสัญญา ฯลฯ มีเจตนา ฯลฯ มีปัญญาหลุดพ้นได้
ทั้งปัญญาและจิตหลุดพ้นได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. จิตมีโทสะหลุดพ้นได้ ทั้งโทสะและจิตหลุดพ้นได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. จิตมีผัสสะ มีโทสะหลุดพ้นได้ ทั้งผัสสะและจิตหลุดพ้นได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. จิตมีโทสะหลุดพ้นได้ ทั้งโทสะและจิตหลุดพ้นได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. จิตมีเวทนา มีโทสะ ฯลฯ มีสัญญา มีโทสะ ฯลฯ มีเจตนา มีโทสะ ฯลฯ
มีปัญญา มีโทสะหลุดพ้นได้ ทั้งปัญญาและจิตหลุดพ้นได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ทั้งโทสะและจิตหลุดพ้นได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๓๖๕] สก. จิตมีโมหะหลุดพ้นได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. จิตที่สหรคตด้วยโมหะ เกิดพร้อมกับโมหะ ระคนด้วยโมหะ สัมปยุต
ด้วยโมหะ มีพร้อมกับโมหะ เป็นไปตามโมหะ เป็นอกุศล เป็นโลกิยะ เป็น
อารมณ์ของอาสวะ ฯลฯ เป็นอารมณ์ของสังกิเลสหลุดพ้นได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๓๕๖ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๓. ตติยวรรค] ๓. วิมุตติกถา (๒๓)
สก. จิตมีผัสสะหลุดพ้นได้ ทั้งผัสสะและจิตหลุดพ้นได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. จิตมีโมหะหลุดพ้นได้ ทั้งโมหะและจิตหลุดพ้นได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. จิตมีเวทนา ฯลฯ มีสัญญา ฯลฯ มีเจตนา ฯลฯ มีปัญญาหลุดพ้นได้
ทั้งปัญญาและจิตหลุดพ้นได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. จิตมีโมหะหลุดพ้นได้ ทั้งโมหะและจิตหลุดพ้นได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. จิตมีผัสสะ มีโมหะหลุดพ้นได้ ทั้งผัสสะและจิตหลุดพ้นได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ทั้งโมหะและจิตหลุดพ้นได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. จิตมีเวทนา มีโมหะ ฯลฯ มีสัญญา มีโมหะ ฯลฯ มีเจตนา มีโมหะ ฯลฯ
มีปัญญา มีโมหะหลุดพ้นได้ ทั้งปัญญาและจิตหลุดพ้นได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ทั้งโมหะและจิตหลุดพ้นได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. จิตมีราคะ มีโทสะ มีโมหะหลุดพ้นได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. จิตที่ปราศจากราคะ โทสะ โมหะ หมดกิเลสหลุดพ้นได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ดังนั้น ท่านจึงไม่ควรยอมรับว่า “จิตมีราคะ มีโทสะ มีโมหะหลุด
พ้นได้”

วิมุตติกถา จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๓๕๗ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๓. ตติยวรรค] ๔. วิมุจจมานกถา (๒๔)
๔. วิมุจจมานกถา (๒๔)
ว่าด้วยจิตกำลังหลุดพ้น
[๓๖๖] สก. จิตที่หลุดพ้นแล้ว ชื่อว่ากำลังหลุดพ้นใช่ไหม
ปร.๑ ใช่๒
สก. จิตที่หลุดพ้นแล้วส่วนหนึ่ง อีกส่วนหนึ่งยังไม่หลุดพ้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. จิตที่หลุดพ้นแล้วส่วนหนึ่ง อีกส่วนหนึ่งยังไม่หลุดพ้นใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลเป็นพระโสดาบันส่วนหนึ่ง อีกส่วนหนึ่งไม่เป็นพระโสดาบัน
เป็นผู้ถึง ได้ บรรลุ ทำให้แจ้ง เข้าถึงอยู่ สัมผัสโสดาปัตติผลด้วยกายอยู่ส่วนหนึ่ง
อีกส่วนหนึ่งไม่สัมผัสด้วยกายอยู่ เป็นพระโสดาบันผู้สัตตักขัตตุปรมะ โกลังโกละ
เอกพีชี ประกอบด้วยความเลื่อมใสที่ไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้า ฯลฯ ในพระธรรม
ฯลฯ ในพระสงฆ์ ฯลฯ ประกอบด้วยศีลที่พระอริยะชอบใจส่วนหนึ่ง อีกส่วน
หนึ่งไม่ประกอบด้วยศีลที่พระอริยะชอบใจใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. จิตที่หลุดพ้นแล้วส่วนหนึ่ง อีกส่วนหนึ่งยังไม่หลุดพ้นใช่ไหม
ปร. ใช่

เชิงอรรถ :
๑ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอันธกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๓๖๓/๑๘๙)
๒ เพราะมีความเห็นว่า การหลุดพ้นของจิตมี ๒ ช่วงตามลำดับ ช่วงที่ ๑ หลุดพ้นด้วยวิกขัมภนวิมุตติในฌาน
ช่วงที่ ๒ หลุดพ้นด้วยสมุจเฉทวิมุตติในขณะแห่งมรรค ช่วงที่ ๑ ละกิเลสได้เพียงบางส่วน ส่วนที่เหลือละ
ได้ในช่วงที่ ๒ คำว่า จิตที่หลุดพ้นแล้ว หมายถึงจิตที่หลุดพ้นในช่วงที่ ๑ ส่วนคำว่า กำลังหลุดพ้น หมายถึง
จิตในช่วงที่ ๒ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๓๖๖/๑๙๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๓๕๘ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๓. ตติยวรรค] ๔. วิมุจจมานกถา (๒๔)
สก. บุคคลเป็นพระสกทาคามีส่วนหนึ่ง อีกส่วนหนึ่งไม่เป็นพระสกทาคามี
เป็นผู้ถึง ได้ บรรลุ ทำให้แจ้ง เข้าถึงอยู่ สัมผัสสกทาคามิผลด้วยกายอยู่ส่วนหนึ่ง
อีกส่วนหนึ่งไม่สัมผัสด้วยกายอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. จิตที่หลุดพ้นแล้วส่วนหนึ่ง อีกส่วนหนึ่งยังไม่หลุดพ้นใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลเป็นพระอนาคามีส่วนหนึ่ง อีกส่วนหนึ่งไม่เป็นพระอนาคามี เป็น
ผู้ถึง ได้ บรรลุ ทำให้แจ้ง เข้าถึงอยู่ สัมผัสอนาคามิผลด้วยกายอยู่ส่วนหนึ่ง
อีกส่วนหนึ่งไม่สัมผัสด้วยกายอยู่ เป็นพระอนาคามีผู้อันตราปรินิพพายี ... ผู้
อุปหัจจปรินิพพายี ... ผู้อสังขารปรินิพพายี ... ผู้สสังขารปรินิพพายี ... ผู้
อุทธังโสโตอกนิฏฐคามีส่วนหนึ่ง อีกส่วนหนึ่งไม่เป็นพระอนาคามีผู้อุทธังโสโต-
อกนิฏฐคามีใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. จิตหลุดพ้นแล้วส่วนหนึ่ง อีกส่วนหนึ่งยังไม่หลุดพ้นใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลเป็นพระอรหันต์ส่วนหนึ่ง อีกส่วนหนึ่งไม่เป็นพระอรหันต์ เป็น
ผู้ถึง ได้ บรรลุ ทำให้แจ้ง เข้าถึงอยู่ สัมผัสอรหัตตผลด้วยกายอยู่ส่วนหนึ่ง อีก
ส่วนหนึ่งไม่สัมผัสด้วยกายอยู่ เป็นผู้ปราศจากราคะ โทสะ โมหะ ฯลฯ ทำให้แจ้ง
ธรรมที่ควรทำให้แจ้งส่วนหนึ่ง อีกส่วนหนึ่งไม่ทำให้แจ้งธรรมที่ควรทำให้แจ้งใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. จิตที่หลุดพ้นแล้ว ชื่อว่ากำลังหลุดพ้นใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. จิตหลุดพ้นแล้วในขณะเกิด ชื่อว่ากำลังหลุดพ้นในขณะดับใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๓๕๙ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๓. ตติยวรรค] ๔. วิมุจจมานกถา (๒๔)
[๓๖๗] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “จิตที่หลุดพ้นแล้ว ชื่อว่ากำลังหลุดพ้น” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “เมื่อบุคคลนั้นรู้เห็นอยู่อย่างนี้
จิตย่อมหลุดพ้นจากกามาสวะบ้าง จากภวาสวะบ้าง จากอวิชชาสวะบ้าง” ๑ มีอยู่จริง
มิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. ดังนั้น จิตที่หลุดพ้นแล้วจึงชื่อว่ากำลังหลุดพ้น
สก. จิตที่หลุดพ้นแล้ว ชื่อว่ากำลังหลุดพ้นใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “บุคคลนั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิ
บริสุทธิ์ผุดผ่อง ไม่มีกิเลสเพียงดังเนิน ปราศจากความเศร้าหมอง อ่อน เหมาะ
แก่การใช้งาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ย่อมน้อมจิตไปเพื่อญาณเป็นเครื่องสิ้น
อาสวะ”๒ มีอยู่จริงมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. ดังนั้น ท่านจึงไม่ควรยอมรับว่า “จิตที่หลุดพ้นแล้ว ชื่อว่ากำลังหลุดพ้น”
สก. จิตที่กำลังหลุดพ้นมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. จิตที่กำลังกำหนัด ขัดเคือง หลง เศร้าหมองมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

เชิงอรรถ :
๑-๒ ดูเทียบ ม.อุ. (แปล) ๑๔/๒๒๑/๒๔๕, องฺ.ติก. (แปล) ๒๐/๗๑/๒๘๓

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๓๖๐ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๓. ตติยวรรค] ๕. อัฏฐมกกถา (๒๕)
สก. จิตที่กำหนัดและไม่กำหนัด ขัดเคืองและไม่ขัดเคือง หลงและไม่หลง
ขาดและไม่ขาด แตกดับและไม่แตกดับ ถูกปัจจัยปรุงแต่งและไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง
มีอยู่มิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากจิตที่กำหนัดและไม่กำหนัด ขัดเคืองและไม่ขัดเคือง หลงและ
ไม่หลง ขาดและไม่ขาด แตกดับและไม่แตกดับ ถูกปัจจัยปรุงแต่งและไม่ถูกปัจจัย
ปรุงแต่งมีอยู่ ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “จิตที่กำลังหลุดพ้นมีอยู่”
วิมุจจมานกถา จบ

๕. อัฏฐมกกถา (๒๕)
ว่าด้วยบุคคลที่ ๘
[๓๖๘] สก. บุคคลที่ ๘๑ ละทิฏฐิปริยุฏฐานได้แล้วใช่ไหม
ปร.๒ ใช่๓
สก. บุคคลที่ ๘ เป็นพระโสดาบัน เป็นผู้ถึง ได้ บรรลุ ทำให้แจ้ง เข้าถึงอยู่
สัมผัสโสดาปัตติผลด้วยกายอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลที่ ๘ ละวิจิกิจฉาปริยุฏฐานได้แล้วใช่ไหม
ปร. ใช่

เชิงอรรถ :
๑ บุคคลที่ ๘ หมายถึงพระอริยบุคคลผู้ตั้งอยู่ในโสดาปัตติมรรค (อภิ.ปญฺจ.อ. ๓๖๘/๑๙๕)
๒ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอันธกะและนิกายสมิติยะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๓๖๘/๑๙๕)
๓ เพราะมีความเห็นว่า ก่อนที่โสดาปัตติมรรคจิตจะเกิด อนุโลมญาณและโคตรภูญาณได้ละทิฏฐิและวิจิกิจฉา
ไปแล้ว ดังนั้น ในขณะโสดาปัตติมรรคจะบอกว่ากำลังละทิฏฐิและวิจิกิจฉาไม่ได้ แต่จะต้องบอกว่าได้ละ
ทิฏฐิและวิจิกิจฉาไปแล้ว (อภิ.ปญฺจ.อ. ๓๖๘/๑๙๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๓๖๑ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๓. ตติยวรรค] ๕. อัฏฐมกกถา (๒๕)
สก. บุคคลที่ ๘ เป็นพระโสดาบัน เป็นผู้ถึง ฯลฯ สัมผัสโสดาปัตติผลด้วย
กายอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลที่ ๘ ละทิฏฐิปริยุฏฐานได้แล้วใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลที่ ๘ ละทิฏฐานุสัยได้แล้วใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลที่ ๘ ละทิฏฐิปริยุฏฐานได้แล้วใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลที่ ๘ ละวิจิกิจฉานุสัย ฯลฯ สีลัพพตปรามาสได้แล้วใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลที่ ๘ ละวิจิกิจฉาปริยุฏฐานได้แล้วใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลที่ ๘ ละวิจิกิจฉานุสัยได้แล้วใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลที่ ๘ ละวิจิกิจฉาปริยุฏฐานได้แล้วใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลที่ ๘ ละทิฏฐานุสัย ฯลฯ สีลัพพตปรามาสได้แล้วใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลที่ ๘ ยังละทิฏฐานุสัยไม่ได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลที่ ๘ ยังละทิฏฐิปริยุฏฐานไม่ได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๓๖๒ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๓. ตติยวรรค] ๕. อัฏฐมกกถา (๒๕)
สก. บุคคลที่ ๘ ยังละทิฏฐานุสัยไม่ได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลที่ ๘ ยังละวิจิกิจฉาปริยุฏฐานไม่ได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลที่ ๘ ยังละวิจิกิจฉานุสัย ฯลฯ สีลัพพตปรามาสไม่ได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลที่ ๘ ยังละทิฏฐิปริยุฏฐานไม่ได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลที่ ๘ ยังละสีลัพพตปรามาสไม่ได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลที่ ๘ ยังละวิจิกิจฉาปริยุฏฐานไม่ได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๓๖๙] สก. บุคคลที่ ๘ ละทิฏฐิปริยุฏฐานได้แล้วใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลที่ ๘ เจริญมรรคเพื่อละทิฏฐิปริยุฏฐานใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลที่ ๘ ละทิฏฐิปริยุฏฐานได้แล้วใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลที่ ๘ เจริญสติปัฏฐาน ฯลฯ สัมมัปปธาน ฯลฯ โพชฌงค์
เพื่อละทิฏฐิปริยุฏฐานใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลที่ ๘ ละวิจิกิจฉาปริยุฏฐานได้แล้วใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๓๖๓ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๓. ตติยวรรค] ๕. อัฏฐมกกถา (๒๕)
สก. บุคคลที่ ๘ เจริญมรรค ฯลฯ เจริญโพชฌงค์ เพื่อละวิจิกิจฉาปริยุฏฐาน
ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลที่ ๘ ไม่เจริญมรรคเพื่อละทิฏฐิปริยุฏฐานใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลที่ ๘ ละทิฏฐิปริยุฏฐานได้แล้วด้วยสภาวธรรมที่มิใช่มรรค เป็น
โลกิยะ เป็นอารมณ์ของอาสวะ ฯลฯ เป็นอารมณ์ของสังกิเลสใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลที่ ๘ ไม่เจริญสติปัฏฐาน ฯลฯ ไม่เจริญโพชฌงค์ เพื่อละ
ทิฏฐิปริยุฏฐานใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลที่ ๘ ละทิฏฐิปริยุฏฐานได้แล้วด้วยสภาวธรรมที่มิใช่มรรค เป็น
โลกิยะ เป็นอารมณ์ของอาสวะ ฯลฯ เป็นอารมณ์ของสังกิเลสใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลที่ ๘ ไม่เจริญมรรค ฯลฯ ไม่เจริญสติปัฏฐาน ฯลฯ ไม่เจริญ
โพชฌงค์ เพื่อละวิจิกิจฉาปริยุฏฐานใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลที่ ๘ ละวิจิกิจฉาปริยุฏฐานได้แล้วด้วยสภาวธรรมที่มิใช่มรรค
เป็นโลกิยะ เป็นอารมณ์ของอาสวะ ฯลฯ เป็นอารมณ์ของสังกิเลสใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๓๗๐] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “บุคคลที่ ๘ ละทิฏฐิปริยุฏฐานได้แล้ว”
ใช่ไหม
สก. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๓๖๔ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๓. ตติยวรรค] ๕. อัฏฐมกกถา (๒๕)
ปร. ทิฏฐิปริยุฏฐานจักเกิดขึ้นใช่ไหม
สก. จักไม่เกิดขึ้น
ปร. หากจักไม่เกิดขึ้น ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “บุคคลที่ ๘ ละ
ทิฏฐิปริยุฏฐานได้แล้ว”
ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “บุคคลที่ ๘ ละวิจิกิจฉาปริยุฏฐานได้แล้ว” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. วิจิกิจฉาปริยุฏฐานจักเกิดขึ้นใช่ไหม
สก. จักไม่เกิดขึ้น
ปร. หากจักไม่เกิดขึ้น ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “บุคคลที่ ๘ ละ
วิจิกิจฉาปริยุฏฐานได้แล้ว”
สก. เพราะท่านเข้าใจว่า “ทิฏฐิปริยุฏฐานจักไม่เกิดขึ้นแก่บุคคลที่ ๘” จึงยอม
รับว่า “บุคคลที่ ๘ ละทิฏฐิปริยุฏฐานได้แล้ว” ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เพราะท่านเข้าใจว่า “ทิฏฐานุสัยจักไม่เกิดขึ้นแก่บุคคลที่ ๘” จึงยอมรับว่า
“บุคคลที่ ๘ ละทิฏฐานุสัยได้แล้ว” ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เพราะท่านเข้าใจว่า “ทิฏฐิปริยุฏฐานจักไม่เกิดขึ้นแก่บุคคลที่ ๘” จึงยอม
รับว่า “บุคคลที่ ๘ ละทิฏฐิปริยุฏฐานได้แล้ว” ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เพราะท่านเข้าใจว่า “วิจิกิจฉานุสัย ฯลฯ สีลัพพตปรามาสจักไม่เกิด
ขึ้นแก่บุคคลที่ ๘” จึงยอมรับว่า “บุคคลที่ ๘ ละวิจิกิจฉานุสัย ฯลฯ สีลัพพต-
ปรามาสได้แล้ว” ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๓๖๕ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๓. ตติยวรรค] ๕. อัฏฐมกกถา (๒๕)
สก. เพราะท่านเข้าใจว่า “วิจิกิจฉาปริยุฏฐานจักไม่เกิดขึ้นแก่บุคคลที่ ๘”
จึงยอมรับว่า “บุคคลที่ ๘ ละวิจิกิจฉาปริยุฏฐานได้แล้ว” ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เพราะท่านเข้าใจว่า “วิจิกิจฉา ฯลฯ สีลัพพตปรามาส จักไม่เกิดขึ้นแก่
บุคคลที่ ๘” จึงยอมรับว่า “บุคคลที่ ๘ ละวิจิกิจฉานุสัย ฯลฯ สีลัพพตปรามาส
ได้แล้ว” ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เพราะท่านเข้าใจว่า “ทิฏฐิปริยุฏฐานจักไม่เกิดขึ้นแก่บุคคลที่ ๘” จึงยอม
รับว่า “บุคคลที่ ๘ ละทิฏฐิปริยุฏฐานได้แล้ว” ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เพราะท่านเข้าใจว่า “ทิฏฐิปริยุฏฐานจักไม่เกิดขึ้นแก่โคตรภูบุคคล”
จึงยอมรับว่า “โคตรภูบุคคลละทิฏฐิปริยุฏฐานได้แล้ว” ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เพราะท่านเข้าใจว่า “วิจิกิจฉาปริยุฏฐานจักไม่เกิดขึ้นแก่บุคคลที่ ๘”
จึงยอมรับว่า “บุคคลที่ ๘ ละวิจิกิจฉาปริยุฏฐานได้แล้ว” ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เพราะท่านเข้าใจว่า “วิจิกิจฉาปริยุฏฐานจักไม่เกิดขึ้นแก่โคตรภูบุคคล”
จึงยอมรับว่า “โคตรภูบุคคลละวิจิกิจฉาปริยุฏฐานได้แล้ว” ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

อัฏฐมกกถา จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๓๖๖ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๓. ตติยวรรค] ๖. อัฏฐมกัสสอินทริยกถา (๒๖)
๖. อัฏฐมกัสสอินทริยกถา (๒๖)
ว่าด้วยอินทรีย์ของบุคคลที่ ๘
[๓๗๑] สก. บุคคลที่ ๘ ไม่มีสัทธินทรีย์ใช่ไหม
ปร.๑ ใช่๒
สก. บุคคลที่ ๘ ไม่มีศรัทธาใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลที่ ๘ ไม่มีวิริยินทรีย์ ฯลฯ ไม่มีสตินทรีย์ ฯลฯ ไม่มีสมาธินทรีย์
ฯลฯ ไม่มีปัญญินทรีย์ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลที่ ๘ ไม่มีปัญญาใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลที่ ๘ มีศรัทธาใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลที่ ๘ มีสัทธินทรีย์ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลที่ ๘ มีวิริยะ ฯลฯ มีสติ ฯลฯ มีสมาธิ ฯลฯ มีปัญญาใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลที่ ๘ มีปัญญินทรีย์ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

เชิงอรรถ :
๑ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอันธกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๓๗๑/๑๙๖)
๒ เพราะมีความเห็นว่า ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ และปัญญาที่มีอยู่ในโสดาปัตติมัคคัฏฐบุคคล ไม่เรียก
ว่าเป็นอินทรีย์ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๓๗๑/๑๙๖)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๓๖๗ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๓. ตติยวรรค] ๖. อัฏฐมกัสสอินทริยกถา (๒๖)
สก. บุคคลที่ ๘ มีมโน มีมนินทรีย์ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลที่ ๘ มีศรัทธา มีสัทธินทรีย์ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลที่ ๘ มีมโน มีมนินทรีย์ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลที่ ๘ มีปัญญา มีปัญญินทรีย์ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลที่ ๘ มีโสมนัส มีโสมนัสสินทรีย์ ฯลฯ มีชีวิต มีชีวิตินทรีย์ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลที่ ๘ มีศรัทธา มีสัทธินทรีย์ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลที่ ๘ มีชีวิต มีชีวิตินทรีย์ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลที่ ๘ มีวิริยะ ฯลฯ มีปัญญา มีปัญญินทรีย์ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลที่ ๘ มีศรัทธา แต่ไม่มีสัทธินทรีย์ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลที่ ๘ มีมโน แต่ไม่มีมนินทรีย์ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลที่ ๘ มีศรัทธา แต่ไม่มีสัทธินทรีย์ใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๓๖๘ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๓. ตติยวรรค] ๖. อัฏฐมกัสสอินทริยกถา (๒๖)
สก. บุคคลที่ ๘ มีโสมนัส แต่ไม่มีโสมนัสสินทรีย์ ฯลฯ มีชีวิต แต่ไม่มี
ชีวิตินทรีย์ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลที่ ๘ มีปัญญา แต่ไม่มีปัญญินทรีย์ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลที่ ๘ มีมโน แต่ไม่มีมนินทรีย์ ฯลฯ มีโสมนัส แต่ไม่มี
โสมนัสสินทรีย์ ฯลฯ มีชีวิต แต่ไม่มีชีวิตินทรีย์ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลที่ ๘ ไม่มีสัทธินทรีย์ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลที่ ๘ ไม่มีศรัทธาใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลที่ ๘ ไม่มีวิริยินทรีย์ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลที่ ๘ เป็นผู้เกียจคร้าน มีความเพียรย่อหย่อนใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลที่ ๘ ไม่มีสตินทรีย์ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลที่ ๘ เป็นผู้หลงลืมสติ ไม่มีสัมปชัญญะใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลที่ ๘ ไม่มีสมาธินทรีย์ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลที่ ๘ เป็นผู้ไม่มีสมาธิ มีจิตหวั่นไหวใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๓๖๙ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๓. ตติยวรรค] ๖. อัฏฐมกัสสอินทริยกถา (๒๖)
สก. บุคคลที่ ๘ ไม่มีปัญญินทรีย์ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลที่ ๘ เป็นผู้ด้อยปัญญา เป็นผู้หนวกใบ้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลที่ ๘ มีศรัทธา และศรัทธานั้นเป็นเหตุนำออกจากทุกข์ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. หากบุคคลที่ ๘ มีศรัทธา และศรัทธานั้นเป็นเหตุนำออกจากทุกข์
ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “บุคคลที่ ๘ ไม่มีสัทธินทรีย์”
สก. บุคคลที่ ๘ มีความเพียร และความเพียรนั้นเป็นเหตุนำออกจากทุกข์
ฯลฯ มีสติ และสตินั้นเป็นเหตุนำออกจากทุกข์ ฯลฯ มีสมาธิ และสมาธินั้นเป็น
เหตุนำออกจากทุกข์ ฯลฯ มีปัญญา และปัญญานั้นเป็นเหตุนำออกจากทุกข์ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. หากบุคคลที่ ๘ มีปัญญา และปัญญานั้นเป็นเหตุนำออกจากทุกข์
ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “บุคคลที่ ๘ ไม่มีปัญญินทรีย์”
[๓๗๒] สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งสกทาคามิผล มีศรัทธา มี
สัทธินทรีย์ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลที่ ๘ มีศรัทธา มีสัทธินทรีย์ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งสกทาคามิผล มีปัญญา มีปัญญินทรีย์ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลที่ ๘ มีปัญญา มีปัญญินทรีย์ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๓๗๐ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๓. ตติยวรรค] ๖. อัฏฐมกัสสอินทริยกถา (๒๖)
สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอนาคามิผล ฯลฯ เพื่อทำให้แจ้งอรหัตตผล
มีศรัทธา มีสัทธินทรีย์ ฯลฯ มีปัญญา มีปัญญินทรีย์ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลที่ ๘ มีปัญญา มีปัญญินทรีย์ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลที่ ๘ มีศรัทธา แต่ไม่มีสัทธินทรีย์ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งสกทาคามิผล มีศรัทธา แต่ไม่มีสัทธินทรีย์
ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลที่ ๘ มีปัญญา แต่ไม่มีปัญญินทรีย์ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งสกทาคามิผล มีปัญญา แต่ไม่มีปัญญินทรีย์
ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลที่ ๘ มีศรัทธา แต่ไม่มีสัทธินทรีย์ ฯลฯ มีปัญญา แต่ไม่มี
ปัญญินทรีย์ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอนาคามิผล ฯลฯ อรหัตตผล มีปัญญา
แต่ไม่มีปัญญินทรีย์ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลที่ ๘ ไม่มีอินทรีย์ ๕ ใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๓๗๑ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๓. ตติยวรรค] ๖. อัฏฐมกัสสอินทริยกถา (๒๖)
สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้
๕ ประการอะไรบ้าง คือ (๑) สัทธินทรีย์ (๒) วิริยินทรีย์ (๓) สตินทรีย์ (๔)
สมาธินทรีย์ (๕) ปัญญินทรีย์ ภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้แล บุคคล
เป็นพระอรหันต์เพราะมีอินทรีย์ ๕ ประการนี้ครบถ้วนบริบูรณ์ เป็นผู้ปฏิบัติเพื่อ
ทำให้แจ้งอรหัตตผล เพราะมีอินทรีย์อ่อนกว่าพระอรหันต์นั้น เป็นพระอนาคามี
เพราะมีอินทรีย์อ่อนกว่าผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอรหัตตผลนั้น เป็นผู้ปฏิบัติเพื่อ
ทำให้แจ้งอนาคามิผล เพราะมีอินทรีย์อ่อนกว่าพระอนาคามีนั้น เป็นพระสกทาคามี
เพราะมีอินทรีย์อ่อนกว่าผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอนาคามิผลนั้น เป็นผู้ปฏิบัติเพื่อ
ทำให้แจ้งสกทาคามิผล เพราะมีอินทรีย์อ่อนกว่าพระสกทาคามีนั้น เป็นพระ
โสดาบัน เพราะมีอินทรีย์อ่อนกว่าผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งสกทาคามิผลนั้น เป็นผู้
ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งโสดาปัตติผล เพราะมีอินทรีย์อ่อนกว่าพระโสดาบันนั้น ภิกษุ
ทั้งหลาย ผู้ใดไม่มีอินทรีย์ ๕ ประการนี้ โดยประการทั้งปวง ผู้นั้นเราเรียกว่า
เป็นคนภายนอก ตั้งอยู่ในฝ่ายปุถุชน”๑ มีอยู่จริงมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. บุคคลที่ ๘ เป็นคนภายนอก ตั้งอยู่ในฝ่ายปุถุชนใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ดังนั้น บุคคลที่ ๘ จึงมีอินทรีย์ ๕

อัฏฐมกัสสอินทริยกถา จบ

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ สํ.ม. (แปล) ๑๙/๔๘๘/๒๘๕

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๓๗๒ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๓. ตติยวรรค] ๗. ทิพพจักขุกถา (๒๗)
๗. ทิพพจักขุกถา (๒๗)
ว่าด้วยทิพยจักษุ
[๓๗๓] สก. มังสจักษุ(ตาเนื้อ)ที่ธรรม๑ อุปถัมภ์แล้วเป็นทิพยจักษุ(ตาทิพย์)
ได้ใช่ไหม
ปร.๒ ใช่๓
สก. มังสจักษุคือทิพยจักษุ ทิพยจักษุก็คือมังสจักษุใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. มังสจักษุที่ธรรมอุปถัมภ์แล้วเป็นทิพยจักษุได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. มังสจักษุมีสภาพอย่างไร ทิพยจักษุก็มีสภาพอย่างนั้น ทิพยจักษุมีสภาพ
อย่างไร มังสจักษุก็มีสภาพอย่างนั้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. มังสจักษุที่ธรรมอุปถัมภ์แล้วเป็นทิพยจักษุได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. มังสจักษุกับทิพยจักษุเป็นอันเดียวกัน ทิพยจักษุกับมังสจักษุก็เป็นอัน
เดียวกันใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

เชิงอรรถ :
๑ ธรรม ในที่นี้หมายถึงจตุตถฌาน (อภิ.ปญฺจ.อ. ๓๗๓/๑๙๖)
๒ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอันธกะและนิกายสมิติยะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๓๗๓/๑๙๖)
๓ เพราะมีความเห็นว่า ดวงตาปกติของบุคคลผู้เข้าถึงจตุตถฌาน ท่านเรียกว่า ทิพยจักษุ อันเป็นข้อ ๑ ใน
อภิญญา ๖ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๓๗๓/๑๙๖)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๓๗๓ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๓. ตติยวรรค] ๗. ทิพพจักขุกถา (๒๗)
สก. มังสจักษุที่ธรรมอุปถัมภ์แล้วเป็นทิพยจักษุได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. วิสัย อานุภาพ โคจรของมังสจักษุมีสภาพอย่างไร วิสัย อานุภาพ โคจร
ของทิพยจักษุก็มีสภาพอย่างนั้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. มังสจักษุที่ธรรมอุปถัมภ์แล้วเป็นทิพยจักษุได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. มังสจักษุเป็นสภาวธรรมที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาทิฏฐิยึดถือแล้ว
เป็นสภาวธรรมที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาทิฏฐิไม่ยึดถือได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. มังสจักษุเป็นสภาวธรรมที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาทิฏฐิยึดถือแล้ว
เป็นสภาวธรรมที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาทิฏฐิไม่ยึดถือได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. มังสจักษุเป็นกามาวจรแล้วเป็นรูปาวจรได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. มังสจักษุเป็นกามาวจรแล้วเป็นรูปาวจรได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. มังสจักษุเป็นรูปาวจรแล้วเป็นอรูปาวจรได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. มังสจักษุเป็นรูปาวจรแล้วเป็นอรูปาวจรได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. มังสจักษุเป็นสภาวธรรมที่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์แล้วเป็นสภาวธรรมที่ไม่
นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๓๗๔ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๓. ตติยวรรค] ๗. ทิพพจักขุกถา (๒๗)
[๓๗๔] สก. มังสจักษุที่ธรรม๑ อุปถัมภ์แล้วเป็นทิพยจักษุได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ทิพยจักษุที่ธรรมอุปถัมภ์แล้วเป็นมังสจักษุได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. มังสจักษุที่ธรรม๒ อุปถัมภ์แล้วเป็นทิพยจักษุได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ทิพยจักษุที่ธรรมอุปถัมภ์แล้วเป็นปัญญาจักษุ(ตาปัญญา)ได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. มังสจักษุที่ธรรมอุปถัมภ์แล้วเป็นทิพยจักษุได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ทิพยจักษุที่ธรรมอุปถัมภ์แล้วเป็นปัญญาจักษุได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. มังสจักษุที่ธรรมอุปถัมภ์แล้วเป็นทิพยจักษุได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. จักษุมี ๒ อย่างเท่านั้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. จักษุมี ๒ อย่างเท่านั้นใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. จักษุ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “มี ๓ อย่าง คือ มังสจักษุ ทิพยจักษุ
และปัญญาจักษุ” มิใช่หรือ
ปร. ใช่

เชิงอรรถ :
๑ ธรรม ในที่นี้หมายถึงกามาวจรธรรม (อภิ.ปญฺจ.อ. ๓๗๔/๑๙๗)
๒ ธรรม ในที่นี้หมายถึงโลกุตตรธรรม (อภิ.ปญฺจ.อ. ๓๗๔/๑๙๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๓๗๕ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๓. ตติยวรรค] ๗. ทิพพจักขุกถา (๒๗)
สก. หากจักษุ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “มี ๓ อย่าง คือ (๑) มังสจักษุ
(๒) ทิพยจักษุ (๓) ปัญญาจักษุ” ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “จักษุมี ๒ อย่างเท่านั้น”
สก. จักษุมี ๒ อย่างเท่านั้นใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย จักษุนี้มี ๓ อย่าง
๓ อย่างอะไรบ้าง คือ (๑) มังสจักษุ (๒) ทิพยจักษุ (๓) ปัญญาจักษุ
จักษุมี ๓ อย่างนี้แล
พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้อุดมบุรุษ
ได้ตรัสจักษุ ๓ อย่าง คือ มังสจักษุ ทิพยจักษุ
และปัญญาจักษุอันยอดเยี่ยม
ความเกิดขึ้นแห่งมังสจักษุเป็นทางแห่งทิพยจักษุ
เมื่อใด ญาณคือปัญญาจักษุอันยอดเยี่ยมเกิดขึ้น
เมื่อนั้น ย่อมหลุดพ้นจากทุกข์ทั้งปวงได้
เพราะได้ปัญญาจักษุ”๑
มีอยู่จริงมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. ดังนั้น ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “จักษุมี ๒ อย่างเท่านั้น”

ทิพพจักขุกถา จบ

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ ขุ.อิติ. (แปล) ๒๕/๖๑/๔๑๖-๔๑๗

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๓๗๖ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๓. ตติยวรรค] ๘. ทิพพโสตกถา (๒๘)
๘. ทิพพโสตกถา (๒๘)
ว่าด้วยทิพยโสตะ
[๓๗๕] สก. มังสโสตะที่ธรรมอุปถัมภ์แล้วเป็นทิพยโสตะได้ใช่ไหม
ปร.๑ ใช่
สก. มังสโสตะคือทิพยโสตะ ทิพยโสตะก็คือมังสโสตะใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. มังสโสตะที่ธรรมอุปถัมภ์แล้วเป็นทิพยโสตะได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. มังสโสตะมีสภาพอย่างไร ทิพยโสตะก็มีสภาพอย่างนั้น ทิพยโสตะมี
สภาพอย่างไร มังสโสตะก็มีสภาพอย่างนั้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. มังสโสตะที่ธรรมอุปถัมภ์แล้วเป็นทิพยโสตะได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. มังสโสตะกับทิพยโสตะเป็นอันเดียวกัน ทิพยโสตะกับมังสโสตะก็เป็นอัน
เดียวกันใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. มังสโสตะที่ธรรมอุปถัมภ์แล้วเป็นทิพยโสตะได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. วิสัย อานุภาพ โคจรของมังสโสตะมีสภาพอย่างไร วิสัย อานุภาพ
โคจรของทิพยโสตะก็มีสภาพอย่างนั้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

เชิงอรรถ :
๑ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอันธกะ และนิกายสมิติยะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๓๗๓/๑๙๖)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๓๗๗ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๓. ตติยวรรค] ๘. ทิพพโสตกถา (๒๘)
สก. มังสโสตะที่ธรรมอุปถัมภ์แล้วเป็นทิพยโสตะได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. มังสโสตะเป็นสภาวธรรมที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาทิฏฐิยึดถือแล้ว
เป็นสภาวธรรมที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาทิฏฐิไม่ยึดถือได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. มังสโสตะเป็นสภาวธรรมที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาทิฏฐิยึดถือแล้ว
เป็นสภาวธรรมที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาทิฏฐิไม่ยึดถือได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. มังสโสตะเป็นกามาวจรแล้วเป็นรูปาวจรได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. มังสโสตะเป็นกามาวจรแล้วเป็นรูปาวจรได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. มังสโสตะเป็นรูปาวจรแล้วเป็นอรูปาวจรได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. มังสโสตะเป็นรูปาวจรแล้วเป็นอรูปาวจรได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. มังสโสตะเป็นสภาวธรรมที่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์แล้วเป็นสภาวธรรมที่ไม่
นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๓๗๖] สก. มังสโสตะที่ธรรมอุปถัมภ์แล้วเป็นทิพยโสตะได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ทิพยโสตะที่ธรรมอุปถัมภ์แล้วเป็นมังสโสตะได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. มังสโสตะที่ธรรมอุปถัมภ์แล้วเป็นทิพยโสตะได้ใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๓๗๘ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๓. ตติยวรรค] ๙. ยถากัมมูปคตญาณกถา (๒๙)
สก. โสตะมีอย่างเดียวเท่านั้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. โสตะมีอย่างเดียวเท่านั้นใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. โสตะ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “มี ๒ อย่างคือ มังสโสตะและทิพยโสตะ”
มิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากโสตะ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “มี ๒ อย่าง คือ มังสโสตะและ
ทิพยโสตะ” ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “โสตะมีอย่างเดียวเท่านั้น”
ทิพพโสตกถา จบ

๙. ยถากัมมูปคตญาณกถา (๒๙)
ว่าด้วยยถากัมมูปคตญาณ
[๓๗๗] สก. ยถากัมมูปคตญาณ๑ เป็นทิพยจักษุใช่ไหม
ปร.๒ ใช่
สก. บุคคลมนสิการถึงสัตว์ที่เป็นไปตามกรรมและเห็นรูปได้ด้วยทิพยจักษุใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลมนสิการถึงสัตว์ที่เป็นไปตามกรรมและเห็นรูปได้ด้วยทิพยจักษุใช่ไหม
ปร. ใช่

เชิงอรรถ :
๑ ยถากัมมูปคตญาณ หมายถึงปรีชาหยั่งรู้ถึงสัตว์ผู้เป็นไปตามกรรม (อภิ.ปญฺจ.อ. ๓๗๗/๑๙๘)
๒ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอันธกะ และนิกายสมิติยะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๓๗๓/๑๙๖)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๓๗๙ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๓. ตติยวรรค] ๙. ยถากัมมูปคตญาณกถา (๒๙)
สก. มีการประชุมแห่งผัสสะ ๒ อย่าง จิต ๒ ดวงใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ยถากัมมูปคตญาณเป็นทิพยจักษุใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลมนสิการว่า “ท่านผู้เจริญทั้งหลาย สัตว์เหล่านี้หนอ มนสิการว่า
‘ประกอบกายทุจริต’ มนสิการว่า ‘ประกอบวจีทุจริต’ มนสิการว่า ‘ประกอบ
มโนทุจริต’ มนสิการว่า ‘เป็นผู้กล่าวร้ายพระอริยะ’ มนสิการว่า ‘มีความเห็นผิด’
มนสิการว่า ‘ชักชวนผู้อื่นให้ทำกรรมตามความเห็นผิด’ และมนสิการว่า ‘หลังจาก
ตายแล้ว สัตว์เหล่านั้นก็ไปบังเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก”
บุคคลมนสิการว่า “ท่านผู้เจริญทั้งหลาย สัตว์เหล่านี้ มนสิการว่า
‘ประกอบกายสุจริต’ มนสิการว่า ‘ประกอบวจีสุจริต’ มนสิการว่า ‘ประกอบ
มโนสุจริต’ มนสิการว่า ‘ไม่กล่าวร้ายพระอริยะ’ มนสิการว่า ‘มีความเห็นชอบ’
มนสิการว่า ‘ชักชวนผู้อื่นให้ทำกรรมตามความเห็นชอบ’ และมนสิการว่า ‘หลังจาก
ตายแล้ว สัตว์เหล่านั้นก็ไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์” เห็นรูปด้วยทิพยจักษุใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลมนสิการว่า “หลังจากตายแล้วสัตว์เหล่านั้นก็ไปบังเกิดในสุคติ
โลกสวรรค์” เห็นรูปได้ด้วยทิพยจักษุใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. มีการประชุมแห่งผัสสะ ๒ อย่าง จิต ๒ ดวงใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๓๗๘] สก. ยถากัมมูปคตญาณเป็นทิพยจักษุใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๓๘๐ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๓. ตติยวรรค] ๙. ยถากัมมูปคตญาณกถา (๒๙)
สก. บางคนไม่มีทิพยจักษุ ไม่ได้ ไม่บรรลุ ไม่ได้ทำให้แจ้งทิพยจักษุ แต่รู้ว่า
“สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรมมีอยู่” ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. หากบางคนไม่มีทิพยจักษุ ไม่ได้ ไม่บรรลุ ไม่ทำให้แจ้งทิพยจักษุ แต่รู้
ว่า “สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรมมีอยู่” ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “ยถากัมมูปคตญาณ
เป็นทิพยจักษุ”
สก. ยถากัมมูปคตญาณเป็นทิพยจักษุใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ท่านพระสารีบุตรรู้ยถากัมมูปคตญาณใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. หากท่านพระสารีบุตรรู้ยถากัมมูปคตญาณ ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า
“ยถากัมมูปคตญาณเป็นทิพยจักษุ”
สก. ยถากัมมูปคตญาณเป็นทิพยจักษุใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ท่านพระสารีบุตรรู้ยถากัมมูปคตญาณใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ท่านพระสารีบุตรมีทิพยจักษุใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ท่านพระสารีบุตรมีทิพยจักษุใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสูตรที่ว่า “ท่านพระสารีบุตรได้กล่าวไว้ดังนี้ว่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๓๘๑ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๓. ตติยวรรค] ๑๐. สังวรกถา (๓๐)
เราไม่ได้ตั้งความปรารถนาไว้เพื่อปุพเพนิวาสญาณ๑
ทิพพจักขุญาณ๒ เจโตปริยญาณ๓ อิทธิวิธญาณ๔
ทิพพโสตญาณ๕ และจุตูปปาตญาณ”๖
มีอยู่จริงมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. ดังนั้น ท่านจึงไม่ควรยอมรับว่า “ยถากัมมูปคตญาณเป็นทิพยจักษุ”
ยถากัมมูปคตญาณกถา จบ

๑๐. สังวรกถา (๓๐)
ว่าด้วยความสำรวม
[๓๗๙] สก. ความสำรวม๗มีอยู่ในหมู่เทวดา๘ ใช่ไหม
ปร.๙ ใช่
สก. ความไม่สำรวมมีอยู่ในหมู่เทวดาใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ความไม่สำรวมไม่มีในหมู่เทวดาใช่ไหม
ปร. ใช่

เชิงอรรถ :
๑ ปุพเพนิวาสญาณ หมายถึงปรีชาหยั่งรู้ถึงขันธ์ที่เคยอาศัยอยู่ในกาลก่อนทั้งของตนและของผู้อื่นได้ (ขุ.เถร.อ.
๒/๙๙๖/๔๔๓)
๒-๖ ทิพพจักขุญาณ หมายถึงญาณให้มีตาทิพย์
เจโตปริยญาณ หมายถึงปรีชากำหนดรู้ใจผู้อื่นได้
อิทธิวิธญาณ หมายถึงญาณที่ทำให้แสดงฤทธิ์ได้ต่างๆ
ทิพพโสตญาณ หมายถึงญาณพิเศษที่ทำให้มีหูทิพย์
จุตูปปาตญาณ หมายถึงปรีชาหยั่งรู้จุติและปฏิสนธิของสัตว์ทั้งหลาย (ดูเทียบ ขุ.เถร. (แปล)
๒๖/๙๙๖/๓๙๖,ขุ.เถร.อ. ๒/๙๙๖/๕๐๓)
๗ ความสำรวม หมายถึงเจตนาระวังมิให้ล่วงละเมิดศีล ๕ มีปาณาติบาตเป็นต้น แต่ฝ่ายปรวาทีเข้าใจผิดว่า
การไม่ล่วงละเมิด ศีล ๕ เป็นสังวร (อภิ.ปญฺจ.อ. ๓๗๙/๑๙๙)
๘ หมู่เทวดา ในที่นี้หมายถึงเทวดาชั้นดาวดึงส์ขึ้นไป (อภิ.ปญฺจ.อ. ๓๗๙/๑๙๙, มูลฏีกา ๓/๘๔, อนุฏีกา
๓/๑๒๙-๑๓๐)
๙ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอันธกะ และนิกายสมิติยะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๓๗๓/๑๙๖)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๓๘๒ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๓. ตติยวรรค] ๑๐. สังวรกถา (๓๐)
สก. ความสำรวมไม่มีในหมู่เทวดาใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ความสำรวมจากความไม่สำรวมเป็นศีล ความสำรวมมีอยู่ในหมู่เทวดา
มิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. ความสำรวมจากความไม่สำรวมใดเป็นศีล ความไม่สำรวมนั้นมีอยู่ใน
หมู่เทวดาใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น
สก. ท่านจงรับนิคคหะ ดังต่อไปนี้
หากความสำรวมจากความไม่สำรวมเป็นศีล และความสำรวมมีอยู่ในหมู่เทวดา
ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “ความสำรวมจากความไม่สำรวมใดเป็นศีล ความ
ไม่สำรวมนั้นมีอยู่ในหมู่เทวดา” ท่านกล่าวคำขัดแย้งใดในตอนต้นนั้นว่า “ข้าพเจ้า
ยอมรับว่า ความสำรวมจากความไม่สำรวมเป็นศีล ความสำรวมมีอยู่ในหมู่เทวดา
แต่ไม่ยอมรับว่า ความสำรวมจากความไม่สำรวมใดเป็นศีล ความไม่สำรวมนั้นมี
อยู่ในหมู่เทวดา” คำนั้นของท่านจึงผิด
อนึ่ง หากท่านไม่ยอมรับว่า “ความสำรวมจากความไม่สำรวมใดเป็นศีล
ความไม่สำรวมนั้นมีอยู่ในหมู่เทวดา” ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “ความสำรวมจาก
ความไม่สำรวมเป็นศีล ความสำรวมมีอยู่ในหมู่เทวดา” ท่านกล่าวคำขัดแย้งใดใน
ตอนต้นนั้นว่า “ข้าพเจ้ายอมรับว่า ความสำรวมจากความไม่สำรวมเป็นศีล ความ
สำรวมมีอยู่ในหมู่เทวดา แต่ไม่ยอมรับว่า ความสำรวมจากความไม่สำรวมใดเป็นศีล
ความไม่สำรวมนั้นมีอยู่ในหมู่เทวดา” คำนั้นของท่านจึงผิด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๓๘๓ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๓. ตติยวรรค] ๑๐. สังวรกถา (๓๐)
สก. ความสำรวมมีอยู่ในหมู่มนุษย์ ความไม่สำรวมก็มีอยู่ในหมู่มนุษย์นั้น
ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ความสำรวมมีอยู่ในหมู่เทวดา ความไม่สำรวมก็มีอยู่ในหมู่เทวดานั้น
ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ความสำรวมมีอยู่ในหมู่เทวดา แต่ความไม่สำรวมไม่มีในหมู่เทวดานั้นใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ความสำรวมมีอยู่ในหมู่มนุษย์ แต่ความไม่สำรวมไม่มีในหมู่มนุษย์นั้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๓๘๐] สก. การงดเว้นจากการฆ่าสัตว์มีอยู่ในหมู่เทวดาใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. การฆ่าสัตว์มีอยู่ในหมู่เทวดาใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. การงดเว้นจากการเสพของมึนเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นเหตุแห่งความ
ประมาทมีอยู่ในหมู่เทวดาใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. การเสพของมึนเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นเหตุแห่งความประมาทมีอยู่
ในหมู่เทวดาใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๓๘๔ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๓. ตติยวรรค] ๑๐. สังวรกถา (๓๐)
สก. การฆ่าสัตว์ไม่มีในหมู่เทวดาใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. การงดเว้นจากการฆ่าสัตว์ไม่มีในหมู่เทวดาใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. การเสพของมึนเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นเหตุแห่งความประมาทไม่มี
ในหมู่เทวดาใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. การงดเว้นจากการเสพของมึนเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นเหตุแห่งความ
ประมาทไม่มีในหมู่เทวดาใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. การงดเว้นจากการฆ่าสัตว์มีอยู่ในหมู่มนุษย์ การฆ่าสัตว์ก็มีอยู่ในหมู่
มนุษย์ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. การงดเว้นจากการฆ่าสัตว์มีอยู่ในหมู่เทวดา การฆ่าสัตว์ก็มีอยู่ในหมู่
เทวดานั้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. การงดเว้นจากการเสพของมึนเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นเหตุแห่งความ
ประมาทมีอยู่ในหมู่มนุษย์(และ)การเสพของมึนเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นเหตุ
แห่งความประมาทก็มีอยู่ในหมู่มนุษย์นั้นใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๓๘๕ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๓. ตติยวรรค] ๑๐. สังวรกถา (๓๐)
สก. การงดเว้นจากการเสพของมึนเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นเหตุแห่งความ
ประมาทมีอยู่ในหมู่เทวดา(และ)การเสพของมึนเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นเหตุ
แห่งความประมาทก็มีอยู่ในหมู่เทวดานั้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. การงดเว้นจากการฆ่าสัตว์มีอยู่ในหมู่เทวดา แต่การฆ่าสัตว์ไม่มีในหมู่
เทวดานั้นใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. การงดเว้นจากการฆ่าสัตว์มีอยู่ในหมู่มนุษย์ แต่การฆ่าสัตว์ไม่มีในหมู่
มนุษย์นั้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. การงดเว้นจากการเสพของมึนเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นเหตุแห่งความ
ประมาทมีอยู่ในหมู่เทวดา(แต่)การเสพของมึนเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นเหตุแห่ง
ความประมาทไม่มีในหมู่เทวดานั้นใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. การงดเว้นจากการเสพของมึนเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นเหตุแห่งความ
ประมาทมีอยู่ในหมู่มนุษย์(แต่)การเสพของมึนเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นเหตุแห่ง
ความประมาทไม่มีในหมู่มนุษย์นั้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. ความสำรวมไม่มีในหมู่เทวดาใช่ไหม
สก. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๓๘๖ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๓. ตติยวรรค] ๑๑. อสัญญกถา (๓๑)
ปร. เทวดาทั้งปวงเป็นผู้ฆ่าสัตว์ ถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้ ประพฤติ
ผิดในกาม พูดเท็จ เสพของมึนเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นเหตุแห่งความประมาท
ใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. ดังนั้น ความสำรวมจึงมีอยู่ในหมู่เทวดา
สังวรกถา จบ

๑๑. อสัญญกถา (๓๑)
ว่าด้วยอสัญญสัตว์
[๓๘๑] สก. สัญญามีอยู่ในหมู่อสัญญสัตว์ใช่ไหม
ปร.๑ ใช่๒
สก. ภพแห่งอสัญญสัตว์ เป็นภพที่มีสัญญา เป็นคติที่มีสัญญา เป็น
สัตตาวาสที่มีสัญญา เป็นสงสารที่มีสัญญา เป็นกำเนิดที่มีสัญญา เป็นการได้
อัตภาพที่มีสัญญาใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ภพแห่งอสัญญสัตว์ เป็นภพที่ไม่มีสัญญา เป็นคติที่ไม่มีสัญญา เป็น
สัตตาวาสที่ไม่มีสัญญา เป็นสงสารที่ไม่มีสัญญา เป็นกำเนิดที่ไม่มีสัญญา เป็นการ
ได้อัตภาพที่ไม่มีสัญญามิใช่หรือ
ปร. ใช่

เชิงอรรถ :
๑ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอันธกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๓๘๑/๒๐๐)
๒ เพราะมีความเห็นว่า อสัญญสัตว์มีสัญญาได้เฉพาะในขณะจุติและปฏิสนธิ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๓๘๑/๒๐๐)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๓๘๗ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๓. ตติยวรรค] ๑๑. อสัญญกถา (๓๑)
สก. หากภพแห่งอสัญญสัตว์ เป็นภพที่ไม่มีสัญญา เป็นคติที่ไม่มีสัญญา
เป็นสัตตาวาสที่ไม่มีสัญญา เป็นสงสารที่ไม่มีสัญญา เป็นกำเนิดที่ไม่มีสัญญา
เป็นการได้อัตภาพที่ไม่มีสัญญา ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “สัญญามีอยู่ในหมู่
อสัญญสัตว์”
สก. สัญญามีอยู่ในหมู่อสัญญสัตว์ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ภพแห่งอสัญญสัตว์ เป็นภพที่มีขันธ์ ๕ เป็นคติ ... เป็นสัตตาวาส ...
เป็นสงสาร ... เป็นกำเนิด ... เป็นการได้อัตภาพที่มีขันธ์ ๕๑ ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ภพแห่งอสัญญสัตว์ เป็นภพที่มีขันธ์ ๕ เป็นคติ ... เป็นสัตตาวาส ...
เป็นสงสาร ... เป็นกำเนิด ... เป็นการได้อัตภาพที่มีขันธ์ ๑๒ มิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากภพแห่งอสัญญสัตว์ เป็นภพที่มีขันธ์ ๑ เป็นคติ ... เป็นสัตตาวาส
... เป็นสงสาร ... เป็นกำเนิด ... เป็นการได้อัตภาพที่มีขันธ์ ๑ ท่านก็ไม่ควร
ยอมรับว่า “สัญญามีอยู่ในหมู่อสัญญสัตว์”
สก. สัญญามีอยู่ในหมู่อสัญญสัตว์ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. อสัญญสัตว์ทำกิจที่ควรทำด้วยสัญญาได้ด้วยสัญญานั้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

เชิงอรรถ :
๑ อัตภาพที่มีขันธ์ ๕ หมายถึงกามภพ รูปภพ (เว้นอสัญญสัตว์) (ขุ.ป.อ. ๑/๕/๙๗)
๒ อัตภาพที่มีขันธ์ ๑ หมายถึงอสัญญสัตว์ (ขุ.ป.อ. ๑/๕/๙๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๓๘๘ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๓. ตติยวรรค] ๑๑. อสัญญกถา (๓๑)
[๓๘๒] สก. สัญญามีอยู่ในหมู่มนุษย์ และโลกของมนุษย์นั้นก็เป็นภพที่มีสัญญา
เป็นคติที่มีสัญญา เป็นสัตตาวาสที่มีสัญญา เป็นสงสารที่มีสัญญา เป็นกำเนิดที่มี
สัญญา เป็นการได้อัตภาพที่มีสัญญาใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สัญญามีอยู่ในหมู่อสัญญสัตว์ และภพแห่งอสัญญสัตว์นั้นก็เป็นภพที่มี
สัญญา เป็นคติที่มีสัญญา เป็นสัตตาวาสที่มีสัญญา เป็นสงสารที่มีสัญญา เป็น
กำเนิดที่มีสัญญา เป็นการได้อัตภาพที่มีสัญญาใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สัญญามีอยู่ในหมู่มนุษย์ และโลกของมนุษย์นั้นก็เป็นภพที่มีขันธ์ ๕
เป็นคติ ... เป็นสัตตาวาส ... เป็นสงสาร ... เป็นกำเนิด ... เป็นการได้
อัตภาพที่มีขันธ์ ๕ ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สัญญามีอยู่ในหมู่อสัญญสัตว์ และภพแห่งอสัญญสัตว์นั้นเป็นภพที่มี
ขันธ์ ๕ เป็นคติ ... เป็นสัตตาวาส ... เป็นสงสาร ... เป็นกำเนิด ... เป็นการ
ได้อัตภาพที่มีขันธ์ ๕ ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สัญญามีอยู่ในหมู่มนุษย์ มนุษย์ทำกิจที่ควรทำด้วยสัญญาได้ ด้วย
สัญญานั้นใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สัญญามีอยู่ในหมู่อสัญญสัตว์ อสัญญสัตว์ทำกิจที่ควรทำด้วยสัญญาได้
ด้วยสัญญานั้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๓๘๙ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๓. ตติยวรรค] ๑๑. อสัญญกถา (๓๑)
สก. สัญญามีอยู่ในหมู่อสัญญสัตว์ และภพแห่งอสัญญสัตว์นั้นก็เป็นภพที่ไม่
มีสัญญา เป็นคติที่ไม่มีสัญญา เป็นสัตตาวาสที่ไม่มีสัญญา เป็นสงสารที่ไม่มีสัญญา
เป็นกำเนิดที่ไม่มีสัญญา เป็นการได้อัตภาพที่ไม่มีสัญญาใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สัญญามีอยู่ในหมู่มนุษย์ และโลกของมนุษย์นั้นก็เป็นภพที่ไม่มีสัญญา ฯลฯ
เป็นการได้อัตภาพที่ไม่มีสัญญาใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สัญญามีอยู่ในหมู่อสัญญสัตว์ และภพแห่งอสัญญสัตว์นั้นก็เป็นภพที่มี
ขันธ์ ๑ เป็นคติ ... เป็นสัตตาวาส ... เป็นสงสาร ... เป็นกำเนิด ... เป็นการได้
อัตภาพที่มีขันธ์ ๑ ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สัญญามีอยู่ในหมู่มนุษย์ และโลกของมนุษย์นั้นก็เป็นภพที่มีขันธ์ ๑ ฯลฯ
เป็นการได้อัตภาพที่มีขันธ์ ๑ ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สัญญามีอยู่ในหมู่อสัญญสัตว์ แต่อสัญญสัตว์ไม่ทำกิจที่ควรทำด้วย
สัญญาได้ ด้วยสัญญานั้นใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สัญญามีอยู่ในหมู่มนุษย์ แต่มนุษย์ไม่ทำกิจที่ควรทำด้วยสัญญาได้
ด้วยสัญญานั้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๓๙๐ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๓. ตติยวรรค] ๑๑. อสัญญกถา (๓๑)
[๓๘๓] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “สัญญามีอยู่ในหมู่อสัญญสัตว์” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย มีเทพชื่ออสัญญ-
สัตว์ จุติ(เคลื่อน)จากชั้นนั้น เพราะเกิดสัญญาขึ้น”๑ มีอยู่จริงมิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. ดังนั้น สัญญาจึงมีอยู่ในหมู่อสัญญสัตว์
สก. สัญญามีอยู่ในหมู่อสัญญสัตว์ใช่ไหม
ปร. บางคราวมี บางคราวไม่มี
สก. อสัญญสัตว์บางคราวเป็นสัญญสัตว์ บางคราวเป็นอสัญญสัตว์ ภพแห่ง
อสัญญสัตว์บางคราวเป็นภพที่มีสัญญา บางคราวเป็นภพที่ไม่มีสัญญา บางคราว
เป็นภพที่มีขันธ์ ๕ บางคราวเป็นภพที่มีขันธ์ ๑ ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บางคราวสัญญามีในหมู่อสัญญสัตว์ บางคราวไม่มีใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. คราวไหนมี คราวไหนไม่มี
ปร. ในจุติกาล๒ ในปฏิสนธิกาลมี๓ แต่ในฐิติกาล(ปวัตติกาล)ไม่มี๔

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ ที.ปา. (แปล) ๑๑/๔๖/๓๓
๒ จุติกาล หมายถึงเวลาหลังจากตายแล้วจิตเคลื่อนไปสู่อีกภพหนึ่ง
๓ ปฏิสนธิกาล หมายถึงเวลาเกิด
๔ ฐิติกาล หมายถึงเวลาที่จิตดำรงอยู่ระหว่างปฏิสนธิกาลกับจุติกาล

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๓๙๑ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๓. ตติยวรรค] ๑๒. เนวสัญญานาสัญญายตนกถา (๓๒)
สก. อสัญญสัตว์ ในจุติกาล ในปฏิสนธิกาล เป็นสัญญสัตว์ ในฐิติกาล
เป็นอสัญญสัตว์ ในจุติกาล ในปฏิสนธิกาล เป็นภพที่มีสัญญา ในฐิติกาล เป็นภพ
ที่ไม่มีสัญญา ในจุติกาล ในปฏิสนธิกาล เป็นภพที่มีขันธ์ ๕ ในฐิติกาล เป็นภพ
ที่มีขันธ์ ๑ ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
อสัญญกถา จบ

๑๒. เนวสัญญานาสัญญายตนกถา (๓๒)
ว่าด้วยเนวสัญญานาสัญญายตนะ
[๓๘๔] สก. ในเนวสัญญานาสัญญายตนภพ ท่านไม่ยอมรับว่า “สัญญามีอยู่”
ใช่ไหม
ปร.๑ ใช่
สก. เนวสัญญานาสัญญายตนภพ เป็นภพที่ไม่มีสัญญา เป็นคติที่ไม่มีสัญญา
เป็นสัตตาวาสที่ไม่มีสัญญา เป็นสงสารที่ไม่มีสัญญา เป็นกำเนิดที่ไม่มีสัญญา
เป็นการได้อัตภาพที่ไม่มีสัญญาใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เนวสัญญานาสัญญายตนภพ เป็นภพที่ไม่มีสัญญา เป็นคติที่ไม่มีสัญญา
เป็นสัตตาวาสที่ไม่มีสัญญา เป็นสงสารที่ไม่มีสัญญา เป็นกำเนิดที่ไม่มีสัญญา
เป็นการได้อัตภาพที่ไม่มีสัญญามิใช่หรือ
ปร. ใช่

เชิงอรรถ :
๑ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอันธกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๓๘๑/๒๐๐)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๓๙๒ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๓. ตติยวรรค] ๑๒. เนวสัญญานาสัญญายตนกถา (๓๒)
สก. หากเป็นภพที่มีสัญญา เป็นคติที่มีสัญญา ฯลฯ เป็นการได้อัตภาพที่
มีสัญญา ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “ในเนวสัญญานาสัญญายตนภพ ข้าพเจ้าไม่
ยอมรับว่า “สัญญามีอยู่”
สก. ในเนวสัญญานาสัญญายตนภพ ท่านไม่ยอมรับว่า “สัญญามีอยู่” ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เนวสัญญานาสัญญายตนภพเป็นภพที่มีขันธ์ ๑ เป็นคติ ฯลฯ เป็นการ
ได้อัตภาพที่มีขันธ์ ๑ ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ภพนั้นเป็นภพ ... เป็นคติ ฯลฯ เป็นการได้อัตภาพที่มีขันธ์ ๔ มิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากเป็นภพ ... เป็นคติ ฯลฯ เป็นการได้อัตภาพที่มีขันธ์ ๔ ท่านก็
ไม่ควรยอมรับว่า “ในเนวสัญญานาสัญญายตนภพ ข้าพเจ้าไม่ยอมรับว่า สัญญา
มีอยู่”
[๓๘๕] สก. ในหมู่อสัญญสัตว์ ท่านไม่ยอมรับว่า “สัญญามีอยู่” และภพแห่ง
อสัญญสัตว์นั้น เป็นภพที่ไม่มีสัญญา เป็นคติที่ไม่มีสัญญา เป็นสัตตาวาสที่ไม่มี
สัญญา เป็นสงสารที่ไม่มีสัญญา เป็นกำเนิดที่ไม่มีสัญญา เป็นการได้อัตภาพที่ไม่
มีสัญญาใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ในเนวสัญญานาสัญญายตนภพ ท่านไม่ยอมรับว่า “สัญญามีอยู่”
และเนวสัญญานาสัญญายตนภพนั้นเป็นภพที่ไม่มีสัญญา เป็นคติที่ไม่มีสัญญา
เป็นสัตตาวาสที่ไม่มีสัญญา เป็นสงสารที่ไม่มีสัญญา เป็นกำเนิดที่ไม่มีสัญญา
เป็นการได้อัตภาพที่ไม่มีสัญญาใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๓๙๓ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๓. ตติยวรรค] ๑๒. เนวสัญญานาสัญญายตนกถา (๓๒)
สก. ในหมู่อสัญญสัตว์ ท่านไม่ยอมรับว่า “สัญญามีอยู่” และภพแห่ง
อสัญญสัตว์นั้นก็เป็นภพที่มีขันธ์ ๑ เป็นคติ ... ฯลฯ เป็นการได้อัตภาพที่มีขันธ์ ๑
ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ในเนวสัญญานาสัญญายตนภพ ท่านไม่ยอมรับว่า “สัญญามีอยู่” และ
ในเนวสัญญานาสัญญายตนภพก็เป็นภพที่มีขันธ์ ๑ เป็นคติ ... เป็นสัตตาวาส ...
เป็นสงสาร ... เป็นกำเนิด ... เป็นการได้อัตภาพที่มีขันธ์ ๑ ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ในเนวสัญญานาสัญญายตนภพ ท่านไม่ยอมรับว่า “สัญญามีอยู่”
และภพแห่งอสัญญสัตว์นั้นก็เป็นภพที่มีสัญญา เป็นคติที่มีสัญญา ฯลฯ เป็นการ
ได้อัตภาพที่มีสัญญาใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ในหมู่อสัญญสัตว์ ท่านไม่ยอมรับว่า “สัญญามีอยู่” และภพแห่ง
อสัญญสัตว์นั้นก็เป็นภพที่มีสัญญา เป็นคติที่มีสัญญา ฯลฯ เป็นการได้อัตภาพที่
มีสัญญาใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ในเนวสัญญานาสัญญายตนภพ ท่านไม่ยอมรับว่า “สัญญามีอยู่”
และในเนวสัญญานาสัญญายตนภพนั้นก็เป็นภพ ... เป็นคติ ฯลฯ เป็นการได้
อัตภาพที่มีขันธ์ ๔ ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ในหมู่อสัญญสัตว์ ท่านไม่ยอมรับว่า “สัญญามีอยู่” และภพแห่ง
อสัญญสัตว์นั้นก็เป็นภพ ฯลฯ เป็นการได้อัตภาพที่มีขันธ์ ๔ ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๓๙๔ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๓. ตติยวรรค] ๑๒. เนวสัญญานาสัญญายตนกถา (๓๒)
สก. ในเนวสัญญานาสัญญายตนภพ ท่านไม่ยอมรับว่า “สัญญามีอยู่” ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เนวสัญญานาสัญญายตนภพ เป็นภพที่มีขันธ์ ๔ มิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากเนวสัญญานาสัญญายตนภพ เป็นภพที่มีขันธ์ ๔ ท่านก็ไม่ควร
ยอมรับว่า “ในเนวสัญญานาสัญญายตนภพ ข้าพเจ้าไม่ยอมรับว่าสัญญามีอยู่”
[๓๘๖] สก. เนวสัญญานาสัญญายตนภพเป็นภพที่มีขันธ์ ๔ ท่านไม่ยอมรับว่า
“ในเนวสัญญานาสัญญายตนภพ สัญญามีอยู่” ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. อากาสานัญจายตนภพเป็นภพที่มีขันธ์ ๔ ท่านไม่ยอมรับว่า “ใน
อากาสานัญจายนตนภพ สัญญามีอยู่” ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เนวสัญญานาสัญญายตนภพเป็นภพที่มีขันธ์ ๔ ท่านไม่ยอมรับว่า
“ในเนวสัญญานาสัญญายตนภพ สัญญามีอยู่” ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. วิญญาณัญจายตนภพ ฯลฯ อากิญจัญญายตนภพ เป็นภพที่มีขันธ์ ๔
แต่ท่านไม่ยอมรับว่า “ในอากิญจัญญายตนภพ สัญญามีอยู่” ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. อากาสานัญจายตนภพเป็นภพที่มีขันธ์ ๔ ในภพนั้นสัญญามีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๓๙๕ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๓. ตติยวรรค] ๑๒. เนวสัญญานาสัญญายตนกถา (๓๒)
สก. เนวสัญญานาสัญญายตนภพเป็นภพที่มีขันธ์ ๔ ในภพนั้นสัญญามีอยู่
ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. วิญญาณัญจายตนภพ ฯลฯ อากิญจัญญายตนภพเป็นภพที่มีขันธ์ ๔
ในภพนั้นสัญญามีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เนวสัญญานาสัญญายตนภพเป็นภพที่มีขันธ์ ๔ ในภพนั้นสัญญามีอยู่
ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ในเนวสัญญานาสัญญายตนภพ ท่านไม่ยอมรับว่า “มีสัญญาก็ใช่ ไม่
มีสัญญาก็ใช่” ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เนวสัญญานาสัญญายตนภพเป็นภพที่มีขันธ์ ๔ มิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากเนวสัญญานาสัญญายตนภพเป็นภพที่มีขันธ์ ๔ ท่านไม่ควรยอม
รับว่า “ในเนวสัญญานาสัญญายตนภพ ข้าพเจ้าไม่ยอมรับว่ามีสัญญาก็มิใช่ ไม่มี
สัญญาก็มิใช่”
สก. เนวสัญญานาสัญญายตนภพเป็นภพที่มีขันธ์ ๔ ท่านไม่ยอมรับว่า “ใน
เนวสัญญานาสัญญายตนภพ สัญญามีและไม่มี” ใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๓๙๖ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๓. ตติยวรรค] ๑๒. เนวสัญญานาสัญญายตนกถา (๓๒)
สก. อากาสานัญจายตนภพ ฯลฯ วิญญาณัญจายตนภพ ฯลฯ
อากิญจัญญายตนภพเป็นภพที่มีขันธ์ ๔ ท่านไม่ยอมรับว่า “ในอากิญจัญญายตน-
ภพ มีสัญญาก็ใช่ ไม่มีสัญญาก็ใช่” ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. อากาสานัญจายตนภพเป็นภพที่มีขันธ์ ๔ ในภพนั้นสัญญามีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เนวสัญญานาสัญญายตนภพเป็นภพที่มีขันธ์ ๔ ในภพนั้นสัญญามีอยู่
ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. วิญญาณัญจายตนภพ ฯลฯ อากิญจัญญายตนภพเป็นภพที่มีขันธ์ ๔
ในภพนั้นสัญญามีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เนวสัญญานาสัญญายตนภพเป็นภพที่มีขันธ์ ๔ ในภพนั้นสัญญามีอยู่
ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. ในเนวสัญญานาสัญญายตนภพ ท่านไม่ยอมรับว่า “มีสัญญาก็ใช่ ไม่มี
สัญญาก็ใช่” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. เนวสัญญานาสัญญายตนภพมีอยู่มิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. หากเนวสัญญานาสัญญายตนภพมีอยู่ ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า
“ในเนวสัญญานาสัญญายตนภพ ข้าพเจ้าไม่ยอมรับว่า มีสัญญาก็ใช่ ไม่มีสัญญา
ก็ใช่”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๓๙๗ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๓. ตติยวรรค] รวมกถาที่มีในวรรค
สก. เพราะท่านเข้าใจว่า “เนวสัญญานาสัญญายตนภพมีอยู่” จึงไม่ยอมรับว่า
“มีสัญญาก็ใช่ ไม่มีสัญญาก็ใช่” ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เพราะท่านเข้าใจว่า “อทุกขมสุขเวทนามีอยู่” จึงไม่ยอมรับว่า
มีเวทนาก็ใช่ ไม่มีเวทนาก็ใช่” ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

เนวสัญญานาสัญญายตนกถา จบ
ตติยวรรค จบ

รวมกถาที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. พลกถา ๒. อริยันติกถา
๓. วิมุตติกถา ๔. วิมุจจมานกถา
๕. อัฏฐมกกถา ๖. อัฏฐมกัสสอินทริยกถา
๗. ทิพพจักขุกถา ๘. ทิพพโสตกถา
๙. ยถากัมมูปคตญาณกถา ๑๐. สังวรกถา
๑๑. อสัญญกถา ๑๒. เนวสัญญานาสัญญายตนกถา


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๓๙๘ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๔. จตุตถวรรค] ๑. คิหิสสอรหาติกถา (๓๓)
๔. จตุตถวรรค
๑. คิหิสสอรหาติกถา (๓๓)
ว่าด้วยคฤหัสถ์เป็นพระอรหันต์
[๓๘๗] สก. คฤหัสถ์เป็นพระอรหันต์ได้ใช่ไหม
ปร.๑ ใช่๒
สก. คิหิสังโยชน์๓ ของพระอรหันต์มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. คิหิสังโยชน์ของพระอรหันต์ไม่มีใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. หากคิหิสังโยชน์ของพระอรหันต์ไม่มี ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “คฤหัสถ์
เป็นพระอรหันต์ได้”
สก. คฤหัสถ์เป็นพระอรหันต์ได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. คิหิสังโยชน์ พระอรหันต์ละได้แล้ว ตัดรากถอนโคน เหมือนต้นตาล
ที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. หากคิหิสังโยชน์ พระอรหันต์ละได้แล้ว ตัดรากถอนโคน เหมือนต้นตาล
ที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ ท่านก็
ไม่ควรยอมรับว่า “คฤหัสถ์เป็นพระอรหันต์ได้”

เชิงอรรถ :
๑ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอุตตราปถกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๓๘๗/๒๐๑)
๒ เพราะมีความเห็นว่า คฤหัสถ์ก็สามารถเป็นพระอรหันต์ได้ ที่เห็นอย่างนี้เพราะกำหนดความเป็นคฤหัสถ์
ด้วยเพศคฤหัสถ์ ซึ่งต่างกับความเห็นของสกวาทีที่กำหนดความเป็นคฤหัสถ์ด้วยคิหิสังโยชน์ มิได้ถือเอา
เพศคฤหัสถ์เป็นสำคัญ ด้วยเหตุนี้ คฤหัสถ์ผู้สามารถบรรลุอรหัตตผลได้ ต้องละคิหิสังโยชน์ได้แล้ว (อภิ.ปญฺจ.อ.
๓๘๗/๒๐๑)
๓ คิหิสังโยชน์ หมายถึงเครื่องผูกพันของคฤหัสถ์ ซึ่งมีทรัพย์สมบัติ บุตร ข้าทาส บริวาร และกามคุณ
๕ ประการ อันเป็นเหตุให้ครองชีวิตแบบคฤหัสถ์เรื่อยไป (ม.ม.อ. ๒/๑๘๖/๑๔๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๓๙๙ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๔. จตุตถวรรค] ๑. คิหิสสอรหาติกถา (๓๓)
สก. คฤหัสถ์เป็นพระอรหันต์ได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. คฤหัสถ์บางคนละคิหิสังโยชน์ยังไม่ได้ แต่ทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ในปัจจุบันมี
อยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่มี
สก. หากคฤหัสถ์บางคนละคิหิสังโยชน์ยังไม่ได้ แต่ทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ใน
ปัจจุบันไม่มี ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “คฤหัสถ์เป็นพระอรหันต์ได้”
สก. คฤหัสถ์เป็นพระอรหันต์ได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสูตรที่ว่า “วัจฉโคตรปริพาชกได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ‘ข้าแต่
ท่านพระโคดม คฤหัสถ์บางคนผู้ยังละคิหิสังโยชน์ไม่ได้ หลังจากตายแล้ว ทำที่สุด
แห่งทุกข์ได้ มีอยู่หรือ’ พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ‘วัจฉะ คฤหัสถ์ผู้ยังละคิหิ-
สังโยชน์ยังไม่ได้ หลังจากตายแล้ว ย่อมทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ไม่มีเลย” ๑ มีอยู่จริง มิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. ดังนั้น ท่านจึงไม่ควรยอมรับว่า “คฤหัสถ์เป็นพระอรหันต์ได้”
สก. คฤหัสถ์เป็นพระอรหันต์ได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระอรหันต์พึงเสพเมถุนธรรม พึงให้เมถุนธรรมเกิดขึ้น พึงอยู่ครอบ
ครองที่นอนซึ่งยัดเยียดด้วยบุตร พึงใช้ผ้ากาสิกพัสตร์และจุรณจันทน์ พึงทัดทรง
ดอกไม้ ของหอมและเครื่องลูบไล้ พึงยินดีทองและเงิน พึงรับแพะ แกะ ไก่ สุกร
ช้าง วัว ม้า ลา นกกระทา นกคุ่ม หางนกยูง พึงทรงเครื่องประดับมวยผมที่มี
รัดเกล้าสีเหลือง ทรงผ้าขาวมีชายยาว เป็นผู้ครองเรือนจนตลอดชีวิตใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ ม.ม. (แปล) ๑๓/๑๘๖/๒๑๗-๒๑๘

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๔๐๐ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๔. จตุตถวรรค] ๒. อุปปัตติกถา (๓๔)
ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “คฤหัสถ์เป็นพระอรหันต์ได้” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. ยสกุลบุตร อุตติยคหบดี เสตุมาณพ บรรลุอรหัตตผลขณะมีเพศคฤหัสถ์
มิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. หากยสกุลบุตร อุตติยคหบดี เสตุมาณพ บรรลุอรหัตตผลขณะมีเพศ
คฤหัสถ์ ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “คฤหัสถ์เป็นพระอรหันต์ได้”
คิหิสสอรหาติกถา จบ

๒. อุปปัตติกถา (๓๔)
ว่าด้วยการปฏิสนธิ
[๓๘๘] สก. บุคคลเป็นพระอรหันต์พร้อมกับการปฏิสนธิได้ใช่ไหม
ปร.๑ ใช่๒
สก. เป็นพระโสดาบันพร้อมกับการปฏิสนธิได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น๓ ฯลฯ
สก. เป็นพระอรหันต์พร้อมกับการปฏิสนธิได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เป็นพระสกทาคามีพร้อมกับการปฏิสนธิได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เป็นพระอรหันต์พร้อมกับการปฏิสนธิได้ใช่ไหม
ปร. ใช่

เชิงอรรถ :
๑ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอุตตราปถกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๓๘๗/๒๐๑)
๒ เพราะมุ่งหมายเอาผู้ไปเกิดในชั้นสุทธาวาส (อภิ.ปญฺจ.อ. ๓๘๘/๒๐๑)
๓ เพราะมีความเห็นว่า จิตขณะปฏิสนธิของผู้จะบรรลุโสดาบันยังเป็นโลกิยจิตอยู่ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๓๘๘/๒๐๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๔๐๑ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๔. จตุตถวรรค] ๒. อุปปัตติกถา (๓๔)
สก. เป็นพระอนาคามีพร้อมกับการปฏิสนธิได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เป็นพระโสดาบันพร้อมกับการปฏิสนธิไม่ได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. หากเป็นพระโสดาบันพร้อมกับการปฏิสนธิไม่ได้ ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า
“เป็นพระอรหันต์พร้อมกับการปฏิสนธิได้”
สก. เป็นพระสกทาคามีพร้อมกับการปฏิสนธิไม่ได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. หากเป็นพระสกทาคามีพร้อมกับการปฏิสนธิไม่ได้ ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า
“เป็นพระอรหันต์พร้อมกับการปฏิสนธิได้”
สก. เป็นพระอนาคามีพร้อมกับการปฏิสนธิไม่ได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. หากเป็นพระอนาคามีพร้อมกับการปฏิสนธิไม่ได้ ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า
“เป็นพระอรหันต์พร้อมกับการปฏิสนธิได้”
[๓๘๙] สก. เป็นพระอรหันต์พร้อมกับการปฏิสนธิได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสารีบุตรเถระเป็นพระอรหันต์พร้อมกับการปฏิสนธิใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระมหาโมคคัลลานเถระ ฯลฯ พระมหากัสสปเถระ ฯลฯ พระมหา-
กัจจายนเถระ ฯลฯ พระมหาโกฏฐิกเถระ ฯลฯ พระมหาปันถกเถระ เป็นพระ
อรหันต์พร้อมกับการปฏิสนธิใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๔๐๒ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๔. จตุตถวรรค] ๒. อุปปัตติกถา (๓๔)
สก. พระสารีบุตรเถระไม่ได้เป็นพระอรหันต์พร้อมกับการปฏิสนธิใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. หากพระสารีบุตรเถระไม่ได้เป็นพระอรหันต์พร้อมกับการปฏิสนธิ ท่าน
ก็ไม่ควรยอมรับว่า “เป็นพระอรหันต์พร้อมกับการปฏิสนธิได้”
สก. พระมหาโมคคัลลานเถระ ฯลฯ พระมหากัสสปเถระ ฯลฯ พระมหา-
กัจจายนเถระ ฯลฯ พระมหาโกฏฐิกเถระ ฯลฯ พระมหาปันถกเถระ ไม่ได้เป็น
พระอรหันต์พร้อมกับการปฏิสนธิใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. หากพระมหาปันถกเถระไม่ได้เป็นพระอรหันต์พร้อมกับการปฏิสนธิ
ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “เป็นพระอรหันต์พร้อมกับการปฏิสนธิได้”
[๓๙๐] สก. เป็นพระอรหันต์พร้อมกับการปฏิสนธิได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลทำให้แจ้งอรหัตตผลได้ด้วยปฏิสนธิจิตที่เป็นโลกิยะ ยังมีอาสวะ ฯลฯ
เป็นอารมณ์ของสังกิเลสใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เป็นพระอรหันต์พร้อมกับการปฏิสนธิได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ปฏิสนธิจิตเป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ ให้ถึงความสิ้นกิเลส ให้ถึง
ความตรัสรู้ ให้ถึงนิพพาน ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะ ฯลฯ ไม่เป็นอารมณ์ของ
สังกิเลสใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ปฏิสนธิจิตไม่เป็นเหตุนำสัตว์ออกจากวัฏฏทุกข์ ไม่ให้ถึงความสิ้นกิเลส
ไม่ให้ถึงความตรัสรู้ ไม่ให้ถึงนิพพาน เป็นอารมณ์ของอาสวะ ฯลฯ เป็นอารมณ์
ของสังกิเลสมิใช่หรือ
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๔๐๓ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๔. จตุตถวรรค] ๒. อุปปัตติกถา (๓๔)
สก. หากปฏิสนธิจิตไม่เป็นเหตุนำสัตว์ออกจากวัฏฏทุกข์ ไม่ให้ถึงความสิ้นกิเลส
ไม่ให้ถึงความตรัสรู้ ไม่ให้ถึงนิพพาน เป็นอารมณ์ของอาสวะ ฯลฯ เป็นอารมณ์ของ
สังกิเลส ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “เป็นพระอรหันต์พร้อมกับการปฏิสนธิได้”
สก. เป็นพระอรหันต์พร้อมกับการปฏิสนธิได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลละราคะ โทสะ โมหะ อโนตตัปปะได้ด้วยปฏิสนธิจิตใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เป็นพระอรหันต์พร้อมกับการปฏิสนธิได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ปฏิสนธิจิตเป็นมรรค ฯลฯ เป็นสติปัฏฐาน ... เป็นสัมมัปปธาน ...
เป็นอิทธิบาท ... เป็นอินทรีย์ ... เป็นพละ ฯลฯ เป็นโพชฌงค์ได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เป็นพระอรหันต์พร้อมกับการปฏิสนธิได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลกำหนดรู้ทุกข์ ละสมุทัย ทำให้แจ้งนิโรธ เจริญมรรคด้วย
ปฏิสนธิจิตได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เป็นพระอรหันต์พร้อมกับการปฏิสนธิได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. จุติจิตเป็นมรรคจิต ปฏิสนธิจิตเป็นผลจิตได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

อุปปัตติกถา จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๔๐๔ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๔. จตุตถวรรค] ๓. อนาสวกถา (๓๕)
๓. อนาสวกถา (๓๕)
ว่าด้วยสภาวธรรมที่ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะ
[๓๙๑] สก. สภาวธรรมทั้งปวงของพระอรหันต์ ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะ
ใช่ไหม
ปร.๑ ใช่๒
สก. สภาวธรรมทั้งปวงของพระอรหันต์เป็นมรรค ... ผล ... นิพพาน ...
โสดาปัตติมรรค ... โสดาปัตติผล ... สกทาคามิมรรค ... สกทาคามิผล ...
อนาคามิมรรค ... อนาคามิผล ... อรหัตตมรรค ... อรหัตตผล ... สติปัฏฐาน ...
สัมมัปปธาน ... อิทธิบาท ... อินทรีย์ ... พละ ... โพชฌงค์ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สภาวธรรมทั้งปวงของพระอรหันต์ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. จักษุของพระอรหันต์ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. จักษุของพระอรหันต์ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. จักษุของพระอรหันต์เป็นมรรค ... ผล ... นิพพาน ... โสดาปัตติมรรค
... โสดาปัตติผล ฯลฯ โพชฌงค์ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. โสตะ ฯลฯ ฆานะ ฯลฯ ชิวหา ฯลฯ กาย ของพระอรหันต์ไม่เป็น
อารมณ์ของอาสวะใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

เชิงอรรถ :
๑ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอุตตราปถกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๓๙๑/๒๐๒)
๒ เพราะมีความเห็นว่า ทุกสิ่งที่เนื่องกับพระอรหันต์ล้วนปราศจากอาสวกิเลส (อภิ.ปญฺจ.อ. ๓๙๑/๒๐๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๔๐๕ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๔. จตุตถวรรค] ๓. อนาสวกถา (๓๕)
สก. กายของพระอรหันต์ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. กายของพระอรหันต์เป็นมรรค ... ผล ... นิพพาน ... โสดาปัตติมรรค
... โสดาปัตติผล ฯลฯ โพชฌงค์ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. กายของพระอรหันต์ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. กายของพระอรหันต์ยังถูกยกย่องและถูกข่ม ถูกตัดและทำลาย เป็น
ของทั่วไปแก่ฝูงกา แร้ง และเหยี่ยวใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สภาวธรรมที่ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะยังถูกยกย่องและถูกข่ม ยังถูก
ตัดและทำลาย เป็นของทั่วแก่ฝูงกา แร้ง และเหยี่ยวใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ยาพิษ ศัสตรา ไฟ พึงกล้ำกรายเข้าไปในกายของพระอรหันต์ได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ยาพิษ ศัสตรา ไฟ พึงกล้ำกรายเข้าไปในสภาวธรรมที่ไม่เป็นอารมณ์
ของอาสวะใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. กายของพระอรหันต์ยังถูกจองจำด้วยเครื่องจองจำคือขื่อคา เครื่องจอง
จำคือเชือก เครื่องจองจำคือโซ่ตรวน เครื่องจองจำคือบ้าน เครื่องจองจำคือนิคม
เครื่องจองจำคือนคร เครื่องจองจำคือชนบท ด้วยการจองจำมีการผูกที่คอเป็นที่ ๕
ใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๔๐๖ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๔. จตุตถวรรค] ๓. อนาสวกถา (๓๕)
สก. สภาวธรรมที่ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะ ยังถูกจองจำด้วยเครื่องจองจำคือ
ขื่อคา เครื่องจองจำคือเชือก เครื่องจองจำคือโซ่ตรวน เครื่องจองจำคือบ้าน
เครื่องจองจำคือนิคม เครื่องจองจำคือนคร เครื่องจองจำคือชนบท ด้วยการจอง
จำมีการผูกที่คอเป็นที่ ๕ ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๓๙๒] สก. หากพระอรหันต์ให้จีวรแก่ปุถุชน จีวรนั้นไม่เป็นอารมณ์ของ
อาสวะแล้วเป็นอารมณ์ของอาสวะได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. จีวรนั้นไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะแล้วเป็นอารมณ์ของอาสวะได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. จีวรที่ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะกับจีวรที่เป็นอารมณ์ของอาสวะเป็นอัน
เดียวกันใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. จีวรที่ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะกับจีวรที่เป็นอารมณ์ของอาสวะเป็นอัน
เดียวกันใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. มรรคไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะแล้วเป็นอารมณ์ของอาสวะได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ผล ... สติปัฏฐาน ... สัมมัปปธาน ... อิทธิบาท ... อินทรีย์ ... พละ
... โพชฌงค์ ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะ แต่เป็นอารมณ์ของอาสวะได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. หากพระอรหันต์ให้บิณฑบาต ... เสนาสนะ ... คิลานปัจจัยเภสัชบริขาร
แก่ปุถุชน คิลานปัจจัยเภสัชบริขารนั้นไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะแล้วเป็นอารมณ์ของ
อาสวะได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๔๐๗ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๔. จตุตถวรรค] ๓. อนาสวกถา (๓๕)
สก. คิลานปัจจัยเภสัชบริขารนั้นไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะแล้วเป็นอารมณ์
ของอาสวะได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สิ่งที่ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะกับจีวรที่เป็นอารมณ์ของอาสวะเป็นอัน
เดียวกันใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สิ่งที่ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะกับจีวรที่เป็นอารมณ์ของอาสวะเป็นอัน
เดียวกันใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. มรรคไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะแล้วเป็นอารมณ์ของอาสวะได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ผล ... สติปัฏฐาน ... สัมมัปปธาน ... อิทธิบาท ... อินทรีย์ ... พละ
... โพชฌงค์ ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะแล้วเป็นอารมณ์ของอาสวะได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. หากปุถุชนถวายจีวรแก่พระอรหันต์ จีวรนั้นเป็นอารมณ์ของอาสวะแล้ว
ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. จีวรนั้นเป็นอารมณ์ของอาสวะแล้วไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สิ่งที่เป็นอารมณ์ของอาสวะกับจีวรที่ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะเป็นอัน
เดียวกันใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สิ่งที่เป็นอารมณ์ของอาสวะกับจีวรที่ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะเป็นอัน
เดียวกันใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๔๐๘ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๔. จตุตถวรรค] ๓. อนาสวกถา (๓๕)
สก. ราคะเป็นอารมณ์ของอาสวะแล้วไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. โทสะ ฯลฯ โมหะ ฯลฯ อโนตตัปปะ เป็นอารมณ์ของอาสวะแล้ว
ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. หากปุถุชนถวายบิณฑบาต ... เสนาสนะ ... คิลานปัจจัยเภสัชบริขารแก่
พระอรหันต์ คิลานปัจจัยเภสัชบริขารนั้นเป็นอารมณ์ของอาสวะแล้วไม่เป็นอารมณ์
ของอาสวะได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. คิลานปัจจัยเภสัชบริขารนั้นเป็นอารมณ์ของอาสวะแล้วไม่เป็นอารมณ์ของ
อาสวะได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สิ่งที่เป็นอารมณ์ของอาสวะกับจีวรที่ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะเป็นอัน
เดียวกันใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สิ่งที่เป็นอารมณ์ของอาสวะกับจีวรที่ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะเป็นอัน
เดียวกันใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ราคะเป็นอารมณ์ของอาสวะแล้วไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. โทสะ ฯลฯ โมหะ ฯลฯ อโนตตัปปะเป็นอารมณ์ของอาสวะแล้ว
ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๔๐๙ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๔. จตุตถวรรค] ๔. สมันนาคตกถา (๓๖)
ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “สภาวธรรมทั้งปวงของพระอรหันต์ไม่เป็นอารมณ์
ของอาสวะ” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. พระอรหันต์เป็นผู้ไม่มีอาสวะมิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. หากพระอรหันต์เป็นผู้ไม่มีอาสวะ ดังนั้น ท่านจึงไม่ควรยอมรับว่า
“สภาวธรรมทั้งปวงของพระอรหันต์ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะ”
อนาสวกถา จบ

๔. สมันนาคตกถา (๓๖)
ว่าด้วยผู้บริบูรณ์
[๓๙๓] สก. พระอรหันต์บริบูรณ์๑ด้วยผล ๔ ใช่ไหม
ปร.๒ ใช่๓
สก. พระอรหันต์บริบูรณ์ด้วยผัสสะ ๔ ฯลฯ เวทนา ๔ ฯลฯ สัญญา ๔
ฯลฯ เจตนา ๔ ฯลฯ จิต ๔ ฯลฯ ศรัทธา ๔ ฯลฯ วิริยะ ๔ ฯลฯ สติ ๔
ฯลฯ สมาธิ ๔ ฯลฯ ปัญญา ๔ ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

เชิงอรรถ :
๑ บริบูรณ์ โดยทั่วไปหมายถึงความบริบูรณ์ ๒ อย่างคือ (๑) ความบริบูรณ์ที่เกิดแก่จิตในขณะหนึ่ง ๆ
(สมงฺคีภาวสมนฺนาคม) เช่น ในขณะที่มัคคจิตหรือผลจิตเกิดขึ้น ก็ชื่อว่าบริบูรณ์ด้วยมัคคจิตหรือผลจิต
(๒) ความบริบูรณ์ที่เกิดจากการได้รับภูมิธรรมอย่างใดอย่างหนึ่งในบรรดารูปฌานหรืออรูปฌาน (ปฏิลาภ-
สมนฺนาคม) ความบริบูรณ์นี้จะดำรงอยู่ตราบเท่าที่ภูมิธรรมนั้น ๆ ยังไม่เสื่อม (อภิ.ปญฺจ.อ. ๓๙๓/๒๐๓)
๒ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอุตตราปถกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๓๘๗/๒๐๑)
๓ เพราะมีความเห็นว่า นอกจากความบริบูรณ์ ๒ อย่างดังกล่าวแล้ว ยังมีความบริบูรณ์อีกอย่างหนึ่ง เรียกว่า
ปัตติธรรม หมายถึงคุณวิเศษใด ๆ ที่บรรลุแล้ว คุณวิเศษนั้น ๆ จะคงมีอยู่ตลอดไป แม้จะบรรลุคุณธรรม
ที่สูงขึ้นไปแล้วก็ตาม ซึ่งต่างกับความเห็นของสกวาทีที่ไม่ยอมรับปัตติธรรมเช่นนั้น (อภิ.ปญฺจ.อ. ๓๙๓/๒๐๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๔๑๐ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๔. จตุตถวรรค] ๔. สมันนาคตกถา (๓๖)
สก. พระอนาคามีบริบูรณ์ด้วยผล ๓ ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระอนาคามีบริบูรณ์ด้วยผัสสะ ๓ ฯลฯ ปัญญา ๓ ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระสกทาคามีบริบูรณ์ด้วยผล ๒ ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสกทาคามีบริบูรณ์ด้วยผัสสะ ๒ ฯลฯ ปัญญา ๒ ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระอรหันต์บริบูรณ์ด้วยโสดาปัตติผลใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระอรหันต์เป็นพระโสดาบันผู้สัตตักขัตตุปรมะ โกลังโกละ เอกพีชีใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระอรหันต์บริบูรณ์ด้วยสกทาคามิผลใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระอรหันต์เป็นพระสกทาคามีใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระอรหันต์บริบูรณ์ด้วยอนาคามิผลใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระอรหันต์เป็นพระอนาคามีผู้อันตราปรินิพพายี อุปหัจจปรินิพพายี อสังขารปรินิพพายี
สสังขารปรินิพพายี อุทธังโสโตอกนิฏฐคามีใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระอนาคามีบริบูรณ์ด้วยโสดาปัตติผลใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๔๑๑ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๔. จตุตถวรรค] ๔. สมันนาคตกถา (๓๖)
สก. พระอนาคามีเป็นพระโสดาบันผู้สัตตักขัตตุปรมะ โกลังโกละ เอกพีชีใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระอนาคามีบริบูรณ์ด้วยสกทาคามิผลใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระอนาคามีเป็นพระสกทาคามีใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระสกทาคามีบริบูรณ์ด้วยโสดาปัตติผลใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสกทาคามีเป็นพระโสดาบันผู้สัตตักขัตตุปรมะ โกลังโกละ เอกพีชี
ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๓๙๔] สก. ผู้บริบูรณ์ด้วยโสดาปัตติผล ท่านยอมรับว่า “เป็นพระโสดาบัน”
ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระอรหันต์บริบูรณ์ด้วยโสดาปัตติผลใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระอรหันต์กับพระโสดาบันเป็นองค์เดียวกันใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ผู้บริบูรณ์ด้วยสกทาคามิผล ท่านยอมรับว่า “เป็นพระสกทาคามี”
ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระอรหันต์บริบูรณ์ด้วยสกทาคามิผลใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๔๑๒ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๔. จตุตถวรรค] ๔. สมันนาคตกถา (๓๖)
สก. พระอรหันต์กับพระสกทาคามีเป็นองค์เดียวกันใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ผู้บริบูรณ์ด้วยอนาคามิผล ท่านยอมรับว่า “เป็นพระอนาคามี” ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระอรหันต์บริบูรณ์ด้วยอนาคามิผลใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระอรหันต์กับพระอนาคามีเป็นองค์เดียวกันใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ผู้บริบูรณ์ด้วยโสดาปัตติผล ท่านยอมรับว่า “เป็นพระโสดาบัน” ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระอนาคามีบริบูรณ์ด้วยโสดาปัตติผลใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระอนาคามีกับพระโสดาบันเป็นองค์เดียวกันใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ผู้บริบูรณ์ด้วยสกทาคามิผล ท่านยอมรับว่า “เป็นพระสกทาคามี”
ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระอนาคามีบริบูรณ์ด้วยสกทาคามิผลใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระอนาคามีกับพระสกทาคามีเป็นองค์เดียวกันใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๔๑๓ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๔. จตุตถวรรค] ๔. สมันนาคตกถา (๓๖)
สก. ผู้บริบูรณ์ด้วยโสดาปัตติผล ท่านยอมรับว่า “เป็นพระโสดาบัน” ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสกทาคามีบริบูรณ์ด้วยโสดาปัตติผลใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสกทาคามีกับพระโสดาบันเป็นองค์เดียวกันใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๓๙๕] สก. พระอรหันต์บริบูรณ์ด้วยโสดาปัตติผลใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระอรหันต์ล่วงเลยโสดาปัตติผลไปแล้วมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากพระอรหันต์ล่วงเลยโสดาปัตติผลไปแล้ว ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า
“พระอรหันต์บริบูรณ์ด้วยโสดาปัตติผล”
สก. พระอรหันต์ล่วงเลยโสดาปัตติผลไปแล้ว ชื่อว่าบริบูรณ์ด้วยโสดาปัตติผล
นั้นใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระอรหันต์ล่วงเลยโสดาปัตติมรรคไปแล้ว ล่วงเลยสักกายทิฏฐิ
วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส ราคะ โทสะ โมหะ ที่เป็นเหตุให้สัตว์ไปสู่อบายได้แล้ว
ชื่อว่าบริบูรณ์ด้วยสภาวธรรมมีสักกายทิฏฐิเป็นต้นนั้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระอรหันต์บริบูรณ์ด้วยสกทาคามิผลใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระอรหันต์ล่วงเลยสกทาคามิผลไปแล้วมิใช่หรือ
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๔๑๔ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๔. จตุตถวรรค] ๔. สมันนาคตกถา (๓๖)
สก. หากพระอรหันต์ล่วงเลยสกทาคามิผลไปแล้ว ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า
“พระอรหันต์บริบูรณ์ด้วยสกทาคามิผล”
สก. พระอรหันต์ล่วงเลยสกทาคามิผลไปแล้ว ชื่อว่าบริบูรณ์ด้วยสกทาคามิผล
นั้นใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระอรหันต์ล่วงเลยสกทาคามิมรรคไปแล้ว ล่วงเลยกามราคะอย่างหยาบ
พยาบาทอย่างหยาบได้แล้ว ชื่อว่าบริบูรณ์ด้วยกามราคะและพยาบาทนั้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระอรหันต์บริบูรณ์ด้วยอนาคามิผลใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระอรหันต์ล่วงเลยอนาคามิผลไปแล้วมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากพระอรหันต์ล่วงเลยอนาคามิผลไปแล้ว ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า
“พระอรหันต์บริบูรณ์ด้วยอนาคามิผล”
สก. พระอรหันต์ล่วงเลยอนาคามิผลไปแล้ว ชื่อว่าบริบูรณ์ด้วยอนาคามิผล
นั้นใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระอรหันต์ล่วงเลยอนาคามิมรรคไปแล้ว ล่วงเลยกามราคะอย่างละเอียด
พยาบาทอย่างละเอียดได้แล้ว ชื่อว่าบริบูรณ์ด้วยกามราคะและพยาบาทนั้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระอนาคามีบริบูรณ์ด้วยโสดาปัตติผลใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระอนาคามีล่วงเลยโสดาปัตติผลไปแล้วมิใช่หรือ
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๔๑๕ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๔. จตุตถวรรค] ๔. สมันนาคตกถา (๓๖)
สก. หากพระอนาคามีล่วงเลยโสดาปัตติผลไปแล้ว ท่านก็ไม่ควรยอมรับ
ว่า “พระอนาคามีบริบูรณ์ด้วยโสดาปัตติผล”
สก. พระอนาคามีล่วงเลยโสดาปัตติผลไปแล้ว ชื่อว่าบริบูรณ์ด้วยโสดาปัตติผล
นั้นใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระอนาคามีล่วงเลยโสดาปัตติมรรคไปแล้ว ล่วงเลยสักกายทิฏฐิ ฯลฯ
ล่วงเลยโมหะที่เป็นเหตุให้สัตว์ไปสู่อบายได้แล้ว ชื่อว่าบริบูรณ์ด้วยสภาวธรรมมี
สักกายทิฏฐิเป็นต้นนั้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระอนาคามีบริบูรณ์ด้วยสกทาคามิผลใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระอนาคามีล่วงเลยสกทาคามิผลไปแล้วมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากพระอนาคามีล่วงเลยสกทาคามิผลไปแล้ว ท่านก็ไม่ควรยอมรับ
ว่า “พระอนาคามีบริบูรณ์ด้วยสกทาคามิผล”
สก. พระอนาคามีล่วงเลยสกทาคามิผลไปแล้ว ชื่อว่าบริบูรณ์ด้วยสกทาคามิผล
นั้นใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระอนาคามีล่วงเลยสกทาคามิมรรคไปแล้ว ล่วงเลยกามราคะอย่างหยาบ
พยาบาทอย่างหยาบได้แล้ว ชื่อว่าบริบูรณ์ด้วยกามราคะและพยาบาทนั้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระสกทาคามีบริบูรณ์ด้วยโสดาปัตติผลใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๔๑๖ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๔. จตุตถวรรค] ๔. สมันนาคตกถา (๓๖)
สก. พระสกทาคามีล่วงเลยโสดาปัตติผลไปแล้วมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากพระสกทาคามีล่วงเลยโสดาปัตติผลไปแล้ว ท่านก็ไม่ควรยอมรับ
ว่า “พระสกทาคามีบริบูรณ์ด้วยโสดาปัตติผล”
สก. พระสกทาคามีล่วงเลยโสดาปัตติผลไปแล้ว ชื่อว่าบริบูรณ์ด้วยโสดาปัตติผล
นั้นใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสกทาคามีล่วงเลยโสดาปัตติมรรคไปแล้ว ล่วงเลยสักกายทิฏฐิ
ฯลฯ ล่วงเลยโมหะที่เป็นเหตุให้สัตว์ไปสู่อบายได้แล้ว ชื่อว่าบริบูรณ์ด้วยสภาวธรรมมี
สักกายทิฏฐิเป็นต้นนั้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๓๙๖] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “พระอรหันต์บริบูรณ์ด้วยผล ๔” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. พระอรหันต์ได้ผล ๔ แล้วยังไม่เสื่อมจากผล ๔ นั้นมิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. หากพระอรหันต์ได้ผล ๔ แล้วยังไม่เสื่อมจากผล ๔ นั้น ดังนั้น
ท่านจึงควรยอมรับว่า “พระอรหันต์บริบูรณ์ด้วยผล ๔”
ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “พระอนาคามีบริบูรณ์ด้วยผล ๓” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. พระอนาคามีได้ผล ๓ แล้วยังไม่เสื่อมจากผล ๓ นั้นมิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. หากพระอนาคามีได้ผล ๓ แล้วยังไม่เสื่อมจากผล ๓ นั้น ดังนั้น
ท่านจึงควรยอมรับว่า “พระอนาคามีบริบูรณ์ด้วยผล ๓”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๔๑๗ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๔. จตุตถวรรค] ๔. สมันนาคตกถา (๓๖)
ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “พระสกทาคามีบริบูรณ์ด้วยผล ๒” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. พระสกทาคามีได้ผล ๒ แล้วยังไม่เสื่อมจากผล ๒ นั้นมิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. หากพระสกทาคามีได้ผล ๒ แล้วยังไม่เสื่อมจากผล ๒ นั้น ดังนั้น
ท่านจึงควรยอมรับว่า “พระสกทาคามีบริบูรณ์ด้วยผล ๒”
สก. พระอรหันต์ได้ผล ๔ แล้วยังไม่เสื่อมจากผล ๔ นั้น ดังนั้น
จึงชื่อว่าบริบูรณ์ด้วยผล ๔ ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระอรหันต์ได้มรรค ๔ แล้วยังไม่เสื่อมจากมรรค ๔ นั้น ดังนั้น
จึงชื่อว่าบริบูรณ์ด้วยมรรค ๔ ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระอนาคามีได้ผล ๓ แล้วยังไม่เสื่อมจากผล ๓ นั้น ดังนั้น จึงชื่อ
ว่าบริบูรณ์ด้วยผล ๓ ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระอนาคามีได้มรรค ๓ แล้วยังไม่เสื่อมจากมรรค ๓ นั้น ดังนั้น
จึงชื่อว่าบริบูรณ์ด้วยมรรค ๓ ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระสกทาคามีได้ผล ๒ แล้วยังไม่เสื่อมจากผล ๒ นั้น ดังนั้น จึง
ชื่อว่าบริบูรณ์ด้วยผล ๒ ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสกทาคามีได้มรรค ๒ แล้วยังไม่เสื่อมจากมรรค ๒ นั้น ดังนั้น
จึงชื่อว่าบริบูรณ์ด้วยมรรค ๒ ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

สมันนาคตกถา จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๔๑๘ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๔. จตุตถวรรค] ๕. อุเปกขาสมันนาคตกถา (๓๗)
๕. อุเปกขาสมันนาคตกถา (๓๗)
ว่าด้วยผู้บริบูรณ์ด้วยอุเบกขา
[๓๙๗] สก. พระอรหันต์บริบูรณ์ด้วยอุเบกขา ๖ ใช่ไหม
ปร.๑ ใช่ ๒
สก. พระอรหันต์บริบูรณ์ด้วยผัสสะ ๖ ฯลฯ เวทนา ๖ ฯลฯ สัญญา ๖
ปัญญา ๖ ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระอรหันต์บริบูรณ์ด้วยอุเบกขา ๖ ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระอรหันต์เห็นรูปทางตา ฟังเสียงทางหู ดมกลิ่นทางจมูก ลิ้มรส
ทางลิ้น ถูกต้องโผฏฐัพพะทางกาย รู้ธรรมารมณ์ทางใจ ฯลฯ เมื่อรู้ธรรมารมณ์ทางใจ
จึงเห็นรูปทางตา ฟังเสียงทางหู ดมกลิ่นทางจมูก ลิ้มรสทางลิ้น ถูกต้องโผฏฐัพพะ
ทางกายใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระอรหันต์บริบูรณ์ด้วยอุเบกขา ๖ ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระอรหันต์บริบูรณ์ มั่นคงด้วยอุเบกขา ๖ เนือง ๆ สม่ำเสมอ ไม่
ระคนกัน อุเบกขา ๖ ปรากฏใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “พระอรหันต์บริบูรณ์ด้วยอุเบกขา ๖” ใช่ไหม
สก. ใช่

เชิงอรรถ :
๑ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอุตตราปถกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๓๘๗/๒๐๑)
๒ เพราะมีความเห็นว่า พระอรหันต์ไม่สามารถให้อุเบกขา ๖ ประการเกิดขึ้นพร้อมกัน (อภิ.ปญฺจ.อ.
๓๙๗/๒๐๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๔๑๙ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๔. จตุตถวรรค] ๖. โพธิยาพุทโธติกถา (๓๘)
ปร. พระอรหันต์มีอุเบกขา ๖ มิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. หากพระอรหันต์มีอุเบกขา ๖ ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “พระ
อรหันต์ บริบูรณ์ด้วยอุเบกขา ๖”
อุเปกขาสมันนาคตกถา จบ

๖. โพธิยาพุทโธติกถา (๓๘)
ว่าด้วยชื่อว่าพุทธะเพราะปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้
[๓๙๘] สก. ชื่อว่าพุทธะ เพราะปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ใช่ไหม
ปร.๑ ใช่๒
สก. เมื่อปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ดับไป หายไป ระงับไปแล้ว ไม่จัดว่าเป็น
พุทธะใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ชื่อว่าพุทธะ เพราะปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ชื่อว่าพุทธะ เพราะปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ที่เป็นอดีตใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ชื่อว่าพุทธะ เพราะปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ที่เป็นอดีตใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลทำกิจที่ควรทำด้วยปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ได้ด้วยปัญญาเป็น
เครื่องตรัสรู้ที่เป็นอดีตนั้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

เชิงอรรถ :
๑ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอุตตราปถกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๓๙๘/๒๐๔)
๒ เพราะมีความเห็นว่า จะเรียกว่าพุทธะได้ก็เพราะปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ และ มีปรากฏตลอดไปเช่นเดียวกับ
สี เช่น จะเรียกว่าคนขาว ก็เพราะมีผิวขาว จะเรียกว่าคนดำ ก็เพราะมีผิวดำ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๓๙๘/๒๐๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๔๒๐ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๔. จตุตถวรรค] ๖. โพธิยาพุทโธติกถา (๓๘)
สก. บุคคลทำกิจที่ควรทำด้วยปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ได้ด้วยปัญญาเป็น
เครื่องตรัสรู้ที่เป็นอดีตนั้นใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. กำหนดรู้ทุกข์ ละสมุทัย ทำให้แจ้งนิโรธ เจริญมรรคด้วยปัญญาเป็น
เครื่องตรัสรู้ที่เป็นอดีตนั้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ชื่อว่าพุทธะ เพราะปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ชื่อว่าพุทธะ เพราะปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ที่เป็นอนาคตใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ชื่อว่าพุทธะ เพราะปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ที่เป็นอนาคตใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ทำกิจที่ควรทำด้วยปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ได้ด้วยปัญญาเป็นเครื่อง
ตรัสรู้ที่เป็นอนาคตนั้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ทำกิจที่ควรทำด้วยปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ได้ด้วยปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้
ที่เป็นอนาคตนั้นใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. กำหนดรู้ทุกข์ ฯลฯ เจริญมรรคด้วยปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ที่เป็นอนาคต
นั้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ชื่อว่าพุทธะ เพราะปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ที่เป็นปัจจุบัน ทำกิจที่ควรทำ
ด้วยปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ได้ด้วยปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ที่เป็นปัจจุบันนั้นใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๔๒๑ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๔. จตุตถวรรค] ๖. โพธิยาพุทโธติกถา (๓๘)
สก. ชื่อว่าพุทธะ เพราะปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ที่เป็นอดีต ทำกิจที่ควรทำ
ด้วยปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ได้ด้วยปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ที่เป็นอดีตนั้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ชื่อว่าพุทธะ เพราะปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ที่เป็นปัจจุบัน กำหนดรู้ทุกข์
ละสมุทัย ทำให้แจ้งนิโรธ เจริญมรรคด้วยปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ที่เป็นปัจจุบันนั้น
ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ชื่อว่าพุทธะ เพราะปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ที่เป็นอดีต กำหนดรู้ทุกข์
ฯลฯ เจริญมรรคด้วยปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ที่เป็นอดีตนั้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ชื่อว่าพุทธะ เพราะปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ที่เป็นปัจจุบัน ทำกิจที่ควรทำ
ด้วยปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ได้ด้วยปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ที่เป็นปัจจุบันนั้นใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ชื่อว่าพุทธะ เพราะปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ที่เป็นอนาคต ทำกิจที่ควร
ทำด้วยปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ได้ด้วยปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ที่เป็นอนาคตนั้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ชื่อว่าพุทธะ เพราะปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ที่เป็นปัจจุบัน กำหนดรู้ทุกข์
ฯลฯ เจริญมรรคด้วยปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ที่เป็นปัจจุบันนั้นใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ชื่อว่าพุทธะ เพราะปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ที่เป็นอนาคต กำหนดรู้ทุกข์
ฯลฯ เจริญมรรคด้วยปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ที่เป็นอนาคตนั้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๔๒๒ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๔. จตุตถวรรค] ๖. โพธิยาพุทโธติกถา (๓๘)
สก. ชื่อว่าพุทธะ เพราะปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ที่เป็นอดีต แต่ไม่ทำกิจที่ควร
ทำด้วยปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ได้ด้วยปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ที่เป็นอดีตนั้นใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ชื่อว่าพุทธะ เพราะปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ที่เป็นปัจจุบัน แต่ไม่ทำกิจ
ที่ควรทำด้วยปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ได้ด้วยปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ที่เป็นปัจจุบันนั้น
ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ชื่อว่าพุทธะ เพราะปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ที่เป็นอดีต แต่ไม่กำหนดรู้ทุกข์
ฯลฯ เจริญมรรคด้วยปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ที่เป็นอดีตนั้นใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ชื่อว่าพุทธะ เพราะปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ที่เป็นปัจจุบัน แต่ไม่กำหนด
รู้ทุกข์ ฯลฯ เจริญมรรคด้วยปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ที่เป็นปัจจุบันนั้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ชื่อว่าพุทธะ เพราะปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ที่เป็นอนาคต แต่ไม่ทำกิจที่
ควรทำด้วยปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ได้ด้วยปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ที่เป็นอนาคตนั้นใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ชื่อว่าพุทธะ เพราะปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ที่เป็นปัจจุบัน แต่ไม่ทำกิจที่
ควรทำด้วยปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ได้ด้วยปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ที่เป็นปัจจุบันนั้น
ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ชื่อว่าพุทธะ เพราะปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ที่เป็นอนาคต แต่ไม่กำหนด
รู้ทุกข์ ฯลฯ เจริญมรรคด้วยปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ที่เป็นอนาคตนั้นใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ชื่อว่าพุทธะ เพราะปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ที่เป็นปัจจุบัน แต่ไม่กำหนด
รู้ทุกข์ ฯลฯ เจริญมรรคด้วยปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ที่เป็นปัจจุบันนั้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๔๒๓ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๔. จตุตถวรรค] ๖. โพธิยาพุทโธติกถา (๓๘)
[๓๙๙] สก. ชื่อว่าพุทธะ เพราะปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ที่เป็นอดีต อนาคต
และปัจจุบันใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ชื่อว่าพุทธะ เพราะปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ ๓ อย่างใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ชื่อว่าพุทธะ เพราะปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ ๓ อย่างใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระพุทธะ บริบูรณ์ มั่นคง ด้วยปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ ๓ อย่าง
เนือง ๆ สม่ำเสมอ ไม่ระคนกัน ปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ ๓ อย่างปรากฏใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “ชื่อว่าพุทธะ เพราะปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. ชื่อว่าพุทธะ เพราะได้ปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้มิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. หากชื่อว่าพุทธะ เพราะได้ปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ ดังนั้น ท่านจึงควร
ยอมรับว่า “ชื่อว่าพุทธะ เพราะปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้”
สก. ชื่อว่าพุทธะ เพราะได้ปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า
พุทธะ เพราะปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ชื่อว่าโพธิ เพราะได้ปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

โพธิยาพุทโธติกถา จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๔๒๔ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๔. จตุตถวรรค] ๗. ลักขณกถา (๓๙)
๗. ลักขณกถา (๓๙)
ว่าด้วยลักษณะ
[๔๐๐] สก. ผู้บริบูรณ์ด้วยพระลักษณะเป็นพระโพธิสัตว์ใช่ไหม
ปร.๑ ใช่๒
สก. ผู้บริบูรณ์ด้วยพระลักษณะบางส่วน เป็นพระโพธิสัตว์บางส่วนใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ผู้บริบูรณ์ด้วยพระลักษณะเป็นพระโพธิสัตว์ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ผู้บริบูรณ์ด้วยพระลักษณะ ๓ ส่วน เป็นพระโพธิสัตว์ ๓ ส่วนใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ผู้บริบูรณ์ด้วยพระลักษณะเป็นพระโพธิสัตว์ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ผู้บริบูรณ์ด้วยพระลักษณะครึ่งหนึ่ง เป็นพระโพธิสัตว์ครึ่งหนึ่งใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ผู้บริบูรณ์ด้วยพระลักษณะเป็นพระโพธิสัตว์ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระเจ้าจักรพรรดิเป็นผู้บริบูรณ์ด้วยพระลักษณะ พระเจ้าจักรพรรดิก็
เป็นพระโพธิสัตว์ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

เชิงอรรถ :
๑ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอุตตราปถกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๔๐๐/๒๐๖)
๒ เพราะมีความเห็นว่า ผู้เป็นพระโพธิสัตว์จะต้องบริบูรณ์ด้วยลักษณะมหาบุรุษ ๓๒ ประการ ทุกภพทุกชาติ
(อภิ.ปญฺจ.อ. ๔๐๐/๒๐๖)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๔๒๕ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๔. จตุตถวรรค] ๗. ลักขณกถา (๓๙)
สก. พระเจ้าจักรพรรดิเป็นผู้บริบูรณ์ด้วยพระลักษณะ พระเจ้าจักรพรรดิก็
เป็นพระโพธิสัตว์ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุรพประโยค บุรพจริยา การบอกกล่าวธรรม การแสดงธรรมของ
พระโพธิสัตว์เป็นเช่นไร บุรพประโยค บุรพจริยา การบอกกล่าวธรรม การแสดงธรรม
ของพระเจ้าจักรพรรดิก็เป็นเช่นนั้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๔๐๑] สก. เมื่อพระโพธิสัตว์ประสูติ หมู่เทวดารับก่อน หมู่มนุษย์รับภายหลัง
ฉันใด เมื่อพระเจ้าจักรพรรดิประสูติ หมู่เทวดารับก่อน หมู่มนุษย์รับภายหลัง
ฉันนั้นเหมือนกันใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เมื่อพระโพธิสัตว์ประสูติ เทพบุตร ๔ องค์ รับพระโพธิสัตว์นั้นแล้ววาง
ไว้ตรงพระพักตร์ของพระมารดา แล้วทูลว่า “ข้าแต่พระเทวี ขอพระองค์จงพอ
พระทัยเถิด พระโอรสผู้มีศักดิ์ใหญ่ของพระองค์ประสูติแล้ว” ฉันใด เมื่อพระเจ้า
จักรพรรดิ ประสูติ เทพบุตร ๔ องค์ รับพระเจ้าจักรพรรดินั้นแล้ววางไว้ตรงพระ
พักตร์ของพระมารดา แล้วทูลว่า “ข้าแต่พระเทวี ขอพระองค์จงพอพระทัยเถิด
พระโอรสผู้มีศักดิ์ใหญ่ของพระองค์ประสูติแล้ว” ฉันนั้นเหมือนกันใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เมื่อพระโพธิสัตว์ประสูติ ธารน้ำทั้ง ๒ คือ ธารน้ำเย็นและธารน้ำร้อน
ไหลลงจากอากาศ ชนทั้งหลายสรงพระโพธิสัตว์และพระมารดา ฉันใด เมื่อพระเจ้า
จักรพรรดิประสูติ ธารน้ำทั้ง ๒ คือ ธารน้ำเย็นและธารน้ำร้อนไหลลงจากอากาศ
ชนทั้งหลายสรงพระเจ้าจักรพรรดิและพระมารดา ฉันนั้นเหมือนกันใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๔๒๖ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๔. จตุตถวรรค] ๗. ลักขณกถา (๓๙)
สก. พระโพธิสัตว์พอประสูติแล้วเดี๋ยวนั้น ประทับยืนด้วยพระบาททั้งสอง
อันราบเรียบ บ่ายพระพักตร์สู่ทิศเหนือ ดำเนินไปได้ ๗ ก้าว มีฉัตรขาวกั้นตามไป
ทรงแลดูทิศทั้งปวง และเปล่งอาสภิวาจาว่า “เราเป็นผู้เลิศในโลก เราเป็นใหญ่ในโลก
เราเป็นผู้ประเสริฐในโลก นี้เป็นชาติสุดท้าย บัดนี้ ภพใหม่ไม่มีอีก” ฉันใด พระเจ้า
จักรพรรดิพอประสูติแล้วเดี๋ยวนั้น ประทับยืนด้วยพระบาททั้งสองอันราบเรียบ
บ่ายพระพักตร์สู่ทิศเหนือ ดำเนินไปได้ ๗ ก้าว มีฉัตรขาวกั้นตามไป ทรงแลดูทิศ
ทั้งปวง และเปล่งอาสภิวาจาว่า “เราเป็นผู้เลิศในโลก เราเป็นใหญ่ในโลก เราเป็น
ผู้ประเสริฐในโลก นี้เป็นชาติสุดท้าย บัดนี้ ภพใหม่ไม่มีอีก” ฉันนั้นเหมือนกันใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เมื่อพระโพธิสัตว์ประสูติย่อมปรากฏแสงสว่างรัศมีอันเจิดจ้า แผ่นดินไหว
อย่างสะท้านสะเทือน ฉันใด เมื่อพระเจ้าจักรพรรดิประสูติก็ย่อมปรากฏแสงสว่าง
รัศมีอันเจิดจ้า แผ่นดินไหวอย่างสะท้านสะเทือน ฉันนั้นเหมือนกันใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระกายตามปกติของพระโพธิสัตว์ ฉายพระรัศมีออกไปวาหนึ่งโดยรอบ
ฉันใด พระกายตามปกติของพระเจ้าจักรพรรดิก็ฉายพระรัศมีออกไปวาหนึ่งโดยรอบ
ฉันนั้นเหมือนกันใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระโพธิสัตว์ทรงมหาสุบิน ฉันใด พระเจ้าจักรพรรดิก็ทรงมหาสุบิน
ฉันนั้นเหมือนกันใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๔๐๒] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “ผู้บริบูรณ์ด้วยพระลักษณะเป็นพระโพธิสัตว์”
ใช่ไหม
สก. ใช่๑

เชิงอรรถ :
๑ เพราะมีความเห็นว่า ผู้สมบูรณ์ด้วยพระลักษณะ ๓๒ ประการ เช่น พระเจ้าจักพรรดิ มิได้เป็นพระโพธิสัตว์ก็มี
(อภิ.ปญฺจ.อ. ๔๐๒/๒๐๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๔๒๗ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๔. จตุตถวรรค] ๘. นิยาโมกกันติกถา (๔๐)
ปร. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย มหาบุรุษสมบูรณ์
ด้วยลักษณะ ๓๒ ประการ มีคติเพียง ๒ อย่างเท่านั้น ไม่เป็นอย่างอื่น คือ
๑. ถ้าอยู่ครองเรือนจะได้เป็นพระเจ้าจักพรรดิผู้ทรงธรรม ครองราชย์
โดยธรรม ทรงเป็นใหญ่ในแผ่นดินมีมหาสมุทรทั้ง ๔ เป็นขอบเขต
ทรงได้รับชัยชนะ มีพระราชอาณาจักรมั่นคง สมบูรณ์ด้วยแก้ว ๗
ประการ คือ (๑) จักรแก้ว (๒) ช้างแก้ว (๓) ม้าแก้ว (๔) มณีแก้ว
(๕) นางแก้ว (๖) คหบดีแก้ว (๗) ปริณายกแก้ว มีพระราชโอรส
มากกว่า ๑,๐๐๐ องค์ ซึ่งล้วนแต่กล้าหาญ มีรูปทรงสมเป็นวีรกษัตริย์
สามารถย่ำยีราชศัตรูได้ พระองค์ทรงชนะโดยธรรม ไม่ต้องใช้อาชญา
ไม่ต้องใช้ศัสตรา ครอบครองแผ่นดินนี้มีสาครเป็นขอบเขต
๒. ถ้าออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตจะได้เป็นพระอรหันตสัมมา-
สัมพุทธเจ้า ผู้ไม่มีกิเลสในโลก”๑
มีอยู่จริงมิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. ดังนั้น ผู้บริบูรณ์ด้วยพระลักษณะจึงเป็นพระโพธิสัตว์ได้
ลักขณกถา จบ

๘. นิยาโมกกันติกถา (๔๐)
ว่าด้วยการหยั่งลงสู่นิยาม
[๔๐๓] สก. พระโพธิสัตว์หยั่งลงสู่นิยาม๒ ประพฤติพรหมจรรย์๒ แล้วใน
ศาสนาของพระผู้มีพระภาคพระนามว่ากัสสปะใช่ไหม
ปร.๓ ใช่๔

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ ที.ปา. (แปล) ๑๑/๑๙๙-๒๐๐/๑๕๙-๑๖๐
๒ คำว่า นิยามก็ดี พรหมจรรย์ก็ดี เป็นชื่อของอริยมรรค ดังนั้น คำว่า หยั่งลงสู่นิยาม หมายถึง
บรรลุอริยมรรค (อภิ.ปญฺจ.อ. ๔๐๓/๒๐๖)
๓ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอันธกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๔๐๓/๒๐๖)
๔ เพราะมีความเห็นว่า พระโพธิสัตว์โชติปาละเคยได้อริยมรรคมาแล้วในศาสนาของพระพุทธเจ้าพระนามว่า
กัสสปะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๔๐๓/๒๐๖)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๔๒๘ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๔. จตุตถวรรค] ๘. นิยาโมกกันติกถา (๔๐)
สก. พระโพธิสัตว์เป็นสาวกของพระผู้มีพระภาคพระนามว่ากัสสปะใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น๑ ฯลฯ
สก. พระโพธิสัตว์เป็นสาวกของพระผู้มีพระภาคพระนามว่ากัสสปะใช่ไหม
ปร. ใช่๒
สก. เป็นสาวกแล้วจึงเป็นพระพุทธเจ้าใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เป็นสาวกแล้วจึงเป็นพระพุทธเจ้าใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เป็นผู้ตรัสรู้ด้วยการรับฟังใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เป็นผู้ตรัสรู้ด้วยการรับฟังใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระผู้มีพระภาคทรงเป็นพระสยัมภูมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากพระผู้มีพระภาคทรงเป็นพระสยัมภู ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “พระ
ผู้มีพระภาคเป็นผู้ตรัสรู้ด้วยการรับฟัง”
สก. พระโพธิสัตว์หยั่งลงสู่นิยาม ประพฤติพรหมจรรย์แล้วในศาสนาของพระ
ผู้มีพระภาคพระนามว่ากัสสปะใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระผู้มีพระภาคตรัสรู้สามัญญผลเพียง ๓ เท่านั้น ณ ควงไม้โพธิ์ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

เชิงอรรถ :
๑ เพราะคำว่า “พระโพธิสัตว์” ในคำถามนี้ ปรวาทีมุ่งถึงพระโพธิสัตว์ในภพสุดท้าย จึงตอบปฏิเสธ (อภิ.ปญฺจ.อ.
๔๐๓/๒๐๖)
๒ เพราะคำว่า “พระโพธิสัตว์” ในคำถามนี้ ปรวาทีมุ่งถึงพระพุทธเจ้าเมื่อครั้งเสวยพระชาติเป็นพระโพธิสัตว์
โชติปาละ จึงตอบรับ (อภิ.ปญฺจ.อ.๔๐๓/๒๐๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๔๒๙ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๔. จตุตถวรรค] ๘. นิยาโมกกันติกถา (๔๐)
สก. พระผู้มีพระภาคตรัสรู้สามัญญผล ๔ ณ ควงไม้โพธิ์ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. หากพระผู้มีพระภาคตรัสรู้สามัญญผล ๔ ณ ควงไม้โพธิ์ ท่านก็ไม่
ควรยอมรับว่า “พระโพธิสัตว์หยั่งลงสู่นิยาม ประพฤติพรหมจรรย์แล้วในศาสนา
ของพระผู้มีพระภาคพระนามว่ากัสสปะ”
[๔๐๔] สก. พระโพธิสัตว์หยั่งลงสู่นิยาม ประพฤติพรหมจรรย์แล้วในศาสนา
ของพระผู้มีพระภาคพระนามว่ากัสสปะใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระโพธิสัตว์ได้ทำทุกกรกิริยา(การทำความเพียรที่คนทั่วไปทำได้ยาก)
ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทัสสนะ(โสดาปัตติมรรค)จึงทำทุกกรกิริยาใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระโพธิสัตว์ได้บำเพ็ญตบะอย่างอื่นและนับถือศาสดาอื่น๑] ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทัสสนะจะพึงนับถือศาสดาอื่นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ท่านพระอานนท์หยั่งลงสู่นิยาม ประพฤติพรหมจรรย์แล้วในศาสนาของ
พระผู้มีพระภาค (ดังนั้น) ท่านพระอานนท์จึงเป็นสาวกของพระผู้มีพระภาคใช่ไหม
ปร. ใช่

เชิงอรรถ :
๑ ศาสดาอื่น ในที่นี้หมายถึงอาฬารดาบส กาลามโคตร และอุททกดาบส รามบุตร (อภิ.ปญฺจ.อ. ๔๐๔/๒๐๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๔๓๐ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๔. จตุตถวรรค] ๘. นิยาโมกกันติกถา (๔๐)
สก. พระโพธิสัตว์หยั่งลงสู่นิยาม ประพฤติพรหมจรรย์แล้วในศาสนาของ
พระผู้มีพระภาคพระนามว่ากัสสปะ (ดังนั้น) พระโพธิสัตว์จึงเป็นสาวกของพระผู้มี
พระภาคพระนามว่ากัสสปะใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ท่านจิตตคหบดี ท่านหัตถกะชาวเมืองอาฬวี หยั่งลงสู่นิยาม ประพฤติ
พรหมจรรย์แล้วในศาสนาของพระผู้มีพระภาค (ดังนั้น) จิตตคหบดี ท่านหัตถกะ
ชาวเมืองอาฬวี จึงเป็นสาวกของพระผู้มีพระภาคใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระโพธิสัตว์หยั่งลงสู่นิยาม ประพฤติพรหมจรรย์แล้วในศาสนาของ
พระผู้มีพระภาคพระนามว่ากัสสปะ (ดังนั้น) พระโพธิสัตว์จึงเป็นสาวกของพระผู้มี
พระภาคพระนามว่ากัสสปะใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระโพธิสัตว์หยั่งลงสู่นิยาม ประพฤติพรหมจรรย์แล้วในศาสนาของ
พระผู้มีพระภาคพระนามว่ากัสสปะ แต่ไม่ได้เป็นสาวกของพระผู้มีพระภาคพระนาม
ว่ากัสสปะใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ท่านพระอานนท์หยั่งลงสู่นิยาม ประพฤติพรหมจรรย์แล้วในศาสนาของ
พระผู้มีพระภาค แต่ไม่ได้เป็นสาวกของพระผู้มีพระภาคใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระโพธิสัตว์หยั่งลงสู่นิยาม ประพฤติพรหมจรรย์แล้วในศาสนาของ
พระผู้มีพระภาคพระนามว่ากัสสปะ แต่ไม่ได้เป็นสาวกของพระผู้มีพระภาคพระนาม
ว่ากัสสปะใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ท่านจิตตคหบดี ท่านหัตถกะชาวเมืองอาฬวี หยั่งลงสู่นิยาม ประพฤติ
พรหมจรรย์แล้วในศาสนาของพระผู้มีพระภาค แต่ไม่ได้เป็นสาวกของพระผู้มี
พระภาคใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๔๓๑ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๔. จตุตถวรรค] ๘. นิยาโมกกันติกถา (๔๐)
สก. พระโพธิสัตว์หยั่งลงสู่นิยาม ประพฤติพรหมจรรย์แล้วในศาสนาของ
พระผู้มีพระภาคพระนามว่ากัสสปะ แต่ไม่ได้เป็นสาวกของพระผู้มีพระภาคพระนาม
ว่ากัสสปะใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เป็นสาวกล่วงไปชาติหนึ่งแล้วกลับไม่เป็นสาวกใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๔๐๕] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “พระโพธิสัตว์หยั่งลงสู่นิยาม ประพฤติ
พรหมจรรย์แล้วในศาสนาของพระผู้มีพระภาคพระนามว่ากัสสปะ” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “อานนท์ เราได้ประพฤติพรหมจรรย์
แล้วในพระผู้มีพระภาคพระนามว่ากัสสปะ เพื่อความตรัสรู้ในอนาคต” มีอยู่จริง
มิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “พระโพธิสัตว์หยั่งลงสู่นิยาม ประพฤติ
พรหมจรรย์แล้วในศาสนาของพระผู้มีพระภาคพระนามว่ากัสสปะ”
สก. พระโพธิสัตว์หยั่งลงสู่นิยาม ประพฤติพรหมจรรย์แล้วในศาสนาของ
พระผู้มีพระภาคพระนามว่ากัสสปะใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “(พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า)
‘เราเป็นผู้ครอบงำธรรมทั้งปวง๑ รู้ธรรมทั้งปวง๒
มิได้แปดเปื้อนในธรรมทั้งปวง๑ ละธรรมทั้งปวง๑ ได้สิ้นเชิง
หลุดพ้นเพราะสิ้นตัณหา ตรัสรู้ยิ่งเอง
แล้วจะพึงอ้างใครเล่า

เชิงอรรถ :
๑ ธรรมทั้งปวง ในที่นี้หมายถึงธรรมอันเป็นไปในภูมิ ๓ (วิ.อ. ๓/๑๑/๑๖)
๒ ธรรมทั้งปวง ในที่นี้หมายถึงธรรมอันเป็นไปในภูมิ ๔ (วิ.อ. ๓/๑๑/๑๖)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๔๓๒ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๔. จตุตถวรรค] ๘. นิยาโมกกันติกถา (๔๐)
เราไม่มีอาจารย์๑ เราไม่มีผู้เสมอเหมือน
เราไม่มีผู้ทัดเทียมในโลกกับทั้งเทวโลก
เพราะเราเป็นอรหันต์ เป็นศาสดาผู้ยอดเยี่ยม
เป็นผู้ตรัสรู้ชอบเองเพียงผู้เดียว เป็นผู้เยือกเย็น
ดับกิเลสได้แล้วในโลก
เราจะไปเมืองหลวงแห่งชาวกาสี ประกาศธรรมจักร
ตีกลองอมตธรรมไปในโลกอันมีความมืดมน’
อุปกาชีวกกราบทูลว่า ‘อาวุโส ท่านสมควรเป็นพระอนันตชินะตามที่ท่านประกาศ’
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
‘ชนเหล่าใดได้ถึงความสิ้นอาสวะแล้ว
ชนเหล่านั้นย่อมเป็นพระชินะเช่นเรา
อุปกะ เราชนะความชั่วได้แล้ว
เพราะฉะนั้น เราจึงชื่อว่าพระชินะ”๒
มีอยู่จริงมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. ดังนั้น ท่านจึงไม่ควรยอมรับว่า “พระโพธิสัตว์หยั่งลงสู่นิยาม ประพฤติ
พรหมจรรย์แล้วในศาสนาของพระผู้มีพระภาคพระนามว่ากัสสปะ”
สก. พระโพธิสัตว์หยั่งลงสู่นิยาม ประพฤติพรหมจรรย์แล้วในศาสนาของพระผู้มี
พระภาคพระนามว่ากัสสปะใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย จักษุเกิดขึ้นแล้ว
ญาณเกิดขึ้นแล้ว ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว วิชชาเกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วใน
ธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยสดับมาก่อนว่า ‘นี้ทุกขอริยสัจ’

เชิงอรรถ :
๑ อาจารย์ ในที่นี้หมายถึงอาจารย์ในระดับโลกุตตรธรรม (วิ.อ. ๓/๑๑/๑๖)
๒ ดูเทียบ วิ.ม. (แปล) ๔/๑๑/๑๗, ม.มู. (แปล) ๑๒/๒๘๕/๓๑๑, ม.ม. (แปล) ๑๓/๓๔๑/๔๑๓

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๔๓๓ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๔. จตุตถวรรค] ๘. นิยาโมกกันติกถา (๔๐)
ภิกษุทั้งหลาย จักษุเกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ แส่งสว่างเกิดขึ้นแล้วในธรรมทั้งหลาย
ที่เราไม่เคยสดับมาก่อนว่า ‘ทุกขอริยสัจนี้ ควรกำหนดรู้’
ภิกษุทั้งหลาย จักษุเกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วในธรรมทั้งหลาย
ที่เราไม่เคยสดับมาก่อนว่า ‘ทุกขอริยสัจนี้ เราได้กำหนดรู้แล้ว’
ภิกษุทั้งหลาย จักษุเกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วในธรรมทั้งหลาย
ที่เราไม่เคยสดับมาก่อนว่า ‘นี้ทุกขสมุทยอริยสัจ’
ภิกษุทั้งหลาย จักษุเกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วในธรรมทั้งหลาย
ที่เราไม่เคยสดับมาก่อนว่า ‘ทุกขสมุทยอริยสัจนี้ ควรละ’
ภิกษุทั้งหลาย จักษุเกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วในธรรมทั้งหลาย
ที่เราไม่เคยสดับมาก่อนว่า ‘ทุกขสมุทยอริยสัจ เราละได้แล้ว’
ภิกษุทั้งหลาย จักษุเกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วในธรรมทั้งหลาย
ที่เราไม่เคยสดับมาก่อนว่า ‘นี้ทุกขนิโรธอริยสัจ’
ภิกษุทั้งหลาย จักษุเกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วในธรรมทั้งหลาย
ที่เราไม่เคยสดับมาก่อนว่า ‘ทุกขนิโรธอริยสัจนี้ ควรทำให้แจ้ง’
ภิกษุทั้งหลาย จักษุเกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วในธรรมทั้งหลาย
ที่เราไม่เคยสดับมาก่อนว่า ‘ทุกขนิโรธอริยสัจ เราได้ทำให้แจ้งแล้ว’
ภิกษุทั้งหลาย จักษุเกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วในธรรมทั้งหลาย
ที่เราไม่เคยสดับมาก่อนว่า ‘นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ’
ภิกษุทั้งหลาย จักษุเกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วในธรรมทั้งหลาย
ที่เราไม่เคยสดับมาก่อนว่า ‘ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจนี้ ควรให้เจริญ’
ภิกษุทั้งหลาย จักษุเกิดขึ้นแล้ว ญาณเกิดขึ้นแล้ว ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว
วิชชาเกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยสดับมาก่อนว่า
‘ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจนี้ เราได้ทำให้เจริญแล้ว”๑ มีอยู่จริงมิใช่หรือ
ปร. ใช่

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ วิ.ม. (แปล) ๔/๑๕/๒๒-๒๓, สํ.ม. (แปล) ๑๙/๑๐๘๑/๕๖๖-๕๖๘

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๔๓๔ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๔. จตุตถวรรค] ๙. อปราปิสมันนาคตกถา (๔๑)
สก. ดังนั้น ท่านจึงไม่ควรยอมรับว่า “พระโพธิสัตว์หยั่งลงสู่นิยาม
ประพฤติพรหมจรรย์แล้วในศาสนาของพระผู้มีพระภาคพระนามว่ากัสสปะ”
นิยาโมกกันติกถา จบ

๙. อปราปิสมันนาคตกถา (๔๑)
ว่าด้วยผู้บริบูรณ์๑อีกเรื่องหนึ่ง
[๔๐๖] สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอรหัตตผลเป็นผู้บริบูรณ์ด้วยผล ๓
ใช่ไหม
ปร.๒ ใช่๓
สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอรหัตตผลเป็นผู้บริบูรณ์ด้วยผัสสะ ๔ ฯลฯ
เวทนา ๔ ฯลฯ สัญญา ๔ ฯลฯ เจตนา ๔ ฯลฯ จิต ๔ ฯลฯ ศรัทธา ๔ ฯลฯ
วิริยะ ๔ ฯลฯ สติ ๔ ฯลฯ สมาธิ ๔ ฯลฯ ปัญญา ๔ ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอนาคามิผลเป็นผู้บริบูรณ์ด้วยผล ๒ ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอนาคามิผลเป็นผู้บริบูรณ์ด้วยผัสสะ ๓ ฯลฯ
เวทนา ๓ ฯลฯ ปัญญา ๓ ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งสกทาคามิผลเป็นผู้บริบูรณ์ด้วยโสดาปัตติ-
ผลใช่ไหม
ปร. ใช่

เชิงอรรถ :
๑ ดูเชิงอรรถที่ ๑ ข้อ ๓๙๓ หน้า ๔๑๐ ในเล่มนี้
๒ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอันธกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๔๐๖/๒๐๗)
๓ เพราะมีความเห็นว่า อรหัตตมัคคัฏฐบุคคล (บุคคลผู้ตั้งอยู่ในอรหัตตมรรค) ยังมีโอกาสที่จะทำให้ผลเบื้องต่ำ ๓
คือโสดาปัตติผล สกทาคามิผล อนาคามิผล เกิดขึ้นได้อีก (อภิ.ปญฺจ.อ. ๔๐๖/๒๐๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๔๓๕ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๔. จตุตถวรรค] ๙. อปราปิสมันนาคตกถา (๔๑)
สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งสกทาคามิผลเป็นผู้บริบูรณ์ด้วยผัสสะ ๒ ฯลฯ
เวทนา ๒ ฯลฯ ปัญญา ๒ ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอรหัตตผลเป็นผู้บริบูรณ์ด้วยโสดาปัตติผล
ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอรหัตตผลเป็นพระโสดาบันผู้สัตตักขัตตุปรมะ
โกลังโกละ เอกพีชีใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอรหัตตผลเป็นผู้บริบูรณ์ด้วยสกทาคามิผล
ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอรหัตตผลเป็นพระสกทาคามีใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอรหัตตผลเป็นผู้บริบูรณ์ด้วยอนาคามิผลใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอรหัตตผล เป็นพระอนาคามีผู้อันตรา-
ปรินิพพายี อุปหัจจปรินิพพายี อสังขารปรินิพพายี สสังขารปรินิพพายี อุทธัง-
โสโตอกนิฏฐคามีใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอนาคามิผลเป็นผู้บริบูรณ์ด้วยโสดาปัตติผล
ใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๔๓๖ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๔. จตุตถวรรค] ๙. อปราปิสมันนาคตกถา (๔๑)
สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอนาคามิผลเป็นพระโสดาบันผู้สัตตักขัตตุปรมะ
โกลังโกละ เอกพีชีใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอนาคามิผลเป็นผู้บริบูรณ์ด้วยสกทาคามิผล
ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอนาคามิผลเป็นพระสกทาคามีใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งสกทาคามิผลเป็นผู้บริบูรณ์ด้วยโสดาปัตติผล
ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งสกทาคามิผลเป็นพระโสดาบันผู้สัตตักขัตตุ-
ปรมะ โกลังโกละ เอกพีชีใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๔๐๗] สก. บุคคลผู้บริบูรณ์ด้วยโสดาปัตติผล ท่านยอมรับว่า “เป็นพระ
โสดาบัน” ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอรหัตตผลเป็นผู้บริบูรณ์ด้วยโสดาปัตติผล
ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอรหัตตผลกับพระโสดาบันเป็นคนคน
เดียวกันใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลผู้บริบูรณ์ด้วยสกทาคามิผล ท่านยอมรับว่า “เป็นพระสกทาคามี”
ใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๔๓๗ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๔. จตุตถวรรค] ๙. อปราปิสมันนาคตกถา (๔๑)
สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอรหัตตผลเป็นผู้บริบูรณ์ด้วยสกทาคามิผล
ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอรหัตตผลกับพระสกทาคามีเป็นคนคน
เดียวกันใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ผู้บริบูรณ์ด้วยอนาคามิผล ท่านยอมรับว่า “เป็นพระอนาคามี” ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอรหัตตผลเป็นผู้บริบูรณ์ด้วยอนาคามิผลใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอรหัตตผลกับพระอนาคามีเป็นคนคนเดียวกัน
ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ผู้บริบูรณ์ด้วยโสดาปัตติผล ท่านยอมรับว่า “เป็นพระโสดาบัน” ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอนาคามิผล เป็นผู้บริบูรณ์ด้วยโสดาปัตติผล
ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอนาคามิผลกับพระโสดาบันเป็นคนคน
เดียวกันใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ผู้บริบูรณ์ด้วยสกทาคามิผล ท่านยอมรับว่า “เป็นพระสกทาคามี”
ใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๔๓๘ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๔. จตุตถวรรค] ๙. อปราปิสมันนาคตกถา (๔๑)
สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอนาคามิผล เป็นผู้บริบูรณ์ด้วยสกทาคามิผล
ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอนาคามิผลกับพระสกทาคามีเป็นคนคน
เดียวกันใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ผู้บริบูรณ์ด้วยโสดาปัตติผล ท่านยอมรับว่า “เป็นพระโสดาบัน” ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งสกทาคามิผล เป็นผู้บริบูรณ์ด้วยโสดาปัตติ-
ผลใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งสกทาคามิผลกับพระโสดาบันเป็นคนคน
เดียวกันใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๔๐๘] สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอรหัตตผล เป็นผู้บริบูรณ์ด้วยโสดา-
ปัตติผลใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอรหัตตผล ล่วงเลยโสดาปัตติผลไปแล้วมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากบุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอรหัตตผล ล่วงเลยโสดาปัตติผลไปแล้ว
ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอรหัตตผล เป็นผู้บริบูรณ์
ด้วยโสดาปัตติผล”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๔๓๙ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๔. จตุตถวรรค] ๙. อปราปิสมันนาคตกถา (๔๑)
สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอรหัตตผล ล่วงเลยโสดาปัตติผลไปแล้ว
ยังเป็นผู้บริบูรณ์ด้วยโสดาปัตติผลนั้นใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอรหัตตผล ล่วงเลยโสดาปัตติมรรคไปแล้ว
ล่วงเลยสักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส ราคะ โทสะ โมหะ ที่เป็นเหตุ
ให้สัตว์ไปสู่อบายได้แล้ว เป็นผู้บริบูรณ์ด้วยสภาวธรรมมีสักกายทิฏฐิเป็นต้นนั้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอรหัตตผล เป็นผู้บริบูรณ์ด้วยสกทาคามิผล
ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอรหัตตผล ล่วงเลยสกทาคามิผลไปแล้ว
มิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากบุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอรหัตตผล ล่วงเลยสกทาคามิผลไปแล้ว
ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอรหัตตผลเป็นผู้บริบูรณ์ด้วย
สกทาคามิผล”
สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอรหัตตผล ล่วงเลยสกทาคามิผลไปแล้ว
เป็นผู้บริบูรณ์ด้วยสกทาคามิผลนั้นใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอรหัตตผล ล่วงเลยสกทาคามิมรรคไปแล้ว
ล่วงเลยกามราคะอย่างหยาบ พยาบาทอย่างหยาบได้แล้ว เป็นผู้บริบูรณ์ด้วย
กามราคะและพยาบาทนั้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๔๔๐ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๔. จตุตถวรรค] ๙. อปราปิสมันนาคตกถา (๔๑)
สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอรหัตตผล เป็นผู้บริบูรณ์ด้วยอนาคามิผล
ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอรหัตตผล ล่วงเลยอนาคามิผลไปแล้วมิใช่
หรือ
ปร. ใช่
สก. หากบุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอรหัตตผล ล่วงเลยอนาคามิผลไปแล้ว
ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอรหัตตผลเป็นผู้บริบูรณ์ด้วย
อนาคามิผล”
สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอรหัตตผล ล่วงเลยอนาคามิผลไปแล้ว
เป็นผู้บริบูรณ์ด้วยอนาคามิผลนั้นใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอรหัตตผล ล่วงเลยอนาคามิมรรคไปแล้ว
ล่วงเลยกามราคะอย่างละเอียด พยาบาทอย่างละเอียดได้แล้ว เป็นผู้บริบูรณ์ด้วย
กามราคะและพยาบาทนั้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๔๐๙] สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอนาคามิผล เป็นผู้บริบูรณ์ด้วย
โสดาปัตติผลใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอนาคามิผล ล่วงเลยโสดาปัตติผลไปแล้ว
มิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากบุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอนาคามิผล ล่วงเลยโสดาปัตติผลไปแล้ว
ท่านไม่ควรยอมรับว่า “บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอนาคามิผล เป็นผู้บริบูรณ์
ด้วยโสดาปัตติผล”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๔๔๑ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๔. จตุตถวรรค] ๙. อปราปิสมันนาคตกถา (๔๑)
สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอนาคามิผล ล่วงเลยโสดาปัตติผลไปแล้ว
เป็นผู้บริบูรณ์ด้วยโสดาปัตติผลนั้นใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอนาคามิผล ล่วงเลยโสดาปัตติมรรคไปแล้ว
ล่วงเลยสักกายทิฏฐิ ฯลฯ ล่วงเลยโมหะที่เป็นเหตุให้สัตว์ไปสู่อบายได้แล้ว เป็นผู้
บริบูรณ์ด้วยสภาวธรรมมีสักกายทิฏฐิเป็นต้นนั้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอนาคามิผล เป็นผู้บริบูรณ์ด้วยสกทาคามิ-
ผลใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอนาคามิผล ล่วงเลยสกทาคามิผลไปแล้ว
มิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากบุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอนาคามิผล ล่วงเลยสกทาคามิผลไปแล้ว
ท่านไม่ควรยอมรับว่า “บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอนาคามิผล เป็นผู้บริบูรณ์
ด้วยสกทาคามิผล”
สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอนาคามิผล ล่วงเลยสกทาคามิผลไปแล้ว
เป็นผู้บริบูรณ์ด้วยสกทาคามิผลนั้นใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอนาคามิผล ล่วงเลยสกทาคามิมรรคไปแล้ว
ล่วงเลยกามราคะอย่างหยาบ พยาบาทอย่างหยาบได้แล้ว เป็นผู้บริบูรณ์ด้วย
กามราคะและพยาบาทนั้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๔๔๒ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๔. จตุตถวรรค] ๙. อปราปิสมันนาคตกถา (๔๑)
[๔๑๐] สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งสกทาคามิผล เป็นผู้บริบูรณ์ด้วย
โสดาปัตติผลใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งสกทาคามิผล ล่วงเลยโสดาปัตติผลไปแล้ว
มิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากบุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งสกทาคามิผล ล่วงเลยโสดาปัตติผลไป
แล้ว ท่านไม่ควรยอมรับว่า “บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งสกทาคามิผล เป็นผู้
บริบูรณ์ด้วยโสดาปัตติผล”
สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งสกทาคามิผล ล่วงเลยโสดาปัตติผลไปแล้ว
เป็นผู้บริบูรณ์ด้วยโสดาปัตติผลนั้นใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งสกทาคามิผล ล่วงเลยโสดาปัตติมรรคไปแล้ว
ล่วงเลยสักกายทิฏฐิ ฯลฯ ล่วงเลยโมหะที่เป็นเหตุให้สัตว์ไปสู่อบายได้แล้ว เป็นผู้
บริบูรณ์ด้วยสภาวธรรมมีสักกายทิฏฐิเป็นต้นนั้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๔๑๑] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอรหัตตผล
เป็นผู้บริบูรณ์ด้วยผล ๓” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอรหัตตผลได้ผล ๓ แล้ว ไม่เสื่อมจากผล ๓
นั้นมิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. หากบุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอรหัตตผลได้ผล ๓ แล้ว และไม่เสื่อม
จากผล ๓ นั้น ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอรหัตตผล
เป็นผู้บริบูรณ์ด้วยผล ๓”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๔๔๓ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๔. จตุตถวรรค] ๙. อปราปิสมันนาคตกถา (๔๑)
ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอนาคามิผล เป็นผู้บริบูรณ์
ด้วยผล ๒” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอนาคามิผลได้ผล ๒ แล้ว และไม่เสื่อม
จากผล ๒ นั้นมิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. หากบุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอนาคามิผลได้ผล ๒ แล้ว และไม่เสื่อม
จากผล ๒ นั้น ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอนาคามิผล
เป็นผู้บริบูรณ์ด้วยผล ๒”
ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งสกทาคามิผล เป็นผู้
บริบูรณ์ด้วยโสดาปัตติผล” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งสกทาคามิผลได้โสดาปัตติผลแล้ว และไม่เสื่อม
จากโสดาปัตติผลนั้นมิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. หากบุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งสกทาคามิผลได้โสดาปัตติผลแล้ว และ
ไม่เสื่อมจากโสดาปัตติผลนั้น ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อ
ทำให้แจ้งสกทาคามิผล เป็นผู้บริบูรณ์ด้วยโสดาปัตติผล”
[๔๑๒] สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอรหัตตผลได้ผล ๓ แล้ว และไม่เสื่อม
จากผล ๓ นั้น ดังนั้น บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอรหัตตผล จึงเป็นผู้บริบูรณ์
ด้วยผล ๓ ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอรหัตตผลได้มรรค ๔ แล้ว และไม่เสื่อมจาก
มรรค ๔ นั้น ดังนั้น บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอรหัตตผล จึงเป็นผู้บริบูรณ์
ด้วยมรรค ๔ ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๔๔๔ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๔. จตุตถวรรค] ๑๐. สัพพสัญโญชนัปปหานกถา (๔๒)
สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอนาคามิผลได้ผล ๒ แล้ว และไม่เสื่อม
จากผล ๒ นั้น ดังนั้น บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอนาคามิผล จึงเป็นผู้บริบูรณ์
ด้วยผล ๒ ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอนาคามิผลได้มรรค ๓ แล้ว และไม่เสื่อม
จากมรรค ๓ นั้น ดังนั้น บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอนาคามิผล จึงเป็นผู้
บริบูรณ์ด้วยมรรค ๓ ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งสกทาคามิผลได้โสดาปัตติผลแล้ว และไม่เสื่อม
จากโสดาปัตติผลนั้น ดังนั้น บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งสกทาคามิผล จึงเป็นผู้
บริบูรณ์ด้วยโสดาปัตติผลใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งสกทาคามิผลได้มรรค ๒ แล้ว และไม่เสื่อม
จากมรรค ๒ นั้น ดังนั้น บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งสกทาคามิผล จึงเป็นผู้
บริบูรณ์ด้วยมรรค ๒ ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
อปราปิสมันนาคตกถา จบ

๑๐. สัพพสัญโญชนัปปหานกถา (๔๒)
ว่าด้วยการละสังโยชน์ทั้งปวง
[๔๑๓] สก. การละสังโยชน์ทั้งปวง เป็นอรหัตตผลใช่ไหม
ปร.๑ ใช่๒

เชิงอรรถ :
๑ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอันธกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๔๑๓/๒๐๗-๒๐๘)
๒ เพราะมีความเห็นว่า การละสังโยชน์ได้ทั้ง ๑๐ เป็นอรหัตตผล (อภิ.ปญฺจ.อ. ๔๑๓/๒๐๗-๒๐๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๔๔๕ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๔. จตุตถวรรค] ๑๐. สัพพสัญโญชนัปปหานกถา (๔๒)
สก. ละสังโยชน์ทั้งปวงได้ด้วยอรหัตตมรรคใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น๑ ฯลฯ
สก. ละสังโยชน์ทั้งปวงได้ด้วยอรหัตตมรรคใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ละสักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาสได้ด้วยอรหัตตมรรคใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ละสักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาสได้ด้วยอรหัตตมรรคใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. การละสังโยชน์ ๓ อย่างได้พระผู้มีพระภาคตรัสว่าเป็นโสดาปัตติผล
ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. หากการละสังโยชน์ ๓ อย่างได้ พระผู้มีพระภาคตรัสว่าเป็นโสดาปัตติผล
ท่านไม่ยอมรับว่า “ละสังโยชน์ทั้งปวงได้ด้วยอรหัตตมรรค”
[๔๑๔] สก. ละสังโยชน์ทั้งปวงได้ด้วยอรหัตตมรรคใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ละกามราคะอย่างหยาบ พยาบาทอย่างหยาบได้ด้วยอรหัตตมรรคใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๔๑๕] สก. ละกามราคะอย่างหยาบ พยาบาทอย่างหยาบได้ด้วยอรหัตต-
มรรคใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ความเบาบางแห่งกามราคะและพยาบาท พระผู้มีพระภาคตรัสว่าเป็น
สกทาคามิผลใช่ไหม
ปร. ใช่

เชิงอรรถ :
๑ เพราะมีความเห็นว่า ละได้ด้วยมรรค ๓ เบื้องต่ำ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๔๑๓/๒๐๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๔๔๖ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๔. จตุตถวรรค] ๑๐. สัพพสัญโญชนัปปหานกถา (๔๒)
สก. หากความเบาบางแห่งกามราคะและพยาบาท พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
เป็นสกทาคามิผล ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “ละสังโยชน์ทั้งปวงได้ด้วยอรหัตตมรรค”
สก. ละสังโยชน์ทั้งปวงได้ด้วยอรหัตตมรรคใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ละกามราคะอย่างละเอียด พยาบาทอย่างละเอียดได้ด้วยอรหัตตมรรค
ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๔๑๖] สก. ละกามราคะอย่างละเอียด พยาบาทอย่างละเอียดได้ด้วย
อรหัตตมรรคใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. การละกามราคะและพยาบาทได้เด็ดขาด พระผู้มีพระภาคตรัสว่าเป็น
อนาคามิผลมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากการละกามราคะและพยาบาทได้เด็ดขาด พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
เป็นอนาคามิผล ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “ละสังโยชน์ทั้งปวงได้ด้วยอรหัตตมรรค”
สก. ละสังโยชน์ทั้งปวงได้ด้วยอรหัตตมรรคใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. การละรูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะ และอวิชชาได้เด็ดขาด
พระผู้มีพระภาคตรัสว่าเป็นอรหัตตผลมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากการละรูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะ และอวิชชาได้เด็ดขาด
พระผู้มีพระภาคตรัสว่าเป็นอรหัตตผล ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “ละสังโยชน์ทั้งปวง
ได้ด้วยอรหัตตมรรค”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๔๔๗ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๔. จตุตถวรรค] รวมกถาที่มีในวรรค
[๔๑๗] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “ การละสังโยชน์ทั้งปวง เป็นอรหัตตผล” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. สังโยชน์ทั้งปวง พระอรหันต์ละได้แล้วมิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. หากสังโยชน์ทั้งปวงพระอรหันต์ละได้แล้ว ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า
“การละสังโยชน์ทั้งปวง เป็นอรหัตตผล”
สัพพสัญโญชนัปปหานกถา จบ
จตุตถวรรค จบ

รวมกถาที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. คิหิสสอรหาติกถา ๒. อุปปัตติกถา
๓. อนาสวกถา ๔. สมันนาคตกถา
๕. อุเปกขาสมันนาคตกถา ๖. โพธิยาพุทโธติกถา
๗. ลักขณกถา ๘. นิยาโมกกันติกถา
๙. อปราปิสมันนาคตกถา ๑๐. สัพพสัญโญชนัปปหานกถา


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๔๔๘ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๕. ปัญจมวรรค] ๑. วิมุตติกถา (๔๓)
๕. ปัญจมวรรค
๑. วิมุตติกถา (๔๓)
ว่าด้วยความหลุดพ้น
[๔๑๘] สก. วิมุตติญาณ๑ ชื่อว่าหลุดพ้นแล้วใช่ไหม
ปร.๒ ใช่๓
สก. วิมุตติญาณทั้งหมดนั้น ชื่อว่าหลุดพ้นแล้วใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. วิมุตติญาณ ชื่อว่าหลุดพ้นแล้วใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ปัจจเวกขณญาณ ชื่อว่าหลุดพ้นแล้วใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. วิมุตติญาณ ชื่อว่าหลุดพ้นแล้วใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. วิมุตติญาณของโคตรภูบุคคล ชื่อว่าหลุดพ้นแล้วใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. วิมุตติญาณของบุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งโสดาปัตติผล ชื่อว่าหลุดพ้น
แล้วใช่ไหม
ปร. ใช่

เชิงอรรถ :
๑ วิมุตติญาณ หมายถึงญาณ ๔ คือ (๑) วิปัสสนาญาณ (๒) มรรคญาณ (๓) ผลญาณ (๔) ปัจจเวกขณญาณ
(อภิ.ปญฺจ.อ. ๔๑๘/๒๐๘)
๒ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอันธกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๔๑๘/๒๐๘)
๓ เพราะมีความเห็นรวม ๆ ว่า วิมุตติญาณทั้ง ๔ อย่าง หลุดพ้นแล้ว ซึ่งต่างกับความเห็นของฝ่ายสกวาที
ที่เห็นว่า ผลญาณเท่านั้นหลุดพ้นแล้ว (อภิ.ปญฺจ.อ. ๔๑๘/๒๐๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๔๔๙ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๕. ปัญจมวรรค] ๑. วิมุตติกถา (๔๓)
สก. ญาณของพระโสดาบัน เป็นญาณของผู้ถึง ได้ บรรลุ ทำให้แจ้ง
โสดาปัตติผลใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. วิมุตติญาณของบุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งสกทาคามิผล ชื่อว่าหลุด
พ้นแล้วใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ญาณของพระสกทาคามี เป็นญาณของผู้ถึง ได้ บรรลุ ทำให้แจ้ง
สกทาคามิผลใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. วิมุตติญาณของบุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอนาคามิผล ชื่อว่าหลุดพ้น
แล้วใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ญาณของพระอนาคามี เป็นญาณของผู้ถึง ได้ บรรลุ ทำให้แจ้ง
อนาคามิผลใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. วิมุตติญาณของบุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอรหัตตผล ชื่อว่าหลุดพ้น
แล้วใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ญาณของพระอรหันต์ เป็นญาณของผู้ถึง ได้ บรรลุ ทำให้แจ้งอรหัตตผล
ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๔๑๙] สก. วิมุตติญาณของบุคคลผู้พรั่งพร้อมด้วยโสดาปัตติผล ชื่อว่าหลุด
พ้นแล้วใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๔๕๐ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๕. ปัญจมวรรค] ๑. วิมุตติกถา (๔๓)
สก. วิมุตติญาณของบุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งโสดาปัตติผล ชื่อว่าหลุดพ้น
แล้วใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. วิมุตติญาณของบุคคลผู้พรั่งพร้อมด้วยสกทาคามิผล ชื่อว่าหลุดพ้นแล้ว
ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. วิมุตติญาณของบุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งสกทาคามิผล ชื่อว่าหลุดพ้น
แล้วใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. วิมุตติญาณของบุคคลผู้พรั่งพร้อมด้วยอนาคามิผล ชื่อว่าหลุดพ้นแล้ว
ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. วิมุตติญาณของบุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอนาคามิผล ชื่อว่าหลุดพ้น
แล้วใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. วิมุตติญาณของบุคคลผู้พรั่งพร้อมด้วยอรหัตตผล ชื่อว่าหลุดพ้นแล้ว
ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. วิมุตติญาณของบุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอรหัตตผล ชื่อว่าหลุดพ้น
แล้วใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๔๒๐] สก. วิมุตติญาณของบุคคลผู้พรั่งพร้อมด้วยโสดาปัตติผล ชื่อว่าหลุดพ้นแล้ว
และวิมุตติญาณนั้นเป็นญาณของผู้ได้บรรลุผลใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๔๕๑ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๕. ปัญจมวรรค] ๑. วิมุตติกถา (๔๓)
สก. วิมุตติญาณของบุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งโสดาปัตติผล ชื่อว่าหลุดพ้น
แล้ว และวิมุตติญาณนั้นเป็นญาณของผู้ได้บรรลุผลใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. วิมุตติญาณของบุคคลผู้พรั่งพร้อมด้วยสกทาคามิผล ชื่อว่าหลุดพ้นแล้ว
และวิมุตติญาณนั้นเป็นญาณของผู้ได้บรรลุผลใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. วิมุตติญาณของบุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งสกทาคามิผล ชื่อว่าหลุดพ้น
แล้ว และวิมุตติญาณนั้นเป็นญาณของผู้ได้บรรลุผลใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. วิมุตติญาณของบุคคลผู้พรั่งพร้อมด้วยอนาคามิผล ชื่อว่าหลุดพ้นแล้ว
และวิมุตติญาณนั้นเป็นญาณของผู้ได้บรรลุผลใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. วิมุตติญาณของบุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอนาคามิผล ชื่อว่าหลุดพ้น
แล้ว และวิมุตติญาณนั้นเป็นญาณของผู้ได้บรรลุผลใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. วิมุตติญาณของบุคคลผู้พรั่งพร้อมด้วยอรหัตตผล ชื่อว่าหลุดพ้นแล้ว
และวิมุตติญาณนั้นเป็นญาณของผู้ได้บรรลุผลใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. วิมุตติญาณของบุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอรหัตตผล ชื่อว่าหลุดพ้น
แล้ว และวิมุตติญาณนั้นเป็นญาณของผู้ได้บรรลุผลใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

วิมุตติกถา จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๔๕๒ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๕. ปัญจมวรรค] ๒. อเสกขญาณกถา (๔๔)
๒. อเสกขญาณกถา (๔๔)
ว่าด้วยญาณของพระอเสขะ
[๔๒๑] สก. พระเสขะมีญาณของพระอเสขะได้ใช่ไหม
ปร.๑ ใช่๒
สก. พระเสขะย่อมรู้เห็นธรรมของพระอเสขะ เข้าถึงธรรมของพระอเสขะที่ตน
เห็น รู้ ทำให้แจ้งแล้ว ถูกต้องด้วยกายอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระเสขะไม่รู้ ไม่เห็นธรรมของพระอเสขะ ไม่เข้าถึงธรรมของพระอเสขะ
ที่ตนไม่เห็น ไม่รู้ ไม่ทำให้แจ้งแล้ว ไม่ถูกต้องด้วยกายอยู่มิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากพระเสขะไม่รู้ ไม่เห็นธรรมของพระอเสขะ ไม่เข้าถึงธรรมของ
พระอเสขะที่ตนไม่เห็น ไม่รู้ ไม่ทำให้แจ้งแล้ว ไม่ถูกต้องด้วยกายอยู่ ท่านก็ไม่
ควรยอมรับว่า “พระเสขะมีญาณของพระอเสขะได้”
สก. พระอเสขะมีญาณของพระอเสขะได้ พระอเสขะย่อมรู้ ย่อมเห็นธรรมของ
พระอเสขะ ย่อมเข้าถึงธรรมของพระอเสขะที่ตนเห็น รู้ ทำให้แจ้งแล้ว ถูกต้อง
ด้วยกายอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระเสขะมีญาณของพระอเสขะได้ พระเสขะย่อมรู้ ย่อมเห็นธรรมของ
พระอเสขะ ย่อมเข้าถึงธรรมของพระอเสขะที่ตนเห็น รู้ ทำให้แจ้ง ถูกต้องด้วยกายอยู่
ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

เชิงอรรถ :
๑ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอุตตราปถกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๔๒๑/๒๐๙)
๒ เพราะมีความเห็นว่า พระเสขะมีญาณของพระอเสขะได้ เช่น ท่านพระอานนท์ ซึ่งเป็นเพียงพระเสขะ แต่รู้
เรื่องของอเสขะได้ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๔๒๑/๒๐๙)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๔๕๓ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๕. ปัญจมวรรค] ๒. อเสกขญาณกถา (๔๔)
[๔๒๒] สก. พระเสขะมีญาณของพระอเสขะ พระเสขะไม่รู้ ไม่เห็นธรรมของ
พระอเสขะ ไม่เข้าถึงธรรมของพระอเสขะที่ตนไม่เห็น ไม่รู้ ไม่ทำให้แจ้งแล้ว ไม่
ถูกต้องด้วยกายอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระอเสขะมีญาณของพระอเสขะ พระอเสขะไม่รู้ ไม่เห็นธรรมของ
พระอเสขะ ไม่เข้าถึงธรรมของพระอเสขะที่ตนไม่เห็น ไม่รู้ ไม่ทำให้แจ้งแล้ว
ไม่ถูกต้องด้วยกายอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระเสขะมีญาณของพระอเสขะได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. โคตรภูบุคคลมีญาณในโสดาปัตติมรรคได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งโสดาปัตติผล มีญาณในโสดาปัตติผลได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งสกทาคามิผล ฯลฯ เพื่อทำให้แจ้งอนาคามิ-
ผล ฯลฯ เพื่อทำให้แจ้งอรหัตตผล มีญาณในอรหัตตผลได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๔๒๓] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “พระเสขะมีญาณของพระอเสขะได้” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. ท่านพระอานนท์ยังเป็นพระเสขะรู้ว่า พระผู้มีพระภาคทรงมีพระคุณอันยิ่ง
พระสารีบุตรเถระ พระมหาโมคคัลลานเถระ ต่างก็มีคุณอันยิ่งมิใช่หรือ
สก. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๔๕๔ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๕. ปัญจมวรรค] ๓. วิปรีตกถา (๔๕)
ปร. หากท่านพระอานนท์ยังเป็นพระเสขะรู้ว่า พระผู้มีพระภาคทรงมีพระ
คุณอันยิ่ง พระสารีบุตรเถระ พระมหาโมคคัลลานเถระ ต่างก็มีคุณอันยิ่ง ดังนั้น
ท่านจึงควรยอมรับว่า “พระเสขะก็มีญาณของพระอเสขะได้”
อเสกขญาณกถา จบ

๓. วิปรีตกถา (๔๕)
ว่าด้วยญาณวิปริต
[๔๒๔] สก. ญาณของผู้เข้าสมาบัติที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ วิปริตได้ใช่ไหม
ปร.๑ ใช่๒
สก. ความวิปลาสในสภาวธรรมที่ไม่เที่ยงว่าเที่ยงมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ความวิปลาสในสภาวธรรมที่เป็นทุกข์ว่าเป็นสุข ฯลฯ ที่เป็นอนัตตา ว่าเป็นอัตตา
ฯลฯ ที่ไม่งามว่างามได้มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ญาณของผู้เข้าสมาบัติที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ วิปริตได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ญาณเป็นอกุศลใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

เชิงอรรถ :
๑ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอันธกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๔๒๔/๒๐๙)
๒ เพราะมีความเห็นว่า ผู้ที่เจริญปฐวีกสิณโดยเพ่งนิมิตของปฐวีจนเกิดญาณขึ้น ญาณนั้นชื่อว่าวิปริต เพราะรู้
เพียงนิมิตของปฐวี ไม่ใช่ตัวปฐวีโดยตรง ซึ่งต่างกับความเห็นของสกวาทีที่เห็นว่า ญาณนั้นไม่ชื่อว่าวิปริตญาณ
ที่ชื่อว่าวิปริต เพราะเห็นผิดจากความเป็นจริง เช่น เห็นสิ่งที่ไม่เที่ยงว่าเที่ยง (อภิ.ปญฺจ.อ. ๔๒๔/๒๐๙)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๔๕๕ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๕. ปัญจมวรรค] ๓. วิปรีตกถา (๔๕)
สก. เป็นกุศลมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากญาณเป็นกุศล ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “ญาณของผู้เข้า
สมาบัติที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ วิปริตได้”
สก. ความวิปลาสในสภาวธรรมที่ไม่เที่ยงว่าเที่ยง และความวิปลาสนั้น
เป็นอกุศลใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ญาณของผู้เข้าสมาบัติที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ วิปริตได้ และญาณนั้น
เป็นอกุศลใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ความวิปลาสในสภาวธรรมที่เป็นทุกข์ว่าเป็นสุข ฯลฯ ที่เป็นอนัตตาว่า
เป็นอัตตา ฯลฯ ที่ไม่งามว่างาม และความวิปลาสนั้นเป็นอกุศลใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ญาณของผู้เข้าสมาบัติที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ วิปริตได้ และญาณนั้น
เป็นอกุศลใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๔๒๕] สก. ญาณของผู้เข้าสมาบัติที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ วิปริตได้ และญาณ
นั้นเป็นอกุศลใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ความวิปลาสในสภาวธรรมที่ไม่เที่ยงว่าเที่ยง และความวิปลาสนั้นเป็น
อกุศลใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๔๕๖ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๕. ปัญจมวรรค] ๓. วิปรีตกถา (๔๕)
สก. ญาณของผู้เข้าสมาบัติที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ วิปริตได้ และญาณนั้น
เป็นอกุศลใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ความวิปลาสในสภาวธรรมที่เป็นทุกข์ว่าเป็นสุข ฯลฯ ที่เป็นอนัตตาว่า
เป็นอัตตา ฯลฯ ที่ไม่งามว่างาม และความวิปลาสนั้นเป็นกุศลใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๔๒๖] สก. ญาณของผู้เข้าสมาบัติที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ วิปริตได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระอรหันต์เข้าสมาบัติที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. หากพระอรหันต์เข้าสมาบัติที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ ท่านก็ไม่ควรยอม
รับ ว่า “ญาณของผู้เข้าสมาบัติที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ วิปริตได้”
สก. ญาณของผู้เข้าสมาบัติที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ วิปริตได้ พระอรหันต์พึง
เข้าสมาบัติที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ความวิปลาสของพระอรหันต์มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ความวิปลาสของพระอรหันต์มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สัญญาวิปลาส จิตตวิปลาส ทิฏฐิวิปลาสของพระอรหันต์มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สัญญาวิปลาส จิตตวิปลาส ทิฏฐิวิปลาสของพระอรหันต์ไม่มีใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๔๕๗ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๕. ปัญจมวรรค] ๓. วิปรีตกถา (๔๕)
สก. หากสัญญาวิปลาส จิตตวิปลาส ทิฏฐิวิปลาสของพระอรหันต์ไม่มี ท่าน
ก็ไม่ควรยอมรับว่า “ความวิปลาสของพระอรหันต์มีอยู่”
[๔๒๗] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “ญาณของผู้เข้าสมาบัติที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์
วิปริต” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. ปฐวีกสิณย่อมปรากฏแก่ผู้เข้าสมาบัติที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ เป็นดิน
ล้วน ๆ ใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. ดังนั้น ญาณของผู้เข้าสมาบัติที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์จึงวิปริต
สก. ญาณของผู้เข้าสมาบัติที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ วิปริตใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ดินมีอยู่ และบางคนที่เข้าปฐวีกสิณจากดินก็มีอยู่มิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากดินมีอยู่ และบางคนที่เข้าปฐวีกสิณจากดินก็มีอยู่ ท่านก็ไม่ควร
ยอมรับว่า “ญาณของผู้เข้าสมาบัติที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ วิปริตได้”
สก. ดินมีอยู่ และญาณของผู้เข้าปฐวีกสิณจากดิน วิปริตใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. นิพพานมีอยู่ แต่ญาณของผู้เข้าสมาบัติที่มีนิพพานเป็นอารมณ์จากนิพพาน
ก็วิปริตใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ดังนั้น ท่านจึงไม่ควรยอมรับว่า “ญาณของผู้เข้าสมาบัติที่มีปฐวีกสิณ
เป็นอารมณ์ วิปริตได้”
วิปรีตกถา จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๔๕๘ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๕. ปัญจมวรรค] ๔. นิยามกถา (๔๖)
๔. นิยามกถา (๔๖)
ว่าด้วยนิยาม
[๔๒๘] สก. บุคคลผู้ไม่แน่นอน๑ มีญาณเพื่อไปสู่นิยาม๒ ได้ใช่ไหม
ปร.๓ ใช่๔
สก. บุคคลผู้แน่นอน๕ มีญาณเพื่อไปสู่อนิยาม๖ ได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลผู้แน่นอนไม่มีญาณเพื่อไปสู่อนิยามได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลผู้ไม่แน่นอนไม่มีญาณเพื่อไปสู่นิยามได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลผู้ไม่แน่นอนมีญาณเพื่อไปสู่นิยามได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลผู้แน่นอนมีญาณเพื่อไปสู่นิยามได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลผู้แน่นอนไม่มีญาณเพื่อไปสู่นิยามได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลผู้ไม่แน่นอนไม่มีญาณเพื่อไปสู่นิยามได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

เชิงอรรถ :
๑ บุคคลผู้ไม่แน่นอน ในที่นี้หมายถึงปุถุชนผู้มีคติไม่แน่นอน อาจไปเกิดในภูมิใดภูมิหนึ่งในภูมิ ๓ คือ
กามภูมิ รูปภูมิ และอรูปภูมิ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๖๖๓-๖๖๔/๒๖๙)
๒ ดูเชิงอรรถที่ ๒ ข้อ ๔๐๓ หน้า ๔๒๘ ในเล่มนี้
๓ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอุตตราปถกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๔๒๘/๒๑๐)
๔ เพราะมีความเห็นว่า แม้ปุถุชนก็มีญาณเพื่อไปสู่นิยามได้ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๔๒๘/๒๑๐)
๕ บุคคลผู้แน่นอน ในที่นี้หมายถึงพระอริยะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๔๒๘/๒๑๐)
๖ อนิยาม ในที่นี้หมายถึงมิจฉัตตนิยาม คืออนันตริยกรรม (อภิ.ปญฺจ.อ. ๖๖๓-๖๖๔/๒๖๙)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๔๕๙ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๕. ปัญจมวรรค] ๔. นิยามกถา (๔๖)
สก. บุคคลผู้ไม่แน่นอนมีญาณเพื่อไปสู่นิยามได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลผู้ไม่แน่นอนมีญาณเพื่อไปสู่อนิยามได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลผู้ไม่แน่นอนไม่มีญาณเพื่อไปสู่อนิยามได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลผู้ไม่แน่นอนไม่มีญาณเพื่อไปสู่นิยามได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๔๒๙] สก. บุคคลผู้ไม่แน่นอนมีญาณเพื่อไปสู่นิยามได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลผู้ไม่แน่นอนมีนิยามเพื่อไปสู่นิยามได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลผู้ไม่แน่นอนมีญาณเพื่อไปสู่นิยามได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลผู้ไม่แน่นอนมีสติปัฏฐาน ฯลฯ มีสัมมัปปธาน ฯลฯ มีอิทธิบาท
ฯลฯ มีอินทรีย์ ฯลฯ มีพละ ฯลฯ มีโพชฌงค์ เพื่อไปสู่นิยามได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลผู้ไม่แน่นอนไม่มีนิยามเพื่อไปสู่นิยามได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. หากบุคคลผู้ไม่แน่นอนไม่มีนิยามเพื่อไปสู่นิยาม ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า
“บุคคลผู้ไม่แน่นอนมีญาณเพื่อไปสู่นิยามได้”
สก. บุคคลผู้ไม่แน่นอนไม่มีสติปัฏฐาน ฯลฯ ไม่มีโพชฌงค์ เพื่อไปสู่นิยาม
ได้ใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๔๖๐ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๕. ปัญจมวรรค] ๔. นิยามกถา (๔๖)
สก. หากบุคคลผู้ไม่แน่นอนไม่มีโพชฌงค์เพื่อไปสู่นิยาม ท่านก็ไม่ควรยอมรับ
ว่า “บุคคลผู้ไม่แน่นอนมีญาณเพื่อไปสู่นิยามได้”
[๔๓๐] สก. บุคคลผู้ไม่แน่นอนมีญาณเพื่อไปสู่นิยามได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. โคตรภูบุคคลมีญาณในโสดาปัตติมรรคใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งโสดาปัตติผลมีญาณในโสดาปัตติผลใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งสกทาคามิผล ฯลฯ อนาคามิผล ฯลฯ
อรหัตตผล มีญาณในอรหัตตผลใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๔๓๑] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “บุคคลผู้ไม่แน่นอนมีญาณเพื่อไปสู่นิยามได้”
ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. พระผู้มีพระภาคทรงทราบได้ว่า “บุคคลนี้จักก้าวลงสู่สัมมัตตนิยาม๑
ควรเพื่อบรรลุธรรมได้” มิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. หากพระผู้มีพระภาคทรงทราบได้ว่า “บุคคลนี้จักก้าวลงสู่สัมมัตตนิยาม
ควรเพื่อบรรลุธรรมได้” ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “บุคคลผู้ไม่แน่นอนมีญาณ
เพื่อไปสู่นิยามได้”

นิยามกถา จบ

เชิงอรรถ :
๑ สัมมัตตนิยาม ในที่นี้หมายถึงอริยมรรค (อภิ.ปญฺจ.อ. ๖๖๓-๖๖๔/๒๖๙)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๔๖๑ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๕. ปัญจมวรรค] ๕. ปฏิสัมภิทากถา (๔๗)
๕. ปฏิสัมภิทากถา (๔๗)
ว่าด้วยปฏิสัมภิทา
[๔๓๒] สก. ญาณทั้งปวงเป็นปฏิสัมภิทาใช่ไหม
ปร.๑ ใช่๒
สก. สมมติญาณเป็นปฏิสัมภิทาใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สมมติญาณเป็นปฏิสัมภิทาใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ชนเหล่าใดรู้สมมติ ชนเหล่านั้นทั้งหมดเป็นผู้ถึงปฏิสัมภิทาใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ญาณทั้งปวงเป็นปฏิสัมภิทาใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เจโตปริยญาณ(ญาณที่กำหนดรู้ใจผู้อื่น) เป็นปฏิสัมภิทาใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เจโตปริยญาณเป็นปฏิสัมภิทาใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ชนเหล่าใดรู้จิตของผู้อื่น ชนเหล่านั้นทั้งหมดเป็นผู้ถึงปฏิสัมภิทาใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

เชิงอรรถ :
๑ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอันธกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๔๓๒/๒๑๒)
๒ เพราะมีความเห็นว่า ญาณทั้งหมดของพระอริยะเป็นโลกุตตระ จึงจัดเป็นปฏิสัมภิทาญาณได้ทั้งหมด ซึ่ง
ต่างกับความเห็นของสกวาทีที่เห็นว่า ญาณของพระอริยะบางอย่างไม่จัดเป็นปฏิสัมภิทาญาณ (อภิ.ปญฺจ.อ.
๔๓๒/๒๑๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๔๖๒ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๕. ปัญจมวรรค] ๕. ปฏิสัมภิทากถา (๔๗)
สก. ญาณทั้งปวงเป็นปฏิสัมภิทาใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ปัญญาทั้งปวงเป็นปฏิสัมภิทาใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ปัญญาทั้งปวงเป็นปฏิสัมภิทาใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ผู้เข้าสมาบัติที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์มีปัญญา ปัญญานั้นเป็นปฏิสัมภิทา
ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ผู้เข้าสมาบัติที่มีอาโปกสิณเป็นอารมณ์ ฯลฯ มีเตโชกสิณเป็นอารมณ์
ฯลฯ มีวาโยกสิณเป็นอารมณ์ ฯลฯ มีนีลกสิณเป็นอารมณ์ ฯลฯ มีปีตกสิณเป็น
อารมณ์ ฯลฯ มีโลหิตกสิณเป็นอารมณ์ ฯลฯ มีโอทาตกสิณเป็นอารมณ์ ฯลฯ
มีอากาสานัญจายตนะเป็นอารมณ์ ฯลฯ มีวิญญาณัญจายตนะเป็นอารมณ์ ฯลฯ
มีอากิญจัญญายตนะเป็นอารมณ์ ฯลฯ มีเนวสัญญานาสัญญายตนะเป็นอารมณ์
ฯลฯ ถวายทาน ฯลฯ จีวร ฯลฯ บิณฑบาต ฯลฯ เสนาสนะ ฯลฯ ถวาย
คิลานปัจจัยเภสัชบริขาร มีปัญญา ปัญญานั้นเป็นปฏิสัมภิทาใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๔๓๓] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “ญาณทั้งปวงเป็นปฏิสัมภิทา” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. โลกุตตรปัญญามีอยู่ โลกุตตรปัญญานั้นไม่เป็นปฏิสัมภิทาใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. ดังนั้น ญาณทั้งปวงจึงเป็นปฏิสัมภิทา

ปฏิสัมภิทากถา จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๔๖๓ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๕. ปัญจมวรรค] ๖. สมมติญาณกถา (๔๘)
๖. สมมติญาณกถา (๔๘)
ว่าด้วยสมมติญาณ๑
[๔๓๔] ปร.๒ ท่านไม่ยอมรับว่า “สมมติญาณมีสัจจะเท่านั้นเป็นอารมณ์ ไม่
มีธรรมอื่นเป็นอารมณ์” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. ผู้เข้าสมาบัติที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์มีญาณอยู่ และปฐวีกสิณเป็น
สมมติสัจจะใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. หากผู้เข้าสมาบัติที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์มีญาณอยู่ และปฐวีกสิณเป็น
สมมติสัจจะ ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “สมมติญาณมีสัจจะเท่านั้นเป็นอารมณ์
ไม่มีธรรมอื่นเป็นอารมณ์”
ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “สมมติญาณมีสัจจะเท่านั้นเป็นอารมณ์ ไม่มีธรรม
อื่นเป็นอารมณ์” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. ผู้เข้าสมาบัติที่มีอาโปกสิณเป็นอารมณ์ ฯลฯ มีเตโชกสิณเป็นอารมณ์
ฯลฯ ผู้ถวายคิลานปัจจัยเภสัชบริขารมีญาณอยู่ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขารเป็น
สมมติสัจจะ มิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. หากผู้ถวายคิลานปัจจัยเภสัชบริขารมีญาณอยู่ และคิลานปัจจยเภสัช-
บริขารเป็นสมมติสัจจะ ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “สมมติญาณมีสัจจะเท่านั้น
เป็นอารมณ์ ไม่มีธรรมอื่นเป็นอารมณ์”

เชิงอรรถ :
๑ สมมติญาณ หมายถึงญาณที่รู้สมมติบัญญัติ เช่น รู้บุคคล รู้ความจริงโดยสมมติ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๔๓๔/๔๖๔)
๒ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอันธกะ ซึ่งมีความเห็นว่า สมมติญาณก็สามารถรู้สัจจะได้ คำว่า สัจจะ ในที่นี้
เป็นความหมายรวม ๆ ไม่แยกว่าเป็นสมมติสัจจะหรือปรมัตถสัจจะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๔๓๔/๒๑๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๔๖๔ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๕. ปัญจมวรรค] ๗. จิตตารัมมณกถา (๔๙)
[๔๓๕] สก. สมมติญาณมีสัจจะเท่านั้นเป็นอารมณ์ ไม่มีธรรมอื่นเป็นอารมณ์
ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลกำหนดรู้ทุกข์ ละสมุทัย ทำให้แจ้งนิโรธ เจริญมรรคได้ด้วย
ญาณนั้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สมมติญาณกถา จบ

๗. จิตตารัมมณกถา (๔๙)
ว่าด้วยญาณมีจิตเป็นอารมณ์
[๔๓๖] สก. เจโตปริยญาณมีจิตเท่านั้นเป็นอารมณ์ ไม่มีธรรมอื่นเป็น
อารมณ์ใช่ไหม
ปร.๑ ใช่๒
สก. บางคนรู้ชัดจิตที่มีราคะว่า จิตมีราคะ มีอยู่มิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากบางคนรู้ชัดจิตที่มีราคะว่า จิตมีราคะ มีอยู่ ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า
“เจโตปริยญาณมีจิตเท่านั้นเป็นอารมณ์ ไม่มีธรรมอื่นเป็นอารมณ์”
สก. บางคนรู้ชัดจิตที่ปราศจากราคะว่า จิตปราศจากราคะ ฯลฯ จิตมีโทสะ ฯลฯ
จิตปราศจากโทสะ ฯลฯ จิตมีโมหะ ฯลฯ จิตปราศจากโมหะ ฯลฯ จิตหดหู่ ฯลฯ

เชิงอรรถ :
๑ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอันธกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๔๓๖/๒๑๓)
๒ เพราะซึ่งมีความเห็นว่า เจโตปริยญาณรู้ได้เฉพาะจิต แต่ไม่รู้เจตสิก (อภิ.ปญฺจ.อ. ๔๓๖/๒๑๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๔๖๕ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๕. ปัญจมวรรค] ๗. จิตตารัมมณกถา (๔๙)
จิตฟุ้งซ่าน ฯลฯ จิตเป็นมหัคคตะ ฯลฯ จิตไม่เป็นมหัคคตะ ฯลฯ จิตมีจิตอื่นยิ่งกว่า
ฯลฯ จิตไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า ฯลฯ จิตเป็นสมาธิ ฯลฯ จิตไม่เป็นสมาธิ ฯลฯ จิตหลุดพ้น
ฯลฯ จิตไม่หลุดพ้นว่า “จิตไม่หลุดพ้น” มีอยู่มิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากบางคนรู้ชัดจิตที่ไม่หลุดพ้นว่า “จิตไม่หลุดพ้น” มีอยู่ ท่าน
ก็ไม่ควรยอมรับว่า “เจโตปริยญาณมีจิตเท่านั้นเป็นอารมณ์ ไม่มีธรรมอื่นเป็นอารมณ์”
[๔๓๗] สก. ญาณที่มีผัสสะเป็นอารมณ์ ควรเรียกว่า “เจโตปริยญาณ” ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. หากญาณที่มีผัสสะเป็นอารมณ์ ควรเรียกว่า “เจโตปริยญาณ” ท่านก็
ไม่ควรยอมรับว่า “เจโตปริยญาณมีจิตเท่านั้นเป็นอารมณ์ ไม่มีธรรมอื่นเป็นอารมณ์”
สก. ญาณที่มีเวทนาเป็นอารมณ์ ฯลฯ มีสัญญาเป็นอารมณ์ ฯลฯ มีเจตนา
เป็นอารมณ์ ฯลฯ มีจิตเป็นอารมณ์ ฯลฯ มีสัทธาเป็นอารมณ์ ฯลฯ มีวิริยะเป็น
อารมณ์ ฯลฯ มีสติเป็นอารมณ์ ฯลฯ มีสมาธิเป็นอารมณ์ ฯลฯ มีปัญญา
เป็นอารมณ์ ฯลฯ มีราคะเป็นอารมณ์ ฯลฯ มีโทสะเป็นอารมณ์ ฯลฯ มีโมหะ
เป็นอารมณ์ ฯลฯ มีอโนตตัปปะเป็นอารมณ์ ควรเรียกว่า “เจโตปริยญาณ” ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. หากญาณมีอโนตตัปปะเป็นอารมณ์ ควรเรียกว่า “เจโตปริยญาณ” ท่าน
ก็ไม่ควรยอมรับว่า “เจโตปริยญาณมีจิตเท่านั้นเป็นอารมณ์ ไม่มีธรรมอื่นเป็นอารมณ์”
สก. ญาณที่มีผัสสะเป็นอารมณ์ ไม่ควรเรียกว่า “เจโตปริยญาณ” ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ญาณนั้นเป็นผัสสปริยญาณใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ญาณมีเวทนาเป็นอารมณ์ ฯลฯ มีสัญญาเป็นอารมณ์ ฯลฯ มี
อโนตตัปปะเป็นอารมณ์ ไม่ควรเรียกว่า “เจโตปริยญาณ” ใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๔๖๖ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๕. ปัญจมวรรค] ๘. อนาคตญาณกถา (๕๐)
สก. ญาณนั้นเป็นอโนตตัปปปริยญาณใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๔๓๘] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “เจโตปริยญาณมีจิตเท่านั้นเป็นอารมณ์ ไม่มี
ธรรมอื่นเป็นอารมณ์” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. เป็นเจโตปริยญาณมิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. หากเป็นเจโตปริยญาณ ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “เจโตปริย-
ญาณมีจิตเท่านั้นเป็นอารมณ์ ไม่มีธรรมอื่นเป็นอารมณ์”
จิตตารัมมณกถา จบ

๘. อนาคตญาณกถา (๕๐)
ว่าด้วยอนาคตญาณ๑
[๔๓๙] สก. อนาคตญาณมีอยู่ใช่ไหม
ปร.๒ ใช่๓
สก. อนาคตญาณนั้นรู้อนาคตได้โดยมูล โดยเหตุ โดยแหล่งกำเนิด โดยต้น
กำเนิด โดยบ่อเกิด โดยสมุฏฐาน โดยเหตุเครื่องหล่อเลี้ยง โดยอารมณ์ โดยปัจจัย
โดยสมุทัยใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

เชิงอรรถ :
๑ อนาคตญาณ หมายถึงญาณที่หยั่งรู้อนาคต (อภิ.ปญฺจ.อ. ๔๓๙/๒๑๓)
๒ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอันธกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๔๓๙/๒๑๓)
๓ เพราะมีความเห็นว่า อนาคตญาณสามารถรู้อนาคตทั้งใกล้ตัว(อนนฺตร) และไกลตัว(อนฺตร)ได้ทั้งหมด ซึ่ง
ต่างกับความเห็นของสกวาทีที่เห็นว่า อนาคตญาณสามารถรู้อนาคตได้เฉพาะไกลตัวเท่านั้น คำว่า ใกล้ตัว
หมายถึงไม่มีช่องว่างระหว่างขณะจิตหนึ่งกับอีกขณะจิตหนึ่ง เช่น โคตรภูจิตกับมัคคจิต ส่วนคำว่า ไกลตัว
หมายถึงช่วงขณะจิตที่มีภวังคจิตหรือวิถีจิตอื่นคั่น (อภิ.ปญฺจ.อ. ๔๓๙/๒๑๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๔๖๗ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๕. ปัญจมวรรค] ๘. อนาคตญาณกถา (๕๐)
สก. อนาคตญาณมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. อนาคตญาณนั้นรู้ความเป็นเหตุปัจจัย ความเป็นอารัมมณปัจจัย
ความเป็นอธิปติปัจจัย ความเป็นอนันตรปัจจัย ความเป็นสมนันตรปัจจัย ที่เป็น
อนาคตได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. อนาคตญาณมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. โคตรภูบุคคลมีญาณในโสดาปัตติมรรคใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งโสดาปัตติผล มีญาณในโสดาปัตติผลใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งสกทาคามิผล ฯลฯ อนาคามิผล ฯลฯ
อรหัตตผล มีญาณในอรหัตตผลใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๔๔๐] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “อนาคตญาณมีอยู่” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “อานนท์ อันตราย ๓ อย่าง คือ
(๑) อันตรายจากไฟ (๒) อันตรายจากน้ำ (๓) อันตรายจากการแตกความสามัคคี
จักมีแก่กรุงปาฏลีบุตร” ๑ มีอยู่จริงมิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. ดังนั้น อนาคตญาณจึงมีอยู่

อนาคตญาณกถา จบ

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ ที.ม. (แปล) ๑๐/๑๕๒/๙๖, ขุ.อุ. (แปล) ๒๕/๗๖/๓๓๕

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๔๖๘ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๕. ปัญจมวรรค] ๙. ปัจจุปปันนญาณกถา (๕๑)
๙. ปัจจุปปันนญาณกถา (๕๑)
ว่าด้วยปัจจุปปันนญาณ
[๔๔๑] สก. ปัจจุปปันนญาณ๑มีอยู่ใช่ไหม
ปร.๒ ใช่
สก. บุคคลรู้ญาณนั้นได้ด้วยปัจจุปันนญาณนั้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลรู้ญาณนั้นได้ด้วยปัจจุปปันนญาณนั้นใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลรู้ญาณนั้นว่าเป็นญาณ ได้ด้วยปัจจุปปันนญาณนั้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. รู้ญาณนั้นว่าเป็นญาณ ได้ด้วยปัจจุปปันนญาณนั้นใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ญาณนั้นเป็นอารมณ์ของปัจจุปปันนญาณนั้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ญาณนั้นเป็นอารมณ์ของปัจจุปปันนญาณนั้นใช่ไหม
ปร. ใช่

เชิงอรรถ :
๑ ปัจจุปปันนญาณ หมายถึงญาณที่หยั่งรู้อารมณ์ปัจจุบันซึ่งแบ่งออกเป็น ๓ ช่วง คือ (๑) ขณะปัจจุบัน (ช่วง
ที่จิตดวงหนึ่ง ๆ เกิดขึ้นตั้งอยู่ดับไป) (๒) สันตติปัจจุบัน (ช่วงที่สืบต่อมาจากช่วงที่ ๑ ประมาณ ๒ หรือ ๓
วิถีจิต) (๓) อัทธานปัจจุบัน (ช่วงเวลาที่ยาวกว่า ๒ ช่วงแรกออกไป) ซึ่งฝ่ายปรวาทีเห็นว่า ปัจจุปปันนญาณ
สามารถรู้ปัจจุบันได้ทั้ง ๓ ช่วง ซึ่งต่างกับความเห็นของสกวาทีที่เห็นว่า ปัจจุปปันนญาณสามารถรู้ได้เฉพาะ
ช่วงที่ ๒ กับ ช่วงที่ ๓ เท่านั้น (อภิ.ปญฺจ.อ. ๔๔๑/๒๑๔)
๒ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอันธกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๔๔๑/๒๑๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๔๖๙ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๕. ปัญจมวรรค] ๙. ปัจจุปปันนญาณกถา (๕๑)
สก. ถูกต้องผัสสะนั้นด้วยผัสสะนั้น เสวยเวทนานั้นด้วยเวทนานั้น จำ
สัญญานั้นด้วยสัญญานั้น จงใจเจตนานั้นด้วยเจตนานั้น คิดจิตนั้นด้วยจิตนั้น
ตรึกวิตกนั้นด้วยวิตกนั้น ตรองวิจารนั้นด้วยวิจารนั้น เอิบอิ่มปีตินั้นด้วยปีตินั้น
ระลึกสตินั้นด้วยสตินั้น รู้ชัดปัญญานั้นด้วยปัญญานั้น ตัดดาบนั้นด้วยดาบนั้น
ถากขวานนั้นด้วยขวานนั้น ถากผึ่งนั้นด้วยผึ่งนั้น ถากมีดนั้นด้วยมีดนั้น เย็บเข็ม
นั้นด้วยเข็มนั้น ลูบคลำปลายนิ้วมือนั้นด้วยปลายนิ้วมือนั้น ลูบคลำปลายจมูกนั้น
ด้วยปลายจมูกนั้น ลูบคลำกระหม่อมนั้นด้วยกระหม่อมนั้น ล้างคูถนั้นด้วยคูถนั้น
ล้างมูตรนั้นด้วยมูตรนั้น ล้างน้ำลายนั้นด้วยน้ำลายนั้น ล้างน้ำหนองนั้นด้วย
น้ำหนองนั้น ล้างเลือดนั้นด้วยเลือดนั้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๔๔๒] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “ปัจจุปปันนญาณมีอยู่” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. เมื่อพระโยคาวจรเห็นสังขารทั้งปวงโดยความเป็นสภาวะไม่เที่ยงแล้วก็
เป็นอันเห็นญาณนั้น โดยความเป็นสภาวะไม่เที่ยงมิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. หากเมื่อพระโยคาวจรเห็นสังขารทั้งปวงโดยความเป็นสภาวะไม่เที่ยงแล้ว
ก็เป็นอันเห็นญาณนั้นโดยความเป็นสภาวะไม่เที่ยง ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า
“ปัจจุปปันนญาณมีอยู่”

ปัจจุปปันนญาณกถา จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๔๗๐ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๕. ปัญจมวรรค] ๑๐. ผลญาณกถา (๕๒)
๑๐. ผลญาณกถา (๕๒)
ว่าด้วยผลญาณ
[๔๔๓] สก. พระสาวกมีผลญาณ๑ใช่ไหม
ปร.๒ ใช่
สก. พระสาวกกำหนดผลอันเป็นคุณสมบัติของตนได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระสาวกมีผลญาณใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. การรู้ความยิ่งและหย่อนแห่งผล การรู้ความยิ่งและหย่อนแห่งอินทรีย์
การรู้ความยิ่งและหย่อนแห่งบุคคล ของพระสาวกมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระสาวกมีผลญาณใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. การบัญญัติขันธ์ อายตนะ ธาตุ สัจจะ อินทรีย์ บุคคล ของพระสาวก
มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระสาวกมีผลญาณใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสาวกเป็นพระชินเจ้า เป็นพระศาสดา เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
เป็นพระสัพพัญญู เป็นพระสัพพทัสสาวี เป็นพระธัมมัสสามี เป็นพระธัมมปฏิสรณะ
ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระสาวกมีผลญาณใช่ไหม
ปร. ใช่

เชิงอรรถ :
๑ ผลญาณ หมายถึงญาณหยั่งรู้ผลแห่งกรรมของสัตว์ทั้งหลาย ปรวาทีเห็นว่า พระสาวกก็สามารถมี
ผลญาณเหมือนกับพระพุทธเจ้า ส่วนสกวาทีเห็นว่าไม่เหมือนกัน
๒ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอันธกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๔๔๓/๒๑๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๔๗๑ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๕. ปัญจมวรรค] รวมกถาที่มีในวรรค
สก. พระสาวกเป็นผู้ยังมรรคที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น ให้กำเนิดแก่มรรคที่ยังไม่
มีผู้ให้กำเนิด เป็นผู้บอกมรรคที่ยังไม่มีผู้บอก เป็นผู้รู้มรรค เข้าใจมรรค ฉลาดใน
มรรคใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๔๔๔] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “พระสาวกมีผลญาณ” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. พระสาวกเป็นผู้ไม่มีญาณใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. ดังนั้น พระสาวกจึงมีผลญาณ ฯลฯ
ผลญาณกถา จบ
ปัญจมวรรค จบ

รวมกถาที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. วิมุตติกถา ๒. อเสกขญาณกถา
๓. วิปรีตกถา ๔. นิยามกถา
๕. ปฏิสัมภิทากถา ๖. สมมติญาณกถา
๗. จิตตารัมมณกถา ๘. อนาคตญาณกถา
๙. ปัจจุปปันนญาณกถา ๑๐. ผลญาณกถา

มหาปัณณาสก์ จบ

รวมวรรคที่มีในมหาปัณณาสก์นี้ คือ
วรรคที่ ๑ เริ่มด้วยปุคคลกถา
วรรคที่ ๒ เริ่มด้วยปรูปหารกถา
วรรคที่ ๓ เริ่มด้วยพลกถา
วรรคที่ ๔ เริ่มด้วยคิหิสสอรหาติกถา
วรรคที่ ๕ เริ่มด้วยวิมุตติกถา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๔๗๒ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๖. ฉัฏฐวรรค] ๑. นิยามกถา (๕๓)
๖. ฉัฏฐวรรค
๑. นิยามกถา (๕๓)
ว่าด้วยนิยาม
[๔๔๕] สก. นิยาม๑เป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง(เป็นอสังขตะ)ใช่ไหม
ปร.๒ ใช่๓
สก. นิยามเป็นนิพพาน เป็นที่ต้านทาน เป็นที่เร้น เป็นที่พึ่ง เป็นที่หมาย
เป็นที่มั่น เป็นอมตะใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. นิยามเป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง นิพพานก็เป็นสภาวธรรมที่
ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งมี ๒ อย่างใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งมี ๒ อย่างใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ที่ต้านทานมี ๒ อย่าง ที่เร้นมี ๒ อย่าง ที่พึ่งมี ๒ อย่าง ที่หมาย
มี ๒ อย่าง ที่มั่นมี ๒ อย่าง อมตะมี ๒ อย่าง นิพพานมี ๒ อย่างใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. นิพพานมี ๒ อย่างใช่ไหม
ปร. ใช่

เชิงอรรถ :
๑ นิยาม ในที่นี้หมายถึงอริยมรรค (อภิ.ปญฺจ.อ. ๔๔๕-๔๔๗/๒๑๖)
๒ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอันธกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๔๔๕-๔๔๗/๒๑๖)
๓ เพราะมีความเห็นว่า นิยามเป็นของเที่ยง ซึ่งต่างกับความเห็นของสกวาทีที่เห็นว่า นิยามเป็นสภาวธรรม
ที่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง (อภิ.ปญฺจ.อ. ๔๔๕-๔๔๗/๒๑๖)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๔๗๓ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๖. ฉัฏฐวรรค] ๑. นิยามกถา (๕๓)
สก. นิพพานทั้ง ๒ อย่าง ยังมีความสูงต่ำ ความเลวและความประณีต
ความยิ่งและหย่อน เขตแดน ความแตกต่าง ร่องรอย ช่องว่างอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. นิยามเป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. มีบุคคลบางพวกก้าวลงสู่นิยาม ได้นิยาม ให้นิยามอุบัติขึ้น ให้อุบัติ
ขึ้นด้วยดี ให้ตั้งขึ้น ให้ตั้งขึ้นด้วยดี ให้บังเกิด ให้บังเกิดโดยยิ่ง ให้เกิด ให้เกิด
ด้วยดีใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลบางพวกก้าวลงสู่สภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง ได้สภาวธรรม
ที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง ให้สภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งอุบัติขึ้น ให้อุบัติขึ้นด้วยดี
ให้ตั้งขึ้น ให้ตั้งขึ้นด้วยดี ให้บังเกิด ให้บังเกิดโดยยิ่งให้เกิด ให้เกิดด้วยดีใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๔๔๖] สก. นิยามเป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. มรรคเป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. มรรคเป็นสภาวธรรมที่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. นิยามเป็นสภาวธรรมที่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. โสดาปัตตินิยามเป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. โสดาปัตติมรรคเป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๔๗๔ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๖. ฉัฏฐวรรค] ๑. นิยามกถา (๕๓)
สก. โสดาปัตติมรรคเป็นสภาวธรรมที่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. โสดาปัตตินิยามเป็นสภาวธรรมที่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สกทาคามินิยาม ฯลฯ อนาคามินิยาม ฯลฯ อรหัตตนิยามเป็น
สภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. อรหัตตมรรคเป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. อรหัตตมรรคเป็นสภาวธรรมที่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. อรหัตตนิยามเป็นสภาวธรรมที่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. โสดาปัตตินิยามเป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง ฯลฯ อรหัตต-
นิยามเป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง นิพพานก็เป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัย
ปรุงแต่งใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งมี ๕ อย่างใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งมี ๕ อย่างใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ที่ต้านทานมี ๕ อย่าง ฯลฯ ช่องว่างแห่งนิพพานมี ๕ อย่างใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. นิยามเป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. มิจฉัตตนิยามเป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๔๗๕ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๖. ฉัฏฐวรรค] ๒. ปฏิจจสมุปปาทกถา (๕๔)
สก. มิจฉัตตนิยามเป็นสภาวธรรมที่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สัมมัตตนิยามเป็นสภาวธรรมที่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๔๔๗] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “นิยามเป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง”
ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. เมื่อนิยามเกิดขึ้นแล้วดับไป บุคคลก็ยังเป็นผู้ไม่แน่นอนอยู่ใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. ดังนั้น นิยามจึงเป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง
ปร. เมื่อมิจฉัตตนิยามเกิดขึ้นแล้วดับไป บุคคลก็ยังเป็นผู้ไม่แน่นอนอยู่ใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. ดังนั้น มิจฉัตตนิยามจึงเป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง
นิยามกถา จบ

๒. ปฏิจจสมุปปาทกถา (๕๔)
ว่าด้วยปฏิจจสมุปบาท
[๔๔๘] สก. ปฏิจจสมุปบาทเป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง(เป็นอสังขตะ)
ใช่ไหม
ปร.๑ ใช่๒
สก. ปฏิจจสมุปบาทเป็นที่ดับ เป็นที่ต้านทาน เป็นที่เร้น เป็นที่พึ่ง เป็น
ที่หมาย เป็นที่มั่น เป็นอมตะใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

เชิงอรรถ :
๑ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายปุพพเสลิยะและนิกายมหิสาสกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๔๔๘/๒๑๗)
๒ เพราะมีความเห็นว่า ปฏิจจสมุปบาทเป็นสภาวธรรมที่เที่ยงแท้ ถาวร มีอยู่อย่างนั้นตลอดไป ไม่ว่าพระผู้
มีพระภาคจะเสด็จอุบัติขึ้นหรือไม่ก็ตาม (อภิ.ปญฺจ.อ. ๔๔๘/๒๑๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๔๗๖ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๖. ฉัฏฐวรรค] ๒. ปฏิจจสมุปปาทกถา (๕๔)
สก. ปฏิจจสมุปบาทเป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง นิพพานก็เป็น
สภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งมี ๒ อย่างใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งมี ๒ อย่างใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ที่ต้านทานมี ๒ อย่าง ที่เร้นมี ๒ อย่าง ที่พึ่งมี ๒ อย่าง ที่หมาย
มี ๒ อย่าง ที่มั่นมี ๒ อย่าง อมตะมี ๒ อย่าง นิพพานมี ๒ อย่างใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. นิพพานมี ๒ อย่างใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. นิพพานทั้ง ๒ อย่าง ยังมีความสูงต่ำ ความเลวและความประณีต
ความยิ่งและหย่อน เขตแดน ความแตกต่าง ร่องรอย ช่องว่างอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๔๔๙] สก. ปฏิจจสมุปบาทเป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. อวิชชาเป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. อวิชชาเป็นสภาวธรรมที่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ปฏิจจสมุปบาทเป็นสภาวธรรมที่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ปฏิจจสมุปบาทเป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๔๗๗ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๖. ฉัฏฐวรรค] ๒. ปฏิจจสมุปปาทกถา (๕๔)
สก. สังขารที่เกิดเพราะอวิชชาเป็นปัจจัยเป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สังขารที่เกิดเพราะอวิชชาเป็นปัจจัยเป็นสภาวธรรมที่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ปฏิจจสมุปบาทเป็นสภาวธรรมที่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ปฏิจจสมุปบาทเป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. วิญญาณที่เกิดเพราะสังขารเป็นปัจจัยเป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง
ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. วิญญาณที่เกิดเพราะสังขารเป็นปัจจัยเป็นสภาวธรรมที่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ปฏิจจสมุปบาทเป็นสภาวธรรมที่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ปฏิจจสมุปบาทเป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. นามรูปที่เกิดเพราะวิญญาณเป็นปัจจัยเป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง
ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. นามรูปที่เกิดเพราะวิญญาณเป็นปัจจัยเป็นสภาวธรรมที่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง
ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ปฏิจจสมุปบาทเป็นสภาวธรรมที่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ปฏิจจสมุปบาทเป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๔๗๘ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๖. ฉัฏฐวรรค] ๒. ปฏิจจสมุปปาทกถา (๕๔)
สก. ชรามรณะที่เกิดเพราะชาติเป็นปัจจัยเป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ชรามรณะที่เกิดเพราะชาติเป็นปัจจัยเป็นสภาวธรรมที่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ปฏิจจสมุปบาทเป็นสภาวธรรมที่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๔๕๐] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “ปฏิจจสมุปบาทเป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัย
ปรุงแต่ง” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “(พระผู้มีพระภาคตรัสว่า) ภิกษุ
ทั้งหลาย ชรามรณะที่เกิดเพราะชาติเป็นปัจจัย พระตถาคตทั้งหลายจะอุบัติหรือไม่
อุบัติก็ตาม ธาตุนั้นได้ตั้งอยู่แล้วโดยแท้ เป็นเหตุความดำรงอยู่แห่งธรรม เป็นเหตุ
กำหนดความแน่นอนแห่งธรรม คือความที่ธรรมนี้เป็นปัจจัย พระตถาคตตรัสรู้ยิ่ง
ได้บรรลุธาตุนั้น ครั้นตรัสรู้แล้ว จึงตรัสบอก ทรงแสดง บัญญัติ ก่อตั้ง เปิดเผย
จำแนก ทำให้ง่ายขึ้น” ตรัสว่า “เธอทั้งหลายจงดู ชรามรณะที่เกิดเพราะชาติเป็น
ปัจจัย ชาติที่เกิดเพราะภพเป็นปัจจัย ฯลฯ สังขารที่เกิดเพราะอวิชชาเป็นปัจจัย
พระตถาคตทั้งหลายจะอุบัติหรือไม่อุบัติก็ตาม ธาตุนั้นได้ตั้งอยู่แล้วโดยแท้ ฯลฯ”
และตรัสว่า “เธอทั้งหลายจงดู สังขารที่เกิดเพราะอวิชชาเป็นปัจจัยดังนี้แล ภิกษุ
ทั้งหลาย ความจริงแท้ ความไม่ผิด ความไม่เป็นอย่างอื่น คือความที่ธรรมนี้เป็น
ปัจจัย มีอยู่ในสภาวธรรมนั้น ด้วยประการฉะนี้ อันนี้เราเรียกว่า ปฏิจจสมุปบาท”๑
มีอยู่จริงมิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. ดังนั้น ปฏิจจสมุปบาทจึงเป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง
[๔๕๑] สก. ความดำรงอยู่แห่งธรรม ความกำหนดความแน่นอนแห่งธรรม
ในปฏิจจสมุปบาทข้อว่า “เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารจึงมี” นั้น เป็นสภาวธรรม
ที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง นิพพานก็เป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม
ปร. ใช่

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ สํ.นิ. (แปล) ๑๖/๒๐/๓๔

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๔๗๙ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๖. ฉัฏฐวรรค] ๒. ปฏิจจสมุปปาทกถา (๕๔)
สก. สภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งมี ๒ อย่างใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น๑ ฯลฯ
สก. สภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งมี ๒ อย่างใช่ไหม
ปร. ใช่๒
สก. ที่ต้านทานมี ๒ อย่าง ฯลฯ ช่องว่างแห่งนิพพานมี ๒ อย่างใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ความดำรงอยู่แห่งธรรม ความกำหนดความแน่นอนแห่งธรรม ในปฏิจจ-
สมุปบาทข้อว่า “เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารจึงมี” นั้น เป็นสภาวธรรมที่ไม่
ถูกปัจจัยปรุงแต่ง ความดำรงอยู่แห่งธรรม ความกำหนดความแน่นอนแห่งธรรม
ในปฏิจจสมุปบาทข้อว่า “เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี” นั้น เป็นสภาว
ธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง นิพพานก็เป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งมี ๓ อย่างใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งมี ๓ อย่างใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ที่ต้านทานมี ๓ อย่าง ฯลฯ ช่องว่างแห่งนิพพานมี ๓ อย่างใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ความดำรงอยู่แห่งธรรม ความกำหนดความแน่นอนแห่งธรรม ในปฏิจจ-
สมุปบาทข้อว่า “เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารจึงมี” นั้น เป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูก
ปัจจัยปรุงแต่ง ความดำรงอยู่แห่งธรรม ความกำหนดความแน่นอนแห่งธรรม ใน
ปฏิจจสมุปบาทข้อว่า “เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี” นั้น เป็นสภาวธรรม
ที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง ฯลฯ ความดำรงอยู่แห่งธรรม ความกำหนดความแน่นอน

เชิงอรรถ :
๑ เพราะเห็นว่า ไม่มีในพระสูตร (อภิ.ปญฺจ.อ. ๔๕๑/๒๑๘)
๒ เพราะเห็นคล้อยตามลัทธิที่ยึดถือ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๔๕๑/๒๑๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๔๘๐ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๖. ฉัฏฐวรรค] ๓. สัจจกถา (๕๕)
แห่งธรรม ในปฏิจจสมุปบาทข้อว่า “เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะจึงมี” นั้น
เป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง นิพพานก็เป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง
ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งมี ๑๒ อย่างใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งมี ๑๒ อย่างใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ที่ต้านทานมี ๑๒ อย่าง ที่เร้นมี ๑๒ อย่าง ฯลฯ ช่องว่างแห่งนิพพาน
มี ๑๒ อย่างใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปฏิจจสมุปปาทกถา จบ

๓. สัจจกถา (๕๕)
ว่าด้วยสัจจะ
[๔๕๒] สก. สัจจะ ๔ เป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง(เป็นอสังขตะ)ใช่ไหม
ปร.๑ ใช่๒
สก. ที่ต้านทานมี ๔ อย่าง ที่เร้นมี ๔ อย่าง ที่พึ่งมี ๔ อย่าง ที่หมาย
มี ๔ อย่าง ที่มั่นมี ๔ อย่าง อมตะมี ๔ อย่าง นิพพานมี ๔ อย่างใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

เชิงอรรถ :
๑ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายปุพพเสลิยะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๔๕๒/๒๑๘)
๒ เพราะมีความเห็นว่า อริยสัจ ๔ เป็นสภาวธรรมที่เที่ยงแท้ ถาวร ไม่เป็นอย่างอื่น โดยถือตามพระพุทธพจน์
ที่ว่า “สัจจะ ๔ เป็นสิ่งที่เที่ยงแท้ไม่เป็นอย่างอื่น อย่างไม่รอบคอบ ซึ่งต่างกับความเห็นของสกวาทีที่เห็นว่า
สัจจะ ๔ เป็นสภาวธรรมที่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง (อภิ.ปญฺจ.อ. ๔๕๒/๒๑๘, สํ.ม. (แปล) ๑๙/๑๐๙๐/๖๐๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๔๘๑ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๖. ฉัฏฐวรรค] ๓. สัจจกถา (๕๕)
สก. นิพพานมี ๔ อย่างใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. นิพพานทั้ง ๔ อย่าง ยังมีความสูงต่ำ ความเลวและความประณีต
ความยิ่งและหย่อน เขตแดน ความแตกต่าง ร่องรอย ช่องว่างอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ทุกขสัจเป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ทุกข์เป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ทุกขสัจเป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ทุกข์ทางกาย ทุกข์ทางใจ ความโศก ความคร่ำครวญ ความลำบากกาย
ความลำบากใจ ความคับแค้นใจเป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สมุทยสัจเป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สมุทัยเป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สมุทยสัจเป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหาเป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. มัคคสัจเป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๔๘๒ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๖. ฉัฏฐวรรค] ๓. สัจจกถา (๕๕)
สก. มรรคเป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. มัคคสัจเป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิเป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ทุกข์เป็นสภาวธรรมที่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ทุกขสัจเป็นสภาวธรรมที่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ทุกข์ทางกาย ทุกข์ทางใจ ความโศก ความคร่ำครวญ ความลำบากกาย
ความลำบากใจ ความคับแค้นใจเป็นสภาวธรรมที่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ทุกขสัจเป็นสภาวธรรมที่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สมุทัยเป็นสภาวธรรมที่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สมุทยสัจเป็นสภาวธรรมที่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหาเป็นสภาวธรรมที่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สมุทยสัจเป็นสภาวธรรมที่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. มรรคเป็นสภาวธรรมที่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๔๘๓ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๖. ฉัฏฐวรรค] ๓. สัจจกถา (๕๕)
สก. มัคคสัจเป็นสภาวธรรมที่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิเป็นสภาวธรรมที่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. มัคคสัจเป็นสภาวธรรมที่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๔๕๓] สก. นิโรธสัจเป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง นิโรธก็เป็นสภาวธรรม
ที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ทุกขสัจเป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง ทุกข์ก็เป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูก
ปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. นิโรธสัจเป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง นิโรธก็เป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูก
ปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สมุทยสัจเป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง สมุทัยก็เป็นสภาวธรรมที่
ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. นิโรธสัจเป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง นิโรธก็เป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูก
ปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. มัคคสัจเป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง มรรคก็เป็นสภาวธรรมที่
ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ทุกขสัจเป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง แต่ทุกข์เป็นสภาวธรรมที่
ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๔๘๔ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๖. ฉัฏฐวรรค] ๓. สัจจกถา (๕๕)
สก. นิโรธสัจเป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง แต่นิโรธเป็นสภาวธรรม
ที่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สมุทยสัจเป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง แต่สมุทัยเป็นสภาวธรรม
ที่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. นิโรธสัจเป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง แต่นิโรธเป็นสภาวธรรม
ที่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. มัคคสัจเป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง แต่มรรคเป็นสภาวธรรม
ที่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. นิโรธสัจเป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง แต่นิโรธเป็นสภาวธรรม
ที่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๔๕๔] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “สัจจะ ๔ เป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุง
แต่ง” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย สัจจะ ๔ อย่างนี้
เป็นของแท้ ไม่ผิด ไม่เป็นอย่างอื่น สัจจะ ๔ อย่างอะไรบ้าง คือ (๑) คำว่า นี้ทุกข์
เป็นของแท้ ไม่ผิด ไม่เป็นอย่างอื่น (๒) คำว่า นี้สมุทัย ... (๓) คำว่า นี้ทุกขนิโรธ ...
(๔) คำว่า นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา เป็นของแท้ ไม่ผิด ไม่เป็นอย่างอื่น ภิกษุทั้งหลาย
สัจจะ ๔ อย่างนี้ เป็นของแท้ ไม่ผิด ไม่เป็นอย่างอื่น”๑ มีอยู่จริงมิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. ดังนั้น สัจจะ ๔ จึงเป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง

สัจจกถา จบ

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ สํ.ม. (แปล) ๑๙/๑๐๙๐/๖๐๔

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๔๘๕ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๖. ฉัฏฐวรรค] ๔. อารุปปกถา (๕๖)
๔. อารุปปกถา (๕๖)
ว่าด้วยอรูปฌาน
[๔๕๕] สก. อากาสานัญจายตนฌานเป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง
(เป็นอสังขตะ)ใช่ไหม
ปร.๑ ใช่๒
สก. อากาสานัญจายตนฌาน เป็นนิพพาน เป็นที่ต้านทาน เป็นที่เร้น เป็น
ที่พึ่ง เป็นที่หมาย เป็นที่มั่น เป็นอมตะใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. อากาสานัญจายตนฌานเป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง นิพพาน
ก็เป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งมี ๒ อย่างใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งมี ๒ อย่างใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ที่ต้านทานมี ๒ อย่าง ฯลฯ ช่องว่างแห่งนิพพานมี ๒ อย่างใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. อากาสานัญจายตนฌานเป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. อากาสานัญจายตนฌาน เป็นภพ เป็นคติ เป็นสัตตาวาส เป็นสงสาร
เป็นกำเนิด เป็นวิญญาณฐิติ เป็นการได้อัตภาพใช่ไหม
ปร. ใช่

เชิงอรรถ :
๑ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายปุพพเสลิยะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๔๕๒-๔๕๔/๒๑๘)
๒ เพราะมีความเห็นว่า อรูปฌานเป็นอสังขตธรรม โดยยึดถือตามพระพุทธพจน์ที่ว่า “อรูปฌาน ๔ เป็น
สภาวะที่เที่ยงแท้ไม่หวั่นไหว” ซึ่งต่างกับความเห็นของสกวาทีที่เห็นว่า อรูปฌาน ๔ เป็นสภาวธรรมที่ถูก
ปัจจัยปรุงแต่ง (อภิ.ปญฺจ.อ. ๔๕๕-๔๕๖/๒๑๙)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๔๘๖ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๖. ฉัฏฐวรรค] ๔. อารุปปกถา (๕๖)
สก. สภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุ่งแต่ง เป็นภพ เป็นคติ เป็นสัตตาวาส เป็น
สงสาร เป็นกำเนิด เป็นวิญญาณฐิติ เป็นการได้อัตภาพใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. กรรมที่เป็นเหตุเข้าถึงอากาสานัญจายตนฌานมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. กรรมที่เป็นเหตุเข้าถึงสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุ่งแต่งมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สัตว์ผู้เข้าถึงอากาสานัญจายตนฌานมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สัตว์ผู้เข้าถึงสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุ่งแต่งมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ในอากาสานัญจายตนฌาน มีสัตว์เกิด แก่ ตาย จุติ ปฏิสนธิใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ในสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุ่งแต่ง มีสัตว์เกิด แก่ ตาย จุติ ปฏิสนธิ
ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ในอากาสานัญจายตนฌาน มีเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ในสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุ่งแต่ง มีเวทนา สัญญา สังขาร
วิญญาณใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. อากาสานัญจายตนฌานเป็นภพที่มีขันธ์ ๔ ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุ่งแต่งเป็นภพที่มีขันธ์ ๔ ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๔๘๗ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๖. ฉัฏฐวรรค] ๕. นิโรธสมาปัตติกถา (๕๗)
[๔๕๖] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “อรูปฌาน ๔ เป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัย
ปรุงแต่ง” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. อรูปฌาน ๔ พระผู้มีพระภาคตรัสว่าเป็นธรรมไม่หวั่นไหว มิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. หากอรูปฌาน ๔ พระผู้มีพระภาคตรัสว่าเป็นธรรมไม่หวั่นไหว ดังนั้น
ท่านจึงควรยอมรับว่า “อรูปฌาน ๔ เป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง”
อารุปปกถา จบ

๕. นิโรธสมาปัตติกถา (๕๗)
ว่าด้วยนิโรธสมาบัติ
[๔๕๗] สก. นิโรธสมาบัติเป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง(เป็นอสังขตะ)ใช่ไหม
ปร.๑ ใช่๒
สก. นิโรธสมาบัติเป็นนิพพาน เป็นที่ต้านทาน เป็นที่เร้น เป็นที่พึ่ง เป็น
ที่หมาย เป็นที่มั่น เป็นอมตะใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. นิโรธสมาบัติเป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง นิพพานก็เป็นสภาวธรรม
ที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งมี ๒ อย่างใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

เชิงอรรถ :
๑ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอันธกะและนิกายอุตตราปถกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๔๕๗/๒๑๙)
๒ เพราะมีความเห็นว่า เนื่องจากนิโรธสมาบัติเป็นสภาวะที่ดับแล้ว จึงเป็นอสังขตะ ซึ่งต่างกับความเห็นของ
สกวาทีที่เห็นว่า นิโรธสมาบัติเป็นทั้งสังขตะ และอสังขตะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๔๕๗/๒๑๙)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๔๘๘ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๖. ฉัฏฐวรรค] ๕. นิโรธสมาปัตติกถา (๕๗)
สก. สภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งมี ๒ อย่างใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ที่ต้านทานมี ๒ อย่าง ฯลฯ ช่องว่างแห่งนิพพานมี ๒ อย่างใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. นิโรธสมาบัติเป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลบางพวกเข้านิโรธสมาบัติ ได้นิโรธสมาบัติ ให้นิโรธสมาบัติ
อุบัติขึ้น ให้อุบัติขึ้นด้วยดี ให้ตั้งขึ้น ให้ตั้งขึ้นด้วยดี ให้บังเกิด ให้บังเกิดโดยยิ่ง
ให้เกิด ให้เกิดด้วยดี มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลบางพวกเข้าสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง ได้สภาวธรรมที่ไม่
ถูกปัจจัยปรุงแต่ง ให้สภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งอุบัติขึ้น ให้อุบัติขึ้นด้วยดี ให้
ตั้งขึ้น ให้ตั้งขึ้นด้วยดี ให้บังเกิด ให้บังเกิดโดยยิ่ง ให้เกิด ให้เกิดด้วยดี มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๔๕๘] สก. ความผ่องแผ้ว ความออกจากนิโรธสมาบัติ ปรากฏได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ความผ่องแผ้ว ความออกจากสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง ปรากฏ
ได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. วจีสังขารของผู้เข้านิโรธสมาบัติอยู่ดับไปก่อน ต่อจากนั้น กายสังขารจึงดับ
ต่อจากนั้น จิตสังขารจึงดับใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. วจีสังขารของผู้เข้าสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งอยู่ดับไปก่อน ต่อจากนั้น
กายสังขารจึงดับ ต่อจากนั้น จิตตสังขารจึงดับใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๔๘๙ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๖. ฉัฏฐวรรค] ๕. นิโรธสมาปัตติกถา (๕๗)
สก. จิตตสังขารของผู้ออกจากนิโรธสมาบัติเกิดขึ้นก่อน ต่อจากนั้น กาย-
สังขารจึงเกิด ต่อจากนั้น วจีสังขารจึงเกิดใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. จิตตสังขารของผู้ออกจากสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งเกิดขึ้นก่อน
ต่อจากนั้น กายสังขารจึงเกิด ต่อจากนั้น วจีสังขารจึงเกิดใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ผัสสะทั้ง ๓ คือ (๑) สุญญตผัสสะ (๒) อนิมิตตผัสสะ (๓) อัปปณิหิต-
ผัสสะ ย่อมถูกต้องผู้ออกจากนิโรธแล้วใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ผัสสะทั้ง ๓ คือ (๑) สุญญตผัสสะ (๒) อนิมิตตผัสสะ (๓) อัปปณิหิต-
ผัสสะ ย่อมถูกต้องผู้ออกจากสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งแล้วใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. จิตของผู้ออกจากนิโรธสมาบัติแล้วย่อมน้อมไปสู่วิเวก โน้มไปสู่วิเวก
โอนไปสู่วิเวกใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. จิตของผู้ออกจากสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งแล้วย่อมน้อมไปสู่วิเวก
โน้มไปสู่วิเวก โอนไปสู่ วิเวกใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๔๕๙] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “นิโรธสมาบัติเป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัย
ปรุงแต่ง” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. นิโรธสมาบัติเป็นสภาวธรรมที่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. ดังนั้น นิโรธสมาบัติจึงเป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง

นิโรธสมาปัตติกถา จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๔๙๐ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๖. ฉัฏฐวรรค] ๖. อากาสกถา (๕๘)
๖. อากาสกถา (๕๘)
ว่าด้วยอากาศ
[๔๖๐] สก. อากาศ๑เป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง(เป็นอสังขตะ)ใช่ไหม
ปร.๒ ใช่๓
สก. อากาศเป็นนิพพาน เป็นที่ต้านทาน เป็นที่เร้น เป็นที่พึ่ง เป็นที่หมาย
เป็นที่มั่น เป็นอมตะใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. อากาศเป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง นิพพานก็เป็นสภาวธรรม
ที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งมี ๒ อย่างใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งมี ๒ อย่างใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ที่ต้านทานมี ๒ อย่าง ฯลฯ ช่องว่างแห่งนิพพานมี ๒ อย่างใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. อากาศเป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม
ปร. ใช่

เชิงอรรถ :
๑ อากาศ มี ๓ ชนิด คือ (๑) ปริจเฉทากาศ (ช่องว่างระหว่างรูปกลาปหนึ่ง ๆ) (๒) กสิณุคฆาฏิมากาศ
(ความว่างของจิต หลังจากถอนจากกสิณหนึ่ง ๆ) (๓) อัชฌัตตากาศ (อากาศที่ทั่วไป) (อภิ.ปญฺจ.อ. ๔๖๐-
๔๖๒/๒๒๐)
๒ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอุตตราปถกะและนิกายมหิสาสกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๔๖๐-๔๖๒/๒๒๐)
๓ เพราะมีความเห็นว่า อากาศทั้ง ๓ ชนิดนี้เป็นอสังขตะ ซึ่งต่างกับความเห็นของสกวาทีที่เห็นว่า อากาศ
ชนิดแรกเป็นสังขตะ อีก ๒ ชนิดเป็นเพียงบัญญัติ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๔๖๐-๔๖๒/๒๒๐)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๔๙๑ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๖. ฉัฏฐวรรค] ๖. อากาสกถา (๕๘)
สก. มีบุคคลบางพวกทำสิ่งที่มิใช่อากาศให้เป็นอากาศได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. มีบุคคลบางพวกทำสภาวธรรมที่ถูกปัจจัยปรุงแต่งให้เป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูก
ปัจจัยปรุงแต่งได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. มีบุคคลบางพวกทำอากาศไม่ให้เป็นอากาศได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. มีบุคคลบางพวกทำสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งให้เป็นสภาวธรรม
ที่ถูกปัจจัยปรุงแต่งได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ในอากาศ นกทั้งหลายบินไปได้ ดวงจันทร์และดวงอาทิตย์โคจรไปได้
ดวงดาวทั้งหลายโคจรไปได้ ผู้มีฤทธิ์ทั้งหลายแสดงฤทธิ์ได้ ชนทั้งหลายแกว่งแขนได้
โบกมือได้ ขว้างก้อนดินไปได้ ขว้างลูกขลุบไปได้ แผลงฤทธิ์ได้ แผลงศรไปได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ในสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง นกทั้งหลายบินไปได้ ดวงจันทร์
และดวงอาทิตย์โคจรไปได้ ดวงดาวทั้งหลายโคจรไปได้ ผู้มีฤทธิ์ทั้งหลายแสดง
ฤทธิ์ได้ ชนทั้งหลายแกว่งแขนได้ โบกมือได้ ขว้างก้อนดินไปได้ ขว้างลูกขลุบไปได้
แผลงฤทธิ์ได้ แผลงศรไปได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๔๖๑] สก. ชนทั้งหลายล้อมอากาศทำให้เป็นเรือน ทำให้เป็นฉางได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ชนทั้งหลายล้อมสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งทำให้เป็นเรือน ทำให้
เป็นฉางได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เมื่อขุดบ่อน้ำ ที่ที่มิใช่อากาศก็กลายเป็นอากาศได้ใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๔๙๒ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๖. ฉัฏฐวรรค] ๗. อากาโสสนิทัสสโนติกถา (๕๙)
สก. สภาวธรรมที่ถูกปัจจัยปรุงแต่งก็กลายเป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง
ได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เมื่อถมบ่อน้ำเปล่า บรรจุฉางเปล่า หม้อเปล่าให้เต็มอยู่ อากาศหายไป
ได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งหายไปได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๔๖๒] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “อากาศเป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง”
ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. อากาศเป็นสภาวธรรมที่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. ดังนั้น อากาศจึงเป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง
อากาสกถา จบ

๗. อากาโสสนิทัสสโนติกถา (๕๙)
ว่าด้วยอากาศเป็นสภาวธรรมที่เห็นได้
[๔๖๓] สก. อากาศเป็นสภาวธรรมที่เห็นได้ใช่ไหม
ปร.๑ ใช่๒
สก. อากาศเป็นรูป เป็นรูปายตนะ เป็นรูปธาตุ เป็นสีเขียว สีเหลือง สีแดง
สีขาว เป็นวิสัยแห่งจักขุวิญญาณ กระทบที่จักษุ มาสู่คลองจักษุได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

เชิงอรรถ :
๑ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอันธกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๔๖๓-๔๖๔/๒๒๐)
๒ เพราะมีความเห็นว่า อากาศชนิดที่ ๓ (อัชฌัตตากาศ) เป็นสภาวธรรมที่เห็นได้ด้วยตาเปล่า ซึ่งต่างกับ
ความเห็นของสกวาทีที่เห็นว่า อัชฌัตตากาศจริง ๆ ก็เห็นไม่ได้ ที่เห็นได้ก็เพราะมีสิ่งอื่น เช่น ช่องหน้าต่าง
เป็นตัวกำหนด (อภิ.ปญฺจ.อ. ๔๖๓-๔๖๔/๒๒๐)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๔๙๓ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๖. ฉัฏฐวรรค] ๗. อากาโสสนิทัสสโนติกถา (๕๙)
สก. อากาศเป็นสภาวธรรมที่เห็นได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เพราะอาศัยจักษุและอากาศ จึงเกิดจักขุวิญญาณใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เพราะอาศัยจักษุและอากาศ จึงเกิดจักขุวิญญาณใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสูตรที่ว่า “เพราะอาศัยจักษุและอากาศ จึงเกิดจักขุวิญญาณ” มีอยู่
จริงหรือ
ปร. ไม่มี
สก. พระสูตรที่ว่า “เพราะอาศัยจักษุและรูป จึงเกิดจักขุวิญญาณ”๑ มีอยู่จริง
ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. หากพระสูตรว่า “เพราะอาศัยจักษุและรูป จึงเกิดจักขุวิญญาณ”
มีอยู่จริง ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “เพราะอาศัยจักษุและอากาศ จึงเกิดจักขุวิญญาณ”
[๔๖๔] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “อากาศเป็นสภาวธรรมที่เห็นได้” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. ท่านเห็นช่องของต้นไม้ ๒ ต้น ช่องเสา ๒ ต้น ช่องลูกดาล ช่องหน้าต่าง
มิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. หากท่านเห็นช่องของต้นไม้ ๒ ต้น ช่องเสา ๒ ต้น ช่องลูกดาล
ช่องหน้าต่างได้ ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “อากาศเป็นสภาวธรรมที่เห็นได้”

โอกาโสสนิทัสสโนติกถา จบ

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ ม.มู. (แปล) ๑๒/๔๐๐/๔๓๑, ม.อุ. (แปล) ๑๔/๔๒๑/๔๗๙

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๔๙๔ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๖. ฉัฏฐวรรค] ๘. ปฐวีธาตุสนิทัสสนาติอาทิกถา (๖๐)
๘. ปฐวีธาตุสนิทัสสนาติอาทิกถา (๖๐)
ว่าด้วยปฐวีธาตุเป็นสภาวธรรมที่เห็นได้ เป็นต้น
[๔๖๕] สก. ปฐวีธาตุเป็นสภาวธรรมที่เห็นได้ใช่ไหม
ปร.๑ ใช่๒
สก. ปฐวีธาตุเป็นรูป เป็นรูปายตนะ เป็นรูปธาตุ เป็นสีเขียว สีเหลือง สีแดง
สีขาว เป็นวิสัยแห่งจักขุวิญญาณ กระทบที่จักษุ มาสู่คลองจักษุได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ปฐวีธาตุเป็นสภาวธรรมที่เห็นได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เพราะอาศัยจักษุและปฐวีธาตุ จึงเกิดจักขุวิญญาณใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เพราะอาศัยจักษุและปฐวีธาตุ จึงเกิดจักขุวิญญาณใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสูตรที่ว่า “เพราะอาศัยจักษุและปฐวีธาตุ จึงเกิดจักขุวิญญาณ” มี
อยู่จริงหรือ
ปร. ไม่มี

เชิงอรรถ :
๑ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอันธกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๔๖๕/๒๒๐)
๒ เพราะมีความเห็นว่า มหาภูตรูป ๔ เป็นสภาวธรรมที่เห็นได้ด้วยตาเปล่า ซึ่งต่างกับความเห็นของสกวาที
ที่เห็นว่า ธาตุที่ไม่มีสี เห็นไม่ได้ ต้องมีสีเท่านั้นจึงจะเห็นได้ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๔๖๕/๒๒๐)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๔๙๕ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๖. ฉัฏฐวรรค] ๘. ปฐวีธาตุสนิทัสสนาติอาทิกถา (๖๐)
สก. พระสูตรที่ว่า “เพราะอาศัยจักษุและรูป จึงเกิดจักขุวิญญาณ” มีอยู่ จริงใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. หากพระสูตรที่ว่า “เพราะอาศัยจักษุและรูป จึงเกิดจักขุวิญญาณ” มีอยู่
จริง ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “เพราะอาศัยจักษุและปฐวีธาตุ จึงเกิดจักขุวิญญาณ”
[๔๖๖] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “ปฐวีธาตุเป็นสภาวธรรมที่เห็นได้” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. ท่านเห็นแผ่นดิน แผ่นหิน ภูเขามิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. หากท่านเห็นแผ่นดิน แผ่นหิน ภูเขา ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า
“ปฐวีธาตุเป็นสภาวธรรมที่เห็นได้”
ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “อาโปธาตุเป็นสภาวธรรมที่เห็นได้” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. ท่านเห็นน้ำมิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. หากท่านเห็นน้ำได้ ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “อาโปธาตุเป็น
สภาวธรรมที่เห็นได้”
ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “เตโชธาตุเป็นสภาวธรรมที่เห็นได้” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. ท่านเห็นไฟที่ลุกโพลงอยู่มิใช่หรือ
สก. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๔๙๖ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๖. ฉัฏฐวรรค] ๙. จักขุนทริยังสนิทัสสนันติอาทิกถา (๖๑)
ปร. หากท่านเห็นไฟที่ลุกโพลงอยู่ได้ ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า เตโชธาตุ
เป็นสภาวธรรมที่เห็นได้”
ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “วาโยธาตุเป็นสภาวธรรมที่เห็นได้” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. ท่านเห็นต้นไม้ที่ถูกลมพัดให้โยกโคลงอยู่มิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. หากท่านเห็นต้นไม้ที่ถูกลมพัดให้โยกโคลงอยู่ได้ ดังนั้น ท่านจึงควร
ยอมรับว่า “วาโยธาตุเป็นสภาวธรรมที่เห็นได้”
ปฐวีธาตุสนิทัสสนาติอาทิกถา จบ

๙. จักขุนทริยังสนิทัสสนันติอาทิกถา (๖๑)
ว่าด้วยจักขุนทรีย์เป็นสภาวธรรมที่เห็นได้ เป็นต้น
[๔๖๗] สก. จักขุนทรีย์เป็นสภาวธรรมที่เห็นได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. จักขุนทรีย์เป็นรูป เป็นรูปายตนะ เป็นรูปธาตุ ฯลฯ มาสู่คลองจักษุ
ได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. จักขุนทรีย์เป็นสภาวธรรมที่เห็นได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เพราะอาศัยจักษุและจักขุนทรีย์ จึงเกิดจักขุวิญญาณใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๔๙๗ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๖. ฉัฏฐวรรค] ๙. จักขุนทริยังสนิทัสสนันติอาทิกถา (๖๑)
สก. เพราะอาศัยจักษุและจักขุนทรีย์ จึงเกิดจักขุวิญญาณใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสูตรที่ว่า “เพราะอาศัยจักษุและจักขุนทรีย์ จึงเกิดจักขุวิญญาณ”
มีอยู่จริงหรือ
ปร. ไม่มี
สก. พระสูตรที่ว่า “เพราะอาศัยจักษุและรูป จึงเกิดจักขุวิญญาณ” มีอยู่จริง
ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. หากพระสูตรที่ว่า “เพราะอาศัยจักษุและรูป จึงเกิดจักขุวิญญาณ”
มีอยู่จริง ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “เพราะอาศัยจักษุและจักขุนทรีย์ จึงเกิดจักขุ-
วิญญาณ”
[๔๖๘] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “อินทรีย์ ๕ เป็นสภาวธรรมที่เห็นได้” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. ท่านเห็นจักษุ โสตะ ฆานะ ชิวหา กายมิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. หากท่านเห็นจักษุ โสตะ ฆานะ ชิวหา กาย ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า
“อินทรีย์ ๕ เป็นสภาวธรรมที่เห็นได้”

จักขุนทริยังสนิทัสสนันติอาทิกถา จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๔๙๘ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๖. ฉัฏฐวรรค] ๑๐. กายกัมมังสนิททัสสนันติกถา (๖๒)
๑๐. กายกัมมังสนิทัสสนันติกถา (๖๒)
ว่าด้วยกายกรรมเป็นสภาวธรรมที่เห็นได้
[๔๖๙] สก. กายกรรมเป็นสภาวธรรมที่เห็นได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. กายกรรม เป็นรูป เป็นรูปายตนะ เป็นรูปธาตุ เป็นสีเขียว สีเหลือง
สีแดง สีขาว เป็นวิสัยแห่งจักขุวิญญาณ กระทบที่จักษุ มาสู่คลองจักษุได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. กายกรรมเป็นสภาวธรรมที่เห็นได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เพราะอาศัยจักษุและกายกรรม จึงเกิดจักขุวิญญาณใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เพราะอาศัยจักษุและกายกรรม จึงเกิดจักขุวิญญาณใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสูตรที่ว่า “เพราะอาศัยจักษุและกายกรรม จึงเกิดจักขุวิญญาณ”
มีอยู่จริงหรือ
ปร. ไม่มี
สก. พระสูตรที่ว่า “เพราะอาศัยจักษุและรูป จึงเกิดจักขุวิญญาณ” มีอยู่
จริงใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. หากพระสูตรที่ว่า “เพราะอาศัยจักษุและรูป จึงเกิดจักขุวิญญาณ” มีอยู่
จริง ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “เพราะอาศัยจักษุและกายกรรม จึงเกิดจักขุวิญญาณ”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๔๙๙ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๖. ฉัฏฐวรรค] รวมกถาที่มีในวรรค
[๔๗๐] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “กายกรรมเป็นสภาวธรรมที่เห็นได้” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. ท่านเห็นผู้ก้าวไป ถอยกลับ แลดู มองดู คู้เข้า เหยียดออกมิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. หากท่านเห็นผู้ก้าวไป ถอยกลับ แลดู มองดู คู้เข้า เหยียดออก ดังนั้น
ท่านก็ควรยอมรับว่า “กายกรรมเป็นสภาวธรรมที่เห็นได้”
กายกัมมังสนิทัสสนันติกถา จบ
เรื่องสุดท้ายพึงทราบว่า เริ่มต้นแต่ปฐวีสนิทัสสนะจนถึงกายกัมมสนิทัสสนะ
ฉัฏฐวรรค จบ

รวมกถาที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. นิยามกถา ๒. ปฏิจจสมุปปาทกถา
๓. สัจจกถา ๔. อารุปปกถา
๕. นิโรธสมาปัตติกถา ๖. อากาสกถา
๗. อากาโสสนิทัสสโนติกถา ๘. ปฐวีธาตุสนิทัสสนาติอาทิกถา
๙. จักขุนทริยังสนิทัสสนันติอาทิกถา ๑๐. กายกัมมังสนิทัสสนันติกถา


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๕๐๐ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๗. สัตตมวรรค] ๑. สังคหิตกถา (๖๓)
๗. สัตตมวรรค
๑. สังคหิตกถา (๖๓)
ว่าด้วยสภาวธรรมที่สงเคราะห์เข้าได้
[๔๗๑] สก. สภาวธรรมบางเหล่าที่สงเคราะห์เข้าได้๑กับสภาวธรรมบางเหล่า
ไม่มีใช่ไหม
ปร.๒ ใช่๓
สก. สภาวธรรมบางเหล่าที่สงเคราะห์เข้าได้ จัดเข้าหัวข้อได้ นับเนื่องกับ
สภาวธรรมบางเหล่ามีอยู่มิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากสภาวธรรมบางเหล่าที่สงเคราะห์เข้าได้ จัดเข้าหัวข้อได้ นับเนื่อง
กับสภาวธรรมบางเหล่ามีอยู่ ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “สภาวธรรมบางเหล่าที่
สงเคราะห์เข้าได้กับสภาวธรรมบางเหล่าไม่มี”
สก. จักขายตนะสงเคราะห์เข้าในขันธ์ไหน
ปร. สงเคราะห์เข้าในรูปขันธ์
สก. หากจักขายตนะสงเคราะห์เข้าในรูปขันธ์ ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า
“จักขายตนะสงเคราะห์เข้าได้กับรูปขันธ์”

เชิงอรรถ :
๑ สงเคราะห์เข้าได้ โดยทั่วไปเห็นว่า มีสภาวธรรมบางเหล่าที่สงเคราะห์เข้าได้และมีบางเหล่าที่สงเคราะห์เข้า
ไม่ได้ ดูรายละเอียดในธาตุกถา (แปล) ๓๖/๑/๑
๒ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายราชคิริกะและนิกายสิทธัตถิกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๔๗๑/๒๒๑)
๓ เพราะมีความเห็นว่า คำว่า สงเคราะห์ หมายถึงการรวมสภาวธรรมอย่างหนึ่งเข้ากับสภาวธรรมอีกอย่าง
หนึ่งให้เป็นอย่างเดียวกันตามรูปศัพท์จึงถือว่าทำไม่ได้ เพราะสภาวธรรมแต่ละอย่างมีลักษณะเป็นของ
ตนเองที่ไม่อาจจะเหมือนหรือเข้ากันได้กับสภาวธรรมอื่น เช่นเดียวกับการจับวัว ๒ ตัวมาร้อยเข้าด้วยกัน
ก็ไม่ชื่อว่าเป็นการสงเคราะห์เข้าด้วยกัน (อภิ.ปญฺจ.อ. ๔๗๑/๒๒๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๕๐๑ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๗. สัตตมวรรค] ๑. สังคหิตกถา (๖๓)
สก. โสตายตนะ ฯลฯ ฆานายตนะ ฯลฯ ชิวหายตนะ ฯลฯ กายายตนะ
สงเคราะห์เข้าในขันธ์ไหน
ปร. สงเคราะห์เข้าในรูปขันธ์
สก. หากกายายตนะสงเคราะห์เข้าในรูปขันธ์ ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า
“กายายตนะสงเคราะห์เข้ากับรูปขันธ์”
สก. รูปายตนะ ฯลฯ สัททายตนะ ฯลฯ คันธายตนะ ฯลฯ รสายตนะ ฯลฯ
โผฏฐัพพายตนะสงเคราะห์เข้าในขันธ์ไหน
ปร. สงเคราะห์เข้าในรูปขันธ์
สก. หากโผฏฐัพพายตนะสงเคราะห์เข้าในรูปขันธ์ ดังนั้น ท่านจึงควรยอม
รับว่า “โผฏฐัพพายตนะสงเคราะห์เข้าได้กับรูปขันธ์”
สก. สุขเวทนาสงเคราะห์เข้าในขันธ์ไหน
ปร. สงเคราะห์เข้าในเวทนาขันธ์
สก. หากสุขเวทนาสงเคราะห์เข้าในเวทนาขันธ์ ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า
“สุขเวทนาสงเคราะห์เข้าได้กับเวทนาขันธ์”
สก. ทุกขเวทนา ฯลฯ อทุกขมสุขเวทนาสงเคราะห์เข้าในขันธ์ไหน
ปร. สงเคราะห์เข้าในเวทนาขันธ์
สก. หากอทุกขมสุขเวทนาสงเคราะห์เข้าในเวทนาขันธ์ ดังนั้น ท่านจึง
ควรยอมรับว่า “อทุกขมสุขเวทนาสงเคราะห์เข้าได้กับเวทนาขันธ์”
สก. สัญญาที่เกิดจากจักขุสัมผัส สงเคราะห์เข้าในขันธ์ไหน
ปร. สงเคราะห์เข้าในสัญญาขันธ์
สก. หากสัญญาที่เกิดจากจักขุสัมผัสสงเคราะห์เข้าในสัญญาขันธ์ ดังนั้น
ท่านจึงควรยอมรับว่า “สัญญาที่เกิดจากจักขุสัมผัสสงเคราะห์เข้าได้กับสัญญาขันธ์”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๕๐๒ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๗. สัตตมวรรค] ๑. สังคหิตกถา (๖๓)
สก. สัญญาที่เกิดจากโสตสัมผัส ฯลฯ สัญญาที่เกิดจากมโนสัมผัสสงเคราะห์
เข้าในขันธ์ไหน
ปร. สงเคราะห์เข้าในสัญญาขันธ์
สก. หากสัญญาที่เกิดจากมโนสัมผัสสงเคราะห์เข้าในสัญญาขันธ์ ดังนั้น
ท่านจึงควรยอมรับว่า “สัญญาที่เกิดจากมโนสัมผัสสงเคราะห์เข้าได้กับสัญญาขันธ์”
สก. เจตนาที่เกิดจากจักขุสัมผัส ฯลฯ เจตนาที่เกิดจากมโนสัมผัสสงเคราะห์
เข้าในขันธ์ไหน
ปร. สงเคราะห์เข้าในสังขารขันธ์
สก. หากเจตนาที่เกิดจากมโนสัมผัสสงเคราะห์เข้าในสังขารขันธ์ ดังนั้น
ท่านจึงควรยอมรับว่า “เจตนาที่เกิดจากมโนสัมผัสสงเคราะห์เข้าได้กับสังขารขันธ์”
สก. จักขุวิญญาณ ฯลฯ มโนวิญญาณ สงเคราะห์เข้าในขันธ์ไหน
ปร. สงเคราะห์เข้าในวิญญาณขันธ์
สก. หากมโนวิญญาณสงเคราะห์เข้าในวิญญาณขันธ์ ดังนั้น ท่านจึงควร
ยอมรับว่า “มโนวิญญาณสงเคราะห์เข้าได้กับวิญญาณขันธ์”
[๔๗๒] ปร. สภาวธรรมเหล่านั้นสงเคราะห์เข้าได้กับสภาวธรรมเหล่านั้นเหมือน
อย่างคู่โคพลิพัทเขาร้อยไว้ด้วยสายทามหรือเชือก เหมือนบิณฑบาตเขาแขวนไว้
ด้วยสาแหรก หรือเหมือนสุนัขเขาผูกไว้ด้วยเชือกผูกสุนัข
สก. หากคู่โคพลิพัทเขาร้อยไว้ด้วยสายทามหรือเชือก บิณฑบาตแขวนไว้
ด้วยสาแหรก หรือสุนัขเขาผูกไว้ด้วยเชือกผูกสุนัข ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า
“สภาวธรรมบางเหล่าสงเคราะห์เข้าได้กับสภาวธรรมบางเหล่ามีอยู่”

สังคหิตกถา จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๕๐๓ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๗. สัตตมวรรค] ๒. สัมปยุตตกถา (๖๔)
๒. สัมปยุตตกถา (๖๔)
ว่าด้วยสัมปยุตตธรรม
[๔๗๓] สก. สภาวธรรมบางเหล่าที่สัมปยุตด้วยสภาวธรรมบางเหล่าไม่มี
ใช่ไหม
ปร.๑ ใช่๒
สก. สภาวธรรมบางเหล่าที่สหรคต เกิดร่วม ระคน เกิดพร้อมกัน ดับพร้อม
กัน มีวัตถุอย่างเดียวกัน มีอารมณ์อย่างเดียวกันกับสภาวธรรมบางเหล่ามีอยู่มิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากสภาวธรรมบางเหล่าที่สหรคต เกิดร่วม ระคน เกิดพร้อมกัน ดับ
พร้อมกัน มีวัตถุอย่างเดียวกัน มีอารมณ์อย่างเดียวกันกับสภาวธรรมบางเหล่ามีอยู่
ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “สภาวธรรมบางเหล่าที่สัมปยุตด้วยสภาวธรรมบางเหล่า
ไม่มี”
สก. เวทนาขันธ์เกิดร่วมกับสัญญาขันธ์ได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. หากเวทนาขันธ์เกิดร่วมกับสัญญาขันธ์ได้ ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า
“เวทนาขันธ์สัมปยุตด้วยสัญญาขันธ์”
สก. เวทนาขันธ์เกิดร่วมกับสังขารขันธ์(และ)วิญญาณขันธ์ได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. หากเวทนาขันธ์เกิดร่วมกับวิญญาณขันธ์ได้ ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า
“เวทนาขันธ์สัมปยุตด้วยวิญญาณขันธ์”

เชิงอรรถ :
๑ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายราชคิริกะและนิกายสิทธัตถิกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๔๗๓/๒๒๒)
๒ เพราะมีความเห็นว่า เวทนาสัมปยุตด้วยนามธรรมไม่ได้ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๔๗๓/๒๒๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๕๐๔ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๗. สัตตมวรรค] ๓. เจตสิกกถา (๖๕)
สก. สัญญาขันธ์ ฯลฯ สังขารขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ เกิดร่วมกับ
เวทนาขันธ์ ฯลฯ สัญญาขันธ์ ฯลฯ สังขารขันธ์ได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. หากวิญญาณขันธ์เกิดร่วมกับสังขารขันธ์ได้ ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า
“วิญญาณขันธ์สัมปยุตด้วยสังขารขันธ์”
[๔๗๔] ปร. สภาวธรรมเหล่านั้นแทรกซึมอยู่กับสภาวธรรมเหล่านั้น เหมือน
น้ำมันซึมซับอยู่ในเมล็ดงา น้ำอ้อยซึมซับอยู่ในต้นอ้อยใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สัมปยุตตกถา จบ

๓. เจตสิกกถา (๖๕)
ว่าด้วยเจตสิก
[๔๗๕] สก. สภาวธรรมที่เป็นเจตสิกไม่มีใช่ไหม
ปร.๑ ใช่๒
สก. สภาวธรรมบางเหล่าที่สหรคต เกิดร่วม ระคน สัมปยุต เกิดพร้อมกัน
ดับพร้อมกัน มีวัตถุอย่างเดียวกัน มีอารมณ์อย่างเดียวกันกับจิตมีอยู่มิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากสภาวธรรมบางเหล่าที่สหรคต เกิดร่วม ระคน สัมปยุต เกิด
พร้อมกัน ดับพร้อมกัน มีวัตถุอย่างเดียวกัน มีอารมณ์อย่างเดียวกันกับจิตมีอยู่
ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “สภาวธรรมที่เป็นเจตสิกไม่มี”

เชิงอรรถ :
๑ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายราชคิริกะและนิกายสิทธัตถิกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๔๗๕-๔๗๗/๒๒๓)
๒ เพราะมีความเห็นว่า ไม่สามารถจะแยกสภาวธรรมที่เรียกว่า เจตสิกออกจากจิตได้ จึงถือว่าไม่มีเจตสิก
อยู่จริง (อภิ.ปญฺจ.อ. ๔๗๕-๔๗๗/๒๒๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๕๐๕ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๗. สัตตมวรรค] ๓. เจตสิกกถา (๖๕)
สก. ผัสสะเกิดร่วมกับจิตใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. หากผัสสะเกิดร่วมกับจิต ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “ผัสสะเป็นเจตสิก”
สก. เวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ เจตนา ฯลฯ สัทธา ฯลฯ วิริยะ ฯลฯ
สติ ฯลฯ สมาธิ ฯลฯ ปัญญา ฯลฯ ราคะ ฯลฯ โทสะ ฯลฯ โมหะ ฯลฯ อโนตตัปปะ
เกิดร่วมกับจิตใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. หากอโนตตัปปะเกิดร่วมกับจิต ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า
“อโนตตัปปะเป็นเจตสิก”
[๔๗๖] ปร. เพราะท่านเข้าใจว่า “สภาวธรรมเกิดร่วมกับจิต” จึงยอมรับว่า
“สภาวธรรมเป็นเจตสิก” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. เพราะท่านเข้าใจว่า “สภาวธรรมเกิดร่วมกับผัสสะ” จึงยอมรับว่า
“สภาวธรรมเป็นผัสสิกะ” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. เพราะท่านเข้าใจว่า “สภาวธรรมเกิดร่วมกับจิต” จึงยอมรับว่า
“สภาวธรรมเป็นเจตสิก” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. เพราะท่านเข้าใจว่า “สภาวธรรมเกิดร่วมกับเวทนา ฯลฯ เกิดร่วมกับ
สัญญา ฯลฯ เกิดร่วมกับเจตนา ฯลฯ เกิดร่วมกับสัทธา ฯลฯ เกิดร่วมกับวิริยะ
ฯลฯ เกิดร่วมกับสติ ฯลฯ เกิดร่วมกับสมาธิ ฯลฯ เกิดร่วมกับปัญญา ฯลฯ
เกิดร่วมกับราคะ ฯลฯ เกิดร่วมกับโทสะ ฯลฯ เกิดร่วมกับโมหะ ฯลฯ เกิดร่วม
กับอโนตตัปปะ” จึงยอมรับว่า “สภาวธรรมเป็นอโนตตัปปาสิกะ” ใช่ไหม
สก. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๕๐๖ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๗. สัตตมวรรค] ๓. เจตสิกกถา (๖๕)
[๔๗๗] สก. สภาวธรรมที่เป็นเจตสิกไม่มีใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า
“จิตนี้และสภาวธรรมที่เป็นเจตสิก
ย่อมปรากฏแก่ผู้รู้แจ้งชัดแล้วโดยความเป็นอนัตตา
ครั้นรู้ชัดสภาวธรรมทั้ง ๒ นั้น ทั้งที่หยาบและประณีต
จึงเป็นผู้มีความเห็นโดยชอบ ทราบชัดว่า มีความแตกดับเป็นธรรมดา”
มีอยู่จริงมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. ดังนั้น สภาวธรรมที่เป็นเจตสิกจึงมีอยู่
สก. สภาวธรรมที่เป็นเจตสิกไม่มีใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “เกวัฏฏะ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อม
ทายจิต ทายเจตสิก ทายวิตกวิจาร ของสัตว์อื่น ๆ ของบุคคลอื่น ๆ ว่า ใจของ
ท่านเป็นอย่างนี้ ใจของท่านเป็นไปโดยอาการอย่างนี้ ความคิดของท่านเป็นดังนี้”๑
มีอยู่จริงมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. ดังนั้น สภาวธรรมที่เป็นเจตสิกจึงมีอยู่

เจตสิกกถา จบ

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ ที.ปา. (แปล) ๑๑/๑๔๘/๑๐๘

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๕๐๗ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๗. สัตตมวรรค] ๔. ทานกถา (๖๖)
๔. ทานกถา (๖๖)
ว่าด้วยทาน๑
[๔๗๘] สก. สภาวธรรมที่เป็นเจตสิกเป็นทานได้ใช่ไหม
ปร.๒ ใช่
สก. จะให้สภาวธรรมที่เป็นเจตสิกแก่คนอื่น ๆ ได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. จะให้สภาวธรรมที่เป็นเจตสิกแก่คนอื่น ๆ ได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. จะให้ผัสสะแก่คนอื่น ๆ ได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. จะให้เวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ เจตนา ฯลฯ สัทธา ฯลฯ วิริยะ ฯลฯ
สติ ฯลฯ สมาธิ ฯลฯ ปัญญา แก่คนอื่น ๆ ได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๔๗๙] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “สภาวธรรมที่เป็นเจตสิกเป็นทานได้” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. ทานมีผลไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่น่าพอใจ มีผลเร่าร้อน มีทุกข์
เป็นกำไร มีทุกข์เป็นวิบากใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

เชิงอรรถ :
๑ ทาน โดยทั่วไปมี ๓ อย่าง คือ (๑) จาคเจตนา (เจตนาเป็นเหตุบริจาค) (๒) วิรัติ (การงดเว้น) (๓) ไทยธรรม
(การให้สิ่งของ) ทาน ๓ ประการนี้ย่นลงเป็น ๒ คือ (๑) เจตสิกธรรม (จาคเจตนาและวิรัติ) (๒) ไทยธรรม
ซึ่งฝ่ายปรวาทีมีความเห็นว่า เจตสิกธรรมเท่านั้น เรียกว่าทาน ส่วนไทยธรรมไม่เรียกว่า ทาน (อภิ.ปญฺจ.อ.
๔๗๘/๒๒๓)
๒ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายราชคิริกะและนิกายสิทธัตถิกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๔๗๘/๒๒๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๕๐๘ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๗. สัตตมวรรค] ๔. ทานกถา (๖๖)
ปร. ทานมีผลน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ มีผลเยือกเย็น มีสุขเป็นกำไร
มีสุขเป็นวิบากมิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. หากทานมีผลน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ มีผลเยือกเย็น มีสุขเป็น
กำไร มีสุขเป็นวิบาก ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “สภาวธรรมที่เป็นเจตสิกเป็น
ทานได้”
สก. ทาน พระผู้มีพระภาคตรัสว่ามีผลน่าปรารถนา จีวรเป็นทาน ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. จีวรมีผลน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ มีผลเยือกเย็น มีสุขเป็นกำไร
มีสุขเป็นวิบากใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ทาน พระผู้มีพระภาคตรัสว่ามีผลน่าปรารถนา บิณฑบาต เสนาสนะ
คิลานปัจจัยเภสัชบริขารเป็นทาน ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. คิลานปัจจัยเภสัชบริขารมีผลน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ มีผล
เยือกเย็น มีสุขเป็นกำไร มีสุขเป็นวิบากใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๔๘๐] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “สภาวธรรมที่เป็นเจตสิกเป็นทานได้” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า
“ธรรมเหล่านี้ คือ ศรัทธา หิริ
และทานที่เป็นกุศล อันสัตบุรุษดำเนินตามแล้ว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๕๐๙ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๗. สัตตมวรรค] ๔. ทานกถา (๖๖)
สัตบุรุษทั้งหลายกล่าวว่าธรรม ๓ ประการนี้
เป็นทางไปสู่เทวโลก
เพราะธรรม ๓ ประการนี้แล บุคคลจึงไปสู่เทวโลกได้” ๑
มีอยู่จริงมิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. ดังนั้น สภาวธรรมที่เป็นเจตสิกจึงเป็นทานได้
ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “สภาวธรรมที่เป็นเจตสิกเป็นทานได้” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทาน ๕ ประการนี้
เป็นมหาทานที่รู้กันว่าล้ำเลิศ รู้กันมานาน รู้กันว่าเป็นอริยวงศ์ เป็นของเก่า ใน
อดีตไม่ถูกลบล้างแล้ว ไม่เคยถูกลบล้าง ในปัจจุบันไม่ถูกลบล้าง ในอนาคตก็จัก
ไม่ถูกลบล้าง ไม่ถูกสมณพราหมณ์ผู้รู้คัดค้าน ทาน ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ละเว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ อริยสาวก
ผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์แล้ว ชื่อว่าให้ความไม่มีภัย ให้ความไม่มี
เวร ให้ความไม่เบียดเบียนสัตว์ทั้งหลาย ไม่มีประมาณ ย่อมเป็น
ผู้มีส่วนแห่งความไม่มีภัย ความไม่มีเวร ความไม่เบียดเบียนอัน
ไม่มีประมาณ นี้เป็นทานประการที่ ๑ เป็นมหาทาน ที่รู้กันว่าล้ำเลิศ
รู้กันมานาน รู้กันว่าเป็นอริยวงศ์ เป็นของเก่า ในอดีตไม่ถูกลบ
ล้างแล้ว ไม่เคยถูกลบล้าง ในปัจจุบันไม่ถูกลบล้าง ในอนาคตก็
จักไม่ถูกลบล้าง ไม่ถูกสมณพราหมณ์ผู้รู้คัดค้าน
๒. อริยสาวกเป็นผู้ละเว้นขาดจากการลักทรัพย์ ฯลฯ
๓. อริยสาวกเป็นผู้ละเว้นขาดจากการประพฤติผิดในกาม ฯลฯ
๔. อริยสาวกเป็นผู้ละเว้นขาดจากการพูดเท็จ ฯลฯ
๕. อริยสาวกเป็นผู้ละเว้นขาดจากการเสพของมึนเมาคือสุราและเมรัย
อันเป็นเหตุแห่งความประมาท อริยสาวกผู้เว้นขาดจากการเสพ

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ องฺ.อฏฺฐก. (แปล) ๒๓/๓๒/๒๘๘

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๕๑๐ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๗. สัตตมวรรค] ๔. ทานกถา (๖๖)
ของมึนเมาคือสุราและเมรัย อันเป็นเหตุแห่งความประมาท ชื่อว่า
ให้ความไม่มีภัย ให้ความไม่มีเวร ให้ความไม่เบียดเบียนสัตว์ทั้ง
หลายไม่มีประมาณ นี้เป็นทาน ประการที่ ๕ เป็นมหาทาน ที่รู้
กันว่าล้ำเลิศ รู้กันมานาน รู้กันว่า เป็นอริยวงศ์ เป็นของเก่า ใน
อดีตไม่ถูกลบล้างแล้ว ไม่เคยถูกลบล้าง ในปัจจุบันไม่ถูกลบล้าง
ในอนาคตก็จักไม่ถูกลบล้าง ไม่ถูกสมณพราหมณ์ผู้รู้คัดค้าน
ภิกษุทั้งหลาย ทาน ๕ ประการนี้ จัดเป็นมหาทาน ที่รู้กันว่าล้ำเลิศ รู้กัน
มานาน รู้กันว่าเป็นอริยวงศ์ เป็นของเก่า ในอดีตไม่ถูกลบล้างแล้ว ไม่เคยถูกลบล้าง
ในปัจจุบันไม่ถูกลบล้าง ในอนาคตก็จักไม่ถูกลบล้าง ไม่ถูกสมณพราหมณ์ผู้รู้คัดค้าน”๑
มีอยู่จริงมิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. ดังนั้น สภาวธรรมที่เป็นเจตสิกจึงเป็นทาน
[๔๘๑] สก. ท่านไม่ยอมรับว่า “ไทยธรรมเป็นทานได้” ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมให้ข้าว
น้ำ ผ้า ยาน ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่พัก เครื่องประทีป” มีอยู่จริง
มิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. ดังนั้น ไทยธรรมจึงเป็นทานได้
[๔๘๒] ปร. ไทยธรรมเป็นทานได้ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. ไทยธรรมมีผลน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ มีผลเยือกเย็น มีสุข
เป็นกำไร มีสุขเป็นวิบากใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. ทาน พระผู้มีพระภาคตรัสว่ามีผลน่าปรารถนา จีวรเป็นทาน ใช่ไหม
สก. ใช่

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ องฺ.อฏฺฐก. (แปล) ๒๓/๓๙/๓๐๐-๓๐๑

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๕๑๑ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๗. สัตตมวรรค] ๕. ปริโภคมยปุญญกถา (๖๗)
ปร. จีวรมีผลที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ มีผลเยือกเย็น มีสุขเป็นกำไร
มีสุขเป็นวิบากใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. ทาน พระผู้มีพระภาคตรัสว่ามีผลน่าปรารถนา บิณฑบาต เสนาสนะ
คิลานปัจจัยเภสัชบริขารเป็นทานใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. คิลานปัจจัยเภสัชบริขารมีผลน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ มีผล
เยือกเย็น มีสุขเป็นกำไร มีสุขเป็นวิบากใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. ดังนั้น ท่านจึงไม่ควรยอมรับว่า “ไทยธรรมเป็นทานได้”
ทานกถา จบ

๕. ปริโภคมยปุญญกถา (๖๗)
ว่าด้วยบุญสำเร็จด้วยการบริโภค
[๔๘๓] สก. บุญที่สำเร็จด้วยการบริโภค๑ เจริญได้ใช่ไหม
ปร.๒ ใช่๓
สก. ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา จิต สัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา
ที่สำเร็จด้วยการบริโภค เจริญได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุญที่สำเร็จด้วยการบริโภค เจริญได้ใช่ไหม
ปร. ใช่

เชิงอรรถ :
๑ บุญที่สำเร็จด้วยการบริโภค ในที่นี้หมายถึงบุญที่เกิดจากวัตถุทานที่ผู้รับ (ปฏิคาหก) นำไปใช้สอย (อภิ.ปญฺจ.อ.
๔๘๓/๒๒๔-๒๒๕)
๒ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายราชคิริกะและนิกายสิทธัตถิกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๔๘๓/๒๒๕)
๓ เพราะมีความเห็นว่า วัตถุทานที่ผู้รับนำไปใช้สอยเท่านั้นจึงเกิดบุญ ซึ่งต่างกับความเห็นของสกวาทีที่เห็นว่า
บุญเกิดจากจาคเจตนาใน ๓ กาล คือ (๑) ปุริมเจตนา (เจตนาก่อนให้) (๒) มุญจนเจตนา (เจตนากำลังให้)
(๓) อปราปรเจตนา (เจตนาหลังจากให้แล้ว) โดยไม่คำนึงถึงว่าจะใช้สอยวัตถุทานนั้นหรือไม่ (อภิ.ปญฺจ.อ.
๔๘๓/๒๒๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๕๑๒ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๗. สัตตมวรรค] ๕. ปริโภคมยปุญญกถา (๖๗)
สก. เจริญได้เหมือนเถาวัลย์ เหมือนเถาย่านทราย เหมือนต้นไม้ เหมือนหญ้า
เหมือนกองหญ้าปล้องใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๔๘๔] สก. บุญที่สำเร็จด้วยการบริโภค เจริญได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ทายกถวายทานแล้วไม่ใฝ่ใจ ทานนั้นเป็นบุญใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ทานของผู้ไม่นึกถึง ผู้ไม่ขวนขวาย ผู้ไม่สนใจ ผู้ไม่ใฝ่ใจ ผู้ไม่จงใจ ผู้
ไม่ต้องการ ผู้ไม่ปรารถนา เป็นบุญใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ทานของผู้นึกถึง ผู้ขวนขวาย ผู้สนใจ ผู้ใฝ่ใจ ผู้จงใจ ผู้ต้องการ ผู้
ปรารถนา เป็นบุญมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากทานของผู้นึกถึง ผู้ขวนขวาย ผู้สนใจ ผู้ใฝ่ใจ ผู้จงใจ
ผู้ต้องการ ผู้ปรารถนา เป็นบุญ ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “บุญที่สำเร็จด้วยการ
บริโภคเจริญได้”
[๔๘๕] สก. บุญที่สำเร็จด้วยการบริโภค เจริญได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ทายกถวายทานแล้ว ตรึกถึงกามวิตก พยาบาทวิตก วิหิงสาวิตก
ทานนั้นเป็นบุญใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๕๑๓ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๗. สัตตมวรรค] ๕. ปริโภคมยปุญญกถา (๖๗)
สก. มีการประชุมแห่งผัสสะ ๒ อย่าง ฯลฯ จิต ๒ ดวงใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. มีการประชุมแห่งผัสสะ ๒ อย่าง ฯลฯ จิต ๒ ดวงใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สภาวธรรมที่เป็นกุศลและอกุศล ที่มีโทษและไม่มีโทษ ที่เลวและ
ประณีต ที่เป็นฝ่ายดำ เป็นฝ่ายขาวและเป็นฝ่ายมีส่วนเปรียบ มาประชุมกันได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สภาวธรรมทั้งที่เป็นกุศลและอกุศล ที่มีโทษและไม่มีโทษ ที่เลวและ
ประณีต ที่เป็นฝ่ายดำ เป็นฝ่ายขาวและเป็นฝ่ายมีส่วนเปรียบ มาประชุมกันได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย สิ่งที่อยู่ห่างไกล
กันเหลือเกิน ๔ อย่างนี้
สิ่งที่อยู่ห่างไกลกันเหลือเกิน ๔ อย่าง อะไรบ้าง คือ
๑. ท้องฟ้ากับแผ่นดิน นี้เป็นสิ่งที่อยู่ห่างไกลกันเหลือเกินอย่างที่ ๑
๒. ฝั่งนี้กับฝั่งโน้นของทะเล นี้เป็นสิ่งที่อยู่ห่างไกลกันเหลือเกินอย่าง
ที่ ๒
๓. จุดที่ดวงอาทิตย์ขึ้นกับจุดที่ดวงอาทิตย์ตก นี้เป็นสิ่งที่อยู่ห่างไกล
กันเหลือเกินอย่างที่ ๓
๔. ธรรมของสัตบุรุษ(คนดี)กับธรรมของอสัตบุรุษ(คนชั่ว) นี้เป็นสิ่งที่
อยู่ห่างไกลกันเหลือเกินอย่างที่ ๔
ภิกษุทั้งหลาย สิ่งที่อยู่ห่างไกลกันเหลือเกิน ๔ อย่างนี้แล

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๕๑๔ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๗. สัตตมวรรค] ๕. ปริโภคมยปุญญกถา (๖๗)
นักปราชญ์ทั้งหลายกล่าวว่า
ฟ้ากับดินอยู่ไกลกัน
ฝั่ง (ทั้ง ๒) ของทะเลอยู่ไกลกัน
จุดที่ดวงอาทิตย์ขึ้นและตกก็อยู่ไกลกัน
บัณฑิตกล่าวว่า ธรรมของสัตบุรุษ
กับธรรมของอสัตบุรุษอยู่ไกลกันยิ่งกว่านั้น
สมาคมของสัตบุรุษยั่งยืนนาน
ดำรงอยู่ตราบนานเท่านาน
ส่วนสมาคมของอสัตบุรุษย่อมจืดจางเร็ว
เพราะฉะนั้น ธรรมของสัตบุรุษ
จึงห่างไกลกันกับธรรมของอสัตบุรุษ” ๑
มีอยู่จริงมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. ดังนั้น ท่านจึงไม่ควรยอมรับว่า “สภาวธรรมที่เป็นกุศลและอกุศล ที่
มีโทษและไม่มีโทษ ที่เลวและประณีต ที่เป็นฝ่ายดำ เป็นฝ่ายขาวและเป็นฝ่ายมี
ส่วนเปรียบ มาประชุมกันได้”
[๔๘๖] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “บุญที่สำเร็จด้วยการบริโภค เจริญได้” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า
“ชนเหล่าใดปลูกสวนอันรื่นรมย์ ปลูกป่า สร้างสะพาน
ขุดสระน้ำ บ่อน้ำ และให้ที่พักอาศัย
บุญย่อมเจริญแก่ชนเหล่านั้น

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ องฺ.จตุกฺก. (แปล) ๒๑/๔๗/๗๗

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๕๑๕ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๗. สัตตมวรรค] ๕. ปริโภคมยปุญญกถา (๖๗)
ทั้งกลางวันและกลางคืน
ชนเหล่านั้นดำรงอยู่ในธรรม
สมบูรณ์ด้วยศีลแล้วย่อมเป็นผู้ไปสู่สวรรค์๑
มีอยู่จริงมิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. ดังนั้น บุญที่สำเร็จด้วยการบริโภคจึงเจริญได้
ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “บุญที่สำเร็จด้วยการบริโภค เจริญได้” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย ห้วงบุญกุศล๒ ๔
ประการนี้ นำสุขมาให้ เป็นไปเพื่อให้ได้อารมณ์ดี มีสุขเป็นผล ให้เกิดในสวรรค์
เป็นไปเพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ
ห้วงบุญกุศล ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ภิกษุใช้สอยจีวรของทายกใด บรรลุเจโตสมาธิที่ประมาณไม่ได้อยู่
ห้วงบุญกุศลของทายกนั้นประมาณไม่ได้ นำสุขมาให้ เป็นไปเพื่อให้
ได้อารมณ์ดี มีสุขเป็นผล ให้เกิดในสวรรค์ เป็นไปเพื่อเกื้อกูล เพื่อ
สุขที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ
๒. ภิกษุฉันบิณฑบาตของทายกใด ฯลฯ
๓. ภิกษุใช้สอยเสนาสนะของทายกใด ฯลฯ
๔. ภิกษุบริโภคคิลานปัจจัยเภสัชบริขารของทายกใด บรรลุเจโตสมาธิ
ที่ประมาณไม่ได้อยู่ ห้วงบุญกุศลของทายกนั้นหาประมาณไม่ได้
นำสุขมาให้ เป็นไปเพื่อให้ได้อารมณ์ดี มีสุขเป็นผล ให้เกิดในสวรรค์
เป็นไปเพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ สํ.ส. (แปล) ๑๕/๔๗/๕๖
๒ ห้วงบุญกุศล ในที่นี้หมายถึงผลวิบากที่เกิดขึ้นแห่งบุญกุศลซึ่งหลั่งไหลนำสุขมาให้ผู้บำเพ็ญไม่ขาดสาย
(องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๕๑/๓๔๘, องฺ.จตุกฺก.ฏีกา ๒/๕๑/๓๘๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๕๑๖ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๗. สัตตมวรรค] ๕. ปริโภคมยปุญญกถา (๖๗)
ภิกษุทั้งหลาย ห้วงบุญกุศล ๔ ประการนี้แล นำสุขมาให้ เป็นไปเพื่อให้ได้
อารมณ์ดี มีสุขเป็นผล ให้เกิดในสวรรค์ เป็นไปเพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขที่น่าปรารถนา
น่าใคร่ น่าพอใจ”๑ มีอยู่จริงมิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. ดังนั้น บุญที่สำเร็จด้วยการบริโภค จึงเจริญได้
[๔๘๗] สก. บุญที่สำเร็จด้วยการบริโภค เจริญได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ทายกถวายทาน ปฏิคาหกรับทานแล้วไม่บริโภค ทิ้งเสีย สละเสีย
ทานนั้นเป็นบุญใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. หากทายกถวายทาน ปฏิคาหกรับทานแล้วไม่บริโภค ทิ้งเสีย สละเสีย
ทานนั้นเป็นบุญ ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “บุญที่สำเร็จด้วยการบริโภค เจริญได้”
สก. บุญที่สำเร็จด้วยการบริโภค เจริญได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ทายกถวายทาน เมื่อปฏิคาหกรับทานแล้ว พระราชาทรงริบไปเสีย
โจรลักไป ไฟไหม้ น้ำพัดไป หรือทายาทผู้ไม่เป็นที่รักกันนำไปเสีย ทานนั้นเป็น
บุญใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. หากทายกถวายทาน เมื่อปฏิคาหกรับทานแล้ว พระราชาทรงริบไปเสีย
โจรลักไป ไฟไหม้ น้ำพัดไป หรือทายาทผู้ไม่เป็นที่รักกันนำไปเสีย ทานนั้นเป็นบุญ
ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “บุญที่สำเร็จด้วยการบริโภค เจริญได้”

ปริโภคมยปุญญกถา จบ

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ องฺ.จตุกฺก. (แปล) ๒๑/๕๑-๕๒/๘๔

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๕๑๗ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๗. สัตตมวรรค] ๖. อิโตทินนกถา (๖๘)
๖. อิโตทินนกถา (๖๘)
ว่าด้วยทานที่บุคคลอุทิศให้จากโลกนี้
[๔๘๘] สก. เปรตทั้งหลายดำรงชีพในเปตโลกนั้น ด้วยทานที่บุคคลอุทิศให้
จากโลกนี้ได้ใช่ไหม
ปร.๑ ใช่๒
สก. ในเปตโลกนั้น เปรตทั้งหลายใช้สอยจีวรที่บุคคลอุทิศให้จากโลกนี้ได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ในเปตโลกนั้น เปรตทั้งหลายบริโภคบิณฑบาต เสนาสนะ คิลาน-
ปัจจัยเภสัชบริขาร ของขบเคี้ยว ของกิน ของดื่ม ที่บุคคลอุทิศให้จากโลกนี้ได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เปรตทั้งหลายดำรงชีพในเปตโลกนั้น ด้วยทานที่บุคคลอุทิศให้จากโลกนี้
ได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลหนึ่งกระทำให้อีกบุคคลหนึ่ง สุขและทุกข์มีผู้อื่นเป็นตัวการ บุคคล
หนึ่งกระทำ อีกบุคคลหนึ่งเสวยใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๔๘๙] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “เปรตทั้งหลายดำรงชีพในเปตโลกนั้น ด้วย
ทานที่บุคคลอุทิศให้จากโลกนี้ได้” ใช่ไหม
สก. ใช่

เชิงอรรถ :
๑ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายราชคิริกะและนิกายสิทธัตถิกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๔๘๘/๒๒๖)
๒ เพราะมีความเห็นว่า เปรตทั้งหลายสามารถรับสิ่งของที่บุคคลให้จากโลกนี้ได้โดยตรง (อภิ.ปญฺจ.อ.
๔๘๘/๒๒๖)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๕๑๘ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๗. สัตตมวรรค] ๖. อิโตทินนกถา (๖๘)
ปร. เปรตทั้งหลายอนุโมทนาทานที่เขาอุทิศให้เพื่อประโยชน์แก่ตน ทำจิตให้
เลื่อมใส ให้เกิดปีติ ได้โสมนัสมิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. หากเปรตทั้งหลายอนุโมทนาทานที่เขาอุทิศให้เพื่อประโยชน์แก่ตน ทำจิต
ให้เลื่อมใส ให้เกิดปีติ ได้โสมนัส ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “เปรตทั้งหลาย
ดำรงชีพในเปตโลกนั้น ด้วยทานที่บุคคลอุทิศให้จากโลกนี้ได้”
[๔๙๐] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “เปรตทั้งหลายดำรงชีพในเปตโลกนั้นด้วยทาน
ที่บุคคลอุทิศให้จากโลกนี้ได้” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า
“ฝนที่ตกลงบนที่ดอน ย่อมไหลไปสู่ที่ลุ่ม ฉันใด
ทานที่ทายกอุทิศให้จากมนุษยโลกนี้
ย่อมสำเร็จผลแน่นอนแก่พวกเปรต ฉันนั้นเหมือนกัน
ห้วงน้ำที่เต็มย่อมยังสมุทรสาครให้เต็มเปี่ยม ฉันใด
ทานที่ทายกอุทิศให้จากมนุษยโลกนี้
ย่อมสำเร็จผลแน่นอนแก่พวกเปรต ฉันนั้นเหมือนกัน
ในเปตวิสัย๑ นั้น ไม่มีกสิกรรม โครักขกรรม
พาณิชกรรมเช่นนั้น(และ)การแลกเปลี่ยนซื้อขายด้วยเงิน
ผู้ที่ตายไปเกิดเป็นเปรตในเปตวิสัยนั้น
ดำรงชีพด้วยผลทานที่พวกญาติอุทิศให้จากมนุษยโลกนี้” ๒
มีอยู่จริงมิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. ดังนั้น เปรตทั้งหลายจึงดำรงชีพในเปตโลกนั้น ด้วยทานที่บุคคลอุทิศ
ให้จากโลกนี้ได้

เชิงอรรถ :
๑ เปตวิสัย หมายถึงภูมิหรือกำเนิดแห่งเปรต (ขุ.ขุ.อ. ๗/๑๘๘)
๒ ดูเทียบ ขุ.ขุ. (แปล) ๒๕/๗-๘/๑๖

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๕๑๙ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๗. สัตตมวรรค] ๖. อิโตทินนกถา (๖๘)
[๔๙๑] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “เปรตทั้งหลายดำรงชีพในเปตโลกนั้น ด้วย
ทานที่บุคคลอุทิศให้จากโลกนี้ได้” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย มารดาบิดาเมื่อ
เห็นฐานะ ๕ ประการนี้ จึงปรารถนาบุตรผู้เกิดในตระกูล
ฐานะ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. บุตรที่เราเลี้ยงมาแล้วจักเลี้ยงเรา
๒. บุตรจักช่วยทำกิจของเรา
๓. วงศ์ตระกูลจักดำรงอยู่ได้นาน
๔. บุตรจักปฏิบัติตนให้สมควรรับทรัพย์มรดกไว้
๕. เมื่อเราทั้งสองตายไป บุตรจักทำบุญอุทิศให้
ภิกษุทั้งหลาย มารดาบิดาเมื่อเห็นฐานะ ๕ ประการนี้แล จึงปรารถนาบุตร
ผู้เกิดในตระกูล
มารดาบิดาผู้ฉลาด
เมื่อเห็นฐานะ ๕ ประการจึงปรารถนาบุตร
ด้วยหวังว่า บุตรที่เราเลี้ยงแล้วจักเลี้ยงเรา
จักช่วยทำกิจของเรา
วงศ์ตระกูลจักดำรงอยู่ได้นาน
จักปฏิบัติตนให้สมควรแก่การรับทรัพย์มรดก
และเมื่อเราทั้งสองตายแล้วจักทำบุญอุทิศให้
มารดาบิดาผู้ฉลาด
เมื่อเห็นฐานะเหล่านี้ จึงปรารถนาบุตร
เพราะฉะนั้น บุตรผู้เป็นสัตบุรุษ ผู้สงบ
เป็นกตัญญูกตเวทีบุคคล
เมื่อระลึกถึงคุณท่านที่ทำไว้ต่อเราก่อน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๕๒๐ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๗. สัตตมวรรค] ๗. ปฐวีกัมมวิปาโกติกถา (๖๙)
จึงเลี้ยงมารดาบิดา ช่วยทำกิจของท่าน
เชื่อฟังโอวาท ตอบสนองพระคุณท่าน
ดำรงวงศ์ตระกูลสมกับที่ท่านเป็นบุพการี
บุตรผู้มีศรัทธา สมบูรณ์ด้วยศีล
ย่อมเป็นที่สรรเสริญ” ๑
มีอยู่จริงมิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. ดังนั้น เปรตทั้งหลายชื่อว่าย่อมดำรงชีพในเปตโลกนั้น ด้วยทานที่
บุคคลอุทิศให้จากโลกนี้ได้
อิโตทินนกถา จบ

๗. ปฐวีกัมมวิปาโกติกถา (๖๙)
ว่าด้วยแผ่นดินเป็นกรรมวิบาก
[๔๙๒] สก. แผ่นดินเป็นกรรมวิบากใช่ไหม
ปร.๒ ใช่๓
สก. แผ่นดินมีสุขเวทนา มีทุกขเวทนา มีอทุกขมสุขเวทนา สัมปยุตด้วย
สุขเวทนา สัมปยุตด้วยทุกขเวทนา สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา สัมปยุตด้วยผัสสะ
สัมปยุตด้วยเวทนา สัมปยุตด้วยสัญญา สัมปยุตด้วยเจตนา สัมปยุตด้วยจิต รับรู้
อารมณ์ได้ มีความนึกถึง มีความผูกใจ มีความสนใจ มีความใฝ่ใจ มีความจงใจ
มีความปรารถนา มีความตั้งใจใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ องฺ.ปญฺจก. (แปล) ๒๒/๓๙/๖๐-๖๑
๒ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอันธกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๔๙๒/๒๒๗)
๓ เพราะมีความเห็นว่า แผ่นดิน มหาสมุทร เป็นต้น เป็นผลแห่งกรรม (อภิ.ปญฺจ.อ. ๔๙๒/๒๒๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๕๒๑ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๗. สัตตมวรรค] ๗. ปฐวีกัมมวิปาโกติกถา (๖๙)
สก. แผ่นดินไม่มีสุขเวทนา ไม่มีทุกขเวทนา ไม่มีอทุกขมสุขเวทนา ไม่สัมปยุต
ด้วยสุขเวทนา ไม่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนา ไม่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา
ไม่สัมปยุตด้วยผัสสะ ไม่สัมปยุตด้วยเวทนา ไม่สัมปยุตด้วยสัญญา ไม่สัมปยุต
ด้วยเจตนา ไม่สัมปยุตด้วยจิต รับรู้อารมณ์ไม่ได้ ไม่มีความนึกถึง ไม่มีความผูกใจ
ไม่มีความสนใจ ไม่มีความใฝ่ใจ ไม่มีความปรารถนา ไม่มีความตั้งใจ มิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากแผ่นดินไม่มีสุขเวทนา ไม่มีทุกขเวทนา ฯลฯ รับรู้อารมณ์ไม่ได้
ไม่มีความนึกถึง ฯลฯ ไม่มีความตั้งใจ ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า แผ่นดินเป็นกรรม
วิบาก”
สก. ผัสสะเป็นกรรมวิบาก ผัสสะมีสุขเวทนา มีทุกขเวทนา มีอทุกขมสุข-
เวทนา สัมปยุตด้วยสุขเวทนา สัมปยุตด้วยทุกขเวทนา ฯลฯ สัมปยุตด้วยอทุกขม-
สุขเวทนา สัมปยุตด้วยผัสสะ สัมปยุตด้วยเวทนา สัมปยุตด้วยสัญญา สัมปยุตด้วย
เจตนา สัมปยุตด้วยจิต รับรู้อารมณ์ได้ มีความนึกถึง ฯลฯ มีความตั้งใจอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. แผ่นดินเป็นกรรมวิบาก แผ่นดินมีสุขเวทนา มีทุกขเวทนา มีอทุกขม-
สุขเวทนา สัมปยุตด้วยสุขเวทนา สัมปยุตด้วยทุกขเวทนา สัมปยุตด้วยอทุกขมสุข-
เวทนา สัมปยุตด้วยผัสสะ สัมปยุตด้วยเวทนา สัมปยุตด้วยสัญญา สัมปยุตด้วย
เจตนา สัมปยุตด้วยจิต รับรู้อารมณ์ได้ มีความนึกถึง มีความผูกใจ มีความสนใจ
มีความใฝ่ใจ มีความจงใจ มีความปรารถนา มีความตั้งใจใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. แผ่นดินเป็นกรรมวิบาก (ทั้ง ๆ ที่)แผ่นดินไม่มีสุขเวทนา ไม่มีทุกขเวทนา
ฯลฯ รับรู้อารมณ์ไม่ได้ ไม่มีความนึกถึง ฯลฯ ไม่มีความตั้งใจใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๕๒๒ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๗. สัตตมวรรค] ๗. ปฐวีกัมมวิปาโกติกถา (๖๙)
สก. ผัสสะเป็นกรรมวิบาก (ทั้ง ๆ ที่)ผัสสะไม่มีสุขเวทนา ไม่มีทุกขเวทนา
ฯลฯ รับรู้อารมณ์ไม่ได้ ไม่มีความนึกถึง ฯลฯ ไม่มีความตั้งใจใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. แผ่นดิน เป็นกรรมวิบากใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. แผ่นดิน เข้าถึงการยกย่องและการลงโทษ เข้าถึงการตัดและการทำลาย
ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. กรรมวิบาก เข้าถึงการยกย่องและการลงโทษ เข้าถึงการตัดและการ
ทำลาย ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. แผ่นดิน บุคคลจะซื้อ จะขาย จะจำนอง จะรวบรวม จะสั่งสมได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. กรรมวิบาก บุคคลจะซื้อ จะขาย จะจำนอง จะรวบรวม จะสั่งสมได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๔๙๓] สก. แผ่นดินเป็นสมบัติทั่วไปแก่คนเหล่าอื่นใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. กรรมวิบาก เป็นสมบัติทั่วไปแก่คนเหล่าอื่นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. กรรมวิบาก เป็นสมบัติทั่วไปแก่คนเหล่าอื่นใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๕๒๓ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๗. สัตตมวรรค] ๗. ปฐวีกัมมวิปาโกติกถา (๖๙)
สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า
“ขุมทรัพย์คือบุญไม่ทั่วไปแก่คนอื่น โจรลักไปไม่ได้
สัตว์ผู้จะต้องตายเป็นธรรมดาพึงทำบุญ
ผู้นั้นแลพึงประพฤติสุจริต” ๑
มีอยู่จริงมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. ดังนั้น ท่านจึงไม่ควรยอมรับว่า “กรรมวิบากเป็นสมบัติทั่วไปแก่คนอื่น”
สก. แผ่นดินเป็นกรรมวิบากใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. แผ่นดินเกิดขึ้นก่อน สัตว์ทั้งหลายจึงเกิดขึ้นในภายหลังใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. วิบากเกิดขึ้นก่อน สัตว์ทั้งหลายจึงทำกรรมเพื่อวิบากในภายหลังใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. แผ่นดินเป็นกรรมวิบากของสรรพสัตว์ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สรรพสัตว์อาศัยแผ่นดินใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สรรพสัตว์อาศัยแผ่นดินใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สัตว์บางพวกอาศัยแผ่นดินแล้วปรินิพพานมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ ขุ.ขุ. (แปล) ๒๕/๙/๑๘

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๕๒๔ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๗. สัตตมวรรค] ๗. ปฐวีกัมมวิปาโกติกถา (๖๙)
สก. สัตว์บางพวกใช้กรรมวิบากยังไม่หมดสิ้นแล้วปรินิพพานมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. แผ่นดินเป็นกรรมวิบากของพระเจ้าจักรพรรดิใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สัตว์เหล่าอื่นก็อาศัยแผ่นดินใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สัตว์เหล่าอื่นอาศัยกรรมวิบากของพระเจ้าจักรพรรดิใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สัตว์เหล่าอื่นอาศัยกรรมวิบากของพระเจ้าจักรพรรดิใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สัตว์เหล่าอื่นอาศัยผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา จิต สัทธา วิริยะ
สติ สมาธิ ปัญญา ของพระเจ้าจักรพรรดิใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๔๙๔] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “แผ่นดินเป็นกรรมวิบาก” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. กรรมที่เป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีอำนาจ กรรมที่เป็นไปเพื่อความเป็น
ใหญ่ในแผ่นดินมีอยู่มิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. หากกรรมที่เป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีอำนาจ กรรมที่เป็นไปเพื่อความ
เป็นใหญ่มีอยู่ ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “แผ่นดินเป็นกรรมวิบาก”

ปฐวีกัมมวิปาโกติกถา จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๕๒๕ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๗. สัตตมวรรค] ๘. ชรามรณังวิปาโกติกถา (๗๐)
๘. ชรามรณังวิปาโกติกถา (๗๐)
ว่าด้วยชรามรณะเป็นวิบาก
[๔๙๕] สก. ชรามรณะเป็นวิบากใช่ไหม
ปร.๑ ใช่๒
สก. ชรามรณะมีสุขเวทนา มีทุกขเวทนา มีอทุกขมสุขเวทนา สัมปยุตด้วย
สุขเวทนา สัมปยุตด้วยทุกขเวทนา สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา สัมปยุตด้วยผัสสะ
สัมปยุตด้วยเวทนา สัมปยุตด้วยสัญญา สัมปยุตด้วยเจตนา สัมปยุตด้วยจิต รับรู้
อารมณ์ได้ มีความนึกถึง มีความผูกใจ มีความสนใจ มีความใฝ่ใจ มีความจงใจ
มีความปรารถนา มีความตั้งใจใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ชรามรณะไม่มีสุขเวทนา ไม่มีทุกขเวทนา ฯลฯ รับรู้อารมณ์ไม่ได้ ไม่มี
ความนึกถึง ฯลฯ ไม่มีความตั้งใจใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. หากชรามรณะไม่มีสุขเวทนา ไม่มีทุกขเวทนา ฯลฯ รับรู้อารมณ์ไม่ได้
ไม่มีความนึกถึง ฯลฯ ไม่มีความตั้งใจ ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “ชรามรณะเป็น
วิบาก”
สก. ผัสสะเป็นวิบาก ผัสสะมีสุขเวทนา มีทุกขเวทนา ฯลฯ รับรู้อารมณ์ได้
มีความนึกถึง ฯลฯ มีความตั้งใจใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ชรามรณะเป็นวิบาก ชรามรณะมีสุขเวทนา มีทุกขเวทนา ฯลฯ รับรู้
อารมณ์ได้ มีความนึกถึง ฯลฯ มีความตั้งใจใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

เชิงอรรถ :
๑ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอันธกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๔๙๕-๔๙๗/๒๒๘-๒๒๙)
๒ เพราะมีความเห็นว่า ชรามรณะเป็นผลแห่งกรรม ซึ่งต่างกับความเห็นของสกวาทีที่เห็นว่า ชรามรณะ
มิได้เกิดจากกรรม แต่เป็นธัมมนิยาม คือเป็นไปเองตามสภาวะ มิใช่เกิดจากการกระทำของผู้ใด (อภิ.ปญฺจ.อ.
๔๙๕-๔๙๗/๒๒๘-๒๒๙)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๕๒๖ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๗. สัตตมวรรค] ๘. ชรามรณังวิปาโกติกถา (๗๐)
สก. ชรามรณะเป็นวิบาก ชรามรณะไม่มีสุขเวทนา ไม่มีทุกขเวทนา ฯลฯ
รับรู้อารมณ์ไม่ได้ ไม่มีความนึกถึง ฯลฯ ไม่มีความตั้งใจใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ผัสสะเป็นวิบาก ผัสสะไม่มีสุขเวทนา ไม่มีทุกขเวทนา ฯลฯ รับรู้
อารมณ์ไม่ได้ ไม่มีความนึกถึง ฯลฯ ไม่มีความตั้งใจใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๔๙๖] สก. ชรามรณะแห่งสภาวธรรมที่เป็นอกุศล ก็เป็นวิบากแห่งสภาว-
ธรรมที่เป็นอกุศลใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ชรามรณะแห่งสภาวธรรมที่เป็นกุศล ก็เป็นวิบากแห่งสภาวธรรมที่เป็น
กุศลใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ชรามรณะแห่งสภาวธรรมที่เป็นกุศลมีอยู่ ท่านไม่ยอมรับว่า “เป็น
วิบากแห่งสภาวธรรมที่เป็นกุศล” ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ชรามรณะแห่งสภาวธรรมที่เป็นอกุศลมีอยู่ ท่านไม่ยอมรับว่า “เป็น
วิบากแห่งสภาวธรรมที่เป็นอกุศล” ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ชรามรณะแห่งสภาวธรรมที่เป็นกุศล เป็นวิบากแห่งสภาวธรรมที่เป็น
อกุศลใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ชรามรณะแห่งสภาวธรรมที่เป็นอกุศล เป็นวิบากแห่งสภาวธรรมที่เป็น
กุศลใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๕๒๗ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๗. สัตตมวรรค] ๘. ชรามรณังวิปาโกติกถา (๗๐)
สก. ชรามรณะแห่งสภาวธรรมที่เป็นอกุศลมีอยู่ ท่านไม่ยอมรับว่า “เป็น
วิบากแห่งสภาวธรรมที่เป็นกุศล” ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ชรามรณะแห่งสภาวธรรมที่เป็นกุศลมีอยู่ ท่านไม่ยอมรับว่า “เป็น
วิบากแห่งสภาวธรรมที่เป็นอกุศล” ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ชรามรณะแห่งสภาวธรรมที่เป็นกุศลและอกุศล เป็นวิบากแห่งสภาว-
ธรรมที่เป็นอกุศลใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ชรามรณะแห่งสภาวธรรมที่เป็นกุศลและอกุศล เป็นวิบากแห่งสภาว-
ธรรมที่เป็นกุศลใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ชรามรณะแห่งสภาวธรรมที่เป็นกุศลและอกุศลมีอยู่ ท่านไม่ยอมรับว่า
“เป็นวิบากแห่งสภาวธรรมที่เป็นกุศล” ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ชรามรณะแห่งสภาวธรรมที่เป็นกุศลและอกุศลมีอยู่ ท่านไม่ยอมรับว่า
“เป็นวิบากแห่งสภาวธรรมที่เป็นอกุศล” ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๔๙๗] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “ชรามรณะเป็นวิบาก” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. กรรมที่เป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีผิวพรรณหม่นหมอง กรรมที่เป็นไปเพื่อ
ความเป็นผู้มีอายุสั้นมีอยู่ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. หากกรรมที่เป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีผิวพรรณหม่นหมอง กรรมที่เป็นไป
เพื่อความเป็นผู้มีอายุสั้นมีอยู่ ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “ชรามรณะเป็นวิบาก”

ชรามรณังวิปาโกติกถา จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๕๒๘ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๗. สัตตมวรรค] ๙. อริยธัมมวิปากกถา (๗๑)
๙. อริยธัมมวิปากกถา (๗๑)
ว่าด้วยวิบากแห่งอริยธรรม
[๔๙๘] สก. วิบากแห่งอริยธรรมไม่มีใช่ไหม
ปร.๑ ใช่๒
สก. ความเป็นสมณะ๓มีผลมาก ความเป็นพราหมณ์๔มีผลมาก มิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากความเป็นสมณะมีผลมาก ความเป็นพราหมณ์มีผลมาก ท่านก็ไม่
ควรยอมรับว่า “วิบากแห่งอริยธรรมไม่มี”
สก. วิบากแห่งอริยธรรมไม่มีใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. โสดาปัตติผลมีอยู่มิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากโสดาปัตติผลมีอยู่ ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “วิบากแห่งอริยธรรม
ไม่มี”
สก. สกทาคามิผล ฯลฯ อนาคามิผล ฯลฯ อรหัตตผลมีอยู่มิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากอรหัตตผลมีอยู่ ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “วิบากแห่งอริยธรรมไม่มี”
สก. โสดาปัตติผลไม่เป็นวิบากใช่ไหม
ปร. ใช่

เชิงอรรถ :
๑ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอันธกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๔๙๘/๒๒๙-๒๓๐)
๒ เพราะมีความเห็นว่า ผลของอริยมรรคเป็นเพียงการละกิเลสเท่านั้น หาใช่จิตและเจตสิกไม่ (อภิ.ปญฺจ.อ.
๔๙๘/๒๒๙-๒๓๐)
๓-๔ ความเป็นสมณะ ความเป็นพราหมณ์ ในที่นี้หมายถึงอริยมรรค (อภิ.ปญฺจ.อ. ๔๙๘/๒๒๙-๒๓๐)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๕๒๙ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๗. สัตตมวรรค] ๙. อริยธัมมวิปากกถา (๗๑)
สก. ผลแห่งทานไม่เป็นวิบากใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. โสดาปัตติผลไม่เป็นวิบากใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ผลแห่งศีล ฯลฯ ผลแห่งภาวนา ไม่เป็นวิบากใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สกทาคามิผล ฯลฯ อนาคามิผล ฯลฯ อรหัตตผล ไม่เป็นวิบากใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ผลแห่งทานไม่เป็นวิบากใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. อรหัตตผลไม่เป็นวิบากใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ผลแห่งศีล ฯลฯ ผลแห่งภาวนา ไม่เป็นวิบากใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ผลแห่งทานเป็นวิบากใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. โสดาปัตติผลเป็นวิบากใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ผลแห่งทานเป็นวิบากใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สกทาคามิผล ฯลฯ อนาคามิผล ฯลฯ อรหัตตผล เป็นวิบากใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ผลแห่งศีล ฯลฯ ผลแห่งภาวนา เป็นวิบากใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๕๓๐ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๗. สัตตมวรรค] ๙. อริยธัมมวิปากกถา (๗๑)
สก. โสดาปัตติผลเป็นวิบากใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ผลแห่งภาวนาเป็นวิบากใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สกทาคามิผล ฯลฯ อนาคามิผล ฯลฯ อรหัตตผล เป็นวิบากใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๔๙๙] สก. กามาวจรกุศลมีวิบากใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. โลกุตตรกุศลมีวิบากใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. รูปาวจรกุศล ฯลฯ อรูปาวจรกุศล มีวิบากใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. โลกุตตรกุศลมีวิบากใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. โลกุตตรกุศลไม่มีวิบากใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. กามาวจรกุศลไม่มีวิบากใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. โลกุตตรกุศลไม่มีวิบากใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. รูปาวจรกุศล ฯลฯ อรูปาวจรกุศล ไม่มีวิบากใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๕๐๐] ปร. กามาวจรกุศลมีวิบาก เป็นสภาวธรรมที่เป็นเหตุให้ถึงจุติและ
ปฏิสนธิใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. โลกุตตรกุศลมีวิบาก เป็นสภาวธรรมที่เป็นเหตุให้ถึงจุติและปฏิสนธิ
ใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๕๓๑ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๗. สัตตมวรรค] ๑๐. วิปาโกวิปากธัมมธัมโมติกถา (๗๒)
ปร. รูปาวจรกุศล ฯลฯ อรูปาวจรกุศล มีวิบาก เป็นสภาวธรรมที่เป็น
เหตุให้ถึงจุติและปฏิสนธิใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. โลกุตตรกุศลมีวิบาก เป็นสภาวธรรมที่เป็นเหตุให้ถึงจุติและปฏิสนธิ
ใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. โลกุตตรกุศลมีวิบาก เป็นสภาวธรรมที่เป็นเหตุให้ถึงนิพพานใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. กามาวจรกุศลมีวิบาก เป็นสภาวธรรมที่เป็นเหตุให้ถึงนิพพานใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. โลกุตตรกุศลมีวิบาก เป็นสภาวธรรมที่เป็นเหตุให้ถึงนิพพานใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. รูปาวจรกุศล ฯลฯ อรูปาวจรกุศล มีวิบาก เป็นสภาวธรรมที่เป็นเหตุ
ให้ถึงนิพพานใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
อริยธัมมวิปากกถา จบ

๑๐. วิปาโกวิปากธัมมธัมโมติกถา (๗๒)
ว่าด้วยวิบากเป็นสภาวธรรมที่เป็นเหตุให้เกิดวิบาก
[๕๐๑] สก. วิบากเป็นสภาวธรรมที่เป็นเหตุให้เกิดวิบากใช่ไหม
ปร.๑ ใช่๒

เชิงอรรถ :
๑ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอันธกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๕๐๑/๒๓๐-๒๓๑)
๒ เพราะมีความเห็นว่า วิบากสามารถเป็นกรรมได้ โดยอ้างหลักการแห่งอัญญมัญญปัจจัยในปัฏฐาน ซึ่ง
ต่างกับความเห็นของสกวาทีที่เห็นว่า วิบากเป็นเพียงปัจจัยเกื้อหนุนแก่กันและกันเท่านั้น (อภิ.ปญฺจ.อ.
๕๐๑/๒๓๐-๒๓๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๕๓๒ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๗. สัตตมวรรค] ๑๐. วิปาโกวิปากธัมมธัมโมติกถา (๗๒)
สก. วิบากแห่งวิบากนั้น เป็นสภาวธรรมที่เป็นเหตุให้เกิดวิบากใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. วิบากแห่งวิบากนั้น เป็นสภาวธรรมที่เป็นเหตุให้เกิดวิบากใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. การทำที่สุดแห่งทุกข์ไม่มี การตัดขาดจากวัฏฏะไม่มี อนุปาทาปรินิพพาน
ก็ไม่มีแก่วิบากแห่งวิบากที่เป็นสภาวธรรมที่เป็นเหตุให้เกิดวิบากทั้ง ๒ ชั้นดังกล่าว
มานั้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. วิบากเป็นสภาวธรรมที่เป็นเหตุให้เกิดวิบากใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บัญญัติว่าวิบากกับสภาวธรรมที่เป็นเหตุให้เกิดวิบาก หรือบัญญัติว่า
สภาวธรรมที่เป็นเหตุให้เกิดวิบากกับวิบาก นี้นั้น มีความหมายอย่างเดียวกัน เสมอกัน
มีส่วนเท่ากัน มีสภาพเหมือนกันใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. วิบากเป็นสภาวธรรมที่เป็นเหตุให้เกิดวิบากใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. วิบากและสภาวธรรมที่เป็นเหตุแห่งวิบาก สภาวธรรมที่เป็นเหตุแห่งวิบาก
และวิบากสหรคต เกิดร่วม ระคน สัมปยุต เกิดพร้อมกัน ดับพร้อมกัน มีวัตถุอย่าง
เดียวกัน มีอารมณ์อย่างเดียวกันใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. วิบากเป็นสภาวธรรมที่เป็นเหตุให้เกิดวิบากใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. อกุศลกับวิบากแห่งอกุศลเป็นอันเดียวกัน กุศลกับวิบากแห่งกุศลเป็น
อันเดียวกันใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๕๓๓ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๗. สัตตมวรรค] รวมกถาที่มีในวรรค
สก. วิบากเป็นสภาวธรรมที่เป็นเหตุให้เกิดวิบากใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลถูกไหม้อยู่ในนรกด้วยจิตดวงที่เป็นเหตุฆ่าสัตว์เท่านั้น บันเทิงอยู่
ในสวรรค์ก็ด้วยจิตดวงที่เป็นเหตุให้ทานเท่านั้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๕๐๒] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “วิบากเป็นสภาวธรรมที่เป็นเหตุให้เกิดวิบาก”
ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. วิบากคืออรูปขันธ์ ๔ เป็นอัญญมัญญปัจจัยมิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. หากวิบากคืออรูปขันธ์ ๔ เป็นอัญญมัญญปัจจัย ดังนั้น ท่านจึงควร
ยอมรับว่า “วิบากเป็นสภาวธรรมที่เป็นเหตุให้เกิดวิบาก”
วิปาโกวิปากธัมมธัมโมติกถา จบ
สัตตมวรรค จบ

รวมกถาที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. สังคหิตกถา ๒. สัมปยุตตกถา
๓. เจตสิกกถา ๔. ทานกถา
๕. ปริโภคมยปุญญกถา ๖. อิโตทินนกถา
๗. ปฐวีกัมมวิปาโกติกถา ๘. ชรามรณังวิปาโกติกถา
๙. อริยธัมมวิปากกถา ๑๐. วิปาโกวิปากธัมมธัมโมติกถา


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๕๓๔ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๘. อัฏฐมวรรค] ๑. ฉคติกถา (๗๓)
๘. อัฏฐมวรรค
๑. ฉคติกถา (๗๓)
ว่าด้วยคติ ๖
[๕๐๓] สก. คติมี ๖ ใช่ไหม
ปร.๑ ใช่๒
สก. คติ พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ ๕ อย่าง คือ นรก กำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน
ภูมิแห่งเปรต มนุษย์ เทวดามิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากคติพระผู้มีพระภาคตรัสไว้ ๕ อย่าง คือ นรก กำเนิดดิรัจฉาน
ภูมิแห่งเปรต มนุษย์ เทวดา ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “คติมี ๖”
สก. คติมี ๖ ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. อสูรจำพวกกาลกัญชิกา มีรูปร่างเหมือนกัน มีการเสพกามเหมือนกัน
มีอาหารเหมือนกัน มีอายุเหมือนกันกับเปรตทั้งหลาย และแต่งงานกับเปรตทั้งหลาย
ได้มิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากอสูรจำพวกกาลกัญชิกา มีรูปร่างเหมือนกัน มีการเสพกามเหมือนกัน
มีอาหารเหมือนกัน มีอายุเหมือนกันกับเปรตทั้งหลาย และแต่งงานกับเปรต
ทั้งหลายได้ ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “คติมี ๖”

เชิงอรรถ :
๑ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอันธกะและนิกายอุตตราปถกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๕๐๓/๒๓๒)
๒ เพราะมีความเห็นว่า คติมี ๖ คือ (๑) เทวคติ (๒) มนุสสคติ (๓) เปตคติ (๔) อสุรกายคติ (แยก
มาจากนิรยคติ) (๕) ติรัจฉานคติ (๖) นิรยคติ ซึ่งต่างกับความเห็นของสกวาทีที่เห็นว่า คติมีเพียง ๕
โดยไม่แยกอสุรกายออกเป็นคติหนึ่งต่างหาก แต่จัดพวกอสุรกายฝ่ายชั่วเข้าในเปตคติ และจัดพวกอสุรกาย
ฝ่ายดีเข้าในเทวคติ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๕๐๓/๒๓๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๕๓๕ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๘. อัฏฐมวรรค] ๑. ฉคติกถา (๗๓)
สก. คติมี ๖ ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พวกอสูรที่เป็นบริวารของท้าวเวปจิตติ มีรูปร่างเหมือนกัน มีการ
เสพกามเหมือนกัน มีอาหารเหมือนกัน มีอายุเหมือนกันกับเทวดาทั้งหลาย และ
แต่งงานกับเทวดาทั้งหลายได้มิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากพวกอสูรที่เป็นบริวารท้าวเวปจิตติ มีรูปร่างเหมือนกัน มีการเสพ
กามเหมือนกัน มีอาหารเหมือนกัน มีอายุเหมือนกันกับเทวดาทั้งหลาย และแต่ง
งานกับเทวดาทั้งหลายได้ ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “คติมี ๖”
สก. คติมี ๖ ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พวกอสูรที่เป็นบริวารของท้าวเวปจิตติเป็นเทวดามาก่อนมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากพวกอสูรที่เป็นบริวารของท้าวเวปจิตติเป็นเทวดามาก่อน ท่านก็ไม่
ควรยอมรับว่า “คติมี ๖”
[๕๐๔] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “คติมี ๖” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. อสุรกายมีมิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. หากอสุรกายมี ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “คติมี ๖”

ฉคติกถา จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๕๓๖ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๘. อัฏฐมวรรค] ๒. อันตราภวกถา (๗๔)
๒. อันตราภวกถา (๗๔)
ว่าด้วยอันตรภพ
[๕๐๕] สก. อันตรภพ๑(ภพที่อยู่ในระหว่างตายกับเกิด)มีอยู่ใช่ไหม
ปร.๒ ใช่๓
สก. เป็นกามภพใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. อันตรภพมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เป็นรูปภพใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. อันตรภพมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เป็นอรูปภพใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. อันตรภพมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. อันตรภพมีอยู่ในระหว่างกามภพกับรูปภพใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. อันตรภพมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่

เชิงอรรถ :
๑ ดูเชิงอรรถที่ ๒ ข้อ ๙๑ หน้า ๕๑ ในเล่มนี้
๒ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายปุพพเสลิยะและนิกายสมิติยะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๕๐๕/๒๓๓)
๓ เพราะมีความเห็นว่า สัตว์หลังจากตายไป วิญญาณจะล่องลอยไปหาที่เกิดใหม่(ช่วงนี้เองที่เรียกว่า อันตรภพ)
ซึ่งต่างกับความเห็นของสกวาทีที่เห็นว่า สัตว์หลังจากตายไป วิญญาณก็ปฏิสนธิทันที (อภิ.ปญฺจ.อ.
๕๐๕/๒๓๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๕๓๗ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๘. อัฏฐมวรรค] ๒. อันตราภวกถา (๗๔)
สก. อันตรภพมีอยู่ในระหว่างรูปภพกับอรูปภพใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. อันตรภพไม่มีในระหว่างกามภพกับรูปภพใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. หากอันตรภพไม่มีในระหว่างกามภพกับรูปภพ ท่านก็ไม่ควรยอมรับ ว่า
“อันตรภพมีอยู่”
สก. อันตรภพไม่มีในระหว่างรูปภพกับอรูปภพใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. หากอันตรภพไม่มีในระหว่างรูปภพกับอรูปภพ ท่านก็ไม่ควรยอมรับ ว่า
“อันตรภพมีอยู่”
[๕๐๖] สก. อันตรภพมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. อันตรภพนั้นจัดเป็นกำเนิดที่ ๕ เป็นคติที่ ๖ เป็นวิญญาณฐิติที่ ๘
เป็นสัตตาวาสที่ ๑๐ ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. อันตรภพมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. อันตรภพจัดเป็นภพ เป็นคติ เป็นสัตตาวาส เป็นสงสาร เป็นกำเนิด
เป็นวิญญาณฐิติ เป็นการได้อัตภาพใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. กรรมที่ให้เข้าถึงอันตรภพมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๕๓๘ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๘. อัฏฐมวรรค] ๒. อันตราภวกถา (๗๔)
สก. สัตว์ผู้เข้าถึงอันตรภพมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. อันตรภพมีสัตว์เกิด แก่ ตาย จุติ ปฏิสนธิใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. อันตรภพมีรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. อันตรภพเป็นภพที่มีขันธ์ ๕ ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๕๐๗] สก. กามภพมีอยู่ กามภพเป็นภพ เป็นคติ เป็นสัตตาวาส เป็นสงสาร
เป็นกำเนิด เป็นวิญญาณฐิติ เป็นการได้อัตภาพใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. อันตรภพมีอยู่ อันตรภพเป็นภพ เป็นคติ เป็นสัตตาวาส เป็นสงสาร
เป็นกำเนิด เป็นวิญญาณฐิติ เป็นการได้อัตภาพใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. กรรมที่ให้เข้าถึงกามภพมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. กรรมที่ให้เข้าถึงอันตรภพมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สัตว์ผู้เข้าถึงกามภพมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สัตว์ผู้เข้าถึงอันตรภพมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ในกามภพ มีสัตว์เกิด แก่ ตาย จุติ ปฏิสนธิใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๕๓๙ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๘. อัฏฐมวรรค] ๒. อันตราภวกถา (๗๔)
สก. อันตรภพมีสัตว์เกิด แก่ ตาย จุติ ปฏิสนธิใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ในกามภพ มีรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. อันตรภพมีรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. กามภพเป็นภพที่มีขันธ์ ๕ ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. อันตรภพเป็นภพที่มีขันธ์ ๕ ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. รูปภพมีอยู่ รูปภพเป็นภพ เป็นคติ เป็นสัตตาวาส เป็นสงสาร เป็น
กำเนิด เป็นวิญญาณฐิติ เป็นการได้อัตภาพใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. อันตรภพมีอยู่ อันตรภพเป็นภพ เป็นคติ เป็นสัตตาวาส เป็นสงสาร
เป็นกำเนิด เป็นวิญญาณฐิติ เป็นการได้อัตภาพใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. กรรมที่ให้เข้าถึงรูปภพมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. กรรมที่ให้เข้าถึงอันตรภพมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สัตว์ผู้เข้าถึงรูปภพมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สัตว์ผู้เข้าถึงอันตรภพมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๕๔๐ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๘. อัฏฐมวรรค] ๒. อันตราภวกถา (๗๔)
สก. ในรูปภพ มีสัตว์เกิด แก่ ตาย จุติ ปฏิสนธิใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. อันตรภพมีสัตว์เกิด แก่ ตาย จุติ ปฏิสนธิใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ในรูปภพ มีรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ในอันตรภพ มีรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. รูปภพเป็นภพที่มีขันธ์ ๕ ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. อันตรภพเป็นภพที่มีขันธ์ ๕ ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. อรูปภพมีอยู่ อรูปภพเป็นภพ เป็นคติ เป็นสัตตาวาส เป็นสงสาร
เป็นกำเนิด เป็นวิญญาณฐิติ เป็นการได้อัตภาพใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. อันตรภพมีอยู่ อันตรภพเป็นภพ เป็นคติ เป็นสัตตาวาส เป็นสงสาร
เป็นกำเนิด เป็นวิญญาณฐิติ เป็นการได้อัตภาพใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. กรรมที่ให้เข้าถึงอรูปภพมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. กรรมที่ให้เข้าถึงอันตรภพมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สัตว์ผู้เข้าถึงอรูปภพมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๕๔๑ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๘. อัฏฐมวรรค] ๒. อันตราภวกถา (๗๔)
สก. สัตว์ผู้เข้าถึงอันตรภพมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ในอรูปภพ มีสัตว์เกิด แก่ ตาย จุติ ปฏิสนธิใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ในอันตรภพ มีสัตว์เกิด แก่ ตาย จุติ ปฏิสนธิใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ในอรูปภพ มีเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ในอันตรภพ มีเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. อรูปภพเป็นภพที่มีขันธ์ ๔ ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. อันตรภพเป็นภพที่มีขันธ์ ๔ ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๕๐๘] สก. อันตรภพมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สัตว์ทั้งปวงนั่นแหละมีอันตรภพใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สัตว์ทั้งปวงนั่นแหละไม่มีอันตรภพใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. หากสัตว์ทั้งปวงนั่นแหละไม่มีอันตรภพ ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “อันตรภพ
มีอยู่”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๕๔๒ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๘. อัฏฐมวรรค] ๒. อันตราภวกถา (๗๔)
สก. อันตรภพมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลผู้ทำอนันตริยกรรมมีอันตรภพใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลผู้ทำอนันตริยกรรมไม่มีอันตรภพใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. หากบุคคลผู้ทำอนันตริยกรรมไม่มีอันตรภพ ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า
“อันตรภพมีอยู่”
สก. บุคคลผู้ไม่ทำอนันตริยกรรมมีอันตรภพใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลผู้ทำอนันตริยกรรมมีอันตรภพใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลผู้ทำอนันตริยกรรมไม่มีอันตรภพใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลผู้ไม่ทำอนันตริยกรรมไม่มีอันตรภพใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลผู้เข้าถึงนรก ฯลฯ ผู้เข้าถึงอสัญญสัตว์ ฯลฯ ผู้เข้าถึงอรูปภพ
มีอันตรภพใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลผู้เข้าถึงอรูปภพไม่มีอันตรภพใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. หากบุคคลผู้เข้าถึงอรูปภพไม่มีอันตรภพ ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า
“อันตรภพมีอยู่”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๕๔๓ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๘. อัฏฐมวรรค] ๒. อันตราภวกถา (๗๔)
สก. บุคคลผู้ไม่เข้าถึงอรูปภพมีอันตรภพใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลผู้เข้าถึงอรูปภพมีอันตรภพใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลผู้เข้าถึงอรูปภพไม่มีอันตรภพใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลผู้ไม่เข้าถึงอรูปภพไม่มีอันตรภพใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๕๐๙] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “อันตรภพมีอยู่” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. อันตราปรินิพพายีบุคคลมีอยู่มิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. หากอันตราปรินิพพายีบุคคลมีอยู่ ท่านจึงควรยอมรับว่า “อันตรภพมี
อยู่”
สก. เพราะท่านเข้าใจว่า “อันตราปรินิพพายีบุคคลมีอยู่” จึงยอมรับว่า
“อันตรภพมีอยู่” ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เพราะท่านเข้าใจว่า “อุปหัจจปรินิพพายีบุคคลมีอยู่” จึงยอมรับว่า
“อุปหัจจภพมีอยู่” ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เพราะท่านเข้าใจว่า “อันตราปรินิพพายีบุคคลมีอยู่” จึงยอมรับว่า
“อันตรภพมีอยู่” ใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๕๔๔ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๘. อัฏฐมวรรค] ๓. กามคุณกถา (๗๕)
สก. เพราะท่านเข้าใจว่า “อสังขารปรินิพพายีบุคคลมีอยู่ ฯลฯ สสังขาร-
ปรินิพพายีบุคคลมีอยู่” จึงยอมรับว่า “สสังขารภพมีอยู่” ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
อันตราภวกถา จบ

๓. กามคุณกถา (๗๕)
ว่าด้วยกามคุณ
[๕๑๐] สก. กามคุณ ๕ เท่านั้นเป็นกามธาตุใช่ไหม
ปร.๑ ใช่๒
สก. ความพอใจที่เกี่ยวกับกามคุณ ๕ นั้นมีอยู่มิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากความพอใจที่เกี่ยวกับกามคุณ ๕ นั้นมีอยู่ ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า
“กามคุณ ๕ เท่านั้นเป็นกามธาตุ”
สก. ความกำหนัด ความพอใจ ความพอใจและความกำหนัดที่เกี่ยวกับ
กามคุณ ๕ นั้น ... ความดำริ ความกำหนัด ความดำริและความกำหนัดที่เกี่ยวกับ
กามคุณ ๕ นั้น ... ปีติ โสมนัส ปีติและโสมนัส ที่เกี่ยวกับกามคุณ ๕ นั้นมีอยู่
มิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากปีติและโสมนัสที่เกี่ยวกับกามคุณ ๕ นั้นมีอยู่ ท่านก็ไม่ควรยอมรับ
ว่า “กามคุณ ๕ เท่านั้นเป็นกามธาตุ”

เชิงอรรถ :
๑ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายปุพพเสลิยะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๕๑๐/๒๓๕)
๒ เพราะมีความเห็นว่า วัตถุกามเท่านั้นจัดเป็นกามธาตุ กิเลสกามไม่จัดเป็นกามธาตุ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๕๑๐/
๒๓๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๕๔๕ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๘. อัฏฐมวรรค] ๓. กามคุณกถา (๗๕)
สก. กามคุณ ๕ เท่านั้นเป็นกามธาตุใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. จักษุของมนุษย์ไม่เป็นกามธาตุใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. โสตะ ฯลฯ ฆานะ ฯลฯ ชิวหา ฯลฯ กาย ฯลฯ มโนของมนุษย์
ไม่เป็นกามธาตุใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. มโนของมนุษย์ไม่เป็นกามธาตุใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า
“กามคุณ ๕ อันมีใจเป็นที่ ๖ ซึ่งมีอยู่ในโลก
เราประกาศไว้ชัดเจนแล้ว
สัตว์โลกคลายความพอใจในกามคุณ ๕ นี้ได้
ย่อมพ้นจากทุกข์ได้ ด้วยวิธีดังกล่าวนี้” ๑
มีอยู่จริงมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. ดังนั้น ท่านจึงไม่ควรยอมรับว่า “มโนของมนุษย์ไม่เป็นกามธาตุ”
[๕๑๑] สก. กามคุณ ๕ เท่านั้นเป็นกามธาตุใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. กามคุณเป็นภพ เป็นคติ เป็นสัตตาวาส เป็นสงสาร เป็นกำเนิด
เป็นวิญญาณฐิติ เป็นการได้อัตภาพใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ ขุ.สุ. (แปล) ๒๕/๑๗๓/๕๓๙

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๕๔๖ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๘. อัฏฐมวรรค] ๓. กามคุณกถา (๗๕)
สก. กรรมที่ให้เข้าถึงกามคุณมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สัตว์ผู้เข้าถึงกามคุณมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ในกามคุณ มีสัตว์เกิด แก่ ตาย จุติ ปฏิสนธิใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ในกามคุณ มีรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. กามคุณเป็นภพที่มีขันธ์ ๕ ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ในกามคุณ มีพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลาย พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย
คู่พระอัครสาวกอุบัติขึ้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. กามธาตุเป็นภพ เป็นคติ เป็นสัตตาวาส เป็นสงสาร เป็นกำเนิด
เป็นวิญญาณฐิติ เป็นการได้อัตภาพใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. กามคุณเป็นภพ เป็นคติ เป็นสัตตาวาส เป็นสงสาร เป็นกำเนิด
เป็นวิญญาณฐิติ เป็นการได้อัตภาพใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. กรรมที่ให้เข้าถึงกามธาตุมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. กรรมที่ให้เข้าถึงกามคุณมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๕๔๗ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๘. อัฏฐมวรรค] ๓. กามคุณกถา (๗๕)
สก. สัตว์ผู้เข้าถึงกามธาตุมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สัตว์ผู้เข้าถึงกามคุณมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ในกามธาตุ มีสัตว์เกิด แก่ ตาย จุติ ปฏิสนธิใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ในกามคุณ มีสัตว์เกิด แก่ ตาย จุติ ปฏิสนธิใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ในกามธาตุ มีรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ในกามคุณ มีรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. กามธาตุเป็นภพที่มีขันธ์ ๕ ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. กามคุณเป็นภพที่มีขันธ์ ๕ ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ในกามธาตุ มีพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลาย พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย
คู่พระอัครสาวกอุบัติขึ้นใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๕๔๘ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๘. อัฏฐมวรรค] ๓. กามคุณกถา (๗๕)
สก. ในกามคุณ มีพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลาย พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย
คู่พระอัครสาวกอุบัติขึ้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๕๑๒] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “กามคุณ ๕ เท่านั้นเป็นกามธาตุ” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย กามคุณ ๑ ๕ ประการนี้
กามคุณ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ (๑) รูปที่พึงรู้แจ้งทางตา ที่น่าปรารถนา น่าใคร่
น่าพอใจ ชวนให้รัก ชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัด (๒) เสียงที่พึงรู้แจ้งทางหู ฯลฯ (๓)
กลิ่นที่พึงรู้แจ้งทางจมูก ฯลฯ (๔) รสที่พึงรู้แจ้งทางลิ้น ฯลฯ (๕) โผฏฐัพพะที่
พึงรู้แจ้งทางกาย ที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก ชักให้ใคร่ พาใจ
ให้กำหนัด ภิกษุทั้งหลาย กามคุณ ๕ ประการนี้”๒ มีอยู่จริงมิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. ดังนั้น กามคุณ ๕ เท่านั้นจึงเป็นกามธาตุ

กามคุณกถา จบ

เชิงอรรถ :
๑ กามคุณ แยกอธิบายว่า ที่ชื่อว่ากาม เพราะมีความหมายว่าเป็นสิ่งที่บุคคลพึงใคร่ ที่ชื่อว่าคุณ เพราะมี
ความหมายว่าผูกพันไว้ ร้อยรัดไว้ เหมือนคำว่า อนฺตํ อนฺตคุณํ (ไส้ใหญ่ ไส้เล็ก ที.ม. (แปล) ๑๐/๓๗๗/
๒๕๑, ม.มู. (แปล) ๑๒/๑๑๐/๗๙, ขุ.ขุ. (แปล) ๒๕/๓/๒, และเหมือนคำว่า กยิรา มาลาคุเณ พหู
(ช่างดอกไม้พึงร้อยพวงมาลัยไว้เป็นจำนวนมาก (ขุ.ธ. (แปล) ๒๕/๕๓/๒๖, องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๖๓/๑๔๘)
๒ ดูเทียบ สํ.สฬา. (แปล) ๑๘/๒๖๗/๒๙๖

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๕๔๙ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๘. อัฏฐมวรรค] ๔. กามกถา (๗๖)
๔. กามกถา (๗๖)
ว่าด้วยกาม
[๕๑๓] สก. อายตนะ ๕ เท่านั้นเป็นกามใช่ไหม
ปร.๑ ใช่๒
สก. ความพอใจที่เกี่ยวกับอายตนะ ๕ นั้นมีอยู่มิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากความพอใจเกี่ยวกับอายตนะ ๕ นั้นมีอยู่ ท่านก็ไม่ควรยอมรับ
ว่า “อายตนะ ๕ เท่านั้นเป็นกาม”
สก. ความกำหนัด ความพอใจ ความกำหนัดและความพอใจที่เกี่ยวกับอายตนะ
๕ นั้น ... ความดำริ ความกำหนัด ความดำริและความกำหนัดที่เกี่ยวกับอายตนะ
๕ นั้น ... ปีติ โสมนัส ปีติและโสมนัสที่เกี่ยวกับอายตนะ ๕ นั้น มีอยู่มิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากปีติและโสมนัสที่เกี่ยวกับอายตนะ ๕ นั้นมีอยู่ ท่านก็ไม่ควรยอม
รับว่า “อายตนะ ๕ เท่านั้นเป็นกาม”
[๕๑๔] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “อายตนะ ๕ เท่านั้นเป็นกาม” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย กามคุณ ๕ ประการนี้
๕ ประการ อะไรบ้าง คือ (๑) รูปที่พึงรู้แจ้งทางตา ฯลฯ (๕) โผฏฐัพพะที่พึงรู้
แจ้งทางกาย ที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก ชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัด
ภิกษุทั้งหลาย กามคุณ ๕ ประการนี้”๓ มีอยู่จริงมิใช่หรือ
สก. ใช่

เชิงอรรถ :
๑ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายปุพพเสลิยะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๕๑๓/๒๓๖)
๒ เพราะมีความเห็นว่า อายตนะ ๕ มีรูปายตนะ เป็นต้น ยกเว้นธัมมายตนะ ชื่อว่ากาม กิเลสกามไม่ชื่อว่า
กาม (อภิ.ปญฺจ.อ. ๕๑๓/๒๓๖)
๓ ดูเทียบ สํ.สฬา. (แปล) ๑๘/๒๖๗/๒๙๖

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๕๕๐ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๘. อัฏฐมวรรค] ๔. กามกถา (๗๖)
ปร. ดังนั้น อายตนะ ๕ เท่านั้นจึงเป็นกาม
สก. อายตนะ ๕ เท่านั้นเป็นกามใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย กามคุณ ๕ ประการนี้
กามคุณ ๕ ประการอะไรบ้าง คือ (๑) รูปที่พึงรู้แจ้งทางตา ฯลฯ (๕) โผฏฐัพพะ
ที่พึงรู้แจ้งทางกาย ที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก ชักให้ใคร่ พาใจ
ให้กำหนัด ภิกษุทั้งหลาย กามคุณ ๕ ประการนี้ ภิกษุทั้งหลาย แต่สิ่งเหล่านี้
ไม่เรียกว่ากาม สิ่งเหล่านี้เรียกว่ากามคุณ ในอริยวินัย
(พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดา ได้ตรัสเวยยากรณภาษิตนี้แล้ว จึงได้ตรัส
คาถาประพันธ์ต่อไปอีกว่า)
สังกัปปราคะของบุรุษ ชื่อว่ากาม๑
อารมณ์ที่วิจิตรทั้งหลายในโลกไม่ชื่อว่ากาม
สังกัปปราคะของบุรุษ ชื่อว่ากาม
อารมณ์ที่วิจิตรทั้งหลายในโลก
ตั้งอยู่ตามสภาพของตนเท่านั้น
แต่ธีรชนทั้งหลาย ย่อมกำจัดความพอใจ
ในอารมณ์ที่วิจิตรเหล่านั้น” ๒
มีอยู่จริงมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. ดังนั้น ท่านจึงไม่ควรยอมรับว่า “อายตนะ ๕ เท่านั้นเป็นกาม”

กามกถา จบ

เชิงอรรถ :
๑ กาม หมายถึงความกำหนัดด้วยอำนาจความดำริในวัตถุมีรูปร่างที่งดงาม เป็นต้น (องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๖๓/
๑๔๘, องฺ.ฉกฺก.ฏีกา ๓/๖๓/๗๐) และเป็นชื่อเรียกกิเลสกามอีกชื่อหนึ่งในจำนวนชื่อเรียกกาม ๑๘ ชื่อ (ดูเทียบ
ขุ.ม. (แปล) ๒๙/๑/๒, ขุ.จู. (แปล) ๓๐/๘/๖๖-๖๗)
๒ ดูเทียบ องฺ. ฉกฺก. (แปล) ๒๒/๖๓/๕๗๒

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๕๕๑ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๘. อัฏฐมวรรค] ๕. รูปธาตุกถา (๗๗)
๕. รูปธาตุกถา (๗๗)
ว่าด้วยรูปธาตุ
[๕๑๕] สก. สภาวธรรมที่เป็นรูปเป็นรูปธาตุใช่ไหม
ปร.๑ ใช่๒
สก. รูปเป็นภพ เป็นคติ เป็นสัตตาวาส เป็นสงสาร เป็นกำเนิด เป็น
วิญญาณฐิติ เป็นการได้อัตภาพใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. กรรมที่ให้เข้าถึงรูปมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สัตว์ผู้เข้าถึงรูปมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ในรูป มีสัตว์เกิด แก่ ตาย จุติ ปฏิสนธิใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ในรูป มีรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. รูปเป็นภพที่มีขันธ์ ๕ ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. รูปธาตุเป็นภพ เป็นคติ ฯลฯ เป็นการได้อัตภาพใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. รูปเป็นภพ เป็นคติ ฯลฯ เป็นการได้อัตภาพใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

เชิงอรรถ :
๑ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอันธกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๕๑๕/๒๓๖)
๒ เพราะมีความเห็นว่า รูป ๒๘ เท่านั้น ชื่อว่ารูปธาตุ ซึ่งต่างกับความเห็นของสกวาทีที่เห็นว่า รูป ๒๘ เป็น
กามธาตุ ไม่ใช่รูปธาตุ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๕๑๕-๕๑๖/๒๓๖)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๕๕๒ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๘. อัฏฐมวรรค] ๕. รูปธาตุกถา (๗๗)
สก. กรรมที่ให้เข้าถึงรูปธาตุมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. กรรมที่ให้เข้าถึงรูปมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สัตว์ผู้เข้าถึงรูปธาตุมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สัตว์ผู้เข้าถึงรูปมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ในรูปธาตุ มีสัตว์เกิด แก่ ตาย จุติ ปฏิสนธิใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ในรูป มีสัตว์เกิด แก่ ตาย จุติ ปฏิสนธิใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ในรูปธาตุ มีรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ในรูป มีรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. รูปธาตุเป็นภพที่มีขันธ์ ๕ ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. รูปเป็นภพที่มีขันธ์ ๕ ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๕๕๓ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๘. อัฏฐมวรรค] ๖. อรูปธาตุกถา (๗๘)
[๕๑๖] สก. สภาวธรรมที่เป็นรูป เป็นรูปธาตุ ในกามธาตุ มีรูปใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. กามธาตุกับรูปธาตุเป็นอันเดียวกันใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. กามธาตุกับรูปธาตุเป็นอันเดียวกันใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลผู้ประกอบด้วยกามภพ๑ ชื่อว่าเป็นผู้ประกอบด้วยภพ ๒ คือ
กามภพและรูปภพใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
รูปธาตุกถา จบ

๖. อรูปธาตุกถา (๗๘)
ว่าด้วยอรูปธาตุ
[๕๑๗] สก. สภาวธรรมที่ไม่เป็นรูปเป็นอรูปธาตุใช่ไหม
ปร.๒ ใช่๓
สก. เวทนาเป็นภพ เป็นคติ เป็นสัตตาวาส เป็นสงสาร เป็นกำเนิด เป็น
วิญญาณฐิติ เป็นการได้อัตภาพใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. กรรมที่ให้เข้าถึงเวทนามีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

เชิงอรรถ :
๑ ประกอบด้วยกามภพ หมายถึงผู้เข้าถึงกามภพ
๒ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอันธกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๕๑๗-๕๑๘/๒๓๖)
๓ เพราะมีความเห็นว่า นามธรรมทั้งหมด ชื่อว่าอรูปธาตุ ซึ่งต่างกับความเห็นของสกวาทีที่เห็นว่า นามขันธ์
บางส่วนเท่านั้นเป็นอรูปธาตุ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๕๑๗-๕๑๘/๒๓๖)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๕๕๔ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๘. อัฏฐมวรรค] ๖. อรูปธาตุกถา (๗๘)
สก. สัตว์ผู้เข้าถึงเวทนามีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ในเวทนา มีสัตว์เกิด แก่ ตาย จุติ ปฏิสนธิใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ในเวทนา มีเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เวทนาเป็นภพที่มีขันธ์ ๔ ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. อรูปธาตุเป็นภพ เป็นคติ ฯลฯ เป็นการได้อัตภาพใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เวทนาเป็นภพ เป็นคติ ฯลฯ เป็นการได้อัตภาพใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. กรรมที่ให้เข้าถึงอรูปธาตุมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. กรรมที่ให้เข้าถึงเวทนามีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สัตว์ผู้เข้าถึงอรูปธาตุมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สัตว์ผู้เข้าถึงเวทนามีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๕๕๕ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๘. อัฏฐมวรรค] ๖. อรูปธาตุกถา (๗๘)
สก. ในอรูปธาตุ มีสัตว์เกิด แก่ ตาย จุติ ปฏิสนธิใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ในเวทนา มีสัตว์เกิด แก่ ตาย จุติ ปฏิสนธิใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ในอรูปธาตุ มีเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ในเวทนา มีเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. อรูปธาตุเป็นภพที่มีขันธ์ ๔ ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เวทนาเป็นภพที่มีขันธ์ ๔ ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๕๑๘] สก. สภาวธรรมที่ไม่เป็นรูปเป็นอรูปธาตุ ในกามธาตุมีเวทนา สัญญา
สังขาร วิญญาณใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. กามธาตุกับอรูปธาตุเป็นอันเดียวกันใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. กามธาตุกับอรูปธาตุเป็นอันเดียวกันใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๕๕๖ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๘. อัฏฐมวรรค] ๖. อรูปธาตุกถา (๗๘)
สก. บุคคลผู้ประกอบด้วยกามภพ ชื่อว่าเป็นผู้ประกอบด้วยภพ ๒ คือ
กามภพและอรูปภพใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สภาวธรรมที่เป็นรูปเป็นรูปธาตุ สภาวธรรมที่ไม่เป็นรูปเป็นอรูปธาตุ ใน
กามธาตุ มีรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. กามธาตุ รูปธาตุ และอรูปธาตุเป็นอันเดียวกันใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. กามธาตุ รูปธาตุ และอรูปธาตุเป็นอันเดียวกันใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลผู้ประกอบด้วยกามภพ ชื่อว่าเป็นผู้ประกอบด้วยภพ ๓ คือ
กามภพ รูปภพ และอรูปภพใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

อรูปธาตุกถา จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๕๕๗ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๘. อัฏฐมวรรค] ๗. รูปธาตุยาอายตนกถา (๗๙)
๗. รูปธาตุยาอายตนกถา (๗๙)
ว่าด้วยอายตนะในรูปธาตุ
[๕๑๙] สก. อัตภาพประกอบด้วยอายตนะ ๖ มีอยู่ในรูปธาตุใช่ไหม
ปร.๑ ใช่๒
สก. ในรูปธาตุนั้น มีฆานายตนะใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ในรูปธาตุนั้น มีคันธายตนะใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ในรูปธาตุนั้น มีชิวหายตนะใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ในรูปธาตุนั้น มีรสายตนะใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ในรูปธาตุนั้น มีกายายตนะใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ในรูปธาตุนั้น มีโผฏฐัพพายตนะใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ในรูปธาตุนั้น ไม่มีคันธายตนะใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ในรูปธาตุนั้น ไม่มีฆานายตนะใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

เชิงอรรถ :
๑ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอันธกะและนิกายสมิติยะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๕๑๙/๒๓๗)
๒ เพราะมีความเห็นว่า รูปพรหมมีอายตนะครบทั้ง ๖ มีอินทรีย์ไม่บกพร่อง ซึ่งต่างกับความเห็นของสกวาที
ที่เห็นว่า รูปพรหมมีอายตนะเพียง ๓ เท่านั้น คือ (๑) จักขายตนะ (๒) โสตายตนะ (๓) มนายตนะ
(อภิ.ปญฺจ.อ. ๕๑๙/๒๓๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๕๕๘ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๘. อัฏฐมวรรค] ๗. รูปธาตุยาอายตนกถา (๗๙)
สก. ในรูปธาตุนั้น ไม่มีรสายตนะใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ในรูปธาตุนั้น ไม่มีชิวหายตนะใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ในรูปธาตุนั้น ไม่มีโผฏฐัพพายตนะใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ในรูปธาตุนั้น ไม่มีกายายตนะใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๕๒๐] สก. ในรูปธาตุนั้น มีจักขายตนะและรูปายตนะใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ในรูปธาตุนั้น มีฆานายตนะและคันธายตนะใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ในรูปธาตุนั้น มีจักขายตนะและรูปายตนะใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ในรูปธาตุนั้น มีชิวหายตนะและรสายตนะ ฯลฯ มีกายายตนะและ
โผฏฐัพพายตนะใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ในรูปธาตุนั้น มีโสตายตนะและสัททายตนะ ฯลฯ มีมนายตนะและ
ธัมมายตนะใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ในรูปธาตุนั้น มีฆานายตนะและคันธายตนะใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ในรูปธาตุนั้น มีมนายตนะและธัมมายตนะใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๕๕๙ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๘. อัฏฐมวรรค] ๗. รูปธาตุยาอายตนกถา (๗๙)
สก. ในรูปธาตุนั้น มีชิวหายตนะและรสายตนะ ฯลฯ มีกายายตนะและ
โผฏฐัพพายตนะใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ในรูปธาตุนั้น มีฆานายตนะ แต่ไม่มีคันธายตนะใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ในรูปธาตุนั้น มีจักขายตนะ แต่ไม่มีรูปายตนะใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ในรูปธาตุนั้น มีฆานายตนะ แต่ไม่มีคันธายตนะใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ในรูปธาตุนั้น มีโสตายตนะ แต่ไม่มีสัททายตนะ ฯลฯ มีมนายตนะ
แต่ไม่มีธัมมายตนะใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ในรูปธาตุนั้น มีชิวหายตนะ แต่ไม่มีรสายตนะ ฯลฯ มีกายายตนะ
แต่ไม่มีโผฏฐัพพายตนะใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ในรูปธาตุนั้น มีจักขายตนะ แต่ไม่มีรูปายตนะใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ในรูปธาตุนั้น มีกายายตนะ แต่ไม่มีโผฏฐัพพายตนะใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ในรูปธาตุนั้น มีโสตายตนะ แต่ไม่มีสัททายตนะ ฯลฯ มีมนายตนะ
แต่ไม่มีธัมมายตนะใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๕๒๑] สก. ในรูปธาตุนั้น มีจักขายตนะและรูปายตนะ บุคคลเห็นรูปนั้นทาง
ตาใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๕๖๐ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๘. อัฏฐมวรรค] ๗. รูปธาตุยาอายตนกถา (๗๙)
สก. ในรูปธาตุนั้น มีฆานายตนะและคันธายตนะ บุคคลดมกลิ่นนั้นทางจมูก
นั้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ในรูปธาตุนั้น มีจักขายตนะและรูปายตนะ บุคคลเห็นรูปนั้นทางตาใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ในรูปธาตุนั้น มีชิวหายตนะและรสายตนะ บุคคลลิ้มรสนั้นทางลิ้น ฯลฯ
มีกายายตนะและโผฏฐัพพายตนะ บุคคลถูกต้องโผฏฐัพพะนั้นทางกายใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ในรูปธาตุนั้น มีโสตายตนะและสัททายตนะ ฯลฯ มีมนายตนะและ
ธัมมายตนะ บุคคลรู้ธรรมารมณ์นั้นทางใจใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ในรูปธาตุนั้น มีฆานายตนะและคันธายตนะ บุคคลดมกลิ่นนั้นทางจมูก
ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ในรูปธาตุนั้น มีมนายตนะและธัมมายตนะ บุคคลรู้ธรรมารมณ์นั้นทางใจ
ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ในรูปธาตุนั้น มีชิวหายตนะและรสายตนะ ฯลฯ มีกายายตนะและ
โผฏฐัพพายตนะ บุคคลถูกต้องโผฏฐัพพะนั้นทางกายใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ในรูปธาตุนั้น มีฆานายตนะและคันธายตนะ แต่บุคคลไม่ได้ดมกลิ่นนั้น
ทางจมูกใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ในรูปธาตุนั้น มีจักขายตนะและรูปายตนะ แต่บุคคลไม่เห็นรูปนั้นทางตา
ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๕๖๑ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๘. อัฏฐมวรรค] ๗. รูปธาตุยาอายตนกถา (๗๙)
สก. ในรูปธาตุนั้น มีฆานายตนะและคันธายตนะ แต่บุคคลไม่ได้ดมกลิ่นนั้น
ทางจมูกใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ในรูปธาตุนั้น มีโสตายตนะและสัททายตนะ ฯลฯ มีมนายตนะและ
ธัมมายตนะ แต่บุคคลไม่รู้ธรรมารมณ์นั้นทางใจใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ในรูปธาตุนั้น มีชิวหายตนะและรสายตนะ ฯลฯ มีกายายตนะและ
โผฏฐัพพายตนะ แต่บุคคลไม่ถูกต้องโผฏฐัพพะนั้นทางกายใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ในรูปธาตุนั้น มีจักขายตนะและรูปายตนะ แต่บุคคลไม่เห็นรูปนั้นทางตา
ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ในรูปธาตุนั้น มีกายายตนะและโผฏฐัพพายตนะ แต่บุคคลไม่ถูกต้อง
โผฏฐัพพะนั้นทางกายใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ในรูปธาตุนั้น มีโสตายตนะและสัททายตนะ ฯลฯ มีมนายตนะและ
ธัมมายตนะ แต่บุคคลไม่รู้ธรรมารมณ์นั้นทางใจใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๕๒๒] สก. ในรูปธาตุนั้น มีฆานายตนะและคันธายตนะ บุคคลดมกลิ่นนั้น
ทางจมูกใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ในรูปธาตุนั้น มีกลิ่นที่เกิดจากราก เกิดจากแก่น เกิดจากเปลือก
เกิดจากใบ เกิดจากดอก เกิดจากผล มีกลิ่นคาว กลิ่นฉุน กลิ่นหอม กลิ่นเหม็น
ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๕๖๒ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๘. อัฏฐมวรรค] ๗. รูปธาตุยาอายตนกถา (๗๙)
สก. ในรูปธาตุนั้น มีชิวหายตนะและรสายตนะ บุคคลลิ้มรสนั้นทางลิ้นใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ในรูปธาตุนั้น มีรสที่เกิดจากราก เกิดจากลำต้น เกิดจากเปลือก เกิด
จากใบ เกิดจากดอก เกิดจากผล มีรสเปรี้ยว รสหวาน รสขม รสเผ็ด รสเค็ม
รสพร่า รสหวานอมเปรี้ยว รสฝาด รสกลมกล่อม รสไม่กลมกล่อมใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ในรูปธาตุนั้น มีกายายตนะและโผฏฐัพพายตนะ บุคคลถูกต้องโผฏฐัพพะ
นั้นได้ด้วยกายนั้นใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ในรูปธาตุนั้น มีสัมผัสที่แข็ง อ่อน ละเอียด หยาบ สบาย ไม่สบาย
หนัก เบาใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๕๒๓] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “อัตภาพที่ประกอบด้วยอายตนะ ๖ มีอยู่ใน
รูปธาตุนั้น” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. ในรูปธาตุนั้น มีฆานนิมิต ชิวหานิมิต และกายนิมิตมิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. หากในรูปธาตุนั้น มีฆานนิมิต ชิวหานิมิต และกายนิมิต ดังนั้น ท่าน
จึงควรยอมรับว่า “อัตภาพที่ประกอบด้วยอายตนะ ๖ มีอยู่ในรูปธาตุ”

รูปธาตุยาอายตนกถา จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๕๖๓ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๘. อัฏฐมวรรค] ๘. อรูเปรูปกถา (๘๐)
๘. อรูเปรูปกถา (๘๐)
ว่าด้วยรูปในอรูป
[๕๒๔] สก. ในอรูปภพ รูปมีอยู่ใช่ไหม
ปร.๑ ใช่๒
สก. อรูปภพนั้นเป็นรูปภพที่มีรูป เป็นคติที่มีรูป เป็นสัตตาวาสที่มีรูป
เป็นสงสารที่มีรูป เป็นกำเนิดที่มีรูป เป็นการได้อัตภาพที่มีรูปใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. อรูปภพนั้นเป็นภพที่ไม่มีรูป เป็นคติที่ไม่มีรูป เป็นสัตตาวาสที่ไม่มีรูป
เป็นสงสารที่ไม่มีรูป เป็นกำเนิดที่ไม่มีรูป เป็นการได้อัตภาพที่ไม่มีรูปมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากอรูปภพนั้นเป็นภพที่ไม่มีรูป ฯลฯ เป็นการได้อัตภาพที่ไม่มีรูป ท่านก็
ไม่ควรยอมรับว่า “ในอรูปภพ รูปมีอยู่”
สก. ในอรูปภพ รูปมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. อรูปภพนั้นเป็นภพที่มีขันธ์ ๕ เป็นคติ ... เป็นสัตตาวาส ... เป็นสงสาร
เป็นกำเนิด ... เป็นวิญญาณฐิติ ... เป็นการได้อัตภาพที่มีขันธ์ ๕ ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. อรูปภพนั้นเป็นภพที่มีขันธ์ ๔ ฯลฯ เป็นการได้อัตภาพที่มีขันธ์ ๔
มิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากอรูปภพนั้นเป็นภพที่มีขันธ์ ๔ เป็นคติ ฯลฯ เป็นการได้อัตภาพ
ที่มีขันธ์ ๔ ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “ในอรูปภพ รูปมีอยู่”

เชิงอรรถ :
๑ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอันธกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๕๒๘/๒๓๘)
๒ เพราะมีความเห็นว่า ในอรูปภพก็มีรูป แต่เป็นรูปที่ละเอียด ซึ่งต่างกับความเห็นของสกวาทีที่เห็นว่า ไม่มี
รูป (อภิ.ปญฺจ.อ. ๕๒๔/๒๓๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๕๖๔ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๘. อัฏฐมวรรค] ๘. อรูเปรูปกถา (๘๐)
[๕๒๕] สก. ในรูปธาตุ รูปมีอยู่ และรูปธาตุนั้นเป็นภพที่มีรูป เป็นคติที่มีรูป
เป็นสัตตาวาสที่มีรูป เป็นสงสารที่มีรูป เป็นกำเนิดที่มีรูป เป็นการได้อัตภาพ
ที่มีรูปใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ในอรูปภพ รูปมีอยู่ และอรูปภพนั้นเป็นภพที่มีรูป เป็นคติ ฯลฯ
เป็นการได้อัตภาพที่มีรูปใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ในรูปธาตุ รูปมีอยู่ และรูปธาตุนั้นเป็นภพที่มีขันธ์ ๕ เป็นคติ ฯลฯ
เป็นการได้อัตภาพที่มีขันธ์ ๕ ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ในอรูปภพ รูปมีอยู่ และอรูปภพนั้นเป็นภพที่มีขันธ์ ๕ เป็นคติ ฯลฯ
เป็นการได้อัตภาพที่มีขันธ์ ๕ ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ในอรูปภพ รูปมีอยู่ และภพนั้นเป็นภพที่ไม่มีอรูป เป็นคติที่ไม่มีรูป
เป็นสัตตวาสที่ไม่มีรูป เป็นสงสารที่ไม่มีรูป เป็นกำเนิดที่ไม่มีรูป เป็นการได้
อัตภาพที่ไม่มีรูปใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ในอรูปธาตุ รูปมีอยู่ และอรูปธาตุนั้นเป็นภพที่ไม่มีรูป เป็นคติที่
ไม่มีรูป ฯลฯ เป็นการได้อัตภาพที่ไม่มีรูปใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ในอรูปภพ รูปมีอยู่ และอรูปภพนั้นเป็นภพที่มีขันธ์ ๔ เป็นคติ ฯลฯ
เป็นการได้อัตภาพที่มีขันธ์ ๔ ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ในอรูปธาตุ รูปมีอยู่ และอรูปธาตุนั้นเป็นภพที่มีขันธ์ ๔ เป็น
คติ ฯลฯ เป็นการได้อัตภาพที่มีขันธ์ ๔ ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๕๖๕ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๘. อัฏฐมวรรค] ๙. รูปังกัมมันติกถา (๘๑)
[๕๒๖] สก. ในอรูปภพ รูปมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. การสลัดออกจากรูป พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “เป็นอรูปมิใช่หรือ”
ปร. ใช่
สก. หากการสลัดออกจากรูป พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “เป็นอรูป” ท่านก็
ไม่ควรยอมรับว่า “ในอรูปภพ รูปยังมีอยู่”
สก. การสลัดออกจากรูป พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “เป็นอรูป” โดย
มีพระประสงค์ว่า “ในอรูปภพ รูปยังมีอยู่” ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. การสลัดออกจากกาม พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “เป็นเนกขัมมะ”
โดยมีพระประสงค์ว่า “กามยังมีอยู่ในเนกขัมมะ อาสวะยังมีอยู่ในอนาสาวะ โลกิยธรรม
ยังมีอยู่ ในโลกุตตรธรรม” ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
อรูเปรูปกถา จบ

๙. รูปังกัมมันติกถา (๘๑)
ว่าด้วยรูปเป็นกรรม
[๕๒๗] สก. รูปที่เป็นกายกรรม๑ที่เกิดขึ้นด้วยจิตที่เป็นกุศล เป็นกุศลใช่ไหม
ปร.๒ ใช่๓
สก. รูปที่เป็นกายกรรม เป็นสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ได้ มีความนึกถึง มี
ความผูกใจ มีความสนใจ มีความใฝ่ใจ มีความจงใจ มีความปรารถนา มีความ
ตั้งใจใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

เชิงอรรถ :
๑ รูปที่เป็นกายกรรม ในที่นี้หมายถึงกายวิญญัติรูป (อภิ.ปญฺจ.อ. ๕๒๗-๕๓๗/๒๓๘)
๒ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายมหิสาสกะและนิกายสมิติยะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๕๒๗/๒๓๘)
๓ เพราะมีความเห็นว่า รูปที่เป็นกายกรรม (กายวิญญัติ) และรูปที่เป็นวจีกรรม (วจีวิญญัติรูป) ที่เกิดจาก
กุศลจิต เป็นกุศลกรรม ส่วนรูปที่เกิดจากอกุศลจิต จัดเป็นอกุศลกรรม ซึ่งต่างกับความเห็นของสกวาทีที่
เห็นว่า เจตนาเท่านั้นจัดเป็นกรรม รูปไม่จัดเป็นกรรม (อภิ.ปญฺจ.อ. ๕๒๗/๒๓๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๕๖๖ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๘. อัฏฐมวรรค] ๙. รูปังกัมมันติกถา (๘๑)
สก. รูปที่เป็นกายกรรมเป็นสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ไม่ได้ ไม่มีความนึกถึง
ไม่มีความผูกใจ ไม่มีความสนใจ ไม่มีความใฝ่ใจ ไม่มีความจงใจ ไม่มีความปรารถนา
ไม่มีความตั้งใจมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากรูปที่เป็นกายกรรมเป็นสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ไม่ได้ ไม่มีความนึกถึง
ฯลฯ ไม่มีความตั้งใจ ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “รูปที่เป็นกายกรรมที่เกิดขึ้นด้วย
จิตที่เป็นกุศลเป็นกุศล”
สก. ผัสสะที่เกิดขึ้นด้วยจิตที่เป็นกุศล เป็นกุศล รับรู้อารมณ์ได้ มีความนึกถึง
ฯลฯ มีความตั้งใจใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. รูปที่เป็นกายกรรมที่เกิดขึ้นด้วยจิตที่เป็นกุศล เป็นกุศล รับรู้อารมณ์ได้
มีความนึกถึง ฯลฯ มีความตั้งใจใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เวทนา ฯลฯ สัญญา ... เจตนา ... สัทธา ... วิริยะ ... สติ ... สมาธิ
ฯลฯ ปัญญา ที่เกิดขึ้นด้วยจิตที่เป็นกุศล เป็นกุศล รับรู้อารมณ์ได้ มีความนึกถึง
ฯลฯ มีความตั้งใจใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. รูปที่เป็นกายกรรมที่เกิดขึ้นด้วยจิตที่เป็นกุศล เป็นกุศล รับรู้อารมณ์ได้
มีความนึกถึง ฯลฯ มีความตั้งใจใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. รูปที่เป็นกายกรรมเกิดขึ้นด้วยจิตที่เป็นกุศล เป็นกุศล รับรู้อารมณ์ไม่ได้
ไม่มีความนึกถึง ฯลฯ ไม่มีความตั้งใจใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๕๖๗ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๘. อัฏฐมวรรค] ๙. รูปังกัมมันติกถา (๘๑)
สก. ผัสสะที่เกิดขึ้นด้วยจิตที่เป็นกุศล เป็นกุศล รับรู้อารมณ์ไม่ได้ ไม่มี
ความนึกถึง ฯลฯ ไม่มีความตั้งใจใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. รูปที่เป็นกายกรรมที่เกิดขึ้นด้วยจิตที่เป็นกุศล เป็นกุศล รับรู้อารมณ์
ไม่ได้ ไม่มีความนึกถึง ฯลฯ ไม่มีความตั้งใจใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เวทนา ฯลฯ สัญญา ... เจตนา ... สัทธา ... วิริยะ ... สติ ... สมาธิ
ฯลฯ ปัญญาที่เกิดขึ้นด้วยจิตที่เป็นกุศล เป็นกุศล รับรู้อารมณ์ไม่ได้ ไม่มีความนึกถึง
ฯลฯ ไม่มีความตั้งใจใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๕๒๘] สก. รูปที่เป็นกายกรรมที่เกิดขึ้นด้วยจิตที่เป็นกุศล เป็นกุศลใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. รูปที่เกิดขึ้นด้วยจิตที่เป็นกุศลทั้งหมดนั้น เป็นกุศลใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. รูปที่เป็นกายกรรมที่เกิดขึ้นด้วยจิตที่เป็นกุศล เป็นกุศลใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. รูปายตนะที่เกิดขึ้นด้วยจิตที่เป็นกุศล เป็นกุศลใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. รูปที่เป็นกายกรรมที่เกิดขึ้นด้วยจิตที่เป็นกุศล เป็นกุศลใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สัททายตนะ ฯลฯ คันธายตนะ ฯลฯ รสายตนะ ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะ
ฯลฯ ปฐวีธาตุ ฯลฯ อาโปธาตุ ฯลฯ เตโชธาตุ ฯลฯ วาโยธาตุ ที่เกิดขึ้นด้วย
จิตที่เป็นกุศล เป็นกุศลใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๕๖๘ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๘. อัฏฐมวรรค] ๙. รูปังกัมมันติกถา (๘๑)
สก. รูปายตนะที่เกิดขึ้นด้วยจิตที่เป็นกุศล เป็นอัพยากฤตใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. รูปที่เป็นกายกรรมที่เกิดขึ้นด้วยจิตที่เป็นกุศล เป็นอัพยากฤตใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สัททายตนะ ฯลฯ คันธายตนะ ฯลฯ รสายตนะ ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะ
ฯลฯ ปฐวีธาตุ ฯลฯ อาโปธาตุ ฯลฯ เตโชธาตุ ฯลฯ วาโยธาตุ ที่เกิดขึ้นด้วย
จิตที่เป็นกุศล เป็นอัพยากฤตใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. รูปที่เป็นกายกรรมที่เกิดขึ้นด้วยจิตที่เป็นกุศล เป็นอัพยากฤตใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๕๒๙] สก. รูปที่เป็นกายกรรมที่เกิดขึ้นด้วยจิตที่เป็นกุศล รับรู้อารมณ์ไม่ได้
เป็นกุศลใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. รูปายตนะที่เกิดขึ้นด้วยจิตที่เป็นกุศล รับรู้อารมณ์ไม่ได้ เป็นกุศลใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. รูปที่เป็นกายกรรมที่เกิดขึ้นด้วยจิตที่เป็นกุศล รับรู้อารมณ์ไม่ได้ เป็นกุศลใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สัททายตนะ ฯลฯ คันธายตนะ ฯลฯ รสายตนะ ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะ
ฯลฯ ปฐวีธาตุ ฯลฯ อาโปธาตุ ฯลฯ เตโชธาตุ ฯลฯ วาโยธาตุ ที่เกิดขึ้นด้วย
จิตที่เป็นกุศล รับรู้อารมณ์ไม่ได้ เป็นกุศลใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. รูปายตนะที่เกิดขึ้นด้วยจิตที่เป็นกุศล รับรู้อารมณ์ไม่ได้ เป็นอัพยากฤต
ใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๕๖๙ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๘. อัฏฐมวรรค] ๙. รูปังกัมมันติกถา (๘๑)
สก. รูปที่เป็นกายกรรมที่เกิดขึ้นด้วยจิตที่เป็นกุศล รับรู้อารมณ์ไม่ได้ เป็น
อัพยากฤตใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สัททายตนะ ฯลฯ คันธายตนะ ฯลฯ รสายตนะ ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะ
ฯลฯ ปฐวีธาตุ ฯลฯ อาโปธาตุ ฯลฯ เตโชธาตุ ฯลฯ วาโยธาตุ ที่เกิดขึ้นด้วย
จิตที่เป็นกุศล รับรู้อารมณ์ไม่ได้ เป็นอัพยากฤตใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. รูปที่เป็นกายกรรมที่เกิดขึ้นด้วยจิตที่เป็นกุศล รับรู้อารมณ์ไม่ได้ เป็น
อัพยากฤตใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๕๓๐] สก. รูปที่เป็นกายกรรมที่เกิดขึ้นด้วยจิตที่เป็นกุศล เป็นกุศลที่วิปปยุต
จากผัสสะใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. รูปายตนะที่เกิดขึ้นด้วยจิตที่เป็นกุศล เป็นกุศลที่วิปปยุตจากผัสสะใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. รูปที่เป็นกายกรรมที่เกิดขึ้นด้วยจิตที่เป็นกุศล เป็นกุศลที่วิปปยุตจาก
ผัสสะใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สัททายตนะ ฯลฯ คันธายตนะ ฯลฯ รสายตนะ ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะ
ฯลฯ ปฐวีธาตุ ฯลฯ อาโปธาตุ ฯลฯ เตโชธาตุ ฯลฯ วาโยธาตุ ที่เกิดขึ้นด้วย
จิตที่เป็นกุศล เป็นกุศลที่วิปปยุตจากผัสสะใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. รูปายตนะที่เกิดขึ้นด้วยจิตที่เป็นกุศล เป็นอัพยากฤตที่วิปปยุตจาก
ผัสสะใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๕๗๐ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๘. อัฏฐมวรรค] ๙. รูปังกัมมันติกถา (๘๑)
สก. รูปที่เป็นกายกรรมที่เกิดขึ้นด้วยจิตที่เป็นกุศล เป็นอัพยากฤตที่วิปปยุต
จากผัสสะใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สัททายตนะ ฯลฯ คันธายตนะ ฯลฯ รสายตนะ ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะ
ฯลฯ ปฐวีธาตุ ฯลฯ อาโปธาตุ ฯลฯ เตโชธาตุ ฯลฯ วาโยธาตุ ที่เกิดขึ้นด้วย
จิตที่เป็นกุศล เป็นอัพยากฤตที่วิปปยุตจากผัสสะใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. รูปที่เป็นกายกรรมที่เกิดขึ้นด้วยจิตที่เป็นกุศล เป็นอัพยากฤตที่วิปปยุต
จากผัสสะใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๕๓๑] สก. รูปที่เป็นกายกรรมที่เกิดขึ้นด้วยจิตที่เป็นกุศล รับรู้อารมณ์ไม่ได้
เป็นกุศลที่วิปปยุตจากผัสสะใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. รูปายตนะที่เกิดขึ้นด้วยจิตที่เป็นกุศล รับรู้อารมณ์ไม่ได้ เป็นกุศลที่วิปปยุต
จากผัสสะใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. รูปที่เป็นกายกรรมที่เกิดขึ้นด้วยจิตที่เป็นกุศล รับรู้อารมณ์ไม่ได้เป็นกุศล
ที่วิปปยุตจากผัสสะใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สัททายตนะ ฯลฯ คันธายตนะ ฯลฯ รสายตนะ ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะ
ฯลฯ ปฐวีธาตุ ฯลฯ อาโปธาตุ ฯลฯ เตโชธาตุ ฯลฯ วาโยธาตุ ที่เกิดขึ้นด้วย
จิตที่เป็นกุศล รับรู้อารมณ์ไม่ได้ เป็นกุศลที่วิปปยุตจากผัสสะใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. รูปายตนะที่เกิดขึ้นด้วยจิตที่เป็นกุศล รับรู้อารมณ์ไม่ได้ เป็นอัพยากฤต
ที่วิปปยุตจากผัสสะใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๕๗๑ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๘. อัฏฐมวรรค] ๙. รูปังกัมมันติกถา (๘๑)
สก. รูปที่เป็นกายกรรมที่เกิดขึ้นด้วยจิตที่เป็นกุศล รับรู้อารมณ์ไม่ได้ เป็น
อัพยากฤตที่วิปปยุตจากผัสสะใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สัททายตนะ ฯลฯ คันธายตนะ ฯลฯ รสายตนะ ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะ
ฯลฯ ปฐวีธาตุ ฯลฯ อาโปธาตุ ฯลฯ เตโชธาตุ ฯลฯ วาโยธาตุ ที่เกิดขึ้นด้วย
จิตที่เป็นกุศล รับรู้อารมณ์ไม่ได้ เป็นอัพยากฤตที่วิปปยุตจากผัสสะใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. รูปที่เป็นกายกรรมที่เกิดขึ้นด้วยจิตที่เป็นกุศล รับรู้อารมณ์ไม่ได้ เป็น
อัพยากฤต ที่วิปปยุตจากผัสสะใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๕๓๒] สก. รูปที่เป็นวจีกรรมที่เกิดขึ้นด้วยจิตที่เป็นกุศล เป็นกุศลใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. รูปที่เป็นวจีกรรมเป็นสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ได้ มีความนึกถึง ฯลฯ
มีความตั้งใจใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. รูปที่เป็นวจีกรรมเป็นสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ไม่ได้ ไม่มีความนึกถึง ฯลฯ
ไม่มีความตั้งใจมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากรูปที่เป็นวจีกรรมเป็นสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ไม่ได้ ไม่มีความ
นึกถึง ฯลฯ ไม่มีความตั้งใจ ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “รูปที่เป็นวจีกรรมที่เกิดขึ้นด้วย
จิตที่เป็นกุศล เป็นกุศล”
สก. ผัสสะที่เกิดขึ้นด้วยจิตที่เป็นกุศล เป็นกุศล รับรู้อารมณ์ได้ มีความนึกถึง ฯลฯ
มีความตั้งใจใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๕๗๒ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๘. อัฏฐมวรรค] ๙. รูปังกัมมันติกถา (๘๑)
สก. รูปที่เป็นวจีกรรมที่เกิดขึ้นด้วยจิตที่เป็นกุศล เป็นกุศล รับรู้อารมณ์ได้
มีความนึกถึง ฯลฯ มีความตั้งใจใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ เจตนา ฯลฯ สัทธา ฯลฯ วิริยะ ฯลฯ
สติ ฯลฯ สมาธิ ฯลฯ ปัญญา ที่เกิดขึ้นด้วยจิตที่เป็นกุศล เป็นกุศล รับรู้อารมณ์ได้
มีความนึกถึง ฯลฯ มีความตั้งใจใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. รูปที่เป็นวจีกรรมที่เกิดขึ้นด้วยจิตที่เป็นกุศล เป็นกุศล รับรู้อารมณ์ได้
มีความนึกถึง ฯลฯ มีความตั้งใจใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. รูปที่เป็นวจีกรรมที่เกิดขึ้นด้วยจิตที่เป็นกุศล เป็นกุศล รับรู้อารมณ์ไม่ได้
ไม่มีความนึกถึง ฯลฯ ไม่มีความตั้งใจใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ผัสสะที่เกิดขึ้นด้วยจิตที่เป็นกุศล เป็นกุศล รับรู้อารมณ์ไม่ได้ ไม่มี
ความนึกถึง ฯลฯ ไม่มีความตั้งใจใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. รูปที่เป็นวจีกรรมที่เกิดขึ้นด้วยจิตที่เป็นกุศล เป็นกุศล รับรู้อารมณ์ไม่ได้
ไม่มีความนึกถึง ฯลฯ ไม่มีความตั้งใจใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ เจตนา ฯลฯ สัทธา ฯลฯ วิริยะ ฯลฯ สติ
ฯลฯ สมาธิ ฯลฯ ปัญญา ที่เกิดขึ้นด้วยจิตที่เป็นกุศล เป็นกุศล รับรู้อารมณ์ไม่ได้
ไม่มีความนึกถึง ฯลฯ ไม่มีความตั้งใจใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. รูปที่เป็นวจีกรรมที่เกิดขึ้นด้วยจิตที่เป็นกุศล เป็นกุศลใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๕๗๓ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๘. อัฏฐมวรรค] ๙. รูปังกัมมันติกถา (๘๑)
สก. รูปที่เกิดขึ้นด้วยจิตที่เป็นกุศล ทั้งหมดนั้นเป็นกุศลใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
พึงอธิบายรูปที่เป็นวจีกรรมให้พิสดารเหมือนรูปที่เป็นกายกรรม
[๕๓๓] สก. รูปที่เป็นกายกรรมที่เกิดขึ้นด้วยจิตที่เป็นอกุศล เป็นอกุศลใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. รูปที่เป็นกายกรรมเป็นสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ได้ มีความนึกถึง มีความ
ผูกใจ มีความสนใจ มีความใฝ่ใจ มีความจงใจ มีความปรารถนา มีความตั้งใจใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. รูปที่เป็นกายกรรมเป็นสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ไม่ได้ ไม่มีความนึกถึง
ไม่มีความผูกใจ ไม่มีความสนใจ ไม่มีความใฝ่ใจ ไม่มีความจงใจ ไม่มีความปรารถนา
ไม่มีความตั้งใจมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากรูปที่เป็นกายกรรมเป็นสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ไม่ได้ ไม่มีความนึกถึง
ไม่มีความผูกใจ ไม่มีความสนใจ ไม่มีความใฝ่ใจ ไม่มีความจงใจ ไม่มีความปรารถนา
ไม่มีความตั้งใจ ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “รูปที่เป็นกายกรรมที่เกิดขึ้นด้วยจิตที่เป็น
อกุศล เป็นอกุศล”
สก. ผัสสะที่เกิดขึ้นด้วยจิตที่เป็นอกุศล เป็นอกุศล รับรู้อารมณ์ได้ มีความ
นึกถึง ฯลฯ มีความตั้งใจใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. รูปที่เป็นกายกรรมที่เกิดขึ้นด้วยจิตที่เป็นอกุศล เป็นอกุศล รับรู้อารมณ์ได้
มีความนึกถึง ฯลฯ มีความตั้งใจใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ เจตนา ฯลฯ ราคะ ฯลฯ โทสะ ฯลฯ
โมหะ ฯลฯ มานะ ฯลฯ ทิฏฐิ ฯลฯ วิจิกิจฉา ฯลฯ ถีนะ ฯลฯ อุทธัจจะ ฯลฯ
อหิริกะ ฯลฯ อโนตตัปปะ ที่เกิดขึ้นด้วยจิตที่เป็นอกุศล เป็นอกุศล รับรู้อารมณ์ได้
มีความนึกถึง ฯลฯ มีความตั้งใจใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๕๗๔ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๘. อัฏฐมวรรค] ๙. รูปังกัมมันติกถา (๘๑)
สก. รูปที่เป็นกายกรรมที่เกิดขึ้นด้วยจิตที่เป็นอกุศล เป็นอกุศล รับรู้อารมณ์ได้
มีความนึกถึง ฯลฯ มีความตั้งใจใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. รูปที่เป็นกายกรรมที่เกิดขึ้นด้วยจิตที่เป็นอกุศล เป็นอกุศล รับรู้อารมณ์ไม่ได้
ไม่มีความนึกถึง ฯลฯ ไม่มีความตั้งใจใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ผัสสะที่เกิดขึ้นด้วยจิตที่เป็นอกุศล เป็นอกุศล รับรู้อารมณ์ไม่ได้ ไม่มี
ความนึกถึง ฯลฯ ไม่มีความตั้งใจใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. รูปที่เป็นกายกรรมที่เกิดขึ้นด้วยจิตที่เป็นอกุศล เป็นอกุศล รับรู้อารมณ์ไม่ได้
ไม่มีความนึกถึง ฯลฯ ไม่มีความตั้งใจใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ เจตนา ฯลฯ ราคะ ฯลฯ โทสะ ฯลฯ โมหะ
ฯลฯ มานะฯลฯ ทิฏฐิ ฯลฯ วิจิกิจฉา ฯลฯ ถีนะ ฯลฯ อุทธัจจะ ฯลฯ อหิริกะ
ฯลฯ อโนตตัปปะ ที่เกิดขึ้นด้วยจิตที่เป็นอกุศล เป็นอกุศล รับรู้อารมณ์ไม่ได้
ไม่มีความนึกถึง ฯลฯ ไม่มีความตั้งใจใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. รูปที่เป็นกายกรรมที่เกิดขึ้นด้วยจิตที่เป็นอกุศล เป็นอกุศลใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. รูปที่เกิดขึ้นด้วยจิตที่เป็นอกุศล ทั้งหมดนั้นเป็นอกุศลใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๕๓๔] สก. รูปที่เป็นวจีกรรมที่เกิดขึ้นด้วยจิตที่เป็นอกุศล เป็นอกุศลใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. รูปที่เป็นวจีกรรมเป็นสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ได้ มีความนึกถึง ฯลฯ
มีความตั้งใจใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๕๗๕ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๘. อัฏฐมวรรค] ๙. รูปังกัมมันติกถา (๘๑)
สก. รูปที่เป็นวจีกรรมเป็นสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ไม่ได้ ไม่มีความนึกถึง ฯลฯ
ไม่มีความตั้งใจใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. หากรูปที่เป็นวจีกรรมเป็นสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ไม่ได้ ไม่มีความนึกถึง
ฯลฯ ไม่มีความตั้งใจ ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “รูปที่เป็นวจีกรรมที่เกิดขึ้น
ด้วยจิตที่เป็นอกุศล เป็นอกุศล”
สก. ผัสสะที่เกิดขึ้นด้วยจิตที่เป็นอกุศล เป็นอกุศล รับรู้อารมณ์ได้ มีความ
นึกถึง ฯลฯ มีความตั้งใจใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. รูปที่เป็นวจีกรรมที่เกิดขึ้นด้วยจิตที่เป็นอกุศล เป็นอกุศล รับรู้อารมณ์ได้
มีความนึกถึง ฯลฯ มีความตั้งใจใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ เจตนา ฯลฯ ราคะ ฯลฯ โทสะ ฯลฯ โมหะ
ฯลฯ มานะ ฯลฯ ทิฏฐิ ฯลฯ วิจิกิจฉา ฯลฯ ถีนะ ฯลฯ อุทธัจจะ ฯลฯ อหิริกะ
ฯลฯ อโนตตัปปะ ที่เกิดขึ้นด้วยจิตที่เป็นอกุศล เป็นอกุศล รับรู้อารมณ์ได้ มี
ความนึกถึง ฯลฯ มีความตั้งใจใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. รูปที่เป็นวจีกรรมที่เกิดขึ้นด้วยจิตที่เป็นอกุศล เป็นอกุศล รับรู้อารมณ์ได้
มีความนึกถึง ฯลฯ มีความตั้งใจใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. รูปที่เป็นวจีกรรมที่เกิดขึ้นด้วยจิตที่เป็นอกุศล เป็นอกุศล รับรู้อารมณ์
ไม่ได้ ไม่มีความนึกถึง ฯลฯ ไม่มีความตั้งใจใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ผัสสะที่เกิดขึ้นด้วยจิตที่เป็นอกุศล เป็นอกุศล รับรู้อารมณ์ไม่ได้ ไม่มี
ความนึกถึง ฯลฯ ไม่มีความตั้งใจใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๕๗๖ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๘. อัฏฐมวรรค] ๙. รูปังกัมมันติกถา (๘๑)
สก. รูปที่เป็นวจีกรรมที่เกิดขึ้นด้วยจิตที่เป็นอกุศล เป็นอกุศล รับรู้อารมณ์
ไม่ได้ ไม่มีความนึกถึง ฯลฯ ไม่มีความตั้งใจใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ เจตนา ฯลฯ ราคะ ฯลฯ โทสะ ฯลฯ โมหะ
ฯลฯ มานะ ฯลฯ ทิฏฐิ ฯลฯ วิจิกิจฉา ฯลฯ ถีนะ ฯลฯ อุทธัจจะ ฯลฯ อหิริกะ
ฯลฯ อโนตตัปปะ ที่เกิดขึ้นด้วยจิตที่เป็นอกุศล เป็นอกุศล รับรู้อารมณ์ไม่ได้ ไม่
มีความนึกถึง ฯลฯ ไม่มีความตั้งใจใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. รูปที่เป็นวจีกรรมที่เกิดขึ้นด้วยจิตที่เป็นอกุศล เป็นอกุศลใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. รูปที่เกิดขึ้นด้วยจิตที่เป็นอกุศล ทั้งหมดนั้นเป็นอกุศลใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๕๓๕] สก. รูปที่เป็นวจีกรรมที่เกิดขึ้นด้วยจิตที่เป็นอกุศล เป็นอกุศลใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. รูปายตนะที่เกิดขึ้นด้วยจิตที่เป็นอกุศล เป็นอกุศลใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. รูปที่เป็นวจีกรรมที่เกิดขึ้นด้วยจิตที่เป็นอกุศล เป็นอกุศลใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สัททายตนะ ฯลฯ คันธายตนะ ฯลฯ รสายตนะ ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะ
ฯลฯ ปฐวีธาตุ ฯลฯ อาโปธาตุ ฯลฯ เตโชธาตุ ฯลฯ วาโยธาตุ ฯลฯ อสุจิ ฯลฯ
น้ำตา ฯลฯ โลหิต ฯลฯ เหงื่อ ที่เกิดขึ้นด้วยจิตที่เป็นอกุศล เป็นอกุศลใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. รูปายตนะที่เกิดขึ้นด้วยจิตที่เป็นอกุศล เป็นอัพยากฤตใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๕๗๗ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๘. อัฏฐมวรรค] ๙. รูปังกัมมันติกถา (๘๑)
สก. รูปที่เป็นวจีกรรมที่เกิดขึ้นด้วยจิตที่เป็นอกุศล เป็นอัพยากฤตใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สัททายตนะ ฯลฯ คันธายตนะ ฯลฯ รสายตนะ ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะ
ฯลฯ ปฐวีธาตุ ฯลฯ อาโปธาตุ ฯลฯ เตโชธาตุ ฯลฯ วาโยธาตุ ฯลฯ อสุจิ ฯลฯ
น้ำตา ฯลฯ โลหิต ฯลฯ เหงื่อ ที่เกิดขึ้นด้วยจิตที่เป็นอกุศล เป็นอัพยากฤตใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. รูปที่เป็นวจีกรรมที่เกิดขึ้นด้วยจิตที่เป็นอกุศล เป็นอัพยากฤตใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๕๓๖] สก. รูปที่เป็นวจีกรรมที่เกิดขึ้นด้วยจิตที่เป็นอกุศล รับรู้อารมณ์ไม่ได้
เป็นอกุศลใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. รูปายตนะที่เกิดขึ้นด้วยจิตที่เป็นอกุศล รับรู้อารมณ์ไม่ได้ เป็นอกุศล
ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. รูปที่เป็นวจีกรรมที่เกิดขึ้นด้วยจิตที่เป็นอกุศล รับรู้อารมณ์ไม่ได้ เป็น
อกุศลใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สัททายตนะ ฯลฯ คันธายตนะ ฯลฯ รสายตนะ ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะ
ฯลฯ ปฐวีธาตุ ฯลฯ อาโปธาตุ ฯลฯ เตโชธาตุ ฯลฯ วาโยธาตุ ฯลฯ อสุจิ ฯลฯ
น้ำตา ฯลฯ โลหิต ฯลฯ เหงื่อ ที่เกิดขึ้นด้วยจิตที่เป็นอกุศล รับรู้อารมณ์ไม่ได้
เป็นอกุศลใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. รูปายตนะที่เกิดขึ้นด้วยจิตที่เป็นอกุศล รับรู้อารมณ์ไม่ได้ เป็นอัพยากฤต
ใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๕๗๘ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๘. อัฏฐมวรรค] ๙. รูปังกัมมันติกถา (๘๑)
สก. รูปที่เป็นวจีกรรมที่เกิดขึ้นด้วยจิตที่เป็นอกุศล รับรู้อารมณ์ไม่ได้ เป็น
อัพยากฤตใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สัททายตนะ ฯลฯ คันธายตนะ ฯลฯ รสายตนะ ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะ
ฯลฯ ปฐวีธาตุ ฯลฯ อาโปธาตุ ฯลฯ เตโชธาตุ ฯลฯ วาโยธาตุ ฯลฯ อสุจิ
ฯลฯ น้ำตา ฯลฯ โลหิต ฯลฯ เหงื่อ ที่เกิดขึ้นด้วยจิตที่เป็นอกุศล รับรู้อารมณ์ไม่ได้
เป็นอัพยากฤตใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. รูปที่เป็นวจีกรรมที่เกิดขึ้นด้วยจิตที่เป็นอกุศล รับรู้อารมณ์ไม่ได้เป็น
อัพยากฤตใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๕๓๗] สก. รูปที่เป็นวจีกรรมที่เกิดขึ้นด้วยจิตที่เป็นอกุศล เป็นอกุศลที่วิปปยุต
จากผัสสะใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. รูปายตนะที่เกิดขึ้นด้วยจิตที่เป็นอกุศล เป็นอกุศลที่วิปปยุตจากผัสสะใช่
ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. รูปที่เป็นวจีกรรมที่เกิดขึ้นด้วยจิตที่เป็นอกุศล เป็นอกุศลที่วิปปยุตจาก
ผัสสะใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สัททายตนะ ฯลฯ คันธายตนะ ฯลฯ รสายตนะ ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะ
ฯลฯ ปฐวีธาตุ ฯลฯ อาโปธาตุ ฯลฯ เตโชธาตุ ฯลฯ วาโยธาตุ ฯลฯ อสุจิ ฯลฯ
น้ำตา ฯลฯ โลหิต ฯลฯ เหงื่อ ที่เกิดขึ้นด้วยจิตที่เป็นอกุศล เป็นอกุศลที่วิปปยุต
จากผัสสะใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. รูปายตนะที่เกิดขึ้นด้วยจิตที่เป็นอกุศล เป็นอัพยากฤตที่วิปปยุตจาก
ผัสสะใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๕๗๙ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๘. อัฏฐมวรรค] ๙. รูปังกัมมันติกถา (๘๑)
สก. รูปที่เป็นวจีกรรมที่เกิดขึ้นด้วยจิตที่เป็นอกุศล รับรู้อารมณ์ไม่ได้ เป็น
อัพยากฤตที่วิปปยุตจากผัสสะใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สัททายตนะ ฯลฯ คันธายตนะ ฯลฯ รสายตนะ ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะ
ฯลฯ ปฐวีธาตุ ฯลฯ อาโปธาตุ ฯลฯ เตโชธาตุ ฯลฯ วาโยธาตุ ฯลฯ อสุจิ ฯลฯ
น้ำตา ฯลฯ โลหิต ฯลฯ เหงื่อ ที่เกิดขึ้นด้วยจิตที่เป็นอกุศล รับรู้อารมณ์ไม่ได้
เป็นอัพยากฤตที่วิปปยุตจากผัสสะใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. รูปที่เป็นวจีกรรมที่เกิดขึ้นด้วยจิตที่เป็นอกุศล รับรู้อารมณ์ไม่ได้ เป็น
อัพยากฤตที่วิปปยุตจากผัสสะใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. รูปที่เป็นวจีกรรมที่เกิดขึ้นด้วยจิตที่เป็นอกุศล รับรู้อารมณ์ไม่ได้ เป็น
อกุศลที่วิปปยุตจากผัสสะใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. รูปายตนะที่เกิดขึ้นด้วยจิตที่เป็นอกุศล รับรู้อารมณ์ไม่ได้ เป็นอกุศล
ที่วิปปยุตจากผัสสะใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. รูปที่เป็นวจีกรรมที่เกิดขึ้นด้วยจิตที่เป็นอกุศล รับรู้อารมณ์ไม่ได้ เป็น
อกุศลที่วิปปยุตจากผัสสะใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สัททายตนะ ฯลฯ คันธายตนะ ฯลฯ รสายตนะ ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะ
ฯลฯ ปฐวีธาตุ ฯลฯ อาโปธาตุ ฯลฯ เตโชธาตุ ฯลฯ วาโยธาตุ ฯลฯ อสุจิ
ฯลฯ น้ำตา ฯลฯ โลหิต ฯลฯ เหงื่อ ที่เกิดขึ้นด้วยจิตที่เป็นอกุศล รับรู้อารมณ์ไม่ได้
เป็นอกุศลที่วิปปยุตจากผัสสะใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. รูปายตนะที่เกิดขึ้นด้วยจิตที่เป็นอกุศล รับรู้อารมณ์ไม่ได้ เป็นอัพยากฤต
ที่วิปปยุตจากผัสสะใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๕๘๐ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๘. อัฏฐมวรรค] ๙. รูปังกัมมันติกถา (๘๑)
สก. รูปที่เป็นวจีกรรมที่เกิดขึ้นด้วยจิตที่เป็นอกุศล รับรู้อารมณ์ไม่ได้ เป็น
อัพยากฤตที่วิปปยุตจากผัสสะใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สัททายตนะ ฯลฯ คันธายตนะ ฯลฯ รสายตนะ ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะ
ฯลฯ ปฐวีธาตุ ฯลฯ อาโปธาตุ ฯลฯ เตโชธาตุ ฯลฯ วาโยธาตุ ฯลฯ อสุจิ
ฯลฯ น้ำตา ฯลฯ โลหิต ฯลฯ เหงื่อ ที่เกิดขึ้นด้วยจิตที่เป็นอกุศล รับรู้อารมณ์ไม่ได้
เป็นอัพยากฤตที่วิปปยุตจากผัสสะใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. รูปที่เป็นวจีกรรมที่เกิดขึ้นด้วยจิตที่เป็นอกุศล รับรู้อารมณ์ไม่ได้ เป็น
อัพยากฤตที่วิปปยุตจากผัสสะใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๕๓๘] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “รูปเป็นกุศลก็ได้ เป็นอกุศลก็ได้” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. กายกรรม วจีกรรม เป็นกุศลก็ได้ เป็นอกุศลก็ได้ มิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. หากกายกรรม วจีกรรม เป็นกุศลก็ได้ เป็นอกุศลก็ได้ ดังนั้น ท่าน
จึงควรยอมรับว่า “รูปเป็นกุศลก็ได้ เป็นอกุศลก็ได้”
สก. รูปเป็นกุศลก็ได้ เป็นอกุศลก็ได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. จักขายตนะเป็นกุศลก็ได้ เป็นอกุศลก็ได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. รูปเป็นกุศลก็ได้ เป็นอกุศลก็ได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. โสตายตนะ ฯลฯ ฆานายตนะ ฯลฯ ชิวหายตนะ ฯลฯ กายายตนะ ฯลฯ
รูปายตนะ ฯลฯ สัททายตนะ ฯลฯ คันธายตนะ ฯลฯ รสายตนะ ฯลฯ
โผฏฐัพพายตนะ ฯลฯ ปฐวีธาตุ ฯลฯ อาโปธาตุ ฯลฯ เตโชธาตุ ฯลฯ วาโยธาตุ
ฯลฯ อสุจิ ฯลฯ น้ำตา ฯลฯ โลหิต ฯลฯ เหงื่อ เป็นกุศลก็ได้ เป็นอกุศลก็ได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๕๘๑ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๘. อัฏฐมวรรค] ๙. รูปังกัมมันติกถา (๘๑)
สก. กายเป็นรูป กายกรรมก็เป็นรูปใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. มโนเป็นรูป มโนกรรมก็เป็นรูปใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. มโนเป็นนาม มโนกรรมก็เป็นนามใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. กายเป็นนาม กายกรรมก็เป็นนามใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. กายเป็นรูป แต่กายกรรมเป็นนามใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. มโนเป็นรูป แต่มโนกรรมเป็นนามใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. มโนเป็นนาม มโนกรรมก็เป็นนามใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. กายเป็นนาม กายกรรมก็เป็นนามใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. กายเป็นรูป เพราะเหตุนั้น กายกรรมจึงเป็นรูปใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. จักขายตนะเป็นรูป เพราะเหตุนั้น จักขุวิญญาณจึงเป็นรูปใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. กายเป็นรูป เพราะเหตุนั้น กายกรรมจึงเป็นรูปใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. โสตายตนะเป็นรูป เพราะเหตุนั้น โสตวิญญาณจึงเป็นรูปใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๕๘๒ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๘. อัฏฐมวรรค] ๙. รูปังกัมมันติกถา (๘๑)
สก. กายเป็นรูป เพราะเหตุนั้น กายกรรมจึงเป็นรูปใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ฆานายตนะเป็นรูป เพราะเหตุนั้น ฆานวิญญาณจึงเป็นรูปใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. กายเป็นรูป เพราะเหตุนั้น กายกรรมจึงเป็นรูปใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ชิวหายตนะเป็นรูป เพราะเหตุนั้น ชิวหาวิญญาณจึงเป็นรูปใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. กายเป็นรูป เพราะเหตุนั้น กายกรรมจึงเป็นรูปใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. กายายตนะเป็นรูป เพราะเหตุนั้น กายวิญญาณจึงเป็นรูปใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๕๓๙] สก. รูปเป็นกรรมใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวเจตนาว่า
เป็นตัวกรรม บุคคลคิดแล้วจึงกระทำกรรม ด้วยกาย วาจา ใจ”๑ มีอยู่จริง มิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. ดังนั้น ท่านจึงไม่ควรยอมรับว่า “รูปเป็นกรรม”
สก. รูปเป็นกรรมใช่ไหม
ปร. ใช่

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ องฺ.ฉกฺก. (แปล) ๒๒/๖๓/๕๗๗

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๕๘๓ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๘. อัฏฐมวรรค] ๙. รูปังกัมมันติกถา (๘๑)
สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “อานนท์ เมื่อกายมีอยู่ สุขและ
ทุกข์อันเป็นภายในจึงเกิดขึ้น เพราะกายสัญเจตนา(ความจงใจทางกาย) เป็น
เหตุ หรือว่าเมื่อวาจามีอยู่ สุขและทุกข์อันเป็นภายในจึงเกิดขึ้น เพราะ
วจีสัญเจตนา(ความจงใจทางวาจา) เป็นเหตุ หรือว่า เมื่อใจมีอยู่ สุขและทุกข์อัน
เป็นภายใน จึงเกิดขึ้น เพราะมโนสัญเจตนา(ความจงใจทางใจ) เป็นเหตุ”๑ มีอยู่
จริงมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. ดังนั้น ท่านจึงไม่ควรยอมรับว่า “รูปเป็นกรรม”
สก. รูปเป็นกรรมใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย กายสัญเจตนา ๓
อย่าง เป็นกายกรรมฝ่ายอกุศล มีทุกข์เป็นกำไร มีทุกข์เป็นวิบาก วจีสัญเจตนา ๔
อย่าง เป็นวจีกรรมฝ่ายอกุศล มีทุกข์เป็นกำไร มีทุกข์เป็นวิบาก มโนสัญเจตนา ๓
อย่าง เป็นมโนกรรมฝ่ายอกุศล มีทุกข์เป็นกำไร มีทุกข์เป็นวิบาก ภิกษุทั้งหลาย
กายสัญเจตนา ๓ อย่าง เป็นกายกรรมฝ่ายกุศล มีสุขเป็นกำไร มีสุขเป็นวิบาก
วจีสัญเจตนา ๔ อย่าง เป็นวจีกรรมฝ่ายกุศล มีสุขเป็นกำไร มีสุขเป็นวิบาก
มโนสัญเจตนา ๓ อย่าง เป็นมโนกรรมฝ่ายกุศล มีสุขเป็นกำไร มีสุขเป็นวิบาก”
มีอยู่จริงมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. ดังนั้น ท่านจึงไม่ควรยอมรับว่า “รูปเป็นกรรม”
สก. รูปเป็นกรรมใช่ไหม
ปร. ใช่

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ สํ.นิ. (แปล) ๑๖/๒๕/๕๐

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๕๘๔ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๘. อัฏฐมวรรค] ๑๐. ชีวิตินทริยกถา (๘๒)
สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “อานนท์ ถ้าโมฆบุรุษนามว่า
สมิทธินี้ ถูกปาตลีบุตรปริพาชกถามอย่างนี้ จะพึงตอบอย่างนี้ว่า ท่านปาตลีบุตร
บุคคลทำกรรมที่ประกอบด้วยความจงใจทางกาย ทางวาจา และทางใจ อันให้ผล
เป็นสุข ย่อมเสวยสุข บุคคลทำกรรมที่ประกอบด้วยความจงใจทางกาย ทางวาจา
และทางใจ อันให้ผลเป็นทุกข์ ย่อมเสวยทุกข์ บุคคลทำกรรมที่ประกอบด้วยความ
จงใจทางกาย ทางวาจา และทางใจ อันให้ผลเป็นอทุกขมสุข ย่อมเสวยผลเป็น
อทุกขมสุข อานนท์ โมฆบุรุษนามว่าสมิทธิเมื่อตอบอย่างนี้ ชื่อว่าตอบโดยชอบแก่
ปาตลีบุตรปริพาชก”๑ มีอยู่จริงมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. ดังนั้น ท่านจึงไม่ควรยอมรับว่า “รูปเป็นกรรม”
รูปังกัมมันติกถา จบ

๑๐. ชีวิตินทริยกถา (๘๒)
ว่าด้วยชีวิตินทรีย์
[๕๔๐] สก. ชีวิตินทรีย์ที่เป็นรูปไม่มีใช่ไหม
ปร.๒ ใช่๓
สก. อายุ ความดำรงอยู่ ความเป็นไป กิริยาที่เป็นไป อาการที่สืบต่อ
ความเป็นอยู่ ความหล่อเลี้ยง ไม่มีแก่สภาวธรรมที่มีรูปใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ ม.อุ. (แปล) ๑๔/๓๐๐/๓๕๙-๓๖๐
๒ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายปุพพเสลิยะและนิกายสมิติยะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๕๔๐/๒๓๙)
๓เพราะมีความเห็นว่า ชีวิตินทรีย์ที่เป็นรูปไม่มี มีแต่ที่เป็นนามเท่านั้น ซึ่งต่างกับความเห็นของสกวาทีที่
เห็นว่า ชีวิตินทรีย์มีทั้งที่เป็นนามและรูป (อภิ.ปญฺจ.อ. ๕๔๐/๒๓๙)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๕๘๕ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๘. อัฏฐมวรรค] ๑๐. ชีวิตินทริยกถา (๘๒)
สก. อายุ ความดำรงอยู่ ความเป็นไป กิริยาที่เป็นไป อาการที่สืบต่อ
ความเป็นอยู่ ความหล่อเลี้ยง มีอยู่แก่สภาวธรรมที่มีรูปใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. หากอายุ ความดำรงอยู่ ความเป็นไป กิริยาที่เป็นไป อาการที่สืบต่อ
ความเป็นอยู่ ความหล่อเลี้ยง มีอยู่แก่สภาวธรรมที่มีรูป ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า
“ชีวิตินทรีย์ที่เป็นรูปไม่มี”
สก. อายุ ความดำรงอยู่ ความเป็นไป กิริยาที่เป็นไป อาการที่สืบต่อ
ความเป็นอยู่ ความหล่อเลี้ยง มีอยู่แก่สภาวธรรมที่ไม่มีรูป ชีวิตินทรีย์ที่ไม่เป็นรูป
จึงมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. อายุ ความดำรงอยู่ ความเป็นไป กิริยาที่เป็นไป อาการที่สืบต่อ
ความเป็นอยู่ ความหล่อเลี้ยงมีอยู่แก่สภาวธรรมที่มีรูป ชีวิตินทรีย์ที่เป็นรูปจึงมีอยู่
ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. อายุ ความดำรงอยู่ ความเป็นไป กิริยาที่เป็นไป อาการที่สืบต่อ
ความเป็นอยู่ ความหล่อเลี้ยงมีอยู่แก่สภาวธรรมที่มีรูป แต่ชีวิตินทรีย์ที่เป็นรูปไม่มี
ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. อายุ ความดำรงอยู่ ความเป็นไป กิริยาที่เป็นไป อาการที่สืบต่อ
ความเป็นอยู่ ความหล่อเลี้ยง มีอยู่แก่สภาวธรรมที่ไม่มีรูป แต่ชีวิตินทรีย์ที่ไม่เป็น
รูปไม่มีใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. อายุของสภาวธรรมที่ไม่มีรูป เป็นชีวิตินทรีย์ที่ไม่เป็นรูปใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. อายุของสภาวธรรมที่มีรูป เป็นชีวิตินทรีย์ที่เป็นรูปใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๕๘๖ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๘. อัฏฐมวรรค] ๑๐. ชีวิตินทริยกถา (๘๒)
สก. อายุของสภาวธรรมที่มีรูป ท่านไม่ยอมรับว่า “เป็นชีวิตินทรีย์ที่เป็นรูป”
ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. อายุของสภาวธรรมที่ไม่มีรูป ท่านไม่ยอมรับว่า “เป็นชีวิตินทรีย์ที่ไม่
เป็นรูป” ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๕๔๑] สก. อายุของสภาวธรรมที่มีรูป เป็นชีวิตินทรีย์ที่ไม่เป็นรูปใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. อายุของสภาวธรรมที่ไม่มีรูป เป็นชีวิตินทรีย์ที่เป็นรูปใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. อายุของสภาวธรรมที่ไม่มีรูป ท่านไม่ยอมรับว่า “เป็นชีวิตินทรีย์ที่เป็น
รูป” ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. อายุของสภาวธรรมที่มีรูป ท่านไม่ยอมรับว่า “เป็นชีวิตินทรีย์ที่ไม่เป็น
รูป” ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. อายุของสภาวธรรมทั้งที่มีรูปและไม่มีรูป เป็นชีวิตินทรีย์ที่ไม่เป็นรูปใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. อายุของสภาวธรรมทั้งที่เป็นรูปและไม่เป็นรูป เป็นชีวิตินทรีย์ที่เป็นรูปใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. อายุของสภาวธรรมทั้งที่เป็นรูปและไม่เป็นรูป ท่านไม่ยอมรับว่า “เป็น
ชีวิตินทรีย์ที่เป็นรูป” ใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๕๘๗ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๘. อัฏฐมวรรค] ๑๐. ชีวิตินทริยกถา (๘๒)
สก. อายุของสภาวธรรมทั้งที่เป็นรูปและไม่เป็นรูป ท่านไม่ยอมรับว่า “เป็น
ชีวิตินทรีย์ที่ไม่เป็นรูป” ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ชีวิตินทรีย์ที่เป็นรูปไม่มีใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลผู้เข้านิโรธสมาบัติไม่มีชีวิตินทรีย์ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๕๔๒] สก. บุคคลผู้เข้านิโรธสมาบัติมีชีวิตินทรีย์ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. หากบุคคลผู้เข้านิโรธสมาบัติมีชีวิตินทรีย์อยู่ ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า
“ชีวิตินทรีย์ที่เป็นรูปไม่มี”
สก. บุคคลผู้เข้านิโรธสมาบัติมีชีวิตินทรีย์ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ชีวิตินทรีย์นั้นนับเนื่องในขันธ์ไหน
ปร. นับเนื่องในสังขารขันธ์
สก. บุคคลผู้เข้านิโรธสมาบัติมีสังขารขันธ์ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลผู้เข้านิโรธสมาบัติมีสังขารขันธ์ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลผู้เข้านิโรธสมาบัติมีเวทนาขันธ์ ฯลฯ สัญญาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณ-
ขันธ์ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลผู้เข้านิโรธสมาบัติมีเวทนาขันธ์ ฯลฯ สัญญาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณ-
ขันธ์ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลผู้ไม่เข้านิโรธสมาบัติมีเวทนาขันธ์ ฯลฯ ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๕๘๘ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๘. อัฏฐมวรรค] ๑๐. ชีวิตินทริยกถา (๘๒)
[๕๔๓] สก. ชีวิตินทรีย์ที่เป็นรูปไม่มีใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. อสัญญสัตว์ไม่มีชีวิตินทรีย์ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. อสัญญสัตว์มีชีวิตินทรีย์ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. หากอสัญญสัตว์มีชีวิตินทรีย์ ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “ชีวิตินทรีย์ที่
เป็นรูปไม่มี”
สก. อสัญญสัตว์มีชีวิตินทรีย์ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ชีวิตินทรีย์นับเนื่องในขันธ์ไหน
ปร. นับเนื่องในสังขารขันธ์
สก. อสัญญสัตว์มีสังขารขันธ์ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. อสัญญสัตว์มีสังขารขันธ์ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. อสัญญสัตว์มีเวทนาขันธ์ ฯลฯ สัญญาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. อสัญญสัตว์มีเวทนาขันธ์ ฯลฯ สัญญาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ภพแห่งอสัญญสัตว์เป็นภพที่มีขันธ์ ๕ ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๕๔๔] สก. เมื่อปฏิสนธิจิตดับไป ชีวิตินทรีย์ที่เกิดขึ้นด้วยปฏิสนธิจิต ย่อม
แตกดับไปส่วนหนึ่งใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๕๘๙ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๘. อัฏฐมวรรค] ๑๑. กัมมเหตุกถา (๘๓)
สก. เมื่อปฏิสนธิจิตดับ ผัสสะที่เกิดขึ้นด้วยปฏิสนธิจิต ย่อมแตกดับไปส่วน
หนึ่งไปใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เมื่อปฏิสนธิจิตดับไป ผัสสะที่เกิดขึ้นด้วยปฏิสนธิจิตย่อมแตกดับไปทั้งหมด
ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เมื่อปฏิสนธิจิตดับไป ชีวิตินทรีย์ที่เกิดด้วยปฏิสนธิจิต ย่อมแตกดับไป
ทั้งหมดใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๕๔๕] ปร. ชีวิตินทรีย์มี ๒ อย่างใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. บุคคลมีชีวิตอยู่ด้วยชีวิตินทรีย์ ๒ อย่าง ตายด้วยความตาย ๒
อย่างใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ชีวิตินทริยกถา จบ

๑๑. กัมมเหตุกถา (๘๓)
ว่าด้วยเหตุแห่งกรรม
[๕๔๖] สก. พระอรหันต์เสื่อมจากอรหัตตผล เพราะเหตุแห่งกรรมใช่ไหม
ปร.๑ ใช่๒
สก. พระโสดาบันเสื่อมจากโสดาปัตติผล เพราะเหตุแห่งกรรมใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

เชิงอรรถ :
๑ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายปุพพเสลิยะและนิกายสมิติยะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๕๔๖/๒๔๑)
๒ เพราะมีความเห็นว่า ผู้ที่สำเร็จเป็นพระอรหันต์แล้ว เสื่อมจากความเป็นพระอรหันต์ได้ เพราะกรรมที่ตน
เคยกล่าวตู่พระอรหันต์ในภพก่อน ซึ่งต่างกับความเห็นของสกวาทีที่เห็นว่า พระอริยบุคคลตั้งแต่พระ
โสดาบันจนถึงพระอรหันต์ จะไม่เสื่อมจากคุณวิเศษที่ตนบรรลุแล้วไม่ว่าเพราะกรรมใด ๆ ทั้งสิ้น (อภิ.ปญฺจ.อ.
๕๔๖/๒๔๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๕๙๐ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๘. อัฏฐมวรรค] ๑๑. กัมมเหตุกถา (๘๓)
สก. พระอรหันต์เสื่อมจากอรหัตตผล เพราะเหตุแห่งกรรมใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสกทาคามี ฯลฯ พระอนาคามี เสื่อมจากอนาคามิผล เพราะ
เหตุแห่งกรรมใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระโสดาบันไม่เสื่อมจากโสดาปัตติผล เพราะเหตุแห่งกรรมใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระอรหันต์ไม่เสื่อมจากอรหัตตผล เพราะเหตุแห่งกรรมใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระสกทาคามี ฯลฯ พระอนาคามี ไม่เสื่อมจากอนาคามิผล เพราะ
เหตุแห่งกรรมใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระอรหันต์ไม่เสื่อมจากอรหัตตผล เพราะเหตุแห่งกรรมใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระอรหันต์เสื่อมจากอรหัตตผล เพราะเหตุแห่งกรรมใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เพราะเหตุแห่งกรรมคือการฆ่าสัตว์ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เพราะเหตุแห่งกรรมคือการลักทรัพย์ ฯลฯ เพราะเหตุแห่งกรรมคือ
การประพฤติผิดในกาม ฯลฯ เพราะเหตุแห่งกรรมคือการพูดเท็จ ฯลฯ เพราะ
เหตุแห่งกรรมคือการพูดส่อเสียด ฯลฯ เพราะเหตุแห่งกรรมคือการพูดคำหยาบ
ฯลฯ เพราะเหตุแห่งกรรมคือการพูดเพ้อเจ้อ ฯลฯ เพราะเหตุแห่งกรรมคือการฆ่า
มารดา ฯลฯ เพราะเหตุแห่งกรรมคือการฆ่าบิดา ฯลฯ เพราะเหตุแห่งกรรมคือ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๕๙๑ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๘. อัฏฐมวรรค] รวมกถาที่มีในวรรค
การฆ่าพระอรหันต์ ฯลฯ เพราะเหตุแห่งกรรมคือการทำร้ายพระพุทธเจ้าจนพระโลหิตห้อ
ฯลฯ เพราะเหตุแห่งกรรมคือการทำลายสงฆ์ให้แตกกันใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระอรหันต์เสื่อมจากอรหัตตผล เพราะเหตุแห่งกรรมอะไร
ปร. เพราะการกล่าวตู่พระอรหันต์ทั้งหลาย
สก. พระอรหันต์เสื่อมจากอรหัตตผล เพราะเหตุแห่งกรรมคือการกล่าวตู่
พระอรหันต์ทั้งหลายใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. คนทุกคนที่กล่าวตู่พระอรหันต์ทั้งหลายทำให้แจ้งอรหัตตผลได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
กัมมเหตุกถา จบ
อัฏฐมวรรค จบ

รวมกถาที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. ฉคติกถา ๒. อันตราภวกถา
๓. กามคุณกถา ๔. กามกถา
๕. รูปธาตุกถา ๖. อรูปธาตุกถา
๗. รูปธาตุยาอายตนกถา ๘. อรูเปรูปกถา
๙. รูปังกัมมันติกถา ๑๐. ชีวิตินทริยกถา
๑๑. กัมมเหตุกถา


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๕๙๒ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๙. นวมวรรค] ๑. อานิสังสทัสสาวีกถา (๘๔)
๙. นวมวรรค
๑. อานิสังสทัสสาวีกถา (๘๔)
ว่าด้วยผู้เห็นอานิสงส์(ในนิพพาน)
[๕๔๗] สก. บุคคลผู้เห็นอานิสงส์(ในนิพพาน) ละสังโยชน์ได้ใช่ไหม
ปร.๑ ใช่๒
สก. บุคคลผู้มนสิการสังขารโดยความเป็นของไม่เที่ยง ละสังโยชน์ได้มิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากบุคคลผู้มนสิการสังขารโดยความเป็นของไม่เที่ยง ละสังโยชน์ได้
ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “บุคคลผู้เห็นอานิสงส์(ในนิพพาน) ละสังโยชน์ได้”
สก. บุคคลผู้มนสิการสังขารโดยความเป็นทุกข์ ฯลฯ โดยความเป็นโรค ฯลฯ
โดยความเป็นฝี ฯลฯ โดยความเป็นของเสียดแทง ฯลฯ โดยความเป็นของลำเค็ญ
ฯลฯ โดยความเป็นอาพาธ ฯลฯ โดยความเป็นดังสิ่งอื่น ฯลฯ โดยความเป็น
ของเสื่อม ฯลฯ โดยความเป็นเสนียด ฯลฯ โดยความเป็นเครื่องเบียดเบียน ฯลฯ
โดยความเป็นภัย ฯลฯ โดยความเป็นอุปสรรค ฯลฯ โดยความเป็นของหวั่นไหว
ฯลฯ โดยความเป็นของเปื่อยพัง ฯลฯ โดยความเป็นของไม่ยั่งยืน ฯลฯ โดย
ความไม่เป็นที่ต้านทาน ฯลฯ โดยความไม่เป็นที่เร้น ฯลฯ โดยความไม่เป็นที่พึ่ง
ฯลฯ โดยความไม่เป็นที่อาศัย ฯลฯ โดยความเป็นของว่าง ฯลฯ โดยความเป็น
ของเปล่า ฯลฯ โดยความเป็นของสูญ ฯลฯ โดยความเป็นอนัตตา ฯลฯ
โดยความเป็นโทษ ฯลฯ โดยความเป็นสภาวะมีความแปรผันไปเป็นธรรมดา
ละสังโยชน์ได้มิใช่หรือ
ปร. ใช่

เชิงอรรถ :
๑ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอันธกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๕๔๗/๒๔๑-๒๔๒)
๒ เพราะมีความเห็นว่า เพียงแต่เห็นอานิสงส์ในนิพพานก็สามารถละสังโยชน์ได้ ซึ่งต่างกับความเห็นของ
สกวาทีที่เห็นว่า การละสังโยชน์ได้ จะต้องพิจารณาเห็นสังขารโดยความเป็นไตรลักษณ์และพิจารณาเห็น
อานิสงส์ในนิพพานจึงละสังโยชน์ได้ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๕๔๗/๒๔๑-๒๔๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๕๙๓ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๙. นวมวรรค] ๑. อานิสังสทัสสาวีกถา (๘๔)
สก. หากบุคคลผู้มนสิการสังขารโดยความเป็นสภาวะมีความแปรผันไปเป็น
ธรรมดา ละสังโยชน์ได้ ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “ผู้เห็นอานิสงส์(ในนิพพาน)ละ
สังโยชน์ได้”
สก. บุคคลมนสิการสังขารโดยความเป็นของไม่เที่ยง และเห็นอานิสงส์ใน
นิพพานใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลมนสิการสังขารโดยความเป็นของไม่เที่ยง และเห็นอานิสงส์ใน
นิพพานใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. มีการประชุมแห่งผัสสะ ๒ อย่าง ฯลฯ จิต ๒ ดวงใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลมนสิการสังขารโดยความเป็นทุกข์ ฯลฯ โดยความเป็นโรค ฯลฯ
โดยความเป็นสภาวะมีความแปรผันไปเป็นธรรมดา และเห็นอานิสงส์ในนิพพานใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลมนสิการสังขารโดยความเป็นสภาวะมีความแปรผันไปเป็นธรรมดา
และเห็นอานิสงส์ในนิพพานใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. มีการประชุมแห่งผัสสะ ๒ อย่าง ฯลฯ จิต ๒ ดวงใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๕๔๘] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “ผู้เห็นอานิสงส์(ในนิพพาน) ละสังโยชน์ได้”
ใช่ไหม
สก. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๕๙๔ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๙. นวมวรรค] ๒. อมตารัมมณกถา (๘๕)
ปร. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้
พิจารณาเห็นว่าเป็นสุข หมายรู้ว่าเป็นสุข รู้สึกว่าเป็นสุข มีใจน้อมไปเนือง ๆ
สม่ำเสมอ ไม่ขาดระยะ มีปัญญาหยั่งรู้ในนิพพานอยู่”๑ มีอยู่จริงมิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. ดังนั้น บุคคลผู้เห็นอานิสงส์(ในนิพพาน)จึงละสังโยชน์ได้
อานิสังสทัสสาวีกถา จบ

๒. อมตารัมมณกถา (๘๕)
ว่าด้วยสภาวธรรมมีอมตะ(นิพพาน)เป็นอารมณ์
[๕๔๙] สก. สังโยชน์มีอมตะเป็นอารมณ์ใช่ไหม
ปร.๒ ใช่๓
สก. อมตะเป็นอารมณ์ของสังโยชน์ เป็นอารมณ์ของคันถะ เป็นอารมณ์ของ
โอฆะ เป็นอารมณ์ของโยคะ เป็นอารมณ์ของนิวรณ์ เป็นอารมณ์ของปรามาส
เป็นอารมณ์ของอุปาทาน เป็นอารมณ์ของสังกิเลสใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. อมตะไม่เป็นอารมณ์ของสังโยชน์ ไม่เป็นอารมณ์ของคันถะ ฯลฯ ไม่เป็น
อารมณ์ของสังกิเลสมิใช่หรือ
ปร. ใช่

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ องฺ.สตฺตก. (แปล) ๒๓/๑๙/๒๘
๒ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายปุพพเสลิยะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๕๔๙/๒๔๓)
๓ เพราะมีความเห็นว่าสังโยชน์สามารถรับอมตะเป็นอารมณ์ได้ โดยยึดตามพระสูตรที่ว่า ‘นิพฺพานํ
เมติ มญฺติ’ เป็นต้น (ดูเทียบ ม.มู. (แปล) ๑๒/๖/๙) ซึ่งต่างกับความเห็นของสกวาทีที่เห็นว่า อมตะ
ไม่สามารถเป็นอารมณ์ของสังโยชน์ได้ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๕๔๙/๒๔๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๕๙๕ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๙. นวมวรรค] ๒. อมตารัมมณกถา (๘๕)
สก. หากอมตะไม่เป็นอารมณ์ของสังโยชน์ ฯลฯ ไม่เป็นอารมณ์ของสังกิเลส
ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “สังโยชน์มีอมตะเป็นอารมณ์”
สก. ราคะปรารภอมตะเกิดขึ้นใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. อมตะเป็นที่ตั้งแห่งราคะ เป็นเหตุแห่งความกำหนัด เป็นเหตุแห่งความ
ใคร่ เป็นเหตุแห่งความมัวเมา เป็นเหตุแห่งความผูกพัน เป็นเหตุแห่งความหลงใหลใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. อมตะไม่เป็นที่ตั้งแห่งราคะ ไม่เป็นเหตุแห่งความกำหนัด ไม่เป็นเหตุ
แห่งความใคร่ ไม่เป็นเหตุแห่งความมัวเมา ไม่เป็นเหตุแห่งความผูกพัน ไม่เป็น
เหตุแห่งความหลงใหลมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากอมตะไม่เป็นที่ตั้งแห่งราคะ ไม่เป็นเหตุแห่งความกำหนัด ไม่เป็น
เหตุแห่งความใคร่ ไม่เป็นเหตุแห่งความมัวเมา ไม่เป็นเหตุแห่งความผูกพัน ไม่เป็น
เหตุแห่งความหลงใหล ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “ราคะปรารภอมตะเกิดขึ้น”
สก. โทสะปรารภอมตะเกิดขึ้นใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. อมตะเป็นที่ตั้งแห่งโทสะ เป็นที่ตั้งแห่งความโกรธ เป็นที่ตั้งแห่งความ
กระทบกระทั่งใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. อมตะไม่เป็นที่ตั้งแห่งโทสะ ไม่เป็นที่ตั้งแห่งความโกรธ ไม่เป็นที่ตั้งแห่ง
ความกระทบกระทั่งมิใช่หรือ
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๕๙๖ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๙. นวมวรรค] ๒. อมตารัมมณกถา (๘๕)
สก. หากอมตะไม่เป็นที่ตั้งแห่งโทสะ ไม่เป็นที่ตั้งแห่งความโกรธ ไม่เป็นที่
ตั้งแห่งความกระทบกระทั่ง ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “โทสะปรารภอมตะเกิดขึ้น”
สก. โมหะปรารภอมตะเกิดขึ้นใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. อมตะเป็นที่ตั้งแห่งโมหะ ทำความไม่รู้ ทำความไม่เห็น เป็นเหตุแห่ง
ความดับสนิทแห่งปัญญา เป็นไปในฝ่ายทำลายปัญญา ไม่เป็นไปเพื่อความดับ
กิเลสใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. อมตะไม่เป็นที่ตั้งแห่งโมหะ มิใช่ทำความไม่รู้ มิใช่ทำความไม่เห็น เกื้อกูลแก่
ความเจริญแห่งปัญญา ไม่เป็นไปในฝ่ายทำลายปัญญา เป็นไปเพื่อความดับกิเลสมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากอมตะไม่เป็นที่ตั้งแห่งโมหะ มิใช่ทำความไม่รู้ ฯลฯ เป็นไปเพื่อ
ความดับกิเลส ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “โมหะปรารภอมตะเกิดขึ้น”
[๕๕๐] สก. สังโยชน์ปรารภรูปเกิดขึ้น รูปเป็นอารมณ์ของสังโยชน์ เป็น
อารมณ์ของคันถะ ฯลฯ เป็นอารมณ์ของสังกิเลสใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สังโยชน์ปรารภอมตะเกิดขึ้น อมตะเป็นอารมณ์ของสังโยชน์ เป็นอารมณ์
ของคันถะ ฯลฯ เป็นอารมณ์ของสังกิเลสใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ราคะปรารภรูปเกิดขึ้น รูปเป็นที่ตั้งแห่งราคะ เป็นเหตุแห่งความกำหนัด
เป็นเหตุแห่งความใคร่ เป็นเหตุแห่งความมัวเมา เป็นเหตุแห่งความผูกพัน เป็นเหตุ
แห่งความหลงใหลใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๕๙๗ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๙. นวมวรรค] ๒. อมตารัมมณกถา (๘๕)
สก. ราคะปรารภอมตะเกิดขึ้น อมตะเป็นที่ตั้งแห่งราคะ ฯลฯ เป็นเหตุแห่ง
ความหลงใหลใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. โทสะปรารภรูปเกิดขึ้น รูปเป็นที่ตั้งแห่งโทสะ เป็นที่ตั้งแห่งความโกรธ
เป็นที่ตั้งแห่งความกระทบกระทั่งใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. โทสะปรารภอมตะเกิดขึ้น อมตะเป็นที่ตั้งแห่งโทสะ เป็นที่ตั้งแห่งความ
โกรธ เป็นที่ตั้งแห่งความกระทบกระทั่งใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. โมหะปรารภรูปเกิดขึ้น รูปเป็นที่ตั้งแห่งโมหะ ทำความไม่รู้ ฯลฯ ไม่
เป็นไปเพื่อความดับกิเลสใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. โมหะปรารภอมตะเกิดขึ้น อมตะเป็นที่ตั้งแห่งโมหะ ทำความไม่รู้ ฯลฯ
ไม่เป็นไปเพื่อความดับกิเลสใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สังโยชน์ปรารภอมตะเกิดขึ้น อมตะไม่เป็นอารมณ์ของสังโยชน์ ไม่เป็น
อารมณ์ของคันถะ ไม่เป็นอารมณ์ของโอฆะ ไม่เป็นอารมณ์ของโยคะ ไม่เป็น
อารมณ์ของนิวรณ์ ไม่เป็นอารมณ์ของปรามาส ไม่เป็นอารมณ์ของอุปาทาน ไม่เป็น
อารมณ์ของสังกิเลสใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สังโยชน์ปรารภรูปเกิดขึ้น รูปไม่เป็นอารมณ์ของสังโยชน์ ไม่เป็นอารมณ์
ของคันถะ ฯลฯ ไม่เป็นอารมณ์ของสังกิเลสใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๕๙๘ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๙. นวมวรรค] ๒. อมตารัมมณกถา (๘๕)
สก. ราคะปรารภอมตะเกิดขึ้น อมตะไม่เป็นที่ตั้งแห่งราคะ ไม่เป็นเหตุแห่ง
ความกำหนัด ไม่เป็นเหตุแห่งความใคร่ ไม่เป็นเหตุแห่งความมัวเมา ไม่เป็นเหตุ
แห่งความผูกพัน ไม่เป็นเหตุแห่งความหลงใหลใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ราคะปรารภรูปเกิดขึ้น รูปไม่เป็นที่ตั้งแห่งราคะ ฯลฯ ไม่เป็นเหตุแห่ง
ความหลงใหลใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. โทสะปรารภอมตะเกิดขึ้น อมตะไม่เป็นที่ตั้งแห่งโทสะ ไม่เป็นที่ตั้งแห่ง
ความโกรธ ไม่เป็นที่ตั้งแห่งความกระทบกระทั่งใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. โทสะปรารภรูปเกิดขึ้น รูปไม่เป็นที่ตั้งแห่งโทสะ ไม่เป็นที่ตั้งแห่งความ
โกรธ ไม่เป็นที่ตั้งแห่งความกระทบกระทั่งใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. โมหะปรารภอมตะเกิดขึ้น อมตะไม่เป็นที่ตั้งแห่งโมหะ มิใช่ทำความไม่รู้
ฯลฯ เป็นไปเพื่อความดับกิเลสใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. โมหะปรารภรูปเกิดขึ้น รูปไม่เป็นที่ตั้งแห่งโมหะ มิใช่ทำความไม่รู้ ฯลฯ
เป็นไปเพื่อความดับกิเลสใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๕๕๑] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “สังโยชน์มีอมตะเป็นอารมณ์” ใช่ไหม
สก. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๕๙๙ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๙. นวมวรรค] ๓. รูปังสารัมมณันติกถา (๘๖)
ปร. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ปุถุชนหมายรู้นิพพาน๑โดยความ
เป็นนิพพาน ครั้นหมายรู้นิพพานโดยความเป็นนิพพานแล้วจึงกำหนดหมายนิพพาน
กำหนดหมายในนิพพาน กำหนดหมายโดยความเป็นนิพพาน กำหนดหมาย
นิพพานว่าเป็นของเรา ยินดีนิพพาน”๒ มีอยู่จริงมิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. ดังนั้น สังโยชน์จึงมีอมตะเป็นอารมณ์ได้
อมตารัมมณกถา จบ

๓. รูปังสารัมมณันติกถา (๘๖)
ว่าด้วยรูปที่รับรู้อารมณ์ได้
[๕๕๒] สก. รูปเป็นสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ได้ใช่ไหม
ปร.๓ ใช่๔
สก. รูปนั้นมีความนึกถึง ความผูกใจ ความสนใจ ความใฝ่ใจ ความจงใจ
ความปรารถนา ความตั้งใจใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. รูปนั้นไม่มีความนึกถึง ไม่มีความผูกใจ ฯลฯ ไม่มีความตั้งใจมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากรูปนั้นไม่มีความนึกถึง ไม่มีความผูกใจ ฯลฯ ไม่มีความตั้งใจ
ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “รูปเป็นสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ได้”

เชิงอรรถ :
๑ นิพพาน ในที่นี้หมายถึงนิพพานที่ปุถุชนเข้าใจผิดด้วยอำนาจตัณหา มานะ ทิฏฐิ คือเข้าใจว่าอัตตาที่
เพียบพร้อมด้วยกามคุณ ๕ เป็นนิพพานในปัจจุบัน นิพพานเป็นอัตตา อัตตาเป็นอย่างอื่นจากนิพพาน
ความสุขเป็นนิพพาน หรือนิพพานเป็นของเรา (ม.มู.อ. ๑/๔๒)
๒ ดูเทียบ ม.มู. (แปล) ๑๒/๖/๙, ที.สี. (แปล) ๙/๙๓-๙๘/๓๗-๓๘
๓ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอุตตราปถกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๕๕๒-๕๕๓/๒๔๓)
๔ เพราะมีความเห็นว่า รูปทุกชนิดรับรู้อารมณ์ได้ ซึ่งต่างกับความเห็นของสกวาทีที่เห็นว่า รูปรับรู้อารมณ์
ไม่ได้ แต่เป็นอารัมมณปัจจัยได้ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๕๕๒-๕๕๓/๒๔๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๖๐๐ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๙. นวมวรรค] ๓. รูปังสารัมมณันติกถา (๘๖)
สก. ผัสสะเป็นสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ได้ มีความนึกถึง มีความผูกใจ ฯลฯ
มีความตั้งใจใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. รูปเป็นสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ได้ มีความนึกถึง มีความผูกใจ ฯลฯ
มีความตั้งใจใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เวทนา ... สัญญา ... เจตนา ... จิต ... สัทธา ... วิริยะ ... สติ
... สมาธิ ... ปัญญา ... ราคะ ... โทสะ ... โมหะ ... มานะ ... ทิฏฐิ ... วิจิกิจฉา
... ถีนะ ... อุทธัจจะ ... อหิริกะ ... อโนตตัปปะ เป็นสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ได้
มีความนึกถึง มีความผูกใจ ฯลฯ มีความตั้งใจใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. รูปเป็นสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ได้ มีความนึกถึง มีความผูกใจ ฯลฯ
มีความตั้งใจใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. รูปเป็นสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ได้ ไม่มีความนึกถึง ไม่มีความผูกใจ
ฯลฯ ไม่มีความตั้งใจใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ผัสสะเป็นสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ได้ ไม่มีความนึกถึง ไม่มีความผูกใจ
ฯลฯ ไม่มีความตั้งใจใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. รูปเป็นสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ได้ ไม่มีความนึกถึง ไม่มีความผูกใจ
ฯลฯ ไม่มีความตั้งใจใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๖๐๑ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๙. นวมวรรค] ๔. อนุสยาอนารัมมณกถา (๘๗)
สก. เวทนา ฯลฯ อโนตตัปปะ เป็นสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ได้ ไม่มีความ
นึกถึง ไม่มีความผูกใจ ฯลฯ ไม่มีความตั้งใจใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๕๕๓] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “รูปเป็นสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ได้” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. รูปมีปัจจัยมิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. หากรูปมีปัจจัย ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “รูปเป็นสภาวธรรม
ที่รับรู้อารมณ์ได้”
รูปังสารัมมณันติกถา จบ

๔. อนุสยาอนารัมมณกถา (๘๗)
ว่าด้วยอนุสัยรับรู้อารมณ์ไม่ได้
[๕๕๔] สก. อนุสัยเป็นสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ไม่ได้ใช่ไหม
ปร.๑ ใช่๒
สก. อนุสัยเป็นรูป เป็นนิพพาน เป็นจักขายตนะ ฯลฯ เป็นโผฏฐัพพายตนะ
ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. กามราคานุสัยเป็นสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ไม่ได้ใช่ไหม
ปร. ใช่

เชิงอรรถ :
๑ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอันธกะและนิกายอุตตราปถกะบางพวก (อภิ.ปญฺจ.อ. ๕๕๔/๒๔๔)
๒ เพราะมีความเห็นว่า อนุสัยทั้ง ๗ วิปปยุตจากจิต เป็นอเหตุกะ เป็นอัพยากฤต จึงไม่สามารถรับรู้
อารมณ์ได้ ซึ่งต่างกับความเห็นของสกวาทีที่เห็นว่า อนุสัยทั้ง ๗ สามารถรับรู้อารมณ์ได้ (อภิ.ปญฺจ.อ.
๕๕๔/๒๔๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๖๐๒ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๙. นวมวรรค] ๔. อนุสยาอนารัมมณกถา (๘๗)
สก. กามราคะ กามราคปริยุฏฐาน กามราคสังโยชน์ กาโมฆะ กามโยคะ
กามฉันทนิวรณ์ เป็นสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ไม่ได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. กามราคะ กามราคปริยุฏฐาน กามราคสังโยชน์ กาโมฆะ กามโยคะ
กามฉันทนิวรณ์ เป็นสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. กามราคานุสัยเป็นสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. กามราคานุสัยเป็นสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ไม่ได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. นับเนื่องในขันธ์ไหน
ปร. นับเนื่องในสังขารขันธ์
สก. สังขารขันธ์เป็นสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ไม่ได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สังขารขันธ์เป็นสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ไม่ได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ วิญญาณขันธ์ เป็นสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์
ไม่ได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. กามราคานุสัยนับเนื่องในสังขารขันธ์ เป็นสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ไม่ได้
ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. กามราคะนับเนื่องในสังขารขันธ์ เป็นสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ไม่ได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๖๐๓ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๙. นวมวรรค] ๔. อนุสยาอนารัมมณกถา (๘๗)
สก. กามราคะนับเนื่องในสังขารขันธ์ เป็นสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. กามราคานุสัยนับเนื่องในสังขารขันธ์ เป็นสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ได้
ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. กามราคานุสัยนับเนื่องในสังขารขันธ์ เป็นสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ไม่ได้
แต่กามราคะนับเนื่องในสังขารขันธ์ เป็นสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สังขารขันธ์ส่วนหนึ่งเป็นสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ได้ อีกส่วนหนึ่งเป็น
สภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ไม่ได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สังขารขันธ์ส่วนหนึ่งเป็นสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ได้ อีกส่วนหนึ่งเป็น
สภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ไม่ได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ วิญญาณขันธ์ ส่วนหนึ่งเป็นสภาวธรรมที่รับรู้
อารมณ์ได้ อีกส่วนหนึ่งเป็นสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ไม่ได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๕๕๕] สก. ปฏิฆานุสัย มานานุสัย ทิฏฐานุสัย วิจิกิจฉานุสัย ภวราคานุสัย
อวิชชานุสัย เป็นสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ไม่ได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. อวิชชา อวิชโชฆะ อวิชชาโยคะ อวิชชานุสัย อวิชชาปริยุฏฐาน อวิชชา-
สังโยชน์ อวิชชานิวรณ์ เป็นสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ไม่ได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๖๐๔ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๙. นวมวรรค] ๔. อนุสยาอนารัมมณกถา (๘๗)
สก. อวิชชา อวิชโชฆะ อวิชชาโยคะ ฯลฯ อวิชชานิวรณ์ เป็นสภาวธรรม
ที่รับรู้อารมณ์ได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. อวิชชานุสัยเป็นสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. อวิชชานุสัยเป็นสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ไม่ได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. นับเนื่องในขันธ์ไหน
ปร. นับเนื่องในสังขารขันธ์
สก. สังขารขันธ์เป็นสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ไม่ได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สังขารขันธ์เป็นสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ไม่ได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ วิญญาณขันธ์ เป็นสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์
ไม่ได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. อวิชชานุสัยนับเนื่องในสังขารขันธ์ เป็นสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ไม่ได้
ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. อวิชชานับเนื่องในสังขารขันธ์ เป็นสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ไม่ได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. อวิชชานับเนื่องในสังขารขันธ์ เป็นสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ได้ใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๖๐๕ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๙. นวมวรรค] ๔. อนุสยาอนารัมมณกถา (๘๗)
สก. อวิชชานุสัยนับเนื่องในสังขารขันธ์ เป็นสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. อวิชชานุสัยนับเนื่องในสังขารขันธ์ เป็นสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ไม่ได้
แต่อวิชชานับเนื่องในสังขารขันธ์ เป็นสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สังขารขันธ์ส่วนหนึ่งเป็นสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ได้ อีกส่วนหนึ่งเป็น
สภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ไม่ได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สังขารขันธ์ส่วนหนึ่งเป็นสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ได้ อีกส่วนหนึ่งเป็น
สภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ไม่ได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ วิญญาณขันธ์ ส่วนหนึ่งเป็นสภาวธรรมที่รับรู้
อารมณ์ได้ อีกส่วนหนึ่งเป็นสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ไม่ได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๕๕๖] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “อนุสัยเป็นสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ไม่ได้”
ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. ปุถุชน เมื่อจิตที่เป็นกุศลและที่เป็นอัพยากฤตกำลังเป็นไปอยู่ ท่านยอม
รับว่า “เป็นผู้มีอนุสัย” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. อนุสัยเหล่านั้นเป็นสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ได้ใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. ดังนั้น อนุสัยจึงเป็นสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ไม่ได้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๖๐๖ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๙. นวมวรรค] ๕. ญาณังอนารัมมณันติกถา (๘๘)
ปร. ปุถุชน เมื่อจิตที่เป็นกุศลและที่เป็นอัพยากฤตกำลังเป็นไปอยู่ ท่านยอม
รับว่า “เป็นผู้มีราคะ” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. ราคะนั้นเป็นสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ได้ใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. ดังนั้น ราคะจึงเป็นสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ไม่ได้
อนุสยาอนารัมมณกถา จบ

๕. ญาณังอนารัมมณันติกถา (๘๘)
ว่าด้วยญาณที่รับรู้อารมณ์ไม่ได้
[๕๕๗] สก. ญาณเป็นสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ไม่ได้ใช่ไหม
ปร.๑ ใช่๒
สก. ญาณเป็นรูป เป็นนิพพาน เป็นจักขายตนะ ฯลฯ เป็นโผฏฐัพพายตนะ
ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ญาณเป็นสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ไม่ได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ปัญญา ปัญญินทรีย์ ปัญญาพละ สัมมาทิฏฐิ ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์
เป็นสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ไม่ได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

เชิงอรรถ :
๑ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอันธกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๕๕๗-๕๕๘/๒๔๕)
๒ เพราะมีความเห็นว่า ในขณะที่เห็นรูป เป็นต้น ญาณของพระอรหันต์ปรากฏอยู่ แต่รับรู้อารมณ์ไม่ได้
ซึ่งต่างกับความเห็นของสกวาทีที่เห็นว่า ในขณะที่เห็นรูป เป็นต้น ญาณของพระอรหันต์ไม่ปรากฏ (อภิ.ปญฺจ.อ.
๕๕๗-๕๕๘/๒๔๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๖๐๗ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๙. นวมวรรค] ๕. ญาณังอนารัมมณันติกถา (๘๘)
สก. ปัญญา ปัญญินทรีย์ ปัญญาพละ สัมมาทิฏฐิ ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์
เป็นสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ญาณเป็นสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ญาณเป็นสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ไม่ได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. นับเนื่องในขันธ์ไหน
ปร. นับเนื่องในสังขารขันธ์
สก. สังขารขันธ์เป็นสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ไม่ได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สังขารขันธ์เป็นสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ไม่ได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ วิญญาณขันธ์ เป็นสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์
ไม่ได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ญาณนับเนื่องในสังขารขันธ์ เป็นสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ไม่ได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ปัญญานับเนื่องในสังขารขันธ์ เป็นสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ไม่ได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ปัญญานับเนื่องในสังขารขันธ์ เป็นสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ได้ใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๖๐๘ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๙. นวมวรรค] ๕. ญาณังอนารัมมณันติกถา (๘๘)
สก. ญาณนับเนื่องในสังขารขันธ์ เป็นสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ญาณนับเนื่องในสังขารขันธ์ เป็นสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ไม่ได้ แต่
ปัญญานับเนื่องในสังขารขันธ์ เป็นสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สังขารขันธ์ส่วนหนึ่งเป็นสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ได้ อีกส่วนหนึ่งเป็น
สภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ไม่ได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สังขารขันธ์ส่วนหนึ่งเป็นสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ได้ อีกส่วนหนึ่งเป็น
สภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ไม่ได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ วิญญาณขันธ์ ส่วนหนึ่งเป็นสภาวธรรมที่รับรู้
อารมณ์ได้ อีกส่วนหนึ่งเป็นสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ไม่ได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๕๕๘] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “ญาณเป็นสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ไม่ได้”
ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. พระอรหันต์ผู้พรั่งพร้อมด้วยจักขุวิญญาณ ท่านยอมรับว่า “เป็นผู้มีญาณ”
ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. ญาณนั้นเป็นสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ได้ใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. ดังนั้น ญาณจึงเป็นสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ไม่ได้
ปร. พระอรหันต์ผู้พรั่งพร้อมด้วยจักขุวิญญาณ ท่านยอมรับว่า “เป็นผู้มี
ปัญญา” ใช่ไหม
สก. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๖๐๙ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๙. นวมวรรค] ๖. (ก) อตีตารัมมณกถา (๘๙)
ปร. ปัญญานั้นเป็นสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ได้ใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. ดังนั้น ปัญญาจึงเป็นสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ไม่ได้
ญาณังอนารัมมณันติกถา จบ

๖. (ก) อตีตารัมมณกถา (๘๙)
ว่าด้วยจิตมีอดีตธรรมเป็นอารมณ์
[๕๕๙] สก. จิตที่มีอดีตธรรมเป็นอารมณ์ เป็นสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ไม่ได้
ใช่ไหม
ปร.๑ ใช่๒
สก. จิตมีอดีตธรรมเป็นอารมณ์มิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากจิตมีอดีตธรรมเป็นอารมณ์ได้ ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “จิตที่มี
อดีตธรรมเป็นอารมณ์ เป็นสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ไม่ได้” คำของท่านที่ว่า “จิต
ที่มีอดีตธรรมเป็นอารมณ์ เป็นสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ไม่ได้” จึงผิด ก็หรือว่าหาก
จิตเป็นสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ไม่ได้ ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “จิตมีอดีตธรรมเป็น
อารมณ์” คำของท่านที่ว่า “จิตที่รับรู้อารมณ์ไม่ได้ แต่มีอดีตธรรมเป็นอารมณ์” จึงผิด
สก. จิตที่มีอดีตธรรมเป็นอารมณ์ เป็นสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ไม่ได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ความนึกถึง ฯลฯ ความตั้งใจ ปรารภอดีต มีอยู่มิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากความนึกถึง ฯลฯ ความตั้งใจ ปรารภอดีตมีอยู่ ท่านก็ไม่ควร
ยอมรับว่า “จิตที่มีอดีตธรรมเป็นอารมณ์ เป็นสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ไม่ได้”

อตีตารัมมณกถา จบ

เชิงอรรถ :
๑ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอุตตราปถกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๕๕๙-๕๖๑/๒๔๕)
๒ เพราะมีความเห็นว่า อดีตไม่มี ดังนั้น จิตที่มีอดีตธรรมเป็นอารมณ์ จึงรับรู้อารมณ์ไม่ได้ (อภิ.ปญฺจ.อ.
๕๕๙-๕๖๑/๒๔๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๖๑๐ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๙. นวมวรรค] ๖. (ข) อนาคตารัมมณกถา
๖. (ข) อนาคตารัมมณกถา
ว่าด้วยจิตมีอนาคตธรรมเป็นอารมณ์
[๕๖๐] สก. จิตที่มีอนาคตธรรมเป็นอารมณ์ เป็นสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์
ไม่ได้ใช่ไหม
ปร.๑ ใช่๒
สก. จิตมีอนาคตธรรมเป็นอารมณ์ได้มิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากจิตมีอนาคตธรรมเป็นอารมณ์ได้ ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “จิตที่มี
อนาคตธรรมเป็นอารมณ์ เป็นสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ไม่ได้” คำของท่านที่ว่า
“จิตที่มีอนาคตธรรมเป็นอารมณ์ เป็นสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ไม่ได้” จึงผิด
ก็หรือว่าหากจิตเป็นสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ไม่ได้ ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “จิตมี
อนาคตธรรมเป็นอารมณ์” คำของท่านที่ว่า “จิตที่รับรู้อารมณ์ไม่ได้มีอนาคตธรรม
เป็นอารมณ์” จึงผิด
สก. จิตที่มีอนาคตธรรมเป็นอารมณ์ เป็นสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ไม่ได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ความนึกถึง ฯลฯ ความตั้งใจปรารภอนาคตมีอยู่มิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากความนึกถึง ฯลฯ ความตั้งใจ ปรารภอนาคตมีอยู่ ท่านก็ไม่ควร
ยอมรับว่า “จิตที่มีอนาคตธรรมเป็นอารมณ์ เป็นสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ไม่ได้”

เชิงอรรถ :
๑ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอุตตราปถกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๕๕๙-๕๖๐/๒๔๕)
๒ เพราะมีความเห็นว่า อนาคตไม่มี ดังนั้น จิตที่มีอนาคตธรรมเป็นอารมณ์จึงรับรู้อารมณ์ไม่ได้ (อภิ.ปญฺจ.อ.
๕๕๙-๕๖๐/๒๔๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๖๑๑ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๙. นวมวรรค] ๖. (ข) อนาคตารัมมณกถา
สก. ความนึกถึง ฯลฯ ความตั้งใจ ปรารภปัจจุบันมีอยู่ จิตที่มีปัจจุบันธรรม
เป็นอารมณ์ เป็นสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ความนึกถึง ฯลฯ ความตั้งใจ ปรารภอดีตมีอยู่ จิตที่มีอดีตธรรมเป็น
อารมณ์ เป็นสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ความนึกถึง ฯลฯ ความตั้งใจ ปรารภปัจจุบันมีอยู่ จิตที่มีปัจจุบันธรรม
เป็นอารมณ์ เป็นสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ความนึกถึง ฯลฯ ความตั้งใจ ปรารภอนาคตมีอยู่ จิตที่มีอนาคตธรรม
เป็นอารมณ์ เป็นสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ความนึกถึง ฯลฯ ความตั้งใจ ปรารภอดีตมีอยู่ จิตที่มีอดีตธรรมเป็น
อารมณ์ เป็นสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ไม่ได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ความนึกถึง ฯลฯ ความตั้งใจ ปรารภปัจจุบันมีอยู่ จิตที่มีปัจจุบันธรรม
เป็นอารมณ์ เป็นสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ไม่ได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ความนึกถึง ฯลฯ ความตั้งใจ ปรารภอนาคตมีอยู่ จิตที่มีอนาคตธรรม
เป็นอารมณ์ เป็นสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ไม่ได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ความนึกถึง ฯลฯ ความตั้งใจ ปรารภปัจจุบันมีอยู่ จิตที่มีปัจจุบันธรรม
เป็นอารมณ์ เป็นสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ไม่ได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๖๑๒ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๙. นวมวรรค] ๗. วิตักกานุปติตกถา (๙๐)
[๕๖๑] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “จิตที่มีอดีตธรรมและอนาคตธรรมเป็นอารมณ์
เป็นสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ไม่ได้” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. อารมณ์ที่เป็นอดีตและอนาคตไม่มีมิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. หากอารมณ์ที่เป็นอดีตธรรมและอนาคตธรรมไม่มี ดังนั้น ท่านจึงควร
ยอมรับว่า “จิตที่มีอดีตธรรมและอนาคตธรรมเป็นอารมณ์ เป็นสภาวธรรมที่รับรู้
อารมณ์ไม่ได้” ฯลฯ
อนาคตารัมมณกถา จบ

๗. วิตักกานุปติตกถา (๙๐)
ว่าด้วยจิตเนื่องด้วยวิตก
[๕๖๒] สก. จิตทุกดวงเนื่องด้วยวิตกใช่ไหม
ปร.๑ ใช่๒
สก. จิตทุกดวงเนื่องด้วยวิจาร เนื่องด้วยปีติ เนื่องด้วยสุข เนื่องด้วยทุกข์
เนื่องด้วยโสมนัส เนื่องด้วยโทมนัส เนื่องด้วยอุเบกขา เนื่องด้วยสัทธา เนื่องด้วย
วิริยะ เนื่องด้วยสติ เนื่องด้วยสมาธิ เนื่องด้วยปัญญา เนื่องด้วยราคะ เนื่องด้วยโทสะ
ฯลฯ เนื่องด้วยอโนตตัปปะใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. จิตทุกดวงเนื่องด้วยวิตกใช่ไหม
ปร. ใช่

เชิงอรรถ :
๑ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอุตตราปถกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๕๖๒/๒๔๖)
๒ เพราะมีความเห็นว่า จิตที่ปราศจากวิตกไม่มี ซึ่งต่างกับความเห็นของสกวาทีที่เห็นว่า จิตบางดวงปราศจาก
วิตก (อภิ.ปญฺจ.อ. ๕๖๒/๒๔๖)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๖๑๓ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๙. นวมวรรค] ๗. วิตักกานุปติตกถา (๙๐)
สก. สมาธิที่ไม่มีวิตกมีเพียงวิจารมีอยู่มิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากสมาธิที่ไม่มีวิตกมีเพียงวิจารมีอยู่ ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “จิตทุกดวง
เนื่องด้วยวิตก”
สก. จิตทุกดวงเนื่องด้วยวิตกใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สมาธิที่ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีอยู่มิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากสมาธิที่ไม่มีวิตก ไม่มีวิจารมีอยู่ ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “จิตทุกดวง
เนื่องด้วยวิตก”
สก. จิตทุกดวงเนื่องด้วยวิตกใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สมาธิพระผู้มีพระภาคตรัสไว้ ๓ อย่าง คือ (๑) สมาธิที่มีวิตกมีวิจาร
(๒) สมาธิที่ไม่มีวิตกมีเพียงวิจาร (๓) สมาธิที่ไม่มีวิตกไม่มีวิจาร มิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากสมาธิพระผู้มีพระภาคตรัสไว้ ๓ อย่าง คือ (๑) สมาธิที่มีวิตก
มีวิจาร (๒) สมาธิที่ไม่มีวิตกมีเพียงวิจาร (๓) สมาธิที่ไม่มีวิตกไม่มีวิจาร ท่านก็
ไม่ควรยอมรับว่า “จิตทุกดวงเนื่องด้วยวิตก”

วิตักกานุปติตกถา จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๖๑๔ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๙. นวมวรรค] ๘. วิตักกวิปผารสัททกถา (๙๑)
๘. วิตักกวิปผารสัททกถา (๙๑)
ว่าด้วยความแผ่ไปแห่งวิตกเป็นเสียง
[๕๖๓] สก. ทุกครั้งเมื่อตรึกอยู่ ตรองอยู่ ความแผ่ไปแห่งวิตกเป็นเสียงใช่ไหม
ปร.๑ ใช่๒
สก. ทุกครั้งเมื่อถูกต้องอยู่ ความแผ่ไปแห่งผัสสะเป็นเสียง ฯลฯ ทุกครั้ง
เมื่อเสวยอารมณ์ ความแผ่ไปแห่งเวทนาเป็นเสียง ฯลฯ ทุกครั้งเมื่อจำได้ ความ
แผ่ไปแห่งสัญญาเป็นเสียง ฯลฯ ทุกครั้งเมื่อจงใจอยู่ ความแผ่ไปแห่งเจตนาเป็นเสียง
ฯลฯ ทุกครั้งเมื่อคิดอยู่ ความแผ่ไปแห่งจิตเป็นเสียง ฯลฯ ทุกครั้งเมื่อระลึกอยู่
ความแผ่ไปแห่งสติเป็นเสียง ฯลฯ ทุกครั้งเมื่อรู้อยู่ ความแผ่ไปแห่งปัญญาเป็น
เสียงใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ทุกครั้ง เมื่อตรึกอยู่ ตรองอยู่ ความแผ่ไปแห่งวิตกเป็นเสียงใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ความแผ่ไปแห่งวิตก เป็นเสียงที่พึงรู้ด้วยโสตวิญญาณ กระทบที่โสตะ
มาสู่คลองแห่งโสตะใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ความแผ่ไปแห่งวิตกไม่เป็นเสียงที่พึงรู้ด้วยโสตวิญญาณ ไม่กระทบที่โสตะ
ไม่มาสู่คลองแห่งโสตะมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากความแผ่ไปแห่งวิตกไม่เป็นเสียงที่พึงรู้ด้วยโสตวิญญาณ ไม่กระทบ
ที่โสตะ ไม่มาสู่คลองแห่งโสตะ ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “ทุกครั้งเมื่อตรึกอยู่
ตรองอยู่ ความแผ่ไปแห่งวิตกเป็นเสียง”

วิตักกวิปผารสัททกถา จบ

เชิงอรรถ :
๑ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายปุพพเสลิยะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๕๖๓/๒๔๖)
๒ เพราะปรวาทียึดเอาพระสูตรที่ว่า ‘วิตกวิจารเป็นวจีสังขาร’ จึงมีความเห็นว่า ขณะที่บุคคลตรึกอยู่
ตรองอยู่ ความแผ่ไปแห่งวิตกวิจารนั้นเป็นเสียงได้ ซึ่งต่างกับความเห็นของสกวาทีที่เห็นว่า ความแผ่ไปแห่งวิตก
วิจารไม่เป็นเสียง (อภิ.ปญฺจ.อ. ๕๖๓/๒๔๖)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๖๑๕ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๙. นวมวรรค] ๙. นยถาจิตตัสสวาจาติกถา (๙๒)
๙. นยถาจิตตัสสวาจาติกถา (๙๒)
ว่าด้วยวาจาไม่เป็นไปตามที่คิด
[๕๖๔] สก. วาจาไม่เป็นไปตามที่คิดใช่ไหม
ปร.๑ ใช่๒
สก. วาจามีได้แก่บุคคลผู้ไม่มีผัสสะ ไม่มีเวทนา ไม่มีสัญญา ไม่มีเจตนา
ไม่มีจิตใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. วาจามีได้แก่บุคคลผู้มีผัสสะ มีเวทนา มีสัญญา มีเจตนา มีจิต มิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากวาจามีได้แก่บุคคลผู้มีผัสสะ ฯลฯ มีจิต ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า
“วาจาไม่เป็นไปตามที่คิด”
สก. วาจาไม่เป็นไปตามที่คิดใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. วาจามีได้แก่บุคคลผู้ไม่นึกถึงอยู่ ฯลฯ ไม่ผูกใจอยู่ ฯลฯ ไม่ตั้งใจอยู่
ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. วาจามีได้แก่บุคคลผู้นึกถึงอยู่ ผูกใจอยู่ ฯลฯ ตั้งใจอยู่ มิใช่หรือ
ปร. ใช่

เชิงอรรถ :
๑ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายปุพพเสลิยะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๕๖๔/๒๔๖-๒๔๗)
๒ เพราะมีความเห็นว่า วาจาที่เปล่งออกมาไม่อยู่ในการควบคุมของจิต จึงถือว่า วาจาไม่เป็นไปตามที่คิด
(อภิ.ปญฺจ.อ. ๕๖๔/๒๔๖-๒๔๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๖๑๖ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๙. นวมวรรค] ๙. นยถาจิตตัสสวาจาติกถา (๙๒)
สก. หากวาจามีได้แก่บุคคลผู้นึกถึงอยู่ ผูกใจอยู่ ฯลฯ ตั้งใจอยู่ ท่านก็ไม่
ควรยอมรับว่า “วาจาไม่เป็นไปตามที่คิด”
สก. วาจาไม่เป็นไปตามที่คิดใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. วาจามีจิตเป็นสมุฏฐาน เกิดร่วมกับจิต เกิดขณะเดียวกับจิตมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากวาจามีจิตเป็นสมุฏฐาน เกิดร่วมกับจิต เกิดขณะเดียวกับจิต ท่าน
ก็ไม่ควรยอมรับว่า “วาจาไม่เป็นไปตามที่คิด”
สก. วาจาไม่เป็นไปตามที่คิดใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลไม่ประสงค์จะกล่าวก็กล่าวได้ ไม่ประสงค์จะว่าก็ว่าได้ ไม่ประสงค์
จะร้องเรียกก็ร้องเรียกได้ ไม่ประสงค์จะพูดก็พูดได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลประสงค์จะกล่าวจึงกล่าวได้ ประสงค์จะว่าจึงว่าได้ ประสงค์จะ
ร้องเรียกจึงร้องเรียกได้ ประสงค์จะพูดจึงพูดได้มิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากบุคคลประสงค์จะกล่าวจึงกล่าวได้ ประสงค์จะว่าจึงว่าได้ ประสงค์
จะร้องเรียกจึงร้องเรียกได้ ประสงค์จะพูดจึงพูดได้ ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “วาจา
ไม่เป็นไปตามที่คิด”
[๕๖๕] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “วาจาไม่เป็นไปตามที่คิด” ใช่ไหม
สก. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๖๑๗ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๙. นวมวรรค] ๑๐. นยถาจิตตัสสกายกัมมันติกถา (๙๓)
ปร. บางคนคิดว่า “จะกล่าวอย่างหนึ่ง” แต่กล่าวไปอีกอย่างหนึ่ง คิดว่า
“จะว่าอย่างหนึ่ง” แต่ว่าไปอีกอย่างหนึ่ง คิดว่า “จะร้องเรียกอย่างหนึ่ง” แต่ร้อง
เรียกไปอีกอย่างหนึ่ง คิดว่า “จะพูดอย่างหนึ่ง” แต่พูดไปอีกอย่างหนึ่ง มีอยู่มิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. หากบางคนคิดว่า “จะกล่าวอย่างหนึ่ง” แต่กล่าวไปอีกอย่างหนึ่ง ฯลฯ
คิดว่า “จะพูดอย่างหนึ่ง” แต่พูดไปอีกอย่างหนึ่งมีอยู่ ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า
“วาจาไม่เป็นไปตามที่คิด”
นยถาจิตตัสสวาจาติกถา จบ

๑๐. นยถาจิตตัสสกายกัมมันติกถา (๙๓)
ว่าด้วยกายกรรมไม่เป็นไปตามที่คิด
[๕๖๖] สก. กายกรรมไม่เป็นไปตามที่คิดใช่ไหม
ปร.๑ ใช่๒
สก. กายกรรมมีได้แก่บุคคลผู้ไม่มีผัสสะ ฯลฯ ไม่มีจิตใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. กายกรรมมีได้แก่บุคคลผู้มีผัสสะ ฯลฯ มีจิตมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากกายกรรมมีได้แก่บุคคลผู้มีผัสสะ ฯลฯ มีจิต ท่านก็ไม่ควรยอม
รับว่า “กายกรรมไม่เป็นไปตามที่คิด”

เชิงอรรถ :
๑ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายปุพพเสลิยะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๕๖๖/๒๔๗)
๒ เพราะมีความเห็นว่า การเคลื่อนไหวทางกายไม่เกี่ยวข้องกับจิต จึงถือว่า กายกรรมไม่เป็นไปตามที่คิด
(อภิ.ปญฺจ.อ. ๕๖๖/๒๔๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๖๑๘ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๙. นวมวรรค] ๑๐. นยถาจิตตัสสกายกัมมันติกถา (๙๓)
สก. กายกรรมไม่เป็นไปตามที่คิดใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. กายกรรมมีได้แก่บุคคลผู้ไม่นึกถึงอยู่ ฯลฯ ไม่ตั้งใจอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. กายกรรมมีได้แก่บุคคลผู้นึกถึงอยู่ ฯลฯ ตั้งใจอยู่มิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากกายกรรมมีได้แก่บุคคลผู้นึกถึงอยู่ ฯลฯ ตั้งใจอยู่ ท่านก็ไม่ควร
ยอมรับว่า “กายกรรมไม่เป็นไปตามที่คิด”
สก. กายกรรมไม่เป็นไปตามที่คิดใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. กายกรรมมีจิตเป็นสมุฏฐาน เกิดร่วมกับจิต เกิดขณะเดียวกับจิตมิใช่
หรือ
ปร. ใช่
สก. หากกายกรรมมีจิตเป็นสมุฏฐาน เกิดร่วมกับจิต เกิดขณะเดียวกับจิต
ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “กายกรรมไม่เป็นไปตามที่คิด”
สก. กายกรรมไม่เป็นไปตามที่คิดใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลไม่ประสงค์จะก้าวไปก็ก้าวไปได้ ไม่ประสงค์จะถอยกลับก็ถอยกลับได้
ไม่ประสงค์จะแลดูก็แลดูได้ ไม่ประสงค์จะเหลียวดูก็เหลียวดูได้ ไม่ประสงค์จะคู้เข้าก็คู้เข้า
ได้ ไม่ประสงค์จะเหยียดออกก็เหยียดออกได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๖๑๙ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๙. นวมวรรค] ๑๐. นยถาจิตตัสสกายกัมมันติกถา (๙๓)
สก. บุคคลประสงค์จะก้าวไปจึงก้าวไปได้ ประสงค์จะถอยกลับจึงถอยกลับได้
ประสงค์จะแลดูจึงแลดูได้ ประสงค์จะเหลียวดูจึงเหลียวดูได้ ประสงค์จะคู้เข้าจึงคู้เข้า
ได้ ประสงค์จะเหยียดออกจึงเหยียดออกได้มิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากบุคคลประสงค์จะก้าวไปจึงก้าวไปได้ ฯลฯ ประสงค์จะเหยียดออก
จึงเหยียดออกได้ ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “กายกรรมไม่เป็นไปตามที่คิด”
[๕๖๗] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “กายกรรมไม่เป็นไปตามที่คิด” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. บางคนคิดว่า “จะไปในที่แห่งหนึ่ง” แต่ไปในที่อีกแห่งหนึ่ง ฯลฯ คิดว่า
“จะเหยียดแขนข้างหนึ่ง” แต่เหยียดแขนอีกข้างหนึ่ง มีอยู่มิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. หากบางคนคิดว่า “จะไปในที่แห่งหนึ่ง” แต่ไปในที่อีกแห่งหนึ่ง ฯลฯ
คิดว่า “จะเหยียดแขนข้างหนึ่ง” แต่เหยียดแขนอีกข้างหนึ่งมีอยู่ ดังนั้น ท่านจึง
ควรยอมรับว่า “กายกรรมไม่เป็นไปตามที่คิด”

นยถาจิตตัสสกายกัมมันติกถา จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๖๒๐ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๙. นวมวรรค] ๑๑. อตีตานาคตปัจจุปปันนกถา (๙๔)
๑๑. อตีตานาคตปัจจุปปันนกถา (๙๔)
ว่าด้วยอดีต อนาคต และปัจจุบัน๑
[๕๖๘] สก. บุคคลประกอบด้วยอดีตใช่ไหม
ปร.๒ ใช่๓
สก. อดีตดับไปแล้ว หายไปแล้ว แปรผันไปแล้ว สูญไปแล้ว ดับสูญไปแล้ว
มิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากอดีตดับไปแล้ว หายไปแล้ว แปรผันไปแล้ว สูญไปแล้ว ดับสูญ
ไปแล้ว ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “บุคคลประกอบด้วยอดีต”
สก. บุคคลประกอบด้วยอนาคตใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. อนาคตยังไม่เกิด ยังไม่มี ยังไม่เกิดพร้อม ยังไม่บังเกิด ยังไม่บังเกิดขึ้น
ยังไม่ปรากฏมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากอนาคตยังไม่เกิด ยังไม่มี ยังไม่เกิดพร้อม ยังไม่บังเกิด ยังไม่
บังเกิดขึ้น ยังไม่ปรากฏ ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “บุคคลประกอบด้วยอนาคต”

เชิงอรรถ :
๑ ในอรรถกถา ชื่อกถานี้เป็น อตีตานาคตสมนฺนาคตกถา ว่าด้วยบุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยนามรูปที่เป็นอดีต
และอนาคต (อภิ.ปญฺจ.อ. ๕๖๘-๕๗๐/๒๔๘)
๒ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอันธกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๕๖๘/๒๔๘)
๓ เพราะมีความเห็นว่า บุคคลในปัจจุบันมีนามรูปที่เป็นอดีตและอนาคตได้ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๕๖๘/๒๔๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๖๒๑ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๙. นวมวรรค] ๑๑. อตีตานาคตปัจจุปปันนกถา (๙๔)
[๕๖๙] สก. บุคคลประกอบด้วยรูปขันธ์ที่เป็นอดีต ที่เป็นอนาคต ที่เป็น
ปัจจุบันใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลประกอบด้วยรูปขันธ์ ๓ ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลประกอบด้วยขันธ์ ๕ ที่เป็นอดีต ที่เป็นอนาคต ที่เป็นปัจจุบัน
ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลประกอบด้วยขันธ์ ๑๕ ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลประกอบด้วยจักขายตนะที่เป็นอดีต ที่เป็นอนาคต ที่เป็นปัจจุบัน
ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลประกอบด้วยจักขายตนะ ๓ ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลประกอบด้วยอายตนะ ๑๒ ที่เป็นอดีต ที่เป็นอนาคต ที่เป็น
ปัจจุบันใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลประกอบด้วยอายตนะ ๓๖ ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๖๒๒ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๙. นวมวรรค] ๑๑. อตีตานาคตปัจจุปปันนกถา (๙๔)
สก. บุคคลประกอบด้วยจักขุธาตุที่เป็นอดีต ที่เป็นอนาคต ที่เป็นปัจจุบัน
ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลประกอบด้วยจักขุธาตุ ๓ ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลประกอบด้วยธาตุ ๑๘ ที่เป็นอดีต ที่เป็นอนาคต ที่เป็นปัจจุบัน
ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลประกอบด้วยธาตุ ๕๔ ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลประกอบด้วยจักขุนทรีย์ที่เป็นอดีต ที่เป็นอนาคต ที่เป็นปัจจุบัน
ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลประกอบด้วยจักขุนทรีย์ ๓ ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลประกอบด้วยอินทรีย์ ๒๒ ที่เป็นอดีต ที่เป็นอนาคต ที่เป็น
ปัจจุบันใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลประกอบด้วยอินทรีย์ ๖๖ ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๖๒๓ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๙. นวมวรรค] รวมกถาที่มีในวรรค
[๕๗๐] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “บุคคลประกอบด้วยอดีตและอนาคต” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. บุคคลผู้เพ่งวิโมกข์ ๘ ได้ฌาน ๔ ตามปรารถนา ได้อนุปุพพวิหาร
สมาบัติ ๙ มีอยู่มิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. หากบุคคลผู้เพ่งวิโมกข์ ๘ ได้ฌาน ๔ ตามปรารถนา ได้อนุปุพพ-
วิหารสมาบัติ ๙ มีอยู่ ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “บุคคลประกอบด้วยอดีต
และอนาคต”
อตีตานาคตปัจจุปปันนกถา จบ
นวมวรรค จบ

รวมกถาที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. อานิสังสทัสสาวีกถา ๒. อมตารัมมณกถา
๓. รูปังสารัมมณันติกถา ๔. อนุสยาอนารัมมณกถา
๕. ญาณังอนารัมมณันติกถา
๖. (ก) อตีตารัมมณกถา ๖. (ข) อนาคตารัมมณกถา
๗. วิตักกานุปติตกถา ๘. วิตักกวิปผารสัททกถา
๙. นยถาจิตตัสสวาจาติกถา ๑๐. นยถาจิตตัสสกายกัมมันติกถา
๑๑. อตีตานาคตปัจจุปปันนกถา


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๖๒๔ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๐. ทสมวรรค] ๑. นิโรธกถา (๙๕)
๑๐. ทสมวรรค
๑. นิโรธกถา (๙๕)
ว่าด้วยนิโรธ
[๕๗๑] สก. เมื่อขันธ์ ๕ ที่แสวงหาปฏิสนธิยังไม่ดับ ขันธ์ ๕ ที่เป็นกิริยา
ก็อุบัติใช่ไหม
ปร.๑ ใช่๒
สก. มีการประชุมแห่งขันธ์ ๑๐ ขันธ์ ๑๐ มารวมกันได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. มีการประชุมแห่งขันธ์ ๑๐ ขันธ์ ๑๐ มารวมกันได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. มีการประชุมแห่งผัสสะ ๒ อย่าง ฯลฯ จิต ๒ ดวงใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เมื่อขันธ์ ๕ ที่แสวงหาปฏิสนธิยังไม่ดับ ขันธ์ ๔ ที่เป็นกิริยาก็อุบัติใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. มีการประชุมแห่งขันธ์ ๙ ขันธ์ ๙ มารวมกันได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. มีการประชุมแห่งขันธ์ ๙ ขันธ์ ๙ มารวมกันได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. มีการประชุมแห่งผัสสะ ๒ อย่าง ฯลฯ จิต ๒ ดวงใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

เชิงอรรถ :
๑ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอันธกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๕๗๑/๒๔๘)
๒ เพราะมีความเห็นว่า เมื่อขันธ์ ๕ ที่แสวงหาปฏิสนธิยังไม่ดับ กิริยาขันธ์ ๕ (ขันธ์ที่แสดงความเคลื่อนไหว)ใน
ภพใหม่ก็เกิดขึ้นได้ เช่น ขณะที่จิตดวงก่อนยังไม่ดับ จิตดวงใหม่ก็เกิดขึ้นมา (อภิ.ปญฺจ.อ. ๕๗๑/๒๔๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๖๒๕ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๐. ทสมวรรค] ๒. รูปังมัคโคติกถา (๙๖)
สก. เมื่อขันธ์ ๕ ที่แสวงหาปฏิสนธิยังไม่ดับ ญาณที่เป็นกิริยาก็อุบัติใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. มีการประชุมแห่งขันธ์ ๖ ขันธ์ ๖ มารวมกันได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. มีการประชุมแห่งขันธ์ ๖ ขันธ์ ๖ มารวมกันได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. มีการประชุมแห่งผัสสะ ๒ อย่าง ฯลฯ จิต ๒ ดวงใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๕๗๒] ปร. เมื่อขันธ์ ๕ ที่แสวงหาปฏิสนธิดับ มรรคก็อุบัติใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. บุคคลตายแล้ว เจริญมรรคได้ บุคคลทำกาละแล้วเจริญมรรคได้ใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
นิโรธกถา จบ

๒. รูปังมัคโคติกถา (๙๖)
ว่าด้วยรูปเป็นมรรค
[๕๗๓] สก. รูปของบุคคลผู้มีความพรั่งพร้อมด้วยมรรค เป็นมรรคใช่ไหม
ปร.๑ ใช่๒
สก. รูปเป็นสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ได้ มีความนึกถึง ความผูกใจ ความ
สนใจ ความใฝ่ใจ ความจงใจ ความปรารถนา ความตั้งใจใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

เชิงอรรถ :
๑ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายมหิสาสกะ นิกายสมิติยะ และนิกายมหาสังฆิกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๕๗๓/๒๔๙)
๒ เพราะมีความเห็นว่า สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ ทั้ง ๓ องค์นี้ เป็นรูป ไม่ใช่นาม และเนื่อง
จากมรรคทั้ง ๓ องค์นี้ นับเนื่องเข้าในมรรคมีองค์ ๘ จึงถือว่ารูปก็ชื่อว่ามรรคได้ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๕๗๓/๒๔๙)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๖๒๖ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๐. ทสมวรรค] ๒. รูปังมัคโคติกถา (๙๖)
สก. รูปเป็นสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ไม่ได้ ไม่มีความนึกถึง ฯลฯ ไม่มี
ความตั้งใจมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากรูปเป็นสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ไม่ได้ ไม่มีความนึกถึง ฯลฯ ไม่
มีความตั้งใจ ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “รูปของบุคคลผู้มีความพรั่งพร้อมด้วยมรรค
เป็นมรรค”
สก. สัมมาวาจาเป็นมรรคใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สัมมาวาจาเป็นสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ได้ มีความนึกถึง ฯลฯ มี
ความตั้งใจใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สัมมาวาจาเป็นสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ไม่ได้ ไม่มีความนึกถึง ฯลฯ
ไม่มีความตั้งใจมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากสัมมาวาจาเป็นสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ไม่ได้ ไม่มีความนึกถึง ฯลฯ
ไม่มีความตั้งใจ ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “สัมมาวาจาเป็นมรรค”
สก. สัมมากัมมันตะ ฯลฯ สัมมาอาชีวะเป็นมรรคใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สัมมาอาชีวะเป็นสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ได้ มีความนึกถึง ฯลฯ มี
ความตั้งใจใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สัมมาอาชีวะเป็นสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ไม่ได้ ไม่มีความนึกถึง ฯลฯ
ไม่มีความตั้งใจมิใช่หรือ
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๖๒๗ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๐. ทสมวรรค] ๒. รูปังมัคโคติกถา (๙๖)
สก. หากสัมมาอาชีวะเป็นสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ไม่ได้ ไม่มีความนึกถึง
ฯลฯ ไม่มีความตั้งใจ ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “สัมมาอาชีวะเป็นมรรค”
[๕๗๔] สก. สัมมาทิฏฐิเป็นมรรค และสัมมาทิฏฐินั้นเป็นสภาวธรรมที่รับรู้
อารมณ์ได้ มีความนึกถึง ฯลฯ มีความตั้งใจใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สัมมาวาจาเป็นมรรค และสัมมาวาจานั้นเป็นสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์
ได้ มีความนึกถึง ฯลฯ มีความตั้งใจใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สัมมาทิฏฐิเป็นมรรค และสัมมาทิฏฐินั้นเป็นสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์
ได้มีความนึกถึง ฯลฯ มีความตั้งใจใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สัมมากัมมันตะ ฯลฯ สัมมาอาชีวะเป็นมรรค และสัมมาอาชีวะนั้น
เป็นสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ได้ มีความนึกถึง ฯลฯ มีความตั้งใจใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สัมมาสังกัปปะ ฯลฯ สัมมาวายามะ ฯลฯ สัมมาสติ ฯลฯ สัมมาสมาธิ
เป็นมรรค และสัมมาสมาธินั้นเป็นสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ได้ มีความนึกถึง ฯลฯ
มีความตั้งใจใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สัมมาวาจาเป็นมรรค และสัมมาวาจานั้นเป็นสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ได้
มีความนึกถึง ฯลฯ มีความตั้งใจใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สัมมาสมาธิเป็นมรรค และสัมมาสมาธินั้นเป็นสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ได้
มีความนึกถึง ฯลฯ มีความตั้งใจใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๖๒๘ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๐. ทสมวรรค] ๒. รูปังมัคโคติกถา (๙๖)
สก. สัมมากัมมันตะ ฯลฯ สัมมาอาชีวะเป็นมรรค และสัมมาอาชีวะนั้น
เป็นสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ได้ มีความนึกถึง ฯลฯ มีความตั้งใจใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สัมมาวาจาเป็นมรรค และสัมมาวาจานั้นเป็นสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์
ไม่ได้ ไม่มีความนึกถึง ฯลฯ ไม่มีความตั้งใจใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สัมมาทิฏฐิเป็นมรรค และสัมมาทิฏฐินั้นเป็นสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ไม่ได้
ไม่มีความนึกถึง ฯลฯ ไม่มีความตั้งใจใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สัมมาวาจาเป็นมรรค และสัมมาวาจานั้นเป็นสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์
ไม่ได้ ไม่มีความนึกถึง ฯลฯ ไม่มีความตั้งใจใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สัมมาสังกัปปะ ฯลฯ สัมมาวายามะ ฯลฯ สัมมาสติ ฯลฯ สัมมาสมาธิ
เป็นมรรค และสัมมาสมาธินั้นเป็นสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ไม่ได้ ไม่มีความนึกถึง
ฯลฯ ไม่มีความตั้งใจใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สัมมากัมมันตะ ฯลฯ สัมมาอาชีวะเป็นมรรค และสัมมาอาชีวะนั้นเป็น
สภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ไม่ได้ ไม่มีความนึกถึง ฯลฯ ไม่มีความตั้งใจใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ สัมมาสังกัปปะ ฯลฯ สัมมาวายามะ ฯลฯ สัมมาสติ
ฯลฯ สัมมาสมาธิเป็นมรรค และสัมมาสมาธินั้นเป็นสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ไม่ได้
ไม่มีความนึกถึง ฯลฯ ไม่มีความตั้งใจใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๖๒๙ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๐. ทสมวรรค] ๓. ปัญจวิญญาณสมังคิสสมัคคภาวนากถา (๙๗)
[๕๗๕] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “รูปของบุคคลผู้มีความพรั่งพร้อมด้วยมรรค
เป็นมรรค” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ เป็นมรรคมิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. หากสัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะเป็นมรรค ดังนั้น ท่าน
จึงควรยอมรับว่า “รูปของบุคคลผู้มีความพรั่งพร้อมด้วยมรรคเป็นมรรค”
รูปังมัคโคติกถา จบ

๓. ปัญจวิญญาณสมังคิสสมัคคภาวนากถา (๙๗)
ว่าด้วยการเจริญมรรคของผู้พรั่งพร้อมด้วยวิญญาณ ๕
[๕๗๖] สก. บุคคลผู้พรั่งพร้อมด้วยวิญญาณ ๕ มีการเจริญมรรคใช่ไหม
ปร.๑ ใช่๒
สก. วิญญาณ ๕ มีธรรมที่เกิดขึ้นเป็นวัตถุ มีธรรมที่เกิดขึ้นเป็น
อารมณ์๓ ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. หากวิญญาณ ๕ มีธรรมที่เกิดขึ้นเป็นวัตถุ มีธรรมที่เกิดขึ้นเป็นอารมณ์
ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “บุคคลผู้พรั่งพร้อมด้วยวิญญาณ ๕ มีการเจริญมรรคได้”

เชิงอรรถ :
๑ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายมหาสังฆิกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๕๗๖/๒๕๐)
๒ เพราะมีความเห็นว่า บุคคลสามารถเจริญมรรคได้ในเวลาเห็นรูป ได้ยินเสียง เป็นต้น (อภิ.ปญฺจ.อ.
๕๗๖/๒๕๐)
๓ ดูเทียบ อภิ.วิ. (แปล) ๓๕/๗๖๒/๔๙๖-๔๙๗

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๖๓๐ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๐. ทสมวรรค] ๓. ปัญจวิญญาณสมังคิสสมัคคภาวนากถา (๙๗)
สก. วิญญาณ ๕ มีธรรมที่เกิดขึ้นก่อนเป็นวัตถุ มีธรรมที่เกิดขึ้นก่อนเป็น
อารมณ์ มีธรรมภายในตนเป็นวัตถุ มีธรรมภายนอกตนเป็นอารมณ์ มีธรรมไม่แตก
ดับเป็นวัตถุ มีธรรมไม่แตกดับเป็นอารมณ์ มีวัตถุต่างกัน มีอารมณ์ต่างกัน ไม่
เสวยอารมณ์ของกันและกัน ไม่เกิดขึ้นเพราะไม่ใส่ใจ ไม่เกิดขึ้นเพราะไม่มนสิการ
เกิดขึ้นโดยไม่สับลำดับกัน ไม่เกิดขึ้นพร้อมกัน ไม่เกิดขึ้นในลำดับของกันและกัน
วิญญาณ ๕ ไม่มีความผูกใจมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากวิญญาณ ๕ ไม่มีความผูกใจ ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “บุคคลผู้
พรั่งพร้อมด้วยวิญญาณ ๕ มีการเจริญมรรคได้”
[๕๗๗] สก. บุคคลผู้พรั่งพร้อมด้วยจักขุวิญญาณมีการเจริญมรรคใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. จักขุวิญญาณปรารภความว่างเกิดขึ้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. จักขุวิญญาณปรารภความว่างเกิดขึ้นใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เพราะอาศัยจักษุและความว่าง จักขุวิญญาณจึงเกิดขึ้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เพราะอาศัยจักษุและความว่าง จักขุวิญญาณจึงเกิดขึ้นใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสูตรที่ว่า “เพราะอาศัยจักษุและความว่าง จักขุวิญญาณจึงเกิดขึ้น”
มีอยู่จริงหรือ
ปร. ไม่มี
สก. พระสูตรที่ว่า “เพราะอาศัยจักษุและรูป จักขุวิญญาณจึงเกิดขึ้น” มีอยู่
จริงใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๖๓๑ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๐. ทสมวรรค] ๓. ปัญจวิญญาณสมังคิสสมัคคภาวนากถา (๙๗)
สก. หากพระสูตรว่า “เพราะอาศัยจักษุและรูป จักขุวิญญาณจึงเกิดขึ้น”
มีอยู่จริง ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “เพราะอาศัยจักษุและความว่าง จักขุวิญญาณ
จึงเกิดขึ้น”
[๕๗๘] สก. บุคคลผู้พรั่งพร้อมด้วยจักขุวิญญาณ มีการเจริญมรรคใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. จักขุวิญญาณปรารภอดีตและอนาคตเกิดขึ้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลผู้พรั่งพร้อมด้วยจักขุวิญญาณมีการเจริญมรรคใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. จักขุวิญญาณปรารภผัสสะ ฯลฯ ปรารภเวทนา ฯลฯ ปรารภสัญญา
ฯลฯ ปรารภเจตนา ฯลฯ ปรารภจิต ฯลฯ ปรารภจักษุ ฯลฯ ปรารภกาย ฯลฯ
ปรารภเสียง ฯลฯ ปรารภโผฏฐัพพะเกิดขึ้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลผู้พรั่งพร้อมด้วยมโนวิญญาณ มีการเจริญมรรค มโนวิญญาณ
ปรารภความว่างเกิดขึ้นใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลผู้พรั่งพร้อมด้วยจักขุวิญญาณ มีการเจริญมรรค จักขุวิญญาณ
ปรารภความว่างเกิดขึ้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลผู้พรั่งพร้อมด้วยมโนวิญญาณ มีการเจริญมรรค มโนวิญญาณ
ปรารภอดีตและอนาคตเกิดขึ้นใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๖๓๒ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๐. ทสมวรรค] ๓. ปัญจวิญญาณสมังคิสสมัคคภาวนากถา (๙๗)
สก. บุคคลผู้พรั่งพร้อมด้วยจักขุวิญญาณมีการเจริญมรรค จักขุวิญญาณ
ปรารภอดีตและอนาคตเกิดขึ้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลผู้พรั่งพร้อมด้วยมโนวิญญาณมีการเจริญมรรค มโนวิญญาณ
ปรารภผัสสะ ฯลฯ ปรารภเวทนา ฯลฯ ปรารภโผฏฐัพพะเกิดขึ้นใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลผู้พรั่งพร้อมด้วยจักขุวิญญาณมีการเจริญมรรค จักขุวิญญาณ
ปรารภผัสสะ ปรารภเวทนา ฯลฯ ปรารภโผฏฐัพพะเกิดขึ้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๕๗๙] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “บุคคลผู้พรั่งพร้อมด้วยวิญญาณ ๕ มีการ
เจริญมรรค” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัย
นี้เห็นรูปทางตาแล้วเป็นผู้ไม่รวบถือ๑ ไม่แยกถือ๒ ฯลฯ ฟังเสียงทางหูแล้ว ฯลฯ
ดมกลิ่นทางจมูก ฯลฯ ลิ้มรสทางลิ้น ฯลฯ ถูกต้องโผฏฐัพพะทางกายแล้วเป็นผู้
ไม่รวบถือ ไม่แยกถือ”๓ มีอยู่จริงมิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. ดังนั้น บุคคลผู้พรั่งพร้อมด้วยวิญญาณ ๕ จึงมีการเจริญมรรคได้

ปัญจวิญญาณสมังคิสสมัคคภาวนากถา จบ

เชิงอรรถ :
๑ รวบถือ (นิมิตฺตคฺคาหี) หมายถึงมองภาพรวมโดยเห็นเป็นหญิงหรือเป็นชาย เห็นว่ารูปสวย เสียง
ไพเราะ กลิ่นหอม รสอร่อย สัมผัสที่อ่อนนุ่ม เป็นอารมณ์ที่น่าปรารถนาด้วยอำนาจฉันทราคะ (อภิ.สงฺ.อ.
๑๓๕๒/๔๕๖-๗)
๒ แยกถือ (อนุพฺยญฺชนคฺคาหี) หมายถึงมองแยกแยะเป็นส่วน ๆ ไปด้วยอำนาจกิเลส เช่น เห็นมือเท้าว่า
สวยหรือไม่สวย เห็นอาการยิ้มแย้มหัวเราะ การพูด การเหลียวซ้ายแลขวาว่าน่ารัก ถ้าเห็นว่าสวยน่ารัก
ก็เกิดอิฏฐารมณ์ ถ้าเห็นว่าไม่สวยก็เกิดอนิฏฐารมณ์ (อภิ.สงฺ.อ. ๑๓๕๒/๔๕๖-๗)
๓ ดูเทียบ ม.มู. (แปล) ๑๒/๓๔๙/๓๒๘, องฺ.จตุกฺก. (แปล) ๒๑/๑๔/๒๕

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๖๓๓ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๐. ทสมวรรค] ๔. ปัญจวิญญาณากุสลาปิอกุสลาปีติกถา (๙๘)
๔. ปัญจวิญญาณากุสลาปิอกุสลาปีติกถา (๙๘)
ว่าด้วยวิญญาณ ๕ เป็นกุศลก็มี เป็นอกุศลก็มี
[๕๘๐] สก. วิญญาณ ๕ เป็นกุศลก็มี เป็นอกุศลก็มีใช่ไหม
ปร.๑ ใช่๒
สก. วิญญาณ ๕ มีธรรมที่เกิดขึ้นเป็นวัตถุ มีธรรมที่เกิดขึ้นเป็นอารมณ์
มิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากวิญญาณ ๕ มีธรรมที่เกิดขึ้นเป็นวัตถุ มีธรรมที่เกิดขึ้นเป็นอารมณ์
ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “วิญญาณ ๕ เป็นกุศลก็มี เป็นอกุศลก็มี”
สก. วิญญาณ ๕ มีธรรมที่เกิดขึ้นก่อนเป็นวัตถุ มีธรรมที่เกิดขึ้นก่อนเป็น
อารมณ์มีธรรมภายในตนเป็นวัตถุ มีธรรมภายนอกตนเป็นอารมณ์ มีธรรมไม่แตกดับ
เป็นวัตถุ มีธรรมไม่แตกดับเป็นอารมณ์ มีวัตถุต่างกัน มีอารมณ์ต่างกัน ไม่เสวย
อารมณ์ของกันและกัน ไม่เกิดขึ้นเพราะไม่ใส่ใจ ไม่เกิดขึ้นเพราะไม่มนสิการ
เกิดขึ้นโดยไม่สับลำดับกัน ไม่เกิดขึ้นพร้อมกัน ไม่เกิดขึ้นในลำดับของกันและกัน
วิญญาณ ๕ ไม่มีความผูกใจมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากวิญญาณ ๕ ไม่มีความผูกใจ ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “วิญญาณ ๕
เป็นกุศลก็มี เป็นอกุศลก็มี”
[๕๘๑] สก. จักขุวิญญาณเป็นกุศลใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. จักขุวิญญาณปรารภความว่างเกิดขึ้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

เชิงอรรถ :
๑ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายมหาสังฆิกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๕๘๐/๒๕๒)
๒ เพราะมีความเห็นว่า วิญญาณ ๕ มีจักขุวิญญาณ เป็นต้น เป็นได้ทั้งกุศลและอกุศล ซึ่งต่างกับความเห็น
ของสกวาทีที่เห็นว่า วิญญาณ ๕ เป็นวิบากเท่านั้น (อภิ.ปญฺจ.อ. ๕๘๐/๒๕๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๖๓๔ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๐. ทสมวรรค] ๔. ปัญจวิญญาณากุสลาปิอกุสลาปีติกถา (๙๘)
สก. จักขุวิญญาณปรารภความว่างเกิดขึ้นใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เพราะอาศัยจักษุและความว่าง จักขุวิญญาณจึงเกิดขึ้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เพราะอาศัยจักษุและความว่าง จักขุวิญญาณจึงเกิดขึ้นใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสูตรที่ว่า “เพราะอาศัยจักษุและความว่าง จักขุวิญญาณจึงเกิดขึ้น”
มีอยู่จริงหรือ
ปร. ไม่มี
สก. พระสูตรที่ว่า “เพราะอาศัยจักษุและรูป จักขุวิญญาณจึงเกิดขึ้น” มี
อยู่จริงใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. หากพระสูตรที่ว่า “เพราะอาศัยจักษุและรูป จักขุวิญญาณจึงเกิดขึ้น”
มีอยู่จริง ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “เพราะอาศัยจักษุและความว่าง จักขุวิญญาณ
จึงเกิดขึ้น”
[๕๘๒] สก. จักขุวิญญาณเป็นกุศลก็มี เป็นอกุศลก็มีใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. จักขุวิญญาณปรารภอดีตและอนาคตเกิดขึ้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. จักขุวิญญาณเป็นกุศลก็มี เป็นอกุศลก็มีใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๖๓๕ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๐. ทสมวรรค] ๔. ปัญจวิญญาณากุสลาปิอกุสลาปีติกถา (๙๘)
สก. จักขุวิญญาณปรารภผัสสะ ฯลฯ ปรารภจิต ฯลฯ ปรารภจักษุ ฯลฯ
ปรารภกาย ฯลฯ ปรารภเสียง ฯลฯ ปรารภโผฏฐัพพะเกิดขึ้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. มโนวิญญาณเป็นกุศลก็มี เป็นอกุศลก็มี มโนวิญญาณปรารภความว่าง
เกิดขึ้นใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. จักขุวิญญาณเป็นกุศลก็มี เป็นอกุศลก็มี จักขุวิญญาณปรารภความ
ว่างเกิดขึ้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. มโนวิญญาณเป็นกุศลก็มี เป็นอกุศลก็มี มโนวิญญาณปรารภอดีตและ
อนาคตเกิดขึ้นใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. จักขุวิญญาณเป็นกุศลก็มี เป็นอกุศลก็มี จักขุวิญญาณปรารภอดีตและ
อนาคตเกิดขึ้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. มโนวิญญาณเป็นกุศลก็มี เป็นอกุศลก็มี มโนวิญญาณปรารภผัสสะ ฯลฯ
ปรารภจิต ฯลฯ ปรารภจักษุ ฯลฯ ปรารภกาย ฯลฯ ปรารภเสียง ฯลฯ
ปรารภโผฏฐัพพะเกิดขึ้นใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. จักขุวิญญาณเป็นกุศลก็มี เป็นอกุศลก็มี จักขุวิญญาณปรารภผัสสะ
ฯลฯ ปรารภโผฏฐัพพะเกิดขึ้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๕๘๓] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “วิญญาณ ๕ เป็นกุศลก็มี เป็นอกุศลก็มี”
ใช่ไหม
สก. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๖๓๖ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๐. ทสมวรรค] ๕. สาโภคาติกถา (๙๙)
ปร. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัย
นี้เห็นรูปทางตาแล้วเป็นผู้รวบถือ ฯลฯ ไม่เป็นผู้รวบถือ ฯลฯ ฟังเสียงทางหู ฯลฯ
ถูกต้องโผฏฐัพพะทางกายแล้วเป็นผู้รวบถือ ฯลฯ ไม่เป็นผู้รวบถือ”๑ มีอยู่จริง
มิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. ดังนั้น วิญญาณ ๕ จึงเป็นกุศลก็มี เป็นอกุศลก็มี
ปัญจวิญญาณากุสลาปิอกุสลาปีติกถา จบ

๕. สาโภคาติกถา (๙๙)
ว่าด้วยวิญญาณ ๕ มีความผูกใจ
[๕๘๔] สก. วิญญาณ ๕ มีความผูกใจใช่ไหม
ปร.๒ ใช่๓
สก. วิญญาณ ๕ มีธรรมที่เกิดขึ้นเป็นวัตถุ มีธรรมที่เกิดขึ้นเป็นอารมณ์
มิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากวิญญาณ ๕ มีธรรมที่เกิดขึ้นเป็นวัตถุ มีธรรมที่เกิดขึ้นเป็นอารมณ์
ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “วิญญาณ ๕ มีความผูกใจ”
สก. วิญญาณ ๕ มีธรรมที่เกิดขึ้นก่อนเป็นวัตถุ มีธรรมที่เกิดขึ้นก่อนเป็น
อารมณ์ มีธรรมภายในตนเป็นวัตถุ มีธรรมภายนอกตนเป็นอารมณ์ มีธรรมไม่
แตกดับเป็นวัตถุ มีธรรมไม่แตกดับเป็นอารมณ์ มีวัตถุต่างกัน มีอารมณ์ต่างกัน
ไม่เสวยอารมณ์ของกันและกัน ไม่เกิดขึ้นเพราะไม่ใส่ใจ ไม่เกิดขึ้นเพราะไม่มนสิการ
เกิดขึ้นโดยไม่สับลำดับกัน ไม่เกิดขึ้นพร้อมกัน ไม่เกิดขึ้นในลำดับของกันและกัน
มิใช่หรือ
ปร. ใช่

เชิงอรรถ :
๑ ดูเชิงอรรถที่ ๑,๒ ข้อ ๕๗๙ หน้า ๖๓๓ ในเล่มนี้
๒ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายมหาสังฆิกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๕๘๔/๒๕๒)
๓เพราะมีความเห็นว่า วิญญาณ ๕ มีจักขุวิญญาณ เป็นต้น สามารถพิจารณาแยกแยะสิ่งดี สิ่งไม่ดีได้
(อภิ.ปญฺจ.อ. ๕๘๔/๒๕๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๖๓๗ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๐. ทสมวรรค] ๕. สาโภคาติกถา (๙๙)
สก. หากวิญญาณ ๕ ไม่เกิดขึ้นในลำดับของกันและกัน ท่านก็ไม่ควร
ยอมรับว่า “วิญญาณ ๕ มีความผูกใจ”
[๕๘๕] สก. จักขุวิญญาณมีความผูกใจใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. จักขุวิญญาณปรารภความว่างเกิดขึ้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. จักขุวิญญาณปรารภความว่างเกิดขึ้นใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เพราะอาศัยจักษุและความว่าง จักขุวิญญาณจึงเกิดขึ้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เพราะอาศัยจักษุและความว่าง จักขุวิญญาณจึงเกิดขึ้นใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสูตรที่ว่า “เพราะอาศัยจักษุและความว่าง จักขุวิญญาณจึงเกิดขึ้น”
มีอยู่จริงหรือ
ปร. ไม่มี ฯลฯ
สก. พระสูตรที่ว่า “เพราะอาศัยจักษุและรูป จักขุวิญญาณจึงเกิดขึ้น” มีอยู่
จริง ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. หากพระสูตรที่ว่า “เพราะอาศัยจักษุและรูป จักขุวิญญาณจึงเกิดขึ้น”
มีอยู่จริง ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “เพราะอาศัยจักษุและความว่าง จักขุวิญญาณ
จึงเกิดขึ้น”
สก. จักขุวิญญาณมีความผูกใจใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๖๓๘ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๐. ทสมวรรค] ๕. สาโภคาติกถา (๙๙)
สก. จักขุวิญญาณปรารภอดีตและอนาคตเกิดขึ้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. จักขุวิญญาณมีความผูกใจใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. จักขุวิญญาณปรารภผัสสะ ฯลฯ ปรารภโผฏฐัพพะเกิดขึ้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. มโนวิญญาณมีความผูกใจ มโนวิญญาณปรารภความว่างเกิดขึ้นใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. จักขุวิญญาณมีความผูกใจ จักขุวิญญาณปรารภความว่างเกิดขึ้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. มโนวิญญาณมีความผูกใจ มโนวิญญาณปรารภอดีตและอนาคตเกิดขึ้น
ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. จักขุวิญญาณมีความผูกใจ จักขุวิญญาณปรารภอดีตและอนาคตเกิดขึ้น
ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. มโนวิญญาณมีความผูกใจ มโนวิญญาณปรารภผัสสะ ฯลฯ ปรารภ
โผฏฐัพพะเกิดขึ้นใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. จักขุวิญญาณมีความผูกใจ จักขุวิญญาณปรารภผัสสะ ฯลฯ ปรารภ
โผฏฐัพพะเกิดขึ้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๖๓๙ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๐. ทสมวรรค] ๖. ทวีหิสีเลหิกถา (๑๐๐)
[๕๘๖] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “วิญญาณ ๕ มีความผูกใจ” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัย
นี้เห็นรูปทางตาแล้วเป็นผู้รวบถือ ฯลฯ ไม่เป็นผู้รวบถือ ฯลฯ ถูกต้องโผฏฐัพพะ
ทางกายแล้วเป็นผู้รวบถือ ฯลฯ ไม่เป็นผู้รวบถือ” มีอยู่จริง มิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. ดังนั้น วิญญาณ ๕ จึงมีความผูกใจ ฯลฯ
สาโภคาติกถา จบ

๖. ทวีหิสีเลหิกถา (๑๐๐)
ว่าด้วยศีล ๒ อย่าง
[๕๘๗] สก. บุคคลผู้พรั่งพร้อมด้วยมรรค เป็นผู้บริบูรณ์ด้วยศีล ๒ ใช่ไหม
ปร.๑ ใช่๒
สก. บุคคลผู้พรั่งพร้อมด้วยมรรค เป็นผู้บริบูรณ์ด้วยผัสสะ ๒ เวทนา ๒
สัญญา ๒ เจตนา ๒ จิต ๒ สัทธา ๒ สติ ๒ สมาธิ ๒ ปัญญา ๒ ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลผู้พรั่งพร้อมด้วยมรรค เป็นผู้บริบูรณ์ด้วยโลกิยศีลใช่ไหม
ปร. ใช่

เชิงอรรถ :
๑ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายมหาสังฆิกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๕๘๗/๒๕๓)
๒ เพราะมีความเห็นว่า ในขณะที่บรรลุมรรค โลกิยศีลสามารถเกิดร่วมกับโลกุตตรศีลได้ ซึ่งต่างกับความ
เห็นของสกวาทีที่เห็นว่า โลกุตตรศีลเท่านั้นเกิดขึ้น (อภิ.ปญฺจ.อ. ๕๘๗/๒๕๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๖๔๐ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๐. ทสมวรรค] ๖. ทวีหิสีเลหิกถา (๑๐๐)
สก. บุคคลผู้พรั่งพร้อมด้วยมรรค เป็นผู้บริบูรณ์ด้วยผัสสะที่เป็นโลกิยะ
เวทนาที่เป็นโลกิยะ สัญญาที่เป็นโลกิยะ เจตนาที่เป็นโลกิยะ จิตที่เป็นโลกิยะ
สัทธาที่เป็นโลกิยะ วิริยะที่เป็นโลกิยะ สติที่เป็นโลกิยะ สมาธิที่เป็นโลกิยะ
ปัญญาที่เป็นโลกิยะใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลผู้พรั่งพร้อมด้วยมรรค เป็นผู้บริบูรณ์ด้วยศีลที่เป็นโลกิยะและ
โลกุตตระใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลผู้พรั่งพร้อมด้วยมรรค เป็นผู้บริบูรณ์ด้วยผัสสะที่เป็นโลกิยะและ
โลกุตตระ ฯลฯ เป็นผู้บริบูรณ์ด้วยปัญญาที่เป็นโลกิยะและโลกุตตระใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลผู้พรั่งพร้อมด้วยมรรค เป็นผู้บริบูรณ์ด้วยศีลที่เป็นโลกิยะใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลผู้พรั่งพร้อมด้วยมรรค เป็นปุถุชนใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๕๘๘] สก. บุคคลผู้พรั่งพร้อมด้วยมรรค เป็นผู้บริบูรณ์ด้วยสัมมาวาจาที่เป็น
โลกิยะใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลผู้พรั่งพร้อมด้วยมรรค เป็นผู้บริบูรณ์ด้วยสัมมาทิฏฐิที่เป็นโลกิยะ
ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลผู้พรั่งพร้อมด้วยมรรค เป็นผู้บริบูรณ์ด้วยสัมมาวาจาที่เป็น
โลกิยะใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๖๔๑ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๐. ทสมวรรค] ๖. ทวีหิสีเลหิกถา (๑๐๐)
สก. บุคคลผู้พรั่งพร้อมด้วยมรรค เป็นผู้บริบูรณ์ด้วยสัมมาสังกัปปะที่เป็น
โลกิยะ ฯลฯ สัมมาวายามะที่เป็นโลกิยะ ฯลฯ สัมมาสติที่เป็นโลกิยะ ฯลฯ
สัมมาสมาธิที่เป็นโลกิยะใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลผู้พรั่งพร้อมด้วยมรรค เป็นผู้บริบูรณ์ด้วยสัมมากัมมันตะที่เป็น
โลกิยะ ฯลฯ สัมมาอาชีวะที่เป็นโลกิยะใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลผู้พรั่งพร้อมด้วยมรรค เป็นผู้บริบูรณ์ด้วยสัมมาทิฏฐิที่เป็นโลกิยะ
ฯลฯ สัมมาสมาธิที่เป็นโลกิยะใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลผู้พรั่งพร้อมด้วยมรรค เป็นผู้บริบูรณ์ด้วยสัมมาวาจาที่เป็นโลกิยะ
และโลกุตตระใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลผู้พรั่งพร้อมด้วยมรรค เป็นผู้บริบูรณ์ด้วยสัมมาทิฏฐิที่เป็นโลกิยะ
และโลกุตตระใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลผู้พรั่งพร้อมด้วยมรรค เป็นผู้บริบูรณ์ด้วยสัมมาวาจาที่เป็นโลกิยะ
และโลกุตตระใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลผู้พรั่งพร้อมด้วยมรรค เป็นผู้บริบูรณ์ด้วยสัมมาสังกัปปะที่เป็น
โลกิยะและโลกุตตระ ฯลฯ สัมมาวายามะที่เป็นโลกิยะและโลกุตตระ ฯลฯ สัมมาสติ
ที่เป็นโลกิยะและโลกุตตระ ฯลฯ สัมมาสมาธิที่เป็นโลกิยะและโลกุตตระใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๖๔๒ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๐. ทสมวรรค] ๖. ทวีหิสีเลหิกถา (๑๐๐)
สก. บุคคลผู้พรั่งพร้อมด้วยมรรค เป็นผู้บริบูรณ์ด้วยสัมมากัมมันตะที่เป็น
โลกิยะและโลกุตตระ ฯลฯ สัมมาอาชีวะที่เป็นโลกิยะและโลกุตตระใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลผู้พรั่งพร้อมด้วยมรรค เป็นผู้บริบูรณ์ด้วยสัมมาทิฏฐิที่เป็นโลกิยะ
และโลกุตตระใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลผู้พรั่งพร้อมด้วยมรรค เป็นผู้บริบูรณ์ด้วยสัมมาอาชีวะที่เป็นโลกิยะ
และโลกุตตระใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลผู้พรั่งพร้อมด้วยมรรค เป็นผู้บริบูรณ์ด้วยสัมมาสังกัปปะที่เป็น
โลกิยะและโลกุตตระ ฯลฯ สัมมาสมาธิที่เป็นโลกิยะและโลกุตตระใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๕๘๙] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “บุคคลผู้พรั่งพร้อมด้วยมรรค เป็นผู้บริบูรณ์
ด้วยศีล ๒” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. เมื่อโลกิยศีลดับไปแล้ว มรรคจึงเกิดขึ้นใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. บุคคลผู้ทุศีล มีศีลขาด มีศีลทะลุ เจริญมรรคได้ใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. ดังนั้น บุคคลผู้พรั่งพร้อมด้วยมรรคจึงเป็นผู้บริบูรณ์ด้วยศีล ๒

ทวีหิสีเลหิกถา จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๖๔๓ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๐. ทสมวรรค] ๗. สีลังอเจตสิกันติกถา (๑๐๑)
๗. สีลังอเจตสิกันติกถา (๑๐๑)
ว่าด้วยศีลไม่เป็นเจตสิก
[๕๙๐] สก. ศีลไม่เป็นเจตสิกใช่ไหม
ปร.๑ ใช่๒
สก. ศีลเป็นรูป ฯลฯ เป็นนิพพาน ฯลฯ เป็นจักขายตนะ ฯลฯ เป็น
กายายตนะ ฯลฯ เป็นรูปายตนะ ฯลฯ เป็นโผฏฐัพพายตนะใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ศีลไม่เป็นเจตสิกใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ผัสสะไม่เป็นเจตสิกใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ศีลไม่เป็นเจตสิกใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ เจตนา ฯลฯ สัทธา ฯลฯ วิริยะ ฯลฯ
สติ ฯลฯ สมาธิ ฯลฯ ปัญญาไม่เป็นเจตสิกใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ผัสสะเป็นเจตสิกใช่ไหม
ปร. ใช่

เชิงอรรถ :
๑ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายมหาสังฆิกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๕๙๐/๒๕๓)
๒ เพราะมีความเห็นว่า ศีลไม่เกิดดับตามกระแสจิต ซึ่งต่างกับความเห็นของสกวาทีที่เห็นว่า ศีลเป็น
วิรติเจตสิกมีการเกิดดับตามกระแสจิต (อภิ.ปญฺจ.อ. ๕๙๐/๒๕๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๖๔๔ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๐. ทสมวรรค] ๗. สีลังอเจตสิกันติกถา (๑๐๑)
สก. ศีลเป็นเจตสิกใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ เจตนา ฯลฯ สัทธา ฯลฯ วิริยะ ฯลฯ
สติ ฯลฯ สมาธิ ฯลฯ ปัญญาเป็นเจตสิกใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ศีลเป็นเจตสิกใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๕๙๑] สก. ศีลไม่เป็นเจตสิกใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ศีลมีผลที่ไม่น่าปรารถนาใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ศีลมีผลที่น่าปรารถนามิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากศีลมีผลที่น่าปรารถนา ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “ศีลไม่เป็นเจตสิก”
สก. สัทธามีผลที่น่าปรารถนา สัทธาเป็นเจตสิกใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ศีลมีผลที่น่าปรารถนา ศีลเป็นเจตสิกใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. วิริยะ ฯลฯ สติ ฯลฯ สมาธิ ฯลฯ ปัญญามีผลที่น่าปรารถนา ปัญญา
เป็นเจตสิกใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๖๔๕ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๐. ทสมวรรค] ๗. สีลังอเจตสิกันติกถา (๑๐๑)
สก. ศีลมีผลที่น่าปรารถนา ศีลเป็นเจตสิกใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ศีลมีผลที่น่าปรารถนา ศีลไม่เป็นเจตสิกใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สัทธามีผลที่น่าปรารถนา สัทธาไม่เป็นเจตสิกใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ศีลมีผลที่น่าปรารถนา ศีลไม่เป็นเจตสิกใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. วิริยะ ฯลฯ สติ ฯลฯ สมาธิ ฯลฯ ปัญญามีผลที่น่าปรารถนา ปัญญา
ไม่เป็นเจตสิกใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๕๙๒] สก. ศีลไม่เป็นเจตสิกใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ศีลไม่มีผล ไม่มีวิบากใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ศีลมีผลมีวิบากมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากศีลมีผลมีวิบาก ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “ศีลไม่เป็นเจตสิก” ฯลฯ
สก. จักขายตนะไม่เป็นเจตสิก ไม่มีวิบากใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ศีลไม่เป็นเจตสิก ไม่มีวิบากใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๖๔๖ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๐. ทสมวรรค] ๗. สีลังอเจตสิกันติกถา (๑๐๑)
สก. โสตายตนะ ฯลฯ กายายตนะ ฯลฯ รูปายตนะ ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะ
ไม่เป็นเจตสิก ไม่มีวิบากใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ศีลไม่เป็นเจตสิกไม่มีวิบากใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ศีลไม่เป็นเจตสิกมีวิบากใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. จักขายตนะไม่เป็นเจตสิกมีวิบากใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ศีลไม่เป็นเจตสิกมีวิบากใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. โสตายตนะ ฯลฯ กายายตนะ ฯลฯ รูปายตนะ ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะ
ไม่เป็นเจตสิก มีวิบากใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๕๙๓] สก. สัมมาวาจาไม่เป็นเจตสิกใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สัมมาทิฏฐิไม่เป็นเจตสิกใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สัมมาวาจาไม่เป็นเจตสิกใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สัมมาสังกัปปะ ฯลฯ สัมมาวายามะ ฯลฯ สัมมาสติ ฯลฯ สัมมาสมาธิ
ไม่เป็นเจตสิกใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๖๔๗ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๐. ทสมวรรค] ๗. สีลังอเจตสิกันติกถา (๑๐๑)
สก. สัมมากัมมันตะ ฯลฯ สัมมาอาชีวะ ไม่เป็นเจตสิกใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สัมมาทิฏฐิไม่เป็นเจตสิกใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สัมมาอาชีวะไม่เป็นเจตสิกใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สัมมาสังกัปปะ ฯลฯ สัมมาวายามะ ฯลฯ สัมมาสติ ฯลฯ สัมมาสมาธิ
ไม่เป็นเจตสิกใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สัมมาทิฏฐิเป็นเจตสิกใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สัมมาวาจาเป็นเจตสิกใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สัมมาทิฏฐิเป็นเจตสิกใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สัมมากัมมันตะ ฯลฯ สัมมาอาชีวะเป็นเจตสิกใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สัมมาสังกัปปะ ฯลฯ สัมมาวายามะ ฯลฯ สัมมาสติ ฯลฯ สัมมาสมาธิ
เป็นเจตสิกใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สัมมาวาจาเป็นเจตสิกใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๖๔๘ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๐. ทสมวรรค] ๘. สีลังนจิตตานุปริวัตตีติกถา (๑๐๒)
สก. สัมมาสมาธิเป็นเจตสิกใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สัมมากัมมันตะ ฯลฯ สัมมาอาชีวะ เป็นเจตสิกใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๕๙๔] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “ศีลไม่เป็นเจตสิก” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. เมื่อศีลเกิดขึ้นแล้วดับไป บุคคลผู้มีศีลดับไปแล้วนั้นเป็นผู้ทุศีลใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. ดังนั้น ศีลจึงไม่เป็นเจตสิก
สีลังอเจตสิกันติกถา จบ

๘. สีลังนจิตตานุปริวัตตีติกถา (๑๐๒)
ว่าด้วยศีลไม่คล้อยไปตามจิต
[๕๙๕] สก. ศีลไม่คล้อยไปตามจิตใช่ไหม
ปร.๑ ใช่๒
สก. ศีลเป็นรูป ฯลฯ เป็นนิพพาน ฯลฯ เป็นจักขายตนะ ฯลฯ เป็น
โผฏฐัพพายตนะใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ศีลไม่คล้อยไปตามจิตใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ผัสสะไม่คล้อยไปตามจิตใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

เชิงอรรถ :
๑ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายมหาสังฆิกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๕๙๕/๒๕๔)
๒ เพราะมีความเห็นว่า เนื่องจากศีลไม่ใช่เจตสิก จึงไม่มีการเกิดดับพร้อมกับจิต (อภิ.ปญฺจ.อ. ๕๙๕/๒๕๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๖๔๙ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๐. ทสมวรรค] ๘. สีลังนจิตตานุปริวัตตีติกถา (๑๐๒)
สก. ศีลไม่คล้อยไปตามจิตใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ เจตนา ฯลฯ สัทธา ฯลฯ วิริยะ ฯลฯ
สติ ฯลฯ สมาธิ ฯลฯ ปัญญา ไม่คล้อยไปตามจิตใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ผัสสะคล้อยไปตามจิตใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ศีลคล้อยไปตามจิตใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ เจตนา ฯลฯ สัทธา ฯลฯ วิริยะ ฯลฯ
สติ ฯลฯ สมาธิ ฯลฯ ปัญญา คล้อยไปตามจิตใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ศีลคล้อยไปตามจิตใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๕๙๖] สก. สัมมาวาจาไม่คล้อยไปตามจิตใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สัมมาทิฏฐิไม่คล้อยไปตามจิตใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สัมมาวาจาไม่คล้อยไปตามจิตใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สัมมาสังกัปปะ ฯลฯ สัมมาวายามะ ฯลฯ สัมมาสติ ฯลฯ สัมมาสมาธิ
ไม่คล้อยไปตามจิตใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๖๕๐ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๐. ทสมวรรค] ๘. สีลังนจิตตานุปริวัตตีติกถา (๑๐๒)
สก. สัมมากัมมันตะ ฯลฯ สัมมาอาชีวะ ไม่คล้อยไปตามจิตใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สัมมาทิฏฐิไม่คล้อยไปตามจิตใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สัมมาอาชีวะไม่คล้อยไปตามจิตใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สัมมาสังกัปปะ ฯลฯ สัมมาวายามะ ฯลฯ สัมมาสติ ฯลฯ สัมมาสมาธิ
ไม่คล้อยไปตามจิตใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สัมมาทิฏฐิคล้อยไปตามจิตใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สัมมาวาจาคล้อยไปตามจิตใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สัมมาทิฏฐิคล้อยไปตามจิตใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สัมมากัมมันตะ ฯลฯ สัมมาอาชีวะคล้อยไปตามจิตใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สัมมาสังกัปปะ ฯลฯ สัมมาวายามะ ฯลฯ สัมมาสติ ฯลฯ สัมมาสมาธิ
คล้อยไปตามจิตใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สัมมาวาจาคล้อยไปตามจิตใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๖๕๑ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๐. ทสมวรรค] ๙. สมาทานเหตุกถา (๑๐๓)
สก. สัมมาสมาธิคล้อยไปตามจิตใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สัมมากัมมันตะ ฯลฯ สัมมาอาชีวะ คล้อยไปตามจิตใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๕๙๗] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “ศีลไม่คล้อยไปตามจิต” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. เมื่อศีลเกิดขึ้นแล้วดับไป บุคคลผู้มีศีลดับไปแล้วนั้นเป็นผู้ทุศีลใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. ดังนั้น ศีลจึงไม่คล้อยไปตามจิต
สีลังนจิตตานุปริวัตตีติกถา จบ

๙. สมาทานเหตุกถา (๑๐๓)
ว่าด้วยศีลมีการสมาทานเป็นเหตุ
[๕๙๘] สก. ศีลที่มีการสมาทานเป็นเหตุ เจริญได้ใช่ไหม
ปร.๑ ใช่๒
สก. ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา จิต สัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา
ที่มีการสมาทานเป็นเหตุ เจริญได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

เชิงอรรถ :
๑ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายมหาสังฆิกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๕๙๘/๒๕๔)
๒ เพราะมีความเห็นว่า เพียงแต่สมาทานศีลเท่านั้น ศีลก็เจริญขึ้นอย่างต่อเนื่อง (อภิ.ปญฺจ.อ. ๕๙๘/๒๕๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๖๕๒ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๐. ทสมวรรค] ๙. สมาทานเหตุกถา (๑๐๓)
สก. ศีลที่มีการสมาทานเป็นเหตุ เจริญได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ศีลเจริญได้เหมือนเถาวัลย์ เหมือนเถาย่านทราย เหมือนต้นไม้ เหมือน
ต้นหญ้า เหมือนหญ้าปล้องใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๕๙๙] สก. ศีลที่มีการสมาทานเป็นเหตุ เจริญได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เมื่อบุคคลสมาทานศีลแล้ว ตรึกถึงกามวิตก ตรึกถึงพยาบาทวิตก
ตรึกถึงวิหิงสาวิตกอยู่ ศีลเจริญได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. มีการประชุมแห่งผัสสะ ๒ อย่าง ฯลฯ จิต ๒ ดวงใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. มีการประชุมแห่งผัสสะ ๒ อย่าง ฯลฯ จิต ๒ ดวงใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สภาวธรรมที่เป็นกุศลและอกุศล ที่มีโทษและไม่มีโทษ ที่เลวและประณีต
ที่เป็นฝ่ายดำ๑ เป็นฝ่ายขาว๒ และเป็นฝ่ายมีส่วนเปรียบ๓ มาประชุมกันได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สภาวธรรมที่เป็นกุศลและอกุศล ที่มีโทษและไม่มีโทษ ที่เลวและประณีต
ที่เป็นฝ่ายดำ เป็นฝ่ายขาว และเป็นฝ่ายมีส่วนเปรียบ มาประชุมกันได้ใช่ไหม
ปร. ใช่

เชิงอรรถ :
๑ ฝ่ายดำ หมายถึงสังกิเลสธรรม (ธรรมเครื่องทำใจให้เศร้าหมอง) (ที.ปา.ฏีกา ๑๔๔/๗๘)
๒ ฝ่ายขาว หมายถึงโวทานธรรม (ธรรมเครื่องทำใจให้ผ่องแผ้ว) (ที.ปา.ฏีกา ๑๔๔/๗๘)
๓ มีส่วนเปรียบ หมายถึงสังกิเลสธรรมเป็นข้าศึกกับโวทานธรรมตามลำดับ โดยการแสดงการเปรียบเทียบว่า
สังกิเลสธรรมเป็นธรรมที่ควรละ ส่วนโวทานธรรมเป็นธรรมที่ละ (ที.ปา.ฏีกา ๑๔๔/๗๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๖๕๓ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๐. ทสมวรรค] ๙. สมาทานเหตุกถา (๑๐๓)
สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย สิ่งที่อยู่ห่างไกล
กันเหลือเกิน ๔ อย่างนี้
สิ่งที่อยู่ห่างไกลกันเหลือเกิน ๔ อย่าง อะไรบ้าง คือ
๑. ท้องฟ้ากับแผ่นดิน นี้เป็นสิ่งที่อยู่ห่างไกลกันเหลือเกินอย่างที่ ๑
ฯลฯ
เพราะฉะนั้น ธรรมของสัตบุรุษจึงห่างไกลกันกับธรรมของอสัตบุรุษ”๑
มีอยู่จริงมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. ดังนั้น ท่านจึงไม่ควรยอมรับว่า “สภาวธรรมที่เป็นกุศลและอกุศล
ที่มีโทษและไม่มีโทษ ที่เลวและประณีต ที่เป็นฝ่ายดำ เป็นฝ่ายขาว และเป็นฝ่าย
มีส่วนเปรียบ มาประชุมกันได้”
[๖๐๐] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “ศีลที่มีการสมาทานเป็นเหตุ เจริญได้” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ชนเหล่าใดปลูกสวนอันน่ารื่นรมย์
ปลูกป่า ฯลฯ ชนเหล่านั้นดำรงอยู่ในธรรม สมบูรณ์ด้วยศีลแล้วย่อมไปสู่สวรรค์”๒
มีอยู่จริง มิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. ดังนั้น ศีลที่มีการสมาทานเป็นเหตุ จึงเจริญได้
สมาทานเหตุกถา จบ

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ องฺ.จตุกฺก. (แปล) ๒๑/๔๗/๗๗
๒ ดูเทียบ สํ.ส. (แปล) ๑๕/๔๗/๕๖

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๖๕๔ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๐. ทสมวรรค] ๑๐. วิญญัตติสีลันติกถา (๑๐๔)
๑๐. วิญญัตติสีลันติกถา (๑๐๔)
ว่าด้วยวิญญัติเป็นศีล
[๖๐๑] สก. วิญญัติเป็นศีลใช่ไหม
ปร.๑ ใช่๒
สก. วิญญัติเป็นเจตนาเครื่องเว้นจากการฆ่าสัตว์ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. วิญญัติเป็นเจตนาเครื่องเว้นจากการลักทรัพย์ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. วิญญัติเป็นเจตนาเครื่องเว้นจากการประพฤติผิดในกามใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. วิญญัติเป็นเจตนาเครื่องเว้นจากการพูดเท็จใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. วิญญัติเป็นเจตนาเครื่องเว้นจากการเสพของมึนเมาคือสุราและเมรัยอัน
เป็นเหตุแห่งความประมาทใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. การกราบไหว้เป็นศีล การลุกรับเป็นศีล การทำอัญชลีเป็นศีล การทำ
สามีจิกรรมเป็นศีล การจัดอาสนะให้เป็นศีล การจัดที่นอนให้เป็นศีล การจัดน้ำ
ล้างเท้าให้เป็นศีล การจัดรองเท้าให้เป็นศีล การนวดหลังในเวลาอาบน้ำเป็นศีลใช่ไหม
ปร. ใช่

เชิงอรรถ :
๑ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายมหาสังฆิกะและนิกายสมิติยะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๖๐๑/๒๕๔)
๒ เพราะมีความเห็นว่า กายวิญญัติและวจีวิญญัติเป็นศีล (อภิ.ปญฺจ.อ. ๖๐๑/๒๕๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๖๕๕ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๐. ทสมวรรค] ๑๑. อวิญญัตติทุสสีลยันติกถา (๑๐๕)
สก. ศีลเป็นเจตนาเครื่องเว้นจากการฆ่าสัตว์ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. วิญญัติเป็นเจตนาเครื่องเว้นจากการเสพของมึนเมาคือสุราและเมรัยอัน
เป็นเหตุแห่งความประมาทใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๖๐๒] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “วิญญัติเป็นศีล” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. วิญญัติเป็นความทุศีลใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. ดังนั้น วิญญัติจึงเป็นศีล
วิญญัตติสีลันติกถา จบ

๑๑. อวิญญัตติทุสสีลยันติกถา (๑๐๕)
ว่าด้วยอวิญญัติเป็นความทุศีล
[๖๐๓] สก. อวิญญัติเป็นความทุศีลใช่ไหม
ปร.๑ ใช่๒
สก. อวิญญัติเป็นปาณาติบาตใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. อวิญญัติเป็นอทินนาทานใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

เชิงอรรถ :
๑ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายมหาสังฆิกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๖๐๓-๖๐๔/๒๕๕)
๒ เพราะมีความเห็นว่า การทำบาปโดยไม่ได้ตั้งใจและการทำบาปตามคำสั่ง เช่น การทำปาณาติบาตที่ครบองค์
จัดเป็นอวิญญัติ อวิญญัติเช่นนี้ เป็นความทุศีล (อภิ.ปญฺจ.อ. ๖๐๓-๖๐๔/๒๕๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๖๕๖ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๐. ทสมวรรค] ๑๑. อวิญญัตติทุสสีลยันติกถา (๑๐๕)
สก. อวิญญัติเป็นกาเมสุมิจฉาจารใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. อวิญญัติเป็นมุสาวาทใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. อวิญญัติเป็นสุราเมรยมัชชปมาทัฏฐานใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เมื่อบุคคลยึดถือบาปกรรม(ตั้งใจทำกรรมชั่ว)แล้วให้ทานอยู่ บุญและบาป
ทั้ง ๒ อย่าง เจริญได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น๑ ฯลฯ
สก. บุญและบาปทั้ง ๒ อย่างเจริญได้ใช่ไหม
ปร. ใช่๒
สก. มีการประชุมแห่งผัสสะ ๒ อย่าง ฯลฯ จิต ๒ ดวงใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. มีการประชุมแห่งผัสสะ ๒ อย่าง ฯลฯ จิต ๒ ดวงใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สภาวธรรมที่เป็นกุศลและอกุศล ที่มีโทษและไม่มีโทษ ที่เลวและประณีต
ที่เป็นฝ่ายดำ เป็นฝ่ายขาว และเป็นฝ่ายมีส่วนเปรียบ มาประชุมกันได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สภาวธรรมที่เป็นกุศลและอกุศล ที่มีโทษและไม่มีโทษ ที่เลวและประณีต
ที่เป็นฝ่ายดำ เป็นฝ่ายขาว และเป็นฝ่ายมีส่วนเปรียบ มาประชุมกันได้ใช่ไหม
ปร. ใช่

เชิงอรรถ :
๑ เพราะปรวาทีเข้าใจว่า ในขณะให้ทาน บาปจะไม่เกิด (อภิ.ปญฺจ.อ. ๖๐๓-๖๐๔/๒๕๕)
๒ เพราะปรวาทีหมายเอาบาปที่ทำโดยไม่เจตนา (อภิ.ปญฺจ.อ. ๖๐๓-๖๐๔/๒๕๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๖๕๗ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๐. ทสมวรรค] ๑๑. อวิญญัตติทุสสีลยันติกถา (๑๐๕)
สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย สิ่งที่อยู่ห่างไกล
กันเหลือเกิน ๔ อย่างนี้
สิ่งที่อยู่ห่างไกลกันเหลือเกิน ๔ อย่าง อะไรบ้าง คือ
๑. ท้องฟ้ากับแผ่นดิน นี้เป็นสิ่งที่อยู่ห่างไกลกันเหลือเกินอย่างที่ ๑
ฯลฯ
เพราะฉะนั้น ธรรมของสัตบุรุษจึงห่างไกลกันกับธรรมของอสัตบุรุษ”๑
มีอยู่จริงมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. ดังนั้น ท่านจึงไม่ควรยอมรับว่า “สภาวธรรมที่เป็นกุศลและอกุศล ที่
มีโทษและไม่มีโทษ ที่เลวและประณีต ที่เป็นฝ่ายดำ เป็นฝ่ายขาว และเป็นฝ่ายมี
ส่วนเปรียบ มาประชุมกันได้”
สก. เมื่อบุคคลยึดถือบาปกรรมแล้วถวายจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ
คิลานปัจจัยเภสัชบริขาร กราบไหว้ผู้ควรกราบไหว้ ต้อนรับผู้ควรต้อนรับ ทำอัญชลี
แก่ผู้ควรทำอัญชลี ทำสามีจิกรรมแก่ผู้ควรทำสามีจิกรรม ให้อาสนะแก่ผู้ควรให้
อาสนะ ให้ทางแก่ผู้ควรให้ทาง บุญและบาปทั้ง ๒ อย่างเจริญได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุญและบาปทั้ง ๒ อย่าง เจริญได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. มีการประชุมแห่งผัสสะ ๒ อย่าง ฯลฯ จิต ๒ ดวงใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. มีการประชุมแห่งผัสสะ ๒ อย่าง ฯลฯ จิต ๒ ดวงใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สภาวธรรมที่เป็นกุศลและอกุศล ที่มีโทษและไม่มีโทษ ที่เลวและประณีต
ที่เป็นฝ่ายดำ เป็นฝ่ายขาว และเป็นฝ่ายมีส่วนเปรียบ มาประชุมกันได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ องฺ.จตุกฺก. (แปล) ๒๑/๔๗/๗๗

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๖๕๘ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๐. ทสมวรรค] ๑๑. อวิญญัตติทุสสีลยันติกถา (๑๐๕)
สก. สภาวธรรมที่เป็นกุศลและอกุศล ที่มีโทษและไม่มีโทษ ที่เลวและประณีต
ที่เป็นฝ่ายดำ เป็นฝ่ายขาว และเป็นฝ่ายมีส่วนเปรียบ มาประชุมกันได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย สิ่งที่อยู่ห่างไกล
กันเหลือเกิน ๔ อย่างนี้
สิ่งที่อยู่ห่างไกลกันเหลือเกิน ๔ อย่าง อะไรบ้าง คือ
๑. ท้องฟ้ากับแผ่นดิน นี้เป็นสิ่งที่อยู่ห่างไกลกันเหลือเกินอย่างที่ ๑
ฯลฯ
เพราะฉะนั้น ธรรมของสัตบุรุษจึงห่างไกลกันกับธรรมของอสัตบุรุษ”๑
มีอยู่จริงมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. ดังนั้น ท่านจึงไม่ควรยอมรับว่า “สภาวธรรมที่เป็นกุศลและอกุศล ที่
มีโทษและไม่มีโทษ ที่เลวและประณีต ที่เป็นฝ่ายดำ เป็นฝ่ายขาว และเป็นฝ่ายมี
ส่วนเปรียบ มาประชุมกันได้”
[๖๐๔] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “อวิญญัติเป็นความทุศีล” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. บุคคลเป็นผู้ยึดถือบาปกรรมมิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. หากบุคคลเป็นผู้ยึดถือบาปกรรม(ตั้งใจทำกรรมชั่ว) ดังนั้น ท่านจึงควร
ยอมรับว่า “อวิญญัติเป็นความทุศีล”

อวิญญัตติทุสลีลยันติกถา จบ
ทสมวรรค จบ

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ องฺ.จตุกฺก. (แปล) ๒๑/๔๗/๗๗

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๖๕๙ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๐. ทสมวรรค] รวมกถาที่มีในวรรค
รวมกถาที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. นิโรธกถา
๒. รูปังมัคโคติกถา
๓. ปัญจวิญญาณสมังคิสสมัคคภาวนากถา
๔. ปัญจวิญญาณากุสลาปิอกุสลาปีติกถา
๕. สาโภคาติกถา
๖. ทวีหิสีเลหิกถา
๗. สีลังอเจตสิกันติกถา
๘. สีลังนจิตตานุปริวัตตีติกถา
๙. สมาทานเหตุกถา
๑๐. วิญญัตติสีลันติกถา
๑๑. อวิญญัตติทุสสีลยันติกถา
ทุติยปัณณาสก์ จบ

รวมวรรคที่มีในทุติยปัณณาสก์นี้ คือ
วรรคที่ ๖ เริ่มด้วยนิยามกถา
วรรคที่ ๗ เริ่มด้วยสังคหิตกถา
วรรคที่ ๘ เริ่มด้วยฉคติกถา
วรรคที่ ๙ เริ่มด้วยอานิสังสทัสสาวีกถา
วรรคที่ ๑๐ เริ่มด้วยนิโรธกถา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๖๖๐ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๑. เอกาทสมวรรค] ๑-๓. ติสโสปิอนุสยกถา (๑๐๖-๑๐๘)
๑๑. เอกาทสมวรรค
๑.-๓. ติสโสปิอนุสยกถา (๑๐๖-๑๐๘)
ว่าด้วยอนุสัย ๓ เรื่อง๑
[๖๐๕] สก. อนุสัยเป็นอัพยากฤตใช่ไหม
ปร.๒ ใช่๓
สก. อนุสัยเป็นอัพยากฤตฝ่ายวิบาก อัพยากฤตฝ่ายกิริยา เป็นรูป เป็น
นิพพาน เป็นจักขายตนะ ฯลฯ เป็นโผฏฐัพพายตนะใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. กามราคานุสัยเป็นอัพยากฤตใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. กามราคะ กามราคปริยุฏฐาน กามราคสังโยชน์ กาโมฆะ กามโยคะ
กามฉันทะนิวรณ์ เป็นอัพยากฤตใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. กามราคะ กามราคปริยุฏฐาน ฯลฯ กามฉันทะนิวรณ์ เป็นอกุศลใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. กามราคานุสัยเป็นอกุศลใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ปฏิฆานุสัยเป็นอัพยากฤตใช่ไหม
ปร. ใช่

เชิงอรรถ :
๑ ๓ เรื่อง คือ (๑) เรื่องอนุสัยเป็นอัพยากฤต (๒) เรื่องอนุสัยเป็นอเหตุกะ (๓) เรื่องอนุสัยเป็นจิตตวิปปยุต
(อภิ.ปญฺจ.อ. ๖๐๕-๖๑๓/๒๕๕)
๒ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายมหาสังฆิกะและนิกายสมิติยะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๖๐๕/๒๕๕-๒๕๖)
๓ เพราะมีความเห็นว่า อนุสัยไม่เป็นอกุศล แต่เป็นอัพยากฤต เป็นอเหตุกะ เป็นสภาวธรรมที่วิปปยุตจากจิต
ซึ่งต่างกับความเห็นของสกวาทีที่เห็นว่า อนุสัยเป็นอกุศล เป็นสเหตุกะ และเป็นสภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยจิต
(อภิ.ปญฺจ.อ. ๖๐๕/๒๕๕-๒๕๖)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๖๖๑ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๑. เอกาทสมวรรค] ๑-๓. ติสโสปิอนุสยกถา (๑๐๖-๑๐๘)
สก. ปฏิฆะ ปฏิฆปริยุฏฐาน ปฏิฆสังโยชน์ เป็นอัพยากฤตใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ปฏิฆะ ปฏิฆปริยุฏฐาน ปฏิฆสังโยชน์ เป็นอกุศลใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ปฏิฆานุสัยเป็นอกุศลใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. มานานุสัยเป็นอัพยากฤตใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. มานะ มานปริยุฏฐาน มานสังโยชน์ เป็นอัพยากฤตใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. มานะ มานปริยุฏฐาน มานสังโยชน์ เป็นอกุศลใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. มานานุสัยเป็นอกุศลใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ทิฏฐานุสัยเป็นอัพยากฤตใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ทิฏฐิ ทิฏโฐฆะ ทิฏฐิโยคะ ทิฏฐิปริยุฏฐาน ทิฏฐิสังโยชน์ เป็นอัพยากฤต
ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ทิฏฐิ ทิฏโฐฆะ ทิฏฐิโยคะ ทิฏฐิปริยุฏฐาน ทิฏฐิสังโยชน์ เป็นอกุศลใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ทิฏฐานุสัยเป็นอกุศลใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๖๖๒ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๑. เอกาทสมวรรค] ๑-๓. ติสโสปิอนุสยกถา (๑๐๖-๑๐๘)
สก. วิจิกิจฉานุสัยเป็นอัพยากฤตใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. วิจิกิจฉา วิจิกิจฉาปริยุฏฐาน วิจิกิจฉาสังโยชน์ วิจิกิจฉานิวรณ์ เป็น
อัพยากฤตใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. วิจิกิจฉา วิจิกิจฉาปริยุฏฐาน วิจิกิจฉาสังโยชน์ วิจิกิจฉานิวรณ์ เป็น
อกุศลใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. วิจิกิจฉานุสัยเป็นอกุศลใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ภวราคานุสัยเป็นอัพยากฤตใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ภวราคะ ภวราคปริยุฏฐาน ภวราคสังโยชน์ เป็นอัพยากฤตใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ภวราคะ ภวราคปริยุฏฐาน ภวราคสังโยชน์ เป็นอกุศลใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ภวราคานุสัยเป็นอกุศลใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. อวิชชานุสัยเป็นอัพยากฤตใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. อวิชชา อวิชโชฆะ อวิชชาโยคะ อวิชชาปริยุฏฐาน อวิชชาสังโยชน์
อวิชชานิวรณ์ เป็นอัพยากฤตใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๖๖๓ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๑. เอกาทสมวรรค] ๑-๓. ติสโสปิอนุสยกถา (๑๐๖-๑๐๘)
สก. อวิชชา อวิชโชฆะ อวิชชาโยคะ อวิชชาปริยุฏฐาน อวิชชาสังโยชน์
อวิชชานิวรณ์ เป็นอกุศลใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. อวิชชานุสัยเป็นอกุศลใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๖๐๖] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “อนุสัยเป็นอัพยากฤต” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. ปุถุชน เมื่อจิตที่เป็นกุศลและที่เป็นอัพยากฤตเป็นไปอยู่ ท่านยอมรับว่า
“มีอนุสัย” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. สภาวธรรมที่เป็นกุศลและอกุศลมาประชุมกันได้ใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. ดังนั้น อนุสัยจึงเป็นอัพยากฤต
ปร. ปุถุชน เมื่อจิตที่เป็นกุศลและที่เป็นอัพยากฤตเป็นไปอยู่ ท่านยอมรับว่า
“มีราคะ” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. สภาวธรรมที่เป็นกุศลและอกุศลมาประชุมกันได้ใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. ดังนั้น ราคะจึงเป็นอัพยากฤต
[๖๐๗] สก. อนุสัยเป็นอเหตุกะใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. อนุสัยเป็นรูป เป็นนิพพาน เป็นจักขายตนะ ฯลฯ เป็นโผฏฐัพพายตนะ
ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๖๖๔ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๑. เอกาทสมวรรค] ๑-๓. ติสโสปิอนุสยกถา (๑๐๖-๑๐๘)
สก. กามราคานุสัยเป็นอเหตุกะใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. กามราคะ กามราคปริยุฏฐาน กามราคสังโยชน์ กามฉันทนิวรณ์
เป็นอเหตุกะใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. กามราคะ กามราคปริยุฏฐาน ฯลฯ กามฉันทนิวรณ์ เป็นสเหตุกะ
ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. กามราคานุสัยเป็นสเหตุกะใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ปฏิฆานุสัย ฯลฯ มานานุสัย ทิฏฐานุสัย วิจิกิจฉานุสัย ภวราคานุสัย
ฯลฯ อวิชชานุสัย เป็นอเหตุกะใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. อวิชชา อวิชโชฆะ อวิชชาโยคะ อวิชชาปริยุฏฐาน อวิชชาสังโยชน์
อวิชชานิวรณ์ เป็นอเหตุกะใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. อวิชชา อวิชโชฆะ ฯลฯ อวิชชานิวรณ์ เป็นสเหตุกะใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. อวิชชานุสัยเป็นสเหตุกะใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๖๐๘] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “อนุสัยเป็นอเหตุกะ” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. ปุถุชน เมื่อจิตที่เป็นกุศลและที่เป็นอัพยากฤตเป็นไปอยู่ ท่านยอมรับว่า
“มีอนุสัย” ใช่ไหม
สก. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๖๖๕ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๑. เอกาทสมวรรค] ๑-๓. ติสโสปิอนุสยกถา (๑๐๖-๑๐๘)
ปร. อนุสัยเป็นสเหตุกะโดยเหตุนั้นใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. ดังนั้น อนุสัยจึงเป็นอเหตุกะ
ปร. ปุถุชน เมื่อจิตที่เป็นกุศลและที่เป็นอัพยากฤตเป็นไปอยู่ ท่านยอมรับว่า
“มีราคะ” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. ราคะเป็นสเหตุกะโดยเหตุนั้นใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. ดังนั้น ราคะจึงเป็นอเหตุกะ
[๖๐๙] สก. อนุสัย วิปปยุตจากจิตใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. อนุสัยเป็นรูป เป็นนิพพาน เป็นจักขายตนะ ฯลฯ เป็นโผฏฐัพพายตนะ
ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. กามราคานุสัย วิปปยุตจากจิตใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. กามราคะ กามราคปริยุฏฐาน กามราคสังโยชน์ กาโมฆะ กามโยคะ
กามฉันทนิวรณ์ วิปปยุตจากจิตใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. กามราคะ กามราคปริยุฏฐาน ฯลฯ กามฉันทนิวรณ์ สัมปยุตด้วยจิต
ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. กามราคานุสัย สัมปยุตด้วยจิตใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๖๖๖ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๑. เอกาทสมวรรค] ๑-๓. ติสโสปิอนุสยกถา (๑๐๖-๑๐๘)
[๖๑๐] สก. กามราคานุสัย วิปปยุตจากจิตใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. กามราคานุสัยนับเนื่องในขันธ์ไหน
ปร. นับเนื่องในสังขารขันธ์
สก. สังขารขันธ์ วิปปยุตจากจิตใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สังขารขันธ์ วิปปยุตจากจิตใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ วิปปยุตจากจิตใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. กามราคานุสัยนับเนื่องในสังขารขันธ์ แต่วิปปยุตจากจิตใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. กามราคะนับเนื่องในสังขารขันธ์ แต่วิปปยุตจากจิตใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. กามราคะนับเนื่องในสังขารขันธ์ สัมปยุตด้วยจิตใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. กามราคานุสัยนับเนื่องในสังขารขันธ์ สัมปยุตด้วยจิตใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. กามราคานุสัยนับเนื่องในสังขารขันธ์ แต่วิปปยุตจากจิต ส่วนกามราคะ
นับเนื่องในสังขารขันธ์และสัมปยุตด้วยจิตใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สังขารขันธ์ส่วนหนึ่งสัมปยุตด้วยจิต อีกส่วนหนึ่งวิปปยุตจากจิตใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๖๖๗ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๑. เอกาทสมวรรค] ๑-๓. ติสโสปิอนุสยกถา (๑๐๖-๑๐๘)
สก. สังขารขันธ์ส่วนหนึ่งสัมปยุตด้วยจิต อีกส่วนหนึ่งวิปปยุตจากจิตใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ ส่วนหนึ่งสัมปยุตด้วยจิต อีกส่วนหนึ่งวิปปยุต
จากจิตใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๖๑๑] สก. ปฏิฆานุสัย มานานุสัย ทิฏฐานุสัย วิจิกิจฉานุสัย ภวราคานุสัย
อวิชชานุสัย วิปปยุตจากจิตใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. อวิชชา อวิชโชฆะ อวิชชาโยคะ อวิชชานิวรณ์ วิปปยุตจากจิตใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. อวิชชา อวิชโชฆะ อวิชชาโยคะ อวิชชานิวรณ์ สัมปยุตด้วยจิตใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. อวิชชานุสัยสัมปยุตด้วยจิตใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๖๑๒] สก. อวิชชานุสัย วิปปยุตจากจิตใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. อวิชชานุสัย นับเนื่องในขันธ์ไหน
ปร. นับเนื่องในสังขารขันธ์
สก. สังขารขันธ์ วิปปยุตจากจิตใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สังขารขันธ์ วิปปยุตจากจิตใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ วิปปยุตจากจิตใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๖๖๘ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๑. เอกาทสมวรรค] ๑-๓. ติสโสปิอนุสยกถา (๑๐๖-๑๐๘)
สก. อวิชชานุสัยนับเนื่องในสังขารขันธ์ แต่วิปปยุตจากจิตใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. อวิชชานับเนื่องในสังขารขันธ์ แต่วิปปยุตจากจิตใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. อวิชชานับเนื่องในสังขารขันธ์ สัมปยุตด้วยจิตใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. อวิชชานุสัยนับเนื่องในสังขารขันธ์ สัมปยุตด้วยจิตใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. อวิชชานุสัยนับเนื่องในสังขารขันธ์ แต่วิปปยุตจากจิต ส่วนอวิชชานับ
เนื่องในสังขารขันธ์และสัมปยุตด้วยจิตใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สังขารขันธ์ส่วนหนึ่งสัมปยุตด้วยจิต อีกส่วนหนึ่งวิปปยุตจากจิตใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สังขารขันธ์ส่วนหนึ่งสัมปยุตด้วยจิต อีกส่วนหนึ่งวิปปยุตจากจิตใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ ส่วนหนึ่งสัมปยุตด้วยจิต อีกส่วนหนึ่งวิปปยุต
จากจิตใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๖๑๓] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “อนุสัย วิปปยุตจากจิต” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. ปุถุชน เมื่อจิตที่เป็นกุศลและที่เป็นอัพยากฤตเป็นไปอยู่ ท่านยอมรับว่า
“มีอนุสัย” ใช่ไหม
สก. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๖๖๙ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๑. เอกาทสมวรรค] ๔. ญาณกถา (๑๐๙)
ปร. อนุสัย สัมปยุตด้วยจิตนั้นใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. ดังนั้น อนุสัยจึงวิปปยุตจากจิต
ปร. ปุถุชน เมื่อจิตที่เป็นกุศลและที่เป็นอัพยากฤตเป็นไปอยู่ ท่านยอมรับว่า
“มีราคะ” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. ราคะ สัมปยุตด้วยจิตนั้นใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น
ปร. ดังนั้น ราคะจึงวิปปยุตจากจิต
ติสโสปิอนุสยกถา จบ

๔. ญาณกถา (๑๐๙)
ว่าด้วยญาณ
[๖๑๔] สก. พระอริยบุคคลเมื่อความไม่รู้ปราศไปแล้ว เมื่อจิตที่วิปปยุตจาก
ญาณเป็นไปอยู่ ท่านไม่ยอมรับว่า “มีญาณ” ใช่ไหม
ปร.๑ ใช่๒
สก. พระอริยบุคคลเมื่อราคะปราศไปแล้ว ท่านไม่ยอมรับว่า “ปราศจาก
ราคะ” ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระอริยบุคคลเมื่อความไม่รู้ปราศไปแล้ว เมื่อจิตที่วิปปยุตจากญาณ
เป็นไปอยู่ ท่านไม่ยอมรับว่า “มีญาณ” ใช่ไหม
ปร. ใช่

เชิงอรรถ :
๑ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายมหาสังฆิกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๖๑๖/๒๕๗)
๒ เพราะมีความเห็นว่า เมื่อโมหะสิ้นไป ด้วยอำนาจมรรคญาณในขณะที่เห็นรูปเป็นต้น จิต(ของพระอริยบุคคล)
เป็นจิตที่วิปปยุตจากญาณ ไม่ใช่เป็นจิตที่ประกอบด้วยมรรคญาณ จึงไม่ควรเรียกผู้นั้นว่า เป็นผู้มีญาณ ซึ่ง
ต่างกับความเห็นของสกวาทีที่เห็นว่า ควรเรียกว่า เป็นผู้มีญาณ ตามหลักปุคคลบัญญัติ (อภิ.ปญฺจ.อ.
๖๑๔/๒๕๖)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๖๗๐ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๑. เอกาทสมวรรค] ๔. ญาณกถา (๑๐๙)
สก. พระอริยบุคคลเมื่อโทสะปราศไปแล้ว โมหะปราศไปแล้ว กิเลสปราศ
ไปแล้ว ท่านไม่ยอมรับว่า “หมดกิเลส” ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระอริยบุคคลเมื่อราคะปราศไปแล้ว ท่านยอมรับว่า “ปราศจากราคะ”
ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระอริยบุคคลเมื่อความไม่รู้ปราศไปแล้ว เมื่อจิตที่วิปปยุตจากญาณเป็น
ไปอยู่ ท่านยอมรับว่า “มีญาณ” ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระอริยบุคคลเมื่อโทสะปราศไปแล้ว เมื่อโมหะปราศไปแล้ว เมื่อกิเลส
ปราศไปแล้ว ท่านยอมรับว่า “หมดกิเลส” ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระอริยบุคคลเมื่อความไม่รู้ปราศไปแล้ว เมื่อจิตที่วิปปยุตจากญาณเป็น
ไปอยู่ ท่านยอมรับว่า “มีญาณ” ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๖๑๕] ปร. พระอริยบุคคลเมื่อความไม่รู้ปราศไปแล้ว เมื่อจิตที่วิปปยุตจากญาณ
เป็นไปอยู่ ท่านยอมรับว่า “มีญาณ” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. ชื่อว่ามีญาณ ด้วยญาณที่เป็นอดีต ชื่อว่ามีญาณ ด้วยญาณที่ดับไปแล้ว
ปราศไปแล้ว ระงับไปแล้วใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ญาณกถา จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๖๗๑ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๑. เอกาทสมวรรค] ๕. ญาณังจิตตวิปปยุตตันติกถา (๑๑๐)
๕. ญาณังจิตตวิปปยุตตันติกถา (๑๑๐)
ว่าด้วยญาณวิปปยุตจากจิต
[๖๑๖] สก. ญาณ วิปปยุตจากจิตใช่ไหม
ปร.๑ ใช่
สก. ญาณเป็นรูป เป็นนิพพาน เป็นจักขายตนะ ฯลฯ เป็นโผฏฐัพพายตนะ
ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ญาณ วิปปยุตจากจิตใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ปัญญา ปัญญินทรีย์ ปัญญาพละ สัมมาทิฏฐิ ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์
วิปปยุตจากจิตใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ปัญญา ปัญญินทรีย์ ปัญญาพละ สัมมาทิฏฐิ ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์
สัมปยุตด้วยจิตใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ญาณ สัมปยุตด้วยจิตใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ญาณ วิปปยุตจากจิตใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ญาณ นับเนื่องในขันธ์ไหน
ปร. นับเนื่องในสังขารขันธ์
สก. สังขารขันธ์ วิปปยุตจากจิตใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

เชิงอรรถ :
๑ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายปุพพเสลิยะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๖๑๖/๒๕๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๖๗๒ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๑. เอกาทสมวรรค] ๕. ญาณังจิตตวิปปยุตตันติกถา (๑๑๐)
สก. สังขารขันธ์ วิปปยุตจากจิตใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ วิปปยุตจากจิตใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ญาณนับเนื่องในสังขารขันธ์ แต่วิปปยุตจากจิตใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ปัญญานับเนื่องในสังขารขันธ์ แต่วิปปยุตจากจิตใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ปัญญานับเนื่องในสังขารขันธ์ สัมปยุตด้วยจิตใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ญาณนับเนื่องในสังขารขันธ์ สัมปยุตด้วยจิตใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ญาณนับเนื่องในสังขารขันธ์ แต่วิปปยุตจากจิต ปัญญานับเนื่องใน
สังขารขันธ์และสัมปยุตด้วยจิตใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สังขารขันธ์ส่วนหนึ่งสัมปยุตด้วยจิต อีกส่วนหนึ่งวิปปยุตจากจิตใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สังขารขันธ์ส่วนหนึ่งสัมปยุตด้วยจิต อีกส่วนหนึ่งวิปปยุตจากจิตใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ ส่วนหนึ่งสัมปยุตด้วยจิต อีกส่วนหนึ่งวิปปยุต
จากจิตใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๖๗๓ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๑. เอกาทสมวรรค] ๖. อิทังทุกขันติกถา (๑๑๑)
[๖๑๗] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “ญาณวิปปยุตจากจิต” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. พระอรหันต์ผู้พรั่งพร้อมด้วยจักขุวิญญาณ ท่านยอมรับว่า “มีญาณ”
ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. ญาณ สัมปยุตด้วยจิตนั้นใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. ดังนั้น ญาณจึงวิปปยุตจากจิต
ปร. พระอรหันต์ผู้พรั่งพร้อมด้วยจักขุวิญญาณ ท่านยอมรับว่า “มีปัญญา”
ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. ปัญญา สัมปยุตด้วยจิตนั้นใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. ดังนั้น ปัญญาจึงวิปปยุตจากจิต
ญาณังจิตตวิปปยุตตันติกถา จบ

๖. อิทังทุกขันติกถา (๑๑๑)
ว่าด้วยการเปล่งวาจาว่านี้ทุกข์
[๖๑๘] สก. เมื่อเปล่งวาจาว่า “นี้ทุกข์” ญาณว่า “นี้ทุกข์” จึงดำเนินไปใช่ไหม
ปร.๑ ใช่๒

เชิงอรรถ :
๑ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอันธกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๖๑๘/๒๕๗)
๒ เพราะมีความเห็นว่า ในขณะที่บรรลุอริยมรรค จะมีการเปล่งเสียงออกมาว่า “นี้ทุกข์” การเปล่งเสียงนี้
จัดเป็นญาณ ซึ่งต่างกับความเห็นของสกวาทีที่เห็นว่า ในขณะที่บรรลุอริยมรรคนั้น จะไม่มีการเปล่งเสียง
ใด ๆ ทั้งสิ้น (อภิ.ปญฺจ.อ. ๖๑๘/๒๕๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๖๗๔ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๑. เอกาทสมวรรค] ๖. อิทังทุกขันติกถา (๑๑๑)
สก. เมื่อเปล่งวาจาว่า “นี้ทุกขสมุทัย” ญาณว่า “นี้ทุกขสมุทัย” จึงดำเนินไป
ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เมื่อเปล่งวาจาว่า “นี้ทุกข์” ญาณว่า “นี้ทุกข์” จึงดำเนินไปใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เมื่อเปล่งวาจาว่า “นี้ทุกขนิโรธ” ญาณว่า “นี้ทุกขนิโรธ” จึงดำเนินไป
ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เมื่อเปล่งวาจาว่า “นี้ทุกข์” ญาณว่า “นี้ทุกข์” จึงดำเนินไปใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เมื่อเปล่งวาจาว่า “นี้มรรค” ญาณว่า “นี้มรรค” จึงดำเนินไปใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เมื่อเปล่งวาจาว่า “นี้สมุทัย” แต่ญาณว่า “นี้สมุทัย” ไม่ดำเนินไป
ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เมื่อเปล่งวาจาว่า “นี้ทุกข์” แต่ญาณว่า “นี้ทุกข์” ไม่ดำเนินไปใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เมื่อเปล่งวาจาว่า “นี้นิโรธ” ... เมื่อเปล่งวาจาว่า “นี้มรรค” แต่ญาณว่า
“นี้มรรค” ไม่ดำเนินไปใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เมื่อเปล่งวาจาว่า “นี้ทุกข์” แต่ญาณว่า “นี้ทุกข์” ไม่ดำเนินไปใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๖๗๕ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๑. เอกาทสมวรรค] ๖. อิทังทุกขันติกถา (๑๑๑)
[๖๑๙] สก. เมื่อเปล่งวาจาว่า “นี้ทุกข์” ญาณว่า “นี้ทุกข์” จึงดำเนินไปใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เมื่อเปล่งวาจาว่า “รูปไม่เที่ยง” ญาณว่า “รูปไม่เที่ยง” จึงดำเนินไป
ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เมื่อเปล่งวาจาว่า “นี้ทุกข์” ญาณว่า “นี้ทุกข์” จึงดำเนินไปใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เมื่อเปล่งวาจาว่า “เวทนาไม่เที่ยง ฯลฯ สัญญา ฯลฯ สังขาร ฯลฯ
วิญญาณไม่เที่ยง” ญาณว่า “วิญญาณไม่เที่ยง” จึงดำเนินไปใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เมื่อเปล่งวาจาว่า “นี้ทุกข์” ญาณว่า “นี้ทุกข์” จึงดำเนินไปใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เมื่อเปล่งวาจาว่า “รูปเป็นอนัตตา” ญาณว่า “รูปเป็นอนัตตา” จึง
ดำเนินไปใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เมื่อเปล่งวาจาว่า “นี้ทุกข์” ญาณว่า “นี้ทุกข์” จึงดำเนินไปใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เมื่อเปล่งวาจาว่า “เวทนาเป็นอนัตตา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ สังขาร ฯลฯ
วิญญาณเป็นอนัตตา” ญาณว่า “วิญญาณเป็นอนัตตา” จึงดำเนินไปใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เมื่อเปล่งว่า “รูปไม่เที่ยง” แต่ญาณว่า “รูปไม่เที่ยง” ไม่ดำเนินไป
ใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๖๗๖ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๑. เอกาทสมวรรค] ๖. อิทังทุกขันติกถา (๑๑๑)
สก. เมื่อเปล่งวาจาว่า “นี้ทุกข์” แต่ญาณว่า “นี้ทุกข์” ไม่ดำเนินไปใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เมื่อเปล่งวาจาว่า “เวทนาไม่เที่ยง ฯลฯ สัญญา ฯลฯ สังขาร ฯลฯ
วิญญาณไม่เที่ยง” แต่ญาณว่า “วิญญาณไม่เที่ยง” ไม่ดำเนินไปใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เมื่อเปล่งวาจาว่า “นี้ทุกข์” แต่ญาณว่า “นี้ทุกข์” ไม่ดำเนินไปใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เมื่อเปล่งวาจาว่า “รูปเป็นอนัตตา” แต่ญาณว่า “รูปเป็นอนัตตา”
ไม่ดำเนินไปใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เมื่อเปล่งวาจาว่า “นี้ทุกข์” แต่ญาณว่า “นี้ทุกข์” ไม่ดำเนินไปใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เมื่อเปล่งวาจาว่า “เวทนาเป็นอนัตตา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ สังขาร ฯลฯ
วิญญาณเป็นอนัตตา” แต่ญาณว่า “วิญญาณเป็นอนัตตา” ไม่ดำเนินไปใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เมื่อเปล่งวาจาว่า “นี้ทุกข์” แต่ญาณว่า “นี้ทุกข์” ไม่ดำเนินไปใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๖๒๐] สก. เมื่อเปล่งวาจาว่า “นี้ทุกข์” ญาณว่า “นี้ทุกข์” จึงดำเนินไปใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ญาณว่า “อิ” ว่า “ทํ” ว่า “ทุ” และว่า “ขํ” จึงดำเนินไปใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

อิทังทุกขันติกถา จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๖๗๗ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๑. เอกาทสมวรรค] ๗. อิทธิพลกถา (๑๑๒)
อิทธิพลกถา (๑๑๒)
ว่าด้วยกำลังฤทธิ์
[๖๒๑] สก. บุคคลผู้พรั่งพร้อมด้วยกำลังฤทธิ์ พึงดำรงอยู่ได้ตลอดกัป๑
ใช่ไหม
ปร.๒ ใช่๓
สก. อายุนั้นสำเร็จได้ด้วยฤทธิ์ คตินั้นสำเร็จได้ด้วยฤทธิ์ การได้อัตภาพนั้น
ก็สำเร็จได้ด้วยฤทธิ์ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลผู้พรั่งพร้อมด้วยกำลังฤทธิ์ พึงดำรงอยู่ได้ตลอดกัปใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พึงดำรงอยู่ได้ตลอดกัปที่เป็นอดีต ตลอดกัปที่เป็นอนาคตใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลผู้พรั่งพร้อมด้วยกำลังฤทธิ์ พึงดำรงอยู่ได้ตลอดกัปใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พึงดำรงอยู่ได้ตลอด ๒-๓-๔ กัปใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

เชิงอรรถ :
๑ กัป ในที่นี้หมายถึงกัป ๓ อย่าง คือ (๑) มหากัปปะ (กัปใหญ่) ช่วงระยะเวลายาวนานจนไม่มีใครนับได้ว่ากี่ปี
บางทีเรียกว่า อสงไขยกัป (๒) กัปเปกเทสะ (ส่วนแห่งกัป) ระยะเวลาที่ยังกำหนดนับได้ ใช้นับอายุของ
พรหม เช่น พวกเทวดาชั้นพรหมมีอายุประมาณ ๑ กัป (๓) อายุกัปปะ (อายุกัป) ช่วงระยะเวลาที่นับเป็นปี
ได้ ใช้นับอายุของสัตว์นรก เทวดา และมนุษย์ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๖๒๑-๖๒๔/๒๕๘ ดูเทียบ องฺ.จตุกฺก. (แปล)
๒๑/๑๒๓/๑๘๗-๑๘๘/๑๕๖/๒๑๖-๒๑๗)
๒ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายมหาสังฆิกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๖๒๑/๒๕๘)
๓ เพราะมีความเห็นว่า ผู้มีฤทธิ์สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ตลอดมหากัป ซึ่งต่างกับความเห็นของสกวาทีที่เห็นว่า
ผู้มีฤทธิ์สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ตลอดกัป (อภิ.ปญฺจ.อ. ๖๒๑/๒๕๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๖๗๘ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๑. เอกาทสมวรรค] ๗. อิทธิพลกถา (๑๑๒)
สก. บุคคลผู้พรั่งพร้อมด้วยกำลังฤทธิ์ พึงดำรงอยู่ได้ตลอดกัปใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เมื่อยังมีอายุ๑ ก็ดำรงอยู่เท่าที่อายุยังเหลืออยู่ หรือว่าเมื่อหมดอายุก็ดำรง
อยู่เท่าที่อายุยังเหลืออยู่
ปร. เมื่อยังมีอายุ ก็ดำรงอยู่เท่าที่อายุยังเหลืออยู่ได้
สก. หากเมื่อยังมีอายุ ก็ดำรงอยู่เท่าที่อายุยังเหลืออยู่ ท่านก็ไม่ควรยอมรับ
ว่า “บุคคลผู้พรั่งพร้อมด้วยกำลังฤทธิ์ พึงดำรงอยู่ได้ตลอดกัป” ฯลฯ เมื่อยังมีอายุ
ก็ดำรงอยู่เท่าที่อายุยังเหลืออยู่ หรือว่าเมื่อหมดอายุก็ดำรงอยู่เท่าที่อายุยังเหลืออยู่
ปร. เมื่อหมดอายุ ก็ดำรงอยู่เท่าที่อายุยังเหลืออยู่
สก. บุคคลที่ตายแล้ว พึงดำรงอยู่ได้ หรือว่าบุคคลที่ทำกาละแล้วพึงดำรง
อยู่ได้
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๖๒๒] สก. บุคคลผู้พรั่งพร้อมด้วยกำลังฤทธิ์ พึงดำรงอยู่ได้ตลอดกัป
ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลใช้ฤทธิ์บังคับว่า “ผัสสะที่เกิดขึ้นแล้วอย่าดับไปเลย” ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลใช้ฤทธิ์บังคับว่า “เวทนาที่เกิดขึ้นแล้วอย่าดับไปเลย ฯลฯ
สัญญาที่เกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ เจตนาที่เกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ จิตที่เกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ

เชิงอรรถ :
๑ คำว่า อายุ นี้แปลมาจากคำว่า ชีวิตะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๖๗๙ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๑. เอกาทสมวรรค] ๗. อิทธิพลกถา (๑๑๒)
สัทธาที่เกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ วิริยะที่เกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ สติที่เกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ สมาธิ
ที่เกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ ปัญญาที่เกิดขึ้นแล้วอย่าดับไปเลย” ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลผู้พรั่งพร้อมด้วยกำลังฤทธิ์ พึงดำรงอยู่ได้ตลอดกัปใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลใช้ฤทธิ์บังคับว่า “รูปจงเป็นของเที่ยง” ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลใช้ฤทธิ์บังคับว่า “เวทนาจงเป็นของเที่ยง ฯลฯ สัญญา ฯลฯ
สังขาร ฯลฯ วิญญาณ จงเป็นของเที่ยง” ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลผู้พรั่งพร้อมด้วยกำลังฤทธิ์ พึงดำรงอยู่ได้ตลอดกัปใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลใช้ฤทธิ์บังคับว่า “สัตว์ทั้งหลายผู้มีความเกิดเป็นธรรมดา อย่าได้
เกิดเลย” ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลใช้ฤทธิ์บังคับว่า “สัตว์ทั้งหลายผู้มีความแก่เป็นธรรมดา อย่าได้
แก่เลย ฯลฯ สัตว์ทั้งหลายผู้มีความเจ็บเป็นธรรมดา อย่าได้เจ็บเลย ฯลฯ สัตว์
ทั้งหลายผู้มีความตายเป็นธรรมดา อย่าได้ตายเลย” ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๖๒๓] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “บุคคลผู้พรั่งพร้อมด้วยกำลังฤทธิ์ พึงดำรง
อยู่ได้ตลอดกัป” ใช่ไหม
สก. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๖๘๐ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๑. เอกาทสมวรรค] ๗. อิทธิพลกถา (๑๑๒)
ปร. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “อานนท์ อิทธิบาท ๔ อันผู้ใด
ผู้หนึ่งได้เจริญ ทำให้มาก ทำให้เป็นดุจยาน ทำให้เป็นที่ตั้ง ให้ตั้งมั่น สั่งสม
ปรารภดีแล้ว ผู้นั้นเมื่อมุ่งหวัง พึงดำรงอยู่ตลอด ๑ กัป หรือเกินกว่า ๑ กัป”๑ มีอยู่จริง
มิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. ดังนั้น บุคคลผู้พรั่งพร้อมด้วยกำลังฤทธิ์จึงดำรงอยู่ได้ตลอดกัป
[๖๒๔] สก. ผู้พรั่งพร้อมด้วยกำลังฤทธิ์ พึงดำรงอยู่ได้ตลอดกัปใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย ไม่มีใครเลย ไม่
ว่าจะเป็นสมณะ พราหมณ์ เทวดา มาร พรหม หรือใคร ๆ ในโลกที่จะประกันธรรม
๔ ประการ
ธรรม ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ไม่มีใครเลย ไม่ว่าจะเป็นสมณะ พราหมณ์ เทวดา มาร พรหม
หรือใคร ๆ ในโลกที่จะประกันสิ่งที่มีความแก่เป็นธรรมดาว่า ไม่แก่
๒. ไม่มีใครเลย ไม่ว่าจะเป็นสมณะ พราหมณ์ เทวดา มาร พรหม
หรือใคร ๆ ในโลกที่จะประกันสิ่งที่มีความเจ็บเป็นธรรมดาว่า ไม่เจ็บ
๓. ไม่มีใครเลย ไม่ว่าจะเป็นสมณะ พราหมณ์ เทวดา มาร พรหม
หรือใคร ๆ ในโลกที่จะประกันสิ่งที่มีความตายเป็นธรรมดาว่า
ไม่ตาย
๔. ไม่มีใครเลย ไม่ว่าจะเป็นสมณะ พราหมณ์ เทวดา มาร พรหม
หรือใคร ๆ ในโลกที่จะประกันผลแห่งกรรมชั่วที่เศร้าหมอง ให้
เกิดในภพใหม่ มีทุกข์เป็นกำไร มีทุกข์เป็นผล มีชาติ ชรา และ
มรณะต่อไปว่า ไม่บังเกิด

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ ที.ม. (แปล) ๑๐/๑๖๗/๑๑๒, สํ.ม. (แปล) ๑๙/๘๒๒/๓๘๕-๓๙๐, ขุ.อุ. (แปล) ๒๕/๕๑/๒๗๘-๒๘๔

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๖๘๑ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๑. เอกาทสมวรรค] ๘. สมาธิกถา (๑๑๓)
ภิกษุทั้งหลาย ไม่มีใครเลย ไม่ว่าจะเป็นสมณะ พราหมณ์ เทวดา มาร พรหม
หรือใคร ๆ ในโลกที่จะประกันธรรม ๔ ประการนี้แล”๑ มีอยู่จริงมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. ดังนั้น ท่านจึงไม่ควรยอมรับว่า “ผู้พรั่งพร้อมด้วยกำลังฤทธิ์พึงดำรง
อยู่ได้ตลอดกัป”
อิทธิพลกถา จบ

๘. สมาธิกถา (๑๑๓)
ว่าด้วยสมาธิ
[๖๒๕] สก. ความสืบต่อแห่งจิตเป็นสมาธิใช่ไหม
ปร.๒ ใช่๓
สก. ความสืบต่อแห่งจิตที่เป็นอดีตเป็นสมาธิใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ความสืบต่อแห่งจิตเป็นสมาธิใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ความสืบต่อแห่งจิตที่เป็นอนาคตเป็นสมาธิใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ความสืบต่อแห่งจิตเป็นสมาธิใช่ไหม
ปร. ใช่

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ องฺ.จตุกฺก. (แปล) ๒๑/๑๘๒/๒๕๘-๒๕๙
๒ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายสัพพัตถิกวาทและนิกายอุตตราปถกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๖๒๕/๒๕๙)
๓ เพราะมีความเห็นว่า เอกัคคตาเจตสิกที่เกิดขึ้นนาน ๆ หลายขณะจิตจึงจะเป็นสมาธิ ซึ่งต่างกับความเห็น
ของสกวาทีที่เห็นว่า เอกัคคตาเจตสิกที่เกิดขึ้น แม้ในขณะจิตดวงเดียว ก็เป็นสมาธิ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๖๒๕/๒๕๙)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๖๘๒ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๑. เอกาทสมวรรค] ๘. สมาธิกถา (๑๑๓)
สก. อดีตดับไปแล้ว อนาคตก็ยังไม่เกิดมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากอดีตดับไปแล้ว อนาคตก็ยังไม่เกิด ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า
“ความสืบต่อแห่งจิตเป็นสมาธิ”
[๖๒๖] ปร. สมาธิเป็นไปชั่วขณะจิตเดียวใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. บุคคลผู้พรั่งพร้อมด้วยจักขุวิญญาณเป็นผู้เข้าสมาบัติใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. บุคคลผู้พรั่งพร้อมด้วยโสตวิญญาณ ฯลฯ พรั่งพร้อมด้วยฆานวิญญาณ
ฯลฯ พรั่งพร้อมด้วยชิวหาวิญญาณ ฯลฯ พรั่งพร้อมด้วยกายวิญญาณ ฯลฯ
พรั่งพร้อมด้วยจิตที่เป็นอกุศล ฯลฯ พรั่งพร้อมด้วยจิตที่สหรคตด้วยราคะ ฯลฯ
พรั่งพร้อมด้วยจิตที่สหรคตด้วยโทสะ ฯลฯ พรั่งพร้อมด้วยจิตที่สหรคตด้วยโมหะ
ฯลฯ พรั่งพร้อมด้วยจิตที่สหรคตด้วยอโนตตัปปะ เป็นผู้เข้าสมาบัติใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ความสืบต่อแห่งจิตเป็นสมาธิใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ความสืบต่อแห่งจิตที่เป็นอกุศลเป็นสมาธิใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ความสืบต่อแห่งจิตที่สหรคตด้วยราคะ ฯลฯ ที่สหรคตด้วยโทสะ ฯลฯ
ที่สหรคตด้วยโมหะ ฯลฯ ที่สหรคตด้วยอโนตตัปปะ เป็นสมาธิใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “ความสืบต่อแห่งจิตเป็นสมาธิ” ใช่ไหม
สก. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๖๘๓ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๑. เอกาทสมวรรค] ๙. ธัมมัฏฐิตตากถา (๑๑๔)
ปร. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “นิครนถ์ เราไม่เคลื่อนไหวกาย
ไม่พูด ฯลฯ สามารถเสวยสุขโดยส่วนเดียวตลอด ๗ คืน ๗ วัน”๑ มีอยู่จริงมิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. ดังนั้น ความสืบต่อแห่งจิตจึงเป็นสมาธิ
สมาธิกถา จบ

๙. ธัมมัฏฐิตตากถา (๑๑๔)
ว่าด้วยความตั้งอยู่แห่งสภาวธรรม
[๖๒๗] สก. ความตั้งอยู่แห่งสภาวธรรม๒เป็นสภาวะสำเร็จแล้ว๓ ใช่ไหม
ปร.๔ ใช่๕
สก. ความตั้งอยู่แห่งความตั้งอยู่แห่งสภาวธรรมนั้นเป็นสภาวะสำเร็จแล้วใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ความตั้งอยู่แห่งความตั้งอยู่แห่งสภาวธรรมนั้นเป็นสภาวะสำเร็จแล้วใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. การทำที่สุดแห่งทุกข์ไม่มี ความตัดขาดวัฏฏะไม่มี อนุปาทาปรินิพพาน
ก็ไม่มี แก่ความตั้งอยู่แห่งความตั้งอยู่แห่งสภาวธรรมทั้ง ๒ ชั้นดังกล่าวมานั้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ ม.มู. (แปล) ๑๒/๑๘๐/๑๘๕
๒ ความตั้งอยู่แห่งสภาวธรรม ในที่นี้หมายถึงปฏิจจสมุปบาท (อภิ.ปญฺจ.อ. ๖๒๗/๒๖๐)
๓ สภาวะที่สำเร็จ (ปรินิปฺผนฺน) หมายถึงสำเร็จมาจากเหตุ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๖๒๗/๒๖๐)
๔ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอันธกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๖๒๗/๒๖๐)
๕ เพราะมีความเห็นว่า ความตั้งอยู่แห่งสภาวธรรมสำเร็จมาจากเหตุเพราะมีสภาวธรรมอื่นเป็นเหตุ ซึ่งต่างกับ
ความเห็นของสกวาทีที่เห็นว่า ความตั้งอยู่แห่งสภาวธรรมมิใช่สำเร็จมาจากเหตุอื่น (อภิ.ปญฺจ.อ.
๖๒๗/๒๖๐)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๖๘๔ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๑. เอกาทสมวรรค] ๙. ธัมมัฏฐิตตากถา (๑๑๔)
สก. ความตั้งอยู่แห่งรูปเป็นสภาวะสำเร็จแล้วใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ความตั้งอยู่แห่งความตั้งอยู่แห่งรูปนั้นเป็นสภาวะสำเร็จแล้วใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ความตั้งอยู่แห่งความตั้งอยู่แห่งรูปนั้นเป็นสภาวะสำเร็จแล้วใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. การทำที่สุดแห่งทุกข์ไม่มี การตัดขาดวัฏฏะไม่มี อนุปาทาปรินิพพาน
ก็ไม่มีแก่ความตั้งอยู่แห่งความตั้งอยู่แห่งรูปทั้ง ๒ ชั้นดังกล่าวมานั้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ความตั้งอยู่แห่งเวทนา ฯลฯ ความตั้งอยู่แห่งสัญญา ฯลฯ ความตั้งอยู่
แห่งสังขาร ฯลฯ ความตั้งอยู่แห่งวิญญาณ เป็นสภาวะสำเร็จแล้วใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ความตั้งอยู่แห่งความตั้งอยู่แห่งวิญญาณนั้นเป็นสภาวะสำเร็จแล้วใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ความตั้งอยู่แห่งความตั้งอยู่แห่งวิญญาณนั้นเป็นสภาวะสำเร็จแล้วใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. การทำที่สุดทุกข์ไม่มี การตัดขาดวัฏฏะไม่มี อนุปาทาปรินิพพานก็
ไม่มีแก่ความตั้งอยู่แห่งความตั้งอยู่แห่งวิญญาณทั้ง ๒ ชั้นดังกล่าวมานั้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ธัมมัฏฐิตตากถา จบ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๖๘๕ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๑. เอกาทสมวรรค] ๑๐. อนิจจตากถา (๑๑๕)
๑๐. อนิจจตากถา (๑๑๕)
ว่าด้วยความไม่เที่ยง
[๖๒๘] สก. ความไม่เที่ยงเป็นสภาวะสำเร็จแล้วใช่ไหม
ปร.๑ ใช่๒
สก. ความไม่เที่ยงแห่งความไม่เที่ยงนั้นเป็นสภาวะสำเร็จแล้วใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ความไม่เที่ยงแห่งความไม่เที่ยงนั้นเป็นสภาวะสำเร็จแล้วใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. การทำที่สุดแห่งทุกข์ไม่มี การตัดขาดวัฏฏะไม่มี อนุปาทาปรินิพพานก็
ไม่มี แก่ความไม่เที่ยงแห่งความไม่เที่ยงทั้ง ๒ ชั้นดังกล่าวมานั้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ความแก่เป็นสภาวะสำเร็จแล้วใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ความแก่แห่งความแก่นั้นเป็นสภาวะสำเร็จแล้วใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ความแก่แห่งความแก่นั้นเป็นสภาวะสำเร็จแล้วใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. การทำที่สุดแห่งทุกข์ไม่มี การตัดขาดวัฏฏะไม่มี อนุปาทาปรินิพพาน
ก็ไม่มีแก่ความแก่แห่งความแก่ทั้ง ๒ ชั้นดังกล่าวมานั้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

เชิงอรรถ :
๑ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอันธกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๖๒๘/๒๖๐)
๒ เพราะมีความเห็นว่า ความไม่เที่ยงเป็นสภาวธรรมที่สำเร็จมาจากเหตุปัจจัย ซึ่งต่างกับความเห็นของ
สกวาทีที่เห็นว่า ความไม่เที่ยงเป็นสภาวธรรมที่ไม่สำเร็จมาจากเหตุปัจจัย (อภิ.ปญฺจ.อ. ๖๒๘/๒๖๐)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๖๘๖ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๑. เอกาทสมวรรค] ๑๐. อนิจจตากถา (๑๑๕)
สก. ความตายเป็นสภาวะสำเร็จแล้วใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ความตายแห่งความตายนั้นเป็นสภาวะสำเร็จแล้วใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ความตายแห่งความตายนั้นเป็นสภาวะสำเร็จแล้วใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. การทำที่สุดแห่งทุกข์ไม่มี การตัดขาดวัฏฏะไม่มี อนุปาทาปรินิพพานก็
ไม่มีแก่ความตายแห่งความตายทั้ง ๒ ชั้นดังกล่าวมาใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๖๒๙] สก. รูปเป็นสภาวะสำเร็จแล้ว แต่ความไม่เที่ยงแห่งรูปมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ความไม่เที่ยงเป็นสภาวะสำเร็จแล้ว แต่ความไม่เที่ยงแห่งความไม่เที่ยง
มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. รูปเป็นสภาวะสำเร็จแล้ว แต่ความแก่แห่งรูปมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ความแก่เป็นสภาวะสำเร็จแล้ว แต่ความแก่แห่งความแก่มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. รูปเป็นสภาวะสำเร็จแล้ว แต่ความแตกสลาย ความอันตรธานไปแห่งรูป
มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ความตายเป็นสภาวะสำเร็จแล้ว แต่ความแตกสลาย ความอันตรธาน
ไปแห่งความตายมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๖๘๗ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๑. เอกาทสมวรรค] รวมกถาที่มีในวรรค
สก. เวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ สังขาร ฯลฯ วิญญาณ เป็นสภาวะสำเร็จแล้ว
แต่ความไม่เที่ยงแห่งวิญญาณมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ความไม่เที่ยงเป็นสภาวะสำเร็จแล้ว แต่ความไม่เที่ยงแห่งความไม่เที่ยงมีอยู่
ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. วิญญาณเป็นสภาวะสำเร็จแล้ว แต่ความแก่แห่งวิญญาณมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ความแก่เป็นสภาวะสำเร็จแล้ว แต่ความแก่แห่งความแก่มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. วิญญาณเป็นสภาวะสำเร็จแล้ว แต่ความแตกสลาย ความอันตรธานไป
แห่งวิญญาณมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ความตายเป็นสภาวะสำเร็จแล้ว แต่ความแตกสลาย ความอันตรธาน
ไปแห่งความตายมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
อนิจจตากถา จบ
เอกาทสมวรรค จบ

รวมกถาที่มีในวรรคนี้ คือ

๑-๓. ติสโสปิอนุสยกถา ๔. ญาณกถา
๕. ญาณังจิตตวิปปยุตตันติกถา ๖. อิทังทุกขันติกถา
๗. อิทธิพลกถา ๘. สมาธิกถา
๙. ธัมมัฏฐิตตากถา ๑๐. อนิจจตากถา


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๖๘๘ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๒. ทวาทสมวรรค] ๑. สังวโรกัมมันติกถา (๑๑๖)
๑๒. ทวาทสมวรรค
๑. สังวโรกัมมันติกถา (๑๑๖)
ว่าด้วยความสำรวมเป็นกรรม
[๖๓๐] สก. ความสำรวมเป็นกรรมใช่ไหม
ปร.๑ ใช่๒
สก. ความสำรวมจักขุนทรีย์เป็นจักขุกรรมใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ความสำรวมโสตินทรีย์ ฯลฯ ความสำรวมฆานินทรีย์ ฯลฯ ความ
สำรวมชิวหินทรีย์ ฯลฯ ความสำรวมกายินทรีย์ เป็นกายกรรมใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ความสำรวมกายินทรีย์เป็นกายกรรมใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ความสำรวมจักขุนทรีย์เป็นจักขุกรรมใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ความสำรวมกายินทรีย์เป็นกายกรรมใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ความสำรวมโสตินทรีย์ ฯลฯ ความสำรวมฆานินทรีย์ ฯลฯ ความ
สำรวมชิวหินทรีย์ เป็นชิวหากรรมใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

เชิงอรรถ :
๑ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายมหาสังฆิกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๖๓๐/๒๖๑)
๒ เพราะมีความเห็นว่า เจตนาไม่ชื่อว่ากรรม ความสำรวมและความไม่สำรวมเท่านั้นชื่อว่ากรรม (อภิ.ปญฺจ.อ.
๖๓๐/๒๖๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๖๘๙ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๒. ทวาทสมวรรค] ๑. สังวโรกัมมันติกถา (๑๑๖)
สก. ความสำรวมมนินทรีย์เป็นมโนกรรมใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ความสำรวมมนินทรีย์เป็นมโนกรรมใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ความสำรวมจักขุนทรีย์เป็นจักขุกรรมใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ความสำรวมมนินทรีย์เป็นมโนกรรมใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ความสำรวมโสตินทรีย์ ฯลฯ ความสำรวมฆานินทรีย์ ฯลฯ ความ
สำรวมชิวหินทรีย์ ฯลฯ ความสำรวมกายินทรีย์ เป็นกายกรรมใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๖๓๑] สก. ความไม่สำรวมเป็นกรรมใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ความไม่สำรวมจักขุนทรีย์เป็นจักขุกรรมใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ความไม่สำรวมโสตินทรีย์ ฯลฯ ความไม่สำรวมฆานินทรีย์ ฯลฯ
ความไม่สำรวมชิวหินทรีย์ ฯลฯ ความไม่สำรวมกายินทรีย์ เป็นกายกรรมใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ความไม่สำรวมกายินทรีย์เป็นกายกรรมใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๖๙๐ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๒. ทวาทสมวรรค] ๑. สังวโรกัมมันติกถา (๑๑๖)
สก. ความไม่สำรวมจักขุนทรีย์เป็นจักขุกรรมใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ความไม่สำรวมกายินทรีย์เป็นกายกรรมใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ความไม่สำรวมโสตินทรีย์ ฯลฯ ความไม่สำรวมฆานินทรีย์ ฯลฯ ความ
ไม่สำรวมชิวหินทรีย์ เป็นชิวหากรรมใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ความไม่สำรวมมนินทรีย์เป็นมโนกรรมใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ความไม่สำรวมมนินทรีย์เป็นมโนกรรมใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ความไม่สำรวมจักขุนทรีย์เป็นจักขุกรรมใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ความไม่สำรวมมนินทรีย์เป็นมโนกรรมใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ความไม่สำรวมโสตินทรีย์ ฯลฯ ความไม่สำรวมฆานินทรีย์ ฯลฯ
ความไม่สำรวมชิวหินทรีย์ ฯลฯ ความไม่สำรวมกายินทรีย์ เป็นกายกรรมใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๖๓๒] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “ความสำรวมก็ดี ความไม่สำรวมก็ดี เป็น
กรรม” ใช่ไหม
สก. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๖๙๑ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๒. ทวาทสมวรรค] ๒. กัมมกถา (๑๑๗)
ปร. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้
เห็นรูปทางตาแล้วเป็นผู้รวบถือ ฯลฯ ไม่เป็นผู้รวบถือ ฟังเสียงทางหู ฯลฯ รู้
ธรรมารมณ์ทางใจแล้วเป็นผู้รวบถือ ฯลฯ ไม่เป็นผู้รวบถือ”๑ มีอยู่จริงมิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. ดังนั้น ความสำรวมก็ดี ความไม่สำรวมก็ดีจึงเป็นกรรม
สังวโรกัมมันติกถา จบ

๒. กัมมกถา (๑๑๗)
ว่าด้วยกรรม
[๖๓๓] สก. กรรมทั้งปวงมีวิบากใช่ไหม
ปร.๒ ใช่๓
สก. เจตนาทั้งปวงมีวิบากใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เจตนาทั้งปวงมีวิบากใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เจตนาที่เป็นอัพยากฤตฝ่ายวิบากมีวิบากใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เจตนาทั้งปวงมีวิบากใช่ไหม
ปร. ใช่

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ ม.มู. (แปล) ๑๒/๓๔๙/๓๘๑-๓๘๒, องฺ.จตุกฺก. (แปล) ๒๑/๑๔/๒๕
๒ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายมหาสังฆิกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๖๓๓-๖๓๕/๒๖๒)
๓ เพราะมีความเห็นว่า กรรมทุกอย่างต้องให้ผล ไม่มีอโหสิกรรม ซึ่งต่างกับความเห็นของสกวาทีที่เห็นว่า
เจตนาทุกอย่างเป็นกรรม เจตนาที่เป็นกุศลและอกุศลให้ผล ส่วนเจตนาที่เป็นอัพยากฤตไม่ให้ผล
(เป็นอโหสิกรรม) (อภิ.ปญฺจ.อ. ๖๓๓-๖๓๕/๒๖๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๖๙๒ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๒. ทวาทสมวรรค] ๒. กัมมกถา (๑๑๗)
สก. เจตนาที่เป็นอัพยากฤตฝ่ายกิริยามีวิบากใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เจตนาทั้งปวงมีวิบากใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เจตนาที่เป็นอัพยากฤตฝ่ายวิบากที่เป็นกามาวจรมีวิบากใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เจตนาทั้งปวงมีวิบากใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เจตนาที่เป็นอัพยากฤตฝ่ายวิบากที่เป็นรูปาวจร ที่เป็นอรูปาวจร ที่
เป็นโลกุตตระมีวิบากใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เจตนาทั้งปวงมีวิบากใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เจตนาที่เป็นอัพยากฤตฝ่ายกิริยาที่เป็นกามาวจรมีวิบากใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เจตนาทั้งปวงมีวิบากใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เจตนาที่เป็นอัพยากฤตฝ่ายกิริยาที่เป็นรูปาวจร ที่เป็นอรูปาวจร ม
ีวิบากใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๖๓๔] สก. เจตนาที่เป็นอัพยากฤตฝ่ายวิบากไม่มีวิบากใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. หากเจตนาที่เป็นอัพยากฤตฝ่ายวิบากไม่มีวิบาก ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า
“เจตนาทั้งปวงมีวิบาก”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๖๙๓ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๒. ทวาทสมวรรค] ๒. กัมมกถา (๑๑๗)
สก. เจตนาที่เป็นอัพยากฤตฝ่ายกิริยาไม่มีวิบากใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. หากเจตนาที่เป็นอัพยากฤตฝ่ายกิริยาไม่มีวิบาก ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า
“เจตนาทั้งปวงมีวิบาก”
สก. เจตนาที่เป็นอัพยากฤตฝ่ายวิบาก ที่เป็นกามาวจร ที่เป็นรูปาวจร ที่
เป็นอรูปาวจร ที่เป็นโลกุตตระ ไม่มีวิบากใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. หากเจตนาที่เป็นอัพยากฤตฝ่ายวิบาก ที่เป็นโลกุตตระ ไม่มีวิบาก
ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “เจตนาทั้งปวงมีวิบาก”
สก. เจตนาที่เป็นอัพยากฤตฝ่ายกิริยาที่เป็นกามาวจร ที่เป็นรูปาวจร ที่เป็น
อรูปาวจร ไม่มีวิบากใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. หากเจตนาที่เป็นอัพยากฤตฝ่ายกิริยา ที่เป็นอรูปาวจร ไม่มีวิบาก
ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “เจตนาทั้งปวงมีวิบาก”
[๖๓๕] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “กรรมทั้งปวงมีวิบาก” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราไม่กล่าวกรรม
ที่สัตว์มีเจตนาทำไว้ สั่งสมไว้ว่า สิ้นสุด เพราะยังไม่เสวยผล ก็ผลนั้นแลสัตว์ต้อง
เสวยในอัตภาพนี้ ในอัตภาพถัดไปหรือในอัตภาพต่อ ๆ ไป”๑ มีอยู่จริงมิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. ดังนั้น กรรมทั้งปวงจึงมีวิบาก

กัมมกถา จบ

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ องฺ.ทสก. (แปล) ๒๔/๒๑๗/๓๕๗

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๖๙๔ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๒. ทวาทสมวรรค] ๓. สัทโทวิปาโกติกถา (๑๑๘)
๓. สัทโทวิปาโกติกถา (๑๑๘)
ว่าด้วยเสียงเป็นวิบาก
[๖๓๖] สก. เสียงเป็นวิบากใช่ไหม
ปร.๑ ใช่๒
สก. เสียงมีสุขเวทนา มีทุกขเวทนา มีอทุกขมสุขเวทนา สัมปยุตด้วย
สุขเวทนา สัมปยุตด้วยทุกขเวทนา สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา สัมปยุตด้วยผัสสะ
สัมปยุตด้วยเวทนา สัมปยุตด้วยสัญญา สัมปยุตด้วยเจตนา สัมปยุตด้วยจิต รับ
รู้อารมณ์ได้ มีความนึกถึง มีความผูกใจ มีความสนใจ มีความใฝ่ใจ มีความจงใจ
มีความปรารถนา มีความตั้งใจใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เสียงไม่มีสุขเวทนา ไม่มีทุกขเวทนา ฯลฯ รับรู้อารมณ์ไม่ได้ ไม่มี
ความนึกถึง ฯลฯ ไม่มีความตั้งใจมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากเสียงไม่มีสุขเวทนา ฯลฯ รับรู้อารมณ์ไม่ได้ ฯลฯ ไม่มีความนึกถึง
ฯลฯ ไม่มีความตั้งใจ ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “เสียงเป็นวิบาก”
สก. ผัสสะเป็นวิบาก มีสุขเวทนา ฯลฯ รับรู้อารมณได้ มีความนึกถึง ฯลฯ
มีความตั้งใจใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เสียงเป็นวิบาก มีสุขเวทนา ฯลฯ รับรู้อารมณ์ได้ มีความนึกถึง ฯลฯ
มีความตั้งใจใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

เชิงอรรถ :
๑ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายมหาสังฆิกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๖๓๖/๒๖๓)
๒ เพราะมีความเห็นว่า เสียงเกิดจากกรรม จึงจัดเป็นวิบาก ซึ่งต่างกับความเห็นของสกวาทีที่เห็นว่า เสียง
เป็นเพียงรูปธรรม เกิดจากจิตและอุตุ (ธรรมชาติ) ไม่เรียกว่าวิบาก ส่วนธรรมที่จะเรียกว่าวิบากได้ ต้อง
เป็นนามธรรมล้วน (อภิ.ปญฺจ.อ. ๖๓๖/๒๖๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๖๙๕ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๒. ทวาทสมวรรค] ๔. สฬายตนกถา (๑๑๙)
สก. เสียงเป็นวิบาก ไม่มีสุขเวทนา ฯลฯ รับรู้อารมณ์ไม่ได้ ไม่มีความนึกถึง
ฯลฯ ไม่มีความตั้งใจใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ผัสสะเป็นวิบาก ไม่มีสุขเวทนา ไม่มีทุกขเวทนา ฯลฯ รับรู้อารมณ์ไม่ได้
ไม่มีความนึกถึง ฯลฯ ไม่มีความตั้งใจใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๖๓๗] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “เสียงเป็นวิบาก” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “เพราะตถาคต ได้ทำ สั่งสม
พอกพูน เพิ่มพูนกรรมนั้น ตถาคตนั้น จึงมีพระสุรเสียงดุจเสียงพรหม ตรัสดุจ
เสียงร้องของนกการเวก”๑ มีอยู่จริงมิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. ดังนั้น เสียงจึงเป็นวิบาก
สัทโทวิปาโกติกถา จบ

๔. สฬายตนกถา (๑๑๙)
ว่าด้วยอายตนะ ๖
[๖๓๘] สก. จักขายตนะเป็นวิบากใช่ไหม
ปร.๒ ใช่๓
สก. จักขายตนะมีสุขเวทนา มีทุกขเวทนา ฯลฯ รับรู้อารมณ์ได้ มีความนึกถึง
ฯลฯ มีความตั้งใจใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ ที.ปา. (แปล) ๑๑/๒๓๖/๑๙๓
๒ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายมหาสังฆิกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๖๓๘/๒๖๓)
๓ เพราะมีความเห็นว่า อายตนะที่เป็นรูปเกิดจากกรรม จึงจัดเป็นวิบาก ซึ่งต่างกับความเห็นของสกวาทีที่เห็นว่า
อายตนะที่เป็นรูป เป็นเพียงรูปธรรม เกิดจากจิตและอุตุ (ธรรมชาติ) ไม่เรียกว่าวิบาก ส่วนธรรมที่จะเรียกว่า
วิบากได้ ต้องเป็นนามธรรมล้วน (อภิ.ปญฺจ.อ. ๖๓๘/๒๖๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๖๙๖ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๒. ทวาทสมวรรค] ๔. สฬายตนกถา (๑๑๙)
สก. จักขายตนะไม่มีสุขเวทนา ฯลฯ รับรู้อารมณ์ไม่ได้ ไม่มีความนึกถึง
ฯลฯ ไม่มีความตั้งใจมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากจักขายตนะไม่มีสุขเวทนา ฯลฯ รับรู้อารมณ์ไม่ได้ ไม่มีความนึกถึง
ฯลฯ ไม่มีความตั้งใจ ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “จักขายตนะเป็นวิบาก” ฯลฯ
สก. ผัสสะเป็นวิบาก มีสุขเวทนา ฯลฯ รับรู้อารมณ์ได้ มีความนึกถึง
ฯลฯ มีความตั้งใจใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. จักขายตนะเป็นวิบาก มีสุขเวทนา ฯลฯ รับรู้อารมณ์ได้ มีความนึกถึง
ฯลฯ มีความตั้งใจใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. จักขายตนะเป็นวิบาก แต่ไม่มีสุขเวทนา ฯลฯ รับรู้อารมณ์ไม่ได้ ไม่มี
ความนึกถึง ฯลฯ ไม่มีความตั้งใจใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ผัสสะเป็นวิบาก แต่ไม่มีสุขเวทนา ฯลฯ รับรู้อารมณ์ไม่ได้ ไม่มี
ความนึกถึง ฯลฯ ไม่มีความตั้งใจใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๖๓๙] สก. โสตายตนะ ฯลฯ ฆานายตนะ ฯลฯ ชิวหายตนะ ฯลฯ
กายายตนะ เป็นวิบากใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. กายายตนะมีสุขเวทนา ฯลฯ รับรู้อารมณ์ได้ มีความนึกถึง ฯลฯ มี
ความตั้งใจใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๖๙๗ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๒. ทวาทสมวรรค] ๔. สฬายตนกถา (๑๑๙)
สก. กายายตนะไม่มีสุขเวทนา ฯลฯ รับรู้อารมณ์ไม่ได้ ไม่มีความนึกถึง ฯลฯ
ไม่มีความตั้งใจใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. หากกายายตนะไม่มีสุขเวทนา ฯลฯ รับรู้อารมณ์ไม่ได้ ไม่มีความนึกถึง
ฯลฯ ไม่มีความตั้งใจ ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “กายายตนะเป็นวิบาก” ฯลฯ
สก. ผัสสะเป็นวิบาก มีสุขเวทนา ฯลฯ รับรู้อารมณ์ได้ มีความนึกถึง ฯลฯ
มีความตั้งใจใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. กายายตนะเป็นวิบาก มีสุขเวทนา ฯลฯ รับรู้อารมณ์ได้ มีความนึกถึง
ฯลฯ มีความตั้งใจใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. กายายตนะเป็นวิบาก แต่ไม่มีสุขเวทนา ฯลฯ รับรู้อารมณ์ไม่ได้ ไม่มี
ความนึกถึง ฯลฯ ไม่มีความตั้งใจใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ผัสสะเป็นวิบาก แต่ไม่มีสุขเวทนา ฯลฯ รับรู้อารมณ์ไม่ได้ ไม่มี
ความนึกถึง ฯลฯ ไม่มีความตั้งใจใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๖๔๐] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “อายตนะ ๖ เป็นวิบาก” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. อายตนะ ๖ ชื่อว่าเกิดขึ้นเพราะได้มีการทำกรรมไว้มิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. หากอายตนะ ๖ ชื่อว่าเกิดขึ้นเพราะได้มีการทำกรรมไว้ ดังนั้น ท่านจึง
ควรยอมรับว่า “อายตนะ ๖ เป็นวิบาก”

สฬายตนกถา จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๖๙๘ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๒. ทวาทสมวรรค] ๕. สัตตักขัตตุปรมกถา (๑๒๐)
๕. สัตตักขัตตุปรมกถา (๑๒๐)
ว่าด้วยบุคคลผู้สัตตักขัตตุปรมะ
[๖๔๑] สก. บุคคลผู้สัตตักขัตตุปรมะ๑ เป็นผู้แน่นอนที่จะเกิดอีก ๗ ครั้ง
เป็นอย่างยิ่งใช่ไหม
ปร.๒ ใช่๓
สก. บุคคลผู้สัตตักขัตตุปรมะ ปลงชีวิตมารดา ปลงชีวิตบิดา ปลงชีวิต
พระอรหันต์ มีจิตคิดประทุษร้ายทำร้ายพระตถาคตจนพระโลหิตห้อ ทำลายสงฆ์ให้
แตกกันได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลผู้สัตตักขัตตุปรมะเป็นผู้แน่นอนที่จะเกิดอีก ๗ ครั้งเป็นอย่างยิ่ง
ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลผู้สัตตักขัตตุปรมะนั้น เป็นผู้ไม่ควรที่จะได้บรรลุธรรมในระหว่างใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลผู้สัตตักขัตตุปรมะเป็นผู้ไม่ควรที่จะได้บรรลุธรรมในระหว่างใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เขาปลงชีวิตมารดา ปลงชีวิตบิดา ปลงชีวิตพระอรหันต์ มีจิตคิด
ประทุษร้ายทำร้ายพระตถาคตจนพระโลหิตห้อ ทำลายสงฆ์ให้แตกกันได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

เชิงอรรถ :
๑ บุคคลผู้สัตตักขัตตุปรมะ หมายถึงพระอริยบุคคลชั้นโสดาบันผู้ละสังโยชน์เบื้องต่ำ ๓ ประการได้แล้ว
ไม่มีทางตกต่ำ มีความแน่นอนที่จะสำเร็จสัมโพธิในวันข้างหน้า ท่องเที่ยวไปในเทวโลกและมนุษยโลกอีก
๗ ชาติแล้วจึงจะทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ (อภิ.ปญฺจ.อ.๓๑/๕๓-๕๔), ดูเทียบ อภิ.ปุ. (แปล) ๓๖/๓๑/๑๕๔
๒ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอุตตราปถกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๖๔๑/๒๖๔)
๓ เพราะมีความเห็นว่า พระโสดาบันประเภทสัตตักขัตตุปรมะต้องเกิดถึง ๗ ชาติ จึงจะสามารถบรรลุ
อรหัตตผลได้(ตีความตามพยัญชนะ) ซึ่งต่างกับความเห็นของสกวาทีที่เห็นว่า พระโสดาบันประเภทสัตตัก-
ขัตตุปรมะไม่มีกฎตายตัวว่าจะต้องเกิดถึง ๗ ชาติ บางท่านอาจไม่ถึง ๗ ชาติ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความแก่กล้า
แห่งอินทรีย์ของแต่ละบุคคล (อภิ.ปญฺจ.อ. ๖๔๑/๒๖๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๖๙๙ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๒. ทวาทสมวรรค] ๕. สัตตักขัตตุปรมกถา (๑๒๐)
[๖๔๒] สก. บุคคลผู้สัตตักขัตตุปรมะเป็นผู้แน่นอนที่จะเกิดอีก ๗ ครั้งเป็น
อย่างยิ่งใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลผู้สัตตักขัตตุปรมะเป็นผู้แน่นอนที่จะเกิดอีก ๗ ครั้งเป็นอย่างยิ่ง
ด้วยมรรคอันแน่นอนใด มรรคอันแน่นอนนั้นมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลผู้สัตตักขัตตุปรมะเป็นผู้แน่นอนที่จะเกิด ๗ ครั้งเป็นอย่างยิ่ง
ด้วยสติปัฏฐาน สัมมัปปธาน อิทธิบาท อินทรีย์ พละ โพชฌงค์เหล่าใด สติปัฏฐาน
สัมมัปปธาน อิทธิบาท อินทรีย์ พละ โพชฌงค์เหล่านั้นมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๖๔๓] สก. บุคคลผู้สัตตักขัตตุปรมะเป็นผู้แน่นอนที่จะเกิดอีก ๗ ครั้งเป็น
อย่างยิ่ง ด้วยมรรคอันแน่นอนใด มรรคอันแน่นอนนั้นไม่มีใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. หากบุคคลผู้สัตตักขัตตุปรมะเป็นผู้แน่นอนที่จะเกิดอีก ๗ ครั้งเป็นอย่างยิ่ง
ด้วยมรรคอันแน่นอนใด มรรคอันแน่นอนนั้นไม่มี ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “บุคคล
ผู้สัตตักขัตตุปรมะเป็นผู้แน่นอนที่จะเกิดอีก ๗ ครั้งเป็นอย่างยิ่ง”
สก. บุคคลผู้สัตตักขัตตุปรมะเป็นผู้แน่นอนที่จะเกิดอีก ๗ ครั้งเป็นอย่างยิ่ง
ด้วยสติปัฏฐาน ฯลฯ โพชฌงค์เหล่าใด สติปัฏฐาน ฯลฯ โพชฌงค์เหล่านั้น
ไม่มีใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. หากบุคคลผู้สัตตักขัตตุปรมะเป็นผู้แน่นอนที่จะเกิดอีก ๗ ครั้งเป็น
อย่างยิ่ง ด้วยโพชฌงค์เหล่าใด โพชฌงค์เหล่านั้นไม่มี ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า
“บุคคลผู้สัตตักขัตตุปรมะเป็นผู้แน่นอนที่จะเกิดอีก ๗ ครั้งเป็นอย่างยิ่ง”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๗๐๐ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๒. ทวาทสมวรรค] ๕. สัตตักขัตตุปรมกถา (๑๒๐)
[๖๔๔] สก. บุคคลผู้สัตตักขัตตุปรมะเป็นผู้แน่นอนที่จะเกิดอีก ๗ ครั้งเป็น
อย่างยิ่งใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ด้วยการกำหนดแน่นอนคือสกทาคามีใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ด้วยการกำหนดแน่นอนคืออนาคามีใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ด้วยการกำหนดแน่นอนคืออรหัตใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ด้วยการกำหนดแน่นอนอะไร
ปร. ด้วยการกำหนดแน่นอนคือโสดาปัตติผล
สก. บุคคลผู้สัตตักขัตตุปรมะเป็นผู้แน่นอนที่จะเกิด ๗ ครั้งเป็นอย่างยิ่ง
ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เหล่าชนที่ก้าวลงสู่โสดาปัตตินิยาม ทั้งหมดนั้นเป็นผู้แน่นอนที่จะเกิด
อีก ๗ ครั้งเป็นอย่างยิ่งใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๖๔๕] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “บุคคลผู้สัตตักขัตตุปรมะเป็นผู้แน่นอนที่จะเกิด
อีก ๗ ครั้งเป็นอย่างยิ่ง” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. บุคคลนั้นเป็นสัตตักขัตตุปรมะมิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. หากบุคคลนั้นเป็นสัตตักขัตตุปรมะ ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า
“บุคคลผู้สัตตักขัตตุปรมะเป็นผู้แน่นอนที่จะเกิดอีก ๗ ครั้งเป็นอย่างยิ่ง”

สัตตักขัตตุปรมกถา จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๗๐๑ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๒. ทวาทสมวรรค] ๖. โกลังโกลกถา (๑๒๑)
๖. โกลังโกลกถา (๑๒๑)
ว่าด้วยบุคคลผู้โกลังโกละ
[๖๔๖] ปร.๑ ท่านไม่ยอมรับว่า “บุคคลผู้โกลังโกละ๒ เป็นผู้แน่นอนที่จะเกิดอีก
๒-๓ ครั้ง” ใช่ไหม
สก. ใช่๓
ปร. ผู้นั้นเป็นโกลังโกละมิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. หากผู้นั้นเป็นโกลังโกละ ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “บุคคลผู้โกลัง-
โกละเป็นผู้แน่นอนที่จะเกิดอีก ๒-๓ ครั้ง”

โกลังโกลกถา จบ

เชิงอรรถ :
๑ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอุตตราปถกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๖๔๖/๒๖๖)
๒ บุคคลผู้โกลังโกละ หมายถึงพระอริยบุคคลชั้นโสดาบันผู้ละสังโยชน์เบื้องต่ำ ๓ ประการได้แล้ว ไม่มีทาง
ตกต่ำ มีความแน่นอนที่จะสำเร็จสัมโพธิในวันข้างหน้า เมื่อจะเกิดในภพใหม่เป็นเทวดาหรือมนุษย์ก็เกิด
ได้อีก ๒ หรือ ๓ ภพ และถ้าเกิดเป็นมนุษย์จะไม่เกิดในตระกูลต่ำ แต่จะเกิดในตระกูลที่มีโภคสมบัติมาก
เท่านั้น (อภิ.ปญฺจ.อ. ๓๒/๕๔), ดูเทียบ อภิ.ปุ. (แปล) ๓๖/๓๒/๑๕๔
๓ เพราะมีความเห็นว่า พระโสดาบันประเภทโกลังโกละไม่มีกฎตายตัวว่า จะต้องเกิดถึง ๓ ภพ อาจบรรลุ
อรหัตตผลก่อนก็ได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความแก่กล้าแห่งอินทรีย์ของแต่ละบุคคล ซึ่งต่างกับความเห็นของ
ปรวาทีที่เห็นว่า พระโสดาบันประเภทโกลังโกละจะต้องเกิดอีก ๓ ภพแน่นอน (อภิ.ปญฺจ.อ. ๖๔๖-๖๔๗/๒๖๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๗๐๒ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๒. ทวาทสมวรรค] ๘. ชีวิตาโวโรปนกถา (๑๒๓)
๗. เอกพีชีกถา (๑๒๒)
ว่าด้วยบุคคลผู้เอกพีชี
[๖๔๗] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “บุคคลผู้เอกพีชี๑ เป็นผู้แน่นอนที่จะเกิดอีก
ครั้งเดียว” ใช่ไหม
สก. ใช่๒
ปร. ผู้นั้นเป็นเอกพีชีมิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. หากผู้นั้นเป็นเอกพีชี ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “บุคคลผู้เอกพีชี
เป็นผู้แน่นอนที่จะเกิดอีกครั้งเดียว”
เอกพีชีกถา จบ

๘. ชีวิตาโวโรปนกถา (๑๒๓)
ว่าด้วยการปลงชีวิต
[๖๔๘] สก. บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ๓อาจจงใจปลงชีวิตสัตว์ได้ใช่ไหม
ปร.๔ใช่๕

เชิงอรรถ :
๑ บุคคลผู้เอกพีชี หมายถึงพระอริยบุคคลชั้นโสดาบันผู้ละสังโยชน์เบื้องต่ำ ๓ ประการได้แล้ว ไม่มีทาง
ตกต่ำ มีความแน่นอนที่จะสำเร็จสัมโพธิในวันข้างหน้า มีพืชคืออัตภาพเดียว คือเกิดอีกครั้งเดียวก็บรรลุ
อรหัตตผล (อภิ.ปญฺจ.อ. ๓๓/๕๔), ดูเทียบ อภิ.ปุ. (แปล) ๓๖/๓๓/๑๕๔
๒ เพราะมีความเห็นว่า ไม่มีกฎตายตัวว่า จะต้องเกิดครั้งเดียวจึงจะบรรลุอรหัตตผล อาจบรรลุในชาตินั้นก็ได้
ทั้งนี้ต้องขึ้นอยู่กับความแก่กล้าแห่งอินทรีย์ของแต่ละบุคคล ซึ่งต่างกับความเห็นของปรวาทีที่เห็นว่า ต้อง
เกิดอีก ๑ ภพแน่นอน (ตีความตามพยัญชนะ)
๓ ผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ หมายถึงพระอริยบุคคลชั้นโสดาบัน ซึ่งมีชื่อว่า “ผู้ถึงพร้อมด้วยทัศนะ” บ้าง “ผู้
มาสู่พระสัทธรรม” บ้าง “ผู้เห็นพระสัทธรรม” บ้าง “ผู้ประกอบด้วยญาณของพระเสขะ” บ้าง
“ผู้ประกอบด้วยวิชชาของพระเสขะ” บ้าง “ผู้เข้าถึงกระแสธรรม” บ้าง “ผู้มีปัญญาแทงตลอด” บ้าง
“ผู้ยืนจรดประตูอมตะ” บ้าง (องฺ.เอกก.อ. ๑/๒๖๘/๔๐๒)
๔ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายปุพพเสลิยะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๖๔๘/๒๖๕)
๕ เพราะมีความเห็นว่า แม้เป็นพระโสดาบันอยู่ก็อาจทำปาณาติบาตได้ ซึ่งต่างกับความเห็น
ของสกวาทีที่เห็นว่า พระโสดาบันจะไม่ทำปาณาติบาตโดยเจตนาอย่างแน่นอน (อภิ.ปญฺจ.อ. ๖๔๘-๖๔๙/๒๖๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๗๐๓ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๒. ทวาทสมวรรค] ๘. ชีวิตาโวโรปนกถา (๑๒๓)
สก. บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ อาจจงใจปลงชีวิตมารดา ฯลฯ ปลงชีวิตบิดา
ปลงชีวิตพระอรหันต์ มีจิตคิดประทุษร้ายทำร้ายพระตถาคตจนพระโลหิตห้อ ฯลฯ
ทำลายสงฆ์ให้แตกกันได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิอาจจงใจปลงชีวิตสัตว์ได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิเป็นผู้ไม่มีความเคารพในพระศาสดาใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิเป็นผู้ไม่มีความเคารพในพระธรรม ฯลฯ ใน
พระสงฆ์ ฯลฯ ในสิกขาใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิเป็นผู้มีความเคารพในพระศาสดามิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากบุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิเป็นผู้มีความเคารพในพระศาสดา ท่านก็ไม่
ควรยอมรับว่า “บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิอาจจงใจปลงชีวิตสัตว์ได้” บุคคลผู้ถึงพร้อม
ด้วยทิฏฐิเป็นผู้มีความเคารพในพระธรรม ฯลฯ ในพระสงฆ์ ฯลฯ ในสิกขามิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากบุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิเป็นผู้มีความเคารพในสิกขา ท่านก็ไม่ควร
ยอมรับว่า “บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิอาจจงใจปลงชีวิตสัตว์ได้”
[๖๔๙] สก. บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ เป็นผู้ไม่มีความเคารพในพระศาสดา
ใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๗๐๔ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๒. ทวาทสมวรรค] ๙. ทุคคติกถา (๑๒๔)
สก. บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิอาจถ่ายอุจจาระ ถ่ายปัสสาวะรด ถ่มน้ำลาย
ลงที่พระพุทธสถูป ทำพระพุทธสถูปไว้ทางเบื้องซ้าย๑ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิอาจจงใจปลงชีวิตสัตว์ได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย สาวกทั้งหลาย
ของเราย่อมไม่ล่วงละเมิดสิกขาบทที่เราบัญญัติไว้ แม้เพราะเหตุแห่งชีวิต เหมือน
น้ำในมหาสมุทรมีปกติคงที่ ไม่ล้นฝั่ง”๒ มีอยู่จริงมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. ดังนั้น ท่านจึงไม่ควรยอมรับว่า “บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิอาจจงใจ
ปลงชีวิตสัตว์ได้”
ชีวิตาโวโรปนกถา จบ

๙. ทุคคติกถา (๑๒๔)
ว่าด้วยทุคติ
[๖๕๐] สก. บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิละทุคติ๓ได้ใช่ไหม
ปร.๔ ใช่

เชิงอรรถ :
๑ ทำพระพุทธสถูปไว้ทางเบื้องซ้าย ในที่นี้หมายถึงการเดินเวียนซ้ายรอบพระเจดีย์ เป็นอุตราวัฏ(ทวนเข็ม
นาฬิกา) ไม่เดินเวียนขวา ที่เรียกว่ากระทำประทักษิณ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๖๔๙/๒๖๕)
๒ ดูเทียบ วิ.จู. (แปล) ๗/๓๘๕/๒๘๒-๒๘๕, องฺ.อฏฺฐก. (แปล) ๒๓/๒๐/๒๕๒-๒๕๖, ขุ.อุ. (แปล)
๒๕/๔๕/๒๖๐-๒๖๘
๓ ทุคติ โดยทั่วไปมีความหมาย ๒ อย่าง คือ (๑) เป็นชื่อภพภูมิชั้นต่ำ เช่น สัตว์ดิรัจฉาน (๒) เป็นชื่อตัณหา
คือ ความยินดี รักใคร่ในรูป เสียง กลิ่น รส เป็นต้น ของสัตว์ในทุคติ แต่ฝ่ายปรวาทีถือเอาความหมายที่ ๑
เท่านั้น (อภิ.ปญฺจ.อ. ๖๕๐-๖๕๒/๒๖๕)
๔ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอุตตราปถกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๖๕๐-๖๕๒/๒๖๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๗๐๕ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๒. ทวาทสมวรรค] ๙. ทุคคติกถา (๑๒๔)
สก. บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิยังยินดีในรูปที่มีในอบายใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. หากบุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิยังยินดีในรูปที่มีในอบาย ท่านก็ไม่ควร
ยอมรับว่า “บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิละทุคติได้”
สก. บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิละทุคติได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิยังยินดีในเสียง ฯลฯ กลิ่น ฯลฯ รส ฯลฯ
โผฏฐัพพะ ที่มีในอบาย ฯลฯ ยังเสพเมถุนธรรมกับหญิงอมนุษย์ กับสัตว์
ดิรัจฉานตัวเมีย กับนางนาค ยังรับแพะและแกะ ยังรับไก่และสุกร ยังรับช้าง โค
ม้า และลา ยังรับนกกระทา นกคุ่ม นกยูง และนกเขาใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. หากบุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิยังรับนกกระทา นกคุ่ม นกยูง และนกเขา
ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิละทุคติได้”
[๖๕๑] สก. บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิละทุคติได้ บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ
ยังยินดีในรูปที่มีในอบายใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระอรหันต์ละทุคติได้ แต่ยังยินดีในรูปที่มีในอบายใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิละทุคติได้ บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิยังยินดี
ในเสียง ฯลฯ กลิ่น ฯลฯ รส ฯลฯ โผฏฐัพพะที่มีในอบาย ยังรับนกกระทา นกคุ่ม
นกยูง และนกเขาใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระอรหันต์ละทุคติได้ แต่ยังรับนกกระทา นกคุ่ม นกยูง และนกเขา
ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๗๐๖ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๒. ทวาทสมวรรค] ๙. ทุคคติกถา (๑๒๔)
สก. พระอรหันต์ละทุคติได้และไม่ยินดีในรูปที่มีในอบายใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิละทุคติได้และไม่ยินดีในรูปที่มีในอบายใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระอรหันต์ละทุคติได้และไม่ยินดีในเสียง ฯลฯ กลิ่น ฯลฯ รส ฯลฯ
โผฏฐัพพะที่มีในอบาย ไม่เสพเมถุนธรรมกับหญิงอมนุษย์ กับสัตว์ดิรัจฉาน
ตัวเมีย กับนางนาค ไม่รับแพะและแกะ ไม่รับไก่และสุกร ไม่รับช้าง โค ม้า และลา
ฯลฯ ไม่รับนกกระทา นกคุ่ม นกยูง และนกเขาใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิละทุคติได้ และไม่รับนกกระทา นกคุ่ม
นกยูง และนกเขาใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๖๕๒] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิละทุคติได้” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิยังเกิดในนรก ฯลฯ ในกำเนิดดิรัจฉาน ยัง
เกิดในภูมิแห่งเปรตใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. ดังนั้น บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิจึงละทุคติได้

ทุคคติกถา จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๗๐๗ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๒. ทวาทสมวรรค] รวมกถาที่มีในวรรค
๑๐. สัตตมภวิกกถา (๑๒๕)
ว่าด้วยบุคคลผู้มีภพที่ ๗
[๖๕๓] ปร.๑ ท่านไม่ยอมรับว่า “บุคคลผู้มีภพที่ ๗ ละทุคติได้” ใช่ไหม
สก. ใช่๒
ปร. บุคคลผู้มีภพที่ ๗ พึงเกิดในนรก ในกำเนิดดิรัจฉาน ในภูมิแห่งเปรตได้
ใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. ดังนั้น บุคคลผู้มีภพที่ ๗ จึงละทุคติได้
สัตตมภวิกกถา จบ
ทวาทสมวรรค จบ

รวมกถาที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. สังวโรกัมมันติกถา ๒. กัมมกถา
๓. สัทโทวิปาโกติกถา ๔. สฬายตนกถา
๕. สัตตักขัตตุปรมกถา ๖. โกลังโกลกถา
๗. เอกพีชีกถา ๘. ชีวิตาโวโรปนกถา
๙. ทุคคติกถา ๑๐. สัตตมภวิกกถา


เชิงอรรถ :
๑ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอุตตราปถกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๖๕๓/๒๖๖)
๒ เพราะมีความเห็นว่า พระโสดาบันผู้จะบรรลุอรหัตตผลในภพที่ ๗ (พระโสดาบันประเภทสัตตักขัตตุปรมะ)
ยังละตัณหา คือ ยินดี รักใคร่ในสัตว์ดิรัจฉานไม่ได้ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๖๕๓/๒๖๖)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๗๐๘ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๓. เตรสมวรรค] ๑. กัปปัฏฐกถา (๑๒๖)
๑๓. เตรสมวรรค
๑. กัปปัฏฐกถา (๑๒๖)
ว่าด้วยผู้ดำรงอยู่ได้ตลอดกัป
[๖๕๔] สก. บุคคลผู้กัปปัฏฐะ๑ พึงดำรงอยู่ได้ตลอดกัปใช่ไหม
ปร.๒ ใช่๓
สก. กัปดำรงอยู่และพระพุทธเจ้าก็อุบัติในโลกใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลผู้กัปปัฏฐะพึงดำรงอยู่ได้ตลอดกัปใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. กัปดำรงอยู่และพระสงฆ์แตกกันใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลผู้กัปปัฏฐะพึงดำรงอยู่ได้ตลอดกัปใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. กัปดำรงอยู่และบุคคลผู้กัปปัฏฐะก็ทำกรรมอันเป็นเหตุให้ตั้งอยู่ตลอดกัป
ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลผู้กัปปัฏฐะพึงดำรงอยู่ได้ตลอดกัปใช่ไหม
ปร. ใช่

เชิงอรรถ :
๑ ผู้กัปปัฏฐะ หมายถึงผู้ทำกรรมหนักไม่ว่าฝ่ายกุศล หรือฝ่ายอกุศล เมื่อตายแล้วจะเกิดอยู่ในภพภูมิหนึ่ง
ตลอดกัป (อภิ.ปญฺจ.อ. ๖๕๔-๖๕๗/๒๖๖)
๒ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายราชคิริกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๖๕๔-๖๕๗/๒๖๖)
๓ เพราะมีความเห็นว่า ผู้ทำลายสงฆ์ให้แตกกันจะต้องรับกรรมในนรกตลอดกัป ที่เรียกว่ามหากัป อย่างแน่นอน
(อภิ.ปญฺจ.อ. ๖๕๔-๖๕๗/๒๖๖)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๗๐๙ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๓. เตรสมวรรค] ๑. กัปปัฏฐกถา (๑๒๖)
สก. กัปดำรงอยู่และบุคคลผู้กัปปัฏฐะทำกาละใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๖๕๕] สก. บุคคลผู้กัปปัฏฐะพึงดำรงอยู่ได้ตลอดกัปใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พึงดำรงอยู่ตลอดกัปที่เป็นอดีต ตลอดกัปที่เป็นอนาคตใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลผู้กัปปัฏฐะพึงดำรงอยู่ได้ตลอดกัปใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พึงดำรงอยู่ตลอด ๒-๓-๔ กัปใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๖๕๖] สก. บุคคลผู้กัปปัฏฐะพึงดำรงอยู่ได้ตลอดกัปใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลผู้กัปปัฏฐะ เมื่อกัปถูกไฟไหม้ไปที่ไหน
ปร. ไปโลกธาตุอื่น
สก. ตายไปหรือเหาะไป
ปร. ตายไป
สก. กรรมที่เป็นเหตุให้ตั้งอยู่ตลอดกัปเป็นกรรมให้ผลในภพต่อ ๆ ไปใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เหาะไปได้ใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๗๑๐ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๓. เตรสมวรรค] ๑. กัปปัฏฐกถา (๑๒๖)
สก. บุคคลผู้กัปปัฏฐะเป็นผู้มีฤทธิ์ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลผู้กัปปัฏฐะเป็นผู้มีฤทธิ์ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลผู้กัปปัฏฐะเจริญอิทธิบาท คือ ฉันทะ วิริยะ จิตตะ วิมังสาใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๖๕๗] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “บุคคลผู้กัปปัฏฐะยังดำรงอยู่ได้ตลอดกัป”
ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า
“บุคคลผู้ทำลายสงฆ์ให้แตกกัน ยินดีในการแตกกัน
อยู่ในอธรรม เป็นผู้เข้าถึงอบาย อยู่ในนรกตลอดกัป
พลาดจากนิพพานอันเป็นธรรมเกษมจากโยคะ๑
เสวยผลกรรมอยู่ในนรกตลอดกัป
เพราะทำลายสงฆ์ที่สามัคคีกันให้แตกแยกกัน”๒
มีอยู่จริงมิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. ดังนั้น บุคคลผู้กัปปัฏฐะจึงดำรงอยู่ได้ตลอดกัป

กัปปัฏฐกถา จบ

เชิงอรรถ :
๑ ธรรมเกษมจากโยคะ หมายถึงอรหัตตผล (องฺ.ทสก.อ. ๓/๓๙-๔๐/๓๔๕)
๒ ดูเทียบ องฺ.ทสก. (แปล) ๒๔/๓๙/๙๐-๙๑

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๗๑๑ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๓. เตรสมวรรค] ๒. กุสลปฏิลาภกถา (๑๒๗)
๒. กุสลปฏิลาภกถา (๑๒๗)
ว่าด้วยการได้จิตที่เป็นกุศล
[๖๕๘] สก. บุคคลผู้กัปปัฏฐะไม่พึงได้จิตที่เป็นกุศลใช่ไหม
ปร.๑ ใช่๒
สก. บุคคลผู้กัปปัฏฐะพึงให้ทานใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. หากบุคคลผู้กัปปัฏฐะพึงให้ทาน ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “บุคคลผู้
กัปปัฏฐะไม่พึงได้จิตที่เป็นกุศล”
สก. บุคคลผู้กัปปัฏฐะไม่พึงได้จิตที่เป็นกุศลใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลผู้กัปปัฏฐะพึงถวายจีวร ฯลฯ บิณฑบาต ฯลฯ เสนาสนะ ฯลฯ
คิลานปัจจัยเภสัชบริขาร ฯลฯ ของขบเคี้ยว ฯลฯ ของบริโภค ฯลฯ น้ำดื่ม ฯลฯ
พึงไหว้พระเจดีย์ ฯลฯ ยกดอกไม้ ฯลฯ ของหอม ฯลฯ เครื่องลูบไล้บูชาพระเจดีย์
ฯลฯ ทำประทักษิณพระเจดีย์ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. หากบุคคลผู้กัปปัฏฐะพึงทำประทักษิณพระเจดีย์ ท่านก็ไม่ควรยอมรับ
ว่า “บุคคลผู้กัปปัฏฐะไม่พึงได้จิตที่เป็นกุศล ฯลฯ”

เชิงอรรถ :
๑ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอุตตราปถกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๖๕๘-๖๕๙/๒๖๗)
๒ เพราะมีความเห็นว่า ผู้ทำลายสงฆ์ให้แตกกันนอกจากจะไม่มีโอกาสบรรลุฌาน มรรคและผลแล้ว แม้แต่
กุศลขั้นหยาบ เช่น ทาน ศีล ก็ทำไม่ขึ้น ซึ่งต่างกับความเห็นของสกวาทีที่เห็นว่า ผู้ทำลายสงฆ์ให้แตกกัน
ไม่สามารถบรรลุฌาน มรรคและผลในชาตินี้เท่านั้น แต่สามารถสร้างกุศลอย่างอื่น เช่น ให้ทาน รักษาศีลได้
(อภิ.ปญฺจ.อ. ๖๕๘-๖๕๙/๒๖๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๗๑๒ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๓. เตรสมวรรค] ๓. อนันตราปยุตตกถา (๑๒๘)
[๖๕๙] ปร. บุคคลผู้กัปปัฏฐะพึงได้จิตที่เป็นกุศลใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. บุคคลผู้กัปปัฏฐะพึงได้จิตที่เป็นกุศลเป็นเหตุออกจากจิตที่เป็นอกุศลนั้น
ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. พึงได้จิตที่เป็นกุศลที่เป็นรูปาวจร ฯลฯ อรูปารจร ฯลฯ โลกุตตระใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
กุสลปฏิลาภกถา จบ

๓. อนันตราปยุตตกถา (๑๒๘)
ว่าด้วยบุคคลผู้ใช้ให้ทำอนันตริยกรรม
[๖๖๐] ปร.๑ บุคคลผู้ใช้ให้ทำอนันตริยกรรมพึงก้าวลงสู่สัมมัตตนิยาม๒ ได้ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. พึงก้าวลงสู่มิจฉัตตนิยาม๓ และสัมมัตตนิยามทั้ง ๒ ใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. บุคคลผู้ใช้ให้ทำอนันตริยกรรมพึงก้าวลงสู่สัมมัตตนิยามได้ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. กรรมที่ใช้ให้ทำนั้นก่อความรำคาญใจให้ ให้เกิดความเดือดร้อนใจมิใช่หรือ
สก. ใช่

เชิงอรรถ :
๑ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอุตตราปถกะ ซึ่งมีความเห็นว่า ผู้ที่ใช้ให้คนอื่นทำอนันตริยกรรม เช่น ฆ่า
มารดา ฆ่าบิดา เป็นต้น ถึงจะไม่ใช่ผู้ทำอนันตริยกรรมโดยตรง แต่ก็ต้องถือว่ารับผลของอนันตริยกรรม
แน่นอน ซึ่งต่างกับความเห็นของสกวาทีที่เห็นว่า ถ้าผู้ถูกใช้ให้ทำ ไม่ทำตรงตามที่สั่งให้ทำ ผู้สั่งไม่ต้อง
รับโทษของอนันตริยกรรม (อภิ.ปญฺจ.อ. ๖๖๐-๖๖๒/๒๖๗-๒๖๘)
๒ สัมมัตตนิยาม ในที่นี้หมายถึงอริยมรรค (อภิ.ปญฺจ.อ. ๖๖๓-๖๖๔/๒๖๙)
๓ มิจฉัตตนิยาม ในที่นี้หมายถึงอนันตริยกรรม (อภิ.ปญฺจ.อ. ๖๖๓-๖๖๔/๒๖๙)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๗๑๓ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๓. เตรสมวรรค] ๓. อนันตราปยุตตกถา (๑๒๘)
ปร. หากกรรมที่ใช้ให้ทำนั้นก่อความรำคาญใจให้ ให้เกิดความเดือดร้อนใจได้
ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “บุคคลผู้ใช้ให้ทำอนันตริยกรรมพึงก้าวลงสู่สัมมัตตนิยามได้”
[๖๖๑] สก. บุคคลผู้ใช้ให้ทำอนันตริยกรรม เป็นผู้ไม่ควรก้าวลงสู่สัมมัตต-
นิยามใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เขาได้ปลงชีวิตมารดา ปลงชีวิตบิดา ปลงชีวิตพระอรหันต์ มีจิตคิด
ประทุษร้ายทำร้ายพระตถาคตจนพระโลหิตห้อ ทำลายสงฆ์ให้แตกกันใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลผู้ใช้ให้ทำอนันตริยกรรม ล้มเลิกกรรมนั้นแล้ว บรรเทาความ
รำคาญใจ กำจัดความเดือดร้อนใจได้แล้ว เป็นผู้ไม่ควรก้าวลงสู่สัมมัตตนิยามใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เขาปลงชีวิตมารดา ปลงชีวิตบิดา ฯลฯ ทำลายสงฆ์ให้แตกกันใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลผู้ใช้ให้ทำอนันตริยกรรมล้มเลิกกรรมนั้นแล้ว บรรเทาความรำคาญใจ
กำจัดความเดือดร้อนใจได้แล้ว เป็นผู้ไม่ควรก้าวลงสู่สัมมัตตนิยามใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เขาล้มเลิกกรรมนั้น บรรเทาความรำคาญใจ กำจัดความเดือดร้อนใจ
แล้วมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากเขาล้มเลิมกรรมนั้นแล้ว บรรเทาความรำคาญใจ กำจัดความ
เดือดร้อนใจได้แล้ว ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “บุคคลผู้ใช้ให้ทำอนันตริยกรรมล้ม
เลิกกรรมนั้นแล้ว บรรเทาความรำคาญใจ กำจัดความเดือดร้อนใจได้แล้ว เป็นผู้
ไม่ควรก้าวลงสู่สัมมัตตนิยาม”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๗๑๔ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๓. เตรสมวรรค] ๔. นิยตัสสนิยามกถา (๑๒๙)
[๖๖๒] ปร. บุคคลผู้ใช้ให้ทำอนันตริยกรรมพึงก้าวลงสู่สัมมัตตนิยามได้ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. เขาเป็นผู้ใช้ให้ทำกรรมนั้นมิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. หากเขาเป็นผู้ใช้ให้ทำกรรมนั้น ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “บุคคลผู้ใช้ให้
ทำอนันตริยกรรมพึงก้าวลงสู่สัมมัตตนิยาม”
อนันตราปยุตตกถา จบ

๔. นิยตัสสนิยามกถา (๑๒๙)
ว่าด้วยนิยามของบุคคลผู้แน่นอน
[๖๖๓] สก. บุคคลผู้แน่นอน๑ก้าวลงสู่นิยาม๒ ได้ใช่ไหม
ปร.๓ ใช่๔
สก. บุคคลผู้แน่นอนในมิจฉัตตะก้าวลงสู่สัมมัตตนิยามได้ บุคคลผู้แน่นอน
ในสัมมัตตะก็ก้าวลงสู่มิจฉัตตนิยามได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

เชิงอรรถ :
๑ บุคคลผู้แน่นอน ในที่นี้หมายถึงผู้เป็นพระโพธิสัตว์ที่ได้รับเอกังสพยากรณ์จากพระพุทธเจ้าว่า จักบรรลุ
โพธิญาณ (ปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้) ในอนาคตอย่างแน่นอน (อภิ.ปญฺจ.อ. ๖๖๓-๖๖๔/๒๖๙)
๒ นิยาม ในที่นี้หมายถึงนิยาม ๒ อย่าง คือ (๑) มิจฉัตตนิยามหรือเรียกว่าอนันตริยกรรม (๒) สัมมัตต-
นิยามหรือเรียกว่าอริยมรรค (อภิ.ปญฺจ.อ. ๖๖๓-๖๖๔/๒๖๙)
๓ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายปุพพเสลิยะและนิกายปรเสลิยะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๖๖๓/๒๖๙)
๔ เพราะมีความเห็นว่า พระโพธิสัตว์ผู้ได้รับเอกังสพยากรณ์ชื่อว่าเข้าถึงนิยามแล้ว โดยเชื่อว่าการได้รับ
พยากรณ์เช่นนั้นเป็นการก้าวลงสู่นิยามประเภทหนึ่ง ซึ่งต่างกับความเห็นของสกวาทีที่เห็นว่า การได้รับ
เอกังสพยากรณ์ไม่ชื่อว่าเป็นการเข้าถึงนิยาม (อภิ.ปญฺจ.อ. ๖๖๓/๒๖๙)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๗๑๕ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๓. เตรสมวรรค] ๔. นิยตัสสนิยามกถา (๑๒๙)
สก. บุคคลผู้แน่นอนก้าวลงสู่นิยามได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลผู้แน่นอนเจริญมรรคมาก่อนแล้วจึงก้าวลงสู่นิยามในภายหลังใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลผู้แน่นอนเจริญโสดาปัตติมรรคมาก่อนแล้วจึงก้าวลงสู่โสดาปัตติ-
นิยามในภายหลังใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลผู้แน่นอนเจริญสกทาคามิมรรค ฯลฯ อนาคามิมรรค ฯลฯ
อรหัตตมรรคมาก่อนแล้วจึงก้าวลงสู่อรหัตตนิยามในภายหลังใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลผู้แน่นอนเจริญสติปัฏฐาน ฯลฯ สัมมัปปธาน ฯลฯ อิทธิบาท
ฯลฯ อินทรีย์ ฯลฯ พละ ฯลฯ โพชฌงค์มาก่อนแล้วจึงก้าวลงสู่นิยามใน
ภายหลังใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๖๖๔] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “บุคคลผู้แน่นอนก้าวลงสู่นิยามได้” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. พระโพธิสัตว์เป็นผู้ไม่ควรจะบรรลุธรรมในชาตินั้นใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. ดังนั้น บุคคลผู้แน่นอนจึงก้าวลงสู่นิยามได้

นิยตัสสนิยามกถา จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๗๑๖ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๓. เตรสมวรรค] ๕. นิวุตกถา (๑๓๐)
๕. นิวุตกถา (๑๓๐)
ว่าด้วยผู้มีจิตถูกนิวรณ์ครอบงำ
[๖๖๕] สก. บุคคลผู้ถูกนิวรณ์ครอบงำละนิวรณ์ได้ใช่ไหม
ปร.๑ ใช่๒
สก. บุคคลผู้กำหนัดแล้วละราคะ ผู้ขัดเคืองแล้วละโทสะ ผู้หลงแล้วละโมหะ
ผู้เศร้าหมองแล้วละกิเลสได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลละราคะด้วยราคะ ละโทสะด้วยโทสะ ละโมหะด้วยโมหะ ละกิเลส
ด้วยกิเลสใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ราคะสัมปยุตด้วยจิต มรรคก็สัมปยุตด้วยจิตใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. มีการประชุมแห่งผัสสะ ๒ อย่าง ฯลฯ จิต ๒ ดวงใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ราคะเป็นอกุศล แต่มรรคเป็นกุศลใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สภาวธรรมที่เป็นกุศลและอกุศล ที่มีโทษและไม่มีโทษ ที่เลวและประณีต
ที่เป็นฝ่ายดำ เป็นฝ่ายขาวและเป็นฝ่ายมีส่วนเปรียบ๓ มาประชุมกันได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

เชิงอรรถ :
๑ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอุตตราปถกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๖๖๕-๖๖๗/๒๗๐)
๒ เพราะมีความเห็นว่า การละนิวรณ์นั้นจะต้องละในช่วงที่ถูกนิวรณ์ครอบงำเท่านั้น ซึ่งต่างกับความเห็นของ
สกวาทีที่เห็นว่า การละนิวรณ์นั้นจะต้องละก่อนที่จะถูกนิวรณ์ครอบงำ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๖๖๕-๖๖๗/๒๗๐)
๓ ดูเชิงอรรถที่ ๓ ข้อ ๕๙๙ หน้า ๖๕๓ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๗๑๗ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๓. เตรสมวรรค] ๕. นิวุตกถา (๑๓๐)
[๖๖๖] สก. สภาวธรรมที่เป็นกุศลและอกุศล ที่มีโทษและไม่มีโทษ ที่เลว
และประณีต ที่เป็นฝ่ายดำ เป็นฝ่ายขาวและเป็นฝ่ายมีส่วนเปรียบ มาประชุมกันได้
ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย สิ่งที่อยู่ห่างไกล
กันเหลือเกิน ๔ อย่างนี้
สิ่งที่อยู่ห่างไกลกันเหลือเกิน ๔ อย่าง อะไรบ้าง คือ
๑. ท้องฟ้ากับแผ่นดิน นี้เป็นสิ่งที่อยู่ห่างไกลกันเหลือเกินอย่างที่ ๑
ฯลฯ
เพราะฉะนั้น ธรรมของสัตบุรุษจึงห่างไกลกันกับธรรมของอสัตบุรุษ”๑
มีอยู่จริงมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. ดังนั้น ท่านจึงไม่ควรยอมรับว่า “สภาวธรรมที่เป็นกุศลและอกุศล ฯลฯ
มาประชุมกันได้”
สก. บุคคลผู้ถูกนิวรณ์ครอบงำละนิวรณ์ได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “บุคคลนั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์
ผุดผ่อง ไม่มีกิเลสเพียงดังเนิน ปราศจากความเศร้าหมอง อ่อน ควรแก่การใช้งาน
ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ย่อมน้อมจิตไปเพื่อญาณเป็นเครื่องสิ้นอาสวะ”๒] มีอยู่
จริงมิใช่หรือ
ปร. ใช่

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ องฺ.จตุกฺก. (แปล) ๒๑/๔๗/๗๗
๒ ดูเทียบ ม.อุ. (แปล) ๑๔/๑๙/๒๖

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๗๑๘ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๓. เตรสมวรรค] ๖. สัมมุขีภูตกถา (๑๓๑)
สก. ดังนั้น ท่านจึงไม่ควรยอมรับว่า “บุคคลผู้ถูกนิวรณ์ครอบงำละนิวรณ์ได้” ฯลฯ
[๖๖๗] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “บุคคลผู้ถูกนิวรณ์ครอบงำละนิวรณ์ได้” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุนั้นเมื่อรู้ เห็นอยู่อย่างนี้ จิต
ย่อมหลุดพ้นจากกามาสวะบ้าง ฯลฯ จากอวิชชาสวะบ้าง”๑ มีอยู่จริงมิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. ดังนั้น บุคคลผู้ถูกนิวรณ์ครอบงำจึงละนิวรณ์ได้
นิวุตกถา จบ

๖. สัมมุขีภูตกถา (๑๓๑)
ว่าด้วยผู้พรั่งพร้อมด้วยสังโยชน์
[๖๖๘] สก. บุคคลผู้พรั่งพร้อมด้วยสังโยชน์ละสังโยชน์ได้ใช่ไหม
ปร.๒ ใช่๓
สก. บุคคลผู้กำหนัดแล้วละราคะ ผู้ขัดเคืองแล้วละโทสะ ผู้หลงแล้วละโมหะ
ผู้เศร้าหมองแล้วละกิเลสได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลละราคะด้วยราคะ ละโทสะด้วยโทสะ ละโมหะด้วยโมหะ ละกิเสส
ด้วยกิเลสใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ ม.อุ. (แปล) ๑๔/๑๙/๒๖
๒ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอุตตราปถกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๖๖๘-๖๗๐/๒๗๐)
๓ เพราะมีความเห็นว่า การละสังโยชน์นั้นจะต้องละในช่วงที่ถูกสังโยชน์ครอบงำเท่านั้น ซึ่งต่างกับความเห็น
ของสกวาทีที่เห็นว่า การละสังโยชน์จะต้องละก่อนที่จะถูกสังโยชน์ครอบงำ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๖๖๘-๖๗๐/๒๗๐)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๗๑๙ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๓. เตรสมวรรค] ๖. สัมมุขีภูตกถา (๑๓๑)
สก. ราคะสัมปยุตด้วยจิต มรรคก็สัมปยุตด้วยจิตใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. มีการประชุมแห่งผัสสะ ๒ อย่าง ฯลฯ จิต ๒ ดวงใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ราคะเป็นอกุศล แต่มรรคเป็นกุศลใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สภาวธรรมที่เป็นกุศลและอกุศล ที่มีโทษและไม่มีโทษ ที่เลวและประณีต
ที่เป็นฝ่ายดำ เป็นฝ่ายขาวและเป็นฝ่ายมีส่วนเปรียบ มาประชุมกันได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๖๖๙] สก. สภาวธรรมที่เป็นกุศลและอกุศล ที่มีโทษและไม่มีโทษ ที่เลวและ
ประณีต ที่เป็นฝ่ายดำ เป็นฝ่ายขาว และเป็นฝ่ายมีส่วนเปรียบ มาประชุมกันได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย สิ่งที่อยู่ห่างไกล
กันเหลือเกิน ๔ อย่างนี้
สิ่งที่อยู่ห่างไกลกันเหลือเกิน ๔ อย่าง อะไรบ้าง คือ
๑. ท้องฟ้ากับแผ่นดิน นี้เป็นสิ่งที่อยู่ห่างไกลกันเหลือเกินอย่างที่ ๑
ฯลฯ
เพราะฉะนั้น ธรรมของสัตบุรุษจึงห่างไกลกันกับธรรมของอสัตบุรุษ”๑
มีอยู่จริงมิใช่หรือ
ปร. ใช่

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ องฺ.จตุกฺก. (แปล) ๒๑/๔๗/๗๗

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๗๒๐ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๓. เตรสมวรรค] ๖. สัมมุขีภูตกถา (๑๓๑)
สก. ดังนั้น ท่านจึงไม่ควรยอมรับว่า “สภาวธรรมที่เป็นกุศลและอกุศล ฯลฯ
มาประชุมกันได้”
สก. บุคคลผู้พรั่งพร้อมด้วยสังโยชน์ละสังโยชน์ได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “บุคคลนั้น เมื่อจิตตั้งมั่นอย่างนี้
ฯลฯ ย่อมน้อมจิตไปเพื่อญาณเป็นเครื่องสิ้นอาสวะ”๑ มีอยู่จริงมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. ดังนั้น ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “บุคคลผู้พรั่งพร้อมด้วยสังโยชน์ละ
สังโยชน์ได้”
[๖๗๐] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “บุคคลผู้พรั่งพร้อมด้วยสังโยชน์ละสังโยชน์ได้”
ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุนั้นเมื่อรู้ เห็นอยู่อย่างนี้ จิต
ย่อมหลุดพ้นจากกามาสวะบ้าง ฯลฯ จากอวิชชาสวะบ้าง”๒ มีอยู่จริงมิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. ดังนั้น บุคคลผู้พรั่งพร้อมด้วยสังโยชน์จึงละสังโยชน์ได้

สัมมุขีภูตกถา จบ

เชิงอรรถ :
๑-๒ ดูเทียบ ม.อุ. (แปล) ๑๔/๑๙/๒๖

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๗๒๑ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๓. เตรสมวรรค] ๗. สมาปันโนอัสสาเทติกถา (๑๓๒)
๗. สมาปันโนอัสสาเทติกถา (๑๓๒)
ว่าด้วยผู้เข้าสมาบัติย่อมยินดี
[๖๗๑] สก. บุคคลผู้เข้าสมาบัติย่อมยินดี ความยินดีในฌานมีฌานเป็น
อารมณ์ใช่ไหม
ปร.๑ ใช่๒
สก. ฌานนั้นเป็นอารมณ์ของฌานนั้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ฌานนั้นเป็นอารมณ์ของฌานนั้นใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลถูกต้องผัสสะนั้นด้วยผัสสะนั้น เสวยเวทนานั้นด้วยเวทนานั้น
จำสัญญานั้นด้วยสัญญานั้น จงใจเจตนานั้นด้วยเจตนานั้น คิดจิตนั้นด้วยจิตนั้น
ตรึกวิตกนั้นด้วยวิตกนั้น ตรองวิจารนั้นด้วยวิจารนั้น เอิบอิ่มปีตินั้นด้วยปีตินั้น
ระลึกสตินั้นด้วยสตินั้น รู้ชัดปัญญานั้นด้วยปัญญานั้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ความยินดีในฌานสัมปยุตด้วยจิต ฌานก็สัมปยุตด้วยจิตใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. มีการประชุมแห่งผัสสะ ๒ อย่าง ฯลฯ จิต ๒ ดวงใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ความยินดีในฌานเป็นอกุศล แต่ฌานเป็นกุศลใช่ไหม
ปร. ใช่

เชิงอรรถ :
๑ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอันธกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๖๗๑-๖๗๓/๒๗๐)
๒ เพราะมีความเห็นว่า ในขณะที่เข้าฌานสมาบัติ ตัณหาก็สามารถเกิดได้ ซึ่งต่างกับความเห็นของ
สกวาทีที่เห็นว่า ในขณะเข้าฌานสมาบัติกิเลสตัณหาไม่สามารถเกิดได้ ส่วนความยินดีในขณะเข้าฌาน-
สมาบัติ หมายเอาความยินดีที่เกิดขึ้นหลังจากที่เข้าฌานสมาบัติแล้ว (อภิ.ปญฺจ.อ. ๖๗๑-๖๗๓/๒๗๐)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๗๒๒ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๓. เตรสมวรรค] ๗. สมาปันโนอัสสาเทติกถา (๑๓๒)
สก. สภาวธรรมที่เป็นกุศลและอกุศล ที่มีโทษและไม่มีโทษ ที่เลวและประณีต
ที่เป็นฝ่ายดำ เป็นฝ่ายขาว และเป็นฝ่ายมีส่วนเปรียบ มาประชุมกันได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๖๗๒] สก. สภาวธรรมที่เป็นกุศลและอกุศล ที่มีโทษและไม่มีโทษ ที่เลวและ
ประณีต ที่เป็นฝ่ายดำ เป็นฝ่ายขาว และเป็นฝ่ายมีส่วนเปรียบ มาประชุมกันได้
ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย สิ่งที่อยู่ห่างไกล
กันเหลือเกิน ๔ อย่างนี้
สิ่งที่อยู่ห่างไกลกันเหลือเกิน ๔ อย่าง อะไรบ้าง คือ
๑. ท้องฟ้ากับแผ่นดิน นี้เป็นสิ่งที่อยู่ห่างไกลกันเหลือเกินอย่างที่ ๑
ฯลฯ
เพราะฉะนั้น ธรรมของสัตบุรุษจึงห่างไกลกันกับธรรมของอสัตบุรุษ”๑
มีอยู่จริงมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. ดังนั้น ท่านจึงไม่ควรยอมรับว่า “สภาวธรรมที่เป็นกุศลและอกุศล ที่
มีโทษและไม่มีโทษ ที่เลวและประณีต ที่เป็นฝ่ายดำ เป็นฝ่ายขาว และเป็นฝ่ายมี
ส่วนเปรียบ มาประชุมกันได้”
[๖๗๓] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “ผู้เข้าสมาบัติย่อมยินดี ความยินดีในฌานมี
ฌานเป็นอารมณ์” ใช่ไหม่
สก. ใช่

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ องฺ.จตุกฺก. (แปล) ๒๑/๔๗/๗๗

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๗๒๓ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๓. เตรสมวรรค] ๘. อสาตราคกถา (๑๓๓)
ปร. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้
สงัดจากกามทั้งหลาย ฯลฯ บรรลุปฐมฌานอยู่ เธอยินดีในปฐมฌานนั้น ติดใจ
ปฐมฌานนั้นและถึงความปลื้มใจด้วยฌานนั้น เพราะวิตกและวิจารสงบระงับไป
บรรลุทุติยฌาน ฯลฯ บรรลุตติยฌาน ฯลฯ บรรลุจตุตถฌานอยู่ เธอยินดีใน
จตุตถฌานนั้น ติดใจจตุตถฌานนั้น และถึงความปลื้มใจด้วยจตุตถฌานนั้น”๑
มีอยู่จริงมิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. ดังนั้น ผู้เข้าสมาบัติย่อมยินดี ความยินดีในฌานจึงมีฌานเป็นอารมณ์
สมาปันโนอัสสาเทติกถา จบ

๘. อสาตราคกถา (๑๓๓)
ว่าด้วยความยินดีในสิ่งที่ไม่ชอบใจ
[๖๗๔] สก. ความยินดีในสิ่งที่ไม่ชอบใจมีอยู่ใช่ไหม
ปร.๒ใช่๓
สก. สัตว์ทั้งหลายเป็นผู้ยินดีอย่างยิ่งในทุกข์ บางพวกปรารถนา กระหยิ่ม
แสวงหา ค้นหา เสาะหาทุกข์ ยึดทุกข์ ดำรงอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สัตว์ทั้งหลายเป็นผู้ยินดีอย่างยิ่งในสุข บางพวกปรารถนา กระหยิ่ม แสวงหา
ค้นหา เสาะหาสุข ยึดสุข ดำรงอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ องฺ.จตุกฺก. (แปล) ๒๑/๑๒๓/๑๘๗-๑๘๙
๒ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอุตตราปถกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๖๗๔/๒๗๑)
๓ เพราะมีความเห็นว่า ความยินดีแม้ในทุกขเวทนาก็มีได้ โดยอ้างพระสูตรที่ว่า ‘โส เอวํ อนุโรธวิโรธํ สมาปนฺนํ’
ซึ่งต่างกับความเห็นของสกวาทีที่เห็นว่า ความยินดีที่เกิดจากทุกขเวทนาโดยตรงไม่มี แต่ที่อาศัยทุกขเวทนา
เกิดมีอยู่ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๖๗๔/๒๗๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๗๒๔ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๓. เตรสมวรรค] ๘. อสาตราคกถา (๑๓๓)
สก. หากสัตว์ทั้งหลายเป็นผู้ยินดีอย่างยิ่งในสุข บางพวกปรารถนา กระหยิ่ม
แสวงหา ค้นหา เสาะหาสุข ยึดสุข ดำรงอยู่ ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “ความ
ยินดีในสิ่งที่ไม่ชอบใจมีอยู่”
สก. ความยินดีในสิ่งที่ไม่ชอบใจมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ราคานุสัยนอนเนื่องอยู่ในทุกขเวทนา ปฏิฆานุสัยนอนเนื่องอยู่ในสุขเวทนา
ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ราคานุสัยนอนเนื่องอยู่ในสุขเวทนา ปฏิฆานุสัยนอนเนื่องอยู่ในทุกขเวทนา
มิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากราคานุสัยนอนเนื่องอยู่ในสุขเวทนา ปฏิฆานุสัยนอนเนื่องอยู่ใน
ทุกขเวทนา ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “ความยินดีในสิ่งที่ไม่ชอบใจมีอยู่”
[๖๗๕] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “ความยินดีในสิ่งที่ไม่ชอบใจมีอยู่” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “บุคคลนั้นสมบูรณ์ด้วยความยินดี
หรือความยินร้ายอย่างนี้แล้ว เสวยเวทนาอย่างใดอย่างหนึ่งจะเป็นสุขเวทนา ทุกข-
เวทนาหรืออทุกขมสุขเวทนาก็ตาม เขาย่อมเพลิดเพลิน บ่นถึง ติดใจเวทนานั้น”๑
มีอยู่จริงมิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. ดังนั้น ความยินดีในสิ่งที่ไม่ชอบใจจึงมีอยู่

อสาตราคกถา จบ

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ ม.มู. (แปล) ๑๒/๔๐๙/๔๔๔-๔๔๕

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๗๒๕ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๓. เตรสมวรรค] ๙. ธัมมตัณหาอัพยากตาติกถา (๑๓๔)
๙. ธัมมตัณหาอัพยากตาติกถา (๑๓๔)
ว่าด้วยธัมมตัณหาเป็นอัพยากฤต
[๖๗๖] สก. ธัมมตัณหาเป็นอัพยากฤตใช่ไหม
ปร.๑ ใช่๒
สก. ธัมมตัณหาเป็นอัพยากฤตฝ่ายวิบาก เป็นอัพยากฤตฝ่ายกิริยา เป็นรูป
เป็นนิพพาน เป็นจักขายตนะ ฯลฯ เป็นโผฏฐัพพายตนะใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ธัมมตัณหาเป็นอัพยากฤตใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. รูปตัณหาเป็นอัพยากฤตใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ธัมมตัณหาเป็นอัพยากฤตใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สัททตัณหา ฯลฯ คันธตัณหา ฯลฯ รสตัณหา ฯลฯ โผฏฐัพพตัณหา
เป็นอัพยากฤตใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. รูปตัณหาเป็นอกุศลใช่ไหม
ปร. ใช่

เชิงอรรถ :
๑ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายปุพพเสลิยะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๖๗๖/๒๗๒)
๒ เพราะมีความเห็นว่า ตัณหาที่มีความยินดีในกุศลธรรมและในโลกุตตรธรรม เรียกว่าธัมมตัณหา
ธัมมตัณหานี้จัดเป็นอัพยากฤต ซึ่งต่างกับความเห็นของสกวาทีที่เห็นว่า ความยินดีในกุศลธรรมและ
ในโลกุตตรธรรมไม่จัดเป็นตัณหา แต่จัดเป็นฉันทะ ดังนั้น จึงนับเข้าในกุศลเท่านั้น (อภิ.ปญฺจ.อ.
๖๗๖-๖๘๐/๒๗๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๗๒๖ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๓. เตรสมวรรค] ๙. ธัมมตัณหาอัพยากตาติกถา (๑๓๔)
สก. ธัมมตัณหาเป็นอกุศลใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สัททตัณหา ฯลฯ โผฏฐัพพตัณหา เป็นอกุศลใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ธัมมตัณหาเป็นอกุศลใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๖๗๗] สก. ธัมมตัณหาเป็นอัพยากฤตใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ตัณหาพระผู้มีพระภาคตรัสว่าเป็นอกุศลมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากตัณหา พระผู้มีพระภาคตรัสว่าเป็นอกุศล ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า
“ธัมมตัณหาเป็นอัพยากฤต”
สก. ธัมมตัณหาเป็นอัพยากฤตใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. โลภะพระผู้มีพระภาคตรัสว่าเป็นอกุศล ธัมมตัณหาเป็นโลภะมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากโลภะ พระผู้มีพระภาคตรัสว่าเป็นอกุศล ธัมมตัณหาเป็นโลภะ
ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “ธัมมตัณหาเป็นอัพยากฤต”
[๖๗๘] สก. โลภะคือธัมมตัณหาเป็นอัพยากฤตใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. โลภะคือรูปตัณหาเป็นอัพยากฤตใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๗๒๗ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๓. เตรสมวรรค] ๙. ธัมมตัณหาอัพยากตาติกถา (๑๓๔)
สก. โลภะคือธัมมตัณหาเป็นอัพยากฤตใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. โลภะคือสัททตัณหา ฯลฯ โลภะคือโผฏฐัพพตัณหา เป็นอัพยากฤตใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. โลภะคือรูปตัณหาเป็นอกุศลใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. โลภะคือธัมมตัณหาเป็นอกุศลใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. โลภะคือสัททตัณหา ฯลฯ โลภะคือโผฏฐัพพตัณหา เป็นอกุศลใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. โลภะคือธัมมตัณหาเป็นอกุศลใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๖๗๙] สก. ธัมมตัณหาเป็นอัพยากฤตใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ตัณหาอันทำให้เกิดอีก ประกอบ
ด้วยความเพลิดเพลินและความกำหนัด มีปกติให้เพลิดเพลินในอารมณ์นั้น ๆ คือ
กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา”๑ มีอยู่จริงมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. ดังนั้น ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “ธัมมตัณหาเป็นอัพยากฤต”
[๖๘๐] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “ธัมมตัณหาเป็นอัพยากฤต” ใช่ไหม
สก. ใช่

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ วิ.ม. (แปล) ๔/๑๔/๒๑, ที.ม. (แปล) ๑๐/๔๐๐/๓๒๙-๓๓๑

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๗๒๘ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๓. เตรสมวรรค] ๑๐. ธัมมตัณหานทุกขสมุทโยติกถา (๑๓๕)
ปร. ตัณหานั้นเป็นธัมมตัณหามิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. หากตัณหานั้นเป็นธัมมตัณหา ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “ธัมม-
ตัณหาเป็นอัพยากฤต”
ธัมมตัณหาอัพยากตาติกถา จบ

๑๐. ธัมมตัณหานทุกขสมุทโยติกถา (๑๓๕)
ว่าด้วยธัมมตัณหาไม่เป็นทุกขสมุทัย
[๖๘๑] สก. ธัมมตัณหาไม่เป็นทุกขสมุทัยใช่ไหม
ปร.๑ ใช่๒
สก. รูปตัณหาไม่เป็นทุกขสมุทัยใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ธัมมตัณหาไม่เป็นทุกขสมุทัยใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สัททตัณหา ฯลฯ คันธตัณหา ฯลฯ รสตัณหา ฯลฯ โผฏฐัพพตัณหา
ไม่เป็นทุกขสมุทัยใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. รูปตัณหาเป็นทุกขสมุทัยใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ธัมมตัณหาเป็นทุกขสมุทัยใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

เชิงอรรถ :
๑ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายปุพพเสลิยะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๖๘๑-๖๘๕/๒๗๒)
๒ เพราะมีความเห็นว่า ธัมมตัณหาไม่ใช่เหตุแห่งทุกขสัจ ดังนั้นจึงไม่นับเข้าในสมุทัย ซึ่งต่างกับความ
เห็นของสกวาทีที่เห็นว่า ขึ้นชื่อว่าตัณหาแล้วจัดเป็นทุกขสมุทัย(เหตุให้เกิดทุกข์)ทั้งนั้น (อภิ.ปญฺจ.อ.
๖๘๑-๖๘๕/๒๗๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๗๒๙ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๓. เตรสมวรรค] ๑๐. ธัมมตัณหานทุกขสมุทโยติกถา (๑๓๕)
สก. สัททตัณหา ฯลฯ คันธตัณหา ฯลฯ รสตัณหา ฯลฯ โผฏฐัพพตัณหา
เป็นทุกขสมุทัยใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ธัมมตัณหาเป็นทุกขสมุทัยใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๖๘๒] สก. ธัมมตัณหาไม่เป็นทุกขสมุทัยใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ตัณหาพระผู้มีพระภาคตรัสว่าเป็นทุกขสมุทัยมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากตัณหา พระผู้มีพระภาคตรัสว่าเป็นทุกขสมุทัย ท่านก็ไม่ควรยอม
รับว่า “ธัมมตัณหาไม่เป็นทุกขสมุทัย”
สก. ธัมมตัณหาไม่เป็นทุกขสมุทัยใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. โลภะพระผู้มีพระภาคตรัสว่าเป็นทุกขสมุทัย ธัมมตัณหาเป็นโลภะมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากโลภะ พระผู้มีพระภาคตรัสว่าเป็นทุกขสมุทัย และธัมมตัณหาเป็น
โลภะ ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “ธัมมตัณหาไม่เป็นทุกขสมุทัย”
[๖๘๓] สก. โลภะคือธัมมตัณหาไม่เป็นทุกขสมุทัยใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. โลภะคือรูปตัณหาไม่เป็นทุกขสมุทัยใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๗๓๐ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๓. เตรสมวรรค] ๑๐. ธัมมตัณหานทุกขสมุทโยติกถา (๑๓๕)
สก. โลภะคือธัมมตัณหาไม่เป็นทุกขสมุทัยใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. โลภะคือสัททตัณหา ฯลฯ โลภะคือคันธตัณหา ฯลฯ โลภะคือรสตัณหา
ฯลฯ โลภะคือโผฏฐัพพตัณหา ไม่เป็นทุกขสมุทัยใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. โลภะคือรูปตัณหาเป็นทุกขสมุทัยใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. โลภะคือธัมมตัณหาเป็นทุกขสมุทัยใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. โลภะคือสัททตัณหา ฯลฯ โลภะคือโผฏฐัพพตัณหา เป็นทุกขสมุทัย
ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. โลภะคือธัมมตัณหาเป็นทุกขสมุทัยใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๖๘๔] สก. ธัมมตัณหาไม่เป็นทุกขสมุทัยใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ตัณหาอันทำให้เกิดอีก ประกอบ
ด้วยความเพลิดเพลินและความกำหนัด มีปกติให้เพลินเพลินในอารมณ์นั้น ๆ คือ
กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา” ๑ มีอยู่จริงมิใช่หรือ
ปร. ใช่

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ วิ.ม. (แปล) ๔/๑๔/๒๑, ที.ม. (แปล) ๑๐/๔๐๐/๓๒๙-๓๓๑

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๗๓๑ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๓. เตรสมวรรค] รวมกถาที่มีในวรรค
สก. ดังนั้น ท่านจึงไม่ควรยอมรับว่า “ธัมมตัณหาไม่เป็นทุกขสมุทัย”
[๖๘๕] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “ธัมมตัณหาไม่เป็นทุกขสมุทัย” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. ตัณหานั้นเป็นธัมมตัณหามิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. หากตัณหานั้นเป็นธัมมตัณหา ท่านก็ควรยอมรับว่า “ธัมมตัณหา
ไม่เป็นทุกขสมุทัย”
ธัมมตัณหานทุกขสมุทโยติกถา จบ
เตรสมวรรค จบ

รวมกถาที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. กัปปัฏฐกถา ๒. กุสลปฏิลาภกถา
๓. อนันตราปยุตตกถา ๔. นิยตัสสนิยามกถา
๕. นิวุตกถา ๖. สัมมุขีภูตกถา
๗. สมาปันโนอัสสาเทติกถา ๘. อสาตราคกถา
๙. ธัมมตัณหาอัพยากตาติกถา ๑๐. ธัมมตัณหานทุกขสมุทโยติกถา


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๗๓๒ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๔. จุททสมวรรค] ๑. กุสลากุสลปฏิสันทหนกถา (๑๓๖)
๑๔. จุททสมวรรค
๑. กุสลากุสลปฏิสันทหนกถา (๑๓๖)
ว่าด้วยความสืบต่อแห่งกุศลและอกุศล
[๖๘๖] สก. กุศลมูลสืบต่ออกุศลมูลได้ใช่ไหม
ปร.๑ ใช่๒
สก. ความนึกถึง ฯลฯ ความตั้งใจ เพื่อความเกิดขึ้นแห่งอกุศลนั้นก็เพื่อ
ความเกิดขึ้นแห่งกุศลใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. กุศลมูลสืบต่ออกุศลมูลได้ แต่ท่านไม่ยอมรับว่า “ความนึกถึง ฯลฯ
ความตั้งใจ เพื่อความเกิดขึ้นแห่งอกุศลนั้นก็เพื่อความเกิดขึ้นแห่งกุศล” ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. กุศลเกิดขึ้นแก่ผู้ไม่นึกถึงอยู่ ฯลฯ ไม่ตั้งใจอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. กุศลเกิดขึ้นแก่ผู้นึกถึงอยู่ ฯลฯ ตั้งใจอยู่มิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากกุศลเกิดขึ้นแก่ผู้นึกถึงอยู่ ฯลฯ ตั้งใจอยู่ ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า
“กุศลมูลสืบต่ออกุศลมูลได้”

เชิงอรรถ :
๑ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายมหาสังฆิกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๖๘๖-๖๙๐/๒๗๓)
๒ เพราะมีความเห็นว่า กุศลและอกุศลสามารถเกิดขึ้นต่อเนื่องกันได้ ซึ่งต่างกับความเห็นของสกวาทีที่เห็นว่า
กุศลและอกุศลไม่สามารถเกิดขึ้นต่อเนื่องกันได้ จะต้องมีสภาวธรรมอื่นหรือกาลเวลามาคั่น จึงจะเกิดขึ้นได้
(อภิ.ปญฺจ.อ. ๖๘๖-๖๙๐/๒๗๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๗๓๓ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๔. จุททสมวรรค] ๑. กุสลากุสลปฏิสันทหนกถา (๑๓๖)
[๖๘๗] สก. กุศลมูลสืบต่ออกุศลมูลได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. อกุศลเกิดขึ้นแก่ผู้มนสิการอยู่โดยไม่แยบคายใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. กุศลเกิดขึ้นแก่ผู้มนสิการอยู่โดยไม่แยบคายใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. กุศลเกิดขึ้นแก่ผู้มนสิการอยู่โดยแยบคายมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากกุศลเกิดขึ้นแก่ผู้มนสิการอยู่โดยแยบคาย ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า
“กุศลมูลสืบต่ออกุศลมูลได้”
สก. กุศลมูลสืบต่ออกุศลมูลได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เนกขัมมสัญญาเกิดขึ้นในลำดับแห่งกามสัญญา อัพยาปาทสัญญาเกิด
ขึ้นในลำดับแห่งพยาปาทสัญญา อวิหิงสาสัญญาเกิดขึ้นในลำดับแห่งวิหิงสาสัญญา
เมตตาเกิดขึ้นในลำดับแห่งพยาบาท กรุณาเกิดขึ้นในลำดับแห่งวิหิงสา มุทิตาเกิดขึ้น
ในลำดับแห่งอรติ อุเบกขาเกิดขึ้นในลำดับแห่งปฏิฆะใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๖๘๘] สก. อกุศลมูลสืบต่อกุศลมูลได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ความนึกถึง ฯลฯ ความตั้งใจ เพื่อความเกิดขึ้นแห่งกุศลนั้นก็เพื่อ
ความเกิดขึ้นแห่งอกุศลใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๗๓๔ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๔. จุททสมวรรค] ๑. กุสลากุสลปฏิสันทหนกถา (๑๓๖)
สก. อกุศลมูลสืบต่อกุศลมูลได้ แต่ท่านไม่ยอมรับว่า “ความนึกถึง ฯลฯ
ความตั้งใจ เพื่อความเกิดขึ้นแห่งกุศลนั้นก็เพื่อความเกิดขึ้นแห่งอกุศล” ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. อกุศลเกิดขึ้นแก่ผู้ไม่นึกถึงอยู่ ฯลฯ ไม่ตั้งใจอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. อกุศลเกิดขึ้นแก่ผู้นึกถึงอยู่ ฯลฯ ตั้งใจอยู่มิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากอกุศลเกิดขึ้นแก่ผู้นึกถึงอยู่ ฯลฯ ตั้งใจอยู่ ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า
“อกุศลมูลสืบต่อกุศลมูลได้”
[๖๘๙] สก. อกุศลมูลสืบต่อกุศลมูลได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. กุศลเกิดขึ้นแก่ผู้มนสิการอยู่โดยแยบคายใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. อกุศลเกิดขึ้นแก่ผู้มนสิการอยู่โดยแยบคายใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. อกุศลเกิดขึ้นแก่ผู้มนสิการอยู่โดยไม่แยบคายมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากอกุศลเกิดขึ้นแก่ผู้มนสิการโดยไม่แยบคาย ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า
“อกุศลมูลสืบต่อกุศลมูลได้”
สก. อกุศลมูลสืบต่อกุศลมูลได้ใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๗๓๕ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๔. จุททสมวรรค] ๑. กุสลากุสลปฏิสันทหนกถา (๑๓๖)
สก. กามสัญญาเกิดขึ้นในลำดับแห่งเนกขัมมสัญญา พยาปาทสัญญาเกิดขึ้น
ในลำดับแห่งอัพยาปาทสัญญา วิหิงสาสัญญาเกิดขึ้นในลำดับแห่งอวิหิงสาสัญญา
พยาบาทเกิดขึ้นในลำดับแห่งเมตตา วิหิงสาเกิดขึ้นในลำดับแห่งกรุณา อรติเกิดขึ้น
ในลำดับแห่งมุทิตา ปฏิฆะเกิดขึ้นในลำดับแห่งอุเบกขาใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๖๙๐] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “กุศลมูลสืบต่ออกุศลมูลได้ อกุศลมูลสืบต่อ
กุศลมูลได้” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. จิตคลายกำหนัดในวัตถุที่ตนกำหนัด กำหนัดในวัตถุที่ตนคลายกำหนัด
เท่านั้นมิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. หากจิตคลายกำหนัดในวัตถุที่ตนกำหนัด กำหนัดในวัตถุที่ตนคลายกำหนัด
ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “กุศลมูลสืบต่ออกุศลมูลได้ อกุศลมูลก็สืบต่อกุศล
มูลได้”

กุสลากุสลปฏิสันทหนกถา จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๗๓๖ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๔. จุททสมวรรค] ๒. สฬายตนุปปัตติกถา (๑๓๗)
๒. สฬายตนุปปัตติกถา (๑๓๗)
ว่าด้วยความเกิดขึ้นแห่งอายตนะ ๖
[๖๙๑] สก. อายตนะ ๖ เกิดในครรภ์มารดา ไม่ก่อน ไม่หลังกันใช่ไหม
ปร.๑ ใช่๒
สก. บุคคลมีอวัยวะน้อยใหญ่ครบถ้วน มีอินทรีย์ไม่บกพร่อง หยั่งลงใน
ครรภ์มารดาใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. จักขายตนะเกิดพร้อมกับปฏิสนธิจิตใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. มือ เท้า ศีรษะ หู จมูก ปาก ฟัน เกิดพร้อมกับปฏิสนธิจิตใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. โสตายตนะ ฯลฯ ฆานายตนะ ฯลฯ ชิวหายตนะ เกิดพร้อมกับ
ปฏิสนธิจิตใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. มือ เท้า ศีรษะ หู จมูก ปาก ฟัน เกิดพร้อมกับปฏิสนธิจิตใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๖๙๒] ปร. จักขายตนะเกิดขึ้นแก่สัตว์ผู้อยู่ในครรภ์มารดาในภายหลังใช่ไหม
สก. ใช่

เชิงอรรถ :
๑ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายปุพพเสลิยะและนิกายปรเสลิยะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๖๙๑/๒๗๓-๒๗๔)
๒ เพราะมีความเห็นว่า อายตนะภายใน ๖ มีตาเป็นต้นเกิดขึ้นพร้อมกันในขณะปฏิสนธิ ซึ่งต่างกับความ
เห็นของสกวาทีที่เห็นว่า อายตนะภายใน ๖ ของสัตว์ผู้เกิดในครรภ์ไม่ได้เกิดขึ้นพร้อมกันทีเดียว แต่จะ
เกิดขึ้นไปตามลำดับ คือมนายตนะกับกายายตนะ เกิดขึ้นในขณะปฏิสนธิ จักขายตนะ โสตายนะ
ฆนายตนะ และชิวหายตนะ เกิดขึ้นในเวลาต่อมา (สัปดาห์ที่ ๑๑) (อภิ.ปญฺจ.อ. ๖๙๑/๒๗๓-๒๗๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๗๓๗ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๔. จุททสมวรรค] ๒. สฬายตนุปปัตติกถา (๑๓๗)
ปร. สัตว์ผู้อยู่ในครรภ์มารดาทำกรรมเพื่อได้จักษุอยู่ในครรภ์มารดาใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. โสตายตนะ ฯลฯ ฆานายตนะ ฯลฯ ชิวหายตนะ เกิดขึ้นแก่สัตว์ผู้อยู่
ในครรภ์มารดาในภายหลังใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. สัตว์ผู้อยู่ในครรภ์มารดาทำกรรมเพื่อได้ชิวหาอยู่ในครรภ์มารดาใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ผม ขน เล็บ ฟัน กระดูก เกิดขึ้นแก่สัตว์ผู้อยู่ในครรภ์มารดาใน
ภายหลังใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สัตว์ผู้อยู่ในครรภ์มารดาทำกรรมเพื่อได้อัฐิอยู่ในครรภ์มารดาใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ท่านไม่ยอมรับว่า “ผม ขน เล็บ ฟัน กระดูก เกิดขึ้นแก่สัตว์ผู้อยู่
ในครรภ์มารดาในภายหลัง” ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า
“รูปนี้เป็นกลละ๑ก่อน
จากกลละเกิดเป็นอัพพุทะ๒

เชิงอรรถ :
๑ กลละ หมายถึงรูปที่มีลักษณะใสขนาดเท่าหยดน้ำมันที่ติดอยู่บนขนแกะ ซึ่งเหลือจากการสบัด ๓ ครั้ง
(สํ.ส.อ. ๑/๒๓๕/๒๘๔, สํ.ส.ฏีกา ๑/๒๓๕/๓๒๖)
๒ อัพพุทะ หมายถึงรูปที่เกิดถัดจากกลละนั้นไป ๗ วัน มีสีเหมือนน้ำล้างเนื้อ มีลักษณะเหมือนสีดีบุกเหลว
(สํ.ส.อ. ๑/๒๓๕/๒๘๕, สํ.ส.ฏีกา ๑/๒๓๕/๓๒๖)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๗๓๘ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๔. จุททสมวรรค] ๒. สฬายตนุปปัตติกถา (๑๓๗)
จากอัพพุทะเกิดเป็นเปสิ
จากเปสิเกิดเป็นฆนะ
จากฆนะเกิดเป็นปุ่ม ๕ ปุ่ม๑
ต่อจากนั้น ผม ขน เล็บจึงเกิดขึ้น
มารดาของสัตว์ผู้อยู่ในครรภ์นั้น
บริโภคข้าว น้ำ โภชนาหารอย่างใด
สัตว์ผู้อยู่ในครรภ์มารดานั้น
ก็ยังอัตภาพให้เป็นไปในครรภ์
ด้วยข้าว น้ำ โภชนาหารอย่างนั้น”๒
มีอยู่จริงมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. ดังนั้น ผม ขน เล็บ ฟัน กระดูก จึงเกิดขึ้นแก่สัตว์ผู้อยู่ในครรภ์
มารดาในภายหลัง

สฬายตนุปปัตติกถา จบ

เชิงอรรถ :
๑ ปุ่ม ๕ ปุ่ม หมายถึงในสัปดาห์ที่ ๕ เกิดเป็นปุ่ม ๕ ปุ่ม คือ แขน ๒ เท้า ๒ ศีรษะ ๑ (สํ.ส.อ.
๑/๒๓๕/๒๘๕)
๒ ดูเทียบ สํ.ส. (แปล) ๑๕/๒๓๕/๓๓๗-๓๓๘

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๗๓๙ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๔. จุททสมวรรค] ๓. อนันตรปัจจยกถา (๑๓๘)
๓. อนันตรปัจจยกถา (๑๓๘)
ว่าด้วยอนันตรปัจจัย
[๖๙๓] สก. โสตวิญญาณเกิดขึ้นในลำดับแห่งจักขุวิญญาณใช่ไหม
ปร.๑ ใช่๒
สก. ความนึกถึง ฯลฯ ความตั้งใจ เพื่อความเกิดขึ้นแห่งจักขุวิญญาณนั้น
ก็เพื่อความเกิดขึ้นแห่งโสตวิญญาณใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. โสตวิญญาณเกิดขึ้นในลำดับแห่งจักขุวิญญาณ แต่ท่านไม่ยอมรับว่า
“ความนึกถึง ฯลฯ ความตั้งใจ เพื่อความเกิดขึ้นแห่งจักขุวิญญาณนั้นก็เพื่อความ
เกิดขึ้นแห่งโสตวิญญาณ” ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. โสตวิญญาณเกิดขึ้นแก่ผู้ไม่นึกถึงอยู่ ฯลฯ ไม่ตั้งใจอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. โสตวิญญาณเกิดขึ้นแก่ผู้นึกถึงอยู่ ฯลฯ ตั้งใจอยู่มิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากโสตวิญญาณเกิดขึ้นแก่ผู้นึกถึงอยู่ ฯลฯ ตั้งใจอยู่ ท่านก็ไม่ควร
ยอมรับว่า “โสตวิญญาณเกิดขึ้นในลำดับแห่งจักขุวิญญาณ”

เชิงอรรถ :
๑ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอุตตราปถกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๖๙๓-๖๙๗/๒๗๔)
๒ เพราะมีความเห็นว่า วิญญาณ ๕ เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องโดยไม่มีจิตอื่นมาคั่นในระหว่าง ซึ่งต่างกับความ
เห็นของสกวาทีที่เห็นว่า วิญญาณ ๕ เกิดขึ้นไม่ต่อเนื่องกันโดยต้องมีอารมณ์มาคั่นในระหว่าง เช่น
เมื่อจักขุวิญญาณเกิดขึ้นจะต้องมีรูปารมณ์มาคั่น จึงจะเกิดโสตวิญญาณต่อไปได้ (อภิ.ปญฺจ.อ.
๖๙๓-๖๙๗/๒๗๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๗๔๐ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๔. จุททสมวรรค] ๓. อนันตรปัจจยกถา (๑๓๘)
[๖๙๔] สก. โสตวิญญาณเกิดขึ้นในลำดับแห่งจักขุวิญญาณใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. จักขุวิญญาณเกิดขึ้นแก่ผู้มนสิการรูปนิมิตใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. โสตวิญญาณเกิดขึ้นแก่ผู้มนสิการรูปนิมิตใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. จักขุวิญญาณมีรูปเป็นอารมณ์เท่านั้น ไม่มีอย่างอื่นเป็นอารมณ์ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. โสตวิญญาณมีรูปเป็นอารมณ์เท่านั้น ไม่มีอย่างอื่นเป็นอารมณ์ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เพราะอาศัยจักษุและรูป จักขุวิญญาณจึงเกิดขึ้นใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เพราะอาศัยจักษุและรูป โสตวิญญาณจึงเกิดขึ้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เพราะอาศัยจักษุและรูป โสตวิญญาณจึงเกิดขึ้นใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสูตรที่ว่า “เพราะอาศัยจักษุและรูป โสตวิญญาณจึงเกิดขึ้น” ๑ มี
อยู่จริงใช่ไหม
ปร. ไม่มี
สก. พระสูตรที่ว่า “เพราะอาศัยจักษุและรูป จักขุวิญญาณจึงเกิดขึ้น” ๒ มีอยู่
จริงใช่ไหม
ปร. ใช่

เชิงอรรถ :
๑-๒ ดูเทียบ สํ.สฬา. (แปล) ๑๘/๙๓/๙๔-๙๗

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๗๔๑ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๔. จุททสมวรรค] ๓. อนันตรปัจจยกถา (๑๓๘)
สก. หากพระสูตรที่ว่า “เพราะอาศัยจักษุกับรูป จักขุวิญญาณจึงเกิดขึ้น”๑
มีอยู่จริง ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “เพราะอาศัยจักษุและรูป โสตวิญญาณจึงเกิดขึ้น”
สก. โสตวิญญาณเกิดขึ้นในลำดับแห่งจักขุวิญญาณใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. จักขุวิญญาณกับโสตวิญญาณเป็นอย่างเดียวกันใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๖๙๕] สก. ฆานวิญญาณเกิดขึ้นในลำดับแห่งโสตวิญญาณ ฯลฯ ชิวหา-
วิญญาณเกิดขึ้นในลำดับแห่งฆานวิญญาณ ฯลฯ กายวิญญาณเกิดขึ้นในลำดับแห่ง
ชิวหาวิญญาณใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ความนึกถึง ฯลฯ ความตั้งใจ เพื่อความเกิดขึ้นแห่งชิวหาวิญญาณนั้น
ก็เพื่อความเกิดขึ้นแห่งกายวิญญาณใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. กายวิญญาณเกิดขึ้นในลำดับแห่งชิวหาวิญญาณ แต่ท่านไม่ยอมรับว่า
“ความนึกถึง ฯลฯ ความตั้งใจ เพื่อความเกิดขึ้นแห่งชิวหาวิญญาณนั้นก็เพื่อ
ความเกิดขึ้นแห่งกายวิญญาณ” ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. กายวิญญาณเกิดขึ้นแก่ผู้ไม่นึกถึงอยู่ ฯลฯ ไม่ตั้งใจอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ สํ.สฬา. (แปล) ๑๘/๙๓/๙๔-๙๗

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๗๔๒ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๔. จุททสมวรรค] ๓. อนันตรปัจจยกถา (๑๓๘)
สก. กายวิญญาณเกิดขึ้นแก่ผู้นึกถึงอยู่ ฯลฯ ตั้งใจอยู่มิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากกายวิญญาณเกิดขึ้นแก่ผู้นึกถึงอยู่ ฯลฯ ผู้ตั้งใจอยู่ ท่านก็ไม่ควร
ยอมรับว่า “กายวิญญาณเกิดขึ้นในลำดับแห่งชิวหาวิญญาณ”
[๖๙๖] สก. กายวิญญาณเกิดขึ้นในลำดับแห่งชิวหาวิญญาณใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ชิวหาวิญญาณเกิดขึ้นแก่ผู้มนสิการรสนิมิตใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. กายวิญญาณเกิดขึ้นแก่ผู้มนสิการรสนิมิตใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ชิวหาวิญญาณมีรสเป็นอารมณ์เท่านั้น ไม่มีอย่างอื่นเป็นอารมณ์ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. กายวิญญาณมีรสเป็นอารมณ์เท่านั้น ไม่มีอย่างอื่นเป็นอารมณ์ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เพราะอาศัยชิวหาและรส ชิวหาวิญญาณจึงเกิดขึ้นใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เพราะอาศัยชิวหาและรส กายวิญญาณจึงเกิดขึ้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เพราะอาศัยชิวหาและรส กายวิญญาณจึงเกิดขึ้นใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๗๔๓ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๔. จุททสมวรรค] ๓. อนันตรปัจจยกถา (๑๓๘)
สก. พระสูตรที่ว่า “เพราะอาศัยชิวหาและรส กายวิญญาณจึงเกิดขึ้น” ๑ มีอยู่
ใช่ไหม
ปร. ไม่มี
สก. พระสูตรที่ว่า “เพราะอาศัยชิวหาและรส ชิวหาวิญญาณจึงเกิดขึ้น”๒
มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. หากพระสูตรที่ว่า “เพราะอาศัยชิวหาและรส ชิวหาวิญญาณจึง
เกิดขึ้น”๓ มีอยู่จริง ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “เพราะอาศัยชิวหาและรส กาย-
วิญญาณจึงเกิดขึ้น”
สก. กายวิญญาณเกิดขึ้นในลำดับแห่งชิวหาวิญญาณใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ชิวหาวิญญาณกับกายวิญญาณเป็นอย่างเดียวกันใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๖๙๗] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “วิญญาณ ๕ เกิดขึ้นต่อเนื่องกันและกัน”
ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. บางคนที่ฟ้อนรำ ขับร้อง ประโคมดนตรี เห็นรูป ฟังเสียง ดมกลิ่น
ลิ้มรสและถูกต้องโผฏฐัพพะมีอยู่มิใช่หรือ
สก. ใช่

เชิงอรรถ :
๑-๓ ดูเทียบ สํ.สฬา. (แปล) ๑๘/๙๓/๙๔-๙๗

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๗๔๔ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๔. จุททสมวรรค] ๔. อริยรูปกถา (๑๓๙)
ปร. หากบางคนที่ฟ้อนรำ ขับร้อง ประโคมดนตรี เห็นรูป ฟังเสียง ดมกลิ่น
ลิ้มรสและถูกต้องโผฏฐัพพะได้มีอยู่ ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “วิญญาณ ๕
เกิดขึ้นต่อเนื่องกันและกัน”
อนันตรปัจจยกถา จบ

๔. อริยรูปกถา (๑๓๙)
ว่าด้วยอริยรูป
[๖๙๘] สก. อริยรูป๑อาศัยมหาภูตรูปใช่ไหม
ปร.๒ ใช่๓
สก. อริยรูปเป็นกุศลใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. มหาภูตรูปเป็นกุศลใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. มหาภูตรูปเป็นอัพยากฤตใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. อริยรูปเป็นอัพยากฤตใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. อริยรูปอาศัยมหาภูตรูปใช่ไหม
ปร. ใช่

เชิงอรรถ :
๑ อริยรูป แปลว่ารูปของพระอริยะหรือรูปที่เป็นอริยะ ในที่นี้หมายถึงสัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ ที่นับ
เนื่องในอริยมรรค (อภิ.ปญฺจ.อ. ๖๙๘-๖๙๙/๒๗๕)
๒ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอุตตราปถกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๖๙๘-๖๙๙/๒๗๕)
๓ เพราะมีความเห็นว่า อริยรูปจัดเป็นอุปาทายรูป เพราะอาศัยมหาภูตรูป ๔ ซึ่งต่างกับความเห็นของ
สกวาทีที่เห็นว่า อริยรูป คือสัมมาวาจาและสัมมากัมมันตะไม่จัดเป็นรูป (อภิ.ปญฺจ.อ. ๖๙๘-๖๙๙/๒๗๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๗๔๕ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๔. จุททสมวรรค] ๔. อริยรูปกถา (๑๓๙)
สก. อริยรูปไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะ ไม่เป็นอารมณ์ของสังโยชน์ ไม่เป็น
อารมณ์ของคันถะ ไม่เป็นอารมณ์ของโอฆะ ไม่เป็นอารมณ์ของโยคะ ไม่เป็นอารมณ์
ของนิวรณ์ ไม่เป็นอารมณ์ของปรามาส ไม่เป็นอารมณ์ของอุปาทาน ไม่เป็น
อารมณ์ของสังกิเลสใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. มหาภูตรูปไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะ ฯลฯ ไม่เป็นอารมณ์ของสังกิเลส
ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. มหาภูตรูปเป็นอารมณ์ของอาสวะ เป็นอารมณ์ของสังโยชน์ ฯลฯ
เป็นอารมณ์ของสังกิเลสใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. อริยรูปเป็นอารมณ์ของอาสวะ เป็นอารมณ์ของสังโยชน์ เป็นอารมณ์ของ
สังกิเลสใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๖๙๙] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “อริยรูปอาศัยมหาภูตรูป” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย รูปอย่างใดอย่าง
หนึ่ง คือ มหาภูตรูป ๔ และรูปที่อาศัยมหาภูตรูป ๔”๑ มีอยู่จริงมิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. ดังนั้น อริยรูปจึงอาศัยมหาภูตรูป

อริยรูปกถา จบ

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ ม.มู. (แปล) ๑๒/๓๔๗/๓๗๗-๓๘๐

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๗๔๖ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๔. จุททสมวรรค] ๕. อัญโญอนุสโยติกถา (๑๔๐)
๕. อัญโญอนุสโยติกถา (๑๔๐)
ว่าด้วยอนุสัยเป็นคนละอย่างกัน(กับปริยุฏฐานกิเลส)
[๗๐๐] สก. กามราคานุสัยกับกามราคปริยุฏฐานเป็นคนละอย่างกันใช่ไหม
ปร.๑ ใช่๒
สก. กามราคะกับกามราคปริยุฏฐานเป็นคนละอย่างกันใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. กามราคะกับกามราคปริยุฏฐานเป็นอย่างเดียวกันใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. กามราคานุสัยกับกามราคปริยุฏฐานเป็นอย่างเดียวกันใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ปฏิฆานุสัยกับปฏิฆปริยุฏฐานเป็นคนละอย่างกันใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ปฏิฆะกับปฏิฆปริยุฏฐานเป็นคนละอย่างกันใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ปฏิฆะกับปฏิฆปริยุฏฐานเป็นอย่างเดียวกันใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ปฏิฆานุสัยกับปฏิฆปริยุฏฐานเป็นอย่างเดียวกันใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. มานานุสัยกับมานปริยุฏฐานเป็นคนละอย่างกันใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. มานะกับมานปริยุฏฐานเป็นคนละอย่างกันใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

เชิงอรรถ :
๑ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอันธกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๗๐๐-๗๐๑/๒๗๕)
๒ เพราะมีความเห็นว่า เมื่อจิตที่เป็นอกุศลหรืออัพยากฤตกำลังเป็นไป ปุถุชนชื่อว่าเป็นผู้มีอนุสัย แต่ไม่มี
ปริยุฏฐานกิเลส ดังนั้น อนุสัยกับปริยุฏฐานกิเลสจึงเป็นคนละอย่างกัน (อภิ.ปญฺจ.อ. ๗๐๐-๗๐๑/๒๗๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๗๔๗ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๔. จุททสมวรรค] ๕. อัญโญอนุสโยติกถา (๑๔๐)
สก. มานะกับมานปริยุฏฐานเป็นอย่างเดียวกันใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. มานานุสัยกับมานปริยุฏฐานเป็นอย่างเดียวกันใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ทิฏฐานุสัยกับทิฏฐิปริยุฏฐานเป็นคนละอย่างกันใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ทิฏฐิกับทิฏฐิปริยุฏฐานเป็นคนละอย่างกันใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ทิฏฐิกับทิฏฐิปริยุฏฐานเป็นอย่างเดียวกันใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ทิฏฐานุสัยกับทิฏฐิปริยุฏฐานเป็นอย่างเดียวกันใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. วิจิกิจฉานุสัยกับวิจิกิจฉาปริยุฏฐานเป็นคนละอย่างกันใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. วิจิกิจฉากับวิจิกิจฉาปริยุฏฐานเป็นคนละอย่างกันใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. วิจิกิจฉากับวิจิกิจฉาปริยุฏฐานเป็นอย่างเดียวกันใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. วิจิกิจฉานุสัยกับวิจิกิจฉาปริยุฏฐานเป็นอย่างเดียวกันใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ภวราคานุสัยกับภวราคปริยุฏฐานเป็นคนละอย่างกันใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ภวราคะกับภวราคปริยุฏฐานเป็นคนละอย่างกันใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๗๔๘ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๔. จุททสมวรรค] ๕. อัญโญอนุสโยติกถา (๑๔๐)
สก. ภวราคะกับภวราคปริยุฏฐานเป็นอย่างเดียวกันใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ภวราคานุสัยกับภวราคปริยุฏฐานเป็นอย่างเดียวกันใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. อวิชชานุสัยกับอวิชชาปริยุฏฐานเป็นคนละอย่างกันใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. อวิชชากับอวิชชาปริยุฏฐานเป็นคนละอย่างกันใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. อวิชชากับอวิชชาปริยุฏฐานเป็นอย่างเดียวกันใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. อวิชชานุสัยกับอวิชชาปริยุฏฐานเป็นอย่างเดียวกันใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๗๐๑] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “อนุสัยกับปริยุฏฐานกิเลสเป็นคนละอย่างกัน”
ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. ปุถุชน เมื่อจิตที่เป็นกุศลและที่เป็นอัพยากฤตเป็นไปอยู่ ท่านยอมรับว่า
“มีอนุสัย” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. ท่านยอมรับว่า “ถูกปริยุฏฐานกิเลสกลุ้มรุม” ใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. ดังนั้น อนุสัยกับปริยุฏฐานกิเลสจึงเป็นคนละอย่างกัน
ปร. ปุถุชน เมื่อจิตที่เป็นกุศลและที่เป็นอัพยากฤตเป็นไปอยู่ ท่านยอมรับว่า
“มีราคะ” ใช่ไหม
สก. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๗๔๙ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๔. จุททสมวรรค] ๖. ปริยุฏฐานังจิตตวิปปยุตตันติกถา (๑๔๑)
ปร. ท่านยอมรับว่า “ถูกปริยุฏฐานกิเลสกลุ้มรุม” ใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. ดังนั้น ราคะกับปริยุฏฐานกิเลสจึงเป็นคนละอย่างกัน
อัญโญอนุสโยติกถา จบ

๖. ปริยุฏฐานังจิตตวิปปยุตตันติกถา (๑๔๑)
ว่าด้วยปริยุฏฐานกิเลสวิปปยุตจากจิต
[๗๐๒] สก. ปริยุฏฐานกิเลสวิปปยุตจากจิตใช่ไหม
ปร.๑ ใช่๒
สก. ปริยุฏฐานกิเลสเป็นรูป เป็นนิพพาน เป็นจักขายตนะ ฯลฯ เป็น
โผฏฐัพพายตนะใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ปริยุฏฐานกิเลสวิปปยุตจากจิตใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. จิตมีราคะ มีโทสะ มีโมหะ ฯลฯ จิตเป็นอกุศล จิตเศร้าหมองไม่มีใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. จิตมีราคะ มีโทสะ มีโมหะ ฯลฯ จิตเป็นอกุศล จิตเศร้าหมองมีอยู่
มิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากจิตมีราคะ มีโทสะ มีโมหะ ฯลฯ จิตเป็นอกุศล จิตเศร้าหมองมีอยู่
ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “ปริยุฏฐานกิเลสวิปปยุตจากจิต”

ปริยุฏฐานังจิตตวิปปยุตตันติกถา จบ

เชิงอรรถ :
๑ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอันธกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๗๐๒/๒๗๖)
๒ เพราะมีความเห็นว่า ปริยุฏฐานกิเลสวิปปยุตจากจิต ซึ่งต่างกับความเห็นของสกวาทีที่เห็นว่า ปริยุฏฐาน-
กิเลสสัมปยุตด้วยจิต (อภิ.ปญฺจ.อ. ๗๐๒/๒๗๖)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๗๕๐ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๔. จุททสมวรรค] ๗. ปริยาปันนกถา (๑๔๒)
๗. ปริยาปันนกถา (๑๔๒)
ว่าด้วยธรรมที่นับเนื่อง(วัฏฏทุกข์)
[๗๐๓] สก. รูปราคะนอนเนื่องอยู่ในรูปธาตุ นับเนื่องในรูปธาตุใช่ไหม
ปร.๑ ใช่๒
สก. รูปราคะเป็นเครื่องแสวงหาสมาบัติ เป็นเครื่องแสวงหาอุบัติ เป็น
เครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน สหรคต เกิดร่วม ระคน สัมปยุต เกิดพร้อมกัน
ดับพร้อมกัน มีวัตถุอย่างเดียวกัน มีอารมณ์อย่างเดียวกันกับจิตดวงที่เป็นเครื่องแสวง
หาสมาบัติ ดวงที่เป็นเครื่องแสวงหาอุบัติ ดวงที่เป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบันใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. รูปราคะไม่เป็นเครื่องแสวงหาสมาบัติ ไม่เป็นเครื่องแสวงหาอุบัติ ไม่เป็น
เครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน สหรคต เกิดร่วม ระคน สัมปยุต เกิดพร้อมกัน
ดับพร้อมกัน มีวัตถุอย่างเดียวกัน มีอารมณ์อย่างเดียวกันกับจิตดวงที่ไม่เป็น
เครื่องแสวงหาสมาบัติ ดวงที่ไม่เป็นเครื่องแสวงหาอุบัติ ดวงที่ไม่เป็นเครื่องอยู่เป็น
สุขในปัจจุบันมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากรูปราคะไม่เป็นเครื่องแสวงหาสมาบัติ ไม่เป็นเครื่องแสวงหาอุบัติ
ไม่เป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน ฯลฯ มีอารมณ์อย่างเดียวกัน ฯลฯ ท่านก็ไม่
ควรยอมรับว่า “รูปราคะนอนเนื่องอยู่ในรูปธาตุ นับเนื่องในรูปธาตุ” ฯลฯ

เชิงอรรถ :
๑ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอันธกะและนิกายสมิติยะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๗๐๓/๒๗๖)
๒ เพราะมีความเห็นว่า เนื่องจากกามราคะนอนเนื่องในกามธาตุ จึงชื่อว่านับเนื่องในกามธาตุ ฉะนั้น รูปราคะ
และอรูปราคะ ซึ่งนอนเนื่องในรูปธาตุและอรูปธาตุตามลำดับ จึงชื่อว่านับเนื่องในรูปธาตุและอรูปธาตุด้วย
ซึ่งต่างกับความเห็นของสกวาทีที่เห็นว่า ราคะทุกชนิดนับเนื่องในกามธาตุ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๗๐๓/๒๗๖)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๗๕๑ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๔. จุททสมวรรค] ๗. ปริยาปันนกถา (๑๔๒)
สก. รูปราคะนอนเนื่องอยู่ในรูปธาตุ นับเนื่องในรูปธาตุใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สัททราคะนอนเนื่องอยู่ในสัททธาตุ นับเนื่องในสัททธาตุใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. รูปราคะนอนเนื่องอยู่ในรูปธาตุ นับเนื่องในรูปธาตุใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. คันธราคะ ฯลฯ รสราคะ ฯลฯ โผฏฐัพพราคะ นอนเนื่องอยู่ใน
โผฏฐัพพธาตุ นับเนื่องในโผฏฐัพพธาตุใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สัททราคะนอนเนื่องอยู่ในสัททธาตุ แต่ท่านไม่ยอมรับว่า “นับเนื่องใน
สัททธาตุ” ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. รูปราคะนอนเนื่องอยู่ในรูปธาตุ แต่ท่านไม่ยอมรับว่า “นับเนื่องใน
รูปธาตุ” ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. คันธราคะ ฯลฯ รสราคะ ฯลฯ โผฏฐัพพราคะ นอนเนื่องอยู่ใน
โผฏฐัพพธาตุ แต่ท่านไม่ยอมรับว่า “นับเนื่องในโผฏฐัพพธาตุ” ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. รูปราคะนอนเนื่องอยู่ในรูปธาตุ แต่ท่านไม่ยอมรับว่า “นับเนื่องใน
รูปธาตุ” ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๗๕๒ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๔. จุททสมวรรค] ๗. ปริยาปันนกถา (๑๔๒)
[๗๐๔] สก. อรูปราคะนอนเนื่องอยู่ในอรูปธาตุ นับเนื่องในอรูปธาตุใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. อรูปราคะเป็นเครื่องแสวงหาสมาบัติ เป็นเครื่องแสวงหาอุบัติ เป็น
เครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน สหรคต เกิดร่วม ระคน สัมปยุต เกิดพร้อมกัน ดับ
พร้อมกัน มีวัตถุอย่างเดียวกัน มีอารมณ์อย่างเดียวกันกับจิตดวงที่เป็นเครื่องแสวง
หาสมาบัติ ดวงที่เป็นเครื่องแสวงหาอุบัติ ดวงที่เป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบันใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. อรูปราคะไม่เป็นเครื่องแสวงหาสมาบัติ ไม่เป็นเครื่องแสวงหาอุบัติ ไม่
เป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน ฯลฯ มีอารมณ์อย่างเดียวกันกับจิตดวงที่ไม่เป็น
เครื่องแสวงหาสมาบัติมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากอรูปราคะไม่เป็นเครื่องแสวงหาสมาบัติ ไม่เป็นเครื่องแสวงหาอุบัติ
ฯลฯ มีอารมณ์อย่างเดียวกัน ท่านก็ไม่ยอมรับว่า “อรูปราคะนอนเนื่องอยู่ใน
อรูปธาตุ นับเนื่องในอรูปธาตุ”
สก. อรูปราคะนอนเนื่องอยู่ในอรูปธาตุ นับเนื่องในอรูปธาตุใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สัททราคะนอนเนื่องอยู่ในสัททธาตุ นับเนื่องในสัททธาตุใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. อรูปราคะนอนเนื่องอยู่ในอรูปธาตุ นับเนื่องในอรูปธาตุใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๗๕๓ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๔. จุททสมวรรค] ๗. ปริยาปันนกถา (๑๔๒)
สก. คันธราคะ ฯลฯ รสราคะ ฯลฯ โผฏฐัพพราคะ นอนเนื่องอยู่ใน
โผฏฐัพพธาตุ นับเนื่องในโผฏฐัพพธาตุใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สัททราคะนอนเนื่องอยู่ในสัททธาตุ แต่ท่านไม่ยอมรับว่า “นับเนื่องใน
สัททธาตุ” ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. อรูปราคะนอนเนื่องอยู่ในอรูปธาตุ แต่ท่านไม่ยอมรับว่า “นับเนื่องใน
อรูปธาตุ” ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. คันธราคะ ฯลฯ รสราคะ ฯลฯ โผฏฐัพพราคะ นอนเนื่องอยู่ใน
โผฏฐัพพธาตุ แต่ท่านไม่ยอมรับว่า “นับเนื่องในโผฏฐัพพธาตุ” ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. อรูปราคะนอนเนื่องอยู่ในอรูปธาตุ แต่ท่านไม่ยอมรับว่า “นับเนื่องใน
อรูปธาตุ” ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๗๐๕] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “รูปราคะนอนเนื่องอยู่ในรูปธาตุ นับเนื่องใน
รูปธาตุ อรูปราคะนอนเนื่องอยู่ในอรูปธาตุ นับเนื่องในอรูปธาตุ” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. กามราคะนอนเนื่องอยู่ในกามธาตุ นับเนื่องในกามธาตุมิใช่หรือ
สก. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๗๕๔ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๔. จุททสมวรรค] ๘. อัพยากตกถา (๑๔๓)
ปร. หากกามราคะ นอนเนื่องอยู่ในกามธาตุ นับเนื่องในกามธาตุ ดังนั้น
ท่านจึงควรยอมรับว่า “รูปราคะนอนเนื่องอยู่ในรูปธาตุ นับเนื่องในรูปธาตุ อรูปราคะ
นอนเนื่องอยู่ในอรูปธาตุ นับเนื่องในอรูปธาตุ”
ปริยาปันนกถา จบ

๘. อัพยากตกถา (๑๔๓)
ว่าด้วยอัพยากฤต
[๗๐๖] สก. ทิฏฐิเป็นอัพยากฤต๑ใช่ไหม
ปร.๒ ใช่
สก. ทิฏฐิเป็นอัพยากฤตฝ่ายวิบาก เป็นอัพยากฤตฝ่ายกิริยา เป็นรูป เป็น
นิพพาน เป็นจักขายตนะ ฯลฯ เป็นโผฏฐัพพายตนะใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ทิฏฐิเป็นอัพยากฤตใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ผัสสะที่สัมปยุตด้วยทิฏฐิเป็นอัพยากฤตใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

เชิงอรรถ :
๑ คำว่า อัพยากฤต มี ๒ ความหมาย คือ ๑. อัพยากฤตที่มีความหมายว่าไม่ให้ผล ได้แก่ อัพยากฤต ๔ อย่าง
คือ (๑) วิปากอัพยากฤต (๒) กิริยาอัพยากฤต (๓) รูปอัพยากฤต (๔) นิพพานอัพยากฤต (ตามแนวพระ
อภิธรรม) ๒. อัพยากฤตที่มีความหมายว่าไม่พยากรณ์ เช่น การไม่พยากรณ์ว่า โลกเที่ยง โลกไม่เที่ยง เป็นต้น
(ตามแนวพระสูตร) ในที่นี้ปรวาทีใช้คำว่าอัพยากฤต ในความหมายตามแนวพระสูตร ส่วนสกวาทีใช้
ความหมายตามแนวพระอภิธรรม (อภิ.ปญฺจ.อ. ๗๐๖/๒๗๗)
๒ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอันธกะและนิกายอุตตราปถกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๗๐๖/๒๗๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๗๕๕ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๔. จุททสมวรรค] ๘. อัพยากตกถา (๑๔๓)
สก. ทิฏฐิเป็นอัพยากฤตใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เวทนาที่สัมปยุตด้วยทิฏฐิ ฯลฯ สัญญา ฯลฯ เจตนา ฯลฯ จิตที่
สัมปยุตด้วยทิฏฐิ เป็นอัพยากฤตใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ผัสสะที่สัมปยุตด้วยทิฏฐิเป็นอกุศลใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ทิฏฐิเป็นอกุศลใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เวทนาที่สัมปยุตด้วยทิฏฐิ ฯลฯ สัญญา ฯลฯ เจตนา ฯลฯ จิตที่
สัมปยุตด้วยทิฏฐิ เป็นอกุศลใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ทิฏฐิเป็นอกุศลใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๗๐๗] สก. ทิฏฐิเป็นอัพยากฤตใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ทิฏฐิไม่มีผลไม่มีวิบากใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ทิฏฐิมีผลมีวิบากมิใช่หรือ
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๗๕๖ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๔. จุททสมวรรค] ๘. อัพยากตกถา (๑๔๓)
สก. หากทิฏฐิมีผลมีวิบาก ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “ทิฏฐิเป็นอัพยากฤต”
สก. ทิฏฐิเป็นอัพยากฤตใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. โทษทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “มีมิจฉาทิฏฐิเป็นอย่างยิ่ง”๑
มิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากโทษทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “มีมิจฉาทิฏฐิเป็นอย่างยิ่ง”
ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “ทิฏฐิเป็นอัพยากฤต”
สก. ทิฏฐิเป็นอัพยากฤตใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “วัจฉะ มิจฉาทิฏฐิแลเป็นอกุศล
สัมมาทิฏฐิเป็นกุศล”๒ มีอยู่จริงมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. ดังนั้น ท่านจึงไม่ควรยอมรับว่า “ทิฏฐิเป็นอัพยากฤต”
สก. ทิฏฐิเป็นอัพยากฤตใช่ไหม
ปร. ใช่

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ องฺ.เอกก. (แปล) ๒๐/๓๑๐/๔๑
๒ ดูเทียบ ม.ม. (แปล) ๑๓/๑๙๔/๒๒๙

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๗๕๗ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๔. จุททสมวรรค] ๘. อัพยากตกถา (๑๔๓)
สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ปุณณะ เรากล่าวว่าคติของคนผู้
เป็นมิจฉาทิฏฐิมี ๒ อย่าง คือ นรกหรือกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน”๑ มีอยู่จริงมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. ดังนั้น ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “ทิฏฐิเป็นอัพยากฤต”
[๗๐๘] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “ทิฏฐิเป็นอัพยากฤต” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “วัจฉะ คำว่า โลกเที่ยง นี้เราไม่
พยากรณ์๒ คำว่า โลกไม่เที่ยง นี้เราไม่พยากรณ์ คำว่า โลกมีที่สุด ฯลฯ คำว่า
โลกไม่มีที่สุด ฯลฯ คำว่า ชีวะ๓กับสรีระเป็นอย่างเดียวกัน ฯลฯ คำว่า ชีวะกับ
สรีระเป็นคนละอย่างกัน ฯลฯ คำว่า หลังจากตายแล้วตถาคต๔เกิดอีก ฯลฯ คำว่า
หลังจากตายแล้วตถาคตไม่เกิดอีก ฯลฯ คำว่า หลังจากตายไป ตถาคตเกิดอีก
และไม่เกิดอีก ฯลฯ คำว่า หลังจากตายแล้วตถาคตเกิดอีกก็มิใช่ ไม่เกิดอีกก็มิใช่
นี้เราไม่พยากรณ์” ๕ มีอยู่จริงมิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. ดังนั้น ทิฏฐิจึงเป็นอัพยากฤต
สก. ทิฏฐิเป็นอัพยากฤตใช่ไหม
ปร. ใช่

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ ม.ม. (แปล) ๑๓/๗๙/๗๖-๗๗
๒ คำนี้ แปลมาจากคำว่า อพฺยากต หรือ อพฺยากฺฤต ในภาษาสันสกฤต
๓ ชีวะ ในที่นี้หมายถึงวิญญาณอมตะหรืออาตมัน (อภิ.ปญฺจ.อ. ๑/๑/๑๒๙), ดูเทียบ องฺ.ทสก. (แปล)
๒๔/๒๐/๓๙-๔๑
๔ คำว่า ตถาคต ในที่นี้เป็นคำที่ลัทธิอื่น ๆ ใช้กันมาก่อนพุทธกาล หมายถึงอัตตา (อาตมัน) ไม่ใช่
หมายถึงพระพุทธเจ้า อรรถกถาอธิบายว่าหมายถึงสัตว์ (ที.สี.อ. ๑๕/๑๐๘, ม.ม.อ. ๒/๑๒๒/๑๐๕)
๕ ดูเทียบ ม.ม. (แปล) ๑๓/๑๘๗-๑๘๙/๒๑๙-๒๒๔

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๗๕๘ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๔. จุททสมวรรค] ๙. อปริยาปันนกถา (๑๔๔)
สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย กายกรรมที่ถือ
ปฏิบัติให้บริบูรณ์ตามสมควรแก่ทิฏฐิ วจีกรรมที่ถือปฏิบัติให้บริบูรณ์ตามสมควรแก่
ทิฏฐิ ฯลฯ มโนกรรมที่ถือปฏิบัติให้บริบูรณ์ตามสมควรแก่ทิฏฐิ เจตนา ความ
ปรารถนา ความตั้งใจและสังขารทั้งหลายของบุคคลผู้เป็นมิจฉาทิฏฐิ ธรรมทั้งหมด
นั้นย่อมเป็นไปเพื่อผลที่ไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่น่าพอใจ ไม่เกื้อกูล เป็นทุกข์”๑
มีอยู่จริงมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. ดังนั้น ท่านจึงไม่ควรยอมรับว่า “ทิฏฐิเป็นอัพยากฤต”
อัพยากตกถา จบ

๙. อปริยาปันนกถา (๑๔๔)
ว่าด้วยธรรมที่ไม่นับเนื่อง(ในโลกิยะ)
[๗๐๙] สก. ทิฏฐิเป็นธรรมที่ไม่นับเนื่องใช่ไหม
ปร.๒ ใช่๓
สก. ทิฏฐิเป็นมรรค ผล นิพพาน โสดาปัตติมรรค โสดาปัตติผล
สกทาคามิมรรค สกทาคามิผล อนาคามิมรรค อนาคามิผล อรหัตตมรรค
อรหัตตผล สติปัฏฐาน สัมมัปปธาน อิทธิบาท อินทรีย์ พละ โพชฌงค์ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๗๑๐] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “ทิฏฐิเป็นธรรมที่ไม่นับเนื่อง” ใช่ไหม
สก. ใช่

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ องฺ.เอกก. (แปล) ๒๐/๓๐๖/๓๙
๒ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายปุพพเสลิยะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๗๐๙/๒๗๗-๒๗๘)
๓ เพราะมีความเห็นว่า ปุถุชนผู้ได้ฌานเรียกว่าผู้ละกามราคะได้ แต่ไม่เรียกว่าผู้ละทิฏฐิได้ ดังนั้น ทิฏฐิ
จึงไม่นับเนื่องในโลกิยะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๗๐๙/๒๗๗-๒๗๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๗๕๙ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๔. จุททสมวรรค] รวมกถาที่มีในวรรค
ปร. ปุถุชน ท่านยอมรับว่า “ปราศจากความกำหนัดในกามทั้งหลาย” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. ท่านยอมรับว่า “ปราศจากทิฏฐิ” ใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. ดังนั้น ทิฏฐิจึงเป็นธรรมที่ไม่นับเนื่อง
อปริยาปันนกถา จบ
จุททสมวรรค จบ

รวมกถาที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. กุสลากุสลปฏิสันทหนกถา ๒. สฬายตนุปปัตติกถา
๓. อนันตรปัจจยกถา ๔. อริยรูปกถา
๕. อัญโญอนุสโยติกถา ๖. ปริยุฏฐานังจิตตวิปปยุตตันติกถา
๗. ปริยาปันนกถา ๘. อัพยากตกถา
๙. อปริยาปันนกถา


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๗๖๐ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๕. ปัณณรสมวรรค] ๑. ปัจจยตากถา (๑๔๕)
๑๕. ปัณณรสมวรรค
๑. ปัจจยตากถา (๑๔๕)
ว่าด้วยความเป็นปัจจัย
[๗๑๑] สก. ความเป็นปัจจัยมีจำกัดไว้ใช่ไหม
ปร.๑ ใช่๒
สก. วิมังสาเป็นเหตุและเป็นอธิบดีมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากวิมังสาเป็นเหตุและเป็นอธิบดี ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า
“วิมังสาเป็นปัจจัยโดยเหตุปัจจัย เป็นปัจจัยโดยอธิปติปัจจัย”
สก. ฉันทาธิบดีเป็นอธิบดีแห่งสหชาตธรรมมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากฉันทาธิบดีเป็นอธิบดีแห่งสหชาตธรรม ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับ
ว่า “ฉันทาธิบดีเป็นปัจจัยโดยอธิปติปัจจัย เป็นปัจจัยโดยสหชาตปัจจัย”
[๗๑๒] สก. วิริยาธิบดีเป็นอธิบดีแห่งสหชาตธรรมมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากวิริยาธิบดีเป็นอธิบดีแห่งสหชาตธรรม ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับ
ว่า “วิริยาธิบดีเป็นปัจจัยโดยอธิปติปัจจัย เป็นปัจจัยโดยสหชาตปัจจัย”

เชิงอรรถ :
๑ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายมหาสังฆิกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๗๑๑-๗๑๗/๒๗๘)
๒ เพราะมีความเห็นว่า สภาวธรรมเหล่าใดมีเหตุปัจจัย(ชื่อปัจจัยหนึ่งในปัจจัย ๒๔ ดูในคัมภีร์ปัฏฐาน)
สภาวธรรมเหล่านั้นก็ต้องเป็นเหตุปัจจัยเท่านั้น จะเป็นปัจจัยอื่นไม่ได้ กล่าวคือในธรรมหนึ่ง ๆ จะต้องมี
ปัจจยสัตติ(แรงหรือพลังของปัจจัย)เดียวเท่านั้น เกินกว่านั้นไม่มี ซึ่งต่างกับความเห็นของสกวาทีที่เห็นว่า
สภาวธรรมหนึ่งมีปัจจัยได้หลายปัจจัย (อภิ.ปญฺจ.อ. ๗๑๑-๗๑๗/๒๗๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๗๖๑ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๕. ปัณณรสมวรรค] ๑. ปัจจยตากถา (๑๔๕)
สก. วิริยาธิบดีเป็นอธิบดีแห่งสหชาตธรรมและเป็นอินทรีย์มิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากวิริยาธิบดีเป็นอธิบดีแห่งสหชาตธรรมและเป็นอินทรีย์ ดังนั้น
ท่านจึงควรยอมรับว่า “วิริยาธิบดีเป็นปัจจัยโดยอธิปติปัจจัย เป็นปัจจัยโดย
อินทรียปัจจัย”
สก. วิริยาธิบดีเป็นอธิบดีแห่งสหชาตธรรมและเป็นองค์แห่งมรรคมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากวิริยาธิบดีเป็นอธิบดีแห่งสหชาตธรรมและเป็นองค์แห่งมรรค ดังนั้น
ท่านจึงควรยอมรับว่า “วิริยาธิบดีเป็นปัจจัยโดยอธิปติปัจจัย เป็นปัจจัยโดยมัคคปัจจัย”
[๗๑๓] สก. จิตตาธิบดีเป็นอธิบดีแห่งสหชาตธรรมมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากจิตตาธิบดีเป็นอธิบดีแห่งสหชาตธรรม ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับ
ว่า “จิตตาธิบดีเป็นปัจจัยโดยอธิปติปัจจัย เป็นปัจจัยโดยสหชาตปัจจัย”
สก. จิตตาธิบดีเป็นอธิบดีแห่งสหชาตธรรมและเป็นอาหารมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากจิตตาธิบดีเป็นอธิบดีแห่งสหชาตธรรมและเป็นอาหาร ดังนั้น
ท่านจึงควรยอมรับว่า “จิตตาธิบดีเป็นปัจจัยโดยอธิปติปัจจัย เป็นปัจจัยโดยอาหาร-
ปัจจัย”
สก. จิตตาธิบดีเป็นอธิบดีแห่งสหชาตธรรมและเป็นอินทรีย์มิใช่หรือ
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๗๖๒ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๕. ปัณณรสมวรรค] ๑. ปัจจยตากถา (๑๔๕)
สก. หากจิตตาธิบดีเป็นอธิบดีแห่งสหชาตธรรมและเป็นอินทรีย์ ดังนั้น ท่าน
จึงควรยอมรับว่า “จิตตาธิบดีเป็นปัจจัยโดยอธิปติปัจจัย เป็นปัจจัยโดยอินทรียปัจจัย”
[๗๑๔] สก. วิมังสาธิบดีเป็นอธิบดีแห่งสหชาตธรรมมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากวิมังสาธิบดีเป็นอธิบดีแห่งสหชาตธรรม ดังนั้น ท่านจึงควรยอม
รับว่า “วิมังสาธิบดีเป็นปัจจัยโดยอธิปติปัจจัย เป็นปัจจัยโดยสหชาตปัจจัย”
สก. วิมังสาธิบดีเป็นอธิบดีแห่งสหชาตธรรมและเป็นอินทรีย์มิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากวิมังสาธิบดีเป็นอธิบดีแห่งสหชาตธรรมและเป็นอินทรีย์ ดังนั้น
ท่านจึงควรยอมรับว่า “วิมังสาธิบดีเป็นปัจจัยโดยอธิปติปัจจัย เป็นปัจจัยโดย
อินทรียปัจจัย”
สก. วิมังสาธิบดีเป็นอธิบดีแห่งสหชาตธรรมและเป็นองค์แห่งมรรคมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากวิมังสาธิบดีเป็นอธิบดีแห่งสหชาตธรรมและเป็นองค์แห่งมรรค ดังนั้น
ท่านจึงควรยอมรับว่า “วิมังสาธิบดีเป็นปัจจัยโดยอธิปติปัจจัย เป็นปัจจัยโดยมัคค-
ปัจจัย”
[๗๑๕] สก. สภาวธรรมที่เป็นเครื่องพิจารณา๑ ทำอริยธรรมให้หนักแน่นแล้ว
เกิดขึ้นและทำอริยธรรมนั้นให้เป็นอารมณ์มิใช่หรือ
ปร. ใช่

เชิงอรรถ :
๑ สภาวธรรมที่เป็นเครื่องพิจารณา หมายถึงกามาวจรกุศลจิตที่สัมปยุตด้วยญาณ ๔ มหากิริยาจิตที่
สัมปยุตด้วยญาณ ๔ (วิภาวินี. ปริจเฉทที่ ๙ ข้อ ๕๙)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๗๖๓ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๕. ปัณณรสมวรรค] ๒. อัญญมัญญปัจจยกถา (๑๔๖)
สก. หากสภาวธรรมที่เป็นเครื่องพิจารณา ทำอริยธรรมให้หนักแน่นแล้วเกิดขึ้น
และทำอริยธรรมนั้นให้เป็นอารมณ์ ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “สภาวธรรมที่
เป็นเครื่องพิจารณาเป็นปัจจัยโดยอธิปติปัจจัย เป็นปัจจัยโดยอารัมมณปัจจัย”
[๗๑๖] สก. สภาวธรรมที่เป็นกุศลก่อน ๆ เป็นปัจจัยโดยอนันตรปัจจัยแก่
สภาวธรรมที่เป็นกุศลหลัง ๆ และสภาวธรรมที่เป็นกุศลนั้นเป็นอาเสวนะมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากสภาวธรรมที่เป็นกุศลก่อน ๆ เป็นปัจจัยโดยอนันตรปัจจัยแก่
สภาวธรรมที่เป็นกุศลหลัง ๆ และสภาวธรรมที่เป็นกุศลนั้นเป็นอาเสวนะ ดังนั้น
ท่านจึงควรยอมรับว่า “สภาวธรรมที่เป็นกุศลก่อน ๆ เป็นปัจจัย โดยอนันตรปัจจัย
เป็นปัจจัยโดยอาเสวนปัจจัย”
สก. สภาวธรรมที่เป็นอกุศลก่อน ๆ เป็นปัจจัยโดยอนันตรปัจจัยแก่
สภาวธรรมที่เป็นอกุศลหลัง ๆ และสภาวธรรมที่เป็นอกุศลนั้นเป็นอาเสวนะมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากสภาวธรรมที่เป็นอกุศลก่อน ๆ เป็นปัจจัยโดยอนันตรปัจจัยแก่
สภาวธรรมที่เป็นอกุศลหลัง ๆ และสภาวธรรมที่เป็นอกุศลนั้นเป็นอาเสวนะ ดังนั้น
ท่านจึงควรยอมรับว่า “สภาวธรรมที่เป็นอกุศลก่อน ๆ เป็นปัจจัยโดยอนันตรปัจจัย
เป็นปัจจัยโดยอาเสวนปัจจัย”
สก. สภาวธรรมที่เป็นกิริยาอัพยากฤตก่อน ๆ เป็นปัจจัยโดยอนันตรปัจจัย
แก่สภาวธรรมที่เป็นกิริยาอัพยากฤตหลัง ๆ และสภาวธรรมที่เป็นกิริยาอัพยากฤต
นั้นเป็นอาเสวนะมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากสภาวธรรมที่เป็นกิริยาอัพยากฤตก่อน ๆ เป็นปัจจัยโดยอนันตรปัจจัย
แก่สภาวธรรมที่เป็นกิริยาอัพยากฤตหลัง ๆ และสภาวธรรมที่เป็นกิริยาอัพยากฤต
นั้นเป็นอาเสวนะ ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “สภาวธรรมที่เป็นกิริยาอัพยากฤต
เป็นปัจจัยโดยอนันตรปัจจัย เป็นปัจจัยโดยอาเสวนปัจจัย”


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๗๖๔ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๕. ปัณณรสมวรรค] ๑. ปัจจยตากถา (๑๔๕)
[๗๑๗] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “ความเป็นปัจจัยมีจำกัดไว้” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. เป็นปัจจัยโดยเหตุปัจจัยก็ได้ เป็นปัจจัยโดยอารัมมณปัจจัยก็ได้ เป็น
ปัจจัยโดยอนันตรปัจจัยก็ได้ เป็นปัจจัยโดยสมนันตรปัจจัยก็ได้ใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “ความเป็นปัจจัยมีจำกัดไว้”
ปัจจยตากถา จบ

๒. อัญญมัญญปัจจยกถา (๑๔๖)
ว่าด้วยอัญญมัญญปัจจัย
[๗๑๘] สก. เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารจึงมี แต่ท่านไม่ยอมรับว่า “เพราะ
สังขารเป็นปัจจัย อวิชชาจึงมี” ใช่ไหม
ปร.๑ ใช่๒
สก. อวิชชาเกิดพร้อมกับสังขารมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากอวิชชาเกิดพร้อมกับสังขาร ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “เพราะ
อวิชชาเป็นปัจจัย สังขารจึงมี เพราะสังขารเป็นปัจจัย อวิชชาจึงมี”
สก. เพราะตัณหาเป็นปัจจัย อุปาทานจึงมี แต่ท่านไม่ยอมรับว่า “เพราะ
อุปาทานเป็นปัจจัย ตัณหาจึงมี” ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ตัณหาเกิดพร้อมกับอุปาทานมิใช่หรือ
ปร. ใช่

เชิงอรรถ :
๑ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายมหาสังฆิกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๗๑๘-๗๑๙/๒๗๘)
๒ เพราะมีความเห็นว่า อัญญมัญญปัจจัยไม่มี เช่น อวิชชาเป็นปัจจัยให้สังขารเกิดได้ แต่สังขารจะเป็นปัจจัย
ให้อวิชชาเกิดไม่ได้ ซึ่งต่างกับความเห็นของสกวาทีที่เห็นว่า มีอัญญมัญญปัจจัย (อภิ.ปญฺจ.อ. ๗๑๘-
๗๑๙/๒๗๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๗๖๕ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๕. ปัณณรสมวรรค] ๓. อัทธากถา (๑๔๗)
สก. หากตัณหาเกิดพร้อมกับอุปาทาน ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับ
ว่า “เพราะตัณหาเป็นปัจจัย อุปาทานจึงมี เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย ตัณหาจึงมี”
[๗๑๙] ปร. พระสูตรที่ว่า “ภิกษุทั้งหลาย เพราะชรามรณะเป็นปัจจัย ชาติจึงมี
เพราะชาติเป็นปัจจัย ภพจึงมี”๑ มีอยู่หรือ
สก. ไม่มี
ปร. ดังนั้น ท่านไม่ควรยอมรับว่า “เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารจึงมี
เพราะสังขารเป็นปัจจัย อวิชชาจึงมี เพราะตัณหาเป็นปัจจัย อุปาทานจึงมี เพราะ
อุปาทานเป็นปัจจัย ตัณหาจึงมี”
สก. พระสูตรที่ว่า “ภิกษุทั้งหลาย เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามรูปจึงมี
เพราะนามรูปเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี” มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ดังนั้น จึงควรยอมรับว่า “เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารจึงมี
เพราะสังขารเป็นปัจจัย อวิชชาจึงมี เพราะตัณหาเป็นปัจจัย อุปาทานจึงมี
เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย ตัณหาจึงมี”
อัญญมัญญปัจจยกถา จบ

๓. อัทธากถา (๑๔๗)
ว่าด้วยกาล
[๗๒๐] สก. กาลเป็นสภาวะสำเร็จแล้วใช่ไหม
ปร.๒ ใช่๓
สก. เป็นรูปใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ ที.ม. (แปล) ๑๐/๙๖-๙๘/๕๗-๕๙
๒ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายมหาสังฆิกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๗๑๘-๗๑๙/๒๗๘)
๓ เพราะมีความเห็นว่า กาลเป็นสภาวะที่สำเร็จมาจากเหตุ (ถูกปัจจัยปรุงแต่ง) ซึ่งต่างกับความเห็นของสกวาที
ที่เห็นว่า กาลไม่จัดเป็นสภาวะที่สำเร็จมาจากเหตุ เป็นเพียงคำบัญญัติเรียก แต่คำบัญญัติว่า “รูป”
เป็นต้นจัดเป็นสภาวะที่สำเร็จมาจากเหตุ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๗๒๐-๗๒๑/๒๗๙)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๗๖๖ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๕. ปัณณรสมวรรค] ๓. อัทธากถา (๑๔๗)
สก. เป็นเวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ สังขาร ฯลฯ วิญญาณใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. กาลที่เป็นอดีตเป็นสภาวะสำเร็จแล้วใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เป็นรูปใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เป็นเวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ สังขาร ฯลฯ วิญญาณใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. กาลที่เป็นอนาคตเป็นสภาวะสำเร็จแล้วใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เป็นรูปใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เป็นเวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ สังขาร ฯลฯ วิญญาณใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. กาลที่เป็นปัจจุบันเป็นสภาวะสำเร็จแล้วใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เป็นรูปใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เป็นเวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ สังขาร ฯลฯ วิญญาณใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณที่เป็นอดีต เป็นกาลที่เป็นอดีตใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๗๖๗ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๕. ปัณณรสมวรรค] ๓. อัทธากถา (๑๔๗)
สก. กาลที่เป็นอดีตมี ๕ อย่างใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณที่เป็นอนาคต เป็นกาลที่เป็น
อนาคตใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. กาลที่เป็นอนาคตมี ๕ อย่างใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณที่เป็นปัจจุบัน เป็นกาลที่เป็น
ปัจจุบันใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. กาลที่เป็นปัจจุบันมี ๕ อย่างใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ขันธ์ ๕ ที่เป็นอดีต เป็นกาลที่เป็นอดีต ขันธ์ ๕ ที่เป็นอนาคต
เป็นกาลที่เป็นอนาคต ขันธ์ ๕ ที่เป็นปัจจุบัน เป็นกาลที่เป็นปัจจุบันใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. กาลมี ๑๕ อย่างใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. อายตนะ ๑๒ ที่เป็นอดีต เป็นกาลที่เป็นอดีต อายตนะ ๑๒ ที่เป็น
อนาคต เป็นกาลที่เป็นอนาคต อายตนะ ๑๒ ที่เป็นปัจจุบัน เป็นกาลที่เป็น
ปัจจุบันใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. กาลมี ๓๖ อย่างใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๗๖๘ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๕. ปัณณรสมวรรค] ๓. อัทธากถา (๑๔๗)
สก. ธาตุ ๑๘ ที่เป็นอดีต เป็นกาลที่เป็นอดีต ธาตุ ๑๘ ที่เป็นอนาคต
เป็นกาลที่เป็นอนาคต ธาตุ ๑๘ ที่เป็นปัจจุบัน เป็นกาลที่เป็นปัจจุบันใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. กาลมี ๕๔ อย่างใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. อินทรีย์ ๒๒ ที่เป็นอดีต เป็นกาลที่เป็นอดีต อินทรีย์ ๒๒ ที่เป็นอนาคต
เป็นกาลที่เป็นอนาคต อินทรีย์ ๒๒ ที่เป็นปัจจุบัน เป็นกาลที่เป็นปัจจุบันใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. กาลมี ๖๖ อย่างใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๗๒๑] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “กาลเป็นสภาวะสำเร็จแล้ว” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย กถาวัตถุ๑ ๓ ประการนี้
กถาวัตถุ ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ควรกล่าวถ้อยคำย้อนอดีตกาลว่า อดีตกาลได้มีมาแล้วอย่างนี้
๒. ควรกล่าวถ้อยคำมุ่งถึงอนาคตกาลว่า อนาคตกาลจักมีอย่างนี้
๓. ควรกล่าวถ้อยคำสืบเนื่องกับปัจจุบันกาลว่า ปัจจุบันกาลมีอยู่
อย่างนี้

เชิงอรรถ :
๑ กถาวัตถุ หมายถึงเรื่องที่นำมาอภิปรายหรือเสวนากัน (องฺ.ติก.อ. ๒/๖๘/๒๐๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๗๖๙ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๕. ปัณณรสมวรรค] ๔. ขณลยมุหุตตกถา (๑๔๘)
ภิกษุทั้งหลาย กถาวัตถุ ๓ ประการนี้” ๑
มีอยู่จริงมิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. ดังนั้น กาลจึงเป็นสภาวะสำเร็จแล้ว
อัทธากถา จบ

๔. ขณลยมุหุตตกถา (๑๔๘)
ว่าด้วยขณะ ลยะ และมุหุตตะ
[๗๒๒] สก. ขณะหนึ่ง๒ เป็นสภาวะสำเร็จแล้ว ลยะหนึ่งเป็นสภาวะสำเร็จแล้ว
มุหุตตะหนึ่งก็เป็นสภาวะสำเร็จแล้วใช่ไหม
ปร.๓ ใช่
สก. เป็นรูปใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เป็นเวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ สังขาร ฯลฯ วิญญาณใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๗๒๓] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “มุหุตตะหนึ่งเป็นสภาวะสำเร็จแล้ว” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย กถาวัตถุ ๓
ประการนี้
กถาวัตถุ ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ องฺ.ติก. (แปล) ๒๐/๖๘/๒๗๐
๒ ขณะหนึ่ง หมายถึงชั่วระยะเวลาดีดนิ้วมือ ๑๐ ครั้ง, ๑๐ ขณะเป็น ๑ ลยะ, ๑๐ ลยะเป็น ๑ ขณลยะ,
๑๐ ขณลยะเป็น ๑ มุหุตตะ, ๑๐ มุหุตตะ เป็น ๑ ขณมุหุตตะ (อภิธานัปปทีปิกา คาถาที่ ๖๖-๖๗)
๓ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายมหาสังฆิกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๗๑๘-๗๑๙/๒๗๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๗๗๐ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๕. ปัณณรสมวรรค] ๕. อาสวกถา (๑๔๙)
๑. ควรกล่าวถ้อยคำย้อนอดีตกาลว่า อดีตกาลได้มีมาแล้วอย่างนี้
๒. ควรกล่าวถ้อยคำมุ่งถึงอนาคตกาลว่า อนาคตกาลจักมีอย่างนี้
๓. ควรกล่าวถ้อยคำสืบเนื่องกับปัจจุบันกาลว่า ปัจจุบันกาลมีอยู่
อย่างนี้
ภิกษุทั้งหลาย กถาวัตถุ ๓ ประการนี้” ๑
มีอยู่จริงมิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. ดังนั้น ขณะหนึ่งจึงเป็นสภาวะสำเร็จแล้ว
ขณลยมุหุตตกถา จบ

๕. อาสวกถา (๑๔๙)
ว่าด้วยอาสวะ
[๗๒๔] สก. อาสวะ ๔ ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะใช่ไหม
ปร.๒ ใช่๓
สก. เป็นมรรค ผล นิพพาน โสดาปัตติมรรค โสดาปัตติผล ฯลฯ
โพชฌงค์ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๗๒๕] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “อาสวะ ๔ ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะ” ใช่ไหม
สก. ใช่

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ องฺ.ติก. (แปล) ๒๐/๖๘/๒๗๐
๒ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายเหตุวาท (อภิ.ปญฺจ.อ. ๗๒๔/๒๘๐)
๓ เพราะมีความเห็นว่า อาสวะมี ๔ อย่างเท่านั้น ไม่อาจเป็นอารมณ์ของอาสวะได้ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๗๒๔/๒๘๐)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๗๗๑ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๕. ปัณณรสมวรรค] ๖. ชรามรณกถา (๑๕๐)
ปร. อาสวะเหล่านั้นเป็นอารมณ์ของอาสวะ ด้วยอาสวะเหล่าใด อาสวะเหล่านั้น
มีอยู่ใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. ดังนั้น อาสวะ ๔ จึงไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะ
อาสวกถา จบ

๖. ชรามรณกถา (๑๕๐)
ว่าด้วยชรามรณะ
[๗๒๖] สก. ชรามรณะแห่งโลกุตตรธรรมเป็นโลกุตตระใช่ไหม
ปร.๑ ใช่๒
สก. เป็นมรรค ผล นิพพาน โสดาปัตติมรรค โสดาปัตติผล ฯลฯ
โพชฌงค์ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ชรามรณะแห่งโสดาปัตติมรรคเป็นโสดาปัตติมรรคใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ชรามรณะแห่งโสดาปัตติมรรคเป็นโสดาปัตติมรรคใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ชรามรณะแห่งโสดาปัตติผลเป็นโสดาปัตติผลใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

เชิงอรรถ :
๑ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายมหาสังฆิกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๗๒๖/๒๘๐)
๒ เพราะมีความเห็นว่า ชรา (ความแก่) และมรณะ (ความตาย) ของโลกุตตรธรรมจัดเป็นโลกุตตระ ซึ่งต่าง
กับความเห็นของสกวาทีที่เห็นว่า ชรามรณะเป็นสภาวธรรมที่ไม่สำเร็จ จึงไม่อาจจัดเป็นโลกิยะหรือ
โลกุตตระ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๗๒๖/๒๘๐)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๗๗๒ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๕. ปัณณรสมวรรค] ๖. ชรามรณกถา (๑๕๐)
สก. ชรามรณะแห่งสกทาคามิมรรค ฯลฯ สกทาคามิผล ฯลฯ อนาคามิ-
มรรค ฯลฯ อนาคามิผล ฯลฯ ชรามรณะแห่งอรหัตตมรรคเป็นอรหัตตมรรค
ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ชรามรณะแห่งอรหัตตมรรคเป็นอรหัตตมรรคใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ชรามรณะแห่งอรหัตตผลเป็นอรหัตตผลใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ชรามรณะแห่งสติปัฏฐาน ฯลฯ สัมมัปปธาน ฯลฯ อิทธิบาท ฯลฯ
อินทรีย์ ฯลฯ พละ ฯลฯ ชรามรณะแห่งโพชฌงค์ เป็นโพชฌงค์ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๗๒๗] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “ชรามรณะแห่งโลกุตตรธรรมเป็นโลกุตตระ”
ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. เป็นโลกิยะใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. ดังนั้น ชรามรณะจึงเป็นโลกุตตระ

ชรามรณกถา จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๗๗๓ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๕. ปัณณรสมวรรค] ๗. สัญญาเวทยิตกถา (๑๕๑)
๗. สัญญาเวทยิตกถา (๑๕๑)
ว่าด้วยสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ๑
[๗๒๘] สก. สัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติเป็นโลกุตตระใช่ไหม
ปร.๒ ใช่๓
สก. เป็นมรรค ผล นิพพาน โสดาปัตติมรรค โสดาปัตติผล ฯลฯ
โพชฌงค์ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๗๒๙] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “สัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติเป็นโลกุตตระ”
ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. เป็นโลกิยะใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. ดังนั้น สัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติจึงเป็นโลกุตตระ

สัญญาเวทยิตกถา จบ

เชิงอรรถ :
๑ สัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ มี ๒ อย่าง คือ (๑) อสัญญสมาบัติ ซึ่งเป็นเหตุให้ปุถุชนเกิดในภพแห่ง
อสัญญสัตว์ (๒) นิโรธสมาบัติ เป็นสมาบัติของพระอริยะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๗๓๕/๒๘๒)
๒ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายเหตุวาท (อภิ.ปญฺจ.อ. ๗๒๘-๗๒๙/๒๘๐-๒๘๑)
๓ เพราะมีความเห็นว่า เนื่องจากสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติไม่ใช่โลกิยะจึงจัดเป็นโลกุตตระ ซึ่งต่างกับ
ความเห็นของสกวาทีที่เห็นว่า สัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติเป็นเพียงความดับแห่งขันธ์ ๔ เท่านั้น จึงไม่เป็น
ทั้งโลกิยะและโลกุตตระ(อภิ.ปญฺจ.อ. ๗๒๘-๗๒๙/๒๘๐-๒๘๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๗๗๔ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๕. ปัณณรสมวรรค] ๘. ทุติยสัญญาเวทยิตกถา (๑๕๒)
๘. ทุติยสัญญาเวทยิตกถา (๑๕๒)
ว่าด้วยสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ ที่ ๒
[๗๓๐] สก. สัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติเป็นโลกิยะใช่ไหม
ปร.๑ ใช่๒
สก. เป็นรูปใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เป็นเวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ สังขาร ฯลฯ วิญญาณใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เป็นกามาวจรใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เป็นรูปาวจรใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เป็นอรูปาวจรใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๗๓๑] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “สัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติเป็นโลกิยะ” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. เป็นโลกุตตระใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. ดังนั้น สัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติจึงเป็นโลกิยะ

ทุติยสัญญาเวทยิตกถา จบ

เชิงอรรถ :
๑ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายเหตุวาท (อภิ.ปญฺจ.อ. ๗๓๐/๒๘๑)
๒ เพราะมีความเห็นว่า เนื่องจากสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติไม่ใช่โลกุตตระ จึงจัดเป็นโลกิยะ ซึ่งต่างกับ
ความเห็นของสกวาทีที่เห็นว่า สัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติเป็นเพียงความดับแห่งขันธ์ ๔ เท่านั้น จึงไม่เป็น
ทั้งโลกิยะและโลกุตตระ(อภิ.ปญฺจ.อ. ๗๓๐-๗๓๑/๒๘๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๗๗๕ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๕. ปัณณรสมวรรค] ๙. ตติยสัญญาเวทยิตกถา (๑๕๓)
๙. ตติยสัญญาเวทยิตกถา (๑๕๓)
ว่าด้วยสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติที่ ๓
[๗๓๒] สก. บุคคลผู้เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติอาจตายได้ใช่ไหม
ปร.๑ ใช่๒
สก. บุคคลผู้เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติยังมีผัสสะ เวทนา สัญญา
เจตนา จิต ที่เกิดในขณะใกล้จะตายใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลผู้เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติไม่มีผัสสะ เวทนา สัญญา
เจตนา จิต ที่เกิดในขณะใกล้จะตายใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. หากบุคคลผู้เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติไม่มีผัสสะ เวทนา สัญญา
เจตนา จิต ที่เกิดในขณะใกล้ตาย ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “บุคคลผู้เข้าสัญญา
เวทยิตนิโรธสมาบัติอาจตายได้”
สก. บุคคลผู้เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติอาจตายได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลผู้เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติมีผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา
จิตใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลผู้เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติไม่มีผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา
จิตใช่ไหม
ปร. ใช่

เชิงอรรถ :
๑ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายราชคิริกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๗๓๒/๒๘๑)
๒ เพราะมีความเห็นว่า ในขณะเข้านิโรธสมาบัติ บุคคลก็อาจตายได้ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๗๓๒/๒๘๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๗๗๖ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๕. ปัณณรสมวรรค] ๙. ตติยสัญญาเวทยิตกถา (๑๕๓)
สก. บุคคลผู้ไม่มีผัสสะ ไม่มีเวทนา ฯลฯ ไม่มีจิต ตายได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลผู้มีผัสสะ ฯลฯ มีจิต ตายได้มิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากบุคคลผู้มีผัสสะ ฯลฯ มีจิต ตายได้ ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า
“บุคคลผู้เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติอาจตายได้”
สก. บุคคลผู้เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติอาจตายได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ยาพิษ ศัสตรา ไฟ พึงกล้ำกรายเข้าไปในร่างกายของบุคคลผู้เข้า
สัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ยาพิษ ศัสตรา ไฟ ไม่พึงกล้ำกรายเข้าไปในร่างกายของบุคคลผู้เข้า
สัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. หากยาพิษ ศัสตรา ไฟ ไม่พึงกล้ำกรายเข้าไปในร่างกายของบุคคล
ผู้เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติได้ ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า ๊บุคคลผู้เข้าสัญญา
เวทยิตนิโรธสมาบัติอาจตายได้ ๋
สก. บุคคลผู้เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธอาจตายได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ยาพิษ ศัสตรา ไฟ พึงกล้ำกรายเข้าไปในร่างกายของบุคคลผู้เข้า
สัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติได้ใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๗๗๗ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๕. ปัณณรสมวรรค] ๙. ตติยสัญญาเวทยิตกถา (๑๕๓)
สก. ไม่ได้เข้านิโรธสมาบัติได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๗๓๓] ปร. บุคคลผู้เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติไม่อาจตายใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. บุคคลผู้เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติไม่อาจตายแน่นอนด้วยนิยามใด
นิยาม นั้นมีอยู่หรือ
สก. ไม่มี
ปร. หากบุคคลผู้เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ ไม่อาจตายแน่นอนด้วย
นิยามใด นิยามนั้นไม่มี ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “บุคคลผู้เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ-
สมาบัติไม่อาจตาย”
[๗๓๔] สก. บุคคลผู้พรั่งพร้อมด้วยจักขุวิญญาณไม่อาจตายใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลผู้พรั่งพร้อมด้วยจักขุวิญญาณไม่อาจตายแน่นอนด้วยนิยามใด นิยามนั้น
มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่มี
สก. หากบุคคลผู้พรั่งพร้อมด้วยจักขุวิญญาณไม่อาจตายแน่นอนด้วยนิยามใด
นิยามนั้นไม่มี ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “บุคคลผู้พรั่งพร้อมด้วยจักขุวิญญาณไม่อาจตาย”

ตติยสัญญาเวทยิตกถา จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๗๗๘ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๕. ปัณณรสมวรรค] ๑๐. อสัญญสัตตูปิกากถา (๑๕๔)
๑๐. อสัญญสัตตูปิกากถา (๑๕๔)
ว่าด้วยสมาบัติที่เป็นเหตุให้เข้าถึงภพแห่งอสัญญสัตว์
[๗๓๕] สก. สัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ๑เป็นเหตุให้เข้าถึงภพแห่งอสัญญสัตว์๒
ได้ใช่ไหม
ปร.๓ ใช่
สก. บุคคลผู้เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติยังมีกุศลมูลคืออโลภะ อโทสะ อโมหะ
มีสัทธา ฯลฯ วิริยะ ฯลฯ สติ ฯลฯ สมาธิ ฯลฯ ปัญญาใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลผู้เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติไม่มีกุศลมูลคืออโลภะ อโทสะ
ฯลฯ ไม่มีปัญญาใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. หากบุคคลผู้เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติไม่มีกุศลมูลคืออโลภะ
อโทสะ อโมหะ ไม่มีสัทธา ฯลฯ วิริยะ ฯลฯ สติ ฯลฯ สมาธิ ฯลฯ ปัญญา
ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “สัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติเป็นเหตุให้เข้าถึงภพแห่ง
อสัญญสัตว์ได้”
สก. สัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติเป็นเหตุให้เข้าถึงภพแห่งอสัญญสัตว์ได้ใช่ไหม
ปร. ใช่

เชิงอรรถ :
๑ สัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ มี ๒ อย่าง คือ (๑) อสัญญสมาบัติ ซึ่งเป็นเหตุให้ปุถุชนเกิดในภพแห่ง
อสัญญสัตว์ (๒) นิโรธสมาบัติ เป็นสมาบัติของพระอริยะ ในที่นี้ปรวาทีถือรวม ๆ โดยไม่แยกว่าอสัญญ-
สมาบัติหรือนิโรธสมาบัติ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๗๓๕/๒๘๒)
๒ ภพแห่งอสัญญสัตว์ หมายถึงภพแห่งสัตว์ไม่มีสัญญา ซึ่งเป็นภพหรือภูมิที่นักบวชในลัทธิเดียรถีย์ เป็นต้น
เมื่อเจริญวาโยกสิณจนบรรลุจตุตถฌานแล้วได้เจริญภาวนาบนแนวทางที่เบื่อหน่ายในนามธรรมมีสัญญา
เป็นต้นเป็นนิจ ครั้นละจากอัตภาพนั้นแล้วก็จะไปบังเกิดที่อสัญญสัตตภพอันเป็นภพที่ปราศจากจิต
วิญญาณหรือความรู้สึกใด ๆ (ที.สี.อ. ๖๘-๗๓/๑๐๘-๑๐๙)
๓ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายเหตุวาท (อภิ.ปญฺจ.อ. ๗๓๕/๒๘๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๗๗๙ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๕. ปัณณรสมวรรค] ๑๐. อสัญญสัตตูปิกากถา (๑๕๔)
สก. บุคคลผู้เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติยังมีผัสสะ เวทนา สัญญา
เจตนา จิตใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลผู้เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติไม่มีผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา
จิตใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลผู้ไม่มีผัสสะมีการเจริญมรรค ฯลฯ ผู้ไม่มีจิตมีการเจริญมรรคได้
ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลผู้มีผัสสะมีการเจริญมรรค ฯลฯ ผู้มีจิตมีการเจริญมรรคได้มิใช่
หรือ
ปร. ใช่
สก. หากบุคคลผู้มีผัสสะมีการเจริญมรรค ฯลฯ ผู้มีจิตมีการเจริญมรรคได้
ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “สัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติเป็นเหตุให้เข้าถึงภพแห่ง
อสัญญสัตว์ได้”
สก. สัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติเป็นเหตุให้เข้าถึงภพแห่งอสัญญสัตว์ได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เหล่าชนผู้เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติทั้งหมดนั้นเป็นผู้เข้าถึงภพแห่ง
อสัญญสัตว์ได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๗๓๖] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “สัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติเป็นเหตุให้เข้าถึง
ภพแห่งอสัญญสัตว์ได้” ใช่ไหม
สก. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๗๘๐ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๕. ปัณณรสมวรรค] ๑๑. กัมมูปจยกถา (๑๕๕)
ปร. บุคคลไม่มีสัญญาแม้ในโลกนี้ก็เป็นผู้ไม่มีสัญญาแม้ในภพแห่งอสัญญ-
สัตว์นั้นมิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. หากบุคคลไม่มีสัญญาแม้ในโลกนี้ก็เป็นผู้ไม่มีสัญญาแม้ในภพแห่ง
อสัญญสัตว์นั้น ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “สัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติเป็นเหตุ
ให้เข้าถึงภพแห่งอสัญญสัตว์ได้”
อสัญญสัตตูปิกากถา จบ

๑๑. กัมมูปจยกถา (๑๕๕)
ว่าด้วยกรรมที่สั่งสม
[๗๓๗] สก. กรรมกับกรรมที่สั่งสมเป็นคนละอย่างกันใช่ไหม
ปร.๑ ใช่๒
สก. ผัสสะกับผัสสะที่สั่งสมเป็นคนละอย่างกัน เวทนากับเวทนาที่สั่งสมเป็น
คนละอย่างกัน สัญญากับสัญญาที่สั่งสมเป็นคนละอย่างกัน เจตนากับเจตนาที่สั่งสม
เป็นคนละอย่างกัน จิตกับจิตที่สั่งสมเป็นคนละอย่างกัน สัทธากับสัทธาที่สั่งสม
เป็นคนละอย่างกัน วิริยะกับวิริยะที่สั่งสมเป็นคนละอย่างกัน สติกับสติที่สั่งสมเป็น
คนละอย่างกัน สมาธิกับสมาธิที่สั่งสมเป็นคนละอย่างกัน ปัญญากับปัญญาที่สั่งสม
เป็นคนละอย่างกัน ราคะกับราคะที่สั่งสมเป็นคนละอย่างกัน ฯลฯ อโนตตัปปะกับ
อโนตตัปปะที่สั่งสมเป็นคนละอย่างกันใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

เชิงอรรถ :
๑ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอันธกะและนิกายสมิติยะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๗๓๗/๒๘๓)
๒ เพราะมีความเห็นว่า กรรมกับกรรมที่สั่งสมเป็นคนละอย่างกัน กรรมที่สั่งสม วิปปยุตจากจิต เป็น
อัพยากฤต รับรู้อารมณ์ไม่ได้ ซึ่งต่างกับความเห็นของสกวาทีที่เห็นว่า กรรมและกรรมที่สั่งสมเป็น
ไวพจน์กัน สัมปยุตด้วยจิต และรับรู้อารมณ์ได้ ต่างกันในเวลาให้ผลเท่านั้น (อภิ.ปญฺจ.อ. ๗๓๗/๒๘๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๗๘๑ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๕. ปัณณรสมวรรค] ๑๑. กัมมูปจยกถา (๑๕๕)
[๗๓๘] สก. กรรมกับกรรมที่สั่งสมเป็นคนละอย่างกันใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. กรรมที่สั่งสมเกิดพร้อมกับกรรมใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. กรรมที่สั่งสมเกิดพร้อมกับกรรมใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. กรรมที่สั่งสมที่เกิดพร้อมกับกุศลกรรมเป็นกุศลใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. กรรมที่สั่งสมที่เกิดพร้อมกับกุศลกรรมเป็นกุศลใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. กรรมที่สั่งสมที่เกิดพร้อมกับกรรมซึ่งสัมปยุตด้วยสุขเวทนาก็สัมปยุต
ด้วยสุขเวทนาใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. กรรมที่สั่งสมที่เกิดพร้อมกับกรรมซึ่งสัมปยุตด้วยทุกขเวทนา ฯลฯ
สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนาก็สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนาใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๗๓๙] สก. กรรมที่สั่งสมเกิดพร้อมกับกรรมใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. กรรมที่สั่งสมที่เกิดพร้อมกับอกุศลกรรมเป็นอกุศลใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. กรรมที่สั่งสมที่เกิดพร้อมกับอกุศลกรรมเป็นอกุศลใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๗๘๒ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๕. ปัณณรสมวรรค] ๑๑. กัมมูปจยกถา (๑๕๕)
สก. กรรมที่สั่งสมที่เกิดพร้อมกับกรรมซึ่งสัมปยุตด้วยสุขเวทนาก็สัมปยุต
ด้วยสุขเวทนาใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. กรรมที่สั่งสมที่เกิดพร้อมกับกรรมซึ่งสัมปยุตด้วยทุกขเวทนา ฯลฯ
สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนาก็สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนาใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๗๔๐] สก. กรรมเกิดพร้อมกับจิต กรรมรับรู้อารมณ์ได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. กรรมที่สั่งสมเกิดพร้อมกับจิต กรรมที่สั่งสมรับรู้อารมณ์ได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. กรรมที่สั่งสมเกิดพร้อมกับจิต กรรมที่สั่งสมรับรู้อารมณ์ไม่ได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. กรรมเกิดพร้อมกับจิต กรรมรับรู้อารมณ์ไม่ได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. กรรมเกิดพร้อมกับจิต เมื่อจิตแตกดับ กรรมก็แตกสลายไปใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. กรรมที่สั่งสมเกิดพร้อมกับจิต เมื่อจิตแตกดับ กรรมที่สั่งสมก็แตก
สลายไปใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. กรรมที่สั่งสมเกิดพร้อมกับจิต เมื่อจิตแตกดับ กรรมที่สั่งสมไม่แตก
สลายไปใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๗๘๓ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๕. ปัณณรสมวรรค] ๑๑. กัมมูปจยกถา (๑๕๕)
สก. กรรมเกิดพร้อมกับจิต เมื่อจิตแตกดับ กรรมไม่แตกสลายไปใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๗๔๑] สก. เมื่อกรรมมีอยู่ กรรมที่สั่งสมก็มีใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. กรรมกับกรรมที่สั่งสมเป็นอย่างเดียวกันใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เมื่อกรรมมีอยู่ กรรมที่สั่งสมเป็นแดนเกิดแห่งวิบากใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. กรรมกับกรรมที่สั่งสมเป็นอย่างเดียวกัน วิบากกรรมก็เป็นอย่างเดียวกัน
ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เมื่อกรรมมีอยู่ กรรมที่สั่งสมเป็นแดนเกิดแห่งวิบาก วิบากรับรู้อารมณ์
ได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. กรรมที่สั่งสมรับรู้อารมณ์ได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. กรรมที่สั่งสมรับรู้อารมณ์ไม่ได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. วิบากไม่มีอารมณ์ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๗๔๒] สก. กรรมกับกรรมที่สั่งสมเป็นคนละอย่างกันใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๗๘๔ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๕. ปัณณรสมวรรค] ๑๑. กัมมูปจยกถา (๑๕๕)
สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ปุณณะ บุคคลบางคนในโลกนี้
ปรุงแต่งกายสังขารที่มีความเบียดเบียนบ้าง ไม่มีความเบียดเบียนบ้าง ปรุงแต่ง
วจีสังขาร ฯลฯ มโนสังขาร ที่มีความเบียดเบียนบ้าง ไม่มีความเบียดเบียนบ้าง
เขาครั้นปรุงแต่งกายสังขารที่มีความเบียดเบียนบ้าง ไม่มีความเบียดเบียนบ้าง
ปรุงแต่งวจีสังขาร ฯลฯ มโนสังขารที่มีความเบียดเบียนบ้าง ไม่มีความ
เบียดเบียนบ้างแล้ว ย่อมเข้าถึงโลกที่มีความเบียดเบียนบ้าง ไม่มีความเบียดเบียน
บ้าง ผัสสะที่มีความเบียดเบียนบ้าง ไม่มีความเบียดเบียนบ้าง ย่อมถูกต้องบุคคล
ผู้เข้าถึงโลกที่มีความเบียดเบียนบ้าง ไม่มีความเบียดเบียนบ้าง เขาถูกผัสสะที่มี
ความเบียดเบียนบ้าง ไม่มีความเบียดเบียนบ้างกระทบเข้า ย่อมเสวยเวทนาที่มี
ความเบียดเบียนบ้าง ไม่มีความเบียดเบียนบ้าง มีสุขและทุกข์ระคนกัน เหมือน
มนุษย์ เทวดาบางพวก๑ และวินิปาติกะ๒บางพวก ปุณณะ เพราะกรรมที่มีดังนี้แล
ความเกิดขึ้นของสัตว์จึงมีได้ สัตว์ย่อมเกิดขึ้นเพราะกรรมที่ทำไว้ ผัสสะย่อมถูก
ต้องสัตว์ผู้เกิดแล้วนั้น เรากล่าวอย่างนี้ว่า สัตว์ทั้งหลายเป็นผู้รับผลแห่งกรรม”๓
มีอยู่จริงมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. ดังนั้น ท่านจึงไม่ควรยอมรับว่า “กรรมกับกรรมที่สั่งสมเป็นคนละ
อย่างกัน”

กัมมูปจยกถา จบ
ปัณณรสมวรรค จบ

เชิงอรรถ :
๑ เทวดาบางพวก หมายถึงกามาวจรเทวดา ๖ ชั้น คือ จาตุมหาราช ดาวดึงส์ ยามา ดุสิต นิมมานรดี และ
ปรนิมมิตวสวัตดี (องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๒๒๓/๔๔๐)
๒ วินิปาติกะ หมายถึงเวมานิกเปรต ได้แก่ เปรตผู้อยู่ในวิมานเสวยสุขและทุกข์สลับกันไป บางตนข้างแรม
เสวยทุกข์ ข้างขึ้นเสวยสุข บางตนกลางคืนเสวยสุข กลางวันเสวยทุกข์ เวลาเสวยสุขอยู่ในวิมานมีร่างกาย
เป็นทิพย์ สวยงาม แต่เวลาจะเสวยทุกข์ก็ต้องออกจากวิมานนี้ไปและร่างกายกลายเป็นร่างกายที่น่าเกลียด
น่ากลัว (องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๒๒๓/๔๔๑)
๓ ดูเทียบ ม.ม. (แปล) ๑๓/๘๑/๗๙-๘๑

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๗๘๕ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๕. ปัณณรสมวรรค] รวมกถาที่มีในวรรค
รวมกถาที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. ปัจจยตากถา ๒. อัญญมัญญปัจจยกถา
๓. อัทธากถา ๔. ขณลยมุหุตตกถา
๕. อาสวกถา ๖. ชรามรณกถา
๗. สัญญาเวทยิตกถา ๘. ทุติยสัญญาเวทยิตกถา
๙. ตติยสัญญาเวทยิตกถา ๑๐. อสัญญสัตตูปิกากถา
๑๑. กัมมูปจยกถา

ตติยปัณณาสก์ จบ

รวมวรรคที่มีในตติยปัณณาสก์นี้ คือ
วรรคที่ ๑๑ เริ่มด้วยติสโสปิอนุสยกถา
วรรคที่ ๑๒ เริ่มด้วยสังวโรกัมมันติกถา
วรรคที่ ๑๓ เริ่มด้วยกัปปัฏฐกถา
วรรคที่ ๑๔ เริ่มด้วยกุสลากุสลปฏิสันทหนกถา
วรรคที่ ๑๕ เริ่มด้วยปัจจยตากถา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๗๘๖ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๖. โสฬสมวรรค] ๑. นิคคหกถา (๑๕๖)
๑๖. โสฬสมวรรค
๑. นิคคหกถา (๑๕๖)
ว่าด้วยการข่มจิต
[๗๔๓] สก. บุคคลอื่นข่มจิตของคนอื่นได้ใช่ไหม
ปร.๑ ใช่๒
สก. บุคคลอื่นข่มจิตของคนอื่นว่า “อย่ากำหนัด อย่าขัดเคือง อย่าหลง
อย่าเศร้าหมองได้” ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลอื่นข่มจิตของคนอื่นได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลอื่นข่มได้ว่า “ผัสสะที่เกิดขึ้นแก่คนอื่นอย่าได้ดับไปเลย” ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลอื่นข่มได้ว่า “เวทนาที่เกิดขึ้น ฯลฯ สัญญาที่เกิดขึ้น ฯลฯ
เจตนาที่เกิดขึ้น ฯลฯ จิตที่เกิดขึ้น ฯลฯ สัทธาที่เกิดขึ้น ฯลฯ วิริยะที่เกิดขึ้น ฯลฯ
สติที่เกิดขึ้น ฯลฯ สมาธิที่เกิดขึ้น ฯลฯ ปัญญาที่เกิดขึ้นแก่คนอื่นอย่าได้ดับไปเลย”
ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลอื่นข่มจิตของคนอื่นได้ใช่ไหม
ปร. ใช่

เชิงอรรถ :
๑ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายมหาสังฆิกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๗๔๓/๒๘๔)
๒ เพราะมีความเห็นว่า ผู้ที่มีความชำนาญในฌานอภิญญาย่อมสามารถข่มจิตของคนอื่นได้ ซึ่งต่างกับความ
เห็นของสกวาทีที่เห็นว่า บุคคลไม่สามารถใช้จิตของตนข่มจิตของคนอื่นได้โดยตรง (อภิ.ปญฺจ.อ. ๗๔๓/๒๘๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๗๘๗ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๖. โสฬสมวรรค] ๑. นิคคหกถา (๑๕๖)
สก. บุคคลอื่นละราคะ โทสะ ฯลฯ อโนตตัปปะ เพื่อประโยชน์แก่คนอื่น
ได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลอื่นข่มจิตของคนอื่นได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลอื่นเจริญมรรค สติปัฏฐาน ฯลฯ โพชฌงค์ เพื่อประโยชน์แก่คนอื่น
ได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลอื่นข่มจิตของคนอื่นได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลอื่นกำหนดรู้ทุกข์ ละสมุทัย ทำให้แจ้งนิโรธ เจริญมรรค เพื่อ
ประโยชน์แก่คนอื่นได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลอื่นข่มจิตของคนอื่นได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลอื่นทำให้แก่คนอื่น สุขทุกข์มีผู้อื่นเป็นตัวการ บุคคลคนละคนกัน
ทั้งทำและเสวยใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลอื่นข่มจิตของคนอื่นได้ใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๗๘๘ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๖. โสฬสมวรรค] ๒. ปัคคหกถา (๑๕๗)
สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า
“บุคคลทำบาปเองก็เศร้าหมองเอง
ไม่ทำบาปเองก็บริสุทธิ์เอง
ความบริสุทธิ์ และไม่บริสุทธิ์เป็นของเฉพาะตน
บุคคลอื่นจะทำคนอื่นให้บริสุทธิ์ไม่ได้”๑
มีอยู่จริงมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. ดังนั้น ท่านจึงไม่ควรยอมรับว่า “บุคคลอื่นข่มจิตของคนอื่นได้”
[๗๔๔] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “บุคคลอื่นข่มจิตของคนอื่นได้” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. บุคคลผู้มีกำลังมีอยู่ บุคคลผู้มีอำนาจก็มีอยู่มิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. หากบุคคลผู้มีกำลังมีอยู่ บุคคลผู้มีอำนาจก็มีอยู่ ดังนั้น ท่านจึงควร
ยอมรับว่า “บุคคลอื่นข่มจิตของคนอื่นได้”
นิคคหกถา จบ
๒. ปัคคหกถา (๑๕๗)
ว่าด้วยการบังคับจิต
[๗๔๕] สก. บุคคลอื่นบังคับจิตของคนอื่นได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลอื่นบังคับจิตของคนอื่นว่า “อย่ากำหนัด อย่าขัดเคือง อย่าหลง
อย่าเศร้าหมองได้” ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ ขุ.ธ. (แปล) ๒๕/๑๖๕/๘๔

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๗๘๙ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๖. โสฬสมวรรค] ๒. ปัคคหกถา (๑๕๗)
สก. บุคคลอื่นบังคับจิตของคนอื่นได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลอื่นให้กุศลมูลคืออโลภะ อโทสะ อโมหะ สัทธา วิริยะ สติ สมาธิ
ปัญญาเกิดแก่คนอื่นได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลอื่นบังคับจิตของคนอื่นได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลอื่นบังคับว่า “ผัสสะที่เกิดขึ้นแก่คนอื่นอย่าได้ดับไปเลย” ได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลอื่นบังคับว่า “เวทนาที่เกิดขึ้น ฯลฯ ปัญญาที่เกิดขึ้นแก่คนอื่น
อย่าได้ดับไปเลย” ได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลอื่นบังคับจิตของคนอื่นได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลอื่นละราคะ โทสะ โมหะ ฯลฯ อโนตตัปปะ เพื่อประโยชน์แก่คนอื่น
ได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลอื่นบังคับจิตของคนอื่นได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลอื่นเจริญมรรค สติปัฏฐาน ฯลฯ โพชฌงค์ เพื่อประโยชน์แก่คนอื่น
ได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๗๙๐ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๖. โสฬสมวรรค] ๒. ปัคคหกถา (๑๕๗)
สก. บุคคลอื่นบังคับจิตของคนอื่นได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลอื่นกำหนดรู้ทุกข์ ฯลฯ เจริญมรรค เพื่อประโยชน์แก่คนอื่นได้
ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลอื่นบังคับจิตของคนอื่นได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลอื่นทำให้แก่คนอื่น สุขทุกข์มีผู้อื่นเป็นตัวการ บุคคลคนละคนกัน
ทั้งทำและเสวยใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลอื่นบังคับจิตของคนอื่นได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “บุคคลทำบาปเอง ฯลฯ บุคคล
อื่นจะทำคนอื่นให้บริสุทธิ์ไม่ได้” ๑ มีอยู่จริงมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. ดังนั้น ท่านจึงไม่ควรยอมรับว่า “บุคคลอื่นบังคับจิตของคนอื่นได้”
[๗๔๖] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “บุคคลอื่นบังคับจิตของคนอื่นได้” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. บุคคลผู้มีกำลังมีอยู่ คนผู้มีอำนาจก็มีอยู่มิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. หากบุคคลผู้มีกำลังมีอยู่ บุคคลผู้มีอำนาจก็มีอยู่ ดังนั้น ท่านจึงควร
ยอมรับว่า “บุคคลอื่นบังคับจิตของคนอื่นได้”

ปัคคหกถา จบ

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ ขุ.ธ. (แปล) ๒๕/๑๖๕/๘๔

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๗๙๑ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๖. โสฬสมวรรค] ๓. สุขานุปปทานกถา (๑๕๘)
๓. สุขานุปปทานกถา (๑๕๘)
ว่าด้วยการมอบสุข
[๗๔๗] สก. บุคคลอื่นมอบสุขให้คนอื่นได้ใช่ไหม
ปร.๑ ใช่๒
สก. บุคคลอื่นมอบทุกข์ให้คนอื่นได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลอื่นมอบทุกข์ให้คนอื่นไม่ได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลอื่นมอบสุขให้คนอื่นไม่ได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลอื่นมอบสุขให้คนอื่นได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลอื่นมอบสุขของตน สุขของคนเหล่าอื่น สุขของผู้รับนั้นให้คนอื่น
ได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลอื่นมอบสุขของตน สุขของคนเหล่าอื่น สุขของผู้รับนั้นให้คนอื่น
ไม่ได้ใช่ไหม
ปร. ใช่

เชิงอรรถ :
๑ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายเหตุวาท (อภิ.ปญฺจ.อ. ๗๔๗/๒๘๕)
๒ เพราะมีความเห็นว่า บุคคลหนึ่งย่อมสามารถบันดาลสุขให้แก่อีกคนหนึ่งได้ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๗๔๗/๒๘๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๗๙๒ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๖. โสฬสมวรรค] ๓. สุขานุปปทานกถา (๑๕๘)
สก. หากบุคคลอื่นมอบสุขของตน สุขของคนเหล่าอื่น สุขของผู้รับนั้นให้คน
อื่นไม่ได้ ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “บุคคลอื่นมอบสุขให้คนอื่นได้”
สก. บุคคลอื่นมอบสุขให้คนอื่นได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลอื่นทำให้แก่คนอื่น สุขทุกข์มีผู้อื่นเป็นตัวการ บุคคลคนละคนกัน
ทั้งทำและเสวยใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๗๔๘] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “บุคคลอื่นมอบสุขให้คนอื่นได้” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. พระสูตรที่ว่า “ท่านพระอุทายีได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า พระผู้มี
พระภาคทรงกำจัด สภาวธรรมอันเป็นเหตุแห่งทุกข์เป็นอันมากของเราทั้งหลายออกไปได้
พระผู้มีพระภาคทรงนำสภาวธรรมอันเป็นเหตุแห่งสุขเป็นอันมากมาให้เราทั้งหลาย
พระผู้มีพระภาคทรงกำจัดสภาวธรรมที่เป็นอกุศลเป็นอันมากของเราทั้งหลายออกไปได้
พระผู้มีพระภาคทรงนำสภาวธรรมที่เป็นกุศลเป็นอันมากมาให้เราทั้งหลาย”๑ มีอยู่
จริงมิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. ดังนั้น บุคคลอื่นจึงมอบสุขให้คนอื่นได้

สุขานุปปทานกถา จบ

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ ม.ม. (แปล) ๑๓/๑๔๙/๑๖๕

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๗๙๓ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๖. โสฬสมวรรค] ๔. อธิคัยหมนสิการกถา (๑๕๙)
๔. อธิคัยหมนสิการกถา (๑๕๙)
ว่าด้วยมนสิการรวบยอด
[๗๔๙] สก. บุคคลมนสิการรวบยอด๑ได้ใช่ไหม
ปร.๒ ใช่๓
สก. รู้ชัดจิตนั้นด้วยจิตนั้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. รู้ชัดจิตนั้นด้วยจิตนั้นใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. รู้ชัดจิตนั้นด้วยจิตนั้นว่า “เป็นจิต” ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. รู้ชัดจิตนั้นด้วยจิตนั้นว่า “เป็นจิต” ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. จิตนั้นเป็นอารมณ์ของจิตนั้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. จิตนั้นเป็นอารมณ์ของจิตนั้นใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ถูกต้องผัสสะนั้นด้วยผัสสะนั้น เสวยเวทนานั้นด้วยเวทนานั้น ฯลฯ
จำสัญญานั้นด้วยสัญญานั้น ฯลฯ จงใจเจตนานั้นด้วยเจตนานั้น ฯลฯ คิดจิตนั้น

เชิงอรรถ :
๑ มนสิการรวบยอด หมายถึงพิจารณาอารมณ์หลายอย่างได้ในขณะเดียวกัน
๒ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายปุพพเสลิยะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๗๔๙-๗๕๓/๒๘๕-๒๘๖)
๓ เพราะมีความเห็นว่า ในการพิจารณาอารมณ์ทั้งหลาย บุคคลสามารถพิจารณาอารมณ์หลายอย่างได้ใน
ขณะเดียวกัน ซึ่งต่างกับความเห็นของสกวาทีที่เห็นว่า บุคคลไม่สามารถพิจารณาอารมณ์หลายอย่างได้ใน
ขณะเดียวกัน แต่สามารถพิจารณาอารมณ์อย่างใดอย่างหนึ่งได้ ส่วนอารมณ์อื่น ๆ ที่เหลือสามารถ
พิจารณาได้โดยนัย (อภิ.ปญฺจ.อ. ๗๔๙-๗๕๓/๒๘๕-๒๘๖)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๗๙๔ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๖. โสฬสมวรรค] ๔. อธิคัยหมนสิการกถา (๑๕๙)
ด้วยจิตนั้น ฯลฯ ตรึกถึงวิตกนั้นด้วยวิตกนั้น ฯลฯ ตรองวิจารนั้นด้วยวิจารนั้น ฯลฯ
เอิบอิ่มปีตินั้นด้วยปีตินั้น ฯลฯ ระลึกสตินั้นด้วยสตินั้น ฯลฯ รู้ชัดปัญญานั้นด้วย
ปัญญานั้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๗๕๐] สก. บุคคลเมื่อมนสิการสภาวธรรมที่เป็นอดีตว่า “เป็นอดีต” ย่อม
มนสิการสภาวธรรมที่เป็นอนาคตว่า “เป็นอนาคต” ได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เมื่อมนสิการสภาวธรรมที่เป็นอดีตว่า “เป็นอดีต” ย่อมมนสิการสภาว-
ธรรมที่เป็นอนาคตว่า “เป็นอนาคต” ได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. มีการประชุมแห่งผัสสะ ๒ อย่าง ฯลฯ จิต ๒ ดวงใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เมื่อมนสิการสภาวธรรมที่เป็นอดีตว่า “เป็นอดีต” ย่อมมนสิการสภาว-
ธรรมที่เป็นปัจจุบันว่า “เป็นปัจจุบัน” ได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เมื่อมนสิการสภาวธรรมที่เป็นอดีตว่า “เป็นอดีต” ย่อมมนสิการสภาว-
ธรรมที่เป็นปัจจุบันว่า “เป็นปัจจุบัน” ได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. มีการประชุมแห่งผัสสะ ๒ อย่าง ฯลฯ จิต ๒ ดวงใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เมื่อมนสิการสภาวธรรมที่เป็นอดีตว่า “เป็นอดีต” ย่อมมนสิการสภาว-
ธรรมที่เป็นอนาคตว่า “เป็นอนาคต” มนสิการสภาวธรรมที่เป็นปัจจุบันว่า “เป็น
ปัจจุบัน” ได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๗๙๕ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๖. โสฬสมวรรค] ๔. อธิคัยหมนสิการกถา (๑๕๙)
สก. เมื่อมนสิการสภาวธรรมที่เป็นอดีตว่า “เป็นอดีต” ย่อมมนสิการสภาว-
ธรรมที่เป็นอนาคตว่า “เป็นอนาคต” มนสิการสภาวธรรมที่เป็นปัจจุบันว่า “เป็น
ปัจจุบัน” ได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. มีการประชุมแห่งผัสสะ ๓ อย่าง ฯลฯ จิต ๓ ดวงใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๗๕๑] สก. เมื่อมนสิการสภาวธรรมที่เป็นอนาคตว่า “เป็นอนาคต” ย่อม
มนสิการสภาวธรรมที่เป็นอดีตว่า “เป็นอดีต” ได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เมื่อมนสิการสภาวธรรมที่เป็นอนาคตว่า “เป็นอนาคต” ย่อมมนสิการ
สภาวธรรมที่เป็นอดีตว่า “เป็นอดีต” ได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. มีการประชุมแห่งผัสสะ ๒ อย่าง ฯลฯ จิต ๒ ดวงใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เมื่อมนสิการสภาวธรรมที่เป็นอนาคตว่า “เป็นอนาคต” ย่อมมนสิการ
สภาวธรรมที่เป็นปัจจุบันว่า “เป็นปัจจุบัน” ได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เมื่อมนสิการสภาวธรรมที่เป็นอนาคตว่า “เป็นอนาคต” ย่อมมนสิการ
สภาวธรรมที่เป็นปัจจุบันว่า “เป็นปัจจุบัน” ได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. มีการประชุมแห่งผัสสะ ๒ อย่าง ฯลฯ จิต ๒ ดวงใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๗๙๖ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๖. โสฬสมวรรค] ๔. อธิคัยหมนสิการกถา (๑๕๙)
สก. เมื่อมนสิการสภาวธรรมที่เป็นอนาคตว่า “เป็นอนาคต” ย่อมมนสิการ
สภาวธรรมที่เป็นอดีตว่า “เป็นอดีต” มนสิการสภาวธรรมที่เป็นปัจจุบันว่า “เป็น
ปัจจุบัน” ได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เมื่อมนสิการสภาวธรรมที่เป็นอนาคตว่า “เป็นอนาคต” ย่อมมนสิการ
สภาวธรรมที่เป็นอดีตว่า “เป็นอดีต” มนสิการสภาวธรรมที่เป็นปัจจุบันว่า “เป็น
ปัจจุบัน” ได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. มีการประชุมแห่งผัสสะ ๓ อย่าง ฯลฯ จิต ๓ ดวงใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๗๕๒] สก. เมื่อมนสิการสภาวธรรมที่เป็นปัจจุบันว่า “เป็นปัจจุบัน” ย่อม
มนสิการสภาวธรรมที่เป็นอดีตว่า “เป็นอดีต” ได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เมื่อมนสิการสภาวธรรมที่เป็นปัจจุบันว่า “เป็นปัจจุบัน” ย่อมมนสิการ
สภาวธรรมที่เป็นอดีตว่า “เป็นอดีต” ได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. มีการประชุมแห่งผัสสะ ๒ อย่าง ฯลฯ จิต ๒ ดวงใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เมื่อมนสิการสภาวธรรมที่เป็นปัจจุบันว่า “เป็นปัจจุบัน” ย่อมมนสิการ
สภาวธรรมที่เป็นอนาคตว่า “เป็นอนาคต” ได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๗๙๗ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๖. โสฬสมวรรค] ๔. อธิคัยหมนสิการกถา (๑๕๙)
สก. เมื่อมนสิการสภาวธรรมที่เป็นปัจจุบันว่า “เป็นปัจจุบัน” ย่อมมนสิการ
สภาวธรรมที่เป็นอนาคตว่า “เป็นอนาคต” ได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. มีการประชุมแห่งผัสสะ ๒ อย่าง ฯลฯ จิต ๒ ดวงใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เมื่อมนสิการสภาวธรรมที่เป็นปัจจุบันว่า “เป็นปัจจุบัน” ย่อมมนสิการ
สภาวธรรมที่เป็นอดีตว่า “เป็นอดีต” มนสิการสภาวธรรมที่เป็นอนาคตว่า “เป็น
อนาคต” ได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เมื่อมนสิการสภาวธรรมที่เป็นปัจจุบันว่า “เป็นปัจจุบัน” ย่อมมนสิการ
สภาวธรรมที่เป็นอดีตว่า “เป็นอดีต” มนสิการสภาวธรรมที่เป็นอนาคตว่า “เป็น
อนาคต” ได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. มีการประชุมแห่งผัสสะ ๓ อย่าง ฯลฯ จิต ๓ ดวงใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๗๕๓] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “บุคคลมนสิการรวบยอด” ได้ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า
“เมื่อใด อริยสาวกพิจารณาเห็นด้วยปัญญา๑ว่า
สังขารทั้งหลายทั้งปวงไม่เที่ยง
เมื่อนั้น ย่อมหน่ายในทุกข์
นั่นเป็นทางแห่งความบริสุทธิ์
เมื่อใด อริยสาวกพิจารณาเห็นด้วยปัญญาว่า

เชิงอรรถ :
๑ เห็นด้วยปัญญา หมายถึงเห็นด้วยวิปัสสนาปัญญา (ขุ.ธ.อ. ๗/๕๖)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๗๙๘ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๖. โสฬสมวรรค] ๕. รูปังเหตูติกถา (๑๖๐)
สังขารทั้งหลายทั้งปวงเป็นทุกข์
เมื่อนั้น ย่อมหน่ายในทุกข์
นั่นเป็นทางแห่งความบริสุทธิ์
เมื่อใด อริยสาวกพิจารณาเห็นด้วยปัญญาว่า
ธรรมทั้งหลายทั้งปวงเป็นอนัตตา
เมื่อนั้น ย่อมหน่ายในทุกข์
นั่นเป็นทางแห่งความบริสุทธิ์” ๑
มีอยู่จริงมิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. ดังนั้น บุคคลจึงมนสิการรวบยอดได้
อธิคัยหมนสิการกถา จบ

๕. รูปังเหตูติกถา (๑๖๐)
ว่าด้วยรูปเป็นเหตุ
[๗๕๔] สก. รูปเป็นเหตุใช่ไหม
ปร.๒ ใช่๓
สก. อโลภะเป็นเหตุใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. อโทสะเป็นเหตุ ฯลฯ อโมหะ ฯลฯ โลภะ ฯลฯ โทสะ ฯลฯ
โมหะเป็นเหตุใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ ขุ.ธ. (แปล) ๒๕/๒๗๗-๒๗๙/๑๑๘
๒ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอุตตราปถกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๗๕๔-๗๕๖/๒๘๖-๒๘๗)
๓ เพราะมีความเห็นว่า รูปสามารถเป็นเหตุให้แก่รูปได้ เช่น มหาภูตรูป ๔ ชื่อว่าเป็นเหตุให้แก่อุปาทายรูปได้
(อภิ.ปญฺจ.อ. ๗๕๔-๗๕๖/๒๘๖-๒๘๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๗๙๙ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๖. โสฬสมวรรค] ๕. รูปังเหตูติกถา (๑๖๐)
สก. รูปเป็นเหตุใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. รูปรับรู้อารมณ์ได้ มีความนึกถึง ฯลฯ มีความตั้งใจใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. รูปรับรู้อารมณ์ไม่ได้ ไม่มีความนึกถึง ฯลฯ ไม่มีความตั้งใจมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากรูปรับรู้อารมณ์ไม่ได้ ไม่มีความนึกถึง ฯลฯ ไม่มีความตั้งใจ
ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “รูปเป็นเหตุ”
[๗๕๕] สก. อโลภะเป็นเหตุ รับรู้อารมณ์ได้ มีความนึกถึง ฯลฯ มีความ
ตั้งใจใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. รูปเป็นเหตุ รับรู้อารมณ์ได้ มีความนึกถึง ฯลฯ มีความตั้งใจใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. อโทสะเป็นเหตุ ฯลฯ อโมหะ ฯลฯ โลภะ ฯลฯ โทสะ ฯลฯ
โมหะเป็นเหตุ รับรู้อารมณ์ได้ มีความนึกถึง ฯลฯ มีความตั้งใจใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. รูปเป็นเหตุ รับรู้อารมณ์ได้ มีความนึกถึง ฯลฯ มีความตั้งใจใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. รูปเป็นเหตุ แต่รับรู้อารมณ์ไม่ได้ ไม่มีความนึกถึง ฯลฯ ไม่มีความ
ตั้งใจใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. อโลภะเป็นเหตุ แต่รับรู้อารมณ์ไม่ได้ ไม่มีความนึกถึง ฯลฯ ไม่มี
ความตั้งใจใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๘๐๐ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๖. โสฬสมวรรค] ๖. รูปังสเหตุกันติกถา (๑๖๑)
สก. รูปเป็นเหตุ แต่รับรู้อารมณ์ไม่ได้ ไม่มีความนึกถึง ฯลฯ ไม่มีความ
ตั้งใจใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. อโทสะเป็นเหตุ ฯลฯ อโมหะ ฯลฯ โลภะ ฯลฯ โทสะ ฯลฯ
โมหะเป็นเหตุ แต่รับรู้อารมณ์ไม่ได้ ไม่มีความนึกถึง ฯลฯ ไม่มีความตั้งใจใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๗๕๖] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “รูปเป็นเหตุ” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. มหาภูตรูปเป็นเหตุ โดยเป็นที่อาศัยแห่งอุปาทายรูปมิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. หากมหาภูตรูปเป็นเหตุโดยเป็นที่อาศัยแห่งอุปาทายรูป ดังนั้น ท่าน
จึงควรยอมรับว่า “รูปเป็นเหตุ”
รูปังเหตูติกถา จบ

๖. รูปังสเหตุกันติกถา (๑๖๑)
ว่าด้วยรูปมีเหตุ
[๗๕๗] สก. รูปมีเหตุ๑ใช่ไหม
ปร.๒ ใช่
สก. รูปมีอโลภเหตุใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

เชิงอรรถ :
๑ เหตุ มี ๒ อย่าง คือ (๑) สัมปยุตตเหตุ (๒) ปัจจยเหตุ ในที่นี้ปรวาทีไม่ได้แยกแยะเหตุเป็น ๒ อย่าง
แต่ใช้รวม ๆ กัน (อภิ.ปญฺจ.อ. ๗๕๔-๗๕๖/๒๘๖-๒๘๗)
๒ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอุตตราปถกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๗๕๔-๗๕๖/๒๘๖-๒๘๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๘๐๑ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๖. โสฬสมวรรค] ๖. รูปังสเหตุกันติกถา (๑๖๑)
สก. รูปมีเหตุโดยเหตุคืออโทสะ ฯลฯ โดยเหตุคืออโมหะ ฯลฯ โดยเหตุ
คือโลภะ ฯลฯ โดยเหตุคือโทสะ ฯลฯ โดยเหตุคือโมหะใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. รูปมีเหตุใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. รูปรับรู้อารมณ์ได้ มีความนึกถึง ฯลฯ มีความตั้งใจใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. รูปรับรู้อารมณ์ไม่ได้ ไม่มีความนึกถึง ฯลฯ ไม่มีความตั้งใจมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากรูปรับรู้อารมณ์ไม่ได้ ไม่มีความนึกถึง ฯลฯ ไม่มีความตั้งใจ
ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “รูปมีเหตุ”
[๗๕๘] สก. อโลภะมีเหตุ รับรู้อารมณ์ได้ มีความนึกถึง ฯลฯ
มีความตั้งใจใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. รูปมีเหตุ รับรู้อารมณ์ได้ มีความนึกถึง ฯลฯ มีความตั้งใจใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. อโทสะเป็นไปกับเหตุ ฯลฯ อโมหะ สัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา
โลภะ โทสะ โมหะ มานะ ทิฏฐิ วิจิกิจฉา ถีนะ อุทธัจจะ อหิริกะ อโนตตัปปะ มีเหตุ
รับรู้อารมณ์ได้ มีความนึกถึง ฯลฯ มีความตั้งใจใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. รูปมีเหตุ รับรู้อารมณ์ได้ มีความนึกถึง ฯลฯ มีความตั้งใจใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๘๐๒ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๖. โสฬสมวรรค] ๖. รูปังสเหตุกันติกถา (๑๖๑)
สก. รูปมีเหตุ แต่รับรู้อารมณ์ไม่ได้ ไม่มีความนึกถึง ฯลฯ ไม่มีความตั้งใจ
ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. อโลภะมีเหตุ แต่รับรู้อารมณ์ไม่ได้ ไม่มีความนึกถึง ฯลฯ ไม่มีความ
ตั้งใจใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. รูปมีเหตุ แต่รับรู้อารมณ์ไม่ได้ ไม่มีความนึกถึง ฯลฯ ไม่มีความตั้งใจ
ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. อโทสะมีเหตุ ฯลฯ อโนตตัปปะมีเหตุ แต่รับรู้อารมณ์ไม่ได้ ไม่มี
ความนึกถึง ฯลฯ ไม่มีความตั้งใจใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๗๕๙] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “รูปมีเหตุ” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. รูปมีปัจจัยมิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. หากรูปมีปัจจัย ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “รูปมีเหตุ”

รูปังสเหตุกันติกถา จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๘๐๓ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๖. โสฬสมวรรค] ๗. รูปังกุสลากุสลันติกถา (๑๖๒)
๗. รูปังกุสลากุสลันติกถา (๑๖๒)
ว่าด้วยรูปเป็นกุศลและอกุศล
[๗๖๐] สก. รูปเป็นกุศลใช่ไหม
ปร.๑ ใช่๒
สก. รูปรับรู้อารมณ์ได้ มีความนึกถึง ฯลฯ มีความตั้งใจใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. รูปรับรู้อารมณ์ไม่ได้ ไม่มีความนึกถึง ฯลฯ ไม่มีความตั้งใจใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. หากรูปรับรู้อารมณ์ไม่ได้ ไม่มีความนึกถึง ฯลฯ ไม่มีความตั้งใจ
ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “รูปเป็นกุศล”
[๗๖๑] สก. อโลภะเป็นกุศล รับรู้อารมณ์ได้ มีความนึกถึง ฯลฯ มีความ
ตั้งใจใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. รูปเป็นกุศล รับรู้อารมณ์ได้ มีความนึกถึง ฯลฯ มีความตั้งใจใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. อโทสะเป็นกุศล ฯลฯ อโมหะ ฯลฯ สัทธา ฯลฯ วิริยะ ฯลฯ สติ ฯลฯ
สมาธิ ฯลฯ ปัญญาเป็นกุศล รับรู้อารมณ์ได้ มีความนึกถึง ฯลฯ มีความตั้งใจใช่ไหม
ปร. ใช่

เชิงอรรถ :
๑ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายมหิสาสกะ และนิกายสมิติยะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๗๖๐-๗๖๔/๒๘๗)
๒ เพราะมีความเห็นว่า รูปเป็นทั้งกุศลและอกุศล ซึ่งต่างกับความเห็นของสกวาทีที่เห็นว่า รูปเป็นอัพยากฤต
(อภิ.ปญฺจ.อ. ๗๖๐-๗๖๔/๒๘๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๘๐๔ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๖. โสฬสมวรรค] ๗. รูปังกุสลากุสลันติกถา (๑๖๒)
สก. รูปเป็นกุศล รับรู้อารมณ์ได้ มีความนึกถึง ฯลฯ มีความตั้งใจใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. รูปเป็นกุศล แต่รับรู้อารมณ์ไม่ได้ ไม่มีความนึกถึง ฯลฯ ไม่มีความ
ตั้งใจใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. อโลภะเป็นกุศล แต่รับรู้อารมณ์ไม่ได้ ไม่มีความนึกถึง ฯลฯ ไม่มี
ความตั้งใจใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. รูปเป็นกุศล แต่รับรู้อารมณ์ไม่ได้ ไม่มีความนึกถึง ฯลฯ ไม่มีความ
ตั้งใจใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. อโทสะเป็นกุศล ฯลฯ ปัญญาเป็นกุศล แต่รับรู้อารมณ์ไม่ได้
ไม่มีความนึกถึง ฯลฯ ไม่มีความตั้งใจใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๗๖๒] สก. รูปเป็นอกุศลใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. รูปรับรู้อารมณ์ได้ มีความนึกถึง ฯลฯ มีความตั้งใจใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. รูปรับรู้อารมณ์ไม่ได้ ไม่มีความนึกถึง ฯลฯ ไม่มีความตั้งใจมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากรูปรับรู้อารมณ์ไม่ได้ ไม่มีความนึกถึง ฯลฯ ไม่มีความตั้งใจ
ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “รูปเป็นอกุศล ฯลฯ”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๘๐๕ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๖. โสฬสมวรรค] ๗. รูปังกุสลากุสลันติกถา (๑๖๒)
[๗๖๓] สก. โลภะเป็นอกุศล รับรู้อารมณ์ได้ มีความนึกถึง ฯลฯ มีความ
ตั้งใจใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. รูปเป็นอกุศล รับรู้อารมณ์ได้ มีความนึกถึง ฯลฯ มีความตั้งใจใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. โทสะเป็นอกุศล ฯลฯ โมหะ ฯลฯ มานะ ฯลฯ อโนตตัปปะ เป็นอกุศล
รับรู้อารมณ์ได้ มีความนึกถึง ฯลฯ มีความตั้งใจใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. รูปเป็นอกุศล รับรู้อารมณ์ได้ มีความนึกถึง ฯลฯ มีความตั้งใจใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. รูปเป็นอกุศล รับรู้อารมณ์ไม่ได้ ไม่มีความนึกถึง ฯลฯ ไม่มีความตั้ง
ใจใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. โลภะเป็นอกุศล รับรู้อารมณ์ไม่ได้ ไม่มีความนึกถึง ฯลฯ ไม่มีความ
ตั้งใจใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. รูปเป็นอกุศล รับรู้อารมณ์ไม่ได้ ไม่มีความนึกถึง ฯลฯ ไม่มีความตั้ง
ใจใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. โทสะเป็นอกุศล ฯลฯ โมหะ ฯลฯ มานะ ฯลฯ อโนตตัปปะ เป็นอกุศล
รับรู้อารมณ์ไม่ได้ ไม่มีความนึกถึง ฯลฯ ไม่มีความตั้งใจใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๘๐๖ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๖. โสฬสมวรรค] ๘. รูปังวิปาโกติกถา (๑๖๓)
[๗๖๔] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “รูปเป็นกุศลก็มี เป็นอกุศลก็มี” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. กายกรรม วจีกรรม เป็นกุศลก็มี เป็นอกุศลก็มีมิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. หากกายกรรม วจีกรรม เป็นกุศลก็มี เป็นอกุศลก็มี ดังนั้น ท่านจึง
ควรยอมรับว่า “รูปเป็นกุศลก็มี เป็นอกุศลก็มี”
รูปังกุสลากุสลันติกถา จบ

๘. รูปังวิปาโกติกถา (๑๖๓)
ว่าด้วยรูปเป็นวิบาก
[๗๖๕] สก. รูปเป็นวิบากใช่ไหม
ปร.๑ ใช่๒
สก. รูปมีสุขเวทนา มีทุกขเวทนา มีอทุกขมสุขเวทนา สัมปยุตด้วยสุขเวทนา
สัมปยุตด้วยทุกขเวทนา สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา สัมปยุตด้วยผัสสะ ฯลฯ
สัมปยุตด้วยจิต รับรู้อารมณ์ได้ มีความนึกถึง ฯลฯ มีความตั้งใจใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. รูปไม่มีสุขเวทนา ไม่มีทุกขเวทนา ฯลฯ รับรู้อารมณ์ไม่ได้ ไม่มีความ
นึกถึง ฯลฯ ไม่มีความตั้งใจมิใช่หรือ
ปร. ใช่

เชิงอรรถ :
๑ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอันธกะและนิกายสมิติยะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๗๖๕-๗๖๘/๒๘๗-๒๘๘)
๒ เพราะมีความเห็นว่า กัมมชรูป(รูปที่เกิดจากกรรม) ก็เรียกว่าวิบากได้ เหมือนกับที่เรียกจิตที่เป็นผลของ
กรรมว่าวิบากจิต (อภิ.ปญฺจ.อ. ๗๖๕-๗๖๘/๒๘๗-๒๘๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๘๐๗ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๖. โสฬสมวรรค] ๘. รูปังวิปาโกติกถา (๑๖๓)
สก. หากรูปไม่มีสุขเวทนา ไม่มีทุกขเวทนา ฯลฯ รับรู้อารมณ์ไม่ได้ ไม่มี
ความนึกถึง ฯลฯ ไม่มีความตั้งใจ ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “รูปเป็นวิบาก”
[๗๖๖] สก. ผัสสะเป็นวิบาก ผัสสะมีสุขเวทนา มีทุกขเวทนา ฯลฯ รับรู้
อารมณ์ได้ มีความนึกถึง ฯลฯ มีความตั้งใจใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. รูปเป็นวิบาก มีสุขเวทนา มีทุกขเวทนา ฯลฯ รับรู้อารมณ์ได้ มี
ความนึกถึง ฯลฯ มีความตั้งใจใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. รูปเป็นวิบาก ไม่มีสุขเวทนา ไม่มีทุกขเวทนา ฯลฯ รับรู้อารมณ์ไม่ได้
ไม่มีความนึกถึง ฯลฯ ไม่มีความตั้งใจใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ผัสสะเป็นวิบาก ไม่มีสุขเวทนา ไม่มีทุกขเวทนา ฯลฯ รับรู้อารมณ์
ไม่ได้ ไม่มีความนึกถึง ฯลฯ ไม่มีความตั้งใจใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๗๖๗] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “รูปเป็นวิบาก” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. สภาวธรรมคือจิตและเจตสิกที่เกิดขึ้นเพราะได้มีการทำกรรมไว้ เป็นวิบาก
มิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. หากสภาวธรรมคือจิตและเจตสิกที่เกิดขึ้นเพราะคนได้มีการทำกรรมไว้ จึง
เป็นวิบาก ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “รูปที่เกิดขึ้นเพราะได้มีการทำกรรมไว้
เป็นวิบาก”

รูปังวิปาโกติกถา จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๘๐๘ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๖. โสฬสมวรรค] ๙. รูปังรูปาวจรารูปาวจรันติกถา (๑๖๔)
๙. รูปังรูปาวจรารูปาวจรันติกถา (๑๖๔)
ว่าด้วยรูปเป็นรูปาวจรและอรูปาวจร
[๗๖๘] สก. รูปที่เป็นรูปาวจรมีอยู่ใช่ไหม
ปร.๑ ใช่๒
สก. รูปเป็นเครื่องแสวงหาสมาบัติ เป็นเครื่องแสวงหาอุบัติ เป็นเครื่องอยู่
เป็นสุขในปัจจุบัน สหรคต เกิดร่วม ระคน สัมปยุต เกิดพร้อมกัน ดับพร้อมกัน
มีวัตถุอย่างเดียวกัน มีอารมณ์อย่างเดียวกันกับจิตดวงที่เป็นเครื่องแสวงหาสมาบัติ
ดวงที่เป็นเครื่องแสวงหาอุบัติ ดวงที่เป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบันใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. รูปไม่เป็นเครื่องแสวงหาสมาบัติ ไม่เป็นเครื่องแสวงหาอุบัติ ไม่เป็น
เครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน สหรคต เกิดร่วม ระคน สัมปยุต เกิดพร้อมกัน ดับ
พร้อมกัน มีวัตถุอย่างเดียวกัน มีอารมณ์อย่างเดียวกันกับจิตดวงที่ไม่เป็นเครื่อง
แสวงหาสมาบัติ ดวงที่แสวงหาอุบัติ ดวงที่ไม่เป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบันมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากรูปไม่เป็นเครื่องแสวงหาสมาบัติ ไม่เป็นเครื่องแสวงหาอุบัติ ไม่
เป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน ฯลฯ มีอารมณ์อย่างเดียวกันกับจิตดวงที่ไม่เป็น
เครื่องแสวงหาสมาบัติ ฯลฯ ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “รูปที่เป็นรูปาวจรมีอยู่”
[๗๖๙] สก. รูปเป็นอรูปาวจรมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่

เชิงอรรถ :
๑ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอันธกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๗๖๘-๗๗๐/๒๘๘)
๒ เพราะมีความเห็นว่า รูปใดเกิดเพราะกรรมอันเป็นส่วนกามาวจร รูปนั้นก็เป็นกามาวจร รูปใดเกิดเพราะ
กรรมอันเป็นส่วนรูปาวจรและอรูปาวจร รูปนั้นก็เป็นรูปาวจรและอรูปาวจร ซึ่งต่างกับความเห็นของ
สกวาทีที่เห็นว่า รูปทั้งหมดเป็นกามาวจร (อภิ.ปญฺจ.อ. ๗๖๘-๗๗๐/๒๘๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๘๐๙ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๖. โสฬสมวรรค] ๙. รูปังรูปาวจรารูปาวจรันติกถา (๑๖๔)
สก. รูปเป็นเครื่องแสวงหาสมาบัติ เป็นเครื่องแสวงหาอุบัติ เป็นเครื่องอยู่
เป็นสุขในปัจจุบัน สหรคต เกิดร่วม ระคน สัมปยุต เกิดพร้อมกัน ดับพร้อมกัน
มีวัตถุอย่างเดียวกัน มีอารมณ์อย่างเดียวกันกับจิตดวงที่เป็นเครื่องแสวงหาสมาบัติ
ดวงที่เป็นเครื่องแสวงหาอุบัติ ดวงที่เป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบันใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. รูปไม่เป็นเครื่องแสวงหาสมาบัติ ไม่เป็นเครื่องแสวงหาอุบัติ ไม่เป็น
เครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน ฯลฯ มีอารมณ์อย่างเดียวกันกับจิตดวงที่ไม่เป็นเครื่อง
แสวงหาสมาบัติ ฯลฯ มิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากรูปไม่เป็นเครื่องแสวงหาสมาบัติ ไม่เป็นเครื่องแสวงหาอุบัติ ฯลฯ
มีวัตถุอย่างเดียวกัน มีอารมณ์อย่างเดียวกัน ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า
“รูปเป็นอรูปาวจรมีอยู่”
[๗๗๐] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “รูปเป็นรูปาวจรก็มี เป็นอรูปาวจรก็มี” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. รูปชื่อว่าเป็นกามาวจร เพราะบุคคลได้ทำกรรมที่เป็นกามาวจรไว้มิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. หากรูปชื่อว่าเป็นกามาวจร เพราะบุคคลได้ทำกรรมที่เป็นกามาวจรไว้
ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “รูปชื่อว่าเป็นรูปาวจร เพราะบุคคลได้ทำกรรมที่
เป็นรูปาวจรไว้ รูปชื่อว่าเป็นอรูปาวจร เพราะบุคคลได้ทำกรรมที่เป็นอรูปาวจรไว้”

รูปังรูปาวจรารูปาวจรันติกถา จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๘๑๐ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๖. โสฬสมวรรค] ๑๐. รูปราโครูปธาตุปริยาปันโนติอาทิกถา (๑๖๕)
๑๐. รูปราโครูปธาตุปริยาปันโนติอาทิกถา (๑๖๕)
ว่าด้วยรูปราคะนับเนื่องในรูปธาตุ เป็นต้น
[๗๗๑] สก. รูปราคะนับเนื่องในรูปธาตุใช่ไหม
ปร.๑ ใช่๒
สก. รูปราคะเป็นเครื่องแสวงหาสมาบัติ เป็นเครื่องแสวงหาอุบัติ เป็น
เครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน สหรคต ระคน สัมปยุต เกิดพร้อมกัน ดับพร้อมกัน
มีวัตถุอย่างเดียวกัน มีอารมณ์อย่างเดียวกันกับจิตดวงที่เป็นเครื่องแสวงหาสมาบัติ
ดวงที่เป็นเครื่องแสวงหาอุบัติ ดวงที่เป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบันใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. รูปราคะไม่เป็นเครื่องแสวงหาสมาบัติ ไม่เป็นเครื่องแสวงหาอุบัติ ไม่
เป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน ฯลฯ มีวัตถุอย่างเดียวกัน มีอารมณ์อย่าง
เดียวกันกับจิตดวงที่ไม่เป็นเครื่องแสวงหาสมาบัติ ฯลฯ มิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. รูปราคะไม่เป็นเครื่องแสวงหาสมาบัติ ไม่เป็นเครื่องแสวงหาอุบัติ
ไม่เป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน ฯลฯ มีวัตถุอย่างเดียวกัน มีอารมณ์อย่าง
เดียวกันกับจิตดวงที่ไม่เป็นเครื่องแสวงหาสมาบัติ ฯลฯ ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า
“รูปราคะนับเนื่องในรูปธาตุ”
[๗๗๒] สก. รูปราคะนับเนื่องในรูปธาตุใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สัททราคะนับเนื่องในสัททธาตุใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

เชิงอรรถ :
๑ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอันธกะและนิกายสมิติยะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๗๗๑/๒๘๘-๒๘๙)
๒ เพราะมีความเห็นว่า รูปราคะจัดเข้าในรูปธาตุ ส่วนอรูปราคะจัดเข้าในอรูปธาตุ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๗๗๑/
๒๘๘-๒๘๙)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๘๑๑ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๖. โสฬสมวรรค] ๑๐. รูปราโครูปธาตุปริยาปันโนติอาทิกถา (๑๖๕)
สก. รูปราคะนับเนื่องในรูปธาตุใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. คันธราคะ ฯลฯ รสราคะ ฯลฯ โผฏฐัพพราคะ นับเนื่องในโผฏฐัพพธาตุ
ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สัททราคะ ท่านไม่ยอมรับว่า “นับเนื่องในสัททธาตุ” ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. รูปราคะ ท่านไม่ยอมรับว่า “นับเนื่องในรูปธาตุ” ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. คันธราคะ ฯลฯ รสราคะ ฯลฯ โผฏฐัพพราคะ ท่านไม่ยอมรับว่า
“นับเนื่องในโผฏฐัพพธาตุ” ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. รูปราคะ ท่านไม่ยอมรับว่า “นับเนื่องในรูปธาตุ” ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๗๗๓] สก. อรูปราคะนับเนื่องในอรูปธาตุใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. อรูปราคะ ท่านไม่ยอมรับว่า “นับเนื่องในอรูปธาตุ” ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. อรูปราคะนับเนื่องในอรูปธาตุใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. อรูปราคะเป็นเครื่องแสวงหาสมาบัติ เป็นเครื่องแสวงหาอุบัติ เป็น
เครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน สหรคต เกิดร่วม ระคน สัมปยุต เกิดพร้อมกัน
ดับพร้อมกัน มีวัตถุอย่างเดียวกัน มีอารมณ์อย่างเดียวกันกับจิตดวงที่เป็นเครื่อง
แสวงหาสมาบัติ ดวงที่เป็นเครื่องแสวงหาอุบัติ ดวงที่เป็นเครื่องอยู่เป็นสุขใน
ปัจจุบันใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๘๑๒ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๖. โสฬสมวรรค] ๑๐. รูปราโครูปธาตุปริยาปันโนติอาทิกถา (๑๖๕)
สก. อรูปราคะไม่เป็นเครื่องแสวงหาสมาบัติ ไม่เป็นเครื่องแสวงหาอุบัติ ไม่
เป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน ฯลฯ มีวัตถุเป็นอันเดียวกัน มีอารมณ์เป็นอันเดียว
กันกับจิตดวงที่ไม่เป็นเครื่องแสวงหาสมาบัติ ฯลฯ มิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากอรูปราคะไม่เป็นเครื่องแสวงหาสมาบัติ ไม่เป็นเครื่องแสวงหาอุบัติ
ไม่เป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน สหรคต เกิดร่วม ระคน สัมปยุต เกิดพร้อมกัน
ดับพร้อมกัน มีวัตถุอย่างเดียวกัน มีอารมณ์อย่างเดียวกันกับจิตดวงที่ไม่เป็น
เครื่องแสวงหาสมาบัติ ดวงที่ไม่เป็นเครื่องแสวงหาอุบัติ ดวงที่ไม่เป็นเครื่องอยู่เป็น
สุขในปัจจุบัน ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “อรูปราคะนับเนื่องในอรูปธาตุ”
[๗๗๔] สก. อรูปราคะนับเนื่องในอรูปธาตุใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สัททราคะนับเนื่องในสัททธาตุใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. อรูปราคะนับเนื่องในอรูปธาตุใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. คันธราคะ ฯลฯ รสราคะ ฯลฯ โผฏฐัพพราคะ นับเนื่องในโผฏฐัพพธาตุ
ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สัททราคะ ท่านไม่ยอมรับว่า “นับเนื่องในสัททธาตุ” ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. อรูปราคะ ท่านไม่ยอมรับว่า “นับเนื่องในอรูปธาตุ” ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๘๑๓ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๖. โสฬสมวรรค] รวมกถาที่มีในวรรค
สก. คันธราคะ ฯลฯ รสราคะ ฯลฯ โผฏฐัพพราคะ ท่านไม่ยอมรับว่า
“นับเนื่องในโผฏฐัพพธาตุ” ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. อรูปราคะ ท่านไม่ยอมรับว่า “นับเนื่องในอรูปธาตุ” ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๗๗๕] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “รูปราคะนับเนื่องในรูปธาตุ อรูปราคะนับเนื่อง
ในอรูปธาตุ” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. กามราคะนับเนื่องในกามธาตุมิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. หากกามราคะนับเนื่องในกามธาตุ ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า
“รูปราคะ นับเนื่องในรูปธาตุ อรูปราคะนับเนื่องในอรูปธาตุ”
รูปราโครูปธาตุปริยาปันโนติอาทิกถา จบ
โสฬสมวรรค จบ

รวมกถาที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. นิคคหกถา ๒. ปัคคหกถา
๓. สุขานุปปทานกถา ๔. อธิคัยหมนสิการกถา
๕. รูปังเหตูติกถา ๖. รูปังสเหตุกันติกถา
๗. รูปังกุสลากุสลันติกถา ๘. รูปังวิปาโกติกถา
๙. รูปังรูปาวจรารูปาวจรันติกถา ๑๐. รูปราโครูปธาตุปริยาปันโนติ-
อาทิกถา


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๘๑๔ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๗. สัตตรสมวรรค] ๑. อัตถิอรหโตปุญญูปจโยติกถา (๑๖๖)
๑๗. สัตตรสมวรรค
๑. อัตถิอรหโตปุญญูปจโยติกถา (๑๖๖)
ว่าด้วยพระอรหันต์มีการสั่งสมบุญ
[๗๗๖] สก. พระอรหันต์มีการสั่งสมบุญใช่ไหม
ปร.๑ ใช่๒
สก. พระอรหันต์มีการสั่งสมบาปใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระอรหันต์ไม่มีการสั่งสมบาปใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระอรหันต์ไม่มีการสั่งสมบุญใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๗๗๗] สก. พระอรหันต์มีการสั่งสมบุญใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระอรหันต์สร้างสมปุญญาภิสังขาร อาเนญชาภิสังขาร ทำกรรมที่เป็น
ไปเพื่อคติ เพื่อภพ เพื่อความเป็นผู้มีอำนาจ เพื่อความเป็นใหญ่(ในแผ่นดิน)
เพื่อมีสมบัติมาก เพื่อมีบริวารมาก เพื่อความงามในหมู่เทพ เพื่อความงามใน
มนุษย์ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๗๗๘] สก. พระอรหันต์มีการสั่งสมบุญใช่ไหม
ปร. ใช่

เชิงอรรถ :
๑ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอันธกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๗๗๖-๗๗๙/๒๘๙)
๒ เพราะมีความเห็นว่า พระอรหันต์ก็ยังสั่งสมบุญอยู่ เช่น ให้ทานและไหว้พระเจดีย์เป็นต้น ซึ่งต่างกับ
ความเห็นของสกวาทีที่เห็นว่า พระอรหันต์เป็นผู้ละทั้งบุญและบาปได้แล้ว การกระทำเช่นนั้นไม่จัดเป็นการ
สั่งสมบุญ เป็นเพียงกิริยาไม่ก่อให้เกิดวิบาก (อภิ.ปญฺจ.อ. ๗๗๖-๗๗๙/๒๘๙)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๘๑๕ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๗. สัตตรสมวรรค] ๑. อัตถิอรหโตปุญญูปจโยติกถา (๑๖๖)
สก. พระอรหันต์ยังสั่งสมอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระอรหันต์ไม่สั่งสมใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระอรหันต์ละ ฯลฯ พระอรหันต์ยังยึดมั่น ฯลฯ พระอรหันต์ยัง
กำจัดอยู่ ฯลฯ พระอรหันต์ยังก่ออยู่ ฯลฯ พระอรหันต์ยังทำลายอยู่ ฯลฯ
พระอรหันต์ยังปรับปรุงอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระอรหันต์สั่งสมอยู่ก็มิใช่ ไม่สั่งสมอยู่ก็มิใช่ แต่เป็นผู้ไม่สั่งสมแล้ว
ดำรงอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. หากพระอรหันต์สั่งสมอยู่ก็มิใช่ ไม่สั่งสมอยู่ก็มิใช่ แต่เป็นผู้ไม่สั่งสม
แล้วดำรงอยู่ ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “พระอรหันต์มีการสั่งสมบุญ”
สก. พระอรหันต์ละอยู่ก็มิใช่ ยึดมั่นอยู่ก็มิใช่ แต่เป็นผู้ละแล้วดำรงอยู่ ...
กำจัดอยู่ก็มิใช่ ก่ออยู่ก็มิใช่ แต่เป็นผู้กำจัดแล้วดำรงอยู่ ... ทำลายอยู่ก็มิใช่
ปรับปรุงอยู่ก็มิใช่ แต่เป็นผู้ทำลายแล้วดำรงอยู่ มิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากพระอรหันต์ทำลายอยู่ก็มิใช่ ปรับปรุงอยู่ก็มิใช่ แต่เป็นผู้ทำลาย
แล้วดำรงอยู่ ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “พระอรหันต์มีการสั่งสมบุญ”
[๗๗๙] ปร. พระอรหันต์ไม่มีการสั่งสมบุญใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. พระอรหันต์ยังให้ทานใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. หากพระอรหันต์ยังให้ทาน ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “พระอรหันต์ไม่มี
การสั่งสมบุญ”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๘๑๖ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๗. สัตตรสมวรรค] ๒. นัตถิอรหโตอกาลมัจจูติกถา (๑๖๗)
ปร. พระอรหันต์ยังถวายจีวร ฯลฯ บิณฑบาต ฯลฯ เสนาสนะ ฯลฯ
คิลานปัจจัยเภสัชบริขาร ฯลฯ ของเคี้ยว ฯลฯ ของบริโภค ฯลฯ น้ำดื่ม ฯลฯ
ยังไหว้พระเจดีย์ ฯลฯ ยังยกดอกไม้ ฯลฯ ของหอม ฯลฯ เครื่องลูบไล้ขึ้นไว้
บนพระเจดีย์ ฯลฯ ยังทำประทักษิณพระเจดีย์ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. หากพระอรหันต์ยังทำประทักษิณพระเจดีย์ ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า
“พระอรหันต์ไม่มีการสั่งสมบุญ”
อัตถิอรหโตปุญญูปจโยติกถา จบ

๒. นัตถิอรหโตอกาลมัจจูติกถา (๑๖๗)
ว่าด้วยพระอรหันต์ไม่มีอกาลมรณะ
[๗๘๐] สก. พระอรหันต์ไม่มีอกาลมรณะ๑ ใช่ไหม
ปร.๒ ใช่๓
สก. ผู้ฆ่าพระอรหันต์ไม่มีใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ผู้ฆ่าพระอรหันต์มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระอรหันต์ไม่มีอกาลมรณะใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

เชิงอรรถ :
๑ อกาลมรณะ ในที่นี้หมายถึงการปรินิพพานในเวลาอันไม่สมควร
๒ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายราชคิริกะและนิกายสิทธัตถิกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๗๘๐/๒๙๐)
๓ เพราะมีความเห็นว่า พระอรหันต์จะต้องเสวยผลกรรมให้หมดก่อนจึงจะปรินิพพานได้ ฉะนั้น จึงไม่มีการ
ปรินิพพานภายในเวลาอันไม่สมควร ซึ่งต่างกับความเห็นของสกวาทีที่เห็นว่า พระอรหันต์ก็อาจ
ปรินิพพานในเวลาอันไม่สมควรได้ ถึงแม้ผลกรรมจะยังเหลืออยู่ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๗๘๐/๒๙๐)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๘๑๗ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๗. สัตตรสมวรรค] ๒. นัตถิอรหโตอกาลมัจจูติกถา (๑๖๗)
สก. พระอรหันต์ไม่มีอกาลมรณะใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลปลงชีวิตพระอรหันต์ได้เมื่อยังมีอายุ๑เหลืออยู่ หรือปลงชีวิตได้
เมื่อหมดอายุใช่ไหม
ปร. ปลงชีวิตได้เมื่อยังมีอายุเหลืออยู่
สก. หากบุคคลปลงชีวิตได้เมื่อยังมีอายุเหลืออยู่ ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า
“พระอรหันต์ไม่มีอกาลมรณะ”
สก. บุคคลปลงชีวิตพระอรหันต์ได้เมื่อหมดอายุ เพราะเหตุนั้น ผู้ฆ่าพระ
อรหันต์จึงไม่มีใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๗๘๑] สก. พระอรหันต์ไม่มีอกาลมรณะใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ยาพิษ ศัสตรา ไฟ ไม่พึงกล้ำกรายเข้าไปในร่างกายของพระอรหันต์
ได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ยาพิษ ศัสตรา ไฟ พึงกล้ำกรายเข้าไปในร่างกายของพระอรหันต์ได้
มิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากยาพิษ ศัสตรา ไฟ พึงกล้ำกรายเข้าไปในร่างกายของพระอรหันต์ได้
ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “พระอรหันต์ไม่มีอกาลมรณะ”
สก. ยาพิษ ศัสตรา ไฟ ไม่พึงกล้ำกรายเข้าไปในร่างกายของพระอรหันต์
ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ผู้ฆ่าพระอรหันต์ไม่มีใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

เชิงอรรถ :
๑ ดูเชิงอรรถที่ ๑ ข้อ ๖๒๑ หน้า ๖๗๙ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๘๑๘ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๗. สัตตรสมวรรค] ๓. สัพพมิทังกัมมโตติกถา (๑๖๘)
[๗๘๒] ปร. พระอรหันต์มีอกาลมรณะใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราจะไม่กล่าว
กรรมที่สัตว์มีเจตนาทำไว้ สั่งสมไว้ว่า สิ้นสุด เพราะยังไม่เสวยผล ก็ผลนั้นแล สัตว์
ต้องเสวยในอัตภาพนี้ ในอัตภาพถัดไป หรือในอัตภาพต่อ ๆ ไป” ๑ มีอยู่จริงมิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. ดังนั้น พระอรหันต์จึงไม่มีอกาลมรณะ
นัตถิอรหโตอกาลมัจจูติกถา จบ

๓. สัพพมิทังกัมมโตติกถา (๑๖๘)
ว่าด้วยสิ่งทั้งปวงนี้เป็นไปเพราะกรรม
[๗๘๓] สก. สิ่งทั้งปวง๒ นี้เป็นไปเพราะกรรมใช่ไหม
ปร.๓ ใช่๔
สก. แม้แต่กรรมเองก็เป็นไปเพราะกรรมใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สิ่งทั้งปวงนี้เป็นไปเพราะกรรมใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สิ่งทั้งปวงนี้เป็นไปเพราะเหตุที่ทำไว้ก่อนใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ องฺ.ทสก. (แปล) ๒๔/๒๑๗/๓๕๗
๒ สิ่งทั้งปวง ในที่นี้หมายถึงวัฏฏะคือกิเลส กรรม และวิบาก (อภิ.ปญฺจ.อ. ๗๘๓/๒๙๑)
๓ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายราชคิริกะและนิกายสิทธัตถิกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๗๘๓/๒๙๑)
๔ เพราะมีความเห็นว่า สิ่งทั้งปวงคือกัมมวัฏฏะ กิเลสวัฏฏะ และวิปากวัฏฏะเกิดขึ้นเพราะกรรมเท่านั้น
ซึ่งต่างกับความเห็นของสกวาทีที่เห็นว่า วิปากวัฏฏะเท่านั้นที่เกิดขึ้นเพราะกรรม (อภิ.ปญฺจ.อ. ๗๘๓/๒๙๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๘๑๙ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๗. สัตตรสมวรรค] ๓. สัพพมิทังกัมมโตติกถา (๑๖๘)
สก. สิ่งทั้งปวงนี้เป็นไปเพราะกรรมใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สิ่งทั้งปวงนี้เป็นไปเพราะวิบากของกรรมใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๗๘๔] สก. สิ่งทั้งปวงนี้เป็นไปเพราะวิบากของกรรมใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลพึงฆ่าสัตว์ เพราะวิบากของกรรมใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ปาณาติบาตมีผลใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. กรรมวิบากมีผลใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. กรรมวิบากไม่มีผลใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ปาณาติบาตไม่มีผลใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลพึงลักทรัพย์ ฯลฯ พูดเท็จ ฯลฯ พูดส่อเสียด ฯลฯ พูดคำหยาบ
ฯลฯ พูดเพ้อเจ้อ ฯลฯ ตัดช่องย่องเบา ฯลฯ ปล้นสะดม ฯลฯ ปล้นเรือนหลังเดียว
ฯลฯ ดักปล้นในทางเปลี่ยว ฯลฯ ผิดภรรยาผู้อื่น ฯลฯ ปล้นชาวบ้าน ฯลฯ
ปล้นชาวนิคม ฯลฯ พึงถวายทาน ฯลฯ จีวร ฯลฯ บิณฑบาต ฯลฯ เสนาสนะ
ฯลฯ คิลานปัจจัยเภสัชบริขาร เพราะวิบากของกรรมใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. คิลานปัจจัยเภสัชบริขารมีผลใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๘๒๐ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๗. สัตตรสมวรรค] ๓. สัพพมิทังกัมมโตติกถา (๑๖๘)
สก. กรรมวิบากมีผลใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. กรรมวิบากไม่มีผลใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. คิลานปัจจัยเภสัชบริขารไม่มีผลใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๗๘๕] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “สิ่งทั้งปวงนี้เป็นไปเพราะกรรม” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า
“สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม
หมู่สัตว์เป็นไปตามกรรม
สัตว์ทั้งหลายมีกรรมเป็นเครื่องผูกพัน
เปรียบเหมือนรถมีหมุดเป็นเครื่องตรึงไว้ แล่นไปอยู่ฉะนั้น๑
บุคคลได้เกียรติ ความสรรเสริญ
ความเสื่อม การถูกฆ่า และการถูกจองจำก็เพราะกรรม
บุคคลทราบชัดกรรมนั้นที่ทำให้ต่างกันได้
ไฉนเล่า จะพึงกล่าวว่ากรรมไม่มีในโลก”
มีอยู่จริงมิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. ดังนั้น สิ่งทั้งปวงนี้จึงเป็นไปเพราะกรรม

สัพพมิทังกัมมโตติกถา จบ

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ ม.ม. (แปล) ๑๓/๔๖๐/๕๘๑-๕๘๒, ขุ.สุ. (แปล) ๒๕/๖๖๐/๖๕๔

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๘๒๑ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๗. สัตตรสมวรรค] ๔. อินทริยพัทธกถา (๑๖๙)
๔. อินทริยพัทธกถา (๑๖๙)
ว่าด้วยสิ่งที่เนื่องด้วยอินทรีย์
[๗๘๖] สก. สิ่งที่เนื่องด้วยอินทรีย์เท่านั้นเป็นทุกข์๑ ใช่ไหม
ปร.๒ ใช่
สก. สิ่งที่เนื่องด้วยอินทรีย์เท่านั้นไม่เที่ยง ถูกปัจจัยปรุงแต่ง อาศัยปัจจัย
เกิดขึ้น มีความสิ้นไป เสื่อมไป คลายไป ดับไป แปรผันไปเป็นธรรมดาใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สิ่งที่ไม่เนื่องด้วยอินทรีย์ไม่เที่ยง ถูกปัจจัยปรุงแต่ง อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น
มีความสิ้นไป เสื่อมไป คลายไป ดับไป แปรผันไปเป็นธรรมดามิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากสิ่งที่ไม่เนื่องด้วยอินทรีย์ไม่เที่ยง ถูกปัจจัยปรุงแต่ง อาศัยปัจจัย
เกิดขึ้น มีความสิ้นไป เสื่อมไป คลายไป ดับไป แปรผันไปเป็นธรรมดา ท่านก็
ไม่ควรยอมรับว่า “สิ่งที่เนื่องด้วยอินทรีย์เท่านั้นเป็นทุกข์”
สก. สิ่งที่ไม่เนื่องด้วยอินทรีย์ไม่เที่ยง ถูกปัจจัยปรุงแต่ง อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น
ฯลฯ มีความแปรผันไปเป็นธรรมดา แต่สิ่งนั้นไม่เป็นทุกข์ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สิ่งที่เนื่องด้วยอินทรีย์ไม่เที่ยง ถูกปัจจัยปรุงแต่ง ฯลฯ มีความแปรผัน
ไปเป็นธรรมดา แต่สิ่งนั้นไม่เป็นทุกข์ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

เชิงอรรถ :
๑ ทุกข์ มี ๒ อย่าง คือ (๑) ทุกข์ที่เนื่องด้วยอินทรีย์ (สิ่งที่มีชีวิต) ที่เรียกว่าทุกข์ เพราะเป็นสภาวะที่สิ่งมีชีวิต
ทนได้ยาก (๒) ทุกข์ที่ไม่เนื่องด้วยอินทรีย์ (สิ่งที่ไม่มีชีวิต) ที่เรียกว่าทุกข์ เพราะตกอยู่ในสภาพที่ไม่ยั่งยืน
ในที่นี้ปรวาทีเห็นว่า ทุกข์ที่เนื่องด้วยอินทรีย์เท่านั้นจัดเป็นทุกข์ ซึ่งต่างกับความเห็นของสกวาทีที่เห็นว่า ทุกข์
ทั้งที่เนื่องด้วยอินทรีย์และไม่เนื่องด้วยอินทรีย์ จัดเป็นทุกข์ทั้งนั้น (อภิ.ปญฺจ.อ. ๗๘๖-๗๘๗/๒๙๒)
๒ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายเหตุวาท (อภิ.ปญฺจ.อ. ๗๘๖-๗๘๗/๒๙๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๘๒๒ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๗. สัตตรสมวรรค] ๔. อินทริยพัทธกถา (๑๖๙)
สก. สิ่งที่เนื่องด้วยอินทรีย์ไม่เที่ยง ถูกปัจจัยปรุงแต่ง ฯลฯ มีความแปรผัน
ไปเป็นธรรมดา แต่สิ่งนั้นเป็นทุกข์ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สิ่งที่ไม่เนื่องด้วยอินทรีย์ไม่เที่ยง ถูกปัจจัยปรุงแต่ง ฯลฯ มีความแปร
ผันไปเป็นธรรมดา แต่สิ่งนั้นเป็นทุกข์ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๗๘๗] สก. สิ่งที่เนื่องด้วยอินทรีย์เท่านั้นเป็นทุกข์ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งที่ไม่เนื่อง
ด้วยอินทรีย์ก็ไม่เที่ยง” มิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากพระผู้มีพระภาคตรัสว่า “สิ่งที่ไม่เที่ยงเป็นทุกข์ สิ่งที่ไม่เนื่องด้วย
อินทรีย์ไม่เที่ยง” ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “สิ่งที่เนื่องด้วยอินทรีย์เท่านั้นเป็นทุกข์”
[๗๘๘] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “สิ่งที่เนื่องด้วยอินทรีย์เท่านั้นเป็นทุกข์” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. บุคคลอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ในสำนักของพระผู้มีพระภาค เพื่อ
กำหนดรู้ทุกข์ที่ไม่เนื่องด้วยอินทรีย์ เหมือนกำหนดรู้ทุกข์ที่เนื่องด้วยอินทรีย์ใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. ทุกข์ที่ไม่เนื่องด้วยอินทรีย์ที่พระอริยะกำหนดรู้แล้ว ย่อมไม่เกิดขึ้นอีก
เหมือนทุกข์ที่เนื่องด้วยอินทรีย์ที่พระอริยะกำหนดรู้แล้วย่อมไม่เกิดขึ้นอีกใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. ดังนั้น สิ่งที่เนื่องด้วยอินทรีย์เท่านั้นจึงเป็นทุกข์

อินทริยพัทธกถา จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๘๒๓ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๗. สัตตรสมวรรค] ๕. ฐเปตวาอริยมัคคันติกถา (๑๗๐)
๕. ฐเปตวาอริยมัคคันติกถา (๑๗๐)
ว่าด้วยการยกเว้นอริยมรรค
[๗๘๙] สก. ยกเว้นอริยมรรค สังขารที่เหลือเป็นทุกข์ใช่ไหม
ปร.๑ ใช่๒
สก. แม้ทุกขสมุทัยก็เป็นทุกข์ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. แม้ทุกขสมุทัยก็เป็นทุกข์ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. อริยสัจมีเพียง ๓ อย่างเท่านั้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. อริยสัจมีเพียง ๓ อย่างเท่านั้นใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. อริยสัจ พระผู้มีพระภาคได้ตรัสไว้ ๔ อย่าง คือ (๑) ทุกข์ (๒) ทุกขสมุทัย
(๓) ทุกขนิโรธ (๔) ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทามิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากอริยสัจ พระผู้มีพระภาคได้ตรัสไว้ ๔ อย่าง คือ (๑) ทุกข์ (๒)
ทุกขสมุทัย (๓) ทุกขนิโรธ (๔) ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า
“อริยสัจมีเพียง ๓ อย่าง เท่านั้น”
สก. แม้ทุกขสมุทัยก็เป็นทุกข์ใช่ไหม
ปร. ใช่

เชิงอรรถ :
๑ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายเหตุกวาท (อภิ.ปญฺจ.อ. ๗๘๙-๗๙๐/๒๙๓)
๒ เพราะมีความเห็นว่า เนื่องจากที่อริยมรรค ท่านเรียกว่าทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ฉะนั้น อริยมรรค จึง
ไม่ชื่อว่าเป็นทุกข์ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๗๘๙-๗๙๐/๒๙๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๘๒๔ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๗. สัตตรสมวรรค] ๕. ฐเปตวาอริยมัคคันติกถา (๑๗๐)
สก. โดยความหมายว่าอย่างไร
ปร. โดยความหมายว่าไม่เที่ยง
สก. อริยมรรคไม่เที่ยงใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. อริยมรรคเป็นทุกข์ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั่น ฯลฯ
สก. อริยมรรคไม่เที่ยง แต่อริยมรรคนั้นไม่เป็นทุกข์ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ทุกขสมุทัยไม่เที่ยง แต่อริยมรรคนั้นไม่เป็นทุกข์ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ทุกขสมุทัยไม่เที่ยง แต่อริยมรรคนั้นเป็นทุกข์ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. อริยมรรคไม่เที่ยง แต่อริยมรรคนั้นเป็นทุกข์ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๗๙๐] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “ยกเว้นอริยมรรค สังขารที่เหลือเป็นทุกข์”
ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. อริยมรรคเป็นทุกขนิโรธคามินีปฏิปทามิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. หากอริยมรรคเป็นทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า
“ยกเว้นอริยมรรค สังขารที่เหลือเป็นทุกข์”

ฐเปตวาอริยมัคคันติกถา จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๘๒๕ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๗. สัตตรสมวรรค] ๖. นวัตตัพพังสังโฆทักขิณังปฏิคคัณหาตีติกถา (๑๗๑)
๖. นวัตตัพพังสังโฆทักขิณังปฏิคคัณหาตีติกถา (๑๗๑)
ว่าด้วยไม่ควรยอมรับว่าพระสงฆ์รับทักษิณา
[๗๙๑] สก. ท่านไม่ยอมรับว่า “พระสงฆ์รับทักษิณาได้” ใช่ไหม
ปร.๑ ใช่๒
สก. พระสงฆ์เป็นผู้ควรแก่ของที่เขานำมาถวาย ควรแก่ของต้อนรับ ควรแก่
ทักษิณา ควรแก่การทำอัญชลี เป็นเนื้อนาบุญอันยอดเยี่ยมของโลกใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. หากพระสงฆ์เป็นผู้ควรแก่ของที่เขานำมาถวาย ควรแก่ของต้อนรับ
ควรแก่ทักษิณา ควรแก่การทำอัญชลี เป็นเนื้อนาบุญอันยอดเยี่ยมของโลก ดังนั้น
ท่านจึงควรยอมรับว่า “พระสงฆ์รับทักษิณาได้”
สก. ท่านไม่ยอมรับว่า “พระสงฆ์รับทักษิณาได้” ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. อริยบุคคล ๔ คู่ คือ ๘ บุคคล พระผู้มีพระภาคตรัสว่า เป็นผู้ควร
แก่ทักษิณามิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากอริยบุคคล ๔ คู่ คือ ๘ บุคคล พระผู้มีพระภาคตรัสว่า เป็นผู้
ควรแก่ทักษิณา ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “พระสงฆ์รับทักษิณาได้”
สก. ท่านไม่ยอมรับว่า “พระสงฆ์รับทักษิณาได้” ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลบางพวกที่ถวายทานแด่พระสงฆ์มีอยู่มิใช่หรือ
ปร. ใช่

เชิงอรรถ :
๑ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายเวตุลลกะ (มหาปุญญวาที) (อภิ.ปญฺจ.อ. ๗๙๑-๗๙๒/๒๙๓-๒๙๔)
๒ เพราะมีความเห็นว่า ว่าโดยปรมัตถ์ มรรคและผลเท่านั้นชื่อว่าสงฆ์ ขึ้นชื่อว่าสงฆ์อื่นไปจากมรรคและผล
ย่อมไม่มี มรรคและผลย่อมรับอะไร ๆ ไม่ได้ ดังนั้น จึงไม่ควรกล่าวว่า พระสงฆ์รับทักษิณาได้ (อภิ.ปญฺจ.อ.
๗๙๑-๗๙๒/๒๙๓-๒๙๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๘๒๖ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๗. สัตตรสมวรรค] ๖. นวัตตัพพังสังโฆทักขิณังปฏิคคัณหาตีติกถา (๑๗๑)
สก. หากบุคคลบางพวกที่ถวายทานแด่พระสงฆ์มีอยู่ ดังนั้น ท่านจึงควร
ยอมรับว่า “พระสงฆ์รับทักษิณาได้”
สก. บุคคลบางพวกที่ถวายจีวร ฯลฯ บิณฑบาต ฯลฯ เสนาสนะ ฯลฯ
คิลานปัจจัยเภสัชบริขาร ฯลฯ ของเคี้ยว ฯลฯ ของบริโภค ฯลฯ น้ำดื่มแด่
พระสงฆ์มีอยู่มิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากบุคคลบางพวกที่ถวายน้ำดื่มแด่พระสงฆ์มีอยู่ ดังนั้น ท่านจึงควร
ยอมรับว่า “พระสงฆ์รับทักษิณาได้”
สก. ท่านไม่ยอมรับว่า “พระสงฆ์รับทักษิณาได้” ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า
“พระสงฆ์ผู้ถึงพร้อมด้วยสมาธิย่อมรับทักษิณาได้
เหมือนไฟรับการบูชา เหมือนแผ่นดินรับน้ำฝนจากเมฆ”
มีอยู่จริงมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. ดังนั้น พระสงฆ์จึงรับทักษิณาได้
[๗๙๒] ปร. พระสงฆ์รับทักษิณาได้ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. มรรครับได้ ผลก็รับได้ใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

นวัตตัพพังสังโฆทักขิณังปฏิคคัณหาตีติกถา จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๘๒๗ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๗. สัตตรสมวรรค] ๗. นวัตตัพพังสังโฆทักขิณังวิโสเธตีติกถา (๑๗๒)
๗. นวัตตัพพังสังโฆทักขิณังวิโสเธตีติกถา (๑๗๒)
ว่าด้วยไม่ควรยอมรับว่าพระสงฆ์ทำทักษิณาให้หมดจด
[๗๙๓] สก. ท่านไม่ยอมรับว่า “พระสงฆ์ทำทักษิณาให้หมดจดได้”๑ ใช่ไหม
ปร.๒ ใช่๓
สก. พระสงฆ์เป็นผู้ควรแก่ของที่เขานำมาถวาย ควรแก่ของต้อนรับ ควรแก่
ทักษิณา ควรแก่การทำอัญชลี เป็นเนื้อนาบุญอันยอดเยี่ยมของโลกมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากพระสงฆ์เป็นผู้ควรแก่ของที่เขานำมาถวาย ฯลฯ เป็นเนื้อนาบุญ
อันยอดเยี่ยมของโลก ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “พระสงฆ์ทำทักษิณาให้หมด
จดได้”
สก. ท่านไม่ยอมรับว่า “พระสงฆ์ทำทักษิณาให้หมดจดได้” ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. อริยบุคคล ๔ คู่ คือ ๘ บุคคล พระผู้มีพระภาคตรัสว่า เป็นผู้ควร
แก่ทักษิณามิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากอริยบุคคล ๔ คู่ คือ ๘ บุคคล พระผู้มีพระภาคตรัสว่า เป็นผู้
ควรแก่ทักษิณา ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “พระสงฆ์ทำทักษิณาให้หมดจดได้”
สก. ท่านไม่ยอมรับว่า “พระสงฆ์ทำทักษิณาให้หมดจดได้” ใช่ไหม
ปร. ใช่

เชิงอรรถ :
๑ ให้หมดจดได้ ในที่นี้หมายถึงทำให้มีผลมาก คือ ทำของที่น้อยให้มีผลมาก ทำของที่มากให้มีผลมากยิ่งขึ้น
(อภิ.ปญฺจ.อ. ๗๙๓-๗๙๔/๒๙๔)
๒ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายเวตุลลกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๗๙๓-๗๙๔/๒๙๔)
๓ เพราะมีความเห็นว่า มรรคและผลเท่านั้นชื่อว่าสงฆ์ มรรคและผลเหล่านั้น ไม่สามารถทำทักษิณาให้
หมดจดได้ ดังนั้น จึงไม่ควรกล่าวว่า พระสงฆ์ทำทักษิณาให้หมดจดได้ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๗๙๓-๗๙๔/๒๙๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๘๒๘ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๗. สัตตรสมวรรค] ๗. นวัตตัพพังสังโฆทักขิณังวิโสเธตีติกถา (๑๗๒)
สก. บุคคลบางพวกที่ถวายทานแด่พระสงฆ์แล้วให้ทักษิณาบริบูรณ์มีอยู่
มิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากบุคคลบางพวกที่ถวายทานแด่พระสงฆ์แล้วให้ทักษิณาบริบูรณ์มีอยู่
ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “พระสงฆ์ทำทักษิณาให้หมดจดได้”
สก. บุคคลบางพวกที่ถวายจีวร ฯลฯ บิณฑบาต ฯลฯ เสนาสนะ ฯลฯ
คิลานปัจจัยเภสัชบริขาร ฯลฯ ของเคี้ยว ฯลฯ ของบริโภค ฯลฯ น้ำดื่มแด่พระ
สงฆ์แล้วให้ทักษิณาบริบูรณ์มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. หากบุคคลบางพวกที่ถวายน้ำดื่มแด่พระสงฆ์แล้วให้ทักษิณาบริบูรณ์มีอยู่
ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “พระสงฆ์ทำทักษิณาให้หมดจดได้”
[๗๙๔] ปร. พระสงฆ์ทำทักษิณาให้หมดจดได้ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. มรรคทำทักษิณาให้หมดจดได้ ผลก็ทำทักษิณาให้หมดจดได้ใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

นวัตตัพพังสังโฆทักขิณังวิโสเธตีติกถา จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๘๒๙ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๗. สัตตรสมวรรค] ๘. นวัตตัพพังสังโฆภุญชตีติกถา (๑๗๓)
๘. นวัตตัพพังสังโฆภุญชตีติกถา (๑๗๓)
ว่าด้วยไม่ควรยอมรับว่าพระสงฆ์ฉันได้
[๗๙๕] สก. ท่านไม่ยอมรับว่า “พระสงฆ์ฉัน ดื่ม เคี้ยว ลิ้มได้” ใช่ไหม
ปร.๑ ใช่๒
สก. บุคคลบางพวกที่ทำสังฆภัต อุทเทสภัต ยาคู และน้ำปานะมีอยู่มิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากบุคคลบางพวกที่ทำสังฆภัต อุทเทสภัต ยาคู และน้ำปานะมีอยู่
ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “พระสงฆ์ฉัน ดื่ม เคี้ยว ลิ้มได้”
สก. ท่านไม่ยอมรับว่า “พระสงฆ์ฉัน ดื่ม เคี้ยว ลิ้มได้” ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. คณโภชนะ ปรัมปรโภชนะ อติริตตโภชนะ อนติริตตโภชนะ พระผู้มี
พระภาคตรัสไว้แล้วมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากคณโภชนะ ปรัมปรโภชนะ อติริตตโภชนะ อนติริตตโภชนะ
พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “พระสงฆ์ฉัน ดื่ม เคี้ยว
ลิ้มได้”
สก. ท่านไม่ยอมรับว่า “พระสงฆ์ฉัน ดื่ม เคี้ยว ลิ้มได้” ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. น้ำปานะพระผู้มีพระภาคตรัสไว้ ๘ อย่าง คือ น้ำมะม่วง น้ำลูกหว้า
น้ำกล้วยมีเมล็ด น้ำกล้วยไม่มีเมล็ด น้ำมะซาง น้ำลูกจันทน์ น้ำเหง้าบัว น้ำมะปราง
มิใช่หรือ
ปร. ใช่

เชิงอรรถ :
๑ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายเวตุลลกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๗๙๕/๒๙๕)
๒ เพราะมีความเห็นว่า มรรคและผลเท่านั้นชื่อว่าสงฆ์ มรรคและผลเหล่านั้นย่อมฉันอะไร ๆ ไม่ได้ ดังนั้น
จึงไม่ควรกล่าวว่า พระสงฆ์ฉัน ดื่ม เคี้ยว และลิ้มได้ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๗๙๕/๒๙๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๘๓๐ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๗. สัตตรสมวรรค] ๙. นวัตตัพพังสังฆัสสทินนังมหัปผลันติกถา (๑๗๔)
สก. หากน้ำปานะพระผู้มีพระภาคตรัสไว้ ๘ อย่าง คือ น้ำมะม่วง น้ำลูกหว้า
น้ำกล้วยมีเมล็ด น้ำกล้วยไม่มีเมล็ด น้ำมะซาง น้ำลูกจันทน์ น้ำเหง้าบัว น้ำมะปราง
ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “พระสงฆ์ฉัน ดื่ม เคี้ยว ลิ้มได้”
[๗๙๖] ปร. พระสงฆ์ฉัน ดื่ม เคี้ยว ลิ้มได้ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. มรรคฉัน ดื่ม เคี้ยว ลิ้มได้ ผลก็ฉัน ดื่ม เคี้ยว ลิ้มได้ใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
นวัตตัพพังสังโฆภุญชตีติกถา จบ

๙. นวัตตัพพังสังฆัสสทินนังมหัปผลันติกถา (๑๗๔)
ว่าด้วยไม่ควรยอมรับว่าทานที่ถวายแด่พระสงฆ์มีผลมาก
[๗๙๗] สก. ท่านไม่ยอมรับว่า “ทานที่ถวายแด่พระสงฆ์มีผลมาก” ใช่ไหม
ปร.๑ ใช่๒
สก. พระสงฆ์เป็นผู้ควรแก่ของที่เขานำมาถวาย ควรแก่ของต้อนรับ ควรแก่
ทักษิณา ควรแก่การทำอัญชลี เป็นเนื้อนาบุญอันยอดเยี่ยมของโลกมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากพระสงฆ์เป็นผู้ควรแก่ของที่เขานำมาถวาย ควรแก่ของต้อนรับ ฯลฯ
เป็นเนื้อนาบุญอันยอดเยี่ยมของโลก ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “ทานที่ถวาย
แด่พระสงฆ์มีผลมาก”
สก. ท่านไม่ยอมรับว่า “ทานที่ถวายแด่พระสงฆ์มีผลมาก” ใช่ไหม
ปร. ใช่

เชิงอรรถ :
๑ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายเวตุลลกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๗๙๗/๒๙๕)
๒เพราะมีความเห็นว่า มรรคและผลเท่านั้น ชื่อว่าสงฆ์ บุคคลไม่สามารถที่จะให้หรือรับอะไรจากมรรคและ
ผลเหล่านั้น การให้ทานแก่มรรคและผลจึงไม่เกิดอุปการะอะไร ดังนั้น จึงไม่ควรกล่าวว่า ทานที่บุคคล
ถวายแด่พระสงฆ์มีผลมาก (อภิ.ปญฺจ.อ. ๗๙๗-๗๙๘/๒๙๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๘๓๑ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๗. สัตตรสมวรรค] ๙. นวัตตัพพังสังฆัสสทินนังมหัปผลันติกถา (๑๗๔)
สก. อริยบุคคล ๔ คู่ คือ ๘ บุคคล พระผู้มีพระภาคตรัสว่าเป็นผู้ควรแก่
ทักษิณามิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากอริยบุคคล ๔ คู่ คือ ๘ บุคคล พระผู้มีพระภาคตรัสว่า เป็นผู้
ควรแก่ทักษิณา ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “ทานที่ถวายแด่พระสงฆ์มีผลมาก”
[๗๙๘] สก. ท่านไม่ยอมรับว่า “ทานที่ถวายแด่พระสงฆ์มีผลมาก” ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “โคตมี พระนางจงถวายสงฆ์เถิด
เมื่อพระนางถวายสงฆ์แล้ว จักชื่อว่าเป็นผู้ได้บูชาอาตมภาพและสงฆ์”๑ มีอยู่จริง
มิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. ดังนั้น ทานที่ถวายแด่พระสงฆ์จึงมีผลมาก
สก. ท่านไม่ยอมรับว่า “ทานที่ถวายแด่พระสงฆ์มีผลมาก” ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ท้าวสักกะจอมเทพได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“เมื่อมนุษย์ทั้งหลายผู้เป็นสัตว์
ปรารถนาบุญ บูชาอยู่ ทำบุญซึ่งให้เกิดผล
ทานให้แล้วในที่ไหนมีผลมาก พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า
“ท่านผู้ปฏิบัติดี ๔ จำพวก
ท่านผู้ตั้งอยู่ในผล ๔ จำพวก
นั่นคือพระสงฆ์ เป็นผู้ปฏิบัติตรง
ตั้งมั่นอยู่ในศีล สมาธิ และปัญญา
เมื่อมนุษย์ทั้งหลายผู้เป็นสัตว์
ปรารถนาบุญ บูชาอยู่ ทำบุญซึ่งให้เกิดผล
ทานให้แล้วในพระสงฆ์มีผลมาก

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ ม.อุ. (แปล) ๑๔/๓๗๖/๔๒๕

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๘๓๒ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๗. สัตตรสมวรรค] ๑๐. นวัตตัพพังพุทธัสสทินนังมหัปผลันติกถา (๑๗๕)
ด้วยว่า พระสงฆ์นี้มีคุณยิ่งใหญ่ ไพบูลย์
หาประมาณมิได้ ดุจทะเลเปี่ยมด้วยน้ำ
พระอริยบุคคลเหล่านี้แลเป็นผู้ประเสริฐสุด
เป็นสาวกของพระพุทธเจ้าผู้มีความเพียร
เป็นผู้ให้แสงสว่างคือปัญญาแก่ชาวโลก ย่อมยกธรรมขึ้นแสดง
ทานที่บุคคลถวายเจาะจงสงฆ์นั้น ชื่อว่าเป็นทานถวายดีแล้ว
บูชาสักการะอย่างดีแล้ว ทักษิณาที่ถวายสงฆ์นั้นมีผลมาก
ทั้งพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลายผู้ทรงรู้แจ้งโลกก็ทรงสรรเสริญแล้ว
เหล่าชนมาหวนระลึกถึงบุญเช่นนี้ได้เกิดปีติและโสมนัส
กำจัดมลทินคือความตระหนี่พร้อมทั้งมูลได้
ท่องเที่ยวไปในโลก ไม่ถูกบัณฑิตติเตียน
จึงเข้าถึงแดนสวรรค์ได้”๑
มีอยู่จริงมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. ดังนั้น ทานที่ถวายแด่พระสงฆ์จึงมีผลมาก
นวัตตัพพังสังฆัสสทินนังมหัปผลันติกถา จบ

๑๐. นวัตตัพพังพุทธัสสทินนังมหัปผลันติกถา (๑๗๕)
ว่าด้วยไม่ควรยอมรับว่าทานที่ถวายแด่พระพุทธเจ้ามีผลมาก
[๗๙๙] สก. ท่านไม่ยอมรับว่า “ทานที่ถวายแด่พระพุทธเจ้ามีผลมาก” ใช่ไหม
ปร.๒ ใช่๓

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ ขุ.วิ. (แปล) ๒๖/๖๔๓-๖๔๕/๗๑,๗๕๒-๗๕๔/๘๗-๘๘
๒ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายเวตุลลกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๗๙๙/๒๙๖)
๓ เพราะมีความเห็นว่า พระพุทธเจ้าย่อมไม่ทรงฉันอะไร ๆ แต่เพื่ออนุเคราะห์ชาวโลก ย่อมทรงแสดงพระ
องค์เหมือนกับว่าทรงฉันอยู่ ดังนั้น การถวายทานแด่พระพุทธเจ้าจึงไม่ควรกล่าวว่ามีผลมาก (อภิ.ปญฺจ.อ.
๗๙๙/๒๙๖)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๘๓๓ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๗. สัตตรสมวรรค] ๑๐. นวัตตัพพังพุทธัสสทินนังมหัปผลันติกถา (๑๗๕)
สก. พระผู้มีพระภาคเป็นผู้เลิศ เป็นผู้ประเสริฐสุด เป็นประธาน เป็นผู้อุดม
เป็นผู้ล้ำเลิศกว่าเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย หาผู้เสมอมิได้๑ เสมอกับบุคคลผู้หาผู้
เสมอมิได้๒ ไม่มีใครเปรียบเทียบ๓ ไม่มีผู้ทำกิจเปรียบเทียบ๔ หาบุคคลเปรียบเทียบ
มิได้๕ ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. หากพระผู้มีพระภาคทรงเป็นผู้เลิศ เป็นผู้ประเสริฐสุด เป็นประธาน
เป็นผู้อุดม เป็นผู้ล้ำเลิศกว่าเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย หาผู้เสมอมิได้ เสมอกับ
บุคคลผู้หาผู้เสมอมิได้ ไม่มีใครเปรียบเทียบ ไม่มีผู้ทำกิจเปรียบเทียบ หาบุคคล
เปรียบเทียบมิได้ ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “ทานที่ถวายแด่พระพุทธเจ้ามี
ผลมาก”
สก. ท่านไม่ยอมรับว่า “ทานที่ถวายแด่พระพุทธเจ้ามีผลมาก” ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ใคร ๆ ที่เสมอเหมือนพระพุทธเจ้าโดยศีล สมาธิ ปัญญา มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่มี
สก. หากใคร ๆ ผู้เสมอเหมือนพระพุทธเจ้าโดยศีล สมาธิ ปัญญา ไม่มี
ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “ทานที่ถวายแด่พระพุทธเจ้ามีผลมาก”

เชิงอรรถ :
๑ หาผู้เสมอมิได้ หมายถึงไม่มีสรรพสัตว์เท่าเทียมกับพระองค์ เพราะไม่มีบุคคลจะเปรียบเทียบได้ (องฺ.เอกก.อ.
๑/๑๗๔/๑๐๕)
๒ เสมอกับบุคคลผู้หาผู้เสมอมิได้ หมายถึงทรงเป็นผู้เสมอกับสัพพัญญูพุทธเจ้าทั้งหลาย ทั้งในอดีตและ
อนาคต ซึ่งหาผู้เสมอมิได้ (องฺ.เอกก.อ. ๑/๑๗๔/๑๐๕)
๓ ไม่มีใครเปรียบเทียบ หมายถึงไม่มีใครสามารถเปลี่ยนแปลงธรรมที่พระตถาคตแสดงไว้ได้ เช่น
สติปัฏฐาน ๔ ประการ ไม่มีใครสามารถแสดงย่อให้เหลือเป็น ๓ ประการ หรือเพิ่มให้เป็น ๕ ประการได้
(องฺ.เอกก.อ. ๑/๑๗๔/๑๐๕)
๔ ไม่มีผู้ทำกิจเปรียบเทียบ หมายถึงไม่มีใครสามารถเปลี่ยนแปลงธรรมที่พระตถาคตแสดงไว้ได้ เช่น
สติปัฏฐาน ๔ ประการ ไม่มีใครสามารถแสดงย่อให้เหลือเป็น ๓ ประการ หรือเพิ่มให้เป็น ๕ ประการได้
(องฺ.เอกก.อ. ๑/๑๗๔/๑๐๕)
๕ หาบุคคลเปรียบเทียบมิได้ หมายถึงไม่มีใครอื่นที่จะกล้าปฏิญาณว่า เราเป็นพระพุทธเจ้าได้เหมือนพระ
ตถาคต (องฺ.เอกก.อ. ๑/๑๗๔/๑๐๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๘๓๔ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๗. สัตตรสมวรรค] ๑๑. ทักขิณาวิสุทธิกถา (๑๗๖)
สก. ท่านไม่ยอมรับว่า “ทานที่ถวายแด่พระพุทธเจ้ามีผลมาก” ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า
“ไม่ว่าในโลกนี้หรือในโลกอื่นก็ตาม
ไม่มีผู้ที่จะประเสริฐกว่า
หรือจะทัดเทียมพระพุทธเจ้า
ผู้ถึงความเป็นยอดแห่งอาหุไนยบุคคล
ของเหล่าชนผู้มีความต้องการบุญ ผู้แสวงหาผลไพบูลย์”
มีอยู่จริงมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. ดังนั้น ทานที่ถวายแด่พระพุทธเจ้าจึงมีผลมาก
นวัตตัพพังพุทธัสสทินนังมหัปผลันติกถา จบ

๑๑. ทักขิณาวิสุทธิกถา (๑๗๖)
ว่าด้วยทักษิณาบริสุทธิ์
[๘๐๐] สก. ทานบริสุทธิ์ฝ่ายทายก(ผู้ให้)เท่านั้น แต่ไม่บริสุทธิ์ฝ่ายปฏิคาหก
(ผู้รับ) ใช่ไหม
ปร.๑ ใช่๒
สก. ปฏิคาหกบางพวกเป็นผู้ควรแก่ของที่เขานำมาถวาย ควรแก่ของต้อนรับ
ควรแก่ทักษิณา ควรแก่การทำอัญชลี เป็นเนื้อนาบุญอันยอดเยี่ยมของโลกมีอยู่
มิใช่หรือ
ปร. ใช่

เชิงอรรถ :
๑ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอุตตราปถกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๘๐๐-๘๐๑/๒๙๖-๒๙๗)
๒ เพราะมีความเห็นว่า ในการให้ทานนั้น ฝ่ายปฏิคาหก ไม่จำเป็นต้องบริสุทธิ์ เพียงทายกบริสุทธิ์ก็พอ
(อภิ.ปญฺจ.อ. ๘๐๐-๘๐๑/๒๙๖-๒๙๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๘๓๕ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๗. สัตตรสมวรรค] ๑๑. ทักขิณาวิสุทธิกถา (๑๗๖)
สก. หากปฏิคาหกบางพวกเป็นผู้ควรแก่ของที่เขานำมาถวาย ควรแก่ของ
ต้อนรับ ควรแก่ทักษิณา ควรแก่การทำอัญชลี เป็นเนื้อนาบุญอันยอดเยี่ยมของ
โลกมีอยู่ ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “ทานบริสุทธิ์ฝ่ายทายกเท่านั้น แต่ไม่บริสุทธิ์ฝ่าย
ปฏิคาหก”
สก. ทานบริสุทธิ์ฝ่ายทายกเท่านั้น แต่ไม่บริสุทธิ์ฝ่ายปฏิคาหกใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. อริยบุคคล ๔ คู่ คือ ๘ บุคคล พระผู้มีพระภาคตรัสว่า เป็นผู้ควร
แก่ทักษิณามิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากอริยบุคคล ๔ คู่ คือ ๘ บุคคล พระผู้มีพระภาคตรัสว่า เป็นผู้
ควรแก่ทักษิณา ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “ทานบริสุทธิ์ฝ่ายทายกเท่านั้น แต่ไม่
บริสุทธิ์ฝ่ายปฏิคาหก”
สก. ทานบริสุทธิ์ฝ่ายทายกเท่านั้น แต่ไม่บริสุทธิ์ฝ่ายปฏิคาหกใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลบางพวกให้ทานแก่พระโสดาบันแล้วให้ทักษิณาบริบูรณ์มีอยู่มิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากบุคคลบางพวกให้ทานแก่พระโสดาบันแล้วให้ทักษิณาบริบูรณ์มีอยู่
ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “ทานบริสุทธิ์ฝ่ายทายกเท่านั้น แต่ไม่บริสุทธิ์ฝ่ายปฏิคาหก”
สก. บุคคลบางพวกให้ทานแด่พระสกทาคามี ฯลฯ พระอนาคามี ฯลฯ
พระอรหันต์แล้วให้ทักษิณาบริบูรณ์มีอยู่มิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากบุคคลบางพวกให้ทานแด่พระอรหันต์แล้วให้ทักษิณาบริบูรณ์มีอยู่
ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “ทานบริสุทธิ์ฝ่ายทายกเท่านั้น แต่ไม่บริสุทธิ์ฝ่ายปฏิคาหก”
[๘๐๑] ปร. ทานบริสุทธิ์ฝ่ายปฏิคาหกเท่านั้น เพราะเหตุนั้น จึงไม่บริสุทธิ์
ฝ่ายทายกใช่ไหม
สก. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๘๓๖ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๗. สัตตรสมวรรค] ๑๑. ทักขิณาวิสุทธิกถา (๑๗๖)
ปร. บุคคลอื่นทำให้แก่คนหนึ่ง สุขทุกข์มีผู้อื่นเป็นตัวการ บุคคลคนละคนกัน
ทั้งทำและเสวยผลใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ทานบริสุทธิ์ฝ่ายทายกเท่านั้น แต่ไม่บริสุทธิ์ฝ่ายปฏิคาหกใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “อานนท์ ความบริสุทธิ์แห่ง
ทักษิณา ๔ ประการนี้
ความบริสุทธิ์แห่งทักษิณา ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ทักษิณาที่บริสุทธิ์ฝ่ายทายก แต่ไม่บริสุทธิ์ฝ่ายปฏิคาหก
๒. ทักษิณาที่บริสุทธิ์ฝ่ายปฏิคาหก แต่ไม่บริสุทธิ์ฝ่ายทายก
๓. ทักษิณาที่ไม่บริสุทธิ์ทั้งฝ่ายทายกและฝ่ายปฏิคาหก
๔. ทักษิณาที่บริสุทธิ์ทั้งฝ่ายทายกและฝ่ายปฏิคาหก
ทักษิณาที่บริสุทธิ์ฝ่ายทายก แต่ไม่บริสุทธิ์ฝ่ายปฏิคาหก เป็นอย่างไร
คือ ทายกในโลกนี้เป็นผู้มีศีล มีกัลยาณธรรม แต่ปฏิคาหกเป็นผู้ทุศีล มีธรรม
เลวทราม ทักษิณาที่บริสุทธิ์ฝ่ายทายก แต่ไม่บริสุทธิ์ฝ่ายปฏิคาหก เป็นอย่างนี้
ทักษิณาที่บริสุทธิ์ฝ่ายปฏิคาหก แต่ไม่บริสุทธิ์ฝ่ายทายก เป็นอย่างไร
คือ ทายกในโลกนี้เป็นผู้ทุศีล มีธรรมเลวทราม แต่ปฏิคาหกเป็นผู้มีศีล มี
กัลยาณธรรม ทักษิณาที่บริสุทธิ์ฝ่ายปฏิคาหก แต่ไม่บริสุทธิ์ฝ่ายทายก เป็นอย่างนี้
ทักษิณาที่ไม่บริสุทธิ์ทั้งฝ่ายทายกและฝ่ายปฏิคาหก เป็นอย่างไร
คือ ทายกในโลกนี้เป็นผู้ทุศีล มีธรรมเลวทราม และปฏิคาหกก็เป็นผู้ทุศีล มี
ธรรมเลวทราม ทักษิณาที่ไม่บริสุทธิ์ทั้งฝ่ายทายกและฝ่ายปฏิคาหก เป็นอย่างนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๘๓๗ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๗. สัตตรสมวรรค] รวมกถาที่มีในวรรค
ทักษิณาที่บริสุทธิ์ทั้งฝ่ายทายกและฝ่ายปฏิคาหก เป็นอย่างไร
คือ ทายกในโลกนี้เป็นผู้มีศีล มีกัลยาณธรรม และปฏิคาหกก็เป็นผู้มีศีล มี
กัลยาณธรรม ทักษิณาที่บริสุทธิ์ทั้งฝ่ายทายกและฝ่ายปฏิคาหก เป็นอย่างนี้
อานนท์ ความบริสุทธิ์แห่งทักษิณา ๔ ประการนี้”๑
มีอยู่จริงมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. ดังนั้น ท่านจึงไม่ควรยอมรับว่า “ทานบริสุทธิ์ฝ่ายทายกเท่านั้น แต่ไม่
บริสุทธิ์ฝ่ายปฏิคาหก”
ทักขิณาวิสุทธิกถา จบ
สัตตรสมวรรค จบ

รวมกถาที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. อัตถิอรหโตปุญญูปจโยติกถา ๒. นัตถิอรหโตอกาลมัจจูติกถา
๓. สัพพมิทังกัมมโตติกถา ๔. อินทริยพัทธกถา
๕. ฐเปตวาอริยมัคคันติกถา ๖. นวัตตัพพังสังโฆทักขิณังปฏิค-
คัณหาตีติกถา
๗. นวัตตัพพังสังโฆทักขิณัง- ๘. นวัตตัพพังสังโฆภุญชตีติกถา
วิโสเธตีติกถา
๙. นวัตตัพพังสังฆัสสทินนัง- ๑๐. นวัตตัพพังพุทธัสสทินนังมหัป-
มหัปผลันติกถา ผลันติกถา
๑๑. ทักขิณาวิสุทธิกถา


เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ ม.อุ. (แปล) ๑๔/๓๘๑/๔๓๐-๔๓๑

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๘๓๘ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๘. อัฏฐารสมวรรค] ๑. มนุสสโลกกถา (๑๗๗)
๑๘. อัฏฐารสมวรรค
๑. มนุสสโลกกถา (๑๗๗)
ว่าด้วยมนุษยโลก
[๘๐๒] สก. ท่านไม่ยอมรับว่า “พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงดำรงอยู่ใน
มนุษยโลก” ใช่ไหม
ปร.๑ ใช่๒
สก. เจดีย์ อาราม วิหาร คาม นิคม นคร รัฐ ชนบทที่พระพุทธเจ้าเคย
ประทับอยู่มีอยู่มิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากเจดีย์ อาราม วิหาร คาม นิคม รัฐ ชนบทที่พระพุทธเจ้าเคย
ประทับอยู่มีอยู่ ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงดำรง
อยู่ในมนุษยโลก”
สก. ท่านไม่ยอมรับว่า “พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงดำรงอยู่ในมนุษยโลก”
ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระผู้มีพระภาคประสูติที่ป่าลุมพินี ตรัสรู้ที่ควงไม้โพธิ์ ประกาศ
ธรรมจักรที่กรุงพาราณสี ปลงอายุสังขารที่ปาวาลเจดีย์ ปรินิพพานที่กรุงกุสินารา
มิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากพระผู้มีพระภาคประสูติที่ป่าลุมพินี ฯลฯ ปรินิพพานที่กรุง
กุสินารา ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงดำรงอยู่ใน
มนุษยโลก”

เชิงอรรถ :
๑ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายเวตุลลกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๘๐๒-๘๐๓/๒๙๗)
๒ เพราะมีความเห็นว่า พระพุทธเจ้าที่เราเห็นอยู่ในโลกนี้เป็นเพียงพุทธนิมิต ส่วนพระองค์จริงยังสถิตอยู่บน
ชั้นดุสิตตลอดกาล (อภิ.ปญฺจ.อ. ๘๐๒-๘๐๓/๒๙๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๘๓๙ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๘. อัฏฐารสมวรรค] ๑. มนุสสโลกกถา (๑๗๗)
สก. ท่านไม่ยอมรับว่า “พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงดำรงอยู่ในมนุษยโลก”
ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย สมัยหนึ่ง เราพักอยู่
ณ ควงไม้สาละ ในสุภควัน เขตกรุงอุกกัฏฐะ” ว่า “ภิกษุทั้งหลาย สมัยหนึ่ง
เราแรกตรัสรู้พักอยู่ที่ต้นอชปาลนิโครธ ตำบลอุรุเวลา” ว่า “ภิกษุทั้งหลาย สมัยหนึ่ง
เราพักอยู่ ณ เวฬุวันสถานที่ให้เหยื่อกระแต เขตกรุงราชคฤห์” ว่า “ภิกษุทั้งหลาย
สมัยหนึ่ง เราพักอยู่ ณ เชตวันอารามของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี” ว่า
“ภิกษุทั้งหลาย สมัยหนึ่ง เราพักอยู่ ณ กูฏาคารศาลา ป่ามหาวัน เขตกรุงเวสาลี”
มีอยู่จริงมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. ดังนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าจึงทรงดำรงอยู่ในมนุษยโลก
[๘๐๓] ปร. พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงดำรงอยู่ในมนุษยโลกใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. พระผู้มีพระภาคทรงกำเนิดในโลก ทรงเจริญในโลก แต่ทรงเป็นผู้อัน
โลกไม่แปดเปื้อน๑ ครอบงำโลกอยู่มิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. หากพระผู้มีพระภาคทรงกำเนิดในโลก ทรงเจริญในโลก แต่ทรงเป็นผู้อัน
โลกไม่แปดเปื้อน ครอบงำโลกอยู่ ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า
ทรงดำรงอยู่ในมนุษยโลก”

มนุสสโลกกถา จบ

เชิงอรรถ :
๑ ผู้อันโลกไม่แปดเปื้อน หมายถึงไม่ถูกกิเลสในโลกธรรม ๘ ประการ คือ ลาภ เสื่อมลาภ ยศ เสื่อมยศ
สรรเสริญ นินทา สุข ทุกข์ แปดเปื้อน (อภิ.ปญฺจ.อ. ๘๐๒-๘๐๓/๒๙๗-๒๙๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๘๔๐ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๘. อัฏฐารสมวรรค] ๒. ธัมมเทสนากถา (๑๗๘)
๒. ธัมมเทสนากถา (๑๗๘)
ว่าด้วยการแสดงธรรม
[๘๐๔] สก. ท่านไม่ยอมรับว่า “พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงแสดงธรรม”
ใช่ไหม
ปร.๑ ใช่๒
สก. ใครแสดง
ปร. พระพุทธนิมิต
สก. พระพุทธนิมิตเป็นพระชินเจ้า เป็นพระศาสดา เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
เป็นพระสัพพัญญู เป็นพระสัพพทัสสาวี เป็นพระธัมมัสสามี เป็นพระธัมมปฏิสรณะ
ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ท่านไม่ยอมรับว่า “พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงแสดงธรรม” ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ใครแสดง
ปร. ท่านพระอานนท์
สก. ท่านพระอานนท์เป็นพระชินเจ้า เป็นพระศาสดา เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
เป็นพระสัพพัญญู เป็นพระสัพพทัสสาวี เป็นพระธัมมัสสามี เป็นพระธัมมปฏิสรณะ
ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๘๐๕] สก. ท่านไม่ยอมรับว่า “พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงแสดงธรรม”
ใช่ไหม
ปร. ใช่

เชิงอรรถ :
๑ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายเวตุลลกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๘๐๔-๘๐๖/๒๙๘)
๒ เพราะมีความเห็นว่า พระพุทธเจ้าทรงเนรมิตพระองค์มาเพื่อทรงแสดงธรรมในมนุษย์ ดังนั้น พระพุทธเจ้า
ที่ปรากฏอยู่ในโลกมนุษย์จึงมิใช่พระองค์จริง (อภิ.ปญฺจ.อ. ๘๐๔-๘๐๖/๒๙๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๘๔๑ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๘. อัฏฐารสมวรรค] ๒. ธัมมเทสนากถา (๑๗๘)
สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “สารีบุตร เราแสดงธรรมโดยย่อ
ก็ได้ เราแสดงธรรมโดยพิสดารก็ได้ เราแสดงธรรมทั้งโดยย่อและโดยพิสดารก็ได้
แต่บุคคลผู้รู้ทั่วถึงหาได้ยาก” ๑ มีอยู่จริงมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. ดังนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าจึงทรงแสดงธรรม
[๘๐๖] สก. ท่านไม่ยอมรับว่า “พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงแสดงธรรม” ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย เรารู้ยิ่งแล้ว๒
จึงแสดงธรรม ไม่รู้ยิ่งแล้วไม่แสดงธรรม เราแสดงธรรมมีเหตุ ไม่ใช่แสดงธรรม
ไม่มีเหตุ เราแสดงธรรมมีปาฏิหาริย์ ไม่ใช่แสดงธรรมไม่มีปาฏิหาริย์ เมื่อเรานั้นรู้
ยิ่งแล้วจึงแสดงธรรม ไม่รู้ยิ่งแล้วไม่แสดงธรรม แสดงธรรมมีเหตุ ไม่ใช่แสดงธรรม
ไม่มีเหตุ แสดงธรรมที่มีปาฏิหาริย์ ไม่ใช่แสดงธรรมไม่มีปาฏิหาริย์ เธอทั้งหลาย
ควรทำตามคำสั่งสอน ควรทำตามคำพร่ำสอน ก็แลเธอทั้งหลายควรที่จะยินดี
ควรที่จะชื่นชม ควรที่จะโสมนัสว่า ‘พระผู้มีพระภาคเป็นผู้ตรัสรู้ด้วยพระองค์เอง
โดยชอบ พระธรรมเป็นธรรมอันพระผู้มีพระภาคตรัสไว้ดีแล้ว พระสงฆ์เป็นผู้
ปฏิบัติดีแล้ว’ เมื่อพระผู้มีพระภาคได้ตรัสเวยยากรณภาษิตนี้อยู่ โลกธาตุมีหมื่น
จักรวาลได้หวั่นไหวสั่นสะเทือนแล้ว” ๓ มีอยู่จริงมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. ดังนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าจึงทรงแสดงธรรม

ธัมมเทสนากถา จบ

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ องฺ.ติก. (แปล) ๒๐/๓๓/๑๘๕
๒ รู้ยิ่งแล้ว ในที่นี้หมายถึงทรงรู้ขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ ธาตุ ๑๘ อินทรีย์ ๒๒ อริยสัจ ๔ เหตุ ๙ ผัสสะ
๗ เวทนา ๗ เจตนา ๗ สัญญา ๗ จิต ๗ และสติปัฏฐาน ๔ เป็นต้น (องฺ.ติก.อ. ๒/๑๒๖/๒๖๕)
๓ ดูเทียบ องฺ.ติก. (แปล) ๒๐/๑๒๖/๓๗๓

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๘๔๒ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๘. อัฏฐารสมวรรค] ๓. กรุณากถา (๑๗๙)
๓. กรุณากถา (๑๗๙)
ว่าด้วยกรุณา
[๘๐๗] สก. กรุณาของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าไม่มีใช่ไหม
ปร.๑ ใช่๒
สก. เมตตาของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าไม่มีใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. กรุณาของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าไม่มีใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. มุทิตา ฯลฯ อุเบกขาของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าไม่มีใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เมตตาของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้ามีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. กรุณาของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้ามีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. มุทิตา ฯลฯ อุเบกขาของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้ามีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. กรุณาของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้ามีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

เชิงอรรถ :
๑ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอุตตราปถกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๘๐๗-๘๐๘/๒๙๘-๒๙๙)
๒ เพราะมีความเห็นว่า สัตว์ผู้มีราคะแสดงความกรุณาต่อผู้ที่ตนรักใคร่เอ็นดูออกมาด้วยอำนาจราคะ จึง
เข้าใจว่า ราคะนั้นแหละคือกรุณา พระผู้มีพระภาคไม่มีราคะเช่นนั้น จึงชื่อว่าไม่มีกรุณา (อภิ.ปญฺจ.อ.
๘๐๗-๘๐๘/๒๙๘-๒๙๙)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๘๔๓ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๘. อัฏฐารสมวรรค] ๓. กรุณากถา (๑๗๙)
สก. กรุณาของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าไม่มีใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระผู้มีพระภาคไม่ใช่ผู้ประกอบด้วยกรุณาใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระผู้มีพระภาคทรงประกอบด้วยกรุณา ทรงเกื้อกูลชาวโลก ทรง
อนุเคราะห์ชาวโลก ทรงประพฤติประโยชน์แก่ชาวโลกมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากพระผู้มีพระภาคทรงประกอบด้วยกรุณา ทรงเกื้อกูลชาวโลก
ทรงอนุเคราะห์ชาวโลก ทรงประพฤติประโยชน์แก่ชาวโลก ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า
“กรุณาของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าไม่มี” ฯลฯ
สก. กรุณาของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าไม่มีใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระผู้มีพระภาคทรงเข้ามหากรุณาสมาบัติมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากพระผู้มีพระภาคทรงเข้ามหากรุณาสมาบัติ ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า
“กรุณาของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าไม่มี”
[๘๐๘] ปร. กรุณาของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้ามีอยู่ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. พระผู้มีพระภาคยังทรงมีราคะใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. ดังนั้น กรุณาของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าจึงไม่มี

กรุณากถา จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๘๔๔ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๘. อัฏฐารสมวรรค] ๔. คันธชาติกถา (๑๘๐)
๔. คันธชาติกถา (๑๘๐)
ว่าด้วยคันธชาติ
[๘๐๙] สก. พระบังคนหนัก พระบังคนเบา ของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า
หอมกว่าคันธชาติอื่น ๆ ใช่ไหม
ปร.๑ ใช่๒
สก. พระผู้มีพระภาคทรงใช้ของหอมใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระผู้มีพระภาคเสวยข้าวสุกและขนมกุมมาสมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากพระผู้มีพระภาคเสวยข้าวสุกและขนมกุมมาส ท่านก็ไม่ควรยอมรับ
ว่า “พระบังคนหนัก พระบังคนเบา ของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าหอมกว่า
คันธชาติอื่น ๆ”
สก. พระบังคนหนัก พระบังคนเบา ของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าหอมกว่า
คันธชาติอื่น ๆ ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลบางพวกที่อาบทา ไล้ทาพระบังคนหนัก พระบังคนเบา ของ
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า เก็บไว้ในหีบ บรรจุไว้ในผอบ แผ่ขายที่ตลาดและใช้ของ
หอมนั้นแทนของหอมมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

คันธชาติกถา จบ

เชิงอรรถ :
๑ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอันธกะบางพวกและนิกายอุตตราปถกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๘๐๙/๒๙๙)
๒ เพราะมีความเห็นว่า พระบังคนหนักและพระบังคนเบาของพระพุทธเจ้ามีกลิ่นหอมกว่าคันธชาติอื่น ๆ
ปรวาทีมีความเห็นเช่นนี้ เพราะมีความรักในพระพุทธเจ้าแต่ไม่ได้พิจารณาให้แยบคายจึงเห็นผิด (อภิ.ปญฺจ.อ.
๘๐๙/๒๙๙)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๘๔๕ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๘. อัฏฐารสมวรรค] ๕. เอกมัคคกถา (๑๘๑)
๕. เอกมัคคกถา (๑๘๑)
ว่าด้วยทางสายเดียว
[๘๑๐] สก. พระผู้มีพระภาคทรงทำให้แจ้งสามัญญผล ๔ ได้ด้วยอริยมรรค
มรรคเดียวใช่ไหม
ปร.๑ ใช่๒
สก. มีการประชุมแห่งผัสสะ ๔ ฯลฯ ปัญญา ๔ ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระผู้มีพระภาคทรงทำให้แจ้งสามัญญผล ๔ ได้ด้วยอริยมรรค
มรรคเดียวใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ด้วยโสดาปัตติมรรคใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ด้วยสกทาคามิมรรค ฯลฯ อนาคามิมรรคใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ด้วยมรรคไหน
ปร. ด้วยอรหัตตมรรค

เชิงอรรถ :
๑ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอันธกะบางพวกและนิกายอุตตราปถกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๘๑๐/๒๙๙)
๒ เพราะมีความเห็นว่า พระพุทธเจ้าทรงสามารถบรรลุอริยผล ๔ ได้ด้วยอริยมรรคเดียว คือ อรหัตตมรรค
เท่านั้น ปรวาทีมีความเห็นเช่นนี้เพราะมีความรักในพระพุทธเจ้า และไม่ได้พิจารณาโดยแยบคาบ จึงเห็นผิด
(อภิ.ปญฺจ.อ. ๘๑๐/๒๙๙)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๘๔๖ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๘. อัฏฐารสมวรรค] ๕. เอกมัคคกถา (๑๘๑)
สก. พระผู้มีพระภาคทรงละสักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาสได้ด้วย
อรหัตตมรรคใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ทรงละสักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาสได้ด้วยอรหัตตมรรค
ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. การละสังโยชน์ ๓ ประการได้ พระผู้มีพระภาคตรัสว่าเป็นโสดาปัตติผล
มิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากการละสังโยชน์ ๓ ประการได้ พระผู้มีพระภาคตรัสว่าเป็น
โสดาปัตติผล ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “พระผู้มีพระภาคละสักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา
สีลัพพตปรามาสได้ด้วยอรหัตตมรรค”
สก. พระผู้มีพระภาคทรงละกามราคะอย่างหยาบ พยาบาทอย่างหยาบได้
ด้วยอรหัตตมรรคใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ทรงละกามราคะอย่างหยาบ พยาบาทอย่างหยาบได้ด้วยอรหัตตมรรค
ใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๘๔๗ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๘. อัฏฐารสมวรรค] ๕. เอกมัคคกถา (๑๘๑)
สก. ความเบาบางแห่งกามราคะและพยาบาท พระผู้มีพระภาคตรัสว่าเป็น
สกทาคามิผลมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากความเบาบางแห่งกามราคะและพยาบาท พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
เป็นสกทาคามิผล ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “พระผู้มีพระภาคทรงละกามราคะ
อย่างหยาบ พยาบาทอย่างหยาบได้ด้วยอรหัตตมรรค”
สก. พระผู้มีพระภาคทรงละกามราคะอย่างละเอียด พยาบาทอย่างละเอียด
ได้ด้วยอรหัตตมรรคใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ทรงละกามราคะอย่างละเอียด พยาบาทอย่างละเอียดได้ด้วยอรหัตต-
มรรคใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. การละกามราคะและพยาบาทได้เด็ดขาด พระผู้มีพระภาคตรัสว่าเป็น
อนาคามิผล มิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากการละกามราคะและพยาบาทได้เด็ดขาด พระผู้มีพระภาคตรัสว่าเป็น
อนาคามิผล ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “พระผู้มีพระภาคทรงละกามราคะอย่างละเอียด
พยาบาทอย่างละเอียดได้ด้วยอรหัตตมรรค”
[๘๑๑] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “พระผู้มีพระภาคทรงทำให้แจ้งสามัญญผล ๔
ได้ด้วยอริยมรรคมรรคเดียว” ใช่ไหม
สก. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๘๔๘ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๘. อัฏฐารสมวรรค] ๕. เอกมัคคกถา (๑๘๑)
ปร. พระผู้มีพระภาคเจริญโสดาปัตติมรรคแล้วใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. พระผู้มีพระภาคเป็นพระโสดาบันใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. พระผู้มีพระภาคเจริญสกทาคามิมรรค ฯลฯ อนาคามิมรรคแล้วใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. พระผู้มีพระภาคเป็นพระอนาคามีใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๘๑๒] สก. พระผู้มีพระภาคทรงทำให้แจ้งสามัญญผล ๔ ได้ด้วยอริยมรรค
มรรคเดียว แต่พระสาวกทั้งหลายทำให้แจ้งสามัญญผล ๔ ได้ด้วยอริยมรรค ๔
ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสาวกทั้งหลายเห็นธรรมที่พระองค์ไม่ทรงเห็น บรรลุธรรมที่พระองค์
ไม่ทรงบรรลุ ทำให้แจ้งธรรมที่พระองค์ไม่ทรงทำให้แจ้งใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

เอกมัคคกถา จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๘๔๙ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๘. อัฏฐารสมวรรค] ๖. ฌานสังกันติกถา (๑๘๒)
๖. ฌานสังกันติกถา (๑๘๒)
ว่าด้วยการเลื่อนฌาน
[๘๑๓] สก. โยคีบุคคลเลื่อนจากฌานหนึ่งไปสู่ฌานหนึ่งได้ใช่ไหม
ปร.๑ ใช่๒
สก. เลื่อนจากปฐมฌานไปสู่ตติยฌานได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เลื่อนจากฌานหนึ่งไปสู่ฌานหนึ่งได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เลื่อนจากทุติยฌานไปสู่จตุตถฌานได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เลื่อนจากปฐมฌานไปสู่ทุติยฌานได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ความนึกถึง ฯลฯ ความตั้งใจ เพื่อความเกิดขึ้นแห่งปฐมฌานก็เพื่อ
ความเกิดขึ้นแห่งทุติยฌานใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. โยคีบุคคลเลื่อนจากปฐมฌานไปสู่ทุติยฌานได้ แต่ท่านไม่ยอมรับว่า
“ความนึกถึง ฯลฯ ความตั้งใจ เพื่อความเกิดขึ้นแห่งปฐมฌานก็เพื่อความเกิดขึ้น
แห่งทุติยฌาน” ใช่ไหม
ปร. ใช่

เชิงอรรถ :
๑ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายมหิสาสกะและนิกายอันธกะบางพวก (อภิ.ปญฺจ.อ. ๘๑๓-๘๑๖/๓๐๐)
๒ เพราะมีความเห็นว่า บุคคลสามารถเลื่อนจากฌานหนึ่งไปสู่ฌานหนึ่งได้ โดยไม่ต้องผ่านอุปจารแห่ง
ฌาน(ภาวนาวิถีจิต)นั้น ๆ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๘๑๓-๘๑๖/๓๐๐)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๘๕๐ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๘. อัฏฐารสมวรรค] ๖. ฌานสังกันติกถา (๑๘๒)
สก. ทุติยฌานเกิดขึ้นแก่โยคีบุคคลผู้ไม่นึกถึงอยู่ ฯลฯ ไม่ตั้งใจอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ทุติยฌานเกิดขึ้นแก่โยคีบุคคลผู้นึกถึงอยู่ ฯลฯ ตั้งใจอยู่มิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากทุติยฌานเกิดขึ้นแก่โยคีบุคคลผู้นึกถึงอยู่ ฯลฯ ผู้ตั้งใจอยู่ ท่านก็
ไม่ควรยอมรับว่า “โยคีบุคคลเลื่อนจากปฐมฌานไปสู่ทุติยฌานได้” ฯลฯ
สก. โยคีบุคคลเลื่อนจากปฐมฌานไปสู่ทุติยฌานได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ปฐมฌานเกิดขึ้นแก่โยคีบุคคลผู้มนสิการกามทั้งหลายโดยความเป็นของ
มีโทษใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ทุติยฌานเกิดขึ้นแก่โยคีบุคคลผู้มนสิการกามทั้งหลายโดยความเป็นของ
มีโทษใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ปฐมฌานมีวิตก มีวิจารใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ทุติยฌานมีวิตก มีวิจารใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. โยคีบุคคลเลื่อนจากปฐมฌานไปสู่ทุติยฌานได้ใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๘๕๑ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๘. อัฏฐารสมวรรค] ๖. ฌานสังกันติกถา (๑๘๒)
สก. ปฐมฌานกับทุติยฌานเป็นอย่างเดียวกันใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๘๑๔] สก. โยคีบุคคลเลื่อนจากทุติยฌานไปสู่ตติยฌานได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ความนึกถึง ฯลฯ ความตั้งใจ เพื่อความเกิดขึ้นแห่งทุติยฌานก็เพื่อ
ความเกิดขึ้นแห่งตติยฌานใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. โยคีบุคคลเลื่อนจากทุติยฌานไปสู่ตติยฌานได้ แต่ท่านไม่ยอมรับว่า
“ความนึกถึง ฯลฯ ความตั้งใจ เพื่อความเกิดขึ้นแห่งทุติยฌานก็เพื่อความเกิดขึ้น
แห่งตติยฌาน” ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ตติยฌานเกิดขึ้นแก่โยคีบุคคลผู้ไม่นึกถึงอยู่ ฯลฯ ไม่ตั้งใจอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ตติยฌานเกิดขึ้นแก่โยคีบุคคลผู้นึกถึงอยู่ ฯลฯ ตั้งใจอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. หากตติยฌานเกิดขึ้นแก่โยคีบุคคลผู้นึกถึงอยู่ ฯลฯ ตั้งใจอยู่ ท่านก็
ไม่ควรยอมรับว่า “โยคีบุคคลเลื่อนจากทุติยฌานไปสู่ตติยฌานได้”
สก. โยคีบุคคลเลื่อนจากทุติยฌานไปสู่ตติยฌานได้ใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๘๕๒ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๘. อัฏฐารสมวรรค] ๖. ฌานสังกันติกถา (๑๘๒)
สก. ทุติยฌานเกิดขึ้นแก่โยคีบุคคลผู้มนสิการวิตกวิจารโดยความเป็นของมี
โทษใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ตติยฌานเกิดขึ้นแก่โยคีบุคคลผู้มนสิการวิตกวิจารโดยความเป็นของมี
โทษใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ทุติยฌานยังมีปีติใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ตติยฌานยังมีปีติใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. โยคีบุคคลเลื่อนจากทุติยฌานไปสู่ตติยฌานได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ทุติยฌานกับตติยฌานเป็นอย่างเดียวกันใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๘๑๕] สก. โยคีบุคคลเลื่อนจากตติยฌานไปสู่จตุตถฌานได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ความนึกถึง ฯลฯ ความตั้งใจ เพื่อความเกิดขึ้นแห่งตติยฌานก็เพื่อ
ความเกิดขึ้นแห่งจตุตถฌานใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. โยคีบุคคลเลื่อนจากตติยฌานไปสู่จตุตถฌานได้ แต่ท่านไม่ยอมรับว่า
“ความนึกถึง ฯลฯ ความตั้งใจ เพื่อความเกิดขึ้นแห่งตติยฌานก็เพื่อความเกิดขึ้น
แห่งจตุตถฌาน” ใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๘๕๓ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๘. อัฏฐารสมวรรค] ๖. ฌานสังกันติกถา (๑๘๒)
สก. จตุตถฌานเกิดขึ้นแก่โยคีบุคคลผู้ไม่นึกถึงอยู่ ฯลฯ ไม่ตั้งใจอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. จตุตถฌานเกิดขึ้นแก่โยคีบุคคลผู้นึกถึงอยู่ ฯลฯ ตั้งใจอยู่มิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากจตุตถฌานเกิดขึ้นแก่โยคีบุคคลผู้นึกถึงอยู่ ฯลฯ ตั้งใจอยู่ ท่านก็
ไม่ควรยอมรับว่า “โยคีบุคคลเลื่อนจากตติยฌานไปสู่จตุตถฌานได้”
สก. โยคีบุคคลเลื่อนจากตติยฌานไปสู่จตุตถฌานได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ตติยฌานเกิดขึ้นแก่โยคีบุคคลผู้มนสิการปีติ โดยความเป็นของมีโทษ
ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. จตุตถฌานเกิดขึ้นแก่โยคีบุคคลผู้มนสิการปีติ โดยความเป็นของมีโทษ
ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ตติยฌานสหรคตด้วยสุขใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. จตุตถฌานสหรคตด้วยสุขใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. โยคีบุคคลเลื่อนจากตติยฌานไปสู่จตุตถฌานได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ตติยฌานกับจตุตถฌานเป็นอย่างเดียวกันใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๘๕๔ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๘. อัฏฐารสมวรรค] ๗. ฌานันตริกกถา (๑๘๓)
[๘๑๖] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “โยคีบุคคลเลื่อนจากฌานหนึ่งไปสู่ฌานหนึ่งได้”
ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัย
นี้สงัดจากกามทั้งหลาย ฯลฯ เข้าจตุตถฌานอยู่”๑ มีอยู่จริงมิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. ดังนั้น โยคีบุคคลจึงเลื่อนจากฌานหนึ่งไปสู่ฌานหนึ่งได้
ฌานสังกันติกถา จบ

๗. ฌานันตริกกถา (๑๘๓)
ว่าด้วยสมาธิที่เกิดในระหว่างฌาน
[๘๑๗] สก. สมาธิที่เกิดในระหว่างฌานมีอยู่ใช่ไหม
ปร.๒ ใช่๓
สก. สมาธิที่เกิดในระหว่างผัสสะ ฯลฯ สมาธิที่เกิดในระหว่างปัญญามีอยู่
ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สมาธิที่เกิดในระหว่างฌานมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สมาธิที่เกิดในระหว่างฌาน มีอยู่ในระหว่างทุติยฌานกับตติยฌานใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

เชิงอรรถ :
๑ ดู ม.อุ. (แปล) ๑๔/๑๖/๒๓-๒๔
๒ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายสมิติยะและนิกายอันธกะบางพวก (อภิ.ปญฺจ.อ. ๘๑๗/๓๐๑)
๓ เพราะมีความเห็นว่า ทุติยฌานในปัญจกนัย เป็นฌานในระหว่างแห่งฌานที่ ๑ กับฌานที่ ๒ ในจตุกกนัย
(อภิ.ปญฺจ.อ. ๘๑๗/๓๐๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๘๕๕ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๘. อัฏฐารสมวรรค] ๗. ฌานันตริกกถา (๑๘๓)
สก. สมาธิที่เกิดในระหว่างฌานมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สมาธิที่เกิดในระหว่างฌานมีอยู่ในระหว่างตติยฌานกับจตุตถฌานใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สมาธิที่เกิดในระหว่างฌานไม่มีในระหว่างทุติยฌานกับตติยฌานใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. หากสมาธิที่เกิดในระหว่างฌานไม่มีในระหว่างทุติยฌานกับตติยฌาน
ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “สมาธิที่เกิดในระหว่างฌานมีอยู่”
สก. สมาธิที่เกิดในระหว่างฌานไม่มีในระหว่างตติยฌานกับจตุตถฌานใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. หากสมาธิที่เกิดในระหว่างฌานไม่มีในระหว่างตติยฌานกับจตุตถฌาน
ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “สมาธิที่เกิดในระหว่างฌานมีอยู่”
[๘๑๘] สก. สมาธิที่เกิดในระหว่างฌานมีอยู่ในระหว่างปฐมฌานกับทุติย-
ฌานใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สมาธิที่เกิดในระหว่างฌานมีอยู่ในระหว่างทุติยฌานกับตติยฌานใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สมาธิที่เกิดในระหว่างฌานมีอยู่ในระหว่างปฐมฌานกับทุติยฌานใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สมาธิที่เกิดในระหว่างฌานมีอยู่ในระหว่างตติยฌานกับจตุตถฌานใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สมาธิที่เกิดในระหว่างฌานไม่มีในระหว่างทุติยฌานกับตติยฌานใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๘๕๖ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๘. อัฏฐารสมวรรค] ๗. ฌานันตริกกถา (๑๘๓)
สก. สมาธิที่เกิดในระหว่างฌานไม่มีในระหว่างปฐมฌานกับทุติยฌานใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สมาธิที่เกิดในระหว่างฌานไม่มีในระหว่างตติยฌานกับจตุตถฌานใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สมาธิที่เกิดในระหว่างฌานไม่มีในระหว่างปฐมฌานกับทุติยฌานใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๘๑๙] สก. สมาธิที่ไม่มีวิตกมีเพียงวิจาร ชื่อว่าสมาธิที่เกิดในระหว่างฌาน
ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สมาธิที่มีวิตกมีวิจาร ชื่อว่าสมาธิที่เกิดในระหว่างฌานใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สมาธิที่ไม่มีวิตกมีเพียงวิจาร ชื่อว่าสมาธิที่เกิดในระหว่างฌานใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สมาธิที่ไม่มีวิตกไม่มีวิจาร ชื่อว่าสมาธิที่เกิดในระหว่างฌานใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สมาธิที่มีวิตกมีวิจาร ไม่ชื่อว่าสมาธิที่เกิดในระหว่างฌานใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สมาธิที่ไม่มีวิตกมีเพียงวิจาร ไม่ชื่อว่าสมาธิที่เกิดในระหว่างฌานใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สมาธิที่ไม่มีวิตกไม่มีวิจาร ไม่ชื่อว่าสมาธิที่เกิดในระหว่างฌานใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๘๕๗ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๘. อัฏฐารสมวรรค] ๗. ฌานันตริกกถา (๑๘๓)
สก. สมาธิที่ไม่มีวิตกมีเพียงวิจาร ไม่ชื่อว่าสมาธิที่เกิดในระหว่างฌานใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๘๒๐] สก. สมาธิที่ไม่มีวิตกมีเพียงวิจาร มีอยู่ในระหว่างฌานทั้ง ๒ ที่เกิด
ขึ้นเฉพาะหน้าใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เมื่อสมาธิที่ไม่มีวิตกมีเพียงวิจารเป็นไปอยู่ ปฐมฌานดับไป ทุติยฌาน
เกิดขึ้นเฉพาะหน้าใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. หากเมื่อสมาธิที่ไม่มีวิตกมีเพียงวิจารเป็นไปอยู่ ปฐมฌานดับไป ทุติยฌาน
เกิดขึ้นเฉพาะหน้า ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “สมาธิที่ไม่มีวิตกมีเพียงวิจาร ชื่อว่า
สมาธิที่เกิดในระหว่างฌานมีอยู่ในระหว่างฌานทั้ง ๒ ที่เกิดขึ้นเฉพาะหน้า”
[๘๒๑] ปร. สมาธิที่ไม่มีวิตกมีเพียงวิจาร ไม่ชื่อว่าสมาธิที่เกิดในระหว่างฌาน
ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. สมาธิที่ไม่มีวิตกมีเพียงวิจาร เป็นปฐมฌาน ฯลฯ ทุติยฌาน ฯลฯ
ตติยฌาน ฯลฯ จตุตถฌานใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น
ปร. ดังนั้น สมาธิที่ไม่มีวิตกมีเพียงวิจาร จึงชื่อว่าสมาธิที่เกิดในระหว่างฌาน
[๘๒๒] สก. สมาธิที่ไม่มีวิตกมีเพียงวิจาร ชื่อว่าสมาธิที่เกิดในระหว่างฌาน
ใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๘๕๘ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๘. อัฏฐารสมวรรค] ๘. สมาปันโนสัททังสุณาตีติกถา (๑๘๔)
สก. สมาธิ พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ ๓ อย่าง คือ (๑) สมาธิที่มีวิตกมีวิจาร
(๒) สมาธิที่ไม่มีวิตกมีเพียงวิจาร (๓) สมาธิที่ไม่มีวิตกไม่มีวิจารมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากสมาธิพระผู้มีพระภาคตรัสไว้ ๓ อย่าง คือ (๑) สมาธิที่มีวิตกมีวิจาร
(๒) สมาธิที่ไม่มีวิตกมีเพียงวิจาร (๓) สมาธิที่ไม่มีวิตกไม่มีวิจาร ท่านก็ไม่ควร
ยอมรับว่า “สมาธิไม่มีวิตกมีเพียงวิจาร ชื่อว่าสมาธิที่เกิดในระหว่างฌาน”
ฌานันตริกกถา จบ

๘. สมาปันโนสัททังสุณาตีติกถา (๑๘๔)
ว่าด้วยผู้เข้าสมาบัติได้ยินเสียง
[๘๒๓] สก. ผู้เข้าสมาบัติได้ยินเสียงใช่ไหม
ปร.๑ ใช่๒
สก. ผู้เข้าสมาบัติเห็นรูปทางตา ฯลฯ ฟังเสียงทางหู ฯลฯ ดมกลิ่นทางจมูก
ฯลฯ ลิ้มรสทางลิ้น ฯลฯ ถูกต้องโผฏฐัพพะทางกายได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ผู้เข้าสมาบัติได้ยินเสียงใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ผู้เข้าสมาบัติเป็นผู้พรั่งพร้อมด้วยโสตวิญญาณใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

เชิงอรรถ :
๑ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายปุพพเสลิยะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๘๒๓-๘๒๕/๓๐๒)
๒ เพราะมีความเห็นว่า ในขณะที่เข้าสมาบัติอยู่ บุคคลสามารถได้ยินเสียงด้วยหูธรรมดาได้ โดยอ้างพระ
พุทธพจน์ที่ว่าเสียงเป็นปฏิปักษ์ต่อปฐมฌาน ซึ่งต่างกับความเห็นของสกวาทีที่เห็นว่า ผู้เข้าฌานไม่สามารถ
ได้ยินเสียงอะไรได้ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๘๒๓-๘๒๕/๓๐๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๘๕๙ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๘. อัฏฐารสมวรรค] ๘. สมาปันโนสัททังสุณาตีติกถา (๑๘๔)
สก. สมาธิมีแก่ผู้พรั่งพร้อมด้วยมโนวิญญาณมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากสมาธิมีแก่ผู้พรั่งพร้อมด้วยมโนวิญญาณ ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า
“ผู้เข้าสมาบัติได้ยินเสียงได้”
สก. สมาธิมีแก่ผู้พรั่งพร้อมด้วยมโนวิญญาณ ผู้พรั่งพร้อมด้วยโสตวิญญาณ
ได้ยินเสียงได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. หากสมาธิมีแก่ผู้พรั่งพร้อมด้วยมโนวิญญาณ ผู้พรั่งพร้อมด้วยโสตวิญญาณ
ได้ยินเสียงได้ ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “ผู้เข้าสมาบัติได้ยินเสียงได้”
สก. สมาธิมีแก่ผู้พรั่งพร้อมด้วยมโนวิญญาณ ผู้พรั่งพร้อมด้วยโสตวิญญาณ
ได้ยินเสียงได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. มีการประชุมแห่งผัสสะ ๒ ฯลฯ จิต ๒ ดวงใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๘๒๔] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “ผู้เข้าสมาบัติได้ยินเสียง” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. เสียง พระผู้มีพระภาคตรัสว่าเป็นปฏิปักษ์ต่อปฐมฌานมิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. หากเสียง พระผู้มีพระภาคตรัสว่าเป็นปฏิปักษ์ต่อปฐมฌาน ดังนั้น
ท่านจึงควรยอมรับว่า “ผู้เข้าสมาบัติได้ยินเสียง”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๘๖๐ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๘. อัฏฐารสมวรรค] ๘. สมาปันโนสัททังสุณาตีติกถา (๑๘๔)
[๘๒๕] สก. เสียงพระผู้มีพระภาคตรัสว่าเป็นปฏิปักษ์ต่อปฐมฌาน เพราะเหตุ
นั้น ผู้เข้าสมาบัติจึงได้ยินเสียงได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. วิตกวิจาร พระผู้มีพระภาคตรัสว่าเป็นปฏิปักษ์ต่อทุติยฌาน ทุติยฌาน
นั้นยังมีวิตกวิจารใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เสียง พระผู้มีพระภาคตรัสว่าเป็นปฏิปักษ์ต่อปฐมฌาน ดังนั้น ผู้เข้า
สมาบัติจึงได้ยินเสียงได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ปีติ พระผู้มีพระภาคตรัสว่าเป็นปฏิปักษ์ต่อตติยฌาน ฯลฯ ลมอัสสาสะ
ปัสสาสะ ตรัสว่าเป็นปฏิปักษ์ต่อจตุตถฌาน ฯลฯ รูปสัญญา ตรัสว่าเป็นปฏิปักษ์
ต่อผู้เข้าอากาสานัญจายตนสมาบัติ ฯลฯ อากาสานัญจายตนสัญญา ตรัสว่าเป็น
ปฏิปักษ์ต่อผู้เข้าวิญญาณัญจายตนสมาบัติ ฯลฯ วิญญาณัญจายตนสัญญา ตรัสว่า
เป็นปฏิปักษ์ต่อผู้เข้าอากิญจัญญายตนสมาบัติ ฯลฯ อากิญจัญญายตนสัญญา
ตรัสว่าเป็นปฏิปักษ์ต่อผู้เข้าเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ ฯลฯ สัญญาและ
เวทนา ตรัสว่าเป็นปฏิปักษ์ต่อผู้เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ ผู้เข้าสัญญาเวทยิต-
นิโรธสมาบัตินั้นยังมีสัญญาและเวทนาอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

สมาปันโนสัททังสุณาตีติกถา จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๘๖๑ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๘. อัฏฐารสมวรรค] ๙. จักขุนารูปังปัสสตีติกถา (๑๘๕)
๙. จักขุนารูปังปัสสตีติกถา (๑๘๕)
ว่าด้วยเห็นรูปทางตา
[๘๒๖] สก. บุคคลเห็นรูปทางตาใช่ไหม
ปร.๑ ใช่๒
สก. บุคคลเห็นรูปด้วยรูปใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลเห็นรูปด้วยรูปใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลรับรู้รูปด้วยรูปใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลรับรู้รูปด้วยรูปใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. รูปเป็นมโนวิญญาณใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลเห็นรูปทางตาใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ตามีความนึกถึง ฯลฯ มีความตั้งใจใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

เชิงอรรถ :
๑ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายมหาสังฆิกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๘๒๖-๘๒๗/๓๐๒)
๒ เพราะมีความเห็นว่า จักขุปสาท(ประสาทคือตา) เป็นผู้เห็นรูป มิใช่จักขุวิญญาณ ซึ่งต่างกับความเห็น
ของสกวาทีที่เห็นว่า จักขุปสาททำหน้าที่รับ(ดู) แต่จักขุวิญญาณทำหน้าที่รู้ (อภิ.ปญฺจ.อ.
๘๒๖-๘๒๗/๓๐๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๘๖๒ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๘. อัฏฐารสมวรรค] ๙. จักขุนารูปังปัสสตีติกถา (๑๘๕)
สก. ตาไม่มีความนึกถึง ฯลฯ ไม่มีความตั้งใจมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากตาไม่มีความนึกถึง ฯลฯ ไม่มีความตั้งใจ ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า
“บุคคลเห็นรูปทางตา”
สก. บุคคลฟังเสียงทางหู ฯลฯ ดมกลิ่นทางจมูก ฯลฯ ลิ้มรสทางลิ้น ฯลฯ
ถูกต้องโผฏฐัพพะทางกายใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลถูกต้องรูปด้วยรูปใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลถูกต้องรูปด้วยรูปใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลรับรู้รูปด้วยรูปใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลรับรู้รูปด้วยรูปใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. รูปเป็นมโนวิญญาณใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลถูกต้องโผฏฐัพพะทางกายใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. กายมีความนึกถึง ฯลฯ ความตั้งใจใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๘๖๓ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๘. อัฏฐารสมวรรค] รวมกถาที่มีในวรรค
สก. กายไม่มีความนึกถึง ฯลฯ ไม่มีความตั้งใจมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากกายไม่มีความนึกถึง ฯลฯ ไม่มีความตั้งใจ ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า
“บุคคลถูกต้องโผฏฐัพพะทางกาย”
[๘๒๗] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “บุคคลเห็นรูปทางตา ฯลฯ ถูกต้องโผฏฐัพพะ
ทางกาย” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัย
นี้เห็นรูปทางตา ฯลฯ ถูกต้องโผฏฐัพพะทางกาย”๑ มีอยู่จริงมิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. ดังนั้น บุคคลจึงเห็นรูปทางตา ฯลฯ ถูกต้องโผฏฐัพพะทางกาย
จักขุนารูปังปัสสตีติกถา จบ
อัฏฐารสมวรรค จบ

รวมกถาที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. มนุสสโลกกถา ๒. ธัมมเทสนากถา
๓. กรุณากถา ๔. คันธชาติกถา
๕. เอกมัคคกถา ๖. ฌานสังกันติกถา
๗. ฌานันตริกกถา ๘. สมาปันโนสัททังสุณาตีติกถา
๙. จักขุนารูปังปัสสตีติกถา


เชิงอรรถ :
๑ ดูความเต็มในข้อ ๓๓๘ หน้า ๓๑๒-๓๑๓ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๘๖๔ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๙. เอกูนวีสติมวรรค] ๑. กิเลสชหนกถา (๑๘๖)
๑๙. เอกูนวีสติวรรค
๑. กิเลสชหนกถา (๑๘๖)
ว่าด้วยการละกิเลส
[๘๒๘] สก. บุคคลละกิเลสที่เป็นอดีตได้ใช่ไหม
ปร.๑ ใช่๒
สก. บุคคลให้ธรรมที่ดับแล้วดับไป ให้ธรรมที่หายไปแล้วหายไป ให้ธรรมที่
สิ้นไปแล้วสิ้นไป ให้ธรรมที่สูญไปแล้วสูญไป ให้ธรรมที่ดับสูญไปแล้วดับสูญไปได้
ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลละกิเลสที่เป็นอดีตได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. อดีตดับไปแล้วมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากอดีตดับไปแล้ว ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “บุคคลละกิเลสที่เป็นอดีตได้”
สก. บุคคลละกิเลสที่เป็นอดีตได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. กิเลสที่เป็นอดีตไม่มีมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากกิเลสที่เป็นอดีตไม่มี ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “บุคคลละกิเลสที่
เป็นอดีตได้”

เชิงอรรถ :
๑ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอุตตราปถกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๘๒๘-๘๓๑/๓๐๓-๓๐๔)
๒ เพราะมีความเห็นว่า เนื่องจากอริยบุคคลละกิเลสในอดีตได้แล้วจึงชื่อว่าละกิเลสทั้งที่เป็นอดีต อนาคต
และปัจจุบันได้ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๘๒๘-๘๓๑/๓๐๓-๓๐๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๘๖๕ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๙. เอกูนวีสติมวรรค] ๑. กิเลสชหนกถา (๑๘๖)
[๘๒๙] สก. บุคคลละกิเลสที่เป็นอนาคตได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลให้ธรรมที่ยังไม่เกิดไม่ให้เกิด ให้ธรรมที่ยังไม่เกิดพร้อมไม่ให้เกิดพร้อม
ให้ธรรมที่ยังไม่บังเกิดไม่ให้บังเกิด ให้ธรรมที่ยังไม่ปรากฏไม่ให้ปรากฏได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลละกิเลสที่เป็นอนาคตได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. กิเลสที่เป็นอนาคตยังไม่เกิดมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากกิเลสที่เป็นอนาคตยังไม่เกิด ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “บุคคลละ
กิเลสที่เป็นอนาคตได้”
สก. บุคคลละกิเลสที่เป็นอนาคตได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. กิเลสที่เป็นอนาคตไม่มีมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากกิเลสที่เป็นอนาคตไม่มี ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “บุคคลละกิเลสที่
เป็นอนาคตได้”
[๘๓๐] สก. บุคคลละกิเลสที่เป็นปัจจุบันได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลผู้กำหนัดละราคะ ผู้ขัดเคืองละโทสะ ผู้หลงละโมหะ ผู้เศร้าหมอง
ละกิเลสได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๘๖๖ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๙. เอกูนวีสติมวรรค] ๑. กิเลสชหนกถา (๑๘๖)
สก. บุคคลละราคะด้วยราคะ ละโทสะด้วยโทสะ ละโมหะด้วยโมหะ ละกิเลส ด้วยกิเลส
ได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ราคะสัมปยุตด้วยจิต มรรคก็สัมปยุตด้วยจิตใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. มีการประชุมแห่งผัสสะ ๒ อย่าง ฯลฯ จิต ๒ ดวงใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ราคะเป็นอกุศล ส่วนมรรคเป็นกุศลใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สภาวธรรมที่เป็นกุศลและอกุศล ที่มีโทษและไม่มีโทษ ที่เลวและประณีต
ที่เป็นฝ่ายดำ เป็นฝ่ายขาว และเป็นฝ่ายมีส่วนเปรียบมาประชุมกันได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สภาวธรรมที่เป็นกุศลและอกุศล ที่มีโทษและไม่มีโทษ ที่เลวและประณีต
ที่เป็นฝ่ายดำ เป็นฝ่ายขาว และเป็นฝ่ายมีส่วนเปรียบมาประชุมกันได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย สิ่งที่อยู่ห่างไกลกัน
เหลือเกิน ๔ อย่างนี้
สิ่งที่อยู่ห่างไกลกันเหลือเกิน ๔ อย่าง อะไรบ้าง คือ
๑. ท้องฟ้ากับแผ่นดิน นี้เป็นสิ่งที่อยู่ห่างไกลกันเหลือเกินอย่างที่ ๑
ฯลฯ
เพราะฉะนั้น ธรรมของสัตบุรุษจึงห่างไกลกันกับธรรมของอสัตบุรุษ”๑
มีอยู่จริงมิใช่หรือ
ปร. ใช่

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ องฺ.จตุกฺก. (แปล) ๒๑/๔๗/๗๗

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๘๖๗ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๙. เอกูนวีสติมวรรค] ๒. สุญญตากถา (๑๘๗)
สก. ดังนั้น ท่านจึงไม่ควรยอมรับว่า “สภาวธรรมที่เป็นกุศลและอกุศล ฯลฯ
มาประชุมกันได้”
[๘๓๑] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “บุคคลละกิเลสที่เป็นอดีต กิเลสที่เป็นอนาคต
กิเลสที่เป็นปัจจุบันได้” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. บุคคลที่ละกิเลสได้ไม่มีใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. ดังนั้น บุคคลจึงละกิเลสที่เป็นอดีต กิเลสที่เป็นอนาคต กิเลสที่เป็น
ปัจจุบันได้
กิเลสชหนกถา จบ

๒. สุญญตากถา (๑๘๗)
ว่าด้วยความว่าง
[๘๓๒] สก. ความว่าง๑นับเนื่องในสังขารขันธ์ใช่ไหม
ปร.๒ ใช่๓
สก. นิพพานที่ไม่มีนิมิต๔ก็นับเนื่องในสังขารขันธ์ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

เชิงอรรถ :
๑ ความว่าง แปลมาจากศัพท์ว่า “สุญฺตา” ซึ่งมีความหมาย ๒ อย่าง คือ (๑) อนัตตลักขณะ(ลักษณะ
ที่เป็นอนัตตา)ของขันธ์ทั้งหลาย (๒) นิพพาน (อภิ.ปญฺจ.อ. ๘๓๒/๓๐๔)
๒ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอันธกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๘๓๒/๓๐๔)
๓ เพราะมีความเห็นว่า ความว่างนับเนื่องในสังขารขันธ์โดยไม่แยก ซึ่งต่างกับความเห็นของสกวาทีที่เห็นว่า
ความว่างที่เป็นอนัตตลักษณะของขันธ์ทั้งหลายเท่านั้น จึงจะชื่อว่านับเนื่องในสังขารขันธ์ได้ ส่วนความว่างที่
เป็นนิพพานไม่ชื่อว่านับเนื่องในสังขารขันธ์ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๘๓๒/๓๐๔)
๔ นิพพานที่ไม่มีนิมิต หมายถึงนิพพานที่ไม่มีนิมิตคือกิเลสทั้งปวง (ขุ.อป.อ. ๒/๒๐๙/๑๗๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๘๖๘ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๙. เอกูนวีสติมวรรค] ๒. สุญญตากถา (๑๘๗)
สก. ความว่างนับเนื่องในสังขารขันธ์ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. นิพพานที่ไม่มีที่ตั้ง๑ นับเนื่องในสังขารขันธ์ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. นิพพานที่ไม่มีนิมิต ท่านไม่ยอมรับว่า “นับเนื่องในสังขารขันธ์” ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ความว่าง ท่านไม่ยอมรับว่า “นับเนื่องในสังขารขันธ์” ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. นิพพานที่ไม่มีที่ตั้ง ท่านไม่ยอมรับว่า “นับเนื่องในสังขารขันธ์” ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ความว่าง ท่านไม่ยอมรับว่า “นับเนื่องในสังขารขันธ์” ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ความว่าง นับเนื่องในสังขารขันธ์ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สังขารขันธ์ไม่ใช่ไม่เที่ยง ไม่ใช่มีปัจจัยปรุงแต่ง ไม่ใช่อาศัยกันและกัน
เกิดขึ้น ไม่ใช่มีความสิ้นไป เสื่อมไป คลายไป ดับไป แปรผันไปเป็นธรรมดาใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สังขารขันธ์ไม่เที่ยง มีปัจจัยปรุงแต่ง อาศัยกันและกันเกิดขึ้น มีความ
สิ้นไป เสื่อมไป คลายไป ดับไป แปรผันไปเป็นธรรมดามิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากสังขารขันธ์ไม่เที่ยง ฯลฯ มีความแปรผันไปเป็นธรรมดา ท่านก็
ไม่ควรยอมรับว่า “ความว่างนับเนื่องในสังขารขันธ์”

เชิงอรรถ :
๑ นิพพานที่ไม่มีที่ตั้ง หมายถึงนิพพานที่ไม่มีที่ตั้งคือกิเลส (ขุ.อป.อ. ๒/๒๐๙/๑๗๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๘๖๙ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๙. เอกูนวีสติมวรรค] ๒. สุญญตากถา (๑๘๗)
[๘๓๓] สก. ความว่างแห่งรูปขันธ์นับเนื่องในสังขารขันธ์ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ความว่างแห่งสังขารขันธ์นับเนื่องในรูปขันธ์ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ความว่างแห่งเวทนาขันธ์ ฯลฯ สัญญาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์
นับเนื่องในสังขารขันธ์ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ความว่างแห่งสังขารขันธ์นับเนื่องในวิญญาณขันธ์ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ความว่างแห่งสังขารขันธ์ ท่านไม่ยอมรับว่า “นับเนื่องในรูปขันธ์” ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ความว่างแห่งรูปขันธ์ ท่านไม่ยอมรับว่า “นับเนื่องในสังขารขันธ์” ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ความว่างแห่งสังขารขันธ์ ท่านไม่ยอมรับว่า “นับเนื่องในเวทนาขันธ์
ฯลฯ นับเนื่องในสัญญาขันธ์ ฯลฯ นับเนื่องในวิญญาณขันธ์” ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ความว่างแห่งวิญญาณขันธ์ ท่านไม่ยอมรับว่า “นับเนื่องในสังขาร-
ขันธ์” ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๘๓๔] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “ความว่างนับเนื่องในสังขารขันธ์” ใช่ไหม
สก. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๘๗๐ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๙. เอกูนวีสติมวรรค] ๓. สามัญญผลกถา (๑๘๘)
ปร. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย สังขารนี้ว่างจาก
อัตตาหรือจากสิ่งที่นับเนื่องด้วยอัตตา” ๑ มีอยู่จริงมิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. ดังนั้น ความว่างจึงนับเนื่องในสังขารขันธ์
สุญญตากถา จบ

๓. สามัญญผลกถา (๑๘๘)
ว่าด้วยผลแห่งความเป็นสมณะ
[๘๓๕] สก. ผลแห่งความเป็นสมณะ๒ เป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง
(เป็นอสังขตะ)ใช่ไหม
ปร.๓ ใช่๔
สก. ผลแห่งความเป็นสมณะ เป็นนิพพาน เป็นที่ต้านทาน เป็นที่เร้น
เป็นที่พึ่ง เป็นที่หมาย เป็นที่มั่น เป็นอมตะใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ผลแห่งความเป็นสมณะเป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง นิพพาน
เป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งมี ๒ อย่างใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ ม.อุ. (แปล) ๑๔/๖๙/๗๕
๒ ผลแห่งความเป็นสมณะ ในที่นี้หมายถึงวิปากจิตแห่งอริยมรรคในมรรควิถีและในผลสมาบัติ (อภิ.ปญฺจ.อ.
๘๓๕-๘๓๖/๓๐๕)
๓ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายปุพพเสลิยะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๘๓๕-๘๓๖/๓๐๕)
๔ เพราะมีความเห็นว่า การละกิเลสและความเกิดขึ้นแห่งผลจิตจัดเป็นผลแห่งความเป็นสมณะ ฉะนั้นจึงเป็น
สภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง (อภิ.ปญฺจ.อ. ๘๓๕-๘๓๖/๓๐๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๘๗๑ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๙. เอกูนวีสติมวรรค] ๓. สามัญญผลกถา (๑๘๘)
สก. สภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งมี ๒ อย่างใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ที่ต้านทานมี ๒ อย่าง ฯลฯ ช่องว่างแห่งนิพพานมี ๒ อย่างใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๘๓๖] สก. ผลแห่งความเป็นสมณะเป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ความเป็นสมณะเป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ความเป็นสมณะเป็นสภาวธรรมที่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ผลแห่งความเป็นสมณะเป็นสภาวธรรมที่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. โสดาปัตติผลเป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. โสดาปัตติมรรคเป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. โสดาปัตติมรรคเป็นสภาวธรรมที่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. โสดาปัตติผลเป็นสภาวธรรมที่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๘๗๒ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๙. เอกูนวีสติมวรรค] ๓. สามัญญผลกถา (๑๘๘)
สก. สกทาคามิผล ฯลฯ อนาคามิผล ฯลฯ อรหัตตผลเป็นสภาวธรรมที่
ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. อรหัตตมรรคเป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. อรหัตตมรรคเป็นสภาวธรรมที่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. อรหัตตผลเป็นสภาวธรรมที่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. โสดาปัตติผลเป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง สกทาคามิผล ฯลฯ
อนาคามิผล ฯลฯ อรหัตตผลเป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง นิพพานก็เป็น
สภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งมี ๕ อย่างใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งมี ๕ อย่างใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ที่ต้านทานมี ๕ อย่าง ฯลฯ ช่องว่างแห่งนิพพานมี ๕ อย่างใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

สามัญญผลกถา จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๘๗๓ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๙. เอกูนวีสติมวรรค] ๔. ปัจตติกถา (๑๘๙)
๔. ปัตติกถา (๑๘๙)
ว่าด้วยการได้
[๘๓๗] สก. การได้๑ เป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง(เป็นอสังขตะ)ใช่ไหม
ปร.๒ ใช่๓
สก. การได้เป็นนิพพาน เป็นที่ต้านทาน เป็นที่เร้น เป็นที่ระลึก เป็นที่หมาย
เป็นที่มั่น เป็นอมตะใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. การได้เป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง นิพพานก็เป็นสภาวธรรม
ที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งมี ๒ อย่างใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งมี ๒ อย่างใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ที่ต้านทานมี ๒ อย่าง ฯลฯ ช่องว่างแห่งนิพพานมี ๒ อย่างใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๘๓๘] สก. การได้จีวรเป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. การได้เป็นนิพพาน ฯลฯ เป็นอมตะใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

เชิงอรรถ :
๑ การได้ แปลมาจากศัพท์ว่า “ปตฺติ” อรรถกถา แก้เป็น ปฏิลาโภ ซึ่งหมายถึงการบรรลุก็ได้ (อภิ.ปญฺจ.อ.
๘๓๗-๘๔๐/๓๐๖)
๒ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายปุพพเสลิยะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๘๓๗-๘๔๐/๓๐๖)
๓ เพราะมีความเห็นว่า การบรรลุฌาน มรรค ผล และการได้ทรัพย์สินจัดเป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง
(อภิ.ปญฺจ.อ. ๘๓๗-๘๔๐/๓๐๖)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๘๗๔ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๙. เอกูนวีสติมวรรค] ๔. ปัจตติกถา (๑๘๙)
สก. การได้จีวรเป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง นิพพานก็เป็นสภาวธรรม
ที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งมี ๒ อย่างใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งมี ๒ อย่างใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ที่ต้านทานมี ๒ อย่าง ฯลฯ ช่องว่างแห่งนิพพานมี ๒ อย่างใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. การได้บิณฑบาต ฯลฯ การได้เสนาสนะ ฯลฯ การได้คิลานปัจจัย-
เภสัชบริขารเป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. การได้เป็นนิพพาน ฯลฯ เป็นที่มั่น เป็นอมตะใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. การได้คิลานปัจจัยเภสัชบริขารเป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง
นิพพานก็เป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งมี ๒ อย่างใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งมี ๒ อย่างใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ที่ต้านทานมี ๒ อย่าง ฯลฯ ช่องว่างแห่งนิพพานมี ๒ อย่างใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๘๗๕ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๙. เอกูนวีสติมวรรค] ๔. ปัจตติกถา (๑๘๙)
สก. การได้จีวรเป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง ฯลฯ การได้บิณฑบาต
ฯลฯ การได้เสนาสนะ ฯลฯ การได้คิลานปัจจัยเภสัชบริขารเป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูก
ปัจจัยปรุงแต่ง นิพพานก็เป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งมี ๕ อย่างใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งมี ๕ อย่างใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ที่ต้านทานมี ๕ อย่าง ฯลฯ ช่องว่างแห่งนิพพานมี ๕ อย่างใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๘๓๙] สก. การได้ปฐมฌานเป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง ฯลฯ
(ควรให้พิสดารทั้งหมดโดยนัยที่กล่าวมาแล้ว) การได้ทุติยฌาน ... ตติยฌาน ...
จตุตถฌาน ... อากาสานัญจายตนะ ... วิญญาณัญจายตนะ ... อากิญจัญญายตนะ
... เนวสัญญานาสัญญายตนะ ... โสดาปัตติมรรค ... โสดาปัตติผล ...
สกทาคามิมรรค ... สกทาคามิผล ... อนาคามิมรรค ... อนาคามิผล ...
อรหัตตมรรค ... การได้อรหัตตผลเป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. การได้เป็นนิพพาน ฯลฯ เป็นที่มั่น เป็นอมตะใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. การได้อรหัตตผลเป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง นิพพานก็เป็น
สภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งมี ๒ อย่างใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งมี ๒ อย่างใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๘๗๖ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๙. เอกูนวีสติมวรรค] ๔. ปัจตติกถา (๑๘๙)
สก. ที่ต้านทานมี ๒ อย่าง ฯลฯ ช่องว่างแห่งนิพพานมี ๒ อย่างใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. การได้โสดาปัตติมรรคเป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง การได้
โสดาปัตติผลเป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง ฯลฯ การได้อรหัตตมรรคเป็น
สภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง การได้อรหัตตผลเป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง
นิพพานก็เป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งมี ๙ อย่างใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งมี ๙ อย่างใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ที่ต้านทานมี ๙ อย่าง ฯลฯ ช่องว่างแห่งนิพพานมี ๙ อย่างใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๘๔๐] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “การได้เป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง”
ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. การได้เป็นรูป เป็นเวทนา เป็นสัญญา เป็นสังขาร เป็นวิญญาณใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. ดังนั้น การได้จึงเป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง

ปัตติกถา จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๘๗๗ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๙. เอกูนวีสติมวรรค] ๕. ตถตากถา (๑๙๐)
๕. ตถตากถา (๑๙๐)
ว่าด้วยความเป็นจริง
[๘๔๑] สก. ความเป็นจริงแห่งสภาวธรรมทั้งปวงเป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัย
ปรุงแต่ง(เป็นอสังขตะ)ใช่ไหม
ปร.๑ ใช่๒
สก. ความเป็นจริงแห่งสภาวธรรมทั้งปวงเป็นนิพพาน ฯลฯ เป็นอมตะใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ความเป็นจริงแห่งสภาวธรรมทั้งปวงเป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง
นิพพานก็เป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งมี ๒ อย่างใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งมี ๒ อย่างใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ที่ต้านทานมี ๒ อย่าง ฯลฯ ช่องว่างแห่งนิพพานมี ๒ อย่างใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๘๔๒] สก. ความเป็นรูปแห่งรูป ความเป็นรูปเป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัย
ปรุงแต่งมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. ความเป็นรูปแห่งรูปนั้นเป็นนิพพาน ฯลฯ เป็นอมตะใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

เชิงอรรถ :
๑ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอุตตราปถกะบางพวก (อภิ.ปญฺจ.อ. ๘๔๑/๓๐๖)
๒ เพราะมีความเห็นว่า สภาวธรรมที่ถูกปัจจัยปรุงแต่งทั้งปวง มีความเป็นจริงอยู่อย่างหนึ่งเรียกว่าสภาวะ
สภาวะนั้นเป็นอสังขตะ (ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง) ซึ่งต่างกับความเห็นของสกวาทีที่เห็นว่า ธรรมที่ถูกปัจจัย
ปรุงแต่งกับสภาวะแห่งธรรมที่ถูกปัจจัยปรุงแต่งจัดเป็นสังขตะเช่นเดียวกัน (อภิ.ปญฺจ.อ. ๘๔๑/๓๐๖)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๘๗๘ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๙. เอกูนวีสติมวรรค] ๕. ตถตากถา (๑๙๐)
สก. ความเป็นรูปแห่งรูป ความเป็นรูปเป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง
นิพพานก็เป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. สภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งมี ๒ อย่างใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งมี ๒ อย่างใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ที่ต้านทานมี ๒ อย่าง ฯลฯ ช่องว่างแห่งนิพพานมี ๒ อย่างใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ความเป็นเวทนาแห่งเวทนา ความเป็นเวทนา ฯลฯ ความเป็นสัญญา
แห่งสัญญา ความเป็นสัญญา ฯลฯ ความเป็นสังขารแห่งสังขาร ความเป็นสังขาร
ฯลฯ ความเป็นวิญญาณแห่งวิญญาณ ความเป็นวิญญาณเป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูก
ปัจจัยปรุงแต่งมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. ความเป็นวิญญาณแห่งนิพพาน ฯลฯ เป็นอมตะใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ความเป็นรูปแห่งรูป ความเป็นรูปเป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง
ฯลฯ ความเป็นวิญญาณแห่งวิญญาณ ความเป็นวิญญาณเป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูก
ปัจจัยปรุงแต่ง นิพพานก็เป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. สภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งมี ๖ อย่างใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๘๗๙ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๙. เอกูนวีสติมวรรค] ๖. กุสลกถา (๑๙๑)
สก. สภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งมี ๖ อย่างใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ที่ต้านทานมี ๖ อย่าง ฯลฯ ช่องว่างแห่งนิพพานมี ๖ อย่างใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๘๔๓] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “ความเป็นจริงแห่งสภาวธรรมทั้งปวงเป็น
สภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. ความเป็นจริงแห่งสภาวธรรมทั้งปวงเป็นรูป เวทนา สัญญา สังขาร
วิญญาณใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น
ปร. ดังนั้น ความเป็นจริงแห่งสภาวธรรมทั้งปวงจึงเป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูก
ปัจจัยปรุงแต่ง
ตถตากถา จบ

๖. กุสลกถา (๑๙๑)
ว่าด้วยกุศล
[๘๔๔] สก. นิพพานธาตุเป็นกุศลใช่ไหม
ปร.๑ ใช่๒
สก. นิพพานธาตุรับรู้อารมณ์ได้ มีความนึกถึง ฯลฯ มีความตั้งใจใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

เชิงอรรถ :
๑ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอันธกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๘๔๔/๓๐๗)
๒ เพราะมีความเห็นว่า นิพพานไม่มีโทษจึงจัดเป็นกุศล ซึ่งต่างกับความเห็นของสกวาทีที่เห็นว่า นิพพาน
เป็นอัพยากฤต ถึงแม้จะไม่มีโทษ แต่ก็ไม่มีการเผล็ดผล (อภิ.ปญฺจ.อ. ๘๔๔/๓๐๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๘๘๐ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๙. เอกูนวีสติมวรรค] ๖. กุสลกถา (๑๙๑)
สก. นิพพานธาตุรับรู้อารมณ์ไม่ได้ ไม่มีความนึกถึง ฯลฯ ไม่มีความตั้งใจ
ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. หากนิพพานธาตุรับรู้อารมณ์ไม่ได้ ไม่มีความนึกถึง ฯลฯ ไม่มีความ
ตั้งใจ ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “นิพพานธาตุเป็นกุศล”
[๘๔๕] สก. อโลภะเป็นกุศล รับรู้อารมณ์ได้ มีความนึกถึง ฯลฯ มีความ
ตั้งใจใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. นิพพานธาตุเป็นกุศล รับรู้อารมณ์ได้ มีความนึกถึง ฯลฯ มีความตั้งใจ
ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. อโทสะเป็นกุศล ฯลฯ อโมหะ ฯลฯ สัทธา ฯลฯ วิริยะ ฯลฯ สติ ฯลฯ
สมาธิ ฯลฯ ปัญญา เป็นกุศล รับรู้อารมณ์ได้ มีความนึกถึง ฯลฯ มีความตั้งใจใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. นิพพานธาตุเป็นกุศล รับรู้อารมณ์ได้ มีความนึกถึง ฯลฯ มีความตั้ง
ใจใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. นิพพานธาตุเป็นกุศล แต่รับรู้อารมณ์ไม่ได้ ไม่มีความนึกถึง ฯลฯ ไม่
มีความตั้งใจใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. อโลภะเป็นกุศล แต่รับรู้อารมณ์ไม่ได้ ไม่มีความนึกถึง ฯลฯ ไม่มี
ความตั้งใจใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. นิพพานธาตุเป็นกุศล แต่รับรู้อารมณ์ไม่ได้ ไม่มีความนึกถึง ฯลฯ ไม่มี
ความตั้งใจใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๘๘๑ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๙. เอกูนวีสติมวรรค] ๗. อัจจันตนิยามกถา (๑๙๒)
สก. อโทสะเป็นกุศล ฯลฯ อโมหะ ฯลฯ สัทธา ฯลฯ วิริยะ ฯลฯ สติ ฯลฯ
สมาธิ ฯลฯ ปัญญา เป็นกุศล แต่รับรู้อารมณ์ไม่ได้ ไม่มีความนึกถึง ฯลฯ ไม่มี
ความตั้งใจใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๘๔๖] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “นิพพานธาตุเป็นกุศล” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. นิพพานธาตุไม่มีโทษมิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. หากนิพพานธาตุไม่มีโทษ ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “นิพพานธาตุ
เป็นกุศล”
กุสลกถา จบ

๗. อัจจันตนิยามกถา (๑๙๒)
ว่าด้วยความแน่นอนโดยส่วนเดียว
[๘๔๗] สก. ความแน่นอนโดยส่วนเดียวของปุถุชนมีอยู่ใช่ไหม
ปร.๑ ใช่๒
สก. บุคคลผู้ฆ่ามารดาเป็นผู้แน่นอนโดยส่วนเดียว ผู้ฆ่าบิดา ฯลฯ ผู้ฆ่า
พระอรหันต์ ฯลฯ ผู้ทำร้ายพระพุทธเจ้าจนถึงพระโลหิตห้อ ฯลฯ ผู้ทำลายสงฆ์
ให้แตกกัน เป็นผู้แน่นอนโดยส่วนเดียวใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

เชิงอรรถ :
๑ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอุตตราปถกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๘๔๗/๓๐๗)
๒ เพราะมีความเห็นว่า นิยตมิจฉาทิฏฐิบุคคล ไปเกิดในอบายแล้วไม่สามารถพ้นจากอบายได้ ซึ่งต่างกับ
ความเห็นของสกวาทีที่เห็นว่า แม้เป็นนิยตมิจฉาทิฏฐิบุคคลก็มิได้หมายความว่าจะอยู่ในอบายภูมิตลอดไป
เพียงแต่ต้องอยู่ในอบายนานกว่าผลกรรมอื่น ๆ จึงเรียกว่า นิยตบุคคล (อภิ.ปญฺจ.อ. ๘๔๗/๓๐๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๘๘๒ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๙. เอกูนวีสติมวรรค] ๗. อัจจันตนิยามกถา (๑๙๒)
[๘๔๘] สก. ความแน่นอนโดยส่วนเดียวของปุถุชนมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. วิจิกิจฉาพึงเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้แน่นอนโดยส่วนเดียวใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. หากวิจิกิจฉาพึงเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้แน่นอนโดยส่วนเดียว ท่านก็ไม่ควร
ยอมรับว่า “ความแน่นอนโดยส่วนเดียวของปุถุชนมีอยู่”
สก. วิจิกิจฉาไม่พึงเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้แน่นอนโดยส่วนเดียวใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เขาละวิจิกิจฉาได้แล้วใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เขาละวิจิกิจฉาได้แล้วใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ละได้ด้วยโสดาปัตติมรรคใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ละได้ด้วยสกทาคามิมรรค ฯลฯ อนาคามิมรรค ฯลฯ อรหัตตมรรค
ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ละได้ด้วยมรรคไหน
ปร. ละได้ด้วยมรรคฝ่ายอกุศล
สก. มรรคฝ่ายอกุศลเป็นสภาวธรรมนำสัตว์ออกจากวัฏฏทุกข์ ให้ถึงความสิ้นไป
ให้ถึงความตรัสรู้ ให้ถึงนิพพาน ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะ ฯลฯ ไม่เป็นอารมณ์
ของสังกิเลสใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๘๘๓ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๙. เอกูนวีสติมวรรค] ๗. อัจจันตนิยามกถา (๑๙๒)
สก. มรรคฝ่ายอกุศลไม่เป็นสภาวธรรมนำสัตว์ออกจากวัฏฏทุกข์ ฯลฯ
(แต่ยัง) เป็นอารมณ์ของสังกิเลสมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากมรรคฝ่ายอกุศลไม่เป็นสภาวธรรมนำสัตว์ออกจากทุกข์ ฯลฯ (แต่
ยัง) เป็นอารมณ์ของสังกิเลส ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “บุคคลผู้แน่นอนโดยส่วน
เดียวละวิจิกิจฉาได้ด้วยมรรคฝ่ายอกุศล”
[๘๔๙] สก. อุจเฉททิฏฐิ๑ พึงเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้แน่นอนโดยสัสสตทิฏฐิ๒ ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. หากอุจเฉททิฏฐิพึงเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้แน่นอนโดยสัสสตทิฏฐิ ท่านก็ไม่
ควรยอมรับว่า “ความแน่นอนโดยส่วนเดียวของปุถุชนมีอยู่”
สก. อุจเฉททิฏฐิไม่พึงเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้แน่นอนโดยสัสสตทิฏฐิใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เขาละอุจเฉททิฏฐิได้แล้วใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เขาละอุจเฉททิฏฐิได้แล้วใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ละได้ด้วยโสดาปัตติมรรคใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ละได้ด้วยสกทาคามิมรรค ฯลฯ อนาคามิมรรค ฯลฯ อรหัตตมรรค
ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

เชิงอรรถ :
๑ อุจเฉททิฏฐิ (ความเห็นว่าขาดสูญ) คือเห็นว่าอัตตาและโลกจักพินาศขาดสูญหมดสิ้นไป (ที.สี. (แปล)
๙/๑๖๘/๑๔๖)
๒ สัสสตทิฏฐิ (ความเห็นว่าเที่ยง) คือเห็นว่าอัตตาและโลกเที่ยงแท้ยั่งยืนคงอยู่ตลอดไป (ที.สี. (แปล)
๙/๑๖๘/๑๔๖)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๘๘๔ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๙. เอกูนวีสติมวรรค] ๗. อัจจันตนิยามกถา (๑๙๒)
สก. ละได้ด้วยมรรคไหน
ปร. ละได้ด้วยมรรคฝ่ายอกุศล
สก. มรรคฝ่ายอกุศลเป็นสภาวธรรมนำสัตว์ออกจากวัฏฏทุกข์ ฯลฯ๑ ท่าน
ก็ไม่ควรยอมรับว่า “บุคคลผู้แน่นอนโดยสัสสตทิฏฐิละอุจเฉททิฏฐิได้ด้วยมรรคฝ่าย
อกุศล”
[๘๕๐] สก. สัสสตทิฏฐิพึงเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้แน่นอนโดยอุจเฉททิฏฐิใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. หากสัสสตทิฏฐิพึงเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้แน่นอนโดยอุจเฉททิฏฐิ ท่านก็ไม่
ควรยอมรับว่า “ความแน่นอนโดยส่วนเดียวของปุถุชนมีอยู่”
สก. สัสสตทิฏฐิไม่พึงเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้แน่นอนโดยอุจเฉททิฏฐิใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เขาละสัสสตทิฏฐิได้แล้วใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เขาละสัสสตทิฏฐิได้แล้วใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ละได้ด้วยโสดาปัตติมรรคใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ละได้ด้วยสกทาคามิมรรค ฯลฯ อนาคามิมรรค ฯลฯ อรหัตตมรรค
ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ละได้ด้วยมรรคไหน
ปร. ละได้ด้วยมรรคฝ่ายอกุศล

เชิงอรรถ :
๑ ดูข้อ ๘๔๘ หน้า ๘๘๓ ในเล่มนี้ ประกอบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๘๘๕ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๙. เอกูนวีสติมวรรค] ๗. อัจจันตนิยามกถา (๑๙๒)
สก. มรรคฝ่ายอกุศลเป็นสภาวธรรมนำสัตว์ออกจากวัฏฏทุกข์ ฯลฯ๑
ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “บุคคลผู้แน่นอนโดยอุจเฉททิฏฐิละสัสสตทิฏฐิได้ด้วยมรรคฝ่าย
อกุศล”
[๘๕๑] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “ความแน่นอนโดยส่วนเดียวของปุถุชนมีอยู่”
ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนใน
โลกนี้ เป็นผู้ประกอบด้วยสภาวธรรมที่เป็นอกุศลฝ่ายดำโดยส่วนเดียว เขาจมแล้ว
ครั้งเดียวก็ยังจมอยู่นั่นเอง”๒ มีอยู่จริงมิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. ดังนั้น ความแน่นอนโดยส่วนเดียวของปุถุชนจึงมีอยู่
[๘๕๒] สก. เพราะท่านเข้าใจว่า “พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า ‘ภิกษุ
ทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้ประกอบด้วยสภาวธรรมที่เป็นอกุศลฝ่ายดำ
โดยส่วนเดียว เขาจมแล้วครั้งเดียวก็ยังจมอยู่นั่นเอง”๓ จึงยอมรับว่า “ความแน่
นอนโดยส่วนเดียวของปุถุชนมีอยู่” ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนใน
โลกนี้โผล่ขึ้นแล้วจมลง”๔ มีอยู่จริงมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. เขาโผล่ขึ้นแล้วกลับจมลงทุกครั้งใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

เชิงอรรถ :
๑ ดูข้อ ๘๔๘ หน้า ๘๘๓ ในเล่มนี้ ประกอบ
๒-๔ ดูเทียบ องฺ.สตฺตก. (แปล) ๒๓/๑๕/๒๑-๒๒, อภิ.ปุ. (แปล) ๓๖/๒๐๓/๒๒๗-๒๒๘

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๘๘๖ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๙. เอกูนวีสติมวรรค] ๘. อินทริยกถา (๑๙๓)
สก. เพราะท่านเข้าใจว่า “พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า ‘ภิกษุทั้งหลาย
บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้ประกอบด้วยสภาวธรรมที่เป็นอกุศลฝ่ายดำโดยส่วนเดียว
เขาจมแล้วครั้งเดียวก็ยังจมอยู่นั่นเอง” จึงยอมรับว่า “ความแน่นอนโดยส่วนเดียว
ของปุถุชนจึงมีอยู่” ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนใน
โลกนี้เป็นผู้โผล่ขึ้นแล้วหยุดอยู่ โผล่ขึ้นแล้วเหลียวมองดู โผล่ขึ้นแล้วข้ามไป โผล่ขึ้น
แล้วได้ที่พึ่ง” ๑ มีอยู่จริงมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. เขาโผล่ขึ้นแล้วก็ได้ที่พึ่งทุกครั้งใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
อัจจันตนิยามกถา จบ

๘. อินทริยกถา (๑๙๓)
ว่าด้วยอินทรีย์
[๘๕๓] สก. สัทธินทรีย์ที่เป็นโลกิยะไม่มีใช่ไหม
ปร.๒ ใช่๓
สก. ศรัทธาที่เป็นโลกิยะไม่มีใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ องฺ.สตฺตก. (แปล) ๒๓/๑๕/๒๑-๒๒, อภิ.ปุ. (แปล) ๓๖/๒๐๓/๒๒๗-๒๒๘
๒ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายเหตุวาทและนิกายมหิสาสกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๘๕๓/๓๐๙)
๓ เพราะมีความเห็นว่า สัทธา วิริยะ สติ สมาธิ และปัญญาที่เป็นโลกิยะไม่เรียกว่าอินทรีย์ ซึ่งต่างกับ
ความเห็นของสกวาทีที่เห็นว่า สัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา เรียกว่าอินทรีย์ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๘๕๓/๓๐๙)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๘๘๗ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๙. เอกูนวีสติมวรรค] ๘. อินทริยกถา (๑๙๓)
สก. วิริยินทรีย์ที่เป็นโลกิยะ ฯลฯ สตินทรีย์ ฯลฯ สมาธินทรีย์ ฯลฯ
ปัญญินทรีย์ที่เป็นโลกิยะไม่มีใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ปัญญาที่เป็นโลกิยะไม่มีใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สัทธาที่เป็นโลกิยะมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สัทธินทรีย์ที่เป็นโลกิยะมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. วิริยะที่เป็นโลกิยะ ฯลฯ สติ ฯลฯ สมาธิ ฯลฯ ปัญญาที่เป็นโลกิยะ
มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ปัญญินทรีย์ที่เป็นโลกิยะมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. มโนที่เป็นโลกิยะมีอยู่ มนินทรีย์ที่เป็นโลกิยะก็มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สัทธาที่เป็นโลกิยะมีอยู่ สัทธินทรีย์ที่เป็นโลกิยะก็มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. มโนที่เป็นโลกิยะมีอยู่ มนินทรีย์ที่เป็นโลกิยะก็มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ปัญญาที่เป็นโลกิยะมีอยู่ ปัญญินทรีย์ที่เป็นโลกิยะก็มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๘๘๘ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๙. เอกูนวีสติมวรรค] ๘. อินทริยกถา (๑๙๓)
สก. โสมนัสที่เป็นโลกิยะมีอยู่ โสมนัสสินทรีย์ที่เป็นโลกิยะก็มีอยู่ ฯลฯ
ชีวิตที่เป็นโลกิยะมีอยู่ ชีวิตินทรีย์ที่เป็นโลกิยะก็มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สัทธาที่เป็นโลกิยะมีอยู่ สัทธินทรีย์ที่เป็นโลกิยะก็มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ชีวิตที่เป็นโลกิยะมีอยู่ ชีวิตินทรีย์ที่เป็นโลกิยะก็มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ปัญญาที่เป็นโลกิยะมีอยู่ ปัญญินทรีย์ที่เป็นโลกิยะก็มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๘๕๔] สก. สัทธาที่เป็นโลกิยะมีอยู่ สัทธินทรีย์ที่เป็นโลกิยะไม่มีใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. มโนที่เป็นโลกิยะมีอยู่ มนินทรีย์ที่เป็นโลกิยะไม่มีใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ปัญญาที่เป็นโลกิยะมีอยู่ ปัญญินทรีย์ที่เป็นโลกิยะไม่มีใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. มโนที่เป็นโลกิยะมีอยู่ มนินทรีย์ที่เป็นโลกิยะไม่มีใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สัทธาที่เป็นโลกิยะมีอยู่ สัทธินทรีย์ที่เป็นโลกิยะไม่มีใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. โสมนัสที่เป็นโลกิยะมีอยู่ โสมนัสสินทรีย์ที่เป็นโลกิยะไม่มี ชีวิตที่เป็น
โลกิยะมีอยู่ ชีวิตินทรีย์ที่เป็นโลกิยะไม่มีใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๘๘๙ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๙. เอกูนวีสติมวรรค] ๘. อินทริยกถา (๑๙๓)
สก. ปัญญาที่เป็นโลกิยะมีอยู่ ปัญญินทรีย์ที่เป็นโลกิยะไม่มีใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. มโนที่เป็นโลกิยะมีอยู่ มนินทรีย์ที่เป็นโลกิยะไม่มี ฯลฯ ชีวิตที่เป็นโลกิยะ
มีอยู่ ชีวิตินทรีย์ที่เป็นโลกิยะไม่มีใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๘๕๕] สก. ศรัทธาที่เป็นโลกุตตระมีอยู่ สัทธินทรีย์ที่เป็นโลกุตตระก็มีอยู่
ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ศรัทธาที่เป็นโลกิยะมีอยู่ สัทธินทรีย์ที่เป็นโลกิยะก็มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. วิริยะที่เป็นโลกุตตระมีอยู่ ฯลฯ ปัญญาที่เป็นโลกุตตระมีอยู่ ปัญญินทรีย์
ที่เป็นโลกุตตระก็มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ปัญญาที่เป็นโลกิยะมีอยู่ ปัญญินทรีย์ที่เป็นโลกิยะก็มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ศรัทธาที่เป็นโลกิยะมีอยู่ สัทธินทรีย์ที่เป็นโลกิยะไม่มีใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ศรัทธาที่เป็นโลกุตตระมีอยู่ สัทธินทรีย์ที่เป็นโลกุตตระไม่มีใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. วิริยะที่เป็นโลกิยะมีอยู่ ฯลฯ ปัญญาที่เป็นโลกิยะมีอยู่ ปัญญินทรีย์ที่
เป็นโลกิยะไม่มีใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๘๙๐ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๙. เอกูนวีสติมวรรค] รวมกถาที่มีในวรรค
สก. ปัญญาที่เป็นโลกุตตระมีอยู่ ปัญญินทรีย์ที่เป็นโลกุตตระไม่มีใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๘๕๖] สก. อินทรีย์ ๕ ที่เป็นโลกิยะไม่มีใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราเมื่อตรวจดู
โลกด้วยพุทธจักษุ๑ ก็ได้เห็นสัตว์ทั้งหลายผู้มีธุลีในดวงตา๒ น้อย มีธุลีในดวงตามาก
มีอินทรีย์แก่กล้า มีอินทรีย์อ่อน มีอาการดี มีอาการทราม สอนให้รู้ได้ง่าย สอนให้
รู้ได้ยาก บางพวกเห็นปรโลกและโทษว่าเป็นสิ่งน่ากลัว” ๓ มีอยู่จริงมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. ดังนั้น อินทรีย์ ๕ ที่เป็นโลกิยะจึงมีอยู่
อินทริยกถา จบ
เอกูนวีสติมวรรค จบ

รวมกถาที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. กิเลสชหนกถา ๒. สุญญตากถา
๓. สามัญญผลกถา ๔. ปัตติกถา
๕. ตถตากถา ๖. กุสลกถา
๗. อัจจันตนิยามกถา ๘. อินทริยกถา


เชิงอรรถ :
๑ พุทธจักษุ หมายถึง (๑) อินทริยปโรปริยัตติญาณ คือปรีชาหยั่งรู้ความยิ่งและความหย่อนแห่งอินทรีย์
ของสัตว์ทั้งหลาย คือรู้ว่าสัตว์นั้น ๆ มีศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา แค่ไหนเพียงไร มีกิเลสมาก กิเลสน้อย
มีความพร้อมที่จะตรัสรู้หรือไม่ (๒) อาสยานุสยญาณ คือปรีชาหยั่งรู้อัธยาศัย ความมุ่งหมาย สถานที่
ที่นอนเนื่องอยู่ (ม.มู.อ. ๒/๒๘๓/๘๗, วิ.อ. ๓/๙/๑๕) และดูเทียบ ขุ.ป. (แปล) ๓๑/๑๑๑-๑๑๕/๑๗๒-๑๗๗
๒ ดวงตา หมายถึงปัญญาจักษุ (ม.มู.อ. ๒/๒๘๓/๘๗, วิ.อ. ๓/๙/๑๕)
๓ ดูเทียบ วิ.ม. (แปล) ๔/๙/๑๔, ม.มู. (แปล) ๑๒/๒๘๓/๓๐๗-๓๐๘

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๘๙๑ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒๐. วีสติมวรรค] ๑. อสัญจิจจกถา (๑๙๔)
๒๐. วีสติมวรรค
๑. อสัญจิจจกถา (๑๙๔)
ว่าด้วยความไม่จงใจ
[๘๕๗] สก. บุคคลไม่จงใจปลงชีวิตมารดา ชื่อว่าเป็นผู้ทำอนันตริยกรรมใช่ไหม
ปร.๑ ใช่๒
สก. บุคคลไม่จงใจฆ่าสัตว์ ชื่อว่าเป็นผู้ทำปาณาติบาตใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลไม่จงใจปลงชีวิตมารดา ชื่อว่าเป็นผู้ทำอนันตริยกรรมใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลไม่จงใจถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้ ฯลฯ พูดเท็จ ชื่อว่าเป็น
ผู้พูดเท็จใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลไม่จงใจฆ่าสัตว์ ชื่อว่าไม่เป็นผู้ทำปาณาติบาตใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลไม่จงใจปลงชีวิตมารดา ชื่อว่าไม่เป็นผู้ทำอนันตริยกรรมใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลไม่จงใจถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้ ฯลฯ ไม่จงใจพูดเท็จ
ชื่อว่าไม่เป็นผู้พูดเท็จใช่ไหม
ปร. ใช่

เชิงอรรถ :
๑ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอุตตราปถกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๘๕๗/๓๐๙-๓๑๐)
๒ เพราะมีความเห็นว่า วัตถุแห่งอนันตริยกรรม (บิดา มารดา พระอรหันต์ พระพุทธเจ้า และพระสงฆ์) เป็น
สิ่งล้ำเลิศและยิ่งใหญ่ เมื่อบุคคลทำลายวัตถุเหล่านั้น แม้โดยไม่ได้ตั้งใจก็เป็นอนันตริยกรรมได้ ซึ่งต่างกับ
ความเห็นของสกวาทีที่เห็นว่า การกระทำทุกอย่างที่จะจัดเป็นกรรมต้องประกอบด้วยเจตนา หากไม่
ประกอบด้วยเจตนา ไม่จัดเป็นกรรม (อภิ.ปญฺจ.อ. ๘๕๗/๓๐๙-๓๑๐)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๘๙๒ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒๐. วีสติมวรรค] ๑. อสัญจิจจกถา (๑๙๔)
สก. บุคคลไม่จงใจปลงชีวิตมารดา ชื่อว่าไม่เป็นผู้ทำอนันตริยกรรมใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๘๕๘] สก. บุคคลไม่จงใจปลงชีวิตมารดา ชื่อว่าเป็นผู้ทำอนันตริยกรรม
ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสูตรที่ว่า “บุคคลไม่จงใจปลงชีวิตมารดา ชื่อว่าเป็นผู้ทำอนันตริย-
กรรม” มีอยู่จริงหรือ
ปร. ไม่มี
สก. พระสูตรที่ว่า “บุคคลจงใจปลงชีวิตมารดา ชื่อว่าเป็นผู้ทำอนันตริย-
กรรม” มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. หากพระสูตรที่ว่า “บุคคลจงใจปลงชีวิตมารดา ชื่อว่าเป็นผู้ทำอนันตริย-
กรรม” มีอยู่จริง ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “บุคคลไม่จงใจปลงชีวิตมารดา ชื่อว่า
เป็นผู้ทำอนันตริยกรรม”
[๘๕๙] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “บุคคลผู้ฆ่ามารดา ชื่อว่าเป็นผู้ทำอนันตริย-
กรรม” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. เขาปลงชีวิตมารดาแล้วมิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. หากเขาปลงชีวิตมารดาแล้ว ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “บุคคลผู้
ฆ่ามารดา ชื่อว่าเป็นผู้ทำอนันตริยกรรม”
ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “บุคคลผู้ฆ่าบิดา ชื่อว่าเป็นผู้ทำอนันตริยกรรม” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. เขาปลงชีวิตบิดาแล้วมิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. หากเขาปลงชีวิตบิดาแล้ว ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “บุคคลผู้ฆ่าบิดา
ชื่อว่าเป็นผู้ทำอนันตริยกรรม”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๘๙๓ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒๐. วีสติมวรรค] ๑. อสัญจิจจกถา (๑๙๔)
ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “บุคคลผู้ฆ่าพระอรหันต์ ชื่อว่าเป็นผู้ทำอนันตริย-
กรรม” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. เขาปลงชีวิตพระอรหันต์แล้วมิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. หากเขาปลงชีวิตพระอรหันต์แล้ว ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “บุคคล
ผู้ฆ่าพระอรหันต์ ชื่อว่าเป็นผู้ทำอนันตริยกรรม”
ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “บุคคลผู้ทำร้ายพระตถาคตจนถึงพระโลหิตห้อ ชื่อว่า
เป็นผู้ทำอนันตริยกรรม” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. เขาทำร้ายพระตถาคตจนถึงพระโลหิตห้อแล้วมิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. หากเขาทำร้ายพระตถาคตจนถึงพระโลหิตห้อแล้ว ดังนั้น ท่านจึงควร
ยอมรับว่า “บุคคลผู้ทำร้ายพระตถาคตจนถึงพระโลหิตห้อ ชื่อว่าเป็นผู้ทำอนันตริย-
กรรม”
[๘๖๐] สก. บุคคลผู้ทำลายสงฆ์ให้แตกกัน ชื่อว่าเป็นผู้ทำอนันตริยกรรม
ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลผู้ทำลายสงฆ์ให้แตกกันทั้งหมด ชื่อว่าเป็นผู้ทำอนันตริยกรรมใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลผู้ทำลายสงฆ์ให้แตกกันทั้งหมด ชื่อว่าเป็นผู้ทำอนันตริยกรรมใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลผู้มีความสำคัญว่าชอบธรรม จึงทำลายสงฆ์ให้แตกกัน ชื่อว่า
เป็นผู้ทำอนันตริยกรรมใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๘๙๔ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒๐. วีสติมวรรค] ๑. อสัญจิจจกถา (๑๙๔)
[๘๖๑] สก. บุคคลผู้มีความสำคัญว่าชอบธรรม จึงทำลายสงฆ์ให้แตกกัน ชื่อ
ว่าเป็นผู้ทำอนันตริยกรรมใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “อุบาลี บุคคลผู้ทำลายสงฆ์ให้
แตกกันเป็นผู้เข้าถึงอบาย อยู่ในนรกตลอดกัป แก้ไขไม่ได้ มีอยู่ บุคคลผู้ทำลาย
สงฆ์ให้แตกกัน ไม่เป็นผู้เข้าถึงอบาย ไม่เข้าถึงนรกตลอดกัป ไม่ใช่ผู้แก้ไขไม่ได้”
มีอยู่จริงมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. ดังนั้น ท่านจึงไม่ควรยอมรับว่า “บุคคลผู้มีความสำคัญว่าชอบธรรม
ทำลายสงฆ์ให้แตกกัน ชื่อว่าเป็นผู้ทำอนันตริยกรรม”
[๘๖๒] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “บุคคลผู้มีความสำคัญว่าชอบธรรมจึงทำลาย
สงฆ์ให้แตกกัน ชื่อว่าเป็นผู้ทำอนันตริยกรรม” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า
“บุคคลผู้ทำลายสงฆ์ให้แตกกัน ยินดีในการแตกกัน
อยู่ในอธรรม เป็นผู้เข้าถึงอบาย อยู่ในนรกตลอดกัป
พลาดจากนิพพานอันเป็นธรรมเกษมจากโยคะ
เสวยผลกรรมอยู่ในนรกตลอดกัป
เพราะทำลายสงฆ์ที่สามัคคีกันให้แตกแยกกัน”๑
มีอยู่จริงมิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. ดังนั้น บุคคลผู้ทำลายสงฆ์ให้แตกกัน จึงชื่อว่าเป็นผู้ทำอนันตริยกรรม
อสัญจิจจกถา จบ

เชิงอรรถ :
๑ ดูเชิงอรรถที่ ๒ ข้อ ๖๕๗ หน้า ๗๑๑ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๘๙๕ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒๐. วีสติมวรรค] ๒. ญาณกถา (๑๙๕)
๒. ญาณกถา (๑๙๕)
ว่าด้วยญาณ
[๘๖๓] สก. ญาณ๑ ไม่มีแก่ปุถุชนใช่ไหม
ปร.๒ ใช่
สก. ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ความวิจัย ความเลือกสรร ความวิจัยธรรม
ความกำหนดหมาย ความเข้าไปกำหนด ความเข้าไปกำหนดจำเพาะ๓ ไม่มีแก่
ปุถุชนใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ความวิจัย ฯลฯ ความเข้าไปกำหนดจำเพาะ
ของปุถุชนมีอยู่มิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ความวิจัย ฯลฯ ความเข้าไปกำหนด
จำเพาะของปุถุชนมีอยู่ ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “ญาณไม่มีแก่ปุถุชน”
[๘๖๔] สก. ญาณไม่มีแก่ปุถุชนใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ปุถุชนเข้าปฐมฌานได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. หากปุถุชนเข้าปฐมฌานได้ ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “ญาณไม่มีแก่ปุถุชน”

เชิงอรรถ :
๑ ญาณ โดยทั่วไปมี ๒ อย่าง คือ (๑) โลกิยญาณ ได้แก่ ญาณในสมาบัติและกัมมัสสกตาญาณ
(๒) โลกุตตรญาณ ได้แก่ มัคคญาณและผลญาณ ในที่นี้ปรวาทีหมายเอาโลกุตตรญาณเท่านั้น (อภิ.ปญฺจ.อ.
๘๖๓/๓๑๑)
๒ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายเหตุวาท (อภิ.ปญฺจ.อ. ๘๖๓/๓๑๑)
๓ ตั้งแต่คำว่า ปัญญา จนถึง ความเข้าไปกำหนดจำเพาะ นี้ล้วนเป็นไวพจน์ของญาณทั้งนั้น (อภิ.ปญฺจ.อ.
๘๖๓/๓๑๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๘๙๖ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒๐. วีสติมวรรค] ๓. นิรยปาลกถา (๑๙๖)
สก. ปุถุชนเข้าทุติยฌาน ฯลฯ ตติยฌาน ฯลฯ จตุตถฌาน ฯลฯ
อากาสานัญจายตนฌาน ฯลฯ วิญญาณัญจายตนฌาน ฯลฯ อากิญจัญญายตนฌาน
ฯลฯ เนวสัญญานาสัญญายตนฌาน ฯลฯ พึงให้ทาน ฯลฯ จีวร ฯลฯ บิณฑบาต
ฯลฯ เสนาสนะ ฯลฯ คิลานปัจจัยเภสัชบริขารได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. หากปุถุชนให้คิลานปัจจัยเภสัชบริขารได้ ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า
“ญาณไม่มีแก่ปุถุชน”
[๘๖๕] ปร. ญาณของปุถุชนมีอยู่ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. ปุถุชนกำหนดรู้ทุกข์ ละสมุทัย ทำให้แจ้งนิโรธ เจริญมรรคได้ ด้วย
ญาณนั้นใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ญาณกถา จบ

๓. นิรยปาลกถา (๑๙๖)
ว่าด้วยนายนิรยบาล
[๘๖๖] สก. นายนิรยบาลไม่มีในนรกใช่ไหม
ปร.๑ ใช่๒
สก. เครื่องสำหรับลงอาญาไม่มีในนรกใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

เชิงอรรถ :
๑ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอันธกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๘๖๖/๓๑๑)
๒ เพราะมีความเห็นว่า ในนรก นายนิรยบาลที่เป็นบุคคลไม่มี กรรมของสัตว์นรกนั้นเองเป็นนายนิรยบาล
ซึ่งต่างกับความเห็นของสกวาทีที่เห็นว่า มีนายนิรยบาลที่เป็นบุคคลเกิดจากกุศลกรรมและอกุศลกรรม
(อภิ.ปญฺจ.อ. ๘๖๖/๓๑๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๘๙๗ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒๐. วีสติมวรรค] ๓. นิรยปาลกถา (๑๙๖)
สก. เครื่องสำหรับลงอาญามีอยู่ในนรกใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. นายนิรยบาลมีอยู่ในนรกใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เครื่องสำหรับลงอาญามีอยู่ในมนุษย์และผู้ลงอาญาก็มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เครื่องสำหรับลงอาญามีอยู่ในนรกและผู้ลงอาญาก็มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เครื่องสำหรับลงอาญามีอยู่ในนรก แต่ผู้ลงอาญาไม่มีใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เครื่องสำหรับลงอาญามีอยู่ในมนุษย์ แต่ผู้ลงอาญาไม่มีใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๘๖๗] ปร. นายนิรยบาลมีอยู่ในนรกใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า
“ท้าวเวสสภู๑ ท้าวเปตติราช๒
ท้าวโสมะไม่ได้ฆ่า ท้าวยมะ
และท้าวเวสวัณก็ไม่ได้ฆ่า
กรรมของตนเองฆ่าบุคคลผู้สิ้นบุญจากโลกนี้
เกิดในปรโลกในนรกนั้น”
มีอยู่จริงมิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. ดังนั้น นายนิรยบาลจึงไม่มีในนรก

เชิงอรรถ :
๑ คำว่า ท้าวเวสสภู เป็นชื่อของเทพองค์หนึ่ง (อภิ.ปญฺจ.อ. ๘๖๗/๓๑๑)
๒ คำว่า ท้าวเปตติราช เป็นเทพผู้มีฤทธิ์มากกว่าเปรตในเปตวิสัย (อภิ.ปญฺจ.อ. ๘๖๗/๓๑๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๘๙๘ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒๐. วีสติมวรรค] ๓. นิรยปาลกถา (๑๙๖)
[๘๖๘] สก. นายนิรยบาลไม่มีในนรกใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย นายนิรยบาลทำ
กรรมกรณ์ (เครื่องสำหรับลงอาญา)ชื่อเครื่องพันธนาการ ๕ อย่าง คือ ตอกตะปู
เหล็กแดงที่มือ ๒ ข้าง ที่เท้า ๒ ข้าง และที่กลางอก เขาเสวยทุกขเวทนากล้า
อย่างหนัก เผ็ดร้อน ณ ที่นั้น แต่ยังไม่ตายตราบเท่าที่บาปกรรมยังไม่สิ้นไป” ๑
มีอยู่จริงมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. ดังนั้น นายนิรยบาลจึงมีอยู่ในนรก
สก. นายนิรยบาลไม่มีในนรกใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย นายนิรยบาล
ฉุดลากเขาไป เอาขวานถาก นายนิรยบาลจับเขาเอาเท้าขึ้น เอาศีรษะลง เอา
มีดเฉือน ฯลฯ จับเขาเทียมรถแล่นกลับไปกลับมาบนพื้นอันร้อนลุกเป็นเปลว
โชติช่วง ฯลฯ บังคับเขาขึ้นลงภูเขาถ่านเพลิงลูกใหญ่ที่ไฟลุกโชน ฯลฯ จับเขา
เอาเท้าขึ้น เอาศีรษะลง ทุ่มลงไปในโลหกุมภีอันร้อนแดง ลุกเป็นแสงไฟ เขาถูก
ต้มเดือดจนตัวพองในโลหกุมภีนั้น บางครั้งลอยขึ้น บางครั้งจมลง บางครั้งลอยขวาง
เขาเสวยทุกขเวทนากล้าอย่างหนัก เผ็ดร้อนอยู่ในในโลหกุมภีอันร้อนแดงนั้น แต่
ยังไม่ตายตราบเท่าที่บาปกรรมยังไม่สิ้นไป นายนิรยบาลจับเขาทุ่มลงไปในมหานรก
ก็มหานรกนั้น (มีลักษณะ) ดังนี้

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ ม.อุ. (แปล) ๑๔/๒๕๐/๒๙๔-๒๙๕, องฺ.ติก. (แปล) ๒๐/๓๖/๑๙๑-๑๙๔

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๘๙๙ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒๐. วีสติมวรรค] ๔. ติรัจฉานกถา (๑๙๗)
มี ๔ มุม ๔ ประตู แบ่งกำหนดออกเป็นส่วน
มีกำแพงเหล็กล้อมรอบ ครอบด้วยฝาเหล็ก
มีพื้นเป็นเหล็กลุกโชติช่วง
แผ่ความร้อนไกลด้านละ ๑๐๐ โยชน์
ตั้งอยู่ทุกเมื่อ”๑
มีอยู่จริงมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. ดังนั้น นายนิรยบาลจึงมีอยู่ในนรก
นิรยปาลกถา จบ

๔. ติรัจฉานกถา (๑๙๗)
ว่าด้วยสัตว์ดิรัจฉาน
[๘๖๙] สก. สัตว์ดิรัจฉานมีอยู่ในหมู่เทวดาใช่ไหม
ปร.๒ ใช่๓
สก. เทวดามีอยู่ในหมู่สัตว์ดิรัจฉานใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สัตว์ดิรัจฉานมีอยู่ในหมู่เทวดาใช่ไหม
ปร. ใช่

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ ม.อุ. (แปล) ๑๔/๒๕๐/๒๙๔-๒๙๕, องฺ.ติก. (แปล) ๒๐/๓๖/๑๙๔, ขุ.เปต. (แปล) ๒๖/๗๐-๗๑/
๑๗๙,๒๔๐-๒๔๑/๒๐๖, ๖๙๓-๖๙๔/๒๘๑, ขุ.ม. (แปล) ๒๙/๑๗๐/๔๘๒, ขุ.จู. (แปล) ๓๐/๑๒๒/
๔๐๒-๔๐๘
๒ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอันธกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๘๖๙/๓๑๒)
๓ เพราะมีความเห็นว่า ในเทวโลก มีเทวบุตรที่เป็นสัตว์ดิรัจฉาน เช่น เอราวัณเทพบุตร ซึ่งต่างกับความเห็น
ของสกวาทีที่เห็นว่า เทพบุตรที่เป็นสัตว์ดิรัจฉานไม่มี แต่มีเทพบุตรจำแลงเป็นสัตว์ (อภิ.ปญฺจ.อ.
๘๖๙/๓๑๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๙๐๐ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒๐. วีสติมวรรค] ๔. ติรัจฉานกถา (๑๙๗)
สก. เทวโลกเป็นภูมิของสัตว์ดิรัจฉานใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สัตว์ดิรัจฉานมีอยู่ในหมู่เทวดาใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ในหมู่เทวดานั้น มีแมลง ตั้กแตน ยุง แมลงวัน งู แมลงป่อง ตะขาบ
ไส้เดือนใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๘๗๐] ปร. สัตว์ดิรัจฉานไม่มีในหมู่เทวดาใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. ช้างประเสริฐชื่อว่าเอราวัณ ยานทิพย์เทียมด้วยม้าพันตัวมีอยู่ในหมู่
เทวดานั้นมิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. หากช้างประเสริฐชื่อว่าเอราวัณ ยานทิพย์เทียมด้วยม้าพันตัวมีอยู่
ในหมู่เทวดานั้น ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “สัตว์ดิรัจฉานมีอยู่ในเทวโลก”
[๘๗๑] สก. สัตว์ดิรัจฉานมีอยู่ในเทวโลกใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ในเทวโลกนั้น มีพวกผูกช้าง พวกผูกม้า พวกตะพุ่นหญ้า พวกผู้ฝึก
พวกทำอาหารสัตว์ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ดังนั้น สัตว์ดิรัจฉานจึงไม่มีในเทวโลก

ติรัจฉานกถา จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๙๐๑ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒๐. วีสติมวรรค] ๕. มัคคกถา (๑๙๙)
๕. มัคคกถา (๑๙๘)
ว่าด้วยมรรค
[๘๗๒] สก. มรรคมีองค์ ๕ ใช่ไหม
ปร.๑ ใช่๒
สก. มรรคมีองค์ ๘ คือ สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ พระผู้มี
พระภาคตรัสไว้แล้วมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากมรรคมีองค์ ๘ คือ สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ พระผู้มี
พระภาคตรัสไว้แล้ว ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “มรรคมีองค์ ๕”
สก. มรรคมีองค์ ๕ ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า
“บรรดามรรค มรรคมีองค์ ๘ ประเสริฐที่สุด
บรรดาสัจจะ สัจจะ ๔ ประเสริฐที่สุด
บรรดาธรรม วิราคธรรม๓ ประเสริฐที่สุด
บรรดาสัตว์สองเท้า๔ พระตถาคตผู้มีพระจักษุ๕
ประเสริฐที่สุด”
มีอยู่จริงมิใช่หรือ
ปร. ใช่

เชิงอรรถ :
๑ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายมหิสาสกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๘๗๒/๓๑๒-๓๑๓)
๒ เพราะมีความเห็นว่า เมื่อว่าโดยตรงแล้ว มรรคมีองค์ ๕ เท่านั้นมิใช่มีองค์ ๘ โดยอ้างว่า สัมมาวาจา
สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะเป็นจิตตวิปปยุต (ไม่ประกอบด้วยจิต)จึงไม่จัดเป็นมรรค เป็นเพียงวิญญัติรูป
ไม่ใช่เจตสิก ซึ่งต่างกับความเห็นของสกวาทีที่เห็นว่า มรรคทั้ง ๓ ดังกล่าวมาเป็นมรรค สัมปยุตด้วยจิต
เป็นเจตสิก (อภิ.ปญฺจ.อ. ๘๗๒/๓๑๒-๓๑๓)
๓ วิราคธรรม หมายถึงนิพพาน (ขุ.ธ.อ. ๗/๕๔)
๔ สัตว์สองเท้า หมายถึงมนุษย์ (ขุ.ธ.อ. ๗/๕๔)
๕ จักษุ หมายถึงปัญญาจักษุ (วิ.อ. ๓/๑๓/๑๗), ดูเทียบ ขุ.ธ. (แปล) ๒๕/๒๗๓/๑๑๗

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๙๐๒ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒๐. วีสติมวรรค] ๕. มัคคกถา (๑๙๙)
สก. ดังนั้น มรรคจึงมีองค์ ๘
[๘๗๓] สก. สัมมาวาจาเป็นองค์มรรค แต่สัมมาวาจานั้นไม่เป็นมรรคใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สัมมาทิฏฐิเป็นองค์มรรค แต่สัมมาทิฏฐินั้นไม่เป็นมรรคใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สัมมาวาจาเป็นองค์มรรค แต่สัมมาวาจานั้นไม่เป็นมรรคใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สัมมาสังกัปปะ ฯลฯ สัมมาวายามะ ฯลฯ สัมมาสติ ฯลฯ สัมมาสมาธิ
เป็นองค์มรรค แต่สัมมาสมาธินั้นไม่เป็นมรรคใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สัมมากัมมันตะ ฯลฯ สัมมาอาชีวะ เป็นองค์มรรค แต่สัมมาอาชีวะ
นั้นไม่เป็นมรรคใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ เป็นองค์มรรค แต่สัมมาสมาธินั้นไม่
เป็นมรรคใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สัมมาทิฏฐิเป็นองค์มรรค และสัมมาทิฏฐินั้นเป็นมรรคใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สัมมาวาจาเป็นองค์มรรค และสัมมาวาจานั้นเป็นมรรคใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สัมมาทิฏฐิเป็นองค์มรรค และสัมมาทิฏฐินั้นเป็นมรรคใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๙๐๓ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒๐. วีสติมวรรค] ๕. มัคคกถา (๑๙๙)
สก. สัมมากัมมันตะ ฯลฯ สัมมาอาชีวะ เป็นองค์มรรค และสัมมาอาชีวะ
นั้นเป็นมรรคใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สัมมาสังกัปปะ ฯลฯ สัมมาวายามะ ฯลฯ สัมมาสติ ฯลฯ สัมมา-
สมาธิเป็นองค์มรรค และสัมมาสมาธินั้นเป็นมรรคใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สัมมาวาจา ฯลฯ สัมมากัมมันตะ ฯลฯ สัมมาอาชีวะ เป็นองค์มรรค
และสัมมาอาชีวะนั้นเป็นมรรคใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๘๗๔] ปร. อริยมรรคมีองค์ ๘ ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “กายกรรม วจีกรรม อาชีวะของ
บุคคลนั้นจัดว่าบริสุทธิ์ดีแล้วในเบื้องต้นนั้นแล เมื่อเป็นอย่างนี้อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้
ของเขาย่อมถึงความเจริญเต็มที่”๑ มีอยู่จริงมิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. ดังนั้น มรรคจึงมีองค์ ๕
[๘๗๕] สก. มรรคมีองค์ ๕ ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “สุภัททะ ในธรรมวินัยที่ไม่มี
อริยมรรคมีองค์ ๘ ย่อมไม่มีสมณะที่ ๑ ย่อมไม่มีสมณะที่ ๒ ย่อมไม่มีสมณะที่ ๓
ย่อมไม่มีสมณะที่ ๔๒ ในธรรมวินัยที่มีอริยมรรคมีองค์ ๘ ย่อมมีสมณะที่ ๑ ย่อมมี

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ ม.อุ. (แปล) ๑๔/๔๓๑/๑๖๒
๒ สมณะที่ ๑-๒-๓-๔ หมายถึงพระโสดาบัน พระสกทาคามี พระอนาคามี พระอรหันต์ ตามลำดับ (ที.ม.อ.
๒๑๔/๑๙๖)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๙๐๔ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒๐. วีสติมวรรค] ๖. ญาณกถา (๑๙๙)
สมณะที่ ๒ ย่อมมีสมณะที่ ๓ ย่อมมีสมณะที่ ๔ สุภัททะ ในธรรมวินัยนี้มีอริยมรรค
มีองค์ ๘ สมณะที่ ๑ มีอยู่ในธรรมวินัยนี้เท่านั้น สมณะที่ ๒ มีอยู่ในธรรมวินัยนี้เท่านั้น
สมณะที่ ๓ มีอยู่ในธรรมวินัยนี้เท่านั้น สมณะที่ ๔ ก็มีอยู่ในธรรมวินัยนี้เท่านั้น
ลัทธิอื่นว่างจากสมณะทั้งหลายผู้รู้ทั่วถึง สุภัททะ ถ้าภิกษุเหล่านี้เป็นอยู่โดยชอบ
โลกจะไม่พึงว่างจากพระอรหันต์ทั้งหลาย”๑ มีอยู่จริงมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. ดังนั้น มรรคจึงมีองค์ ๘
มัคคกถา จบ

๖. ญาณกถา (๑๙๙)
ว่าด้วยญาณ
[๘๗๖] สก. ญาณที่มีวัตถุ ๑๒ เป็นโลกุตตระใช่ไหม
ปร.๒ ใช่๓
สก. โลกุตตรญาณมี ๑๒ ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. โลกุตตรญาณมี ๑๒ ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. โสดาปัตติมรรคมี ๑๒ ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ ที.ม. (แปล) ๑๐/๒๑๔/๑๖๒
๒ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายปุพพเสลิยะและนิกายอปรเสลิยะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๘๗๖/๓๑๓)
๓ เพราะมีความเห็นว่า ในมัคคจิตแต่ละดวง มีญาณที่ทำหน้าที่รับรู้ ๑๒ ประการ (ในมัคคจิตหนึ่ง ๆ มี
๓ ญาณ คือ สัจจญาณ กิจจญาณ และกตญาณ รวมเป็น ๑๒ ญาณ) ซึ่งต่างกับความเห็นของสกวาทีที่เห็นว่า
ในมัคคจิตแต่ละดวง มีสัจจญาณอย่างเดียว จึงไม่ยอมรับว่ามี ๑๒ ญาณ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๘๗๖/๓๑๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๙๐๕ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒๐. วีสติมวรรค] ๖. ญาณกถา (๑๙๙)
สก. โสดาปัตติมรรคมี ๑๒ ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. โสดาปัตติผลมี ๑๒ ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สกทาคามิมรรค ฯลฯ อนาคามิมรรค ฯลฯ อรหัตตมรรคมีอย่างละ ๑๒
ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. อรหัตตมรรคมี ๑๒ ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. อรหัตตผลมี ๑๒ ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๘๗๗] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “ญาณที่มีวัตถุ ๑๒ เป็นโลกุตตระ” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย จักษุเกิดขึ้นแล้ว
ญาณเกิดขึ้นแล้ว ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว วิชชาเกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วใน
ธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยสดับมาก่อนว่า นี้ทุกขอริยสัจ
ภิกษุทั้งหลาย จักษุเกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วในธรรมทั้งหลาย
ที่เราไม่เคยสดับมาก่อนว่า ทุกขอริยสัจนี้ ควรกำหนดรู้
ภิกษุทั้งหลาย จักษุเกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วในธรรมทั้งหลาย
ที่เราไม่เคยสดับมาก่อนว่า ทุกขอริยสัจนี้ เราได้กำหนดรู้แล้ว
ภิกษุทั้งหลาย จักษุเกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วในธรรมทั้งหลาย
ที่เราไม่เคยสดับมาก่อนว่า นี้ทุกขสมุทยอริยสัจ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๙๐๖ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒๐. วีสติมวรรค] ๖. ญาณกถา (๑๙๙)
ภิกษุทั้งหลาย จักษุเกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วในธรรมทั้งหลาย
ที่เราไม่เคยสดับมาก่อนว่า ทุกขสมุทยอริยสัจนี้ ควรละเสีย
ภิกษุทั้งหลาย จักษุเกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วในธรรมทั้งหลาย
ที่เราไม่เคยสดับมาก่อนว่า ทุกขสมุทยอริยสัจนี้ เราละได้แล้ว
ภิกษุทั้งหลาย จักษุเกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วในธรรมทั้งหลาย
ที่เราไม่เคยสดับมาก่อนว่า นี้ทุกขนิโรธอริยสัจ
ภิกษุทั้งหลาย จักษุเกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วในธรรมทั้งหลาย
ที่เราไม่เคยสดับมาก่อนว่า ทุกขนิโรธอริยสัจนี้ ควรทำให้แจ้ง
ภิกษุทั้งหลาย จักษุเกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วในธรรมทั้งหลาย
ที่เราไม่เคยสดับมาก่อนว่า ทุกขนิโรธอริยสัจนี้ เราได้ทำให้แจ้งแล้ว
ภิกษุทั้งหลาย จักษุเกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วในธรรมทั้งหลาย
ที่เราไม่เคยสดับมาก่อนว่า นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ
ภิกษุทั้งหลาย จักษุเกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วในธรรมทั้งหลาย
ที่เราไม่เคยสดับมาก่อนว่า ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจนี้ เราควรให้เจริญ
ภิกษุทั้งหลาย จักษุเกิดขึ้นแล้ว ญาณเกิดขึ้นแล้ว ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว วิชชา
เกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยสดับมาก่อนว่า
ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจนี้ เราได้ให้เจริญแล้ว”๑ มีอยู่จริงมิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. ดังนั้น ญาณที่มีวัตถุ ๑๒ จึงเป็นโลกุตตระ

ญาณกถา จบ
วีสติมวรรค จบ

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ วิ.ม. (แปล) ๔/๑๕/๒๒-๒๓, สํ.ม. (แปล) ๑๙/๑๐๘๑/๕๙๒-๕๙๖

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๙๐๗ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒๐. วีสติมวรรค] รวมกถาที่มีในวรรค
รวมกถาที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. อสัญจิจจกถา ๒. ญาณกถา
๓. นิรยปาลกถา ๔. ติรัจฉานกถา
๕. มัคคกถา ๖. ญาณกถา

จตุตถปัณณาสก์ จบ

รวมวรรคที่มีในจตุตถปัณณาสก์นี้ คือ
วรรคที่ ๑๖ เริ่มด้วยนิคคหกถา
วรรคที่ ๑๗ เริ่มด้วยอัตถิอรหโตปุญญูปจโยติกถา
วรรคที่ ๑๘ เริ่มด้วยมนุสสโลกกถา
วรรคที่ ๑๙ เริ่มด้วยกิเลสชหนกถา
วรรคที่ ๒๐ เริ่มด้วยอสัญจิจจกถา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๙๐๘ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒๑. เอกวีสติมวรรค] ๑. สาสนกถา (๒๐๐)
๒๑. เอกวีสติมวรรค
๑. สาสนกถา (๒๐๐)
ว่าด้วยหลักคำสอน
[๘๗๘] สก. คำสอน๑ ดัดแปลงใหม่ได้ใช่ไหม
ปร.๒ ใช่๓
สก. สติปัฏฐานดัดแปลงใหม่ได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. คำสอนดัดแปลงใหม่ได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สัมมัปปธาน ฯลฯ อิทธิบาท ฯลฯ อินทรีย์ ฯลฯ พละ ฯลฯ โพชฌงค์
ดัดแปลงใหม่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. คำสอนที่เป็นอกุศลในกาลก่อน ในภายหลังดัดแปลงให้เป็นกุศลได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. คำสอนที่เนื่องด้วยอาสวะ ฯลฯ เนื่องด้วยสังโยชน์ ฯลฯ เนื่องด้วยคันถะ
ฯลฯ เนื่องด้วยโอฆะ ฯลฯ เนื่องด้วยโยคะ ฯลฯ เนื่องด้วยนิวรณ์ ฯลฯ เนื่อง
ด้วยปรามาส ฯลฯ เนื่องด้วยอุปาทาน ฯลฯ เนื่องด้วยสังกิเลสในกาลก่อน ใน
ภายหลังดัดแปลงไม่ให้เนื่องด้วยสังกิเลสได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

เชิงอรรถ :
๑ คำสอน หมายถึงหลักคำสอนของพระตถาคต (อภิ.ปญฺจ.อ. ๘๗๘/๓๑๔)
๒ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอุตตราปถกะบางพวก (อภิ.ปญฺจ.อ. ๘๗๘/๓๑๔)
๓ เพราะมีความเห็นว่า การทำสังคายนาก็คือการปรับปรุงคำสอนใหม่ ซึ่งต่างกับความเห็นของสกวาทีที่เห็น
ว่า การทำสังคายนามิใช่การปรับปรุงคำสอนใหม่ แต่เป็นการรวบรวมและจัดหมวดหมู่คำสอนเดิม
เพราะคำสอนเดิมของพระพุทธเจ้าไม่มีใครสามารถปรับปรุงเปลี่ยนแปลงได้ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๘๗๘/๓๑๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๙๐๙ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒๑. เอกวีสติมวรรค] ๑. สาสนกถา (๒๐๐)
สก. บุคคลบางคนดัดแปลงคำสอนของพระตถาคตใหม่ได้มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลบางคนดัดแปลงสติปัฏฐานใหม่ได้มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลบางคนดัดแปลงสัมมัปปธาน ฯลฯ อิทธิบาท ฯลฯ อินทรีย์ ฯลฯ
พละ ฯลฯ โพชฌงค์ใหม่ได้มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลบางคนดัดแปลงคำสอนที่เคยเป็นอกุศลในกาลก่อน ในภายหลัง
ดัดแปลงให้เป็นกุศลได้มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลบางคนดัดแปลงคำสอนที่เนื่องด้วยอาสวะ ฯลฯ เนื่องด้วย
สังกิเลสในกาลก่อน ในภายหลังดัดแปลงไม่ให้เนื่องด้วยสังกิเลสได้มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. คำสอนของพระตถาคตดัดแปลงใหม่อีกได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สติปัฏฐานดัดแปลงใหม่อีกได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สัมมัปปธาน ฯลฯ อิทธิบาท ฯลฯ อินทรีย์ ฯลฯ พละ ฯลฯ โพชฌงค์
ดัดแปลงใหม่อีกได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. คำสอนที่เคยเป็นอกุศลในกาลก่อน ในภายหลังดัดแปลงให้เป็นกุศลได้
ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๙๑๐ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒๑. เอกวีสติมวรรค] ๒. อวิวิตตกถา (๒๐๑)
สก. คำสอนที่เนื่องด้วยอาสวะ ฯลฯ เนื่องด้วยสังกิเลสในกาลก่อน ใน
ภายหลังดัดแปลงไม่ให้เนื่องด้วยสังกิเลสได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สาสนกถา จบ

๒. อวิวิตตกถา (๒๐๑)
ว่าด้วยผู้ไม่สงัด
[๘๗๙] สก. ปุถุชนไม่สงัดจากสภาวธรรมที่เป็นไปในธาตุ ๓๑ ใช่ไหม
ปร.๒ ใช่๓
สก. ปุถุชนไม่สงัดจากผัสสะที่เป็นไปในธาตุ ๓ ฯลฯ เวทนาที่เป็นไปในธาตุ ๓
ฯลฯ สัญญาที่เป็นไปในธาตุ ๓ ฯลฯ เจตนาที่เป็นไปในธาตุ ๓ ฯลฯ จิต
ที่เป็นไปในธาตุ ๓ ฯลฯ สัทธาที่เป็นไปในธาตุ ๓ ฯลฯ วิริยะที่เป็นไปในธาตุ ๓
ฯลฯ สติที่เป็นไปในธาตุ ๓ ฯลฯ สมาธิที่เป็นไปในธาตุ ๓ ฯลฯ ปัญญาที่เป็นไป
ในธาตุ ๓ ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ปุถุชนไม่สงัดจากกรรมที่เป็นไปในธาตุ ๓ ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ในขณะที่ถวายจีวร ปุถุชนเข้าปฐมฌานอยู่ ฯลฯ เข้าอากาสานัญ-
จายตนฌานอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

เชิงอรรถ :
๑ สภาวธรรมที่เป็นไปในธาตุ ๓ หมายถึงสภาวธรรมที่เป็นกามาวจร รูปาวจร และอรูปาวจร (อภิ.ปญฺจ.อ.
๖๗๙/๓๑๕)
๒ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอุตตราปถกะบางพวก (อภิ.ปญฺจ.อ. ๘๗๙/๓๑๕)
๓ เพราะมีความเห็นว่า ปุถุชนผู้ยังละสภาวธรรมที่เป็นไปในภูมิ ๓ ไม่ได้ ชื่อว่ามีสภาวธรรม ๓ ประการนี้
ได้พร้อมกัน ในขณะเดียวกัน ซึ่งต่างกับความเห็นของสกวาทีที่เห็นว่า ปุถุชนไม่สามารถมีสภาวธรรม ๓
ประการได้พร้อมกัน ในขณะเดียวกัน (อภิ.ปญฺจ.อ. ๘๗๙/๓๑๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๙๑๑ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒๑. เอกวีสติมวรรค] ๓. สัญโญชนกถา (๒๐๒)
สก. ในขณะที่ถวายบิณฑบาต ฯลฯ ถวายเสนาสนะ ฯลฯ ถวายคิลาน-
ปัจจัยเภสัชบริขาร ปุถุชนเข้าจตุตถฌานอยู่ เข้าเนวสัญญานาสัญญายตนฌานอยู่
ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๘๘๐] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “ปุถุชนไม่สงัดจากกรรมที่เป็นไปในธาตุ ๓”
ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. ปุถุชนกำหนดรู้กรรมที่ให้เข้าถึงรูปธาตุและอรูปธาตุได้ใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. ดังนั้น ปุถุชนจึงไม่สงัดจากกรรมที่เป็นไปในธาตุ ๓
อวิวิตตกถา จบ

๓. สัญโญชนกถา (๒๐๒)
ว่าด้วยสังโยชน์
[๘๘๑] สก. พระโยคีละสังโยชน์บางอย่างยังไม่ได้แล้วบรรลุอรหัตตผลมีอยู่
ใช่ไหม
ปร.๑ ใช่๒
สก. พระโยคีละสักกายทิฏฐิ ฯลฯ วิจิกิจฉา ฯลฯ สีลัพพตปรามาส ฯลฯ
ราคะ ฯลฯ โทสะ ฯลฯ โมหะ ฯลฯ ละอโนตตัปปะบางอย่างยังไม่ได้แล้วบรรลุ
อรหัตตผลมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

เชิงอรรถ :
๑ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายมหาสังฆิกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๘๘๑/๓๑๕)
๒ เพราะมีความเห็นว่า พระอรหันต์ทั้งหลายไม่สามารถรู้พุทธวิสัย (สัพพัญญุตญาณ) ฉะนั้น จึงชื่อว่าละ
อวิชชาและวิจิกิจฉาได้ไม่หมด ซึ่งต่างกับความเห็นของสกวาทีที่เห็นว่า ผู้บรรลุเป็นพระอรหันต์ต้องละ
สังโยชน์ได้ทั้งหมดไม่เกี่ยวกับการรู้และการไม่รู้พุทธวิสัย (อภิ.ปญฺจ.อ. ๘๘๑/๓๑๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๙๑๒ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒๑. เอกวีสติมวรรค] ๓. สัญโญชนกถา (๒๐๒)
สก. พระโยคีละสังโยชน์บางอย่างยังไม่ได้แล้วบรรลุอรหัตตผลมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระอรหันต์ยังมีราคะ(ความกำหนัด) โทสะ(ความคิดประทุษร้าย)
โมหะ(ความหลง) มานะ(ความถือตัว) มักขะ(ความลบหลู่คุณท่าน) ปลาสะ
(ความตีเสมอ) อุปายาส(ความคร่ำครวญ) กิเลส(สิ่งที่ทำใจให้เศร้าหมอง) อยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระอรหันต์ไม่มีราคะ โทสะ โมหะ มานะ มักขะ ปลาสะ อุปายาส
กิเลส มิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากพระอรหันต์ไม่มีราคะ ฯลฯ ไม่มีกิเลส ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า
“พระโยคีละสังโยชน์บางอย่างยังไม่ได้แล้วบรรลุอรหัตตผลมีอยู่”
[๘๘๒] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “พระโยคีละสังโยชน์บางอย่างยังไม่ได้แล้ว
บรรลุอรหัตตผลมีอยู่” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. พระอรหันต์ย่อมรู้พุทธวิสัยได้ทั้งหมดใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. ดังนั้น พระโยคีละสังโยชน์บางอย่างยังไม่ได้แล้วบรรลุอรหัตตผลจึงมีอยู่

สัญโญชนกถา จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๙๑๓ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒๑. เอกวีสติมวรรค] ๔. อิทธิกถา (๒๐๓)
๔. อิทธิกถา (๒๐๓)
ว่าด้วยฤทธิ์
[๘๘๓] สก. ฤทธิ์ตามที่ประสงค์ของพระพุทธเจ้าหรือพระสาวกมีอยู่ใช่ไหม
ปร.๑ ใช่๒
สก. ฤทธิ์ตามที่ประสงค์ว่า “ขอต้นไม้จงมีใบเป็นนิจ” ของพระพุทธเจ้าหรือ
พระสาวกมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ฤทธิ์ตามที่ประสงค์ว่า “ขอต้นไม้จงผลิดอกเป็นนิจ ฯลฯ ออกผลเป็นนิจ
ฯลฯ ขอสถานที่แห่งนี้จงสว่างเป็นนิจ ฯลฯ จงเกษมเป็นนิจ ฯลฯ จงมีภิกษา
หาได้ง่ายเป็นนิจ ฯลฯ จงมีฝนดีเป็นนิจ” ของพระพุทธเจ้าหรือพระสาวกมีอยู่
ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ฤทธิ์ตามที่ประสงค์ของพระพุทธเจ้าหรือพระสาวกมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ฤทธิ์ตามที่ประสงค์ว่า “ผัสสะที่เกิดขึ้นแล้วอย่าดับไป” ของพระพุทธเจ้า
หรือพระสาวกมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

เชิงอรรถ :
๑ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอันธกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๘๘๓/๓๑๕-๓๑๖)
๒ เพราะมีความเห็นว่า พระพุทธเจ้าและพระสาวกสามารถทำอะไรได้ทุกอย่างด้วยอำนาจฤทธิ์ ซึ่งต่างกับ
ความเห็นของสกวาทีที่เห็นว่า พระพุทธเจ้าและพระสาวกไม่สามารถเปลี่ยนธรรมนิยามคือไตรลักษณ์ได้ เช่น
เปลี่ยนสิ่งที่ไม่เที่ยงให้เป็นสิ่งที่เที่ยงได้ด้วยอำนาจฤทธิ์ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๘๘๓/๓๑๕-๓๑๖)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๙๑๔ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒๑. เอกวีสติมวรรค] ๔. อิทธิกถา (๒๐๓)
สก. ฤทธิ์ตามที่ประสงค์ว่า “เวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ เจตนา ฯลฯ จิต
ฯลฯ สัทธา ฯลฯ วิริยะ ฯลฯ สติ ฯลฯ สมาธิ ฯลฯ ปัญญาที่เกิดขึ้นแล้ว
อย่าดับไป” ของพระพุทธเจ้าหรือพระสาวกมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ฤทธิ์ตามที่ประสงค์ของพระพุทธเจ้าหรือพระสาวกมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ฤทธิ์ตามที่ประสงค์ว่า “รูปจงเป็นของเที่ยง ฯลฯ เวทนา ฯลฯ สัญญา
ฯลฯ สังขาร ฯลฯ วิญญาณจงเป็นของเที่ยง” ของพระพุทธเจ้าหรือพระสาวกมีอยู่
ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ฤทธิ์ตามที่ประสงค์ของพระพุทธเจ้าหรือของพระสาวกมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ฤทธิ์ตามที่ประสงค์ว่า “สัตว์ทั้งหลายผู้มีความเกิดเป็นธรรมดาอย่าได้
เกิดเลย ฯลฯ สัตว์ทั้งหลายผู้มีความแก่เป็นธรรมดาอย่าได้แก่เลย ฯลฯ สัตว์ทั้ง
หลายผู้มีความเจ็บเป็นธรรมดาอย่าได้เจ็บเลย ฯลฯ สัตว์ทั้งหลายผู้มีความตาย
เป็นธรรมดาอย่าได้ตายเลย” ของพระพุทธเจ้าหรือพระสาวกมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรยอมรับอย่างนั้น ฯลฯ
[๘๘๔] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “ฤทธิ์ตามที่ประสงค์ของพระพุทธเจ้าหรือพระ
สาวกมีอยู่” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. ท่านพระปิลินทวัจฉะได้อธิษฐานปราสาทของพระเจ้าแผ่นดินมคธ ผู้เป็น
จอมทัพ พระนามว่าพิมพิสารว่า “จงเป็นทอง” และปราสาทก็ได้กลายเป็นทองไป
จริงมิใช่หรือ
สก. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๙๑๕ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒๑. เอกวีสติมวรรค] ๕. พุทธกถา (๒๐๔)
ปร. หากท่านพระปิลินทวัจฉะได้อธิษฐานปราสาทของพระเจ้าแผ่นดินมคธ
ผู้เป็นจอมทัพ พระนามว่าพิมพิสารว่า “จงเป็นทอง” และปราสาทนั้นก็ได้กลายเป็น
ทองไปจริง ๆ ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “ฤทธิ์ที่เป็นเหตุให้สำเร็จได้ตามความ
ประสงค์ของพระพุทธเจ้าหรือพระสาวกมีอยู่”
อิทธิกถา จบ

๕. พุทธกถา (๒๐๔)
ว่าด้วยพระพุทธเจ้า
[๘๘๕] สก. พระพุทธเจ้ากับพระพุทธเจ้าด้วยกันยังมีความยิ่งความหย่อนกว่า
กันใช่ไหม
ปร.๑ ใช่๒
สก. โดยสติปัฏฐานใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. โดยสัมมัปปธาน ฯลฯ โดยอิทธิบาท ฯลฯ โดยอินทรีย์ ฯลฯ โดยพละ
ฯลฯ โดยโพชฌงค์ ฯลฯ โดยความชำนาญ ฯลฯ โดยสัพพัญญุตญาณทัสสนะใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

พุทธกถา จบ

เชิงอรรถ :
๑ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอันธกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๘๘๕/๓๑๖)
๒ เพราะมีความเห็นว่า พระพุทธเจ้าทุกพระองค์มีพุทธธรรมไม่เท่ากัน ซึ่งต่างกับความเห็นของสกวาทีที่
เห็นว่า พระพุทธเจ้าทุกพระองค์มีพุทธธรรมเท่ากัน เว้น ๓ อย่าง คือ พระพุทธสรีระ พระชนมายุ และ
พระรัศมี (อภิ.ปญฺจ.อ. ๘๘๕/๓๑๖)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๙๑๖ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒๑. เอกวีสติมวรรค] ๖. สัพพทิสากถา (๒๐๕)
๖. สัพพทิสากถา (๒๐๕)
ว่าด้วยพระพุทธเจ้าประทับอยู่ทั่วทุกทิศ
[๘๘๖] สก. พระพุทธเจ้าประทับอยู่ในทิศทั้งปวงใช่ไหม
ปร.๑ ใช่๒
สก. ประทับอยู่ในทิศตะวันออกใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ประทับอยู่ในทิศตะวันออกใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นทรงพระนามว่าอย่างไร มีพระชาติอะไร มี
พระโคตรอะไร พระบิดาและพระมารดาของพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นมีพระนาม
ว่าอย่างไร คู่พระอัครสาวกของพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นมีนามว่าอย่างไร
อุปัฏฐากของพระผู้มีพระภาคนั้นมีนามว่าอย่างไร พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้งทรง
จีวรเช่นไร ทรงบาตรเช่นไร ประทับอยู่ในบ้าน นิคม นคร รัฐ หรือชนบทใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระพุทธเจ้าประทับอยู่ในทิศใต้ ฯลฯ ทิศตะวันตก ฯลฯ ทิศเหนือ ฯลฯ
ทิศเบื้องล่างใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ประทับอยู่ในทิศเบื้องล่างใช่ไหม
ปร. ใช่

เชิงอรรถ :
๑ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายมหาสังฆิกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๘๘๖/๓๑๗)
๒ เพราะมีความเห็นว่า พระพุทธเจ้ามีหลายพระองค์ ประทับอยู่ในโลกธาตุทั้งปวงโดยรอบ โลกธาตุละ ๑
พระองค์ ในขณะเดียวกัน จึงถือว่ามีพระพุทธเจ้าประทับอยู่ในทุกทิศ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๘๘๖/๓๑๗, ดู องฺ.
เอกก. (แปล) ๒๐/๒๗๗/๓๔ ประกอบ)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๙๑๗ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒๑. เอกวีสติมวรรค] ๗. ธัมมกถา (๒๐๖)
สก. พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นทรงพระนามว่าอย่างไร ฯลฯ ประทับอยู่ใน
ชนบทใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ประทับอยู่ในทิศเบื้องบนใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ประทับอยู่ในทิศเบื้องบนใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ประทับอยู่ในชั้นจาตุมหาราช ฯลฯ ชั้นดาวดึงส์ ฯลฯ ชั้นยามา ฯลฯ
ชั้นดุสิต ฯลฯ ชั้นนิมมานรดี ฯลฯ ชั้นปรนิมมิตวสวัตดี ฯลฯ ชั้นพรหมโลกใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สัพพทิสากถา จบ

๗. ธัมมกถา (๒๐๖)
ว่าด้วยสภาวธรรม
[๘๘๗] สก. สภาวธรรมทั้งปวงเป็นสภาวะที่แน่นอนใช่ไหม
ปร.๑ ใช่๒
สก. เป็นสภาวะที่ผิดและแน่นอนใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เป็นสภาวะที่ถูกและแน่นอนใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. กอง(แห่งสภาวธรรม)ที่ไม่แน่นอนไม่มีใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

เชิงอรรถ :
๑ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอันธกะและนิกายอุตตราปถกะบางพวก (อภิ.ปญฺจ.อ. ๘๘๗/๓๑๗)
๒ เพราะมีความเห็นว่า เนื่องจากรูป มีสภาวะเป็นรูปแน่นอน ไม่มีสภาวะเป็นเวทนา เป็นต้น ฉะนั้น ธรรม
ทั้งหลายจึงเป็นสิ่งที่แน่นอนตามสภาวะ ซึ่งต่างกับความเห็นของสกวาทีที่เห็นว่า ธรรมกับสภาวะของ
ธรรมเป็นอย่างเดียวกัน เมื่อธรรมไม่แน่นอน สภาวะของธรรมก็ไม่แน่นอน (อภิ.ปญฺจ.อ. ๘๘๗/๓๑๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๙๑๘ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒๑. เอกวีสติมวรรค] ๗. ธัมมกถา (๒๐๖)
สก. กอง(แห่งสภาวธรรม)ที่ไม่แน่นอนมีอยู่มิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากกอง(แห่งสภาวธรรม)ที่ไม่แน่นอนมีอยู่ ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า
“สภาวธรรมทั้งปวงเป็นสภาวะที่แน่นอน”
สก. สภาวธรรมทั้งปวงเป็นสภาวะที่แน่นอนใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. กอง(แห่งสภาวธรรม)พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ ๓ อย่าง คือ (๑) กองที่ผิด
และแน่นอน (๒) กองที่ถูกและแน่นอน (๓) กองที่ไม่แน่นอน มิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากกอง(แห่งสภาวธรรม)พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ ๓ อย่าง คือ (๑)
กองที่ผิดและแน่นอน (๒) กองที่ถูกและแน่นอน (๓) กองที่ไม่แน่นอน ท่านก็ไม่
ควรยอมรับว่า “สภาวธรรมทั้งปวงเป็นสภาวะที่แน่นอน”
สก. รูปเป็นสภาวะที่แน่นอน เพราะมีสภาวะเป็นรูปใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เป็นสภาวะที่ผิดและแน่นอนใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เป็นสภาวะที่ถูกและแน่นอนใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ สังขาร ฯลฯ วิญญาณ เป็นสภาวะที่แน่นอน
เพราะมีสภาวะเป็นวิญญาณใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เป็นสภาวะที่ผิดและแน่นอนใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เป็นสภาวะที่ถูกและแน่นอนใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๙๑๙ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒๑. เอกวีสติมวรรค] ๘. กัมมกถา (๒๐๗)
[๘๘๘] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “รูปเป็นสภาวะที่แน่นอน เพราะมีสภาวะเป็นรูป
ฯลฯ เวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ สังขาร ฯลฯ วิญญาณเป็นสภาวะที่แน่นอน
เพราะมีสภาวะเป็นวิญญาณ” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. รูปเป็นเวทนา ฯลฯ เป็นสัญญา ฯลฯ เป็นสังขาร ฯลฯ เป็นวิญญาณ
ฯลฯ เวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ สังขาร ฯลฯ วิญญาณเป็นรูป ฯลฯ เป็นเวทนา
ฯลฯ เป็นสัญญา ฯลฯ เป็นสังขารใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. ดังนั้น รูปจึงเป็นสภาวะที่แน่นอนโดยอรรถว่าแปรผันไป เวทนา ฯลฯ
สัญญา ฯลฯ สังขาร ฯลฯ วิญญาณ เป็นสภาวะที่แน่นอน เพราะมีสภาวะเป็น
วิญญาณ
ธัมมกถา จบ

๘. กัมมกถา (๒๐๗)
ว่าด้วยกรรม
[๘๘๙] สก. กรรมทั้งปวงเป็นสภาวะที่แน่นอนใช่ไหม
ปร.๑ ใช่๒
สก. เป็นสภาวะที่ผิดและแน่นอนใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เป็นสภาวะที่ถูกและแน่นอนใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

เชิงอรรถ :
๑ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอันธกะและนิกายอุตตราปถกะบางพวก (อภิ.ปญฺจ.อ. ๘๘๙/๓๑๘)
๒ เพราะมีความเห็นว่า กรรมทุกอย่างเป็นสิ่งที่แน่นอน ไม่เปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่น เช่น กรรมที่ให้ผลใน
ปัจจุบันก็ต้องให้ผลในปัจจุบัน ไม่เปลี่ยนแปลง ซึ่งต่างกับความเห็นของสกวาทีที่เห็นว่า กรรมทุกอย่าง
อาจเปลี่ยนแปลง เช่น กรรมที่ให้ผลในปัจจุบัน ถ้าไม่ให้ผลก็กลายเป็นอโหสิกรรมได้ (อภิ.ปญฺจ.อ.
๘๘๙/๓๑๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๙๒๐ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒๑. เอกวีสติมวรรค] ๘. กัมมกถา (๒๐๗)
สก. กอง(แห่งสภาวธรรม)ที่ไม่แน่นอนไม่มีใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. กอง(แห่งสภาวธรรม)ที่ไม่แน่นอนมีอยู่มิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากกอง(แห่งสภาวธรรม)ที่ไม่แน่นอนมีอยู่ ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า
“กรรมทั้งปวงเป็นสภาวะที่แน่นอน”
สก. กรรมทั้งปวงเป็นสภาวะที่แน่นอนใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. กอง(แห่งสภาวธรรม)พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ ๓ อย่าง คือ (๑) กอง
ที่ผิดและแน่นอน (๒) กองที่ถูกและแน่นอน (๓) กองที่ไม่แน่นอน มิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากกอง(แห่งสภาวธรรม)พระผู้มีพระภาคตรัสกองไว้ ๓ อย่าง คือ (๑)
กองที่ผิดและแน่นอน (๒) กองที่ถูกและแน่นอน (๓) กองที่ไม่แน่นอน ท่านก็ไม่
ควรยอมรับว่า “กรรมทั้งปวงเป็นสภาวะที่แน่นอน”
[๘๙๐] สก. ทิฏฐธรรมเวทนียกรรมเป็นสภาวะที่แน่นอนโดยอรรถว่าเป็นกรรม
อันบุคคลพึงเสวยในปัจจุบันใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ทิฏฐธรรมเวทนียกรรมนั้นเป็นสภาวะที่ผิดและแน่นอนใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เป็นสภาวะที่ถูกและแน่นอนใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. อุปปัชชเวทนียกรรม ฯลฯ อปราปริยเวทนียกรรม เป็นสภาวะที่แน่นอน
โดยอรรถว่าเป็นกรรมอันบุคคลพึงเสวยในอัตภาพต่อ ๆ ไปใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. อปราปริยเวทนียกรรมนั้นเป็นสภาวะที่ผิดและให้ผลแน่นอนใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๙๒๑ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒๑. เอกวีสติมวรรค] รวมกถาที่มีในวรรค
สก. เป็นสภาวะที่ถูกและให้ผลแน่นอนใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๘๙๑] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “ทิฏฐธรรมเวทนียกรรมเป็นสภาวะที่แน่นอน
โดยอรรถว่าเป็นกรรมอันบุคคลพึงเสวยในปัจจุบัน อุปปัชชเวทนียกรรม ฯลฯ
อปราปริยเวทนียกรรมเป็นสภาวะที่แน่นอน โดยอรรถว่าเป็นกรรมอันบุคคลพึง
เสวยในอัตภาพต่อ ๆ ไป” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. ทิฏฐธรรมเวทนียกรรมเป็นอุปปัชชเวทนียกรรม เป็นอปราปริยเวทนีย-
กรรม ฯลฯ อุปปัชชเวทนียกรรมเป็นทิฏฐธรรมเวทนียกรรม เป็นอปราปริย-
เวทนียกรรม ฯลฯ อปราปริยเวทนียกรรมเป็นทิฏฐธรรมเวทนียกรรม เป็น
อุปปัชชเวทนียกรรมใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น
ปร. ดังนั้น ทิฏฐธรรมเวทนียกรรมจึงเป็นสภาวะที่แน่นอน โดยอรรถว่า
เป็นกรรมอันบุคคลพึงเสวยในปัจจุบัน อุปปัชชเวทนียกรรม ฯลฯ อปราปริย-
เวทนียกรรมเป็นสภาวะที่แน่นอน โดยอรรถว่าเป็นกรรมอันบุคคลพึงเสวยใน
อัตภาพต่อ ๆ ไป
กัมมกถา จบ
เอกวีสติมวรรค จบ

รวมกถาที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. สาสนกถา ๒. อวิวิตตกถา
๓. สัญโญชนกถา ๔. อิทธิกถา
๕. พุทธกถา ๖. สัพพทิสากถา
๗. ธัมมกถา ๘. กัมมกถา


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๙๒๒ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒๒. พาวีสติมวรรค] ๑. ปรินิพพานกถา (๒๐๘)
๒๒. พาวีสติมวรรค
๑. ปรินิพพานกถา (๒๐๘)
ว่าด้วยปรินิพพาน
[๘๙๒] สก. พระอรหันต์ละสังโยชน์บางอย่างยังไม่ได้แล้วปรินิพพานมีอยู่ใช่ไหม
ปร.๑ ใช่๒
สก. พระอรหันต์ละสักกายทิฏฐิ ฯลฯ อโนตตัปปะบางอย่างยังไม่ได้แล้ว
ปรินิพพานมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระอรหันต์ละสังโยชน์บางอย่างยังไม่ได้แล้วปรินิพพานมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระอรหันต์ยังมีราคะ ฯลฯ ยังมีกิเลสอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระอรหันต์ไม่มีราคะ ฯลฯ ไม่มีกิเลสมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากพระอรหันต์ไม่มีราคะ ฯลฯ ไม่มีกิเลส ท่านก็ไม่ควรยอมรับ
ว่า “พระอรหันต์ละสังโยชน์บางอย่างยังไม่ได้แล้วปรินิพพานมีอยู่”
[๘๙๓] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “พระอรหันต์ละสังโยชน์บางอย่างยังไม่ได้แล้ว
ปรินิพพานมีอยู่” ใช่ไหม
สก. ใช่

เชิงอรรถ :
๑ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอันธกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๘๙๒/๓๑๙)
๒ เพราะมีความเห็นว่า มีพระอรหันต์ที่ปรินิพพานทั้งที่ยังละอวิชชาและวิจิกิจฉาไม่ได้ ซึ่งต่างกับความเห็น
ของสกวาทีที่เห็นว่า ผู้บรรลุเป็นพระอรหันต์ต้องละสังโยชน์ได้ทั้งหมด (อภิ.ปญฺจ.อ. ๘๙๒/๓๑๙)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๙๒๓ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒๒. พาวีสติมวรรค] ๒. กุสลจิตตกถา (๒๐๙)
ปร. พระอรหันต์รู้พุทธวิสัยได้ทั้งหมดใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. ดังนั้น พระอรหันต์ละสังโยชน์บางอย่างยังไม่ได้แล้วปรินิพพานจึงมีอยู่
ปรินิพพานกถา จบ

๒. กุสลจิตตกถา (๒๐๙)
ว่าด้วยกุศลจิต
[๘๙๔] สก. พระอรหันต์ มีจิตเป็นกุศลปรินิพพานใช่ไหม
ปร.๑ ใช่๒
สก. พระอรหันต์ยังสร้างสมปุญญาภิสังขาร ฯลฯ อาเนญชาภิสังขาร ฯลฯ
ทำกรรมที่เป็นไปเพื่อคติ ฯลฯ เพื่อภพ ฯลฯ เพื่อความเป็นผู้มีอำนาจ ฯลฯ
เพื่อความเป็นใหญ่ ฯลฯ เพื่อมีสมบัติมาก ฯลฯ เพื่อมีบริวารมาก ฯลฯ เพื่อ
ความงามในหมู่เทพ ฯลฯ เพื่อความงามในมนุษย์แล้วปรินิพพานใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระอรหันต์มีจิตเป็นกุศลปรินิพพานใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระอรหันต์สั่งสมอยู่ ไม่สั่งสมอยู่ ฯลฯ ละอยู่ ยึดมั่นอยู่ ฯลฯ กำจัดอยู่
ก่ออยู่ ฯลฯ ทำลายอยู่ ปรับปรุงอยู่ ปรินิพพานใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

เชิงอรรถ :
๑ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอันธกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๘๙๔/๓๑๙)
๒ เพราะมีความเห็นว่า พระอรหันต์เป็นผู้มีสติสัมปชัญญะ เมื่อปรินิพพานก็ปรินิพพานอย่างผู้มีสติ-
สัมปชัญญะ ดังนั้น จึงชื่อว่าปรินิพพานด้วยกุศลจิต (จิตที่เป็นกุศล) ซึ่งต่างกับความเห็นของสกวาทีที่เห็นว่า
พระอรหันต์ปรินิพพานด้วยอัพยากตจิต (มหาวิปากจิต) (อภิ.ปญฺจ.อ. ๘๙๔/๓๑๙)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๙๒๔ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒๒. พาวีสติมวรรค] ๒. กุสลจิตตกถา (๒๐๙)
สก. พระอรหันต์สั่งสมอยู่ก็มิใช่ ไม่สั่งสมอยู่ก็มิใช่ แต่เป็นผู้ไม่สั่งสมแล้ว
ดำรงอยู่มิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากพระอรหันต์สั่งสมอยู่ก็มิใช่ ไม่สั่งสมอยู่ก็มิใช่ แต่เป็นผู้ไม่สั่งสม
แล้วดำรงอยู่ ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “พระอรหันต์มีจิตเป็นกุศลปรินิพพาน”
สก. พระอรหันต์ละอยู่ก็มิใช่ ยึดมั่นอยู่ก็มิใช่ แต่เป็นผู้ละแล้วดำรงอยู่
กำจัดอยู่ก็มิใช่ ก่ออยู่ก็มิใช่ แต่เป็นผู้กำจัดแล้วดำรงอยู่ ทำลายอยู่ก็มิใช่
ปรับปรุงอยู่ก็มิใช่ แต่เป็นผู้ทำลายแล้วดำรงอยู่มิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากพระอรหันต์ทำลายอยู่ก็มิใช่ ปรับปรุงอยู่ก็มิใช่ แต่เป็นผู้ทำลาย
แล้วดำรงอยู่ ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “พระอรหันต์มีจิตเป็นกุศลปรินิพพาน”
[๘๙๕] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “พระอรหันต์มีจิตเป็นกุศลปรินิพพาน” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. พระอรหันต์มีสติตั้งมั่น มีสติสัมปชัญญะปรินิพพานมิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. หากพระอรหันต์มีสติตั้งมั่น มีสติสัมปชัญญะปรินิพพาน ดังนั้น ท่าน
จึงควรยอมรับว่า “พระอรหันต์มีจิตเป็นกุศลปรินิพพาน”

กุสลจิตตกถา จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๙๒๕ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒๒. พาวีสติมวรรค] ๓. อาเนญชกถา (๒๑๐)
๓. อาเนญชกถา (๒๑๐)
ว่าด้วยอาเนญชสมาธิ (จตุตถฌานจิต)
[๘๙๖] สก. พระอรหันต์ดำรงอยู่ในอาเนญชสมาธิ ปรินิพพานใช่ไหม
ปร.๑ ใช่๒
สก. พระอรหันต์ดำรงอยู่ในปกติจิต๓ ปรินิพพานมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากพระอรหันต์ดำรงอยู่ในปกติจิตปรินิพพาน ท่านก็ไม่ควรยอมรับ
ว่า “พระอรหันต์ดำรงอยู่ในอาเนญชสมาธิ ปรินิพพาน”
สก. พระอรหันต์ดำรงอยู่ในอาเนญชสมาธิ ปรินิพพานใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระอรหันต์ดำรงอยู่ในกิริยาจิต ปรินิพพานใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระอรหันต์ดำรงอยู่ในวิปากจิต ปรินิพพานมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากพระอรหันต์ดำรงอยู่ในวิปากจิต ปรินิพพาน ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า
“พระอรหันต์ดำรงอยู่ในอาเนญชสมาธิ ปรินิพพาน”
สก. พระอรหันต์ดำรงอยู่ในอาเนญชสมาธิ ปรินิพพานใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระอรหันต์ดำรงอยู่ในอัพยากตกิริยาจิต ปรินิพพานใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

เชิงอรรถ :
๑ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอุตตราปถกะบางพวก (อภิ.ปญฺจ.อ. ๘๙๖/๓๑๙-๓๒๐)
๒ เพราะมีความเห็นว่า พระอรหันต์ปรินิพพานขณะดำรงอยู่ในอาเนญชสมาธิ(จตุตถฌานจิต)โดยอ้าง
พระสูตรที่ว่า พระผู้มีพระภาคปรินิพพานขณะอยู่ในอาเนญชสมาธิ ซึ่งต่างกับความเห็นของสกวาทีที่เห็นว่า
พระผู้มีพระภาคทรงออกจากอาเนญชสมาธิก่อนแล้วจึงปรินิพพาน (อภิ.ปญฺจ.อ. ๘๙๖/๓๑๙-๓๒๐)
๓ ปกติจิต ในที่นี้หมายถึงภวังคจิต (อภิ.ปญฺจ.อ. ๘๙๖/๓๒๐)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๙๒๖ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒๒. พาวีสติมวรรค] ๔. ธัมมาภิสมยกถา (๒๑๑)
สก. พระอรหันต์ดำรงอยู่ในอัพยากตวิปากจิต ปรินิพพานมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากพระอรหันต์ดำรงอยู่ในอัพยากตวิปากจิต ปรินิพพาน ท่านก็ไม่ควร
ยอมรับว่า “พระอรหันต์ดำรงอยู่ในอาเนญชสมาธิ ปรินิพพาน”
สก. พระอรหันต์ดำรงอยู่ในอาเนญชสมาธิ ปรินิพพานใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระผู้มีพระภาคทรงออกจากจตุตถฌานแล้วปรินิพพานในลำดับติดต่อกัน
มิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากพระผู้มีพระภาคทรงออกจากจตุตถฌานแล้วปรินิพพานในลำดับติดต่อกัน
ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “พระอรหันต์ดำรงอยู่ในอาเนญชสมาธิปรินิพพาน”
อาเนญชกถา จบ

๔. ธัมมาภิสมยกถา (๒๑๑)
ว่าด้วยการบรรลุธรรม
[๘๙๗] สก. การบรรลุธรรมของสัตว์ผู้อยู่ในครรภ์มีได้ใช่ไหม
ปร.๑ ใช่๒
สก. การแสดงธรรม การฟังธรรม การสนทนาธรรม การสอบถาม การ
สมาทานศีล ความคุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย ความเป็นผู้รู้จักประมาณใน

เชิงอรรถ :
๑ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอุตตราปถกะบางพวก (อภิ.ปญฺจ.อ. ๘๙๗/๓๒๑)
๒ เพราะมีความเห็นว่า บุคคลผู้เป็นพระโสดาบันในภพก่อนอยู่ในครรภ์ของมารดาแล้วคลอดออกมา จึงเข้าใจ
ว่ามีการบรรลุธรรมขณะอยู่ในครรภ์ของมารดา ซึ่งต่างกับความเห็นของสกวาทีที่เห็นว่า การบรรลุธรรมไม่
สามารถมีได้ในขณะอยู่ในครรภ์มารดา เพราะผู้อยู่ในครรภ์ไม่มีการเจริญภาวนา ไม่มีสติสัมปชัญญะ
(อภิ.ปญฺจ.อ. ๘๙๗/๓๒๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๙๒๗ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒๒. พาวีสติมวรรค] ๔. ธัมมาภิสมยกถา (๒๑๑)
โภชนะ การหมั่นประกอบความเพียรเป็นเครื่องตื่นทั้งในปฐมยามและปัจฉิมยาม
แห่งราตรี ของสัตว์ผู้อยู่ในครรภ์มีได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. การแสดงธรรม การฟังธรรม ฯลฯ การหมั่นประกอบความเพียรเป็น
เครื่องตื่นทั้งในปฐมยามและปัจฉิมยามแห่งราตรีของสัตว์ผู้อยู่ในครรภ์ไม่มีใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. หากการแสดงธรรม การฟังธรรม ฯลฯ การหมั่นประกอบความเพียร
เป็นเครื่องตื่นทั้งในปฐมยามและปัจฉิมยามแห่งราตรีของสัตว์ผู้อยู่ในครรภ์ไม่มี
ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “การบรรลุธรรมของสัตว์ผู้อยู่ในครรภ์มีได้”
สก. การบรรลุธรรมสัตว์ผู้อยู่ในครรภ์มีได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ปัจจัยเพื่อความเกิดขึ้นแห่งสัมมาทิฏฐิมี ๒ อย่าง คือ (๑) ปรโตโฆสะ
(คำแนะนำจากผู้อื่น) (๒) โยนิโสมนสิการ (การใช้ความคิดถูกวิธี) มิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากปัจจัยเพื่อความเกิดขึ้นแห่งสัมมาทิฏฐิมี ๒ อย่าง คือ (๑)
ปรโตโฆสะ (๒) โยนิโสมนสิการ ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “การบรรลุธรรมของ
สัตว์ผู้อยู่ในครรภ์มีได้”
สก. การบรรลุธรรมของสัตว์ผู้อยู่ในครรภ์มีได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. การบรรลุธรรมของบุคคลผู้หลับ ผู้ประมาท ผู้มีสติหลงลืม ผู้ไม่มี
สัมปชัญญะมีได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ธัมมาภิสมยกถา จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๙๒๘ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒๒. พาวีสติมวรรค] ๕-๗. ติสโสปิกถา (๒๑๒-๒๑๔)
๕-๗. ติสโสปิกถา๑ (๒๑๒-๒๑๔)
ว่าด้วยเรื่องการบรรลุอีก ๓ เรื่อง
[๘๙๘] สก. การบรรลุอรหัตตผลของสัตว์ผู้อยู่ในครรภ์มีได้ใช่ไหม
ปร.๒ ใช่๓
สก. การบรรลุอรหัตตผลของบุคคลผู้หลับ ผู้ประมาท ผู้มีสติหลงลืม ผู้ไม่มี
สัมปชัญญะมีได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๘๙๙] สก. การบรรลุธรรมของบุคคลผู้ฝันมีได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. การบรรลุธรรมของบุคคลผู้หลับ ผู้ประมาท ผู้มีสติหลงลืม ผู้ไม่มี
สัมปชัญญะมีได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๙๐๐] สก. การบรรลุอรหัตตผลของบุคคลผู้ฝันมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. การบรรลุอรหัตตผลของบุคคลผู้หลับ ผู้ประมาท ผู้มีสติหลงลืม ผู้ไม่มี
สัมปชัญญะมีได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ติสโสปิกถา จบ

เชิงอรรถ :
๑ หมายถึงตอนที่ว่าด้วยการบรรลุธรรมอีก ๓ เรื่องเป็นเรื่องที่ ๕-๗ คือ (๕) อรหัตตัปปัตติกถา ว่าด้วยเรื่อง
การบรรลุอรหัตตผลขณะอยู่ในครรภ์ของมารดา (๖) ธัมมาภิสมยกถา ว่าด้วยการบรรลุธรรมของบุคคล
ผู้ฝัน (๗) อรหัตตัปปัตติกถา ว่าด้วยการบรรลุอรหัตตผลของบุคคลผู้ฝัน (อภิ.ปญฺจ.อ. ๘๙๘/๓๒๑)
๒ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอุตตราปถกะบางพวก (อภิ.ปญฺจ.อ. ๘๙๘/๓๒๑)
๓ เพราะมีความเห็นว่า ขณะอยู่ในครรภ์ของมารดา บุคคลก็สามารถบรรลุอรหัตตผลได้ (อภิ.ปญฺจ.อ.
๘๙๘/๓๒๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๙๒๙ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒๒. พาวีสติมวรรค] ๘. อัพยากตกถา (๒๑๕)
๘. อัพยากตกถา (๒๑๕)
ว่าด้วยอัพยากตจิต
[๙๐๑] สก. จิตของบุคคลผู้ฝันทุกดวงเป็นอัพยากฤตใช่ไหม
ปร.๑ ใช่๒
สก. บุคคลอาจฆ่าสัตว์ได้ด้วยความฝันใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. หากบุคคลอาจฆ่าสัตว์ได้ด้วยความฝัน ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “จิต
ของบุคคลผู้ฝันทุกดวงเป็นอัพยากฤต”
สก. บุคคลอาจลักทรัพย์ได้ด้วยความฝัน ฯลฯ พูดเท็จ ฯลฯ พูดส่อเสียด
ฯลฯ พูดคำหยาบ ฯลฯ พูดเพ้อเจ้อ ฯลฯ ตัดช่องย่องเบา ฯลฯ ปล้นสะดม ฯลฯ
ปล้นเรือนหลังเดียว ฯลฯ ดักปล้นในทางเปลี่ยว ฯลฯ ผิดภรรยาของผู้อื่น ฯลฯ
ปล้นชาวบ้าน ฯลฯ ปล้นชาวนิคม ฯลฯ เสพเมถุนธรรมได้ด้วยความฝัน ฯลฯ
อสุจิของผู้ฝันอาจเคลื่อนได้ ฯลฯ อาจให้ทาน ฯลฯ จีวร ฯลฯ บิณฑบาต ฯลฯ
เสนาสนะ ฯลฯ คิลานปัจจัยเภสัชบริขาร ฯลฯ ของขบเคี้ยว ฯลฯ ของกิน ฯลฯ
น้ำดื่ม ฯลฯ อาจไหว้พระเจดีย์ ฯลฯ อาจยกดอกไม้ ฯลฯ ของหอม ฯลฯ
เครื่องลูบไล้ขึ้นไว้บนพระเจดีย์ ฯลฯ อาจทำประทักษิณพระเจดีย์ได้ด้วยความฝัน
ใช่ไหม
ปร. ใช่

เชิงอรรถ :
๑ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอุตตราปถกะบางพวก (อภิ.ปญฺจ.อ. ๙๐๑-๙๐๒/๓๒๑)
๒ เพราะมีความเห็นว่า จิตของบุคคลผู้ฝันเป็นอัพยากฤต โดยอ้างพระสูตรว่า เจตนาของบุคคลผู้ฝัน
เป็นอัพโพหาริก (ไม่สามารถจะเรียกว่าเป็นกุศลหรืออกุศล) ซึ่งต่างกับความเห็นของสกวาทีที่เห็นว่า จิตของ
บุคคลผู้ฝันอาจจะเป็นได้ทั้งกุศล อกุศล และอัพยากฤต แต่ไม่สามารถที่จะให้ผลได้ ฉะนั้น จึงจัดเป็น
อัพโพหาริก แต่ไม่เป็นอัพยากฤต (อภิ.ปญฺจ.อ. ๙๐๑-๙๐๒/๓๒๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๙๓๐ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒๒. พาวีสติมวรรค] ๙. อาเสวนปัจจยตากถา (๒๑๖)
สก. หากบุคคลอาจทำประทักษิณพระเจดีย์ได้ด้วยความฝัน ท่านก็ไม่ควร
ยอมรับว่า “จิตของบุคคลผู้ฝันทุกดวงเป็นอัพยากฤต”
[๙๐๒] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “จิตของบุคคลผู้ฝันทุกดวงเป็นอัพยากฤต”
ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. จิตของบุคคลผู้ฝัน พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “เป็นอัพโพหาริก” มิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. หากจิตของบุคคลผู้ฝัน พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “เป็นอัพโพหาริก”
ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “จิตของบุคคลผู้ฝันทุกดวงเป็นอัพยากฤต”
อัพยากตกถา จบ

๙. อาเสวนปัจจยตากถา (๒๑๖)
ว่าด้วยความเป็นอาเสวนปัจจัย
[๙๐๓] สก. ความเป็นอาเสวนปัจจัยบางอย่างไม่มีใช่ไหม
ปร.๑ ใช่๒
สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย ปาณาติบาต
(การฆ่าสัตว์) ที่บุคคลเสพ เจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมอำนวยผลให้ไปเกิดในนรก
อำนวยผลให้เกิดในกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน อำนวยผลให้ไปเกิดในภูมิแห่งเปรต วิบาก
แห่งปาณาติบาตอย่างเบาที่สุด ย่อมอำนวยผลให้เป็นผู้มีอายุสั้นแก่ผู้เกิดเป็นมนุษย์”๓
มีอยู่จริงมิใช่หรือ
ปร. ใช่

เชิงอรรถ :
๑ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอุตตราปถกะบางพวก (อภิ.ปญฺจ.อ. ๙๐๓-๙๐๕/๓๒๒)
๒ เพราะมีความเห็นว่า สภาวธรรมทุกอย่างตั้งอยู่ชั่วขณะเดียว แม้มีสภาวธรรมบางอย่างตั้งอยู่ชั่วมุหุตตะเดียว
ก็เป็นอาเสวนปัจจัยไม่ได้ ฉะนั้น ความเป็นอาเสวนปัจจัยบางอย่างจึงไม่มี ธรรมบางอย่างที่เกิดเพราะ
อาเสวนปัจจัยไม่มีด้วย ซึ่งต่างกับความเห็นของสกวาทีที่เห็นว่า ธรรมที่ตั้งอยู่ครู่เดียวเป็นอาเสวนปัจจัยได้
(อภิ.ปญฺจ.อ. ๙๐๓-๙๐๕/๓๒๒) ดูเชิงอรรถที่ ๒ ข้อ ๗๒๒ หน้า ๗๗๐ ในเล่มนี้
๓ ดูเทียบ องฺ.อฏฺฐก. (แปล) ๒๓/๔๐/๓๐๑-๓๐๒

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๙๓๑ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒๒. พาวีสติมวรรค] ๙. อาเสวนปัจจยตากถา (๒๑๖)
สก. ดังนั้น ความเป็นอาเสวนปัจจัยบางอย่างจึงมีอยู่
สก. ความเป็นอาเสวนปัจจัยบางอย่างไม่มีใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย อทินนาทาน
(การลักทรัพย์) ที่บุคคลเสพ เจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมอำนวยผลให้ไปเกิดในนรก
อำนวยผลให้ไปเกิดในกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน อำนวยผลให้ไปเกิดในภูมิแห่งเปรต
วิบากแห่งอทินนาทานอย่างเบาที่สุด ย่อมอำนวยผลให้เป็นผู้เสื่อมโภคทรัพย์แก่
ผู้เกิดเป็นมนุษย์ ฯลฯ วิบากแห่งกาเมสุมิจฉาจาร (การประพฤติผิดในกาม)
อย่างเบาที่สุด ย่อมอำนวยผลให้เป็นผู้มีศัตรูและเป็นผู้มีเวรแก่ผู้เกิดเป็นมนุษย์ ฯลฯ
วิบากแห่งมุสาวาท (การพูดเท็จ) อย่างเบาที่สุด ย่อมอำนวยผลให้ถูกกล่าวตู่ด้วย
คำไม่จริงแก่ผู้เกิดเป็นมนุษย์ ฯลฯ วิบากแห่งปิสุณาวาจา (การพูดส่อเสียด)
อย่างเบาที่สุด ย่อมอำนวยผลให้แตกจากมิตรแก่ผู้เกิดเป็นมนุษย์ ฯลฯ วิบาก
แห่งผรุสวาจา (การพูดหยาบคาย) อย่างเบาที่สุด ย่อมอำนวยผลให้ได้ฟังเรื่องที่
ไม่น่าฟังแก่ผู้เกิดเป็นมนุษย์ ฯลฯ วิบากแห่งสัมผัปปลาปะ (การพูดเพ้อเจ้อ)
อย่างเบาที่สุด ย่อมอำนวยผลให้มีวาจาที่ไม่น่าเชื่อถือแก่ผู้เกิดเป็นมนุษย์ ฯลฯ
การดื่มสุราเมรัยที่บุคคลเสพ ฯลฯ วิบากแห่งการดื่มสุราเมรัยอย่างเบาที่สุด
ย่อมอำนวยผลให้เป็นผู้วิกลจริตแก่ผู้เกิดเป็นมนุษย์”๑ มีอยู่จริงมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. ดังนั้น ความเป็นอาเสวนปัจจัยบางอย่างจึงมีอยู่
[๙๐๔] สก. ความเป็นอาเสวนปัจจัยบางอย่างไม่มีใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย มิจฉาทิฏฐิที่บุคคล
เสพ เจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมอำนวยผลให้ไปเกิดในนรก อำนวยผลให้ไปเกิด
ในกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน อำนวยผลให้ไปเกิดในภูมิแห่งเปรต” มีอยู่จริงมิใช่หรือ
ปร. ใช่

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ องฺ.อฏฺฐก. (แปล) ๒๓/๔๐/๓๐๑-๓๐๒

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๙๓๒ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒๒. พาวีสติมวรรค] ๙. อาเสวนปัจจยตากถา (๒๑๖)
สก. ดังนั้น ความเป็นอาเสวนปัจจัยบางอย่างจึงมีอยู่
สก. ความเป็นอาเสวนปัจจัยบางอย่างไม่มีใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย มิจฉาสังกัปปะ
ฯลฯ มิจฉาสมาธิ ที่บุคคลเสพ เจริญ ทำให้มากแล้ว ฯลฯ ย่อมอำนวยผลให้
ไปเกิดในภูมิแห่งเปรต” มีอยู่จริงมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. ดังนั้น ความเป็นอาเสวนปัจจัยบางอย่างจึงมีอยู่
[๙๐๕] สก. ความเป็นอาเสวนปัจจัยบางอย่างไม่มีใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย สัมมาทิฏฐิที่บุคคลเสพ
เจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมหยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นจุดมุ่งหมาย มีอมตะเป็นที่สุด”
มีอยู่จริงมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. ดังนั้น ความเป็นอาเสวนปัจจัยบางอย่างจึงมีอยู่
สก. ความเป็นอาเสวนปัจจัยบางอย่างไม่มีใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย สัมมาสังกัปปะที่
บุคคลเสพ เจริญ ทำให้มากแล้ว ฯลฯ สัมมาสมาธิที่บุคคลเสพ เจริญ ทำให้
มากแล้ว ย่อมหยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นจุดมุ่งหมาย มีอมตะเป็นที่สุด” มีอยู่
จริงมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. ดังนั้น ความเป็นอาเสวนปัจจัยบางอย่างจึงมีอยู่

อาเสวนปัจจยตากถา จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๙๓๓ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒๒. พาวีสติมวรรค] ๑๐. ขณิกกถา (๒๑๗)
๑๐. ขณิกกถา (๒๑๗)
ว่าด้วยสภาวธรรมทั้งปวงเป็นไปชั่วขณะจิตหนึ่ง
[๙๐๖] สก. สภาวธรรมทั้งปวงเป็นไปชั่วขณะจิตหนึ่งใช่ไหม
ปร.๑ ใช่๒
สก. มหาปฐพี มหาสมุทร ภูเขาสิเนรุ น้ำ ไฟ ลม หญ้า ไม้ และไม้เจ้าป่า
ล้วนแต่ดำรงอยู่ได้ในจิตใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สภาวธรรมทั้งปวงเป็นไปชั่วขณะจิตหนึ่งใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. จักขายตนะเกิดพร้อมกับจักขุวิญญาณใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. จักขายตนะเกิดพร้อมกับจักขุวิญญาณใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสูตรที่ว่า “ท่านพระสารีบุตรได้กล่าวไว้ดังนี้ว่า ‘ท่านผู้มีอายุ จักษุ
ที่เป็นอายตนะภายใน ไม่แตกทำลาย รูปที่เป็นอายตนะภายนอกไม่มาสู่คลองจักษุ
และความใส่ใจอันเกิดจากจักษุและรูปก็ไม่มี วิญญาณส่วนที่เกิดจากจักษุและรูปนั้น
ก็ไม่ปรากฏ จักษุที่เป็นอายตนะภายใน ไม่แตกทำลาย รูปที่เป็นอายตนะภายนอก
มาสู่คลองจักษุ แต่ความใส่ใจอันเกิดจากจักษุและรูปนั้นไม่มี วิญญาณส่วนที่เกิดจาก

เชิงอรรถ :
๑ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายปุพพเสลิยะและนิกายอปรเสลิยะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๙๐๖-๙๐๗/๓๒๒-๓๒๓)
๒ เพราะมีความเห็นว่า สังขตธรรม(ธรรมที่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง) คือรูปกับนาม มีอายุเท่ากัน คือ ชั่วขณะจิตหนึ่ง
ซึ่งต่างกับความเห็นของสกวาทีที่เห็นว่า รูป ๑ ขณะมีอายุเท่ากับจิต ๑๗ ขณะ นาม (จิต เจตสิก) เท่านั้น
ที่มีอายุเท่ากับชั่วขณะจิตหนึ่ง (อภิ.ปญฺจ.อ. ๙๐๖-๙๐๗/๓๒๒-๓๒๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๙๓๔ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒๒. พาวีสติมวรรค] ๑๐. ขณิกกถา (๒๑๗)
จักษุและรูปนั้นก็ไม่ปรากฏ แต่เมื่อใด จักษุที่เป็นอายตนะภายในไม่แตกทำลาย รูป
ที่เป็นอายตนะภายนอกมาสู่คลองจักษุ และความใส่ใจอันเกิดจากจักษุและรูปนั้นก็มี
เมื่อนั้น วิญญาณส่วนที่เกิดจากจักษุและรูปนั้นย่อมปรากฏ ด้วยอาการอย่างนี้”๑ มี
อยู่จริงมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. ดังนั้น ท่านจึงไม่ควรยอมรับว่า “จักขายตนะเกิดพร้อมกับจักขุวิญญาณ”
สก. โสตายตนะ ฯลฯ ฆานายตนะ ฯลฯ ชิวหายตนะ ฯลฯ กายายตนะ
เกิดพร้อมกับกายวิญญาณใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. กายายตนะเกิดพร้อมกับกายวิญญาณใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสูตรที่ว่า “ท่านพระสารีบุตรได้กล่าวไว้ดังนี้ว่า ‘ท่านผู้มีอายุ กาย
ที่เป็นอายตนะภายในไม่แตกทำลาย โผฏฐัพพะที่เป็นอายตนะภายนอกไม่มาสู่คลองกาย
และความใส่ใจอันเกิดจากกายและโผฏฐัพพะก็ไม่มี ฯลฯ กายที่เป็นอายตนะ
ภายในไม่แตกทำลาย โผฏฐัพพะที่เป็นอายตนะภายนอกมาสู่คลองกาย แต่ความ
ใส่ใจอันเกิดจากกายและโผฏฐัพพะไม่มี ฯลฯ แต่เมื่อใด กายที่เป็นอายตนะ
ภายในไม่แตกทำลาย โผฏฐัพพะที่เป็นอายตนะภายนอกมาสู่คลองกายและโผฏฐัพพะ
และความใส่ใจอันเกิดจากกายและโผฏฐัพพะก็มี เมื่อนั้น วิญญาณส่วนที่เกิดจาก
กายและโผฏฐัพพะนั้นย่อมปรากฏ ด้วยอาการอย่างนี้” มีอยู่จริงมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. ดังนั้น ท่านจึงไม่ควรยอมรับว่า “กายายตนะเกิดพร้อมกับกายวิญญาณ”

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ ม.มู. (แปล) ๑๒/๓๐๖/๓๓๘-๓๓๙

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๙๓๕ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒๒. พาวีสติมวรรค] รวมกถาที่มีในวรรค
[๙๐๗] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “สภาวธรรมทั้งปวงเป็นไปชั่วขณะจิตหนึ่ง”
ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. สภาวธรรมทั้งปวงเที่ยง ยั่งยืน คงที่ ไม่มีความแปรผันไปเป็นธรรมดา
ใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. ดังนั้น สภาวธรรมทั้งปวงจึงเป็นไปชั่วขณะจิตหนึ่ง
ขณิกกถา จบ
พาวีสติมวรรค จบ

รวมกถาที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. ปรินิพพานกถา ๒. กุสลจิตตกถา
๓. อาเนญชกถา ๔. ธัมมาภิสมยกถา
๕-๗. ติสโสปิกถา ๘. อัพยากตกถา
๙. อาเสวนปัจจยตากถา ๑๐. ขณิกกถา


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๙๓๖ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒๓. เตวีสติมวรรค] ๑. เอกาธิปปายกถา (๒๑๘)
๒๓. เตวีสติมวรรค
๑. เอกาธิปปายกถา (๒๑๘)
ว่าด้วยจุดประสงค์อย่างเดียวกัน
[๙๐๘] สก. บุคคลเสพเมถุนธรรมด้วยจุดประสงค์อย่างเดียวกันได้ใช่ไหม
ปร.๑ ใช่๒
สก. บุคคลผู้เสพเมถุนธรรมไม่ควรเป็นสมณะ ไม่ควรเป็นภิกษุ ควรเป็นผู้มี
มูลขาดแล้ว ควรเป็นปาราชิก ด้วยจุดประสงค์อย่างเดียวกันใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลเสพเมถุนธรรมด้วยจุดประสงค์อย่างเดียวกันได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ พูดเท็จ พูดส่อเสียด พูดคำหยาบ พูดเพ้อเจ้อ
ตัดช่องย่องเบา ปล้นสะดม ปล้นเรือนหลังเดียว ดักปล้นในทางเปลี่ยว ผิดภรรยา
ของผู้อื่น ปล้นชาวบ้าน ปล้นชาวนิคม ด้วยจุดประสงค์อย่างเดียวกันได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

เอกาธิปปายกถา จบ

เชิงอรรถ :
๑ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอันธกะและนิกายเวตุลลกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๙๐๘/๓๒๓)
๒ เพราะมีความเห็นว่า ถ้าภิกษุมีความเห็นพ้องต้องกับหญิงว่าพวกเราจะเกิดร่วมกันในชาติหน้า สามารถ
เสพเมถุนกับเธอได้ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๙๐๘/๓๒๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๙๓๗ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒๓. เตวีสติมวรรค] ๓-๗. อิสสริยกามการิกากถา (๒๒๐-๒๒๔)
๒. อรหันตวัณณกถา (๒๑๙)
ว่าด้วยเพศของพระอรหันต์
[๙๐๙] สก. พวกอมนุษย์เสพเมถุนธรรมโดยเพศของพระอรหันต์ได้ใช่ไหม
ปร.๑ ใช่๒
สก. พวกอมนุษย์ฆ่าสัตว์ ฯลฯ ลักทรัพย์ ฯลฯ พูดเท็จ ฯลฯ พูดส่อเสียด
ฯลฯ พูดคำหยาบ ฯลฯ พูดเพ้อเจ้อ ฯลฯ ตัดช่องย่องเบา ฯลฯ ปล้นสะดม ฯลฯ
ปล้นเรือนหลังเดียว ฯลฯ ดักปล้นในทางเปลี่ยว ฯลฯ ผิดภรรยาของผู้อื่น ฯลฯ
ปล้นชาวบ้าน ฯลฯ ปล้นชาวนิคม โดยเพศของพระอรหันต์ได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
อรหันตวัณณกถา จบ

๓-๗. อิสสริยกามการิกากถา๓ (๒๒๐-๒๒๔)
ว่าด้วยการทำตามอำนาจความประสงค์
[๙๑๐] สก. พระโพธิสัตว์ไปสู่วินิบาต เพราะเหตุทำตามอำนาจความประสงค์
ใช่ไหม
ปร.๔ ใช่๕

เชิงอรรถ :
๑ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอุตตราปถกะบางพวก (อภิ.ปญฺจ.อ. ๙๐๙/๓๒๓)
๒ เพราะปรวาทีเห็นภิกษุผู้ที่ตนเชื่อว่าเป็นพระอรหันต์เสพเมถุนธรรม จึงอ้างว่า พระอรหันต์อาจเสพ
เมถุนธรรมได้ ถ้าถูกอมนุษย์สั่งให้เสพ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๙๐๙/๓๒๓)
๓ หมายถึงตอนที่ว่าด้วยการทำตามอำนาจความประสงค์ ๕ เรื่อง คือ (๓) อิสสริยกามการิกากถา ว่าด้วย
การไปสู่วินิบาต เพราะเหตุ ทำตามอำนาจความประสงค์ (๔) อิสสริยกามการิกากถา ว่าด้วยการหยั่งลงสู่
ปฏิสนธิในครรภ์ เพราะเหตุทำตามอำนาจความประสงค์ (๕) อิสสริยกามการิกากถา ว่าด้วยการทำทุกกร-
กิริยา เพราะเหตุทำตามอำนาจความประสงค์ (๖) อิสสริยกามการิกากถา ว่าด้วยการบำเพ็ญตบะอื่น
เพราะเหตุทำตามอำนาจความประสงค์ (๗) อิสสริยกามการิกากถา ว่าด้วยการอุทิศศาสดาอื่น เพราะเหตุ
ทำตามอำนาจความประสงค์
๔ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอันธกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๙๑๐/๓๒๔)
๕ เพราะมีความเห็นว่า พระโพธิสัตว์อาจเกิดในวินิบาตได้ ด้วยอำนาจแห่งความปรารถนาจะไปเกิด (อภิ.ปญฺจ.อ.
๙๑๐/๓๒๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๙๓๘ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒๓. เตวีสติมวรรค] ๓-๗. อิสสริยกามการิกากถา (๒๒๐-๒๒๔)
สก. พระโพธิสัตว์ไปสู่นรก ฯลฯ สัญชีวนรก ฯลฯ กาลสุตตนรก ฯลฯ
ตาปนนรก ฯลฯ ปตาปนนรก ฯลฯ สังฆาฏนรก ฯลฯ โรรุวนรก ฯลฯ อเวจีนรก
เพราะเหตุทำตามอำนาจความประสงค์ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระโพธิสัตว์ไปสู่วินิบาต เพราะเหตุทำตามอำนาจความประสงค์ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสูตรที่ว่า “พระโพธิสัตว์ไปสู่วินิบาต เพราะเหตุทำตามอำนาจ
ความประสงค์” มีอยู่จริงมิใช่หรือ
ปร. ไม่มี
สก. หากพระสูตรที่ว่า “พระโพธิสัตว์ไปสู่วินิบาต เพราะเหตุทำตามอำนาจ
ความประสงค์” ไม่มีอยู่จริง ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “พระโพธิสัตว์ไปสู่วินิบาต
เพราะเหตุทำตามอำนาจความประสงค์”
[๙๑๑] สก. พระโพธิสัตว์หยั่งลงสู่ปฏิสนธิในครรภ์ เพราะเหตุทำตามอำนาจ
ความประสงค์ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระโพธิสัตว์เข้าถึงนรก กำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน เพราะ
เหตุทำตามอำนาจความประสงค์ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระโพธิสัตว์หยั่งลงสู่ปฏิสนธิในครรภ์ เพราะเหตุทำตามอำนาจ
ความประสงค์ใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๙๓๙ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒๓. เตวีสติมวรรค] ๓-๗. อิสสริยกามการิกากถา (๒๒๐-๒๒๔)
สก. พระโพธิสัตว์เป็นผู้มีฤทธิ์ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระโพธิสัตว์เป็นผู้มีฤทธิ์ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระโพธิสัตว์ได้เจริญฉันทิทธิบาท ฯลฯ วิริยิทธิบาท ฯลฯ จิตติทธิบาท
ฯลฯ วิมังสิทธิบาทแล้วใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระโพธิสัตว์หยั่งลงสู่ปฏิสนธิในครรภ์ เพราะเหตุทำตามอำนาจความ
ประสงค์ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสูตรที่ว่า “พระโพธิสัตว์หยั่งลงสู่ปฏิสนธิในครรภ์ เพราะเหตุทำ
ตามอำนาจความประสงค์” มีอยู่จริงมิใช่หรือ
ปร. ไม่มี
สก. หากพระสูตรที่ว่า “พระโพธิสัตว์หยั่งลงสู่ปฏิสนธิในครรภ์ เพราะเหตุ
ทำตามอำนาจความประสงค์” ไม่มีอยู่จริง ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “พระโพธิสัตว์
หยั่งลงสู่ปฏิสนธิในครรภ์ เพราะเหตุทำตามอำนาจความประสงค์”
[๙๑๒] สก. พระโพธิสัตว์ทำทุกกรกิริยา เพราะเหตุทำตามอำนาจความ
ประสงค์ใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๙๔๐ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒๓. เตวีสติมวรรค] ๓-๗. อิสสริยกามการิกากถา (๒๒๐-๒๒๔)
สก. พระโพธิสัตว์กลับมาสู่ความเห็นว่าโลกเที่ยง ฯลฯ โลกไม่เที่ยง ฯลฯ
โลกมีที่สุด ฯลฯ โลกไม่มีที่สุด ฯลฯ ชีวะกับสรีระเป็นอย่างเดียวกัน ฯลฯ ชีวะ
กับสรีระเป็นคนละอย่างกัน ฯลฯ หลังจากตายแล้วตถาคต๑เกิดอีก ฯลฯ หลัง
จากตายแล้วตถาคตไม่เกิดอีก ฯลฯ หลังจากตายตถาคตแล้วเกิดอีกและไม่เกิดอีก
ฯลฯ หลังจากตายแล้วตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่ เพราะเหตุ
ทำตามอำนาจความประสงค์ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระโพธิสัตว์ทำทุกกรกิริยา เพราะเหตุทำตามอำนาจความประสงค์ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสูตรที่ว่า “พระโพธิสัตว์ทำทุกกรกิริยา เพราะเหตุทำตามอำนาจ
ความประสงค์” มีอยู่จริงมิใช่หรือ
ปร. ไม่มี
สก. หากพระสูตรที่ว่า “พระโพธิสัตว์ทำทุกกรกิริยา เพราะเหตุทำตาม
อำนาจความประสงค์” ไม่มีอยู่จริง ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “พระโพธิสัตว์ทำทุกกร-
กิริยา เพราะเหตุทำตามอำนาจความประสงค์”
[๙๑๓] สก. พระโพธิสัตว์ทำความเพียรอื่นอุทิศศาสดาอื่น เพราะเหตุทำตาม
อำนาจความประสงค์ใช่ไหม
ปร. ใช่

เชิงอรรถ :
๑ ดูเชิงอรรถที่ ๔ ข้อ ๗๐๘ หน้า ๗๕๘ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๙๔๑ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒๒. พาวีสติมวรรค] ๘. ปฏิรูปกถา (๒๒๕)
สก. พระโพธิสัตว์กลับมาสู่ความเห็นว่า “โลกเที่ยง ฯลฯ หลังจากตาย
แล้วตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่ เพราะเหตุทำตามอำนาจความ
ประสงค์” ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๙๑๔] สก. พระโพธิสัตว์อุทิศศาสดาอื่น เพราะเหตุทำตามอำนาจความ
ประสงค์ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสูตรที่ว่า “พระโพธิสัตว์อุทิศศาสดาอื่น เพราะเหตุทำตามอำนาจ
ความประสงค์” มีอยู่จริงมิใช่หรือ
ปร. ไม่มี
สก. หากพระสูตรที่ว่า “พระโพธิสัตว์อุทิศศาสดาอื่น เพราะเหตุทำตาม
อำนาจความประสงค์” ไม่มีอยู่จริง ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “พระโพธิสัตว์อุทิศ
ศาสดาอื่น เพราะเหตุทำตามอำนาจความประสงค์”
อิสสริยกามการิกากถา จบ

๘. ปฏิรูปกถา (๒๒๕)
ว่าด้วยสภาวธรรมที่เทียบกันได้
[๙๑๕] สก. สภาวธรรมที่ไม่ใช่ราคะ แต่เทียบได้กับราคะมีอยู่ใช่ไหม
ปร.๑ ใช่๒

เชิงอรรถ :
๑ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอันธกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๙๑๕/๓๒๔)
๒ เพราะมีความเห็นว่า ราคะปลอม โทสะปลอม โมหะปลอม กิเลสปลอมก็มี ซึ่งต่างกับความเห็นของ
สกวาทีที่เห็นว่า ราคะปลอม เป็นต้น ไม่มี (อภิ.ปญฺจ.อ. ๙๑๕/๓๒๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๙๔๒ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒๒. พาวีสติมวรรค] ๙. อปรินิปผันนกถา (๒๒๖)
สก. สภาวธรรมที่ไม่ใช่ผัสสะแต่เทียบได้กับผัสสะ ไม่ใช่เวทนาแต่เทียบได้
กับเวทนา ไม่ใช่สัญญาแต่เทียบได้กับสัญญา ไม่ใช่เจตนาแต่เทียบได้กับเจตนา
ไม่ใช่จิตแต่เทียบได้กับจิต ไม่ใช่สัทธาแต่เทียบได้กับสัทธา ไม่ใช่วิริยะแต่เทียบได้
กับวิริยะ ไม่ใช่สติแต่เทียบได้กับสติ ไม่ใช่สมาธิแต่เทียบได้กับสมาธิ ไม่ใช่ปัญญา
แต่เทียบได้กับปัญญามีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๙๑๖] สก. สภาวธรรมที่ไม่ใช่โทสะแต่เทียบได้กับโทสะ ไม่ใช่โมหะแต่เทียบ
ได้กับโมหะ ไม่ใช่กิเลสแต่เทียบได้กับกิเลสมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สภาวธรรมที่ไม่ใช่ผัสสะแต่เทียบได้กับผัสสะ ฯลฯ ไม่ใช่ปัญญาแต่
เทียบได้กับปัญญามีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปฏิรูปกถา จบ

๙. อปรินิปผันนกถา (๒๒๖)
ว่าด้วยสภาวธรรมที่ไม่สำเร็จ(มาจากเหตุ)
[๙๑๗] สก. รูปเป็นสภาวธรรมที่ไม่สำเร็จใช่ไหม
ปร.๑ ใช่๒
สก. รูปไม่ใช่ไม่เที่ยง ไม่ใช่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง ไม่ใช่อิงอาศัยปัจจัยเกิดขึ้น
ไม่ใช่มีความสิ้นไป ไม่ใช่มีความเสื่อมไป ไม่ใช่มีความคลายไป ไม่ใช่มีความดับไป
ไม่ใช่มีความแปรผันไปเป็นธรรมดาใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

เชิงอรรถ :
๑ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอุตตราปถกะและนิกายเหตุวาท (อภิ.ปญฺจ.อ. ๙๑๗/๓๒๕)
๒ เพราะมีความเห็นว่า ขันธ์ อายตนะ ธาตุ อินทรีย์ สิ่งเหล่านี้ เรียกว่าสภาวธรรมที่ไม่สำเร็จมาจากเหตุ
เพราะตั้งอยู่โดยปราศจากการเกิดดับ ซึ่งต่างกับความเห็นของสกวาทีที่เห็นว่า สภาวธรรมเหล่านั้นเรียกว่า
สภาวธรรมที่สำเร็จมาจากเหตุ เพราะมีการเกิดดับตามสภาวะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๙๑๗/๓๒๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๙๔๓ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒๒. พาวีสติมวรรค] ๙. อปรินิปผันนกถา (๒๒๖)
สก. รูปไม่เที่ยง ถูกปัจจัยปรุงแต่ง อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น มีความสิ้นไป เสื่อมไป
คลายไป ดับไป แปรผันไปเป็นธรรมดามิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากรูปไม่เที่ยง ถูกปัจจัยปรุงแต่ง ฯลฯ มีความแปรผันไปเป็นธรรมดา
ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “รูปเป็นสภาวธรรมที่ไม่สำเร็จ”
สก. ทุกข์เท่านั้นเป็นสภาวธรรมที่สำเร็จใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นพระผู้มีพระภาคตรัสว่า “เป็นทุกข์” รูปไม่เที่ยง
มิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากสิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นพระผู้มีพระภาคตรัสว่า “เป็นทุกข์” รูปไม่เที่ยง
ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “ทุกข์เท่านั้นเป็นสภาวธรรมที่สำเร็จ”
[๙๑๘] สก. เวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ สังขาร ฯลฯ วิญญาณ ฯลฯ
จักขายตนะ ฯลฯ ธัมมายตนะ ฯลฯ จักขุธาตุ ฯลฯ ธัมมธาตุ ฯลฯ จักขุนทรีย์
ฯลฯ อัญญาตาวินทรีย์ เป็นสภาวธรรมที่ไม่สำเร็จใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. อัญญาตาวินทรีย์ไม่ใช่ไม่เที่ยง ฯลฯ ไม่ใช่มีความแปรผันไปเป็นธรรมดา
ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. อัญญาตาวินทรีย์ไม่เที่ยง ถูกปัจจัยปรุงแต่ง ฯลฯ มีความแปรผันไปเป็น
ธรรมดามิใช่หรือ
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๙๔๔ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒๒. พาวีสติมวรรค] รวมกถาที่มีในวรรค
สก. หากอัญญาตาวินทรีย์ไม่เที่ยง ถูกปัจจัยปรุงแต่ง อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น
มีความสิ้นไป เสื่อมไป คลายไป ดับไป แปรผันไปเป็นธรรมดา ท่านก็ไม่ควร
ยอมรับว่า “อัญญาตาวินทรีย์เป็นสภาวธรรมที่ไม่สำเร็จ”
สก. ทุกข์เท่านั้นเป็นสภาวธรรมที่สำเร็จใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นพระผู้มีพระภาคตรัสว่า “เป็นทุกข์” อัญญาตา-
วินทรีย์ ไม่เที่ยงมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากสิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นพระผู้มีพระภาคตรัสว่า “เป็นทุกข์” อัญญาตา-
วินทรีย์ไม่เที่ยง ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “ทุกข์เท่านั้นเป็นสภาวธรรมที่สำเร็จ”
อปรินิปผันนกถา จบ
เตวีสติมวรรค จบ

รวมกถาที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. เอกาธิปปายกถา ๒. อรหันตวัณณกถา
๓-๗. อิสสริยกามการิกากถา ๘. ปฏิรูปกถา
๙. อปรินิปผันนกถา

ขุททกอัฑฒปัณณาสก์ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๙๔๕ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ รวมปัณณาสก์ที่มีในกถาวัตถุปกรณ์
รวมวรรคที่มีในขุททกอัฑฒปัณณาสก์นี้ คือ
วรรคที่ ๒๑ เริ่มด้วยสาสนกถา
วรรคที่ ๒๒ เริ่มด้วยปรินิพพานกถา
วรรคที่ ๒๓ เริ่มด้วยเอกาธิปปายกถา
รวมปัณณาสก์ที่มีในกถาวัตถุปกรณ์นี้ คือ
๑. มหาปัณณาสก์
๒. นิยามปัณณาสก์ (ทุติยปัณณาสก์)
๓. อนุสยปัณณาสก์ (ตติยปัณณาสก์)
๔. นิคคหปัณณาสก์ (จตุตถปัณณาสก์)
๕. ขุททกอัฑฒปัณณาสก์ (ปัณณาสก์ที่เกินครึ่งไปเล็กน้อย)
ปัณณาสก์เหล่านี้ ในกถาวัตถุปกรณ์ตั้งอยู่ในพระสูตรเดิมเป็นหลัก ย่ำยีนิกายอื่น
รุ่งเรืองในศาสนาของพระพุทธเจ้า

กถาวัตถุปกรณ์มี ๓๕ ภาณวาร จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๙๔๖ }


พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๗ อภิธรรมปิฎกที่ ๐๔ กถาวัตถุ จบ





eXTReMe Tracker