ค้นว่าอยู่เล่มใด แล้วกด [ctrl]+f หรือใช้คำสั่งของเครื่องหาตำแหน่งในเล่มอีกทีนะครับ



จัดรูปหน้าใหม่
เพื่อความสะดวก และสวยงาม
(เฉพาะหน้าจอใหญ่ เช่น คอมพิวเตอร์)
กรุณาคลิก จัดรูปหน้าใหม่
เพื่อให้กรอบ
ค้นข้อความ ปรากฎที่ด้านซ้ายของหน้า

พระไตรปิฎกภาษาไทย
ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ๔๕ เล่ม (ปกสีฟ้า)
ทั้งออนไลน์และออฟไลน์
ที่มาของข้อมูล : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับ มจร.
MCUTRAI Version 1.0

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๗-๑ อภิธรรมปิฎกที่ ๐๔ กถาวัตถุ

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๑. ปุคคลกถา

พระอภิธรรมปิฎก
กถาวัตถุ
_____________
ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

๑. มหาวรรค
๑. ปุคคลกถา
ว่าด้วยบุคคล
๑. สุทธสัจฉิกัฏฐะ
ว่าด้วยสภาวะที่แท้จริงล้วน ๆ๑
๑. อนุโลมปัจจนีกะ
อนุโลมปัญจกะ

[๑] สกวาที๒ ถามว่า ท่านหยั่งรู้บุคคล๓ ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์๔ ใช่ไหม๕
ปรวาที๖ ตอบว่า ใช่๗

เชิงอรรถ :
๑ หมายถึงตอนที่ว่าด้วยการซักถามถึงปรมัตถธรรมโดยไม่เกี่ยวข้องกับโอกาส กาล และอวัยวะ (องค์ธรรม
ย่อย เช่น ขันธ์ ๕)
๒ สกวาที หมายถึงพระเถระนิกายเถรวาท ซึ่งยึดหลักคำสอนเดิม ไม่มีการประยุกต์เปลี่ยนแปลงเพิ่มเติมหรือตัด
ทอนพระพุทธพจน์ตามมติที่ประชุมสังคายนาครั้งที่ ๑ ซึ่งมีพระมหากัสสปเถระเป็นประธาน (วิมติ.ฏีกา ๑/๓๘)
๓ บุคคล ในลัทธิของปรวาทีหมายถึงอัตตา สัตตะ หรือชีวะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๑/๑๒๙)
๔ สัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ แยกเป็น ๒ คำ คือ สัจฉิกัฏฐะ + ปรมัตถะ คำว่า สัจฉิกัฏฐะ แปลว่า สภาวะที่แท้จริง
เป็นได้ทั้งสมมติสัจและปรมัตถสัจ ส่วนคำว่า ปรมัตถะ แปลว่า สภาวะขั้นสูงสุด เป็นปรมัตถสัจอย่างเดียว
ได้แก่ สภาวธรรม ๕๗ คือ ขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ ธาตุ ๑๘ อินทรีย์ ๒๒ ซึ่งก็หมายถึง ปรมัตถธรรม ๔ คือ
จิต เจตสิก รูป นิพพาน แต่ในที่นี้ ปรวาทีใช้คำ ๒ คำนี้ในความหมายรวมกันว่า ความจริงแท้ขั้นสูงสุด
(อภิ.ปญฺจ.อ. ๑/๑๒๙-๑๓๐, องฺ.เอกก.อ. ๑/๑๗๐/๘๖-๘๗)
๕ คำถามนี้มีใจความว่า ท่านเห็นว่า บุคคลมีอยู่จริงใช่ไหม
๖ ปรวาที หมายถึงภิกษุในนิกายอื่นนอกจากนิกายเถรวาท ในที่นี้หมายถึงภิกษุในนิกายวัชชีปุตตกะ
นิกายสมิติยะ และพวกอัญเดียรถีย์ที่ถือสัสสตวาทะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๑/๑๒๙)
๗ เพราะมีความเห็นว่า บุคคลมีอยู่อย่างเที่ยงแท้ถาวร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๑ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๑. ปุคคลกถา
สก. สภาวธรรมใดเป็นสัจฉิกัฏฐะเป็นปรมัตถะ ท่านหยั่งรู้บุคคลนั้นได้โดย
สัจฉิกัฏฐปรมัตถ์นั้นใช่ไหม๑
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น๒
สก. ท่านจงรับนิคคหะ๓ดังต่อไปนี้
หากท่านหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า
“สภาวธรรมใดเป็นสัจฉิกัฏฐะเป็นปรมัตถะ ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลนั้นได้โดยสัจฉิกัฏฐ-
ปรมัตถ์นั้น” ท่านกล่าวคำขัดแย้งใดในตอนต้นนั้นว่า “ข้าพเจ้ายอมรับว่า ข้าพเจ้า
หยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ แต่ไม่ยอมรับว่า สภาวธรรมใดเป็นสัจฉิกัฏฐะ
เป็นปรมัตถะ ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลนั้นได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์นั้น” คำนั้นของท่านผิด
อนึ่ง หากท่านไม่ยอมรับว่า “สภาวธรรมใดเป็นสัจฉิกัฏฐะเป็นปรมัตถะ ข้าพเจ้า
หยั่งรู้บุคคลนั้นได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์นั้น” ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “ข้าพเจ้าหยั่งรู้
บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์” ท่านกล่าวคำขัดแย้งใดในตอนต้นนั้นว่า “ข้าพเจ้า
ยอมรับว่า ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ แต่ไม่ยอมรับว่า สภาว-
ธรรมใดเป็นสัจฉิกัฏฐะเป็นปรมัตถะ ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลนั้นได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์
นั้น” คำนั้นของท่านผิด

อนุโลมปัญจกะ จบ

เชิงอรรถ :
๑ ในคำถามนี้ สกวาทีจงใจแยกคำว่า สัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ออกจากกันเป็น ๒ คำ ๒ ความหมาย (ดูเชิงอรรถ
ที่ ๔ หน้า ๑) เพื่อไม่เปิดช่องให้ฝ่ายปรวาทีย้อนถามได้ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๑/๑๓๐)
๒ เพราะฝ่ายปรวาทีเห็นคล้อยตามฝ่ายสกวาทีว่า สัจฉิกัฏฐะ ปรมัตถะ มีความหมายแยกกันจริง
(อภิ.ปญฺจ.อ. ๑/๑๓๓)
๓ นิคคหะ แปลว่า การข่ม การกดขี่ การปราบ(ด้วยวาทะ) ความผิดอันเกิดจากคำพูดที่ขัดแย้งกันเอง
ในที่นี้หมายถึงความผิดอันเกิดจากคำพูดที่ขัดแย้งกันเอง (อภิ.ปญฺจ.อ. ๑/๑๓๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๒ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๑. ปุคคลกถา
ปฏิกัมมจตุกกะ
[๒] ปร. ท่านหยั่งรู้บุคคลไม่ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ใช่ไหม
สก. ใช่๑
ปร. สภาวธรรมใดเป็นสัจฉิกัฏฐะเป็นปรมัตถะ ท่านหยั่งรู้บุคคลนั้นไม่ได้โดย
สัจฉิกัฏฐปรมัตถ์นั้นใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น๒
ปร. ท่านจงรับปฏิกรรม๓ ดังต่อไปนี้
หากท่านหยั่งรู้บุคคลไม่ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า
“สภาวธรรมใดเป็นสัจฉิกัฏฐะเป็นปรมัตถะ ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลนั้นไม่ได้โดยสัจฉิกัฏฐ-
ปรมัตถ์นั้น” ท่านกล่าวคำขัดแย้งใดในตอนต้นนั้นว่า “ข้าพเจ้ายอมรับว่า ข้าพเจ้า
หยั่งรู้บุคคลไม่ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ แต่ไม่ยอมรับว่า สภาวธรรมใดเป็นสัจฉิกัฏฐะ
เป็นปรมัตถะ ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลนั้นไม่ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์นั้น” คำนั้นของท่านผิด
อนึ่ง หากท่านไม่ยอมรับว่า “สภาวธรรมใดเป็นสัจฉิกัฏฐะเป็นปรมัตถะ
ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลนั้นไม่ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์นั้น” ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “ข้าพเจ้า
หยั่งรู้บุคคลไม่ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์” ท่านกล่าวคำขัดแย้งใดในตอนต้นนั้นว่า
“ข้าพเจ้ายอมรับว่า ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลไม่ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ แต่ไม่ยอมรับว่า
สภาวธรรมใดเป็นสัจฉิกัฏฐะเป็นปรมัตถะ ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลนั้นไม่ได้โดยสัจฉิกัฏฐ-
ปรมัตถ์นั้น” คำนั้นของท่านผิด

ปฏิกัมมจตุกกะ จบ

เชิงอรรถ :
๑ เพราะมีความเห็นว่า บุคคลเป็นสมมติสัจ ซึ่งบัญญัติขึ้นโดยอาศัยขันธ์ ๕ รวมกัน(อุปาทาบัญญัติ) (อภิ.ปญฺจ.อ.
๒/๑๓๒)
๒ เพราะมีความเห็นว่า คำถามนี้คลุมเครือ โดยใช้คำว่า “สัจฉิกัฏฐะ” กับคำว่า “ปรมัตถะ” รวม ๆ จึงไม่
อาจตอบยืนยันเหมือนคำตอบที่ ๑ ได้ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๒/๑๓๒)
๓ ปฏิกรรม แปลว่า การทำคืน การทำตอบ การโต้กลับ การแก้ไข ในที่นี้หมายถึงการโต้กลับเพื่อยกนิคคหะ
คืนไป (อภิ.ปญฺจ.อ. ๒/๑๓๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๓ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๑. ปุคคลกถา
นิคคหจตุกกะ
[๓] ปร. อนึ่ง หากท่านระลึกได้ว่า “ข้าพเจ้ายอมรับว่า ข้าพเจ้าหยั่งรู้
บุคคลไม่ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ แต่ไม่ยอมรับว่า สภาวธรรมใดเป็นสัจฉิกัฏฐะเป็น
ปรมัตถะ ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลนั้นไม่ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์นั้น” ดังนั้น ท่านเมื่อ
ยอมรับด้วยปฏิญญานี้ในอนุโลมปัญจกะ๑นั้น ก็ควรถูกลงนิคคหะอย่างนี้ ฉะนั้น
ข้าพเจ้าจึงลงนิคคหะท่าน ท่านจึงเป็นอันข้าพเจ้าลงนิคคหะชอบแล้ว ดังต่อไปนี้
หากท่านหยั่งรู้บุคคลไม่ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า
“สภาวธรรมใดเป็นสัจฉิกัฏฐะเป็นปรมัตถะ ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลนั้นไม่ได้โดยสัจฉิกัฏฐ-
ปรมัตถ์นั้น” ท่านกล่าวคำขัดแย้งใดในตอนต้นนั้นว่า “ข้าพเจ้ายอมรับว่า ข้าพเจ้า
หยั่งรู้บุคคลไม่ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ แต่ไม่ยอมรับว่า สภาวธรรมใดเป็นสัจฉิกัฏฐะ
เป็นปรมัตถะ ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลนั้นไม่ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์นั้น” คำนั้นของท่านผิด
อนึ่ง หากท่านไม่ยอมรับว่า “สภาวธรรมใดเป็นสัจฉิกัฏฐะเป็นปรมัตถะ
ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลนั้นไม่ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์นั้น” ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า
“ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลไม่ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์” ท่านกล่าวคำขัดแย้งใดในตอนต้นนั้น
ว่า “ข้าพเจ้ายอมรับว่า ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลไม่ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ แต่ไม่ยอม
รับว่า สภาวธรรมใดเป็นสัจฉิกัฏฐะเป็นปรมัตถะ ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลนั้นไม่ได้โดย
สัจฉิกัฏฐปรมัตถ์นั้น” คำนั้นของท่านผิด
นิคคหจตุกกะ จบ

อุปนยนจตุกกะ
[๔] ปร. หากนิคคหะนี้เป็นการนิคคหะโดยมิชอบ ในนิคคหะที่ท่านลงแก่
ข้าพเจ้านั้น ท่านก็จงเห็นว่าเป็นอย่างนั้นเหมือนกัน
ข้าพเจ้ายอมรับว่า “ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์” แต่ไม่ยอม
รับว่า “สภาวธรรมใดเป็นสัจฉิกัฏฐะเป็นปรมัตถะ ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลนั้นได้โดย
สัจฉิกัฏฐปรมัตถ์นั้น” และข้าพเจ้าเมื่อยอมรับด้วยปฏิญญานี้ในอนุโลมปัญจกะนั้น

เชิงอรรถ :
๑ อนุโลมปัญจกะ (ข้อ ๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๔ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๑. ปุคคลกถา
ท่านไม่ควรลงนิคคหะอย่างนี้ แต่ท่านก็ยังลงนิคคหะข้าพเจ้า ข้าพเจ้าจึงถูกท่านลง
นิคคหะโดยมิชอบ ดังที่กล่าวมาว่า
“หากท่านหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า
‘สภาวธรรมใดเป็นสัจฉิกัฏฐะเป็นปรมัตถะ ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลนั้นได้โดยสัจฉิกัฏฐ-
ปรมัตถ์นั้น’ ท่านกล่าวคำขัดแย้งใดในตอนต้นนั้นว่า ‘ข้าพเจ้ายอมรับว่า ข้าพเจ้า
หยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ แต่ไม่ยอมรับว่า สภาวธรรมใดเป็นสัจฉิกัฏฐะเป็น
ปรมัตถะ ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลนั้นได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์นั้น’ คำนั้นของท่านผิด
อนึ่ง หากท่านไม่ยอมรับว่า ‘สภาวธรรมใดเป็นสัจฉิกัฏฐะเป็นปรมัตถะ
ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลนั้นได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์นั้น’ ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า ‘ข้าพเจ้า
หยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์’ ท่านกล่าวคำขัดแย้งใดในตอนต้นนั้นว่า ‘ข้าพเจ้า
ยอมรับว่า ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ แต่ไม่ยอมรับว่า สภาวธรรมใด
เป็นสัจฉิกัฏฐะเป็นปรมัตถะ ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลนั้นได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์นั้น’ คำนั้น
ของท่านผิด”
อุปนยนจตุกกะ จบ

นิคคมจตุกกะ
[๕] ปร. ท่านไม่ควรลงนิคคหะข้าพเจ้าอย่างนี้ แต่ท่านก็ยังลงนิคคหะข้าพเจ้า
ด้วยนิคคหะว่า
“หากท่านหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า
‘สภาวธรรมใดเป็นสัจฉิกัฏฐะเป็นปรมัตถะ ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลนั้นได้โดยสัจฉิกัฏฐ-
ปรมัตถ์นั้น’ ท่านกล่าวคำขัดแย้งใดในตอนต้นนั้นว่า ‘ข้าพเจ้ายอมรับว่า ข้าพเจ้า
หยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ แต่ไม่ยอมรับว่า สภาวธรรมใดเป็นสัจฉิกัฏฐะ
เป็นปรมัตถะ ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลนั้นได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์นั้น’ คำนั้นของท่านผิด
อนึ่ง หากท่านไม่ยอมรับว่า ‘สภาวธรรมใดเป็นสัจฉิกัฏฐะเป็นปรมัตถะ
ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลนั้นได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์นั้น’ ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า ‘ข้าพเจ้า
หยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์’ ท่านกล่าวคำขัดแย้งใดในตอนต้นนั้นว่า ‘ข้าพเจ้า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๕ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๑. ปุคคลกถา
ยอมรับว่า ‘ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ แต่ไม่ยอมรับว่า สภาวธรรม
ใดเป็นสัจฉิกัฏฐะเป็นปรมัตถะ ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลนั้นได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์นั้น’
คำนั้นของท่านผิด”
ฉะนั้น นิคคหะที่ท่านกระทำแล้วเป็นการกระทำโดยมิชอบ ปฏิกรรมเป็นการ
กระทำโดยชอบแล้ว การดำเนินกระบวนความ๑เป็นการกระทำโดยชอบแล้ว
นิคคมจตุกกะ จบ นิคคหะที่ ๑ จบ

๑. สุทธสัจฉิกัฏฐะ
๒. ปัจจนีกานุโลมะ
ปัจจนีกปัญจกะ
[๖] ปร. ท่านหยั่งรู้บุคคลไม่ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. สภาวธรรมใดเป็นสัจฉิกัฏฐะเป็นปรมัตถะ ท่านหยั่งรู้บุคคลนั้นไม่ได้โดย
สัจฉิกัฏฐปรมัตถ์นั้นใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น๒
ปร. ท่านจงรับนิคคหะ ดังต่อไปนี้
หากท่านหยั่งรู้บุคคลไม่ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า
“สภาวธรรมใดเป็นสัจฉิกัฏฐะเป็นปรมัตถะ ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลนั้นไม่ได้โดยสัจฉิกัฏฐ-
ปรมัตถ์นั้น” ท่านกล่าวคำขัดแย้งใดในตอนต้นนั้นว่า “ข้าพเจ้ายอมรับว่า ข้าพเจ้า
หยั่งรู้บุคคลไม่ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ แต่ไม่ยอมรับว่า สภาวธรรมใดเป็นสัจฉิกัฏฐะ
เป็นปรมัตถะ ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลนั้นไม่ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์นั้น” คำนั้นของ
ท่านผิด

เชิงอรรถ :
๑ การดำเนินกระบวนความ หมายถึงวิธีการโต้กลับตั้งแต่ปฏิกัมมจตุกกะ (ข้อ ๒) จนถึงนิคคมจตุกกะ
๒ ดูเชิงอรรถที่ ๒ หน้า ๓ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๖ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๑. ปุคคลกถา
อนึ่ง หากท่านไม่ยอมรับว่า “สภาวธรรมใดเป็นสัจฉิกัฏฐะเป็นปรมัตถะ
ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลนั้นไม่ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์นั้น” ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “ข้าพเจ้า
หยั่งรู้บุคคลไม่ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์” ท่านกล่าวคำขัดแย้งใดในตอนต้นนั้นว่า “ข้าพเจ้า
ยอมรับว่า ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลไม่ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ แต่ไม่ยอมรับว่า สภาว-
ธรรมใดเป็นสัจฉิกัฏฐะเป็นปรมัตถะ ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลนั้นไม่ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์นั้น”
คำนั้นของท่านผิด
ปัจจนีกปัญจกะ จบ

ปฏิกัมมจตุกกะ
[๗] สก. ท่านหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สภาวธรรมใดเป็นสัจฉิกัฏฐะเป็นปรมัตถะ ท่านหยั่งรู้บุคคลนั้นได้โดย
สัจฉิกัฏฐปรมัตถ์นั้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น
สก. ท่านจงรับปฏิกรรม ดังต่อไปนี้
หากท่านหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า
“สภาวธรรมใดเป็นสัจฉิกัฏฐะเป็นปรมัตถะ ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลนั้นได้โดยสัจฉิกัฏฐ-
ปรมัตถ์นั้น” ท่านกล่าวคำขัดแย้งใดในตอนต้นนั้นว่า “ข้าพเจ้ายอมรับว่า ข้าพเจ้า
หยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ แต่ไม่ยอมรับว่า สภาวธรรมใดเป็นสัจฉิกัฏฐะ
เป็นปรมัตถะ ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลนั้นได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์นั้น” คำนั้นของท่านผิด
อนึ่ง หากท่านไม่ยอมรับว่า “สภาวธรรมใดเป็นสัจฉิกัฏฐะเป็นปรมัตถะ
ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลนั้นได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์นั้น” ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “ข้าพเจ้า
หยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์” ท่านกล่าวคำขัดแย้งใดในตอนต้นนั้นว่า “ข้าพเจ้า
ยอมรับว่า ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ แต่ไม่ยอมรับว่า สภาว-
ธรรมใดเป็นสัจฉิกัฏฐะเป็นปรมัตถะ ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลนั้นได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์นั้น”
คำนั้นของท่านผิด

ปฏิกัมมจตุกกะ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๗ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๑. ปุคคลกถา
นิคคหจตุกกะ
[๘] สก. อนึ่ง หากท่านระลึกได้ว่า “ข้าพเจ้ายอมรับว่า ข้าพเจ้าหยั่งรู้
บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ แต่ไม่ยอมรับว่า สภาวธรรมใดเป็นสัจฉิกัฏฐะเป็น
ปรมัตถะ ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลนั้นได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์นั้น” ดังนั้น ท่านเมื่อ
ยอมรับด้วยปฏิญญานี้ในปัจจนีกปัญจกะ๑นั้น ก็ควรถูกลงนิคคหะอย่างนี้ ฉะนั้น
ข้าพเจ้าจึงลงนิคคหะท่าน ท่านจึงเป็นอันข้าพเจ้าลงนิคคหะชอบแล้ว ดังต่อไปนี้
หากท่านหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า
“สภาวธรรมใดเป็นสัจฉิกัฏฐะเป็นปรมัตถะ ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลนั้นได้โดยสัจฉิกัฏฐ-
ปรมัตถ์นั้น” ท่านกล่าวคำขัดแย้งใดในตอนต้นนั้นว่า “ข้าพเจ้ายอมรับว่า ข้าพเจ้า
หยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ แต่ไม่ยอมรับว่า สภาวธรรมใดเป็นสัจฉิกัฏฐะ
เป็นปรมัตถะ ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลนั้นได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์นั้น” คำนั้นของท่านผิด
อนึ่ง หากท่านไม่ยอมรับว่า “สภาวธรรมใดเป็นสัจฉิกัฏฐะเป็นปรมัตถะ
ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลนั้นได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์นั้น” ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “ข้าพเจ้า
หยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์” ท่านกล่าวคำขัดแย้งใดในตอนต้นนั้นว่า “ข้าพเจ้า
ยอมรับว่า ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ แต่ไม่ยอมรับว่า สภาวธรรม
ใดเป็นสัจฉิกัฏฐะเป็นปรมัตถะ ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลนั้นได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์นั้น”
คำนั้นของท่านผิด
นิคคหจตุกกะ จบ

อุปนยนจตุกกะ
[๙] สก. หากนิคคหะนี้เป็นการนิคคหะโดยมิชอบ ในนิคคหะที่ท่านลงแก่
ข้าพเจ้านั้น ท่านก็จงเห็นว่าเป็นอย่างนั้นเหมือนกัน
ข้าพเจ้ายอมรับว่า “ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลไม่ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์” แต่ไม่
ยอมรับว่า “สภาวธรรมใดเป็นสัจฉิกัฏฐะเป็นปรมัตถะ ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลนั้นไม่ได้

เชิงอรรถ :
๑ ปัจจนีกปัญจกะ (ข้อ ๖)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๘ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๑. ปุคคลกถา
โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์นั้น” และข้าพเจ้าเมื่อยอมรับด้วยปฏิญญานี้ในปัจจนีกปัญจกะ
นั้น ท่านไม่ควรลงนิคคหะอย่างนี้ แต่ท่านก็ยังลงนิคคหะข้าพเจ้า ข้าพเจ้าจึงถูกท่าน
ลงนิคคหะโดยมิชอบ ดังที่กล่าวมาว่า
“หากท่านหยั่งรู้บุคคลไม่ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า
‘สภาวธรรมใดเป็นสัจฉิกัฏฐะเป็นปรมัตถะ ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลนั้นไม่ได้โดยสัจฉิกัฏฐ-
ปรมัตถ์นั้น’ ท่านกล่าวคำขัดแย้งใดในตอนต้นนั้นว่า ‘ข้าพเจ้ายอมรับว่า ข้าพเจ้า
หยั่งรู้บุคคลไม่ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ แต่ไม่ยอมรับว่า สภาวธรรมใดเป็น
สัจฉิกัฏฐะเป็นปรมัตถะ ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลนั้นไม่ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์นั้น’ คำ
นั้นของท่านผิด
อนึ่ง หากท่านไม่ยอมรับว่า ‘สภาวธรรมใดเป็นสัจฉิกัฏฐะเป็นปรมัตถะ
ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลนั้นไม่ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์นั้น’ ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า
‘ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลไม่ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์’ ท่านกล่าวคำขัดแย้งใดในตอนต้นนั้นว่า
‘ข้าพเจ้ายอมรับว่า ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลไม่ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ แต่ไม่ยอมรับว่า
สภาวธรรมใดเป็นสัจฉิกัฏฐะเป็นปรมัตถะ ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลนั้นไม่ได้โดยสัจฉิกัฏฐ-
ปรมัตถ์นั้น’ คำนั้นของท่านผิด”
อุปนยนจตุกกะ จบ

นิคคมจตุกกะ
[๑๐] สก. ท่านไม่ควรลงนิคคหะข้าพเจ้าอย่างนี้ แต่ท่านก็ยังลงนิคคหะ
ข้าพเจ้าด้วยนิคคหะว่า
“หากท่านหยั่งรู้บุคคลไม่ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า
‘สภาวธรรมใดเป็นสัจฉิกัฏฐะเป็นปรมัตถะ ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลนั้นไม่ได้โดยสัจฉิกัฏฐ-
ปรมัตถ์นั้น’ ท่านกล่าวคำขัดแย้งใดในตอนต้นนั้นว่า ‘ข้าพเจ้ายอมรับว่า ข้าพเจ้า
หยั่งรู้บุคคลไม่ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ แต่ไม่ยอมรับว่า สภาวธรรมใดเป็นสัจฉิกัฏฐะ
เป็นปรมัตถะ ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลนั้นไม่ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์นั้น’ คำนั้นของ
ท่านผิด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๙ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๑. ปุคคลกถา
อนึ่ง หากท่านไม่ยอมรับว่า ‘สภาวธรรมใดเป็นสัจฉิกัฏฐะเป็นปรมัตถะ ข้าพเจ้า
หยั่งรู้บุคคลนั้นไม่ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์นั้น’ ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า ‘ข้าพเจ้าหยั่งรู้
บุคคลไม่ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์’ ท่านกล่าวคำขัดแย้งใดในตอนต้นนั้นว่า ‘ข้าพเจ้า
ยอมรับว่า ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลไม่ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ แต่ไม่ยอมรับว่า สภาว-
ธรรมใดเป็นสัจฉิกัฏฐะเป็นปรมัตถะ ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลนั้นไม่ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์นั้น’
คำนั้นของท่านผิด”
ฉะนั้น นิคคหะที่ท่านกระทำแล้วเป็นการกระทำโดยมิชอบ ปฏิกรรมเป็นการ
กระทำโดยชอบแล้ว การดำเนินกระบวนความเป็นการกระทำโดยชอบแล้ว
นิคคมจตุกกะ จบ นิคคหะที่ ๒ จบ

๒. โอกาสสัจฉิกัฏฐะ
ว่าด้วยสภาวะที่แท้จริงกับโอกาส๑
๑. อนุโลมปัจจนีกะ
[๑๑] สก. ท่านหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ท่านหยั่งรู้บุคคลได้ในโอกาสทั้งปวง๒โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น๓
สก. ท่านจงรับนิคคหะ ดังต่อไปนี้
หากท่านหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า
“ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลได้ในโอกาสทั้งปวงโดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์” ท่านกล่าวคำขัดแย้ง
ใดในตอนต้นนั้นว่า “ข้าพเจ้ายอมรับว่า ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์

เชิงอรรถ :
๑ หมายถึงตอนที่ว่าด้วยการซักถามถึงปรมัตถธรรมที่เกี่ยวข้องกับโอกาส คำว่า โอกาส มีความหมายหลาย
อย่าง เช่น ที่ ที่ตั้ง เวลาที่เหมาะสม เหตุ การขออนุญาต ในที่นี้หมายถึงที่ ที่ตั้ง เช่น สรีระ ภพ ภูมิ โลก
(อภิ.ปญฺจ.อ. ๑๑/๑๓๗)
๒ โอกาสทั้งปวง ในที่นี้หมายถึงสรีระ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๑๑/๑๓๗)
๓ เพราะมีความเห็นว่า ถ้าตอบรับก็เท่ากับยอมรับว่า มีอัตตาในรูป แต่ถ้าตอบปฏิเสธก็เท่ากับยอมรับว่า
ชีวะกับสรีระต่างกัน ซึ่งฝ่ายปรวาทียอมรับไม่ได้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๑๐ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๑. ปุคคลกถา
แต่ไม่ยอมรับว่า ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลได้ในโอกาสทั้งปวงโดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์” คำนั้น
ของท่านผิด
อนึ่ง หากท่านไม่ยอมรับว่า “ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลได้ในโอกาสทั้งปวงโดย
สัจฉิกัฏฐปรมัตถ์” ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐ-
ปรมัตถ์” ท่านกล่าวคำขัดแย้งใดในตอนต้นนั้นว่า “ข้าพเจ้ายอมรับว่า ข้าพเจ้า
หยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ แต่ไม่ยอมรับว่า ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลได้ใน
โอกาสทั้งปวงโดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์” คำนั้นของท่านผิด ฯลฯ๑
นิคคหะที่ ๓ จบ

๓. กาลสัจฉิกัฏฐะ
ว่าด้วยสภาวะที่แท้จริงกับกาล๒
๑. อนุโลมปัจจนีกะ
[๑๒] สก. ท่านหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ท่านหยั่งรู้บุคคลได้ในกาลทั้งปวง๓โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น๔
สก. ท่านจงรับนิคคหะ ดังต่อไปนี้
หากท่านหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า
“ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลได้ในกาลทั้งปวงโดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์” ท่านกล่าวคำขัดแย้งใด

เชิงอรรถ :
๑ ท่านละปฏิกัมมจตุกกะ นิคคหจตุกกะ อุปนยนจตุกกะ และนิคคมจตุกกะไว้
๒ หมายถึงตอนที่ว่าด้วยการซักถามถึงปรมัตถธรรมที่เกี่ยวข้องกับกาล คำว่า กาล ในที่นี้หมายถึงช่วงเวลา
ที่กำหนดตามเหตุการณ์ เช่น เช้า สาย บ่าย เย็น อดีต อนาคต
๓ กาลทั้งปวง ในที่นี้หมายถึงระยะเวลาของอัตภาพในอดีตชาติ อนาคตชาติและปัจจุบันชาติตั้งแต่เกิดจนถึง
ตาย (อภิ.ปญฺจ.อ. ๑๒/๑๓๗, อภิ.อนุฏีกา ๓/๑๒/๘๔)
๔ เพราะมีความเห็นว่า ถ้าตอบรับก็เท่ากับยอมรับว่าบุคคลในอดีตชาติกับบุคคลในอนาคตชาติไม่แตกต่างกัน
และบุคคลขณะมีชีวิตอยู่กับหลังจากปรินิพพานแล้วไม่มีความแตกต่างกัน ซึ่งฝ่ายปรวาทีรับไม่ได้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๑๑ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๑. ปุคคลกถา
ในตอนต้นนั้นว่า “ข้าพเจ้ายอมรับว่า ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์
แต่ไม่ยอมรับว่า ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลได้ในกาลทั้งปวงโดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์” คำนั้น
ของท่านผิด
อนึ่ง หากท่านไม่ยอมรับว่า “ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลได้ในกาลทั้งปวงโดยสัจฉิกัฏฐ-
ปรมัตถ์” ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์”
ท่านกล่าวคำขัดแย้งใดในตอนต้นนั้นว่า “ข้าพเจ้ายอมรับว่า ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคล
ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ แต่ไม่ยอมรับว่า ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลได้ในกาลทั้งปวงโดย
สัจฉิกัฏฐปรมัตถ์” คำนั้นของท่านผิด ฯลฯ
นิคคหะที่ ๔ จบ

๔. อวัยวสัจฉิกัฏฐะ
ว่าด้วยสภาวะที่แท้จริงกับอวัยวะ๑
๑. อนุโลมปัจจนีกะ
[๑๓] สก. ท่านหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ท่านหยั่งรู้บุคคลได้ในอวัยวะทั้งปวง๒โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น๓
สก. ท่านจงรับนิคคหะ ดังต่อไปนี้
หากท่านหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า
“ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลได้ในอวัยวะทั้งปวงโดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์” ท่านกล่าวคำ

เชิงอรรถ :
๑ หมายถึงตอนที่ว่าด้วยการซักถามถึงปรมัตถธรรมที่เกี่ยวข้องกับอวัยวะ คำว่า อวัยวะ หมายถึงองค์ธรรมย่อย
คือสภาวธรรม ๕๗ ดังกล่าวมาแล้ว (อภิ.ปญฺจ.อ. ๑๓/๑๓๗)
๒ อวัยวะทั้งปวง ในที่นี้หมายถึงองค์ธรรมย่อย เช่น ขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๑๓/๑๓๗)
๓ เพราะมีความเห็นว่า ถ้าตอบรับก็เท่ากับยอมรับว่า มีอัตตาในขันธ์ มีรูปขันธ์ เป็นต้น มีอัตตาในอายตนะมี
จักขายตนะ เป็นต้น ซึ่งฝ่ายปรวาทียอมรับไม่ได้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๑๒ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๑. ปุคคลกถา
ขัดแย้งใดในตอนต้นนั้นว่า “ข้าพเจ้ายอมรับว่า ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลได้โดย
สัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ แต่ไม่ยอมรับว่า ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลได้ในอวัยวะทั้งปวงโดย
สัจฉิกัฏฐปรมัตถ์” คำนั้นของท่านผิด
อนึ่ง หากท่านไม่ยอมรับว่า “ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลได้ในอวัยวะทั้งปวงโดย
สัจฉิกัฏฐปรมัตถ์” ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐ-
ปรมัตถ์” ท่านกล่าวคำขัดแย้งใดในตอนต้นนั้นว่า “ข้าพเจ้ายอมรับว่า ข้าพเจ้า
หยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ แต่ไม่ยอมรับว่า ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลได้ใน
อวัยวะทั้งปวงโดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์” คำนั้นของท่านผิด ฯลฯ
นิคคหะที่ ๕ จบ

๒. โอกาสสัจฉิกัฏฐะ
๒. ปัจจนีกานุโลมะ
[๑๔] ปร. ท่านหยั่งรู้บุคคลไม่ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. ท่านหยั่งรู้บุคคลไม่ได้ในโอกาสทั้งปวงโดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น
ปร. ท่านจงรับนิคคหะ ดังต่อไปนี้
หากท่านหยั่งรู้บุคคลไม่ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า
“ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลไม่ได้ในโอกาสทั้งปวงโดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์” ท่านกล่าวคำ
ขัดแย้งใดในตอนต้นนั้นว่า “ข้าพเจ้ายอมรับว่า ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลไม่ได้โดย
สัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ แต่ไม่ยอมรับว่า ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลไม่ได้ในโอกาสทั้งปวงโดย
สัจฉิกัฏฐปรมัตถ์” คำนั้นของท่านผิด
อนึ่ง หากท่านไม่ยอมรับว่า “ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลไม่ได้ในโอกาสทั้งปวง
โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์” ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลไม่ได้โดย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๑๓ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๑. ปุคคลกถา
สัจฉิกัฏฐปรมัตถ์” ท่านกล่าวคำขัดแย้งใดในตอนต้นนั้นว่า “ข้าพเจ้ายอมรับว่า
ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลไม่ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ แต่ไม่ยอมรับว่า ข้าพเจ้าหยั่งรู้
บุคคลไม่ได้ในโอกาสทั้งปวงโดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์” คำนั้นของท่านผิด ฯลฯ
นิคคหะที่ ๖ จบ

๓. กาลสัจฉิกัฏฐะ
๒. ปัจจนีกานุโลมะ
[๑๕] ปร. ท่านหยั่งรู้บุคคลไม่ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. ท่านหยั่งรู้บุคคลไม่ได้ในกาลทั้งปวงโดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น
ปร. ท่านจงรับนิคคหะ ดังต่อไปนี้
หากท่านหยั่งรู้บุคคลไม่ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า
“ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลไม่ได้ในกาลทั้งปวงโดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์” ท่านกล่าวคำ
ขัดแย้งใดในตอนต้นนั้นว่า “ข้าพเจ้ายอมรับว่า ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลไม่ได้โดย
สัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ แต่ไม่ยอมรับว่า ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลไม่ได้ในกาลทั้งปวงโดย
สัจฉิกัฏฐปรมัตถ์” คำนั้นของท่านผิด
อนึ่ง หากท่านไม่ยอมรับว่า “ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลไม่ได้ในกาลทั้งปวงโดย
สัจฉิกัฏฐปรมัตถ์” ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลไม่ได้โดย
สัจฉิกัฏฐปรมัตถ์” ท่านกล่าวคำขัดแย้งใดในตอนต้นนั้นว่า “ข้าพเจ้ายอมรับว่า
ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลไม่ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ แต่ไม่ยอมรับว่า ข้าพเจ้าหยั่งรู้
บุคคลไม่ได้ในกาลทั้งปวงโดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์” คำนั้นของท่านผิด ฯลฯ
นิคคหะที่ ๗ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๑๔ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๑. ปุคคลกถา
๔. อวัยวสัจฉิกัฏฐะ
๒. ปัจจนีกานุโลมะ
[๑๖] ปร. ท่านหยั่งรู้บุคคลไม่ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. ท่านหยั่งรู้บุคคลไม่ได้ในอวัยวะทั้งปวงโดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น
ปร. ท่านจงรับนิคคหะ ดังต่อไปนี้
หากท่านหยั่งรู้บุคคลไม่ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า
“ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลไม่ได้ในอวัยวะทั้งปวงโดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์” ท่านกล่าวคำขัดแย้งใด
ในตอนต้นนั้นว่า “ข้าพเจ้ายอมรับว่า ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลไม่ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์
แต่ไม่ยอมรับว่า ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลไม่ได้ในอวัยวะทั้งปวงโดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์”
คำนั้นของท่านผิด
อนึ่ง หากท่านไม่ยอมรับว่า “ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลไม่ได้ในอวัยวะทั้งปวงโดย
สัจฉิกัฏฐปรมัตถ์” ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลไม่ได้โดยสัจฉิกัฏฐ-
ปรมัตถ์” ท่านกล่าวคำขัดแย้งใดในตอนต้นนั้นว่า “ข้าพเจ้ายอมรับว่า ข้าพเจ้าหยั่งรู้
บุคคลไม่ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ แต่ไม่ยอมรับว่า ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลไม่ได้ในอวัยวะ
ทั้งปวงโดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์” คำนั้นของท่านผิด ฯลฯ
นิคคหะที่ ๘ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๑๕ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๑. ปุคคลกถา
๕. สุทธิกสังสันทนะ
การเทียบเคียงบุคคลกับสภาวธรรมล้วน ๆ๑
[๑๗] สก. ท่านหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดุจหยั่งรู้รูปได้โดย
สัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. รูปกับบุคคลเป็นคนละอย่างกันใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น๒
สก. ท่านจงรับนิคคหะ ดังต่อไปนี้
หากท่านหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดุจหยั่งรู้รูปได้โดยสัจฉิกัฏฐ-
ปรมัตถ์ ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “รูปกับบุคคลเป็นคนละอย่างกัน” ท่าน
กล่าวคำขัดแย้งใดในตอนต้นนั้นว่า “ข้าพเจ้ายอมรับว่า ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลได้โดย
สัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดุจหยั่งรู้รูปได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ แต่ไม่ยอมรับว่า รูปกับ
บุคคลเป็นคนละอย่างกัน” คำนั้นของท่านผิด
อนึ่ง หากท่านไม่ยอมรับว่า “รูปกับบุคคลเป็นคนละอย่างกัน” ท่านก็ไม่
ควรยอมรับว่า “ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดุจหยั่งรู้รูปได้โดย
สัจฉิกัฏฐปรมัตถ์” ท่านกล่าวคำขัดแย้งใดในตอนต้นนั้นว่า “ข้าพเจ้ายอมรับว่า
ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดุจหยั่งรู้รูปได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์
แต่ไม่ยอมรับว่า รูปกับบุคคลเป็นคนละอย่างกัน” คำนั้นของท่านผิด ฯลฯ
[๑๘] สก. ท่านหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดุจหยั่งรู้เวทนาได้โดย
สัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ฯลฯ ดุจหยั่งรู้สัญญา ฯลฯ ดุจหยั่งรู้สังขาร ฯลฯ ดุจหยั่งรู้
วิญญาณได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ใช่ไหม
ปร. ใช่

เชิงอรรถ :
๑ หมายถึงตอนที่ว่าด้วยการซักถามถึงการเปรียบเทียบบุคคลกับสภาวธรรมแต่ละอย่างในสภาวธรรม ๕๗
ประการ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๑๗-๒๗/๑๓๘-๑๓๙)
๒ เพราะมีความเห็นว่า ถ้าตอบรับก็จะขัดกับลัทธิของตนที่ว่ามีสภาพบางอย่างที่เป็นบุคคลซึ่งถือว่าเหมือน
กับรูปก็มิใช่ ต่างกับรูปก็มิใช่ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๑๗-๒๗/๑๓๘-๑๓๙, อภิ.มูลฏีกา ๓/๑๗-๒๗/๖๑-๖๒,
อภิ.อนุฏีกา ๓/๑๗-๒๗/๘๕-๘๖) และขัดกับพระสูตรที่ว่า พระผู้มีพระภาคไม่ทรงตอบปัญหาในเรื่องนี้
(สํ.สฬา. (แปล) ๑๘/๔๑๖/๓๔๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๑๖ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๑. ปุคคลกถา
สก. วิญญาณกับบุคคลเป็นคนละอย่างกันใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น
สก. ท่านจงรับนิคคหะ ดังต่อไปนี้
หากท่านหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดุจหยั่งรู้วิญญาณได้โดยสัจฉิกัฏฐ-
ปรมัตถ์ ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “วิญญาณกับบุคคลเป็นคนละอย่างกัน”
ท่านกล่าวคำขัดแย้งใดในตอนต้นนั้นว่า “ข้าพเจ้ายอมรับว่า ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคล
ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดุจหยั่งรู้วิญญาณได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ แต่ไม่ยอมรับว่า
วิญญาณกับบุคคลเป็นคนละอย่างกัน” คำนั้นของท่านผิด
อนึ่ง หากท่านไม่ยอมรับว่า “วิญญาณกับบุคคลเป็นคนละอย่างกัน” ท่านก็
ไม่ควรยอมรับว่า “ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดุจหยั่งรู้วิญญาณ
ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์” ท่านกล่าวคำขัดแย้งใดในตอนต้นนั้นว่า “ข้าพเจ้ายอมรับว่า
ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดุจหยั่งรู้วิญญาณได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์
แต่ไม่ยอมรับว่า วิญญาณกับบุคคลเป็นคนละอย่างกัน” คำนั้นของท่านผิด ฯลฯ
[๑๙] สก. ท่านหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดุจหยั่งรู้จักขายตนะได้
โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ฯลฯ ดุจหยั่งรู้โสตายตนะ ฯลฯ ดุจหยั่งรู้ฆานายตนะ ฯลฯ
ดุจหยั่งรู้ชิวหายตนะ ฯลฯ ดุจหยั่งรู้กายายตนะ ฯลฯ ดุจหยั่งรู้รูปายตนะ ฯลฯ
ดุจหยั่งรู้สัททายตนะ ฯลฯ ดุจหยั่งรู้คันธายตนะ ฯลฯ ดุจหยั่งรู้รสายตนะ ฯลฯ
ดุจหยั่งรู้โผฏฐัพพายตนะ ฯลฯ ดุจหยั่งรู้มนายตนะ ฯลฯ ดุจหยั่งรู้ธัมมายตนะได้
โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ฯลฯ
[๒๐] สก. ท่านหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดุจหยั่งรู้จักขุธาตุได้โดย
สัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ฯลฯ ดุจหยั่งรู้โสตธาตุ ฯลฯ ดุจหยั่งรู้ฆานธาตุ ฯลฯ ดุจหยั่งรู้
ชิวหาธาตุ ฯลฯ ดุจหยั่งรู้กายธาตุ ฯลฯ ดุจหยั่งรู้รูปธาตุ ฯลฯ ดุจหยั่งรู้สัททธาตุ
ฯลฯ ดุจหยั่งรู้คันธธาตุ ฯลฯ ดุจหยั่งรู้รสธาตุ ฯลฯ ดุจหยั่งรู้โผฏฐัพพธาตุ ฯลฯ
ดุจหยั่งรู้จักขุวิญญาณธาตุ ฯลฯ ดุจหยั่งรู้โสตวิญญาณธาตุ ฯลฯ ดุจหยั่งรู้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๑๗ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๑. ปุคคลกถา
ฆานวิญญาณธาตุ ฯลฯ ดุจหยั่งรู้ชิวหาวิญญาณธาตุ ฯลฯ ดุจหยั่งรู้กายวิญญาณ
ธาตุ ฯลฯ ดุจหยั่งรู้มโนธาตุ ฯลฯ ดุจหยั่งรู้มโนวิญญาณธาตุ ฯลฯ ดุจหยั่งรู้
ธัมมธาตุได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ฯลฯ
[๒๑] สก. ท่านหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดุจหยั่งรู้จักขุนทรีย์ได้โดย
สัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ฯลฯ ดุจหยั่งรู้โสตินทรีย์ ฯลฯ ดุจหยั่งรู้ฆานินทรีย์ ฯลฯ
ดุจหยั่งรู้ชิวหินทรีย์ ฯลฯ ดุจหยั่งรู้กายินทรีย์ ฯลฯ ดุจหยั่งรู้มนินทรีย์ ฯลฯ
ดุจหยั่งรู้ชีวิตินทรีย์ ฯลฯ ดุจหยั่งรู้อิตถินทรีย์ ฯลฯ ดุจหยั่งรู้ปุริสินทรีย์ ฯลฯ
ดุจหยั่งรู้สุขินทรีย์ ฯลฯ ดุจหยั่งรู้ทุกขินทรีย์ ฯลฯ ดุจหยั่งรู้โสมนัสสินทรีย์ ฯลฯ
ดุจหยั่งรู้โทมนัสสินทรีย์ ฯลฯ ดุจหยั่งรู้อุเปกขินทรีย์ ฯลฯ ดุจหยั่งรู้สัทธินทรีย์ ฯลฯ
ดุจหยั่งรู้วิริยินทรีย์ ฯลฯ ดุจหยั่งรู้สตินทรีย์ ฯลฯ ดุจหยั่งรู้สมาธินทรีย์ ฯลฯ
ดุจหยั่งรู้ปัญญินทรีย์ ฯลฯ ดุจหยั่งรู้อนัญญาตัญญัสสามีตินทรีย์ ฯลฯ ดุจหยั่งรู้
อัญญินทรีย์ ฯลฯ
สก. ท่านหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดุจหยั่งรู้อัญญาตาวินทรีย์ได้โดย
สัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. อัญญาตาวินทรีย์กับบุคคลเป็นคนละอย่างกันใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น
สก. ท่านจงรับนิคคหะ ดังต่อไปนี้
หากท่านหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดุจหยั่งรู้อัญญาตาวินทรีย์ได้โดย
สัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “อัญญาตาวินทรีย์กับบุคคลเป็น
คนละอย่างกัน” ท่านกล่าวคำขัดแย้งใดในตอนต้นนั้นว่า “ข้าพเจ้ายอมรับว่า
ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดุจหยั่งรู้อัญญาตาวินทรีย์ได้โดย
สัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ แต่ไม่ยอมรับว่า อัญญาตาวินทรีย์กับบุคคลเป็นคนละอย่างกัน”
คำนั้นของท่านผิด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๑๘ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๑. ปุคคลกถา
อนึ่ง หากท่านไม่ยอมรับว่า “อัญญาตาวินทรีย์กับบุคคลเป็นคนละอย่างกัน”
ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดุจหยั่งรู้
อัญญาตาวินทรีย์ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์” ท่านกล่าวคำขัดแย้งใดในตอนต้นนั้นว่า
“ข้าพเจ้ายอมรับว่า ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดุจหยั่งรู้อัญญาตา-
วินทรีย์ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ แต่ไม่ยอมรับว่า อัญญาตาวินทรีย์กับบุคคลเป็นคน
ละอย่างกัน” คำนั้นของท่านผิด ฯลฯ
[๒๒] ปร. ท่านหยั่งรู้บุคคลไม่ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตนเองมีอยู่”๑
และ๒ท่านหยั่งรู้รูปได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. รูปกับบุคคลเป็นคนละอย่างกันใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น๓
ปร. ท่านจงรับปฏิกรรม ดังต่อไปนี้
หากพระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า ‘บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตนเองมีอยู่’ และ
ท่านหยั่งรู้รูปได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “รูปกับบุคคล
เป็นคนละอย่างกัน” ท่านกล่าวคำขัดแย้งใดในตอนต้นนั้นว่า “ข้าพเจ้ายอมรับว่า
พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า ‘บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตนเองมีอยู่’ และข้าพเจ้าหยั่ง
รู้รูปได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ แต่ไม่ยอมรับว่า รูปกับบุคคลเป็นคนละอย่างกัน”
คำนั้นของท่านผิด

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ องฺ.จตุกฺก. (แปล) ๒๑/๙๖/๑๔๕, อภิ.ปุ. (แปล) ๓๖/๑๗๓/๒๐๕
๒ ความข้อนี้แปลต่างกับข้อ ๑๗-๒๑ หน้า ๑๖-๑๘ เพราะข้อความข้างหน้าใช้ในความหมายเปรียบเทียบ
ความเหมือน ส่วนในที่นี้ใช้ในความหมายเปรียบเทียบความแตกต่าง
๓ เพราะมีความเห็นว่า ปัญหานี้เกี่ยวกับความเหมือนและความต่างระหว่างสมมติ(บุคคล) กับปรมัตถ์ (รูป)
ซึ่งเป็นปัญหาที่พระผู้มีพระภาคไม่ทรงพยากรณ์ แต่ต่างกับเหตุผลที่ฝ่ายปรวาทียกขึ้นมาอ้าง(ดูเชิงอรรถที่ ๒
ข้อ ๑๗ หน้า ๑๖ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๑๗-๒๗/๑๓๙, อภิ.มูลฏีกา ๒/๑๗-๒๗/๖๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๑๙ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๑. ปุคคลกถา
อนึ่ง หากท่านไม่ยอมรับว่า “รูปกับบุคคลเป็นคนละอย่างกัน” ท่านก็ไม่
ควรยอมรับว่า “พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า ‘บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตนเองมีอยู่’
และข้าพเจ้าหยั่งรู้รูปได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์” ท่านกล่าวคำขัดแย้งใดในตอนต้นนั้นว่า
“ข้าพเจ้ายอมรับว่า พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า ‘บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตนเองมี
อยู่’ และข้าพเจ้าหยั่งรู้รูปได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ แต่ไม่ยอมรับว่า รูปกับบุคคล
เป็นคนละอย่างกัน” คำนั้นของท่านผิด ฯลฯ
[๒๓] ปร. ท่านหยั่งรู้บุคคลไม่ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตนเองมีอยู่”
และท่านหยั่งรู้เวทนา ฯลฯ หยั่งรู้สัญญา ฯลฯ หยั่งรู้สังขาร ฯลฯ
ปร. พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตนเองมีอยู่” และ
ท่านหยั่งรู้วิญญาณได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. วิญญาณกับบุคคลเป็นคนละอย่างกันใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น
ปร. ท่านจงรับปฏิกรรม ดังต่อไปนี้
หากพระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า ‘บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตนเองมีอยู่’ และ
ท่านหยั่งรู้วิญญาณได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “วิญญาณ
กับบุคคลเป็นคนละอย่างกัน” ท่านกล่าวคำขัดแย้งใดในตอนต้นนั้นว่า “ข้าพเจ้า
ยอมรับว่า พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า ‘บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตนเองมีอยู’่ และ
ข้าพเจ้าหยั่งรู้วิญญาณได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ แต่ไม่ยอมรับว่า วิญญาณกับบุคคล
เป็นคนละอย่างกัน” คำนั้นของท่านผิด
อนึ่ง หากท่านไม่ยอมรับว่า “วิญญาณกับบุคคลเป็นคนละอย่างกัน” ท่านก็
ไม่ควรยอมรับว่า “พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า ‘บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตนเองมีอยู่’
และข้าพเจ้าหยั่งรู้วิญญาณได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์” ท่านกล่าวคำขัดแย้งใดในตอน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๒๐ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๑. ปุคคลกถา
ต้นนั้นว่า “ข้าพเจ้ายอมรับว่า พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า ‘บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อ
เกื้อกูลตนเองมีอยู่’ และข้าพเจ้าหยั่งรู้วิญญาณได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ แต่ไม่ยอม
รับว่า วิญญาณกับบุคคลเป็นคนละอย่างกัน” คำนั้นของท่านผิด ฯลฯ
[๒๔] ปร. ท่านหยั่งรู้บุคคลไม่ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตนเองมีอยู่”
และท่านหยั่งรู้จักขายตนะได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ฯลฯ หยั่งรู้โสตายตนะ ฯลฯ
ปร. พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตนเองมีอยู่” และ
ท่านหยั่งรู้ธัมมายตนะได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ฯลฯ
[๒๕] ปร. ท่านหยั่งรู้จักขุธาตุได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ฯลฯ หยั่งรู้กายธาตุ
ฯลฯ หยั่งรู้รูปธาตุ ฯลฯ หยั่งรู้โผฏฐัพพธาตุ ฯลฯ หยั่งรู้จักขุวิญญาณธาตุ ฯลฯ
หยั่งรู้มโนวิญญาณธาตุ ฯลฯ หยั่งรู้ธัมมธาตุได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ฯลฯ
[๒๖] ปร. ท่านหยั่งรู้จักขุนทรีย์ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ฯลฯ หยั่งรู้โสตินทรีย์
ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ฯลฯ หยั่งรู้อัญญินทรีย์ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ฯลฯ
[๒๗] ปร. ท่านหยั่งรู้บุคคลไม่ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตนเองมีอยู่”
และท่านหยั่งรู้อัญญาตาวินทรีย์ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. อัญญาตาวินทรีย์กับบุคคลเป็นคนละอย่างกันใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น
ปร. ท่านจงรับปฏิกรรม ดังต่อไปนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๒๑ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๑. ปุคคลกถา
หากพระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตนเองมีอยู่” และ
ท่านหยั่งรู้อัญญาตาวินทรีย์ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า
“อัญญาตาวินทรีย์กับบุคคลเป็นคนละอย่างกัน” ท่านกล่าวคำขัดแย้งใดในตอนต้นนั้นว่า
“ข้าพเจ้ายอมรับว่า พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า ‘บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตนเอง
มีอยู่’ และข้าพเจ้าหยั่งรู้อัญญาตาวินทรีย์ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ แต่ไม่ยอมรับว่า
อัญญาตาวินทรีย์กับบุคคลเป็นคนละอย่างกัน” คำนั้นของท่านผิด
อนึ่ง หากท่านไม่ยอมรับว่า “อัญญาตาวินทรีย์กับบุคคลเป็นคนละอย่างกัน”
ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า ‘บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตน
เองมีอยู่’ และข้าพเจ้าหยั่งรู้อัญญาตาวินทรีย์ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์” ท่านกล่าว
คำขัดแย้งใดในตอนต้นนั้นว่า “ข้าพเจ้ายอมรับว่า พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า
‘บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตนเองมีอยู่’ และข้าพเจ้าหยั่งรู้อัญญาตาวินทรีย์ได้โดย
สัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ แต่ไม่ยอมรับว่า อัญญาตาวินทรีย์กับบุคคลเป็นคนละอย่างกัน”
คำนั้นของท่านผิด ฯลฯ
สุทธิกสังสันทนะ จบ

๖. โอปัมมสังสันทนะ
ว่าด้วยการเทียบเคียงโดยข้ออุปมา
[๒๘] สก. ท่านหยั่งรู้รูปได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดุจหยั่งรู้เวทนาได้โดย
สัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ (ดังนั้น) รูปกับเวทนาจึงเป็นคนละอย่างกันใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ท่านหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดุจหยั่งรู้รูปได้โดยสัจฉิกัฏฐ-
ปรมัตถ์ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. รูปกับบุคคลเป็นคนละอย่างกันใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๒๒ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๑. ปุคคลกถา
สก. ท่านจงรับนิคคหะ ดังต่อไปนี้
หากท่านหยั่งรู้รูปได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดุจหยั่งรู้เวทนาได้โดยสัจฉิกัฏฐ-
ปรมัตถ์ (ดังนั้น) รูปกับเวทนาจึงเป็นคนละอย่างกัน ท่านหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐ-
ปรมัตถ์ ดุจหยั่งรู้รูปได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “รูป
กับบุคคลเป็นคนละอย่างกัน” ท่านกล่าวคำขัดแย้งใดในตอนต้นนั้นว่า “ข้าพเจ้า
ยอมรับว่า ข้าพเจ้าหยั่งรู้รูปได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดุจหยั่งรู้เวทนาได้โดย
สัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ (ดังนั้น) รูปกับเวทนาเป็นคนละอย่างกัน ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลได้
โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดุจหยั่งรู้รูปได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ แต่ไม่ยอมรับว่า รูปกับ
บุคคลเป็นคนละอย่างกัน” คำนั้นของท่านผิด
อนึ่ง หากท่านไม่ยอมรับว่า “รูปกับบุคคลเป็นคนละอย่างกัน” ท่านก็ไม่
ควรยอมรับว่า “ข้าพเจ้าหยั่งรู้รูปได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดุจหยั่งรู้เวทนาได้โดย
สัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ รูปกับเวทนาเป็นคนละอย่างกัน ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลได้โดย
สัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดุจหยั่งรู้รูปได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์” ท่านกล่าวคำขัดแย้งใดใน
ตอนต้นนั้นว่า “ข้าพเจ้ายอมรับว่า ข้าพเจ้าหยั่งรู้รูปได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดุจ
หยั่งรู้เวทนาได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ (ดังนั้น) รูปกับเวทนาเป็นคนละอย่างกัน ข้าพเจ้า
หยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดุจหยั่งรู้รูปได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ แต่ไม่ยอม
รับว่า รูปกับบุคคลเป็นคนละอย่างกัน” คำนั้นของท่านผิด ฯลฯ
[๒๙] สก. ท่านหยั่งรู้รูปได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดุจหยั่งรู้สัญญา ฯลฯ ดุจ
หยั่งรู้สังขาร ฯลฯ
สก. ท่านหยั่งรู้รูปได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดุจหยั่งรู้วิญญาณได้โดยสัจฉิกัฏฐ-
ปรมัตถ์ (ดังนั้น) รูปกับวิญญาณจึงเป็นคนละอย่างกันใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ท่านหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดุจหยั่งรู้รูปได้โดยสัจฉิกัฏฐ-
ปรมัตถ์ใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๒๓ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๑. ปุคคลกถา
สก. รูปกับบุคคลเป็นคนละอย่างกันใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น
สก. ท่านจงรับนิคคหะ ดังต่อไปนี้
หากท่านหยั่งรู้รูปได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดุจหยั่งรู้วิญญาณได้โดยสัจฉิกัฏฐ-
ปรมัตถ์ (ดังนั้น) รูปกับวิญญาณจึงเป็นคนละอย่างกัน ท่านหยั่งรู้บุคคลได้โดย
สัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดุจหยั่งรู้รูปได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า
“รูปกับบุคคลเป็นคนละอย่างกัน” ท่านกล่าวคำขัดแย้งใดในตอนต้นนั้นว่า
“ข้าพเจ้ายอมรับว่า ข้าพเจ้าหยั่งรู้รูปได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดุจหยั่งรู้วิญญาณได้
โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ (ดังนั้น) รูปกับวิญญาณจึงเป็นคนละอย่างกัน ข้าพเจ้าหยั่งรู้
บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดุจหยั่งรู้รูปได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ แต่ไม่ยอมรับว่า
รูปกับบุคคลเป็นคนละอย่างกัน” คำนั้นของท่านผิด
อนึ่ง หากท่านไม่ยอมรับว่า “รูปกับบุคคลเป็นคนละอย่างกัน” ท่านก็
ไม่ควรยอมรับว่า “ข้าพเจ้าหยั่งรู้รูปได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดุจหยั่งรู้วิญญาณได้
โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ (ดังนั้น) รูปกับวิญญาณจึงเป็นคนละอย่างกัน ข้าพเจ้าหยั่งรู้
บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดุจหยั่งรู้รูปได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์” ท่านกล่าวคำ
ขัดแย้งใด ในตอนต้นนั้นว่า “ข้าพเจ้ายอมรับว่า ข้าพเจ้าหยั่งรู้รูปได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์
ดุจหยั่งรู้วิญญาณได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ (ดังนั้น) รูปกับวิญญาณจึงเป็นคนละ
อย่างกัน ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดุจหยั่งรู้รูปได้โดยสัจฉิกัฏฐ-
ปรมัตถ์ แต่ไม่ยอมรับว่า รูปกับบุคคลเป็นคนละอย่างกัน” คำนั้นของท่านผิด ฯลฯ
[๓๐] สก. ท่านหยั่งรู้เวทนาได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดุจหยั่งรู้สัญญา ฯลฯ ดุจ
หยั่งรู้สังขาร ฯลฯ ดุจหยั่งรู้วิญญาณ ฯลฯ ดุจหยั่งรู้รูปได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ฯลฯ
[๓๑] สก. ท่านหยั่งรู้สัญญาได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดุจหยั่งรู้สังขาร ฯลฯ ดุจ
หยั่งรู้วิญญาณ ฯลฯ ดุจหยั่งรู้รูป ฯลฯ ดุจหยั่งรู้เวทนาได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ฯลฯ
[๓๒] สก. ท่านหยั่งรู้สังขารได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดุจหยั่งรู้วิญญาณ ฯลฯ
ดุจหยั่งรู้รูป ฯลฯ ดุจหยั่งรู้เวทนา ฯลฯ ดุจหยั่งรู้สัญญาได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์
ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๒๔ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๑. ปุคคลกถา
[๓๓] สก. ท่านหยั่งรู้วิญญาณได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดุจหยั่งรู้รูป ฯลฯ ดุจ
หยั่งรู้เวทนา ฯลฯ ดุจหยั่งรู้สัญญา ฯลฯ
สก. ท่านหยั่งรู้วิญญาณได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดุจหยั่งรู้สังขารได้โดย
สัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ (ดังนั้น) วิญญาณกับสังขารจึงเป็นคนละอย่างกันใช่ไหม
ปร ใช่
สก. ท่านหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดุจหยั่งรู้วิญญาณได้โดย
สัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. วิญญาณกับบุคคลเป็นคนละอย่างกันใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น
สก. ท่านจงรับนิคคหะ ดังต่อไปนี้
หากท่านหยั่งรู้วิญญาณได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดุจหยั่งรู้สังขารได้โดย
สัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ (ดังนั้น) วิญญาณกับสังขารจึงเป็นคนละอย่างกัน ท่านหยั่งรู้
บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดุจหยั่งรู้วิญญาณได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดังนั้น
ท่านจึงควรยอมรับว่า “วิญญาณกับบุคคลเป็นคนละอย่างกัน” ท่านกล่าวคำขัดแย้ง
ใดในตอนต้นนั้นว่า “ข้าพเจ้ายอมรับว่า ข้าพเจ้าหยั่งรู้วิญญาณได้โดยสัจฉิกัฏฐ-
ปรมัตถ์ ดุจหยั่งรู้สังขารได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ (ดังนั้น) วิญญาณกับสังขารจึง
เป็นคนละอย่างกัน ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดุจหยั่งรู้วิญญาณ
ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ แต่ไม่ยอมรับว่า วิญญาณกับบุคคลเป็นคนละอย่างกัน”
คำนั้นของท่านผิด
อนึ่ง หากท่านไม่ยอมรับว่า “วิญญาณกับบุคคลเป็นคนละอย่างกัน” ท่านก็
ไม่ควรยอมรับว่า “ข้าพเจ้าหยั่งรู้วิญญาณได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดุจหยั่งรู้สังขาร
ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ (ดังนั้น) วิญญาณกับสังขารจึงเป็นคนละอย่างกัน ข้าพเจ้า
หยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดุจหยั่งรู้วิญญาณได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์”
ท่านกล่าวคำขัดแย้งใดในตอนต้นนั้นว่า “ข้าพเจ้ายอมรับว่า ข้าพเจ้าหยั่งรู้วิญญาณ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๒๕ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๑. ปุคคลกถา
ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดุจหยั่งรู้สังขารได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ (ดังนั้น) วิญญาณ
กับสังขารจึงเป็นคนละอย่างกัน ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดุจ
หยั่งรู้วิญญาณได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ แต่ไม่ยอมรับว่า วิญญาณกับบุคคลเป็นคน
ละอย่างกัน” คำนั้นของท่านผิด ฯลฯ
[๓๔] สก. ท่านหยั่งรู้จักขายตนะได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดุจหยั่งรู้โสตายตนะ
ฯลฯ ดุจหยั่งรู้ธัมมายตนะได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ฯลฯ ท่านหยั่งรู้โสตายตนะ ฯลฯ
หยั่งรู้ธัมมายตนะได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดุจหยั่งรู้จักขายตนะ ฯลฯ ดุจหยั่งรู้
มนายตนะได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ฯลฯ
[๓๕] สก. ท่านหยั่งรู้จักขุธาตุได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดุจหยั่งรู้โสตธาตุ ฯลฯ
ดุจหยั่งรู้ธัมมธาตุได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ฯลฯ ท่านหยั่งรู้โสตธาตุ ฯลฯ หยั่งรู้
ธัมมธาตุได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดุจหยั่งรู้จักขุธาตุ ฯลฯ ดุจหยั่งรู้มโนวิญญาณธาตุ
ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ฯลฯ
[๓๖] สก. ท่านหยั่งรู้จักขุนทรีย์ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดุจหยั่งรู้โสตินทรีย์ ฯลฯ
ดุจหยั่งรู้อัญญาตาวินทรีย์ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ฯลฯ ท่านหยั่งรู้โสตินทรีย์ ฯลฯ
หยั่งรู้อัญญาตาวินทรีย์ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดุจหยั่งรู้จักขุนทรีย์ ฯลฯ
สก. ท่านหยั่งรู้อัญญาตาวินทรีย์ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดุจหยั่งรู้อัญญินทรีย์
ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ (ดังนั้น) อัญญาตาวินทรีย์กับอัญญินทรีย์จึงเป็นคนละ
อย่างกันใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ท่านหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดุจหยั่งรู้อัญญาตาวินทรีย์ได้
โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. อัญญาตาวินทรีย์กับบุคคลเป็นคนละอย่างกันใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น
สก. ท่านจงรับนิคคหะ ดังต่อไปนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๒๖ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๑. ปุคคลกถา
หากท่านหยั่งรู้อัญญาตาวินทรีย์ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดุจหยั่งรู้อัญญินทรีย์ได้
โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ (ดังนั้น) อัญญาตาวินทรีย์กับอัญญินทรีย์จึงเป็นคนละอย่างกัน
ท่านหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดุจหยั่งรู้อัญญาตาวินทรีย์ได้โดยสัจฉิกัฏฐ-
ปรมัตถ์ ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “อัญญาตาวินทรีย์กับบุคคลเป็นคนละอย่าง
กัน” ท่านกล่าวคำขัดแย้งใดในตอนต้นนั้นว่า “ข้าพเจ้ายอมรับว่า ข้าพเจ้าหยั่งรู้
อัญญาตาวินทรีย์ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดุจหยั่งรู้อัญญินทรีย์ได้โดยสัจฉิกัฏฐ-
ปรมัตถ์ (ดังนั้น) อัญญาตาวินทรีย์กับอัญญินทรีย์จึงเป็นคนละอย่างกัน ข้าพเจ้า
หยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดุจหยั่งรู้อัญญาตาวินทรีย์ได้โดยสัจฉิกัฏฐ-
ปรมัตถ์ แต่ไม่ยอมรับว่า อัญญาตาวินทรีย์กับบุคคลเป็นคนละอย่างกัน” คำนั้น
ของท่านผิด
อนึ่ง หากท่านไม่ยอมรับว่า “อัญญาตาวินทรีย์กับบุคคลเป็นคนละอย่างกัน”
ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “ข้าพเจ้าหยั่งรู้อัญญาตาวินทรีย์ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์
ดุจหยั่งรู้อัญญินทรีย์ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ (ดังนั้น) อัญญาตาวินทรีย์กับ
อัญญินทรีย์จึงเป็นคนละอย่างกัน ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดุจ
หยั่งรู้อัญญาตาวินทรีย์ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์” ท่านกล่าวคำขัดแย้งใดในตอนต้น
นั้นว่า “ข้าพเจ้ายอมรับว่า ข้าพเจ้าหยั่งรู้อัญญาตาวินทรีย์ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์
ดุจหยั่งรู้อัญญินทรีย์ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ (ดังนั้น) อัญญาตาวินทรีย์กับอัญญิน-
ทรีย์จึงเป็นคนละอย่างกัน ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดุจหยั่งรู้
อัญญาตาวินทรีย์ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ แต่ไม่ยอมรับว่า อัญญาตาวินทรีย์กับ
บุคคลเป็นคนละอย่างกัน” คำนั้นของท่านผิด ฯลฯ
[๓๗] ปร. ท่านหยั่งรู้รูปได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดุจหยั่งรู้เวทนาได้โดย
สัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ (ดังนั้น) รูปกับเวทนาจึงเป็นคนละอย่างกันใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตนเองมีอยู่”
และท่านหยั่งรู้รูปได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ใช่ไหม
สก. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๒๗ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๑. ปุคคลกถา
ปร. รูปกับบุคคลเป็นคนละอย่างกันใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น
ปร. ท่านจงรับปฏิกรรม ดังต่อไปนี้
หากท่านหยั่งรู้รูปได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดุจหยั่งรู้เวทนาได้โดยสัจฉิกัฏฐ-
ปรมัตถ์ (ดังนั้น) รูปกับเวทนาจึงเป็นคนละอย่างกัน พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า
“บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตนเองมีอยู่” และท่านหยั่งรู้รูปได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์
ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “รูปกับบุคคลเป็นคนละอย่างกัน” ท่านกล่าวคำ
ขัดแย้งใดในตอนต้นนั้นว่า “ข้าพเจ้ายอมรับว่า ข้าพเจ้าหยั่งรู้รูปได้โดยสัจฉิกัฏฐ-
ปรมัตถ์ ดุจหยั่งรู้เวทนาได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ (ดังนั้น) รูปกับเวทนาจึงเป็นคนละ
อย่างกัน พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า ‘บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตนเองมีอยู่’ และข้าพเจ้า
หยั่งรู้รูปได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ แต่ไม่ยอมรับว่า รูปกับบุคคลเป็นคนละอย่างกัน”
คำนั้นของท่านผิด
อนึ่ง หากท่านไม่ยอมรับว่า “รูปกับบุคคลเป็นคนละอย่างกัน” ท่านก็ไม่
ควรยอมรับว่า “ข้าพเจ้าหยั่งรู้รูปได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดุจหยั่งรู้เวทนาได้โดย
สัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ (ดังนั้น) รูปกับเวทนาจึงเป็นคนละอย่างกัน พระผู้มีพระภาค
ตรัสไว้ว่า ‘บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตนเองมีอยู่’ และข้าพเจ้าหยั่งรู้รูปได้โดย
สัจฉิกัฏฐปรมัตถ์” ท่านกล่าวคำขัดแย้งใดในตอนต้นนั้นว่า “ข้าพเจ้ายอมรับว่า
ข้าพเจ้าหยั่งรู้รูปได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดุจหยั่งรู้เวทนาได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ (ดังนั้น)
รูปกับเวทนาจึงเป็นคนละอย่างกัน พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า ‘บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อ
เกื้อกูลตนเองมีอยู่’ และข้าพเจ้าหยั่งรู้รูปได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ แต่ไม่ยอมรับว่า
รูปกับบุคคลเป็นคนละอย่างกัน” คำนั้นของท่านผิด ฯลฯ
[๓๘] ปร. ท่านหยั่งรู้รูปได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดุจหยั่งรู้สัญญา ฯลฯ ดุจหยั่งรู้
สังขาร ฯลฯ ดุจหยั่งรู้วิญญาณได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ฯลฯ
[๓๙] ปร. ท่านหยั่งรู้เวทนาได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดุจหยั่งรู้สัญญา ฯลฯ
ดุจหยั่งรู้สังขาร ฯลฯ ดุจหยั่งรู้วิญญาณ ฯลฯ ดุจหยั่งรู้รูปได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์
ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๒๘ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๑. ปุคคลกถา
[๔๐] ปร. ท่านหยั่งรู้สัญญาได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดุจหยั่งรู้สังขาร ฯลฯ
ดุจหยั่งรู้วิญญาณ ฯลฯ ดุจหยั่งรู้รูป ฯลฯ ดุจหยั่งรู้เวทนาได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์
ฯลฯ
[๔๑] ปร. ท่านหยั่งรู้สังขารได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดุจหยั่งรู้วิญญาณ ฯลฯ
ดุจหยั่งรู้รูป ฯลฯ ดุจหยั่งรู้เวทนา ฯลฯ ดุจหยั่งรู้สัญญาได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์
ฯลฯ
[๔๒] ปร. ท่านหยั่งรู้วิญญาณได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดุจหยั่งรู้รูป ฯลฯ
ดุจหยั่งรู้เวทนา ฯลฯ ดุจหยั่งรู้สัญญา ฯลฯ ดุจหยั่งรู้สังขารได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์
ฯลฯ
[๔๓] ปร. ท่านหยั่งรู้จักขายตนะได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดุจหยั่งรู้โสตายตนะ
ฯลฯ ดุจหยั่งรู้ธัมมายตนะได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ฯลฯ ท่านหยั่งรู้โสตายตนะ ฯลฯ
หยั่งรู้ธัมมายตนะได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดุจหยั่งรู้จักขายตนะ ฯลฯ ดุจหยั่งรู้
มนายตนะได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ฯลฯ
[๔๔] ปร. ท่านหยั่งรู้จักขุธาตุได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดุจหยั่งรู้โสตธาตุ ฯลฯ
ดุจหยั่งรู้ธัมมธาตุได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ฯลฯ ท่านหยั่งรู้โสตธาตุได้โดย
สัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ฯลฯ หยั่งรู้ธัมมธาตุได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดุจหยั่งรู้จักขุธาตุ
ฯลฯ ดุจหยั่งรู้มโนวิญญาณธาตุได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ฯลฯ
[๔๕] ปร. ท่านหยั่งรู้จักขุนทรีย์ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดุจหยั่งรู้โสตินทรีย์ ฯลฯ
ดุจหยั่งรู้อัญญาตาวินทรีย์ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ฯลฯ ท่านหยั่งรู้โสตินทรีย์ ฯลฯ
ท่านหยั่งรู้อัญญาตาวินทรีย์ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดุจหยั่งรู้จักขุนทรีย์ ฯลฯ
สก. ท่านหยั่งรู้อัญญาตาวินทรีย์ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดุจหยั่งรู้อัญญินทรีย์
ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ อัญญาตาวินทรีย์กับอัญญินทรีย์เป็นคนละอย่างกันใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตนเองมีอยู่”
และท่านหยั่งรู้อัญญาตาวินทรีย์ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ใช่ไหม
สก. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๒๙ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๑. ปุคคลกถา
ปร. อัญญาตาวินทรีย์กับบุคคลเป็นคนละอย่างกันใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น
ปร. ท่านจงรับปฏิกรรม ดังต่อไปนี้
หากท่านหยั่งรู้อัญญาตาวินทรีย์ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดุจหยั่งรู้อัญญินทรีย์
ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ (ดังนั้น) อัญญาตาวินทรีย์กับอัญญินทรีย์จึงเป็นคนละอย่างกัน
พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตนเองมีอยู่” และท่านหยั่งรู้
อัญญาตาวินทรีย์ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “อัญญาตา-
วินทรีย์กับบุคคลเป็นคนละอย่างกัน” ท่านกล่าวคำขัดแย้งใดในตอนต้นนั้นว่า
“ข้าพเจ้ายอมรับว่า ข้าพเจ้าหยั่งรู้อัญญาตาวินทรีย์ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดุจหยั่งรู้
อัญญินทรีย์ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ (ดังนั้น) อัญญาตาวินทรีย์กับอัญญินทรีย์จึงเป็น
คนละอย่างกัน พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า ‘บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตนเองมีอยู่’
และข้าพเจ้าหยั่งรู้อัญญาตาวินทรีย์ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ แต่ไม่ยอมรับว่า อัญญาตา-
วินทรีย์กับบุคคลเป็นคนละอย่างกัน” คำนั้นของท่านผิด
อนึ่ง หากท่านไม่ยอมรับว่า “อัญญาตาวินทรีย์กับบุคคลเป็นคนละอย่างกัน”
ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “ข้าพเจ้าหยั่งรู้อัญญาตาวินทรีย์ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดุจ
หยั่งรู้อัญญินทรีย์ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ (ดังนั้น) อัญญาตาวินทรีย์กับอัญญินทรีย์
จึงเป็นคนละอย่างกัน พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า ‘บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตนเอง
มีอยู่’ และข้าพเจ้าหยั่งรู้อัญญาตาวินทรีย์ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์” ท่านกล่าวคำขัด
แย้งใดในตอนต้นนั้นว่า “ข้าพเจ้ายอมรับว่า ข้าพเจ้าหยั่งรู้อัญญาตาวินทรีย์ได้โดย
สัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดุจหยั่งรู้อัญญินทรีย์ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ (ดังนั้น) อัญญาตา-
วินทรีย์กับอัญญินทรีย์จึงเป็นคนละอย่างกัน พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า ‘บุคคลผู้
ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตนเองมีอยู่’ และข้าพเจ้าหยั่งรู้อัญญาตาวินทรีย์ได้โดยสัจฉิกัฏฐ-
ปรมัตถ์ แต่ไม่ยอมรับว่า อัญญาตาวินทรีย์กับบุคคลเป็นคนละอย่างกัน” คำนั้นของ
ท่านผิด ฯลฯ

โอปัมมสังสันทนะ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๓๐ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๑. ปุคคลกถา
๗. จตุกกนยสังสันทนะ
ว่าด้วยการเทียบเคียงโดยนัย ๔ ประการ๑
[๔๖] สก. ท่านหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. รูปเป็นบุคคล๒ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น๓
สก. ท่านจงรับนิคคหะ ดังต่อไปนี้
หากท่านหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า
“รูปเป็นบุคคล” ท่านกล่าวคำขัดแย้งใดในตอนต้นนั้นว่า “ข้าพเจ้ายอมรับว่า
ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ แต่ไม่ยอมรับว่า รูปเป็นบุคคล” คำ
นั้นของท่านผิด
อนึ่ง หากท่านไม่ยอมรับว่า “รูปเป็นบุคคล” ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า
“ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์” ท่านกล่าวคำขัดแย้งใดในตอนต้นนั้น
ว่า “ข้าพเจ้ายอมรับว่า ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ แต่ไม่ยอมรับว่า
รูปเป็นบุคคล” คำนั้นของท่านผิด ฯลฯ
[๔๗] สก. ท่านหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ใช่ไหม
ปร. ใช่

เชิงอรรถ :
๑ หมายถึงตอนที่ว่าด้วยการเทียบเคียงบุคคลกับสภาวธรรม ๕๗ โดยนัย ๔ ประการ เช่น เทียบเคียง
บุคคลกับรูป ดังนี้ (๑) รูปเป็นบุคคล (๒) บุคคลอาศัยรูป (๓) บุคคลเป็นอื่นจากรูป (๔) รูปอาศัยบุคคล
(อภิ.ปญฺจ.อ. ๔๖-๕๒/๑๔๐)
๒ นัยที่ ๑
๓ ที่ปรวาทีตอบปฏิเสธ เพราะกลัวจะเป็นอุจเฉททิฏฐิ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๔๖-๕๒/๑๔๐)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๓๑ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๑. ปุคคลกถา
สก. บุคคลอาศัยรูป๑ ฯลฯ บุคคลเป็นอื่นจากรูป๒ ฯลฯ รูปอาศัยบุคคล๓
ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น
สก. ท่านจงรับนิคคหะ ดังต่อไปนี้
หากท่านหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า
“รูปอาศัยบุคคล” ท่านกล่าวคำขัดแย้งใดในตอนต้นนั้นว่า “ข้าพเจ้ายอมรับว่า
ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ แต่ไม่ยอมรับว่า รูปอาศัยบุคคล” คำ
นั้นของท่านผิด
อนึ่ง หากท่านไม่ยอมรับว่า “รูปอาศัยบุคคล” ท่านก็ไม่ควรยอมรับ
ว่า “ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์” ท่านกล่าวคำขัดแย้งใดในตอนต้นนั้น
ว่า “ข้าพเจ้ายอมรับว่า ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ แต่ไม่ยอมรับว่า
รูปอาศัยบุคคล” คำนั้นของท่านผิด ฯลฯ
[๔๘] สก. ท่านหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เวทนาเป็นบุคคล ฯลฯ บุคคลอาศัยเวทนา ฯลฯ บุคคลเป็นอื่นจาก
เวทนา ฯลฯ เวทนาอาศัยบุคคล ฯลฯ
สัญญาเป็นบุคคล ฯลฯ บุคคลอาศัยสัญญา ฯลฯ บุคคลเป็นอื่นจากสัญญา
ฯลฯ สัญญาอาศัยบุคคล ฯลฯ สังขารเป็นบุคคล ฯลฯ บุคคลอาศัยสังขาร ฯลฯ
บุคคลเป็นอื่นจากสังขาร ฯลฯ สังขารอาศัยบุคคล ฯลฯ วิญญาณเป็นบุคคล ฯลฯ
บุคคลอาศัยวิญญาณ ฯลฯ บุคคลเป็นอื่นจากวิญญาณ ฯลฯ วิญญาณอาศัย
บุคคลใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น

เชิงอรรถ :
๑ นัยที่ ๒
๒ นัยที่ ๓
๓ นัยที่ ๔

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๓๒ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๑. ปุคคลกถา
สก. ท่านจงรับนิคคหะ ดังต่อไปนี้
หากท่านหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า
“วิญญาณอาศัยบุคคล” ท่านกล่าวคำขัดแย้งใดในตอนต้นนั้นว่า “ข้าพเจ้ายอมรับว่า
ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ แต่ไม่ยอมรับว่า วิญญาณอาศัยบุคคล”
คำนั้นของท่านผิด
อนึ่ง หากท่านไม่ยอมรับว่า “วิญญาณอาศัยบุคคล” ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า
“ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์” ท่านกล่าวคำขัดแย้งใดในตอนต้นนั้น
ว่า “ข้าพเจ้ายอมรับว่า ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ แต่ไม่ยอมรับว่า
วิญญาณอาศัยบุคคล” คำนั้นของท่านผิด ฯลฯ
[๔๙] สก. ท่านหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. จักขายตนะเป็นบุคคล ฯลฯ บุคคลอาศัยจักขายตนะ ฯลฯ บุคคลเป็น
อื่นจากจักขายตนะ ฯลฯ จักขายตนะอาศัยบุคคล ฯลฯ ธัมมายตนะเป็นบุคคล ฯลฯ
บุคคลอาศัยธัมมายตนะ ฯลฯ บุคคลเป็นอื่นจากธัมมายตนะ ฯลฯ ธัมมายตนะ
อาศัยบุคคล ฯลฯ
จักขุธาตุเป็นบุคคล ฯลฯ บุคคลอาศัยจักขุธาตุ ฯลฯ บุคคลเป็นอื่นจาก
จักขุธาตุ ฯลฯ จักขุธาตุอาศัยบุคคล ฯลฯ ธัมมธาตุเป็นบุคคล ฯลฯ บุคคล
อาศัยธัมมธาตุ ฯลฯ บุคคลเป็นอื่นจากธัมมธาตุ ฯลฯ ธัมมธาตุอาศัยบุคคล ฯลฯ
จักขุนทรีย์เป็นบุคคล ฯลฯ บุคคลอาศัยจักขุนทรีย์ ฯลฯ บุคคลเป็นอื่น
จากจักขุนทรีย์ ฯลฯ จักขุนทรีย์อาศัยบุคคล ฯลฯ อัญญาตาวินทรีย์เป็นบุคคล ฯลฯ
บุคคลอาศัยอัญญาตาวินทรีย์ ฯลฯ บุคคลเป็นอื่นจากอัญญาตาวินทรีย์ ฯลฯ
อัญญาตาวินทรีย์อาศัยบุคคลใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น
สก. ท่านจงรับนิคคหะ ดังต่อไปนี้
หากท่านหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า
“อัญญาตาวินทรีย์อาศัยบุคคล” ท่านกล่าวคำขัดแย้งใดในตอนต้นนั้นว่า “ข้าพเจ้า
ยอมรับว่า ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ แต่ไม่ยอมรับว่า อัญญา-
ตาวินทรีย์อาศัยบุคคล” คำนั้นของท่านผิด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๓๓ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๑. ปุคคลกถา
อนึ่ง หากท่านไม่ยอมรับว่า “อัญญาตาวินทรีย์อาศัยบุคคล” ท่านก็ไม่ควร
ยอมรับว่า “ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์” ท่านกล่าวคำขัดแย้งใด
ในตอนต้นนั้นว่า “ข้าพเจ้ายอมรับว่า ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์
แต่ไม่ยอมรับว่า อัญญาตาวินทรีย์อาศัยบุคคล” คำนั้นของท่านผิด ฯลฯ
[๕๐] ปร. ท่านหยั่งรู้บุคคลไม่ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตนเองมีอยู่”
ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. รูปเป็นบุคคลใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น
ปร. ท่านจงรับปฏิกรรม ดังต่อไปนี้
หากพระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า ‘บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตนเองมีอยู่’ ดังนั้น
ท่านจึงควรยอมรับว่า “รูปเป็นบุคคล” ท่านกล่าวคำขัดแย้งใดในตอนต้นนั้นว่า
“ข้าพเจ้ายอมรับว่า พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า ‘บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตนเองมี
อยู่’ แต่ไม่ยอมรับว่า รูปเป็นบุคคล” คำนั้นของท่านผิด
อนึ่ง หากท่านไม่ยอมรับว่า “รูปเป็นบุคคล” ท่านก็ไม่ควรยอมรับ
ว่า “พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า ‘บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตนเองมีอยู่’ ท่านกล่าว
คำขัดแย้งใดในตอนต้นนั้นว่า “ข้าพเจ้ายอมรับว่า พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า
‘บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตนเองมีอยู่’ แต่ไม่ยอมรับว่า รูปเป็นบุคคล” คำนั้น
ของท่านผิด ฯลฯ
[๕๑] ปร. ท่านหยั่งรู้บุคคลไม่ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตนเองมีอยู่”
ใช่ไหม
สก. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๓๔ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๑. ปุคคลกถา
ปร. บุคคลอาศัยรูป ฯลฯ บุคคลเป็นอื่นจากรูป ฯลฯ รูปอาศัยบุคคล ฯลฯ
เวทนาเป็นบุคคล ฯลฯ บุคคลอาศัยเวทนา ฯลฯ บุคคลเป็นอื่นจากเวทนา ฯลฯ
เวทนาอาศัยบุคคล ฯลฯ สัญญาเป็นบุคคล ฯลฯ บุคคลอาศัยสัญญา ฯลฯ
บุคคลเป็นอื่นจากสัญญา ฯลฯ สัญญาอาศัยบุคคล ฯลฯ สังขารเป็นบุคคล ฯลฯ
บุคคลอาศัยสังขาร ฯลฯ บุคคลเป็นอื่นจากสังขาร ฯลฯ สังขารอาศัยบุคคล ฯลฯ
วิญญาณเป็นบุคคล ฯลฯ บุคคลอาศัยวิญญาณ ฯลฯ บุคคลเป็นอื่นจากวิญญาณ
ฯลฯ วิญญาณอาศัยบุคคลใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น
ปร. ท่านจงรับปฏิกรรม ดังต่อไปนี้
หากพระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตนเองมีอยู่” ดังนั้น
ท่านจึงควรยอมรับว่า “วิญญาณอาศัยบุคคล” ท่านกล่าวคำขัดแย้งใดในตอนต้น
นั้นว่า “ข้าพเจ้ายอมรับว่า พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า ‘บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูล
ตนเองมีอยู่’ แต่ไม่ยอมรับว่า วิญญาณอาศัยบุคคล” คำนั้นของท่านผิด
อนึ่ง หากท่านไม่ยอมรับว่า “วิญญาณอาศัยบุคคล” ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า
“พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า ‘บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตนเองมีอยู่” ท่านกล่าวคำ
ขัดแย้งใดในตอนต้นนั้นว่า “ข้าพเจ้ายอมรับว่า พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า ‘บุคคล
ผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตนเองมีอยู่’ แต่ไม่ยอมรับว่า วิญญาณอาศัยบุคคล” คำนั้น
ของท่านผิด ฯลฯ
[๕๒] ปร. ท่านหยั่งรู้บุคคลไม่ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตนเองมีอยู่”
ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. จักขายตนะเป็นบุคคล ฯลฯ บุคคลอาศัยจักขายตนะ ฯลฯ บุคคล
เป็นอื่นจากจักขายตนะ ฯลฯ จักขายตนะอาศัยบุคคล ฯลฯ ธัมมายตนะเป็นบุคคล
ฯลฯ บุคคลอาศัยธัมมายตนะ ฯลฯ บุคคลเป็นอื่นจากธัมมายตนะ ฯลฯ ธัมมายตนะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๓๕ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๑. ปุคคลกถา
อาศัยบุคคล ฯลฯ จักขุธาตุเป็นบุคคล ฯลฯ บุคคลอาศัยจักขุธาตุ ฯลฯ บุคคล
เป็นอื่นจากจักขุธาตุ ฯลฯ จักขุธาตุอาศัยบุคคล ฯลฯ ธัมมธาตุเป็นบุคคล ฯลฯ
บุคคลอาศัยธัมมธาตุ ฯลฯ บุคคลเป็นอื่นจากธัมมธาตุ ฯลฯ ธัมมธาตุอาศัย
บุคคล ฯลฯ
จักขุนทรีย์เป็นบุคคล ฯลฯ บุคคลอาศัยจักขุนทรีย์ ฯลฯ บุคคลเป็นอื่นจาก
จักขุนทรีย์ ฯลฯ จักขุนทรีย์อาศัยบุคคล ฯลฯ อัญญาตาวินทรีย์เป็นบุคคล ฯลฯ
บุคคลอาศัยอัญญาตาวินทรีย์ ฯลฯ บุคคลเป็นอื่นจากอัญญาตาวินทรีย์ ฯลฯ
อัญญาตาวินทรีย์อาศัยบุคคลใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น
ปร. ท่านจงรับปฏิกรรม ดังต่อไปนี้
หากพระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตนเองมีอยู่” ดังนั้น
ท่านจึงควรยอมรับว่า “อัญญาตาวินทรีย์อาศัยบุคคล” ท่านกล่าวคำขัดแย้งใดใน
ตอนต้นนั้นว่า “ข้าพเจ้ายอมรับว่า พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า ‘บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อ
เกื้อกูลตนเองมีอยู่’ แต่ไม่ยอมรับว่า อัญญาตาวินทรีย์อาศัยบุคคล” คำนั้นของ
ท่านผิด
อนึ่ง หากท่านไม่ยอมรับว่า “อัญญาตาวินทรีย์อาศัยบุคคล” ท่านก็ไม่ควร
ยอมรับว่า “พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า ‘บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตนเองมีอยู่”
ท่านกล่าวคำขัดแย้งใดในตอนต้นนั้นว่า “ข้าพเจ้ายอมรับว่า พระผู้มีพระภาคตรัสไว้
ว่า ‘บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตนเองมีอยู่’ แต่ไม่ยอมรับว่า อัญญาตาวินทรีย์
อาศัยบุคคล” คำนั้นของท่านผิด ฯลฯ

จตุกกนยสังสันทนะ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๓๖ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๑. ปุคคลกถา
๘. ลักขณยุตติ
ว่าด้วยการซักถามถึงลักษณะ๑
[๕๓] สก. ท่านหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลมีปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น
สก. บุคคลไม่มีปัจจัยปรุงแต่ง ฯลฯ บุคคลถูกปัจจัยปรุงแต่ง ฯลฯ บุคคล
ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง ฯลฯ บุคคลเที่ยง ฯลฯ บุคคลไม่เที่ยง ฯลฯ บุคคลมีนิมิต๒
ฯลฯ บุคคลไม่มีนิมิตใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น (ย่อ)
[๕๔] ปร. ท่านหยั่งรู้บุคคลไม่ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตนเองมีอยู่”
ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. บุคคลมีปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น๓
ปร. บุคคลไม่มีปัจจัยปรุงแต่ง ฯลฯ บุคคลถูกปัจจัยปรุงแต่ง ฯลฯ บุคคล
ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง ฯลฯ บุคคลเที่ยง ฯลฯ บุคคลไม่เที่ยง ฯลฯ บุคคลมีนิมิต ฯลฯ
บุคคลไม่มีนิมิตใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น (ย่อ)
ลักขณยุตติ จบ

เชิงอรรถ :
๑ หมายถึงตอนที่ว่าด้วยการซักถามถึงลักษณะแห่งบุคคล เช่น บุคคลมีลักษณะเหมือนกับสภาวธรรมหรือไม่
(อภิ.ปญฺจ.อ. ๕๓/๑๔๒)
๒ นิมิต ในที่นี้หมายถึงเหตุให้เกิด (อภิ.ปญฺจ.อ. ๕๓/๑๔๒)
๓ เพราะมีความเห็นว่า บุคคลแม้เป็นสมมติสัจ แต่ไม่มีลักษณะแห่งความเป็นผู้มีปัจจัยปรุงแต่งหรือไม่มี
ปัจจัยปรุงแต่ง เป็นต้น (อภิ.ปญฺจ.อ. ๕๔/๑๔๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๓๗ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๑. ปุคคลกถา
๙. วจนโสธนะ
ว่าด้วยการซักฟอกถ้อยคำ
[๕๕] สก. บุคคลเป็นสภาวะที่หยั่งรู้ได้ สภาวะที่หยั่งรู้ได้เป็นบุคคลใช่ไหม
ปร. บุคคลเป็นสภาวะที่หยั่งรู้ได้ สภาวะที่หยั่งรู้ได้บางอย่างเป็นบุคคล บาง
อย่างไม่เป็นบุคคล
สก. บุคคลบางส่วนเป็นสภาวะที่หยั่งรู้ได้ บางส่วนเป็นสภาวะที่หยั่งรู้ไม่ได้ใช่
ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๕๖] สก. บุคคลเป็นสภาวะที่แท้จริง สภาวะที่แท้จริงเป็นบุคคลใช่ไหม
ปร. บุคคลเป็นสภาวะที่แท้จริง สภาวะที่แท้จริงบางอย่างเป็นบุคคล บาง
อย่างไม่เป็นบุคคล
สก. บุคคลบางส่วนเป็นสภาวะที่แท้จริง บางส่วนไม่เป็นสภาวะที่แท้จริง
ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๕๗] สก. บุคคลเป็นสภาวะที่คงอยู่ สภาวะที่คงอยู่เป็นบุคคลใช่ไหม
ปร. บุคคลเป็นสภาวะที่คงอยู่ สภาวะที่คงอยู่บางอย่างเป็นบุคคล บางอย่าง
ไม่เป็นบุคคล
สก. บุคคลบางส่วนเป็นสภาวะที่คงอยู่ บางส่วนเป็นสภาวะที่ไม่คงอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๕๘] สก. บุคคลเป็นสภาวะที่ปรากฏ สภาวะที่ปรากฏเป็นบุคคลใช่ไหม
ปร. บุคคลเป็นสภาวะที่ปรากฏ สภาวะที่ปรากฏบางอย่างเป็นบุคคล บาง
อย่างไม่เป็นบุคคล

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๓๘ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๑. ปุคคลกถา
สก. บุคคลบางส่วนเป็นสภาวะที่ปรากฏ บางส่วนเป็นสภาวะที่ไม่ปรากฏใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๕๙] สก. บุคคลเป็นสภาวะที่มีอยู่ สภาวะที่มีอยู่เป็นบุคคลใช่ไหม
ปร. บุคคลเป็นสภาวะที่มีอยู่ สภาวะที่มีอยู่บางอย่างเป็นบุคคล บางอย่าง
ไม่เป็นบุคคล
สก. บุคคลบางส่วนเป็นสภาวะที่มีอยู่ บางส่วนเป็นสภาวะที่ไม่มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๖๐] สก. บุคคลเป็นสภาวะที่มีอยู่ สภาวะที่มีอยู่ไม่เป็นบุคคลทั้งหมดใช่ไหม
ปร. ใช่ ฯลฯ
สก. บุคคลเป็นสภาวะที่ไม่มีอยู่ สภาวะที่ไม่มีอยู่ไม่เป็นบุคคลทั้งหมดใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ (ย่อ)
วจนโสธนะ จบ

๑๐. ปัญญัตตานุโยคะ
ว่าด้วยการซักถามถึงบัญญัติ
[๖๑] สก. ผู้มีรูปในรูปธาตุเป็นบุคคลใช่ไหม
ปร. ใช่๑
สก. ผู้มีกามในกามธาตุเป็นบุคคลใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

เชิงอรรถ :
๑ เพราะมีความเห็นว่า ผู้มีรูปเป็นนามบัญญัติที่ได้มาเพราะเกี่ยวข้องกับรูปภูมิ และรูปกายเป็นสิ่งที่มีปรากฏ
จริงในรูปภูมิ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๖๑-๖๖/๑๔๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๓๙ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๑. ปุคคลกถา
[๖๒] สก. ผู้มีรูปในรูปธาตุเป็นสัตว์ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ผู้มีกามในกามธาตุเป็นสัตว์ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น๑ ฯลฯ
[๖๓] สก. ผู้ไม่มีรูปในอรูปธาตุเป็นบุคคลใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ผู้มีกามในกามธาตุเป็นบุคคลใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๖๔] สก. ผู้ไม่มีรูปในอรูปธาตุเป็นสัตว์ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ผู้มีกามในกามธาตุเป็นสัตว์ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๖๕] สก. ผู้มีรูปในรูปธาตุเป็นบุคคล ผู้ไม่มีรูปในอรูปธาตุเป็นบุคคล และ
บางคนจุติจากรูปธาตุแล้วเข้าถึงอรูปธาตุใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลผู้มีรูปขาดสูญ บุคคลผู้ไม่มีรูปเกิดได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๖๖] สก. ผู้มีรูปในรูปธาตุเป็นสัตว์ ผู้ไม่มีรูปในอรูปธาตุเป็นสัตว์ และบาง
คนจุติจากรูปธาตุแล้วเข้าถึงอรูปธาตุมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่

เชิงอรรถ :
๑ เพราะมีความเห็นว่า ผู้มีกามเป็นนามบัญญัติที่มิใช่ได้มาเพราะเกี่ยวข้องกับกามภูมิ แต่เป็นบัญญัติที่ได้มา
เพราะเกี่ยวข้องกับกิเลสกาม (อภิ.ปญฺจ.อ. ๖๑-๖๖/๑๔๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๔๐ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๑. ปุคคลกถา
สก. สัตว์มีรูปขาดสูญ สัตว์ไม่มีรูปเกิดได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๖๗] สก. เมื่อบัญญัติว่า กายกับสรีระ หรือบัญญัติว่า สรีระกับกาย ให้มี
ความหมายว่า กาย โดยไม่แยก สรีระและกายนี้นั้นมีความหมายอย่างเดียวกัน
เสมอกัน มีส่วนเท่ากัน มีสภาพเหมือนกันใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เมื่อบัญญัติว่า บุคคลกับชีวะ หรือบัญญัติว่า ชีวะกับบุคคล ให้มี
ความหมายว่า บุคคล โดยไม่แยก ชีวะและบุคคลนี้นั้นมีความหมายอย่างเดียวกัน
เสมอกัน มีส่วนเท่ากัน มีสภาพเหมือนกันใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. กายกับบุคคลเป็นคนละอย่างกันใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ชีวะกับสรีระเป็นคนละอย่างกันใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น
สก. ท่านจงรับนิคคหะ ดังต่อไปนี้
เมื่อบัญญัติว่า กายกับสรีระ หรือบัญญัติว่า สรีระกับกาย ให้มีความหมายว่า
กาย โดยไม่แยก สรีระและกายนี้นั้นมีความหมายอย่างเดียวกัน เสมอกัน มีส่วน
เท่ากัน มีสภาพเหมือนกัน เมื่อบัญญัติว่า บุคคลกับชีวะ หรือบัญญัติว่า ชีวะกับ
บุคคล ให้มีความหมายว่า บุคคล โดยไม่แยก ชีวะและบุคคลนี้นั้นมีความหมาย
อย่างเดียวกัน เสมอกัน มีส่วนเท่ากัน มีสภาพเหมือนกัน กายกับบุคคลเป็นคน
ละอย่างกัน ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “ชีวะกับสรีระเป็นคนละอย่างกัน” ท่าน
กล่าวคำขัดแย้งใดในตอนต้นนั้นว่า “ข้าพเจ้ายอมรับว่า เมื่อบัญญัติว่า กายกับสรีระ
หรือบัญญัติว่า สรีระกับกาย ให้มีความหมายว่า กาย โดยไม่แยก สรีระและกายนี้
นั้นมีความหมายอย่างเดียวกัน เสมอกัน มีส่วนเท่ากัน มีสภาพเหมือนกัน เมื่อ
บัญญัติว่า บุคคลกับชีวะ หรือบัญญัติว่า ชีวะกับบุคคล ให้มีความหมายว่า บุคคล

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๔๑ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๑. ปุคคลกถา
โดยไม่แยก ชีวะและบุคคลนี้นั้นมีความหมายอย่างเดียวกัน เสมอกัน มีส่วนเท่ากัน
มีสภาพเหมือนกัน กายกับบุคคลเป็นคนละอย่างกัน แต่ไม่ยอมรับว่า ชีวะกับ
สรีระเป็นคนละอย่างกัน” คำนั้นของท่านผิด ฯลฯ
อนึ่ง หากท่านไม่ยอมรับว่า “ชีวะกับสรีระเป็นคนละอย่างกัน” ท่านก็ไม่ควร
ยอมรับว่า “เมื่อบัญญัติว่า กายกับสรีระ หรือบัญญัติว่า สรีระกับกาย ให้มีความ
หมายว่า กาย โดยไม่แยก สรีระและกายนี้นั้นมีความหมายอย่างเดียวกัน เสมอกัน
มีส่วนเท่ากัน มีสภาพเหมือนกัน เมื่อบัญญัติว่า บุคคลกับชีวะ หรือบัญญัติว่า ชีวะ
กับบุคคล ให้มีความหมายว่า บุคคล โดยไม่แยก ชีวะและบุคคลนี้นั้นมีความหมาย
อย่างเดียวกัน เสมอกัน มีส่วนเท่ากัน มีสภาพเหมือนกัน กายกับบุคคลเป็นคน
ละอย่างกัน” ท่านกล่าวคำขัดแย้งใดในตอนต้นนั้นว่า “ข้าพเจ้ายอมรับว่า เมื่อ
บัญญัติว่า กายกับสรีระ หรือบัญญัติว่า สรีระกับกาย ให้มีความหมายว่า กาย
โดยไม่แยก สรีระและกายนี้นั้นมีความหมายอย่างเดียวกัน เสมอกัน มีส่วนเท่ากัน
มีสภาพเหมือนกัน เมื่อบัญญัติว่า บุคคลกับชีวะ หรือบัญญัติว่า ชีวะกับบุคคล ให้มี
ความหมายว่า บุคคล โดยไม่แยก ชีวะและบุคคลนี้นั้นมีความหมายอย่างเดียวกัน
เสมอกัน มีส่วนเท่ากัน มีสภาพเหมือนกัน กายกับบุคคลเป็นคนละอย่างกัน แต่
ไม่ยอมรับว่า ชีวะกับสรีระเป็นคนละอย่างกัน” คำนั้นของท่านผิด ฯลฯ
[๖๘] ปร. เมื่อบัญญัติว่า กายกับสรีระ หรือบัญญัติว่า สรีระกับกาย ให้มี
ความหมายว่า กาย โดยไม่แยก สรีระและกายนี้นั้นมีความหมายอย่างเดียวกัน
เสมอกัน มีส่วนเท่ากัน มีสภาพเหมือนกันใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตนเองมีอยู่”
ใช่ไหม
สก. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๔๒ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๑. ปุคคลกถา
ปร. กายกับบุคคลเป็นคนละอย่างกันใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น
ปร. ท่านจงรับปฏิกรรม ดังต่อไปนี้
เมื่อบัญญัติว่า กายกับสรีระ หรือบัญญัติว่า สรีระกับกาย ให้มีความหมายว่า
กาย โดยไม่แยก สรีระและกายนี้นั้นมีความหมายอย่างเดียวกัน เสมอกัน มีส่วน
เท่ากัน มีสภาพเหมือนกัน พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า ‘บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูล
ตนเองมีอยู่’ ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “กายกับบุคคลเป็นคนละอย่างกัน”
ท่านกล่าวคำขัดแย้งใดในตอนต้นนั้นว่า “ข้าพเจ้ายอมรับว่า เมื่อบัญญัติว่า กายกับ
สรีระ หรือบัญญัติว่า สรีระกับกาย ให้มีความหมายว่า กาย โดยไม่แยก สรีระ
และกายนี้นั้นมีความหมายอย่างเดียวกัน เสมอกัน มีส่วนเท่ากัน มีสภาพเหมือนกัน
พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า ‘บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตนเองมีอยู่’ แต่ไม่ยอมรับว่า
กายกับบุคคลเป็นคนละอย่างกัน” คำนั้นของท่านผิด
อนึ่ง หากท่านไม่ยอมรับว่า “กายกับบุคคลเป็นคนละอย่างกัน” ท่านก็ไม่
ควรยอมรับว่า “เมื่อบัญญัติว่า กายกับสรีระ หรือบัญญัติว่า สรีระกับกาย ให้มี
ความหมายว่า กาย โดยไม่แยก สรีระและกายนี้นั้นมีความหมายอย่างเดียวกัน เสมอกัน
มีส่วนเท่ากัน มีสภาพเหมือนกัน พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า ‘บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อ
เกื้อกูลตนเองมีอยู่” ท่านกล่าวคำขัดแย้งใดในตอนต้นนั้นว่า “ข้าพเจ้ายอมรับว่า
เมื่อบัญญัติว่า กายกับสรีระ หรือบัญญัติว่า สรีระกับกาย ให้มีความหมายว่า กาย
โดยไม่แยก สรีระและกายนี้นั้นมีความหมายอย่างเดียวกัน เสมอกัน มีส่วนเท่ากัน
มีสภาพเหมือนกัน พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า ‘บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตนเองมีอยู่’
แต่ไม่ยอมรับว่า กายกับบุคคลเป็นคนละอย่างกัน” คำนั้นของท่านผิด (ย่อ)

ปัญญัตตานุโยคะ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๔๓ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๑. ปุคคลกถา
๑๑. คติอนุโยคะ
ว่าด้วยการซักถามถึงคติ
[๖๙] สก. บุคคลท่องเที่ยวจากโลกนี้ไปสู่โลกอื่น จากโลกอื่นมาสู่โลกนี้
ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลคนเดียวกันท่องเที่ยวจากโลกนี้ไปสู่โลกอื่น จากโลกอื่นมาสู่โลกนี้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น๑ ฯลฯ
[๗๐] สก. บุคคลท่องเที่ยวจากโลกนี้ไปสู่โลกอื่น จากโลกอื่นมาสู่โลกนี้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลคนละคนกันท่องเที่ยวจากโลกนี้ไปสู่โลกอื่น จากโลกอื่นมาสู่โลก
นี้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ๒
[๗๑] สก. บุคคลท่องเที่ยวจากโลกนี้ไปสู่โลกอื่น จากโลกอื่นมาสู่โลกนี้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลทั้งที่เป็นคนเดียวกันและคนละคนกันท่องเที่ยวจากโลกนี้ไปสู่โลกอื่น
จากโลกอื่นมาสู่โลกนี้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ๓

เชิงอรรถ :
๑ เพราะฝ่ายปรวาทีกลัวจะเป็นสัสสตทิฏฐิ (ลัทธิที่ถือว่าอัตตาและโลกเที่ยง) จึงตอบปฏิเสธ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๖๙-
๗๓/๑๔๖)
๒ เพราะฝ่ายปรวาทีกลัวจะเป็นอุจเฉททิฏฐิ (ลัทธิที่ถือว่าหลังจากตายแล้วอัตตาขาดสูญ) จึงตอบปฏิเสธ
(อภิ.ปญฺจ.อ. ๖๙-๗๓/๑๔๖)
๓ เพราะฝ่ายปรวาทีกลัวจะเป็นเอกัจจสัสสตทิฏฐิ (ลัทธิที่ถือว่าบางอย่างเที่ยง) จึงตอบปฏิเสธ (อภิ.ปญฺจ.อ.
๖๙-๗๓/๑๔๖)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๔๔ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๑. ปุคคลกถา
[๗๒] สก. บุคคลท่องเที่ยวจากโลกนี้ไปสู่โลกอื่น จากโลกอื่นมาสู่โลกนี้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลจะว่าเป็นคนเดียวกันก็มิใช่ จะว่าเป็นคนละคนกันก็มิใช่ท่องเที่ยว
จากโลกนี้ไปสู่โลกอื่น จากโลกอื่นมาสู่โลกนี้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ๑
[๗๓] สก. บุคคลท่องเที่ยวไปจากโลกนี้ไปสู่โลกอื่น จากโลกอื่นมาสู่โลกนี้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลคนเดียวกัน บุคคลคนละคนกัน บุคคลทั้งที่เป็นคนเดียวกันและ
คนละคนกัน บุคคลจะว่าเป็นคนเดียวกันก็มิใช่ จะว่าเป็นคนละคนกันก็มิใช่
ท่องเที่ยวจากโลกนี้ไปสู่โลกอื่น จากโลกอื่นมาสู่โลกนี้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ๒
[๗๔] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “บุคคลท่องเที่ยวจากโลกนี้ไปสู่โลกอื่น จากโลก
อื่นมาสู่โลกนี้ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า
“บุคคลนั้นท่องเที่ยวไป ๗ ชาติเป็นอย่างมาก
ก็จะทำที่สุดทุกข์ได้ เพราะสังโยชน์ทั้งปวงสิ้นไป” ๓
มีอยู่จริงมิใช่หรือ
สก. ใช่

เชิงอรรถ :
๑ เพราะฝ่ายปรวาทีกลัวจะเป็นอมราวิกเขปทิฏฐิ (ลัทธิที่พูดหลบเลี่ยงไม่แน่นอนตายตัว) จึงตอบปฏิเสธ
(อภิ.ปญฺจ.อ. ๖๙-๗๓/๑๔๖)
๒ เพราะฝ่ายปรวาทีกลัวจะเป็นสัสสตทิฏฐิ อุจเฉททิฏฐิ เอกัจจสัสสตทิฏฐิ และอมราวิกเขปทิฏฐิ จึงตอบ
ปฏิเสธ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๖๙-๗๓/๑๔๖)
๓ ดูเทียบ สํ.นิ. (แปล) ๑๖/๑๒๔/๒๒๔, ขุ.อิติ. (แปล) ๒๕/๒๔/๓๖๙

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๔๕ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๑. ปุคคลกถา
ปร. ดังนั้น บุคคลจึงท่องเที่ยวจากโลกนี้ไปสู่โลกอื่น จากโลกอื่นมาสู่โลกนี้ได้
[๗๕] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “บุคคลท่องเที่ยวจากโลกนี้ไปสู่โลกอื่น จาก
โลกอื่นมาสู่โลกนี้” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย สงสารนี้มีเบื้อง
ต้นและเบื้องปลายรู้ไม่ได้ (ที่สุด)เบื้องต้น (ที่สุด)เบื้องปลายไม่ปรากฏแก่เหล่าสัตว์
ผู้ถูกอวิชชากีดขวาง ถูกตัณหาผูกไว้ วนเวียนท่องเที่ยวไป” ๑ มีอยู่จริงมิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. ดังนั้น บุคคลจึงท่องเที่ยวจากโลกนี้ไปสู่โลกอื่น จากโลกอื่นมาสู่โลกนี้ได้
[๗๖] สก. บุคคลท่องเที่ยวจากโลกนี้ไปสู่โลกอื่น จากโลกอื่นมาสู่โลกนี้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลคนเดียวกันนั่นแหละท่องเที่ยวจากโลกนี้ไปสู่โลกอื่น จากโลกอื่น
มาสู่โลกนี้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๗๗] สก. บุคคลคนเดียวกันนั่นแหละท่องเที่ยวจากโลกนี้ไปสู่โลกอื่น จาก
โลกอื่นมาสู่โลกนี้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลบางคนเป็นมนุษย์แล้วเป็นเทวดาก็มีใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. มนุษย์กับเทวดาเป็นบุคคลคนเดียวกันใช่ไหม๒
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ สํ.นิ. (แปล) ๑๖/๑๒๔/๒๑๕
๒ ฝ่ายสกวาทีประสงค์จะแยกมนุษย์กับเทวดาว่ามีคติภพต่างกัน (อภิ. ปญฺจ.อ. ๗๗/๑๔๖)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๔๖ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๑. ปุคคลกถา
[๗๘] สก. มนุษย์กับเทวดาเป็นบุคคลคนเดียวกันใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. หากบุคคลเป็นมนุษย์แล้วจึงเป็นเทวดา เป็นเทวดาแล้วจึงเป็นมนุษย์
(ดังนั้น) ผู้เกิดเป็นมนุษย์กับเทวดาจึงเป็นคนละคนกัน คำที่ว่า “บุคคลผู้เกิดเป็น
มนุษย์คนเดียวกันนี้นั่นแหละท่องเที่ยวไป” ดังนี้ จึงผิด ฯลฯ
อนึ่ง หากบุคคลคนเดียวกันนั่นแหละท่องเที่ยวไป จุติจากโลกนี้ไปสู่โลกอื่น
มิใช่คนละคนกัน เมื่อเป็นเช่นนี้ ความตายก็จักไม่มี แม้แต่ปาณาติบาตก็หยั่งรู้ไม่ได้
กรรมมีอยู่ ผลของกรรมก็มีอยู่ ผลของกรรมทั้งหลายที่ทำแล้วก็มีอยู่ เมื่อกุศล
และอกุศลให้ผลอยู่ คำที่ว่า “บุคคลคนเดียวกันนี้นั่นแหละท่องเที่ยวไป” ดังนี้ จึงผิด
[๗๙] สก. บุคคลคนเดียวกันนั่นแหละท่องเที่ยวจากโลกนี้ไปสู่โลกอื่น จาก
โลกอื่นมาสู่โลกนี้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลบางคนเป็นมนุษย์แล้วเป็นยักษ์มีอยู่ ... เป็นเปรต ... เป็นสัตว์นรก ...
เป็นสัตว์ดิรัจฉาน ... เป็นอูฐ ... เป็นโค ... เป็นลา ... เป็นสุกร ... เป็นกระบือ
มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. มนุษย์กับกระบือเป็นบุคคลคนเดียวกันใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๘๐] สก. มนุษย์กับกระบือเป็นบุคคลคนเดียวกันใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลเป็นมนุษย์แล้วเป็นกระบือ เป็นกระบือแล้วเป็นมนุษย์ (ดังนั้น)
ผู้เกิดเป็นมนุษย์กับกระบือจึงเป็นคนละคนกัน คำที่ว่า “บุคคลผู้เกิดเป็นมนุษย์คน
เดียวกันนี้นั่นแหละท่องเที่ยวไป” ดังนี้ จึงผิด ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๔๗ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๑. ปุคคลกถา
อนึ่ง หากบุคคลคนเดียวกันนั่นแหละท่องเที่ยวไป จุติจากโลกนี้ไปสู่โลกอื่น
มิใช่คนละคนกัน เมื่อเป็นเช่นนี้ ความตายก็จักไม่มี แม้แต่ปาณาติบาตก็หยั่งรู้ไม่ได้
กรรมมีอยู่ ผลของกรรมก็มีอยู่ ผลของกรรมทั้งหลายที่ทำแล้วก็มีอยู่ เมื่อกุศลและอกุศล
ให้ผลอยู่ คำที่ว่า “บุคคลคนเดียวกันนี้นั่นแหละท่องเที่ยวไป” ดังนี้ จึงผิด
[๘๑] สก. บุคคลคนเดียวกันนั่นแหละท่องเที่ยวจากโลกนี้ไปสู่โลกอื่น จาก
โลกอื่นมาสู่โลกนี้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลบางคนเป็นกษัตริย์แล้วเป็นพราหมณ์มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. กษัตริย์กับพราหมณ์เป็นบุคคลคนเดียวกันใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๘๒] สก. บุคคลบางคนเป็นกษัตริย์แล้วเป็นแพศย์ ... เป็นศูทรมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. กษัตริย์กับศูทรเป็นบุคคลคนเดียวกันใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๘๓] สก. บุคคลบางคนเป็นพราหมณ์แล้วเป็นแพศย์ ... เป็นศูทร ... เป็น
กษัตริย์มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พราหมณ์กับกษัตริย์เป็นบุคคลคนเดียวกันใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๘๔] สก. บุคคลบางคนเป็นแพศย์แล้วเป็นศูทร ... เป็นกษัตริย์ ... เป็น
พราหมณ์มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๔๘ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๑. ปุคคลกถา
สก. แพศย์กับพราหมณ์เป็นบุคคลคนเดียวกันใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๘๕] สก. บุคคลบางคนเป็นศูทรแล้วเป็นกษัตริย์ ... เป็นพราหมณ์ ... เป็น
แพศย์มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ศูทรกับแพศย์เป็นบุคคลคนเดียวกันใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๘๖] สก. บุคคลคนเดียวกันนั่นแหละท่องเที่ยวจากโลกนี้ไปสู่โลกอื่น จาก
โลกอื่นมาสู่โลกนี้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. คนมือด้วนก็เป็นคนมือด้วนอยู่เหมือนเดิม คนเท้าด้วนก็เป็นคนเท้า
ด้วนอยู่เหมือนเดิม คนมีมือและเท้าด้วนก็เป็นคนมีมือและเท้าด้วนอยู่เหมือนเดิม ...
คนหูวิ่น ... คนจมูกโหว่ ... คนทั้งหูวิ่นทั้งจมูกโหว่ ... คนนิ้วด้วน ... คนมีหัว
แม่มือหัวแม่เท้าด้วน ... คนเอ็นใหญ่ขาด ... คนมือหงิก ... คนมือแป ... คน
เป็นโรคเรื้อน ... คนเป็นโรคต่อม ... คนเป็นโรคกลาก ... คนเป็นโรคมองคร่อ ...
คนเป็นโรคลมบ้าหมู ... อูฐก็เป็นอูฐอยู่เหมือนเดิม ... โค ... ลา ... สุกร ...
กระบือก็เป็นกระบืออยู่เหมือนเดิมใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๘๗] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “บุคคลคนเดียวกันนั่นแหละท่องเที่ยวจากโลกนี้
ไปสู่โลกอื่น จากโลกอื่นมาสู่โลกนี้” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. บุคคลผู้เป็นโสดาบันจุติจากมนุษยโลกไปเกิดในเทวโลกแล้ว ยังเป็น
โสดาบันอยู่เหมือนเดิมแม้ในเทวโลกนั้นมิใช่หรือ
สก. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๔๙ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๑. ปุคคลกถา
ปร. หากบุคคลผู้เป็นโสดาบันจุติจากมนุษยโลกไปเกิดในเทวโลกแล้ว ยังเป็น
โสดาบันอยู่เหมือนเดิมแม้ในเทวโลกนั้น ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “บุคคลคน
เดียวกันนั่นแหละท่องเที่ยวจากโลกนี้ไปสู่โลกอื่น จากโลกอื่นมาสู่โลกนี้”
[๘๘] สก. เพราะท่านเข้าใจว่า “บุคคลผู้เป็นโสดาบันจุติจากมนุษยโลกไป
เกิดในเทวโลกแล้วยังเป็นโสดาบันอยู่เหมือนเดิมแม้ในเทวโลกนั้น” จึงยอมรับว่า
“บุคคลคนเดียวกันนั่นแหละท่องเที่ยวจากโลกนี้ไปสู่โลกอื่น จากโลกอื่นมาสู่โลกนี้”
ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เพราะท่านเข้าใจว่า “บุคคลผู้เป็นโสดาบันจุติจากมนุษยโลกไปเกิดใน
เทวโลกแล้ว ยังเป็นมนุษย์อยู่เหมือนเดิมแม้ในเทวโลกนั้น” จึงยอมรับว่า “บุคคล
คนเดียวกันนั่นแหละท่องเที่ยวจากโลกนี้ไปสู่โลกอื่นจากโลกอื่นมาสู่โลกนี้” ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๘๙] สก. บุคคลคนเดียวกันนั่นแหละท่องเที่ยวจากโลกนี้ไปสู่โลกอื่น จาก
โลกอื่นมาสู่โลกนี้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลมิใช่คนละคนกัน ไม่แปรผัน ท่องเที่ยวไปใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๙๐] สก. บุคคลมิใช่คนละคนกัน ไม่แปรผัน ท่องเที่ยวไปใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. คนมือด้วนก็เป็นคนมือด้วนอยู่เหมือนเดิม ... คนเท้าด้วนก็เป็นคนเท้า
ด้วนอยู่เหมือนเดิม ... คนมีมือและเท้าด้วนก็เป็นคนมีมือและเท้าด้วนอยู่เหมือนเดิม
... คนหูวิ่น ... คนจมูกโหว่ ... คนทั้งหูวิ่นทั้งจมูกโหว่ ... คนนิ้วด้วน ... คน
มีหัวแม่มือหัวแม่เท้าด้วน ... คนเอ็นใหญ่ขาด ... คนมือหงิก ... คนเป็นโรคเรื้อน
... คนเป็นโรคต่อม ... คนเป็นโรคกลาก ... คนเป็นโรคมองคร่อ ... คนเป็นโรค

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๕๐ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๑. ปุคคลกถา
ลมบ้าหมู ... อูฐ ... โค ... ลา ... สุกร ... กระบือก็เป็นกระบืออยู่เหมือนเดิม
ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๙๑] สก. บุคคลคนเดียวกันนั่นแหละท่องเที่ยวจากโลกนี้ไปสู่โลกอื่น จาก
โลกอื่นมาสู่โลกนี้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เป็นผู้มีรูป๑ท่องเที่ยวไปใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เป็นผู้มีรูปท่องเที่ยวไปใช่ไหม
ปร. ใช่๒
สก. ชีวะกับสรีระเป็นอย่างเดียวกันใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เป็นผู้มีเวทนา ฯลฯ เป็นผู้มีสัญญา ฯลฯ เป็นผู้มีสังขาร ฯลฯ
เป็นผู้มีวิญญาณท่องเที่ยวไปใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เป็นผู้มีวิญญาณท่องเที่ยวไปใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ชีวะกับสรีระเป็นอย่างเดียวกันใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

เชิงอรรถ :
๑ หมายถึงท่องเที่ยวไปพร้อมกับรูปกาย (อภิ.ปญฺจ.อ. ๙๑/๑๔๗)
๒ เพราะมีความเห็นว่า บุคคลผู้อยู่ในอันตรภพเมื่อจุติไปเกิดในครรภ์มารดา(ในภพอื่น) จะไปพร้อมกับรูป
กายของตนขณะอยู่ในอันตรภพ (คล้ายสัมภเวสี) คำว่า อันตรภพ หมายถึงภพที่อยู่ในระหว่างตายกับเกิด
หรือถพนี้กับภพหน้า (อภิ.ปญฺจ.อ. ๙๑/๑๔๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๕๑ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๑. ปุคคลกถา
[๙๒] สก. บุคคลคนเดียวกันนั่นแหละท่องเที่ยวจากโลกนี้ไปสู่โลกอื่น จาก
โลกอื่นมาสู่โลกนี้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เป็นผู้ไม่มีรูปท่องเที่ยวไปใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น๑ ฯลฯ
สก. เป็นผู้ไม่มีรูปท่องเที่ยวไปใช่ไหม
ปร. ใช่๒
สก. ชีวะกับสรีระเป็นคนละอย่างกันใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เป็นผู้ไม่มีเวทนา ฯลฯ เป็นผู้ไม่มีสัญญา ฯลฯ เป็นผู้ไม่มีสังขาร ฯลฯ
เป็นผู้ไม่มีวิญญาณท่องเที่ยวไปใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น๓ ฯลฯ
สก. เป็นผู้ไม่มีวิญญาณท่องเที่ยวไปใช่ไหม
ปร. ใช่๔
สก. ชีวะกับสรีระเป็นคนละอย่างกันใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๙๓] สก. บุคคลคนเดียวกันนั่นแหละท่องเที่ยวจากโลกนี้ไปสู่โลกอื่น จาก
โลกอื่นมาสู่โลกนี้ใช่ไหม
ปร. ใช่

เชิงอรรถ :
๑ เพราะฝ่ายปรวาทียังยืนยันในเรื่องอันตรภพเหมือนเดิม
๒ เพราะมีความเห็นว่า บุคคลในอรูปภพเป็นผู้ไม่มีรูป (อภิ.ปญฺจ.อ. ๙๒/๑๔๘)
๓ เพราะมีความเห็นว่า มีสัญญีภพซึ่งมีเวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณจึงตอบปฏิเสธ (อภิ.ปญฺจ.อ.
๙๒/๑๔๘)
๔ เพราะมีความเห็นว่า มีอุปปัตติภพอื่นนอกจากสัญญีภพจึงตอบรับ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๙๒/๑๔๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๕๒ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๑. ปุคคลกถา
สก. รูปท่องเที่ยวไปใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. รูปท่องเที่ยวไปใช่ไหม
ปร. ใช่๑
สก. ชีวะกับสรีระเป็นอย่างเดียวกันใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ สังขาร ฯลฯ วิญญาณท่องเที่ยวไปใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. วิญญาณท่องเที่ยวไปใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ชีวะกับสรีระเป็นอย่างเดียวกันใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๙๔] สก. บุคคลคนเดียวกันนั่นแหละท่องเที่ยวจากโลกนี้ไปสู่โลกอื่น จาก
โลกอื่นมาสู่โลกนี้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. รูปไม่ท่องเที่ยวไปใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. รูปไม่ท่องเที่ยวไปใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ชีวะกับสรีระเป็นคนละอย่างกันใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ สังขาร ฯลฯ วิญญาณไม่ท่องเที่ยวไปใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

เชิงอรรถ :
๑ เพราะมีความเห็นว่า ถ้าไม่มีรูป ก็ไม่มีบุคคล ดังนั้น เมื่อบุคคลท่องเที่ยวไปจึงท่องเที่ยวไปด้วยรูปนั้น (อภิ.ปญฺจอ.
๙๓/๑๔๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๕๓ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๑. ปุคคลกถา
สก. วิญญาณไม่ท่องเที่ยวไปใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ชีวะกับสรีระเป็นคนละอย่างกันใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น (ย่อ)
สก. เมื่อขันธ์แตกดับ หากบุคคลนั้นแตกดับ
ก็จะเป็นอุจเฉททิฏฐิที่พระพุทธเจ้าได้ทรงเว้น
เมื่อขันธ์แตกดับ หากบุคคลไม่แตกดับ
บุคคลก็จะเที่ยงเสมอเหมือนนิพพาน๑
คติอนุโยคะ จบ

๑๒. อุปาทาปัญญัตตานุโยคะ
ว่าด้วยการซักถามถึงอุปาทาบัญญัติ๒
[๙๕] สก. เพราะอาศัยรูปจึงบัญญัติบุคคลใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. รูปไม่เที่ยง ถูกปัจจัยปรุงแต่ง อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น มีความสิ้นไป เสื่อมไป
คลายไป ดับไป แปรผันไปเป็นธรรมดาใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. แม้บุคคลก็ไม่เที่ยง ถูกปัจจัยปรุงแต่ง อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น มีความสิ้นไป
เสื่อมไป คลายไป ดับไป แปรผันไปเป็นธรรมดาใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น๓ ฯลฯ

เชิงอรรถ :
๑ เที่ยงเสมอเหมือนนิพพาน หมายถึง นิพพานคือภาวะที่ไม่เกิดไม่ดับ ถ้าถือว่าบุคคลเที่ยงเหมือนนิพพาน
ก็จัดเป็นสัสสตทิฏฐิ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๙๔/๑๔๘)
๒ ดูเชิงอรรถที่ ๑ ข้อ ๒ หน้า ๓ ในเล่มนี้
๓ ปรวาทียังยึดถือความเห็นเดิมของตนที่ว่า บุคคเที่ยง จึงตอบปฏิเสธ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๙๕/๑๔๙)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๕๔ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๑. ปุคคลกถา
[๙๖] สก. เพราะอาศัยเวทนา ฯลฯ เพราะอาศัยสัญญา ฯลฯ เพราะ
อาศัยสังขาร ฯลฯ เพราะอาศัยวิญญาณ จึงบัญญัติบุคคลใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. วิญญาณไม่เที่ยง ถูกปัจจัยปรุงแต่ง อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น มีความสิ้นไป
เสื่อมไป คลายไป ดับไป แปรผันไปเป็นธรรมดาใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. แม้บุคคลก็ไม่เที่ยง ถูกปัจจัยปรุงแต่ง อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น มีความสิ้นไป
เสื่อมไป คลายไป ดับไป แปรผันไปเป็นธรรมดาใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๙๗] สก. เพราะอาศัยรูปจึงบัญญัติบุคคลใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เพราะอาศัยรูปสีเขียว จึงบัญญัติบุคคลสีเขียวใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เพราะอาศัยรูปสีเหลือง ฯลฯ เพราะอาศัยรูปสีแดง ฯลฯ เพราะอาศัย
รูปสีขาว ฯลฯ เพราะอาศัยรูปที่เห็นได้ ฯลฯ เพราะอาศัยรูปที่เห็นไม่ได้ ฯลฯ
เพราะอาศัยรูปที่กระทบได้ ฯลฯ เพราะอาศัยรูปที่กระทบไม่ได้ จึงบัญญัติบุคคล
ที่กระทบไม่ได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๙๘] สก. เพราะอาศัยเวทนาจึงบัญญัติบุคคลใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เพราะอาศัยเวทนาที่เป็นกุศล จึงบัญญัติบุคคลที่เป็นกุศลใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เพราะอาศัยเวทนาที่เป็นกุศล จึงบัญญัติบุคคลที่เป็นกุศลใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๕๕ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๑. ปุคคลกถา
สก. เวทนาที่เป็นกุศล มีผล มีวิบาก มีผลน่าปรารถนา มีผลน่ายินดี มีผล
น่าพอใจ มีผลเยือกเย็น มีสุขเป็นกำไร มีสุขเป็นวิบากใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. แม้บุคคลที่เป็นกุศลก็มีผล มีวิบาก มีผลน่าปรารถนา มีผลน่ายินดี
มีผลน่าพอใจ มีผลเยือกเย็น มีสุขเป็นกำไร มีสุขเป็นวิบากใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๙๙] สก. เพราะอาศัยเวทนาจึงบัญญัติบุคคลใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เพราะอาศัยเวทนาที่เป็นอกุศล จึงบัญญัติบุคคลที่เป็นอกุศลใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เพราะอาศัยเวทนาที่เป็นอกุศล จึงบัญญัติบุคคลที่เป็นอกุศลใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เวทนาที่เป็นอกุศลมีผล มีวิบาก มีผลไม่น่าปรารถนา มีผลไม่น่ายินดี
มีผลไม่น่าพอใจ มีผลเร่าร้อน มีทุกข์เป็นกำไร มีทุกข์เป็นวิบากใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. แม้บุคคลที่เป็นอกุศลก็มีผล มีวิบาก มีผลไม่น่าปรารถนา มีผลไม่น่า
ยินดี มีผลไม่น่าพอใจ มีผลเร่าร้อน มีทุกข์เป็นกำไร มีทุกข์เป็นวิบากใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๑๐๐] สก. เพราะอาศัยเวทนา จึงบัญญัติบุคคลใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เพราะอาศัยเวทนาที่เป็นอัพยากฤต จึงบัญญัติบุคคลที่เป็นอัพยากฤต
ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๕๖ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๑. ปุคคลกถา
สก. เพราะอาศัยเวทนาที่เป็นอัพยากฤต จึงบัญญัติบุคคลที่เป็นอัพยากฤต
ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เวทนาที่เป็นอัพยากฤตไม่เที่ยง ถูกปัจจัยปรุงแต่ง อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น
มีความสิ้นไป เสื่อมไป คลายไป ดับไป แปรผันไปเป็นธรรมดาใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. แม้บุคคลที่เป็นอัพยากฤตก็ไม่เที่ยง ถูกปัจจัยปรุงแต่ง อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น
มีความสิ้นไป เสื่อมไป คลายไป ดับไป แปรผันไปเป็นธรรมดาใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๑๐๑] สก. เพราะอาศัยสัญญา ฯลฯ เพราะอาศัยสังขาร ฯลฯ เพราะอาศัย
วิญญาณ จึงบัญญัติบุคคลใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เพราะอาศัยวิญญาณที่เป็นกุศล จึงบัญญัติบุคคลที่เป็นกุศลใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เพราะอาศัยวิญญาณที่เป็นกุศล จึงบัญญัติบุคคลที่เป็นกุศลใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. วิญญาณที่เป็นกุศลมีผล มีวิบาก มีผลน่าปรารถนา มีผลน่ายินดี มีผล
น่าพอใจ มีผลเยือกเย็น มีสุขเป็นกำไร มีสุขเป็นวิบากใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. แม้บุคคลที่เป็นกุศลก็มีผล มีวิบาก มีผลน่าปรารถนา มีผลน่ายินดี
มีผลน่าพอใจ มีผลเยือกเย็น มีสุขเป็นกำไร มีสุขเป็นวิบากใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๑๐๒] สก. เพราะอาศัยวิญญาณจึงบัญญัติบุคคลใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๕๗ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๑. ปุคคลกถา
สก. เพราะอาศัยวิญญาณที่เป็นอกุศล จึงบัญญัติบุคคลที่เป็นอกุศลใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เพราะอาศัยวิญญาณที่เป็นอกุศล จึงบัญญัติบุคคลที่เป็นอกุศลใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. วิญญาณที่เป็นอกุศลมีผล มีวิบาก มีผลไม่น่าปรารถนา มีผลไม่น่ายินดี
มีผลไม่น่าพอใจ มีผลเร่าร้อน มีทุกข์เป็นกำไร มีทุกข์เป็นวิบากใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. แม้บุคคลที่เป็นอกุศลก็มีผล มีวิบาก มีผลไม่น่าปรารถนา มีผลไม่น่า
ยินดี มีผลไม่น่าพอใจ มีผลเร่าร้อน มีทุกข์เป็นกำไร มีทุกข์เป็นวิบากใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๑๐๓] สก. เพราะอาศัยวิญญาณ จึงบัญญัติบุคคลใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เพราะอาศัยวิญญาณที่เป็นอัพยากฤต จึงบัญญัติบุคคลที่เป็นอัพยากฤต
ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เพราะอาศัยวิญญาณที่เป็นอัพยากฤต จึงบัญญัติบุคคลที่เป็นอัพยากฤต
ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. วิญญาณที่เป็นอัพยากฤตไม่เที่ยง ถูกปัจจัยปรุงแต่ง อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น
มีความสิ้นไป เสื่อมไป คลายไป ดับไป แปรผันไปเป็นธรรมดาใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. แม้บุคคลที่เป็นอัพยากฤตก็ไม่เที่ยง ถูกปัจจัยปรุงแต่ง อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น
มีความสิ้นไป เสื่อมไป คลายไป ดับไป แปรผันไปเป็นธรรมดาใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๕๘ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๑. ปุคคลกถา
[๑๐๔] สก. เพราะอาศัยจักษุ ท่านจึงยอมรับว่า “บุคคลมีจักษุ” ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เมื่อจักษุดับแล้ว ท่านจึงยอมรับว่า “บุคคลผู้มีจักษุดับ” ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เพราะอาศัยโสตะ ฯลฯ เพราะอาศัยฆานะ ฯลฯ เพราะอาศัยชิวหา ฯลฯ
เพราะอาศัยกาย ฯลฯ เพราะอาศัยมโน ท่านจึงยอมรับว่า “บุคคลผู้มีมโน” ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เมื่อมโนดับแล้ว ท่านจึงยอมรับว่า “บุคคลผู้มีมโนดับ” ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น
[๑๐๕] สก. เพราะอาศัยมิจฉาทิฏฐิ ท่านจึงยอมรับว่า “บุคคลเป็นมิจฉาทิฏฐิ”
ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เมื่อมิจฉาทิฏฐิดับแล้ว ท่านจึงยอมรับว่า “บุคคลผู้เป็นมิจฉาทิฏฐิดับ”
ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เพราะอาศัยมิจฉาสังกัปปะ ฯลฯ เพราะอาศัยมิจฉาวาจา ฯลฯ เพราะ
อาศัยมิจฉากัมมันตะ ฯลฯ เพราะอาศัยมิจฉาอาชีวะ ฯลฯ เพราะอาศัยมิจฉาวายามะ
ฯลฯ เพราะอาศัยมิจฉาสติ ฯลฯ เพราะอาศัยมิจฉาสมาธิ ท่านจึงยอมรับว่า “บุคคล
เป็นมิจฉาสมาธิ” ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เมื่อมิจฉาสมาธิดับแล้ว ท่านจึงยอมรับว่า “บุคคลผู้เป็นมิจฉาสมาธิดับ”
ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๕๙ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๑. ปุคคลกถา
[๑๐๖] สก. เพราะอาศัยสัมมาทิฏฐิ ท่านจึงยอมรับว่า “บุคคลผู้เป็นสัมมาทิฏฐิ”
ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เมื่อสัมมาทิฏฐิดับแล้ว ท่านจึงยอมรับว่า “บุคคลผู้เป็นสัมมาทิฏฐิดับ”
ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เพราะอาศัยสัมมาสังกัปปะ ฯลฯ เพราะอาศัยสัมมาวาจา ฯลฯ เพราะ
อาศัยสัมมากัมมันตะ ฯลฯ เพราะอาศัยสัมมาอาชีวะ ฯลฯ เพราะอาศัยสัมมา-
วายามะ ฯลฯ เพราะอาศัยสัมมาสติ ฯลฯ เพราะอาศัยสัมมาสมาธิ ท่านจึง
ยอมรับว่า “บุคคลผู้เป็นสัมมาสมาธิ” ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เมื่อสัมมาสมาธิดับแล้ว ท่านจึงยอมรับว่า “บุคคลผู้เป็นสัมมาสมาธิดับ” ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๑๐๗] สก. เพราะอาศัยรูป เพราะอาศัยเวทนา จึงบัญญัติบุคคลใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เพราะอาศัยขันธ์ ๒ จึงบัญญัติบุคคล ๒ ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เพราะอาศัยรูป เพราะอาศัยเวทนา เพราะอาศัยสัญญา เพราะอาศัย
สังขาร เพราะอาศัยวิญญาณ จึงบัญญัติบุคคลใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เพราะอาศัยขันธ์ ๕ จึงบัญญัติบุคคล ๕ ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๖๐ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๑. ปุคคลกถา
[๑๐๘] สก. เพราะอาศัยจักขายตนะ เพราะอาศัยโสตายตนะ จึงบัญญัติ
บุคคลใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เพราะอาศัยอายตนะ ๒ จึงบัญญัติบุคคล ๒ ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เพราะอาศัยจักขายตนะ เพราะอาศัยโสตายตนะ ฯลฯ เพราะอาศัย
ธัมมายตนะ จึงบัญญัติบุคคลใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เพราะอาศัยอายตนะ ๑๒ จึงบัญญัติบุคคล ๑๒ ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๑๐๙] สก. เพราะอาศัยจักขุธาตุ เพราะอาศัยโสตธาตุ จึงบัญญัติบุคคลใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เพราะอาศัยธาตุ ๒ จึงบัญญัติบุคคล ๒ ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เพราะอาศัยจักขุธาตุ เพราะอาศัยโสตธาตุ ฯลฯ เพราะอาศัยธัมมธาตุ
จึงบัญญัติบุคคลใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เพราะอาศัยธาตุ ๑๘ จึงบัญญัติบุคคล ๑๘ ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๑๑๐] สก. เพราะอาศัยจักขุนทรีย์ เพราะอาศัยโสตินทรีย์ จึงบัญญัติบุคคลใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เพราะอาศัยอินทรีย์ ๒ จึงบัญญัติบุคคล ๒ ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๖๑ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๑. ปุคคลกถา
สก. เพราะอาศัยจักขุนทรีย์ เพราะอาศัยโสตินทรีย์ ฯลฯ เพราะอาศัย
อัญญาตาวินทรีย์ จึงบัญญัติบุคคลใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เพราะอาศัยอินทรีย์ ๒๒ จึงบัญญัติบุคคล ๒๒ ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๑๑๑] สก. เพราะอาศัยเอกโวการภพ๑ จึงบัญญัติบุคคล ๑ ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เพราะอาศัยจตุโวการภพ๒ จึงบัญญัติบุคคล ๔ ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เพราะอาศัยเอกโวการภพ จึงบัญญัติบุคคล ๑ ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เพราะอาศัยปัญจโวการภพ๓ จึงบัญญัติบุคคล ๕ ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ในเอกโวการภพมีบุคคลเพียง ๑ ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ในจตุโวการภพมีบุคคลเพียง ๔ ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ในเอกโวการภพมีบุคคลเพียง ๑ ใช่ไหม
ปร. ใช่

เชิงอรรถ :
๑ เอกโวการภพ หมายถึงภพของสัตว์ที่มีขันธ์ ๑ คือรูปขันธ์ ได้แก่ อสัญญีภพ (อภิ.วิ.อ. ๒๓๔/๑๙๘-๒๒๐)
๒ จตุโวการภพ หมายถึงภพของสัตว์ที่มีขันธ์ ๔ คือเวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ และวิญญาณขันธ์
ได้แก่ สัญญีภพ (อภิ.วิ.อ. ๒๓๔/๑๙๘-๒๒๐, ขุ.ป.อ. ๑/๕/๙๗)
๓ ปัญจโวการภพ หมายถึงภพของสัตว์ที่มีขันธ์ ๕ ได้แก่ กามภพและรูปภพ (อภิ.วิ.อ. ๒๓๔/๑๙๘-๒๒๐)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๖๒ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๑. ปุคคลกถา
สก. ในปัญจโวการภพมีบุคคลเพียง ๕ ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๑๑๒] สก. เพราะอาศัยต้นไม้จึงบัญญัติเงาไม้ ฉันใด เพราะอาศัยรูปจึง
บัญญัติบุคคล ฉันนั้นเหมือนกันใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เพราะอาศัยต้นไม้จึงบัญญัติเงาไม้ แม้ต้นไม้ก็ไม่เที่ยง แม้เงาไม้ก็ไม่เที่ยง
ฉันใด เพราะอาศัยรูปจึงบัญญัติบุคคล แม้รูปก็ไม่เที่ยง แม้บุคคลก็ไม่เที่ยง
ฉันนั้นเหมือนกันใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เพราะอาศัยต้นไม้จึงบัญญัติเงาไม้ ต้นไม้กับเงาไม้เป็นคนละอย่างกัน ฉันใด
เพราะอาศัยรูปจึงบัญญัติบุคคล รูปกับบุคคลเป็นคนละอย่างกัน ฉันนั้นเหมือนกัน
ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๑๑๓] สก. เพราะอาศัยบ้านจึงบัญญัติชาวบ้าน ฉันใด เพราะอาศัยรูปจึง
บัญญัติบุคคล ฉันนั้นเหมือนกันใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เพราะอาศัยบ้านจึงบัญญัติชาวบ้าน บ้านกับชาวบ้านเป็นคนละอย่างกัน
ฉันใด เพราะอาศัยรูปจึงบัญญัติบุคคล รูปกับบุคคลเป็นคนละอย่างกัน ฉันนั้น
เหมือนกันใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๑๑๔] สก. เพราะอาศัยรัฐจึงบัญญัติพระราชา ฉันใด เพราะอาศัยรูปจึง
บัญญัติบุคคล ฉันนั้นเหมือนกันใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๖๓ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๑. ปุคคลกถา
สก. เพราะอาศัยรัฐจึงบัญญัติพระราชา รัฐกับพระราชาเป็นคนละอย่างกัน ฉันใด
เพราะอาศัยรูปจึงบัญญัติบุคคล รูปกับบุคคลเป็นคนละอย่างกัน ฉันนั้นเหมือนกัน
ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๑๑๕] สก. ตรวนมิใช่ผู้ถูกจำตรวน ตรวนมีแก่ผู้ใด ผู้นั้นชื่อว่าผู้ถูกจำตรวน
ฉันใด รูปมิใช่ผู้มีรูป รูปมีแก่ผู้ใด ผู้นั้นชื่อว่าผู้มีรูป ฉันนั้นเหมือนกันใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ตรวนมิใช่ผู้ถูกจำตรวน ตรวนมีแก่ผู้ใด ผู้นั้นชื่อว่าผู้ถูกจำตรวน ตรวน
กับผู้ถูกจำตรวนเป็นคนละอย่างกัน ฉันใด รูปมิใช่ผู้มีรูป รูปมีแก่ผู้ใด ผู้นั้น
ชื่อว่าผู้มีรูป รูปกับผู้มีรูปเป็นคนละอย่าง ฉันนั้นเหมือนกันใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๑๑๖] สก. มีการบัญญัติบุคคลในจิตแต่ละดวงใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลย่อมเกิด แก่ ตาย จุติ ปฏิสนธิ ในจิตแต่ละดวงใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เมื่อจิตดวงที่ ๒ เกิดขึ้น ท่านไม่ยอมรับว่า “เป็นคนเดียวกันหรือเป็น
คนละคนกัน” ใช่ไหม
ปร. ใช่๑
สก. เมื่อจิตดวงที่ ๒ เกิดขึ้น ท่านไม่ยอมรับว่า “เป็นเด็กชายหรือเป็น
เด็กหญิง” ใช่ไหม
ปร. ข้าพเจ้ายอมรับ๒

เชิงอรรถ :
๑ เพราะมีความเห็นว่า บุคคลในจิตดวงที่ ๑ กับบุคคลในจิตดวงที่ ๒ จะกล่าวว่าเป็นคนเดียวกันหรือเป็นคน
ละคนกันก็ไม่ได้ เพราะถ้ายอมรับว่าเป็นคนเดียวกัน ก็เกรงจะถูกกล่าวหาว่าเป็นสัสสตทิฏฐิ และถ้ายอม
รับว่าเป็นคนละคนกันก็เกรงจะถูกกล่าวหาว่าเป็นอุจเฉททิฏฐิ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๑๑๖/๑๕๕)
๒ เพราะมีความเห็นว่า จะเป็นการขัดกับภาษาที่ชาวโลกใช้พูดกัน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๖๔ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๑. ปุคคลกถา
สก. ท่านจงรับนิคคหะ ดังต่อไปนี้
เมื่อจิตดวงที่ ๒ เกิดขึ้น หากท่านไม่ยอมรับว่า “เป็นคนเดียวกันหรือเป็น
คนละคนกัน” ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “เมื่อจิตดวงที่ ๒ เกิดขึ้น ข้าพเจ้า
ไม่ยอมรับว่า เป็นเด็กชายหรือเป็นเด็กหญิง” ท่านกล่าวคำขัดแย้งใดในตอนต้นนั้นว่า
“ข้าพเจ้ายอมรับว่า เมื่อจิตดวงที่ ๒ เกิดขึ้น ข้าพเจ้าไม่ยอมรับว่า ‘เป็นคน
เดียวกันหรือเป็นคนละคนกัน’ เมื่อจิตดวงที่ ๒ เกิดขึ้น ข้าพเจ้าจึงยอมรับว่า
เป็นเด็กชายหรือเป็นเด็กหญิง” คำนั้นของท่านผิด
อนึ่ง เมื่อจิตดวงที่ ๒ เกิดขึ้น หากท่านยอมรับว่า “เป็นเด็กชายหรือเป็น
เด็กหญิง” ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “เมื่อจิตดวงที่ ๒ เกิดขึ้น ข้าพเจ้ายอมรับว่า
เป็นคนเดียวกันหรือเป็นคนละคนกัน” ท่านกล่าวคำขัดแย้งใดในตอนต้นนั้นว่า
“ข้าพเจ้ายอมรับว่า เมื่อจิตดวงที่ ๒ เกิดขึ้น ข้าพเจ้าไม่ยอมรับว่า ‘เป็นคน
เดียวกันหรือเป็นคนละคนกัน’ เมื่อจิตดวงที่ ๒ เกิดขึ้น ข้าพเจ้าจึงยอมรับว่า
เป็นเด็กชายหรือเป็นเด็กหญิง” คำนั้นของท่านผิด
[๑๑๗] สก. เมื่อจิตดวงที่ ๒ เกิดขึ้น ท่านไม่ยอมรับว่า “เป็นคนเดียวกัน
หรือเป็นคนละคนกัน” ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เมื่อจิตดวงที่ ๒ เกิดขึ้น ท่านไม่ยอมรับว่า “เป็นสตรีหรือเป็นบุรุษ
เป็นคฤหัสถ์หรือเป็นบรรพชิต เป็นเทวดาหรือเป็นมนุษย์” ใช่ไหม
ปร. ข้าพเจ้ายอมรับ
สก. ท่านจงรับนิคคหะ ดังต่อไปนี้
หากเมื่อจิตดวงที่ ๒ เกิดขึ้น ท่านไม่ยอมรับว่า “เป็นคนเดียวกันหรือเป็น
คนละคนกัน” ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “เมื่อจิตดวงที่ ๒ เกิดขึ้น ข้าพเจ้า
ไม่ยอมรับว่า เป็นเทวดาหรือเป็นมนุษย์” ท่านกล่าวคำขัดแย้งใดในตอนต้นนั้นว่า
“ข้าพเจ้ายอมรับว่า เมื่อจิตดวงที่ ๒ เกิดขึ้น ข้าพเจ้าไม่ยอมรับว่า ‘เป็นคน
เดียวกันหรือเป็นคนละคนกัน’ เมื่อจิตดวงที่ ๒ เกิดขึ้น ข้าพเจ้าจึงยอมรับว่า
เป็นเทวดาหรือเป็นมนุษย์” คำนั้นของท่านผิด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๖๕ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๑. ปุคคลกถา
อนึ่ง เมื่อจิตดวงที่ ๒ เกิดขึ้น หากท่านยอมรับว่า “เป็นเทวดาหรือเป็นมนุษย์”
ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “เมื่อจิตดวงที่ ๒ เกิดขึ้น ข้าพเจ้ายอมรับว่า
เป็นคนเดียวกันหรือว่าเป็นคนละคนกัน” ท่านกล่าวคำขัดแย้งใดในตอนต้นนั้นว่า
“ข้าพเจ้ายอมรับว่า เมื่อจิตดวงที่ ๒ เกิดขึ้น ข้าพเจ้าไม่ยอมรับว่า ‘เป็นคน
เดียวกันหรือว่าเป็นคนละคนกัน เมื่อจิตดวงที่ ๒ เกิดขึ้น ข้าพเจ้าจึงยอมรับว่า
เป็นเทวดาหรือเป็นมนุษย์” คำนั้นของท่านผิด ฯลฯ
[๑๑๘] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์”
ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. บุคคลใดเห็น เห็นรูปใด เห็นด้วยจักษุใด บุคคลนั้นเห็น เห็นรูปนั้น
เห็นด้วยจักษุนั้นมิใช่หรือ๑
สก. ใช่๒
ปร. หากบุคคลใดเห็น เห็นรูปใด เห็นด้วยจักษุใด บุคคลนั้นเห็น เห็นรูปนั้น
เห็นด้วยจักษุนั้น ดังนั้น ท่านจึงยอมรับว่า “ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐ-
ปรมัตถ์”
[๑๑๙] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์”
ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. บุคคลใดฟัง ฯลฯ บุคคลใดดม ฯลฯ บุคคลใดลิ้มรส ฯลฯ บุคคลใด
ถูกต้อง ฯลฯ บุคคลใดรู้ รู้ธรรมารมณ์ใด รู้ด้วยมโนใด บุคคลนั้นรู้ รู้ธรรมารมณ์นั้น
รู้ด้วยมโนนั้นมิใช่หรือ
สก. ใช่

เชิงอรรถ :
๑ คำถามนี้ มีใจความว่า ผู้เห็นมีอยู่จริง รูปที่ถูกเห็นก็มีอยู่จริง ตาที่เห็นก็มีอยู่จริง
๒ เพราะมุ่งถึงสมมติสัจจึงตอบรับ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๑๑๘/๑๕๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๖๖ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๑. ปุคคลกถา
ปร. หากบุคคลใดรู้ รู้ธรรมารมณ์ใด รู้ด้วยมโนใด บุคคลนั้นรู้ รู้ธรรมารมณ์
นั้น รู้ด้วยมโนนั้น ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลได้โดย
สัจฉิกัฏฐปรมัตถ์”
[๑๒๐] สก. ท่านหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลใดไม่เห็น ไม่เห็นรูปใด ไม่เห็นด้วยจักษุใด บุคคลนั้นไม่เห็น
ไม่เห็นรูปนั้น ไม่เห็นด้วยจักษุนั้นมิใช่หรือ
ปร. ใช่๑
สก. หากบุคคลใดไม่เห็น ไม่เห็นรูปใด ไม่เห็นด้วยจักษุใด บุคคลนั้นไม่เห็น
ไม่เห็นรูปนั้น ไม่เห็นด้วยจักษุนั้น ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคล
ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์”
สก. ท่านหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลใดไม่ฟัง ฯลฯ บุคคลใดไม่ดม ฯลฯ บุคคลใดไม่ลิ้มรส ฯลฯ
บุคคลใดไม่ถูกต้อง ฯลฯ บุคคลใดไม่รู้ ไม่รู้ธรรมารมณ์ใด ไม่รู้ด้วยมโนใด บุคคลนั้นไม่รู้
ไม่รู้ธรรมารมณ์นั้น ไม่รู้ด้วยมโนนั้นใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. หากบุคคลใดไม่รู้ ไม่รู้ธรรมารมณ์ใด ไม่รู้ด้วยมโนใด บุคคลนั้นไม่รู้
ไม่รู้ธรรมารมณ์นั้น ไม่รู้ด้วยมโนนั้น ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “ข้าพเจ้าหยั่งรู้
บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์”
[๑๒๑] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “ท่านหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์”
ใช่ไหม
สก. ใช่

เชิงอรรถ :
๑ เพราะปรวาทีมุ่งหมายเอาบุคคล ๕ จำพวก คือ (๑) คนตาบอด (๒) อสัญญีสัตว์ (๓) บุคคลผู้เกิดในอรูปภพ
(๔) บุคคลผู้เข้านิโรธสมาบัติ (๕) คนตาไม่บอดแต่ไม่ดูรูป จึงตอบรับ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๑๒๐/๑๕๑-๑๕๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๖๗ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๑. ปุคคลกถา
ปร. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราเห็นหมู่สัตว์ผู้
กำลังจุติ กำลังปฏิสนธิ ทั้งชั้นต่ำและชั้นสูง งามและไม่งาม เกิดดีและเกิดไม่ดี
ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์ รู้ชัดถึงหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรม”๑ มีอยู่จริง
มิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. ดังนั้น ข้าพเจ้าจึงหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์
[๑๒๒] สก. เพราะท่านเข้าใจว่า “พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า ‘ภิกษุทั้งหลาย
เราเห็นหมู่สัตว์ผู้กำลังจุติ กำลังปฏิสนธิ ทั้งชั้นต่ำและชั้นสูง งามและไม่งาม
เกิดดีและเกิดไม่ดี ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์ รู้ชัดถึงหมู่สัตว์ผู้เป็นไป
ตามกรรม” จึงยอมรับว่า “ข้าพเจ้าจึงหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์”
ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระผู้มีพระภาคทรงเห็นรูป หรือทรงเห็นบุคคลได้ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์
เหนือมนุษย์
ปร. ทรงเห็นรูป
สก. รูปเป็นบุคคล รูปจุติ รูปปฏิสนธิ รูปเป็นไปตามกรรมใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระผู้มีพระภาคทรงเห็นรูป หรือทรงเห็นบุคคลได้ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์
เหนือมนุษย์
ปร. ทรงเห็นบุคคล
สก. บุคคลเป็นรูป เป็นรูปายตนะ เป็นรูปธาตุ เป็นสีเขียว สีเหลือง สีแดง
สีขาว สิ่งที่จะรู้ได้ทางจักษุ กระทบที่จักษุ มาสู่คลองจักษุได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ องฺ.ติก. (แปล) ๒๐/๕๙/๒๒๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๖๘ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๑. ปุคคลกถา
สก. พระผู้มีพระภาคทรงเห็นรูป หรือทรงเห็นบุคคลได้ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์
เหนือมนุษย์
ปร. ทรงเห็นได้ทั้ง ๒ อย่าง
สก. ทั้ง ๒ อย่าง เป็นรูป เป็นรูปายตนะ เป็นรูปธาตุ ทั้ง ๒ อย่างเป็นสีเขียว
ทั้ง ๒ อย่างเป็นสีเหลือง ทั้ง ๒ อย่างเป็นสีแดง ทั้ง ๒ อย่างเป็นสีขาว ทั้ง ๒
อย่างเป็นสิ่งที่จะรู้ได้ทางจักษุ ทั้ง ๒ อย่างกระทบที่จักษุ ทั้ง ๒ อย่างมาสู่คลองจักษุ
ทั้ง ๒ อย่างจุติ ทั้ง ๒ อย่างปฏิสนธิ ทั้ง ๒ อย่างเป็นไปตามกรรมใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
อุปาทาปัญญัตตานุโยคะ จบ

๑๓. ปุริสการานุโยคะ
ว่าด้วยการซักถามถึงผู้กระทำ
[๑๒๓] ปร. ท่านหยั่งรู้กรรมดีและกรรมชั่วได้ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. ท่านหยั่งรู้บุคคลผู้ทำ ผู้สั่งให้ทำกรรมดีและกรรมชั่วได้ใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น๑ ฯลฯ
[๑๒๔] สก. ท่านหยั่งรู้กรรมดีและกรรมชั่วได้ เพราะเหตุนั้น จึงหยั่งรู้บุคคล
ผู้ทำ ผู้สั่งให้ทำกรรมดีและกรรมชั่วได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ท่านหยั่งรู้บุคคลผู้สร้าง ผู้สั่งให้สร้างซึ่งบุคคลผู้ทำผู้สั่งให้ทำทั้ง ๒ นั้น
ได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น๒ ฯลฯ

เชิงอรรถ :
๑ เพราะปรวาทีมุ่งจะถามให้สกวาทียอมรับว่า อัตตามีอยู่จริง จึงตอบปฏิเสธ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๑๒๓/๑๕๒)
๒ เพราะปรวาทีเห็นว่า ถ้าตอบรับก็จะมีความผิด ๒ ประการ คือ (๑) เท่ากับยอมรับว่ามีผู้สร้างอยู่จริง (๒)
เท่ากับยอมรับลัทธิพระเจ้าสร้างโลก (อภิ.ปญ.จ.อ. ๑๒๔/๑๕๒-๑๕๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๖๙ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๑. ปุคคลกถา
[๑๒๕] สก. ท่านหยั่งรู้บุคคลผู้สร้าง ผู้สั่งให้สร้างซึ่งบุคคลผู้ทำผู้สั่งให้ทำนั้น
ได้ใช่ไหม
ปร. ใช่๑
สก. การทำที่สุดทุกข์ไม่มี การตัดขาดวัฏฏะไม่มี อนุปาทาปรินิพพานก็ไม่มี
แก่บุคคลผู้บันดาล ผู้สั่งให้บันดาลซึ่งบุคคลทั้ง ๒ ชั้นดังกล่าวมา๒นั้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๑๒๖] สก. ท่านหยั่งรู้กรรมดีและกรรมชั่วได้ เพราะเหตุนั้น จึงหยั่งรู้บุคคล
ผู้ทำ ผู้สั่งให้ทำกรรมดีและกรรมชั่วได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ท่านหยั่งรู้บุคคลได้ เพราะเหตุนั้น จึงหยั่งรู้บุคคลผู้ทำ ผู้สั่งให้ทำ
บุคคลได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๑๒๗] สก. ท่านหยั่งรู้กรรมดีและกรรมชั่วได้ เพราะเหตุนั้น จึงหยั่งรู้บุคคล
ผู้ทำ ผู้สั่งให้ทำกรรมดีและกรรมชั่วได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ท่านหยั่งรู้นิพพานได้ เพราะเหตุนั้น จึงหยั่งรู้บุคคลผู้ทำ ผู้สั่งให้ทำ
นิพพานได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๑๒๘] สก. ท่านหยั่งรู้กรรมดีและกรรมชั่วได้ เพราะเหตุนั้น จึงหยั่งรู้บุคคล
ผู้ทำ ผู้สั่งให้ทำกรรมดีและกรรมชั่วได้ใช่ไหม
ปร. ใช่

เชิงอรรถ :
๑ เพราะปรวาทียอมรับว่ามีผู้สร้างคือบิดามารดา ซึ่งทำหน้าที่ให้เกิด ตั้งชื่อ และเลี้ยงดู และยอมรับว่ามีผู้สั่ง
ให้สร้าง คือ กัลยาณมิตร หรือ ครู อาจารย์ ที่ให้ศึกษาศิลปวิทยา (อภิ.ปญฺจ.อ. ๑๒๔/๑๕๒-๑๕๓)
๒ บุคคลทั้ง ๒ ชั้นดังกล่าวมา คือ ชั้นที่ ๑ ได้แก่ ผู้ทำ ผู้สั่งให้ทำกรรม, ชั้นที่ ๒ ได้แก่ ผู้สร้าง ผู้สั่งให้สร้างซึ่งผู้ทำ
ผู้สั่งให้ทำกรรม (อภิ.ปญฺจ.อ. ๑๒๓/๑๕๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๗๐ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๑. ปุคคลกถา
สก. ท่านหยั่งรู้มหาปฐพีได้ เพราะเหตุนั้น จึงหยั่งรู้บุคคลผู้ทำ ผู้สั่งให้ทำ
มหาปฐพี ได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๑๒๙] สก. ท่านหยั่งรู้กรรมดีและกรรมชั่วได้ เพราะเหตุนั้น จึงหยั่งรู้บุคคล
ผู้ทำ ผู้สั่งให้ทำกรรมดีและกรรมชั่วได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ท่านหยั่งรู้มหาสมุทรได้ เพราะเหตุนั้น จึงหยั่งรู้บุคคลผู้ทำ ผู้สั่งให้ทำ
มหาสมุทรได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๑๓๐] สก. ท่านหยั่งรู้กรรมดีและกรรมชั่วได้ เพราะเหตุนั้น จึงหยั่งรู้บุคคล
ผู้ทำ ผู้สั่งให้ทำกรรมดีและกรรมชั่วได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ท่านหยั่งรู้ภูเขาสิเนรุได้ เพราะเหตุนั้น จึงหยั่งรู้บุคคลผู้ทำ ผู้สั่งให้ทำ
ภูเขาสิเนรุได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๑๓๑] สก. ท่านหยั่งรู้กรรมดีและกรรมชั่วได้ เพราะเหตุนั้น จึงหยั่งรู้บุคคล
ผู้ทำ ผู้สั่งให้ทำกรรมดีและกรรมชั่วได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ท่านหยั่งรู้น้ำได้ เพราะเหตุนั้น จึงหยั่งรู้บุคคลผู้ทำ ผู้สั่งให้ทำน้ำได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๑๓๒] สก. ท่านหยั่งรู้กรรมดีและกรรมชั่วได้ เพราะเหตุนั้น จึงหยั่งรู้บุคคล
ผู้ทำ ผู้สั่งให้ทำกรรมดีและกรรมชั่วได้ใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๗๑ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๑. ปุคคลกถา
สก. ท่านหยั่งรู้ไฟได้ เพราะเหตุนั้น จึงหยั่งรู้บุคคลผู้ทำ ผู้สั่งให้ทำไฟได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๑๓๓] สก. ท่านหยั่งรู้กรรมดีและกรรมชั่วได้ เพราะเหตุนั้น จึงหยั่งรู้บุคคล
ผู้ทำ ผู้สั่งให้ทำกรรมดีและกรรมชั่วได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ท่านหยั่งรู้ลมได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๑๓๔] สก. ท่านหยั่งรู้กรรมดีและกรรมชั่วได้ เพราะเหตุนั้น จึงหยั่งรู้บุคคล
ผู้ทำ ผู้สั่งให้ทำกรรมดีและกรรมชั่วได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ท่านหยั่งรู้หญ้า ไม้ และต้นไม้เจ้าป่าได้ เพราะเหตุนั้น จึงหยั่งรู้บุคคลผู้ทำ
ผู้สั่งให้ทำหญ้า ไม้ และต้นไม้เจ้าป่าได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๑๓๕] สก. ท่านหยั่งรู้กรรมดีและกรรมชั่วได้ เพราะเหตุนั้น จึงหยั่งรู้บุคคล
ผู้ทำ ผู้สั่งให้ทำกรรมดีและกรรมชั่วได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. กรรมดีและกรรมชั่วกับบุคคลผู้ทำผู้สั่งให้ทำกรรมดีและกรรมชั่วเป็นคน
ละอย่างกันใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น๑ ฯลฯ
[๑๓๖] ปร. ท่านหยั่งรู้วิบากของกรรมดีและกรรมชั่วได้ใช่ไหม
สก. ใช่

เชิงอรรถ :
๑ เพราะปรวาทีกลัวว่าจะตรงกับสักกายทิฏฐิที่ว่า (อภิ.ปญฺจ.อ. ๑๓๕/๑๕๓, ม.อุ.(แปล)
๑๔/๘๗/๙๙)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๗๒ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๑. ปุคคลกถา
ปร. ท่านหยั่งรู้บุคคลผู้เสวย(ได้รับ)วิบากของกรรมดีและกรรมชั่วได้ใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๑๓๗] สก. ท่านหยั่งรู้วิบากของกรรมดีและกรรมชั่วได้ เพราะเหตุนั้น จึงหยั่งรู้
บุคคลผู้เสวยวิบากของกรรมดีและกรรมชั่วได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ท่านหยั่งรู้บุคคลผู้เสวยซึ่งบุคคลผู้เสวยวิบากนั้นได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๑๓๘] สก. ท่านหยั่งรู้บุคคลผู้เสวยซึ่งบุคคลผู้เสวยวิบากนั้นได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. การทำที่สุดแห่งทุกข์ไม่มี การตัดขาดวัฏฏะไม่มี อนุปาทาปรินิพพาน
ก็ไม่มีแก่บุคคลผู้เสวยซึ่งบุคคลผู้เสวยทั้ง ๒ ชั้นดังกล่าวมานั้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๑๓๙] สก. ท่านหยั่งรู้วิบากของกรรมดีและกรรมชั่วได้ เพราะเหตุนั้น จึงหยั่งรู้
บุคคลผู้เสวยวิบากของกรรมดีและกรรมชั่วได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ท่านหยั่งรู้บุคคลได้ เพราะเหตุนั้น จึงหยั่งรู้บุคคลผู้เสวยบุคคลได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๑๔๐] สก. ท่านหยั่งรู้วิบากของกรรมดีและกรรมชั่วได้ เพราะเหตุนั้น จึงหยั่งรู้
บุคคลผู้เสวยวิบากของกรรมดีและกรรมชั่วได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ท่านหยั่งรู้นิพพานได้ เพราะเหตุนั้น จึงหยั่งรู้บุคคลผู้เสวยนิพพานได้
ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๗๓ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๑. ปุคคลกถา
[๑๔๑] สก. ท่านหยั่งรู้วิบากของกรรมดีและกรรมชั่วได้ เพราะเหตุนั้น จึงหยั่งรู้
บุคคลผู้เสวยวิบากของกรรมดีและกรรมชั่วได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ท่านหยั่งรู้มหาปฐพี ฯลฯ หยั่งรู้มหาสมุทร ฯลฯ หยั่งรู้ภูเขาสิเนรุ ฯลฯ
หยั่งรู้น้ำ ฯลฯ หยั่งรู้ไฟ ฯลฯ หยั่งรู้ลม ฯลฯ หยั่งรู้หญ้า ไม้ และต้นไม้เจ้าป่าได้
เพราะเหตุนั้น จึงหยั่งรู้บุคคลผู้เสวยหญ้า ไม้ และต้นไม้เจ้าป่าได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๑๔๒] สก. ท่านหยั่งรู้วิบากของกรรมดีและกรรมชั่วได้ เพราะเหตุนั้น จึงหยั่งรู้
บุคคลผู้เสวยวิบากของกรรมดีและกรรมชั่วได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. วิบากของกรรมดีและกรรมชั่วกับบุคคลผู้เสวยวิบากของกรรมดีและ
กรรมชั่วเป็นคนละอย่างกันใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๑๔๓] ปร. ท่านหยั่งรู้ทิพยสุขได้ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. ท่านหยั่งรู้บุคคลผู้เสวยทิพยสุขได้ใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๑๔๔] สก. ท่านหยั่งรู้ทิพยสุขได้ เพราะเหตุนั้น จึงหยั่งรู้บุคคลผู้เสวยทิพยสุข
ได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ท่านหยั่งรู้บุคคลผู้เสวยซึ่งบุคคลผู้เสวยทิพยสุขนั้นได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๑๔๕] สก. ท่านหยั่งรู้บุคคลผู้เสวย บุคคลผู้เสวยทิพยสุขนั้นได้ใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๗๔ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๑. ปุคคลกถา
สก. การทำที่สุดแห่งทุกข์ไม่มี การตัดขาดวัฏฏะไม่มี อนุปาทาปรินิพพาน
ก็ไม่มีแก่บุคคลผู้เสวยซึ่งบุคคลผู้เสวยทั้ง ๒ ชั้นดังกล่าวมานั้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๑๔๖] สก. ท่านหยั่งรู้ทิพยสุขได้ เพราะเหตุนั้น จึงหยั่งรู้บุคคลผู้เสวยทิพยสุข
ได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ท่านหยั่งรู้บุคคลได้ เพราะเหตุนั้น จึงหยั่งรู้บุคคลผู้เสวยบุคคลได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๑๔๗] สก. ท่านหยั่งรู้ทิพยสุขได้ เพราะเหตุนั้น จึงหยั่งรู้บุคคลผู้เสวยทิพยสุข
ได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ท่านหยั่งรู้นิพพานได้ เพราะเหตุนั้น จึงหยั่งรู้ผู้เสวยนิพพานได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๑๔๘] สก. ท่านหยั่งรู้ทิพยสุขได้ เพราะเหตุนั้น จึงหยั่งรู้บุคคลผู้เสวยทิพยสุข
ได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ท่านหยั่งรู้มหาปฐพี ฯลฯ หยั่งรู้มหาสมุทร ฯลฯ หยั่งรู้ภูเขาสิเนรุ ฯลฯ
หยั่งรู้น้ำ ฯลฯ หยั่งรู้ไฟ ฯลฯ หยั่งรู้ลม ฯลฯ หยั่งรู้หญ้า ไม้ และต้นไม้เจ้าป่าได้
เพราะเหตุนั้น จึงหยั่งรู้บุคคลผู้เสวยหญ้า ไม้ และต้นไม้เจ้าป่าได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๑๔๙] สก. ท่านหยั่งรู้ทิพยสุขได้ เพราะเหตุนั้น จึงหยั่งรู้บุคคลผู้เสวยทิพย-
สุขได้ใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๗๕ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๑. ปุคคลกถา
สก. ทิพยสุขกับบุคคลผู้เสวยทิพยสุขเป็นคนละอย่างกันใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๑๕๐] ปร. ท่านหยั่งรู้สุขของมนุษย์ได้ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. ท่านหยั่งรู้บุคคลผู้เสวยสุขของมนุษย์ได้ใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๑๕๑] สก. ท่านหยั่งรู้สุขของมนุษย์ได้ เพราะเหตุนั้น จึงหยั่งรู้บุคคลผู้เสวย
สุขของมนุษย์ได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ท่านหยั่งรู้บุคคลผู้เสวยซึ่งบุคคลผู้เสวยสุขนั้นได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๑๕๒] สก. ท่านหยั่งรู้บุคคลผู้เสวยซึ่งบุคคลผู้เสวยสุขของมนุษย์นั้นได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. การทำที่สุดแห่งทุกข์ไม่มี การตัดขาดวัฏฏะไม่มี อนุปาทาปรินิพพาน
ก็ไม่มีแก่บุคคลผู้เสวยซึ่งบุคคลผู้เสวยทั้ง ๒ ชั้นดังกล่าวมานั้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๑๕๓] สก. ท่านหยั่งรู้สุขของมนุษย์ได้ เพราะเหตุนั้น จึงหยั่งรู้บุคคลผู้เสวย
สุขของบุคคลได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ท่านหยั่งรู้บุคคลได้ เพราะเหตุนั้น จึงหยั่งรู้บุคคลผู้เสวยซึ่งบุคคลได้
ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๑๕๔] สก. ท่านหยั่งรู้สุขของมนุษย์ได้ เพราะเหตุนั้น จึงหยั่งรู้บุคคลผู้เสวย
สุขของมนุษย์ได้ใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๗๖ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๑. ปุคคลกถา
สก. ท่านหยั่งรู้นิพพานได้ เพราะเหตุนั้น จึงหยั่งรู้บุคคลผู้เสวยนิพพานได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๑๕๕] สก. ท่านหยั่งรู้สุขของมนุษย์ได้ เพราะเหตุนั้น จึงหยั่งรู้บุคคลผู้เสวยสุข
ของมนุษย์ได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ท่านหยั่งรู้มหาปฐพี ฯลฯ หยั่งรู้มหาสมุทร ฯลฯ หยั่งรู้ภูเขาสิเนรุ ฯลฯ
หยั่งรู้น้ำ ฯลฯ หยั่งรู้ไฟ ฯลฯ หยั่งรู้ลม ฯลฯ หยั่งรู้หญ้า ไม้ และต้นไม้เจ้าป่าได้
เพราะเหตุนั้น จึงหยั่งรู้บุคคลผู้เสวยหญ้า ไม้ และต้นไม้เจ้าป่าได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๑๕๖] สก. ท่านหยั่งรู้สุขของมนุษย์ได้ เพราะเหตุนั้น จึงหยั่งรู้บุคคลผู้เสวยสุข
ของมนุษย์ได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สุขของมนุษย์กับบุคคลผู้เสวยสุขของมนุษย์เป็นคนละอย่างกันใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๑๕๗] ปร. ท่านหยั่งรู้ทุกข์ที่มีในอบายได้ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. ท่านหยั่งรู้บุคคลผู้เสวยทุกข์ที่มีในอบายได้ใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๑๕๘] สก. ท่านหยั่งรู้ทุกข์ที่มีในอบายได้ เพราะเหตุนั้น จึงหยั่งรู้ผู้เสวย
ทุกข์ที่มีในอบายได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ท่านหยั่งรู้บุคคลผู้เสวยซึ่งบุคคลผู้เสวยทุกข์นั้นได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๗๗ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๑. ปุคคลกถา
[๑๕๙] สก. ท่านหยั่งรู้บุคคลผู้เสวยซึ่งบุคคลผู้เสวยทุกข์นั้นได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. การทำที่สุดแห่งทุกข์ไม่มี การตัดขาดวัฏฏะก็ไม่มี อนุปาทาปรินิพพาน
ก็ไม่มีแก่บุคคลผู้เสวยซึ่งบุคคลผู้เสวยทั้ง ๒ ชั้นดังกล่าวมานั้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๑๖๐] สก. ท่านหยั่งรู้ทุกข์ที่มีในอบายได้ เพราะเหตุนั้น จึงหยั่งรู้บุคคลผู้
เสวยทุกข์ที่มีในอบายได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ท่านหยั่งรู้บุคคลได้ เพราะเหตุนั้น จึงหยั่งรู้บุคคลผู้เสวยบุคคลได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๑๖๑] สก. ท่านหยั่งรู้ทุกข์ที่มีในอบายได้ เพราะเหตุนั้น จึงหยั่งรู้บุคคลผู้
เสวยทุกข์ที่มีในอบายได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ท่านหยั่งรู้นิพพานได้ เพราะเหตุนั้น จึงหยั่งรู้บุคคลผู้เสวยนิพพานได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๑๖๒] สก. ท่านหยั่งรู้ทุกข์ที่มีในอบายได้ เพราะเหตุนั้น จึงหยั่งรู้บุคคลผู้
เสวยทุกข์ที่มีในอบายได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ท่านหยั่งรู้มหาปฐพี ฯลฯ หยั่งรู้มหาสมุทร ฯลฯ หยั่งรู้ภูเขาสิเนรุ ฯลฯ
หยั่งรู้น้ำ ฯลฯ หยั่งรู้ไฟ ฯลฯ หยั่งรู้ลม ฯลฯ หยั่งรู้หญ้า ไม้ และต้นไม้เจ้าป่าได้
เพราะเหตุนั้น จึงหยั่งรู้บุคคลผู้เสวยหญ้า ไม้ และต้นไม้เจ้าป่าได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๗๘ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๑. ปุคคลกถา
[๑๖๓] สก. ท่านหยั่งรู้ทุกข์ที่มีในอบายได้ เพราะเหตุนั้น จึงหยั่งรู้บุคคลผู้
เสวยทุกข์ที่มีในอบายได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ทุกข์ที่มีในอบายกับบุคคลผู้เสวยทุกข์ที่มีในอบายเป็นคนละอย่างกันใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๑๖๔] ปร. ท่านหยั่งรู้ทุกข์ที่มีในนรกได้ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. ท่านหยั่งรู้บุคคลผู้เสวยทุกข์ที่มีในนรกได้ใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ท่านหยั่งรู้ทุกข์ที่มีในนรกได้ เพราะเหตุนั้น จึงหยั่งรู้บุคคลผู้เสวยทุกข์ที่
มีในนรกได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ท่านหยั่งรู้บุคคลผู้เสวยซึ่งบุคคลผู้เสวยทุกข์นั้นได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๑๖๕] สก. ท่านหยั่งรู้บุคคลผู้เสวยซึ่งบุคคลผู้เสวยทุกข์นั้นได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. การทำที่สุดทุกข์ไม่มี การตัดขาดวัฏฏะไม่มี อนุปาทาปรินิพพานก็ไม่มี
แก่บุคคลผู้เสวยซึ่งบุคคลผู้เสวยทั้ง ๒ ชั้นดังกล่าวมานั้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๑๖๖] สก. ท่านหยั่งรู้ทุกข์ที่มีในนรกได้ เพราะเหตุนั้น จึงหยั่งรู้ผู้เสวยทุกข์
ที่มีในนรกได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ท่านหยั่งรู้บุคคลได้ เพราะเหตุนั้น จึงหยั่งรู้ผู้เสวยบุคคลได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๗๙ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๑. ปุคคลกถา
[๑๖๗] สก. ท่านหยั่งรู้ทุกข์ที่มีในนรกได้ เพราะเหตุนั้น จึงหยั่งรู้บุคคลผู้เสวย
ทุกข์ที่มีในนรกได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ท่านหยั่งรู้นิพพานได้ เพราะเหตุนั้น จึงหยั่งรู้บุคคลผู้เสวยนิพพานได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๑๖๘] สก. ท่านหยั่งรู้ทุกข์ที่มีในนรกได้ เพราะเหตุนั้น จึงหยั่งรู้บุคคลผู้เสวย
ทุกข์ที่มีในนรกได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ท่านหยั่งรู้มหาปฐพี ฯลฯ หยั่งรู้มหาสมุทร ฯลฯ หยั่งรู้ภูเขาสิเนรุ ฯลฯ
หยั่งรู้น้ำ ฯลฯ หยั่งรู้ไฟ ฯลฯ หยั่งรู้ลม ฯลฯ หยั่งรู้หญ้า ไม้ และต้นไม้เจ้าป่าได้
เพราะเหตุนั้น จึงหยั่งรู้บุคคลผู้เสวยหญ้า ไม้ และต้นไม้เจ้าป่าได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๑๖๙] สก. ท่านหยั่งรู้ทุกข์ที่มีในนรกได้ เพราะเหตุนั้น จึงหยั่งรู้บุคคลผู้
เสวยทุกข์ที่มีในนรกได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ทุกข์ที่มีในนรกกับบุคคลผู้เสวยทุกข์ที่มีในนรกเป็นคนละอย่างกันใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๑๗๐] สก. ท่านหยั่งรู้กรรมดีและกรรมชั่วได้ เพราะเหตุนั้น จึงหยั่งรู้บุคคล
ผู้ทำ ผู้สั่งให้ทำ ผู้เสวยวิบากของกรรมดีและกรรมชั่วได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลคนเดียวกันทั้งทำและเสวยใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๘๐ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๑. ปุคคลกถา
[๑๗๑] สก. บุคคลคนเดียวกันทั้งทำและเสวยใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สุขและทุกข์มีตนเองเป็นตัวการ๑ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๑๗๒] สก. ท่านหยั่งรู้กรรมดีและกรรมชั่วได้ เพราะเหตุนั้น จึงหยั่งรู้บุคคล
ผู้ทำ ผู้สั่งให้ทำ ผู้เสวยวิบากของกรรมดีและกรรมชั่วได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลคนละคนกันทั้งทำและเสวยใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๑๗๓] สก. บุคคลคนละคนกันทั้งทำและเสวยใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สุขและทุกข์มีผู้อื่นเป็นตัวการใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๑๗๔] สก. ท่านหยั่งรู้กรรมดีและกรรมชั่วได้ เพราะเหตุนั้น จึงหยั่งรู้บุคคล
ผู้ทำ ผู้สั่งให้ทำ ผู้เสวยวิบากของกรรมดีและกรรมชั่วได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลทั้งที่เป็นคนเดียวกันและคนละคนกันทั้งทำและเสวยใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๑๗๕] สก. บุคคลทั้งที่เป็นคนเดียวกันและคนละคนกันทั้งทำและเสวยใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สุขและทุกข์มีทั้งตนเองเป็นตัวการและผู้อื่นเป็นตัวการใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ. ที.ปา. (แปล) ๑๑/๑๙๑/๑๕๑

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๘๑ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๑. ปุคคลกถา
[๑๗๖] สก. ท่านหยั่งรู้กรรมดีและกรรมชั่วได้ เพราะเหตุนั้น จึงหยั่งรู้บุคคล
ผู้ทำ ผู้สั่งให้ทำ ผู้เสวยวิบากของกรรมดีและกรรมชั่วได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลจะว่าเป็นคนเดียวกันก็มิใช่ จะว่าเป็นคนละคนกันก็มิใช่ทั้งทำและ
เสวยใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๑๗๗] สก. บุคคลจะว่าเป็นคนเดียวกันก็มิใช่ จะว่าเป็นคนละคนกันก็มิใช่
ทั้งทำและเสวยใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สุขและทุกข์เกิดขึ้นเองจะว่ามีตนเองเป็นตัวการก็มิใช่ จะว่ามีผู้อื่นเป็น
ตัวการก็มิใช่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๑๗๘] สก. ท่านหยั่งรู้กรรมดีและกรรมชั่วได้ เพราะเหตุนั้น จึงหยั่งรู้บุคคล
ผู้ทำ ผู้สั่งให้ทำ ผู้เสวยวิบากของกรรมดีและกรรมชั่วได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลคนเดียวกันทั้งทำและเสวย บุคคลคนละคนกันทั้งทำและเสวย
บุคคลทั้งที่เป็นคนเดียวกันและคนละคนกันทั้งทำและเสวย บุคคลจะว่าเป็นคน
เดียวกันก็มิใช่ จะว่าเป็นคนละคนกันก็มิใช่ ทั้งทำและเสวยใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๑๗๙] สก. บุคคลคนเดียวกันทั้งทำและเสวย บุคคลคนละคนกันทั้งทำและ
เสวย บุคคลทั้งที่เป็นคนเดียวกันและคนละคนกันทั้งทำและเสวย บุคคลจะว่าเป็น
คนเดียวกันก็มิใช่ จะว่าเป็นคนละคนกันก็มิใช่ ทั้งทำและเสวยใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๘๒ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๑. ปุคคลกถา
สก. สุขและทุกข์มีตนเองเป็นตัวการ สุขและทุกข์มีผู้อื่นเป็นตัวการ สุขและ
ทุกข์ทั้งมีตนเองและผู้อื่นเป็นตัวการ สุขและทุกข์เกิดขึ้นเอง จะว่ามีตนเองเป็นตัวการ
ก็มิใช่ จะว่ามีผู้อื่นเป็นตัวการก็มิใช่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๑๘๐] ปร. กรรมมีอยู่ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. บุคคลผู้ทำกรรมมีอยู่ใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๑๘๑] สก. กรรมมีอยู่ เพราะเหตุนั้น บุคคลผู้ทำกรรมจึงมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลผู้ทำกรรมนั้นมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๑๘๒] สก. บุคคลผู้ทำกรรมนั้นมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. การทำที่สุดทุกข์ไม่มี การตัดขาดวัฏฏะไม่มี อนุปาทาปรินิพพานก็ไม่มี
แก่บุคคลผู้ทำซึ่งบุคคลผู้ทำกรรมทั้ง ๒ ชั้นดังกล่าวมานั้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๑๘๓] สก. กรรมมีอยู่ เพราะเหตุนั้น บุคคลผู้ทำกรรมจึงมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๑๘๔] สก. กรรมมีอยู่ เพราะเหตุนั้น บุคคลผู้ทำกรรมจึงมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๘๓ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๑. ปุคคลกถา
สก. นิพพานมีอยู่ เพราะเหตุนั้น บุคคลผู้ทำนิพพานจึงมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๑๘๕] สก. กรรมมีอยู่ เพราะเหตุนั้น บุคคลผู้ทำกรรมจึงมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. มหาปฐพีมีอยู่ ฯลฯ มหาสมุทร ฯลฯ ภูเขาสิเนรุ ฯลฯ น้ำ ฯลฯ ไฟ
ฯลฯ ลม ฯลฯ หญ้า ไม้ และต้นไม้เจ้าป่ามีอยู่ เพราะเหตุนั้น บุคคลผู้ทำหญ้า
ไม้ และต้นไม้เจ้าป่าจึงมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๑๘๖] สก. กรรมมีอยู่ เพราะเหตุนั้น บุคคลผู้ทำกรรมจึงมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. กรรมกับบุคคลผู้ทำกรรมเป็นคนละอย่างกันใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๑๘๗] ปร. วิบากมีอยู่ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. บุคคลผู้เสวยวิบากมีอยู่ใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๑๘๘] สก. วิบากมีอยู่ เพราะเหตุนั้น บุคคลผู้เสวยวิบากจึงมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลผู้เสวยซึ่งบุคคลผู้เสวยวิบากนั้นมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๑๘๙] สก. บุคคลผู้เสวยซึ่งบุคคลผู้เสวยวิบากนั้นมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๘๔ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๑. ปุคคลกถา
สก. การทำที่สุดทุกข์ไม่มี การตัดขาดวัฏฏะไม่มี อนุปาทาปรินิพพานก็ไม่มี
แก่บุคคลผู้เสวยซึ่งบุคคลผู้เสวยวิบากทั้ง ๒ ชั้นดังกล่าวมานั้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. วิบากมีอยู่ เพราะเหตุนั้น บุคคลผู้เสวยวิบากจึงมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลมีอยู่ เพราะเหตุนั้น บุคคลผู้เสวยซึ่งบุคคลจึงมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๑๙๐] สก. วิบากมีอยู่ เพราะเหตุนั้น บุคคลผู้เสวยวิบากจึงมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. นิพพานมีอยู่ เพราะเหตุนั้น บุคคลผู้เสวยนิพพานจึงมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๑๙๑] สก. วิบากมีอยู่ เพราะเหตุนั้น บุคคลผู้เสวยวิบากจึงมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. มหาปฐพีมีอยู่ ฯลฯ มหาสมุทร ฯลฯ ภูเขาสิเนรุ ฯลฯ น้ำ ฯลฯ ไฟ
ฯลฯ ลม ฯลฯ หญ้า ไม้ และต้นไม้เจ้าป่ามีอยู่ เพราะเหตุนั้น บุคคลผู้เสวยหญ้า
ไม้ และต้นไม้เจ้าป่าจึงมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๑๙๒] สก. วิบากมีอยู่ เพราะเหตุนั้น บุคคลผู้เสวยวิบากจึงมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. วิบากเป็นอย่างหนึ่ง บุคคลผู้เสวยวิบากก็เป็นอย่างหนึ่งใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ (ย่อ)
กัลยาณวรรค๑ ที่ ๑ จบ

เชิงอรรถ :
๑ คำว่า กัลยาณวรรค นี้เป็นชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งของปุริสการานุโยคะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๑๙๒/๑๕๖)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๘๕ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๑. ปุคคลกถา
๑๔. อภิญญานุโยคะ
ว่าด้วยการซักถามถึงอภิญญา
[๑๙๓] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์”
ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. บุคคลบางคนแสดงฤทธิ์ได้ มีอยู่มิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. หากบุคคลบางคนแสดงฤทธิ์ได้มีอยู่ ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า
“ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์”
[๑๙๔] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์”
ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. บุคคลบางคนฟังเสียงด้วยทิพยโสตธาตุได้ ฯลฯ รู้จิตของบุคคลอื่นได้
ฯลฯ หวนระลึกถึงชาติปางก่อนได้ ฯลฯ เห็นรูปด้วยทิพยจักษุได้ ฯลฯ ทำให้แจ้ง
ความสิ้นไปแห่งอาสวะได้มีอยู่มิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. หากบุคคลบางคนทำให้แจ้งความสิ้นไปแห่งอาสวะได้มีอยู่ ดังนั้น ท่าน
จึงควรยอมรับว่า “ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์”
[๑๙๕] สก. เพราะท่านเข้าใจว่า “บุคคลบางคนแสดงฤทธิ์ได้มีอยู่” จึงยอม
รับว่า “ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์” ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลผู้แสดงฤทธิ์ได้เท่านั้นจึงจัดเป็นบุคคล บุคคลผู้แสดงฤทธิ์ไม่ได้ไม่
จัดเป็นบุคคลใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๘๖ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๑. ปุคคลกถา
[๑๙๖] สก. บุคคลผู้ฟังเสียงด้วยทิพยโสตธาตุได้ ฯลฯ รู้จิตของบุคคลอื่นได้
ฯลฯ หวนระลึกถึงชาติปางก่อนได้ ฯลฯ เห็นรูปด้วยทิพยจักษุได้ ฯลฯ ทำให้
แจ้งความสิ้นไปแห่งอาสวะได้ จึงจัดเป็นบุคคล บุคคลผู้ทำให้แจ้งความสิ้นไปแห่ง
อาสวะไม่ได้ไม่จัดเป็นบุคคลใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
อภิญญานุโยคะ จบ

๑๕.-๑๘. ญาตกานุโยคาทิ ๑
ว่าด้วยการซักถามถึงญาติ เป็นต้น
[๑๙๗] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “ท่านหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์”
ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. มารดามีอยู่มิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. หากมารดามีอยู่ ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคล
ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์”
[๑๙๘] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์”
ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. บิดามีอยู่ ฯลฯ พี่ชายน้องชายมีอยู่ ฯลฯ พี่สาวน้องสาวมีอยู่ ฯลฯ
กษัตริย์มีอยู่ ฯลฯ พราหมณ์มีอยู่ ฯลฯ แพศย์มีอยู่ ฯลฯ ศูทรมีอยู่ ฯลฯ
คฤหัสถ์มีอยู่ ฯลฯ บรรพชิตมีอยู่ ฯลฯ เทวดามีอยู่ ฯลฯ มนุษย์มีอยู่มิใช่หรือ
สก. ใช่

เชิงอรรถ :
๑มี ๔ ตอน คือ (๑) ญาตกานุโยคะ ว่าด้วยการซักถามถึงญาติ (๒) ชาติอนุโยคะ ว่าด้วยการซักถามถึงการเกิด
(๓) ปฏิปัตติอนุโยคะ ว่ าด้วยการซักถามถึงข้อปฏิบัติ (๔) อุปปัตติอนุโยคะ ว่าด้วยการซักถามถึงการอุบัติ
(อภิ.ปญฺจ.อ. ๑๙๗/๑๕๖)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๘๗ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๑. ปุคคลกถา
ปร. หากมนุษย์มีอยู่ ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคล
ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์”
[๑๙๙] สก. เพราะท่านเข้าใจว่า “มารดามีอยู่” จึงยอมรับว่า “ข้าพเจ้าหยั่ง
รู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์” ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลบางคนไม่เคยเป็นมารดาแล้วมาเป็นมารดามีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลบางคนไม่เคยเป็นบุคคลแล้วมาเป็นบุคคลมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลบางคนไม่เคยเป็นบิดา ฯลฯ ไม่เคยเป็นพี่ชายน้องชาย ฯลฯ
ไม่เคยเป็นพี่สาวน้องสาว ฯลฯ ไม่เคยเป็นกษัตริย์ ฯลฯ ไม่เคยเป็นพราหมณ์ ฯลฯ
ไม่เคยเป็นแพศย์ ฯลฯ ไม่เคยเป็นศูทร ฯลฯ ไม่เคยเป็นคฤหัสถ์ ฯลฯ ไม่เคย
เป็นบรรพชิต ฯลฯ ไม่เคยเป็นเทวดา ฯลฯ ไม่เคยเป็นมนุษย์แล้วมาเป็นมนุษย์มี
อยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลบางคนไม่เคยเป็นบุคคลแล้วมาเป็นบุคคลมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๒๐๐] สก. เพราะท่านเข้าใจว่า “มารดามีอยู่” จึงยอมรับว่า “ข้าพเจ้าหยั่งรู้
บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์” ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลบางคนเคยเป็นมารดาแล้วไม่เป็นมารดามีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลบางคนเคยเป็นบุคคลแล้วไม่เป็นบุคคลมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๘๘ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๑. ปุคคลกถา
สก. บุคคลบางคนเคยเป็นบิดา ฯลฯ เคยเป็นพี่ชายน้องชาย ฯลฯ เคยเป็น
พี่สาวน้องสาว ฯลฯ เคยเป็นกษัตริย์ ฯลฯ เคยเป็นพราหมณ์ ฯลฯ เคยเป็นแพศย์
ฯลฯ เคยเป็นศูทร ฯลฯ เคยเป็นคฤหัสถ์ ฯลฯ เคยเป็นบรรพชิต ฯลฯ เคยเป็น
เทวดา ฯลฯ เคยเป็นมนุษย์แล้วไม่เป็นมนุษย์มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลบางคนเคยเป็นบุคคลแล้วไม่เป็นบุคคลมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ญาตกานุโยคาทิ จบ

๑๙. ปฏิเวธานุโยคะ
ว่าด้วยการซักถามถึงผู้บรรลุธรรม (พระอริยะ)
[๒๐๑] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์”
ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. บุคคลผู้เป็นพระโสดาบันมีอยู่มิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. หากบุคคลผู้เป็นพระโสดาบันมีอยู่ ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า
“ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์”
[๒๐๒] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์”
ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. บุคคลผู้เป็นพระสกทาคามีมีอยู่ ฯลฯ บุคคลผู้เป็นพระอนาคามีมีอยู่
ฯลฯ บุคคลผู้เป็นพระอรหันต์มีอยู่ ฯลฯ บุคคลผู้เป็นอุภโตภาควิมุตมีอยู่ ฯลฯ
บุคคลผู้เป็นปัญญาวิมุตมีอยู่ ฯลฯ บุคคลผู้เป็นกายสักขีมีอยู่ ฯลฯ บุคคลผู้เป็น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๘๙ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๑. ปุคคลกถา
ทิฏฐิปัตตะมีอยู่ ฯลฯ บุคคลผู้เป็นสัทธาวิมุตมีอยู่ ฯลฯ บุคคลผู้เป็นธัมมานุสารีมีอยู่
ฯลฯ บุคคลผู้เป็นสัทธานุสารี๑มีอยู่ มิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. หากบุคคลผู้เป็นสัทธานุสารีมีอยู่ ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า
“ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์”
[๒๐๓] สก. เพราะท่านเข้าใจว่า “บุคคลผู้เป็นพระโสดาบันมีอยู่” จึงยอมรับว่า
“ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์” ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลบางคนไม่เคยเป็นพระโสดาบันแล้วมาเป็นพระโสดาบันมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลบางคนไม่เคยเป็นบุคคลแล้วมาเป็นบุคคลมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๒๐๔] สก. บุคคลบางคนไม่เคยเป็นพระสกทาคามี ฯลฯ ไม่เคยเป็นพระ
อนาคามี ฯลฯ ไม่เคยเป็นพระอรหันต์ ฯลฯ ไม่เคยเป็นอุภโตภาควิมุต ฯลฯ
ไม่เคยเป็นปัญญาวิมุต ฯลฯ ไม่เคยเป็นกายสักขี ฯลฯ ไม่เคยเป็นทิฏฐิปัตตะ ฯลฯ
ไม่เคยเป็นสัทธาวิมุต ฯลฯ ไม่เคยเป็นธัมมานุสารี ฯลฯ ไม่เคยเป็นสัทธานุสารี
แล้วเป็นสัทธานุสารีมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลบางคนไม่เคยเป็นบุคคลแล้วมาเป็นบุคคลมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๒๐๕] สก. เพราะท่านเข้าใจว่า “บุคคลผู้เป็นพระโสดาบันมีอยู่” จึงยอมรับว่า
“ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์” ใช่ไหม
ปร. ใช่

เชิงอรรถ :
๑ คำแปลและความหมายของคำเหล่านี้ ดูใน อภิ.ปุ. (แปล) ๓๖/๒๔-๓๐/๑๕๓-๑๕๔

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๙๐ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๑. ปุคคลกถา
สก. บุคคลบางคนเคยเป็นพระโสดาบันแล้วไม่เป็นพระโสดาบันมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลบางคนเคยเป็นบุคคลแล้วไม่เป็นบุคคลมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลบางคนเคยเป็นพระสกทาคามี ฯลฯ เคยเป็นพระอนาคามีแล้ว
ไม่เป็นพระอนาคามีมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลบางคนเคยเป็นบุคคลแล้วไม่เป็นบุคคลมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปฏิเวธานุโยคะ จบ

๒๐. สังฆานุโยคะ
ว่าด้วยการซักถามถึงสงฆ์
[๒๐๖] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์”
ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. อริยบุคคล ๔ คู่ คือ ๘ บุคคล มีอยู่มิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. หากอริยบุคคล ๔ คู่ คือ ๘ บุคคลมีอยู่ ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า
“ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์”
[๒๐๗] สก. เพราะท่านเข้าใจว่า “อริยบุคคล ๔ คู่ คือ ๘ บุคคล มีอยู่”
จึงยอมรับว่า “ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์” ใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๙๑ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๑. ปุคคลกถา
สก. อริยบุคคล ๔ คู่ คือ ๘ บุคคลปรากฏได้ เพราะพระพุทธเจ้า
ปรากฏใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลปรากฏได้ เพราะพระพุทธเจ้าปรากฏใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลปรากฏได้ เพราะพระพุทธเจ้าปรากฏใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เมื่อพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าปรินิพพานแล้ว บุคคลก็ขาดสูญไป
บุคคลไม่มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สังฆานุโยคะ จบ

๒๑. สัจฉิกัตถสภาคานุโยคะ
ว่าด้วยการซักถามถึงสภาวะแห่งสัจฉิกัฏฐะ
[๒๐๘] สก. ท่านหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลเป็นสภาวะที่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง(สังขตะ)ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลเป็นสภาวะที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง(อสังขตะ)ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลเป็นสภาวะที่ถูกปัจจัยปรุงแต่งก็มิใช่ ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งก็มิใช่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๒๐๙] สก. บุคคลเป็นสภาวะที่ถูกปัจจัยปรุงแต่งก็มิใช่ ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง
ก็มิใช่ใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๙๒ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๑. ปุคคลกถา
สก. นอกจากสิ่งที่ถูกปัจจัยปรุงแต่งและไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง ยังมีส่วนที่ ๓
อีกใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๒๑๐] สก. นอกจากสิ่งที่ถูกปัจจัยปรุงแต่งและไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง ยังมีส่วน
ที่ ๓ อีกใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย ธาตุ ๒ ประการนี้
ธาตุ ๒ ประการ อะไรบ้าง คือ (๑) ธาตุที่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง (๒) ธาตุที่ไม่ถูก
ปัจจัยปรุงแต่ง นี้คือ ธาตุ ๒ ประการ”๑ มีอยู่จริงมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. ดังนั้น ท่านจึงไม่ควรยอมรับว่า “นอกจากสิ่งที่ถูกปัจจัยปรุงแต่งและ
ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง ยังมีส่วนที่ ๓ อีก”
[๒๑๑] สก. บุคคลเป็นสภาวะที่ถูกปัจจัยปรุงแต่งก็มิใช่ ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง
ก็มิใช่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สิ่งที่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง สิ่งที่ไม่ถูกปัจจัย และบุคคลเป็นคนละอย่างกันใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๒๑๒] สก. ขันธ์เป็นสภาวะที่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง นิพพานเป็นสภาวะที่ไม่ถูก
ปัจจัยปรุงแต่ง บุคคลเป็นสภาวะที่ถูกปัจจัยปรุงแต่งก็มิใช่ ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งก็มิ
ใช่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ขันธ์ นิพพานและบุคคลเป็นคนละอย่างกันใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ ที.ปา. (แปล) ๑๑/๓๕๒/๓๗๑

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๙๓ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๑. ปุคคลกถา
[๒๑๓] สก. รูปเป็นสภาวะที่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง นิพพานเป็นสภาวะที่ไม่ถูก
ปัจจัยปรุงแต่ง บุคคลเป็นสภาวะที่ถูกปัจจัยปรุงแต่งก็มิใช่ ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งก็มิใช่
ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. รูป นิพพาน และบุคคลเป็นคนละอย่างกันใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ สังขาร ฯลฯ วิญญาณเป็นสภาวะที่ถูก
ปัจจัยปรุงแต่ง นิพพานเป็นสภาวะที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง บุคคลเป็นสภาวะที่ถูกปัจจัย
ปรุงแต่งก็มิใช่ ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งก็มิใช่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. วิญญาณ นิพพาน และบุคคลเป็นคนละอย่างกันใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๒๑๔] สก. บุคคลมีความเกิดขึ้นปรากฏ มีความดับสลายปรากฏ เมื่อดำรงอยู่
มีความแปรผันปรากฏใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลเป็นสภาวะที่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย สังขตลักษณะ
แห่งสังขตธรรม ๓ ประการนี้ คือ (๑) ความเกิดขึ้นปรากฏ (๒) ความดับ
สลายปรากฏ (๓) เมื่อดำรงอยู่ ความแปรผันปรากฏ”๑ บุคคลมีความเกิดขึ้นปรากฏ
มีความดับสลายปรากฏ เมื่อดำรงอยู่มีความแปรผันปรากฏ ดังนั้น บุคคลจึงเป็น
สภาวะที่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ องฺ.ติก. (แปล) ๒๐/๔๗/๒๐๘-๒๐๙

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๙๔ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๑. ปุคคลกถา
[๒๑๕] สก. บุคคลไม่มีความเกิดขึ้นปรากฏ ไม่มีความดับสลายปรากฏ เมื่อ
ดำรงอยู่ ไม่มีความแปรผันปรากฏใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย อสังขตลักษณะ
แห่งอสังขตธรรม ๓ ประการนี้ คือ (๑) ความเกิดขึ้นไม่ปรากฏ (๒) ความดับ
สลายไม่ปรากฏ (๓) เมื่อดำรงอยู่ ความแปรผันไม่ปรากฏ”๑ บุคคลไม่มีความเกิด
ขึ้นปรากฏ ไม่มีความดับสลายปรากฏ เมื่อดำรงอยู่ ไม่มีความแปรผันปรากฏ
ดังนั้น บุคคลจึงเป็นสภาวะที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง
[๒๑๖] สก. บุคคลปรินิพพานแล้วมีอยู่ในนิพพานหรือไม่มีอยู่ในนิพพาน
ปร. มีอยู่ในนิพพาน๒
สก. บุคคลปรินิพพานแล้วเป็นผู้เที่ยงใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น๓ ฯลฯ
สก. บุคคลปรินิพพานแล้วมีอยู่ในนิพพานหรือไม่มีอยู่ในนิพพาน
ปร. ไม่มีอยู่ในนิพพาน
สก. บุคคลปรินิพพานแล้วเป็นผู้ขาดสูญใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ๔
[๒๑๗] สก. บุคคลอาศัยอะไรดำรงอยู่
ปร. บุคคลอาศัยภพดำรงอยู่

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ องฺ.ติก. (แปล) ๒๐/๔๘/๒๐๙
๒ เพราะมีความเห็นว่า นิพพานเป็นสถานที่แห่งหนึ่งซึ่งบุคคลหลังจากปรินิพานแล้วจะไปอยู่ในที่นั้น (อภิ.ปญฺจ.อ.
๒๑๖/๑๕๗)
๓ เพราะฝ่ายปรวาทีกลัวจะเป็นสัสสตทิฏฐิจึงตอบปฏิเสธ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๒๑๖/๑๕๗)
๔ เพราะฝ่ายปรวาทีกลัวจะเป็นอุจเฉททิฏฐิจึงตอบปฏิเสธ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๒๑๖/๑๕๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๙๕ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๑. ปุคคลกถา
สก. ภพ๑ไม่เที่ยง ถูกปัจจัยปรุงแต่ง อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น มีความสิ้นไป เสื่อมไป
คลายไป ดับไป แปรผันไปเป็นธรรมดาใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. แม้บุคคลก็ไม่เที่ยง ถูกปัจจัยปรุงแต่ง อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น มีความสิ้นไป
เสื่อมไป คลายไป ดับไป แปรผันไปเป็นธรรมดาใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๒๑๘] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์”
ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. บุคคลบางคนเมื่อเสวยสุขเวทนาจึงรู้ชัดว่า “ข้าพเจ้าเสวยสุขเวทนามีอยู่”
มิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. หากบุคคลบางคนเมื่อเสวยสุขเวทนาจึงรู้ชัดว่า “ข้าพเจ้าเสวยสุขเวทนา
มีอยู่” ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์”
[๒๑๙] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์”
ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. บุคคลบางคนเมื่อเสวยทุกขเวทนา ฯลฯ เมื่อเสวยอทุกขมสุขเวทนาจึง
รู้ชัดว่า “ข้าพเจ้าเสวยอทุกขมสุขเวทนา” มีอยู่มิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. หากบุคคลบางคนเมื่อเสวยอทุกขมสุขเวทนาจึงรู้ชัดว่า “ข้าพเจ้าเสวย
อทุกขมสุขเวทนา” มีอยู่ ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลได้
โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์”

เชิงอรรถ :
๑ ภพ ในที่นี้หมายถึงอุปปัตติภพ (ภพคือที่เกิด ได้แก่ กามภพ รูปภพ และอรูปภพ) (อภิ.ปญฺจ.อ. ๒๑๗/๑๕๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๙๖ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๑. ปุคคลกถา
[๒๒๐] สก. เพราะท่านเข้าใจว่า “บุคคลบางคนเมื่อเสวยสุขเวทนาจึงรู้ชัดว่า
ข้าพเจ้าเสวยสุขเวทนา มีอยู่” จึงยอมรับว่า “ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐ-
ปรมัตถ์” ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลผู้ที่เสวยสุขเวทนาอยู่รู้ชัดว่า “ข้าพเจ้าเสวยสุขเวทนา” เท่านั้น
จัดเป็นบุคคล บุคคลผู้ที่เสวยสุขเวทนาอยู่แต่ไม่รู้ชัดว่า “ข้าพเจ้าเสวยสุขเวทนา”นั้น
ไม่จัดเป็นบุคคลใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลผู้ที่เสวยทุกขเวทนาอยู่ ฯลฯ บุคคลผู้ที่เสวยอทุกขมสุขเวทนา
อยู่รู้ชัดว่า “ข้าพเจ้าเสวยอทุกขมสุขเวทนา” เท่านั้นจัดเป็นบุคคล บุคคลผู้เสวย
อทุกขมสุขเวทนาอยู่แต่ไม่รู้ชัดว่า “ข้าพเจ้าเสวยอทุกขมสุขเวทนา” นั้นไม่จัดเป็น
บุคคลใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๒๒๑] สก. เพราะท่านเข้าใจว่า “บุคคลบางคนเมื่อเสวยสุขเวทนาจึงรู้ชัดว่า
เราเสวยสุขเวทนา มีอยู่” จึงยอมรับว่า “ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐ-
ปรมัตถ์” ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สุขเวทนากับบุคคลผู้เสวยสุขเวทนาอยู่รู้ชัดว่า “ข้าพเจ้าเสวยสุขเวทนา”
เป็นคนละอย่างกันใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ทุกขเวทนา ฯลฯ อทุกขมสุขเวทนากกับบุคคลผู้ที่เสวยอทุกขม-
สุขเวทนาอยู่รู้ชัดว่า “ข้าพเจ้าเสวยอทุกขมสุขเวทนา” เป็นคนละอย่างกันใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๙๗ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๑. ปุคคลกถา
[๒๒๒] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์”
ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. บุคคลบางคนพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีอยู่มิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. หากบุคคลบางคนพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีอยู่ ดังนั้น ท่านจึง
ควรยอมรับว่า “ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์”
[๒๒๓] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์”
ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. บุคคลบางคนพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนา ฯลฯ พิจารณาเห็นจิตในจิต
ฯลฯ พิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ มีอยู่มิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. หากบุคคลบางคนพิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ มีอยู่ ดังนั้น ท่านจึง
ควรยอมรับว่า “ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์”
[๒๒๔] สก. เพราะท่านเข้าใจว่า “บุคคลบางคนพิจารณาเห็นกายในกายอยู่
มีอยู่” จึงยอมรับว่า “ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์” ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลผู้พิจารณาเห็นกายในกายอยู่เท่านั้นจัดเป็นบุคคล บุคคลผู้ไม่
พิจารณาเห็นกายในกายอยู่นั้นไม่จัดเป็นบุคคลใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลผู้พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนา ฯลฯ พิจารณาเห็นจิตในจิต ฯลฯ
พิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่เท่านั้นจัดเป็นบุคคล บุคคลผู้ที่ไม่พิจารณาเห็นธรรม
ในธรรมอยู่ ไม่จัดเป็นบุคคลใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๙๘ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๑. ปุคคลกถา
[๒๒๕] สก. เพราะท่านเข้าใจว่า “บุคคลบางคนพิจารณาเห็นกายในกายอยู่
มีอยู่” จึงยอมรับว่า “ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์” ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. กายกับบุคคลผู้พิจารณาเห็นกายในกายอยู่เป็นคนละอย่างกันใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เวทนา ฯลฯ จิต ฯลฯ ธรรมกับบุคคลผู้พิจารณาเห็นธรรมในธรรม
อยู่เป็นคนละอย่างกันใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๒๒๖] สก. ท่านหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า
“โมฆราช เธอจงพิจารณาเห็นโลก๑โดยความว่างเปล่า
มีสติทุกเมื่อ ถอนอัตตานุทิฏฐิเสีย
เป็นผู้ข้ามมัจจุราชเสียได้ ด้วยอาการอย่างนี้
บุคคลพิจารณาเห็นโลกอย่างนี้ มัจจุราชจึงไม่เห็น” ๒
มีอยู่จริงมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. ดังนั้น ท่านจึงไม่ควรยอมรับว่า “ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐ-
ปรมัตถ์”

เชิงอรรถ :
๑ โลก ในที่นี้หมายถึงขันธ์ ๕ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๑๒๖/๑๕๘)
๒ ดูเทียบ ขุ.สุ. (แปล) ๒๕/๑๑๒๖/๗๗๒, ขุ.จู. (แปล) ๓๐/๘๘/๓๒๓

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๙๙ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๑. ปุคคลกถา
[๒๒๗] สก. บุคคลพิจารณาเห็น(โลก)ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พิจารณาเห็น(โลก)พร้อมกับรูปหรือเว้นจากรูป๑
ปร. พิจารณาเห็น(โลก)พร้อมกับรูป
สก. ชีวะกับสรีระเป็นอย่างเดียวกันใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พิจารณาเห็น(โลก)พร้อมกับรูปหรือเว้นจากรูป
ปร. พิจารณาเห็น(โลก)เว้นจากรูป
สก. ชีวะกับสรีระเป็นคนละอย่างกันใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๒๒๘] สก. บุคคลพิจารณาเห็น(โลก)ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. อยู่ภายใน(รูป)พิจารณาเห็นหรือออกไปภายนอก(รูป)แล้วจึงพิจารณาเห็น
ปร. อยู่ภายใน(รูป)พิจารณาเห็น
สก. ชีวะกับสรีระเป็นอย่างเดียวกันใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. อยู่ภายใน(รูป)พิจารณาเห็นหรือออกไปภายนอก(รูป)แล้วจึงพิจารณาเห็น
ปร. ออกไปภายนอก(รูป)แล้วจึงพิจารณาเห็น
สก. ชีวะกับสรีระเป็นคนละอย่างกันใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

เชิงอรรถ :
๑ รูป ในที่นี้หมายถึงรูปกาย (อภิ.ปญฺจ.อ. ๒๒๘/๑๕๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๑๐๐ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๑. ปุคคลกถา
[๒๒๙] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์”
ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. พระผู้มีพระภาคทรงเป็นสัจจวาที๑ กาลวาที๒ ภูตวาที๓ ตถวาที๔
อวิตถวาที๕ อนัญญถวาที๖ มิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตนเอง๗
มีอยู่” มีอยู่จริงมิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. ดังนั้น ข้าพเจ้าจึงหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์
[๒๓๐] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์”
ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. พระผู้มีพระภาคทรงเป็นสัจจวาที กาลวาที ภูตวาที ตถวาที อวิตถวาที
อนัญญถวาที มิใช่หรือ
สก. ใช่

เชิงอรรถ :
๑ สัจจวาที หมายถึงตรัสเรื่องจริงที่อิงอริยสัจ (ขุ.จู.อ. ๘๓/๖๔)
๒ กาลวาที หมายถึงตรัสในเวลาอันเหมาะสม (ขุ.จู.อ. ๘๓/๖๔)
๓ ภูตวาที หมายถึงตรัสสภาวะที่เป็นจริง (ขุ.จู.อ. ๘๓/๖๔)
๔ ตถวาที หมายถึงตรัสตามที่ทรงกระทำมา (ขุ.จู.อ. ๘๓/๖๔)
๕ อวิตถวาที หมายถึงตรัสเรื่องที่ไม่คลาดเคลื่อน (ขุ.จู.อ. ๘๓/๖๗)
๖ อนัญญถวาที หมายถึงตรัสเรื่องจริงแท้ไม่เป็นอย่างอื่น (ขุ.จู.อ. ๘๓/๖๖-๖๗)
๗ ดูเทียบ อภิ.ปุ. (แปล) ๓๖/๑๗๓/๒๐๕

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๑๐๑ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๑. ปุคคลกถา
ปร. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้เป็นเอก
เมื่อเกิดขึ้นในโลก ย่อมเกิดขึ้นเพื่อเกื้อกูลแก่คนหมู่มาก เพื่อสุขแก่คนหมู่มาก
เพื่ออนุเคราะห์ชาวโลก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขแก่เทวดาและมนุษย์
ทั้งหลาย” ๑ มีอยู่จริงมิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. ดังนั้น ข้าพเจ้าจึงหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์
[๒๓๑] สก. ท่านหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระผู้มีพระภาคทรงเป็นสัจจวาที กาลวาที ภูตวาที ตถวาที อวิตถวาที
อนัญญถวาที มิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ธรรมทั้งหลายทั้งปวงเป็นอนัตตา”๒
มีอยู่จริงมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. ดังนั้น ท่านจึงไม่ควรยอมรับว่า “ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐ-
ปรมัตถ์”
[๒๓๒] สก. ท่านหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระผู้มีพระภาคทรงเป็นสัจจวาที กาลวาที ภูตวาที ตถวาที อวิตถวาที
อนัญญถวาที มิใช่หรือ
ปร. ใช่

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ องฺ.เอกก. (แปล) ๒๐/๑๗๐/๒๒
๒ ดูเทียบ ม.มู. (แปล) ๑๒/๓๕๖/๓๙๑-๓๙๒, สํ.ข. (แปล) ๑๗/๙๐/๑๗๑

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๑๐๒ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๑. ปุคคลกถา
สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “อริยสาวกไม่สงสัย ไม่เคลือบ
แคลงใจว่า เมื่อเกิด ทุกข์เท่านั้นเกิดขึ้น เมื่อดับ ทุกข์เท่านั้นดับไป อริยสาวกนั้นมี
ญาณหยั่งรู้ในเรื่องนี้โดยไม่ต้องเชื่อผู้อื่นเลย กัจจานะ ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ จัดว่า
เป็นสัมมาทิฏฐิ” ๑ มีอยู่จริงมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. ดังนั้น ท่านจึงไม่ควรยอมรับว่า “ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐ-
ปรมัตถ์”
[๒๓๓] สก. ท่านหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. วชิราภิกษุณีกล่าวกับมารผู้มีบาปดังนี้ว่า
“มารเอ๋ย ทิฏฐิของเจ้าเชื่อใครหนอว่าเป็นสัตว์
ร่างกายที่เป็นกองแห่งสังขารล้วน ๆ นี้
บัณฑิตจะเรียกว่าสัตว์ไม่ได้เลย
เมื่อขันธ์ทั้งหลายมีอยู่ สมมติว่าสัตว์ก็มีได้
เหมือนเสียงพูดว่ารถย่อมมีได้
เพราะการคุมกันแห่งส่วนประกอบ
อนึ่ง ทุกข์เท่านั้นเกิดขึ้น
ทุกข์เท่านั้นดำรงอยู่และแปรผันไป
นอกจากทุกข์ไม่มีสิ่งอื่นเกิดขึ้น
นอกจากทุกข์ ไม่มีอะไรอื่นดับไปเลย” ๒
มีอยู่จริงมิใช่หรือ
ปร. ใช่

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ สํ.นิ. (แปล) ๑๖/๑๕/๒๔-๒๕
๒ ดูเทียบ สํ.ส. (แปล) ๑๕/๑๗๑/๒๒๘, ขุ.ม. (แปล) ๒๙/๑๘๖/๕๒๗-๕๒๘

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๑๐๓ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๑. ปุคคลกถา
สก. ดังนั้น ท่านจึงไม่ควรยอมรับว่า “ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐ-
ปรมัตถ์”
[๒๓๔] สก. ท่านหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ท่านพระอานนท์ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
ที่พระองค์ตรัสว่า ‘โลกว่าง โลกว่าง’ ด้วยเหตุเพียงไรเล่าหนอ จึงตรัสว่า ‘โลกว่าง’
พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “อานนท์ เพราะว่างจากอัตตาหรือสิ่งที่เนื่อง
ด้วยอัตตา ฉะนั้นจึงเรียกว่า ‘โลกว่าง’
ก็อะไรเล่าชื่อว่าว่างจากอัตตาหรือสิ่งที่เนื่องด้วยอัตตา
คือ จักษุว่างจากอัตตาหรือสิ่งที่เนื่องด้วยอัตตา รูปว่างจากอัตตาหรือสิ่งที่เนื่อง
ด้วยอัตตา ฯลฯ จักขุวิญญาณว่างจากอัตตาหรือสิ่งที่เนื่องด้วยอัตตา ฯลฯ
จักขุสัมผัสว่างจากอัตตาหรือสิ่งที่เนื่องด้วยอัตตา ฯลฯ แม้ความเสวยอารมณ์ที่เป็น
สุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัยก็ว่างจากอัตตา
หรือสิ่งที่เนื่องด้วยอัตตา โสตะว่างจากอัตตาหรือสิ่งที่เนื่องด้วยอัตตา ฯลฯ สัททะ
ว่างจากอัตตาหรือสิ่งที่เนื่องด้วยอัตตา ฯลฯ ฆานะว่างจากอัตตาหรือสิ่งที่เนื่องด้วยอัตตา
ฯลฯ คันธะว่างจากอัตตาหรือสิ่งที่เนื่องด้วยอัตตา ฯลฯ ชิวหาว่างจากอัตตาหรือ
สิ่งที่เนื่องด้วยอัตตา ฯลฯ รสว่างจากอัตตาหรือสิ่งที่เนื่องด้วยอัตตา ฯลฯ กายว่าง
จากอัตตา หรือสิ่งที่เนื่องด้วยอัตตา ฯลฯ โผฏฐัพพะว่างจากอัตตาหรือสิ่งที่เนื่อง
ด้วยอัตตา ฯลฯ มนะว่างจากอัตตาหรือสิ่งที่เนื่องด้วยอัตตา ฯลฯ ธรรมารมณ์ว่าง
จากอัตตาหรือสิ่งที่เนื่องด้วยอัตตา ฯลฯ มโนวิญญาณว่างจากอัตตาหรือสิ่งที่เนื่อง
ด้วยอัตตา ฯลฯ มโนสัมผัสว่างจากอัตตาหรือสิ่งที่เนื่องด้วยอัตตา ฯลฯ แม้ความ
เสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย
ก็ว่างจากอัตตาหรือสิ่งที่เนื่องด้วยอัตตา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๑๐๔ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๑. ปุคคลกถา
อานนท์ เพราะว่างจากอัตตาหรือสิ่งที่เนื่องด้วยอัตตา ฉะนั้น เราจึงเรียกว่า
โลกว่าง”๑ ดังนี้ มีอยู่จริงมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. ดังนั้น ท่านจึงไม่ควรยอมรับว่า “ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐ-
ปรมัตถ์”
[๒๓๕] สก. ท่านหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระผู้มีพระภาคทรงเป็นสัจจวาที กาลวาที ภูตวาที ตถวาที อวิตถวาที
อนัญญถวาที มิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย เมื่ออัตตามีอยู่
ความยึดถือว่า ‘สิ่งที่เนื่องด้วยอัตตาของเราก็จะพึงมี’ ใช่ไหม
ภิกษุทั้งหลายทูลตอบว่า ‘ใช่ พระพุทธเจ้าข้า’
เมื่อสิ่งที่เนื่องด้วยอัตตามีอยู่ ความยึดถือว่า ‘สิ่งที่เนื่องด้วยอัตตาของเราก็จะ
พึงมี’ ใช่ไหม
‘ใช่ พระพุทธเจ้าข้า’
เมื่อหาไม่พบอัตตาและสิ่งที่เนื่องด้วยอัตตาโดยความเป็นจริง โดยความแน่แท้
ทิฏฐิที่ว่า ‘นั้นโลก นั้นอัตตา เรานั้นตายแล้วจักเป็นผู้เที่ยง ยั่งยืน คงที่ ไม่มีความ
แปรผันเป็นธรรมดา จักดำรงอยู่เทียบเท่าสิ่งที่คงที่อย่างนั้น’ นี้มิเป็นพาลธรรม
(ธรรมของคนโง่) สมบูรณ์แบบละหรือ
‘ทำไมจะไม่เป็นอย่างนั้น นั้นเป็นพาลธรรมสมบูรณ์แบบทีเดียว๒ พระพุทธเจ้าข้า”
ดังนี้ มีอยู่จริงมิใช่หรือ
ปร. ใช่

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ สํ.สฬา. (แปล) ๑๘/๘๕/๗๘
๒ ดูเทียบ ม.มู. (แปล) ๑๒/๒๔๔/๒๖๐-๒๖๑

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๑๐๕ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๑. ปุคคลกถา
สก. ดังนั้น ท่านจึงไม่ควรยอมรับว่า “ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐ-
ปรมัตถ์”
[๒๓๖] สก. ท่านหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระผู้มีพระภาคทรงเป็นสัจจวาที กาลวาที ภูตวาที ตถวาที อวิตถวาที
อนัญญถวาที มิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “เสนิยะ ศาสดา ๓ จำพวก
เหล่านี้มีปรากฏอยู่ในโลก
ศาสดา ๓ จำพวกเหล่าไหน คือ
๑. ศาสดาบางคนในโลกนี้บัญญัติอัตตาในปัจจุบันโดยความเป็นของมีจริง
โดยความเป็นของยั่งยืน และบัญญัติอัตตาในภพหน้าโดยความ
เป็นของมีจริง โดยความเป็นของยั่งยืน
๒. ศาสดาบางคนในโลกนี้บัญญัติอัตตาในปัจจุบันโดยความเป็นของมีจริง
โดยความเป็นของยั่งยืน แต่ไม่บัญญัติอัตตาในภพหน้า โดยความ
เป็นของมีจริง โดยความเป็นของยั่งยืน
๓. ศาสดาบางคนในโลกนี้ไม่บัญญัติอัตตาในปัจจุบันโดยความเป็นของ
มีจริง โดยความเป็นของยั่งยืน และไม่บัญญัติอัตตาในภพหน้า
โดยความเป็นของมีจริง โดยความเป็นของยั่งยืน
บรรดาศาสดา ๓ จำพวกนั้น ศาสดาที่บัญญัติอัตตาในปัจจุบันโดยความ
เป็นของมีจริง โดยความเป็นของยั่งยืน และบัญญัติอัตตาในภพหน้าโดยความเป็น
ของมีจริง โดยความเป็นของยั่งยืน (วาทะ)นี้เรียกว่า สัสสตวาทะ (วาทะว่าอัตตา
และโลกเที่ยง)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๑๐๖ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๑. ปุคคลกถา
บรรดาศาสดา ๓ จำพวกนั้น ศาสดาที่บัญญัติอัตตาในปัจจุบันโดยความ
เป็นของมีจริง โดยความเป็นของยั่งยืน แต่ไม่บัญญัติอัตตาในภพหน้าโดยความ
เป็นของมีจริง โดยความเป็นของยั่งยืน (วาทะ)นี้เรียกว่า อุจเฉทวาทะ (วาทะว่า
อัตตาและโลกขาดสูญ)
บรรดาศาสดา ๓ จำพวกนั้น ศาสดาที่ไม่บัญญัติอัตตาในปัจจุบันโดยความเป็น
ของมีจริง โดยความเป็นของยั่งยืน และไม่บัญญัติอัตตาในภพหน้าโดยความเป็น
ของมีจริง โดยความเป็นของยั่งยืน (วาทะ)นี้เรียกว่า สัมมาสัมพุทธะ ศาสดา ๓
จำพวกนี้แหละมีปรากฏอยู่ในโลก”๑ ดังนี้ มีอยู่จริงมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. ดังนั้น ท่านจึงไม่ควรยอมรับว่า “ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐ-
ปรมัตถ์”
[๒๓๗] สก. ท่านหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระผู้มีพระภาคทรงเป็นสัจจวาที กาลวาที ภูตวาที ตถวาที อวิตถวาที
อนัญญถวาที มิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. พระผู้มีพระภาคเคยตรัสว่า “หม้อเนยใส” ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ใคร ๆ ทำหม้อเนยใส๒มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ อภิ.ปุ. (แปล) ๓๖/๑๓๑/๑๘๒
๒ หม้อเนยใส สกวาทีชี้แจงว่า หม้อที่ทำด้วยเนยใสจริง ๆ เช่น หม้อทองคำ นั้นไม่มี แต่นิยมเรียกหม้อใส่
เนยใสว่า หม้อเนยใส (อภิ.ปญฺจ.อ. ๒๓๗/๖๙๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๑๐๗ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๑. ปุคคลกถา รวมประเด็นสำคัญในปุคคลกถา ๘ ประเด็น
สก. ดังนั้น ท่านจึงไม่ควรยอมรับว่า “ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐ-
ปรมัตถ์”
[๒๓๘] สก. ท่านหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระผู้มีพระภาคทรงเป็นสัจจวาที กาลวาที ภูตวาที ตถวาที อวิตถวาที
อนัญญถวาที มิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. พระผู้มีพระภาคเคยตรัสว่า หม้อน้ำมัน ฯลฯ หม้อน้ำผึ้ง ฯลฯ
หม้อน้ำอ้อย ฯลฯ หม้อน้ำนม ฯลฯ หม้อน้ำ ฯลฯ ภาชนะน้ำดื่ม ฯลฯ
กระบอกน้ำดื่ม ฯลฯ ขันน้ำดื่ม ฯลฯ นิตยภัต ฯลฯ ธุวยาคู (ยาคูเที่ยง) ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ยาคูบางอย่างเที่ยง ยั่งยืน คงทน ไม่แปรผันไปเป็นธรรมดา มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ดังนั้น ท่านจึงไม่ควรยอมรับว่า “ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐ-
ปรมัตถ์” (ย่อ)

รวมประเด็นสำคัญในปุคคลกถา ๘ ประเด็น คือ

๑. อัฏฐกนิคคหะ ๒. เปยยาละ
๓. สันธาวนิยะ (คติอนุโยคะ) ๔. อุปาทายะ (อุปาทาปัญญัตตานุโยคะ)
๕. จิตตะ ๖. กัลยาณะ (ปุริสการานุโยคะ)
๗. อิทธิ (อภิญญานุโยคะ) ๘. สุตตาหารณะ

ปุคคลกถา จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๑๐๘ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๒. ปริหานิกถา
๒. ปริหานิกถา
ว่าด้วยความเสื่อม
๑. วาทยุตติปริหานิ
ว่าด้วยหลักการโต้วาทะในเรื่องความเสื่อม
[๒๓๙] สก. พระอรหันต์เสื่อมจากอรหัตตผลได้ใช่ไหม
ปร.๑ใช่๒
สก. พระอรหันต์เสื่อมจากอรหัตตผลได้ในโอกาส๓ทั้งปวงใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ๔
สก. พระอรหันต์เสื่อมจากอรหัตตผลได้ในโอกาสทั้งปวงใช่ไหม
ปร. ใช่๕
สก. สภาวธรรมเป็นเหตุเสื่อม๖ของพระอรหันต์ในโอกาสทั้งปวงมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระอรหันต์เสื่อมจากอรหัตตผลได้ใช่ไหม
ปร. ใช่

เชิงอรรถ :
๑ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายสมิติยะ นิกายวัชชีปุตตกะ นิกายสัพพัตถิกวาท และนิกายมหาสังฆิกะ
บางพวก (อภิ.ปญฺจ.อ. ๒๓๙/๑๖๑)
๒ เพราะมีความเห็นว่า พระอรหันต์มีโอกาสเสื่อมจากอรหัตตผลได้ หมายถึงเสื่อมจากอรหัตตผลลงไปสู่
อริยผลที่ต่ำลงไปตามลำดับ จนถึงโสดาปัตติผล และพระอรหันต์ที่จะเสื่อมได้นั้นจะต้องเป็นพระอรหันต์ใน
กามภพเท่านั้น (อภิ.ปญฺจ.อ. ๒๓๙/๑๖๑)
๓ โอกาส ในที่นี้หมายถึงภพทุกภพและภูมิธรรมของพระอริยะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๒๓๙/๑๖๑)
๔ ข้อความที่ ฯลฯ ไว้นี้ต้องเติมให้เต็มตามนัยแห่งนิคคหนัยในปุคคลกถา และในกถาอื่น ๆ ในเล่มนี้ก็ควร
เติมให้เต็มเช่นนี้
๕ เพราะมีความเห็นว่า โอกาสทั้งปวง ในที่นี้หมายถึงภพทั้งปวง จึงตอบรับ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๒๓๙/๑๖๑)
๖ สภาวธรรมเป็นเหตุเสื่อม ในที่นี้หมายถึงกามราคะ และพยาบาทซึ่งมีอยู่ในกามภพเท่านั้น (อภิ.ปญฺจ.อ.
๒๓๙/๑๖๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๑๐๙ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๒. ปริหานิกถา
สก. พระอรหันต์เสื่อมจากอรหัตตผลได้ในกาลทั้งปวงใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระอรหันต์เสื่อมจากอรหัตตผลได้ในกาลทั้งปวงใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สภาวธรรมเป็นเหตุเสื่อมของพระอรหันต์ในโอกาสทั้งปวงมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระอรหันต์เสื่อมจากอรหัตตผลได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระอรหันต์ทุกองค์เสื่อมจากอรหัตตผลได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระอรหันต์ทุกองค์เสื่อมจากอรหัตตผลได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สภาวธรรมเป็นเหตุเสื่อมของพระอรหันต์ทุกองค์มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระอรหันต์เสื่อมจากอรหัตตผลได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระอรหันต์เมื่อเสื่อมจากอรหัตตผล ย่อมเสื่อมจากผลทั้ง ๔ ประการ
ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. เศรษฐีครองความเป็นเศรษฐีอยู่ได้ก็ด้วยทรัพย์ ๔๐๐,๐๐๐ เมื่อทรัพย์
๑๐๐,๐๐๐ หมดสิ้นไปก็เสื่อมจากความเป็นเศรษฐีใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. เขาเสื่อมจากสมบัติทั้งปวงใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๑๑๐ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๒. ปริหานิกถา
สก. เศรษฐีครองความเป็นเศรษฐีอยู่ได้ก็ด้วยทรัพย์ ๔๐๐,๐๐๐ เมื่อทรัพย์
๑๐๐,๐๐๐ หมดสิ้นไปก็เสื่อมจากสมบัติทั้งปวงใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระอรหันต์เมื่อเสื่อมจากอรหัตตผล ย่อมเสื่อมจากผลทั้ง ๔ ประการ
ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
วาทยุตติปริหานิ จบ

๒. อริยปุคคลสังสันทนปริหานิ
ว่าด้วยการเทียบเคียงพระอริยบุคคลในเรื่องความเสื่อม
[๒๔๐] สก. พระอรหันต์เสื่อมจากอรหัตตผลได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระโสดาบันเสื่อมจากโสดาปัตติผลได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระอรหันต์เสื่อมจากอรหัตตผลได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสกทาคามีเสื่อมจากสกทาคามิผลได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระอรหันต์เสื่อมจากอรหัตตผลได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระอนาคามีเสื่อมจากอนาคามิผลได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระอนาคามีเสื่อมจากอนาคามิผลได้ใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๑๑๑ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๒. ปริหานิกถา
สก. พระโสดาบันเสื่อมจากโสดาปัตติผลได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระอนาคามีเสื่อมจากอนาคามิผลได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสกทาคามีเสื่อมจากสกทาคามิผลได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระสกทาคามีเสื่อมจากสกทาคามิผลได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระโสดาบันเสื่อมจากโสดาปัตติผลได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระโสดาบันไม่เสื่อมจากโสดาปัตติผลใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระอรหันต์ไม่เสื่อมจากอรหัตตผลใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระสกทาคามีไม่เสื่อมจากสกทาคามิผลใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระอรหันต์ไม่เสื่อมจากอรหัตตผลใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระอนาคามีไม่เสื่อมจากอนาคามิผลใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระอรหันต์ไม่เสื่อมจากอรหัตตผลใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๑๑๒ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๒. ปริหานิกถา
สก. พระโสดาบันไม่เสื่อมจากโสดาปัตติผลใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระอนาคามีไม่เสื่อมจากอนาคามิผลใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระสกทาคามีไม่เสื่อมจากสกทาคามิผลใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระอนาคามีไม่เสื่อมจากอนาคามิผลใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระโสดาบันไม่เสื่อมจากโสดาปัตติผลใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสกทาคามีไม่เสื่อมจากสกทาคามิผลใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๒๔๑] สก. พระอรหันต์เสื่อมจากอรหัตตผลใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระอรหันต์เมื่อเสื่อมจากอรหัตตผล ตั้งอยู่ในธรรมอะไร
ปร. ตั้งอยู่ในอนาคามิผล
สก. พระอนาคามีเมื่อเสื่อมจากอนาคามิผล ตั้งอยู่ในธรรมอะไร
ปร. ตั้งอยู่ในสกทาคามิผล
สก. พระสกทาคามีเมื่อเสื่อมจากสกทาคามิผล ตั้งอยู่ในธรรมอะไร
ปร. ตั้งอยู่ในโสดาปัตติผล
สก. พระโสดาบันเมื่อเสื่อมจากโสดาปัตติผล ตั้งอยู่ในภูมิแห่งปุถุชนใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๑๑๓ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๒. ปริหานิกถา
สก. ท่านจงรับนิคคหะ ดังต่อไปนี้
หากพระอรหันต์ เมื่อเสื่อมจากอรหัตตผล ตั้งอยู่ในอนาคามิผล พระอนาคามี
เมื่อเสื่อมจากอนาคามิผล ตั้งอยู่ในสกทาคามิผล พระสกทาคามี เมื่อเสื่อมจาก
สกทาคามิผล ตั้งอยู่ในโสดาปัตติผล ดังนั้น ท่านควรยอมรับว่า “พระโสดาบัน
เมื่อเสื่อมจากโสดาปัตติผล ตั้งอยู่ในภูมิแห่งปุถุชน”
สก. พระอรหันต์เมื่อเสื่อมจากอรหัตตผล ตั้งอยู่ในโสดาปัตติผลใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ถัดจากโสดาปัตติผล ท่านก็ทำให้แจ้งอรหัตตผลได้เลยใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๒๔๒] สก. พระอรหันต์เสื่อมจากอรหัตตผลได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระโสดาบันเสื่อมจากโสดาปัตติผลได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระอรหันต์หรือพระโสดาบัน ใครละกิเลสได้มากกว่ากัน
ปร. พระอรหันต์
สก. หากพระอรหันต์ละกิเลสได้มากกว่า พระอรหันต์ยังเสื่อมจากอรหัตตผลได้
ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “พระโสดาบันเสื่อมจากโสดาปัตติผลได้”
สก. พระอรหันต์เสื่อมจากอรหัตตผลได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสกทาคามีเสื่อมจากสกทาคามิผลได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระอรหันต์หรือพระสกทาคามี ใครละกิเลสได้มากกว่ากัน
ปร. พระอรหันต์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๑๑๔ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๒. ปริหานิกถา
สก. หากพระอรหันต์ละกิเลสได้มากกว่า พระอรหันต์ยังเสื่อมจากอรหัตตผลได้
ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “พระสกทาคามีเสื่อมจากสกทาคามิผลได้”
สก. พระอรหันต์เสื่อมจากอรหัตตผลได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระอนาคามีเสื่อมจากอนาคามิผลได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระอรหันต์หรือพระอนาคามี ใครละกิเลสได้มากกว่ากัน
ปร. พระอรหันต์
สก. หากพระอรหันต์ละกิเลสได้มากกว่า พระอรหันต์ยังเสื่อมจากอรหัตตผลได้
ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “พระอนาคามีเสื่อมจากอนาคามิผลได้”
สก. พระอนาคามีเสื่อมจากอนาคามิผลได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระโสดาบันเสื่อมจากโสดาปัตติผลได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระอนาคามีหรือพระโสดาบัน ใครละกิเลสได้มากกว่ากัน
ปร. พระอนาคามี
สก. หากพระอนาคามีละกิเลสได้มากกว่า พระอนาคามียังเสื่อมจากอนาคามิ-
ผลได้ ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “พระโสดาบันเสื่อมจากโสดาปัตติผลได้”
[๒๔๓] สก. พระอนาคามีเสื่อมจากอนาคามิผลได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสกทาคามีเสื่อมจากสกทาคามิผลได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๑๑๕ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๒. ปริหานิกถา
สก. พระอนาคามีหรือพระสกทาคามี ใครละกิเลสได้มากกว่ากัน
ปร. พระอนาคามี
สก. หากพระอนาคามีละกิเลสได้มากกว่า พระอนาคามียังเสื่อมจาก
อนาคามิผลได้ ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “พระสกทาคามีก็เสื่อมจาก
สกทาคามิผลได้”
สก. พระสกทาคามีเสื่อมจากสกทาคามิผลได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระโสดาบันเสื่อมจากโสดาปัตติผลได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระสกทาคามีหรือพระโสดาบัน ใครละกิเลสได้มากกว่ากัน
ปร. พระสกทาคามี
สก. หากพระสกทาคามีละกิเลสได้มากกว่า พระสกทาคามียังเสื่อมจาก
สกทาคามิผลได้ ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “พระโสดาบันเสื่อมจาก
โสดาปัตติผลได้”
[๒๔๔] สก. พระอรหันต์เสื่อมจากอรหัตตผลได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระโสดาบันเสื่อมจากโสดาปัตติผลได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระอรหันต์หรือพระโสดาบัน ใครเจริญมรรคได้ยิ่งกว่ากัน
ปร. พระอรหันต์
สก. หากพระอรหันต์เจริญมรรคได้ยิ่งกว่า พระอรหันต์ยังเสื่อมจากอรหัตต-
ผลได้ ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “พระโสดาบันเสื่อมจากโสดาปัตติผลได้”
สก. พระอรหันต์เสื่อมจากอรหัตตผลได้ใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๑๑๖ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๒. ปริหานิกถา
สก. พระโสดาบันเสื่อมจากโสดาปัตติผลได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระอรหันต์หรือพระโสดาบัน ใครเจริญสติปัฏฐาน ฯลฯ เจริญ
สัมมัปปธาน ฯลฯ เจริญอิทธิบาท ฯลฯ เจริญอินทรีย์ ฯลฯ เจริญพละ ฯลฯ
เจริญโพชฌงค์ได้ยิ่งกว่ากัน
ปร. พระอรหันต์
สก. หากพระอรหันต์เจริญโพชฌงค์ได้ยิ่งกว่า พระอรหันต์ยังเสื่อมจาก
อรหัตตผลได้ ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “พระโสดาบันเสื่อมจากโสดาปัตติผลได้”
สก. พระอรหันต์เสื่อมจากอรหัตตผลได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสกทาคามีเสื่อมจากสกทาคามิผลได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระอรหันต์หรือพระสกทาคามี ใครเจริญมรรค ฯลฯ เจริญโพชฌงค์
ได้ยิ่งกว่ากัน
ปร. พระอรหันต์
สก. หากพระอรหันต์เจริญโพชฌงค์ได้ยิ่งกว่า พระอรหันต์ยังเสื่อมจาก
อรหัตตผลได้ ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “พระสกทาคามีเสื่อมจากสกทาคามิผล
ได้”
สก. พระอรหันต์เสื่อมจากอรหัตตผลได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระอนาคามีเสื่อมจากอนาคามิผลได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๑๑๗ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๒. ปริหานิกถา
สก. พระอรหันต์หรือพระอนาคามี ใครเจริญมรรค ฯลฯ เจริญโพชฌงค์ได้
ยิ่งกว่ากัน
ปร. พระอรหันต์
สก. หากพระอรหันต์เจริญโพชฌงค์ได้ยิ่งกว่า พระอรหันต์ยังเสื่อมจาก
อรหัตตผลได้ ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “พระอนาคามีเสื่อมจากอนาคามิผลได้”
[๒๔๕] สก. พระอนาคามีเสื่อมจากอนาคามิผลได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระโสดาบันเสื่อมจากโสดาปัตติผลได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระอนาคามีหรือพระโสดาบัน ใครเจริญมรรค ฯลฯ เจริญโพชฌงค์ได้
ยิ่งกว่ากัน
ปร. พระอนาคามี
สก. หากพระอนาคามีเจริญโพชฌงค์ได้ยิ่งกว่า พระอนาคามียังเสื่อมจาก
อนาคามิผลได้ ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “พระโสดาบันเสื่อมจากโสดาปัตติผล
ได้”
สก. พระอนาคามีเสื่อมจากอนาคามิผลได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสกทาคามีเสื่อมจากสกทาคามิผลได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระอนาคามีหรือพระสกทาคามี ใครเจริญมรรค ฯลฯ เจริญโพชฌงค์ได้
ยิ่งกว่ากัน
ปร. พระอนาคามี
สก. หากพระอนาคามีเจริญโพชฌงค์ได้ยิ่งกว่า พระอนาคามียังเสื่อม
จากอนาคามิผลได้ ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “พระสกทาคามีเสื่อมจาก
สกทาคามิผลได้”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๑๑๘ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๒. ปริหานิกถา
[๒๔๖] สก. พระสกทาคามีเสื่อมจากสกทาคามิผลได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระโสดาบันเสื่อมจากโสดาปัตติผลได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระสกทาคามีหรือพระโสดาบัน ใครเจริญมรรค ฯลฯ เจริญโพชฌงค์ได้
ยิ่งกว่ากัน
ปร. พระสกทาคามี
สก. หากพระสกทาคามีเจริญโพชฌงค์ได้ยิ่งกว่า พระสกทาคามียังเสื่อมจาก
สกทาคามิผลได้ ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “พระโสดาบันเสื่อมจากโสดาปัตติผล
ได้ ฯลฯ”
[๒๔๗] สก. พระอรหันต์เห็นทุกข์แล้วยังเสื่อมจากอรหัตตผลได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระโสดาบันเห็นทุกข์แล้วยังเสื่อมจากโสดาปัตติผลได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระอรหันต์เห็นสมุทัยแล้วยังเสื่อมจากอรหัตตผลได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระโสดาบันเห็นสมุทัยแล้วยังเสื่อมจากโสดาปัตติผลได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระอรหันต์เห็นนิโรธแล้วยังเสื่อมจากอรหัตตผลได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระโสดาบันเห็นนิโรธแล้วยังเสื่อมจากโสดาปัตติผลได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๑๑๙ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๒. ปริหานิกถา
สก. พระอรหันต์เห็นมรรคแล้วยังเสื่อมจากอรหัตตผลได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระโสดาบันเห็นมรรคแล้วยังเสื่อมจากโสดาปัตติผลได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระอรหันต์เห็นสัจจะ ๔ แล้วยังเสื่อมจากอรหัตตผลได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระโสดาบันเห็นสัจจะ ๔ แล้วยังเสื่อมจากโสดาปัตติผลได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระอรหันต์เห็นทุกข์แล้วยังเสื่อมจากอรหัตตผลได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสกทาคามีเห็นทุกข์แล้วยังเสื่อมจากสกทาคามิผลได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระอรหันต์เห็นสมุทัย ฯลฯ เห็นนิโรธ ฯลฯ เห็นมรรค ฯลฯ เห็น
สัจจะ ๔ แล้วยังเสื่อมจากอรหัตตผลได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสกทาคามีเห็นสัจจะ ๔ แล้วยังเสื่อมจากสกทาคามิผลได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระอรหันต์เห็นทุกข์แล้วยังเสื่อมจากอรหัตตผลได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระอนาคามีเห็นทุกข์แล้วยังเสื่อมจากอนาคามิผลได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๑๒๐ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๒. ปริหานิกถา
สก. พระอรหันต์เห็นสมุทัย ฯลฯ เห็นนิโรธ ฯลฯ เห็นมรรค ฯลฯ เห็น
สัจจะ ๔ แล้วยังเสื่อมจากอรหัตตผลได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระอนาคามีเห็นสัจจะ ๔ แล้วยังเสื่อมจากอนาคามิผลได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๒๔๘] สก. พระอนาคามีเห็นทุกข์แล้วยังเสื่อมจากอนาคามิผลได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระโสดาบันเห็นทุกข์แล้วยังเสื่อมจากโสดาปัตติผลได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระอนาคามีเห็นสมุทัย ฯลฯ เห็นนิโรธ ฯลฯ เห็นมรรค ฯลฯ เห็น
สัจจะ ๔ แล้วยังเสื่อมจากอนาคามิผลได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระโสดาบันเห็นสัจจะ ๔ แล้วยังเสื่อมจากโสดาปัตติผลได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระอนาคามีเห็นทุกข์แล้วยังเสื่อมจากอนาคามิผลได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสกทาคามีเห็นทุกข์แล้วยังเสื่อมจากสกทาคามิผลได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระอนาคามีเห็นสมุทัย ฯลฯ เห็นนิโรธ ฯลฯ เห็นมรรค ฯลฯ
เห็นสัจจะ ๔ แล้วยังเสื่อมจากอนาคามิผลได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสกทาคามีเห็นสัจจะ ๔ แล้วยังเสื่อมจากสกทาคามิผลได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๑๒๑ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๒. ปริหานิกถา
[๒๔๙] สก. พระสกทาคามีเห็นทุกข์แล้วยังเสื่อมจากสกทาคามิผลได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระโสดาบันเห็นทุกข์แล้วยังเสื่อมจากโสดาปัตติผลได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระสกทาคามีเห็นสมุทัย ฯลฯ เห็นนิโรธ ฯลฯ เห็นมรรค ฯลฯ
เห็นสัจจะ ๔ แล้วยังเสื่อมจากสกทาคามิผลได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระโสดาบันเห็นสัจจะ ๔ แล้วยังเสื่อมจากโสดาปัตติผลใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๒๕๐] สก. พระโสดาบันเห็นทุกข์แล้วไม่เสื่อมจากโสดาปัตติผลใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระอรหันต์เห็นทุกข์แล้วไม่เสื่อมจากอรหัตตผลใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระโสดาบันเห็นสมุทัย ฯลฯ เห็นนิโรธ ฯลฯ เห็นมรรค ฯลฯ เห็น
สัจจะ ๔ แล้วไม่เสื่อมจากโสดาปัตติผลใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระอรหันต์เห็นสัจจะ ๔ แล้วไม่เสื่อมจากอรหัตตผลใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระสกทาคามีเห็นทุกข์ ฯลฯ เห็นสัจจะ ๔ แล้วไม่เสื่อมจาก
สกทาคามิผลใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระอรหันต์เห็นสัจจะ ๔ แล้วไม่เสื่อมจากอรหัตตผลใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๑๒๒ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๒. ปริหานิกถา
สก. พระอนาคามีเห็นทุกข์ ฯลฯ เห็นสัจจะ ๔ แล้วไม่เสื่อมจากอนาคามิผล
ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระอรหันต์เห็นสัจจะ ๔ แล้วไม่เสื่อมจากอรหัตตผลใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระโสดาบันเห็นทุกข์ ฯลฯ เห็นสัจจะ ๔ แล้วไม่เสื่อมจากโสดาปัตติผล
ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระอนาคามีเห็นทุกข์ ฯลฯ เห็นสัจจะ ๔ แล้วไม่เสื่อมจากอนาคามิผล
ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระสกทาคามีเห็นทุกข์ ฯลฯ เห็นสัจจะ ๔ แล้วไม่เสื่อมจาก
สกทาคามิผลใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระอนาคามีเห็นทุกข์ ฯลฯ เห็นสัจจะ ๔ แล้วไม่เสื่อมจากอนาคามิผล
ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระโสดาบันเห็นทุกข์ ฯลฯ เห็นสัจจะ ๔ แล้วไม่เสื่อมจากโสดาปัตติผล
ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสกทาคามีเห็นทุกข์ ฯลฯ เห็นสัจจะ ๔ แล้วไม่เสื่อมจาก
สกทาคามิผลใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๑๒๓ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๒. ปริหานิกถา
[๒๕๑] สก. พระอรหันต์ละราคะได้แล้วยังเสื่อมจากอรหัตตผลได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระโสดาบันละสักกายทิฏฐิได้แล้วยังเสื่อมจากโสดาปัตติผลได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระอรหันต์ละราคะได้แล้วยังเสื่อมจากอรหัตตผลได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระโสดาบันละวิจิกิจฉา ฯลฯ ละสีลัพพตปรามาส ฯลฯ ละราคะที่เป็น
เหตุให้สัตว์ไปสู่อบาย ฯลฯ ละโทสะที่เป็นเหตุให้สัตว์ไปสู่อบาย ฯลฯ ละโมหะที่เป็น
เหตุให้สัตว์ไปสู่อบายได้แล้ว ยังเสื่อมจากโสดาปัตติผลได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระอรหันต์ละโทสะ ฯลฯ ละโมหะ ฯลฯ ละมานะ ฯลฯ ละทิฏฐิ ฯลฯ
ละวิจิกิจฉา ฯลฯ ละถีนะ ฯลฯ ละอุทธัจจะ ฯลฯ ละอหิริกะ ฯลฯ ละ
อโนตตัปปะได้แล้วยังเสื่อมจากอรหัตตผลได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระโสดาบันละสักกายทิฏฐิได้แล้วยังเสื่อมจากโสดาปัตติผลได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระอรหันต์ละอโนตตัปปะได้แล้วยังเสื่อมจากอรหัตตผลได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระโสดาบันละวิจิกิจฉา ฯลฯ ละสีลัพพตปรามาส ฯลฯ ละราคะที่เป็น
เหตุให้สัตว์ไปสู่อบาย ฯลฯ ละโทสะที่เป็นเหตุให้สัตว์ไปสู่อบาย ฯลฯ ละโมหะที่เป็น
เหตุให้สัตว์ไปสู่อบายได้แล้วยังเสื่อมจากโสดาปัตติผลได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระอรหันต์ละราคะได้แล้วยังเสื่อมจากอรหัตตผลได้ใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๑๒๔ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๒. ปริหานิกถา
สก. พระสกทาคามีละสักกายทิฏฐิได้แล้วยังเสื่อมจากสกทาคามิผลได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระอรหันต์ละราคะได้แล้วยังเสื่อมจากอรหัตตผลได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสกทาคามีละวิจิกิจฉา ฯลฯ ละสีลัพพตปรามาส ฯลฯ ละกามราคะ
อย่างหยาบ ฯลฯ ละพยาบาทอย่างหยาบได้แล้วยังเสื่อมจากสกทาคามิผลได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระอรหันต์ละโทสะ ฯลฯ ละอโนตตัปปะได้แล้วยังเสื่อมจากอรหัตตผล
ได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสกทาคามีละสักกายทิฏฐิ ฯลฯ ละพยาบาทอย่างหยาบได้แล้วยัง
เสื่อมจากสกทาคามิผลได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระอรหันต์ละราคะได้แล้วยังเสื่อมจากอรหัตตผลได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระอนาคามีละสักกายทิฏฐิได้แล้วยังเสื่อมจากอนาคามิผลได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระอรหันต์ละราคะได้แล้วยังเสื่อมจากอรหัตตผลได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระอนาคามีละวิจิกิจฉา ฯลฯ ละสีลัพพตปรามาส ฯลฯ ละกามราคะ
อย่างละเอียด ฯลฯ ละพยาบาทอย่างละเอียดได้แล้วยังเสื่อมจากอนาคามิผลได้
ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๑๒๕ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๒. ปริหานิกถา
สก. พระอรหันต์ละโทสะ ฯลฯ ละอโนตตัปปะได้แล้วยังเสื่อมจากอรหัตตผล
ได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระอนาคามีละสักกายทิฏฐิ ฯลฯ ละพยาบาทอย่างละเอียดได้แล้วยัง
เสื่อมจากอนาคามิผลได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๒๕๒] สก. พระอนาคามีละสักกายทิฏฐิได้แล้วยังเสื่อมจากอนาคามิผลได้
ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระโสดาบันละสักกายทิฏฐิได้แล้วยังเสื่อมจากโสดาปัตติผลได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระอนาคามีละสักกายทิฏฐิได้แล้วยังเสื่อมจากอนาคามิผลได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระโสดาบันละวิจิกิจฉา ฯลฯ ละโมหะที่เป็นเหตุให้สัตว์ไปสู่อบายได้แล้ว
ยังเสื่อมจากโสดาปัตติผลได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระอนาคามีละวิจิกิจฉา ฯลฯ ละพยาบาทอย่างละเอียดได้แล้วยังเสื่อม
จากอนาคามิผลได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระโสดาบันละสักกายทิฏฐิ ฯลฯ ละโมหะที่เป็นเหตุให้สัตว์ไปสู่อบายได้
แล้วยังเสื่อมจากโสดาปัตติผลได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระอนาคามีละสักกายทิฏฐิได้แล้วยังเสื่อมจากอนาคามิผลได้ใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๑๒๖ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๒. ปริหานิกถา
สก. พระสกทาคามีละสักกายทิฏฐิได้แล้วยังเสื่อมจากสกทาคามิผลได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระอนาคามีละสักกายทิฏฐิได้แล้วยังเสื่อมจากอนาคามิผลได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสกทาคามีละวิจิกิจฉา ฯลฯ ละสีลัพพตปรามาส ฯลฯ ละกามราคะ
อย่างหยาบ ฯลฯ ละพยาบาทอย่างหยาบได้แล้วยังเสื่อมจากสกทาคามิผลได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระอนาคามีละวิจิกิจฉา ฯลฯ ละพยาบาทอย่างละเอียดได้แล้วยังเสื่อม
จากอนาคามิผลได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสกทาคามีละสักกายทิฏฐิ ฯลฯ ละพยาบาทอย่างหยาบได้แล้วยัง
เสื่อมจากสกทาคามิผลได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๒๕๓] สก. พระสกทาคามีละสักกายทิฏฐิได้แล้วยังเสื่อมจากสกทาคามิผลได้
ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระโสดาบันละสักกายทิฏฐิได้แล้วยังเสื่อมจากโสดาปัตติผลได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระสกทาคามีละสักกายทิฏฐิได้แล้วยังเสื่อมจากสกทาคามิผลได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระโสดาบันละวิจิกิจฉา ฯลฯ ละโมหะที่เป็นเหตุให้สัตว์ไปสู่อบายได้แล้ว
ยังเสื่อมจากโสดาปัตติผลได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๑๒๗ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๒. ปริหานิกถา
สก. พระสกทาคามีละวิจิกิจฉา ฯลฯ ละกามราคะอย่างหยาบ ฯลฯ ละ
พยาบาทอย่างหยาบได้แล้วยังเสื่อมจากสกทาคามิผลได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระโสดาบันละสักกายทิฏฐิ ฯลฯ ละโมหะที่เป็นเหตุให้สัตว์ไปสู่อบายได้
แล้วยังเสื่อมจากโสดาปัตติผลได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๒๕๔] สก. พระโสดาบันละสักกายทิฏฐิได้แล้วไม่เสื่อมจากโสดาปัตติผลใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระอรหันต์ละราคะได้แล้วไม่เสื่อมจากอรหัตตผลใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น
สก. พระโสดาบันละสักกายทิฏฐิได้แล้วไม่เสื่อมจากโสดาปัตติผลใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระอรหันต์ละโทสะ ฯลฯ ละอโนตตัปปะได้แล้วไม่เสื่อมจากอรหัตตผล
ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระโสดาบันละวิจิกิจฉา ฯลฯ ละโมหะที่เป็นเหตุให้สัตว์ไปสู่อบายได้แล้ว
ไม่เสื่อมจากโสดาปัตติผลใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระอรหันต์ละราคะ ฯลฯ ละอโนตตัปปะได้แล้วไม่เสื่อมจากอรหัตตผล
ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๒๕๕] สก. พระสกทาคามีละสักกายทิฏฐิได้แล้วไม่เสื่อมจากสกทาคามิผล
ใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๑๒๘ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๒. ปริหานิกถา
สก. พระอรหันต์ละราคะ ฯลฯ ละอโนตตัปปะได้แล้วไม่เสื่อมจากอรหัตตผล
ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระสกทาคามีละวิจิกิจฉา ฯลฯ ละพยาบาทอย่างหยาบได้แล้วไม่เสื่อม
จากสกทาคามิผลใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระอรหันต์ละราคะ ฯลฯ ละอโนตตัปปะได้แล้วไม่เสื่อมจากอรหัตตผล
ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๒๕๖] สก. พระอนาคามีละสักกายทิฏฐิได้แล้วไม่เสื่อมจากอนาคามิผลใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระอรหันต์ละราคะ ฯลฯ ละอโนตตัปปะได้แล้วไม่เสื่อมจากอรหัตตผล
ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระอนาคามีละวิจิกิจฉา ฯลฯ ละพยาบาทอย่างละเอียดได้แล้วไม่เสื่อม
จากอนาคามิผลใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระอรหันต์ละราคะ ฯลฯ ละอโนตตัปปะได้แล้วไม่เสื่อมจากอรหัตตผล
ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๒๕๗] สก. พระโสดาบันละสักกายทิฏฐิได้แล้วไม่เสื่อมจากโสดาปัตติผลใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๑๒๙ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๒. ปริหานิกถา
สก. พระอนาคามีละสักกายทิฏฐิ ฯลฯ ละพยาบาทอย่างละเอียดได้แล้ว
ไม่เสื่อมจากอนาคามิผลใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระโสดาบันละวิจิกิจฉา ฯลฯ ละโมหะที่เป็นเหตุให้สัตว์ไปสู่อบายได้แล้ว
ไม่เสื่อมจากโสดาปัตติผลใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระอนาคามีละสักกายทิฏฐิ ฯลฯ ละพยาบาทอย่างละเอียดได้แล้ว
ไม่เสื่อมจากอนาคามิผลใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๒๕๘] สก. พระสกทาคามีละสักกายทิฏฐิได้แล้วไม่เสื่อมจากสกทาคามิผลใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระอนาคามีละสักกายทิฏฐิ ฯลฯ ละพยาบาทอย่างละเอียดได้แล้ว
ไม่เสื่อมจากอนาคามิผลใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระสกทาคามีละวิจิกิจฉา ฯลฯ ละพยาบาทอย่างหยาบได้แล้วไม่เสื่อม
จากสกทาคามิผลใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระอนาคามีละสักกายทิฏฐิ ฯลฯ ละพยาบาทอย่างละเอียดได้แล้ว
ไม่เสื่อมจากอนาคามิผลใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๒๕๙] สก. พระโสดาบันละสักกายทิฏฐิได้แล้วไม่เสื่อมจากโสดาปัตติผลใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๑๓๐ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๒. ปริหานิกถา
สก. พระสกทาคามีละสักกายทิฏฐิ ฯลฯ ละพยาบาทอย่างหยาบได้แล้ว
ไม่เสื่อมจากสกทาคามิผลใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระโสดาบันละวิจิกิจฉา ฯลฯ ละโมหะที่เป็นเหตุให้สัตว์ไปสู่อบายได้แล้ว
ไม่เสื่อมจากโสดาปัตติผลใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสกทาคามีละสักกายทิฏฐิ ฯลฯ ละพยาบาทอย่างหยาบได้แล้ว
ไม่เสื่อมจากสกทาคามิผลใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๒๖๐] สก. พระอรหันต์เสื่อมจากอรหัตตผลได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ราคะพระอรหันต์ละได้แล้ว ตัดรากถอนโคน เหมือนต้นตาลที่ถูกตัดราก
ถอนโคนไปแล้วเหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้มิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากราคะพระอรหันต์ละได้แล้ว ตัดรากถอนโคน เหมือนต้นตาลที่ถูก
ตัดรากถอนโคนไปแล้วเหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ ท่านก็ไม่ควร
ยอมรับว่า “พระอรหันต์เสื่อมจากอรหัตตผลได้”
สก. พระอรหันต์เสื่อมจากอรหัตตผลได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. โทสะพระอรหันต์ละได้แล้ว ฯลฯ โมหะพระอรหันต์ละได้แล้ว ... มานะ
พระอรหันต์ละได้แล้ว ... ทิฏฐิพระอรหันต์ละได้แล้ว ... วิจิกิจฉาพระอรหันต์ละ
ได้แล้ว ... ถีนะพระอรหันต์ละได้แล้ว ... อุทธัจจะพระอรหันต์ละได้แล้ว ... อหิริกะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๑๓๑ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๒. ปริหานิกถา
พระอรหันต์ละได้แล้ว ... อโนตตัปปะพระอรหันต์ละได้แล้ว ตัดรากถอนโคน
เหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้วเหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไป
ไม่ได้มิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากอโนตตัปปะพระอรหันต์ละได้แล้ว ตัดรากถอนโคน เหมือนต้นตาลที่
ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้วเหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ ท่านก็ไม่ควร
ยอมรับว่า “พระอรหันต์เสื่อมจากอรหัตตผลได้”
สก. พระอรหันต์เสื่อมจากอรหัตตผลได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระอรหันต์เจริญมรรคเพื่อละราคะมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากพระอรหันต์เจริญมรรคเพื่อละราคะ ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “พระ
อรหันต์เสื่อมจากอรหัตตผลได้”
สก. พระอรหันต์เสื่อมจากอรหัตตผลได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระอรหันต์เจริญสติปัฏฐาน ฯลฯ เจริญสัมมัปปธาน ... เจริญอิทธิบาท
... เจริญอินทรีย์ ... เจริญพละ ... เจริญโพชฌงค์เพื่อละราคะมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากพระอรหันต์เจริญโพชฌงค์เพื่อละราคะ ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า
“พระอรหันต์เสื่อมจากอรหัตตผลได้”
สก. พระอรหันต์เสื่อมจากอรหัตตผลได้ใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๑๓๒ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๒. ปริหานิกถา
สก. พระอรหันต์เจริญมรรค ฯลฯ เจริญโพชฌงค์เพื่อละโทสะ ฯลฯ เพื่อละ
อโนตตัปปะมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากพระอรหันต์เจริญโพชฌงค์เพื่อละอโนตตัปปะ ท่านก็ไม่ควรยอมรับ
ว่า “พระอรหันต์เสื่อมจากอรหัตตผลได้”
[๒๖๑] สก. พระอรหันต์เสื่อมจากอรหัตตผลได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระอรหันต์เป็นผู้ปราศจากราคะ โทสะ โมหะ ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว
ปลงภาระแล้ว บรรลุประโยชน์ตนแล้ว หมดสิ้นกิเลสเป็นเครื่องผูกสัตว์ไว้ในภพแล้ว
หลุดพ้นเพราะรู้ชอบแล้ว ถอดลิ่มสลัก กลบคู ถอนเสาระเนียดได้แล้ว ไม่มีบานประตู
เป็นพระอริยะ ปลดธงคือมานะ วางภาระคือขันธ์ หมดเครื่องผูกพัน ชนะอย่าง
วิเศษแล้ว ท่านกำหนดรู้ทุกข์ ละสมุทัย ทำให้แจ้งนิโรธ เจริญมรรคแล้ว รู้ยิ่ง
ธรรมที่ควรรู้ยิ่ง กำหนดรู้ธรรมที่ควรกำหนดรู้ ละธรรมที่ควรละ เจริญธรรมที่ควร
เจริญ ทำให้แจ้งธรรมที่ควรทำให้แจ้งแล้วมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากพระอรหันต์เป็นผู้ปราศจากราคะ โทสะ โมหะ ฯลฯ ทำให้แจ้งธรรม
ที่ควรทำให้แจ้ง ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “พระอรหันต์เสื่อมจากอรหัตตผลได้”
[๒๖๒] สก. พระอรหันต์เสื่อมจากอรหัตตผลได้ใช่ไหม
ปร. พระอรหันต์ผู้เป็นสมยวิมุต๑ เสื่อมจากอรหัตตผลได้ ผู้เป็นอสมย-
วิมุต๒ ไม่เสื่อมจากอรหัตตผล
สก. พระอรหันต์ผู้เป็นสมยวิมุตเสื่อมจากอรหัตตผลได้ใช่ไหม
ปร. ใช่

เชิงอรรถ :
๑-๒ ดูเทียบ อภิ.ปุ. (แปล) ๓๖/๑-๒/๑๔๙

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๑๓๓ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๒. ปริหานิกถา
สก. พระอรหันต์ผู้เป็นอสมยวิมุตเสื่อมจากอรหัตตผลได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น
สก. พระอรหันต์ผู้เป็นอสมยวิมุตไม่เสื่อมจากอรหัตตผลใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระอรหันต์ผู้เป็นสมยวิมุตไม่เสื่อมจากอรหัตตผลใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น
สก. พระอรหันต์ผู้เป็นสมยวิมุตละราคะได้แล้วยังเสื่อมจากอรหัตตผลได้
ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระอรหันต์ผู้เป็นอสมยวิมุตละราคะได้แล้วยังเสื่อมจากอรหัตตผลได้
ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น
สก. พระอรหันต์ผู้เป็นสมยวิมุตละโทสะ ฯลฯ ละอโนตตัปปะได้แล้วยัง
เสื่อมจากอรหัตตผลได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระอรหันต์ผู้เป็นอสมยวิมุตละโทสะ ฯลฯ ละอโนตตัปปะได้แล้วยัง
เสื่อมจากอรหัตตผลได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น
สก. พระอรหันต์ผู้เป็นสมยวิมุตเจริญมรรค เพื่อละราคะ ยังเสื่อมจากอรหัตตผล
ได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระอรหันต์ผู้เป็นอสมยวิมุตเจริญมรรค เพื่อละราคะ ยังเสื่อมจากอรหัตตผล
ได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๑๓๔ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๒. ปริหานิกถา
สก. พระอรหันต์ผู้เป็นสมยวิมุตเจริญสติปัฏฐาน ฯลฯ เจริญสัมมัปปธาน ...
เจริญอิทธิบาท ... เจริญอินทรีย์ ... เจริญพละ ... เจริญโพชฌงค์เพื่อละราคะ ยังเสื่อม
จากอรหัตตผลได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระอรหันต์ผู้เป็นอสมยวิมุตเจริญสติปัฏฐาน ฯลฯ เจริญโพชฌงค์เพื่อ
ละราคะ ยังเสื่อมจากอรหัตตผลได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น
สก. พระอรหันต์ผู้เป็นสมยวิมุตเจริญมรรค ฯลฯ เจริญโพชฌงค์เพื่อละโทสะ
ฯลฯ เพื่อละอโนตตัปปะ ยังเสื่อมจากอรหัตตผลได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระอรหันต์ผู้เป็นอสมยวิมุตเจริญมรรค ฯลฯ เจริญโพชฌงค์เพื่อละ
อโนตตัปปะยังเสื่อมจากอรหัตตผลได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระอรหันต์ผู้เป็นสมยวิมุตเป็นผู้ปราศจากราคะ โทสะ โมหะ ทำกิจ
ที่ควรทำเสร็จแล้ว ปลงภาระแล้ว บรรลุประโยชน์ตนแล้ว หมดสิ้นกิเลสเป็นเครื่อง
ผูกสัตว์ไว้ในภพแล้ว หลุดพ้นเพราะรู้ชอบแล้ว ถอดลิ่มสลัก กลบคู ถอนเสาระเนียด
ได้แล้ว ไม่มีบานประตู เป็นพระอริยะ ปลดธงคือมานะ วางภาระคือขันธ์ หมดเครื่อง
ผูกพัน ชนะอย่างวิเศษแล้ว ท่านกำหนดรู้ทุกข์ ละสมุทัย ทำให้แจ้งนิโรธ เจริญมรรค
แล้ว รู้ยิ่งธรรมที่ควรรู้ยิ่ง กำหนดรู้ธรรมที่ควรกำหนดรู้ ละธรรมที่ควรละ เจริญธรรม
ที่ควรเจริญ ทำให้แจ้งธรรมที่ควรทำให้แจ้งแล้ว ยังเสื่อมจากอรหัตตผลได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระอรหันต์ผู้เป็นอสมยวิมุตเป็นผู้ปราศจากราคะ โทสะ โมหะ ฯลฯ
ทำให้แจ้งธรรมที่ควรทำให้แจ้งแล้ว ยังเสื่อมจากอรหัตตผลได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๑๓๕ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๒. ปริหานิกถา
[๒๖๓] สก. พระอรหันต์ผู้เป็นอสมยวิมุตละราคะได้แล้วไม่เสื่อมจากอรหัตตผล
ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระอรหันต์ผู้เป็นสมยวิมุตละราคะได้แล้วไม่เสื่อมจากอรหัตตผลใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น
สก. พระอรหันต์ผู้เป็นอสมยวิมุตละโทสะ ฯลฯ ละอโนตตัปปะได้แล้วไม่
เสื่อมจากอรหัตตผลใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระอรหันต์ผู้เป็นสมยวิมุตละอโนตตัปปะได้แล้วไม่เสื่อมจากอรหัตตผล
ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น
สก. พระอรหันต์ผู้เป็นอสมยวิมุตเจริญมรรค ฯลฯ เจริญโพชฌงค์เพื่อละ
ราคะได้แล้วไม่เสื่อมจากอรหัตตผลใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระอรหันต์ผู้เป็นสมยวิมุตเจริญมรรค ฯลฯ เจริญโพชฌงค์เพื่อละ
ราคะแล้วไม่เสื่อมจากอรหัตตผลใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น
สก. พระอรหันต์ผู้เป็นอสมยวิมุตเจริญมรรค ฯลฯ เจริญโพชฌงค์เพื่อละโทสะ
ฯลฯ เจริญอโนตตัปปะแล้วไม่เสื่อมจากอรหัตตผลใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระอรหันต์ผู้เป็นสมยวิมุตเจริญมรรค ฯลฯ เจริญโพชฌงค์เพื่อละ
อโนตตัปปะแล้วไม่เสื่อมจากอรหัตตผลใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๑๓๖ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๒. ปริหานิกถา
สก. พระอรหันต์ผู้เป็นอสมยวิมุตเป็นผู้ปราศจากราคะ โทสะ โมหะ ฯลฯ
ทำให้แจ้งธรรมที่ควรทำให้แจ้งแล้วไม่เสื่อมจากอรหัตตผลใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระอรหันต์ผู้เป็นสมยวิมุตเป็นผู้ปราศจากราคะ โทสะ โมหะ ฯลฯ
ทำให้แจ้งธรรมที่ควรทำให้แจ้งแล้วไม่เสื่อมจากอรหัตตผลใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๒๖๔] สก. พระอรหันต์เสื่อมจากอรหัตตผลได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสารีบุตรเถระเสื่อมจากอรหัตตผลได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระมหาโมคคัลลานเถระ ฯลฯ พระมหากัสสปเถระ ฯลฯ พระมหา
กัจจายนเถระ ฯลฯ พระมหาโกฏฐิกเถระ ฯลฯ พระมหาปันถกเถระ เสื่อมจาก
อรหัตตผลได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น
สก. พระสารีบุตรเถระไม่เสื่อมจากอรหัตตผลใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. หากพระสารีบุตรเถระไม่เสื่อมจากอรหัตตผล ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า
“พระอรหันต์เสื่อมจากอรหัตตผลได้”
สก. พระมหาโมคคัลลานเถระ ... พระมหากัสสปเถระ ... พระมหา
กัจจายนเถระ ... พระมหาโกฏฐิกเถระ ... พระมหาปันถกเถระ ไม่เสื่อมจาก
อรหัตตผลใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. หากพระมหาโมคคัลลานเถระ ฯลฯ พระมหาปันถกเถระ ไม่เสื่อมจาก
อรหัตตผล ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “พระอรหันต์เสื่อมจากอรหัตตผลได้”
อริยปุคคลสังสันทนปริหานิ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๑๓๗ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๒. ปริหานิกถา
๓. สุตตสาธนปริหานิ
ว่าด้วยการอ้างพระสูตรในเรื่องความเสื่อม
[๒๖๕] สก. พระอรหันต์เสื่อมจากอรหัตตผลได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า
“ปฏิปทาที่พระสมณะประกาศแล้วมีทั้งสูงและต่ำ
มุนีผู้ปฏิบัติจะไปถึงฝั่งถึง ๒ ครั้งหามิได้
ฝั่งนี้ผู้ปฏิบัติรู้ได้ครั้งเดียวก็หามิได้” ๑
มีอยู่จริงมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. ดังนั้น ท่านจึงไม่ควรยอมรับว่า “พระอรหันต์เสื่อมจากอรหัตตผลได้”
สก. พระอรหันต์เสื่อมจากอรหัตตผลได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. กิเลสวัฏที่พระอรหันต์ตัดได้แล้วยังมีบางอย่างที่ยังจะต้องตัดอีกใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น
สก. กิเลสวัฏที่พระอรหันต์ตัดได้แล้วยังมีบางอย่างที่ยังจะต้องตัดอีกใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ ขุ.สุ. (แปล) ๒๕/๗๒๐/๖๗๐

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๑๓๘ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๒. ปริหานิกถา
“ท่านเป็นผู้ไม่มีตัณหา ไม่มีความถือมั่น
ไม่มีกิจที่ต้องทำ กิเลสวัฏท่านตัดแล้ว ไม่มีที่จะต้องตัดอีก
ห้วงน้ำและบ่วง๑ท่านถอนได้แล้ว”
มีอยู่จริงมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. ดังนั้น ท่านจึงไม่ควรยอมรับว่า “กิเลสวัฏที่พระอรหันต์ตัดแล้ว ยังมี
บางอย่างที่ยังจะต้องตัดอีก”
[๒๖๖] สก. พระอรหันต์เสื่อมจากอรหัตตผลได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. กิจ๒ที่ทำแล้วต้องสั่งสมอีกใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น
สก. กิจที่ทำแล้วต้องสั่งสมอีกใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า
“ภิกษุผู้มีจิตสงบระงับหลุดพ้นโดยชอบ
ย่อมไม่มีการสั่งสมกิจที่ทำแล้ว ทั้งไม่มีกิจที่จะต้องทำอีก
ภูเขาหินแท่งทึบย่อมไม่สะเทือนเพราะลม ฉันใด
รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ และธรรมารมณ์ทั้งมวล
ทั้งที่เป็นอิฏฐารมณ์ และอนิฏฐารมณ์
ย่อมทำจิตของผู้คงที่ให้หวั่นไหวไม่ได้ ฉันนั้น

เชิงอรรถ :
๑ ห้วงน้ำและบ่วง คำว่า ห้วงน้ำ ในที่นี้หมายถึงห้วงน้ำคือกิเลส (กิเลโสโฆ) และคำว่า บ่วง หมายถึงบ่วงแห่งกิเลส
(กิเลสปาโส) (อภิ.ปญฺจ.อ. ๒๖๕/๑๖๕)
๒ กิจ ในที่นี้หมายถึงภาวนา (อภิ.ปญฺจ.อ. ๒๖๖/๑๖๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๑๓๙ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๒. ปริหานิกถา
จิตของผู้คงที่นั้น เป็นจิตตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว
ไม่เกาะเกี่ยวด้วยอารมณ์อะไร
เพราะท่านผู้คงที่พิจารณาเห็นความเกิดดับของจิตนั้น” ๑
มีอยู่จริงมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. ดังนั้น ท่านจึงไม่ควรยอมรับว่า “กิจที่ทำแล้วต้องสั่งสมอีกมีอยู่”
[๒๖๗] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “พระอรหันต์เสื่อมจากอรหัตตผลได้” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการนี้
ย่อมเป็นไปเพื่อความเสื่อมแก่ภิกษุผู้เป็นสมยวิมุต ธรรม ๕ ประการ คือ (๑)
ความเป็นผู้ชอบการงาน (๒) ความเป็นผู้ชอบการพูดคุย (๓) ความเป็นผู้ชอบ
การนอนหลับ (๔) ความเป็นผู้ชอบการคลุกคลีด้วยหมู่ (๕) ไม่พิจารณาจิตตาม
ที่หลุดพ้นแล้ว ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความเสื่อม
แก่ภิกษุผู้เป็นสมยวิมุต” ๒ มีอยู่จริงมิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. ดังนั้น “พระอรหันต์จึงเสื่อมจากอรหัตตผลได้”
สก. ความเป็นผู้ชอบการงานของพระอรหันต์มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น
สก. ความเป็นผู้ชอบการงานของพระอรหันต์มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ วิ.ม. (แปล) ๕/๒๔๕/๑๒-๑๓, องฺ.ฉกฺก. (แปล) ๒๒/๕๕/๕๓๘-๕๓๙
๒ ดูเทียบ องฺ.ปญฺจก. (แปล) ๒๒/๑๔๙/๒๔๖

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๑๔๐ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๒. ปริหานิกถา
สก. ราคะ กามราคะ กามราคปริยุฏฐาน กามราคสังโยชน์ กาโมฆะ
กามโยคะ กามฉันทนิวรณ์ของพระอรหันต์มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น
สก. ความเป็นผู้ชอบการพูดคุย ความเป็นผู้ชอบการนอนหลับ ความเป็นผู้
ชอบการคลุกคลีด้วยหมู่ของพระอรหันต์มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ความเป็นผู้ชอบการคลุกคลีด้วยหมู่ของพระอรหันต์มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ราคะ กามราคะ กามราคปริยุฏฐาน กามราคสังโยชน์ กาโมฆะ
กามโยคะ กามฉันทนิวรณ์ของพระอรหันต์มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น
[๒๖๘] สก. พระอรหันต์เสื่อมจากอรหัตตผลได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระอรหันต์เมื่อเสื่อมจากอรหัตตผล ถูกอะไรกลุ้มรุมจึงเสื่อม
ปร. ถูกราคะกลุ้มรุมจึงเสื่อม
สก. ความกลุ้มรุมเกิดขึ้นเพราะอาศัยอะไร
ปร. เกิดขึ้นเพราะอาศัยอนุสัย
สก. อนุสัยของพระอรหันต์มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น
สก. อนุสัยของพระอรหันต์มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๑๔๑ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๒. ปริหานิกถา
สก. กามราคานุสัย ปฏิฆานุสัย มานานุสัย ทิฏฐานุสัย วิจิกิจฉานุสัย
ภวราคานุสัย (และ) อวิชชานุสัยของพระอรหันต์มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น
สก. พระอรหันต์เมื่อเสื่อมจากอรหัตตผล ถูกอะไรกลุ้มรุมจึงเสื่อม
ปร. ถูกโทสะกลุ้มรุมจึงเสื่อม ฯลฯ ถูกโมหะกลุ้มรุมจึงเสื่อม
สก. ความกลุ้มรุมเกิดขึ้นเพราะอาศัยอะไร
ปร. เกิดขึ้นเพราะอาศัยอนุสัย
สก. อนุสัยของพระอรหันต์มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. อนุสัยของพระอรหันต์มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. กามราคานุสัย ฯลฯ อวิชชานุสัยของพระอรหันต์มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น
สก. พระอรหันต์เสื่อมจากอรหัตตผลได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เมื่อพระอรหันต์เสื่อมจากอรหัตตผล อะไรก่อตัวขึ้น
ปร. ราคะก่อตัวขึ้น
สก. สักกายทิฏฐิก่อตัวขึ้น วิจิกิจฉาก่อตัวขึ้น สีลัพพตปรามาสก่อตัวขึ้น
ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เมื่อพระอรหันต์เสื่อมจากอรหัตตผล อะไรก่อตัวขึ้น
ปร. โทสะก่อตัวขึ้น ฯลฯ
สก. เมื่อพระอรหันต์เสื่อมจากอรหัตตผล อะไรก่อตัวขึ้น
ปร. โมหะก่อตัวขึ้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๑๔๒ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๒. ปริหานิกถา
สก. สักกายทิฏฐิก่อตัวขึ้น วิจิกิจฉาก่อตัวขึ้น สีลัพพตปรามาสก่อตัวขึ้น
ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระอรหันต์เสื่อมจากอรหัตตผลได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระอรหันต์ยังสะสม(จุติและปฏิสนธิ)อยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น
สก. พระอรหันต์ไม่สะสมใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น
สก. พระอรหันต์ยังละอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น
สก. พระอรหันต์ยังยึดมั่นอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น
สก. พระอรหันต์ยังกำจัดอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น
สก. พระอรหันต์ยังก่ออยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น
สก. พระอรหันต์ยังทำลายอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น
สก. พระอรหันต์ยังปรับปรุงอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๑๔๓ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๒. ปริหานิกถา
สก. พระอรหันต์ยังสะสมอยู่ก็มิใช่ ไม่สะสมอยู่ก็มิใช่ เป็นผู้ไม่สะสมแล้วจึง
ดำรงอยู่มิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากพระอรหันต์ยังสะสมอยู่ก็มิใช่ ไม่สะสมอยู่ก็มิใช่ เป็นผู้ไม่สะสม
แล้วจึงดำรงอยู่ ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “พระอรหันต์เสื่อมจากอรหัตตผลได้”
สก. พระอรหันต์ยังละอยู่ก็มิใช่ ยึดมั่นอยู่ก็มิใช่ เป็นผู้ละได้แล้วจึงดำรงอยู่
มิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากพระอรหันต์ยังละอยู่ก็มิใช่ ยึดมั่นอยู่ก็มิใช่ เป็นผู้ละได้แล้วจึง
ดำรงอยู่ ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “พระอรหันต์เสื่อมจากอรหัตตผลได้”
สก. พระอรหันต์ยังกำจัดอยู่ก็มิใช่ ก่ออยู่ก็มิใช่ เป็นผู้กำจัดแล้วจึงดำรงอยู่
มิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากพระอรหันต์ยังกำจัดอยู่ก็มิใช่ ก่ออยู่ก็มิใช่ เป็นผู้กำจัดจึงดำรงอยู่
ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “พระอรหันต์เสื่อมจากอรหัตตผลได้”
สก. พระอรหันต์ยังทำลายอยู่ก็มิใช่ ปรับปรุงอยู่ก็มิใช่ เป็นผู้ทำลายแล้วจึง
ดำรงอยู่มิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากพระอรหันต์ยังทำลายอยู่ก็มิใช่ ปรับปรุงอยู่ก็มิใช่ เป็นผู้ทำลายแล้ว
จึงดำรงอยู่ ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “พระอรหันต์เสื่อมจากอรหัตตผลได้”

ปริหานิกถา จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๑๔๔ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๓. (ก) พรหมจริยากถา
๓. (ก) พรหมจริยกถา
ว่าด้วยพรหมจรรย์
๑. สุทธพรหมจริยกถา
ว่าด้วยพรหมจรรย์ล้วน ๆ
[๒๖๙] สก. ในหมู่เทวดา ไม่มีการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์๑ ใช่ไหม
ปร.๒ ใช่๓
สก. เทวดาทั้งหลายเป็นผู้โง่เขลา เบาปัญญา ไม่รู้เดียงสา ใช้ภาษาใบ้
ไม่สามารถจะรู้ความหมายของคำที่กล่าวดีหรือชั่วได้ ไม่เลื่อมใสในพระพุทธเจ้า
พระธรรม พระสงฆ์ ไม่เข้าไปนั่งใกล้พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า ไม่ทูลถามปัญหากับ
พระองค์ เมื่อพระองค์ทรงวิสัชนาปัญหาก็ไม่ชื่นชม เป็นผู้ประกอบด้วยเครื่องกั้น
คือกรรม เครื่องกั้นคือกิเลส เครื่องกั้นคือวิบาก ไม่มีศรัทธา ไม่มีฉันทะ มีปัญญา
ทราม ไม่ควรที่จะก้าวลงสู่นิยามอันถูกต้องในกุศลธรรมทั้งหลาย เป็นผู้ฆ่ามารดา
ฆ่าบิดา ฆ่าพระอรหันต์ ทำร้ายพระพุทธเจ้าจนถึงพระโลหิตห้อ ทำลายสงฆ์ให้
แตกกัน เป็นผู้ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม พูดเท็จ พูดส่อเสียด พูด
คำหยาบ พูดเพ้อเจ้อ มากไปด้วยอภิชฌา มีจิตคิดพยาบาท เป็นมิจฉาทิฏฐิใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เทวดาทั้งหลายเป็นผู้ไม่โง่เขลา มีปัญญา รู้เดียงสา ไม่ใช้ภาษาใบ้
สามารถรู้ความหมายของคำที่กล่าวดีหรือชั่วได้ เลื่อมใสในพระพุทธเจ้า พระธรรม
พระสงฆ์ เข้าไปนั่งใกล้พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า ทูลถามปัญหากับพระองค์ เมื่อ
พระองค์ทรงวิสัชนาปัญหา ก็เป็นผู้ชื่นชม เป็นผู้ไม่ประกอบด้วยเครื่องกั้นคือกรรม

เชิงอรรถ :
๑ การอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ ในที่นี้หมายถึงการเจริญมรรคและการบรรพชา (อภิ.ปญฺจ.อ. ๒๖๙/๑๖๖)
๒ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายสมิติยะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๒๖๙/๑๖๖)
๓ เพราะมีความเห็นว่า ในหมู่เทวดา ไม่มีการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ทั้ง ๒ อย่าง (อภิ.ปญฺจ.อ. ๒๖๙/๑๖๖)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๑๔๕ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๓. (ก) พรหมจริยากถา
เครื่องกั้นคือกิเลส เครื่องกั้นคือวิบาก เป็นผู้มีศรัทธา มีฉันทะ มีปัญญา ควรที่
จะก้าวลงสู่นิยามอันถูกต้องในกุศลธรรมทั้งหลาย ไม่เป็นผู้ฆ่ามารดา ฆ่าบิดา
ฆ่าพระอรหันต์ ไม่ทำร้ายพระพุทธเจ้าจนถึงพระโลหิตห้อ ไม่ทำลายสงฆ์ให้แตกกัน
ไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ลักทรัพย์ ไม่ประพฤติผิดในกาม ไม่พูดเท็จ ไม่พูดส่อเสียด ไม่พูด
คำหยาบ ไม่พูดเพ้อเจ้อ ไม่เป็นผู้มากไปด้วยอภิชฌา ไม่มีจิตคิดพยาบาท เป็น
สัมมาทิฏฐิ มีอยู่มิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากเทวดาทั้งหลายเป็นผู้ไม่โง่เขลา มีปัญญา รู้เดียงสา ไม่ใช้ภาษาใบ้
สามารถรู้ความหมายของคำที่กล่าวดีหรือชั่วได้ ฯลฯ เลื่อมใสในพระพุทธเจ้า ฯลฯ
เป็นสัมมาทิฏฐิ มีอยู่ ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “ในหมู่เทวดาไม่มีการอยู่ประพฤติ
พรหมจรรย์”
[๒๗๐] ปร. ในหมู่เทวดา มีการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ใช่ไหม
สก. ใช่๑
ปร. ในหมู่เทวดานั้นมีการบรรพชา การปลงผม การครองผ้ากาสาวพัสตร์
การทรงบาตร พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลายทรงอุบัติได้ พระปัจเจกสัมพุทธเจ้า
ทั้งหลายอุบัติได้ คู่พระอัครสาวกก็อุบัติได้ใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ในหมู่เทวดาไม่มีการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ เพราะเหตุนั้น ในหมู่เทวดา
จึงไม่มีการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ในที่ที่มีการบรรพชาเท่านั้น จึงมีการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ ในที่ที่ไม่
มีการบรรพชา ไม่มีการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

เชิงอรรถ :
๑ เพราะมีความเห็นว่า ในหมู่เทวดายังมีการเจริญมรรคอยู่ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๒๗๐/๑๖๖)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๑๔๖ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๓. (ก) พรหมจริยากถา
สก. ในที่ที่มีการบรรพชาเท่านั้น จึงมีการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ ในที่ที่ไม่
มีการบรรพชา ไม่มีการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ผู้ที่บรรพชาเท่านั้น จึงมีการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ ผู้ที่ไม่ได้บรรพชา
ไม่มีการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ในหมู่เทวดาไม่มีการปลงผม เพราะเหตุนั้น ในหมู่เทวดาจึงไม่มีการอยู่
ประพฤติพรหมจรรย์ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ในที่ที่มีการปลงผมเท่านั้น จึงมีการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ ในที่ที่ไม่
มีการปลงผม ไม่มีการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ในที่ที่มีการปลงผมเท่านั้น จึงมีการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ ในที่ที่ไม่
มีการปลงผม ไม่มีการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เฉพาะผู้ที่ปลงผมเท่านั้น จึงมีการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ ผู้ที่ไม่ปลงผม
ไม่มีการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ในหมู่เทวดาไม่มีการครองผ้ากาสาวพัสตร์ เพราะเหตุนั้น ในหมู่
เทวดาจึงไม่มีการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ในที่ที่มีการครองผ้ากาสาวพัสตร์เท่านั้น จึงมีการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์
ในที่ที่ไม่มีการครองผ้ากาสาวพัสตร์ ไม่มีการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๑๔๗ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๓. (ก) พรหมจริยากถา
สก. ในที่ที่มีการครองผ้ากาสาวพัสตร์เท่านั้น จึงมีการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์
ในที่ที่ไม่มีการครองผ้ากาสาวพัสตร์ ไม่มีการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ผู้ที่ครองผ้ากาสาวพัสตร์เท่านั้น จึงมีการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ ผู้ที่
ไม่ครองผ้ากาสาวพัสตร์ ไม่มีการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ในหมู่เทวดาไม่มีการทรงบาตร เพราะเหตุนั้น ในหมู่เทวดาจึงไม่มีการอยู่
ประพฤติพรหมจรรย์ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ในที่ที่มีการทรงบาตรเท่านั้น จึงมีการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์
ในที่ที่ไม่มีการทรงบาตร ไม่มีการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก ในที่ที่มีการทรงบาตรเท่านั้น จึงมีการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ ในที่ที่
ไม่มีการทรงบาตร ไม่มีการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ผู้ที่ทรงบาตรเท่านั้น จึงมีการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ ผู้ที่ไม่ทรงบาตร
ไม่มีการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลายไม่ทรงอุบัติในหมู่เทวดา เพราะเหตุนั้น
ในหมู่เทวดาจึงไม่มีการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๑๔๘ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๓. (ก) พรหมจริยากถา
สก. ในที่ที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลายทรงอุบัติเท่านั้น จึงมีการอยู่ประพฤติ
พรหมจรรย์ ในที่ที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลายไม่ทรงอุบัติ ไม่มีการอยู่ประพฤติ
พรหมจรรย์ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ในที่ที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลายทรงอุบัติเท่านั้น จึงมีการอยู่ประพฤติ
พรหมจรรย์ ในที่ที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลายไม่ทรงอุบัติ ไม่มีการอยู่ประพฤติ
พรหมจรรย์ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระผู้มีพระภาคประสูติที่สวนลุมพินี ตรัสรู้ที่ควงไม้โพธิ์ ทรงประกาศ
ธรรมจักรที่กรุงพาราณสี ในที่นั้นเท่านั้นจึงมีการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ ในที่อื่น
ไม่มีการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลายไม่อุบัติในหมู่เทวดา เพราะเหตุนั้น ในหมู่
เทวดาจึงไม่มีการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ในที่ที่พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าทั้งหลายอุบัติเท่านั้น จึงมีการอยู่ประพฤติ
พรหมจรรย์ ในที่ที่พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าทั้งหลายไม่อุบัติ ไม่มีการอยู่ประพฤติ
พรหมจรรย์ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ในที่ที่พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าทั้งหลายอุบัติเท่านั้น จึงมีการอยู่ประพฤติ
พรหมจรรย์ ในที่ที่พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าทั้งหลายไม่อุบัติ ไม่มีการอยู่ประพฤติ
พรหมจรรย์ใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๑๔๙ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๓. (ก) พรหมจริยากถา
สก. พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าทั้งหลายอุบัติในมัชฌิมชนบท ในมัชฌิมชนบท
นั้นเท่านั้นจึงมีการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ ในที่อื่นไม่มีการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์
ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. คู่พระอัครสาวกไม่อุบัติในหมู่เทวดา เพราะเหตุนั้น ในหมู่เทวดาจึงไม่มี
การอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ในที่ที่คู่พระอัครสาวกอุบัติเท่านั้น จึงมีการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์
ในที่ที่คู่พระอัครสาวกไม่อุบัติ ไม่มีการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ในที่ที่คู่พระอัครสาวกอุบัติเท่านั้น จึงมีการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์
ในที่ที่คู่พระอัครสาวกไม่อุบัติ ไม่มีการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ในมคธรัฐซึ่งเป็นที่อุบัติของคู่พระอัครสาวกเท่านั้น จึงมีการอยู่ประพฤติ
พรหมจรรย์ ในที่อื่นไม่มีการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๒๗๑] ปร. ในหมู่เทวดามีการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. ในหมู่เทวดาทั้งปวงมีการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น๑ ฯลฯ
สก. ในหมู่มนุษย์มีการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ใช่ไหม
ปร. ใช่

เชิงอรรถ :
๑ เพราะมีความเห็นว่า มีเทวดาจำพวกหนึ่งคือ อสัญญีสัตว์ประพฤติพรหมจรรย์ไม่ได้ (อภิ.ปญฺจ.อ.
๒๗๐/๑๖๖)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๑๕๐ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๓. (ก) พรหมจริยากถา
สก. ในหมู่มนุษย์ทั้งปวงมีการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น๑ ฯลฯ
ปร. ในหมู่เทวดามีการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. ในหมู่อสัญญสัตตพรหมมีการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ในหมู่มนุษย์มีการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ในชาวปัจจันตชนบทที่พวกภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกาไปไม่ถึง
และในพวกมิลักขะ๒ผู้ไม่รู้เดียงสา มีการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. ในหมู่เทวดามีการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ใช่ไหม
สก. ที่มีก็มี ที่ไม่มีก็มี
ปร. ในหมู่อสัญญสัตตพรหมที่มีการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ก็มี ที่ไม่มีการ
อยู่ประพฤติพรหมจรรย์ก็มี และในหมู่สัญญสัตตพรหมที่มีการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์
ก็มี ที่ไม่มีการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ก็มีใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. ในหมู่เทวดาที่มีการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ก็มี ที่ไม่มีการอยู่ประพฤติ
พรหมจรรย์ก็มีใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. ที่ไหนมี ที่ไหนไม่มี

เชิงอรรถ :
๑ เพราะมีความเห็นว่า มีมนุษย์พวกหนึ่งซึ่งอยู่ในปัจจันตชนบท(ห่างไกลไม่มีภิกษุสงฆ์)ไม่มีการประพฤติ
พรหมจรรย์ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๒๗๑/๑๖๖)
๒ มิลักขะ หมายถึงคนป่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๑๕๑ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๓. (ก) พรหมจริยากถา
สก. ในหมู่อสัญญสัตตพรหมไม่มีการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ แต่ในหมู่
สัญญสัตตพรหมมีการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์
ปร. ในหมู่อสัญญสัตตพรหมไม่มีการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. ในหมู่สัญญสัตตพรหมไม่มีการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. ในหมู่สัญญสัตตพรหมมีการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. ในหมู่อสัญญสัตตพรหมมีการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ในหมู่มนุษย์มีการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ใช่ไหม
ปร. ที่มีก็มี ที่ไม่มีก็มี
สก. ในชาวปัจจันตชนบทที่พวกภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกาไปไม่ถึง
และในพวกมิลักขะผู้ไม่รู้เดียงสา มีการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ก็มี ไม่มีก็มี ใน
ชาวมัชฌิมชนบทมีการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ก็มี ไม่มีก็มีใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ในหมู่มนุษย์มีการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ก็มี ไม่มีก็มีใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ที่ไหนมี ที่ไหนไม่มี
ปร. ในชาวปัจจันตชนบทที่พวกภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกาไปไม่ถึง
และในพวกมิลักขะผู้ไม่รู้เดียงสา ไม่มีการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ ในชาวมัชฌิม
ชนบทมีการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๑๕๒ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๓. (ก) พรหมจริยากถา
สก. ในชาวปัจจันตชนบทที่พวกภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกาไปไม่ถึง
และในพวกมิลักขะผู้ไม่รู้เดียงสา ไม่มีการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ในชาวมัชฌิมชนบทไม่มีการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น
สก. ในชาวมัชฌิมชนบทมีการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ในชาวปัจจันตชนบทที่พวกภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกาไปไม่ถึง
และในพวกมิลักขะผู้ไม่รู้เดียงสา มีการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. ในหมู่เทวดามีการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย มนุษย์ชาวชมพู
ทวีป เหนือกว่ามนุษย์ชาวอุตตรกุรุทวีปและเทวดาชั้นดาวดึงส์ ด้วยฐานะ ๓ ประการ
คือ (๑) เป็นผู้แกล้วกล้า (๒) เป็นผู้มีสติ (๓) เป็นผู้อยู่ประพฤติพรหมจรรย์ใน
ชมพูทวีปนี้” ๑ มีอยู่จริงมิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. ดังนั้น ในหมู่เทวดาจึงไม่มีการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์
สก. พระผู้มีพระภาคตรัสที่กรุงสาวัตถีว่า ณ ที่นี้ มีการอยู่ประพฤติ
พรหมจรรย์ใช่ไหม
ปร. ใช่

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ องฺ.นวก. (แปล) ๒๓/๒๑/๔๗๖

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๑๕๓ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๓. (ก) พรหมจริยากถา
สก. การอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ มีแต่ในกรุงสาวัตถีเท่านั้น ในที่อื่นไม่มี
ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น
[๒๗๒] สก. อนาคามีบุคคลละสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ ประการได้แล้ว แต่ยังละ
สังโยชน์เบื้องสูง ๕ ประการไม่ได้ เมื่อจุติจากโลกนี้แล้วไปปฏิสนธิในชั้นสุทธาวาสนั้น
อรหัตตผลเกิดขึ้นได้ ณ ที่ไหน
ปร. ในชั้นสุทธาวาสนั้นนั่นเอง
สก. หากอนาคามีบุคคลละสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ ประการได้แล้ว แต่ยังละ
สังโยชน์เบื้องสูง ๕ ประการไม่ได้ เมื่อจุติจากโลกนี้แล้วไปปฏิสนธิในชั้นสุทธาวาสนั้น
อรหัตตผลเกิดขึ้นได้ในที่นั้น ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “ในหมู่เทวดาไม่มีการ อยู่
ประพฤติพรหมจรรย์”
สก. อนาคามีบุคคลละสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ ประการได้แล้ว แต่ยังละ
สังโยชน์เบื้องสูง ๕ ประการไม่ได้ เมื่อจุติจากโลกนี้แล้วไปปฏิสนธิในชั้นสุทธาวาสนั้น
การปลงภาระ การกำหนดรู้ทุกข์ การละกิเลส การทำให้แจ้งนิโรธ การแทงตลอด
อกุปปธรรมมี ณ ที่ไหน
ปร. ในชั้นสุทธาวาสนั้นนั่นเอง
สก. หากอนาคามีบุคคลละสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ ประการได้แล้ว แต่ยังละ
สังโยชน์เบื้องสูง ๕ ประการไม่ได้ เมื่อจุติจากโลกนี้แล้วไปปฏิสนธิในชั้นสุทธาวาสนั้น
การแทงตลอดอกุปปธรรมมีในที่นั้น ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “ในหมู่เทวดาไม่มี
การอยู่ประพฤติพรหมจรรย์”
สก. อนาคามีบุคคลละสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ ประการได้แล้ว แต่ยังละสังโยชน์
เบื้องสูง ๕ ประการไม่ได้ เมื่อจุติจากโลกนี้แล้วไปปฏิสนธิในชั้นสุทธาวาสนั้น
การเกิดขึ้นแห่งอรหัตตผล การปลงภาระ การกำหนดรู้ทุกข์ การละกิเลส การ
ทำให้แจ้งนิโรธ การแทงตลอดอกุปปธรรมก็มีในที่นั้น เพราะเหตุไร ท่านจึงยอมรับว่า
“ในหมู่เทวดาไม่มีการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์”
ปร. เพราะว่า อนาคามีบุคคลทำให้แจ้งผลได้ในชั้นสุทธาวาสนั้นด้วยมรรคที่
ตนได้เจริญแล้วในโลกนี้

สุทธพรหมจริยกถา จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๑๕๔ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๓. (ก) พรหมจริยากถา
๒. สังสันทนพรหมจริยกถา
ว่าด้วยการเทียบเคียงพระอริยบุคคลในเรื่องพรหมจรรย์
[๒๗๓] สก. อนาคามีบุคคลทำให้แจ้งผลในชั้นสุทธาวาสนั้นด้วยมรรคที่ตน
เจริญแล้วในโลกนี้ใช่ไหม
ปร. ใช่๑
สก. โสดาบันบุคคลทำให้แจ้งผลในโลกนี้ด้วยมรรคที่ตนเจริญแล้วในพรหมโลก
นั้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น
สก. อนาคามีบุคคลทำให้แจ้งผลในชั้นสุทธาวาสนั้นด้วยมรรคที่ตนเจริญแล้วใน
โลกนี้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สกทาคามีบุคคลผู้ที่จะปรินิพพานในโลกนี้ ทำให้แจ้งผลในโลกนี้ด้วยมรรค
ที่ตนเจริญแล้วในชั้นสุทธาวาสนั้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น
สก. โสดาบันบุคคลทำให้แจ้งผลในโลกนี้ได้ด้วยมรรคที่ตนได้เจริญแล้วในโลก
นี้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. อนาคามีบุคคลทำให้แจ้งผลในชั้นสุทธาวาสนั้นด้วยมรรคที่ตนเจริญแล้ว
ในชั้นสุทธาวาสนั้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น

เชิงอรรถ :
๑ เพราะมีความเห็นว่า อนาคามีบุคคลสามารถบรรลุอรหัตตผลในชั้นสุทธาวาสได้ โดยอาศัยอนาคามิมรรค
ที่เคยเจริญแล้วในมนุษยโลก โดยไม่ต้องเจริญอรหัตตมรรค (อภิ.ปญฺจ.อ. ๒๗๓/๑๖๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๑๕๕ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๓. (ก) พรหมจริยากถา
สก. สกทาคามีบุคคลผู้ที่จะปรินิพพานในโลกนี้ ทำให้แจ้งผลในโลกนี้ด้วยมรรค
ที่ตนเจริญแล้วในโลกนี้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. อนาคามีบุคคลทำให้แจ้งผลในชั้นสุทธาวาสนั้นด้วยมรรคที่ตนเจริญแล้ว
ในชั้นสุทธาวาสนั้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลผู้ละโลกนี้แล้วจึงสำเร็จ เจริญมรรคแต่มิใช่ละกิเลสใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งโสดาปัตติผล เจริญมรรคแต่มิใช่ละกิเลส
ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลผู้ละโลกนี้แล้วจึงสำเร็จ เจริญมรรคแต่มิใช่ละกิเลสใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งสกทาคามิผล ฯลฯ เพื่อทำให้แจ้งอรหัตตผล
เจริญมรรคแต่มิใช่ละกิเลสใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งโสดาปัตติผล เจริญมรรคและละกิเลสได้ไม่
ก่อนไม่หลังกันใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลผู้ละโลกนี้แล้วจึงสำเร็จ เจริญมรรคและละกิเลสได้ไม่ก่อนไม่หลัง
กันใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๑๕๖ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๓. (ก) พรหมจริยากถา
สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งสกทาคามิผล ฯลฯ บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อ
ทำให้แจ้งอรหัตตผล เจริญมรรคและละกิเลสได้ไม่ก่อนไม่หลังกันใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลผู้ละโลกนี้แล้วจึงสำเร็จ เจริญมรรคและละกิเลสได้ไม่ก่อนไม่หลัง
กันใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น
สก. อนาคามีบุคคลทำกิจที่ควรทำแล้ว เจริญภาวนาแล้วจึงเกิดในชั้น
สุทธาวาสนั้นใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระอรหันต์ยังเกิดอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น
สก. พระอรหันต์ยังเกิดอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระอรหันต์มีการเกิดอีกใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น
สก. พระอรหันต์มีการเกิดอีกใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระอรหันต์ออกจากภพไปสู่ภพ จากคติไปสู่คติ จากสงสารไปสู่สงสาร
จากการเกิดไปสู่การเกิดใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น
สก. อนาคามีบุคคลทำกิจที่ควรทำแล้ว เจริญภาวนาแล้วยังไม่ปลงภาระ๑
เกิดในชั้นสุทธาวาสนั้นใช่ไหม
ปร. ใช่

เชิงอรรถ :
๑ ยังไม่ปลงภาระ ในที่นี้หมายถึงยังต้องทำกิจที่จะต้องทำเพื่อบรรลุธรรมในชั้นสูงยิ่ง ๆ ขึ้นไปอีก (อภิ.ปญฺจ.อ.
๒๗๓/๑๖๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๑๕๗ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๓. (ก) พรหมจริยากถา
สก. ท่านยังเจริญมรรคอีกเพื่อปลงภาระใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น
สก. อนาคามีบุคคลทำกิจที่ควรทำแล้ว เจริญภาวนาแล้ว แต่ยังไม่กำหนด
รู้ทุกข์ ยังละกิเลสไม่ได้ ยังไม่ทำให้แจ้งนิโรธ ยังไม่แทงตลอดอกุปปธรรม ไปเกิดใน
ชั้นสุทธาวาสนั้นใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ท่านยังเจริญมรรคอีกเพื่อแทงตลอดอกุปปธรรมใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น
สก. อนาคามีบุคคลทำกิจที่ควรทำแล้ว เจริญภาวนาแล้ว แต่ยังไม่ปลงภาระ
ไปเกิดในชั้นสุทธาวาสนั้น และจะไม่เจริญมรรคอีกเพื่อปลงภาระใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. อนึ่ง ท่านยังไม่ปลงภาระ ปรินิพพานในชั้นสุทธาวาสนั้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น
สก. อนาคามีบุคคลทำกิจที่ควรทำแล้ว เจริญภาวนาแล้ว แต่ยังไม่กำหนด
รู้ทุกข์ ยังละกิเลสไม่ได้ ยังไม่ทำให้แจ้งนิโรธ ยังไม่แทงตลอดอกุปปธรรม ไปเกิด
ในชั้นสุทธาวาสนั้น และไม่เจริญมรรคอีกเพื่อแทงตลอดอกุปปธรรมใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. อนึ่ง ท่านยังไม่แทงตลอดอกุปปธรรม ปรินิพพานในชั้นสุทธาวาสนั้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๑๕๘ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๓. (ข) โอธิโสกถา
ปร. เนื้อที่ถูกยิงด้วยลูกศรแม้จะไปได้ไกลก็ย่อมตาย ฉันใด อนาคามีบุคคลทำ
ให้แจ้งผลในชั้นสุทธาวาสนั้นด้วยมรรคที่ตนเจริญแล้วในโลกนี้ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน
สก. เนื้อที่ถูกยิงด้วยลูกศรแม้จะไปได้ไกลก็ตายทั้งที่มีลูกศรติดอยู่นั้นเอง ฉันใด
อนาคามีบุคคลปรินิพพานในชั้นสุทธาวาสนั้นทั้งที่ยังมีลูกศร (มรรค) ติดอยู่นั้นเอง
ด้วยมรรคที่ตนเจริญแล้วในโลกนี้ ฉันนั้นเหมือนกันใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
พรหมจริยกถา จบ

๓. (ข) โอธิโสกถา
ว่าด้วยการละกิเลสได้เป็นส่วน ๆ
[๒๗๔] สก. บุคคลละกิเลสได้เป็นส่วน ๆ ใช่ไหม
ปร.๑ใช่๒
สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งโสดาปัตติผล ละอะไรได้ด้วยการเห็นทุกข์
ปร. ละสักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส และกิเลสที่มีอยู่ในจิตดวง
เดียวกันกับกิเลสทั้ง ๓ นั้นได้บางส่วน
สก. บุคคล(คนเดียวกัน)ส่วนหนึ่งเป็นพระโสดาบัน อีกส่วนหนึ่งไม่เป็นพระ
โสดาบัน ส่วนหนึ่งเป็นผู้ถึง ได้ บรรลุ ทำให้แจ้ง เข้าถึงอยู่ สัมผัสโสดาปัตติผล
ด้วยกาย๓อยู่ อีกส่วนหนึ่งไม่สัมผัสด้วยกายอยู่ ส่วนหนึ่งเป็นพระโสดาบัน
ผู้สัตตักขัตตุปรมะ โกลังโกละ เอกพีชี ประกอบด้วยความเลื่อมใสที่ไม่หวั่นไหว

เชิงอรรถ :
๑ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอื่นมีสมิติยะ เป็นต้น (อภิ.ปญฺจ.อ. ๒๗๔/๑๖๘)
๒ เพราะมีความเห็นว่า พระอริยบุคคลไม่สามารถละกิเลสแต่ละชนิดได้สิ้นเชิงในขณะจิตเดียว (อภิ.ปญฺจ.อ.
๒๗๔/๑๖๘)
๓ กาย ในที่นี้หมายถึงนามกาย (อภิ.ปญฺจ.อ. ๑/๓๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๑๕๙ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๓. (ข) โอธิโสกถา
ในพระพุทธเจ้า พระธรรม และ พระสงฆ์ ฯลฯ ประกอบด้วยศีลที่พระอริยะชอบใจ
อีกส่วนหนึ่งไม่ประกอบด้วยศีลที่พระอริยะชอบใจใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น๑ ฯลฯ
สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งโสดาปัตติผล ละอะไรได้ด้วยการเห็นสมุทัย
ปร. ละสักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส และกิเลสที่มีอยู่ใน จิต
ดวงเดียวกันกับกิเลสทั้ง ๓ นั้นได้บางส่วน
สก. บุคคล(คนเดียวกัน)ส่วนหนึ่งเป็นพระโสดาบัน อีกส่วนหนึ่งไม่เป็น
พระโสดาบัน ฯลฯ ส่วนหนึ่งประกอบด้วยศีลที่พระอริยะชอบใจ อีกส่วนหนึ่งไม่
ประกอบด้วยศีลที่พระอริยะชอบใจใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งโสดาปัตติผล ละอะไรได้ด้วยการเห็นนิโรธ
ปร. ละวิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส และกิเลสที่มีอยู่ในจิตดวงเดียวกันกับ
กิเลสทั้ง ๒ นั้นได้บางส่วน
สก. บุคคล(คนเดียวกัน)ส่วนหนึ่งเป็นพระโสดาบัน อีกส่วนหนึ่งไม่เป็น
พระโสดาบัน ฯลฯ ส่วนหนึ่งประกอบด้วยศีลที่พระอริยะชอบใจ อีกส่วนหนึ่งไม่
ประกอบด้วยศีลที่พระอริยะชอบใจใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งโสดาปัตติผล ละอะไรได้ด้วยการเห็นมรรค
ปร. ละสีลัพพตปรามาสและกิเลสที่มีอยู่ในจิตดวงเดียวกันกับสีลัพพตปรามาส
นั้นได้บางส่วน

เชิงอรรถ :
๑ เพราะมีความเห็นว่า พระอริยบุคคลมีโสดาบันเป็นต้นที่เป็นส่วน ๆ ไม่มี (อภิ.ปญฺจ.อ. ๒๗๔/๑๖๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๑๖๐ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๓. (ข) โอธิโสกถา
สก. บุคคล(คนเดียวกัน)ส่วนหนึ่งเป็นพระโสดาบัน อีกส่วนหนึ่งไม่เป็น
พระโสดาบัน ส่วนหนึ่งเป็นผู้ถึง ได้ บรรลุ ทำให้แจ้ง เข้าถึงอยู่ สัมผัส
โสดาปัตติผลด้วยกายอยู่ อีกส่วนหนึ่งไม่สัมผัสด้วยกายอยู่ ส่วนหนึ่งเป็น
พระโสดาบันผู้สัตตักขัตตุปรมะ โกลังโกละ เอกพีชี ประกอบด้วยความเลื่อมใสที่
ไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้า พระธรรม และ พระสงฆ์ ฯลฯ ประกอบด้วยศีลที่
พระอริยะชอบใจ อีกส่วนหนึ่งไม่ประกอบด้วยศีลที่พระอริยะชอบใจใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๒๗๕] สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งสกทาคามิผล ละอะไรได้ด้วยการเห็น
ทุกข์
ปร. ละกามราคะอย่างหยาบ พยาบาทอย่างหยาบ และกิเลสที่มีอยู่ในจิต
ดวงเดียวกันกับกิเลสทั้ง ๒ นั้นได้บางส่วน
สก. บุคคล(คนเดียวกัน)ส่วนหนึ่งเป็นพระสกทาคามี อีกส่วนหนึ่งไม่เป็น
พระสกทาคามี ส่วนหนึ่งเป็นผู้ถึง ได้ บรรลุ ทำให้แจ้ง เข้าถึงอยู่ สัมผัส
สกทาคามิผลด้วยกายอยู่ อีกส่วนหนึ่งไม่สัมผัสด้วยกายอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งสกทาคามิผล ละอะไรได้ด้วยการเห็นสมุทัย
ปร. ละกามราคะอย่างหยาบ พยาบาทอย่างหยาบ และกิเลสที่มีอยู่ในจิต
ดวงเดียวกันกับกิเลสทั้ง ๒ นั้นได้บางส่วน
สก. บุคคล(คนเดียวกัน)ส่วนหนึ่งเป็นพระสกทาคามี อีกส่วนหนึ่งไม่เป็น
พระสกทาคามี ส่วนหนึ่งเป็นผู้ถึง ได้ บรรลุ ทำให้แจ้ง เข้าถึงอยู่ สัมผัส
สกทาคามิผลด้วยกายอยู่ อีกส่วนหนึ่งไม่สัมผัสด้วยกายอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งสกทาคามิผล ละอะไรได้ด้วยการเห็นนิโรธ
ปร. ละพยาบาทอย่างหยาบและกิเลสที่มีอยู่ในจิตดวงเดียวกันกับพยาบาท
นั้นได้บางส่วน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๑๖๑ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๓. (ข) โอธิโสกถา
สก. บุคคล(คนเดียวกัน)ส่วนหนึ่งเป็นพระสกทาคามี อีกส่วนหนึ่งไม่เป็น
พระสกทาคามี ส่วนหนึ่งเป็นผู้ถึง ได้ บรรลุ ทำให้แจ้ง เข้าถึงอยู่ สัมผัส
สกทาคามิผลด้วยกายอยู่ อีกส่วนหนึ่งไม่สัมผัสด้วยกายอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งสกทาคามิผล ละอะไรได้ด้วยการเห็นมรรค
ปร. ละพยาบาทอย่างหยาบและกิเลสที่มีอยู่ในจิตดวงเดียวกันกับพยาบาทนั้นได้
สก. บุคคล(คนเดียวกัน)ส่วนหนึ่งเป็นพระสกทาคามี อีกส่วนหนึ่งไม่เป็น
พระสกทาคามี ส่วนหนึ่งเป็นผู้ถึง ได้ บรรลุ ทำให้แจ้ง เข้าถึงอยู่ สัมผัส
สกทาคามิผลด้วยกายอยู่ อีกส่วนหนึ่งไม่สัมผัสด้วยกายอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๒๗๖] สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอนาคามิผล ละอะไรได้ด้วยการเห็นทุกข์
ปร. ละกามราคะอย่างละเอียด พยาบาทอย่างละเอียด และ
กิเลสที่มีอยู่ในจิตดวงเดียวกันกับกิเลสทั้ง ๒ นั้นได้บางส่วน
สก. บุคคล(คนเดียวกัน)ส่วนหนึ่งเป็นพระอนาคามี อีกส่วนหนึ่งไม่เป็น
พระอนาคามี ส่วนหนึ่งเป็นผู้ถึง ได้ บรรลุ ทำให้แจ้ง เข้าถึงอยู่ สัมผัสอนาคามิ-
ผลด้วยกายอยู่ อีกส่วนหนึ่งไม่สัมผัสด้วยกายอยู่ ส่วนหนึ่งเป็นพระอนาคามีผู้
อันตราปรินิพพายี ฯลฯ ผู้อุปหัจจปรินิพพายี ฯลฯ ผู้อสังขารปรินิพพายี ฯลฯ
ผู้สสังขารปรินิพพายี ฯลฯ ผู้อุทธังโสโตอกนิฏฐคามี อีกส่วนหนึ่งไม่เป็นพระอนาคามี
ผู้อุทธังโสโตอกนิฏฐคามีใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอนาคามิผล ละอะไรได้ด้วยการเห็นสมุทัย
ปร. ละกามราคะอย่างละเอียด พยาบาทอย่างละเอียด และกิเลสที่มีอยู่ใน
จิตดวงเดียวกันกับกิเลสทั้ง ๒ นั้นได้บางส่วน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๑๖๒ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๓. (ข) โอธิโสกถา
สก. บุคคล(คนเดียวกัน)ส่วนหนึ่งเป็นพระอนาคามี อีกส่วนหนึ่งไม่เป็น
พระอนาคามี ฯลฯ ส่วนหนึ่งเป็นพระอนาคามีผู้อุทธังโสโตอกนิฏฐคามี อีกส่วน
หนึ่งไม่เป็นพระอนาคามีผู้อุทธังโสโตอกนิฏฐคามีใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอนาคามิผล ละอะไรได้ด้วยการเห็นนิโรธ
ปร. ละพยาบาทอย่างละเอียด และกิเลสที่มีอยู่ในจิตดวงเดียวกันกับพยาบาท
นั้นได้บางส่วน
สก. บุคคล(คนเดียวกัน)ส่วนหนึ่งเป็นพระอนาคามี อีกส่วนหนึ่งไม่เป็น
พระอนาคามี ฯลฯ ส่วนหนึ่งเป็นพระอนาคามีผู้อุทธังโสโตอกนิฏฐคามี อีกส่วน
หนึ่งไม่เป็นพระอนาคามีผู้อุทธังโสโตอกนิฏฐคามีใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอนาคามิผล ละอะไรได้ด้วยการเห็นมรรค
ปร. ละกิเลสที่มีอยู่ในจิตดวงเดียวกันกับกิเลสนั้นได้
สก. บุคคล(คนเดียวกัน)ส่วนหนึ่งเป็นพระอนาคามี อีกส่วนหนึ่งไม่เป็น
พระอนาคามี ส่วนหนึ่งเป็นผู้ถึง ได้ บรรลุ ทำให้แจ้ง เข้าถึงอยู่ สัมผัส
อนาคามิผลด้วยกายอยู่ อีกส่วนหนึ่งไม่สัมผัสด้วยกายอยู่ ส่วนหนึ่งเป็นพระ
อนาคามีผู้อันตราปรินิพพายี ฯลฯ ผู้อุปหัจจปรินิพพายี ฯลฯ ผู้อสังขารปรินิพพายี
ฯลฯ ผู้สสังขารปรินิพพายี ฯลฯ ผู้อุทธังโสโตอกนิฏฐคามีใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๒๗๗] สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอรหัตตผล ละอะไรได้ด้วยการเห็น
ทุกข์
ปร. ละรูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะ อวิชชา และกิเลสที่มีอยู่ใน
จิตดวงเดียวกันกับกิเลสทั้ง ๕ นั้นได้บางส่วน
สก. บุคคล(คนเดียวกัน)ส่วนหนึ่งเป็นพระอรหันต์ อีกส่วนหนึ่งไม่เป็นพระ
อรหันต์ ส่วนหนึ่งเป็นผู้ถึง ได้ บรรลุ ทำให้แจ้ง เข้าถึงอยู่ สัมผัสอรหัตตผลด้วยกายอยู่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๑๖๓ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๓. (ข) โอธิโสกถา
อีกส่วนหนึ่งไม่สัมผัสด้วยกายอยู่ ส่วนหนึ่งเป็นผู้ปราศจากราคะ โทสะ โมหะ ทำกิจ
ที่ควรทำเสร็จแล้ว ปลงภาระแล้ว บรรลุประโยชน์ตนแล้ว หมดสิ้นกิเลสเป็นเครื่อง
ผูกสัตว์ไว้ในภพแล้ว หลุดพ้นเพราะรู้ชอบแล้ว ถอดลิ่มสลัก กลบคู ถอนเสาระ
เนียดได้แล้ว ไม่มีบานประตู เป็นพระอริยะ ปลดธงคือมานะ วางภาระคือขันธ์
หมดเครื่องผูกพัน ชนะอย่างวิเศษแล้ว กำหนดรู้ทุกข์ ละสมุทัย ทำให้แจ้งนิโรธ
เจริญมรรคแล้ว รู้ยิ่งธรรมที่ควรรู้ยิ่ง กำหนดรู้ธรรมที่ควรกำหนดรู้ ละธรรมที่ควรละ
เจริญธรรมที่ควรเจริญ ทำให้แจ้งธรรมที่ควรทำให้แจ้งแล้ว (ส่วนหนึ่งทำให้แจ้ง
ธรรมที่ควรทำให้แจ้งแล้ว) อีกส่วนหนึ่งไม่ทำให้แจ้งธรรมที่ควรทำให้แจ้งแล้วใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอรหัตตผล ละอะไรได้ด้วยการเห็นสมุทัย
ปร. ละรูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะ อวิชชา และ
กิเลสที่มีอยู่ในจิตดวงเดียวกันกับกิเลสทั้ง ๕ นั้นได้บางส่วน
สก. บุคคล(คนเดียวกัน)ส่วนหนึ่งเป็นพระอรหันต์ อีกส่วนหนึ่งไม่เป็น
พระอรหันต์ ฯลฯ ส่วนหนึ่งทำให้แจ้งธรรมที่ควรทำให้แจ้ง อีกส่วนหนึ่งไม่ทำให้
แจ้งธรรมที่ควรทำให้แจ้งใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอรหัตตผล ละอะไรได้ด้วยการเห็นนิโรธ
ปร. ละมานะ อุทธัจจะ อวิชชา และกิเลสที่มีอยู่ในจิตดวงเดียวกันกับกิเลส
ทั้ง ๓ นั้นได้บางส่วน
สก. บุคคล(คนเดียวกัน)ส่วนหนึ่งเป็นพระอรหันต์ อีกส่วนหนึ่งไม่เป็น
พระอรหันต์ ฯลฯ ส่วนหนึ่งทำให้แจ้งธรรมที่ควรทำให้แจ้ง อีกส่วนหนึ่งไม่ทำให้
แจ้งธรรมที่ควรทำให้แจ้งใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอรหัตตผล ละอะไรได้ด้วยการเห็นมรรค

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๑๖๔ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๓. (ข) โอธิโสกถา
ปร. ละอุทธัจจะ อวิชชา และกิเลสที่มีอยู่ในจิตดวงเดียวกันกับกิเลสทั้ง ๒
นั้นได้
สก. บุคคล(คนเดียวกัน)ส่วนหนึ่งเป็นพระอรหันต์ อีกส่วนหนึ่งไม่เป็น
พระอรหันต์ ส่วนหนึ่งเป็นผู้ถึง ได้ บรรลุ ทำให้แจ้ง เข้าถึงอยู่ สัมผัสอรหัตตผล
ด้วยกายอยู่ อีกส่วนหนึ่งไม่สัมผัสด้วยกายอยู่ ส่วนหนึ่งเป็นผู้ปราศจากราคะ โทสะ
โมหะ ทำกิจ ที่ควรทำเสร็จแล้ว ปลงภาระแล้ว บรรลุประโยชน์ตนแล้ว หมดสิ้น
กิเลสเป็นเครื่องผูกสัตว์ไว้ในภพแล้ว หลุดพ้นเพราะรู้ชอบแล้ว ถอดลิ่มสลัก กลบคู
ถอนเสาระเนียด ได้แล้ว ไม่มีบานประตู เป็นพระอริยะ ปลดธงคือมานะ วางภาระ
คือขันธ์ หมดเครื่องผูกพัน ชนะอย่างวิเศษแล้ว กำหนดรู้ทุกข์ ละสมุทัย ทำให้
แจ้งนิโรธ เจริญมรรค รู้ยิ่งธรรมที่ควรรู้ยิ่ง กำหนดรู้ธรรมที่ควรกำหนดรู้ ละ
ธรรมที่ควรละ เจริญธรรมที่ควรเจริญ ทำให้แจ้งธรรมที่ควรทำให้แจ้งแล้ว อีก
ส่วนหนึ่งไม่ทำให้แจ้งธรรมที่ควรทำให้แจ้งแล้วใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๒๗๘] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “บุคคลละกิเลสได้เป็นส่วน ๆ” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า
“ผู้มีปัญญาพึงกำจัดมลทินของตน
ทีละน้อย ๆ ในทุกขณะโดยลำดับ
เหมือนช่างทองกำจัดสนิมทอง” ๑
มีอยู่จริงมิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “บุคคลละกิเลสได้เป็นส่วน ๆ”
สก. บุคคลละกิเลสได้เป็นส่วน ๆ ใช่ไหม
ปร. ใช่

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ ขุ.ธ. (แปล) ๒๕/๒๓๙/๑๐๖

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๑๖๕ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๓. (ข) โอธิโสกถา
สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า
“พระโสดาบันละธรรม ๓ ประการ
คือ สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส
ได้อย่างสิ้นเชิง พร้อมกับการบรรลุโสดาปัตติมรรค
พระโสดาบันก็พ้นจากอบายทั้ง ๔ ภูมิ๑
และจะไม่ทำอภิฐาน ๖” ๒
มีอยู่จริงมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. ดังนั้น ท่านจึงไม่ควรยอมรับว่า “บุคคลละกิเลสได้เป็นส่วน ๆ”
สก. บุคคลละกิเลสได้เป็นส่วน ๆ ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย ในสมัยที่ธรรมจักษุ
ที่ปราศจากธุลี ปราศจากมลทิน เกิดขึ้นแก่อริยสาวกว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิด
เป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งหมดมีความดับเป็นธรรมดา พร้อมกับการเกิดขึ้นแห่ง
โสดาปัตติมรรค อริยสาวกย่อมละสังโยชน์ ๓ ประการ คือ สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา
สีลัพพตปรามาส” ๓ มีอยู่จริงมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. ดังนั้น ท่านจึงไม่ควรยอมรับว่า “บุคคลละกิเลสได้เป็นส่วน ๆ”

โอธิโสกถา จบ

เชิงอรรถ :
๑ อบายทั้ง ๔ ภูมิ หมายถึงภูมิที่ปราศจากความเจริญมี ๔ คือ นรก กำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน เปรต และอสุรกาย
(ขุ.ขุ.อ. ๖/๑๖๕)
๒ อภิฐาน ๖ หมายถึงฐานะอันหนัก ๖ ประการ ได้แก่ (๑) ฆ่ามารดา (๒) ฆ่าบิดา (๓) ฆ่าพระอรหันต์
(๔) ทำร้ายพระพุทธเจ้าจนถึงพระโลหิตห้อ (๕) ทำลายสงฆ์ให้แตกกัน (๖) นิยตมิจฉาทิฏฐิ (ขุ.ขุ.อ.
๖/๑๖๗), และดูเทียบ ขุ.สุ. (แปล) ๒๕/๑๐-๑๑/๑๒, ๒๓๕/๕๕๕
๓ ดูเทียบ องฺ.ติก. (แปล) ๒๐/๙๕/๓๒๘

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๑๖๖ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๔. ชหติกถา
๔. ชหติกถา
ว่าด้วยการละ
๑. นสุตตาหรณกถา
ว่าด้วยการไม่ยกพระสูตรมาอ้าง
[๒๗๙] สก. ปุถุชนละกามราคะและพยาบาทได้ใช่ไหม
ปร.๑ใช่ ๒
สก. ละได้เด็ดขาด ละได้อย่างไม่มีส่วนเหลือ ละได้อย่างไม่มีเยื่อใย ละได้
พร้อมทั้งมูล ละได้พร้อมทั้งตัณหา ละได้พร้อมทั้งอนุสัย ละได้ด้วยอริยญาณ ละได้
ด้วยอริยมรรค รู้แจ้งแทงตลอดอกุปปธรรมจึงละได้ ทำให้แจ้งอนาคามิผลจึงละได้
ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ปุถุชนข่มกามราคะและพยาบาทได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ข่มได้เด็ดขาด ข่มได้อย่างไม่มีส่วนเหลือ ข่มได้อย่างไม่มีเยื่อใย ข่มได้
พร้อมทั้งมูล ข่มได้พร้อมทั้งตัณหา ข่มได้พร้อมทั้งอนุสัย ข่มได้ด้วยอริยญาณ
ข่มได้ด้วยอริยมรรค รู้แจ้งแทงตลอดอกุปปธรรมจึงข่มได้ ทำให้แจ้งอนาคามิผล
จึงข่มได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอนาคามิผล ละกามราคะพยาบาทได้
และละได้เด็ดขาด ละได้ไม่มีส่วนเหลือ ฯลฯ ทำให้แจ้งอนาคามิผลจึงละได้ใช่ไหม
ปร. ใช่

เชิงอรรถ :
๑ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอื่นมี สมิติยะ เป็นต้น (อภิ.ปญฺจ.อ. ๒๗๙/๑๖๙)
๒ เพราะมีความเห็นว่า ปุถุชนผู้ได้ฌานสามารถละกามราคะและโทสะได้เด็ดขาด (อภิ.ปญฺจ.อ. ๒๗๙/๑๖๙)
๑ เพราะมีความเห็นว่า ปุถุชนผู้ได้ฌานสามารถละกามราคะและพยาบาทได้ เมื่อบรรลุสัจจะก็จะเป็น
พระอนาคามีได้เลย (อภิ.ปญฺจ.อ. ๒๘๐/๑๖๙)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๑๖๗ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๔. ชหติกถา
สก. ปุถุชนละกามราคะพยาบาทได้ และละได้เด็ดขาด ละได้อย่างไม่มีส่วน
เหลือ ฯลฯ ทำให้แจ้งอนาคามิผลจึงละได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอนาคามิผล ข่มกามราคะพยาบาทได้
และข่มได้เด็ดขาด ข่มได้อย่างไม่มีส่วนเหลือ ฯลฯ ทำให้แจ้งอนาคามิผลจึงข่มได้
ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ปุถุชนข่มกามราคะพยาบาทได้ และข่มได้เด็ดขาด ข่มได้อย่างไม่มีส่วน
เหลือ ฯลฯ ทำให้แจ้งอนาคามิผลจึงข่มได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ปุถุชนละกามราคะและพยาบาทได้ แต่ละไม่ได้เด็ดขาด ละไม่ได้
อย่างไม่มีส่วนเหลือ ละไม่ได้อย่างไม่มีเยื่อใย ละไม่ได้พร้อมทั้งมูล ละไม่ได้พร้อม
ทั้งตัณหา ละไม่ได้พร้อมทั้งอนุสัย ละไม่ได้ด้วยอริยญาณ ละไม่ได้ด้วยอริยมรรค
จะรู้แจ้งแทงตลอดอกุปปธรรมก็ละไม่ได้ ทำให้แจ้งอนาคามิผลก็ละไม่ได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอนาคามิผล ละกามราคะและพยาบาทได้
แต่ละไม่ได้เด็ดขาด ฯลฯ จะทำให้แจ้งอนาคามิผลก็ละไม่ได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ปุถุชนข่มกามราคะและพยาบาทได้ แต่ละไม่ได้เด็ดขาด ข่มไม่ได้อย่าง
ไม่มีส่วนเหลือ ฯลฯ ทำให้แจ้งอนาคามิผลก็ข่มไม่ได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอนาคามิผล ข่มกามราคะพยาบาทได้
และข่มไม่ได้เด็ดขาด ข่มไม่ได้อย่างไม่มีส่วนเหลือ ฯลฯ ทำให้แจ้งอนาคามิผลก็
ข่มไม่ได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๑๖๘ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๔. ชหติกถา
สก. ปุถุชนละกามราคะและพยาบาทได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ละได้ด้วยมรรคไหน
ปร. ด้วยมรรคฝ่ายรูปาวจร
สก. มรรคฝ่ายรูปาวจรนำสัตว์ออกจากวัฏฏทุกข์ ให้ถึงความสิ้นกิเลส ให้ถึง
ความตรัสรู้ ให้ถึงนิพพาน ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะ ไม่เป็นอารมณ์ของสังโยชน์
ไม่เป็นอารมณ์ของคันถะ ไม่เป็นอารมณ์ของโอฆะ ไม่เป็นอารมณ์ของโยคะ ไม่เป็น
อารมณ์ของนิวรณ์ ไม่เป็นอารมณ์ของปรามาส ไม่เป็นอารมณ์ของอุปาทาน ไม่เป็น
อารมณ์ของสังกิเลสใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. มรรคฝ่ายรูปาวจรไม่นำสัตว์ออกจากวัฏฏทุกข์ ไม่ให้ถึงความสิ้นกิเลส
ไม่ให้ถึงความตรัสรู้ ไม่ให้ถึงนิพพาน เป็นอารมณ์ของอาสวะ เป็นอารมณ์ของ
สังโยชน์ ฯลฯ เป็นอารมณ์ของสังกิเลสมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากมรรคฝ่ายรูปาวจรไม่นำสัตว์ออกจากวัฏฏทุกข์ ไม่ให้ถึงความสิ้นกิเลส
ไม่ให้ถึงความตรัสรู้ ไม่ให้ถึงนิพพาน เป็นอารมณ์ของอาสวะ เป็นอารมณ์ของ
สังโยชน์ ฯลฯ เป็นอารมณ์ของสังกิเลส ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “ปุถุชนละกามราคะ
และพยาบาทได้ด้วยมรรคฝ่ายรูปาวจร”
สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอนาคามิผล ละกามราคะและพยาบาทได้
ด้วยอนาคามิมรรค และมรรคนั้นนำสัตว์ออกจากวัฏฏทุกข์ ให้ถึงความสิ้นกิเลส
ให้ถึงความตรัสรู้ ให้ถึงนิพพาน ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะ ไม่เป็นอารมณ์ของ
สังโยชน์ ฯลฯ ไม่เป็นอารมณ์ของสังกิเลสใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๑๖๙ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๔. ชหติกถา
สก. ปุถุชนละกามราคะและพยาบาทได้ด้วยมรรคฝ่ายรูปาวจร และมรรคนั้น
นำสัตว์ออกจากวัฏฏทุกข์ ให้ถึงความสิ้นกิเลส ให้ถึงความตรัสรู้ ให้ถึงนิพพาน
ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะ ไม่เป็นอารมณ์ของสังโยชน์ ฯลฯ ไม่เป็นอารมณ์ของ
สังกิเลสใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ปุถุชนละกามราคะและพยาบาทได้ด้วยมรรคฝ่ายรูปาวจร และมรรคนั้น
ไม่นำสัตว์ออกจากวัฏฏทุกข์ ไม่ให้ถึงความสิ้นกิเลส ไม่ให้ถึงความตรัสรู้ ไม่ให้ถึง
นิพพาน เป็นอารมณ์ของอาสวะ เป็นอารมณ์ของสังโยชน์ ฯลฯ เป็นอารมณ์ของ
สังกิเลสใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอนาคามิผล ละกามราคะและพยาบาทได้ด้วย
อนาคามิมรรค และมรรคนั้นไม่นำสัตว์ออกจากวัฏฏทุกข์ ไม่ให้ถึงความสิ้นกิเลส
ไม่ให้ถึงความตรัสรู้ ไม่ให้ถึงนิพพาน เป็นอารมณ์ของอาสวะ เป็นอารมณ์ของ
สังโยชน์ ฯลฯ เป็นอารมณ์ของสังกิเลสใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๒๘๐] สก. ปุถุชนผู้ปราศจากความกำหนัดในกาม ดำรงอยู่ในอนาคามิผล
พร้อมกับการได้บรรลุธรรมใช่ไหม
ปร. ใช่๑
สก. ดำรงอยู่ในอรหัตตผลใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ปุถุชนผู้ปราศจากความกำหนัดในกาม ดำรงอยู่ในอนาคามิผล พร้อม
กับการได้บรรลุธรรมใช่ไหม
ปร. ใช่

เชิงอรรถ :
๑ เพราะมีความเห็นว่า ปุถุชนผู้ได้ฌานสามารถละกามราคะและพยาบาทได้ เมื่อบรรลุสัจจะก็จะเป็น
พระอนาคามีได้เลย (อภิ.ปญฺจ.อ. ๒๘๐/๑๖๙)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๑๗๐ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๔. ชหติกถา
สก. เจริญมรรคทั้ง ๓ ประการได้ไม่ก่อนไม่หลังใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เจริญมรรคทั้ง ๓ ประการได้ไม่ก่อนไม่หลังใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ทำให้แจ้งสามัญญผลทั้ง ๓ ประการได้ไม่ก่อนไม่หลังใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ทำให้แจ้งสามัญญผลทั้ง ๓ ประการได้ไม่ก่อนไม่หลังใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. มีการประชุมแห่งผัสสะ ๓ เวทนา ๓ สัญญา ๓ เจตนา ๓ จิต ๓
สัทธา ๓ วิริยะ ๓ สติ ๓ สมาธิ ๓ ปัญญา ๓ ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ปุถุชนผู้ปราศจากความกำหนัดในกาม ดำรงอยู่ในอนาคามิผลพร้อม
กับการได้บรรลุธรรมใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ด้วยโสดาปัตติมรรคใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ด้วยสกทาคามิมรรคใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น
สก. ด้วยมรรคไหน
ปร. ด้วยอนาคามิมรรค
สก. ละสักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาสได้ด้วยอนาคามิมรรคใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๑๗๑ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๔. ชหติกถา
๒. สุตตาหรณกถา
ว่าด้วยการยกพระสูตรมาอ้าง
[๒๘๑] สก. ปุถุชนละสักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา และสีลัพพตปรามาสได้ด้วย
อนาคามิมรรคใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระผู้มีพระภาคตรัสโสดาปัตติผล(ว่ามี) เพราะละสังโยชน์ ๓ ประการได้
มิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากพระผู้มีพระภาคตรัสโสดาปัตติผล(ว่ามี) เพราะละสังโยชน์ ๓
ประการได้ ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “ละสักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา และสีลัพพตปรามาส
ได้ด้วยอนาคามิมรรค” ฯลฯ
สก. ปุถุชนละกามราคะอย่างหยาบและพยาบาทอย่างหยาบได้ด้วยอนาคามิ-
มรรคใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ละกามราคะอย่างหยาบและพยาบาทอย่างหยาบได้ด้วยอนาคามิมรรค
ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระผู้มีพระภาคตรัสสกทาคามิผล(ว่ามี) เพราะความเบาบางแห่งกามราคะ
และพยาบาทมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากพระผู้มีพระภาคตรัสสกทาคามิผล(ว่ามี) เพราะความเบาบางแห่ง
กามราคะและพยาบาท ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “ละกามราคะและพยาบาทอย่าง
หยาบได้ด้วยอนาคามิมรรค”
สก. ปุถุชนเป็นผู้ปราศจากความกำหนัดในกาม ดำรงอยู่ในอนาคามิผล
พร้อมกับการได้บรรลุธรรมใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๑๗๒ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๔. ชหติกถา
สก. เหล่าชนผู้บรรลุธรรมได้ทั้งหมด ดำรงอยู่ในอนาคามิผล พร้อมกับการ
ได้บรรลุธรรมใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “ปุถุชนละกามราคะและพยาบาทได้” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า
“ครูทั้ง ๖ ผู้มียศ ได้รับยกย่องว่าเป็นเจ้าลัทธิในอดีต
เป็นผู้หมดกลิ่นสาบ๑ มุ่งมั่นในกรุณา
ล่วงพ้นกามสังโยชน์ คลายกามราคะเสียได้
เป็นผู้เข้าถึงพรหมโลกแล้ว
แม้สาวกหลายร้อยคนของครูเหล่านั้น
ก็เป็นผู้หมดกลิ่นสาบ มุ่งมั่นในกรุณา
ล่วงพ้นกามสังโยชน์ คลายกามราคะเสียได้
เป็นผู้เข้าถึงพรหมโลกแล้ว” ๒
มีอยู่จริงมิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. ดังนั้น ปุถุชนจึงละกามราคะและพยาบาทได้
สก. ปุถุชนละกามราคะและพยาบาทได้ใช่ไหม
ปร. ใช่

เชิงอรรถ :
๑ คำว่า กลิ่นสาบ ในที่นี้หมายถึงความโกรธ (องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๕๔/๑๓๔)
๒ ดูเทียบ องฺ.ฉกฺก. (แปล) ๒๒/๕๔/๕๓๐-๕๓๑

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๑๗๓ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๔. ชหติกถา
สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย ครูสุเนตรนั้นเป็น
ผู้มีอายุยืนนานอย่างนี้ เป็นผู้ดำรงอยู่ได้นานอย่างนี้ แต่ก็ไม่พ้นจากชาติ ชรา มรณะ
โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส เราจึงกล่าวว่า ไม่หลุดพ้นจากทุกข์ ข้อนั้น
เพราะเหตุไร เพราะไม่รู้แจ้งแทงตลอดธรรม ๔ ประการ ธรรม ๔ ประการ อะไรบ้าง
คือ (๑) เพราะไม่รู้แจ้งแทงตลอดอริยศีล (๒) เพราะไม่รู้แจ้งแทงตลอดอริยสมาธิ
(๓) เพราะไม่รู้แจ้งแทงตลอดอริยปัญญา (๔) เพราะไม่รู้แจ้งแทงตลอดอริยวิมุตติ
ภิกษุทั้งหลาย เราได้รู้แจ้งแทงตลอดอริยศีล เราได้รู้แจ้งแทงตลอดอริยสมาธิ เรา
ได้รู้แจ้งแทงตลอดอริยปัญญา เราได้รู้แจ้งแทงตลอดอริยวิมุตติ เราถอนภวตัณหา
ได้แล้ว ภวเนตติสิ้นไปแล้ว บัดนี้ ภพใหม่ไม่มีอีก”
(พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดา ได้ตรัสเวยยากรณภาษิตนี้แล้ว จึงได้ตรัส
คาถาประพันธ์ต่อไปอีกว่า)
“พระโคดมผู้มียศ ตรัสรู้ธรรมเหล่านี้ คือ
ศีล สมาธิ ปัญญา และวิมุตติอันยอดเยี่ยม
ดังนั้น พระพุทธเจ้าจึงตรัสบอกธรรม
แก่ภิกษุทั้งหลายเพื่อความรู้ยิ่ง
พระศาสดาผู้มีพระจักษุ
ทรงทำที่สุดแห่งทุกข์ ปรินิพพานแล้ว”๑
มีอยู่จริงมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. ดังนั้น ท่านจึงไม่ควรยอมรับว่า “ปุถุชนละกามราคะและพยาบาทได้”

ชหติกถา จบ

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ ที.ม. (แปล) ๑๐/๑๘๖/๑๓๒-๑๓๓, องฺ.จตุกฺก. (แปล) ๒๑/๑/๒, องฺ.สตฺตก. (แปล) ๒๓/๖๖/๑๓๖

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๑๗๔ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๕. สัพพมัตถีติกถา
๕. สัพพมัตถีติกถา
ว่าด้วยสิ่งทั้งปวงมีอยู่
๑. วาทยุตติ
ว่าด้วยหลักการใช้วาทะ
[๒๘๒] สก. สิ่งทั้งปวงมีอยู่ใช่ไหม
ปร.๑ ใช่๒
สก. สิ่งทั้งปวงมีอยู่ในโอกาส๓ทั้งปวงใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น
สก. สิ่งทั้งปวงมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สิ่งทั้งปวงมีอยู่ในกาลทั้งปวงใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น
สก. สิ่งทั้งปวงมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สิ่งทั้งปวงมีอยู่โดยประการทั้งปวงใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น
สก. สิ่งทั้งปวงมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่

เชิงอรรถ :
๑ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายสัพพัตถิกวาท (อภิ.ปญฺจ.อ. ๒๘๒/๑๗๐)
๒ เพราะมีความเห็นว่า สภาวธรรมทั้งที่เป็นอดีตและอนาคตมีอยู่จริงเหมือนปัจจุบัน ซึ่งจัดเป็นสัสสตทิฏฐิ
(อภิ.ปญฺจ.อ. ๒๘๒/๑๗๐)
๓ ดูเชิงอรรถที่ ๒ ข้อ ๑๑ หน้า ๑๐ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๑๗๕ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๕. สัพพมัตถีติกถา
สก. สิ่งทั้งปวงมีอยู่ในสภาวธรรมทั้งปวงใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น
สก. สิ่งทั้งปวงมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เพราะท่านเข้าใจว่า “สิ่งทั้งปวงไม่ประกอบกัน” จึงยอมรับว่า “สิ่งทั้งปวง
มีอยู่” ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น
สก. สิ่งทั้งปวงมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. แม้แต่สิ่งที่ไม่มีก็ชื่อว่ามีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น
สก. สิ่งทั้งปวงมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ความเห็นอย่างนี้ว่า “ความเห็นที่เห็นว่า สิ่งทั้งปวงมีอยู่ เป็นมิจฉาทิฏฐิ
ความเห็นนั้น เป็นสัมมาทิฏฐิ” มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น (ย่อ)
วาทยุตติ จบ

๒. กาลสังสันทนะ
ว่าด้วยการเทียบเคียงกาล
[๒๘๓] สก. อดีตมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. อดีตดับไปแล้ว หายไปแล้ว แปรผันไปแล้ว สูญไปแล้ว ดับสูญไปแล้ว
มิใช่หรือ
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๑๗๖ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๕. สัพพมัตถีติกถา
สก. หากอดีตดับไปแล้ว หายไปแล้ว แปรผันไปแล้ว สูญไปแล้ว ดับสูญ
ไปแล้ว ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “อดีตมีอยู่”
สก. อนาคตมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. อนาคตยังไม่เกิด ยังไม่มี ยังไม่เกิดพร้อม ยังไม่บังเกิด ยังไม่บังเกิดขึ้น
ยังไม่ปรากฏมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากอนาคตยังไม่เกิด ยังไม่มี ยังไม่เกิดพร้อม ยังไม่บังเกิด ยังไม่
บังเกิดขึ้น ยังไม่ปรากฏ ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “อนาคตมีอยู่”
สก. ปัจจุบันมีอยู่ ปัจจุบันยังไม่ดับไป ยังไม่หายไป ยังไม่แปรผันไป ยังไม่
สูญไป ยังไม่ดับสูญไปใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. อดีตมีอยู่ อดีตยังไม่ดับ ยังไม่หายไป ยังไม่แปรผันไป ยังไม่สูญไป
ยังไม่ดับสูญไปใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ปัจจุบันมีอยู่ ปัจจุบันเกิดแล้ว มีแล้ว เกิดพร้อมแล้ว บังเกิดแล้ว
บังเกิดขึ้นแล้ว ปรากฏแล้วใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. อนาคตมีอยู่ อนาคตเกิดแล้ว มีแล้ว เกิดพร้อมแล้ว บังเกิดแล้ว
บังเกิดขึ้นแล้ว ปรากฏแล้วใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๑๗๗ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๕. สัพพมัตถีติกถา
สก. อดีตมีอยู่ อดีตดับไปแล้ว หายไปแล้ว แปรผันไปแล้ว สูญไปแล้ว
ดับสูญไปแล้วใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ปัจจุบันมีอยู่ ปัจจุบันดับไปแล้ว หายไปแล้ว แปรผันไปแล้ว สูญไปแล้ว
ดับสูญไปแล้วใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. อนาคตมีอยู่ อนาคตยังไม่เกิด ยังไม่มี ยังไม่เกิดพร้อม ยังไม่บังเกิด
ยังไม่บังเกิดขึ้น ยังไม่ปรากฏใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ปัจจุบันมีอยู่ ปัจจุบันยังไม่เกิด ยังไม่มี ยังไม่เกิดพร้อม ยังไม่บังเกิด
ยังไม่บังเกิดขึ้น ยังไม่ปรากฏใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น
[๒๘๔] สก. รูปที่เป็นอดีตมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. รูปที่เป็นอดีตดับไปแล้ว หายไปแล้ว แปรผันไปแล้ว สูญไปแล้ว ดับสูญ
ไปแล้วมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากรูปที่เป็นอดีตดับไปแล้ว ฯลฯ ดับสูญไปแล้ว ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า
“รูปที่เป็นอดีตมีอยู่”
สก. รูปที่เป็นอนาคตมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. รูปที่เป็นอนาคตยังไม่เกิด ยังไม่มี ยังไม่เกิดพร้อม ยังไม่บังเกิด
ยังไม่บังเกิดขึ้น ยังไม่ปรากฏมิใช่หรือ
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๑๗๘ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๕. สัพพมัตถีติกถา
สก. หากรูปที่เป็นอนาคตยังไม่เกิด ฯลฯ ยังไม่ปรากฏ ท่านก็ไม่ควรยอมรับ
ว่า “รูปที่เป็นอนาคตมีอยู่”
สก. รูปที่เป็นปัจจุบันมีอยู่ รูปที่เป็นปัจจุบันยังไม่ดับไป ยังไม่หายไป ยัง
ไม่แปรผันไป ยังไม่สูญไป ยังไม่ดับสูญไปใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. รูปที่เป็นอดีตมีอยู่ รูปที่เป็นอดีตยังไม่ดับไป ยังไม่หายไป ยังไม่แปรผันไป
ยังไม่สูญไป ยังไม่ดับสูญไปใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น
สก. รูปที่เป็นปัจจุบันมีอยู่ รูปที่เป็นปัจจุบันเกิดแล้ว มีแล้ว เกิดพร้อมแล้ว
บังเกิดแล้ว บังเกิดขึ้นแล้ว ปรากฏแล้วใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. รูปที่เป็นอนาคตมีอยู่ รูปที่เป็นอนาคตเกิดแล้ว มีแล้ว เกิดพร้อมแล้ว
บังเกิดแล้ว บังเกิดขึ้นแล้ว ปรากฏแล้วใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น
สก. รูปที่เป็นอดีตมีอยู่ รูปที่เป็นอดีตดับไปแล้ว หายไปแล้ว แปรผันไปแล้ว
สูญไปแล้ว ดับสูญไปแล้วใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. รูปที่เป็นปัจจุบันมีอยู่ รูปที่เป็นปัจจุบันดับไปแล้ว หายไปแล้ว แปรผัน
ไปแล้ว สูญไปแล้ว ดับสูญไปแล้วใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น
สก. รูปที่เป็นอนาคตมีอยู่ รูปที่เป็นอนาคตยังไม่เกิด ยังไม่มี ยังไม่เกิดพร้อม
ยังไม่บังเกิด ยังไม่บังเกิดขึ้น ยังไม่ปรากฏใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๑๗๙ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๕. สัพพมัตถีติกถา
สก. รูปที่เป็นปัจจุบันมีอยู่ รูปที่เป็นปัจจุบันยังไม่เกิด ยังไม่มี ยังไม่เกิดพร้อม
ยังไม่บังเกิด ยังไม่บังเกิดขึ้น ยังไม่ปรากฏใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น
สก. เวทนาที่เป็นอดีตมีอยู่ ฯลฯ สัญญา ฯลฯ สังขาร ฯลฯ วิญญาณที่เป็น
อดีตมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. วิญญาณที่เป็นอดีตดับไปแล้ว หายไปแล้ว แปรผันไปแล้ว สูญไปแล้ว
ดับสูญไปแล้วมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากวิญญาณที่เป็นอดีตดับไปแล้ว ฯลฯ ดับสูญไปแล้ว ท่านก็ไม่ควร
ยอมรับว่า “วิญญาณที่เป็นอดีตมีอยู่”
สก. วิญญาณที่เป็นอนาคตมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. วิญญาณที่เป็นอนาคตยังไม่เกิด ยังไม่มี ยังไม่เกิดพร้อม ยังไม่บังเกิด
ยังไม่บังเกิดขึ้น ยังไม่ปรากฏมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากวิญญาณที่เป็นอนาคตยังไม่เกิด ฯลฯ ยังไม่ปรากฏ ท่านก็ไม่ควร
ยอมรับว่า “วิญญาณที่เป็นอนาคตมีอยู่”
สก. วิญญาณที่เป็นปัจจุบันมีอยู่ วิญญาณที่เป็นปัจจุบันยังไม่ดับไป ฯลฯ
ยังไม่ดับสูญไปใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. วิญญาณที่เป็นอดีตมีอยู่ วิญญาณที่เป็นอดีตยังไม่ดับไป ฯลฯ ยังไม่
ดับสูญไปใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๑๘๐ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๕. สัพพมัตถีติกถา
สก. วิญญาณที่เป็นปัจจุบันมีอยู่ วิญญาณที่เป็นปัจจุบันเกิดแล้ว เกิดมีแล้ว
ฯลฯ ปรากฏแล้วใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. วิญญาณที่เป็นอนาคตมีอยู่ วิญญาณที่เป็นอนาคตเกิดแล้ว ฯลฯ ปรากฏ
แล้วใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น
สก. วิญญาณที่เป็นอดีตมีอยู่ วิญญาณที่เป็นอดีตดับไปแล้ว ฯลฯ ดับสูญ
ไปแล้วใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. วิญญาณที่เป็นปัจจุบันมีอยู่ วิญญาณที่เป็นปัจจุบันดับไปแล้ว ฯลฯ ดับ
สูญไปแล้วใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น
สก. วิญญาณที่เป็นอนาคตมีอยู่ วิญญาณที่เป็นอนาคตยังไม่เกิด ฯลฯ ยังไม่
ปรากฏใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. วิญญาณที่เป็นปัจจุบันมีอยู่ วิญญาณที่เป็นปัจจุบันยังไม่เกิด ยังไม่มี
ฯลฯ ยังไม่ปรากฏใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น
[๒๘๕] สก. เมื่อบัญญัติว่า ปัจจุบันกับรูป หรือบัญญัติว่ารูปกับปัจจุบันให้มี
ความหมายว่าปัจจุบันรูป โดยไม่แยก ปัจจุบันและรูปนี้นั้น มีความหมายอย่าง
เดียวกัน เสมอกัน มีส่วนเท่ากัน มีสภาพเหมือนกันใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. รูปที่เป็นปัจจุบันเมื่อดับไป ก็ละความเป็นปัจจุบันได้ใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๑๘๑ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๕. สัพพมัตถีติกถา
สก. ละความเป็นรูปไปด้วยใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เมื่อบัญญัติว่า ปัจจุบันกับรูป หรือบัญญัติว่า รูปกับปัจจุบันให้มีความ
หมายว่าปัจจุบันรูป โดยไม่แยก ปัจจุบันและรูปนี้นั้น มีความหมายอย่างเดียวกัน
เสมอกัน มีส่วนเท่ากัน มีสภาพเหมือนกันใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. รูปที่เป็นปัจจุบันเมื่อดับไป ไม่ละความเป็นรูปใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ไม่ละความเป็นปัจจุบันใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น
ปร. เมื่อบัญญัติว่า สีขาวกับผ้า หรือบัญญัติว่าผ้ากับสีขาว ให้มีความหมาย
ว่า ผ้าสีขาว โดยไม่แยก สีขาวและผ้านี้นั้น มีความหมายอย่างเดียวกัน เสมอกัน
มีส่วนเท่ากัน มีสภาพเหมือนกันใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. ผ้าขาวเมื่อถูกย้อมย่อมละความเป็นผ้าขาวไปด้วยใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. ละความเป็นผ้าไปด้วยใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น
ปร. เมื่อบัญญัติว่า สีขาวกับผ้า หรือบัญญัติว่าผ้ากับสีขาว ให้มีความหมาย
ว่า ผ้าสีขาว โดยไม่แยก สีขาวและผ้านี้นั้น มีความหมายอย่างเดียวกัน เสมอกัน
มีส่วนเท่ากัน มีสภาพเหมือนกันใช่ไหม
สก. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๑๘๒ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๕. สัพพมัตถีติกถา
ปร. ผ้าขาวเมื่อถูกย้อมย่อมไม่ละความเป็นผ้าไปด้วยใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. ไม่ละความเป็นผ้าขาวใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๒๘๖] สก. รูปไม่ละความเป็นรูปใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. รูปเที่ยง ยั่งยืน คงที่ ไม่มีความแปรผันไปเป็นธรรมดาใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. รูปละความเป็นรูปได้ เพราะเหตุนั้น รูปจึงไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืน ไม่คงที่
มีความแปรผันไปเป็นธรรมดามิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากรูปไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืน ไม่คงที่ มีความแปรผันไปเป็นธรรมดา ท่าน
ก็ไม่ควรยอมรับว่า “รูปไม่ละความเป็นรูป”
สก. นิพพานไม่ละความเป็นนิพพาน เพราะเหตุนั้น นิพพานจึงชื่อว่าเที่ยง
ยั่งยืน คงที่ ไม่มีความแปรผันไปเป็นธรรมดาใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. รูปไม่ละความเป็นรูป เพราะเหตุนั้น รูปจึงชื่อว่าเที่ยง ยั่งยืน คงที่
ไม่มีความแปรผันไปเป็นธรรมดาใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. รูปไม่ละความเป็นรูป เพราะเหตุนั้น รูปจึงชื่อว่าไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืน ไม่คงที่
มีความแปรผันไปเป็นธรรมดาใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๑๘๓ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๕. สัพพมัตถีติกถา
สก. นิพพานไม่ละความเป็นนิพพาน เพราะเหตุนั้น นิพพานจึงชื่อว่าไม่เที่ยง
ไม่ยั่งยืน ไม่คงที่ มีความแปรผันไปเป็นธรรมดาใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. อดีตมีอยู่ อดีตไม่ละความเป็นอดีตใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. อนาคตมีอยู่ อนาคตไม่ละความเป็นอนาคตใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. อดีตมีอยู่ อดีตไม่ละความเป็นอดีตใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ปัจจุบันมีอยู่ ปัจจุบันไม่ละความเป็นปัจจุบันใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. อนาคตมีอยู่ อนาคตไม่ละความเป็นอนาคตใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. อดีตมีอยู่ อดีตไม่ละความเป็นอดีตใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ปัจจุบันมีอยู่ ปัจจุบันไม่ละความเป็นปัจจุบันใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. อดีตมีอยู่ อดีตไม่ละความเป็นอดีตใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. อดีตมีอยู่ อดีตไม่ละความเป็นอดีตใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๑๘๔ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๕. สัพพมัตถีติกถา
สก. อดีตเที่ยง ยั่งยืน คงที่ ไม่มีความแปรผันไปเป็นธรรมดาใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. อดีตไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืน ไม่คงที่ มีความแปรผันไปเป็นธรรมดามิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากอดีตไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืน ไม่คงที่ มีความแปรผันไปเป็นธรรมดา
ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “อดีตมีอยู่ อดีตไม่ละความเป็นอดีต”
สก. นิพพานมีอยู่ นิพพานไม่ละความเป็นนิพพาน เพราะเหตุนั้น นิพพาน
จึงชื่อว่าเที่ยง ยั่งยืน คงที่ ไม่มีความแปรผันไปเป็นธรรมดาใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. อดีตมีอยู่ อดีตไม่ละความเป็นอดีต เพราะเหตุนั้น อดีตจึงชื่อว่าเที่ยง
ยั่งยืน คงที่ ไม่มีความแปรผันไปเป็นธรรมดาใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. อดีตมีอยู่ อดีตไม่ละความเป็นอดีต เพราะเหตุนั้น อดีตจึงชื่อว่าไม่เที่ยง
ไม่ยั่งยืน ไม่คงที่ มีความแปรผันไปเป็นธรรมดาใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. นิพพานมีอยู่ นิพพานไม่ละความเป็นนิพพาน เพราะเหตุนั้น นิพพาน
จึงชื่อว่าไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืน ไม่คงที่ มีความแปรผันไปเป็นธรรดาใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๒๘๗] สก. รูปที่เป็นอดีตมีอยู่ รูปที่เป็นอดีตไม่ละความเป็นอดีตใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. รูปที่เป็นอนาคตมีอยู่ รูปที่เป็นอนาคตไม่ละความเป็นอนาคตใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๑๘๕ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๕. สัพพมัตถีติกถา
สก. รูปที่เป็นอดีตมีอยู่ รูปที่เป็นอดีตไม่ละความเป็นอดีตใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. รูปที่เป็นปัจจุบันมีอยู่ รูปที่เป็นปัจจุบันไม่ละความเป็นปัจจุบันใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. รูปที่เป็นอนาคตมีอยู่ รูปที่เป็นอนาคตไม่ละความเป็นอนาคตใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. รูปที่เป็นอดีตมีอยู่ รูปที่เป็นอดีตไม่ละความเป็นอดีตใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. รูปที่เป็นปัจจุบันมีอยู่ รูปที่เป็นปัจจุบันไม่ละความเป็นปัจจุบันใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. รูปที่เป็นอดีตมีอยู่ รูปที่เป็นอดีตไม่ละความเป็นอดีตใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. รูปที่เป็นอดีตมีอยู่ รูปที่เป็นอดีตไม่ละความเป็นอดีตใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. รูปที่เป็นอดีตเที่ยง ยั่งยืน คงที่ ไม่มีความแปรผันไปเป็นธรรมดาใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. รูปที่เป็นอดีตไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืน ไม่คงที่ มีความแปรผันไปเป็น
ธรรมดามิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากรูปที่เป็นอดีตไม่เที่ยง ฯลฯ มีความแปรผันไปเป็นธรรมดา ท่าน
ก็ไม่ควรยอมรับว่า “รูปที่เป็นอดีตมีอยู่ รูปที่เป็นอดีตไม่ละความเป็นอดีต”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๑๘๖ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๕. สัพพมัตถีติกถา
สก. นิพพานมีอยู่ นิพพานไม่ละความเป็นนิพพาน นิพพานจึงเที่ยง ยั่งยืน
คงที่ ไม่มีความแปรผันไปเป็นธรรมดาใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. รูปที่เป็นอดีตมีอยู่ รูปที่เป็นอดีตไม่ละความเป็นอดีต รูปที่เป็นอดีตจึง
เที่ยง ยั่งยืน คงที่ ไม่มีความแปรผันไปเป็นธรรมดาใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. รูปที่เป็นอดีตมีอยู่ รูปที่เป็นอดีตไม่ละความเป็นอดีต รูปที่เป็นอดีตจึง
ไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืน ไม่คงที่ มีความแปรผันไปเป็นธรรมดาใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. นิพพานมีอยู่ นิพพานไม่ละความเป็นนิพพาน นิพพานจึงไม่เที่ยง
ไม่ยั่งยืน ไม่คงที่ มีความแปรผันไปเป็นธรรมดาใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เวทนาที่เป็นอดีต ... สัญญาที่เป็นอดีต ... สังขารที่เป็นอดีต ฯลฯ
วิญญาณที่เป็นอดีตมีอยู่ วิญญาณที่เป็นอดีตไม่ละความเป็นอดีตใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. วิญญาณที่เป็นอนาคตมีอยู่ วิญญาณที่เป็นอนาคตไม่ละความเป็น
อนาคตใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. วิญญาณที่เป็นอดีตมีอยู่ วิญญาณที่เป็นอดีตไม่ละความเป็นอดีตใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. วิญญาณที่เป็นปัจจุบันมีอยู่ วิญญาณที่เป็นปัจจุบันไม่ละความเป็น
ปัจจุบันใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๑๘๗ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๕. สัพพมัตถีติกถา
สก. วิญญาณที่เป็นอนาคตมีอยู่ วิญญาณที่เป็นอนาคตไม่ละความเป็น
อนาคตใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. วิญญาณที่เป็นอดีตมีอยู่ วิญญาณที่เป็นอดีตไม่ละความเป็นอดีตใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. วิญญาณที่เป็นปัจจุบันมีอยู่ วิญญาณที่เป็นปัจจุบันไม่ละความเป็น
ปัจจุบันใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. วิญญาณที่เป็นอดีตมีอยู่ วิญญาณที่เป็นอดีตไม่ละความเป็นอดีตใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. วิญญาณที่เป็นอดีตมีอยู่ วิญญาณที่เป็นอดีตไม่ละความเป็นอดีตใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. วิญญาณที่เป็นอดีตเที่ยง ยั่งยืน คงที่ ไม่มีความแปรผันไปเป็น
ธรรมดาใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. วิญญาณที่เป็นอดีตไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืน ไม่คงที่ มีความแปรผันไปเป็น
ธรรมดามิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากวิญญาณที่เป็นอดีตไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืน ไม่คงที่ มีความแปรผันไป
เป็นธรรมดา ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “วิญญาณที่เป็นอดีตมีอยู่ วิญญาณที่เป็น
อดีตไม่ละความเป็นอดีต”
สก. นิพพานมีอยู่ นิพพานไม่ละความเป็นนิพพาน นิพพานจึงเที่ยง ยั่งยืน
คงที่ ไม่มีความแปรผันไปเป็นธรรมดาใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๑๘๘ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๕. สัพพมัตถีติกถา
สก. วิญญาณที่เป็นอดีตมีอยู่ วิญญาณที่เป็นอดีตไม่ละความเป็นอดีต
วิญญาณที่เป็นอดีตจึงเที่ยง ยั่งยืน คงที่ ไม่มีความแปรผันไปเป็นธรรมดาใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. วิญญาณที่เป็นอดีตมีอยู่ วิญญาณที่เป็นอดีตไม่ละความเป็นอดีต
วิญญาณที่เป็นอดีตจึงไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืน ไม่คงที่ มีความแปรผันไปเป็นธรรมดาใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. นิพพานมีอยู่ นิพพานไม่ละความเป็นนิพพาน นิพพานจึงไม่เที่ยง
ไม่ยั่งยืน ไม่คงที่ มีความแปรผันไปเป็นธรรมดาใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

วจนโสธนา
ว่าด้วยการซักฟอกถ้อยคำ
[๒๘๘] สก. อดีตไม่ใช่สภาวะที่มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. หากอดีตไม่ใช่สภาวะที่มีอยู่ คำว่า “อดีตมีอยู่” ก็ผิด ก็หรือว่า
หากสภาวะที่มีอยู่ไม่ใช่อดีต คำว่า “สภาวะที่มีอยู่เป็นอดีต” ก็ผิด
สก. อนาคตไม่ใช่สภาวะที่มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. หากอนาคตไม่ใช่สภาวะที่มีอยู่ คำว่า “อนาคตมีอยู่” ก็ผิด ก็หรือว่า
หากสภาวะที่มีอยู่มิใช่อนาคต คำว่า “สภาวะที่มีอยู่เป็นอนาคต” ก็ผิด
สก. สภาวะที่มีอยู่เป็นอนาคตแล้วจึงเป็นปัจจุบันใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๑๘๙ }


>>>>> หน้าต่อไป >>>>>





eXTReMe Tracker