ค้นว่าอยู่เล่มใด แล้วกด [ctrl]+f หรือใช้คำสั่งของเครื่องหาตำแหน่งในเล่มอีกทีนะครับ



จัดรูปหน้าใหม่
เพื่อความสะดวก และสวยงาม
(เฉพาะหน้าจอใหญ่ เช่น คอมพิวเตอร์)
กรุณาคลิก จัดรูปหน้าใหม่
เพื่อให้กรอบ
ค้นข้อความ ปรากฎที่ด้านซ้ายของหน้า

พระไตรปิฎกภาษาไทย
ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ๔๕ เล่ม (ปกสีฟ้า)
ทั้งออนไลน์และออฟไลน์
ที่มาของข้อมูล : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับ มจร.
MCUTRAI Version 1.0

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๕ อภิธรรมปิฎกที่ ๐๒ วิภังค์

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑.ขันธวิภังค์] ๑.สุตตันตภาชนีย์ ๑.รูปขันธ์

พระอภิธรรมปิฎก
วิภังค์
_____________
ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

๑. ขันธวิภังค์
๑. สุตตันตภาชนีย์

[๑] ขันธ์๑ ๕ คือ

๑. รูปขันธ์ (กองรูป)
๒. เวทนาขันธ์ (กองเวทนา)
๓. สัญญาขันธ์ (กองสัญญา)
๔. สังขารขันธ์ (กองสังขาร)
๕. วิญญาณขันธ์ (กองวิญญาณ)

๑. รูปขันธ์
[๒] บรรดาขันธ์ ๕ นั้น รูปขันธ์ เป็นไฉน
รูปอย่างใดอย่างหนึ่ง คือ รูปที่เป็นอดีต รูปที่เป็นอนาคต รูปที่เป็นปัจจุบัน
รูปที่เป็นภายในตน รูปที่เป็นภายนอกตน รูปหยาบ รูปละเอียด รูปชั้นต่ำ รูปชั้น
ประณีต รูปไกล หรือรูปใกล้ ประมวลย่อเข้าเป็นกองเดียวกัน นี้เรียกว่า รูปขันธ์

เชิงอรรถ :
๑ สฺวายมิธ ราสิโต อธิปฺเปโต ขันธ์ในที่นี้ท่านหมายถึงกอง เช่นกองรูป ฯลฯ (อภิ.วิ.อ. ๑/๒-๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๑ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑.ขันธวิภังค์] ๑.สุตตันตภาชนีย์ ๑.รูปขันธ์
[๓] ในรูปขันธ์นั้น รูปที่เป็นอดีต เป็นไฉน
รูปใดล่วงไปแล้ว ดับไปแล้ว ปราศจากไปแล้ว แปรไปแล้ว ถึงความดับแล้ว
ถึงความดับสิ้นแล้ว ที่เกิดขึ้นปราศจากไปแล้ว ที่เป็นอดีต สงเคราะห์เข้ากับส่วนอดีต
ได้แก่ มหาภูตรูป ๔ และรูปที่อาศัยมหาภูตรูป ๔ (อุปาทายรูป) นี้เรียกว่า รูปที่
เป็นอดีต
รูปที่เป็นอนาคต เป็นไฉน
รูปใดยังไม่เกิด ยังไม่เป็น ยังไม่เกิดพร้อม ยังไม่บังเกิด ยังไม่บังเกิดเฉพาะ
ยังไม่ปรากฏ ยังไม่เกิดขึ้น ยังไม่เกิดขึ้นพร้อม ยังไม่ตั้งขึ้น ยังไม่ตั้งขึ้นพร้อม ที่
เป็นอนาคต สงเคราะห์เข้ากับส่วนอนาคต ได้แก่ มหาภูตรูป ๔ และรูปที่อาศัย
มหาภูตรูป ๔ นี้เรียกว่า รูปที่เป็นอนาคต
รูปที่เป็นปัจจุบัน เป็นไฉน
รูปใดเกิดอยู่ เป็นอยู่ เกิดพร้อม บังเกิด บังเกิดเฉพาะ ปรากฏ เกิดขึ้น
เกิดขึ้นพร้อม ตั้งขึ้น ตั้งขึ้นพร้อม ที่เป็นปัจจุบัน สงเคราะห์เข้ากับส่วนปัจจุบัน
ได้แก่ มหาภูตรูป ๔ และรูปที่อาศัยมหาภูตรูป ๔ นี้เรียกว่า รูปที่เป็นปัจจุบัน
[๔] รูปที่เป็นภายในตน เป็นไฉน
รูปใดของสัตว์นั้น ๆ ที่เป็นภายในตน มีเฉพาะตน เกิดในตน มีเฉพาะ
บุคคล ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือ๑ ได้แก่ มหาภูตรูป ๔ และ
รูปที่อาศัยมหาภูตรูป ๔ นี้เรียกว่า รูปที่เป็นภายในตน
รูปที่เป็นภายนอกตน เป็นไฉน
รูปใดของสัตว์อื่น ของบุคคลอื่นนั้น ๆ ที่เป็นภายในตน มีเฉพาะตน เกิดในตน
มีเฉพาะบุคคล ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือ ได้แก่ มหาภูตรูป ๔
และรูปที่อาศัยมหาภูตรูป ๔ นี้เรียกว่า รูปที่เป็นภายนอกตน
[๕] รูปหยาบ เป็นไฉน
จักขายตนะ ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะ นี้เรียกว่า รูปหยาบ

เชิงอรรถ :
๑ ตัณหาและทิฏฐิที่เกิดพร้อมกับการกระทำที่ยึดติดโดยความเป็นอารมณ์ (อภิ.สงฺ.อ. ๔/๙๐)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๒ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑.ขันธวิภังค์] ๑.สุตตันตภาชนีย์ ๑.รูปขันธ์
รูปละเอียด เป็นไฉน
อิตถินทรีย์ ฯลฯ กวฬิงการาหาร๑ นี้เรียกว่า รูปละเอียด
[๖] รูปชั้นต่ำ เป็นไฉน
รูปใดของสัตว์นั้น ๆ ที่น่าดูหมิ่น น่าเหยียดหยาม น่าเกลียด น่าตำหนิ ไม่น่า
ยกย่อง เป็นชั้นต่ำ รู้กันว่าเป็นชั้นต่ำ สมมติกันว่าเป็นชั้นต่ำ ไม่น่าปรารถนา ไม่น่ารัก
ไม่น่าชอบใจ ได้แก่ รูป เสียง กลิ่น รส และโผฏฐัพพะ นี้เรียกว่า รูปชั้นต่ำ
รูปชั้นประณีต เป็นไฉน
รูปใดของสัตว์นั้น ๆ ที่ไม่น่าดูหมิ่น ไม่น่าเหยียดหยาม ไม่น่าเกลียด ไม่
น่าตำหนิ น่ายกย่อง เป็นชั้นประณีต รู้กันว่าเป็นชั้นประณีต สมมติกันว่าเป็นชั้น
ประณีต น่าปรารถนา น่ารัก น่าชอบใจ ได้แก่ รูป เสียง กลิ่น รส และโผฏฐัพพะ
นี้เรียกว่า รูปชั้นประณีต
พึงทราบรูปชั้นต่ำ รูปชั้นประณีต โดยอาศัยเทียบเคียงรูปนั้น ๆ เป็นชั้น ๆ ไป
[๗] รูปไกล เป็นไฉน
อิตถินทรีย์ ฯลฯ กวฬิงการาหาร หรือรูปแม้อื่น มีอยู่ในที่ไม่ใกล้ ในที่ไม่
ใกล้ชิด ในที่ไกล ในที่ไม่ใกล้ นี้เรียกว่า รูปไกล๒
รูปใกล้ เป็นไฉน
จักขายตนะ ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะ หรือรูปแม้อื่น มีอยู่ในที่ใกล้ ในที่ใกล้ชิด
ในที่ไม่ไกล ในที่ใกล้ นี้เรียกว่า รูปใกล้๓
พึงทราบรูปไกล รูปใกล้ โดยอาศัยเทียบเคียงรูปนั้น ๆ เป็นชั้น ๆ ไป

เชิงอรรถ :
๑ อภิ.สงฺ. ๓๔/๖๓๒-๖๔๕/๑๙๔-๙๖
๒ หมายถึงสุขุมรูป รูปละเอียด (อภิ.วิ.อ. ๗/๑๓)
๓ หมายถึงโอฬาริกรูป รูปหยาบ (อภิ.วิ.อ. ๗/๑๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๓ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑.ขันธวิภังค์] ๑.สุตตันตภาชนีย์ ๒.เวทนาขันธ์
๒. เวทนาขันธ์
[๘] บรรดาขันธ์ ๕ นั้น เวทนาขันธ์ เป็นไฉน
เวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง๑ คือ เวทนาที่เป็นอดีต เวทนาที่เป็นอนาคต เวทนาที่
เป็นปัจจุบัน เวทนาที่เป็นภายในตน เวทนาที่เป็นภายนอกตน เวทนาหยาบ เวทนา
ละเอียด เวทนาชั้นต่ำ เวทนาชั้นประณีต เวทนาไกล หรือเวทนาใกล้ ประมวลย่อเข้า
เป็นกองเดียวกัน นี้เรียกว่า เวทนาขันธ์
[๙] ในเวทนาขันธ์นั้น เวทนาที่เป็นอดีต เป็นไฉน
เวทนาใดล่วงไปแล้ว ดับไปแล้ว ปราศจากไปแล้ว แปรไปแล้ว ถึงความดับแล้ว
ถึงความดับสิ้นแล้ว ที่เกิดขึ้นปราศจากไปแล้ว ที่เป็นอดีต สงเคราะห์เข้ากับส่วนอดีต
ได้แก่ สุขเวทนา ทุกขเวทนา และอทุกขมสุขเวทนา นี้เรียกว่า เวทนาที่เป็นอดีต
เวทนาที่เป็นอนาคต เป็นไฉน
เวทนาใดยังไม่เกิด ยังไม่เป็น ยังไม่เกิดพร้อม ยังไม่บังเกิด ยังไม่บังเกิดเฉพาะ
ยังไม่ปรากฏ ยังไม่เกิดขึ้น ยังไม่เกิดขึ้นพร้อม ยังไม่ตั้งขึ้น ยังไม่ตั้งขึ้นพร้อม ที่เป็น
อนาคต สงเคราะห์เข้ากับส่วนอนาคต ได้แก่ สุขเวทนา ทุกขเวทนา และ
อทุกขมสุขเวทนา นี้เรียกว่า เวทนาที่เป็นอนาคต
เวทนาที่เป็นปัจจุบัน เป็นไฉน
เวทนาใดเกิดอยู่ เป็นอยู่ เกิดพร้อม บังเกิด บังเกิดเฉพาะ ปรากฏ เกิดขึ้น
เกิดขึ้นพร้อม ตั้งขึ้น ตั้งขึ้นพร้อม ที่เป็นปัจจุบัน สงเคราะห์เข้ากับส่วนปัจจุบัน
ได้แก่ สุขเวทนา ทุกขเวทนา และอทุกขมสุขเวทนา นี้เรียกว่า เวทนาที่เป็นปัจจุบัน
[๑๐] เวทนาที่เป็นภายในตน เป็นไฉน
เวทนาใดของสัตว์นั้น ๆ ที่เป็นภายในตน มีเฉพาะตน เกิดในตน มีเฉพาะ
บุคคล ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือ ได้แก่ สุขเวทนา ทุกขเวทนา
และอทุกขมสุขเวทนา นี้เรียกว่า เวทนาที่เป็นภายในตน

เชิงอรรถ :
๑ หมายถึงเวทนาขันธ์ที่เป็นไปในภูมิ ๔ คือ กามภูมิ รูปภูมิ อรูปภูมิ และโลกุตตรภูมิ (อภิ.วิ.อ.๘/๑๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๔ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑.ขันธวิภังค์] ๑.สุตตันตภาชนีย์ ๒.เวทนาขันธ์
เวทนาที่เป็นภายนอกตน เป็นไฉน
เวทนาใดของสัตว์อื่น ของบุคคลอื่นนั้น ๆ ที่เป็นภายในตน มีเฉพาะตน
เกิดในตน มีเฉพาะบุคคล ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือ ได้แก่
สุขเวทนา ทุกขเวทนา และอทุกขมสุขเวทนา นี้เรียกว่า เวทนาที่เป็นภายนอกตน
[๑๑] เวทนาหยาบ เวทนาละเอียด เป็นไฉน
เวทนาที่เป็นอกุศลเป็นเวทนาหยาบ เวทนาที่เป็นกุศลและอัพยากฤตเป็น
เวทนาละเอียด เวทนาที่เป็นกุศลและอกุศลเป็นเวทนาหยาบ เวทนาที่เป็นอัพยา-
กฤตเป็นเวทนาละเอียด ทุกขเวทนาเป็นเวทนาหยาบ สุขเวทนาและอทุกขมสุขเวทนา
เป็นเวทนาละเอียด สุขเวทนาและทุกขเวทนาเป็นเวทนาหยาบ อทุกขมสุขเวทนา
เป็นเวทนาละเอียด เวทนาของผู้ไม่เข้าสมาบัติเป็นเวทนาหยาบ เวทนาของผู้เข้า
สมาบัติเป็นเวทนาละเอียด เวทนาที่เป็นอารมณ์ของอาสวะเป็นเวทนาหยาบ เวทนา
ที่ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะเป็นเวทนาละเอียด
พึงทราบเวทนาหยาบ เวทนาละเอียด โดยอาศัยเทียบเคียงเวทนานั้น ๆ เป็น
ชั้น ๆ ไป
[๑๒] เวทนาชั้นต่ำ เวทนาชั้นประณีต เป็นไฉน
เวทนาที่เป็นอกุศลเป็นเวทนาชั้นต่ำ เวทนาที่เป็นกุศลและอัพยากฤตเป็นเวทนา
ชั้นประณีต เวทนาที่เป็นกุศลและอกุศลเป็นเวทนาชั้นต่ำ เวทนาที่เป็นอัพยากฤตเป็น
เวทนาชั้นประณีต ทุกขเวทนาเป็นเวทนาชั้นต่ำ สุขเวทนาและอทุกขมสุขเวทนาเป็น
เวทนาชั้นประณีต สุขเวทนาและทุกขเวทนาเป็นเวทนาชั้นต่ำ อทุกขมสุขเวทนาเป็น
เวทนาชั้นประณีต เวทนาของผู้ไม่เข้าสมาบัติเป็นเวทนาชั้นต่ำ เวทนาของผู้เข้า
สมาบัติเป็นเวทนาชั้นประณีต เวทนาที่เป็นอารมณ์ของอาสวะเป็นเวทนาชั้นต่ำ
เวทนาที่ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะเป็นเวทนาชั้นประณีต
พึงทราบเวทนาชั้นต่ำ เวทนาชั้นประณีต โดยอาศัยเทียบเคียงเวทนานั้น ๆ เป็น
ชั้น ๆ ไป

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๕ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑.ขันธวิภังค์] ๑.สุตตันตภาชนีย์ ๒.เวทนาขันธ์
[๑๓] เวทนาไกล เป็นไฉน
เวทนาที่เป็นอกุศลเป็นเวทนาไกลจากเวทนาที่เป็นกุศลและอัพยากฤต เวทนา
ที่เป็นกุศลและอัพยากฤตเป็นเวทนาไกลจากเวทนาที่เป็นอกุศล เวทนาที่เป็นกุศลเป็น
เวทนาไกลจากเวทนาที่เป็นอกุศลและอัพยากฤต เวทนาที่เป็นอกุศลและอัพยากฤต
เป็นเวทนาไกลจากเวทนาที่เป็นกุศล เวทนาที่เป็นอัพยากฤตเป็นเวทนาไกลจาก
เวทนาที่เป็นกุศลและอกุศล เวทนาที่เป็นกุศลและอกุศลเป็นเวทนาไกลจากเวทนาที่
เป็นอัพยากฤต ทุกขเวทนาเป็นเวทนาไกลจากสุขเวทนาและอทุกขมสุขเวทนา สุข-
เวทนาและอทุกขมสุขเวทนาเป็นเวทนาไกลจากทุกขเวทนา สุขเวทนาเป็นเวทนาไกล
จากทุกขเวทนาและอทุกขมสุขเวทนา ทุกขเวทนาและอทุกขมสุขเวทนาเป็นเวทนา
ไกลจากสุขเวทนา อทุกขมสุขเวทนาเป็นเวทนาไกลจากสุขเวทนาและทุกขเวทนา
สุขเวทนาและทุกขเวทนาเป็นเวทนาไกลจากอทุกขมสุขเวทนา เวทนาของผู้ไม่เข้า
สมาบัติเป็นเวทนาไกลจากเวทนาของผู้เข้าสมาบัติ เวทนาของผู้เข้าสมาบัติเป็น
เวทนาไกลจากเวทนาของผู้ไม่เข้าสมาบัติ เวทนาที่เป็นอารมณ์ของอาสวะเป็นเวทนา
ไกลจากเวทนาที่ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะ เวทนาที่ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะเป็น
เวทนาไกลจากเวทนาที่เป็นอารมณ์ของอาสวะ นี้เรียกว่า เวทนาไกล
เวทนาใกล้ เป็นไฉน
เวทนาที่เป็นอกุศลเป็นเวทนาใกล้กับเวทนาที่เป็นอกุศล เวทนาที่เป็นกุศลเป็น
เวทนาใกล้กับเวทนาที่เป็นกุศล เวทนาที่เป็นอัพยากฤตเป็นเวทนาใกล้กับเวทนาที่
เป็นอัพยากฤต ทุกขเวทนาเป็นเวทนาใกล้กับทุกขเวทนา สุขเวทนาเป็นเวทนาใกล้
กับสุขเวทนา อทุกขมสุขเวทนาเป็นเวทนาใกล้กับอทุกขมสุขเวทนา เวทนาของผู้ไม่
เข้าสมาบัติเป็นเวทนาใกล้กับเวทนาของผู้ไม่เข้าสมาบัติ เวทนาของผู้เข้าสมาบัติเป็น
เวทนาใกล้กับเวทนาของผู้เข้าสมาบัติ เวทนาที่เป็นอารมณ์ของอาสวะเป็นเวทนา
ใกล้กับเวทนาที่เป็นอารมณ์ของอาสวะ เวทนาที่ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะเป็นเวทนา
ใกล้กับเวทนาที่ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะ นี้เรียกว่า เวทนาใกล้
พึงทราบเวทนาไกล เวทนาใกล้ โดยอาศัยเทียบเคียงเวทนานั้น ๆ เป็นชั้น ๆ ไป

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๖ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑.ขันธวิภังค์] ๑.สุตตันตภาชนีย์ ๓.สัญญาขันธ์
๓. สัญญาขันธ์
[๑๔] บรรดาขันธ์ ๕ นั้น สัญญาขันธ์ เป็นไฉน
สัญญาอย่างใดอย่างหนึ่ง๑ คือ สัญญาที่เป็นอดีต สัญญาที่เป็นอนาคต
สัญญาที่เป็นปัจจุบัน สัญญาที่เป็นภายในตน สัญญาที่เป็นภายนอกตน สัญญา
หยาบ สัญญาละเอียด สัญญาชั้นต่ำ สัญญาชั้นประณีต สัญญาไกล หรือสัญญา
ใกล้ ประมวลย่อเข้าเป็นกองเดียวกัน นี้เรียกว่า สัญญาขันธ์
[๑๕] ในสัญญาขันธ์นั้น สัญญาที่เป็นอดีต เป็นไฉน
สัญญาใดล่วงไปแล้ว ดับไปแล้ว ปราศจากไปแล้ว แปรไปแล้ว ถึงความดับ
แล้ว ถึงความดับสิ้นแล้ว ที่เกิดขึ้นปราศจากไปแล้ว ที่เป็นอดีต สงเคราะห์เข้ากับ
ส่วนอดีต ได้แก่ สัญญาที่เกิดแต่จักขุสัมผัส สัญญาที่เกิดแต่โสตสัมผัส สัญญาที่
เกิดแต่ฆานสัมผัส สัญญาที่เกิดแต่ชิวหาสัมผัส สัญญาที่เกิดแต่กายสัมผัส สัญญา
ที่เกิดแต่มโนสัมผัส นี้เรียกว่า สัญญาที่เป็นอดีต
สัญญาที่เป็นอนาคต เป็นไฉน
สัญญาใดยังไม่เกิด ยังไม่เป็น ยังไม่เกิดพร้อม ยังไม่บังเกิด ยังไม่บังเกิดเฉพาะ
ยังไม่ปรากฏ ยังไม่เกิดขึ้น ยังไม่เกิดขึ้นพร้อม ยังไม่ตั้งขึ้น ยังไม่ตั้งขึ้นพร้อม ที่
เป็นอนาคต สงเคราะห์เข้ากับส่วนอนาคต ได้แก่ สัญญาที่เกิดแต่จักขุสัมผัส ฯลฯ
สัญญาที่เกิดแต่มโนสัมผัส นี้เรียกว่า สัญญาที่เป็นอนาคต
สัญญาที่เป็นปัจจุบัน เป็นไฉน
สัญญาใดเกิดอยู่ เป็นอยู่ เกิดพร้อม บังเกิด บังเกิดเฉพาะ ปรากฏ เกิดขึ้น
เกิดขึ้นพร้อม ตั้งขึ้น ตั้งขึ้นพร้อม ที่เป็นปัจจุบัน สงเคราะห์เข้ากับส่วนปัจจุบัน
ได้แก่ สัญญาที่เกิดแต่จักขุสัมผัส ฯลฯ สัญญาที่เกิดแต่มโนสัมผัส นี้เรียกว่า
สัญญาที่เป็นปัจจุบัน
[๑๖] สัญญาที่เป็นภายในตน เป็นไฉน

เชิงอรรถ :
๑ หมายถึงสัญญาขันธ์ที่เป็นไปในภูมิ ๔ คือ กามภูมิ รูปภูมิ อรูปภูมิ และโลกุตตรภูมิ (อภิ.วิ.อ. ๑๔/๒๐)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๗ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑.ขันธวิภังค์] ๑.สุตตันตภาชนีย์ ๓.สัญญาขันธ์
สัญญาใดของสัตว์นั้น ๆ ที่เป็นภายในตน มีเฉพาะตน เกิดในตน มีเฉพาะ
บุคคล ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือ ได้แก่ สัญญาที่เกิดแต่จักขุ-
สัมผัส ฯลฯ สัญญาที่เกิดแต่มโนสัมผัส นี้เรียกว่า สัญญาที่เป็นภายในตน
สัญญาที่เป็นภายนอกตน เป็นไฉน
สัญญาใดของสัตว์อื่น ของบุคคลอื่นนั้น ๆ ที่เป็นภายในตน มีเฉพาะตน เกิด
ในตน มีเฉพาะบุคคล ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือ ได้แก่ สัญญา
ที่เกิดแต่จักขุสัมผัส ฯลฯ สัญญาที่เกิดแต่มโนสัมผัส นี้เรียกว่า สัญญาที่เป็นภาย
นอกตน
[๑๗] สัญญาหยาบ สัญญาละเอียด เป็นไฉน
สัญญาที่เกิดแต่ปฏิฆสัมผัส๑ (คือสัมผัสที่เกิดทางปัญจทวาร) เป็นสัญญาหยาบ
สัญญาที่เกิดแต่อธิวจนสัมผัส(คือสัมผัสที่เกิดทางมโนทวาร) เป็นสัญญาละเอียด
สัญญาที่เป็นอกุศลเป็นสัญญาหยาบ สัญญาที่เป็นกุศลและอัพยากฤตเป็นสัญญา
ละเอียด สัญญาที่เป็นกุศลและอกุศลเป็นสัญญาหยาบ สัญญาที่เป็นอัพยากฤตเป็น
สัญญาละเอียด สัญญาที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนาเป็นสัญญาหยาบ สัญญาที่สัมปยุต
ด้วยสุขเวทนาและอทุกขมสุขเวทนาเป็นสัญญาละเอียด สัญญาที่สัมปยุตด้วยสุข-
เวทนาและทุกขเวทนาเป็นสัญญาหยาบ สัญญาที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนาเป็น
สัญญาละเอียด สัญญาของผู้ไม่เข้าสมาบัติเป็นสัญญาหยาบ สัญญาของผู้เข้าสมาบัติ
เป็นสัญญาละเอียด สัญญาที่เป็นอารมณ์ของอาสวะเป็นสัญญาหยาบ สัญญาที่ไม่
เป็นอารมณ์ของอาสวะเป็นสัญญาละเอียด
พึงทราบสัญญาหยาบ สัญญาละเอียด โดยอาศัยเทียบเคียงสัญญานั้น ๆ เป็น
ชั้น ๆ ไป
[๑๘] สัญญาชั้นต่ำ สัญญาชั้นประณีต เป็นไฉน
สัญญาที่เป็นอกุศลเป็นสัญญาชั้นต่ำ สัญญาที่เป็นกุศลและอัพยากฤตเป็น
สัญญาชั้นประณีต สัญญาที่เป็นกุศลและอกุศลเป็นสัญญาชั้นต่ำ สัญญาที่เป็น

เชิงอรรถ :
๑ หมายถึงความสัมผัสถูกต้องกันแห่งรูปที่กระทบกันได้ เช่นจักขุปสาทกระทบกับรูปารมณ์เป็นต้น (อภิ.วิ.อ.
๑๗/๒๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๘ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑.ขันธวิภังค์] ๑.สุตตันตภาชนีย์ ๓.สัญญาขันธ์
อัพยากฤตเป็นสัญญาชั้นประณีต สัญญาที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนาเป็นสัญญาชั้นต่ำ
สัญญาที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาและอทุกขมสุขเวทนาเป็นสัญญาชั้นประณีต สัญญาที่
สัมปยุตด้วยสุขเวทนาและทุกขเวทนาเป็นสัญญาชั้นต่ำ สัญญาที่สัมปยุตด้วย
อทุกขมสุขเวทนาเป็นสัญญาชั้นประณีต สัญญาของผู้ไม่เข้าสมาบัติเป็นสัญญาชั้นต่ำ
สัญญาของผู้เข้าสมาบัติเป็นสัญญาชั้นประณีต สัญญาที่เป็นอารมณ์ของอาสวะเป็น
สัญญาชั้นต่ำ สัญญาที่ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะเป็นสัญญาชั้นประณีต
พึงทราบสัญญาชั้นต่ำ สัญญาชั้นประณีต โดยอาศัยเทียบเคียงสัญญานั้น ๆ
เป็นชั้น ๆ ไป
[๑๙] สัญญาไกล เป็นไฉน
สัญญาที่เป็นอกุศลเป็นสัญญาไกลจากสัญญาที่เป็นกุศลและอัพยากฤต
สัญญาที่เป็นกุศลและอัพยากฤตเป็นสัญญาไกลจากสัญญาที่เป็นอกุศล สัญญาที่
เป็นกุศลเป็นสัญญาไกลจากสัญญาที่เป็นอกุศลและอัพยากฤต สัญญาที่เป็นอกุศล
และอัพยากฤตเป็นสัญญาไกลจากสัญญาที่เป็นกุศล สัญญาที่เป็นอัพยากฤตเป็น
สัญญาไกลจากสัญญาที่เป็นกุศลและอกุศล สัญญาที่เป็นกุศลและอกุศลเป็นสัญญา
ไกลจากสัญญาที่เป็นอัพยากฤต สัญญาที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนาเป็นสัญญาไกล
จากสัญญาที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาและอทุกขมสุขเวทนา สัญญาที่สัมปยุตด้วยสุข
เวทนาและอทุกขมสุขเวทนาเป็นสัญญาไกลจากสัญญาที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนา
สัญญาที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาเป็นสัญญาไกลจากสัญญาที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนา
และอทุกขมสุขเวทนา สัญญาที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนาและอทุกขมสุขเวทนาเป็น
สัญญาไกลจากสัญญาที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนา สัญญาที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุข-
เวทนาเป็นสัญญาไกลจากสัญญาที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาและทุกขเวทนา สัญญาที่
สัมปยุตด้วยสุขเวทนาและทุกขเวทนาเป็นสัญญาไกลจากสัญญาที่สัมปยุตด้วย
อทุกขมสุขเวทนา สัญญาของผู้ไม่เข้าสมาบัติเป็นสัญญาไกลจากสัญญาของผู้เข้า
สมาบัติ สัญญาของผู้เข้าสมาบัติเป็นสัญญาไกลจากสัญญาของผู้ไม่เข้าสมาบัติ
สัญญาที่เป็นอารมณ์ของอาสวะเป็นสัญญาไกลจากสัญญาที่ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะ
สัญญาที่ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะเป็นสัญญาไกลจากสัญญาที่เป็นอารมณ์ของอาสวะ
นี้เรียกว่า สัญญาไกล


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๙ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑.ขันธวิภังค์] ๑.สุตตันตภาชนีย์ ๔.สังขารขันธ์
สัญญาใกล้ เป็นไฉน
สัญญาที่เป็นอกุศลเป็นสัญญาใกล้กับสัญญาที่เป็นอกุศล สัญญาที่เป็นกุศล
เป็นสัญญาใกล้กับสัญญาที่เป็นกุศล สัญญาที่เป็นอัพยากฤตเป็นสัญญาใกล้กับ
สัญญาที่เป็นอัพยากฤต สัญญาที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนาเป็นสัญญาใกล้กับสัญญา
ที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนา สัญญาที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาเป็นสัญญาใกล้กับสัญญา
ที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนา สัญญาที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนาเป็นสัญญาใกล้กับ
สัญญาที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา สัญญาของผู้ไม่เข้าสมาบัติเป็นสัญญาใกล้
กับสัญญาของผู้ไม่เข้าสมาบัติ สัญญาของผู้เข้าสมาบัติเป็นสัญญาใกล้กับสัญญาของ
ผู้เข้าสมาบัติ สัญญาที่เป็นอารมณ์ของอาสวะเป็นสัญญาใกล้กับสัญญาที่เป็น
อารมณ์ของอาสวะ สัญญาที่ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะเป็นสัญญาใกล้กับสัญญาที่ไม่
เป็นอารมณ์ของอาสวะ นี้เรียกว่า สัญญาใกล้
พึงทราบสัญญาไกล สัญญาใกล้ โดยอาศัยเทียบเคียงสัญญานั้น ๆ เป็น
ชั้น ๆ ไป

๔. สังขารขันธ์
[๒๐] บรรดาขันธ์ ๕ นั้น สังขารขันธ์ เป็นไฉน
สังขารเหล่าใดเหล่าหนึ่ง๑ คือ สังขารที่เป็นอดีต สังขารที่เป็นอนาคต สังขาร
ที่เป็นปัจจุบัน สังขารที่เป็นภายในตน สังขารที่เป็นภายนอกตน สังขารหยาบ สังขาร
ละเอียด สังขารชั้นต่ำ สังขารชั้นประณีต สังขารไกล หรือสังขารใกล้ ประมวลย่อเข้า
เป็นกองเดียวกัน นี้เรียกว่า สังขารขันธ์
[๒๑] ในสังขารขันธ์นั้น สังขารที่เป็นอดีต เป็นไฉน
สังขารเหล่าใดล่วงไปแล้ว ดับไปแล้ว ปราศจากไปแล้ว แปรไปแล้ว ถึงความ
ดับแล้ว ถึงความดับสิ้นแล้ว ที่เกิดขึ้นปราศจากไปแล้ว ที่เป็นอดีต สงเคราะห์เข้ากับ
ส่วนอดีต ได้แก่ เจตนาที่เกิดแต่จักขุสัมผัส เจตนาที่เกิดแต่โสตสัมผัส เจตนาที่เกิด
แต่ฆานสัมผัส เจตนาที่เกิดแต่ชิวหาสัมผัส เจตนาที่เกิดแต่กายสัมผัส เจตนาที่เกิด
แต่มโนสัมผัส เหล่านี้เรียกว่า สังขารที่เป็นอดีต

เชิงอรรถ :
๑ ได้แก่ที่เป็นไปในภูมิ ๔ คือ กามภูมิ รูปภูมิ อรูปภูมิ และโลกุตตรภูมิ (อภิ.วิ.อ. ๒๐/๒๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๑๐ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑.ขันธวิภังค์] ๑.สุตตันตภาชนีย์ ๔.สังขารขันธ์
สังขารที่เป็นอนาคต เป็นไฉน
สังขารเหล่าใดยังไม่เกิด ยังไม่เป็น ยังไม่เกิดพร้อม ยังไม่บังเกิด ยังไม่บังเกิด
เฉพาะ ยังไม่ปรากฏ ยังไม่เกิดขึ้น ยังไม่เกิดขึ้นพร้อม ยังไม่ตั้งขึ้น ยังไม่ตั้งขึ้นพร้อม
ที่เป็นอนาคต สงเคราะห์เข้ากับส่วนอนาคต ได้แก่ เจตนาที่เกิดแต่จักขุสัมผัส ฯลฯ
เจตนาที่เกิดแต่มโนสัมผัส เหล่านี้เรียกว่า สังขารที่เป็นอนาคต
สังขารที่เป็นปัจจุบัน เป็นไฉน
สังขารเหล่าใดเกิดอยู่ เป็นอยู่ เกิดพร้อม บังเกิด บังเกิดเฉพาะ ปรากฏ เกิด
ขึ้น เกิดขึ้นพร้อม ตั้งขึ้น ตั้งขึ้นพร้อม ที่เป็นปัจจุบัน สงเคราะห์เข้ากับส่วนปัจจุบัน
ได้แก่ เจตนาที่เกิดแต่จักขุสัมผัส ฯลฯ เจตนาที่เกิดแต่มโนสัมผัส เหล่านี้เรียกว่า
สังขารที่เป็นปัจจุบัน
[๒๒] สังขารที่เป็นภายในตน เป็นไฉน
สังขารเหล่าใดของสัตว์นั้น ๆ ที่เป็นภายในตน มีเฉพาะตน เกิดในตน มี
เฉพาะบุคคล ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือ ได้แก่ เจตนาที่เกิดแต่
จักขุสัมผัส ฯลฯ เจตนาที่เกิดแต่มโนสัมผัส เหล่านี้เรียกว่า สังขารที่เป็นภายในตน
สังขารที่เป็นภายนอกตน เป็นไฉน
สังขารเหล่าใดของสัตว์อื่น ของบุคคลอื่นนั้น ๆ ที่เป็นภายในตน มีเฉพาะตน
เกิดในตน มีเฉพาะบุคคล ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือ ได้แก่
เจตนาที่เกิดแต่จักขุสัมผัส ฯลฯ เจตนาที่เกิดแต่มโนสัมผัส เหล่านี้เรียกว่า สังขารที่
เป็นภายนอกตน
[๒๓] สังขารหยาบ สังขารละเอียด เป็นไฉน
สังขารที่เป็นอกุศลเป็นสังขารหยาบ สังขารที่เป็นกุศลและอัพยากฤตเป็น
สังขารละเอียด สังขารที่เป็นกุศลและอกุศลเป็นสังขารหยาบ สังขารที่เป็นอัพยากฤต
เป็นสังขารละเอียด สังขารที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนาเป็นสังขารหยาบ สังขารที่
สัมปยุตด้วยสุขเวทนาและอทุกขมสุขเวทนาเป็นสังขารละเอียด สังขารที่สัมปยุตด้วย
สุขเวทนาและทุกขเวทนาเป็นสังขารหยาบ สังขารที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา
เป็นสังขารละเอียด สังขารของผู้ไม่เข้าสมาบัติเป็นสังขารหยาบ สังขารของผู้เข้า
สมาบัติเป็นสังขารละเอียด สังขารที่เป็นอารมณ์ของอาสวะเป็นสังขารหยาบ
สังขารที่ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะเป็นสังขารละเอียด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๑๑ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑.ขันธวิภังค์] ๑.สุตตันตภาชนีย์ ๔.สังขารขันธ์
พึงทราบสังขารหยาบ สังขารละเอียด โดยอาศัยเทียบเคียงสังขารนั้น ๆ เป็น
ชั้น ๆ ไป
[๒๔] สังขารชั้นต่ำ สังขารชั้นประณีต เป็นไฉน
สังขารที่เป็นอกุศลเป็นสังขารชั้นต่ำ สังขารที่เป็นกุศลและอัพยากฤตเป็น
สังขารชั้นประณีต สังขารที่เป็นกุศลและอกุศลเป็นสังขารชั้นต่ำ สังขารที่เป็น
อัพยากฤตเป็นสังขารชั้นประณีต สังขารที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนาเป็นสังขารชั้นต่ำ
สังขารที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาและอทุกขมสุขเวทนาเป็นสังขารชั้นประณีต สังขารที่
สัมปยุตด้วยสุขเวทนาและทุกขเวทนาเป็นสังขารชั้นต่ำ สังขารที่สัมปยุตด้วยอทุกขม-
สุขเวทนาเป็นสังขารชั้นประณีต สังขารของผู้ไม่เข้าสมาบัติเป็นสังขารชั้นต่ำ สังขาร
ของผู้เข้าสมาบัติเป็นสังขารชั้นประณีต สังขารที่เป็นอารมณ์ของอาสวะเป็นสังขาร
ชั้นต่ำ สังขารที่ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะเป็นสังขารชั้นประณีต
พึงทราบสังขารชั้นต่ำ สังขารชั้นประณีต โดยอาศัยเทียบเคียงสังขารนั้น ๆ
เป็นชั้น ๆ ไป
[๒๕] สังขารไกล เป็นไฉน
สังขารที่เป็นอกุศลเป็นสังขารไกลจากสังขารที่เป็นกุศลและอัพยากฤต สังขาร
ที่เป็นกุศลและอัพยากฤตเป็นสังขารไกลจากสังขารที่เป็นอกุศล สังขารที่เป็นกุศล
เป็นสังขารไกลจากสังขารที่เป็นอกุศลและอัพยากฤต สังขารที่เป็นอกุศลและ
อัพยากฤตเป็นสังขารไกลจากสังขารที่เป็นกุศล สังขารที่เป็นอัพยากฤตเป็นสังขาร
ไกลจากสังขารที่เป็นกุศลและอกุศล สังขารที่เป็นกุศลและอกุศลเป็นสังขารไกลจาก
สังขารที่เป็นอัพยากฤต สังขารที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนาเป็นสังขารไกลจากสังขาร
ที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาและอทุกขมสุขเวทนา สังขารที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาและ
อทุกขมสุขเวทนาเป็นสังขารไกลจากสังขารที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนา สังขารที่
สัมปยุตด้วยสุขเวทนาเป็นสังขารไกลจากสังขารที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนาและอทุกขม-
สุขเวทนา สังขารที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนาและอทุกขมสุขเวทนาเป็นสังขารไกลจาก
สังขารที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนา สังขารที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนาเป็นสังขารไกล
จากสังขารที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาและทุกขเวทนา สังขารที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนา
และทุกขเวทนาเป็นสังขารไกลจากสังขารที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา สังขารของ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๑๒ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑.ขันธวิภังค์] ๑.สุตตันตภาชนีย์ ๕.วิญญาณขันธ์
ผู้ไม่เข้าสมาบัติเป็นสังขารไกลจากสังขารของผู้เข้าสมาบัติ สังขารของผู้เข้าสมาบัติ
เป็นสังขารไกลจากสังขารของผู้ไม่เข้าสมาบัติ สังขารที่เป็นอารมณ์ของอาสวะเป็น
สังขารไกลจากสังขารที่ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะ สังขารที่ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะ
เป็นสังขารไกลจากสังขารที่เป็นอารมณ์ของอาสวะ เหล่านี้เรียกว่า สังขารไกล
สังขารใกล้ เป็นไฉน
สังขารที่เป็นอกุศลเป็นสังขารใกล้กับสังขารที่เป็นอกุศล สังขารที่เป็นกุศลเป็น
สังขารใกล้กับสังขารที่เป็นกุศล สังขารที่เป็นอัพยากฤตเป็นสังขารใกล้กับสังขารที่
เป็นอัพยากฤต สังขารที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนาเป็นสังขารใกล้กับสังขารที่สัมปยุต
ด้วยทุกขเวทนา สังขารที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาเป็นสังขารใกล้กับสังขารที่สัมปยุต
ด้วยสุขเวทนา สังขารที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนาเป็นสังขารใกล้กับสังขารที่
สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา สังขารของผู้ไม่เข้าสมาบัติเป็นสังขารใกล้กับสังขาร
ของผู้ไม่เข้าสมาบัติ สังขารของผู้เข้าสมาบัติเป็นสังขารใกล้กับสังขารของผู้เข้า
สมาบัติ สังขารที่เป็นอารมณ์ของอาสวะเป็นสังขารใกล้กับสังขารที่เป็นอารมณ์ของ
อาสวะ สังขารที่ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะเป็นสังขารใกล้กับสังขารที่ไม่เป็นอารมณ์
ของอาสวะ เหล่านี้เรียกว่า สังขารใกล้
พึงทราบสังขารไกล สังขารใกล้ โดยอาศัยเทียบเคียงสังขารนั้น ๆ เป็นชั้น ๆ ไป

๕. วิญญาณขันธ์
[๒๖] บรรดาขันธ์ ๕ นั้น วิญญาณขันธ์ เป็นไฉน
วิญญาณอย่างใดอย่างหนึ่ง๑ คือ วิญญาณที่เป็นอดีต วิญญาณที่เป็นอนาคต
วิญญาณที่เป็นปัจจุบัน วิญญาณที่เป็นภายในตน วิญญาณที่เป็นภายนอกตน
วิญญาณหยาบ วิญญาณละเอียด วิญญาณชั้นต่ำ วิญญาณชั้นประณีต วิญญาณไกล
หรือวิญญาณใกล้ ประมวลย่อเข้าเป็นกองเดียวกัน นี้เรียกว่า วิญญาณขันธ์

เชิงอรรถ :
๑ ได้แก่ที่เป็นไปในภูมิ ๔ คือ กามภูมิ รูปภูมิ อรูปภูมิ และโลกุตตรภูมิ (อภิ.วิ.อ. ๒๖/๒๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๑๓ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑.ขันธวิภังค์] ๑.สุตตันตภาชนีย์ ๕.วิญญาณขันธ์
[๒๗] ในวิญญาณขันธ์นั้น วิญญาณที่เป็นอดีต เป็นไฉน
วิญญาณใดล่วงไปแล้ว ดับไปแล้ว ปราศจากไปแล้ว แปรไปแล้ว ถึงความดับแล้ว
ถึงความดับสิ้นแล้ว ที่เกิดขึ้นปราศจากไปแล้ว ที่เป็นอดีต สงเคราะห์เข้ากับส่วนอดีต
ได้แก่ จักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ
และมโนวิญญาณ นี้เรียกว่า วิญญาณที่เป็นอดีต
วิญญาณที่เป็นอนาคต เป็นไฉน
วิญญาณใดยังไม่เกิด ยังไม่เป็น ยังไม่เกิดพร้อม ยังไม่บังเกิด ยังไม่บังเกิด
เฉพาะ ยังไม่ปรากฏ ยังไม่เกิดขึ้น ยังไม่เกิดขึ้นพร้อม ยังไม่ตั้งขึ้น ยังไม่ตั้งขึ้นพร้อม
ที่เป็นอนาคต สงเคราะห์เข้ากับส่วนอนาคต ได้แก่ จักขุวิญญาณ ฯลฯ มโนวิญญาณ
นี้เรียกว่า วิญญาณที่เป็นอนาคต
วิญญาณที่เป็นปัจจุบัน เป็นไฉน
วิญญาณใดเกิดอยู่ เป็นอยู่ เกิดพร้อม บังเกิด บังเกิดเฉพาะ ปรากฏ เกิดขึ้น
เกิดขึ้นพร้อม ตั้งขึ้น ตั้งขึ้นพร้อม ที่เป็นปัจจุบัน สงเคราะห์เข้ากับส่วนปัจจุบัน
ได้แก่ จักขุวิญญาณ ฯลฯ มโนวิญญาณ นี้เรียกว่า วิญญาณที่เป็นปัจจุบัน
[๒๘] วิญญาณที่เป็นภายในตน เป็นไฉน
วิญญาณใด ของสัตว์นั้น ๆ ที่เป็นภายในตน มีเฉพาะตน เกิดในตน มีเฉพาะ
บุคคล ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือ ได้แก่ จักขุวิญญาณ ฯลฯ
มโนวิญญาณ นี้เรียกว่า วิญญาณที่เป็นภายในตน
วิญญาณที่เป็นภายนอกตน เป็นไฉน
วิญญาณใดของสัตว์อื่น ของบุคคลอื่นนั้น ๆ ที่เป็นภายในตน มีเฉพาะตน
เกิดในตน มีเฉพาะบุคคล ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือ ได้แก่
จักขุวิญญาณ ฯลฯ มโนวิญญาณ นี้เรียกว่า วิญญาณที่เป็นภายนอกตน
[๒๙] วิญญาณหยาบ วิญญาณละเอียด เป็นไฉน
วิญญาณที่เป็นอกุศลเป็นวิญญาณหยาบ วิญญาณที่เป็นกุศลและอัพยากฤต
เป็นวิญญาณละเอียด วิญญาณที่เป็นกุศลและอกุศลเป็นวิญญาณหยาบ วิญญาณที่
เป็นอัพยากฤตเป็นวิญญาณละเอียด วิญญาณที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนาเป็นวิญญาณ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๑๔ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑.ขันธวิภังค์] ๑.สุตตันตภาชนีย์ ๕.วิญญาณขันธ์
หยาบ วิญญาณที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาและอทุกขมสุขเวทนาเป็นวิญญาณละเอียด
วิญญาณที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาและทุกขเวทนาเป็นวิญญาณหยาบ วิญญาณที่
สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนาเป็นวิญญาณละเอียด วิญญาณของผู้ไม่เข้าสมาบัติเป็น
วิญญาณหยาบ วิญญาณของผู้เข้าสมาบัติเป็นวิญญาณละเอียด วิญญาณที่เป็น
อารมณ์ของอาสวะเป็นวิญญาณหยาบ วิญญาณที่ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะเป็น
วิญญาณละเอียด
พึงทราบวิญญาณหยาบ วิญญาณละเอียด โดยอาศัยเทียบเคียงวิญญาณนั้น ๆ
เป็นชั้น ๆ ไป
[๓๐] วิญญาณชั้นต่ำ วิญญาณชั้นประณีต เป็นไฉน
วิญญาณที่เป็นอกุศลเป็นวิญญาณชั้นต่ำ วิญญาณที่เป็นกุศลและอัพยากฤต
เป็นวิญญาณชั้นประณีต วิญญาณที่เป็นกุศลและอกุศลเป็นวิญญาณชั้นต่ำ วิญญาณ
ที่เป็นอัพยากฤตเป็นวิญญาณชั้นประณีต วิญญาณที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนาเป็น
วิญญาณชั้นต่ำ วิญญาณที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาและอทุกขมสุขเวทนาเป็นวิญญาณ
ชั้นประณีต วิญญาณที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาและทุกขเวทนาเป็นวิญญาณชั้นต่ำ
วิญญาณที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนาเป็นวิญญาณชั้นประณีต วิญญาณของผู้ไม่
เข้าสมาบัติเป็นวิญญาณชั้นต่ำ วิญญาณของผู้เข้าสมาบัติเป็นวิญญาณชั้นประณีต
วิญญาณที่เป็นอารมณ์ของอาสวะเป็นวิญญาณชั้นต่ำ วิญญาณที่ไม่เป็นอารมณ์ของ
อาสวะเป็นวิญญาณชั้นประณีต
พึงทราบวิญญาณชั้นต่ำ วิญญาณชั้นประณีต โดยอาศัยเทียบเคียงวิญญาณ
นั้น ๆ เป็นชั้น ๆ ไป
[๓๑] วิญญาณไกล เป็นไฉน
วิญญาณที่เป็นอกุศลเป็นวิญญาณไกลจากวิญญาณที่เป็นกุศลและอัพยากฤต
วิญญาณที่เป็นกุศลและอัพยากฤตเป็นวิญญาณไกลจากวิญญาณที่เป็นอกุศล วิญญาณ
ที่เป็นกุศลเป็นวิญญาณไกลจากวิญญาณที่เป็นอกุศลและอัพยากฤต วิญญาณที่เป็น
อกุศลและอัพยากฤตเป็นวิญญาณไกลจากวิญญาณที่เป็นกุศล วิญญาณที่เป็น
อัพยากฤตเป็นวิญญาณไกลจากวิญญาณที่เป็นกุศลและอกุศล วิญญาณที่เป็นกุศล
และอกุศลเป็นวิญญาณไกลจากวิญญาณที่เป็นอัพยากฤต วิญญาณที่สัมปยุตด้วย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๑๕ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑.ขันธวิภังค์] ๑.สุตตันตภาชนีย์ ๕.วิญญาณขันธ์
ทุกขเวทนาเป็นวิญญาณไกลจากวิญญาณที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนา และอทุกขมสุขเวทนา
วิญญาณที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาและอทุกขมสุขเวทนาเป็นวิญญาณไกลจากวิญญาณ
ที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนา วิญญาณที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาเป็นวิญญาณไกลจาก
วิญญาณที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนาและอทุกขมสุขเวทนา วิญญาณที่สัมปยุตด้วย
ทุกขเวทนาและอทุกขมสุขเวทนาเป็นวิญญาณไกลจากวิญญาณที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนา
วิญญาณที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนาเป็นวิญญาณไกลจากวิญญาณที่สัมปยุตด้วย
สุขเวทนาและทุกขเวทนา วิญญาณที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาและทุกขเวทนาเป็นวิญญาณ
ไกลจากวิญญาณที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา วิญญาณของผู้ไม่เข้าสมาบัติเป็น
วิญญาณไกลจากวิญญาณของผู้เข้าสมาบัติ วิญญาณของผู้เข้าสมาบัติเป็นวิญญาณ
ไกลจากวิญญาณของผู้ไม่เข้าสมาบัติ วิญญาณที่เป็นอารมณ์ของอาสวะเป็นวิญญาณ
ไกลจากวิญญาณที่ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะ วิญญาณที่ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะ
เป็นวิญญาณไกลจากวิญญาณที่เป็นอารมณ์ของอาสวะ นี้เรียกว่า วิญญาณไกล
วิญญาณใกล้ เป็นไฉน
วิญญาณที่เป็นอกุศลเป็นวิญญาณใกล้กับวิญญาณที่เป็นอกุศล วิญญาณที่เป็น
กุศลเป็นวิญญาณใกล้กับวิญญาณที่เป็นกุศล วิญญาณที่เป็นอัพยากฤตเป็นวิญญาณ
ใกล้กับวิญญาณที่เป็นอัพยากฤต วิญญาณที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนาเป็นวิญญาณ
ใกล้กับวิญญาณที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนา วิญญาณที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาเป็น
วิญญาณใกล้กับวิญญาณที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนา วิญญาณที่สัมปยุตด้วยอทุกขม-
สุขเวทนาเป็นวิญญาณใกล้กับวิญญาณที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา วิญญาณ
ของผู้ไม่เข้าสมาบัติเป็นวิญญาณใกล้กับวิญญาณของผู้ไม่เข้าสมาบัติ วิญญาณของผู้
เข้าสมาบัติเป็นวิญญาณใกล้กับวิญญาณของผู้เข้าสมาบัติ วิญญาณที่เป็นอารมณ์
ของอาสวะเป็นวิญญาณใกล้กับวิญญาณที่เป็นอารมณ์ของอาสวะ วิญญาณที่ไม่เป็น
อารมณ์ของอาสวะเป็นวิญญาณใกล้กับวิญญาณที่ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะ นี้เรียก
ว่า วิญญาณใกล้
พึงทราบวิญญาณไกล วิญญาณใกล้ โดยอาศัยเทียบเคียงวิญญาณนั้น ๆ เป็น
ชั้น ๆ ไป
สุตตันตภาชนีย์ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๑๖ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑.ขันธวิภังค์] ๒.อภิธรรมภาชนีย์ ๑.รูปขันธ์
๒. อภิธรรมภาชนีย์
[๓๒] ขันธ์ ๕ คือ

๑. รูปขันธ์ (กองรูป)
๒. เวทนาขันธ์ (กองเวทนา)
๓. สัญญาขันธ์ (กองสัญญา)
๔. สังขารขันธ์ (กองสังขาร)
๕. วิญญาณขันธ์ (กองวิญญาณ)

๑. รูปขันธ์
[๓๓] บรรดาขันธ์ ๕ นั้น รูปขันธ์ เป็นไฉน
รูปขันธ์หมวดละ ๑ ได้แก่ รูปทั้งหมด ไม่เป็นเหตุ ไม่มีเหตุ วิปปยุตจากเหตุ
มีปัจจัยปรุงแต่ง ถูกปัจจัยปรุงแต่ง เป็นรูป เป็นโลกิยะ เป็นอารมณ์ของอาสวะ เป็น
อารมณ์ของสังโยชน์ เป็นอารมณ์ของคันถะ เป็นอารมณ์ของโอฆะ เป็นอารมณ์ของ
โยคะ เป็นอารมณ์ของนิวรณ์ เป็นอารมณ์ของปรามาส เป็นอารมณ์ของอุปาทาน
เป็นอารมณ์ของกิเลส เป็นอัพยากฤต รับรู้อารมณ์ไม่ได้ ไม่เป็นเจตสิก วิปปยุตจาก
จิต ไม่เป็นวิบากและไม่เป็นเหตุให้เกิดวิบาก กิเลสไม่ทำให้เศร้าหมองแต่เป็นอารมณ์
ของกิเลส ไม่ใช่มีทั้งวิตกและวิจาร ไม่ใช่ไม่มีวิตกมีเพียงวิจาร ไม่มีทั้งวิตกและวิจาร
ไม่สหรคตด้วยปีติ ไม่สหรคตด้วยสุข ไม่สหรคตด้วยอุเบกขา ไม่ต้องประหาณด้วย
โสดาปัตติมรรคและมรรคเบื้องบน ๓ ไม่มีเหตุต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคและ
มรรคเบื้องบน ๓ ไม่เป็นเหตุให้ถึงปฏิสนธิ จุติ และนิพพาน ไม่เป็นของเสขบุคคล
และอเสขบุคคล เป็นปริตตะ เป็นกามาวจร ไม่เป็นรูปาวจร ไม่เป็นอรูปาวจร นับ
เนื่องในวัฏฏทุกข์ ไม่ใช่ไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ เป็นสภาวะไม่แน่นอน ไม่เป็นเหตุ
นำออกจากวัฏฏทุกข์ เป็นธรรมที่เกิดขึ้น อันวิญญาณ ๖ รู้ได้ เป็นของไม่เที่ยง ถูก
ชราครอบงำ๑
รูปขันธ์หมวดละ ๑ มีด้วยอาการอย่างนี้๒

เชิงอรรถ :
๑ นับเนื่องในวัฏฏะที่เป็นไปในภูมิ ๓ คือ กามภูมิ รูปภูมิ และอรูปภูมิ (อภิ.สงฺ.อ. ๘๓-๑๐๐/๙๗)
๒ อภิ.สงฺ. ๓๔/๕๘๔/๑๖๘-๑๖๙,๕๙๔/๑๘๑

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๑๗ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑.ขันธวิภังค์] ๒.อภิธรรมภาชนีย์ ๑.รูปขันธ์
ทุกนัย
ปกิณณกทุกะ
รูปขันธ์หมวดละ ๒ ได้แก่ รูปที่เป็นอุปาทายรูปก็มี ที่ไม่เป็นอุปาทายรูปก็มี
รูปที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือก็มี๑ ที่กรรมอันประกอบด้วย
ตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือก็มี
รูปที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือและเป็นอารมณ์ของอุปาทานก็มี
ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือแต่เป็นอารมณ์ของอุปาทานก็มี
รูปที่เห็นได้ก็มี ที่เห็นไม่ได้ก็มี
รูปที่กระทบได้ก็มี ที่กระทบไม่ได้ก็มี
รูปที่เป็นอินทรีย์ก็มี ที่ไม่เป็นอินทรีย์ก็มี
รูปที่เป็นมหาภูตรูปก็มี ที่ไม่เป็นมหาภูตรูปก็มี
รูปที่เป็นวิญญัตติรูปก็มี ที่ไม่เป็นวิญญัตติรูปก็มี
รูปที่มีจิตเป็นสมุฏฐานก็มี ที่ไม่มีจิตเป็นสมุฏฐานก็มี
รูปที่เกิดพร้อมกับจิตก็มี ที่ไม่เกิดพร้อมกับจิตก็มี
รูปที่เป็นไปตามจิตก็มี ที่ไม่เป็นไปตามจิตก็มี
รูปที่เป็นภายในก็มี ที่เป็นภายนอกก็มี
รูปที่หยาบก็มี ที่ละเอียดก็มี
รูปที่ไกลก็มี ที่ใกล้ก็มี ฯลฯ
รูปที่เป็นกวฬิงการาหารก็มี ที่ไม่เป็นกวฬิงการาหารก็มี๒
รูปขันธ์หมวดละ ๒ มีด้วยอาการอย่างนี้๓
(ในที่นี้ก็พึงจำแนกรูปขันธ์ที่เหลือเหมือนในรูปกัณฑ์)
สุขุมรูปทุกะ จบ

เชิงอรรถ :
๑ ตรงกับคำบาลีว่า อุปาทินฺน (อภิ.สงฺ.อ. ๔/๙๐)
๒ คำว่า กวฬิงการาหาร หมายถึงอาหารที่ทำเป็นคำกลืนกิน (อภิ.สงฺ.อ. ๖๔๕/๓๘๘)
๓ อภิ.สงฺ. ๓๔/๕๘๔/๑๖๘-๑๗๑

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๑๘ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑.ขันธวิภังค์] ๒.อภิธรรมภาชนีย์ ๑.รูปขันธ์
ติกนัย
ปกิณณกติกะ
อัชฌัตติกอุปาทาติกะ
รูปขันธ์หมวดละ ๓ ได้แก่ รูปที่เป็นภายในเป็นอุปาทายรูป รูปที่เป็นภาย
นอกที่เป็นอุปาทายรูปก็มี ที่ไม่เป็นอุปาทายรูปก็มี

อัชฌัตติกอุปาทินนติกะ
รูปที่เป็นภายในเป็นรูปที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือ รูปที่เป็น
ภายนอกที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือก็มี ที่กรรมอันประกอบด้วย
ตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือก็มี
รูปที่เป็นภายในเป็นรูปที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือและเป็น
อารมณ์ของอุปาทาน รูปที่เป็นภายนอกที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึด
ถือและเป็นอารมณ์ของอุปาทานก็มี ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือ
แต่เป็นอารมณ์ของอุปาทานก็มี

ฯลฯ
รูปที่เป็นภายในไม่เป็นกวฬิงการาหาร รูปที่เป็นภายนอกที่เป็นกวฬิงการาหาร
ก็มี ที่ไม่เป็นกวฬิงการาหารก็มี๑
รูปขันธ์หมวดละ ๓ มีด้วยอาการอย่างนี้

สุขุมรูปติกะ จบ

เชิงอรรถ :
๑ อภิ.สงฺ. ๓๔/๕๘๕/๑๗๑-๑๗๖

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๑๙ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑.ขันธวิภังค์] ๒.อภิธรรมภาชนีย์ ๑.รูปขันธ์
จตุกกนัย
อุปาทินนจตุกกะ
รูปขันธ์หมวดละ ๔ ได้แก่ รูปที่เป็นอุปาทายรูป ที่กรรมอันประกอบด้วย
ตัณหาและทิฏฐิยึดถือก็มี ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือก็มี รูปที่
ไม่เป็นอุปาทายรูป ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือก็มี ที่กรรมอัน
ประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือก็มี

อุปาทาอุปาทินนุปาทานิยจตุกกะ
รูปที่เป็นอุปาทายรูปที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือและเป็น
อารมณ์ของอุปาทานก็มี ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือแต่เป็น
อารมณ์ของอุปาทานก็มี รูปที่ไม่เป็นอุปาทายรูปที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและ
ทิฏฐิยึดถือและเป็นอารมณ์ของอุปาทานก็มี ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิ
ไม่ยึดถือแต่เป็นอารมณ์ของอุปาทานก็มี

อุปาทาสัปปฏิฆจตุกกะ
รูปที่เป็นอุปาทายรูปที่กระทบได้ก็มี ที่กระทบไม่ได้ก็มี รูปที่ไม่เป็นอุปาทายรูป
ที่กระทบได้ก็มี ที่กระทบไม่ได้ก็มี

อุปาทาโอฬาริกจตุกกะ
รูปที่เป็นอุปาทายรูปที่เป็นรูปหยาบก็มี ที่เป็นรูปละเอียดก็มี รูปที่ไม่เป็น
อุปาทายรูปที่เป็นรูปหยาบก็มี ที่เป็นรูปละเอียดก็มี

อุปาทาทูเรจตุกกะ
รูปที่เป็นอุปาทายรูปที่เป็นรูปไกลก็มี ที่เป็นรูปใกล้ก็มี รูปที่ไม่เป็นอุปาทายรูป
ที่เป็นรูปไกลก็มี ที่เป็นรูปใกล้ก็มี
ฯลฯ

ทิฏฐาทิจตุกกะ
รูปเป็นรูปที่เห็นได้ เป็นรูปที่สดับได้ เป็นรูปที่รู้ได้ เป็นรูปที่รู้แจ้งได้
รูปขันธ์หมวดละ ๔ มีด้วยอาการอย่างนี้๑

เชิงอรรถ :
๑ อภิ.สงฺ. ๓๔/๕๘๖/๑๗๖-๑๗๘

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๒๐ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑.ขันธวิภังค์] ๒.อภิธรรมภาชนีย์ ๑.รูปขันธ์
ปัญจกนัย
รูปขันธ์หมวดละ ๕ ได้แก่ รูปที่เป็นปฐวีธาตุ รูปที่เป็นอาโปธาตุ รูปที่เป็น
เตโชธาตุ รูปที่เป็นวาโยธาตุ รูปที่เป็นอุปาทายรูป
รูปขันธ์หมวดละ ๕ มีด้วยอาการอย่างนี้๑

ฉักกนัย
รูปขันธ์หมวดละ ๖ ได้แก่ รูปที่จักขุวิญญาณรู้ได้ รูปที่โสตวิญญาณรู้ได้ รูปที่
ฆานวิญญาณรู้ได้ รูปที่ชิวหาวิญญาณรู้ได้ รูปที่กายวิญญาณรู้ได้ รูปที่มโนวิญญาณ
รู้ได้
รูปขันธ์หมวดละ ๖ มีด้วยอาการอย่างนี้๒

สัตตกนัย
รูปขันธ์หมวดละ ๗ ได้แก่ รูปที่จักขุวิญญาณรู้ได้ ฯลฯ รูปที่มโนธาตุรู้ได้
รูปที่มโนวิญญาณธาตุรู้ได้
รูปขันธ์หมวดละ ๗ มีด้วยอาการอย่างนี้๓

อัฏฐกนัย
รูปขันธ์หมวดละ ๘ ได้แก่ รูปที่จักขุวิญญาณรู้ได้ ฯลฯ รูปที่กายวิญญาณ
รู้ได้ ที่มีสัมผัสเป็นสุขก็มี ที่มีสัมผัสเป็นทุกข์ก็มี รูปที่มโนธาตุรู้ได้ รูปที่มโน-
วิญาณธาตุรู้ได้
รูปขันธ์หมวดละ ๘ มีด้วยอาการอย่างนี้๔

เชิงอรรถ :
๑ อภิ.สงฺ. ๓๔/๕๘๗/๑๗๘ ๒ อภิ.สงฺ. ๓๔/๕๘๘/๑๗๙
๓ อภิ.สงฺ. ๓๔/๕๘๙/๑๗๙ ๔ อภิ.สงฺ. ๓๔/๕๙๐/๑๗๙

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๒๑ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑.ขันธวิภังค์] ๒.อภิธรรมภาชนีย์ ๒.เวทนาขันธ์
นวกนัย
รูปขันธ์หมวดละ ๙ ได้แก่ รูปที่เป็นจักขุนทรีย์ โสตินทรีย์ ฆานินทรีย์
ชิวหินทรีย์ กายินทรีย์ อิตถินทรีย์ ปุริสินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ และรูปที่ไม่เป็นอินทรีย์
รูปขันธ์หมวดละ ๙ มีด้วยอาการอย่างนี้๑

ทสกนัย
รูปขันธ์หมวดละ ๑๐ ได้แก่ รูปที่เป็นจักขุนทรีย์ ฯลฯ ชีวิตินทรีย์ และรูป
ที่ไม่เป็นอินทรีย์ ที่กระทบได้ก็มี ที่กระทบไม่ได้ก็มี
รูปขันธ์หมวดละ ๑๐ มีด้วยอาการอย่างนี้๒

เอกาทสกนัย
รูปขันธ์หมวดละ ๑๑ ได้แก่ รูปที่เป็นจักขายตนะ โสตายตนะ ฆานายตนะ
ชิวหายตนะ กายายตนะ รูปายตนะ สัททายตนะ คันธายตนะ รสายตนะ
โผฏฐัพพายตนะ และรูปที่เห็นไม่ได้และกระทบไม่ได้ ซึ่งนับเนื่องในธัมมายตนะ
รูปขันธ์หมวดละ ๑๑ มีด้วยอาการอย่างนี้๓
นี้เรียกว่า รูปขันธ์

๒. เวทนาขันธ์
ทุกมูลกวาร
[๓๔] บรรดาขันธ์ ๕ นั้น เวทนาขันธ์ เป็นไฉน
เวทนาขันธ์หมวดละ ๑ ได้แก่ เวทนาขันธ์ที่สัมปยุตด้วยผัสสะ
เวทนาขันธ์หมวดละ ๒ ได้แก่ เวทนาขันธ์ที่มีเหตุก็มี ที่ไม่มีเหตุก็มี

เชิงอรรถ :
๑ อภิ.สงฺ. ๓๔/๕๙๑/๑๘๐ ๒ อภิ.สงฺ. ๓๔/๕๙๒/๑๘๐
๓ อภิ.สงฺ. ๓๔/๕๙๓/๑๘๐

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๒๒ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑.ขันธวิภังค์] ๒.อภิธรรมภาชนีย์ ๒.เวทนาขันธ์
เวทนาขันธ์หมวดละ ๓ ได้แก่ เวทนาขันธ์ที่เป็นกุศลก็มี ที่เป็นอกุศลก็มี
ที่เป็นอัพยากฤตก็มี
เวทนาขันธ์หมวดละ ๔ ได้แก่ เวทนาขันธ์ที่เป็นกามาวจรก็มี ที่เป็น
รูปาวจรก็มี ที่เป็นอรูปาวจรก็มี ที่ไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ก็มี
เวทนาขันธ์หมวดละ ๕ ได้แก่ เวทนาขันธ์ที่เป็นสุขินทรีย์ก็มี ที่เป็น
ทุกขินทรีย์ก็มี ที่เป็นโสมนัสสินทรีย์ก็มี ที่เป็นโทมนัสสินทรีย์ก็มี ที่เป็นอุเปกขินทรีย์
ก็มี
เวทนาขันธ์หมวดละ ๕ มีด้วยอาการอย่างนี้
เวทนาขันธ์หมวดละ ๖ ได้แก่ เวทนาที่เกิดแต่จักขุสัมผัส เวทนาที่เกิดแต่
โสตสัมผัส เวทนาที่เกิดแต่ฆานสัมผัส เวทนาที่เกิดแต่ชิวหาสัมผัส เวทนาที่เกิด
แต่กายสัมผัส เวทนาที่เกิดแต่มโนสัมผัส๑
เวทนาขันธ์หมวดละ ๖ มีด้วยอาการอย่างนี้
เวทนาขันธ์หมวดละ ๗ ได้แก่ เวทนาที่เกิดแต่จักขุสัมผัส ฯลฯ เวทนาที่เกิด
แต่กายสัมผัส เวทนาที่เกิดแต่มโนธาตุสัมผัส เวทนาที่เกิดแต่มโนวิญญาณธาตุ-
สัมผัส
เวทนาขันธ์หมวดละ ๗ มีด้วยอาการอย่างนี้
เวทนาขันธ์หมวดละ ๘ ได้แก่ เวทนาที่เกิดแต่จักขุสัมผัส ฯลฯ เวทนาที่
เกิดแต่กายสัมผัส ที่เป็นสุขก็มี ที่เป็นทุกข์ก็มี เวทนาที่เกิดแต่มโนธาตุสัมผัส
เวทนาที่เกิดแต่มโนวิญญาณธาตุสัมผัส
เวทนาขันธ์หมวดละ ๘ มีด้วยอาการอย่างนี้
เวทนาขันธ์หมวดละ ๙ ได้แก่ เวทนาที่เกิดแต่จักขุสัมผัส ฯลฯ เวทนา
ที่เกิดแต่กายสัมผัส เวทนาที่เกิดแต่มโนธาตุสัมผัส เวทนาที่เกิดแต่มโนวิญญาณ-
ธาตุสัมผัส ที่เป็นกุศลก็มี ที่เป็นอกุศลก็มี ที่เป็นอัพยากฤตก็มี
เวทนาขันธ์หมวดละ ๙ มีด้วยอาการอย่างนี้

เชิงอรรถ :
๑ ที.ปา. ๑๑/๓๒๓/๒๑๕, ม.มู. ๑๒/๙๗/๗๐, สํ.นิ. ๑๖/๒/๓, สํ.ข. ๑๗/๕๖/๔๙

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๒๓ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑.ขันธวิภังค์] ๒.อภิธรรมภาชนีย์ ๒.เวทนาขันธ์
เวทนาขันธ์หมวดละ ๑๐ ได้แก่ เวทนาที่เกิดแต่จักขุสัมผัส ฯลฯ เวทนา
ที่เกิดแต่กายสัมผัส ที่เป็นสุขก็มี ที่เป็นทุกข์ก็มี เวทนาที่เกิดแต่มโนธาตุสัมผัส
เวทนาที่เกิดแต่มโนวิญญาณธาตุสัมผัส ที่เป็นกุศลก็มี ที่เป็นอกุศลก็มี ที่เป็น
อัพยากฤตก็มี
เวทนาขันธ์หมวดละ ๑๐ มีด้วยอาการอย่างนี้
[๓๕] เวทนาขันธ์หมวดละ ๑ ได้แก่ เวทนาขันธ์ที่สัมปยุตด้วยผัสสะ
เวทนาขันธ์หมวดละ ๒ ได้แก่ เวทนาขันธ์ที่มีเหตุก็มี ที่ไม่มีเหตุก็มี
เวทนาขันธ์หมวดละ ๓ ได้แก่ เวทนาขันธ์ที่เป็นวิบากก็มี ที่เป็นเหตุให้เกิด
วิบากก็มี ที่ไม่เป็นวิบากและไม่เป็นเหตุให้เกิดวิบากก็มี
เวทนาขันธ์ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือและเป็นอารมณ์ของ
อุปาทานก็มี ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือแต่เป็นอารมณ์ของ
อุปาทานก็มี ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือและไม่เป็นอารมณ์
ของอุปาทานก็มี
เวทนาขันธ์ที่กิเลสทำให้เศร้าหมองและเป็นอารมณ์ของกิเลสก็มี ที่กิเลสไม่
ทำให้เศร้าหมองแต่เป็นอารมณ์ของกิเลสก็มี ที่กิเลสไม่ทำให้เศร้าหมองและไม่เป็น
อารมณ์ของกิเลสก็มี
เวทนาขันธ์ที่มีทั้งวิตกและวิจารก็มี ที่ไม่มีวิตกมีเพียงวิจารก็มี ที่ไม่มีทั้งวิตก
และวิจารก็มี
เวทนาขันธ์ที่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคก็มี๑ ที่ต้องประหาณด้วยมรรค
เบื้องบน ๓ ก็มี๒ ที่ไม่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคและมรรคเบื้องบน ๓ ก็มี
เวทนาขันธ์ที่มีเหตุต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคก็มี ที่มีเหตุต้องประหาณ
ด้วยมรรคเบื้องบน ๓ ก็มี ที่ไม่มีเหตุต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคและมรรค
เบื้องบน ๓ ก็มี

เชิงอรรถ :
๑ ตรงกับบาลีว่า ทสฺสเนน ปหาตพฺพ หมายถึงธรรมที่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรค (อภิ.สงฺ.อ. ๘/๙๐)
๒ ตรงกับบาลีว่า ภาวนาย ปหาตพฺพ หมายถึงธรรมที่ต้องประหาณด้วยมรรคเบื้องบน ๓ (อภิ.สงฺ.อ. ๘/๙๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๒๔ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑.ขันธวิภังค์] ๒.อภิธรรมภาชนีย์ ๒.เวทนาขันธ์
เวทนาขันธ์ที่เป็นเหตุให้ถึงปฏิสนธิและจุติก็มี๑ ที่เป็นเหตุให้ถึงนิพพานก็มี๒ ที่
ไม่เป็นเหตุให้ถึงปฏิสนธิ จุติ และนิพพานก็มี
เวทนาขันธ์ที่เป็นของเสขบุคคลก็มี ที่เป็นของอเสขบุคคลก็มี ที่ไม่เป็นของ
เสขบุคคลและอเสขบุคคลก็มี
เวทนาขันธ์ที่เป็นปริตตะ(กามาวจร)ก็มี ที่เป็นมหัคคตะ(รูปาวจรและอรูปาวจร)
ก็มี ที่เป็นอัปปมาณะ(โลกุตตระ)ก็มี
เวทนาขันธ์ที่มีปริตตะเป็นอารมณ์ก็มี ที่มีมหัคคตะเป็นอารมณ์ก็มี ที่มี
อัปปมาณะเป็นอารมณ์ก็มี
เวทนาขันธ์ที่เป็นชั้นต่ำก็มี ที่เป็นชั้นกลางก็มี ที่เป็นชั้นประณีตก็มี
เวทนาขันธ์ที่มีสภาวะผิดและให้ผลแน่นอนก็มี ที่มีสภาวะชอบและให้ผลแน่นอน
ก็มี ที่ไม่แน่นอนโดยอาการทั้งสองนั้นก็มี
เวทนาขันธ์ที่มีมรรคเป็นอารมณ์ก็มี ที่มีมรรคเป็นเหตุก็มี ที่มีมรรคเป็นอธิบดี
ก็มี
เวทนาขันธ์ที่เกิดขึ้นก็มี ที่ยังไม่เกิดขึ้นก็มี ที่จักเกิดขึ้นแน่นอนก็มี๓
เวทนาขันธ์ที่เป็นอดีตก็มี ที่เป็นอนาคตก็มี ที่เป็นปัจจุบันก็มี
เวทนาขันธ์ที่มีอดีตธรรมเป็นอารมณ์ก็มี ที่มีอนาคตธรรมเป็นอารมณ์ก็มี ที่มี
ปัจจุบันธรรมเป็นอารมณ์ก็มี
เวทนาขันธ์ที่เป็นภายในตนก็มี ที่เป็นภายนอกตนก็มี ที่เป็นภายในตนและ
ภายนอกตนก็มี
เวทนาขันธ์ที่มีธรรมภายในตนเป็นอารมณ์ก็มี ที่มีธรรมภายนอกตนเป็นอารมณ์
ก็มี ที่มีธรรมภายในตนและภายนอกตนเป็นอารมณ์ก็มี
ฯลฯ
เวทนาขันธ์หมวดละ ๑๐ มีด้วยอาการอย่างนี้

เชิงอรรถ :
๑ ตรงกับบาลีว่า อาจยคามิ หมายถึงธรรมเป็นเหตุให้ถึงปฏิสนธิและจุติ (อภิ.สงฺ.อ. ๑๐/๙๑)
๒ ตรงกับบาลีว่า อปจยคามิ หมายถึงธรรมที่เป็นเหตุให้ถึงนิพพาน (อภิ.สงฺ.อ. ๑๐/๙๑)
๓ อภิ.สงฺ.อ. ๑๗/๙๓

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๒๕ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑.ขันธวิภังค์] ๒.อภิธรรมภาชนีย์ ๒.เวทนาขันธ์
[๓๖] เวทนาขันธ์หมวดละ ๑ ได้แก่ เวทนาขันธ์ที่สัมปยุตด้วยผัสสะ
เวทนาขันธ์หมวดละ ๒ ได้แก่ เวทนาขันธ์ที่สัมปยุตด้วยเหตุก็มี ที่วิปปยุต
จากเหตุก็มี
เวทนาขันธ์ที่ไม่เป็นเหตุแต่มีเหตุก็มี ที่ไม่เป็นเหตุและไม่มีเหตุก็มี
เวทนาขันธ์ที่เป็นโลกิยะก็มี ที่เป็นโลกุตตระก็มี
เวทนาขันธ์ที่จิตบางดวงรู้ได้ก็มี ที่จิตบางดวงรู้ไม่ได้ก็มี
เวทนาขันธ์ที่เป็นอารมณ์ของอาสวะก็มี ที่ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะก็มี
เวทนาขันธ์ที่สัมปยุตด้วยอาสวะก็มี ที่วิปปยุตจากอาสวะก็มี
เวทนาขันธ์ที่วิปปยุตจากอาสวะแต่เป็นอารมณ์ของอาสวะก็มี ที่วิปปยุตจาก
อาสวะและไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะก็มี
เวทนาขันธ์ที่เป็นอารมณ์ของสังโยชน์ก็มี ที่ไม่เป็นอารมณ์ของสังโยชน์ก็มี
เวทนาขันธ์ที่สัมปยุตด้วยสังโยชน์ก็มี ที่วิปปยุตจากสังโยชน์ก็มี
เวทนาขันธ์ที่วิปปยุตจากสังโยชน์แต่เป็นอารมณ์ของสังโยชน์ก็มี ที่วิปปยุตจาก
สังโยชน์และไม่เป็นอารมณ์ของสังโยชน์ก็มี
เวทนาขันธ์ที่เป็นอารมณ์ของคันถะก็มี ที่ไม่เป็นอารมณ์ของคันถะก็มี
เวทนาขันธ์ที่สัมปยุตด้วยคันถะก็มี ที่วิปปยุตจากคันถะก็มี
เวทนาขันธ์ที่วิปปยุตจากคันถะแต่เป็นอารมณ์ของคันถะก็มี ที่วิปปยุตจาก
คันถะและไม่เป็นอารมณ์ของคันถะก็มี
เวทนาขันธ์ที่เป็นอารมณ์ของโอฆะก็มี ที่ไม่เป็นอารมณ์ของโอฆะก็มี
เวทนาขันธ์ที่สัมปยุตด้วยโอฆะก็มี ที่วิปปยุตจากโอฆะก็มี
เวทนาขันธ์ที่วิปปยุตจากโอฆะแต่เป็นอารมณ์ของโอฆะก็มี ที่วิปปยุตจากโอฆะ
และไม่เป็นอารมณ์ของโอฆะก็มี
เวทนาขันธ์ที่เป็นอารมณ์ของโยคะก็มี ที่ไม่เป็นอารมณ์ของโยคะก็มี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๒๖ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑.ขันธวิภังค์] ๒.อภิธรรมภาชนีย์ ๒.เวทนาขันธ์
เวทนาขันธ์ที่สัมปยุตด้วยโยคะก็มี ที่วิปปยุตจากโยคะก็มี
เวทนาขันธ์ที่วิปปยุตจากโยคะแต่เป็นอารมณ์ของโยคะก็มี ที่วิปปยุตจากโยคะ
และไม่เป็นอารมณ์ของโยคะก็มี
เวทนาขันธ์ที่เป็นอารมณ์ของนิวรณ์ก็มี ที่ไม่เป็นอารมณ์ของนิวรณ์ก็มี
เวทนาขันธ์ที่สัมปยุตด้วยนิวรณ์ก็มี ที่วิปปยุตจากนิวรณ์ก็มี
เวทนาขันธ์ที่วิปปยุตจากนิวรณ์แต่เป็นอารมณ์ของนิวรณ์ก็มี ที่วิปปยุตจาก
นิวรณ์และไม่เป็นอารมณ์ของนิวรณ์ก็มี
เวทนาขันธ์ที่เป็นอารมณ์ของปรามาสก็มี ที่ไม่เป็นอารมณ์ของปรามาสก็มี
เวทนาขันธ์ที่สัมปยุตด้วยปรามาสก็มี ที่วิปปยุตจากปรามาสก็มี
เวทนาขันธ์ที่วิปปยุตจากปรามาสแต่เป็นอารมณ์ของปรามาสก็มี ที่วิปปยุต
จากปรามาสและไม่เป็นอารมณ์ของปรามาสก็มี
เวทนาขันธ์ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือก็มี ที่กรรมอัน
ประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือก็มี
เวทนาขันธ์ที่เป็นอารมณ์ของอุปาทานก็มี ที่ไม่เป็นอารมณ์ของอุปาทานก็มี
เวทนาขันธ์ที่สัมปยุตด้วยอุปาทานก็มี ที่วิปปยุตจากอุปาทานก็มี
เวทนาขันธ์ที่วิปปยุตจากอุปาทานแต่เป็นอารมณ์ของอุปาทานก็มี ที่วิปปยุต
จากอุปาทานและไม่เป็นอารมณ์ของอุปาทานก็มี
เวทนาขันธ์ที่เป็นอารมณ์ของกิเลสก็มี ที่ไม่เป็นอารมณ์ของกิเลสก็มี
เวทนาขันธ์ที่กิเลสทำให้เศร้าหมองก็มี ที่กิเลสไม่ทำให้เศร้าหมองก็มี
เวทนาขันธ์ที่สัมปยุตด้วยกิเลสก็มี ที่วิปปยุตจากกิเลสก็มี
เวทนาขันธ์ที่วิปปยุตจากกิเลสแต่เป็นอารมณ์ของกิเลสก็มี ที่วิปปยุตจากกิเลส
และไม่เป็นอารมณ์ของกิเลสก็มี
เวทนาขันธ์ที่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคก็มี ที่ไม่ต้องประหาณด้วย
โสดาปัตติมรรคก็มี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๒๗ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑.ขันธวิภังค์] ๒.อภิธรรมภาชนีย์ ๒.เวทนาขันธ์
เวทนาขันธ์ที่ต้องประหาณด้วยมรรคเบื้องบน ๓ ก็มี ที่ไม่ต้องประหาณด้วย
มรรคเบื้องบน ๓ ก็มี
เวทนาขันธ์ที่มีเหตุต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคก็มี ที่ไม่มีเหตุต้อง
ประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคก็มี
เวทนาขันธ์ที่มีเหตุต้องประหาณด้วยมรรคเบื้องบน ๓ ก็มี ที่ไม่มีเหตุต้อง
ประหาณด้วยมรรคเบื้องบน ๓ ก็มี
เวทนาขันธ์ที่มีวิตกก็มี ที่ไม่มีวิตกก็มี
เวทนาขันธ์ที่มีวิจารก็มี ที่ไม่มีวิจารก็มี
เวทนาขันธ์ที่มีปีติก็มี ที่ไม่มีปีติก็มี
เวทนาขันธ์ที่สหรคตด้วยปีติก็มี ที่ไม่สหรคตด้วยปีติก็มี
เวทนาขันธ์ที่เป็นกามาวจรก็มี ที่ไม่เป็นกามาวจรก็มี
เวทนาขันธ์ที่เป็นรูปาวจรก็มี ที่ไม่เป็นรูปาวจรก็มี
เวทนาขันธ์ที่เป็นอรูปาวจรก็มี ที่ไม่เป็นอรูปาวจรก็มี
เวทนาขันธ์ที่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ก็มี ที่ไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ก็มี
เวทนาขันธ์ที่เป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ก็มี ที่ไม่เป็นเหตุนำออกจากวัฏฏ-
ทุกข์ก็มี
เวทนาขันธ์ที่ให้ผลแน่นอนก็มี ที่ให้ผลไม่แน่นอนก็มี
เวทนาขันธ์ที่มีธรรมอื่นยิ่งกว่าก็มี ที่ไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่าก็มี
เวทนาขันธ์ที่เป็นเหตุให้สัตว์ร้องไห้ก็มี ที่ไม่เป็นเหตุให้สัตว์ร้องไห้ก็มี๑
เวทนาขันธ์หมวดละ ๓ ได้แก่ เวทนาขันธ์ที่เป็นกุศลก็มี ที่เป็นอกุศลก็มี ที่
เป็นอัพยากฤตก็มี
ฯลฯ
เวทนาขันธ์หมวดละ ๑๐ มีด้วยอาการอย่างนี้

เชิงอรรถ :
๑ อภิ.สงฺ.อ. ๘๓-๑๐๐/๙๘

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๒๘ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑.ขันธวิภังค์] ๒.อภิธรรมภาชนีย์ ๒.เวทนาขันธ์
[๓๗] เวทนาขันธ์หมวดละ ๑ ได้แก่ เวทนาขันธ์ที่สัมปยุตด้วยผัสสะ
เวทนาขันธ์หมวดละ ๒ ได้แก่ เวทนาขันธ์ที่เป็นเหตุให้สัตว์ร้องไห้ก็มี ที่ไม่
เป็นเหตุให้สัตว์ร้องไห้ก็มี
เวทนาขันธ์หมวดละ ๓ ได้แก่ เวทนาขันธ์ที่เป็นวิบากก็มี ที่เป็นเหตุให้เกิด
วิบากก็มี ที่ไม่เป็นวิบากและไม่เป็นเหตุให้เกิดวิบากก็มี
เวทนาขันธ์ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือและเป็นอารมณ์ของ
อุปาทานก็มี
ฯลฯ
เวทนาขันธ์ที่มีธรรมภายในตนเป็นอารมณ์ก็มี ที่มีธรรมภายนอกตนเป็น
อารมณ์ก็มี ที่มีธรรมภายในตนและภายนอกตนเป็นอารมณ์ก็มี
ฯลฯ
เวทนาขันธ์หมวดละ ๑๐ มีด้วยอาการอย่างนี้
ทุกมูลกวาร จบ

ติกมูลกวาร
[๓๘] เวทนาขันธ์หมวดละ ๑ ได้แก่ เวทนาขันธ์ที่สัมปยุตด้วยผัสสะ
เวทนาขันธ์หมวดละ ๒ ได้แก่ เวทนาขันธ์ที่มีเหตุก็มี ที่ไม่มีเหตุก็มี
เวทนาขันธ์หมวดละ ๓ ได้แก่ เวทนาขันธ์ที่เป็นกุศลก็มี ที่เป็นอกุศลก็มี
ที่เป็นอัพยากฤตก็มี
ฯลฯ
เวทนาขันธ์หมวดละ ๑๐ มีด้วยอาการอย่างนี้
[๓๙] เวทนาขันธ์หมวดละ ๑ ได้แก่ เวทนาขันธ์ที่สัมปยุตด้วยผัสสะ
เวทนาขันธ์หมวดละ ๒ ได้แก่ เวทนาขันธ์ที่สัมปยุตด้วยเหตุก็มี ที่วิปปยุต
จากเหตุก็มี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๒๙ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑.ขันธวิภังค์] ๒.อภิธรรมภาชนีย์ ๒.เวทนาขันธ์
เวทนาขันธ์หมวดละ ๓ ได้แก่ เวทนาขันธ์ที่เป็นกุศลก็มี ที่เป็นอกุศลก็มี ที่
เป็นอัพยากฤตก็มี
ฯลฯ
เวทนาขันธ์หมวดละ ๑๐ มีด้วยอาการอย่างนี้
[๔๐] เวทนาขันธ์หมวดละ ๑ ได้แก่ เวทนาขันธ์ที่สัมปยุตด้วยผัสสะ
เวทนาขันธ์หมวดละ ๒ ได้แก่ เวทนาขันธ์ที่ไม่เป็นเหตุแต่มีเหตุก็มี ที่ไม่เป็น
เหตุและไม่มีเหตุก็มี๑
เวทนาขันธ์ที่เป็นโลกิยะก็มี ที่เป็นโลกุตตระก็มี
เวทนาขันธ์ที่จิตบางดวงรู้ได้ก็มี ที่จิตบางดวงรู้ไม่ได้ก็มี
เวทนาขันธ์ที่เป็นอารมณ์ของอาสวะก็มี ที่ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะก็มี
เวทนาขันธ์ที่สัมปยุตด้วยอาสวะก็มี ที่วิปปยุตจากอาสวะก็มี
เวทนาขันธ์ที่วิปปยุตจากอาสวะแต่เป็นอารมณ์ของอาสวะก็มี ที่วิปปยุตจาก
อาสวะและไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะก็มี
ฯลฯ
เวทนาขันธ์ที่เป็นเหตุให้สัตว์ร้องไห้ก็มี ที่ไม่เป็นเหตุให้สัตว์ร้องไห้ก็มี
เวทนาขันธ์หมวดละ ๓ ได้แก่ เวทนาขันธ์ที่เป็นกุศลก็มี ที่เป็นอกุศลก็มี ที่
เป็นอัพยากฤตก็มี
ฯลฯ
เวทนาขันธ์หมวดละ ๑๐ มีด้วยอาการอย่างนี้
[๔๑] เวทนาขันธ์หมวดละ ๑ ได้แก่ เวทนาขันธ์ที่สัมปยุตด้วยผัสสะ
เวทนาขันธ์หมวดละ ๒ ได้แก่ เวทนาขันธ์ที่มีเหตุก็มี ที่ไม่มีเหตุก็มี
เวทนาขันธ์หมวดละ ๓ ได้แก่ เวทนาขันธ์ที่เป็นวิบากก็มี ที่เป็นเหตุให้
เกิดวิบากก็มี ที่ไม่เป็นวิบากและไม่เป็นเหตุให้เกิดวิบากก็มี

เชิงอรรถ :
๑ เวทนาที่อยู่ในอเหตุกจิต ๑๘ นั้น เวทนาไม่เป็นเหตุและไม่มีเหตุเกิดร่วมด้วย (อภิธัมมัตถสังคหะ)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๓๐ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑.ขันธวิภังค์] ๒.อภิธรรมภาชนีย์ ๒.เวทนาขันธ์
เวทนาขันธ์ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือและเป็นอารมณ์ของ
อุปาทานก็มี ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือแต่เป็นอารมณ์ของ
อุปาทานก็มี ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือและไม่เป็นอารมณ์ของ
อุปาทานก็มี
เวทนาขันธ์ที่กิเลสทำให้เศร้าหมองและเป็นอารมณ์ของกิเลสก็มี ที่กิเลสไม่
ทำให้เศร้าหมองแต่เป็นอารมณ์ของกิเลสก็มี ที่กิเลสไม่ทำให้เศร้าหมองและไม่เป็น
อารมณ์ของกิเลสก็มี
เวทนาขันธ์ที่มีทั้งวิตกและวิจารก็มี ที่ไม่มีวิตกมีเพียงวิจารก็มี ที่ไม่มีทั้งวิตก
และวิจารก็มี
เวทนาขันธ์ที่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคก็มี ที่ต้องประหาณด้วยมรรค
เบื้องบน ๓ ก็มี ที่ไม่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคและมรรคเบื้องบน ๓ ก็มี
เวทนาขันธ์ที่มีเหตุต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคก็มี ที่มีเหตุต้องประหาณ
ด้วยมรรคเบื้องบน ๓ ก็มี ที่ไม่มีเหตุต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคและมรรค
เบื้องบน ๓ ก็มี
เวทนาขันธ์ที่เป็นเหตุให้ถึงปฏิสนธิและจุติก็มี ที่เป็นเหตุให้ถึงนิพพานก็มี ที่ไม่
เป็นเหตุให้ถึงปฏิสนธิ จุติ และนิพพานก็มี
เวทนาขันธ์ที่เป็นของเสขบุคคลก็มี ที่เป็นของอเสขบุคคลก็มี ที่ไม่เป็นของ
เสขบุคคลและอเสขบุคคลก็มี
เวทนาขันธ์ที่เป็นปริตตะก็มี ที่เป็นมหัคคตะก็มี ที่เป็นอัปปมาณะก็มี
เวทนาขันธ์ที่มีปริตตะเป็นอารมณ์ก็มี ที่มีมหัคคตะเป็นอารมณ์ก็มี ที่มี
อัปปมาณะเป็นอารมณ์ก็มี
เวทนาขันธ์ที่เป็นชั้นต่ำก็มี ที่เป็นชั้นกลางก็มี ที่เป็นชั้นประณีตก็มี
เวทนาขันธ์ที่มีสภาวะผิดและให้ผลแน่นอนก็มี ที่มีสภาวะชอบและให้ผลแน่นอน
ก็มี ที่ไม่แน่นอนโดยอาการทั้งสองนั้นก็มี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๓๑ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑.ขันธวิภังค์] ๒.อภิธรรมภาชนีย์ ๒.เวทนาขันธ์
เวทนาขันธ์ที่มีมรรคเป็นอารมณ์ก็มี ที่มีมรรคเป็นเหตุก็มี ที่มีมรรคเป็น
อธิบดีก็มี
เวทนาขันธ์ที่เกิดขึ้นก็มี ที่ยังไม่เกิดขึ้นก็มี ที่จักเกิดขึ้นแน่นอนก็มี
เวทนาขันธ์ที่เป็นอดีตก็มี ที่เป็นอนาคตก็มี ที่เป็นปัจจุบันก็มี
เวทนาขันธ์ที่มีอดีตธรรมเป็นอารมณ์ก็มี ที่มีอนาคตธรรมเป็นอารมณ์ก็มี ที่มี
ปัจจุบันธรรมเป็นอารมณ์ก็มี
เวทนาขันธ์ที่เป็นภายในตนก็มี ที่เป็นภายนอกตนก็มี ที่เป็นภายในตนและ
ภายนอกตนก็มี
เวทนาขันธ์ที่มีธรรมภายในตนเป็นอารมณ์ก็มี ที่มีธรรมภายนอกตนเป็นอารมณ์
ก็มี ที่มีธรรมภายในตนและภายนอกตนเป็นอารมณ์ก็มี
ฯลฯ
เวทนาขันธ์หมวดละ ๑๐ มีด้วยอาการอย่างนี้
[๔๒] เวทนาขันธ์หมวดละ ๑ ได้แก่ เวทนาขันธ์ที่สัมปยุตด้วยผัสสะ
เวทนาขันธ์หมวดละ ๒ ได้แก่ เวทนาขันธ์ที่สัมปยุตด้วยเหตุก็มี ที่วิปปยุตจาก
เหตุก็มี
เวทนาขันธ์ที่ไม่เป็นเหตุแต่มีเหตุก็มี ที่ไม่เป็นเหตุและไม่มีเหตุก็มี
เวทนาขันธ์ที่เป็นโลกิยะก็มี ที่เป็นโลกุตตระก็มี
เวทนาขันธ์ที่จิตบางดวงรู้ได้ก็มี ที่จิตบางดวงรู้ไม่ได้ก็มี
เวทนาขันธ์ที่เป็นอารมณ์ของอาสวะก็มี ที่ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะก็มี
เวทนาขันธ์ที่สัมปยุตด้วยอาสวะก็มี ที่วิปปยุตจากอาสวะก็มี
เวทนาขันธ์ที่วิปปยุตจากอาสวะแต่เป็นอารมณ์ของอาสวะก็มี ที่วิปปยุตจาก
อาสวะและไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะก็มี
เวทนาขันธ์ที่เป็นอารมณ์ของสังโยชน์ก็มี ที่ไม่เป็นอารมณ์ของสังโยชน์ก็มี
ฯลฯ
เวทนาขันธ์ที่เป็นเหตุให้สัตว์ร้องไห้ก็มี ที่ไม่เป็นเหตุให้สัตว์ร้องไห้ก็มี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๓๒ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑.ขันธวิภังค์] ๒.อภิธรรมภาชนีย์ ๒.เวทนาขันธ์
เวทนาขันธ์หมวดละ ๓ ได้แก่ เวทนาขันธ์ที่มีธรรมภายในตนเป็นอารมณ์ก็มี
ที่มีธรรมภายนอกตนเป็นอารมณ์ก็มี ที่มีธรรมภายในตนและภายนอกตนเป็น
อารมณ์ก็มี
ฯลฯ
เวทนาขันธ์หมวดละ ๑๐ มีด้วยอาการอย่างนี้
ติกมูลกวาร จบ

อุภโตวัฑฒกวาร๑
[๔๓] เวทนาขันธ์หมวดละ ๑ ได้แก่ เวทนาขันธ์ที่สัมปยุตด้วยผัสสะ
เวทนาขันธ์หมวดละ ๒ ได้แก่ เวทนาขันธ์ที่มีเหตุก็มี ที่ไม่มีเหตุก็มี
เวทนาขันธ์หมวดละ ๓ ได้แก่ เวทนาขันธ์ที่เป็นกุศลก็มี ที่เป็นอกุศลก็มี ที่
เป็นอัพยากฤตก็มี
ฯลฯ
เวทนาขันธ์หมวดละ ๑๐ มีด้วยอาการอย่างนี้
[๔๔] เวทนาขันธ์หมวดละ ๑ ได้แก่ เวทนาขันธ์ที่สัมปยุตด้วยผัสสะ
เวทนาขันธ์หมวดละ ๒ ได้แก่ เวทนาขันธ์ที่สัมปยุตด้วยเหตุก็มี ที่วิปปยุต
จากเหตุก็มี
เวทนาขันธ์หมวดละ ๓ ได้แก่ เวทนาขันธ์ที่เป็นวิบากก็มี ที่เป็นเหตุให้เกิด
วิบากก็มี ที่ไม่เป็นวิบากและไม่เป็นเหตุให้เกิดวิบากก็มี
ฯลฯ
เวทนาขันธ์หมวดละ ๑๐ มีด้วยอาการอย่างนี้
[๔๕] เวทนาขันธ์หมวดละ ๑ ได้แก่ เวทนาขันธ์ที่สัมปยุตด้วยผัสสะ
เวทนาขันธ์หมวดละ ๒ ได้แก่ เวทนาขันธ์ที่ไม่เป็นเหตุแต่มีเหตุก็มี ที่ไม่เป็น
เหตุและไม่มีเหตุก็มี

เชิงอรรถ :
๑ วาระที่ขยายทั้ง ๒ ฝ่าย คือ ติกะและทุกะให้มากขึ้น (อภิ.วิ.อ. ๓๔/๔๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๓๓ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑.ขันธวิภังค์] ๒.อภิธรรมภาชนีย์ ๒.เวทนาขันธ์
เวทนาขันธ์หมวดละ ๓ ได้แก่ เวทนาขันธ์ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหา
และทิฏฐิยึดถือและเป็นอารมณ์ของอุปาทานก็มี ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและ
ทิฏฐิไม่ยึดถือแต่เป็นอารมณ์ของอุปาทานก็มี ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและ
ทิฏฐิไม่ยึดถือและไม่เป็นอารมณ์ของอุปาทานก็มี
ฯลฯ
เวทนาขันธ์หมวดละ ๑๐ มีด้วยอาการอย่างนี้
[๔๖] เวทนาขันธ์หมวดละ ๑ ได้แก่ เวทนาขันธ์ที่สัมปยุตด้วยผัสสะ
เวทนาขันธ์หมวดละ ๒ ได้แก่ เวทนาขันธ์ที่เป็นโลกิยะก็มี ที่เป็นโลกุตตระ
ก็มี
เวทนาขันธ์หมวดละ ๓ ได้แก่ เวทนาขันธ์ที่กิเลสทำให้เศร้าหมองและเป็น
อารมณ์ของกิเลสก็มี ที่กิเลสไม่ทำให้เศร้าหมองแต่เป็นอารมณ์ของกิเลสก็มี ที่กิเลส
ไม่ทำให้เศร้าหมองและไม่เป็นอารมณ์ของกิเลสก็มี
ฯลฯ
เวทนาขันธ์หมวดละ ๑๐ มีด้วยอาการอย่างนี้
[๔๗] เวทนาขันธ์หมวดละ ๑ ได้แก่ เวทนาขันธ์ที่สัมปยุตด้วยผัสสะ
เวทนาขันธ์หมวดละ ๒ ได้แก่ เวทนาขันธ์ที่จิตบางดวงรู้ได้ก็มี ที่จิตบาง
ดวงรู้ไม่ได้ก็มี
เวทนาขันธ์หมวดละ ๓ ได้แก่ เวทนาขันธ์ที่มีทั้งวิตกและวิจารก็มี ที่ไม่มี
วิตกมีเพียงวิจารก็มี ที่ไม่มีทั้งวิตกและวิจารก็มี
ฯลฯ
เวทนาขันธ์หมวดละ ๑๐ มีด้วยอาการอย่างนี้
[๔๘] เวทนาขันธ์หมวดละ ๑ ได้แก่ เวทนาขันธ์ที่สัมปยุตด้วยผัสสะ
เวทนาขันธ์หมวดละ ๒ ได้แก่ เวทนาขันธ์ที่เป็นอารมณ์ของอาสวะก็มี ที่
ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะก็มี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๓๔ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑.ขันธวิภังค์] ๒.อภิธรรมภาชนีย์ ๒.เวทนาขันธ์
เวทนาขันธ์หมวดละ ๓ ได้แก่ เวทนาขันธ์ที่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรค
ก็มี ที่ต้องประหาณด้วยมรรคเบื้องบน ๓ ก็มี ที่ไม่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรค
และมรรคเบื้องบน ๓ ก็มี
ฯลฯ
เวทนาขันธ์หมวดละ ๑๐ มีด้วยอาการอย่างนี้
[๔๙] เวทนาขันธ์หมวดละ ๑ ได้แก่ เวทนาขันธ์ที่สัมปยุตด้วยผัสสะ
เวทนาขันธ์หมวดละ ๒ ได้แก่ เวทนาขันธ์ที่สัมปยุตด้วยอาสวะก็มี ที่
วิปปยุตจากอาสวะก็มี
เวทนาขันธ์หมวดละ ๓ ได้แก่ เวทนาขันธ์ที่มีเหตุต้องประหาณด้วยโสดาปัตติ-
มรรคก็มี ที่มีเหตุต้องประหาณด้วยมรรคเบื้องบน ๓ ก็มี ที่ไม่มีเหตุต้องประหาณ
ด้วยโสดาปัตติมรรคและมรรคเบื้องบน ๓ ก็มี
ฯลฯ
เวทนาขันธ์หมวดละ ๑๐ มีด้วยอาการอย่างนี้
[๕๐] เวทนาขันธ์หมวดละ ๑ ได้แก่ เวทนาขันธ์ที่สัมปยุตด้วยผัสสะ
เวทนาขันธ์หมวดละ ๒ ได้แก่ เวทนาขันธ์ที่วิปปยุตจากอาสวะแต่เป็นอารมณ์
ของอาสวะก็มี ที่วิปปยุตจากอาสวะและไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะก็มี
เวทนาขันธ์หมวดละ ๓ ได้แก่ เวทนาขันธ์ที่เป็นเหตุให้ถึงปฏิสนธิและจุติก็มี
ที่เป็นเหตุให้ถึงนิพพานก็มี ที่ไม่เป็นเหตุให้ถึงปฏิสนธิ จุติ และนิพพานก็มี
ฯลฯ
เวทนาขันธ์หมวดละ ๑๐ มีด้วยอาการอย่างนี้
[๕๑] เวทนาขันธ์หมวดละ ๑ ได้แก่ เวทนาขันธ์ที่สัมปยุตด้วยผัสสะ
เวทนาขันธ์หมวดละ ๒ ได้แก่ เวทนาขันธ์ที่เป็นอารมณ์ของสังโยชน์ก็มี ที่
ไม่เป็นอารมณ์ของสังโยชน์ก็มี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๓๕ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑.ขันธวิภังค์] ๒.อภิธรรมภาชนีย์ ๒.เวทนาขันธ์
เวทนาขันธ์หมวดละ ๓ ได้แก่ เวทนาขันธ์ที่เป็นของเสขบุคคลก็มี ที่เป็น
ของอเสขบุคคลก็มี ที่ไม่เป็นของเสขบุคคลและอเสขบุคคลก็มี
ฯลฯ
เวทนาขันธ์หมวดละ ๑๐ มีด้วยอาการอย่างนี้
[๕๒] เวทนาขันธ์หมวดละ ๑ ได้แก่ เวทนาขันธ์ที่สัมปยุตด้วยผัสสะ
เวทนาขันธ์หมวดละ ๒ ได้แก่ เวทนาขันธ์ที่สัมปยุตด้วยสังโยชน์ก็มี ที่
วิปปยุตจากสังโยชน์ก็มี
เวทนาขันธ์หมวดละ ๓ ได้แก่ เวทนาขันธ์ที่เป็นปริตตะก็มี ที่เป็นมหัคคตะ
ก็มี ที่เป็นอัปปมาณะก็มี
ฯลฯ
เวทนาขันธ์หมวดละ ๑๐ มีด้วยอาการอย่างนี้
[๕๓] เวทนาขันธ์หมวดละ ๑ ได้แก่ เวทนาขันธ์ที่สัมปยุตด้วยผัสสะ
เวทนาขันธ์หมวดละ ๒ ได้แก่ เวทนาขันธ์ที่วิปปยุตจากสังโยชน์แต่เป็น
อารมณ์ของสังโยชน์ก็มี ที่วิปปยุตจากสังโยชน์และไม่เป็นอารมณ์ของสังโยชน์ก็มี
เวทนาขันธ์หมวดละ ๓ ได้แก่ เวทนาขันธ์ที่มีปริตตะเป็นอารมณ์ก็มี ที่มี
มหัคคตะเป็นอารมณ์ก็มี ที่มีอัปปมาณะเป็นอารมณ์ก็มี
ฯลฯ
เวทนาขันธ์หมวดละ ๑๐ มีด้วยอาการอย่างนี้
[๕๔] เวทนาขันธ์หมวดละ ๑ ได้แก่ เวทนาขันธ์ที่สัมปยุตด้วยผัสสะ
เวทนาขันธ์หมวดละ ๒ ได้แก่ เวทนาขันธ์ที่เป็นอารมณ์ของคันถะก็มี ที่
ไม่เป็นอารมณ์ของคันถะก็มี
เวทนาขันธ์หมวดละ ๓ ได้แก่ เวทนาขันธ์ที่เป็นชั้นต่ำก็มี ที่เป็นชั้นกลาง
ก็มี ที่เป็นชั้นประณีตก็มี
ฯลฯ
เวทนาขันธ์หมวดละ ๑๐ มีด้วยอาการอย่างนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๓๖ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑.ขันธวิภังค์] ๒.อภิธรรมภาชนีย์ ๒.เวทนาขันธ์
[๕๕] เวทนาขันธ์หมวดละ ๑ ได้แก่ เวทนาขันธ์ที่สัมปยุตด้วยผัสสะ
เวทนาขันธ์หมวดละ ๒ ได้แก่ เวทนาขันธ์ที่สัมปยุตด้วยคันถะก็มี ที่
วิปปยุตจากคันถะก็มี
เวทนาขันธ์หมวดละ ๓ ได้แก่ เวทนาขันธ์ที่มีสภาวะผิดและให้ผลแน่นอนก็มี
ที่มีสภาวะชอบและให้ผลแน่นอนก็มี ที่ไม่แน่นอนโดยอาการทั้งสองนั้นก็มี
ฯลฯ
เวทนาขันธ์หมวดละ ๑๐ มีด้วยอาการอย่างนี้
[๕๖] เวทนาขันธ์หมวดละ ๑ ได้แก่ เวทนาขันธ์ที่สัมปยุตด้วยผัสสะ
เวทนาขันธ์หมวดละ ๒ ได้แก่ เวทนาขันธ์ที่วิปปยุตจากคันถะแต่เป็นอารมณ์
ของคันถะก็มี ที่วิปปยุตจากคันถะและไม่เป็นอารมณ์ของคันถะก็มี
เวทนาขันธ์หมวดละ ๓ ได้แก่ เวทนาขันธ์ที่มีมรรคเป็นอารมณ์ก็มี ที่มีมรรค
เป็นเหตุก็มี ที่มีมรรคเป็นอธิบดีก็มี
ฯลฯ
เวทนาขันธ์หมวดละ ๑๐ มีด้วยอาการอย่างนี้
[๕๗] เวทนาขันธ์หมวดละ ๑ ได้แก่ เวทนาขันธ์ที่สัมปยุตด้วยผัสสะ
เวทนาขันธ์หมวดละ ๒ ได้แก่ เวทนาขันธ์ที่เป็นอารมณ์ของโอฆะก็มี ที่ไม่
เป็นอารมณ์ของโอฆะก็มี
เวทนาขันธ์หมวดละ ๓ ได้แก่ เวทนาขันธ์ที่เกิดขึ้นก็มี ที่ยังไม่เกิดขึ้นก็มี
ที่จักเกิดขึ้นแน่นอนก็มี
ฯลฯ
เวทนาขันธ์หมวดละ ๑๐ มีด้วยอาการอย่างนี้
[๕๘] เวทนาขันธ์หมวดละ ๑ ได้แก่ เวทนาขันธ์ที่สัมปยุตด้วยผัสสะ
เวทนาขันธ์หมวดละ ๒ ได้แก่ เวทนาขันธ์ที่สัมปยุตด้วยโอฆะก็มี ที่วิปปยุต
จากโอฆะก็มี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๓๗ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑.ขันธวิภังค์] ๒.อภิธรรมภาชนีย์ ๒.เวทนาขันธ์
เวทนาขันธ์หมวดละ ๓ ได้แก่ เวทนาขันธ์ที่เป็นอดีตก็มี ที่เป็นอนาคตก็มี
ที่เป็นปัจจุบันก็มี
ฯลฯ
เวทนาขันธ์หมวดละ ๑๐ มีด้วยอาการอย่างนี้
[๕๙] เวทนาขันธ์หมวดละ ๑ ได้แก่ เวทนาขันธ์ที่สัมปยุตด้วยผัสสะ
เวทนาขันธ์หมวดละ ๒ ได้แก่ เวทนาขันธ์ที่วิปปยุตจากโอฆะแต่เป็นอารมณ์
ของโอฆะก็มี ที่วิปปยุตจากโอฆะและไม่เป็นอารมณ์ของโอฆะก็มี
เวทนาขันธ์หมวดละ ๓ ได้แก่ เวทนาขันธ์ที่มีอดีตธรรมเป็นอารมณ์ก็มี ที่มี
อนาคตธรรมเป็นอารมณ์ก็มี ที่มีปัจจุบันธรรมเป็นอารมณ์ก็มี
ฯลฯ
เวทนาขันธ์หมวดละ ๑๐ มีด้วยอาการอย่างนี้
[๖๐] เวทนาขันธ์หมวดละ ๑ ได้แก่ เวทนาขันธ์ที่สัมปยุตด้วยผัสสะ
เวทนาขันธ์หมวดละ ๒ ได้แก่ เวทนาขันธ์ที่เป็นอารมณ์ของโยคะก็มี๑ ที่ไม่
เป็นอารมณ์ของโยคะก็มี
เวทนาขันธ์หมวดละ ๓ ได้แก่ เวทนาขันธ์ที่เป็นภายในตนก็มี ที่เป็นภายนอก
ตนก็มี ที่เป็นภายในตนและภายนอกตนก็มี
ฯลฯ
เวทนาขันธ์หมวดละ ๑๐ มีด้วยอาการอย่างนี้
[๖๑] เวทนาขันธ์หมวดละ ๑ ได้แก่ เวทนาขันธ์ที่สัมปยุตด้วยผัสสะ
เวทนาขันธ์หมวดละ ๒ ได้แก่ เวทนาขันธ์ที่สัมปยุตด้วยโยคะก็มี ที่วิปปยุต
จากโยคะก็มี

เชิงอรรถ :
๑ ดู โยคะ ๔ ข้อ ๙๓๘ หน้า ๕๙๙

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๓๘ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑.ขันธวิภังค์] ๒.อภิธรรมภาชนีย์ ๒.เวทนาขันธ์
เวทนาขันธ์หมวดละ ๓ ได้แก่ เวทนาขันธ์ที่มีธรรมภายในตนเป็นอารมณ์ก็มี
ที่มีธรรมภายนอกตนเป็นอารมณ์ก็มี ที่มีธรรมภายในตนและภายนอกตนเป็นอารมณ์
ก็มี
ฯลฯ
เวทนาขันธ์หมวดละ ๑๐ มีด้วยอาการอย่างนี้
อุภโตวัฑฒกวาร จบ

พหุวิธวาร
เวทนาขันธ์หมวดละ ๗ ได้แก่ เวทนาขันธ์ที่เป็นกุศลก็มี ที่เป็นอกุศลก็มี ที่
เป็นอัพยากฤตก็มี ที่เป็นกามาวจรก็มี ที่เป็นรูปาวจรก็มี ที่เป็นอรูปาวจรก็มี ที่ไม่
นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ก็มี
เวทนาขันธ์หมวดละ ๗ มีด้วยอาการอย่างนี้
เวทนาขันธ์หมวดละ ๗ อีกหมวดหนึ่ง ได้แก่ เวทนาขันธ์ที่เป็นวิบากก็มี
ที่เป็นเหตุให้เกิดวิบากก็มี ที่ไม่เป็นวิบากและไม่เป็นเหตุให้เกิดวิบากก็มี
ฯลฯ
เวทนาขันธ์ที่มีธรรมภายในตนเป็นอารมณ์ก็มี ที่มีธรรมภายนอกตนเป็น
อารมณ์ก็มี ที่มีธรรมภายในตนและภายนอกตนเป็นอารมณ์ก็มี ที่เป็นกามาวจร
ก็มี ที่เป็นรูปาวจรก็มี ที่เป็นอรูปาวจรก็มี ที่ไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ก็มี
เวทนาขันธ์หมวดละ ๗ มีด้วยอาการอย่างนี้
เวทนาขันธ์หมวดละ ๒๔ ได้แก่ เพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัย เวทนาขันธ์ที่
เป็นกุศล ๑ ที่เป็นอกุศล ๑ ที่เป็นอัพยากฤต ๑ จึงมี
เพราะโสตสัมผัสเป็นปัจจัย เวทนาขันธ์ ฯลฯ
เพราะฆานสัมผัสเป็นปัจจัย เวทนาขันธ์ ฯลฯ
เพราะชิวหาสัมผัสเป็นปัจจัย เวทนาขันธ์ ฯลฯ
เพราะกายสัมผัสเป็นปัจจัย เวทนาขันธ์ ฯลฯ
เพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย เวทนาขันธ์ที่เป็นกุศล ๑ ที่เป็นอกุศล ๑ ที่เป็น
อัพยากฤต ๑ จึงมี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๓๙ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑.ขันธวิภังค์] ๒.อภิธรรมภาชนีย์ ๒.เวทนาขันธ์
เวทนาที่เกิดแต่จักขุสัมผัส เวทนาที่เกิดแต่โสตสัมผัส เวทนาที่เกิดแต่ฆาน-
สัมผัส เวทนาที่เกิดแต่ชิวหาสัมผัส เวทนาที่เกิดแต่กายสัมผัส เวทนาที่เกิดแต่
มโนสัมผัส
เวทนาขันธ์หมวดละ ๒๔ มีด้วยอาการอย่างนี้
เวทนาขันธ์หมวดละ ๒๔ อีกหมวดหนึ่ง ได้แก่ เพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัย
เวทนาขันธ์ที่เป็นวิบาก ๑ ที่เป็นเหตุให้เกิดวิบาก ๑ ที่ไม่เป็นวิบากและไม่เป็นเหตุให้
เกิดวิบาก ๑ จึงมี
ฯลฯ
เวทนาขันธ์ที่มีธรรมภายในตนเป็นอารมณ์ก็มี ที่มีธรรมภายนอกตนเป็น
อารมณ์ก็มี ที่มีธรรมภายในตนและภายนอกตนเป็นอารมณ์ก็มี
เวทนาที่เกิดแต่จักขุสัมผัส ฯลฯ เวทนาที่เกิดแต่มโนสัมผัส
เพราะโสตสัมผัสเป็นปัจจัย เวทนาขันธ์ ฯลฯ
เพราะฆานสัมผัสเป็นปัจจัย เวทนาขันธ์ ฯลฯ
เพราะชิวหาสัมผัสเป็นปัจจัย เวทนาขันธ์ ฯลฯ
เพราะกายสัมผัสเป็นปัจจัย เวทนาขันธ์ ฯลฯ
เพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย เวทนาขันธ์ที่เป็นวิบาก ๑ ที่เป็นเหตุให้เกิด
วิบาก ๑ ที่ไม่เป็นวิบากและไม่เป็นเหตุให้เกิดวิบาก ๑ จึงมี
ฯลฯ
เวทนาขันธ์ที่มีธรรมภายในตนเป็นอารมณ์ก็มี ที่มีธรรมภายนอกตนเป็น
อารมณ์ก็มี ที่มีธรรมภายในตนและภายนอกตนเป็นอารมณ์ก็มี
เวทนาที่เกิดแต่จักขุสัมผัส ฯลฯ เวทนาที่เกิดแต่มโนสัมผัส
เวทนาขันธ์หมวดละ ๒๔ มีด้วยอาการอย่างนี้
เวทนาขันธ์หมวดละ ๓๐ ได้แก่ เพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัย เวทนาขันธ์ที่เป็น
กามาวจร ๑ ที่เป็นรูปาวจร ๑ ที่เป็นอรูปาวจร ๑ ที่ไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ ๑ จึงมี
เพราะโสตสัมผัสเป็นปัจจัย ฯลฯ
เพราะฆานสัมผัสเป็นปัจจัย ฯลฯ
เพราะชิวหาสัมผัสเป็นปัจจัย ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๔๐ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑.ขันธวิภังค์] ๒.อภิธรรมภาชนีย์ ๒.เวทนาขันธ์
เพราะกายสัมผัสเป็นปัจจัย ฯลฯ
เพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย เวทนาขันธ์ที่เป็นกามาวจร ๑ ที่เป็นรูปาวจร ๑
ที่เป็นอรูปาวจร ๑ ที่ไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ ๑ จึงมี
เวทนาที่เกิดแต่จักขุสัมผัส ฯลฯ เวทนาที่เกิดแต่มโนสัมผัส
เวทนาขันธ์หมวดละ ๓๐ มีด้วยอาการอย่างนี้
เวทนาขันธ์หมวดละมากอย่าง ได้แก่ เพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัย เวทนาขันธ์
ที่เป็นกุศล ๑ ที่เป็นอกุศล ๑ ที่เป็นอัพยากฤต ๑ ที่เป็นกามาวจร ๑ ที่เป็นรูปาวจร ๑
ที่เป็นอรูปาวจร ๑ ที่ไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ ๑ จึงมี
เพราะโสตสัมผัสเป็นปัจจัย ฯลฯ
เพราะฆานสัมผัสเป็นปัจจัย ฯลฯ
เพราะชิวหาสัมผัสเป็นปัจจัย ฯลฯ
เพราะกายสัมผัสเป็นปัจจัย ฯลฯ
เพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย เวทนาขันธ์ที่เป็นกุศล ๑ ที่เป็นอกุศล ๑ ที่เป็น
อัพยากฤต ๑ ที่เป็นกามาวจร ๑ ที่เป็นรูปาวจร ๑ ที่เป็นอรูปาวจร ๑ ที่ไม่นับเนื่อง
ในวัฏฏทุกข์ ๑ จึงมี
เวทนาที่เกิดแต่จักขุสัมผัส ฯลฯ เวทนาที่เกิดแต่มโนสัมผัส
เวทนาขันธ์หมวดละมากอย่างมีด้วยอาการอย่างนี้
เวทนาขันธ์หมวดละมากอย่าง อีกหมวดหนึ่ง ได้แก่ เพราะจักขุสัมผัสเป็น
ปัจจัย เวทนาขันธ์ที่เป็นวิบาก ๑ ที่เป็นเหตุให้เกิดวิบาก ๑ ที่ไม่เป็นวิบากและไม่
เป็นเหตุให้เกิดวิบาก ๑ จึงมี
ฯลฯ
เวทนาขันธ์ที่มีธรรมภายในตนเป็นอารมณ์ก็มี ที่มีธรรมภายนอกตนเป็น
อารมณ์ก็มี ที่มีธรรมภายในตนและภายนอกตนเป็นอารมณ์ก็มี ที่เป็นกามาวจรก็มี
ที่เป็นรูปาวจรก็มี ที่เป็นอรูปาวจรก็มี ที่ไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ก็มี
เพราะโสตสัมผัสเป็นปัจจัย ฯลฯ
เพราะฆานสัมผัสเป็นปัจจัย ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๔๑ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑.ขันธวิภังค์] ๒.อภิธรรมภาชนีย์ ๓.สัญญาขันธ์
เพราะชิวหาสัมผัสเป็นปัจจัย ฯลฯ
เพราะกายสัมผัสเป็นปัจจัย ฯลฯ
เพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย เวทนาขันธ์ที่เป็นวิบาก ๑ ที่เป็นเหตุให้เกิดวิบาก ๑
ที่ไม่เป็นวิบาก และไม่เป็นเหตุให้เกิดวิบาก ๑ จึงมี
ฯลฯ
เวทนาขันธ์ที่มีธรรมภายในตนเป็นอารมณ์ก็มี ที่มีธรรมภายนอกตนเป็น
อารมณ์ก็มี ที่มีธรรมภายในตนและภายนอกตนเป็นอารมณ์ก็มี ที่เป็นกามาวจรก็มี
ที่เป็นรูปาวจรก็มี ที่เป็นอรูปาวจรก็มี ที่ไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ก็มี
เวทนาที่เกิดแต่จักขุสัมผัส ฯลฯ เวทนาที่เกิดแต่มโนสัมผัส
เวทนาขันธ์หมวดละมากอย่างมีด้วยอาการอย่างนี้
นี้เรียกว่า เวทนาขันธ์
พหุวิธวาร จบ

๓. สัญญาขันธ์
ทุกมูลกวาร
[๖๒] บรรดาขันธ์ ๕ นั้น สัญญาขันธ์ เป็นไฉน
สัญญาขันธ์หมวดละ ๑ ได้แก่ สัญญาขันธ์ที่สัมปยุตด้วยผัสสะ
สัญญาขันธ์หมวดละ ๒ ได้แก่ สัญญาขันธ์ที่มีเหตุก็มี ที่ไม่มีเหตุก็มี
สัญญาขันธ์หมวดละ ๓ ได้แก่ สัญญาขันธ์ที่เป็นกุศลก็มี ที่เป็นอกุศลก็มี ที่
เป็นอัพยากฤตก็มี
สัญญาขันธ์หมวดละ ๔ ได้แก่ สัญญาขันธ์ที่เป็นกามาวจรก็มี ที่เป็นรูปาวจร
ก็มี ที่เป็นอรูปาวจรก็มี ที่ไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ก็มี
สัญญาขันธ์หมวดละ ๕ ได้แก่ สัญญาขันธ์ที่สัมปยุตด้วยสุขินทรีย์ก็มี ที่
สัมปยุตด้วยทุกขินทรีย์ก็มี ที่สัมปยุตด้วยโสมนัสสินทรีย์ก็มี ที่สัมปยุตด้วย
โทมนัสสินทรีย์ก็มี ที่สัมปยุตด้วยอุเปกขินทรีย์ก็มี
สัญญาขันธ์หมวดละ ๕ มีด้วยอาการอย่างนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๔๒ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑.ขันธวิภังค์] ๒.อภิธรรมภาชนีย์ ๓.สัญญาขันธ์
สัญญาขันธ์หมวดละ ๖ ได้แก่ สัญญาที่เกิดแต่จักขุสัมผัส สัญญาที่เกิดแต่
โสตสัมผัส สัญญาที่เกิดแต่ฆานสัมผัส สัญญาที่เกิดแต่ชิวหาสัมผัส สัญญาที่เกิด
แต่กายสัมผัส สัญญาที่เกิดแต่มโนสัมผัส
สัญญาขันธ์หมวดละ ๖ มีด้วยอาการอย่างนี้
สัญญาขันธ์หมวดละ ๗ ได้แก่ สัญญาที่เกิดแต่จักขุสัมผัส ฯลฯ สัญญา
ที่เกิดแต่กายสัมผัส สัญญาที่เกิดแต่มโนธาตุสัมผัส สัญญาที่เกิดแต่มโนวิญญาณ-
ธาตุสัมผัส
สัญญาขันธ์หมวดละ ๗ มีด้วยอาการอย่างนี้
สัญญาขันธ์หมวดละ ๘ ได้แก่ สัญญาที่เกิดแต่จักขุสัมผัส ฯลฯ สัญญา
ที่เกิดแต่กายสัมผัส ที่สหรคตด้วยสุขก็มี ที่สหรคตด้วยทุกข์ก็มี สัญญาที่เกิดแต่
มโนธาตุสัมผัส สัญญาที่เกิดแต่มโนวิญญาณธาตุสัมผัส
สัญญาขันธ์หมวดละ ๘ มีด้วยอาการอย่างนี้
สัญญาขันธ์หมวดละ ๙ ได้แก่ สัญญาที่เกิดแต่จักขุสัมผัส ฯลฯ สัญญา
ที่เกิดแต่กายสัมผัส สัญญาที่เกิดแต่มโนธาตุสัมผัส สัญญาที่เกิดแต่มโนวิญญาณ-
ธาตุสัมผัส ที่เป็นกุศลก็มี ที่เป็นอกุศลก็มี ที่เป็นอัพยากฤตก็มี
สัญญาขันธ์หมวดละ ๙ มีด้วยอาการอย่างนี้
สัญญาขันธ์หมวดละ ๑๐ ได้แก่ สัญญาที่เกิดแต่จักขุสัมผัส ฯลฯ สัญญา
ที่เกิดแต่กายสัมผัส ที่สหรคตด้วยสุขก็มี ที่สหรคตด้วยทุกข์ก็มี สัญญาที่เกิดแต่
มโนธาตุสัมผัส สัญญาที่เกิดแต่มโนวิญญาณธาตุสัมผัส ที่เป็นกุศลก็มี ที่เป็น
อกุศลก็มี ที่เป็นอัพยากฤตก็มี
สัญญาขันธ์หมวดละ ๑๐ มีด้วยอาการอย่างนี้
[๖๓] สัญญาขันธ์หมวดละ ๑ ได้แก่ สัญญาขันธ์ที่สัมปยุตด้วยผัสสะ
สัญญาขันธ์หมวดละ ๒ ได้แก่ สัญญาขันธ์ที่มีเหตุก็มี ที่ไม่มีเหตุก็มี
สัญญาขันธ์หมวดละ ๓ ได้แก่ สัญญาขันธ์ที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาก็มี ที่
สัมปยุตด้วยทุกขเวทนาก็มี ที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนาก็มี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๔๓ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑.ขันธวิภังค์] ๒.อภิธรรมภาชนีย์ ๓.สัญญาขันธ์
สัญญาขันธ์ที่เป็นวิบากก็มี ที่เป็นเหตุให้เกิดวิบากก็มี๑ ที่ไม่เป็นวิบากและ
ไม่เป็นเหตุให้เกิดวิบากก็มี
สัญญาขันธ์ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือและเป็นอารมณ์ของ
อุปาทานก็มี ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือแต่เป็นอารมณ์ของ
อุปาทานก็มี ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือและไม่เป็นอารมณ์ของ
อุปาทานก็มี
สัญญาขันธ์ที่กิเลสทำให้เศร้าหมองและเป็นอารมณ์ของกิเลสก็มี ที่กิเลสไม่
ทำให้เศร้าหมองแต่เป็นอารมณ์ของกิเลสก็มี ที่กิเลสไม่ทำให้เศร้าหมองและไม่เป็น
อารมณ์ของกิเลสก็มี
สัญญาขันธ์ที่มีทั้งวิตกและวิจารก็มี ที่ไม่มีวิตกมีเพียงวิจารก็มี ที่ไม่มีทั้งวิตก
และวิจารก็มี
สัญญาขันธ์ที่สหรคตด้วยปีติก็มี ที่สหรคตด้วยสุขก็มี ที่สหรคตด้วย
อุเบกขาก็มี
สัญญาขันธ์ที่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคก็มี ที่ต้องประหาณด้วยมรรค
เบื้องบน ๓ ก็มี ที่ไม่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคและมรรคเบื้องบน ๓ ก็มี
สัญญาขันธ์ที่มีเหตุต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคก็มี ที่มีเหตุต้องประหาณ
ด้วยมรรคเบื้องบน ๓ ก็มี ที่ไม่มีเหตุต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคและมรรค
เบื้องบน ๓ ก็มี
สัญญาขันธ์ที่เป็นเหตุให้ถึงปฏิสนธิและจุติก็มี ที่เป็นเหตุให้ถึงนิพพานก็มี ที่
ไม่เป็นเหตุให้ถึงปฏิสนธิ จุติ และนิพพานก็มี
สัญญาขันธ์ที่เป็นของเสขบุคคลก็มี ที่เป็นของอเสขบุคคลก็มี ที่ไม่เป็นของ
เสขบุคคลและอเสขบุคคลก็มี
สัญญาขันธ์ที่เป็นปริตตะก็มี ที่เป็นมหัคคตะก็มี ที่เป็นอัปปมาณะก็มี
สัญญาขันธ์ที่มีปริตตะเป็นอารมณ์ก็มี ที่มีมหัคคตะเป็นอารมณ์ก็มี ที่มี
อัปปมาณะเป็นอารมณ์ก็มี
สัญญาขันธ์ที่เป็นชั้นต่ำก็มี ที่เป็นชั้นกลางก็มี ที่เป็นชั้นประณีตก็มี

เชิงอรรถ :
๑ ตรงกับคำบาลีว่า วิปากธมฺมธมฺมา (อภิ.สงฺ.อ. ๓/๘๙)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๔๔ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑.ขันธวิภังค์] ๒.อภิธรรมภาชนีย์ ๓.สัญญาขันธ์
สัญญาขันธ์ที่มีสภาวะผิดและให้ผลแน่นอนก็มี ที่มีสภาวะชอบและให้ผลแน่นอน
ก็มี ที่ไม่แน่นอนโดยอาการทั้งสองนั้นก็มี
สัญญาขันธ์ที่มีมรรคเป็นอารมณ์ก็มี ที่มีมรรคเป็นเหตุก็มี ที่มีมรรคเป็นอธิบดี
ก็มี
สัญญาขันธ์ที่เกิดขึ้นก็มี ที่ยังไม่เกิดขึ้นก็มี ที่จักเกิดขึ้นแน่นอนก็มี
สัญญาขันธ์ที่เป็นอดีตก็มี ที่เป็นอนาคตก็มี ที่เป็นปัจจุบันก็มี
สัญญาขันธ์ที่มีอดีตธรรมเป็นอารมณ์ก็มี ที่มีอนาคตธรรมเป็นอารมณ์ก็มี ที่มี
ปัจจุบันธรรมเป็นอารมณ์ก็มี
สัญญาขันธ์ที่เป็นภายในตนก็มี ที่เป็นภายนอกตนก็มี ที่เป็นภายในตนและ
ภายนอกตนก็มี
สัญญาขันธ์ที่มีธรรมภายในตนเป็นอารมณ์ก็มี ที่มีธรรมภายนอกตนเป็น
อารมณ์ก็มี ที่มีธรรมภายในตนและภายนอกตนเป็นอารมณ์ก็มี
ฯลฯ
สัญญาขันธ์หมวดละ ๑๐ มีด้วยอาการอย่างนี้
[๖๔] สัญญาขันธ์หมวดละ ๑ ได้แก่ สัญญาขันธ์ที่สัมปยุตด้วยผัสสะ
สัญญาขันธ์หมวดละ ๒ ได้แก่ สัญญาขันธ์ที่มีเหตุก็มี ที่ไม่มีเหตุก็มี
สัญญาขันธ์หมวดละ ๓ ได้แก่ สัญญาขันธ์ที่เป็นวิบากก็มี ที่เป็นเหตุให้เกิด
วิบากก็มี ที่ไม่เป็นวิบากและไม่เป็นเหตุให้เกิดวิบากก็มี
สัญญาขันธ์ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือและเป็นอารมณ์ของ
อุปาทานก็มี ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือแต่เป็นอารมณ์ของ
อุปาทานก็มี ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือและไม่เป็นอารมณ์ของ
อุปาทานก็มี
สัญญาขันธ์ที่กิเลสทำให้เศร้าหมองและเป็นอารมณ์ของกิเลสก็มี ที่กิเลสไม่
ทำให้เศร้าหมองแต่เป็นอารมณ์ของกิเลสก็มี ที่กิเลสไม่ทำให้เศร้าหมองและไม่เป็น
อารมณ์ของกิเลสก็มี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๔๕ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑.ขันธวิภังค์] ๒.อภิธรรมภาชนีย์ ๓.สัญญาขันธ์
สัญญาขันธ์ที่มีทั้งวิตกและวิจารก็มี ที่ไม่มีวิตกมีเพียงวิจารก็มี ที่ไม่มีทั้งวิตก
และวิจารก็มี
สัญญาขันธ์ที่สหรคตด้วยปีติก็มี ที่สหรคตด้วยสุขก็มี ที่สหรคตด้วยอุเบกขา
ก็มี
สัญญาขันธ์ที่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคก็มี ที่ต้องประหาณด้วยมรรค
เบื้องบน ๓ ก็มี ที่ไม่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคและมรรคเบื้องบน ๓ ก็มี
สัญญาขันธ์ที่มีเหตุต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคก็มี ที่มีเหตุต้องประหาณ
ด้วยมรรคเบื้องบน ๓ ก็มี ที่ไม่มีเหตุต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคและมรรค
เบื้องบน ๓ ก็มี
สัญญาขันธ์ที่เป็นเหตุให้ถึงปฏิสนธิและจุติก็มี ที่เป็นเหตุให้ถึงนิพพานก็มี ที่
ไม่เป็นเหตุให้ถึงปฏิสนธิ จุติ และนิพพานก็มี
สัญญาขันธ์ที่เป็นของเสขบุคคลก็มี ที่เป็นของอเสขบุคคลก็มี ที่ไม่เป็นของ
เสขบุคคลและอเสขบุคคลก็มี
สัญญาขันธ์ที่เป็นปริตตะก็มี ที่เป็นมหัคคตะก็มี ที่เป็นอัปปมาณะก็มี
สัญญาขันธ์ที่มีปริตตะเป็นอารมณ์ก็มี ที่มีมหัคคตะเป็นอารมณ์ก็มี ที่มี
อัปปมาณะเป็นอารมณ์ก็มี
สัญญาขันธ์ที่เป็นชั้นต่ำก็มี ที่เป็นชั้นกลางก็มี ที่เป็นชั้นประณีตก็มี
สัญญาขันธ์ที่มีสภาวะผิดและให้ผลแน่นอนก็มี ที่มีสภาวะชอบและให้ผลแน่
่นอนก็มี ที่ไม่แน่นอนโดยอาการทั้งสองนั้นก็มี
สัญญาขันธ์ที่มีมรรคเป็นอารมณ์ก็มี ที่มีมรรคเป็นเหตุก็มี ที่มีมรรคเป็นอธิบดี
ก็มี
สัญญาขันธ์ที่เกิดขึ้นก็มี ที่ยังไม่เกิดขึ้นก็มี ที่จักเกิดขึ้นแน่นอนก็มี
สัญญาขันธ์ที่เป็นอดีตก็มี ที่เป็นอนาคตก็มี ที่เป็นปัจจุบันก็มี
สัญญาขันธ์ที่มีอดีตธรรมเป็นอารมณ์ก็มี ที่มีอนาคตธรรมเป็นอารมณ์ก็มี ที่
มีปัจจุบันธรรมเป็นอารมณ์ก็มี
สัญญาขันธ์ที่เป็นภายในตนก็มี ที่เป็นภายนอกตนก็มี ที่เป็นภายในตนและ
ภายนอกตนก็มี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๔๖ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑.ขันธวิภังค์] ๒.อภิธรรมภาชนีย์ ๓.สัญญาขันธ์
สัญญาขันธ์ที่มีธรรมภายในตนเป็นอารมณ์ก็มี ที่มีธรรมภายนอกตนเป็น
อารมณ์ก็มี ที่มีธรรมภายในตนและภายนอกตนเป็นอารมณ์ก็มี
ฯลฯ
สัญญาขันธ์หมวดละ ๑๐ มีด้วยอาการอย่างนี้
[๖๕] สัญญาขันธ์หมวดละ ๑ ได้แก่ สัญญาขันธ์ที่สัมปยุตด้วยผัสสะ
สัญญาขันธ์หมวดละ ๒ ได้แก่ สัญญาขันธ์ที่สัมปยุตด้วยเหตุก็มี ที่วิปปยุต
จากเหตุก็มี
สัญญาขันธ์ที่ไม่เป็นเหตุแต่มีเหตุก็มี ที่ไม่เป็นเหตุและไม่มีเหตุก็มี
สัญญาขันธ์ที่เป็นโลกิยะก็มี ที่เป็นโลกุตตระก็มี
สัญญาขันธ์ที่จิตบางดวงรู้ได้ก็มี ที่จิตบางดวงรู้ไม่ได้ก็มี
สัญญาขันธ์ที่เป็นอารมณ์ของอาสวะก็มี ที่ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะก็มี
สัญญาขันธ์ที่สัมปยุตด้วยอาสวะก็มี ที่วิปปยุตจากอาสวะก็มี
สัญญาขันธ์ที่วิปปยุตจากอาสวะแต่เป็นอารมณ์ของอาสวะก็มี ที่วิปปยุตจาก
อาสวะและไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะก็มี
สัญญาขันธ์ที่เป็นอารมณ์ของสังโยชน์ก็มี ที่ไม่เป็นอารมณ์ของสังโยชน์ก็มี
สัญญาขันธ์ที่สัมปยุตด้วยสังโยชน์ก็มี ที่วิปปยุตจากสังโยชน์ก็มี
สัญญาขันธ์ที่วิปปยุตจากสังโยชน์แต่เป็นอารมณ์ของสังโยชน์ก็มี ที่วิปปยุตจาก
สังโยชน์และไม่เป็นอารมณ์ของสังโยชน์ก็มี
สัญญาขันธ์ที่เป็นอารมณ์ของคันถะก็มี ที่ไม่เป็นอารมณ์ของคันถะก็มี
สัญญาขันธ์ที่สัมปยุตด้วยคันถะก็มี ที่วิปปยุตจากคันถะก็มี
สัญญาขันธ์ที่วิปปยุตจากคันถะแต่เป็นอารมณ์ของคันถะก็มี ที่วิปปยุตจาก
คันถะและไม่เป็นอารมณ์ของคันถะก็มี
สัญญาขันธ์ที่เป็นอารมณ์ของโอฆะก็มี ที่ไม่เป็นอารมณ์ของโอฆะก็มี
สัญญาขันธ์ที่สัมปยุตด้วยโอฆะก็มี ที่วิปปยุตจากโอฆะก็มี
สัญญาขันธ์ที่วิปปยุตจากโอฆะแต่เป็นอารมณ์ของโอฆะก็มี ที่วิปปยุตจากโอฆะ
และไม่เป็นอารมณ์ของโอฆะก็มี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๔๗ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑.ขันธวิภังค์] ๒.อภิธรรมภาชนีย์ ๓.สัญญาขันธ์
สัญญาขันธ์ที่เป็นอารมณ์ของโยคะก็มี ที่ไม่เป็นอารมณ์ของโยคะก็มี
สัญญาขันธ์ที่สัมปยุตด้วยโยคะก็มี ที่วิปปยุตจากโยคะก็มี
สัญญาขันธ์ที่วิปปยุตจากโยคะแต่เป็นอารมณ์ของโยคะก็มี ที่วิปปยุตจากโยคะ
และไม่เป็นอารมณ์ของโยคะก็มี
สัญญาขันธ์ที่เป็นอารมณ์ของนิวรณ์ก็มี ที่ไม่เป็นอารมณ์ของนิวรณ์ก็มี
สัญญาขันธ์ที่สัมปยุตด้วยนิวรณ์ก็มี ที่วิปปยุตจากนิวรณ์ก็มี
สัญญาขันธ์ที่วิปปยุตจากนิวรณ์แต่เป็นอารมณ์ของนิวรณ์ก็มี ที่วิปปยุตจาก
นิวรณ์และไม่เป็นอารมณ์ของนิวรณ์ก็มี
สัญญาขันธ์ที่เป็นอารมณ์ของปรามาสก็มี ที่ไม่เป็นอารมณ์ของปรามาสก็มี
สัญญาขันธ์ที่สัมปยุตด้วยปรามาสก็มี ที่วิปปยุตจากปรามาสก็มี
สัญญาขันธ์ที่วิปปยุตจากปรามาสแต่เป็นอารมณ์ของปรามาสก็มี ที่วิปปยุต
จากปรามาสและไม่เป็นอารมณ์ของปรามาสก็มี
สัญญาขันธ์ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือก็มี ที่กรรมอัน
ประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือก็มี
สัญญาขันธ์ที่เป็นอารมณ์ของอุปาทานก็มี ที่ไม่เป็นอารมณ์ของอุปาทานก็มี
สัญญาขันธ์ที่สัมปยุตด้วยอุปาทานก็มี ที่วิปปยุตจากอุปาทานก็มี
สัญญาขันธ์ที่วิปปยุตจากอุปาทานแต่เป็นอารมณ์ของอุปาทานก็มี ที่วิปปยุต
จากอุปาทานและไม่เป็นอารมณ์ของอุปาทานก็มี
สัญญาขันธ์ที่เป็นอารมณ์ของกิเลสก็มี ที่ไม่เป็นอารมณ์ของกิเลสก็มี
สัญญาขันธ์ที่กิเลสทำให้เศร้าหมองก็มี ที่กิเลสไม่ทำให้เศร้าหมองก็มี
สัญญาขันธ์ที่สัมปยุตด้วยกิเลสก็มี ที่วิปปยุตจากกิเลสก็มี
สัญญาขันธ์ที่วิปปยุตจากกิเลสแต่เป็นอารมณ์ของกิเลสก็มี ที่วิปปยุตจาก
กิเลสและไม่เป็นอารมณ์ของกิเลสก็มี
สัญญาขันธ์ที่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคก็มี ที่ไม่ต้องประหาณด้วย
โสดาปัตติมรรคก็มี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๔๘ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑.ขันธวิภังค์] ๒.อภิธรรมภาชนีย์ ๓.สัญญาขันธ์
สัญญาขันธ์ที่ต้องประหาณด้วยมรรคเบื้องบน ๓ ก็มี ที่ไม่ต้องประหาณด้วย
มรรคเบื้องบน ๓ ก็มี
สัญญาขันธ์ที่มีเหตุต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคก็มี ที่ไม่มีเหตุต้อง
ประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคก็มี
สัญญาขันธ์ที่มีเหตุต้องประหาณด้วยมรรคเบื้องบน ๓ ก็มี ที่ไม่มีเหตุต้อง
ประหาณด้วยมรรคเบื้องบน ๓ ก็มี
สัญญาขันธ์ที่มีวิตกก็มี ที่ไม่มีวิตกก็มี
สัญญาขันธ์ที่มีวิจารก็มี ที่ไม่มีวิจารก็มี
สัญญาขันธ์ที่มีปีติก็มี ที่ไม่มีปีติก็มี
สัญญาขันธ์ที่สหรคตด้วยปีติก็มี ที่ไม่สหรคตด้วยปีติก็มี
สัญญาขันธ์ที่สหรคตด้วยสุขก็มี ที่ไม่สหรคตด้วยสุขก็มี
สัญญาขันธ์ที่สหรคตด้วยอุเบกขาก็มี ที่ไม่สหรคตด้วยอุเบกขาก็มี
สัญญาขันธ์ที่เป็นกามาวจรก็มี ที่ไม่เป็นกามาวจรก็มี
สัญญาขันธ์ที่เป็นรูปาวจรก็มี ที่ไม่เป็นรูปาวจรก็มี
สัญาขันธ์ที่เป็นอรูปาวจรก็มี ที่ไม่เป็นอรูปาวจรก็มี
สัญญาขันธ์ที่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ก็มี ที่ไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ก็มี
สัญญาขันธ์ที่เป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ก็มี ที่ไม่เป็นเหตุนำออกจากวัฏฏ-
ทุกข์ก็มี
สัญญาขันธ์ที่ให้ผลแน่นอนก็มี ที่ให้ผลไม่แน่นอนก็มี
สัญญาขันธ์ที่มีธรรมอื่นยิ่งกว่าก็มี ที่ไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่าก็มี
สัญญาขันธ์ที่เป็นเหตุให้สัตว์ร้องไห้ก็มี ที่ไม่เป็นเหตุให้สัตว์ร้องไห้ก็มี
สัญญาขันธ์หมวดละ ๓ ได้แก่ สัญญาขันธ์ที่เป็นกุศลก็มี ที่เป็นอกุศลก็มี ที่
เป็นอัพยากฤตก็มี
ฯลฯ
สัญญาขันธ์หมวดละ ๑๐ มีด้วยอาการอย่างนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๔๙ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑.ขันธวิภังค์] ๒.อภิธรรมภาชนีย์ ๓.สัญญาขันธ์
[๖๖] สัญญาขันธ์หมวดละ ๑ ได้แก่ สัญญาขันธ์ที่สัมปยุตด้วยผัสสะ
สัญญาขันธ์หมวดละ ๒ ได้แก่ สัญญาขันธ์ที่เป็นเหตุให้สัตว์ร้องไห้ก็มี ที่ไม่
เป็นเหตุให้สัตว์ร้องไห้ก็มี
สัญญาขันธ์หมวดละ ๓ ได้แก่ สัญญาขันธ์ที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาก็มี ที่
สัมปยุตด้วยทุกขเวทนาก็มี ที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนาก็มี
สัญญาขันธ์ที่เป็นวิบากก็มี ฯลฯ
สัญญาขันธ์ที่มีธรรมภายในตนเป็นอารมณ์ก็มี ที่มีธรรมภายนอกตนเป็น
อารมณ์ก็มี ที่มีธรรมภายในตนและภายนอกตนเป็นอารมณ์ก็มี
ฯลฯ
สัญญาขันธ์หมวดละ ๑๐ มีด้วยอาการอย่างนี้
(พึงขยายติกะแม้ทั้งหมดให้พิสดารเหมือนในกุสลติกะ)
ทุกมูลกวาร จบ

ติกมูลกวาร
[๖๗] สัญญาขันธ์หมวดละ ๑ ได้แก่ สัญญาขันธ์ที่สัมปยุตด้วยผัสสะ
สัญญาขันธ์หมวดละ ๒ ได้แก่ สัญญาขันธ์ที่มีเหตุก็มี ที่ไม่มีเหตุก็มี
สัญญาขันธ์หมวดละ ๓ ได้แก่ สัญญาขันธ์ที่เป็นกุศลก็มี ที่เป็นอกุศลก็มี
ที่เป็นอัพยากฤตก็มี
ฯลฯ
สัญญาขันธ์หมวดละ ๑๐ มีด้วยอาการอย่างนี้
[๖๘] สัญญาขันธ์หมวดละ ๑ ได้แก่ สัญญาขันธ์ที่สัมปยุตด้วยผัสสะ
สัญญาขันธ์หมวดละ ๒ ได้แก่ สัญญาขันธ์ที่สัมปยุตด้วยเหตุก็มี ที่วิปปยุต
จากเหตุก็มี
ฯลฯ
สัญญาขันธ์ที่เป็นเหตุให้สัตว์ร้องไห้ก็มี ที่ไม่เป็นเหตุให้สัตว์ร้องไห้ก็มี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๕๐ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑.ขันธวิภังค์] ๒.อภิธรรมภาชนีย์ ๓.สัญญาขันธ์
สัญญาขันธ์หมวดละ ๓ ได้แก่ สัญญาขันธ์ที่เป็นกุศลก็มี ที่เป็นอกุศลก็มี
ที่เป็นอัพยากฤตก็มี
ฯลฯ
สัญญาขันธ์หมวดละ ๑๐ มีด้วยอาการอย่างนี้
[๖๙] สัญญาขันธ์หมวดละ ๑ ได้แก่ สัญญาขันธ์ที่สัมปยุตด้วยผัสสะ
สัญญาขันธ์หมวดละ ๒ ได้แก่ สัญญาขันธ์ที่มีเหตุก็มี ที่ไม่มีเหตุก็มี
สัญญาขันธ์หมวดละ ๓ ได้แก่ สัญญาขันธ์ที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาก็มี ที่
สัมปยุตด้วยทุกขเวทนาก็มี ที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนาก็มี
สัญญาขันธ์ที่เป็นวิบากก็มี ฯลฯ
สัญญาขันธ์ที่มีธรรมภายในตนเป็นอารมณ์ก็มี ที่มีธรรมภายนอกตนเป็น
อารมณ์ก็มี ที่มีธรรมภายในตนและภายนอกตนเป็นอารมณ์ก็มี
ฯลฯ
สัญญาขันธ์หมวดละ ๑๐ มีด้วยอาการอย่างนี้
[๗๐] สัญญาขันธ์หมวดละ ๑ ได้แก่ สัญญาขันธ์ที่สัมปยุตด้วยผัสสะ
สัญญาขันธ์หมวดละ ๒ ได้แก่ สัญญาขันธ์ที่สัมปยุตด้วยเหตุก็มี ที่วิปปยุต
จากเหตุก็มี
ฯลฯ
สัญญาขันธ์ที่เป็นเหตุให้สัตว์ร้องไห้ก็มี ที่ไม่เป็นเหตุให้สัตว์ร้องไห้ก็มี
สัญญาขันธ์หมวดละ ๓ ได้แก่ สัญญาขันธ์ที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาก็มี ที่
สัมปยุตด้วยทุกขเวทนาก็มี ที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนาก็มี
ฯลฯ
สัญญาขันธ์ที่มีธรรมภายในตนเป็นอารมณ์ก็มี ที่มีธรรมภายนอกตนเป็น
อารมณ์ก็มี ที่มีธรรมภายในตนและภายนอกตนเป็นอารมณ์ก็มี
ฯลฯ
สัญญาขันธ์หมวดละ ๑๐ มีด้วยอาการอย่างนี้
ติกมูลกวาร จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๕๑ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑.ขันธวิภังค์] ๒.อภิธรรมภาชนีย์ ๓.สัญญาขันธ์
อุภโตวัฑฒกวาร
[๗๑] สัญญาขันธ์หมวดละ ๑ ได้แก่ สัญญาขันธ์ที่สัมปยุตด้วยผัสสะ
สัญญาขันธ์หมวดละ ๒ ได้แก่ สัญญาขันธ์ที่มีเหตุก็มี ที่ไม่มีเหตุก็มี
สัญญาขันธ์หมวดละ ๓ ได้แก่ สัญญาขันธ์ที่เป็นกุศลก็มี ที่เป็นอกุศลก็มี ที่
เป็นอัพยากฤตก็มี
ฯลฯ
สัญญาขันธ์หมวดละ ๑๐ มีด้วยอาการอย่างนี้
[๗๒] สัญญาขันธ์หมวดละ ๑ ได้แก่ สัญญาขันธ์ที่สัมปยุตด้วยผัสสะ
สัญญาขันธ์หมวดละ ๒ ได้แก่ สัญญาขันธ์ที่สัมปยุตด้วยเหตุก็มี ที่วิปปยุต
จากเหตุก็มี
สัญญาขันธ์หมวดละ ๓ ได้แก่ สัญญาขันธ์ที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาก็มี ที่
สัมปยุตด้วยทุกขเวทนาก็มี ที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนาก็มี
ฯลฯ
สัญญาขันธ์หมวดละ ๑๐ มีด้วยอาการอย่างนี้
[๗๓] สัญญาขันธ์หมวดละ ๑ ได้แก่ สัญญาขันธ์ที่สัมปยุตด้วยผัสสะ
สัญญาขันธ์หมวดละ ๒ ได้แก่ สัญญาขันธ์ที่ไม่เป็นเหตุแต่มีเหตุก็มี ที่ไม่
เป็นเหตุและไม่มีเหตุก็มี
สัญญาขันธ์หมวดละ ๓ ได้แก่ สัญญาขันธ์ที่เป็นวิบากก็มี ที่เป็นเหตุให้เกิด
วิบากก็มี ที่ไม่เป็นวิบากและไม่เป็นเหตุให้เกิดวิบากก็มี
ฯลฯ
สัญญาขันธ์หมวดละ ๑๐ มีด้วยอาการอย่างนี้
[๗๔] สัญญาขันธ์หมวดละ ๑ ได้แก่ สัญญาขันธ์ที่สัมปยุตด้วยผัสสะ
สัญญาขันธ์หมวดละ ๒ ได้แก่ สัญญาขันธ์ที่เป็นโลกิยะก็มี ที่เป็นโลกุตตระ
ก็มี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๕๒ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑.ขันธวิภังค์] ๒.อภิธรรมภาชนีย์ ๓.สัญญาขันธ์
สัญญาขันธ์หมวดละ ๓ ได้แก่ สัญญาขันธ์ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและ
ทิฏฐิยึดถือและเป็นอารมณ์ของอุปาทานก็มี ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิ
ไม่ยึดถือแต่เป็นอารมณ์ของอุปาทานก็มี ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่
ยึดถือและไม่เป็นอารมณ์ของอุปาทานก็มี
ฯลฯ
สัญญาขันธ์หมวดละ ๑๐ มีด้วยอาการอย่างนี้
[๗๕] สัญญาขันธ์หมวดละ ๑ ได้แก่ สัญญาขันธ์ที่สัมปยุตด้วยผัสสะ
สัญญาขันธ์หมวดละ ๒ ได้แก่ สัญญาขันธ์ที่จิตบางดวงรู้ได้ก็มี ที่จิตบางดวง
รู้ไม่ได้ก็มี
สัญญาขันธ์หมวดละ ๓ ได้แก่ สัญญาขันธ์ที่กิเลสทำให้เศร้าหมองและเป็น
อารมณ์ของกิเลสก็มี ที่กิเลสไม่ทำให้เศร้าหมองแต่เป็นอารมณ์ของกิเลสก็มี ที่กิเลส
ไม่ทำให้เศร้าหมองและไม่เป็นอารมณ์ของกิเลสก็มี
ฯลฯ
สัญญาขันธ์หมวดละ ๑๐ มีด้วยอาการอย่างนี้
[๗๖] สัญญาขันธ์หมวดละ ๑ ได้แก่ สัญญาขันธ์ที่สัมปยุตด้วยผัสสะ
สัญญาขันธ์หมวดละ ๒ ได้แก่ สัญญาขันธ์ที่เป็นอารมณ์ของอาสวะก็มี ที่ไม่
เป็นอารมณ์ของอาสวะก็มี
สัญญาขันธ์หมวดละ ๓ ได้แก่ สัญญาขันธ์ที่มีทั้งวิตกและวิจารก็มี ที่ไม่มี
วิตกมีเพียงวิจารก็มี ที่ไม่มีทั้งวิตกและวิจารก็มี
ฯลฯ
สัญญาขันธ์หมวดละ ๑๐ มีด้วยอาการอย่างนี้
[๗๗] สัญญาขันธ์หมวดละ ๑ ได้แก่ สัญญาขันธ์ที่สัมปยุตด้วยผัสสะ
สัญญาขันธ์หมวดละ ๒ ได้แก่ สัญญาขันธ์ที่สัมปยุตด้วยอาสวะก็มี ที่วิปปยุต
จากอาสวะก็มี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๕๓ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑.ขันธวิภังค์] ๒.อภิธรรมภาชนีย์ ๓.สัญญาขันธ์
สัญญาขันธ์หมวดละ ๓ ได้แก่ สัญญาขันธ์ที่สหรคตด้วยปีติก็มี ที่สหรคต
ด้วยสุขก็มี ที่สหรคตด้วยอุเบกขาก็มี
ฯลฯ
สัญญาขันธ์หมวดละ ๑๐ มีด้วยอาการอย่างนี้
[๗๘] สัญญาขันธ์หมวดละ ๑ ได้แก่ สัญญาขันธ์ที่สัมปยุตด้วยผัสสะ
สัญญาขันธ์หมวดละ ๒ ได้แก่ สัญญาขันธ์ที่วิปปยุตจากอาสวะแต่เป็นอารมณ์
ของอาสวะก็มี ที่วิปปยุตจากอาสวะและไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะก็มี
สัญญาขันธ์หมวดละ ๓ ได้แก่ สัญญาขันธ์ที่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรค
ก็มี ที่ต้องประหาณด้วยมรรคเบื้องบน ๓ ก็มี ที่ไม่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรค
และมรรคเบื้องบน ๓ ก็มี
ฯลฯ
สัญญาขันธ์หมวดละ ๑๐ มีด้วยอาการอย่างนี้
[๗๙] สัญญาขันธ์หมวดละ ๑ ได้แก่ สัญญาขันธ์ที่สัมปยุตด้วยผัสสะ
สัญญาขันธ์หมวดละ ๒ ได้แก่ สัญญาขันธ์ที่เป็นอารมณ์ของสังโยชน์ก็มี ที่ไม่
เป็นอารมณ์ของสังโยชน์ก็มี
สัญญาขันธ์หมวดละ ๓ ได้แก่ สัญญาขันธ์ที่มีเหตุต้องประหาณด้วยโสดา-
ปัตติมรรคก็มี ที่มีเหตุต้องประหาณด้วยมรรคเบื้องบน ๓ ก็มี ที่ไม่มีเหตุต้องประหาณ
ด้วยโสดาปัตติมรรคและมรรคเบื้องบน ๓ ก็มี
ฯลฯ
สัญญาขันธ์หมวดละ ๑๐ มีด้วยอาการอย่างนี้
[๘๐] สัญญาขันธ์หมวดละ ๑ ได้แก่ สัญญาขันธ์ที่สัมปยุตด้วยผัสสะ
สัญญาขันธ์หมวดละ ๒ ได้แก่ สัญญาขันธ์ที่สัมปยุตด้วยสังโยชน์ก็มี ที่
วิปปยุตจากสังโยชน์ก็มี
สัญญาขันธ์หมวดละ ๓ ได้แก่ สัญญาขันธ์ที่เป็นเหตุให้ถึงปฏิสนธิและจุติก็มี
ที่เป็นเหตุให้ถึงนิพพานก็มี ที่ไม่เป็นเหตุให้ถึงปฏิสนธิ จุติ และนิพพานก็มี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๕๔ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑.ขันธวิภังค์] ๒.อภิธรรมภาชนีย์ ๓.สัญญาขันธ์
ฯลฯ
สัญญาขันธ์หมวดละ ๑๐ มีด้วยอาการอย่างนี้
[๘๑] สัญญาขันธ์หมวดละ ๑ ได้แก่ สัญญาขันธ์ที่สัมปยุตด้วยผัสสะ
สัญญาขันธ์หมวดละ ๒ ได้แก่ สัญญาขันธ์ที่วิปปยุตจากสังโยชน์แต่เป็น
อารมณ์ของสังโยชน์ก็มี ที่วิปปยุตจากสังโยชน์และไม่เป็นอารมณ์ของสังโยชน์ก็มี
สัญญาขันธ์หมวดละ ๓ ได้แก่ สัญญาขันธ์ที่เป็นของเสขบุคคลก็มี ที่เป็นของ
อเสขบุคคลก็มี ที่ไม่เป็นของเสขบุคคลและอเสขบุคคลก็มี
ฯลฯ
สัญญาขันธ์หมวดละ ๑๐ มีด้วยอาการอย่างนี้
[๘๒] สัญญาขันธ์หมวดละ ๑ ได้แก่ สัญญาขันธ์ที่สัมปยุตด้วยผัสสะ
สัญญาขันธ์หมวดละ ๒ ได้แก่ สัญญาขันธ์ที่เป็นอารมณ์ของคันถะก็มี ที่ไม่
เป็นอารมณ์ของคันถะก็มี
สัญญาขันธ์หมวดละ ๓ ได้แก่ สัญญาขันธ์ที่เป็นปริตตะก็มี ที่เป็นมหัคคตะ
ก็มี ที่เป็นอัปปมาณะก็มี
ฯลฯ
สัญญาขันธ์หมวดละ ๑๐ มีด้วยอาการอย่างนี้
[๘๓] สัญญาขันธ์หมวดละ ๑ ได้แก่ สัญญาขันธ์ที่สัมปยุตด้วยผัสสะ
สัญญาขันธ์หมวดละ ๒ ได้แก่ สัญญาขันธ์ที่สัมปยุตด้วยคันถะก็มี ที่วิปปยุต
จากคันถะก็มี
สัญญาขันธ์หมวดละ ๓ ได้แก่ สัญญาขันธ์ที่มีปริตตะเป็นอารมณ์ก็มี ที่มี
มหัคคตะเป็นอารมณ์ก็มี ที่มีอัปปมาณะเป็นอารมณ์ก็มี
ฯลฯ
สัญญาขันธ์หมวดละ ๑๐ มีด้วยอาการอย่างนี้
[๘๔] สัญญาขันธ์หมวดละ ๑ ได้แก่ สัญญาขันธ์ที่สัมปยุตด้วยผัสสะ
สัญญาขันธ์หมวดละ ๒ ได้แก่ สัญญาขันธ์ที่วิปปยุตจากคันถะแต่เป็นอารมณ์
ของคันถะก็มี ที่วิปปยุตจากคันถะและไม่เป็นอารมณ์ของคันถะก็มี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๕๕ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑.ขันธวิภังค์] ๒.อภิธรรมภาชนีย์ ๓.สัญญาขันธ์
สัญญาขันธ์หมวดละ ๓ ได้แก่ สัญญาขันธ์ที่เป็นชั้นต่ำก็มี ที่เป็นชั้นกลาง
ก็มี ที่เป็นชั้นประณีตก็มี
ฯลฯ
สัญญาขันธ์หมวดละ ๑๐ มีด้วยอาการอย่างนี้
[๘๕] สัญญาขันธ์หมวดละ ๑ ได้แก่ สัญญาขันธ์ที่สัมปยุตด้วยผัสสะ
สัญญาขันธ์หมวดละ ๒ ได้แก่ สัญญาขันธ์ที่เป็นอารมณ์ของโอฆะก็มี ที่ไม่
เป็นอารมณ์ของโอฆะก็มี
สัญญาขันธ์หมวดละ ๓ ได้แก่ สัญญาขันธ์ที่มีสภาวะผิดและให้ผลแน่นอนก็มี
ที่มีสภาวะชอบและให้ผลแน่นอนก็มี ที่ไม่แน่นอนโดยอาการทั้งสองนั้นก็มี
ฯลฯ
สัญญาขันธ์หมวดละ ๑๐ มีด้วยอาการอย่างนี้
[๘๖] สัญญาขันธ์หมวดละ ๑ ได้แก่ สัญญาขันธ์ที่สัมปยุตด้วยผัสสะ
สัญญาขันธ์หมวดละ ๒ ได้แก่ สัญญาขันธ์ที่สัมปยุตด้วยโอฆะก็มี ที่วิปปยุต
จากโอฆะก็มี
สัญญาขันธ์หมวดละ ๓ ได้แก่ สัญญาขันธ์ที่มีมรรคเป็นอารมณ์ก็มี ที่มี
มรรคเป็นเหตุก็มี ที่มีมรรคเป็นอธิบดีก็มี
ฯลฯ
สัญญาขันธ์หมวดละ ๑๐ มีด้วยอาการอย่างนี้
[๘๗] สัญญาขันธ์หมวดละ ๑ ได้แก่ สัญญาขันธ์ที่สัมปยุตด้วยผัสสะ
สัญญาขันธ์หมวดละ ๒ ได้แก่ สัญญาขันธ์ที่วิปปยุตจากโอฆะแต่เป็นอารมณ์
ของโอฆะก็มี ที่วิปปยุตจากโอฆะและไม่เป็นอารมณ์ของโอฆะก็มี
สัญญาขันธ์หมวดละ ๓ ได้แก่ สัญญาขันธ์ที่เกิดขึ้นก็มี ที่ยังไม่เกิดขึ้นก็มี
ที่จักเกิดขึ้นแน่นอนก็มี
ฯลฯ
สัญญาขันธ์หมวดละ ๑๐ มีด้วยอาการอย่างนี้
[๘๘] สัญญาขันธ์หมวดละ ๑ ได้แก่ สัญญาขันธ์ที่สัมปยุตด้วยผัสสะ
สัญญาขันธ์หมวดละ ๒ ได้แก่ สัญญาขันธ์ที่เป็นอารมณ์ของโยคะก็มี ที่ไม่
เป็นอารมณ์ของโยคะก็มี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๕๖ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑.ขันธวิภังค์] ๒.อภิธรรมภาชนีย์ ๓.สัญญาขันธ์
สัญญาขันธ์หมวดละ ๓ ได้แก่ สัญญาขันธ์ที่เป็นอดีตก็มี ที่เป็นอนาคตก็มี
ที่เป็นปัจจุบันก็มี
ฯลฯ
สัญญาขันธ์หมวดละ ๑๐ มีด้วยอาการอย่างนี้
[๘๙] สัญญาขันธ์หมวดละ ๑ ได้แก่ สัญญาขันธ์ที่สัมปยุตด้วยผัสสะ
สัญญาขันธ์หมวดละ ๒ ได้แก่ สัญญาขันธ์ที่สัมปยุตด้วยโยคะก็มี ที่วิปปยุต
จากโยคะก็มี
สัญญาขันธ์หมวดละ ๓ ได้แก่ สัญญาขันธ์ที่มีอดีตธรรมเป็นอารมณ์ก็มี
ที่มีอนาคตธรรมเป็นอารมณ์ก็มี ที่มีปัจจุบันธรรมเป็นอารมณ์ก็มี
ฯลฯ
สัญญาขันธ์หมวดละ ๑๐ มีด้วยอาการอย่างนี้
[๙๐] สัญญาขันธ์หมวดละ ๑ ได้แก่ สัญญาขันธ์ที่สัมปยุตด้วยผัสสะ
สัญญาขันธ์หมวดละ ๒ ได้แก่ สัญญาขันธ์ที่วิปปยุตจากโยคะแต่เป็นอารมณ์
ของโยคะก็มี ที่วิปปยุตจากโยคะและไม่เป็นอารมณ์ของโยคะก็มี
สัญญาขันธ์หมวดละ ๓ ได้แก่ สัญญาขันธ์ที่เป็นภายในตนก็มี ที่เป็น
ภายนอกตนก็มี ที่เป็นภายในตนและภายนอกตนก็มี
ฯลฯ
สัญญาขันธ์หมวดละ ๑๐ มีด้วยอาการอย่างนี้
[๙๑] สัญญาขันธ์หมวดละ ๑ ได้แก่ สัญญาขันธ์ที่สัมปยุตด้วยผัสสะ
สัญญาขันธ์หมวดละ ๒ ได้แก่ สัญญาขันธ์ที่เป็นอารมณ์ของนิวรณ์ก็มี ที่ไม่
เป็นอารมณ์ของนิวรณ์ก็มี
สัญญาขันธ์หมวดละ ๓ ได้แก่ สัญญาขันธ์ที่มีธรรมภายในตนเป็นอารมณ์ก็มี
ที่มีธรรมภายนอกตนเป็นอารมณ์ก็มี ที่มีธรรมภายในตนและภายนอกตนเป็นอารมณ์ก็มี
ฯลฯ
สัญญาขันธ์หมวดละ ๑๐ มีด้วยอาการอย่างนี้
อุภโตวัฑฒกวาร จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๕๗ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑.ขันธวิภังค์] ๒.อภิธรรมภาชนีย์ ๓.สัญญาขันธ์
พหุวิธวาร
สัญญาขันธ์หมวดละ ๗ ได้แก่ สัญญาขันธ์ที่เป็นกุศลก็มี ที่เป็นอกุศลก็มี ที่
เป็นอัพยากฤตก็มี ที่เป็นกามาวจรก็มี ที่เป็นรูปาวจรก็มี ที่เป็นอรูปาวจรก็มี ที่ไม่
นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ก็มี
สัญญาขันธ์หมวดละ ๗ มีด้วยอาการอย่างนี้
สัญญาขันธ์หมวดละ ๗ อีกหมวดหนึ่ง ได้แก่ สัญญาขันธ์ที่สัมปยุตด้วย
สุขเวทนาก็มี ที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนาก็มี ที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนาก็มี ที่เป็น
กามาวจรก็มี ที่เป็นรูปาวจรก็มี ที่เป็นอรูปาวจรก็มี ที่ไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ก็มี
ฯลฯ
สัญญาขันธ์ที่มีธรรมภายในตนเป็นอารมณ์ก็มี ที่มีธรรมภายนอกตนเป็น
อารมณ์ก็มี ที่มีธรรมภายในตนและภายนอกตนเป็นอารมณ์ก็มี ที่เป็นกามาวจรก็มี
ที่เป็นรูปาวจรก็มี ที่เป็นอรูปาวจรก็มี ที่ไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ก็มี
สัญญาขันธ์หมวดละ ๗ มีด้วยอาการอย่างนี้
สัญญาขันธ์หมวดละ ๒๔ ได้แก่ เพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัย สัญญาขันธ์
ที่เป็นกุศล ๑ ที่เป็นอกุศล ๑ ที่เป็นอัพยากฤต ๑ จึงมี
เพราะโสตสัมผัสเป็นปัจจัย ฯลฯ
เพราะฆานสัมผัสเป็นปัจจัย ฯลฯ
เพราะชิวหาสัมผัสเป็นปัจจัย ฯลฯ
เพราะกายสัมผัสเป็นปัจจัย ฯลฯ
เพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย สัญญาขันธ์ที่เป็นกุศล ๑ ที่เป็นอกุศล ๑ ที่เป็น
อัพยากฤต ๑ จึงมี
สัญญาที่เกิดแต่จักขุสัมผัส สัญญาที่เกิดแต่โสตสัมผัส สัญญาที่เกิดแต่ฆาน-
สัมผัส สัญญาที่เกิดแต่ชิวหาสัมผัส สัญญาที่เกิดแต่กายสัมผัส สัญญาที่เกิดแต่
มโนสัมผัส
สัญญาขันธ์หมวดละ ๒๔ มีด้วยอาการอย่างนี้
สัญญาขันธ์หมวดละ ๒๔ อีกหมวดหนึ่ง ได้แก่ เพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัย
สัญญาขันธ์ที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนา ๑ ที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนา ๑ ที่สัมปยุตด้วย
อทุกขมสุขเวทนา ๑ จึงมี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๕๘ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑.ขันธวิภังค์] ๒.อภิธรรมภาชนีย์ ๓.สัญญาขันธ์
ฯลฯ
สัญญาขันธ์ที่มีธรรมภายในตนเป็นอารมณ์ก็มี ที่มีธรรมภายนอกตนเป็น
อารมณ์ก็มี ที่มีธรรมภายในตนและภายนอกตนเป็นอารมณ์ก็มี
สัญญาที่เกิดแต่จักขุสัมผัส ฯลฯ สัญญาที่เกิดแต่มโนสัมผัส
เพราะโสตสัมผัสเป็นปัจจัย ฯลฯ
เพราะฆานสัมผัสเป็นปัจจัย ฯลฯ
เพราะชิวหาสัมผัสเป็นปัจจัย ฯลฯ
เพราะกายสัมผัสเป็นปัจจัย ฯลฯ
เพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย สัญญาขันธ์ที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนา ๑ จึงมี
ฯลฯ
สัญญาขันธ์ที่มีธรรมภายในตนเป็นอารมณ์ก็มี ที่มีธรรมภายนอกตนเป็น
อารมณ์ก็มี ที่มีธรรมภายในตนและภายนอกตนเป็นอารมณ์ก็มี
สัญญาที่เกิดแต่จักขุสัมผัส ฯลฯ สัญญาที่เกิดแต่มโนสัมผัส
สัญญาขันธ์หมวดละ ๒๔ มีด้วยอาการอย่างนี้
สัญญาขันธ์หมวดละ ๓๐ ได้แก่ เพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัย สัญญาขันธ์ที่
เป็นกามาวจร ๑ ที่เป็นรูปาวจร ๑ ที่เป็นอรูปาวจร ๑ ที่ไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ ๑ จึงมี
เพราะโสตสัมผัสเป็นปัจจัย ฯลฯ
เพราะฆานสัมผัสเป็นปัจจัย ฯลฯ
เพราะชิวหาสัมผัสเป็นปัจจัย ฯลฯ
เพราะกายสัมผัสเป็นปัจจัย ฯลฯ
เพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย สัญญาขันธ์ที่เป็นกามาวจร ๑ ที่เป็นรูปาวจร ๑
ที่เป็นอรูปาวจร ๑ ที่ไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ ๑ จึงมี
สัญญาที่เกิดแต่จักขุสัมผัส ฯลฯ สัญญาที่เกิดแต่มโนสัมผัส
สัญญาขันธ์หมวดละ ๓๐ มีด้วยอาการอย่างนี้
สัญญาขันธ์หมวดละมากอย่าง ได้แก่ เพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัย สัญญาขันธ์
ที่เป็นกุศล ๑ ที่เป็นอกุศล ๑ ที่เป็นอัพยากฤต ๑ ที่เป็นกามาวจร ๑ ที่เป็นรูปาวจร
๑ ที่เป็นอรูปาวจร ๑ ที่ไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ ๑ จึงมี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๕๙ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑.ขันธวิภังค์] ๒.อภิธรรมภาชนีย์ ๓.สัญญาขันธ์
เพราะโสตสัมผัสเป็นปัจจัย ฯลฯ
เพราะฆานสัมผัสเป็นปัจจัย ฯลฯ
เพราะชิวหาสัมผัสเป็นปัจจัย ฯลฯ
เพราะกายสัมผัสเป็นปัจจัย ฯลฯ
เพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย สัญญาขันธ์ที่เป็นกุศล ๑ ที่เป็นอกุศล ๑ ที่เป็น
อัพยากฤต ๑ ที่เป็นกามาวจร ๑ ที่เป็นรูปาวจร ๑ ที่เป็นอรูปาวจร ๑ ที่ไม่นับ
เนื่องในวัฏฏทุกข์ ๑ จึงมี
สัญญาที่เกิดแต่จักขุสัมผัส ฯลฯ สัญญาที่เกิดแต่มโนสัมผัส
สัญญาขันธ์หมวดละมากอย่างมีด้วยอาการอย่างนี้
สัญญาขันธ์หมวดละมากอย่าง อีกหมวดหนึ่ง ได้แก่ เพราะจักขุสัมผัสเป็น
ปัจจัย สัญญาขันธ์ที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนา ๑ ที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนา ๑ ที่
สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา ๑ จึงมี
ฯลฯ
สัญญาขันธ์ที่มีธรรมภายในตนเป็นอารมณ์ก็มี ที่มีธรรมภายนอกตนเป็น
อารมณ์ก็มี ที่มีธรรมภายในตนและภายนอกตนเป็นอารมณ์ก็มี ที่เป็นกามาวจรก็มี
ที่เป็นรูปาวจรก็มี ที่เป็นอรูปาวจรก็มี ที่ไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ก็มี
เพราะโสตสัมผัสเป็นปัจจัย ฯลฯ
เพราะฆานสัมผัสเป็นปัจจัย ฯลฯ
เพราะชิวหาสัมผัสเป็นปัจจัย ฯลฯ
เพราะกายสัมผัสเป็นปัจจัย ฯลฯ
เพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย สัญญาขันธ์ที่มีธรรมภายในตนเป็นอารมณ์ ๑ ที่มี
ธรรมภายนอกตนเป็นอารมณ์ ๑ ที่มีธรรมภายในตนและภายนอกตนเป็นอารมณ์ ๑
ที่เป็นกามาวจร ๑ ที่เป็นรูปาวจร ๑ ที่เป็นอรูปาวจร ๑ ที่ไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ ๑
จึงมี
สัญญาที่เกิดแต่จักขุสัมผัส ฯลฯ สัญญาที่เกิดแต่มโนสัมผัส
สัญญาขันธ์หมวดละมากอย่างมีด้วยอาการอย่างนี้
นี้เรียกว่า สัญญาขันธ์
พหุวิธวาร จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๖๐ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑.ขันธวิภังค์] ๒.อภิธรรมภาชนีย์ ๔.สังขารขันธ์
๔. สังขารขันธ์
ทุกมูลกวาร๑
[๙๒] บรรดาขันธ์ ๕ นั้น สังขารขันธ์ เป็นไฉน
สังขารขันธ์หมวดละ ๑ ได้แก่ สังขารขันธ์ที่สัมปยุตด้วยจิต
สังขารขันธ์หมวดละ ๒ ได้แก่ สังขารขันธ์ที่เป็นเหตุก็มี ที่ไม่เป็นเหตุก็มี
สังขารขันธ์หมวดละ ๓ ได้แก่ สังขารขันธ์ที่เป็นกุศลก็มี ที่เป็นอกุศลก็มี ที่
เป็นอัพยากฤตก็มี
สังขารขันธ์หมวดละ ๔ ได้แก่ สังขารขันธ์ที่เป็นกามาวจรก็มี ที่เป็นรูปาวจร
ก็มี ที่เป็นอรูปาวจรก็มี ที่ไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ก็มี
สังขารขันธ์หมวดละ ๕ ได้แก่ สังขารขันธ์ที่สัมปยุตด้วยสุขินทรีย์ก็มี ที่
สัมปยุตด้วยทุกขินทรีย์ก็มี ที่สัมปยุตด้วยโสมนัสสินทรีย์ก็มี ที่สัมปยุตด้วย
โทมนัสสินทรีย์ก็มี ที่สัมปยุตด้วยอุเปกขินทรีย์ก็มี
สังขารขันธ์หมวดละ ๕ มีด้วยอาการอย่างนี้
สังขารขันธ์หมวดละ ๖ ได้แก่ เจตนาที่เกิดแต่จักขุสัมผัส เจตนาที่เกิดแต่
โสตสัมผัส เจตนาที่เกิดแต่ฆานสัมผัส เจตนาที่เกิดแต่ชิวหาสัมผัส เจตนาที่เกิดแต่
กายสัมผัส เจตนาที่เกิดแต่มโนสัมผัส
สังขารขันธ์หมวดละ ๖ มีด้วยอาการอย่างนี้
สังขารขันธ์หมวดละ ๗ ได้แก่ เจตนาที่เกิดแต่จักขุสัมผัส ฯลฯ เจตนาที่เกิด
แต่กายสัมผัส เจตนาที่เกิดแต่มโนธาตุสัมผัส เจตนาที่เกิดแต่มโนวิญญาณธาตุสัมผัส
สังขารขันธ์หมวดละ ๗ มีด้วยอาการอย่างนี้

เชิงอรรถ :
๑ อภิ.วิ.อ. ๓๔/๔๑

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๖๑ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑.ขันธวิภังค์] ๒.อภิธรรมภาชนีย์ ๔.สังขารขันธ์
สังขารขันธ์หมวดละ ๘ ได้แก่ เจตนาที่เกิดแต่จักขุสัมผัส ฯลฯ เจตนาที่เกิด
แต่กายสัมผัส ที่สหรคตด้วยสุขก็มี ที่สหรคตด้วยทุกข์ก็มี เจตนาที่เกิดแต่
มโนธาตุสัมผัส เจตนาที่เกิดแต่มโนวิญญาณธาตุสัมผัส
สังขารขันธ์หมวดละ ๘ มีด้วยอาการอย่างนี้
สังขารขันธ์หมวดละ ๙ ได้แก่ เจตนาที่เกิดแต่จักขุสัมผัส ฯลฯ เจตนาที่เกิด
แต่มโนธาตุสัมผัส เจตนาที่เกิดแต่มโนวิญญาณธาตุสัมผัส ที่เป็นกุศลก็มี ที่เป็น
อกุศลก็มี ที่เป็นอัพยากฤตก็มี
สังขารขันธ์หมวดละ ๙ มีด้วยอาการอย่างนี้
สังขารขันธ์หมวดละ ๑๐ ได้แก่ เจตนาที่เกิดแต่จักขุสัมผัส ฯลฯ เจตนา
ที่เกิดแต่กายสัมผัส ที่สหรคตด้วยสุขก็มี ที่สหรคตด้วยทุกข์ก็มี เจตนาที่เกิดแต่
มโนธาตุสัมผัส เจตนาที่เกิดแต่มโนวิญญาณธาตุสัมผัส ที่เป็นกุศลก็มี ที่เป็นอกุศล
ก็มี ที่เป็นอัพยากฤตก็มี
สังขารขันธ์หมวดละ ๑๐ มีด้วยอาการอย่างนี้
[๙๓] สังขารขันธ์หมวดละ ๑ ได้แก่ สังขารขันธ์ที่สัมปยุตด้วยจิต
สังขารขันธ์หมวดละ ๒ ได้แก่ สังขารขันธ์ที่เป็นเหตุก็มี ที่ไม่เป็นเหตุก็มี
สังขารขันธ์หมวดละ ๓ ได้แก่ สังขารขันธ์ที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาก็มี ที่
สัมปยุตด้วยทุกขเวทนาก็มี ที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนาก็มี
สังขารขันธ์ที่เป็นวิบากก็มี ที่เป็นเหตุให้เกิดวิบากก็มี ที่ไม่เป็นวิบากและไม่
เป็นเหตุให้เกิดวิบากก็มี
สังขารขันธ์ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือและเป็นอารมณ์ของ
อุปาทานก็มี ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือแต่เป็นอารมณ์ของ
อุปาทานก็มี ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือและไม่เป็นอารมณ์ของ
อุปาทานก็มี
สังขารขันธ์ที่กิเลสทำให้เศร้าหมองและเป็นอารมณ์ของกิเลสก็มี ที่กิเลสไม่
ทำให้เศร้าหมองแต่เป็นอารมณ์ของกิเลสก็มี ที่กิเลสไม่ทำให้เศร้าหมองและไม่เป็น
อารมณ์ของกิเลสก็มี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๖๒ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑.ขันธวิภังค์] ๒.อภิธรรมภาชนีย์ ๔.สังขารขันธ์
สังขารขันธ์ที่มีทั้งวิตกและวิจารก็มี ที่ไม่มีวิตกมีเพียงวิจารก็มี ที่ไม่มีทั้งวิตก
และวิจารก็มี
สังขารขันธ์ที่สหรคตด้วยปีติก็มี ที่สหรคตด้วยสุขก็มี ที่สหรคตด้วยอุเบกขาก็มี
สังขารขันธ์ที่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคก็มี ที่ต้องประหาณด้วยมรรค
เบื้องบน ๓ ก็มี ที่ไม่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคและมรรคเบื้องบน ๓ ก็มี
สังขารขันธ์ที่มีเหตุต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคก็มี ที่มีเหตุต้องประหาณ
ด้วยมรรคเบื้องบน ๓ ก็มี ที่ไม่มีเหตุต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคและมรรค
เบื้องบน ๓ ก็มี
สังขารขันธ์ที่เป็นเหตุให้ถึงปฏิสนธิและจุติก็มี ที่เป็นเหตุให้ถึงนิพพานก็มี ที่
ไม่เป็นเหตุให้ถึงปฏิสนธิ จุติ และนิพพานก็มี
สังขารขันธ์ที่เป็นของเสขบุคคลก็มี ที่เป็นของอเสขบุคคลก็มี ที่ไม่เป็นของ
เสขบุคคลและอเสขบุคคลก็มี
สังขารขันธ์ที่เป็นปริตตะก็มี ที่เป็นมหัคคตะก็มี ที่เป็นอัปปมาณะก็มี
สังขารขันธ์ที่มีปริตตะเป็นอารมณ์ก็มี ที่มีมหัคคตะเป็นอารมณ์ก็มี ที่มี
อัปปมาณะเป็นอารมณ์ก็มี
สังขารขันธ์ที่เป็นชั้นต่ำก็มี ที่เป็นชั้นกลางก็มี ที่เป็นชั้นประณีตก็มี
สังขารขันธ์ที่มีสภาวะผิดและให้ผลแน่นอนก็มี ที่มีสภาวะชอบและให้ผลแน่นอน
ก็มี ที่ไม่แน่นอนโดยอาการทั้งสองนั้นก็มี๑
สังขารขันธ์ที่มีมรรคเป็นอารมณ์ก็มี ที่มีมรรคเป็นเหตุก็มี ที่มีมรรคเป็นอธิบดี
ก็มี
สังขารขันธ์ที่เกิดขึ้นก็มี ที่ยังไม่เกิดขึ้นก็มี ที่จักเกิดขึ้นแน่นอนก็มี
สังขารขันธ์ที่เป็นอดีตก็มี ที่เป็นอนาคตก็มี ที่เป็นปัจจุบันก็มี
สังขารขันธ์ที่มีอดีตธรรมเป็นอารมณ์ก็มี ที่มีอนาคตธรรมเป็นอารมณ์ก็มี ที่มี
ปัจจุบันธรรมเป็นอารมณ์ก็มี

เชิงอรรถ :
๑ อภิ.สงฺ.อ. ๑๕/๙๒

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๖๓ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑.ขันธวิภังค์] ๒.อภิธรรมภาชนีย์ ๔.สังขารขันธ์
สังขารขันธ์ที่เป็นภายในตนก็มี ที่เป็นภายนอกตนก็มี ที่เป็นภายในตนและ
ภายนอกตนก็มี
สังขารขันธ์ที่มีธรรมภายในตนเป็นอารมณ์ก็มี ที่มีธรรมภายนอกตนเป็น
อารมณ์ก็มี ที่มีธรรมภายในตนและภายนอกตนเป็นอารมณ์ก็มี
ฯลฯ
สังขารขันธ์หมวดละ ๑๐ มีด้วยอาการอย่างนี้
[๙๔] สังขารขันธ์หมวดละ ๑ ได้แก่ สังขารขันธ์ที่สัมปยุตด้วยจิต
สังขารขันธ์หมวดละ ๒ ได้แก่ สังขารขันธ์ที่มีเหตุก็มี ที่ไม่มีเหตุก็มี
สังขารขันธ์ที่สัมปยุตด้วยเหตุก็มี ที่วิปปยุตจากเหตุก็มี
สังขารขันธ์ที่เป็นเหตุและมีเหตุก็มี ที่มีเหตุแต่ไม่เป็นเหตุก็มี
สังขารขันธ์ที่เป็นเหตุและสัมปยุตด้วยเหตุก็มี ที่สัมปยุตด้วยเหตุแต่ไม่เป็นเหตุ
ก็มี
สังขารขันธ์ที่ไม่เป็นเหตุแต่มีเหตุก็มี ที่ไม่เป็นเหตุและไม่มีเหตุก็มี
สังขารขันธ์ที่เป็นโลกิยะก็มี ที่เป็นโลกุตตระก็มี
สังขารขันธ์ที่จิตบางดวงรู้ได้ก็มี ที่จิตบางดวงรู้ไม่ได้ก็มี
สังขารขันธ์ที่เป็นอาสวะก็มี ที่ไม่เป็นอาสวะก็มี
สังขารขันธ์ที่เป็นอารมณ์ของอาสวะก็มี ที่ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะก็มี
สังขารขันธ์ที่สัมปยุตด้วยอาสวะก็มี ที่วิปปยุตจากอาสวะก็มี
สังขารขันธ์ที่เป็นอาสวะและเป็นอารมณ์ของอาสวะก็มี ที่เป็นอารมณ์ของ
อาสวะแต่ไม่เป็นอาสวะก็มี
สังขารขันธ์ที่เป็นอาสวะและสัมปยุตด้วยอาสวะก็มี ที่สัมปยุตด้วยอาสวะแต่ไม่
เป็นอาสวะก็มี
สังขารขันธ์ที่วิปปยุตจากอาสวะแต่เป็นอารมณ์ของอาสวะก็มี ที่วิปปยุตจาก
อาสวะและไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะก็มี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๖๔ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑.ขันธวิภังค์] ๒.อภิธรรมภาชนีย์ ๔.สังขารขันธ์
สังขารขันธ์ที่เป็นสังโยชน์ก็มี ที่ไม่เป็นสังโยชน์ก็มี
สังขารขันธ์ที่เป็นอารมณ์ของสังโยชน์ก็มี ที่ไม่เป็นอารมณ์ของสังโยชน์ก็มี
สังขารขันธ์ที่สัมปยุตด้วยสังโยชน์ก็มี ที่วิปปยุตจากสังโยชน์ก็มี
สังขารขันธ์ที่เป็นสังโยชน์และเป็นอารมณ์ของสังโยชน์ก็มี ที่เป็นอารมณ์ของ
สังโยชน์แต่ไม่เป็นสังโยชน์ก็มี
สังขารขันธ์ที่เป็นสังโยชน์และสัมปยุตด้วยสังโยชน์ก็มี ที่สัมปยุตด้วยสังโยชน์
แต่ไม่เป็นสังโยชน์ก็มี
สังขารขันธ์ที่วิปปยุตจากสังโยชน์แต่เป็นอารมณ์ของสังโยชน์ก็มี ที่วิปปยุตจาก
สังโยชน์และไม่เป็นอารมณ์ของสังโยชน์ก็มี
สังขารขันธ์ที่เป็นคันถะก็มี ที่ไม่เป็นคันถะก็มี
สังขารขันธ์ที่เป็นอารมณ์ของคันถะก็มี ที่ไม่เป็นอารมณ์ของคันถะก็มี
สังขารขันธ์ที่สัมปยุตด้วยคันถะก็มี ที่วิปปยุตจากคันถะก็มี
สังขารขันธ์ที่เป็นคันถะและเป็นอารมณ์ของคันถะก็มี ที่เป็นอารมณ์ของคันถะ
แต่ไม่เป็นคันถะก็มี
สังขารขันธ์ที่เป็นคันถะและสัมปยุตด้วยคันถะก็มี ที่สัมปยุตด้วยคันถะแต่ไม่
เป็นคันถะก็มี
สังขารขันธ์ที่วิปปยุตจากคันถะแต่เป็นอารมณ์ของคันถะก็มี ที่วิปปยุตจาก
คันถะและไม่เป็นอารมณ์ของคันถะก็มี
สังขารขันธ์ที่เป็นโอฆะก็มี ที่ไม่เป็นโอฆะก็มี
สังขารขันธ์ที่เป็นอารมณ์ของโอฆะก็มี ที่ไม่เป็นอารมณ์ของโอฆะก็มี
สังขารขันธ์ที่สัมปยุตด้วยโอฆะก็มี ที่วิปปยุตจากโอฆะก็มี
สังขารขันธ์ที่เป็นโอฆะและเป็นอารมณ์ของโอฆะก็มี ที่เป็นอารมณ์ของโอฆะแต่
ไม่เป็นโอฆะก็มี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๖๕ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑.ขันธวิภังค์] ๒.อภิธรรมภาชนีย์ ๔.สังขารขันธ์
สังขารขันธ์ที่เป็นโอฆะและสัมปยุตด้วยโอฆะก็มี ที่สัมปยุตด้วยโอฆะแต่ไม่เป็น
โอฆะก็มี
สังขารขันธ์ที่วิปปยุตจากโอฆะแต่เป็นอารมณ์ของโอฆะก็มี ที่วิปปยุตจากโอฆะ
และไม่เป็นอารมณ์ของโอฆะก็มี
สังขารขันธ์ที่เป็นโยคะก็มี ที่ไม่เป็นโยคะก็มี
สังขารขันธ์ที่เป็นอารมณ์ของโยคะก็มี ที่ไม่เป็นอารมณ์ของโยคะก็มี
สังขารขันธ์ที่สัมปยุตด้วยโยคะก็มี ที่วิปปยุตจากโยคะก็มี
สังขารขันธ์ที่เป็นโยคะและเป็นอารมณ์ของโยคะก็มี ที่เป็นอารมณ์ของโยคะแต่
ไม่เป็นโยคะก็มี
สังขารขันธ์ที่เป็นโยคะและสัมปยุตด้วยโยคะก็มี ที่สัมปยุตด้วยโยคะแต่ไม่เป็น
โยคะก็มี
สังขารขันธ์ที่วิปปยุตจากโยคะแต่เป็นอารมณ์ของโยคะก็มี ที่วิปปยุตจากโยคะ
และไม่เป็นอารมณ์ของโยคะก็มี
สังขารขันธ์ที่เป็นนิวรณ์ก็มี ที่ไม่เป็นนิวรณ์ก็มี
สังขารขันธ์ที่เป็นอารมณ์ของนิวรณ์ก็มี ที่ไม่เป็นอารมณ์ของนิวรณ์ก็มี
สังขารขันธ์ที่สัมปยุตด้วยนิวรณ์ก็มี ที่วิปปยุตจากนิวรณ์ก็มี
สังขารขันธ์ที่เป็นนิวรณ์และเป็นอารมณ์ของนิวรณ์ก็มี ที่เป็นอารมณ์ของนิวรณ์
แต่ไม่เป็นนิวรณ์ก็มี
สังขารขันธ์ที่เป็นนิวรณ์และสัมปยุตด้วยนิวรณ์ก็มี ที่สัมปยุตด้วยนิวรณ์แต่ไม่
เป็นนิวรณ์ก็มี
สังขารขันธ์ที่วิปปยุตจากนิวรณ์แต่เป็นอารมณ์ของนิวรณ์ก็มี ที่วิปปยุตจาก
นิวรณ์และไม่เป็นอารมณ์ของนิวรณ์ก็มี
สังขารขันธ์ที่เป็นปรามาสก็มี ที่ไม่เป็นปรามาสก็มี
สังขารขันธ์ที่เป็นอารมณ์ของปรามาสก็มี ที่ไม่เป็นอารมณ์ของปรามาสก็มี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๖๖ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑.ขันธวิภังค์] ๒.อภิธรรมภาชนีย์ ๔.สังขารขันธ์
สังขารขันธ์ที่สัมปยุตด้วยปรามาสก็มี ที่วิปปยุตจากปรามาสก็มี
สังขารขันธ์ที่เป็นปรามาสและเป็นอารมณ์ของปรามาสก็มี ที่เป็นอารมณ์ของ
ปรามาสแต่ไม่เป็นปรามาสก็มี
สังขารขันธ์ที่วิปปยุตจากปรามาสแต่เป็นอารมณ์ของปรามาสก็มี ที่วิปปยุต
จากปรามาสและไม่เป็นอารมณ์ของปรามาสก็มี
สังขารขันธ์ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือก็มี ที่กรรมอัน
ประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือก็มี
สังขารขันธ์ที่เป็นอุปาทานก็มี ที่ไม่เป็นอุปาทานก็มี
สังขารขันธ์ที่เป็นอารมณ์ของอุปาทานก็มี ที่ไม่เป็นอารมณ์ของอุปาทานก็มี
สังขารขันธ์ที่สัมปยุตด้วยอุปาทานก็มี ที่วิปปยุตจากอุปาทานก็มี
สังขารขันธ์ที่เป็นอุปาทานและเป็นอารมณ์ของอุปาทานก็มี ที่เป็นอารมณ์
ของอุปาทานแต่ไม่เป็นอุปาทานก็มี
สังขารขันธ์ที่เป็นอุปาทานและสัมปยุตด้วยอุปาทานก็มี ที่สัมปยุตด้วย
อุปาทานแต่ไม่เป็นอุปาทานก็มี
สังขารขันธ์ที่วิปปยุตจากอุปาทานแต่เป็นอารมณ์ของอุปาทานก็มี ที่วิปปยุต
จากอุปาทานและไม่เป็นอารมณ์ของอุปาทานก็มี
สังขารขันธ์ที่เป็นกิเลสก็มี ที่ไม่เป็นกิเลสก็มี
สังขารขันธ์ที่เป็นอารมณ์ของกิเลสก็มี ที่ไม่เป็นอารมณ์ของกิเลสก็มี
สังขารขันธ์ที่กิเลสทำให้เศร้าหมองก็มี ที่กิเลสไม่ทำให้เศร้าหมองก็มี
สังขารขันธ์ที่สัมปยุตด้วยกิเลสก็มี ที่วิปปยุตจากกิเลสก็มี
สังขารขันธ์ที่เป็นกิเลสและเป็นอารมณ์ของกิเลสก็มี ที่เป็นอารมณ์ของกิเลสแต่
ไม่เป็นกิเลสก็มี
สังขารขันธ์ที่เป็นกิเลสและกิเลสทำให้เศร้าหมองก็มี ที่กิเลสทำให้เศร้าหมอง
แต่ไม่เป็นกิเลสก็มี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๖๗ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑.ขันธวิภังค์] ๒.อภิธรรมภาชนีย์ ๔.สังขารขันธ์
สังขารขันธ์ที่เป็นกิเลสและสัมปยุตด้วยกิเลสก็มี ที่สัมปยุตด้วยกิเลสแต่ไม่เป็น
กิเลสก็มี
สังขารขันธ์ที่วิปปยุตจากกิเลสแต่เป็นอารมณ์ของกิเลสก็มี ที่วิปปยุตจากกิเลส
และไม่เป็นอารมณ์ของกิเลสก็มี
สังขารขันธ์ที่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคก็มี ที่ไม่ต้องประหาณด้วย
โสดาปัตติมรรคก็มี
สังขารขันธ์ที่ต้องประหาณด้วยมรรคเบื้องบน ๓ ก็มี ที่ไม่ต้องประหาณด้วย
มรรคเบื้องบน ๓ ก็มี
สังขารขันธ์ที่มีเหตุต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคก็มี ที่ไม่มีเหตุต้อง
ประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคก็มี
สังขารขันธ์ที่มีเหตุต้องประหาณด้วยมรรคเบื้องบน ๓ ก็มี ที่ไม่มีเหตุต้อง
ประหาณด้วยมรรคเบื้องบน ๓ ก็มี
สังขารขันธ์ที่มีวิตกก็มี ที่ไม่มีวิตกก็มี
สังขารขันธ์ที่มีวิจารก็มี ที่ไม่มีวิจารก็มี
สังขารขันธ์ที่มีปีติก็มี ที่ไม่มีปีติก็มี
สังขารขันธ์ที่สหรคตด้วยปีติก็มี ที่ไม่สหรคตด้วยปีติก็มี
สังขารขันธ์ที่สหรคตด้วยสุขก็มี ที่ไม่สหรคตด้วยสุขก็มี
สังขารขันธ์ที่สหรคตด้วยอุเบกขาก็มี ที่ไม่สหรคตด้วยอุเบกขาก็มี
สังขารขันธ์ที่เป็นกามาวจรก็มี ที่ไม่เป็นกามาวจรก็มี
สังขารขันธ์ที่เป็นรูปาวจรก็มี ที่ไม่เป็นรูปาวจรก็มี
สังขารขันธ์ที่เป็นอรูปาวจรก็มี ที่ไม่เป็นอรูปาวจรก็มี
สังขารขันธ์ที่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ก็มี ที่ไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ก็มี
สังขารขันธ์ที่เป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ก็มี ที่ไม่เป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์
ก็มี
สังขารขันธ์ที่ให้ผลแน่นอนก็มี ที่ให้ผลไม่แน่นอนก็มี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๖๘ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑.ขันธวิภังค์] ๒.อภิธรรมภาชนีย์ ๔.สังขารขันธ์
สังขารขันธ์ที่มีธรรมอื่นยิ่งกว่าก็มี ที่ไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่าก็มี
สังขารขันธ์ที่เป็นเหตุให้สัตว์ร้องไห้ก็มี ที่ไม่เป็นเหตุให้สัตว์ร้องไห้ก็มี
สังขารขันธ์หมวดละ ๓ ได้แก่ สังขารขันธ์ที่เป็นกุศลก็มี ที่เป็นอกุศลก็มี ที่
เป็นอัพยากฤตก็มี
ฯลฯ
สังขารขันธ์หมวดละ ๑๐ มีด้วยอาการอย่างนี้
[๙๕] สังขารขันธ์หมวดละ ๑ ได้แก่ สังขารขันธ์ที่สัมปยุตด้วยจิต
สังขารขันธ์หมวดละ ๒ ได้แก่ สังขารขันธ์ที่เป็นเหตุให้สัตว์ร้องไห้ก็มี ที่ไม่
เป็นเหตุให้สัตว์ร้องไห้ก็มี
สังขารขันธ์หมวดละ ๓ ได้แก่ สังขารขันธ์ที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาก็มี ที่
สัมปยุตด้วยทุกขเวทนาก็มี ที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนาก็มี
ฯลฯ
สังขารขันธ์ที่มีธรรมภายในตนเป็นอารมณ์ก็มี ที่มีธรรมภายนอกตนเป็น
อารมณ์ก็มี ที่มีธรรมภายในตนและภายนอกตนเป็นอารมณ์ก็มี
ฯลฯ
สังขารขันธ์หมวดละ ๑๐ มีด้วยอาการอย่างนี้
ทุกมูลกวาร จบ

ติกมูลกวาร
[๙๖] สังขารขันธ์หมวดละ ๑ ได้แก่ สังขารขันธ์ที่สัมปยุตด้วยจิต
สังขารขันธ์หมวดละ ๒ ได้แก่ สังขารขันธ์ที่เป็นเหตุก็มี ที่ไม่เป็นเหตุก็มี
สังขารขันธ์หมวดละ ๓ ได้แก่ สังขารขันธ์ที่เป็นกุศลก็มี ที่เป็นอกุศลก็มี
ที่เป็นอัพยากฤตก็มี
ฯลฯ
สังขารขันธ์หมวดละ ๑๐ มีด้วยอาการอย่างนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๖๙ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑.ขันธวิภังค์] ๒.อภิธรรมภาชนีย์ ๔.สังขารขันธ์
[๙๗] สังขารขันธ์หมวดละ ๑ ได้แก่ สังขารขันธ์ที่สัมปยุตด้วยจิต
สังขารขันธ์หมวดละ ๒ ได้แก่ สังขารขันธ์ที่เป็นเหตุให้สัตว์ร้องไห้ก็มี ที่
ไม่เป็นเหตุให้สัตว์ร้องไห้ก็มี
สังขารขันธ์หมวดละ ๓ ได้แก่ สังขารขันธ์ที่เป็นกุศลก็มี ที่เป็นอกุศลก็มี ที่
เป็นอัพยากฤตก็มี
ฯลฯ
สังขารขันธ์หมวดละ ๑๐ มีด้วยอาการอย่างนี้
[๙๘] สังขารขันธ์หมวดละ ๑ ได้แก่ สังขารขันธ์ที่สัมปยุตด้วยจิต
สังขารขันธ์หมวดละ ๒ ได้แก่ สังขารขันธ์ที่เป็นเหตุก็มี ที่ไม่เป็นเหตุก็มี
สังขารขันธ์หมวดละ ๓ ได้แก่ สังขารขันธ์ที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาก็มี
ที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนาก็มี ที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนาก็มี
ฯลฯ
สังขารขันธ์ที่มีธรรมภายในตนเป็นอารมณ์ก็มี ที่มีธรรมภายนอกตนเป็น
อารมณ์ก็มี ที่มีธรรมภายในตนและภายนอกตนเป็นอารมณ์ก็มี
ฯลฯ
สังขารขันธ์หมวดละ ๑๐ มีด้วยอาการอย่างนี้
[๙๙] สังขารขันธ์หมวดละ ๑ ได้แก่ สังขารขันธ์ที่สัมปยุตด้วยจิต
สังขารขันธ์หมวดละ ๒ ได้แก่ สังขารขันธ์ที่เป็นเหตุให้สัตว์ร้องไห้ก็มี ที่ไม่
เป็นเหตุให้สัตว์ร้องไห้ก็มี
สังขารขันธ์หมวดละ ๓ ได้แก่ สังขารขันธ์ที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาก็มี
ที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนาก็มี ที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนาก็มี
ฯลฯ
สังขารขันธ์ที่มีธรรมภายในตนเป็นอารมณ์ก็มี ที่มีธรรมภายนอกตนเป็น
อารมณ์ก็มี ที่มีธรรมภายในตนและภายนอกตนเป็นอารมณ์ก็มี
ฯลฯ
สังขารขันธ์หมวดละ ๑๐ มีด้วยอาการอย่างนี้
ติกมูลกวาร จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๗๐ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑.ขันธวิภังค์] ๒.อภิธรรมภาชนีย์ ๔.สังขารขันธ์
อุภโตวัฑฒกวาร
[๑๐๐] สังขารขันธ์หมวดละ ๑ ได้แก่ สังขารขันธ์ที่สัมปยุตด้วยจิต
สังขารขันธ์หมวดละ ๒ ได้แก่ สังขารขันธ์ที่เป็นเหตุก็มี ที่ไม่เป็นเหตุก็มี
สังขารขันธ์หมวดละ ๓ ได้แก่ สังขารขันธ์ที่เป็นกุศลก็มี ที่เป็นอกุศลก็มี
ที่เป็นอัพยากฤตก็มี
ฯลฯ
สังขารขันธ์หมวดละ ๑๐ มีด้วยอาการอย่างนี้
[๑๐๑] สังขารขันธ์หมวดละ ๑ ได้แก่ สังขารขันธ์ที่สัมปยุตด้วยจิต
สังขารขันธ์หมวดละ ๒ ได้แก่ สังขารขันธ์ที่มีเหตุก็มี ที่ไม่มีเหตุก็มี
สังขารขันธ์หมวดละ ๓ ได้แก่ สังขารขันธ์ที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาก็มี ที่
สัมปยุตด้วยทุกขเวทนาก็มี ที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนาก็มี
ฯลฯ
สังขารขันธ์หมวดละ ๑๐ มีด้วยอาการอย่างนี้
[๑๐๒] สังขารขันธ์หมวดละ ๑ ได้แก่ สังขารขันธ์ที่สัมปยุตด้วยจิต
สังขารขันธ์หมวดละ ๒ ได้แก่ สังขารขันธ์ที่สัมปยุตด้วยเหตุก็มี ที่วิปปยุต
จากเหตุก็มี
สังขารขันธ์หมวดละ ๓ ได้แก่ สังขารขันธ์ที่เป็นวิบากก็มี ที่เป็นเหตุให้เกิด
วิบากก็มี ที่ไม่เป็นวิบากและไม่เป็นเหตุให้เกิดวิบากก็มี
ฯลฯ
สังขารขันธ์หมวดละ ๑๐ มีด้วยอาการอย่างนี้
[๑๐๓] สังขารขันธ์หมวดละ ๑ ได้แก่ สังขารขันธ์ที่สัมปยุตด้วยจิต
สังขารขันธ์หมวดละ ๒ ได้แก่ สังขารขันธ์ที่เป็นเหตุและมีเหตุก็มี ที่มีเหตุแต่
ไม่เป็นเหตุก็มี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๗๑ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑.ขันธวิภังค์] ๒.อภิธรรมภาชนีย์ ๔.สังขารขันธ์
สังขารขันธ์หมวดละ ๓ ได้แก่ สังขารขันธ์ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและ
ทิฏฐิยึดถือและเป็นอารมณ์ของอุปาทานก็มี ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิ
ไม่ยึดถือแต่เป็นอารมณ์ของอุปาทานก็มี ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่
ยึดถือและไม่เป็นอารมณ์ของอุปาทานก็มี
ฯลฯ
สังขารขันธ์หมวดละ ๑๐ มีด้วยอาการอย่างนี้
[๑๐๔] สังขารขันธ์หมวดละ ๑ ได้แก่ สังขารขันธ์ที่สัมปยุตด้วยจิต
สังขารขันธ์หมวดละ ๒ ได้แก่ สังขารขันธ์ที่เป็นเหตุและสัมปยุตด้วยเหตุก็มี
ที่สัมปยุตด้วยเหตุแต่ไม่เป็นเหตุก็มี
สังขารขันธ์หมวดละ ๓ ได้แก่ สังขารขันธ์ที่กิเลสทำให้เศร้าหมองและเป็น
อารมณ์ของกิเลสก็มี ที่กิเลสไม่ทำให้เศร้าหมองแต่เป็นอารมณ์ของกิเลสก็มี ที่กิเลส
ไม่ทำให้เศร้าหมองและไม่เป็นอารมณ์ของกิเลสก็มี
ฯลฯ
สังขารขันธ์หมวดละ ๑๐ มีด้วยอาการอย่างนี้
[๑๐๕] สังขารขันธ์หมวดละ ๑ ได้แก่ สังขารขันธ์ที่สัมปยุตด้วยจิต
สังขารขันธ์หมวดละ ๒ ได้แก่ สังขารขันธ์ที่ไม่เป็นเหตุแต่มีเหตุก็มี ที่ไม่เป็น
เหตุและไม่มีเหตุก็มี
สังขารขันธ์หมวดละ ๓ ได้แก่ สังขารขันธ์ที่มีทั้งวิตกและวิจารก็มี ที่ไม่มีวิตก
มีเพียงวิจารก็มี ที่ไม่มีทั้งวิตกและวิจารก็มี
ฯลฯ
สังขารขันธ์หมวดละ ๑๐ มีด้วยอาการอย่างนี้
[๑๐๖] สังขารขันธ์หมวดละ ๑ ได้แก่ สังขารขันธ์ที่สัมปยุตด้วยจิต
สังขารขันธ์หมวดละ ๒ ได้แก่ สังขารขันธ์ที่เป็นโลกิยะก็มี ที่เป็นโลกุตตระ
ก็มี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๗๒ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑.ขันธวิภังค์] ๒.อภิธรรมภาชนีย์ ๔.สังขารขันธ์
สังขารขันธ์หมวดละ ๓ ได้แก่ สังขารขันธ์ที่สหรคตด้วยปีติก็มี ที่สหรคตด้วย
สุขก็มี ที่สหรคตด้วยอุเบกขาก็มี
ฯลฯ
สังขารขันธ์หมวดละ ๑๐ มีด้วยอาการอย่างนี้
[๑๐๗] สังขารขันธ์หมวดละ ๑ ได้แก่ สังขารขันธ์ที่สัมปยุตด้วยจิต
สังขารขันธ์หมวดละ ๒ ได้แก่ สังขารขันธ์ที่จิตบางดวงรู้ได้ก็มี ที่จิตบางดวง
รู้ไม่ได้ก็มี
สังขารขันธ์หมวดละ ๓ ได้แก่ สังขารขันธ์ที่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรค
ก็มี ที่ต้องประหาณด้วยมรรคเบื้องบน ๓ ก็มี ที่ไม่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรค
และมรรคเบื้องบน ๓ ก็มี
ฯลฯ
สังขารขันธ์หมวดละ ๑๐ มีด้วยอาการอย่างนี้
[๑๐๘] สังขารขันธ์หมวดละ ๑ ได้แก่ สังขารขันธ์ที่สัมปยุตด้วยจิต
สังขารขันธ์หมวดละ ๒ ได้แก่ สังขารขันธ์ที่เป็นอาสวะก็มี ที่ไม่เป็นอาสวะก็มี
สังขารขันธ์หมวดละ ๓ ได้แก่ สังขารขันธ์ที่มีเหตุต้องประหาณด้วยโสดา-
ปัตติมรรคก็มี ที่มีเหตุต้องประหาณด้วยมรรคเบื้องบน ๓ ก็มี ที่ไม่มีเหตุต้องประหาณ
ด้วยโสดาปัตติมรรคและมรรคเบื้องบน ๓ ก็มี
ฯลฯ
สังขารขันธ์หมวดละ ๑๐ มีด้วยอาการอย่างนี้
[๑๐๙] สังขารขันธ์หมวดละ ๑ ได้แก่ สังขารขันธ์ที่สัมปยุตด้วยจิต
สังขารขันธ์หมวดละ ๒ ได้แก่ สังขารขันธ์ที่เป็นอารมณ์ของอาสวะก็มี ที่ไม่
เป็นอารมณ์ของอาสวะก็มี
สังขารขันธ์หมวดละ ๓ ได้แก่ สังขารขันธ์ที่เป็นเหตุให้ถึงปฏิสนธิและจุติก็มี
ที่เป็นเหตุให้ถึงนิพพานก็มี ที่ไม่เป็นเหตุให้ถึงปฏิสนธิ จุติ และนิพพานก็มี
ฯลฯ
สังขารขันธ์หมวดละ ๑๐ มีด้วยอาการอย่างนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๗๓ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑.ขันธวิภังค์] ๒.อภิธรรมภาชนีย์ ๔.สังขารขันธ์
[๑๑๐] สังขารขันธ์หมวดละ ๑ ได้แก่ สังขารขันธ์ที่สัมปยุตด้วยจิต
สังขารขันธ์หมวดละ ๒ ได้แก่ สังขารขันธ์ที่สัมปยุตด้วยอาสวะก็มี ที่วิปปยุต
จากอาสวะก็มี
สังขารขันธ์หมวดละ ๓ ได้แก่ สังขารขันธ์ที่เป็นของเสขบุคคลก็มี ที่เป็นของ
อเสขบุคคลก็มี ที่ไม่เป็นของเสขบุคคลและอเสขบุคคลก็มี
ฯลฯ
สังขารขันธ์หมวดละ ๑๐ มีด้วยอาการอย่างนี้
[๑๑๑] สังขารขันธ์หมวดละ ๑ ได้แก่ สังขารขันธ์ที่สัมปยุตด้วยจิต
สังขารขันธ์หมวดละ ๒ ได้แก่ สังขารขันธ์ที่เป็นอาสวะและเป็นอารมณ์ของ
อาสวะก็มี ที่เป็นอารมณ์ของอาสวะแต่ไม่เป็นอาสวะก็มี
สังขารขันธ์หมวดละ ๓ ได้แก่ สังขารขันธ์ที่เป็นปริตตะก็มี ที่เป็นมหัคคตะ
ก็มี ที่เป็นอัปปมาณะก็มี๑
ฯลฯ
สังขารขันธ์หมวดละ ๑๐ มีด้วยอาการอย่างนี้
[๑๑๒] สังขารขันธ์หมวดละ ๑ ได้แก่ สังขารขันธ์ที่สัมปยุตด้วยจิต
สังขารขันธ์หมวดละ ๒ ได้แก่ สังขารขันธ์ที่เป็นอาสวะและสัมปยุตด้วยอาสวะ
ก็มี ที่สัมปยุตด้วยอาสวะแต่ไม่เป็นอาสวะก็มี
สังขารขันธ์หมวดละ ๓ ได้แก่ สังขารขันธ์ที่มีปริตตะเป็นอารมณ์ก็มี ที่มี
มหัคคตะเป็นอารมณ์ก็มี ที่มีอัปปมาณะเป็นอารมณ์ก็มี
ฯลฯ
สังขารขันธ์หมวดละ ๑๐ มีด้วยอาการอย่างนี้
[๑๑๓] สังขารขันธ์หมวดละ ๑ ได้แก่ สังขารขันธ์ที่สัมปยุตด้วยจิต
สังขารขันธ์หมวดละ ๒ ได้แก่ สังขารขันธ์ที่วิปปยุตจากอาสวะแต่เป็นอารมณ์
ของอาสวะก็มี ที่วิปปยุตจากอาสวะและไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะก็มี

เชิงอรรถ :
๑ อภิ.สงฺ.อ. ๑๒/๙๒

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๗๔ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑.ขันธวิภังค์] ๒.อภิธรรมภาชนีย์ ๔.สังขารขันธ์
สังขารขันธ์หมวดละ ๓ ได้แก่ สังขารขันธ์ที่เป็นชั้นต่ำก็มี ที่เป็นชั้นกลางก็มี
ที่เป็นชั้นประณีตก็มี
ฯลฯ
สังขารขันธ์หมวดละ ๑๐ มีด้วยอาการอย่างนี้
[๑๑๔] สังขารขันธ์หมวดละ ๑ ได้แก่ สังขารขันธ์ที่สัมปยุตด้วยจิต
สังขารขันธ์หมวดละ ๒ ได้แก่ สังขารขันธ์ที่เป็นสังโยชน์ก็มี ที่ไม่เป็นสังโยชน์
ก็มี
สังขารขันธ์หมวดละ ๓ ได้แก่ สังขารขันธ์ที่มีสภาวะผิดและให้ผลแน่นอนก็มี
ที่มีสภาวะชอบและให้ผลแน่นอนก็มี ที่ไม่แน่นอนโดยอาการทั้งสองนั้นก็มี
ฯลฯ
สังขารขันธ์หมวดละ ๑๐ มีด้วยอาการอย่างนี้
[๑๑๕] สังขารขันธ์หมวดละ ๑ ได้แก่ สังขารขันธ์ที่สัมปยุตด้วยจิต
สังขารขันธ์หมวดละ ๒ ได้แก่ สังขารขันธ์ที่เป็นอารมณ์ของสังโยชน์ก็มี ที่
ไม่เป็นอารมณ์ของสังโยชน์ก็มี
สังขารขันธ์หมวดละ ๓ ได้แก่ สังขารขันธ์ที่มีมรรคเป็นอารมณ์ก็มี ที่มี
มรรคเป็นเหตุก็มี ที่มีมรรคเป็นอธิบดีก็มี
ฯลฯ
สังขารขันธ์หมวดละ ๑๐ มีด้วยอาการอย่างนี้
[๑๑๖] สังขารขันธ์หมวดละ ๑ ได้แก่ สังขารขันธ์ที่สัมปยุตด้วยจิต
สังขารขันธ์หมวดละ ๒ ได้แก่ สังขารขันธ์ที่สัมปยุตด้วยสังโยชน์ก็มี ที่วิปปยุต
จากสังโยชน์ก็มี
สังขารขันธ์หมวดละ ๓ ได้แก่ สังขารขันธ์ที่เกิดขึ้นก็มี ที่ยังไม่เกิดขึ้นก็มี
ที่จักเกิดขึ้นแน่นอนก็มี
ฯลฯ
สังขารขันธ์หมวดละ ๑๐ มีด้วยอาการอย่างนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๗๕ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑.ขันธวิภังค์] ๒.อภิธรรมภาชนีย์ ๔.สังขารขันธ์
[๑๑๗] สังขารขันธ์หมวดละ ๑ ได้แก่ สังขารขันธ์ที่สัมปยุตด้วยจิต
สังขารขันธ์หมวดละ ๒ ได้แก่ สังขารขันธ์ที่เป็นสังโยชน์และเป็นอารมณ์ของ
สังโยชน์ก็มี ที่เป็นอารมณ์ของสังโยชน์แต่ไม่เป็นสังโยชน์ก็มี
สังขารขันธ์หมวดละ ๓ ได้แก่ สังขารขันธ์ที่เป็นอดีตก็มี ที่เป็นอนาคตก็มี ที่
เป็นปัจจุบันก็มี
ฯลฯ
สังขารขันธ์หมวดละ ๑๐ มีด้วยอาการอย่างนี้
[๑๑๘] สังขารขันธ์หมวดละ ๑ ได้แก่ สังขารขันธ์ที่สัมปยุตด้วยจิต
สังขารขันธ์หมวดละ ๒ ได้แก่ สังขารขันธ์ที่เป็นสังโยชน์และสัมปยุตด้วย
สังโยชน์ก็มี ที่สัมปยุตด้วยสังโยชน์แต่ไม่เป็นสังโยชน์ก็มี
สังขารขันธ์หมวดละ ๓ ได้แก่ สังขารขันธ์ที่มีอดีตธรรมเป็นอารมณ์ก็มี ที่มี
อนาคตธรรมเป็นอารมณ์ก็มี ที่มีปัจจุบันธรรมเป็นอารมณ์ก็มี๑
ฯลฯ
สังขารขันธ์หมวดละ ๑๐ มีด้วยอาการอย่างนี้
[๑๑๙] สังขารขันธ์หมวดละ ๑ ได้แก่ สังขารขันธ์ที่สัมปยุตด้วยจิต
สังขารขันธ์หมวดละ ๒ ได้แก่ สังขารขันธ์ที่วิปปยุตจากสังโยชน์แต่เป็น
อารมณ์ของสังโยชน์ก็มี ที่วิปปยุตจากสังโยชน์และไม่เป็นอารมณ์ของสังโยชน์ก็มี
สังขารขันธ์หมวดละ ๓ ได้แก่ สังขารขันธ์ที่เป็นภายในตนก็มี ที่เป็นภายนอก
ตนก็มี ที่เป็นภายในตนและภายนอกตนก็มี
ฯลฯ
สังขารขันธ์หมวดละ ๑๐ มีด้วยอาการอย่างนี้
[๑๒๐] สังขารขันธ์หมวดละ ๑ ได้แก่ สังขารขันธ์ที่สัมปยุตด้วยจิต
สังขารขันธ์หมวดละ ๒ ได้แก่ สังขารขันธ์ที่เป็นคันถะก็มี ที่ไม่เป็นคันถะก็มี

เชิงอรรถ :
๑ อภิ.สงฺ.อ. ๑๙/๙๓

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๗๖ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑.ขันธวิภังค์] ๒.อภิธรรมภาชนีย์ ๔.สังขารขันธ์
สังขารขันธ์หมวดละ ๓ ได้แก่ สังขารขันธ์ที่มีธรรมภายในตนเป็นอารมณ์ก็มี
ที่มีธรรมภายนอกตนเป็นอารมณ์ก็มี ที่มีธรรมภายในตนและภายนอกตนเป็น
อารมณ์ก็มี
ฯลฯ
สังขารขันธ์หมวดละ ๑๐ มีด้วยอาการอย่างนี้
อุภโตวัฑฒกวาร จบ

พหุวิธวาร
สังขารขันธ์หมวดละ ๗ ได้แก่ สังขารขันธ์ที่เป็นกุศลก็มี ที่เป็นอกุศลก็มี ที่
เป็นอัพยากฤตก็มี ที่เป็นกามาวจรก็มี ที่เป็นรูปาวจรก็มี ที่เป็นอรูปาวจรก็มี ที่
ไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ก็มี
สังขารขันธ์หมวดละ ๗ มีด้วยอาการอย่างนี้
สังขารขันธ์หมวดละ ๗ อีกหมวดหนึ่ง ได้แก่ สังขารขันธ์ที่สัมปยุตด้วย
สุขเวทนาก็มี ที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนาก็มี ที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนาก็มี ที่
เป็นกามาวจรก็มี ฯลฯ
สังขารขันธ์ที่มีธรรมภายในตนเป็นอารมณ์ก็มี ที่มีธรรมภายนอกตนเป็น
อารมณ์ก็มี ที่มีธรรมภายในตนและภายนอกตนเป็นอารมณ์ก็มี ที่เป็นกามาวจรก็มี
ที่เป็นรูปาวจรก็มี ที่เป็นอรูปาวจรก็มี ที่ไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ก็มี
สังขารขันธ์หมวดละ ๗ มีด้วยอาการอย่างนี้
สังขารขันธ์หมวดละ ๒๔ ได้แก่ เพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัย สังขารขันธ์
ที่เป็นกุศล ๑ ที่เป็นอกุศล ๑ ที่เป็นอัพยากฤต ๑ จึงมี
เพราะโสตสัมผัสเป็นปัจจัย ฯลฯ
เพราะฆานสัมผัสเป็นปัจจัย ฯลฯ
เพราะชิวหาสัมผัสเป็นปัจจัย ฯลฯ
เพราะกายสัมผัสเป็นปัจจัย ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๗๗ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑.ขันธวิภังค์] ๒.อภิธรรมภาชนีย์ ๔.สังขารขันธ์
เพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย สังขารขันธ์ที่เป็นกุศล ๑ ที่เป็นอกุสล ๑ ที่เป็น
อัพยากฤต ๑ จึงมี
เจตนาที่เกิดแต่จักขุสัมผัส ฯลฯ เจตนาที่เกิดแต่มโนสัมผัส
สังขารขันธ์หมวดละ ๒๔ มีด้วยอาการอย่างนี้
สังขารขันธ์หมวดละ ๒๔ อีกหมวดหนึ่ง ได้แก่ เพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัย
สังขารขันธ์ที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนา ๑ ที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนา ๑ ที่สัมปยุต
ด้วยอทุกขมสุขเวทนา ๑ จึงมี
ฯลฯ
สังขารขันธ์ที่มีธรรมภายในตนเป็นอารมณ์ก็มี ที่มีธรรมภายนอกตนเป็น
อารมณ์ก็มี ที่มีธรรมภายในตนและภายนอกตนเป็นอารมณ์ก็มี
เจตนาที่เกิดแต่จักขุสัมผัส ฯลฯ เจตนาที่เกิดแต่มโนสัมผัส
เพราะโสตสัมผัสเป็นปัจจัย ฯลฯ
เพราะฆานสัมผัสเป็นปัจจัย ฯลฯ
เพราะชิวหาสัมผัสเป็นปัจจัย ฯลฯ
เพราะกายสัมผัสเป็นปัจจัย ฯลฯ
เพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย สังขารขันธ์ที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนา ๑ จึงมี
ฯลฯ
สังขารขันธ์ที่มีธรรมภายในตนเป็นอารมณ์ก็มี ที่มีธรรมภายนอกตนเป็น
อารมณ์ก็มี ที่มีธรรมภายในตนและภายนอกตนเป็นอารมณ์ก็มี
เจตนาที่เกิดแต่จักขุสัมผัส ฯลฯ เจตนาที่เกิดแต่มโนสัมผัส
สังขารขันธ์หมวดละ ๒๔ มีด้วยอาการอย่างนี้
สังขารขันธ์หมวดละ ๓๐ ได้แก่ เพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัย สังขารขันธ์
ที่เป็นกามาวจร ๑ ที่เป็นรูปาวจร ๑ ที่เป็นอรูปาวจร ๑ ที่ไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์
๑ จึงมี
เพราะโสตสัมผัสเป็นปัจจัย ฯลฯ
เพราะฆานสัมผัสเป็นปัจจัย ฯลฯ
เพราะชิวหาสัมผัสเป็นปัจจัย ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๗๘ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑.ขันธวิภังค์] ๒.อภิธรรมภาชนีย์ ๔.สังขารขันธ์
เพราะกายสัมผัสเป็นปัจจัย ฯลฯ เพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย สังขารขันธ์ที่เป็น
กามาวจร ๑ ที่เป็นรูปาวจร ๑ ที่เป็นอรูปาวจร ๑ ที่ไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ ๑ จึงมี
เจตนาที่เกิดแต่จักขุสัมผัส ฯลฯ เจตนาที่เกิดแต่มโนสัมผัส
สังขารขันธ์หมวดละ ๓๐ มีด้วยอาการอย่างนี้
สังขารขันธ์หมวดละมากอย่าง ได้แก่ เพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัย สังขาร-
ขันธ์ที่เป็นกุศล ๑ ที่เป็นอกุศล ๑ ที่เป็นอัพยากฤต ๑ ที่เป็นกามาวจร ๑ ที่เป็น
รูปาวจร ๑ ที่เป็นอรูปาวจร ๑ ที่ไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ ๑ จึงมี
เพราะโสตสัมผัสเป็นปัจจัย ฯลฯ
เพราะฆานสัมผัสเป็นปัจจัย ฯลฯ
เพราะชิวหาสัมผัสเป็นปัจจัย ฯลฯ
เพราะกายสัมผัสเป็นปัจจัย ฯลฯ
เพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย สังขารขันธ์ที่เป็นกุศล ๑ ที่เป็นอกุศล ๑ ที่เป็น
อัพยากฤต ๑ ที่เป็นกามาวจร ๑ ที่เป็นรูปาวจร ๑ ที่เป็นอรูปาวจร ๑ ที่ไม่นับ
เนื่องในวัฏฏทุกข์ ๑ จึงมี
เจตนาที่เกิดแต่จักขุสัมผัส ฯลฯ เจตนาที่เกิดแต่มโนสัมผัส
สังขารขันธ์หมวดละมากอย่างมีด้วยอาการอย่างนี้
สังขารขันธ์หมวดละมากอย่าง อีกหมวดหนึ่ง ได้แก่ เพราะจักขุสัมผัสเป็น
ปัจจัย สังขารขันธ์ที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนา ๑ ที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนา ๑ ที่
สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา ๑ จึงมี
ฯลฯ
สังขารขันธ์ที่มีธรรมภายในตนเป็นอารมณ์ก็มี ที่มีธรรมภายนอกตนเป็น
อารมณ์ก็มี ที่มีธรรมภายในตนและภายนอกตนเป็นอารมณ์ก็มี ที่เป็นกามาวจรก็มี
ที่เป็นรูปาวจรก็มี ที่เป็นอรูปาวจรก็มี ที่ไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ก็มี
เพราะโสตสัมผัสเป็นปัจจัย ฯลฯ
เพราะฆานสัมผัสเป็นปัจจัย ฯลฯ
เพราะชิวหาสัมผัสเป็นปัจจัย ฯลฯ
เพราะกายสัมผัสเป็นปัจจัย ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๗๙ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑.ขันธวิภังค์] ๒.อภิธรรมภาชนีย์ ๕.วิญญาณขันธ์
เพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย สังขารขันธ์ที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนา ๑ ฯลฯ
สังขารขันธ์ที่มีธรรมภายในตนเป็นอารมณ์ก็มี ที่มีธรรมภายนอกตนเป็นอารมณ์
ก็มี ที่มีธรรมภายในตนและภายนอกตนเป็นอารมณ์ก็มี ที่เป็นกามาวจรก็มี ที่เป็น
รูปาวจรก็มี ที่เป็นอรูปาวจรก็มี ที่ไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ก็มี
เจตนาที่เกิดแต่จักขุสัมผัส ฯลฯ เจตนาที่เกิดแต่มโนสัมผัส
สังขารขันธ์หมวดละมากอย่างมีด้วยอาการอย่างนี้
นี้เรียกว่า สังขารขันธ์
พหุวิธวาร จบ

๕. วิญญาณขันธ์
ทุกมูลกวาร
[๑๒๑] บรรดาขันธ์ ๕ นั้น วิญญาณขันธ์ เป็นไฉน
วิญญาณขันธ์หมวดละ ๑ ได้แก่ วิญญาณขันธ์ที่สัมปยุตด้วยผัสสะ
วิญญาณขันธ์หมวดละ ๒ ได้แก่ วิญญาณขันธ์ที่มีเหตุก็มี ที่ไม่มีเหตุก็มี
วิญญาณขันธ์หมวดละ ๓ ได้แก่ วิญญาณขันธ์ที่เป็นกุศลก็มี ที่เป็นอกุศล
ก็มี ที่เป็นอัพยากฤตก็มี
วิญญาณขันธ์หมวดละ ๔ ได้แก่ วิญญาณขันธ์ที่เป็นกามาวจรก็มี ที่เป็น
รูปาวจรก็มี ที่เป็นอรูปาวจรก็มี ที่ไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ก็มี
วิญญาณขันธ์หมวดละ ๕ ได้แก่ วิญญาณขันธ์ที่สัมปยุตด้วยสุขินทรีย์ก็มี
ที่สัมปยุตด้วยทุกขินทรีย์ก็มี ที่สัมปยุตด้วยโสมนัสสินทรีย์ก็มี ที่สัมปยุตด้วย
โทมนัสสินทรีย์ก็มี ที่สัมปยุตด้วยอุเปกขินทรีย์ก็มี
วิญญาณขันธ์หมวดละ ๕ มีด้วยอาการอย่างนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๘๐ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑.ขันธวิภังค์] ๒.อภิธรรมภาชนีย์ ๕.วิญญาณขันธ์
วิญญาณขันธ์หมวดละ ๖ ได้แก่ จักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ
ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ และมโนวิญญาณ
วิญญาณขันธ์หมวดละ ๖ มีด้วยอาการอย่างนี้
วิญญาณขันธ์หมวดละ ๗ ได้แก่ จักขุวิญญาณ ฯลฯ กายวิญญาณ มโนธาตุ
และมโนวิญญาณธาตุ
วิญญาณขันธ์หมวดละ ๗ มีด้วยอาการอย่างนี้
วิญญาณขันธ์หมวดละ ๘ ได้แก่ จักขุวิญญาณ ฯลฯ กายวิญญาณ ที่สหรคต
ด้วยสุขก็มี ที่สหรคตด้วยทุกข์ก็มี มโนธาตุ และมโนวิญญาณธาตุ
วิญญาณขันธ์หมวดละ ๘ มีด้วยอาการอย่างนี้
วิญญาณขันธ์หมวดละ ๙ ได้แก่ จักขุวิญญาณ ฯลฯ กายวิญญาณ
มโนธาตุ และมโนวิญญาณธาตุ ที่เป็นกุศลก็มี ที่เป็นอกุศลก็มี ที่เป็นอัพยากฤตก็มี
วิญญาณขันธ์หมวดละ ๙ มีด้วยอาการอย่างนี้
วิญญาณขันธ์หมวดละ ๑๐ ได้แก่ จักขุวิญญาณ ฯลฯ กายวิญญาณ ที่
สหรคตด้วยสุขก็มี ที่สหรคตด้วยทุกข์ก็มี มโนธาตุ และมโนวิญญาณธาตุ ที่เป็น
กุศลก็มี ที่เป็นอกุศลก็มี ที่เป็นอัพยากฤตก็มี
วิญญาณขันธ์หมวดละ ๑๐ มีด้วยอาการอย่างนี้
[๑๒๒] วิญญาณขันธ์หมวดละ ๑ ได้แก่ วิญญาณขันธ์ที่สัมปยุตด้วยผัสสะ
วิญญาณขันธ์หมวดละ ๒ ได้แก่ วิญญาณขันธ์ที่มีเหตุก็มี ที่ไม่มีเหตุก็มี
วิญญาณขันธ์หมวดละ ๓ ได้แก่ วิญญาณขันธ์ที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาก็มี ที่
สัมปยุตด้วยทุกขเวทนาก็มี ที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนาก็มี
วิญญาณขันธ์ที่เป็นวิบากก็มี ที่เป็นเหตุให้เกิดวิบากก็มี ที่ไม่เป็นวิบากและไม่
เป็นเหตุให้เกิดวิบากก็มี
วิญญาณขันธ์ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือและเป็นอารมณ์ของ
อุปาทานก็มี ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือแต่เป็นอารมณ์ของ
อุปาทานก็มี ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือและไม่เป็นอารมณ์ของ
อุปาทานก็มี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๘๑ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑.ขันธวิภังค์] ๒.อภิธรรมภาชนีย์ ๕.วิญญาณขันธ์
วิญญาณขันธ์ที่กิเลสทำให้เศร้าหมองและเป็นอารมณ์ของกิเลสก็มี ที่กิเลสไม่
ทำให้เศร้าหมองแต่เป็นอารมณ์ของกิเลสก็มี ที่กิเลสไม่ทำให้เศร้าหมองและไม่เป็น
อารมณ์ของกิเลสก็มี
วิญญาณขันธ์ที่มีทั้งวิตกและวิจารก็มี ที่ไม่มีวิตกมีเพียงวิจารก็มี ที่ไม่มีทั้ง
วิตกและวิจารก็มี
วิญญาณขันธ์ที่สหรคตด้วยปีติก็มี ที่สหรคตด้วยสุขก็มี ที่สหรคตด้วยอุเบกขา
ก็มี
วิญญาณขันธ์ที่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคก็มี ที่ต้องประหาณด้วยมรรค
เบื้องบน ๓ ก็มี ที่ไม่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคและมรรคเบื้องบน ๓ ก็มี
วิญญาณขันธ์ที่มีเหตุต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคก็มี ที่มีเหตุต้อง
ประหาณด้วยมรรคเบื้องบน ๓ ก็มี ที่ไม่มีเหตุต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคและ
มรรคเบื้องบน ๓ ก็มี
วิญญาณขันธ์ที่เป็นเหตุให้ถึงปฏิสนธิและจุติก็มี ที่เป็นเหตุให้ถึงนิพพานก็มี
ที่ไม่เป็นเหตุให้ถึงปฏิสนธิ จุติ และนิพพานก็มี
วิญญาณขันธ์ที่เป็นของเสขบุคคลก็มี ที่เป็นของอเสขบุคคลก็มี ที่ไม่เป็นของ
เสขบุคคลและอเสขบุคคลก็มี
วิญญาณขันธ์ที่เป็นปริตตะก็มี ที่เป็นมหัคคตะก็มี ที่เป็นอัปปมาณะก็มี
วิญญาณขันธ์ที่มีปริตตะเป็นอารมณ์ก็มี ที่มีมหัคคตะเป็นอารมณ์ก็มี ที่มี
อัปปมาณะเป็นอารมณ์ก็มี
วิญญาณขันธ์ที่เป็นชั้นต่ำก็มี ที่เป็นชั้นกลางก็มี ที่เป็นชั้นประณีตก็มี
วิญญาณขันธ์ที่มีสภาวะผิดและให้ผลแน่นอนก็มี ที่มีสภาวะชอบและให้ผล
แน่นอนก็มี ที่ไม่แน่นอนโดยอาการทั้งสองนั้นก็มี
วิญญาณขันธ์ที่มีมรรคเป็นอารมณ์ก็มี ที่มีมรรคเป็นเหตุก็มี ที่มีมรรคเป็น
อธิบดีก็มี
วิญญาณขันธ์ที่เกิดขึ้นก็มี ที่ยังไม่เกิดขึ้นก็มี ที่จักเกิดขึ้นแน่นอนก็มี
วิญญาณขันธ์ที่เป็นอดีตก็มี ที่เป็นอนาคตก็มี ที่เป็นปัจจุบันก็มี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๘๒ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑.ขันธวิภังค์] ๒.อภิธรรมภาชนีย์ ๕.วิญญาณขันธ์
วิญญาณขันธ์ที่มีอดีตธรรมเป็นอารมณ์ก็มี ที่มีอนาคตธรรมเป็นอารมณ์ก็มี
ที่มีปัจจุบันธรรมเป็นอารมณ์ก็มี
วิญญาณขันธ์ที่เป็นภายในตนก็มี ที่เป็นภายนอกตนก็มี ที่เป็นภายในตนและ
ภายนอกตนก็มี
วิญญาณขันธ์ที่มีธรรมภายในตนเป็นอารมณ์ก็มี ที่มีธรรมภายนอกตนเป็น
อารมณ์ก็มี ที่มีธรรมภายในตนและภายนอกตนเป็นอารมณ์ก็มี
ฯลฯ
วิญญาณขันธ์หมวดละ ๑๐ มีด้วยอาการอย่างนี้
[๑๒๓] วิญญาณขันธ์หมวดละ ๑ ได้แก่ วิญญาณขันธ์ที่สัมปยุตด้วยผัสสะ
วิญญาณขันธ์หมวดละ ๒ ได้แก่ วิญญาณขันธ์ที่สัมปยุตด้วยเหตุก็มี ที่
วิปปยุตจากเหตุก็มี
วิญญาณขันธ์ที่ไม่เป็นเหตุแต่มีเหตุก็มี ที่ไม่เป็นเหตุและไม่มีเหตุก็มี
วิญญาณขันธ์ที่เป็นโลกิยะก็มี ที่เป็นโลกุตตระก็มี
วิญญาณขันธ์ที่จิตบางดวงรู้ได้ก็มี ที่จิตบางดวงรู้ไม่ได้ก็มี
วิญญาณขันธ์ที่เป็นอารมณ์ของอาสวะก็มี ที่ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะก็มี
วิญญาณขันธ์ที่สัมปยุตด้วยอาสวะก็มี ที่วิปปยุตจากอาสวะก็มี
วิญญาณขันธ์ที่วิปปยุตจากอาสวะแต่เป็นอารมณ์ของอาสวะก็มี ที่วิปปยุตจาก
อาสวะและไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะก็มี
วิญญาณขันธ์ที่เป็นอารมณ์ของสังโยชน์ก็มี ที่ไม่เป็นอารมณ์ของสังโยชน์ก็มี
วิญญาณขันธ์ที่สัมปยุตด้วยสังโยชน์ก็มี ที่วิปปยุตจากสังโยชน์ก็มี
วิญญาณขันธ์ที่วิปปยุตจากสังโยชน์แต่เป็นอารมณ์ของสังโยชน์ก็มี ที่วิปปยุต
จากสังโยชน์และไม่เป็นอารมณ์ของสังโยชน์ก็มี
วิญญาณขันธ์ที่เป็นอารมณ์ของคันถะก็มี ที่ไม่เป็นอารมณ์ของคันถะก็มี
วิญญาณขันธ์ที่สัมปยุตด้วยคันถะก็มี ที่วิปปยุตจากคันถะก็มี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๘๓ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑.ขันธวิภังค์] ๒.อภิธรรมภาชนีย์ ๕.วิญญาณขันธ์
วิญญาณขันธ์ที่วิปปยุตจากคันถะแต่เป็นอารมณ์ของคันถะก็มี ที่วิปปยุตจาก
คันถะและไม่เป็นอารมณ์ของคันถะก็มี
วิญญาณขันธ์ที่เป็นอารมณ์ของโอฆะก็มี ที่ไม่เป็นอารมณ์ของโอฆะก็มี
วิญญาณขันธ์ที่สัมปยุตด้วยโอฆะก็มี ที่วิปปยุตจากโอฆะก็มี
วิญญาณขันธ์ที่วิปปยุตจากโอฆะแต่เป็นอารมณ์ของโอฆะก็มี ที่วิปปยุตจาก
โอฆะและไม่เป็นอารมณ์ของโอฆะก็มี
วิญญาณขันธ์ที่เป็นอารมณ์ของโยคะก็มี ที่ไม่เป็นอารมณ์ของโยคะก็มี
วิญญาณขันธ์ที่สัมปยุตด้วยโยคะก็มี ที่วิปปยุตจากโยคะก็มี
วิญญาณขันธ์ที่วิปปยุตจากโยคะแต่เป็นอารมณ์ของโยคะก็มี ที่วิปปยุตจาก
โยคะและไม่เป็นอารมณ์ของโยคะก็มี
วิญญาณขันธ์ที่เป็นอารมณ์ของนิวรณ์ก็มี ที่ไม่เป็นอารมณ์ของนิวรณ์ก็มี
วิญญาณขันธ์ที่สัมปยุตด้วยนิวรณ์ก็มี ที่วิปปยุตจากนิวรณ์ก็มี
วิญญาณขันธ์ที่วิปปยุตจากนิวรณ์แต่เป็นอารมณ์ของนิวรณ์ก็มี ที่วิปปยุตจาก
นิวรณ์และไม่เป็นอารมณ์ของนิวรณ์ก็มี
วิญญาณขันธ์ที่เป็นอารมณ์ของปรามาสก็มี ที่ไม่เป็นอารมณ์ของปรามาสก็มี
วิญญาณขันธ์ที่สัมปยุตด้วยปรามาสก็มี ที่วิปปยุตจากปรามาสก็มี
วิญญาณขันธ์ที่วิปปยุตจากปรามาสแต่เป็นอารมณ์ของปรามาสก็มี ที่วิปปยุต
จากปรามาสและไม่เป็นอารมณ์ของปรามาสก็มี
วิญญาณขันธ์ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือก็มี ที่กรรมอัน
ประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือก็มี
วิญญาณขันธ์ที่เป็นอารมณ์ของอุปาทานก็มี ที่ไม่เป็นอารมณ์ของอุปาทานก็มี
วิญญาณขันธ์ที่สัมปยุตด้วยอุปาทานก็มี ที่วิปปยุตจากอุปาทานก็มี
วิญญาณขันธ์ที่วิปปยุตจากอุปาทานแต่เป็นอารมณ์ของอุปาทานก็มี ที่วิปปยุต
จากอุปาทานและไม่เป็นอารมณ์ของอุปาทานก็มี
วิญญาณขันธ์ที่เป็นอารมณ์ของกิเลสก็มี ที่ไม่เป็นอารมณ์ของกิเลสก็มี
วิญญาณขันธ์ที่กิเลสทำให้เศร้าหมองก็มี ที่กิเลสไม่ทำให้เศร้าหมองก็มี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๘๔ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑.ขันธวิภังค์] ๒.อภิธรรมภาชนีย์ ๕.วิญญาณขันธ์
วิญญาณขันธ์ที่สัมปยุตด้วยกิเลสก็มี ที่วิปปยุตจากกิเลสก็มี
วิญญาณขันธ์ที่วิปปยุตจากกิเลสแต่เป็นอารมณ์ของกิเลสก็มี ที่วิปปยุตจาก
กิเลสและไม่เป็นอารมณ์ของกิเลสก็มี
วิญญาณขันธ์ที่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคก็มี ที่ไม่ต้องประหาณด้วย
โสดาปัตติมรรคก็มี
วิญญาณขันธ์ที่ต้องประหาณด้วยมรรคเบื้องบน ๓ ก็มี ที่ไม่ต้องประหาณด้วย
มรรคเบื้องบน ๓ ก็มี
วิญญาณขันธ์ที่มีเหตุต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคก็มี ที่ไม่มีเหตุต้อง
ประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคก็มี
วิญญาณขันธ์ที่มีเหตุต้องประหาณด้วยมรรคเบื้องบน ๓ ก็มี ที่ไม่มีเหตุต้อง
ประหาณด้วยมรรคเบื้องบน ๓ ก็มี
วิญญาณขันธ์ที่มีวิตกก็มี ที่ไม่มีวิตกก็มี
วิญญาณขันธ์ที่มีวิจารก็มี ที่ไม่มีวิจารก็มี
วิญญาณขันธ์ที่มีปีติก็มี ที่ไม่มีปีติก็มี
วิญญาณขันธ์ที่สหรคตด้วยปีติก็มี ที่ไม่สหรคตด้วยปีติก็มี
วิญญาณขันธ์ที่สหรคตด้วยสุขก็มี ที่ไม่สหรคตด้วยสุขก็มี
วิญญาณขันธ์ที่สหรคตด้วยอุเบกขาก็มี ที่ไม่สหรคตด้วยอุเบกขาก็มี
วิญญาณขันธ์ที่เป็นกามาวจรก็มี ที่ไม่เป็นกามาวจรก็มี
วิญญาณขันธ์ที่เป็นรูปาวจรก็มี ที่ไม่เป็นรูปาวจรก็มี
วิญญาณขันธ์ที่เป็นอรูปาวจรก็มี ที่ไม่เป็นอรูปาวจรก็มี
วิญญาณขันธ์ที่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ก็มี ที่ไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ก็มี
วิญญาณขันธ์ที่เป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ก็มี ที่ไม่เป็นเหตุนำออกจาก
วัฏฏทุกข์ก็มี
วิญญาณขันธ์ที่ให้ผลแน่นอนก็มี ที่ให้ผลไม่แน่นอนก็มี
วิญญาณขันธ์ที่มีธรรมอื่นยิ่งกว่าก็มี ที่ไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่าก็มี
วิญญาณขันธ์ที่เป็นเหตุให้สัตว์ร้องไห้ก็มี ที่ไม่เป็นเหตุให้สัตว์ร้องไห้ก็มี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๘๕ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑.ขันธวิภังค์] ๒.อภิธรรมภาชนีย์ ๕.วิญญาณขันธ์
วิญญาณขันธ์หมวดละ ๓ ได้แก่ วิญญาณขันธ์ที่เป็นกุศลก็มี ที่เป็นอกุศล
ก็มี ที่เป็นอัพยากฤตก็มี
ฯลฯ
วิญญาณขันธ์หมวดละ ๑๐ มีด้วยอาการอย่างนี้
[๑๒๔] วิญญาณขันธ์หมวดละ ๑ ได้แก่ วิญญาณขันธ์ที่สัมปยุตด้วยผัสสะ
วิญญาณขันธ์หมวดละ ๒ ได้แก่ วิญญาณขันธ์ที่เป็นเหตุให้สัตว์ร้องไห้ก็มี
ที่ไม่เป็นเหตุให้สัตว์ร้องไห้ก็มี
วิญญาณขันธ์หมวดละ ๓ ได้แก่ วิญญาณขันธ์ที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาก็มี
ที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนาก็มี ที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนาก็มี
วิญญาณขันธ์ที่เป็นวิบากก็มี ฯลฯ
วิญญาณขันธ์ที่มีธรรมภายในตนเป็นอารมณ์ก็มี ที่มีธรรมภายนอกตนเป็น
อารมณ์ก็มี ที่มีธรรมภายในตนและภายนอกตนเป็นอารมณ์ก็มี
ฯลฯ
วิญญาณขันธ์หมวดละ ๑๐ มีด้วยอาการอย่างนี้
ทุกมูลกวาร จบ

ติกมูลกวาร
[๑๒๕] วิญญาณขันธ์หมวดละ ๑ ได้แก่ วิญญาณขันธ์ที่สัมปยุตด้วยผัสสะ
วิญญาณขันธ์หมวดละ ๒ ได้แก่ วิญญาณขันธ์ที่มีเหตุก็มี ที่ไม่มีเหตุก็มี
วิญญาณขันธ์หมวดละ ๓ ได้แก่ วิญญาณขันธ์ที่เป็นกุศลก็มี ที่เป็นอกุศลก็มี
ที่เป็นอัพยากฤตก็มี
ฯลฯ
วิญญาณขันธ์หมวดละ ๑๐ มีด้วยอาการอย่างนี้
[๑๒๖] วิญญาณขันธ์หมวดละ ๑ ได้แก่ วิญญาณขันธ์ที่สัมปยุตด้วยผัสสะ
วิญญาณขันธ์หมวดละ ๒ ได้แก่ วิญญาณขันธ์ที่สัมปยุตด้วยเหตุก็มี ที่
วิปปยุตจากเหตุก็มี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๘๖ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑.ขันธวิภังค์] ๒.อภิธรรมภาชนีย์ ๕.วิญญาณขันธ์
ฯลฯ
วิญญาณขันธ์ที่เป็นเหตุให้สัตว์ร้องไห้ก็มี ที่ไม่เป็นเหตุให้สัตว์ร้องไห้ก็มี
วิญญาณขันธ์หมวดละ ๓ ได้แก่ วิญญาณขันธ์ที่เป็นกุศลก็มี ที่เป็นอกุศลก็มี
ที่เป็นอัพยากฤตก็มี
ฯลฯ
วิญญาณขันธ์หมวดละ ๑๐ มีด้วยอาการอย่างนี้
[๑๒๗] วิญญาณขันธ์หมวดละ ๑ ได้แก่ วิญญาณขันธ์ที่สัมปยุตด้วยผัสสะ
วิญญาณขันธ์หมวดละ ๒ ได้แก่ วิญญาณขันธ์ที่มีเหตุก็มี ที่ไม่มีเหตุก็มี
วิญญาณขันธ์หมวดละ ๓ ได้แก่ วิญญาณขันธ์ที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาก็มี ที่
สัมปยุตด้วยทุกขเวทนาก็มี ที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนาก็มี
วิญญาณขันธ์ที่เป็นวิบากก็มี ฯลฯ
วิญญาณขันธ์ที่มีธรรมภายในตนเป็นอารมณ์ก็มี ที่มีธรรมภายนอกตนเป็น
อารมณ์ก็มี ที่มีธรรมภายในตนและภายนอกตนเป็นอารมณ์ก็มี
ฯลฯ
วิญญาณขันธ์หมวดละ ๑๐ มีด้วยอาการอย่างนี้
[๑๒๘] วิญญาณขันธ์หมวดละ ๑ ได้แก่ วิญญาณขันธ์ที่สัมปยุตด้วยผัสสะ
วิญญาณขันธ์หมวดละ ๒ ได้แก่ วิญญาณขันธ์ที่สัมปยุตด้วยเหตุก็มี ที่
วิปปยุตจากเหตุก็มี
ฯลฯ
วิญญาณขันธ์ที่เป็นเหตุให้สัตว์ร้องไห้ก็มี ที่ไม่เป็นเหตุให้สัตว์ร้องไห้ก็มี
วิญญาณขันธ์หมวดละ ๓ ได้แก่ วิญญาณขันธ์ที่มีธรรมภายในตนเป็นอารมณ์
ก็มี ที่มีธรรมภายนอกตนเป็นอารมณ์ก็มี ที่มีธรรมภายในตนและภายนอกตนเป็น
อารมณ์ก็มี
ฯลฯ
วิญญาณขันธ์หมวดละ ๑๐ มีด้วยอาการอย่างนี้
ติกมูลกวาร จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๘๗ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑.ขันธวิภังค์] ๒.อภิธรรมภาชนีย์ ๕.วิญญาณขันธ์
อุภโตวัฑฒกวาร
[๑๒๙] วิญญาณขันธ์หมวดละ ๑ ได้แก่ วิญญาณขันธ์ที่สัมปยุตด้วยผัสสะ
วิญญาณขันธ์หมวดละ ๒ ได้แก่ วิญญาณขันธ์ที่มีเหตุก็มี ที่ไม่มีเหตุก็มี
วิญญาณขันธ์หมวดละ ๓ ได้แก่ วิญญาณขันธ์ที่เป็นกุศลก็มี ที่เป็นอกุศล
ก็มี ที่เป็นอัพยากฤตก็มี
ฯลฯ
วิญญาณขันธ์หมวดละ ๑๐ มีด้วยอาการอย่างนี้
[๑๓๐] วิญญาณขันธ์หมวดละ ๑ ได้แก่ วิญญาณขันธ์ที่สัมปยุตด้วยผัสสะ
วิญญาณขันธ์หมวดละ ๒ ได้แก่ วิญญาณขันธ์ที่สัมปยุตด้วยเหตุก็มี ที่
วิปปยุตจากเหตุก็มี
วิญญาณขันธ์หมวดละ ๓ ได้แก่ วิญญาณขันธ์ที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาก็มี ที่
สัมปยุตด้วยทุกขเวทนาก็มี ที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนาก็มี
ฯลฯ
วิญญาณขันธ์หมวดละ ๑๐ มีด้วยอาการอย่างนี้
[๑๓๑] วิญญาณขันธ์หมวดละ ๑ ได้แก่ วิญญาณขันธ์ที่สัมปยุตด้วยผัสสะ
วิญญาณขันธ์หมวดละ ๒ ได้แก่ วิญญาณขันธ์ที่ไม่เป็นเหตุแต่มีเหตุก็มี ที่
ไม่เป็นเหตุและไม่มีเหตุก็มี
วิญญาณขันธ์หมวดละ ๓ ได้แก่ วิญญาณขันธ์ที่เป็นวิบากก็มี ที่เป็นเหตุ
ให้เกิดวิบากก็มี ที่ไม่เป็นวิบากและไม่เป็นเหตุให้เกิดวิบากก็มี
ฯลฯ
วิญญาณขันธ์หมวดละ ๑๐ มีด้วยอาการอย่างนี้
[๑๓๒] วิญญาณขันธ์หมวดละ ๑ ได้แก่ วิญญาณขันธ์ที่สัมปยุตด้วยผัสสะ
วิญญาณขันธ์หมวดละ ๒ ได้แก่ วิญญาณขันธ์ที่เป็นโลกิยะก็มี ที่เป็น
โลกุตตระก็มี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๘๘ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑.ขันธวิภังค์] ๒.อภิธรรมภาชนีย์ ๕.วิญญาณขันธ์
วิญญาณขันธ์หมวดละ ๓ ได้แก่ วิญญาณขันธ์ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหา
และทิฏฐิยึดถือและเป็นอารมณ์ของอุปาทานก็มี ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและ
ทิฏฐิไม่ยึดถือแต่เป็นอารมณ์ของอุปาทานก็มี ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและ
ทิฏฐิไม่ยึดถือและไม่เป็นอารมณ์ของอุปาทานก็มี
ฯลฯ
วิญญาณขันธ์หมวดละ ๑๐ มีด้วยอาการอย่างนี้
[๑๓๓] วิญญาณขันธ์หมวดละ ๑ ได้แก่ วิญญาณขันธ์ที่สัมปยุตด้วยผัสสะ
วิญญาณขันธ์หมวดละ ๒ ได้แก่ วิญญาณขันธ์ที่จิตบางดวงรู้ได้ก็มี ที่จิต
บางดวงรู้ไม่ได้ก็มี๑
วิญญาณขันธ์หมวดละ ๓ ได้แก่ วิญญาณขันธ์ที่กิเลสทำให้เศร้าหมองและ
เป็นอารมณ์ของกิเลสก็มี ที่กิเลสไม่ทำให้เศร้าหมองแต่เป็นอารมณ์ของกิเลสก็มี ที่
กิเลสไม่ทำให้เศร้าหมองและไม่เป็นอารมณ์ของกิเลสก็มี
ฯลฯ
วิญญาณขันธ์หมวดละ ๑๐ มีด้วยอาการอย่างนี้
[๑๓๔] วิญญาณขันธ์หมวดละ ๑ ได้แก่ วิญญาณขันธ์ที่สัมปยุตด้วยผัสสะ
วิญญาณขันธ์หมวดละ ๒ ได้แก่ วิญญาณขันธ์ที่เป็นอารมณ์ของอาสวะก็มี
ที่ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะก็มี
วิญญาณขันธ์หมวดละ ๓ ได้แก่ วิญญาณขันธ์ที่มีทั้งวิตกและวิจารก็มี ที่ไม่
มีวิตกมีเพียงวิจารก็มี ที่ไม่มีทั้งวิตกและวิจารก็มี
ฯลฯ
วิญญาณขันธ์หมวดละ ๑๐ มีด้วยอาการอย่างนี้
[๑๓๕] วิญญาณขันธ์หมวดละ ๑ ได้แก่ วิญญาณขันธ์ที่สัมปยุตด้วยผัสสะ
วิญญาณขันธ์หมวดละ ๒ ได้แก่ วิญญาณขันธ์ที่สัมปยุตด้วยอาสวะก็มี ที่
วิปปยุตจากอาสวะก็มี

เชิงอรรถ :
๑ อภิ.สงฺ.อ. ๗-๑๓/๙๕,๑๑๐๑/๔๒๖

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๘๙ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑.ขันธวิภังค์] ๒.อภิธรรมภาชนีย์ ๕.วิญญาณขันธ์
วิญญาณขันธ์หมวดละ ๓ ได้แก่ วิญญาณขันธ์ที่สหรคตด้วยปีติก็มี ที่สหรคต
ด้วยสุขก็มี ที่สหรคตด้วยอุเบกขาก็มี
ฯลฯ
วิญญาณขันธ์หมวดละ ๑๐ มีด้วยอาการอย่างนี้
[๑๓๖] วิญญาณขันธ์หมวดละ ๑ ได้แก่ วิญญาณขันธ์ที่สัมปยุตด้วยผัสสะ
วิญญาณขันธ์หมวดละ ๒ ได้แก่ วิญญาณขันธ์ที่วิปปยุตจากอาสวะแต่เป็น
อารมณ์ของอาสวะก็มี ที่วิปปยุตจากอาสวะและไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะก็มี
วิญญาณขันธ์หมวดละ ๓ ได้แก่ วิญญาณขันธ์ที่ต้องประหาณด้วยโสดา-
ปัตติมรรคก็มี ที่ต้องประหาณด้วยมรรคเบื้องบน ๓ ก็มี ที่ไม่ต้องประหาณด้วย
โสดาปัตติมรรคและมรรคเบื้องบน ๓ ก็มี
ฯลฯ
วิญญาณขันธ์หมวดละ ๑๐ มีด้วยอาการอย่างนี้
[๑๓๗] วิญญาณขันธ์หมวดละ ๑ ได้แก่ วิญญาณขันธ์ที่สัมปยุตด้วยผัสสะ
วิญญาณขันธ์หมวดละ ๒ ได้แก่ วิญญาณขันธ์ที่เป็นอารมณ์ของสังโยชน์ก็มี
ที่ไม่เป็นอารมณ์ของสังโยชน์ก็มี
วิญญาณขันธ์หมวดละ ๓ ได้แก่ วิญญาณขันธ์ที่มีเหตุต้องประหาณด้วย
โสดาปัตติมรรคก็มี ที่มีเหตุต้องประหาณด้วยมรรคเบื้องบน ๓ ก็มี ที่ไม่มีเหตุต้อง
ประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคและมรรคเบื้องบน ๓ ก็มี
ฯลฯ
วิญญาณขันธ์หมวดละ ๑๐ มีด้วยอาการอย่างนี้
[๑๓๘] วิญญาณขันธ์หมวดละ ๑ ได้แก่ วิญญาณขันธ์ที่สัมปยุตด้วยผัสสะ
วิญญาณขันธ์หมวดละ ๒ ได้แก่ วิญญาณขันธ์ที่สัมปยุตด้วยสังโยชน์ก็มี ที่
วิปปยุตจากสังโยชน์ก็มี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๙๐ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑.ขันธวิภังค์] ๒.อภิธรรมภาชนีย์ ๕.วิญญาณขันธ์
วิญญาณขันธ์หมวดละ ๓ ได้แก่ วิญญาณขันธ์ที่เป็นเหตุให้ถึงปฏิสนธิและจุติ
ก็มี ที่เป็นเหตุให้ถึงนิพพานก็มี ที่ไม่เป็นเหตุให้ถึงปฏิสนธิ จุติ และนิพพานก็มี
ฯลฯ
วิญญาณขันธ์หมวดละ ๑๐ มีด้วยอาการอย่างนี้
[๑๓๙] วิญญาณขันธ์หมวดละ ๑ ได้แก่ วิญญาณขันธ์ที่สัมปยุตด้วยผัสสะ
วิญญาณขันธ์หมวดละ ๒ ได้แก่ วิญญาณขันธ์ที่วิปปยุตจากสังโยชน์แต่เป็น
อารมณ์ของสังโยชน์ก็มี ที่วิปปยุตจากสังโยชน์และไม่เป็นอารมณ์ของสังโยชน์ก็มี
วิญญาณขันธ์หมวดละ ๓ ได้แก่ วิญญาณขันธ์ที่เป็นของเสขบุคคลก็มี ที่เป็น
ของอเสขบุคคลก็มี ที่ไม่เป็นของเสขบุคคลและอเสขบุคคลก็มี
ฯลฯ
วิญญาณขันธ์หมวดละ ๑๐ มีด้วยอาการอย่างนี้
[๑๔๐] วิญญาณขันธ์หมวดละ ๑ ได้แก่ วิญญาณขันธ์ที่สัมปยุตด้วยผัสสะ
วิญญาณขันธ์หมวดละ ๒ ได้แก่ วิญญาณขันธ์ที่เป็นอารมณ์ของคันถะก็มี
ที่ไม่เป็นอารมณ์ของคันถะก็มี
วิญญาณขันธ์หมวดละ ๓ ได้แก่ วิญญาณขันธ์ที่เป็นปริตตะก็มี ที่เป็นมหัคคตะ
ก็มี ที่เป็นอัปปมาณะก็มี
ฯลฯ
วิญญาณขันธ์หมวดละ ๑๐ มีด้วยอาการอย่างนี้
[๑๔๑] วิญญาณขันธ์หมวดละ ๑ ได้แก่ วิญญาณขันธ์ที่สัมปยุตด้วยผัสสะ
วิญญาณขันธ์หมวดละ ๒ ได้แก่ วิญญาณขันธ์ที่สัมปยุตด้วยคันถะก็มี๑ ที่
วิปปยุตจากคันถะก็มี
วิญญาณขันธ์หมวดละ ๓ ได้แก่ วิญญาณขันธ์ที่มีปริตตะเป็นอารมณ์ก็มี ที่มี
มหัคคตะเป็นอารมณ์ก็มี ที่มีอัปปมาณะเป็นอารมณ์ก็มี
ฯลฯ
วิญญาณขันธ์หมวดละ ๑๐ มีด้วยอาการอย่างนี้

เชิงอรรถ :
๑ ดู คันถะ ๔ ข้อ ๙๓๘ หน้า ๕๘๗

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๙๑ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑.ขันธวิภังค์] ๒.อภิธรรมภาชนีย์ ๕.วิญญาณขันธ์
[๑๔๒] วิญญาณขันธ์หมวดละ ๑ ได้แก่ วิญญาณขันธ์ที่สัมปยุตด้วยผัสสะ
วิญญาณขันธ์หมวดละ ๒ ได้แก่ วิญญาณขันธ์ที่วิปปยุตจากคันถะแต่เป็น
อารมณ์ของคันถะก็มี ที่วิปปยุตจากคันถะและไม่เป็นอารมณ์ของคันถะก็มี
วิญญาณขันธ์หมวดละ ๓ ได้แก่ วิญญาณขันธ์ที่เป็นชั้นต่ำก็มี ที่เป็นชั้นกลาง
ก็มี ที่เป็นชั้นประณีตก็มี
ฯลฯ
วิญญาณขันธ์หมวดละ ๑๐ มีด้วยอาการอย่างนี้
[๑๔๓] วิญญาณขันธ์หมวดละ ๑ ได้แก่ วิญญาณขันธ์ที่สัมปยุตด้วยผัสสะ
วิญญาณขันธ์หมวดละ ๒ ได้แก่ วิญญาณขันธ์ที่เป็นอารมณ์ของโอฆะก็มี๑
ที่ไม่เป็นอารมณ์ของโอฆะก็มี
วิญญาณขันธ์หมวดละ ๓ ได้แก่ วิญญาณขันธ์ที่มีสภาวะผิดและให้ผลแน่นอน
ก็มี ที่มีสภาวะชอบและให้ผลแน่นอนก็มี ที่ไม่แน่นอนโดยอาการทั้งสองนั้นก็มี
ฯลฯ
วิญญาณขันธ์หมวดละ ๑๐ มีด้วยอาการอย่างนี้
[๑๔๔] วิญญาณขันธ์หมวดละ ๑ ได้แก่ วิญญาณขันธ์ที่สัมปยุตด้วยผัสสะ
วิญญาณขันธ์หมวดละ ๒ ได้แก่ วิญญาณขันธ์ที่สัมปยุตด้วยโอฆะก็มี ที่
วิปปยุตจากโอฆะก็มี
วิญญาณขันธ์หมวดละ ๓ ได้แก่ วิญญาณขันธ์ที่มีมรรคเป็นอารมณ์ก็มี ที่
มีมรรคเป็นเหตุก็มี ที่มีมรรคเป็นอธิบดีก็มี
ฯลฯ
วิญญาณขันธ์หมวดละ ๑๐ มีด้วยอาการอย่างนี้
[๑๔๕] วิญญาณขันธ์หมวดละ ๑ ได้แก่ วิญญาณขันธ์ที่สัมปยุตด้วยผัสสะ
วิญญาณขันธ์หมวดละ ๒ ได้แก่ วิญญาณขันธ์ที่วิปปยุตจากโอฆะแต่เป็น
อารมณ์ของโอฆะก็มี ที่วิปปยุตจากโอฆะและไม่เป็นอารมณ์ของโอฆะก็มี

เชิงอรรถ :
๑ ดู โอฆะ ๔ ข้อ ๙๓๘ หน้า ๕๘๘

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๙๒ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑.ขันธวิภังค์] ๒.อภิธรรมภาชนีย์ ๕.วิญญาณขันธ์
วิญญาณขันธ์หมวดละ ๓ ได้แก่ วิญญาณขันธ์ที่เกิดขึ้นก็มี ที่ยังไม่เกิดขึ้นก็มี
ที่จักเกิดขึ้นแน่นอนก็มี
ฯลฯ
วิญญาณขันธ์หมวดละ ๑๐ มีด้วยอาการอย่างนี้
[๑๔๖] วิญญาณขันธ์หมวดละ ๑ ได้แก่ วิญญาณขันธ์ที่สัมปยุตด้วยผัสสะ
วิญญาณขันธ์หมวดละ ๒ ได้แก่ วิญญาณขันธ์ที่เป็นอารมณ์ของโยคะก็มี
ที่ไม่เป็นอารมณ์ของโยคะก็มี
วิญญาณขันธ์หมวดละ ๓ ได้แก่ วิญญาณขันธ์ที่เป็นอดีตก็มี ที่เป็นอนาคต
ก็มี ที่เป็นปัจจุบันก็มี
ฯลฯ
วิญญาณขันธ์หมวดละ ๑๐ มีด้วยอาการอย่างนี้
[๑๔๗] วิญญาณขันธ์หมวดละ ๑ ได้แก่ วิญญาณขันธ์ที่สัมปยุตด้วยผัสสะ
วิญญาณขันธ์หมวดละ ๒ ได้แก่ วิญญาณขันธ์ที่สัมปยุตด้วยโยคะก็มี ที่
วิปปยุตจากโยคะก็มี
วิญญาณขันธ์หมวดละ ๓ ได้แก่ วิญญาณขันธ์ที่มีอดีตธรรมเป็นอารมณ์ก็มี
ที่มีอนาคตธรรมเป็นอารมณ์ก็มี ที่มีปัจจุบันธรรมเป็นอารมณ์ก็มี
ฯลฯ
วิญญาณขันธ์หมวดละ ๑๐ มีด้วยอาการอย่างนี้
[๑๔๘] วิญญาณขันธ์หมวดละ ๑ ได้แก่ วิญญาณขันธ์ที่สัมปยุตด้วยผัสสะ
วิญญาณขันธ์หมวดละ ๒ ได้แก่ วิญญาณขันธ์ที่วิปปยุตจากโยคะแต่เป็น
อารมณ์ของโยคะก็มี ที่วิปปยุตจากโยคะและไม่เป็นอารมณ์ของโยคะก็มี
วิญญาณขันธ์หมวดละ ๓ ได้แก่ วิญญาณขันธ์ที่เป็นภายในตนก็มี ที่เป็น
ภายนอกตนก็มี ที่เป็นภายในตนและภายนอกตนก็มี
ฯลฯ
วิญญาณขันธ์หมวดละ ๑๐ มีด้วยอาการอย่างนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๙๓ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑.ขันธวิภังค์] ๒.อภิธรรมภาชนีย์ ๕.วิญญาณขันธ์
[๑๔๙] วิญญาณขันธ์หมวดละ ๑ ได้แก่ วิญญาณขันธ์ที่สัมปยุตด้วยผัสสะ
วิญญาณขันธ์หมวดละ ๒ ได้แก่ วิญญาณขันธ์ที่เป็นอารมณ์ของนิวรณ์ก็มี
ที่ไม่เป็นอารมณ์ของนิวรณ์ก็มี
วิญญาณขันธ์หมวดละ ๓ ได้แก่ วิญญาณขันธ์ที่มีธรรมภายในตนเป็นอารมณ์
ก็มี ที่มีธรรมภายนอกตนเป็นอารมณ์ก็มี ที่มีธรรมภายในตนและภายนอกตนเป็น
อารมณ์ก็มี
ฯลฯ
วิญญาณขันธ์หมวดละ ๑๐ มีด้วยอาการอย่างนี้
อุภโตวัฑฒกวาร จบ

พหุวิธวาร
วิญญาณขันธ์หมวดละ ๗ ได้แก่ วิญญาณขันธ์ที่เป็นกุศลก็มี ที่เป็นอกุศลก็มี
ที่เป็นอัพยากฤตก็มี ที่เป็นกามาวจรก็มี ที่เป็นรูปาวจรก็มี ที่เป็นอรูปาวจรก็มี ที่ไม่
นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ก็มี
วิญญาณขันธ์หมวดละ ๗ มีด้วยอาการอย่างนี้
วิญญาณขันธ์หมวดละ ๗ อีกหมวดหนึ่ง ได้แก่ วิญญาณขันธ์ที่สัมปยุตด้วย
สุขเวทนาก็มี ที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนาก็มี ที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนาก็มี ที่
เป็นกามาวจรก็มี ที่เป็นรูปาวจรก็มี ที่เป็นอรูปาวจรก็มี ที่ไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์
ก็มี
ฯลฯ
วิญญาณขันธ์ที่มีธรรมภายในตนเป็นอารมณ์ก็มี ที่มีธรรมภายนอกตนเป็น
อารมณ์ก็มี ที่มีธรรมภายในตนและภายนอกตนเป็นอารมณ์ก็มี ที่เป็นกามาวจรก็มี
ที่เป็นรูปาวจรก็มี ที่เป็นอรูปาวจรก็มี ที่ไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ก็มี
วิญญาณขันธ์หมวดละ ๗ มีด้วยอาการอย่างนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๙๔ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑.ขันธวิภังค์] ๒.อภิธรรมภาชนีย์ ๕.วิญญาณขันธ์
วิญญาณขันธ์หมวดละ ๒๔ ได้แก่ เพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัย วิญญาณขันธ์
ที่เป็นกุศล ๑ ที่เป็นอกุศล ๑ ที่เป็นอัพยากฤต ๑ จึงมี
เพราะโสตสัมผัสเป็นปัจจัย ฯลฯ
เพราะฆานสัมผัสเป็นปัจจัย ฯลฯ
เพราะชิวหาสัมผัสเป็นปัจจัย ฯลฯ
เพราะกายสัมผัสเป็นปัจจัย ฯลฯ
เพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย วิญญาณขันธ์ที่เป็นกุศล ๑ ที่เป็นอกุศล ๑ ที่
เป็นอัพยากฤต ๑ จึงมี
จักขุวิญญาณ ฯลฯ มโนวิญญาณ
วิญญาณขันธ์หมวดละ ๒๔ มีด้วยอาการอย่างนี้
วิญญาณขันธ์หมวดละ ๒๔ อีกหมวดหนึ่ง ได้แก่ เพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัย
วิญญาณขันธ์ที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนา ๑ ที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนา ๑ ที่สัมปยุต
ด้วยอทุกขมสุขเวทนา ๑ จึงมี
ฯลฯ
วิญญาณขันธ์ที่มีธรรมภายในตนเป็นอารมณ์ก็มี ที่มีธรรมภายนอกตนเป็น
อารมณ์ก็มี ที่มีธรรมภายในตนและภายนอกตนเป็นอารมณ์ก็มี
จักขุวิญญาณ ฯลฯ กายวิญญาณ และมโนวิญญาณ
เพราะโสตสัมผัสเป็นปัจจัย ฯลฯ
เพราะฆานสัมผัสเป็นปัจจัย ฯลฯ
เพราะชิวหาสัมผัสเป็นปัจจัย ฯลฯ
เพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย วิญญาณขันธ์ที่มีธรรมภายในตนเป็นอารมณ์ ๑
ที่มีธรรมภายนอกตนเป็นอารมณ์ ๑ ที่มีธรรมภายในตนและภายนอกตนเป็น
อารมณ์ ๑ จึงมี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๙๕ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑.ขันธวิภังค์] ๒.อภิธรรมภาชนีย์ ๕.วิญญาณขันธ์
จักขุวิญญาณ ฯลฯ มโนวิญญาณ
วิญญาณขันธ์หมวดละ ๒๔ มีด้วยอาการอย่างนี้
วิญญาณขันธ์หมวดละ ๓๐ ได้แก่ เพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัย วิญญาณขันธ์
ที่เป็นกามาวจร ๑ ที่เป็นรูปาวจร ๑ ที่เป็นอรูปาวจร ๑ ที่ไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ ๑
จึงมี
เพราะโสตสัมผัสเป็นปัจจัย ฯลฯ
เพราะฆานสัมผัสเป็นปัจจัย ฯลฯ
เพราะชิวหาสัมผัสเป็นปัจจัย ฯลฯ
เพราะกายสัมผัสเป็นปัจจัย ฯลฯ
เพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย วิญญาณขันธ์ที่เป็นกามาวจร ๑ ที่เป็นรูปาวจร ๑
ที่เป็นอรูปาวจร ๑ ที่ไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ ๑ จึงมี
จักขุวิญญาณ ฯลฯ มโนวิญญาณ
วิญญาณขันธ์หมวดละ ๓๐ มีด้วยอาการอย่างนี้
วิญญาณขันธ์หมวดละมากอย่าง ได้แก่ เพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัย วิญญาณ-
ขันธ์ที่เป็นกุศล ๑ ที่เป็นอกุศล ๑ ที่เป็นอัพยากฤต ๑ ที่เป็นกามาวจร ๑ ที่เป็น
รูปาวจร ๑ ที่เป็นอรูปาวจร ๑ ที่ไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ ๑ จึงมี
จักขุวิญญาณ ฯลฯ มโนวิญญาณ
เพราะโสตสัมผัสเป็นปัจจัย ฯลฯ
เพราะฆานสัมผัสเป็นปัจจัย ฯลฯ
เพราะชิวหาสัมผัสเป็นปัจจัย ฯลฯ
เพราะกายสัมผัสเป็นปัจจัย ฯลฯ
เพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย วิญญาณขันธ์ที่เป็นกุศล ๑ ที่เป็นอกุศล ๑ ที่เป็น
อัพยากฤต ๑ ที่เป็นกามาวจร ๑ ที่เป็นรูปาวจร ๑ ที่เป็นอรูปาวจร ๑ ที่ไม่นับ
เนื่องในวัฏฏทุกข์ ๑ จึงมี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๙๖ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑.ขันธวิภังค์] ๒.อภิธรรมภาชนีย์ ๕.วิญญาณขันธ์
จักขุวิญญาณ ฯลฯ มโนวิญญาณ
วิญญาณขันธ์หมวดละมากอย่างมีด้วยอาการอย่างนี้
วิญญาณขันธ์หมวดละมากอย่าง อีกหมวดหนึ่ง ได้แก่ เพราะจักขุสัมผัสเป็น
ปัจจัย วิญญาณขันธ์ที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนา ๑ ที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนา ๑ ที่
สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา ๑ จึงมี
ฯลฯ
วิญญาณขันธ์ที่มีธรรมภายในตนเป็นอารมณ์ก็มี ที่มีธรรมภายนอกตนเป็น
อารมณ์ก็มี ที่มีธรรมภายในตนและภายนอกตนเป็นอารมณ์ก็มี ที่เป็นกามาวจรก็มี
ที่เป็นรูปาวจรก็มี ที่เป็นอรูปาวจรก็มี ที่ไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ก็มี
เพราะโสตสัมผัสเป็นปัจจัย ฯลฯ
เพราะฆานสัมผัสเป็นปัจจัย ฯลฯ
เพราะชิวหาสัมผัสเป็นปัจจัย ฯลฯ
เพราะกายสัมผัสเป็นปัจจัย ฯลฯ
เพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย วิญญาณขันธ์ที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนา ๑ ฯลฯ
วิญญาณขันธ์ที่มีธรรมภายในตนเป็นอารมณ์ก็มี ที่มีธรรมภายนอกตนเป็น
อารมณ์ก็มี ที่มีธรรมภายในตนและภายนอกตนเป็นอารมณ์ก็มี ที่เป็นกามาวจรก็มี
ที่เป็นรูปาวจรก็มี ที่เป็นอรูปาวจรก็มี ที่ไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ก็มี
จักขุวิญญาณ ฯลฯ มโนวิญญาณ
วิญญาณขันธ์หมวดละมากอย่างมีด้วยอาการอย่างนี้
นี้เรียกว่า วิญญาณขันธ์
พหุวิธวาร จบ

อภิธรรมภาชนีย์ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๙๗ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑.ขันธวิภังค์] ๓.ปัญหาปุจฉกะ ๑.ติกมาติกาวิสัชนา
๓. ปัญหาปุจฉกะ
[๑๕๐] ขันธ์ ๕ คือ
๑. รูปขันธ์
๒. เวทนาขันธ์
๓. สัญญาขันธ์
๔. สังขารขันธ์
๕. วิญญาณขันธ์

ติกมาติกาปุจฉา ทุกมาติกาปุจฉา
[๑๕๑] บรรดาขันธ์ ๕ ขันธ์เท่าไรเป็นกุศล เท่าไรเป็นอกุศล เท่าไรเป็น
อัพยากฤต ฯลฯ เท่าไรเป็นเหตุให้สัตว์ร้องไห้ เท่าไรไม่เป็นเหตุให้สัตว์ร้องไห้

๑. ติกมาติกาวิสัชนา
๑. กุสลติกวิสัชนา
[๑๕๒] รูปขันธ์เป็นอัพยากฤต ขันธ์ ๔ ที่เป็นกุศลก็มี ที่เป็นอกุศลก็มี ที่
เป็นอัพยากฤตก็มี

๒. เวทนาติกวิสัชนา
ขันธ์ ๒ กล่าวไม่ได้ว่า สัมปยุตด้วยสุขเวทนา สัมปยุตด้วยทุกขเวทนา หรือ
สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา ขันธ์ ๓ ที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาก็มี ที่สัมปยุตด้วย
ทุกขเวทนาก็มี ที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนาก็มี

๓. วิปากติกวิสัชนา
รูปขันธ์ไม่เป็นวิบากและไม่เป็นเหตุให้เกิดวิบาก ขันธ์ ๔ ที่เป็นวิบากก็มี ที่
เป็นเหตุให้เกิดวิบากก็มี ที่ไม่เป็นวิบากและไม่เป็นเหตุให้เกิดวิบากก็มี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๙๘ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑.ขันธวิภังค์] ๓.ปัญหาปุจฉกะ ๑.ติกมาติกาวิสัชนา
๔. อุปาทินนติกวิสัชนา
รูปขันธ์ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือและเป็นอารมณ์ของ
อุปาทานก็มี ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือแต่เป็นอารมณ์ของ
อุปาทานก็มี ขันธ์ ๔ ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือและเป็นอารมณ์
ของอุปาทานก็มี ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือแต่เป็นอารมณ์ของ
อุปาทานก็มี ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือและไม่เป็นอารมณ์ของ
อุปาทานก็มี

๕. สังกิลิฏฐติกวิสัชนา
รูปขันธ์กิเลสไม่ทำให้เศร้าหมองแต่เป็นอารมณ์ของกิเลส ขันธ์ ๔ ที่กิเลส
ทำให้เศร้าหมองและเป็นอารมณ์ของกิเลสก็มี ที่กิเลสไม่ทำให้เศร้าหมองแต่เป็น
อารมณ์ของกิเลสก็มี ที่กิเลสไม่ทำให้เศร้าหมองและไม่เป็นอารมณ์ของกิเลสก็มี

๖. สวิตักกติกวิสัชนา
รูปขันธ์ไม่มีทั้งวิตกและวิจาร ขันธ์ ๓ ที่มีทั้งวิตกและวิจารก็มี ที่ไม่มีวิตกมี
เพียงวิจารก็มี ที่ไม่มีทั้งวิตกและวิจารก็มี สังขารขันธ์ที่มีทั้งวิตกและวิจารก็มี ที่ไม่มี
วิตกมีเพียงวิจารก็มี ที่ไม่มีทั้งวิตกและวิจารก็มี ที่กล่าวไม่ได้ว่า มีทั้งวิตกและวิจาร
ไม่มีวิตกมีเพียงวิจาร หรือไม่มีทั้งวิตกและวิจารก็มี

๗. ปีติติกวิสัชนา
รูปขันธ์กล่าวไม่ได้ว่า สหรคตด้วยปีติ สหรคตด้วยสุข หรือสหรคตด้วยอุเบกขา
เวทนาขันธ์ที่สหรคตด้วยปีติแต่ไม่สหรคตด้วยสุขและไม่สหรคตด้วยอุเบกขาก็มี ที่
กล่าวไม่ได้ว่า สหรคตด้วยปีติก็มี ขันธ์ ๓ ที่สหรคตด้วยปีติก็มี ที่สหรคตด้วยสุขก็มี
ที่สหรคตด้วยอุเบกขาก็มี แต่กล่าวไม่ได้ว่า สหรคตด้วยปีติ สหรคตด้วยสุข หรือ
สหรคตด้วยอุเบกขาก็มี

๘. ทัสสนติกวิสัชนา
รูปขันธ์ไม่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคและมรรคเบื้องบน ๓ ขันธ์ ๔ ที่
ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคก็มี ที่ต้องประหาณด้วยมรรคเบื้องบน ๓ ก็มี ที่
ไม่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคและมรรคเบื้องบน ๓ ก็มี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๙๙ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑.ขันธวิภังค์] ๓.ปัญหาปุจฉกะ ๑.ติกมาติกาวิสัชนา
๙. ทัสสนเหตุติกวิสัชนา
รูปขันธ์ไม่มีเหตุต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคและมรรคเบื้องบน ๓ ขันธ์ ๔
ที่มีเหตุต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคก็มี ที่มีเหตุต้องประหาณด้วยมรรคเบื้องบน
๓ ก็มี ที่ไม่มีเหตุต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคและมรรคเบื้องบน ๓ ก็มี

๑๐. อาจยคามิติกวิสัชนา
รูปขันธ์ไม่เป็นเหตุให้ถึงปฏิสนธิ จุติ และนิพพาน ขันธ์ ๔ ที่เป็นเหตุให้ถึง
ปฏิสนธิและจุติก็มี ที่เป็นเหตุให้ถึงนิพพานก็มี ที่ไม่เป็นเหตุให้ถึงปฏิสนธิ จุติ และ
นิพพานก็มี

๑๑. เสกขติกวิสัชนา
รูปขันธ์ไม่เป็นของเสขบุคคลและอเสขบุคคล ขันธ์ ๔ ที่เป็นของเสขบุคคลก็มี
ที่เป็นของอเสขบุคคลก็มี ที่ไม่เป็นของเสขบุคคลและอเสขบุคคลก็มี

๑๒. ปริตตติกวิสัชนา
รูปขันธ์เป็นปริตตะ ขันธ์ ๔ ที่เป็นปริตตะก็มี ที่เป็นมหัคคตะก็มี ที่เป็น
อัปปมาณะก็มี

๑๓. ปริตตารัมมณติกวิสัชนา
รูปขันธ์รับรู้อารมณ์ไม่ได้ ขันธ์ ๔ ที่มีปริตตะเป็นอารมณ์ก็มี ที่มีมหัคคตะ
เป็นอารมณ์ก็มี ที่มีอัปปมาณะเป็นอารมณ์ก็มี ที่กล่าวไม่ได้ว่า มีปริตตะเป็นอารมณ์
มีมหัคคตะเป็นอารมณ์ หรือมีอัปปมาณะเป็นอารมณ์ก็มี

๑๔. หีนติกวิสัชนา
รูปขันธ์เป็นชั้นกลาง ขันธ์ ๔ ที่เป็นชั้นต่ำก็มี ที่เป็นชั้นกลางก็มี ที่เป็นชั้น
ประณีตก็มี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๑๐๐ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑.ขันธวิภังค์] ๓.ปัญหาปุจฉกะ ๑.ติกมาติกาวิสัชนา
๑๕. มิจฉัตตติกวิสัชนา
รูปขันธ์เป็นธรรมชาติไม่แน่นอนโดยอาการทั้งสองนั้น ขันธ์ ๔ ที่มีสภาวะผิด
และให้ผลแน่นอนก็มี ที่มีสภาวะชอบและให้ผลแน่นอนก็มี ที่เป็นธรรมชาติไม่แน่
นอนโดยอาการทั้งสองนั้นก็มี

๑๖. มัคคารัมมณติกวิสัชนา
รูปขันธ์รับรู้อารมณ์ไม่ได้ ขันธ์ ๔ ที่มีมรรคเป็นอารมณ์ก็มี ที่มีมรรคเป็นเหตุ
ก็มี ที่มีมรรคเป็นอธิบดีก็มี ที่กล่าวไม่ได้ว่า มีมรรคเป็นอารมณ์ มีมรรคเป็นเหตุ
หรือมีมรรคเป็นอธิบดีก็มี

๑๗. อุปปันนติกวิสัชนา
ขันธ์ ๕ ที่เกิดขึ้นก็มี ที่ยังไม่เกิดขึ้นก็มี ที่จักเกิดขึ้นแน่นอนก็มี

๑๘. อตีตติกวิสัชนา
ขันธ์ ๕ ที่เป็นอดีตก็มี ที่เป็นอนาคตก็มี ที่เป็นปัจจุบันก็มี

๑๙. อตีตารัมมณติกวิสัชนา
รูปขันธ์รับรู้อารมณ์ไม่ได้ ขันธ์ ๔ ที่มีอดีตธรรมเป็นอารมณ์ก็มี ที่มีอนาคต
ธรรมเป็นอารมณ์ก็มี ที่มีปัจจุบันธรรมเป็นอารมณ์ก็มี ที่กล่าวไม่ได้ว่า มีอดีตธรรม
เป็นอารมณ์ มีอนาคตธรรมเป็นอารมณ์ หรือมีปัจจุบันธรรมเป็นอารมณ์ก็มี

๒๐. อัชฌัตตติกวิสัชนา
ขันธ์ ๕ ที่เป็นภายในตนก็มี ที่เป็นภายนอกตนก็มี ที่เป็นภายในตนและภาย
นอกตนก็มี

๒๑. อัชฌัตตารัมมณติกวิสัชนา
รูปขันธ์รับรู้อารมณ์ไม่ได้ ขันธ์ ๔ ที่มีธรรมภายในตนเป็นอารมณ์ก็มี ที่มีธรรม
ภายนอกตนเป็นอารมณ์ก็มี ที่มีธรรมภายในตนและภายนอกตนเป็นอารมณ์ก็มี ที่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๑๐๑ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑.ขันธวิภังค์] ๓.ปัญหาปุจฉกะ ๒.ทุกมาติกาวิสัชนา
กล่าวไม่ได้ว่า มีธรรมภายในตนเป็นอารมณ์ มีธรรมภายนอกตนเป็นอารมณ์ หรือมี
ธรรมภายในตนและภายนอกตนเป็นอารมณ์ก็มี

๒๒. สนิทัสสนติกวิสัชนา
ขันธ์ ๔ เห็นไม่ได้และกระทบไม่ได้ รูปขันธ์ที่เห็นได้และกระทบได้ก็มี ที่เห็นไม่
ได้แต่กระทบได้ก็มี ที่เห็นไม่ได้และกระทบไม่ได้ก็มี

๒. ทุกมาติกาวิสัชนา
๑. เหตุโคจฉกวิสัชนา
[๑๕๓] ขันธ์ ๔ ไม่เป็นเหตุ สังขารขันธ์ที่เป็นเหตุก็มี ที่ไม่เป็นเหตุก็มี
รูปขันธ์ไม่มีเหตุ ขันธ์ ๔ ที่มีเหตุก็มี ที่ไม่มีเหตุก็มี
รูปขันธ์วิปปยุตจากเหตุ ขันธ์ ๔ ที่สัมปยุตด้วยเหตุก็มี ที่วิปปยุตจากเหตุก็มี
รูปขันธ์กล่าวไม่ได้ว่า เป็นเหตุและมีเหตุ หรือมีเหตุแต่ไม่เป็นเหตุ ขันธ์ ๓
กล่าวไม่ได้ว่า เป็นเหตุและมีเหตุ ที่มีเหตุแต่ไม่เป็นเหตุก็มี ที่กล่าวไม่ได้ว่า มีเหตุแต่
ไม่เป็นเหตุก็มี สังขารขันธ์ที่เป็นเหตุและมีเหตุก็มี ที่มีเหตุแต่ไม่เป็นเหตุก็มี ที่กล่าว
ไม่ได้ว่า เป็นเหตุและมีเหตุ หรือมีเหตุแต่ไม่เป็นเหตุก็มี
รูปขันธ์กล่าวไม่ได้ว่า เป็นเหตุและสัมปยุตด้วยเหตุ หรือสัมปยุตด้วยเหตุแต่ไม่
เป็นเหตุ ขันธ์ ๓ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นเหตุและสัมปยุตด้วยเหตุ ที่สัมปยุตด้วยเหตุแต่
ไม่เป็นเหตุก็มี ที่กล่าวไม่ได้ว่า สัมปยุตด้วยเหตุแต่ไม่เป็นเหตุก็มี สังขารขันธ์ที่เป็น
เหตุและสัมปยุตด้วยเหตุก็มี ที่สัมปยุตด้วยเหตุแต่ไม่เป็นเหตุก็มี ที่กล่าวไม่ได้ว่า
เป็นเหตุและสัมปยุตด้วยเหตุ หรือสัมปยุตด้วยเหตุแต่ไม่เป็นเหตุก็มี
รูปขันธ์ไม่เป็นเหตุและไม่มีเหตุ ขันธ์ ๓ ที่ไม่เป็นเหตุแต่มีเหตุก็มี ที่ไม่เป็น
เหตุและไม่มีเหตุก็มี สังขารขันธ์ที่ไม่เป็นเหตุแต่มีเหตุก็มี ที่ไม่เป็นเหตุและไม่มีเหตุ
ก็มี ที่กล่าวไม่ได้ว่า ไม่เป็นเหตุแต่มีเหตุ หรือไม่เป็นเหตุและไม่มีเหตุก็มี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๑๐๒ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑.ขันธวิภังค์] ๓.ปัญหาปุจฉกะ ๒.ทุกมาติกาวิสัชนา
๒. จูฬันตรทุกวิสัชนา
ขันธ์ ๕ มีปัจจัยปรุงแต่ง ถูกปัจจัยปรุงแต่ง
ขันธ์ ๔ เห็นไม่ได้ รูปขันธ์ที่เห็นได้ก็มี ที่เห็นไม่ได้ก็มี
ขันธ์ ๔ กระทบไม่ได้ รูปขันธ์ที่กระทบได้ก็มี ที่กระทบไม่ได้ก็มี
รูปขันธ์เป็นรูป ขันธ์ ๔ ไม่เป็นรูป
รูปขันธ์เป็นโลกิยะ ขันธ์ ๔ ที่เป็นโลกิยะก็มี ที่เป็นโลกุตตระก็มี
ขันธ์ ๕ ที่จิตบางดวงรู้ได้ก็มี ที่จิตบางดวงรู้ไม่ได้ก็มี

๓. อาสวโคจฉกวิสัชนา
ขันธ์ ๔ ไม่เป็นอาสวะ สังขารขันธ์ที่เป็นอาสวะก็มี ที่ไม่เป็นอาสวะก็มี
รูปขันธ์เป็นอารมณ์ของอาสวะ ขันธ์ ๔ ที่เป็นอารมณ์ของอาสวะก็มี ที่ไม่เป็น
อารมณ์ของอาสวะก็มี
รูปขันธ์วิปปยุตจากอาสวะ ขันธ์ ๔ ที่สัมปยุตด้วยอาสวะก็มี ที่วิปปยุตจาก
อาสวะก็มี
รูปขันธ์กล่าวไม่ได้ว่า เป็นอาสวะและเป็นอารมณ์ของอาสวะ หรือเป็นอารมณ์
ของอาสวะแต่ไม่เป็นอาสวะ ขันธ์ ๓ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นอาสวะและเป็นอารมณ์ของ
อาสวะ ที่เป็นอารมณ์ของอาสวะแต่ไม่เป็นอาสวะก็มี ที่กล่าวไม่ได้ว่า เป็นอารมณ์
ของอาสวะแต่ไม่เป็นอาสวะก็มี สังขารขันธ์ที่เป็นอาสวะและเป็นอารมณ์ของอาสวะ
ก็มี ที่เป็นอารมณ์ของอาสวะแต่ไม่เป็นอาสวะก็มี ที่กล่าวไม่ได้ว่า เป็นอาสวะและ
เป็นอารมณ์ของอาสวะ หรือเป็นอารมณ์ของอาสวะแต่ไม่เป็นอาสวะก็มี
รูปขันธ์กล่าวไม่ได้ว่า เป็นอาสวะและสัมปยุตด้วยอาสวะ หรือสัมปยุตด้วย
อาสวะแต่ไม่เป็นอาสวะ ขันธ์ ๓ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นอาสวะและสัมปยุตด้วยอาสวะ ที่
สัมปยุตด้วยอาสวะแต่ไม่เป็นอาสวะก็มี ที่กล่าวไม่ได้ว่า สัมปยุตด้วยอาสวะแต่ไม่
เป็นอาสวะก็มี สังขารขันธ์ที่เป็นอาสวะและสัมปยุตด้วยอาสวะก็มี ที่สัมปยุตด้วย
อาสวะแต่ไม่เป็นอาสวะก็มี ที่กล่าวไม่ได้ว่า เป็นอาสวะและสัมปยุตด้วยอาสวะ หรือ
สัมปยุตด้วยอาสวะแต่ไม่เป็นอาสวะก็มี
รูปขันธ์วิปปยุตจากอาสวะแต่เป็นอารมณ์ของอาสวะ ขันธ์ ๔ ที่วิปปยุตจาก
อาสวะแต่เป็นอารมณ์ของอาสวะก็มี ที่วิปปยุตจากอาสวะและไม่เป็นอารมณ์ของ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๑๐๓ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑.ขันธวิภังค์] ๓.ปัญหาปุจฉกะ ๒.ทุกมาติกาวิสัชนา
อาสวะก็มี ที่กล่าวไม่ได้ว่า วิปปยุตจากอาสวะแต่เป็นอารมณ์ของอาสวะ หรือวิปปยุต
จากอาสวะและไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะก็มี

๔. สัญโญชนโคจฉกวิสัชนา
ขันธ์ ๔ ไม่เป็นสังโยชน์ สังขารขันธ์ที่เป็นสังโยชน์ก็มี ที่ไม่เป็นสังโยชน์ก็มี
รูปขันธ์เป็นอารมณ์ของสังโยชน์ ขันธ์ ๔ ที่เป็นอารมณ์ของสังโยชน์ก็มี ที่ไม่
เป็นอารมณ์ของสังโยชน์ก็มี
รูปขันธ์วิปปยุตจากสังโยชน์ ขันธ์ ๔ ที่สัมปยุตด้วยสังโยชน์ก็มี ที่วิปปยุต
จากสังโยชน์ก็มี
รูปขันธ์กล่าวไม่ได้ว่า เป็นสังโยชน์และเป็นอารมณ์ของสังโยชน์ หรือเป็น
อารมณ์ของสังโยชน์แต่ไม่เป็นสังโยชน์ ขันธ์ ๓ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นสังโยชน์และเป็น
อารมณ์ของสังโยชน์ ที่เป็นอารมณ์ของสังโยชน์แต่ไม่เป็นสังโยชน์ก็มี ที่กล่าวไม่ได้ว่า
เป็นอารมณ์ของสังโยชน์แต่ไม่เป็นสังโยชน์ก็มี สังขารขันธ์ที่เป็นสังโยชน์และเป็น
อารมณ์ของสังโยชน์ก็มี ที่เป็นอารมณ์ของสังโยชน์แต่ไม่เป็นสังโยชน์ก็มี ที่กล่าว
ไม่ได้ว่า เป็นสังโยชน์และเป็นอารมณ์ของสังโยชน์ หรือเป็นอารมณ์ของสังโยชน์แต่
ไม่เป็นสังโยชน์ก็มี
รูปขันธ์กล่าวไม่ได้ว่า เป็นสังโยชน์และสัมปยุตด้วยสังโยชน์ หรือสัมปยุตด้วย
สังโยชน์แต่ไม่เป็นสังโยชน์ ขันธ์ ๓ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นสังโยชน์และสัมปยุตด้วย
สังโยชน์ ที่สัมปยุตด้วยสังโยชน์แต่ไม่เป็นสังโยชน์ก็มี ที่กล่าวไม่ได้ว่า สัมปยุตด้วย
สังโยชน์แต่ไม่เป็นสังโยชน์ก็มี สังขารขันธ์ที่เป็นสังโยชน์และสัมปยุตด้วยสังโยชน์ก็มี
ที่สัมปยุตด้วยสังโยชน์แต่ไม่เป็นสังโยชน์ก็มี ที่กล่าวไม่ได้ว่า เป็นสังโยชน์และสัมปยุต
ด้วยสังโยชน์ หรือสัมปยุตด้วยสังโยชน์แต่ไม่เป็นสังโยชน์ก็มี
รูปขันธ์วิปปยุตจากสังโยชน์แต่เป็นอารมณ์ของสังโยชน์ ขันธ์ ๔ ที่วิปปยุตจาก
สังโยชน์แต่เป็นอารมณ์ของสังโยชน์ก็มี ที่วิปปยุตจากสังโยชน์และไม่เป็นอารมณ์ของ
สังโยชน์ก็มี ที่กล่าวไม่ได้ว่า วิปปยุตจากสังโยชน์แต่เป็นอารมณ์ของสังโยชน์ หรือ
วิปปยุตจากสังโยชน์และไม่เป็นอารมณ์ของสังโยชน์ก็มี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๑๐๔ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑.ขันธวิภังค์] ๓.ปัญหาปุจฉกะ ๒.ทุกมาติกาวิสัชนา
๕. คันถโคจฉกวิสัชนา
ขันธ์ ๔ ไม่เป็นคันถะ สังขารขันธ์ที่เป็นคันถะก็มี ที่ไม่เป็นคันถะก็มี
รูปขันธ์เป็นอารมณ์ของคันถะ ขันธ์ ๔ ที่เป็นอารมณ์ของคันถะก็มี ที่ไม่เป็น
อารมณ์ของคันถะก็มี
รูปขันธ์วิปปยุตจากคันถะ ขันธ์ ๔ ที่สัมปยุตด้วยคันถะก็มี ที่วิปปยุตจาก
คันถะก็มี
รูปขันธ์กล่าวไม่ได้ว่า เป็นคันถะและเป็นอารมณ์ของคันถะ หรือเป็นอารมณ์
ของคันถะแต่ไม่เป็นคันถะ ขันธ์ ๓ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นคันถะและเป็นอารมณ์ของคันถะ
ที่เป็นอารมณ์ของคันถะแต่ไม่เป็นคันถะก็มี ที่กล่าวไม่ได้ว่า เป็นอารมณ์ของคันถะแต่
ไม่เป็นคันถะก็มี สังขารขันธ์ที่เป็นคันถะและเป็นอารมณ์ของคันถะก็มี ที่เป็นอารมณ์
ของคันถะแต่ไม่เป็นคันถะก็มี ที่กล่าวไม่ได้ว่า เป็นคันถะและเป็นอารมณ์ของคันถะ
หรือเป็นอารมณ์ของคันถะแต่ไม่เป็นคันถะก็มี
รูปขันธ์กล่าวไม่ได้ว่า เป็นคันถะและสัมปยุตด้วยคันถะ หรือสัมปยุตด้วยคันถะ
แต่ไม่เป็นคันถะ ขันธ์ ๓ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นคันถะและสัมปยุตด้วยคันถะ ที่สัมปยุต
ด้วยคันถะแต่ไม่เป็นคันถะก็มี ที่กล่าวไม่ได้ว่า สัมปยุตด้วยคันถะแต่ไม่เป็นคันถะก็มี
สังขารขันธ์ที่เป็นคันถะและสัมปยุตด้วยคันถะก็มี ที่สัมปยุตด้วยคันถะแต่ไม่เป็น
คันถะก็มี ที่กล่าวไม่ได้ว่า เป็นคันถะและสัมปยุตด้วยคันถะ หรือสัมปยุตด้วยคันถะ
แต่ไม่เป็นคันถะก็มี
รูปขันธ์วิปปยุตจากคันถะแต่เป็นอารมณ์ของคันถะ ขันธ์ ๔ ที่วิปปยุตจาก
คันถะแต่เป็นอารมณ์ของคันถะก็มี ที่วิปปยุตจากคันถะ และไม่เป็นอารมณ์ของ
คันถะก็มี ที่กล่าวไม่ได้ว่า วิปปยุตจากคันถะแต่เป็นอารมณ์ของคันถะ หรือวิปปยุต
จากคันถะและไม่เป็นอารมณ์ของคันถะก็มี

๖-๘. โอฆโคจฉกาทิวิสัชนา
ขันธ์ ๔ ไม่เป็นโอฆะ ฯลฯ ไม่เป็นโยคะ ฯลฯ ไม่เป็นนิวรณ์ สังขารขันธ์ที่
เป็นนิวรณ์ก็มี ที่ไม่เป็นนิวรณ์ก็มี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๑๐๕ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑.ขันธวิภังค์] ๓.ปัญหาปุจฉกะ ๒.ทุกมาติกาวิสัชนา
รูปขันธ์เป็นอารมณ์ของนิวรณ์ ขันธ์ ๔ ที่เป็นอารมณ์ของนิวรณ์ก็มี ที่ไม่
เป็นอารมณ์ของนิวรณ์ก็มี
รูปขันธ์วิปปยุตจากนิวรณ์ ขันธ์ ๔ ที่สัมปยุตด้วยนิวรณ์ก็มี ที่วิปปยุตจาก
นิวรณ์ก็มี
รูปขันธ์กล่าวไม่ได้ว่า เป็นนิวรณ์และเป็นอารมณ์ของนิวรณ์ หรือเป็นอารมณ์
ของนิวรณ์แต่ไม่เป็นนิวรณ์ ขันธ์ ๓ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นนิวรณ์และเป็นอารมณ์ของ
นิวรณ์ ที่เป็นอารมณ์ของนิวรณ์แต่ไม่เป็นนิวรณ์ก็มี ที่กล่าวไม่ได้ว่าเป็นอารมณ์ของ
นิวรณ์แต่ไม่เป็นนิวรณ์ก็มี สังขารขันธ์ที่เป็นนิวรณ์และเป็นอารมณ์ของนิวรณ์ก็มี ที่
เป็นอารมณ์ของนิวรณ์แต่ไม่เป็นนิวรณ์ก็มี ที่กล่าวไม่ได้ว่า เป็นนิวรณ์และเป็นอารมณ์
ของนิวรณ์ หรือเป็นอารมณ์ของนิวรณ์แต่ไม่เป็นนิวรณ์ก็มี
รูปขันธ์กล่าวไม่ได้ว่า เป็นนิวรณ์และสัมปยุตด้วยนิวรณ์ หรือสัมปยุตด้วย
นิวรณ์แต่ไม่เป็นนิวรณ์ ขันธ์ ๓ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นนิวรณ์และสัมปยุตด้วยนิวรณ์ ที่
สัมปยุตด้วยนิวรณ์แต่ไม่เป็นนิวรณ์ก็มี ที่กล่าวไม่ได้ว่า สัมปยุตด้วยนิวรณ์แต่ไม่เป็น
นิวรณ์ก็มี สังขารขันธ์ที่เป็นนิวรณ์และสัมปยุตด้วยนิวรณ์ก็มี ที่สัมปยุตด้วยนิวรณ์แต่
ไม่เป็นนิวรณ์ก็มี ที่กล่าวไม่ได้ว่า เป็นนิวรณ์และสัมปยุตด้วยนิวรณ์ หรือสัมปยุตด้วย
นิวรณ์แต่ไม่เป็นนิวรณ์ก็มี
รูปขันธ์วิปปยุตจากนิวรณ์แต่เป็นอารมณ์ของนิวรณ์ ขันธ์ ๔ ที่วิปปยุตจาก
นิวรณ์แต่เป็นอารมณ์ของนิวรณ์ก็มี ที่วิปปยุตจากนิวรณ์และไม่เป็นอารมณ์ของ
นิวรณ์ก็มี ที่กล่าวไม่ได้ว่า วิปปยุตจากนิวรณ์แต่เป็นอารมณ์ของนิวรณ์ หรือวิปปยุต
จากนิวรณ์และไม่เป็นอารมณ์ของนิวรณ์ก็มี

๙. ปรามาสโคจฉกวิสัชนา
ขันธ์ ๔ ไม่เป็นปรามาส สังขารขันธ์ที่เป็นปรามาสก็มี ที่ไม่เป็นปรามาสก็มี
รูปขันธ์เป็นอารมณ์ของปรามาส ขันธ์ ๔ ที่เป็นอารมณ์ของปรามาสก็มี ที่ไม่
เป็นอารมณ์ของปรามาสก็มี
รูปขันธ์วิปปยุตจากปรามาส ขันธ์ ๓ ที่สัมปยุตด้วยปรามาสก็มี ที่วิปปยุต
จากปรามาสก็มี สังขารขันธ์ที่สัมปยุตด้วยปรามาสก็มี ที่วิปปยุตจากปรามาสก็มี
ที่กล่าวไม่ได้ว่า สัมปยุตด้วยปรามาส หรือวิปปยุตจากปรามาสก็มี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๑๐๖ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑.ขันธวิภังค์] ๓.ปัญหาปุจฉกะ ๒.ทุกมาติกาวิสัชนา
รูปขันธ์กล่าวไม่ได้ว่า เป็นปรามาสและเป็นอารมณ์ของปรามาส หรือเป็น
อารมณ์ของปรามาสแต่ไม่เป็นปรามาส ขันธ์ ๓ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นปรามาสและ
เป็นอารมณ์ของปรามาส ที่เป็นอารมณ์ของปรามาสแต่ไม่เป็นปรามาสก็มี ที่กล่าว
ไม่ได้ว่า เป็นอารมณ์ของปรามาสแต่ไม่เป็นปรามาสก็มี สังขารขันธ์ที่เป็นปรามาส
และเป็นอารมณ์ของปรามาสก็มี ที่เป็นอารมณ์ของปรามาสแต่ไม่เป็นปรามาสก็มี
ที่กล่าวไม่ได้ว่า เป็นปรามาสและเป็นอารมณ์ของปรามาส หรือเป็นอารมณ์ของ
ปรามาสแต่ไม่เป็นปรามาสก็มี
รูปขันธ์วิปปยุตจากปรามาสแต่เป็นอารมณ์ของปรามาส ขันธ์ ๔ ที่วิปปยุต
จากปรามาสแต่เป็นอารมณ์ของปรามาสก็มี ที่วิปปยุตจากปรามาสและไม่เป็น
อารมณ์ของปรามาสก็มี ที่กล่าวไม่ได้ว่า วิปปยุตจากปรามาสแต่เป็นอารมณ์ของ
ปรามาส หรือวิปปยุตจากปรามาสและไม่เป็นอารมณ์ของปรามาสก็มี

๑๐. ปิฏฐิทุกะ
รูปขันธ์รับรู้อารมณ์ไม่ได้ ขันธ์ ๔ รับรู้อารมณ์ได้
วิญญาณขันธ์เป็นจิต ขันธ์ ๔ ไม่เป็นจิต
ขันธ์ ๓ เป็นเจตสิก ขันธ์ ๒ ไม่เป็นเจตสิก
ขันธ์ ๓ สัมปยุตด้วยจิต รูปขันธ์วิปปยุตจากจิต วิญญาณขันธ์กล่าวไม่ได้ว่า
สัมปยุตด้วยจิต หรือวิปปยุตจากจิต
ขันธ์ ๓ ระคนกับจิต รูปขันธ์ไม่ระคนกับจิต วิญญาณขันธ์กล่าวไม่ได้ว่า
ระคนกับจิต หรือไม่ระคนกับจิต
ขันธ์ ๓ มีจิตเป็นสมุฏฐาน วิญญาณขันธ์ไม่มีจิตเป็นสมุฏฐาน รูปขันธ์ที่มีจิต
เป็นสมุฏฐานก็มี ที่ไม่มีจิตเป็นสมุฏฐานก็มี
ขันธ์ ๓ เกิดพร้อมกับจิต วิญญาณขันธ์ไม่เกิดพร้อมกับจิต รูปขันธ์ที่เกิด
พร้อมกับจิตก็มี ที่ไม่เกิดพร้อมกับจิตก็มี
ขันธ์ ๓ เป็นไปตามจิต วิญญาณขันธ์ไม่เป็นไปตามจิต รูปขันธ์ที่เป็นไปตามจิต
ก็มี ที่ไม่เป็นไปตามจิตก็มี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๑๐๗ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑.ขันธวิภังค์] ๓.ปัญหาปุจฉกะ ๒.ทุกมาติกาวิสัชนา
ขันธ์ ๓ ระคนกับจิตและมีจิตเป็นสมุฏฐาน ขันธ์ ๒ ไม่ระคนกับจิตและมีจิต
เป็นสมุฏฐาน
ขันธ์ ๓ ระคนกับจิตมีจิตเป็นสมุฏฐานและเกิดพร้อมกับจิต ขันธ์ ๒ ไม่ระคน
กับจิตมีจิตเป็นสมุฏฐานและเกิดพร้อมกับจิต
ขันธ์ ๓ ระคนกับจิตมีจิตเป็นสมุฏฐานและเป็นไปตามจิต ขันธ์ ๒ ไม่ระคน
กับจิตมีจิตเป็นสมุฏฐานและเป็นไปตามจิต

๑๑. อุปาทานโคจฉกะ
วิญญาณขันธ์เป็นภายใน ขันธ์ ๓ เป็นภายนอก รูปขันธ์ที่เป็นภายในก็มี ที่
เป็นภายนอกก็มี
ขันธ์ ๔ ไม่เป็นอุปาทายรูป รูปขันธ์ที่เป็นอุปาทายรูปก็มี ที่ไม่เป็นอุปาทายรูป
ก็มี
ขันธ์ ๕ ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือก็มี ที่กรรมอัน
ประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือก็มี
ขันธ์ ๔ ไม่เป็นอุปาทาน สังขารขันธ์ที่เป็นอุปาทานก็มี ที่ไม่เป็นอุปาทานก็มี
รูปขันธ์เป็นอารมณ์ของอุปาทาน ขันธ์ ๔ ที่เป็นอารมณ์ของอุปาทานก็มี ที่
ไม่เป็นอารมณ์ของอุปาทานก็มี
รูปขันธ์วิปปยุตจากอุปาทาน ขันธ์ ๔ ที่สัมปยุตด้วยอุปาทานก็มี ที่วิปปยุต
จากอุปาทานก็มี
รูปขันธ์กล่าวไม่ได้ว่า เป็นอุปาทานและเป็นอารมณ์ของอุปาทาน หรือเป็น
อารมณ์ของอุปาทานแต่ไม่เป็นอุปาทาน ขันธ์ ๓ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นอุปาทานและ
เป็นอารมณ์ของอุปาทาน ที่เป็นอารมณ์ของอุปาทานแต่ไม่เป็นอุปาทานก็มี ที่กล่าว
ไม่ได้ว่า เป็นอารมณ์ของอุปาทานแต่ไม่เป็นอุปาทานก็มี สังขารขันธ์ที่เป็นอุปาทาน
และเป็นอารมณ์ของอุปาทานก็มี ที่เป็นอารมณ์ของอุปาทานแต่ไม่เป็นอุปาทานก็มี
ที่กล่าวไม่ได้ว่า เป็นอุปาทานและเป็นอารมณ์ของอุปาทาน หรือเป็นอารมณ์ของ
อุปาทานแต่ไม่เป็นอุปาทานก็มี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๑๐๘ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑.ขันธวิภังค์] ๓.ปัญหาปุจฉกะ ๒.ทุกมาติกาวิสัชนา
รูปขันธ์กล่าวไม่ได้ว่า เป็นอุปาทานและสัมปยุตด้วยอุปาทาน หรือสัมปยุตด้วย
อุปาทานแต่ไม่เป็นอุปาทาน ขันธ์ ๓ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นอุปาทานและสัมปยุตด้วย
อุปาทาน ที่สัมปยุตด้วยอุปาทานแต่ไม่เป็นอุปาทานก็มี ที่กล่าวไม่ได้ว่า สัมปยุตด้วย
อุปาทานแต่ไม่เป็นอุปาทานก็มี สังขารขันธ์ที่เป็นอุปาทานและสัมปยุตด้วยอุปาทาน
ก็มี ที่สัมปยุตด้วยอุปาทานแต่ไม่เป็นอุปาทานก็มี ที่กล่าวไม่ได้ว่า เป็นอุปาทานและ
สัมปยุตด้วยอุปาทาน หรือสัมปยุตด้วยอุปาทานแต่ไม่เป็นอุปาทานก็มี
รูปขันธ์วิปปยุตจากอุปาทานแต่เป็นอารมณ์ของอุปาทาน ขันธ์ ๔ ที่วิปปยุต
จากอุปาทานแต่เป็นอารมณ์ของอุปาทานก็มี ที่วิปปยุตจากอุปาทานและไม่เป็น
อารมณ์ของอุปาทานก็มี ที่กล่าวไม่ได้ว่า วิปปยุตจากอุปาทานแต่เป็นอารมณ์ของ
อุปาทาน หรือวิปปยุตจากอุปาทานและไม่เป็นอารมณ์ของอุปาทานก็มี

๑๒. กิเลสโคจฉกะ
ขันธ์ ๔ ไม่เป็นกิเลส สังขารขันธ์ที่เป็นกิเลสก็มี ที่ไม่เป็นกิเลสก็มี
รูปขันธ์เป็นอารมณ์ของกิเลส ขันธ์ ๔ ที่เป็นอารมณ์ของกิเลสก็มี ที่ไม่เป็น
อารมณ์ของกิเลสก็มี
รูปขันธ์กิเลสไม่ทำให้เศร้าหมอง ขันธ์ ๔ ที่กิเลสทำให้เศร้าหมองก็มี ที่กิเลส
ไม่ทำให้เศร้าหมองก็มี
รูปขันธ์วิปปยุตจากกิเลส ขันธ์ ๔ ที่สัมปยุตด้วยกิเลสก็มี ที่วิปปยุตจาก
กิเลสก็มี
รูปขันธ์กล่าวไม่ได้ว่า เป็นกิเลสและเป็นอารมณ์ของกิเลส หรือเป็นอารมณ์ของ
กิเลสแต่ไม่เป็นกิเลส ขันธ์ ๓ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นกิเลสและเป็นอารมณ์ของกิเลส ที่
เป็นอารมณ์ของกิเลสแต่ไม่เป็นกิเลสก็มี ที่กล่าวไม่ได้ว่า เป็นอารมณ์ของกิเลสแต่ไม่
เป็นกิเลสก็มี สังขารขันธ์ที่เป็นกิเลสและเป็นอารมณ์ของกิเลสก็มี ที่เป็นอารมณ์
ของกิเลสแต่ไม่เป็นกิเลสก็มี ที่กล่าวไม่ได้ว่า เป็นกิเลสและเป็นอารมณ์ของกิเลส
หรือเป็นอารมณ์ของกิเลสแต่ไม่เป็นกิเลสก็มี
รูปขันธ์กล่าวไม่ได้ว่า เป็นกิเลสและกิเลสทำให้เศร้าหมอง หรือกิเลสทำให้
เศร้าหมองแต่ไม่เป็นกิเลส ขันธ์ ๓ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นกิเลสและกิเลสทำให้เศร้าหมอง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๑๐๙ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑.ขันธวิภังค์] ๓.ปัญหาปุจฉกะ ๒.ทุกมาติกาวิสัชนา
ที่กิเลสทำให้เศร้าหมองแต่ไม่เป็นกิเลสก็มี ที่กล่าวไม่ได้ว่า กิเลสทำให้เศร้าหมองแต่
ไม่เป็นกิเลสก็มี สังขารขันธ์ที่เป็นกิเลสและกิเลสทำให้เศร้าหมองก็มี ที่กิเลสทำให้
เศร้าหมองแต่ไม่เป็นกิเลสก็มี ที่กล่าวไม่ได้ว่า เป็นกิเลสและกิเลสทำให้เศร้าหมอง
หรือกิเลสทำให้เศร้าหมองแต่ไม่เป็นกิเลสก็มี
รูปขันธ์กล่าวไม่ได้ว่า เป็นกิเลสและสัมปยุตด้วยกิเลส หรือสัมปยุตด้วยกิเลส
แต่ไม่เป็นกิเลส ขันธ์ ๓ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นกิเลสและสัมปยุตด้วยกิเลส ที่สัมปยุต
ด้วยกิเลสแต่ไม่เป็นกิเลสก็มี ที่กล่าวไม่ได้ว่า สัมปยุตด้วยกิเลสแต่ไม่เป็นกิเลสก็มี
สังขารขันธ์ที่เป็นกิเลสและสัมปยุตด้วยกิเลสก็มี ที่สัมปยุตด้วยกิเลสแต่ไม่เป็นกิเลส
ก็มี ที่กล่าวไม่ได้ว่า เป็นกิเลสและสัมปยุตด้วยกิเลส หรือสัมปยุตด้วยกิเลสแต่ไม่
เป็นกิเลสก็มี
รูปขันธ์วิปปยุตจากกิเลสแต่เป็นอารมณ์ของกิเลส ขันธ์ ๔ ที่วิปปยุตจากกิเลส
แต่เป็นอารมณ์ของกิเลสก็มี ที่วิปปยุตจากกิเลสและไม่เป็นอารมณ์ของกิเลสก็มี ที่
กล่าวไม่ได้ว่า วิปปยุตจากกิเลสแต่เป็นอารมณ์ของกิเลส หรือวิปปยุตจากกิเลสและ
ไม่เป็นอารมณ์ของกิเลสก็มี

๑๓. มหันตรทุกวิสัชนา
รูปขันธ์ไม่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรค ขันธ์ ๔ ที่ต้องประหาณด้วย
โสดาปัตติมรรคก็มี ที่ไม่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคก็มี
รูปขันธ์ไม่ต้องประหาณด้วยมรรคเบื้องบน ๓ ขันธ์ ๔ ที่ต้องประหาณด้วย
มรรคเบื้องบน ๓ ก็มี ที่ไม่ต้องประหาณด้วยมรรคเบื้องบน ๓ ก็มี
รูปขันธ์ไม่มีเหตุต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรค ขันธ์ ๔ ที่มีเหตุต้อง
ประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคก็มี ที่ไม่มีเหตุต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคก็มี
รูปขันธ์ไม่มีเหตุต้องประหาณด้วยมรรคเบื้องบน ๓ ขันธ์ ๔ ที่มีเหตุต้อง
ประหาณด้วยมรรคเบื้องบน ๓ ก็มี ที่ไม่มีเหตุต้องประหาณด้วยมรรคเบื้องบน ๓ ก็มี
รูปขันธ์ไม่มีวิตก ขันธ์ ๔ ที่มีวิตกก็มี ที่ไม่มีวิตกก็มี
รูปขันธ์ไม่มีวิจาร ขันธ์ ๔ ที่มีวิจารก็มี ที่ไม่มีวิจารก็มี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๑๑๐ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑.ขันธวิภังค์] ๓.ปัญหาปุจฉกะ ๒.ทุกมาติกาวิสัชนา
รูปขันธ์ไม่มีปีติ ขันธ์ ๔ ที่มีปีติก็มี ที่ไม่มีปีติก็มี
รูปขันธ์ไม่สหรคตด้วยปีติ ขันธ์ ๔ ที่สหรคตด้วยปีติก็มี ที่ไม่สหรคตด้วย
ปีติก็มี
ขันธ์ ๒ ไม่สหรคตด้วยสุข ขันธ์ ๓ ที่สหรคตด้วยสุขก็มี ที่ไม่สหรคตด้วย
สุขก็มี
ขันธ์ ๒ ไม่สหรคตด้วยอุเบกขา ขันธ์ ๓ ที่สหรคตด้วยอุเบกขาก็มี ที่ไม่
สหรคตด้วยอุเบกขาก็มี
รูปขันธ์เป็นกามาวจร ขันธ์ ๔ ที่เป็นกามาวจรก็มี ที่ไม่เป็นกามาวจรก็มี
รูปขันธ์ไม่เป็นรูปาวจร ขันธ์ ๔ ที่เป็นรูปาวจรก็มี ที่ไม่เป็นรูปาวจรก็มี
รูปขันธ์ไม่เป็นอรูปาวจร ขันธ์ ๔ ที่เป็นอรูปาวจรก็มี ที่ไม่เป็นอรูปาวจรก็มี
รูปขันธ์นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ ขันธ์ ๔ ที่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ก็มี ที่ไม่นับเนื่อง
ในวัฏฏทุกข์ก็มี
รูปขันธ์ไม่เป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ ขันธ์ ๔ ที่เป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์
ก็มี ที่ไม่เป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ก็มี
รูปขันธ์เป็นธรรมชาติไม่แน่นอน๑ ขันธ์ ๔ ที่ให้ผลแน่นอนก็มี ที่ให้ผลไม่แน่นอน
ก็มี
รูปขันธ์มีธรรมอื่นยิ่งกว่า ขันธ์ ๔ ที่มีธรรมอื่นยิ่งกว่าก็มี ที่ไม่มีธรรมอื่นยิ่ง
กว่าก็มี
รูปขันธ์ไม่เป็นเหตุให้สัตว์ร้องไห้ ขันธ์ ๔ ที่เป็นเหตุให้สัตว์ร้องไห้ก็มี ที่ไม่
เป็นเหตุให้สัตว์ร้องไห้ก็มี (๑๓)

ปัญหาปุจฉกะ จบ

ขันธวิภังค์ จบบริบูรณ์

เชิงอรรถ :
๑ คือเป็นธรรมชาติที่ไม่แน่นอนโดยการให้ผลหรือไม่ให้ผล

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๑๑๑ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๒.อายตนวิภังค์] ๑. สุตตันตภาชนีย์
๒. อายตนวิภังค์
๑. สุตตันตภาชนีย์
[๑๕๔] อายตนะ๑ ๑๒ คือ

๑. จักขายตนะ ๒. รูปายตนะ
๓. โสตายตนะ ๔. สัททายตนะ
๕. ฆานายตนะ ๖. คันธายตนะ
๗. ชิวหายตนะ ๘. รสายตนะ
๙. กายายตนะ ๑๐. โผฏฐัพพายตนะ
๑๑. มนายตนะ ๑๒. ธัมมายตนะ


จักษุไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา มีความแปรผันไปเป็นธรรมดา
รูปไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา มีความแปรผันไปเป็นธรรมดา
โสตะไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา มีความแปรผันไปเป็นธรรมดา
สัททะไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา มีความแปรผันไปเป็นธรรมดา
ฆานะไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา มีความแปรผันไปเป็นธรรมดา
คันธะไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา มีความแปรผันไปเป็นธรรมดา
ชิวหาไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา มีความแปรผันไปเป็นธรรมดา
รสไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา มีความแปรผันไปเป็นธรรมดา
กายไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา มีความแปรผันไปเป็นธรรมดา
โผฏฐัพพะไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา มีความแปรผันไปเป็นธรรมดา
มโนไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา มีความแปรผันไปเป็นธรรมดา
ธรรมไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา มีความแปรผันไปเป็นธรรมดา

สุตตันตภาชนีย์ จบ

เชิงอรรถ :
๑ อภิ.วิ.อ. ๑๕๔/๕๐

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๑๑๒ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๒.อายตนวิภังค์] ๒.อภิธรรมภาชนีย์
๒. อภิธรรมภาชนีย์
[๑๕๕] อายตนะ ๑๒ คือ

๑. จักขายตนะ ๒. รูปายตนะ
๓. โสตายตนะ ๔. สัททายตนะ
๕. ฆานายตนะ ๖. คันธายตนะ
๗. ชิวหายตนะ ๘. รสายตนะ
๙. กายายตนะ ๑๐. โผฏฐัพพายตนะ
๑๑. มนายตนะ ๑๒. ธัมมายตนะ

[๑๕๖] บรรดาอายตนะ ๑๒ นั้น จักขายตนะ เป็นไฉน
จักษุใดเป็นปสาทรูป อาศัยมหาภูตรูป ๔ นับเนื่องในอัตภาพ เป็นรูปที่เห็น
ไม่ได้แต่กระทบได้ เช่น บุคคลเคยเห็น กำลังเห็น จักเห็น หรือพึงเห็นรูปที่เห็นได้และ
กระทบได้ ด้วยจักษุใด ที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้ นี้เรียกว่า จักขุบ้าง จักขายตนะบ้าง
จักขุธาตุบ้าง จักขุนทรีย์บ้าง โลกบ้าง ทวารบ้าง สมุทรบ้าง ปัณฑระบ้าง เขตบ้าง
วัตถุบ้าง เนตรบ้าง นัยน์ตาบ้าง ฝั่งนี้บ้าง บ้านว่างบ้าง นี้เรียกว่า จักขายตนะ๑ (๑)
[๑๕๗] โสตายตนะ เป็นไฉน
โสตะใดเป็นปสาทรูป อาศัยมหาภูตรูป ๔ นับเนื่องในอัตภาพ เป็นรูปที่เห็น
ไม่ได้แต่กระทบได้ เช่น บุคคลเคยฟัง กำลังฟัง จักฟัง หรือพึงฟังเสียงที่เห็นไม่ได้
แต่กระทบได้ด้วยโสตะใด ที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้ นี้เรียกว่า โสตะบ้าง โสตายตนะ
บ้าง โสตธาตุบ้าง โสตินทรีย์บ้าง โลกบ้าง ทวารบ้าง สมุทรบ้าง ปัณฑระบ้าง
เขตบ้าง วัตถุบ้าง ฝั่งนี้บ้าง บ้านว่างบ้าง นี้เรียกว่า โสตายตนะ๒ (๒)
[๑๕๘] ฆานายตนะ เป็นไฉน
ฆานะใดเป็นปสาทรูป อาศัยมหาภูตรูป ๔ นับเนื่องในอัตภาพ เป็นรูปที่เห็น
ไม่ได้แต่กระทบได้ เช่น บุคคลเคยดม กำลังดม จักดม หรือพึงดมกลิ่นที่เห็นไม่ได้แต่

เชิงอรรถ :
๑ อภิ.สงฺ. ๓๔/๕๙๖/๑๘๒ ๒ อภิ.สงฺ. ๓๔/๖๐๐/๑๘๓

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๑๑๓ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๒.อายตนวิภังค์] ๒.อภิธรรมภาชนีย์
กระทบได้ด้วยฆานะใด ที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้ นี้เรียกว่า ฆานะบ้าง ฆานายตนะบ้าง
ฆานธาตุบ้าง ฆานินทรีย์บ้าง โลกบ้าง ทวารบ้าง สมุทรบ้าง ปัณฑระบ้าง เขตบ้าง
วัตถุบ้าง ฝั่งนี้บ้าง บ้านว่างบ้าง นี้เรียกว่า ฆานายตนะ๑ (๓)
[๑๕๙] ชิวหายตนะ เป็นไฉน
ชิวหาใดเป็นปสาทรูป อาศัยมหาภูตรูป ๔ นับเนื่องในอัตภาพ เป็นรูปที่
เห็นไม่ได้แต่กระทบได้ เช่น บุคคลเคยลิ้ม กำลังลิ้ม จักลิ้ม หรือพึงลิ้มรสที่เห็นไม่ได้
แต่กระทบได้ด้วยชิวหาใด ที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้ นี้เรียกว่า ชิวหาบ้าง ชิวหายตนะ
บ้าง ชิวหาธาตุบ้าง ชิวหินทรีย์บ้าง โลกบ้าง ทวารบ้าง สมุทรบ้าง ปัณฑระบ้าง
เขตบ้าง วัตถุบ้าง ฝั่งนี้บ้าง บ้านว่างบ้าง นี้เรียกว่า ชิวหายตนะ๒ (๔)
[๑๖๐] กายายตนะ เป็นไฉน
กายใดเป็นปสาทรูป อาศัยมหาภูตรูป ๔ นับเนื่องในอัตภาพ เป็นรูปที่เห็นไม่
ได้แต่กระทบได้ เช่น บุคคลเคยถูกต้อง กำลังถูกต้อง จักถูกต้อง หรือพึงถูกต้อง
โผฏฐัพพะที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้ด้วยกายใดที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้ นี้เรียกว่า กาย
บ้าง กายายตนะบ้าง กายธาตุบ้าง กายินทรีย์บ้าง โลกบ้าง ทวารบ้าง สมุทรบ้าง
ปัณฑระบ้าง เขตบ้าง วัตถุบ้าง ฝั่งนี้บ้าง บ้านว่างบ้าง นี้เรียกว่า กายายตนะ๓ (๕)
[๑๖๑] มนายตนะ เป็นไฉน
มนายตนะหมวดละ ๑ ได้แก่ มนายตนะที่สัมปยุตด้วยผัสสะ
มนายตนะหมวดละ ๒ ได้แก่ มนายตนะที่มีเหตุก็มี ที่ไม่มีเหตุก็มี
มนายตนะหมวดละ ๓ ได้แก่ มนายตนะที่เป็นกุศลก็มี ที่เป็นอกุศลก็มี
ที่เป็นอัพยากฤตก็มี
มนายตนะหมวดละ ๔ ได้แก่ มนายตนะที่เป็นกามาวจรก็มี ที่เป็นรูปาวจร
ก็มี ที่เป็นอรูปาวจรก็มี ที่ไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ก็มี

เชิงอรรถ :
๑ อภิ.สงฺ. ๓๔/๖๐๔/๑๘๔ ๒ อภิ.สงฺ. ๓๔/๖๐๘/๑๘๕
๓ อภิ.สงฺ. ๓๔/๖๑๒/๑๘๗

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๑๑๔ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๒.อายตนวิภังค์] ๒.อภิธรรมภาชนีย์
มนายตนะหมวดละ ๕ ได้แก่ มนายตนะที่สัมปยุตด้วยสุขินทรีย์ก็มี ที่สัมปยุต
ด้วยทุกขินทรีย์ก็มี ที่สัมปยุตด้วยโสมนัสสินทรีย์ก็มี ที่สัมปยุตด้วยโทมนัสสินทรีย์
ก็มี ที่สัมปยุตด้วยอุเปกขินทรีย์ก็มี
มนายตนะหมวดละ ๖ ได้แก่ จักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ
ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ และมโนวิญญาณ
มนายตนะหมวดละ ๖ มีด้วยอาการอย่างนี้
มนายตนะหมวดละ ๗ ได้แก่ จักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ
ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ มโนธาตุ และมโนวิญญาณธาตุ
มนายตนะหมวดละ ๗ มีด้วยอาการอย่างนี้
มนายตนะหมวดละ ๘ ได้แก่ จักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ
ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ ที่สหรคตด้วยสุขก็มี ที่สหรคตด้วยทุกข์ก็มี มโนธาตุ
และมโนวิญญาณธาตุ
มนายตนะหมวดละ ๘ มีด้วยอาการอย่างนี้
มนายตนะหมวดละ ๙ ได้แก่ จักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ
ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ มโนธาตุ และมโนวิญญาณธาตุ ที่เป็นกุศลก็มี ที่เป็น
อกุศลก็มี ที่เป็นอัพยากฤตก็มี
มนายตนะหมวดละ ๙ มีด้วยอาการอย่างนี้
มนายตนะหมวดละ ๑๐ ได้แก่ จักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ
ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ ที่สหรคตด้วยสุขก็มี ที่สหรคตด้วยทุกข์ก็มี มโนธาตุ
และมโนวิญญาณธาตุ ที่เป็นกุศลก็มี ที่เป็นอกุศลก็มี ที่เป็นอัพยากฤตก็มี
มนายตนะหมวดละ ๑๐ มีด้วยอาการอย่างนี้
มนายตนะหมวดละ ๑ ได้แก่ มนายตนะที่สัมปยุตด้วยผัสสะ
มนายตนะหมวดละ ๒ ได้แก่ มนายตนะที่มีเหตุก็มี ที่ไม่มีเหตุก็มี


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๑๑๕ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๒.อายตนวิภังค์] ๒.อภิธรรมภาชนีย์
มนายตนะหมวดละ ๓ ได้แก่ มนายตนะที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาก็มี ที่
สัมปยุตด้วยทุกขเวทนาก็มี ที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนาก็มี
ฯลฯ
มนายตนะหมวดละมากอย่างมีด้วยอาการอย่างนี้
นี้เรียกว่า มนายตนะ (๖)
[๑๖๒] รูปายตนะ เป็นไฉน
รูปใดเป็นสีต่าง ๆ อาศัยมหาภูตรูป ๔ เป็นรูปที่เห็นได้และกระทบได้ เช่น
สีเขียว สีเหลือง สีแดง สีขาว สีดำ สีหงสบาท๑ สีคล้ำ สีเขียวใบไม้ สีม่วง ยาว
สั้น ละเอียด หยาบ กลม รี สี่เหลี่ยม หกเหลี่ยม แปดเหลี่ยม สิบหกเหลี่ยม ลุ่ม
ดอน เงา แดด สว่าง มืด เมฆ หมอก ควัน ละออง แสงจันทร์ แสงอาทิตย์
แสงดาว แสงกระจก แสงแก้วมณี แสงสังข์ แสงแก้วมุกดา แสงแก้วไพฑูรย์
แสงทอง แสงเงิน หรือรูปแม้อื่นใด ที่เป็นสีต่าง ๆ อาศัยมหาภูตรูป ๔ เป็นรูปที่เห็น
ได้และกระทบได้มีอยู่ เช่น บุคคลเคยเห็น กำลังเห็น จักเห็น หรือพึงเห็นรูปใดที่เห็น
ได้และกระทบได้ ด้วยจักษุที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้ นี้เรียกว่า รูปบ้าง รูปายตนะบ้าง
รูปธาตุบ้าง นี้เรียกว่า รูปายตนะ๒ (๗)
[๑๖๓] สัททายตนะ เป็นไฉน
เสียงใดอาศัยมหาภูตรูป ๔ เป็นรูปที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้ เช่น เสียงกลอง
เสียงตะโพน เสียงสังข์ เสียงบัณเฑาะว์ เสียงขับร้อง เสียงประโคม เสียงกรับ เสียง
ปรบมือ เสียงร้องของสัตว์ เสียงกระทบกันแห่งธาตุ เสียงลม เสียงน้ำ เสียงมนุษย์
เสียงอมนุษย์ หรือเสียงแม้อื่นใด อาศัยมหาภูตรูป ๔ เป็นรูปที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้
มีอยู่ เช่น บุคคลเคยฟัง กำลังฟัง จักฟัง หรือพึงฟังเสียงใด ที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้
ด้วยโสตะที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้ นี้เรียกว่า สัททะบ้าง สัททายตนะบ้าง สัททธาตุ
บ้าง นี้เรียกว่า สัททายตนะ๓ (๘)

เชิงอรรถ :
๑ สีหงสบาท สีคล้ายเท้าหงส์ สีแดงปนเหลือง สีแดงเรื่อ หรือ สีแสดก็ว่า (พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตย-
สถาน พ.ศ. ๒๕๒๕)
๒ อภิ.สงฺ. ๓๔/๖๑๖/๑๘๘ ๓ อภิ.สงฺ. ๓๔/๖๒๐/๑๙๐

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๑๑๖ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๒.อายตนวิภังค์] ๒.อภิธรรมภาชนีย์
[๑๖๔] คันธายตนะ เป็นไฉน
กลิ่นใดอาศัยมหาภูตรูป ๔ เป็นรูปที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้ เช่น กลิ่นรากไม้
กลิ่นแก่นไม้ กลิ่นเปลือกไม้ กลิ่นใบไม้ กลิ่นดอกไม้ กลิ่นผลไม้ กลิ่นบูด กลิ่นเน่า
กลิ่นหอม กลิ่นเหม็น หรือกลิ่นแม้อื่นใด อาศัยมหาภูตรูป ๔ เป็นรูปที่เห็นไม่ได้แต่
กระทบได้มีอยู่ เช่น บุคคลเคยดม กำลังดม จักดม หรือพึงดมกลิ่นใดที่เห็นไม่ได้แต่
กระทบได้ ด้วยฆานะที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้ นี้เรียกว่า คันธะบ้าง คันธายตนะบ้าง
คันธธาตุบ้าง นี้เรียกว่า คันธายตนะ๑ (๙)
[๑๖๕] รสายตนะ เป็นไฉน
รสใดอาศัยมหาภูตรูป ๔ เป็นรูปที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้ เช่น รสรากไม้
รสลำต้น รสเปลือกไม้ รสใบไม้ รสดอกไม้ รสผลไม้ รสเปรี้ยว หวาน ขม เผ็ด เค็ม
ขื่น เฝื่อน ฝาด อร่อย ไม่อร่อย หรือรสแม้อื่นใดอาศัยมหาภูตรูป ๔ เป็นรูปที่เห็น
ไม่ได้แต่กระทบได้มีอยู่ เช่น บุคคลเคยลิ้ม กำลังลิ้ม จักลิ้ม หรือพึงลิ้มรสใดที่เห็น
ไม่ได้แต่กระทบได้ ด้วยชิวหาที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้ นี้เรียกว่า รสบ้าง รสายตนะ
บ้าง รสธาตุบ้าง นี้เรียกว่า รสายตนะ๒ (๑๐)
[๑๖๖] โผฏฐัพพายตนะ เป็นไฉน
ปฐวีธาตุ เตโชธาตุ วาโยธาตุ ที่แข็ง อ่อน ละเอียด หยาบ มีสัมผัสเป็นสุข
มีสัมผัสเป็นทุกข์ หนัก เบา เช่น บุคคลเคยถูกต้อง กำลังถูกต้อง จักถูกต้อง
หรือพึงถูกต้องโผฏฐัพพะใดที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้ ด้วยกายที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้
นี้เรียกว่า โผฏฐัพพะบ้าง โผฏฐัพพายตนะบ้าง โผฏฐัพพธาตุบ้าง นี้เรียกว่า
โผฏฐัพพายตนะ๓ (๑๑)
[๑๖๗] ธัมมายตนะ เป็นไฉน
เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ และสังขารขันธ์ รูปที่เห็นไม่ได้และกระทบไม่ได้ ซึ่ง
นับเนื่องในธัมมายตนะ และธาตุที่ปัจจัยไม่ปรุงแต่ง๔
เวทนาขันธ์ เป็นไฉน

เชิงอรรถ :
๑ อภิ.สงฺ. ๓๔/๖๒๔/๑๙๒ ๒ อภิ.สงฺ. ๓๔/๖๒๘/๑๙๓
๓ อภิ.สงฺ. ๓๔/๖๔๗/๑๙๖
๔ คำบาลีคือ อสงฺขตา ธาตุ แปลว่า ธาตุที่ปัจจัยไม่ปรุงแต่ง ได้แก่ พระนิพพาน (อภิ.วิ.อ. ๑๖๗/๕๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๑๑๗ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๒.อายตนวิภังค์] ๒.อภิธรรมภาชนีย์
เวทนาขันธ์หมวดละ ๑ ได้แก่ เวทนาขันธ์ที่สัมปยุตด้วยผัสสะ
ฯลฯ
เวทนาขันธ์หมวดละ ๑๐ มีด้วยอาการอย่างนี้
ฯลฯ
เวทนาขันธ์หมวดละมากอย่างมีด้วยอาการอย่างนี้ นี้เรียกว่า เวทนาขันธ์ (๑)
สัญญาขันธ์ เป็นไฉน
สัญญาขันธ์หมวดละ ๑ ได้แก่ สัญญาขันธ์ที่สัมปยุตด้วยผัสสะ
ฯลฯ
สัญญาขันธ์หมวดละ ๑๐ มีด้วยอาการอย่างนี้
ฯลฯ
สัญญาขันธ์หมวดละมากอย่างมีด้วยอาการอย่างนี้
นี้เรียกว่า สัญญาขันธ์ (๒)
สังขารขันธ์ เป็นไฉน
สังขารขันธ์หมวดละ ๑ ได้แก่ สังขารขันธ์ที่สัมปยุตด้วยจิต
ฯลฯ
สังขารขันธ์หมวดละ ๑๐ มีด้วยอาการอย่างนี้
ฯลฯ
สังขารขันธ์หมวดละมากอย่างมีด้วยอาการอย่างนี้
นี้เรียกว่า สังขารขันธ์ (๓)
รูปที่เห็นไม่ได้และกระทบไม่ได้ซึ่งนับเนื่องในธัมมายตนะ เป็นไฉน
อิตถินทรีย์ ฯลฯ กวฬิงการาหาร นี้เรียกว่า รูปที่เห็นไม่ได้และกระทบไม่ได้
ซึ่งนับเนื่องในธัมมายตนะ (๔)
ธาตุที่ปัจจัยไม่ปรุงแต่ง เป็นไฉน
สภาวธรรมเป็นที่สิ้นราคะ เป็นที่สิ้นโทสะ เป็นที่สิ้นโมหะ นี้เรียกว่า ธาตุที่
ปัจจัยไม่ปรุงแต่ง (๕)
นี้เรียกว่า ธัมมายตนะ
อภิธรรมภาชนีย์ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๑๑๘ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๒.อายตนวิภังค์] ๓.ปัญหาปุจฉกะ ๑.ติกมาติกาวิสัชนา
๓. ปัญหาปุจฉกะ
[๑๖๘] อายตนะ ๑๒ คือ
๑. จักขายตนะ ๒. รูปายตนะ
ฯลฯ
๑๑. มนายตนะ ๑๒. ธัมมายตนะ
[๑๖๙] บรรดาอายตนะ ๑๒ อายตนะเท่าไรเป็นกุศล เท่าไรเป็นอกุศล
เท่าไรเป็นอัพยากฤต ฯลฯ เท่าไรเป็นเหตุให้สัตว์ร้องไห้ เท่าไรไม่เป็นเหตุให้สัตว์
ร้องไห้

๑. ติกมาติกาวิสัชนา
๑. กุสลติกวิสัชนา
[๑๗๐] อายตนะ ๑๐ เป็นอัพยากฤต อายตนะ ๒ ที่เป็นกุศลก็มี ที่เป็น
อกุศลก็มี ที่เป็นอัพยากฤตก็มี

๒. เวทนาติกวิสัชนา
อายตนะ ๑๐ กล่าวไม่ได้ว่า สัมปยุตด้วยสุขเวทนา สัมปยุตด้วยทุกขเวทนา
หรือสัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา มนายตนะที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาก็มี ที่สัมปยุต
ด้วยทุกขเวทนาก็มี ที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนาก็มี ธัมมายตนะที่สัมปยุตด้วย
สุขเวทนาก็มี ที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนาก็มี ที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนาก็มี ที่
กล่าวไม่ได้ว่า สัมปยุตด้วยสุขเวทนา สัมปยุตด้วยทุกขเวทนา หรือสัมปยุตด้วย
อทุกขมสุขเวทนาก็มี

๓. วิปากติกวิสัชนา
อายตนะ ๑๐ ไม่เป็นวิบากและไม่เป็นเหตุให้เกิดวิบาก อายตนะ ๒ ที่เป็นวิบาก
ก็มี ที่เป็นเหตุให้เกิดวิบากก็มี ที่ไม่เป็นวิบากและไม่เป็นเหตุให้เกิดวิบากก็มี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๑๑๙ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๒.อายตนวิภังค์] ๓.ปัญหาปุจฉกะ ๑.ติกมาติกาวิสัชนา
๔. อุปาทินนติกวิสัชนา
อายตนะ ๕ กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือและเป็นอารมณ์ของ
อุปาทาน สัททายตนะกรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือแต่เป็น
อารมณ์ของอุปาทาน อายตนะ ๔ ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือ
และเป็นอารมณ์ของอุปาทานก็มี ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือ
แต่เป็นอารมณ์ของอุปาทานก็มี ที่ไม่เป็นอารมณ์ของอุปาทานก็มี อายตนะ ๒ ที่
กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือและเป็นอารมณ์ของอุปาทานก็มี ที่
กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือแต่เป็นอารมณ์ของอุปาทานก็มี ที่
กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือและไม่เป็นอารมณ์ของอุปาทานก็มี

๕. สังกิลิฏฐติกวิสัชนา
อายตนะ ๑๐ กิเลสไม่ทำให้เศร้าหมองแต่เป็นอารมณ์ของกิเลส อายตนะ ๒
ที่กิเลสทำให้เศร้าหมองและเป็นอารมณ์ของกิเลสก็มี ที่กิเลสไม่ทำให้เศร้าหมองแต่
เป็นอารมณ์ของกิเลสก็มี ที่กิเลสไม่ทำให้เศร้าหมองและไม่เป็นอารมณ์ของกิเลสก็มี

๖. สวิตักกติกวิสัชนา
อายตนะ ๑๐ ไม่มีทั้งวิตกและวิจาร มนายตนะที่มีทั้งวิตกและวิจารก็มี ที่ไม่มี
วิตกมีเพียงวิจารก็มี ที่ไม่มีทั้งวิตกและวิจารก็มี ธัมมายตนะที่มีทั้งวิตกและวิจาร
ก็มี ที่ไม่มีวิตกมีเพียงวิจารก็มี ที่ไม่มีทั้งวิตกและวิจารก็มี ที่กล่าวไม่ได้ว่า มีทั้ง
วิตกและวิจาร ไม่มีวิตกมีเพียงวิจาร หรือไม่มีทั้งวิตกและวิจารก็มี

๗. ปีติติกวิสัชนา
อายตนะ ๑๐ กล่าวไม่ได้ว่า สหรคตด้วยปีติ สหรคตด้วยสุข หรือสหรคตด้วย
อุเบกขา อายตนะ ๒ ที่สหรคตด้วยปีติก็มี ที่สหรคตด้วยสุขก็มี ที่สหรคตด้วย
อุเบกขาก็มี ที่กล่าวไม่ได้ว่า สหรคตด้วยปีติ สหรคตด้วยสุข หรือสหรคตด้วย
อุเบกขาก็มี


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๑๒๐ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๒.อายตนวิภังค์] ๓.ปัญหาปุจฉกะ ๑.ติกมาติกาวิสัชนา
๘. ทัสสนติกวิสัชนา
อายตนะ ๑๐ ไม่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคและมรรคเบื้องบน ๓
อายตนะ ๒ ที่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคก็มี ที่ต้องประหาณด้วยมรรคเบื้อง
บน ๓ ก็มี ที่ไม่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคและมรรคเบื้องบน ๓ ก็มี

๙. ทัสสนเหตุติกวิสัชนา
อายตนะ ๑๐ ไม่มีเหตุต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคและมรรคเบื้องบน ๓
อายตนะ ๒ ที่มีเหตุต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคก็มี ที่มีเหตุต้องประหาณด้วย
มรรคเบื้องบน ๓ ก็มี ที่ไม่มีเหตุต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคและมรรคเบื้องบน
๓ ก็มี

๑๐. อาจยคามิติกวิสัชนา
อายตนะ ๑๐ ไม่เป็นเหตุให้ถึงปฏิสนธิ จุติ และนิพพาน อายตนะ ๒ ที่เป็น
เหตุให้ถึงปฏิสนธิและจุติก็มี ที่เป็นเหตุให้ถึงนิพพานก็มี ที่ไม่เป็นเหตุให้ถึงปฏิสนธิ
จุติ และนิพพานก็มี

๑๑. เสกขติกวิสัชนา
อายตนะ ๑๐ ไม่เป็นของเสขบุคคลและอเสขบุคคล อายตนะ ๒ ที่เป็นของ
เสขบุคคลก็มี ที่เป็นของอเสขบุคคลก็มี ที่ไม่เป็นของเสขบุคคลและอเสขบุคคลก็มี

๑๒. ปริตตติกวิสัชนา
อายตนะ ๑๐ เป็นปริตตะ อายตนะ ๒ ที่เป็นปริตตะก็มี ที่เป็นมหัคคตะก็มี
ที่เป็นอัปปมาณะก็มี

๑๓. ปริตตารัมมณติกวิสัชนา
อายตนะ ๑๐ รับรู้อารมณ์ไม่ได้ อายตนะ ๒ ที่มีปริตตะเป็นอารมณ์ก็มี ที่มี
มหัคคตะเป็นอารมณ์ก็มี ที่มีอัปปมาณะเป็นอารมณ์ก็มี ที่กล่าวไม่ได้ว่า มีปริตตะ
เป็นอารมณ์ มีมหัคคตะเป็นอารมณ์ หรือมีอัปปมาณะเป็นอารมณ์ก็มี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๑๒๑ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๒.อายตนวิภังค์] ๓.ปัญหาปุจฉกะ ๑.ติกมาติกาวิสัชนา
๑๔. หีนติกวิสัชนา
อายตนะ ๑๐ เป็นชั้นกลาง อายตนะ ๒ ที่เป็นชั้นต่ำก็มี ที่เป็นชั้นกลางก็มี
ที่เป็นชั้นประณีตก็มี

๑๕. มิจฉัตตติกวิสัชนา
อายตนะ ๑๐ เป็นธรรมชาติไม่แน่นอนโดยอาการทั้งสองนั้น อายตนะ ๒ ที่มี
สภาวะผิดและให้ผลแน่นอนก็มี ที่มีสภาวะชอบและให้ผลแน่นอนก็มี ที่เป็น
ธรรมชาติไม่แน่นอนโดยอาการทั้งสองนั้นก็มี

๑๖. มัคคารัมมณติกวิสัชนา
อายตนะ ๑๐ รับรู้อารมณ์ไม่ได้ อายตนะ ๒ ที่มีมรรคเป็นอารมณ์ก็มี ที่มี
มรรคเป็นเหตุก็มี ที่มีมรรคเป็นอธิบดีก็มี ที่กล่าวไม่ได้ว่า มีมรรคเป็นอารมณ์ มี
มรรคเป็นเหตุ หรือมีมรรคเป็นอธิบดีก็มี

๑๗. อุปปันนติกวิสัชนา
อายตนะ ๕ ที่เกิดขึ้นก็มี ที่จักเกิดขึ้นแน่นอนก็มี ที่กล่าวไม่ได้ว่า ยังไม่เกิดขึ้น
ก็มี สัททายตนะที่เกิดขึ้นก็มี ที่ยังไม่เกิดขึ้นก็มี ที่กล่าวไม่ได้ว่า จักเกิดขึ้นแน่นอนก็มี
อายตนะ ๕ ที่เกิดขึ้นก็มี ที่ยังไม่เกิดขึ้นก็มี ที่จักเกิดขึ้นแน่นอนก็มี ธัมมายตนะ
ที่เกิดขึ้นก็มี ที่ยังไม่เกิดขึ้นก็มี ที่จักเกิดขึ้นแน่นอนก็มี ที่กล่าวไม่ได้ว่า เกิดขึ้น ยัง
ไม่เกิดขึ้น หรือจักเกิดขึ้นแน่นอนก็มี

๑๘. อตีตติกวิสัชนา
อายตนะ ๑๑ ที่เป็นอดีตก็มี ที่เป็นอนาคตก็มี ที่เป็นปัจจุบันก็มี ธัมมายตนะ
ที่เป็นอดีตก็มี ที่เป็นอนาคตก็มี ที่เป็นปัจจุบันก็มี ที่กล่าวไม่ได้ว่า เป็นอดีต เป็น
อนาคต หรือเป็นปัจจุบันก็มี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๑๒๒ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๒.อายตนวิภังค์] ๓.ปัญหาปุจฉกะ ๒.ทุกมาติกาวิสัชนา
๑๙. อตีตารัมมณติกวิสัชนา
อายตนะ ๑๐ รับรู้อารมณ์ไม่ได้ อายตนะ ๒ ที่มีอดีตธรรมเป็นอารมณ์ก็มี
ที่มีอนาคตธรรมเป็นอารมณ์ก็มี ที่มีปัจจุบันธรรมเป็นอารมณ์ก็มี ที่กล่าวไม่ได้ว่า
มีอดีตธรรมเป็นอารมณ์ มีอนาคตธรรมเป็นอารมณ์ หรือมีปัจจุบันธรรมเป็น
อารมณ์ก็มี

๒๐. อัชฌัตตติกวิสัชนา
อายตนะ ๑๒ ที่เป็นภายในตนก็มี ที่เป็นภายนอกตนก็มี ที่เป็นภายในตนและ
ภายนอกตนก็มี

๒๑. อัชฌัตตารัมมณติกวิสัชนา
อายตนะ ๑๐ รับรู้อารมณ์ไม่ได้ อายตนะ ๒ ที่มีธรรมภายในตนเป็นอารมณ์
ก็มี ที่มีธรรมภายนอกตนเป็นอารมณ์ก็มี ที่มีธรรมภายในตนและภายนอกตนเป็น
อารมณ์ก็มี ที่กล่าวไม่ได้ว่า มีธรรมภายในตนเป็นอารมณ์ มีธรรมภายนอกตนเป็น
อารมณ์ หรือมีธรรมภายในตนและภายนอกตนเป็นอารมณ์ก็มี

๒๒. สนิทัสสนติกวิสัชนา
รูปายตนะเห็นได้และกระทบได้ อายตนะ ๙ เห็นไม่ได้แต่กระทบได้ อายตนะ
๒ เห็นไม่ได้และกระทบไม่ได้
ติกมาติกาวิสัชนา จบ

๒. ทุกมาติกาวิสัชนา
๑. เหตุโคจฉกวิสัชนา
[๑๗๑] อายตนะ ๑๑ ไม่เป็นเหตุ ธัมมายตนะที่เป็นเหตุก็มี ที่ไม่เป็นเหตุก็มี
อายตนะ ๑๐ ไม่มีเหตุ อายตนะ ๒ ที่มีเหตุก็มี ที่ไม่มีเหตุก็มี
อายตนะ ๑๐ วิปปยุตจากเหตุ อายตนะ ๒ ที่สัมปยุตด้วยเหตุก็มี ที่วิปปยุต
จากเหตุก็มี


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๑๒๓ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๒.อายตนวิภังค์] ๓.ปัญหาปุจฉกะ ๒.ทุกมาติกาวิสัชนา
อายตนะ ๑๐ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นเหตุและมีเหตุ หรือมีเหตุแต่ไม่เป็นเหตุ
มนายตนะ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นเหตุและมีเหตุ ที่มีเหตุแต่ไม่เป็นเหตุก็มี ที่กล่าวไม่ได้
ว่า มีเหตุแต่ไม่เป็นเหตุก็มี ธัมมายตนะที่เป็นเหตุและมีเหตุก็มี ที่มีเหตุแต่ไม่เป็น
เหตุก็มี ที่กล่าวไม่ได้ว่า เป็นเหตุและมีเหตุ หรือมีเหตุแต่ไม่เป็นเหตุก็มี
อายตนะ ๑๐ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นเหตุและสัมปยุตด้วยเหตุ หรือสัมปยุตด้วย
เหตุแต่ไม่เป็นเหตุ มนายตนะกล่าวไม่ได้ว่า เป็นเหตุและสัมปยุตด้วยเหตุ ที่สัมปยุต
ด้วยเหตุแต่ไม่เป็นเหตุก็มี ที่กล่าวไม่ได้ว่า สัมปยุตด้วยเหตุแต่ไม่เป็นเหตุก็มี
ธัมมายตนะที่เป็นเหตุและสัมปยุตด้วยเหตุก็มี ที่สัมปยุตด้วยเหตุแต่ไม่เป็นเหตุ
ก็มี ที่กล่าวไม่ได้ว่า เป็นเหตุและสัมปยุตด้วยเหตุ หรือสัมปยุตด้วยเหตุแต่ไม่เป็นเหตุ
ก็มี
อายตนะ ๑๐ ไม่เป็นเหตุและไม่มีเหตุ มนายตนะที่ไม่เป็นเหตุแต่มีเหตุก็มี ที่ไม่
เป็นเหตุและไม่มีเหตุก็มี ธัมมายตนะที่ไม่เป็นเหตุแต่มีเหตุก็มี ที่ไม่เป็นเหตุและ
ไม่มีเหตุก็มี ที่กล่าวไม่ได้ว่า ไม่เป็นเหตุแต่มีเหตุ หรือไม่เป็นเหตุและไม่มีเหตุก็มี

๒. จูฬันตรทุกวิสัชนา
อายตนะ ๑๑ มีปัจจัยปรุงแต่ง ธัมมายตนะที่มีปัจจัยปรุงแต่งก็มี ที่ไม่มีปัจจัย
ปรุงแต่งก็มี
อายตนะ ๑๑ ถูกปัจจัยปรุงแต่ง ธัมมายตนะที่ถูกปัจจัยปรุงแต่งก็มี ที่ไม่ถูก
ปัจจัยปรุงแต่งก็มี
รูปายตนะเห็นได้ อายตนะ ๑๑ เห็นไม่ได้
อายตนะ ๑๐ กระทบได้ อายตนะ ๒ กระทบไม่ได้
อายตนะ ๑๐ เป็นรูป มนายตนะไม่เป็นรูป ธัมมายตนะที่เป็นรูปก็มี ที่ไม่เป็น
รูปก็มี
อายตนะ ๑๐ เป็นโลกิยะ อายตนะ ๒ ที่เป็นโลกิยะก็มี ที่เป็นโลกุตตระก็มี
อายตนะ ๑๒ ที่จิตบางดวงรู้ได้ก็มี ที่จิตบางดวงรู้ไม่ได้ก็มี


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๑๒๔ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๒.อายตนวิภังค์] ๓.ปัญหาปุจฉกะ ๒.ทุกมาติกาวิสัชนา
๓. อาสวโคจฉกวิสัชนา
อายตนะ ๑๑ ไม่เป็นอาสวะ ธัมมายตนะที่เป็นอาสวะก็มี ที่ไม่เป็นอาสวะก็มี
อายตนะ ๑๐ เป็นอารมณ์ของอาสวะ อายตนะ ๒ ที่เป็นอารมณ์ของอาสวะ
ก็มี ที่ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะก็มี
อายตนะ ๑๐ วิปปยุตจากอาสวะ อายตนะ ๒ ที่สัมปยุตด้วยอาสวะก็มี ที่
วิปปยุตจากอาสวะก็มี
อายตนะ ๑๐ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นอาสวะและเป็นอารมณ์ของอาสวะ หรือเป็น
อารมณ์ของอาสวะแต่ไม่เป็นอาสวะ มนายตนะกล่าวไม่ได้ว่า เป็นอาสวะและเป็น
อารมณ์ของอาสวะ ที่เป็นอารมณ์ของอาสวะแต่ไม่เป็นอาสวะก็มี ที่กล่าวไม่ได้ว่า
เป็นอารมณ์ของอาสวะแต่ไม่เป็นอาสวะก็มี ธัมมายตนะที่เป็นอาสวะและเป็นอารมณ์
ของอาสวะก็มี ที่เป็นอารมณ์ของอาสวะแต่ไม่เป็นอาสวะก็มี ที่กล่าวไม่ได้ว่า เป็น
อาสวะและเป็นอารมณ์ของอาสวะ หรือเป็นอารมณ์ของอาสวะแต่ไม่เป็นอาสวะก็มี
อายตนะ ๑๐ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นอาสวะและสัมปยุตด้วยอาสวะ หรือสัมปยุต
ด้วยอาสวะแต่ไม่เป็นอาสวะ มนายตนะกล่าวไม่ได้ว่า เป็นอาสวะและสัมปยุตด้วย
อาสวะ ที่สัมปยุตด้วยอาสวะแต่ไม่เป็นอาสวะก็มี ที่กล่าวไม่ได้ว่า สัมปยุตด้วย
อาสวะแต่ไม่เป็นอาสวะก็มี ธัมมายตนะที่เป็นอาสวะและสัมปยุตด้วยอาสวะก็มี ที่
สัมปยุตด้วยอาสวะแต่ไม่เป็นอาสวะก็มี ที่กล่าวไม่ได้ว่า เป็นอาสวะและสัมปยุตด้วย
อาสวะ หรือสัมปยุตด้วยอาสวะแต่ไม่เป็นอาสวะก็มี
อายตนะ ๑๐ วิปปยุตจากอาสวะแต่เป็นอารมณ์ของอาสวะ อายตนะ ๒ ที่
วิปปยุตจากอาสวะแต่เป็นอารมณ์ของอาสวะก็มี ที่วิปปยุตจากอาสวะและไม่เป็น
อารมณ์ของอาสวะก็มี ที่กล่าวไม่ได้ว่า วิปปยุตจากอาสวะแต่เป็นอารมณ์ของอาสวะ
หรือวิปปยุตจากอาสวะและไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะก็มี

๔. สัญโญชนโคจฉกวิสัชนา
อายตนะ ๑๑ ไม่เป็นสังโยชน์ ธัมมายตนะที่เป็นสังโยชน์ก็มี ที่ไม่เป็นสังโยชน์
ก็มี


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๑๒๕ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๒.อายตนวิภังค์] ๓.ปัญหาปุจฉกะ ๒.ทุกมาติกาวิสัชนา
อายตนะ ๑๐ เป็นอารมณ์ของสังโยชน์ อายตนะ ๒ ที่เป็นอารมณ์ของสังโยชน์
ก็มี ที่ไม่เป็นอารมณ์ของสังโยชน์ก็มี
อายตนะ ๑๐ วิปปยุตจากสังโยชน์ อายตนะ ๒ ที่สัมปยุตด้วยสังโยชน์ก็มี ที่
วิปปยุตจากสังโยชน์ก็มี
อายตนะ ๑๐ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นสังโยชน์และเป็นอารมณ์ของสังโยชน์ หรือ
เป็นอารมณ์ของสังโยชน์แต่ไม่เป็นสังโยชน์ มนายตนะกล่าวไม่ได้ว่า เป็นสังโยชน์และ
เป็นอารมณ์ของสังโยชน์ ที่เป็นอารมณ์ของสังโยชน์แต่ไม่เป็นสังโยชน์ก็มี ที่กล่าวไม่
ได้ว่า เป็นอารมณ์ของสังโยชน์แต่ไม่เป็นสังโยชน์ก็มี ธัมมายตนะที่เป็นสังโยชน์และ
เป็นอารมณ์ของสังโยชน์ก็มี ที่เป็นอารมณ์ของสังโยชน์แต่ไม่เป็นสังโยชน์ก็มี ที่กล่าว
ไม่ได้ว่า เป็นสังโยชน์และเป็นอารมณ์ของสังโยชน์ หรือเป็นอารมณ์ของสังโยชน์แต่ไม่
เป็นสังโยชน์ก็มี
อายตนะ ๑๐ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นสังโยชน์และสัมปยุตด้วยสังโยชน์ หรือสัมปยุต
ด้วยสังโยชน์แต่ไม่เป็นสังโยชน์ มนายตนะกล่าวไม่ได้ว่า เป็นสังโยชน์และสัมปยุต
ด้วยสังโยชน์ ที่สัมปยุตด้วยสังโยชน์แต่ไม่เป็นสังโยชน์ก็มี ที่กล่าวไม่ได้ว่า สัมปยุต
ด้วยสังโยชน์แต่ไม่เป็นสังโยชน์ก็มี ธัมมายตนะที่เป็นสังโยชน์และสัมปยุตด้วย
สังโยชน์ก็มี ที่สัมปยุตด้วยสังโยชน์แต่ไม่เป็นสังโยชน์ก็มี ที่กล่าวไม่ได้ว่า เป็น
สังโยชน์และสัมปยุตด้วยสังโยชน์ หรือสัมปยุตด้วยสังโยชน์แต่ไม่เป็นสังโยชน์ก็มี
อายตนะ ๑๐ วิปปยุตจากสังโยชน์แต่เป็นอารมณ์ของสังโยชน์ อายตนะ ๒
ที่วิปปยุตจากสังโยชน์แต่เป็นอารมณ์ของสังโยชน์ก็มี ที่วิปปยุตจากสังโยชน์และไม่
เป็นอารมณ์ของสังโยชน์ก็มี ที่กล่าวไม่ได้ว่า วิปปยุตจากสังโยชน์แต่เป็นอารมณ์ของ
สังโยชน์ หรือวิปปยุตจากสังโยชน์และไม่เป็นอารมณ์ของสังโยชน์ก็มี

๕. คันถโคจฉกวิสัชนา
อายตนะ ๑๑ ไม่เป็นคันถะ ธัมมายตนะที่เป็นคันถะก็มี ที่ไม่เป็นคันถะก็มี
อายตนะ ๑๐ เป็นอารมณ์ของคันถะ อายตนะ ๒ ที่เป็นอารมณ์ของคันถะก็มี
ที่ไม่เป็นอารมณ์ของคันถะก็มี


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๑๒๖ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๒.อายตนวิภังค์] ๓.ปัญหาปุจฉกะ ๒.ทุกมาติกาวิสัชนา
อายตนะ ๑๐ วิปปยุตจากคันถะ อายตนะ ๒ ที่สัมปยุตด้วยคันถะก็มี ที่
วิปปยุตจากคันถะก็มี
อายตนะ ๑๐ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นคันถะและเป็นอารมณ์ของคันถะ หรือเป็น
อารมณ์ของคันถะแต่ไม่เป็นคันถะ มนายตนะกล่าวไม่ได้ว่า เป็นคันถะและเป็น
อารมณ์ของคันถะ ที่เป็นอารมณ์ของคันถะแต่ไม่เป็นคันถะก็มี ที่กล่าวไม่ได้ว่า เป็น
อารมณ์ของคันถะแต่ไม่เป็นคันถะก็มี ธัมมายตนะที่เป็นคันถะและเป็นอารมณ์ของ
คันถะก็มี ที่เป็นอารมณ์ของคันถะแต่ไม่เป็นคันถะก็มี ที่กล่าวไม่ได้ว่า เป็นคันถะและ
เป็นอารมณ์ของคันถะ หรือเป็นอารมณ์ของคันถะแต่ไม่เป็นคันถะก็มี
อายตนะ ๑๐ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นคันถะและสัมปยุตด้วยคันถะ หรือสัมปยุตด้วย
คันถะแต่ไม่เป็นคันถะ มนายตนะกล่าวไม่ได้ว่า เป็นคันถะและสัมปยุตด้วยคันถะ ที่
สัมปยุตด้วยคันถะแต่ไม่เป็นคันถะก็มี ที่กล่าวไม่ได้ว่า สัมปยุตด้วยคันถะแต่ไม่เป็น
คันถะก็มี ธัมมายตนะที่เป็นคันถะและสัมปยุตด้วยคันถะก็มี ที่สัมปยุตด้วยคันถะแต่
ไม่เป็นคันถะก็มี ที่กล่าวไม่ได้ว่า เป็นคันถะและสัมปยุตด้วยคันถะ หรือสัมปยุตด้วย
คันถะแต่ไม่เป็นคันถะก็มี
อายตนะ ๑๐ วิปปยุตจากคันถะแต่เป็นอารมณ์ของคันถะ อายตนะ ๒ ที่
วิปปยุตจากคันถะแต่เป็นอารมณ์ของคันถะก็มี ที่วิปปยุตจากคันถะและไม่เป็น
อารมณ์ของคันถะก็มี ที่กล่าวไม่ได้ว่า วิปปยุตจากคันถะแต่เป็นอารมณ์ของคันถะ
หรือวิปปยุตจากคันถะและไม่เป็นอารมณ์ของคันถะก็มี

๖-๘. โอฆโคจฉกาทิวิสัชนา
อายตนะ ๑๑ ไม่เป็นโอฆะ ฯลฯ ไม่เป็นโยคะ ฯลฯ ไม่เป็นนิวรณ์ ธัมมายตนะ
ที่เป็นนิวรณ์ก็มี ที่ไม่เป็นนิวรณ์ก็มี
อายตนะ ๑๐ เป็นอารมณ์ของนิวรณ์ อายตนะ ๒ ที่เป็นอารมณ์ของนิวรณ์
ก็มี ที่ไม่เป็นอารมณ์ของนิวรณ์ก็มี
อายตนะ ๑๐ วิปปยุตจากนิวรณ์ อายตนะ ๒ ที่สัมปยุตด้วยนิวรณ์ก็มี ที่
วิปปยุตจากนิวรณ์ก็มี


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๑๒๗ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๒.อายตนวิภังค์] ๓.ปัญหาปุจฉกะ ๒.ทุกมาติกาวิสัชนา
อายตนะ ๑๐ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นนิวรณ์และเป็นอารมณ์ของนิวรณ์ หรือเป็น
อารมณ์ของนิวรณ์แต่ไม่เป็นนิวรณ์ มนายตนะกล่าวไม่ได้ว่า เป็นนิวรณ์และเป็น
อารมณ์ของนิวรณ์ ที่เป็นอารมณ์ของนิวรณ์แต่ไม่เป็นนิวรณ์ก็มี ที่กล่าวไม่ได้ว่า เป็น
อารมณ์ของนิวรณ์แต่ไม่เป็นนิวรณ์ก็มี ธัมมายตนะที่เป็นนิวรณ์และเป็นอารมณ์ของ
นิวรณ์ก็มี ที่เป็นอารมณ์ของนิวรณ์แต่ไม่เป็นนิวรณ์ก็มี ที่กล่าวไม่ได้ว่า เป็นนิวรณ์
และเป็นอารมณ์ของนิวรณ์ หรือเป็นอารมณ์ของนิวรณ์แต่ไม่เป็นนิวรณ์ก็มี
อายตนะ ๑๐ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นนิวรณ์และสัมปยุตด้วยนิวรณ์ หรือสัมปยุต
ด้วยนิวรณ์แต่ไม่เป็นนิวรณ์ มนายตนะกล่าวไม่ได้ว่า เป็นนิวรณ์และสัมปยุตด้วย
นิวรณ์ ที่สัมปยุตด้วยนิวรณ์แต่ไม่เป็นนิวรณ์ก็มี ที่กล่าวไม่ได้ว่า สัมปยุตด้วยนิวรณ์
แต่ไม่เป็นนิวรณ์ก็มี ธัมมายตนะที่เป็นนิวรณ์และสัมปยุตด้วยนิวรณ์ก็มี ที่สัมปยุต
ด้วยนิวรณ์แต่ไม่เป็นนิวรณ์ก็มี ที่กล่าวไม่ได้ว่า เป็นนิวรณ์และสัมปยุตด้วยนิวรณ์
หรือที่สัมปยุตด้วยนิวรณ์แต่ไม่เป็นนิวรณ์ก็มี
อายตนะ ๑๐ วิปปยุตจากนิวรณ์แต่เป็นอารมณ์ของนิวรณ์ อายตนะ ๒ ที่
วิปปยุตจากนิวรณ์แต่เป็นอารมณ์ของนิวรณ์ก็มี ที่วิปปยุตจากนิวรณ์และไม่เป็น
อารมณ์ของนิวรณ์ก็มี ที่กล่าวไม่ได้ว่า วิปปยุตจากนิวรณ์แต่เป็นอารมณ์ของนิวรณ์
หรือวิปปยุตจากนิวรณ์และไม่เป็นอารมณ์ของนิวรณ์ก็มี

๙. ปรามาสโคจฉกวิสัชนา
อายตนะ ๑๑ ไม่เป็นปรามาส ธัมมายตนะที่เป็นปรามาสก็มี ที่ไม่เป็นปรามาส
ก็มี
อายตนะ ๑๐ เป็นอารมณ์ของปรามาส อายตนะ ๒ ที่เป็นอารมณ์ของ
ปรามาสก็มี ที่ไม่เป็นอารมณ์ของปรามาสก็มี
อายตนะ ๑๐ วิปปยุตจากปรามาส มนายตนะที่สัมปยุตด้วยปรามาสก็มี ที่
วิปปยุตจากปรามาสก็มี ธัมมายตนะที่สัมปยุตด้วยปรามาสก็มี ที่วิปปยุตจาก
ปรามาสก็มี ที่กล่าวไม่ได้ว่า สัมปยุตด้วยปรามาส หรือวิปปยุตจากปรามาสก็มี
อายตนะ ๑๐ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นปรามาสและเป็นอารมณ์ของปรามาส หรือ
เป็นอารมณ์ของปรามาสแต่ไม่เป็นปรามาส มนายตนะกล่าวไม่ได้ว่า เป็นปรามาส


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๑๒๘ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๒.อายตนวิภังค์] ๓.ปัญหาปุจฉกะ ๒.ทุกมาติกาวิสัชนา
และเป็นอารมณ์ของปรามาส ที่เป็นอารมณ์ของปรามาสแต่ไม่เป็นปรามาสก็มี ที่
กล่าวไม่ได้ว่า เป็นอารมณ์ของปรามาสแต่ไม่เป็นปรามาสก็มี ธัมมายตนะที่เป็น
ปรามาสและเป็นอารมณ์ของปรามาสก็มี ที่เป็นอารมณ์ของปรามาสแต่ไม่เป็น
ปรามาสก็มี ที่กล่าวไม่ได้ว่า เป็นปรามาสและเป็นอารมณ์ของปรามาส หรือเป็น
อารมณ์ของปรามาสแต่ไม่เป็นปรามาสก็มี
อายตนะ ๑๐ วิปปยุตจากปรามาสแต่เป็นอารมณ์ของปรามาส อายตนะ ๒
ที่วิปปยุตจากปรามาสแต่เป็นอารมณ์ของปรามาสก็มี ที่วิปปยุตจากปรามาสและ
ไม่เป็นอารมณ์ของปรามาสก็มี ที่กล่าวไม่ได้ว่า วิปปยุตจากปรามาสแต่เป็นอารมณ์
ของปรามาส หรือวิปปยุตจากปรามาสและไม่เป็นอารมณ์ของปรามาสก็มี

๑๐. มหันตรทุกวิสัชนา
อายตนะ ๑๐ รับรู้อารมณ์ไม่ได้ มนายตนะรับรู้อารมณ์ได้ ธัมมายตนะที่รับรู้
อารมณ์ได้ก็มี ที่รับรู้อารมณ์ไม่ได้ก็มี
มนายตนะเป็นจิต อายตนะ ๑๑ ไม่เป็นจิต
อายตนะ ๑๑ ไม่เป็นเจตสิก ธัมมายตนะที่เป็นเจตสิกก็มี ที่ไม่เป็นเจตสิกก็มี
อายตนะ ๑๐ วิปปยุตจากจิต ธัมมายตนะที่สัมปยุตด้วยจิตก็มี ที่วิปปยุตจาก
จิตก็มี มนายตนะกล่าวไม่ได้ว่า สัมปยุตด้วยจิต หรือวิปปยุตจากจิต
อายตนะ ๑๐ ไม่ระคนกับจิต ธัมมายตนะที่ระคนกับจิตก็มี ที่ไม่ระคนกับจิต
ก็มี มนายตนะกล่าวไม่ได้ว่า ระคนกับจิต หรือไม่ระคนกับจิต
อายตนะ ๖ ไม่มีจิตเป็นสมุฏฐาน อายตนะ ๖ ที่มีจิตเป็นสมุฏฐานก็มี ที่ไม่มี
จิตเป็นสมุฏฐานก็มี
อายตนะ ๑๑ ไม่เกิดพร้อมกับจิต ธัมมายตนะที่เกิดพร้อมกับจิตก็มี ที่ไม่เกิด
พร้อมกับจิตก็มี
อายตนะ ๑๑ ไม่เป็นไปตามจิต ธัมมายตนะที่เป็นไปตามจิตก็มี ที่ไม่เป็นไป
ตามจิตก็มี
อายตนะ ๑๑ ไม่ระคนกับจิตและมีจิตเป็นสมุฏฐาน ธัมมายตนะที่ระคนกับจิต
และมีจิตเป็นสมุฏฐานก็มี ที่ไม่ระคนกับจิตและมีจิตเป็นสมุฏฐานก็มี


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๑๒๙ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๒.อายตนวิภังค์] ๓.ปัญหาปุจฉกะ ๒.ทุกมาติกาวิสัชนา
อายตนะ ๑๑ ไม่ระคนกับจิตมีจิตเป็นสมุฏฐานและเกิดพร้อมกับจิต ธัมมายตนะ
ที่ระคนกับจิตมีจิตเป็นสมุฏฐานและเกิดพร้อมกับจิตก็มี ที่ไม่ระคนกับจิตมีจิตเป็น
สมุฏฐานและเกิดพร้อมกับจิตก็มี
อายตนะ ๑๑ ไม่ระคนกับจิตมีจิตเป็นสมุฏฐานและเป็นไปตามจิต ธัมมายตนะ
ที่ระคนกับจิตมีจิตเป็นสมุฏฐานและเป็นไปตามจิตก็มี ที่ไม่ระคนกับจิตมีจิตเป็น
สมุฏฐานและเป็นไปตามจิตก็มี
อายตนะ ๖ เป็นภายใน อายตนะ ๖ เป็นภายนอก
อายตนะ ๙ เป็นอุปาทายรูป อายตนะ ๒ ไม่เป็นอุปาทายรูป ธัมมายตนะที่
เป็นอุปาทายรูปก็มี ที่ไม่เป็นอุปาทายรูปก็มี

๑๑. อุปาทานโคจฉกวิสัชนา
อายตนะ ๕ กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือ สัททายตนะกรรมอัน
ประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือ อายตนะ ๖ ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหา
และทิฏฐิยึดถือก็มี ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือก็มี
อายตนะ ๑๑ ไม่เป็นอุปาทาน ธัมมายตนะที่เป็นอุปาทานก็มี ที่ไม่เป็น
อุปาทานก็มี
อายตนะ ๑๐ เป็นอารมณ์ของอุปาทาน อายตนะ ๒ ที่เป็นอารมณ์ของ
อุปาทานก็มี ที่ไม่เป็นอารมณ์ของอุปาทานก็มี
อายตนะ ๑๐ วิปปยุตจากอุปาทาน อายตนะ ๒ ที่สัมปยุตด้วยอุปาทานก็มี
ที่วิปปยุตจากอุปาทานก็มี
อายตนะ ๑๐ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นอุปาทานและเป็นอารมณ์ของอุปาทาน หรือ
เป็นอารมณ์ของอุปาทานแต่ไม่เป็นอุปาทาน มนายตนะกล่าวไม่ได้ว่า เป็นอุปาทาน
และเป็นอารมณ์ของอุปาทาน ที่เป็นอารมณ์ของอุปาทานแต่ไม่เป็นอุปาทานก็มี ที่
กล่าวไม่ได้ว่า เป็นอารมณ์ของอุปาทานแต่ไม่เป็นอุปาทานก็มี ธัมมายตนะที่เป็น
อุปาทานและเป็นอารมณ์ของอุปาทานก็มี ที่เป็นอารมณ์ของอุปาทานแต่ไม่เป็น
อุปาทานก็มี ที่กล่าวไม่ได้ว่า เป็นอุปาทานและเป็นอารมณ์ของอุปาทาน หรือเป็น
อารมณ์ของอุปาทานแต่ไม่เป็นอุปาทานก็มี


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๑๓๐ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๒.อายตนวิภังค์] ๓.ปัญหาปุจฉกะ ๒.ทุกมาติกาวิสัชนา
อายตนะ ๑๐ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นอุปาทานและสัมปยุตด้วยอุปาทาน หรือ
สัมปยุตด้วยอุปาทานแต่ไม่เป็นอุปาทาน มนายตนะกล่าวไม่ได้ว่า เป็นอารมณ์ของ
อุปาทานและสัมปยุตด้วยอุปาทาน ที่สัมปยุตด้วยอุปาทานแต่ไม่เป็นอุปาทานก็มี ที่
กล่าวไม่ได้ว่า สัมปยุตด้วยอุปาทานแต่ไม่เป็นอุปาทานก็มี ธัมมายตนะที่เป็น
อุปาทานและสัมปยุตด้วยอุปาทานก็มี ที่สัมปยุตด้วยอุปาทานแต่ไม่เป็นอุปาทานก็มี
ที่กล่าวไม่ได้ว่า เป็นอุปาทานและสัมปยุตด้วยอุปาทาน หรือสัมปยุตด้วยอุปาทาน
แต่ไม่เป็นอุปาทานก็มี
อายตนะ ๑๐ วิปปยุตจากอุปาทานแต่เป็นอารมณ์ของอุปาทาน อายตนะ ๒
ที่สัมปยุตด้วยอุปาทานและเป็นอารมณ์ของอุปาทานก็มี ที่วิปปยุตจากอุปาทานและ
ไม่เป็นอารมณ์ของอุปาทานก็มี ที่กล่าวไม่ได้ว่า วิปปยุตจากอุปาทานแต่เป็นอารมณ์
ของอุปาทาน หรือวิปปยุตจากอุปาทานและไม่เป็นอารมณ์ของอุปาทานก็มี

๑๒. กิเลสโคจฉกวิสัชนา
อายตนะ ๑๑ ไม่เป็นกิเลส ธัมมายตนะที่เป็นกิเลสก็มี ที่ไม่เป็นกิเลสก็มี
อายตนะ ๑๐ เป็นอารมณ์ของกิเลส อายตนะ ๒ ที่เป็นอารมณ์ของกิเลสก็มี ที่
ไม่เป็นอารมณ์ของกิเลสก็มี
อายตนะ ๑๐ กิเลสไม่ทำให้เศร้าหมอง อายตนะ ๒ ที่กิเลสทำให้เศร้าหมองก็มี
ที่กิเลสไม่ทำให้เศร้าหมองก็มี
อายตนะ ๑๐ วิปปยุตจากกิเลส อายตนะ ๒ ที่สัมปยุตด้วยกิเลสก็มี ที่วิปปยุต
จากกิเลสก็มี
อายตนะ ๑๐ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นกิเลสและเป็นอารมณ์ของกิเลส หรือเป็น
อารมณ์ของกิเลสแต่ไม่เป็นกิเลส มนายตนะกล่าวไม่ได้ว่า เป็นกิเลสและเป็นอารมณ์
ของกิเลส ที่เป็นอารมณ์ของกิเลสแต่ไม่เป็นกิเลสก็มี ที่กล่าวไม่ได้ว่า เป็นอารมณ์ของ
กิเลสแต่ไม่เป็นกิเลสก็มี ธัมมายตนะที่เป็นกิเลสและเป็นอารมณ์ของกิเลสก็มี ที่เป็น
อารมณ์ของกิเลสแต่ไม่เป็นกิเลสก็มี ที่กล่าวไม่ได้ว่า เป็นกิเลสและเป็นอารมณ์ของ
กิเลส หรือเป็นอารมณ์ของกิเลสแต่ไม่เป็นกิเลสก็มี


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๑๓๑ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๒.อายตนวิภังค์] ๓.ปัญหาปุจฉกะ ๒.ทุกมาติกาวิสัชนา
อายตนะ ๑๐ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นกิเลสและกิเลสทำให้เศร้าหมอง หรือกิเลส
ทำให้เศร้าหมองแต่ไม่เป็นกิเลส มนายตนะกล่าวไม่ได้ว่า เป็นกิเลสและกิเลสทำให้
เศร้าหมอง หรือกิเลสทำให้เศร้าหมองแต่ไม่เป็นกิเลสก็มี ที่กล่าวไม่ได้ว่า กิเลส
ทำให้เศร้าหมองแต่ไม่เป็นกิเลสก็มี ธัมมายตนะที่เป็นกิเลสและกิเลสทำให้เศร้าหมองก็มี
ที่กิเลสทำให้เศร้าหมองแต่ไม่เป็นกิเลสก็มี ที่กล่าวไม่ได้ว่า เป็นกิเลสและกิเลสทำให้
เศร้าหมอง หรือกิเลสทำให้เศร้าหมองแต่ไม่เป็นกิเลสก็มี
อายตนะ ๑๐ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นกิเลสและสัมปยุตด้วยกิเลส หรือสัมปยุตด้วย
กิเลสแต่ไม่เป็นกิเลส มนายตนะกล่าวไม่ได้ว่า เป็นกิเลสและสัมปยุตด้วยกิเลส ที่
สัมปยุตด้วยกิเลสแต่ไม่เป็นกิเลสก็มี ที่กล่าวไม่ได้ว่า สัมปยุตด้วยกิเลสแต่ไม่เป็น
กิเลสก็มี ธัมมายตนะที่เป็นกิเลสและสัมปยุตด้วยกิเลสก็มี ที่สัมปยุตด้วยกิเลสแต่ไม่
เป็นกิเลสก็มี ที่กล่าวไม่ได้ว่า เป็นกิเลสและสัมปยุตด้วยกิเลส หรือสัมปยุตด้วย
กิเลสแต่ไม่เป็นกิเลสก็มี
อายตนะ ๑๐ วิปปยุตจากกิเลสแต่เป็นอารมณ์ของกิเลส อายตนะ ๒ ที่
วิปปยุตจากกิเลสแต่เป็นอารมณ์ของกิเลสก็มี ที่วิปปยุตจากกิเลสและไม่เป็น
อารมณ์ของกิเลสก็มี ที่กล่าวไม่ได้ว่า วิปปยุตจากกิเลสแต่เป็นอารมณ์ของกิเลส
หรือวิปปยุตจากกิเลสและไม่เป็นอารมณ์ของกิเลสก็มี

๑๓. ปิฏฐิทุกวิสัชนา
อายตนะ ๑๐ ไม่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรค อายตนะ ๒ ที่ต้อง
ประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคก็มี ที่ไม่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคก็มี
อายตนะ ๑๐ ไม่ต้องประหาณด้วยมรรคเบื้องบน ๓ อายตนะ ๒ ที่ต้องประหาณ
ด้วยมรรคเบื้องบน ๓ ก็มี ที่ไม่ต้องประหาณด้วยมรรคเบื้องบน ๓ ก็มี
อายตนะ ๑๐ ไม่มีเหตุต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรค อายตนะ ๒ ที่มีเหตุ
ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคก็มี ที่ไม่มีเหตุต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคก็มี
อายตนะ ๑๐ ไม่มีเหตุต้องประหาณด้วยมรรคเบื้องบน ๓ อายตนะ ๒ ที่มีเหตุ
ต้องประหาณด้วยมรรคเบื้องบน ๓ ก็มี ที่ไม่มีเหตุต้องประหาณด้วยมรรคเบื้องบน ๓ ก็มี


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๑๓๒ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๒.อายตนวิภังค์] ๓.ปัญหาปุจฉกะ ๒.ทุกมาติกาวิสัชนา
อายตนะ ๑๐ ไม่มีวิตก อายตนะ ๒ ที่มีวิตกก็มี ที่ไม่มีวิตกก็มี
อายตนะ ๑๐ ไม่มีวิจาร อายตนะ ๒ ที่มีวิจารก็มี ที่ไม่มีวิจารก็มี
อายตนะ ๑๐ ไม่มีปีติ อายตนะ ๒ ที่มีปีติก็มี ที่ไม่มีปีติก็มี
อายตนะ ๑๐ ไม่สหรคตด้วยปีติ อายตนะ ๒ ที่สหรคตด้วยปีติก็มี ที่ไม่
สหรคตด้วยปีติก็มี
อายตนะ ๑๐ ไม่สหรคตด้วยสุข อายตนะ ๒ ที่สหรคตด้วยสุขก็มี ที่ไม่
สหรคตด้วยสุขก็มี
อายตนะ ๑๐ ไม่สหรคตด้วยอุเบกขา อายตนะ ๒ ที่สหรคตด้วยอุเบกขาก็มี
ที่ไม่สหรคตด้วยอุเบกขาก็มี
อายตนะ ๑๐ เป็นกามาวจร อายตนะ ๒ ที่เป็นกามาวจรก็มี ที่ไม่เป็น
กามาวจรก็มี
อายตนะ ๑๐ ไม่เป็นรูปาวจร อายตนะ ๒ ที่เป็นรูปาวจรก็มี ที่ไม่เป็นรูปาวจรก็มี
อายตนะ ๑๐ ไม่เป็นอรูปาวจร อายตนะ ๒ ที่เป็นอรูปาวจรก็มี ที่ไม่เป็น
อรูปาวจรก็มี
อายตนะ ๑๐ นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ อายตนะ ๒ ที่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ก็มี ที่ไม่
นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ก็มี
อายตนะ ๑๐ ไม่เป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ อายตนะ ๒ ที่เป็นเหตุนำออก
จากวัฏฏทุกข์ก็มี ที่ไม่เป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ก็มี
อายตนะ ๑๐ ให้ผลไม่แน่นอน อายตนะ ๒ ที่ให้ผลแน่นอนก็มี ที่ให้ผลไม่แน่
นอนก็มี
อายตนะ ๑๐ มีธรรมอื่นยิ่งกว่า อายตนะ ๒ ที่มีธรรมอื่นยิ่งกว่าก็มี ที่ไม่มี
ธรรมอื่นยิ่งกว่าก็มี
อายตนะ ๑๐ ไม่เป็นเหตุให้สัตว์ร้องไห้ อายตนะ ๒ ที่เป็นเหตุให้สัตว์ร้องไห้ก็มี
ที่ไม่เป็นเหตุให้สัตว์ร้องไห้ก็มี

ปัญหาปุจฉกะ จบ

อายตนวิภังค์ จบบริบูรณ์


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๑๓๓ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๓.ธาตุวิภังค์] ๑.สุตตันตภาชนีย์
๓. ธาตุวิภังค์
๑. สุตตันตภาชนีย์
[๑๗๒] ธาตุ ๖ คือ

๑. ปฐวีธาตุ (ธาตุดิน)
๒. อาโปธาตุ (ธาตุน้ำ)
๓. เตโชธาต (ธาตุไฟ)
๔. วาโยธาตุ (ธาตุลม)
๕. อากาสธาตุ (ธาตุคือที่ว่าง)
๖. วิญญาณธาตุ (ธาตุคือวิญญาณ)

[๑๗๓] บรรดาธาตุ ๖ นั้น ปฐวีธาตุ เป็นไฉน
ปฐวีธาตุมี ๒ อย่าง คือ ปฐวีธาตุที่เป็นภายในก็มี ที่เป็นภายนอกก็มี
ในปฐวีธาตุ ๒ อย่างนั้น ปฐวีธาตุที่เป็นภายใน เป็นไฉน
ธรรมชาติที่แข็ง ธรรมชาติที่กระด้าง ความแข็ง ภาวะที่แข็ง เป็นภายในตน
มีเฉพาะตน ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือ ซึ่งเป็นภายในตน เช่น
ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ไต หัวใจ ตับ พังผืด ม้าม
ปอด ไส้ใหญ่ ไส้น้อย อาหารใหม่ อาหารเก่า หรือธรรมชาติที่แข็ง ธรรมชาติที่กระด้าง
ความแข็ง ภาวะที่แข็ง เป็นภายในตน มีเฉพาะตน ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหา
และทิฏฐิยึดถือ ซึ่งเป็นภายในตน แม้อื่นใดมีอยู่ นี้เรียกว่า ปฐวีธาตุที่เป็นภายใน
ปฐวีธาตุที่เป็นภายนอก เป็นไฉน
ธรรมชาติที่แข็ง ธรรมชาติที่กระด้าง ความแข็ง ภาวะที่แข็ง เป็นภายนอกตน
ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือ ซึ่งเป็นภายนอกตน เช่น เหล็ก
โลหะ ดีบุกขาว ดีบุกดำ เงิน แก้วมุกดา แก้วมณี แก้วไพฑูรย์ สังข์ ศิลา แก้ว
ประพาฬ เงินตรา ทอง แก้วมณีแดง แก้วมณีลาย หญ้า ท่อนไม้ ก้อนกรวด
กระเบื้อง แผ่นดิน แผ่นหิน ภูเขา หรือธรรมชาติที่แข็ง ธรรมชาติที่กระด้าง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๑๓๔ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๓.ธาตุวิภังค์] ๑.สุตตันตภาชนีย์
ความแข็ง ภาวะที่แข็ง เป็นภายนอกตน ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่
ยึดถือ ซึ่งเป็นภายนอกตน แม้อื่นใดมีอยู่ นี้เรียกว่า ปฐวีธาตุที่เป็นภายนอก
ประมวลย่อปฐวีธาตุที่เป็นภายในและปฐวีธาตุที่เป็นภายนอกเข้าเป็นหมวด
เดียวกัน นี้เรียกว่า ปฐวีธาตุ (๑)
[๑๗๔] อาโปธาตุ เป็นไฉน
อาโปธาตุมี ๒ อย่าง คือ อาโปธาตุที่เป็นภายในก็มี ที่เป็นภายนอกก็มี
ในอาโปธาตุ ๒ อย่างนั้น อาโปธาตุที่เป็นภายใน เป็นไฉน
ความเอิบอาบ ธรรมชาติที่เอิบอาบ ความเหนียว ธรรมชาติที่เหนียว
ธรรมชาติเป็นเครื่องเกาะกุมรูป เป็นภายในตน มีเฉพาะตน ที่กรรมอันประกอบด้วย
ตัณหาและทิฏฐิยึดถือ ซึ่งเป็นภายในตน เช่น ดี เสลด หนอง เลือด เหงื่อ มันข้น
น้ำตา เปลวมัน น้ำลาย น้ำมูก ไขข้อ มูตร หรือความเอิบอาบ ธรรมชาติที่เอิบอาบ
ความเหนียว ธรรมชาติที่เหนียว ธรรมชาติเป็นเครื่องเกาะกุมรูป เป็นภายในตน มี
เฉพาะตน ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือ ซึ่งเป็นภายในตน แม้อื่นใด
มีอยู่ นี้เรียกว่า อาโปธาตุที่เป็นภายใน
อาโปธาตุที่เป็นภายนอก เป็นไฉน
ความเอิบอาบ ธรรมชาติที่เอิบอาบ ความเหนียว ธรรมชาติที่เหนียว
ธรรมชาติเป็นเครื่องเกาะกุมรูป เป็นภายนอกตน ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและ
ทิฏฐิไม่ยึดถือ ซึ่งเป็นภายนอกตน เช่น น้ำรากไม้ น้ำลำต้น น้ำเปลือกไม้ น้ำใบไม้
น้ำดอกไม้ น้ำผลไม้ นมสด นมส้ม เนยใส เนยข้น น้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อย น้ำในพื้นดิน
น้ำในอากาศ หรือความเอิบอาบ ธรรมชาติที่ซึมซาบ ความเหนียว ธรรมชาติที่
เหนียว ธรรมชาติเป็นเครื่องเกาะกุมรูป เป็นภายนอกตน ที่กรรมอันประกอบด้วย
ตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือ ซึ่งเป็นภายนอกตน แม้อื่นใดมีอยู่ นี้เรียกว่า อาโปธาตุ
ที่เป็นภายนอก
ประมวลย่ออาโปธาตุที่เป็นภายในและอาโปธาตุที่เป็นภายนอกเข้าเป็นหมวดเดียว
กัน นี้เรียกว่า อาโปธาตุ (๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๑๓๕ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๓.ธาตุวิภังค์] ๑.สุตตันตภาชนีย์
[๑๗๕] เตโชธาตุ เป็นไฉน
เตโชธาตุมี ๒ อย่าง คือ เตโชธาตุที่เป็นภายในก็มี ที่เป็นภายนอกก็มี
ในเตโชธาตุ ๒ อย่างนั้น เตโชธาตุที่เป็นภายใน เป็นไฉน
ความร้อน ธรรมชาติที่ร้อน ความอุ่น ธรรมชาติที่อุ่น ความอบอุ่น ธรรมชาติ
ที่อบอุ่น เป็นภายในตน มีเฉพาะตน ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือ
ซึ่งเป็นภายในตน เช่น เตโชธาตุที่ทำให้ร่างกายอบอุ่น ที่ทำให้ร่างกายทรุดโทรม ที่
ทำให้เร่าร้อนและที่ทำให้ของกิน ของดื่ม ของเคี้ยว ของลิ้ม ถึงความย่อยไปด้วยดี
หรือความร้อน ธรรมชาติที่ร้อน ความอุ่น ธรรมชาติที่อุ่น ความอบอุ่น ธรรมชาติที่
อบอุ่น เป็นภายในตน มีเฉพาะตน ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือ
ซึ่งเป็นภายในตน แม้อื่นใดมีอยู่ นี้เรียกว่า เตโชธาตุที่เป็นภายใน
เตโชธาตุที่เป็นภายนอก เป็นไฉน
ความร้อน ธรรมชาติที่ร้อน ความอุ่น ธรรมชาติที่อุ่น ความอบอุ่น ธรรมชาติ
ที่อบอุ่น เป็นภายนอกตน ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือ ซึ่งเป็น
ภายนอกตน เช่น ไฟฟืน ไฟสะเก็ดไม้ ไฟหญ้า ไฟมูลโค ไฟแกลบ ไฟหยากเยื่อ ไฟ
อสนิบาต ความร้อนแห่งไฟ ความร้อนแห่งดวงอาทิตย์ ความร้อนแห่งกองฟืน
ความร้อนแห่งกองหญ้า ความร้อนแห่งกองข้าวเปลือก ความร้อนแห่งกองขี้เถ้า หรือ
ความร้อน ธรรมชาติที่ร้อน ความอบอุ่น ธรรมชาติที่อบอุ่น เป็นภายนอกตน ที่
กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือ ซึ่งเป็นภายนอกตน แม้อื่นใดมีอยู่ นี้
เรียกว่า เตโชธาตุที่เป็นภายนอก
ประมวลย่อเตโชธาตุที่เป็นภายในและเตโชธาตุที่เป็นภายนอกเข้าเป็นหมวด
เดียวกัน นี้เรียกว่า เตโชธาตุ (๓)
[๑๗๖] วาโยธาตุ เป็นไฉน
วาโยธาตุมี ๒ อย่าง คือ วาโยธาตุที่เป็นภายในก็มี ที่เป็นภายนอกก็มี
ในวาโยธาตุ ๒ อย่างนั้น วาโยธาตุที่เป็นภายใน เป็นไฉน
ความพัดไปมา ธรรมชาติที่พัดไปมา ธรรมชาติเครื่องค้ำจุนรูป เป็นภายในตน
มีเฉพาะตน ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือ ซึ่งเป็นภายในตน เช่น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๑๓๖ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๓.ธาตุวิภังค์] ๑.สุตตันตภาชนีย์
ลมพัดขึ้นเบื้องบน ลมพัดลงเบื้องต่ำ ลมในท้อง ลมในไส้ ลมพัดไปตามตัว ลมศัสตรา๑
ลมมีดโกน๑ ลมเพิกหัวใจ ลมหายใจเข้า ลมหายใจออก หรือความพัดไปมา
ธรรมชาติที่พัดไปมา ธรรมชาติเครื่องค้ำจุนรูปเป็นภายในตน มีเฉพาะตน ที่กรรม
อันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือ ซึ่งเป็นภายในตน แม้อื่นใดมีอยู่ นี้เรียกว่า
วาโยธาตุที่เป็นภายใน
วาโยธาตุที่เป็นภายนอก เป็นไฉน
ความพัดไปมา ธรรมชาติที่พัดไปมา ความเคร่งตึงแห่งรูป เป็นภายนอกตน ที่
กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือ ซึ่งเป็นภายนอกตน เช่น ลม
ตะวันออก ลมตะวันตก ลมเหนือ ลมใต้ ลมมีฝุ่นละออง ลมไม่มีฝุ่นละออง ลมหนาว
ลมร้อน ลมอ่อน ลมแรง ลมดำ ลมบน ลมกระพือปีก ลมปีกครุฑ ลมใบกังหัน
ลมพัดโบก หรือความพัดไปมา ธรรมชาติที่พัดไปมา ธรรมชาติเครื่องค้ำจุนรูป
เป็นภายนอกตน ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือ ซึ่งเป็นภายนอกตน
แม้อื่นใดมีอยู่ นี้เรียกว่า วาโยธาตุที่เป็นภายนอก
ประมวลย่อวาโยธาตุที่เป็นภายในและวาโยธาตุที่เป็นภายนอกเข้าเป็นหมวด
เดียวกัน นี้เรียกว่า วาโยธาตุ (๔)
[๑๗๗] อากาสธาตุ เป็นไฉน
อากาสธาตุมี ๒ อย่าง คือ อากาสธาตุที่เป็นภายในก็มี ที่เป็นภายนอกก็มี
ในอากาสธาตุ ๒ อย่างนั้น อากาสธาตุที่เป็นภายใน เป็นไฉน
อากาศ ธรรมชาติที่นับว่าอากาศ ความว่างเปล่า ธรรมชาติที่นับว่าความ
ว่างเปล่า ช่องว่าง ธรรมชาติที่นับว่าช่องว่าง ซึ่งเนื้อและเลือดไม่ถูกต้องแล้ว เป็น
ภายในตน มีเฉพาะตน ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือ ซึ่งเป็นภาย
ในตน เช่น ช่องหู ช่องจมูก ช่องปาก ช่องสำหรับกลืนของกิน ของดื่ม ของเคี้ยว

เชิงอรรถ :
๑ ในอรรถกถาขยายว่า (สตฺถกวาตาติ สนฺธิพนฺธนานิ กตฺตริยา ฉินฺทนฺตา วิย ปวตฺตวาตา. ขุรก-
วาตาติ ขุเรน วิย หทยํ ผาลนกวาตา) คำว่า สตฺถกวาตา อธิบายว่า ลมที่พัดหมุนไป ประดุจตัดสิ่งที่
ต่อกันไว้ที่ผูกกันไว้ด้วยมีดโกน คำว่า ขุรกวาตา อธิบายว่า ลมที่เฉือดเฉือน ประดุจเฉือนหทัยด้วยมีด
อันคม (อภิ.วิ.อ. ๑๗๖/๗๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๑๓๗ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๓.ธาตุวิภังค์] ๑.สุตตันตภาชนีย์
ของลิ้ม ช่องที่พักอยู่แห่งของกิน ของดื่ม ของเคี้ยว ของลิ้มและช่องสำหรับของกิน
ของดื่ม ของเคี้ยว ของลิ้มไหลลงเบื้องต่ำ หรืออากาศ ธรรมชาติที่นับว่าอากาศ
ความว่างเปล่า ธรรมชาติที่นับว่าความว่างเปล่า ช่องว่าง ธรรมชาติที่นับว่าช่องว่าง
ซึ่งเนื้อและเลือดไม่ถูกต้องแล้ว เป็นภายในตน มีเฉพาะตน ที่กรรมอันประกอบด้วย
ตัณหาและทิฏฐิยึดถือ ซึ่งเป็นภายในตน แม้อื่นใดมีอยู่ นี้เรียกว่า อากาสธาตุที่เป็น
ภายใน
อากาสธาตุที่เป็นภายนอก เป็นไฉน
อากาศ ธรรมชาติที่นับว่าอากาศ ความว่างเปล่า ธรรมชาติที่นับว่าความ
ว่างเปล่า ช่องว่าง ธรรมชาติที่นับว่าช่องว่างซึ่งมหาภูตรูป ๔ ไม่ถูกต้องแล้ว เป็น
ภายนอกตน ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือ ซึ่งเป็นภายนอกตน
นี้เรียกว่า อากาสธาตุที่เป็นภายนอก
ประมวลย่ออากาสธาตุที่เป็นภายในและอากาสธาตุที่เป็นภายนอกเข้าเป็น
หมวดเดียวกัน นี้เรียกว่า อากาสธาตุ (๕)
[๑๗๘] วิญญาณธาตุ เป็นไฉน
จักขุวิญญาณธาตุ โสตวิญญาณธาตุ ฆานวิญญาณธาตุ ชิวหาวิญญาณธาตุ
กายวิญญาณธาตุ และมโนวิญญาณธาตุ นี้เรียกว่า วิญญาณธาตุ (๖)
เหล่านี้เรียกว่า ธาตุ ๖
[๑๗๙] ธาตุ ๖๑ อีกนัยหนึ่ง คือ

๑. สุขธาตุ ๒. ทุกขธาตุ
๓. โสมนัสสธาตุ ๔. โทมนัสสธาตุ
๕. อุเปกขาธาตุ ๖. อวิชชาธาตุ

[๑๘๐] บรรดาธาตุ ๖ นั้น สุขธาตุ เป็นไฉน

เชิงอรรถ :
๑ อภิ.วิ.อ. ๑๗๙/๗๙

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๑๓๘ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๓.ธาตุวิภังค์] ๑.สุตตันตภาชนีย์
ความสำราญทางกาย ความสุขทางกาย ความเสวยอารมณ์ที่สำราญเป็น
สุข อันเกิดแต่กายสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่สำราญเป็นสุข อันเกิดแต่กายสัมผัส
นี้เรียกว่า สุขธาตุ (๑)
ทุกขธาตุ เป็นไฉน
ความไม่สำราญทางกาย ความทุกข์ทางกาย ความเสวยอารมณ์ที่ไม่สำราญ
เป็นทุกข์ อันเกิดแต่กายสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่ไม่สำราญเป็นทุกข์ อันเกิดแต่
กายสัมผัส นี้เรียกว่า ทุกขธาตุ (๒)
โสมนัสสธาตุ เป็นไฉน
ความสำราญทางใจ ความสุขทางใจ ความเสวยอารมณ์ที่สำราญเป็นสุข
อันเกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่สำราญเป็นสุข อันเกิดแต่เจโตสัมผัส
นี้เรียกว่า โสมนัสสธาตุ (๓)
โทมนัสสธาตุ เป็นไฉน
ความไม่สำราญทางใจ ความทุกข์ทางใจ ความเสวยอารมณ์ที่ไม่สำราญเป็น
ทุกข์ อันเกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่ไม่สำราญเป็นทุกข์ อันเกิดแต่
เจโตสัมผัส นี้เรียกว่า โทมนัสสธาตุ (๔)
อุเปกขาธาตุ เป็นไฉน
ความสำราญทางใจก็ไม่ใช่ ความไม่สำราญทางใจก็ไม่ใช่ ความเสวยอารมณ์ที่
ไม่ทุกข์ไม่สุข อันเกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่ไม่ทุกข์ไม่สุข อันเกิดแต่
เจโตสัมผัส นี้เรียกว่า อุเปกขาธาตุ (๕)
อวิชชาธาตุ เป็นไฉน
ความไม่รู้ ความไม่เห็น ความไม่ตรัสรู้ ความไม่รู้โดยสมความ ความไม่รู้ตาม
ความเป็นจริง ความไม่แทงตลอด ความไม่ถือเอาให้ถูกต้อง ความไม่หยั่งลงอย่าง
รอบคอบ ความไม่ใคร่ครวญ ความไม่พิจารณา ความไม่ทำให้ประจักษ์ ความด้อย
ปัญญา ความโง่เขลา ความไม่รู้ชัด ความหลง ความลุ่มหลง ความหลงใหล อวิชชา
โอฆะคืออวิชชา โยคะคืออวิชชา อนุสัยคืออวิชชา ปริยุฏฐานะคืออวิชชา ลิ่มคือ
อวิชชา อกุศลมูลคือโมหะ นี้เรียกว่า อวิชชาธาตุ (๖)
เหล่านี้เรียกว่า ธาตุ ๖


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๑๓๙ }


[๑๘๑] ธาตุ ๖ อีกนัยหนึ่ง คือ

๑. กามธาตุ ๒. พยาปาทธาตุ
๓. วิหิงสาธาตุ ๔. เนกขัมมธาตุ
๕. อัพยาปาทธาตุ ๖. อวิหิงสาธาตุ

[๑๘๒] บรรดาธาตุ ๖ นั้น กามธาตุ เป็นไฉน
ความตรึก ความตรึกโดยอาการต่าง ๆ ความดำริ ความที่จิตแนบแน่นใน
อารมณ์ ความที่จิตแนบสนิทในอารมณ์ ความยกจิตขึ้นสู่อารมณ์ มิจฉาสังกัปปะ
ที่ประกอบด้วยกาม นี้เรียกว่า กามธาตุ๑
ขันธ์ ธาตุ อายตนะ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ที่ท่องเที่ยวนับเนื่อง
อยู่ในระหว่างนี้ ชั้นต่ำมีอเวจีนรกเป็นที่สุด ชั้นสูงมีเทพชั้นปรนิมมิตวสวัตตีเป็นที่สุด
นี้เรียกว่า กามธาตุ (๑)
พยาปาทธาตุ เป็นไฉน
ความตรึก ความตรึกโดยอาการต่าง ๆ ฯลฯ มิจฉาสังกัปปะที่ประกอบด้วย
พยาบาท นี้เรียกว่า พยาปาทธาตุ๒
อีกนัยหนึ่ง ความที่จิตอาฆาตในอาฆาตวัตถุ ๑๐ ความอาฆาตที่รุนแรง
ความกระทบกระทั่ง ความแค้น ความพิโรธตอบ ความกำเริบ ความกำเริบหนัก
ความกำเริบหนักขึ้น ความคิดร้าย ความคิดประทุษร้าย ความคิดประทุษร้ายหนัก
ความที่จิตคิดพยาบาท ความที่จิตคิดประทุษร้าย ความโกรธ กิริยาที่โกรธ ภาวะที่
โกรธ ความคิดปองร้าย กิริยาที่คิดปองร้าย ภาวะที่คิดปองร้าย ความพยาบาท
กิริยาที่พยาบาท ภาวะที่พยาบาท ความพิโรธ ความพิโรธตอบ ความดุร้าย
ความเกรี้ยวกราด ความที่จิตไม่แช่มชื่น นี้เรียกว่า พยาปาทธาตุ (๒)

เชิงอรรถ :
๑ กามมี ๒ คือ วัตถุกาม และกิเลสกาม ธาตุที่เกี่ยวเนื่องกับกิเลสกามเป็นชื่อของกามวิตก ธาตุที่เกี่ยว
เนื่องกับวัตถุกามเป็นชื่อสภาวธรรมที่เป็นกามาวจร (อภิ.วิ.อ. ๑๘๑/๘๐)
๒ พยาปาทธาตุนี้เป็นชื่อของพยาบาทวิตก (อภิ.วิ.อ. ๑๘๑/๘๐)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๑๔๐ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๓.ธาตุวิภังค์] ๑.สุตตันตภาชนีย์
วิหิงสาธาตุ เป็นไฉน
ความตรึก ความตรึกโดยอาการต่าง ๆ ฯลฯ มิจฉาสังกัปปะที่ประกอบด้วย
วิหิงสา นี้เรียกว่า วิหิงสาธาตุ
บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมใช้ฝ่ามือ ก้อนดิน ท่อนไม้ ศัสตรา หรือเชือก
อย่างใดอย่างหนึ่งเบียดเบียนสัตว์ ความเบียดเบียน กิริยาที่เบียดเบียน ความรังแก
กิริยาที่รังแก ความเกรี้ยวกราด กิริยาที่กระทบกระทั่งอย่างรุนแรง ความเข้าไป
เบียดเบียนสัตว์อื่นเห็นปานนี้ นี้เรียกว่า วิหิงสาธาตุ (๓)
เนกขัมมธาตุ เป็นไฉน
ความตรึก ความตรึกโดยอาการต่าง ๆ ฯลฯ สัมมาสังกัปปะที่ประกอบ
ด้วยเนกขัมมะ นี้เรียกว่า เนกขัมมธาตุ
สภาวธรรมที่เป็นกุศลทั้งหมดชื่อว่า เนกขัมมธาตุ (๔)
อัพยาปาทธาตุ เป็นไฉน
ความตรึก ความตรึกโดยอาการต่าง ๆ ฯลฯ สัมมาสังกัปปะที่ประกอบด้วย
อัพยาบาท นี้เรียกว่า อัพยาปาทธาตุ
ความมีไมตรี ความเจริญเมตตา ภาวะที่แผ่เมตตาในสัตว์ทั้งหลาย เมตตา-
เจโตวิมุตติ (ความหลุดพ้นทางใจที่มีเมตตาเป็นอารมณ์) นี้เรียกว่า อัพยาปาทธาตุ (๕)
อวิหิงสาธาตุ เป็นไฉน
ความตรึก ความตรึกโดยอาการต่าง ๆ ความดำริที่ประกอบด้วยอวิหิงสา
ความที่จิตแนบแน่นในอารมณ์ ความที่จิตแนบสนิทในอารมณ์ ความยกจิตขึ้นสู่
อารมณ์ สัมมาสังกัปปะ นี้เรียกว่า อวิหิงสาธาตุ
กรุณา ความเจริญกรุณา ภาวะที่แผ่กรุณาในสัตว์ทั้งหลาย กรุณาเจโตวิมุตติ
(ความหลุดพ้นทางใจที่มีกรุณาเป็นอารมณ์) นี้เรียกว่า อวิหิงสาธาตุ (๖)
เหล่านี้เรียกว่า ธาตุ ๖
ประมวลย่อธาตุ ๖ สามหมวดนี้เข้าเป็นหมวดเดียวกันจึงเป็นธาตุ ๑๘ ด้วย
อาการอย่างนี้
สุตตันตภาชนีย์ จบ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๑๔๑ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๓.ธาตุวิภังค์] ๒.อภิธรรมภาชนีย์
๒. อภิธรรมภาชนีย์
[๑๘๓] ธาตุ ๑๘ คือ

๑. จักขุธาตุ ๒. รูปธาตุ
๓. จักขุวิญญาณธาตุ ๔. โสตธาตุ
๕. สัททธาตุ ๖. โสตวิญญาณธาตุ
๗. ฆานธาตุ ๘. คันธธาตุ
๙. ฆานวิญญาณธาตุ ๑๐. ชิวหาธาตุ
๑๑. รสธาตุ ๑๒. ชิวหาวิญญาณธาตุ
๑๓. กายธาตุ ๑๔. โผฏฐัพพธาตุ
๑๕. กายวิญญาณธาตุ ๑๖. มโนธาตุ
๑๗. ธัมมธาตุ ๑๘. มโนวิญญาณธาตุ

[๑๘๔] บรรดาธาตุ ๑๘ นั้น จักขุธาตุ เป็นไฉน
จักษุใดเป็นปสาทรูป อาศัยมหาภูตรูป ๔ ฯลฯ นี้ชื่อว่าบ้านว่างบ้าง นี้
เรียกว่า จักขุธาตุ (๑)
รูปธาตุ เป็นไฉน
รูปใดเป็นสีต่าง ๆ อาศัยมหาภูตรูป ๔ ฯลฯ นี้ชื่อว่ารูปธาตุบ้าง นี้เรียกว่า
รูปธาตุ (๒)
จักขุวิญญาณธาตุ เป็นไฉน
จิต มโน มานัส หทัย ปัณฑระ มโน มนายตนะ มนินทรีย์ วิญญาณ
วิญญาณขันธ์ จักขุวิญญาณธาตุที่เหมาะสมกัน อาศัยจักษุและรูปเกิดขึ้น นี้เรียกว่า
จักขุวิญญาณธาตุ (๓)
โสตธาตุ เป็นไฉน
โสตะใดเป็นปสาทรูป อาศัยมหาภูตรูป ๔ ฯลฯ นี้ชื่อว่าบ้านว่างบ้าง นี้
เรียกว่า โสตธาตุ (๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๑๔๒ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๓.ธาตุวิภังค์] ๒.อภิธรรมภาชนีย์
สัททธาตุ เป็นไฉน
สัททะ (เสียง) ใดอาศัยมหาภูตรูป ๔ เป็นรูปที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้ ฯลฯ นี้
ชื่อสัททธาตุบ้าง นี้เรียกว่า สัททธาตุ (๕)
โสตวิญญาณธาตุ เป็นไฉน
จิต มโน มานัส หทัย ปัณฑระ มโน มนายตนะ มนินทรีย์ วิญญาณ
วิญญาณขันธ์ โสตวิญญาณธาตุที่เหมาะสมกัน อาศัยโสตะ (หู) และเสียงเกิดขึ้น
นี้เรียกว่า โสตวิญญาณธาตุ (๖)
ฆานธาตุ เป็นไฉน
ฆานะ (จมูก) ใดเป็นปสาทรูป อาศัยมหาภูตรูป ๔ ฯลฯ นี้ชื่อว่าบ้านว่างบ้าง
นี้เรียกว่า ฆานธาตุ (๗)
คันธธาตุ เป็นไฉน
คันธะ (กลิ่น) ใดอาศัยมหาภูตรูป ๔ เป็นรูปที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้ ฯลฯ นี้
ชื่อว่าคันธธาตุบ้าง นี้เรียกว่า คันธธาตุ (๘)
ฆานวิญญาณธาตุ เป็นไฉน
จิต มโน มานัส หทัย ปัณฑระ มโน มนายตนะ มนินทรีย์ วิญญาณ
วิญญาณขันธ์ ฆานวิญญาณธาตุที่เหมาะสมกัน อาศัยฆานะและกลิ่นเกิดขึ้น นี้เรียก
ว่า ฆานวิญญาณธาตุ (๙)
ชิวหาธาตุ เป็นไฉน
ชิวหา (ลิ้น) ใดเป็นปสาทรูป อาศัยมหาภูตรูป ๔ ฯลฯ นี้ชื่อว่าบ้านว่างบ้าง
นี้เรียกว่า ชิวหาธาตุ (๑๐)
รสธาตุ เป็นไฉน
รสใดอาศัยมหาภูตรูป ๔ เป็นรูปที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้ ฯลฯ นี้ชื่อว่ารสธาตุ
บ้าง นี้เรียกว่า รสธาตุ (๑๑)


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๑๔๓ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๓.ธาตุวิภังค์] ๒.อภิธรรมภาชนีย์
ชิวหาวิญญาณธาตุ เป็นไฉน
จิต มโน มานัส หทัย ปัณฑระ มโน มนายตนะ มนินทรีย์ วิญญาณ
วิญญาณขันธ์ ชิวหาวิญญาณธาตุที่เหมาะสมกัน อาศัยชิวหาและรสเกิดขึ้น นี้เรียก
ว่า ชิวหาวิญญาณธาตุ (๑๒)
กายธาตุ เป็นไฉน
กายใดเป็นปสาทรูป อาศัยมหาภูตรูป ๔ ฯลฯ นี้ชื่อว่าบ้านว่างบ้าง นี้เรียก
ว่า กายธาตุ (๑๓)
โผฏฐัพพธาตุ เป็นไฉน
ปฐวีธาตุ ฯลฯ นี้ชื่อว่าโผฏฐัพพธาตุบ้าง นี้เรียกว่า โผฏฐัพพธาตุ (๑๔)
กายวิญญาณธาตุ เป็นไฉน
จิต มโน มานัส หทัย ปัณฑระ มโน มนายตนะ มนินทรีย์ วิญญาณ
วิญญาณขันธ์ กายวิญญาณธาตุที่เหมาะสมกัน อาศัยกายและโผฏฐัพพะเกิดขึ้น นี้
เรียกว่า กายวิญญาณธาตุ (๑๕)
มโนธาตุ เป็นไฉน
จิต มโน มานัส หทัย ปัณฑระ มโน มนายตนะ มนินทรีย์ วิญญาณ
วิญญาณขันธ์ มโนธาตุที่เหมาะสมกัน เกิดขึ้นในลำดับแห่งการเกิดดับแห่ง
จักขุวิญญาณธาตุ ฯลฯ โสตวิญญาณธาตุ ฯลฯ ฆานวิญญาณธาตุ ฯลฯ
ชิวหาวิญญาณธาตุ ฯลฯ
จิต มโน มานัส หทัย ปัณฑระ มโน มนายตนะ มนินทรีย์ วิญญาณ
วิญญาณขันธ์ มโนธาตุที่เหมาะสมกัน เกิดขึ้นในลำดับแห่งการเกิดดับแห่งกาย-
วิญญาณธาตุ หรือการพิจารณาอารมณ์ครั้งแรกในสภาวธรรมทั้งปวง จิต มโน
มานัส ปัณฑระ มโน มนายตนะ มนินทรีย์ วิญญาณ วิญญาณขันธ์ มโนธาตุที่
เหมาะสมกันเกิดขึ้น
นี้เรียกว่า มโนธาตุ (๑๖)


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๑๔๔ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๓.ธาตุวิภังค์] ๒.อภิธรรมภาชนีย์
ธัมมธาตุ เป็นไฉน
เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ รูปที่เห็นไม่ได้และกระทบไม่ได้ ซึ่งนับ
เนื่องในธัมมายตนะ และธาตุที่ปัจจัยไม่ปรุงแต่ง
บรรดาธัมมธาตุนั้น เวทนาขันธ์ เป็นไฉน
เวทนาขันธ์หมวดละ ๑ ได้แก่ เวทนาขันธ์ที่สัมปยุตด้วยผัสสะ
เวทนาขันธ์หมวดละ ๒ ได้แก่ เวทนาขันธ์ที่มีเหตุก็มี ที่ไม่มีเหตุก็มี
เวทนาขันธ์หมวดละ ๓ ได้แก่ เวทนาขันธ์ที่เป็นกุศลก็มี ที่เป็นอกุศลก็มี ที่
เป็นอัพยากฤตก็มี
ฯลฯ
เวทนาขันธ์หมวดละ ๑๐ มีด้วยอาการอย่างนี้
ฯลฯ
เวทนาขันธ์หมวดละมากอย่างมีด้วยอาการอย่างนี้ นี้เรียกว่า เวทนาขันธ์ (๑)
สัญญาขันธ์ เป็นไฉน
สัญญาขันธ์หมวดละ ๑ ได้แก่ สัญญาขันธ์ที่สัมปยุตด้วยผัสสะ
สัญญาขันธ์หมวดละ ๒ ได้แก่ สัญญาขันธ์ที่มีเหตุก็มี ที่ไม่มีเหตุก็มี
สัญญาขันธ์หมวดละ ๓ ได้แก่ สัญญาขันธ์ที่เป็นกุศลก็มี ที่เป็นอกุศลก็มี
ที่เป็นอัพยากฤตก็มี
ฯลฯ
สัญญาขันธ์หมวดละมากอย่างมีด้วยอาการอย่างนี้ นี้เรียกว่า สัญญาขันธ์ (๒)
สังขารขันธ์ เป็นไฉน
สังขารขันธ์หมวดละ ๑ ได้แก่ สังขารขันธ์ที่สัมปยุตด้วยจิต
สังขารขันธ์หมวดละ ๒ ได้แก่ สังขารขันธ์ที่เป็นเหตุก็มี ที่ไม่เป็นเหตุก็มี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๑๔๕ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๓.ธาตุวิภังค์] ๒.อภิธรรมภาชนีย์
สังขารขันธ์หมวดละ ๓ ได้แก่ สังขารขันธ์ที่เป็นกุศลก็มี ที่เป็นอกุศลก็มี ที่
เป็นอัพยากฤตก็มี
ฯลฯ
สังขารขันธ์หมวดละ ๑๐ มีด้วยอาการอย่างนี้
ฯลฯ
สังขารขันธ์หมวดละมากอย่างมีด้วยอาการอย่างนี้ นี้เรียกว่า สังขารขันธ์ (๓)
รูปที่เห็นไม่ได้และกระทบไม่ได้ซึ่งนับเนื่องในธัมมายตนะ เป็นไฉน
อิตถินทรีย์ ฯลฯ กวฬิงการาหาร นี้เรียกว่า รูปที่เห็นไม่ได้และกระทบไม่ได้
ซึ่งนับเนื่องในธัมมายตนะ (๔)
ธาตุที่ปัจจัยไม่ปรุงแต่ง เป็นไฉน
สภาวธรรมเป็นที่สิ้นไปแห่งราคะ เป็นที่สิ้นไปแห่งโทสะและเป็นที่สิ้นไปแห่งโมหะ
นี้เรียกว่า ธาตุที่ปัจจัยไม่ปรุงแต่ง นี้เรียกว่า ธัมมธาตุ (๕-๑๗)
มโนวิญญาณธาตุ เป็นไฉน
มโนธาตุเกิดขึ้นในลำดับแห่งการเกิดดับแห่งจักขุวิญญาณธาตุ
จิต มโน มานัส ฯลฯ มโนวิญญาณธาตุที่เหมาะสมกัน เกิดขึ้นในลำดับแห่ง
การเกิดดับแห่งมโนธาตุ
มโนธาตุเกิดขึ้นในลำดับแห่งการเกิดดับแห่งจักขุวิญญาณธาตุ ฯลฯ โสต-
วิญญาณธาตุ ฯลฯ ฆานวิญญาณธาตุ ฯลฯ ชิวหาวิญญาณธาตุ ฯลฯ
กายวิญญาณธาตุ
จิต มโน มานัส ฯลฯ มโนวิญญาณธาตุที่เหมาะสมกัน เกิดขึ้นในลำดับแห่ง
การเกิดดับแม้แห่งมโนธาตุ
จิต มโน มานัส หทัย ปัณฑระ มโน มนายตนะ มนินทรีย์ วิญญาณ
วิญญาณขันธ์ มโนวิญญาณธาตุที่เหมาะสมกัน อาศัยภวังคจิตและธรรมารมณ์
เกิดขึ้น
นี้เรียกว่า มโนวิญญาณธาตุ (๑๘)
อภิธรรมภาชนีย์ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๑๔๖ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๓.ธาตุวิภังค์] ๓.ปัญหาปุจฉกะ ๑.ติกมาติกาวิสัชนา
๓. ปัญหาปุจฉกะ
[๑๘๕] ธาตุ ๑๘ คือ

๑. จักขุธาตุ ๒. รูปธาตุ
๓. จักขุวิญญาณธาตุ ๔. โสตธาตุ
๕. สัททธาตุ ๖. โสตวิญญาณธาตุ
๗. ฆานธาตุ ๘. คันธธาตุ
๙. ฆานวิญญาณธาตุ ๑๐. ชิวหาธาตุ
๑๑. รสธาตุ ๑๒. ชิวหาวิญญาณธาตุ
๑๓. กายธาตุ ๑๔. โผฏฐัพพธาตุ
๑๕. กายวิญญาณธาตุ ๑๖. มโนธาตุ
๑๗. ธัมมธาตุ ๑๘. มโนวิญญาณธาตุ

๑. ติกมาติกาปุจฉา ทุกมาติกาปุจฉา
[๑๘๖] บรรดาธาตุ ๑๘ ธาตุเท่าไรเป็นกุศล เท่าไรเป็นอกุศล เท่าไรเป็น
อัพยากฤต ฯลฯ เท่าไรเป็นเหตุให้สัตว์ร้องไห้ เท่าไรไม่เป็นเหตุให้สัตว์ร้องไห้

๑. ติกมาติกาวิสัชนา
๑. กุสลติกวิสัชนา
[๑๘๗] ธาตุ ๑๖ เป็นอัพยากฤต ธาตุ ๒ ที่เป็นกุศลก็มี ที่เป็นอกุศลก็มี ที่
เป็นอัพยากฤตก็มี

๒. เวทนาติกวิสัชนา
ธาตุ ๑๐ กล่าวไม่ได้ว่า สัมปยุตด้วยสุขเวทนา สัมปยุตด้วยทุกขเวทนา หรือ
สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา ธาตุ ๕ สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา กายวิญญาณ-
ธาตุที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาก็มี ที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนาก็มี มโนวิญญาณธาตุที่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๑๔๗ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๓.ธาตุวิภังค์] ๓.ปัญหาปุจฉกะ ๑.ติกมาติกาวิสัชนา
สัมปยุตด้วยสุขเวทนาก็มี ที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนาก็มี ที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุข-
เวทนาก็มี ธัมมธาตุที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาก็มี ที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนาก็มี ที่
สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนาก็มี ที่กล่าวไม่ได้ว่า สัมปยุตด้วยสุขเวทนา สัมปยุต
ด้วยทุกขเวทนา หรือสัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนาก็มี

๓. วิปากติกวิสัชนา
ธาตุ ๑๐ ไม่เป็นวิบากและไม่เป็นเหตุให้เกิดวิบาก ธาตุ ๕ เป็นวิบาก มโนธาตุ
ที่เป็นวิบากก็มี ที่ไม่เป็นวิบากและไม่เป็นเหตุให้เกิดวิบากก็มี ธาตุ ๒ ที่เป็นวิบาก
ก็มี ที่เป็นเหตุให้เกิดวิบากก็มี ที่ไม่เป็นวิบากและไม่เป็นเหตุให้เกิดวิบากก็มี

๔. อุปาทินนติกวิสัชนา
ธาตุ ๑๐ กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือและเป็นอารมณ์ของ
อุปาทาน สัททธาตุ กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือแต่เป็นอารมณ์
ของอุปาทาน ธาตุ ๕ ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือและเป็น
อารมณ์ของอุปาทานก็มี ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือแต่เป็น
อารมณ์ของอุปาทานก็มี ธาตุ ๒ ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือ
และเป็นอารมณ์ของอุปาทานก็มี ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือแต่
เป็นอารมณ์ของอุปาทานก็มี ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือและไม่
เป็นอารมณ์ของอุปาทานก็มี

๕. สังกิลิฏฐติกวิสัชนา
ธาตุ ๑๖ กิเลสไม่ทำให้เศร้าหมองแต่เป็นอารมณ์ของกิเลส ธาตุ ๒ ที่กิเลส
ทำให้เศร้าหมองและเป็นอารมณ์ของกิเลสก็มี ที่กิเลสไม่ทำให้เศร้าหมองแต่เป็น
อารมณ์ของกิเลสก็มี ที่กิเลสไม่ทำให้เศร้าหมองและไม่เป็นอารมณ์ของกิเลสก็มี

๖. สวิตักกติกวิสัชนา
ธาตุ ๑๕ ไม่มีทั้งวิตกและวิจาร มโนธาตุมีทั้งวิตกและวิจาร มโนวิญญาณธาตุ
ที่มีทั้งวิตกและวิจารก็มี ที่ไม่มีวิตกมีเพียงวิจารก็มี ที่ไม่มีทั้งวิตกและวิจารก็มี


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๑๔๘ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๓.ธาตุวิภังค์] ๓.ปัญหาปุจฉกะ ๑.ติกมาติกาวิสัชนา
ธัมมธาตุที่มีทั้งวิตกและวิจารก็มี ที่ไม่มีวิตกมีเพียงวิจารก็มี ที่ไม่มีทั้งวิตกและวิจาร
ก็มี ที่กล่าวไม่ได้ว่า มีทั้งวิตกและวิจาร ไม่มีวิตกมีเพียงวิจาร หรือไม่มีทั้งวิตกและ
วิจารก็มี

๗. ปีติติกวิสัชนา
ธาตุ ๑๐ กล่าวไม่ได้ว่า สหรคตด้วยปีติ สหรคตด้วยสุข หรือสหรคตด้วย
อุเบกขา ธาตุ ๕ สหรคตด้วยอุเบกขา กายวิญญาณธาตุไม่สหรคตด้วยปีติ ที่
สหรคตด้วยสุขแต่ไม่สหรคตด้วยอุเบกขาก็มี ที่กล่าวไม่ได้ว่า สหรคตด้วยสุขก็มี
ธาตุ ๒ ที่สหรคตด้วยปีติก็มี ที่สหรคตด้วยสุขก็มี ที่สหรคตด้วยอุเบกขาก็มี ที่กล่าว
ไม่ได้ว่า สหรคตด้วยปีติ สหรคตด้วยสุข หรือสหรคตด้วยอุเบกขาก็มี

๘. ทัสสนติกวิสัชนา
ธาตุ ๑๖ ไม่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคและมรรคเบื้องบน ๓ ธาตุ ๒ ที่
ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคก็มี ที่ต้องประหาณด้วยมรรคเบื้องบน ๓ ก็มี ที่ไม่
ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคและมรรคเบื้องบน ๓ ก็มี

๙. ทัสสนเหตุติกวิสัชนา
ธาตุ ๑๖ ไม่มีเหตุต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคและมรรคเบื้องบน ๓
ธาตุ ๒ ที่มีเหตุต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคก็มี ที่มีเหตุต้องประหาณด้วยมรรค
เบื้องบน ๓ ก็มี ที่ไม่มีเหตุต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคและมรรคเบื้องบน ๓
ก็มี

๑๐. อาจยคามิติกวิสัชนา
ธาตุ ๑๖ ไม่เป็นเหตุให้ถึงปฏิสนธิ จุติ และนิพพาน ธาตุ ๒ ที่เป็นเหตุให้ถึง
ปฏิสนธิและจุติก็มี ที่เป็นเหตุให้ถึงนิพพานก็มี ที่ไม่เป็นเหตุให้ถึงปฏิสนธิ จุติ และ
นิพพานก็มี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๑๔๙ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๓.ธาตุวิภังค์] ๓.ปัญหาปุจฉกะ ๑.ติกมาติกาวิสัชนา
๑๑. เสกขติกวิสัชนา
ธาตุ ๑๖ ไม่เป็นของเสขบุคคลและอเสขบุคคล ธาตุ ๒ ที่เป็นของเสขบุคคล
ก็มี ที่เป็นของอเสขบุคคลก็มี ที่ไม่เป็นของเสขบุคคลและอเสขบุคคลก็มี

๑๒. ปริตตติกวิสัชนา
ธาตุ ๑๖ เป็นปริตตะ ธาตุ ๒ ที่เป็นปริตตะก็มี ที่เป็นมหัคคตะก็มี ที่เป็น
อัปปมาณะก็มี

๑๓. ปริตตารัมมณติกวิสัชนา
ธาตุ ๑๐ รับรู้อารมณ์ไม่ได้ ธาตุ ๖ มีปริตตะเป็นอารมณ์ ธาตุ ๒ ที่มีปริตตะ
เป็นอารมณ์ก็มี ที่มีมหัคคตะเป็นอารมณ์ก็มี ที่มีอัปปมาณะเป็นอารมณ์ก็มี ที่
กล่าวไม่ได้ว่า มีปริตตะเป็นอารมณ์ มีมหัคคตะเป็นอารมณ์ หรือมีอัปปมาณะเป็น
อารมณ์ก็มี

๑๔. หีนติกวิสัชนา
ธาตุ ๑๖ เป็นชั้นกลาง ธาตุ ๒ ที่เป็นชั้นต่ำก็มี ที่เป็นชั้นกลางก็มี ที่เป็นชั้น
ประณีตก็มี

๑๕. มิจฉัตตติกวิสัชนา
ธาตุ ๑๖ เป็นธรรมชาติไม่แน่นอนโดยอาการทั้งสองนั้น ธาตุ ๒ ที่มีสภาวะ
ผิดและให้ผลแน่นอนก็มี ที่มีสภาวะชอบและให้ผลแน่นอนก็มี ที่เป็นธรรมชาติไม่แน่
นอนโดยอาการทั้งสองนั้นก็มี

๑๖. มัคคารัมมณติกวิสัชนา
ธาตุ ๑๐ รับรู้อารมณ์ไม่ได้ ธาตุ ๖ กล่าวไม่ได้ว่า มีมรรคเป็นอารมณ์ มี
มรรคเป็นเหตุ หรือมีมรรคเป็นอธิบดี ธาตุ ๒ ที่มีมรรคเป็นอารมณ์ก็มี ที่มีมรรค
เป็นเหตุก็มี ที่มีมรรคเป็นอธิบดีก็มี ที่กล่าวไม่ได้ว่า มีมรรคเป็นอารมณ์ มีมรรค
เป็นเหตุ หรือมีมรรคเป็นอธิบดีก็มี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๑๕๐ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๓.ธาตุวิภังค์] ๓.ปัญหาปุจฉกะ ๑.ติกมาติกาวิสัชนา
๑๗. อุปปันนติกวิสัชนา
ธาตุ ๑๐ ที่เกิดขึ้นก็มี ที่จักเกิดขึ้นแน่นอนก็มี ที่กล่าวไม่ได้ว่า ยังไม่เกิดขึ้นก็มี
สัททธาตุที่เกิดขึ้นก็มี ที่ยังไม่เกิดขึ้นก็มี ที่กล่าวไม่ได้ว่า จักเกิดขึ้นแน่นอนก็มี
ธาตุ ๖ ที่เกิดขึ้นก็มี ที่ยังไม่เกิดขึ้นก็มี ที่จักเกิดขึ้นแน่นอนก็มี ธัมมธาตุที่เกิดขึ้นก็มี
ที่ยังไม่เกิดขึ้นก็มี ที่จักเกิดขึ้นแน่นอนก็มี ที่กล่าวไม่ได้ว่า เกิดขึ้น ยังไม่เกิดขึ้น หรือ
จักเกิดขึ้นแน่นอนก็มี

๑๘. อตีตติกวิสัชนา
ธาตุ ๑๗ ที่เป็นอดีตก็มี ที่เป็นอนาคตก็มี ที่เป็นปัจจุบันก็มี ธัมมธาตุที่เป็น
อดีตก็มี ที่เป็นอนาคตก็มี ที่เป็นปัจจุบันก็มี ที่กล่าวไม่ได้ว่า เป็นอดีต เป็นอนาคต
หรือเป็นปัจจุบันก็มี

๑๙. อตีตารัมมณติกวิสัชนา
ธาตุ ๑๐ รับรู้อารมณ์ไม่ได้ ธาตุ ๖ มีปัจจุบันธรรมเป็นอารมณ์ ธาตุ ๒ ที่
มีอดีตธรรมเป็นอารมณ์ก็มี ที่มีอนาคตธรรมเป็นอารมณ์ก็มี ที่มีปัจจุบันธรรมเป็น
อารมณ์ก็มี ที่กล่าวไม่ได้ว่า มีอดีตธรรมเป็นอารมณ์ มีอนาคตธรรมเป็นอารมณ์
หรือมีปัจจุบันธรรมเป็นอารมณ์ก็มี

๒๐. อัชฌัตตติกวิสัชนา
ธาตุ ๑๘ ที่เป็นภายในตนก็มี ที่เป็นภายนอกตนก็มี ที่เป็นภายในตนและ
ภายนอกตนก็มี

๒๑. อัชฌัตตารัมมณติกวิสัชนา
ธาตุ ๑๐ รับรู้อารมณ์ไม่ได้ ธาตุ ๖ ที่มีธรรมภายในตนเป็นอารมณ์ก็มี ที่มี
ธรรมภายนอกตนเป็นอารมณ์ก็มี ที่มีธรรมภายในตนและภายนอกตนเป็นอารมณ์ก็มี
ธาตุ ๒ ที่มีธรรมภายในตนเป็นอารมณ์ก็มี ที่มีธรรมภายนอกตนเป็นอารมณ์ก็มี
ที่มีธรรมภายในตนและภายนอกตนเป็นอารมณ์ก็มี ที่กล่าวไม่ได้ว่า มีธรรมภายใน
ตนเป็นอารมณ์ มีธรรมภายนอกตนเป็นอารมณ์ หรือมีธรรมภายในตนและภายนอก
ตนเป็นอารมณ์ก็มี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๑๕๑ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๓.ธาตุวิภังค์] ๓.ปัญหาปุจฉกะ ๒.ทุกมาติกาวิสัชนา
๒๒. สนิทัสสนติกวิสัชนา
รูปธาตุเห็นได้และกระทบได้ ธาตุ ๙ เห็นไม่ได้แต่กระทบได้ ธาตุ ๘ เห็น
ไม่ได้และกระทบไม่ได้

๒. ทุกมาติกาวิสัชนา
๑. เหตุโคจฉกวิสัชนา
[๑๘๘] ธาตุ ๑๗ ไม่เป็นเหตุ ธัมมธาตุที่เป็นเหตุก็มี ที่ไม่เป็นเหตุก็มี
ธาตุ ๑๖ ไม่มีเหตุ ธาตุ ๒ ที่มีเหตุก็มี ที่ไม่มีเหตุก็มี
ธาตุ ๑๖ วิปปยุตจากเหตุ ธาตุ ๒ ที่สัมปยุตด้วยเหตุก็มี ที่วิปปยุตจากเหตุก็มี
ธาตุ ๑๖ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นเหตุและมีเหตุ หรือมีเหตุแต่ไม่เป็นเหตุ มโน-
วิญญาณธาตุกล่าวไม่ได้ว่า เป็นเหตุและมีเหตุ ที่มีเหตุแต่ไม่เป็นเหตุก็มี ที่กล่าว
ไม่ได้ว่า มีเหตุแต่ไม่เป็นเหตุก็มี ธัมมธาตุที่เป็นเหตุและมีเหตุก็มี ที่มีเหตุแต่ไม่เป็น
เหตุก็มี ที่กล่าวไม่ได้ว่า เป็นเหตุและมีเหตุ หรือมีเหตุแต่ไม่เป็นเหตุก็มี
ธาตุ ๑๖ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นเหตุและสัมปยุตด้วยเหตุ หรือสัมปยุตด้วยเหตุแต่
ไม่เป็นเหตุ มโนวิญญาณธาตุกล่าวไม่ได้ว่า เป็นเหตุและสัมปยุตด้วยเหตุ ที่สัมปยุต
ด้วยเหตุแต่ไม่เป็นเหตุก็มี ที่กล่าวไม่ได้ว่า สัมปยุตด้วยเหตุแต่ไม่เป็นเหตุก็มี ธัมมธาตุ
ที่เป็นเหตุและสัมปยุตด้วยเหตุก็มี ที่สัมปยุตด้วยเหตุแต่ไม่เป็นเหตุก็มี ที่กล่าวไม่
ได้ว่า เป็นเหตุและสัมปยุตด้วยเหตุ หรือสัมปยุตด้วยเหตุแต่ไม่เป็นเหตุก็มี
ธาตุ ๑๖ ไม่เป็นเหตุและไม่มีเหตุ มโนวิญญาณธาตุที่ไม่เป็นเหตุแต่มีเหตุก็มี
ที่ไม่เป็นเหตุและไม่มีเหตุก็มี ธัมมธาตุที่ไม่เป็นเหตุแต่มีเหตุก็มี ที่ไม่เป็นเหตุและไม่มี
เหตุก็มี ที่กล่าวไม่ได้ว่า ไม่เป็นเหตุแต่มีเหตุ หรือไม่เป็นเหตุและไม่มีเหตุก็มี

๒. จูฬันตรทุกวิสัชนา
ธาตุ ๑๗ มีปัจจัยปรุงแต่ง ธัมมธาตุที่มีปัจจัยปรุงแต่งก็มี ที่ไม่มีปัจจัยปรุงแต่ง
ก็มี


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๑๕๒ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๓.ธาตุวิภังค์] ๓.ปัญหาปุจฉกะ ๒.ทุกมาติกาวิสัชนา
ธาตุ ๑๗ ถูกปัจจัยปรุงแต่ง ธัมมธาตุที่ถูกปัจจัยปรุงแต่งก็มี ที่ไม่ถูกปัจจัย
ปรุงแต่งก็มี
รูปธาตุเห็นได้ ธาตุ ๑๗ เห็นไม่ได้
ธาตุ ๑๐ กระทบได้ ธาตุ ๘ กระทบไม่ได้
ธาตุ ๑๐ เป็นรูป ธาตุ ๗ ไม่เป็นรูป ธัมมธาตุที่เป็นรูปก็มี ที่ไม่เป็นรูปก็มี
ธาตุ ๑๖ เป็นโลกิยะ ธาตุ ๒ ที่เป็นโลกิยะก็มี ที่เป็นโลกุตตระก็มี
ธาตุ ๑๘ ที่จิตบางดวงรู้ได้ก็มี ที่จิตบางดวงรู้ไม่ได้ก็มี

๓. อาสวโคจฉกวิสัชนา
ธาตุ ๑๗ ไม่เป็นอาสวะ ธัมมธาตุที่เป็นอาสวะก็มี ที่ไม่เป็นอาสวะก็มี
ธาตุ ๑๖ เป็นอารมณ์ของอาสวะ ธาตุ ๒ ที่เป็นอารมณ์ของอาสวะก็มี ที่ไม่
เป็นอารมณ์ของอาสวะก็มี
ธาตุ ๑๖ วิปปยุตจากอาสวะ ธาตุ ๒ ที่สัมปยุตด้วยอาสวะก็มี ที่วิปปยุตจาก
อาสวะก็มี
ธาตุ ๑๖ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นอาสวะและเป็นอารมณ์ของอาสวะ หรือเป็น
อารมณ์ของอาสวะแต่ไม่เป็นอาสวะ มโนวิญญาณธาตุกล่าวไม่ได้ว่า เป็นอาสวะและ
เป็นอารมณ์ของอาสวะ ที่เป็นอารมณ์ของอาสวะแต่ไม่เป็นอาสวะก็มี ที่กล่าวไม่ได้ว่า
เป็นอารมณ์ของอาสวะแต่ไม่เป็นอาสวะก็มี ธัมมธาตุที่เป็นอาสวะและเป็นอารมณ์
ของอาสวะก็มี ที่เป็นอารมณ์ของอาสวะแต่ไม่เป็นอาสวะก็มี ที่กล่าวไม่ได้ว่า เป็น
อาสวะและเป็นอารมณ์ของอาสวะ หรือเป็นอารมณ์ของอาสวะแต่ไม่เป็นอาสวะก็มี
ธาตุ ๑๖ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นอาสวะและสัมปยุตด้วยอาสวะ หรือสัมปยุตด้วย
อาสวะแต่ไม่เป็นอาสวะ มโนวิญญาณธาตุกล่าวไม่ได้ว่า เป็นอาสวะและสัมปยุตด้วย
อาสวะ ที่สัมปยุตด้วยอาสวะแต่ไม่เป็นอาสวะก็มี ที่กล่าวไม่ได้ว่า สัมปยุตด้วย
อาสวะแต่ไม่เป็นอาสวะก็มี ธัมมธาตุที่เป็นอาสวะและสัมปยุตด้วยอาสวะก็มี ที่
สัมปยุตด้วยอาสวะแต่ไม่เป็นอาสวะก็มี ที่กล่าวไม่ได้ว่า เป็นอาสวะและสัมปยุตด้วย
อาสวะ หรือสัมปยุตด้วยอาสวะแต่ไม่เป็นอาสวะก็มี


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๑๕๓ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๓.ธาตุวิภังค์] ๓.ปัญหาปุจฉกะ ๒.ทุกมาติกาวิสัชนา
ธาตุ ๑๖ วิปปยุตจากอาสวะแต่เป็นอารมณ์ของอาสวะ ธาตุ ๒ ที่วิปปยุต
จากอาสวะแต่เป็นอารมณ์ของอาสวะก็มี ที่วิปปยุตจากอาสวะและไม่เป็นอารมณ์ของ
อาสวะก็มี ที่กล่าวไม่ได้ว่า วิปปยุตจากอาสวะแต่เป็นอารมณ์ของอาสวะ หรือวิปปยุต
จากอาสวะและไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะก็มี

๔. สัญโญชนโคจฉกวิสัชนา
ธาตุ ๑๗ ไม่เป็นสังโยชน์ ธัมมธาตุที่เป็นสังโยชน์ก็มี ที่ไม่เป็นสังโยชน์ก็มี
ธาตุ ๑๖ เป็นอารมณ์ของสังโยชน์ ธาตุ ๒ ที่เป็นอารมณ์ของสังโยชน์ก็มี ที่
ไม่เป็นอารมณ์ของสังโยชน์ก็มี
ธาตุ ๑๖ วิปปยุตจากสังโยชน์ ธาตุ ๒ ที่สัมปยุตด้วยสังโยชน์ก็มี ที่วิปปยุต
จากสังโยชน์ก็มี
ธาตุ ๑๖ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นสังโยชน์และเป็นอารมณ์ของสังโยชน์ หรือเป็น
อารมณ์ของสังโยชน์แต่ไม่เป็นสังโยชน์ มโนวิญาณธาตุกล่าวไม่ได้ว่า เป็นสังโยชน์
และเป็นอารมณ์ของสังโยชน์ ที่เป็นอารมณ์ของสังโยชน์แต่ไม่เป็นสังโยชน์ก็มี ที่
กล่าวไม่ได้ว่า เป็นอารมณ์ของสังโยชน์แต่ไม่เป็นสังโยชน์ก็มี ธัมมธาตุที่เป็นสังโยชน์
และเป็นอารมณ์ของสังโยชน์ก็มี ที่เป็นอารมณ์ของสังโยชน์แต่ไม่เป็นสังโยชน์ก็มี ที่
กล่าวไม่ได้ว่า เป็นสังโยชน์และเป็นอารมณ์ของสังโยชน์ หรือเป็นอารมณ์ของสังโยชน์
แต่ไม่เป็นสังโยชน์ก็มี
ธาตุ ๑๖ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นสังโยชน์และสัมปยุตด้วยสังโยชน์ หรือสัมปยุต
ด้วยสังโยชน์แต่ไม่เป็นสังโยชน์ มโนวิญญาณธาตุกล่าวไม่ได้ว่า เป็นสังโยชน์และ
สัมปยุตด้วยสังโยชน์ ที่สัมปยุตด้วยสังโยชน์แต่ไม่เป็นสังโยชน์ก็มี ที่กล่าวไม่ได้ว่า
สัมปยุตด้วยสังโยชน์แต่ไม่เป็นสังโยชน์ก็มี ธัมมธาตุที่เป็นสังโยชน์และสัมปยุตด้วย
สังโยชน์ก็มี ที่สัมปยุตด้วยสังโยชน์แต่ไม่เป็นสังโยชน์ก็มี ที่กล่าวไม่ได้ว่า เป็น
สังโยชน์และสัมปยุตด้วยสังโยชน์ หรือสัมปยุตด้วยสังโยชน์แต่ไม่เป็นสังโยชน์ก็มี
ธาตุ ๑๖ วิปปยุตจากสังโยชน์แต่เป็นอารมณ์ของสังโยชน์ ธาตุ ๒ ที่วิปปยุต
จากสังโยชน์แต่เป็นอารมณ์ของสังโยชน์ก็มี ที่วิปปยุตจากสังโยชน์และไม่เป็นอารมณ์


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๑๕๔ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๓.ธาตุวิภังค์] ๓.ปัญหาปุจฉกะ ๒.ทุกมาติกาวิสัชนา
ของสังโยชน์ก็มี ที่กล่าวไม่ได้ว่า วิปปยุตจากสังโยชน์แต่เป็นอารมณ์ของสังโยชน์
หรือวิปปยุตจากสังโยชน์และไม่เป็นอารมณ์ของสังโยชน์ก็มี

๕. คันถโคจฉกวิสัชนา
ธาต ๑๗ ไม่เป็นคันถะ ธัมมธาตุที่เป็นคันถะก็มี ที่ไม่เป็นคันถะก็มี
ธาตุ ๑๖ เป็นอารมณ์ของคันถะ ธาตุ ๒ ที่เป็นอารมณ์ของคันถะก็มี ที่ไม่
เป็นอารมณ์ของคันถะก็มี
ธาตุ ๑๖ วิปปยุตจากคันถะ ธาตุ ๒ ที่สัมปยุตด้วยคันถะก็มี ที่วิปปยุตจาก
คันถะก็มี
ธาตุ ๑๖ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นคันถะและเป็นอารมณ์ของคันถะ หรือเป็นอารมณ์
ของคันถะแต่ไม่เป็นคันถะ มโนวิญญาณธาตุกล่าวไม่ได้ว่า เป็นคันถะและเป็นอารมณ์
ของคันถะ ที่เป็นอารมณ์ของคันถะแต่ไม่เป็นคันถะก็มี ที่กล่าวไม่ได้ว่า เป็นอารมณ์
ของคันถะแต่ไม่เป็นคันถะก็มี ธัมมธาตุที่เป็นคันถะและเป็นอารมณ์ของคันถะก็มี ที่
เป็นอารมณ์ของคันถะแต่ไม่เป็นคันถะก็มี ที่กล่าวไม่ได้ว่า เป็นคันถะและเป็นอารมณ์
ของคันถะ หรือเป็นอารมณ์ของคันถะแต่ไม่เป็นคันถะก็มี
ธาตุ ๑๖ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นคันถะและสัมปยุตด้วยคันถะ หรือสัมปยุตด้วย
คันถะแต่ไม่เป็นคันถะ มโนวิญญาณธาตุกล่าวไม่ได้ว่า เป็นคันถะและสัมปยุตด้วย
คันถะ ที่สัมปยุตด้วยคันถะแต่ไม่เป็นคันถะก็มี ที่กล่าวไม่ได้ว่า สัมปยุตด้วยคันถะแต่
ไม่เป็นคันถะก็มี ธัมมธาตุที่เป็นคันถะและสัมปยุตด้วยคันถะก็มี ที่สัมปยุตด้วย
คันถะแต่ไม่เป็นคันถะก็มี ที่กล่าวไม่ได้ว่า เป็นคันถะและสัมปยุตด้วยคันถะ หรือ
สัมปยุตด้วยคันถะแต่ไม่เป็นคันถะก็มี
ธาตุ ๑๖ วิปปยุตจากคันถะแต่เป็นอารมณ์ของคันถะ ธาตุ ๒ ที่วิปปยุตจาก
คันถะแต่เป็นอารมณ์ของคันถะก็มี ที่วิปปยุตจากคันถะและไม่เป็นอารมณ์ของคันถะก็มี
ที่กล่าวไม่ได้ว่า วิปปยุตจากคันถะแต่เป็นอารมณ์ของคันถะ หรือวิปปยุตจากคันถะ
และไม่เป็นอารมณ์ของคันถะก็มี


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๑๕๕ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๓.ธาตุวิภังค์] ๓.ปัญหาปุจฉกะ ๒.ทุกมาติกาวิสัชนา
๖-๘. โอฆโคจฉกาทิวิสัชนา
ธาตุ ๑๗ ไม่เป็นโอฆะ ฯลฯ ไม่เป็นโยคะ ฯลฯ ไม่เป็นนิวรณ์ ธัมมธาตุที่
เป็นนิวรณ์ก็มี ที่ไม่เป็นนิวรณ์ก็มี
ธาตุ ๑๖ เป็นอารมณ์ของนิวรณ์ ธาตุ ๒ ที่เป็นอารมณ์ของนิวรณ์ก็มี ที่ไม่
เป็นอารมณ์ของนิวรณ์ก็มี
ธาตุ ๑๖ วิปปยุตจากนิวรณ์ ธาตุ ๒ ที่สัมปยุตด้วยนิวรณ์ก็มี ที่วิปปยุต
จากนิวรณ์ก็มี
ธาตุ ๑๖ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นนิวรณ์และเป็นอารมณ์ของนิวรณ์ หรือเป็นอารมณ์
ของนิวรณ์แต่ไม่เป็นนิวรณ์ มโนวิญญาณธาตุกล่าวไม่ได้ว่า เป็นนิวรณ์และเป็น
อารมณ์ของนิวรณ์ ที่เป็นอารมณ์ของนิวรณ์แต่ไม่เป็นนิวรณ์ก็มี ที่กล่าวไม่ได้ว่า เป็น
อารมณ์ของนิวรณ์แต่ไม่เป็นนิวรณ์ก็มี ธัมมธาตุที่เป็นนิวรณ์และเป็นอารมณ์ของ
นิวรณ์ก็มี ที่เป็นอารมณ์ของนิวรณ์แต่ไม่เป็นนิวรณ์ก็มี ที่กล่าวไม่ได้ว่า เป็นนิวรณ์
และเป็นอารมณ์ของนิวรณ์ หรือเป็นอารมณ์ของนิวรณ์แต่ไม่เป็นนิวรณ์ก็มี
ธาตุ ๑๖ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นนิวรณ์และสัมปยุตด้วยนิวรณ์ หรือสัมปยุตด้วย
นิวรณ์แต่ไม่เป็นนิวรณ์ มโนวิญญาณธาตุกล่าวไม่ได้ว่า เป็นนิวรณ์และสัมปยุตด้วย
นิวรณ์ ที่สัมปยุตด้วยนิวรณ์แต่ไม่เป็นนิวรณ์ก็มี ที่กล่าวไม่ได้ว่า สัมปยุตด้วยนิวรณ์
แต่ไม่เป็นนิวรณ์ก็มี ธัมมธาตุที่เป็นนิวรณ์และสัมปยุตด้วยนิวรณ์ก็มี ที่สัมปยุตด้วย
นิวรณ์แต่ไม่เป็นนิวรณ์ก็มี ที่กล่าวไม่ได้ว่า เป็นนิวรณ์และสัมปยุตด้วยนิวรณ์ หรือ
สัมปยุตด้วยนิวรณ์แต่ไม่เป็นนิวรณ์ก็มี
ธาตุ ๑๖ วิปปยุตจากนิวรณ์แต่เป็นอารมณ์ของนิวรณ์ ธาตุ ๒ ที่วิปปยุตจาก
นิวรณ์แต่เป็นอารมณ์ของนิวรณ์ก็มี ที่วิปปยุตจากนิวรณ์และไม่เป็นอารมณ์ของ
นิวรณ์ก็มี ที่กล่าวไม่ได้ว่า วิปปยุตจากนิวรณ์แต่เป็นอารมณ์ของนิวรณ์ หรือวิปปยุต
จากนิวรณ์และไม่เป็นอารมณ์ของนิวรณ์ก็มี


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๑๕๖ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๓.ธาตุวิภังค์] ๓.ปัญหาปุจฉกะ ๒.ทุกมาติกาวิสัชนา
๙. ปรามาสโคจฉกวิสัชนา
ธาตุ ๑๗ ไม่เป็นปรามาส ธัมมธาตุที่เป็นปรามาสก็มี ที่ไม่เป็นปรามาสก็มี
ธาตุ ๑๖ เป็นอารมณ์ของปรามาส ธาตุ ๒ ที่เป็นอารมณ์ของปรามาสก็มี
ที่ไม่เป็นอารมณ์ของปรามาสก็มี
ธาตุ ๑๖ วิปปยุตจากปรามาส มโนวิญญาณธาตุที่สัมปยุตด้วยปรามาสก็มี
ที่วิปปยุตจากปรามาสก็มี ธัมมธาตุที่สัมปยุตด้วยปรามาสก็มี ที่วิปปยุตจาก
ปรามาสก็มี ที่กล่าวไม่ได้ว่า สัมปยุตด้วยปรามาส หรือวิปปยุตจากปรามาสก็มี
ธาตุ ๑๖ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นปรามาสและเป็นอารมณ์ของปรามาส หรือเป็น
อารมณ์ของปรามาสแต่ไม่เป็นปรามาส มโนวิญญาณธาตุกล่าวไม่ได้ว่า เป็นปรามาส
และเป็นอารมณ์ของปรามาส ที่เป็นอารมณ์ของปรามาสแต่ไม่เป็นปรามาสก็มี ที่
กล่าวไม่ได้ว่า เป็นอารมณ์ของปรามาสแต่ไม่เป็นปรามาสก็มี ธัมมธาตุที่เป็น
ปรามาสและเป็นอารมณ์ของปรามาสก็มี ที่เป็นอารมณ์ของปรามาสแต่ไม่เป็นปรามาส
ก็มี ที่กล่าวไม่ได้ว่า เป็นปรามาสและเป็นอารมณ์ของปรามาส หรือเป็นอารมณ์ของ
ปรามาสแต่ไม่เป็นปรามาสก็มี
ธาตุ ๑๖ วิปปยุตจากปรามาสแต่เป็นอารมณ์ของปรามาส ธาตุ ๒ ที่วิปปยุต
จากปรามาสแต่เป็นอารมณ์ของปรามาสก็มี ที่วิปปยุตจากปรามาสและไม่เป็น
อารมณ์ของปรามาสก็มี ที่กล่าวไม่ได้ว่า วิปปยุตจากปรามาสแต่เป็นอารมณ์ของ
ปรามาส หรือวิปปยุตจากปรามาสและไม่เป็นอารมณ์ของปรามาสก็มี

๑๐. มหันตรทุกวิสัชนา
ธาตุ ๑๐ รับรู้อารมณ์ไม่ได้ ธาตุ ๗ รับรู้อารมณ์ได้ ธัมมธาตุที่รับรู้อารมณ์
ได้ก็มี ที่รับรู้อารมณ์ไม่ได้ก็มี
ธาตุ ๗ เป็นจิต ธาตุ ๑๑ ไม่เป็นจิต
ธาตุ ๑๗ ไม่เป็นเจตสิก ธัมมธาตุที่เป็นเจตสิกก็มี ที่ไม่เป็นเจตสิกก็มี
ธาตุ ๑๐ วิปปยุตจากจิต ธัมมธาตุที่สัมปยุตด้วยจิตก็มี ที่วิปปยุตจากจิตก็มี
ธาตุ ๗ กล่าวไม่ได้ว่า สัมปยุตด้วยจิต หรือวิปปยุตจากจิต


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๑๕๗ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๓.ธาตุวิภังค์] ๓.ปัญหาปุจฉกะ ๒.ทุกมาติกาวิสัชนา
ธาตุ ๑๐ ไม่ระคนกับจิต ธัมมธาตุที่ระคนกับจิตก็มี ที่ไม่ระคนกับจิตก็มี
ธาตุ ๗ กล่าวไม่ได้ว่า ระคนกับจิต หรือไม่ระคนกับจิต
ธาตุ ๑๒ ไม่มีจิตเป็นสมุฏฐาน ธาตุ ๖ ที่มีจิตเป็นสมุฏฐานก็มี ที่ไม่มีจิตเป็น
สมุฏฐานก็มี
ธาตุ ๑๗ ไม่เกิดพร้อมกับจิต ธัมมธาตุที่เกิดพร้อมกับจิตก็มี ที่ไม่เกิดพร้อม
กับจิตก็มี
ธาตุ ๑๗ ไม่เป็นไปตามจิต ธัมมธาตุที่เป็นไปตามจิตก็มี ที่ไม่เป็นไปตาม
จิตก็มี
ธาตุ ๑๗ ไม่ระคนกับจิตและมีจิตเป็นสมุฏฐาน ธัมมธาตุที่ระคนกับจิตและ
มีจิตเป็นสมุฏฐานก็มี ที่ไม่ระคนกับจิตและมีจิตเป็นสมุฏฐานก็มี
ธาตุ ๑๗ ไม่ระคนกับจิตมีจิตเป็นสมุฏฐานและเกิดพร้อมกับจิต ธัมมธาตุที่
ระคนกับจิตมีจิตเป็นสมุฏฐานและเกิดพร้อมกับจิตก็มี ที่ไม่ระคนกับจิตมีจิตเป็น
สมุฏฐานและเกิดพร้อมกับจิตก็มี
ธาตุ ๑๗ ไม่ระคนกับจิตมีจิตเป็นสมุฏฐานและเป็นไปตามจิต ธัมมธาตุที่ระคน
กับจิตมีจิตเป็นสมุฏฐานและเป็นไปตามจิตก็มี ที่ไม่ระคนกับจิตมีจิตเป็นสมุฏฐาน
และเป็นไปตามจิตก็มี
ธาตุ ๑๒ เป็นภายใน ธาตุ ๖ เป็นภายนอก
ธาตุ ๙ เป็นอุปาทายรูป ธาตุ ๘ ไม่เป็นอุปาทายรูป ธัมมธาตุที่เป็น
อุปาทายรูปก็มี ที่ไม่เป็นอุปาทายรูปก็มี

๑๑. อุปาทานโคจฉกวิสัชนา
ธาตุ ๑๐ กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือ สัททธาตุกรรมอัน
ประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือ ธาตุ ๗ ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและ
ทิฏฐิยึดถือก็มี ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือก็มี


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๑๕๘ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๓.ธาตุวิภังค์] ๓.ปัญหาปุจฉกะ ๒.ทุกมาติกาวิสัชนา
ธาตุ ๑๗ ไม่เป็นอุปาทาน ธัมมธาตุที่เป็นอุปาทานก็มี ที่ไม่เป็นอุปาทานก็มี
ธาตุ ๑๖ เป็นอารมณ์ของอุปาทาน ธาตุ ๒ ที่เป็นอารมณ์ของอุปาทานก็มี
ที่ไม่เป็นอารมณ์ของอุปาทานก็มี
ธาตุ ๑๖ วิปปยุตจากอุปาทาน ธาตุ ๒ ที่สัมปยุตด้วยอุปาทานก็มี ที่
วิปปยุตจากอุปาทานก็มี
ธาตุ ๑๖ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นอุปาทานและเป็นอารมณ์ของอุปาทาน หรือเป็น
อารมณ์ของอุปาทานแต่ไม่เป็นอุปาทาน มโนวิญญาณธาตุกล่าวไม่ได้ว่า เป็น
อุปาทานและเป็นอารมณ์ของอุปาทาน ที่เป็นอารมณ์ของอุปาทานแต่ไม่เป็น
อุปาทานก็มี ที่กล่าวไม่ได้ว่า เป็นอารมณ์ของอุปาทานแต่ไม่เป็นอุปาทานก็มี ธัมม-
ธาตุที่เป็นอุปาทานและเป็นอารมณ์ของอุปาทานก็มี ที่เป็นอารมณ์ของอุปาทานแต่
ไม่เป็นอุปาทานก็มี ที่กล่าวไม่ได้ว่า เป็นอุปาทานและเป็นอารมณ์ของอุปาทาน
หรือเป็นอารมณ์ของอุปาทานแต่ไม่เป็นอุปาทานก็มี
ธาตุ ๑๖ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นอุปาทานและสัมปยุตด้วยอุปาทาน หรือสัมปยุต
ด้วยอุปาทานแต่ไม่เป็นอุปาทาน มโนวิญญาณธาตุกล่าวไม่ได้ว่า เป็นอุปาทาน
และสัมปยุตด้วยอุปาทาน ที่สัมปยุตด้วยอุปาทานแต่ไม่เป็นอุปาทานก็มี ที่กล่าว
ไม่ได้ว่า สัมปยุตด้วยอุปาทานแต่ไม่เป็นอุปาทานก็มี ธัมมธาตุที่เป็นอุปาทานและ
สัมปยุตด้วยอุปทานก็มี ที่สัมปยุตด้วยอุปาทานแต่ไม่เป็นอุปาทานก็มี ที่กล่าว
ไม่ได้ว่า เป็นอุปาทานและสัมปยุตด้วยอุปาทาน หรือสัมปยุตด้วยอุปาทานแต่ไม่
เป็นอุปาทานก็มี
ธาตุ ๑๖ วิปปยุตจากอุปาทานแต่เป็นอารมณ์ของอุปาทาน ธาตุ ๒ ที่วิปปยุต
จากอุปาทานแต่เป็นอารมณ์ของอุปาทานก็มี ที่วิปปยุตจากอุปาทานและไม่เป็น
อารมณ์ของอุปาทานก็มี ที่กล่าวไม่ได้ว่า วิปปยุตจากอุปาทานแต่เป็นอารมณ์ของ
อุปาทาน หรือวิปปยุตจากอุปาทานและไม่เป็นอารมณ์ของอุปาทานก็มี


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๑๕๙ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๓.ธาตุวิภังค์] ๓.ปัญหาปุจฉกะ ๒.ทุกมาติกาวิสัชนา
๑๒. กิเลสโคจฉกวิสัชนา
ธาตุ ๑๗ ไม่เป็นกิเลส ธัมมธาตุที่เป็นกิเลสก็มี ที่ไม่เป็นกิเลสก็มี
ธาตุ ๑๖ เป็นอารมณ์ของกิเลส ธาตุ ๒ ที่เป็นอารมณ์ของกิเลสก็มี ที่ไม่เป็น
อารมณ์ของกิเลสก็มี
ธาตุ ๑๖ กิเลสไม่ทำให้เศร้าหมอง ธาตุ ๒ ที่กิเลสทำให้เศร้าหมองก็มี ที่
กิเลสไม่ทำให้เศร้าหมองก็มี
ธาตุ ๑๖ วิปปยุตจากกิเลส ธาตุ ๒ ที่สัมปยุตด้วยกิเลสก็มี ที่วิปปยุต
จากกิเลสก็มี
ธาตุ ๑๖ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นกิเลสและเป็นอารมณ์ของกิเลส หรือเป็นอารมณ์
ของกิเลสแต่ไม่เป็นกิเลส มโนวิญญาณธาตุกล่าวไม่ได้ว่า เป็นกิเลสและเป็นอารมณ์
ของกิเลส ที่เป็นอารมณ์ของกิเลสแต่ไม่เป็นกิเลสก็มี ที่กล่าวไม่ได้ว่า เป็นอารมณ์
ของกิเลสแต่ไม่เป็นกิเลสก็มี ธัมมธาตุที่เป็นกิเลสและเป็นอารมณ์ของกิเลสก็มี ที่
เป็นอารมณ์ของกิเลสแต่ไม่เป็นกิเลสก็มี ที่กล่าวไม่ได้ว่า เป็นกิเลสและเป็นอารมณ์
ของกิเลส หรือเป็นอารมณ์ของกิเลสแต่ไม่เป็นกิเลสก็มี
ธาตุ ๑๖ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นกิเลสและกิเลสทำให้เศร้าหมอง หรือกิเลสทำให้
เศร้าหมองแต่ไม่เป็นกิเลส มโนวิญญาณธาตุกล่าวไม่ได้ว่า เป็นกิเลสและกิเลสทำให้
เศร้าหมอง ที่กิเลสทำให้เศร้าหมองแต่ไม่เป็นกิเลสก็มี ที่กล่าวไม่ได้ว่า กิเลสทำให้
เศร้าหมองแต่ไม่เป็นกิเลสก็มี ธัมมธาตุที่เป็นกิเลสและกิเลสทำให้เศร้าหมองก็มี ที่
กิเลสทำให้เศร้าหมองแต่ไม่เป็นกิเลสก็มี ที่กล่าวไม่ได้ว่า เป็นกิเลสและกิเลสทำให้
เศร้าหมอง หรือกิเลสทำให้เศร้าหมองแต่ไม่เป็นกิเลสก็มี
ธาตุ ๑๖ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นกิเลสและสัมปยุตด้วยกิเลส หรือสัมปยุตด้วย
กิเลสแต่ไม่เป็นกิเลส มโนวิญญาณธาตุกล่าวไม่ได้ว่า เป็นกิเลสและสัมปยุตด้วยกิเลส
ที่สัมปยุตด้วยกิเลสแต่ไม่เป็นกิเลสก็มี ที่กล่าวไม่ได้ว่า สัมปยุตด้วยกิเลสแต่ไม่เป็น
กิเลสก็มี ธัมมธาตุที่เป็นกิเลสและสัมปยุตด้วยกิเลสก็มี ที่สัมปยุตด้วยกิเลสแต่ไม่


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๑๖๐ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๓.ธาตุวิภังค์] ๓.ปัญหาปุจฉกะ ๒.ทุกมาติกาวิสัชนา
เป็นกิเลสก็มี ที่กล่าวไม่ได้ว่า เป็นกิเลสและสัมปยุตด้วยกิเลส หรือสัมปยุตด้วย
กิเลสแต่ไม่เป็นกิเลสก็มี
ธาตุ ๑๖ วิปปยุตจากกิเลสแต่เป็นอารมณ์ของกิเลส ธาตุ ๒ ที่วิปปยุตจาก
กิเลสแต่เป็นอารมณ์ของกิเลสก็มี ที่วิปปยุตจากกิเลสและไม่เป็นอารมณ์ของกิเลส
ก็มี ที่กล่าวไม่ได้ว่า วิปปยุตจากกิเลสแต่เป็นอารมณ์ของกิเลส หรือวิปปยุตจาก
กิเลสและไม่เป็นอารมณ์ของกิเลสก็มี

๑๓. ปิฏฐิทุกวิสัชนา
ธาตุ ๑๖ ไม่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรค ธาตุ ๒ ที่ต้องประหาณด้วย
โสดาปัตติมรรคก็มี ที่ไม่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคก็มี
ธาตุ ๑๖ ไม่ต้องประหาณด้วยมรรคเบื้องบน ๓ ธาตุ ๒ ที่ต้องประหาณด้วย
มรรคเบื้องบน ๓ ก็มี ที่ไม่ต้องประหาณด้วยมรรคเบื้องบน ๓ ก็มี
ธาตุ ๑๖ ไม่มีเหตุต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรค ธาตุ ๒ ที่มีเหตุต้อง
ประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคก็มี ที่ไม่มีเหตุต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคก็มี
ธาตุ ๑๖ ไม่มีเหตุต้องประหาณด้วยมรรคเบื้องบน ๓ ธาตุ ๒ ที่มีเหตุต้อง
ประหาณด้วยมรรคเบื้องบน ๓ ก็มี ที่ไม่มีเหตุต้องประหาณด้วยมรรคเบื้องบน ๓
ก็มี
ธาตุ ๑๕ ไม่มีวิตก มโนธาตุมีวิตก ธาตุ ๒ ที่มีวิตกก็มี ที่ไม่มีวิตกก็มี
ธาตุ ๑๕ ไม่มีวิจาร มโนธาตุมีวิจาร ธาตุ ๒ ที่มีวิจารก็มี ที่ไม่มีวิจารก็มี
ธาตุ ๑๖ ไม่มีปีติ ธาตุ ๒ ที่มีปีติก็มี ที่ไม่มีปีติก็มี
ธาตุ ๑๖ ไม่สหรคตด้วยปีติ ธาตุ ๒ ที่สหรคตด้วยปีติก็มี ที่ไม่สหรคตด้วย
ปีติก็มี
ธาตุ ๑๕ ไม่สหรคตด้วยสุข ธาตุ ๓ ที่สหรคตด้วยสุขก็มี ที่ไม่สหรคตด้วย
สุขก็มี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๑๖๑ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๓.ธาตุวิภังค์] ๓.ปัญหาปุจฉกะ ๒.ทุกมาติกาวิสัชนา
ธาตุ ๑๑ ไม่สหรคตด้วยอุเบกขา ธาตุ ๕ สหรคตด้วยอุเบกขา ธาตุ ๒
ที่สหรคตด้วยอุเบกขาก็มี ที่ไม่สหรคตด้วยอุเบกขาก็มี
ธาตุ ๑๖ เป็นกามาวจร ธาตุ ๒ ที่เป็นกามาวจรก็มี ที่ไม่เป็นกามาวจรก็มี
ธาตุ ๑๖ ไม่เป็นรูปาวจร ธาตุ ๒ ที่เป็นรูปาวจรก็มี ที่ไม่เป็นรูปาวจรก็มี
ธาตุ ๑๖ ไม่เป็นอรูปาวจร ธาตุ ๒ ที่เป็นอรูปาวจรก็มี ที่ไม่เป็นอรูปาวจรก็มี
ธาตุ ๑๖ นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ ธาตุ ๒ ที่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ก็มี ที่ไม่นับเนื่อง
ในวัฏฏทุกข์ก็มี
ธาตุ ๑๖ ไม่เป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ ธาตุ ๒ ที่เป็นเหตุนำออกจาก
วัฏฏทุกข์ก็มี ที่ไม่เป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ก็มี
ธาตุ ๑๖ ให้ผลไม่แน่นอน ธาตุ ๒ ที่ให้ผลแน่นอนก็มี ที่ให้ผลไม่แน่นอนก็มี
ธาตุ ๑๖ มีธรรมอื่นยิ่งกว่า ธาตุ ๒ ที่มีธรรมอื่นยิ่งกว่าก็มี ที่ไม่มีธรรมอื่นยิ่ง
กว่าก็มี
ธาตุ ๑๖ ไม่เป็นเหตุให้สัตว์ร้องไห้ ธาตุ ๒ ที่เป็นเหตุให้สัตว์ร้องไห้ก็มี ที่ไม่
เป็นเหตุให้สัตว์ร้องไห้ก็มี (๑๓)

ปัญหาปุจฉกะ จบ

ธาตุวิภังค์ จบบริบูรณ์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๑๖๒ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [ ๔. สัจจวิภังค์] ๑. สุตตันตภาชนีย์
๔. สัจจวิภังค์
๑. สุตตันตภาชนีย์
[๑๘๙] อริยสัจ๑ ๔ คือ
๑. ทุกขอริยสัจ (อริยสัจคือทุกข์)
๒. ทุกขสมุทยอริยสัจ (อริยสัจคือเหตุเกิดแห่งทุกข์)
๓. ทุกขนิโรธอริยสัจ (อริยสัจคือความดับทุกข์)
๔. ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ (อริยสัจคือข้อปฏิบัติให้ถึงความ
ดับทุกข์)

๑. ทุกขสัจ
[๑๙๐] บรรดาอริยสัจ ๔ นั้น ทุกขอริยสัจ เป็นไฉน
ชาติเป็นทุกข์ ชราเป็นทุกข์ มรณะเป็นทุกข์ โสกะ ปริเทวะ ทุกขะ โทมนัส
อุปายาสเป็นทุกข์ การประสบกับอารมณ์อันไม่เป็นที่รักเป็นทุกข์ ความพลัดพราก
จากอารมณ์อันเป็นที่รักเป็นทุกข์ การไม่ได้สิ่งที่ต้องการเป็นทุกข์ โดยย่อ อุปาทาน-
ขันธ์๒ ๕ เป็นทุกข์๓
[๑๙๑] บรรดาทุกขอริยสัจนั้น ชาติ เป็นไฉน
ความเกิด ความเกิดพร้อม ความหยั่งลง ความบังเกิดเฉพาะ ความปรากฏ
แห่งขันธ์ ความได้อายตนะ ในหมู่สัตว์นั้น ๆ ของเหล่าสัตว์นั้น ๆ นี้เรียกว่า ชาติ๔

เชิงอรรถ :
๑ ความจริงของพระอริยะ, ความจริงที่ทำให้ผู้เข้าถึงกลายเป็นพระอริยะ, สัจจะที่พระอริยะพึงรู้ (วิภงฺคมูลฏี.
๑๘๙/๕๘)
๒ อภิธัมมัตถวิ. ๒๒๗
๓ วิ.ม. ๔/๑๔/๑๔, ม.มู. ๑๒/๙๑/๖๖, ม.อุ. ๑๔/๓๗๓/๓๑๗, ขุ.ป. ๓๑/๓๓/๓๘, อภิ.วิ.อ. ๑๙๐/๑๐๐
๔ ที.ม. ๑๐/๓๘๗/๒๖๑, ม.มู. ๑๒/๙๓/๖๗, ม.อุ. ๑๔/๓๗๓/๓๑๗, สํ.นิ. ๑๖/๒/๓, ขุ.ป. ๓๑/๓๓/๓๙,
อภิ.วิ. ๓๕/๒๓๕/๑๖๓

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๑๖๓ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๔.สัจจวิภังค์] ๑.สุตตันตภาชนีย์ ๑.ทุกขสัจ
[๑๙๒] ชรา เป็นไฉน
ความแก่ ความคร่ำคร่า ความมีฟันหลุด ความมีผมหงอก ความมีหนังเหี่ยว
ย่น ความเสื่อมอายุ ความแก่หง่อมแห่งอินทรีย์ ในหมู่สัตว์นั้น ๆ ของเหล่าสัตว์
นั้น ๆ นี้เรียกว่า ชรา๑
[๑๙๓] มรณะ เป็นไฉน
ความจุติ ความเคลื่อนไป ความทำลายไป ความหายไป ความตายกล่าวคือ
มฤตยู การทำกาละ ความแตกแห่งขันธ์ ความทอดทิ้งร่างกาย ความขาดสูญแห่ง
ชีวิตินทรีย์ ของเหล่าสัตว์นั้น ๆ จากหมู่สัตว์นั้น ๆ นี้เรียกว่า มรณะ๒
[๑๙๔] โสกะ เป็นไฉน
ความเศร้าโศก กิริยาที่เศร้าโศก ภาวะที่เศร้าโศก ความแห้งผากภายใน
ความแห้งกรอบภายใน ความเกรียมใจ ความโทมนัส ลูกศรคือความโศก ของผู้ที่
ถูกความเสื่อมญาติ ความเสื่อมโภคทรัพย์ ความเสื่อมเกี่ยวด้วยโรค ความเสื่อมศีล
หรือความเสื่อมทิฏฐิกระทบ ของผู้ประกอบด้วยความเสื่อมอย่างใดอย่างหนึ่ง
(หรือ)ผู้ที่ถูกเหตุแห่งทุกข์อย่างใดอย่างหนึ่งกระทบ นี้เรียกว่า โสกะ๓
[๑๙๕] ปริเทวะ เป็นไฉน
ความร้องไห้ ความคร่ำครวญ กิริยาที่ร้องไห้ กิริยาที่คร่ำครวญ ภาวะที่ร้องไห้
ภาวะที่คร่ำครวญ ความบ่นถึง ความพร่ำเพ้อ ความร่ำไห้ ความพิไรรำพัน กิริยาที่
พิไรรำพัน ภาวะที่พิไรรำพัน ของผู้ที่ถูกความเสื่อมญาติ ความเสื่อมโภคทรัพย์
ความเสื่อมเกี่ยวด้วยโรค ความเสื่อมศีล หรือความเสื่อมทิฏฐิกระทบ ของผู้ที่
ประกอบด้วยความเสื่อมอย่างใดอย่างหนึ่ง (หรือ)ผู้ที่ถูกเหตุแห่งทุกข์อย่างใดอย่าง
หนึ่งกระทบ นี้เรียกว่า ปริเทวะ๔

เชิงอรรถ :
๑ ที.ม. ๑๐/๓๘๙/๒๖๐, ม.มู.๑๒/๙๒/๖๖-๗, ม.อุ. ๑๔/๓๗๓/๓๑๗, สํ.นิ. ๑๖/๒/๓,๒๗/๔๑,๒๘/๔๒,๓๓/๕๕,
ขุ.ป. ๓๑/๓๓/๓๙, อภิ.วิ. ๓๕/๒๓๖/๑๖๓.
๒ ที.ม. ๑๐/๓๙๐/๒๖๐, ม.มู. ๑๒/๙๒/๖๗, ม.อุ.๑๔/๓๗๓/๓๑๘, สํ.นิ. ๑๖/๒/๓,๒๗/๔๑,๒๘/๔๒,๓๓/๕๕,
ขุ.ม. ๒๙/๔๑/๑๐๒, ขุ.ป.๓๑/๓๓/๓๙, อภิ.วิ. ๓๕/๒๓๖/๑๖๔
๓ ขุ.ม. ๒๙/๔๔/๑๐๖,๙๗/๒๑๐, ขุ.จู. ๓๐/๒๑/๗๖, ขุ.ป. ๓๑/๓๓/๓๙, อภิ.วิ. ๓๕/๒๓๗/๑๖๔
๔ ขุ.ม. ๒๙/๔๔/๑๐๖,๙๗/๒๑๐, ขุ.จู. ๓๐/๒๑/๗๖, ขุ.ป. ๓๑/๓๓/๓๙, อภิ.วิ. ๓๕/๒๓๘/๑๖๔

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๑๖๔ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๔.สัจจวิภังค์] ๑.สุตตันตภาชนีย์ ๑.ทุกขสัจ
[๑๙๖] ทุกข์ เป็นไฉน
ความไม่สำราญทางกาย ความทุกข์ทางกาย ความเสวยอารมณ์ที่ไม่สำราญ
เป็นทุกข์ อันเกิดแต่กายสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่ไม่สำราญเป็นทุกข์ อันเกิดแต่
กายสัมผัส นี้เรียกว่า ทุกข์๑
[๑๙๗] โทมนัส เป็นไฉน
ความไม่สำราญทางใจ ความทุกข์ทางใจ ความเสวยอารมณ์ที่ไม่สำราญ
เป็นทุกข์ อันเกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่ไม่สำราญเป็นทุกข์ อันเกิดแต่
เจโตสัมผัส นี้เรียกว่า โทมนัส๒
[๑๙๘] อุปายาส เป็นไฉน
ความแค้น ความคับแค้น ภาวะที่แค้น ภาวะที่คับแค้น ของผู้ที่ถูกความ
เสื่อมญาติ ความเสื่อมโภคทรัพย์ ความเสื่อมเกี่ยวด้วยโรค ความเสื่อมศีล หรือ
ความเสื่อมทิฏฐิกระทบ ของผู้ที่ประกอบด้วยความเสื่อมอย่างใดอย่างหนึ่งกระทบ
(หรือ)ผู้ที่ถูกเหตุแห่งทุกข์อย่างใดอย่างหนึ่งกระทบ นี้เรียกว่า อุปายาส๓
[๑๙๙] การประสบกับอารมณ์อันไม่เป็นที่รักเป็นทุกข์ เป็นไฉน
การไปร่วม การมาร่วม การประชุมร่วม การอยู่ร่วมกับอารมณ์อันไม่เป็นที่
ปรารถนา ไม่เป็นที่รักใคร่ ไม่เป็นที่ชอบใจของเขาในโลกนี้ เช่น รูป เสียง กลิ่น รส
โผฏฐัพพะ หรือจากบุคคลผู้ปรารถนาแต่สิ่งที่มิใช่ประโยชน์ ปรารถนาแต่สิ่งที่ไม่
เกื้อกูล ปรารถนาแต่สิ่งที่ไม่ผาสุก ไม่ปรารถนาความหลุดพ้นจากโยคะ๔ ของเขา
นี้เรียกว่า การประสบกับอารมณ์อันไม่เป็นที่รักเป็นทุกข์๕
[๒๐๐] การพลัดพรากจากอารมณ์อันเป็นที่รักเป็นทุกข์ เป็นไฉน
การไม่ไปร่วม การไม่มาร่วม การไม่ประชุมร่วม การไม่อยู่ร่วมกับอารมณ์อัน
เป็นที่ปรารถนาเป็นที่รักใคร่ชอบใจของเขาในโลกนี้ เช่น รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ

เชิงอรรถ :
๑ ขุ.ป. ๓๑/๓๓/๓๙, อภิ.สงฺ. ๓๔/๕๕๙/๑๕๘, อภิ.วิ. ๓๕/๒๓๙/๑๖๔
๒ ขุ.ป. ๓๑/๓๓/๓๙, อภิ.สงฺ. ๓๔/๔๑๗/๑๑๖, อภิ.วิ. ๓๕/๒๔๐/๑๖๔
๓ ขุ.ป. ๓๑/๓๓/๓๙-๔๐, อภิ.วิ. ๓๕/๒๔๑/๑๖๕
๔ ดู โยคะ ๔ ข้อ ๙๓๘ หน้า ๕๘๘ ในเล่มนี้
๕ ขุ.ป. ๓๑/๓๓/๔๐, อภิ.วิ. ๓๕/๒๔๑/๑๖๕

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๑๖๕ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๔.สัจจวิภังค์] ๑.สุตตันตภาชนีย์ ๑.ทุกขสัจ
หรือจากบุคคลผู้ที่มุ่งประโยชน์ มุ่งความเกื้อกูล มุ่งความผาสุก มุ่งความเกษมจาก
โยคะของเขา เช่น มารดา บิดา พี่ชาย น้องชาย พี่หญิง น้องหญิง มิตร อำมาตย์
ญาติ หรือสายโลหิต นี้เรียกว่า การพลัดพรากจากอารมณ์อันเป็นที่รักเป็นทุกข์๑
[๒๐๑] การไม่ได้สิ่งที่ต้องการเป็นทุกข์ เป็นไฉน
เหล่าสัตว์ผู้มีความเกิดเป็นธรรมดา เกิดความปรารถนาขึ้นอย่างนี้ว่า ไฉนหนอ
ขอเราอย่าได้มีความเกิดเป็นธรรมดา หรือขอความเกิดอย่าได้มาถึงเราเลยนะ ข้อนี้
ไม่พึงสำเร็จได้ตามความปรารถนา นี้เรียกว่า การไม่ได้สิ่งที่ต้องการเป็นทุกข์
เหล่าสัตว์ผู้มีความแก่เป็นธรรมดา ฯลฯ เหล่าสัตว์ผู้มีความเจ็บเป็นธรรมดา
ฯลฯ เหล่าสัตว์ผู้มีความตายเป็นธรรมดา ฯลฯ เหล่าสัตว์ผู้มีความเศร้าโศก
ความพิไรรำพัน ความทุกข์ ความโทมนัส และความคับแค้นเป็นธรรมดา ต่างก็เกิด
ความปรารถนาขึ้นอย่างนี้ว่า ไฉนหนอ ขอเราอย่าได้เป็นผู้มีความเศร้าโศก ความ
พิไรรำพัน ความทุกข์ ความโทมนัส และความคับแค้นเป็นธรรมดาเลย ขอ
ความเศร้าโศก ความพิไรรำพัน ความทุกข์ ความโทมนัส และความคับแค้น อย่า
ได้มาถึงเราเลยนะ ข้อนี้ไม่พึงสำเร็จได้ตามความต้องการ นี้เรียกว่า การไม่ได้สิ่งที่
ต้องการเป็นทุกข์๒
[๒๐๒] โดยย่อ อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์ เป็นไฉน
รูปูปาทานขันธ์ (กองรูปที่เป็นอารมณ์ของอุปาทาน) เวทนูปาทานขันธ์ (กอง
เวทนาที่เป็นอารมณ์ของอุปาทาน) สัญญูปาทานขันธ์ (กองสัญญาที่เป็นอารมณ์
ของอุปาทาน) สังขารูปาทานขันธ์ (กองสังขารที่เป็นอารมณ์ของอุปาทาน) และ
วิญญาณูปาทานขันธ์ (กองวิญญาณที่เป็นอารมณ์ของอุปาทาน) เหล่านี้เรียกว่า
โดยย่อ อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์๓
นี้เรียกว่า ทุกขอริยสัจ

เชิงอรรถ :
๑ ขุ.ป. ๓๑/๓๓/๔๐
๒ ม.อุ. ๑๔/๓๗๓/๓๑๘, ขุ.ป. ๓๑/๓๓/๔๐
๓ ม.อุ. ๑๔/๓๗๓/๓๑๘, ขุ.ป. ๓๑/๓๓/๔๐-๑

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๑๖๖ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๔.สัจจวิภังค์] ๑.สุตตันตภาชนีย์ ๒.สมุทยสัจ
๒. สมุทยสัจ
[๒๐๓] ทุกขสมุทยอริยสัจ เป็นไฉน
ตัณหานี้เป็นเหตุเกิดในภพใหม่ สหรคตด้วยความกำหนัดยินดี เป็นเหตุ
เพลิดเพลินในอารมณ์นั้น ๆ คือ กามตัณหา ภวตัณหา และวิภวตัณหา
ก็ตัณหานี้แหละเมื่อเกิด เกิดที่ไหน เมื่อตั้งอยู่ ตั้งอยู่ที่ไหน
ปิยรูปสาตรูป๑ เป็นสภาวะที่มีอยู่ในโลก ตัณหานี้เมื่อเกิด ก็เกิดที่ปิยรูป-
สาตรูปนี้ เมื่อตั้งอยู่ ก็ตั้งอยู่ที่ปิยรูปสาตรูปนี้
ก็อะไรเป็นปิยรูปสาตรูปในโลก
จักษุเป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้เมื่อเกิด ก็เกิดที่จักษุนี้ เมื่อตั้งอยู่ ก็ตั้ง
อยู่ที่จักษุนี้ โสตะ ฯลฯ ในโลก ฆานะ ... ในโลก ชิวหา ... ในโลก กาย ... ในโลก
มโนเป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้เมื่อเกิด ก็เกิดที่มโนนี้ เมื่อตั้งอยู่ ก็ตั้งอยู่ที่
มโนนี้
รูปเป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้เมื่อเกิด ก็เกิดที่รูปนี้ เมื่อตั้งอยู่ ก็ตั้งอยู่ที่
รูปนี้ เสียง ฯลฯ ในโลก กลิ่น ... ในโลก รส ... ในโลก โผฏฐัพพะ ... ในโลก
ธรรมเป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้เมื่อเกิด ก็เกิดที่ธรรมนี้ เมื่อตั้งอยู่ ก็ตั้งอยู่
ที่ธรรมนี้
จักขุวิญญาณเป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้เมื่อเกิด ก็เกิดที่จักขุวิญญาณ
นี้ เมื่อตั้งอยู่ ก็ตั้งอยู่ที่จักขุวิญญาณนี้ โสตวิญญาณ ฯลฯ ในโลก ฆานวิญญาณ ...
ในโลก ชิวหาวิญญาณ ... ในโลก กายวิญญาณ ... ในโลก มโนวิญญาณเป็น
ปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้เมื่อเกิด ก็เกิดที่มโนวิญญาณนี้ เมื่อตั้งอยู่ ก็ตั้งอยู่ที่
มโนวิญญาณนี้
จักขุสัมผัสเป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้เมื่อเกิด ก็เกิดที่จักขุสัมผัสนี้
เมื่อตั้งอยู่ ก็ตั้งอยู่ที่จักขุสัมผัสนี้ โสตสัมผัส ฯลฯ ในโลก ฆานสัมผัส ... ในโลก

เชิงอรรถ :
๑ ปิยรูปสาตรูป สภาวะที่น่ารักน่าชื่นใจ ส่วนที่เป็นอิฏฐารมณ์ซึ่งเป็นเหตุให้เกิดตัณหา (อภิ.วิ.อ. ๒๐๓/๑๑๙)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๑๖๗ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๔.สัจจวิภังค์] ๑.สุตตันตภาชนีย์ ๒.สมุทยสัจ
ชิวหาสัมผัส ... ในโลก กายสัมผัส ... ในโลก มโนสัมผัสเป็นปิยรูปสาตรูปในโลก
ตัณหานี้เมื่อเกิด ก็เกิดที่มโนสัมผัสนี้ เมื่อตั้งอยู่ ก็ตั้งอยู่ที่มโนสัมผัสนี้
เวทนาที่เกิดแต่จักขุสัมผัสเป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้เมื่อเกิด ก็เกิด
ที่เวทนาที่เกิดแต่จักขุสัมผัสนี้ เมื่อตั้งอยู่ ก็ตั้งอยู่ที่เวทนาที่เกิดแต่จักขุสัมผัสนี้
เวทนาที่เกิดแต่โสตสัมผัส ฯลฯ ในโลก เวทนาที่เกิดแต่ฆานสัมผัส ... ในโลก
เวทนาที่เกิดแต่ชิวหาสัมผัส... ในโลก เวทนาที่เกิดแต่กายสัมผัส ... ในโลก เวทนา
ที่เกิดแต่มโนสัมผัสเป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้เมื่อเกิด ก็เกิดที่เวทนาที่เกิด
แต่มโนสัมผัสนี้ เมื่อตั้งอยู่ ก็ตั้งอยู่ที่เวทนาที่เกิดแต่มโนสัมผัสนี้
รูปสัญญา (ความหมายรู้รูป) เป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้เมื่อเกิด ก็เกิด
ที่รูปสัญญานี้ เมื่อตั้งอยู่ ก็ตั้งอยู่ที่รูปสัญญานี้ สัททสัญญา ฯลฯ ในโลก คันธ-
สัญญา ... ในโลก รสสัญญา ... ในโลก โผฏฐัพพสัญญา ... ในโลก ธัมมสัญญาเป็น
ปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้เมื่อเกิด ก็เกิดที่ธัมมสัญญานี้ เมื่อตั้งอยู่ ก็ตั้งอยู่ที่
ธัมมสัญญานี้
รูปสัญเจตนา (ความคิดอ่านในรูป) เป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้เมื่อเกิด
ก็เกิดที่รูปสัญเจตนานี้ เมื่อตั้งอยู่ ก็ตั้งอยู่ที่รูปสัญเจตนานี้ สัททสัญเจตนา ฯลฯ
ในโลก คันธสัญเจตนา ... ในโลก รสสัญเจตนา ...ในโลก โผฏฐัพพสัญเจตนา ... ในโลก
ธัมมสัญเจตนาเป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้เมื่อเกิด ก็เกิดที่ธัมมสัญเจตนานี้
เมื่อตั้งอยู่ ก็ตั้งอยู่ที่ธัมมสัญเจตนานี้
รูปตัณหา (ความติดใจในรูป) เป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้เมื่อเกิด ก็เกิด
ที่รูปตัณหานี้ เมื่อตั้งอยู่ ก็ตั้งอยู่ที่รูปตัณหานี้ สัททตัณหา ฯลฯ ในโลก คันธ-
ตัณหา ... ในโลก รสตัณหา ... ในโลก โผฏฐัพพตัณหา ... ในโลก ธัมมตัณหาเป็น
ปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้เมื่อเกิด ก็เกิดที่ธัมมตัณหานี้ เมื่อตั้งอยู่ ก็ตั้งอยู่ที่
ธัมมตัณหานี้
รูปวิตก (ความตรึกถึงรูป) เป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้เมื่อเกิด ก็เกิดที่
รูปวิตกนี้ เมื่อตั้งอยู่ ก็ตั้งอยู่ที่รูปวิตกนี้ สัททวิตก ฯลฯ ในโลก คันธวิตก ... ในโลก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๑๖๘ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๔.สัจจวิภังค์] ๑.สุตตันตภาชนีย์ ๓.นิโรธสัจ
รสวิตก ... ในโลก โผฏฐัพพวิตก ... ในโลก ธัมมวิตก เป็นปิยรูปสาตรูปในโลก
ตัณหานี้เมื่อเกิด ก็เกิดที่ธัมมวิตกนี้ เมื่อตั้งอยู่ ก็ตั้งอยู่ที่ธัมมวิตกนี้
รูปวิจาร (ความตรองถึงรูป) เป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้เมื่อเกิด ก็เกิด
ที่รูปวิจารนี้ เมื่อตั้งอยู่ ก็ตั้งอยู่ที่รูปวิจารนี้ สัททวิจาร ฯลฯ ในโลก คันธวิจาร ...
ในโลก รสวิจาร ... ในโลก โผฏฐัพพวิจาร ... ในโลก ธัมมวิจารเป็นปิยรูปสาตรูป
ในโลก ตัณหานี้เมื่อเกิด ก็เกิดที่ธัมมวิจารนี้ เมื่อตั้งอยู่ ก็ตั้งอยู่ที่ธัมมวิจารนี้๑
นี้เรียกว่า ทุกขสมุทยอริยสัจ

๓. นิโรธสัจ
[๒๐๔] ทุกขนิโรธอริยสัจ เป็นไฉน
ความสำรอกและความดับตัณหานั้นนั่นแลโดยไม่เหลือ ความปล่อยวาง ความ
ส่งคืน ความพ้น ความไม่ติดอยู่
ก็ตัณหานี้เมื่อละ ละที่ไหน เมื่อดับ ดับที่ไหน
ปิยรูปสาตรูปใดมีอยู่ในโลก ตัณหานี้เมื่อละ ก็ละที่ปิยรูปสาตรูปนี้ เมื่อดับ ก็
ดับที่ปิยรูปสาตรูปนี้
ก็อะไรเป็นปิยรูปสาตรูปในโลก
จักษุเป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้เมื่อละ ก็ละที่จักษุนี้ เมื่อดับก็ดับที่
จักษุนี้ โสตะ ฯลฯ ในโลก ฆานะ ... ในโลก ชิวหา ... ในโลก กาย ... ในโลก
มโนเป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้เมื่อละ ก็ละที่มโนนี้ เมื่อดับ ก็ดับที่มโนนี้
รูปเป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้เมื่อละ ก็ละที่รูปนี้ เมื่อดับก็ดับที่รูปนี้
เสียง ฯลฯ ในโลก กลิ่น ... ในโลก รส ... ในโลก โผฏฐัพพะ ... ในโลก ธรรม
เป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้ เมื่อละ ก็ละที่ธรรมนี้ เมื่อดับ ก็ดับที่ธรรมนี้

เชิงอรรถ :
๑ ขุ.ป.๓๑/๓๔/๔๑

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๑๖๙ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๔.สัจจวิภังค์] ๑.สุตตันตภาชนีย์ ๓.นิโรธสัจ
จักขุวิญญาณเป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้เมื่อละ ก็ละที่จักขุวิญญาณนี้
เมื่อดับ ก็ดับที่จักขุวิญญาณนี้ โสตวิญญาณ ฯลฯ ในโลก ฆานวิญญาณ ... ในโลก
ชิวหาวิญญาณ ...ในโลก กายวิญญาณ ... ในโลก มโนวิญญาณเป็นปิยรูปสาตรูปใน
โลก ตัณหานี้เมื่อละ ก็ละที่มโนวิญญาณนี้ เมื่อดับ ก็ดับที่มโนวิญญาณนี้
จักขุสัมผัสเป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้เมื่อละ ก็ละที่จักขุสัมผัสนี้ เมื่อ
ดับ ก็ดับที่จักขุสัมผัสนี้ โสตสัมผัส ฯลฯ ในโลก ฆานสัมผัส ...ในโลก ชิวหาสัมผัส
... ในโลก กายสัมผัส ... ในโลก มโนสัมผัสเป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้เมื่อ
ละ ก็ละที่มโนสัมผัสนี้ เมื่อดับ ก็ดับที่มโนสัมผัสนี้
เวทนาที่เกิดแต่จักขุสัมผัสเป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้เมื่อละ ก็ละ
ที่เวทนาที่เกิดแต่จักขุสัมผัสนี้ เมื่อดับ ก็ดับที่เวทนาที่เกิดแต่จักขุสัมผัสนี้ เวทนาที่
เกิดแต่โสตสัมผัส ฯลฯ ในโลก เวทนาที่เกิดแต่ฆานสัมผัส ... ในโลก เวทนาที่เกิด
แต่ชิวหาสัมผัส ... ในโลก เวทนาที่เกิดแต่กายสัมผัส ... ในโลก เวทนาที่เกิดแต่
มโนสัมผัสเป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้เมื่อละ ก็ละที่เวทนาที่เกิดแต่มโนสัมผัสนี้
เมื่อดับ ก็ดับที่เวทนาที่เกิดแต่มโนสัมผัสนี้
รูปสัญญาเป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้เมื่อละ ก็ละที่รูปสัญญานี้ เมื่อ
ดับ ก็ดับที่รูปสัญญานี้ สัททสัญญา ฯลฯ ในโลก คันธสัญญา ... ในโลก รสสัญญา
... ในโลก โผฏฐัพพสัญญา ... ในโลก ธัมมสัญญาเป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหา
นี้เมื่อละ ก็ละที่ธัมมสัญญานี้ เมื่อดับ ก็ดับที่ธัมมสัญญานี้
รูปสัญเจตนาเป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้เมื่อละ ก็ละที่รูปสัญเจตนา
นี้ เมื่อดับ ก็ดับที่รูปสัญเจตนานี้ สัททสัญเจตนา ฯลฯ ในโลก คันธสัญเจตนา ...
ในโลก รสสัญเจตนา ...ในโลก โผฏฐัพพสัญเจตนา ... ในโลก ธัมมสัญเจตนา
เป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้เมื่อละ ก็ละที่ธัมมสัญเจตนานี้ เมื่อดับ ก็ดับที่
ธัมมสัญเจตนานี้
รูปตัณหาเป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้เมื่อละ ก็ละที่รูปตัณหานี้ เมื่อ
ดับ ก็ดับที่รูปตัณหานี้ สัททตัณหา ฯลฯ ในโลก คันธตัณหา ... ในโลก รสตัณหา ...
ในโลก โผฏฐัพพตัณหา ... ในโลก ธัมมตัณหาเป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้
เมื่อละ ก็ละที่ธัมมตัณหานี้ เมื่อดับ ก็ดับที่ธัมมตัณหานี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๑๗๐ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๔.สัจจวิภังค์] ๑.สุตตันตภาชนีย์ ๔.มัคคสัจ
รูปวิตกเป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้เมื่อละ ก็ละที่รูปวิตกนี้ เมื่อดับ
ก็ดับที่รูปวิตกนี้ สัททวิตก ฯลฯ ในโลก คันธวิตก ... ในโลก รสวิตก ... ในโลก
โผฏฐัพพวิตก ... ในโลก ธัมมวิตกเป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้เมื่อละ ก็ละ
ที่ธัมมวิตกนี้ เมื่อดับ ก็ดับที่ธัมมวิตกนี้
รูปวิจารเป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้เมื่อละ ก็ละที่รูปวิจารนี้ เมื่อ
ดับก็ดับที่รูปวิจารนี้ สัททวิจาร ฯลฯ ในโลก คันธวิจาร ... ในโลก รสวิจาร ... ใน
โลก โผฏฐัพพวิจาร ... ในโลก ธัมมวิจารเป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้เมื่อละ
ก็ละที่ธัมมวิจารนี้ เมื่อดับ ก็ดับที่ธัมมวิจารนี้๑
นี้เรียกว่า ทุกขนิโรธอริยสัจ

๔. มัคคสัจ
[๒๐๕] ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ เป็นไฉน
อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้นั่นแล คือ

๑. สัมมาทิฏฐิ (เห็นชอบ) ๒. สัมมาสังกัปปะ (ดำริชอบ)
๓. สัมมาวาจา (เจรจาชอบ) ๔. สัมมากัมมันตะ (กระทำชอบ)
๕. สัมมาอาชีวะ (เลี้ยงชีพชอบ) ๖. สัมมาวายามะ (พยายามชอบ)
๗. สัมมาสติ (ระลึกชอบ) ๘. สัมมาสมาธิ (ตั้งจิตมั่นชอบ)

บรรดาอริยมรรคมีองค์ ๘ นั้น สัมมาทิฏฐิ เป็นไฉน
ความรู้ในทุกข์ (ความทุกข์) ความรู้ในทุกขสมุทัย (เหตุเกิดแห่งทุกข์) ความรู้
ในทุกขนิโรธ (ความดับทุกข์) ความรู้ในทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา (ข้อปฏิบัติให้ถึง
ความดับทุกข์) นี้เรียกว่า สัมมาทิฏฐิ (๑)
สัมมาสังกัปปะ เป็นไฉน
ความดำริในการออกจากกาม ความดำริในการไม่พยาบาท ความดำริในการ
ไม่เบียดเบียน นี้เรียกว่า สัมมาสังกัปปะ (๒)

เชิงอรรถ :
๑ ขุ.ป. ๓๑/๓๔/๔๑

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๑๗๑ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๔.สัจจวิภังค์] ๑.สุตตันตภาชนีย์ ๔.มัคคสัจ
สัมมาวาจา เป็นไฉน
เจตนาเป็นเหตุงดเว้นจากการพูดเท็จ เจตนาเป็นเหตุงดเว้นจากการพูดส่อเสียด
เจตนาเป็นเหตุงดเว้นจากการพูดคำหยาบ เจตนาเป็นเหตุงดเว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ
นี้เรียกว่า สัมมาวาจา (๓)
สัมมากัมมันตะ เป็นไฉน
เจตนาเป็นเหตุงดเว้นจากการฆ่าสัตว์ เจตนาเป็นเหตุงดเว้นจากการลักทรัพย์
เจตนาเป็นเหตุงดเว้นจากการประพฤติผิดในกาม นี้เรียกว่า สัมมากัมมันตะ (๔)
สัมมาอาชีวะ เป็นไฉน
ข้อที่พระอริยสาวกในธรรมวินัยนี้ละมิจฉาอาชีวะแล้ว สำเร็จการเลี้ยงชีพด้วย
สัมมาอาชีวะ นี้เรียกว่า สัมมาอาชีวะ (๕)
สัมมาวายามะ เป็นไฉน
ข้อที่ภิกษุในธรรมวินัยนี้สร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต
มุ่งมั่นเพื่อป้องกันบาปอกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดมิให้เกิดขึ้น ฯลฯ เพื่อละบาปอกุศล-
ธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ เพื่อทำบาปอกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้นมิให้เกิดขึ้น ฯลฯ
สร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่นเพื่อความดำรงอยู่ไม่
เลือนหาย ภิยโยภาพ ไพบูลย์ เจริญเต็มที่แห่งกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว นี้เรียกว่า
สัมมาวายามะ (๖)
สัมมาสติ เป็นไฉน
ข้อที่ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นผู้มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พิจารณา
เห็นกายในกายอยู่ พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้ พิจารณาเห็นเวทนา
ในเวทนาอยู่ ฯลฯ พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ ฯลฯ เป็นผู้มีความเพียร มีสัมปชัญญะ
มีสติ พิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้ นี้เรียกว่า
สัมมาสติ (๗)
สัมมาสมาธิ เป็นไฉน
ข้อที่ภิกษุในธรรมวินัยนี้สงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลาย บรรลุปฐมฌาน
ที่มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขอันเกิดจากวิเวกอยู่ เพราะวิตกวิจารสงบระงับไปแล้ว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๑๗๒ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๔.สัจจวิภังค์] ๒.อภิธรรมภาชนีย์ อัฏฐังคิกวาร
บรรลุทุติยฌานที่มีความผ่องใสภายใน มีภาวะที่จิตเป็นหนึ่งผุดขึ้น ไม่มีวิตกไม่มีวิจาร
มีแต่ปีติและสุขอันเกิดจากสมาธิอยู่ เพราะปีติจางคลายไป มีจิตเป็นอุเบกขา มีสติ มี
สัมปชัญญะอยู่และเสวยสุขด้วยกาย (นามกาย) บรรลุตติยฌานที่พระอริยะทั้งหลาย
กล่าวสรรเสริญว่า ผู้มีอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข เพราะละสุขและทุกข์ได้ เพราะ
โสมนัสและโทมนัสดับไปก่อนแล้ว บรรลุจตุตถฌานที่ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข มีสติบริสุทธิ์
เพราะอุเบกขาอยู่ นี้เรียกว่า สัมมาสมาธิ๑ (๘)
นี้เรียกว่า ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ
สุตตันตภาชนีย์ จบ

๒. อภิธรรมภาชนีย์
อัฏฐังคิกวาร
[๒๐๖] สัจจะ ๔ คือ

๑. ทุกข์ (ทุกข์)
๒. ทุกขสมุทัย (เหตุเกิดแห่งทุกข์)
๓. ทุกขนิโรธ (ความดับทุกข์)
๔. ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา (ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์)

บรรดาสัจจะ ๔ นั้น ทุกขสมุทัย เป็นไฉน
ตัณหา นี้เรียกว่า ทุกขสมุทัย
ทุกข์ เป็นไฉน
กิเลสที่เหลือ สภาวธรรมที่เป็นอกุศลที่เหลือ กุศลมูล ๓ ที่เป็นอารมณ์ของ
อาสวะ สภาวธรรมที่เป็นกุศลที่เหลือซึ่งเป็นอารมณ์ของอาสวะ วิบากแห่งสภาว-
ธรรมที่เป็นกุศลและอกุศลซึ่งเป็นอารมณ์ของอาสวะ สภาวธรรมที่เป็นกิริยา ไม่เป็น
กุศล ไม่เป็นอกุศล ไม่เป็นวิบากแห่งกรรม และรูปทั้งหมด นี้เรียกว่า ทุกข์๒

เชิงอรรถ :
๑ ม.อุ. ๑๔/๓๗๕/๓๑๙, ขุ.ป. ๓๑/๓๖/๔๒, อภิ.วิ. ๓๕/๔๘๗/๒๘๒
๒ ในอภิธรรมภาชนีย์ท่านยกทุกขสมุทัยขึ้นอธิบายก่อน (อภิ.วิ.อ. ๒๐๖-๒๑๔/๑๓๐-๑๓๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๑๗๓ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๔.สัจจวิภังค์] ๒.อภิธรรมภาชนีย์ อัฏฐังคิกวาร
ทุกขนิโรธ เป็นไฉน
การละตัณหาเสียได้ นี้เรียกว่า ทุกขนิโรธ
ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา เป็นไฉน
ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญฌานที่เป็นโลกุตตระซึ่งเป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์
ให้ถึงนิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุ
ปฐมฌานที่เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น มรรคมีองค์ ๘
คือ สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ ก็เกิดขึ้น
บรรดามรรคมีองค์ ๘ นั้น สัมมาทิฏฐิ เป็นไฉน
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลงงมงาย ความเลือกเฟ้นธรรม
สัมมาทิฏฐิ ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์มรรค นับเนื่องในมรรค นี้เรียกว่า
สัมมาทิฏฐิ
สัมมาสังกัปปะ เป็นไฉน
ความตรึก ความตรึกโดยอาการต่าง ๆ ฯลฯ สัมมาสังกัปปะ อันเป็นองค์มรรค
นับเนื่องในมรรค นี้เรียกว่า สัมมาสังกัปปะ
สัมมาวาจา เป็นไฉน
ความงด ความเว้น ความเว้นขาด เจตนาเป็นเหตุเว้นจากวจีทุจริต ๔ การไม่
ทำ การเลิกทำ การไม่ล่วงละเมิด การไม่ล้ำเขต การกำจัดต้นเหตุ(แห่งวจีทุจริต
๔) สัมมาวาจา อันเป็นองค์มรรค นับเนื่องในมรรค นี้เรียกว่า สัมมาวาจา
สัมมากัมมันตะ เป็นไฉน
ความงด ความเว้น ความเว้นขาด เจตนาเป็นเหตุเว้นจากกายทุจริต ๓ การ
ไม่ทำ การเลิกทำ การไม่ล่วงละเมิด การไม่ล้ำเขต การกำจัดต้นเหตุ(แห่งกายทุจริต
๓) สัมมากัมมันตะ อันเป็นองค์มรรค นับเนื่องในมรรค นี้เรียกว่า สัมมากัมมันตะ
สัมมาอาชีวะ เป็นไฉน


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๑๗๔ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๔.สัจจวิภังค์] ๒.อภิธรรมภาชนีย์ อัฏฐังคิกวาร
ความงด ความเว้น ความเว้นขาด เจตนาเป็นเหตุเว้นจากมิจฉาชีพ การไม่
ทำ การเลิกทำ การไม่ล่วงละเมิด การไม่ล้ำเขต การกำจัดต้นเหตุ(แห่งมิจฉาชีพ)
สัมมาอาชีวะ อันเป็นองค์มรรค นับเนื่องในมรรค นี้เรียกว่า สัมมาอาชีวะ
สัมมาวายามะ เป็นไฉน
การปรารภความเพียรทางใจ ฯลฯ สัมมาวายามะ วิริยสัมโพชฌงค์ อันเป็น
องค์มรรค นับเนื่องในมรรค นี้เรียกว่า สัมมาวายามะ
สัมมาสติ เป็นไฉน
สติ ความตามระลึก ฯลฯ สัมมาสติ สติสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์มรรค
นับเนื่องในมรรค นี้เรียกว่า สัมมาสติ
สัมมาสมาธิ เป็นไฉน
ความตั้งอยู่แห่งจิต ความดำรงอยู่ ฯลฯ สัมมาสมาธิ สมาธิสัมโพชฌงค์
อันเป็นองค์มรรค นับเนื่องในมรรค นี้เรียกว่า สัมมาสมาธิ
นี้เรียกว่า ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา สภาวธรรมที่เหลือสัมปยุตด้วยทุกขนิโรธ-
คามินีปฏิปทา
[๒๐๗] ทุกขสมุทัย เป็นไฉน
ตัณหาและกิเลสที่เหลือ นี้เรียกว่า ทุกขสมุทัย
ทุกข์ เป็นไฉน
สภาวธรรมที่เป็นอกุศลที่เหลือ กุศลมูล ๓ ที่เป็นอารมณ์ของอาสวะ สภาวธรรม
ที่เป็นกุศลที่เหลือซึ่งเป็นอารมณ์ของอาสวะ วิบากแห่งสภาวธรรมที่เป็นกุศลและ
อกุศลซึ่งเป็นอารมณ์ของอาสวะ สภาวธรรมที่เป็นกิริยา ไม่เป็นกุศล ไม่เป็นอกุศล
ไม่เป็นวิบากแห่งกรรมและรูปทั้งหมด นี้เรียกว่า ทุกข์
ทุกขนิโรธ เป็นไฉน
การละตัณหาและกิเลสที่เหลือ นี้เรียกว่า ทุกขนิโรธ
ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา เป็นไฉน


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๑๗๕ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๔.สัจจวิภังค์] ๒.อภิธรรมภาชนีย์ อัฏฐังคิกวาร
ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญฌานที่เป็นโลกุตตระซึ่งเป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ให้
ถึงนิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม๑ ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน
ที่เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น มรรคมีองค์ ๘ คือ
สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ ก็เกิดขึ้น นี้เรียกว่า ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา
สภาวธรรมที่เหลือสัมปยุตด้วยทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา
[๒๐๘] ทุกขสมุทัย เป็นไฉน
ตัณหา กิเลสที่เหลือ และสภาวธรรมที่เป็นอกุศลที่เหลือ นี้เรียกว่า ทุกขสมุทัย
ทุกข์ เป็นไฉน
กุศลมูล ๓ ที่เป็นอารมณ์ของอาสวะ สภาวธรรมที่เป็นกุศลที่เหลือซึ่งเป็น
อารมณ์ของอาสวะ วิบากแห่งสภาวธรรมที่เป็นกุศลและอกุศลซึ่งเป็นอารมณ์ของ
อาสวะ สภาวธรรมที่เป็นกิริยา ไม่เป็นกุศล ไม่เป็นอกุศล ไม่เป็นวิบากแห่งกรรม
และรูปทั้งหมด นี้เรียกว่า ทุกข์
ทุกขนิโรธ เป็นไฉน
การละตัณหา ละกิเลสที่เหลือและละสภาวธรรมที่เป็นอกุศลที่เหลือ นี้เรียกว่า
ทุกขนิโรธ
ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา เป็นไฉน
ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญฌานที่เป็นโลกุตตระซึ่งเป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ให้
ถึงนิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน
ที่เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น มรรคมีองค์ ๘ คือ
สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ ก็เกิดขึ้น นี้เรียกว่า ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา
สภาวธรรมที่เหลือสัมปยุตด้วยทุกขนิโรธคามีนีปฏิปทา
[๒๐๙] ทุกขสมุทัย เป็นไฉน
ตัณหา กิเลสที่เหลือ สภาวธรรมที่เป็นอกุศลที่เหลือ กุศลมูล ๓ ที่เป็นอารมณ์
ของอาสวะ นี้เรียกว่า ทุกขสมุทัย

เชิงอรรถ :
๑ ดูความเต็มใน อภิ.สงฺ. ๓๔/๑๖๐/๕๐

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๑๗๖ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๔.สัจจวิภังค์] ๒.อภิธรรมภาชนีย์ อัฏฐังคิกวาร
ทุกข์ เป็นไฉน
สภาวธรรมที่เป็นกุศลที่เหลือซึ่งเป็นอารมณ์ของอาสวะ วิบากแห่งสภาว-
ธรรมที่เป็นกุศลและอกุศลซึ่งเป็นอารมณ์ของอาสวะ สภาวธรรมที่เป็นกิริยา ไม่เป็น
กุศล ไม่เป็นอกุศล ไม่เป็นวิบากแห่งกรรมและรูปทั้งหมด นี้เรียกว่า ทุกข์
ทุกขนิโรธ เป็นไฉน
การละตัณหา ละกิเลสที่เหลือ ละสภาวธรรมที่เป็นอกุศลที่เหลือ และละ
กุศลมูล ๓ ที่เป็นอารมณ์ของอาสวะ นี้เรียกว่า ทุกขนิโรธ
ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา เป็นไฉน
ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญฌานที่เป็นโลกุตตระซึ่งเป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ให้
ถึงนิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน
ที่เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น มรรคมีองค์ ๘ คือ
สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ ก็เกิดขึ้น นี้เรียกว่า ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา
สภาวธรรมที่เหลือสัมปยุตด้วยทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา
[๒๑๐] ทุกขสมุทัย เป็นไฉน
ตัณหา กิเลสที่เหลือ สภาวธรรมที่เป็นอกุศลที่เหลือ กุศลมูล ๓ ที่เป็นอารมณ์
ของอาสวะและสภาวธรรมที่เป็นกุศลที่เหลือ ซึ่งเป็นอารมณ์ของอาสวะ นี้เรียกว่า
ทุกขสมุทัย
ทุกข์ เป็นไฉน
วิบากแห่งสภาวธรรมที่เป็นกุศลและอกุศล ซึ่งเป็นอารมณ์ของอาสวะ สภาว-
ธรรมที่เป็นกิริยา ไม่เป็นกุศล ไม่เป็นอกุศล ไม่เป็นวิบากแห่งกรรมและรูปทั้งหมด
นี้เรียกว่า ทุกข์
ทุกขนิโรธ เป็นไฉน
การละตัณหา ละกิเลสที่เหลือ ละสภาวธรรมที่เป็นอกุศลที่เหลือ ละกุศลมูล ๓
ที่เป็นอารมณ์ของอาสวะ และละสภาวธรรมที่เป็นกุศลที่เหลือซึ่งเป็นอารมณ์ของ
อาสวะ นี้เรียกว่า ทุกขนิโรธ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๑๗๗ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๔.สัจจวิภังค์] ๒.อภิธรรมภาชนีย์ ปัญจังคิกวาร
ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา เป็นไฉน
ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญฌานที่เป็นโลกุตตระซึ่งเป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ให้
ถึงนิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌานที่
เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น มรรคมีองค์ ๘ คือ
สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ ก็เกิดขึ้น นี้เรียกว่า ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา
สภาวธรรมที่เหลือสัมปยุตด้วยทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา

ปัญจังคิกวาร
[๒๑๑] สัจจะ ๔ คือ

๑. ทุกข์ (ทุกข์)
๒. ทุกขสมุทัย (เหตุเกิดแห่งทุกข์)
๓. ทุกขนิโรธ (ความดับทุกข์)
๔. ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา (ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์)

บรรดาสัจจะ ๔ นั้น ทุกขสมุทัย เป็นไฉน
ตัณหา นี้เรียกว่า ทุกขสมุทัย
ทุกข์ เป็นไฉน
กิเลสที่เหลือ สภาวธรรมที่เป็นอกุศลที่เหลือ กุศลมูล ๓ ที่เป็นอารมณ์ของ
อาสวะ สภาวธรรมที่เป็นกุศลที่เหลือซึ่งเป็นอารมณ์ของอาสวะ วิบากแห่งสภาวธรรม
ที่เป็นกุศลและอกุศลซึ่งเป็นอารมณ์ของอาสวะ สภาวธรรมที่เป็นกิริยา ไม่เป็นกุศล
ไม่เป็นอกุศล ไม่เป็นวิบากแห่งกรรมและรูปทั้งหมด นี้เรียกว่า ทุกข์
ทุกขนิโรธ เป็นไฉน
การละตัณหาเสียได้ นี้เรียกว่า ทุกขนิโรธ
ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา เป็นไฉน
ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญฌานที่เป็นโลกุตตระซึ่งเป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ให้
ถึงนิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๑๗๘ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๔.สัจจวิภังค์] ๒.อภิธรรมภาชนีย์ ปัญจังคิกวาร
ที่เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น มรรคมีองค์ ๕ คือ
สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ และสัมมาสมาธิ ก็เกิดขึ้น
สัมมาทิฏฐิ เป็นไฉน
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลงงมงาย ความเลือกเฟ้นธรรม สัมมา-
ทิฏฐิ ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์มรรค นับเนื่องในมรรค นี้เรียกว่า สัมมาทิฏฐิ
สัมมาสังกัปปะ เป็นไฉน
ความตรึก ความตรึกโดยอาการต่าง ๆ ความดำริ ฯลฯ สัมมาสังกัปปะ
อันเป็นองค์มรรค นับเนื่องในมรรค นี้เรียกว่า สัมมาสังกัปปะ
สัมมาวายามะ เป็นไฉน
การปรารภความเพียรทางใจ ฯลฯ สัมมาวายามะ วิริยสัมโพชฌงค์ อันเป็น
องค์มรรค นับเนื่องในมรรค นี้เรียกว่า สัมมาวายามะ
สัมมาสติ เป็นไฉน
สติ ความตามระลึก ฯลฯ สัมมาสติ สติสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์มรรค นับ
เนื่องในมรรค นี้เรียกว่า สัมมาสติ
สัมมาสมาธิ เป็นไฉน
ความตั้งอยู่แห่งจิต ฯลฯ สัมมาสมาธิ สมาธิสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์มรรค
นับเนื่องในมรรค นี้เรียกว่า สัมมาสมาธิ
นี้เรียกว่า ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา สภาวธรรมที่เหลือสัมปยุตด้วยทุกขนิโรธ-
คามินีปฏิปทา
[๒๑๒] บรรดาสัจจะ ๔ นั้น ทุกขสมุทัย เป็นไฉน
ตัณหา กิเลสที่เหลือ สภาวธรรมที่เป็นอกุศลที่เหลือ กุศลมูล ๓ ที่เป็นอารมณ์
ของอาสวะ และสภาวธรรมที่เป็นกุศลที่เหลือซึ่งเป็นอารมณ์ของอาสวะ นี้เรียกว่า
ทุกขสมุทัย
ทุกข์ เป็นไฉน


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๑๗๙ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๔.สัจจวิภังค์] ๒.อภิธรรมภาชนีย์ สัพพสังคาหิกวาร
วิบากแห่งสภาวธรรมที่เป็นกุศลและอกุศลซึ่งเป็นอารมณ์ของอาสวะ สภาว-
ธรรมที่เป็นกิริยา ไม่เป็นกุศล ไม่เป็นอกุศล ไม่เป็นวิบากแห่งกรรมและรูปทั้งหมด
นี้เรียกว่า ทุกข์
ทุกขนิโรธ เป็นไฉน
การละตัณหา ละกิเลสที่เหลือ ละสภาวธรรมที่เป็นอกุศลที่เหลือ ละกุศลมูล ๓
ที่เป็นอารมณ์ของอาสวะ และละสภาวธรรมที่เป็นกุศลที่เหลือซึ่งเป็นอารมณ์ของ
อาสวะ นี้เรียกว่า ทุกขนิโรธ
ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา เป็นไฉน
ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญฌานที่เป็นโลกุตตระซึ่งเป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ให้
ถึงนิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌานที่
เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น มรรคมีองค์ ๕ คือ สัมมา-
ทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ และสัมมาสมาธิ ก็เกิดขึ้น นี้เรียกว่า
ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา สภาวธรรมที่เหลือสัมปยุตด้วยทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา

สัพพสังคาหิกวาร
[๒๑๓] สัจจะ ๔ คือ

๑. ทุกข์ (ทุกข์)
๒. ทุกขสมุทัย (เหตุเกิดแห่งทุกข์)
๓. ทุกขนิโรธ (ความดับทุกข์)
๔. ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา (ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์)

บรรดาสัจจะ ๔ นั้น ทุกขสมุทัย เป็นไฉน
ตัณหา นี้เรียกว่า ทุกขสมุทัย
ทุกข์ เป็นไฉน
กิเลสที่เหลือ สภาวธรรมที่เป็นอกุศลที่เหลือ กุศลมูล ๓ ที่เป็นอารมณ์ของ
อาสวะ สภาวธรรมที่เป็นกุศลที่เหลือซึ่งเป็นอารมณ์ของอาสวะ วิบากแห่งสภาวธรรม
ที่เป็นกุศลและอกุศลซึ่งเป็นอารมณ์ของอาสวะ สภาวธรรมที่เป็นกิริยา ไม่เป็นกุศล
ไม่เป็นอกุศล ไม่เป็นวิบากแห่งกรรมและรูปทั้งหมด นี้เรียกว่า ทุกข์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๑๘๐ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๔.สัจจวิภังค์] ๒.อภิธรรมภาชนีย์ สัพพสังคาหิกวาร
ทุกขนิโรธ เป็นไฉน
การละตัณหาเสียได้ นี้เรียกว่า ทุกขนิโรธ
ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา เป็นไฉน
ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญฌานที่เป็นโลกุตตระซึ่งเป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ให้
ถึงนิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน
ที่เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ
ก็เกิดขึ้น นี้เรียกว่า ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา
[๒๑๔] ทุกขสมุทัย เป็นไฉน
ตัณหา กิเลสที่เหลือ สภาวธรรมที่เป็นอกุศลที่เหลือ กุศลมูล ๓ ที่เป็นอารมณ์
ของอาสวะ และสภาวธรรมที่เป็นกุศลที่เหลือซึ่งเป็นอารมณ์ของอาสวะ นี้เรียกว่า
ทุกขสมุทัย
ทุกข์ เป็นไฉน
วิบากแห่งสภาวธรรมที่เป็นกุศลและอกุศลซึ่งเป็นอารมณ์ของอาสวะ สภาว-�
ธรรมที่เป็นกิริยา ไม่เป็นกุศล ไม่เป็นอกุศล ไม่เป็นวิบากแห่งกรรมและรูปทั้งหมด
นี้เรียกว่า ทุกข์
ทุกขนิโรธ เป็นไฉน
การละตัณหา ละกิเลสที่เหลือ ละสภาวธรรมที่เป็นอกุศลที่เหลือ ละกุศลมูล ๓
ที่เป็นอารมณ์ของอาสวะ และละสภาวธรรมที่เป็นกุศลที่เหลือซึ่งเป็นอารมณ์ของอาสวะ
นี้เรียกว่า ทุกขนิโรธ
ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา เป็นไฉน
ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญฌานที่เป็นโลกุตตระซึ่งเป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ให้
ถึงนิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน
ที่เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ
ก็เกิดขึ้น นี้เรียกว่า ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา
อภิธรรมภาชนีย์ จบ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๑๘๑ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๔.สัจจวิภังค์] ๓.ปัญหาปุจฉกะ ๑.ติกมาติกาวิสัชนา
๓. ปัญหาปุจฉกะ
[๒๑๕] อริยสัจ ๔ คือ

๑. ทุกขอริยสัจ (อริยสัจคือทุกข์)
๒. ทุกขสมุทยอริยสัจ (อริยสัจคือเหตุเกิดแห่งทุกข์)
๓. ทุกขนิโรธอริยสัจ (อริยสัจคือความดับทุกข์)
๔. ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ (อริยสัจคือข้อปฏิบัติให้ถึง
ความดับทุกข์)

[๒๑๖] บรรดาอริยสัจ ๔ อริยสัจเท่าไรเป็นกุศล เท่าไรเป็นอกุศล เท่าไรเป็น
อัพยากฤต ฯลฯ เท่าไรเป็นเหตุให้สัตว์ร้องไห้ เท่าไรไม่เป็นเหตุให้สัตว์ร้องไห้

๑. ติกมาติกาวิสัชนา
๑. กุสลติกวิสัชนา
[๒๑๗] สมุทยสัจเป็นอกุศล มัคคสัจเป็นกุศล นิโรธสัจเป็นอัพยากฤต
ทุกขสัจที่เป็นกุศลก็มี ที่เป็นอกุศลก็มี ที่เป็นอัพยากฤตก็มี

๒. เวทนาติกวิสัชนา
สัจจะ ๒ ที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาก็มี ที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนาก็มี
นิโรธสัจกล่าวไม่ได้ว่า สัมปยุตด้วยสุขเวทนา สัมปยุตด้วยทุกขเวทนา หรือสัมปยุต
ด้วยอทุกขมสุขเวทนา ทุกขสัจที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาก็มี ที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนา
ก็มี ที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนาก็มี ที่กล่าวไม่ได้ว่า สัมปยุตด้วยสุขเวทนา
สัมปยุตด้วยทุกขเวทนา หรือสัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนาก็มี

๓. วิปากติกวิสัชนา
สัจจะ ๒ เป็นเหตุให้เกิดวิบาก นิโรธสัจไม่เป็นวิบากและไม่เป็นเหตุให้เกิด
วิบาก ทุกขสัจที่เป็นวิบากก็มี ที่เป็นเหตุให้เกิดวิบากก็มี ที่ไม่เป็นวิบากและไม่
เป็นเหตุให้เกิดวิบากก็มี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๑๘๒ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๔.สัจจวิภังค์] ๓.ปัญหาปุจฉกะ ๑.ติกมาติกาวิสัชนา
๔. อุปาทินนติกวิสัชนา
สมุทยสัจ กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือแต่เป็นอารมณ์ของ
อุปาทาน สัจจะ ๒ กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือและไม่เป็น
อารมณ์ของอุปาทาน ทุกขสัจที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือและเป็น
อารมณ์ของอุปาทานก็มี ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือแต่เป็น
อารมณ์ของอุปาทานก็มี

๕. สังกิลิฏฐติกวิสัชนา
สมุทยสัจ กิเลสทำให้เศร้าหมองและเป็นอารมณ์ของกิเลส สัจจะ ๒ กิเลสไม่
ทำให้เศร้าหมองและไม่เป็นอารมณ์ของกิเลส ทุกขสัจที่กิเลสทำให้เศร้าหมองและ
เป็นอารมณ์ของกิเลสก็มี ที่กิเลสไม่ทำให้เศร้าหมองแต่เป็นอารมณ์ของกิเลสก็มี

๖. สวิตักกติกวิสัชนา
สมุทยสัจมีทั้งวิตกและวิจาร นิโรธสัจไม่มีทั้งวิตกและวิจาร มัคคสัจที่มีทั้งวิตก
และวิจารก็มี ที่ไม่มีวิตกมีเพียงวิจารก็มี ที่ไม่มีทั้งวิตกและวิจารก็มี ทุกขสัจที่มีทั้ง
วิตกและวิจารก็มี ที่ไม่มีวิตกมีเพียงวิจารก็มี ที่ไม่มีทั้งวิตกและวิจารก็มี ที่กล่าวไม่ได้
ว่า มีทั้งวิตกและวิจาร ไม่มีวิตกมีเพียงวิจาร หรือไม่มีทั้งวิตกและวิจารก็มี

๗. ปีติติกวิสัชนา
สัจจะ ๒ ที่สหรคตด้วยปีติก็มี ที่สหรคตด้วยสุขก็มี ที่สหรคตด้วยอุเบกขาก็มี
นิโรธสัจกล่าวไม่ได้ว่า สหรคตด้วยปีติ สหรคตด้วยสุข หรือสหรคตด้วยอุเบกขา
ทุกขสัจที่สหรคตด้วยปีติก็มี ที่สหรคตด้วยสุขก็มี ที่สหรคตด้วยอุเบกขาก็มี ที่
กล่าวไม่ได้ว่า สหรคตด้วยปีติ สหรคตด้วยสุข หรือสหรคตด้วยอุเบกขาก็มี

๘. ทัสสนติกวิสัชนา
สัจจะ ๒ ไม่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคและมรรคเบื้องบน ๓ สมุทยสัจ
ที่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคก็มี ที่ต้องประหาณด้วยมรรคเบื้องบน ๓ ก็มี
ทุกขสัจที่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคก็มี ที่ต้องประหาณด้วยมรรคเบื้องบน ๓
ก็มี ที่ไม่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคและมรรคเบื้องบน ๓ ก็มี


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๑๘๓ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๔.สัจจวิภังค์] ๓.ปัญหาปุจฉกะ ๑.ติกมาติกาวิสัชนา
๙. ทัสสนเหตุติกวิสัชนา
สัจจะ ๒ ไม่มีเหตุต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคและมรรคเบื้องบน ๓
สมุทยสัจที่มีเหตุต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคก็มี ที่มีเหตุต้องประหาณด้วย
มรรคเบื้องบน ๓ ก็มี ทุกขสัจที่มีเหตุต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคก็มี ที่มีเหตุ
ต้องประหาณด้วยมรรคเบื้องบน ๓ ก็มี ที่ไม่มีเหตุต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรค
และมรรคเบื้องบน ๓ ก็มี

๑๐. อาจยคามิติกวิสัชนา
สมุทยสัจเป็นเหตุให้ถึงปฏิสนธิและจุติ มัคคสัจเป็นเหตุให้ถึงนิพพาน นิโรธสัจ
ไม่เป็นเหตุให้ถึงปฏิสนธิ จุติ และนิพพาน ทุกขสัจที่เป็นเหตุให้ถึงปฏิสนธิและจุติก็มี
ที่ไม่เป็นเหตุให้ถึงปฏิสนธิ จุติ และนิพพานก็มี

๑๑. เสกขติกวิสัชนา
มัคคสัจเป็นของเสขบุคคล สัจจะ ๓ ไม่เป็นของเสขบุคคลและอเสขบุคคล

๑๒. ปริตตติกวิสัชนา
สมุทยสัจเป็นปริตตะ สัจจะ ๒ เป็นอัปปมาณะ ทุกขสัจที่เป็นปริตตะก็มี ที่เป็น
มหัคคตะก็มี

๑๓. ปริตตารัมมณติกวิสัชนา
นิโรธสัจรับรู้อารมณ์ไม่ได้ มัคคสัจมีอัปปมาณะเป็นอารมณ์ สมุทยสัจที่
มีปริตตะเป็นอารมณ์ก็มี ที่มีมหัคคตะเป็นอารมณ์แต่ไม่มีอัปปมาณะเป็นอารมณ์ก็มี
ที่กล่าวไม่ได้ว่า มีปริตตะเป็นอารมณ์ หรือมีมหัคคตะเป็นอารมณ์ก็มี ทุกขสัจที่มี
ปริตตะเป็นอารมณ์ก็มี ที่มีมหัคคตะเป็นอารมณ์ก็มี ที่มีอัปปมาณะเป็นอารมณ์ก็มี
ที่กล่าวไม่ได้ว่า มีปริตตะเป็นอารมณ์ มีมหัคคตะเป็นอารมณ์ หรือมีอัปปมาณะเป็น
อารมณ์ก็มี

๑๔. หีนติกวิสัชนา
สมุทยสัจเป็นชั้นต่ำ สัจจะ ๒ เป็นชั้นประณีต ทุกขสัจที่เป็นชั้นต่ำก็มี ที่เป็น
ชั้นกลางก็มี


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๑๘๔ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๔.สัจจวิภังค์] ๓.ปัญหาปุจฉกะ ๑.ติกมาติกาวิสัชนา
๑๕. มิจฉัตตติกวิสัชนา
นิโรธสัจไม่แน่นอนโดยอาการทั้งสองนั้น มัคคสัจมีสภาวะชอบและให้ผล
แน่นอน สัจจะ ๒ ที่มีสภาวะผิดและให้ผลแน่นอนก็มี ที่ไม่แน่นอนโดยอาการทั้งสอง
นั้นก็มี

๑๖. มัคคารัมมณติกวิสัชนา
นิโรธสัจรับรู้อารมณ์ไม่ได้ สมุทยสัจกล่าวไม่ได้ว่า มีมรรคเป็นอารมณ์ มีมรรค
เป็นเหตุ หรือมีมรรคเป็นอธิบดี มัคคสัจไม่ใช่มีมรรคเป็นอารมณ์ ที่มีมรรคเป็นเหตุก็มี
ที่มีมรรคเป็นอธิบดีก็มี ที่กล่าวไม่ได้ว่า มีมรรคเป็นเหตุ หรือมีมรรคเป็นอธิบดีก็มี
ทุกขสัจที่มีมรรคเป็นอารมณ์แต่ไม่มีมรรคเป็นเหตุก็มี ที่มีมรรคเป็นอธิบดีก็มี ที่
กล่าวไม่ได้ว่า มีมรรคเป็นอารมณ์ หรือมีมรรคเป็นอธิบดีก็มี

๑๗. อุปปันนติกวิสัชนา
สัจจะ ๒ ที่เกิดขึ้นก็มี ที่ยังไม่เกิดขึ้นก็มี แต่กล่าวไม่ได้ว่า จักเกิดขึ้นแน่นอน
นิโรธสัจกล่าวไม่ได้ว่า เกิดขึ้น ยังไม่เกิดขึ้น หรือจักเกิดขึ้นแน่นอน ทุกขสัจที่เกิดขึ้น
ก็มี ที่ยังไม่เกิดขึ้นก็มี ที่จักเกิดขึ้นแน่นอนก็มี

๑๘. อตีตติกวิสัชนา
สัจจะ ๓ ที่เป็นอดีตก็มี ที่เป็นอนาคตก็มี ที่เป็นปัจจุบันก็มี นิโรธสัจกล่าวไม่
ได้ว่า เป็นอดีต เป็นอนาคต หรือเป็นปัจจุบัน

๑๙. อตีตารัมมณติกวิสัชนา
นิโรธสัจรับรู้อารมณ์ไม่ได้ มัคคสัจกล่าวไม่ได้ว่า มีอดีตธรรมเป็นอารมณ์
มีอนาคตธรรมเป็นอารมณ์ หรือมีปัจจุบันธรรมเป็นอารมณ์ สัจจะ ๒ ที่มีอดีตธรรม
เป็นอารมณ์ก็มี ที่มีอนาคตธรรมเป็นอารมณ์ก็มี ที่มีปัจจุบันธรรมเป็นอารมณ์ก็มี
ที่กล่าวไม่ได้ว่า มีอดีตธรรมเป็นอารมณ์ มีอนาคตธรรมเป็นอารมณ์ หรือมีปัจจุบัน-
ธรรมเป็นอารมณ์ก็มี


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๑๘๕ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๔.สัจจวิภังค์] ๓.ปัญหาปุจฉกะ ๒.ทุกมาติกาวิสัชนา
๒๐. อัชฌัตตติกวิสัชนา
นิโรธสัจเป็นภายนอกตน สัจจะ ๓ ที่เป็นภายในตนก็มี ที่เป็นภายนอกตน
ก็มี ที่เป็นภายในตนและภายนอกตนก็มี

๒๑. อัชฌัตตารัมมณติกวิสัชนา
นิโรธสัจรับรู้อารมณ์ไม่ได้ มัคคสัจมีธรรมภายนอกตนเป็นอารมณ์ สมุทยสัจที่
มีธรรมภายในตนเป็นอารมณ์ก็มี ที่มีธรรมภายนอกตนเป็นอารมณ์ก็มี ที่มีธรรม
ภายในตนและภายนอกตนเป็นอารมณ์ก็มี ทุกขสัจที่มีธรรมภายในตนเป็นอารมณ์ก็มี
ที่มีธรรมภายนอกตนเป็นอารมณ์ก็มี ที่มีธรรมภายในตนและภายนอกตนเป็นอารมณ์
ก็มี ที่กล่าวไม่ได้ว่า มีธรรมภายในตนเป็นอารมณ์ มีธรรมภายนอกตนเป็นอารมณ์
หรือมีธรรมภายในตนและภายนอกตนเป็นอารมณ์ก็มี

๒๒. สนิทัสสนติกวิสัชนา
สัจจะ ๓ เห็นไม่ได้และกระทบไม่ได้ ทุกขสัจที่เห็นได้และกระทบได้ก็มี ที่เห็นไม่
ได้แต่กระทบได้ก็มี ที่เห็นไม่ได้และกระทบไม่ได้ก็มี

๒. ทุกมาติกาวิสัชนา
๑. เหตุโคจฉกวิสัชนา
[๒๑๘] สมุทยสัจเป็นเหตุ นิโรธสัจไม่เป็นเหตุ สัจจะ ๒ ที่เป็นเหตุก็มี ที่
ไม่เป็นเหตุก็มี
สัจจะ ๒ มีเหตุ นิโรธสัจไม่มีเหตุ ทุกขสัจที่มีเหตุก็มี ที่ไม่มีเหตุก็มี
สัจจะ ๒ สัมปยุตด้วยเหตุ นิโรธสัจวิปปยุตจากเหตุ ทุกขสัจที่สัมปยุตด้วย
เหตุก็มี ที่วิปปยุตจากเหตุก็มี
สมุทยสัจเป็นเหตุและมีเหตุ นิโรธสัจกล่าวไม่ได้ว่า เป็นเหตุและมีเหตุ หรือมี
เหตุแต่ไม่เป็นเหตุ มัคคสัจที่เป็นเหตุและมีเหตุก็มี ที่มีเหตุแต่ไม่เป็นเหตุก็มี ทุกขสัจ
ที่เป็นเหตุและมีเหตุก็มี ที่มีเหตุแต่ไม่เป็นเหตุก็มี ที่กล่าวไม่ได้ว่า เป็นเหตุและมีเหตุ
หรือมีเหตุแต่ไม่เป็นเหตุก็มี


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๑๘๖ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๔.สัจจวิภังค์] ๓.ปัญหาปุจฉกะ ๒.ทุกมาติกาวิสัชนา
สมุทยสัจเป็นเหตุและสัมปยุตด้วยเหตุ นิโรธสัจกล่าวไม่ได้ว่า เป็นเหตุและ
สัมปยุตด้วยเหตุ หรือสัมปยุตด้วยเหตุแต่ไม่เป็นเหตุ มัคคสัจที่เป็นเหตุและสัมปยุต
ด้วยเหตุก็มี ที่สัมปยุตด้วยเหตุแต่ไม่เป็นเหตุก็มี ทุกขสัจที่เป็นเหตุและสัมปยุตด้วย
เหตุก็มี ที่สัมปยุตด้วยเหตุแต่ไม่เป็นเหตุก็มี ที่กล่าวไม่ได้ว่า เป็นเหตุและสัมปยุตด้วย
เหตุ หรือสัมปยุตด้วยเหตุแต่ไม่เป็นเหตุก็มี
นิโรธสัจไม่เป็นเหตุและไม่มีเหตุ สมุทยสัจกล่าวไม่ได้ว่า ไม่เป็นเหตุแต่มีเหตุ
หรือไม่เป็นเหตุและไม่มีเหตุ มัคคสัจที่ไม่เป็นเหตุแต่มีเหตุก็มี ที่กล่าวไม่ได้ว่า ไม่
เป็นเหตุแต่มีเหตุ หรือไม่เป็นเหตุและไม่มีเหตุก็มี ทุกขสัจที่ไม่เป็นเหตุแต่มีเหตุก็มี
ที่ไม่เป็นเหตุและไม่มีเหตุก็มี ที่กล่าวไม่ได้ว่า ไม่เป็นเหตุแต่มีเหตุ หรือไม่เป็นเหตุ
และไม่มีเหตุก็มี

๒. จูฬันตรทุกวิสัชนา
สัจจะ ๓ มีปัจจัยปรุงแต่ง นิโรธสัจไม่มีปัจจัยปรุงแต่ง
สัจจะ ๓ ถูกปัจจัยปรุงแต่ง นิโรธสัจไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง
สัจจะ ๓ เห็นไม่ได้ ทุกขสัจที่เห็นได้ก็มี ที่เห็นไม่ได้ก็มี
สัจจะ ๓ กระทบไม่ได้ ทุกขสัจที่กระทบได้ก็มี ที่กระทบไม่ได้ก็มี
สัจจะ ๓ ไม่เป็นรูป ทุกขสัจที่เป็นรูปก็มี ที่ไม่เป็นรูปก็มี
สัจจะ ๒ เป็นโลกิยะ๑ สัจจะ ๒ เป็นโลกุตตระ
สัจจะ ๔ จิตบางดวงรู้ได้ สัจจะ ๔ จิตบางดวงรู้ไม่ได้

๓. อาสวโคจฉกวิสัชนา
สมุทยสัจเป็นอาสวะ สัจจะ ๒ ไม่เป็นอาสวะ ทุกขสัจที่เป็นอาสวะก็มี ที่
ไม่เป็นอาสวะก็มี
สัจจะ ๒ เป็นอารมณ์ของอาสวะ สัจจะ ๒ ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะ

เชิงอรรถ :
๑ สัจจะ ๒ คือ ทุกขสัจและสมุทยสัจ เป็นโลกิยธรรม ส่วนอีก ๒ คือ มัคคสัจและนิโรธสัจ เป็นโลกุตตรธรรม
(อภิ.วิ.อ. ๒๑๕/๑๓๒-๑๓๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๑๘๗ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๔.สัจจวิภังค์] ๓.ปัญหาปุจฉกะ ๒.ทุกมาติกาวิสัชนา
สมุทยสัจสัมปยุตด้วยอาสวะ สัจจะ ๒ วิปปยุตจากอาสวะ ทุกขสัจที่สัมปยุต
ด้วยอาสวะก็มี ที่วิปปยุตจากอาสวะก็มี
สมุทยสัจเป็นอาสวะและเป็นอารมณ์ของอาสวะ สัจจะ ๒ กล่าวไม่ได้ว่า เป็น
อาสวะและเป็นอารมณ์ของอาสวะ หรือเป็นอารมณ์ของอาสวะแต่ไม่เป็นอาสวะ
ทุกขสัจที่เป็นอาสวะและเป็นอารมณ์ของอาสวะก็มี ที่เป็นอารมณ์ของอาสวะแต่ไม่
เป็นอาสวะก็มี
สมุทยสัจเป็นอาสวะและสัมปยุตด้วยอาสวะ สัจจะ ๒ กล่าวไม่ได้ว่า เป็น
อาสวะและสัมปยุตด้วยอาสวะ หรือสัมปยุตด้วยอาสวะแต่ไม่เป็นอาสวะ ทุกขสัจ
ที่เป็นอาสวะและสัมปยุตด้วยอาสวะก็มี ที่สัมปยุตด้วยอาสวะแต่ไม่เป็นอาสวะก็มี ที่
กล่าวไม่ได้ว่า เป็นอาสวะและสัมปยุตด้วยอาสวะ หรือสัมปยุตด้วยอาสวะแต่ไม่เป็น
อาสวะก็มี
สัจจะ ๒ วิปปยุตจากอาสวะและไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะ สมุทยสัจกล่าวไม่
ได้ว่า วิปปยุตจากอาสวะแต่เป็นอารมณ์ของอาสวะ หรือวิปปยุตจากอาสวะและ
ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะ ทุกขสัจที่วิปปยุตจากอาสวะแต่เป็นอารมณ์ของอาสวะ
ก็มี ที่กล่าวไม่ได้ว่า วิปปยุตจากอาสวะแต่เป็นอารมณ์ของอาสวะ หรือวิปปยุตจาก
อาสวะและไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะก็มี

๔. สัญโญชนโคจฉกวิสัชนา
สมุทยสัจเป็นสังโยชน์ สัจจะ ๒ ไม่เป็นสังโยชน์ ทุกขสัจที่เป็นสังโยชน์ก็มี ที่ไม่
เป็นสังโยชน์ก็มี
สัจจะ ๒ เป็นอารมณ์ของสังโยชน์ สัจจะ ๒ ไม่เป็นอารมณ์ของสังโยชน์
สมุทยสัจสัมปยุตด้วยสังโยชน์ สัจจะ ๒ วิปปยุตจากสังโยชน์ ทุกขสัจที่สัมปยุต
ด้วยสังโยชน์ก็มี ที่วิปปยุตจากสังโยชน์ก็มี
สมุทยสัจเป็นสังโยชน์และเป็นอารมณ์ของสังโยชน์ สัจจะ ๒ กล่าวไม่ได้ว่า
เป็นสังโยชน์และเป็นอารมณ์ของสังโยชน์ หรือเป็นอารมณ์ของสังโยชน์แต่ไม่เป็นสังโยชน์
ทุกขสัจที่เป็นสังโยชน์และเป็นอารมณ์ของสังโยชน์ก็มี ที่เป็นอารมณ์ของสังโยชน์แต่
ไม่เป็นสังโยชน์ก็มี


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๑๘๘ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๔.สัจจวิภังค์] ๓.ปัญหาปุจฉกะ ๒.ทุกมาติกาวิสัชนา
สมุทยสัจเป็นสังโยชน์และสัมปยุตด้วยสังโยชน์ สัจจะ ๒ กล่าวไม่ได้ว่า เป็น
สังโยชน์และสัมปยุตด้วยสังโยชน์ หรือสัมปยุตด้วยสังโยชน์แต่ไม่เป็นสังโยชน์
ทุกขสัจที่เป็นสังโยชน์และสัมปยุตด้วยสังโยชน์ก็มี ที่สัมปยุตด้วยสังโยชน์แต่ไม่เป็น
สังโยชน์ก็มี ที่กล่าวไม่ได้ว่า เป็นสังโยชน์และสัมปยุตด้วยสังโยชน์ หรือสัมปยุตด้วย
สังโยชน์แต่ไม่เป็นสังโยชน์ก็มี
สัจจะ ๒ วิปปยุตจากสังโยชน์และไม่เป็นอารมณ์ของสังโยชน์ สมุทยสัจกล่าว
ไม่ได้ว่า วิปปยุตจากสังโยชน์แต่เป็นอารมณ์ของสังโยชน์ หรือวิปปยุตจากสังโยชน์
และไม่เป็นอารมณ์ของสังโยชน์ ทุกขสัจที่วิปปยุตจากสังโยชน์แต่เป็นอารมณ์ของ
สังโยชน์ก็มี ที่กล่าวไม่ได้ว่า วิปปยุตจากสังโยชน์แต่เป็นอารมณ์ของสังโยชน์ หรือ
วิปปยุตจากสังโยชน์และไม่เป็นอารมณ์ของสังโยชน์ก็มี

๕. คันถโคจฉกวิสัชนา
สมุทยสัจเป็นคันถะ สัจจะ ๒ ไม่เป็นคันถะ ทุกขสัจที่เป็นคันถะก็มี ที่ไม่
เป็นคันถะก็มี
สัจจะ ๒ เป็นอารมณ์ของคันถะ สัจจะ ๒ ไม่เป็นอารมณ์ของคันถะ
สัจจะ ๒ วิปปยุตจากคันถะ สัจจะ ๒ ที่สัมปยุตด้วยคันถะก็มี ที่วิปปยุตจาก
คันถะก็มี
สมุทยสัจเป็นคันถะและเป็นอารมณ์ของคันถะ สัจจะ ๒ กล่าวไม่ได้ว่า เป็น
คันถะและเป็นอารมณ์ของคันถะ หรือเป็นอารมณ์ของคันถะแต่ไม่เป็นคันถะ ทุกขสัจ
ที่เป็นคันถะและเป็นอารมณ์ของคันถะก็มี ที่เป็นอารมณ์ของคันถะแต่ไม่เป็นคันถะก็มี
สมุทยสัจเป็นคันถะและสัมปยุตด้วยคันถะ ที่กล่าวไม่ได้ว่า เป็นคันถะและ
สัมปยุตด้วยคันถะ หรือสัมปยุตด้วยคันถะแต่ไม่เป็นคันถะก็มี สัจจะ ๒ กล่าวไม่ได้ว่า
เป็นคันถะและสัมปยุตด้วยคันถะ หรือสัมปยุตด้วยคันถะแต่ไม่เป็นคันถะ ทุกขสัจที่
เป็นคันถะและสัมปยุตด้วยคันถะก็มี ที่สัมปยุตด้วยคันถะแต่ไม่เป็นคันถะก็มี ที่กล่าว
ไม่ได้ว่า เป็นคันถะและสัมปยุตด้วยคันถะ หรือสัมปยุตด้วยคันถะแต่ไม่เป็นคันถะก็มี


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๑๘๙ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๔.สัจจวิภังค์] ๓.ปัญหาปุจฉกะ ๒.ทุกมาติกาวิสัชนา
สัจจะ ๒ วิปปยุตจากคันถะและไม่เป็นอารมณ์ของคันถะ สัจจะ ๒ ที่วิปปยุต
จากคันถะแต่เป็นอารมณ์ของคันถะก็มี ที่กล่าวไม่ได้ว่า วิปปยุตจากคันถะแต่เป็น
อารมณ์ของคันถะ หรือวิปปยุตจากคันถะและไม่เป็นอารมณ์ของคันถะก็มี

๖-๘. โอฆโคจฉกาทิวิสัชนา
สมุทยสัจเป็นโอฆะ ฯลฯ เป็นโยคะ ฯลฯ เป็นนิวรณ์ สัจจะ ๒ ไม่เป็นนิวรณ์
ทุกขสัจที่เป็นนิวรณ์ก็มี ที่ไม่เป็นนิวรณ์ก็มี
สัจจะ ๒ เป็นอารมณ์ของนิวรณ์ สัจจะ ๒ ไม่เป็นอารมณ์ของนิวรณ์
สมุทยสัจสัมปยุตด้วยนิวรณ์ สัจจะ ๒ วิปปยุตจากนิวรณ์ ทุกขสัจที่สัมปยุต
ด้วยนิวรณ์ก็มี ที่วิปปยุตจากนิวรณ์ก็มี
สมุทยสัจเป็นนิวรณ์และเป็นอารมณ์ของนิวรณ์ สัจจะ ๒ กล่าวไม่ได้ว่า เป็น
นิวรณ์และเป็นอารมณ์ของนิวรณ์ หรือเป็นอารมณ์ของนิวรณ์แต่ไม่เป็นนิวรณ์
ทุกขสัจที่เป็นนิวรณ์และเป็นอารมณ์ของนิวรณ์ก็มี ที่เป็นอารมณ์ของนิวรณ์แต่ไม่เป็น
นิวรณ์ก็มี
สมุทยสัจเป็นนิวรณ์และสัมปยุตด้วยนิวรณ์ สัจจะ ๒ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นนิวรณ์
และสัมปยุตด้วยนิวรณ์ หรือสัมปยุตด้วยนิวรณ์แต่ไม่เป็นนิวรณ์ ทุกขสัจที่เป็น
นิวรณ์และสัมปยุตด้วยนิวรณ์ก็มี ที่สัมปยุตด้วยนิวรณ์แต่ไม่เป็นนิวรณ์ก็มี ที่กล่าว
ไม่ได้ว่า เป็นนิวรณ์และสัมปยุตด้วยนิวรณ์ หรือสัมปยุตด้วยนิวรณ์แต่ไม่เป็นนิวรณ์
ก็มี
สัจจะ ๒ วิปปยุตจากนิวรณ์และไม่เป็นอารมณ์ของนิวรณ์ สมุทยสัจกล่าว
ไม่ได้ว่า วิปปยุตจากนิวรณ์แต่เป็นอารมณ์ของนิวรณ์ หรือวิปปยุตจากนิวรณ์และ
ไม่เป็นอารมณ์ของนิวรณ์ ทุกขสัจที่วิปปยุตจากนิวรณ์แต่เป็นอารมณ์ของนิวรณ์ก็มี
ที่กล่าวไม่ได้ว่า วิปปยุตจากนิวรณ์แต่เป็นอารมณ์ของนิวรณ์ หรือวิปปยุตจากนิวรณ์
และไม่เป็นอารมณ์ของนิวรณ์ก็มี


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๑๙๐ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๔.สัจจวิภังค์] ๓.ปัญหาปุจฉกะ ๒.ทุกมาติกาวิสัชนา
๙. ปรามาสโคจฉกวิสัชนา
สัจจะ ๓ ไม่เป็นปรามาส ทุกขสัจที่เป็นปรามาสก็มี ที่ไม่เป็นปรามาสก็มี
สัจจะ ๒ เป็นอารมณ์ของปรามาส๑ สัจจะ ๒ ไม่เป็นอารมณ์ของปรามาส
สัจจะ ๒ วิปปยุตจากปรามาส สมุทยสัจที่สัมปยุตด้วยปรามาสก็มี ที่วิปปยุต
จากปรามาสก็มี ทุกขสัจที่สัมปยุตด้วยปรามาสก็มี ที่วิปปยุตจากปรามาสก็มี ที่
กล่าวไม่ได้ว่า สัมปยุตด้วยปรามาส หรือวิปปยุตจากปรามาสก็มี
สมุทยสัจกล่าวไม่ได้ว่า เป็นปรามาสและเป็นอารมณ์ของปรามาส หรือเป็น
อารมณ์ของปรามาสแต่ไม่เป็นปรามาส สัจจะ ๒ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นปรามาสและ
เป็นอารมณ์ของปรามาส หรือเป็นอารมณ์ของปรามาสแต่ไม่เป็นปรามาส ทุกขสัจที่
เป็นปรามาสและเป็นอารมณ์ของปรามาสก็มี ที่เป็นอารมณ์ของปรามาสแต่ไม่เป็น
ปรามาสก็มี
สัจจะ ๒ วิปปยุตจากปรามาสและไม่เป็นอารมณ์ของปรามาส สัจจะ ๒ ที่
วิปปยุตจากปรามาสแต่เป็นอารมณ์ของปรามาสก็มี ที่กล่าวไม่ได้ว่า วิปปยุตจาก
ปรามาสแต่เป็นอารมณ์ของปรามาส หรือวิปปยุตจากปรามาสและไม่เป็นอารมณ์
ของปรามาสก็มี

๑๐. มหันตรทุกวิสัชนา
สัจจะ ๒ รับรู้อารมณ์ได้ นิโรธสัจรับรู้อารมณ์ไม่ได้ ทุกขสัจที่รับรู้อารมณ์ได้
ก็มี ที่รับรู้อารมณ์ไม่ได้ก็มี
สัจจะ ๓ ไม่เป็นจิต ทุกขสัจที่เป็นจิตก็มี ที่ไม่เป็นจิตก็มี
สัจจะ ๒ เป็นเจตสิก นิโรธสัจไม่เป็นเจตสิก ทุกขสัจที่เป็นเจตสิกก็มี ที่ไม่เป็น
เจตสิกก็มี
สัจจะ ๒ สัมปยุตด้วยจิต นิโรธสัจวิปปยุตจากจิต ทุกขสัจที่สัมปยุตด้วยจิตก็มี
ที่วิปปยุตจากจิตก็มี ที่กล่าวไม่ได้ว่า สัมปยุตด้วยจิต หรือวิปปยุตจากจิตก็มี

เชิงอรรถ :
๑ ทุกขสัจและสมุทยสัจ เป็นอารมณ์ของปรามาส เพราะเป็นโลกิยธรรม ส่วนนิโรธสัจและมัคคสัจ เป็น
โลกุตตรธรรม จึงไม่เป็นอารมณ์ของปรามาส (อภิ.วิ.อ. ๒๑๕/๑๓๒-๑๓๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๑๙๑ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๔.สัจจวิภังค์] ๓.ปัญหาปุจฉกะ ๒.ทุกมาติกาวิสัชนา
สัจจะ ๒ ระคนกับจิต นิโรธสัจไม่ระคนกับจิต ทุกขสัจที่ระคนกับจิตก็มี ที่ไม่
ระคนกับจิตก็มี ที่กล่าวไม่ได้ว่า ระคนกับจิต หรือไม่ระคนกับจิตก็มี
สัจจะ ๒ มีจิตเป็นสมุฏฐาน นิโรธสัจไม่มีจิตเป็นสมุฏฐาน ทุกขสัจที่มีจิตเป็น
สมุฏฐานก็มี ที่ไม่มีจิตเป็นสมุฏฐานก็มี
สัจจะ ๒ เกิดพร้อมกับจิต นิโรธสัจไม่เกิดพร้อมกับจิต ทุกขสัจที่เกิด
พร้อมกับจิตก็มี ที่ไม่เกิดพร้อมกับจิตก็มี
สัจจะ ๒ เป็นไปตามจิต นิโรธสัจไม่เป็นไปตามจิต ทุกขสัจที่เป็นไปตามจิต
ก็มี ที่ไม่เป็นไปตามจิตก็มี
สัจจะ ๒ ระคนกับจิตและมีจิตเป็นสมุฏฐาน นิโรธสัจไม่ระคนกับจิตและ
มีจิตเป็นสมุฏฐาน ทุกขสัจที่ระคนกับจิตและมีจิตเป็นสมุฏฐานก็มี ที่ไม่ระคนกับ
จิตและมีจิตเป็นสมุฏฐานก็มี
สัจจะ ๒ ระคนกับจิตมีจิตเป็นสมุฏฐานและเกิดพร้อมกับจิต นิโรธสัจไม่ระคน
กับจิตมีจิตเป็นสมุฏฐานและเกิดพร้อมกับจิต ทุกขสัจที่ระคนกับจิตมีจิตเป็น
สมุฏฐานและเกิดพร้อมกับจิตก็มี ที่ไม่ระคนกับจิตมีจิตเป็นสมุฏฐานและเกิดพร้อม
กับจิตก็มี
สัจจะ ๒ ระคนกับจิตมีจิตเป็นสมุฏฐานและเป็นไปตามจิต นิโรธสัจไม่ระคนกับ
จิตมีจิตเป็นสมุฏฐานและเป็นไปตามจิต ทุกขสัจที่ระคนกับจิตมีจิตเป็นสมุฏฐานและ
เป็นไปตามจิตก็มี ที่ไม่ระคนกับจิตมีจิตเป็นสมุฏฐานและเป็นไปตามจิตก็มี
สัจจะ ๓ เป็นภายนอก ทุกขสัจที่เป็นภายในก็มี ที่เป็นภายนอกก็มี
สัจจะ ๓ ไม่เป็นอุปาทายรูป ทุกขสัจที่เป็นอุปาทายรูปก็มี ที่ไม่เป็น
อุปาทายรูปก็มี
สัจจะ ๓ กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือ ทุกขสัจที่กรรมอัน
ประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือก็มี ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่
ยึดถือก็มี


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๑๙๒ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๔.สัจจวิภังค์] ๓.ปัญหาปุจฉกะ ๒.ทุกมาติกาวิสัชนา
๑๑. อุปาทานโคจฉกวิสัชนา
สมุทยสัจเป็นอุปาทาน สัจจะ ๒ ไม่เป็นอุปาทาน ทุกขสัจที่เป็นอุปาทานก็มี
ที่ไม่เป็นอุปาทานก็มี
สัจจะ ๒ เป็นอารมณ์ของอุปาทาน สัจจะ ๒ ไม่เป็นอารมณ์ของอุปาทาน๑
สัจจะ ๒ วิปปยุตจากอุปาทาน สัจจะ ๒ ที่สัมปยุตด้วยอุปาทานก็มี ที่
วิปปยุตจากอุปาทานก็มี
สมุทยสัจเป็นอุปาทานและเป็นอารมณ์ของอุปาทาน สัจจะ ๒ กล่าวไม่ได้ว่า
เป็นอุปาทานและเป็นอารมณ์ของอุปาทาน หรือเป็นอารมณ์ของอุปาทานแต่ไม่เป็น
อุปาทาน ทุกขสัจที่เป็นอุปาทานและเป็นอารมณ์ของอุปาทานก็มี ที่เป็นอารมณ์
ของอุปาทานแต่ไม่เป็นอุปาทานก็มี
สมุทยสัจที่เป็นอุปาทานและสัมปยุตด้วยอุปาทานก็มี ที่กล่าวไม่ได้ว่า เป็น
อุปาทานและสัมปยุตด้วยอุปาทาน หรือสัมปยุตด้วยอุปาทานแต่ไม่เป็นอุปาทานก็มี
สัจจะ ๒ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นอุปาทานและสัมปยุตด้วยอุปาทาน หรือสัมปยุตด้วย
อุปาทานแต่ไม่เป็นอุปาทาน ทุกขสัจที่เป็นอุปาทานและสัมปยุตด้วยอุปาทานก็มี
ที่สัมปยุตด้วยอุปาทานแต่ไม่เป็นอุปาทานก็มี ที่กล่าวไม่ได้ว่า เป็นอุปาทานและ
สัมปยุตด้วยอุปาทาน หรือสัมปยุตด้วยอุปาทานแต่ไม่เป็นอุปาทานก็มี
สัจจะ ๒ วิปปยุตจากอุปาทานและไม่เป็นอารมณ์ของอุปาทาน สัจจะ ๒ ที่
วิปปยุตจากอุปาทานแต่เป็นอารมณ์ของอุปาทานก็มี ที่กล่าวไม่ได้ว่า วิปปยุตจาก
อุปาทานแต่เป็นอารมณ์ของอุปาทาน หรือวิปปยุตจากอุปาทานและไม่เป็นอารมณ์
ของอุปาทานก็มี

๑๒. กิเลสโคจฉกวิสัชนา
สมุทยสัจเป็นกิเลส สัจจะ ๒ ไม่เป็นกิเลส ทุกขสัจที่เป็นกิเลสก็มี ที่ไม่เป็นกิเลส
ก็มี

เชิงอรรถ :
๑ สัจจะ ๒ คือ นิโรธสัจและมัคคสัจ ไม่เป็นอารมณ์ของอุปาทาน เพราะเป็นโลกุตตรธรรม

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๑๙๓ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๔.สัจจวิภังค์] ๓.ปัญหาปุจฉกะ ๒.ทุกมาติกาวิสัชนา
สัจจะ ๒ เป็นอารมณ์ของกิเลส สัจจะ ๒ ไม่เป็นอารมณ์ของกิเลส
สมุทยสัจกิเลสทำให้เศร้าหมอง สัจจะ ๒ กิเลสไม่ทำให้เศร้าหมอง ทุกขสัจ
ที่กิเลสทำให้เศร้าหมองก็มี ที่กิเลสไม่ทำให้เศร้าหมองก็มี
สมุทยสัจสัมปยุตด้วยกิเลส สัจจะ ๒ วิปปยุตจากกิเลส ทุกขสัจที่สัมปยุตด้วย
กิเลสก็มี ที่วิปปยุตจากกิเลสก็มี
สมุทยสัจเป็นกิเลสและเป็นอารมณ์ของกิเลส สัจจะ ๒ กล่าวไม่ได้ว่า เป็น
กิเลสและเป็นอารมณ์ของกิเลส หรือเป็นอารมณ์ของกิเลสแต่ไม่เป็นกิเลส ทุกขสัจที่
เป็นกิเลสและเป็นอารมณ์ของกิเลสก็มี ที่เป็นอารมณ์ของกิเลสแต่ไม่เป็นกิเลสก็มี
สมุทยสัจเป็นกิเลสและกิเลสทำให้เศร้าหมอง สัจจะ ๒ กล่าวไม่ได้ว่า เป็น
กิเลสและกิเลสทำให้เศร้าหมอง หรือกิเลสทำให้เศร้าหมองแต่ไม่เป็นกิเลส ทุกขสัจ
ที่เป็นกิเลสและกิเลสทำให้เศร้าหมองก็มี ที่กิเลสทำให้เศร้าหมองแต่ไม่เป็นกิเลสก็มี
ที่กล่าวไม่ได้ว่า เป็นกิเลสและกิเลสทำให้เศร้าหมอง หรือกิเลสทำให้เศร้าหมองแต่
ไม่เป็นกิเลสก็มี
สมุทยสัจเป็นกิเลสและสัมปยุตด้วยกิเลส สัจจะ ๒ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นกิเลส
และสัมปยุตด้วยกิเลส หรือสัมปยุตด้วยกิเลสแต่ไม่เป็นกิเลส ทุกขสัจที่เป็นกิเลสและ
สัมปยุตด้วยกิเลสก็มี ที่สัมปยุตด้วยกิเลสแต่ไม่เป็นกิเลสก็มี ที่กล่าวไม่ได้ว่า เป็น
กิเลสและสัมปยุตด้วยกิเลส หรือสัมปยุตด้วยกิเลสแต่ไม่เป็นกิเลสก็มี
สัจจะ ๒ วิปปยุตจากกิเลสและไม่เป็นอารมณ์ของกิเลส สมุทยสัจกล่าว
ไม่ได้ว่า วิปปยุตจากกิเลสแต่เป็นอารมณ์ของกิเลส หรือวิปปยุตจากกิเลสและไม่เป็น
อารมณ์ของกิเลส ทุกขสัจที่วิปปยุตจากกิเลสแต่เป็นอารมณ์ของกิเลสก็มี ที่กล่าวไม่
ได้ว่า วิปปยุตจากกิเลสแต่เป็นอารมณ์ของกิเลส หรือวิปปยุตจากกิเลสและไม่เป็น
อารมณ์ของกิเลสก็มี

๑๓. ปิฏฐิทุกวิสัชนา
สัจจะ ๒ ไม่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรค สัจจะ ๒ ที่ต้องประหาณด้วย
โสดาปัตติมรรคก็มี ที่ไม่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคก็มี


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๑๙๔ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๔.สัจจวิภังค์] ๓.ปัญหาปุจฉกะ ๒.ทุกมาติกาวิสัชนา
สัจจะ ๒ ไม่ต้องประหาณด้วยมรรคเบื้องบน ๓ สัจจะ ๒ ที่ต้องประหาณ
ด้วยมรรคเบื้องบน ๓ ก็มี ที่ไม่ต้องประหาณด้วยมรรคเบื้องบน ๓ ก็มี
สัจจะ ๒ ไม่มีเหตุต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรค สัจจะ ๒ ที่มีเหตุต้อง
ประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคก็มี ที่ไม่มีเหตุต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคก็มี
สัจจะ ๒ ไม่มีเหตุต้องประหาณด้วยมรรคเบื้องบน ๓ สัจจะ ๒ ที่มีเหตุต้อง
ประหาณด้วยมรรคเบื้องบน ๓ ก็มี ที่ไม่มีเหตุต้องประหาณด้วยมรรคเบื้องบน ๓
ก็มี
สมุทยสัจมีวิตก นิโรธสัจไม่มีวิตก สัจจะ ๒ ที่มีวิตกก็มี ที่ไม่มีวิตกก็มี
สมุทยสัจมีวิจาร นิโรธสัจไม่มีวิจาร สัจจะ ๒ ที่มีวิจารก็มี ที่ไม่มีวิจารก็มี
นิโรธสัจไม่มีปีติ สัจจะ ๓ ที่มีปีติก็มี ที่ไม่มีปีติก็มี
นิโรธสัจไม่สหรคตด้วยปีติ สัจจะ ๓ ที่สหรคตด้วยปีติก็มี ที่ไม่สหรคตด้วย
ปีติก็มี
นิโรธสัจไม่สหรคตด้วยสุข สัจจะ ๓ ที่สหรคตด้วยสุขก็มี ที่ไม่สหรคตด้วย
สุขก็มี
นิโรธสัจไม่สหรคตด้วยอุเบกขา สัจจะ ๓ ที่สหรคตด้วยอุเบกขาก็มี ที่ไม่
สหรคตด้วยอุเบกขาก็มี
สมุทยสัจเป็นกามาวจร สัจจะ ๒ ไม่เป็นกามาวจร ทุกขสัจที่เป็นกามาวจร
ก็มี ที่ไม่เป็นกามาวจรก็มี
สัจจะ ๓ ไม่เป็นรูปาวจร ทุกขสัจที่เป็นรูปาวจรก็มี ที่ไม่เป็นรูปาวจรก็มี
สัจจะ ๓ ไม่เป็นอรูปาวจร ทุกขสัจที่เป็นอรูปาวจรก็มี ที่ไม่เป็นอรูปาวจรก็มี
สัจจะ ๒ นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ สัจจะ ๒ ไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์
มัคคสัจเป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ สัจจะ ๓ ไม่เป็นเหตุนำออกจาก
วัฏฏทุกข์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๑๙๕ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๔.สัจจวิภังค์] ๓.ปัญหาปุจฉกะ ๒.ทุกมาติกาวิสัชนา
มัคคสัจให้ผลแน่นอน นิโรธสัจไม่แน่นอนโดยอาการทั้งสองนั้น๑ สัจจะ ๒ ที่ให้
ผลแน่นอนก็มี ที่ให้ผลไม่แน่นอนก็มี
สัจจะ ๒ มีธรรมอื่นยิ่งกว่า สัจจะ ๒ ไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า
สมุทยสัจเป็นเหตุให้สัตว์ร้องไห้ สัจจะ ๒ ไม่เป็นเหตุให้สัตว์ร้องไห้ ทุกขสัจ
ที่เป็นเหตุให้สัตว์ร้องไห้ก็มี ที่ไม่เป็นเหตุให้สัตว์ร้องไห้ก็มี

ปัญหาปุจฉกะ จบ

สัจจวิภังค์ จบบริบูรณ์

เชิงอรรถ :
๑ นิโรธสัจนั้น ได้แก่ นิพพาน เป็นผลที่เกิดจากการปฏิบัติของโยคีบุคคล ดังนั้น จะกล่าวว่า ให้ผลแน่นอน
หรือให้ผลไม่แน่นอนนั้นไม่ได้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๑๙๖ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๕. อินทริยวิภังค์] ๑. อภิธรรมภาชนีย์
๕. อินทริยวิภังค์
๑. อภิธรรมภาชนีย์
[๒๑๙] อินทรีย์ ๒๒ คือ

๑. จักขุนทรีย์ ๒. โสตินทรีย์
๓. ฆานินทรีย์ ๔. ชิวหินทรีย์
๕. กายินทรีย์ ๖. มนินทรีย์
๗. อิตถินทรีย์ ๘. ปุริสินทรีย์
๙. ชีวิตินทรีย์ ๑๐. สุขินทรีย์
๑๑. ทุกขินทรีย์ ๑๒. โสมนัสสินทรีย์
๑๓. โทมนัสสินทรีย์ ๑๔. อุเปกขินทรีย์
๑๕. สัทธินทรีย์ ๑๖. วิริยินทรีย์
๑๗. สตินทรีย์ ๑๘. สมาธินทรีย์
๑๙. ปัญญินทรีย์ ๒๐. อนัญญาตัญญัสสามีตินทรีย์
๒๑. อัญญินทรีย์ ๒๒. อัญญาตาวินทรีย์

[๒๒๐] บรรดาอินทรีย์ ๒๒ นั้น จักขุนทรีย์ เป็นไฉน
จักษุใดเป็นปสาทรูป อาศัยมหาภูตรูป ๔ ฯลฯ นี้ชื่อว่าบ้านว่างบ้าง นี้เรียก
ว่า จักขุนทรีย์๑ (๑)
โสตินทรีย์ ฯลฯ ฆานินทรีย์ ฯลฯ ชิวหินทรีย์ ฯลฯ กายินทรีย์ เป็นไฉน
กายใดเป็นปสาทรูปอาศัยมหาภูตรูป ๔ ฯลฯ นี้ชื่อว่าบ้านว่างบ้าง นี้เรียกว่า
กายินทรีย์๒ (๕)
มนินทรีย์ เป็นไฉน
มนินทรีย์หมวดละ ๑ ได้แก่ มนินทรีย์ที่สัมปยุตด้วยผัสสะ
มนินทรีย์หมวดละ ๒ ได้แก่ มนินทรีย์ที่มีเหตุก็มี ที่ไม่มีเหตุก็มี

เชิงอรรถ :
๑ อภิ.สงฺ. ๓๔/๗๑๐/๒๐๔ ๒ อภิ.สงฺ. ๓๔/๗๑๒/๒๐๔

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๑๙๗ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๕.อินทริยวิภังค์] ๑.อภิธรรมภาชนีย์
มนินทรีย์หมวดละ ๓ ได้แก่ มนินทรีย์ที่เป็นกุศลก็มี ที่เป็นอกุศลก็มี ที่เป็น
อัพยากฤตก็มี
มนินทรีย์หมวดละ ๔ ได้แก่ มนินทรีย์ที่เป็นกามาวจรก็มี ที่เป็นรูปาวจรก็มี
ที่เป็นอรูปาวจรก็มี ที่ไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ก็มี
มนินทรีย์หมวดละ ๕ ได้แก่ มนินทรีย์ที่สัมปยุตด้วยสุขินทรีย์ก็มี ที่สัมปยุต
ด้วยทุกขินทรีย์ก็มี ที่สัมปยุตด้วยโสมนัสสินทรีย์ก็มี ที่สัมปยุตด้วยโทมนัสสินทรีย์ก็มี
ที่สัมปยุตด้วยอุเปกขินทรีย์ก็มี
มนินทรีย์หมวดละ ๖ ได้แก่ จักขุวิญญาณ ฯลฯ มโนวิญญาณ
มนินทรีย์หมวดละ ๖ มีด้วยอาการอย่างนี้
มนินทรีย์หมวดละ ๗ ได้แก่ จักขุวิญญาณ ฯลฯ กายวิญญาณ มโนธาตุ
และมโนวิญญาณธาตุ
มนินทรีย์หมวดละ ๗ มีด้วยอาการอย่างนี้
มนินทรีย์หมวดละ ๘ ได้แก่ จักขุวิญญาณ ฯลฯ กายวิญญาณที่สหรคต
ด้วยสุขก็มี ที่สหรคตด้วยทุกข์ก็มี มโนธาตุ และมโนวิญญาณธาตุ
มนินทรีย์หมวดละ ๘ มีด้วยอาการอย่างนี้
มนินทรีย์หมวดละ ๙ ได้แก่ จักขุวิญญาณ ฯลฯ กายวิญญาณ มโนธาตุ
และมโนวิญญาณธาตุที่เป็นกุศลก็มี ที่เป็นอกุศลก็มี ที่เป็นอัพยากฤตก็มี
มนินทรีย์หมวดละ ๙ มีด้วยอาการอย่างนี้
มนินทรีย์หมวดละ ๑๐ ได้แก่ จักขุวิญญาณ ฯลฯ กายวิญญาณที่สหรคต
ด้วยสุขก็มี ที่สหรคตด้วยทุกข์ก็มี มโนธาตุ และมโนวิญญาณธาตุที่เป็นกุศลก็มี ที่
เป็นอกุศลก็มี ที่เป็นอัพยากฤตก็มี
มนินทรีย์หมวดละ ๑๐ มีด้วยอาการอย่างนี้
ฯลฯ
มนินทรีย์หมวดละมากอย่างมีด้วยอาการอย่างนี้
นี้เรียกว่า มนินทรีย์ (๖)


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๑๙๘ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๕.อินทริยวิภังค์] ๑.อภิธรรมภาชนีย์
อิตถินทรีย์ เป็นไฉน
ทรวดทรงหญิง เครื่องหมายประจำเพศหญิง กิริยาหญิง อาการหญิง สภาพ
หญิง ภาวะหญิงของสตรี นี้เรียกว่า อิตถินทรีย์๑ (๗)
ปุริสินทรีย์ เป็นไฉน
ทรวดทรงชาย เครื่องหมายประจำเพศชาย กิริยาชาย อาการชาย สภาพ
ชาย ภาวะชายของบุรุษ นี้เรียกว่า ปุริสินทรีย์๒ (๘)
ชีวิตินทรีย์ เป็นไฉน
ชีวิตินทรีย์หมวดละ ๒ ได้แก่ ชีวิตินทรีย์ที่เป็นรูปก็มี ชีวิตินทรีย์ที่ไม่เป็นรูป
ก็มี
ในชีวิตินทรีย์ทั้ง ๒ นั้น ชีวิตินทรีย์ที่เป็นรูป เป็นไฉน
อายุ ความดำรงอยู่ ความเป็นไป กิริยาที่ให้เป็นไป อาการที่สืบเนื่องกัน ความ
ดำเนินไป ความหล่อเลี้ยง ชีวิต ชีวิตินทรีย์แห่งสภาวธรรมที่เป็นรูปเหล่านั้น นี้
เรียกว่า ชีวิตินทรีย์ที่เป็นรูป๓
ชีวิตินทรีย์ที่ไม่เป็นรูป เป็นไฉน
อายุ ความดำรงอยู่ ความเป็นไป กิริยาที่ให้เป็นไป อาการที่สืบเนื่องกัน ความ
ดำเนินไป ความหล่อเลี้ยง ชีวิต ชีวิตินทรีย์แห่งสภาวธรรมที่ไม่เป็นรูปเหล่านั้น
นี้เรียกว่า ชีวิตินทรีย์ที่ไม่เป็นรูป
นี้เรียกว่า ชีวิตินทรีย์ (๙)
สุขินทรีย์ เป็นไฉน
ความสำราญทางกาย ความสุขทางกาย ความเสวยอารมณ์ที่สำราญเป็นสุข
อันเกิดแต่กายสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่สำราญเป็นสุข อันเกิดแต่กายสัมผัส นี้
เรียกว่า สุขินทรีย์๔ (๑๐)
ทุกขินทรีย์ เป็นไฉน

เชิงอรรถ :
๑ อภิ.สงฺ. ๓๔/๖๓๒/๑๙๔,๗๑๔/๒๐๕ ๒ อภิ.สงฺ. ๓๔/๖๓๓/๑๙๕,๗๑๖/๒๐๕
๓ อภิ.สงฺ. ๓๔/๖๓๔/๑๙๕,๗๑๘/๒๐๕ ๔ อภิ.สงฺ. ๓๔/๔๕๒/๑๒๔

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๑๙๙ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๕.อินทริยวิภังค์] ๑.อภิธรรมภาชนีย์
ความไม่สำราญทางกาย ความทุกข์ทางกาย ความเสวยอารมณ์ที่ไม่สำราญ
เป็นทุกข์ อันเกิดแต่กายสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่ไม่สำราญเป็นทุกข์ อันเกิดแต่
กายสัมผัส นี้เรียกว่า ทุกขินทรีย์๑ (๑๑)
โสมนัสสินทรีย์ เป็นไฉน
ความสำราญทางใจ ความสุขทางใจ ความเสวยอารมณ์ที่สำราญเป็นสุข
อันเกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่สำราญเป็นสุข อันเกิดแต่เจโตสัมผัส นี้
เรียกว่า โสมนัสสินทรีย์๒ (๑๒)
โทมนัสสินทรีย์ เป็นไฉน
ความไม่สำราญทางใจ ความทุกข์ทางใจ ความเสวยอารมณ์ที่ไม่สำราญเป็น
ทุกข์ อันเกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่ไม่สำราญเป็นทุกข์ อันเกิดแต่
เจโตสัมผัส นี้เรียกว่า โทมนัสสินทรีย์๓ (๑๓)
อุเปกขินทรีย์ เป็นไฉน
ความสำราญทางใจก็ไม่ใช่ ความไม่สำราญทางใจก็ไม่ใช่ ความเสวยอารมณ์
ที่ไม่ทุกข์ไม่สุข อันเกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่ไม่ทุกข์ไม่สุข อันเกิดแต่
เจโตสัมผัส นี้เรียกว่า อุเปกขินทรีย์๔ (๑๔)
สัทธินทรีย์ เป็นไฉน
ศรัทธา ความเชื่อ ความปลงใจเชื่อ ความเลื่อมใสยิ่ง ศรัทธา สัทธินทรีย์
สัทธาพละ นี้เรียกว่า สัทธินทรีย์๕ (๑๕)
วิริยินทรีย์ เป็นไฉน
การปรารภความเพียรทางใจ ความขะมักเขม้น ความบากบั่น ความขวนขวาย
ความพยายาม ความอุตสาหะ ความทนทาน ความเข้มแข็ง ความหมั่น ความมุ่งมั่น
อย่างไม่ท้อถอย ความไม่ทอดทิ้งฉันทะ ความไม่ทอดทิ้งธุระ ความเอาใจใส่ธุระ
วิริยะ วิริยินทรีย์ วิริยพละ สัมมาวายามะ นี้เรียกว่า วิริยินทรีย์๖ (๑๖)

เชิงอรรถ :
๑ อภิ.สงฺ. ๓๔/๕๖๐/๑๕๘ ๒ อภิ.สงฺ. ๓๔/๑๘/๒๔
๓ อภิ.สงฺ. ๓๔/๔๑๗/๑๑๖ ๔ อภิ.สงฺ. ๓๔/๑๕๔/๔๗
๕ อภิ.สงฺ. ๓๔/๑๒/๒๓ ๖ อภิ.สงฺ. ๓๔/๑๓/๒๓

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๒๐๐ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๕.อินทริยวิภังค์] ๑.อภิธรรมภาชนีย์
สตินทรีย์ เป็นไฉน
สติ ความตามระลึก ความหวนระลึก สติ กิริยาที่ระลึก ความทรงจำ ความ
ไม่เลื่อนลอย ความไม่หลงลืม สติ สตินทรีย์ สติพละ สัมมาสติ นี้เรียกว่า
สตินทรีย์๑ (๑๗)
สมาธินทรีย์ เป็นไฉน
ความตั้งอยู่แห่งจิต ความดำรงมั่น ความดำรงอยู่ ความตั้งมั่น ความไม่
ซัดส่าย ความไม่ฟุ้งซ่าน ความที่จิตไม่ซัดส่าย สมถะ สมาธินทรีย์ สมาธิพละ
สัมมาสมาธิ นี้เรียกว่า สมาธินทรีย์๒ (๑๘)
ปัญญินทรีย์ เป็นไฉน
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลงงมงาย ความเลือกเฟ้นธรรม
สัมมาทิฏฐิ นี้เรียกว่า ปัญญินทรีย์๓ (๑๙)
อนัญญาตัญญัสสามีตินทรีย์ เป็นไฉน
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลงงมงาย ความเลือกเฟ้นธรรม สัมมา-
ทิฏฐิ ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์อันเป็นองค์มรรค นับเนื่องในมรรค เพื่อรู้ธรรมที่ยังไม่
เคยรู้ เพื่อเห็นธรรมที่ยังไม่เคยเห็น เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่เคยบรรลุ เพื่อทราบ
ธรรมที่ยังไม่เคยทราบ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่เคยทำให้แจ้งนั้น ๆ นี้เรียกว่า
อนัญญาตัญญัสสามีตินทรีย์๔ (๒๐)
อัญญินทรีย์ เป็นไฉน
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลงงมงาย ความเลือกเฟ้นธรรม สัมมา-
ทิฏฐิ ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์อันเป็นองค์มรรค นับเนื่องในมรรค เพื่อรู้ธรรมที่รู้แล้ว
เพื่อเห็นธรรมที่เห็นแล้ว เพื่อบรรลุธรรมที่บรรลุแล้ว เพื่อทราบธรรมที่ทราบแล้ว
เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ทำให้แจ้งแล้วนั้น ๆ นี้เรียกว่า อัญญินทรีย์๕ (๒๑)

เชิงอรรถ :
๑ อภิ.สงฺ. ๓๔/๑๔/๒๓ ๒ อภิ.สงฺ. ๓๔/๑๕/๒๓ ๓ อภิ.สงฺ. ๓๔/๑๖/๒๔
๔ หมายถึงโสดาปัตติมรรค (อภิ.สงฺ. ๓๔/๒๙๖/๘๘, อภิ.วิ.อ. ๒๑๙/๑๓๔)
๕ หมายถึงโสดาปัตติผลถึงอรหัตตมรรค (อภิ.สงฺ. ๓๔/๓๖๔/๑๐๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๒๐๑ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๕.อินทริยวิภังค์] ๒.ปัญหาปุจฉกะ ๒. ปัญหาปุจฉกะ
อัญญาตาวินทรีย์ เป็นไฉน
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลงงมงาย ความเลือกเฟ้นธรรม สัมมา-
ทิฏฐิ ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์มรรค นับเนื่องในมรรค เพื่อรู้ธรรมที่รู้ทั่วแล้ว
เพื่อเห็นธรรมที่เห็นแล้ว เพื่อบรรลุธรรมที่บรรลุแล้ว เพื่อทราบธรรมที่ทราบแล้ว
เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ทำให้แจ้งแล้วนั้น ๆ นี้เรียกว่า อัญญาตาวินทรีย์๑ (๒๒)
อภิธรรมภาชนีย์ จบ

๒. ปัญหาปุจฉกะ
[๒๒๑] อินทรีย์ ๒๒ คือ

๑. จักขุนทรีย์ ๒. โสตินทรีย์
๓. ฆานินทรีย์ ๔. ชิวหินทรีย์
๕. กายินทรีย์ ๖. มนินทรีย์
๗. อิตถินทรีย์ ๘. ปุริสินทรีย์
๙. ชีวิตินทรีย์ ๑๐. สุขินทรีย์
๑๑. ทุกขินทรีย์ ๑๒. โสมนัสสินทรีย์
๑๓. โทมนัสสินทรีย์ ๑๔. อุเปกขินทรีย์
๑๕. สัทธินทรีย์ ๑๖. วิริยินทรีย์
๑๗. สตินทรีย์ ๑๘. สมาธินทรีย์
๑๙. ปัญญินทรีย์ ๒๐. อนัญญาตัญญัสสามีตินทรีย์
๒๑. อัญญินทรีย์ ๒๒. อัญญาตาวินทรีย์

ติกมาติกาปุจฉา ทุกมาติกาปุจฉา
[๒๒๒] บรรดาอินทรีย์ ๒๒ อินทรีย์เท่าไรเป็นกุศล เท่าไรเป็นอกุศล เท่าไร
เป็นอัพยากฤต ฯลฯ เท่าไรเป็นเหตุให้สัตว์ร้องไห้ เท่าไรไม่เป็นเหตุให้สัตว์ร้องไห้

เชิงอรรถ :
๑ หมายถึงอรหัตตผล (อภิ.สงฺ.อ. ๕๕๓/๓๕๐)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๒๐๒ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๕.อินทริยวิภังค์] ๒.ปัญหาปุจฉกะ ๑.ติกมาติกาวิสัชนา
๑. ติกมาติกาวิสัชนา
๑. กุสลติกวิสัชนา
[๒๒๓] อินทรีย์ ๑๐ เป็นอัพยากฤต โทมนัสสินทรีย์เป็นอกุศล อนัญญาตัญ-
ญัสสามีตินทรีย์เป็นกุศล อินทรีย์ ๔ ที่เป็นกุศลก็มี ที่เป็นอัพยากฤตก็มี อินทรีย์ ๖
ที่เป็นกุศลก็มี ที่เป็นอกุศลก็มี ที่เป็นอัพยากฤตก็มี

๒. เวทนาติกวิสัชนา
อินทรีย์ ๑๒ กล่าวไม่ได้ว่า สัมปยุตด้วยสุขเวทนา สัมปยุตด้วยทุกขเวทนา
หรือสัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา อินทรีย์ ๖ ที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาก็มี ที่สัมปยุต
ด้วยอทุกขมสุขเวทนาก็มี อินทรีย์ ๓ ที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาก็มี ที่สัมปยุตด้วย
ทุกขเวทนาก็มี ที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนาก็มี ชีวิตินทรีย์ที่สัมปยุตด้วยสุข-
เวทนาก็มี ที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนาก็มี ที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนาก็มี ที่กล่าว
ไม่ได้ว่า สัมปยุตด้วยสุขเวทนา สัมปยุตด้วยทุกขเวทนา หรือสัมปยุตด้วยอทุกขม-
สุขเวทนาก็มี

๓. วิปากติกวิสัชนา
อินทรีย์ ๗ ไม่เป็นวิบากและไม่เป็นเหตุให้เกิดวิบาก อินทรีย์ ๓ เป็นวิบาก
อินทรีย์ ๒ เป็นเหตุให้เกิดวิบาก อัญญินทรีย์ที่เป็นวิบากก็มี ที่เป็นเหตุให้เกิดวิบาก
ก็มี อินทรีย์ ๙ ที่เป็นวิบากก็มี ที่เป็นเหตุให้เกิดวิบากก็มี ที่ไม่เป็นวิบากและไม่
เป็นเหตุให้เกิดวิบากก็มี

๔. อุปาทินนติกวิสัชนา
อินทรีย์ ๙ กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือและเป็นอารมณ์ของ
อุปาทาน โทมนัสสินทรีย์กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือแต่เป็น
อารมณ์ของอุปาทาน อินทรีย์ ๓ กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือ
และไม่เป็นอารมณ์ของอุปาทาน อินทรีย์ ๙ ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิ
ยึดถือและเป็นอารมณ์ของอุปาทานก็มี ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่
ยึดถือแต่เป็นอารมณ์ของอุปาทานก็มี ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือ
และไม่เป็นอารมณ์ของอุปาทานก็มี


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๒๐๓ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๕.อินทริยวิภังค์] ๒.ปัญหาปุจฉกะ ๑.ติกมาติกาวิสัชนา
๕. สังกิลิฏฐติกวิสัชนา
อินทรีย์ ๙ กิเลสไม่ทำให้เศร้าหมองแต่เป็นอารมณ์ของกิเลส โทมนัสสินทรีย์
กิเลสทำให้เศร้าหมองและเป็นอารมณ์ของกิเลส อินทรีย์ ๓ กิเลสไม่ทำให้เศร้าหมอง
และไม่เป็นอารมณ์ของกิเลส อินทรีย์ ๓ ที่กิเลสไม่ทำให้เศร้าหมองแต่เป็นอารมณ์ของ
กิเลสก็มี ที่กิเลสไม่ทำให้เศร้าหมองและไม่เป็นอารมณ์ของกิเลสก็มี อินทรีย์ ๖ ที่
กิเลสทำให้เศร้าหมองและเป็นอารมณ์ของกิเลสก็มี ที่กิเลสไม่ทำให้เศร้าหมองแต่
เป็นอารมณ์ของกิเลสก็มี ที่กิเลสไม่ทำให้เศร้าหมองและไม่เป็นอารมณ์ของกิเลสก็มี

๖. สวิตักกติกวิสัชนา
อินทรีย์ ๙ ไม่มีทั้งวิตกและวิจาร โทมนัสสินทรีย์มีทั้งวิตกและวิจาร
อุเปกขินทรีย์ที่มีทั้งวิตกและวิจารก็มี ที่ไม่มีทั้งวิตกและวิจารก็มี อินทรีย์ ๑๑ ที่มี
ทั้งวิตกและวิจารก็มี ที่ไม่มีวิตกมีเพียงวิจารก็มี ที่ไม่มีทั้งวิตกและวิจารก็มี

๗. ปีติติกวิสัชนา
อินทรีย์ ๑๑ กล่าวไม่ได้ว่า สหรคตด้วยปีติ สหรคตด้วยสุข หรือสหรคตด้วย
อุเบกขา โสมนัสสินทรีย์ ที่สหรคตด้วยปีติแต่ไม่สหรคตด้วยสุขและไม่สหรคตด้วย
อุเบกขาก็มี ที่กล่าวไม่ได้ว่า สหรคตด้วยปีติก็มี อินทรีย์ ๖ ที่สหรคตด้วยปีติก็มี ที่
สหรคตด้วยสุขก็มี ที่สหรคตด้วยอุเบกขาก็มี อินทรีย์ ๔ ที่สหรคตด้วยปีติก็มี ที่
สหรคตด้วยสุขก็มี ที่สหรคตด้วยอุเบกขาก็มี ที่กล่าวไม่ได้ว่า สหรคตด้วยปีติ
สหรคตด้วยสุข หรือสหรคตด้วยอุเบกขาก็มี

๘. ทัสสนติกวิสัชนา
อินทรีย์ ๑๕ ไม่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคและมรรคเบื้องบน ๓
โทมนัสสินทรีย์ที่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคก็มี ที่ต้องประหาณด้วยมรรค
เบื้องบน ๓ ก็มี อินทรีย์ ๖ ที่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคก็มี ที่ต้องประหาณ
ด้วยมรรคเบื้องบน ๓ ก็มี ที่ไม่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคและมรรคเบื้องบน
๓ ก็มี


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๒๐๔ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๕.อินทริยวิภังค์] ๒.ปัญหาปุจฉกะ ๑.ติกมาติกาวิสัชนา
๙. ทัสสนเหตุติกวิสัชนา
อินทรีย์ ๑๕ ไม่มีเหตุต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคและมรรคเบื้องบน ๓
โทมนัสสินทรีย์ที่มีเหตุต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคก็มี ที่มีเหตุต้องประหาณ
ด้วยมรรคเบื้องบน ๓ ก็มี อินทรีย์ ๖ ที่มีเหตุต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคก็มี
ที่มีเหตุต้องประหาณด้วยมรรคเบื้องบน ๓ ก็มี ที่ไม่มีเหตุต้องประหาณด้วยโสดา-
ปัตติมรรคและมรรคเบื้องบน ๓ ก็มี

๑๐. อาจยคามิติกวิสัชนา
อินทรีย์ ๑๐ ไม่เป็นเหตุให้ถึงปฏิสนธิ จุติ และนิพพาน โทมนัสสินทรีย์เป็น
เหตุให้ถึงปฏิสนธิและจุติ อนัญญาตัญญัสสามีตินทรีย์เป็นเหตุให้ถึงนิพพาน
อัญญินทรีย์ที่เป็นเหตุให้ถึงนิพพานก็มี ที่ไม่เป็นเหตุให้ถึงปฏิสนธิ จุติ และนิพพาน
ก็มี อินทรีย์ ๙ ที่เป็นเหตุให้ถึงปฏิสนธิและจุติก็มี ที่เป็นเหตุให้ถึงนิพพานก็มี ที่ไม่
เป็นเหตุให้ถึงปฏิสนธิ จุติ และนิพพานก็มี

๑๑. เสกขติกวิสัชนา
อินทรีย์ ๑๐ ไม่เป็นของเสขบุคคลและอเสขบุคคล อินทรีย์ ๒ เป็นของเสข-
บุคคล อัญญาตาวินทรีย์เป็นของอเสขบุคคล อินทรีย์ ๙ ที่เป็นของเสขบุคคลก็มี
ที่เป็นของอเสขบุคคลก็มี ที่ไม่เป็นของเสขบุคคลและอเสขบุคคลก็มี

๑๒. ปริตตติกวิสัชนา
อินทรีย์ ๑๐ เป็นปริตตะ อินทรีย์ ๓ เป็นอัปปมาณะ อินทรีย์ ๙ ที่เป็นปริตตะ
ก็มี ที่เป็นมหัคคตะก็มี ที่เป็นอัปปมาณะก็มี

๑๓. ปริตตารัมมณติกวิสัชนา
อินทรีย์ ๗ รับรู้อารมณ์ไม่ได้ อินทรีย์ ๒ มีปริตตะเป็นอารมณ์ อินทรีย์ ๓ มี
อัปปมาณะเป็นอารมณ์ โทมนัสสินทรีย์ที่มีปริตตะเป็นอารมณ์ก็มี ที่มีมหัคคตะเป็น
อารมณ์แต่ไม่มีอัปปมาณะเป็นอารมณ์ก็มี ที่กล่าวไม่ได้ว่า มีปริตตะเป็นอารมณ์


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๒๐๕ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๕.อินทริยวิภังค์] ๒.ปัญหาปุจฉกะ ๑.ติกมาติกาวิสัชนา
หรือมีมหัคคตะเป็นอารมณ์ก็มี อินทรีย์ ๙ ที่มีปริตตะเป็นอารมณ์ก็มี ที่มีมหัคคตะ
เป็นอารมณ์ก็มี ที่มีอัปปมาณะเป็นอารมณ์ก็มี ที่กล่าวไม่ได้ว่า มีปริตตะเป็นอารมณ์
มีมหัคคตะเป็นอารมณ์ หรือมีอัปปมาณะเป็นอารมณ์ก็มี

๑๔. หีนติกวิสัชนา
อินทรีย์ ๙ เป็นชั้นกลาง โทมนัสสินทรีย์เป็นชั้นต่ำ อินทรีย์ ๓ เป็นชั้น
ประณีต อินทรีย์ ๓ ที่เป็นชั้นกลางก็มี ที่เป็นชั้นประณีตก็มี อินทรีย์ ๖ ที่เป็นชั้นต่ำ
ก็มี ที่เป็นชั้นกลางก็มี ที่เป็นชั้นประณีตก็มี

๑๕. มิจฉัตตติกวิสัชนา
อินทรีย์ ๑๐ ไม่แน่นอนโดยอาการทั้งสองนั้น อนัญญาตัญญัสสามีตินทรีย์มี
สภาวะชอบและให้ผลแน่นอน อินทรีย์ ๔ ที่มีสภาวะชอบและให้ผลแน่นอนก็มี ที่ไม่
แน่นอนโดยอาการทั้งสองนั้นก็มี โทมนัสสินทรีย์ที่มีสภาวะผิดและให้ผลแน่นอนก็มี
ที่ไม่แน่นอนโดยอาการทั้งสองนั้นก็มี อินทรีย์ ๖ ที่มีสภาวะผิดและให้ผลแน่นอนก็มี
ที่มีสภาวะชอบและให้ผลแน่นอนก็มี ที่ไม่แน่นอนโดยอาการทั้งสองนั้นก็มี

๑๖. มัคคารัมมณติกวิสัชนา
อินทรีย์ ๗ รับรู้อารมณ์ไม่ได้ อินทรีย์ ๔ กล่าวไม่ได้ว่า มีมรรคเป็นอารมณ์
มีมรรคเป็นเหตุ หรือมีมรรคเป็นอธิบดี อนัญญาตัญญัสสามีตินทรีย์ไม่ใช่มีมรรค
เป็นอารมณ์ ที่มีมรรคเป็นเหตุก็มี ที่มีมรรคเป็นอธิบดีก็มี ที่กล่าวไม่ได้ว่า มีมรรคเป็น
เหตุ หรือมีมรรคเป็นอธิบดีก็มี อัญญินทรีย์ไม่ใช่มีมรรคเป็นอารมณ์ ที่มีมรรคเป็น
เหตุก็มี ที่มีมรรคเป็นอธิบดีก็มี ที่กล่าวไม่ได้ว่า มีมรรคเป็นเหตุ หรือมีมรรคเป็น
อธิบดีก็มี อินทรีย์ ๙ ที่มีมรรคเป็นอารมณ์ก็มี ที่มีมรรคเป็นเหตุก็มี ที่มีมรรคเป็น
อธิบดีก็มี ที่กล่าวไม่ได้ว่า มีมรรคเป็นอารมณ์ มีมรรคเป็นเหตุ หรือมีมรรคเป็น
อธิบดีก็มี


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๒๐๖ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๕.อินทริยวิภังค์] ๒.ปัญหาปุจฉกะ ๑.ติกมาติกาวิสัชนา
๑๗. อุปปันนติกวิสัชนา
อินทรีย์ ๑๐ ที่เกิดขึ้นก็มี ที่จักเกิดขึ้นแน่นอนก็มี แต่กล่าวไม่ได้ว่า ยังไม่เกิด
ขึ้น อินทรีย์ ๒ ที่เกิดขึ้นก็มี ที่ยังไม่เกิดขึ้นก็มี แต่กล่าวไม่ได้ว่า จักเกิดขึ้นแน่นอน
อินทรีย์ ๑๐ ที่เกิดขึ้นก็มี ที่ยังไม่เกิดขึ้นก็มี ที่จักเกิดขึ้นแน่นอนก็มี

๑๘. อตีตติกวิสัชนา
อินทรีย์ ๒๒ ที่เป็นอดีตก็มี ที่เป็นอนาคตก็มี ที่เป็นปัจจุบันก็มี

๑๙. อตีตารัมมณติกวิสัชนา
อินทรีย์ ๗ รับรู้อารมณ์ไม่ได้ อินทรีย์ ๒ มีปัจจุบันธรรมเป็นอารมณ์
อินทรีย์ ๓ กล่าวไม่ได้ว่า มีอดีตธรรมเป็นอารมณ์ มีอนาคตธรรมเป็นอารมณ์ หรือ
มีปัจจุบันธรรมเป็นอารมณ์ อินทรีย์ ๑๐ ที่มีอดีตธรรมเป็นอารมณ์ก็มี ที่มีอนาคต-
ธรรมเป็นอารมณ์ก็มี ที่มีปัจจุบันธรรมเป็นอารมณ์ก็มี ที่กล่าวไม่ได้ว่า มีอดีตธรรม
เป็นอารมณ์ มีอนาคตธรรมเป็นอารมณ์ หรือมีปัจจุบันธรรมเป็นอารมณ์ก็มี

๒๐. อัชฌัตตติกวิสัชนา
อินทรีย์ ๒๒ ที่เป็นภายในตนก็มี ที่เป็นภายนอกตนก็มี ที่เป็นภายในตนและ
ภายนอกตนก็มี

๒๑. อัชฌัตตารัมมณติกวิสัชนา
อินทรีย์ ๗ รับรู้อารมณ์ไม่ได้ อินทรีย์ ๓ มีธรรมภายนอกตนเป็นอารมณ์
อินทรีย์ ๔ ที่มีธรรมภายในตนเป็นอารมณ์ก็มี ที่มีธรรมภายนอกตนเป็นอารมณ์ก็มี
ที่มีธรรมภายในตนและภายนอกตนเป็นอารมณ์ก็มี อินทรีย์ ๘ ที่มีธรรมภายในตน
เป็นอารมณ์ก็มี ที่มีธรรมภายนอกตนเป็นอารมณ์ก็มี ที่มีธรรมภายในตนและภาย
นอกตนเป็นอารมณ์ก็มี ที่กล่าวไม่ได้ว่า มีธรรมภายในตนเป็นอารมณ์ มีธรรมภาย
นอกตนเป็นอารมณ์ หรือมีธรรมภายในตนและภายนอกตนเป็นอารมณ์ก็มี

๒๒. สนิทัสสนติกวิสัชนา
อินทรีย์ ๕ เห็นไม่ได้แต่กระทบได้ อินทรีย์ ๑๗ เห็นไม่ได้และกระทบไม่ได้


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๒๐๗ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๕.อินทริยวิภังค์] ๒.ปัญหาปุจฉกะ ๒.ทุกมาติกาวิสัชนา
๒. ทุกมาติกาวิสัชนา
๑. เหตุโคจฉกวิสัชนา
[๒๒๔] อินทรีย์ ๔ เป็นเหตุ อินทรีย์ ๑๘ ไม่เป็นเหตุ
อินทรีย์ ๗ มีเหตุ อินทรีย์ ๙ ไม่มีเหตุ อินทรีย์ ๖ ที่มีเหตุก็มี ที่ไม่มีเหตุก็มี
อินทรีย์ ๗ สัมปยุตด้วยเหตุ อินทรีย์ ๙ วิปปยุตจากเหตุ อินทรีย์ ๖ ที่
สัมปยุตด้วยเหตุก็มี ที่วิปปยุตจากเหตุก็มี
อินทรีย์ ๔ เป็นเหตุและมีเหตุ อินทรีย์ ๙ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นเหตุและมีเหตุ
หรือมีเหตุแต่ไม่เป็นเหตุ อินทรีย์ ๓ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นเหตุและมีเหตุ หรือมีเหตุ
แต่ไม่เป็นเหตุ อินทรีย์ ๖ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นเหตุและมีเหตุ ที่มีเหตุแต่ไม่เป็นเหตุก็มี
ที่กล่าวไม่ได้ว่า มีเหตุแต่ไม่เป็นเหตุก็มี
อินทรีย์ ๔ เป็นเหตุและสัมปยุตด้วยเหตุ อินทรีย์ ๙ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นเหตุ
และสัมปยุตด้วยเหตุ หรือสัมปยุตด้วยเหตุแต่ไม่เป็นเหตุ อินทรีย์ ๓ กล่าวไม่ได้ว่า
เป็นเหตุและสัมปยุตด้วยเหตุ หรือสัมปยุตด้วยเหตุแต่ไม่เป็นเหตุ อินทรีย์ ๖
กล่าวไม่ได้ว่า เป็นเหตุและสัมปยุตด้วยเหตุ ที่สัมปยุตด้วยเหตุแต่ไม่เป็นเหตุก็มี ที่
กล่าวไม่ได้ว่า สัมปยุตด้วยเหตุแต่ไม่เป็นเหตุก็มี
อินทรีย์ ๙ ไม่เป็นเหตุและไม่มีเหตุ อินทรีย์ ๓ ไม่เป็นเหตุแต่มีเหตุ อินทรีย์ ๔
กล่าวไม่ได้ว่าไม่เป็นเหตุแต่มีเหตุ หรือไม่เป็นเหตุและไม่มีเหตุ อินทรีย์ ๖ ที่ไม่
เป็นเหตุแต่มีเหตุก็มี ที่ไม่เป็นเหตุและไม่มีเหตุก็มี

๒. จูฬันตรทุกวิสัชนา
อินทรีย์ ๒๒ มีปัจจัยปรุงแต่ง อินทรีย์ ๒๒ ถูกปัจจัยปรุงแต่ง
อินทรีย์ ๒๒ เห็นไม่ได้ อินทรีย์ ๕ กระทบได้ อินทรีย์ ๑๗ กระทบไม่ได้
อินทรีย์ ๗ เป็นรูป อินทรีย์ ๑๔ ไม่เป็นรูป ชีวิตินทรีย์ที่เป็นรูปก็มี ที่ไม่เป็นรูป
ก็มี อินทรีย์ ๑๐ เป็นโลกิยะ อินทรีย์ ๓ เป็นโลกุตตระ อินทรีย์ ๙ ที่เป็นโลกิยะก็มี
ที่เป็นโลกุตตระก็มี
อินทรีย์ ๒๒ จิตบางดวงรู้ได้ อินทรีย์ ๒๒ จิตบางดวงรู้ไม่ได้


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๒๐๘ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๕.อินทริยวิภังค์] ๒.ปัญหาปุจฉกะ ๒.ทุกมาติกาวิสัชนา
๓. อาสวโคจฉกวิสัชนา
อินทรีย์ ๒๒ ไม่เป็นอาสวะ
อินทรีย์ ๑๐ เป็นอารมณ์ของอาสวะ อินทรีย์ ๓ ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะ
อินทรีย์ ๙ ที่เป็นอารมณ์ของอาสวะก็มี ที่ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะก็มี
อินทรีย์ ๑๕ วิปปยุตจากอาสวะ โทมนัสสินทรีย์สัมปยุตด้วยอาสวะ
อินทรีย์ ๖ ที่สัมปยุตด้วยอาสวะก็มี ที่วิปปยุตจากอาสวะก็มี
อินทรีย์ ๑๐ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นอาสวะและเป็นอารมณ์ของอาสวะ หรือเป็น
อารมณ์ของอาสวะแต่ไม่เป็นอาสวะ อินทรีย์ ๓ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นอาสวะและ
เป็นอารมณ์ของอาสวะ หรือเป็นอารมณ์ของอาสวะแต่ไม่เป็นอาสวะ อินทรีย์ ๙
กล่าวไม่ได้ว่า เป็นอาสวะและเป็นอารมณ์ของอาสวะ ที่เป็นอารมณ์ของอาสวะแต่ไม่
เป็นอาสวะก็มี ที่กล่าวไม่ได้ว่า เป็นอารมณ์ของอาสวะแต่ไม่เป็นอาสวะก็มี
อินทรีย์ ๑๕ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นอาสวะและสัมปยุตด้วยอาสวะ หรือสัมปยุต
ด้วยอาสวะแต่ไม่เป็นอาสวะ โทมนัสสินทรีย์กล่าวไม่ได้ว่า เป็นอาสวะและสัมปยุต
ด้วยอาสวะ หรือสัมปยุตด้วยอาสวะแต่ไม่เป็นอาสวะ อินทรีย์ ๖ กล่าวไม่ได้ว่า
เป็นอาสวะและสัมปยุตด้วยอาสวะ ที่สัมปยุตด้วยอาสวะแต่ไม่เป็นอาสวะก็มี ที่
กล่าวไม่ได้ว่า สัมปยุตด้วยอาสวะแต่ไม่เป็นอาสวะก็มี
อินทรีย์ ๙ วิปปยุตจากอาสวะแต่เป็นอารมณ์ของอาสวะ อินทรีย์ ๓ วิปปยุต
จากอาสวะและไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะ โทมนัสสินทรีย์กล่าวไม่ได้ว่า วิปปยุต
จากอาสวะแต่เป็นอารมณ์ของอาสวะ หรือวิปปยุตจากอาสวะและไม่เป็นอารมณ์
ของอาสวะ อินทรีย์ ๓ ที่วิปปยุตจากอาสวะแต่เป็นอารมณ์ของอาสวะก็มี ที่วิปปยุต
จากอาสวะและไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะก็มี อินทรีย์ ๖ ที่วิปปยุตจากอาสวะแต่
เป็นอารมณ์ของอาสวะก็มี ที่วิปปยุตจากอาสวะและไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะก็มี
ที่กล่าวไม่ได้ว่า วิปปยุตจากอาสวะแต่เป็นอารมณ์ของอาสวะ หรือวิปปยุตจากอาสวะ
และไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะก็มี

๔. สัญโญชนโคจฉกวิสัชนา
อินทรีย์ ๒๒ ไม่เป็นสังโยชน์


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๒๐๙ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๕.อินทริยวิภังค์] ๒.ปัญหาปุจฉกะ ๒.ทุกมาติกาวิสัชนา
อินทรีย์ ๑๐ เป็นอารมณ์ของสังโยชน์ อินทรีย์ ๓ ไม่เป็นอารมณ์ของสังโยชน์
อินทรีย์ ๙ ที่เป็นอารมณ์ของสังโยชน์ก็มี ที่ไม่เป็นอารมณ์ของสังโยชน์ก็มี
อินทรีย์ ๑๕ วิปปยุตจากสังโยชน์ โทมนัสสินทรีย์สัมปยุตด้วยสังโยชน์
อินทรีย์ ๖ ที่สัมปยุตด้วยสังโยชน์ก็มี ที่วิปปยุตจากสังโยชน์ก็มี
อินทรีย์ ๑๐ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นสังโยชน์และเป็นอารมณ์ของสังโยชน์ หรือเป็น
อารมณ์ของสังโยชน์แต่ไม่เป็นสังโยชน์ อินทรีย์ ๓ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นสังโยชน์และ
เป็นอารมณ์ของสังโยชน์ หรือเป็นอารมณ์ของสังโยชน์แต่ไม่เป็นสังโยชน์ อินทรีย์ ๙
กล่าวไม่ได้ว่า เป็นสังโยชน์และเป็นอารมณ์ของสังโยชน์ ที่เป็นอารมณ์ของสังโยชน์แต่
ไม่เป็นสังโยชน์ก็มี ที่กล่าวไม่ได้ว่า เป็นอารมณ์ของสังโยชน์แต่ไม่เป็นสังโยชน์ก็มี
อินทรีย์ ๑๕ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นสังโยชน์และสัมปยุตด้วยสังโยชน์ หรือสัมปยุต
ด้วยสังโยชน์แต่ไม่เป็นสังโยชน์ โทมนัสสินทรีย์กล่าวไม่ได้ว่า เป็นสังโยชน์และ
สัมปยุตด้วยสังโยชน์ หรือสัมปยุตด้วยสังโยชน์แต่ไม่เป็นสังโยชน์ อินทรีย์ ๖ กล่าว
ไม่ได้ว่า เป็นสังโยชน์และสัมปยุตด้วยสังโยชน์ ที่สัมปยุตด้วยสังโยชน์แต่ไม่เป็นสังโยชน์
ก็มี ที่กล่าวไม่ได้ว่า สัมปยุตด้วยสังโยชน์แต่ไม่เป็นสังโยชน์ก็มี
อินทรีย์ ๙ วิปปยุตจากสังโยชน์แต่เป็นอารมณ์ของสังโยชน์ อินทรีย์ ๓
วิปปยุตจากสังโยชน์และไม่เป็นอารมณ์ของสังโยชน์ โทมนัสสินทรีย์กล่าวไม่ได้ว่า
วิปปยุตจากสังโยชน์แต่เป็นอารมณ์ของสังโยชน์ หรือวิปปยุตจากสังโยชน์และไม่เป็น
อารมณ์ของสังโยชน์ อินทรีย์ ๓ ที่วิปปยุตจากสังโยชน์แต่เป็นอารมณ์ของสังโยชน์ก็มี
ที่วิปปยุตจากสังโยชน์และไม่เป็นอารมณ์ของสังโยชน์ก็มี อินทรีย์ ๖ ที่วิปปยุตจาก
สังโยชน์แต่เป็นอารมณ์ของสังโยชน์ก็มี ที่วิปปยุตจากสังโยชน์และไม่เป็นอารมณ์ของ
สังโยชน์ก็มี ที่กล่าวไม่ได้ว่า วิปปยุตจากสังโยชน์แต่เป็นอารมณ์ของสังโยชน์ หรือ
วิปปยุตจากสังโยชน์และไม่เป็นอารมณ์ของสังโยชน์ก็มี

๕. คันถโคจฉกวิสัชนา
อินทรีย์ ๒๒ ไม่เป็นคันถะ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๒๑๐ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๕.อินทริยวิภังค์] ๒.ปัญหาปุจฉกะ ๒.ทุกมาติกาวิสัชนา
อินทรีย์ ๑๐ เป็นอารมณ์ของคันถะ อินทรีย์ ๓ ไม่เป็นอารมณ์ของคันถะ
อินทรีย์ ๙ ที่เป็นอารมณ์ของคันถะก็มี ที่ไม่เป็นอารมณ์ของคันถะก็มี
อินทรีย์ ๑๕ วิปปยุตจากคันถะ โทมนัสสินทรีย์สัมปยุตด้วยคันถะ อินทรีย์ ๖
ที่สัมปยุตด้วยคันถะก็มี ที่วิปปยุตจากคันถะก็มี
อินทรีย์ ๑๐ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นคันถะและเป็นอารมณ์ของคันถะ หรือเป็น
อารมณ์ของคันถะแต่ไม่เป็นคันถะ อินทรีย์ ๓ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นคันถะและเป็น
อารมณ์ของคันถะ หรือเป็นอารมณ์ของคันถะแต่ไม่เป็นคันถะ อินทรีย์ ๙ กล่าว
ไม่ได้ว่า เป็นคันถะและเป็นอารมณ์ของคันถะ ที่เป็นอารมณ์ของคันถะแต่ไม่เป็นคันถะ
ก็มี ที่กล่าวไม่ได้ว่า เป็นอารมณ์ของคันถะแต่ไม่เป็นคันถะก็มี
อินทรีย์ ๑๕ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นคันถะและสัมปยุตด้วยคันถะ หรือสัมปยุต
ด้วยคันถะแต่ไม่เป็นคันถะ โทมนัสสินทรีย์กล่าวไม่ได้ว่า เป็นคันถะและสัมปยุต
ด้วยคันถะ หรือสัมปยุตด้วยคันถะแต่ไม่เป็นคันถะ อินทรีย์ ๖ กล่าวไม่ได้ว่า เป็น
คันถะและสัมปยุตด้วยคันถะ ที่สัมปยุตด้วยคันถะแต่ไม่เป็นคันถะก็มี ที่กล่าวไม่ได้ว่า
สัมปยุตด้วยคันถะแต่ไม่เป็นคันถะก็มี
อินทรีย์ ๙ วิปปยุตจากคันถะแต่เป็นอารมณ์ของคันถะ อินทรีย์ ๓ วิปปยุต
จากคันถะและไม่เป็นอารมณ์ของคันถะ โทมนัสสินทรีย์กล่าวไม่ได้ว่า วิปปยุตจาก
คันถะแต่เป็นอารมณ์ของคันถะ หรือวิปปยุตจากคันถะและไม่เป็นอารมณ์ของ
คันถะ อินทรีย์ ๓ ที่วิปปยุตจากคันถะแต่เป็นอารมณ์ของคันถะก็มี ที่วิปปยุตจาก
คันถะและไม่เป็นอารมณ์ของคันถะก็มี อินทรีย์ ๖ ที่วิปปยุตจากคันถะแต่เป็น
อารมณ์ของคันถะก็มี ที่วิปปยุตจากคันถะและไม่เป็นอารมณ์ของคันถะก็มี ที่กล่าว
ไม่ได้ว่า วิปปยุตจากคันถะแต่เป็นอารมณ์ของคันถะ หรือวิปปยุตจากคันถะและไม่
เป็นอารมณ์ของคันถะก็มี

๖-๘. โอฆโคจฉกาทิวิสัชนา
อินทรีย์ ๒๒ ไม่เป็นโอฆะ ฯลฯ ไม่เป็นโยคะ ฯลฯ ไม่เป็นนิวรณ์
อินทรีย์ ๑๐ เป็นอารมณ์ของนิวรณ์ อินทรีย์ ๓ ไม่เป็นอารมณ์ของนิวรณ์
อินทรีย์ ๙ ที่เป็นอารมณ์ของนิวรณ์ก็มี ที่ไม่เป็นอารมณ์ของนิวรณ์ก็มี


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๒๑๑ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๕.อินทริยวิภังค์] ๒.ปัญหาปุจฉกะ ๒.ทุกมาติกาวิสัชนา
อินทรีย์ ๑๕ วิปปยุตจากนิวรณ์ โทมนัสสินทรีย์สัมปยุตด้วยนิวรณ์
อินทรีย์ ๖ ที่สัมปยุตด้วยนิวรณ์ก็มี ที่วิปปยุตจากนิวรณ์ก็มี
อินทรีย์ ๑๐ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นนิวรณ์และเป็นอารมณ์ของนิวรณ์ หรือเป็น
อารมณ์ของนิวรณ์แต่ไม่เป็นนิวรณ์ อินทรีย์ ๓ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นนิวรณ์และเป็น
อารมณ์ของนิวรณ์ หรือเป็นอารมณ์ของนิวรณ์แต่ไม่เป็นนิวรณ์ อินทรีย์ ๙ กล่าวไม่
ได้ว่า เป็นนิวรณ์และเป็นอารมณ์ของนิวรณ์ ที่เป็นอารมณ์ของนิวรณ์แต่ไม่เป็นนิวรณ์
ก็มี ที่กล่าวไม่ได้ว่า เป็นอารมณ์ของนิวรณ์แต่ไม่เป็นนิวรณ์ก็มี
อินทรีย์ ๑๕ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นนิวรณ์และสัมปยุตด้วยนิวรณ์ หรือสัมปยุต
ด้วยนิวรณ์แต่ไม่เป็นนิวรณ์ โทมนัสสินทรีย์กล่าวไม่ได้ว่า เป็นนิวรณ์และสัมปยุตด้วย
นิวรณ์ หรือสัมปยุตด้วยนิวรณ์แต่ไม่เป็นนิวรณ์ อินทรีย์ ๖ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นนิวรณ์
และสัมปยุตด้วยนิวรณ์ ที่สัมปยุตด้วยนิวรณ์แต่ไม่เป็นนิวรณ์ก็มี ที่กล่าวไม่ได้ว่า
สัมปยุตด้วยนิวรณ์แต่ไม่เป็นนิวรณ์ก็มี
อินทรีย์ ๙ วิปปยุตจากนิวรณ์แต่เป็นอารมณ์ของนิวรณ์ อินทรีย์ ๓ วิปปยุต
จากนิวรณ์และไม่เป็นอารมณ์ของนิวรณ์ โทมนัสสินทรีย์กล่าวไม่ได้ว่า วิปปยุตจาก
นิวรณ์แต่เป็นอารมณ์ของนิวรณ์ หรือวิปปยุตจากนิวรณ์และไม่เป็นอารมณ์ของนิวรณ์
อินทรีย์ ๓ ที่วิปปยุตจากนิวรณ์แต่เป็นอารมณ์ของนิวรณ์ก็มี ที่วิปปยุตจากนิวรณ์
และไม่เป็นอารมณ์ของนิวรณ์ก็มี อินทรีย์ ๖ ที่วิปปยุตจากนิวรณ์แต่เป็นอารมณ์
ของนิวรณ์ก็มี ที่วิปปยุตจากนิวรณ์และไม่เป็นอารมณ์ของนิวรณ์ก็มี ที่กล่าวไม่ได้ว่า
วิปปยุตจากนิวรณ์แต่เป็นอารมณ์ของนิวรณ์ หรือวิปปยุตจากนิวรณ์และไม่เป็น
อารมณ์ของนิวรณ์ก็มี

๙. ปรามาสโคจฉกวิสัชนา
อินทรีย์ ๒๒ ไม่เป็นปรามาส
อินทรีย์ ๑๐ เป็นอารมณ์ของปรามาส อินทรีย์ ๓ ไม่เป็นอารมณ์ของปรามาส
อินทรีย์ ๙ ที่เป็นอารมณ์ของปรามาสก็มี ที่ไม่เป็นอารมณ์ของปรามาสก็มี
อินทรีย์ ๑๖ วิปปยุตจากปรามาส อินทรีย์ ๖ ที่สัมปยุตด้วยปรามาสก็มี ที่
วิปปยุตจากปรามาสก็มี


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๒๑๒ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๕.อินทริยวิภังค์] ๒.ปัญหาปุจฉกะ ๒.ทุกมาติกาวิสัชนา
อินทรีย์ ๑๐ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นปรามาสและเป็นอารมณ์ของปรามาส หรือ
เป็นอารมณ์ของปรามาสแต่ไม่เป็นปรามาส อินทรีย์ ๓ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นปรามาส
และเป็นอารมณ์ของปรามาส หรือเป็นอารมณ์ของปรามาสแต่ไม่เป็นปรามาส
อินทรีย์ ๙ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นปรามาสและเป็นอารมณ์ของปรามาส ที่เป็นอารมณ์
ของปรามาสแต่ไม่เป็นปรามาสก็มี ที่กล่าวไม่ได้ว่า เป็นอารมณ์ของปรามาสแต่
ไม่เป็นปรามาสก็มี
อินทรีย์ ๑๐ วิปปยุตจากปรามาสแต่เป็นอารมณ์ของปรามาส อินทรีย์ ๓
วิปปยุตจากปรามาสและไม่เป็นอารมณ์ของปรามาส อินทรีย์ ๓ ที่วิปปยุตจาก
ปรามาสแต่เป็นอารมณ์ของปรามาสก็มี ที่วิปปยุตจากปรามาสและไม่เป็นอารมณ์
ของปรามาสก็มี อินทรีย์ ๖ ที่วิปปยุตจากปรามาสแต่เป็นอารมณ์ของปรามาสก็มี
ที่วิปปยุตจากปรามาสและไม่เป็นอารมณ์ของปรามาสก็มี ที่กล่าวไม่ได้ว่า วิปปยุต
จากปรามาสแต่เป็นอารมณ์ของปรามาส หรือวิปปยุตจากปรามาสและไม่เป็น
อารมณ์ของปรามาสก็มี

๑๐. มหันตรทุกวิสัชนา
อินทรีย์ ๗ รับรู้อารมณ์ไม่ได้ อินทรีย์ ๑๔ รับรู้อารมณ์ได้ ชีวิตินทรีย์ที่รับรู้
อารมณ์ได้ก็มี ที่รับรู้อารมณ์ไม่ได้ก็มี
อินทรีย์ ๒๑ ไม่เป็นจิต มนินทรีย์เป็นจิต
อินทรีย์ ๑๓ เป็นเจตสิก อินทรีย์ ๘ ไม่เป็นเจตสิก ชีวิตินทรีย์ที่เป็นเจตสิก
ก็มี ที่ไม่เป็นเจตสิกก็มี
อินทรีย์ ๑๓ สัมปยุตด้วยจิต อินทรีย์ ๗ วิปปยุตจากจิต ชีวิตินทรีย์ที่
สัมปยุตด้วยจิตก็มี ที่วิปปยุตจากจิตก็มี มนินทรีย์กล่าวไม่ได้ว่า สัมปยุตด้วยจิต
หรือวิปปยุตจากจิต
อินทรีย์ ๑๓ ระคนกับจิต อินทรีย์ ๗ ไม่ระคนกับจิต ชีวิตินทรีย์ที่ระคนกับจิต
ก็มี ที่ไม่ระคนกับจิตก็มี มนินทรีย์กล่าวไม่ได้ว่า ระคนกับจิต หรือไม่ระคนกับจิต


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๒๑๓ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๕.อินทริยวิภังค์] ๒.ปัญหาปุจฉกะ ๒.ทุกมาติกาวิสัชนา
อินทรีย์ ๑๓ มีจิตเป็นสมุฏฐาน อินทรีย์ ๘ ไม่มีจิตเป็นสมุฏฐาน ชีวิตินทรีย์
ที่มีจิตเป็นสมุฏฐานก็มี ที่ไม่มีจิตเป็นสมุฏฐานก็มี
อินทรีย์ ๑๓ เกิดพร้อมกับจิต อินทรีย์ ๘ ไม่เกิดพร้อมกับจิต ชีวิตินทรีย์
ที่เกิดพร้อมกับจิตก็มี ที่ไม่เกิดพร้อมกับจิตก็มี
อินทรีย์ ๑๓ เป็นไปตามจิต อินทรีย์ ๘ ไม่เป็นไปตามจิต ชีวิตินทรีย์ที่เป็นไป
ตามจิตก็มี ที่ไม่เป็นไปตามจิตก็มี
อินทรีย์ ๑๓ ระคนกับจิตและมีจิตเป็นสมุฏฐาน อินทรีย์ ๘ ไม่ระคนกับจิตและ
มีจิตเป็นสมุฏฐาน ชีวิตินทรีย์ที่ระคนกับจิตและมีจิตเป็นสมุฏฐานก็มี ที่ไม่ระคนกับ
จิตและมีจิตเป็นสมุฏฐานก็มี
อินทรีย์ ๑๓ ระคนกับจิตมีจิตเป็นสมุฏฐานและเกิดพร้อมกับจิต อินทรีย์ ๘
ไม่ระคนกับจิตมีจิตเป็นสมุฏฐานและเกิดพร้อมกับจิต ชีวิตินทรีย์ที่ระคนกับจิตมีจิต
เป็นสมุฏฐานและเกิดพร้อมกับจิตก็มี ที่ไม่ระคนกับจิตมีจิตเป็นสมุฏฐานและ
เกิดพร้อมกับจิตก็มี
อินทรีย์ ๑๓ ระคนกับจิตมีจิตเป็นสมุฏฐานและเป็นไปตามจิต อินทรีย์ ๘ ไม่
ระคนกับจิตมีจิตเป็นสมุฏฐานและเป็นไปตามจิต ชีวิตินทรีย์ที่ระคนกับจิตมีจิต
เป็นสมุฏฐานและเป็นไปตามจิตก็มี ที่ไม่ระคนกับจิตมีจิตเป็นสมุฏฐานและเป็นไป
ตามจิตก็มี
อินทรีย์ ๖ เป็นภายใน อินทรีย์ ๑๖ เป็นภายนอก
อินทรีย์ ๗ เป็นอุปาทายรูป อินทรีย์ ๑๔ ไม่เป็นอุปาทายรูป ชีวิตินทรีย์ที่
เป็นอุปาทายรูปก็มี ที่ไม่เป็นอุปาทายรูปก็มี
อินทรีย์ ๙ กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือ อินทรีย์ ๔ กรรม
อันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือ อินทรีย์ ๙ ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหา
และทิฏฐิยึดถือก็มี ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือก็มี


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๒๑๔ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๕.อินทริยวิภังค์] ๒.ปัญหาปุจฉกะ ๒.ทุกมาติกาวิสัชนา
๑๑. อุปาทานโคจฉกวิสัชนา
อินทรีย์ ๒๒ ไม่เป็นอุปาทาน
อินทรีย์ ๑๐ เป็นอารมณ์ของอุปาทาน อินทรีย์ ๓ ไม่เป็นอารมณ์ของอุปาทาน
อินทรีย์ ๙ ที่เป็นอารมณ์ของอุปาทานก็มี ที่ไม่เป็นอารมณ์ของอุปาทานก็มี
อินทรีย์ ๑๖ วิปปยุตจากอุปาทาน อินทรีย์ ๖ ที่สัมปยุตด้วยอุปาทานก็มี
ที่วิปปยุตจากอุปาทานก็มี
อินทรีย์ ๑๐ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นอุปาทานและเป็นอารมณ์ของอุปาทาน หรือ
เป็นอารมณ์ของอุปาทานแต่ไม่เป็นอุปาทาน อินทรีย์ ๓ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นอุปาทาน
และเป็นอารมณ์ของอุปาทาน หรือเป็นอารมณ์ของอุปาทานแต่ไม่เป็นอุปาทาน
อินทรีย์ ๙ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นอุปาทานและเป็นอารมณ์ของอุปาทาน ที่เป็นอารมณ์
ของอุปาทานแต่ไม่เป็นอุปาทานก็มี
อินทรีย์ ๑๐ ที่เป็นอารมณ์ของอุปาทานแต่ไม่เป็นอุปาทานก็มี ที่กล่าวไม่ได้ว่า
เป็นอารมณ์ของอุปาทานแต่ไม่เป็นอุปาทานก็มี
อินทรีย์ ๑๖ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นอุปาทานและสัมปยุตด้วยอุปาทาน หรือ
สัมปยุตด้วยอุปาทานแต่ไม่เป็นอุปาทาน อินทรีย์ ๖ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นอุปาทานและ
สัมปยุตด้วยอุปาทาน ที่สัมปยุตด้วยอุปาทานแต่ไม่เป็นอุปาทานก็มี ที่กล่าวไม่ได้ว่า
สัมปยุตด้วยอุปาทานแต่ไม่เป็นอุปาทานก็มี
อินทรีย์ ๑๐ วิปปยุตจากอุปาทานแต่เป็นอารมณ์ของอุปาทาน อินทรีย์ ๓
วิปปยุตจากอุปาทานและไม่เป็นอารมณ์ของอุปาทาน อินทรีย์ ๓ ที่วิปปยุตจาก
อุปาทานแต่เป็นอารมณ์ของอุปาทานก็มี ที่วิปปยุตจากอุปาทานและไม่เป็นอารมณ์
ของอุปาทานก็มี อินทรีย์ ๖ ที่วิปปยุตจากอุปาทานแต่เป็นอารมณ์ของอุปาทาน
ก็มี ที่วิปปยุตจากอุปาทานและไม่เป็นอารมณ์ของอุปาทานก็มี ที่กล่าวไม่ได้ว่า
วิปปยุตจากอุปาทานแต่เป็นอารมณ์ของอุปาทาน หรือวิปปยุตจากอุปาทานและ
ไม่เป็นอารมณ์ของอุปาทานก็มี


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๒๑๕ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๕.อินทริยวิภังค์] ๒.ปัญหาปุจฉกะ ๒.ทุกมาติกาวิสัชนา
๑๒. กิเลสโคจฉกวิสัชนา
อินทรีย์ ๒๒ ไม่เป็นกิเลส
อินทรีย์ ๑๐ เป็นอารมณ์ของกิเลส อินทรีย์ ๓ ไม่เป็นอารมณ์ของกิเลส
อินทรีย์ ๙ ที่เป็นอารมณ์ของกิเลสก็มี ที่ไม่เป็นอารมณ์ของกิเลสก็มี
อินทรีย์ ๑๕ กิเลสไม่ทำให้เศร้าหมอง โทมนัสสินทรีย์กิเลสทำให้เศร้าหมอง
อินทรีย์ ๖ ที่กิเลสทำให้เศร้าหมองก็มี ที่กิเลสไม่ทำให้เศร้าหมองก็มี
อินทรีย์ ๑๕ วิปปยุตจากกิเลส โทมนัสสินทรีย์สัมปยุตด้วยกิเลส อินทรีย์ ๖
ที่สัมปยุตด้วยกิเลสก็มี ที่วิปปยุตจากกิเลสก็มี อินทรีย์ ๑๐ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นกิเลส
และเป็นอารมณ์ของกิเลส หรือเป็นอารมณ์ของกิเลสแต่ไม่เป็นกิเลส อินทรีย์ ๓
กล่าวไม่ได้ว่า เป็นกิเลสและเป็นอารมณ์ของกิเลส หรือเป็นอารมณ์ของกิเลสแต่ไม่
เป็นกิเลส อินทรีย์ ๙ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นกิเลสและเป็นอารมณ์ของกิเลส ที่เป็น
อารมณ์ของกิเลสแต่ไม่เป็นกิเลสก็มี ที่กล่าวไม่ได้ว่า เป็นอารมณ์ของกิเลสแต่ไม่เป็น
กิเลสก็มี
อินทรีย์ ๑๕ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นกิเลสและกิเลสทำให้เศร้าหมอง หรือกิเลส
ทำให้เศร้าหมองแต่ไม่เป็นกิเลส โทมนัสสินทรีย์กล่าวไม่ได้ว่า เป็นกิเลสและกิเลส
ทำให้เศร้าหมอง หรือกิเลสทำให้เศร้าหมองแต่ไม่เป็นกิเลส อินทรีย์ ๖ กล่าวไม่ได้ว่า
เป็นกิเลสและกิเลสทำให้เศร้าหมอง ที่กิเลสทำให้เศร้าหมองแต่ไม่เป็นกิเลสก็มี ที่
กล่าวไม่ได้ว่า กิเลสทำให้เศร้าหมองแต่ไม่เป็นกิเลสก็มี
อินทรีย์ ๑๕ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นกิเลสและสัมปยุตด้วยกิเลส หรือสัมปยุต
ด้วยกิเลสแต่ไม่เป็นกิเลส โทมนัสสินทรีย์กล่าวไม่ได้ว่า เป็นกิเลสและสัมปยุตด้วย
กิเลส หรือสัมปยุตด้วยกิเลสแต่ไม่เป็นกิเลส อินทรีย์ ๖ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นกิเลสและ
สัมปยุตด้วยกิเลส ที่สัมปยุตด้วยกิเลสแต่ไม่เป็นกิเลสก็มี ที่กล่าวไม่ได้ว่า สัมปยุต
ด้วยกิเลสแต่ไม่เป็นกิเลสก็มี
อินทรีย์ ๙ วิปปยุตจากกิเลสแต่เป็นอารมณ์ของกิเลส อินทรีย์ ๓ วิปปยุตจาก
กิเลสและไม่เป็นอารมณ์ของกิเลส โทมนัสสินทรีย์กล่าวไม่ได้ว่า วิปปยุตจากกิเลส


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๒๑๖ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๕.อินทริยวิภังค์] ๒.ปัญหาปุจฉกะ ๒.ทุกมาติกาวิสัชนา
แต่เป็นอารมณ์ของกิเลส หรือวิปปยุตจากกิเลสและไม่เป็นอารมณ์ของกิเลส อินทรีย์
๓ ที่วิปปยุตจากกิเลสแต่เป็นอารมณ์ของกิเลสก็มี ที่วิปปยุตจากกิเลสและไม่เป็น
อารมณ์ของกิเลสก็มี อินทรีย์ ๖ ที่วิปปยุตจากกิเลสแต่เป็นอารมณ์ของกิเลสก็มี ที่
วิปปยุตจากกิเลสและไม่เป็นอารมณ์ของกิเลสก็มี ที่กล่าวไม่ได้ว่า วิปปยุตจากกิเลส
แต่เป็นอารมณ์ของกิเลส หรือวิปปยุตจากกิเลสและไม่เป็นอารมณ์ของกิเลสก็มี

๑๓. ปิฏฐิทุกวิสัชนา
อินทรีย์ ๑๕ ไม่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรค อินทรีย์ ๗ ที่ต้องประหาณ
ด้วยโสดาปัตติมรรคก็มี ที่ไม่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคก็มี
อินทรีย์ ๑๕ ไม่ต้องประหาณด้วยมรรคเบื้องบน ๓ อินทรีย์ ๗ ที่ต้องประหาณ
ด้วยมรรคเบื้องบน ๓ ก็มี ที่ไม่ต้องประหาณด้วยมรรคเบื้องบน ๓ ก็มี
อินทรีย์ ๑๕ ไม่มีเหตุต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรค อินทรีย์ ๗ ที่มีเหตุ
ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคก็มี ที่ไม่มีเหตุต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรค
ก็มี
อินทรีย์ ๑๕ ไม่มีเหตุต้องประหาณด้วยมรรคเบื้องบน ๓ อินทรีย์ ๗ ที่มีเหตุ
ต้องประหาณด้วยมรรคเบื้องบน ๓ ก็มี ที่ไม่มีเหตุต้องประหาณด้วยมรรคเบื้องบน
๓ ก็มี
อินทรีย์ ๙ ไม่มีวิตก โทมนัสสินทรีย์มีวิตก อินทรีย์ ๑๒ ที่มีวิตกก็มี ที่ไม่มี
วิตกก็มี
อินทรีย์ ๙ ไม่มีวิจาร โทมนัสสินทรีย์มีวิจาร อินทรีย์ ๑๒ ที่มีวิจารก็มี ที่
ไม่มีวิจารก็มี
อินทรีย์ ๑๑ ไม่มีปีติ อินทรีย์ ๑๑ ที่มีปีติก็มี ที่ไม่มีปีติก็มี
อินทรีย์ ๑๑ ไม่สหรคตด้วยปีติ อินทรีย์ ๑๑ ที่สหรคตด้วยปีติก็มี ที่ไม่สหรคต
ด้วยปีติก็มี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๒๑๗ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๕.อินทริยวิภังค์] ๒.ปัญหาปุจฉกะ ๒.ทุกมาติกาวิสัชนา
อินทรีย์ ๑๒ ไม่สหรคตด้วยสุข อินทรีย์ ๑๐ ที่สหรคตด้วยสุขก็มี ที่ไม่
สหรคตด้วยสุขก็มี
อินทรีย์ ๑๒ ไม่สหรตด้วยอุเบกขา อินทรีย์ ๑๐ ที่สหรคตด้วยอุเบกขาก็มี
ที่ไม่สหรคตด้วยอุเบกขาก็มี
อินทรีย์ ๑๐ เป็นกามาวจร อินทรีย์ ๓ ไม่เป็นกามาวจร อินทรีย์ ๙ ที่เป็น
กามาวจรก็มี ที่ไม่เป็นกามาวจรก็มี
อินทรีย์ ๑๓ ไม่เป็นรูปาวจร อินทรีย์ ๙ ที่เป็นรูปาวจรก็มี ที่ไม่เป็นรูปาวจร
ก็มี
อินทรีย์ ๑๔ ไม่เป็นอรูปาวจร อินทรีย์ ๘ ที่เป็นอรูปาวจรก็มี ที่ไม่เป็น
อรูปาวจรก็มี
อินทรีย์ ๑๐ นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ อินทรีย์ ๓ ไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ อินทรีย์
๙ ที่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ก็มี ที่ไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ก็มี
อินทรีย์ ๑๑ ไม่เป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ อนัญญาตัญญัสสามีตินทรีย์
เป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ อินทรีย์ ๑๐ ที่เป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ก็มี ที่
ไม่เป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ก็มี
อินทรีย์ ๑๐ ให้ผลไม่แน่นอน อนัญญาตัญญัสสามีตินทรีย์ให้ผลแน่นอน
อินทรีย์ ๑๑ ที่ให้ผลแน่นอนก็มี ที่ให้ผลไม่แน่นอนก็มี
อินทรีย์ ๑๐ มีธรรมอื่นยิ่งกว่า อินทรีย์ ๓ ไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า อินทรีย์ ๙
ที่มีธรรมอื่นยิ่งกว่าก็มี ที่ไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่าก็มี
อินทรีย์ ๑๕ ไม่เป็นเหตุให้สัตว์ร้องไห้ โทมนัสสินทรีย์เป็นเหตุให้สัตว์ร้องไห้
อินทรีย์ ๖ ที่เป็นเหตุให้สัตว์ร้องไห้ก็มี ที่ไม่เป็นเหตุให้สัตว์ร้องไห้ก็มี

ปัญหาปุจฉกะ จบ

อินทริยวิภังค์ จบบริบูรณ์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๒๑๘ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๖. ปฏิจจสมุปปาทวิภังค์] ๑. สุตตันตภาชนีย์
๖. ปฏิจจสมุปปาทวิภังค์
๑. สุตตันตภาชนีย์
[๒๒๕] เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารจึงมี
เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี
เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามรูปจึงมี
เพราะนามรูปเป็นปัจจัย สฬายตนะจึงมี
เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี
เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี
เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ตัณหาจึงมี
เพราะตัณหาเป็นปัจจัย อุปาทานจึงมี
เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย ภพจึงมี
เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติจึงมี
เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกขะ โทมนัส
อุปายาสจึงมี
กองทุกข์ทั้งมวลนี้มีการเกิดขึ้นด้วยอาการอย่างนี้
[๒๒๖] บรรดาปัจจยาการเหล่านั้น อวิชชา เป็นไฉน
ความไม่รู้ในทุกข์ ความไม่รู้ในทุกขสมุทัย ความไม่รู้ในทุกขนิโรธ ความไม่รู้
ในทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา นี้เรียกว่า อวิชชา๑
เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารจึงมี เป็นไฉน
ปุญญาภิสังขาร อปุญญาภิสังขาร อาเนญชาภิสังขาร กายสังขาร วจีสังขาร
และจิตตสังขาร๒

เชิงอรรถ :
๑ ม.มู. ๑๒/๑๐๓/๗๔, สํ.นิ.๑๖/๒/๔ ๒ อภิ.วิ.อ. ๒๒๕/๑๔๕,๒๒๖/๑๕๒-๓

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๒๑๙ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๖.ปฏิจจสมุปปาทวิภังค์] ๑.สุตตันตภาชนีย์
ในสังขารเหล่านั้น ปุญญาภิสังขาร เป็นไฉน
เจตนาที่เป็นกุศลซึ่งเป็นกามาวจร เป็นรูปาวจร สำเร็จด้วยทาน ศีล และ
ภาวนา นี้เรียกว่า ปุญญาภิสังขาร
อปุญญาภิสังขาร เป็นไฉน
เจตนาที่เป็นอกุศลซึ่งเป็นกามาวจร นี้เรียกว่า อปุญญาภิสังขาร
อาเนญชาภิสังขาร เป็นไฉน
เจตนาที่เป็นกุศลซึ่งเป็นอรูปาวจร นี้เรียกว่า อาเนญชาภิสังขาร
กายสังขาร เป็นไฉน
กายสัญเจตนาเป็นกายสังขาร วจีสัญเจตนาเป็นวจีสังขาร มโนสัญเจตนาเป็น
จิตตสังขาร
เหล่านี้เรียกว่า เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารจึงมี
[๒๒๗] เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี เป็นไฉน
จักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ
และมโนวิญญาณ นี้เรียกว่า เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี
[๒๒๘] เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามรูปจึงมี เป็นไฉน
นาม ๑ รูป ๑
ในนามและรูปนั้น นาม เป็นไฉน
เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ และสังขารขันธ์ นี้เรียกว่า นาม
รูป เป็นไฉน
มหาภูตรูป ๔ และรูปที่อาศัยมหาภูตรูป ๔ (อุปาทายรูป) นี้เรียกว่า รูป
นามและรูปดังที่กล่าวมานี้ นี้เรียกว่า เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามรูปจึงมี
[๒๒๙] เพราะนามรูปเป็นปัจจัย สฬายตนะจึงมี เป็นไฉน
จักขายตนะ โสตายตนะ ฆานายตนะ ชิวหายตนะ กายายตนะ และมนายตนะ
นี้เรียกว่า เพราะนามรูปเป็นปัจจัย สฬายตนะจึงมี


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๒๒๐ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๖.ปฏิจจสมุปปาทวิภังค์] ๑.สุตตันตภาชนีย์
[๒๓๐] เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี เป็นไฉน
จักขุสัมผัส โสตสัมผัส ฆานสัมผัส ชิวหาสัมผัส กายสัมผัส และมโนสัมผัส นี้
เรียกว่า เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี
[๒๓๑] เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี เป็นไฉน
เวทนาที่เกิดแต่จักขุสัมผัส เวทนาที่เกิดแต่โสตสัมผัส เวทนาที่เกิดแต่ฆาน-
สัมผัส เวทนาที่เกิดแต่ชิวหาสัมผัส เวทนาที่เกิดแต่กายสัมผัส เวทนาที่เกิดแต่
มโนสัมผัส นี้เรียกว่า เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี
[๒๓๒] เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ตัณหาจึงมี เป็นไฉน
รูปตัณหา สัททตัณหา คันธตัณหา รสตัณหา โผฏฐัพพตัณหา และธัมมตัณหา
นี้เรียกว่า เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ตัณหาจึงมี
[๒๓๓] เพราะตัณหาเป็นปัจจัย อุปาทานจึงมี เป็นไฉน
กามุปาทาน ทิฏฐุปาทาน สีลัพพตุปาทาน และอัตตวาทุปาทาน นี้เรียกว่า
เพราะตัณหาเป็นปัจจัย อุปาทานจึงมี
[๒๓๔] เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย ภพจึงมี เป็นไฉน
ภพ ๒ คือ กรรมภพและอุปปัตติภพ
ในภพ ๒ นั้น กรรมภพ เป็นไฉน
ปุญญาภิสังขาร อปุญญาภิสังขาร และอาเนญชาภิสังขาร นี้เรียกว่า กรรมภพ
กรรมที่เป็นเหตุให้ไปสู่ภพแม้ทั้งหมดเรียกว่า กรรมภพ
อุปปัตติภพ เป็นไฉน
กามภพ รูปภพ อรูปภพ สัญญาภพ อสัญญาภพ เนวสัญญานาสัญญาภพ
เอกโวการภพ จตุโวการภพ และปัญจโวการภพ นี้เรียกว่า อุปปัตติภพ
กรรมภพและอุปปัตติภพดังที่กล่าวมานี้ นี้เรียกว่า เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย
ภพจึงมี
[๒๓๕] เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติจึงมี เป็นไฉน


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๒๒๑ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๖.ปฏิจจสมุปปาทวิภังค์] ๑.สุตตันตภาชนีย์
ความเกิด ความเกิดพร้อม ความหยั่งลง ความบังเกิดเฉพาะ ความปรากฏ
แห่งขันธ์ ความได้อายตนะ ในหมู่สัตว์นั้น ๆ ของเหล่าสัตว์นั้น ๆ นี้เรียกว่า เพราะ
ภพเป็นปัจจัย ชาติจึงมี
[๒๓๖] เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะจึงมี เป็นไฉน
ชรา ๑ มรณะ ๑
ในชราและมรณะนั้น ชรา เป็นไฉน
ความแก่ ความคร่ำคร่า ความมีฟันหัก ความมีผมหงอก ความมีหนังเหี่ยวย่น
ความเสื่อมอายุ ความแก่หง่อมแห่งอินทรีย์ ในหมู่สัตว์นั้น ๆ ของเหล่าสัตว์นั้น ๆ
นี้เรียกว่า ชรา๑
มรณะ เป็นไฉน
ความจุติ ความเคลื่อนไป ความทำลายไป ความหายไป ความตายกล่าวคือ
มฤตยู การทำกาละ ความแตกแห่งขันธ์ ความทอดทิ้งร่างกาย ความขาดสูญแห่ง
ชีวิตินทรีย์ ของเหล่าสัตว์นั้น ๆ จากหมู่สัตว์นั้น ๆ นี้เรียกว่า มรณะ๒
ชราและมรณะดังที่กล่าวมานี้ นี้เรียกว่า เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะจึงมี
[๒๓๗] โสกะ เป็นไฉน
ความเศร้าโศก กิริยาที่เศร้าโศก ภาวะที่เศร้าโศก ความแห้งผากภายใน
ความแห้งกรอบภายใน ความเกรียมใจ ความโทมนัส ลูกศรคือความโศก ของผู้ที่ถูก
ความเสื่อมญาติ ความเสื่อมโภคทรัพย์ ความเสื่อมเกี่ยวด้วยโรค ความเสื่อมศีล
หรือความเสื่อมทิฏฐิกระทบ ของผู้ประกอบด้วยความเสื่อมอย่างใดอย่างหนึ่ง (หรือ)
ผู้ที่ถูกเหตุแห่งทุกข์อย่างใดอย่างหนึ่งกระทบ นี้เรียกว่า โสกะ๓
[๒๓๘] ปริเทวะ เป็นไฉน

เชิงอรรถ :
๑ ที.ม. ๑๐/๓๘๙/๒๖๐, ม.มู. ๑๒/๙๒/๖๖-๗, ม.อุ. ๑๔/๓๗๓/๓๑๗, สํ.นิ. ๑๖/๒/๓,๒๗/๔๑,
๒๘/๔๒, ๓๓/๕๕, ขุ.ป. ๓๑/๓๓/๓๙, อภิ.วิ. ๓๕/๑๙๒/๑๑๗
๒ ที.ม. ๑๐/๓๙๐/๒๖๐, ม.มู. ๑๒/๙๒/๖๗, ม.อุ. ๑๔/๓๗๓/๓๑๘, สํ.นิ. ๑๖/๒/๓,๒๗/๔๑,
๒๘/๔๒,๓๓/๕๕, ขุ.ม. ๒๙/๔๑/๑๐๒, ขุ.ป. ๓๑/๓๓/๓๙, อภิ.วิ. ๓๕/๑๙๓/๑๑๘
๓ ขุ.ม. ๒๙/๔๔/๑๐๖, ขุ.จู. ๓๐/๒๑/๗๖, ขุ.ป. ๓๑/๓๓/๓๙

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๒๒๒ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๖.ปฏิจจสมุปปาทวิภังค์] ๑.สุตตันตภาชนีย์
ความร้องไห้ ความคร่ำครวญ กิริยาที่ร้องไห้ กิริยาที่คร่ำครวญ ภาวะที่ร้องไห้
ภาวะที่คร่ำครวญ ความบ่นถึง ความพร่ำเพ้อ ความร่ำไห้ ความพิไรรำพัน กิริยาที่
พิไรรำพัน ภาวะที่พิไรรำพัน ของผู้ที่ถูกความเสื่อมญาติ ความเสื่อมโภคทรัพย์
ความเสื่อมเกี่ยวด้วยโรค ความเสื่อมศีล หรือความเสื่อมทิฏฐิกระทบ ของผู้ที่
ประกอบด้วยความเสื่อมอย่างใดอย่างหนึ่งกระทบ (หรือ)ผู้ที่ถูกเหตุแห่งทุกข์อย่างใด
อย่างหนึ่งกระทบ นี้เรียกว่า ปริเทวะ๑
[๒๓๙] ทุกข์ เป็นไฉน
ความไม่สำราญทางกาย ความทุกข์ทางกาย ความเสวยอารมณ์ที่ไม่สำราญ
เป็นทุกข์ อันเกิดแต่กายสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่ไม่สำราญเป็นทุกข์ อันเกิดแต่
กายสัมผัส นี้เรียกว่า ทุกข์๒
[๒๔๐] โทมนัส เป็นไฉน
ความไม่สำราญทางใจ ความทุกข์ทางใจ ความเสวยอารมณ์ที่ไม่สำราญเป็น
ทุกข์ อันเกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่ไม่สำราญเป็นทุกข์ อันเกิดแต่
เจโตสัมผัส นี้เรียกว่า โทมนัส๓
[๒๔๑] อุปายาส เป็นไฉน
ความแค้น ความคับแค้น ภาวะที่แค้น ภาวะที่คับแค้น ของผู้ที่ถูกความ
เสื่อมญาติ ความเสื่อมโภคทรัพย์ ความเสื่อมเกี่ยวด้วยโรค ความเสื่อมศีล หรือ
ความเสื่อมทิฏฐิกระทบ ของผู้ที่ประกอบด้วยความเสื่อมอย่างใดอย่างหนึ่งกระทบ
(หรือ)ผู้ที่ถูกเหตุแห่งทุกข์อย่างใดอย่างหนึ่งกระทบ นี้เรียกว่า อุปายาส๔
[๒๔๒] คำว่า กองทุกข์ทั้งมวลนี้มีการเกิดขึ้นด้วยอาการอย่างนี้ นั้นอธิบาย
ว่า กองทุกข์ทั้งมวลนี้ไปร่วม มาร่วม ประชุมร่วม ปรากฏขึ้นด้วยอาการอย่างนี้
เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า กองทุกข์ทั้งมวลนี้เกิดขึ้นด้วยอาการอย่างนี้
สุตตันตภาชนีย์ จบ

เชิงอรรถ :
๑ ขุ.ม. ๒๙/๔๔/๑๐๗, ขุ.ป. ๓๑/๓๓/๓๙, อภิ.วิ. ๓๕/๑๙๕/๑๑๘
๒ ขุ.ป. ๓๑/๓๓/๓๙, อภิ.สงฺ. ๓๔/๕๕๙/๑๕๘, อภิ.วิ. ๓๕/๑๙๖/๑๑๘
๓ ขุ.ป. ๓๑/๓๓/๓๙, อภิ.สงฺ. ๓๔/๔๑๗/๑๑๖, อภิ.วิ. ๓๕/๑๙๗/๑๑๘.
๔ ขุ.ป. ๓๑/๓๓/๔๐, อภิ.วิ. ๓๕/๑๙๘/๑๑๙.

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๒๒๓ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๖.ปฏิจจสมุปปาทวิภังค์] ๒.อภิธรรมภาชนีย์ ๑.ปัจจยจตุกกะ
๒. อภิธรรมภาชนีย์
๑. ปัจจยจตุกกะ
อวิชชามูลกนัย
[๒๔๓] เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารจึงมี
เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี
เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามจึงมี
เพราะนามเป็นปัจจัย อายตนะที่ ๖ (มนายตนะ) จึงมี
เพราะอายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี
เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี
เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ตัณหาจึงมี
เพราะตัณหาเป็นปัจจัย อุปาทานจึงมี
เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย ภพจึงมี
เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติจึงมี
เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะจึงมี
กองทุกข์ทั้งมวลนี้มีการเกิดขึ้นด้วยอาการอย่างนี้ (๑)
เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารจึงมี
เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี
เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามจึงมี
เพราะนามเป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี
เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี
เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ตัณหาจึงมี
เพราะตัณหาเป็นปัจจัย อุปาทานจึงมี
เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย ภพจึงมี
เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติจึงมี
เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะจึงมี
กองทุกข์ทั้งมวลนี้มีการเกิดขึ้นด้วยอาการอย่างนี้ (๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๒๒๔ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๖.ปฏิจจสมุปปาทวิภังค์] ๒.อภิธรรมภาชนีย์ ๑.ปัจจยจตุกกะ
เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารจึงมี
เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี
เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามรูปจึงมี
เพราะนามรูปเป็นปัจจัย อายตนะที่ ๖ จึงมี
เพราะอายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี
เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี
เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ตัณหาจึงมี
เพราะตัณหาเป็นปัจจัย อุปาทานจึงมี
เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย ภพจึงมี
เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติจึงมี
เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะจึงมี
กองทุกข์ทั้งมวลนี้มีการเกิดขึ้นด้วยอาการอย่างนี้ (๓)
เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารจึงมี
เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี
เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามรูปจึงมี
เพราะนามรูปเป็นปัจจัย สฬายตนะจึงมี
เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี
เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี
เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ตัณหาจึงมี
เพราะตัณหาเป็นปัจจัย อุปาทานจึงมี
เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย ภพจึงมี
เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติจึงมี
เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะจึงมี
กองทุกข์ทั้งมวลนี้มีการเกิดขึ้นด้วยอาการอย่างนี้ (๔)

ปัจจยจตุกกะ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๒๒๕ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๖.ปฏิจจสมุปปาทวิภังค์] ๒.อภิธรรมภาชนีย์ ๒.เหตุจตุกกะ
๒. เหตุจตุกกะ
อวิชชามูลกนัย
[๒๔๔] เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารที่มีอวิชชาเป็นเหตุจึงมี
เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณที่มีสังขารเป็นเหตุจึงมี
เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามที่มีวิญญาณเป็นเหตุจึงมี
เพราะนามเป็นปัจจัย อายตนะที่ ๖ ที่มีนามเป็นเหตุจึงมี
เพราะอายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย ผัสสะที่มีอายตนะที่ ๖ เป็นเหตุจึงมี
เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาที่มีผัสสะเป็นเหตุจึงมี
เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ตัณหาที่มีเวทนาเป็นเหตุจึงมี
เพราะตัณหาเป็นปัจจัย อุปาทานที่มีตัณหาเป็นเหตุจึงมี
เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย ภพจึงมี
เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติจึงมี
เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะจึงมี
กองทุกข์ทั้งมวลนี้มีการเกิดขึ้นด้วยอาการอย่างนี้ (๑-๕)
เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารที่มีอวิชชาเป็นเหตุจึงมี
เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณที่มีสังขารเป็นเหตุจึงมี
เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามที่มีวิญญาณเป็นเหตุจึงมี
เพราะนามเป็นปัจจัย ผัสสะที่มีนามเป็นเหตุจึงมี
เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาที่มีผัสสะเป็นเหตุจึงมี
เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ตัณหาที่มีเวทนาเป็นเหตุจึงมี
เพราะตัณหาเป็นปัจจัย อุปาทานที่มีตัณหาเป็นเหตุจึงมี
เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย ภพจึงมี
เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติจึงมี
เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะจึงมี
กองทุกข์ทั้งมวลนี้มีการเกิดขึ้นด้วยอาการอย่างนี้ (๒-๖)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๒๒๖ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๖.ปฏิจจสมุปปาทวิภังค์] ๒.อภิธรรมภาชนีย์ ๒.เหตุจตุกกะ
เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารที่มีอวิชชาเป็นเหตุจึงมี
เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณที่มีสังขารเป็นเหตุจึงมี
เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามรูปที่มีวิญญาณเป็นเหตุจึงมี
เพราะนามรูปเป็นปัจจัย อายตนะที่ ๖ ที่มีนามรูปเป็นเหตุจึงมี
เพราะอายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย ผัสสะที่มีอายตนะที่ ๖ เป็นเหตุจึงมี
เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาที่มีผัสสะเป็นเหตุจึงมี
เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ตัณหาที่มีเวทนาเป็นเหตุจึงมี
เพราะตัณหาเป็นปัจจัย อุปาทานที่มีตัณหาเป็นเหตุจึงมี
เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย ภพจึงมี
เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติจึงมี
เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะจึงมี
กองทุกข์ทั้งมวลนี้มีการเกิดขึ้นด้วยอาการอย่างนี้ (๓-๗)
เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารที่มีอวิชชาเป็นเหตุจึงมี
เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณที่มีสังขารเป็นเหตุจึงมี
เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามรูปที่มีวิญญาณเป็นเหตุจึงมี
เพราะนามรูปเป็นปัจจัย สฬายตนะที่มีนามรูปเป็นเหตุจึงมี
เพราะอายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย ผัสสะที่มีอายตนะที่ ๖ เป็นเหตุจึงมี
เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาที่มีผัสสะเป็นเหตุจึงมี
เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ตัณหาที่มีเวทนาเป็นเหตุจึงมี
เพราะตัณหาเป็นปัจจัย อุปาทานที่มีตัณหาเป็นเหตุจึงมี
เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย ภพจึงมี
เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติจึงมี
เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะจึงมี
กองทุกข์ทั้งมวลนี้มีการเกิดขึ้นด้วยอาการอย่างนี้ (๔-๘)
เหตุจตุกกะ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๒๒๗ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๖.ปฏิจจสมุปปาทวิภังค์] ๒.อภิธรรมภาชนีย์ ๓.สัมปยุตตจตุกกะ
๓. สัมปยุตตจตุกกะ
อวิชชามูลกนัย
[๒๔๕] เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารที่สัมปยุตด้วยอวิชชาจึงมี
เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณที่สัมปยุตด้วยสังขารจึงมี
เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามที่สัมปยุตด้วยวิญญาณจึงมี
เพราะนามเป็นปัจจัย อายตนะที่ ๖ ที่สัมปยุตด้วยนามจึงมี
เพราะอายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย ผัสสะที่สัมปยุตด้วยอายตนะที่ ๖ จึงมี
เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาที่สัมปยุตด้วยผัสสะจึงมี
เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ตัณหาที่สัมปยุตด้วยเวทนาจึงมี
เพราะตัณหาเป็นปัจจัย อุปาทานที่สัมปยุตด้วยตัณหาจึงมี
เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย ภพจึงมี
เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติจึงมี
เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะจึงมี
กองทุกข์ทั้งมวลนี้มีการเกิดขึ้นด้วยอาการอย่างนี้ (๑-๙)
เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารที่สัมปยุตด้วยอวิชชาจึงมี
เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณที่สัมปยุตด้วยสังขารจึงมี
เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามที่สัมปยุตด้วยวิญญาณจึงมี
เพราะนามเป็นปัจจัย ผัสสะที่สัมปยุตด้วยนามจึงมี
เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาที่สัมปยุตด้วยผัสสะจึงมี
เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ตัณหาที่สัมปยุตด้วยเวทนาจึงมี
เพราะตัณหาเป็นปัจจัย อุปาทานที่สัมปยุตด้วยตัณหาจึงมี
เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย ภพจึงมี
เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติจึงมี
เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะจึงมี
กองทุกข์ทั้งมวลนี้มีการเกิดขึ้นด้วยอาการอย่างนี้ (๒-๑๐)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๒๒๘ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๖.ปฏิจจสมุปปาทวิภังค์] ๒.อภิธรรมภาชนีย์ ๓.สัมปยุตตจตุกกะ
เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารที่สัมปยุตด้วยอวิชชาจึงมี
เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณที่สัมปยุตด้วยสังขารจึงมี
เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามรูปและนามที่สัมปยุตด้วยวิญญาณจึงมี
เพราะนามรูปเป็นปัจจัย อายตนะที่ ๖ ที่สัมปยุตด้วยนามรูปจึงมี
เพราะอายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย ผัสสะที่สัมปยุตด้วยอายตนะที่ ๖ จึงมี
เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาที่สัมปยุตด้วยผัสสะจึงมี
เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ตัณหาที่สัมปยุตด้วยเวทนาจึงมี
เพราะตัณหาเป็นปัจจัย อุปาทานที่สัมปยุตด้วยตัณหาจึงมี
เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย ภพจึงมี
เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติจึงมี
เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะจึงมี
กองทุกข์ทั้งมวลนี้มีการเกิดขึ้นด้วยอาการอย่างนี้ (๓-๑๑)
เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารที่สัมปยุตด้วยอวิชชาจึงมี
เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณที่สัมปยุตด้วยสังขารจึงมี
เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามรูปและนามที่สัมปยุตด้วยวิญญาณจึงมี
เพราะนามรูปเป็นปัจจัย อายตนะที่ ๖ และอายตนะที่ ๖ ที่สัมปยุต
ด้วยนามจึงมี
เพราะอายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย ผัสสะที่สัมปยุตด้วยอายตนะที่ ๖ จึงมี
เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาที่สัมปยุตด้วยผัสสะจึงมี
เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ตัณหาที่สัมปยุตด้วยเวทนาจึงมี
เพราะตัณหาเป็นปัจจัย อุปาทานที่สัมปยุตด้วยตัณหาจึงมี
เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย ภพจึงมี
เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติจึงมี
เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะจึงมี
กองทุกข์ทั้งมวลนี้มีการเกิดขึ้นด้วยอาการอย่างนี้ (๔-๑๒)
สัมปยุตตจตุกกะ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๒๒๙ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๖.ปฏิจจสมุปปาทวิภังค์] ๒.อภิธรรมภาชนีย์ ๔.อัญญมัญญจตุกกะ
๔. อัญญมัญญจตุกกะ
อวิชชามูลกนัย
[๒๔๖] เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารจึงมี
แม้เพราะสังขารเป็นปัจจัย อวิชชาจึงมี
เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี
แม้เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย สังขารจึงมี
เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามจึงมี
แม้เพราะนามเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี
เพราะนามเป็นปัจจัย อายตนะที่ ๖ จึงมี
แม้เพราะอายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย นามจึงมี
เพราะอายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี
แม้เพราะผัสสะเป็นปัจจัย อายตนะที่ ๖ จึงมี
เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี
แม้เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี
เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ตัณหาจึงมี
แม้เพราะตัณหาเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี
เพราะตัณหาเป็นปัจจัย อุปาทานจึงมี
แม้เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย ตัณหาจึงมี
เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย ภพจึงมี
เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติจึงมี
เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะจึงมี
กองทุกข์ทั้งมวลนี้มีการเกิดขึ้นด้วยอาการอย่างนี้ (๑-๑๓)
เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารจึงมี
แม้เพราะสังขารเป็นปัจจัย อวิชชาจึงมี
เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี
แม้เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย สังขารจึงมี
เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามจึงมี
แม้เพราะนามเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๒๓๐ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๖.ปฏิจจสมุปปาทวิภังค์] ๒.อภิธรรมภาชนีย์ ๔.อัญญมัญญจตุกกะ
เพราะนามเป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี
แม้เพราะผัสสะเป็นปัจจัย นามจึงมี
เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี
แม้เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี
เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ตัณหาจึงมี
แม้เพราะตัณหาเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี
เพราะตัณหาเป็นปัจจัย อุปาทานจึงมี
แม้เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย ตัณหาจึงมี
เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย ภพจึงมี
เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติจึงมี
เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะจึงมี
กองทุกข์ทั้งมวลนี้มีการเกิดขึ้นด้วยอาการอย่างนี้ (๒-๑๔)
เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารจึงมี
แม้เพราะสังขารเป็นปัจจัย อวิชชาจึงมี
เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี
แม้เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย สังขารจึงมี
เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามรูปจึงมี
แม้เพราะนามรูปเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี
เพราะนามรูปเป็นปัจจัย อายตนะที่ ๖ จึงมี
แม้เพราะอายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย นามรูปจึงมี
เพราะอายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี
แม้เพราะผัสสะเป็นปัจจัย อายตนะที่ ๖ จึงมี
เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี
แม้เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี
เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ตัณหาจึงมี
แม้เพราะตัณหาเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี
เพราะตัณหาเป็นปัจจัย อุปาทานจึงมี
แม้เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย ตัณหาจึงมี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๒๓๑ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๖.ปฏิจจสมุปปาทวิภังค์] ๒.อภิธรรมภาชนีย์ ๔.อัญญมัญญจตุกกะ
เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย ภพจึงมี
เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติจึงมี
เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะจึงมี
กองทุกข์ทั้งมวลนี้มีการเกิดขึ้นด้วยอาการอย่างนี้ (๓-๑๕)
เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารจึงมี
แม้เพราะสังขารเป็นปัจจัย อวิชชาจึงมี
เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี
แม้เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย สังขารจึงมี
เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามรูปจึงมี
แม้เพราะนามรูปเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี
เพราะนามรูปเป็นปัจจัย สฬายตนะจึงมี
แม้เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย นามรูปจึงมี
เพราะอายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี
แม้เพราะผัสสะเป็นปัจจัย อายตนะที่ ๖ จึงมี
เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี
แม้เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี
เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ตัณหาจึงมี
แม้เพราะตัณหาเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี
เพราะตัณหาเป็นปัจจัย อุปาทานจึงมี
แม้เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย ตัณหาจึงมี
เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย ภพจึงมี
เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติจึงมี
เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะจึงมี
กองทุกข์ทั้งมวลนี้มีการเกิดขึ้นด้วยอาการอย่างนี้ (๔-๑๖)
อัญญมัญญจตุกกะ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๒๓๒ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๖.ปฏิจจสมุปปาทวิภังค์] ๒.อภิธรรมภาชนีย์ ๔.อัญญมัญญจตุกกะ
อภิธรรมมาติกา
นัย ๘ มีสังขารมูลกนัยเป็นต้น
[๒๔๗] เพราะสังขารเป็นปัจจัย อวิชชาจึงมี ฯลฯ
เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย อวิชชาจึงมี ฯลฯ
เพราะนามเป็นปัจจัย อวิชชาจึงมี ฯลฯ
เพราะอายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย อวิชชาจึงมี ฯลฯ
เพราะผัสสะเป็นปัจจัย อวิชชาจึงมี ฯลฯ
เพราะเวทนาเป็นปัจจัย อวิชชาจึงมี ฯลฯ
เพราะตัณหาเป็นปัจจัย อวิชชาจึงมี ฯลฯ
เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย อวิชชาจึงมี ฯลฯ
เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารจึงมี
เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี
เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามจึงมี
เพราะนามเป็นปัจจัย อายตนะที่ ๖ จึงมี
เพราะอายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี
เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี
เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ตัณหาจึงมี
เพราะตัณหาเป็นปัจจัย อุปาทานจึงมี
เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย ภพจึงมี
เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติจึงมี
เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะจึงมี
กองทุกข์ทั้งมวลนี้มีการเกิดขึ้นด้วยอาการอย่างนี้
มาติกา จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๒๓๓ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๖.ปฏิจจสมุปปาทวิภังค์] ๒.อภิธรรมภาชนีย์ ๕.ปัจจยจตุกกะ
๕. ปัจจยจตุกกะ
อกุศลจิต ๑๒
[๒๔๘] สภาวธรรมที่เป็นอกุศล เป็นไฉน
จิตที่เป็นอกุศล สหรคตด้วยโสมนัส สัมปยุตด้วยทิฏฐิ มีรูปเป็นอารมณ์ มี
เสียงเป็นอารมณ์ มีกลิ่นเป็นอารมณ์ มีรสเป็นอารมณ์ มีโผฏฐัพพะเป็นอารมณ์ มี
ธรรมเป็นอารมณ์ หรือปรารภอารมณ์ใด ๆ เกิดขึ้นในสมัยใด ในสมัยนั้น เพราะ
อวิชชาเป็นปัจจัย สังขารจึงมี เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี เพราะวิญญาณ
เป็นปัจจัย นามจึงมี เพราะนามเป็นปัจจัย อายตนะที่ ๖ จึงมี เพราะอายตนะที่ ๖
เป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี เพราะเวทนาเป็นปัจจัย
ตัณหาจึงมี เพราะตัณหาเป็นปัจจัย อุปาทานจึงมี เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย ภพจึงมี
เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติจึงมี เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะจึงมี
กองทุกข์ทั้งมวลนี้มีการเกิดขึ้นด้วยอาการอย่างนี้
[๒๔๙] บรรดาปัจจยาการเหล่านั้น อวิชชา เป็นไฉน
ความไม่รู้ ความไม่เห็น ฯลฯ ลิ่มคืออวิชชา อกุศลมูลคือโมหะ นี้เรียกว่า
อวิชชา
เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารจึงมี เป็นไฉน
ความจงใจ กิริยาที่จงใจ ภาวะที่จงใจ นี้เรียกว่า เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย
สังขารจึงมี
เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี เป็นไฉน
จิต มโน มานัส หทัย ปัณฑระ มโน มนายตนะ มนินทรีย์ วิญญาณ วิญญาณขันธ์
มโนวิญญาณธาตุที่เหมาะสมกัน นี้เรียกว่า เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี
เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามจึงมี เป็นไฉน
เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ และสังขารขันธ์ นี้เรียกว่า เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย
นามจึงมี


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๒๓๔ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๖.ปฏิจจสมุปปาทวิภังค์] ๒.อภิธรรมภาชนีย์ ๕.ปัจจยจตุกกะ
เพราะนามเป็นปัจจัย อายตนะที่ ๖ จึงมี เป็นไฉน
จิต มโน มานัส หทัย ปัณฑระ มโน มนายตนะ มนินทรีย์ วิญญาณ วิญญาณขันธ์
มโนวิญญาณธาตุที่เหมาะสมกัน นี้เรียกว่า เพราะนามเป็นปัจจัย อายตนะที่ ๖ จึงมี
เพราะอายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี เป็นไฉน
ความกระทบ กิริยาที่กระทบ กิริยาที่ถูกต้อง ภาวะที่ถูกต้อง นี้เรียกว่า
เพราะอายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี
เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี เป็นไฉน
ความสำราญทางใจ ความสุขทางใจ ความเสวยอารมณ์ที่สำราญเป็นสุข
อันเกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่สำราญเป็นสุข อันเกิดแต่เจโตสัมผัส นี้
เรียกว่า เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี
เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ตัณหาจึงมี เป็นไฉน
ความกำหนัด ความกำหนัดนัก ความชักนำให้คล้อยตามไป ความยินดี
ความเพลิดเพลิน ความกำหนัดด้วยอำนาจความเพลิดเพลิน ความกำหนัดนัก
แห่งจิต นี้เรียกว่า เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ตัณหาจึงมี
เพราะตัณหาเป็นปัจจัย อุปาทานจึงมี เป็นไฉน
ทิฏฐิ ความเห็นผิด ชัฏคือทิฏฐิ กันดารคือทิฏฐิ ความเห็นที่เป็นข้าศึก ความ
เห็นโลเล สังโยชน์คือทิฏฐิ ความยึดมั่น ความถือมั่น ความถือรั้น ความถือผิด
จากความเป็นจริง ทางชั่ว ทางผิด ภาวะที่ผิด ลัทธิที่เป็นบ่อเกิดแห่งความพินาศ
ความยึดถือโดยวิปลาส นี้เรียกว่า เพราะตัณหาเป็นปัจจัย อุปาทานจึงมี
เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย ภพจึงมี เป็นไฉน
เว้นอุปาทานแล้ว เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ และวิญญาณขันธ์
นี้เรียกว่า เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย ภพจึงมี
เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติจึงมี เป็นไฉน
ความเกิด ความเกิดพร้อม ความบังเกิด ความบังเกิดเฉพาะ ความปรากฏ
แห่งสภาวธรรมนั้น ๆ นี้เรียกว่า เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติจึงมี


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๒๓๕ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๖.ปฏิจจสมุปปาทวิภังค์] ๒.อภิธรรมภาชนีย์ ๕.ปัจจยจตุกกะ
เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะจึงมี เป็นไฉน
ชรา ๑ มรณะ ๑
ในชราและมรณะนั้น ชรา เป็นไฉน
ความแก่ ความคร่ำคร่า ความเสื่อมอายุแห่งสภาวธรรมนั้น ๆ นี้เรียกว่า ชรา
มรณะ เป็นไฉน
ความสิ้นไป ความเสื่อมไป ความแตกสลาย ความแตกทำลาย ความไม่เที่ยง
ความหายไปแห่งสภาวธรรมนั้น ๆ นี้เรียกว่า มรณะ
ชราและมรณะดังที่กล่าวมานี้ นี้เรียกว่า เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะจึงมี
คำว่า กองทุกข์ทั้งมวลนี้มีการเกิดขึ้นด้วยอาการอย่างนี้ อธิบายว่า กอง
ทุกข์ทั้งมวลนี้ไปร่วม มาร่วม ประชุมร่วม ปรากฏขึ้นด้วยอาการอย่างนี้ เพราะฉะนั้น
จึงเรียกว่า กองทุกข์ทั้งมวลนี้มีการเกิดขึ้นด้วยอาการอย่างนี้ (๑)
[๒๕๐] ในสมัยนั้น เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารจึงมี เพราะสังขารเป็น
ปัจจัย วิญญาณจึงมี เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามจึงมี เพราะนามเป็นปัจจัย
ผัสสะจึงมี เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ตัณหาจึงมี
เพราะตัณหาเป็นปัจจัย อุปาทานจึงมี เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย ภพจึงมี เพราะภพ
เป็นปัจจัย ชาติจึงมี เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะจึงมี
กองทุกข์ทั้งมวลนี้มีการเกิดขึ้นด้วยอาการอย่างนี้
[๒๕๑] บรรดาปัจจยาการเหล่านั้น อวิชชา เป็นไฉน
ความไม่รู้ ความไม่เห็น ฯลฯ ลิ่มคืออวิชชา อกุศลมูลคือโมหะ นี้เรียกว่า
อวิชชา
เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารจึงมี เป็นไฉน
ความจงใจ กิริยาที่จงใจ ภาวะที่จงใจ นี้เรียกว่า เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย
สังขาร จึงมี


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๒๓๖ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๖.ปฏิจจสมุปปาทวิภังค์] ๒.อภิธรรมภาชนีย์ ๕.ปัจจยจตุกกะ
เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี เป็นไฉน
จิต มโน มานัส ฯลฯ มโนวิญญาณธาตุที่เหมาะสมกัน นี้เรียกว่า เพราะ
สังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี
เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามจึงมี เป็นไฉน
เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ และสังขารขันธ์ นี้เรียกว่า เพราะวิญญาณเป็น
ปัจจัย นามจึงมี
ในคำว่า เพราะนามเป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี นั้น นาม เป็นไฉน
เว้นผัสสะแล้ว เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ และวิญญาณขันธ์ นี้
เรียกว่า นาม
เพราะนามเป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี เป็นไฉน
ความกระทบ กิริยาที่กระทบ กิริยาที่ถูกต้อง ภาวะที่ถูกต้อง นี้เรียกว่า
เพราะนามเป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี ฯลฯ
เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า กองทุกข์ทั้งมวลนี้มีการเกิดขึ้นด้วยอาการอย่างนี้ (๒)
[๒๕๒] ในสมัยนั้น เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารจึงมี เพราะสังขารเป็น
ปัจจัย วิญญาณจึงมี เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามรูปจึงมี เพราะนามรูปเป็นปัจจัย
อายตนะที่ ๖ จึงมี เพราะอายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี เพราะผัสสะเป็นปัจจัย
เวทนาจึงมี เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ตัณหาจึงมี เพราะตัณหาเป็นปัจจัย อุปาทาน
จึงมี เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย ภพจึงมี เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติจึงมี เพราะชาติ
เป็นปัจจัย ชรามรณะจึงมี
กองทุกข์ทั้งมวลนี้มีการเกิดขึ้นด้วยอาการอย่างนี้
[๒๕๓] บรรดาปัจจยาการเหล่านั้น อวิชชา เป็นไฉน
ความไม่รู้ ความไม่เห็น ฯลฯ ลิ่มคืออวิชชา อกุศลมูลคือโมหะ นี้เรียกว่า
อวิชชา


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๒๓๗ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๖.ปฏิจจสมุปปาทวิภังค์] ๒.อภิธรรมภาชนีย์ ๕.ปัจจยจตุกกะ
เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารจึงมี เป็นไฉน
ความจงใจ กิริยาที่จงใจ ภาวะที่จงใจ นี้เรียกว่า เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย
สังขารจึงมี
เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี เป็นไฉน
จิต มโน มานัส ฯลฯ มโนวิญญาณธาตุที่เหมาะสมกัน นี้เรียกว่า เพราะ
สังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี
เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามรูปจึงมี เป็นไฉน
นาม ๑ รูป ๑
ในนามและรูปนั้น นาม เป็นไฉน
เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ และสังขารขันธ์ นี้เรียกว่า นาม
รูป เป็นไฉน
ความแรกเกิดแห่งจักขายตนะ โสตายตนะ ฆานายตนะ ชิวหายตนะ และ
กายายตนะ หรือรูปแม้อื่นใดมีอยู่ ได้แก่ รูปที่เกิดแต่จิตมีจิตเป็นเหตุมีจิตเป็น
สมุฏฐาน นี้เรียกว่า รูป
นามและรูปดังที่กล่าวมานี้ นี้เรียกว่า เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามรูปจึงมี
ในคำว่า เพราะนามรูปเป็นปัจจัย อายตนะที่ ๖ จึงมี นั้น ได้แก่
นาม ๑ รูป ๑
ในนามและรูปนั้น นาม เป็นไฉน
เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ และสังขารขันธ์ นี้เรียกว่า นาม
รูป เป็นไฉน
รูปที่มโนวิญญาณธาตุอาศัยเป็นไป นี้เรียกว่า รูป
นามและรูปดังที่กล่าวมานี้ นี้เรียกว่า นามรูป


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๒๓๘ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๖.ปฏิจจสมุปปาทวิภังค์] ๒.อภิธรรมภาชนีย์ ๕.ปัจจยจตุกกะ
เพราะนามรูปเป็นปัจจัย อายตนะที่ ๖ จึงมี เป็นไฉน
จิต มโน มานัส ฯลฯ มโนวิญญาณธาตุที่เหมาะสมกัน นี้เรียกว่า เพราะ
นามรูปเป็นปัจจัย อายตนะที่ ๖ จึงมี
เพราะอายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี เป็นไฉน
ความกระทบ กิริยาที่กระทบ กิริยาที่ถูกต้อง ภาวะที่ถูกต้อง นี้เรียกว่า เพราะ
อายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี ฯลฯ
เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า กองทุกข์ทั้งมวลนี้มีการเกิดขึ้นด้วยอาการอย่างนี้ (๓)
[๒๕๔] ในสมัยนั้น เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารจึงมี เพราะสังขารเป็น
ปัจจัย วิญญาณจึงมี เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามรูปจึงมี เพราะนามรูปเป็นปัจจัย
สฬายตนะจึงมี เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนา
จึงมี เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ตัณหาจึงมี เพราะตัณหาเป็นปัจจัย อุปาทานจึงมี
เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย ภพจึงมี เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติจึงมี เพราะชาติเป็น
ปัจจัย ชรามรณะจึงมี
กองทุกข์ทั้งมวลนี้มีการเกิดขึ้นด้วยอาการอย่างนี้
[๒๕๕] บรรดาปัจจยาการเหล่านั้น อวิชชา เป็นไฉน
ความไม่รู้ ความไม่เห็น ฯลฯ ลิ่มคืออวิชชา อกุศลมูลคือโมหะ นี้เรียกว่า
อวิชชา
เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารจึงมี เป็นไฉน
ความจงใจ กิริยาที่จงใจ ภาวะที่จงใจ นี้เรียกว่า เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย
สังขาร จึงมี
เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี เป็นไฉน
จิต มโน มานัส ฯลฯ มโนวิญญาณธาตุที่เหมาะสมกัน นี้เรียกว่า เพราะ
สังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี
เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามรูปจึงมี เป็นไฉน
นาม ๑ รูป ๑

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๒๓๙ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๖.ปฏิจจสมุปปาทวิภังค์] ๒.อภิธรรมภาชนีย์ ๕.ปัจจยจตุกกะ
ในนามและรูปนั้น นาม เป็นไฉน
เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ และสังขารขันธ์ นี้เรียกว่า นาม
รูป เป็นไฉน
ความแรกเกิดแห่งจักขายตนะ ฯลฯ แห่งกายายตนะ หรือรูปแม้อื่นใดมีอยู่
ได้แก่ รูปที่เกิดแต่จิต ที่มีจิตเป็นเหตุ ที่มีจิตเป็นสมุฏฐาน นี้เรียกว่า รูป
นามและรูปดังที่กล่าวมานี้ นี้เรียกว่า เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามรูปจึงมี
ในคำว่า เพราะนามรูปเป็นปัจจัย สฬายตนะจึงมี นั้น ได้แก่
นาม ๑ รูป ๑
ในนามและรูปนั้น นาม เป็นไฉน
เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ และสังขารขันธ์ นี้เรียกว่า นาม
รูป เป็นไฉน
มหาภูตรูป ๔ และรูปที่มโนวิญญาณธาตุอาศัยเป็นไป นี้เรียกว่า รูป
นามและรูปดังที่กล่าวมานี้ นี้เรียกว่า นามรูป
เพราะนามรูปเป็นปัจจัย สฬายตนะจึงมี เป็นไฉน
จักขายตนะ โสตายตนะ ฆานายตนะ ชิวหายตนะ กายายตนะ และมนายตนะ
นี้เรียกว่า เพราะนามรูปเป็นปัจจัย สฬายตนะจึงมี
เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี เป็นไฉน
ความกระทบ กิริยาที่กระทบ กิริยาที่ถูกต้อง ภาวะที่ถูกต้อง นี้เรียกว่า
เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี ฯลฯ
เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า กองทุกข์ทั้งมวลนี้มีการเกิดขึ้นด้วยอาการอย่างนี้ (๔)
ปัจจยจตุกกะ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๒๔๐ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๖.ปฏิจจสมุปปาทวิภังค์] ๒.อภิธรรมภาชนีย์ ๖.เหตุจตุกกะ
๖. เหตุจตุกกะ
[๒๕๖] ในสมัยนั้น เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารที่มีอวิชชาเป็นเหตุจึงมี
เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณที่มีสังขารเป็นเหตุจึงมี เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย
นามที่มีวิญญาณเป็นเหตุจึงมี เพราะนามเป็นปัจจัย อายตนะที่ ๖ ที่มีนามเป็นเหตุ
จึงมี เพราะอายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย ผัสสะที่มีอายตนะที่ ๖ เป็นเหตุจึงมี เพราะ
ผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาที่มีผัสสะเป็นเหตุจึงมี เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ตัณหาที่มี
เวทนาเป็นเหตุจึงมี เพราะตัณหาเป็นปัจจัย อุปาทานที่มีตัณหาเป็นเหตุจึงมี เพราะ
อุปาทานเป็นปัจจัย ภพจึงมี เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติจึงมี เพราะชาติเป็นปัจจัย
ชรามรณะจึงมี
กองทุกข์ทั้งมวลนี้มีการเกิดขึ้นด้วยอาการอย่างนี้
[๒๕๗] บรรดาปัจจยาการเหล่านั้น อวิชชา เป็นไฉน
ความไม่รู้ ความไม่เห็น ฯลฯ ลิ่มคืออวิชชา อกุศลมูลคือโมหะ นี้เรียกว่า
อวิชชา
เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารที่มีอวิชชาเป็นเหตุจึงมี เป็นไฉน
ความจงใจ กิริยาที่จงใจ ภาวะที่จงใจ นี้เรียกว่า เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย
สังขารที่มีอวิชชาเป็นเหตุจึงมี
เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณที่มีสังขารเป็นเหตุจึงมี เป็นไฉน
จิต มโน มานัส ฯลฯ มโนวิญญาณธาตุที่เหมาะสมกัน นี้เรียกว่า เพราะ
สังขารเป็นปัจจัย วิญญาณที่มีสังขารเป็นเหตุจึงมี
เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามที่มีวิญญาณเป็นเหตุจึงมี เป็นไฉน
เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ และสังขารขันธ์ นี้เรียกว่า เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย
นามที่มีวิญญาณเป็นเหตุจึงมี
เพราะนามเป็นปัจจัย อายตนะที่ ๖ ที่มีนามเป็นเหตุจึงมี เป็นไฉน
จิต มโน มานัส ฯลฯ มโนวิญญาณธาตุที่เหมาะสมกัน นี้เรียกว่า เพราะนาม
เป็นปัจจัย อายตนะที่ ๖ ที่มีนามเป็นเหตุจึงมี


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๒๔๑ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๖.ปฏิจจสมุปปาทวิภังค์] ๒.อภิธรรมภาชนีย์ ๖.เหตุจตุกกะ
เพราะอายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย ผัสสะที่มีอายตนะที่ ๖ เป็นเหตุจึงมี
เป็นไฉน
ความกระทบ กิริยาที่กระทบ กิริยาที่ถูกต้อง ภาวะที่ถูกต้อง นี้เรียกว่า เพราะ
อายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย ผัสสะที่มีอายตนะที่ ๖ เป็นเหตุจึงมี
เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาที่มีผัสสะเป็นเหตุจึงมี เป็นไฉน
ความสำราญทางใจ ความสุขทางใจ ความเสวยอารมณ์ที่สำราญเป็นสุข
อันเกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่สำราญเป็นสุข อันเกิดแต่เจโตสัมผัส นี้
เรียกว่า เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาที่มีผัสสะเป็นเหตุจึงมี
เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ตัณหาที่มีเวทนาเป็นเหตุจึงมี เป็นไฉน
ความกำหนัด ความกำหนัดนัก ฯลฯ ความกำหนัดนักแห่งจิต นี้เรียกว่า
เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ตัณหาที่มีเวทนาเป็นเหตุจึงมี
เพราะตัณหาเป็นปัจจัย อุปาทานที่มีตัณหาเป็นเหตุจึงมี เป็นไฉน
ทิฏฐิ ความเห็นผิด ชัฏคือทิฏฐิ กันดารคือทิฏฐิ ความเห็นที่เป็นข้าศึก ความ
เห็นโลเล สังโยชน์คือทิฏฐิ ความยึดมั่น ความถือมั่น ความถือรั้น ความถือผิด
จากความเป็นจริง ทางชั่ว ทางผิด ภาวะที่ผิด ลัทธิที่เป็นบ่อเกิดแห่งความพินาศ
ความยึดถือโดยวิปลาส นี้เรียกว่า เพราะตัณหาเป็นปัจจัย อุปาทานที่มีตัณหาเป็น
เหตุจึงมี ฯลฯ
เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า กองทุกข์ทั้งมวลนี้มีการเกิดขึ้นด้วยอาการอย่างนี้ (๑-๕)
[๒๕๘] ในสมัยนั้น เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารที่มีอวิชชาเป็นเหตุจึงมี
เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณที่มีสังขารเป็นเหตุจึงมี เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย
นามที่มีวิญญาณเป็นเหตุจึงมี เพราะนามเป็นปัจจัย ผัสสะที่มีนามเป็นเหตุจึงมี
เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาที่มีผัสสะเป็นเหตุจึงมี เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ตัณหา
ที่มีเวทนาเป็นเหตุจึงมี เพราะตัณหาเป็นปัจจัย อุปาทานที่มีตัณหาเป็นเหตุจึงมี
เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย ภพจึงมี เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติจึงมี เพราะชาติเป็น
ปัจจัย ชรามรณะจึงมี
กองทุกข์ทั้งมวลนี้มีการเกิดขึ้นด้วยอาการอย่างนี้


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๒๔๒ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๖.ปฏิจจสมุปปาทวิภังค์] ๒.อภิธรรมภาชนีย์ ๖.เหตุจตุกกะ
[๒๕๙] บรรดาปัจจยาการเหล่านั้น อวิชชา เป็นไฉน
ความไม่รู้ ความไม่เห็น ฯลฯ ลิ่มคืออวิชชา อกุศลมูลคือโมหะ นี้เรียกว่า
อวิชชา
เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารที่มีอวิชชาเป็นเหตุจึงมี เป็นไฉน
ความจงใจ กิริยาที่จงใจ ภาวะที่จงใจ นี้เรียกว่า เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย
สังขารที่มีอวิชชาเป็นเหตุจึงมี
เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณที่มีสังขารเป็นเหตุจึงมี เป็นไฉน
จิต มโน มานัส ฯลฯ มโนวิญญาณธาตุที่เหมาะสมกัน นี้เรียกว่า เพราะ
สังขารเป็นปัจจัย วิญญาณที่มีสังขารเป็นเหตุจึงมี
เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามที่มีวิญญาณเป็นเหตุจึงมี เป็นไฉน
เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ และสังขารขันธ์ นี้เรียกว่า เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย
นามที่มีวิญญาณเป็นเหตุจึงมี
ในคำว่า เพราะนามเป็นปัจจัย ผัสสะที่มีนามเป็นเหตุจึงมี นั้น นาม
เป็นไฉน
เว้นผัสสะแล้ว เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ และวิญญาณขันธ์ นี้
เรียกว่า นาม
เพราะนามเป็นปัจจัย ผัสสะที่มีนามเป็นเหตุจึงมี เป็นไฉน
ความกระทบ กิริยาที่กระทบ กิริยาที่ถูกต้อง ภาวะที่ถูกต้อง นี้เรียกว่า
เพราะนามเป็นปัจจัย ผัสสะที่มีนามเป็นเหตุจึงมี ฯลฯ
เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า กองทุกข์ทั้งมวลนี้มีการเกิดขึ้นด้วยอาการอย่างนี้ (๒-๖)
[๒๖๐] ในสมัยนั้น เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารที่มีอวิชชาเป็นเหตุจึงมี
เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณที่มีสังขารเป็นเหตุจึงมี เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย
นามรูปที่มีวิญญาณเป็นเหตุจึงมี เพราะนามรูปเป็นปัจจัย อายตนะที่ ๖ ที่มีนามรูป
เป็นเหตุจึงมี เพราะอายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย ผัสสะที่มีอายตนะที่ ๖ เป็นเหตุจึงมี


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๒๔๓ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๖.ปฏิจจสมุปปาทวิภังค์] ๒.อภิธรรมภาชนีย์ ๖.เหตุจตุกกะ
เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาที่มีผัสสะเป็นเหตุจึงมี เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ตัณหา
ที่มีเวทนาเป็นเหตุจึงมี เพราะตัณหาเป็นปัจจัย อุปาทานที่มีตัณหาเป็นเหตุจึงมี
เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย ภพจึงมี เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติจึงมี เพราะชาติเป็น
ปัจจัย ชรามรณะจึงมี
กองทุกข์ทั้งมวลนี้มีการเกิดขึ้นด้วยอาการอย่างนี้
[๒๖๑] บรรดาปัจจยาการเหล่านั้น อวิชชา เป็นไฉน
ความไม่รู้ ความไม่เห็น ฯลฯ ลิ่มคืออวิชชา อกุศลมูลคือโมหะ นี้เรียกว่า
อวิชชา
เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารที่มีอวิชชาเป็นเหตุจึงมี เป็นไฉน
ความจงใจ กิริยาที่จงใจ ภาวะที่จงใจ นี้เรียกว่า เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย
สังขารที่มีอวิชชาเป็นเหตุจึงมี
เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณที่มีสังขารเป็นเหตุจึงมี เป็นไฉน
จิต มโน มานัส ฯลฯ มโนวิญญาณธาตุที่เหมาะสมกัน นี้เรียกว่า เพราะ
สังขารเป็นปัจจัย วิญญาณที่มีสังขารเป็นเหตุจึงมี
เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามรูปที่มีวิญญาณเป็นเหตุจึงมี เป็นไฉน
นาม ๑ รูป ๑
ในนามรูปนั้น นาม เป็นไฉน
เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ และสังขารขันธ์ นี้เรียกว่า นาม
รูป เป็นไฉน
ความแรกเกิดแห่งจักขายตนะ ฯลฯ กายายตนะ หรือรูปแม้อื่นใดมีอยู่ ได้แก่
รูปที่เกิดแต่จิต ที่มีจิตเป็นเหตุ ที่มีจิตเป็นสมุฏฐาน นี้เรียกว่า รูป
ประมวลย่อนามและรูปดังที่กล่าวมานี้เข้าด้วยกัน นี้เรียกว่า เพราะวิญญาณ
เป็นปัจจัย นามรูปที่มีวิญญาณเป็นเหตุจึงมี


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๒๔๔ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๖.ปฏิจจสมุปปาทวิภังค์] ๒.อภิธรรมภาชนีย์ ๖.เหตุจตุกกะ
คำว่า เพราะนามรูปเป็นปัจจัย อายตนะที่ ๖ ที่มีนามรูปเป็นเหตุจึงมี
ได้แก่
นาม ๑ รูป ๑
ในนามและรูปนั้น นาม เป็นไฉน
เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ และสังขารขันธ์ นี้เรียกว่า นาม
รูป เป็นไฉน
รูปที่มโนวิญญาณธาตุอาศัยเป็นไป นี้เรียกว่า รูป
นามและรูปดังที่กล่าวมานี้ นี้เรียกว่า นามรูป
เพราะนามรูปเป็นปัจจัย อายตนะที่ ๖ ที่มีนามรูปเป็นเหตุจึงมี เป็นไฉน
จิต มโน มานัส ฯลฯ มโนวิญญาณธาตุที่เหมาะสมกัน นี้เรียกว่า เพราะ
นามรูปเป็นปัจจัย อายตนะที่ ๖ ที่มีนามรูปเป็นเหตุจึงมี
เพราะอายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย ผัสสะที่มีอายตนะที่ ๖ เป็นเหตุจึงมี เป็นไฉน
ความกระทบ กิริยาที่กระทบ กิริยาที่ถูกต้อง ภาวะที่ถูกต้อง นี้เรียกว่า เพราะ
อายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย ผัสสะที่มีอายตนะที่ ๖ เป็นเหตุจึงมี ฯลฯ
เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า กองทุกข์ทั้งมวลนี้มีการเกิดขึ้นด้วยอาการอย่างนี (๓-๗)
[๒๖๒] ในสมัยนั้น เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารที่มีอวิชชาเป็นเหตุจึงมี
เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณที่มีสังขารเป็นเหตุจึงมี เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย
นามรูปที่มีวิญญาณเป็นเหตุจึงมี เพราะนามรูปเป็นปัจจัย สฬายตนะที่มีนามรูปเป็น
เหตุจึงมี เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย ผัสสะที่มีสฬายตนะเป็นเหตุจึงมี เพราะผัสสะ
เป็นปัจจัย เวทนาที่มีผัสสะเป็นเหตุจึงมี เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ตัณหาที่มีเวทนา
เป็นเหตุจึงมี เพราะตัณหาเป็นปัจจัย อุปาทานที่มีตัณหาเป็นเหตุจึงมี เพราะ
อุปาทานเป็นปัจจัย ภพจึงมี เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติจึงมี เพราะชาติเป็นปัจจัย
ชรามรณะจึงมี
กองทุกข์ทั้งมวลนี้มีการเกิดขึ้นด้วยอาการอย่างนี้


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๒๔๕ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๖.ปฏิจจสมุปปาทวิภังค์] ๒.อภิธรรมภาชนีย์ ๖.เหตุจตุกกะ
[๒๖๓] บรรดาปัจจยาการเหล่านั้น อวิชชา เป็นไฉน
ความไม่รู้ ความไม่เห็น ฯลฯ ลิ่มคืออวิชชา อกุศลมูลคือโมหะ นี้เรียกว่า
อวิชชา
เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารที่มีอวิชชาเป็นเหตุจึงมี เป็นไฉน
ความจงใจ กิริยาที่จงใจ ภาวะที่จงใจ นี้เรียกว่า เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย
สังขารที่มีอวิชชาเป็นเหตุจึงมี
เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณที่มีสังขารเป็นเหตุจึงมี เป็นไฉน
จิต มโน มานัส ฯลฯ มโนวิญญาณธาตุที่เหมาะสมกัน นี้เรียกว่า เพราะ
สังขารเป็นปัจจัย วิญญาณที่มีสังขารเป็นเหตุจึงมี
เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามรูปที่มีวิญญาณเป็นเหตุจึงมี เป็นไฉน
นาม ๑ รูป ๑
ในนามและรูปนั้น นาม เป็นไฉน
เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ และสังขารขันธ์ นี้เรียกว่า นาม
รูป เป็นไฉน
ความแรกเกิดแห่งจักขายตนะ ฯลฯ กายายตนะ หรือรูปแม้อื่นใดมีอยู่ ได้แก่
รูปที่เกิดแต่จิต ที่มีจิตเป็นเหตุ ที่มีจิตเป็นสมุฏฐาน นี้เรียกว่า รูป
นามและรูปดังที่กล่าวมานี้ นี้เรียกว่า เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามรูปที่
มีวิญญาณเป็นเหตุจึงมี
คำว่า เพราะนามรูปเป็นปัจจัย สฬายตนะที่มีนามรูปเป็นเหตุจึงมี ได้แก่
นาม ๑ รูป ๑
ในนามและรูปนั้น นาม เป็นไฉน
เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ และสังขารขันธ์ นี้เรียกว่า นาม


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๒๔๖ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๖.ปฏิจจสมุปปาทวิภังค์] ๒.อภิธรรมภาชนีย์ ๖.เหตุจตุกกะ
รูป เป็นไฉน
มหาภูตรูป ๔ และรูปที่มโนวิญญาณธาตุอาศัยเป็นไป นี้เรียกว่า รูป
นามและรูปดังที่กล่าวมานี้ นี้เรียกว่า นามรูป
เพราะนามรูปเป็นปัจจัย สฬายตนะที่มีนามรูปเป็นเหตุจึงมี เป็นไฉน
จักขายตนะ ฯลฯ มนายตนะ นี้เรียกว่า เพราะนามรูปเป็นปัจจัย สฬายตนะ
ที่มีนามรูปเป็นเหตุจึงมี
เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย ผัสสะที่มีสฬายตนะเป็นเหตุจึงมี เป็นไฉน
ความกระทบ กิริยาที่กระทบ กิริยาที่ถูกต้อง ภาวะที่ถูกต้อง นี้เรียกว่า
เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย ผัสสะที่มีสฬายตนะเป็นเหตุจึงมี
เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาที่มีผัสสะเป็นเหตุจึงมี เป็นไฉน
ความสำราญทางใจ ความสุขทางใจ ความเสวยอารมณ์ที่สำราญเป็นสุข
อันเกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่สำราญเป็นสุข อันเกิดแต่เจโตสัมผัส นี้
เรียกว่า เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาที่มีผัสสะเป็นเหตุจึงมี
เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ตัณหาที่มีเวทนาเป็นเหตุจึงมี เป็นไฉน
ความกำหนัด ความกำหนัดนัก ฯลฯ ความกำหนัดนักแห่งจิต นี้เรียกว่า
เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ตัณหาที่มีเวทนาเป็นเหตุจึงมี
เพราะตัณหาเป็นปัจจัย อุปาทานที่มีตัณหาเป็นเหตุจึงมี เป็นไฉน
ทิฏฐิ ความเห็นผิด ฯลฯ ลัทธิที่เป็นบ่อเกิดแห่งความพินาศ ความยึดถือโดย
วิปลาส นี้เรียกว่า เพราะตัณหาเป็นปัจจัย อุปาทานที่มีตัณหาเป็นเหตุจึงมี ฯลฯ
เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า กองทุกข์ทั้งมวลนี้มีการเกิดขึ้นด้วยอาการอย่างนี้
(๔-๘)

เหตุจตุกกะ จบ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๒๔๗ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๖.ปฏิจจสมุปปาทวิภังค์] ๒.อภิธรรมภาชนีย์ ๗.สัมปยุตตจตุกกะ
๗. สัมปยุตตจตุกกะ
[๒๖๔] ในสมัยนั้น เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารที่สัมปยุตด้วยอวิชชาจึงมี
เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณที่สัมปยุตด้วยสังขารจึงมี เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย
นามที่สัมปยุตด้วยวิญญาณจึงมี เพราะนามเป็นปัจจัย อายตนะที่ ๖ ที่สัมปยุต
ด้วยนามจึงมี เพราะอายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย ผัสสะที่สัมปยุตด้วยอายตนะที่ ๖ จึงมี
เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาที่สัมปยุตด้วยผัสสะจึงมี เพราะเวทนาเป็นปัจจัย
ตัณหาที่สัมปยุตด้วยเวทนาจึงมี เพราะตัณหาเป็นปัจจัย อุปาทานที่สัมปยุตด้วย
ตัณหาจึงมี เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย ภพจึงมี เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติจึงมี
เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะจึงมี
กองทุกข์ทั้งมวลนี้มีการเกิดขึ้นด้วยอาการอย่างนี้
[๒๖๕] บรรดาปัจจยาการเหล่านั้น อวิชชา เป็นไฉน
ความไม่รู้ ความไม่เห็น ฯลฯ ลิ่มคืออวิชชา อกุศลมูลคือโมหะ นี้เรียกว่า
อวิชชา
เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารที่สัมปยุตด้วยอวิชชาจึงมี เป็นไฉน
ความจงใจ กิริยาที่จงใจ ภาวะที่จงใจ นี้เรียกว่า เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย
สังขารที่สัมปยุตด้วยอวิชชาจึงมี
เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณที่สัมปยุตด้วยสังขารจึงมี เป็นไฉน
จิต มโน มานัส ฯลฯ มโนวิญญาณธาตุที่เหมาะสมกัน นี้เรียกว่า เพราะ
สังขารเป็นปัจจัย วิญญาณที่สัมปยุตด้วยสังขารจึงมี
เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามที่สัมปยุตด้วยวิญญาณจึงมี เป็นไฉน
เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ และสังขารขันธ์ นี้เรียกว่า เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย
นามที่สัมปยุตด้วยวิญญาณจึงมี
เพราะนามเป็นปัจจัย อายตนะที่ ๖ ที่สัมปยุตด้วยนามจึงมี เป็นไฉน
จิต มโน มานัส ฯลฯ มโนวิญญาณธาตุที่เหมาะสมกัน นี้เรียกว่า เพราะ
นามเป็นปัจจัย อายตนะที่ ๖ ที่สัมปยุตด้วยนามจึงมี


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๒๔๘ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๖.ปฏิจจสมุปปาทวิภังค์] ๒.อภิธรรมภาชนีย์ ๗.สัมปยุตตจตุกกะ
เพราะอายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย ผัสสะที่สัมปยุตด้วยอายตนะที่ ๖ จึงมี เป็น
ไฉน
ความกระทบ กิริยาที่กระทบ กิริยาที่ถูกต้อง ภาวะที่ถูกต้อง นี้เรียกว่า เพราะ
อายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย ผัสสะที่สัมปยุตด้วยอายตนะที่ ๖ จึงมี
เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาที่สัมปยุตด้วยผัสสะจึงมี เป็นไฉน
ความสำราญทางใจ ความสุขทางใจ ความเสวยอารมณ์ที่สำราญเป็นสุข อันเกิด
แต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่สำราญเป็นสุข อันเกิดแต่เจโตสัมผัส นี้เรียกว่า
เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาที่สัมปยุตด้วยผัสสะจึงมี
เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ตัณหาที่สัมปยุตด้วยเวทนาจึงมี เป็นไฉน
ความกำหนัด ความกำหนัดนัก ฯลฯ ความกำหนัดนักแห่งจิต นี้เรียกว่า
เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ตัณหาที่สัมปยุตด้วยเวทนาจึงมี
เพราะตัณหาเป็นปัจจัย อุปาทานที่สัมปยุตด้วยตัณหาจึงมี เป็นไฉน
ทิฏฐิ ความเห็นผิด ฯลฯ ลัทธิที่เป็นบ่อเกิดแห่งความพินาศ ความยึดถือโดย
วิปลาส นี้เรียกว่า เพราะตัณหาเป็นปัจจัย อุปาทานที่สัมปยุตด้วยตัณหาจึงมี ฯลฯ
เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า กองทุกข์ทั้งมวลนี้มีการเกิดขึ้นด้วยอาการอย่างนี้ (๑-๙)
[๒๖๖] ในสมัยนั้น เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารที่สัมปยุตด้วยอวิชชาจึงมี
เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณที่สัมปยุตด้วยสังขารจึงมี เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย
นามที่สัมปยุตด้วยวิญญาณจึงมี เพราะนามเป็นปัจจัย ผัสสะที่สัมปยุตด้วยนามจึงมี
เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาที่สัมปยุตด้วยผัสสะจึงมี เพราะเวทนาเป็นปัจจัย
ตัณหาที่สัมปยุตด้วยเวทนาจึงมี เพราะตัณหาเป็นปัจจัย อุปาทานที่สัมปยุตด้วย
ตัณหาจึงมี เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย ภพจึงมี เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติจึงมี
เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะจึงมี
กองทุกข์ทั้งมวลนี้มีการเกิดขึ้นด้วยอาการอย่างนี้
[๒๖๗] บรรดาปัจจยาการเหล่านั้น อวิชชา เป็นไฉน


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๒๔๙ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๖.ปฏิจจสมุปปาทวิภังค์] ๒.อภิธรรมภาชนีย์ ๗.สัมปยุตตจตุกกะ
ความไม่รู้ ความไม่เห็น ฯลฯ ลิ่มคืออวิชชา อกุศลมูลคือโมหะ นี้เรียกว่า
อวิชชา
เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารที่สัมปยุตด้วยอวิชชาจึงมี เป็นไฉน
ความจงใจ กิริยาที่จงใจ ภาวะที่จงใจ นี้เรียกว่า เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย
สังขารที่สัมปยุตด้วยอวิชชาจึงมี
เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณที่สัมปยุตด้วยสังขารจึงมี เป็นไฉน
จิต มโน มานัส ฯลฯ มโนวิญญาณธาตุที่เหมาะสมกัน นี้เรียกว่า เพราะ
สังขารเป็นปัจจัยวิญญาณที่สัมปยุตด้วยสังขารจึงมี
เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามที่สัมปยุตด้วยวิญญาณจึงมี เป็นไฉน
เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ และสังขารขันธ์ นี้เรียกว่า เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย
นามที่สัมปยุตด้วยวิญญาณจึงมี
ในคำว่า เพราะนามเป็นปัจจัย ผัสสะที่สัมปยุตด้วยนามจึงมี นั้น นาม
เป็นไฉน
เว้นผัสสะแล้ว เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ และสังขารขันธ์ นี้เรียกว่า นาม
เพราะนามเป็นปัจจัย ผัสสะที่สัมปยุตด้วยนามจึงมี เป็นไฉน
ความกระทบ กิริยาที่กระทบ กิริยาที่ถูกต้อง ภาวะที่ถูกต้อง นี้เรียกว่า
เพราะนามเป็นปัจจัย ผัสสะที่สัมปยุตด้วยนามจึงมี ฯลฯ
เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า กองทุกข์ทั้งมวลนี้มีการเกิดขึ้นด้วยอาการอย่างนี้ (๒-๑๐)
[๒๖๘] ในสมัยนั้น เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารที่สัมปยุตด้วยอวิชชาจึงมี
เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณที่สัมปยุตด้วยสังขารจึงมี เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย
นามรูปและนามที่สัมปยุตด้วยวิญญาณจึงมี เพราะนามรูปเป็นปัจจัย อายตนะที่ ๖
ที่สัมปยุตด้วยนามจึงมี เพราะอายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย ผัสสะที่สัมปยุตด้วยอายตนะ
ที่ ๖ จึงมี เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาที่สัมปยุตด้วยผัสสะจึงมี เพราะเวทนา
เป็นปัจจัย ตัณหาที่สัมปยุตด้วยเวทนาจึงมี เพราะตัณหาเป็นปัจจัย อุปาทานที่


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๒๕๐ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๖.ปฏิจจสมุปปาทวิภังค์] ๒.อภิธรรมภาชนีย์ ๗.สัมปยุตตจตุกกะ
สัมปยุตด้วยตัณหาจึงมี เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย ภพจึงมี เพราะภพเป็นปัจจัย
ชาติจึงมี เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะจึงมี
กองทุกข์ทั้งมวลนี้มีการเกิดขึ้นด้วยอาการอย่างนี้
[๒๖๙] บรรดาปัจจยาการเหล่านั้น อวิชชา เป็นไฉน
ความไม่รู้ ความไม่เห็น ฯลฯ ลิ่มคืออวิชชา อกุศลมูลคือโมหะ นี้เรียกว่า
อวิชชา
เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารที่สัมปยุตด้วยอวิชชาจึงมี เป็นไฉน
ความจงใจ กิริยาที่จงใจ ภาวะที่จงใจ นี้เรียกว่า เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย
สังขารที่สัมปยุตด้วยอวิชชาจึงมี
เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณที่สัมปยุตด้วยสังขารจึงมี เป็นไฉน
จิต มโน มานัส ฯลฯ มโนวิญญาณธาตุที่เหมาะสมกัน นี้เรียกว่า เพราะ
สังขารเป็นปัจจัย วิญญาณที่สัมปยุตด้วยสังขารจึงมี
เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามรูปและนามที่สัมปยุตด้วยวิญญาณจึงมี
เป็นไฉน
นาม ๑ รูป ๑
ในนามและรูปนั้น นาม เป็นไฉน
เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ และสังขารขันธ์ นี้เรียกว่า นาม
รูป เป็นไฉน
ความแรกเกิดแห่งจักขายตนะ ฯลฯ กายายตนะ หรือแม้รูปอื่นใดมีอยู่ ได้แก่
รูปที่เกิดแต่จิต ที่มีจิตเป็นเหตุ ที่มีจิตเป็นสมุฏฐาน นี้เรียกว่า รูป
นามและรูปดังที่กล่าวมานี้ นี้เรียกว่า เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามรูปและ
นามที่สัมปยุตด้วยวิญญาณจึงมี
คำว่า เพราะนามรูปเป็นปัจจัย อายตนะที่ ๖ ที่สัมปยุตด้วยนามจึงมี ได้แก่
นาม ๑ รูป ๑


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๒๕๑ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๖.ปฏิจจสมุปปาทวิภังค์] ๒.อภิธรรมภาชนีย์ ๗.สัมปยุตตจตุกกะ
ในนามและรูปนั้น นาม เป็นไฉน
เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ และสังขารขันธ์ นี้เรียกว่า นาม
รูป เป็นไฉน
รูปที่มโนวิญญาณธาตุอาศัยเป็นไป นี้เรียกว่า รูป
นามและรูปดังที่กล่าวมานี้ นี้เรียกว่า นามรูป
เพราะนามรูปเป็นปัจจัย อายตนะที่ ๖ ที่สัมปยุตด้วยนามจึงมี เป็นไฉน
จิต มโน มานัส ฯลฯ มโนวิญญาณธาตุที่เหมาะสมกัน นี้เรียกว่า เพราะ
นามรูปเป็นปัจจัย อายตนะที่ ๖ ที่สัมปยุตด้วยนามจึงมี
เพราะอายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย ผัสสะที่สัมปยุตด้วยอายตนะที่ ๖ จึงมี
เป็นไฉน
ความกระทบ กิริยาที่กระทบ กิริยาที่ถูกต้อง ภาวะที่ถูกต้อง นี้เรียกว่า เพราะ
อายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย ผัสสะที่สัมปยุตด้วยอายตนะที่ ๖ จึงมี ฯลฯ
เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า กองทุกข์ทั้งมวลนี้มีการเกิดขึ้นด้วยอาการอย่างนี้ (๓-๑๑)
[๒๗๐] ในสมัยนั้น เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารที่สัมปยุตด้วยอวิชชาจึงมี
เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณที่สัมปยุตด้วยสังขารจึงมี เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย
นามรูปและนามที่สัมปยุตด้วยวิญญาณจึงมี เพราะนามรูปเป็นปัจจัย สฬายตนะและ
อายตนะที่ ๖ ที่สัมปยุตด้วยนามจึงมี เพราะอายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย ผัสสะที่
สัมปยุตด้วยอายตนะที่ ๖ จึงมี เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาที่สัมปยุตด้วยผัสสะ
จึงมี เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ตัณหาที่สัมปยุตด้วยเวทนาจึงมี เพราะตัณหาเป็น
ปัจจัย อุปาทานที่สัมปยุตด้วยตัณหาจึงมี เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย ภพจึงมี เพราะ
ภพเป็นปัจจัย ชาติจึงมี เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะจึงมี
กองทุกข์ทั้งมวลนี้มีการเกิดขึ้นด้วยอาการอย่างนี้
[๒๗๑] บรรดาปัจจยาการเหล่านั้น อวิชชา เป็นไฉน
ความไม่รู้ ความไม่เห็น ฯลฯ ลิ่มคืออวิชชา อกุศลมูลคือโมหะ นี้เรียกว่า
อวิชชา


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๒๕๒ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๖.ปฏิจจสมุปปาทวิภังค์] ๒.อภิธรรมภาชนีย์ ๗.สัมปยุตตจตุกกะ
เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารที่สัมปยุตด้วยอวิชชาจึงมี เป็นไฉน
ความจงใจ กิริยาที่จงใจ ภาวะที่จงใจ นี้เรียกว่า เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย
สังขารที่สัมปยุตด้วยอวิชชาจึงมี
เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณที่สัมปยุตด้วยสังขารจึงมี เป็นไฉน
จิต มโน มานัส ฯลฯ มโนวิญญาณธาตุที่เหมาะสมกัน นี้เรียกว่า เพราะ
สังขารเป็นปัจจัย วิญญาณที่สัมปยุตด้วยสังขารจึงมี
เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามรูปและนามที่สัมปยุตด้วยวิญญาณจึงมี
เป็นไฉน
นาม ๑ รูป ๑
ในนามและรูปนั้น นาม เป็นไฉน
เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ และสังขารขันธ์ นี้เรียกว่า นาม
รูป เป็นไฉน
ความแรกเกิดแห่งจักขายตนะ ฯลฯ กายายตนะ หรือรูปแม้อื่นใดมีอยู่ ได้แก่
รูปที่เกิดแต่จิต ที่มีจิตเป็นเหตุ ที่มีจิตเป็นสมุฏฐาน นี้เรียกว่า รูป
นามและรูปดังที่กล่าวมานี้ นี้เรียกว่า เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามรูปและ
นามที่สัมปยุตด้วยวิญญาณจึงมี
คำว่า เพราะนามรูปเป็นปัจจัย สฬายตนะและอายตนะที่ ๖ ที่สัมปยุต
ด้วยนามจึงมี ได้แก่
นาม ๑ รูป ๑
ในนามและรูปนั้น นาม เป็นไฉน
เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ และสังขารขันธ์ นี้เรียกว่า นาม
รูป เป็นไฉน
มหาภูตรูป ๔ และรูปที่มโนวิญญาณธาตุอาศัยเป็นไป นี้เรียกว่า รูป
นามและรูปดังที่กล่าวมานี้ นี้เรียกว่า นามรูป


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๒๕๓ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๖.ปฏิจจสมุปปาทวิภังค์] ๒.อภิธรรมภาชนีย์ ๘.อัญญมัญญจตุกกะ
เพราะนามรูปเป็นปัจจัย สฬายตนะและอายตนะที่ ๖ ที่สัมปยุตด้วยนาม
จึงมี เป็นไฉน
จักขายตนะ ฯลฯ มนายตนะ นี้เรียกว่า เพราะนามรูปเป็นปัจจัย สฬายตนะ
และอายตนะที่ ๖ ที่สัมปยุตด้วยนามจึงมี
เพราะอายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย ผัสสะที่สัมปยุตด้วยอายตนะที่ ๖ จึงมี
เป็นไฉน
ความกระทบ กิริยาที่กระทบ กิริยาที่ถูกต้อง ภาวะที่ถูกต้อง นี้เรียกว่า เพราะ
อายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย ผัสสะที่สัมปยุตด้วยอายตนะที่ ๖ จึงมี ฯลฯ
เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า กองทุกข์ทั้งมวลนี้มีการเกิดขึ้นด้วยอาการอย่างนี้
(๔-๑๒)
สัมปยุตตจตุกกะ จบ

๘. อัญญมัญญจตุกกะ
[๒๗๒] ในสมัยนั้น เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารจึงมี แม้เพราะสังขารเป็น
ปัจจัย อวิชชาจึงมี เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี แม้เพราะวิญญาณเป็น
ปัจจัย สังขารจึงมี เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามจึงมี แม้เพราะนามเป็นปัจจัย
วิญญาณจึงมี เพราะนามเป็นปัจจัย อายตนะที่ ๖ จึงมี แม้เพราะอายตนะที่ ๖ เป็น
ปัจจัย นามจึงมี เพราะอายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี แม้เพราะผัสสะเป็น
ปัจจัย อายตนะที่ ๖ จึงมี เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี แม้เพราะเวทนาเป็น
ปัจจัย ผัสสะจึงมี เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ตัณหาจึงมี แม้เพราะตัณหาเป็นปัจจัย
เวทนาจึงมี เพราะตัณหาเป็นปัจจัย อุปาทานจึงมี แม้เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย
ตัณหาจึงมี เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย ภพจึงมี เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติจึงมี
เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะจึงมี
กองทุกข์ทั้งมวลนี้มีการเกิดขึ้นด้วยอาการอย่างนี้
[๒๗๓] บรรดาปัจจยาการเหล่านั้น อวิชชา เป็นไฉน


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๒๕๔ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๖.ปฏิจจสมุปปาทวิภังค์] ๒.อภิธรรมภาชนีย์ ๘.อัญญมัญญจตุกกะ
ความไม่รู้ ความไม่เห็น ฯลฯ ลิ่มคืออวิชชา อกุศลมูลคือโมหะ นี้เรียกว่า
อวิชชา
เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารจึงมี เป็นไฉน
ความจงใจ กิริยาที่จงใจ ภาวะที่จงใจ นี้เรียกว่า เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย
สังขารจึงมี
แม้เพราะสังขารเป็นปัจจัย อวิชชาจึงมี เป็นไฉน
ความไม่รู้ ความไม่เห็น ฯลฯ ลิ่มคืออวิชชา อกุศลมูลคือโมหะ นี้เรียกว่า แม้
เพราะสังขารเป็นปัจจัย อวิชชาจึงมี
เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี เป็นไฉน
จิต มโน มานัส ฯลฯ มโนวิญญาณธาตุที่เหมาะสมกัน นี้เรียกว่า เพราะ
สังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี
แม้เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย สังขารจึงมี เป็นไฉน
ความจงใจ กิริยาที่จงใจ ภาวะที่จงใจ นี้เรียกว่า แม้เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย
สังขารจึงมี
เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามจึงมี เป็นไฉน
เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ และสังขารขันธ์ นี้เรียกว่า เพราะวิญญาณเป็น
ปัจจัย นามจึงมี
แม้เพราะนามเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี เป็นไฉน
จิต มโน มานัส ฯลฯ มโนวิญญาณธาตุที่เหมาะสมกัน นี้เรียกว่า แม้เพราะ
นามเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี
เพราะนามเป็นปัจจัย อายตนะที่ ๖ จึงมี เป็นไฉน
จิต มโน มานัส ฯลฯ มโนวิญญาณธาตุที่เหมาะสมกัน นี้เรียกว่า เพราะนาม
เป็นปัจจัย อายตนะที่ ๖ จึงมี
แม้เพราะอายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย นามจึงมี เป็นไฉน
เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ และสังขารขันธ์ นี้เรียกว่า แม้เพราะอายตนะที่ ๖
เป็นปัจจัย นามจึงมี


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๒๕๕ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๖.ปฏิจจสมุปปาทวิภังค์] ๒.อภิธรรมภาชนีย์ ๘.อัญญมัญญจตุกกะ
เพราะอายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี เป็นไฉน
ความกระทบ กิริยาที่กระทบ กิริยาที่ถูกต้อง ภาวะที่ถูกต้อง นี้เรียกว่า เพราะ
อายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี
แม้เพราะผัสสะเป็นปัจจัย อายตนะที่ ๖ จึงมี เป็นไฉน
จิต มโน มานัส ฯลฯ มโนวิญญาณธาตุที่เหมาะสมกัน นี้เรียกว่า แม้เพราะ
ผัสสะเป็นปัจจัย อายตนะที่ ๖ จึงมี
เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี เป็นไฉน
ความสำราญทางใจ ความสุขทางใจ ความเสวยอารมณ์ที่สำราญเป็นสุข
อันเกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่สำราญเป็นสุข อันเกิดแต่เจโตสัมผัส นี้
เรียกว่า เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี
แม้เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี เป็นไฉน
ความกระทบ กิริยาที่กระทบ กิริยาที่ถูกต้อง ภาวะที่ถูกต้อง นี้เรียกว่า แม้
เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี
เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ตัณหาจึงมี เป็นไฉน
ความกำหนัด ความกำหนัดนัก ฯลฯ ความกำหนัดนักแห่งจิต นี้เรียกว่า
เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ตัณหาจึงมี
แม้เพราะตัณหาเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี เป็นไฉน
ความสำราญทางใจ ความสุขทางใจ ความเสวยอารมณ์ที่สำราญเป็นสุข อันเกิด
แต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่สำราญเป็นสุข อันเกิดแต่เจโตสัมผัส นี้เรียกว่า
แม้เพราะตัณหาเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี
เพราะตัณหาเป็นปัจจัย อุปาทานจึงมี เป็นไฉน
ทิฏฐิ ความเห็นผิด ฯลฯ ลัทธิที่เป็นบ่อเกิดแห่งความพินาศ ความถือโดยวิปลาส
นี้เรียกว่า เพราะตัณหาเป็นปัจจัย อุปาทานจึงมี


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๒๕๖ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๖.ปฏิจจสมุปปาทวิภังค์] ๒.อภิธรรมภาชนีย์ ๘.อัญญมัญญจตุกกะ
แม้เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย ตัณหาจึงมี เป็นไฉน
ความกำหนัด ความกำหนัดนัก ฯลฯ ความกำหนัดนักแห่งจิต นี้เรียกว่า แม้
เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย ตัณหาจึงมี
เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย ภพจึงมี เป็นไฉน
เว้นอุปาทานแล้ว เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ และวิญญาณขันธ์ นี้
เรียกว่า เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย ภพจึงมี
เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติจึงมี เป็นไฉน
ความเกิด ความเกิดพร้อม ความบังเกิด ความบังเกิดเฉพาะ ความปรากฏ
แห่งสภาวธรรมนั้น ๆ นี้เรียกว่า เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติจึงมี
เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะจึงมี เป็นไฉน
ชรา ๑ มรณะ ๑
ในชราและมรณะนั้น ชรา เป็นไฉน
ความแก่ ความคร่ำคร่า ความเสื่อมสิ้นอายุแห่งสภาวธรรมนั้น ๆ นี้เรียกว่า
ชรา
มรณะ เป็นไฉน
ความสิ้นไป ความเสื่อมไป ความแตกทำลาย ความแตกสลาย ความไม่เที่ยง
ความหายไปแห่งสภาวธรรมนั้น ๆ นี้เรียกว่า มรณะ
ชราและมรณะดังที่กล่าวมานี้ นี้เรียกว่า เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะจึงมี
คำว่า กองทุกข์ทั้งมวลนี้มีการเกิดขึ้นด้วยอาการอย่างนี้ ได้แก่ กองทุกข์
ทั้งมวลนี้ไปร่วม มาร่วม ประชุมร่วม ปรากฏขึ้นด้วยอาการอย่างนี้
เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า กองทุกข์ทั้งมวลนี้มีการเกิดขึ้นด้วยอาการอย่างนี้ (๑-
๑๓)
[๒๗๔] ในสมัยนั้น เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารจึงมี แม้เพราะสังขารเป็น
ปัจจัย อวิชชาจึงมี แม้เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย สังขารจึงมี เพราะวิญญาณเป็น


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๒๕๗ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๖.ปฏิจจสมุปปาทวิภังค์] ๒.อภิธรรมภาชนีย์ ๘.อัญญมัญญจตุกกะ
ปัจจัย นามจึงมี แม้เพราะนามเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี เพราะนามเป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี
แม้เพราะผัสสะเป็นปัจจัย นามจึงมี เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี แม้เพราะ
เวทนาเป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ตัณหาจึงมี แม้เพราะตัณหาเป็น
ปัจจัย เวทนาจึงมี เพราะตัณหาเป็นปัจจัย อุปาทานจึงมี แม้เพราะอุปาทานเป็น
ปัจจัย ตัณหาจึงมี เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย ภพจึงมี เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติจึง
มี เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะจึงมี
กองทุกข์ทั้งมวลนี้มีการเกิดขึ้นด้วยอาการอย่างนี้
[๒๗๕] บรรดาปัจจยาการเหล่านั้น อวิชชา เป็นไฉน
ความไม่รู้ ความไม่เห็น ฯลฯ ลิ่มคืออวิชชา อกุศลมูลคือโมหะ นี้เรียกว่า
อวิชชา
เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารจึงมี เป็นไฉน
ความจงใจ กิริยาที่จงใจ ภาวะที่จงใจ นี้เรียกว่า เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย
สังขารจึงมี
แม้เพราะสังขารเป็นปัจจัย อวิชชาจึงมี เป็นไฉน
ความไม่รู้ ความไม่เห็น ฯลฯ ลิ่มคืออวิชชา อกุศลมูลคือโมหะ นี้เรียกว่า แม้
เพราะสังขารเป็นปัจจัย อวิชชาจึงมี
เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี เป็นไฉน
จิต มโน มานัส ฯลฯ มโนวิญญาณธาตุที่เหมาะสมกัน นี้เรียกว่า แม้เพราะ
สังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี
แม้เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย สังขารจึงมี เป็นไฉน
ความจงใจ กิริยาที่จงใจ ภาวะที่จงใจ นี้เรียกว่า แม้เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย
สังขารจึงมี
เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามจึงมี เป็นไฉน
เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ และสังขารขันธ์ นี้เรียกว่า เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย
นามจึงมี


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๒๕๘ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๖.ปฏิจจสมุปปาทวิภังค์] ๒.อภิธรรมภาชนีย์ ๘.อัญญมัญญจตุกกะ
แม้เพราะนามเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี เป็นไฉน
จิต มโน มานัส ฯลฯ มโนวิญญาณธาตุที่เหมาะสมกัน นี้เรียกว่า แม้เพราะ
นามเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี
คำว่า เพราะนามเป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี นั้น นาม เป็นไฉน
เว้นผัสสะเสีย เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ และวิญญาณขันธ์ นี้
เรียกว่า นาม
เพราะนามเป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี เป็นไฉน
ความกระทบ กิริยาที่กระทบ กิริยาที่ถูกต้อง ภาวะที่ถูกต้อง นี้เรียกว่า เพราะ
นามเป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี
แม้เพราะผัสสะเป็นปัจจัย นามจึงมี เป็นไฉน
เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ และวิญญาณขันธ์ นี้เรียกว่า แม้เพราะ
ผัสสะเป็นปัจจัย นามจึงมี ฯลฯ
เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า กองทุกข์ทั้งมวลนี้มีการเกิดขึ้นด้วยอาการอย่างนี้ (๒-
๑๔)
[๒๗๖] ในสมัยนั้น เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารจึงมี แม้เพราะสังขารเป็น
ปัจจัย อวิชชาจึงมี เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี แม้เพราะวิญญาณเป็น
ปัจจัย สังขารจึงมี เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามรูปจึงมี แม้เพราะนามรูปเป็น
ปัจจัย วิญญาณจึงมี เพราะนามรูปเป็นปัจจัย อายตนะที่ ๖ จึงมี แม้เพราะอายตนะที่
๖ เป็นปัจจัย นามรูปจึงมี เพราะอายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี แม้เพราะผัสสะ
เป็นปัจจัย อายตนะที่ ๖ จึงมี เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี แม้เพราะเวทนา
เป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ตัณหาจึงมี แม้เพราะตัณหาเป็น
ปัจจัย เวทนาจึงมี เพราะตัณหาเป็นปัจจัย อุปาทานจึงมี แม้เพราะอุปาทานเป็น
ปัจจัย ตัณหาจึงมี เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย ภพจึงมี เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติจึงมี
เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะจึงมี
กองทุกข์ทั้งมวลนี้มีการเกิดขึ้นด้วยอาการอย่างนี้


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๒๕๙ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๖.ปฏิจจสมุปปาทวิภังค์] ๒.อภิธรรมภาชนีย์ ๘.อัญญมัญญจตุกกะ
[๒๗๗] บรรดาปัจจยาการเหล่านั้น อวิชชา เป็นไฉน
ความไม่รู้ ความไม่เห็น ฯลฯ ลิ่มคืออวิชชา อกุศลมูลคือโมหะ นี้เรียกว่า
อวิชชา
เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารจึงมี เป็นไฉน
ความจงใจ กิริยาที่จงใจ ภาวะที่จงใจ นี้เรียกว่า เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย
สังขารจึงมี
แม้เพราะสังขารเป็นปัจจัย อวิชชาจึงมี เป็นไฉน
ความไม่รู้ ความไม่เห็น ฯลฯ ลิ่มคืออวิชชา อกุศลมูลคือโมหะ นี้เรียกว่า
แม้เพราะสังขารเป็นปัจจัย อวิชชาจึงมี
เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี เป็นไฉน
จิต มโน มานัส ฯลฯ มโนวิญญาณธาตุที่เหมาะสมกัน นี้เรียกว่า เพราะ
สังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี
แม้เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย สังขารจึงมี เป็นไฉน
ความจงใจ กิริยาที่จงใจ ภาวะที่จงใจ นี้เรียกว่า แม้เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย
สังขารจึงมี
เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามรูปจึงมี เป็นไฉน
นาม ๑ รูป ๑
ในนามและรูปนั้น นาม เป็นไฉน
เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ และสังขารขันธ์ นี้เรียกว่า นาม
รูป เป็นไฉน
ความแรกเกิดแห่งจักขายตนะ ฯลฯ กายายตนะ หรือรูปแม้อื่นใดมีอยู่ ได้แก่
รูปที่เกิดแต่จิต ที่มีจิตเป็นเหตุ ที่มีจิตเป็นสมุฏฐาน นี้เรียกว่า รูป
นามและรูปดังที่กล่าวมานี้ นี้เรียกว่า เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามรูปจึงมี


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๒๖๐ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๖.ปฏิจจสมุปปาทวิภังค์] ๒.อภิธรรมภาชนีย์ ๘.อัญญมัญญจตุกกะ
คำว่า แม้เพราะนามรูปเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี ได้แก่
นาม ๑ รูป ๑
ในนามและรูปนั้น นาม เป็นไฉน
เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ และสังขารขันธ์ นี้เรียกว่า นาม
รูป เป็นไฉน
รูปที่มโนวิญญาณธาตุอาศัยเป็นไป นี้เรียกว่า รูป
นามและรูปดังที่กล่าวมานี้ นี้เรียกว่า นามรูป
แม้เพราะนามรูปเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี เป็นไฉน
จิต มโน มานัส ฯลฯ มโนวิญญาณธาตุที่เหมาะสมกัน นี้เรียกว่า แม้เพราะ
นามรูปเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี
คำว่า เพราะนามรูปเป็นปัจจัย อายตนะที่ ๖ จึงมี ได้แก่
นาม ๑ รูป ๑
ในนามและรูปนั้น นาม เป็นไฉน
เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ และสังขารขันธ์ นี้เรียกว่า นาม
รูป เป็นไฉน
รูปที่มโนวิญญาณธาตุอาศัยเป็นไป นี้เรียกว่า รูป
นามและรูปดังที่กล่าวมานี้ นี้เรียกว่า นามรูป
เพราะนามรูปเป็นปัจจัย อายตนะที่ ๖ จึงมี เป็นไฉน
จิต มโน มานัส ฯลฯ มโนวิญญาณธาตุที่เหมาะสมกัน นี้เรียกว่า เพราะ
นามรูปเป็นปัจจัย อายตนะที่ ๖ จึงมี
แม้เพราะอายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย นามรูปจึงมี เป็นไฉน
นาม ๑ รูป ๑


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๒๖๑ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๖.ปฏิจจสมุปปาทวิภังค์] ๒.อภิธรรมภาชนีย์ ๘.อัญญมัญญจตุกกะ
ในนามและรูปนั้น นาม เป็นไฉน
เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ และสังขารขันธ์ นี้เรียกว่า นาม
รูป เป็นไฉน
ความแรกเกิดแห่งจักขายตนะ ฯลฯ กายายตนะ หรือรูปแม้อื่นใดมีอยู่ ได้แก่
รูปที่เกิดแต่จิต ที่มีจิตเป็นเหตุ ที่มีจิตเป็นสมุฏฐาน นี้เรียกว่า รูป
นามและรูปดังที่กล่าวมานี้ นี้เรียกว่า แม้เพราะอายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย
นามรูปจึงมี
เพราะอายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี เป็นไฉน
ความกระทบ กิริยาที่กระทบ กิริยาที่ถูกต้อง ภาวะที่ถูกต้อง นี้เรียกว่า เพราะ
อายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี
แม้เพราะผัสสะเป็นปัจจัย อายตนะที่ ๖ จึงมี เป็นไฉน
จิต มโน มานัส ฯลฯ มโนวิญญาณธาตุที่เหมาะสมกัน นี้เรียกว่า แม้เพราะ
ผัสสะเป็นปัจจัย อายตนะที่ ๖ จึงมี ฯลฯ
เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า กองทุกข์ทั้งมวลนี้มีการเกิดขึ้นด้วยอาการอย่างนี้
[๒๗๘] ในสมัยนั้น เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารจึงมี แม้เพราะสังขารเป็น
ปัจจัย อวิชชาจึงมี เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี แม้เพราะวิญญาณเป็น
ปัจจัย สังขารจึงมี เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามรูปจึงมี แม้เพราะนามรูปเป็น
ปัจจัย วิญญาณจึงมี เพราะนามรูปเป็นปัจจัย สฬายตนะจึงมี แม้เพราะสฬายตนะ
เป็นปัจจัย นามรูปจึงมี เพราะอายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี แม้เพราะผัสสะ
เป็นปัจจัย อายตนะที่ ๖ จึงมี เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี แม้เพราะ
เวทนาเป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ตัณหาจึงมี แม้เพราะตัณหา
เป็นปัจจัย เวทนาจึงมี เพราะตัณหาเป็นปัจจัย อุปาทานจึงมี แม้เพราะอุปาทาน
เป็นปัจจัย ตัณหาจึงมี เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย ภพจึงมี เพราะภพเป็นปัจจัย
ชาติจึงมี เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะจึงมี
กองทุกข์ทั้งมวลนี้มีการเกิดขึ้นด้วยอาการอย่างนี้


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๒๖๒ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๖.ปฏิจจสมุปปาทวิภังค์] ๒.อภิธรรมภาชนีย์ ๘.อัญญมัญญจตุกกะ
[๒๗๙] บรรดาปัจจยาการเหล่านั้น อวิชชา เป็นไฉน
ความไม่รู้ ความไม่เห็น ฯลฯ ลิ่มคืออวิชชา อกุศลมูลคือโมหะ นี้เรียกว่า
อวิชชา
เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารจึงมี เป็นไฉน
ความจงใจ กิริยาที่จงใจ ภาวะที่จงใจ นี้เรียกว่า เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย
สังขารจึงมี
แม้เพราะสังขารเป็นปัจจัย อวิชชาจึงมี เป็นไฉน
ความไม่รู้ ความไม่เห็น ฯลฯ ลิ่มคืออวิชชา อกุศลมูลคือโมหะ นี้เรียกว่า
แม้เพราะสังขารเป็นปัจจัย อวิชชาจึงมี
เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี เป็นไฉน
จิต มโน มานัส ฯลฯ มโนวิญญาณธาตุที่เหมาะสมกัน นี้เรียกว่า เพราะ
สังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี
แม้เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย สังขารจึงมี เป็นไฉน
ความจงใจ กิริยาที่จงใจ ภาวะที่จงใจ นี้เรียกว่า แม้เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย
สังขารจึงมี
เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามรูปจึงมี เป็นไฉน
นาม ๑ รูป ๑
ในนามและรูปนั้น นาม เป็นไฉน
เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ และสังขารขันธ์ นี้เรียกว่า นาม
รูป เป็นไฉน
ความแรกเกิดแห่งจักขายตนะ ฯลฯ กายายตนะ หรือรูปแม้อื่นใดมีอยู่ ได้แก่
รูปที่เกิดแต่จิต ที่มีจิตเป็นเหตุที่มีจิตเป็นสมุฏฐาน นี้เรียกว่า รูป
นามและรูปดังที่กล่าวมานี้ นี้เรียกว่า เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามรูปจึงมี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๒๖๓ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๖.ปฏิจจสมุปปาทวิภังค์] ๒.อภิธรรมภาชนีย์ ๘.อัญญมัญญจตุกกะ
คำว่า แม้เพราะนามรูปเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี ได้แก่
นาม ๑ รูป ๑
ในนามและรูปนั้น นาม เป็นไฉน
เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ และสังขารขันธ์ นี้เรียกว่า นาม
รูป เป็นไฉน
รูปที่มโนวิญญาณธาตุอาศัยเป็นไป นี้เรียกว่า รูป
นามและรูปดังที่กล่าวมานี้ นี้เรียกว่า นามรูป
แม้เพราะนามรูปเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี เป็นไฉน
จิต มโน มานัส ฯลฯ มโนวิญญาณธาตุที่เหมาะสมกัน นี้เรียกว่า แม้เพราะ
นามรูปเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี
คำว่า เพราะนามรูปเป็นปัจจัย สฬายตนะจึงมี ได้แก่
นาม ๑ รูป ๑
ในนามและรูปนั้น นาม เป็นไฉน
เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ และสังขารขันธ์ นี้เรียกว่า นาม
รูป เป็นไฉน
มหาภูตรูป ๔ และรูปที่มโนวิญญาณธาตุอาศัยเป็นไป นี้เรียกว่า รูป
นามและรูปดังที่กล่าวมานี้ นี้เรียกว่า นามรูป
เพราะนามรูปเป็นปัจจัย สฬายตนะจึงมี เป็นไฉน
จักขายตนะ ฯลฯ มนายตนะ นี้เรียกว่า เพราะนามรูปเป็นปัจจัย สฬายตนะ
จึงมี
แม้เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย นามรูปจึงมี เป็นไฉน
นาม ๑ รูป ๑

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๒๖๔ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๖.ปฏิจจสมุปปาทวิภังค์] ๒.อภิธรรมภาชนีย์ ๙.อกุสลนิทเทส
ในนามและรูปนั้น นาม เป็นไฉน
เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ และสังขารขันธ์ นี้เรียกว่า นาม
รูป เป็นไฉน
ความแรกเกิดแห่งจักขายตนะ ฯลฯ แห่งกายายตนะ หรือรูปแม้อื่นใดมีอยู่
ได้แก่ รูปที่เกิดแต่จิต ที่มีจิตเป็นเหตุ ที่มีจิตเป็นสมุฏฐาน นี้เรียกว่า รูป
นามและรูปดังที่กล่าวมานี้ นี้เรียกว่า เพราะสฬายตะเป็นปัจจัย นามรูปจึงมี
เพราะอายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี เป็นไฉน
ความกระทบ กิริยาที่กระทบ กิริยาที่ถูกต้อง ภาวะที่ถูกต้อง นี้เรียกว่า
เพราะอายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี
แม้เพราะผัสสะเป็นปัจจัย อายตนะที่ ๖ จึงมี เป็นไฉน
จิต มโน มานัส ฯลฯ มโนวิญญาณธาตุที่เหมาะสมกัน นี้เรียกว่า แม้เพราะ
ผัสสะเป็นปัจจัย อายตนะที่ ๖ จึงมี
เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี เป็นไฉน
ความสำราญทางใจ ความสุขทางใจ ความเสวยอารมณ์ที่สำราญเป็นสุข
อันเกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่สำราญเป็นสุข อันเกิดแต่เจโตสัมผัส นี้
เรียกว่า เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี ฯลฯ
เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า กองทุกข์ทั้งมวลนี้มีการเกิดขึ้นด้วยอาการอย่างนี้ (๔- ๑๖)
อัญญมัญญจตุกกะ จบ

๙. อกุสลนิทเทส
อกุศลจิตดวงที่ ๒ - ๔
[๒๘๐] สภาวธรรมที่เป็นอกุศล เป็นไฉน
จิตที่เป็นอกุศล สหรคตด้วยโสมนัส สัมปยุตด้วยทิฏฐิเกิดขึ้น ฯลฯ โดยมีเหตุ
ชักจูง สหรคตด้วยโสมนัส วิปปยุตจากทิฏฐิ มีรูปเป็นอารมณ์ ฯลฯ สหรคตด้วย
โสมนัส วิปปยุตจากทิฏฐิ มีรูปเป็นอารมณ์ ฯลฯ มีธรรมเป็นอารมณ์ หรือปรารภ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๒๖๕ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๖.ปฏิจจสมุปปาทวิภังค์] ๒.อภิธรรมภาชนีย์ ๙.อกุสลนิทเทส
อารมณ์ใด ๆ เกิดขึ้น โดยมีเหตุชักจูง ในสมัยใด ในสมัยนั้น เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย
สังขารจึงมี เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามจึงมี
เพราะนามเป็นปัจจัย อายตนะที่ ๖ จึงมี เพราะอายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี
เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ตัณหาจึงมี เพราะตัณหา
เป็นปัจจัย อธิโมกข์จึงมี เพราะอธิโมกข์เป็นปัจจัย ภพจึงมี เพราะภพเป็นปัจจัย
ชาติจึงมี เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะจึงมี
กองทุกข์ทั้งมวลนี้มีการเกิดขึ้นด้วยอาการอย่างนี้
[๒๘๑] บรรดาปัจจยาการเหล่านั้น อวิชชา เป็นไฉน
ความไม่รู้ ความไม่เห็น ฯลฯ ลิ่มคืออวิชชา อกุศลมูลคือโมหะ นี้เรียกว่า
อวิชชา
เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารจึงมี เป็นไฉน
ความจงใจ กิริยาที่จงใจ ภาวะที่จงใจ นี้เรียกว่า เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย
สังขารจึงมี ฯลฯ
เพราะตัณหาเป็นปัจจัย อธิโมกข์จึงมี เป็นไฉน
ความตัดสินอารมณ์ กิริยาที่ตัดสินอารมณ์ ภาวะที่จิตตัดสินอารมณ์นั้น นี้
เรียกว่า เพราะตัณหาเป็นปัจจัย อธิโมกข์จึงมี
เพราะอธิโมกข์เป็นปัจจัย ภพจึงมี เป็นไฉน
เว้นอธิโมกข์แล้ว เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ และวิญญาณขันธ์ นี้
เรียกว่า เพราะอธิโมกข์เป็นปัจจัย ภพจึงมี ฯลฯ
เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า กองทุกข์ทั้งมวลนี้มีการเกิดขึ้นด้วยอาการอย่างนี้

อกุศลจิตดวงที่ ๕
[๒๘๒] สภาวธรรมที่เป็นอกุศล เป็นไฉน
จิตที่เป็นอกุศล สหรคตด้วยอุเบกขา สัมปยุตด้วยทิฏฐิ มีรูปเป็นอารมณ์
ฯลฯ มีธรรมเป็นอารมณ์ หรือปรารภอารมณ์ใด ๆ เกิดขึ้นในสมัยใด ในสมัยนั้น


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๒๖๖ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๖.ปฏิจจสมุปปาทวิภังค์] ๒.อภิธรรมภาชนีย์ ๙.อกุสลนิทเทส
เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารจึงมี เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี เพราะ
วิญญาณเป็นปัจจัย นามจึงมี เพราะนามเป็นปัจจัย อายตนะที่ ๖ จึงมี เพราะ
อายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี เพราะ
เวทนาเป็นปัจจัย ตัณหาจึงมี เพราะตัณหาเป็นปัจจัย อุปาทานจึงมี เพราะอุปาทาน
เป็นปัจจัย ภพจึงมี เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติจึงมี เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะ
จึงมี
กองทุกข์ทั้งมวลนี้มีการเกิดขึ้นด้วยอาการอย่างนี้
[๒๘๓] บรรดาปัจจยาการเหล่านั้น อวิชชา เป็นไฉน
ความไม่รู้ ความไม่เห็น ฯลฯ ลิ่มคืออวิชชา อกุศลมูลคือโมหะ นี้เรียกว่า
อวิชชา ฯลฯ
เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี เป็นไฉน
ความสำราญทางใจก็ไม่ใช่ ความไม่สำราญทางใจก็ไม่ใช่ ความเสวยอารมณ์ที่
ไม่ทุกข์ไม่สุข อันเกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่ไม่ทุกข์ไม่สุข อันเกิดแต่
เจโตสัมผัส นี้เรียกว่า เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี ฯลฯ
เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า กองทุกข์ทั้งมวลนี้มีการเกิดขึ้นด้วยอาการอย่างนี้

อกุศลจิตดวงที่ ๖ - ๘
[๒๘๔] สภาวธรรมที่เป็นอกุศล เป็นไฉน
จิตที่เป็นอกุศล สหรคตด้วยอุเบกขา สัมปยุตด้วยทิฏฐิ ฯลฯ โดยมีเหตุชักจูง
ฯลฯ สหรคตด้วยอุเบกขา วิปปยุตจากทิฏฐิ มีรูปเป็นอารมณ์ ฯลฯ สหรคตด้วย
อุเบกขา วิปปยุตจากทิฏฐิ มีรูปเป็นอารมณ์ ฯลฯ มีธรรมเป็นอารมณ์ หรือปรารภ
อารมณ์ใด ๆ เกิดขึ้นโดยมีเหตุชักจูง ในสมัยใด ในสมัยนั้น เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย
สังขารจึงมี เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามจึง
มี เพราะนามเป็นปัจจัย อายตนะที่ ๖ จึงมี เพราะอายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย ผัสสะ
จึงมี เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ตัณหาจึงมี เพราะ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๒๖๗ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๖.ปฏิจจสมุปปาทวิภังค์] ๒.อภิธรรมภาชนีย์ ๙.อกุสลนิทเทส
ตัณหาเป็นปัจจัย อธิโมกข์จึงมี เพราะอธิโมกข์เป็นปัจจัย ภพจึงมี เพราะภพเป็น
ปัจจัย ชาติจึงมี เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะจึงมี
กองทุกข์ทั้งมวลนี้มีการเกิดขึ้นด้วยอาการอย่างนี้
[๒๘๕] บรรดาปัจจยาการเหล่านั้น อวิชชา เป็นไฉน
ฯลฯ เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า กองทุกข์ทั้งมวลนี้มีการเกิดขึ้นด้วยอาการอย่างนี้

อกุศลจิตดวงที่ ๙ - ๑๐
[๒๘๖] สภาวธรรมที่เป็นอกุศล เป็นไฉน
จิตที่เป็นอกุศล สหรคตด้วยโทมนัส สัมปยุตด้วยปฏิฆะ มีรูปเป็นอารมณ์ ฯลฯ
สหรคตด้วยโทมนัส สัมปยุตด้วยปฏิฆะ มีรูปเป็นอารมณ์ ฯลฯ มีธรรมเป็นอารมณ์
หรือปรารภอารมณ์ใด ๆ เกิดขึ้นโดยมีเหตุชักจูง ในสมัยใด ในสมัยนั้น เพราะอวิชชา
เป็นปัจจัย สังขารจึงมี เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี เพราะวิญญาณเป็น
ปัจจัย นามจึงมี เพราะนามเป็นปัจจัย อายตนะที่ ๖ จึงมี เพราะอายตนะที่ ๖ เป็น
ปัจจัย ผัสสะจึงมี เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ปฏิฆะ
จึงมี เพราะปฏิฆะเป็นปัจจัย อธิโมกข์จึงมี เพราะอธิโมกข์เป็นปัจจัย ภพจึงมี เพราะ
ภพเป็นปัจจัย ชาติจึงมี เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะจึงมี
กองทุกข์ทั้งมวลนี้มีการเกิดขึ้นด้วยอาการอย่างนี้
[๒๘๗] บรรดาปัจจยาการเหล่านั้น อวิชชา เป็นไฉน
ความไม่รู้ ความไม่เห็น ฯลฯ ลิ่มคืออวิชชา อกุศลมูลคือโมหะ นี้เรียกว่า
อวิชชา ฯลฯ นี้เรียกว่า เพราะอายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี
เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี เป็นไฉน
ความไม่สำราญทางใจ ความทุกข์ทางใจ ความเสวยอารมณ์ที่ไม่สำราญ
เป็นทุกข์ อันเกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่ไม่สำราญเป็นทุกข์ อันเกิดแต่
เจโตสัมผัส นี้เรียกว่า เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี
เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ปฏิฆะจึงมี เป็นไฉน


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๒๖๘ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๖.ปฏิจจสมุปปาทวิภังค์] ๒.อภิธรรมภาชนีย์ ๙.อกุสลนิทเทส
ความอาฆาต ความอาฆาตตอบ ฯลฯ ความดุร้าย ความเกรี้ยวกราด
ความไม่แช่มชื่นแห่งจิต นี้เรียกว่า เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ปฏิฆะจึงมี
เพราะปฏิฆะเป็นปัจจัย อธิโมกข์จึงมี เป็นไฉน
ความตัดสินอารมณ์ กิริยาที่ตัดสินอารมณ์ ภาวะที่จิตตัดสินอารมณ์ นี้เรียกว่า
เพราะปฏิฆะเป็นปัจจัย อธิโมกข์จึงมี
เพราะอธิโมกข์เป็นปัจจัย ภพจึงมี เป็นไฉน
เว้นอธิโมกข์แล้ว เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ และวิญญาณขันธ์
นี้เรียกว่า เพราะอธิโมกข์เป็นปัจจัย ภพจึงมี ฯลฯ
เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า กองทุกข์ทั้งมวลนี้มีการเกิดขึ้นด้วยอาการอย่างนี้

อกุศลจิตดวงที่ ๑๑
[๒๘๘] สภาวธรรมที่เป็นอกุศล เป็นไฉน
จิตที่เป็นอกุศล สหรคตด้วยอุเบกขา สัมปยุตด้วยวิจิกิจฉา มีรูปเป็นอารมณ์
ฯลฯ มีธรรมเป็นอารมณ์ หรือปรารภอารมณ์ใด ๆ เกิดขึ้นในสมัยใด ในสมัยนั้น
เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารจึงมี เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี เพราะ
วิญญาณเป็นปัจจัย นามจึงมี เพราะนามเป็นปัจจัย อายตนะที่ ๖ จึงมี เพราะอายตนะ
ที่ ๖ เป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี เพราะเวทนาเป็น
ปัจจัย วิจิกิจฉาจึงมี เพราะวิจิกิจฉาเป็นปัจจัย ภพจึงมี เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติ
จึงมี เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะจึงมี
กองทุกข์ทั้งมวลนี้มีการเกิดขึ้นด้วยอาการอย่างนี้
[๒๘๙] บรรดาปัจจยาการเหล่านั้น อวิชชา เป็นไฉน
ความไม่รู้ ความไม่เห็น ฯลฯ ลิ่มคืออวิชชา อกุศลมูลคือโมหะ นี้เรียกว่า
อวิชชา
ฯลฯ นี้เรียกว่า เพราะอายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๒๖๙ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๖.ปฏิจจสมุปปาทวิภังค์] ๒.อภิธรรมภาชนีย์ ๙.อกุสลนิทเทส
เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี เป็นไฉน
ความสำราญทางใจก็ไม่ใช่ ความไม่สำราญทางใจก็ไม่ใช่ ความเสวยอารมณ์ที่
ไม่ทุกข์ไม่สุข อันเกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่ไม่ทุกข์ไม่สุข อันเกิดแต่
เจโตสัมผัส นี้เรียกว่า เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี
เพราะเวทนาเป็นปัจจัย วิจิกิจฉาจึงมี เป็นไฉน
ความเคลือบแคลง กิริยาที่เคลือบแคลง ภาวะที่เคลือบแคลง ความคิดเห็นไป
ต่าง ๆ ความตัดสินอารมณ์ไม่ได้ ความคิดเห็นเป็นสองทาง ความคิดเห็นเหมือน
ทางสองแพร่ง ความสงสัย ความไม่สามารถถือเอาโดยส่วนเดียวได้ ความคิด
ส่ายไป ความคิดพร่าไป ความไม่สามารถหยั่งลงถือเอาเป็นยุติได้ ความกระด้าง
แห่งจิต วิจิกิจฉา๑ นี้เรียกว่า เพราะเวทนาเป็นปัจจัย วิจิกิจฉาจึงมี
เพราะวิจิกิจฉาเป็นปัจจัย ภพจึงมี เป็นไฉน
เว้นวิจิกิจฉาแล้ว เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ และวิญญาณขันธ์ นี้
เรียกว่า เพราะวิจิกิจฉาเป็นปัจจัย ภพจึงมี ฯลฯ
เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า กองทุกข์ทั้งมวลนี้มีการเกิดขึ้นด้วยอาการอย่างนี้

อกุศลจิตดวงที่ ๑๒
[๒๙๐] สภาวธรรมที่เป็นอกุศล เป็นไฉน
จิตที่เป็นอกุศล สหรคตด้วยอุเบกขา สัมปยุตด้วยอุทธัจจะ มีรูปเป็นอารมณ์
ฯลฯ มีธรรมเป็นอารมณ์ หรือปรารภอารมณ์ใด ๆ เกิดขึ้นในสมัยใด ในสมัยนั้น
เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารจึงมี เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี เพราะ
วิญญาณเป็นปัจจัย นามจึงมี เพราะนามเป็นปัจจัย อายตนะที่ ๖ จึงมี เพราะอายตนะ
ที่ ๖ เป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี เพราะเวทนาเป็น
ปัจจัย อุทธัจจะจึงมี เพราะอุทธัจจะเป็นปัจจัย อธิโมกข์จึงมี เพราะอธิโมกข์เป็น
ปัจจัย ภพจึงมี เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติจึงมี เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะจึงมี
กองทุกข์ทั้งมวลนี้มีการเกิดขึ้นด้วยอาการอย่างนี้

เชิงอรรถ :
๑ อภิ.สงฺ. ๓๔/๔๒๕/๑๑๘

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๒๗๐ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๖.ปฏิจจสมุปปาทวิภังค์] ๒.อภิธรรมภาชนีย์ ๙.อกุสลนิทเทส
[๒๙๑] ในปัจจยาการเหล่านั้น อวิชชา เป็นไฉน
ความไม่รู้ ความไม่เห็น ฯลฯ ลิ่มคืออวิชชา อกุศลมูลคือโมหะ นี้เรียกว่า
อวิชชา
ฯลฯ นี้เรียกว่า เพราะอายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี
เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี เป็นไฉน
ความสำราญทางใจก็ไม่ใช่ ความไม่สำราญทางใจก็ไม่ใช่ ความเสวยอารมณ์
ที่ไม่ทุกข์ไม่สุข อันเกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่ไม่ทุกข์ไม่สุข อันเกิดแต่
เจโตสัมผัส นี้เรียกว่า เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี
เพราะเวทนาเป็นปัจจัย อุทธัจจะจึงมี เป็นไฉน
ความฟุ้งซ่านแห่งจิต ความไม่สงบ ความวุ่นวายใจ ความพล่านแห่งจิต นี้
เรียกว่า เพราะเวทนาเป็นปัจจัย อุทธัจจะจึงมี๑
เพราะอุทธัจจะเป็นปัจจัย อธิโมกข์จึงมี เป็นไฉน
ความตัดสินอารมณ์ กิริยาที่ตัดสินอารมณ์ ภาวะที่จิตตัดสินอารมณ์นั้น นี้
เรียกว่า เพราะอุทธัจจะเป็นปัจจัย อธิโมกข์จึงมี
เพราะอธิโมกข์เป็นปัจจัย ภพจึงมี เป็นไฉน
เว้นอธิโมกข์แล้ว เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ และวิญญาณขันธ์ นี้
เรียกว่า เพราะอธิโมกข์เป็นปัจจัย ภพจึงมี ฯลฯ
เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า กองทุกข์ทั้งมวลนี้มีการเกิดขึ้นด้วยอาการอย่างนี้

อกุสลนิทเทส จบ

เชิงอรรถ :
๑ อภิ.สงฺ. ๓๔/๔๒๙/๑๑๙

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๒๗๑ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๖.ปฏิจจสมุปปาทวิภังค์] ๒.อภิธรรมภาชนีย์ ๑๐.กุสลนิทเทส
๑๐. กุสลนิทเทส
กามาวจรกุศลจิต ๘
มหากุศลจิตดวงที่ ๑
[๒๙๒] สภาวธรรมที่เป็นกุศล เป็นไฉน
จิตที่เป็นกามาวจรซึ่งเป็นกุศล สหรคตด้วยโสมนัส สัมปยุตด้วยญาณ มีรูป
เป็นอารมณ์ ฯลฯ มีธรรมเป็นอารมณ์ หรือปรารภอารมณ์ใด ๆ เกิดขึ้นในสมัยใด
ในสมัยนั้น เพราะกุศลมูลเป็นปัจจัย สังขารจึงมี เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณ
จึงมี เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามจึงมี เพราะนามเป็นปัจจัย อายตนะที่ ๖ จึงมี
เพราะอายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี
เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ปสาทะจึงมี เพราะปสาทะเป็นปัจจัย อธิโมกข์จึงมี เพราะ
อธิโมกข์เป็นปัจจัย ภพจึงมี เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติจึงมี เพราะชาติเป็นปัจจัย
ชรามรณะจึงมี
กองทุกข์ทั้งมวลนี้มีการเกิดขึ้นด้วยอาการอย่างนี้
[๒๙๓] บรรดาสภาวธรรมที่เป็นกุศลเหล่านั้น กุศลมูล เป็นไฉน
กุศลมูล คือ อโลภะ อโทสะ และอโมหะ
ในกุศลมูลนั้น อโลภะ เป็นไฉน
ความไม่โลภ กิริยาที่ไม่โลภ ภาวะที่ไม่โลภ ความไม่กำหนัด กิริยาที่ไม่กำหนัด
ภาวะที่ไม่กำหนัด ความไม่เพ่งเล็ง กุศลมูลคืออโลภะ นี้เรียกว่า อโลภะ๑
อโทสะ เป็นไฉน
ความไม่คิดประทุษร้าย กิริยาที่ไม่คิดประทุษร้าย ภาวะที่ไม่คิดประทุษร้าย
ความไม่คิดพยาบาท ความไม่คิดเบียดเบียน กุศลมูลคืออโทสะ นี้เรียกว่า อโทสะ๒

เชิงอรรถ :
๑ อภิ.สงฺ. ๓๔/๓๒/๒๖
๒ อภิ.สงฺ. ๓๔/๓๓/๒๖, สํ.ม. ๑๙/๘๑๓/๒๒๑

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๒๗๒ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๖.ปฏิจจสมุปปาทวิภังค์] ๒.อภิธรรมภาชนีย์ ๑๐.กุสลนิทเทส
อโมหะ เป็นไฉน
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลงงมงาย ความเลือกเฟ้นธรรม
สัมมาทิฏฐิ นี้เรียกว่า อโมหะ
สภาวธรรมเหล่านี้เรียกว่า กุศลมูล
ในปัจจยาการนั้น เพราะกุศลมูลเป็นปัจจัย สังขารจึงมี เป็นไฉน
ความจงใจ กิริยาที่จงใจ ภาวะที่จงใจ นี้เรียกว่า เพราะกุศลมูลเป็นปัจจัย
สังขารจึงมี
เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี ฯลฯ
เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามจึงมี ฯลฯ
เพราะนามเป็นปัจจัย อายตนะที่ ๖ จึงมี
เพราะอายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี
เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี เป็นไฉน ฯลฯ
นี้เรียกว่า เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี
เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ปสาทะจึงมี เป็นไฉน
ศรัทธา ความเชื่อ กิริยาที่ปลงใจเชื่อ ความเลื่อมใสยิ่ง นี้เรียกว่า เพราะ
เวทนาเป็นปัจจัย ปสาทะจึงมี
เพราะปสาทะเป็นปัจจัย อธิโมกข์จึงมี เป็นไฉน
ความตัดสินอารมณ์ กิริยาที่ตัดสินอารมณ์ ภาวะที่จิตตัดสินอารมณ์นั้น นี้
เรียกว่า เพราะปสาทะเป็นปัจจัย อธิโมกข์จึงมี
เพราะอธิโมกข์เป็นปัจจัย ภพจึงมี เป็นไฉน
เว้นอธิโมกข์แล้ว เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ และวิญญาณขันธ์ นี้
เรียกว่า เพราะอธิโมกข์เป็นปัจจัย ภพจึงมี ฯลฯ
เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า กองทุกข์ทั้งมวลนี้มีการเกิดขึ้นด้วยอาการอย่างนี้


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๒๗๓ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๖.ปฏิจจสมุปปาทวิภังค์] ๒.อภิธรรมภาชนีย์ ๑๐.กุสลนิทเทส
มหากุศลจิตดวงที่ ๒ - ๔
[๒๙๔] สภาวธรรมที่เป็นกุศล เป็นไฉน
จิตที่เป็นกามาวจรซึ่งเป็นกุศล สหรคตด้วยโสมนัส สัมปยุตด้วยญาณ มีรูปเป็น
อารมณ์ ฯลฯ โดยมีเหตุชักจูง ฯลฯ สหรคตด้วยโสมนัส วิปปยุตจากญาณมี
รูปเป็นอารมณ์ ฯลฯ สหรคตด้วยโสมนัส วิปปยุตจากญาณ มีรูปเป็นอารมณ์ ฯลฯ
มีธรรมเป็นอารมณ์ หรือปรารภอารมณ์ใด ๆ เกิดขึ้นโดยมีเหตุชักจูง ในสมัยใด ใน
สมัยนั้น เพราะกุศลมูลเป็นปัจจัย สังขารจึงมี เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี
เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามจึงมี เพราะนามเป็นปัจจัย อายตนะที่ ๖ จึงมี เพราะ
อายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี เพราะเวทนา
เป็นปัจจัย ปสาทะจึงมี เพราะปสาทะเป็นปัจจัย อธิโมกข์จึงมี เพราะอธิโมกข์เป็น
ปัจจัย ภพจึงมี เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติจึงมี เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะจึงมี
กองทุกข์ทั้งมวลนี้มีการเกิดขึ้นด้วยอาการอย่างนี้
[๒๙๕] บรรดาปัจจยาการเหล่านั้น กุศลมูล เป็นไฉน
กุศลมูล คือ อโลภะ และอโทสะ
ในกุศลมูลนั้น อโลภะ เป็นไฉน
ความไม่โลภ กิริยาที่ไม่โลภ ภาวะที่ไม่โลภ ความไม่กำหนัด กิริยาที่ไม่
กำหนัด ภาวะที่ไม่กำหนัด ความไม่เพ่งเล็ง กุศลมูลคืออโลภะ นี้เรียกว่า อโลภะ
อโทสะ เป็นไฉน
ความไม่คิดประทุษร้าย กิริยาที่ไม่คิดประทุษร้าย ภาวะที่ไม่คิดประทุษร้าย
ความไม่คิดพยาบาท ความไม่คิดเบียดเบียน กุศลมูลคืออโทสะ นี้เรียกว่า อโทสะ
สภาวธรรมเหล่านี้เรียกว่า กุศลมูล
เพราะกุศลมูลเป็นปัจจัย สังขารจึงมี เป็นไฉน
ความจงใจ กิริยาที่จงใจ ภาวะที่จงใจ นี้เรียกว่า เพราะกุศลมูลเป็นปัจจัย
สังขารจึงมี
ฯลฯ นี้เรียกว่า เพราะอายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๒๗๔ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๖.ปฏิจจสมุปปาทวิภังค์] ๒.อภิธรรมภาชนีย์ ๑๐.กุสลนิทเทส
เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี เป็นไฉน
ความสำราญทางใจ ความสุขทางใจ ความเสวยอารมณ์ที่สำราญเป็นสุข อัน
เกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่สำราญเป็นสุข อันเกิดแต่เจโตสัมผัส นี้เรียก
ว่า เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี ฯลฯ
เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า กองทุกข์ทั้งมวลนี้มีการเกิดขึ้นด้วยอาการอย่างนี้

มหากุศลจิตดวงที่ ๕ - ๖
[๒๙๖] สภาวธรรมที่เป็นกุศล เป็นไฉน
จิตที่เป็นกามาวจรซึ่งเป็นกุศล สหรคตด้วยอุเบกขา สัมปยุตด้วยญาณ มีรูป
เป็นอารมณ์ ฯลฯ สหรคตด้วยอุเบกขา สัมปยุตด้วยญาณ มีรูปเป็นอารมณ์ ฯลฯ มี
ธรรมเป็นอารมณ์ หรือปรารภอารมณ์ใด ๆ เกิดขึ้น โดยมีเหตุชักจูง ในสมัยใด ใน
สมัยนั้น เพราะกุศลมูลเป็นปัจจัย สังขารจึงมี เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี
เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามจึงมี เพราะนามเป็นปัจจัย อายตนะที่ ๖ จึงมี เพราะ
อายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี เพราะเวทนา
เป็นปัจจัย ปสาทะจึงมี เพราะปสาทะเป็นปัจจัย อธิโมกข์จึงมี เพราะอธิโมกข์เป็น
ปัจจัย ภพจึงมี เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติจึงมี เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะจึงมี
กองทุกข์ทั้งมวลนี้มีการเกิดขึ้นด้วยอาการอย่างนี้
[๒๙๗] บรรดาปัจจยาการเหล่านั้น กุศลมูล เป็นไฉน
กุศลมูล คือ อโลภะ อโทสะ และอโมหะ ฯลฯ
สภาวธรรมเหล่านี้เรียกว่า กุศลมูล
เพราะกุศลมูลเป็นปัจจัย สังขารจึงมี เป็นไฉน
ความจงใจ กิริยาที่จงใจ ภาวะที่จงใจ นี้เรียกว่า เพราะกุศลมูลเป็นปัจจัย
สังขารจึงมี
ฯลฯ นี้เรียกว่า เพราะอายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี
เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี เป็นไฉน


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๒๗๕ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๖.ปฏิจจสมุปปาทวิภังค์] ๒.อภิธรรมภาชนีย์ ๑๐.กุสลนิทเทส
ความสำราญทางใจก็ไม่ใช่ ความไม่สำราญทางใจก็ไม่ใช่ ความเสวยอารมณ์
ที่ไม่ทุกข์ไม่สุข อันเกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่ไม่ทุกข์ไม่สุข อันเกิด
แต่เจโตสัมผัส นี้เรียกว่า เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี ฯลฯ
เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า กองทุกข์ทั้งมวลนี้มีการเกิดขึ้นด้วยอาการอย่างนี้

มหากุศลจิตดวงที่ ๗ - ๘
[๒๙๘] สภาวธรรมที่เป็นกุศล เป็นไฉน
จิตที่เป็นกามาวจรซึ่งเป็นกุศล สหรคตด้วยอุเบกขา วิปปยุตจากญาณ มีรูป
เป็นอารมณ์ ฯลฯ สหรคตด้วยอุเบกขา วิปปยุตจากญาณ มีรูปเป็นอารมณ์ ฯลฯ
มีธรรมเป็นอารมณ์ หรือปรารภอารมณ์ใด ๆ เกิดขึ้น โดยมีเหตุชักจูง ในสมัยใด ใน
สมัยนั้น เพราะกุศลมูลเป็นปัจจัย สังขารจึงมี เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี
เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามจึงมี เพราะนามเป็นปัจจัย อายตนะที่ ๖ จึงมี
เพราะอายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี
เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ปสาทะจึงมี เพราะปสาทะเป็นปัจจัย อธิโมกข์จึงมี เพราะ
อธิโมกข์เป็นปัจจัย ภพจึงมี เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติจึงมี เพราะชาติเป็นปัจจัย
ชรามรณะจึงมี
กองทุกข์ทั้งมวลนี้มีการเกิดขึ้นด้วยอาการอย่างนี้
[๒๙๙] บรรดาปัจจยาการเหล่านั้น กุศลมูล เป็นไฉน
กุศลมูล คือ อโลภะ และอโทสะ สภาวธรรมเหล่านี้เรียกว่า กุศลมูล
เพราะกุศลมูลเป็นปัจจัย สังขารจึงมี เป็นไฉน
ความจงใจ กิริยาที่จงใจ ภาวะที่จงใจ นี้เรียกว่า เพราะกุศลมูลเป็นปัจจัย
สังขารจึงมี ฯลฯ
เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า กองทุกข์ทั้งมวลนี้มีการเกิดขึ้นด้วยอาการอย่างนี้


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๒๗๖ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๖.ปฏิจจสมุปปาทวิภังค์] ๒.อภิธรรมภาชนีย์ ๑๐.กุสลนิทเทส
รูปาวจรกุศลจิต
[๓๐๐] สภาวธรรมที่เป็นกุศล เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคเพื่อเข้าถึงรูปภพ สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐม-
ฌานมีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น เพราะกุศลมูลเป็นปัจจัย
สังขารจึงมี เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นาม
จึงมี เพราะนามเป็นปัจจัย อายตนะที่ ๖ จึงมี เพราะอายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย ผัสสะ
จึงมี เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ปสาทะจึงมี เพราะ
ปสาทะเป็นปัจจัย อธิโมกข์จึงมี เพราะอธิโมกข์เป็นปัจจัย ภพจึงมี เพราะภพ
เป็นปัจจัย ชาติจึงมี เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะจึงมี
กองทุกข์ทั้งมวลนี้มีการเกิดขึ้นด้วยอาการอย่างนี้
[๓๐๑] บรรดาปัจจยาการเหล่านั้น กุศลมูล เป็นไฉน
กุศลมูล คือ อโลภะ อโทสะ และอโมหะ สภาวธรรมเหล่านี้เรียกว่า กุศลมูล
เพราะกุศลมูลเป็นปัจจัย สังขารจึงมี เป็นไฉน
ความจงใจ กิริยาที่จงใจ ภาวะที่จงใจ นี้เรียกว่า เพราะกุศลมูลเป็นปัจจัย
สังขารจึงมี ฯลฯ
เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า กองทุกข์ทั้งมวลนี้มีการเกิดขึ้นด้วยอาการอย่างนี้

อรูปาวจรกุศลจิต
[๓๐๒] สภาวธรรมที่เป็นกุศล เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคเพื่อเข้าถึงอรูปภพ เพราะก้าวล่วงอากิญจัญญา-
ยตนะได้โดยประการทั้งปวง จึงบรรลุจตุตถฌานที่สหรคตด้วยเนวสัญญานาสัญญา-
ยตนสัญญา ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข เพราะละสุขและทุกข์ได้ อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น
เพราะกุศลมูลเป็นปัจจัย สังขารจึงมี เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี เพราะ
วิญญาณเป็นปัจจัย นามจึงมี เพราะนามเป็นปัจจัย อายตนะที่ ๖ จึงมี เพราะ
อายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี เพราะเวทนา


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๒๗๗ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๖.ปฏิจจสมุปปาทวิภังค์] ๒.อภิธรรมภาชนีย์ ๑๐.กุสลนิทเทส
เป็นปัจจัย ปสาทะจึงมี เพราะปสาทะเป็นปัจจัย อธิโมกข์จึงมี เพราะอธิโมกข์เป็น
ปัจจัย ภพจึงมี เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติจึงมี เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะจึงมี
กองทุกข์ทั้งมวลนี้มีการเกิดขึ้นด้วยอาการอย่างนี้
[๓๐๓] บรรดาปัจจยาการเหล่านั้น กุศลมูล เป็นไฉน
กุศลมูล คือ อโลภะ อโทสะ และอโมหะ สภาวธรรมเหล่านี้เรียกว่า กุศลมูล
ในกุศลมูลนั้น เพราะกุศลมูลเป็นปัจจัย สังขารจึงมี เป็นไฉน
ความจงใจ กิริยาที่จงใจ ภาวะที่จงใจ นี้เรียกว่า เพราะกุศลมูลเป็นปัจจัย
สังขารจึงมี
ฯลฯ นี้เรียกว่า เพราะอายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี
เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี เป็นไฉน
ความสำราญทางใจ ความสุขทางใจ ความเสวยอารมณ์ที่สำราญเป็นสุข อัน
เกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่สำราญเป็นสุข อันเกิดแต่เจโตสัมผัส นี้เรียก
ว่า เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี ฯลฯ
เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า กองทุกข์ทั้งมวลนี้มีการเกิดขึ้นด้วยอาการอย่างนี้

โลกุตตรกุศลจิต
[๓๐๔] สภาวธรรมที่เป็นกุศล เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคลเจริญฌานที่เป็นโลกุตตระซึ่งเป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ให้ถึง
นิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌานที่
เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น เพราะกุศลมูลเป็นปัจจัย
สังขารจึงมี เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นาม
จึงมี เพราะนามเป็นปัจจัย อายตนะที่ ๖ จึงมี เพราะอายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย
ผัสสะจึงมี เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ปสาทะจึงมี
เพราะปสาทะเป็นปัจจัย อธิโมกข์จึงมี เพราะอธิโมกข์เป็นปัจจัย ภพจึงมี เพราะภพ
เป็นปัจจัย ชาติจึงมี เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะจึงมี
สภาวธรรมเหล่านี้มีการเกิดขึ้นด้วยอาการอย่างนี้


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๒๗๘ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๖.ปฏิจจสมุปปาทวิภังค์] ๒.อภิธรรมภาชนีย์ ๑๐.กุสลนิทเทส
[๓๐๕] บรรดาปัจจยาการเหล่านั้น กุศลมูล เป็นไฉน
กุศลมูล คือ อโลภะ อโทสะ และอโมหะ
ในกุศลมูลเหล่านั้น อโลภะ ฯลฯ อโทสะ ฯลฯ อโมหะ เป็นไฉน
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลงงมงาย ความเลือกเฟ้นธรรม สัมมา-
ทิฏฐิ ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์มรรค นับเนื่องในมรรค นี้เรียกว่า อโมหะ
สภาวธรรมเหล่านี้เรียกว่า กุศลมูล
เพราะกุศลมูลเป็นปัจจัย สังขารจึงมี เป็นไฉน
ความจงใจ กิริยาที่จงใจ ภาวะที่จงใจ นี้เรียกว่า เพราะกุศลมูลเป็นปัจจัย
สังขารจึงมี ฯลฯ นี้เรียกว่า เพราะอายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี
เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี เป็นไฉน
ความสำราญทางใจ ความสุขทางใจ ความเสวยอารมณ์ที่สำราญเป็นสุข อัน
เกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่สำราญเป็นสุข อันเกิดแต่เจโตสัมผัส นี้
เรียกว่า เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี
เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ปสาทะจึงมี เป็นไฉน
ศรัทธา ความเชื่อ กิริยาที่ปลงใจเชื่อ ความเลื่อมใสยิ่ง นี้เรียกว่า เพราะเวทนา
เป็นปัจจัย ปสาทะจึงมี
เพราะปสาทะเป็นปัจจัย อธิโมกข์จึงมี เป็นไฉน
ความตัดสินอารมณ์ กิริยาที่ตัดสินอารมณ์ ภาวะที่จิตตัดสินอารมณ์นั้น นี้
เรียกว่า เพราะปสาทะเป็นปัจจัย อธิโมกข์จึงมี
เพราะอธิโมกข์เป็นปัจจัย ภพจึงมี เป็นไฉน
เว้นอธิโมกข์แล้ว เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ และวิญญาณขันธ์ นี้
เรียกว่า เพราะอธิโมกข์เป็นปัจจัย ภพจึงมี ฯลฯ นี้เรียกว่า เพราะชาติเป็นปัจจัย
ชรามรณะจึงมี


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๒๗๙ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๖.ปฏิจจสมุปปาทวิภังค์] ๒.อภิธรรมภาชนีย์ ๑๑.อัพยากตนิทเทส
คำว่า สภาวธรรมเหล่านี้มีการเกิดขึ้นด้วยอาการอย่างนี้ นั้น ได้แก่ สภาวะ
เหล่านี้ไปร่วม มาร่วม ประชุมร่วม ปรากฏขึ้นด้วยอาการอย่างนี้
เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า สภาวธรรมเหล่านี้มีการเกิดขึ้นด้วยอาการอย่างนี้
กุสลนิทเทส จบ

๑๑. อัพยากตนิทเทส
อเหตุกกุศลวิปากจิต ๘
๑. จักขุวิญญาณจิต
[๓๐๖] สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤต เป็นไฉน
จักขุวิญญาณที่เป็นกุศลวิบาก สหรคตด้วยอุเบกขา มีรูปเป็นอารมณ์ เกิดขึ้น
เพราะได้ทำได้สั่งสมกามาวจรกุศลกรรม ในสมัยใด ในสมัยนั้น เพราะสังขารเป็น
ปัจจัย วิญญาณจึงมี เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามจึงมี เพราะนามเป็นปัจจัย
อายตนะที่ ๖ จึงมี เพราะอายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี เพราะผัสสะเป็นปัจจัย
เวทนาจึงมี เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ภพจึงมี เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติจึงมี เพราะ
ชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะจึงมี
กองทุกข์ทั้งมวลนี้มีการเกิดขึ้นด้วยอาการอย่างนี้
[๓๐๗] บรรดาปัจจยาการเหล่านั้น สังขาร เป็นไฉน
ความจงใจ กิริยาที่จงใจ ภาวะที่จงใจ นี้เรียกว่า สังขาร
เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี เป็นไฉน
จิต มโน มานัส ฯลฯ จักขุวิญญาณธาตุที่เหมาะสมกัน นี้เรียกว่า เพราะ
สังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี
เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามจึงมี เป็นไฉน
เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ และสังขารขันธ์ นี้เรียกว่า เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย
นามจึงมี


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๒๘๐ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๖.ปฏิจจสมุปปาทวิภังค์] ๒.อภิธรรมภาชนีย์ ๑๑.อัพยากตนิทเทส
เพราะนามเป็นปัจจัย อายตนะที่ ๖ จึงมี เป็นไฉน
จิต มโน มานัส ฯลฯ จักขุวิญญาณธาตุที่เหมาะสมกัน นี้เรียกว่า เพราะ
นามเป็นปัจจัย อายตนะที่ ๖ จึงมี
เพราะอายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี เป็นไฉน
ความกระทบ กิริยาที่กระทบ กิริยาที่ถูกต้อง ภาวะที่ถูกต้อง นี้เรียกว่า
เพราะอายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี
เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี เป็นไฉน
ความสำราญทางใจก็ไม่ใช่ ความไม่สำราญทางใจก็ไม่ใช่ ความเสวยอารมณ์ที่
ไม่ทุกข์ไม่สุข อันเกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่ไม่ทุกข์ไม่สุข อันเกิดแต่
เจโตสัมผัส นี้เรียกว่า เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี
เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ภพจึงมี เป็นไฉน
เว้นเวทนาแล้ว สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ และวิญญาณขันธ์ นี้เรียกว่า เพราะ
เวทนาเป็นปัจจัย ภพจึงมี ฯลฯ
เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า กองทุกข์ทั้งมวลนี้มีการเกิดขึ้นด้วยอาการอย่างนี้
[๓๐๘] ในสมัยนั้น เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณที่มีสังขารเป็นเหตุจึงมี
เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามที่มีวิญญาณเป็นเหตุจึงมี เพราะนามเป็นปัจจัย อายตนะ
ที่ ๖ ที่มีนามเป็นเหตุจึงมี เพราะอายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย ผัสสะที่มีอายตนะที่ ๖ เป็น
เหตุจึงมี เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาที่มีผัสสะเป็นเหตุจึงมี เพราะเวทนาเป็นปัจจัย
ภพจึงมี เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติจึงมี เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะจึงมี
กองทุกข์ทั้งมวลนี้มีการเกิดขึ้นด้วยอาการอย่างนี้
[๓๐๙] ในสมัยนั้น เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณที่สัมปยุตด้วยสังขารจึงมี
เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามที่สัมปยุตด้วยวิญญาณจึงมี เพราะนามเป็นปัจจัย
อายตนะที่ ๖ ที่สัมปยุตด้วยนามจึงมี เพราะอายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย ผัสสะที่
สัมปยุตด้วยอายตนะที่ ๖ จึงมี เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาที่สัมปยุตด้วยผัสสะ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๒๘๑ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๖.ปฏิจจสมุปปาทวิภังค์] ๒.อภิธรรมภาชนีย์ ๑๑.อัพยากตนิทเทส
จึงมี เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ภพจึงมี เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติจึงมี เพราะชาติเป็น
ปัจจัย ชรามรณะจึงมี
กองทุกข์ทั้งมวลนี้มีการเกิดขึ้นด้วยอาการอย่างนี้
[๓๑๐] ในสมัยนั้น เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี แม้เพราะวิญญาณ
เป็นปัจจัย สังขารจึงมี เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามจึงมี แม้เพราะนามเป็นปัจจัย
วิญญาณจึงมี เพราะนามเป็นปัจจัย อายตนะที่ ๖ จึงมี แม้เพราะอายตนะที่ ๖ เป็น
ปัจจัย นามจึงมี เพราะอายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี แม้เพราะผัสสะเป็น
ปัจจัย อายตนะที่ ๖ จึงมี เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี แม้เพราะเวทนาเป็น
ปัจจัย ผัสสะจึงมี เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ภพจึงมี เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติจึงมี
เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะจึงมี
กองทุกข์ทั้งมวลนี้มีการเกิดขึ้นด้วยอาการอย่างนี้

๒-๕. โสต - กายวิญญาณจิต
[๓๑๑] สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤต เป็นไฉน
โสตวิญญาณที่เป็นวิบาก สหรคตด้วยอุเบกขา มีเสียงเป็นอารมณ์เกิดขึ้น ฯลฯ
ฆานวิญญาณที่สหรคตด้วยอุเบกขา มีกลิ่นเป็นอารมณ์เกิดขึ้น ฯลฯ ชิวหาวิญญาณ
ที่สหรคตด้วยอุเบกขา มีรสเป็นอารมณ์เกิดขึ้น ฯลฯ กายวิญญาณที่สหรคตด้วยสุข
มีโผฏฐัพพะเป็นอารมณ์เกิดขึ้น เพราะได้ทำได้สั่งสมกามาวจรกุศลกรรมไว้ใน
สมัยใด ในสมัยนั้น เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย
นามจึงมี เพราะนามเป็นปัจจัย อายตนะที่ ๖ จึงมี เพราะอายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย
ผัสสะจึงมี เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ภพจึงมี
เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติจึงมี เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะจึงมี
กองทุกข์ทั้งมวลนี้มีการเกิดขึ้นด้วยอาการอย่างนี้
[๓๑๒] บรรดาปัจจยาการเหล่านั้น สังขาร เป็นไฉน
ความจงใจ กิริยาที่จงใจ ภาวะที่จงใจ นี้เรียกว่า สังขาร ฯลฯ
นี้เรียกว่า เพราะอายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๒๘๒ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๖.ปฏิจจสมุปปาทวิภังค์] ๒.อภิธรรมภาชนีย์ ๑๑.อัพยากตนิทเทส
เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี เป็นไฉน
ความสำราญทางกาย ความสุขทางกาย ความเสวยอารมณ์ที่สำราญเป็นสุข
อันเกิดแต่กายสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่สำราญเป็นสุข อันเกิดแต่กายสัมผัส นี้
เรียกว่า เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี
เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ภพจึงมี เป็นไฉน
เว้นเวทนาแล้ว สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ และวิญญาณขันธ์ นี้เรียกว่า
เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ภพจึงมี ฯลฯ
เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า กองทุกข์ทั้งมวลนี้มีการเกิดขึ้นด้วยอาการอย่างนี้

๖. สัมปฏิจฉนจิต
[๓๑๓] สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤต เป็นไฉน
มโนธาตุที่เป็นวิบาก สหรคตด้วยอุเบกขา มีรูปเป็นอารมณ์ ฯลฯ มีโผฏฐัพพะ
เป็นอารมณ์ หรือปรารภอารมณ์ใดๆ เกิดขึ้น เพราะได้ทำได้สั่งสมกามาวจรกุศล-
กรรมไว้ในสมัยใด ในสมัยนั้น เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี เพราะวิญญาณ
เป็นปัจจัย นามจึงมี เพราะนามเป็นปัจจัย อายตนะที่ ๖ จึงมี เพราะอายตนะที่ ๖
เป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี เพราะเวทนาเป็นปัจจัย
อธิโมกข์จึงมี เพราะอธิโมกข์เป็นปัจจัย ภพจึงมี เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติจึงมี
เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะจึงมี
กองทุกข์ทั้งมวลนี้มีการเกิดขึ้นด้วยอาการอย่างนี้
[๓๑๔] บรรดาปัจจยาการเหล่านั้น สังขาร เป็นไฉน
ความจงใจ กิริยาที่จงใจ ภาวะที่จงใจ นี้เรียกว่า สังขาร
เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี เป็นไฉน
จิต มโน มานัส ฯลฯ มโนธาตุที่เหมาะสมกัน นี้เรียกว่า เพราะสังขารเป็น
ปัจจัย วิญญาณจึงมี ฯลฯ นี้เรียกว่า เพราะอายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี
เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี เป็นไฉน


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๒๘๓ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๖.ปฏิจจสมุปปาทวิภังค์] ๒.อภิธรรมภาชนีย์ ๑๑.อัพยากตนิทเทส
ความสำราญทางใจก็ไม่ใช่ ความไม่สำราญทางใจก็ไม่ใช่ ความเสวยอารมณ์
ที่ไม่ทุกข์ไม่สุข อันเกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่ไม่ทุกข์ไม่สุข อันเกิดแต่
เจโตสัมผัส นี้เรียกว่า เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี
เพราะเวทนาเป็นปัจจัย อธิโมกข์จึงมี เป็นไฉน
ความตัดสินอารมณ์ กิริยาที่ตัดสินอารมณ์ ภาวะที่จิตตัดสินอารมณ์นั้น นี้
เรียกว่า เพราะเวทนาเป็นปัจจัย อธิโมกข์จึงมี
เพราะอธิโมกข์เป็นปัจจัย ภพจึงมี เป็นไฉน
เว้นอธิโมกข์แล้ว เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ และวิญญาณขันธ์ นี้
เรียกว่า เพราะอธิโมกข์เป็นปัจจัย ภพจึงมี ฯลฯ
เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า กองทุกข์ทั้งมวลนี้มีการเกิดขึ้นด้วยอาการอย่างนี้

๗. โสมนัสสันตีรณจิต
[๓๑๕] สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤต เป็นไฉน
มโนวิญญาณธาตุที่เป็นกุศลวิบาก สหรคตด้วยโสมนัส มีรูปเป็นอารมณ์ ฯลฯ
มีธรรมเป็นอารมณ์ หรือปรารภอารมณ์ใด ๆ เกิดขึ้น เพราะได้ทำได้สั่งสมกามาวจร-
กุศลกรรมไว้ในสมัยใด ในสมัยนั้น เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี เพราะ
วิญญาณเป็นปัจจัย นามจึงมี เพราะนามเป็นปัจจัย อายตนะที่ ๖ จึงมี เพราะอายตนะ
ที่ ๖ เป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี เพราะเวทนาเป็น
ปัจจัย อธิโมกข์จึงมี เพราะอธิโมกข์เป็นปัจจัย ภพจึงมี เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติ
จึงมี เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะจึงมี
กองทุกข์ทั้งมวลนี้มีการเกิดขึ้นด้วยอาการอย่างนี้
[๓๑๖] บรรดาปัจจยาการเหล่านั้น สังขาร เป็นไฉน
ความจงใจ กิริยาที่จงใจ ภาวะที่จงใจ นี้เรียกว่า สังขาร
เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี เป็นไฉน
จิต มโน มานัส ฯลฯ มโนวิญญาณธาตุที่เหมาะสมกัน นี้เรียกว่า เพราะสังขาร
เป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี ฯลฯ นี้เรียกว่า เพราะอายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๒๘๔ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๖.ปฏิจจสมุปปาทวิภังค์] ๒.อภิธรรมภาชนีย์ ๑๑.อัพยากตนิทเทส
เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี เป็นไฉน
ความสำราญทางใจ ความสุขทางใจ ความเสวยอารมณ์ที่สำราญเป็นสุข อัน
เกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่สำราญเป็นสุข อันเกิดแต่เจโตสัมผัส นี้
เรียกว่า เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี
เพราะเวทนาเป็นปัจจัย อธิโมกข์จึงมี เป็นไฉน
ความตัดสินอารมณ์ กิริยาที่ตัดสินอารมณ์ ภาวะที่จิตตัดสินอารมณ์นั้น นี้
เรียกว่า เพราะเวทนาเป็นปัจจัย อธิโมกข์จึงมี
เพราะอธิโมกข์เป็นปัจจัย ภพจึงมี เป็นไฉน
เว้นอธิโมกข์แล้ว เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ และวิญญาณขันธ์ นี้
เรียกว่า เพราะอธิโมกข์เป็นปัจจัย ภพจึงมี ฯลฯ
เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า กองทุกข์ทั้งมวลนี้มีการเกิดขึ้นด้วยอาการอย่างนี้

๘. อุเบกขาสันตีรณจิต
[๓๑๗] สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤต เป็นไฉน
มโนวิญญาณธาตุที่เป็นวิบาก สหรคตด้วยอุเบกขา มีรูปเป็นอารมณ์ ฯลฯ มี
ธรรมเป็นอารมณ์ หรือปรารภอารมณ์ใด ๆ เกิดขึ้น เพราะได้ทำได้สั่งสมกามาวจร-
กุศลกรรมไว้ในสมัยใด ในสมัยนั้น เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี เพราะ
วิญญาณเป็นปัจจัย นามจึงมี เพราะนามเป็นปัจจัย อายตนะที่ ๖ จึงมี เพราะ
อายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี เพราะ
เวทนาเป็นปัจจัย อธิโมกข์จึงมี เพราะอธิโมกข์เป็นปัจจัย ภพจึงมี เพราะภพ
เป็นปัจจัย ชาติจึงมี เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะจึงมี
กองทุกข์ทั้งมวลนี้มีการเกิดขึ้นด้วยอาการอย่างนี้
[๓๑๘] บรรดาปัจจยาการเหล่านั้น สังขาร เป็นไฉน
ความจงใจ กิริยาที่จงใจ ภาวะที่จงใจ นี้เรียกว่า สังขาร
เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี เป็นไฉน


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๒๘๕ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๖.ปฏิจจสมุปปาทวิภังค์] ๒.อภิธรรมภาชนีย์ ๑๑.อัพยากตนิทเทส
จิต มโน มานัส ฯลฯ มโนวิญญาณธาตุที่เหมาะสมกัน นี้เรียกว่า เพราะสังขาร
เป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี ฯลฯ นี้เรียกว่า เพราะอายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี
เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี เป็นไฉน
ความสำราญทางใจก็ไม่ใช่ ความไม่สำราญทางใจก็ไม่ใช่ ความเสวยอารมณ์
ที่ไม่ทุกข์ไม่สุข อันเกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่ไม่ทุกข์ไม่สุข อันเกิด
แต่เจโตสัมผัส นี้เรียกว่า เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี
เพราะเวทนาเป็นปัจจัย อธิโมกข์จึงมี เป็นไฉน
ความตัดสินอารมณ์ กิริยาที่ตัดสินอารมณ์ ภาวะที่จิตตัดสินอารมณ์ นี้เรียก
ว่า เพราะเวทนาเป็นปัจจัย อธิโมกข์จึงมี
เพราะอธิโมกข์เป็นปัจจัย ภพจึงมี เป็นไฉน
เว้นอธิโมกข์แล้ว เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ และวิญญาณขันธ์ นี้
เรียกว่า เพราะอธิโมกข์เป็นปัจจัย ภพจึงมี ฯลฯ
เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า กองทุกข์ทั้งมวลนี้มีการเกิดขึ้นด้วยอาการอย่างนี้

กามาวจรวิปากจิต ๘
[๓๑๙] สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤต เป็นไฉน
มโนวิญญาณธาตุที่เป็นวิบาก สหรคตด้วยโสมนัส สัมปยุตด้วยญาณ ฯลฯ
สหรคตด้วยโสมนัส สัมปยุตด้วยญาณ ฯลฯ โดยมีเหตุชักจูง ฯลฯ สหรคตด้วย
โสมนัส วิปปยุตจากญาณ ฯลฯ สหรคตด้วยโสมนัส วิปปยุตจากญาณ ฯลฯ
โดยมีเหตุชักจูง ฯลฯ สหรคตด้วยอุเบกขา สัมปยุตด้วยญาณ ฯลฯ สหรคตด้วย
อุเบกขา สัมปยุตด้วยญาณ ฯลฯ โดยมีเหตุชักจูง ฯลฯ สหรคตด้วยอุเบกขา
วิปปยุตจากญาณ ฯลฯ สหรคตด้วยอุเบกขา วิปปยุตจากญาณ มีรูปเป็นอารมณ์
ฯลฯ มีธรรมเป็นอารมณ์ หรือปรารภอารมณ์ใด ๆ เกิดขึ้นโดยมีเหตุชักจูง เพราะได้
ทำได้สั่งสมกามาวจรกุศลกรรมไว้ในสมัยใด ในสมัยนั้น เพราะสังขารเป็นปัจจัย
วิญญาณจึงมี เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามจึงมี เพราะนามเป็นปัจจัย อายตนะที่ ๖


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๒๘๖ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๖.ปฏิจจสมุปปาทวิภังค์] ๒.อภิธรรมภาชนีย์ ๑๑.อัพยากตนิทเทส
จึงมี เพราะอายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี
เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ปสาทะจึงมี เพราะปสาทะเป็นปัจจัย อธิโมกข์จึงมี เพราะ
อธิโมกข์เป็นปัจจัย ภพจึงมี เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติจึงมี เพราะชาติเป็นปัจจัย
ชรามรณะจึงมี
กองทุกข์ทั้งมวลนี้มีการเกิดขึ้นด้วยอาการอย่างนี้
[๓๒๐] บรรดาปัจจยาการเหล่านั้น สังขาร เป็นไฉน
ความจงใจ กิริยาที่จงใจ ภาวะที่จงใจ นี้เรียกว่า สังขาร
เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี เป็นไฉน
จิต มโน มานัส ฯลฯ มโนวิญญาณธาตุที่เหมาะสมกัน นี้เรียกว่า เพราะ
สังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี ฯลฯ นี้เรียกว่า เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี
เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ปสาทะจึงมี เป็นไฉน
ศรัทธา ความเชื่อ กิริยาที่ปลงใจเชื่อ ความเลื่อมใสยิ่ง นี้เรียกว่า เพราะเวทนา
เป็นปัจจัย ปสาทะจึงมี
เพราะปสาทะเป็นปัจจัย อธิโมกข์จึงมี เป็นไฉน
ความตัดสินอารมณ์ กิริยาที่ตัดสินอารมณ์ ภาวะที่จิตตัดสินอารมณ์นั้น นี้
เรียกว่า เพราะปสาทะเป็นปัจจัย อธิโมกข์จึงมี
เพราะอธิโมกข์เป็นปัจจัย ภพจึงมี เป็นไฉน
เว้นอธิโมกข์แล้ว เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ และวิญญาณขันธ์ นี้
เรียกว่า เพราะอธิโมกข์เป็นปัจจัย ภพจึงมี ฯลฯ
เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า กองทุกข์ทั้งมวลนี้มีการเกิดขึ้นด้วยอาการอย่างนี้

รูปาวจรวิปากจิต
[๓๒๑] สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤต เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคเพื่อเข้าถึงรูปภพ สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐม-
ฌานที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็
เกิดขึ้น สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๒๘๗ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๖.ปฏิจจสมุปปาทวิภังค์] ๒.อภิธรรมภาชนีย์ ๑๑.อัพยากตนิทเทส
โยคาวจรบุคคลสงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌานที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ซึ่ง
เป็นวิบาก เพราะได้ทำได้สั่งสมรูปาวจรกุศลกรรม อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น เพราะ
สังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามจึงมี เพราะนาม
เป็นปัจจัย อายตนะที่ ๖ จึงมี เพราะอายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี เพราะ
ผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ปสาทะจึงมี เพราะปสาทะ
เป็นปัจจัย อธิโมกข์จึงมี เพราะอธิโมกข์เป็นปัจจัย ภพจึงมี เพราะภพเป็นปัจจัย
ชาตจึงมี เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะจึงมี
กองทุกข์ทั้งมวลนี้มีการเกิดขึ้นด้วยอาการอย่างนี้

อรูปาวจรวิปากจิต
[๓๒๒] สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤต เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคเพื่อเข้าถึงอรูปภพ เพราะก้าวล่วงอากิญจัญญา-
ยตนะได้โดยประการทั้งปวง จึงบรรลุจตุตถฌานที่สหรคตด้วยเนวสัญญานาสัญญา-
ยตนสัญญา ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข เพราะละสุขและทุกข์ได้ ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น
ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล
โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคเพื่อเข้าถึงอรูปภพ เพราะก้าวล่วงอากิญจัญญา-
ยตนะได้โดยประการทั้งปวง เพราะละสุขและทุกข์ได้ ฯลฯ จึงบรรลุจตุตถฌานที่
สหรคตด้วยเนวสัญญานาสัญญายตนสัญญา ซึ่งเป็นวิบาก เพราะได้ทำได้สั่งสม
อรูปาวจรกุศลกรรมนั้นนั่นแหละ อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น เพราะสังขารเป็นปัจจัย
วิญญาณจึงมี เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามจึงมี เพราะนามเป็นปัจจัย อายตนะ
ที่ ๖ จึงมี เพราะอายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี เพราะผัสสะเป็นปัจจัย
เวทนาจึงมี เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ปสาทะจึงมี เพราะปสาทะเป็นปัจจัย อธิโมกข์
จึงมี เพราะอธิโมกข์เป็นปัจจัย ภพจึงมี เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติจึงมี เพราะชาติ
เป็นปัจจัย ชรามรณะจึงมี
กองทุกข์ทั้งมวลนี้มีการเกิดขึ้นด้วยอาการอย่างนี้


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๒๘๘ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๖.ปฏิจจสมุปปาทวิภังค์] ๒.อภิธรรมภาชนีย์ ๑๑.อัพยากตนิทเทส
โลกุตตรวิปากจิต
[๓๒๓] สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤต เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคลเจริญฌานที่เป็นโลกุตตระซึ่งเป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ให้
ถึงนิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน
ที่เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ
ก็เกิดขึ้น สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล
โยคาวจรบุคคลสงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌานที่เป็นสุญญตะ เป็นทุกขา-
ปฏิปทาทันธาภิญญา ซึ่งเป็นวิบาก เพราะได้ทำได้เจริญฌานที่เป็นโลกุตตรกุศลนั้น
นั่นแหละ อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี เพราะ
วิญญาณเป็นปัจจัย นามจึงมี เพราะนามเป็นปัจจัย อายตนะที่ ๖ จึงมี เพราะอายตนะ
ที่ ๖ เป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี เพราะเวทนาเป็น
ปัจจัย ปสาทะจึงมี เพราะปสาทะเป็นปัจจัย อธิโมกข์จึงมี เพราะอธิโมกข์เป็นปัจจัย
ภพจึงมี เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติจึงมี เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะจึงมี
สภาวธรรมเหล่านี้มีการเกิดขึ้นด้วยอาการอย่างนี้

อกุศลวิปากจิต ๗
๑ - ๕. จักขุ - กายวิญญาณจิต
[๓๒๔] สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤต เป็นไฉน
จักขุวิญญาณที่เป็นวิบาก สหรคตด้วยอุเบกขา มีรูปเป็นอารมณ์เกิดขึ้น ฯลฯ
โสตวิญญาณที่เป็นวิบาก สหรคตด้วยอุเบกขา มีเสียงเป็นอารมณ์เกิดขึ้น ฯลฯ
ฆานวิญญาณที่เป็นวิบาก สหรคตด้วยอุเบกขา มีกลิ่นเป็นอารมณ์เกิดขึ้น ฯลฯ
ชิวหาวิญญาณที่เป็นวิบาก สหรคตด้วยอุเบกขา มีรสเป็นอารมณ์เกิดขึ้น ฯลฯ
กายวิญญาณที่เป็นวิบาก สหรคตด้วยทุกข์ มีโผฏฐัพพะเป็นอารมณ์เกิดขึ้น เพราะ
ได้ทำได้สั่งสมอกุศลกรรมไว้ในสมัยใด ในสมัยนั้น เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณ
จึงมี เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามจึงมี เพราะนามเป็นปัจจัย อายตนะที่ ๖ จึงมี


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๒๘๙ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๖.ปฏิจจสมุปปาทวิภังค์] ๒.อภิธรรมภาชนีย์ ๑๑.อัพยากตนิทเทส
เพราะอายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี
เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ภพจึงมี เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติจึงมี เพราะชาติเป็น
ปัจจัย ชรามรณะจึงมี
กองทุกข์ทั้งมวลนี้มีการเกิดขึ้นด้วยอาการอย่างนี้
[๓๒๕] บรรดาปัจจยาการเหล่านั้น สังขาร เป็นไฉน
ความจงใจ กิริยาที่จงใจ ภาวะที่จงใจ นี้เรียกว่า สังขาร
เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี เป็นไฉน
จิต มโน มานัส ฯลฯ กายวิญญาณธาตุที่เหมาะสมกัน นี้เรียกว่า เพราะ
สังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี
ฯลฯ นี้เรียกว่า เพราะอายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี
เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี เป็นไฉน
ความไม่สำราญทางกาย ความทุกข์ทางกาย ความเสวยอารมณ์ที่ไม่สำราญ
เป็นทุกข์ อันเกิดแต่กายสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่ไม่สำราญเป็นทุกข์ อันเกิดแต่
กายสัมผัส นี้เรียกว่า เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี
เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ภพจึงมี เป็นไฉน
เว้นเวทนาแล้ว สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ และวิญญาณขันธ์ นี้เรียกว่า เพราะ
เวทนาเป็นปัจจัย ภพจึงมี ฯลฯ
เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า กองทุกข์ทั้งมวลนี้มีการเกิดขึ้นด้วยอาการอย่างนี้

๖. สัมปฏิจฉนจิต
[๓๒๖] สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤต เป็นไฉน
มโนธาตุที่เป็นวิบาก สหรคตด้วยอุเบกขา มีรูปเป็นอารมณ์ ฯลฯ มีโผฏฐัพพะ
เป็นอารมณ์ หรือปรารภอารมณ์ใด ๆ เกิดขึ้น เพราะได้ทำได้สั่งสมอกุศลกรรมไว้ใน
สมัยใด ในสมัยนั้น เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย
นามจึงมี เพราะนามเป็นปัจจัย อายตนะที่ ๖ จึงมี เพราะอายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๒๙๐ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๖.ปฏิจจสมุปปาทวิภังค์] ๒.อภิธรรมภาชนีย์ ๑๑.อัพยากตนิทเทส
ผัสสะจึงมี เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี เพราะเวทนาเป็นปัจจัย อธิโมกข์จึงมี
เพราะอธิโมกข์เป็นปัจจัย ภพจึงมี เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติจึงมี เพราะชาติเป็น
ปัจจัย ชรามรณะจึงมี
กองทุกข์ทั้งมวลนี้มีการเกิดขึ้นด้วยอาการอย่างนี้
[๓๒๗] บรรดาปัจจยาการเหล่านั้น สังขาร เป็นไฉน
ความจงใจ กิริยาที่จงใจ ภาวะที่จงใจ นี้เรียกว่า สังขาร
เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี เป็นไฉน
จิต มโน มานัส ฯลฯ มโนธาตุที่เหมาะสมกัน นี้เรียกว่า เพราะสังขารเป็นปัจจัย
วิญญาณจึงมี ฯลฯ นี้เรียกว่า เพราะอายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี
เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี เป็นไฉน
ความสำราญทางใจก็ไม่ใช่ ความไม่สำราญทางใจก็ไม่ใช่ ความเสวยอารมณ์ที่
ไม่ทุกข์ไม่สุข อันเกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่ไม่ทุกข์ไม่สุข อันเกิดแต่
เจโตสัมผัส นี้เรียกว่า เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี
เพราะเวทนาเป็นปัจจัย อธิโมกข์จึงมี เป็นไฉน
ความตัดสินอารมณ์ กิริยาที่ตัดสินอารมณ์ ภาวะที่จิตตัดสินอารมณ์นั้น นี้
เรียกว่า เพราะเวทนาเป็นปัจจัย อธิโมกข์จึงมี
เพราะอธิโมกข์เป็นปัจจัย ภพจึงมี เป็นไฉน
เว้นอธิโมกข์แล้ว เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ และวิญญาณขันธ์ นี้
เรียกว่า เพราะอธิโมกข์เป็นปัจจัย ภพจึงมี ฯลฯ
เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า กองทุกข์ทั้งมวลนี้มีการเกิดขึ้นด้วยอาการอย่างนี้

๗. อุเบกขาสันตีรณจิต
[๓๒๘] สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤต เป็นไฉน
มโนวิญญาณธาตุที่เป็นวิบาก สหรคตด้วยอุเบกขา มีรูปเป็นอารมณ์ ฯลฯ มี
ธรรมเป็นอารมณ์ หรือปรารภอารมณ์ใดๆ เกิดขึ้น เพราะได้ทำได้สั่งสมอกุศลกรรมไว้


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๒๙๑ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๖.ปฏิจจสมุปปาทวิภังค์] ๒.อภิธรรมภาชนีย์ ๑๑.อัพยากตนิทเทส
ในสมัยใด ในสมัยนั้น เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี เพราะวิญญาณเป็น
ปัจจัย นามจึงมี เพราะนามเป็นปัจจัย อายตนะที่ ๖ จึงมี เพราะอายตนะที่ ๖ เป็น
ปัจจัย ผัสสะจึงมี เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี เพราะเวทนาเป็นปัจจัย
อธิโมกข์จึงมี เพราะอธิโมกข์เป็นปัจจัย ภพจึงมี เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติจึงมี
เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะจึงมี
กองทุกข์ทั้งมวลนี้มีการเกิดขึ้นด้วยอาการอย่างนี้
[๓๒๙] บรรดาปัจจยาการเหล่านั้น สังขาร เป็นไฉน
ความจงใจ กิริยาที่จงใจ ภาวะที่จงใจ นี้เรียกว่า สังขาร
เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี เป็นไฉน
จิต มโน มานัส ฯลฯ มโนวิญญาณธาตุที่เหมาะสมกัน นี้เรียกว่า เพราะ
สังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี ฯลฯ
เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า กองทุกข์ทั้งมวลนี้มีการเกิดขึ้นด้วยอาการอย่างนี้

อเหตุกกิริยาจิต ๓
[๓๓๐] สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤต เป็นไฉน
มโนธาตุที่เป็นกิริยา ไม่เป็นกุศล ไม่เป็นอกุศล และไม่เป็นวิบากแห่งกรรม
สหรคตด้วยอุเบกขา มีรูปเป็นอารมณ์ฯลฯ หรือมีโผฏฐัพพะเป็นอารมณ์เกิดขึ้น
ฯลฯ มโนวิญญาณธาตุที่เป็นกิริยา ไม่เป็นกุศล ไม่เป็นอกุศล และไม่เป็นวิบากแห่ง
กรรม สหรคตด้วยโสมนัส มีรูปเป็นอารมณ์ ฯลฯ หรือมีธรรมเป็นอารมณ์เกิดขึ้น
ฯลฯ มโนวิญญาณธาตุที่เป็นกิริยา ไม่เป็นกุศล ไม่เป็นอกุศล และไม่เป็นวิบากแห่ง
กรรม สหรคตด้วยอุเบกขา มีรูปเป็นอารมณ์ ฯลฯ มีธรรมเป็นอารมณ์ หรือปรารภ
อารมณ์ใด ๆ เกิดขึ้นในสมัยใด ในสมัยนั้น เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี
เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามจึงมี เพราะนามเป็นปัจจัย อายตนะที่ ๖ จึงมี
เพราะอายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี
เพราะเวทนาเป็นปัจจัย อธิโมกข์จึงมี เพราะอธิโมกข์เป็นปัจจัย ภพจึงมี เพราะ
ภพเป็นปัจจัย ชาติจึงมี เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะจึงมี
กองทุกข์ทั้งมวลนี้มีการเกิดขึ้นด้วยอาการอย่างนี้


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๒๙๒ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๖.ปฏิจจสมุปปาทวิภังค์] ๒.อภิธรรมภาชนีย์ ๑๑.อัพยากตนิทเทส
กามาวจรกิริยาจิต ๘
[๓๓๑] สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤต เป็นไฉน
มโนวิญญาณธาตุที่เป็นกิริยา ไม่เป็นกุศล ไม่เป็นอกุศล และไม่เป็นวิบากแห่ง
กรรม สหรคตด้วยโสมนัส สัมปยุตด้วยญาณ ฯลฯ สหรคตด้วยโสมนัส สัมปยุต
ด้วยญาณ ฯลฯ โดยมีเหตุชักจูง ฯลฯ สหรคตด้วยโสมนัส วิปปยุตจากญาณ ฯลฯ
สหรคตด้วยโสมนัส วิปปยุตจากญาณ ฯลฯ โดยมีเหตุชักจูง ฯลฯ สหรคตด้วย
อุเบกขา สัมปยุตด้วยญาณเกิดขึ้น ฯลฯ สหรคตด้วยอุเบกขา สัมปยุตด้วยญาณ
ฯลฯ โดยมีเหตุชักจูง ฯลฯ สหรคตด้วยอุเบกขา วิปปยุตจากญาณ ฯลฯ สหรคต
ด้วยอุเบกขา วิปปยุตจากญาณ มีรูปเป็นอารมณ์ ฯลฯ มีธรรมเป็นอารมณ์หรือ
ปรารภอารมณ์ใด ๆ เกิดขึ้นโดยมีเหตุชักจูง ในสมัยใด ในสมัยนั้น เพราะสังขาร
เป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามจึงมี เพราะนามเป็นปัจจัย
อายตนะที่ ๖ จึงมี เพราะอายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี เพราะผัสสะ
เป็นปัจจัยเวทนาจึงมี เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ปสาทะจึงมี เพราะปสาทะเป็นปัจจัย
อธิโมกข์จึงมี เพราะอธิโมกข์เป็นปัจจัย ภพจึงมี เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติจึงมี
เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะจึงมี
กองทุกข์ทั้งมวลนี้มีการเกิดขึ้นด้วยอาการอย่างนี้

รูปาวจรกิริยาจิต
[๓๓๒] สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤต เป็นไฉน
พระขีณาสพเจริญรูปาวจรฌานที่เป็นกิริยา ไม่เป็นกุศล ไม่เป็นอกุศล และไม่
เป็นวิบากของกรรม แต่เป็นธรรมเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน สงัดจากกาม ฯลฯ
บรรลุปฐมฌานที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น เพราะสังขาร
เป็นปัจจัย วิญญญาณจึงมี เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามจึงมี เพราะนามเป็นปัจจัย
อายตนะที่ ๖ จึงมี เพราะอายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี เพราะผัสสะเป็นปัจจัย
เวทนาจึงมี เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ปสาทะจึงมี เพราะปสาทะเป็นปัจจัย อธิโมกข์
จึงมี เพราะอธิโมกข์เป็นปัจจัย ภพจึงมี เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติจึงมี เพราะชาติ
เป็นปัจจัย ชรามรณะจึงมี
กองทุกข์ทั้งมวลนี้มีการเกิดขึ้นด้วยอาการอย่างนี้


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๒๙๓ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๖.ปฏิจจสมุปปาทวิภังค์] ๒.อภิธรรมภาชนีย์ ๑๒.อวิชชามูลกกุสลนิทเทส
[๓๓๓] สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤต เป็นไฉน
พระขีณาสพเจริญอรูปาวจรฌานที่เป็นกิริยา ไม่เป็นกุศล ไม่เป็นอกุศล และไม่
เป็นวิบากแห่งกรรม แต่เป็นธรรมเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน เพราะก้าวล่วง
อากิญจัญญายตนะได้โดยประการทั้งปวง จึงบรรลุจตุตถฌานที่สหรคตด้วย
เนวสัญญานาสัญญายตนสัญญา ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข เพราะละสุขและทุกข์ได้ ฯลฯ อยู่
ในสมัยใด ในสมัยนั้น เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี เพราะวิญญาณเป็น
ปัจจัย นามจึงมี เพราะนามเป็นปัจจัย อายตนะที่ ๖ จึงมี เพราะอายตนะที่ ๖ เป็น
ปัจจัย ผัสสะจึงมี เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี เพราะเวทนาเป็นปัจจัย
ปสาทะจึงมี เพราะปสาทะเป็นปัจจัย อธิโมกข์จึงมี เพราะอธิโมกข์เป็นปัจจัย
ภพจึงมี เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติจึงมี เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะจึงมี
กองทุกข์ทั้งมวลนี้มีการเกิดขึ้นด้วยอาการอย่างนี้
อัพยากตนิทเทส จบ

๑๒. อวิชชามูลกกุสลนิทเทส
กามาวจรกุศลจิต ๘
มหากุศลจิตดวงที่ ๑
[๓๓๔] สภาวธรรมที่เป็นกุศล เป็นไฉน
จิตที่เป็นกามาวจร ซึ่งเป็นกุศล สหรคตด้วยโสมนัส สัมปยุตด้วยญาณ มีรูป
เป็นอารมณ์ ฯลฯ มีธรรมเป็นอารมณ์ หรือปรารภอารมณ์ใด ๆ เกิดขึ้นในสมัยใด
ในสมัยนั้น เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารจึงมี เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี
เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามจึงมี เพราะนามเป็นปัจจัย อายตนะที่ ๖ จึงมี เพราะ
อายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี เพราะเวทนา
เป็นปัจจัย ปสาทะจึงมี เพราะปสาทะเป็นปัจจัย อธิโมกข์จึงมี เพราะอธิโมกข์เป็น
ปัจจัย ภพจึงมี เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติจึงมี เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะจึงมี
กองทุกข์ทั้งมวลนี้มีการเกิดขึ้นด้วยอาการอย่างนี้


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๒๙๔ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๖.ปฏิจจสมุปปาทวิภังค์] ๒.อภิธรรมภาชนีย์ ๑๒.อวิชชามูลกกุสลนิทเทส
[๓๓๕] บรรดาปัจจยาการเหล่านั้น เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารจึงมี
เป็นไฉน
ความจงใจ กิริยาที่จงใจ ภาวะที่จงใจ นี้เรียกว่า เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย
สังขารจึงมี ฯลฯ นี้เรียกว่า เพราะอายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี
เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี เป็นไฉน
ความสำราญทางใจ ความสุขทางใจ ความเสวยอารมณ์ที่สำราญเป็นสุข อัน
เกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่สำราญเป็นสุข อันเกิดแต่เจโตสัมผัส นี้
เรียกว่า เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี
เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ปสาทะจึงมี เป็นไฉน
ศรัทธา ความเชื่อ กิริยาที่ปลงใจเชื่อ ความเลื่อมใสยิ่ง นี้เรียกว่า เพราะเวทนา
เป็นปัจจัย ปสาทะจึงมี
เพราะปสาทะเป็นปัจจัย อธิโมกข์จึงมี เป็นไฉน
ความตัดสินอารมณ์ กิริยาที่ตัดสินอารมณ์ ภาวะที่จิตตัดสินอารมณ์นั้น นี้เรียกว่า
เพราะปสาทะเป็นปัจจัย อธิโมกข์จึงมี
เพราะอธิโมกข์เป็นปัจจัย ภพจึงมี เป็นไฉน
เว้นอธิโมกข์แล้ว เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ และวิญญาณขันธ์ นี้
เรียกว่า เพราะอธิโมกข์เป็นปัจจัย ภพจึงมี ฯลฯ
เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า เพราะอธิโมกข์เป็นปัจจัย ภพจึงมี
กองทุกข์ทั้งมวลนี้มีการเกิดขึ้นด้วยอาการอย่างนี้
[๓๓๖] ในสมัยนั้น เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารจึงมี เพราะสังขารเป็นปัจจัย
วิญญาณจึงมี เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามจึงมี เพราะนามเป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี
เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ปสาทะจึงมี เพราะ
ปสาทะเป็นปัจจัย อธิโมกข์จึงมี เพราะอธิโมกข์เป็นปัจจัย ภพจึงมี เพราะภพเป็น
ปัจจัย ชาติจึงมี เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะจึงมี
กองทุกข์ทั้งมวลนี้มีการเกิดขึ้นด้วยอาการอย่างนี้


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๒๙๕ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๖.ปฏิจจสมุปปาทวิภังค์] ๒.อภิธรรมภาชนีย์ ๑๒.อวิชชามูลกกุสลนิทเทส
[๓๓๗] ในสมัยนั้น เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารจึงมี เพราะสังขารเป็น
ปัจจัย วิญญาณจึงมี เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามรูปจึงมี เพราะนามรูปเป็นปัจจัย
อายตนะที่ ๖ จึงมี เพราะอายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี เพราะผัสสะเป็น
ปัจจัย เวทนาจึงมี เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ปสาทะจึงมี เพราะปสาทะเป็นปัจจัย
อธิโมกข์จึงมี เพราะอธิโมกข์เป็นปัจจัย ภพจึงมี เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติจึงมี
เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะจึงมี
กองทุกข์ทั้งมวลนี้มีการเกิดขึ้นด้วยอาการอย่างนี้
[๓๓๘] ในสมัยนั้น เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารจึงมี เพราะสังขารเป็นปัจจัย
วิญญาณจึงมี เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามรูปจึงมี เพราะนามรูปเป็นปัจจัย
อายตนะ ที่ ๖ จึงมี เพราะอายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี เพราะผัสสะเป็น
ปัจจัย เวทนาจึงมี เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ปสาทะจึงมี เพราะปสาทะเป็นปัจจัย
อธิโมกข์จึงมี เพราะอธิโมกข์เป็นปัจจัย ภพจึงมี เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติจึงมี
เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะจึงมี
กองทุกข์ทั้งมวลนี้มีการเกิดขึ้นด้วยอาการอย่างนี้

มหากุศลจิตดวงที่ ๒ - ๘
[๓๓๙] สภาวธรรมที่เป็นกุศล เป็นไฉน
จิตที่เป็นกามาจรซึ่งเป็นกุศล สหรคตด้วยโสมนัส สัมปยุตด้วยญาณ ฯลฯ
โดยมีเหตุชักจูง ฯลฯ สหรคตด้วยโสมนัส วิปปยุตจากญาณ ฯลฯ สหรคตด้วย
โสมนัส วิปปยุตจากญาณ ฯลฯ โดยมีเหตุชักจูง ฯลฯ สหรคตด้วยอุเบกขา สัมปยุต
ด้วยญาณ ฯลฯ สหรคตด้วยอุเบกขา สัมปยุตด้วยญาณ ฯลฯ โดยมีเหตุชักจูง ฯลฯ
สหรคตด้วยอุเบกขา วิปปยุตจากญาณ ฯลฯ สหรคตด้วยอุเบกขา วิปปยุตจากญาณ
มีรูปเป็นอารมณ์ ฯลฯ มีธรรมเป็นอารมณ์ หรือปรารภอารมณ์ใด ๆ เกิดขึ้นโดยมี
เหตุชักจูง ในสมัยใด ในสมัยนั้น เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารจึงมี เพราะสังขาร
เป็นปัจจัยวิญญาณจึงมี เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามจึงมี เพราะนามเป็นปัจจัย
อายตนะที่ ๖ จึงมี เพราะอายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี เพราะผัสสะเป็นปัจจัย


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๒๙๖ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๖.ปฏิจจสมุปปาทวิภังค์] ๒.อภิธรรมภาชนีย์ ๑๒.อวิชชามูลกกุสลนิทเทส
เวทนาจึงมี เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ปสาทะจึงมี เพราะปสาทะเป็นปัจจัย อธิโมกข์
จึงมี เพราะอธิโมกข์เป็นปัจจัย ภพจึงมี เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติจึงมี เพราะ
ชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะจึงมี
กองทุกข์ทั้งมวลนี้มีการเกิดขึ้นด้วยอาการอย่างนี้

รูปาวจรกุศล
[๓๔๐] สภาวธรรมที่เป็นกุศล เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคเพื่อเข้าถึงรูปภพ สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐม-
ฌานที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย
สังขารจึงมี เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามจึงมี
เพราะนามเป็นปัจจัย อายตนะที่ ๖ จึงมี เพราะอายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี
เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ปสาทะจึงมี เพราะ
ปสาทะเป็นปัจจัย อธิโมกข์จึงมี เพราะอธิโมกข์เป็นปัจจัย ภพจึงมี เพราะภพเป็น
ปัจจัย ชาติจึงมี เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะจึงมี
กองทุกข์ทั้งมวลนี้มีการเกิดขึ้นด้วยอาการอย่างนี้

อรูปาวจรกุศล
[๓๔๑] สภาวธรรมที่เป็นกุศล เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคเพื่อเข้าถึงอรูปภพ เพราะก้าวล่วงอากิญจัญญา-
ยตนะได้โดยประการทั้งปวง จึงบรรลุจตุตถฌานที่สหรคตด้วยเนวสัญญานาสัญญา-
ยตนสัญญา ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข เพราะละสุขและทุกข์ได้ ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น
เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารจึงมี เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี เพราะ
วิญญาณเป็นปัจจัย นามจึงมี เพราะนามเป็นปัจจัย อายตนะที่ ๖ จึงมี เพราะ
อายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี เพราะ
เวทนาเป็นปัจจัย ปสาทะจึงมี เพราะปสาทะเป็นปัจจัย อธิโมกข์จึงมี เพราะอธิโมกข์
เป็นปัจจัย ภพจึงมี เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติจึงมี เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะ
จึงมี
กองทุกข์ทั้งมวลนี้มีการเกิดขึ้นด้วยอาการอย่างนี้


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๒๙๗ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๖.ปฏิจจสมุปปาทวิภังค์] ๒.อภิธรรมภาชนีย์ ๑๓.กุสลมูลกวิปากนิทเทส
โลกุตตรกุศล
[๓๔๒] สภาวธรรมที่เป็นกุศล เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคลเจริญฌานที่เป็นโลกุตตระซึ่งเป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ให้ถึง
นิพพานเพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌานที่เป็น
ทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขาร
จึงมี เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามจึงมี
เพราะนามเป็นปัจจัย อายตนะที่ ๖ จึงมี เพราะอายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย ผัสสะ
จึงมี เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ปสาทะจึงมี เพราะ
ปสาทะเป็นปัจจัย อธิโมกข์จึงมี เพราะอธิโมกข์เป็นปัจจัย ภพจึงมี เพราะภพเป็น
ปัจจัย ชาติจึงมี เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะจึงมี
กองทุกข์ทั้งมวลนี้มีการเกิดขึ้นด้วยอาการอย่างนี้
อวิชชามูลกกุสลนิทเทส จบ

๑๓. กุสลมูลกวิปากนิทเทส
อเหตุกกุศลวิปากจิต
๑. จักขุวิญญาณจิต
[๓๔๓] สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤต เป็นไฉน
จักขุวิญญาณที่เป็นวิบาก สหรคตด้วยอุเบกขา มีรูปเป็นอารมณ์เกิดขึ้น เพราะ
ได้ทำได้สั่งสมกามาวจรกุศลกรรมไว้ในสมัยใด ในสมัยนั้น เพราะกุศลมูลเป็นปัจจัย
สังขารจึงมี เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามจึงมี
เพราะนามเป็นปัจจัย อายตนะที่ ๖ จึงมี เพราะอายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี
เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ภพจึงมี เพราะภพเป็น
ปัจจัย ชาติจึงมี เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะจึงมี
กองทุกข์ทั้งมวลนี้มีการเกิดขึ้นด้วยอาการอย่างนี้


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๒๙๘ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๖.ปฏิจจสมุปปาทวิภังค์] ๒.อภิธรรมภาชนีย์ ๑๓.กุสลมูลกวิปากนิทเทส
[๓๔๔] บรรดาปัจจยาการเหล่านั้น เพราะกุศลมูลเป็นปัจจัย สังขารจึงมี
เป็นไฉน
ความจงใจ กิริยาที่จงใจ ภาวะที่จงใจ นี้เรียกว่า เพราะกุศลมูลเป็นปัจจัย สังขาร
จึงมี ฯลฯ
เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า กองทุกข์ทั้งมวลนี้มีการเกิดขึ้นด้วยอาการอย่างนี้

๒ - ๘. โสตวิญญาณ - อุเบกขาสันตีรณจิต
[๓๔๕] สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤต เป็นไฉน
โสตวิญญาณที่เป็นวิบาก สหรคตด้วยอุเบกขา มีเสียงเป็นอารมณ์เกิดขึ้น ฯลฯ
ฆานวิญญาณที่เป็นวิบาก สหรคตด้วยอุเบกขา มีกลิ่นเป็นอารมณ์เกิดขึ้น ฯลฯ
ชิวหาวิญญาณที่เป็นวิบาก สหรคตด้วยอุเบกขา มีรสเป็นอารมณ์เกิดขึ้น ฯลฯ
กายวิญญาณที่เป็นวิบาก สหรคตด้วยสุข มีโผฏฐัพพะเป็นอารมณ์เกิดขึ้น ฯลฯ
มโนธาตุที่เป็นวิบาก สหรคตด้วยอุเบกขา มีรูปเป็นอารมณ์ ฯลฯ หรือมีโผฏฐัพพะ
เป็นอารมณ์ ฯลฯ มโนวิญญาณธาตุที่เป็นวิบาก สหรคตด้วยโสมนัส มีรูปเป็น
อารมณ์ ฯลฯ มีธรรมเป็นอารมณ์ หรือปรารภอารมณ์ใด ๆ เกิดขึ้น ฯลฯ มโน-
วิญญาณธาตุที่เป็นวิบาก สหรคตด้วยอุเบกขา มีรูปเป็นอารมณ์ ฯลฯ มีธรรม
เป็นอารมณ์ หรือปรารภอารมณ์ใด ๆ เกิดขึ้น เพราะได้ทำได้สั่งสมกามาวจรกุศล-
กรรม ในสมัยใด ในสมัยนั้น เพราะกุศลมูลเป็นปัจจัย สังขารจึงมี เพราะสังขาร
เป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามจึงมี เพราะนามเป็นปัจจัย
อายตนะที่ ๖ จึงมี เพราะอายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี เพราะผัสสะเป็นปัจจัย
เวทนาจึงมี เพราะเวทนาเป็นปัจจัย อธิโมกข์จึงมี เพราะอธิโมกข์เป็นปัจจัย ภพจึงมี
เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติจึงมี เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะจึงมี
กองทุกข์ทั้งมวลนี้มีการเกิดขึ้นด้วยอาการอย่างนี้

กามาวจรวิปากจิต ๘
[๓๔๖] สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤต เป็นไฉน


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๒๙๙ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๖.ปฏิจจสมุปปาทวิภังค์] ๒.อภิธรรมภาชนีย์ ๑๓.กุสลมูลกวิปากนิทเทส
มโนวิญญาณธาตุที่เป็นวิบาก สหรคตด้วยโสมนัส สัมปยุตด้วยญาณ เกิดขึ้น
ฯลฯ สหรคตด้วยโสมนัส สัมปยุตด้วยญาณ ฯลฯ โดยมีเหตุชักจูง ฯลฯ สหรคตด้วย
โสมนัส วิปปยุตจากญาณ ฯลฯ สหรคตด้วยโสมนัส วิปปยุตจากญาณฯลฯ โดยมี
เหตุชักจูง ฯลฯ สหรคตด้วยอุเบกขา สัมปยุตด้วยญาณ ฯลฯ สหรคตด้วยอุเบกขา
สัมปยุตด้วยญาณ ฯลฯ โดยมีเหตุชักจูง ฯลฯ สหรคตด้วยอุเบกขา วิปปยุตจาก
ญาณ ฯลฯ สหรคตด้วยอุเบกขา วิปปยุตจากญาณ มีรูปเป็นอารมณ์ ฯลฯ มีธรรม
เป็นอารมณ์ หรือปรารภอารมณ์ใด ๆ เกิดขึ้นโดยมีเหตุชักจูง เพราะได้ทำได้สั่งสม
กามาวจรกุศลกรรมไว้ในสมัยใด ในสมัยนั้น เพราะกุศลมูลเป็นปัจจัย สังขารจึงมี
เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามจึงมี เพราะ
นามเป็นปัจจัย อายตนะที่ ๖ จึงมี เพราะอายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี เพราะ
ผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ปสาทะจึงมี เพราะปสาทะเป็น
ปัจจัย อธิโมกข์จึงมี เพราะอธิโมกข์เป็นปัจจัย ภพจึงมี เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติ
จึงมี เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะจึงมี
กองทุกข์ทั้งมวลนี้มีการเกิดขึ้นด้วยอาการอย่างนี้

รูปาวจรวิปากจิต
[๓๔๗] สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤต เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคเพื่อเข้าถึงรูปภพ สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐม-
ฌานที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็
เกิดขึ้น สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า เป็นกุศล
โยคาวจรบุคคลสงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌานที่เป็นวิบากซึ่งมีปฐวีกสิณ
เป็นอารมณ์ เพราะได้ทำได้สั่งสมรูปาวจรกุศลกรรมนั้นนั่นแหละ อยู่ในสมัยใด ใน
สมัยนั้น เพราะกุศลมูลเป็นปัจจัย สังขารจึงมี เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี
เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามจึงมี เพราะนามเป็นปัจจัย อายตนะที่ ๖ จึงมี เพราะ
อายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี เพราะเวทนา
เป็นปัจจัย ปสาทะจึงมี เพราะปสาทะเป็นปัจจัย อธิโมกข์จึงมี เพราะอธิโมกข์เป็น
ปัจจัย ภพจึงมี เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติจึงมี เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะจึงมี
กองทุกข์ทั้งมวลนี้มีการเกิดขึ้นด้วยอาการอย่างนี้


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๓๐๐ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๖.ปฏิจจสมุปปาทวิภังค์] ๒.อภิธรรมภาชนีย์ ๑๓.กุสลมูลกวิปากนิทเทส
อรูปาวจรวิปากจิต
[๓๔๘] สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤต เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคเพื่อเข้าถึงอรูปภพ เพราะก้าวล่วงอากิญจัญญา-
ยตนะได้โดยประการทั้งปวง จึงบรรลุจตุตถฌานที่สหรคตด้วยเนวสัญญานาสัญญา-
ยตนสัญญา ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข เพราะละสุขและทุกข์ได้ ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น
ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล
โยคาวจรบุคคล เพราะก้าวล่วงอากิญจัญญายตนะได้โดยประการทั้งปวง
เพราะละสุขและทุกข์ได้ ฯลฯ จึงบรรลุจตุตถฌานที่สหรคตด้วยเนวสัญญานาสัญญา-
ยตนสัญญาซึ่งเป็นวิบาก เพราะได้ทำได้สั่งสมอรูปาวจรกุศลกรรมนั้นนั่นแหละ ฯลฯ
อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น เพราะกุศลมูลเป็นปัจจัย สังขารจึงมี เพราะสังขารเป็น
ปัจจัย วิญญาณจึงมี เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามจึงมี เพราะนามเป็นปัจจัย
อายตนะที่ ๖ จึงมี เพราะอายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี เพราะผัสสะเป็นปัจจัย
เวทนาจึงมี เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ปสาทะจึงมี เพราะปสาทะเป็นปัจจัย อธิโมกข์
จึงมี เพราะอธิโมกข์เป็นปัจจัย ภพจึงมี เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติจึงมี เพราะชาติ
เป็นปัจจัย ชรามรณะจึงมี
กองทุกข์ทั้งมวลนี้มีการเกิดขึ้นด้วยอาการอย่างนี้

โลกุตตรวิปากจิต
[๓๔๙] สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤต เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคลเจริญฌานที่เป็นโลกุตตระซึ่งเป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ให้ถึง
นิพพานเพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌานที่
เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็
เกิดขึ้น สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล
โยคาวจรบุคคล สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌานที่เป็นสุญญตะ เป็น
ทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา ซึ่งเป็นวิบาก เพราะได้ทำได้เจริญฌานที่เป็นโลกุตตรกุศล
นั้นนั่นแหละ อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น เพราะกุศลมูลเป็นปัจจัย สังขารจึงมี เพราะ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๓๐๑ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๖.ปฏิจจสมุปปาทวิภังค์] ๒.อภิธรรมภาชนีย์ ๑๔.อกุสลมูลกวิปากนิทเทส
สังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามจึงมี เพราะนามเป็น
ปัจจัย อายตนะที่ ๖ จึงมี เพราะอายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี เพราะผัสสะ
เป็นปัจจัย เวทนาจึงมี เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ปสาทะจึงมี เพราะปสาทะเป็นปัจจัย
อธิโมกข์จึงมี เพราะอธิโมกข์เป็นปัจจัย ภพจึงมี เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติจึงมี
เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะจึงมี
กองทุกข์ทั้งมวลนี้มีการเกิดขึ้นด้วยอาการอย่างนี้
กุสลมูลกวิปากนิทเทส จบ

๑๔. อกุสลมูลกวิปากนิทเทส
อกุศลวิปากจิต ๗
๑. จักขุวิญญาณจิต
[๓๕๐] สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤต เป็นไฉน
จักขุวิญญาณที่เป็นวิบาก สหรคตด้วยอุเบกขา มีรูปเป็นอารมณ์เกิดขึ้น เพราะ
ได้ทำได้สั่งสมอกุศลกรรมไว้ในสมัยใด ในสมัยนั้น เพราะอกุศลมูลเป็นปัจจัย สังขาร
จึงมี เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามจึงมี
เพราะนามเป็นปัจจัย อายตนะที่ ๖ จึงมี เพราะอายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย ผัสสะ
จึงมี เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ภพจึงมี เพราะภพ
เป็นปัจจัย ชาติจึงมี เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะจึงมี
กองทุกข์ทั้งมวลนี้มีการเกิดขึ้นด้วยอาการอย่างนี้
[๓๕๑] บรรดาปัจจยาการเหล่านั้น เพราะอกุศลมูลเป็นปัจจัย สังขารจึงมี
เป็นไฉน
ความจงใจ กิริยาที่จงใจ ภาวะที่จงใจ นี้เรียกว่า เพราะอกุศลเป็นปัจจัย
สังขารจึงมี ฯลฯ
เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า กองทุกข์ทั้งมวลนี้มีการเกิดขึ้นด้วยอาการอย่างนี้


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๓๐๒ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๖.ปฏิจจสมุปปาทวิภังค์] ๒.อภิธรรมภาชนีย์ ๑๔.อกุสลมูลกวิปากนิทเทส
๒ - ๖. โสตวิญญาณ - สัมปฏิจฉนจิต
[๓๕๒] สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤต เป็นไฉน
โสตวิญญาณที่เป็นวิบาก สหรคตด้วยอุเบกขา มีเสียงเป็นอารมณ์เกิดขึ้น ฯลฯ
ฆานวิญญาณที่เป็นวิบาก สหรคตด้วยอุเบกขา มีกลิ่นเป็นอารมณ์เกิดขึ้น ฯลฯ
ชิวหาวิญญาณที่เป็นวิบาก สหรคตด้วยอุเบกขา มีรสเป็นอารมณ์เกิดขึ้น ฯลฯ
กายวิญญาณที่เป็นวิบาก สหรคตด้วยทุกข์ มีโผฏฐัพพะเป็นอารมณ์เกิดขึ้น ฯลฯ
มโนธาตุที่เป็นวิบาก สหรคตด้วยอุเบกขา มีรูปเป็นอารมณ์ ฯลฯ มีโผฏฐัพพะเป็น
อารมณ์ หรือปรารภอารมณ์ใด ๆ เกิดขึ้น เพราะได้ทำได้สั่งสมอกุศลกรรมไว้ใน
สมัยใด ในสมัยนั้น เพราะอกุศลมูลเป็นปัจจัย สังขารจึงมี เพราะสังขารเป็นปัจจัย
วิญญาณจึงมี เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามจึงมี เพราะนามเป็นปัจจัย อายตนะ
ที่ ๖ จึงมี เพราะอายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนา
จึงมี เพราะเวทนาเป็นปัจจัย อธิโมกข์จึงมี เพราะอธิโมกข์เป็นปัจจัย ภพจึงมี เพราะ
ภพเป็นปัจจัย ชาติจึงมี เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะจึงมี
กองทุกข์ทั้งมวลนี้มีการเกิดขึ้นด้วยอาการอย่างนี้

๗. อุเบกขาสันตีรณจิต
[๓๕๓] สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤต เป็นไฉน
มโนวิญญาณธาตุที่เป็นวิบาก สหรคตด้วยอุเบกขา มีรูปเป็นอารมณ์ ฯลฯ มี
ธรรมเป็นอารมณ์ หรือปรารภอารมณ์ใด ๆ เกิดขึ้น เพราะได้ทำได้สั่งสมอกุศลกรรม
ไว้ในสมัยใด ในสมัยนั้น เพราะอกุศลมูลเป็นปัจจัย สังขารจึงมี เพราะสังขารเป็น
ปัจจัย วิญญาณจึงมี เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามจึงมี เพราะนามเป็นปัจจัย
อายตนะที่ ๖ จึงมี เพราะอายตนะที่ ๖ เป็นปัจจจัย ผัสสะจึงมี เพราะผัสสะเป็น
ปัจจัย เวทนาจึงมี เพราะเวทนาเป็นปัจจัย อธิโมกข์จึงมี เพราะอธิโมกข์เป็นปัจจัย
ภพจึงมี เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติจึงมี เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะจึงมี
กองทุกข์ทั้งมวลนี้มีการเกิดขึ้นด้วยอาการอย่างนี้


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๓๐๓ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๖.ปฏิจจสมุปปาทวิภังค์] ๒.อภิธรรมภาชนีย์ ๑๔.อกุสลมูลกวิปากนิทเทส
[๓๕๔] บรรดาปัจจยาการเหล่านั้น เพราะอกุศลมูลเป็นปัจจัย สังขารจึงมี
เป็นไฉน
ความจงใจ กิริยาที่จงใจ ภาวะที่จงใจ นี้เรียกว่า เพราะอกุศลมูลเป็นปัจจัย
สังขารจึงมี
เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี เป็นไฉน
จิต มโน มานัส ฯลฯ มโนวิญญาณธาตุที่เหมาะสมกัน นี้เรียกว่า เพราะ
สังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี
เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามจึงมี เป็นไฉน
เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ และสังขารขันธ์ นี้เรียกว่า เพราะวิญญาณเป็น
ปัจจัย นามจึงมี
เพราะนามเป็นปัจจัย อายตนะที่ ๖ จึงมี เป็นไฉน
จิต มโน มานัส ฯลฯ มโนวิญญาณธาตุที่เหมาะสมกัน นี้เรียกว่า เพราะ
นามเป็นปัจจัย อายตนะที่ ๖ จึงมี
เพราะอายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี เป็นไฉน
ความกระทบ กิริยาที่กระทบ กิริยาที่ถูกต้อง ภาวะที่ถูกต้อง นี้เรียกว่า เพราะ
อายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี
เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี เป็นไฉน
ความสำราญทางใจก็ไม่ใช่ ความไม่สำราญทางใจก็ไม่ใช่ ความเสวยอารมณ์ที่
ไม่ทุกข์ไม่สุข อันเกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่ไม่ทุกข์ไม่สุข อันเกิดแต่
เจโตสัมผัส นี้เรียกว่า เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี
เพราะเวทนาเป็นปัจจัย อธิโมกข์จึงมี เป็นไฉน
ความตัดสินอารมณ์ กิริยาที่ตัดสินใจ ภาวะที่จิตตัดสินอารมณ์นั้น นี้เรียกว่า
เพราะเวทนาเป็นปัจจัย อธิโมกข์จึงมี


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๓๐๔ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๖.ปฏิจจสมุปปาทวิภังค์] ๒.อภิธรรมภาชนีย์ ๑๔.อกุสลมูลกวิปากนิทเทส
เพราะอธิโมกข์เป็นปัจจัย ภพจึงมี เป็นไฉน
เว้นอธิโมกข์แล้ว เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ และวิญญาณขันธ์ นี้
เรียกว่า เพราะอธิโมกข์เป็นปัจจัย ภพจึงมี
เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติจึงมี เป็นไฉน
ความเกิด ความเกิดพร้อม ความบังเกิด ความบังเกิดเฉพาะ ความปรากฏ
แห่งสภาวธรรมนั้น ๆ นี้เรียกว่า เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติจึงมี
เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะจึงมี เป็นไฉน
ชรา ๑ มรณะ ๑
ในชราและมรณะนั้น ชรา เป็นไฉน
ความแก่ ความคร่ำคร่า ความเสื่อมอายุแห่งสภาวธรรมนั้น ๆ นี้เรียกว่า ชรา
มรณะ เป็นไฉน
ความสิ้นไป ความเสื่อมไป ความแตก ความแตกสลาย ความไม่เที่ยง ความ
หายไปแห่งสภาวธรรมนั้น ๆ นี้เรียกว่า มรณะ
ชราและมรณะดังที่กล่าวมานี้ นี้เรียกว่า เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะจึงมี
คำว่า กองทุกข์ทั้งมวลนี้มีการเกิดขึ้นด้วยอาการอย่างนี้ ได้แก่ กองทุกข์
ทั้งมวลนี้ไปร่วม มาร่วม ประชุมร่วม ปรากฏขึ้นด้วยอาการอย่างนี้
เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า กองทุกข์ทั้งมวลนี้มีการเกิดขึ้นด้วยอาการอย่างนี้

อกุสลมูลกวิปากนิทเทส จบ

อภิธรรมภาชนีย์ จบ

ปฏิจจสมุปปาทวิภังค์ จบ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๓๐๕ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๗.สติปัฏฐานวิภังค์] ๑.สุตตันตภาชนีย์
๗. สติปัฏฐานวิภังค์
๑. สุตตันตภาชนีย์
[๓๕๕] สติปัฏฐาน๑ ๔ ได้แก่ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. พิจารณาเห็นกายในกายภายในตนอยู่
พิจารณาเห็นกายในกายภายนอกตนอยู่
พิจารณาเห็นกายในกายภายในตนและภายนอกตนอยู่
มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัส
ในโลกได้
๒. พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาภายในตนอยู่
พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาภายนอกตนอยู่
พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาภายในตนและภายนอกตนอยู่
มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัส
ในโลกได้
๓. พิจารณาเห็นจิตในจิตภายในตนอยู่
พิจารณเห็นจิตในจิตภายนอกตนอยู่
พิจารณาเห็นจิตในจิตภายในตนและภายนอกตนอยู่
มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัส
ในโลกได้
๔. พิจารณาเห็นธรรมในธรรมภายในตนอยู่
พิจารณาเห็นธรรมในธรรมภายนอกตนอยู่
พิจารณาเห็นธรรมในธรรมภายในตนและภายนอกตนอยู่
มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัส
ในโลกได้

เชิงอรรถ :
๑ ที.ม. ๑๐/๓๗๓/๒๔๘, ม.มู. ๑๒/๑๐๕-๑๓๘/๗๗-๙๗

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๓๐๖ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๗.สติปัฏฐานวิภังค์] ๑.สุตตันตภาชนีย์ ๑. กายานุปัสสนานิทเทส
๑. กายานุปัสสนานิทเทส
เห็นกายในกายภายในตน
[๓๕๖] ภิกษุพิจารณาเห็นกายในกายภายในตนอยู่ เป็นอย่างไร
ภิกษุในธรรมวินัยนี้พิจารณาเห็นกายภายในตน เบื้องบนแต่พื้นเท้าขึ้นไป
เบื้องต่ำแต่ปลายผมลงมา มีหนังหุ้มอยู่โดยรอบ เต็มไปด้วยสิ่งไม่สะอาดต่าง ๆ ว่า
ในกายนี้ มีผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ไต หัวใจ ตับ
พังผืด ม้าม ปอด ไส้ใหญ่ ไส้น้อย อาหารใหม่ อาหารเก่า ดี เสลด หนอง เลือด
เหงื่อ มันข้น น้ำตา เปลวมัน น้ำลาย น้ำมูก ไขข้อ มูตร
ภิกษุนั้นเสพ เจริญ ทำให้มาก กำหนดนิมิตนั้นด้วยดี ครั้นเสพ เจริญ ทำให้
มาก กำหนดนิมิตนั้นด้วยดีแล้วจึงส่งจิตไปในกายภายนอกตน

เห็นกายในกายภายนอกตน
ภิกษุพิจารณาเห็นกายในกายภายนอกตนอยู่ เป็นอย่างไร
ภิกษุในธรรมวินัยนี้พิจารณาเห็นกายภายนอกตน เบื้องบนแต่พื้นเท้าขึ้นไป
เบื้องต่ำแต่ปลายผมลงมา มีหนังหุ้มอยู่โดยรอบ เต็มไปด้วยสิ่งที่ไม่สะอาดต่าง ๆ
ว่า ในกายของเขามี ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ไต
หัวใจ ตับ พังผืด ม้าม ปอด ไส้ใหญ่ ไส้น้อย อาหารใหม่ อาหารเก่า ดี เสลด
หนอง เลือด เหงื่อ มันข้น น้ำตา เปลวมัน น้ำลาย น้ำมูก ไขข้อ มูตร
ภิกษุนั้นเสพ เจริญ ทำให้มาก กำหนดนิมิตนั้นด้วยดี ครั้นเสพ เจริญ ทำให้
มาก กำหนดนิมิตนั้นด้วยดีแล้วจึงส่งจิตไปในกายภายในตนและภายนอกตน

เห็นกายในกายภายในตนและภายนอกตน
ภิกษุพิจารณาเห็นกายในกายภายในตนและภายนอกตนอยู่ เป็นอย่างไร
ภิกษุในธรรมวินัยนี้พิจารณาเห็นกายภายในตนและภายนอกตน เบื้องบน
แต่พื้นเท้าขึ้นไป เบื้องต่ำแต่ปลายผมลงมา มีหนังหุ้มอยู่โดยรอบ เต็มไปด้วยสิ่งที่ไม่
สะอาดต่าง ๆ ว่า ในกายนี้ มีผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อใน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๓๐๗ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๗.สติปัฏฐานวิภังค์] ๑.สุตตันตภาชนีย์ ๑.กายานุปัสสนานิทเทส
กระดูก ไต หัวใจ ตับ พังพืด ม้าม ปอด ไส้ใหญ่ ไส้น้อย อาหารใหม่ อาหารเก่า
ดี เสลด หนอง เลือด เหงื่อ มันข้น น้ำตา เปลวมัน น้ำลาย น้ำมูก ไขข้อ มูตร
ด้วยอาการอย่างนี้ ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นกายในกายภายในตนและภายนอก
ตนอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
[๓๕๗] ในคำว่า พิจารณาเห็น นั้น การพิจารณาเห็น เป็นไฉน
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลงงมงาย ความเลือกเฟ้นธรรม
สัมมาทิฏฐิ นี้เรียกว่า การพิจารณาเห็น
ภิกษุเป็นผู้เข้าไปถึงแล้ว เข้าไปถึงแล้วด้วยดี เข้ามาถึงแล้ว เข้ามาถึงแล้วด้วยดี
เข้าถึงแล้ว เข้าถึงแล้วด้วยดี ประกอบแล้วด้วยการพิจารณาเห็นนี้ เพราะฉะนั้นจึง
เรียกว่า พิจารณาเห็น
[๓๕๘] คำว่า อยู่ อธิบายว่า สืบเนื่องกันอยู่ ดำเนินไปอยู่ รักษาอยู่ เป็น
ไปอยู่ ให้เป็นไปอยู่ เที่ยวไปอยู่ พักอยู่ เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า อยู่
[๓๕๙] ในคำว่า มีความเพียร นั้น ความเพียร เป็นไฉน
การปรารภความเพียรทางใจ ฯลฯ สัมมาวายามะ นี้เรียกว่า ความเพียร
ภิกษุเป็นผู้เข้าไปถึงแล้ว เข้าไปถึงแล้วด้วยดี เข้ามาถึงแล้ว เข้ามาถึงแล้วด้วยดี เข้า
ถึงแล้ว เข้าถึงแล้วด้วยดี ประกอบแล้วด้วยความเพียรนี้ เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า
มีความเพียร
[๓๖๐] ในคำว่า มีสัมปชัญญะ นั้น สัมปชัญญะ เป็นไฉน
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลงงมงาย ความเลือกเฟ้นธรรม
สัมมาทิฏฐิ นี้เรียกว่า สัมปชัญญะ
ภิกษุเป็นผู้เข้าไปถึงแล้ว เข้าไปถึงแล้วด้วยดี เข้ามาถึงแล้ว เข้ามาถึงแล้ว
ด้วยดี เข้าถึงแล้ว เข้าถึงแล้วด้วยดี ประกอบแล้วด้วยสัมปชัญญะนี้ เพราะฉะนั้น
จึงเรียกว่า มีสัมปชัญญะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๓๐๘ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๗.สติปัฏฐานวิภังค์] ๑.สุตตันตภาชนีย์ ๑.กายานุปัสสนานิทเทส
[๓๖๑] ในคำว่า มีสติ นั้น สติ เป็นไฉน
สติ ความตามระลึก ฯลฯ สัมมาสติ นี้เรียกว่า สติ
ภิกษุเป็นผู้เข้าไปถึงแล้ว เข้าไปถึงแล้วด้วยดี เข้ามาถึงแล้ว เข้ามาถึงแล้ว
ด้วยดี เข้าถึงแล้ว เข้าถึงแล้วด้วยดี ประกอบแล้วด้วยสตินี้ เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า
มีสติ
[๓๖๒] ในคำว่า พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้ นั้น โลก เป็น
ไฉน
กายนั้นนั่นแหละชื่อว่าโลก๑ อุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ ก็ชื่อว่าโลก นี้เรียกว่า โลก
อภิชฌา เป็นไฉน
ความกำหนัด ความกำหนัดนัก ฯลฯ ความกำหนัดนักแห่งจิต นี้เรียกว่า
อภิชฌา
โทมนัส เป็นไฉน
ความไม่สำราญทางใจ ความทุกข์ทางใจ ความเสวยอารมณ์ที่ไม่สำราญเป็น
ทุกข์ อันเกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่ไม่สำราญเป็นทุกข์ อันเกิดแต่
เจโตสัมผัส นี้เรียกว่า โทมนัส
อภิชฌาและโทมนัสนี้ ดังที่กล่าวมานี้ ถูกกำจัด ถูกกำจัดราบคาบ สงบ ระงับ
สงบเงียบ ดับไป ดับไปอย่างราบคาบ ถูกทำให้พินาศไป ถูกทำให้พินาศย่อยยับไป
ถูกทำให้เหือดแห้งไป ถูกทำให้เหือดแห้งไปด้วยดี ถูกทำให้สิ้นไปในโลกนี้
เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้

กายานุปัสสนานิทเทส จบ

เชิงอรรถ :
๑ คำว่า โลก ในสติปัฏฐานนี้หมายถึง กาย เวทนา จิต ธรรม และอุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ ดูข้อต่อไปนี้
คือข้อ ๓๖๔,๓๖๖,๓๗๓

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๓๐๙ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๗.สติปัฏฐานวิภังค์] ๑.สุตตันตภาชนีย์ ๒.เวทนานุปัสสนานิทเทส
๒. เวทนานุปัสสนานิทเทส
เห็นเวทนาในเวทนาภายในตน
[๓๖๓] ภิกษุพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาภายในตนอยู่ เป็นอย่างไร
ภิกษุในธรรมวินัยนี้เมื่อเสวยสุขเวทนา ก็รู้ชัดว่า เราเสวยสุขเวทนา เมื่อ
เสวยทุกขเวทนา ก็รู้ชัดว่า เราเสวยทุกขเวทนา เมื่อเสวยอทุกขมสุขเวทนา ก็รู้ชัด
ว่า เราเสวยอทุกขมสุขเวทนา เมื่อเสวยสุขเวทนามีอามิส ก็รู้ชัดว่า เราเสวย
สุขเวทนามีอามิส หรือเมื่อเสวยสุขเวทนาไม่มีอามิส ก็รู้ชัดว่า เราเสวยสุขเวทนาไม่มี
อามิส เมื่อเสวยทุกขเวทนามีอามิส ก็รู้ชัดว่า เราเสวยทุกขเวทนามีอามิส หรือเมื่อ
เสวยทุกขเวทนาไม่มีอามิส ก็รู้ชัดว่า เราเสวยทุกขเวทนาไม่มีอามิส เมื่อเสวย
อทุกขมสุขเวทนามีอามิส ก็รู้ชัดว่า เราเสวยอทุกขมสุขเวทนามีอามิส หรือเมื่อเสวย
อทุกขมสุขเวทนาไม่มีอามิส ก็รู้ชัดว่า เราเสวยอทุกขมสุขเวทนาไม่มีอามิส
ภิกษุนั้นเสพ เจริญ ทำให้มาก กำหนดนิมิตนั้นด้วยดี ครั้นเสพ เจริญ ทำ
ให้มาก กำหนดนิมิตนั้นด้วยดีแล้วจึงส่งจิตไปในเวทนาภายนอกตน

เห็นเวทนาในเวทนาภายนอกตน
ภิกษุพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาภายนอกตนอยู่ เป็นอย่างไร
ภิกษุในธรรมวินัยนี้รู้ชัดบุคคลผู้กำลังเสวยสุขเวทนาว่า เขากำลังเสวยสุข-
เวทนา รู้ชัดบุคคลผู้กำลังเสวยทุกขเวทนาว่า เขากำลังเสวยทุกขเวทนา รู้ชัดบุคคลผู้
กำลังเสวยอทุกขมสุขเวทนาว่า เขากำลังเสวยอทุกขมสุขเวทนา รู้ชัดบุคคลผู้กำลัง
เสวยสุขเวทนามีอามิสว่า เขากำลังเสวยสุขเวทนามีอามิส หรือรู้ชัดบุคคลผู้กำลัง
เสวยสุขเวทนาไม่มีอามิสว่า เขากำลังเสวยสุขเวทนาไม่มีอามิส รู้ชัดบุคคลผู้กำลัง
เสวยทุกขเวทนามีอามิสว่า เขากำลังเสวยทุกขเวทนามีอามิส หรือรู้ชัดบุคคลผู้กำลัง
เสวยทุกขเวทนาไม่มีอามิสว่า เขากำลังเสวยทุกขเวทนาไม่มีอามิส รู้ชัดบุคคลผู้
กำลังเสวยอทุกขมสุขเวทนามีอามิสว่า เขากำลังเสวยอทุกขมสุขเวทนามีอามิส หรือ
รู้ชัดบุคคลผู้กำลังเสวยอทุกขมสุขเวทนาไม่มีอามิสว่า เขากำลังเสวยอทุกขมสุข-
เวทนาไม่มีอามิส


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๓๑๐ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๗.สติปัฏฐานวิภังค์] ๑.สุตตันตภาชนีย์ ๒.เวทนานุปัสสนานิทเทส
ภิกษุนั้นเสพ เจริญ ทำให้มาก กำหนดนิมิตนั้นด้วยดี ครั้นเสพ เจริญ ทำ
ให้มาก กำหนดนิมิตนั้นด้วยดีแล้วจึงส่งจิตไปในเวทนาภายในตนและภายนอกตน

เห็นเวทนาในเวทนาภายในตนและภายนอกตน
ภิกษุพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาภายในตนและภายนอกตนอยู่ เป็น
อย่างไร
ภิกษุในธรรมวินัยนี้รู้ชัดสุขเวทนาว่า เป็นสุขเวทนา รู้ชัดทุกขเวทนาว่า เป็น
ทุกขเวทนา รู้ชัดอทุกขมสุขเวทนาว่า เป็นอทุกขมสุขเวทนา รู้ชัดสุขเวทนามีอามิสว่า
เป็นสุขเวทนามีอามิส หรือรู้ชัดสุขเวทนาไม่มีอามิสว่า เป็นสุขเวทนาไม่มีอามิส รู้ชัด
ทุกขเวทนามีอามิสว่า เป็นทุกขเวทนามีอามิส หรือรู้ชัดทุกขเวทนาไม่มีอามิสว่า
เป็นทุกขเวทนาไม่มีอามิส รู้ชัดอทุกขมสุขเวทนามีอามิสว่า เป็นอทุกขมสุขเวทนามี
อามิส หรือรู้ชัดอทุกขมสุขเวทนาไม่มีอามิสว่า เป็นอทุกขมสุขเวทนาไม่มีอามิส
ด้วยอาการอย่างนี้ ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาภายในตนและ
ภายนอกตนอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสใน
โลกได้
[๓๖๔] ในคำว่า พิจารณาเห็น ฯลฯ ในคำว่า อยู่ ฯลฯ ในคำว่า มี
ความเพียร ฯลฯ ในคำว่า มีสัมปชัญญะ ฯลฯ ในคำว่า มีสติ ฯลฯ ในคำว่า
พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้ นั้น โลก เป็นไฉน
เวทนานั้นนั่นแหละชื่อว่าโลก แม้อุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ ก็ชื่อว่าโลก นี้เรียกว่า
โลก
อภิชฌา เป็นไฉน
ความกำหนัด ความกำหนัดนัก ฯลฯ ความกำหนัดนักแห่งจิต นี้เรียกว่า
อภิชฌา
โทมนัส เป็นไฉน


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๓๑๑ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๗.สติปัฏฐานวิภังค์] ๑.สุตตันตภาชนีย์ ๓.จิตตานุปัสสนานิทเทส
ความไม่สำราญทางใจ ความทุกข์ทางใจ ความเสวยอารมณ์ที่ไม่สำราญ
เป็นทุกข์ อันเกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่ไม่สำราญเป็นทุกข์ อันเกิดแต่
เจโตสัมผัส นี้เรียกว่า โทมนัส
อภิชฌาและโทมนัสนี้ ดังที่กล่าวมานี้ ถูกกำจัด ถูกกำจัดราบคาบ สงบ ระงับ
สงบเงียบ ดับไป ดับไปอย่างราบคาบ ถูกทำให้พินาศไป ถูกทำให้พินาศย่อยยับ
ไป ถูกทำให้เหือดแห้งไป ถูกทำให้เหือดแห้งไปด้วยดี ถูกทำให้สิ้นไปในโลกนี้
เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
เวทนานุปัสสนานิทเทส จบ

๓. จิตตานุปัสสนานิทเทส
เห็นจิตในจิตภายในตน
[๓๖๕] ภิกษุพิจารณาเห็นจิตในจิตภายในตนอยู่ เป็นอย่างไร
ภิกษุในธรรมวินัยนี้รู้ชัดจิตมีราคะว่า จิตของเรามีราคะ หรือรู้ชัดจิตปราศจาก
ราคะว่า จิตของเราปราศจากราคะ รู้ชัดจิตมีโทสะว่า จิตของเรามีโทสะ หรือรู้ชัด
จิตปราศจากโทสะว่า จิตของเราปราศจากโทสะ รู้ชัดจิตมีโมหะว่า จิตของเรามีโมหะ
หรือรู้ชัดจิตปราศจากโมหะว่า จิตของเราปราศจากโมหะ รู้ชัดจิตหดหู่ว่า จิตของเรา
หดหู่ รู้ชัดจิตฟุ้งซ่านว่า จิตของเราฟุ้งซ่าน รู้ชัดจิตเป็นมหัคคตะว่า จิตของเราเป็น
มหัคคตะ หรือรู้ชัดจิตที่ไม่เป็นมหัคคตะว่า จิตของเราไม่เป็นมหัคคตะ รู้ชัดจิตที่
เป็นสอุตตระว่า จิตของเราเป็นสอุตตระ หรือรู้ชัดจิตเป็นอนุตตระว่า จิตของเราเป็น
อนุตตระ รู้ชัดจิตเป็นสมาธิว่า จิตของเราเป็นสมาธิ หรือรู้ชัดจิตไม่เป็นสมาธิ
ว่าจิตของเราไม่เป็นสมาธิ รู้ชัดจิตหลุดพ้นว่า จิตของเราหลุดพ้นแล้ว หรือรู้ชัดจิต
ที่ยังไม่หลุดพ้นว่า จิตของเรายังไม่หลุดพ้น
ภิกษุนั้นเสพ เจริญ ทำให้มาก กำหนดนิมิตนั้นด้วยดี ครั้นเสพ เจริญ ทำให้
มาก กำหนดนิมิตนั้นด้วยดีแล้วจึงส่งจิตไปในจิตภายนอกตน

เห็นจิตในจิตภายนอกตน
ภิกษุพิจารณาเห็นจิตในจิตภายนอกตนอยู่ เป็นอย่างไร


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๓๑๒ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๗.สติปัฏฐานวิภังค์] ๑.สุตตันตภาชนีย์ ๓.จิตตานุปัสสนานิทเทส
ภิกษุในธรรมวินัยนี้รู้ชัดจิตของผู้นั้นซึ่งมีราคะว่า จิตของเขามีราคะ หรือ
รู้ชัดจิตของผู้นั้นซึ่งปราศจากราคะ๑ว่า จิตของเขาปราศจากราคะ รู้ชัดจิตของผู้นั้นซึ่ง
มีโทสะว่า จิตของเขามีโทสะ หรือรู้ชัดจิตของผู้นั้นซึ่งปราศจากโทสะว่า จิตของเขา
ปราศจากโทสะ รู้ชัดจิตของผู้นั้นซึ่งมีโมหะว่า จิตของเขามีโมหะ หรือรู้ชัดจิตของผู้นั้น
ซึ่งปราศจากโมหะว่า จิตของเขาปราศจากโมหะ รู้ชัดจิตของผู้นั้นซึ่งหดหู่ว่า จิตของ
เขาหดหู่ หรือรู้ชัดจิตของผู้นั้นซึ่งฟุ้งซ่านว่า จิตของเขาฟุ้งซ่าน รู้ชัดจิตของผู้นั้นซึ่ง
เป็นมหัคคตะว่า จิตของเขาเป็นมหัคคตะ หรือรู้ชัดจิตของผู้นั้นซึ่งไม่เป็นมหัคคตะว่า
จิตของเขาไม่เป็นมหัคคตะ รู้ชัดจิตของผู้นั้นซึ่งเป็นสอุตตระว่า จิตของเขาเป็นสอุตตระ
หรือรู้ชัดจิตของผู้นั้นซึ่งเป็นอนุตตระว่า จิตของเขาเป็นอนุตตระ รู้ชัดจิตของผู้นั้นซึ่ง
เป็นสมาธิว่า จิตของเขาเป็นสมาธิ หรือรู้ชัดจิตของผู้นั้นซึ่งไม่เป็นสมาธิว่า จิตของ
เขาไม่เป็นสมาธิ รู้ชัดจิตของผู้นั้นซึ่งหลุดพ้นแล้วว่า จิตของเขาหลุดพ้นแล้ว หรือ
รู้ชัดจิตของผู้นั้นซึ่งยังไม่หลุดพ้นว่า จิตของเขายังไม่หลุดพ้น
ภิกษุนั้นเสพ เจริญ ทำให้มาก กำหนดนิมิตนั้นด้วยดี ครั้นเสพ เจริญ ทำให้
มาก กำหนดนิมิตนั้นด้วยดีแล้วจึงส่งจิตไปในจิตภายในตนและภายนอกตน

เห็นจิตในจิตภายในตนและภายนอกตน
ภิกษุพิจารณาเห็นจิตในจิตภายในตนและภายนอกตนอยู่ เป็นอย่างไร
ภิกษุในธรรมวินัยนี้รู้ชัดจิตมีราคะว่า จิตมีราคะ หรือรู้ชัดจิตปราศจากราคะ
ว่า จิตปราศจากราคะ รู้ชัดจิตมีโทสะว่า จิตมีโทสะ หรือรู้ชัดจิตปราศจากโทสะว่า
จิตปราศจากโทสะ รู้ชัดจิตมีโมหะว่า จิตมีโมหะ หรือรู้ชัดจิต ปราศจากโมหะว่า จิต
ปราศจากโมหะ รู้ชัดจิตหดหู่ว่า จิตหดหู่ หรือรู้ชัดจิตฟุ้งซ่านว่า จิตฟุ้งซ่าน รู้ชัด
จิตที่เป็นมหัคคตะว่า จิตเป็นมหัคคตะ หรือรู้ชัดจิตที่ไม่เป็นมหัคคตะว่า จิตไม่เป็น
มหัคคตะ รู้ชัดจิตที่เป็นสอุตตระว่า จิตเป็นสอุตตระ หรือรู้ชัดจิตที่เป็นอนุตตระว่า
จิตเป็นอนุตตระ รู้ชัดจิตที่เป็นสมาธิว่า จิตเป็นสมาธิ หรือรู้ชัดจิตไม่เป็นสมาธิว่า
จิตไม่เป็นสมาธิ รู้ชัดจิตที่หลุดพ้นแล้วว่า จิตหลุดพ้นแล้ว หรือรู้ชัดจิตที่ยังไม่หลุด
พ้นว่า จิตยังไม่หลุดพ้น

เชิงอรรถ :
๑ คำว่า “จิตปราศจากราคะ” เป็นต้นในที่นี้หมายถึงโลกิยจิตที่เป็นกุศล ๑๗ วิปากจิต ๓๒ อเหตุกกิริยา-
จิต ๒ เว้นหสิตุปปาทะ (อภิ.วิ.อ. ๓๖๕/๒๘๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๓๑๓ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๗.สติปัฏฐานวิภังค์] ๑.สุตตันตภาชนีย์ ๔.ธัมมานุปัสสนานิทเทส
ด้วยอาการอย่างนี้ ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นจิตในจิตภายในตนและภายนอกตน
อยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
[๓๖๖] ในคำว่า พิจารณาเห็น ฯลฯ ในคำว่า อยู่ ฯลฯ ในคำว่า มีความ
เพียร ฯลฯ ในคำว่า มีสัมปชัญญะ ฯลฯ ในคำว่า มีสติ ฯลฯ ในคำว่า พึง
กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้ นั้น โลก เป็นไฉน
จิตนั้นนั่นแหละชื่อว่าโลก แม้อุปาทานขันธ์ ๕ ก็ชื่อว่าโลก นี้เรียกว่า โลก
อภิชฌา เป็นไฉน
ความกำหนัด ความกำหนัดนัก ฯลฯ ความกำหนัดนักแห่งจิต นี้เรียกว่า
อภิชฌา
โทมนัส เป็นไฉน
ความไม่สำราญทางใจ ความทุกข์ทางใจ ความเสวยอารมณ์ที่ไม่สำราญเป็น
ทุกข์ อันเกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่ไม่สำราญเป็นทุกข์ อันเกิดแต่
เจโตสัมผัส นี้เรียกว่า โทมนัส
อภิชฌาและโทมนัสนี้ดังที่กล่าวมานี้ ถูกกำจัด ถูกกำจัดราบคาบ สงบ ระงับ
สงบเงียบ ดับไป ดับไปอย่างราบคาบ ถูกทำให้พินาศไป ถูกทำให้พินาศย่อยยับไป
ถูกทำให้เหือดแห้งไป ถูกทำให้เหือดแห้งไปด้วยดี ถูกทำให้สิ้นไปในโลกนี้
เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
จิตตานุปัสสนานิทเทส จบ

๔. ธัมมานุปัสสนานิทเทส
เห็นธรรมในธรรมภายในตน
[๓๖๗] ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรมภายในตนอยู่ เป็นอย่างไร
นีวรณปัพพะ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้รู้กามฉันทะภายในตนซึ่งมีอยู่ว่า กามฉันทะภายในตนของ
เรามีอยู่ หรือรู้กามฉันทะภายในตนซึ่งไม่มีอยู่ว่า กามฉันทะภายในตนของเราไม่มีอยู่


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๓๑๔ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๗.สติปัฏฐานวิภังค์] ๑.สุตตันตภาชนีย์ ๔.ธัมมานุปัสสนานิทเทส
อนึ่ง รู้เหตุเกิดแห่งกามฉันทะที่ยังไม่เกิด เหตุละกามฉันทะที่เกิดแล้ว และ
เหตุที่กามฉันทะซึ่งละได้แล้วจะไม่เกิดต่อไป รู้พยาบาทภายในตนซึ่งมีอยู่ ฯลฯ รู้
ถีนมิทธะภายในตนซึ่งมีอยู่ ฯลฯ รู้อุทธัจจกุกกุจจะภายในตนซึ่งมีอยู่ ฯลฯ รู้
วิจิกิจฉาภายในตนซึ่งมีอยู่ว่า วิจิกิจฉาภายในตนของเรามีอยู่ หรือรู้วิจิกิจฉาภายใน
ตนซึ่งไม่มีอยู่ว่า วิจิกิจฉาภายในตนของเราไม่มีอยู่
อนึ่ง รู้เหตุเกิดแห่งวิจิกิจฉาที่ยังไม่เกิด เหตุละวิจิกิจฉาที่เกิดแล้ว และเหตุที่
วิจิกิจฉาซึ่งละได้แล้วจะไม่เกิดต่อไป

โพชฌังคปัพพะ
รู้สติสัมโพชฌงค์ภายในตนซึ่งมีอยู่ว่า สติสัมโพชฌงค์ภายในตนของเรามีอยู่ รู้
สติสัมโพชฌงค์ภายในตนซึ่งไม่มีอยู่ว่า สติสัมโพชฌงค์ภายในตนของเราไม่มีอยู่
อนึ่ง รู้เหตุเกิดแห่งสติสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิด และเหตุเจริญบริบูรณ์แห่ง
สติสัมโพชฌงค์ที่เกิดแล้ว รู้ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ภายในตนซึ่งมีอยู่ ฯลฯ รู้วิริย-
สัมโพชฌงค์ภายในตนซึ่งมีอยู่ ฯลฯ รู้ปีติสัมโพชฌงค์ภายในตนซึ่งมีอยู่ ฯลฯ รู้
ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ภายในตนซึ่งมีอยู่ ฯลฯ รู้สมาธิสัมโพชฌงค์ภายในตนซึ่งมีอยู่
ฯลฯ รู้อุเปกขาสัมโพชฌงค์ภายในตนซึ่งมีอยู่ว่า อุเปกขาสัมโพชฌงค์ภายในตนของ
เรามีอยู่ หรือรู้อุเปกขาสัมโพชฌงค์ภายในตนของเราซึ่งไม่มีอยู่ว่า อุเปกขา-
สัมโพชฌงค์ภายในตนของเราไม่มีอยู่
อนึ่ง รู้เหตุเกิดแห่งอุเปกขาสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิด และเหตุเจริญบริบูรณ์
แห่งอุเปกขาสัมโพชฌงค์ที่เกิดแล้ว
ภิกษุนั้นเสพ เจริญ ทำให้มาก กำหนดนิมิตนั้นด้วยดี ครั้นเสพ เจริญ ทำให้
มาก กำหนดนิมิตนั้นด้วยดีแล้วจึงส่งจิตไปในธรรมภายนอกตน

เห็นธรรมในธรรมภายนอกตน
ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรมภายนอกตนอยู่ เป็นอย่างไร
นีวรณปัพพะ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้รู้กามฉันทะของผู้นั้นซึ่งมีอยู่ว่า กามฉันทะของเขามีอยู่
หรือรู้กามฉันทะของผู้นั้นซึ่งไม่มีอยู่ว่า กามฉันทะของเขาไม่มีอยู่


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๓๑๕ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๗.สติปัฏฐานวิภังค์] ๑.สุตตันตภาชนีย์ ๔.ธัมมานุปัสสนานิทเทส
อนึ่ง รู้เหตุเกิดแห่งกามฉันทะที่ยังไม่เกิด เหตุละกามฉันทะที่เกิดแล้ว และ
เหตุที่กามฉันทะซึ่งละได้แล้วจะไม่เกิดต่อไป รู้พยาบาทของผู้นั้นซึ่งมีอยู่ ฯลฯ รู้
ถีนมิทธะของผู้นั้นซึ่งมีอยู่ ฯลฯ รู้อุทธัจจกุกกุจจะของผู้นั้นซึ่งมีอยู่ ฯลฯ รู้วิจิกิจฉา
ของผู้นั้นซึ่งมีอยู่ว่า วิจิกิจฉาของเขามีอยู่ หรือรู้วิจิกิจฉาของเขาซึ่งไม่มีอยู่ว่า วิจิกิจฉา
ของเขาไม่มีอยู่
อนึ่ง รู้เหตุเกิดแห่งวิจิกิจฉาที่ยังไม่เกิด เหตุละวิจิกิจฉาที่เกิดแล้ว และเหตุที่
วิจิกิจฉาซึ่งละได้แล้วจะไม่เกิดต่อไป

โพชฌังคปัพพะ
รู้สติสัมโพชฌงค์ของผู้นั้นซึ่งมีอยู่ว่า สติสัมโพชฌงค์ของเขามีอยู่ หรือรู้
สติสัมโพชฌงค์ของผู้นั้นซึ่งไม่มีอยู่ว่า สติสัมโพชฌงค์ของเขาไม่มีอยู่
อนึ่ง รู้เหตุเกิดแห่งสติสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิด และเหตุเจริญบริบูรณ์แห่ง
สติสัมโพชฌงค์ที่เกิดแล้ว รู้ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ของผู้นั้นซึ่งมีอยู่ ฯลฯ รู้
วิริยสัมโพชฌงค์ของผู้นั้นซึ่งมีอยู่ ฯลฯ รู้ปีติสัมโพชฌงค์ของผู้นั้นซึ่งมีอยู่ ฯลฯ รู้
ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ของผู้นั้นซึ่งมีอยู่ ฯลฯ รู้สมาธิสัมโพชฌงค์ของผู้นั้นซึ่งมีอยู่ ฯลฯ
รู้อุเปกขาสัมโพชฌงค์ของผู้นั้นซึ่งมีอยู่ว่า อุเปกขาสัมโพชฌงค์ของเขามีอยู่ หรือรู้
อุเปกขาสัมโพชฌงค์ของผู้นั้นซึ่งไม่มีอยู่ว่า อุเปกขาสัมโพชฌงค์ของเขาไม่มีอยู่
อนึ่ง รู้เหตุเกิดแห่งอุเปกขาสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิด และเหตุเจริญบริบูรณ์
แห่งอุเปกขาสัมโพชฌงค์ที่เกิดแล้ว
ภิกษุนั้นเสพ เจริญ ทำให้มาก กำหนดนิมิตนั้นด้วยดี ครั้นเสพ เจริญ ทำ
ให้มาก กำหนดนิมิตนั้นด้วยดีแล้วจึงส่งจิตไปในธรรมภายในตนและภายนอกตน

เห็นธรรมในธรรมภายในตนและภายนอกตน
ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรมในภายตนและภายนอกตนอยู่ เป็นอย่างไร
นีวรณปัพพะ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้รู้กามฉันทะซึ่งมีอยู่ว่า กามฉันทะมีอยู่ หรือรู้กามฉันทะ
ซึ่งไม่มีอยู่ว่า กามฉันทะไม่มีอยู่


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๓๑๖ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๗.สติปัฏฐานวิภังค์] ๑.สุตตันตภาชนีย์ ๔.ธัมมานุปัสสนานิทเทส
อนึ่ง รู้เหตุเกิดแห่งกามฉันทะที่ยังไม่เกิด เหตุละกามฉันทะที่เกิดแล้ว และเหตุ
ที่กามฉันทะซึ่งละได้แล้วจะไม่เกิดต่อไป รู้พยาบาทซึ่งมีอยู่ ฯลฯ รู้ถีนมิทธะซึ่งมี
อยู่ ฯลฯ รู้อุทธัจจกุกกุจจะซึ่งมีอยู่ ฯลฯ รู้วิจิกิจฉาซึ่งมีอยู่ว่า วิจิกิจฉามีอยู่ หรือ
รู้วิจิกิจฉาซึ่งไม่มีอยู่ว่า วิจิกิจฉาไม่มีอยู่
อนึ่ง รู้เหตุเกิดแห่งวิจิกิจฉาที่ยังไม่เกิด เหตุละวิจิกิจฉาที่เกิดแล้ว และเหตุที่
วิจิกิจฉาซึ่งละได้แล้วจะไม่เกิดต่อไป

โพชฌังคปัพพะ
รู้สติสัมโพชฌงค์ซึ่งมีอยู่ว่า สติสัมโพชฌงค์มีอยู่ หรือรู้สติสัมโพชฌงค์ซึ่งไม่มี
อยู่ว่า สติสัมโพชฌงค์ไม่มีอยู่
อนึ่ง รู้เหตุเกิดแห่งสติสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิด และเหตุเจริญบริบูรณ์แห่ง
สติสัมโพชฌงค์ที่เกิดแล้ว รู้ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ซึ่งมีอยู่ ฯลฯ รู้วิริยสัมโพชฌงค์
ซึ่งมีอยู่ ฯลฯ รู้ปีติสัมโพชฌงค์ซึ่งมีอยู่ ฯลฯ รู้ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ซึ่งมีอยู่ ฯลฯ
รู้สมาธิสัมโพชฌงค์ซึ่งมีอยู่ ฯลฯ รู้อุเปกขาสัมโพชฌงค์ซึ่งมีอยู่ว่า อุเปกขา-
สัมโพชฌงค์มีอยู่ หรือรู้อุเปกขาสัมโพชฌงค์ซึ่งไม่มีอยู่ว่า อุเปกขาสัมโพชฌงค์
ไม่มีอยู่
อนึ่ง รู้เหตุเกิดแห่งอุเปกขาสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิด และเหตุเจริญบริบูรณ์แห่ง
อุเปกขาสัมโพชฌงค์ที่เกิดแล้ว
ด้วยอาการอย่างนี้ ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นธรรมในธรรมภายในตนและภาย
นอกตนอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
[๓๖๘] ในคำว่า พิจารณาเห็น นั้น การพิจารณาเห็น เป็นไฉน
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลงงมงาย ความเลือกเฟ้นธรรม สัมมา-
ทิฏฐิ นี้เรียกว่า พิจารณาเห็น
ภิกษุเป็นผู้เข้าไปถึงแล้ว เข้าไปถึงแล้วด้วยดี เข้ามาถึงแล้ว เข้ามาถึงแล้วด้วยดี
เข้าถึงแล้ว เข้าถึงแล้วด้วยดี ประกอบแล้วด้วยการพิจารณาเห็นนี้ เพราะฉะนั้น
จึงเรียกว่า พิจารณาเห็น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๓๑๗ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๗.สติปัฏฐานวิภังค์] ๑.สุตตันตภาชนีย์ ๔.ธัมมานุปัสสนานิทเทส
[๓๖๙] คำว่า อยู่ อธิบายว่า สืบเนื่องกันอยู่ ดำเนินไปอยู่ รักษาอยู่ เป็นไป
อยู่ ให้เป็นไปอยู่ เที่ยวไปอยู่ พักอยู่ เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า อยู่
[๓๗๐] ในคำว่า มีความเพียร นั้น ความเพียร เป็นไฉน
การปรารภความเพียรทางใจ ฯลฯ สัมมาวายามะ นี้เรียกว่า ความเพียร
ภิกษุเป็นผู้เข้าไปถึงแล้ว เข้าไปถึงแล้วด้วยดี เข้ามาถึงแล้ว เข้ามาถึงแล้วด้วยดี
เข้าถึงแล้ว เข้าถึงแล้วด้วยดี ประกอบแล้วด้วยความเพียรนี้ เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า
มีความเพียร
[๓๗๑] ในคำว่า มีสัมปชัญญะ นั้น สัมปชัญญะ เป็นไฉน
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลงงมงาย ความเลือกเฟ้นธรรม
สัมมาทิฏฐิ นี้เรียกว่า สัมปชัญญะ
ภิกษุเป็นผู้เข้าไปถึงแล้ว ฯลฯ ประกอบแล้วด้วยสัมปชัญญะนี้ เพราะฉะนั้นจึง
เรียกว่า มีสัมปชัญญะ
[๓๗๒] ในคำว่า มีสติ นั้น สติ เป็นไฉน
สติ ความตามระลึก ฯลฯ สัมมาสติ นี้เรียกว่า สติ
ภิกษุเป็นผู้เข้าไปถึงแล้ว เข้าไปถึงแล้วด้วยดี เข้ามาถึงแล้ว เข้ามาถึงแล้วด้วยดี
เข้าถึงแล้ว เข้าถึงแล้วด้วยดี ประกอบแล้วด้วยสตินี้ เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า มีสติ
[๓๗๓] ในคำว่า พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้ นั้น โลก เป็นไฉน
ธรรมเหล่านั้นนั่นแหละชื่อว่าโลก แม้อุปาทานขันธ์ ๕ ก็ชื่อว่าโลก นี้เรียกว่า
โลก
อภิชฌา เป็นไฉน
ความกำหนัด ความกำหนัดนัก ฯลฯ ความกำหนัดนักแห่งจิต นี้เรียกว่า
อภิชฌา
โทมนัส เป็นไฉน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๓๑๘ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๗.สติปัฏฐานวิภังค์] ๒.อภิธรรมภาชนีย์
ความไม่สำราญทางใจ ความทุกข์ทางใจ ความเสวยอารมณ์ที่ไม่สำราญเป็น
ทุกข์ อันเกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่ไม่สำราญเป็นทุกข์ อันเกิดแต่
เจโตสัมผัส นี้เรียกว่า โทมนัส
อภิชฌาและโทมนัสนี้ ดังที่กล่าวมานี้ ถูกกำจัด ถูกกำจัดราบคาบ สงบ ระงับ
สงบเงียบ ดับไป ดับไปอย่างราบคาบ ถูกทำให้พินาศไป ถูกทำให้พินาศย่อยยับไป
ถูกทำให้เหือดแห้งไป ถูกทำให้เหือดแห้งไปด้วยดี ถูกทำให้สิ้นไปในโลกนี้
เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
ธัมมานุปัสสนานิทเทส จบ
สุตตันตภาชนีย์ จบ

๒. อภิธรรมภาชนีย์
สติปัฏฐานอุทเทส
[๓๗๔] สติปัฏฐาน ๔ ได้แก่ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. พิจารณาเห็นกายในกายอยู่
๒. พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่
๓. พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่
๔. พิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่

สติปัฏฐานนิทเทส
กายานุปัสสนา
[๓๗๕] ภิกษุพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ เป็นอย่างไร
ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญฌานที่เป็นโลกุตตระซึ่งเป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ให้
ถึงนิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน
ที่เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา พิจารณาเห็นกายในกาย อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น
สติ ความตามระลึก ฯลฯ สัมมาสติ สติสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์มรรค นับเนื่องใน
มรรค นี้เรียกว่า สติปัฏฐาน สภาวธรรมที่เหลือชื่อว่าสัมปยุตด้วยสติปัฏฐาน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๓๑๙ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๗.สติปัฏฐานวิภังค์] ๒.อภิธรรมภาชนีย์
เวทนานุปัสสนา
[๓๗๖] ภิกษุพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่ เป็นอย่างไร
ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญฌานที่เป็นโลกุตตระซึ่งเป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ให้
ถึงนิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน
ที่เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนา อยู่ในสมัยใด ใน
สมัยนั้น สติ ความตามระลึก ฯลฯ สัมมาสติ สติสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์มรรค นับ
เนื่องในมรรค นี้เรียกว่า สติปัฏฐาน สภาวธรรมที่เหลือชื่อว่าสัมปยุตด้วยสติปัฏฐาน

จิตตานุปัสสนา
[๓๗๗] ภิกษุพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ เป็นอย่างไร
ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญฌานที่เป็นโลกุตตระซึ่งเป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ให้
ถึงนิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน
ที่เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา พิจารณาเห็นจิตในจิต อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น
สติ ความตามระลึก ฯลฯ สัมมาสติ สติสัมโพฌงค์ อันเป็นองค์มรรค นับเนื่องใน
มรรค นี้เรียกว่า สติปัฏฐาน สภาวธรรมที่เหลือชื่อว่าสัมปยุตด้วยสติปัฏฐาน

ธัมมานุปัสสนา
[๓๗๘] ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ เป็นอย่างไร
ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญฌานที่เป็นโลกุตตระซึ่งเป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ให้
ถึงนิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน
ที่เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา พิจารณาเห็นธรรมในธรรม อยู่ในสมัยใด ในสมัย
นั้น สติ ความตามระลึก ฯลฯ สัมมาสติ สติสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์มรรค นับเนื่อง
ในมรรค นี้เรียกว่า สติปัฏฐาน สภาวธรรมที่เหลือชื่อว่าสัมปยุตด้วยสติปัฏฐาน

สติปัฏฐานธรรม
[๓๗๙] ในสภาวธรรมเหล่านั้น สติปัฏฐาน เป็นไฉน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๓๒๐ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๗.สติปัฏฐานวิภังค์] ๒.อภิธรรมภาชนีย์
ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญฌานที่เป็นโลกุตตระซึ่งเป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์
ให้ถึงนิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐม-
ฌานที่เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา พิจารณาเห็นธรรมในธรรม อยู่ในสมัยใด
ในสมัยนั้น สติ ความตามระลึก ฯลฯ สัมมาสติ สติสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์มรรค
นับเนื่องในมรรค นี้เรียกว่า สติปัฏฐาน สภาวธรรมที่เหลือชื่อว่าสัมปยุตด้วย
สติปัฏฐาน

สติปัฏฐานอุทเทส
[๓๘๐] สติปัฏฐาน ๔ ได้แก่ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. พิจารณาเห็นกายในกายอยู่
๒. พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่
๓. พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่
๔. พิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่

สติปัฏฐานนิทเทส
กายานุปัสสนา
[๓๘๑] ภิกษุพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ เป็นอย่างไร
ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญฌานที่เป็นโลกุตตระซึ่งเป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์
ให้ถึงนิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน
ที่เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ
ก็เกิดขึ้น สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล
ภิกษุสงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌานที่เป็นสุญญตะ เป็นทุกขาปฏิปทา-
ทันธาภิญญา ซึ่งเป็นวิบาก เพราะได้ทำได้เจริญฌานที่เป็นโลกุตตรกุศลนั้นนั่นแหละ
พิจารณาเห็นกายในกาย อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น สติ ความตามระลึก ฯลฯ
สัมมาสติ สติสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์มรรค นับเนื่องในมรรค นี้เรียกว่า สติปัฏฐาน
สภาวธรรมที่เหลือชื่อว่าสัมปยุตด้วยสติปัฏฐาน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๓๒๑ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๗.สติปัฏฐานวิภังค์] ๒.อภิธรรมภาชนีย์
เวทนานุปัสสนา
[๓๘๒] ภิกษุพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่ เป็นอย่างไร
ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญฌานที่เป็นโลกุตตระซึ่งเป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์
ให้ถึงนิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน
ที่เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ
ก็เกิดขึ้น สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล
ภิกษุสงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌานที่เป็นสุญญตะ เป็นทุกขาปฏิปทา-
ทันธาภิญญา ซึ่งเป็นวิบาก เพราะได้ทำได้เจริญฌานที่เป็นโลกุตตรกุศลนั้นนั่นแหละ
พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนา อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น สติ ความตามระลึก ฯลฯ
สัมมาสติ สติสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์มรรค นับเนื่องในมรรค นี้เรียกว่า สติปัฏฐาน
สภาวธรรมที่เหลือชื่อว่าสัมปยุตด้วยสติปัฏฐาน

จิตตานุปัสสนา
[๓๘๓] ภิกษุพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ เป็นอย่างไร
ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญฌานที่เป็นโลกุตตระซึ่งเป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ให้
ถึงนิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน
ที่เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ
ก็เกิดขึ้น สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล
ภิกษุสงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌานที่เป็นสุญญตะ เป็นทุกขาปฏิปทา-
ทันธาภิญญา ซึ่งเป็นวิบาก เพราะได้กระทำได้เจริญฌานที่เป็นโลกุตตรกุศลนั้น
นั่นแหละ พิจารณาเห็นจิตในจิต อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น สติ ความตามระลึก ฯลฯ
สัมมาสติ สติสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์มรรค นับเนื่องในมรรค นี้เรียกว่า สติปัฏฐาน
สภาวธรรมที่เหลือชื่อว่าสัมปยุตด้วยสติปัฏฐาน

ธัมมานุปัสสนา
[๓๘๔] ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ เป็นอย่างไร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๓๒๒ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๗.สติปัฏฐานวิภังค์] ๒.อภิธรรมภาชนีย์
ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญฌานที่เป็นโลกุตตระซึ่งเป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์
ให้ถึงนิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน
ที่เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ
ก็เกิดขึ้น สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล
ภิกษุสงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌานที่เป็นสุญญตะ เป็นทุกขาปฏิปทา-
ทันธาภิญญา ซึ่งเป็นวิบาก เพราะได้ทำได้เจริญฌานที่เป็นโลกุตตรกุศลนั้นนั่นแหละ
พิจารณาเห็นธรรมในธรรม อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น สติ ความตามระลึก ฯลฯ
สัมมาสติ สติสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์มรรค นับเนื่องในมรรค นี้เรียกว่า สติปัฏฐาน
สภาวธรรมที่เหลือชื่อว่าสัมปยุตด้วยสติปัฏฐาน

สติปัฏฐานธรรม
[๓๘๕] ในสภาวธรรมเหล่านั้น สติปัฏฐาน เป็นไฉน
ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญฌานที่เป็นโลกุตตระซึ่งเป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์
ให้ถึงนิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน
ที่เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ
ก็เกิดขึ้น สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล
ภิกษุสงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌานที่เป็นสุญญตะ เป็นทุกขาปฏิปทา-
ทันธาภิญญา ซึ่งเป็นวิบาก เพราะได้ทำได้เจริญฌานที่เป็นโลกุตตรกุศลนั้นนั่นแหละ
อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น สติ ความตามระลึก ฯลฯ สัมมาสติ สติสัมโพชฌงค์
อันเป็นองค์มรรค นับเนื่องในมรรค นี้เรียกว่า สติปัฏฐาน สภาวธรรมที่เหลือ
ชื่อว่าสัมปยุตด้วยสติปัฏฐาน

อภิธรรมภาชนีย์ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๓๒๓ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๗.สติปัฏฐานวิภังค์] ๓.ปัญหาปุจฉกะ ๑.ติกมาติกาวิสัชนา
๓. ปัญหาปุจฉกะ
[๓๘๖] สติปัฏฐาน ๔ ได้แก่ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ
พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
๒. พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ
มีสติ พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
๓. พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ
พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
๔. พิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ
พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้

ติกมาติกาปุจฉา ทุกมาติกาปุจฉา
[๓๘๗] บรรดาสติปัฏฐาน ๔ สติปัฏฐานเท่าไรเป็นกุศล เท่าไรเป็นอกุศล
เท่าไรเป็นอัพยากฤต ฯลฯ เท่าไรเป็นเหตุให้สัตว์ร้องไห้ เท่าไรไม่เป็นเหตุให้สัตว์
ร้องไห้

๑. ติกมาติกาวิสัชนา
๑-๒๒. กุสลติกาทิวิสัชนา
[๓๘๘] สติปัฏฐาน ๔ ที่เป็นกุศลก็มี ที่เป็นอัพยากฤตก็มี
ฯลฯ*
สติปัฏฐาน ๔ ที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาก็มี ที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนาก็มี
สติปัฏฐาน ๔ ที่เป็นวิบากก็มี ที่เป็นเหตุให้เกิดวิบากก็มี
สติปัฏฐาน ๔ กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือและไม่เป็นอารมณ์
ของอุปาทาน

เชิงอรรถ :
* ข้อความที่ละไว้ พึงดูในบทมาติกาของพระไตรปิฎกแปล เล่ม ๓๔

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๓๒๔ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๗.สติปัฏฐานวิภังค์] ๓.ปัญหาปุจฉกะ ๑.ติกมาติกาวิสัชนา
สติปัฏฐาน ๔ กิเลสไม่ทำให้เศร้าหมองและไม่เป็นอารมณ์ของกิเลส
สติปัฏฐาน ๔ ที่มีทั้งวิตกและวิจารก็มี ที่ไม่มีวิตกมีเพียงวิจารก็มี ที่ไม่มีทั้ง
วิตกและวิจารก็มี
สติปัฏฐาน ๔ ที่สหรคตด้วยปีติก็มี ที่สหรคตด้วยสุขก็มี ที่สหรคตด้วย
อุเบกขาก็มี
สติปัฏฐาน ๔ ไม่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคและมรรคเบื้องบน ๓
สติปัฏฐาน ๔ ไม่มีเหตุต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคและมรรคเบื้องบน ๓
สติปัฏฐาน ๔ ที่เป็นเหตุให้ถึงนิพพานก็มี ที่ไม่เป็นเหตุให้ถึงปฏิสนธิ จุติ และ
นิพพานก็มี
สติปัฏฐาน ๔ ที่เป็นของเสขบุคคลก็มี ที่เป็นของอเสขบุคคลก็มี
สติปัฏฐาน ๔ เป็นอัปปมาณะ
สติปัฏฐาน ๔ มีอัปปมาณะเป็นอารมณ์
สติปัฏฐาน ๔ เป็นชั้นประณีต
สติปัฏฐาน ๔ ที่มีสภาวะชอบและให้ผลแน่นอนก็มี ที่ให้ผลไม่แน่นอนก็มี
สติปัฏฐาน ๔ ไม่ใช่มีมรรคเป็นอารมณ์
สติปัฏฐาน ๔ ที่มีมรรรคเป็นเหตุก็มี ที่มีมรรคเป็นอธิบดีก็มี ที่กล่าวไม่ได้ว่า
มีมรรคเป็นเหตุ หรือมีมรรคเป็นอธิบดีก็มี
สติปัฏฐาน ๔ ที่เกิดขึ้นก็มี ที่ยังไม่เกิดขึ้นก็มี ที่จักเกิดขึ้นแน่นอนก็มี
สติปัฏฐาน ๔ ที่เป็นอดีตก็มี ที่เป็นอนาคตก็มี ที่เป็นปัจจุบันก็มี ที่กล่าวไม่
ได้ว่า มีอดีตธรรมเป็นอารมณ์ มีอนาคตธรรมเป็นอารมณ์ หรือมีปัจจุบันธรรมเป็น
อารมณ์ก็มี
สติปัฏฐาน ๔ ที่เป็นภายในตนก็มี ที่เป็นภายนอกตนก็มี ที่เป็นภายในตน
และภายนอกตนก็มี
สติปัฏฐาน ๔ มีธรรมภายนอกตนเป็นอารมณ์
สติปัฏฐาน ๔ เห็นไม่ได้และกระทบไม่ได้


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๓๒๕ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๗.สติปัฏฐานวิภังค์] ๓.ปัญหาปุจฉกะ ๒.ทุกมาติกาวิสัชนา
๒. ทุกมาติกาวิสัชนา
๑. เหตุโคจฉกวิสัชนา
[๓๘๙] สติปัฏฐาน ๔ ไม่เป็นเหตุแต่มีเหตุ สติปัฏฐาน ๔ สัมปยุตด้วยเหตุ
สติปัฏฐาน ๔ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นเหตุและมีเหตุ หรือมีเหตุ แต่ไม่เป็นเหตุ
สติปัฏฐาน ๔ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นเหตุและสัมปยุตด้วยเหตุ หรือสัมปยุต
ด้วยเหตุแต่ไม่เป็นเหตุ
สติปัฏฐาน ๔ ไม่เป็นเหตุแต่มีเหตุ

๒. จูฬันตรทุกวิสัชนา
สติปัฏฐาน ๔ มีปัจจัยปรุงแต่ง สติปัฏฐาน ๔ ถูกปัจจัยปรุงแต่ง
สติปัฏฐาน ๔ เห็นไม่ได้ สติปัฏฐาน ๔ กระทบไม่ได้
สติปัฏฐาน ๔ ไม่เป็นรูป สติปัฏฐาน ๔ เป็นโลกุตตระ
สติปัฏฐาน ๔ จิตบางดวงรู้ได้ สติปัฏฐาน ๔ จิตบางดวงรู้ไม่ได้

๓. อาสวโคจฉกวิสัชนา
สติปัฏฐาน ๔ ไม่เป็นอาสวะ สติปัฏฐาน ๔ ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะ
สติปัฏฐาน ๔ วิปปยุตจากอาสวะ สติปัฏฐาน ๔ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นอาสวะ
และเป็นอารมณ์ของอาสวะ หรือเป็นอารมณ์ของอาสวะแต่ไม่เป็นอาสวะ
สติปัฏฐาน ๔ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นอาสวะและสัมปยุตด้วยอาสวะ หรือสัมปยุต
ด้วยอาสวะแต่ไม่เป็นอาสวะ
สติปัฏฐาน ๔ วิปปยุตจากอาสวะ สติปัฏฐาน ๔ ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะ

๔-๑๐. สัญโญชนโคจฉกาทิวิสัชนา
สติปัฏฐาน ๔ ไม่เป็นสังโยชน์ ฯลฯ ไม่เป็นคันถะ ฯลฯ ไม่เป็นโอฆะ ฯลฯ
ไม่เป็นโยคะ ฯลฯ ๔ ไม่เป็นนิวรณ์ ฯลฯ ไม่เป็นปรามาส ฯลฯ
สติปัฏฐาน ๔ รับรู้อารมณ์ได้ สติปัฏฐาน ๔ ไม่เป็นจิต
สติปัฏฐาน ๔ เป็นเจตสิก สติปัฏฐาน ๔ สัมปยุตด้วยจิต


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๓๒๖ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๗.สติปัฏฐานวิภังค์] ๓.ปัญหาปุจฉกะ ๒.ทุกมาติกาวิสัชนา
สติปัฏฐาน ๔ ระคนกับจิต สติปัฏฐาน ๔ มีจิตเป็นสมุฏฐาน
สติปัฏฐาน ๔ เกิดพร้อมกับจิต สติปัฏฐาน ๔ เป็นไปตามจิต
สติปัฏฐาน ๔ ระคนกับจิตและมีจิตเป็นสมุฏฐาน สติปัฏฐาน ๔ ระคนกับ
จิตมีจิตเป็นสมุฏฐานและเกิดพร้อมกับจิต
สติปัฏฐาน ๔ ระคนกับจิตมีจิตเป็นสมุฏฐานและเป็นไปตามจิต สติปัฏฐาน ๔
เป็นภายนอก
สติปัฏฐาน ๔ ไม่เป็นอุปาทายรูป สติปัฏฐาน ๔ กรรมอันประกอบด้วยตัณหา
และทิฏฐิไม่ยึดถือ

๑๑-๑๓. อุปาทานโคจฉกาทิวิสัชนา
สติปัฏฐาน ๔ ไม่เป็นอุปาทาน ฯลฯ ไม่เป็นกิเลส ฯลฯ
สติปัฏฐาน ๔ ไม่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรค และมรรคเบื้องบน ๓
สติปัฏฐาน ๔ ไม่มีเหตุต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรค และด้วยมรรค
เบื้องบน ๓
สติปัฏฐาน ๔ ที่มีวิตกก็มี ที่ไม่มีวิตกก็มี สติปัฏฐาน ๔ ที่มีวิจารก็มี ที่ไม่
มีวิจารก็มี
สติปัฏฐาน ๔ ที่มีปีติก็มี ที่ไม่มีปีติก็มี สติปัฏฐาน ๔ ที่สหรคตด้วยปีติก็มี
ที่ไม่สหรคตด้วยปีติก็มี
สติปัฏฐาน ๔ ที่สหรคตด้วยสุขก็มี ที่ไม่สหรคตด้วยสุขก็มี
สติปัฏฐาน ๔ ที่สหรคตด้วยอุเบกขาก็มี ที่ไม่สหรคตด้วยอุเบกขาก็มี
สติปัฏฐาน ๔ ไม่เป็นกามาวจร สติปัฏฐาน ๔ ไม่เป็นรูปาวจร
สติปัฏฐาน ๔ ไม่เป็นอรูปาวจร สติปัฏฐาน ๔ ไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์
สติปัฏฐาน ๔ ที่เป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ก็มี ที่ไม่เป็นเหตุนำออกจาก
วัฏฏทุกข์ก็มี สติปัฏฐาน ๔ ที่ให้ผลแน่นอนก็มี ที่ให้ผลไม่แน่นอนก็มี
สติปัฏฐาน ๔ ไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า สติปัฏฐาน ๔ ไม่เป็นเหตุให้สัตว์ร้องไห้
ปัญหาปุจฉกะ จบ
สติปัฏฐานวิภังค์ จบบริบูรณ์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๓๒๗ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๘. สัมมัปปธานวิภังค์] ๑. สุตตันตภาชนีย์
๘. สัมมัปปธานวิภังค์
๑. สุตตันตภาชนีย์
[๓๙๐] สัมมัปปธาน ๔๑ ได้แก่ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. สร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่น
เพื่อป้องกันบาปอกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดมิให้เกิด
๒. สร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่น
เพื่อละบาปอกุศลธรรมที่เกิดแล้ว
๓. สร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่น
เพื่อยังกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดให้เกิด
๔. สร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่น
เพื่อความดำรงอยู่ ไม่เลือนหาย ภิยโยภาพ ไพบูลย์ เจริญ
เต็มที่แห่งกุศลธรรมที่เกิดแล้ว

เพียรป้องกันบาปอกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดมิให้เกิด
[๓๙๑] ภิกษุสร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่น
เพื่อป้องกันบาปอกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดมิให้เกิด เป็นอย่างไร
บรรดาธรรมเหล่านั้น บาปอกุศลธรรมที่ยังไม่เกิด เป็นไฉน
อกุศลมูล ๓ คือ โลภะ โทสะ โมหะ และกิเลสที่ตั้งอยู่ในฐานเดียวกับอกุศลมูล
นั้น ได้แก่ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ และวิญญาณขันธ์ที่สัมปยุตด้วย
อกุศลมูลนั้น และกายกรรม วจีกรรม มโนกรรมที่มีอกุศลมูลนั้นเป็นสมุฏฐาน
ธรรมเหล่านี้เรียกว่า บาปอกุศลธรรมที่ยังไม่เกิด
ภิกษุสร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่นเพื่อป้องกัน
บาปอกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดมิให้เกิดด้วยประการฉะนี้

เชิงอรรถ :
๑ อภิ.สงฺ. ๓๔/๑๓๗๗/๓๐๖

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๓๒๘ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๘. สัมมัปปธานวิภังค์] ๑. สุตตันตภาชนีย์
[๓๙๒] ในคำว่า สร้างฉันทะ นั้น ฉันทะ เป็นไฉน
ความพอใจ การทำความพอใจ ความเป็นผู้ประสงค์จะทำ ความฉลาด
ความพอใจในธรรม นี้เรียกว่า ฉันทะ
ภิกษุทำฉันทะนี้ให้เกิด ให้เกิดด้วยดี ให้ตั้งขึ้น ให้ตั้งขึ้นด้วยดี ให้บังเกิด ให้
บังเกิดเฉพาะ เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า สร้างฉันทะ
[๓๙๓] ในคำว่า พยายาม นั้น ความพยายาม เป็นไฉน
การปรารภความเพียรทางใจ ฯลฯ สัมมาวายามะ นี้เรียกว่า ความพยายาม
ภิกษุเป็นผู้เข้าไปถึงแล้ว เข้าไปถึงแล้วด้วยดี เข้ามาถึงแล้ว เข้ามาถึงแล้วด้วยดี
เข้าถึงแล้ว เข้าถึงแล้วด้วยดี ประกอบแล้วด้วยความพยายามนี้ เพราะฉะนั้นจึง
เรียกว่า พยายาม
[๓๙๔] ในคำว่า ปรารภความเพียร นั้น ความเพียร เป็นไฉน
การปรารภความเพียรทางใจ ฯลฯ สัมมาวายามะ นี้เรียกว่า ความเพียร
ภิกษุปรารภ ปรารภด้วยดี เสพ เจริญ ทำให้มากซึ่งความเพียรนี้ เพราะ
ฉะนั้นจึงเรียกว่า ปรารภความเพียร
[๓๙๕] ในคำว่า ประคองจิต นั้น จิต เป็นไฉน
จิต มโน มานัส ฯลฯ มโนวิญญาณธาตุที่เหมาะสมกัน นี้เรียกว่า จิต
ภิกษุประคอง ประคองด้วยดี อุปถัมภ์ค้ำชูจิตนี้ เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า
ประคองจิต
[๓๙๖] ในคำว่า มุ่งมั่น นั้น ความมุ่งมั่น๑ เป็นไฉน
การปรารภความเพียรทางใจ ฯลฯ สัมมาวายามะ นี้เรียกว่า ความมุ่งมั่น
ภิกษุเป็นผู้เข้าไปถึงแล้ว ฯลฯ ประกอบแล้วด้วยความมุ่งมั่นนี้ เพราะฉะนั้น
จึงเรียกว่า มุ่งมั่น

เชิงอรรถ :
๑ อรรถกถาขยายเป็น สาตัจจกิริยา หมายถึงการกระทำอย่างต่อเนื่อง (อภิ.วิ.อ. ๓๙๐/๓๑๐)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๓๒๙ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๘.สัมมัปปธานวิภังค์] ๑.สุตตันตภาชนีย์
เพียรละบาปอกุศลธรรมที่เกิดแล้ว
[๓๙๗] ภิกษุสร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิตมุ่งมั่น
เพื่อละบาปอกุศลธรรมที่เกิดแล้ว เป็นอย่างไร
บรรดาธรรมเหล่านั้น บาปอกุศลธรรมที่เกิดแล้ว เป็นไฉน
อกุศลมูล ๓ คือ โลภะ โทสะ โมหะและกิเลสที่ตั้งอยู่ในฐานเดียวกันกับ
อกุศลมูลนั้น ได้แก่ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ที่สัมปยุตด้วย
อกุศลมูลนั้น และกายกรรม วจีกรรม มโนกรรมที่มีอกุศลมูลนั้นเป็นสมุฏฐาน
ธรรมเหล่านี้เรียกว่า บาปอกุศลธรรมที่เกิดแล้ว
ภิกษุสร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่นเพื่อละ
บาปอกุศลธรรมที่เกิดแล้วเหล่านี้ด้วยประการฉะนี้
[๓๙๘] ในคำว่า สร้างฉันทะ นั้น ฉันทะ เป็นไฉน
ความพอใจ การทำความพอใจ ความเป็นผู้ประสงค์จะทำ ความฉลาด ความ
พอใจในธรรม นี้เรียกว่า ฉันทะ
ภิกษุทำฉันทะนี้ให้เกิด ให้เกิดด้วยดี ให้ตั้งขึ้น ให้ตั้งขึ้นด้วยดี ให้บังเกิด
ให้บังเกิดเฉพาะ เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า สร้างฉันทะ
[๓๙๙] ในคำว่า พยายาม นั้น ความพยายาม เป็นไฉน
การปรารภความเพียรทางใจ ฯลฯ สัมมาวายามะ นี้เรียกว่า ความพยายาม
ภิกษุเป็นผู้เข้าไปถึงแล้ว ฯลฯ ประกอบแล้วด้วยความพยายามนี้ เพราะ
ฉะนั้นจึงเรียกว่า พยายาม
[๔๐๐] ในคำว่า ปรารภความเพียร นั้น ความเพียร เป็นไฉน
การปรารภความเพียรทางใจ ฯลฯ สัมมาวายามะ นี้เรียกว่า ความเพียร
ภิกษุปรารภ ปรารภด้วยดี เสพ เจริญ ทำให้มากซึ่งความเพียรนี้ เพราะ
ฉะนั้นจึงเรียกว่า ปรารภความเพียร


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๓๓๐ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๘.สัมมัปปธานวิภังค์] ๑.สุตตันตภาชนีย์
[๔๐๑] ในคำว่า ประคองจิต นั้น จิต เป็นไฉน
จิต มโน มานัส ฯลฯ มโนวิญญาณธาตุที่เหมาะสมกัน นี้เรียกว่า จิต
ภิกษุประคอง ประคองด้วยดี อุปถัมภ์ค้ำชูจิตนี้ เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า
ประคองจิต
[๔๐๒] ในคำว่า มุ่งมั่น นั้น ความมุ่งมั่น เป็นไฉน
การปรารภความเพียรทางใจ ฯลฯ สัมมาวายามะ นี้เรียกว่า ความมุ่งมั่น
ภิกษุเป็นผู้เข้าไปถึงแล้ว ฯลฯ ประกอบแล้วด้วยการตั้งความเพียรนี้ เพราะ
ฉะนั้นจึงเรียกว่า มุ่งมั่น

เพียรสร้างกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดให้เกิด
[๔๐๓] ภิกษุสร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต
มุ่งมั่นเพื่อทำกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดให้เกิด เป็นอย่างไร
บรรดาธรรมเหล่านั้น กุศลธรรมที่ยังไม่เกิด เป็นไฉน
กุศลมูล ๓ คือ อโลภะ อโทสะ และอโมหะ ได้แก่ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์
สังขารขันธ์ และวิญญาณขันธ์ที่สัมปยุตด้วยกุศลมูลนั้น และกายกรรม วจีกรรม
มโนกรรมที่มีกุศลมูลนั้นเป็นสมุฏฐาน ธรรมเหล่านี้เรียกว่า กุศลธรรมที่ยังไม่เกิด
ภิกษุสร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่นเพื่อทำกุศล
ธรรมที่ยังไม่เกิดให้เกิดด้วยประการฉะนี้
[๔๐๔] ในคำว่า สร้างฉันทะ ฯลฯ ในคำว่า พยายาม ฯลฯ ในคำว่า
ปรารภความเพียร ฯลฯ ในคำว่า ประคองจิต ฯลฯ ในคำว่า มุ่งมั่น นั้น
ความมุ่งมั่น เป็นไฉน
การปรารภความเพียรทางใจ ฯลฯ สัมมาวายามะ นี้เรียกว่า ความมุ่งมั่น
ภิกษุเป็นผู้เข้าไปถึงแล้ว ฯลฯ ประกอบแล้วด้วยการตั้งความเพียรนี้ เพราะ
ฉะนั้นจึงเรียกว่า มุ่งมั่น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๓๓๑ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๘.สัมมัปปธานวิภังค์] ๑.สุตตันตภาชนีย์
เพียรรักษากุศลธรรมที่เกิดแล้วไม่ให้เสื่อม
[๔๐๕] ภิกษุสร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต
มุ่งมั่นเพื่อความดำรงอยู่ ไม่เลือนหาย ภิยโยภาพ ไพบูลย์ เจริญเต็มที่แห่ง
กุศลธรรมที่เกิดแล้ว เป็นไฉน
บรรดาธรรมเหล่านั้น กุศลธรรมที่เกิดแล้ว เป็นไฉน
กุศลมูล ๓ คือ อโลภะ อโทสะ และอโมหะ ได้แก่ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์
สังขารขันธ์ และวิญญาณขันธ์ที่สัมปยุตด้วยกุศลมูลนั้น และกายกรรม วจีกรรม
มโนกรรมที่มีกุศลมูลนั้นเป็นสมุฏฐาน ธรรมเหล่านี้เรียกว่า กุศลธรรมที่เกิดแล้ว
ภิกษุสร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่นเพื่อความ
ดำรงอยู่ ไม่เลือนหาย ภิยโยภาพ ไพบูลย์ เจริญเต็มที่แห่งกุศลธรรมที่เกิดแล้วด้วย
ประการฉะนี้
[๔๐๖] คำว่า เพื่อความดำรงอยู่ อธิบายว่า ความดำรงอยู่อันใด นั้นเป็น
ความไม่เลือนหาย ความไม่เลือนหายอันใด นั้นเป็นความภิยโยภาพ ความ
ภิยโยภาพอันใด นั้นเป็นความไพบูลย์ ความไพบูลย์อันใด นั้นเป็นความเจริญ ความ
เจริญอันใด นั้นเป็นความบริบูรณ์
[๔๐๗] ในคำว่า สร้างฉันทะ ฯลฯ ในคำว่า พยายาม ฯลฯ ในคำว่า
ปรารภความเพียร ฯลฯ ในคำว่า ประคองจิต ฯลฯ ในคำว่า มุ่งมั่น นั้น
ความมุ่งมั่น เป็นไฉน
การปรารภความเพียรทางใจ ฯลฯ สัมมาวายามะ นี้เรียกว่า ความมุ่งมั่น
ภิกษุเป็นผู้เข้าไปถึงแล้ว ฯลฯ ประกอบแล้วด้วยการตั้งความเพียรนี้ เพราะ
ฉะนั้นจึงเรียกว่า มุ่งมั่น

สุตตันตภาชนีย์ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๓๓๒ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๘.สัมมัปปธานวิภังค์] ๒.อภิธรรมภาชนีย์
๒. อภิธรรมภาชนีย์
[๔๐๘] สัมมัปปธาน ๔ ได้แก่ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. สร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่น
เพื่อป้องกันสภาวธรรมที่เป็นบาปอกุศลซึ่งยังไม่เกิดมิให้เกิด
๒. สร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่น
เพื่อเพื่อละสภาวธรรมที่เป็นบาปอกุศลธรรมซึ่งเกิดแล้ว
๓. สร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่น
เพื่อเพื่อทำสภาวธรรมที่เป็นกุศลซึ่งยังไม่เกิดให้เกิด
๔. สร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่น
เพื่อเพื่อความดำรงอยู่ ไม่เลือนหาย ภิยโยภาพ ไพบูลย์ เจริญ
เต็มที่แห่งสภาวธรรมที่เป็นกุศลซึ่งเกิดแล้ว

เพียรป้องกันสภาวธรรมที่เป็นบาปอกุศล
ซึ่งยังไม่เกิดมิให้เกิด
[๔๐๙] ภิกษุสร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่น
เพื่อป้องกันสภาวธรรมที่เป็นบาปอกุศลซึ่งยังไม่เกิดมิให้เกิด เป็นไฉน
ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญฌานที่เป็นโลกุตตระซึ่งเป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ให้
ถึงนิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน
ที่เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ภิกษุชื่อว่าสร้างฉันทะ
พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่นเพื่อป้องกันสภาวธรรมที่เป็น
บาปอกุศลซึ่งยังไม่เกิดมิให้เกิด
[๔๑๐] ในคำว่า สร้างฉันทะ นั้น ฉันทะ เป็นไฉน
ความพอใจ การทำความพอใจ ความเป็นผู้ประสงค์จะทำ ความฉลาด ความ
พอใจในธรรม นี้เรียกว่า ฉันทะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๓๓๓ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๘.สัมมัปปธานวิภังค์] ๒.อภิธรรมภาชนีย์
ภิกษุทำฉันทะนี้ให้เกิด ให้เกิดด้วยดี ให้ตั้งขึ้น ให้ตั้งขึ้นด้วยดี ให้บังเกิด
ให้บังเกิดเฉพาะ เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า สร้างฉันทะ
[๔๑๑] ในคำว่า พยายาม นั้น ความพยายาม เป็นไฉน
การปรารภความเพียรทางใจ ความขะมักเขม้น ความบากบั่น ความขวนขวาย
ความพยายาม ความอุตสาหะ ความทนทาน ความเข้มแข็ง ความหมั่น ความ
มุ่งมั่นอย่างไม่ท้อถอย ความไม่ทอดทิ้งฉันทะ ความไม่ทอดทิ้งธุระ ความเอาใจใส่
ธุระด้วยดี วิริยะ วิริยินทรีย์ วิริยพละ สัมมาวายามะ วิริยสัมโพชฌงค์ อันเป็น
องค์มรรค นับเนื่องในมรรค นี้เรียกว่า ความพยายาม
ภิกษุเป็นผู้เข้าไปถึงแล้ว เข้าไปถึงแล้วด้วยดี เข้ามาถึงแล้ว เข้ามาถึงแล้วด้วยดี
เข้าถึงแล้ว เข้าถึงแล้วด้วยดี ประกอบแล้วด้วยความพยายามนี้ เพราะฉะนั้นจึง
เรียกว่า พยายาม
[๔๑๒] ในคำว่า ปรารภความเพียร นั้น ความเพียร เป็นไฉน
การปรารภความเพียรทางใจ ฯลฯ สัมมาวายามะ วิริยสัมโพชฌงค์ อันเป็น
องค์มรรค นับเนื่องในมรรค นี้เรียกว่า ความเพียร
ภิกษุปรารภ ปรารภด้วยดี เสพ เจริญ ทำให้มากซึ่งความเพียรนี้ เพราะฉะนั้น
จึงเรียกว่า ปรารภความเพียร
[๔๑๓] ในคำว่า ประคองจิต นั้น จิต เป็นไฉน
จิต มโน มานัส ฯลฯ มโนวิญญาณธาตุที่เหมาะสมกัน นี้เรียกว่า จิต
ภิกษุประคอง ประคองด้วยดี อุปถัมภ์ค้ำชูจิตนี้ เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า
ประคองจิต
[๔๑๔] ในคำว่า มุ่งมั่น นั้น สัมมัปปธาน (ความมุ่งมั่นโดยชอบ) เป็นไฉน
การปรารภความเพียรทางใจ ฯลฯ สัมมาวายามะ วิริยสัมโพชฌงค์ อัน
เป็นองค์มรรค นับเนื่องในมรรค นี้เรียกว่า สัมมัปปธาน สภาวธรรมที่เหลือชื่อว่า
สัมปยุตด้วยสัมมัปปธาน


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๓๓๔ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๘.สัมมัปปธานวิภังค์] ๒.อภิธรรมภาชนีย์
เพียรละสภาวธรรมที่เป็นบาปอกุศลซึ่งเกิดแล้ว
[๔๑๕] ภิกษุสร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่น
เพื่อละสภาวธรรมที่เป็นบาปอกุศลซึ่งเกิดแล้ว เป็นอย่างไร
ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญฌานที่เป็นโลกุตตระซึ่งเป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์
ให้ถึงนิพพานเพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน
ที่เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ภิกษุชื่อว่าสร้างฉันทะ
พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่นเพื่อละสภาวธรรมที่เป็นบาปอกุศล
ซึ่งเกิดแล้ว
[๔๑๖] ในคำว่า สร้างฉันทะ ฯลฯ ในคำว่า พยายาม ฯลฯ ในคำ
ว่า ปรารภความเพียร ฯลฯ ในคำว่า ประคองจิต ฯลฯ ในคำว่า มุ่งมั่น นั้น
สัมมัปปธาน เป็นไฉน
การปรารภความเพียรทางใจ ฯลฯ สัมมาวายามะ วิริยสัมโพชฌงค์ อันเป็น
องค์มรรค นับเนื่องในมรรค นี้เรียกว่า สัมมัปปธาน สภาวธรรมที่เหลือชื่อว่า
สัมปยุตด้วยสัมมัปปธาน

เพียรสร้างสภาวธรรมที่เป็นกุศลซึ่งยังไม่เกิดให้เกิด
[๔๑๗] ภิกษุสร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่น
เพื่อทำสภาวธรรมที่เป็นกุศลซึ่งยังไม่เกิดให้เกิด เป็นอย่างไร
ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญฌานที่เป็นโลกุตตระซึ่งเป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ให้
ถึงนิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน
ที่เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ภิกษุชื่อว่าสร้างฉันทะ
พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่นเพื่อทำกุศลธรรมซึ่งยังไม่เกิด
ให้เกิด
[๔๑๘] ในคำว่า สร้างฉันทะ ฯลฯ ในคำว่า พยายาม ฯลฯ ในคำว่า
ปรารภความเพียร ฯลฯ ในคำว่า ประคองจิต ฯลฯ ในคำว่า มุ่งมั่น นั้น
สัมมัปปธาน เป็นไฉน


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๓๓๕ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๘.สัมมัปปธานวิภังค์] ๒.อภิธรรมภาชนีย์
การปรารภความเพียรทางใจ ฯลฯ สัมมาวายามะ วิริยสัมโพชฌงค์ อันเป็น
องค์มรรค นับเนื่องในมรรค นี้เรียกว่า สัมมัปปธาน สภาวธรรมที่เหลือชื่อว่า
สัมปยุตด้วยสัมมัปปธาน

เพียรรักษาสภาวธรรมที่เป็นกุศลซึ่งเกิดแล้วไม่ให้เสื่อม
[๔๑๙] ภิกษุสร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่น
เพื่อความดำรงอยู่ ไม่เลือนหาย ภิยโยภาพ ไพบูลย์ เจริญเต็มที่แห่ง
สภาวธรรมที่เป็นกุศลซึ่งเกิดแล้ว เป็นไฉน
ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญฌานที่เป็นโลกุตตระซึ่งเป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ให้
ถึงนิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน
ที่เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ภิกษุชื่อว่าสร้างฉันทะ
พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่นเพื่อความดำรงอยู่ไม่เลือนหาย
ภิยโยภาพ ไพบูลย์ เจริญเต็มที่แห่งสภาวธรรมที่เป็นกุศลซึ่งเกิดแล้ว
[๔๒๐] คำว่า เพื่อความดำรงอยู่ อธิบายว่า ความดำรงอยู่อันใด นั้น
เป็นความไม่เลอะเลือน ความไม่เลอะเลือนอันใด นั้นเป็นความภิยโยภาพ ความ
ภิยโยภาพอันใด นั้นเป็นความไพบูลย์ ความไพบูลย์อันใด นั้นเป็นความเจริญ ความ
เจริญอันใด นั้นเป็นความบริบูรณ์
[๔๒๑] ในคำว่า สร้างฉันทะ นั้น ฉันทะ เป็นไฉน
ความพอใจ การทำความพอใจ ความเป็นผู้ประสงค์จะทำ ความฉลาด ความ
พอใจในธรรม นี้เรียกว่า ฉันทะ
ภิกษุทำฉันทะให้เกิด ให้เกิดด้วยดี ให้ตั้งขึ้น ให้ตั้งขึ้นด้วยดี ให้บังเกิด
ให้บังเกิดเฉพาะ เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า สร้างฉันทะ
[๔๒๒] ในคำว่า พยายาม นั้น ความพยายาม เป็นไฉน
การปรารภความเพียรทางใจ ฯลฯ สัมมาวายามะ วิริยสัมโพชฌงค์ อัน
เป็นองค์มรรค นับเนื่องในมรรค นี้เรียกว่า ความพยายาม


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๓๓๖ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๘.สัมมัปปธานวิภังค์] ๒.อภิธรรมภาชนีย์
ภิกษุเป็นผู้เข้าไปถึงแล้ว ฯลฯ ประกอบแล้วด้วยความพยายามนี้ เพราะฉะนั้น
จึงเรียกว่า พยายาม
[๔๒๓] ในคำว่า ปรารภความเพียร นั้น ความเพียร เป็นไฉน
การปรารภความเพียรทางใจ ฯลฯ สัมมาวายามะ วิริยสัมโพชฌงค์ อันเป็น
องค์มรรค นับเนื่องในมรรค นี้เรียกว่า ความเพียร
ภิกษุปรารภ ปรารภด้วยดี เสพ เจริญ ทำให้มากซึ่งความเพียรนี้ เพราะ
ฉะนั้นจึงเรียกว่า ปรารภความเพียร
[๔๒๔] ในคำว่า ประคองจิต นั้น จิต เป็นไฉน
จิต มโน มานัส ฯลฯ มโนวิญญาณธาตุที่เหมาะสมกัน นี้เรียกว่า จิต
ภิกษุประคอง ประคองด้วยดี อุปถัมภ์ค้ำชูจิตนี้ เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า
ประคองจิต
[๔๒๕] ในคำว่า มุ่งมั่น นั้น สัมมัปปธาน เป็นไฉน
การปรารภความเพียรทางใจ ฯลฯ สัมมาวายามะ วิริยสัมโพชฌงค์ อัน
เป็นองค์มรรค นับเนื่องในมรรค นี้เรียกว่า สัมมัปปธาน สภาวธรรมที่เหลือชื่อว่า
สัมปยุตด้วยสัมมัปปธาน
[๔๒๖] บรรดาธรรมเหล่านั้น สัมมัปปธาน เป็นไฉน
ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญฌานที่เป็นโลกุตตระซึ่งเป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ให้
ถึงนิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน
ที่เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น การปรารภความเพียร
ทางใจ ฯลฯ สัมมาวายามะ วิริยสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์มรรค นับเนื่องในมรรค
นี้เรียกว่า สัมมัปปธาน สภาวธรรมที่เหลือชื่อว่าสัมปยุตด้วยสัมมัปปธาน
อภิธรรมภาชนีย์ จบ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๓๓๗ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๘.สัมมัปปธานวิภังค์] ๓.ปัญหาปุจฉกะ ๑.ติกมาติกาวิสัชนา
๓. ปัญหาปุจฉกะ
[๔๒๗] สัมมัปปธาน ๔ ได้แก่ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. สร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่น
เพื่อป้องกันสภาวธรรมที่เป็นบาปอกุศลซึ่งยังไม่เกิดมิให้เกิด
๒. สร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่น
เพื่อละสภาวธรรมที่เป็นบาปอกุศลซึ่งเกิดแล้ว
๓. สร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่น
เพื่อทำสภาวธรรมที่เป็นกุศลซึ่งยังไม่เกิดให้เกิด
๔. สร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่น
เพื่อความดำรงอยู่ ไม่เลือนหาย ภิยโยภาพ ไพบูลย์ เจริญเต็มที่
แห่งสภาวธรรมที่เป็นกุศลซึ่งเกิดแล้ว

ติกมาติกาปุจฉา ทุกมาติกาปุจฉา
[๔๒๘] บรรดาสัมมัปปธาน ๔ สัมมัปปธานเท่าไรเป็นกุศล เท่าไรเป็นอกุศล
เท่าไรเป็นอัพยากฤต ฯลฯ เท่าไรเป็นเหตุให้สัตว์ร้องไห้ เท่าไรไม่เป็นเหตุให้สัตว์
ร้องไห้

๑. ติกมาติกาวิสัชนา
๑-๒๒. กุสลติกาทิวิสัชนา
[๔๒๙] สัมมัปปธาน ๔ เป็นกุศลอย่างเดียว
สัมมัปปธาน ๔ ที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาก็มี ที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา
ก็มี
สัมมัปปธาน ๔ เป็นเหตุให้เกิดวิบาก
สัมมัปปธาน ๔ กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือและไม่เป็น
อารมณ์ของอุปาทาน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๓๓๘ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๘.สัมมัปปธานวิภังค์] ๓.ปัญหาปุจฉกะ ๑.ติกมาติกาวิสัชนา
สัมมัปปธาน ๔ กิเลสไม่ทำให้เศร้าหมองและไม่เป็นอารมณ์ของกิเลส
สัมมัปปธาน ๔ ที่มีทั้งวิตกและวิจารก็มี ที่ไม่มีวิตกมีเพียงวิจารก็มี ที่ไม่มี
ทั้งวิตกและวิจารก็มี
สัมมัปปธาน ๔ ที่สหรคตด้วยปีติก็มี ที่สหรคตด้วยสุขก็มี ที่สหรคตด้วย
อุเบกขาก็มี
สัมมัปปธาน ๔ ไม่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคและมรรคเบื้องบน ๓
สัมมัปปธาน ๔ ไม่มีเหตุต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคและมรรคเบื้องบน ๓
สัมมัปปธาน ๔ เป็นเหตุให้ถึงนิพพาน
สัมมัปปธาน ๔ เป็นของเสขบุคคล
สัมมัปปธาน ๔ เป็นอัปปมาณะ
สัมมัปปธาน ๔ มีอัปปมาณะเป็นอารมณ์
สัมมัปปธาน ๔ เป็นชั้นประณีต
สัมมัปปธาน ๔ มีสภาวะชอบและให้ผลแน่นอน
สัมมัปปธาน ๔ ไม่ใช่มีมรรคเป็นอารมณ์
สัมมัปปธาน ๔ มีมรรคเป็นเหตุ
สัมมัปปธาน ๔ ที่มีมรรคเป็นอธิบดีก็มี ที่กล่าวไม่ได้ว่า มีมรรคเป็นอธิบดีก็มี
สัมมัปปธาน ๔ ที่เกิดขึ้นก็มี ที่ยังไม่เกิดขึ้นก็มี แต่กล่าวไม่ได้ว่า จักเกิดขึ้น
แน่นอน
สัมมัปปธาน ๔ ที่เป็นอดีตก็มี ที่เป็นอนาคตก็มี ที่เป็นปัจจุบันก็มี ที่กล่าว
ไม่ได้ว่า มีอดีตธรรมเป็นอารมณ์ มีอนาคตธรรมเป็นอารมณ์ หรือมีปัจจุบันธรรม
เป็นอารมณ์ก็มี
สัมมัปปธาน ๔ ที่เป็นภายในตนก็มี ที่เป็นภายนอกตนก็มี ที่เป็นภายในตน
และภายนอกตนก็มี
สัมมัปปธาน ๔ มีธรรมภายนอกตนเป็นอารมณ์
สัมมัปปธาน ๔ เห็นไม่ได้และกระทบไม่ได้


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๓๓๙ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๘.สัมมัปปธานวิภังค์] ๓.ปัญหาปุจฉกะ ๒.ทุกมาติกาวิสัชนา
๒. ทุกมาติกาวิสัชนา
๑. เหตุโคจฉกวิสัชนา
[๔๓๐] สัมมัปปธาน ๔ ไม่เป็นเหตุ แต่มีเหตุ
สัมมัปปธาน ๔ สัมปยุตด้วยเหตุ แต่กล่าวไม่ได้ว่า เป็นเหตุและมีเหตุ หรือ
มีเหตุแต่ไม่เป็นเหตุ
สัมมัปปธาน ๔ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นเหตุและสัมปยุตด้วยเหตุ หรือสัมปยุตด้วย
เหตุแต่ไม่เป็นเหตุ สัมมัปปธาน ๔ ไม่เป็นเหตุแต่มีเหตุ

๒. จูฬันตรทุกวิสัชนา
สัมมัปปธาน ๔ มีปัจจัยปรุงแต่ง สัมมัปปธาน ๔ ถูกปัจจัยปรุงแต่ง
สัมมัปปธาน ๔ เห็นไม่ได้ สัมมัปปธาน ๔ กระทบไม่ได้
สัมมัปปธาน ๔ ไม่เป็นรูป สัมมัปปธาน ๔ เป็นโลกุตตระ
สัมมัปปธาน ๔ จิตบางดวงรู้ได้ สัมมัปปธาน ๔ จิตบางดวงรู้ไม่ได้

๓. อาสวโคจฉกวิสัชนา
สัมมัปปธาน ๔ ไม่เป็นอาสวะ สัมมัปปธาน ๔ ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะ
สัมมัปปธาน ๔ วิปปยุตจากอาสวะ สัมมัปปธาน ๔ กล่าวไม่ได้ว่า เป็น
อาสวะและเป็นอารมณ์ของอาสวะ หรือเป็นอารมณ์ของอาสวะแต่ไม่เป็นอาสวะ
สัมมัปปธาน ๔ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นอาสวะและสัมปยุตด้วยอาสวะ หรือ
สัมปยุตด้วยอาสวะแต่ไม่เป็นอาสวะ
สัมมัปปธาน ๔ วิปปยุตจากอาสวะและไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะ

๔-๑๐. สัญโญชนโคจฉกาทิวิสัชนา
สัมมัปปธาน ๔ ไม่เป็นสังโยชน์ ฯลฯ ไม่เป็นคันถะ ฯลฯ ไม่เป็นโอฆะ
ฯลฯ ไม่เป็นโยคะ ฯลฯ ไม่เป็นนิวรณ์ ฯลฯ ไม่เป็นปรามาส ฯลฯ
สัมมัปปธาน ๔ รับรู้อารมณ์ได้ สัมมัปปธาน ๔ ไม่เป็นจิต
สัมมัปปธาน ๔ เป็นเจตสิก สัมมัปปธาน ๔ สัมปยุตด้วยจิต
สัมมัปปธาน ๔ ระคนกับจิต สัมมัปปธาน ๔ มีจิตเป็นสมุฏฐาน


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๓๔๐ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๘.สัมมัปปธานวิภังค์] ๓.ปัญหาปุจฉกะ ๒.ทุกมาติกาวิสัชนา
สัมมัปปธาน ๔ เกิดพร้อมกับจิต สัมมัปปธาน ๔ เป็นไปตามจิต
สัมมัปปธาน ๔ ระคนกับจิตและมีจิตเป็นสมุฏฐาน สัมมัปปธาน ๔ ระคน
กับจิตมีจิตเป็นสมุฏฐานและเกิดพร้อมกับจิต
สัมมัปปธาน ๔ ระคนกับจิตมีจิตเป็นสมุฏฐานและเป็นไปตามจิต สัมมัปปธาน
๔ เป็นภายนอก
สัมมัปปธาน ๔ ไม่เป็นอุปาทายรูป สัมมัปปธาน ๔ กรรมอันประกอบด้วย
ตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือ

๑๑-๑๓. อุปาทานาโคจฉกาทิวิสัชนา
สัมมัปปธาน ๔ ไม่เป็นอุปาทาน ฯลฯ ไม่เป็นกิเลส ฯลฯ
สัมมัปปธาน ๔ ไม่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคและมรรคเบื้องบน ๓
สัมมัปปธาน ๔ ไม่มีเหตุต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคและมรรคเบื้องบน ๓
สัมมัปปธาน ๔ ที่มีวิตกก็มี ที่ไม่มีวิตกก็มี
สัมมัปปธาน ๔ ที่มีวิจารก็มี ที่ไม่มีวิจารก็มี
สัมมัปปธาน ๔ ที่มีปีติก็มี ที่ไม่มีปีติก็มี
สัมมัปปธาน ๔ ที่สหรคตด้วยปีติก็มี ที่ไม่สหรคตด้วยปีติก็มี
สัมมัปปธาน ๔ ที่สหรคตด้วยสุขก็มี ที่ไม่สหรคตด้วยสุขก็มี
สัมมัปปธาน ๔ ที่สหรคตด้วยอุเบกขาก็มี ที่ไม่สหรคตด้วยอุเบกขาก็มี
สัมมัปปธาน ๔ ไม่เป็นกามาวจร
สัมมัปปธาน ๔ ไม่เป็นรูปาวจร
สัมมัปปธาน ๔ ไม่เป็นอรูปาวจร
สัมมัปปธาน ๔ ไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์
สัมมัปปธาน ๔ เป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์
สัมมัปปธาน ๔ ให้ผลแน่นอน
สัมมัปปธาน ๔ ไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า
สัมมัปปธาน ๔ ไม่เป็นเหตุให้สัตว์ร้องไห้
ปัญหาปุจฉกะ จบ
สัมมัปปธานวิภังค์ จบบริบูรณ์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๓๔๑ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๙. อิทธิปาทวิภังค์] ๑. สุตตันตภาชนีย์ ๑. ฉันทิทธิบาท
๙. อิทธิปาทวิภังค์
๑. สุตตันตภาชนีย์
[๔๓๑] อิทธิบาท ๔๑ ได้แก่ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยฉันทสมาธิและปธานสังขาร
๒. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยวิริยสมาธิและปธานสังขาร
๓. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยจิตตสมาธิและปธานสังขาร
๔. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยวิมังสาสมาธิและปธานสังขาร

๑. ฉันทิทธิบาท
[๔๓๒] ภิกษุเจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยฉันทสมาธิและปธานสังขาร
เป็นอย่างไร
ถ้าภิกษุทำฉันทะให้เป็นอธิบดีแล้วได้สมาธิ ได้เอกัคคตาจิต นี้เรียกว่า ฉันท-
สมาธิ
ภิกษุนั้นสร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่นเพื่อ
ป้องกันบาปอกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดมิให้เกิด
ภิกษุนั้นสร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่นเพื่อละ
บาปอกุศลธรรมที่เกิดแล้ว
ภิกษุนั้นสร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่นเพื่อ
ยังกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดให้เกิด
ภิกษุนั้นสร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่นเพื่อ
ความดำรงอยู่ ไม่เลือนหาย ภิยโยภาพ ไพบูลย์ เจริญเต็มที่แห่งกุศลธรรมที่เกิดแล้ว
ธรรมเหล่านี้เรียกว่า ปธานสังขาร
ประมวลย่อฉันทสมาธิและปธานสังขารเข้าเป็นอย่างเดียวกัน จึงนับได้ว่า
ฉันทสมาธิและปธานสังขาร ด้วยประการฉะนี้

เชิงอรรถ :
๑ อภิ.วิ.อ. ๔๓๑/๓๒๕

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๓๔๒ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๙. อิทธิปาทวิภังค์] ๑. สุตตันตภาชนีย์ ๑. ฉันทิทธิบาท
[๔๓๓] บรรดาธรรมเหล่านั้น ฉันทะ เป็นไฉน
ความพอใจ การทำความพอใจ ความเป็นผู้ประสงค์จะทำ ความฉลาด ความ
พอใจในธรรม นี้เรียกว่า ฉันทะ
สมาธิ เป็นไฉน
ความตั้งอยู่ ความดำรงอยู่ ความตั้งมั่น ความไม่ส่ายไป ความไม่ฟุ้งซ่าน
แห่งจิต ภาวะที่จิตไม่ซัดส่าย สมถะ สมาธินทรีย์ สมาธิพละ สัมมาสมาธิ นี้เรียกว่า
สมาธิ
ปธานสังขาร เป็นไฉน
การปรารภความเพียรทางใจ ความขะมักเขม้น ความบากบั่น ความขวนขวาย
ความพยายาม ความอุตสาหะ ความทนทาน ความเข้มแข็ง ความหมั่น ความ
มุ่งมั่นอย่างไม่ท้อถอย ความไม่ทอดทิ้งฉันทะ ความไม่ทอดทิ้งธุระ ความเอาใจใส่
ธุระ วิริยะ วิริยินทรีย์ วิริยพละ สัมมาวายามะ นี้เรียกว่า ปธานสังขาร
ภิกษุเป็นผู้เข้าไปถึงแล้ว เข้าไปถึงแล้วด้วยดี เข้ามาถึงแล้ว เข้ามาถึงแล้วด้วยดี
เข้าถึงแล้ว เข้าถึงแล้วด้วยดี ประกอบแล้วด้วยฉันทสมาธิและปธานสังขารนี้ ด้วย
ประการฉะนี้ เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า ประกอบด้วยฉันทสมาธิปธานสังขาร
[๔๓๔] คำว่า อิทธิ มีอธิบายว่า ความสำเร็จ ความสำเร็จด้วยดี กิริยาที่
สำเร็จ กิริยาที่สำเร็จด้วยดี ความได้ ความได้เฉพาะ ความถึง ความถึงด้วยดี
ความถูกต้อง การทำให้แจ้ง ความเข้าถึงธรรมเหล่านั้น
คำว่า อิทธิบาท มีอธิบายว่า เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ และ
วิญญาณขันธ์ของบุคคลผู้เป็นอย่างนั้น๑
คำว่า เจริญอิทธิบาท มีอธิบายว่า ภิกษุเสพ เจริญ ทำให้มากซึ่งธรรม
เหล่านั้น เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า เจริญอิทธิบาท

เชิงอรรถ :
๑ อรรถกถาอธิบายว่า ผู้เป็นโดยอาการนั้น คือผู้ได้ธรรมที่มีฉันทะเป็นต้น (อภิ.วิ.อ. ๔๓๓/๓๒๖)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๓๔๓ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๙.อิทธิปาทวิภังค์] ๑.สุตตันตภาชนีย์ ๒. วิริยิทธิบาท
๒. วิริยิทธิบาท
[๔๓๕] ภิกษุเจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยวิริยสมาธิและปธานสังขาร
เป็นอย่างไร
ถ้าภิกษุทำวิริยะให้เป็นอธิบดีแล้วได้สมาธิ ได้เอกัคคตาจิต นี้เรียกว่า วิริย-
สมาธิ
ภิกษุนั้นสร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่นเพื่อ
ป้องกันบาปอกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดมิให้เกิด
ฯลฯ เพื่อละบาปอกุศลธรรมที่เกิดแล้ว
ฯลฯ เพื่อยังกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดให้เกิด
ภิกษุนั้นสร้างฉันทะพยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่นเพื่อความ
ดำรงอยู่ ไม่เลือนหาย ภิยโยภาพ ไพบูลย์ เจริญเต็มที่แห่งกุศลธรรมที่เกิดแล้ว
ธรรมเหล่านี้เรียกว่า ปธานสังขาร
ประมวลย่อวิริยสมาธิและปธานสังขารเข้าเป็นอย่างเดียวกัน จึงนับได้ว่า
วิริยสมาธิและปธานสังขาร ด้วยประการฉะนี้
[๔๓๖] บรรดาธรรมเหล่านั้น วิริยะ เป็นไฉน
การปรารภความเพียรทางใจ ฯลฯ สัมมาวายามะ นี้เรียกว่า วิริยะ
สมาธิ เป็นไฉน
ความตั้งอยู่ ความดำรงอยู่ ความตั้งมั่น ความไม่ส่ายไป ความไม่ฟุ้งซ่าน
แห่งจิต ภาวะที่จิตไม่ซัดส่าย สมถะ สมาธินทรีย์ สมาธิพละ สัมมาสมาธิ นี้
เรียกว่า สมาธิ
ปธานสังขาร เป็นไฉน
การปรารภความเพียรทางใจ ฯลฯ สัมมาวายามะ นี้เรียกว่า ปธานสังขาร
ภิกษุเป็นผู้เข้าไปถึงแล้ว ฯลฯ ประกอบแล้วด้วยวิริยสมาธิและปธานสังขารนี้
ด้วยประการฉะนี้ เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า ประกอบด้วยวิริยสมาธิและปธานสังขาร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๓๔๔ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๙.อิทธิปาทวิภังค์] ๑.สุตตันตภาชนีย์ ๓.จิตติทธิบาท
[๔๓๗] คำว่า อิทธิ มีอธิบายว่า ความสำเร็จ ความสำเร็จด้วยดี กิริยาที่
สำเร็จ กิริยาที่สำเร็จด้วยดี ความได้ ความได้เฉพาะ ความถึง ความถึงด้วยดี
ความถูกต้อง การทำให้แจ้ง ความเข้าถึงธรรมเหล่านั้น
คำว่า อิทธิบาท มีอธิบายว่า เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ และ
วิญญาณขันธ์ของบุคคลผู้เป็นอย่างนั้น
คำว่า เจริญอิทธิบาท มีอธิบายว่า ภิกษุเสพ เจริญ ทำให้มากซึ่งธรรม
เหล่านั้น เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า เจริญอิทธิบาท

๓. จิตติทธิบาท
[๔๓๘] ภิกษุเจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยจิตตสมาธิและปธานสังขาร เป็น
อย่างไร
ถ้าภิกษุทำจิตให้เป็นอธิบดีแล้วได้สมาธิ ได้เอกัคคตาจิต นี้เรียกว่า จิตต-
สมาธิ
ภิกษุนั้นสร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่นเพื่อ
ป้องกันบาปอกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดมิให้เกิด
ฯลฯ เพื่อละบาปอกุศลธรรมอันเกิดแล้ว
ฯลฯ เพื่อทำกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดให้เกิด
ภิกษุนั้นสร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่นเพื่อ
ความดำรงอยู่ ไม่เลือยหาย ภิยโยภาพ ไพบูลย์ เจริญเต็มที่แห่งกุศลธรรมที่เกิด
ขึ้นแล้ว ธรรมเหล่านี้เรียกว่า ปธานสังขาร
ประมวลย่อจิตตสมาธิและปธานสังขารเข้าเป็นอย่างเดียวกัน จึงนับได้ว่า
จิตตสมาธิและปธานสังขาร
[๔๓๙] บรรดาธรรมเหล่านั้น จิต เป็นไฉน
จิต มโน มานัส ฯลฯ มโนวิญญาณธาตุที่เหมาะสมกัน นี้เรียกว่า จิต


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๓๔๕ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๙.อิทธิปาทวิภังค์] ๑.สุตตันตภาชนีย์ ๔.วิมังสิทธิบาท
สมาธิ เป็นไฉน
ความตั้งอยู่แห่งจิต ฯลฯ สัมมาสมาธิ นี้เรียกว่า สมาธิ
ปธานสังขาร เป็นไฉน
การปรารภความเพียรทางใจ ฯลฯ สัมมาวายามะ นี้เรียกว่า ปธานสังขาร
ภิกษุเป็นผู้เข้าไปถึงแล้ว ฯลฯ ประกอบแล้วด้วยจิตนี้ ด้วยสมาธินี้และด้วย
ปธานสังขารนี้ ด้วยประการฉะนี้ เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่าประกอบด้วยจิตตสมาธิ
ปธานสังขาร
[๔๔๐] คำว่า อิทธิ มีอธิบายว่า ความสำเร็จ ความสำเร็จด้วยดี กิริยาที่
สำเร็จ กิริยาที่สำเร็จด้วยดี ความได้ ความได้เฉพาะ ความถึง ความถึงด้วยดี
ความถูกต้อง การทำให้แจ้ง ความเข้าถึงธรรมเหล่านั้น
คำว่า อิทธิบาท มีอธิบายว่า เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ และ
วิญญาณขันธ์ของบุคคลผู้เป็นอย่างนั้น
คำว่า เจริญอิทธิบาท มีอธิบายว่า ภิกษุเสพ เจริญ ทำให้มากซึ่งธรรม
เหล่านั้น เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า เจริญอิทธิบาท

๔. วิมังสิทธิบาท
[๔๔๑] ภิกษุเจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยวิมังสาสมาธิและปธานสังขาร
เป็นอย่างไร
ถ้าภิกษุทำวิมังสาให้เป็นอธิบดีแล้วได้สมาธิ ได้เอกัคคตาจิต นี้เรียกว่า
วิมังสาสมาธิ
ภิกษุนั้นสร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่นเพื่อ
ป้องกันบาปอกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดมิให้เกิด
ฯลฯ เพื่อละบาปอกุศลธรรมที่เกิดแล้ว
ฯลฯ เพื่อยังกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดให้เกิด


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๓๔๖ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๙.อิทธิปาทวิภังค์] ๑.สุตตันตภาชนีย์ ๔.วิมังสิทธิบาท
ภิกษุนั้นสร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่นเพื่อ
ความดำรงอยู่ ไม่เลือนหาย ภิยโยภาพ ไพบูลย์ เจริญเต็มที่แห่งกุศลธรรมที่เกิดแล้ว
ธรรมเหล่านี้เรียกว่า ปธานสังขาร
ประมวลย่อวิมังสาสมาธิและปธานสังขารเข้าเป็นอย่างเดียวกัน จึงนับได้ว่า
วิมังสาสมาธิและปธานสังขาร
[๔๔๒] บรรดาธรรมเหล่านั้น วิมังสา เป็นไฉน
ปัญญา ความรู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลงงมงาย ความเลือกเฟ้นธรรม สัมมา-
ทิฏฐิ นี้เรียกว่า วิมังสา
สมาธิ เป็นไฉน
ความตั้งอยู่แห่งจิต ฯลฯ สัมมาสมาธิ นี้เรียกว่า สมาธิ
ปธานสังขาร เป็นไฉน
การปรารภความเพียรทางใจ ฯลฯ สัมมาวายามะ นี้เรียกว่า ปธานสังขาร
ภิกษุเป็นผู้เข้าไปถึงแล้ว ฯลฯ ประกอบแล้วด้วยวิมังสาสมาธิและปธาน-
สังขารนี้ ด้วยประการฉะนี้ เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า ประกอบด้วยวิมังสาสมาธิและ
ปธานสังขาร
[๔๔๓] คำว่า อิทธิ มีอธิบายว่า ความสำเร็จ ความสำเร็จด้วยดี กิริยาที่
สำเร็จ กิริยาที่สำเร็จด้วยดี ความได้ ความได้เฉพาะ ความถึง ความถึงด้วยดี
ความถูกต้อง การทำให้แจ้ง ความเข้าถึงธรรมเหล่านั้น
คำว่า อิทธิบาท มีอธิบายว่า เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ และ
วิญญาณขันธ์ของบุคคลผู้เป็นอย่างนั้น
คำว่า เจริญอิทธิบาท มีอธิบายว่า ภิกษุเสพ เจริญ ทำให้มากซึ่งธรรม
เหล่านั้น เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า เจริญอิทธิบาท

สุตตันตภาชนีย์ จบ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๓๔๗ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๙.อิทธิปาทวิภังค์] ๒.อภิธรรมภาชนีย์ ๑. ฉันทิทธิบาท
๒. อภิธรรมภาชนีย์
[๔๔๔] อิทธิบาท ๔ ได้แก่ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยฉันทสมาธิและปธานสังขาร
๒. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยวิริยสมาธิและปธานสังขาร
๓. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยจิตตสมาธิและปธานสังขาร
๔. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยวิมังสาสมาธิและปธานสังขาร

๑. ฉันทิทธิบาท
[๔๔๕] ภิกษุเจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยฉันทสมาธิและปธานสังขาร
เป็นอย่างไร
ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญฌานที่เป็นโลกุตตระซึ่งเป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์๑
ให้ถึงนิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐม-
ฌานที่เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา๒ อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ภิกษุชื่อว่าเจริญ
อิทธิบาทที่ประกอบด้วยฉันทสมาธิและปธานสังขาร
[๔๔๖] บรรดาสภาวธรรมเหล่านั้น ฉันทะ เป็นไฉน
ความพอใจ การทำความพอใจ ความเป็นผู้ประสงค์จะทำ ความฉลาด ความ
พอใจในธรรม นี้เรียกว่า ฉันทะ
สมาธิ เป็นไฉน
ความตั้งมั่นแห่งจิต ฯลฯ สัมมาสมาธิ สมาธิสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์มรรค
นับเนื่องในมรรค นี้เรียกว่า สมาธิ
ปธานสังขาร เป็นไฉน
การปรารภความเพียรทางใจ ฯลฯ สัมมาวายามะ วิริยสัมโพชฌงค์ อันเป็น
องค์มรรค นับเนื่องในมรรค นี้เรียกว่า ปธานสังขาร

เชิงอรรถ :
๑ อภิ.สงฺ.อ. ๘๓-๑๐๐/๙๘,๒๗๗/๒๗๐ ๒ อภิ.สงฺ.อ. ๒๗๗/๒๗๑

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๓๔๘ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๙.อิทธิปาทวิภังค์] ๒.อภิธรรมภาชนีย์ ๒.วิริยิทธิบาท
ภิกษุเป็นผู้เข้าไปถึงแล้ว ฯลฯ ประกอบแล้วด้วยฉันทสมาธิและปธานสังขารนี้
ด้วยประการฉะนี้ เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า ประกอบด้วยฉันทสมาธิและปธานสังขาร
[๔๔๗] คำว่า อิทธิ มีอธิบายว่า ความสำเร็จ ความสำเร็จด้วยดี กิริยาที่
สำเร็จ กิริยาที่สำเร็จด้วยดี ความได้ ความได้เฉพาะ ความถึง ความถึงด้วยดี
ความถูกต้อง การทำให้แจ้ง ความเข้าถึงสภาวธรรมเหล่านั้น
คำว่า อิทธิบาท มีอธิบายว่า ความกระทบ ฯลฯ การประคอง ความไม่
ฟุ้งซ่านของบุคคลผู้เป็นอย่างนั้น
คำว่า เจริญอิทธิบาท มีอธิบายว่า ภิกษุเสพ เจริญ ทำให้มากซึ่งสภาวธรรม
เหล่านั้น เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า เจริญอิทธิบาท

๒. วิริยิทธิบาท
[๔๔๘] ภิกษุเจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยวิริยสมาธิและปธานสังขาร
เป็นอย่างไร
ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญฌานที่เป็นโลกุตตระซึ่งเป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ให้
ถึงนิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน
ที่เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญ อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ภิกษุชื่อว่าเจริญ
อิทธิบาทที่ประกอบด้วยวิริยสมาธิและปธานสังขาร
[๔๔๙] บรรดาสภาวธรรมเหล่านั้น วิริยะ เป็นไฉน
การปรารภความเพียรทางใจ ฯลฯ สัมมาวายามะ วิริยสัมโพชฌงค์ อันเป็น
องค์มรรค นับเนื่องในมรรค นี้เรียกว่า วิริยะ
สมาธิ เป็นไฉน
ความตั้งมั่นแห่งจิต ฯลฯ สัมมาสมาธิ สมาธิสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์มรรค
นับเนื่องในมรรค นี้เรียกว่า สมาธิ
ปธานสังขาร เป็นไฉน
การปรารภความเพียรทางใจ ฯลฯ สัมมาวายามะ วิริยสัมโพชฌงค์ อันเป็น
องค์มรรค นับเนื่องในมรรค นี้เรียกว่า ปธานสังขาร


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๓๔๙ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๙.อิทธิปาทวิภังค์] ๒.อภิธรรมภาชนีย์ ๓. จิตติทธิบาท
ภิกษุเป็นผู้เข้าไปถึงแล้ว ฯลฯ ประกอบแล้วด้วยวิริยสมาธิและปธานสังขารนี้
ด้วยประการฉะนี้ เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า ประกอบด้วยวิริยสมาธิและปธานสังขาร
[๔๕๐] คำว่า อิทธิ มีอธิบายว่า ความสำเร็จ ความสำเร็จด้วยดี กิริยาที่
สำเร็จ กิริยาที่สำเร็จด้วยดี ความได้ ความได้เฉพาะ ความถึง ความถึงด้วยดี
ความถูกต้อง การทำให้แจ้ง ความเข้าถึงสภาวธรรมเหล่านั้น
คำว่า อิทธิบาท มีอธิบายว่า ความกระทบ ฯลฯ การประคอง ความไม่
ฟุ้งซ่านของบุคคลผู้เป็นอย่างนั้น
คำว่า เจริญอิทธิบาท มีอธิบายว่า ภิกษุเสพ เจริญ ทำให้มากซึ่งสภาวธรรม
เหล่านั้น เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า เจริญอิทธิบาท

๓. จิตติทธิบาท
[๔๕๑] ภิกษุเจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยจิตตสมาธิและปธานสังขาร
เป็นอย่างไร
ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญฌานที่เป็นโลกุตตระซึ่งเป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ให้
ถึงนิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน
ที่เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ภิกษุชื่อว่าเจริญ
อิทธิบาทที่ประกอบด้วยจิตตสมาธิและปธานสังขาร
[๔๕๒] บรรดาสภาวธรรมเหล่านั้น จิต เป็นไฉน
จิต มโน มานัส ฯลฯ มโนวิญญาณธาตุที่เหมาะสมกัน นี้เรียกว่า จิต
สมาธิ เป็นไฉน
ความตั้งอยู่แห่งจิต ฯลฯ สัมมาสมาธิ สมาธิสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์มรรค
นับเนื่องในมรรค นี้เรียกว่า สมาธิ
ปธานสังขาร เป็นไฉน
การปรารภความเพียรทางใจ ฯลฯ สัมมาวายามะ วิริยสัมโพชฌงค์ อันเป็น
องค์มรรค นับเนื่องในมรรค นี้เรียกว่า ปธานสังขาร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๓๕๐ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๙.อิทธิปาทวิภังค์] ๒.อภิธรรมภาชนีย์ ๔.วิมังสิทธิบาท
ภิกษุเป็นผู้เข้าไปถึงแล้ว ฯลฯ ประกอบแล้วด้วยจิตนี้ ด้วยสมาธินี้ และด้วย
ปธานสังขารนี้ ด้วยประการฉะนี้ เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า ประกอบด้วยจิตตสมาธิ
และปธานสังขาร
[๔๕๓] คำว่า อิทธิ มีอธิบายว่า ความสำเร็จ ความสำเร็จด้วยดี กิริยาที่
สำเร็จ กิริยาที่สำเร็จด้วยดี ความได้ ความได้เฉพาะ ความถึง ความถึงด้วยดี
ความถูกต้อง การทำให้แจ้ง ความเข้าถึงสภาวธรรมเหล่านั้น
คำว่า อิทธิบาท มีอธิบายว่า ความกระทบ ฯลฯ การประคอง ความไม่
ฟุ้งซ่านของบุคคลผู้เข้าถึงสภาวธรรมเหล่านั้น
คำว่า เจริญอิทธิบาท มีอธิบายว่า ภิกษุเสพ เจริญ ทำให้มากซึ่งสภาวธรรม
เหล่านั้น เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า เจริญอิทธิบาท

๔. วิมังสิทธิบาท
[๔๕๔] ภิกษุเจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยวิมังสาสมาธิและปธานสังขาร
เป็นอย่างไร
ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญฌานที่เป็นโลกุตตระซึ่งเป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ให้
ถึงนิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน
ที่เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ภิกษุชื่อว่าเจริญ
อิทธิบาทที่ประกอบด้วยวิมังสาสมาธิและปธานสังขาร
[๔๕๕] บรรดาธรรมเหล่านั้น วิมังสา เป็นไฉน
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลงงมงาย ความเลือกเฟ้นธรรม สัมมา-
ทิฏฐิ ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์มรรค นับเนื่องในมรรค นี้เรียกว่า วิมังสา
สมาธิ เป็นไฉน
ความตั้งมั่นแห่งจิต ฯลฯ สัมมาสมาธิ สมาธิสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์มรรค
นับเนื่องในมรรค นี้เรียกว่า สมาธิ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๓๕๑ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๙.อิทธิปาทวิภังค์] ๒.อภิธรรมภาชนีย์ ๑. ฉันทิทธิบาท
ปธานสังขาร เป็นไฉน
การปรารภความเพียรทางใจ ฯลฯ สัมมาวายามะ วิริยสัมโพชฌงค์ อันเป็น
องค์มรรค นับเนื่องในมรรค นี้เรียกว่า ปธานสังขาร
ภิกษุเป็นผู้เข้าไปถึงแล้ว เข้าไปถึงแล้วด้วยดี เข้ามาถึงแล้ว เข้ามาถึงแล้วด้วยดี
เข้าถึงแล้ว เข้าถึงแล้วด้วยดี ประกอบแล้วด้วยวิมังสาสมาธิและปธานสังขารนี้ ด้วย
ประการฉะนี้ เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า ประกอบด้วยวิมังสาสมาธิและปธานสังขาร
[๔๕๖] คำว่า อิทธิ มีอธิบายว่า ความสำเร็จ ความสำเร็จด้วยดี กิริยาที่
สำเร็จ กิริยาที่สำเร็จด้วยดี ความได้ ความได้เฉพาะ ความถึง ความถึงด้วยดี
ความถูกต้อง การทำให้แจ้ง ความเข้าถึงสภาวธรรมเหล่านั้น
คำว่า อิทธิบาท มีอธิบายว่า ความกระทบ ฯลฯ การประคอง ความไม่
ฟุ้งซ่านของบุคคลผู้เป็นอย่างนั้น
คำว่า เจริญอิทธิบาท มีอธิบายว่า ภิกษุเสพ เจริญ ทำให้มากซึ่งสภาวธรรม
เหล่านั้น เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า เจริญอิทธิบาท
[๔๕๗] อิทธิบาท ๔ คือ

๑. ฉันทิทธิบาท (ธรรมที่เป็นเหตุให้ประสบความสำเร็จคือฉันทะ)
๒. วิริยิทธิบาท (ธรรมที่เป็นเหตุให้ประสบความสำเร็จคือวิริยะ)
๓. จิตติทธิบาท (ธรรมที่เป็นเหตุให้ประสบความสำเร็จคือจิตตะ)
๔. วิมังสิทธิบาท (ธรรมที่เป็นเหตุให้ประสบความสำเร็จคือวิมังสา)

๑. ฉันทิทธิบาท
[๔๕๘] บรรดาอิทธิบาท ๔ นั้น ฉันทิทธิบาท เป็นไฉน
ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญฌานที่เป็นโลกุตตระซึ่งเป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ให้
ถึงนิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน
ที่เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ความพอใจ การทำ
ความพอใจ ความเป็นผู้ประสงค์จะทำ ความฉลาด ความพอใจในธรรม นี้เรียกว่า
ฉันทิทธิบาท สภาวธรรมที่เหลือชื่อว่าสัมปยุตด้วยฉันทิทธิบาท

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๓๕๒ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๙.อิทธิปาทวิภังค์] ๒.อภิธรรมภาชนีย์ ๔.วิมังสิทธิบาท
๒. วิริยิทธิบาท
[๔๕๙] วิริยิทธิบาท เป็นไฉน
ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญฌานที่เป็นโลกุตตระซึ่งเป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ให้
ถึงนิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน
ที่เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น การปรารภความเพียร
ทางใจ ฯลฯ สัมมาวายามะ วิริยสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์มรรรค นับเนื่องในมรรค
นี้เรียกว่า วิริยิทธิบาท สภาวธรรมที่เหลือชื่อว่าสัมปยุตด้วยวิริยิทธิบาท

๓. จิตติทธิบาท
[๔๖๐] จิตติทธิบาท เป็นไฉน
ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญฌานที่เป็นโลกุตตระซึ่งเป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ให้
ถึงนิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน
ที่เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น จิต มโน มานัส ฯลฯ
มโนวิญญาณธาตุที่เหมาะสมกัน นี้เรียกว่า จิตติทธิบาท สภาวธรรมที่เหลือชื่อว่า
สัมปยุตด้วยจิตติทธิบาท

๔. วิมังสิทธิบาท
[๔๖๑] วิมังสิทธิบาท เป็นไฉน
ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญฌานที่เป็นโลกุตตระซึ่งเป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ให้
ถึงนิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน
ที่เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ปัญญา กิริยาที่
รู้ชัดฯลฯ ความไม่หลงงมงาย ความเลือกเฟ้นธรรม สัมมาทิฏฐิ ธัมมวิจย-
สัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์มรรค นับเนื่องในมรรค นี้เรียกว่า วิมังสิทธิบาท สภาวธรรม
ที่เหลือชื่อว่าสัมปยุตด้วยวิมังสิทธิบาท
อภิธรรมภาชนีย์ จบ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๓๕๓ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๙.อิทธิปาทวิภังค์] ๓.ปัญหาปุจฉกะ ๑. ติกมาติกาวิสัชนา
๓. ปัญหาปุจฉกะ
[๔๖๒] อิทธิบาท ๔ ได้แก่ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยฉันทสมาธิและปธานสังขาร
๒. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยวิริยสมาธิและปธานสังขาร
๓. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยจิตตสมาธิและปธานสังขาร
๔. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยวิมังสาสมาธิและปธานสังขาร

ติกมาติกาปุจฉา ทุกมาติกาปุจฉา
[๔๖๓] บรรดาอิทธิบาท ๔ อิทธิบาทเท่าไรเป็นกุศล เท่าไรเป็นอกุศล เท่าไร
เป็นอัพยากฤต ฯลฯ เท่าไรเป็นเหตุให้สัตว์ร้องไห้ เท่าไรไม่เป็นเหตุให้สัตว์ร้องไห้

๑. ติกมาติกาวิสัชนา
๑-๒๒. กุสลติกาทิวิสัชนา
[๔๖๔] อิทธิบาท ๔ เป็นกุศลอย่างเดียว
อิทธิบาท ๔ ที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาก็มี ที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนาก็มี
อิทธิบาท ๔ เป็นเหตุให้เกิดวิบาก
อิทธิบาท ๔ กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือและไม่เป็น
อารมณ์ของอุปาทาน
อิทธิบาท ๔ กิเลสไม่ทำให้เศร้าหมองและไม่เป็นอารมณ์ของกิเลส
อิทธิบาท ๔ ที่มีทั้งวิตกและวิจารก็มี ที่ไม่มีวิตกมีเพียงวิจารก็มี ที่ไม่มีทั้ง
วิตกและวิจารก็มี
อิทธิบาท ๔ ที่สหรคตด้วยปีติก็มี ที่สหรคตด้วยสุขก็มี ที่สหรคตด้วยอุเบกขา
ก็มี
อิทธิบาท ๔ ไม่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคและมรรคเบื้องบน ๓

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๓๕๔ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๙.อิทธิปาทวิภังค์] ๓.ปัญหาปุจฉกะ ๒.ทุกมาติกาวิสัชนา
อิทธิบาท ๔ ไม่มีเหตุต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคและมรรคเบื้องบน ๓
อิทธิบาท ๔ เป็นเหตุให้ถึงนิพพาน
อิทธิบาท ๔ เป็นของเสขบุคคล
อิทธิบาท ๔ เป็นอัปปมาณะ
อิทธิบาท ๔ มีอัปปมาณะเป็นอารมณ์
อิทธิบาท ๔ เป็นชั้นประณีต
อิทธิบาท ๔ มีสภาวะชอบและให้ผลแน่นอน
อิทธิบาท ๔ ไม่ใช่มีมรรคเป็นอารมณ์
อิทธิบาท ๔ มีมรรคเป็นเหตุ
อิทธิบาท ๔ ไม่ใช่มีมรรคเป็นอธิบดี
อิทธิบาท ๔ ที่เกิดขึ้นก็มี ซึ่งยังไม่เกิดขึ้นก็มี แต่กล่าวไม่ได้ว่า จักเกิดขึ้น
แน่นอน
อิทธิบาท ๔ ที่เป็นอดีตก็มี ที่เป็นอนาคตก็มี ที่เป็นปัจจุบันก็มี
อิทธิบาท ๔ กล่าวไม่ได้ว่า มีอดีตธรรมเป็นอารมณ์ มีอนาคตธรรมเป็น
อารมณ์ หรือมีปัจจุบันธรรมเป็นอารมณ์ก็มี
อิทธิบาท ๔ ที่เป็นภายในตนก็มี ที่เป็นภายนอกตนก็มี ที่เป็นภายในตน
และภายนอกตนก็มี
อิทธิบาท ๔ มีธรรมภายนอกตนเป็นอารมณ์
อิทธิบาท ๔ เห็นไม่ได้และกระทบไม่ได้

๒. ทุกมาติกาวิสัชนา
๑. เหตุโคจฉกวิสัชนา
[๔๖๕] วิมังสิทธิบาทเป็นเหตุ อิทธิบาท ๓ ไม่เป็นเหตุ อิทธิบาท ๔ มีเหตุ
อิทธิบาท ๔ สัมปยุตด้วยเหตุ วิมังสิทธิบาทเป็นเหตุและมีเหตุ อิทธิบาท ๓
กล่าวไม่ได้ว่า เป็นเหตุและมีเหตุ หรือมีเหตุแต่ไม่เป็นเหตุ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๓๕๕ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๙.อิทธิปาทวิภังค์] ๓.ปัญหาปุจฉกะ ๒.ทุกมาติกาวิสัชนา
วิมังสิทธิบาทเป็นเหตุและสัมปยุตด้วยเหตุ อิทธิบาท ๓ กล่าวไม่ได้ว่า เป็น
เหตุและสัมปยุตด้วยเหตุ หรือสัมปยุตด้วยเหตุแต่ไม่เป็นเหตุ
อิทธิบาท ๓ ไม่เป็นเหตุแต่มีเหตุ วิมังสิทธิบาทกล่าวไม่ได้ว่า ไม่เป็นเหตุแต่
มีเหตุ หรือไม่เป็นเหตุและไม่มีเหตุ

๒-๙. จูฬันตรทุกาทิวิสัชนา
อิทธิบาท ๔ มีปัจจัยปรุงแต่ง อิทธิบาท ๔ ถูกปัจจัยปรุงแต่ง
อิทธิบาท ๔ เห็นไม่ได้ อิทธิบาท ๔ กระทบไม่ได้
อิทธิบาท ๔ ไม่เป็นรูป อิทธิบาท ๔ เป็นโลกุตตระ
อิทธิบาท ๔ จิตบางดวงรู้ได้ อิทธิบาท ๔ จิตบางดวงรู้ไม่ได้
อิทธิบาท ๔ ไม่เป็นอาสวะ อิทธิบาท ๔ ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะ
อิทธิบาท ๔ วิปปยุตจากอาสวะ อิทธิบาท ๔ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นอาสวะและ
เป็นอารมณ์ของอาสวะ หรือเป็นอารมณ์ของอาสวะแต่ไม่เป็นอาสวะ
อิทธิบาท ๔ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นอาสวะและสัมปยุตด้วยอาสวะ หรือสัมปยุต
ด้วยอาสวะแต่ไม่เป็นอาสวะ อิทธิบาท ๔ วิปปยุตจากอาสวะและไม่เป็นอารมณ์ของ
อาสวะ
อิทธิบาท ๔ ไม่เป็นสังโยชน์ ฯลฯ ไม่เป็นคันถะ ฯลฯ ไม่เป็นโอฆะ ฯลฯ
ไม่เป็นโยคะ ฯลฯ ไม่เป็นนิวรณ์ ฯลฯ ไม่เป็นปรามาส ฯลฯ

๑๐. มหันตรทุกวิสัชนา
อิทธิบาท ๔ รับรู้อารมณ์ได้ อิทธิบาท ๓ ไม่เป็นจิต จิตติทธิบาทเป็นจิต
อิทธิบาท ๓ เป็นเจตสิก จิตติทธิบาทไม่เป็นเจตสิก อิทธิบาท ๓ สัมปยุต
ด้วยจิต จิตติทธิบาทกล่าวไม่ได้ว่า สัมปยุตด้วยจิต หรือวิปปยุตจากจิต
อิทธิบาท ๓ ระคนกับจิต จิตติทธิบาทกล่าวไม่ได้ว่า ระคนกับจิต หรือไม่
ระคนกับจิต อิทธิบาท ๓ มีจิตเป็นสมุฏฐาน จิตติทธิบาทไม่มีจิตเป็นสมุฏฐาน
อิทธิบาท ๓ เกิดพร้อมกับจิต จิตติทธิบาทไม่เกิดพร้อมกับจิต อิทธิบาท ๓
เป็นไปตามจิต จิตติทธิบาทไม่เป็นไปตามจิต


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๓๕๖ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๙.อิทธิปาทวิภังค์] ๓.ปัญหาปุจฉกะ ๒.ทุกมาติกาวิสัชนา
อิทธิบาท ๓ ระคนกับจิตและมีจิตเป็นสมุฏฐาน จิตติทธิบาทไม่ระคนกับจิต
และมีจิตเป็นสมุฏฐาน อิทธิบาท ๓ ระคนกับจิตมีจิตเป็นสมุฏฐานและเกิดพร้อม
กับจิต จิตติทธิบาทไม่ระคนกับจิตมีจิตเป็นสมุฏฐานและเกิดพร้อมกับจิต
อิทธิบาท ๓ ระคนกับจิตมีจิตเป็นสมุฏฐานและเป็นไปตามจิต จิตติทธิบาทไม่
ระคนกับจิตมีจิตเป็นสมุฏฐานและเป็นไปตามจิต
อิทธิบาท ๓ เป็นภายนอก จิตติทธิบาทเป็นภายใน อิทธิบาท ๔ ไม่เป็น
อุปาทายรูป
อิทธิบาท ๔ กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือ

๑๑-๑๓. อุปาทานโคจฉกาทิวิสัชนา
อิทธิบาท ๔ ไม่เป็นอุปาทาน ฯลฯ ไม่เป็นกิเลส ฯลฯ
อิทธิบาท ๔ ไม่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคและมรรคเบื้องบน ๓
อิทธิบาท ๔ ไม่มีเหตุต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคและมรรคเบื้องบน ๓
อิทธิบาท ๔ ที่มีวิตกก็มี ที่ไม่มีวิตกก็มี อิทธิบาท ๔ ที่มีวิจารก็มี ที่ไม่มี
วิจารก็มี
อิทธิบาท ๔ ที่มีปีติก็มี ที่ไม่มีปีติก็มี อิทธิบาท ๔ ที่สหรคตด้วยปีติก็มี
ที่ไม่สหรคตด้วยปีติก็มี
อิทธิบาท ๔ ที่สหรคตด้วยสุขก็มี ที่ไม่สหรคตด้วยสุขก็มี อิทธิบาท ๔ ที่
สหรคตด้วยอุเบกขาก็มี ที่ไม่สหรคตด้วยอุเบกขาก็มี
อิทธิบาท ๔ ไม่เป็นกามาวจร อิทธิบาท ๔ ไม่เป็นรูปาวจร
อิทธิบาท ๔ ไม่เป็นอรูปาวจร อิทธิบาท ๔ ไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์
อิทธิบาท ๔ เป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ อิทธิบาท ๔ ให้ผลแน่นอน
อิทธิบาท ๔ ไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า อิทธิบาท ๔ ไม่เป็นเหตุให้สัตว์ร้องไห้

ปัญหาปุจฉกะ จบ

อิทธิปาทวิภังค์ จบบริบูรณ์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๓๕๗ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๐. โพชฌังควิภังค์] ๑. สุตตันตภาชนีย์
๑๐. โพชฌังควิภังค์
๑. สุตตันตภาชนีย์
โพชฌงค์ ๗ นัยที่ ๑
[๔๖๖] โพงฌงค์ ๗ คือ

๑. สติสัมโพชฌงค์ (ธรรมที่เป็นองค์แห่งการตรัสรู้คือสติ)
๒. ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ (ธรรมที่เป็นองค์แห่งการตรัสรู้คือธัมมวิจยะ)
๓. วิริยสัมโพชฌงค์ (ธรรมที่เป็นองค์แห่งการตรัสรู้คือวิริยะ)
๔. ปีติสัมโพชฌงค์ (ธรรมที่เป็นองค์แห่งการตรัสรู้คือปีติ)
๕. ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ (ธรรมที่เป็นองค์แห่งการตรัสรู้คือปัสสัทธิ)
๖. สมาธิสัมโพชฌงค์ (ธรรมที่เป็นองค์แห่งการตรัสรู้คือสมาธิ)
๗. อุเปกขาสัมโพชฌงค์ (ธรรมที่เป็นองค์แห่งการตรัสรู้คืออุเบกขา)

[๔๖๗] บรรดาโพชฌงค์ ๗ เหล่านั้น สติสัมโพชฌงค์ เป็นไฉน
ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นผู้มีสติ ประกอบด้วยสติและปัญญาอันยิ่ง เป็นผู้ระลึกได้
ระลึกถึงกิจที่ทำไว้นาน ๆ หรือวาจาที่กล่าวไว้นาน ๆ ได้ นี้เรียกว่า สติสัมโพชฌงค์ (๑)
(ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ เป็นไฉน)
ภิกษุนั้นเป็นผู้มีสติอยู่อย่างนั้น วิจัย เลือกสรร ทบทวน สอบสวนธรรมนั้น
ด้วยปัญญา นี้เรียกว่า ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ (๒)
(วิริยสัมโพชฌงค์ เป็นไฉน)
ความเพียร ความไม่ย่อท้อ อันภิกษุนั้นผู้วิจัย เลือกสรร ทบทวน สอบสวน
ธรรมนั้นด้วยปัญญา ปรารภแล้ว นี้เรียกว่า วิริยสัมโพชฌงค์ (๓)
(ปีติสัมโพชฌงค์ เป็นไฉน)
ปีติที่ปราศจากอามิสย่อมเกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้ปรารภความเพียร นี้เรียกว่า ปีติ-
สัมโพชฌงค์ (๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๓๕๘ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๐. โพชฌังควิภังค์] ๑. สุตตันตภาชนีย์
(ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ เป็นไฉน)
กายก็ดี จิตก็ดี ของภิกษุผู้มีใจเอิบอิ่ม ย่อมสงบระงับ นี้เรียกว่า ปัสสัทธิ-
สัมโพชฌงค์ (๕)
(สมาธิสัมโพชฌงค์ เป็นไฉน)
จิตของภิกษุผู้มีกายสงบ ผู้มีความสุข ย่อมตั้งมั่น นี้เรียกว่า สมาธิ-
สัมโพชฌงค์ (๖)
(อุเปกขาสัมโพชฌงค์ เป็นไฉน)
ภิกษุนั้นเป็นผู้วางเฉยด้วยดีซึ่งจิตที่ตั้งมั่นอย่างนั้น นี้เรียกว่า อุเปกขา-
สัมโพชฌงค์ (๗)

โพชฌงค์ ๗ นัยที่ ๒
[๔๖๘] โพชฌงค์ ๗ คือ

๑. สติสัมโพชฌงค์ ๒. ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์
๓. วิริยสัมโพชฌงค์ ๔. ปีติสัมโพชฌงค์
๕. ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ ๖. สมาธิสัมโพชฌงค์
๗. อุเปกขาสัมโพชฌงค์

[๔๖๙] บรรดาโพชฌงค์ ๗ เหล่านั้น สติสัมโพชฌงค์ เป็นไฉน
สติในธรรมภายในตนก็มี ในธรรมภายนอกตนก็มี สติในธรรมภายในตน ก็คือ
สติสัมโพชฌงค์ ย่อมเป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน ถึงสติใน
ธรรมภายนอกตน ก็คือสติสัมโพชฌงค์ ย่อมเป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้
เพื่อนิพพาน (๑)
ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ เป็นไฉน
ความเลือกสรรธรรมในธรรมภายในตนก็มี ในธรรมภายนอกตนก็มี ความ
เลือกสรรธรรมในธรรมภายในตน ก็คือธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ ย่อมเป็นไปเพื่อความรู้
ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน ถึงความเลือกสรรธรรมในธรรมภายนอกตน ก็คือ
ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ ย่อมเป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน (๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๓๕๙ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๐. โพชฌังควิภังค์] ๑. สุตตันตภาชนีย์
วิริยสัมโพชฌงค์ เป็นไฉน
ความเพียรทางกายก็มี ทางใจก็มี ความเพียรทางกาย ก็คือวิริยสัมโพชฌงค์
ย่อมเป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน ถึงความเพียรทางใจ ก็คือ
วิริยสัมโพชฌงค์ ย่อมเป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน (๓)
ปีติสัมโพชฌงค์ เป็นไฉน
ปีติที่มีทั้งวิตกและวิจารก็มี ที่ไม่มีทั้งวิตกและวิจารก็มี ปีติที่มีทั้งวิตกและวิจาร
ก็คือปีติสัมโพชฌงค์ ย่อมเป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน ถึง
ปีติที่ไม่มีทั้งวิตกและวิจาร ก็คือปีติสัมโพชฌงค์ ย่อมเป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความ
ตรัสรู้ เพื่อนิพพาน (๔)
ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ เป็นไฉน
กายปัสสัทธิก็มี จิตตปัสสัทธิก็มี กายปัสสัทธิ ก็คือปัสสัทธิสัมโพชฌงค์
ย่อมเป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน ถึงจิตตปัสสัทธิ ก็คือ
ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ ย่อมเป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน ( ๕)
สมาธิสัมโพชฌงค์ เป็นไฉน
สมาธิที่มีทั้งวิตกและวิจารก็มี ที่ไม่มีทั้งวิตกและวิจารก็มี สมาธิที่มีทั้งวิตกและ
วิจาร ก็คือสมาธิสัมโพชฌงค์ ย่อมเป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน
ถึงสมาธิที่ไม่มีทั้งวิตกและวิจาร ก็คือสมาธิสัมโพชฌงค์ ย่อมเป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง
เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน (๖)
อุเปกขาสัมโพชฌงค์ เป็นไฉน
อุเบกขาในธรรมภายในตนก็มี ในธรรมภายนอกตนก็มี อุเบกขาในธรรมภายใน
ตน ก็คืออุเปกขาสัมโพชฌงค์ ย่อมเป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน
ถึงอุเบกขาในธรรมภายนอกตน ก็คืออุเปกขาสัมโพชฌงค์ ย่อมเป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง
เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน (๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๓๖๐ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๐.โพชฌังควิภังค์] ๒.อภิธรรมภาชนีย์
โพชฌงค์ ๗ นัยที่ ๓
[๔๗๐] โพชฌงค์ ๗ คือ

๑. สติสัมโพชฌงค์ ๒. ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์
๓. วิริยสัมโพชฌงค์ ๔. ปีติสัมโพชฌงค์
๕. ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ ๖. สมาธิสัมโพชฌงค์
๗. อุเปกขาสัมโพชฌงค์

[๔๗๑] บรรดาโพชฌงค์ ๗ เหล่านั้น สติสัมโพชฌงค์ เป็นไฉน
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
(๑) เจริญสติสัมโพชฌงค์ที่อาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ
น้อมไปเพื่อความปล่อยวาง
(๒) เจริญธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ ฯลฯ
(๓) เจริญวิริยสัมโพชฌงค์ ฯลฯ
(๔) เจริญปีติสัมโพชฌงค์ ฯลฯ
(๕) เจริญปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ ฯลฯ
(๖) เจริญสมาธิสัมโพชฌงค์ ฯลฯ
(๗) เจริญอุเปกขาสัมโพชฌงค์ ที่อาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ
น้อมไปเพื่อความปล่อยวาง
สุตตันตภาชนีย์ จบ

๒. อภิธรรมภาชนีย์
เอกโตปุจฉาวิสัชนานัย
[๔๗๒] โพชฌงค์ ๗ คือ

๑. สติสัมโพชฌงค์ ๒. ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์
๓. วิริยสัมโพชฌงค์ ๔. ปีติสัมโพชฌงค์
๕. ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ ๖. สมาธิสัมโพชฌงค์
๗. อุเปกขาสัมโพชฌงค์


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๓๖๑ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๐.โพชฌังควิภังค์] ๒.อภิธรรมภาชนีย์
[๔๗๓] ในสภาวธรรมเหล่านั้น โพชฌงค์ ๗ เป็นไฉน
ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญฌานที่เป็นโลกุตตระซึ่งเป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ให้
ถึงนิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌานที่
เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา๑ อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น โพชฌงค์ ๗ คือ
สติสัมโพชฌงค์ ฯลฯ อุเปกขาสัมโพชฌงค์ ก็เกิดขึ้น
[๔๗๔] บรรดาโพชฌงค์ ๗ เหล่านั้น สติสัมโพชฌงค์ เป็นไฉน
สติ ความตามระลึก ฯลฯ สัมมาสติ สติสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์มรรค นับ
เนื่องในมรรค นี้เรียกว่า สติสัมโพชฌงค์ (๑)
ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ เป็นไฉน
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลงงมงาย ความเลือกเฟ้นธรรม สัมมา-
ทิฏฐิ ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์มรรค นับเนื่องในมรรค นี้เรียกว่า
ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ (๒)
วิริยสัมโพชฌงค์ เป็นไฉน
การปรารภความเพียรทางใจ ฯลฯ สัมมาวายามะ วิริยสัมโพชฌงค์ อันเป็น
องค์มรรค นับเนื่องในมรรค นี้เรียกว่า วิริยสัมโพชฌงค์ (๓)
ปีติสัมโพชฌงค์ เป็นไฉน
ความอิ่มเอิบ ความปราโมทย์ ความยินดีอย่างยิ่ง ความบันเทิง ความร่าเริง
ความรื่นเริง ความปลื้มใจ ความตื่นเต้น ความที่จิตชื่นชมยินดี ปีติสัมโพชฌงค์ นี้
เรียกว่า ปีติสัมโพชฌงค์ (๔)
ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ เป็นไฉน
ความสงบ ความสงบระงับ กิริยาที่สงบ กิริยาที่สงบระงับ ภาวะที่สงบระงับ
แห่งเวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ และวิญญาณขันธ์ ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ นี้
เรียกว่า ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ (๕)

เชิงอรรถ :
๑ ข้อปฏิบัติลำบากทั้งรู้ได้ช้า (อภิ.สงฺ.อ. ๒๗๗/๒๗๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๓๖๒ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๐.โพชฌังควิภังค์] ๒.อภิธรรมภาชนีย์
สมาธิสัมโพชฌงค์ เป็นไฉน
ความตั้งมั่นแห่งจิต ฯลฯ สัมมาสมาธิ สมาธิสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์มรรค
นับเนื่องในมรรค นี้เรียกว่า สมาธิสัมโพชฌงค์ (๖)
อุเปกขาสัมโพชฌงค์ เป็นไฉน
อุเบกขา ความวางเฉย ความเพ่งเฉย ความวางจิตเป็นกลาง อุเปกขา-
สัมโพชฌงค์ นี้เรียกว่า อุเปกขาสัมโพชฌงค์ (๗)
สภาวธรรมเหล่านี้เรียกว่า โพชฌงค์ ๗ สภาวธรรมที่เหลือชื่อว่าสัมปยุต
ด้วยโพชฌงค์ ๗

ปาฏิเยกกปุจฉาวิสัชนานัย
[๔๗๕] โพชฌงค์ ๗ คือ

๑. สติสัมโพชฌงค์ ๒. ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์
๓. วิริยสัมโพชฌงค์ ๔. ปีติสัมโพชฌงค์
๕. ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ ๖. สมาธิสัมโพชฌงค์
๗. อุเปกขาสัมโพชฌงค์

[๔๗๖] บรรดาโพชฌงค์ ๗ เหล่านั้น สติสัมโพชฌงค์ เป็นไฉน
ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญฌานที่เป็นโลกุตตระซึ่งเป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ให้
ถึงนิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน
ที่เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น สติ ความตามระลึก
ฯลฯ สัมมาสติ สติสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์มรรค นับเนื่องในมรรค นี้เรียกว่า
สติสัมโพชฌงค์ สภาวธรรมที่เหลือชื่อว่าสัมปยุตด้วยสติสัมโพชฌงค์ ฯลฯ
สภาวธรรมที่เหลือชื่อว่าสัมปยุตด้วยธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ ฯลฯ
สภาวธรรมที่เหลือชื่อว่าสัมปยุตด้วยวิริยสัมโพชฌงค์ ฯลฯ
สภาวธรรมที่เหลือชื่อว่าสัมปยุตด้วยปีติสัมโพชฌงค์ ฯลฯ
สภาวธรรมที่เหลือชื่อว่าสัมปยุตด้วยปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ ฯลฯ
สภาวธรรมที่เหลือชื่อว่าสัมปยุตด้วยสมาธิสัมโพชฌงค์ ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๓๖๓ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๐.โพชฌังควิภังค์] ๒.อภิธรรมภาชนีย์
อุเปกขาสัมโพชฌงค์ เป็นไฉน
ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญฌานที่เป็นโลกุตตระซึ่งเป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ให้
ถึงนิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน
ที่เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น อุเบกขา ความวาง
เฉย ความเพ่งเฉย ความวางจิตเป็นกลาง อุเปกขาสัมโพชฌงค์ นี้เรียกว่า อุเปกขา-
สัมโพชฌงค์ สภาวธรรมที่เหลือชื่อว่าสัมปยุตด้วยอุเปกขาสัมโพชฌงค์

เอกโตปุจฉาวิสัชนานัย
[๔๗๗] โพชฌงค์ ๗ คือ

๑. สติสัมโพชฌงค์ ๒. ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์
๓. วิริยสัมโพชฌงค์ ๔. ปีติสัมโพชฌงค์
๕. ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ ๖. สมาธิสัมโพชฌงค์
๗. อุเปกขาสัมโพชฌงค์

[๔๗๘] ในสภาวธรรมเหล่านั้น โพชฌงค์ ๗ เป็นไฉน
ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญฌานที่เป็นโลกุตตระซึ่งเป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ให้
ถึงนิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน
ที่เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา๑ อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ
ก็เกิดขึ้น สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล
ภิกษุสงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌานที่เป็นสุญญตะ เป็นทุกขาปฏิปทา-
ทันธาภิญญาซึ่งเป็นวิบาก เพราะได้ทำได้เจริญฌานที่เป็นโลกุตตรกุศลนั้นนั่นแหละ
อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น โพชฌงค์ ๗ คือ สติสัมโพชฌงค์ ฯลฯ อุเปกขาสัมโพชฌงค์
ก็เกิดขึ้น
[๔๗๙] บรรดาโพชฌงค์ ๗ เหล่านั้น สติสัมโพชฌงค์ เป็นไฉน

เชิงอรรถ :
๑ ทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา ข้อปฏิบัติลำบากทั้งรู้ได้ช้า (อภิ.สงฺ.อ. ๒๗๗/๑๗๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๓๖๔ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๐.โพชฌังควิภังค์] ๒.อภิธรรมภาชนีย์
สติ ความตามระลึก ฯลฯ สัมมาสติ สติสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์มรรค
นับเนื่องในมรรค นี้เรียกว่า สติสัมโพชฌงค์
ฯลฯ
อุเปกขาสัมโพชฌงค์ เป็นไฉน
อุเบกขา ความวางเฉย ความเพ่งเฉย ความวางจิตเป็นกลาง อุเปกขา-
สัมโพชฌงค์ นี้เรียกว่า อุเปกขาสัมโพชฌงค์ สภาวธรรมเหล่านี้เรียกว่า โพชฌงค์ ๗
สภาวธรรมที่เหลือชื่อว่า สัมปยุตด้วยโพชฌงค์ ๗
[๔๘๐] โพชฌงค์ ๗ คือ

๑. สติสัมโพชฌงค์ ๒. ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์
๓. วิริยสัมโพชฌงค์ ๔. ปีติสัมโพชฌงค์
๕. ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ ๖. สมาธิสัมโพชฌงค์
๗. อุเปกขาสัมโพชฌงค์

[๔๘๑] บรรดาโพชฌงค์ ๗ เหล่านั้น สติสัมโพชฌงค์ เป็นไฉน
ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญฌานที่เป็นโลกุตตระซึ่งเป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ให้
ถึงนิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน
ที่เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ
ก็เกิดขึ้น สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล
ภิกษุสงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌานที่เป็นสุญญตะ เป็นทุกขาปฏิปทา-
ทันธาภิญญาซึ่งเป็นวิบาก เพราะได้ทำได้เจริญฌานที่เป็นโลกุตตรกุศลนั้นนั่นแหละ
อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น สติ ความตามระลึก ฯลฯ สัมมาสติ สติสัมโพชฌงค์
อันเป็นองค์มรรค นับเนื่องในมรรค นี้เรียกว่า สติสัมโพชฌงค์ สภาวธรรมที่เหลือ
ชื่อว่า สัมปยุตด้วยสติสัมโพชฌงค์ ฯลฯ
สภาวธรรมที่เหลือชื่อว่าสัมปยุตด้วยธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ ฯลฯ
สภาวธรรมที่เหลือชื่อว่าสัมปยุตด้วยวิริยสัมโพชฌงค์ ฯลฯ
สภาวธรรมที่เหลือชื่อว่าสัมปยุตด้วยปีติสัมโพชฌงค์ ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๓๖๕ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๐.โพชฌังควิภังค์] ๓.ปัญหาปุจฉกะ
สภาวธรรมที่เหลือชื่อว่าสัมปยุตด้วยปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ ฯลฯ
สภาวธรรมที่เหลือชื่อว่าสัมปยุตด้วยสมาธิสัมโพชฌงค์
อุเปกขาสัมโพชฌงค์ เป็นไฉน
ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญฌานที่เป็นโลกุตตระซึ่งเป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์
ให้ถึงนิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุ
ปฐมฌานเป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ
อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล
ภิกษุสงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌานที่เป็นสุญญตะ เป็นทุกขาปฏิปทา-
ทันธาภิญญา ซึ่งเป็นวิบาก เพราะได้ทำได้เจริญฌานที่เป็นโลกุตตรกุศลนั้นนั่นแหละ
อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น อุเบกขา ความวางเฉย ความเพ่งเฉย ความวางจิตเป็น
กลาง อุเปกขาสัมโพชฌงค์ นี้เรียกว่า อุเปกขาสัมโพชฌงค์ สภาวธรรมที่เหลือชื่อว่า
สัมปยุตด้วยอุเปกขาสัมโพชฌงค์
อภิธรรมภาชนีย์ จบ

๓. ปัญหาปุจฉกะ
[๔๘๒] โพชฌงค์ ๗ คือ

๑. สติสัมโพชฌงค์ ๒. ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์
๓. วิริยสัมโพชฌงค์ ๔. ปีติสัมโพชฌงค์
๕. ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ ๖. สมาธิสัมโพชฌงค์
๗. อุเปกขาสัมโพชฌงค์

ติกมาติกาปุจฉา ทุกมาติกาปุจฉา
[๔๘๓] บรรดาโพชฌงค์ ๗ โพชฌงค์เท่าไรเป็นกุศล เท่าไรเป็นอกุศล เท่าไร
เป็นอัพยากฤต ฯลฯ เท่าไรเป็นเหตุให้สัตว์ร้องไห้ เท่าไรไม่เป็นเหตุให้สัตว์ร้องไห้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๓๖๖ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๐.โพชฌังควิภังค์] ๓.ปัญหาปุจฉกะ ๑.ติกมาติกาวิสัชนา
๑. ติกมาติกาวิสัชนา
๑-๒๒. กุสลติกาทิวิสัชนา
[๔๘๔] โพชฌงค์ ๗ ที่เป็นกุศลก็มี ที่เป็นอัพยากฤตก็มี
ปีติสัมโพชฌงค์ สัมปยุตด้วยสุขเวทนา โพชฌงค์ ๖ ที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนา
ก็มี ที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนาก็มี
โพชฌงค์ ๗ ที่เป็นวิบากก็มี ที่เป็นเหตุให้เกิดวิบากก็มี
โพชฌงค์ ๗ กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือและไม่เป็นอารมณ์
ของอุปาทาน
โพชฌงค์ ๗ กิเลสไม่ทำให้เศร้าหมองและไม่เป็นอารมณ์ของกิเลส
โพชฌงค์ ๗ ที่มีทั้งวิตกและวิจารก็มี ที่ไม่มีวิตกมีเพียงวิจารก็มี ที่ไม่มีทั้ง
วิตกและวิจารก็มี ปีติสัมโพชฌงค์ไม่สหรคตด้วยปีติ แต่สหรคตด้วยสุข ไม่สหรคต
ด้วยอุเบกขา โพชฌงค์ ๖ ที่สหรคตด้วยปีติก็มี ที่สหรคตด้วยสุขก็มี ที่สหรคต
ด้วยอุเบกขาก็มี
โพชฌงค์ ๗ ไม่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคและมรรคเบื้องบน ๓
โพชฌงค์ ๗ ไม่มีเหตุต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคและมรรคเบื้องบน ๓
โพชฌงค์ ๗ ที่เป็นเหตุให้ถึงนิพพานก็มี ที่ไม่เป็นเหตุให้ถึงปฏิสนธิ จุติ และ
นิพพานก็มี
โพชฌงค์ ๗ ที่เป็นของเสขบุคคลก็มี ที่เป็นของอเสขบุคคลก็มี
โพชฌงค์ ๗ เป็นอัปปมาณะ
โพชฌงค์ ๗ มีอัปปมาณะเป็นอารมณ์
โพชฌงค์ ๗ เป็นชั้นประณีต
โพชฌงค์ ๗ ที่มีสภาวะชอบและให้ผลแน่นอนก็มี ที่ให้ผลไม่แน่นอนก็มี
โพชฌงค์ ๗ ไม่ใช่มีมรรคเป็นอารมณ์


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๓๖๗ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๐.โพชฌังควิภังค์] ๓.ปัญหาปุจฉกะ ๒.ทุกมาติกาวิสัชนา
โพชฌงค์ ๗ ที่มีมรรคเป็นเหตุก็มี ที่มีมรรคเป็นอธิบดีก็มี ที่กล่าวไม่ได้ว่า
มีมรรคเป็นเหตุ หรือมีมรรคเป็นอธิบดีก็มี
โพชฌงค์ ๗ ที่เกิดขึ้นก็มี ที่ยังไม่เกิดขึ้นก็มี ที่จักเกิดขึ้นแน่นอนก็มี
โพชฌงค์ ๗ ที่เป็นอดีตก็มี ที่เป็นอนาคตก็มี ที่เป็นปัจจุบันก็มี
โพชฌงค์ ๗ กล่าวไม่ได้ว่า มีอดีตธรรมเป็นอารมณ์ มีอนาคตธรรมเป็นอารมณ์
หรือมีปัจจุบันธรรมเป็นอารมณ์
โพชฌงค์ ๗ ที่เป็นภายในตนก็มี ที่เป็นภายนอกตนก็มี ที่เป็นภายในตน
และภายนอกตนก็มี
โพชฌงค์ ๗ มีธรรมเป็นภายนอกตนเป็นอารมณ์
โพชฌงค์ ๗ เห็นไม่ได้และกระทบไม่ได้

๒. ทุกมาติกาวิสัชนา
๑. เหตุโคจฉกวิสัชนา
[๔๘๕] ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์เป็นเหตุ โพชฌงค์ ๖ สัมปยุตด้วยเหตุ
ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์เป็นเหตุและมีเหตุ โพชฌงค์ ๖ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นเหตุ
และมีเหตุ หรือมีเหตุแต่ไม่เป็นเหตุ
ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์เป็นเหตุและสัมปยุตด้วยเหตุ โพชฌงค์ ๖ กล่าวไม่ได้ว่า
เป็นเหตุและสัมปยุตด้วยเหตุ หรือสัมปยุตด้วยเหตุแต่ไม่เป็นเหตุ
โพชฌงค์ ๖ ไม่เป็นเหตุแต่มีเหตุ ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์กล่าวไม่ได้ว่า ไม่เป็น
เหตุแต่มีเหตุ หรือไม่เป็นเหตุและไม่มีเหตุ

๒. จูฬันตรทุกวิสัชนา
โพชฌงค์ ๗ มีปัจจัยปรุงแต่ง โพชฌงค์ ๗ ถูกปัจจัยปรุงแต่ง
โพชฌงค์ ๗ เห็นไม่ได้ โพชฌงค์ ๗ กระทบไม่ได้
โพชฌงค์ ๗ ไม่เป็นรูป โพชฌงค์ ๗ เป็นโลกุตตระ
โพชฌงค์ ๗ จิตบางดวงรู้ได้ โพชฌงค์ ๗ จิตบางดวงรู้ไม่ได้


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๓๖๘ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๐.โพชฌังควิภังค์] ๓.ปัญหาปุจฉกะ ๒.ทุกมาติกาวิสัชนา
๓. อาสวโคจฉกวิสัชนา
โพชฌงค์ ๗ ไม่เป็นอาสวะ โพชฌงค์ ๗ ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะ
โพชฌงค์ ๗ วิปปยุตจากอาสวะ โพชฌงค์ ๗ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นอาสวะ
และเป็นอารมณ์ของอาสวะ หรือเป็นอารมณ์ของอาสวะแต่ไม่เป็นอาสวะ
โพชฌงค์ ๗ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นอาสวะและสัมปยุตด้วยอาสวะ หรือสัมปยุต
ด้วยอาสวะแต่ไม่เป็นอาสวะ
โพชฌงค์ ๗ วิปปยุตจากอาสวะ โพชฌงค์ ๗ ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะ

๔-๙. สัญโญชนโคจฉกาทิวิสัชนา
โพชฌงค์ ๗ ไม่เป็นสังโยชน์ ฯลฯ ไม่เป็นคันถะ ฯลฯ ไม่เป็นโอฆะ ฯลฯ
ไม่เป็นโยคะ ฯลฯ ไม่เป็นนิวรณ์ ฯลฯ ไม่เป็นปรามาส ฯลฯ

๑๐-๑๒. มหันตรทุกาทิวิสัชนา
โพชฌงค์ ๗ รับรู้อารมณ์ได้ โพชฌงค์ ๗ ไม่เป็นจิต
โพชฌงค์ ๗ เป็นเจตสิก โพชฌงค์ ๗ สัมปยุตด้วยจิต
โพชฌงค์ ๗ ระคนกับจิต โพชฌงค์ ๗ มีจิตเป็นสมุฏฐาน
โพชฌงค์ ๗ เกิดพร้อมกับจิต โพชฌงค์ ๗ เป็นไปตามจิต
โพชฌงค์ ๗ ระคนกับจิตและมีจิตเป็นสมุฏฐาน โพชฌงค์ ๗ ระคนกับจิตมี
จิตเป็นสมุฏฐานและเกิดพร้อมกับจิต
โพชฌงค์ ๗ ระคนกับจิตมีจิตเป็นสมุฏฐานและเป็นไปตามจิต โพชฌงค์ ๗
เป็นภายนอก
โพชฌงค์ ๗ ไม่เป็นอุปาทายรูป โพชฌงค์ ๗ กรรมอันประกอบด้วยตัณหา
และทิฏฐิไม่ยึดถือ
โพชฌงค์ ๗ ไม่เป็นอุปาทาน ฯลฯ ไม่เป็นกิเลส ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๓๖๙ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๐.โพชฌังควิภังค์] ๓.ปัญหาปุจฉกะ ๒.ทุกมาติกาวิสัชนา
๑๓. ปิฏฐิทุกวิสัชนา
โพชฌงค์ ๗ ไม่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรค โพชฌงค์ ๗ ไม่ต้อง
ประหาณด้วยมรรคเบื้องบน ๓
โพชฌงค์ ๗ ไม่มีเหตุต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรค โพชฌงค์ ๗ ไม่มี
เหตุต้องประหาณด้วยมรรคเบื้องบน ๓
โพชฌงค์ ๗ ที่มีวิตกก็มี ที่ไม่มีวิตกก็มี โพชฌงค์ ๗ ที่มีวิจารก็มี ที่ไม่มี
วิจารก็มี
ปีติสัมโพชฌงค์ไม่มีปีติ โพชฌงค์ ๖ ที่มีปีติก็มี ที่ไม่มีปีติก็มี
ปีติสัมโพชฌงค์ไม่สหรคตด้วยปีติ โพชฌงค์ ๖ ที่สหรคตด้วยปีติก็มี ที่ไม่
สหรคตด้วยปีติก็มี
ปีติสัมโพชฌงค์สหรคตด้วยสุข โพชฌงค์ ๖ ที่สหรคตด้วยสุขก็มี ที่ไม่
สหรคตด้วยสุขก็มี
ปีติสัมโพชฌงค์ไม่สหรคตด้วยอุเบกขา โพชฌงค์ ๖ ที่สหรคตด้วยอุเบกขา
ก็มี ที่ไม่สหรคตด้วยอุเบกขาก็มี
โพชฌงค์ ๗ ไม่เป็นกามาวจร โพชฌงค์ ๗ ไม่เป็นรูปาวจร
โพชฌงค์ ๗ ไม่เป็นอรูปาวจร โพชฌงค์ ๗ ไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์
โพชฌงค์ ๗ ที่เป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ก็มี ที่ไม่เป็นเหตุนำออกจาก
วัฏฏทุกข์ก็มี โพชฌงค์ ๗ ที่ให้ผลแน่นอนก็มี ที่ให้ผลไม่แน่นอนก็มี
โพชฌงค์ ๗ ไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า โพชฌงค์ ๗ ไม่เป็นเหตุให้สัตว์ร้องไห้

ปัญหาปุจฉกะ จบ

โพชฌังควิภังค์ จบบริบูรณ์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๓๗๐ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๑. มัคควิภังค์] ๑. สุตตันตภาชนีย์
๑๑. มัคควิภังค์
๑. สุตตันตภาชนีย์
อริยมรรคมีองค์ ๘ นัยที่ ๑
[๔๘๖] อริยมรรคมีองค์ ๘ คือ

๑. สัมมาทิฏฐิ (เห็นชอบ) ๒. สัมมาสังกัปปะ (ดำริชอบ)
๓. สัมมาวาจา (เจรจาชอบ) ๔. สัมมากัมมันตะ (กระทำชอบ)
๕. สัมมาอาชีวะ (เลี้ยงชีพชอบ) ๖. สัมมาวายามะ (เพียรชอบ)
๗. สัมมาสติ (ระลึกชอบ) ๘. สัมมาสมาธิ (ตั้งจิตมั่นชอบ)

[๔๘๗] บรรดาอริยมรรคมีองค์ ๘ เหล่านั้น สัมมาทิฏฐิ เป็นไฉน
ความรู้ในทุกข์ ความรู้ในทุกขสมุทัย ความรู้ในทุกขนิโรธ ความรู้ในทุกข-
นิโรธคามินีปฏิปทา นี้เรียกว่า สัมมาทิฏฐิ (๑)
สัมมาสังกัปปะ เป็นไฉน
ความดำริในการออกจากกาม ความดำริในการไม่พยาบาท ความดำริใน
การไม่เบียดเบียน นี้เรียกว่า สัมมาสังกัปปะ (๒)
สัมมาวาจา เป็นไฉน
เจตนาเป็นเหตุงดเว้นจากการพูดเท็จ เจตนาเป็นเหตุงดเว้นจากการพูดส่อเสียด
เจตนาเป็นเหตุงดเว้นจากการพูดคำหยาบ เจตนาเป็นเหตุงดเว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ
นี้เรียกว่า สัมมาวาจา (๓)
สัมมากัมมันตะ เป็นไฉน
เจตนาเป็นเหตุงดเว้นจากการฆ่าสัตว์ เจตนาเป็นเหตุงดเว้นจากการลักทรัพย์
เจตนาเป็นเหตุงดเว้นจากการประพฤติผิดในกาม นี้เรียกว่า สัมมากัมมันตะ (๔)
สัมมาอาชีวะ เป็นไฉน
พระอริยสาวกในธรรมวินัยนี้ละมิจฉาอาชีวะแล้ว เลี้ยงชีวิตอยู่ด้วยสัมมาอาชีวะ
นี้เรียกว่า สัมมาอาชีวะ (๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๓๗๑ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๑. มัคควิภังค์] ๑. สุตตันตภาชนีย์
สัมมาวายามะ เป็นไฉน
ภิกษุในธรรมวินัยนี้สร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต
มุ่งมั่นเพื่อป้องกันบาปอกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดมิให้เกิดขึ้น
... เพื่อละบาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว
... เพื่อทำกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น
... เพื่อความดำรงอยู่ ไม่เลือนหาย ภิยโยภาพ ไพบูลย์ เจริญเต็มที่แห่ง
กุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว นี้เรียกว่า สัมมาวายามะ (๖)
สัมมาสติ เป็นไฉน
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ
พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
๒. พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ
มีสติ พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
๓. พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ
พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
๔. พิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ
พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
นี้เรียกว่า สัมมาสติ (๗)
สัมมาสมาธิ เป็นไฉน
ภิกษุในธรรมวินัยนี้สงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลาย บรรลุปฐมฌานที่มี
วิตก มีวิจาร มีปีติและสุขอันเกิดจากวิเวกอยู่ เพราะวิตกวิจารสงบระงับไปแล้ว บรรลุ
ทุติยฌานที่มีความผ่องใสในภายใน มีภาวะที่จิตเป็นหนึ่งผุดขึ้น ไม่มีวิตกไม่มีวิจาร มี
แต่ปีติและสุขอันเกิดจากสมาธิอยู่ เพราะปีติจางคลายไป มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ
เสวยสุขด้วยนามกาย บรรลุตติยฌานที่พระอริยะทั้งหลายกล่าวสรรเสริญว่า ผู้มี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๓๗๒ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๑.มัคควิภังค์] ๒.อภิธรรมภาชนีย์
อุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข เพราะละสุขและทุกข์ได้ เพราะโสมนัส และโทมนัสดับ
ไปก่อน บรรลุจตุตถฌานที่ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขาอยู่ นี้เรียกว่า
สัมมาสมาธิ (๘)

อริยมรรคมีองค์ ๘
[๔๘๘] อริยมรรคมีองค์ ๘ คือ

๑. สัมมาทิฏฐิ ๒. สัมมาสังกัปปะ
๓. สัมมาวาจา ๔. สัมมากัมมันตะ
๕. สัมมาอาชีวะ ๖. สัมมาวายามะ
๗. สัมมาสติ ๘. สัมมาสมาธิ

[๔๘๙] บรรดาอริยมรรคมีองค์ ๘ นั้น สัมมาทิฏฐิ เป็นไฉน
ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญสัมมาทิฏฐิที่อาศัยวิเวก วิราคะ และนิโรธ น้อมไป
เพื่อความปล่อยวาง ฯลฯ เจริญสัมมาสังกัปปะ ฯลฯ เจริญสัมมาวาจา ฯลฯ
เจริญสัมมากัมมันตะ ฯลฯ เจริญสัมมาอาชีวะ ฯลฯ เจริญสัมมาวายามะ ฯลฯ
เจริญสัมมาสติ ฯลฯ เจริญสัมมาสมาธิที่อาศัยวิเวก วิราคะ และนิโรธ น้อมไป
เพื่อความปล่อยวาง
สุตตันตภาชนีย์ จบ

๒. อภิธรรมภาชนีย์
[๔๙๐] มรรคมีองค์ ๘ คือ
๑. สัมมาทิฏฐิ
ฯลฯ
๘. สัมมาสมาธิ
[๔๙๑] บรรดาสภาวธรรมเหล่านั้น มรรคมีองค์ ๘ เป็นไฉน
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เจริญฌานที่เป็นโลกุตตระซึ่งเป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ ให้
ถึงนิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๓๗๓ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๑.มัคควิภังค์] ๒.อภิธรรมภาชนีย์
ที่เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น มรรคมีองค์ ๘ คือ
สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ ก็เกิดขึ้น
[๔๙๒] บรรดามรรคมีองค์ ๘ เหล่านั้น สัมมาทิฏฐิ เป็นไฉน
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลงงมงาย ความเลือกเฟ้นธรรม
สัมมาทิฏฐิ ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์มรรค นับเนื่องในมรรค นี้เรียกว่า
สัมมาทิฏฐิ๑ (๑)
สัมมาสังกัปปะ เป็นไฉน
ความตรึก ความตรึกโดยอาการต่าง ๆ ความดำริ ความที่จิตแนบแน่นใน
อารมณ์ ความที่จิตแนบสนิทในอารมณ์ ความยกจิตขึ้นสู่อารมณ์ สัมมาสังกัปปะ
อันเป็นองค์มรรค นับเนื่องในมรรค นี้เรียกว่า สัมมาสังกัปปะ๒ (๒)
สัมมาวาจา เป็นไฉน
ความงด ความเว้น ความเว้นขาด เจตนาเป็นเหตุเว้นจากวจีทุจริต ๔ การไม่
ทำ การเลิกทำ การไม่ล่วงละเมิด การไม่ล้ำเขต การกำจัดต้นเหตุ(แห่งวจีทุจริต ๔)
สัมมาวาจา อันเป็นองค์มรรค นับเนื่องในมรรค นี้เรียกว่า สัมมาวาจา๓ (๓)
สัมมากัมมันตะ เป็นไฉน
ความงด ความเว้น ความเว้นขาด เจตนาเป็นเหตุเว้นจากกายทุจริต ๓ การไม่
ทำ การเลิกทำ การไม่ล่วงละเมิด การไม่ล้ำเขต การกำจัดต้นเหตุ(แห่งกายทุจริต ๓)
สัมมากัมมันตะ อันเป็นองค์มรรค นับเนื่องในมรรค นี้เรียกว่า สัมมากัมมันตะ๔ (๔)
สัมมาอาชีวะ เป็นไฉน
ความงด ความเว้น ความเว้นขาด เจตนาเป็นเหตุเว้นจากมิจฉาอาชีวะ การไม่
ทำ การเลิกทำ การไม่ล่วงละมิด การไม่ล้ำเขต การกำจัดต้นเหตุ(แห่งมิจฉาอาชีวะ)
สัมมาอาชีวะ อันเป็นองค์มรรค นับเนื่องในมรรค นี้เรียกว่า สัมมาอาชีวะ๕ (๕)

เชิงอรรถ :
๑ อภิ.สงฺ. ๓๔/๒๙๗/๘๘ ๒ อภิ.สงฺ. ๓๔/๒๙๘/๘๘ ๓ อภิ.สงฺ. ๓๔/๒๙๙/๘๘
๔ อภิ.สงฺ. ๓๔/๓๐๐/๘๙ ๕ อภิ.สงฺ. ๓๔/๓๐๑/๘๙

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๓๗๔ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๑.มัคควิภังค์] ๒.อภิธรรมภาชนีย์
สัมมาวายามะ เป็นไฉน
การปรารภความเพียรทางใจ ฯลฯ สัมมาวายามะ วิริยสัมโพชฌงค์ อัน
เป็นองค์มรรค นับเนื่องในมรรค นี้เรียกว่า สัมมาวายามะ๑ (๖)
สัมมาสติ เป็นไฉน
สติ ความตามระลึก ฯลฯ สัมมาสติ สติสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์มรรค
นับเนื่องในมรรค นี้เรียกว่า สัมมาสติ๒ (๗)
สัมมาสมาธิ เป็นไฉน
ความตั้งอยู่แห่งจิต ฯลฯ สัมมาสมาธิ สมาธิสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์มรรค
นับเนื่องในมรรค นี้เรียกว่า สัมมาสมาธิ๓ (๘)
นี้เรียกว่า มรรคมีองค์ ๘ สภาวธรรมที่เหลือชื่อว่าสัมปยุตด้วยมรรคมีองค์ ๘

ปัญจังคิกวาร
เอกโตปุจฉาวิสัชนานัย
[๔๙๓] มรรคมีองค์ ๕ คือ

๑. สัมมาทิฏฐิ ๒. สัมมาสังกัปปะ
๓. สัมมาวายามะ ๔. สัมมาสติ
๕. สัมมาสมาธิ

[๔๙๔] บรรดาสภาวธรรมเหล่านั้น มรรคมีองค์ ๕ เป็นไฉน
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เจริญฌานที่เป็นโลกุตตระซึ่งเป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ ให้
ถึงนิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน
ที่เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น มรรคมีองค์ ๕ คือ
สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ และสัมมาสมาธิ ก็เกิดขึ้น

เชิงอรรถ :
๑ อภิ.สงฺ. ๓๔/๓๐๒/๘๙ ๒ อภิ.สงฺ. ๓๔/๓๐๓/๘๙ ๓ อภิ.สงฺ. ๓๔/๓๐๔/๘๙

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๓๗๕ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๑.มัคควิภังค์] ๒.อภิธรรมภาชนีย์
[๔๙๕] บรรดามรรคมีองค์ ๕ นั้น สัมมาทิฏฐิ เป็นไฉน
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลงงมงาย ความเลือกเฟ้นธรรม
สัมมาทิฏฐิ ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์มรรค นับเนื่องในมรรค นี้เรียกว่า
สัมมาทิฏฐิ
สัมมาสังกัปปะ เป็นไฉน
ความตรึก ความตรึกโดยอาการต่าง ๆ ความดำริ ฯลฯ อันเป็นองค์มรรค
นับเนื่องในมรรค นี้เรียกว่า สัมมาสังกัปปะ
สัมมาวายามะ เป็นไฉน
การปรารภความเพียรทางใจ ฯลฯ สัมมาวายามะ วิริยสัมโพชฌงค์ อัน
เป็นองค์มรรค นับเนื่องในมรรค นี้เรียกว่า สัมมาวายามะ
สัมมาสติ เป็นไฉน
สติ ความตามระลึก ฯลฯ สัมมาสติ สติสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์มรรค
นับเนื่องในมรรค นี้เรียกว่า สัมมาสติ
สัมมาสมาธิ เป็นไฉน
ความตั้งอยู่แห่งจิต ฯลฯ สัมมาสมาธิ สมาธิสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์มรรค
นับเนื่องในมรรค นี้เรียกว่า สัมมาสมาธิ
นี้เรียกว่า มรรคมีองค์ ๕ สภาวธรรมที่เหลือชื่อว่าสัมปยุตด้วยมรรคมีองค์ ๕

ปาฏิเยกกปุจฉาวิสัชนานัย
[๔๙๖] มรรคมีองค์ ๕ คือ

๑. สัมมาทิฏฐิ ๒. สัมมาสังกัปปะ
๓. สัมมาวายามะ ๔. สัมมาสติ
๕. สัมมาสมาธิ

[๔๙๗] บรรดามรรคมีองค์ ๕ เหล่านั้น สัมมาทิฏฐิ เป็นไฉน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๓๗๖ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๑.มัคควิภังค์] ๒.อภิธรรมภาชนีย์
ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญฌานที่เป็นโลกุตตระซึ่งเป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ให้
ถึงนิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน
ที่เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด
ฯลฯ ความไม่หลงงมงาย ความเลือกเฟ้นธรรม สัมมาทิฏฐิ ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์
อันเป็นองค์มรรค นับเนื่องในมรรค นี้เรียกว่า สัมมาทิฏฐิ สภาวธรรมที่เหลือชื่อ
ว่าสัมปยุตด้วยสัมมาทิฏฐิ ฯลฯ
สภาวธรรมที่เหลือชื่อว่าสัมปยุตด้วยสัมมาสังกัปปะ ฯลฯ
สภาวธรรมที่เหลือชื่อว่าสัมปยุตด้วยสัมมาวายามะ ฯลฯ
สภาวธรรมที่เหลือชื่อว่าสัมปยุตด้วยสัมมาสติ
สัมมาสมาธิ เป็นไฉน
ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญฌานที่เป็นโลกุตตระซึ่งเป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ให้
ถึงนิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน
ที่เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ความตั้งอยู่แห่งจิต ฯลฯ
สัมมาสมาธิ สมาธิสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์มรรค นับเนื่องในมรรค นี้เรียกว่า
สัมมาสมาธิ สภาวธรรมที่เหลือชื่อว่าสัมปยุตด้วยสัมมาสมาธิ

อัฏฐังคิกวาร
[๔๙๘] มรรคมีองค์ ๘ คือ

๑. สัมมาทิฏฐิ ๒. สัมมาสังกัปปะ
๓. สัมมาวาจา ๔. สัมมากัมมันตะ
๕. สัมมาอาชีวะ ๖. สัมมาวายามะ
๗. สัมมาสติ ๘. สัมมาสมาธิ

[๔๙๙] บรรดาสภาวธรรมเหล่านั้น มรรคมีองค์ ๘ เป็นไฉน
ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญฌานที่เป็นโลกุตตระซึ่งเป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ให้ถึง
นิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๓๗๗ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๑.มัคควิภังค์] ๒.อภิธรรมภาชนีย์
ที่เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ
ก็เกิดขึ้น สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล
ภิกษุสงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌานที่เป็นสุญญตะ เป็นทุกขาปฏิปทา-
ทันธาภิญญา ซึ่งเป็นวิบาก เพราะได้ทำได้เจริญฌานที่เป็นโลกุตตรกุศลนั้นนั่นแหละ
อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น มรรคมีองค์ ๘ คือ สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ
ก็เกิดขึ้น นี้เรียกว่า มรรคมีองค์ ๘ สภาวธรรมที่เหลือชื่อว่าสัมปยุตด้วยมรรค
มีองค์ ๘

ปัญจังคิกวาร
เอกโตปุจฉาวิสัชนานัย
[๕๐๐] มรรคมีองค์ ๕ คือ

๑. สัมมาทิฏฐิ ๒. สัมมาสังกัปปะ
๓. สัมมาวายามะ ๔. สัมมาสติ
๕. สัมมาสมาธิ

[๕๐๑] บรรดาสภาวธรรมเหล่านั้น มรรคมีองค์ ๕ เป็นไฉน
ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญฌานที่เป็นโลกุตตระซึ่งเป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ให้
ถึงนิพพานเพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน
ที่เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ
ก็เกิดขึ้น สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล
ภิกษุสงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌานที่เป็นสุญญตะ เป็นทุกขาปฏิปทา-
ทันธาภิญญา ซึ่งเป็นวิบาก เพราะได้ทำได้เจริญฌานที่เป็นโลกุตตรกุศลนั้นนั่นแหละ
อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น มรรคมีองค์ ๕ คือ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ
สัมมาวายามะ สัมมาสติ และสัมมาสมาธิ ก็เกิดขึ้น นี้เรียกว่า มรรคมีองค์ ๕
สภาวธรรมที่เหลือชื่อว่าสัมปยุตด้วยมรรคมีองค์ ๕

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๓๗๘ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๑.มัคควิภังค์] ๒.อภิธรรมภาชนีย์
ปาฏิเยกกปุจฉาวิสัชนานัย
[๕๐๒] มรรคมีองค์ ๕ คือ

๑. สัมมาทิฏฐิ ๒. สัมมาสังกัปปะ
๓. สัมมาวายามะ ๔. สัมมาสติ
๕. สัมมาสมาธิ

[๕๐๓] บรรดามรรคมีองค์ ๕ นั้น สัมมาทิฏฐิ เป็นไฉน
ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญฌานที่เป็นโลกุตตระซึ่งเป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ให้
ถึงนิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน
ที่เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ
ก็เกิดขึ้น สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล
ภิกษุสงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน ที่เป็นสุญญตะ เป็นทุกขาปฏิปทา-
ทันธาภิญญา ซึ่งเป็นวิบาก เพราะได้ทำได้เจริญฌานที่เป็นโลกุตตรกุศลนั้นนั่นแหละ
อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลงงมงาย ความ
เลือกเฟ้นธรรม สัมมาทิฏฐิ ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์มรรค นับเนื่องใน
มรรค นี้เรียกว่า สัมมาทิฏฐิ สภาวธรรมที่เหลือชื่อว่าสัมปยุตด้วยสัมมาทิฏฐิ ฯลฯ
สภาวธรรมที่เหลือชื่อว่าสัมปยุตด้วยสัมมาสังกัปปะ ฯลฯ
สภาวธรรมที่เหลือชื่อว่าสัมปยุตด้วยสัมมาวายามะ ฯลฯ
สภาวธรรมที่เหลือชื่อว่าสัมปยุตด้วยสัมมาสติ
สัมมาสมาธิ เป็นไฉน
ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญฌานที่เป็นโลกุตตระซึ่งเป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ให้
ถึงนิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน
ที่เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ
ก็เกิดขึ้น สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล
ภิกษุสงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน ที่เป็นสุญญตะ เป็นทุกขาปฏิปทา-
ทันธาภิญญา ซึ่งเป็นวิบาก เพราะได้ทำได้เจริญฌานที่เป็นโลกุตตรกุศลนั้นนั่นแหละ
อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ความตั้งอยู่แห่งจิต ความตั้งมั่นด้วยดี ความดำรงมั่น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๓๗๙ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๑.มัคควิภังค์] ๓.ปัญหาปุจฉกะ ๑.ติกมาติกาวิสัชนา
ความไม่ซัดส่าย ความไม่ฟุ้งซ่านแห่งจิต ภาวะที่จิตไม่ซัดส่าย สมาธิ สมาธินทรีย์
สมาธิพละ สัมมาสมาธิ สมาธิสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์มรรค นับเนื่องในมรรค
นี้เรียกว่า สัมมาสมาธิ สภาวธรรมที่เหลือชื่อว่าสัมปยุตด้วยสัมมาสมาธิ
อภิธรรมภาชนีย์ จบ

๓. ปัญหาปุจฉกะ
[๕๐๔] อริยมรรคมีองค์ ๘๑ คือ

๑. สัมมาทิฏฐิ ๒. สัมมาสังกัปปะ
๓. สัมมาวาจา ๔. สัมมากัมมันตะ
๕. สัมมาอาชีวะ ๖. สัมมาวายามะ
๗. สัมมาสติ ๘. สัมมาสมาธิ

ติกมาติกาปุจฉา ทุกมาติกาปุจฉา
[๕๐๕] บรรดาองค์มรรค ๘ องค์มรรคเท่าไรเป็นกุศล เท่าไรเป็นอกุศล
เท่าไรเป็นอัพยากฤต ฯลฯ เท่าไรเป็นเหตุให้สัตว์ร้องไห้ เท่าไรไม่เป็นเหตุให้สัตว์ร้องไห้

๑. ติกมาติกาวิสัชนา
๑-๒๒. กุสลติกาทิวิสัชนา
[๕๐๖] องค์มรรค ๘ ที่เป็นกุศลก็มี ที่เป็นอัพยากฤตก็มี
สัมมาสังกัปปะสัมปยุตด้วยสุขเวทนา องค์มรรค ๗ ที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนา
ก็มี ที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนาก็มี
องค์มรรค ๘ ที่เป็นวิบากก็มี ที่เป็นเหตุให้เกิดวิบากก็มี
องค์มรรค ๘ กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือและไม่เป็น
อารมณ์ของอุปาทาน

เชิงอรรถ :
๑ อภิ.วิ.อ. ๔๘๖/๓๔๒.

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๓๘๐ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๑.มัคควิภังค์] ๓.ปัญหาปุจฉกะ ๑.ติกมาติกาวิสัชนา
องค์มรรค ๘ กิเลสไม่ทำให้เศร้าหมองและไม่เป็นอารมณ์ของกิเลส
สัมมาสังกัปปะไม่มีวิตกมีเพียงวิจาร องค์มรรค ๗ ที่มีทั้งวิตกและวิจารก็มี ที่
ไม่มีวิตกมีเพียงวิจารก็มี ที่ไม่มีทั้งวิตกและวิจารก็มี
สัมมาสังกัปปะสหรคตด้วยปีติ สหรคตด้วยสุขแต่ไม่สหรคตด้วยอุเบกขา องค์
มรรค ๗ ที่สหรคตด้วยปีติก็มี ที่สหรคตด้วยสุขก็มี ที่สหรคตด้วยอุเบกขาก็มี
องค์มรรค ๘ ไม่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคและมรรคเบื้องบน ๓
องค์มรรค ๘ ไม่มีเหตุต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคและมรรคเบื้องบน ๓
องค์มรรค ๘ ที่เป็นเหตุให้ถึงนิพพานก็มี ที่ไม่เป็นเหตุให้ถึงปฏิสนธิ จุติ และ
นิพพานก็มี
องค์มรรค ๘ ที่เป็นของเสขบุคคลก็มี ที่เป็นของอเสขบุคคลก็มี
องค์มรรค ๘ เป็นอัปปมาณะ
องค์มรรค ๘ มีอัปปมาณะเป็นอารมณ์
องค์มรรค ๘ เป็นชั้นประณีต
องค์มรรค ๘ ที่มีสภาวะชอบและให้ผลแน่นอนก็มี ที่ให้ผลไม่แน่นอนก็มี
องค์มรรค ๘ ไม่ใช่มีมรรคเป็นอารมณ์
องค์มรรค ๘ ที่มีมรรคเป็นเหตุก็มี ที่มีมรรคเป็นอธิบดีก็มี ที่กล่าวไม่ได้ว่า
มีมรรคเป็นเหตุ หรือมีมรรคเป็นอธิบดีก็มี
องค์มรรค ๘ ที่เกิดขึ้นก็มี ที่ยังไม่เกิดขึ้นก็มี ที่จักเกิดขึ้นแน่นอนก็มี
องค์มรรค ๘ ที่เป็นอดีตก็มี ที่เป็นอนาคตก็มี ที่เป็นปัจจุบันก็มี
องค์มรรค ๘ กล่าวไม่ได้ว่า มีอดีตธรรมเป็นอารมณ์ มีอนาคตธรรมเป็น
อารมณ์ หรือมีปัจจุบันธรรมเป็นอารมณ์
องค์มรรค ๘ ที่เป็นภายในตนก็มี ที่เป็นภายนอกตนก็มี ที่เป็นภายในตน
และภายนอกตนก็มี
องค์มรรค ๘ มีธรรมภายนอกตนเป็นอารมณ์
องค์มรรค ๘ เห็นไม่ได้และกระทบไม่ได้


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๓๘๑ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๑.มัคควิภังค์] ๓.ปัญหาปุจฉกะ ๒.ทุกมาติกาวิสัชนา
๒. ทุกมาติกาวิสัชนา
๑. เหตุโคจฉกวิสัชนา
[๕๐๗] สัมมาทิฏฐิเป็นเหตุ องค์มรรค ๗ ไม่เป็นเหตุ
องค์มรรค ๘ มีเหตุและสัมปยุตด้วยเหตุ
สัมมาทิฏฐิเป็นเหตุและมีเหตุ องค์มรรค ๗ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นเหตุและมี
เหตุหรือมีเหตุแต่ไม่เป็นเหตุ
สัมมาทิฏฐิเป็นเหตุและสัมปยุตด้วยเหตุ องค์มรรค ๗ กล่าวไม่ได้ว่า เป็น
เหตุและสัมปยุตด้วยเหตุ หรือสัมปยุตด้วยเหตุแต่ไม่เป็นเหตุ
องค์มรรค ๗ ไม่เป็นเหตุแต่มีเหตุ สัมมาทิฏฐิกล่าวไม่ได้ว่า ไม่เป็นเหตุแต่มีเหตุ
หรือไม่เป็นเหตุและไม่มีเหตุ

๒. จูฬันตรทุกวิสัชนา
องค์มรรค ๘ มีปัจจัยปรุงแต่ง องค์มรรค ๘ ถูกปัจจัยปรุงแต่ง
องค์มรรค ๘ เห็นไม่ได้ องค์มรรค ๘ กระทบไม่ได้
องค์มรรค ๘ ไม่เป็นรูป องค์มรรค ๘ เป็นโลกุตตระ
องค์มรรค ๘ จิตบางดวงรู้ได้ องค์มรรค ๘ จิตบางดวงรู้ไม่ได้

๓-๙. อาสวโคจฉกาทิวิสัชนา
องค์มรรค ๘ ไม่เป็นอาสวะ องค์มรรค ๘ ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะ
องค์มรรค ๘ วิปปยุตจากอาสวะ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นอาสวะและเป็นอารมณ์
ของอาสวะ หรือเป็นอารมณ์ของอาสวะแต่ไม่เป็นอาสวะ
องค์มรรค ๘ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นอาสวะและสัมปยุตด้วยอาสวะ หรือสัมปยุต
ด้วยอาสวะแต่ไม่เป็นอาสวะ
องค์มรรค ๘ วิปปยุตจากอาสวะ
องค์มรรค ๘ ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๓๘๒ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๑.มัคควิภังค์] ๓.ปัญหาปุจฉกะ ๒.ทุกมาติกาวิสัชนา
องค์มรรค ๘ ไม่เป็นสังโยชน์ ฯลฯ ไม่เป็นคันถะ ฯลฯ ไม่เป็นโอฆะ ฯลฯ
ไม่เป็นโยคะ ฯลฯ ไม่เป็นนิวรณ์ ฯลฯ ไม่เป็นปรามาส ฯลฯ

๑๐-๑๒. มหันตรทุกาทิวิสัชนา
องค์มรรค ๘ รับรู้อารมณ์ได้ องค์มรรค ๘ ไม่เป็นจิต
องค์มรรค ๘ เป็นเจตสิก องค์มรรค ๘ สัมปยุตด้วยจิต
องค์มรรค ๘ ระคนกับจิต องค์มรรค ๘ มีจิตเป็นสมุฏฐาน
องค์มรรค ๘ เกิดพร้อมกับจิต องค์มรรค ๘ เป็นไปตามจิต
องค์มรรค ๘ ระคนกับจิตและมีจิตเป็นสมุฏฐาน องค์มรรค ๘ ระคนกับจิต
มีจิตเป็นสมุฏฐานและเกิดพร้อมกับจิต
องค์มรรค ๘ ระคนกับจิตมีจิตเป็นสมุฏฐานและเป็นไปตามจิต องค์มรรค ๘
เป็นภายนอก
องค์มรรค ๘ ไม่เป็นอุปาทายรูป องค์มรรค ๘ กรรมอันประกอบด้วย
ตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือ
องค์มรรค ๘ ไม่เป็นอุปาทาน ฯลฯ ไม่เป็นกิเลส ฯลฯ

๑๓. ปิฏฐิทุกวิสัชนา
องค์มรรค ๘ ไม่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรค และมรรคเบื้องบน ๓
องค์มรรค ๘ ไม่มีเหตุต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรค และมรรคเบื้องบน ๓
สัมมาสังกัปปะไม่มีวิตก องค์มรรค ๗ ที่มีวิตกก็มี ที่ไม่มีวิตกก็มี
สัมมาสังกัปปะมีวิจาร องค์มรรค ๗ ที่มีวิจารก็มี ที่ไม่มีวิจารก็มี
สัมมาสังกัปปะมีปีติ องค์มรรค ๗ ที่มีปีติก็มี ที่ไม่มีปีติก็มี
สัมมาสังกัปปะ สหรคตด้วยปีติ องค์มรรค ๗ ที่สหรคตด้วยปีติก็มี ที่ไม่
สหรคตด้วยปีติก็มี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๓๘๓ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๑.มัคควิภังค์] ๓.ปัญหาปุจฉกะ ๒.ทุกมาติกาวิสัชนา
สัมมาสังกัปปะสหรคตด้วยสุข องค์มรรค ๗ ที่สหรคตด้วยสุขก็มี ที่ไม่
สหรคตด้วยสุขก็มี
สัมมาสังกัปปะไม่สหรคตด้วยอุเบกขา องค์มรรค ๗ ที่สหรคตด้วยอุเบกขา
ก็มี ที่ไม่สหรคตด้วยอุเบกขาก็มี
องค์มรรค ๘ ไม่เป็นกามาวจร
องค์มรรค ๘ ไม่เป็นรูปาวจร
องค์มรรค ๘ ไม่เป็นอรูปาวจร
องค์มรรค ๘ ไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์
องค์มรรค ๘ ที่เป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ก็มี ที่ไม่เป็นเหตุนำออกจาก
วัฏฏทุกข์ก็มี
องค์มรรค ๘ ที่ให้ผลแน่นอนก็มี ที่ให้ผลไม่แน่นอนก็มี
องค์มรรค ๘ ไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า
องค์มรรค ๘ ไม่เป็นเหตุให้สัตว์ร้องไห้

ปัญหาปุจฉกะ จบ

มัคควิภังค์ จบบริบูรณ์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๓๘๔ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๒. ฌานวิภังค์] ๑. สุตตันตภาชนีย์
๑๒. ฌานวิภังค์
๑. สุตตันตภาชนีย์
มาติกา
[๕๐๘] ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นผู้สำรวมด้วยปาติโมกขสังวรอยู่ ถึงพร้อมด้วย
อาจาระและโคจร เห็นภัยในโทษที่มีประมาณน้อย สมาทานศึกษาในสิกขาบททั้งหลาย
คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย รู้จักประมาณในการบริโภค หมั่นประกอบความ
เพียรเป็นเครื่องตื่นอยู่ตลอดปฐมยามและปัจฉิมยาม หมั่นประกอบความเพียรใน
การเจริญโพธิปักขิยธรรมอย่างต่อเนื่อง มีปัญญาเป็นอุบายในกิจทั้งปวง
ภิกษุนั้นทำความรู้สึกตัวในการก้าวไป การถอยกลับ ๑ ทำความรู้สึกตัวในการ
แลดู การเหลียวดู ๑ ทำความรู้สึกตัวในการคู้เข้า การเหยียดออก ๑ ทำความรู้สึก
ตัวในการครองผ้าสังฆาฏิ บาตร และจีวร ๑ ทำความรู้สึกตัวในการฉัน การดื่ม
การเคี้ยว การลิ้ม ๑ ทำความรู้สึกตัวในการถ่ายอุจจาระปัสสาวะ ๑ ทำความรู้สึกตัว
ในการเดิน การยืน การนั่ง การนอน การตื่น การพูด และการนิ่ง ๑
ภิกษุนั้นอาศัยเสนาสนะที่สงัด เช่น ป่า โคนไม้ ภูเขา ซอกเขา ถ้ำ ป่าช้า ดง
ที่แจ้ง กองฟาง ที่สงัดมีเสียงน้อย มีเสียงอึกทึกน้อย ไม่มีคนสัญจรไปมา ไม่มี
คนพลุกพล่าน เหมาะเป็นที่หลีกเร้น ภิกษุนั้นอยู่ป่า อยู่โคนไม้ หรืออยู่เรือนว่าง
นั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรงดำรงสติมั่นมุ่งเฉพาะกรรมฐาน
ภิกษุนั้นละอภิชฌาในโลกได้ มีจิตปราศจากอภิชฌาอยู่ ชำระจิตให้บริสุทธิ์จาก
อภิชฌา ละความพยาบาทและความคิดประทุษร้ายได้แล้ว มีจิตไม่พยาบาทอยู่ เป็น
ผู้อนุเคราะห์เกื้อกูลแก่สัตว์ทั้งมวล ชำระจิตให้บริสุทธิ์จากความพยาบาทและความ
คิดประทุษร้าย ละถีนมิทธะได้แล้ว เป็นผู้ปราศจากถีนมิทธะอยู่ เป็นผู้ได้อาโลก-
สัญญา มีสติสัมปชัญญะ ชำระจิตให้บริสุทธิ์จากถีนมิทธะ ละอุทธัจจกุกกุจจะได้แล้ว
เป็นผู้ ไม่ฟุ้งซ่านอยู่ มีจิตสงบภายในตน ชำระจิตให้บริสุทธิ์จากอุทธัจจกุกกุจจะ ละ
วิจิกิจฉาได้แล้ว เป็นผู้ข้ามวิจิกิจฉาได้แล้ว ไม่มีความสงสัยในกุศลธรรมอยู่ ชำระ
จิตให้บริสุทธิ์จากวิจิกิจฉา๑

เชิงอรรถ :
๑ ที.สี. ๙/๒๑๔-๒๑๗/๗๑-๗๒

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๓๘๕ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๒.ฌานวิภังค์] ๑.สุตตันตภาชนีย์
ภิกษุนั้นละนิวรณ์ ๕ เหล่านี้ที่เป็นเหตุทำให้จิตเศร้าหมอง ทอนกำลังปัญญา
สงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌานที่มีวิตก มีวิจาร มีปีติ
และสุขอันเกิดจากวิเวกอยู่ เพราะวิตกวิจารสงบระงับไปแล้ว บรรลุทุติยฌานที่มี
ความผ่องใสในภายใน มีภาวะที่จิตเป็นหนึ่งผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีแต่ปีติ
และสุขอันเกิดจากสมาธิอยู่
เพราะปีติจางคลายไป ภิกษุมีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย
บรรลุตติยฌานที่พระอริยะทั้งหลายกล่าวสรรเสริญว่า ผู้มีอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข
เพราะโสมนัสและโทมนัสดับไปก่อนแล้ว บรรลุจตุตถฌานที่ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข เพราะ
ละสุขและทุกข์ได้ มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขาอยู่ เพราะก้าวล่วงรูปสัญญาได้โดย
ประการทั้งปวง เพราะความดับไปแห่งปฏิฆสัญญา เพราะไม่มนสิการนานัตตสัญญา
จึงได้บรรลุอากาสานัญจายตนะ โดยบริกรรมว่า “อากาศไม่มีที่สุด” ดังนี้อยู่ เพราะ
ก้าวล่วงอากาสานัญจายตนะได้โดยประการทั้งปวง จึงได้บรรลุวิญญาณัญจายตนะ
โดยบริกรรมว่า “วิญญาณไม่มีที่สุด” ดังนี้อยู่ เพราะก้าวล่วงวิญญาณัญจายตนะได้
โดยประการทั้งปวง จึงได้บรรลุอากิญจัญญายตนะโดยบริกรรมว่า “อะไร ๆ สักน้อย
หนึ่งก็ไม่มี” ดังนี้ เพราะก้าวล่วงอากิญจัญญายตนะได้โดยประการทั้งปวง จึงได้
บรรลุเนวสัญญานาสัญญายตนะอยู่
มาติกา จบ

มาติกานิทเทส
[๕๐๙] คำว่า ในธรรมวินัยนี้ อธิบายว่า ในความเห็นนี้ ในความพอใจนี้
ในความชอบใจนี้ ในลัทธินี้ ในธรรมนี้ ในวินัยนี้ ในธรรมวินัยนี้ ในปาพจน์นี้
ในพรหมจรรย์นี้ และในคำสอนของพระศาสดานี้ เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า ในธรรม-
วินัยนี้๑
[๕๑๐] คำว่า ภิกษุ อธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุ เพราะสมัญญา ชื่อว่าภิกษุ
เพราะการปฏิญญาตน ชื่อว่าภิกษุ เพราะขอ ชื่อว่าภิกษุ เพราะเป็นผู้ขอ ชื่อว่าภิกษุ

เชิงอรรถ :
๑ ขุ.ป. ๓๑/๑๖๔/๑๘๗, ๑๐/๔๑๙

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๓๘๖ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๒.ฌานวิภังค์] ๑.สุตตันตภาชนีย์
เพราะเป็นผู้เข้าถึงภิกขาจาร ชื่อว่าภิกษุ เพราะทรงผ้าที่ถูกทำลาย๑ ชื่อว่าภิกษุ
เพราะทำลายบาปอกุศลธรรมได้แล้ว ชื่อว่าภิกษุ เพราะละกิเลสได้เฉพาะส่วน ชื่อ
ว่าภิกษุ เพราะละกิเลสได้โดยไม่เฉพาะส่วน ชื่อว่าภิกษุ เพราะเป็นพระเสขะ ชื่อ
ว่าภิกษุ เพราะเป็นพระอเสขะ ชื่อว่าภิกษุ เพราะไม่เป็นพระเสขะและพระอเสขะ
ชื่อว่าภิกษุ เพราะเป็นผู้เลิศ ชื่อว่าภิกษุ เพราะเป็นผู้เจริญ ชื่อว่าภิกษุ เพราะเป็นผู้
ผุดผ่อง ชื่อว่าภิกษุ เพราะเป็นผู้มีสาระ ชื่อว่าภิกษุ เพราะเป็นผู้อุปสมบทด้วย
ญัตติจตุตถกรรมที่ไม่กำเริบ๒ สมควรแก่เหตุ ด้วยสงฆ์ผู้พร้อมเพียงกัน
[๕๑๑] คำว่า ปาติโมกข์ อธิบายว่า ศีลเป็นที่พึ่ง เป็นเบื้องต้น เป็นความ
ประพฤติ เป็นความสำรวม เป็นความระวัง เป็นหัวหน้า เป็นประธาน เพื่อ
ความถึงพร้อมแห่งธรรมที่เป็นกุศล
คำว่า สังวร อธิบายว่า ความไม่ล่วงละเมิดทางกาย ทางวาจา และทั้งทาง
กายและวาจา
คำว่า เป็นผู้สำรวม อธิบายว่า เป็นผู้เข้าไปถึงแล้ว เข้าไปถึงแล้วด้วยดี
เข้ามาถึงแล้ว เข้ามาถึงพร้อมแล้วด้วยดี เข้าถึงแล้ว เข้าถึงแล้วด้วยดี ประกอบแล้ว
ด้วยปาติโมกขสังวรนี้ เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า เป็นผู้สำรวมด้วยปาติโมกขสังวร
[๕๑๒] คำว่า อยู่ อธิบายว่า สืบเนื่องกันอยู่ ดำเนินไปอยู่ รักษาอยู่ เป็นไป
อยู่ ให้เป็นไปอยู่ เที่ยวไปอยู่ พักอยู่ เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า อยู่
[๕๑๓] คำว่า ถึงพร้อมด้วยอาจาระและโคจร อธิบายว่า อาจาระก็มี
อนาจาระก็มี
ใน ๒ อย่างนั้น อนาจาระ เป็นไฉน
ความล่วงละเมิดทางกาย ทางวาจา ทั้งทางกายและวาจา นี้เรียกว่า อนาจาระ
ความเป็นผู้ทุศีลแม้ทั้งหมดก็เรียกว่า อนาจาระ

เชิงอรรถ :
๑ วิ.อ. ๑/๔๕/๒๕๓ ๒ คือถูกต้อง มั่นคง (วิ.มหาวิ. ๑/๔๕/๓๓, อภิ.วิ.อ. ๕๑๐/๓๕๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๓๘๗ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๒.ฌานวิภังค์] ๑.สุตตันตภาชนีย์
ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้เลี้ยงชีวิตด้วยการให้ไม้ไผ่ ให้ใบไม้ ให้ดอกไม้ ให้
ผลไม้ ให้เครื่องสนาน ให้ไม้ชำระฟัน การพูดยกย่องเพราะต้องการประจบให้เขารัก
การพูดทีเล่นทีจริงเหมือนแกงถั่ว การรับเลี้ยงเด็ก การรับใช้ส่งข่าวสาร หรือด้วย
มิจฉาอาชีวะอย่างใดอย่างหนึ่งที่พระพุทธเจ้าทรงรังเกียจ นี้เรียกว่า อนาจาระ
อาจาระ เป็นไฉน
ความไม่ล่วงละเมิดทางกาย ทางวาจา ทั้งทางกายและวาจา นี้เรียกว่า
อาจาระ ศีลสังวรแม้ทั้งหมดก็เรียกว่า อาจาระ
ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ไม่เลี้ยงชีวิตด้วยการให้ไม้ไผ่ ให้ใบไม้ ให้ดอกไม้ ให้
ผลไม้ ให้เครื่องสนาน ให้ไม้ชำระฟัน การพูดยกย่องเพราะต้องการประจบให้เขารัก
การพูดทีเล่นทีจริงเหมือนแกงถั่ว การรับเลี้ยงเด็ก การรับใช้ส่งข่าวสาร หรือด้วย
มิจฉาอาชีวะอย่างใดอย่างหนึ่งที่พระพุทธเจ้าทรงรังเกียจ นี้เรียกว่า อาจาระ
[๕๑๔] คำว่า โคจร อธิบายว่า โคจรก็มี อโคจรก็มี
ใน ๒ อย่างนั้น อโคจร เป็นไฉน
ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้เป็นผู้มีหญิงแพศยาเป็นโคจร มีหญิงหม้ายเป็นโคจร
มีสาวเทื้อเป็นโคจร มีบัณเฑาะก์เป็นโคจร มีภิกษุณีเป็นโคจร หรือมีร้านสุราเป็น
โคจร เป็นผู้อยู่คลุกคลีกับพระราชา มหาอำมาตย์ของพระราชา เดียรถีย์ สาวก
เดียรถีย์ ด้วยการคลุกคลีกับคฤหัสถ์ที่ไม่สมควร หรือเสพ คบ เข้าไปนั่งใกล้ตระกูล
ที่ไม่มีศรัทธา ไม่เลื่อมใส ไม่เป็นดุจบ่อน้ำ มักด่าและบริภาษ ๑ปรารถนาแต่สิ่งที่
มิใช่ประโยชน์ ปรารถนาแต่สิ่งที่ไม่เกื้อกูล ปรารถนาแต่สิ่งที่ไม่ผาสุก ไม่ปรารถนา
ความหลุดพ้นจากโยคะแก่พวกภิกษุ ภิกษุณี อุบาสกและอุบาสิกาเช่นนั้น นี้เรียกว่า
อโคจร๒
โคจร เป็นไฉน
ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ไม่เป็นผู้มีหญิงแพศยาเป็นโคจร ไม่เป็นผู้มีหญิง
หม้ายเป็นโคจร ไม่เป็นผู้มีสาวเทื้อเป็นโคจร ไม่เป็นผู้มีบัณเฑาะก์เป็นโคจร ไม่เป็น
ผู้มีภิกษุณีเป็นโคจร ไม่เป็นผู้มีร้านสุราเป็นโคจร ไม่อยู่คลุกคลีกับพระราชา

เชิงอรรถ :
๑ อภิ.วิ.อ. ๑๙๙/๑๑๔ ๒ ขุ.ม. ๒๙/๑๙๖/๔๐๒

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๓๘๘ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๒.ฌานวิภังค์] ๑.สุตตันตภาชนีย์
มหาอำมาตย์ของพระราชา เดียรถีย์ สาวกเดียรถีย์ ด้วยการคลุกคลีกับคฤหัสถ์
ที่ไม่สมควร หรือเสพ คบ เข้าไปนั่งใกล้ตระกูลที่มีศรัทธาเลื่อมใสเป็นดุจบ่อน้ำ รุ่ง
เรืองไปด้วยผ้ากาสาวะ๑ อบอวลไปด้วยกลิ่นของฤษี ปรารถนาแต่สิ่งที่เป็นประโยชน์
ปรารถนาแต่สิ่งที่เกื้อกูล ปรารถนาแต่สิ่งที่เป็นความผาสุก ปรารถนาแต่ความหลุด
พ้นจากโยคะแก่พวกภิกษุ ภิกษุณี อุบาสกและอุบาสิกาเช่นนั้น นี้เรียกว่า โคจร
ภิกษุเป็นผู้เข้าไปถึงแล้ว ฯลฯ ประกอบแล้วด้วยอาจาระนี้และด้วยโคจรนี้
ด้วยประการฉะนี้ เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า ถึงพร้อมด้วยอาจาระและโคจร๒
[๕๑๕] ในคำว่า เห็นภัยในโทษมีประมาณน้อย อธิบายว่า ในคำว่า เห็น
ภัยในโทษมีประมาณน้อย นั้น โทษมีประมาณน้อย เป็นไฉน
โทษอย่างต่ำ อย่างเบา ที่สมมติกันว่าโทษเบา ที่จะพึงทำด้วยความสำรวม
ระวัง และด้วยจิตตุปบาทที่เนื่องด้วยมนสิการ เหล่านี้เรียกว่า โทษมีประมาณน้อย
ภิกษุเป็นผู้เห็นโทษ ภัย ความชั่วร้าย และเห็นการสลัดออกในโทษที่มีประมาณ
น้อยเหล่านี้ เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า เห็นภัยในโทษมีประมาณน้อย ด้วยประการฉะนี้
[๕๑๖] ในคำว่า สมาทานศึกษาในสิกขาทั้งหลาย นั้น สิกขา เป็นไฉน
สิกขา ๔ คือ
๑. สิกขาของภิกษุ เรียกว่า ภิกขุสิกขา
๒. สิกขาของภิกษุณี เรียกว่า ภิกขุนีสิกขา
๓. สิกขาของอุบาสก เรียกว่า อุปาสกสิกขา
๔. สิกขาของอุบาสิกา เรียกว่า อุปาสิกาสิกขา
เหล่านี้เรียกว่า สิกขา
ภิกษุสมาทานในสิกขาเหล่านี้ทั้งหมดด้วยการสมาทานทุกอย่าง ไม่ให้มีส่วนเหลือ
ประพฤติอยู่ในสิกขาเหล่านี้ด้วยประการฉะนี้ เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า สมาทานศึกษา
ในสิกขาทั้งหลาย

เชิงอรรถ :
๑ คำว่า “ผ้ากาสาวะ” ได้แก่ ผ้าที่ย้อมด้วยน้ำฝาดมีน้ำแก่นขนุนเป็นต้น
๒ ขุ.ม. ๒๙/๑๙๖/๔๐๔

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๓๘๙ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๓.อัปปมัญญาวิภังค์] ๑.สุตตันตภาชนีย์
[๕๑๗] คำว่า คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย อธิบายว่า ความเป็นผู้คุ้ม
ครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลายก็มี ความเป็นผู้ไม่คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลายก็มี
ใน ๒ อย่างนั้น ความเป็นผู้ไม่คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย เป็นไฉน
ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้เห็นรูปด้วยตาแล้วรวบถือ แยกถือ ไม่ปฏิบัติเพื่อ
สำรวมจักขุนทรีย์นั้น ซึ่งเมื่อไม่สำรวมแล้วก็จะเป็นเหตุให้บาปอกุศลธรรมคืออภิชฌา
และโทมนัสครอบงำได้ ย่อมไม่รักษาจักขุนทรีย์ ไม่ถึงความสำรวมในจักขุนทรีย์ ฟัง
เสียงด้วยหู ฯลฯ สูดกลิ่นด้วยจมูก ฯลฯ ลิ้มรสด้วยลิ้น ฯลฯ ถูกต้องโผฏฐัพพะ
ด้วยกาย ฯลฯ รู้ธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว รวบถือ แยกถือ ไม่ปฏิบัติเพื่อสำรวม
มนินทรีย์นั้น ซึ่งเมื่อไม่สำรวมแล้วก็จะเป็นเหตุให้บาปอกุศลธรรมคืออภิชฌาและ
โทมนัสครอบงำได้ ย่อมไม่รักษามนินทรีย์ ไม่ถึงความสำรวมในมนินทรีย์ ความไม่
คุ้มครอง กิริยาที่ไม่คุ้มครอง ความไม่รักษา ความไม่สำรวมอินทรีย์ ๖ เหล่านี้ นี้
เรียกว่า ความเป็นผู้ไม่คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย๑
ความเป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย เป็นไฉน
ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ เห็นรูปทางตาแล้ว ไม่รวบถือ ไม่แยกถือ ย่อม
ปฏิบัติเพื่อสำรวมจักขุนทรีย์นั้น ซึ่งเมื่อไม่สำรวมแล้วก็จะเป็นเหตุให้บาปอกุศลธรรม
คืออภิชฌาและโทมนัสครอบงำได้ ย่อมรักษาจักขุนทรีย์ ถึงความสำรวมในจักขุนทรีย์
ฟังเสียงทางหู ฯลฯ สูดกลิ่นทางจมูก ฯลฯ ลิ้มรสทางลิ้น ฯลฯ ถูกต้องโผฏฐัพพะ
ทางกาย ฯลฯ รู้ธรรมารมณ์ทางใจแล้ว ไม่รวบถือ ไม่แยกถือ ย่อมปฏิบัติเพื่อ
สำรวมมนินทรีย์นั้น ซึ่งเมื่อไม่สำรวมแล้วก็จะเป็นเหตุให้บาปอกุศลธรรมคืออภิชฌา
และโทมนัสครอบงำได้ ย่อมรักษามนินทรีย์ ถึงความสำรวมในมนินทรีย์ ความ
คุ้มครอง กิริยาที่คุ้มครอง ความรักษา ความสำรวมอินทรีย์ ๖ เหล่านี้ นี้เรียกว่า
ความเป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย๒
ภิกษุเป็นผู้เข้าไปถึงแล้ว ฯลฯ ประกอบแล้วด้วยความเป็นผู้คุ้มครองทวารใน
อินทรีย์ทั้งหลาย เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า ความเป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย

เชิงอรรถ :
๑ อภิ.สงฺ. ๓๔/๑๓๕๒/๓๐๒, อภิ.วิ. ๓๕/๙๐๕/๔๔๐ ๒ อภิ.สงฺ. ๓๔/๑๓๕๔/๓๐๓

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๓๙๐ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๓.อัปปมัญญาวิภังค์] ๑.สุตตันตภาชนีย์
[๕๑๘] คำว่า รู้จักประมาณในการบริโภค อธิบายว่า ความเป็นผู้รู้จัก
ประมาณในการบริโภคก็มี ความเป็นผู้ไม่รู้จักประมาณในการบริโภคก็มี
ใน ๒ อย่างนั้น ความเป็นผู้ไม่รู้จักประมาณในการบริโภค เป็นไฉน
ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ไม่พิจารณาโดยแยบคาย บริโภคอาหารเพื่อเล่น
เพื่อความมัวเมา เพื่อประเทืองผิว เพื่อความอ้วนพี ความเป็นผู้ไม่สันโดษ ความ
เป็นผู้ไม่รู้จักประมาณ ความเป็นผู้ไม่พิจารณาในการบริโภคนั้น นี้เรียกว่า ความ
เป็นผู้ไม่รู้จักประมาณในการบริโภค๑
ความเป็นผู้รู้จักประมาณในการบริโภค เป็นไฉน
ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้พิจารณาโดยแยบคายว่า เราบริโภคอาหารไม่ใช่เพื่อ
เล่น เพื่อความมัวเมา เพื่อประเทืองผิว และเพื่อความอ้วนพี แต่เพื่อกายนี้ดำรงอยู่
เพื่อให้ชีวิตินทรีย์เป็นไป เพื่อบำบัดความหิว เพื่ออนุเคราะห์พรหมจรรย์ โดยอุบาย
นี้ เราจักกำจัดเวทนาเก่าเสียได้และจักไม่ให้เวทนาใหม่เกิดขึ้น ความเป็นไปแห่ง
ชีวิตินทรีย์ ความไม่มีโทษ และการอยู่โดยผาสุกจักมีแก่เรา ดังนี้ แล้วจึงบริโภค
อาหาร ความสันโดษ ความเป็นผู้รู้จักประมาณ การพิจารณาในการบริโภคนั้น
นี้เรียกว่า ความเป็นผู้รู้จักประมาณในการบริโภค๑
ภิกษุเป็นผู้เข้าไปถึงแล้ว ฯลฯ ประกอบแล้วด้วยความเป็นผู้รู้จักประมาณใน
การบริโภคนี้ เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า ความเป็นผู้รู้จักประมาณในการบริโภค
[๕๑๙] ภิกษุเป็นผู้หมั่นประกอบความเพียรเป็นเครื่องตื่นอยู่ตลอดปฐม-
ยามและปัจฉิมยาม เป็นไฉน
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ชำระจิตให้บริสุทธิ์จากธรรมที่กั้นจิตไม่ให้บรรลุความดีด้วย
การเดินจงกรม ด้วยการนั่งตลอดวัน ชำระจิตให้บริสุทธิ์จากธรรมที่กั้นจิตไม่ให้บรรลุ
ความดี ด้วยการเดินจงกรม ด้วยการนั่งตลอดปฐมยามแห่งราตรี สำเร็จสีหไสยาสน์
โดยการนอนตะแคงข้างขวา เท้าซ้อนเท้า มีสติสัมปชัญญะ ตั้งใจว่าจะลุกขึ้นตลอด
มัชฌิมยามแห่งราตรี ชำระจิตให้บริสุทธิ์จากธรรมที่กั้นจิตไม่ให้บรรลุความดีด้วยการ
เดินจงกรม ด้วยการนั่งตลอดปัจฉิมยามแห่งราตรี ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้หมั่นประกอบ
ความเพียรเป็นเครื่องตื่นอยู่ตลอดปฐมยามและปัจฉิมยามด้วยประการฉะนี้

เชิงอรรถ :
๑ อภิ.สงฺ. ๓๔/๑๓๕๓/๓๐๓, อภิ.วิ. ๓๕/๙๐๕/๔๔๑

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๓๙๑ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๒.ฌานวิภังค์] ๑.สุตตันตภาชนีย์
[๕๒๐] คำว่า ความเพียรที่เป็นไปติดต่อ อธิบายว่า การปรารภความเพียร
ทางใจ ฯลฯ สัมมาวายามะ
[๕๒๑] คำว่า ปัญญาเป็นอุบายในกิจทั้งปวง อธิบายว่า ปัญญา กิริยาที่
รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลงงมงาย ความเลือกเฟ้นธรรม สัมมาทิฏฐิ
[๕๒๒] ในคำว่า เป็นผู้หมั่นประกอบความเพียรในการเจริญโพธิปักขิยธรรม
นั้น โพธิปักขิยธรรม เป็นไฉน
โพชฌงค์ ๗ คือ

๑. สติสัมโพชฌงค์ ๒. ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์
๓. วิริยสัมโพชฌงค์ ๔. ปีติสัมโพชฌงค์
๕. ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ ๖. สมาธิสัมโพชฌงค์
๗. อุเปกขาสัมโพชฌงค์

เหล่านี้เรียกว่า โพธิปักขิยธรรม
ภิกษุเสพ เจริญ ทำให้มากซึ่งโพธิปักขิยธรรมเหล่านั้นด้วยประการฉะนี้ เพราะ
ฉะนั้นจึงเรียกว่า เป็นผู้หมั่นประกอบความเพียรในการเจริญโพธิปักขิยธรรม
[๕๒๓] ภิกษุทำความรู้สึกตัวในการก้าวไป การถอยกลับ
ทำความรู้สึกตัวในการแลดู การเหลียวดู
ทำความรู้สึกตัวในการคู้เข้า การเหยียดออก
ทำความรู้สึกตัวในการครองผ้าสังฆาฏิ บาตร จีวร
ทำความรู้สึกตัวในการฉัน การดื่ม การเคี้ยว การลิ้ม
ทำความรู้สึกตัวในการถ่ายอุจจาระปัสสาวะ
ทำความรู้สึกตัวในการเดิน การยืน การนั่ง การนอน การตื่น การพูด
การนิ่ง เป็นอย่างไร
ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นผู้มีสติสัมปชัญญะก้าวไป ถอยกลับ ๑ เป็นผู้มีสติ
สัมปชัญญะแลดู เหลียวดู ๑ เป็นผู้มีสติสัมปชัญญะคู้เข้า เหยียดออก ๑ เป็นผู้มีสติ
สัมปชัญญะในการครองผ้าสังฆาฏิ บาตร และจีวร ๑ เป็นผู้มีสติสัมปชัญญะใน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๓๙๒ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๒.ฌานวิภังค์] ๑.สุตตันตภาชนีย์
การฉัน การดื่ม การเคี้ยว การลิ้ม ๑ เป็นผู้มีสติสัมปชัญญะในการถ่ายอุจจาระ
ปัสสาวะ ๑ เป็นผู้มีสติสัมปชัญญะในการเดิน การยืน การนั่ง การนอน การตื่น
การพูด และการนิ่ง ๑
[๕๒๔] บรรดาสภาวธรรมเหล่านั้น สติ เป็นไฉน
สติ ความตามระลึก ความหวนระลึก สติ กิริยาที่ระลึก ความระลึก
ความทรงจำ ความไม่เลื่อนลอย ความไม่หลงลืม สติ สตินทรีย์ สติพละ สัมมาสติ
นี้เรียกว่า สติ๑
[๕๒๕] ในคำว่า มีสัมปชัญญะ นั้น สัมปชัญญะ เป็นไฉน
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ความวิจัย ความเลือกสรร ความวิจัยธรรม ความ
กำหนดหมาย ความเข้าไปกำหนด ความเข้าไปกำหนดเฉพาะ ภาวะที่รู้ ภาวะที่ฉลาด
ภาวะที่รู้ละเอียด ความรู้อย่างแจ่มแจ้ง ความคิดค้น ความใคร่ครวญ ปัญญา
เหมือนแผ่นดิน ปัญญาเครื่องทำลายกิเลส ปัญญาเครื่องนำทาง ความเห็นแจ้ง
ความรู้ดี ปัญญาเหมือนปฏัก ปัญญา ปัญญินทรีย์ ปัญญาพละ ปัญญาเหมือน
ศัสตรา ปัญญาเหมือนปราสาท ความสว่างคือปัญญา แสงสว่างคือปัญญา
ปัญญาเหมือนประทีป ปัญญาเหมือนดวงแก้ว ความไม่หลงงมงาย ความเลือก
เฟ้นธรรม สัมมาทิฏฐิ นี้เรียกว่า สัมปชัญญะ๒
ภิกษุเป็นผู้เข้าไปถึงแล้ว ฯลฯ ประกอบแล้วด้วยสตินี้และสัมปชัญญะนี้
ด้วยประการฉะนี้ ด้วยการปฏิบัติอย่างนี้ ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้มีสติสัมปชัญญะก้าวไป
ถอยกลับ ๑ เป็นผู้มีสติสัมปชัญญะแลดู เหลียวดู ๑ เป็นผู้มีสติสัมปชัญญะคู้เข้า
เหยียดออก ๑ เป็นผู้มีสติสัมปชัญญะในการครองสังฆาฏิ บาตร และจีวร ๑ เป็น
ผู้มีสติสัมปชัญญะในการฉัน การดื่ม การเคี้ยว การลิ้ม ๑ เป็นผู้มีสติสัมปชัญญะใน
การถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ ๑ เป็นผู้มีสติสัมปชัญญะในการเดิน การยืน การนั่ง
การนอน การตื่น การพูด และการนิ่ง ๑

เชิงอรรถ :
๑ อภิ.สงฺ. ๓๔/๑๓๕๘/๓๐๔ ๒ อภิ.สงฺ. ๓๔/๑๓๕๙/๓๐๔

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๓๙๓ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๒.ฌานวิภังค์] ๑.สุตตันตภาชนีย์
[๕๒๖] คำว่า สงัด อธิบายว่า แม้หากเสนาสนะจะอยู่ในที่ใกล้ แต่
เสนาสนะนั้นไม่พลุกพล่านด้วยเหล่าคฤหัสถ์และบรรพชิต เพราะฉะนั้น เสนาสนะนั้น
ชื่อว่าสงัด แม้หากเสนาสนะจะอยู่ในที่ที่ห่างไกล แต่เสนาสนะนั้นไม่พลุกพล่านด้วย
เหล่าคฤหัสถ์และบรรพชิต เพราะฉะนั้น เสนาสนะนั้นก็ชื่อว่าสงัด
[๕๒๗] คำว่า เสนาสนะ อธิบายว่า เสนาสนะ คือ เตียง ตั่ง ฟูก หมอน
วิหาร เพิง ปราสาท ป้อม โรงกลม ที่เร้นลับ ถ้ำ โคนไม้ พุ่มไผ่ หรือสถานที่
ที่ภิกษุยับยั้งอยู่ ที่ทั้งหมดนี้ชื่อว่าเสนาสนะ
[๕๒๘] คำว่า อาศัยเสนาสนะที่สงัดอยู่ อธิบายว่า อาศัย อาศัยอยู่ด้วยดี
พักอยู่ เข้าไปพักอยู่ พักอาศัยเสนาสนะที่สงัดนี้อยู่ เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า อาศัย
เสนาสนะที่สงัดอยู่
[๕๒๙] คำว่า ป่า อธิบายว่า สถานที่ออกไปนอกเขตเมืองทั้งหมด นี้ชื่อว่าป่า
[๕๓๐] คำว่า โคนไม้ อธิบายว่า รุกขมูลคือโคนไม้ บรรพตคือภูเขากันทระ
คือซอกเขา คิริคุหาคือถ้ำในภูเขา สุสานคือป่าช้า อัพโภกาสคือที่แจ้ง ปลาลปุญชะ
คือกองฟาง
[๕๓๑] คำว่า ดง นี้ เป็นชื่อของเสนาสนะที่ห่างไกล
คำว่า ดง นี้ เป็นชื่อของเสนาสนะที่มีป่าทึบ
คำว่า ดง นี้ เป็นชื่อของเสนาสนะที่น่าหวาดกลัว
คำว่า ดง นี้ เป็นชื่อของเสนาสนะที่น่ากลัวจนขนพองสยองเกล้า
คำว่า ดง นี้ เป็นชื่อของเสนาสนะที่ตั้งอยู่ปลายแดน
คำว่า ดง นี้ เป็นชื่อของเสนาสนะที่ไม่อยู่ใกล้มนุษย์
คำว่า ดง นี้ เป็นชื่อของเสนาสนะที่อยู่ได้ยาก
[๕๓๒] คำว่า มีเสียงน้อย อธิบายว่า แม้หากเสนาสนะจะอยู่ในที่ใกล้ แต่
เสนาสนะนั้นไม่พลุกพล่านด้วยเหล่าคฤหัสถ์และบรรพชิต เพราะฉะนั้น เสนาสนะนั้น
จึงชื่อว่ามีเสียงน้อย แม้หากเสนาสนะจะอยู่ในที่ห่างไกล แต่เสนาสนะนั้นไม่พลุก
พล่านด้วยเหล่าคฤหัสถ์และบรรพชิต เพราะฉะนั้น เสนาสนะนั้นก็ชื่อว่ามีเสียงน้อย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๓๙๔ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๒.ฌานวิภังค์] ๑.สุตตันตภาชนีย์
[๕๓๓] คำว่า มีเสียงอึกทึกน้อย อธิบายว่า เสนาสนะใดมีเสียงน้อย
เสนาสนะนั้นชื่อว่ามีเสียงอึกทึกน้อย เสนาสนะใดมีเสียงอึกทึกน้อย เสนาสนะนั้น
ชื่อว่าไม่มีคนสัญจรไปมา เสนาสนะใดไม่มีผู้คนสัญจรไปมา เสนาสนะนั้นชื่อว่าเป็น
สถานที่ที่มนุษย์แอบทำการได้๑ เสนาสนะใดเป็นสถานที่ที่มนุษย์แอบทำการได้
เสนาสนะนั้นก็ชื่อว่าสมควรเป็นที่หลีกเร้นอยู่
[๕๓๔] คำว่า เป็นผู้อยู่ป่า อยู่โคนไม้ หรืออยู่เรือนว่าง อธิบายว่า เป็น
ผู้อยู่ป่า อยู่โคนไม้ หรืออยู่เรือนว่าง
[๕๓๕] คำว่า นั่งคู้บัลลังก์ อธิบายว่า เป็นผู้นั่งขัดสมาธิ
[๕๓๖] คำว่า ตั้งกายตรง อธิบายว่า กายที่ดำรงไว้ ตั้งไว้ ย่อมเป็นกายตรง
[๕๓๗] ในคำว่า ดำรงสติมั่นมุ่งเฉพาะกรรมฐาน นั้น สติ เป็นไฉน
สติ ความตามระลึก ฯลฯ สัมมาสติ นี้เรียกว่า สติ
สตินี้เป็นอันภิกษุดำรงไว้มั่นแล้ว ตั้งไว้ดีแล้วที่ปลายจมูก หรือที่นิมิตเหนือ
ริมฝีปาก เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า ดำรงสติมั่นมุ่งเฉพาะกรรมฐาน
[๕๓๘] ในคำว่า ละอภิชฌาในโลกได้ นั้น อภิชฌา เป็นไฉน
ความกำหนัด ความกำหนัดนัก ฯลฯ ความกำหนัดนักแห่งจิต นี้เรียกว่า
อภิชฌา
โลก เป็นไฉน
อุปาทานขันธ์ ๕ ชื่อว่าโลก นี้เรียกว่า โลก
อภิชฌานี้เป็นอันสงบระงับ สงบเงียบ ดับไป ดับสิ้นไป ถูกทำให้พินาศไป
ให้พินาศย่อยยับไป ให้เหือดแห้งไป ให้เหือดแห้งไปด้วยดี ให้สิ้นไปแล้วในโลกนี้
เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า ละอภิชฌาในโลกได้
[๕๓๙] ในคำว่า มีจิตปราศจากอภิชฌา นั้น จิต เป็นไฉน
จิต มโน มานัส ฯลฯ มโนวิญญาณธาตุที่เหมาะสมกัน นี้เรียกว่า จิต

เชิงอรรถ :
๑ อภิ.วิ.อ. ๕๓๓/๓๙๔

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๓๙๕ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๒.ฌานวิภังค์] ๑.สุตตันตภาชนีย์
จิตนี้เป็นธรรมชาติปราศจากอภิชฌา เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า มีจิตปราศจาก
อภิชฌา
[๕๔๐] คำว่า อยู่ อธิบายว่า สืบเนื่องกันอยู่ ดำเนินไปอยู่ รักษาอยู่ เป็น
ไปอยู่ ให้เป็นไปอยู่ เที่ยวไปอยู่ พักอยู่ เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า อยู่
[๕๔๑] ในคำว่า ชำระจิตให้บริสุทธิ์จากอภิชฌา นั้น อภิชฌา เป็นไฉน
ความกำหนัด ความกำหนัดนัก ฯลฯ ความกำหนัดนักแห่งจิต นี้เรียกว่า
อภิชฌา
จิต เป็นไฉน
จิต มโน มานัส ฯลฯ มโนวิญญาณธาตุที่เหมาะสมกัน นี้เรียกว่า จิต
ภิกษุชำระจิตนี้ให้บริสุทธิ์ ให้ผุดผ่อง ให้หมดจด ให้หลุด ให้พ้น ให้หลุด
พ้นจากอภิชฌานี้ เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า ชำระจิตให้บริสุทธิ์จากอภิชฌา
[๕๔๒] คำว่า ละความพยาบาทและความคิดประทุษร้ายได้แล้ว อธิบาย
ว่า ความพยาบาทก็มี ความประทุษร้ายก็มี
ใน ๒ อย่างนั้น ความพยาบาท เป็นไฉน
จิตอาฆาต ความขัดเคือง ความกระทบกระทั่ง ความแค้น ความเคือง ความ
ขุ่นเคือง ความพลุ่งพล่าน โทสะ ความคิดประทุษร้าย ความคิดมุ่งร้าย ความขุ่นจิต
ธรรมชาติที่ประทุษร้ายใจ ความโกรธ กิริยาที่โกรธ ภาวะที่โกรธ มีลักษณะเช่นว่านี้
(และ) ความคิดประทุษร้าย กิริยาที่คิดประทุษร้าย ภาวะที่คิดประทุษร้าย ความคิด
ปองร้าย กิริยาที่คิดปองร้าย ภาวะที่คิดปองร้าย ความพิโรธ ความแค้น ความดุร้าย
ความเกรี้ยวกราด ความไม่แช่มชื่นแห่งจิต นี้เรียกว่า ความพยาบาท
ความคิดประทุษร้าย เป็นไฉน
ความพยาบาทอันใด อันนั้นเป็นความคิดประทุษร้าย ความคิดประทุษร้ายอัน
ใด อันนั้นเป็นความพยาบาท ความพยาบาทนี้ และความคิดประทุษร้ายนี้ เป็นอัน
สงบระงับ สงบเงียบ ดับไป ดับสิ้นไป ถูกทำให้พินาศไป ให้พินาศย่อยยับไป ให้
เหือดแห้งไป ให้เหือดแห้งไปด้วยดี ให้สิ้นไปแล้ว ด้วยประการฉะนี้ เพราะฉะนั้น
จึงเรียกว่า ละความพยาบาทและความคิดประทุษร้ายได้แล้ว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๓๙๖ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๒.ฌานวิภังค์] ๑.สุตตันตภาชนีย์
[๕๔๓] ในคำว่า มีจิตไม่พยาบาท นั้น จิต เป็นไฉน
จิต มโน มานัส ฯลฯ มโนวิญญาณธาตุที่เหมาะสมกัน นี้เรียกว่า จิต
จิตนี้เป็นจิตไม่พยาบาท เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า มีจิตไม่พยาบาท
[๕๔๔] คำว่า อยู่ อธิบายว่า สืบเนื่องกันอยู่ ฯลฯ พักอยู่ เพราะฉะนั้น
จึงเรียกว่าอยู่
[๕๔๕] คำว่า ชำระจิตให้บริสุทธิ์จากความพยาบาทและความคิดประทุษ
ร้าย อธิบายว่า ความพยาบาทก็มี ความคิดประทุษร้ายก็มี
ใน ๒ อย่างนั้น ความพยาบาท เป็นไฉน
จิตอาฆาต ความขัดเคือง ความกระทบกระทั่ง ความแค้น ความเคือง ความ
ขุ่นเคือง ความพลุ่งพล่าน โทสะ ความคิดประทุษร้าย ความคิดมุ่งร้าย ความขุ่นจิต
ธรรมชาติที่ประทุษร้ายใจ ความโกรธ กิริยาที่โกรธ ภาวะที่โกรธ มีลักษณะเช่นว่านี้
(และ) ความคิดประทุษร้าย กิริยาที่คิดประทุษร้าย ภาวะที่คิดประทุษร้าย ความคิด
ปองร้าย กิริยาที่คิดปองร้าย ภาวะที่คิดปองร้าย ความพิโรธ ความแค้น ความดุร้าย
ความเกรี้ยวกราด ความไม่แช่มชื่นแห่งจิต นี้เรียกว่า ความพยาบาท
ความคิดประทุษร้าย เป็นไฉน
ความพยาบาทอันใด อันนั้นเป็นความคิดประทุษร้าย ความคิดประทุษร้าย
อันใด อันนั้นเป็นความพยาบาท
จิต เป็นไฉน
จิต มโน มานัส ฯลฯ มโนวิญญาณธาตุที่เหมาะสมกัน นี้เรียกว่า จิต
ภิกษุชำระจิตนี้ให้บริสุทธิ์ ให้ผุดผ่อง ให้หมดจด ให้หลุด ให้พ้น ให้หลุด
พ้นจากความพยาบาทและความคิดประทุษร้ายนี้ เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า ชำระจิต
ให้บริสุทธิ์จากความพยาบาทและความคิดประทุษร้าย
[๕๔๖] คำว่า ละถีนมิทธะได้แล้ว อธิบายว่า ถีนมิทธะนั้นแยกเป็น ถีนะ
อย่างหนึ่ง มิทธะอย่างหนึ่ง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๓๙๗ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๒.ฌานวิภังค์] ๑.สุตตันตภาชนีย์
ใน ๒ อย่างนั้น ถีนะ เป็นไฉน
ความหดหู่ ความไม่ควรแก่การงาน ความท้อแท้ ความท้อถอยแห่งใจ ความ
ย่อหย่อน กิริยาที่ย่อหย่อน ภาวะที่ย่อหย่อน ความท้อถอย กิริยาที่ท้อถอย ภาวะ
ที่ท้อถอยแห่งใจ นี้เรียกว่า ถีนะ๑
มิทธะ เป็นไฉน
ความไม่สะดวกกาย ความไม่ควรแก่การงาน ความหงอยเหงา ความซบเซา
แห่งกาย ความง่วงนอน ความง่วงซึม ความหลับ ความโงกง่วง ความอยากหลับ
กิริยาที่อยากหลับ ภาวะที่อยากหลับ นี้เรียกว่า มิทธะ๒
ถีนะและมิทธะนี้ เป็นอันสงบระงับ สงบเงียบ ดับไป ดับสิ้นไป ถูกทำให้
พินาศไป ให้พินาศย่อยยับไป ให้เหือดแห้งไป ให้เหือดแห้งไปด้วยดี ให้สิ้นไปแล้ว
ด้วยประการฉะนี้ เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า ละถีนมิทธะได้แล้ว
[๕๔๗] คำว่า เป็นผู้ปราศจากถีนมิทธะ อธิบายว่า ชื่อว่าเป็นผู้ปราศจาก
ถีนมิทธะ เพราะสละ คลาย ปล่อย วาง สละคืน ละและสละคืนถีนมิทธะนั้นแล้ว
เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า เป็นผู้ปราศจากถีนมิทธะ
[๕๔๘] คำว่า อยู่ อธิบายว่า ฯลฯ เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า อยู่
[๕๔๙] ในคำว่า ได้อาโลกสัญญา นั้น สัญญา เป็นไฉน
ความจำได้ กิริยาที่จำได้ ภาวะที่จำได้ นี้เรียกว่า สัญญา สัญญานี้เป็น
ความสว่าง เปิดเผย บริสุทธิ์ ผ่องใส เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า ได้อาโลกสัญญา
[๕๕๐] ในคำว่า มีสติสัมปชัญญะ นั้น สติ เป็นไฉน
สติ ความตามระลึก ฯลฯ สัมมาสติ นี้เรียกว่า สติ
สัมปชัญญะ เป็นไฉน
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลงงมงาย ความเลือกเฟ้นธรรม
สัมมาทิฏฐิ นี้เรียกว่า สัมปชัญญะ

เชิงอรรถ :
๑ อภิ.สงฺ. ๓๔/๑๑๖๒/๒๗๐, อภิ.วิ. ๓๕/๕๕๑/๓๐๗ ๒ อภิ.สงฺ. ๓๔/๑๑๖๓/๒๗๐, อภิ.วิ. ๓๕/๕๕๑/๓๐๗

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๓๙๘ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๒.ฌานวิภังค์] ๑.สุตตันตภาชนีย์
ภิกษุเป็นผู้เข้าไปถึงแล้ว ฯลฯ ประกอบแล้วด้วยสตินี้และสัมปชัญญะนี้ด้วย
ประการฉะนี้ เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า มีสติสัมปชัญญะ
[๕๕๑] คำว่า ชำระจิตให้บริสุทธิ์จากถีนมิทธะ อธิบายว่า ถีนมิทธะนั้น
แยกเป็นถีนะอย่างหนึ่ง มิทธะอย่างหนึ่ง
ใน ๒ อย่างนั้น ถีนะ เป็นไฉน
ความหดหู่ ฯลฯ ภาวะที่ท้อถอยแห่งใจ นี้เรียกว่า ถีนะ
มิทธะ เป็นไฉน
ความไม่สะดวกกาย ฯลฯ ภาวะที่อยากหลับ นี้เรียกว่า มิทธะ
จิต เป็นไฉน
จิต มโน มานัส ฯลฯ มโนวิญญาณธาตุที่เหมาะสมกัน นี้เรียกว่า จิต
ภิกษุชำระจิตนี้ให้บริสุทธิ์ ให้ผุดผ่อง ให้หมดจด ให้หลุด ให้พ้น ให้หลุดพ้น
จากถีนมิทธะนี้ เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า ชำระจิตให้บริสุทธิ์จากถีนมิทธะ
[๕๕๒] คำว่า ละอุทธัจจกุกกุจจะได้แล้ว อธิบายว่า อุทธัจจกุกกุจจะนั้น
แยกเป็นอุทธัจจะอย่างหนึ่ง กุกกุจจะอย่างหนึ่ง
ใน ๒ อย่างนั้น อุทธัจจะ เป็นไฉน
ความฟุ้งซ่านแห่งจิต ความไม่สงบแห่งจิต ความซัดส่ายแห่งจิต ภาวะที่พล่าน
ไปแห่งจิต นี้เรียกว่า อุทธัจจะ๑
กุกกุจจะ เป็นไฉน
ความสำคัญว่า ควรในสิ่งที่ไม่ควร ไม่ควรในสิ่งที่ควร มีโทษในสิ่งที่ไม่มีโทษ
ไม่มีโทษในสิ่งที่มีโทษ ความรำคาญ กิริยาที่รำคาญ ภาวะที่รำคาญ ความเดือด
ร้อนใจ ความยุ่งใจ มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า กุกกุจจะ๒
อุทธัจจะและกุกกุจจะนี้เป็นอันสงบระงับ สงบเงียบ ดับไป ดับสิ้นไป ถูกทำ
ให้พินาศไป ให้พินาศย่อยยับไป ให้เหือดแห้งไป ให้เหือดแห้งไปด้วยดี ให้สิ้นไปแล้ว
ด้วยประการฉะนี้ เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า ละอุทธัจจกุกกุจจะได้แล้ว

เชิงอรรถ :
๑ อภิ.สงฺ. ๓๔/๑๑๖๕/๒๗๑ ๒ อภิ.สงฺ. ๓๔/๑๑๖๖/๒๗๑

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๓๙๙ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๒.ฌานวิภังค์] ๑.สุตตันตภาชนีย์
[๕๕๓] คำว่า เป็นผู้ไม่ฟุ้งซ่าน อธิบายว่า ชื่อว่าเป็นผู้ไม่ฟุ้งซ่าน เพราะสละ
คลาย ปล่อยวาง ละ สลัดออก ละและสลัดออกซึ่งอุทธัจจกุกกุจจะนั้น เพราะ
ฉะนั้นจึงเรียกว่า เป็นผู้ไม่ฟุ้งซ่าน
[๕๕๔] คำว่า อยู่ อธิบายว่า สืบเนื่องกันอยู่ ฯลฯ พักอยู่ เพราะฉะนั้น
จึงเรียกว่า อยู่
[๕๕๕] คำว่า ภายในตน อธิบายว่า เป็นภายในตน มีเฉพาะตน
ในคำว่า มีจิตสงบ นั้น จิต เป็นไฉน
จิต มโน มานัส ฯลฯ มโนวิญญาณธาตุที่เหมาะสมกัน นี้เรียกว่า จิต
จิตนี้เป็นธรรมชาติสงบระงับ สงบเงียบภายในตน เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า มีจิต
สงบภายในตน
[๕๕๖] คำว่า ชำระจิตให้บริสุทธิ์จากอุทธัจจกุกกุจจะ อธิบายว่า อุทธัจจ-
กุกกุจจะนั้นแยกเป็นอุทธัจจะอย่างหนึ่ง กุกกุจจะอย่างหนึ่ง
ใน ๒ อย่างนั้น อุทธัจจะ เป็นไฉน
ความฟุ้งซ่านแห่งจิต ความไม่สงบแห่งจิต ความซัดส่ายแห่งจิต ภาวะที่พล่าน
ไปแห่งจิต นี้เรียกว่า อุทธัจจะ
กุกกุจจะ เป็นไฉน
ความสำคัญว่าควรในสิ่งที่ไม่ควร ฯลฯ ความยุ่งใจ นี้เรียกว่า กุกกุจจะ
จิต เป็นไฉน
จิต มโน มานัส ฯลฯ มโนวิญญาณธาตุที่เหมาะสมกัน นี้เรียกว่า จิต
ภิกษุชำระจิตนี้ให้บริสุทธิ์ ให้ผุดผ่อง ให้หมดจด ให้หลุด ให้พ้น ให้หลุด
พ้นจากอุทธัจจะและกุกกุจจะนี้ เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า ชำระจิตให้บริสุทธิ์จาก
อุทธัจจกุกกุจจะ
[๕๕๗] ในคำว่า ละวิจิกิจฉาได้แล้ว นั้น วิจิกิจฉา เป็นไฉน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๔๐๐ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๒.ฌานวิภังค์] ๑.สุตตันตภาชนีย์
ความเคลือบแคลง กิริยาที่เคลือบแคลง ภาวะที่เคลือบแคลง ความคิดเห็น
ไปต่าง ๆ ความตัดสินอารมณ์ไม่ได้ ความเห็นเป็น ๒ แง่ ความเห็นเหมือนทาง ๒
แพร่ง ความสงสัย ความไม่สามารถจะถือเอาโดยส่วนเดียวได้ ความคิดส่ายไป
ความคิดพร่าไป ความไม่สามารถหยั่งลงถือเอาโดยเป็นยุติได้ ความกระด้างแห่งจิต
ความลังเลใจ นี้เรียกว่า วิจิกิจฉา
วิจิกิจฉานี้ เป็นอันสงบระงับ สงบเงียบ ดับไป ดับสิ้นไป ถูกทำให้พินาศไป
ให้พินาศย่อยยับไป ให้เหือดแห้งไป ให้เหือดแห้งไปด้วยดี ให้สิ้นไปแล้ว เพราะ
ฉะนั้นจึงเรียกว่า ละวิจิกิจฉาได้แล้ว
[๕๕๘] คำว่า เป็นผู้ข้ามวิจิกิจฉาได้แล้ว อธิบายว่า เป็นผู้ข้ามวิจิกิจฉานี้
คือ ข้ามขึ้น ข้ามออกถึงฝั่ง ถึงความสำเร็จตามลำดับ เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า
เป็นผู้ข้ามวิจิกิจฉาได้แล้ว
[๕๕๙] คำว่า อยู่ อธิบายว่า สืบเนื่องกันอยู่ ฯลฯ พักอยู่ เพราะฉะนั้น
จึงเรียกว่า อยู่
คำว่า ไม่มีความสงสัยในกุศลธรรม อธิบายว่า ไม่เคลือบแคลง ไม่สงสัย
ไม่มีความสงสัย หมดความสงสัย ปราศจากความสงสัยในกุศลธรรมด้วยวิจิกิจฉานี้
เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า ไม่มีความสงสัยในกุศลธรรม
[๕๖๐] ในคำว่า ชำระจิตให้บริสุทธิ์จากวิจิกิจฉา นั้น วิจิกิจฉา เป็นไฉน
ความเคลือบแคลง กิริยาที่เคลือบแคลง ภาวะที่เคลือบแคลง ฯลฯ ความ
กระด้างแห่งจิต ความลังเลใจ นี้เรียกว่า วิจิกิจฉา
จิต เป็นไฉน
จิต มโน มานัส ฯลฯ มโนวิญญาณธาตุที่เหมาะสมกัน นี้เรียกว่า จิต
ภิกษุชำระจิตนี้ให้บริสุทธิ์ ให้ผุดผ่อง ให้หมดจด ให้หลุด ให้พ้น ให้หลุดพ้น
จากวิจิกิจฉานี้ เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า ชำระจิตให้บริสุทธิ์จากวิจิกิจฉา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๔๐๑ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๒.ฌานวิภังค์] ๑.สุตตันตภาชนีย์
[๕๖๑] คำว่า ละนิวรณ์ ๕ เหล่านี้ อธิบายว่า นิวรณ์ ๕ นี้เป็นอันสงบ
ระงับ สงบเงียบ ดับไป ดับสิ้นไป ถูกทำให้พินาศไป ให้พินาศย่อยยับไป ให้เหือด
แห้งไป ให้เหือดแห้งไปด้วยดี ให้สิ้นไปแล้ว เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า ละนิวรณ์ ๕
เหล่านี้
[๕๖๒] คำว่า ที่เป็นเหตุทำให้จิตเศร้าหมอง อธิบายว่า นิวรณ์ ๕ เหล่า
นี้เป็นเครื่องทำให้จิตเศร้าหมอง
[๕๖๓] คำว่า ทอนกำลังปัญญา อธิบายว่า ปัญญาที่ยังไม่เกิดก็จะไม่เกิด
และปัญญาที่เกิดแล้วก็จะดับไป เพราะนิวรณ์ ๕ เหล่านี้ เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า
ทอนกำลังปัญญา
[๕๖๔] ในคำว่า สงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลาย นั้น กาม เป็นไฉน
ฉันทะชื่อว่ากาม ราคะชื่อว่ากาม ฉันทราคะชื่อว่ากาม สังกัปปะชื่อว่ากาม
ราคะชื่อว่ากาม สังกัปปราคะชื่อว่ากาม เหล่านี้เรียกว่า กาม
อกุศลธรรม เป็นไฉน
กามฉันทะ พยาบาท ถีนมิทธะ อุทธัจจกุกกุจจะ และวิจิกิจฉา เหล่านี้เรียกว่า
อกุศลธรรม
ภิกษุเป็นผู้สงัดแล้วจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลายดังกล่าวมานี้ เพราะ
ฉะนั้นจึงเรียกว่า สงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลาย
[๕๖๕] คำว่า มีวิตกวิจาร อธิบายว่า วิตกวิจารนั้นแยกเป็นวิตกอย่างหนึ่ง
วิจารอย่างหนึ่ง
ใน ๒ อย่างนั้น วิตก เป็นไฉน
ความตรึก ความตรึกโดยอาการต่าง ๆ ความดำริ ความที่จิตแนบแน่นใน
อารมณ์ ความที่จิตแนบสนิทในอารมณ์ ความยกจิตขึ้นสู่อารมณ์ สัมมาสังกัปปะ
นี้เรียกว่า วิตก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๔๐๒ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๒.ฌานวิภังค์] ๑.สุตตันตภาชนีย์
วิจาร เป็นไฉน
ความตรอง ความพิจารณา ความตามพิจารณา ความเข้าไปพิจารณา
ความที่จิตสืบต่ออารมณ์ ความที่จิตเพ่งอารมณ์ นี้เรียกว่า วิจาร
ภิกษุเป็นผู้เข้าไปถึงแล้ว ฯลฯ ประกอบแล้วด้วยวิตกวิจารนี้ดังที่กล่าวมานี้
เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า มีวิตกวิจาร
[๕๖๖] คำว่า เกิดจากวิเวก อธิบายว่า วิตก วิจาร ปีติ สุข และ
เอกัคคตา ธรรมเหล่านั้นเกิดแล้ว เกิดพร้อมแล้ว บังเกิดแล้ว บังเกิดเฉพาะแล้ว
ปรากฏแล้วในวิเวกนี้ เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า เกิดจากวิเวก
[๕๖๗] คำว่า ปีติและสุข อธิบายว่า ปีติและสุขนั้นแยกเป็นปีติอย่างหนึ่ง
สุขอย่างหนึ่ง
ใน ๒ อย่างนั้น ปีติ เป็นไฉน
ความอิ่มเอิบ ความปราโมทย์ ความยินดีอย่างยิ่ง ความบันเทิง ความร่าเริง
ความรื่นเริง ความปลื้มใจ ความตื่นเต้น ความที่จิตชื่นชมยินดี นี้เรียกว่า ปีติ
สุข เป็นไฉน
ความสำราญทางใจ ความสุขทางใจ ความเสวยอารมณ์ที่สำราญเป็นสุข
อันเกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่สำราญเป็นสุข อันเกิดแต่เจโตสัมผัส นี้
เรียกว่า สุข
สุขนี้สหรคต เกิดพร้อม ระคน และประกอบด้วยปีตินี้ เพราะฉะนั้นจึงเรียก
ว่า มีปีติและสุข
[๕๖๘] คำว่า ปฐม อธิบายว่า ชื่อว่าปฐม โดยลำดับแห่งการนับ ชื่อว่า
ปฐม เพราะโยคาวจรบุคคลเข้าถึงฌานนี้เป็นที่ ๑
[๕๖๙] คำว่า ฌาน อธิบายว่า วิตก วิจาร ปีติ สุข และเอกัคคตา
[๕๗๐] คำว่า บรรลุ อธิบายว่า การได้ การได้เฉพาะ การถึง การบรรลุถึง
ความถูกต้อง การทำให้แจ้ง การบรรลุปฐมฌาน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๔๐๓ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๒.ฌานวิภังค์] ๑.สุตตันตภาชนีย์
[๕๗๑] คำว่า อยู่ อธิบายว่า สืบเนื่องกันอยู่ ฯลฯ พักอยู่ เพราะฉะนั้น
จึงเรียกว่าอยู่
[๕๗๒] คำว่า เพราะวิตกวิจารสงบระงับไปแล้ว อธิบายว่า วิตกวิจารนั้น
แยกเป็นวิตกอย่างหนึ่ง วิจารอย่างหนึ่ง
ใน ๒ อย่างนั้น วิตก เป็นไฉน
ความตรึก ความตรึกโดยอาการต่าง ๆ ฯลฯ สัมมาสังกัปปะ นี้เรียกว่า วิตก
วิจาร เป็นไฉน
ความตรอง ความพิจารณา ความตามพิจารณา ความเข้าไปพิจารณา
ความที่จิตสืบต่ออารมณ์ ความที่จิตเพ่งอารมณ์ นี้เรียกว่า วิจาร
วิตกและวิจารดังกล่าวมานี้เป็นอันสงบระงับ สงบเงียบ ดับไป ดับสิ้นไป
ถูกทำให้พินาศไป ให้พินาศย่อยยับไป ให้เหือดแห้งไป ให้เหือดแห้งไปด้วยดี ให้
สิ้นไปแล้ว เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า เพราะวิตกวิจารสงบระงับไปแล้ว
[๕๗๓] คำว่า ภายในตน อธิบายว่า เป็นภายในตน มีเฉพาะตน
[๕๗๔] คำว่า ผ่องใส อธิบายว่า ศรัทธา กิริยาที่เชื่อ ความปักใจเชื่อ
ความเลื่อมใสยิ่ง
[๕๗๕] คำว่า มีภาวะที่จิตเป็นหนึ่งผุดขึ้น อธิบายว่า ความตั้งอยู่แห่งจิต
ฯลฯ สัมมาสมาธิ
[๕๗๖] คำว่า ไม่มีวิตกไม่มีวิจาร อธิบายว่า วิตกวิจารนั้นแยกเป็น วิตก
อย่างหนึ่ง วิจารอย่างหนึ่ง
ใน ๒ อย่างนั้น วิตก เป็นไฉน
ความตรึก ความตรึกโดยอาการต่าง ๆ ฯลฯ สัมมาสังกัปปะ นี้เรียกว่า วิตก
วิจาร เป็นไฉน
ความตรอง ความพิจารณา ความตามพิจารณา ความเข้าไปพิจารณา
ความที่จิตสืบต่ออารมณ์ ความที่จิตเพ่งอารมณ์ นี้เรียกว่า วิจาร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๔๐๔ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๒.ฌานวิภังค์] ๑.สุตตันตภาชนีย์
วิตกวิจารดังที่กล่าวมานี้เป็นอันสงบระงับ สงบเงียบ ดับไป ดับสิ้นไป ถูก
ทำให้พินาศไป ให้พินาศย่อยยับไป ให้เหือดแห้งไป ให้เหือดแห้งไปด้วยดี ให้สิ้น
ไปแล้ว เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า ไม่มีวิตกไม่มีวิจาร
[๕๗๗] คำว่า เกิดจากสมาธิ อธิบายว่า ความผ่องใส ปีติ และสุข ธรรม
เหล่านั้นเกิดแล้ว เกิดพร้อมแล้ว บังเกิดแล้ว บังเกิดเฉพาะแล้ว ปรากฏแล้วใน
สมาธินี้ เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า เกิดจากสมาธิ
[๕๗๘] คำว่า มีปีติและสุข อธิบายว่า ปีติและสุขนั้นแยกเป็นปีติอย่าง
หนึ่ง สุขอย่างหนึ่ง
ใน ๒ อย่างนั้น ปีติ เป็นไฉน
ความอิ่มเอิบ ความปราโมทย์ ฯลฯ ความที่จิตชื่นชมยินดี นี้เรียกว่า ปีติ
สุข เป็นไฉน
ความสำราญทางใจ ฯลฯ กิริยาเสวยอารมณ์ที่สำราญเป็นสุข อันเกิดแต่
เจโตสัมผัส นี้เรียกว่า สุข
สุขนี้สหรคต เกิดพร้อม ระคน ประกอบด้วยปีตินี้ เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า
มีปีติและสุข
[๕๗๙] คำว่า ทุติยะ อธิบายว่า ชื่อว่าทุติยะ โดยลำดับแห่งการนับ ชื่อว่า
ทุติยะ เพราะโยคาวจรบุคคลเข้าถึงฌานนี้เป็นที่ ๒
[๕๘๐] คำว่า ฌาน อธิบายว่า ความผ่องใส ปีติ สุข และเอกัคคตา
[๕๘๑] คำว่า บรรลุ อธิบายว่า การได้ การได้เฉพาะ การถึง การบรรลุถึง
ความถูกต้อง การทำให้แจ้ง การบรรลุทุติยฌาน
[๕๘๒] คำว่า อยู่ อธิบายว่า สืบเนื่องกันอยู่ ฯลฯ พักอยู่ เพราะฉะนั้น
จึงเรียกว่าอยู่
[๕๘๓] ในคำว่า เพราะปีติจางคลายไป นั้น ปีติ เป็นไฉน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๔๐๕ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๒.ฌานวิภังค์] ๑.สุตตันตภาชนีย์
ความอิ่มเอิบ ความปราโมทย์ ความยินดีอย่างยิ่ง ความบันเทิง ความร่าเริง
ความรื่นเริง ความปลื้มใจ ความตื่นเต้น ความที่จิตชื่นชมยินดี นี้เรียกว่า ปีติ
ปีตินี้เป็นอันสงบระงับ สงบเงียบ ดับไป ดับสิ้นไป ถูกทำให้พินาศไป ให้
พินาศย่อยยับไป ให้เหือดแห้งไป ให้เหือดแห้งไปด้วยดี ให้สิ้นไปแล้ว เพราะ
ฉะนั้นจึงเรียกว่า เพราะปีติจางคลายไป
[๕๘๔] ในคำว่า มีอุเบกขา นั้น อุเบกขา เป็นไฉน
อุเบกขา ภาวะที่วางเฉย กิริยาที่เพ่งเฉย ความวางตนเป็นกลางแห่งจิต นี้
เรียกว่า อุเบกขา
ภิกษุเป็นผู้เข้าไปถึงแล้ว ฯลฯ ประกอบแล้วด้วยอุเบกขานี้ เพราะฉะนั้นจึง
เรียกว่า มีอุเบกขา
[๕๘๕] คำว่า อยู่ อธิบายว่า สืบเนื่องกันอยู่ ฯลฯ พักอยู่ เพราะฉะนั้น
จึงเรียกว่า อยู่
[๕๘๖] ในคำว่า มีสติสัมปชัญญะ นั้น สติ เป็นไฉน
สติ ความตามระลึก ฯลฯ สัมมาสติ นี้เรียกว่า สติ
สัมปชัญญะ เป็นไฉน
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลงงมงาย ความเลือกเฟ้นธรรม
สัมมาทิฏฐิ นี้เรียกว่า สัมปชัญญะ
ภิกษุเป็นผู้เข้าไปถึงแล้ว ฯลฯ ประกอบแล้วด้วยสตินี้และสัมปชัญญะนี้ ด้วย
ประการฉะนี้ เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า มีสติสัมปชัญญะ
[๕๘๗] ในคำว่า เสวยสุขด้วยนามกาย นั้น สุข เป็นไฉน
ความสำราญทางใจ ความสุขทางใจ ความเสวยอารมณ์ที่สำราญเป็นสุข
อันเกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่สำราญเป็นสุข อันเกิดแต่เจโตสัมผัส นี้
เรียกว่า สุข

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๔๐๖ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๒.ฌานวิภังค์] ๑.สุตตันตภาชนีย์
กาย เป็นไฉน
สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ และวิญญาณขันธ์ นี้เรียกว่า กาย
ภิกษุเสวยสุขนี้ด้วยกายนี้ เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า เสวยสุขด้วยนามกาย
[๕๘๘] ในคำว่า ที่พระอริยะทั้งหลายกล่าวสรรเสริญ นั้น พระอริยะ
ทั้งหลาย เป็นไฉน
พระพุทธเจ้าและสาวกของพระพุทธเจ้า เรียกว่า พระอริยะทั้งหลาย พระอริยะ
เหล่านั้น กล่าวสรรเสริญ แสดง บัญญัติ แต่งตั้ง เปิดเผย จำแนก ทำให้ชัดเจน
ประกาศบุคคลผู้ได้บรรลุนี้ เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า ที่พระอริยะทั้งหลายกล่าว
สรรเสริญ
[๕๘๙] ในคำว่า มีอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข นั้น อุเบกขา เป็นไฉน
อุเบกขา ความวางเฉย กิริยาที่เพ่งเฉย ความเป็นกลางแห่งจิต นี้เรียกว่า
อุเบกขา
สติ เป็นไฉน
สติ ความตามระลึก ฯลฯ สัมมาสติ นี้เรียกว่า สติ
สุข เป็นไฉน
ความสำราญทางใจ ความสุขทางใจ ความเสวยอารมณ์ที่สำราญเป็นสุข
อันเกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่สำราญเป็นสุข อันเกิดแต่เจโตสัมผัส นี้
เรียกว่า สุข
ภิกษุประกอบด้วยอุเบกขา สติและสุขนี้ สืบเนื่องกันอยู่ ดำเนินไปอยู่ รักษาอยู่
เป็นไปอยู่ ให้เป็นไปอยู่ เที่ยวไปอยู่ พักอยู่ ด้วยประการฉะนี้ เพราะฉะนั้นจึง
เรียกว่า เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข
[๕๙๐] คำว่า ตติยะ อธิบายว่า ชื่อว่าตติยะ โดยลำดับแห่งการนับ ชื่อว่า
ตติยะ เพราะโยคาวจรบุคคลเข้าถึงฌานนี้เป็นที่ ๓
[๕๙๑] คำว่า ฌาน อธิบายว่า อุเบกขา สติ สัมปชัญญะ สุข และเอกัคคตา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๔๐๗ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๒.ฌานวิภังค์] ๑.สุตตันตภาชนีย์
[๕๙๒] คำว่า บรรลุ อธิบายว่า การได้ การได้เฉพาะ การถึง การบรรลุถึง
การถูกต้อง การทำให้แจ้ง การบรรลุตติยฌาน
[๕๙๓] คำว่า อยู่ อธิบายว่า สืบเนื่องกันอยู่ ฯลฯ พักอยู่ เพราะฉะนั้น
จึงเรียกว่า อยู่
[๕๙๔] คำว่า เพราะละสุขและทุกข์ได้ อธิบายว่า สุขและทุกข์นั้นแยก
เป็น สุขอย่างหนึ่ง ทุกข์อย่างหนึ่ง
ใน ๒ อย่างนั้น สุข เป็นไฉน
ความสำราญทางกาย ความสุขทางกาย ความเสวยอารมณ์ที่สำราญเป็นสุข
อันเกิดแต่กายสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่สำราญเป็นสุข อันเกิดแต่กายสัมผัส นี้
เรียกว่า สุข
ทุกข์ เป็นไฉน
ความไม่สำราญทางกาย ความทุกข์ทางกาย ความเสวยอารมณ์ที่ไม่สำราญ
เป็นทุกข์ อันเกิดแต่กายสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่ไม่สำราญเป็นทุกข์ อันเกิด
แต่กายสัมผัส นี้เรียกว่า ทุกข์
สุขและทุกข์นี้เป็นอันสงบระงับ สงบเงียบ ดับไป ดับสิ้นไป ถูกทำให้พินาศไป
ให้พินาศย่อยยับไป ให้เหือดแห้งไป ให้เหือดแห้งไปด้วยดี ให้สิ้นไปแล้ว ด้วย
ประการฉะนี้ เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า เพราะละสุขและทุกข์ได้
[๕๙๕] คำว่า เพราะโสมนัสและโทมนัสดับไปก่อนแล้ว อธิบายว่า โสมนัส
และโทมนัสนั้นแยกเป็นโสมนัสอย่างหนึ่ง โทมนัสอย่างหนึ่ง
ใน ๒ อย่างนั้น โสมนัส เป็นไฉน
ความสำราญทางใจ ความสุขทางใจ ความเสวยอารมณ์ที่สำราญเป็นสุข
อันเกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่สำราญเป็นสุข อันเกิดแต่เจโตสัมผัส นี้
เรียกว่า โสมนัส

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๔๐๘ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๒.ฌานวิภังค์] ๑.สุตตันตภาชนีย์
โทมนัส เป็นไฉน
ความไม่สำราญทางใจ ความทุกข์ทางใจ ความเสวยอารมณ์ที่ไม่สำราญเป็น
ทุกข์ อันเกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่ไม่สำราญเป็นทุกข์ อันเกิดแต่
เจโตสัมผัส นี้เรียกว่า โทมนัส
โสมนัสและโทมนัสนี้เป็นอันสงบระงับ สงบเงียบ ดับไป ดับสิ้นไป ถูกทำให้
พินาศไป ให้พินาศย่อยยับไป ให้เหือดแห้งไป ให้เหือดแห้งไปด้วยดี ให้สิ้นไปแล้ว
ด้วยประการฉะนี้ เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า เพราะโสมนัสและโทมนัสดับไปก่อนแล้ว
[๕๙๖] คำว่า ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข อธิบายว่า ความสำราญทางใจก็ไม่ใช่
ความไม่สำราญทางใจก็ไม่ใช่ ความเสวยอารมณ์ที่ไม่ทุกข์ไม่สุข อันเกิดแต่เจโตสัมผัส
กิริยาเสวยอารมณ์ที่ไม่ทุกข์ไม่สุข อันเกิดแต่เจโตสัมผัส เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า ไม่มี
ทุกข์ไม่มีสุข
[๕๙๗] ในคำว่า มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขา นั้น อุเบกขา เป็นไฉน
อุเบกขา ภาวะที่วางเฉย กิริยาที่เพ่งเฉย ความวางตนเป็นกลางแห่งจิต นี้
เรียกว่า อุเบกขา
สติ เป็นไฉน
สติ ความตามระลึก ฯลฯ สัมมาสติ นี้เรียกว่า สติ
สตินี้เป็นอันเปิดเผย บริสุทธิ์ ผุดผ่อง เพราะอุเบกขานี้ เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า
มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขา
[๕๙๘] คำว่า จตุตถะ อธิบายว่า ที่ชื่อว่าเป็นที่ ๔ โดยลำดับแห่งการนับ
ชื่อว่าจตุตถะ เพราะโยคาวจรบุคคลเข้าถึงฌานนี้เป็นที่ ๔
[๕๙๙] คำว่า ฌาน อธิบายว่า อุเบกขา สติ และเอกัคคตา
[๖๐๐] คำว่า บรรลุ อธิบายว่า การได้ การได้เฉพาะ การถึง การบรรลุถึง
การถูกต้อง การทำให้แจ้ง การบรรลุจตุตถฌาน
[๖๐๑] คำว่า อยู่ อธิบายว่า สืบเนื่องกันอยู่ ฯลฯ พักอยู่ เพราะฉะนั้น
จึงเรียกว่า อยู่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๔๐๙ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๒.ฌานวิภังค์] ๑.สุตตันตภาชนีย์
[๖๐๒] ในคำว่า เพราะก้าวล่วงรูปสัญญาได้โดยประการทั้งปวง นั้น
รูปสัญญา เป็นไฉน
ความจำได้ กิริยาที่จำได้ ภาวะที่จำได้ของโยคาวจรบุคคลผู้เข้ารูปาวจรสมาบัติ
ผู้อุบัติในรูปภูมิ หรือของพระอรหันต์ผู้อยู่เป็นสุขในปัจจุบัน เหล่านี้เรียกว่า รูปสัญญา
ภิกษุเป็นผู้ก้าวล่วงแล้ว ก้าวข้ามแล้ว ก้าวพ้นแล้วซึ่งรูปสัญญาเหล่านี้ เพราะ
ฉะนั้นจึงเรียกว่า เพราะก้าวล่วงรูปสัญญาได้โดยประการทั้งปวง
[๖๐๓] ในคำว่า เพราะความดับไปแห่งปฏิฆสัญญา นั้น ปฏิฆสัญญา
เป็นไฉน
รูปสัญญา สัททสัญญา คันธสัญญา รสสัญญา และโผฏฐัพพสัญญา
เหล่านี้เรียกว่า ปฏิฆสัญญา
ปฏิฆสัญญาเหล่านี้เป็นอันสงบระงับ สงบเงียบ ดับไป ดับสิ้นไป ถูกทำให้
พินาศไป ให้พินาศย่อยยับไป ให้เหือดแห้งไป ให้เหือดแห้งไปด้วยดี ให้สิ้นไปแล้ว
เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า เพราะความดับไปแห่งปฏิฆสัญญา
[๖๐๔] ในคำว่า เพราะไม่มนสิการนานัตตสัญญา นั้น นานัตตสัญญา
เป็นไฉน
ความจำได้ กิริยาที่จำได้ ภาวะที่จำได้ของบุคคลผู้มีความพรั่งพร้อมด้วย
มโนธาตุ หรือผู้มีความพรั่งพร้อมด้วยมโนวิญญาณธาตุซึ่งไม่ได้เข้าสมาบัติ เหล่านี้
เรียกว่า นานัตตสัญญา
ภิกษุไม่มนสิการนานัตตสัญญาเหล่านี้ เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า เพราะไม่
มนสิการนานัตตสัญญา
[๖๐๕] ในคำว่า อากาศไม่มีที่สุด นั้น อากาศ เป็นไฉน
อากาศ ธรรมชาติที่นับว่าอากาศ ความว่างเปล่า ธรรมชาติที่นับว่าความ
ว่างเปล่า ช่องว่าง ธรรมชาติที่นับว่าช่องว่างซึ่งมหาภูตรูป ๔ ถูกต้องไม่ได้ นี้เรียกว่า
อากาศ๑

เชิงอรรถ :
๑ อภิ.สงฺ. ๓๔/๗๒๔/๒๐๖

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๔๑๐ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๒.ฌานวิภังค์] ๑.สุตตันตภาชนีย์
ภิกษุตั้งจิตไว้ ตั้งจิตไว้ด้วยดี แผ่ไปไม่มีที่สุดในอากาศนั้น เพราะฉะนั้นจึง
เรียกว่า อากาศไม่มีที่สุด
[๖๐๖] คำว่า อากาสานัญจายตนะ อธิบายว่า ธรรมคือจิตและเจตสิกของ
บุคคลผู้เข้าอากาสานัญจายตนะ ผู้อุบัติในอากาสานัญจายตนภูมิ หรือพระอรหันต์
ผู้อยู่เป็นสุขในปัจจุบัน
[๖๐๗] คำว่า บรรลุ อธิบายว่า การได้ การได้เฉพาะ การถึง การบรรลุ
ถึง การถูกต้อง การทำให้แจ้ง การบรรลุอากาสานัญจายตนะ
[๖๐๘] คำว่า อยู่ อธิบายว่า สืบเนื่องกันอยู่ ฯลฯ พักอยู่ เพราะฉะนั้น
จึงเรียกว่า อยู่
[๖๐๙] คำว่า เพราะก้าวล่วงอากาสานัญจายตนะได้โดยประการทั้งปวง
อธิบายว่า ภิกษุเป็นผู้ก้าวล่วงแล้ว ก้าวข้ามแล้ว ก้าวพ้นแล้วซึ่งอากาสานัญจายตนะ
นี้ เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า เพราะก้าวล่วงอากาสานัญจายตนะได้โดยประการทั้งปวง
[๖๑๐] คำว่า วิญญาณไม่มีที่สุด อธิบายว่า ภิกษุมนสิการอากาศนั้นนั่น
แหละที่วิญญาณถูกต้องแล้ว แผ่ไปไม่มีที่สุด เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า วิญญาณไม่มี
ที่สุด
[๖๑๑] คำว่า วิญญาณัญจายตนะ อธิบายว่า ธรรมคือจิตและเจตสิก
ของบุคคลผู้เข้าวิญญาณัญจายตนะ ผู้อุบัติในวิญญาณัญจายตนภูมิ หรือของพระ
อรหันต์ผู้อยู่เป็นสุขในปัจจุบัน
[๖๑๒] คำว่า บรรลุ อธิบายว่า การได้ การได้เฉพาะ การถึง การบรรลุถึง
การถูกต้อง การทำให้แจ้ง การบรรลุวิญญาณัญจายตนะ
[๖๑๓] คำว่า อยู่ อธิบายว่า สืบเนื่องกันอยู่ ฯลฯ พักอยู่ เพราะฉะนั้นจึง
เรียกว่า อยู่
[๖๑๔] คำว่า เพราะก้าวล่วงวิญญาณัญจายตนะได้โดยประการทั้งปวง
อธิบายว่า ภิกษุเป็นผู้ก้าวล่วงแล้ว ก้าวข้ามแล้ว ก้าวพ้นแล้วซึ่งวิญญาณัญจายตนะ
เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า เพราะก้าวล่วงวิญญาณัญจายตนะได้โดยประการทั้งปวง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๔๑๑ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๒.ฌานวิภังค์] ๑.สุตตันตภาชนีย์
[๖๑๕] คำว่า อะไร ๆ สักน้อยหนึ่งก็ไม่มี อธิบายว่า ภิกษุทำวิญญาณนั้น
นั่นแหละไม่ให้มี ให้เสื่อมไป ให้อันตรธานไป พิจารณาเห็นว่า น้อยหนึ่งก็ไม่มี
เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า อะไร ๆ สักน้อยหนึ่งก็ไม่มี
[๖๑๖] คำว่า อากิญจัญญายตนะ อธิบายว่า ธรรมคือจิตและเจตสิกของ
บุคคลผู้เข้าอากิญจัญญายตนะ ผู้อุบัติในอากิญจัญญายตนภูมิ หรือของพระ
อรหันต์ผู้อยู่เป็นสุขในปัจจุบัน
[๖๑๗] คำว่า บรรลุ อธิบายว่า การได้ การได้เฉพาะ การถึง การบรรลุ
ถึง การถูกต้อง การทำให้แจ้ง การบรรลุอากิญจัญญายตนะ
[๖๑๘] คำว่า อยู่ อธิบายว่า สืบเนื่องกันอยู่ ฯลฯ พักอยู่ เพราะฉะนั้น
จึงเรียกว่า อยู่
[๖๑๙] คำว่า เพราะก้าวล่วงอากิญจัญญายตนะได้โดยประการทั้งปวง
อธิบายว่า ภิกษุเป็นผู้ก้าวล่วงแล้ว ก้าวข้ามแล้ว ก้าวพ้นแล้วซึ่งอากิญจัญญายตนะ
เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า เพราะก้าวล่วงอากิญจัญญายตนะได้โดยประการทั้งปวง
คำว่า ผู้มีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่ อธิบายว่า ภิกษุมนสิการ
อากิญจัญญายตนะนั้นนั่นแหละโดยความเป็นฌานที่สงบ เจริญสมาบัติที่มีสังขาร
เหลืออยู่ เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า ผู้มีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่
[๖๒๐] คำว่า เนวสัญญานาสัญญายตนะ อธิบายว่า ธรรมคือจิตและ
เจตสิกของบุคคลผู้เข้าเนวสัญญานาสัญญายตนะ หรือผู้อุบัติในเนวสัญญานา-
สัญญายตนภูมิ หรือของพระอรหันต์ผู้อยู่เป็นสุขในปัจจุบัน
[๖๒๑] คำว่า บรรลุ อธิบายว่า การได้ การได้เฉพาะ การถึง การบรรลุถึง
การถูกต้อง การทำให้แจ้ง การบรรลุเนวสัญญานาสัญญายตนะ
[๖๒๒] คำว่า อยู่ อธิบายว่า สืบเนื่องกันอยู่ ดำเนินไปอยู่ รักษาอยู่ เป็น
ไปอยู่ ให้เป็นไปอยู่ เที่ยวไปอยู่ พักอยู่ เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า อยู่
สุตตันตภาชนีย์ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๔๑๒ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๒.ฌานวิภังค์] ๒.อภิธรรมภาชนีย์ ๑.รูปาวจรกุศล
๒. อภิธรรมภาชนีย์
๑. รูปาวจรกุศล
ฌานจตุกกนัย
[๖๒๓] ฌาน ๔ คือ
๑. ปฐมฌาน (ฌานที่ ๑)
๒. ทุติยฌาน (ฌานที่ ๒)
๓. ตติยฌาน (ฌานที่ ๓)
๔. จตุตถฌาน (ฌานที่ ๔)
[๖๒๔] บรรดาฌาน ๔ นั้น ปฐมฌาน เป็นไฉน
ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญมรรคเพื่อเข้าถึงรูปภพ สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุ
ปฐมฌานที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ฌานมีองค์ ๕ คือ
วิตก วิจาร ปีติ สุข และเอกัคคตา ก็เกิดขึ้น นี้เรียกว่า ปฐมฌาน สภาวธรรม
ที่เหลือชื่อว่าสัมปยุตด้วยฌาน (๑)
ทุติยฌาน เป็นไฉน
ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญมรรคเพื่อเข้าถึงรูปภพ เพราะวิตกวิจารสงบระงับไป
แล้ว ฯลฯ บรรลุทุติยฌานที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ฌาน
มีองค์ ๓ คือ ปีติ สุข และเอกัคคตา ก็เกิดขึ้น นี้เรียกว่า ทุติยฌาน สภาวธรรม
ที่เหลือชื่อว่าสัมปยุตด้วยฌาน (๒)
ตติยฌาน เป็นไฉน
ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญมรรคเพื่อเข้าถึงรูปภพ เพราะปีติจางคลายไป ฯลฯ
บรรลุตติยฌานที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ฌานมีองค์ ๒
คือ สุข และเอกัคคตา ก็เกิดขึ้น นี้เรียกว่า ตติยฌาน สภาวธรรมที่เหลือชื่อว่า
สัมปยุตด้วยฌาน (๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๔๑๓ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๒.ฌานวิภังค์] ๒.อภิธรรมภาชนีย์ ๑.รูปาวจรกุศล
จตุตถฌาน เป็นไฉน
ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญมรรคเพื่อเข้าถึงรูปภพ บรรลุจตุตถฌานที่มีปฐวีกสิณ
เป็นอารมณ์ ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข เพราะละสุขและทุกข์ได้ ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น
ฌานมีองค์ ๒ คือ อุเบกขา และเอกัคคตา ก็เกิดขึ้น นี้เรียกว่า จตุตถฌาน
สภาวธรรมที่เหลือชื่อว่าสัมปยุตด้วยฌาน (๔)
ฌานจตุกกนัย จบ

ฌานปัญจกนัย
[๖๒๕] ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญมรรคเพื่อเข้าถึงรูปภพ สงัดจากกาม
ฯลฯ บรรลุปฐมฌานที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ฌานมี
องค์ ๕ คือ วิตก วิจาร ปีติ สุข และเอกัคคตา ก็เกิดขึ้น นี้เรียกว่า ปฐมฌาน
สภาวธรรมที่เหลือชื่อว่าสัมปยุตด้วยฌาน (๑)
ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญมรรคเพื่อเข้าถึงรูปภพ สงัดจากกามและสภาวธรรม
ที่เป็นอกุศลทั้งหลาย บรรลุทุติยฌานที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ ไม่มีวิตกมีเพียงวิจาร
มีปีติและสุข อันเกิดจากวิเวก อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ฌานมีองค์ ๔ คือ วิจาร
ปีติ สุข และเอกัคคตา ก็เกิดขึ้น นี้เรียกว่า ทุติยฌาน สภาวธรรมที่เหลือชื่อว่า
สัมปยุตด้วยฌาน (๒)
ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญมรรคเพื่อเข้าถึงรูปภพ เพราะวิตกวิจารสงบระงับไป
แล้ว ฯลฯ บรรลุตติยฌานที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ฌาน
มีองค์ ๓ คือ ปีติ สุข และเอกัคคตา ก็เกิดขึ้น นี้เรียกว่า ตติยฌาน สภาวธรรม
ที่เหลือชื่อว่าสัมปยุตด้วยฌาน (๓)
ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญมรรคเพื่อเข้าถึงรูปภพ เพราะปีติจางคลายไป ฯลฯ
บรรลุจตุตถฌานที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ฌานมีองค์ ๒
คือ สุข และเอกัคคตา ก็เกิดขึ้น นี้เรียกว่า จตุตถฌาน สภาวธรรมที่เหลือชื่อ
ว่าสัมปยุตด้วยฌาน (๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๔๑๔ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๒.ฌานวิภังค์] ๒.อภิธรรมภาชนีย์ ๓.โลกุตตรกุศล
ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญมรรคเพื่อเข้าถึงรูปภพ เพราะละสุขและทุกข์ได้ ฯลฯ
บรรลุปัญจมฌานที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ฌานมีองค์ ๒
คือ อุเบกขา และเอกัคคตา ก็เกิดขึ้น นี้เรียกว่า ปัญจมฌาน สภาวธรรมที่เหลือ
ชื่อว่าสัมปยุตด้วยฌาน (๕)
ฌานปัญจกนัย จบ

๒. อรูปาวจรกุศล
[๖๒๖] ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญมรรคเพื่อเข้าถึงอรูปภพ เพราะก้าวล่วง
อากิญจัญญายตนะได้โดยประการทั้งปวง บรรลุจตุตถฌานที่สหรคตด้วยเนวสัญญา-
นาสัญญายตนสัญญา ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข เพราะละสุขและทุกข์ได้ ฯลฯ อยู่ในสมัยใด
ในสมัยนั้น ฌานมีองค์ ๒ คือ อุเบกขา และเอกัคคตา ก็เกิดขึ้น นี้เรียกว่า
จตุตถฌาน สภาวธรรมที่เหลือชื่อว่าสัมปยุตด้วยฌาน

๓. โลกุตตรกุศล
ฌานจตุกกนัย
[๖๒๗] ฌาน ๔ คือ
๑. ปฐมฌาน ๒. ทุติยฌาน
๓. ตติยฌาน ๔. จตุตถฌาน
[๖๒๘] บรรดาฌาน ๔ นั้น ปฐมฌาน เป็นไฉน
ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญฌานที่เป็นโลกุตตระซึ่งเป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ ให้
ถึงนิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน
ที่เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ฌานมีองค์ ๕ คือ วิตก
วิจาร ปีติ สุข และเอกัคคตา ก็เกิดขึ้น นี้เรียกว่า ปฐมฌาน สภาวธรรมที่เหลือ
ชื่อว่าสัมปยุตด้วยฌาน (๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๔๑๕ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๒.ฌานวิภังค์] ๒.อภิธรรมภาชนีย์ ๓.โลกุตตรกุศล
ทุติยฌาน เป็นไฉน
ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญฌานที่เป็นโลกุตตระซึ่งเป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ให้
ถึงนิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น เพราะวิตกวิจารสงบระงับไปแล้ว
ฯลฯ บรรลุทุติยฌานที่เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น
ฌานมีองค์ ๓ คือ ปีติ สุข และเอกัคคตา ก็เกิดขึ้น นี้เรียกว่า ทุติยฌาน
สภาวธรรมที่เหลือชื่อว่าสัมปยุตด้วยฌาน (๒)
ตติยฌาน เป็นไฉน
ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญฌานที่เป็นโลกุตตระซึ่งเป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ ให้
ถึงนิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น เพราะปีติจางคลายไป ฯลฯ บรรลุ
ตติยฌานที่เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ฌานมีองค์ ๒
คือ สุข และเอกัคคตา ก็เกิดขึ้น นี้เรียกว่า ตติยฌาน สภาวธรรมที่เหลือชื่อว่า
สัมปยุตด้วยฌาน (๓)
จตุตถฌาน เป็นไฉน
ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญฌานที่เป็นโลกุตตระซึ่งเป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ ให้
ถึงนิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น บรรลุจตุตถฌานที่เป็นทุกขา-
ปฏิปทาทันธาภิญญา ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข เพราะละสุขและทุกข์ได้ ฯลฯ อยู่ในสมัย
ใด ในสมัยนั้น ฌานมีองค์ ๒ คือ อุเบกขา และเอกัคคตา ก็เกิดขึ้น นี้เรียกว่า
จตุตถฌาน สภาวธรรมที่เหลือชื่อว่าสัมปยุตด้วยฌาน (๔)
ฌานจตุกกนัย จบ

ฌานปัญจกนัย
[๖๒๙] ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญฌานที่เป็นโลกุตตระซึ่งเป็นเหตุนำออกจาก
วัฏฏทุกข์ให้ถึงนิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม ฯลฯ
บรรลุปฐมฌานที่เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ฌาน
มีองค์ ๕ คือ วิตก วิจาร ปีติ สุข และเอกัคคตา ก็เกิดขึ้น นี้เรียกว่า ปฐมฌาน
สภาวธรรมที่เหลือชื่อว่าสัมปยุตด้วยฌาน (๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๔๑๖ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๒.ฌานวิภังค์] ๒.อภิธรรมภาชนีย์ ๔.รูปาวจรวิบาก
ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญฌานที่เป็นโลกุตตระซึ่งเป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ให้
ถึงนิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกามและสภาวธรรมที่เป็น
อกุศลทั้งหลายแล้ว บรรลุทุติยฌานที่ไม่มีวิตกมีเพียงวิจาร มีปีติและสุขอันเกิดจาก
วิเวก เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ฌานมีองค์ ๔ คือ
วิจาร ปีติ สุข และเอกัคคตา ก็เกิดขึ้น นี้เรียกว่า ทุติยฌาน สภาวธรรมที่
เหลือชื่อว่าสัมปยุตด้วยฌาน (๒)
ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญฌานที่เป็นโลกุตตระซึ่งเป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ให้
ถึงนิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น เพราะวิตกวิจารสงบระงับไปแล้ว
ฯลฯ บรรลุตติยฌานที่เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น
ฌานมีองค์ ๓ คือ ปีติ สุข และเอกัคคตา ก็เกิดขึ้น นี้เรียกว่า ตติยฌาน
สภาวธรรมที่เหลือชื่อว่าสัมปยุตด้วยฌาน (๓)
ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญฌานที่เป็นโลกุตตระซึ่งเป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ให้
ถึงนิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น เพราะปีติจางคลายไป ฯลฯ
บรรลุจตุตถฌานที่เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ฌาน
มีองค์ ๒ คือ สุข และเอกัคคตา ก็เกิดขึ้น นี้เรียกว่า จตุตถฌาน สภาวธรรม
ที่เหลือชื่อว่าสัมปยุตด้วยฌาน (๔)
ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญฌานที่เป็นโลกุตตระซึ่งเป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ให้
ถึงนิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น บรรลุปัญจมฌานที่เป็นทุกขาปฏิปทา-
ทันธาภิญญา ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข เพราะละสุขและทุกข์ได้ ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ใน
สมัยนั้น ฌานมีองค์ ๒ คือ อุเบกขา และเอกัคคตา ก็เกิดขึ้น นี้เรียกว่า ปัญจมฌาน
สภาวธรรมที่เหลือชื่อว่าสัมปยุตด้วยฌาน (๕)
ฌานปัญจกนัย จบ

๔. รูปาวจรวิบาก
[๖๓๐] ฌาน ๔ คือ
๑. ปฐมฌาน ๒. ทุติยฌาน
๓. ตติยฌาน ๔. จตุตถฌาน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๔๑๗ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๒.ฌานวิภังค์] ๒.อภิธรรมภาชนีย์ ๕. อรูปาวจรวิบาก
[๖๓๑] บรรดาฌาน ๔ นั้น ปฐมฌาน เป็นไฉน
ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญมรรคเพื่อเข้าถึงรูปภพ สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุ
ปฐมฌานที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ
ก็เกิดขึ้น สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล
ภิกษุสงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌานที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ ซึ่งเป็น
วิบาก เพราะได้ทำได้สั่งสมรูปาวจรกุศลกรรมนั้นนั่นแหละ อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น
ฌาน มีองค์ ๕ คือ วิตก วิจาร ปีติ สุข และเอกัคคตา ก็เกิดขึ้น นี้เรียกว่า ปฐมฌาน
สภาวธรรมที่เหลือชื่อว่าสัมปยุตด้วยฌาน
ทุติยฌาน เป็นไฉน
ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญมรรคเพื่อเข้าถึงรูปภพ เพราะวิตกวิจารสงบระงับไป
แล้ว ฯลฯ บรรลุทุติยฌานที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ
ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล
เพราะวิตกวิจารสงบระงับไปแล้ว ฯลฯ บรรลุทุติยฌาน ฯลฯ บรรลุตติยฌาน
ฯลฯ บรรลุจตุตถฌาน ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน ฯลฯ บรรลุปัญจมฌานที่มีปฐวี-
กสิณเป็นอารมณ์ ซึ่งเป็นวิบาก เพราะได้ทำได้สั่งสมรูปาวจรกุศลกรรมนั้น
นั่นแหละ อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ฌานมีองค์ ๒ คือ อุเบกขา และเอกัคคตา
ก็เกิดขึ้น นี้เรียกว่า ปัญจมฌาน สภาวธรรมที่เหลือชื่อว่าสัมปยุตด้วยฌาน

๕. อรูปาวจรวิบาก
[๖๓๒] ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญมรรคเพื่อเข้าถึงอรูปภพ เพราะก้าวล่วง
อากิญจัญญายตนะได้โดยประการทั้งปวง ฯลฯ บรรลุจตุตถฌานที่สหรคตด้วย
เนวสัญญานาสัญญายตนสัญญา ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข เพราะละสุขและทุกข์ได้ ฯลฯ
อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น สภาวธรรมเหล่านี้
ชื่อว่าเป็นกุศล
เพราะก้าวล่วงอากิญจัญญายตนะได้โดยประการทั้งปวง ภิกษุบรรลุจตุตถฌาน
ที่สหรคตด้วยเนวสัญญานาสัญญายตนสัญญา ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข เพราะละสุขและ
ทุกข์ได้ ซึ่งเป็นวิบาก เพราะได้ทำได้สั่งสมอรูปาวจรกุศลกรรมนั้นนั่นแหละ ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๔๑๘ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๒. ฌานวิภังค์] ๒. อภิธรรมภาชนีย์ ๖. โลกุตตรวิบาก
อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ฌานมีองค์ ๒ คือ อุเบกขา และเอกัคคตา ก็เกิดขึ้น
นี้เรียกว่า จตุตถฌาน สภาวธรรมที่เหลือชื่อว่าสัมปยุตด้วยฌาน

๖. โลกุตตรวิบาก
[๖๓๓] ฌาน ๔ คือ
๑. ปฐมฌาน ๒. ทุติยฌาน
๓. ตติยฌาน ๔. จตุตถฌาน
[๖๓๔] บรรดาฌาน ๔ นั้น ปฐมฌาน เป็นไฉน
ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญฌานที่เป็นโลกุตตระซึ่งเป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ให้
ถึงนิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน
ที่เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ
ก็เกิดขึ้น สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล
ภิกษุสงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน ที่เป็นสุญญตะ เป็นทุกขาปฏิปทา-
ทันธาภิญญา ซึ่งเป็นวิบาก เพราะได้ทำได้เจริญฌานที่เป็นโลกุตตรกุศลนั้นนั่นแหละ
อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ฌานมีองค์ ๕ คือ วิตก วิจาร ปีติ สุข และเอกัคคตา
ก็เกิดขึ้น นี้เรียกว่า ปฐมฌาน สภาวธรรมที่เหลือชื่อว่าสัมปยุตด้วยฌาน
ทุติยฌาน เป็นไฉน
ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญฌานที่เป็นโลกุตตระซึ่งเป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ให้
ถึงนิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น เพราะวิตกวิจารสงบระงับไปแล้ว
ฯลฯ บรรลุทุติยฌานที่เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น
ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล
... เพราะวิตกวิจารสงบระงับไปแล้ว ฯลฯ บรรลุทุติยฌาน ฯลฯ บรรลุ
ตติยฌาน ฯลฯ บรรลุจตุตถฌาน ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน ฯลฯ บรรลุปัญจมฌาน
ที่เป็นสุญญตะ เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา ซึ่งเป็นวิบาก เพราะได้ทำได้เจริญ
ฌานที่เป็นโลกุตตรกุศลนั้นนั่นแหละ อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ฌานมีองค์ ๒ คือ
อุเบกขา และเอกัคคตา ก็เกิดขึ้น นี้เรียกว่า ปัญจมฌาน สภาวธรรมที่เหลือ
ชื่อว่าสัมปยุตด้วยฌาน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๔๑๙ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๒. ฌานวิภังค์] ๒. อภิธรรมภาชนีย์ ๗. รูปารูปาวจรกิริยา
๗. รูปารูปาวจรกิริยา
[๖๓๕] ฌาน ๔ คือ
๑. ปฐมฌาน ๒. ทุติยฌาน
๓. ตติยฌาน ๔. จตุตถฌาน
[๖๓๖] บรรดาฌาน ๔ นั้น ปฐมฌาน เป็นไฉน
ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญรูปาวจรฌานที่เป็นกิริยา ไม่เป็นกุศล ไม่เป็นอกุศล
และไม่เป็นวิบากแห่งกรรม เป็นธรรมเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน สงัดจากกาม
ฯลฯ บรรลุปฐมฌานที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ฌาน
มีองค์ ๕ คือ วิตก วิจาร ปีติ สุข และเอกัคคตา ก็เกิดขึ้น นี้เรียกว่า ปฐมฌาน
สภาวธรรมที่เหลือชื่อว่าสัมปยุตด้วยฌาน
ทุติยฌาน เป็นไฉน
ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญรูปาวจรฌานที่เป็นกิริยา ไม่เป็นกุศล ไม่เป็นอกุศล
และไม่เป็นวิบากแห่งกรรม เป็นธรรมเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน เพราะวิตกวิจาร
สงบระงับไปแล้ว ฯลฯ บรรลุทุติยฌาน ฯลฯ บรรลุตติยฌาน ฯลฯ บรรลุ
จตุตถฌาน ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน ฯลฯ บรรลุปัญจมฌานที่มีปฐวีกสิณเป็น
อารมณ์ อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ฌานมีองค์ ๒ คือ อุเบกขา และเอกัคคตา
ก็เกิดขึ้น นี้เรียกว่า ปัญจมฌาน สภาวธรรมที่เหลือชื่อว่าสัมปยุตด้วยฌาน
[๖๓๗] ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญอรูปาวจรฌานที่เป็นกิริยา ไม่เป็นกุศล ไม่
เป็นอกุศล และไม่เป็นวิบากแห่งกรรม เป็นธรรมเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน เพราะ
ก้าวล่วงอากิญจัญญายตนะได้โดยประการทั้งปวง บรรลุจตุตถฌานที่สหรคตด้วย
เนวสัญญานาสัญญายตนสัญญา ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข เพราะละสุขและทุกข์ได้ ฯลฯ
อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ฌานมีองค์ ๒ คือ อุเบกขา และเอกัคคตา ก็เกิดขึ้น
นี้เรียกว่า จตุตถฌาน สภาวธรรมที่เหลือชื่อว่าสัมปยุตด้วยฌาน

อภิธรรมภาชนีย์ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๔๒๐ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๒. ฌานวิภังค์] ๓. ปัญหาปุจฉกะ ๑. ติกมาติกาวิสัชนา
๓. ปัญหาปุจฉกะ
[๖๓๘] ฌาน ๔ ได้แก่ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. สงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌานที่มี
วิตก มีวิจาร มีปีติและสุข อันเกิดจากวิเวกอยู่
๒. ฯลฯ เพราะวิตกวิจารสงบระงับไปแล้ว บรรลุทุติยฌานที่มีความ
ผ่องใสในภายใน มีภาวะที่จิตเป็นหนึ่งผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร
มีแต่ปีติและสุข อันเกิดจากสมาธิอยู่
๓. ฯลฯ เพราะปีติจางคลายไป เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ
เสวยสุขด้วยนามกาย บรรลุตติยฌานที่พระอริยะทั้งหลายกล่าว
สรรเสริญว่า ผู้มีอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข ฯลฯ
๔. ฯลฯ เพราะโสมนัสและโทมนัสดับไปก่อนแล้วจึงบรรลุจตุตถฌาน
ที่ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข เพราะละสุขและทุกข์ได้ มีสติบริสุทธิ์เพราะ
อุเบกขาอยู่

ติกมาติกาปุจฉา ทุกมาติกาปุจฉา
[๖๓๙] บรรดาฌาน ๔ ฌานเท่าไรเป็นกุศล เท่าไรเป็นอกุศล เท่าไรเป็น
อัพยากฤต ฯลฯ เท่าไรเป็นเหตุให้สัตว์ร้องไห้ เท่าไรไม่เป็นเหตุให้สัตว์ร้องไห้

๑. ติกมาติกาวิสัชนา
๑-๒๒. กุสลติกาทิวิสัชนา
[๖๔๐] ฌาน ๔ ที่เป็นกุศลก็มี ที่เป็นอัพยากฤตก็มี
เว้นสุขเวทนาที่เกิดในฌานนี้แล้ว ฌาน ๓ สัมปยุตด้วยสุขเวทนา เว้น
อทุกขมสุขเวทนาที่เกิดในฌานนี้แล้ว จตุตถฌานสัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา
ฌาน ๔ ที่เป็นวิบากก็มี ที่เป็นเหตุให้เกิดวิบากก็มี ที่ไม่เป็นวิบากและไม่
เป็นเหตุให้เกิดวิบากก็มี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๔๒๑ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๒. ฌานวิภังค์] ๓. ปัญหาปุจฉกะ ๑. ติกมาติกาวิสัชนา
ฌาน ๔ ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือและเป็นอารมณ์ของ
อุปาทานก็มี ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือแต่เป็นอารมณ์ของ
อุปาทานก็มี ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือและไม่เป็นอารมณ์ของ
อุปาทานก็มี
ฌาน ๔ ที่กิเลสไม่ทำให้เศร้าหมองแต่เป็นอารมณ์ของกิเลสก็มี ที่กิเลสไม่
ทำให้เศร้าหมองและไม่เป็นอารมณ์ของกิเลสก็มี
เว้นวิตกและวิจารที่เกิดในฌานนี้แล้ว ปฐมฌานมีทั้งวิตกและวิจาร ฌาน ๓ ไม่
มีทั้งวิตกและวิจาร
เว้นปีติที่เกิดในฌานนี้แล้ว ฌาน ๒ สหรคตด้วยปีติ เว้นสุขที่เกิดในฌาน
นี้แล้ว ฌาน ๓ สหรคตด้วยสุข เว้นอุเบกขาที่เกิดในฌานนี้แล้ว จตุตถฌาน
สหรคตด้วยอุเบกขา
ฌาน ๔ ไม่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคและมรรคเบื้องบน ๓
ฌาน ๔ ไม่มีเหตุต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคและมรรคเบื้องบน ๓
ฌาน ๔ ที่เป็นเหตุให้ถึงปฏิสนธิและจุติก็มี ที่เป็นเหตุให้ถึงนิพพานก็มี ที่
ไม่เป็นเหตุให้ถึงปฏิสนธิ จุติ และนิพพานก็มี
ฌาน ๔ ที่เป็นของเสขบุคคลก็มี ที่เป็นของอเสขบุคคลก็มี ที่ไม่เป็นของ
เสขบุคคลและอเสขบุคคลก็มี
ฌาน ๔ ที่เป็นมหัคคตะก็มี ที่เป็นอัปปมาณะก็มี
ฌาน ๓ กล่าวไม่ได้ว่า มีปริตตะเป็นอารมณ์ หรือมีมหัคคตะเป็นอารมณ์
ฌาน ๔ ที่มีอัปปมาณะเป็นอารมณ์ก็มี ที่กล่าวไม่ได้ว่า มีอัปปมาณะเป็น
อารมณ์ก็มี จตุตถฌานที่มีปริตตะเป็นอารมณ์ก็มี ที่มีมหัคคตะเป็นอารมณ์ก็มี ที่
มีอัปปมาณะเป็นอารมณ์ก็มี ที่กล่าวไม่ได้ว่า มีปริตตะเป็นอารมณ์ มีมหัคคตะ
เป็นอารมณ์ หรือมีอัปปมาณะเป็นอารมณ์ก็มี
ฌาน ๔ ที่เป็นชั้นกลางก็มี ที่เป็นชั้นประณีตก็มี
ฌาน ๔ ที่มีสภาวะชอบและให้ผลแน่นอนก็มี ที่ให้ผลไม่แน่นอนก็มี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๔๒๒ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๒. ฌานวิภังค์] ๓. ปัญหาปุจฉกะ ๒. ทุกมาติกาวิสัชนา
ฌาน ๓ ไม่ใช่มีมรรคเป็นอารมณ์ ที่มีมรรคเป็นเหตุก็มี ที่มีมรรคเป็นอธิบดี
ก็มี ที่กล่าวไม่ได้ว่า มีมรรคเป็นเหตุ หรือมีมรรคเป็นอธิบดีก็มี จตุตถฌานที่มี
มรรคเป็นอารมณ์ก็มี ที่มีมรรคเป็นเหตุก็มี ที่มีมรรคเป็นอธิบดีก็มี ที่กล่าวไม่ได้ว่า
มีมรรคเป็นอารมณ์ มีมรรคเป็นเหตุ หรือมีมรรคเป็นอธิบดีก็มี
ฌาน ๔ ที่เกิดขึ้นก็มี ที่ยังไม่เกิดขึ้นก็มี ที่จักเกิดขึ้นแน่นอนก็มี
ฌาน ๔ ที่เป็นอดีตก็มี ที่เป็นอนาคตก็มี ที่เป็นปัจจุบันก็มี
ฌาน ๓ กล่าวไม่ได้ว่า มีอดีตธรรมเป็นอารมณ์ มีอนาคตธรรมเป็นอารมณ์
หรือมีปัจจุบันธรรมเป็นอารมณ์ จตุตถฌานที่มีอดีตธรรมเป็นอารมณ์ก็มี ที่มี
อนาคตธรรมเป็นอารมณ์ก็มี ที่มีปัจจุบันธรรมเป็นอารมณ์ก็มี ที่กล่าวไม่ได้ว่า มี
อดีตธรรมเป็นอารมณ์ มีอนาคตธรรมเป็นอารมณ์ หรือมีปัจจุบันธรรมเป็นอารมณ์
ก็มี
ฌาน ๔ ที่เป็นภายในตนก็มี ที่เป็นภายนอกตนก็มี ที่เป็นภายในตนและ
ภายนอกตนก็มี
ฌาน ๓ มีธรรมภายนอกตนเป็นอารมณ์ จตุตถฌานที่มีธรรมภายในตนเป็น
อารมณ์ก็มี มีธรรมภายนอกตนเป็นอารมณ์ก็มี มีธรรมภายในตนและภายนอกตน
เป็นอารมณ์ก็มี ที่กล่าวไม่ได้ว่า มีธรรมภายในตนเป็นอารมณ์ มีธรรมภายนอก
ตนเป็นอารมณ์ หรือมีธรรมภายในตนและภายนอกตนเป็นอารมณ์ก็มี
ฌาน ๔ เห็นไม่ได้และกระทบไม่ได้

๒. ทุกมาติกาวิสัชนา
๑. เหตุโคจฉกวิสัชนา
[๖๔๑] ฌาน ๔ ไม่เป็นเหตุ ฌาน ๔ มีเหตุ
ฌาน ๔ สัมปยุตด้วยเหตุ ฌาน ๔ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นเหตุและมีเหตุ
ฌาน ๔ มีเหตุแต่ไม่เป็นเหตุ ฌาน ๔ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นเหตุและสัมปยุต
ด้วยเหตุ
ฌาน ๔ สัมปยุตด้วยเหตุแต่ไม่เป็นเหตุ ฌาน ๔ ไม่เป็นเหตุแต่มีเหตุ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๔๒๓ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๒.ฌานวิภังค์] ๓.ปัญหาปุจฉกะ ๒.ทุกมาติกาวิสัชนา
๒. จูฬันตรทุกวิสัชนา
ฌาน ๔ มีปัจจัยปรุงแต่ง ฌาน ๔ ถูกปัจจัยปรุงแต่ง
ฌาน ๔ เห็นไม่ได้ ฌาน ๔ กระทบไม่ได้
ฌาน ๔ ไม่เป็นรูป ฌาน ๔ ที่เป็นโลกิยะก็มี ที่เป็นโลกุตตระก็มี
ฌาน ๔ จิตบางดวงรู้ได้ ฌาน ๔ จิตบางดวงรู้ไม่ได้

๓.อาสวโคจฉกวิสัชนา
ฌาน ๔ ไม่เป็นอาสวะ ฌาน ๔ ที่เป็นอารมณ์ของอาสวะก็มี ที่ไม่เป็น
อารมณ์ของอาสวะก็มี
ฌาน ๔ วิปปยุตจากอาสวะ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นอาสวะและเป็นอารมณ์ของ
อาสวะ
ฌาน ๔ ที่เป็นอารมณ์ของอาสวะแต่ไม่เป็นอาสวะก็มี ที่กล่าวไม่ได้ว่า เป็น
อารมณ์ของอาสวะแต่ไม่เป็นอาสวะก็มี
ฌาน ๔ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นอาสวะและสัมปยุตด้วยอาสวะ หรือสัมปยุต
ด้วยอาสวะแต่ไม่เป็นอาสวะ
ฌาน ๔ ที่วิปปยุตจากอาสวะแต่เป็นอารมณ์ของอาสวะก็มี ที่วิปปยุตจาก
อาสวะและไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะก็มี

๔-๙. สัญโญชนโคจฉกาทิวิสัชนา
ฌาน ๔ ไม่เป็นสังโยชน์ ฯลฯ ไม่เป็นคันถะ ฯลฯ ไม่เป็นโอฆะ ฯลฯ
ไม่เป็นโยคะ ฯลฯ ไม่เป็นนิวรณ์ ฯลฯ ไม่เป็นปรามาส ฯลฯ

๑๐. มหันตรทุกวิสัชนา
ฌาน ๔ รับรู้อารมณ์ได้ ฌาน ๔ ไม่เป็นจิต
ฌาน ๔ เป็นเจตสิก ฌาน ๔ สัมปยุตด้วยจิต
ฌาน ๔ ระคนกับจิต ฌาน ๔ มีจิตเป็นสมุฏฐาน
ฌาน ๔ เกิดพร้อมกับจิต ฌาน ๔ เป็นไปตามจิต
ฌาน ๔ ระคนกับจิตและมีจิตเป็นสมุฏฐาน ฌาน ๔ ระคนกับจิตมีจิตเป็น
สมุฏฐานและเกิดพร้อมกับจิต


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๔๒๔ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๒.ฌานวิภังค์] ๓.ปัญหาปุจฉกะ ๒.ทุกมาติกาวิสัชนา
ฌาน ๔ ระคนกับจิตมีจิตเป็นสมุฏฐานและเป็นไปตามจิต ฌาน ๔ เป็น
ภายนอก
ฌาน ๔ ไม่เป็นอุปาทายรูป ฌาน ๔ ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและ
ทิฏฐิยึดถือก็มี ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือก็มี

๑๑-๑๒. อุปาทานโคจฉกาทิวิสัชนา
ฌาน ๔ ไม่เป็นอุปาทาน ฯลฯ ไม่เป็นกิเลส ฯลฯ

๑๓. ปิฏฐิทุกวิสัชนา
ฌาน ๔ ไม่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคและมรรคเบื้องบน ๓
ฌาน ๔ ไม่มีเหตุต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคและมรรคเบื้องบน ๓
เว้นวิตกที่เกิดในฌานนี้แล้ว ปฐมฌานมีวิตก ฌาน ๓ ไม่มีวิตก เว้นวิจาร
ที่เกิดในฌานนี้แล้ว ปฐมฌานมีวิจาร ฌาน ๓ ไม่มีวิจาร เว้นปีติที่เกิดในฌานนี้แล้ว
ฌาน ๒ มีปีติ ฌาน ๒ ไม่มีปีติ เว้นปีติที่เกิดในฌานนี้แล้ว ฌาน ๒ สหรคตด้วยปีติ
ฌาน ๒ ไม่สหรคตด้วยปีติ
เว้นสุขที่เกิดในฌานนี้แล้ว ฌาน ๓ สหรคตด้วยสุข จตุตถฌานไม่สหรคตด้วย
สุข เว้นอุเบกขาที่เกิดในฌานนี้แล้ว จตุตถฌานสหรคตด้วยอุเบกขา ฌาน ๓ ไม่
สหรคตด้วยอุเบกขา
ฌาน ๔ ไม่เป็นกามาวจร ฌาน ๔ ที่เป็นรูปาวจรก็มี ที่ไม่เป็นรูปาวจรก็มี
ฌาน ๓ ไม่เป็นอรูปาวจร จตุตถฌานที่เป็นอรูปาวจรก็มี ที่ไม่เป็นอรูปาวจร
ก็มี ฌาน ๔ ที่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ก็มี ที่ไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ก็มี
ฌาน ๔ ที่เป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ก็มี ที่ไม่เป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์
ก็มี ฌาน ๔ ที่ให้ผลแน่นอนก็มี ที่ให้ผลไม่แน่นอนก็มี
ฌาน ๔ ที่มีธรรมอื่นยิ่งกว่าก็มี ที่ไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่าก็มี ฌาน ๔ ไม่เป็น
เหตุให้สัตว์ร้องไห้

ปัญหาปุจฉกะ จบ

ฌานวิภังค์ จบบริบูรณ์


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๔๒๕ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๓. อัปปมัญญาวิภังค์] ๑. สุตตันตภาชนีย์
๑๓. อัปปมัญญาวิภังค์
๑. สุตตันตภาชนีย์
[๖๔๒] อัปปมัญญา ๔ ได้แก่ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. มีจิตสหรคตด้วยเมตตาแผ่ไปตลอดทิศหนึ่งอยู่ ทิศที่ ๒ ก็เช่น
นั้น ทิศที่ ๓ ทิศที่ ๔ ก็เช่นนั้น ทิศเบื้องบน ทิศเบื้องต่ำ
ทิศเฉียงก็เช่นเดียวกัน มีจิตสหรคตด้วยเมตตาอันไพบูลย์ กว้าง
ขวาง หาประมาณมิได้ ไม่มีเวร ไม่มีพยาบาท แผ่ไปยังสัตว์โลก
ทั้งปวง เพราะเป็นผู้มีจิตเสมอในสัตว์ทุกหมู่เหล่าในที่ทั้งปวงอยู่
๒. มีจิตสหรคตด้วยกรุณาแผ่ไปตลอดทิศหนึ่งอยู่ ทิศที่ ๒ ก็เช่น
นั้น ทิศที่ ๓ ทิศที่ ๔ ก็เช่นนั้น ทิศเบื้องบน ทิศเบื้องต่ำ
ทิศเฉียงก็เช่นเดียวกัน มีจิตสหรคตด้วยกรุณาอันไพบูลย์ กว้างขวาง
หาประมาณมิได้ ไม่มีเวร ไม่มีพยาบาท แผ่ไปยังสัตว์โลกทั้งปวง
เพราะเป็นผู้มีจิตเสมอในสัตว์ทุกหมู่เหล่าในที่ทั้งปวงอยู่
๓. มีจิตสหรคตด้วยมุทิตาแผ่ไปตลอดทิศหนึ่งอยู่ ทิศที่ ๒ ก็เช่น
นั้น ทิศที่ ๓ ทิศที่ ๔ ก็เช่นนั้น ทิศเบื้องบน ทิศเบื้องต่ำ ทิศ
เฉียง ก็เช่นเดียวกัน มีจิตสหรคตด้วยมุทิตาอันไพบูลย์ กว้างขวาง
หาประมาณมิได้ ไม่มีเวร ไม่มีพยาบาท แผ่ไปยังสัตว์โลกทั้งปวง
เพราะเป็นผู้มีจิตเสมอในสัตว์ทุกหมู่เหล่าในที่ทั้งปวงอยู่
๔. มีจิตสหรคตด้วยอุเบกขาแผ่ไปตลอดทิศหนึ่งอยู่ ทิศที่ ๒ ก็เช่น
นั้น ทิศที่ ๓ ทิศที่ ๔ ก็เช่นนั้น ทิศเบื้องบน ทิศเบื้องต่ำ ทิศเฉียง
ก็เช่นเดียวกัน มีจิตสหรคตด้วยอุเบกขาอันไพบูลย์ กว้างขวาง
หาประมาณมิได้ ไม่มีเวร ไม่มีพยาบาท แผ่ไปยังสัตว์โลกทั้งปวง
เพราะเป็นผู้มีจิตเสมอในสัตว์ทุกหมู่เหล่าในที่ทั้งปวงอยู่๑

เชิงอรรถ :
๑ ที.ปา. ๑๑/๓๐๘/๒๐๐, ม.มู. ๑๒/๔๓๘/๓๘๕, อภิ.วิ. ๓๕/๖๙๙/๓๔๖

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๔๒๖ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๒.ฌานวิภังค์] ๑.สุตตันตภาชนีย์ ๑.เมตตาอัปปมัญญานิทเทส
๑. เมตตาอัปปมัญญานิทเทส
[๖๔๓] มีจิตสหรคตด้วยเมตตาแผ่ไปตลอดทิศหนึ่งอยู่ เป็นไฉน
ภิกษุมีจิตสหรคตด้วยเมตตาแผ่ไปยังสัตว์โลกทั้งปวง เหมือนคนเห็นคนผู้หนึ่ง
ผู้เป็นที่รักเป็นที่ชอบใจแล้วพึงรักใคร่ฉะนั้น
บรรดาคำเหล่านั้น เมตตา เป็นไฉน
ความรักใคร่ กิริยาที่รักใคร่ ภาวะที่รักใคร่ในสัตว์ทั้งหลาย เมตตาเจโตวิมุตติ
นี้เรียกว่า เมตตา
จิต เป็นไฉน
จิต มโน มานัส หทัย ปัณฑระ มโน มนายตนะ มนินทรีย์ วิญญาณ
วิญญาณขันธ์ และมโนวิญญาณธาตุที่เหมาะสมกัน นี้เรียกว่า จิต
จิตนี้เป็นธรรมชาติสหรคต เกิดพร้อม ระคน สัมปยุตด้วยเมตตานี้ เพราะ
ฉะนั้นจึงชื่อว่า มีจิตสหรคตด้วยเมตตา
[๖๔๔] คำว่า ทิศหนึ่ง อธิบายว่า ทิศตะวันออก ทิศตะวันตก ทิศเหนือ
ทิศใต้ ทิศเบื้องบน ทิศเบื้องต่ำ ทิศเฉียง หรือทิศต่าง ๆ
[๖๔๕] คำว่า แผ่ไป อธิบายว่า กระจายออกไป น้อมจิตไป
[๖๔๖] คำว่า อยู่ อธิบายว่า สืบเนื่องกันอยู่ ดำเนินไปอยู่ รักษาอยู่ เป็น
ไปอยู่ ให้เป็นไปอยู่ เที่ยวไปอยู่ พักอยู่ เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า อยู่
[๖๔๗] คำว่า ทิศที่ ๒ ก็เช่นนั้น อธิบายว่า ทิศหนึ่งฉันใด ทิศที่ ๒ ทิศที่
๓ ทิศที่ ๔ ทิศเบื้องบน ทิศเบื้องต่ำ ทิศเฉียง ทิศต่าง ๆ ก็เช่นนั้น
[๖๔๘] คำว่า สัตว์โลกทั้งปวง เพราะเป็นผู้มีจิตเสมอในสัตว์ทุกหมู่เหล่า
ในที่ทั้งปวง อธิบายว่า คำว่า สัตว์โลกทั้งปวง เพราะเป็นผู้มีจิตเสมอในสัตว์ทุก
หมู่เหล่าในที่ทั้งปวง นี้เป็นคำกล่าวกำหนดเอาสัตว์ทั้งหมด โดยประการทั้งปวง
ไม่มีส่วนเหลือ หาส่วนเหลือมิได้


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๔๒๗ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๓.อัปปมัญญาวิภังค์] ๑.สุตตันตภาชนีย์ ๒.กรุณาอัปปมัญญานิทเทส
[๖๔๙] ในคำว่า มีจิตสหรคตด้วยเมตตา นั้น เมตตา เป็นไฉน
ความรักใคร่ กิริยาที่รักใคร่ ภาวะที่รักใคร่ในสัตว์ทั้งหลาย เมตตาเจโตวิมุตติ
นี้เรียกว่า เมตตา
จิต เป็นไฉน
จิต มโน มานัส ฯลฯ มโนวิญญาณธาตุที่เหมาะสมกัน นี้เรียกว่า จิต
จิตนี้เป็นธรรมชาติสหรคต เกิดพร้อม ระคน สัมปยุตด้วยเมตตานี้ เพราะ
ฉะนั้นจึงชื่อว่า มีจิตสหรคตด้วยเมตตา
[๖๕๐] คำว่า ไพบูลย์ อธิบายว่า จิตใดไพบูลย์ จิตนั้นกว้างขวาง จิตใด
กว้างขวาง จิตนั้นหาประมาณมิได้ จิตใดหาประมาณมิได้ จิตนั้นไม่มีเวร จิตใด
ไม่มีเวร จิตนั้นไม่มีพยาบาท
[๖๕๑] คำว่า แผ่ไป อธิบายว่า กระจายออกไป น้อมจิตไป
[๖๕๒] คำว่า อยู่ อธิบายว่า สืบเนื่องกันอยู่ ฯลฯ พักอยู่ เพราะฉะนั้น
จึงชื่อว่า อยู่

๒. กรุณาอัปปมัญญานิทเทส
[๖๕๓] มีจิตสหรคตด้วยกรุณาแผ่ไปตลอดทิศหนึ่งอยู่ เป็นไฉน
ภิกษุมีจิตสหรคตด้วยกรุณาแผ่ไปยังสัตว์โลกทั้งปวง เหมือนบุคคลเห็นคน
ผู้หนึ่งผู้ตกทุกข์ได้ยากแล้วพึงสงสารฉะนั้น
บรรดาคำเหล่านั้น กรุณา เป็นไฉน
ความสงสาร กิริยาที่สงสาร ภาวะที่สงสารในสัตว์ทั้งหลาย กรุณาเจโตวิมุตติ
นี้เรียกว่า กรุณา
จิต เป็นไฉน
จิต มโน มานัส ฯลฯ มโนวิญญาณธาตุที่เหมาะสมกัน นี้เรียกว่า จิต
จิตนี้เป็นธรรมชาติสหรคต เกิดพร้อม ระคน สัมปยุตด้วยกรุณานี้ เพราะ
ฉะนั้นจึงชื่อว่า มีจิตที่สหรคตด้วยกรุณา


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๔๒๘ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๓.อัปปมัญญาวิภังค์] ๑.สุตตันตภาชนีย์ ๒.กรุณาอัปปมัญญานิทเทส
[๖๕๔] คำว่า ทิศหนึ่ง อธิบายว่า ทิศตะวันออก ทิศตะวันตก ทิศเหนือ
ทิศใต้ ทิศเบื้องบน ทิศเบื้องต่ำ ทิศเฉียง หรือทิศต่าง ๆ
[๖๕๕] คำว่า แผ่ไป อธิบายว่า กระจายออกไป น้อมจิตไป
[๖๕๖] คำว่า อยู่ อธิบายว่า สืบเนื่องกันอยู่ ดำเนินไปอยู่ รักษาอยู่
เป็นไปอยู่ ให้เป็นไปอยู่ เที่ยวไปอยู่ พักอยู่ เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่าอยู่
[๖๕๗] คำว่า ทิศที่ ๒ ก็เช่นนั้น อธิบายว่า ทิศหนึ่งฉันใด ทิศที่ ๒ ทิศที่
๓ ทิศที่ ๔ ทิศเบื้องบน ทิศเบื้องต่ำ ทิศเฉียง ทิศต่าง ๆ ก็เช่นนั้น
[๖๕๘] คำว่า สัตว์โลกทั้งปวง เพราะเป็นผู้มีจิตเสมอในสัตว์ทุกหมู่เหล่า
ในที่ทั้งปวง อธิบายว่า คำว่า สัตว์โลกทั้งปวง เพราะเป็นผู้มีจิตเสมอในสัตว์ทุก
หมู่เหล่าในที่ทั้งปวง นี้เป็นคำกล่าวกำหนดเอาสัตว์ทั้งหมดโดยประการทั้งปวง ไม่
มีส่วนเหลือ หาส่วนเหลือมิได้
[๖๕๙] ในคำว่า มีจิตสหรคตด้วยกรุณา นั้น กรุณา เป็นไฉน
ความสงสาร กิริยาที่สงสาร ภาวะที่สงสารในสัตว์ทั้งหลาย กรุณาเจโตวิมุตติ
นี้เรียกว่า กรุณา
จิต เป็นไฉน
จิต มโน มานัส ฯลฯ มโนวิญญาณธาตุที่เหมาะสมกัน นี้เรียกว่า จิต
จิตนี้ เป็นธรรมชาติสหรคต เกิดพร้อม ระคน สัมปยุตด้วยกรุณานี้ เพราะ
ฉะนั้นจึงชื่อว่า มีจิตสหรคตด้วยกรุณา
[๖๖๐] คำว่า ไพบูลย์ อธิบายว่า จิตใดไพบูลย์ จิตนั้นกว้างขวาง จิตใด
กว้างขวาง จิตนั้นหาประมาณมิได้ จิตใดหาประมาณมิได้ จิตนั้นไม่มีเวร จิตใด
ไม่มีเวร จิตนั้นไม่มีพยาบาท
[๖๖๑] คำว่า แผ่ไป อธิบายว่า กระจายออกไป น้อมจิตไป
[๖๖๒] คำว่า อยู่ อธิบายว่า สืบเนื่องกันอยู่ ฯลฯ พักอยู่ เพราะฉะนั้น
จึงชื่อว่าอยู่


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๔๒๙ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๓. อัปปมัญญาวิภังค์] ๑. สุตตันตภาชนีย์ ๓. มุทิตาอัปปมัญญานิทเทส
๓. มุทิตาอัปปมัญญานิทเทส
[๖๖๓] มีจิตสหรคตด้วยมุทิตาแผ่ไปตลอดทิศหนึ่งอยู่ เป็นไฉน
ภิกษุมีจิตสหรคตด้วยมุทิตาไปยังสัตว์โลกทั้งปวง เหมือนบุคคลเห็นคนผู้หนึ่ง
ผู้เป็นที่รักชอบใจแล้วพลอยยินดีฉะนั้น
บรรดาคำเหล่านั้น มุทิตา เป็นไฉน
ความพลอยยินดี กิริยาที่พลอยยินดี ภาวะที่พลอยยินดีในสัตว์ทั้งหลาย นี้
เรียกว่า มุทิตา
จิต เป็นไฉน
จิต มโน มานัส ฯลฯ มโนวิญญาณธาตุที่เหมาะสมกัน นี้เรียกว่า จิต
จิตนี้เป็นธรรมชาติสหรคต เกิดพร้อม ระคน สัมปยุตด้วยมุทิตานี้ เพราะ
ฉะนั้นจึงชื่อว่า มีจิตที่สหรคตด้วยมุทิตา
[๖๖๔] คำว่า ทิศหนึ่ง อธิบายว่า ทิศตะวันออก ทิศตะวันตก ทิศเหนือ
ทิศใต้ ทิศเบื้องบน ทิศเบื้องต่ำ ทิศเฉียง หรือทิศต่าง ๆ
[๖๖๕] คำว่า แผ่ไป อธิบายว่า กระจายออกไป น้อมจิตไป
[๖๖๖] คำว่า อยู่ อธิบายว่า สืบเนื่องกันอยู่ ฯลฯ พักอยู่ เพราะฉะนั้น
จึงชื่อว่าอยู่
[๖๖๗] คำว่า ทิศที่ ๒ ก็เช่นนั้น อธิบายว่า ทิศหนึ่งฉันใด ทิศที่ ๒ ทิศที่
๓ ทิศที่ ๔ ทิศเบื้องบน ทิศเบื้องต่ำ ทิศเฉียง หรือทิศต่าง ๆ ก็เช่นนั้น
[๖๖๘] คำว่า สัตว์โลกทั้งปวง เพราะเป็นผู้มีจิตเสมอในสัตว์ทุกหมู่เหล่า
ในที่ทั้งปวง อธิบายว่า คำว่า สัตว์โลกทั้งปวง เพราะเป็นผู้มีจิตเสมอในสัตว์
ทุกหมู่เหล่าในที่ทั้งปวง นี้ เป็นคำกล่าวกำหนดเอาสัตว์ทั้งหมดโดยประการทั้งปวง
ไม่มีส่วนเหลือ หาส่วนเหลือมิได้
[๖๖๙] ในคำว่า มีจิตสหรคตด้วยมุทิตา นั้น มุทิตา เป็นไฉน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๔๓๐ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๓.อัปปมัญญาวิภังค์] ๑.สุตตันตภาชนีย์ ๔.อุเปกขาอัปปมัญญานิทเทส
ความพลอยยินดี กิริยาที่พลอยยินดี ภาวะที่พลอยยินดีในสัตว์ทั้งหลาย
มุทิตาเจโตวิมุตติ นี้ชื่อว่ามุทิตา
จิต เป็นไฉน
จิต มโน มานัส ฯลฯ มโนวิญญาณธาตุที่เหมาะสมกัน นี้เรียกว่า จิต
จิตนี้เป็นธรรมชาติสหรคต เกิดพร้อม ระคน สัมปยุตด้วยมุทิตานี้ เพราะ
ฉะนั้นจึงชื่อว่ามีจิตสหรคตด้วยมุทิตา
[๖๗๐] คำว่า ไพบูลย์ อธิบายว่า จิตใดไพบูลย์ จิตนั้นกว้างขวาง จิตใด
กว้างขวาง จิตนั้นหาประมาณมิได้ จิตใดหาประมาณมิได้ จิตนั้นไม่มีเวร จิตใด
ไม่มีเวร จิตนั้นไม่มีพยาบาท
[๖๗๑] คำว่า แผ่ไป อธิบายว่า กระจายออกไป น้อมจิตไป
[๖๗๒] คำว่า อยู่ อธิบายว่า สืบเนื่องกันอยู่ ฯลฯ พักอยู่ เพราะฉะนั้น
จึงชื่อว่าอยู่

๔. อุเปกขาอัปปมัญญานิทเทส
[๖๗๓] มีจิตสหรคตด้วยอุเบกขาแผ่ไปตลอดทิศหนึ่งอยู่ เป็นไฉน
ภิกษุมีจิตสหรคตด้วยอุเบกขาแผ่ไปยังสัตว์โลกทั้งปวง เหมือนบุคคลเห็นคน
ผู้หนึ่งผู้เป็นที่ชอบใจก็ไม่ใช่ ไม่เป็นที่ชอบใจก็ไม่ใช่ แล้วเป็นผู้มีอุเบกขาฉะนั้น
บรรดาคำเหล่านั้น อุเบกขา เป็นไฉน
ความวางเฉย กิริยาที่วางเฉย ภาวะที่วางเฉยในสัตว์ทั้งหลาย อุเปกขาเจโต-
วิมุตติ นี้เรียกว่า อุเบกขา
จิต เป็นไฉน
จิต มโน มานัส ฯลฯ มโนวิญญาณธาตุที่เหมาะสมกัน นี้เรียกว่า จิต
จิตนี้เป็นธรรมชาติสหรคต เกิดพร้อม ระคน สัมปยุตด้วยอุเบกขานี้ เพราะ
ฉะนั้นจึงชื่อว่ามีจิตสหรคตด้วยอุเบกขา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๔๓๑ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๓.อัปปมัญญาวิภังค์] ๑.สุตตันตภาชนีย์ ๔.อุเปกขาอัปปมัญญานิทเทส
[๖๗๔] คำว่า ทิศหนึ่ง อธิบายว่า ทิศตะวันออก ทิศตะวันตก ทิศเหนือ
ทิศใต้ ทิศเบื้องบน ทิศเบื้องต่ำ ทิศเฉียง หรือทิศต่าง ๆ
[๖๗๕] คำว่า แผ่ไป อธิบายว่า กระจายออกไป น้อมจิตไป
[๖๗๖] คำว่า อยู่ อธิบายว่า สืบเนื่องกันอยู่ ฯลฯ พักอยู่ เพราะฉะนั้นจึง
ชื่อว่าอยู่
[๖๗๗] คำว่า ทิศที่ ๒ ก็เช่นนั้น อธิบายว่า ทิศหนึ่งฉันใด ทิศที่ ๒ ทิศ
ที่ ๓ ทิศที่ ๔ ทิศเบื้องบน ทิศเบื้องต่ำ ทิศเฉียง ทิศต่าง ๆ ก็เช่นนั้น
[๖๗๘] คำว่า สัตว์โลกทั้งปวง เพราะเป็นผู้มีจิตเสมอในสัตว์ทุกหมู่เหล่า
ในที่ทั้งปวง อธิบายว่า คำว่า สัตว์โลกทั้งปวง เพราะเป็นผู้มีจิตเสมอในสัตว์ทุก
หมู่เหล่าในที่ทั้งปวง นี้ เป็นคำกล่าวกำหนดเอาสัตว์ทั้งหมดโดยประการทั้งปวง
ไม่มีส่วนเหลือ หาส่วนเหลือมิได้
[๖๗๙] ในคำว่า มีจิตสหรคตด้วยอุเบกขา นั้น อุเบกขา เป็นไฉน
ความวางเฉย กิริยาที่วางเฉย ภาวะที่วางเฉยในสัตว์ทั้งหลาย อุเปกขา-
เจโตวิมุตติ นี้เรียกว่า อุเบกขา
จิต เป็นไฉน
จิต มโน มานัส ฯลฯ มโนวิญญาณธาตุที่เหมาะสมกัน นี้เรียกว่า จิต
จิตนี้เป็นธรรมชาติสหรคต เกิดพร้อม ระคน สัมปยุตด้วยอุเบกขานี้ เพราะ
ฉะนั้นจึงชื่อว่ามีจิตที่สหรคตด้วยอุเบกขา
[๖๘๐] คำว่า ไพบูลย์ อธิบายว่า จิตใดไพบูลย์ จิตนั้นกว้างขวาง จิตใด
กว้างขวาง จิตนั้นหาประมาณมิได้ จิตใดหาประมาณมิได้ จิตนั้นไม่มีเวร จิตใด
ไม่มีเวร จิตนั้นไม่มีพยาบาท
[๖๘๑] คำว่า แผ่ไป อธิบายว่า กระจายออกไป น้อมจิตไป
[๖๘๒] คำว่า อยู่ อธิบายว่า สืบเนื่องกันอยู่ ฯลฯ พักอยู่ เพราะฉะนั้น
จึงชื่อว่าอยู่
สุตตันตภาชนีย์ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๔๓๒ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๓.อัปปมัญญาวิภังค์] ๒.อภิธรรมภาชนีย์
๒. อภิธรรมภาชนีย์
[๖๘๓] อัปปมัญญา ๔ คือ

๑. เมตตา (ความรักใคร่) ๒. กรุณา (ความสงสาร)
๓. มุทิตา (ความพลอยยินดี) ๔. อุเบกขา (ความวางเฉย)

เมตตากุศลฌานจตุกกนัย
[๖๘๔] บรรดาอัปปมัญญา ๔ นั้น เมตตา เป็นไฉน
ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญมรรคเพื่อเข้าถึงรูปภพ สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุ
ปฐมฌานที่สหรคตด้วยเมตตา อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ความรักใคร่ กิริยาที่รักใคร่
ภาวะที่รักใคร่ เมตตาเจโตวิมุตติ นี้เรียกว่า เมตตา สภาวธรรมที่เหลือชื่อว่าสัมปยุต
ด้วยเมตตา (๑)
เมตตา เป็นไฉน
ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญมรรคเพื่อเข้าถึงรูปภพ เพราะวิตกวิจารสงบระงับไปแล้ว
ฯลฯ บรรลุทุติยฌานที่สหรคตด้วยเมตตา อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ความรักใคร่
กิริยาที่รักใคร่ ภาวะที่รักใคร่ เมตตาเจโตวิมุตติ นี้เรียกว่า เมตตา สภาวธรรม
ที่เหลือชื่อว่าสัมปยุตด้วยเมตตา (๒)
เมตตา เป็นไฉน
ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญมรรคเพื่อเข้าถึงรูปภพ เพราะปีติจางคลายไป ฯลฯ
บรรลุตติยฌานที่สหรคตด้วยเมตตา อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ความรักใคร่ กิริยา
ที่รักใคร่ ภาวะที่รักใคร่ เมตตาเจโตวิมุตติ นี้เรียกว่า เมตตา สภาวธรรมที่เหลือ
ชื่อว่าสัมปยุตด้วยเมตตา (๓)

เมตตากุศลฌานปัญจกนัย
[๖๘๕] ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญมรรคเพื่อเข้าถึงรูปภพ สงัดจากกาม ฯลฯ
บรรลุปฐมฌานที่สหรคตด้วยเมตตา อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ความรักใคร่ กิริยาที่
รักใคร่ ภาวะที่รักใคร่ เมตตาเจโตวิมุตติ นี้เรียกว่า เมตตา สภาวธรรมที่เหลือชื่อว่า
สัมปยุตด้วยเมตตา (๑-๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๔๓๓ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๓.อัปปมัญญาวิภังค์] ๒.อภิธรรมภาชนีย์
ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญมรรคเพื่อเข้าถึงรูปภพ สงัดจากกามและสภาวธรรม
ที่เป็นอกุศลทั้งหลายแล้ว บรรลุทุติยฌานที่สหรคตด้วยเมตตา ไม่มีวิตกมีเพียงวิจาร
มีปีติและสุขอันเกิดจากวิเวก อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ความรักใคร่ กิริยาที่รักใคร่
ภาวะที่รักใคร่ เมตตาเจโตวิมุตติ นี้เรียกว่า เมตตา สภาวธรรมที่เหลือชื่อว่า
สัมปยุตด้วยเมตตา (๒-๕)
ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญมรรคเพื่อเข้าถึงรูปภพ เพราะวิตกวิจารสงบระงับ
ไปแล้ว ฯลฯ บรรลุตติยฌานที่สหรคตด้วยเมตตา อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ความ
รักใคร่ กิริยาที่รักใคร่ ภาวะที่รักใคร่ เมตตาเจโตวิมุตติ นี้เรียกว่า เมตตา สภาวธรรม
ที่เหลือชื่อว่าสัมปยุตด้วยเมตตา (๓-๖)
ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญมรรคเพื่อเข้าถึงรูปภพ เพราะปีติจางคลายไป ฯลฯ
บรรลุจตุตถฌานที่สหรคตด้วยเมตตา อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ความรักใคร่ กิริยา
ที่รักใคร่ ภาวะที่รักใคร่ เมตตาเจโตวิมุตติ นี้เรียกว่า เมตตา สภาวธรรมที่เหลือ
ชื่อว่าสัมปยุตด้วยเมตตา (๔-๗)

กรุณากุศลฌานจตุกกนัย
[๖๘๖] กรุณา เป็นไฉน
ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญมรรคเพื่อเข้าถึงรูปภพ สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุ
ปฐมฌานที่สหรคตด้วยกรุณา อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ความสงสาร กิริยาที่สงสาร
ภาวะที่สงสาร กรุณาเจโตวิมุตติ นี้เรียกว่า กรุณา สภาวธรรมที่เหลือชื่อว่าสัมปยุต
ด้วยกรุณา (๑)
กรุณา เป็นไฉน
ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญมรรคเพื่อเข้าถึงรูปภพ เพราะวิตกวิจารสงบระงับไป
แล้ว ฯลฯ บรรลุทุติยฌานที่สหรคตด้วยกรุณา อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ความ
สงสาร กิริยาที่สงสาร ภาวะที่สงสาร กรุณาเจโตวิมุตติ นี้เรียกว่า กรุณา สภาวธรรม
ที่เหลือชื่อว่าสัมปยุตด้วยกรุณา (๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๔๓๔ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๓.อัปปมัญญาวิภังค์] ๒.อภิธรรมภาชนีย์
กรุณา เป็นไฉน
ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญมรรคเพื่อเข้าถึงรูปภพ เพราะปีติจางคลายไป ฯลฯ
บรรลุตติยฌานที่สหรคตด้วยกรุณา อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ความสงสาร
กิริยาที่สงสาร ภาวะที่สงสาร กรุณาเจโตวิมุตติ นี้เรียกว่า กรุณา สภาวธรรมที่
เหลือชื่อว่าสัมปยุตด้วยกรุณา (๓)

กรุณากุศลฌานปัญจกนัย
[๖๘๗] ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญมรรคเพื่อเข้าถึงรูปภพ สงัดจากกาม ฯลฯ
บรรลุปฐมฌานที่สหรคตด้วยกรุณา อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ความสงสาร
กิริยาที่สงสาร ภาวะที่สงสาร กรุณาเจโตวิมุตติ นี้เรียกว่า กรุณา สภาวธรรมที่
เหลือชื่อว่าสัมปยุตด้วยกรุณา (๑-๔)
ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญมรรคเพื่อเข้าถึงรูปภพ สงัดจากกามและสภาว-
ธรรมที่เป็นอกุศลทั้งหลายแล้ว บรรลุทุติยฌานที่สหรคตด้วยกรุณา ไม่มีวิตกมี
เพียงวิจาร มีปีติและสุขที่เกิดจากวิเวก อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ความสงสาร
กิริยาที่สงสาร ภาวะที่สงสาร กรุณาเจโตวิมุตติ นี้เรียกว่า กรุณา สภาวธรรมที่
เหลือชื่อว่าสัมปยุตด้วยกรุณา (๒-๕)
ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญมรรคเพื่อเข้าถึงรูปภพ เพราะวิตกวิจารสงบระงับ
ไปแล้ว ฯลฯ บรรลุตติยฌานที่สหรคตด้วยกรุณา อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น
ความสงสาร กิริยาที่สงสาร ภาวะที่สงสาร กรุณาเจโตวิมุตติ นี้เรียกว่า กรุณา
สภาวธรรมที่เหลือชื่อว่าสัมปยุตด้วยกรุณา (๓-๖)
ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญมรรคเพื่อเข้าถึงรูปภพ เพราะปีติจางคลายไป ฯลฯ
บรรลุจตุตถฌานที่สหรคตด้วยกรุณา อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ความสงสาร
กิริยาที่สงสาร ภาวะที่สงสาร กรุณาเจโตวิมุตติ นี้เรียกว่า กรุณา สภาวธรรมที่เหลือ
ชื่อว่าสัมปยุตด้วยกรุณา (๔-๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๔๓๕ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๓.อัปปมัญญาวิภังค์] ๒.อภิธรรมภาชนีย์
มุทิตากุศลฌานจตุกกนัย
[๖๘๘] มุทิตา เป็นไฉน
ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญมรรคเพื่อเข้าถึงรูปภพ สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุ
ปฐมฌานที่สหรคตด้วยมุทิตา อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ความพลอยยินดี กิริยา
ที่พลอยยินดี ภาวะที่พลอยยินดี มุทิตาเจโตวิมุตติ นี้เรียกว่า มุทิตา สภาวธรรม
ที่เหลือชื่อว่าสัมปยุตด้วยมุทิตา (๑)
มุทิตา เป็นไฉน
ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญมรรคเพื่อเข้าถึงรูปภพ เพราะวิตกวิจารสงบระงับไป
แล้ว ฯลฯ บรรลุทุติยฌานที่สหรคตด้วยมุทิตา อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ความพลอย
ยินดี กิริยาที่พลอยยินดี ภาวะที่พลอยยินดี มุทิตาเจโตวิมุตติ นี้เรียกว่า มุทิตา
สภาวธรรมที่เหลือชื่อว่าสัมปยุตด้วยมุทิตา (๒)
มุทิตา เป็นไฉน
ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญมรรคเพื่อเข้าถึงรูปภพ เพราะปีติจางคลายไป ฯลฯ
บรรลุตติยฌานที่สหรคตด้วยมุทิตา อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ความพลอย
ยินดี กิริยาที่พลอยยินดี ภาวะที่พลอยยินดี มุทิตาเจโตวิมุตติ นี้เรียกว่า มุทิตา
สภาวธรรมที่เหลือชื่อว่าสัมปยุตด้วยมุทิตา (๓)

มุทิตากุศลฌานปัญจกนัย
[๖๘๙] ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญมรรคเพื่อเข้าถึงรูปภพ สงัดจากกาม ฯลฯ
บรรลุปฐมฌานที่สหรคตด้วยมุทิตา อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ความพลอยยินดี
กิริยาที่พลอยยินดี ภาวะที่พลอยยินดี มุทิตาเจโตวิมุตติ นี้เรียกว่า มุทิตา สภาว-
ธรรมที่เหลือชื่อว่าสัมปยุตด้วยมุทิตา (๑-๔)
ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญมรรคเพื่อเข้าถึงรูปภพ สงัดจากกามและสภาวธรรม
ที่เป็นอกุศลทั้งหลายแล้ว บรรลุทุติยฌานที่ไม่มีวิตกมีเพียงวิจาร มีปีติและสุข อัน
เกิดจากวิเวก อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ความพลอยยินดี กิริยาที่พลอยยินดี
ภาวะที่พลอยยินดี มุทิตาเจโตวิมุตติ นี้เรียกว่า มุทิตา สภาวธรรมที่เหลือชื่อว่า
สัมปยุตด้วยมุทิตา (๒-๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๔๓๖ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๓.อัปปมัญญาวิภังค์] ๒.อภิธรรมภาชนีย์
ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญมรรคเพื่อเข้าถึงรูปภพ เพราะวิตกวิจารสงบระงับไป
แล้ว ฯลฯ บรรลุตติยฌานที่สหรคตด้วยมุทิตา อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ความ
พลอยยินดี กิริยาที่พลอยยินดี ภาวะที่พลอยยินดี มุทิตาเจโตวิมุตติ นี้เรียกว่า
มุทิตา สภาวธรรมที่เหลือชื่อว่าสัมปยุตด้วยมุทิตา (๓-๖)
ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญมรรคเพื่อเข้าถึงรูปภพ เพราะปีติจางคลายไป ฯลฯ
บรรลุจตุตถฌานที่สหรคตด้วยมุทิตา อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ความพลอยยินดี
กิริยาที่พลอยยินดี ภาวะที่พลอยยินดี มุทิตาเจโตวิมุตติ นี้เรียกว่า มุทิตา สภาว-
ธรรมที่เหลือชื่อว่าสัมปยุตด้วยมุทิตา (๔-๗)

อุเปกขากุศลฌาน
[๖๙๐] อุเบกขา เป็นไฉน
ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญมรรคเพื่อเข้าถึงรูปภพ เพราะละสุขและทุกข์ได้ ฯลฯ
บรรลุจตุตถฌานที่สหรคตด้วยอุเบกขา อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ความวางเฉย
กิริยาที่วางเฉย ภาวะที่วางเฉย อุเปกขาเจโตวิมุตติ นี้เรียกว่า อุเบกขา สภาวธรรม
ที่เหลือชื่อว่าสัมปยุตด้วยอุเบกขา
[๖๙๑] อัปปมัญญา ๔ คือ
๑. เมตตา ๒. กรุณา
๓. มุทิตา ๔. อุเบกขา

เมตตาวิปากฌาน
[๖๙๒] บรรดาอัปปมัญญา ๔ นั้น เมตตา เป็นไฉน
ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญมรรคเพื่อเข้าถึงรูปภพ สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุ
ุปฐมฌานที่สหรคตด้วยเมตตา อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ
ก็เกิดขึ้น สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๔๓๗ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๓.อัปปมัญญาวิภังค์] ๒.อภิธรรมภาชนีย์
ภิกษุสงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌานที่สหรตด้วยเมตตา ซึ่งเป็นวิบาก
เพราะได้ทำได้สั่งสมรูปาวจรกุศลกรรมนั้นนั่นแหละ อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น
ความรักใคร่ กิริยาที่รักใคร่ ภาวะที่รักใคร่ เมตตาเจโตวิมุตติ นี้ชื่อว่าเมตตา
สภาวธรรมที่เหลือชื่อว่าสัมปยุตด้วยเมตตา
เมตตา เป็นไฉน
ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญมรรคเพื่อเข้าถึงรูปภพ เพราะวิตกวิจารสงบระงับไป
แล้ว ฯลฯ บรรลุทุติยฌานที่สหรคตด้วยเมตตา อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ
ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า เป็นกุศล
...เพราะวิตกวิจารสงบระงับไปแล้ว ฯลฯ บรรลุทุติยฌาน ฯลฯ บรรลุตติย-
ฌาน ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน ฯลฯ บรรลุจตุตถฌานที่สหรคตด้วยเมตตา ซึ่งเป็น
วิบาก เพราะได้ทำได้สั่งสมรูปาวจรกุศลกรรมนั้นนั่นแหละ อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น
ความรักใคร่ กิริยาที่รักใคร่ ภาวะที่รักใคร่ เมตตาเจโตวิมุตติ นี้เรียกว่าเมตตา
สภาวธรรมที่เหลือชื่อว่าสัมปยุตด้วยเมตตา

กรุณาวิปากฌาน
[๖๙๓] กรุณา เป็นไฉน
ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญมรรคเพื่อเข้าถึงรูปภพ สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุ
ปฐมฌานที่สหรคตด้วยกรุณา อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ
ก็เกิดขึ้น สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล
ภิกษุสงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌานที่สหรคตด้วยกรุณา ซึ่งเป็นวิบาก
เพราะได้ทำได้สั่งสมรูปาวจรกุศลกรรมนั้นนั่นแหละ อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น
ความสงสาร กิริยาที่สงสาร ภาวะที่สงสาร กรุณาเจโตวิมุตติ นี้เรียกว่า กรุณา
สภาวธรรม ที่เหลือชื่อว่าสัมปยุตด้วยกรุณา
กรุณา เป็นไฉน
ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญมรรคเพื่อเข้าถึงรูปภพ เพราะวิตกวิจารสงบระงับไป
แล้ว ฯลฯ บรรลุทุติยฌานที่สหรคตด้วยกรุณา อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ
ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๔๓๘ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๓.อัปปมัญญาวิภังค์] ๒.อภิธรรมภาชนีย์
...เพราะวิตกวิจารสงบระงับไปแล้ว ฯลฯ บรรลุทุติยฌาน ฯลฯ บรรลุตติย-
ฌาน ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน ฯลฯ บรรลุจตุตถฌานที่สหรคตด้วยกรุณา ซึ่งเป็น
วิบาก เพราะได้ทำได้สั่งสมรูปาวจรกุศลกรรมนั้นนั่นแหละ อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น
ความสงสาร กิริยาที่สงสาร ภาวะที่สงสาร กรุณาเจโตวิมุตติ นี้เรียกว่า กรุณา
สภาวธรรมที่เหลือชื่อว่าสัมปยุตด้วยกรุณา

มุทิตาวิปากฌาน
[๖๙๔] มุทิตา เป็นไฉน
ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญมรรคเพื่อเข้าถึงรูปภพ สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุ
ปฐมฌานที่สหรคตด้วยมุทิตา อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ
ก็เกิดขึ้น สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล
ภิกษุสงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌานที่สหรคตด้วยมุทิตา ซึ่งเป็นวิบาก
เพราะได้ทำได้สั่งสมรูปาวจรกุศลกรรมนั้นนั่นแหละ อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น
ความพลอยยินดี กิริยาที่พลอยยินดี ภาวะที่พลอยยินดี มุทิตาเจโตวิมุตติ นี้เรียกว่า
มุทิตา สภาวธรรมที่เหลือชื่อว่าสัมปยุตด้วยมุทิตา
มุทิตา เป็นไฉน
ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญมรรคเพื่อเข้าถึงรูปภพ เพราะวิตกวิจารสงบระงับไป
แล้ว ฯลฯ บรรลุทุติยฌานที่สหรคตด้วยมุทิตา อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ
ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล
...เพราะวิตกวิจารสงบระงับไปแล้ว ฯลฯ บรรลุทุติยฌาน ฯลฯ บรรลุตติย-
ฌาน ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน ฯลฯ บรรลุทุติยฌาน ฯลฯ บรรลุตติยฌาน ฯลฯ
บรรลุจตุตถฌานที่สหรคตด้วยมุทิตา ซึ่งเป็นวิบาก เพราะได้ทำได้สั่งสมรูปาวจร-
กุศลกรรมนั้นนั่นแหละ อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ความพลอยยินดี กิริยาที่พลอย
ยินดี ภาวะที่พลอยยินดี มุทิตาเจโตวิมุตติ นี้เรียกว่า มุทิตา สภาวธรรมที่เหลือ
ชื่อว่าสัมปยุตด้วยมุทิตา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๔๓๙ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๓.อัปปมัญญาวิภังค์] ๒.อภิธรรมภาชนีย์
อุเปกขาวิปากฌาน
[๖๙๕] อุเบกขา เป็นไฉน
ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญมรรคเพื่อเข้าถึงรูปภพ เพราะละสุขและทุกข์ได้ ฯลฯ
บรรลุจตุตถฌานที่สหรคตด้วยอุเบกขา อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ
อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล
...เพราะละสุขและทุกข์ได้ ฯลฯ บรรลุจตุตถฌานที่สหรคตด้วยอุเบกขา
เพราะได้ทำได้สั่งสมรูปาวจรกุศลกรรมนั้นนั่นแหละ อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น
ความวางเฉย กิริยาที่วางเฉย ภาวะที่วางเฉย อุเปกขาเจโตวิมุตติ นี้เรียกว่า
อุเบกขา สภาวธรรมที่เหลือชื่อว่าสัมปยุตด้วยอุเบกขา
[๖๙๖] อัปปมัญญา ๔ คือ
๑. เมตตา ๒. กรุณา
๓. มุทิตา ๔. อุเบกขา

เมตตากิริยาฌาน
[๖๙๗] บรรดาอัปปมัญญา ๔ นั้น เมตตา เป็นไฉน
ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญรูปาวจรฌานที่เป็นกิริยา ไม่เป็นกุศล ไม่เป็นอกุศล
และไม่เป็นวิบากของกรรม เป็นเพียงธรรมเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน สงัดจากกาม
ฯลฯ บรรลุปฐมฌานที่สหรคตด้วยเมตตา อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ความรักใคร่
กิริยาที่รักใคร่ ภาวะที่รักใคร่ เมตตาเจโตวิมุตติ นี้เรียกว่า เมตตา สภาวธรรม
ที่เหลือชื่อว่าสัมปยุตด้วยเมตตา
เมตตา เป็นไฉน
ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญรูปาวจรฌานที่เป็นกิริยา ไม่เป็นกุศล ไม่เป็นอกุศล
และไม่เป็นวิบากของกรรม เป็นเพียงธรรมเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน เพราะวิตก
วิจารสงบระงับไปแล้ว ฯลฯ บรรลุทุติยฌาน ฯลฯ บรรลุตติยฌาน ฯลฯ บรรลุ
ปฐมฌาน ฯลฯ บรรลุจตุตถฌานที่สหรคตด้วยเมตตา อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น
ความรักใคร่ กิริยาที่รักใคร่ ภาวะที่รักใคร่ เมตตาเจโตวิมุตติ นี้เรียกว่า เมตตา
สภาวธรรมที่เหลือชื่อว่าสัมปยุตด้วยเมตตา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๔๔๐ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๓.อัปปมัญญาวิภังค์] ๓.ปัญหาปุจฉกะ
[๖๙๘] กรุณา เป็นไฉน
ฯลฯ
มุทิตา เป็นไฉน
ฯลฯ
อุเบกขา เป็นไฉน
ฯลฯ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญรูปาวจรฌานที่เป็นกิริยา ไม่เป็นกุศล ไม่เป็นอกุศล
และไม่เป็นวิบากของกรรม เป็นเพียงธรรมเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน เพราะละสุข
และทุกข์ได้ ฯลฯ บรรลุจตุตถฌานที่สหรคตด้วยอุเบกขา อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น
ความวางเฉย กิริยาที่วางเฉย ภาวะที่วางเฉย อุเปกขาเจโตวิมุตติ นี้เรียกว่า อุเบกขา
สภาวธรรมที่เหลือชื่อว่าสัมปยุตด้วยอุเบกขา
อภิธรรมภาชนีย์ จบ

๓. ปัญหาปุจฉกะ
[๖๙๙] อัปปมัญญา ๔ ได้แก่ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. มีจิตสหรคตด้วยเมตตาแผ่ไปตลอดทิศหนึ่งอยู่ ทิศที่ ๒ ก็
เช่นนั้น ทิศที่ ๓ ทิศที่ ๔ ก็เช่นนั้น ทิศเบื้องบน ทิศเบื้องต่ำ
ทิศเฉียงก็เช่นเดียวกัน มีจิตสหรคตด้วยเมตตาอันไพบูลย์
กว้างขวาง หาประมาณมิได้ ไม่มีเวร ไม่มีพยาบาท แผ่ไปยัง
สัตว์โลกทั้งปวง เพราะเป็นผู้มีจิตเสมอในสัตว์ทุกหมู่เหล่าในที่
ทั้งปวงอยู่
๒. มีจิตสหรคตด้วยกรุณาแผ่ไปตลอดทิศหนึ่งอยู่ ทิศที่ ๒ ก็เช่น
นั้น ทิศที่ ๓ ทิศที่ ๔ ก็เช่นนั้น ทิศเบื้องบน ทิศเบื้องต่ำ ทิศ
เฉียงก็เช่นเดียวกัน มีจิตสหรคตด้วยกรุณาอันไพบูลย์ กว้างขวาง
หาประมาณมิได้ ไม่มีเวร ไม่มีพยาบาท แผ่ไปยังสัตว์โลกทั้งปวง
เพราะเป็นผู้มีจิตเสมอในสัตว์ทุกหมู่เหล่าในที่ทั้งปวงอยู่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๔๔๑ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๓.อัปปมัญญาวิภังค์] ๓.ปัญหาปุจฉกะ ๑.ติกมาติกาวิสัชนา
๓. มีจิตสหรคตด้วยมุทิตาแผ่ไปตลอดทิศหนึ่งอยู่ ทิศที่ ๒ ก็เช่น
นั้น ทิศที่ ๓ ทิศที่ ๔ ก็เช่นนั้น ทิศเบื้องบน ทิศเบื้องต่ำ ทิศเฉียง
ก็เช่นเดียวกัน มีจิตสหรคตด้วยมุทิตาอันไพบูลย์ กว้างขวาง หา
ประมาณมิได้ ไม่มีเวร ไม่มีพยาบาท แผ่ไปยัง สัตว์โลกทั้งปวง
เพราะเป็นผู้มีจิตเสมอในสัตว์ทุกหมู่เหล่าในที่ทั้งปวงอยู่
๔. มีจิตสหรคตด้วยอุเบกขาแผ่ไปตลอดทิศหนึ่งอยู่ ทิศที่ ๒ ก็
เช่น นั้น ทิศที่ ๓ ทิศที่ ๔ ก็เช่นนั้น ทิศเบื้องบน ทิศเบื้องต่ำ
ทิศเฉียงก็เช่นเดียวกัน มีจิตสหรคตด้วยอุเบกขาอันไพบูลย์
กว้างขวาง หาประมาณมิได้ ไม่มีเวร ไม่มีพยาบาท แผ่ไปยัง
สัตว์โลกทั้งปวง เพราะเป็นผู้มีจิตเสมอในสัตว์ทุกหมู่เหล่าในที่
ทั้งปวงอยู่๑

ติกมาติกาปุจฉา ทุกมาติกาปุจฉา
[๗๐๐] บรรดาอัปปมัญญา ๔ อัปปมัญญาเท่าไรเป็นกุศล เท่าไรเป็นอกุศล
เท่าไรเป็นอัพยากฤต ฯลฯ เท่าไรเป็นเหตุให้สัตว์ร้องไห้ เท่าไรไม่เป็นเหตุให้สัตว์
ร้องไห้

๑. ติกมาติกาวิสัชนา
๑-๒๒. กุสลติกาทิวิสัชนา
[๗๐๑] อัปปมัญญา ๔ ที่เป็นกุศลก็มี ที่เป็นอัพยากฤตก็มี
อัปปมัญญา ๓ สัมปยุตด้วยสุขเวทนา อุเบกขาสัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา
อัปปมัญญา ๔ ที่เป็นวิบากก็มี ที่เป็นเหตุให้เกิดวิบากก็มี ที่ไม่เป็นวิบาก
และไม่เป็นเหตุให้เกิดวิบากก็มี

เชิงอรรถ :
๑ ที.ปา. ๑๑/๓๐๘/๒๐๐, ม.มู. ๑๒/๔๓๘/๓๘๕, อภิ.วิ.๓๕/๖๙๙/๓๔๖

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๔๔๒ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๓.อัปปมัญญาวิภังค์] ๓.ปัญหาปุจฉกะ ๑.ติกมาติกาวิสัชนา
อัปปมัญญา ๔ ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือและเป็นอารมณ์ของ
อุปาทานก็มี ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือแต่เป็นอารมณ์ของ
อุปาทานก็มี
อัปปมัญญา ๔ กิเลสไม่ทำให้เศร้าหมองแต่เป็นอารมณ์ของกิเลส อัปปมัญญา
๓ ที่มีทั้งวิตกและวิจารก็มี ที่ไม่มีวิตกมีเพียงวิจารก็มี ที่ไม่มีทั้งวิตกและวิจารก็มี
อุเบกขาไม่มีทั้งวิตกและวิจาร
อัปปมัญญา ๓ ที่สหรคตด้วยปีติก็มี ที่สหรคตด้วยสุขก็มี แต่ไม่สหรคตด้วย
อุเบกขา ที่กล่าวไม่ได้ว่า สหรคตด้วยปีติก็มี อุเบกขาสหรคตด้วยอุเบกขา
อัปปมัญญา ๔ ไม่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคและมรรคเบื้องบน ๓
อัปปมัญญา ๔ ไม่มีเหตุต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคและมรรคเบื้องบน ๓
อัปปมัญญา ๔ ที่เป็นเหตุให้ถึงปฏิสนธิและจุติก็มี ที่ไม่เป็นเหตุให้ถึงปฏิสนธิ
จุติ และนิพพานก็มี
อัปปมัญญา ๔ ไม่เป็นของเสขบุคคลและอเสขบุคคล
อัปปมัญญา ๔ เป็นมหัคคตะ กล่าวไม่ได้ว่า มีปริตตะเป็นอารมณ์ มี
มหัคคตะเป็นอารมณ์ หรือมีอัปปมาณะเป็นอารมณ์
อัปปมัญญา ๔ เป็นชั้นกลาง
อัปปมัญญา ๔ ให้ผลไม่แน่นอน กล่าวไม่ได้ว่า มีมรรคเป็นอารมณ์ มี
มรรคเป็นเหตุ หรือมีมรรคเป็นอธิบดี
อัปปมัญญา ๔ ที่เกิดขึ้นก็มี ที่ยังไม่เกิดขึ้นก็มี ที่จักเกิดขึ้นแน่นอนก็มี
อัปปมัญญา ๔ ที่เป็นอดีตก็มี ที่เป็นอนาคตก็มี ที่เป็นปัจจุบันก็มี กล่าว
ไม่ได้ว่า มีอดีตธรรมเป็นอารมณ์ มีอนาคตธรรมเป็นอารมณ์ หรือมีปัจจุบันธรรม
เป็นอารมณ์
อัปปมัญญา ๔ ที่เป็นภายในตนก็มี ที่เป็นภายนอกตนก็มี ที่เป็นภายใน
ตนและภายนอกตนก็มี
อัปปมัญญา ๔ มีธรรมภายนอกตนเป็นอารมณ์
อัปปมัญญา ๔ เห็นไม่ได้และกระทบไม่ได้


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๔๔๓ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๓.อัปปมัญญาวิภังค์] ๓.ปัญหาปุจฉกะ ๒.ทุกมาติกาวิสัชนา
๒. ทุกมาติกาวิสัชนา
๑. เหตุโคจฉกวิสัชนา
[๗๐๒] เมตตาเป็นเหตุ อัปปมัญญา ๓ ไม่เป็นเหตุ อัปปมัญญา ๔ มีเหตุ
อัปปมัญญา ๔ สัมปยุตด้วยเหตุ เมตตาเป็นเหตุและมีเหตุ อัปปมัญญา ๓
กล่าวไม่ได้ว่า เป็นเหตุและมีเหตุ
อัปปมัญญา ๓ มีเหตุแต่ไม่เป็นเหตุ เมตตาเป็นเหตุและสัมปยุตด้วยเหตุ
อัปปมัญญา ๓ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นเหตุและสัมปยุตด้วยเหตุ
อัปปมัญญา ๓ สัมปยุตด้วยเหตุแต่ไม่เป็นเหตุ อัปปมัญญา ๓ ไม่เป็นเหตุ
แต่มีเหตุ เมตตากล่าวไม่ได้ว่า ไม่เป็นเหตุแต่มีเหตุ หรือไม่เป็นเหตุและไม่มีเหตุ

๒. จูฬันตรทุกวิสัชนา
อัปปมัญญา ๔ มีปัจจัยปรุงแต่ง อัปปมัญญา ๔ ถูกปัจจัยปรุงแต่ง
อัปปมัญญา ๔ เห็นไม่ได้ อัปปมัญญา ๔ กระทบไม่ได้
อัปปมัญญา ๔ ไม่เป็นรูป อัปปมัญญา ๔ เป็นโลกิยะ
อัปปมัญญา ๔ จิตบางดวงรู้ได้ อัปปมัญญา ๔ จิตบางดวงรู้ไม่ได้

๓. อาสวโคจฉกวิสัชนา
อัปปมัญญา ๔ ไม่เป็นอาสวะ อัปปมัญญา ๔ เป็นอารมณ์ของอาสวะ
อัปปมัญญา ๔ วิปปยุตจากอาสวะ อัปปมัญญา ๔ กล่าวไม่ได้ว่า เป็น
อาสวะและเป็นอารมณ์ของอาสวะ
อัปปมัญญา ๔ เป็นอารมณ์ของอาสวะแต่ไม่เป็นอาสวะ อัปปมัญญา ๔
กล่าวไม่ได้ว่า เป็นอาสวะและสัมปยุตด้วยอาสวะ หรือสัมปยุตด้วยอาสวะแต่ไม่เป็น
อาสวะ
อัปปมัญญา ๔ วิปปยุตจากอาสวะแต่เป็นอารมณ์ของอาสวะ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๔๔๔ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๓.อัปปมัญญาวิภังค์] ๓.ปัญหาปุจฉกะ ๒.ทุกมาติกาวิสัชนา
๔-๑๒. สัญโญชนโคจฉกาทิวิสัชนา
อัปปมัญญา ๔ ไม่เป็นสังโยชน์ ฯลฯ ไม่เป็นคันถะ ฯลฯ ไม่เป็นโอฆะ ฯลฯ
ไม่เป็นโยคะ ฯลฯ ไม่เป็นนิวรณ์ ฯลฯ ไม่เป็นปรามาส ฯลฯ
อัปปมัญญา ๔ รับรู้อารมณ์ได้ อัปปมัญญา ๔ ไม่เป็นจิต
อัปปมัญญา ๔ เป็นเจตสิก อัปปมัญญา ๔ สัมปยุตด้วยจิต
อัปปมัญญา ๔ ระคนกับจิต อัปปมัญญา ๔ มีจิตเป็นสมุฏฐาน
อัปปมัญญา ๔ เกิดพร้อมกับจิต อัปปมัญญา ๔ เป็นไปตามจิต
อัปปมัญญา ๔ ระคนกับจิตและมีจิตเป็นสมุฏฐาน อัปปมัญญา ๔ ระคน
กับจิตมีจิตเป็นสมุฏฐานและเกิดพร้อมกับจิต
อัปปมัญญา ๔ ระคนกับจิตมีจิตเป็นสมุฏฐานและเป็นไปตามจิต อัปปมัญญา
๔ เป็นภายนอก
อัปปมัญญา ๔ ไม่เป็นอุปาทายรูป อัปปมัญญา ๔ ที่กรรมอันประกอบ
ด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือก็มี ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือก็มี

๑๓. ปิฏฐิทุกวิสัชนา
อัปปมัญญา ๔ ไม่เป็นอุปาทาน ฯลฯ ไม่เป็นกิเลส ฯลฯ
อัปปมัญญา ๔ ไม่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคและมรรคเบื้องบน ๓
อัปปมัญญา ๔ ไม่มีเหตุต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคและมรรคเบื้องบน ๓
อัปปมัญญา ๓ ที่มีวิตกก็มี ที่ไม่มีวิตกก็มี อุเบกขาไม่มีวิตก อัปปมัญญา ๓
ที่มีวิจารก็มี ที่ไม่มีวิจารก็มี อุเบกขาไม่มีวิจาร
อัปปมัญญา ๓ ที่มีปีติก็มี ที่ไม่มีปีติก็มี อุเบกขาไม่มีปีติ อัปปมัญญา ๓
ที่สหรคตด้วยปีติก็มี ที่ไม่สหรคตด้วยปีติก็มี อุเบกขาไม่สหรคตด้วยปีติ
อัปปมัญญา ๓ สหรคตด้วยสุข อุเบกขาไม่สหรคตด้วยสุข อัปปมัญญา ๓
ไม่สหรคตด้วยอุเบกขา อุเบกขาสหรคตด้วยอุเบกขา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๔๔๕ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๓.อัปปมัญญาวิภังค์] ๓.ปัญหาปุจฉกะ ๒.ทุกมาติกาวิสัชนา
อัปปมัญญา ๔ ไม่เป็นกามาวจร อัปปมัญญา ๔ เป็นรูปาวจร
อัปปมัญญา ๔ ไม่เป็นอรูปาวจร อัปปมัญญา ๔ เป็นโลกิยะ
อัปปมัญญา ๔ ไม่เป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ อัปปมัญญา ๔ ให้ผลไม่
แน่นอน
อัปปมัญญา ๔ มีธรรมอื่นยิ่งกว่า อัปปมัญญา ๔ ไม่เป็นเหตุให้สัตว์ร้องไห้

ปัญหาปุจฉกะ จบ

อัปปมัญญาวิภังค์ จบบริบูรณ์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๔๔๖ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๔. สิกขาปทวิภังค์] ๑. อภิธรรมภาชนีย์
๑๔. สิกขาปทวิภังค์
๑. อภิธรรมภาชนีย์
[๗๐๓] สิกขาบท ๕ คือ
๑. ปาณาติปาตาเวรมณีสิกขาบท
๒. อทินนาทานาเวรมณีสิกขาบท
๓. กาเมสุมิจฉาจาราเวรมณีสิกขาบท
๔. มุสาวาทาเวรมณีสิกขาบท
๕. สุราเมรยมัชชปมาทัฏฐานาเวรมณีสิกขาบท
[๗๐๔] บรรดาสิกขาบท ๕ นั้น ปาณาติปาตาเวรมณีสิกขาบท เป็นไฉน
จิตที่เป็นกามาวจรซึ่งเป็นกุศล สหรคตด้วยโสมนัส สัมปยุตด้วยญาณ เกิดขึ้น
แก่บุคคลผู้งดเว้นจากการฆ่าสัตว์ ในสมัยใด ในสมัยนั้น การงด การเว้น การงดเว้น
การเว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ การไม่ทำ การเลิกทำ การไม่ล่วงละเมิด การไม่ล้ำเขต
การกำจัดต้นเหตุแห่งการฆ่าสัตว์ ก็เกิดขึ้น นี้เรียกว่า ปาณาติปาตาเวรมณีสิกขาบท
สภาวธรรมที่เหลือชื่อว่าสัมปยุตด้วยเวรมณี
ปาณาติปาตาเวรมณีสิกขาบท เป็นไฉน
จิตที่เป็นกามาวจรซึ่งเป็นกุศล สหรคตด้วยโสมนัส สัมปยุตด้วยญาณ เกิดขึ้น
แก่บุคคลผู้งดเว้นจากการฆ่าสัตว์ ในสมัยใด ในสมัยนั้น ความจงใจ กิริยาที่จงใจ
ภาวะที่จงใจ ก็เกิดขึ้น นี้เรียกว่า ปาณาติปาตาเวรมณีสิกขาบท สภาวธรรมที่
เหลือชื่อว่า สัมปยุตด้วยเจตนา
ปาณาติปาตาเวรมณีสิกขาบท เป็นไฉน
จิตที่เป็นกามาวจรซึ่งเป็นกุศล สหรคตด้วยโสมนัส สัมปยุตด้วยญาณ เกิดขึ้น
แก่บุคคลผู้งดเว้นจากการฆ่าสัตว์ ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ ปัคคาหะ
และอวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น นี้เรียกว่า ปาณาติปาตาเวรมณีสิกขาบท

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๔๔๗ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๔.สิกขาปทวิภังค์] ๑.อภิธรรมภาชนีย์
ปาณาติปาตาเวรมณีสิกขาบท เป็นไฉน
จิตที่เป็นกามาวจรซึ่งเป็นกุศล สหรคตด้วยโสมนัส สัมปยุตด้วยญาณ เกิดขึ้น
โดยมีเหตุชักจูง ฯลฯ สหรคตด้วยโสมนัส วิปปยุตจากญาณ ฯลฯ สหรคตด้วย
โสมนัส วิปปยุตจากญาณเกิดขึ้นโดยมีเหตุชักจูง ฯลฯ สหรคตด้วยอุเบกขา
สัมปยุตด้วยญาณ ฯลฯ สหรคตด้วยอุเบกขา สัมปยุตด้วยญาณ เกิดขึ้นโดยมีเหตุ
ชักจูง ฯลฯ สหรคตด้วยอุเบกขา วิปปยุตจากญาณ ฯลฯ สหรคตด้วยอุเบกขา
วิปปยุตจากญาณเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้งดเว้นจากการฆ่าสัตว์โดยมีเหตุชักจูง ในสมัยใด
ในสมัยนั้น การงด การเว้น การงดเว้น การเว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ การไม่ทำ
การเลิกทำ การไม่ล่วงละเมิด การไม่ล้ำเขต การกำจัดต้นเหตุแห่งการฆ่าสัตว์ ก็
เกิดขึ้น นี้เรียกว่า ปาณาติปาตาเวรมณีสิกขาบท สภาวธรรมที่เหลือชื่อว่าสัมปยุต
ด้วยเวรมณี
[๗๐๕] ปาณาติปาตาเวรมณีสิกขาบท เป็นไฉน
จิตที่เป็นกามาวจรซึ่งเป็นกุศล สหรคตด้วยอุเบกขา วิปปยุตจากญาณ เกิดขึ้น
แก่บุคคลผู้งดเว้นจากการฆ่าสัตว์โดยมีเหตุชักจูง ในสมัยใด ในสมัยนั้น ความจงใจ
กิริยาที่จงใจ ภาวะที่จงใจ ก็เกิดขึ้น นี้เรียกว่า ปาณาติปาตาเวรมณีสิกขาบท
สภาวธรรมที่เหลือชื่อว่าสัมปยุตด้วยเจตนา
ปาณาติปาตาเวรมณีสิกขาบท เป็นไฉน
จิตที่เป็นกามาวจรซึ่งเป็นกุศล สหรคตด้วยอุเบกขา วิปปยุตจากญาณ เกิดขึ้น
แก่บุคคลผู้งดเว้นจากการฆ่าสัตว์โดยมีเหตุชักจูง ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ
ปัคคาหะ และอวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น นี้เรียกว่า ปาณาติปาตาเวรมณีสิกขาบท
[๗๐๖] อทินนาทานาเวรมณีสิกขาบท
ฯลฯ
กาเมสุมิจฉาจาราเวรมณีสิกขาบท
ฯลฯ
มุสาวาทาเวรมณีสิกขาบท
ฯลฯ
สุราเมรยมัชชปมาทัฏฐานาเวรมณีสิกขาบท เป็นไฉน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๔๔๘ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๔.สิกขาปทวิภังค์] ๑.อภิธรรมภาชนีย์
จิตที่เป็นกามาวจรซึ่งเป็นกุศล สหรคตด้วยโสมนัส สัมปยุตด้วยญาณ เกิดขึ้น
แก่บุคคลผู้งดเว้นจากการดื่มน้ำเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท
ในสมัยใด ในสมัยนั้น การงด การเว้น การงดเว้น การเว้นขาดจากการดื่มน้ำเมา
คือสุราและเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท การไม่ทำ การเลิกทำ การไม่ล่วง
ละเมิด การไม่ล้ำเขต การกำจัดต้นเหตุแห่งการดื่มน้ำเมาคือสุราเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่ง
ความประมาท ก็เกิดขึ้น นี้เรียกว่า สุราเมรยมัชชปมาทัฏฐานาเวรมณีสิกขาบท
สภาวธรรมที่เหลือชื่อว่าสัมปยุตด้วยเวรมณี
สุราเมรยมัชชปมาทัฏฐานาเวรมณีสิกขาบท เป็นไฉน
จิตที่เป็นกามาวจรซึ่งเป็นกุศล สหรคตด้วยโสมนัส สัมปยุตด้วยญาณ เกิดขึ้น
แก่บุคคลผู้งดเว้นจากการดื่มน้ำเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท
ในสมัยใด ในสมัยนั้น ความจงใจ กิริยาที่จงใจ ภาวะที่จงใจ ก็เกิดขึ้น นี้เรียกว่า
สุราเมรยมัชชปมาทัฏฐานาเวรมณีสิกขาบท สภาวธรรมที่เหลือชื่อว่าสัมปยุตด้วย
เจตนา
สุราเมรยมัชชปมาทัฏฐานาเวรมณีสิกขาบท เป็นไฉน
จิตที่เป็นกามาวจรซึ่งเป็นกุศล สหรคตด้วยโสมนัส สัมปยุตด้วยญาณ เกิดขึ้น
แก่บุคคลผู้งดเว้นจากการดื่มน้ำเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท
ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ ปัคคาหะ และอวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น นี้เรียกว่า
สุราเมรยมัชชปมาทัฏฐานาเวรมณีสิกขาบท
สุราเมรยมัชชปมาทัฏฐานาเวรมณีสิกขาบท เป็นไฉน
จิตที่เป็นกามาวจรซึ่งเป็นกุศล สหรคตด้วยโสมนัส สัมปยุตด้วยญาณ เกิดขึ้น
โดยมีเหตุชักจูง ฯลฯ สหรคตด้วยโสมนัส วิปปยุตจากญาณ ฯลฯ สหรคตด้วย
โสมนัส วิปปยุตจากญาณ เกิดขึ้นโดยมีเหตุชักจูง ฯลฯ สหรคตด้วยอุเบกขา
สัมปยุตด้วยญาณ ฯลฯ สหรคตด้วยอุเบกขา สัมปยุตด้วยญาณ เกิดขึ้นโดยมีเหตุ
ชักจูง ฯลฯ สหรคตด้วยอุเบกขา สัมปยุตด้วยญาณ ฯลฯ สหรคตด้วยอุเบกขา
วิปปยุตจากญาณ เกิดขึ้นแก่บุคคลผู้งดเว้นจากการดื่มน้ำเมาคือสุราและเมรัยอัน
เป็นที่ตั้งแห่งความประมาทโดยมีเหตุชักจูง ในสมัยใด ในสมัยนั้น การงด การเว้น
การงดเว้น การเว้นขาดจากการดื่มน้ำเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๔๔๙ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๔.สิกขาปทวิภังค์] ๑.อภิธรรมภาชนีย์
การไม่ทำ การเลิกทำ การไม่ล่วงละเมิด การไม่ล้ำเขต การกำจัดต้นเหตุแห่งการดื่ม
น้ำเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท ก็เกิดขึ้น นี้เรียกว่า สุรา-
เมรยมัชชปมาทัฏฐานาเวรมณีสิกขาบท สภาวธรรมที่เหลือชื่อว่าสัมปยุตด้วยเวรมณี
[๗๐๗] สุราเมรยมัชชปมาทัฏฐานาเวรมณีสิกขาบท เป็นไฉน
จิตที่เป็นกามาวจรซึ่งเป็นกุศล สหรคตด้วยอุเบกขา วิปปยุตจากญาณ เกิดขึ้น
แก่บุคคลผู้งดเว้นจากการดื่มน้ำเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท
โดยมีเหตุชักจูง ในสมัยใด ในสมัยนั้น ความจงใจ กิริยาที่จงใจ ภาวะที่จงใจ ก็เกิด
ขึ้น นี้เรียกว่า สุราเมรยมัชชปมาทัฏฐานาเวรมณีสิกขาบท สภาวธรรมที่เหลือชื่อว่า
สัมปยุตด้วยเจตนา
สุราเมรยมัชชปมาทัฏฐานาเวรมณีสิกขาบท เป็นไฉน
จิตที่เป็นกามาวจรซึ่งเป็นกุศล สหรคตด้วยอุเบกขา วิปปยุตจากญาณ เกิดขึ้น
แก่บุคคลผู้งดเว้นจากการดื่มน้ำเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท
โดยมีเหตุชักจูง ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ ปัคคาหะ และอวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น
นี้เรียกว่า สุราเมรยมัชชปมาทัฏฐานาเวรมณีสิกขาบท
[๗๐๘] สิกขาบท ๕ คือ
๑. ปาณาติปาตาเวรมณีสิกขาบท
๒. อทินนาทานาเวรมณีสิกขาบท
๓. กาเมสุมิจฉาจาราเวรมณีสิกขาบท
๔. มุสาวาทาเวรมณีสิกขาบท
๕. สุราเมรยมัชชปมาทัฏฐานาเวรมณีสิกขาบท
[๗๐๙] บรรดาสิกขาบท ๕ นั้น ปาณาติปาตาเวรมณีสิกขาบท เป็นไฉน
จิตที่เป็นกามาวจรซึ่งเป็นกุศล สหรคตด้วยโสมนัส สัมปยุตด้วยญาณ เป็น
ชั้นต่ำ ชั้นกลาง ชั้นประณีต เป็นฉันทาธิปไตย วิริยาธิปไตย จิตตาธิปไตย
วิมังสาธิปไตย เป็นฉันทาธิปไตย ชั้นต่ำ ชั้นกลาง ชั้นประณีต เป็นวิริยาธิปไตย
ชั้นต่ำ ชั้นกลาง ชั้นประณีต เป็นจิตตาธิปไตย ชั้นต่ำ ชั้นกลาง ชั้นประณีต เป็น
วิมังสาธิปไตย ชั้นต่ำ ชั้นกลาง ชั้นประณีต เกิดขึ้นแก่บุคลผู้งดเว้นจากการฆ่าสัตว์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๔๕๐ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๔.สิกขาปทวิภังค์] ๑.อภิธรรมภาชนีย์
ในสมัยใด ในสมัยนั้น การงด การเว้น การงดเว้น การเว้นขาดจากการฆ่าสัตว์
การไม่ทำ การเลิกทำ การไม่ล่วงละเมิด การไม่ล้ำเขต การกำจัดต้นเหตุแห่งการ
ฆ่าสัตว์ ก็เกิดขึ้น นี้เรียกว่า ปาณาติปาตาเวรมณีสิกขาบท สภาวธรรมที่เหลือชื่อ
ว่าสัมปยุต ด้วยเวรมณี
ปาณาติปาตาเวรมณีสิกขาบท เป็นไฉน
จิตที่เป็นกามาวจรซึ่งเป็นกุศล สหรคตด้วยโสมนัส สัมปยุตด้วยญาณ เป็น
ชั้นต่ำ ชั้นกลาง ชั้นประณีต เป็นฉันทาธิปไตย วิริยาธิปไตย จิตตาธิปไตย
วิมังสาธิปไตย เป็นฉันทาธิปไตย ชั้นต่ำ ชั้นกลาง ชั้นประณีต เป็นวิริยาธิปไตย
ชั้นต่ำ ชั้นกลาง ชั้นประณีต เป็นจิตตาธิปไตยชั้นต่ำ ชั้นกลาง ชั้นประณีต เป็น
วิมังสาธิปไตย ชั้นต่ำ ชั้นกลาง ชั้นประณีต เกิดขึ้นแก่บุคคลผู้งดเว้นจากการฆ่าสัตว์
ในสมัยใด ในสมัยนั้น ความจงใจ กิริยาที่จงใจ ภาวะที่จงใจ ก็เกิดขึ้น นี้เรียกว่า
ปาณาติปาตาเวรมณีสิกขาบท สภาวธรรมที่เหลือชื่อว่าสัมปยุตด้วยเจตนา
ปาณาติปาตาเวรมณีสิกขาบท เป็นไฉน
จิตที่เป็นกามาวจรซึ่งเป็นกุศล สหรคตด้วยโสมนัส สัมปยุตด้วยญาณ เป็น
ชั้นต่ำ ชั้นกลาง ชั้นประณีต เป็นฉันทาธิปไตย วิริยาธิปไตย จิตตาธิปไตย
วิมังสาธิปไตย เป็นฉันทาธิปไตย ชั้นต่ำ ชั้นกลาง ชั้นประณีต เป็นวิริยาธิปไตย
ชั้นต่ำ ชั้นกลาง ชั้นประณีต เป็นจิตตาธิปไตย ชั้นต่ำ ชั้นกลาง ชั้นประณีต
เป็นวิมังสาธิปไตย ชั้นต่ำ ชั้นกลาง ชั้นประณีต เกิดขึ้นแก่บุคคลผู้งดเว้นจากการ
ฆ่าสัตว์ ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ ปัคคาหะ และอวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น นี้
เรียกว่า ปาณาติปาตาเวรมณีสิกขาบท
ปาณาติปาตาเวรมณีสิกขาบท เป็นไฉน
จิตที่เป็นกามาวจรซึ่งเป็นกุศล สหรคตด้วยโสมนัส สัมปยุตด้วยญาณ เกิด
ขึ้นโดยมีเหตุชักจูง ฯลฯ สหรคตด้วยโสมนัส วิปปยุตจากญาณ ฯลฯ สหรคต
ด้วยโสมนัส วิปปยุตจากญาณ เกิดขึ้นโดยมีเหตุชักจูง ฯลฯ สหรคตด้วยอุเบกขา
สัมปยุตด้วยญาณ ฯลฯ สหรคตด้วยอุเบกขา สัมปยุตด้วยญาณ เกิดขึ้นโดยมี
เหตุชักจูง ฯลฯ สหรคตด้วยอุเบกขา วิปปยุตจากญาณ ฯลฯ สหรคตด้วยอุเบกขา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๔๕๑ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๔.สิกขาปทวิภังค์] ๑.อภิธรรมภาชนีย์
วิปปยุตจากญาณ เป็นชั้นต่ำ ชั้นกลาง ชั้นประณีต เป็นฉันทาธิปไตย วิริยาธิปไตย
จิตตาธิปไตย เป็นฉันทาธิปไตยชั้นต่ำ ชั้นกลาง ชั้นประณีต เป็นวิริยาธิปไตย
ชั้นต่ำ ชั้นกลาง ชั้นประณีต เป็นจิตตาธิปไตย ชั้นต่ำ ชั้นกลาง ชั้นประณีต เกิดขึ้น
แก่บุคคลผู้งดเว้นจากการฆ่าสัตว์โดยมีเหตุชักจูง ในสมัยใด ในสมัยนั้น การงด
การเว้น การงดเว้น การเว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ การไม่ทำ การเลิกทำ การไม่
ล่วงละเมิด การไม่ล้ำเขต การกำจัดต้นเหตุแห่งการฆ่าสัตว์ ก็เกิดขึ้น นี้เรียกว่า
ปาณาติปาตาเวรมณีสิกขาบท สภาวธรรมที่เหลือชื่อว่าสัมปยุตด้วยเวรมณี ฯลฯ
สภาวธรรมที่เหลือชื่อว่าสัมปยุตด้วยเจตนา ฯลฯ ผัสสะ ฯลฯ ปัคคาหะ และ
อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น นี้เรียกว่า ปาณาติปาตาเวรมณีสิกขาบท
[๗๑๐] อทินนาทานาเวรมณีสิกขาบท
ฯลฯ
กาเมสุมิจฉาจาราเวรมณีสิกขาบท
ฯลฯ
มุสาวาทาเวรมณีสิกขาบท
ฯลฯ
สุราเมรยมัชชปมาทัฏฐานาเวรมณีสิกขาบท เป็นไฉน
จิตที่เป็นกามาวจรซึ่งเป็นกุศล สหรคตด้วยโสมนัส สัมปยุตด้วยญาณ เป็น
ชั้นต่ำ ชั้นกลาง ชั้นประณีต เป็นฉันทาธิปไตย วิริยาธิปไตย จิตตาธิปไตย
วิมังสาธิปไตย เป็นฉันทาธิปไตย ชั้นต่ำ ชั้นกลาง ชั้นประณีต เป็นวิริยาธิปไตย
ชั้นต่ำ ชั้นกลาง ชั้นประณีต เป็นจิตตาธิปไตย ชั้นต่ำ ชั้นกลาง ชั้นประณีต
เป็นวิมังสาธิปไตย ชั้นต่ำ ชั้นกลาง ชั้นประณีต เกิดขึ้นแก่บุคคลผู้งดเว้นจากการ
ดื่มน้ำเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท ในสมัยใด ในสมัยนั้น
การงด การเว้น การงดเว้น การเว้นขาดจากการดื่มน้ำเมาคือสุราและเมรัยอัน
เป็นที่ตั้งแห่งความประมาท การไม่ทำ การเลิกทำ การไม่ล่วงละเมิด การไม่ล้ำเขต
การกำจัดต้นเหตุแห่งการดื่มน้ำเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท
ก็เกิดขึ้น นี้เรียกว่า สุราเมรยมัชชปมาทัฏฐานาเวรมณีสิกขาบท สภาวธรรมที่เหลือ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๔๕๒ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๔.สิกขาปทวิภังค์] ๑.อภิธรรมภาชนีย์
ชื่อว่าสัมปยุตด้วยเวรมณี ฯลฯ สภาวธรรมที่เหลือชื่อว่าสัมปยุตด้วยเจตนา ฯลฯ
ผัสสะ ฯลฯ ปัคคาหะ และอวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น นี้เรียกว่า สุราเมรยมัชช-
ปมาทัฏฐานาเวรมณีสิกขาบท
[๗๑๑] สุราเมรยมัชชปมาทัฏฐานาเวรมณีสิกขาบท เป็นไฉน
จิตที่เป็นกามาวจรซึ่งเป็นกุศล สหรคตด้วยโสมนัส สัมปยุตด้วยญาณ เกิดขึ้น
โดยมีเหตุชักจูง ฯลฯ สหรคตด้วยโสมนัส วิปปยุตจากญาณ ฯลฯ สหรคตด้วย
โสมนัส วิปปยุตจากญาณ เกิดขึ้นโดยมีเหตุชักจูง ฯลฯ สหรคตด้วยอุเบกขา
สัมปยุต ด้วยญาณ ฯลฯ สหรคตด้วยอุเบกขา สัมปยุตด้วยญาณ เกิดขึ้นโดยมี
เหตุชักจูง ฯลฯ สหรคตด้วยอุเบกขา วิปปยุตจากญาณ ฯลฯ สหรคตด้วยอุเบกขา
วิปปยุตจากญาณ เป็นชั้นต่ำ ชั้นกลาง ชั้นประณีต เป็นฉันทาธิปไตย วิริยาธิปไตย
จิตตาธิปไตย เป็นฉันทาธิปไตย ชั้นต่ำ ชั้นกลาง ชั้นประณีต เป็นวิริยาธิปไตย
ชั้นต่ำ ชั้นกลาง ชั้นประณีต เป็นจิตตาธิปไตย ชั้นต่ำ ชั้นกลาง ชั้นประณีต เกิดขึ้น
แก่บุคคลผู้งดเว้นจากการดื่มน้ำเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท
โดยมีเหตุชักจูงในสมัยใด ในสมัยนั้น การงด การเว้น การงดเว้น การเว้นขาด
จากการดื่มน้ำเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท การไม่ทำ การเลิก
ทำ การไม่ล่วงละเมิด การไม่ล้ำเขต การกำจัดต้นเหตุแห่งการดื่มน้ำเมาคือสุรา
และเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท นี้เรียกว่า สุราเมรยมัชชปมาทัฏฐานา-
เวรมณีสิกขาบท สภาวธรรมที่เหลือชื่อว่าสัมปยุตด้วยเวรมณี ฯลฯ สภาวธรรมที่
เหลือชื่อว่าสัมปยุตด้วยเจตนา ฯลฯ ผัสสะ ฯลฯ ปัคคาหะ และอวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น
นี้เรียกว่า สุราเมรยมัชชปมาทัฏฐานาเวรมณีสิกขาบท

สภาวธรรมที่เป็นสิกขา
[๗๑๒] สภาวธรรมที่เป็นสิกขา เป็นไฉน
จิตที่เป็นกามาวจรซึ่งเป็นกุศล สหรคตด้วยโสมนัส สัมปยุตด้วยญาณ มีรูปเป็น
อารมณ์ ฯลฯ มีธรรมเป็นอารมณ์ หรือปรารภอารมณ์ใด ๆ เกิดขึ้น ในสมัยใด
ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นสิกขา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๔๕๓ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๔.สิกขาปทวิภังค์] ๒.ปัญหาปุจฉกะ
สภาวธรรมที่เป็นสิกขา เป็นไฉน
จิตที่เป็นกามาวจรซึ่งเป็นกุศล สหรคตด้วยโสมนัส สัมปยุตด้วยญาณ เกิดขึ้น
โดยมีเหตุชักจูง ฯลฯ สหรคตด้วยโสมนัส วิปปยุตจากญาณ ฯลฯ สหรคตด้วย
โสมนัส วิปปยุตจากญาณ เกิดขึ้นโดยมีเหตุชักจูง ฯลฯ สหรคตด้วยอุเบกขา
สัมปยุตด้วยญาณ ฯลฯ สหรคตด้วยอุเบกขา สัมปยุตด้วยญาณ เกิดขึ้นโดยเหตุ
ชักจูง ฯลฯ สหรคตด้วยอุเบกขา วิปปยุตจากญาณ ฯลฯ สหรคตด้วยอุเบกขา
วิปปยุตจากญาณ มีรูปเป็นอารมณ์ ฯลฯ มีธรรมเป็นอารมณ์ หรือปรารภอารมณ์
ใด ๆ เกิดขึ้นโดยมีเหตุชักจูง ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นสิกขา
[๗๑๓] สภาวธรรมที่เป็นสิกขา เป็นไฉน
ภิกษุเจริญมรรคเพื่อเข้าถึงรูปภพ ฯลฯ เจริญมรรคเพื่อเข้าถึงอรูปภพ ฯลฯ
เจริญฌานที่เป็นโลกุตตระซึ่งเป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ให้ถึงนิพพาน เพื่อละทิฏฐิ
เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌานที่เป็นทุกขาปฏิปทา-
ทันธาภิญญา อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นสิกขา
อภิธรรมภาชนีย์ จบ

๒. ปัญหาปุจฉกะ
[๗๑๔] สิกขาบท ๕ คือ
๑. ปาณาติปาตาเวรมณีสิกขาบท
๒. อทินนาทานาเวรมณีสิกขาบท
๓. กาเมสุมิจฉาจาราเวรมณีสิกขาบท
๔. มุสาวาทาเวรมณีสิกขาบท
๕. สุราเมรยมัชชปมาทัฏฐานาเวรมณีสิกขาบท

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๔๕๔ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๔.สิกขาปทวิภังค์] ๒.ปัญหาปุจฉกะ ๑.ติกมาติกาวิสัชนา
ติกมาติกาปุจฉา ทุกมาติกาปุจฉา
[๗๑๕] บรรดาสิกขาบท ๕ สิกขาบทเท่าไรเป็นกุศล เท่าไรเป็นอกุศล เท่าไร
เป็นอัพยากฤต ฯลฯ เท่าไรเป็นเหตุให้สัตว์ร้องไห้ เท่าไรไม่เป็นเหตุให้สัตว์ร้องไห้

๑. ติกมาติกาวิสัชนา
๑-๒๒. กุสลติกาทิวิสัชนา
[๗๑๖] สิกขาบท ๕ เป็นกุศลอย่างเดียว
สิกขาบท ๕ ที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาก็มี ที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนาก็มี
สิกขาบท ๕ เป็นเหตุให้เกิดวิบาก
สิกขาบท ๕ กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือแต่เป็นอารมณ์ของ
อุปาทาน
สิกขาบท ๕ กิเลสไม่ทำให้เศร้าหมองแต่เป็นอารมณ์ของกิเลส
สิกขาบท ๕ มีทั้งวิตกและวิจาร
สิกขาบท ๕ ที่สหรคตด้วยปีติก็มี ที่สหรคตด้วยสุขก็มี ที่สหรคตด้วย
อุเบกขาก็มี
สิกขาบท ๕ ไม่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคและมรรคเบื้องบน ๓
สิกขาบท ๕ ไม่มีเหตุต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคและมรรคเบื้องบน ๓
สิกขาบท ๕ เป็นเหตุให้ถึงปฏิสนธิและจุติ
สิกขาบท ๕ ไม่เป็นของเสขบุคคลและอเสขบุคคล
สิกขาบท ๕ เป็นปริตตะ
สิกขาบท ๕ มีปริตตะเป็นอารมณ์
สิกขาบท ๕ เป็นชั้นกลาง


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๔๕๕ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๔.สิกขาปทวิภังค์] ๒.ปัญหาปุจฉกะ ๒.ทุกมาติกาวิสัชนา
สิกขาบท ๕ ให้ผลไม่แน่นอน
สิกขาบท ๕ กล่าวไม่ได้ว่า มีมรรคเป็นอารมณ์ มีมรรคเป็นเหตุ หรือมีมรรค
เป็นอธิบดี
สิกขาบท ๕ ที่เกิดขึ้นก็มี ที่ยังไม่เกิดขึ้นก็มี แต่กล่าวไม่ได้ว่า จักเกิดขึ้นแน่นอน
สิกขาบท ๕ ที่เป็นอดีตก็มี ที่เป็นอนาคตก็มี ที่เป็นปัจจุบันก็มี
สิกขาบท ๕ มีปัจจุบันธรรมเป็นอารมณ์
สิกขาบท ๕ ที่เป็นภายในตนก็มี ที่เป็นภายนอกตนก็มี ที่เป็นภายในตนและ
ภายนอกตนก็มี
สิกขาบท ๕ มีธรรมภายนอกตนเป็นอารมณ์
สิกขาบท ๕ เห็นไม่ได้และกระทบไม่ได้

๒. ทุกมาติกาวิสัชนา
๑. เหตุโคจฉกวิสัชนา
[๗๑๗] สิกขาบท ๕ ไม่เป็นเหตุแต่มีเหตุ สิกขาบท ๕ สัมปยุตด้วยเหตุ
แต่กล่าวไม่ได้ว่าเป็นเหตุและมีเหตุ
สิกขาบท ๕ มีเหตุแต่ไม่เป็นเหตุ แต่กล่าวไม่ได้ว่า เป็นเหตุและสัมปยุตด้วย
เหตุ สิกขาบท ๕ สัมปยุตด้วยเหตุแต่ไม่เป็นเหตุ หรือไม่เป็นเหตุแต่มีเหตุ

๒. จูฬันตรทุกวิสัชนา
สิกขาบท ๕ มีปัจจัยปรุงแต่ง สิกขาบท ๕ ถูกปัจจัยปรุงแต่ง
สิกขาบท ๕ เห็นไม่ได้ สิกขาบท ๕ กระทบไม่ได้
สิกขาบท ๕ ไม่เป็นรูป สิกขาบท ๕ เป็นโลกิยะ
สิกขาบท ๕ จิตบางดวงรู้ได้ สิกขาบท ๕ จิตบางดวงรู้ไม่ได้


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๔๕๖ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๔.สิกขาปทวิภังค์] ๒.ปัญหาปุจฉกะ ๒.ทุกมาติกาวิสัชนา
๓. อาสวโคจฉกวิสัชนา
สิกขาบท ๕ ไม่เป็นอาสวะ สิกขาบท ๕ เป็นอารมณ์ของอาสวะ
สิกขาบท ๕ วิปปยุตจากอาสวะ แต่กล่าวไม่ได้ว่า เป็นอาสวะและเป็น
อารมณ์ของอาสวะ สิกขาบท ๕ เป็นอารมณ์ของอาสวะแต่ไม่เป็นอาสวะ
สิกขาบท ๕ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นอาสวะและสัมปยุตด้วยอาสวะ หรือสัมปยุต
ด้วยอาสวะแต่ไม่เป็นอาสวะ สิกขาบท ๕ วิปปยุตจากอาสวะแต่เป็นอารมณ์ของ
อาสวะ

๔-๑๒. สัญโญชนโคจฉกาทิวิสัชนา
สิกขาบท ๕ ไม่เป็นสังโยชน์ ฯลฯ ไม่เป็นคันถะ ฯลฯ ไม่เป็นโอฆะ ฯลฯ
ไม่เป็นโยคะ ฯลฯ ไม่เป็นนิวรณ์ ฯลฯ ไม่เป็นปรามาส ฯลฯ
สิกขาบท ๕ รับรู้อารมณ์ได้ สิกขาบท ๕ ไม่เป็นจิต
สิกขาบท ๕ เป็นเจตสิก สิกขาบท ๕ สัมปยุตด้วยจิต
สิกขาบท ๕ ระคนกับจิต สิกขาบท ๕ มีจิตเป็นสมุฏฐาน
สิกขาบท ๕ เกิดพร้อมกับจิต สิกขาบท ๕ เป็นไปตามจิต
สิกขาบท ๕ ระคนกับจิตและมีจิตเป็นสมุฏฐาน สิกขาบท ๕ ระคนกับจิต
มีจิตเป็นสมุฏฐานและเกิดพร้อมกับจิต
สิกขาบท ๕ ระคนกับจิตมีจิตเป็นสมุฏฐานและเป็นไปตามจิต สิกขาบท ๕
เป็นภายนอก
สิกขาบท ๕ ไม่เป็นอุปาทายรูป สิกขาบท ๕ กรรมอันประกอบด้วยตัณหา
และทิฏฐิไม่ยึดถือ
สิกขาบท ๕ ไม่เป็นอุปาทาน ฯลฯ ไม่เป็นกิเลส ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๔๕๗ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๔.สิกขาปทวิภังค์] ๒.ปัญหาปุจฉกะ ๒.ทุกมาติกาวิสัชนา
๑๓. ปิฏฐิทุกวิสัชนา
สิกขาบท ๕ ไม่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคและมรรคเบื้องบน ๓
สิกขาบท ๕ ไม่มีเหตุต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคและมรรคเบื้องบน ๓
สิกขาบท ๕ มีวิตก สิกขาบท ๕ มีวิจาร
สิกขาบท ๕ ที่มีปีติก็มี ที่ไม่มีปีติก็มี สิกขาบท ๕ ที่สหรคตด้วยปีติก็มี
ที่ไม่สหรคตด้วยปีติก็มี
สิกขาบท ๕ ที่สหรคตด้วยสุขก็มี ที่ไม่สหรคตด้วยสุขก็มี สิกขาบท ๕ ที่
สหรคตด้วยอุเบกขาก็มี ที่ไม่สหรคตด้วยอุเบกขาก็มี
สิกขาบท ๕ เป็นกามาวจร สิกขาบท ๕ ไม่เป็นรูปาวจร
สิกขาบท ๕ ไม่เป็นอรูปาวจร สิกขาบท ๕ เป็นโลกิยะ
สิกขาบท ๕ ไม่เป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ สิกขาบท ๕ ให้ผลไม่แน่นอน
สิกขาบท ๕ มีธรรมอื่นยิ่งกว่า สิกขาบท ๕ ไม่เป็นเหตุให้สัตว์ร้องไห้

ปัญหาปุจฉกะ จบ

สิกขาปทวิภังค์ จบบริบูรณ์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๔๕๘ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [ ๑๕. ปฏิสัมภิทาวิภังค์] ๑. สุตตันตภาชนีย์ ๓. เหตุวาร
๑๕. ปฏิสัมภิทาวิภังค์
๑. สุตตันตภาชนีย์
๑. สังคหวาร
[๗๑๘] ปฏิสัมภิทา ๔ คือ

๑. อัตถปฏิสัมภิทา (ปัญญาแตกฉานในอรรถ)
๒. ธัมมปฏิสัมภิทา (ปัญญาแตกฉานในธรรม)
๓. นิรุตติปฏิสัมภิทา (ปัญญาแตกฉานในนิรุตติ)
๔. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา (ปัญญาแตกฉานในปฏิภาน)

ความรู้ในอรรถชื่อว่าอัตถปฏิสัมภิทา๑ ความรู้ในธรรมชื่อว่าธัมมปฏิสัมภิทา
ความรู้ในการกล่าวธัมมนิรุตตินั้นชื่อว่านิรุตติปฏิสัมภิทา ความรู้ในญาณทั้งหลาย
ชื่อว่าปฏิภาณปฏิสัมภิทา นี้ชื่อว่าสังคหวาร

๒. สัจจวาร
[๗๑๙] ปฏิสัมภิทา ๔ คือ
๑. อัตถปฏิสัมภิทา ๒. ธัมมปฏิสัมภิทา
๓. นิรุตติปฏิสัมภิทา ๔. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา
ความรู้ในทุกข์ชื่อว่าอัตถปฏิสัมภิทา ความรู้ในทุกขสมุทัยชื่อว่าธัมมปฏิสัมภิทา
ความรู้ในทุกขนิโรธชื่อว่าอัตถปฏิสัมภิทา ความรู้ในทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาชื่อว่า
ธัมมปฏิสัมภิทา ความรู้ในการกล่าวธัมมนิรุตตินั้นชื่อว่านิรุตติปฏิสัมภิทา ความรู้ใน
ญาณทั้งหลายชื่อว่าปฏิภาณปฏิสัมภิทา นี้ชื่อว่าสัจจวาร

๓. เหตุวาร
[๗๒๐] ปฏิสัมภิทา ๔ คือ
๑. อัตถปฏิสัมภิทา ๒. ธัมมปฏิสัมภิทา
๓. นิรุตติปฏิสัมภิทา ๔. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา

เชิงอรรถ :
๑ อภิ.วิ.อ. ๗๑๘/๔๑๓

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๔๕๙ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [ ๑๕. ปฏิสัมภิทาวิภังค์] ๑. สุตตันตภาชนีย์ ๕. ปฏิจจสมุปปาทวาร
ความรู้ในเหตุชื่อว่าธัมมปฏิสัมภิทา ความรู้ในผลของเหตุชื่อว่าอัตถปฏิสัมภิทา
ความรู้ในการกล่าวธัมมนิรุตตินั้นชื่อว่านิรุตติปฏิสัมภิทา ความรู้ในญาณทั้งหลาย
ชื่อว่าปฏิภาณปฏิสัมภิทา นี้ชื่อว่าเหตุวาร

๔. ธัมมวาร
[๗๒๑] ปฏิสัมภิทา ๔ คือ
๑. อัตถปฏิสัมภิทา ๒. ธัมมปฏิสัมภิทา
๓. นิรุตติปฏิสัมภิทา ๔. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา
ธรรมเหล่าใดเกิดแล้ว มีแล้ว เกิดพร้อมแล้ว บังเกิดแล้ว บังเกิดเฉพาะแล้ว
ปรากฏแล้ว ความรู้ในธรรมเหล่านี้ชื่อว่าอัตถปฏิสัมภิทา ธรรมเหล่านั้นเกิดแล้ว มี
แล้ว เกิดพร้อมแล้ว บังเกิดแล้ว บังเกิดเฉพาะแล้ว ปรากฏแล้ว เพราะธรรมเหล่าใด
ความรู้ในธรรมเหล่านั้นชื่อว่าธัมมปฏิสัมภิทา ความรู้ในการกล่าวธัมมนิรุตตินั้นชื่อ
ว่านิรุตติปฏิสัมภิทา ความรู้ในญาณทั้งหลายชื่อว่าปฏิภาณปฏิสัมภิทา นี้ชื่อว่า ธัมมวาร

๕. ปฏิจจสมุปปาทวาร
[๗๒๒] ปฏิสัมภิทา ๔ คือ
๑. อัตถปฏิสัมภิทา ๒. ธัมมปฏิสัมภิทา
๓. นิรุตติปฏิสัมภิทา ๔. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา
ความรู้ในชรามรณะชื่อว่าอัตถปฏิสัมภิทา ความรู้ในเหตุเกิดแห่งชรามรณะชื่อ
ว่าธัมมปฏิสัมภิทา ความรู้ในความดับแห่งชรามรณะชื่อว่าอัตถปฏิสัมภิทา ความรู้
ในปฏิปทาที่เป็นเหตุให้ถึงความดับแห่งชรามรณะชื่อว่าธัมมปฏิสัมภิทา ความรู้ใน
การกล่าวธัมมนิรุตตินั้นชื่อว่านิรุตติปฏิสัมภิทา ความรู้ในญาณทั้งหลายชื่อว่า
ปฏิภาณปฏิสัมภิทา
[๗๒๓] ปฏิสัมภิทา ๔ คือ
๑. อัตถปฏิสัมภิทา ๒. ธัมมปฏิสัมภิทา
๓. นิรุตติปฏิสัมภิทา ๔. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๔๖๐ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๕.ปฏิสัมภิทาวิภังค์] ๒.อภิธรรมภาชนีย์ ๑.กุสลวาร
ความรู้ในชาติ ฯลฯ ความรู้ในภพ ฯลฯ ความรู้ในอุปาทาน ฯลฯ ความรู้
ในตัณหา ฯลฯ ความรู้ในเวทนา ฯลฯ ความรู้ในผัสสะ ฯลฯ ความรู้ในสฬายตนะ
ฯลฯ ความรู้ในนามรูป ฯลฯ ความรู้ในวิญญาณ ฯลฯ ความรู้ในสังขารทั้งหลาย
ชื่อว่าอัตถปฏิสัมภิทา ความรู้ในเหตุเกิดแห่งสังขารชื่อว่าธัมมปฏิสัมภิทา ความรู้ใน
ความดับแห่งสังขารชื่อว่าอัตถปฏิสัมภิทา ความรู้ในปฏิปทาที่เป็นเหตุให้ถึงความดับ
แห่งสังขารชื่อว่าธัมมปฏิสัมภิทา ความรู้ในการกล่าวธัมมนิรุตตินั้นชื่อว่านิรุตติ-
ปฏิสัมภิทา ความรู้ในญาณทั้งหลายชื่อว่าปฏิภาณปฏิสัมภิทา นี้ชื่อว่าปฏิจจสมุป-
ปาทวาร

๖. ปริยัตติวาร
[๗๒๔] ปฏิสัมภิทา ๔ คือ
๑. อัตถปฏิสัมภิทา ๒. ธัมมปฏิสัมภิทา
๓. นิรุตติปฏิสัมภิทา ๔. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา
บรรดาปฏิสัมภิทา ๔ เหล่านั้น ธัมมปฏิสัมภิทา เป็นไฉน
ภิกษุในธรรมวินัยนี้รู้ธรรม คือ สุตตะ เคยยะ เวยยากรณะ คาถา อุทาน
อิติวุตตกะ ชาดก อัพภูตธรรม เวทัลละ นี้เรียกว่า ธัมมปฏิสัมภิทา ภิกษุนั้นรู้
แตกฉานอรรถแห่งภาษิตนั้น ๆ ว่า นี้เป็นอรรถแห่งภาษิตนี้ นี้เป็นอรรถแห่ภาษิตนี้
นี้เรียกว่า อัตถปฏิสัมภิทา ความรู้ในการกล่าวธัมมนิรุตตินั้นชื่อว่านิรุตติปฏิสัมภิทา
ความรู้ในญาณทั้งหลายชื่อว่าปฏิภาณปฏิสัมภิทา นี้ชื่อว่าปริยัตติวาร
สุตตันตภาชนีย์ จบ

๒. อภิธรรมภาชนีย์
๑. กุสลวาร
[๗๒๕] ปฏิสัมภิทา ๔ คือ
๑. อัตถปฏิสัมภิทา ๒. ธัมมปฏิสัมภิทา
๓. นิรุตติปฏิสัมภิทา ๔. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๔๖๑ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๕.ปฏิสัมภิทาวิภังค์] ๒.อภิธรรมภาชนีย์ ๑.กุสลวาร
สภาวธรรมที่เป็นกุศล เป็นไฉน
จิตที่เป็นกามาวจรซึ่งเป็นกุศล สหรคตด้วยโสมนัส สัมปยุตด้วยญาณ มีรูป
เป็นอารมณ์ ฯลฯ มีธรรมเป็นอารมณ์ หรือปรารภอารมณ์ใด ๆ เกิดขึ้นในสมัยใด
ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล
ความรู้ในสภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าธัมมปฏิสัมภิทา ความรู้ในวิบากแห่งสภาวธรรม
เหล่านั้นชื่อว่าอัตถปฏิสัมภิทา การบัญญัติสภาวธรรมเหล่านั้นมีได้เพราะนิรุตติใด
ความรู้ในการกล่าวธัมมนิรุตตินั้นชื่อว่านิรุตติปฏิสัมภิทา บุคคลรู้ญาณเหล่านั้นได้
เพราะญาณใดว่า ญาณเหล่านี้ส่องเนื้อความนี้ ความรู้ในญาณทั้งหลายชื่อว่า
ปฏิภาณปฏิสัมภิทา
[๗๒๖] ปฏิสัมภิทา ๔ คือ
๑. อัตถปฏิสัมภิทา ๒. ธัมมปฏิสัมภิทา
๓. นิรุตติปฏิสัมภิทา ๔. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา
สภาวธรรมที่เป็นกุศล เป็นไฉน
จิตที่เป็นกามาวจรซึ่งเป็นกุศล สหรคตด้วยโสมนัส สัมปยุตด้วยญาณ เกิด
ขึ้นโดยมีเหตุชักจูง ฯลฯ สหรคตด้วยโสมนัส วิปปยุตจากญาณ ฯลฯ สหรคต
ด้วยโสมนัส วิปปยุตจากญาณ เกิดขึ้นโดยมีเหตุชักจูง ฯลฯ สหรคตด้วยอุเบกขา
สัมปยุตด้วยญาณ ฯลฯ สหรคตด้วยอุเบกขา สัมปยุตด้วยญาณ เกิดขึ้นโดยมี
เหตุชักจูง ฯลฯ สหรคตด้วยอุเบกขา วิปปยุตจากญาณ ฯลฯ สหรคตด้วยอุเบกขา
วิปปยุตจากญาณ มีรูปเป็นอารมณ์ ฯลฯ มีธรรมเป็นอารมณ์ หรือปรารภอารมณ์
ใด ๆ เกิดขึ้นโดยมีเหตุชักจูง ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล
ความรู้ในสภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าธัมมปฏิสัมภิทา ความรู้ในวิบากแห่งสภาว-
ธรรมเหล่านั้นชื่อว่าอัตถปฏิสัมภิทา การบัญญัติสภาวธรรมเหล่านั้นมีได้เพราะ
นิรุตติใด ความรู้ในการกล่าวธัมมนิรุตตินั้นชื่อว่านิรุตติปฏิสัมภิทา บุคคลรู้ญาณ
เหล่านั้นได้เพราะญาณใดว่า ญาณเหล่านี้ส่องเนื้อความนี้ ความรู้ในญาณทั้งหลาย
ชื่อว่าปฏิภาณปฏิสัมภิทา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๔๖๒ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๕.ปฏิสัมภิทาวิภังค์] ๒.อภิธรรมภาชนีย์ ๑.กุสลวาร
จำแนกปฏิสัมภิทา ๔ โดยรูปาวจรกุศลจิต
[๗๒๗] ปฏิสัมภิทา ๔ คือ
๑. อัตถปฏิสัมภิทา ๒. ธัมมปฏิสัมภิทา
๓. นิรุตติปฏิสัมภิทา ๔. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา
สภาวธรรมที่เป็นกุศล เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคเพื่อเข้าถึงรูปภพ สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐม-
ฌานที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ
ก็เกิดขึ้น สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล
ความรู้ในสภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าธัมมปฏิสัมภิทา ความรู้ในวิบากแห่งสภาว-
ธรรมเหล่านั้นชื่อว่าอัตถปฏิสัมภิทา การบัญญัติสภาวธรรมเหล่านั้นมีได้เพราะนิรุตติ
ใด ความรู้ในการกล่าวธัมมนิรุตตินั้นชื่อว่านิรุตติปฏิสัมภิทา บุคคลรู้ญาณเหล่านั้น
ได้เพราะญาณใดว่า ญาณเหล่านี้ส่องเนื้อความนี้ ความรู้ในญาณทั้งหลายชื่อว่า
ปฏิภาณปฏิสัมภิทา

จำแนกปฏิสัมภิทา ๔ โดยอรูปาวจรกุศลจิต
[๗๒๘] ปฏิสัมภิทา ๔ คือ
๑. อัตถปฏิสัมภิทา ๒. ธัมมปฏิสัมภิทา
๓. นิรุตติปฏิสัมภิทา ๔. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา
สภาวธรรมที่เป็นกุศล เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคเพื่อเข้าถึงอรูปภพ เพราะก้าวล่วงอากิญจัญญายตนะ
ได้โดยประการทั้งปวง ฯลฯ บรรลุจตุตถฌานที่สหรคตด้วยเนวสัญญานาสัญญายตน-
สัญญา ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข เพราะละสุขและทุกข์ได้ อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ
ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล
ความรู้ในสภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าธัมมปฏิสัมภิทา ความรู้ในวิบากแห่งสภาว-
ธรรมเหล่านั้นชื่อว่าอัตถปฏิสัมภิทา การบัญญัติสภาวธรรมเหล่านั้นมีได้เพราะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๔๖๓ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๕.ปฏิสัมภิทาวิภังค์] ๒.อภิธรรมภาชนีย์ ๒.อกุสลวาร
นิรุตติใด ความรู้ในการกล่าวธัมมนิรุตตินั้นชื่อว่านิรุตติปฏิสัมภิทา บุคคลรู้ญาณ
เหล่านั้นได้เพราะญาณใดว่า ญาณเหล่านี้ส่องเนื้อความนี้ ความรู้ในญาณทั้งหลาย
ชื่อว่าปฏิภาณปฏิสัมภิทา

จำแนกปฏิสัมภิทา ๔ โดยโลกุตตรกุศลจิต
[๗๒๙] ปฏิสัมภิทา ๔ คือ
๑. อัตถปฏิสัมภิทา ๒. ธัมมปฏิสัมภิทา
๓. นิรุตติปฏิสัมภิทา ๔. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา
สภาวธรรมที่เป็นกุศล เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคลเจริญฌานที่เป็นโลกุตตระซึ่งเป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ให้
ถึงนิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน
ที่เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา (ข้อปฏิบัติลำบากทั้งรู้ได้ช้า) อยู่ในสมัยใด ในสมัย
นั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล
ความรู้ในสภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าธัมมปฏิสัมภิทา ความรู้ในวิบากแห่งสภาว-
ธรรมเหล่านั้นชื่อว่าอัตถปฏิสัมภิทา การบัญญัติสภาวธรรมเหล่านั้นมีได้เพราะนิรุตติ
ใด ความรู้ในการกล่าวธัมมนิรุตตินั้นชื่อว่านิรุตติปฏิสัมภิทา บุคคลรู้ญาณเหล่านั้น
ได้เพราะญาณใดว่า ญาณเหล่านี้ส่องเนื้อความนี้ ความรู้ในญาณทั้งหลายชื่อว่า
ปฏิภาณปฏิสัมภิทา

๒. อกุสลวาร
จำแนกปฏิสัมภิทา ๔ โดยอกุศลจิต
[๗๓๐] ปฏิสัมภิทา ๔ คือ
๑. อัตถปฏิสัมภิทา ๒. ธัมมปฏิสัมภิทา
๓. นิรุตติปฏิสัมภิทา ๔. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา
สภาวธรรมที่เป็นอกุศล เป็นไฉน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๔๖๔ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๕.ปฏิสัมภิทาวิภังค์] ๒.อภิธรรมภาชนีย์ ๒.อกุสลวาร
จิตที่เป็นอกุศล สหรคตด้วยโสมนัส สัมปยุตด้วยทิฏฐิ มีรูปเป็นอารมณ์ ฯลฯ
มีธรรมเป็นอารมณ์ หรือปรารภอารมณ์ใด ๆ เกิดขึ้นในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ
ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นอกุศล
ความรู้ในสภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าธัมมปฏิสัมภิทา ความรู้ในวิบากแห่งสภาว-
ธรรมเหล่านั้นชื่อว่าอัตถปฏิสัมภิทา การบัญญัติสภาวธรรมเหล่านั้นมีได้เพราะนิรุตติ
ใด ความรู้ในการกล่าวธัมมนิรุตตินั้นชื่อว่านิรุตติปฏิสัมภิทา บุคคลรู้ญาณเหล่านั้น
ได้เพราะญาณใดว่า ญาณเหล่านี้ส่องเนื้อความนี้ ความรู้ในญาณทั้งหลายชื่อว่า
ปฏิภาณปฏิสัมภิทา
[๗๓๑] ปฏิสัมภิทา ๔ คือ
๑. อัตถปฏิสัมภิทา ๒. ธัมมปฏิสัมภิทา
๓. นิรุตติปฏิสัมภิทา ๔. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา
สภาวธรรมที่เป็นอกุศล เป็นไฉน
จิตที่เป็นอกุศล สหรคตด้วยโสมนัส สัมปยุตด้วยทิฏฐิ เกิดขึ้นโดยมีเหตุ
ชักจูง ฯลฯ สหรคตด้วยโสมนัส วิปปยุตจากทิฏฐิ ฯลฯ สหรคตด้วยโสมนัส วิปปยุต
จากทิฏฐิ เกิดขึ้นโดยมีเหตุชักจูง ฯลฯ สหรคตด้วยอุเบกขา สัมปยุตด้วยทิฏฐิ ฯลฯ
สหรคตด้วยอุเบกขา สัมปยุตด้วยทิฏฐิ เกิดขึ้นโดยมีเหตุชักจูง ฯลฯ สหรคตด้วย
อุเบกขา วิปปยุตจากทิฏฐิ ฯลฯ สหรคตด้วยอุเบกขา วิปปยุตจากทิฏฐิ เกิดขึ้นโดย
มีเหตุชักจูง ฯลฯ สหรคตด้วยโทมนัส สัมปยุตด้วยปฏิฆะ ฯลฯ สหรคตด้วยโทมนัส
สัมปยุตด้วยปฏิฆะ ฯลฯ เกิดขึ้นโดยมีเหตุชักจูง ฯลฯ สหรคตด้วยอุเบกขา สัมปยุต
ด้วยวิจิกิจฉา ฯลฯ สหรคตด้วยอุเบกขา สัมปยุตด้วยอุทธัจจะ มีรูปเป็นอารมณ์
ฯลฯ มีธรรมเป็นอารมณ์ หรือปรารภอารมณ์ใด ๆ เกิดขึ้นในสมัยใด ในสมัยนั้น
ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นอกุศล
ความรู้ในสภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าธัมมปฏิสัมภิทา ความรู้ในวิบากแห่งสภาว-
ธรรม เหล่านั้นชื่อว่าอัตถปฏิสัมภิทา การบัญญัติสภาวธรรมเหล่านั้นมีได้เพราะนิรุตติ
ใด ความรู้ในการกล่าวธัมมนิรุตตินั้นชื่อว่านิรุตติปฏิสัมภิทา บุคคลรู้ญาณเหล่านั้น
ได้เพราะญาณใดว่า ญาณเหล่านี้ส่องเนื้อความนี้ ความรู้ในญาณทั้งหลายชื่อว่า
ปฏิภาณปฏิสัมภิทา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๔๖๕ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๕.ปฏิสัมภิทาวิภังค์] ๒.อภิธรรมภาชนีย์ ๓.วิปากวาร
๓. วิปากวาร
จำแนกปฏิสัมภิทา ๓ โดยอเหตุกกุศลวิปากจิต
[๗๓๒] ปฏิสัมภิทา ๓ คือ
๑. อัตถปฏิสัมภิทา ๒. นิรุตติปฏิสัมภิทา
๓. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา
สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤต เป็นไฉน
จักขุวิญญาณที่เป็นวิบาก สหรคตด้วยอุเบกขา มีรูปเป็นอารมณ์เกิดขึ้นเพราะ
ได้ทำได้สั่งสมกามาวจรกุศลกรรมไว้ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ เวทนา สัญญา
เจตนา จิต อุเบกขา เอกัคคตา มนินทรีย์ อุเปกขินทรีย์ และชีวิตินทรีย์ ก็เกิดขึ้น
หรือสภาวธรรมที่ไม่เป็นรูปแม้อื่นซึ่งอิงอาศัยกันเกิดขึ้นมีอยู่ในสมัยนั้น สภาวธรรม
เหล่านี้ชื่อว่าเป็นอัพยากฤต
ความรู้ในสภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าอัตถปฏิสัมภิทา การบัญญัติสภาวธรรม
เหล่านั้นมีได้เพราะนิรุตติใด ความรู้ในการกล่าวธัมมนิรุตตินั้นชื่อว่านิรุตติปฏิสัมภิทา
บุคคลรู้ญาณเหล่านั้นได้เพราะญาณใดว่า ญาณเหล่านี้ส่องเนื้อความนี้ ความรู้ใน
ญาณทั้งหลายชื่อว่าปฏิภาณปฏิสัมภิทา
[๗๓๓] ปฏิสัมภิทา ๓ คือ
๑. อัตถปฏิสัมภิทา ๒. นิรุตติปฏิสัมภิทา
๓. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา
สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤต เป็นไฉน
โสตวิญญาณที่เป็นวิบาก สหรคตด้วยอุเบกขา มีเสียงเป็นอารมณ์เกิดขึ้น ฯลฯ
ฆานวิญญาณที่เป็นวิบาก สหรคตด้วยอุเบกขา มีกลิ่นเป็นอารมณ์เกิดขึ้น ฯลฯ
ชิวหาวิญญาณที่เป็นวิบาก สหรคตด้วยอุเบกขา มีรสเป็นอารมณ์เกิดขึ้น ฯลฯ
กายวิญญาณที่เป็นวิบาก สหรคตด้วยสุข มีโผฏฐัพพะเป็นอารมณ์เกิดขึ้น เพราะ
ได้ทำได้สั่งสมกามาวจรกุศลกรรมไว้ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ เวทนา สัญญา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๔๖๖ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๕.ปฏิสัมภิทาวิภังค์] ๒.อภิธรรมภาชนีย์ ๓.วิปากวาร
เจตนา จิต สุข เอกัคคตา มนินทรีย์ สุขินทรีย์ และชีวิตินทรีย์ ก็เกิดขึ้น หรือ
สภาวธรรมที่ไม่เป็นรูปแม้อื่นซึ่งอิงอาศัยกันเกิดขึ้นมีอยู่ในสมัยนั้น สภาวธรรมเหล่า
นี้ชื่อว่าเป็นอัพยากฤต
ความรู้ในสภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าอัตถปฏิสัมภิทา การบัญญัติสภาวธรรม
เหล่านั้นมีได้เพราะนิรุตติใด ความรู้ในการกล่าวธัมมนิรุตตินั้น ชื่อว่านิรุตติปฏิสัมภิทา
บุคคลรู้ญาณเหล่านั้นได้เพราะญาณใดว่า ญาณเหล่านี้ส่องเนื้อความนี้ ความรู้ใน
ญาณทั้งหลายชื่อว่าปฏิภาณปฏิสัมภิทา
[๗๓๔] ปฏิสัมภิทา ๓ คือ
๑. อัตถปฏิสัมภิทา ๒. นิรุตติปฏิสัมภิทา
๓. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา
สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤต เป็นไฉน
มโนวิญญาณธาตุที่เป็นวิบาก สหรคตด้วยอุเบกขา มีรูปเป็นอารมณ์ ฯลฯ
มีโผฏฐัพพะเป็นอารมณ์ หรือปรารภอารมณ์ใด ๆ เกิดขึ้น เพราะได้ทำได้สั่งสม
กามาวจรกุศลกรรมไว้ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา จิต วิตก
วิจาร อุเบกขา เอกัคคตา มนินทรีย์ อุเปกขินทรีย์ และชีวิตินทรีย์ ก็เกิดขึ้น
หรือสภาวธรรมที่ไม่เป็นรูปแม้อื่นซึ่งอิงอาศัยกันเกิดขึ้นมีอยู่ในสมัยนั้น สภาวธรรม
เหล่านี้ชื่อว่าเป็นอัพยากฤต
ความรู้ในสภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าอัตถปฏิสัมภิทา การบัญญัติสภาวธรรม
เหล่านั้นมีได้เพราะนิรุตติใด ความรู้ในการกล่าวธัมมนิรุตตินั้นชื่อว่านิรุตติปฏิสัมภิทา
บุคคลรู้ญาณเหล่านั้นได้เพราะญาณใดว่า ญาณเหล่านี้ส่องเนื้อความนี้ ความรู้ใน
ญาณทั้งหลายชื่อว่าปฏิภาณปฏิสัมภิทา
[๗๓๕] ปฏิสัมภิทา ๓ คือ
๑. อัตถปฏิสัมภิทา ๒. นิรุตติปฏิสัมภิทา
๓. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๔๖๗ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๕.ปฏิสัมภิทาวิภังค์] ๒.อภิธรรมภาชนีย์ ๓.วิปากวาร
สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤต เป็นไฉน
มโนวิญญาณธาตุที่เป็นวิบาก สหรคตด้วยโสมนัส มีรูปเป็นอารมณ์ ฯลฯ
มีธรรมเป็นอารมณ์ หรือปรารภอารมณ์ใด ๆ เกิดขึ้น เพราะได้ทำได้สั่งสมกามาวจร
กุศลกรรมไว้ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา จิต วิตก
วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา มนินทรีย์ โสมนัสสินทรีย์ และชีวิตินทรีย์ ก็เกิดขึ้น
หรือสภาวธรรมที่ไม่เป็นรูปแม้อื่นซึ่งอิงอาศัยกันเกิดขึ้นมีอยู่ในสมัยนั้น สภาวธรรม
เหล่านี้ชื่อว่าเป็นอัพยากฤต
ความรู้ในสภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าอัตถปฏิสัมภิทา การบัญญัติสภาวธรรม
เหล่านั้นมีได้เพราะนิรุตติใด ความรู้ในการกล่าวธัมมนิรุตตินั้น ชื่อว่านิรุตติปฏิสัมภิทา
บุคคลรู้ญาณเหล่านั้นได้เพราะญาณใดว่า ญาณเหล่านี้ส่องเนื้อความนี้ ความรู้ใน
ญาณทั้งหลายชื่อว่าปฏิภาณปฏิสัมภิทา
[๗๓๖] ปฏิสัมภิทา ๓ คือ
๑. อัตถปฏิสัมภิทา ๒. นิรุตติปฏิสัมภิทา
๓. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา
สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤต เป็นไฉน
มโนวิญญาณธาตุที่เป็นวิบาก สหรคตด้วยอุเบกขา มีรูปเป็นอารมณ์ ฯลฯ
มีธรรมเป็นอารมณ์ หรือปรารภอารมณ์ใด ๆ เกิดขึ้น เพราะได้ทำได้สั่งสม
กามาวจรกุศลกรรมไว้ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา จิต วิตก
วิจาร อุเบกขา เอกัคคตา มนินทรีย์ อุเปกขินทรีย์ และชีวิตินทรีย์ ก็เกิดขึ้น
หรือสภาวธรรมที่ไม่เป็นรูปแม้อื่นซึ่งอิงอาศัยกันเกิดขึ้นมีอยู่ในสมัยนั้น สภาวธรรม
เหล่านี้ชื่อว่าเป็นอัพยากฤต
ความรู้ในสภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าอัตถปฏิสัมภิทา การบัญญัติสภาวธรรม
เหล่านั้นมีได้เพราะนิรุตติใด ความรู้ในการกล่าวธัมมนิรุตตินั้นชื่อว่านิรุตติปฏิสัมภิทา
บุคคลรู้ญาณเหล่านั้นได้เพราะญาณใดว่า ญาณเหล่านี้ส่องเนื้อความนี้ ความรู้ใน
ญาณทั้งหลายชื่อว่าปฏิภาณปฏิสัมภิทา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๔๖๘ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๕.ปฏิสัมภิทาวิภังค์] ๒.อภิธรรมภาชนีย์ ๓.วิปากวาร
จำแนกปฏิสัมภิทา ๓ โดยกามาวจรวิปากจิต
[๗๓๗] ปฏิสัมภิทา ๓ คือ
๑. อัตถปฏิสัมภิทา ๒. นิรุตติปฏิสัมภิทา
๓. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา
สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤต เป็นไฉน
มโนวิญญาณธาตุที่เป็นวิบาก สหรคตด้วยโสมนัส สัมปยุตด้วยญาณ ฯลฯ
สหรคตด้วยโสมนัส สัมปยุตด้วยญาณ เกิดขึ้นโดยมีเหตุชักจูง ฯลฯ สหรคตด้วย
โสมนัส วิปปยุตจากญาณ ฯลฯ สหรคตด้วยโสมนัส วิปปยุตจากญาณเกิดขึ้น
โดยมีเหตุชักจูง ฯลฯ สหรคตด้วยอุเบกขา สัมปยุตด้วยญาณ ฯลฯ สหรคตด้วย
อุเบกขา สัมปยุตด้วยญาณเกิดขึ้นโดยมีเหตุชักจูง ฯลฯ สหรคตด้วยอุเบกขา วิปปยุต
จากญาณ ฯลฯ สหรคตด้วยอุเบกขา วิปปยุตจากญาณ มีรูปเป็นอารมณ์ ฯลฯ
มีธรรมเป็นอารมณ์ หรือปรารภอารมณ์ใด ๆ เกิดขึ้นเพราะได้ทำได้สั่งสมกามาวจร-
กุศลกรรมโดยมีเหตุชักจูงในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นอัพยากฤต
ความรู้ในสภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าอัตถปฏิสัมภิทา การบัญญัติสภาวธรรม
เหล่านั้นมีได้ด้วยนิรุตติใด ความรู้ในการกล่าวธัมมนิรุตตินั้นชื่อว่านิรุตติปฏิสัมภิทา
บุคคลรู้ญาณเหล่านั้นได้เพราะญาณใดว่า ญาณเหล่านี้ส่องเนื้อความนี้ ความรู้ใน
ญาณทั้งหลายชื่อว่าปฏิภาณปฏิสัมภิทา
[๗๓๘] ปฏิสัมภิทา ๓ คือ
๑. อัตถปฏิสัมภิทา ๒. นิรุตติปฏิสัมภิทา
๓. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา
สภาวธรรมเป็นอัพยากฤต เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคเพื่อเข้าถึงรูปภพ สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐม-
ฌานที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ
ก็เกิดขึ้น สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๔๖๙ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๕.ปฏิสัมภิทาวิภังค์] ๒.อภิธรรมภาชนีย์ ๓.วิปากวาร
โยคาวจรบุคคลสงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌานที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์
ซึ่งเป็นวิบาก เพราะได้ทำได้สั่งสมรูปาวจรกุศลกรรมนั้นนั่นแหละ อยู่ในสมัยใด ใน
สมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นอัพยากฤต
ความรู้ในสภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าอัตถปฏิสัมภิทา การบัญญัติสภาวธรรม
เหล่านั้นมีได้เพราะนิรุตติใด ความรู้ในการกล่าวธัมมนิรุตตินั้นชื่อว่านิรุตติปฏิสัมภิทา
บุคคลรู้ญาณเหล่านั้นได้เพราะญาณใดว่า ญาณเหล่านี้ส่องเนื้อความนี้ ความรู้ใน
ญาณทั้งหลายชื่อว่าปฏิภาณปฏิสัมภิทา

จำแนกปฏิสัมภิทา ๓ โดยอรูปาวจรวิปากจิต
[๗๓๙] ปฏิสัมภิทา ๓ คือ
๑. อัตถปฏิสัมภิทา ๒. นิรุตติปฏิสัมภิทา
๓. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา
สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤต เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคเพื่อเข้าถึงอรูปภพ เพราะก้าวล่วงอากิญจัญญายตนะ
ได้โดยประการทั้งปวง จึงบรรลุจตุตถฌานที่สหรคตด้วยเนวสัญญานาสัญญายตนสัญญา
ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข เพราะละสุขและทุกข์ได้ ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ
ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล
โยคาวจรบุคคล เพราะได้ทำได้สั่งสมอรูปาวจรกุศลกรรมนั้นนั่นแหละ เพราะ
ก้าวล่วงอากิญจัญญายตนะได้โดยประการทั้งปวง จึงบรรลุจตุตถฌานที่สหรคตด้วย
เนวสัญญานาสัญญายตนสัญญา ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข เพราะละสุขและทุกข์ได้ ฯลฯ
อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น สภาวธรรมเหล่านี้
ชื่อว่าเป็นอัพยากฤต
ความรู้ในสภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าอัตถปฏิสัมภิทา การบัญญัติสภาวธรรม
เหล่านั้นมีได้เพราะนิรุตติใด ความรู้ในการกล่าวธัมมนิรุตตินั้นชื่อว่านิรุตติปฏิสัมภิทา
บุคคลรู้ญาณเหล่านั้นได้เพราะญาณใดว่า ญาณเหล่านี้ส่องเนื้อความนี้ ความรู้ใน
ญาณทั้งหลายชื่อว่าปฏิภาณปฏิสัมภิทา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๔๗๐ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๕.ปฏิสัมภิทาวิภังค์] ๒.อภิธรรมภาชนีย์ ๓.วิปากวาร
จำแนกปฏิสัมภิทา ๓ โดยโลกุตตรวิปากจิต
[๗๔๐] ปฏิสัมภิทา ๓ คือ
๑. อัตถปฏิสัมภิทา ๒. นิรุตติปฏิสัมภิทา
๓. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา
สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤต เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคลเจริญฌานที่เป็นโลกุตตระซึ่งเป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ให้ถึง
นิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน
ที่เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ
ก็เกิดขึ้น สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล
โยคาวจรบุคคลสงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌานที่เป็นสุญญตะ เป็น
ทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา ซึ่งเป็นวิบาก เพราะได้ทำได้เจริญโลกุตตรกุศลกรรมนั้น
นั่นแหละ อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น สภาวธรรม
เหล่านี้ชื่อว่าเป็นอัพยากฤต
ความรู้ในสภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าอัตถปฏิสัมภิทา การบัญญัติสภาวธรรม
เหล่านั้นมีได้เพราะนิรุตติใด ความรู้ในการกล่าวธัมมนิรุตตินั้นชื่อว่านิรุตติปฏิสัมภิทา
บุคคลรู้ญาณเหล่านั้นได้เพราะญาณใดว่า ญาณเหล่านี้ส่องเนื้อความนี้ ความรู้ใน
ญาณทั้งหลายชื่อว่าปฏิภาณปฏิสัมภิทา

จำแนกปฏิสัมภิทา ๓ โดยอกุศลวิปากจิต
[๗๔๑] ปฏิสัมภิทา ๓ คือ
๑. อัตถปฏิสัมภิทา ๒. นิรุตติปฏิสัมภิทา
๓. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา
สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤต เป็นไฉน
จักขุวิญญาณที่เป็นวิบาก สหรคตด้วยอุเบกขา มีรูปเป็นอารมณ์เกิดขึ้น ฯลฯ
โสตวิญญาณที่เป็นวิบาก สหรคตด้วยอุเบกขา มีเสียงเป็นอารมณ์เกิดขึ้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๔๗๑ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๕.ปฏิสัมภิทาวิภังค์] ๒.อภิธรรมภาชนีย์ ๓.วิปากวาร
ฆานวิญญาณที่เป็นวิบาก สหรคตด้วยอุเบกขา มีกลิ่นเป็นอารมณ์เกิดขึ้น ฯลฯ
ชิวหาวิญญาณที่เป็นวิบาก สหรคตด้วยอุเบกขา มีรสเป็นอารมณ์เกิดขึ้น ฯลฯ
กายวิญญาณที่เป็นวิบาก สหรคตด้วยทุกข์ มีโผฏฐัพพะเป็นอารมณ์เกิดขึ้น
เพราะได้ทำได้สั่งสมอกุศลกรรมไว้ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ เวทนา สัญญา
เจตนา จิต ทุกข์ เอกัคคตา มนินทรีย์ ทุกขินทรีย์ และชีวิตินทรีย์ ก็เกิดขึ้น
หรือสภาวธรรมที่ไม่เป็นรูปแม้อื่นซึ่งอิงอาศัยกันเกิดขึ้นมีอยู่ในสมัยนั้น สภาวธรรม
เหล่านี้ชื่อว่าเป็นอัพยากฤต
ความรู้ในสภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าอัตถปฏิสัมภิทา การบัญญัติสภาวธรรม
เหล่านั้นมีได้เพราะนิรุตติใด ความรู้ในการกล่าวธัมมนิรุตตินั้นชื่อว่านิรุตติปฏิสัมภิทา
บุคคลรู้ญาณเหล่านั้นได้เพราะญาณใดว่า ญาณเหล่านี้ส่องเนื้อความนี้ ความรู้ใน
ญาณทั้งหลายชื่อว่าปฏิภาณปฏิสัมภิทา
[๗๔๒] ปฏิสัมภิทา ๓ คือ
๑. อัตถปฏิสัมภิทา ๒. นิรุตติปฏิสัมภิทา
๓. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา
สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤต เป็นไฉน
มโนธาตุที่เป็นวิบาก สหรคตด้วยอุเบกขา มีรูปเป็นอารมณ์ ฯลฯ หรือมี
โผฏฐัพพะเป็นอารมณ์เกิดขึ้น ฯลฯ
มโนวิญญาณธาตุที่เป็นวิบาก สหรคตด้วยอุเบกขา มีรูปเป็นอารมณ์ ฯลฯ มี
ธรรมเป็นอารมณ์ หรือปรารภอารมณ์ใด ๆ เกิดขึ้น เพราะได้ทำได้สั่งสมอกุศลกรรม
ไว้ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา จิต วิตก วิจาร อุเบกขา
เอกัคคตา มนินทรีย์ อุเปกขินทรีย์ และชีวิตินทรีย์ ก็เกิดขึ้น หรือสภาวธรรมที่
ไม่เป็นรูปแม้อื่นซึ่งอิงอาศัยกันเกิดขึ้นมีอยู่ในสมัยนั้น สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็น
อัพยากฤต
ความรู้ในสภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าอัตถปฏิสัมภิทา การบัญญัติสภาวธรรม
เหล่านั้นมีได้เพราะนิรุตติใด ความรู้ในการกล่าวธัมมนิรุตตินั้นชื่อว่านิรุตติปฏิสัมภิทา
บุคคลรู้ญาณเหล่านั้นได้เพราะญาณใดว่า ญาณเหล่านี้ส่องเนื้อความนี้ ความรู้ใน
ญาณทั้งหลายชื่อว่าปฏิภาณปฏิสัมภิทา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๔๗๒ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๕.ปฏิสัมภิทาวิภังค์] ๒.อภิธรรมภาชนีย์ ๔.กิริยาวาร
๔. กิริยาวาร
จำแนกปฏิสัมภิทา ๓ โดยอเหตุกกิริยาจิต
[๗๔๓] ปฏิสัมภิทา ๓ คือ
๑. อัตถปฏิสัมภิทา ๒. นิรุตติปฏิสัมภิทา
๓. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา
สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤต เป็นไฉน
มโนธาตุที่เป็นกิริยา ไม่เป็นกุศล ไม่เป็นอกุศล และไม่เป็นวิบากแห่งกรรม
สหรคตด้วยอุเบกขา มีรูปเป็นอารมณ์ ฯลฯ มีโผฏฐัพพะเป็นอารมณ์ หรือปรารภ
อารมณ์ใด ๆ เกิดขึ้นในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา จิต
วิบาก วิจาร อุเบกขา เอกัคคตา มนินทรีย์ อุเปกขินทรีย์ และชีวิตินทรีย์ ก็เกิดขึ้น
หรือสภาวธรรมที่ไม่เป็นรูปแม้อื่นซึ่งอิงอาศัยกันเกิดขึ้นมีอยู่ในสมัยนั้น สภาวธรรม
เหล่านั้นชื่อว่าเป็นอัพยากฤต
ความรู้ในสภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าอัตถปฏิสัมภิทา การบัญญัติสภาวธรรม
เหล่านั้นมีได้เพราะนิรุตติใด ความรู้ในการกล่าวธัมมนิรุตตินั้นชื่อว่านิรุตติปฏิสัมภิทา
บุคคลรู้ญาณเหล่านั้นได้เพราะญาณใดว่า ญาณเหล่านี้ส่องเนื้อความนี้ ความรู้ใน
ญาณทั้งหลายชื่อว่าปฏิภาณปฏิสัมภิทา
[๗๔๔] ปฏิสัมภิทา ๓ คือ
๑. อัตถปฏิสัมภิทา ๒. นิรุตติปฏิสัมภิทา
๓. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา
สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤต เป็นไฉน
มโนวิญญาณธาตุที่เป็นกิริยา ไม่เป็นกุศล ไม่เป็นอกุศล และไม่เป็นวิบาก
แห่งกรรม สหรคตด้วยโสมนัส มีรูปเป็นอารมณ์ ฯลฯ มีธรรมเป็นอารมณ์เกิดขึ้น
ฯลฯ
มโนวิญญาณธาตุที่เป็นกิริยา ไม่เป็นกุศล ไม่เป็นอกุศล และไม่เป็นวิบากแห่ง
กรรม มีรูปเป็นอารมณ์ ฯลฯ มีธรรมเป็นอารมณ์ หรือปรารภอารมณ์ใด ๆ เกิด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๔๗๓ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๕.ปฏิสัมภิทาวิภังค์] ๒.อภิธรรมภาชนีย์ ๔.กิริยาวาร
ขึ้นในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา จิต วิตก วิจาร
อุเบกขา เอกัคคตา วิริยินทรีย์ สมาธินทรีย์ มนินทรีย์ อุเปกขินทรีย์ และ
ชีวิตินทรีย์ ก็เกิดขึ้น หรือสภาวธรรมที่ไม่เป็นรูปแม้อื่นซึ่งอิงอาศัยกันเกิดขึ้นมีอยู่ใน
สมัยนั้น สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นอัพยากฤต
ความรู้ในสภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าอัตถปฏิสัมภิทา การบัญญัติสภาวธรรม
เหล่านั้นมีได้เพราะนิรุตติใด ความรู้ในการกล่าวธัมมนิรุตตินั้นชื่อว่านิรุตติปฏิสัมภิทา
บุคคลรู้ญาณเหล่านั้นได้เพราะญาณใดว่า ญาณเหล่านี้ส่องเนื้อความนี้ ความรู้ใน
ญาณทั้งหลายชื่อว่าปฏิภาณปฏิสัมภิทา

จำแนกปฏิสัมภิทา ๓ โดยกิริยาจิต
[๗๔๕] ปฏิสัมภิทา ๓ คือ
๑. อัตถปฏิสัมภิทา ๒. นิรุตติปฏิสัมภิทา
๓. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา
สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤต เป็นไฉน
มโนวิญญาณธาตุที่เป็นกิริยา ไม่เป็นกุศล ไม่เป็นอกุศล และไม่เป็นวิบากแห่ง
กรรม สหรคตด้วยโสมนัส สัมปยุตด้วยญาณ ฯลฯ สหรคตด้วยโสมนัส สัมปยุต
ด้วยญาณ เกิดขึ้นโดยมีเหตุชักจูง ฯลฯ สหรคตด้วยโสมนัส วิปปยุตจากญาณ ฯลฯ
สหรคตด้วยโสมนัส วิปปยุตจากญาณ เกิดขึ้นโดยมีเหตุชักจูง ฯลฯ สหรคตด้วย
อุเบกขา สัมปยุตด้วยญาณ ฯลฯ สหรคตด้วยอุเบกขา สัมปยุตด้วยญาณ เกิดขึ้น
โดยมีเหตุชักจูง ฯลฯ สหรตคด้วยอุเบกขา วิปปยุตจากญาณ ฯลฯ สหรคตด้วย
อุเบกขา วิปปยุตจากญาณ เกิดขึ้นโดยมีเหตุชักจูง ฯลฯ
โยคาวจรบุคคลเจริญรูปาวจรฌาน ฯลฯ เจริญอรูปาวจรฌานที่เป็นกิริยา ไม่
เป็นกุศล ไม่เป็นอกุศล และไม่เป็นวิบากแห่งกรรม เป็นธรรมเครื่องอยู่เป็นสุขใน
ปัจจุบัน ฯลฯ เพราะก้าวล่วงอากิญจัญญายตนะได้โดยประการทั้งปวง จึงบรรลุ
จตุตถฌานที่สหรคตด้วยเนวสัญญานาสัญญายตนสัญญา ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข เพราะ
ละสุขและทุกข์ได้ อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นอัพยากฤต

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๔๗๔ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๕.ปฏิสัมภิทาวิภังค์] ๓.ปัญหาปุจฉกะ ๑.ติกมาติกาวิสัชนา
ความรู้ในสภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าอัตถปฏิสัมภิทา การบัญญัติสภาวธรรม
เหล่านั้นมีได้เพราะนิรุตติใด ความรู้ในการกล่าวธัมมนิรุตตินั้นชื่อว่านิรุตติปฏิสัมภิทา
บุคคลรู้ญาณเหล่านั้นได้เพราะญาณใดว่า ญาณเหล่านี้ส่องเนื้อความนี้ ความรู้ใน
ญาณทั้งหลายชื่อว่าปฏิภาณปฏิสัมภิทา
[๗๔๖] ปฏิสัมภิทา ๔ คือ
๑. อัตถปฏิสัมภิทา ๒. ธัมมปฏิสัมภิทา
๓. นิรุตติปฏิสัมภิทา ๔. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา
ปฏิสัมภิทา ๓ เกิดขึ้นในจิตตุปบาทที่สัมปยุตด้วยญาณ ๔ ฝ่ายกามาวจรกุศล
เกิดขึ้นในจิตตุปบาทที่สัมปยุตด้วยญาณ ๔ ฝ่ายกิริยา อัตถปฏิสัมภิทาเกิดขึ้นใน
จิตตุปบาทเหล่านี้ และเกิดขึ้นในมรรค ๔ ผล ๔
อภิธรรมภาชนีย์ จบ

๓. ปัญหาปุจฉกะ
[๗๔๗] ปฏิสัมภิทา ๔ คือ
๑. อัตถปฏิสัมภิทา ๒. ธัมมปฏิสัมภิทา
๓. นิรุตติปฏิสัมภิทา ๔. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา

ติกมาติกาปุจฉา ทุกมาติกาปุจฉา
[๗๔๘] บรรดาปฏิสัมภิทา ๔ ปฏิสัมภิทา เท่าไรเป็นกุศล เท่าไรเป็นอกุศล
เท่าไรเป็นอัพยากฤต ฯลฯ เท่าไรเป็นเหตุให้สัตว์ร้องไห้ เท่าไรไม่เป็นเหตุให้สัตว์
ร้องไห้

๑. ติกมาติกาวิสัชนา
๑-๒๒. กุสลติกาทิวิสัชนา
[๗๔๙] ปฏิสัมภิทา ๔ ที่เป็นกุศลก็มี ที่เป็นอัพยากฤตก็มี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๔๗๕ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๕.ปฏิสัมภิทาวิภังค์] ๓.ปัญหาปุจฉกะ ๑.ติกมาติกาวิสัชนา
ปฏิสัมภิทา ๔ ที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาก็มี ที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา
ก็มี
ปฏิสัมภิทา ๓ ที่เป็นเหตุให้เกิดวิบากก็มี ที่ไม่เป็นวิบากและไม่เป็นเหตุให้เกิด
วิบากก็มี อัตถปฏิสัมภิทาที่เป็นวิบากก็มี ที่เป็นเหตุให้เกิดวิบากก็มี ที่ไม่เป็นวิบาก
และไม่เป็นเหตุให้เกิดวิบากก็มี
ปฏิสัมภิทา ๓ กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือแต่เป็นอารมณ์
ของอุปาทาน อัตถปฏิสัมภิทาที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือแต่
เป็นอารมณ์ของอุปาทานก็มี ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือและ
ไม่เป็นอารมณ์ของอุปาทานก็มี
ปฏิสัมภิทา ๓ กิเลสไม่ทำให้เศร้าหมองและไม่เป็นอารมณ์ของกิเลส
อัตถปฏิสัมภิทาที่กิเลสไม่ทำให้เศร้าหมองแต่เป็นอารมณ์ของกิเลสก็มี ที่กิเลสไม่
ทำให้เศร้าหมองและไม่เป็นอารมณ์ของกิเลสก็มี
ปฏิสัมภิทา ๓ มีทั้งวิตกและวิจาร อัตถปฏิสัมภิทาที่มีทั้งวิตกและวิจารก็มี
ที่ไม่มีวิตกมีเพียงวิจารก็มี ที่ไม่มีทั้งวิตกและวิจารก็มี
ปฏิสัมภิทา ๔ ที่สหรคตด้วยปีติก็มี ที่สหรคตด้วยสุขก็มี ที่สหรคตด้วย
อุเบกขาก็มี
ปฏิสัมภิทา ๔ ไม่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคและมรรคเบื้องบน ๓
ปฏิสัมภิทา ๔ ไม่มีเหตุต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคและมรรคเบื้องบน ๓
ปฏิสัมภิทา ๓ ที่เป็นเหตุให้ถึงปฏิสนธิและจุติก็มี ที่ไม่เป็นเหตุให้ถึงปฏิสนธิ
จุติ และนิพพานก็มี อัตถปฏิสัมภิทาที่เป็นเหตุให้ถึงปฏิสนธิและจุติก็มี ที่ไม่เป็น
เหตุให้ถึงปฏิสนธิ จุติ และนิพพานก็มี
ปฏิสัมภิทา ๓ ไม่เป็นของเสขบุคคลและอเสขบุคคล อัตถปฏิสัมภิทาที่เป็น
ของเสขบุคคลก็มี ที่เป็นของอเสขบุคคลก็มี ที่ไม่เป็นของเสขบุคคลและอเสขบุคคล
ก็มี
ปฏิสัมภิทา ๓ เป็นปริตตะ อัตถปฏิสัมภิทาที่เป็นปริตตะก็มี ที่เป็นอัปปมาณะ
ก็มี


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๔๗๖ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๕.ปฏิสัมภิทาวิภังค์] ๓.ปัญหาปุจฉกะ ๑.ติกมาติกาวิสัชนา
นิรุตติปฏิสัมภิทามีปริตตะเป็นอารมณ์ ปฏิสัมภิทา ๓ ที่มีปริตตะเป็นอารมณ์
ก็มี ที่มีมหัคคตะเป็นอารมณ์ก็มี ที่มีอัปปมาณะเป็นอารมณ์ก็มี
ปฏิสัมภิทา ๓ เป็นชั้นกลาง อัตถปฏิสัมภิทาที่เป็นชั้นกลางก็มี ที่เป็นชั้น
ประณีตก็มี
ปฏิสัมภิทา ๓ ให้ผลไม่แน่นอน อัตถปฏิสัมภิทาที่มีสภาวะชอบและให้ผล
แน่นอนก็มี ที่ไม่แน่นอนโดยอาการทั้งสองนั้นก็มี
นิรุตติปฏิสัมภิทา กล่าวไม่ได้ว่า มีมรรคเป็นอารมณ์ มีมรรคเป็นเหตุ หรือ
มีมรรคเป็นอธิบดี อัตถปฏิสัมภิทาไม่ใช่มีมรรคเป็นอารมณ์ ที่มีมรรคเป็นเหตุก็มี
ที่มีมรรคเป็นอธิบดีก็มี ที่กล่าวไม่ได้ว่า มีมรรคเป็นเหตุ หรือมีมรรคเป็นอธิบดีก็มี
ปฏิสัมภิทา ๒ ที่มีมรรคเป็นอารมณ์แต่ไม่ใช่มีมรรคเป็นเหตุก็มี ที่มีมรรคเป็น
อธิบดีก็มี ที่กล่าวไม่ได้ว่า มีมรรคเป็นอารมณ์ หรือมีมรรคเป็นอธิบดีก็มี
ปฏิสัมภิทา ๓ ที่เกิดขึ้นก็มี ที่ยังไม่เกิดขึ้นก็มี แต่กล่าวไม่ได้ว่า จักเกิดขึ้น
แน่นอน อัตถปฏิสัมภิทาที่เกิดขึ้นก็มี ที่ยังไม่เกิดขึ้นก็มี ที่จักเกิดขึ้นแน่นอนก็มี
ปฏิสัมภิทา ๔ ที่เป็นอดีตก็มี ที่เป็นอนาคตก็มี ที่เป็นปัจจุบันก็มี
นิรุตติปฏิสัมภิทามีปัจจุบันธรรมเป็นอารมณ์ ปฏิสัมภิทา ๒ ที่มีอดีตธรรม
เป็นอารมณ์ก็มี ที่มีอนาคตธรรมเป็นอารมณ์ก็มี ที่มีปัจจุบันธรรมเป็นอารมณ์ก็มี
อัตถปฏิสัมภิทาที่มีอดีตธรรมเป็นอารมณ์ก็มี ที่มีอนาคตธรรมเป็นอารมณ์ก็มี ที่มี
ปัจจุบันธรรมเป็นอารมณ์ก็มี ที่กล่าวไม่ได้ว่า มีอดีตธรรมเป็นอารมณ์ มีอนาคต-
ธรรมเป็นอารมณ์ หรือมีปัจจุบันธรรมเป็นอารมณ์ก็มี
ปฏิสัมภิทา ๔ ที่เป็นภายในตนก็มี ที่เป็นภายนอกตนก็มี ที่เป็นภายในตน
และภายนอกตนก็มี
นิรุตติปฏิสัมภิทามีธรรมภายนอกตนเป็นอารมณ์ ปฏิสัมภิทา ๓ ที่มีธรรม
ภายในตนเป็นอารมณ์ก็มี ที่มีธรรมภายนอกตนเป็นอารมณ์ก็มี ที่มีธรรมภายใน
ตนและภายนอกตนเป็นอารมณ์ก็มี
ปฏิสัมภิทา ๔ เห็นไม่ได้และกระทบไม่ได้


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๔๗๗ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๕.ปฏิสัมภิทาวิภังค์] ๓.ปัญหาปุจฉกะ ๒.ทุกมาติกาวิสัชนา
๒. ทุกมาติกาวิสัชนา
๑. เหตุโคจฉกวิสัชนา
[๗๕๐] ปฏิสัมภิทา ๔ เป็นเหตุ ปฏิสัมภิทา ๔ มีเหตุ
ปฏิสัมภิทา ๔ สัมปยุตด้วยเหตุ ปฏิสัมภิทา ๔ เป็นเหตุและมีเหตุ
ปฏิสัมภิทา ๔ เป็นเหตุและสัมปยุตด้วยเหตุ แต่กล่าวไม่ได้ว่า ไม่เป็นเหตุ
แต่มีเหตุ หรือไม่เป็นเหตุและไม่มีเหตุ

๒. จูฬันตรทุกวิสัชนา
ปฏิสัมภิทา ๔ มีปัจจัยปรุงแต่ง ปฏิสัมภิทา ๔ ถูกปัจจัยปรุงแต่ง
ปฏิสัมภิทา ๔ เห็นไม่ได้ ปฏิสัมภิทา ๔ กระทบไม่ได้
ปฏิสัมภิทา ๔ ไม่เป็นรูป ปฏิสัมภิทา ๓ เป็นโลกิยะ อัตถปฏิสัมภิทาที่
เป็นโลกิยะก็มี ที่เป็นโลกุตตระก็มี
ปฏิสัมภิทา ๔ จิตบางดวงรู้ได้ ปฏิสัมภิทา ๔ จิตบางดวงรู้ไม่ได้

๓. อาสวโคจฉกวิสัชนา
ปฏิสัมภิทา ๔ ไม่เป็นอาสวะ ปฏิสัมภิทา ๓ เป็นอารมณ์ของอาสวะ
อัตถปฏิสัมภิทาที่เป็นอารมณ์ของอาสวะก็มี ที่ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะก็มี
ปฏิสัมภิทา ๔ วิปปยุตจากอาสวะ ปฏิสัมภิทา ๓ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นอาสวะ
และเป็นอารมณ์ของอาสวะ หรือเป็นอารมณ์ของอาสวะแต่ไม่เป็นอาสวะ อัตถ-
ปฏิสัมภิทากล่าวไม่ได้ว่า เป็นอาสวะและเป็นอารมณ์ของอาสวะ ที่เป็นอารมณ์ของ
อาสวะแต่ไม่เป็นอาสวะก็มี ที่กล่าวไม่ได้ว่า เป็นอารมณ์ของอาสวะแต่ไม่เป็นอาสวะก็มี
ปฏิสัมภิทา ๔ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นอาสวะและสัมปยุตด้วยอาสวะ หรือสัมปยุต
ด้วยอาสวะแต่ไม่เป็นอาสวะ ปฏิสัมภิทา ๓ วิปปยุตจากอาสวะแต่เป็นอารมณ์ของ
อาสวะ อัตถปฏิสัมภิทาที่วิปปยุตจากอาสวะแต่เป็นอารมณ์ของอาสวะก็มี ที่วิปปยุต
จากอาสวะและไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะก็มี


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๔๗๘ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๕.ปฏิสัมภิทาวิภังค์] ๓.ปัญหาปุจฉกะ ๒.ทุกมาติกาวิสัชนา
๔-๑๒. สัญโญชนโคจฉกาทิวิสัชนา
ปฏิสัมภิทา ๔ ไม่เป็นสังโยชน์ ฯลฯ ไม่เป็นคันถะ ฯลฯ ไม่เป็นโอฆะ ฯลฯ
ไม่เป็นโยคะ ฯลฯ ไม่เป็นนิวรณ์ ฯลฯ ไม่เป็นปรามาส ฯลฯ
ปฏิสัมภิทา ๔ รับรู้อารมณ์ได้ ปฏิสัมภิทา ๔ ไม่เป็นจิต
ปฏิสัมภิทา ๔ เป็นเจตสิก ปฏิสัมภิทา ๔ สัมปยุตด้วยจิต
ปฏิสัมภิทา ๔ ระคนกับจิต ปฏิสัมภิทา ๔ มีจิตเป็นสมุฏฐาน
ปฏิสัมภิทา ๔ เกิดพร้อมกับจิต ปฏิสัมภิทา ๔ เป็นไปตามจิต
ปฏิสัมภิทา ๔ ระคนกับจิตและมีจิตเป็นสมุฏฐาน ปฏิสัมภิทา ๔ ระคนกับจิต
มีจิตเป็นสมุฏฐานและเกิดพร้อมกับจิต
ปฏิสัมภิทา ๔ ระคนกับจิตมีจิตเป็นสมุฏฐานและเป็นไปตามจิต ปฏิสัมภิทา ๔
เป็นภายนอก
ปฏิสัมภิทา ๔ ไม่เป็นอุปาทายรูป ปฏิสัมภิทา ๔ กรรมอันประกอบด้วย
ตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือ
ปฏิสัมภิทา ๔ ไม่เป็นอุปาทาน ฯลฯ ไม่เป็นกิเลส ฯลฯ

๑๓. ปิฏฐิทุกวิสัชนา
ปฏิสัมภิทา ๔ ไม่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรค ปฏิสัมภิทา ๔ ไม่
ต้องประหาณด้วยมรรคเบื้องบน ๓
ปฏิสัมภิทา ๔ ไม่มีเหตุต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรค ปฏิสัมภิทา ๔
ไม่มีเหตุต้องประหาณด้วยมรรคเบื้องบน ๓
ปฏิสัมภิทา ๓ มีวิตก อัตถปฏิสัมภิทาที่มีวิตกก็มี ที่ไม่มีวิตกก็มี ปฏิสัมภิทา
๓ มีวิจาร อัตถปฏิสัมภิทาที่มีวิจารก็มี ที่ไม่มีวิจารก็มี
ปฏิสัมภิทา ๔ ที่มีปีติก็มี ที่ไม่มีปีติก็มี ปฏิสัมภิทา ๔ ที่สหรคตด้วยปีติก็มี
ที่ไม่สหรคตด้วยปีติก็มี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๔๗๙ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๕.ปฏิสัมภิทาวิภังค์] ๓.ปัญหาปุจฉกะ ๒.ทุกมาติกาวิสัชนา
ปฏิสัมภิทา ๔ ที่สหรคตด้วยสุขก็มี ที่ไม่สหรคตด้วยสุขก็มี ปฏิสัมภิทา ๔
ที่สหรคตด้วยอุเบกขาก็มี ที่ไม่สหรคตด้วยอุเบกขาก็มี
ปฏิสัมภิทา ๓ เป็นกามาวจร อัตถปฏิสัมภิทาที่เป็นกามาวจรก็มี ที่ไม่เป็น
กามาวจร ไม่เป็นรูปาวจร และไม่เป็นอรูปาวจรก็มี ปฏิสัมภิทา ๓ นับเนื่องใน
วัฏฏทุกข์๑ อัตถปฏิสัมภิทาที่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ก็มี ที่ไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ก็มี
ปฏิสัมภิทา ๓ ไม่เป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ อัตถปฏิสัมภิทาที่เป็นเหตุ
นำออกจากวัฏฏทุกข์๒ ก็มี ที่ไม่เป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ก็มี ปฏิสัมภิทา ๓
ให้ผลไม่แน่นอน อัตถปฏิสัมภิทาที่ให้ผลแน่นอนก็มี ที่ให้ผลไม่แน่นอนก็มี
ปฏิสัมภิทา ๓ มีธรรมอื่นยิ่งกว่า อัตถปฏิสัมภิทาที่มีธรรมอื่นยิ่งกว่าก็มี ที่
ไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่าก็มี
ปฏิสัมภิทา ๔ ไม่เป็นเหตุให้สัตว์ร้องไห้ ฉะนี้แล

ปัญหาปุจฉกะ จบ

ปฏิสัมภิทาวิภังค์ จบบริบูรณ์

เชิงอรรถ :
๑ บาลีว่า ปริยาปนฺนา นับเนื่องในวัฏฏะที่เป็นไปในภูมิ ๓ คือ กามภูมิ รูปภูมิ และอรูปภูมิ (อภิ.สงฺ.อ.
๘๓-๑๐๐/๙๓-๙๘)
๒ บาลีว่า นิยฺยานิกา คือตัดมูลวัฏฏทุกข์และยึดนิพพานเป็นอารมณ์ นำออกจากวัฏฏทุกข์ (อภิ.สงฺ.อ.
๘๓-๑๐๐/๙๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๔๘๐ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๖. ญาณวิภังค์] ๑. เอกกมาติกา
๑๖. ญาณวิภังค์
๑. เอกกมาติกา
[๗๕๑] ญาณวัตถุหมวดละ ๑ คือ
(๑) วิญญาณ ๕ ไม่เป็นเหตุ ไม่มีเหตุ วิปปยุตจากเหตุ มีปัจจัยปรุงแต่ง
ถูกปัจจัยปรุงแต่ง ไม่เป็นรูป เป็นโลกิยะ เป็นอารมณ์ของอาสวะ เป็น
อารมณ์ของสังโยชน์ เป็นอารมณ์ของคันถะ เป็นอารมณ์ของโอฆะ เป็น
อารมณ์ของโยคะ เป็นอารมณ์ของนิวรณ์ เป็นอารมณ์ของปรามาส
เป็นอารมณ์ของอุปาทาน เป็นอารมณ์ของกิเลส เป็นอัพยากฤต รับรู้
อารมณ์ได้ ไม่เป็นเจตสิก เป็นวิบาก กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและ
ทิฏฐิยึดถือและเป็นอารมณ์ของอุปาทาน กิเลสไม่ทำให้เศร้าหมองแต่เป็น
อารมณ์ของกิเลส ไม่ใช่มีทั้งวิตกและวิจาร ไม่ใช่ไม่มีวิตกมีเพียงวิจาร ไม่
มีทั้งวิตกและวิจาร ไม่สหรคตด้วยปีติ ไม่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติ-
มรรคและมรรคเบื้องบน ๓ ไม่มีเหตุต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรค
และมรรคเบื้องบน ๓ ไม่เป็นเหตุให้ถึงปฏิสนธิ จุติ และนิพพาน ไม่เป็น
ของเสขบุคคลและอเสขบุคคล เป็นปริตตะ เป็นกามาวจร ไม่เป็นรูปาวจร
เป็นอรูปาวจร นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ ไม่ใช่ไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ ให้ผล
ไม่แน่นอน ไม่เป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ (๗๖๑)*
(๒) วิญญาณ ๕ มีวัตถุเกิดขึ้น มีอารมณ์เกิดขึ้น (๗๖๒)
(๓) วิญญาณ ๕ มีวัตถุเกิดก่อน มีอารมณ์เกิดก่อน (๗๖๒)
(๔) วิญญาณ ๕ มีวัตถุเป็นภายใน มีอารมณ์เป็นภายนอก (๗๖๒)
(๕) วิญญาณ ๕ มีวัตถุไม่แตกดับ มีอารมณ์ไม่แตกดับ (๗๖๒)
(๖) วิญญาณ ๕ มีวัตถุต่างกัน มีอารมณ์ต่างกัน (๗๖๒)
(๗) วิญญาณ ๕ ไม่เสวยอารมณ์ของกันและกัน (๗๖๓)
(๘) วิญญาณ ๕ ไม่เกิดขึ้นเพราะไม่ใส่ใจ (๗๖๔)
(๙) วิญญาณ ๕ ไม่เกิดขึ้นเพราะไม่มนสิการ (๗๖๔)

เชิงอรรถ :
* ตัวเลขในวงเล็บ หมายถึงข้อที่จะขยายในตอนว่าด้วยนิทเทส เช่น (๗๖๑) ก็จะอยู่ในหน้า ๔๙๖

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๔๘๑ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๖. ญาณวิภังค์] ๑. เอกกมาติกา
(๑๐) วิญญาณ ๕ ไม่เกิดขึ้นโดยไม่สับลำดับกัน (๗๖๔)
(๑๑) วิญญาณ ๕ ไม่เกิดขึ้นพร้อมกัน (๗๖๔)
(๑๒) วิญญาณ ๕ ไม่เกิดขึ้นในลำดับของกันและกัน (๗๖๕)
(๑๓) วิญญาณ ๕ ไม่มีความผูกใจ (๗๖๖)
(๑๔) บุคคลไม่รู้แจ้งธรรมอะไร ๆ ด้วยวิญญาณ ๕ เว้นแต่อารมณ์ที่ตกไป (๗๖๖)
(๑๕) บุคคลไม่รู้แจ้งธรรมอะไร ๆ แม้ต่อจากลำดับแห่งวิญญาณ ๕ (๗๖๖)
(๑๖) บุคคลไม่สำเร็จอิริยาบถอะไร ๆ ด้วยวิญญาณ ๕ (๗๖๖)
(๑๗) บุคคลไม่สำเร็จอิริยาบถอะไร ๆ แม้ต่อจากลำดับแห่งวิญญาณ ๕ (๗๖๖)
(๑๘) บุคคลไม่ประกอบกายกรรมและวจีกรรมด้วยวิญญาณ ๕ (๗๖๖)
(๑๙) บุคคลไม่ประกอบกายกรรมและวจีกรรมแม้ต่อจากลำดับแห่งวิญญาณ ๕
(๗๖๖)
(๒๐) บุคคลไม่สมาทานสภาวธรรมที่เป็นกุศลและอกุศลด้วยวิญญาณ ๕ (๗๖๖)
(๒๑) บุคคลไม่สมาทานสภาวธรรมที่เป็นกุศลและอกุศลแม้ต่อจากลำดับแห่ง
วิญญาณ ๕ (๗๖๖)
(๒๒) บุคคลไม่ได้เข้าสมาบัติ ไม่ได้ออกจากสมบัติด้วยวิญญาณ ๕ (๗๖๖)
(๒๓) บุคคลไม่ได้เข้าสมาบัติ ไม่ได้ออกจากสมาบัติ แม้ต่อจากลำดับแห่ง
วิญญาณ ๕ (๗๖๖)
(๒๔) บุคคลไม่จุติ ไม่ปฏิสนธิด้วยวิญญาณ ๕ (๗๖๖)
(๒๕) บุคคลไม่จุติ ไม่ปฏิสนธิ แม้ต่อจากลำดับแห่งวิญญาณ ๕ (๗๖๖)
(๒๖) บุคคลไม่หลับ ไม่ตื่น ไม่ฝัน ด้วยวิญญาณ ๕ (๗๖๖)
(๒๗) บุคคลไม่หลับ ไม่ตื่น ไม่ฝัน แม้ต่อจากลำดับแห่งวิญญาณ ๕ (๗๖๖)
ปัญญาแสดงเรื่องของวิญญาณ ๕ ตามที่เป็นจริง ญาณวัตถุหมวดละ ๑ มี
ด้วยประการฉะนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๔๘๒ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๖.ญาณวิภังค์] ๒.ทุกมาติกา
๒. ทุกมาติกา
[๗๕๒] ญาณวัตถุหมวดละ ๒ คือ
(๑) โลกิยปัญญา โลกุตตรปัญญา (๗๖๗)
(๒) เกนจิวิญเญยยปัญญา นเกนจิวิญเญยยปัญญา (๗๖๗)
(๓) อาสวปัญญา อนาสวปัญญา (๗๖๗)
(๔) อาสววิปปยุตตสาสวปัญญา อาสววิปปยุตตอนาสวปัญญา (๗๖๗)
(๕) สัญโญชนิยปัญญา อสัญโญชนิยปัญญา (๗๖๗)
(๖) สัญโญชนวิปปยุตตสัญโญชนิยปัญญา สัญโญชนวิปปยุตตอสัญโญชนิย-
ปัญญา (๗๖๗)
(๗) คันถนิยปัญญา อคันถนิยปัญญา (๗๖๗)
(๘) คันถวิปปยุตตคันถนิยปัญญา คันถวิปปยุตตอคันถนิยปัญญา (๗๖๗)
(๙) โอฆนิยปัญญา อโนฆนิยปัญญา (๗๖๗)
(๑๐) โอฆวิปปยุตตโอฆนิยปัญญา โอฆวิปปยุตตอโนฆนิยปัญญา (๗๖๗)
(๑๑) โยคนิยปัญญา อโยคนิยปัญญา (๗๖๗)
(๑๒) โยควิปปยุตตโยคนิยปัญญา โยควิปปยุตตอโยคนิยปัญญา (๗๖๗)
(๑๓) นีวรณิยปัญญา อนีวรณิยปัญญา (๗๖๗)
(๑๔) นีวรณวิปปยุตตนีวรณิยปัญญา นีวรณวิปปยุตตอนีวรณิยปัญญา (๗๖๗)
(๑๕) ปรามัฏฐปัญญา อปรามัฏฐปัญญา (๗๖๗)
(๑๖) ปรามาสวิปปยุตตปรามัฏฐปัญญา ปรามาสวิปปยุตตอปรามัฏฐปัญญา
(๗๖๗)
(๑๗) อุปาทินนปัญญา อนุปาทินนปัญญา (๗๖๗)
(๑๘) อุปาทานิยปัญญา อนุปาทานิยปัญญา (๗๖๗)
(๑๙) อุปาทานวิปปยุตตอุปาทานิยปัญญา อุปาทานวิปปยุตตอนุปาทานิย-
ปัญญา (๗๖๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๔๘๓ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๖.ญาณวิภังค์] ๓.ติกมาติกา
(๒๐) สังกิเลสิกปัญญา อสังกิเลสิกปัญญา (๗๖๗)
(๒๑) กิเลสวิปปยุตตสังกิเลสิกปัญญา กิเลสวิปปยุตตอสังกิเลสิกปัญญา (๗๖๗)

(๒๒) สวิตักกปัญญา อวิตักกปัญญา (๗๖๗)
(๒๓) สวิจารปัญญา อวิจารปัญญา (๗๖๗)
(๒๔) สัปปีติกปัญญา อัปปีติกปัญญา (๗๖๗)
(๒๕) ปีติสหคตปัญญา นปีติสหคตปัญญา (๗๖๗)
(๒๖) สุขสหคตปัญญา นสุขสหคตปัญญา (๗๖๗)
(๒๗) อุเปกขาสหคตปัญญา นอุเปกขาสหคตปัญญา (๗๖๗)
(๒๘) กามาวจรปัญญา นกามาวจรปัญญา (๗๖๗)
(๒๙) รูปาวจรปัญญา นรูปาวจรปัญญา (๗๖๗)
(๓๐) อรูปาวจรปัญญา นอรูปาวจรปัญญา (๗๖๗)
(๓๑) ปริยาปันนปัญญา อปริยาปันนปัญญา (๗๖๗)
(๓๒) นิยยานิกปัญญา อนิยยานิกปัญญา (๗๖๗)
(๓๓) นิยตปัญญา อนิยตปัญญา (๗๖๗)
(๓๔) สอุตตรปัญญา อนุตตรปัญญา (๗๖๗)
(๓๕) อัตถชาปิกปัญญา ชาปิตัตถปัญญา (๗๖๗)

ญาณวัตถุหมวดละ ๒ มีด้วยประการฉะนี้

๓. ติกมาติกา
[๗๕๓] ญาณวัตถุหมวดละ ๓ คือ

(๑) จินตามยปัญญา สุตมยปัญญา ภาวนามยปัญญา (๗๖๘)
(๒) ทานมยปัญญา สีลมยปัญญา ภาวนามยปัญญา (๗๖๙)
(๓) อธิสีลปัญญา อธิจิตตปัญญา อธิปัญญปัญญา (๗๗๐)


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๔๘๔ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๖.ญาณวิภังค์] ๓.ติกมาติกา
(๔) อายโกศล (ความเป็นผู้ฉลาดในความเจริญ) อปายโกศล (ความเป็นผู้
ฉลาดในความเสื่อม) อุปายโกศล ( ความเป็นผู้ฉลาดในอุบาย) (๗๗๑)
(๕) วิปากปัญญา วิปากธัมมธัมมปัญญา เนววิปากนวิปากธัมมธัมม-
ปัญญา (๗๗๒)
(๖) อุปาทินนุปาทานิยปัญญา อนุปาทินนุปาทานิยปัญญา อนุปาทินน-
อนุปาทานิยปัญญา (๗๗๓)
(๗) สวิตักกสวิจารปัญญา อวิตักกวิจารมัตตปัญญา อวิตักกอวิจารปัญญา
(๗๗๔)
(๘) ปีติสหคตปัญญา สุขสหคตปัญญา อุเปกขาสหคตปัญญา (๗๗๕)
(๙) อาจยคามินีปัญญา อปจยคามินีปัญญา เนวาจยคามินาปจยคามินี-
ปัญญา (๗๗๖)
(๑๐) เสกขปัญญา อเสกขปัญญา เนวเสกขนาเสกขปัญญา (๗๗๗)
(๑๑) ปริตตปัญญา มหัคคตปัญญา อัปปมาณปัญญา (๗๗๘)
(๑๒) ปริตตารัมมณปัญญา (๗๗๙) มหัคคตารัมมณปัญญา (๗๘๐)
อัปปมาณารัมมณปัญญา (๗๘๑)
(๑๓) มัคคารัมมณปัญญา มัคคเหตุกปัญญา (๗๘๒) มัคคาธิปตินีปัญญา
(๗๘๓)
(๑๔) อุปปันนปัญญา อนุปปันนปัญญา อุปปาทินีปัญญา (๗๘๔)
(๑๕) อตีตปัญญา อนาคตปัญญา ปัจจุปปันนปัญญา (๗๘๕)
(๑๖) อตีตารัมมณปัญญา (๗๘๖) อนาคตารัมมณปัญญา (๗๘๗)
ปัจจุปปันนารัมมณปัญญา (๗๘๘)
(๑๗) อัชฌัตตปัญญา พหิทธปัญญา อัชฌัตตพหิทธปัญญา (๗๘๙)
(๑๘) อัชฌัตตารัมมณปัญญา พหิทธารัมมณปัญญา อัชฌัตตพหิทธา-
รัมมณปัญญา (๗๙๐)
(๑๙) สวิตักกสวิจารปัญญาที่เป็นวิบากก็มี ที่เป็นเหตุให้เกิดวิบากก็มี ที่ไม่
เป็นวิบากและไม่เป็นเหตุให้เกิดวิบากก็มี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๔๘๕ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๖.ญาณวิภังค์] ๓.ติกมาติกา
(๒๐) สวิตักกสวิจารปัญญาที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือและ
เป็นอารมณ์ของอุปาทานก็มี ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิ
ไม่ยึดถือแต่เป็นอารมณ์ของอุปาทานก็มี ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหา
และทิฏฐิไม่ยึดถือและไม่เป็นอารมณ์ของอุปาทานก็มี
(๒๑) สวิตักกสวิจารปัญญาที่สหรคตด้วยปีติก็มี ที่สหรคตด้วยสุขก็มี ที่
สหรคตด้วยอุเบกขาก็มี
(๒๒) สวิตักกสวิจารปัญญาที่เป็นเหตุให้ถึงปฏิสนธิและจุติก็มี ที่เป็นเหตุให้ถึง
นิพพานก็มี ที่ไม่เป็นเหตุให้ถึงปฏิสนธิ จุติ และนิพพานก็มี
(๒๓) สวิตักกสวิจารปัญญาที่เป็นของเสขบุคคลก็มี ที่เป็นของอเสขบุคคลก็มี
ที่ไม่เป็นของเสขบุคคลและอเสขบุคคลก็มี
(๒๔) สวิตักกสวิจารปัญญาที่เป็นปริตตะก็มี ที่เป็นมหัคคตะก็มี ที่เป็น
อัปปมาณะก็มี
(๒๕) สวิตักกสวิจารปัญญาที่มีปริตตะเป็นอารมณ์ก็มี ที่มีมหัคคตะเป็น
อารมณ์ก็มี ที่มีอัปปมาณะเป็นอารมณ์ก็มี
(๒๖) สวิตักกสวิจารปัญญาที่มีมรรคเป็นอารมณ์ก็มี ที่มีมรรคเป็นเหตุก็มี
ที่มีมรรคเป็นอธิบดีก็มี
(๒๗) สวิตักกสวิจารปัญญาที่เกิดขึ้นก็มี ที่ยังไม่เกิดขึ้นก็มี ที่จักเกิดขึ้นแน่
นอนก็มี
(๒๘) สวิตักกสวิจารปัญญาที่เป็นอดีตก็มี ที่เป็นอนาคตก็มี ที่เป็นปัจจุบันก็มี
(๒๙) สวิตักกสวิจารปัญญาที่มีอดีตธรรมเป็นอารมณ์ก็มี ที่มีอนาคตธรรม
เป็นอารมณ์ก็มี ที่มีปัจจุบันธรรมเป็นอารมณ์ก็มี
(๓๐) สวิตักกสวิจารปัญญาที่เป็นภายในตนก็มี ที่เป็นภายนอกตนก็มี ที่เป็น
ภายในตนและภายนอกตนก็มี
(๓๑) สวิตักกสวิจารปัญญาที่มีธรรมภายในตนเป็นอารมณ์ก็มี ที่มีธรรม
ภายนอกตนเป็นอารมณ์ก็มี ที่มีธรรมภายในตนและภายนอกตนเป็น
อารมณ์ก็มี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๔๘๖ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๖.ญาณวิภังค์] ๓.ติกมาติกา
(๓๒) อวิตักกวิจารมัตตปัญญาที่เป็นวิบากก็มี ที่เป็นเหตุให้เกิดวิบากก็มี ที่
ไม่เป็นวิบากและไม่เป็นเหตุให้เกิดวิบากก็มี
(๓๓) อวิตักกวิจารมัตตปัญญาที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือ
และเป็นอารมณ์ของอุปาทานก็มี ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและ
ทิฏฐิไม่ยึดถือแต่เป็นอารมณ์ของอุปาทานก็มี ที่กรรมอันประกอบด้วย
ตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือและไม่เป็นอารมณ์ของอุปาทานก็มี
(๓๔) อวิตักกวิจารมัตตปัญญาที่เป็นเหตุให้ถึงปฏิสนธิและจุติก็มี ที่เป็นเหตุ
ให้ถึงนิพพานก็มี ที่ไม่เป็นเหตุให้ถึงปฏิสนธิ จุติ และนิพพานก็มี
(๓๕) อวิตักกวิจารมัตตปัญญาที่เป็นของเสขบุคคลก็มี ที่เป็นของอเสขบุคคล
ก็มี ที่ไม่เป็นของเสขบุคคลและอเสขบุคคลก็มี
(๓๖) อวิตักกวิจารมัตตปัญญาที่เกิดขึ้นก็มี ที่ยังไม่เกิดขึ้นก็มี ที่จักเกิดขึ้น
แน่นอนก็มี
(๓๗) อวิตักกวิจารมัตตปัญญาที่เป็นอดีตก็มี ที่เป็นอนาคตก็มี ที่เป็นปัจจุบันก็มี
(๓๘) อวิตักกวิจารมัตตปัญญาที่เป็นภายในตนก็มี ที่เป็นภายนอกตนก็มี ที่
เป็นภายในตนและภายนอกตนก็มี
(๓๙) อวิตักกวิจารมัตตปัญญาที่เป็นวิบากก็มี ที่เป็นเหตุให้เกิดวิบากก็มี ที่
ไม่เป็นวิบากและไม่เป็นเหตุให้เกิดวิบากก็มี
(๔๐) อวิตักกอวิจารปัญญาที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือและ
เป็นอารมณ์ของอุปาทานก็มี ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิ
ไม่ยึดถือ แต่เป็นอารมณ์ของอุปาทานก็มี ที่กรรมอันประกอบด้วย
ตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือและไม่เป็นอารมณ์ของอุปาทานก็มี
(๔๑) อวิตักกอวิจารปัญญาที่สหรคตด้วยปีติก็มี ที่สหรคตด้วยสุขก็มี ที่
สหรคตด้วยอุเบกขาก็มี
(๔๒) อวิตักกอวิจารปัญญาที่เป็นเหตุให้ถึงปฏิสนธิและจุติก็มี ที่เป็นเหตุให้ถึง
นิพพานก็มี ที่ไม่เป็นเหตุให้ถึงปฏิสนธิ จุติ และนิพพานก็มี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๔๘๗ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๖.ญาณวิภังค์] ๓.ติกมาติกา
(๔๓) อวิตักกอวิจารปัญญาที่เป็นของเสขบุคคลก็มี ที่เป็นของอเสขบุคคลก็มี
ที่ไม่เป็นของเสขบุคคลและอเสขบุคคลก็มี
(๔๔) อวิตักกอวิจารปัญญาที่มีปริตตะเป็นอารมณ์ก็มี ที่มีมหัคคตะเป็น
อารมณ์ก็มี ที่มีอัปปมาณะเป็นอารมณ์ก็มี
(๔๕) อวิตักกอวิจารปัญญาที่มีมรรคเป็นอารมณ์ก็มี ที่มีมรรคเป็นเหตุก็มี
ที่มีมรรคเป็นอธิบดีก็มี
(๔๖) อวิตักกอวิจารปัญญาที่เกิดขึ้นก็มี ที่ยังไม่เกิดขึ้นก็มี ที่จักเกิดขึ้นแน่
นอนก็มี
(๔๗) อวิตักกอวิจารปัญญาที่เป็นอดีตก็มี ที่เป็นอนาคตก็มี ที่เป็นปัจจุบันก็มี
(๔๘) อวิตักกอวิจารปัญญาที่มีอดีตธรรมเป็นอารมณ์ก็มี ที่มีอนาคตธรรม
เป็นอารมณ์ก็มี ที่มีปัจจุบันธรรมเป็นอารมณ์ก็มี
(๔๙) อวิตักกอวิจารปัญญาที่เป็นภายในตนก็มี ที่เป็นภายนอกตนก็มี ที่เป็น
ภายในตนและภายนอกตนก็มี
(๕๐) อวิตักกอวิจารปัญญาที่มีธรรมภายในตนเป็นอารมณ์ก็มี ที่มีธรรมภาย
นอกตนเป็นอารมณ์ก็มี ที่มีธรรมภายในตนและภายนอกตนเป็น
อารมณ์ก็มี
(๕๑) ปีติสหคตปัญญา สุขสหคตปัญญาที่เป็นวิบากก็มี ที่เป็นเหตุให้เกิด
วิบากก็มี ที่ไม่เป็นวิบากและไม่เป็นเหตุให้เกิดวิบากก็มี
(๕๒) ปีติสหคตปัญญา สุขสหคตปัญญาที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและ
ทิฏฐิยึดถือและเป็นอารมณ์ของอุปาทานก็มี ที่กรรมอันประกอบด้วย
ตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือแต่เป็นอารมณ์ของอุปาทานก็มี ที่กรรมอัน
ประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือและไม่เป็นอารมณ์ของอุปาทานก็มี
(๕๓) ปีติสหคตปัญญา สุขสหคตปัญญาที่มีทั้งวิตกและวิจารก็มี ที่ไม่มีวิตก
มีเพียงวิจารก็มี ที่ไม่มีทั้งวิตกและวิจารก็มี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๔๘๘ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๖.ญาณวิภังค์] ๓.ติกมาติกา
(๕๔) ปีติสหคตปัญญา สุขสหคตปัญญาที่เป็นเหตุให้ถึงปฏิสนธิและจุติก็มี
ที่เป็นเหตุให้ถึงนิพพานก็มี ที่ไม่เป็นเหตุให้ถึงปฏิสนธิ จุติ และนิพพาน
ก็มี
(๕๕) ปีติสหคตปัญญา สุขสหคตปัญญาที่เป็นของเสขบุคคลก็มี ที่เป็นของ
อเสขบุคคลก็มี ที่ไม่เป็นเสขบุคคลและอเสขบุคคลก็มี
(๕๖) ปีติสหคตปัญญา สุขสหคตปัญญาที่เป็นปริตตะก็มี ที่เป็นมหัคคตะ
ก็มี ที่เป็นอัปปมาณะก็มี
(๕๗) ปีติสหคตปัญญา สุขสหคตปัญญาที่มีปริตตะเป็นอารมณ์ก็มี ที่มี
มหัคคตะเป็นอารมณ์ก็มี ที่มีอัปปมาณะเป็นอารมณ์ก็มี
(๕๘) ปีติสหคตปัญญา สุขสหคตปัญญาที่มีมรรคเป็นอารมณ์ก็มี ที่มีมรรค
เป็นเหตุก็มี ที่มีมรรคเป็นอธิบดีก็มี
(๕๙) ปีติสหคตปัญญา สุขสหคตปัญญาที่เกิดขึ้นก็มี ที่ยังไม่เกิดขึ้นก็มี ที่
จักเกิดขึ้นแน่นอนก็มี
(๖๐) ปีติสหคตปัญญา สุขสหคตปัญญาที่เป็นอดีตก็มี ที่เป็นอนาคตก็มี
ที่เป็นปัจจุบันก็มี
(๖๑) ปีติสหคตปัญญา สุขสหคตปัญญาที่มีอดีตธรรมเป็นอารมณ์ก็มี ที่มี
อนาคตธรรมเป็นอารมณ์ก็มี ที่มีปัจจุบันธรรมเป็นอารมณ์ก็มี
(๖๒) ปีติสหคตปัญญา สุขสหคตปัญญาที่เป็นภายในตนก็มี ที่เป็นภายนอก
ตนก็มี ที่เป็นภายในตนและภายนอกตนก็มี
(๖๓) ปีติสหคตปัญญา สุขสหคตปัญญาที่มีธรรมภายในตนเป็นอารมณ์ก็มี
ที่มีธรรมภายนอกตนเป็นอารมณ์ก็มี ที่มีธรรมภายในตนและภายนอก
ตนเป็นอารมณ์ก็มี
(๖๔) อุเปกขาสหคตปัญญาที่เป็นวิบากก็มี ที่เป็นเหตุให้เกิดวิบากก็มี ที่ไม่
เป็นวิบากและไม่เป็นเหตุให้เกิดวิบากก็มี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๔๘๙ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๖.ญาณวิภังค์] ๓.ติกมาติกา
(๖๕) อุเปกขาสหคตปัญญาที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือ
และเป็นอารมณ์ของอุปาทานก็มี ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและ
ทิฏฐิไม่ยึดถือแต่เป็นอารมณ์ของอุปาทานก็มี ที่กรรมอันประกอบด้วย
ตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือและไม่เป็นอารมณ์ของอุปาทานก็มี
(๖๖) อุเปกขาสหคตปัญญาที่เป็นเหตุให้ถึงปฏิสนธิและจุติก็มี ที่เป็นเหตุให้ถึง
นิพพานก็มี ที่ไม่เป็นเหตุให้ถึงปฏิสนธิ จุติ และนิพพานก็มี
(๖๗) อุเปกขาสหคตปัญญาที่เป็นของเสขบุคคลก็มี ที่เป็นของอเสขบุคคลก็มี
ที่ไม่เป็นของเสขบุคคลและอเสขบุคคลก็มี
(๖๘) อุเปกขาสหคตปัญญาที่เป็นปริตตะก็มี ที่เป็นมหัคคตะก็มี ที่เป็น
อัปปมาณะก็มี
(๖๙) อุเปกขาสหคตปัญญาที่มีปริตตะเป็นอารมณ์ก็มี ที่มีมหัคคตะเป็น
อารมณ์ก็มี ที่มีอัปปมาณะเป็นอารมณ์ก็มี
(๗๐) อุเปกขาสหคตปัญญาที่มีมรรคเป็นอารมณ์ก็มี ที่มีมรรคเป็นเหตุก็มี
ที่มีมรรคเป็นอธิบดีก็มี
(๗๑) อุเปกขาสหคตปัญญาที่เกิดขึ้นก็มี ที่ยังไม่เกิดขึ้นก็มี ที่จักเกิดขึ้นแน่
นอนก็มี
(๗๒) อุเปกขาสหคตปัญญาที่เป็นอดีตก็มี ที่เป็นอนาคตก็มี ที่เป็นปัจจุบันก็มี
(๗๓) อุเปกขาสหคตปัญญาที่มีอดีตธรรมเป็นอารมณ์ก็มี ที่มีอนาคตธรรม
เป็นอารมณ์ก็มี ที่มีปัจจุบันธรรมเป็นอารมณ์ก็มี
(๗๔) อุเปกขาสหคตปัญญาที่เป็นภายในตนก็มี ที่เป็นภายนอกตนก็มี ที่เป็น
ภายในตนและภายนอกตนก็มี
(๗๕) อุเปกขาสหคตปัญญาที่มีธรรมภายในตนเป็นอารมณ์ก็มี ที่มีธรรม
ภายนอกตนเป็นอารมณ์ก็มี ที่มีธรรมภายในตนและภายนอกตนเป็น
อารมณ์ก็มี
ญาณวัตถุหมวดละ ๓ มีด้วยประการฉะนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๔๙๐ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๖.ญาณวิภังค์] ๔.จตุกกมาติกา
๔. จตุกกมาติกา
[๗๕๔] ญาณวัตถุหมวดละ ๔ คือ
(๑) กัมมัสสกตาญาณ สัจจานุโลมิกญาณ มัคคสมังคิญาณ ผลสมังคิ-
ญาณ (๗๙๓)
(๒) ทุกขญาณ ทุกขสมุทยญาณ ทุกขนิโรธญาณ ทุกขนิโรธคามินี-
ปฏิปทาญาณ (๗๙๔)
(๓) กามาวจรปัญญา รูปาวจรปัญญา อรูปาวจรปัญญา อปริยาปันน-
ปัญญา (๗๙๕)
(๔) ธัมมญาณ อันวยญาณ ปริจจญาณ สัมมติญาณ (๗๙๖)
(๕) ธัมมญาณ อันวยญาณ ปริจจญาณ สัมมติญาณที่เป็นอาจยโนอปจย-
ปัญญาก็มี ที่เป็นอปจยโนอาจยปัญญาก็มี ที่เป็นอาจยอปจยปัญญา
ก็มี ที่เป็นเนวาจยโนอปจยปัญญา (๗๙๗)
(๖) ธัมมญาณ อันวยญาณ ปริจจญาณ สัมมติญาณที่เป็นอาจยโนอปจย-
ปัญญาก็มี ที่เป็นอปจยโนอปจยปัญญาก็มี ที่เป็นอาจยอปจยปัญญา
ก็มี ที่เป็นเนวาจยโนอปจยปัญญาก็มี ที่เป็นนิพพิทาโนปฏิเวธปัญญา
ก็มี ที่เป็นปฏิเวธโนนิพพิทาปัญญาก็มี ที่เป็นนิพพิทาปฏิเวธปัญญา
เนวนิพพิทาโนปฏิเวธปัญญาก็มี (๗๙๘)
(๗) หานภาคินีปัญญา ฐิติภาคินีปัญญา วิเสสภาคินีปัญญา นิพเพธ-
ภาคินีปัญญา (๗๙๙)
(๘) ปฏิสัมภิทา ๔ (๘๐๐)
(๙) ปฏิปทา ๔ (๘๐๑)
(๑๐) อารมณ์ ๔ (๘๐๒)
(๑๑) ความรู้ในชรามรณะ ความรู้ในชรามรณสมุทัย ความรู้ในชรามรณนิโรธ
ความรู้ในชรามรณนิโรธคามินีปฏิปทา (๘๐๒)
(๑๒) ความรู้ในชาติ ฯลฯ (๘๐๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๔๙๑ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๖.ญาณวิภังค์] ๖. ฉักกมาติกา
(๑๓) ความรู้ในภพ ฯลฯ (๘๐๓)
(๑๔) ความรู้ในอุปาทาน ฯลฯ (๘๐๓)
(๑๕) ความรู้ในตัณหา ฯลฯ (๘๐๓)
(๑๖) ความรู้ในเวทนา ฯลฯ (๘๐๓)
(๑๗) ความรู้ในผัสสะ ฯลฯ (๘๐๓)
(๑๘) ความรู้ในสฬายตนะ ฯลฯ (๘๐๓)
(๑๙) ความรู้ในนามรูป ฯลฯ (๘๐๓)
(๒๐) ความรู้ในวิญญาณ ฯลฯ (๘๐๓)
(๒๑) ความรู้ในสังขาร (๘๐๓)
(๒๒) ความรู้ในสังขารสมุทัย (๘๐๓)
(๒๓) ความรู้ในสังขารนิโรธ (๘๐๓)
(๒๔) ความรู้ในสังขารนิโรธคามินีปฏิปทา (๘๐๓)
ญาณวัตถุหมวดละ ๔ มีด้วยประการฉะนี้

๕. ปัญจกมาติกา
[๗๕๕] ญาณวัตถุหมวดละ ๕ คือ
(๑) สัมมาสมาธิมีองค์ ๕ (๘๐๔)
(๒) สัมมาสมาธิมีญาณ ๕ (๘๐๔)
ญาณวัตถุหมวดละ ๕ มีด้วยประการฉะนี้

๖. ฉักกมาติกา
[๗๕๖] ญาณวัตถุหมวดละ ๖ คือ
(๑) ปัญญาในอภิญญา ๖ (๘๐๕)
ญาณวัตถุหมวดละ ๖ มีด้วยประการฉะนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๔๙๒ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๖.ญาณวิภังค์] ๑๐.ทสกมาติกา
๗. สัตตกมาติกา
[๗๕๗] ญาณวัตถุหมวดละ ๗ คือ
(๑) ญาณวัตถุ ๗๗ (๘๐๖)
ญาณวัตถุหมวดละ ๗ มีด้วยประการฉะนี้

๘. อัฏฐกมาติกา
[๗๕๘] ญาณวัตถุหมวดละ ๘ คือ
(๑) ปัญญาในมรรค ๔ ผล ๔ (๘๐๗)
ญาณวัตถุหมวดละ ๘ มีด้วยประการฉะนี้

๙. นวกมาติกา
[๗๕๙] ญาณวัตถุหมวดละ ๙ คือ
(๑) ปัญญาในอนุปุพพวิหารสมาบัติ ๙ (๘๐๘)
ญาณวัตถุหมวดละ ๙ มีด้วยประการฉะนี้

๑๐. ทสกมาติกา
[๗๖๐] ญาณวัตถุหมวดละ ๑๐ คือ
พระตถาคตทรงประกอบด้วยกำลังเหล่าใด จึงทรงปฏิญาณฐานะอันประเสริฐ
บันลือสีหนาทในบริษัท ประกาศพรหมจักร กำลังเหล่านี้ชื่อว่ากำลัง ๑๐ ของ
พระตถาคต
กำลัง ๑๐ เป็นไฉน
กำลัง ๑๐ คือ
๑. พระตถาคตในโลกนี้ทรงทราบธรรมที่เป็นฐานะโดยความเป็นฐานะและ
ธรรมที่ไม่เป็นฐานะโดยความไม่เป็นฐานะตามความเป็นจริง แม้ข้อที่พระ
องค์ทรงทราบธรรมที่เป็นฐานะโดยความเป็นฐานะและธรรมที่ไม่เป็นฐานะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๔๙๓ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๖.ญาณวิภังค์] ๑๐.ทสกมาติกา
โดยความไม่เป็นฐานะตามความเป็นจริง นี้ก็เป็นกำลังของพระตถาคต
ซึ่งพระองค์ทรงอาศัยแล้วจึงปฏิญาณฐานะอันประเสริฐ บันลือสีหนาทใน
บริษัท ประกาศพรหมจักร (๘๐๙)
๒. พระตถาคตทรงทราบวิบากของกัมมสมาทานที่เป็นอดีต อนาคต และ
ปัจจุบันตามความเป็นจริงโดยฐานะ โดยเหตุ แม้ข้อที่พระองค์ทรงทราบ
วิบากของกัมมสมาทานที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบันตามความเป็น
จริงโดยฐานะ โดยเหตุ นี้ก็เป็นกำลังของพระตถาคต ซึ่งพระองค์ทรง
อาศัยแล้วจึงปฏิญาณฐานะอันประเสริฐ บันลือสีหนาทในบริษัท ประกาศ
พรหมจักร (๘๑๐)
๓. พระตถาคตทรงทราบทางไปสู่ภูมิทั้งปวงตามความเป็นจริง แม้ข้อที่พระ
องค์ทรงทราบทางไปสู่ภูมิทั้งปวงตามความเป็นจริง นี้ก็เป็นกำลังของ
พระตถาคต ซึ่งพระองค์ทรงอาศัยแล้วจึงปฏิญาณฐานะอันประเสริฐ
บันลือสีหนาทในบริษัท ประกาศพรหมจักร (๘๑๑)
๔. พระตถาคตทรงทราบโลก๑ ที่เป็นอเนกธาตุ๒ และนานาธาตุ๓ ตามความ
เป็นจริง แม้ข้อที่พระองค์ทรงทราบโลกที่เป็นอเนกธาตุและนานาธาตุตาม
ความเป็นจริง นี้ก็เป็นกำลังของพระตถาคต ซึ่งพระองค์ทรงอาศัยแล้ว
จึงปฏิญาณฐานะอันประเสริฐ บันลือสีหนาทในบริษัท ประกาศพรหม-
จักร (๘๑๒)
๕. พระตถาคตทรงทราบความที่สัตว์ทั้งหลายมีอัธยาศัยต่าง ๆ กันตามความ
เป็นจริง แม้ข้อที่พระองค์ทรงทราบความที่สัตว์ทั้งหลายมีอัธยาศัยต่าง ๆ
กันตามความเป็นจริง นี้ก็เป็นกำลังของพระตถาคต ซึ่งพระองค์ทรง
อาศัยแล้วจึงปฏิญาณฐานะอันประเสริฐ บันลือสีหนาทในบริษัท ประกาศ
พรหมจักร (๘๑๓)

เชิงอรรถ :
๑ โลก ในที่นี้หมายถึงขันธายตนโลกธาตุ (อภิ.วิ.อ. ๗๖๐/๔๒๙)
๒ อเนกธาตุ คือธาตุจำนวนมากด้วยจักขุธาตุหรือกามธาตุเป็นต้น (อภิ.วิ.อ. ๗๖๐/๔๒๙)
๓ นานาธาตุ คือธาตุหลายประการ เพราะธาตุเหล่านั้นมีลักษณะต่าง ๆ กัน (อภิ.วิ.อ. ๗๖๐/๔๒๙)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๔๙๔ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๖.ญาณวิภังค์] ๑๐.ทสกมาติกา
๖. พระตถาคตทรงทราบความแก่กล้าและไม่แก่กล้าแห่งอินทรีย์ของสัตว์และ
บุคคลเหล่าอื่นตามความเป็นจริง แม้ข้อที่พระองค์ทรงทราบความแก่กล้า
และไม่แก่กล้าแห่งอินทรีย์ของสัตว์และบุคคลเหล่าอื่น๑ ตามความ เป็นจริง
นี้ก็เป็นกำลังของพระตถาคต ซึ่งพระองค์ทรงอาศัยแล้วจึงปฏิญาณฐานะ
อันประเสริฐ บันลือสีหนาทในบริษัท ประกาศพรหมจักร (๖)
๗. พระตถาคตทรงทราบความเศร้าหมอง ความผ่องแผ้ว ความออกจาก
ฌาน วิโมกข์ สมาธิ สมาบัติ และการออกจากฌานเป็นต้นตามความเป็น
จริง แม้ข้อที่พระองค์ทรงทราบความเศร้าหมอง ความผ่องแผ้ว ความ
ออกจากฌาน วิโมกข์ สมาธิ สมาบัติ และการออกจากฌานเป็นต้น
ตามความเป็นจริง นี้ก็เป็นกำลังของพระตถาคต ซึ่งพระองค์ทรงอาศัย
แล้วจึงปฏิญาณฐานะอันประเสริฐ บันลือสีหนาทในบริษัท ประกาศ
พรหมจักร (๗)
๘. พระตถาคตทรงทราบการระลึกชาติในหนหลังได้ตามความเป็นจริง แม้
ข้อที่พระองค์ทรงทราบการระลึกชาติในหนหลังได้ตามความเป็นจริง นี้ก็
เป็นกำลังของพระตถาคต ซึ่งพระองค์ทรงอาศัยแล้วจึงปฏิญาณฐานะอัน
ประเสริฐ บันลือสีหนาทในบริษัท ประกาศพรหมจักร (๘)
๙. พระตถาคตทรงทราบความจุติและอุบัติของสัตว์ทั้งหลายตามความเป็นจริง
แม้ข้อที่พระองค์ทรงทราบความจุติและอุบัติของสัตว์ทั้งหลายตามความเป็น
จริง นี้ก็เป็นกำลังของพระตถาคต ซึ่งพระองค์ทรงอาศัยแล้วจึงปฏิญาณ
ฐานะอันประเสริฐ บันลือสีหนาทในบริษัท ประกาศพรหมจักร (๙)
๑๐. พระตถาคตทรงทราบความสิ้นอาสวะตามความเป็นจริง แม้ข้อที่พระองค์
ทรงทราบความสิ้นอาสวะตามความเป็นจริง นี้ก็เป็นกำลังของพระตถาคต
ซึ่งพระองค์ทรงอาศัยแล้วจึงปฏิญาณฐานะอันประเสริฐ บันลือสีหนาทใน
บริษัท ประกาศพรหมจักร (๑๐)

เชิงอรรถ :
๑ อภิ.วิ.อ. ๗๖๐/๔๒๙

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๔๙๕ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๖.ญาณวิภังค์] ๑.เอกกนิทเทส
กำลังเหล่านี้ชื่อว่ากำลัง ๑๐ ของพระตถาคต ซึ่งพระองค์ทรงประกอบด้วย
กำลังเหล่านี้แล้วจึงทรงปฏิญาณฐานะอันประเสริฐ บันลือสีหนาทในบริษัท ประกาศ
พรหมจักร
ญาณวัตถุหมวดละ ๑๐ มีด้วยประการฉะนี้
มาติกา จบ

๑. เอกกนิทเทส
[๗๖๑] วิญญาณ ๕ ไม่เป็นเหตุ ไม่มีเหตุ วิปปยุตจากเหตุ มีปัจจัยปรุงแต่ง
ถูกปัจจัยปรุงแต่ง ไม่เป็นรูป เป็นโลกิยะ เป็นอารมณ์ของอาสวะ เป็นอารมณ์ของ
สังโยชน์ เป็นอารมณ์ของคันถะ เป็นอารมณ์ของโอฆะ เป็นอารมณ์ของโยคะ เป็น
อารมณ์ของนิวรณ์ เป็นอารมณ์ของปรามาส เป็นอารมณ์ของอุปาทาน เป็นอารมณ์
ของกิเลส เป็นอัพยากฤต รับรู้อารมณ์ได้ ไม่เป็นเจตสิก เป็นวิบาก กรรมอัน
ประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือ และเป็นอารมณ์ของอุปาทาน กิเลสไม่ทำให้
เศร้าหมองแต่เป็นอารมณ์ของกิเลส ไม่ใช่มีทั้งวิตกและวิจาร ไม่ใช่ไม่มีวิตกมีเพียง
วิจาร ไม่มีทั้งวิตกและวิจาร ไม่สหรคตด้วยปีติ ไม่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรค
และมรรคเบื้องบน ๓ ไม่มีเหตุต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคและมรรคเบื้องบน
๓ ไม่เป็นเหตุให้ถึงปฏิสนธิ จุติ และนิพพาน ไม่เป็นของเสขบุคคลและอเสขบุคคล
เป็นปริตตะ เป็นกามาวจร ไม่เป็นรูปาวจร เป็นอรูปาวจร นับเนื่องในวัฏฏทุกข์
ไม่ใช่ไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ ให้ผลไม่แน่นอน ไม่เป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์
เป็นสภาวะที่เกิดขึ้น มโนวิญญาณรู้ได้ ไม่เที่ยง ถูกชราครอบงำ (๑)
[๗๖๒] คำว่า วิญญาณ ๕ มีวัตถุเกิดขึ้น มีอารมณ์เกิดขึ้น อธิบายว่า
เมื่อวัตถุเกิดขึ้น เมื่ออารมณ์เกิดขึ้น วิญญาณ ๕ ก็เกิดขึ้น (๒)
คำว่า วิญญาณ ๕ มีวัตถุเกิดก่อน มีอารมณ์เกิดก่อน อธิบายว่า เมื่อ
วัตถุเกิดก่อน เมื่ออารมณ์เกิดก่อน วิญญาณ ๕ ก็เกิดขึ้น (๓)
คำว่า วิญญาณ ๕ มีวัตถุเป็นภายใน มีอารมณ์เป็นภายนอก อธิบายว่า
วัตถุของวิญญาณ ๕ เป็นภายใน อารมณ์ของวิญญาณ ๕ เป็นภายนอก (๔)


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๔๙๖ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๖.ญาณวิภังค์] ๑.เอกกนิทเทส
คำว่า วิญญาณ ๕ มีวัตถุไม่แตกดับ มีอารมณ์ไม่แตกดับ อธิบายว่า
เมื่อวัตถุยังไม่แตกดับ เมื่ออารมณ์ยังไม่แตกดับ วิญญาณ ๕ ก็เกิดขึ้น (๕)
คำว่า วิญญาณ ๕ มีวัตถุต่างกัน มีอารมณ์ต่างกัน อธิบายว่า วัตถุและ
อารมณ์ของจักขุวิญญาณเป็นอย่างหนึ่ง วัตถุและอารมณ์ของโสตวิญญาณก็เป็นอย่าง
หนึ่ง วัตถุและอารมณ์ของฆานวิญญาณก็เป็นอย่างหนึ่ง วัตถุและอารมณ์ของชิวหา-
วิญญาณก็เป็นอย่างหนึ่ง วัตถุและอารมณ์ของกายวิญญาณก็เป็นอีกอย่างหนึ่ง (๖)
[๗๖๓] คำว่า วิญญาณ ๕ ไม่เสวยอารมณ์ของกันและกัน อธิบายว่า
โสตวิญญาณไม่เสวยอารมณ์ของจักขุวิญญาณ จักขุวิญญาณก็ไม่เสวยอารมณ์ของ
โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณไม่เสวยอารมณ์ของจักขุวิญญาณ จักขุวิญญาณก็ไม่
เสวยอารมณ์ของฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณไม่เสวยอารมณ์ของจักขุวิญญาณ
จักขุวิญญาณก็ไม่เสวยอารมณ์ของชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณไม่เสวยอารมณ์ของ
จักขุวิญญาณ จักขุวิญญาณก็ไม่เสวยอารมณ์ของกายวิญญาณ จักขุวิญญาณไม่เสวย
อารมณ์ของโสตวิญญาณ ฯลฯ จักขุวิญญาณไม่เสวยอารมณ์ของฆานวิญญาณ ฯลฯ
จักขุวิญญาณไม่เสวยอารมณ์ของชิวหาวิญญาณ ฯลฯ จักขุวิญญาณไม่เสวยอารมณ์
ของกายวิญญาณ แม้กายวิญญาณก็ไม่เสวยอารมณ์ของจักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ
ไม่เสวยอารมณ์ของกายวิญญาณ แม้กายวิญญาณก็ไม่เสวยอารมณ์ของโสตวิญญาณ
ฆานวิญญาณไม่เสวยอารมณ์ของกายวิญญาณ แม้กายวิญญาณก็ไม่เสวยอารมณ์
ของฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณไม่เสวยอารมณ์ของกายวิญญาณ แม้กายวิญญาณ
ก็ไม่เสวยอารมณ์ของชิวหาวิญญาณ (๗)
[๗๖๔] คำว่า วิญญาณ ๕ ไม่เกิดขึ้นเพราะไม่ใส่ใจ อธิบายว่า เมื่อใส่ใจ
อยู่ วิญญาณ ๕ ก็เกิดขึ้น (๘)
คำว่า วิญญาณ ๕ ไม่เกิดขึ้นเพราะไม่มนสิการ อธิบายว่า เมื่อมนสิการ
อยู่ วิญญาณ ๕ ก็เกิดขึ้น (๙)
คำว่า วิญญาณ ๕ ไม่เกิดขึ้นโดยไม่สับลำดับกัน อธิบายว่า วิญญาณ ๕
ไม่เกิดขึ้นตามลำดับของกันและกัน (๑๐)


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๔๙๗ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๖.ญาณวิภังค์] ๑.เอกกนิทเทส
คำว่า วิญญาณ ๕ ไม่เกิดขึ้นพร้อมกัน อธิบายว่า วิญญาณ ๕ ไม่เกิด
ขึ้นในขณะเดียวกัน (๑๑)
[๗๖๕] คำว่า วิญญาณ ๕ ไม่เกิดขึ้นในลำดับของกันและกัน อธิบายว่า
โสตวิญญาณไม่เกิดขึ้นในลำดับที่จักขุวิญญาณเกิด แม้จักขุวิญญาณก็ไม่เกิดขึ้นใน
ลำดับที่โสตวิญญาณเกิด ฆานวิญญาณไม่เกิดขึ้นในลำดับที่จักขุวิญญาณเกิด แม้
จักขุวิญญาณก็ไม่เกิดขึ้นในลำดับที่ฆานวิญญาณเกิด ชิวหาวิญญาณไม่เกิดขึ้นใน
ลำดับที่จักขุวิญญาณเกิด แม้จักขุวิญญาณก็ไม่เกิดขึ้นในลำดับที่ชิวหาวิญญาณเกิด
กายวิญญาณไม่เกิดขึ้นในลำดับที่จักขุวิญญาณเกิด แม้จักขุวิญญาณก็ไม่เกิดขึ้นใน
ลำดับที่กายวิญญาณเกิด จักขุวิญญาณไม่เกิดขึ้นในลำดับโสตวิญญาณเกิด ฯลฯ
จักขุวิญญาณไม่เกิดขึ้นในลำดับที่ฆานวิญญาณเกิด ฯลฯ จักขุวิญญาณไม่เกิดใน
ลำดับชิวหาวิญญาณเกิด ฯลฯ จักขุวิญญาณไม่เกิดขึ้นในลำดับที่กายวิญญาณเกิด
แม้กายวิญญาณก็ไม่เกิดขึ้นในลำดับที่จักขุวิญญาณเกิด โสตวิญญาณไม่เกิดขึ้นใน
ลำดับที่กายวิญญาณเกิด แม้กายวิญญาณก็ไม่เกิดขึ้นในลำดับโสตวิญญาณเกิด
ฆานวิญญาณไม่เกิดขึ้นในลำดับที่กายวิญญาณเกิด แม้กายวิญญาณก็ไม่เกิดขึ้นใน
ลำดับที่ฆานวิญญาณเกิด ชิวหาวิญญาณไม่เกิดขึ้นในลำดับที่กายวิญญาณเกิด แม้
กายวิญญาณก็ไม่เกิดขึ้นในลำดับที่ชิวหาวิญญาณเกิด (๑๒)
[๗๖๖] คำว่า วิญญาณ ๕ ไม่มีความผูกใจ อธิบายว่า ความนึก ความ
คิด ความพิจารณา หรือความทำไว้ในใจไม่มีแก่วิญญาณ ๕ (๑๓)
คำว่า บุคคลไม่รู้แจ้งธรรมอะไร ๆ ด้วยวิญญาณ ๕ อธิบายว่า บุคคลไม่
รู้แจ้งธรรมอะไร ๆ ด้วยวิญญาณ ๕ (๑๔)
คำว่า เว้นแต่อารมณ์ที่ตกไป อธิบายว่า เว้นแต่เพียงอารมณ์ที่มาปรากฏ
คำว่า บุคคลไม่รู้แจ้งธรรมอะไร ๆ แม้ต่อจากลำดับแห่งวิญญาณ ๕ อธิบาย
ว่า บุคคลไม่รู้แจ้งธรรมอะไร ๆ แม้ด้วยมโนธาตุในลำดับต่อจากวิญญาณ ๕ (๑๕)
คำว่า บุคคลไม่สำเร็จอิริยาบถอะไร ๆ ด้วยวิญญาณ ๕ อธิบายว่า บุคคล
ไม่สำเร็จอิริยาบถอะไร ๆ คือ การเดิน ยืน นั่ง หรือนอน ด้วยวิญญาณ ๕ (๑๖)


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๔๙๘ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๖.ญาณวิภังค์] ๑.เอกกนิทเทส
คำว่า บุคคลไม่สำเร็จอิริยาบถอะไร ๆ แม้ต่อจากลำดับแห่งวิญญาณ ๕
อธิบายว่า บุคคลไม่สำเร็จอิริยาบถอะไร ๆ คือ การเดิน ยืน นั่ง หรือนอนแม้
ด้วยมโนธาตุในลำดับต่อจากวิญญาณ ๕ (๑๗)
คำว่า บุคคลไม่ประกอบกายกรรมและวจีกรรมด้วยวิญญาณ ๕ อธิบายว่า
บุคคลไม่ประกอบกายกรรม ไม่ประกอบวจีกรรมด้วยวิญญาณ ๕ (๑๘)
คำว่า บุคคลไม่ประกอบกายกรรมและวจีกรรมแม้ต่อจากลำดับแห่ง
วิญญาณ ๕ อธิบายว่า บุคคลไม่ประกอบกายกรรม ไม่ประกอบวจีกรรมแม้ด้วย
มโนธาตุในลำดับต่อจากวิญญาณ ๕ (๑๙)
คำว่า บุคคลไม่สมาทานสภาวธรรมที่เป็นกุศลและอกุศลด้วยวิญญาณ ๕
อธิบายว่า บุคคลไม่สมาทานสภาวธรรมที่เป็นกุศลและอกุศลด้วยวิญญาณ ๕ (๒๐)
คำว่า บุคคลไม่สมาทานสภาวธรรมที่เป็นกุศลและอกุศลแม้ต่อจากลำดับ
แห่งวิญญาณ ๕ อธิบายว่า บุคคลไม่สมาทานสภาวธรรมที่เป็นกุศลและอกุศล
แม้ด้วยมโนธาตุในลำดับต่อจากวิญญาณ ๕ (๒๑)
คำว่า บุคคลไม่ได้เข้าสมาบัติ ไม่ได้ออกจากสมาบัติด้วยวิญญาณ ๕
อธิบายว่า บุคคลไม่ได้เข้าสมาบัติ ไม่ได้ออกจากสมาบัติด้วยวิญญาณ ๕ (๒๒)
คำว่า บุคคลไม่ได้เข้าสมาบัติ ไม่ได้ออกจากสมาบัติแม้ต่อจากลำดับแห่ง
วิญญาณ ๕ อธิบายว่า บุคคลไม่ได้เข้าสมาบัติ ไม่ได้ออกจากสมาบัติแม้ด้วย
มโนธาตุในลำดับต่อจากวิญญาณ ๕ (๒๓)
คำว่า บุคคลไม่จุติ ไม่ปฏิสนธิด้วยวิญญาณ ๕ อธิบายว่า บุคคลไม่จุติ
ไม่ปฏิสนธิด้วยวิญญาณ ๕ (๒๔)
คำว่า บุคคลไม่จุติ ไม่ปฏิสนธิแม้ต่อจากลำดับแห่งวิญญาณ ๕ อธิบายว่า
บุคคลไม่จุติ ไม่ปฏิสนธิแม้ด้วยมโนธาตุในลำดับต่อจากวิญญาณ ๕ (๒๕)
คำว่า บุคคลไม่หลับ ไม่ตื่น ไม่ฝันด้วยวิญญาณ ๕ อธิบายว่า บุคคลไม่หลับ
ไม่ตื่น ไม่ฝันด้วยวิญญาณ ๕ (๒๖)


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๔๙๙ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๖.ญาณวิภังค์] ๒.ทุกนิทเทส
คำว่า บุคคลไม่หลับ ไม่ตื่น ไม่ฝันแม้ต่อจากลำดับแห่งวิญญาณ ๕ อธิบาย
ว่า บุคคลไม่หลับ ไม่ตื่น ไม่ฝันแม้ด้วยมโนธาตุในลำดับต่อจากวิญญาณ ๕ (๒๗)
ความรู้เรื่องวิญญาณ ๕ ดังกล่าวมานี้ชื่อว่า ปัญญาที่แสดงเรื่องของวิญญาณ
๕ ตามที่เป็นจริง
ญาณวัตถุหมวดละ ๑ มีด้วยประการฉะนี้
เอกกนิทเทส จบ

๒. ทุกนิทเทส
[๗๖๗] ปัญญาในสภาวธรรมที่เป็นกุศลและอัพยากฤตในภูมิ ๓ ชื่อว่า โลกิย-
ปัญญา ปัญญาในมรรค ๔ ผล ๔ ชื่อว่า โลกุตตรปัญญา (๑)
ปัญญาทั้งหมดชื่อว่า เกนจิวิญเญยยปัญญา และชื่อว่า นเกนจิวิญเญยย-
ปัญญา (๒)
ปัญญาในสภาวธรรมที่เป็นกุศลและอัพยากฤตในภูมิ ๓ ชื่อว่า สาสวปัญญา
ปัญญาในมรรค ๔ ผล ๔ ชื่อว่า อนาสวปัญญา (๓)
ปัญญาในสภาวธรรมที่เป็นกุศลและอัพยากฤตในภูมิ ๓ ชื่อว่า อาสววิปปยุตต-
สาสวปัญญา ปัญญาในมรรค ๔ ผล ๔ ชื่อว่า อาสววิปปยุตตอนาสวปัญญา (๔)
ปัญญาในสภาวธรรมที่เป็นกุศลและอัพยากฤตในภูมิ ๓ ชื่อว่า สัญโญชนิย-
ปัญญา ปัญญาในมรรค ๔ ผล ๔ ชื่อว่า อสัญโญชนิยปัญญา (๕)
ปัญญาในสภาวธรรมที่เป็นกุศลและอัพยากฤตในภูมิ ๓ ชื่อว่า สัญโญชน-
วิปปยุตตสัญโญชนิยปัญญา ปัญญาในมรรค ๔ ผล ๔ ชื่อว่า สัญโญชน-
วิปปยุตตอสัญโญชนิยปัญญา (๖)
ปัญญาในสภาวธรรมที่เป็นกุศลและอัพยากฤตในภูมิ ๓ ชื่อว่า คันถนิยปัญญา
ปัญญาในมรรค ๔ ผล ๔ ชื่อว่า อคันถนิยปัญญา (๗)
ปัญญาในสภาวธรรมที่เป็นกุศลและอัพยากฤตในภูมิ ๓ ชื่อว่า คันถวิปปยุตต-
คันถนิยปัญญา ปัญญาในมรรค ๔ ผล ๔ ชื่อว่า คันถวิปปยุตตอคันถนิยปัญญา (๘)


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๕๐๐ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๖.ญาณวิภังค์] ๒.ทุกนิทเทส
ปัญญาในสภาวธรรมที่เป็นกุศลและอัพยากฤตในภูมิ ๓ ชื่อว่า โอฆนิยปัญญา
ปัญญาในมรรค ๔ ผล ๔ ชื่อว่า อโนฆนิยปัญญา (๙)
ปัญญาในสภาวธรรมที่เป็นกุศลและอัพยากฤตในภูมิ ๓ ชื่อว่า โอฆวิปปยุตต-
โอฆนิยปัญญา ปัญญาในมรรค ๔ ผล ๔ ชื่อว่า โอฆวิปปยุตตอโนฆนิยปัญญา (๑๐)
ปัญญาในสภาวธรรมที่เป็นกุศลและอัพยากฤตในภูมิ ๓ ชื่อว่า โยคนิยปัญญา
ปัญญาในมรรค ๔ ผล ๔ ชื่อว่า อโยคนิยปัญญา (๑๑)
ปัญญาในสภาวธรรมที่เป็นกุศลและอัพยากฤตในภูมิ ๓ ชื่อว่า โยควิปปยุตต-
โยคนิยปัญญา ปัญญาในมรรค ๔ ผล ๔ ชื่อว่า โยควิปปยุตตอโยคนิยปัญญา (๑๒)
ปัญญาในสภาวธรรมที่เป็นกุศลและอัพยากฤตในภูมิ ๓ ชื่อว่า นีวรณิยปัญญา
ปัญญาในมรรค ๔ ผล ๔ ชื่อว่า อนีวรณิยปัญญา (๑๓)
ปัญญาในสภาวธรรมที่เป็นกุศลและอัพยากฤตในภูมิ ๓ ชื่อว่า นีวรณ-
วิปปยุตตนีวรณิยปัญญา ปัญญาในมรรค ๔ ผล ๔ ชื่อว่า นีวรณวิปปยุตต-
อนีวรณิยปัญญา (๑๔)
ปัญญาในสภาวธรรมที่เป็นกุศลและอัพยากฤตในภูมิ ๓ ชื่อว่า ปรามัฏฐปัญญา
ปัญญาในมรรค ๔ ผล ๔ ชื่อว่า อปรามัฏฐปัญญา (๑๕)
ปัญญาในสภาวธรรมที่เป็นกุศลและอัพยากฤตในภูมิ ๓ ชื่อว่า ปรามาส-
วิปปยุตตปรามัฏฐปัญญา ปัญญาในมรรค ๔ ผล ๔ ชื่อว่า ปรามาสวิปปยุตต-
อปรามัฏฐปัญญา (๑๖)
ปัญญาในสภาวธรรมที่เป็นวิบากในภูมิ ๓ ชื่อว่า อุปาทินนปัญญา ปัญญา
ในสภาวธรรมที่เป็นกุศลและอัพยากตกิริยาในภูมิ ๓ และในมรรค ๔ ผล ๔ ชื่อว่า
อนุปาทินนปัญญา (๑๗)
ปัญญาในสภาวธรรมที่เป็นกุศลและอัพยากฤตในภูมิ ๓ ชื่อว่า อุปาทานิยปัญญา
ปัญญาในมรรค ๔ ผล ๔ ชื่อว่า อนุปาทานิยปัญญา (๑๘)
ปัญญาในสภาวธรรมที่เป็นกุศลและอัพยากฤตในภูมิ ๓ ชื่อว่า อุปาทาน-
วิปปยุตตอุปาทานิยปัญญา ปัญญาในมรรค ๔ ผล ๔ ชื่อว่า อุปาทานวิปปยุตต-
อนุปาทานิยปัญญา (๑๙)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๕๐๑ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๖.ญาณวิภังค์] ๒.ทุกนิทเทส
ปัญญาในสภาวธรรมที่เป็นกุศลและอัพยากฤตในภูมิ ๓ ชื่อว่า สังกิเลสิกปัญญา
ปัญญาในมรรค ๔ ผล ๔ ชื่อว่า อสังกิเลสิกปัญญา (๒๐)
ปัญญาในสภาวธรรมที่เป็นกุศลและอัพยากฤตในภูมิ ๓ ชื่อว่า กิเลสวิปปยุตต-
สังกิเลสิกปัญญา ปัญญาในมรรค ๔ ผล ๔ ชื่อว่า กิเลสวิปปยุตตอสังกิเลสิก-
ปัญญา (๒๑)
ปัญญาที่สัมปยุตด้วยวิตกชื่อว่า สวิตักกปัญญา ปัญญาที่วิปปยุตจากวิตกชื่อ
ว่า อวิตักกปัญญา (๒๒)
ปัญญาที่สัมปยุตด้วยวิจารชื่อว่า สวิจารปัญญา ปัญญาที่วิปปยุตจากวิจาร
ชื่อว่า อวิจารปัญญา (๒๓)
ปัญญาที่สัมปยุตด้วยปีติชื่อว่า สัปปีติกปัญญา ปัญญาที่วิปปยุตจากปีติชื่อ
ว่า อัปปีติกปัญญา (๒๔)
ปัญญาที่สัมปยุตด้วยปีติชื่อว่า ปีติสหคตปัญญา ปัญญาที่วิปปยุตจากปีติ
ชื่อว่า นปีติสหคตปัญญา (๒๕)
ปัญญาที่สัมปยุตด้วยสุขชื่อว่า สุขสหคตปัญญา ปัญญาที่วิปปยุตจากสุขชื่อว่า
นสุขสหคตปัญญา (๒๖)
ปัญญาที่สัมปยุตด้วยอุเบกขาชื่อว่า อุเปกขาสหคตปัญญา ปัญญาที่วิปปยุต
จากอุเบกขาชื่อว่า นอุเปกขาสหคตปัญญา (๒๗)
ปัญญาในสภาวธรรมที่เป็นกามาวจรกุศลและกามาวจรอัพยากฤตชื่อว่า
กามาวจรปัญญา ปัญญาที่เป็นรูปาวจร ปัญญาที่เป็นอรูปาวจร ปัญญาที่ไม่นับ
เนื่องในวัฏฏทุกข์ชื่อว่า นกามาวจรปัญญา (๒๘)
ปัญญาในสภาวธรรมที่เป็นรูปาวจรกุศลและรูปาวจรอัพยากฤตชื่อว่า รูปาวจร-
ปัญญา ปัญญาที่เป็นกามาวจร ปัญญาที่เป็นอรูปาวจรและปัญญาที่ไม่นับเนื่องใน
วัฏฏทุกข์ชื่อว่า นรูปาวจรปัญญา (๒๙)
ปัญญาในสภาวธรรมที่เป็นอรูปาวจรกุศลและอรูปาวจรอัพยากฤตชื่อว่า
อรูปาวจรปัญญา ปัญญาที่เป็นกามาวจร ปัญญาที่เป็นรูปาวจร และปัญญาที่ไม่
นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ชื่อว่า นอรูปาวจรปัญญา (๓๐)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๕๐๒ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๖.ญาณวิภังค์] ๓.ติกนิทเทส
ปัญญาในสภาวธรรมที่เป็นกุศลและอัพยากฤตในภูมิ ๓ ชื่อว่า ปริยาปันน-
ปัญญา ปัญญาในมรรค ๔ ผล ๔ ชื่อว่า อปริยาปันนปัญญา (๓๑)
ปัญญาในมรรค ๔ ชื่อว่า นิยยานิกปัญญา ปัญญาในสภาวธรรมที่เป็นกุศลใน
ภูมิ ๓ ที่เป็นวิบากในภูมิ ๔ และที่เป็นอัพยากตกิริยาในภูมิ ๓ ชื่อว่า อนิยยานิก-
ปัญญา (๓๒)
ปัญญาในมรรค ๔ ชื่อว่า นิยตปัญญา ปัญญาในสภาวธรรมที่เป็นกุศลในภูมิ ๓
ที่เป็นวิบากในภูมิ ๔ และที่เป็นอัพยากตกิริยาในภูมิ ๓ ชื่อว่า อนิยตปัญญา (๓๓)
ปัญญาในสภาวธรรมที่เป็นกุศลและอัพยากฤตในภูมิ ๓ ชื่อว่า สอุตตรปัญญา
ปัญญาในมรรค ๔ ผล ๔ ชื่อว่า อนุตตรปัญญา (๓๔)
บรรดาปัญญาเหล่านั้น อัตถชาปิกปัญญา เป็นไฉน
ปัญญาในสภาวธรรมที่เป็นกุศลในภูมิ ๔ และที่เป็นอัพยากตกิริยาของพระ
อรหันต์ผู้กำลังทำอภิญญาให้เกิดขึ้น ผู้กำลังทำสมาบัติให้เกิดขึ้น ชื่อว่า อัตถชาปิก-
ปัญญา ปัญญาในสภาวธรรมที่เป็นวิบากในภูมิ ๔ และที่เป็นอัพยากตกิริยาของพระ
อรหันต์ ในเมื่ออภิญญาและสมาบัติเกิดขึ้นแล้ว ชื่อว่า ชาปิตัตถปัญญา (๓๕)
ญาณวัตถุหมวดละ ๒ มีด้วยประการฉะนี้
ทุกนิทเทส จบ

๓. ติกนิทเทส
[๗๖๘] บรรดาญาณวัตถุหมวดละ ๓ นั้น จินตามยปัญญา เป็นไฉน
ในการงานทั้งหลายที่ต้องจัดการด้วยปัญญา ในศิลปะทั้งหลาย๑ ที่ต้องจัดการ
ด้วยปัญญา หรือในวิชาทั้งหลายที่ต้องจัดการด้วยปัญญา บุคคลมิได้ฟังจากผู้อื่น ได้
กัมมัสสกตาญาณ๒ หรือได้สัจจานุโลมิกญาณ๓ว่า รูปไม่เที่ยง ฯลฯ เวทนาไม่เที่ยง

เชิงอรรถ :
๑ อภิ.วิ.อ. ๗๖๘/๔๓๘
๒ ญาณรู้ว่าสัตว์มีกรรมเป็นของ ๆ ตน คือ ทำดีได้ดี ทำชัวได้ชั่ว (อภิ.วิ.อ. ๗๖๘/๔๔๐)
๓ สัจจานุโลมิกญาณ คือ วิปัสสนาญาณ ท่านเรียกว่า สัจจานุโลมิกญาณ เพราะอนุโลมตามสัจจะ ๔ ประการ
มีรูปไม่เที่ยงเป็นต้น (อภิ.วิ.อ. ๗๖๘/๔๔๐)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๕๐๓ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๖.ญาณวิภังค์] ๓.ติกนิทเทส
ฯลฯ สัญญาไม่เที่ยง ฯลฯ สังขารไม่เที่ยง ฯลฯ วิญญาณไม่เที่ยงดังนี้บ้าง ได้
๑ความสามารถ ความคิดอ่าน ความพอใจ ความกระจ่าง ความเพ่งพินิจ และได้
ปัญญาที่สามารถไตร่ตรองสภาวธรรมอันเหมาะสม๑ มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า
จินตามยปัญญา
สุตมยปัญญา เป็นไฉน
ในการงานทั้งหลายที่ต้องจัดการด้วยปัญญา ในศิลปะทั้งหลายที่ต้องจัดการ
ด้วยปัญญา ในวิชาทั้งหลายที่ต้องจัดการด้วยปัญญา บุคคลได้ฟังจากผู้อื่น ได้
กัมมัสสกตาญาณ หรือได้สัจจานุโลมิกญาณว่า รูปไม่เที่ยง ฯลฯ เวทนาไม่เที่ยง
ฯลฯ สัญญาไม่เที่ยง ฯลฯ สังขารไม่เที่ยง ฯลฯ วิญญาณไม่เที่ยงดังนี้บ้าง ได้
ความสามารถ ความคิดอ่าน ความพอใจ ความกระจ่าง ความเพ่งพินิจ และได้
ปัญญาที่สามารถไตร่ตรองสภาวธรรมอันเหมาะสม มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า
สุตมยปัญญา
ปัญญาของผู้เข้าสมาบัติแม้ทั้งหมดชื่อว่า ภาวนามยปัญญา (๑)
[๗๖๙] ทานมยปัญญา เป็นไฉน
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลงงมงาย ความเลือกเฟ้นธรรม
สัมมาทิฏฐิ ปรารภทานเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้ให้ทาน นี้เรียกว่า ทานมยปัญญา
สีลมยปัญญา เป็นไฉน
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลงงมงาย ความเลือกเฟ้นธรรม
สัมมาทิฏฐิ ปรารภศีลเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้รักษาศีล นี้เรียกว่า สีลมยปัญญา
ปัญญาของผู้เข้าสมาบัติแม้ทั้งหมดชื่อว่า ภาวนามยปัญญา (๒)
[๗๗๐] อธิสีลปัญญา เป็นไฉน
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลงงมงาย ความเลือกเฟ้นธรรม
สัมมาทิฏฐิ เกิดขึ้นแก่ผู้สำรวมปาติโมกขสังวร๒ นี้เรียกว่า อธิสีลปัญญา (๓)

เชิงอรรถ :
๑-๑ ตรงกับคำบาลีว่า ขนฺตึ ทิฏฺฐึ รุจึ มุทึ เปกฺขํ ธมฺมนิชฺฌานกฺขนฺตึ (อภิ.วิ.อ. ๗๖๘/๔๔๐)
๒ ศีล คือความสำรวมในพระปาฏิโมกข์ เว้นจากข้อห้ามทำตามข้ออนุญาต ประพฤติเคร่งครัดในสิกขาบท
ทั้งหลาย (วิสุทฺธิ. ๑/๑๙)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๕๐๔ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๖.ญาณวิภังค์] ๓.ติกนิทเทส
อธิจิตตปัญญา เป็นไฉน
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลงงมงาย ความเลือกเฟ้นธรรม สัมมา-
ทิฏฐิเกิดขึ้นแก่ผู้เข้ารูปาวจรสมาบัติและอรูปาวจรสมาบัติ นี้เรียกว่า อธิจิตตปัญญา
อธิปัญญปัญญา เป็นไฉน
ปัญญาในมรรค ๔ ผล ๔ นี้เรียกว่า อธิปัญญปัญญา๑ (๓)
[๗๗๑] อายโกศล เป็นไฉน
เมื่อบุคคลพิจารณาธรรมเหล่านี้อยู่ ธรรมที่เป็นอกุศลซึ่งยังไม่เกิดก็ไม่เกิด ที่
เกิดแล้วก็เสึ่อมไป หรือเมื่อบุคคลพิจารณาธรรมเหล่านี้อยู่ ธรรมที่เป็นกุศลซึ่งยัง
ไม่เกิดก็เกิด และที่เกิดแล้วก็เป็นไปเพื่อภิยโยภาพ ไพบูลย์ เจริญ บริบูรณ์ ปัญญา
กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลงงมงาย ความเลือกเฟ้นธรรม สัมมาทิฏฐิในข้อนั้น
นี้เรียกว่า อายโกศล
อปายโศล เป็นไฉน
เมื่อบุคคลพิจารณาธรรมเหล่านี้อยู่ ธรรมที่เป็นกุศลซึ่งยังไม่เกิดก็ไม่เกิด ที่
เกิดแล้วก็ดับไป หรือเมื่อบุคคลพิจารณาธรรมเหล่านี้อยู่ ธรรมที่เป็นอกุศลซึ่ง
ยังไม่เกิดก็เกิด และที่เกิดแล้วก็เป็นไปเพื่อภิยโยภาพ ไพบูลย์ ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด
ฯลฯ ความไม่หลงงมงาย ความเลือกเฟ้นธรรม สัมมาทิฏฐิในข้อนั้น นี้เรียกว่า
อปายโกศล
ปัญญาแม้ทั้งหมดที่เป็นอุบายสำหรับแก้ไขในเมื่อกิจรีบด่วนหรือภัยที่เกิด๒ แล้ว
นั้นชื่อว่า อุปายโกศล (๔)
[๗๗๒] ปัญญาในสภาวธรรมที่เป็นวิบากในภูมิ ๔ ชื่อว่า วิปากปัญญา ปัญญา
ในสภาวธรรมที่เป็นกุศลในภูมิ ๔ ชื่อว่า วิปากธัมมธัมมปัญญา ปัญญาในสภาวธรรม
ที่เป็นอัพยากตกิริยาในภูมิ ๓ ชื่อว่า เนววิปากนวิปากธัมมธัมมปัญญา (๕)

เชิงอรรถ :
๑ หมายถึงวิปัสสนาปัญญาและมรรคปัญญา (อภิ.วิ.อ. ๗๗๐/๔๔๓)
๒ อภิ.วิ.อ. ๗๗๑/๔๔๓

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๕๐๕ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๖.ญาณวิภังค์] ๓.ติกนิทเทส
[๗๗๓] ปัญญาในสภาวธรรมที่เป็นวิบากในภูมิ ๓ ชื่อว่า อุปาทินนุปาทานิย-
ปัญญา ปัญญาในสภาวธรรมที่เป็นกุศลในภูมิ ๓ และที่เป็นอัพยากตกิริยาในภูมิ ๓
ชื่อว่า อนุปาทินนุปาทานิยปัญญา ปัญญาในมรรค ๔ ผล ๔ ชื่อว่า อนุปาทินน-
อนุปาทานิยปัญญา (๖)
[๗๗๔] ปัญญาที่สัมปยุตด้วยวิตกและวิจารชื่อว่า สวิตักกสวิจารปัญญา
ปัญญาที่วิปปยุตจากวิตกแต่สัมปยุตด้วยวิจารชื่อว่า อวิตักกวิจารมัตตปัญญา ปัญญา
ที่วิปปยุตจากวิตกและวิจารชื่อว่า อวิตักกอวิจารปัญญา (๗)
[๗๗๕] ปัญญาที่สัมปยุตด้วยปีติชื่อว่า ปีติสหคตปัญญา ปัญญาที่สัมปยุต
ด้วยสุขชื่อว่า สุขสหคตปัญญา ปัญญาที่สัมปยุตด้วยอุเบกขาชื่อว่า อุเปกขา-
สหคตปัญญา (๘)
[๗๗๖] ปัญญาในสภาวธรรมที่เป็นกุศลในภูมิ ๓ ชื่อว่า อาจยคามินีปัญญา
ปัญญาในมรรค ๔ ชื่อว่า อปจยคามินีปัญญา ปัญญาในสภาวธรรมที่เป็นวิบาก
ในภูมิ ๔ และที่เป็นอัพยากตกิริยาในภูมิ ๓ ชื่อว่า เนวาจยคามินาปจยคามินี-
ปัญญา (๙)
[๗๗๗] ปัญญาในมรรค ๔ และในผล ๓ ชื่อว่า เสกขปัญญา ปัญญาใน
อรหัตตผลอันเป็นผลเบื้องบนชื่อว่า อเสกขปัญญา ปัญญาในสภาวธรรมที่เป็น
กุศลในภูมิ ๓ ที่เป็นวิบากในภูมิ ๓ และที่เป็นอัพยากตกิริยาในภูมิ ๓ ชื่อว่า
เนวเสกขนาเสกขปัญญา (๑๐)
[๗๗๘] ปัญญาในสภาวธรรมที่เป็นกุศลและอัพยากฤตซึ่งเป็นกามาวจรชื่อ
ว่า ปริตตปัญญา ปัญญาในสภาวธรรมที่เป็นกุศลและอัพยากฤตซึ่งเป็นรูปาวจรและ
อรูปาวจรชื่อว่า มหัคคตปัญญา ปัญญาในมรรค ๔ ผล ๔ ชื่อว่า อัปปมาณ-
ปัญญา (๑๑)
[๗๗๙] บรรดาปัญญาเหล่านั้น ปริตตารัมมณปัญญา เป็นไฉน
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลงงมงาย ความเลือกเฟ้นธรรม สัมมา-
ทิฏฐิ ปรารภสภาวธรรมที่เป็นปริตตะเกิดขึ้น นี้เรียกว่า ปริตตารัมมณปัญญา (๑๒)


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๕๐๖ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๖.ญาณวิภังค์] ๓.ติกนิทเทส
[๗๘๐] มหัคคตารัมมณปัญญา เป็นไฉน
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลงงมงาย ความเลือกเฟ้นธรรม
สัมมาทิฏฐิ ปรารภสภาวธรรมที่เป็นมหัคตะเกิดขึ้น นี้เรียกว่า มหัคคตารัมมณ-
ปัญญา (๑๒)
[๗๘๑] อัปปมาณารัมมณปัญญา เป็นไฉน
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลงงมงาย ความเลือกเฟ้นธรรม
สัมมาทิฏฐิ ปรารภสภาวธรรมที่เป็นอัปปมาณะเกิดขึ้น นี้เรียกว่า อัปปมาณา-
รัมมณปัญญา (๑๒)
[๗๘๒] มัคคารัมมณปัญญา เป็นไฉน
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลงงมงาย ความเลือกเฟ้นธรรม
สัมมาทิฏฐิ ปรารภอริยมรรคเกิดขึ้น นี้เรียกว่า มัคคารัมมณปัญญา
ปัญญาในมรรค ๔ ชื่อว่า มัคคเหตุกปัญญา (๑๓)
[๗๘๓] มัคคาธิปตินีปัญญา เป็นไฉน
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลงงมงาย ความเลือกเฟ้นธรรม
สัมมาทิฏฐิ ทำอริยมรรคให้เป็นอธิบดีเกิดขึ้น นี้เรียกว่า มัคคาธิปตินีปัญญา (๑๓)
[๗๘๔] ปัญญาในสภาวธรรมที่เป็นวิบากในภูมิ ๔ ที่เกิดขึ้นก็มี ที่จักเกิดขึ้น
แน่นอนก็มี แต่กล่าวไม่ได้ว่า ยังไม่เกิดขึ้น ปัญญาในสภาวธรรมที่เป็นกุศลในภูมิ ๔
และที่เป็นอัพยากตกิริยาในภูมิ ๓ ที่เกิดขึ้นก็มี ที่ยังไม่เกิดขึ้นก็มี แต่กล่าวไม่ได้ว่า
จักเกิดขึ้นแน่นอน (๑๔)
[๗๘๕] ปัญญาทั้งหมดที่เป็นอดีตก็มี ที่เป็นอนาคตก็มี ที่เป็นปัจจุบันก็มี
(๑๕)
[๗๘๖] อตีตารัมมณปัญญา เป็นไฉน
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลงงมงาย ความเลือกเฟ้นธรรม สัมมา-
ทิฏฐิ ปรารภสภาวธรรมที่เป็นอดีตเกิดขึ้น นี้เรียกว่า อตีตารัมมณปัญญา (๑๖)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๕๐๗ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๖.ญาณวิภังค์] ๓.ติกนิทเทส
[๗๘๗] อนาคตารัมมณปัญญา เป็นไฉน
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลงงมงาย ความเลือกเฟ้นธรรม
สัมมาทิฏฐิ ปรารภสภาวธรรมที่เป็นอนาคตเกิดขึ้น นี้เรียกว่า อนาคตารัมมณ-
ปัญญา (๑๖)
[๗๘๘] ปัจจุปปันนารัมมณปัญญา เป็นไฉน
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลงงมงาย ความเลือกเฟ้นธรรม
สัมมาทิฏฐิ ปรารภสภาวธรรมที่เป็นปัจจุบันเกิดขึ้น นี้เรียกว่า ปัจจุปปันนารัมมณ-
ปัญญา (๑๖)
[๗๘๙] ปัญญาทั้งหมดนั่นแหละที่เป็นภายในตนก็มี ที่เป็นภายนอกตนก็มี
ที่เป็นภายในตนและภายนอกตนก็มี (๑๗)
[๗๙๐] อัชฌัตตารัมมณปัญญา เป็นไฉน
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลงงมงาย ความเลือกเฟ้นธรรม
สัมมาทิฏฐิ ปรารภสภาวธรรมที่เป็นภายในตนเกิดขึ้น นี้เรียกว่า อัชฌัตตารัมมณ-
ปัญญา (๑๘)
[๗๙๑] พหิทธารัมมณปัญญา เป็นไฉน
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลงงมงาย ความเลือกเฟ้นธรรม
สัมมาทิฏฐิ ปรารภสภาวธรรมที่เป็นภายนอกตนเกิดขึ้น นี้เรียกว่า พหิทธารัมมณ-
ปัญญา (๑๘)
[๗๙๒] อัชฌัตตพหิทธารัมมณปัญญา เป็นไฉน
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลงงมงาย ความเลือกเฟ้นธรรม
สัมมาทิฏฐิ ปรารภสภาวธรรมที่เป็นภายในตนและภายนอกตนเกิดขึ้น นี้เรียกว่า
อัชฌัตตพหิทธารัมมณปัญญา (๑๘)
ญาณวัตถุหมวดละ ๓ มีด้วยประการฉะนี้
ติกนิทเทส จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๕๐๘ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๖.ญาณวิภังค์] ๔.จตุกกนิทเทส
๔. จตุกกนิทเทส
[๗๙๓] บรรดาญาณวัตถุหมวดละ ๔ นั้น กัมมัสสกตาญาณ เป็นไฉน
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลงงมงาย ความเลือกเฟ้นธรรม สัมมา-
ทิฏฐิซึ่งมีลักษณะว่า “ทานที่ให้แล้วมีผล ยัญที่บูชาแล้วมีผล การเซ่นสรวงมีผล
ผลวิบากของกรรมที่ทำดีทำชั่วมีอยู่ โลกนี้มี โลกหน้ามี มารดามีคุณ บิดามีคุณ
สัตว์ผู้เกิดผุดขึ้นมีอยู่ สมณพราหมณ์ผู้ประพฤติดีปฏิบัติชอบรู้แจ้งโลกนี้และโลกหน้า
ด้วยตนเองแล้วสอนให้ผู้อื่นรู้แจ้งมีอยู่ในโลก” ดังนี้ นี้เรียกว่า กัมมัสสกตาญาณ
เว้นสัจจานุโลมิกญาณเสีย ปัญญาที่เป็นกุศลซึ่งเป็นอารมณ์ของอาสวะแม้ทั้งหมดชื่อว่า
กัมมัสสกตาญาณ
สัจจานุโลมิกญาณ เป็นไฉน
ความสามารถ ความคิดอ่าน ความพอใจ ความกระจ่าง ความเพ่งพินิจ
ปัญญาที่สามารถไตร่ตรองสภาวธรรมอันเหมาะสมซึ่งมีลักษณะหรือว่า “รูปไม่เที่ยง
เวทนาไม่เที่ยง ฯลฯ สัญญาไม่เที่ยง ฯลฯ สังขารไม่เที่ยง ฯลฯ หรือวิญญาณ
ไม่เที่ยง” ดังนี้บ้าง นี้เรียกว่า สัจจานุโลมิกญาณ
ปัญญาในมรรค ๔ ชื่อว่า มัคคสมังคิญาณ
ปัญญาในผล ๔ ชื่อว่า ผลสมังคิญาณ (๑)
[๗๙๔] มัคคสมังคิญาณ ได้แก่ ความรู้ในทุกข์ ความรู้ในทุกขสมุทัย
ความรู้ในทุกขนิโรธ ความรู้ในทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา
บรรดาความรู้เหล่านั้น ความรู้ในทุกข์ เป็นไฉน
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลงงมงาย ความเลือกเฟ้นธรรม
สัมมาทิฏฐิ ปรารภทุกข์เกิดขึ้น นี้เรียกว่า ความรู้ในทุกข์
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลงงมงาย ความเลือกเฟ้นธรรม
สัมมาทิฏฐิ ปรารภทุกขสมุทัย ฯลฯ ปรารภทุกขนิโรธ ฯลฯ ปรารภทุกขนิโรธ-
คามินีปฏิปทาเกิดขึ้น นี้เรียกว่า ความรู้ในทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา (๒)


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๕๐๙ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๖.ญาณวิภังค์] ๔.จตุกกนิทเทส
[๗๙๕] ปัญญาในสภาวธรรมที่เป็นกุศลและอัพยากฤตที่เป็นกามาวจรชื่อว่า
กามาวจรปัญญา ปัญญาในสภาวธรรมที่เป็นกุศลและอัพยากฤตที่เป็นรูปาวจรชื่อว่า
รูปาวจรปัญญา ปัญญาในสภาวธรรมที่เป็นกุศลและอัพยากฤตที่เป็นอรูปาวจรชื่อว่า
อรูปาวจรปัญญา ปัญญาในมรรค ๔ ผล ๔ ชื่อว่า อปริยาปันนปัญญา (๓)
[๗๙๖] ธัมมญาณ เป็นไฉน
ปัญญาในมรรค ๔ ผล ๔ ชื่อว่า ธัมมญาณ
พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นทรงนำนัย(คือปัจจเวกขณญาณ)ไปในอดีตและ
อนาคตด้วยธรรมนี้ซึ่งทรงรู้ ทรงเห็น ทรงบรรลุ ทรงรู้แจ้ง และทรงหยั่งถึงแล้วว่า
ในอดีตกาล สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งได้รู้ทุกข์ รู้ทุกขสมุทัย
รู้ทุกขนิโรธ และรู้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นก็ได้รู้ทุกข์นี้
รู้ทุกขสมุทัยนี้ รู้ทุกขนิโรธนี้ รู้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทานี้
ในอนาคตกาล สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งจักรู้ทุกข์ รู้ทุกขสมุทัย
รู้ทุกขนิโรธ รู้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นก็จักรู้ทุกข์นี้
รู้ทุกขสมุทัยนี้ รู้ทุกขนิโรธนี้ รู้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทานี้
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลงงมงาย ความเลือกเฟ้นธรรม
สัมมาทิฏฐิในการนำนัยคือปัจจเวกขณญาณไปนั้น นี้เรียกว่า อันวยญาณ
ปริจจญาณ เป็นไฉน
ภิกษุในธรรมวินัยนี้กำหนดรู้จิตของสัตว์เหล่าอื่น ของบุคคลเหล่าอื่นด้วยจิต
คือ รู้จิตมีราคะว่า จิตมีราคะ รู้จิตปราศจากราคะว่าจิตปราศจากราคะ รู้จิตมีโทสะว่า
จิตมีโทสะ รู้จิตปราศจากโทสะว่า จิตปราศจากโทสะ รู้จิตมีโมหะว่า จิตมีโมหะ
รู้จิตปราศจากโมหะว่า จิตปราศจากโมหะ รู้จิตหดหู่ว่า จิตหดหู่ รู้จิตฟุ้งซ่านว่า
จิตฟุ้งซ่าน รู้จิตที่เป็นมหัคคตะว่า จิตเป็นมหัคคตะ รู้จิตที่ไม่เป็นมหัคคตะว่า จิต
ไม่เป็นมหัคคตะ รู้จิตเป็นสอุตตระว่า จิตเป็นสอุตตระ รู้จิตอนุตตระว่าจิตอนุตตระ
รู้จิตที่เป็นสมาธิว่า จิตเป็นสมาธิ หรือรู้จิตไม่เป็นสมาธิว่า จิตไม่เป็นสมาธิ รู้จิต
หลุดพ้นว่า จิตหลุดพ้น หรือรู้จิตไม่หลุดพ้นว่า จิตไม่หลุดพ้น


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๕๑๐ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๖.ญาณวิภังค์] ๔.จตุกกนิทเทส
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลง ความเลือกเฟ้นธรรม สัมมาทิฏฐิ
ในจิตของสัตว์เหล่าอื่น ของบุคคลเหล่าอื่นนั้น นี้เรียกว่า ปริจจญาณ
เว้นธัมมญาณ อันวยญาณ ปริจจญาณแล้ว ปัญญาที่เหลือชื่อว่า สมมติ-
ญาณ (๔)
[๗๙๗] อาจยโนอปจยปัญญา เป็นไฉน
ปัญญาในกามาวจรกุศลชื่อว่า อาจยโนอปจยปัญญา ปัญญาในมรรค ๔ ชื่อว่า
อปจยโนอาจยปัญญา ปัญญาในรูปาวจรกุศลและอรูปาวจรกุศลชื่อว่า อาจย-
อปจยปัญญา ปัญญาที่เหลือชื่อว่า อาจยโนอปจยปัญญา (๕)
[๗๙๘] นิพพิทาโนปฏิเวธปัญญา เป็นไฉน
บุคคลเป็นผู้ปราศราคะในกามทั้งหลาย แต่ไม่ได้แทงตลอดอภิญญาและสัจจะ
ทั้งหลายด้วยปัญญาใด นี้เรียกว่า นิพพิทาโนปฏิเวธปัญญา
บุคคลนั้นเป็นผู้ปราศจากราคะในกามทั้งหลายนั่นแหละได้แทงตลอดอภิญญา
แต่ไม่ได้แทงตลอดสัจจะทั้งหลายด้วยปัญญา นี้เรียกว่า ปฏิเวธโนนิพพิทาปัญญา
ปัญญาในมรรค ๔ ชื่อว่า นิพพิทาปฏิเวธปัญญา
ปัญญาที่เหลือ ชื่อว่า เนวนิพพิทาโนปฏิเวธปัญญา (๖)
[๗๙๙] หานภาคินีปัญญา เป็นไฉน
สัญญามนสิการที่สหรคตด้วยกามครอบงำโยคาวจรบุคคลผู้ได้ปฐมฌานชื่อว่า
หานภาคินีปัญญา สติที่มีสภาวะสมควรแก่ธรรมนั้นตั้งมั่นชื่อว่า ฐิติภาคินีปัญญา
สัญญามนสิการที่ไม่สหรคตด้วยวิตกครอบงำ...ชื่อว่า วิเสสภาคินีปัญญา สัญญา-
มนสิการที่สหรคตด้วยนิพพิทาประกอบด้วยวิราคะครอบงำ... ชื่อว่า นิพเพธภาคินี-
ปัญญา
สัญญามนสิการที่สหรคตด้วยวิตกครอบงำโยคาวจรบุคคลผู้ได้ทุติยฌานชื่อว่า
หานภาคินีปัญญา สติที่มีสภาวะสมควรแก่ธรรมนั้นตั้งมั่น ชื่อว่า ฐิติภาคินีปัญญา
สัญญามนสิการที่สหรคตด้วยอุเบกขาครอบงำ...ชื่อว่า วิเสสภาคินีปัญญา สัญญา-
มนสิการที่สหรคตด้วยนิพพิทาประกอบด้วยวิราคะครอบงำ...ชื่อว่า นิพเพธภาคินี-
ปัญญา


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๕๑๑ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๖.ญาณวิภังค์] ๔.จตุกกนิทเทส
สัญญามนสิการที่สหรคตด้วยปีติและสุขครอบงำโยคาวจรบุคคลผู้ได้ตติยฌาน
ชื่อว่า หานภาคินีปัญญา สติที่มีสภาวะสมควรแก่ธรรมนั้นตั้งมั่นชื่อว่า ฐิติภาคินีปัญญา
สัญญามนสิการที่สหรคตด้วยอทุกขมสุขเวทนาครอบงำ...ชื่อว่า วิเสสภาคินีปัญญา
สัญญามนสิการที่สหรคตด้วยนิพพิทาประกอบด้วยวิราคะครอบงำ...ชื่อว่า นิพเพธ-
ภาคินีปัญญา
สัญญามนสิการที่สหรคตด้วยอุเบกขาครอบงำโยคาวจรบุคคลผู้ได้จตุตถฌาน ชื่อ
ว่า หานภาคินีปัญญา สติที่มีสภาวะสมควรแก่ธรรมนั้นตั้งมั่นชื่อว่า ฐิติภาคินีปัญญา
สัญญามนสิการที่สหรคตด้วยอากาสานัญจายตนะครอบงำ...ชื่อว่า วิเสสภาคินีปัญญา
สัญญามนสิการที่สหรคตด้วยนิพพิทาประกอบด้วยวิราคะครอบงำ...ชื่อว่า นิพเพธ-
ภาคินีปัญญา
สัญญามนสิการที่สหรคตด้วยรูปครอบงำโยคาวจรบุคคลผู้ได้อากาสานัญจายตนะ
ชื่อว่า หานภาคินีปัญญา สติที่มีสภาวะสมควรแก่ธรรมนั้นตั้งมั่นชื่อว่า ฐิติภาคินี-
ปัญญา สัญญามนสิการที่สหรคตด้วยวิญญาณัญจายตนะครอบงำ...ชื่อว่า วิเสส-
ภาคินีปัญญา สัญญามนสิการที่สหรคตด้วยนิพพิทาประกอบด้วยวิราคะครอบงำ ...
ชื่อว่า นิพเพธภาคินีปัญญา
สัญญามนสิการที่สหรคตด้วยอากาสานัญจายตนะครอบงำโยคาวจรบุคคล
ผู้ได้วิญญาณัญจายตนะชื่อว่า หานภาคินีปัญญา สติที่มีสภาวะสมควรแก่ธรรมนั้น
ตั้งมั่นชื่อว่า ฐิติภาคินีปัญญา สัญญามนสิการที่สหรคตด้วยอากิญจัญญายตนะ
ครอบงำ...ชื่อว่า วิเสสภาคินีปัญญา สัญญามนสิการที่สหรคตด้วยนิพพิทาประกอบ
ด้วยวิราคะ...ชื่อว่า นิพเพธภาคินีปัญญา
สัญญามนสิการที่สหรคตด้วยวิญญาณัญจายตนะครอบงำโยคาวจรบุคคลผู้ได้
อากิญจัญญายตนะชื่อว่า หานภาคินีปัญญา สติที่มีสภาวะสมควรแก่ธรรมนั้นตั้งมั่น
ชื่อว่า ฐิติภาคินีปัญญา สัญญามนสิการที่สหรคตด้วยเนวสัญญานาสัญญายตนะ
ครอบงำ...ชื่อว่า วิเสสภาคินีปัญญา สัญญามนสิการที่สหรคตด้วยนิพพิทา ประกอบ
ด้วยวิราคะครอบงำ...ชื่อว่า นิพเพธภาคินีปัญญา (๗)


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๕๑๒ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๖.ญาณวิภังค์] ๔.จตุกกนิทเทส
[๘๐๐] ปฏิสัมภิทา ๔ เป็นไฉน
ปฏิสัมภิทา ๔ คือ

๑. อัตถปฏิสัมภิทา (ปัญญาแตกฉานในอรรถ)
๒. ธัมมปฏิสัมภิทา (ปัญญาแตกฉานในธรรม)
๓. นิรุตติปฏิสัมภิทา (ปัญญาแตกฉานในนิรุตติ)
๔. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา (ปัญญาแตกฉานในปฏิภาณ)

ความรู้ในอรรถชื่อว่าอัตถปฏิสัมภิทา ความรู้ในธรรมชื่อว่าธัมมปฏิสัมภิทา
ความรู้ในการกล่าวธัมมนิรุตตินั้นชื่อว่านิรุตติปฏิสัมภิทา ความรู้ในญาณทั้งหลาย
ชื่อว่าปฏิภาณปฏิสัมภิทา
เหล่านี้ชื่อว่าปฏิสัมภิทา (๘)
[๘๐๑] ปฏิปทา ๔ เป็นไฉน
ปฏิปทา ๔ คือ

๑. ปัญญาที่เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา (ปฏิบัติลำบากทั้งรู้ได้ช้า)
๒. ปัญญาที่เป็นทุกขาปฏิปทาขิปปาภิญญา (ปฏิบัติลำบากแต่รู้ได้เร็ว)
๓. ปัญญาที่เป็นสุขาปฏิปทาทันธาภิญญา (ปฏิบัติสะดวกแต่รู้ได้ช้า)
๔. ปัญญาที่เป็นสุขาปฏิปทาขิปปาภิญญา (ปฏิบัติสะดวกทั้งรู้ได้เร็ว)

บรรดาปฏิปทา ๔ เหล่านั้น ปัญญาที่เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา เป็นไฉน
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลงงมงาย ความเลือกเฟ้นธรรม สัมมา-
ทิฏฐิเกิด ขึ้นแก่โยคาวจรบุคคลผู้ทำสมาธิให้เกิดขึ้นโดยยากโดยลำบากทั้งรู้ฐานะ
นั้นช้า นี้เรียกว่า ปัญญาที่เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา
ปัญญาที่เป็นทุกขาปฏิปทาขิปปาภิญญา เป็นไฉน
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลงงมงาย ความเลือกเฟ้นธรรม สัมมา-
ทิฏฐิ เกิดขึ้นแก่โยคาวจรบุคคลผู้ทำสมาธิให้เกิดขึ้นโดยยากโดยลำบาก แต่รู้ฐานะ
นั้นได้เร็ว นี้เรียกว่า ปัญญาที่เป็นทุกขาปฏิปทาขิปปาภิญญา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๕๑๓ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๖.ญาณวิภังค์] ๔.จตุกกนิทเทส
ปัญญาที่เป็นสุขาปฏิปทาทันธาภิญญา เป็นไฉน
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลงงมงาย ความเลือกเฟ้นธรรม สัมมา-
ทิฏฐิ เกิดขึ้นแก่โยคาวจรบุคคลผู้ทำสมาธิให้เกิดขึ้นโดยไม่ยาก โดยไม่ลำบาก แต่
รู้ฐานะนั้นช้า นี้เรียกว่า ปัญญาที่เป็นสุขาปฏิปทาทันธาภิญญา
ปัญญาที่เป็นสุขาปฏิปทาขิปปาภิญญา เป็นไฉน
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลงงมงาย ความเลือกเฟ้นธรรม สัมมา-
ทิฏฐิ เกิดขึ้นแก่โยคาวจรบุคคลผู้ทำสมาธิให้เกิดขึ้นโดยไม่ยาก โดยไม่ลำบาก ทั้ง
รู้ฐานะนั้นเร็ว นี้เรียกว่า ปัญญาที่เป็นสุขาปฏิปทาขิปปาภิญญา
เหล่านี้ชื่อว่าปฏิปทา ๔ (๙)
[๘๐๒] อารัมมณปัญญา ๔ เป็นไฉน
อารัมมณปัญญา ๔ คือ
๑. ปัญญาที่เป็นปริตตะและมีปริตตะเป็นอารมณ์
๒. ปัญญาที่เป็นปริตตะแต่มีอัปปมาณะเป็นอารมณ์
๓. ปัญญาที่เป็นอัปปมาณะแต่มีปริตตะเป็นอารมณ์
๔. ปัญญาที่เป็นอัปปมาณะและมีอัปปมาณะเป็นอารมณ์
บรรดาอารัมมณปัญญา ๔ นั้น ปัญญาที่เป็นปริตตะและมีปริตตะเป็นอารมณ์
เป็นไฉน
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลงงมงาย ความเลือกเฟ้นธรรม สัมมา-
ทิฏฐิ เกิดขึ้นแก่โยคาวจรบุคคลผู้ได้สมาธิที่ยังไม่ชำนาญคล่องแคล่ว แผ่อารมณ์ไป
ได้เล็กน้อย นี้เรียกว่า ปัญญาที่เป็นปริตตะและมีปริตตะเป็นอารมณ์
ปัญญาที่เป็นปริตตะแต่มีอัปปมาณะเป็นอารมณ์ เป็นไฉน
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลงงมงาย ความเลือกเฟ้นธรรม สัมมา-
ทิฏฐิ เกิดขึ้นแก่โยคาวจรบุคคลผู้ได้สมาธิที่ยังไม่ชำนาญคล่องแคล่ว แผ่อารมณ์ไป
ได้กว้างขวางจนหาประมาณมิได้ นี้เรียกว่า ปัญญาที่เป็นปริตตะแต่มีอัปปมาณะ
เป็นอารมณ์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๕๑๔ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๖.ญาณวิภังค์] ๔.จตุกกนิทเทส
ปัญญาที่เป็นอัปปมาณะแต่มีปริตตะเป็นอารมณ์ เป็นไฉน
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลงงมงาย ความเลือกเฟ้นธรรม สัมมา-
ทิฏฐิ เกิดขึ้นแก่โยคาวจรบุคคลผู้ได้สมาธิที่ชำนาญคล่องแคล่ว แผ่อารมณ์ไปได้
เล็กน้อย นี้เรียกว่า ปัญญาที่เป็นอัปปมาณะแต่มีปริตตะเป็นอารมณ์
ปัญญาที่เป็นอัปปมาณะและมีอัปปมาณะเป็นอารมณ์ เป็นไฉน
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลงงมงาย ความเลือกเฟ้นธรรม สัมมา-
ทิฏฐิ เกิดขึ้นแก่โยคาวจรบุคคลผู้ได้สมาธิที่ชำนาญคล่องแคล่ว แผ่อารมณ์ไปได้
กว้างขวางจนหาประมาณมิได้ นี้เรียกว่า ปัญญาที่เป็นอัปปมาณะและมีอัปปมาณะ
เป็นอารมณ์
เหล่านี้เรียกว่า อารัมมณปัญญา ๔ (๑๐)
มัคคสมังคิญาณ ได้แก่ นี้ความรู้ในชรามรณะ นี้ความรู้ในชรามรณสมุทัย
นี้ความรู้ในชรามรณนิโรธ นี้ความรู้ในชรามรณนิโรธคามินีปฏิปทา
ความรู้ในชรามรณะ เป็นไฉน
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลงงมงาย ความเลือกเฟ้นธรรม สัมมา-
ทิฏฐิ ปรารภชรามรณะเกิดขึ้น นี้เรียกว่า ความรู้ในชรามรณะ
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลงงมงาย ความเลือกเฟ้นธรรม สัมมา-
ทิฏฐิ ปรารภชรามรณสมุทัยเกิดขึ้น นี้เรียกว่า ความรู้ในชรามรณสมุทัย ฯลฯ ปรารภ
ชรามรณนิโรธเกิดขึ้น นี้เรียกว่า ความรู้ในชรามรณนิโรธ ฯลฯ ปรารภชรามรณ-
นิโรธคามินีปฏิปทาเกิดขึ้น นี้เรียกว่า ความรู้ในชรามรณนิโรธคามินีปฏิปทา (๑๑)
[๘๐๓] มัคคสมังคิญาณ ได้แก่ ความรู้ในชาติ ฯลฯ ความรู้ในภพ ฯลฯ
ความรู้ในอุปาทาน ฯลฯ ความรู้ในตัณหา ฯลฯ ความรู้ในเวทนา ฯลฯ ความรู้
ในผัสสะ ฯลฯ ความรู้ในสฬายตนะ ฯลฯ ความรู้ในนาม ฯลฯ ความรู้ในวิญญาณ
ฯลฯ ความรู้ในสังขาร ฯลฯ ความรู้ในสังขารสมุทัย ความรู้ในสังขารนิโรธ และ
ความรู้ในสังขารนิโรธคามินีปฏิปทา (๑๒-๒๑)


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๕๑๕ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๖.ญาณวิภังค์] ๕. ปัญจกนิทเทส
บรรดาความรู้เหล่านั้น ความรู้ในสังขาร เป็นไฉน
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลงงมงาย ความเลือกเฟ้นธรรม สัมมา-
ทิฏฐิ ปรารภสังขารทั้งหลายเกิดขึ้น นี้เรียกว่า ความรู้ในสังขาร
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลงงมงาย ความเลือกเฟ้นธรรม สัมมา-
ทิฏฐิ ปรารภสังขารสมุทัย ฯลฯ ปรารภสังขารนิโรธ ฯลฯ ปรารภสังขารนิโรธ-
คามินีปฏิปทาเกิดขึ้น นี้เรียกว่า ความรู้ในสังขารนิโรธคามินีปฏิปทา (๒๒-๒๔)
ญาณวัตถุหมวดละ ๔ มีด้วยประการฉะนี้
จตุกกนิทเทส จบ

๕. ปัญจกนิทเทส
[๘๐๔] บรรดาญาณวัตถุหมวดละ ๕ นั้น สัมมาสมาธิมีองค์ ๕ เป็นไฉน
ปัญญาที่แผ่ปีติไป ปัญญาที่แผ่สุขไป ปัญญาที่แผ่จิตไป ปัญญาที่แผ่แสง
สว่างไป และปัจจเวกขณนิมิต๑ (ปัจจเวกขณญาณ)
ปัญญาในฌาน ๒ ชื่อว่า ปัญญาที่แผ่ปีติไป ปัญญาในฌาน ๓ ชื่อว่า ปัญญา
ที่แผ่สุขไป ญาณในการกำหนดรู้จิตของผู้อื่นชื่อว่า ปัญญาที่แผ่จิตไป ทิพยจักษุ
ชื่อว่า ปัญญาที่แผ่แสงสว่างไป ปัจจเวกขณญาณของโยคาวจรบุคคลผู้ออกจากสมาธิ
นั้น ๆ ชื่อว่า ปัจจเวกขณนิมิต นี้เรียกว่า สัมมาสมาธิมีองค์ ๕ (๑)
สัมมาสมาธิมีญาณ ๕ เป็นไฉน
ญาณเกิดขึ้นเฉพาะตนว่า สมาธินี้มีสุขในปัจจุบัน และมีสุขเป็นวิบากในอนาคต
ญาณเกิดขึ้นเฉพาะตนว่า สมาธินี้ไกลจากกิเลส หาอามิสมิได้ ญาณเกิดขึ้นเฉพาะ
ตนว่า สมาธินี้อันบุรุษผู้มีปัญญาทรามเสพไม่ได้ ญาณเกิดขึ้นเฉพาะตนว่า สมาธิ

เชิงอรรถ :
๑ ญาณที่เกิดแก่ผู้บำเพ็ญวิปัสสนาโดยลำดับตั้งแต่ต้นจนถึงจุดหมาย คือ มรรค ผล นิพพาน (อภิ.วิ.อ.
๘๐๔/๔๔๙)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๕๑๖ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๖.ญาณวิภังค์] ๗.สัตตกนิทเทส
นี้สงบ ประณีต ได้ความสงบระงับ ได้บรรลุแล้วโดยความเป็นธรรมเอกผุดขึ้น และ
ไม่ได้บรรลุโดยการข่มนิวรณ์ ห้ามกิเลสด้วยจิตที่เป็นสสังขาริก๑ ญาณเกิดขึ้นเฉพาะ
ตนว่า ก็เรานั้นแลมีสติเข้าสมาธินี้ มีสติออกจากสมาธินี้ นี้เรียกว่า สัมมาสมาธิมี
ญาณ ๕ (๒)
ญาณวัตถุหมวดละ ๕ มีด้วยประการฉะนี้
ปัญจกนิทเทส จบ

๖. ฉักกนิทเทส
[๘๐๕] บรรดาญาณวัตถุหมวดละ ๖ นั้น ปัญญาในอภิญญา ๖ เป็นไฉน
ปัญญาในอภิญญา ๖ คือ

๑. อิทธิวิธญาณ (ความรู้ที่ทำให้แสดงฤทธิ์ต่าง ๆ ได้)
๒. โสตธาตุวิสุทธิญาณ (ความรู้ที่ทำให้มีหูทิพย์)
๓. ปรจิตตญาณ (ความรู้ที่ทำให้รู้ใจผู้อื่น)
๔. ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ (ความรู้ที่ทำให้ระลึกชาติได้)
๕. จุตูปปาตญาณ (ความรู้การจุติและเกิด)
๖. อาสวักขยญาณ (ความรู้ที่ทำให้อาสวะสิ้นไป)

เหล่านี้ชื่อว่าปัญญาในอภิญญา ๖๒
ญาณวัตถุหมวดละ ๖ มีด้วยประการฉะนี้ (๑)

๗. สัตตกนิทเทส
[๘๐๖] ในญาณวัตถุหมวดละ ๗ นั้น ญาณวัตถุ ๗๗ เป็นไฉน
ความรู้ว่า เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะจึงมี เมื่อชาติไม่มี ก็รู้ว่าชรามรณะ
ไม่มี

เชิงอรรถ :
๑ จิตที่มีสิ่งกระตุ้นเตือน (อภิ.สงฺ.อ. ๑๔๖/๒๐๖)
๒ อภิญญา ๖ นั้น ห้าข้อแรกเป็นโลกิยะ ข้อสุดท้ายเป็นโลกุตตระ (อภิ.วิ.อ. ๘๐๕/๔๕๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๕๑๗ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๖.ญาณวิภังค์] ๘. อัฏฐกนิทเทส
แม้ในอดีตกาล ความรู้ว่า เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะจึงมี เมื่อชาติไม่มี
ก็รู้ว่าชรามรณะไม่มี
แม้ในอนาคตกาล ความรู้ว่า เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะจึงมี เมื่อชาติไม่
มี ก็รู้ว่าชรามรณะไม่มี ความรู้ว่า แม้ธัมมฐิติญาณของบุคคลนั้นก็มีความสิ้นไปเป็น
ธรรมดา มีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา มีความคลายไปเป็นธรรมดา มีความดับไปเป็น
ธรรมดา ความรู้ว่า เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติจึงมี ฯลฯ ความรู้ว่า เพราะอุปาทาน
เป็นปัจจัย ภพจึงมี ฯลฯ ความรู้ว่า เพราะตัณหาเป็นปัจจัย อุปาทานจึงมี ฯลฯ
ความรู้ว่า เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ตัณหาจึงมี ฯลฯ ความรู้ว่า เพราะผัสสะเป็น
ปัจจัย เวทนาจึงมี ฯลฯ ความรู้ว่า เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี ฯลฯ
ความรู้ว่า เพราะนามรูปเป็นปัจจัย สฬายตนะจึงมี ฯลฯ ความรู้ว่า เพราะวิญญาณ
เป็นปัจจัย นามรูปจึงมี ฯลฯ ความรู้ว่า เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี ฯลฯ
ความรู้ว่า เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารจึงมี เมื่ออวิชชาไม่มี ก็รู้ว่าสังขารไม่มี
แม้ในอดีตกาล ความรู้ว่า เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารจึงมี ความรู้ว่า
เมื่ออวิชชาไม่มี สังขารก็ไม่มี
แม้ในอนาคตกาล ความรู้ว่า เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารจึงมี ความรู้ว่า
เมื่ออวิชชาไม่มี ก็รู้ว่าสังขารไม่มี ความรู้ว่า แม้ธัมมฐิติญาณของบุคคลนั้นก็มีความ
สิ้นไปเป็นธรรมดา มีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา มีความคลายไปเป็นธรรมดา มี
ความดับไปเป็นธรรมดา เหล่านี้ชื่อว่าญาณวัตถุ ๗๗๑
ญาณวัตถุหมวดละ ๗ มีด้วยประการฉะนี้ (๑)

๘. อัฏฐกนิทเทส
[๘๐๗] บรรดาญาณวัตถุหมวดละ ๘ นั้น ปัญญาในมรรค ๔ ผล ๔ เป็นไฉน
ปัญญาในมรรค ๔ ผล ๔ คือ

เชิงอรรถ :
๑ สํ.นิ. ๑๖/๓๔/๕๘, อภิ.วิ.อ. ๘๐๖/๔๕๒

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๕๑๘ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๖.ญาณวิภังค์] ๑๐.ทสกนิทเทส

๑. ปัญญาในโสดาปัตติมรรค ๒. ปัญญาในโสดาปัตติผล
๓. ปัญญาในสกทาคามิมรรค ๔. ปัญญาในสกทาคามิผล
๕. ปัญญาในอนาคามิมรรค ๖. ปัญญาในอนาคามิผล
๗. ปัญญาในอรหัตตมรรค ๘. ปัญญาในอรหัตตผล

เหล่านี้ชื่อว่าปัญญาในมรรค ๔ ผล ๔
ญาณวัตถุหมวดละ ๘ มีด้วยประการฉะนี้ (๑)

๙. นวกนิทเทส
[๘๐๘] บรรดาญาณวัตถุหมวดละ ๙ นั้น ปัญญาในอนุปุพพวิหารสมาบัติ
๙ เป็นไฉน
ปัญญาในอนุปุพพวิหารสมาบัติ ๙ คือ

๑. ปัญญาในปฐมฌานสมาบัติ ๒. ปัญญาในทุติยฌานสมาบัติ
๓. ปัญญาในตติยฌานสมาบัติ ๔. ปัญญาในจตุตถฌานสมาบัติ
๕. ปัญญาในอากาสานัญจายตนสมาบัติ ๖. ปัญญาในวิญญาณัญจายตนสมาบัติ
๗. ปัญญาในอากิญจัญญายตนสมาบัติ ๘. ปัญญาในเนวสัญญานาสัญญาย
ตนสมาบัติ

๙. ปัจจเวกขณญาณของโยคาวจรบุคคลผู้ออกจากสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ
เหล่านี้ชื่อว่าปัญญาในอนุปุพพวิหารสมาบัติ ๙
ญาณวัตถุหมวดละ ๙ มีด้วยประการฉะนี้ (๑)

๑๐. ทสกนิทเทส
๑. ฐานาฐานญาณ
(ปรีชาหยั่งรู้ฐานะและอฐานะ)๑
[๘๐๙] บรรดาญาณวัตถุหมวดละ ๑๐ นั้น พระตถาคตทรงทราบธรรมที่
เป็นฐานะโดยความเป็นฐานะและธรรมที่ไม่เป็นฐานะโดยความไม่เป็นฐานะ
ตามความเป็นจริง เป็นไฉน

เชิงอรรถ :
๑ คำว่า “ฐานะ” หมายถึงสิ่งที่เป็นไปได้ คือทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่วเป็นต้น “อฐานะ” หมายถึงสิ่งที่เป็นไปไม่ได้
คือทำดีได้ชั่ว ทำชั่วได้ดีเป็นต้น (อภิ.วิ.อ. ๘๐๙/๔๕๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๕๑๙ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๖.ญาณวิภังค์] ๑๐.ทสกนิทเทส
พระตถาคตในโลกนี้ทรงทราบว่า ข้อที่บุคคลผู้โสดาบันถึงพร้อมด้วยมัคค-
ทิฏฐิ๑ จะพึงยึดถือสังขารอะไร ๆ โดยความเป็นสภาวะที่เที่ยง นี้ไม่ใช่ฐานะไม่ใช่
โอกาสที่จะมีได้ พระองค์ทรงทราบว่า ข้อที่ปุถุชนจะพึงยึดถือสังขารอะไร ๆ โดย
ความเป็นสภาวะที่เที่ยง นี้แลเป็นฐานะที่มีได้เป็นได้
พระตถาคตในโลกนี้ทรงทราบว่า ข้อที่บุคคลผู้โสดาบันถึงพร้อมด้วยมัคคทิฏฐิ
จะพึงยึดถือสังขารอะไร ๆ โดยความเป็นสภาวะที่เป็นสุข นี้ไม่ใช่ฐานะไม่ใช่โอกาสที่
จะมีได้ พระองค์ทรงทราบว่า ข้อที่ปุถุชนจะพึงยึดถือสังขารอะไร ๆ โดยความเป็น
สภาวะที่เป็นสุข นี้แลเป็นฐานะที่มีได้เป็นได้
พระตถาคตในโลกนี้ทรงทราบว่า ข้อที่บุคคลผู้โสดาบันถึงพร้อมด้วยมัคคทิฏฐิ
จะพึงยึดถือธรรมอะไร ๆ โดยความเป็นสภาวะที่เป็นตัวตน นี้ไม่ใช่ฐานะไม่ใช่โอกาส
ที่จะมีได้ พระองค์ทรงทราบว่า ข้อที่ปุถุชนจะพึงยึดถือธรรมอะไร ๆ โดยความเป็น
สภาวะที่เป็นตัวตน นี้แลเป็นฐานะที่มีได้เป็นได้
พระตถาคตในโลกนี้ทรงทราบว่า ข้อที่บุคคลผู้โสดาบันถึงพร้อมด้วยมัคคทิฏฐิ
จะพึงฆ่ามารดา นี้ไม่ใช่ฐานะไม่ใช่โอกาสที่จะมีได้ พระองค์ทรงทราบว่า ข้อที่ปุถุชน
จะพึงฆ่ามารดา นี้แลเป็นฐานะที่มีได้เป็นได้
พระตถาคตในโลกนี้ทรงทราบว่า ข้อที่บุคคลผู้โสดาบันถึงพร้อมด้วยมัคคทิฏฐิ
จะพึงฆ่าบิดา ฯลฯ ฆ่าพระอรหันต์ ฯลฯ มีจิตคิดประทุษร้ายทำพระโลหิตของ
พระตถาคตให้ห้อขึ้น ฯลฯ ทำสงฆ์ให้แตกกัน ฯลฯ นับถือศาสดาอื่น ฯลฯ
บังเกิดในภพที่ ๘๑ นี้ไม่ใช่ฐานะไม่ใช่โอกาสที่จะมีได้ พระองค์ทรงทราบว่า ข้อที่
ปุถุชนจะพึงบังเกิดในภพที่ ๘ นี้แลเป็นฐานะที่มีได้เป็นได้
พระตถาคตในโลกนี้ทรงทราบว่า ข้อที่พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ๒ พระ
องค์จะพึงอุบัติขึ้นพร้อม ๆ กันในโลกธาตุอันเดียวกัน นี้ไม่ใช่ฐานะไม่ใช่โอกาสที่จะ
มีได้ พระองค์ทรงทราบว่า ข้อที่พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าจะพึงอุบัติขึ้นพระองค์
เดียวในโลกธาตุเดียว นี้แลเป็นฐานะที่มีได้เป็นได้

เชิงอรรถ :
๑ หมายถึงพระอริยสาวกผู้โสดาบัน (อภิ.วิ.อ. ๘๐๙/๔๕๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๕๒๐ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๖.ญาณวิภังค์] ๑๐.ทสกนิทเทส
พระตถาคตในโลกนี้ทรงทราบว่า ข้อที่พระเจ้าจักรพรรดิ ๒ องค์จะพึงอุบัติขึ้น
พร้อม ๆ กันในโลกธาตุอันเดียวกัน นี้ไม่ใช่ฐานะไม่ใช่โอกาสที่จะมีได้ พระองค์ทรง
ทราบว่า ข้อที่พระเจ้าจักรพรรดิจะพึงอุบัติขึ้นพระองค์เดียวในโลกธาตุเดียว นี้แล
เป็นฐานะที่มีได้เป็นได้
พระตถาคตในโลกนี้ทรงทราบว่า ข้อที่สตรีจะพึงเป็นพระอรหันตสัมมา-
สัมพุทธเจ้า นี้ไม่ใช่ฐานะไม่ใช่โอกาสที่จะมีได้ พระองค์ทรงทราบว่า ข้อที่บุรุษจะ
พึงเป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ นี้แลเป็นฐานะที่มีได้เป็นได้
พระตถาคตในโลกนี้ทรงทราบว่า ข้อที่สตรีจะพึงเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ นี้ไม่
ใช่ฐานะไม่ใช่โอกาสที่จะมีได้ พระองค์ทรงทราบว่า ข้อที่บุรุษจะพึงเป็นพระเจ้า
จักรพรรดิ นี้แลเป็นฐานะที่มีได้เป็นได้
พระตถาคตในโลกนี้ทรงทราบว่า ข้อที่สตรีจะพึงเกิดเป็นพระอินทร์ เป็นมาร
เป็นพรหม นี้ไม่ใช่ฐานะไม่ใช่โอกาสที่จะมีได้ พระองค์ทรงทราบว่า ข้อที่บุรุษจะพึง
เกิดเป็นพระอินทร์ เป็นมาร เป็นพรหม นี้แลเป็นฐานะที่มีได้เป็นได้
พระตถาคตในโลกนี้ทรงทราบว่า ข้อที่กายทุจริตจะพึงเกิดผลที่น่าปรารถนา
น่าใคร่ น่าพอใจ นี้ไม่ใช่ฐานะไม่ใช่โอกาสที่จะมีได้ พระองค์ทรงทราบว่า ข้อที่
กายทุจริตจะพึงเกิดผลที่ไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่น่าพอใจ นี้แลเป็นฐานะที่มี
ได้เป็นได้
พระตถาคตในโลกนี้ทรงทราบว่า ข้อที่วจีทุจริต ฯลฯ มโนทุจริตจะพึงเกิด
ผลที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ นี้ไม่ใช่ฐานะไม่ใช่โอกาสที่จะมีได้ พระองค์
ทรงทราบว่า ข้อที่วจีทุจริต ฯลฯ มโนทุจริตจะพึงเกิดผลที่ไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่
ไม่น่าพอใจ นี้แลเป็นฐานะที่มีได้เป็นได้
พระตถาคตในโลกนี้ทรงทราบว่า ข้อที่กายสุจริตจะพึงเกิดผลที่ไม่น่าปรารถนา
ไม่น่าใคร่ ไม่น่าพอใจ นี้ไม่ใช่ฐานะไม่ใช่โอกาสที่จะมีได้ พระองค์ทรงทราบว่า ข้อ
ที่กายสุจริตจะพึงเกิดผลที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ นี้แลเป็นฐานะที่มีได้
เป็นได้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๕๒๑ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๖.ญาณวิภังค์] ๑๐.ทสกนิทเทส
พระตถาคตในโลกนี้ทรงทราบว่า ข้อที่วจีสุจริต ฯลฯ มโนสุจริตจะพึงเกิดผล
ที่ไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่น่าพอใจ นี้ไม่ใช่ฐานะไม่ใช่โอกาสที่จะมีได้
พระองค์ทรงทราบว่า ข้อที่วจีสุจริต ฯลฯ มโนสุจริตจะพึงเกิดผลที่น่าปรารถนา
น่าใคร่ น่าพอใจ นี้แลเป็นฐานะที่มีได้เป็นได้
พระตถาคตในโลกนี้ทรงทราบว่า ข้อที่บุคคลผู้มีความพรั่งพร้อมด้วยกาย-
ทุจริต หลังจากตายแล้วจะพึงเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ เพราะกายทุจริตนั้นเป็นเหตุ
เป็นปัจจัย นี้ไม่ใช่ฐานะไม่ใช่โอกาสที่จะมีได้ พระองค์ทรงทราบว่า ข้อที่บุคคลผู้มี
ความพรั่งพร้อมด้วยกายทุจริต หลังจากตายแล้วจะพึงเข้าถึงอบาย ทุคคติ วินิบาต
นรก เพราะกายทุจริตนั้นเป็นเหตุเป็นปัจจัย นี้แลเป็นฐานะที่มีได้เป็นได้
พระตถาคตในโลกนี้ทรงทราบว่า ข้อที่บุคคลผู้มีความพรั่งพร้อมด้วยวจีทุจริต
ฯลฯ บุคคลผู้มีความพรั่งพร้อมด้วยมโนทุจริต หลังจากตายแล้วจะพึงเข้าถึงสุคติ
โลกสวรรค์ เพราะวจีทุจริตและมโนทุจริตนั้นเป็นเหตุเป็นปัจจัย นี้ไม่ใช่ฐานะไม่ใช่
โอกาสที่จะมีได้ พระองค์ทรงทราบว่า ข้อที่บุคคลผู้มีความพรั่งพร้อมด้วยวจีทุจริต
ฯลฯ บุคคลผู้มีความพรั่งพร้อมด้วยมโนทุจริต หลังจากตายแล้วจะพึงเข้าถึงอบาย
ทุคคติ วินิบาต นรก เพราะวจีทุจริตและมโนทุจริตนั้นเป็นเหตุเป็นปัจจัย นี้แล
เป็นฐานะที่มีได้เป็นได้
พระตถาคตในโลกนี้ทรงทราบว่า ข้อที่บุคคลผู้มีความพรั่งพร้อมด้วยกายสุจริต
หลังจากตายแล้วจะพึงเข้าถึงอบาย ทุคคติ วินิบาต นรก เพราะกายสุจริตนั้น
เป็นเหตุเป็นปัจจัย นี้ไม่ใช่ฐานะไม่ใช่โอกาสที่จะมีได้ พระองค์ทรงทราบว่า ข้อที่
บุคคลผู้มีความ พรั่งพร้อมด้วยกายสุจริต หลังจากตายแล้วจะพึงเข้าถึงสุคติโลก
สวรรค์ เพราะกายสุจริตนั้นเป็นเหตุเป็นปัจจัย นี้แลเป็นฐานะที่มีได้เป็นได้
พระตถาคตในโลกนี้ทรงทราบว่า ข้อที่บุคคลผู้มีความพรั่งพร้อมด้วยวจีสุจริต
ฯลฯ บุคคลผู้มีความพรั่งพร้อมด้วยมโนสุจริต หลังจากตายแล้วจะพึงเข้าถึงอบาย
ทุคคติ วินิบาต นรก เพราะวจีสุจริตและมโนสุจริตนั้นเป็นเหตุเป็นปัจจัย นี้ไม่ใช่
ฐานะไม่ใช่โอกาสที่จะมีได้ พระองค์ทรงทราบว่า ข้อที่บุคคลผู้มีความพรั่งพร้อม
ด้วยวจีสุจริต ฯลฯ บุคคลผู้มีความพรั่งพร้อมด้วยมโนสุจริต หลังจากตายแล้วจะ
พึงเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ เพราะวจีสุจริตและมโนสุจริตนั้นเป็นเหตุเป็นปัจจัย นี้แล
เป็นฐานะที่มีได้เป็นได้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๕๒๒ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๖.ญาณวิภังค์] ๑๐.ทสกนิทเทส
พระตถาคตในโลกนี้ทรงทราบว่า สภาวธรรมใด ๆ เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้
สภาวธรรมใด ๆ เกิดขึ้น สภาวธรรมนั้น ๆ เป็นฐานะ สภาวธรรมใด ๆ ไม่เป็น
เหตุไม่เป็นปัจจัยให้สภาวธรรมใด ๆ เกิดขึ้น สภาวธรรมนั้น ๆ ไม่เป็นฐานะ ปัญญา
กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลง ความเลือกเฟ้นธรรม สัมมาทิฏฐิในสภาวธรรม
ที่เป็นฐานะและสภาวธรรมที่ไม่เป็นฐานะเหล่านั้น นี้ชื่อว่าพระตถาคตทรงทราบ
สภาวธรรมที่เป็นฐานะโดยความเป็นฐานะ และสภาวธรรมที่ไม่เป็นฐานะโดยความ
ไม่เป็นฐานะตามความเป็นจริง (๑)

๒. กัมมวิปากญาณ
(ปรีชาหยั่งรู้ผลของกรรม)
[๘๑๐] พระตถาคตทรงทราบผลของกรรมสมาทานที่เป็นอดีต อนาคต
และปัจจุบันตามความเป็นจริง โดยฐานะ โดยเหตุ เป็นไฉน
พระตถาคตในโลกนี้ทรงทราบว่า กรรมสมาทานที่เป็นบาปบางอย่างอันคติ-
สมบัติห้ามไว้จึงไม่ให้ผลก็มี กรรมสมาทานที่เป็นบาปบางอย่างอันอุปธิสมบัติห้ามไว้
จึงไม่ให้ผลก็มี กรรมสมาทานที่เป็นบาปบางอย่างอันกาลสมบัติห้ามไว้จึงไม่ให้ผลก็มี
กรรมสมาทานที่เป็นบาปบางอย่างอันปโยคสมบัติห้ามไว้จึงไม่ให้ผลก็มี
กรรมสมาทานที่เป็นบาปบางอย่างอาศัยคติวิบัติจึงให้ผลก็มี กรรมสมาทานที่
เป็นบาปบางอย่างอาศัยอุปธิวิบัติจึงให้ผลก็มี กรรมสมาทานที่เป็นบาปบางอย่างอาศัย
กาลวิบัติจึงให้ผลก็มี กรรมสมาทานที่เป็นบาปบางอย่างอาศัยปโยควิบัติจึงให้ผลก็มี
กรรมสมาทานที่เป็นบุญบางอย่างอันคติวิบัติห้ามไว้จึงไม่ให้ผลก็มี กรรม
สมาทานที่เป็นบุญบางอย่างอันอุปธิวิบัติห้ามไว้จึงไม่ให้ผลก็มี กรรมสมาทานที่เป็น
บุญบางอย่างอันกาลวิบัติห้ามไว้จึงไม่ให้ผลก็มี กรรมสมาทานที่เป็นบุญบางอย่าง
อันปโยควิบัติห้ามไว้จึงไม่ให้ผลก็มี
กรรมสมาทานที่เป็นบุญบางอย่างอาศัยคติสมบัติจึงให้ผลก็มี กรรมสมาทานที่
เป็นบุญบางอย่างอาศัยอุปธิสมบัติจึงให้ผลก็มี กรรมสมาทานที่เป็นบุญบางอย่างอาศัย
กาลสมบัติจึงให้ผลก็มี กรรมสมาทานที่เป็นบุญบางอย่างอาศัยปโยคสมบัติจึงให้ผลก็มี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๕๒๓ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๖.ญาณวิภังค์] ๑๐.ทสกนิทเทส
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลงงมงาย ความเลือกเฟ้นธรรม สัมมา-
ทิฏฐิในกรรมสมาทานนั้น นี้ชื่อพระตถาคตทรงทราบวิบากของกรรมสมาทานที่เป็น
อดีต อนาคต และปัจจุบันตามความเป็นจริงโดยฐานะ โดยเหตุ (๒)

๓. สัพพัตถคามินีปฏิปทาญาณ
(ปรีชาหยั่งรู้ทางที่จะนำไปสู่ภูมิทั้งปวง)
[๘๑๑] พระตถาคตทรงทราบทางไปสู่ภูมิทั้งปวงตามความเป็นจริง เป็น
ไฉน
พระตถาคตในโลกนี้ทรงทราบว่า ทางนี้ ปฏิปทานี้ ให้ไปสู่นรก ทรงทราบว่า
ทางนี้ ปฏิปทานี้ ให้ไปสู่กำเนิดสัตว์เดรัจฉาน ทรงทราบว่า ทางนี้ ปฏิปทานี้ให้
ไปสู่วิสัยแห่งเปรต ทรงทราบว่า ทางนี้ ปฏิปทานี้ให้ไปสู่มนุษยโลก ทรงทราบว่า
ทางนี้ ปฏิปทานี้ให้ไปสู่เทวโลก ทรงทราบว่า ทางนี้ ปฏิปทานี้ให้ไปสู่นิพพาน
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลงงมงาย ความเลือกเฟ้นธรรม
สัมมาทิฏฐิในทางไปสู่ภูมิทั้งปวงนั้น นี้ชื่อว่าพระตถาคตทรงทราบทางไปสู่ภูมิทั้งปวง
ตามความเป็นจริง (๓)

๔. นานาธาตุญาณ
(ปรีชาหยั่งรู้สัตว์ที่มีธาตุแตกต่างกัน)
[๘๑๒] พระตถาคตทรงทราบโลกที่เป็นอเนกธาตุและนานาธาตุตาม
ความเป็นจริง เป็นไฉน
พระตถาคตในโลกนี้ทรงทราบความเป็นต่าง ๆ กันแห่งขันธ์ ทรงทราบความ
เป็น ต่าง ๆ กันแห่งอายตนะ ทรงทราบความเป็นต่าง ๆ กันแห่งธาตุ ทรงทราบ
ความเป็นต่าง ๆ กันแห่งโลกที่เป็นอเนกธาตุและที่เป็นนานาธาตุ
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลงงมงาย ความเลือกเฟ้นธรรม สัมมา-
ทิฏฐิในโลกที่เป็นอเนกธาตุและที่เป็นนานาธาตุนั้น นี้ชื่อว่าพระตถาคตทรงทราบโลก
ที่เป็นอเนกธาตุและที่เป็นนานาธาตุตามความเป็นจริง๑ (๔)

เชิงอรรถ :
๑ อภิ.วิ.อ. ๘๑๒/๔๙๑-๒

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๕๒๔ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๖.ญาณวิภังค์] ๑๐.ทสกนิทเทส
๕. นานาธิมุตติกญาณ
(ปรีชาหยั่งรู้สัตว์ที่มีอัธยาศัยแตกต่างกัน)
[๘๑๓] พระตถาคตทรงทราบความที่สัตว์ทั้งหลายเป็นผู้มีอัธยาศัยต่าง ๆ
กันตามความเป็นจริง เป็นไฉน
พระตถาคตในโลกนี้ทรงทราบว่า สัตว์ทั้งหลายที่มีอัธยาศัยทรามก็มี สัตว์ทั้ง
หลายที่มีอัธยาศัยประณีตก็มี เหล่าสัตว์ที่มีอัธยาศัยทรามย่อมคบหาสมาคมเข้าไป
หาบ่อย ๆ ซึ่งเหล่าสัตว์ที่มีอัธยาศัยทราม เหล่าสัตว์ที่มีอัธยาศัยประณีตก็คบหา
สมาคมเข้าหาบ่อย ๆ ซึ่งเหล่าสัตว์ที่มีอัธยาศัยประณีต
แม้แต่ในอดีตกาล สัตว์ทั้งหลายที่มีอัธยาศัยทรามได้คบหาสมาคมเข้าหา
บ่อย ๆ ซึ่งเหล่าสัตว์ผู้มีอัธยาศัยทรามมาแล้ว สัตว์ทั้งหลายที่มีอัธยาศัยประณีตก็
ได้คบหาสมาคมเข้าหาบ่อย ๆ ซึ่งเหล่าสัตว์ที่มีอัธยาศัยประณีตมาแล้ว
แม้ในอนาคตกาล สัตว์ทั้งหลายที่มีอัธยาศัยทราม ก็จักคบหาสมาคมเข้าหา
บ่อย ๆ ซึ่งเหล่าสัตว์ที่มีอัธยาศัยทราม สัตว์ทั้งหลายที่มีอัธยาศัยประณีตก็จักคบหา
สมาคมเข้าหาบ่อย ๆ ซึ่งเหล่าสัตว์ที่มีอัธยาศัยประณีต
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลงงมงาย ความเลือกเฟ้นธรรม
สัมมาทิฏฐิในความที่สัตว์ทั้งหลายมีอัธยาศัยต่าง ๆ กันนั้น นี้ชื่อว่าพระตถาคตทรง
ทราบความที่สัตว์ทั้งหลายมีอัธยาศัยต่าง ๆ กันตามความเป็นจริง (๕)

๖. อินทริยปโรปริยัตติญาณ
(ปรีชาหยั่งรู้สัตว์ที่มีอินทรีย์แก่กล้า และไม่แก่กล้า)
[๘๑๔] (๖) พระตถาคตทรงทราบความแก่กล้าและไม่แก่กล้าแห่ง
อินทรีย์ของสัตว์เหล่าอื่นของบุคคลเหล่าอื่นตามความเป็นจริง เป็นไฉน
พระตถาคตในโลกนี้ทรงทราบอาสยะ อนุสัย จริต อธิมุตติ๑ ของสัตว์ทั้งหลาย
ทรงทราบสัตว์ทั้งหลายผู้มีธุลีคือกิเลสน้อย มีธุลีคือกิเลสมาก มีอินทรีย์แก่กล้า มี

เชิงอรรถ :
๑ อาสยะ ได้แก่ ทิฏฐิและยถาภูตญาณอันเป็นที่อาศัยอยู่ของเหล่าสัตว์
อนุสัย ได้แก่ กิเลสที่นอนเนื่องซึ่งยังละไม่ได้
จริต ได้แก่ กุศลและอกุศลที่กายกรรมเป็นต้นปรุงแต่ง
อธิมุตติ ได้แก่ อัธยาศัยของเหล่าสัตว์ (อภิ.วิ.อ. ๘๑๔/๔๙๓-๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๕๒๕ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๖.ญาณวิภังค์] ๑๐.ทสกนิทเทส
อินทรีย์อ่อน มีอาการดี มีอาการชั่ว แนะนำให้เข้าใจได้ง่าย แนะนำให้เข้าใจได้ยาก
ควรบรรลุธรรมและไม่ควรบรรลุธรรม
[๘๑๕] อาสยะของสัตว์ทั้งหลาย เป็นไฉน
ความเห็นว่า โลกเที่ยง โลกไม่เที่ยง โลกมีที่สุด โลกไม่มีที่สุด ชีวะเป็น
อย่างหนึ่ง สรีระก็เป็นอีกอย่างหนึ่ง ชีวะกับสรีระเป็นอย่างเดียวกัน ชีวะกับสรีระเป็น
คนละอย่างกัน หลังจากตายแล้วตถาคตเกิดอีก หลังจากตายแล้วตถาคตไม่เกิดอีก
หลังจากตายแล้วตถาคตเกิดอีกก็ใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็ใช่ หลังจากตายแล้วตถาคต
เกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่ สัตว์ทั้งหลายผู้อาศัยภวทิฏฐิหรือวิภวทิฏฐิดัง
กล่าวมานี้ หรือสัตว์ทั้งหลายผู้ไม่เข้าไปอาศัยที่สุดทั้ง ๒ นี้ ได้อนุโลมิกขันติ๑ ใน
สภาวธรรมทั้งหลายที่เป็นปัจจัยของกันและกันและอาศัยกันและกันเกิดขึ้นก็มี ญาณ
รู้ตามความเป็นจริง๒ นี้ชื่อว่าอาสยะของสัตว์ทั้งหลาย
[๘๑๖] อนุสัยของสัตว์ทั้งหลาย เป็นไฉน
อนุสัย ๗ คือ

๑. กามราคานุสัย (อนุสัยคือกามราคะ) ๒. ปฏิฆานุสัย (อนุสัยคือปฏิฆะ)
๓. มานานุสัย (อนุสัยคือมานะ) ๔. ทิฏฐานุสัย (อนุสัยคือทิฏฐิ)
๕. วิจิกิจฉานุสัย (อนุสัยคือวิจิกิจฉา) ๖. ภวราคานุสัย (อนุสัยคือภวราคะ)
๗. อวิชชานุสัย (อนุสัยคืออวิชชา)

ราคานุสัยของสัตว์ทั้งหลายย่อมนอนเนื่องอยู่ในปิยรูปสาตรูป๓ ในโลก ปฏิฆานุสัย
ของสัตว์ทั้งหลายย่อมนอนเนื่องอยู่ในอัปปิยรูปอสาตรูปในโลก อวิชชาตกไปใน
สภาวธรรมทั้ง ๒ นี้ ด้วยอาการอย่างนี้ มานะ ทิฏฐิ และวิจิกิจฉา พึงเห็นว่าตั้ง
อยู่ในฐานะแห่งเดียวกันกับอวิชชานั้น นี้ชื่อว่าอนุสัยของสัตว์ทั้งหลาย

เชิงอรรถ :
๑ อนุโลมขันติ ได้แก่ วิปัสสนาญาณ (อภิ.วิ.อ. ๘๑๕/๔๙๔)
๒ ญาณรู้ตามความเป็นจริง ได้แก่ มรรคญาณ (อภิ.วิ.อ. ๘๑๕/๔๙๔)
๓ สภาวะที่น่ารัก น่าชื่นใจ มุ่งเอาส่วนที่เป็นอิฏฐารมณ์ ซึ่งเป็นบ่อเกิดแห่งตัณหา (อภิ.วิ.อ. ๘๑๖/๔๙๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๕๒๖ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๖.ญาณวิภังค์] ๑๐.ทสกนิทเทส
[๘๑๗] จริตของสัตว์ทั้งหลาย เป็นไฉน
ปุญญาภิสังขาร (สภาพที่ปรุงแต่งกรรมฝ่ายดี) อปุญญาภิสังขาร (สภาพที่
ปรุงแต่งกรรมฝ่ายชั่ว) อาเนญชาภิสังขาร (สภาพที่ปรุงแต่งภพอันมั่นคง) ที่
เป็นกามาวจรภูมิ หรือที่เป็นรูปาวจรภูมิและอรูปาวจรภูมิ นี้ชื่อว่าจริตของสัตว์
ทั้งหลาย
[๘๑๘] อัธยาศัยของสัตว์ทั้งหลาย เป็นไฉน
สัตว์ทั้งหลายที่มีอัธยาศัยทรามก็มี สัตว์ทั้งหลายที่มีอัธยาศัยประณีตก็มี
เหล่าสัตว์ที่มีอัธยาศัยทรามย่อมคบหาสมาคมเข้าไปหาเหล่าสัตว์ที่มีอัธยาศัยทราม
เหล่าสัตว์ที่มีอัธยาศัยประณีตก็ย่อมคบหาสมาคมเข้าไปหาเหล่าสัตว์ที่มีอัธยาศัยประณีต
แม้ในอดีตกาล สัตว์ทั้งหลายที่มีอัธยาศัยทรามก็ได้คบหาสมาคมเข้าไปหา
เหล่าสัตว์ที่มีอัธยาศัยทรามมาแล้ว สัตว์ทั้งหลายที่มีอัธยาศัยประณีตก็ได้คบหา
สมาคมเข้าไปหาเหล่าสัตว์ที่มีอัธยาศัยประณีตมาแล้ว
แม้ในอนาคตกาล สัตว์ทั้งหลายที่มีอัธยาศัยทรามก็จักคบหาสมาคมเข้าไปหา
เหล่าสัตว์ที่มีอัธยาศัยทราม สัตว์ทั้งหลายที่มีอัธยาศัยประณีตก็จักคบหาสมาคม
เข้าไปหาเหล่าสัตว์ที่มีอัธยาศัยประณีต นี้ชื่อว่าอัธยาศัยของสัตว์ทั้งหลาย
[๘๑๙] สัตว์ทั้งหลายที่มีธุลีคือกิเลสในปัญญาจักษุมาก เหล่านั้นเป็นไฉน
กิเลสวัตถุ ๑๐ คือ

๑. โลภะ (ความอยากได้) ๒. โทสะ (ความคิดประทุษร้าย)
๓. โมหะ (ความหลง) ๔. มานะ (ความถือตัว)
๕. ทิฏฐิ (ความเห็นผิด) ๖. วิจิกิจฉา (ความลังเลสงสัย)
๗. ถีนะ (ความท้อแท้) ๘. อุทธัจจะ (ความฟุ้งซ่าน)
๙. อหิริกะ (ความไม่ละอาย) ๑๐. อโนตตัปปะ (ความไม่เกรงกลัว)

กิเลสวัตถุ ๑๐ เหล่านี้อันสัตว์เหล่าใดส้องเสพ เจริญ ทำให้มากเพิ่มพูนขึ้นแล้ว
สัตว์เหล่านี้นั้นชื่อว่าผู้มีธุลีคือกิเลสในปัญญาจักษุมาก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๕๒๗ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๖.ญาณวิภังค์] ๑๐.ทสกนิทเทส
[๘๒๐] สัตว์ทั้งหลายที่มีธุลีคือกิเลสในปัญญาจักษุน้อย เหล่านั้นเป็นไฉน
กิเลสวัตถุ ๑๐ เหล่านี้สัตว์เหล่าใดไม่ส้องเสพ ไม่เจริญ ไม่ทำให้มาก ไม่
เพิ่มพูนขึ้นแล้ว สัตว์เหล่านี้นั้นชื่อว่ามีธุลีคือกิเลสในปัญญาจักษุน้อย
[๘๒๑] สัตว์ทั้งหลายที่มีอินทรีย์อ่อน เหล่านั้นเป็นไฉน
อินทรีย์ ๕๑ คือ
๑. สัทธินทรีย์ (อินทรีย์คือศรัทธา) ๒. วิริยินทรีย์ (อินทรีย์คือวิริยะ)
๓. สตินทรีย์ (อินทรีย์คือสติ) ๔. สมาธินทรีย์ (อินทรีย์คือสมาธิ)
๕. ปัญญินทรีย์ (อินทรีย์คือปัญญา)
อินทรีย์ ๕ เหล่านี้อันสัตว์เหล่าใดไม่ส้องเสพ ไม่เจริญ ไม่ทำให้มาก ไม่
ทำให้เพิ่มพูนขึ้นแล้ว สัตว์เหล่านี้นั้นชื่อว่าผู้มีอินทรีย์อ่อน
[๘๒๒] สัตว์ทั้งหลายที่มีอินทรีย์แก่กล้า เหล่านั้นเป็นไฉน
อินทรีย์ ๕ เหล่านี้อันสัตว์เหล่าใดส้องเสพ เจริญ ทำให้มาก เพิ่มพูนขึ้นแล้ว
สัตว์เหล่านี้นั้นชื่อว่าผู้มีอินทรีย์แก่กล้า
[๘๒๓] สัตว์ทั้งหลายผู้มีอาการชั่ว เหล่านั้นเป็นไฉน
สัตว์เหล่านั้นใดมีอาสวะชั่ว มีอนุสัยชั่ว มีจริตชั่ว มีอัธยาศัยชั่ว มีธุลีคือ
กิเลสในปัญญาจักษุมาก มีอินทรีย์อ่อน สัตว์เหล่านี้นั้นชื่อว่าผู้มีอาการชั่ว
[๘๒๔] สัตว์ทั้งหลายผู้มีอาการดี เหล่านั้นเป็นไฉน
สัตว์เหล่านั้นใดที่มีอาสยะดี มีจริตดี มีอัธยาศัยดี มีธุลีคือกิเลสในปัญญา
จักษุน้อย มีอินทรีย์แก่กล้า สัตว์เหล่านั้นนี้ชื่อว่าผู้มีอาการดี
[๘๒๕] สัตว์ทั้งหลายผู้ที่แนะนำให้เข้าใจได้ยาก เหล่านั้นเป็นไฉน
ก็สัตว์เหล่าใดมีอาการชั่ว สัตว์เหล่านั้นแลชื่อว่าผู้แนะนำให้เข้าใจได้ยาก
ส่วนสัตว์เหล่าใดมีอาการดี สัตว์เหล่านั้นแลชื่อว่าผู้แนะนำให้เข้าใจได้ง่าย
[๘๒๖] สัตว์ทั้งหลายผู้ไม่ควรบรรลุธรรม เหล่านั้นเป็นไฉน

เชิงอรรถ :
๑ สภาพที่เป็นใหญ่ในกิจของตน เช่นศรัทธาเป็นใหญ่ในการครอบงำความไม่มีศรัทธาเป็นต้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๕๒๘ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๖.ญาณวิภังค์] ๑๐.ทสกนิทเทส
สัตว์เหล่านั้นใดประกอบด้วยเครื่องกางกั้นคือกรรม ประกอบด้วยเครื่องกางกั้น
คือกิเลส ประกอบด้วยเครื่องกางกั้นคือวิบาก เป็นผู้ไม่มีศรัทธา ไม่มีฉันทะ มี
ปัญญาทราม ไม่ควรที่จะหยั่งลงสู่มรรคคือสัมมัตตนิยาม๑ในสภาวธรรมที่เป็นกุศล
ทั้งหลาย สัตว์เหล่านี้นั้นชื่อว่าผู้ไม่ควรบรรลุธรรม
[๘๒๗] สัตว์ทั้งหลายผู้ควรบรรลุธรรม เหล่านั้นเป็นไฉน
สัตว์เหล่านั้นใดไม่ประกอบด้วยเครื่องกางกั้นคือกรรม ไม่ประกอบด้วยเครื่อง
กางกั้นคือกิเลส ไม่ประกอบด้วยเครื่องกางกั้นคือวิบาก มีศรัทธา มีฉันทะ มี
ปัญญา ควรที่จะหยั่งลงสู่มรรคคือสัมมัตตนิยามในสภาวธรรมที่เป็นกุศลทั้งหลาย
สัตว์เหล่านี้นั้นชื่อว่าผู้ควรบรรลุธรรม
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลงงมงาย ความเลือกเฟ้นธรรม
สัมมาทิฏฐิในความแก่กล้าและไม่แก่กล้าแห่งอินทรีย์ของสัตว์ทั้งหลายนั้น นี้ชื่อว่า
พระตถาคตทรงทราบความแก่กล้าและไม่แก่กล้าแห่งอินทรีย์ของสัตว์เหล่าอื่นของบุคคล
เหล่าอื่นตามความเป็นจริง (๖)

๗. ฌานาทิสังกิเลสาทิญาณ
(ปรีชาหยั่งรู้ความเศร้าหมอง ผ่องแผ้วและการออกจากฌานเป็นต้นตามเป็นจริง)
[๘๒๘] พระตถาคตทรงทรงทราบความเศร้าหมอง ความผ่องแผ้ว แห่ง
ฌาน วิโมกข์ สมาธิ สมาบัติ และความออกจากฌานเป็นต้นนั้นตามความ
เป็นจริง เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคลผู้เจริญฌาน ๔ จำพวกชื่อว่าฌายี คือ โยคาวจรบุคคลผู้เจริญ
ฌานบางคนสำคัญฌานที่ตนได้แล้วนั่นแหละผิดจากว่ายังไม่ได้ก็มี โยคาวจรบุคคลผู้
เจริญฌานบางคนสำคัญฌานที่ตนยังไม่ได้นั่นแหละผิดไปว่าได้แล้วก็มี โยคาวจร-
บุคคลผู้เจริญฌานบางคนสำคัญฌานที่ตนได้แล้วนั่นแหละว่าได้แล้วก็มี โยคาวจร-
บุคคลผู้เจริญฌานบางคนสำคัญฌานที่ตนยังไม่ได้นั่นแหละว่ายังไม่ได้ก็มี เหล่านี้ชื่อ
ว่าโยคาวจรบุคคลผู้เจริญฌาน ๔ จำพวก

เชิงอรรถ :
๑ มรรค คือข้อกำหนดถึงความเป็นสิ่งที่ถูกต้อง ๑๐ ประการ ๘ ข้อข้างต้นตรงกับมรรค ๘ เพิ่มอีก ๒ ข้อ คือ
สัมมาญาณ (รู้ชอบ) และสัมมาวิมุตติ (พ้นชอบ) เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า อเสขธรรม (ธรรมของพระอเสขะ)
(ที.ป. ๑๑/๓๔๘/๒๔๐,๓๖๐/๒๘๒, อภิ.วิ.อ. ๘๒๖/๔๙๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๕๒๙ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๖.ญาณวิภังค์] ๑๐.ทสกนิทเทส
โยคาวจรบุคคลผู้เจริญฌานอีก ๔ จำพวก คือ โยคาวจรบุคคลผู้เจริญฌาน
บางคนเข้าฌานได้ช้าแต่ออกได้เร็วก็มี โยคาวจรบุคคลผู้เจริญฌานบางคนเข้าฌาน
เร็วแต่ออกช้าก็มี โยคาวจรบุคคลผู้เจริญฌานบางคนเข้าฌานได้ช้าและออกช้าก็มี
โยคาวจรบุคคลผู้เจริญฌานบางคนเข้าฌานได้เร็วและออกได้เร็วก็มี เหล่านี้ชื่อว่า
โยคาวจรบุคคล ๔ จำพวก
โยคาวจรบุคคลผู้เจริญฌานอีก ๔ จำพวก คือ โยคาวจรบุคคลผู้เจริญฌาน
บางคนเป็นผู้ฉลาดในการกำหนดสมาธิในสมาธิ แต่ไม่ฉลาดในการกำหนดสมาบัติ
ในสมาธิก็มี โยคาวจรบุคคลผู้เจริญฌานบางคนเป็นผู้ฉลาดในการกำหนดสมาบัติ
ในสมาธิ แต่ไม่ฉลาดในการกำหนดสมาธิในสมาธิก็มี โยคาวจรบุคคลผู้เจริญฌาน
บางคนเป็นผู้ฉลาดในการกำหนดสมาธิในสมาธิและฉลาดในการกำหนดสมาบัติใน
สมาธิก็มี โยคาวจรบุคคลผู้เจริญฌานบางคนเป็นผู้ไม่ฉลาดในการกำหนดสมาธิใน
สมาธิ ไม่ฉลาดในการกำหนดสมาบัติในสมาธิก็มี เหล่านี้ชื่อว่าโยคาวจรบุคคลผู้
เจริญฌาน ๔ จำพวก
คำว่า ฌาน ได้แก่ ฌาน ๔ คือ ปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถ-
ฌาน
คำว่า วิโมกข์ ได้แก่ วิโมกข์ ๘ คือ โยคาวจรบุคคลผู้ได้รูปฌานโดยทำ
บริกรรมในรูปภายในตนย่อมเห็นรูปทั้งหลาย นี้ชื่อว่าวิโมกข์ข้อที่ ๑
โยคาวจรบุคคลผู้ได้อรูปฌานโดยทำบริกรรมในรูปภายในตนย่อมเห็นรูปทั้งหลาย
ในภายนอกตน นี้ชื่อว่าวิโมกข์ข้อที่ ๒
โยคาวจรบุคคลเป็นผู้น้อมจิตไปว่า งามแท้ นี้ชื่อว่าวิโมกข์ข้อที่ ๓
เพราะก้าวล่วงรูปสัญญาได้โดยประการทั้งปวง เพราะความดับไปแห่งปฏิฆสัญญา
และเพราะไม่ได้มนสิการซึ่งนานัตตสัญญา โยคาวจรบุคคลจึงบรรลุอากาสานัญจา-
ยตนฌาน โดยบริกรรมว่า อากาศไม่มีที่สุดดังนี้อยู่ นี้ชื่อว่าวิโมกข์ข้อที่ ๔
เพราะก้าวล่วงอากาสานัญจายตนะได้โดยประการทั้งปวง โยคาวจรบุคคลจึง
บรรลุวิญญาณัญจายตนฌาน โดยบริกรรมว่า วิญญาณไม่มีที่สุด ดังนี้อยู่ นี้ชื่อว่า
วิโมกข์ข้อที่ ๕


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๕๓๐ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๖.ญาณวิภังค์] ๑๐.ทสกนิทเทส
เพราะก้าวล่วงวิญญาณัญจายตนะได้โดยประการทั้งปวง โยคาวจรบุคคลจึง
บรรลุอากิญจัญญายตนฌาน โดยบริกรรมว่าอะไร ๆ ก็ไม่มี ดังนี้อยู่ นี้ชื่อว่าวิโมกข์
ข้อที่ ๖
เพราะก้าวล่วงอากิญจัญญายตนะได้โดยประการทั้งปวง โยคาวจรบุคคลจึง
บรรลุเนวสัญญานาสัญญายตนฌานอยู่ นี้ชื่อว่าวิโมกข์ข้อที่ ๗
เพราะก้าวล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนะได้โดยประการทั้งปวง โยคาวจร-
บุคคลจึงบรรลุสัญญาเวทยิตนิโรธอยู่ นี้ชื่อว่าวิโมกข์ข้อที่ ๘
คำว่า สมาธิ ได้แก่ สมาธิ ๓ คือ

๑. สวิตักกสวิจารสมาธิ (สมาธิที่มีทั้งวิตกและวิจาร)
๒. อวิตักกวิจารปัตตสมาธิ (สมาธิที่ไม่มีวิตกมีเพียงวิจาร)
๓. อวิตักกอวิจารสมาธิ (สมาธิที่ไม่มีทั้งวิตกและวิจาร)

คำว่า สมาบัติ ได้แก่ อนุปุพพวิหารสมาบัติ ๙ คือ

๑. ปฐมฌานสมาบัติ ๒. ทุติยฌานสมาบัติ
๓. ตติยฌานสมาบัติ ๔. จตุตถฌานสมาบัติ
๕. อากาสานัญจายตนสมาบัติ ๖. วิญญาณัญจายตนสมาบัติ
๗. อากิญจัญญายตนสมาบัติ ๘. เนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ
๙. สัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ๑

บทว่า ความเศร้าหมอง ได้แก่ สภาวธรรมที่เป็นฝ่ายเสื่อม
บทว่า ความผ่องแผ้ว ได้แก่ สภาวธรรมที่เป็นฝ่ายคุณวิเศษ
บทว่า ความออก ได้แก่ แม้ความผ่องแผ้ว ก็ชื่อว่าความออก แม้ความ
ออกจากสมาธินั้น ๆ ก็ชื่อว่าความออก

เชิงอรรถ :
๑ สัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ หมายถึงสมาบัติที่ดับสัญญาและเวทนามี ๒ คือ อสัญญสมาบัติ และนิโรธ-
สมาบัติ ที่เป็นอสัญญสมาบัติมีแก่ปุถุชน ที่เป็นนิโรธสมาบัติ มีเฉพาะแต่พระอนาคามีและพระอรหันต์
ผู้ชำนาญในสมาบัติ ๘ ข้างต้นแล้วเท่านั้นจึงจะเข้าได้ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๗๓๕/๒๘๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๕๓๑ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๖.ญาณวิภังค์] ๑๐.ทสกนิทเทส
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลงงมงาย ความเลือกเฟ้นธรรม สัมมา-
ทิฏฐิในความเศร้าหมอง ความผ่องแผ้ว ความออกจากฌาน นี้ชื่อว่าพระตถาคต
ทรงทราบความเศร้าหมอง ความผ่องแผ้ว แห่งฌาน วิโมกข์ สมาธิ สมาบัติ
และความออกจากฌานเป็นต้นนั้นตามความเป็นจริง (๗)

๘. ปุพเพนิวาสนานุสสติญาณ
(ปรีชาหยั่งรู้ทำให้ระลึกภพที่เคยอยู่ในหนหลังได้)
[๘๒๙] พระตถาคตทรงทราบการระลึกชาติในหนหลังตามความเป็นจริง
เป็นไฉน
พระตถาคตในโลกนี้ทรงระลึกชาติในหนหลังได้หลาย ๆ ชาติ คือ ๑ ชาติบ้าง
๒ ชาติบ้าง ๓ ชาติบ้าง ๔ ชาติบ้าง ๕ ชาติบ้าง ๑๐ ชาติบ้าง ๒๐ ชาติบ้าง ๓๐
ชาติบ้าง ๔๐ ชาติบ้าง ๕๐ ชาติบ้าง ๑๐๐ ชาติบ้าง ๑,๐๐๐ ชาติบ้าง ๑๐๐,๐๐๐
ชาติบ้าง หลายสังวัฏฏกัปบ้าง หลายวิวัฏฏกัปบ้าง หลายสังวัฏฏวิวัฏฏกัปบ้างว่า
เราอยู่ในภพโน้น เป็นผู้มีชื่ออย่างนี้ มีโคตรอย่างนี้ มีวรรณะอย่างนี้ มีอาหารอย่างนี้
เสวยสุขและทุกข์อย่างนี้ มีกำหนดอายุอย่างนี้ เรานั้นจุติจากชาตินั้นแล้วจึงไปเกิด
ในภพโน้น เราอยู่ในภพนั้น เป็นผู้มีชื่ออย่างนี้ มีโคตรอย่างนี้ มีวรรณะอย่างนี้ มี
อาหารอย่างนี้ เสวยสุขและทุกข์อย่างนี้ มีกำหนดอายุอย่างนี้ เรานั้นจุติจากชาติ
นั้นแล้วจึงมาเกิดในภพนี้ พระตถาคตทรงระลึกชาติในหนหลังได้หลาย ๆ ชาติพร้อม
ทั้งอาการ พร้อมทั้งอุเทศ ด้วยประการฉะนี้
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลง ความเลือกเฟ้นธรรม สัมมาทิฏฐิ
ในการระลึกชาตินั้น นี้ชื่อว่าพระตถาคตทรงทราบการระลึกชาติหนหลังตามความ
เป็นจริง (๘)

๙. จุตูปปาตญาณ
(ปรีชาหยั่งรู้จุติและอุบัติของสัตว์ทั้งหลายอันเป็นไปตามธรรม)
[๘๓๐] พระตถาคตทรงทราบความจุติและอุบัติของสัตว์ทั้งหลายตาม
ความเป็นจริง เป็นไฉน


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๕๓๒ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๖.ญาณวิภังค์] ๑๐.ทสกนิทเทส
พระตถาคตในโลกนี้ทรงมีทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ล่วงจักษุของสามัญมนุษย์ ทรง
เห็นสัตว์ผู้กำลังจุติ อุบัติ เลว ประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณเลว ไปสุคติ ไปทุคติ
ย่อมทรงทราบเหล่าสัตว์ผู้เป็นไปตามกรรมว่า สัตว์ผู้เจริญเหล่านี้ประกอบด้วยกาย-
ทุจริต ประกอบด้วยวจีทุจริต ประกอบด้วยมโนทุจริต กล่าวใส่ร้ายพระอริยะ เป็น
มิจฉาทิฏฐิ สมาทานมิจฉาทิฏฐิกรรม สัตว์เหล่านั้นหลังจากตายแล้วก็เข้าถึงอบาย
ทุคติ วินิบาต นรก หรือสัตว์ผู้เจริญเหล่านี้ประกอบด้วยกายสุจริต ประกอบด้วย
วจีสุจริต ประกอบด้วยมโนสุจริต ไม่กล่าวใส่ร้ายพระอริยะ เป็นสัมมาทิฏฐิ สมาทาน
สัมมาทิฏฐิกรรม สัตว์เหล่านั้นหลังจากตายแล้วจึงเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ พระ
ตถาคตทรงมีทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงสามัญมนุษย์ ทรงเห็นเหล่าสัตว์ผู้กำลังจุติ
อุบัติ เลว ประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณเลว ไปสุคติ ไปทุคติ ทรงทราบเหล่า
สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรม
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลงงมงาย ความเลือกเฟ้นธรรม
สัมมาทิฏฐิในการจุติและอุบัติแห่งสัตว์ทั้งหลายนั้น นี้ชื่อว่าพระตถาคตทรงทราบการ
จุติและอุบัติแห่งสัตว์ทั้งหลายตามความเป็นจริง (๙)

๑๐. อาสวักขยญาณ
(ปรีชาหยั่งรู้ความสิ้นไปแห่งอาสวะ)
[๘๓๑] พระตถาคตทรงทราบความสิ้นอาสวะตามความเป็นจริง เป็นไฉน
พระตถาคตในโลกนี้ทรงทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติและปัญญาวิมุตติอันหาอาสวะมิได้
เพราะความสิ้นไปแห่งอาสวะด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยพระองค์เอง เข้าถึงอยู่ในทิฏฐิธรรม
ด้วยอาการอย่างนี้
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลงงมงาย ความเลือกเฟ้นธรรม
สัมมาทิฏฐิในความสิ้นอาสวะนั้น นี้ชื่อว่าพระตถาคตทรงทราบความสิ้นอาสวะตาม
ความเป็นจริง (๑๐)

ญาณวิภังค์ จบบริบูรณ์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๕๓๓ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๗. ขุททกวัตถุวิภังค์] ๑. เอกกมาติกา
๑๗. ขุททกวัตถุวิภังค์
๑. เอกกมาติกา

[๘๓๒] (๑) ชาติมทะ (ความเมาเพราะอาศัยชาติ) (๘๔๓)
(๒) โคตตมทะ (ความเมาเพราะอาศัยโคตร) (๘๔๔)
(๓) อาโรคยมทะ (ความเมาในความไม่มีโรค) (๘๔๔)
(๔) โยพพนมทะ (ความเมาในความเป็นหนุ่มสาว) (๘๔๔)
(๕) ชีวิตมทะ (ความเมาในชีวิต) (๘๔๔)
(๖) ลาภมทะ (ความเมาในลาภ) (๘๔๔)
(๗) สักการมทะ (ความเมาในสักการะ) (๘๔๔)
(๘) ครุการมทะ (ความเมาในความเคารพ) (๘๔๔)
(๙) ปุเรกขารมทะ (ความเมาในความเป็นหัวหน้า) (๘๔๔)
(๑๐) ปริวารมทะ (ความเมาในบริวาร) (๘๔๔)
(๑๑) โภคมทะ (ความเมาในโภคสมบัติ) (๘๔๔)
(๑๒) วัณณมทะ (ความเมาเพราะอาศัยผิวพรรณและคุณความดี) (๘๔๔)
(๑๓) สุตมทะ (ความเมาในการการสดับตรับฟัง) (๘๔๔)
(๑๔) ปฏิภาณมทะ (ความเมาในปฏิภาณ) (๘๔๔)
(๑๕) รัตตัญญูมทะ (ความเมาในความเป็นผู้รัตตัญญู) (๘๔๔)


(๑๖) ปิณฑปาติกมทะ (ความเมาในการถือเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร) (๘๔๔)
(๑๗) อนวัญญาตมทะ ความเมาเพราะไม่ถูกใครดูหมิ่น (๘๔๔)
(๑๘) อิริยาปถมทะ ความเมาในอิริยาบถ (๘๔๔)
(๑๙) อิทธิมทะ ความเมาในฤทธิ์ (๘๔๔)


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๕๓๔ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๗. ขุททกวัตถุวิภังค์] ๑. เอกกมาติกา

(๒๐) ยสมทะ (ความเมาในยศ) (๘๔๔)
(๒๑) สีลมทะ (ความเมาในศีล) (๘๔๔)
(๒๒) ฌานมทะ (ความเมาในฌาน) (๘๔๔)
(๒๓) สิปปมทะ (ความเมาในศิลปะ) (๘๔๔)
(๒๔) อาโรหมทะ (ความเมาในความมีทรวดทรงสูง) (๘๔๔)
(๒๕) ปริณาหมทะ (ความเมาในความมีทรวดทรงสันทัด) (๘๔๔)
(๒๖) สัณฐานมทะ (ความเมาในความมีทรวดทรงงาม) (๘๔๔)
(๒๗) ปาริปูริมทะ (ความเมาในความมีร่างกายสมบูรณ์) (๘๔๔)
(๒๘) มทะ (ความเมา) (๘๔๕)
(๒๙) ปมาทะ (ความประมาท) (๘๔๖)
(๓๐) ถัมภะ (ความหัวดื้อ) (๘๔๗)
(๓๑) สารัมภะ (ความแข่งดี) (๘๔๘)
(๓๒) อติริจฉตา (ความอยากได้เกินประมาณ) (๘๔๙)
(๓๓) มหิจฉตา (ความมักมาก) (๘๕๐)
(๓๔) ปาปิจฉตา (ความปรารถนาลามก) (๘๕๑)
(๓๕) สิงคะ (ความยั่วยวน) (๘๕๒)
(๓๖) ตินติณะ (การพูดเกียดกัน) (๘๕๓)
(๓๗) จาปัลยะ (การชอบตกแต่ง) (๘๕๔)
(๓๘) อสภาควุตติ (ความประพฤติไม่เหมาะสม) (๘๕๕)
(๓๙) อรติ (ความไม่ยินดี) (๘๕๖)
(๔๐) ตันที (ความโงกง่วง) (๘๕๗)
(๔๑) วิชัมภิตา (ความบิดกาย) (๘๕๘)


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๕๓๕ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๗. ขุททกวัตถุวิภังค์] ๑. เอกกมาติกา

(๔๒) ภัตตสัมมทะ (ความเมาในอาหาร) (๘๕๙)
(๔๓) เจตโสลีนัตตะ (ความหดหู่จิต) (๘๖๐)
(๔๔) กุหนา (ความหลอกลวง) (๘๖๑)
(๔๕) ลปนา (การพูดประจบ) (๘๖๒)
(๔๖) เนมิตติกตา (การทำนิมิต) (๘๖๓)
(๔๗) นิปเปสิกตา (การพูดลบล้างความดีของคนอื่น) (๘๖๔)
(๔๘) ลาเภนลาภังนิชิคิงสนตา (การแลกเปลี่ยนลาภด้วยลาภ) (๘๖๕)
(๔๙) ความถือตัวว่า เป็นผู้เลิศกว่าเขา (๘๖๖)
(๕๐) ความถือตัวว่า เป็นผู้เสมอเขา (๘๖๗)
(๕๑) ความถือตัวว่า เป็นผู้ด้อยกว่าเขา (๘๖๘)
(๕๒) เป็นผู้เลิศกว่าเขา ถือตัวว่าเลิศกว่าเขา (๘๖๙)
(๕๓) เป็นผู้เลิศกว่าเขา ถือตัวว่าเสมอเขา (๘๗๐)
(๕๔) เป็นผู้เลิศกว่าเขา ถือตัวว่าด้อยกว่าเขา (๘๗๑)
(๕๕) เป็นผู้เสมอเขา ถือตัวว่าเลิศกว่าเขา (๘๗๒)
(๕๖) เป็นผู้เสมอเขา ถือตัวว่าเสมอเขา (๘๗๓)
(๕๗) เป็นผู้เสมอเขา ถือตัวว่าด้อยกว่าเขา (๘๗๔)
(๕๘) เป็นผู้ด้อยกว่าเขา ถือตัวว่าเลิศกว่าเขา (๘๗๕)
(๕๙) เป็นผู้ด้อยกว่าเขา ถือตัวว่าเสมอเขา (๘๗๖)
(๖๐) เป็นผู้ด้อยกว่าเขา ถือตัวว่าด้อยกว่าเขา (๘๗๗)
(๖๑) มานะ (ความถือตัว) (๘๗๘)
(๖๒) อติมานะ (ความดูหมิ่นผู้อื่น (๘๗๙)
(๖๓) มานาติมานะ (ความเย่อหยิ่งถือตัว) (๘๘๐)


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๕๓๖ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๗.ขุททกวัตถุวิภังค์] ๒.ทุกมาติกา

(๖๔) โอมานะ (ความดูหมิ่นตนเอง) (๘๘๑)
(๖๕) อธิมานะ (ความสำคัญว่าได้บรรลุ) (๘๘๒)
(๖๖) อัสมิมานะ (ความสำคัญว่ามีตัวตน) (๘๘๓)
(๖๗) มิจฉามานะ (ความถือตัวผิด) (๘๘๔)
(๖๘) ญาติวิตักกะ (ความตรึกถึงญาติ) (๘๘๕)
(๖๙) ชนปทวิตักกะ (ความตรึกถึงชนบท) (๘๘๖)
(๗๐) อมรวิตักกะ (ความตรึกเพื่อเอาตัวรอด) (๘๘๗)

(๗๑) ปรานุททยตาปฏิสังยุตตวิตักกะ (ความตรึกเกี่ยวด้วยความ
เอ็นดูผู้อื่น) (๘๘๘)
(๗๒) ลาภสักการสิโลกปฏิสังยุตตวิตักกะ (ความตรึกเกี่ยวด้วยลาภ
สักการะและชื่อเสียง) (๘๘๙)
(๗๓) อนวัญญัตติปฏิสังยุตตวิตักกะ (ความตรึกเกี่ยวด้วยความไม่
ต้องการให้ใครดูหมิ่น) (๘๙๐)
เอกกมาติกา จบ

๒. ทุกมาติกา

[๘๓๓] (๑) โกธะ (ความโกรธ) (๘๙๑)
อุปนาหะ (ความผูกโกรธ) (๘๙๑)
(๒) มักขะ (ความลบหลู่) (๘๙๒)
ปลาสะ (ความตีตัวเสมอ) (๙๘๒)
(๓) อิสสา (ความริษยา) (๘๙๓)
มัจฉริยะ (ความตระหนี่) (๘๙๓)
(๔) มายา (ความเจ้าเล่ห์) (๘๙๔)
สาเถยยะ (ความโอ้อวด) (๘๙๔)


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๕๓๗ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๗.ขุททกวัตถุวิภังค์] ๒.ทุกมาติกา

(๕) อวิชชา (ความไม่รู้) (๘๙๕)
ภวตัณหา (ความปรารถนาภพ) (๘๙๕)
(๖) ภวทิฏฐิ (ความเห็นว่าเกิดอีก) (๘๙๖)
วิภวทิฏฐิ (ความเห็นว่าไม่เกิดอีก) (๘๙๖)
(๗) สัสสตทิฏฐิ (ความเห็นว่าเที่ยง) (๘๙๗)
อุจเฉททิฏฐิ (ความเห็นว่าขาดสูญ) (๘๙๗)
(๘) อันตวาทิฏฐิ (ความเห็นว่ามีที่สุด) (๘๙๘)
อนันตวาทิฏฐิ (ความเห็นว่าไม่มีที่สุด) (๘๙๘)
(๙) ปุพพันตานุทิฏฐิ (ความเห็นปรารภส่วนอดีต) (๘๙๙)
อปรันตานุทิฏฐิ (ความเห็นปรารภส่วนอนาคต) (๘๙๙)


(๑๐) อหิริกะ (ความไม่ละอายต่อการประพฤติทุจริต) (๙๐๐)
อโนตตัปปะ (ความไม่สะดุ้งกลัวต่อการประพฤติทุจริต) (๙๐๐)


(๑๑) โทวจัสสตา (ความเป็นผู้ว่ายาก) (๙๐๑)
ปาปมิตตตา (ความเป็นผู้มีมิตรชั่ว) (๙๐๑)
(๑๒) อนัชชวะ (ความไม่ซื่อตรง) (๙๐๒)
อมัททวะ (ความไม่อ่อนโยน) (๙๐๒)
(๑๓) อขันติ (ความไม่อดทน) (๙๐๓)
อโสรัจจะ (ความไม่เสงี่ยม) (๙๐๓)
(๑๔) อสาขัลยะ (ความไม่มีวาจานิ่มนวล) (๙๐๔)
อัปปฏิสันถาระ (ความไม่มีปฏิสันถาร) (๙๐๔)


(๑๕) ความเป็นผู้ไม่คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย (๙๐๕)
ความไม่รู้จักประมาณในการบริโภค (๙๐๕)


(๑๖) มุฏฐสัจจะ (ความหลงลืมสติ) (๙๐๖)
อสัมปชัญญะ (ความเป็นผู้ไม่มีสัมปชัญญะ) (๙๐๖)


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๕๓๘ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๗.ขุททกวัตถุวิภังค์] ๓.ติกมาติกา

(๑๗) สีลวิปัตติ (ความวิบัติแห่งศีล) (๙๐๗)
ทิฏฐิวิปัตติ (ความวิบัติแห่งทิฏฐิ) (๙๐๗)
(๑๘) อัชฌัตตสัญโญชนะ (สังโยชน์ภายใน) (๙๐๘)
พหิทธาสัญโญชนะ (สังโยชน์ภายนอก) (๙๐๘)

ทุกมาติกา จบ

๓. ติกมาติกา

[๘๓๔] (๑) อกุศลมูล (รากเหง้าแห่งอกุศล) ๓ (๙๐๙)
(๒) อกุศลวิตก (ความตรึกที่เป็นอกุศล) ๓ (๙๑๐)
(๓) อกุศลสัญญา (การกำหนดหมายที่เป็นอกุศล) ๓ (๙๑๑)
(๔) อกุศลธาตุ (ธาตุที่เป็นอกุศล) ๓ (๙๑๒)
(๕) ทุจริต (ความประพฤติชั่ว) ๓ (๙๑๓)
(๖) อาสวะ (สภาวะที่หมักดองสันดาน) ๓ (๙๑๔)
(๗) สังโยชน์ (กิเลสเครื่องประกอบสัตว์ไว้ในภพ) ๓ (๙๑๕)
(๘) ตัณหา (ความทะยานอยาก) ๓ (๙๑๖)


(๙) ตัณหา ๓ อีกนัยหนึ่ง (๙๑๗)
(๑๐) ตัณหา ๓ แม้อีกนัยหนึ่ง (๙๑๘)
(๑๑) เอสนา (ความพอใจ) ๓ (๙๑๙)
(๑๒) วิธา ๓ (๙๒๐)
(๑๓) ภัย ๓ (๙๒๑)
(๑๔) ตมะ (ความมืด) ๓ (๙๒๒)
(๑๕) ติตถายตนะ (ถิ่นเกิดของทิฏฐิ) ๓ (๙๒๓)


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๕๓๙ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๗.ขุททกวัตถุวิภังค์] ๓.ติกมาติกา

(๑๖) กิญจนะ (กิเลสเครื่องกังวล) ๓ (๙๒๔)
(๑๗) อังคณะ (กิเลสเพียงดังเนิน) ๓ (๙๒๔)
(๑๘) มละ (มลทิน) ๓ (๙๒๔)
(๑๙) วิสมะ (ความประพฤติไม่สม่ำเสมอ) ๓ (๙๒๔)


(๒๐) วิสมะ ๓ อีกนัยหนึ่ง (๙๒๔)
(๒๑) อัคคิ (ไฟ) ๓ (๙๒๔)
(๒๒) กสาวะ (กิเลสดุจน้ำฝาด) ๓ (๙๒๔)
(๒๓) กสาวะ ๓ อีกนัยหนึ่ง (๙๒๔)

(๒๔) อัสสาททิฏฐิ (ความเห็นผิดที่ประกอบด้วยความยินดี ) (๙๒๕)

อัตตานุทิฏฐิ (ความเห็นผิดว่ามีตัวตน) (๙๒๕)
มิจฉาทิฏฐิ (ความเห็นผิด) (๙๒๕)
(๒๕) อรติ (ความไม่ยินดี) (๙๒๖)
วิเหสา (ความเบียดเบียน) (๙๒๖)
อธรรมจริยา (ความประพฤติไม่เป็นธรรม) (๙๒๖)
(๒๖) โทวจัสสตา (ความเป็นผู้ว่ายาก) (๙๒๗)
ปาปมิตตตา (ความเป็นผู้มีมิตรชั่ว) (๙๒๗)
นานัตตสัญญา (สัญญาที่แตกต่างกัน) (๙๒๗)
(๒๗) อุทธัจจะ (ความฟุ้งซ่าน) (๙๒๘)
โกสัชชะ (ความเกียจคร้าน) (๙๒๘)
ปมาทะ (ความประมาท) (๙๒๘)
(๒๘) อสันตุฏฐิตา (ความไม่สันโดษ) (๙๒๙)
อสัมปชัญญตา (ความไม่มีสัมปชัญญะ) (๙๒๙)
มหิจฉตา (ความมักมาก) (๙๒๙)


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๕๔๐ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๗.ขุททกวัตถุวิภังค์] ๓.ติกมาติกา

(๒๙) อหิริกะ (ความไม่ละอายต่อการประพฤติทุจริต) (๙๓๐)
อโนตตัปปะ (ความไม่สะดุ้งกลัวต่อการประพฤติทุจริต) (๙๓๐)
ปมาทะ (ความประมาท) (๙๓๐)


(๓๐) อนาทริยะ (ความไม่เอื้อเฟื้อ) (๙๓๑)
โทวจัสสตา (ความเป็นผู้ว่ายาก) (๙๓๑)
ปาปมิตตตา (ความเป็นผู้มีมิตรชั่ว) (๙๓๑)
(๓๑) อัสสัทธิยะ (ความไม่เชื่อ) (๙๓๒)
อวทัญญุตา (ความเป็นผู้ไม่โอบอ้อมอารี) (๙๓๒)
โกสัชชะ (ความเกียจคร้าน) (๙๓๒)
(๓๒) อุทธัจจะ (ความฟุ้งซ่าน) (๙๓๓)
อสังวร (ความไม่สำรวม) (๙๓๓)
ทุสสีลยะ (ความเป็นผู้ทุศีล) (๙๓๓)


(๓๓) อริยานัง อทัสสนกัมยตา (ความไม่อยากเห็นพระอริยะ) (๙๓๔)
สัทธัมมัง อโสตุกัมยตา (ความไม่อยากฟังพระสัทธรรม) (๙๓๔)
อุปารัมภจิตตตา (ความคิดแข่งดี) (๙๓๔)
(๓๔) มุฏฐัสสัจจะ (ความเป็นผู้มีสติฟั่นเฟือน) (๙๓๕)
อสัมปชัญญะ (ความเป็นผู้ไม่มีสัมปชัญญะ) (๙๓๕)
เจตโสวิกเขปะ (ความฟุ้งซ่านแห่งจิต) (๙๓๕)
(๓๕) อโยนิโสมนสิการ (การไม่พิจารณาโดยแยบคาย) (๙๓๖)
กุมมัคคเสวนา (การยึดถือทางผิด) (๙๓๖)
เจตโสลีนัตตะ (ความหดหู่จิต) (๙๓๖)

ติกมาติกา จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๕๔๑ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๗.ขุททกวัตถุวิภังค์] ๔. จตุกกมาติกา
๔. จตุกกมาติกา

[๘๓๕] (๑) อาสวะ (สภาวะที่หมักดองในสันดาน) ๔ (๙๓๗)
(๒) คันถะ (กิเลสเครื่องร้อยรัดใจ) ๔ (๙๓๘)
(๓) โอฆะ (กิเลสดุจห้วงน้ำ) ๔ (๙๓๘)
(๔) โยคะ (กิเลสเป็นเครื่องประกอบสัตว์ไว้ในภพ) ๔ (๙๓๘)
(๕) อุปาทาน (ความยึดมั่น) ๔ (๙๓๘)
(๖) ตัณหุปาทาน (ความยึดมั่นด้วยตัณหา) ๔ (๙๓๙)


(๗) อคติคมนะ (การถึงอคติ) ๔ (๙๓๙)
(๘) วิปริเยสะ (การแสวงหาผิด) ๔ (๙๓๙)
(๙) อนริยโวหาร (โวหารของผู้มิใช่พระอริยะ) ๔ (๙๓๙)
(๑๐) อนริยโวหาร ๔ อีกนัยหนึ่ง (๙๓๙)
(๑๑) ทุจริต (ความประพฤติชั่ว) ๔ (๙๓๙)
(๑๒) ทุจริต ๔ อีกนัยหนึ่ง (๙๓๙)
(๑๓) ภัย ๔ (๙๓๙)
(๑๔) ภัย ๔ อีกนัยหนึ่ง (๙๓๙)
(๑๕) ภัย ๔ อื่นอีกนัยหนึ่ง (๙๓๙)
(๑๖) ภัย ๔ อื่นต่อไปอีกนัยหนึ่ง (๙๓๙)
(๑๗) ทิฏฐิ (ความเห็นผิด) ๔ (๙๓๙)

จตุกกมาติกา จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๕๔๒ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๗.ขุททกวัตถุวิภังค์] ๖.ฉักกมาติกา
๕. ปัญจกมาติกา

[๘๓๖] (๑) โอรัมภาคิยสังโยชน์ (สังโยชน์เบื้องต่ำ) ๕ (๙๔๐)
(๒) อุทธัมภาคิยสังโยชน์ (สังโยชน์เบื้องสูง) ๕ (๙๔๐)


(๓) มัจฉริยะ (ความตระหนี่) ๕ (๙๔๐)
(๔) สังคะ (กิเลสเครื่องข้อง) ๕ (๙๔๐)
(๕) สัลละ (กิเลสดุจลูกศร) ๕ (๙๔๐)
(๖) เจโตขีละ (กิเลสดุจตะปูตรึงใจ) ๕ (๙๔๑)


(๗) เจตโสวินิพันธะ (กิเลสเครื่องผูกพันใจ) ๕ (๙๔๑)
(๘) นิวรณ์ (กิเลสเครื่องกั้นความดี) ๕ (๙๔๑)
(๙) อนันตริยกรรม (กรรมหนัก) ๕ (๙๔๑)


(๑๐) ทิฏฐิ (ความเห็นผิด) ๕ (๙๔๑)
(๑๑) เวร (ความแค้นเคือง) ๕ (๙๔๒)
(๑๒) พยสนะ (ความพินาศ) ๕ (๙๔๒)


(๑๓) โทษแห่งความไม่อดทน ๕ (๙๔๒)
(๑๔) ภัย ๕ (๙๔๒)

(๑๕) ทิฏฐธัมมนิพพานวาทะ (วาทะว่านิพพานมีในชีวิตปัจจุบัน) ๕
(๙๔๓)
ปัญจกมาติกา จบ

๖. ฉักกมาติกา
[๘๓๗] (๑) วิวาทมูล (เหตุก่อวิวาท) ๖ (๙๔๔)
(๒) ฉันทราคเคหสิตธรรม (สภาวธรรมคือฉันทราคะซึ่งอาศัย
กามคุณ) (๙๔๔)
(๓) วิโรธวัตถุ ๖ (๙๔๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๕๔๓ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๗.ขุททกวัตถุวิภังค์] ๗. สัตตกมาติกา

(๔) ตัณหากาย (กองตัณหา) ๖ (๙๔๔)
(๕) อคารวะ (ความไม่เคารพ) ๖ (๙๔๕)
(๖) ปริหานิยธรรม (ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความเสื่อม) ๖ (๙๔๕)
(๗) ปริหานิยธรรม ๖ อีกนัยหนึ่ง (๙๔๖)
(๘) โสมนัสสุปวิจาร (ความครุ่นคิดเกี่ยวด้วยโสมนัส) ๖ (๙๔๖)
(๙) โทมนัสสุปวิจาร (ความครุ่นคิดเกี่ยวด้วยโทมนัส) ๖ (๙๔๖)
(๑๐) อุเปกขูปวิจาร (ความครุ่นคิดเกี่ยวด้วยอุเบกขา) ๖ (๙๔๖)
(๑๑) เคหสิตโสมนัส (โสมนัสที่อาศัยกามคุณ) ๖ (๙๔๗)
(๑๒) เคหสิตโทมนัส (โทมนัสที่อาศัยกามคุณ) ๖ (๙๔๗)
(๑๓) เคหสิตอุเบกขา (อุเบกขาที่อาศัยกามคุณ) ๖ (๙๔๖)
(๑๔) ทิฏฐิ (ความเห็นผิด) ๖ (๙๔๘)

ฉักกมาติกา จบ

๗. สัตตกมาติกา

[๘๓๘] (๑) อนุสัย (กิเลสที่นอนเนื่อง) ๗ (๙๔๙)
(๒) สังโยชน์ (กิเลสที่ประกอบสัตว์ไว้ในภพ) ๗ (๙๔๙)
(๓) ปริยุฏฐาน (กิเลสเครื่องกลุ้มรุมใจ) ๗ (๙๔๙)
(๔) อสัทธรรม (ธรรมของคนพาล) ๗ (๙๕๐)
(๕) ทุจริต (ความประพฤติชั่ว) ๗ (๙๕๐)
(๖) มานะ (ความถือตัว) ๗ (๙๕๐)
(๗) ทิฏฐิ (ความเห็นผิด) ๗ (๙๕๑)

สัตตกมาติกา จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๕๔๔ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๗.ขุททกวัตถุวิภังค์] ๙.นวกมาติกา
๘. อัฏฐกมาติกา

[๘๓๙] (๑) กิเลสวัตถุ (สิ่งก่อความเศร้าหมอง) ๘ (๙๕๒)
(๒) กุสีตวัตถุ (เหตุเกิดความเกียจคร้าน) ๘ (๙๕๒)

(๓) จิตกระทบในโลกธรรม ๘ (๙๕๔)

(๔) อนริยโวหาร (คำพูดของผู้มิใช่พระอริยะ) ๘ (๙๕๕)
(๕) มิจฉัตตะ (ความเห็นผิด) ๘ (๙๕๖)
(๖) บุรุษโทษ (โทษของคน) ๘ (๙๕๗)
(๗) อสัญญีวาทะ (วาทะว่าอัตตาไม่มีสัญญา) ๘ (๙๕๘)

(๘) เนวสัญญีนาสัญญีวาทะ (วาทะว่ามีสัญญาก็ไม่ใช่ไม่มีสัญญา
ก็ไม่ใช่) ๘ (๙๕๘)
อัฏฐกมาติกา จบ

๙. นวกมาติกา

[๘๔๐] (๑) อาฆาตวัตถุ (เรื่องให้เกิดความอาฆาต) ๙ (๙๖๑)
(๒) ปุริสมละ (มลทินของคน) ๙ (๙๖๒)
(๓) มานะ (ความถือตัว) ๙ (๙๖๓)
(๔) ตัณหามูลกธรรม (ธรรมที่มีตัณหาเป็นมูล) ๙ (๙๖๔)
(๕) อิญชิตะ ๙ (๙๖๔)
(๖) มัญญิตะ ๙ (๙๖๕)
(๗) ผันทิตะ ๙ (๙๖๕)
(๘) ปปัญจิตะ ๙ (๙๖๕)
(๙) สังขตะ ๙ (๙๖๕)

นวกมาติกา จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๕๔๕ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๗.ขุททกวัตถุวิภังค์] ๑.เอกกนิทเทส
๑๐. ทสกมาติกา

[๘๔๑] (๑) กิเลสวัตถุ (สิ่งก่อความเศร้าหมอง) ๑๐ (๙๖๖)
(๒) อาฆาตวัตถุ (สิ่งก่อความอาฆาต) ๑๐ (๙๖๗)
(๓) อกุศลกรรมบถ (ทางแห่งอกุศลกรรม) ๑๐ (๙๖๘)
(๔) สังโยชน์ (กิเลสที่ประกอบสัตว์ไว้ในภพ) ๑๐ (๙๖๙)
(๕) มิจฉัตตะ (ความเห็นผิด) ๑๐ (๙๗๐)
(๖) มิจฉาทิฏฐิมีวัตถุ (ความเห็นผิดมี ๑๐ อย่าง) ๑๐ (๙๗๑)

(๗) อันตัคคาหิกทิฏฐิมีวัตถุ (ความเห็นที่ยึดเอาที่สุดมี ๑๐ อย่าง) ๑๐
(๙๗๒)

ทสกมาติกา จบ
[๘๔๒] ตัณหาวิจริตอาศัยอายตนะภายใน ๑๘ อาศัยอายตนะภายนอก ๑๘
รวมเข้าด้วยกันเป็นตัณหาวิจริต ๓๖
ตัณหาวิจริตที่เป็นอดีต ๓๖ ที่เป็นอนาคต ๓๖ ที่เป็นปัจจุบัน ๓๖ รวม
เข้าด้วยกันเป็นตัณหาวิจริต ๑๐๘ ด้วยประการฉะนี้
ทิฏฐิ ๖๒ พระผู้มีพระภาคได้ตรัสไว้ในพรหมชาลสูตร
มาติกา จบ

๑. เอกกนิทเทส
[๘๔๓] บรรดาเอกกมาติกาเหล่านั้น ชาติมทะ เป็นไฉน
ความเมา กิริยาที่เมา ภาวะที่เมา ความถือตัว กิริยาที่ถือตัว ภาวะที่ถือตัว
ความลำพองตน ความทะนงตน ความเชิดชูตนเป็นดุจธง ความเห่อเหิม ความที่
จิตต้องการเชิดชูตนเป็นดุจธงเพราะอาศัยชาติ นี้เรียกว่า ชาติมทะ (๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๕๔๖ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๗.ขุททกวัตถุวิภังค์] ๑.เอกกนิทเทส
[๘๔๔] โคตตมทะ เป็นไฉน
ความเมา ฯลฯ ความที่จิตต้องการเชิดชูตนเป็นดุจธงเพราะอาศัยโคตร นี้
เรียกว่า โคตตมทะ (๒)
อาโรคยมทะ เป็นไฉน
ความเมา ฯลฯ ความที่จิตต้องการเชิดชูตนเป็นดุจธงเพราะอาศัยความไม่มีโรค
นี้เรียกว่า อาโรคยมทะ (๓)
โยพพนมทะ เป็นไฉน
ความเมา ฯลฯ ความที่จิตต้องการเชิดชูตนเป็นดุจธงเพราะอาศัยความเป็น
หนุ่มเป็นสาว นี้เรียกว่า โยพพนมทะ (๔)
ชีวิตมทะ เป็นไฉน
ความเมา ฯลฯ ความที่จิตต้องการเชิดชูตนเป็นดุจธงเพราะอาศัยชีวิต นี้เรียก
ว่า ชีวิตมทะ (๕)
ลาภมทะ เป็นไฉน
ความเมา ฯลฯ ความที่จิตต้องการเชิดชูตนเป็นดุจธงเพราะอาศัยลาภ นี้เรียก
ว่า ลาภมทะ (๖)
สักการมทะ เป็นไฉน
ความเมา ฯลฯ ความที่จิตต้องการเชิดชูตนเป็นดุจธงเพราะอาศัยสักการะ
นี้เรียกว่า สักการมทะ (๗)
ครุการมทะ เป็นไฉน
ความเมา ฯลฯ ความที่จิตต้องการเชิดชูตนเป็นดุจธงเพราะอาศัยความเคารพ
นี้เรียกว่า ครุการมทะ (๘)
ปุเรกขารมทะ เป็นไฉน
ความเมา ฯลฯ ความที่จิตต้องการเชิดชูตนเป็นดุจธงเพราะอาศัยความเป็น
หัวหน้า นี้เรียกว่า ปุเรกขารมทะ (๙)


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๕๔๗ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๗.ขุททกวัตถุวิภังค์] ๑.เอกกนิทเทส
ปริวารมทะ เป็นไฉน
ความเมา ฯลฯ ความที่จิตต้องการเชิดชูตนเป็นดุจธงเพราะอาศัยบริวาร นี้
เรียกว่า ปริวารมทะ (๑๐)
โภคมทะ เป็นไฉน
ความเมา ฯลฯ ความที่จิตต้องการเชิดชูตนเป็นดุจธงเพราะอาศัยโภคะ นี้
เรียกว่า โภคมทะ (๑๑)
วัณณมทะ เป็นไฉน
ความเมา ฯลฯ ความที่จิตต้องการเชิดชูตนเป็นดุจธงเพราะอาศัยความยกย่อง
นี้เรียกว่า วัณณมทะ (๑๒)
สุตมทะ เป็นไฉน
ความเมา ฯลฯ ความที่จิตต้องการเชิดชูตนเป็นดุจธงเพราะอาศัยการสดับ
ตรับฟังมาก นี้เรียกว่า สุตมทะ (๑๓)
ปฏิภาณมทะ เป็นไฉน
ความเมา ฯลฯ ความที่จิตต้องการเชิดชูตนเป็นดุจธงเพราะอาศัยปฏิภาณ
นี้เรียกว่า ปฏิภาณมทะ (๑๔)
รัตตัญญูมทะ เป็นไฉน
ความเมา ฯลฯ ความที่จิตต้องการเชิดชูตนเป็นดุจธงเพราะอาศัยความเป็น
ผู้รัตตัญญู นี้เรียกว่า รัตตัญญูมทะ (๑๕)
ปิณฑปาติกมทะ เป็นไฉน
ความเมา ฯลฯ ความที่จิตต้องการเชิดชูตนเป็นดุจธงเพราะอาศัยความเป็น
ผู้ถือเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร นี้เรียกว่า ปิณฑปาติกมทะ (๑๖)
อนวัญญาตมทะ เป็นไฉน
ความเมา ฯลฯ ความที่จิตต้องการเชิดชูตนเป็นดุจธงเพราะอาศัยความที่ไม่
มีใครดูหมิ่น นี้เรียกว่า อนวัญญาตมทะ (๑๗)
อิริยาปถมทะ เป็นไฉน
ความเมา ฯลฯ ความที่จิตต้องการเชิดชูตนเป็นดุจธงเพราะอาศัยอิริยาบถ
นี้เรียกว่า อิริยาปถมทะ (๑๘)


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๕๔๘ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๗.ขุททกวัตถุวิภังค์] ๑.เอกกนิทเทส
อิทธิมทะ เป็นไฉน
ความเมา ฯลฯ ความที่จิตต้องการเชิดชูตนเป็นดุจธงเพราะอาศัยฤทธิ์ นี้
เรียกว่า อิทธิมทะ (๑๙)
ยสมทะ เป็นไฉน
ความเมา ฯลฯ ความที่จิตต้องการเชิดชูตนเป็นดุจธงเพราะอาศัยยศ นี้
เรียกว่า ยสมทะ (๒๐)
สีลมทะ เป็นไฉน
ความเมา ฯลฯ ความที่จิตต้องการเชิดชูตนเป็นดุจธงเพราะอาศัยศีล นี้
เรียกว่า สีลมทะ (๒๑)
ฌานมทะ เป็นไฉน
ความเมา ฯลฯ ความที่จิตต้องการเชิดชูตนเป็นดุจธงเพราะอาศัยฌาน นี้
เรียกว่า ฌานมทะ (๒๒)
สิปปมทะ เป็นไฉน
ความเมา ฯลฯ ความที่จิตต้องการเชิดชูตนเป็นดุจธงเพราะอาศัยศิลปะ นี้
เรียกว่า สิปปมทะ (๒๓)
อาโรหมทะ เป็นไฉน
ความเมา ฯลฯ ความที่จิตต้องการเชิดชูตนเป็นดุจธงเพราะอาศัยความเป็น
ผู้มีทรวดทรงสูง นี้เรียกว่า อาโรหมทะ (๒๔)
ปริณาหมทะ เป็นไฉน
ความเมา ฯลฯ ความที่จิตต้องการเชิดชูตนเป็นดุจธงเพราะอาศัยความมี
ทรวดทรงสันทัด นี้เรียกว่า ปริณาหมทะ (๒๕)
สัณฐานมทะ เป็นไฉน
ความเมา ฯลฯ ความที่จิตต้องการเชิดชูตนเป็นดุจธงเพราะอาศัยความมี
ทรวดทรงงาม นี้เรียกว่า สัณฐานมทะ (๒๖)
ปาริปูริมทะ เป็นไฉน


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๕๔๙ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๗.ขุททกวัตถุวิภังค์] ๑.เอกกนิทเทส
ความเมา กิริยาที่เมา ภาวะที่เมา ความถือตัว กิริยาที่ถือตัว ภาวะที่ถือตัว
ความลำพองตน ความทะนงตน ความเชิญชูตนเป็นดุจธง ความเห่อเหิม ความ
ที่จิตต้องการเชิดชูตนเป็นดุจธงเพราะอาศัยความมีร่างกายสมบูรณ์ นี้เรียกว่า
ปาริปูริมทะ (๒๗)
[๘๔๕] มทะ เป็นไฉน
ความเมา กิริยาที่เมา ภาวะที่เมา ความถือตัว กิริยาที่ถือตัว ภาวะที่ถือตัว
ความลำพองตน ความทะนงตน ความเชิดชูตนเป็นดุจธง ความเห่อเหิม ความที่
จิตต้องการเชิดชูตนเป็นดุจธง นี้เรียกว่า มทะ (๒๘)
[๘๔๖] ปมาทะ เป็นไฉน
ความปล่อยจิตไป การเพิ่มพูนความปล่อยจิตไปในกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต
หรือในกามคุณ ๕ หรือการทำโดยไม่เคารพ การทำไม่ให้ติดต่อ การทำที่ไม่มั่นคง
ความประพฤติย่อหย่อน ความทอดทิ้งฉันทะ ความทอดทิ้งธุระ ความไม่เสพ
ความไม่เจริญ ความไม่ทำให้มาก ความตั้งใจไม่จริง ความไม่หมั่นประกอบ
ความประมาทในการเจริญสภาวธรรมที่เป็นกุศลทั้งหลาย ความประมาท กิริยาที่
ประมาท ภาวะที่ประมาท มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า ปมาทะ (๒๙)
[๘๔๗] ถัมภะ เป็นไฉน
ความหัวดื้อ กิริยาที่หัวดื้อ ภาวะที่หัวดื้อ ความแข็งกระด้าง ความหยาบคาย
ความเป็นผู้มีจิตแข็งกระด้าง ความไม่อ่อนโยน นี้เรียกว่า ถัมภะ (๓๐)
[๘๔๘] สารัมภะ เป็นไฉน
ความแข่งดี ความแข่งดีตอบ กิริยาที่แข่งดี กิริยาที่แข่งดีตอบ ภาวะที่แข่งดี
ตอบ นี้เรียกว่า สารัมภะ (๓๑)
[๘๔๙] อติริจฉตา เป็นไฉน
ความอยากได้ยิ่ง ๆ ขึ้นไปของภิกษุผู้ไม่สันโดษด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ
และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร หรือด้วยกามคุณ ๕ ตามมีตามได้ ความอยากได้
ความปรารถนา ความอยากได้เกินประมาณ ความกำหนัด ความกำหนัดนัก ความ
กำหนัดนักแห่งจิต มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า อติริจฉตา (๓๒)


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๕๕๐ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๗.ขุททกวัตถุวิภังค์] ๑.เอกกนิทเทส
[๘๕๐] มหิจฉตา เป็นไฉน
ความอยากได้ยิ่ง ๆ ขึ้นไปของภิกษุผู้ไม่สันโดษด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ
และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร หรือด้วยกามคุณ ๕ ตามมีตามได้ ความอยากได้
ความปรารถนา ความอยากได้เกินประมาณ ความกำหนัด ความกำหนัดนัก
ความกำหนัดนักแห่งจิต มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า มหิจฉตา (๓๓)
[๘๕๑] ปาปิจฉตา เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้ไม่มีศรัทธาปรารถนาว่า ขอประชาชนจงเข้าใจเราว่า
เป็นผู้มีศรัทธา เป็นผู้ทุศีลปรารถนาว่า ขอประชาชนจงเข้าใจเราว่า เป็นผู้มีศีล
เป็นผู้มีสุตะน้อยปรารถนาว่า ขอประชาชนจงเข้าใจเราว่า เป็นผู้มีสุตะมาก เป็นผู้
ยินดีในการคลุกคลีด้วยหมู่ปรารถนาว่า ขอประชาชนจงเข้าใจเราว่า เป็นผู้ชอบสงัด
เป็นผู้เกียจคร้านปรารถนาว่า ขอประชาชนจงเข้าใจเราว่า เป็นผู้บำเพ็ญเพียร
เป็นผู้มีสติหลงลืมปรารถนาว่า ขอประชาชนจงเข้าใจเราว่า เป็นผู้มีสติตั้งมั่น เป็นผู้
มีจิตไม่เป็นสมาธิปรารถนาว่า ขอประชาชนจงเข้าใจเราว่า เป็นผู้มีจิตเป็นสมาธิ เป็น
ผู้มีปัญญาทรามปรารถนาว่า ขอประชาชนจงเข้าใจเราว่า เป็นผู้มีปัญญา เป็นผู้ยังไม่
สิ้นอาสวะปรารถนาว่า ขอประชาชนจงเข้าใจเราว่า เป็นผู้สิ้นอาสวะ ความอยากได้
ความปรารถนา ความปรารถนาลามก ความกำหนัด ความกำหนัดนัก ความ
กำหนัดนักแห่งจิต มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า ปาปิจฉตา๑ (๓๔)
[๘๕๒] สิงคะ เป็นไฉน
ความยั่วยวน ความน่ารัก ความสวยสง่า ความเพริดพริ้ง ความมีเสน่ห์
ความไฉไล นี้เรียกว่า สิงคะ (๓๕)
[๘๕๓] ตินติณะ เป็นไฉน
การพูดเกียดกัน กิริยาที่พูดเกียดกัน ภาวะที่พูดเกียดกัน ความละโมบ
กิริยาที่ละโมบ ภาวะที่ละโมบ ความถ่อมตนเพื่อที่จะได้ ความต้องการสิ่งที่ประณีต
นี้เรียกว่า ตินติณะ (๓๖)

เชิงอรรถ :
๑ ภาวะแห่งผู้ปรารถนาลามก ว่าโดยลักษณะ คือยกย่องคุณที่ไม่มีและไม่รู้จักประมาณในการรับ (อภิ.วิ.อ..
๘๕๑/๕๑๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๕๕๑ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๗.ขุททกวัตถุวิภังค์] ๑.เอกกนิทเทส
[๘๕๔] จาปัลยะ เป็นไฉน
การตกแต่งจีวร การตกแต่งบาตร การตกแต่งเสนาสนะ การประดับร่างกาย
ที่เปื่อยเน่านี้ หรือบริขารภายนอก การประเทืองผิว การเล่นหัว ความร่าเริง
ความกำหนัดยินดี ภาวะที่กำหนัดยินดี การตกแต่ง กิริยาที่ชอบตกแต่ง นี้เรียกว่า
จาปัลยะ (๓๗)
[๘๕๕] อสภาควุตติ เป็นไฉน
ความไม่ประพฤติตาม ความประพฤติขัดขืน ความไม่เอื้อเฟื้อ ภาวะที่ไม่
เอื้อเฟื้อ ความไม่เคารพ ความไม่ยำเกรงในบุคคลใดบุคคลหนึ่ง ผู้ที่ควรเคารพ เช่น
มารดาบิดา พี่ชาย พี่สาว อาจารย์ อุปัชฌาย์ พระพุทธเจ้า หรือพระสาวก
นี้เรียกว่า อสภาควุตติ (๓๘)
[๘๕๖] อรติ เป็นไฉน
ความไม่ยินดี กิริยาที่ไม่ยินดี ความไม่ยินดียิ่ง กิริยาที่ไม่ยินดียิ่ง ความ
รำคาญ ความกระวนกระวายใจในเสนาสนะที่สงัด หรือในสภาวธรรมที่เป็นอธิกุศล๑
คือสมถะและวิปัสสนาอย่างใดอย่างหนึ่ง นี้เรียกว่า อรติ (๓๙)
[๘๕๗] ตันที เป็นไฉน
ความง่วงซึม กิริยาที่ง่วงซึม ภาวะที่ง่วงซึม ความเกียจคร้าน กิริยาที่
เกียจคร้าน ภาวะที่เกียจคร้าน นี้เรียกว่า ตันที๒ (๔๐)
[๘๕๘] วิชัมภิตา เป็นไฉน
ความบิดกาย กิริยาที่บิดกาย การโน้มกายไปข้างหน้า การโน้มกายมาข้าง
หลัง การโน้มกายไปรอบ ๆ การตั้งกายให้สูงขึ้น ความไม่สำราญทางกาย นี้เรียกว่า
วิชัมภิตา (๔๑)
[๘๕๙] ภัตตสัมมทะ เป็นไฉน

เชิงอรรถ :
๑ อภิ.วิ.อ. ๘๕๖/๕๑๗
๒ หมายถึงเกียจคร้านโดยกำเนิด (อภิ.วิ.อ. ๘๕๗/๕๑๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๕๕๒ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๗.ขุททกวัตถุวิภังค์] ๑.เอกกนิทเทส
ความเมาเพราะอาหาร ความอึดอัดลำบากเพราะอาหาร ความเร่าร้อน
กระวนกระวายเพราะอาหาร ความหนักเนื้อหนักตัวเพราะอาหาร ของผู้รับประทาน
อาหารแล้ว นี้เรียกว่า ภัตตสัมมทะ (๔๒)
[๘๖๐] เจตโสลีนัตตะ เป็นไฉน
ความไม่คล่องแห่งจิต ความไม่ควรแก่การงานแห่งจิต ความท้อแท้ ความ
ทดถอย ความหดหู่ กิริยาที่หดหู่ ภาวะที่หดหู่ ความท้อถอย กิริยาที่ท้อถอย
ภาวะที่จิตท้อถอย นี้เรียกว่า เจตโสลีนัตตะ (๔๓)
[๘๖๑] กุหนา เป็นไฉน
ความหลอกลวงด้วยการเสพปัจจัย ความหลอกลวงด้วยการกระซิบในที่ใกล้
หรือการวางท่าทางอิริยาบถ๑ กิริยาที่วางท่าทางอิริยาบถ ความดำรงอิริยาบถด้วยดี
การปั้นสีหน้า ภาวะที่ปั้นสีหน้า ความหลอกลวง กิริยาที่หลอกลวง ภาวะที่
หลอกลวงของภิกษุผู้มุ่งลาภสักการะและชื่อเสียง ผู้ปรารถนาลามก ถูกความ
อยากครอบงำ นี้เรียกว่า กุหนา (๔๔)
[๘๖๒] ลปนา เป็นไฉน
การทักทายผู้อื่น การพูดแนะนำตนเอง การพูดปลอบโยน การพูดยกย่อง
การพูดยกย่องให้สูงขึ้นทุกส่วน การพูดเอาใจคนอื่น การพูดเอาใจคนอื่นบ่อย ๆ
การพูดแนะนำ การพูดแนะนำบ่อย ๆ การพูดยกย่องเพื่อต้องการจะให้เขารัก การ
พูดทำตนให้ต่ำลง การพูดทีเล่นทีจริงเหมือนแกงถั่ว การรับเลี้ยงเด็ก ของภิกษุผู้
มุ่งลาภสักการะและชื่อเสียง ผู้มีความปรารถนาลามก ถูกความอยากครอบงำ นี้
เรียกว่า ลปนา (๔๕)
[๘๖๓] เนมิตติกตา เป็นไฉน
การทำนิมิต๒ ความฉลาดในการทำนิมิต การพูดเกี่ยวข้องด้วยปัจจัย การ
พูดเป็นเลศนัย การพูดเลียบเคียงชนเหล่าอื่น ของภิกษุผู้มุ่งลาภสักการะและชื่อเสียง
ผู้มีความปรารถนาลามก ถูกความอยากครอบงำ นี้เรียกว่า เนมิตติกตา (๔๖)

เชิงอรรถ :
๑ คำว่า “อิริยาบถ” หมายถึงอิริยาบถ ๔ คือ ยืน เดิน นั่ง นอน (อภิ.วิ.อ. ๘๖๑/๕๒๑)
๒ คำว่า “ทำนิมิต” ในที่นี้หมายถึงความฉลาดในการกระทำทางกายและวาจาเพื่อให้คนอื่นให้ทาน (อภิ.วิ.อ.
๘๖๓/๕๒๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๕๕๓ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๗.ขุททกวัตถุวิภังค์] ๑.เอกกนิทเทส
[๘๖๔] นิปเปสิกตา เป็นไฉน
การด่า การพูดข่ม การพูดนินทา การพูดตำหนิโทษ การพูดตำหนิโทษหนัก
ขึ้น การพูดเหยียดหยาม การพูดเหยียดหยามให้หนักยิ่งขึ้น การพูดให้เสียชื่อเสียง
การพูดให้เสียชื่อเสียงอย่างร้ายแรง การนำเรื่องเที่ยวไปประจาน การพูดสรรเสริญ
ต่อหน้านินทาลับหลัง๑ ของภิกษุผู้มุ่งลาภสักการะและชื่อเสียง ผู้ปรารถนาลามก
ถูกความอยากครอบงำ นี้เรียกว่า นิปเปสิกตา (๔๗)
[๘๖๕] ลาเภนลาภังนิชิคีสนตา เป็นไฉน
ภิกษุผู้มุ่งลาภสักการะและชื่อเสียง ผู้มีความปรารถนาลามก ถูกความอยาก
ครอบงำ นำอามิสที่ได้จากข้างนี้ไปให้ข้างโน้น หรือที่ได้จากข้างโน้นไปให้ข้างนี้
การแสวงหา การเสาะแสวงหา การเสาะแสวงหาบ่อย ๆ กิริยาที่แสวงหา กิริยา
ที่เสาะแสวงหา กิริยาที่เสาะแสวงหาบ่อย ๆ ซึ่งอามิสด้วยอามิส มีลักษณะเช่นว่านี้
นี้เรียกว่า ลาเภนลาภังนิชิคีสนตา (๔๘)
[๘๖๖] ความถือตัวว่าเป็นผู้เลิศกว่าเขา เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้ถือตัวโดยเหตุอย่างใดอย่างหนึ่ง คือ โดยชาติ โดยโคตร
โดยความเป็นบุตรของผู้มีตระกูล โดยความเป็นผู้มีรูปงาม โดยทรัพย์ โดยความ
เป็นใหญ่ โดยหน้าที่การงาน โดยศิลปะ โดยวิทยฐานะ โดยการศึกษา หรือโดย
ปฏิภาณ ความถือตัว กิริยาที่ถือตัว ภาวะที่ถือตัว ความลำพองตน ความทะนงตน
การเชิดชูตนเป็นดุจธง ความเห่อเหิม ความที่จิตต้องการเป็นดุจธง มีลักษณะเช่นว่านี้
นี้เรียกว่า ความถือตัวว่าเป็นผู้เลิศกว่าเขา (๔๙)
[๘๖๗] ความถือตัวว่าเป็นผู้เสมอเขา เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้ถือตัวโดยเหตุอย่างใดอย่างหนึ่ง คือ โดยชาติ โดย
โคตร โดยความเป็นบุตรของผู้มีตระกูล โดยความเป็นผู้มีรูปงาม โดยทรัพย์ โดย
ความเป็นใหญ่ โดยหน้าที่การงาน โดยศิลปะ โดยวิทยฐานะ โดยการศึกษา หรือ

เชิงอรรถ :
๑ คำบาลีว่า “ปรปิฏฺฐิมํสิกตา” อรรถกถาขยายความว่า “ปุรโต มธุรํ ภณิตฺวา ปรมฺมุเข อวณฺณภาสิตา”
ต่อหน้าพูดจาอ่อนหวาน ลับหลังพูดนินทา ติเตียน (อภิ.วิ.อ. ๘๖๔/๕๒๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๕๕๔ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๗.ขุททกวัตถุวิภังค์] ๑.เอกกนิทเทส
โดยปฏิภาณ ความถือตัว กิริยาที่ถือตัว ภาวะที่ถือตัว ความลำพองตน ความ
ทะนงตน ความเชิดชูตนเป็นดุจธง ความเห่อเหิม ความที่จิตต้องการเป็นดุจธง
มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า ความถือตัวว่าเป็นผู้เสมอเขา (๕๐)
[๘๖๘] ความถือตัวว่าเป็นผู้ด้อยกว่าเขา เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้ดูหมิ่นตนเองโดยเหตุอย่างใดอย่างหนึ่ง คือ โดยชาติ
โดยโคตร โดยความเป็นบุตรของผู้มีตระกูล โดยความเป็นผู้มีรูปงาม โดยทรัพย์
โดยความเป็นใหญ่ โดยหน้าที่การงาน โดยศิลปะ โดยวิทยฐานะ โดยการศึกษา
หรือโดยปฏิภาณ ความดูหมิ่น กิริยาที่ดูหมิ่น ภาวะที่ดูหมิ่น ความเกลียดตน
ความเกลียดตนยิ่ง ภาวะที่เกลียดตนเป็นอย่างยิ่ง ความดูถูกตน ความดูถูกตนว่า
ต่ำต้อย ความดูแคลนตน มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า ความถือตัวว่าเป็นผู้ด้อย
กว่าเขา (๕๑)
[๘๖๙] เป็นผู้เลิศกว่าเขา ถือตัวว่าเลิศกว่าเขา เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้เลิศกว่าเขา ถือตัวว่าเลิศกว่าคนอื่น ๆ โดยเหตุ
อย่างใดอย่างหนึ่ง คือ โดยชาติ โดยโคตร โดยความเป็นบุตรของผู้มีตระกูล โดย
ความเป็นผู้มีรูปงาม โดยทรัพย์ โดยความเป็นใหญ่ โดยหน้าที่การงาน โดยศิลปะ
โดยวิทยฐานะ โดยการศึกษา หรือโดยปฏิภาณ เขาอาศัยการถือตัวว่าเลิศกว่าคน
อื่น ๆ เช่นนี้แล้วถือตัว ความถือตัว กิริยาที่ถือตัว ภาวะที่ถือตัว ความลำพองตน
ความทะนงตน ความเชิดชูตนเป็นดุจธง ความเห่อเหิม ความที่จิตต้องการเป็นดุจธง
มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า เป็นผู้เลิศกว่าเขา ถือตัวว่าเลิศกว่าเขา (๕๒)
[๘๗๐] เป็นผู้เลิศกว่าเขา ถือตัวว่าเสมอเขา เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้เลิศกว่าเขา ถือตัวว่าเสมอกับคนอื่น ๆ โดยเหตุ
อย่างใดอย่างหนึ่ง คือ โดยชาติ โดยโคตร โดยความเป็นบุตรของผู้มีตระกูล โดย
ความเป็นผู้มีรูปงาม โดยทรัพย์ โดยความเป็นใหญ่ โดยหน้าที่การงาน โดยศิลปะ
โดยวิทยฐานะ โดยการศึกษา หรือโดยปฏิภาณ เขาอาศัยความถือตัวว่าเสมอกับ
คนอื่น ๆ เช่นนี้แล้วถือตัว ความถือตัว กิริยาที่ถือตัว ภาวะที่ถือตัว ความลำพองตน
ความทะนงตน ความเชิดชูตนเป็นดุจธง ความเห่อเหิม ความที่จิตต้องการเป็นดุจธง
มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า เป็นผู้เลิศกว่าเขา ถือตัวว่าเสมอเขา (๕๓)


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๕๕๕ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๗.ขุททกวัตถุวิภังค์] ๑.เอกกนิทเทส
[๘๗๑] เป็นผู้เลิศกว่าเขา ถือตัวว่าด้อยกว่าเขา เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้เลิศกว่าเขา ถือตัวว่าด้อยกว่าคนอื่น ๆ โดยเหตุ
อย่างใดอย่างหนึ่ง คือ โดยชาติ โดยโคตร โดยความเป็นบุตรของผู้มีตระกูล โดย
ความเป็นผู้มีรูปงาม โดยทรัพย์ โดยความเป็นใหญ่ โดยหน้าที่การงาน โดย
ศิลปะ โดยวิทยฐานะ โดยการศึกษา หรือโดยปฏิภาณ เขาอาศัยความถือตัวว่า
ด้อยกว่าคนอื่น ๆ เช่นนั้นแล้วดูหมิ่นตน ความดูหมิ่นตน กิริยาที่ดูหมิ่นตน ภาวะ
ที่ดูหมิ่นตน ความเกลียดตน กิริยาที่เกลียดตนยิ่ง ภาวะที่เกลียดตนเป็นอย่างยิ่ง
ความดูถูกตน ความดูถูกตนว่าต่ำต้อย ความดูแคลนตน มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้
เรียกว่า เป็นผู้เลิศกว่าเขา ถือตัวว่าด้อยกว่าเขา (๕๔)
[๘๗๒] เป็นผู้เสมอเขา ถือตัวว่าเลิศกว่าเขา เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้เสมอเขา ถือตัวว่าเลิศกว่าคนอื่น ๆ โดยเหตุอย่าง
ใดอย่างหนึ่ง คือ โดยชาติ โดยโคตร โดยความเป็นบุตรของผู้มีตระกูล ฯลฯ
เขาอาศัยความถือตัวว่าเลิศกว่าคนอื่น ๆ เช่นนั้นแล้วถือตัว ความถือตัว กิริยาที่
ถือตัว ภาวะที่ถือตัว ความลำพองตน ความทะนงตน ความเชิดชูตนเป็นดุจธง
ความเห่อเหิม ความที่จิตต้องการเป็นดุจธง มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า เป็นผู้
เสมอเขา ถือตัวว่าเลิศกว่าเขา (๕๕)
[๘๗๓] เป็นผู้เสมอเขา ถือตัวว่าเสมอเขา เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้เสมอเขา ถือตัวว่าเสมอกับคนอื่น ๆ โดยเหตุอย่าง
ใดอย่างหนึ่ง คือ โดยชาติ โดยโคตร โดยความเป็นบุตรของผู้มีตระกูล ฯลฯ เขา
อาศัยความถือตัวว่าเสมอกับคนอื่น ๆ เช่นนั้นแล้วถือตัว ความถือตัว กิริยาที่ถือตัว
ภาวะที่ถือตัว ความลำพองตน ความทะนงตน ความเชิดชูตนเป็นดุจธง ความ
เห่อเหิม ความที่จิตต้องการเป็นดุจธง มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า เป็นผู้เสมอเขา
ถือตัวว่าเสมอเขา (๕๖)
[๘๗๔] เป็นผู้เสมอเขา ถือตัวว่าด้อยกว่าเขา เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้เสมอเขา ถือตัวว่าด้อยกว่าคนอื่น ๆ โดยเหตุ
อย่างใดอย่างหนึ่ง คือ โดยชาติ โดยโคตร โดยความเป็นบุตรของผู้มีตระกูล ฯลฯ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๕๕๖ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๗.ขุททกวัตถุวิภังค์] ๑.เอกกนิทเทส
เขาอาศัยความถือตัวว่าด้อยกว่าคนอื่น ๆ เช่นนั้นแล้วดูหมิ่นตน ความดูหมิ่นตน
กิริยาที่ดูหมิ่นตน ภาวะที่ดูหมิ่นตน ความเกลียดตน กิริยาที่เกลียดตนยิ่ง ภาวะ
ที่เกลียดตนเป็นอย่างยิ่ง ความดูถูกตน ความดูถูกตนว่าต่ำต้อย ความดูแคลนตน
มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า เป็นผู้เสมอเขา ถือตัวว่าด้อยกว่าเขา (๕๗)
[๘๗๕] เป็นผู้ด้อยกว่าเขา ถือตัวว่าเลิศกว่าเขา เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้ด้อยกว่าเขา ถือตัวว่าเลิศกว่าคนอื่น ๆ โดยเหตุ
อย่างใดอย่างหนึ่ง คือ โดยชาติ โดยโคตร โดยความเป็นบุตรของผู้มีตระกูล ฯลฯ
เขาอาศัยความถือตัวว่าเลิศกว่าคนอื่น ๆ เช่นนั้นแล้วถือตัว ความถือตัว กิริยาที่
ถือตัว ภาวะที่ถือตัว ความลำพองตน ความทะนงตน ความเชิดชูตนเป็นดุจธง
ความที่จิตต้องการเป็นดุจธง มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า เป็นผู้ด้อยกว่าเขา ถือ
ตัวว่าเลิศกว่าเขา (๕๘)
[๘๗๖] เป็นผู้ด้อยกว่าเขา ถือตัวว่าเสมอเขา เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้ด้อยกว่าเขา ถือตัวว่าเสมอกับคนอื่น ๆ โดยเหตุ
อย่างใดอย่างหนึ่ง คือ โดยชาติ โดยโคตร โดยความเป็นบุตรของผู้มีตระกูล ฯลฯ
เขาอาศัยความถือตัวว่าเสมอกับคนอื่น ๆ เช่นนั้นแล้วถือตัว ความถือตัว กิริยาที่
ถือตัว ภาวะที่ถือตัว ความลำพองตน ความทะนงตน ความเชิดชูตนเป็นดุจธง
ความเห่อเหิม ความที่จิตต้องการเป็นดุจธง มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า เป็นผู้
ด้อยกว่าเขา ถือตัวว่าเสมอเขา (๕๙)
[๘๗๗] เป็นผู้ด้อยกว่าเขา ถือตัวว่าด้อยกว่าเขา เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้ด้อยกว่าเขา ถือตัวว่าด้อยกว่าคนอื่น ๆ โดยเหตุ
อย่างใดอย่างหนึ่ง คือ โดยชาติ โดยโคตร โดยความเป็นบุตรของผู้มีตระกูล
ฯลฯ เขาอาศัยความถือตัวว่าด้อยกว่าคนอื่น ๆ เช่นนั้นแล้วดูหมิ่นตน ความดูหมิ่น
ตน กิริยาที่ดูหมิ่นตน ภาวะที่ดูหมิ่นตน ความเกลียดตน กิริยาที่เกลียดตน ภาวะ
ที่เกลียดตน ความดูถูกตน ความดูถูกตนว่าต่ำต้อย ความดูแคลนตน มีลักษณะ
เช่นว่านี้ นี้เรียกว่า เป็นผู้ด้อยกว่าเขา ถือตัวว่าด้อยกว่าเขา (๖๐)
[๘๗๘] มานะ เป็นไฉน


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๕๕๗ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๗.ขุททกวัตถุวิภังค์] ๑.เอกกนิทเทส
ความถือตัว กิริยาที่ถือตัว ภาวะที่ถือตัว ความลำพองตน ความทะนงตน
ความเชิดชูตนเป็นดุจธง ความเห่อเหิม ความที่จิตต้องการเป็นดุจธง นี้เรียกว่า
มานะ (๖๑)
[๘๗๙] อติมานะ เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้ดูหมิ่นคนอื่น ๆ โดยเหตุอย่างใดอย่างหนึ่ง คือ โดย
ชาติ โดยโคตร โดยความเป็นบุตรของผู้มีตระกูล ฯลฯ ความถือตัว กิริยาที่ถือตัว
ภาวะที่ถือตัว ความลำพองตน ความทะนงตน ความเชิดชูตนเป็นดุจธง ความ
เห่อเหิม ความที่จิตต้องการเป็นดุจธง มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า อติมานะ (๖๒)
[๘๘๐] มานาติมานะ เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้เบื้องต้นถือตัวว่าเสมอกับคนอื่น ๆ ต่อมาถือตัวว่าเลิศ
กว่าคนอื่น ๆ โดยเหตุอย่างใดอย่างหนึ่ง คือ โดยชาติ โดยโคตร โดยความเป็น
บุตรของผู้มีตระกูล ฯลฯ ความถือตัว กิริยาที่ถือตัว ภาวะที่ถือตัว ความลำพองตน
ความทะนงตน ความเชิดชูตนเป็นดุจธง ความเห่อเหิม ความที่จิตต้องการเป็นดุจธง
มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า มานาติมานะ (๖๓)
[๘๘๑] โอมานะ เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้ดูหมิ่นตนเองโดยเหตุอย่างใดอย่างหนึ่ง คือ โดยชาติ
โดยโคตร โดยความเป็นบุตรของผู้มีตระกูล โดยความเป็นผู้มีรูปงาม โดยทรัพย์
โดยความเป็นใหญ่ โดยหน้าที่การงาน โดยศิลปะ โดยวิทยฐานะ โดยการศึกษา
หรือโดยปฏิภาณ ความดูหมิ่นตน กิริยาที่ดูหมิ่นตน ภาวะที่ดูหมิ่นตน ความ
เกลียดตน กิริยาที่เกลียดตน ภาวะที่เกลียดตน ความดูถูกตนว่าต่ำต้อย ความ
ดูแคลนตน มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า โอมานะ (๖๔)
[๘๘๒] อธิมานะ เป็นไฉน
ความสำคัญธรรมที่ตนยังไม่ได้บรรลุว่าบรรลุแล้ว ความสำคัญกิจที่ตนยังไม่
ได้ทำว่าทำแล้ว ความสำคัญธรรมที่ตนยังไม่ได้บรรลุว่าบรรลุแล้ว ความสำคัญ
ธรรมที่ตน ยังไม่ได้ทำให้แจ้งว่าทำให้แจ้งแล้ว ความถือตัว กิริยาที่ถือตัว ภาวะที่
ถือตัว ความลำพองตน ความทะนงตน ความเชิดชูตนเป็นดุจธง ความเห่อเหิม
ความที่จิตต้องการเป็นดุจธง มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า อธิมานะ (๖๕)


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๕๕๘ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๗.ขุททกวัตถุวิภังค์] ๑.เอกกนิทเทส
[๘๘๓] อัสมิมานะ เป็นไฉน
ความสำคัญว่าเราเป็นรูป ความพอใจว่าเราเป็นรูป ความเข้าใจว่าเราเป็นรูป
ความสำคัญว่าเราเป็นเวทนา ฯลฯ เราเป็นสัญญา ฯลฯ เราเป็นสังขาร ฯลฯ เรา
เป็นวิญญาณ ความพอใจว่าเราเป็นวิญญาณ ความเข้าใจว่าเราเป็นวิญญาณ ความ
ถือตัว กิริยาที่ถือตัว ภาวะที่ถือตัว ความลำพองตน ความทะนงตน ความเชิดชู
ตนเป็นดุจธง ความเห่อเหิม ความที่จิตต้องการเป็นดุจธง มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้
เรียกว่า อัสมิมานะ (๖๖)
[๘๘๔] มิจฉามานะ เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้ถือตัวโดยเหตุอย่างใดอย่างหนึ่ง คือ โดยหน้าที่การงาน
โดยศิลปะ โดยวิทยฐานะ โดยการศึกษา โดยปฏิภาณ โดยศีล โดยพรต โดยศีล
และพรต หรือโดยทิฏฐิ๑ อันลามก ความถือตัว กิริยาที่ถือตัว ภาวะที่ถือตัว
ความลำพองตน ความทะนงตน ความเชิดชูตนเป็นดุจธง ความเห่อเหิม ความที่
จิตต้องการเป็นดุจธง มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า มิจฉามานะ (๖๗)
[๘๘๕] ญาติวิตักกะ เป็นไฉน
ความตรึก ความตรึกโดยอาการต่าง ๆ ความดำริผิดที่อาศัยเรือน๒ ปรารภ
หมู่ญาติ นี้เรียกว่า ญาติวิตักกะ (๖๘)
[๘๘๖] ชนปทวิตักกะ เป็นไฉน
ความตรึก ความตรึกโดยอาการต่าง ๆ ความดำริผิดที่อาศัยเรือน๒ ปรารภ
ชนบท นี้เรียกว่า ชนปทวิตักกะ (๖๙)
[๘๘๗] อมรวิตักกะ เป็นไฉน
ความตรึก ความตรึกโดยอาการต่าง ๆ ความดำริผิดที่อาศัยเรือน๒ ประกอบ
ด้วยทุกรกิริยา หรือประกอบด้วยทิฏฐิ นี้เรียกว่า อมรวิตักกะ (๗๐)

เชิงอรรถ :
๑ หมายถึงทิฏฐิอย่างใดอย่างหนึ่งในทิฏฐิ ๖๒ (อภิ.วิ.อ. ๘๘๔/๕๓๐)
๒ คำว่า “อาศัยเรือน” ในอรรถกถาขยายว่า ได้แก่กามคุณ ๕ (อภิ.วิ.อ.๘๘๕/๔๓๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๕๕๙ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๗.ขุททกวัตถุวิภังค์] ๒.ทุกนิทเทส
[๘๘๘] ปรานุททยตาปฏิสังยุตตวิตักกะ เป็นไฉน
สมณพราหมณ์บางคนในโลกนี้อยู่คลุกคลีกับคฤหัสถ์มีความรื่นเริงร่วมกัน มี
ความโศกเศร้าร่วมกัน ถึงคราวเขาสุขก็พลอยสุขด้วย ถึงคราวเขาทุกข์ก็พลอยทุกข์
ด้วย เมื่อเขามีกิจที่จะพึงทำเกิดขึ้นก็พยายามช่วยทำด้วยตนเอง ความตรึก ความ
ตรึกโดยอาการต่าง ๆ ความดำริผิดที่อาศัยเรือน๑ ในเพราะการอยู่คลุกคลีด้วยคฤหัสถ์
นั้น นี้เรียกว่า ปรานุททยตาปฏิสังยุตตวิตักกะ (๗๑)
[๘๘๙] ลาภสักการสิโลกปฏิสังยุตตวิตักกะ เป็นไฉน
ความตรึก ความตรึกโดยอาการต่าง ๆ ความดำริผิดที่อาศัยเรือน๑ ปรารภ
ลาภสักการะและชื่อเสียง นี้เรียกว่า ลาภสักการสิโลกปฏิสังยุตตวิตักกะ (๗๒)
[๘๙๐] อนวัญญัตติปฏิสังยุตตวิตักกะ เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้รำพึงว่า คนเหล่าอื่นอย่าได้ดูหมิ่นเราโดยเหตุอย่างใด
อย่างหนึ่ง คือ โดยชาติ โดยโคตร โดยความเป็นบุตรของผู้มีตระกูล โดยความ
เป็นผู้มีรูปงาม โดยทรัพย์ โดยความเป็นใหญ่ โดยหน้าที่การงาน โดยศิลปะ
โดยวิทยฐานะ โดยการศึกษา หรือโดยปฏิภาณ ความตรึก ความตรึกโดยอาการ
ต่าง ๆ ความดำริผิดที่อาศัยเรือน๑ ในเพราะความไม่อยากให้ใครดูหมิ่นนั้น นี้เรียก
ว่า อนวัญญัตติปฏิสังยุตตวิตักกะ (๗๓)
เอกกนิทเทส จบ

๒. ทุกนิทเทส
[๘๙๑] บรรดามาติกาเหล่านั้น โกธะ เป็นไฉน
ความโกรธ กิริยาที่โกรธ ภาวะที่โกรธ ความคิดประทุษร้าย กิริยาที่คิด
ประทุษร้าย ภาวะที่คิดประทุษร้าย ความคิดปองร้าย กิริยาที่คิดปองร้าย ภาวะที่
คิดปองร้าย ความยินร้าย ความยินร้ายตอบ ความดุร้าย ความเกรี้ยวกราด
ความที่จิตไม่เบิกบาน นี้เรียกว่า โกธะ (๑)

เชิงอรรถ :
๑ คำว่า “เรือน” ในที่นี้หมายถึงกามคุณ ๕ คือ รูป เสียง กลิ่น รส และโผฏฐัพพะ (อภิ.วิ.อ. ๘๙๐/๕๓๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๕๖๐ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๗.ขุททกวัตถุวิภังค์] ๒.ทุกนิทเทส
อุปนาหะ เป็นไฉน
ความโกรธครั้งแรกชื่อว่าความโกรธ ความโกรธในเวลาต่อมาชื่อว่าความผูก
โกรธ ความผูกโกรธ กิริยาที่ผูกโกรธ ภาวะที่ผูกโกรธ การไม่หยุดโกรธ การตั้งความ
โกรธไว้ การดำรงความโกรธไว้ การโผลงไปตามความโกรธ การตามไปผูกความโกรธ
ไว้ การทำความผูกโกรธไว้ให้มั่น มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า อุปนาหะ (๑)
[๘๙๒] มักขะ เป็นไฉน
ความลบหลู่คุณท่าน กิริยาที่ลบหลู่คุณท่าน ภาวะที่ลบหลู่คุณท่าน ความดู
หมิ่น การทำความดูหมิ่น นี้เรียกว่า มักขะ
ปลาสะ เป็นไฉน
ความตีเสมอ กิริยาที่ตีเสมอ ภาวะที่ตีเสมอ สภาวธรรมที่เป็นอาหารแห่ง
การตีเสมอโดยนำเอาความชนะของตนมาอ้าง เหตุแห่งความวิวาท ความแข่งดี
ความไม่ยอมสละ นี้เรียกว่า ปลาสะ (๒)
[๘๙๓] อิสสา เป็นไฉน
ความริษยา กิริยาที่ริษยา ภาวะที่ริษยา ความเกลียดชัง กิริยาที่เกลียดชัง
ภาวะที่เกลียดชัง ในเมื่อคนอื่นได้ลาภสักการะ ได้รับความเคารพ ความนับถือ
การกราบไหว้ และการบูชา นี้เรียกว่า อิสสา
มัจฉริยะ เป็นไฉน
มัจฉริยะ ๕ คือ

๑. อาวาสมัจฉริยะ (ตระหนี่ที่อยู่)
๒. กุลมัจฉริยะ (ตระหนี่ตระกูล)
๓. ลาภมัจฉริยะ (ตระหนี่ลาภ)
๔. วัณณมัจฉริยะ (ตระหนี่วรรณะหรือคุณความดี)
๕. ธัมมมัจฉริยะ (ตระหนี่ธรรม)

ความตระหนี่ กิริยาที่ตระหนี่ ภาวะที่ตระหนี่ ความหวงแหน ความ
เหนียวแน่น ความปกปิด ความมีจิตหวงแหน มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า
มัจฉริยะ (๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๕๖๑ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๗.ขุททกวัตถุวิภังค์] ๒.ทุกนิทเทส
[๘๙๔] มายา เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้ประพฤติทุจริตด้วยกาย วาจา และใจแล้วตั้งความปรารถนา
ลามกไว้เพราะมีความต้องการจะปกปิดทุจริตนั้นเป็นเหตุ คือ ปรารถนาว่า ขอใคร
อย่าได้รู้ทันเรา ดำริว่า ขอใครอย่าได้รู้ทันเรา พูดว่า ขอใครอย่าได้รู้ทันเรา
ขวนขวายด้วยกายว่า ขอใครอย่าได้รู้ทันเรา ความเจ้าเล่ห์ ความเป็นคนเจ้าเล่ห์
กิริยาที่หลอกให้หลง ความลวง ความโกง ความกลบเกลื่อน ความหลีกเลี่ยง
ความซ่อน ความซ่อนบัง ความปกปิด ความปิดบัง การกระทำไม่ชัดเจน การไม่
ทำให้แจ้ง การปกปิดมิดชิด การกระทำที่ชั่ว มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า มายา
สาเถยยะ เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้โอ้อวด เป็นผู้โอ้อวดจัด ความโอ้อวด กิริยาที่
โอ้อวด ภาวะที่โอ้อวด ความกระด้าง การพูดเป็นเหลี่ยมคู ภาวะที่กระด้างใน
บุคคลนั้น นี้เรียกว่า สาเถยยะ (๔)
[๘๙๕] อวิชชา เป็นไฉน
ความไม่รู้ ความไม่เห็น ฯลฯ ลิ่มคืออวิชชา อกุศลมูลคือโมหะ นี้เรียกว่า
อวิชชา
ภวตัณหา เป็นไฉน
ความพอใจในภพ ความยินดีในภพ ความเพลิดเพลินในภพ ความปรารถนา
ภพ ความเยื่อใยในภพ ความเร่าร้อนเพราะภพ ความสยบในภพ ความหมกมุ่น
ในภพ นี้เรียกว่า ภวตัณหา (๕)
[๘๙๖] ภวทิฏฐิ เป็นไฉน
ความเห็นว่า อัตตาและโลกจักมี ดังนี้ ทิฏฐิ ความเห็นผิด ฯลฯ ความ
ยึดถือโดยวิปลาส มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า ภวทิฏฐิ
วิภวทิฏฐิ เป็นไฉน
ความเห็นว่า อัตตาและโลกจักไม่มี ดังนี้ ทิฏฐิ ความเห็นผิด ฯลฯ ความ
ยึดถือโดยวิปลาส มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า วิภวทิฏฐิ (๖)


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๕๖๒ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๗.ขุททกวัตถุวิภังค์] ๒.ทุกนิทเทส
[๘๙๗] สัสสตทิฏฐิ เป็นไฉน
ความเห็นว่า อัตตาและโลกเที่ยง ดังนี้ ทิฏฐิ ความเห็นผิด ฯลฯ ความ
ยึดถือโดยวิปลาส มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า สัสสตทิฏฐิ
อุจเฉททิฏฐิ เป็นไฉน
ความเห็นว่า อัตตาและโลกขาดสูญ ดังนี้ ทิฏฐิ ความเห็นผิด ฯลฯ
ความยึดถือโดยวิปลาส มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า อุจเฉททิฏฐิ (๗)
[๘๙๘] อันตวาทิฏฐิ เป็นไฉน
ความเห็นว่า อัตตาและโลกมีที่สุด ดังนี้ ทิฏฐิ ความเห็นผิด ฯลฯ ความ
ยึดถือโดยวิปลาส มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า อันตวาทิฏฐิ
อนันตวาทิฏฐิ เป็นไฉน
ความเห็นว่า อัตตาและโลกไม่มีที่สุด ดังนี้ ทิฏฐิ ความเห็นผิด ฯลฯ
ความยึดถือโดยวิปลาส มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า อนันตวาทิฏฐิ (๘)
[๘๙๙] ปุพพันตานุทิฏฐิ เป็นไฉน
ทิฏฐิ ธรรมชาติที่นับว่าทิฏฐิ ฯลฯ ความยึดถือโดยวิปลาส ปรารภส่วน
อดีตเกิดขึ้น นี้เรียกว่า ปุพพันตานุทิฏฐิ
อปรันตานุทิฏฐิ เป็นไฉน
ทิฏฐิ ธรรมชาติที่นับว่าทิฏฐิ ฯลฯ ความยึดถือโดยวิปลาส ปรารภส่วน
อนาคตเกิดขึ้น นี้เรียกว่า อปรันตานุทิฏฐิ (๙)
[๙๐๐] อหิริกะ เป็นไฉน
ความไม่ละอายต่อการประพฤติทุจริตอันเป็นสิ่งที่ควรละอาย ความไม่ละอาย
ต่อการประกอบบาปอกุศลธรรมทั้งหลาย นี้เรียกว่า อหิริกะ
อโนตตัปปะ เป็นไฉน
ความไม่เกรงกลัวต่อการประพฤติทุจริตอันเป็นสิ่งที่ควรเกรงกลัว ความไม่
เกรงกลัวต่อการประกอบบาปอกุศลธรรมทั้งหลาย นี้เรียกว่า อโนตตัปปะ (๑๐)


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๕๖๓ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๗.ขุททกวัตถุวิภังค์] ๒.ทุกนิทเทส
[๙๐๑] โทวจัสสตา เป็นไฉน
ความเป็นผู้ว่ายาก กิริยาที่เป็นผู้ว่ายาก ภาวะที่เป็นผู้ว่ายาก ความยึดถือ
ข้างขัดขืน ความพอใจทางโต้แย้ง ความไม่เอื้อเฟื้อ กิริยาที่ไม่เอื้อเฟื้อ ความไม่เคารพ
ความไม่เชื่อฟังในเมื่อถูกว่ากล่าวโดยชอบธรรม นี้เรียกว่า โทวจัสสตา
ปาปมิตตตา เป็นไฉน
บุคคลเหล่าใดไม่มีศรัทธา ไม่มีศีล มีการศึกษาน้อย มีความตระหนี่ มี
ปัญญาทราม การเสพ การเสพเป็นนิตย์ การเสพด้วยดี การคบ การคบด้วยดี
ความภักดี ความจงรักภักดีต่อบุคคลเหล่านั้น ความเป็นผู้ร่วมพวกกับบุคคลเหล่า
นั้น นี้เรียกว่า ปาปมิตตตา (๑๑)
[๙๐๒] อนัชชวะ เป็นไฉน
ความไม่ซื่อตรง ภาวะที่ไม่ซื่อตรง ความคด ความงอ ความโกง นี้เรียกว่า
อนัชชวะ
อมัททวะ เป็นไฉน
ความไม่อ่อนโยน ภาวะที่ไม่อ่อน ความกระด้าง ความหยาบคาย ภาวะที่
กระด้าง ความแข็งกระด้าง ความมีจิตแข็งกระด้าง ความไม่อ่อนโยน นี้เรียกว่า
อมัททวะ (๑๒)
[๙๐๓] อขันติ เป็นไฉน
ความไม่อดทน ภาวะที่ไม่อดทน ความไม่อดกลั้น ความดุร้าย ความ
เกรี้ยวกราด ความที่จิตไม่เบิกบาน นี้เรียกว่า อขันติ
อโสรัจจะ เป็นไฉน
ความล่วงละเมิดทางกาย ความล่วงละเมิดทางวาจา ความล่วงละเมิดทาง
กายและทางวาจา นี้เรียกว่า ความไม่เสงี่ยม ความเป็นผู้ทุศีลแม้ทั้งหมดเรียกว่า
อโสรัจจะ (๑๓)
[๙๐๔] อสาขัลยะ เป็นไฉน


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๕๖๔ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๗.ขุททกวัตถุวิภังค์] ๒.ทุกนิทเทส
วาจาใดเป็นปม หยาบคาย เผ็ดร้อนต่อผู้อื่น กระทบกระทั่งผู้อื่น ใกล้ต่อ
ความโกรธ ไม่เป็นไปเพื่อสมาธิ บุคคลเป็นผู้พูดวาจาเช่นนั้น ความเป็นผู้มีวาจาไม่
อ่อนหวาน ความเป็นผู้มีวาจาไม่ละมุนละมัย ความเป็นผู้มีวาจาหยาบ ในลักษณะ
ดังกล่าวนั้น นี้เรียกว่า อสาขัลยะ
อัปปฏิสันถาร เป็นไฉน
ปฏิสันถาร ๒ คือ อามิสปฏิสันถาร และธัมมปฏิสันถาร บุคคลบางคนใน
โลกนี้เป็นผู้ไม่ทำการปฏิสันถารด้วยอามิสปฏิสันถาร หรือด้วยธัมมปฏิสันถาร นี้
เรียกว่า อัปปฏิสันถาร (๑๔)
[๙๐๕] ความเป็นผู้ไม่คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้เห็นรูปด้วยจักษุแล้วรวบถือ แยกถือ ซึ่งเมื่อไม่สำรวม
แล้วก็จะเป็นเหตุให้บาปอกุศลธรรมคืออภิชฌาและโทมนัสครอบงำได้ ไม่ปฏิบัติเพื่อ
สำรวมในจักขุนทรีย์ ไม่รักษาจักขุนทรีย์ ไม่ถึงความสำรวมในจักขุนทรีย์ ฟังเสียง
ด้วยหู ฯลฯ สูดกลิ่นด้วยจมูก ฯลฯ ลิ้มรสด้วยลิ้น ฯลฯ ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย
ฯลฯ รู้ธรรมารมณ์ด้วยใจแล้วรวบถือ แยกถือ ซึ่งเมื่อไม่สำรวมแล้วก็จะเป็นเหตุให้
บาปอกุศลธรรมคืออภิชฌาและโทมนัสครอบงำได้ ไม่ปฏิบัติเพื่อสำรวมในมนินทรีย์
นั้น ไม่รักษามนินทรีย์ ไม่ถึงความสำรวมในมนินทรีย์ ความไม่คุ้มครอง กิริยาที่
ไม่คุ้มครอง ความไม่รักษา ความไม่สำรวมในอินทรีย์ ๖ เหล่านี้ นี้เรียกว่า ความ
เป็นผู้ไม่คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย
ความเป็นผู้ไม่รู้จักประมาณในการบริโภค เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้ไม่พิจารณาโดยแยบคายย่อมบริโภคอาหารเพื่อเล่น เพื่อ
ความมัวเมา เพื่อให้ผิวพรรณสวยงาม เพื่อความอ้วนพี ความไม่สันโดษ ความไม่
รู้จักประมาณ ความไม่พิจารณาในโภชนะนั้น นี้เรียกว่า ความเป็นผู้ไม่รู้จักประมาณ
ในการบริโภค (๑๕)
[๙๐๖] มุฏฐัสสัจจะ เป็นไฉน
ความระลึกไม่ได้ ความหวนระลึกไม่ได้ ความระลึกย้อนหลังไม่ได้ ความระลึก
ไม่ได้ ภาวะที่ระลึกไม่ได้ ภาวะที่ทรงจำไม่ได้ ความเลื่อนลอย ความหลงลืมสติ
นี้เรียกว่า มุฏฐัสสัจจะ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๕๖๕ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๗.ขุททกวัตถุวิภังค์] ๓.ติกนิทเทส
อสัมปชัญญะ เป็นไฉน
ความไม่รู้ ความไม่เห็น ฯลฯ ลิ่มคืออวิชชา อกุศลมูลคือโมหะ นี้เรียกว่า
อสัมปชัญญะ (๑๖)
[๙๐๗] สีลวิบัติ เป็นไฉน
ความล่วงละเมิดทางกาย ความล่วงละเมิดทางวาจา ความล่วงละเมิดทาง
กายและทางวาจา นี้เรียกว่า สีลวิบัติ ความเป็นผู้ทุศีลแม้ทั้งหมดชื่อว่าสีลวิบัติ
ทิฏฐิวิบัติ เป็นไฉน
ความเห็นว่า ทานที่บุคคลให้แล้วไม่มีผล การบูชาไม่มีผล ฯลฯ สมณ-
พราหมณ์ผู้ประพฤติดีปฏิบัติชอบทำให้แจ้งโลกนี้และโลกหน้าด้วยปัญญาอันยิ่งด้วย
ตนเองแล้วสอนให้ผู้อื่นรู้ ไม่มีในโลก ดังนี้ ทิฏฐิ ความเห็นผิด ความยึดถือ
โดยวิปลาส มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า ทิฏฐิวิบัติ มิจฉาทิฏฐิแม้ทั้งหมดเรียกว่า
ทิฏฐิวิบัติ (๑๗)
[๙๐๘] อัชฌัตตสัญโญชนะ เป็นไฉน
สังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ ชื่อว่าอัชฌัตตสัญโญชนะ๑
(พหิทธสัญโญชนะ เป็นไฉน)
สังโยชน์เบื้องสูง ๕ ชื่อว่าพหิทธสัญโญชนะ๒ (๑๘)
ทุกนิทเทส จบ

๓. ติกนิทเทส
[๙๐๙] บรรดามาติกาเหล่านั้น อกุศลมูล ๓ เป็นไฉน
อกุศลมูล ๓ คือ โลภะ โทสะ และโมหะ

เชิงอรรถ :
๑ คือสังโยชน์ในกามภพ (อภิ.วิ.อ. ๙๐๘/๕๓๕)
๒ คือสังโยชน์ในรูปภพและอรูปภพ (อภิ.วิ.อ. ๙๐๘/๕๓๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๕๖๖ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๗.ขุททกวัตถุวิภังค์] ๓.ติกนิทเทส
บรรดาอกุศลมูล ๓ นั้น โลภะ เป็นไฉน
ความกำหนัด ความกำหนัดนัก ความคล้อยตามอารมณ์ ความยินดี ความ
เพลิดเพลิน ความกำหนัดด้วยอำนาจความเพลิดเพลิน ความกำหนัดนักแห่งจิต
ความอยาก ความสยบ ความหมกมุ่น ความใคร่ ความรักใคร่ ความข้องอยู่
ความจมอยู่ ความหวั่นไหว ความหลอกลวง ธรรมชาติที่ยังสัตว์ให้เกิด ธรรมชาติ
ที่ยังสัตว์ให้เกิดพร้อม ธรรมชาติที่ร้อยรัด ธรรมชาติที่มีข่าย ธรรมชาติที่ซ่านไป
ธรรมชาติที่ซ่านไปในอารมณ์ต่าง ๆ ธรรมชาติที่เป็นกระแส ธรรมชาติที่แผ่ไป
ธรรมชาติที่ประมวลมา ธรรมชาติที่เป็นเพื่อนใจ ธรรมชาติที่ตั้งความปรารถนา
ธรรมชาติที่นำไปสู่ภพ ตัณหาเหมือนป่า ตัณหาเหมือนหมู่ไม้ที่ตั้งอยู่ในป่า ความ
เชยชิด ความเยื่อใย ความห่วงใย ความผูกพัน ความหวัง กิริยาที่หวัง ภาวะที่หวัง
ความหวังรูป ความหวังเสียง ความหวังกลิ่น ความหวังรส ความหวังโผฏฐัพพะ
ความหวังลาภ ความหวังทรัพย์ ความหวังบุตร ความหวังชีวิต ธรรมชาติที่อยากได้
ธรรมชาติที่อยากได้ทั่ว ธรรมชาติที่อยากได้ยิ่ง กิริยาที่อยากได้ ภาวะที่อยากได้
ความละโมบ กิริยาที่ละโมบ ภาวะที่ละโมบ ธรรมชาติที่เป็นเหตุซมซานไป ความ
ใคร่ในอารมณ์ที่ดี ความกำหนัดในฐานะที่ไม่ควร ความโลภเกินขนาด ความติดใจ
กิริยาที่ติดใจ ความปรารถนา ความกระหยิ่ม ความปรารถนาจัด กามตัณหา
ภวตัณหา วิภวตัณหา ตัณหาในรูปภพ ตัณหาในอรูปภพ ตัณหาในนิโรธ (คือ
ราคะที่สหรคตด้วยอุจเฉททิฏฐิ) รูปตัณหา สัททตัณหา คันธตัณหา รสตัณหา
โผฏฐัพพตัณหา ธรรมตัณหา โอฆะ โยคะ คันถะ อุปาทาน อาวรณ์ นิวรณ์
เครื่องปิดบัง เครื่องผูกมัด อุปกิเลส อนุสัย ปริยุฏฐานะ ตัณหาเหมือนเถาวัลย์
ความปรารถนาวัตถุมีอย่างต่าง ๆ รากเหง้าแห่งทุกข์ เหตุแห่งทุกข์ แดนเกิดแห่ง
ทุกข์ บ่วงแห่งมาร เบ็ดแห่งมาร แดนแห่งมาร ตัณหาเหมือนแม่น้ำ ตัณหา
เหมือนข่าย ตัณหาเหมือนเชือกผูก ตัณหาเหมือนสมุทร อภิชฌา อกุศลมูลคือโลภะ
นี้เรียกว่า โลภะ
โทสะ เป็นไฉน
ความอาฆาตเกิดขึ้นว่า ผู้นี้เคยทำความเสื่อมเสียแก่เรา ผู้นี้กำลังทำความ
เสื่อมเสียแก่เรา ผู้นี้จักทำความเสื่อมเสียแก่เรา ความอาฆาตเกิดขึ้นว่า ผู้นี้เคยทำ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๕๖๗ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๗.ขุททกวัตถุวิภังค์] ๓.ติกนิทเทส
ความเสื่อมเสียแก่คนผู้เป็นที่รัก เป็นที่ชอบพอของเรา ผู้นี้กำลังทำความเสื่อมเสีย
แก่คนผู้เป็นที่รัก เป็นที่ชอบพอของเรา ผู้นี้จักทำความเสื่อมเสียแก่คนผู้เป็นที่รัก
เป็นที่ชอบพอของเรา
ความอาฆาตเกิดขึ้นว่า ผู้นี้เคยทำประโยชน์แก่คนผู้ไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่ชอบ
พอของเรา ผู้นี้กำลังทำประโยชน์แก่คนผู้ไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่ชอบพอของเรา ผู้นี้
จักทำประโยชน์แก่คนผู้ไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่ชอบพอของเรา หรือความอาฆาตเกิด
ขึ้นในฐานะที่ไม่สมควร จิตอาฆาต ความขัดเคือง ความกระทบ ความแค้น ความ
เคือง ความพลุ้งพล่าน โทสะ ความคิดประทุษร้าย ความมุ่งคิดประทุษร้าย ความ
ขุ่นจิต ธรรมชาติที่ประทุษร้ายใจ ความโกรธ กิริยาที่โกรธ ภาวะที่โกรธ ความคิด
ประทุษร้าย กิริยาที่คิดประทุษร้าย ภาวะที่คิดประทุษร้าย ความคิดปองร้าย กิริยา
ที่คิดปองร้าย ภาวะที่คิดปองร้าย ความพิโรธ ความแค้น ความดุร้าย ความ
เกรี้ยวกราด ความไม่แช่มชื่นแห่งจิต มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า โทสะ
โมหะ เป็นไฉน
ความไม่รู้ในทุกข์ ความไม่รู้ในทุกขสมุทัย ความไม่รู้ในทุกขนิโรธ ความไม่รู้
ในทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ความไม่รู้ในส่วนอดีต ความไม่รู้ในส่วนอนาคต ความ
ไม่รู้ทั้งในส่วนอดีตและส่วนอนาคต ความไม่รู้ในสภาวธรรมที่เป็นปัจจัยของกันและ
กัน และอิงอาศัยกันเกิดขึ้น ความไม่รู้ ความไม่เห็น ฯลฯ ลิ่มคืออวิชชา อกุศลมูล
คือโมหะมีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า โมหะ
เหล่านี้ชื่อว่าอกุศลมูล ๓ (๑)
[๙๑๐] อกุศลวิตก ๓ เป็นไฉน
อกุศลวิตก ๓ คือ

๑. กามวิตก (ความตรึกเกี่ยวด้วยกาม)
๒. พยาปาทวิตก (ความตรึกเกี่ยวด้วยความพยาบาท)
๓. วิหิงสาวิตก (ความตรึกเกี่ยวด้วยความเบียดเบียน)

บรรดาวิตก ๓ นั้น กามวิตก เป็นไฉน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๕๖๘ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๗.ขุททกวัตถุวิภังค์] ๓.ติกนิทเทส
ความตรึก ความตรึกโดยอาการต่าง ๆ ความดำริผิด ที่เกี่ยวด้วยกาม นี้
เรียกว่า กามวิตก
พยาปาทวิตก เป็นไฉน
ความตรึก ความตรึกโดยอาการต่าง ๆ ความดำริผิด ที่เกี่ยวด้วยความ
พยาบาท นี้เรียกว่า พยาปาทวิตก
วิหิงสาวิตก เป็นไฉน
ความตรึก ความตรึกโดยอาการต่าง ๆ ความดำริผิด ที่เกี่ยวด้วยความ
เบียดเบียน นี้เรียกว่า วิหิงสาวิตก
เหล่านี้ชื่อว่าอกุศลวิตก ๓ (๒)
[๙๑๑] อกุศลสัญญา ๓ เป็นไฉน
อกุศลสัญญา ๓ คือ
๑. กามสัญญา ๒. พยาปาทสัญญา
๓. วิหิงสาสัญญา
บรรดาสัญญา ๓ นั้น กามสัญญา เป็นไฉน
ความจำได้ กิริยาที่จำได้ ภาวะที่จำได้ ที่เกี่ยวด้วยกาม นี้เรียกว่า กาม-
สัญญา
พยาปาทสัญญา เป็นไฉน
ความจำได้ กิริยาที่จำได้ ภาวะที่จำได้ ที่เกี่ยวกับความพยาบาท นี้เรียกว่า
พยาปาทสัญญา
วิหิงสาสัญญา เป็นไฉน
ความจำได้ กิริยาที่จำได้ ภาวะที่จำได้ ที่เกี่ยวด้วยความเบียดบียน นี้เรียกว่า
วิหิงสาสัญญา
เหล่านี้ชื่อว่าอกุศลสัญญา ๓ (๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๕๖๙ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๗.ขุททกวัตถุวิภังค์] ๓.ติกนิทเทส
[๙๑๒] อกุศลธาตุ ๓ เป็นไฉน
อกุศลธาตุ ๓ คือ
๑. กามธาตุ ๒. พยาปาทธาตุ
๓. วิหิงสาธาตุ
บรรดาอกุศลธาตุ ๓ นั้น กามธาตุ เป็นไฉน
กามวิตกชื่อว่ากามธาตุ พยาปาทวิตกชื่อว่าพยาปาทธาตุ วิหิงสาวิตกชื่อว่า
วิหิงสาธาตุ
บรรดาวิตก ๓ นั้น กามวิตก เป็นไฉน
ความตรึก ความตรึกโดยอาการต่าง ๆ ความดำริผิด ที่เกี่ยวด้วยกาม นี้
เรียกว่า กามวิตก
พยาปาทวิตก เป็นไฉน
ความตรึก ความตรึกโดยอาการต่าง ๆ ความดำริผิด ที่เกี่ยวด้วยความ
พยาบาท นี้เรียกว่า พยาปาทวิตก
วิหิงสาวิตก เป็นไฉน
ความตรึก ความตรึกโดยอาการต่าง ๆ ความดำริผิด ที่เกี่ยวด้วยความเบียด
เบียน นี้เรียกว่า วิหิงสาวิตก
เหล่านี้ชื่อว่าอกุศลธาตุ ๓ (๔)
[๙๑๓] ทุจริต ๓ เป็นไฉน
ทุจริต ๓ คือ
๑. กายทุจริต ๒. วจีทุจริต
๓. มโนทุจริต
บรรดาทุจริต ๓ นั้น กายทุจริต เป็นไฉน
ปาณาติบาต อทินนาทาน และกาเมสุมิจฉาจาร นี้เรียกว่า กายทุจริต
วจีทุจริต เป็นไฉน
มุสาวาท ปิสุณวาจา ผรุสวาจา สัมผัปปลาปะ นี้เรียกว่า วจีทุจริต

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๕๗๐ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๗.ขุททกวัตถุวิภังค์] ๓.ติกนิทเทส
มโนทุจริต เป็นไฉน
อภิชฌา พยาบาท มิจฉาทิฏฐิ นี้เรียกว่า มโนทุจริต
กายทุจริต เป็นไฉน
กายกรรมที่เป็นอกุศลชื่อว่ากายทุจริต วจีกรรมที่เป็นอกุศลชื่อว่าวจีทุจริต
มโนกรรมที่เป็นอกุศลชื่อว่ามโนทุจริต
บรรดาทุจริต ๓ นั้น กายกรรมที่เป็นอกุศล เป็นไฉน
กายสัญเจตนาที่เป็นอกุศลชื่อว่ากายกรรมที่เป็นอกุศล วจีสัญเจตนาที่เป็นอกุศล
ชื่อว่าวจีกรรมที่เป็นอกุศล มโนสัญเจตนาที่เป็นอกุศลชื่อว่ามโนกรรมที่เป็นอกุศล
เหล่านี้ชื่อว่าทุจริต ๓ (๕)
[๙๑๔] อาสวะ ๓ เป็นไฉน
อาสวะ ๓ คือ

๑. กามาสวะ (อาสวะคือกาม)
๒. ภวาสวะ (อาสวะคือภพ)
๓. อวิชชาสวะ (อาสวะคืออวิชชา)

บรรดาอาสวะ ๓ นั้น กามาสวะ เป็นไฉน
ความพอใจในกาม ความกำหนัดในกาม ความเพลิดเพลินในกาม ความ
อยากในกาม ความเยื่อใยในกาม ความเร่าร้อนเพราะกาม ความสยบในกาม
ความหมกมุ่นในกาม นี้เรียกว่า กามาสวะ
ภวาสวะ เป็นไฉน
ความพอใจในภพ ฯลฯ ความหมกมุ่นในภพ ในภพทั้งหลาย นี้เรียกว่า
ภวาสวะ
อวิชชาสวะ เป็นไฉน
ความไม่รู้ในทุกข์ ฯลฯ ลิ่มคืออวิชชา อกุศลมูลคือโมหะ นี้เรียกว่า อวิชชาสวะ
เหล่านี้ชื่อว่าอาสวะ ๓ (๖)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๕๗๑ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๗.ขุททกวัตถุวิภังค์] ๓.ติกนิทเทส
[๙๑๕] สังโยชน์ ๓ เป็นไฉน
สังโยชน์ ๓ คือ

๑. สักกายทิฏฐิ (ความเห็นว่าเป็นตัวของตน)
๒. วิจิกิจฉา (ความสงสัย ลังเล ไม่แน่ใจ)
๓. สีลัพพตปรามาส (ความถือมั่นศีลพรต)

บรรดาสังโยชน์ ๓ นั้น สักกายทิฏฐิ เป็นไฉน
ปุถุชนในโลกนี้ผู้ไม่ได้สดับ ไม่ได้เห็นพระอริยะ ไม่ฉลาดในธรรมของพระอริยะ
ไม่ได้รับการแนะนำในธรรมของพระอริยะ ไม่ได้เห็นสัตบุรุษ ไม่ฉลาดในธรรมของ
สัตบุรุษ ไม่ได้รับการแนะนำในธรรมของสัตบุรุษ ย่อมพิจารณาเห็นรูปเป็นตนหรือ
เห็นตนมีรูป เห็นรูปในตนหรือเห็นตนในรูป ย่อมพิจารณาเห็นเวทนาเป็นตน ฯลฯ
เห็นสัญญาเป็นตน ฯลฯ เห็นสังขารเป็นตน ฯลฯ เห็นวิญญาณเป็นตนหรือ
พิจารณาเห็นตนมีวิญญาณ เห็นวิญญาณในตนหรือเห็นตนในวิญญาณ ทิฏฐิ ความ
เห็นผิด ฯลฯ ความยึดถือโดยวิปลาส มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า สักกายทิฏฐิ
วิจิกิจฉา เป็นไฉน
ปุถุชนเคลือบแคลงสงสัยในพระศาสดา ย่อมเคลือบแคลงสงสัยในพระธรรม
ย่อมเคลือบแคลงสงสัยในพระสงฆ์ ย่อมเคลือบแคลงสงสัยในสิกขา ย่อมเคลือบ
แคลงสงสัยในส่วนอดีต ย่อมเคลือบแคลงสงสัยในส่วนอนาคต ย่อมเคลือบแคลง
สงสัยในส่วนอดีตและส่วนอนาคต ย่อมเคลือบแคลงสงสัยในสภาวธรรมที่เป็น
ปัจจัยของกันและกันและอิงอาศัยกันและกันเกิดขึ้น ความเคลือบแคลง กิริยาที่
เคลือบแคลง ภาวะที่เคลือบแคลง ความกระด้างแห่งจิต ความลังเลใจ มีลักษณะ
เช่นว่านี้ นี้เรียกว่า วิจิกิจฉา
สีลัพพตปรามาส เป็นไฉน
สมณพราหมณ์ภายนอกแต่ศาสนานี้ มีความเห็นว่า ความบริสุทธิ์มีได้ด้วยศีล
ด้วยพรต ด้วยศีลและพรต ดังนี้ ทิฏฐิ ความเห็นผิด ฯลฯ ความยึดถือโดยวิปลาส
มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า สีลัพพตปรามาส
เหล่านี้ชื่อว่าสังโยชน์ ๓ (๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๕๗๒ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๗.ขุททกวัตถุวิภังค์] ๓.ติกนิทเทส
[๙๑๖] ตัณหา ๓ เป็นไฉน
ตัณหา ๓ คือ

๑. กามตัณหา (ความทะยานอยากในกาม)
๒. ภวตัณหา (ความทะยานอยากในภพ)
๓. วิภวตัณหา (ความทะยานอยากในวิภพ)

บรรดาตัณหา ๓ นั้น ภวตัณหา เป็นไฉน
ความกำหนัด ความกำหนัดนัก ความกำหนัดนักแห่งจิตที่สหรคตด้วยภวทิฏฐิ
นี้เรียกว่า ภวตัณหา
วิภวตัณหา เป็นไฉน
ความกำหนัด ความกำหนัดนัก ความกำหนัดนักแห่งจิตที่สหรคตด้วย
อุจเฉททิฏฐิ นี้เรียกว่า วิภวตัณหา ตัณหาที่เหลือชื่อว่ากามตัณหา
บรรดาตัณหา ๓ นั้น กามตัณหา เป็นไฉน
ความกำหนัด ความกำหนัดนัก ความกำหนัดนักแห่งจิตที่เกี่ยวด้วยกามธาตุ
นี้เรียกว่า กามตัณหา
ความกำหนัด ความกำหนัดนัก ความกำหนัดนักแห่งจิตที่เกี่ยวกับรูปธาตุและ
อรูปธาตุ นี้เรียกว่า ภวตัณหา
ความกำหนัด ความกำหนัดนัก ความกำหนัดนักแห่งจิตที่สหรคตด้วย
อุจเฉททิฏฐิ นี้เรียกว่า วิภวตัณหา
เหล่านี้ชื่อว่าตัณหา ๓ (๘)
[๙๑๗] ตัณหา ๓ อีกนัยหนึ่ง เป็นไฉน
ตัณหา ๓ คือ
๑. กามตัณหา ๒. รูปตัณหา
๓. อรูปตัณหา
บรรดาตัณหา ๓ นั้น กามตัณหา เป็นไฉน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๕๗๓ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๗.ขุททกวัตถุวิภังค์] ๓.ติกนิทเทส
ความกำหนัด ความกำหนัดนัก ความกำหนัดนักแห่งจิตที่เกี่ยวด้วยกามธาตุ
นี้เรียกว่า กามตัณหา
รูปตัณหา เป็นไฉน
ความกำหนัด ความกำหนัดนัก ความกำหนัดนักแห่งจิตที่เกี่ยวด้วยรูปธาตุ
นี้เรียกว่า รูปตัณหา
อรูปตัณหา เป็นไฉน
ความกำหนัด ความกำหนัดนัก ความกำหนัดนักแห่งจิตที่เกี่ยวด้วยอรูปธาตุ
นี้เรียกว่า อรูปตัณหา
เหล่านี้ชื่อว่าตัณหา ๓ (๙)
[๙๑๘] ตัณหา ๓ อีกนัยหนึ่ง เป็นไฉน
ตัณหา ๓ คือ
๑. รูปตัณหา ๒. อรูปตัณหา
๓. นิโรธตัณหา
บรรดาตัณหา ๓ นั้น รูปตัณหา เป็นไฉน
ความกำหนัด ความกำหนัดนัก ความกำหนัดนักแห่งจิตที่เกี่ยวด้วยรูปธาตุ
นี้เรียกว่า รูปตัณหา
อรูปตัณหา เป็นไฉน
ความกำหนัด ความกำหนัดนัก ความกำหนัดนักแห่งจิตที่เกี่ยวด้วยอรูปธาตุ
นี้เรียกว่า อรูปตัณหา
นิโรธตัณหา เป็นไฉน
ความกำหนัด ความกำหนัดนัก ความกำหนัดนักแห่งจิตที่สหรคตด้วย
อุจเฉททิฏฐิ นี้เรียกว่า นิโรธตัณหา
เหล่านี้ชื่อว่าตัณหา ๓ (๑๐)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๕๗๔ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๗.ขุททกวัตถุวิภังค์] ๓.ติกนิทเทส
[๙๑๙] เอสนา ๓ เป็นไฉน
เอสนา ๓ คือ
๑. กาเมสนา ๒. ภเวสนา
๓. พรหมจริเยสนา
บรรดาเอสนา ๓ นั้น กาเมสนา เป็นไฉน
ความพอใจในกาม ฯลฯ ความหมกมุ่นในกาม นี้เรียกว่า กาเมสนา
ภเวสนา เป็นไฉน
ความพอใจในภพ ฯลฯ ความหมกมุ่นในภพ นี้เรียกว่า ภเวสนา
พรหมจริเยสนา เป็นไฉน
ความเห็นว่า โลกเที่ยง โลกไม่เที่ยง ฯลฯ หลังจากตายแล้ว ตถาคตเกิด
อีกก็ไม่ใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็ไม่ใช่ ดังนี้ ทิฏฐิ ความเห็นผิด ฯลฯ ความยึดถือโดย
วิปลาส มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า พรหมจริเยสนา
บรรดาเอสนา ๓ นั้น กาเมสนา เป็นไฉน
ความกำหนัดในกาม กายกรรม วจีกรรม มโนกรรมที่เป็นอกุศลซึ่งตั้งอยู่
ในฐานเดียวกันกับความกำหนัดในกามนั้น นี้เรียกว่า กาเมสนา๑
ภเวสนา เป็นไฉน
ความกำหนัดในภพ กายกรรม วจีกรรม มโนกรรมที่เป็นอกุศลซึ่งตั้งอยู่ใน
ฐานเดียวกันกับความกำหนัดในภพนั้น นี้เรียกว่า ภเวสนา
พรหมจริเยสนา เป็นไฉน
ความเห็นที่ถือว่า โลกมีที่สุด กายกรรม วจีกรรม มโนกรรมที่เป็นอกุศล ซึ่ง
ตั้งอยู่ในฐานเดียวกันกับความเห็นที่ถือว่าโลกมีที่สุดนั้น นี้เรียกว่า พรหมจริเยสนา
เหล่านี้ชื่อว่าเอสนา ๓ (๑๑)

เชิงอรรถ :
๑ สสฺสโต โลโกติอาทินา นเยน วุตฺตา ทิฏฺฐิคติกสมฺมตสฺส พฺรหฺมอริยสฺส คเวสนา ทิฏฺฐิ พฺรหฺมจริเยสนาติ
เวทิตพฺพา (อภิ.วิ.อ. ๙๑๙/๕๓๖)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๕๗๕ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๗.ขุททกวัตถุวิภังค์] ๓.ติกนิทเทส
[๙๒๐] วิธา ๓ เป็นไฉน
วิธา ๓ คือ ความถือตัวว่า
๑. เป็นผู้เลิศกว่าเขา ๒. เป็นผู้เสมอเขา
๓. เป็นผู้ด้อยกว่าเขา
เหล่านี้เรียกว่า วิธา ๓ (๑๒)
[๙๒๑] ภัย ๓ เป็นไฉน
ภัย ๓ คือ

๑. ชาติภัย (ภัยเกิดเพราะอาศัยชาติ)
๒. ชราภัย (ภัยเกิดเพราะอาศัยชรา)
๓. มรณภัย (ภัยเกิดเพราะอาศัยความตาย)

บรรดาภัย ๓ นั้น ชาติภัย เป็นไฉน
ความกลัว ความขยาด ความหวาดเสียว ความขนพองสยองเกล้า ความ
สะดุ้งแห่งจิต เพราะอาศัยความเกิด นี้เรียกว่า ชาติภัย
ชราภัย เป็นไฉน
ความกลัว ความขยาด ความหวาดเสียว ความขนพองสยองเกล้า ความ
สะดุ้งแห่งจิต เพราะอาศัยชรา นี้เรียกว่า ชราภัย
มรณภัย เป็นไฉน
ความกลัว ความขยาด ความหวาดเสียว ความขนพองสยองเกล้า ความ
สะดุ้งแห่งจิต เพราะอาศัยความตาย นี้เรียกว่า มรณภัย
เหล่านี้ชื่อว่าภัย ๓ (๑๓)
[๙๒๒] ตมะ๑ ๓ เป็นไฉน
ตมะ ๓ คือ

เชิงอรรถ :
๑ ตมนฺธกาโร สมฺโมโห อวิชฺโชโฆ มหพฺภโยติ วจนโต อวิชชา ตโม นาม (อภิ.วิ.อ. ๙๒๒/๕๓๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๕๗๖ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๗.ขุททกวัตถุวิภังค์] ๓.ติกนิทเทส
๑. บุคคลเคลือบแคลงสงสัย ไม่น้อมใจเชื่อ ไม่เลื่อมใส ปรารภ
อดีตกาล
๒. เคลือบแคลงสงสัย ไม่น้อมใจเชื่อ ไม่เลื่อมใส ปรารภอนาคตกาล
๓. เคลือบแคลงสงสัย ไม่น้อมใจเชื่อ ไม่เลื่อมใส ปรารภปัจจุบันกาล
เหล่านี้ชื่อว่าตมะ ๓ (๑๔)
[๙๒๓] ติตถายตนะ ๓๑ เป็นไฉน
ติตถายตนะ ๓ คือ
๑. สมณะหรือพราหมณ์บางคนในโลกนี้เป็นผู้มีวาทะอย่างนี้ มีความ
เห็นอย่างนี้ว่า คนเรานี้เสวยสุขบ้าง ทุกข์บ้าง ไม่ทุกข์ไม่สุขบ้าง
อย่างใดอย่างหนึ่ง การเสวยสุขทุกข์หรือไม่สุขไม่ทุกข์ทั้งหมดนั้น
เพราะเคยการทำเหตุมาก่อน
๒. สมณะหรือพราหมณ์บางคนในโลกนี้เป็นผู้มีวาทะอย่างนี้ มีความ
เห็นอย่างนี้ว่า คนเรานี้เสวยสุขบ้าง ทุกข์บ้าง ไม่ทุกข์ไม่สุขบ้าง
อย่างใดอย่างหนึ่ง การเสวยสุขทุกข์หรือไม่ทุกข์ไม่สุขทั้งหมดนั้น
เพราะเหตุคือผู้เป็นใหญ่สร้างให้
๓. สมณะหรือพราหมณ์บางคนในโลกนี้เป็นผู้มีวาทะอย่างนี้ มีความ
เห็นอย่างนี้ว่า คนเรานี้เสวยสุขบ้าง ทุกข์บ้าง ไม่ทุกข์ไม่สุขบ้าง
อย่างใดอย่างหนึ่ง การเสวยสุขทุกข์หรือไม่ทุกข์ไม่สุขทั้งหมดนั้น
เพราะไม่มีเหตุไม่มีปัจจัย
เหล่านี้ชื่อว่าติตถายตนะ ๓ (๑๕)
[๙๒๔] กิญจนะ ๓๒ เป็นไฉน
กิญจนะ ๓ คือ
๑. กิญจนะคือราคะ ๒. กิญจนะคือโทสะ
๓. กิญจนะคือโมหะ
เหล่านี้ชื่อว่ากิญจนะ ๓ (๑๖)

เชิงอรรถ :
๑ ถิ่น หรือบ่อเกิดทิฏฐิ ๖๒ (อภิ.วิ.อ. ๙๒๓/๕๓๘) ๒ อภิ.วิ.อ. ๙๒๔/๕๓๙

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๕๗๗ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๗.ขุททกวัตถุวิภังค์] ๓.ติกนิทเทส
อังคณะ ๓๑ เป็นไฉน
อังคณะ ๓ คือ
๑. อังคณะคือราคะ (กิเลสเพียงดังเนินคือราคะ)
๒. อังคณะคือโทสะ (กิเลสเพียงดังเนินคือโทสะ)
๓. อังคณะคือโมหะ (กิเลสเพียงดังเนินคือโมหะ)
เหล่านี้ชื่อว่าอังคณะ ๓ (๑๗)
มละ ๓๒ เป็นไฉน
มละ ๓ คือ
๑. มละคือราคะ (มลทินคือราคะ)
๒. มละคือโทสะ (มลทินคือโทสะ)
๓. มละคือโมหะ (มลทินคือโมหะ)
เหล่านี้ชื่อว่ามละ ๓ (๑๘)
วิสมะ ๓๓ เป็นไฉน
วิสมะ ๓ คือ
๑. วิสมะคือราคะ (ความประพฤติไม่สม่ำเสมอคือราคะ)
๒. วิสมะคือโทสะ (ความประพฤติไม่สม่ำเสมอคือโทสะ)
๓. วิสมะคือโมหะ (ความประพฤติไม่สม่ำเสมอคือโมหะ)
เหล่านี้ชื่อว่าวิสมะ ๓ (๑๙)
วิสมะ ๓ อีกนัยหนึ่ง เป็นไฉน
วิสมะ ๓ คือ
๑. วิสมะทางกาย ๒. วิสมะทางวาจา
๓. วิสมะทางใจ
เหล่านี้ชื่อว่าวิสมะ ๓ (๒๐)

เชิงอรรถ :
๑ แปลว่า กิเลสเพียงดังเนิน คือ ราคะ โทสะ และโมหะ (อภิ.วิ.อ. ๙๒๔/๕๓๙)
๒ มละเป็นมลทินทำจิตให้เศร้าหมอง ซึ่งได้แก่ ราคะ โทสะ และโมหะ (อภิ.วิ.อ. ๙๒๔/๕๓๙)
๓ คำว่า “วิสมะ” หมายถึงความประพฤติที่ไม่สม่ำเสมอ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๕๗๘ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๗.ขุททกวัตถุวิภังค์] ๓.ติกนิทเทส
อัคคิ๑ ๓ เป็นไฉน
อัคคิ ๓ คือ
๑. อัคคิคือราคะ (ไฟคือราคะ)
๒. อัคคิคือโทสะ (ไฟคือโทสะ)
๓. อัคคิคือโมหะ (ไฟคือโมหะ)
เหล่านี้ชื่อว่าอัคคิ ๓ (๒๑)
กสาวะ ๓ เป็นไฉน
กสาวะ ๓ คือ
๑. กสาวะคือราคะ (กิเลสเพียงดังน้ำฝาดคือราคะ)
๒. กสาวะคือโทสะ (กิเลสเพียงดังน้ำฝาดคือโทสะ)
๓. กสาวะคือโมหะ (กิเลสเพียงดังน้ำฝาดคือโมหะ)
เหล่านี้ชื่อว่ากสาวะ ๓ (๒๒)
กสาวะ ๓ อีกนัยหนึ่ง เป็นไฉน
กสาวะ ๓ คือ
๑. กสาวะทางกาย ๒. กสาวะทางวาจา
๓. กสาวะทางใจ
เหล่านี้ชื่อว่ากสาวะ ๓ (๒๓)
[๙๒๕] อัสสาททิฏฐิ๒ เป็นไฉน
สมณะหรือพราหมณ์บางคนในโลกนี้เป็นผู้มีวาทะอย่างนี้ เป็นผู้มีความเห็น
อย่างนี้ว่า กามทั้งหลายไม่มีโทษ ดังนี้ จึงบริโภคกาม นี้เรียกว่า อัสสาททิฏฐิ
อัตตานุทิฏฐิ เป็นไฉน
ปุถุชนในโลกนี้ผู้ไม่ได้สดับ ไม่ได้เห็นพระอริยะ ไม่ฉลาดในธรรมของพระอริยะ
ไม่ได้รับการแนะนำในธรรมของพระอริยะ ไม่ได้เห็นสัตบุรุษ ไม่ฉลาดในธรรมของ

เชิงอรรถ :
๑ แปลว่า ไฟ ท่านเปรียบกิเลสเหมือนไฟ (อภิ.วิ.อ. ๙๒๔/๕๓๙)
๒ ความเห็นผิดที่สัมปยุตด้วยความยินดี (อภิ.วิ.อ. ๙๒๕/๕๔๐)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๕๗๙ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๗.ขุททกวัตถุวิภังค์] ๓.ติกนิทเทส
สัตบุรุษ ไม่ได้รับการแนะนำในธรรมของสัตบุรุษ ย่อมพิจารณาเห็นรูปเป็นตนหรือ
เห็นตนมีรูป เห็นรูปในตน หรือเห็นตนในรูป ย่อมพิจารณาเห็นเวทนาเป็นตน ฯลฯ
สัญญาเป็นตน ฯลฯ สังขารเป็นตน ฯลฯ วิญญาณเป็นตน หรือย่อมพิจารณา
เห็นตนมีวิญญาณ เห็นวิญญาณในตน หรือเห็นตนในวิญญาณ ทิฏฐิ ความเห็นผิด
ฯลฯ ความยึดถือโดยวิปลาส มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า อัตตานุทิฏฐิ
มิจฉาทิฏฐิ เป็นไฉน
ความเห็นว่า ทานที่บุคคลให้แล้วไม่มีผล การบูชาไม่มีผล ฯลฯ สมณะ
หรือพราหมณ์ผู้รู้ยิ่งเห็นจริงประจักษ์แจ้งซึ่งโลกนี้และโลกหน้าด้วยตนเองแล้วประกาศ
ให้ผู้อื่นรู้ได้ไม่มีในโลกนี้ ดังนี้ ทิฏฐิ ความเห็นผิด ฯลฯ ความยึดถือโดยวิปลาส
มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า มิจฉาทิฏฐิ สัสสตทิฏฐิชื่อว่าอัสสาททิฏฐิ สักกายทิฏฐิ
ชื่อว่าอัตตานุทิฏฐิ อุจเฉททิฏฐิชื่อว่ามิจฉาทิฏฐิ (๒๔)
[๙๒๖] อรติ เป็นไฉน
ความไม่ยินดี กิริยาที่ไม่ยินดี ความไม่ยินดียิ่ง กิริยาที่ไม่ยินดียิ่ง ความกระสัน
ความดิ้นรนในเสนาสนะที่สงัด หรือในสภาวธรรมทั้งหลายที่เป็นอธิกุศลอย่างใด
อย่างหนึ่ง นี้เรียกว่า อรติ
วิเหสา เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้เบียดเบียนสัตว์ทั้งหลายด้วยฝ่ามือ ด้วยก้อนดิน ด้วย
ท่อนไม้ ด้วยศัสตรา ด้วยเชือก อย่างใดอย่างหนึ่ง ความบีบคั้น ความรบกวน
ความเบียดเบียน ความเบียดเบียนหนักขึ้น การทำให้เดือดร้อน การทำให้เดือด
ร้อนอย่างหนัก การทำร้ายสัตว์อื่น มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า วิเหสา
อธรรมจริยา เป็นไฉน
ความประพฤติไม่เป็นธรรมทางกาย ความประพฤติไม่สม่ำเสมอทางกาย
ความประพฤติไม่เป็นธรรมทางวาจา ความประพฤติไม่สม่ำเสมอทางวาจา ความ
ประพฤติไม่เป็นธรรมทางใจ ความประพฤติไม่สม่ำเสมอทางใจ นี้เรียกว่า อธรรม-
จริยา (๒๕)


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๕๘๐ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๗.ขุททกวัตถุวิภังค์] ๓.ติกนิทเทส
[๙๒๗] โทวจัสสตา เป็นไฉน
ความเป็นผู้ว่ายาก กิริยาที่เป็นผู้ว่ายาก ภาวะที่เป็นผู้ว่ายาก ความยึดถือ
ข้างขัดขืน ความพอใจในการโต้แย้ง กิริยาที่ไม่เอื้อเฟื้อ ความไม่เอื้อเฟื้อ ความ
ไม่เคารพ ความไม่เชื่อฟังในเมื่อถูกว่ากล่าวโดยชอบธรรม นี้เรียกว่า โทวจัสสตา
ปาปมิตตตา เป็นไฉน
บุคคลเหล่าใดไม่มีศรัทธา ไม่มีศีล เป็นผู้มีสุตะน้อย มีความตระหนี่ มี
ปัญญาทราม การเสพ การเสพเป็นนิตย์ การเสพด้วยดี การคบ การคบด้วยดี
ความภักดี ความจงรักภักดี ความเป็นผู้โน้มไปตามบุคคลเหล่านั้น นี้เรียกว่า
ปาปมิตตตา
นานัตตสัญญา เป็นไฉน
สัญญาที่เกี่ยวด้วยกาม สัญญาที่เกี่ยวด้วยความพยาบาท สัญญาที่เกี่ยวด้วย
ความเบียดเบียน นี้เรียกว่า นานัตตสัญญา สัญญาที่เป็นอกุศลแม้ทั้งหมดชื่อว่า
นานัตตสัญญา (๒๖)
[๙๒๘] อุทธัจจะ เป็นไฉน
ความฟุ้งซ่าน ความไม่สงบ ความซัดส่าย ความพล่านไปแห่งจิต นี้เรียกว่า
อุทธัจจะ
โกสัชชะ เป็นไฉน
ความปล่อยจิต การเพิ่มพูนความปล่อยจิตไปในกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต
หรือในกามคุณ ๕ การทำโดยไม่เคารพ การทำโดยไม่ติดต่อ การทำโดยไม่มั่นคง
ความประพฤติย่อหย่อน ความทอดทิ้งฉันทะ ความทอดทิ้งธุระ ความไม่เสพ
ความไม่ทำให้เจริญ ความไม่ทำให้มาก ความไม่ตั้งใจมั่น ความไม่หมั่นประกอบ
ความประมาทในการเจริญสภาวธรรมทั้งหลายที่เป็นกุศล นี้เรียกว่า โกสัชชะ
ปมาทะ เป็นไฉน
ความปล่อยจิต การเพิ่มพูนความปล่อยจิตไปในกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต
หรือในกามคุณ ๕ การทำโดยไม่เคารพ การทำโดยไม่ติดต่อ การทำที่ไม่มั่นคง


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๕๘๑ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๗.ขุททกวัตถุวิภังค์] ๓.ติกนิทเทส
ความประพฤติย่อหย่อน ความทอดทิ้งฉันทะ ความทอดทิ้งธุระ ความไม่เสพ
ความไม่ทำให้เจริญ ความไม่ทำให้มาก ความไม่ตั้งใจมั่น ความไม่หมั่นประกอบ
ความประมาทในการเจริญสภาวธรรมทั้งหลายที่เป็นกุศล ความประมาท กิริยาที่
ประมาท ภาวะที่ประมาท มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า ปมาทะ (๒๗)
[๙๒๙] อสันตุฏฐิตา เป็นไฉน
ความอยากได้ยิ่ง ๆ ขึ้นไปของบุคคลผู้ไม่สันโดษด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ
และคิลานปัจจัยเภสัชบริขารตามมีตามได้ หรือด้วยกามคุณ ๕ ความอยาก ความ
ปรารถนา ความไม่สันโดษ ความกำหนัด ความกำหนัดนัก ความกำหนัดนักแห่ง
จิต มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า อสันตุฏฐิตา
อสัมปชัญญตา เป็นไฉน
ความไม่รู้ ความไม่เห็น ฯลฯ ลิ่มคืออวิชชา อกุศลมูลคือโมหะ นี้เรียกว่า
อสัมปชัญญตา
มหิจฉตา เป็นไฉน
ความอยากได้ยิ่ง ๆ ขึ้นไปของบุคคลผู้ไม่สันโดษด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ
และคิลานปัจจัยเภสัชบริขารตามมีตามได้ หรือด้วยกามคุณ ๕ ความอยาก ความ
ปรารถนา ความมักมาก ความกำหนัด ความกำหนัดนัก ความกำหนัดนักแห่ง
จิต มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า มหิจฉตา (๒๘)
[๙๓๐] อหิริกะ เป็นไฉน
ความไม่ละอายต่อการประพฤติทุจริตอันเป็นสิ่งที่ควรละอาย ความไม่ละอาย
ต่อการประกอบบาปอกุศลธรรมทั้งหลาย นี้เรียกว่า อหิริกะ
อโนตตัปปะ เป็นไฉน
ความไม่เกรงกลัวการประพฤติทุจริตอันเป็นสิ่งที่ควรเกรงกลัว ความไม่เกรงกลัว
ต่อกการประกอบบาปอกุศลธรรมทั้งหลาย นี้เรียกว่า อโนตตัปปะ
ปมาทะ เป็นไฉน


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๕๘๒ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๗.ขุททกวัตถุวิภังค์] ๓.ติกนิทเทส
ความปล่อยจิต การเพิ่มพูนความปล่อยจิตไปในกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต
หรือในกามคุณ ๕ การทำโดยไม่เคารพ การทำโดยไม่ติดต่อ การทำโดยไม่มั่นคง
ความประพฤติย่อหย่อน ความทอดทิ้งฉันทะ ความทอดทิ้งธุระ ความไม่เสพ
ความไม่ทำให้เจริญ ความไม่ทำให้มาก ความไม่ตั้งใจมั่น ความไม่หมั่นประกอบ
ความประมาท ในการเจริญสภาวธรรมทั้งหลายที่เป็นกุศล ความประมาท กิริยา
ที่ประมาท ภาวะที่ประมาท มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า ปมาทะ (๒๙)
[๙๓๑] อนาทริยะ เป็นไฉน
ความไม่เอื้อเฟื้อ กิริยาที่ไม่เอื้อเฟื้อ ความไม่เคารพ ความไม่เชื่อฟัง ความ
ไม่เชื่อถือ กิริยาที่ไม่เชื่อถือ ภาวะที่ไม่เชื่อถือ ความไม่มีศีล ความไม่ยำเกรง นี้
เรียกว่า อนาทริยะ
โทวจัสสตา เป็นไฉน
ความที่เป็นผู้ว่ายาก กิริยาที่เป็นผู้ว่ายาก ภาวะที่เป็นผู้ว่ายาก ความถือรั้น
ความพอใจในการโต้แย้ง ความไม่เอื้อเฟื้อ ภาวะที่ไม่เอื้อเฟื้อ ความไม่เคารพ
ความไม่เชื่อฟังในเมื่อถูกว่ากล่าวโดยชอบธรรม นี้เรียกว่า โทวจัสสตา
ปาปมิตตตา เป็นไฉน
บุคคลเหล่าใดไม่มีศรัทธา ไม่มีศีล เป็นผู้มีสุตะน้อย มีความตระหนี่ มี
ปัญญาทราม การเสพ การเสพเป็นนิตย์ การเสพด้วยดี การเสพเฉพาะ การคบ
การคบด้วยดี ความภักดี ความจงรักภักดี ความเป็นผู้โน้มไปตามบุคคลเหล่านั้น
นี้เรียกว่า ปาปมิตตตา (๓๐)
[๙๓๒] อัสสัทธิยะ เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้ไม่มีศรัทธา ไม่เชื่อพระพุทธเจ้า พระธรรม หรือ
พระสงฆ์ ความไม่เชื่อ กิริยาที่ไม่เชื่อ กิริยาที่ไม่ปักใจเชื่อ ความไม่เลื่อมใสยิ่ง มี
ลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า อัสสัทธิยะ
อวทัญญุตา เป็นไฉน
ความตระหนี่มี ๕ อย่างคือ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๕๘๓ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๗.ขุททกวัตถุวิภังค์] ๓.ติกนิทเทส

๑. อาวาสมัจฉริยะ (ตระหนี่ที่อยู่)
๒. กุลมัจฉริยะ (ตระหนี่ตระกูล)
๓. ลาภมัจฉริยะ (ตระหนี่ลาภ)
๔. วัณณมัจฉริยะ (ตระหนี่วรรณะ)
๕. ธัมมมัจฉริยะ (ตระหนี่ธรรม)

ความตระหนี่ กิริยาที่ตระหนี่ ภาวะที่ตระหนี่ ความหวงแหน ความถี่เหนียว
ความปกปิด ภาวะที่จิตหวงแหน มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า อวทัญญุตา
โกสัชชะ เป็นไฉน
ความปล่อยจิต การเพิ่มพูนความปล่อยจิตไปในกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต
หรือในกามคุณ ๕ การไม่ทำโดยเคารพ การไม่ทำโดยติดต่อ การทำโดยไม่มั่นคง
ความประพฤติย่อหย่อน ความทอดทิ้งฉันทะ ความทอดทิ้งธุระ ความไม่เสพ ความ
ไม่ทำให้เจริญ ความไม่ทำให้มาก ความไม่ตั้งใจมั่น ความไม่หมั่นประกอบ ความ
ประมาทในการเจริญสภาวธรรมที่เป็นกุศล นี้เรียกว่า โกสัชชะ (๓๑)
[๙๓๓] อุทธัจจะ เป็นไฉน
ความฟุ้งซ่าน ความไม่สงบแห่งจิต ความซัดส่าย ความพล่านไปแห่งจิต นี้
เรียกว่า อุทธัจจะ
อสังวร เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้เห็นรูปด้วยตาแล้วรวบถือ แยกถือ ไม่ปฏิบัติเพื่อสำรวมใน
จักขุนทรีย์ ซึ่งเมื่อไม่ปฏิบัติแล้วก็จะเป็นเหตุให้บาปอกุศลธรรมคืออภิชฌาและโทมนัส
ครอบงำได้ ไม่รักษาจักขุนทรีย์ ไม่ถึงความสำรวมในจักขุนทรีย์ ฟังเสียด้วยหู ฯลฯ
สูดกลิ่นด้วยจมูก ฯลฯ ลิ้มรสด้วยลิ้น ฯลฯ ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย ฯลฯ รู้
ธรรมารมณ์ด้วยใจแล้วรวบถือ แยกถือ ไม่ปฏิบัติเพื่อสำรวมในมนินทรีย์ ซึ่งเมื่อไม่
สำรวมแล้วก็จะเป็นเหตุให้บาปอกุศลธรรมคืออภิชฌาและโทมนัสครอบงำได้ ไม่รักษา
มนินทรีย์ ไม่ถึงความสำรวมในมนินทรีย์ นี้เรียกว่า อสังวร
ทุสสีลยะ เป็นไฉน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๕๘๔ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๗.ขุททกวัตถุวิภังค์] ๓.ติกนิทเทส
ความล่วงละเมิดทางกาย ความล่วงละเมิดทางวาจา ความล่วงละเมิดทาง
กายและทางวาจา นี้เรียกว่า ทุสสีลยะ (๓๒)
[๙๓๔] อริยานัง อทัสสนกัมยตา เป็นไฉน
บรรดาบุคคลเหล่านั้น พระอริยะ เป็นไฉน
พระพุทธเจ้าและสาวกของพระพุทธเจ้าเรียกว่า พระอริยะ ความไม่ต้องการจะ
พบ ความไม่ต้องการจะเห็น ความไม่ต้องการจะเข้าใกล้ ความไม่ต้องการจะสมาคม
กับพระอริยะเหล่านี้ นี้เรียกว่า อริยานัง อทัสสนกัมยตา
สัทธัมมัง อโสตุกัมยตา เป็นไฉน
บรรดาบทเหล่านั้น สัทธรรม เป็นไฉน
สติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕
โพชฌงค์ ๗ อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้เรียกว่า สัทธรรม
ความไม่ต้องการจะฟัง ความไม่ต้องการจะสดับ ความไม่ต้องการจะเรียน
ความไม่ต้องการจะทรงจำสัทธรรมนี้ นี้เรียกว่า สัทธัมมัง อโสตุกัมยตา
อุปารัมภจิตตตา เป็นไฉน
บรรดาบทเหล่านั้น อุปารัมภจิตตตา เป็นไฉน
ความคิดแข่งดี ความคิดแข่งดีเนือง ๆ กิริยาที่คิดแข่งดี กิริยาที่คิดแข่งดี
เนือง ๆ ภาวะที่คิดแข่งดีเนือง ๆ ความดูถูก ความดูหมิ่น ความดูแคลน ความ
เป็นผู้คอยแสวงหาโทษ นี้เรียกว่า อุปารัมภจิตตตา (๓๓)
[๙๓๕] มุฏฐัสสัจจะ เป็นไฉน
ความระลึกไม่ได้ ความหวนระลึกไม่ได้ ความย้อนระลึกไม่ได้ ความระลึกไม่ได้
ภาวะที่ระลึกไม่ได้ ความทรงจำไม่ได้ ความเลื่อนลอย ความหลงลืม นี้เรียกว่า
มุฏฐัสสัจจะ
อสัมปชัญญะ เป็นไฉน
ความไม่รู้ ความไม่เห็น ฯลฯ ลิ่มคืออวิชชา อกุศลมูลคือโมหะ นี้เรียกว่า
อสัมปชัญญะ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๕๘๕ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๗.ขุททกวัตถุวิภังค์] ๔.จตุกกนิทเทส
เจตโสวิกเขปะ เป็นไฉน
ความฟุ้งซ่านแห่งจิต ความไม่สงบแห่งจิต ความซัดส่ายแห่งจิต ความพล่าน
ไปแห่งจิต นี้เรียกว่า เจตโสวิกเขปะ (๓๔)
[๙๓๖] อโยนิโสมนสิการ เป็นไฉน
ความไม่ใส่ใจโดยแยบคายในสิ่งที่ไม่เที่ยงว่าเที่ยง ความไม่ใส่ใจโดยแยบคายใน
สิ่งที่เป็นทุกข์ว่าเป็นสุข ความไม่ใส่ใจโดยแยบคายในสิ่งที่ไม่ใช่ตัวตนว่าเป็นตัวตน
ความไม่ใส่ใจโดยแยบคายในสิ่งที่ไม่งามว่างาม หรือความนึก ความนึกเนือง ๆ
ความคำนึง ความพิจารณา ความใคร่ครวญแห่งจิตโดยผิดจากความจริง นี้เรียกว่า
อโยนิโสมนสิการ
กุมมัคคเสวนา เป็นไฉน
บรรดาสภาวธรรมเหล่านั้น กุมมัคคะ เป็นไฉน
มิจฉาทิฏฐิ มิจฉาสังกัปปะ มิจฉาวาจา มิจฉากัมมันตะ มิจฉาอาชีวะ
มิจฉาวายามะ มิจฉาสติ มิจฉาสมาธิ นี้เรียกว่า กุมมัคคะ
การเสพ การเสพเป็นนิตย์ การเสพด้วยดี การคบ การคบด้วยดี ความภักดี
ความจงรักภักดี ความเป็นผู้โน้มน้าวไปตามทางผิด นี้เรียกว่า กุมมัคคเสวนา
เจตโสลีนัตตะ เป็นไฉน
ความที่จิตไม่คล่องแคล่ว ไม่ควรแก่การงาน ความท้อแท้ ความท้อถอย
ความย่อหย่อน กิริยาที่ย่อหย่อน ภาวะที่ย่อหย่อน ความซึมเซา กิริยาที่ซึมเซา
ภาวะที่จิตซึมเซา นี้เรียกว่า เจตโสลีนัตตะ (๓๕)
ติกนิทเทส จบ

๔. จตุกกนิทเทส
[๙๓๗] บรรดาจตุกกมาติกาเหล่านั้น อาสวะ ๔ เป็นไฉน
อาสวะ ๔ คือ
๑. กามาสวะ (อาสวะคือกาม) ๒. ภวาสวะ (อาสวะคือภพ)
๓. ทิฏฐาสวะ (อาสวะคือทิฏฐิ) ๔. อวิชชาสวะ (อาสวะคืออวิชชา)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๕๘๖ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๗.ขุททกวัตถุวิภังค์] ๔.จตุกกนิทเทส
บรรดาอาสวะ ๔ นั้น กามาสวะ เป็นไฉน
ความพอใจในกาม ฯลฯ ความหมกมุ่นในกาม นี้เรียกว่า กามาสวะ
ภวาสวะ เป็นไฉน
ความพอใจในภพ ฯลฯ ความหมกมุ่นในภพ นี้เรียกว่า ภวาสวะ
ทิฏฐาสวะ เป็นไฉน
ความเห็นว่า โลกเที่ยง ฯลฯ หลังจากตายแล้ว ตถาคตเกิดอีกก็ไม่ใช่ จะ
ว่าไม่เกิดอีกก็ไม่ใช่ ทิฏฐิ ความเห็นผิด ความยึดถือโดยวิปลาส มีลักษณะเช่นว่านี้
นี้เรียกว่า ทิฏฐาสวะ
มิจฉาทิฏฐิแม้ทั้งหมดชื่อว่าทิฏฐาสวะ
อวิชชาสวะ เป็นไฉน
ความไม่รู้ในทุกข์ ฯลฯ ลิ่มคืออวิชชา อกุศลมูลคือโมหะ นี้เรียกว่า อวิชชาสวะ
เหล่านี้ชื่อว่าอาสวะ ๔ (๑)
[๙๓๘] คันถะ ๔ เป็นไฉน
คันถะ ๔ คือ
๑. อภิชฌากายคันถะ ๒. พยาบาทกายคันถะ
๓. สีลัพพตปรามาสกายคันถะ ๔. อิทังสัจจาภินิเวสกายคันถะ
บรรดาคันถะ ๔ นั้น อภิชฌากายคันถะ เป็นไฉน
ความกำหนัด ความกำหนัดนัก ฯลฯ ความเพ่งเล็ง อกุศลมูลคือโลภะ นี้
เรียกว่า อภิชฌากายคันถะ
พยาปาทกายคันถะ เป็นไฉน
ความอาฆาตเกิดขึ้นว่า ผู้นี้ได้ทำความเสื่อมเสียแก่เรา ฯลฯ ความดุร้าย
ความเกรี้ยวกราด ความที่จิตไม่เบิกบาน นี้เรียกว่า พยาปาทกายคันถะ
สีลัพพตปรามาสกายคันถะ เป็นไฉน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๕๘๗ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๗.ขุททกวัตถุวิภังค์] ๔.จตุกกนิทเทส
สมณพราหมณ์ภายนอกแต่ศาสนานี้มีความเห็นว่า ความบริสุทธิ์มีได้ด้วยศีล
ด้วยพรต ด้วยศีลและพรต ดังนี้ ทิฏฐิ ความเห็นผิด ฯลฯ ความยึดถือโดย วิปลาส
มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า สีลัพพตปรามาสกายคันถะ
อิทังสัจจาภินิเวสกายคันถะ เป็นไฉน
ความเห็นว่า โลกเที่ยง นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นเปล่า หรือโลกไม่เที่ยง นี้เท่า
นั้นจริง อย่างอื่นเปล่า ฯลฯ ความเห็นว่า หลังจากตายแล้ว ตถาคตเกิดอีกก็มิใช่
จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่ นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นเปล่า ดังนี้ ทิฏฐิ ความเห็นผิด ฯลฯ
ความยึดถือโดยวิปลาส มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า อิทังสัจจาภินิเวสกายคันถะ
เว้นสีลัพพตปรามาสกายคันถะแล้ว มิจฉาทิฏฐิแม้ทั้งหมดชื่อว่าอิทังสัจจา-
ภินิเวสกายคันถะ
เหล่านี้ชื่อว่าคันถะ ๔ (๒)
โอฆะ ๔ ฯลฯ โยคะ ๔ ฯลฯ อุปาทาน ๔ เป็นไฉน
อุปาทาน ๔ คือ

๑. กามุปาทาน (ความถือมั่นกาม)
๒. ทิฏฐุปาทาน (ความถือมั่นทิฏฐิ)
๓. สีลัพพตุปาทาน (ความถือมั่นศีลพรต)
๔. อัตตวาทุปาทาน (ความถือมั่นวาทะว่ามีตัวตน)

บรรดาอุปาทาน ๔ เหล่านั้น กามุปาทาน เป็นไฉน
ความพอใจในกาม ฯลฯ ความหมกมุ่นในกาม นี้เรียกว่า กามุปาทาน
ทิฏฐุปาทาน เป็นไฉน
ความเห็นว่า ทานที่บุคคลให้แล้วไม่มีผล การบูชาไม่มีผล ฯลฯ สมณพราหมณ์
ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบรู้ยิ่งเห็นจริงแจ้งประจักษ์โลกนี้และโลกหน้าด้วยตนเองแล้วสอน
ให้ผู้อื่นรู้ไม่มีอยู่ในโลก ดังนี้ ทิฏฐิ ความเห็นผิด ฯลฯ ความยึดโดยวิปลาส มี
ลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า ทิฏฐุปาทาน
เว้นสีลัพพตุปาทานและอัตตวาทุปาทานแล้ว มิจฉาทิฏฐิแม้ทั้งหมดชื่อว่า
ทิฏฐุปาทาน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๕๘๘ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๗.ขุททกวัตถุวิภังค์] ๔.จตุกกนิทเทส
สีลัพพตุปาทาน เป็นไฉน
สมณพราหมณ์ภายนอกแต่ศาสนานี้ มีความเห็นว่า ความบริสุทธิ์มีได้ด้วยศีล
ด้วยพรต ด้วยศีลและพรต ดังนี้ ทิฏฐิ ความเห็นผิด ฯลฯ ความยึดถือโดย
วิปลาส มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า สีลัพพตุปาทาน
อัตตวาทุปาทาน เป็นไฉน
ปุถุชนในโลกนี้ผู้มีสุตะน้อย ไม่ได้เห็นพระอริยะ ไม่ฉลาดในธรรมของพระอริยะ
ไม่ได้รับการแนะนำในธรรมของพระอริยะ ไม่ได้เห็นสัตบุรุษ ไม่ฉลาดในธรรมของ
สัตบุรุษ ไม่ได้รับการแนะนำในธรรมของสัตบุรุษ ย่อมพิจารณาเห็นรูปเป็นตน
หรือเห็นตนมีรูป เห็นรูปในตน หรือเห็นตนในรูป เห็นเวทนาเป็นตน ฯลฯ เห็น
สัญญาเป็นตน ฯลฯ เห็นสังขารเป็นตน ฯลฯ เห็นวิญญาณเป็นตน หรือย่อม
พิจารณาเห็นตนมีวิญญาณ เห็นวิญญาณในตน หรือเห็นตนในวิญญาณ ดังนี้
ทิฏฐิ ความเห็นผิด ฯลฯ ความยึดถือโดยวิปลาส มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า
อัตตวาทุปาทาน
เหล่านี้ชื่อว่าอุปาทาน ๔ (๕)
[๙๓๙] ตัณหุปาทาน เป็นไฉน
ตัณหาเมื่อเกิดแก่ภิกษุ ย่อมเกิดเพราะจีวรเป็นเหตุ เพราะบิณฑบาตเป็นเหตุ
เพราะเสนาสนะเป็นเหตุ หรือเพราะคิลานปัจจัยอันมีน้ำมัน น้ำผึ้ง และน้ำอ้อย
เป็นต้นที่ประณีตและประณีตยิ่งด้วยประการฉะนี้เป็นเหตุ
เหล่านี้เรียกว่า ตัณหุปาทาน (๖)
อคติคมนะ ๔ เป็นไฉน
บุคคลย่อมถึงความลำเอียงเพราะรักใคร่กัน เพราะเกลียดชัง เพราะเขลา
เพราะกลัว
ความลำเอียง การถึงความลำเอียง การลำเอียงเพราะรักใคร่กัน ความ
ลำเอียงเพราะเป็นพรรคพวกกัน ความหันเหไปเหมือนน้ำไหล มีลักษณะเช่นว่านี้
เหล่านี้เรียกว่า อคติคมนะ ๔ (๗)


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๕๘๙ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๗.ขุททกวัตถุวิภังค์] ๔.จตุกกนิทเทส
วิปริเยสะ ๔ เป็นไฉน
การแสวงหาผิดด้วยอำนาจความเข้าใจ ความคิด และความเห็นว่าเที่ยงใน
สิ่งที่ไม่เที่ยง ว่าเป็นสุขในสิ่งที่เป็นทุกข์ ว่าเป็นตัวตนในสิ่งที่ไม่เป็นตัวตน และว่า
งามในสิ่งที่ไม่งาม นี้ชื่อว่าวิปริเยสะ ๔ (๘)
อนริยโวหาร ๔ เป็นไฉน
อนริยโวหาร ๔ คือ

๑. เรื่องที่ไม่เห็นพูดว่าเห็น ๒. เรื่องที่ไม่ได้ยินพูดว่าได้ยิน
๓. เรื่องที่ไม่รู้พูดว่ารู้ ๔. เรื่องที่ไม่รู้แจ้งพูดว่ารู้แจ้ง

เหล่านี้เรียกว่า อนริยโวหาร ๔ (๙)
อนริยโวหาร ๔ อีกนัยหนึ่ง เป็นไฉน
อนริยโวหาร ๔ อีกนัยหนึ่ง คือ

๑. เรื่องที่เห็นพูดว่าไม่เห็น ๒. เรื่องที่ได้ยินพูดว่าไม่ได้ยิน
๓. เรื่องที่รู้พูดว่าไม่รู้ ๔. เรื่องที่รู้แจ้งพูดว่าไม่รู้แจ้ง

เหล่านี้เรียกว่า อนริยโวหาร ๔ (๑๐)
ทุจริต ๔ เป็นไฉน
ทุจริต ๔ คือ
๑. ปาณาติบาต (ฆ่าสัตว์) ๒. อทินนาทาน (ลักทรัพย์)
๓. กาเมสุมิจฉาจาร (ประพฤติผิดในกาม)
๔. มุสาวาท (พูดเท็จ)
เหล่านี้เรียกว่า ทุจริต ๔ (๑๑)
ทุจริต ๔ อีกนัยหนึ่ง เป็นไฉน
ทุจริต ๔ อีกนัยหนึ่ง คือ

๑. มุสาวาท (พูดเท็จ) ๒. ปิสุณวาจา (พูดส่อเสียด)
๓. ผรุสวาจา (พูดคำหยาบ) ๔. สัมผัปปลาปะ (พูดเพ้อเจ้อ)

เหล่านี้เรียกว่า ทุจริต ๔ (๑๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๕๙๐ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๗.ขุททกวัตถุวิภังค์] ๔.จตุกกนิทเทส
ภัย ๔ เป็นไฉน
ภัย ๔ คือ

๑. ชาติภัย (ภัยที่เกิดเพราะอาศัยชาติ)
๒. ชราภัย (ภัยที่เกิดเพราะอาศัยชรา)
๓. พยาธิภัย (ภัยที่เกิดเพราะอาศัยพยาธิ)
๔. มรณภัย (ภัยที่เกิดเพราะอาศัยความตาย)

เหล่านี้เรียกว่า ภัย ๔ (๑๓)
ภัย ๔ อีกนัยหนึ่ง เป็นไฉน
ภัย ๔ คือ

๑. ราชภัย (ภัยเกิดแต่พระราชา)
๒. โจรภัย (ภัยเกิดแต่โจร)
๓. อัคคิภัย (ภัยเกิดแต่ไฟ)
๔. อุทกภัย (ภัยเกิดแต่น้ำท่วม)

เหล่านี้เรียกว่า ภัย ๔ (๑๔)
ภัย ๔ อีกนัยหนึ่ง เป็นไฉน
ภัย ๔ คือ

๑. อูมิภัย (ภัยเกิดแต่คลื่น)
๒. กุมภีลภัย (ภัยเกิดแต่จระเข้)
๓. อาวัฏฏภัย (ภัยเกิดแต่น้ำวน)
๔. สุสุกาภัย (ภัยเกิดแต่ปลาร้าย)

เหล่านี้เรียกว่า ภัย ๔ (๑๕)
ภัย ๔ อีกนัยหนึ่ง เป็นไฉน
ภัย ๔ คือ

๑. อัตตานุวาทภัย (ภัยเกิดจากการติเตียนตนเอง)
๒. ปรานุวาทภัย (ภัยเกิดจากการถูกผู้อื่นติเตียน)
๓. ทัณฑภัย (ภัยเกิดจากการถูกลงอาชญา)
๔. ทุคคติภัย (ภัยเกิดจากทุคติ)

เหล่านี้เรียกว่า ภัย ๔ (๑๖)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๕๙๑ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๗.ขุททกวัตถุวิภังค์] ๕.ปัญจกนิทเทส
ทิฏฐิ ๔ เป็นไฉน
ความเห็นเกิดขึ้นโดยจริงแท้มั่นคงว่า สุขทุกข์ตนทำขึ้นเอง และสุขทุกข์คนอื่น
ทำให้
ความเห็นเกิดขึ้นโดยจริงแท้มั่นคงว่า สุขทุกข์เป็นสิ่งที่ตนทำขึ้นเองและผู้อื่นทำให้
สุขทุกข์ไม่ใช่ตนเองและผู้อื่นทำให้ แต่เกิดขึ้นเองโดยเฉพาะ
เหล่านี้ชื่อว่าทิฏฐิ ๔ (๑๗)
จตุกกนิทเทส จบ

๕. ปัญจกนิทเทส
[๙๔๐] บรรดาปัญจกมาติกานั้น โอรัมภาคิยสังโยชน์๑ ๕ เป็นไฉน
โอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ คือ

๑. สักกายทิฏฐิ (ความเห็นว่าเป็นตัวของตน)
๒. วิจิกิจฉา (ความสงสัย ลังเล ไม่แน่ใจ)
๓. สีลัพพตปรามาส (ความยึดมั่นศีลพรต)
๔. กามฉันทะ (ความกำหนัดในกามคุณ)
๕. พยาบาท (ความขัดเคือง แค้นใจ)

เหล่านี้ชื่อว่าโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ (๑)
อุทธัมภาคิยสังโยชน์ ๕ เป็นไฉน
อุทธัมภาคิยสังโยชน์ ๕ คือ

๑. รูปราคะ (ความกำหนัดในรูป)
๒. อรูปราคะ (ความกำหนัดในอรูป)
๓. มานะ (ความเย่อหยิ่งถือตัว)
๔. อุทธัจจะ (ความฟุ้งซ่าน)
๕. อวิชชา (ความไม่รู้ตามความเป็นจริง)

เหล่านี้ชื่อว่าอุทธัมภาคิยสังโยชน์ ๕ (๒)

เชิงอรรถ :
๑ สังโยชน์เบื้องต่ำเป็นอย่างหยาบ เป็นไปในภพต่ำ คือกามภพ (อภิ.วิ.อ. ๙๔๐/๕๔๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๕๙๒ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๗.ขุททกวัตถุวิภังค์] ๕.ปัญจกนิทเทส
มัจฉริยะ ๕ เป็นไฉน
มัจฉริยะ ๕ คือ

๑. อาวาสมัจฉริยะ (ตระหนี่ที่อยู่)
๒. กุลมัจฉริยะ (ตระหนี่ตระกูล)
๓. ลาภมัจฉริยะ (ตระหนี่ลาภ)
๔. วัณณมัจฉริยะ (ตระหนี่วรรณะ)
๕. ธัมมมัจฉริยะ (ตระหนี่ธรรม)

เหล่านี้เรียกว่า มัจฉริยะ ๕ (๓)
สังคะ ๕ เป็นไฉน
สังคะ ๕ คือ

๑. สังคะคือราคะ (เครื่องข้องคือราคะ)
๒. สังคะคือโทสะ (เครื่องข้องคือโทสะ)
๓. สังคะคือโมหะ (เครื่องข้องคือโมหะ)
๔. สังคะคือมานะ (เครื่องข้องคือมานะ)
๕. สังคะคือทิฏฐิ (เครื่องข้องคือทิฏฐิ)

เหล่านี้ชื่อว่าสังคะ ๕ (๔)
สัลละ ๕ เป็นไฉน
สัลละ ๕ คือ

๑. สัลละคือราคะ (ลูกศรคือราคะ)
๒. สัลละคือโทสะ (ลูกศรคือโทสะ)
๓. สัลละคือโมหะ (ลูกศรคือโมหะ)
๔. สัลละคือมานะ (ลูกศรคือมานะ)
๕. สัลละคือทิฏฐิ (ลูกศรคือทิฏฐิ)

เหล่านี้ชื่อว่าสัลละ ๕ (๕)
[๙๔๑] เจโตขีละ ๕ เป็นไฉน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๕๙๓ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๗.ขุททกวัตถุวิภังค์] ๕.ปัญจกนิทเทส
เจโตขีละ ๕ คือ
๑. บุคคลย่อมเคลือบแคลงสงสัย ไม่น้อมใจเชื่อ ไม่เลื่อมใสในพระศาสดา
๒. บุคคลย่อมเคลือบแคลงสงสัย ไม่น้อมใจเชื่อ ไม่เลื่อมใสในพระธรรม
๓. บุคคลย่อมเคลือบแคลงสงสัย ไม่น้อมใจเชื่อ ไม่เลื่อมใสในพระสงฆ์
๔. บุคคลย่อมเคลือบแคลงสงสัย ไม่น้อมใจเชื่อ ไม่เลื่อมใสในสิกขา
๕. บุคคลย่อมมีจิตขุ่นเคือง ไม่พอใจ มีจิตกระทบกระทั่ง มีจิต
กระด้างในเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย
เหล่านี้ชื่อว่าเจโตขีละ ๕ (๖)
เจตโสวินิพันธะ ๕ เป็นไฉน
เจตโสวินิพันธะ ๕ คือ
๑. บุคคลผู้ยังไม่ปราศจากความกำหนัด ยังไม่ปราศจากความพอใจ
ยังไม่ปราศจากความรัก ยังไม่ปราศจากความกระหาย ยังไม่
ปราศจากความเร่าร้อน ยังไม่ปราศจากความอยากในกาม
๒. บุคคลผู้ยังไม่ปราศจากความกำหนัด ยังไม่ปราศจากความพอใจ
ยังไม่ปราศจากความรัก ยังไม่ปราศจากความกระหาย ยังไม่
ปราศจากจากความเร่าร้อน ยังไม่ปราศจากความอยากในกาย
๓. บุคคลผู้ยังไม่ปราศจากความกำหนัด ยังไม่ปราศจากความพอใจ
ยังไม่ปราศจากความรัก ยังไม่ปราศจากความกระหาย ยังไม่
ปราศจากความเร่าร้อน ยังไม่ปราศจากความอยากในรูป
๔. บุคคลบริโภคอาหารเต็มท้องตามความต้องการแล้ว ประกอบ
ขวนขวาย หาสุขในการนอน สุขในการเอน สุขในการหลับอยู่
๕. บุคคลปรารถนาจะเกิดในหมู่เทพหมู่หนึ่งแล้วประพฤติพรหม
จรรย์ด้วยผูกใจว่า เราจักเป็นเทวดาผู้มีศักดิ์ใหญ่ หรือเทวดาผู้
มีศักดิ์น้อยองค์ใดองค์หนึ่งด้วยศีล๑นี้ ด้วยวัตรนี้ ด้วยตบะนี้
หรือด้วยพรหมจรรย์นี้
เหล่านี้ชื่อว่าเจตโสวินิพันธะ ๕ (๗)

เชิงอรรถ :
๑ คำว่า “ศีล” ในที่นี้หมายถึงปาริสุทธิศีล ๔ คือ ปาติโมกขสังวรศีล อินทริยสังวรศีล อาชีวปาริสุทธิศีล
และปัจจยสันนิสิตศีล (อภิ.วิ.อ. ๙๔๑/๕๔๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๕๙๔ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๗.ขุททกวัตถุวิภังค์] ๕.ปัญจกนิทเทส
นิวรณ์ ๕ เป็นไฉน
นิวรณ์ ๕ คือ

๑. กามฉันทนิวรณ์ (ธรรมเป็นเครื่องกั้นความดีคือกามฉันทะ)
๒. พยาปาทนิวรณ์ (ธรรมเป็นเครื่องกั้นความดีคือพยาบาท)
๓. ถีนมิทธนิวรณ์ (ธรรมเป็นเครื่องกั้นความดีคือถีนมิทธะ)
๔. อุทธัจจกุกกุจจนิวรณ์ (ธรรมเป็นเครื่องกั้นความดีคืออุจธัจจ-
กุกกุจจะ)
๕. วิจิกิจฉานิวรณ์ (ธรรมเป็นเครื่องกั้นความดีคือวิจิกิจฉา)

เหล่านี้ชื่อว่านิวรณ์ ๕ (๘)
อนันตริยกรรม ๕ เป็นไฉน
อนันตริยกรรม ๕ คือ

๑. มาตุฆาต (ฆ่ามารดา)
๒. ปิตุฆาต (ฆ่าบิดา)
๓. อรหันตฆาต (ฆ่าพระอรหันต์)
๔. โลหิตุปบาท (มีจิตประทุษร้ายทำร้ายพระพุทธเจ้าจน
ถึงยังพระโลหิตให้ห้อด้วยจิตคิดร้าย)
๕. สังฆเภท (ทำลายสงฆ์ให้แตกกัน)

เหล่านี้ชื่อว่าอนันตริยกรรม ๕ (๙)
ทิฏฐิ ๕ เป็นไฉน
ทิฏฐิ ๕ คือ
๑. สมณะหรือพราหมณ์พวกหนึ่งกล่าวยืนยันดังนี้ว่า อัตตามี
สัญญา หลังจากตายแล้วเป็นสภาวะที่เที่ยง
๒. สมณะหรือพราหมณ์พวกหนึ่งกล่าวยืนยันดังนี้ว่า อัตตาไม่
มีสัญญา หลังจากตายแล้วเป็นสภาวะที่เที่ยง
๓. สมณะหรือพราหมณ์พวกหนึ่งกล่าวยืนยันดังนี้ว่า อัตตามี
สัญญาก็มิใช่ ไม่มีสัญญาก็มิใช่ หลังจากตายแล้วเป็น
สภาวะที่เที่ยง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๕๙๕ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๗.ขุททกวัตถุวิภังค์] ๕.ปัญจกนิทเทส
๔. สมณะหรือพราหมณ์พวกหนึ่งย่อมบัญญัติความขาดสูญ
ความไม่ปรากฏ ความไม่มีแห่งสัตว์ที่ยังปรากฏมีอยู่
๕. สมณะหรือพราหมณ์พวกหนึ่งกล่าวยืนยันนิพพานในปัจจุบัน
เหล่านี้เรียกว่า ทิฏฐิ ๕ (๑๐)
[๙๔๒] เวร ๕ เป็นไฉน
เวร ๕ คือ

๑. ปาณาติบาต (ฆ่าสัตว์)
๒. อทินนาทาน (ลักทรัพย์)
๓. กาเมสุมิจฉาจาร (ประพฤติผิดในกาม)
๔. มุสาวาท (พูดเท็จ)
๕. สุราเมรยมัชชปมาทัฏฐาน (ดื่มน้ำเมาคือสุราและเมรัยอันเป็น
ที่ตั้งแห่งความประมาท)

เหล่านี้ชื่อว่าเวร ๕ (๑๑)
พยสนะ ๕ เป็นไฉน
พยสนะ ๕ คือ

๑. ญาติพยสนะ (ความพินาศแห่งญาติ)
๒. โภคพยสนะ (ความพินาศแห่งโภคทรัพย์)
๓. โรคพยสนะ (ความพินาศเพราะโรค)
๔. สีลพยสนะ (ความพินาศแห่งศีล)
๕. ทิฏฐิพยสนะ (ความพินาศแห่งทิฏฐิ)

เหล่านี้ชื่อว่าพยสนะ ๕ (๑๒)
โทษแห่งความไม่อดทน ๕ เป็นไฉน
โทษแห่งความไม่อดทน ๕ คือ
๑. ไม่เป็นที่รักไม่เป็นที่ชอบใจของชนมาก
๒. มีเวรมาก
๓. มีโทษมาก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๕๙๖ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๗.ขุททกวัตถุวิภังค์] ๕.ปัญจกนิทเทส
๔. หลงลืมสติตาย
๕. หลังจากตายไป ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก
เหล่านี้ชื่อว่าโทษแห่งความไม่อดทน ๕ (๑๓)
ภัย ๕ เป็นไฉน
ภัย ๕ คือ

๑. อาชีวกภัย (ภัยเกิดแต่การเลี้ยงชีพ)
๒. อสิโลกภัย (ภัยเกิดแต่การติเตียน)
๓. ปริสสารัชชภัย (ภัยคือความขลาดกลัวเมื่อเข้าสู่ที่ประชุม)
๔. มรณภัย (ภัยเกิดแก่มรณะ)
๕. ทุคคติภัย (ภัยเกิดแต่ทุคติ)

เหล่านี้ชื่อว่าภัย ๕ (๑๔)
[๙๔๓] ทิฏฐธัมมนิพพานวาทะ ๕ เป็นไฉน
ทิฏฐธัมมนิพพานวาทะ ๕ คือ
๑. สมณะหรือพราหมณ์บางคนในโลกนี้มีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ท่าน
ผู้เจริญ เพราะเหตุที่อัตตานี้เอิบอิ่มเพลิดเพลินอยู่ด้วยกามคุณ ๕ จึงชื่อว่า
บรรลุนิพพานในปัจจุบันอันเป็นบรมธรรม สมณะหรือพราหมณ์พวกหนึ่ง
บัญญัตินิพพานในปัจจุบันว่าเป็นบรมธรรมของสัตว์อย่างนี้
๒. สมณะหรือพราหมณ์อื่นกล่าวกะสมณะหรือพราหมณ์นั้นอย่างนี้ว่า ท่าน
ผู้เจริญ อัตตาที่ท่านกล่าวถึงนี้มีอยู่จริง เราไม่ปฏิเสธว่าไม่มี แต่อัตตานี้ไม่
ใช่บรรลุนิพพานในปัจจุบันอันเป็นบรมธรรมเพราะเหตุเพียงเท่านี้ เพราะ
เหตุไร เพราะกามทั้งหลายไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันไปเป็นธรรมดา
เพราะกามเหล่านั้นแปรผันเป็นอย่างอื่น ความเศร้าโศก ความคร่ำครวญ
ความทุกข์ ความโทมนัส และความคับแค้นใจจึงเกิดขึ้น เพราะเหตุที่อัตตา
นี้สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌานอยู่ จึงชื่อว่าบรรลุนิพพานในปัจจุบัน
อันเป็นบรมธรรม สมณะหรือพราหมณ์พวกหนึ่งบัญญัตินิพพานใน
ปัจจุบันว่าเป็นบรมธรรมของสัตว์อย่างนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๕๙๗ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๗.ขุททกวัตถุวิภังค์] ๕. ปัญจกนิทเทส
๓. สมณะหรือพราหมณ์อื่นกล่าวกะสมณะหรือพราหมณ์นั้นอย่างนี้ว่า ท่าน
ผู้เจริญ อัตตาที่ท่านกล่าวถึงนี้มีอยู่จริง เราไม่ปฏิเสธว่าไม่มี แต่อัตตานี้
ไม่ใช่บรรลุนิพพานในปัจจุบันอันเป็นบรมธรรมด้วยเหตุเพียงเท่านี้ เพราะ
เหตุไร เพราะวิตกวิจารที่มีอยู่ในปฐมฌานนั้น บัณฑิตกล่าวว่ายังเป็นของ
หยาบอยู่ เพราะวิตกและวิจารสงบไปแล้ว อัตตานี้จึงบรรลุทุติยฌานที่
ผ่องใส ฯลฯ จึงชื่อว่าบรรลุนิพพานในปัจจุบันอันเป็นบรมธรรม สมณะ
หรือพราหมณ์พวกหนึ่งบัญญัตินิพพานในปัจจุบันว่าเป็นบรมธรรมของ
สัตว์อย่างนี้
๔. สมณะหรือพราหมณ์อื่นกล่าวกะสมณะหรือพราหมณ์นั้นอย่างนี้ว่า อัตตา
ที่ท่านกล่าวถึงนี้มีอยู่จริง เราไม่ปฏิเสธว่าไม่มี แต่อัตตานี้ไม่ใช่บรรลุ
นิพพานในปัจจุบันอันเป็นบรมธรรมด้วยเหตุเพียงเท่านี้ เพราะเหตุไร
เพราะปีติและความลำพองใจที่มีอยู่ในทุติยฌานนั้น บัณฑิตจึงกล่าวว่ายัง
หยาบอยู่ เพราะปีติจางคลายไป อัตตานี้ ฯลฯ ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อัตตา
นี้จึงชื่อว่าบรรลุนิพพานในปัจจุบันอันเป็นบรมธรรม สมณะหรือพราหมณ์
พวกหนึ่งบัญญัตินิพพานในปัจจุบันว่าเป็นบรมธรรมของสัตว์อย่างนี้
๕. สมณะหรือพราหมณ์อื่นกล่าวกะสมณะหรือพราหมณ์นั้นอย่างนี้ว่า ท่านผู้
เจริญ อัตตาที่ท่านกล่าวถึงนี้มีอยู่จริง เราไม่ปฏิเสธว่าไม่มี แต่อัตตานี้ไม่
ใช่บรรลุนิพพานในปัจจุบันอันเป็นบรมธรรมด้วยเหตุเพียงเท่านี้ เพราะ
เหตุไร เพราะจิตยังคำนึงถึงสุขมีอยู่ในตติยฌานนั้น บัญฑิตกล่าวว่ายัง
หยาบอยู่ เพราะเหตุที่ละสุขและทุกข์เสียได้ อัตตานี้ ฯลฯ จึงบรรลุ
จตุตถฌานที่ไม่มีทุกข์ไม่มีสุขอยู่ ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล อัตตานี้จึงชื่อว่า
บรรลุนิพพานในปัจจุบันเป็นบรมธรรม สมณะหรือพราหมณ์พวกหนึ่ง
บัญญัตินิพพานในปัจจุบันว่าเป็นบรมธรรมของสัตว์อย่างนี้๑
เหล่านี้เรียกว่า ทิฏฐธัมมนิพพานวาทะ ๕ (๑๕)
ปัญจกนิทเทส จบ

เชิงอรรถ :
๑ ที.สี. ๙/๙๔-๙๘/๓๖-๓๘

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๕๙๘ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๗.ขุททกวัตถุวิภังค์] ๖.ฉักกนิทเทส
๖. ฉักกนิทเทส
[๙๔๔] บรรดาฉักกมาติกาเหล่านั้น วิวาทมูล ๖ เป็นไฉน
วิวาทมูล ๖ คือ

๑. โกธะ (โกรธ)
๒. มักขะ (ลบหลู่คุณท่าน)
๓. อิสสา (ริษยา)
๔. สาเถยยะ (โอ้อวด)
๕. ปาปิจฉตา (ปรารถนาลามก)
๖. สันทิฏฐิปรมาสิตา (ยึดถือแต่ความเห็นของตน)

เหล่านี้ชื่อว่าวิวาทมูล ๖ (๑)
ฉันทราคเคหสิตธรรม ๖ เป็นไฉน
ฉันทราคเคหสิตธรรม ๖ คือ
๑. ความกำหนัด ความกำหนัดนัก ความกำหนัดนักแห่งจิต
ที่อาศัยกามคุณในรูปที่น่าชอบใจ
๒. ความกำหนัด ฯลฯ ในเสียงที่น่าชอบใจ
๓. ความกำหนัด ฯลฯ ในกลิ่นที่น่าชอบใจ
๔. ความกำหนัด ฯลฯ ในรสที่น่าชอบใจ
๕. ความกำหนัด ฯลฯ ในโผฏฐัพพะที่น่าชอบใจ
๖. ความกำหนัด ฯลฯ ความกำหนัดนัก ความกำหนัดนัก
แห่งจิตที่อาศัยกามคุณในธรรมารมณ์ที่น่าชอบใจ
เหล่านี้เรียกว่า ฉันทราคเคหสิตธรรม ๖ (๒)
วิโรธวัตถุ ๖ เป็นไฉน
วิโรธวัตถุ ๖ คือ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๕๙๙ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๗.ขุททกวัตถุวิภังค์] ๖.ฉักกนิทเทส
๑. ความอาฆาต ความกระทบแห่งจิต ฯลฯ ความดุร้าย
ความเกรี้ยวกราด ความที่จิตไม่เบิกบานในรูปที่ไม่น่าชอบใจ
๒. ความอาฆาต ฯลฯ ในเสียงที่ไม่น่าชอบใจ
๓. ความอาฆาต ฯลฯ ในกลิ่นที่ไม่น่าชอบใจ
๔. ความอาฆาต ฯลฯ ในรสที่ไม่น่าชอบใจ
๕. ความอาฆาต ฯลฯ ในโผฏฐัพพะที่ไม่น่าชอบใจ
๖. ความอาฆาต ฯลฯ ความกระทบกระทั่งแห่งจิต ฯลฯ
ความดุร้าย ความเกรี้ยวกราด ความที่จิตไม่เบิกบานใน
ธรรมารมณ์ที่ไม่น่าชอบใจ
เหล่านี้เรียกว่า วิโรธวัตถุ ๖ (๓)
ตัณหากาย ๖ เป็นไฉน
ตัณหากาย ๖ คือ

๑. รูปตัณหา (ตัณหาในรูป)
๒. สัททตัณหา (ตัณหาในเสียง)
๓. คันธตัณหา (ตัณหาในกลิ่น)
๔. รสตัณหา (ตัณหาในรส)
๕. โผฏฐัพพตัณหา (ตัณหาในโผฏฐัพพะ)
๖. ธัมมตัณหา (ตัณหาในธรรม)

เหล่านี้ชื่อว่าตัณหากาย ๖ (๔)
[๙๔๕] อคารวะ ๖ เป็นไฉน
อคารวะ ๖ คือ
๑. บุคคลไม่เคารพ ไม่ยำเกรงในพระศาสดา
๒. บุคคลไม่เคารพ ไม่ยำเกรงในพระธรรม
๓. บุคคลไม่เคารพ ไม่ยำเกรงในพระสงฆ์
๔. บุคคลไม่เคารพ ไม่ยำเกรงในสิกขา
๕. บุคคลไม่เคารพ ไม่ยำเกรงในความไม่ประมาท
๖. บุคคลไม่เคารพ ไม่ยำเกรงในปฏิสันถาร
เหล่านี้ชื่อว่าอคารวะ ๖ (๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๖๐๐ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๗.ขุททกวัตถุวิภังค์] ๖.ฉักกนิทเทส
ปริหานิยธรรม ๖ เป็นไฉน
ปริหานิยธรรม ๖ คือ
๑. กัมมารามตา (ความยินดีในการงาน)
๒. ภัสสารามตา (ความยินดีในการสนทนา)
๓. นิททารามตา (ความยินดีในการนอนหลับ)
๔. สังคณิการามตา (ความยินดีในการคลุกคลีด้วยหมู่)
๕. สังสัคคารามตา (ความยินดีในการติดต่อเกี่ยวข้อง)
๖. ปปัญจารามตา (ความยินดีในธรรมเป็นเหตุเนิ่นช้า)
เหล่านี้ชื่อว่าปริหานิยธรรม ๖ (๖)
[๙๔๖] ปริหานิยธรรม ๖ อีกนัยหนึ่ง เป็นไฉน
ปริหานิยธรรม ๖ อีกนัยหนึ่ง คือ

๑. กัมมารามตา (ความยินดีในการทำงาน)
๒. ภัสสารามตา (ความยินดีในการสนทนา)
๓. นิททารามตา (ความยินดีในการนอนหลับ)
๔. สังคณิการามตา (ความยินดีในการคลุกคลีด้วยหมู่)
๕. โทวจัสสตา (ความเป็นผู้ว่ายาก)
๖. ปาปมิตตตา (ความเป็นผู้มีมิตรชั่ว)

เหล่านี้ชื่อว่าปริหานิยธรรม ๖ (๗)
โสมนัสสุปวิจาร๑ ๖ เป็นไฉน
โสมนัสสุปวิจาร ๖ คือ
๑. บุคคลเห็นรูปทางตาแล้วครุ่นคิดถึงรูปอันเป็นที่ตั้งแห่งโสมนัส
๒. บุคคลฟังเสียงทางหู ฯลฯ
๓. บุคคลดมกลิ่นทางจมูก ฯลฯ
๔. บุคคลลิ้มรสทางลิ้น ฯลฯ

เชิงอรรถ :
๑ โสมนสฺเสน สทฺธึ อุปจรนฺตีติ โสมนสฺสุปวิจารา (อภิ.วิ.อ. ๙๔๖/๕๕๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๖๐๑ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๗.ขุททกวัตถุวิภังค์] ๖.ฉักกนิทเทส
๕. บุคคลถูกต้องโผฏฐัพพะทางกาย ฯลฯ
๖. บุคคลรู้ธรรมารมณ์ทางใจแล้วครุ่นคิดถึงธรรมารมณ์อันเป็นที่ตั้ง
แห่งโสมนัส
เหล่านี้ชื่อว่าโสมนัสสุปวิจาร ๖ (๘)
โทมนัสสุปวิจาร ๖ เป็นไฉน
โทมนัสสุปวิจาร ๖ คือ
๑. บุคคลเห็นรูปทางตาแล้ว ครุ่นคิดถึงรูปอันเป็นที่ตั้งแห่งโทมนัส
๒. บุคคลฟังเสียงทางหู ฯลฯ
๓. บุคคลดมกลิ่นทางจมูก ฯลฯ
๔. บุคคลลิ้มรสทางลิ้น ฯลฯ
๕. บุคคลถูกต้องโผฏฐัพพะทางกาย ฯลฯ
๖. บุคคลรู้ธรรมารมณ์ทางใจแล้ว ครุ่นคิดถึงธรรมารมณ์อันเป็น
ที่ตั้งแห่งโทมนัส
เหล่านี้ชื่อว่าโทมนัสสุปวิจาร ๖ (๙)
อุเปกขูปวิจาร ๖ เป็นไฉน
อุเปกขูปวิจาร ๖ คือ
๑. บุคคลเห็นรูปทางตาแล้ว ครุ่นคิดถึงรูปอันเป็นที่ตั้งแห่งอุเบกขา
๒. บุคคลฟังเสียงทางหู ฯลฯ
๓. บุคคลดมกลิ่นทางจมูก ฯลฯ
๔. บุคคลลิ้มรสทางลิ้น ฯลฯ
๕. บุคคลถูกต้องโผฏฐัพพะทางกาย ฯลฯ
๖. บุคคลรู้ธรรมารมณ์ทางใจแล้วครุ่นคิดถึงธรรมารมณ์อันเป็น
ที่ตั้งแห่งอุเบกขา
เหล่านี้ชื่อว่าอุเปกขูปวิจาร ๖

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๖๐๒ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๗.ขุททกวัตถุวิภังค์] ๖.ฉักกนิทเทส
[๙๔๗] เคหสิตโสมนัส๑ ๖ เป็นไฉน
เคหสิตโสมนัส ๖ คือ
๑. ความสำราญทางใจ ความสุขทางใจ ความเสวยอารมณ์ที่
สำราญเป็นสุข อันเกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่
สบายเป็นสุข อันเกิดแต่เจโตสัมผัสที่อาศัยกามคุณในรูป
อันเป็นที่ชอบใจ
๒. ความสำราญทางใจ ฯลฯ ในเสียงอันเป็นที่ชอบใจ
๓. ความสำราญทางใจ ฯลฯ ในกลิ่นอันเป็นที่ชอบใจ
๔. ความสำราญทางใจ ฯลฯ ในรสอันเป็นที่ชอบใจ
๕. ความสำราญทางใจ ฯลฯ ในโผฏฐัพพะอันเป็นที่ชอบใจ
๖. ความสำราญทางใจ ความสุขทางใจ ความเสวยอารมณ์
ที่สำราญเป็นสุข อันเกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์
ที่สำราญเป็นสุข อันเกิดแต่เจโตสัมผัสที่อาศัยกามคุณใน
ธรรมารมณ์ อันเป็นที่ชอบใจ
เหล่านี้ชื่อว่าเคหสิตโสมนัส ๖ (๑๑)
เคหสิตโทมนัส๒ ๖ เป็นไฉน
เคหสิตโทมนัส ๖ คือ
๑. ความไม่สำราญทางใจ ความทุกข์ทางใจ ความเสวยอารมณ์
ที่ไม่สำราญเป็นทุกข์ อันเกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาที่เสวย
อารมณ์ที่ไม่สำราญเป็นทุกข์ อันเกิดแต่เจโตสัมผัสที่อาศัย
กามคุณในรูปอันไม่เป็นที่ชอบใจ

เชิงอรรถ :
๑ โสมนัส หมายถึงสุขทางใจที่อาศัยกามคุณ ๕ คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ (อภิ.วิ.อ. ๙๔๗/๕๕๑)
๒ โทมนัสคือทุกข์ทางใจที่อาศัยกามคุณ ๕ (อภิ.วิ.อ. ๙๔๗/๕๕๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๖๐๓ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๗.ขุททกวัตถุวิภังค์] ๖. ฉักกนิเทส
๒. ความไม่สำราญทางใจ ฯลฯ ในเสียงอันไม่เป็นที่ชอบใจ
๓. ความไม่สำราญทางใจ ฯลฯ ในกลิ่นอันไม่เป็นที่ชอบใจ
๔. ความไม่สำราญทางใจ ฯลฯ ในรสอันไม่เป็นที่ชอบใจ
๕. ความไม่สำราญทางใจ ฯลฯ ในโผฏฐัพพะอันไม่เป็นที่ชอบใจ
๖. ความไม่สำราญทางใจ ความทุกข์ทางใจ ความเสวย
อารมณ์ที่ไม่สำราญเป็นทุกข์ อันเกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยา
ที่เสวยอารมณ์ที่ไม่สำราญเป็นทุกข์ อันเกิดแต่เจโตสัมผัสที่
อาศัยกามคุณในธรรมารมณ์อันไม่เป็นที่ชอบใจ
เหล่านี้ชื่อว่าเคหสิตโทมนัส ๖ (๑๒)
เคหสิตุเปกขา๑ ๖ เป็นไฉน
เคหสิตุเปกขา ๖ คือ
๑. ความสำราญทางใจก็มิใช่ ความไม่สำราญทางใจก็มิใช่ ความ
เสวยอารมณ์ที่ไม่ทุกข์ไม่สุข อันเกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวย
อารมณ์ที่ไม่ทุกข์ไม่สุข อันเกิดแต่เจโตสัมผัสที่อาศัยกามคุณ
ในรูปอันเป็นที่ตั้งแห่งอุเบกขา
๒. ความสำราญทางใจก็มิใช่ ฯลฯ ในเสียงอันเป็นที่ตั้งแห่งอุเบกขา
๓. ความสำราญทางใจก็มิใช่ ฯลฯ ในกลิ่นอันเป็นที่ตั้งแห่งอุเบกขา
๔. ความสำราญทางใจก็มิใช่ ฯลฯ ในรสอันเป็นที่ตั้งแห่งอุเบกขา
๕. ความสำราญทางใจก็มิใช่ ฯลฯ ในโผฏฐัพพะอันเป็นที่ตั้งแห่ง
อุเบกขา
๖. ความสำราญทางใจก็มิใช่ ความไม่สำราญทางใจก็มิใช่ ความ
เสวยอารมณ์ที่ไม่ทุกข์ไม่สุข อันเกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวย
อารมณ์ที่ไม่ทุกข์ไม่สุข อันเกิดแต่เจโตสัมผัสที่อาศัยกามคุณ
ในธรรมารมณ์อันเป็นที่ตั้งแห่งอุเบกขา
เหล่านี้ชื่อว่าเคหสิตุเปกขา ๖ (๑๓)

เชิงอรรถ :
๑ อุเปกขาเวทนาที่สัมปยุตด้วยความไม่รู้ ได้แก่ อัญญาณุเปกขาที่อาศัยกามคุณ ๕ (อภิ.วิ.อ. ๙๔๗/๕๕๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๖๐๔ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๗.ขุททกวัตถุวิภังค์] ๗.สัตตกนิทเทส
[๙๔๘] ทิฏฐิ๑ ๖ เป็นไฉน
ทิฏฐิ ๖ คือ
๑. ความเห็นเกิดขึ้นแก่ผู้นี้โดยแน่แท้มั่นคงว่า อัตตาของเรามีอยู่
๒. ความเห็นเกิดขึ้นแก่ผู้นี้โดยแน่แท้มั่นคงว่า อัตตาของเราไม่มี
๓. ความเห็นเกิดขึ้นแก่ผู้นี้โดยแน่แท้มั่นคงว่า เรารู้จักอัตตาได้
ด้วยอัตตา (ความมีตัวตน)
๔. ความเห็นเกิดขึ้นแก่ผู้นี้โดยแน่แท้มั่นคงว่า เรารู้จักอนัตตา
(ความไม่มีตัวตน) ได้ด้วยอัตตา (ความมีตัวตน)
๕. ความเห็นเกิดขึ้นแก่ผู้นี้โดยแน่แท้มั่นคงว่า เรารู้จักอัตตาได้
ด้วยอนัตตา (ความไม่มีตัวตน)
๖. ความเห็นเกิดขึ้นแก่ผู้นี้โดยแน่แท้มั่นคงว่า อัตตาของเรานี้นั้น
เป็นผู้กล่าว เป็นผู้รู้ เสวยผลแห่งกรรมดีและกรรมชั่วในภพ
นั้น ๆ สิ้นกาลนาน อัตตานั้นไม่เกิด ไม่มีมาแล้วในอดีต
อัตตานั้นไม่เกิด จักไม่มีในอนาคต อัตตาเป็นสภาวะที่เที่ยง
ยั่งยืน มั่นคง มีความไม่แปรผันไปเป็นธรรมดา
เหล่านี้ชื่อว่าทิฏฐิ ๖ (๑๔)
ฉักกนิทเทส จบ

๗. สัตตกนิทเทส
[๙๔๙] บรรดาสัตตกมาติกาเหล่านั้น อนุสัย ๗ เป็นไฉน
อนุสัย ๗ คือ
๑. กามราคานุสัย (กิเลสที่นอนเนื่องในสันดานคือกามราคะ)
๒. ปฏิฆานุสัย (กิเลสที่นอนเนื่องในสันดานคือปฏิฆะ)
๓. มานานุสัย (กิเลสที่นอนเนื่องในสันดานคือมานะ)

เชิงอรรถ :
๑ ทิฏฐิ ความเห็นผิด ในที่นี้หมายถึงสัสสตทิฏฐิและอุจเฉททิฏฐิ (อภิ.วิ.อ. ๙๔๘/๕๕๑-๕๕๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๖๐๕ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๗.ขุททกวัตถุวิภังค์] ๗.สัตตกนิทเทส

๔. ทิฏฐานุสัย (กิเลสที่นอนเนื่องในสันดานคือทิฏฐิ)
๕. วิจิกิจฉานุสัย (กิเลสที่นอนเนื่องในสันดานคือวิจิกิจฉา)
๖. ภวราคานุสัย (กิเลสที่นอนเนื่องในสันดานคือภวราคะ)
๗. อวิชชานุสัย (กิเลสที่นอนเนื่องในสันดานคืออวิชชา)

เหล่านี้ชื่อว่าอนุสัย ๗ (๑)
สังโยชน์ ๗ เป็นไฉน
สังโยชน์ ๗ คือ

๑. กามราคสังโยชน์ (กิเลสเครื่องประกอบสัตว์ไว้ในภพคือกามราคะ)
๒. ปฏิฆสังโยชน์ (กิเลสเครื่องประกอบสัตว์ไว้ในภพคือปฏิฆะ)
๓. มานสังโยชน์ (กิเลสเครื่องประกอบสัตว์ไว้ในภพคือมานะ)
๔. ทิฏฐิสังโยชน์ (กิเลสเครื่องประกอบสัตว์ไว้ในภพคือทิฏฐิ)
๕. วิจิกิจฉาสังโยชน์ (กิเลสเครื่องประกอบสัตว์ไว้ในภพคือวิจิกิจฉา)
๖. ภวราคสังโยชน์ (กิเลสเครื่องประกอบสัตว์ไว้ในภพคือภวราคะ)
๗. อวิชชาสังโยชน์ (กิเลสเครื่องประกอบสัตว์ไว้ในภพคืออวิชชา)

เหล่านี้ชื่อว่าสังโยชน์ ๗ (๒)
ปริยุฏฐานะ ๗ เป็นไฉน
ปริยุฏฐานะ ๗ คือ

๑. กามปริยุฏฐานะ (กิเลสเป็นเครื่องครอบงำจิตคือกาม)
๒. ปฏิฆปริยุฏฐานะ (กิเลสเป็นเครื่องครอบงำจิตคือปฏิฆะ)
๓. มานปริยุฏฐานะ (กิเลสเป็นเครื่องครอบงำจิตคือมานะ)
๔. ทิฏฐิปริยุฏฐานะ (กิเลสเป็นเครื่องครอบงำจิตคือทิฏฐิ)
๕. วิจิกิจฉาปริยุฏฐานะ (กิเลสเป็นเครื่องครอบงำจิตคือวิจิกิจฉา)
๖. ภวราคปริยุฏฐานะ (กิเลสเป็นเครื่องครอบงำจิตคือภวราคะ)
๗. อวิชชาปริยุฏฐานะ (กิเลสเป็นเครื่องครอบงำจิตคืออวิชชา)

เหล่านี้ชื่อว่าปริยุฏฐานะ ๗ (๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๖๐๖ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๗.ขุททกวัตถุวิภังค์] ๗.สัตตกนิทเทส
[๙๕๐] อสัทธรรม ๗ เป็นไฉน
อสัทธรรม ๗ คือ

๑. เป็นผู้ไม่มีศรัทธา ๒. ไม่มีหิริ
๓. ไม่มีโอตตัปปะ ๔. มีสุตะน้อย
๕. เกียจคร้าน ๖. หลงลืมสติ
๗. มีปัญญาทราม

เหล่านี้ชื่อว่าอสัทธรรม ๗ (๔)
ทุจริต ๗ เป็นไฉน
ทุจริต ๗ คือ

๑. ปาณาติบาต (ฆ่าสัตว์)
๒. อทินนาทาน (ลักทรัพย์)
๓. กาเมสุมิจฉาจาร (ประพฤติผิดในกาม)
๔. มุสาวาท (พูดเท็จ)
๕. ปิสุณวาจา (พูดส่อเสียด)
๖. ผรุสวาจา (พูดคำหยาบ)
๗. สัมผัปปลาปะ (พูดเพ้อเจ้อ)

เหล่านี้ชื่อว่าทุจริต ๗ (๕)
มานะ ๗ เป็นไฉน
มานะ ๗ คือ

๑. มานะ (ความถือตัว)
๒. อติมานะ (ความถือตัวจัด)
๓. มานาติมานะ (ความเย่อหยิ่ง)
๔. โอมานะ (ความดูหมิ่นตนเอง)
๕. อธิมานะ (ความสำคัญว่าได้บรรลุ)
๖. อัสมิมานะ (ความสำคัญว่ามีตัวตน)
๗. มิจฉามานะ (ความถือตัวผิด)

เหล่านี้ชื่อว่ามานะ ๗ (๖)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๖๐๗ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๗.ขุททกวัตถุวิภังค์] ๗.สัตตกนิทเทส
[๙๕๑] ทิฏฐิ ๗ เป็นไฉน
ทิฏฐิ ๗ คือ
๑. สมณะหรือพราหมณ์บางคนในโลกนี้มีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ท่าน
ผู้เจริญ เพราะอัตตานี้มีรูปสำเร็จมาจากมหาภูตรูป ๔ เกิดจากบิดามารดา
หลังจากตายแล้วย่อมขาดสูญ พินาศ ไม่เกิดอีก เพราะเหตุเพียงเท่านี้
อัตตานี้จึงขาดสูญโดยสิ้นเชิง สมณะหรือพราหมณ์พวกหนึ่งบัญญัติความ
ขาดสูญ ความพินาศ และความไม่เกิดขึ้นอีกของสัตว์อย่างนี้
๒. สมณะหรือพราหมณ์อื่น กล่าวกับสมณะหรือพราหมณ์นั้นอย่างนี้ว่า ท่าน
ผู้เจริญ อัตตาที่ท่านกล่าวถึงนี้มีอยู่จริง เราไม่ปฏิเสธว่าไม่มี แต่อัตตานี้
จะไม่ใช่ขาดสูญโดยสิ้นเชิง เพราะเหตุเพียงเท่านี้ ยังมีอัตตาอื่นที่เป็นทิพย์๑
มีรูปเป็นกามาวจร๒ บริโภคข้าวเป็นอาหาร ท่านยังไม่รู้ไม่เห็น แต่เรา
รู้เห็น เพราะอัตตานั้นแล หลังจากตายแล้วย่อมขาดสูญ พินาศ ไม่เกิด
อีก เพราะเหตุเพียงเท่านี้แล อัตตานี้จึงขาดสูญโดยสิ้นเชิง สมณะหรือ
พราหมณ์พวกหนึ่งบัญญัติความขาดสูญ ความพินาศ และความไม่เกิด
อีกของสัตว์ อย่างนี้
๓. สมณะหรือพราหมณ์อื่นกล่าวกับสมณะหรือพราหมณ์นั้นอย่างนี้ว่า ท่าน
ผู้เจริญ อัตตาที่ท่านกล่าวถึงนี้มีอยู่จริง เราไม่ปฏิเสธว่าไม่มี แต่อัตตานี้ไม่
ใช่ขาดสูญโดยสิ้นเชิง เพราะเหตุเพียงเท่านี้ ยังมีอัตตาอื่นที่เป็นทิพย์มีรูป
สำเร็จด้วยใจ มีอวัยวะครบถ้วน มีอินทรีย์ไม่บกพร่องมีอยู่จริง ท่านยังไม่รู้
ไม่เห็น แต่เรารู้เห็น เพราะอัตตานั้นแล หลังจากตายแล้วย่อมขาดสูญ
พินาศไป ไม่เกิดอีก เพราะเหตุเพียงเท่านี้แล อัตตานี้จึงขาดสูญโดยสิ้นเชิง
สมณะหรือพราหมณ์พวกหนึ่งบัญญัติความขาดสูญ ความพินาศ และ
ความไม่เกิดอีกของสัตว์อย่างนี้

เชิงอรรถ :
๑ อัตตาที่เป็นทิพย์ หมายถึงอัตตาที่เกิดในเทวโลก (อภิ.วิ.อ. ๙๕๑/๕๕๓)
๒ เทวดาชั้นกามาวจร ๖ ชั้น คือ จาตุมหาราชิกา ดาวดึงส์ ดุสิต นิมมานรดี และปรนิมมิตวสวัสดี (ที.สี.อ.
๘๖/๑๑๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๖๐๘ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๗.ขุททกวัตถุวิภังค์] ๗.สัตตกนิทเทส
๔. สมณะหรือพราหมณ์อื่นกล่าวกับสมณะหรือพราหมณ์นั้นอย่างนี้ว่า ท่าน
ผู้เจริญ อัตตาที่ท่านกล่าวถึงนี้มีอยู่จริง เราไม่ปฏิเสธว่าไม่มี แต่อัตตานี้
ไม่ใช่ขาดสูญโดยสิ้นเชิง เพราะเหตุเพียงเท่านี้ ยังมีอัตตาอื่นที่เข้าถึง
อากาสานัญจายตนฌาน โดยกำหนดว่า อากาศหาที่สุดมิได้ เพราะล่วง
รูปสัญญา ดับปฏิฆสัญญา ไม่กำหนดนานัตตสัญญาโดยประการทั้งปวง
ท่านยังไม่รู้ไม่เห็น แต่เรารู้เห็น เพราะอัตตานั้นแล หลังจากตายแล้ว
ย่อมขาดสูญ พินาศ ไม่เกิดอีก เพราะเหตุเพียงเท่านี้แล อัตตานี้จึง
ขาดสูญโดยสิ้นเชิง สมณะหรือพราหมณ์พวกหนึ่งบัญญัติความขาดสูญ ความ
พินาศ และความไม่เกิดอีกของสัตว์อย่างนี้
๕. สมณะหรือพราหมณ์อื่นกล่าวกับสมณะหรือพราหมณ์นั้นอย่างนี้ว่า ท่านผู้
เจริญ อัตตาที่ท่านกล่าวถึงนี้มีอยู่จริง เราไม่ปฏิเสธว่าไม่มี แต่อัตตานี้
ไม่ใช่ขาดสูญโดยสิ้นเชิง เพราะเหตุเพียงเท่านี้ ยังมีอัตตาอื่นที่เข้าถึง
วิญญาณัญจายตนฌาน โดยกำหนดว่า วิญญาณหาที่สุดมิได้ เพราะล่วง
อากาสานัญจายตนะเสียได้โดยประการทั้งปวง ท่านยังไม่รู้ไม่เห็น แต่เรา
รู้เห็น เพราะอัตตานั้นแล หลังจากตายแล้วย่อมขาดสูญ พินาศ ไม่เกิด
อีก เพราะเหตุเพียงเท่านี้แล อัตตานี้จึงขาดสูญโดยสิ้นเชิง สมณะหรือ
พราหมณ์พวกหนึ่งบัญญัติความขาดสูญ ความพินาศ และความไม่เกิด
อีกของสัตว์อย่างนี้
๖. สมณะหรือพราหมณ์อื่นกล่าวกับสมณะหรือพราหมณ์นั้นอย่างนี้ว่า ท่าน
ผู้เจริญ อัตตาที่ท่านกล่าวถึงนี้มีอยู่จริง เราไม่ปฏิเสธว่าไม่มี แต่อัตตานี้
ไม่ใช่ขาดสูญโดยสิ้นเชิง เพราะเหตุเพียงเท่านี้ ยังมีอัตตาอื่นที่เข้าถึง
อากิญจัญญายตนฌาน โดยกำหนดว่า อะไร ๆ ก็ไม่มี เพราะล่วง
วิญญาณัญจายตนะเสียได้โดยประการทั้งปวง ท่านยังไม่รู้ไม่เห็น แต่เรา
รู้เห็น เพราะอัตตานั้นแล หลังจากตายแล้วย่อมขาดสูญ พินาศ ไม่เกิด
อีก เพราะเหตุเพียงเท่านี้แล อัตตานี้จึงขาดสูญโดยสิ้นเชิง สมณะหรือ
พราหมณ์พวกหนึ่งบัญญัติความขาดสูญ ความพินาศ และความไม่เกิด
อีกของสัตว์อย่างนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๖๐๙ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๗.ขุททกวัตถุวิภังค์] ๘.อัฏฐกนิทเทส
๗. สมณะหรือพราหมณ์อื่นกล่าวกับสมณะหรือพราหมณ์นั้นอย่างนี้ว่า ท่าน
ผู้เจริญ อัตตาที่ท่านกล่าวถึงนี้มีอยู่จริง เราไม่ปฏิเสธว่าไม่มี แต่อัตตา
นี้ไม่ใช่ขาดสูญโดยสิ้นเชิง เพราะเหตุเพียงเท่านี้ ยังมีอัตตาอื่นที่เข้าถึง
เนวสัญญานาสัญญายตนฌาน เพราะล่วงอากิญจัญญายตนะเสียได้โดย
ประการทั้งปวง ท่านยังไม่รู้ไม่เห็น แต่เรารู้เห็น เพราะอัตตานั้นแล หลัง
จากตายแล้ว ย่อมขาดสูญ พินาศ ไม่เกิดอีก เพราะเหตุเพียงเท่านี้แล
อัตตานี้จึงขาดสูญโดยสิ้นเชิง สมณะหรือพราหมณ์พวกหนึ่งบัญญัติความ
ขาดสูญ ความพินาศ และความไม่เกิดอีกของสัตว์อย่างนี้
เหล่านี้ชื่อว่าทิฏฐิ ๗
สัตตกนิทเทส จบ

๘. อัฏฐกนิทเทส
[๙๕๒] บรรดาอัฏฐกมาติกาเหล่านั้น กิเลสวัตถุ ๘ เป็นไฉน
กิเลสวัตถุ ๘ คือ

๑. โลภะ (ความโลภ) ๒. โทสะ (ความคิดประทุษร้าย)
๓. โมหะ (ความหลง) ๔. มานะ (ความถือตัว)
๕. ทิฏฐิ (ความเห็นผิด) ๖. วิจิกิจฉา (ความลังเลสงสัย)
๗. ถีนะ (ความหดหู่ท้อแท้) ๘. อุทธัจจะ (ความฟุ้งซ่าน)

เหล่านี้ชื่อว่ากิเลสวัตถุ ๘
[๙๕๓] กุสีตวัตถุ ๘ เป็นไฉน
กุสีตวัตถุ ๘ คือ
๑. ภิกษุในธรรมวินัยนี้มีการงานที่ต้องทำ เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า เราจักต้อง
ทำการงาน แต่เมื่อเรากำลังทำการงานอยู่จักลำบากกาย เอาละ เรานอนดี
กว่า เธอจึงนอน ไม่เริ่มความเพียรเพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่
ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ได้ทำให้แจ้ง นี้ชื่อว่ากุสีตวัตถุข้อที่ ๑

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๖๑๐ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๗.ขุททกวัตถุวิภังค์] ๘.อัฏฐกนิทเทส
๒. ภิกษุทำการงานแล้ว เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า เราได้ทำการงานแล้ว เมื่อ
เรากำลังทำการงานอยู่กายก็ลำบาก เอาละ เรานอนดีกว่า เธอจึงนอน ไม่
เริ่มความเพียรเพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำ
ให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ได้ทำให้แจ้ง นี้ชื่อว่ากุสีตวัตถุข้อที่ ๒
๓. ภิกษุต้องเดินทาง เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า เราจักต้องเดินทางแน่ เมื่อ
เรากำลังเดินทางกายจักลำบาก เอาละ เรานอนดีกว่า เธอจึงนอน ไม่เริ่ม
ความเพียรเพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำ
ให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ได้ทำให้แจ้ง นี้ชื่อว่ากุสีตวัตถุข้อที่ ๓
๔. ภิกษุเดินทางแล้ว เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า เราได้เดินทางแล้วนะ เมื่อ
เรากำลังเดินทางอยู่กายก็ลำบาก เอาละ เรานอนดีกว่า เธอจึงนอน ไม่เริ่ม
ความเพียรเพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ เพื่อ
ทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ได้ทำให้แจ้ง นี้ชื่อว่ากุสีตวัตถุข้อที่ ๔
๕. ภิกษุเที่ยวไปบิณฑบาตยังบ้านหรือนิคม ไม่ได้โภชนะหยาบหรือประณีต
เพียงพอแก่ความต้องการ เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า เราเที่ยวไปบิณฑบาต
ยังบ้านหรือนิคมก็ไม่ได้โภชนะหยาบหรือประณีตเพียงพอแก่ความต้องการ
กายของเรานั้นเหน็ดเหนื่อย ไม่ควรแก่การงาน เอาละ เรานอนดีกว่า เธอจึง
นอน ไม่เริ่มความเพียรเพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ
เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ได้ทำให้แจ้ง นี้ชื่อว่ากุสีตวัตถุข้อที่ ๕
๖. ภิกษุเที่ยวไปบิณฑบาตยังบ้านหรือนิคม ได้โภชนะหยาบหรือประณีต
เพียงพอแก่ความต้องการ เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า เรานะเที่ยวไป
บิณฑบาตยังบ้านหรือนิคมได้โภชนะหยาบหรือประณีตเพียงพอแก่ความ
ต้องการแล้ว กายของเราหนัก ไม่ควรแก่การงาน จะเป็นเหมือนถั่วหมัก
เอาละ เรานอนดีกว่า เธอจึงนอน ไม่เริ่มความเพียรเพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อ
บรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ได้ทำให้แจ้ง นี้ชื่อว่า
กุสีตวัตถุข้อที่ ๖
๗. ภิกษุเกิดอาพาธขึ้นเล็กน้อย เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า เราเกิดอาพาธขึ้น
เล็กน้อย มีข้ออ้างที่จะนอน เอาละ เรานอนดีกว่า เธอจึงนอน ไม่เริ่มความ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๖๑๑ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๗.ขุททกวัตถุวิภังค์] ๘.อัฏฐกนิทเทส
เพียรเพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้ง
ธรรมที่ยังไม่ได้ทำให้แจ้ง นี้ชื่อว่ากุสีตวัตถุข้อที่ ๗
๘. ภิกษุหายไข้แล้วแต่หายยังไม่นาน เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า เราหายไข้แล้ว
แต่หายยังไม่นาน กายของเรานั้นยังอ่อนเพลีย ไม่ควรแก่การงาน เอาละ
เรานอนดีกว่า เธอจึงนอน ไม่เริ่มความเพียรเพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อ
บรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ได้ทำให้แจ้ง นี้ชื่อว่า
กุสีตวัตถุข้อที่ ๘
เหล่านี้ชื่อว่ากุสีตวัตถุ ๘
[๙๕๔] จิตกระทบในโลกธรรม ๘ เป็นไฉน
จิตกระทบในโลกธรรม ๘ คือ

๑. ความยินดีในลาภ ๒. ความยินร้ายในความเสื่อมลาภ
๓. ความยินดีในยศ ๔. ความยินร้ายในความเสื่อมยศ
๕. ความยินดีในการสรรเสริญ ๖. ความยินร้ายในการนินทา
๗. ความยินดีในสุข ๘. ความยินร้ายในทุกข์

เหล่านี้ชื่อว่าจิตกระทบในโลกธรรม ๘ เหล่านี้
[๙๕๕] อนริยโวหาร ๘ เป็นไฉน
อนริยโวหาร ๘ คือ

๑. เมื่อไม่เห็น พูดว่าเห็น ๒. เมื่อไม่ได้ยิน พูดว่าได้ยิน
๓. เมื่อไม่รู้ พูดว่ารู้ ๔. เมื่อไม่เข้าใจ พูดว่าเข้าใจ
๕. เมื่อเห็น พูดว่าไม่เห็น ๖. เมื่อได้ยิน พูดว่าไม่ได้ยิน
๗. เมื่อรู้ พูดว่าไม่รู้ ๘. เมื่อเข้าใจ พูดว่าไม่เข้าใจ

เหล่านี้ชื่อว่าอนริยโวหาร ๘
[๙๕๖] มิจฉัตตะ ๘ เป็นไฉน
มิจฉัตตะ ๘ คือ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๖๑๒ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๗.ขุททกวัตถุวิภังค์] ๘.อัฏฐกนิทเทส

๑. มิจฉาทิฏฐิ (เห็นผิด) ๒. มิจฉาสังกัปปะ (ดำริผิด)
๓. มิจฉาวาจา (เจรจาผิด) ๔. มิจฉากัมมันตะ (การงานผิด)
๕. มิจฉาอาชีวะ (เลี้ยงชีพผิด) ๖. มิจฉาวายามะ (พยายามผิด)
๗. มิจฉาสติ (ระลึกผิด) ๘. มิจฉาสมาธิ (ตั้งจิตมั่นผิด)

เหล่านี้ชื่อว่ามิจฉัตตะ ๘
[๙๕๗] บุรุษโทษ ๘ เป็นไฉน
บุรุษโทษ ๘ คือ
๑. ภิกษุในธรรมวินัยนี้โจทภิกษุด้วยอาบัติ ภิกษุผู้ถูกโจทด้วยอาบัตินั้นแก้ตัว
โดยการอ้างว่าไม่มีสติอย่างนี้ว่า เราระลึกไม่ได้ เราระลึกไม่ได้ นี้ชื่อว่า
บุรุษโทษข้อที่ ๑
๒. ภิกษุโจทภิกษุด้วยอาบัติ ภิกษุผู้ถูกโจทด้วยอาบัตินั้นโต้ตอบผู้โจทว่า
การพูดกับท่านผู้โง่เขลา ไม่ฉลาดจะมีประโยชน์อะไร แม้ท่านก็ยังเข้าใจ
ผมว่าควรว่ากล่าว นี้ชื่อว่าบุรุษโทษข้อที่ ๒
๓. ภิกษุโจทภิกษุด้วยอาบัติ ภิกษุผู้ถูกโจทด้วยอาบัตินั้นกลับปรับอาบัติแก่ภิกษุ
ผู้โจทนั่นว่า ถึงท่านก็ต้องอาบัติชื่อนี้ ท่านจงแสดงอาบัตินั้นเสียก่อน นี้
ชื่อว่าบุรษโทษข้อที่ ๓
๔. ภิกษุโจทภิกษุด้วยอาบัติ ภิกษุผู้ถูกโจทด้วยอาบัตินั้นยกเหตุอื่น ๆ มาพูด
กลบเกลื่อน พูดชักให้เขวไปนอกเรื่อง เคือง แสดงความโกรธ เคืองและ
อาการไม่พอใจ นี้ชื่อว่าบุรุษโทษข้อที่ ๔
๕. ภิกษุโจทภิกษุด้วยอาบัติ ภิกษุผู้ถูกโจทด้วยอาบัตินั้นโบกมือปฏิเสธในท่าม
กลางสงฆ์ นี้ชื่อว่าบุรุษโทษข้อที่ ๕
๖. ภิกษุโจทภิกษุด้วยอาบัติ ภิกษุผู้ถูกโจทด้วยอาบัตินั้นนิ่งเฉยเสียด้วยคิดว่า
เราไม่ต้องอาบัติเลย แต่ความจริงเราต้องอาบัติ แกล้งสงฆ์ให้ลำบาก นี้
ชื่อว่าบุรุษโทษข้อที่ ๖
๗. ภิกษุโจทภิกษุด้วยอาบัติ ภิกษุผู้ถูกโจทด้วยอาบัตินั้น ไม่เอื้อเฟื้อสงฆ์ ไม่
เอื้อเฟื้อโจท หลีกไปตามชอบใจ ทั้งที่ยังมีอาบัติติดตัวอยู่ นี้ชื่อว่าบุรุษ
โทษข้อที่ ๗

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๖๑๓ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๗.ขุททกวัตถุวิภังค์] ๘.อัฏฐกนิทเทส
๘. ภิกษุโจทภิกษุด้วยอาบัติ ภิกษุผู้ถูกโจทด้วยอาบัตินั้นกล่าวอย่างนี้ว่า
ทำไมหนอ ท่านจึงวุ่นวายกับกระผมนัก บัดนี้กระผมจักลาสิกขาไปเป็น
คฤหัสถ์ เธอก็ลาสิกขาไปเป็นคฤหัสถ์แล้วกล่าวอย่างนี้ว่า พระคุณเจ้า
บัดนี้แลท่านคงพอใจ นี้ชื่อว่าบุรุษโทษข้อที่ ๘
เหล่านี้ชื่อว่าบุรุษโทษ ๘
[๙๕๘] อสัญญีวาทะ ๘ เป็นไฉน
สมณะหรือพราหมณ์พวกหนึ่งย่อมบัญญัติว่า
๑. อัตตาที่มีรูป ยั่งยืน๑ หลังจากตายแล้ว ไม่มีสัญญา
๒. อัตตาที่ไม่มีรูป ยั่งยืน หลังจากตายแล้ว ไม่มีสัญญา
๓. อัตตาทั้งที่มีรูปและไม่มีรูป ยั่งยืน หลังจากตายแล้ว ไม่มีสัญญา
๔. อัตตามีรูปก็มิใช่ ไม่มีรูปก็มิใช่ ยั่งยืน หลังจากตายแล้ว ไม่มีสัญญา
๕. อัตตามีที่สุด ยั่งยืน หลังจากตายแล้ว ไม่มีสัญญา
๖. อัตตาไม่มีที่สุด ยั่งยืน หลังจากตายแล้ว ไม่มีสัญญา
๗. อัตตามีที่สุดและไม่มีที่สุด ยั่งยืน หลังจากตายแล้ว ไม่มีสัญญา
๘. อัตตามีที่สุดก็มิใช่ ไม่มีที่สุดก็มิใช่ ยั่งยืน หลังจากตายแล้ว ไม่มีสัญญา
เหล่านี้ชื่อว่าอสัญญีวาทะ ๘
[๙๕๙] เนวสัญญีนาสัญญีวาทะ ๘ เป็นไฉน
สมณะหรือพราหมณ์พวกหนึ่งย่อมบัญญัติว่า
๑. อัตตามีรูป ยั่งยืน หลังจากตายแล้ว มีสัญญาก็มิใช่ ไม่มีสัญญาก็มิใช่
๒. อัตตาไม่มีรูป ยั่งยืน หลังจากตายแล้ว มีสัญญาก็มิใช่ ไม่มีสัญญาก็มิใช่
๓. อัตตาที่มีรูปและไม่มีรูป ยั่งยืน หลังจากตายแล้ว มีสัญญาก็มิใช่ ไม่มี
สัญญาก็มิใช่
๔. อัตตามีรูปก็มิใช่ ไม่มีรูปก็มิใช่ ยั่งยืน หลังจากตายแล้ว มีสัญญาก็มิใช่
ไม่มีสัญญาก็มิใช่

เชิงอรรถ :
๑ คำว่า ยั่งยืน ตรงกับคำบาลีว่า อโรโค แปลว่า ไม่มีโรค ไม่มีการทรุดโทรม หรือไม่มีความเปลี่ยนแปลง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๖๑๔ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๗.ขุททกวัตถุวิภังค์] ๙.นวกกนิทเทส
๕. อัตตามีที่สุด ยั่งยืน หลังจากตายแล้ว มีสัญญาก็มิใช่ ไม่มีสัญญาก็มิใช่
๖. อัตตาไม่มีที่สุด ยั่งยืน หลังจากตายแล้ว มีสัญญาก็มิใช่ ไม่มีสัญญา
ก็มิใช่
๗. อัตตามีที่สุดและไม่มีที่สุด ยั่งยืน หลังจากตายแล้ว มีสัญญาก็มิใช่ ไม่มี
สัญญาก็มิใช่
๘. อัตตามีที่สุดก็มิใช่ ไม่มีที่สุดก็มิใช่ ยั่งยืน หลังจากตายแล้ว มีสัญญาก็
มิใช่ ไม่มีสัญญาก็มิใช่
เหล่านี้ชื่อว่าเนวสัญญีนาสัญญีวาทะ ๘
อัฏฐกนิทเทส จบ

๙. นวกนิทเทส
[๙๖๐] บรรดานวกมาติกาเหล่านั้น อาฆาตวัตถุ ๙ เป็นไฉน
อาฆาตวัตถุ ๙ คือ

๑. ความอาฆาตเกิดขึ้นว่า ผู้นี้ได้ทำความเสื่อมเสียแก่เรา
๒. ความอาฆาตเกิดขึ้นว่า ผู้นี้กำลังทำความเสื่อมเสียแก่เรา
๓. ความอาฆาตเกิดขึ้นว่า ผู้นี้จักทำความเสื่อมเสียแก่เรา
๔. ความอาฆาตเกิดขึ้นว่า ผู้นี้ได้ทำความเสื่อมเสียแก่คนผู้เป็นที่รักที่
ชอบพอของเรา
๕. ความอาฆาตเกิดขึ้นว่า ผู้นี้กำลังทำความเสื่อมเสียแก่คนผู้เป็นที่รัก
ที่ชอบพอของเรา
๖. ความอาฆาตเกิดขึ้นว่า ผู้นี้จักทำความเสื่อมเสียแก่คนผู้เป็นที่รักที่
ชอบพอของเรา
๗. ความอาฆาตเกิดขึ้นว่า ผู้นี้ได้ทำประโยชน์แก่คนผู้ไม่เป็นที่รักไม่
เป็นที่ชอบพอของเรา


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๖๑๕ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๗.ขุททกวัตถุวิภังค์] ๙.นวกนิทเทส

๘. ความอาฆาตเกิดขึ้นว่า ผู้นี้กำลังทำประโยชน์แก่คนผู้ไม่เป็นที่รักไม่
เป็นที่ชอบพอของเรา
๙. ความอาฆาตเกิดขึ้นว่า ผู้นี้จักทำประโยชน์แก่คนผู้ไม่เป็นที่รักไม่เป็น
ที่ชอบพอของเรา

เหล่านี้ชื่อว่าอาฆาตวัตถุ ๙
[๙๖๑] ปุริสมละ ๙ เป็นไฉน
ปุริสมละ ๙ คือ

๑. โกธะ (ความโกรธ)
๒. มักขะ (ความลบหลู่คุณท่าน)
๓. อิสสา (ความริษยา)
๔. มัจฉริยะ (ความตระหนี่)
๕. มายา (ความเจ้าเล่ห์)
๖. สาเถยยะ (ความโอ้อวด)
๗. มุสาวาท (การพูดเท็จ)
๘. ปาปิจฉตา (ความปรารถนาลามก)
๙. มิจฉาทิฏฐิ (ความเห็นผิด)

เหล่านี้ชื่อว่าปุริสมละ ๙
[๙๖๒] มานะ ๙ เป็นไฉน
มานะ ๙ คือ

๑. เป็นผู้เลิศกว่าเขา ถือตัวว่าเลิศกว่าเขา
๒. เป็นผู้เลิศกว่าเขา ถือตัวว่าเสมอเขา
๓. เป็นผู้เลิศกว่าเขา ถือตัวว่าด้อยกว่าเขา
๔. เป็นผู้เสมอเขา ถือตัวว่าเลิศกว่าเขา
๕. เป็นผู้เสมอเขา ถือตัวว่าเสมอเขา
๖. เป็นผู้เสมอเขา ถือตัวว่าด้อยกว่าเขา
๗. เป็นผู้ด้อยกว่าเขา ถือตัวว่าเลิศกว่าเขา


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๖๑๖ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๗.ขุททกวัตถุวิภังค์] ๙.นวกนิทเทส
๘. เป็นผู้ด้อยกว่าเขา ถือตัวว่าเสมอเขา
๙. เป็นผู้ด้อยกว่าเขา ถือตัวว่าด้อยกว่าเขา
เหล่านี้ชื่อว่ามานะ ๙
[๙๖๓] ตัณหามูลกธรรม ๙ เป็นไฉน
ตัณหามูลกธรรม ๙ คือ

๑. เพราะอาศัยตัณหา การแสวงหาจึงเกิดขึ้น
๒. เพราะอาศัยการแสวงหา การได้จึงเกิดขึ้น
๓. เพราะอาศัยการได้ การวินิจฉัยจึงเกิดขึ้น
๔. เพราะอาศัยการวินิจฉัย ฉันทราคะจึงเกิดขึ้น
๕. เพราะอาศัยฉันทราคะ ความหลงใหลจึงเกิดขึ้น
๖. เพราะอาศัยความหลงใหล ความหวงแหนจึงเกิดขึ้น
๗. เพราะอาศัยความหวงแหน ความตระหนี่จึงเกิดขึ้น
๘. เพราะอาศัยความตระหนี่ การรักษาจึงเกิดขึ้น

๙. เพราะอาศัยการรักษา สภาวธรรมที่เป็นบาปเป็นอกุศลหลายประการ คือ
การถือท่อนไม้ การถือศัสตรา การทะเลาะ การแก่งแย่ง การวิวาท
การพูดขึ้นมึงกู การพูดส่อเสียด การพูดเท็จจึงเกิดขึ้น
เหล่านี้ชื่อว่าตัณหามูลกธรรม ๙
[๙๖๔] อิญชิตะ ๙ เป็นไฉน
อิญชิตะ ๙ คือ
๑. ความหวั่นไหวว่า เรามี
๒. ความหวั่นไหวว่า เราเป็น
๓. ความหวั่นไหวว่า เราเป็นสิ่งนี้
๔. ความหวั่นไหวว่า เราจักมี
๕. ความหวั่นไหวว่า เราจักเป็นสัตว์มีรูป
๖. ความหวั่นไหวว่า เราจักเป็นสัตว์ไม่มีรูป
๗. ความหวั่นไหวว่า เราจักเป็นสัตว์มีสัญญา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๖๑๗ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๗.ขุททกวัตถุวิภังค์] ๑๐.ทสกนิทเทส
๘. ความหวั่นไหวว่า เราจักเป็นสัตว์ไม่มีสัญญา
๙. ความหวั่นไหวว่า เราจักเป็นสัตว์มีสัญญาก็มิใช่ ไม่มีสัญญาก็มิใช่
เหล่านี้ชื่อว่าอิญชิตะ ๙
[๙๖๕] มัญญิตะ ๙ ฯลฯ ผันทิตะ ๙ ฯลฯ ปปัญจิตะ ๙ ฯลฯ
สังขตะ ๙ เป็นไฉน
สังขตะ ๙ คือ
๑. ความปรุงแต่งว่า เรามี
๒. ความปรุงแต่งว่า เราเป็น
๓. ความปรุงแต่งว่า เราเป็นสิ่งนี้
๔. ความปรุงแต่งว่า เราจักมี
๕. ความปรุงแต่งว่า เราจักเป็นสัตว์มีรูป
๖. ความปรุงแต่งว่า เราจักเป็นสัตว์ไม่มีรูป
๗. ความปรุงแต่งว่า เราจักเป็นสัตว์มีสัญญา
๘. ความปรุงแต่งว่า เราจักเป็นสัตว์ไม่มีสัญญา
๙. ความปรุงแต่งว่า เราจักเป็นสัตว์มีสัญญาก็มิใช่ ไม่มีสัญญาก็มิใช่
เหล่านี้ชื่อว่าสังขตะ ๙
นวกนิทเทส จบ

๑๐. ทสกนิทเทส
[๙๖๖] บรรดาทสกมาติกาเหล่านั้น กิเลสวัตถุ ๑๐ เป็นไฉน
กิเลสวัตถุ ๑๐ คือ

๑. โลภะ (ความโลภ) ๒. โทสะ (ความคิดประทุษร้าย)
๓. โมหะ (ความหลง) ๔. มานะ (ความถือตัว)
๕. ทิฏฐิ (ความเห็นผิด) ๖. วิจิกิจฉา (ความสงสัย)
๗. ถีนะ (ความหดหู่) ๘. อุทธัจจะ (ความฟุ้งซ่าน)
๙. อหิริกะ (ความไม่ละอายบาป) ๑๐. อโนตตัปปะ (ความไม่เกรงกลัวบาป)

เหล่านี้ชื่อว่ากิเลสวัตถุ ๑๐

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๖๑๘ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๗.ขุททกวัตถุวิภังค์] ๑๐.ทสกนิทเทส
[๙๖๗] อาฆาตวัตถุ ๑๐ เป็นไฉน
อาฆาตวัตถุ ๑๐ คือ

๑. ความอาฆาตเกิดขึ้นว่า ผู้นี้ได้ทำสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่เรา
๒. ความอาฆาตเกิดขึ้นว่า ผู้นี้กำลังทำสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่เรา
๓. ความอาฆาตเกิดขึ้นว่า ผู้นี้จักทำสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่เรา
๔. ความอาฆาตเกิดขึ้นว่า ผู้นี้ได้ทำสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่คนผู้เป็น
ที่รักที่ชอบพอของเรา
๕. ความอาฆาตเกิดขึ้นว่า ผู้นี้กำลังทำสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่คนผู้
เป็นที่รักที่ชอบพอของเรา
๖. ความอาฆาตเกิดขึ้นว่า ผู้นี้จักทำสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่คนผู้เป็น
ที่รักที่ชอบพอของเรา
๗. ความอาฆาตเกิดขึ้นว่า ผู้นี้ได้ทำประโยชน์แก่คนผู้ไม่เป็นที่รักไม่
เป็นที่ชอบพอของเรา
๘. ความอาฆาตเกิดขึ้นว่า ผู้นี้กำลังทำสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่คนผู้ไม่เป็น
ที่รักไม่เป็นที่ชอบพอของเรา
๙. ความอาฆาตเกิดขึ้นว่า ผู้นี้จักทำสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่คนผู้ไม่เป็น
ที่รักไม่เป็นที่ชอบพอของเรา

๑๐. ความอาฆาตเกิดขึ้นในฐานะอันไม่สมควร
เหล่านี้ชื่อว่าอาฆาตวัตถุ ๑๐
[๙๖๘] อกุศลกรรมบถ ๑๐ เป็นไฉน
อกุศลกรรมบถ ๑๐ คือ

๑. ปาณาติบาต (ฆ่าสัตว์) ๒. อทินนาทาน (ลักทรัพย์)
๓. กาเมสุมิจฉาจาร (ประพฤติผิดในกาม) ๔. มุสาวาท (พูดเท็จ)
๕. ปิสุณวาจา (พูดส่อเสียด) ๖. ผรุสวาจา (พูดคำหยาบ)
๗. สัมผัปปลาปะ (พูดเพ้อเจ้อ) ๘. อภิชฌา (เพ่งเล็งอยากได้ของเขา)
๙. พยาบาท (ปองร้ายเขา) ๑๐. มิจฉาทิฏฐิ (เห็นผิดจากคลองธรรม)

เหล่านี้ชื่อว่าอกุศลกรรมบถ ๑๐

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๖๑๙ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๗.ขุททกวัตถุวิภังค์] ๑๐.ทสกนิทเทส
[๙๖๙] สังโยชน์ ๑๐ เป็นไฉน
สังโยชน์ ๑๐ คือ

๑. กามราคสังโยชน์ (กิเลสเครื่องประกอบสัตว์ไว้ในภพคือกามราคะ)
๒. ปฏิฆสังโยชน์ (กิเลสเครื่องประกอบสัตว์ไว้ในภพคือปฏิฆะ)
๓. มานสังโยชน์ (กิเลสเครื่องประกอบสัตว์ไว้ในภพคือมานะ)
๔. ทิฏฐิสังโยชน์ (กิเลสเครื่องประกอบสัตว์ไว้ในภพคือทิฏฐิ)
๕. วิจิกิจฉาสังโยชน์ (กิเลสเครื่องประกอบสัตว์ไว้ในภพคือวิจิกิจฉา)
๖. สีลัพพตปรามาสสังโยชน์ (กิเลสเครื่องประกอบสัตว์ไว้ในภพคือสีลัพ-
พตปรามาส)
๗. ภวราคสังโยชน์ (กิเลสเครื่องประกอบสัตว์ไว้ในภพคือภวราคะ)
๘. อิสสาสังโยชน์ (กิเลสเครื่องประกอบสัตว์ไว้ในภพคืออิสสา)
๙. มัจฉริยสังโยชน์ (กิเลสเครื่องประกอบสัตว์ไว้ในภพคือมัจฉริยะ
๑๐. อวิชชาสังโยชน์ (กิเลสเครื่องประกอบสัตว์ไว้ในภพคืออวิชชา)

เหล่านี้ชื่อว่าสังโยชน์ ๑๐
[๙๗๐] มิจฉัตตะ ๑๐ เป็นไฉน
มิจฉัตตะ ๑๐ คือ

๑. มิจฉาทิฏฐิ (เห็นผิด) ๒. มิจฉาสังกัปปะ (ดำริผิด)
๓. มิจฉาวาจา (เจรจาผิด) ๔. มิจฉากัมมันตะ (กระทำผิด)
๕. มิจฉาอาชีวะ (เลี้ยงชีพผิด) ๖. มิจฉาวายามะ (พยายามผิด)
๗. มิจฉาสติ (ระลึกผิด) ๘. มิจฉาสมาธิ (ตั้งจิตมั่นผิด)
๙. มิจฉาญาณะ (รู้ผิด) ๑๐. มิจฉาวิมุตติ (พ้นผิด)

เหล่านี้ชื่อว่ามิจฉัตตะ ๑๐
[๙๗๑] มิจฉาทิฏฐิมีวัตถุ ๑๐ เป็นไฉน
มิจฉาทิฏฐิมีวัตถุ ๑๐ คือ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๖๒๐ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๗.ขุททกวัตถุวิภังค์] ๑๐.ทสกนิทเทส

๑. ความเห็นว่า ทานที่บุคคลให้แล้วไม่มีผล
๒. ความเห็นว่า การบูชาไม่มีผล
๓. ความเห็นว่า การเซ่นสรวงไม่มีผล
๔. ความเห็นว่า ผลวิบากของกรรมดีและกรรมชั่วไม่มี
๕. ความเห็นว่า โลกนี้ไม่มี
๖. ความเห็นว่า โลกหน้าไม่มี
๗. ความเห็นว่า มารดาไม่มีคุณ
๘. ความเห็นว่า บิดาไม่มีคุณ
๙. ความเห็นว่า สัตว์ผู้เป็นโอปปาติกะไม่มี
๑๐. ความเห็นว่า สมณะพราหมณ์ผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ รู้ยิ่ง
เห็นจริงแจ้งประจักษ์ซึ่งโลกนี้และโลกหน้าด้วย
ตนเองแล้วประกาศให้ผู้อื่นรู้ไม่มีในโลก

นี้ชื่อว่ามิจฉาทิฏฐิมีวัตถุ ๑๐
[๙๗๒] อันตัคคาหิกทิฏฐิมีวัตถุ ๑๐ เป็นไฉน
อันตัคคาหิกทิฏฐิมีวัตถุ ๑๐ คือ

๑. ความเห็นว่า โลกเที่ยง
๒. ความเห็นว่า โลกไม่เที่ยง
๓. ความเห็นว่า โลกมีที่สุด
๔. ความเห็นว่า โลกไม่มีที่สุด
๕. ความเห็นว่า ชีวะกับสรีระเป็นอย่างเดียวกัน
๖. ความเห็นว่า ชีวะกับสรีระเป็นคนละอย่างกัน
๗. ความเห็นว่า หลังจากตายแล้ว ตถาคต๑ เกิดอีก
๘. ความเห็นว่า หลังจากตายแล้ว ตถาคตไม่เกิดอีก
๙. ความเห็นว่า หลังจากตายแล้ว ตถาคตเกิดอีกก็มี ไม่
เกิดอีกก็มี


เชิงอรรถ :
๑ ตถาคต ในที่นี้เป็นคำที่ลัทธิอื่น ๆ ใช้กันก่อนพุทธกาล หมายถึงอัตตา (อาตมัน) ไม่ได้หมายถึงพระพุทธเจ้า
อรรถกถาอธิบายว่า หมายถึง สัตตะ (ที.สี.อ. ๖๕/๑๐๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๖๒๑ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๗.ขุททกวัตถุวิภังค์] ตัณหาวิจริตนิทเทส
๑๐. ความเห็นว่า หลังจากตายแล้ว ตถาคตเกิดอีกก็มิใช่ จะว่า
ไม่เกิดอีกก็มิใช่
นี้ชื่อว่าอันตัคคาหิกทิฏฐิมีวัตถุ ๑๐
ทสกนิทเทส จบ

ตัณหาวิจริตนิทเทส
[๙๗๓] บรรดามาติกานั้น ตัณหาวิจริต ๑๘ อาศัยเบญจขันธ์ภายใน
เป็นไฉน
ตัณหาวิจริต ๑๘ อาศัยเบญจขันธ์ภายใน คือ
๑. ตัณหาว่า เรามี
๒. ตัณหาว่า เราเป็นอย่างนี้
๓. ตัณหาว่า เราเป็นอย่างนั้น
๔. ตัณหาว่า เราเป็นโดยประการอื่น
๕. ตัณหาว่า เราจักเป็น
๖. ตัณหาว่า เราจักเป็นอย่างนี้
๗. ตัณหาว่า เราจักเป็นอย่างนั้น
๘. ตัณหาว่า เราจักเป็นโดยประการอื่น
๙. ตัณหาว่า เราเป็นผู้เที่ยง
๑๐. ตัณหาว่า เราเป็นผู้ไม่เที่ยง
๑๑. ตัณหาว่า เราพึงเป็น
๑๒. ตัณหาว่า เราพึงเป็นอย่างนี้
๑๓. ตัณหาว่า เราพึงเป็นอย่างนั้น
๑๔. ตัณหาว่า เราพึงเป็นโดยประการอื่น
๑๕. ตัณหาว่า เราพึงเป็นบ้าง
๑๖. ตัณหาว่า เราพึงเป็นอย่างนี้บ้าง
๑๗. ตัณหาว่า เราพึงเป็นอย่างนั้นบ้าง
๑๘. ตัณหาว่า เราพึงเป็นโดยประการอื่น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๖๒๒ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๗.ขุททกวัตถุวิภังค์] ตัณหาวิจริตนิทเทส
[๙๗๔] ตัณหาว่า เรามี เป็นอย่างไร
บุคคลไม่แยกสภาวธรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง คือรูป ฯลฯ เวทนา ฯลฯ สัญญา
ฯลฯ สังขาร ฯลฯ วิญญาณออกจากกันแล้ว ได้ฉันทะว่าเรามี ได้มานะว่าเรามี
ได้ทิฏฐิว่าเรามี เมื่อสภาวธรรมทั้ง ๓ นั้นมีอยู่ สภาวธรรมเครื่องเนิ่นช้าเหล่านี้ก็มี
ว่าเราเป็นอย่างนี้ เราเป็นอย่างนั้น หรือเราเป็นโดยประการอื่นก็มี (๑)
ตัณหาว่า เราเป็นอย่างนี้ เป็นอย่างไร
ตัณหาว่า เราเป็นกษัตริย์หรือเป็นพราหมณ์ เป็นแพศย์หรือเป็นศูทร เป็น
คฤหัสถ์หรือเป็นบรรพชิต เป็นเทวดาหรือเป็นมนุษย์ เป็นพรหมที่มีรูปหรือเป็น
พรหมที่ไม่มีรูป เป็นพรหมที่มีสัญญาหรือเป็นพรหมที่ไม่มีสัญญา หรือเป็นพรหม
มีสัญญาก็มิใช่ไม่มีสัญญาก็มิใช่ อย่างนี้ตัณหาว่า เราเป็นอย่างนี้ก็มี (๒)
ตัณหาว่า เราเป็นอย่างนั้น เป็นอย่างไร
ตัณหาที่เกิดขึ้นเพราะเปรียบเทียบกับคนอื่นว่า เขาเป็นกษัตริย์ เราก็เป็น
กษัตริย์เหมือนกัน เขาเป็นพราหมณ์ เราก็เป็นพราหมณ์เหมือนกัน เขาเป็นแพศย์
เราก็เป็นแพศย์เหมือนกัน เขาเป็นศูทร เราก็เป็นศูทรเหมือนกัน เขาเป็นคฤหัสถ์
เราก็เป็นคฤหัสถ์เหมือนกัน เขาเป็นบรรพชิต เราก็เป็นบรรพชิตเหมือนกัน เขา
เป็นเทวดา เราก็เป็นเทวดาเหมือนกัน เขาเป็นมนุษย์ เราก็เป็นมนุษย์เหมือนกัน
เขาเป็นพรหมมีรูป เราก็เป็นพรหมมีรูปเหมือนกัน เขาเป็นพรหมไม่มีรูป เราก็เป็น
พรหมไม่มีรูปเหมือนกัน เขาเป็นพรหมมีสัญญา เราก็เป็นพรหมมีสัญญาเหมือนกัน
เขาเป็นพรหมไม่มีสัญญา เราก็เป็นพรหมไม่มีสัญญาเหมือนกัน หรือว่าเขาเป็น
พรหมมีสัญญาก็มิใช่ไม่มีสัญญาก็มิใช่ เราก็เป็นพรหมมีสัญญาก็มิใช่ไม่มีสัญญาก็
มิใช่เหมือนกัน อย่างนี้ตัณหาว่า เราเป็นอย่างนั้นก็มี (๓)
ตัณหาว่า เราเป็นโดยประการอื่น เป็นอย่างไร
ตัณหาที่เกิดขึ้นเพราะเปรียบเทียบกับคนอื่นว่า เขาเป็นกษัตริย์ แต่เราไม่ได้
เป็นกษัตริย์เหมือนเขา เขาเป็นพราหมณ์ แต่เราไม่ได้เป็นพราหมณ์เหมือนเขา
เขาเป็นแพศย์ แต่เราไม่ได้เป็นแพศย์เหมือนเขา เขาเป็นศูทรแต่เราไม่ได้เป็นศูทร
เหมือนเขา เขาเป็นคฤหัสถ์ แต่เราไม่ได้เป็นคฤหัสถ์เหมือนเขา เขาเป็นบรรพชิต


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๖๒๓ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๗.ขุททกวัตถุวิภังค์] ตัณหาวิจริตนิทเทส
แต่เราไม่ได้เป็นบรรพชิตเหมือนเขา เขาเป็นเทวดา แต่เราไม่ได้เป็นเทวดาเหมือนเขา
เขาเป็นมนุษย์ แต่เราไม่ได้เป็นมนุษย์เหมือนเขา เขาเป็นพรหมมีรูป แต่เราไม่ได้เป็น
พรหมมีรูปเหมือนเขา เขาเป็นพรหมมีสัญญา แต่เราไม่ได้เป็นพรหมมีสัญญาเหมือนเขา
หรือว่าเขาเป็นพรหมมีสัญญาก็มิใช่ไม่มีสัญญาก็มิใช่ แต่เราไม่ได้เป็นพรหมมีสัญญา
ก็มิใช่ไม่มีสัญญาก็มิใช่เหมือนเขา อย่างนี้ตัณหาว่า เราเป็นโดยประการอื่นก็มี (๔)
ตัณหาว่า เราจักเป็น เป็นอย่างไร
บุคคลไม่แยกสภาวธรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง คือรูป ฯลฯ เวทนา ฯลฯ สัญญา
ฯลฯ สังขาร ฯลฯ วิญญาณออกจากกันแล้ว ได้ฉันทะว่าเราจักเป็น ได้มานะว่า
เราจักเป็น ได้ทิฏฐิว่าเราจักเป็น เมื่อสภาวธรรมทั้ง ๓ นั้นมีอยู่ สภาวธรรมเครื่อง
เนิ่นช้าเหล่านี้ก็มีว่า เราจักเป็นอย่างนี้ เราจักเป็นอย่างนั้น หรือว่าเราจักเป็นโดย
ประการอื่นก็มี (๕)
ตัณหาว่า เราจักเป็นอย่างนี้ เป็นอย่างไร
ตัณหาว่า เราจักเป็นกษัตริย์หรือจักเป็นพราหมณ์ จักเป็นแพศย์หรือจักเป็น
ศูทร จักเป็นคฤหัสถ์หรือจักเป็นบรรพชิต จักเป็นเทวดาหรือจักเป็นมนุษย์ จักเป็น
พรหมมีรูปหรือจักเป็นพรหมไม่มีรูป จักเป็นพรหมมีสัญญาหรือจักเป็นพรหมไม่มีสัญญา
จักเป็นพรหมมีสัญญาก็มิใช่หรือจักเป็นพรหมไม่มีสัญญาก็มิใช่ อย่างนี้ตัณหาว่า
เราจักเป็นอย่างนี้ก็มี (๖)
ตัณหาว่า เราจักเป็นอย่างนั้น เป็นอย่างไร
ตัณหาที่เกิดขึ้นเพราะเปรียบเทียบกับคนอื่นว่า เขาเป็นกษัตริย์ เราก็จักเป็น
กษัตริย์เหมือนกัน เขาเป็นพราหมณ์ เราก็จักเป็นพราหมณ์เหมือนกัน ฯลฯ หรือว่า
เขาเป็นพรหมมีสัญญาก็มิใช่ไม่มีสัญญาก็มิใช่ เราก็จักเป็นพรหมมีสัญญาก็มิใช่ไม่มี
สัญญาก็มิใช่เหมือนกัน อย่างนี้ตัณหาว่า เราจักเป็นอย่างนั้นก็มี (๗)
ตัณหาว่า เราจักเป็นโดยประการอื่น เป็นอย่างไร
ตัณหาที่เกิดขึ้นเพราะเปรียบเทียบกับคนอื่นว่า เขาเป็นกษัตริย์ แต่เราจักไม่
เป็นกษัตริย์เหมือนเขา เขาเป็นพราหมณ์ แต่เราจักไม่เป็นพราหมณ์เหมือนเขา ฯลฯ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๖๒๔ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๗.ขุททกวัตถุวิภังค์] ตัณหาวิจริตนิทเทส
หรือว่าเขาเป็นพรหมมีสัญญาก็มิใช่ไม่มีสัญญาก็มิใช่ แต่เราจักไม่เป็นพรหมมี
สัญญาก็มิใช่ไม่มีสัญญาก็มิใช่เหมือนเขา อย่างนี้ตัณหาว่า เราจักเป็นโดยประการอื่น
ก็มี (๘)
ตัณหาว่า เราเป็นผู้เที่ยง เป็นอย่างไร
บุคคลไม่แยกสภาวธรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง คือรูป ฯลฯ เวทนา ฯลฯ สัญญา
ฯลฯ สังขาร ฯลฯ วิญญาณออกจากกันแล้ว มีตัณหาว่า เราเที่ยง เรายั่งยืน
เราคงทน เราไม่มีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา อย่างนี้ตัณหาว่า เราเป็นผู้เที่ยง
ก็มี (๙)
ตัณหาว่า เราเป็นผู้ไม่เที่ยง เป็นอย่างไร
บุคคลไม่จำแนกสภาวธรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง คือรูป ฯลฯ เวทนา ฯลฯ
สัญญา ฯลฯ สังขาร ฯลฯ วิญญาณออกจากกันแล้ว มีตัณหาว่า เราจักขาดสูญ
จักพินาศ จักไม่มี อย่างนี้ตัณหาว่า เราเป็นผู้ไม่เที่ยงก็มี (๑๐)
ตัณหาว่า เราพึงเป็น เป็นอย่างไร
บุคคลไม่แยกสภาวธรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง คือรูป ฯลฯ เวทนา ฯลฯ สัญญา
ฯลฯ สังขาร ฯลฯ วิญญาณออกจากกันแล้ว ได้ฉันทะว่าเราพึงเป็น ได้มานะ
ว่าเราพึงเป็น ได้ทิฏฐิว่าเราพึงเป็น เมื่อสภาวธรรมทั้ง ๓ นั้นมีอยู่ สภาวธรรม
เครื่องเนิ่นช้าเหล่านี้ก็มีว่า เราพึงเป็นอย่างนี้ เราพึงเป็นอย่างนั้น หรือว่าเราพึง
เป็นโดยประการอื่นก็มี (๑๑)
ตัณหาว่า เราพึงเป็นอย่างนี้ เป็นอย่างไร
ตัณหาว่า เราพึงเป็นกษัตริย์หรือเป็นพราหมณ์ พึงเป็นแพศย์หรือเป็นศูทร
พึงเป็นคฤหัสถ์หรือเป็นบรรพชิต พึงเป็นเทวดาหรือเป็นมนุษย์ พึงเป็นพรหมมีรูป
หรือเป็นพรหมไม่มีรูป พึงเป็นพรหมมีสัญญาหรือเป็นพรหมไม่มีสัญญา หรือพึงเป็น
ผู้มีสัญญาก็มิใช่ไม่มีสัญญาก็มิใช่ อย่างนี้ตัณหาว่า เราพึงเป็นอย่างนี้ก็มี (๑๒)
ตัณหาว่า เราพึงเป็นอย่างนั้น เป็นอย่างไร
ตัณหาที่เกิดขึ้นเพราะเปรียบเทียบกับคนอื่นว่า เขาเป็นกษัตริย์ เราก็พึงเป็น
กษัตริย์เหมือนกัน เขาเป็นพราหมณ์เราก็พึงเป็นพราหมณ์เหมือนกัน ฯลฯ หรือว่า


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๖๒๕ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๗.ขุททกวัตถุวิภังค์] ตัณหาวิจริตนิทเทส
เขาเป็นพรหมมีสัญญาก็มิใช่ไม่มีสัญญาก็มิใช่ เราก็พึงเป็นพรหมมีสัญญาก็มิใช่ไม่มี
สัญญาก็มิใช่เหมือนกัน อย่างนี้ตัณหาว่า เราพึงเป็นอย่างนั้นก็มี (๑๓)
ตัณหาว่า เราพึงเป็นโดยประการอื่น เป็นอย่างไร
ตัณหาที่เกิดขึ้นเพราะเปรียบเทียบกับคนอื่นว่า เขาเป็นกษัตริย์ แต่เราไม่พึง
เป็นกษัตริย์เหมือนเขา เขาเป็นพราหมณ์แต่เราไม่พึงเป็นพราหมณ์เหมือนเขา ฯลฯ
หรือว่าเขาเป็นพรหมมีสัญญาก็มิใช่ไม่มีสัญญาก็มิใช่ แต่เราไม่พึงเป็นพรหมมี
สัญญาก็มิใช่ไม่มีสัญญาก็มิใช่เหมือนเขา อย่างนี้ตัณหาว่า เราพึงเป็นโดยประการ
อื่นก็มี (๑๔)
ตัณหาว่า เราพึงเป็นบ้าง เป็นอย่างไร
บุคคลไม่แยกสภาวธรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง คือรูป ฯลฯ เวทนา ฯลฯ สัญญา
ฯลฯ สังขาร ฯลฯ วิญญาณออกจากกันแล้ว ได้ฉันทะว่าเราพึงเป็นบ้าง ได้
มานะว่าเราก็พึงเป็นบ้าง ได้ทิฏฐิว่าเราก็พึงเป็นบ้าง เมื่อสภาวธรรมทั้ง ๓ นั้นมีอยู่
สภาวธรรมเครื่องเนิ่นช้าเหล่านี้ก็มีว่า เราพึงเป็นอย่างนี้บ้าง เราพึงเป็นอย่างนั้นบ้าง
หรือว่าเราพึงเป็นโดยประการอื่นบ้างก็มี (๑๕)
ตัณหาว่า เราพึงเป็นอย่างนี้บ้าง เป็นอย่างไร
ตัณหาว่า เราพึงเป็นกษัตริย์ หรือเป็นพราหมณ์บ้าง พึงเป็นแพศย์หรือเป็น
ศูทรบ้าง พึงเป็นคฤหัสถ์หรือเป็นบรรพชิตบ้าง พึงเป็นเทวดาหรือเป็นมนุษย์บ้าง
พึงเป็นพรหมมีรูป หรือเป็นพรหมไม่มีรูปบ้าง หรือพึงเป็นพรหมมีสัญญา จะพึง
เป็นพรหมไม่มีสัญญาบ้าง หรือเป็นพรหมมีสัญญาก็มิใช่ไม่มีสัญญาก็มิใช่บ้าง
อย่างนี้ตัณหาว่า เราพึงเป็นอย่างนี้บ้างก็มี (๑๖)
ตัณหาว่า เราพึงเป็นอย่างนั้นบ้าง เป็นอย่างไร
ตัณหาที่เกิดขึ้นเพราะเปรียบเทียบกับคนอื่นว่า เขาเป็นกษัตริย์ เราก็พึงเป็น
กษัตริย์เหมือนเขาบ้าง เขาเป็นพราหมณ์ เราก็พึงเป็นพราหมณ์เหมือนเขาบ้าง ฯลฯ
หรือว่าเขาเป็นพรหมมีสัญญาก็มิใช่ไม่มีสัญญาก็มิใช่ เราก็พึงเป็นพรหมมีสัญญาก็มิใช่
ไม่มีสัญญาก็มิใช่เหมือนเขาบ้าง อย่างนี้ตัณหาว่า เราพึงเป็นอย่างนั้นบ้างก็มี (๑๗)


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๖๒๖ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๗.ขุททกวัตถุวิภังค์] ตัณหาวิจริตนิทเทส
ตัณหาว่า เราพึงเป็นโดยประการอื่นบ้าง เป็นอย่างไร
ตัณหาที่เกิดขึ้นเพราะเปรียบเทียบกับคนอื่นว่า เขาเป็นกษัตริย์ แต่เราไม่พึง
เป็นกษัตริย์เหมือนเขาบ้าง เขาเป็นพราหมณ์ แต่เราไม่พึงเป็นพราหมณ์เหมือนเขา
บ้าง ฯลฯ หรือว่าเขาเป็นพรหมมีสัญญาก็มิใช่ไม่มีสัญญาก็มิใช่ แต่เราไม่พึงเป็น
พรหมมีสัญญาก็มิใช่ไม่มีสัญญาก็มิใช่เหมือนเขาบ้าง อย่างนี้ตัณหาว่า เราพึงเป็น
โดยประการอื่นบ้างก็มี (๑๘)
เหล่านี้เรียกว่า ตัณหาวิจริต ๑๘ อาศัยเบญจขันธ์ภายใน
[๙๗๕] ตัณหาวิจริต ๑๘ อาศัยเบญจขันธ์ภายนอก เป็นไฉน
ตัณหาวิจริต ๑๘ อาศัยเบญจขันธ์ภายนอก คือ
๑. ตัณหาว่า เราเป็นด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือวิญญาณนี้
๒. ตัณหาว่า เราเป็นอย่างนี้ด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือวิญญาณนี้
๓. ตัณหาว่า เราเป็นอย่างนั้นด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือวิญญาณนี้
๔. ตัณหาว่า เราเป็นโดยประการอื่นด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือวิญญาณนี้
๕. ตัณหาว่า เราจักเป็นด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือวิญญาณนี้
๖. ตัณหาว่า เราจักเป็นอย่างนี้ด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือวิญญาณนี้
๗. ตัณหาว่า เราจักเป็นอย่างนั้นด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือวิญญาณนี้
๘. ตัณหาว่า เราจักเป็นโดยประการอื่นด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือวิญญาณนี้
๙. ตัณหาว่า เราเป็นผู้เที่ยงด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือวิญญาณนี้
๑๐. ตัณหาว่า เราเป็นผู้ไม่เที่ยงด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือวิญญาณนี้
๑๑. ตัณหาว่า เราพึงเป็นด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือวิญญาณนี้
๑๒. ตัณหาว่า เราพึงเป็นอย่างนี้ด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือวิญญาณนี้
๑๓. ตัณหาว่า เราพึงเป็นอย่างนั้นด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือวิญญาณนี้
๑๔. ตัณหาว่า เราพึงเป็นโดยประการอื่นด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือวิญญาณนี้
๑๕. ตัณหาว่า เราพึงเป็นด้วยรูปนี้บ้าง ฯลฯ หรือวิญญาณนี้บ้าง
๑๖. ตัณหาว่า เราพึงเป็นอย่างนี้ด้วยรูปนี้บ้าง ฯลฯ หรือวิญญาณนี้บ้าง
๑๗. ตัณหาว่า เราพึงเป็นอย่างนั้นด้วยรูปนี้บ้าง ฯลฯ หรือวิญญาณนี้บ้าง
๑๘. ตัณหาว่า เราพึงเป็นโดยประการอื่นด้วยรูปนี้บ้าง ฯลฯ หรือวิญญาณนี้บ้าง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๖๒๗ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๗.ขุททกวัตถุวิภังค์] ตัณหาวิจริตนิทเทส
[๙๗๖] ตัณหาว่า เราเป็นด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ เป็นอย่างไร
บุคคลแยกสภาวธรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง คือรูป ฯลฯ เวทนา ฯลฯ สัญญา
ฯลฯ สังขาร ฯลฯ วิญญาณออกจากกันแล้ว ได้ฉันทะว่าเราเป็นด้วยรูปนี้ ฯลฯ
หรือวิญญาณนี้ ได้มานะว่าเราเป็นด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ ได้ทิฏฐิว่าเรา
เป็นด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ เมื่อสภาวธรรมทั้ง ๓ นั้นมีอยู่ สภาวธรรม
เครื่องเนิ่นช้าเหล่านี้ว่า เราเป็นอย่างนี้ด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ เราเป็น
อย่างนั้นด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ หรือว่าเราเป็นโดยประการอื่นด้วยรูปนี้
ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ก็มี (๑)
ตัณหาว่า เราเป็นอย่างนี้ด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ เป็นอย่างไร
ตัณหาว่า เราเป็นกษัตริย์ด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ เป็นพราหมณ์
ด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ เป็นแพศย์ด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ เป็น
ศูทรด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ เป็นคฤหัสถ์ด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือวิญญาณนี้
เป็นบรรพชิตด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ เป็นเทวดาด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือ
วิญญาณนี้ เป็นมนุษย์ด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ เป็นพรหมมีรูปด้วยรูปนี้ ฯลฯ
หรือวิญญาณนี้ เป็นพรหมไม่มีรูปด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ เป็นพรหมมี
สัญญาด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ เป็นพรหมไม่มีสัญญาด้วยรูปนี้ ฯลฯ
หรือวิญญาณนี้ หรือเป็นพรหมมีสัญญาก็มิใช่ ไม่มีสัญญาก็มิใช่ด้วยรูปนี้ ฯลฯ
หรือวิญญาณนี้ อย่างนี้ตัณหาว่า เราเป็นอย่างนี้ด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือวิญญาณนี้
ก็มี (๒)
ตัณหาว่า เราเป็นอย่างนั้นด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ เป็นอย่างไร
ตัณหาที่เกิดขึ้นเพราะเปรียบเทียบกับคนอื่นว่า เขาเป็นกษัตริย์ เราก็เป็น
กษัตริย์ด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือวิญญาณนี้เหมือนกัน เขาเป็นพราหมณ์เราก็เป็น
พราหมณ์ด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือวิญญาณนี้เหมือนกัน ฯลฯ หรือว่าเขาเป็นพรหม
มีสัญญาก็มิใช่ไม่มีสัญญาก็มิใช่ เราก็เป็นพรหมมีสัญญาก็มิใช่ไม่มีสัญญาก็มิใช่ด้วย


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๖๒๘ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๗.ขุททกวัตถุวิภังค์] ตัณหาวิจริตนิทเทส
รูปนี้ ฯลฯ หรือวิญญาณนี้เหมือนกัน อย่างนี้ตัณหาว่า เราเป็นอย่างนั้นด้วยรูปนี้
ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ก็มี (๓)
ตัณหาว่า เราเป็นโดยประการอื่นด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ เป็นอย่างไร
ตัณหาที่เกิดขึ้นเพราะเปรียบเทียบกับคนอื่นว่า เขาเป็นกษัตริย์ แต่เราไม่ได้
เป็นกษัตริย์ด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือวิญญาณนี้เหมือนเขา เขาเป็นพราหมณ์แต่เราไม่
ได้เป็นพราหมณ์ด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือวิญญาณนี้เหมือนเขา ฯลฯ หรือว่าเขาเป็น
พรหมมีสัญญาก็มิใช่ไม่มีสัญญาก็มิใช่ แต่เราไม่ได้เป็นพรหมมีสัญญาก็มิใช่ไม่มี
สัญญาก็มิใช่ด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือวิญญาณนี้เหมือนเขา อย่างนี้ตัณหาว่า เราเป็น
โดยประการอื่นด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ก็มี (๔)
ตัณหาว่า เราจักเป็นด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ เป็นอย่างไร
บุคคลแยกสภาวธรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง คือรูป ฯลฯ เวทนา ฯลฯ สัญญา
ฯลฯ สังขาร ฯลฯ วิญญาณออกจากกันแล้ว ได้ฉันทะว่าเราจักเป็นด้วยรูปนี้ ฯลฯ
หรือวิญญาณนี้ ได้มานะว่าเราจักเป็นด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ ได้ทิฏฐิว่าเรา
จักเป็นด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ เมื่อสภาวธรรมทั้ง ๓ นั้นมีอยู่ สภาวธรรม
เครื่องเนิ่นช้าเหล่านี้ว่า เราจักเป็นอย่างนี้ด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ เราจักเป็น
อย่างนั้นด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ หรือว่าเราจักเป็นโดยประการอื่นด้วยรูปนี้
ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ก็มี (๕)
ตัณหาว่า เราจักเป็นอย่างนี้ด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ เป็นอย่างไร
ตัณหาว่า เราจักเป็นกษัตริย์ด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ จักเป็นพราหมณ์
ด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ จักเป็นแพศย์ด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือวิญญาณนี้
จักเป็นศูทรด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ จักเป็นคฤหัสถ์ด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือ
วิญญาณนี้ จักเป็นบรรพชิตด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ จักเป็นเทวดาด้วยรูปนี้
ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ จักเป็นมนุษย์ด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ จักเป็น
พรหมมีรูปด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ จักเป็นพรหมไม่มีรูปด้วยรูปนี้ ฯลฯ
หรือวิญญาณนี้ จักเป็นพรหมมีสัญญาด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ จักเป็น


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๖๒๙ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๗.ขุททกวัตถุวิภังค์] ตัณหาวิจริตนิทเทส
พรหมไม่มีสัญญาด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ หรือว่าจักเป็นพรหมมีสัญญาก็
มิใช่ไม่มีสัญญาก็มิใช่ด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ อย่างนี้ตัณหาว่า เราจักเป็น
อย่างนี้ด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ก็มี (๖)
ตัณหาว่า เราจักเป็นอย่างนั้นด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ เป็นอย่างไร
ตัณหาที่เกิดขึ้นเพราะเปรียบเทียบกับคนอื่นว่า เขาเป็นกษัตริย์ เราก็จักเป็น
กษัตริย์ด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือวิญญาณนี้เหมือนกัน เขาเป็นพราหมณ์ เราก็จักเป็น
พราหมณ์ด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือวิญญาณนี้เหมือนกัน ฯลฯ หรือว่า เขาเป็นพรหม
มีสัญญาก็มิใช่ไม่มีสัญญาก็มิใช่ เราก็จักเป็นพรหมมีสัญญาก็มิใช่ไม่มีสัญญาก็มิใช่
ด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือวิญญาณนี้เหมือนกัน อย่างนี้ตัณหาว่า เราจักเป็นอย่างนั้น
ด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ก็มี (๗)
ตัณหาว่า เราจักเป็นโดยประการอื่นด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ เป็น
อย่างไร
ตัณหาเกิดขึ้นเพราะเปรียบเทียบกับคนอื่นว่า เขาเป็นกษัตริย์ แต่เราจักไม่เป็น
กษัตริย์ด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือวิญญาณนี้เหมือนเขา เขาเป็นพราหมณ์ แต่เราจักไม่
เป็นพราหมณ์ด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือวิญญาณนี้เหมือนเขา ฯลฯ หรือว่าเขาเป็น
พรหมมีสัญญาก็มิใช่ไม่มีสัญญาก็มิใช่ แต่เราจักไม่เป็นพรหมมีสัญญาก็มิใช่ไม่มี
สัญญาก็มิใช่ด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือวิญญาณนี้เหมือนเขา อย่างนี้ตัณหาว่า เราจัก
เป็นโดยประการอื่นด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ก็มี (๘)
ตัณหาว่า เราเป็นผู้เที่ยงด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ เป็นอย่างไร
บุคคลแยกสภาวธรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง คือรูป ฯลฯ เวทนา ฯลฯ สัญญา
ฯลฯ สังขาร ฯลฯ วิญญาณออกจากกันแล้ว มีตัณหาว่า เราเป็นผู้เที่ยง เรา
เป็นผู้ยั่งยืน เราคงทนอยู่ไม่มีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดาด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือ
วิญญาณนี้ อย่างนี้ตัณหาว่า เราเป็นผู้เที่ยงด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ก็มี (๙)
ตัณหาว่า เราเป็นผู้ไม่เที่ยงด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ เป็นอย่างไร


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๖๓๐ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๗.ขุททกวัตถุวิภังค์] ตัณหาวิจริตนิทเทส
บุคคลแยกสภาวธรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง คือรูป ฯลฯ เวทนา ฯลฯ สัญญา
ฯลฯ สังขาร ฯลฯ วิญญาณออกจากกันแล้ว มีตัณหาว่า เราจักขาดสูญ จักพินาศ
จักไม่มีด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ อย่างนี้ตัณหาว่า เราเป็นผู้ไม่เที่ยงด้วยรูปนี้
ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ก็มี (๑๐)
ตัณหาว่า เราพึงเป็นด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ เป็นอย่างไร
บุคคลแยกสภาวธรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง คือรูป ฯลฯ เวทนา ฯลฯ สัญญา
ฯลฯ สังขาร ฯลฯ วิญญาณออกจากกันแล้ว ได้ฉันทะว่าเราพึงเป็นด้วยรูปนี้ ฯลฯ
หรือวิญญาณนี้ ได้มานะว่าเราพึงเป็นด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ ได้ทิฏฐิว่า
เราพึงเป็นด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ก็มี (๑๑)
ตัณหาว่า เราพึงเป็นอย่างนี้ด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ เป็นอย่างไร
ตัณหาว่า เราพึงเป็นกษัตริย์ด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ พึงเป็นพราหมณ์
ด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ พึงเป็นแพศย์ด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือวิญญาณนี้
พึงเป็นศูทรด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ พึงเป็นคฤหัสถ์ด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือ
วิญญาณนี้ พึงเป็นบรรพชิตด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ พึงเป็นเทวดาด้วย
รูปนี้ ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ พึงเป็นมนุษย์ด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ พึงเป็น
พรหมมีรูปด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ พึงเป็นพรหมไม่มีรูปด้วยรูปนี้ ฯลฯ
หรือวิญญาณนี้ พึงเป็นพรหมมีสัญญาด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ หรือว่าพึง
เป็นพรหมมีสัญญาก็มิใช่ ไม่มีสัญญาก็มิใช่ด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ อย่าง
นี้ตัณหาว่า เราพึงเป็นอย่างนี้ด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ก็มี (๑๒)
ตัณหาว่า เราพึงเป็นอย่างนั้นด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ เป็นอย่างไร
ตัณหาที่เกิดขึ้นเพราะเปรียบเทียบกับบุคคลอื่นว่า เขาเป็นกษัตริย์ เราก็พึง
เป็นกษัตริย์ด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือวิญญาณนี้เหมือนกัน เขาเป็นพราหมณ์ เราก็พึง
เป็นพราหมณ์ด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือวิญญาณนี้เหมือนกัน ฯลฯ หรือว่าเขาเป็นพรหม
มีสัญญาก็มิใช่ไม่มีสัญญาก็มิใช่ เราก็พึงเป็นพรหมมีสัญญาก็มิใช่ไม่มีสัญญาก็มิใช่


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๖๓๑ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๗.ขุททกวัตถุวิภังค์] ตัณหาวิจริตนิทเทส
ด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือวิญญาณนี้เหมือนกัน อย่างนี้ตัณหาว่า เราพึงเป็นอย่างนั้น
ด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ก็มี (๑๓)
ตัณหาว่า เราพึงเป็นโดยประการอื่นด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ เป็น
อย่างไร
ตัณหาที่เกิดขึ้นเพราะเปรียบเทียบกับคนอื่นว่า เขาเป็นกษัตริย์ แต่เราไม่พึง
เป็นกษัตริย์ด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือวิญญาณนี้เหมือนเขา เขาเป็นพราหมณ์ แต่เรา
ไม่พึงเป็นพราหมณ์ด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือวิญญาณนี้เหมือนเขา ฯลฯ หรือว่า เขาเป็น
พรหมมีสัญญาก็มิใช่ไม่มีสัญญาก็มิใช่ แต่เราไม่พึงเป็นพรหมมีสัญญาก็มิใช่ไม่มี
สัญญาก็มิใช่ด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือวิญญาณนี้เหมือนเขา อย่างนี้ตัณหาว่า เราพึง
เป็นโดยประการอื่นด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ก็มี (๑๔)
ตัณหาว่า เราพึงเป็นด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือวิญญาณนี้บ้าง เป็นอย่างไร
บุคคลแยกสภาวธรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง คือ รูป ฯลฯ เวทนา ฯลฯ สัญญา
ฯลฯ สังขาร ฯลฯ วิญญาณออกจากกันแล้ว ได้ฉันทะว่าเราพึงเป็นด้วยรูปนี้ ฯลฯ
หรือวิญญาณนี้บ้าง ได้มานะว่าเราพึงเป็นด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือวิญญาณนี้บ้าง
ได้ทิฏฐิว่าเราพึงเป็นด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือวิญญาณนี้บ้าง เมื่อสภาวธรรมทั้ง ๓ นั้น
มีอยู่ สภาวธรรมเครื่องเนิ่นช้าเหล่านี้ว่า เราพึงเป็นอย่างนี้ด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือ
วิญญาณนี้บ้าง ว่า เราพึงเป็นอย่างนั้นด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือวิญญาณนี้บ้าง หรือว่า
เราพึงเป็นโดยประการอื่นด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือวิญญาณนี้บ้างก็มี (๑๕)
ตัณหาว่า เราพึงเป็นอย่างนี้ด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือวิญญาณนี้บ้าง เป็นอย่างไร
ตัณหาว่า เราพึงเป็นกษัตริย์ด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือวิญญาณนี้บ้าง พึงเป็น
พราหมณ์ด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือวิญญาณนี้บ้าง พึงเป็นแพศย์ด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือ
วิญญาณนี้บ้าง พึงเป็นศูทรด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือวิญญาณนี้บ้าง พึงเป็นคฤหัสถ์
ด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือวิญญาณนี้บ้าง พึงเป็นบรรพชิตด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือ
วิญญาณนี้บ้าง พึงเป็นเทวดาด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือวิญญาณนี้บ้าง พึงเป็นมนุษย์
ด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือวิญญาณนี้บ้าง พึงเป็นพรหมมีรูปด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือ
วิญญาณนี้บ้าง พึงเป็นพรหมมีรูปด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือวิญญาณนี้บ้าง พึงเป็น


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๖๓๒ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๗.ขุททกวัตถุวิภังค์] ตัณหาวิจริตนิทเทส
พรหมไม่มีสัญญาด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือวิญญาณนี้บ้าง พึงเป็นพรหมไม่มีสัญญา
ด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือวิญญาณนี้บ้าง พึงเป็นพรหมมีสัญญาก็มิใช่ไม่มีสัญญาก็มิใช่
ด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือวิญญาณนี้บ้าง อย่างนี้ชื่อว่าตัณหาว่า พึงเป็นอย่างนี้ด้วย
รูปนี้ ฯลฯ หรือวิญญาณนี้บ้างก็มี (๑๖)
ตัณหาว่า เราพึงเป็นอย่างนั้นด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือวิญญาณนี้บ้าง เป็น
อย่างไร
ตัณหาที่เกิดขึ้นเพราะเปรียบเทียบกับคนอื่นว่า เขาเป็นกษัตริย์ เราก็พึงเป็น
กษัตริย์ด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือวิญญาณนี้เหมือนกันบ้าง เขาเป็นพราหมณ์ เราก็
พึงเป็นพราหมณ์ด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือวิญญาณนี้เหมือนกันบ้าง ฯลฯ หรือว่าเขา
เป็นพรหมมีสัญญาก็มิใช่ไม่มีสัญญาก็มิใช่ เราก็พึงเป็นพรหมมีสัญญาก็มิใช่ไม่มี
สัญญาก็มิใช่ด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือวิญญาณนี้เหมือนกันบ้าง อย่างนี้ตัณหาว่า
เราพึงเป็นอย่างนั้นด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือวิญญาณนี้บ้างก็มี (๑๗)
ตัณหาว่า เราพึงเป็นโดยประการอื่นด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือวิญญาณนี้บ้าง
เป็นอย่างไร
ตัณหาที่เกิดขึ้นเพราะเปรียบเทียบกับคนอื่นว่า เขาเป็นกษัตริย์ แต่เราไม่พึง
เป็นกษัตริย์ด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือวิญญาณนี้เหมือนเขาบ้าง เขาเป็นพราหมณ์ แต่
เราไม่พึงเป็นพราหมณ์ด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือวิญญาณนี้เหมือนเขาบ้าง ฯลฯ หรือว่า
เขาเป็นพรหมมีสัญญาก็มิใช่ไม่มีสัญญาก็มิใช่ แต่เราไม่พึงเป็นพรหมมีสัญญาก็มิใช่
ไม่มีสัญญาก็มิใช่ด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือวิญญาณนี้เหมือนเขาบ้าง อย่างนี้ตัณหาว่า
เราพึงเป็นโดยประการอื่นด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือวิญญาณนี้บ้างก็มี (๑๘)
เหล่านี้ชื่อว่าตัณหาวิจริต ๑๘ อาศัยเบญจขันธ์ภายนอก
ตัณหาวิจริต ๑๘ เหล่านี้อาศัยเบญจขันธ์ภายใน ตัณหาวิจริต ๑๘ เหล่านี้
อาศัยเบญจขันธ์ภายนอก ด้วยประการฉะนี้
ประมวลย่อเข้าเป็นอันเดียวกัน เป็นตัณหาวิจริต ๓๖
ตัณหาวิจริตตามที่กล่าวมานี้เป็นอดีต ๓๖ เป็นอนาคต ๓๖ เป็นปัจจุบัน ๓๖
ประมวลย่อเข้าเป็นอันเดียวกัน เป็นตัณหาวิจริต ๑๐๘

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๖๓๓ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๗.ขุททกวัตถุวิภังค์] ตัณหาวิจริตนิทเทส
[๙๗๗] บรรดามาติกานั้น ทิฏฐิ ๖๒ ที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ในพรหม-
ชาลสูตร เป็นไฉน
ทิฏฐิ ๖๒ คือ

๑. สัสสตวาทะ (วาทะว่าอัตตาและโลกเที่ยง) ๔
๒. เอกัจจสัสสติกวาทะ (วาทะว่าอัตตาและโลกเที่ยงบางอย่าง) ๔
๓. อันตานันติกวาทะ (วาทะว่าอัตตาและโลกไม่มีที่สุด) ๔
๔. อมราวิกเขปิกวาทะ (วาทะที่ลี้หลบเลี่ยงไม่แน่นอน) ๔
๕. อธิจจสมุปปันนิกวาทะ (วาทะว่าอัตตาและโลกเกิดขึ้นเองไม่มีเหตุปัจจัย) ๒
๖. สัญญีวาทะ (วาทะว่าอัตตาหลังจากตายแล้วมีสัญญา) ๑๖
๗. อสัญญีวาทะ (วาทะว่าอัตตาหลังจากตายแล้วไม่มีสัญญา) ๘
๘. เนวสัญญีนาสัญญีวาทะ (วาทะว่าอัตตาหลังจากตายแล้วมีสัญญาก็มิใช่ไม่
มีสัญญาก็มิใช่) ๘
๙. อุจเฉทวาทะ (วาทะว่าอัตตาหลังจากตายแล้วขาดสูญ) ๗
๑๐. ทิฏฐธัมมนิพพานวาทะ (วาทะว่ามีสภาพบางอย่างเป็นนิพพานปัจจุบัน) ๕

ทิฏฐิ ๖๒ เหล่านี้ พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ในพรหมชาลสูตร

ขุททกวัตถุวิภังค์ จบบริบูรณ์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๖๓๔ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๘. ธัมมหทยวิภังค์] ๑. สัพพสังคาหิกวาร
๑๘. ธัมมหทยวิภังค์
๑. สัพพสังคาหิกวาร
(วาระว่าด้วยการรวบรวมสภาวธรรมทั้งหมด)
[๙๗๘] ขันธ์มีเท่าไร อายตนะมีเท่าไร ธาตุมีเท่าไร สัจจะมีเท่าไร อินทรีย์
มีเท่าไร เหตุมีเท่าไร อาหารมีเท่าไร ผัสสะมีเท่าไร เวทนามีเท่าไร สัญญามีเท่าไร
เจตนามีเท่าไร จิตมีเท่าไร
ขันธ์มี ๕ อายตนะมี ๑๒ ธาตุมี ๑๘ สัจจะมี ๔ อินทรีย์มี ๒๒ เหตุมี ๙
อาหารมี ๔ ผัสสะมี ๗ เวทนามี ๗ สัญญามี ๗ เจตนามี ๗ จิตมี ๗
[๙๗๙] บรรดาสภาวธรรมเหล่านั้น ขันธ์ ๕ เป็นไฉน
ขันธ์มี ๕ คือ

๑. รูปขันธ์ ๒. เวทนาขันธ์
๓. สัญญาขันธ์ ๔. สังขารขันธ์
๕. วิญญาณขันธ์

เหล่านี้เรียกว่า ขันธ์ ๕ (๑)
[๙๘๐] อายตนะ ๑๒ เป็นไฉน
อายตนะ ๑๒ คือ

๑. จักขายตนะ ๒. รูปายตนะ
๓. โสตายตนะ ๔. สัททายตนะ
๕. ฆานายตนะ ๖. คันธายตนะ
๗. ชิวหายตนะ ๘. รสายตนะ
๙. กายายตนะ ๑๐. โผฏฐัพพายตนะ
๑๑. มนายตนะ ๑๒. ธัมมายตนะ

เหล่านี้เรียกว่า อายตนะ ๑๒ (๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๖๓๕ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๘.ธัมมหทยวิภังค์] ๑.สัพพสังคาหิกวาร
[๙๘๑] ธาตุ ๑๘ เป็นไฉน
ธาตุ ๑๘ คือ

๑. จักขุธาตุ ๒. รูปธาตุ ๓. จักขุวิญญาณธาตุ
๔. โสตธาตุ ๕. สัททธาตุ ๖. โสตวิญญาณธาตุ
๗. ฆานธาตุ ๘. คันธธาตุ ๙. ฆานวิญญาณธาตุ
๑๐. ชิวหาธาตุ ๑๑. รสธาตุ ๑๒. ชิวหาวิญญาณธาตุ
๑๓. กายธาตุ ๑๔. โผฏฐัพพธาตุ ๑๕. กายวิญญาณธาตุ
๑๖. มโนธาตุ ๑๗. ธัมมธาตุ ๑๘. มโนวิญญาณธาตุ

เหล่านี้เรียกว่า ธาตุ ๑๘ (๓)
[๙๘๒] สัจจะ ๔ เป็นไฉน
สัจจะ ๔ คือ
๑. ทุกขสัจ ๒. สมุทยสัจ
๓. มัคคสัจ ๔. นิโรธสัจ
เหล่านี้เรียกว่า สัจจะ ๔ (๔)
[๙๘๓] อินทรีย์ ๒๒ เป็นไฉน
อินทรีย์ ๒๒ คือ

๑. จักขุนทรีย์ ๒. โสตินทรีย์
๓. ฆานินทรีย์ ๔. ชิวหินทรีย์
๕. กายินทรีย์ ๖. มนินทรีย์
๗. อิตถินทรีย์ ๘. ปุริสินทรีย์
๙. ชีวิตินทรีย์ ๑๐. สุขินทรีย์
๑๑. ทุกขินทรีย์ ๑๒. โสมนัสสินทรีย์
๑๓. โทมนัสสินทรีย์ ๑๔. อุเปกขินทรีย์
๑๕. สัทธินทรีย์ ๑๖. วิริยินทรีย์
๑๗. สตินทรีย์ ๑๘. สมาธินทรีย์
๑๙. ปัญญินทรีย์ ๒๐. อนัญญาตัญญัสสามีตินทรีย์
๒๑. อัญญินทรีย์ ๒๒. อัญญาตาวินทรีย์

เหล่านี้เรียกว่า อินทรีย์ ๒๒ (๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๖๓๖ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๘.ธัมมหทยวิภังค์] ๑.สัพพสังคาหิกวาร
[๙๘๔] เหตุ ๙ เป็นไฉน
เหตุ ๙ คือ
กุศลเหตุ ๓ อกุศลเหตุ ๓ และอัพยากตเหตุ ๓
บรรดาเหตุ ๙ เหล่านั้น กุศลเหตุ ๓ เป็นไฉน
กุศลเหตุ ๓ คือ กุศลเหตุคืออโลภะ กุศลเหตุคืออโทสะ และกุศลเหตุคือ
อโมหะ เหล่านี้ชื่อว่ากุศลเหตุ ๓
อกุศลเหตุ ๓ เป็นไฉน
อกุศลเหตุ ๓ คือ อกุศลเหตุคือโลภะ อกุศลเหตุคือโทสะ และอกุศลเหตุ
คือโมหะ เหล่านี้ชื่อว่าอกุศลเหตุ ๓
อัพยากตเหตุ ๓ เป็นไฉน
อัพยากตเหตุ ๓ คือ อโลภะ อโทสะ และอโมหะ ฝ่ายวิบากแห่งสภาวธรรม
ที่เป็นกุศล หรือในสภาวธรรมที่เป็นอัพยากตกิริยา เหล่านี้ชื่อว่าอัพยากตเหตุ ๓
เหล่านี้เรียกว่า เหตุ ๙ (๖)
[๙๘๕] อาหาร ๔ เป็นไฉน
อาหาร ๔ คือ

๑. กวฬิงการาหาร (อาหารคือคำข้าว)
๒. ผัสสาหาร (อาหารคือผัสสะ)
๓. มโนสัญเจตนาหาร (อาหารคือมโนสัญเจตนา)
๔. วิญญาณาหาร (อาหารคือวิญญาณ)

เหล่านี้เรียกว่า อาหาร ๔ (๗)
[๙๘๖] ผัสสะ ๗ เป็นไฉน
ผัสสะ ๗ คือ

๑. จักขุสัมผัส ๒. โสตสัมผัส
๓. ฆานสัมผัส ๔. ชิวหาสัมผัส
๕. กายสัมผัส ๖. มโนธาตุสัมผัส
๗. มโนวิญญาณธาตุสัมผัส

เหล่านี้เรียกว่า ผัสสะ ๗ (๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๖๓๗ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๘.ธัมมหทยวิภังค์] ๑.สัพพสังคาหิกวาร
[๙๘๗] เวทนา ๗ เป็นไฉน
เวทนา ๗ คือ
๑. เวทนาที่เกิดแต่จักขุสัมผัส ๒. เวทนาที่เกิดแต่โสตสัมผัส
๓. เวทนาที่เกิดแต่ฆานสัมผัส ๔. เวทนาที่เกิดแต่ชิวหาสัมผัส
๕. เวทนาที่เกิดแต่กายสัมผัส ๖. เวทนาที่เกิดแต่มโนธาตุสัมผัส
๗. เวทนาที่เกิดแต่มโนวิญญาณธาตุสัมผัส
เหล่านี้เรียกว่า เวทนา ๗ (๙)
[๙๘๘] สัญญา ๗ เป็นไฉน
สัญญา ๗ คือ
๑. สัญญาที่เกิดแต่จักขุสัมผัส ๒. สัญญาที่เกิดแต่โสตสัมผัส
๓. สัญญาที่เกิดแต่ฆานสัมผัส ๔. สัญญาที่เกิดแต่ชิวหาสัมผัส
๕. สัญญาที่เกิดแต่กายสัมผัส ๖. สัญญาที่เกิดแต่มโนธาตุสัมผัส
๗. สัญญาที่เกิดแต่มโนวิญญาณธาตุสัมผัส
เหล่านี้เรียกว่า สัญญา ๗ (๑๐)
[๙๘๙] เจตนา ๗ เป็นไฉน
เจตนา ๗ คือ
๑. เจตนาที่เกิดแต่จักขุสัมผัส ๒. เจตนาที่เกิดแต่โสตสัมผัส
๓. เจตนาที่เกิดแต่ฆานสัมผัส ๔. เจตนาที่เกิดแต่ชิวหาสัมผัส
๕. เจตนาที่เกิดแต่กายสัมผัส ๖. เจตนาที่เกิดแต่มโนธาตุสัมผัส
๗. เจตนาที่เกิดแต่มโนวิญญาณธาตุสัมผัส
เหล่านี้เรียกว่า เจตนา ๗ (๑๑)
[๙๙๐] จิต ๗ เป็นไฉน
จิต ๗ คือ
๑. จักขุวิญญาณ ๒. โสตวิญญาณ
๓. ฆานวิญญาณ ๔. ชิวหาวิญญาณ
๕. กายวิญญาณ ๖. มโนธาตุ
๗. มโนวิญญาณธาตุ
เหล่านี้เรียกว่า จิต ๗ (๑๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๖๓๘ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๘.ธัมมหทยวิภังค์] ๒.อุปปัตตานุปปัตติวาร ๑.กามธาตุ
๒. อุปปัตตานุปปัตติวาร
(วาระว่าด้วยการแสดงสภาวธรรมที่เกิดได้และไม่ได้)
๑. กามธาตุ
(ธาตุในกามภูมิ)
[๙๙๑] ในกามธาตุ ขันธ์มีเท่าไร อายตนะมีเท่าไร ธาตุมีเท่าไร สัจจะ
มีเท่าไร อินทรีย์มีเท่าไร เหตุมีเท่าไร อาหารมีเท่าไร ผัสสะมีเท่าไร เวทนา
มีเท่าไร สัญญามีเท่าไร เจตนามีเท่าไร จิตมีเท่าไร
ในกามธาตุ ขันธ์มี ๕ อายตนะมี ๑๒ ธาตุมี ๑๘ สัจจะมี ๓ อินทรีย์มี
๒๒ เหตุมี ๙ อาหารมี ๔ ผัสสะมี ๗ เวทนามี ๗ สัญญามี ๗ เจตนามี ๗
จิตมี ๗
[๙๙๒] บรรดาสภาวธรรมเหล่านั้น ขันธ์ ๕ ในกามธาตุ เป็นไฉน
ขันธ์ ๕ ในกามธาตุ คือ

๑. รูปขันธ์ ๒. เวทนาขันธ์
๓. สัญญาขันธ์ ๔. สังขารขันธ์
๕. วิญญาณขันธ์

เหล่านี้เรียกว่า ขันธ์ ๕ ในกามธาตุ (๑)
อายตนะ ๑๒ ในกามธาตุ เป็นไฉน
อายตนะ ๑๒ ในกามธาตุ คือ
๑. จักขายตนะ ๒. รูปายตนะ
ฯลฯ
๑๑. มนายตนะ ๑๒. ธัมมายตนะ
เหล่านี้เรียกว่า อายตนะ ๑๒ ในกามธาตุ (๒)
ธาตุ ๑๘ ในกามธาตุ เป็นไฉน
ธาตุ ๑๘ ในกามธาตุ คือ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๖๓๙ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๘.ธัมมหทยวิภังค์] ๒.อุปปัตตานุปปัตติวาร ๑.กามธาตุ

๑. จักขุธาตุ ๒. รูปธาตุ ๓. จักขุวิญญาณธาตุ

ฯลฯ

๑๖. มโนธาตุ ๑๗. ธัมมธาตุ ๑๘. มโนวิญญาณธาตุ

เหล่านี้เรียกว่า ธาตุ ๑๘ ในกามธาตุ (๓)
สัจจะ ๓ ในกามธาตุ เป็นไฉน
สัจจะ ๓ ในกามธาตุ คือ
๑. ทุกขสัจ ๒. สมุทยสัจ
๓. มัคคสัจ
เหล่านี้เรียกว่า สัจจะ ๓ ในกามธาตุ (๔)
อินทรีย์ ๒๒ ในกามธาตุ เป็นไฉน
อินทรีย์ ๒๒ ในกามธาตุ คือ
๑. จักขุนทรีย์ ๒. โสตินทรีย์
ฯลฯ
๒๒. อัญญาตาวินทรีย์
เหล่านี้เรียกว่า อินทรีย์ ๒๒ ในกามธาตุ (๕)
เหตุ ๙ ในกามธาตุ เป็นไฉน
เหตุ ๙ ในกามธาตุ คือ กุศลเหตุ ๓ อกุศลเหตุ ๓ และอัพยากตเหตุ ๓ ฯลฯ
เหล่านี้เรียกว่า เหตุ ๙ ในกามธาตุ (๖)
อาหาร ๔ ในกามธาตุ เป็นไฉน
อาหาร ๔ ในกามธาตุ คือ

๑. กวฬิงการาหาร (อาหารคือคำข้าว)
๒. ผัสสาหาร (อาหารคือผัสสะ)
๓. มโนสัญเจตนาหาร (อาหารคือมโนสัญเจตนา)
๔. วิญญาณาหาร (อาหารคือวิญญาณ)

เหล่านี้เรียกว่า อาหาร ๔ ในกามธาตุ (๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๖๔๐ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๘.ธัมมหทยวิภังค์] ๒.อุปปัตตานุปปัตติวาร ๑.กามธาตุ
ผัสสะ ๗ ในกามธาตุ เป็นไฉน
ผัสสะ ๗ ในกามธาตุ คือ
๑. จักขุสัมผัส
ฯลฯ
๗. มโนวิญญาณธาตุสัมผัส
เหล่านี้เรียกว่า ผัสสะ ๗ ในกามธาตุ (๘)
เวทนา ๗ ในกามธาตุ เป็นไฉน
เวทนา ๗ ในกามธาตุ คือ
๑. เวทนาที่เกิดแต่จักขุสัมผัส
ฯลฯ
๗. เวทนาที่เกิดแต่มโนวิญญาณธาตุสัมผัส
เหล่านี้เรียกว่า เวทนา ๗ ในกามธาตุ (๙)
สัญญา ๗ ในกามธาตุ เป็นไฉน
สัญญา ๗ ในกามธาตุ คือ
๑. สัญญาที่เกิดแต่จักขุสัมผัส
ฯลฯ
๗. สัญญาที่เกิดแต่มโนวิญญาณธาตุสัมผัส
เหล่านี้เรียกว่า สัญญา ๗ ในกามธาตุ (๑๐)
เจตนา ๗ ในกามธาตุ เป็นไฉน
เจตนา ๗ ในกามธาตุ คือ
๑. เจตนาที่เกิดแต่จักขุสัมผัส
ฯลฯ
๗. เจตนาที่เกิดแต่มโนวิญญาณธาตุสัมผัส
เหล่านี้เรียกว่า เจตนา ๗ ในกามธาตุ (๑๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๖๔๑ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๘.ธัมมหทยวิภังค์] ๒.อุปปัตตานุปปัตติวาร ๒.รูปธาตุ
จิต ๗ ในกามธาตุ เป็นไฉน
จิต ๗ ในกามธาตุ คือ
๑. จักขุวิญญาณ ๒. โสตวิญญาณ
๓. ฆานวิญญาณ ๔. ชิวหาวิญญาณ
๕. กายวิญญาณ ๖. มโนธาตุ
๗. มโนวิญญาณธาตุ
เหล่านี้เรียกว่า จิต ๗ ในกามธาตุ (๑๒)

๒. รูปธาตุ
(ธาตุในรูปภูมิ)
[๙๙๓] ในรูปธาตุ ขันธ์มีเท่าไร ฯลฯ จิตมีเท่าไร
ในรูปธาตุ ขันธ์มี ๕ อายตนะมี ๖ ธาตุมี ๙ สัจจะมี ๓ อินทรีย์มี ๑๔ เหตุ
มี ๘ อาหารมี ๓ ผัสสะมี ๔ เวทนามี ๔ สัญญามี ๔ เจตนามี ๔ จิตมี ๔
[๙๙๔] บรรดาสภาวธรรมเหล่านั้น ขันธ์ ๕ ในรูปธาตุ เป็นไฉน
ขันธ์ ๕ ในรูปธาตุ คือ
๑. รูปขันธ์
ฯลฯ
๕. วิญญาณขันธ์
เหล่านี้เรียกว่า ขันธ์ ๕ ในรูปธาตุ (๑)
อายตนะ ๖ ในรูปธาตุ เป็นไฉน
อายตนะ ๖ ในรูปธาตุ คือ
๑. จักขายตนะ ๒. รูปายตนะ
๓. โสตายตนะ ๔. สัททายตนะ
๕. มนายตนะ ๖. ธัมมายตนะ
เหล่านี้เรียกว่า อายตนะ ๖ ในรูปธาตุ (๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๖๔๒ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๘.ธัมมหทยวิภังค์] ๒.อุปปัตตานุปปัตติวาร ๒.รูปธาตุ
ธาตุ ๙ ในรูปธาตุ เป็นไฉน
ธาตุ ๙ ในรูปธาตุ คือ
๑. จักขุธาตุ ๒. รูปธาตุ ๓. จักขุวิญญาณธาตุ
๔. โสตธาตุ ๕. สัททธาตุ ๖. โสตวิญญาณธาตุ
๗. มโนธาตุ ๘. ธัมมธาตุ ๙. มโนวิญญาณธาตุ
เหล่านี้เรียกว่า ธาตุ ๙ ในรูปธาตุ (๓)
สัจจะ ๓ ในรูปธาตุ เป็นไฉน
สัจจะ ๓ ในรูปธาตุ คือ
๑. ทุกขสัจ ๒. สมุทยสัจ
๓. มัคคสัจ
เหล่านี้เรียกว่า สัจจะ ๓ ในรูปธาตุ (๔)
อินทรีย์ ๑๔ ในรูปธาตุ เป็นไฉน
อินทรีย์ ๑๔ ในรูปธาตุ คือ

๑. จักขุนทรีย์ ๒. โสตินทรีย์
๓. มนินทรีย์ ๔. ชีวิตินทรีย์
๕. โสมนัสสินทรีย์ ๖. อุเปกขินทรีย์
๗. สัทธินทรีย์ ๘. วิริยินทรีย์
๙. สตินทรีย์ ๑๐. สมาธินทรีย์
๑๑. ปัญญินทรีย์ ๑๒. อนัญญาตัญญัสสามีตินทรีย์
๑๓. อัญญินทรีย์ ๑๔. อัญญาตาวินทรีย์

เหล่านี้เรียกว่า อินทรีย์ ๑๔ ในรูปธาตุ (๕)
เหตุ ๘ ในรูปธาตุ เป็นไฉน
เหตุ ๘ ในรูปธาตุ คือ กุศลเหตุ ๓ อกุศลเหตุ ๒ และอัพยากตเหตุ ๓
บรรดาเหตุ ๘ นั้น กุศลเหตุ ๓ ในรูปธาตุ เป็นไฉน
กุศลเหตุ ๓ ในรูปธาตุ คือ กุศลเหตุคืออโลภะ กุศลเหตุคืออโทสะ และ
กุศลเหตุคืออโมหะ
เหล่านี้ชื่อว่ากุศลเหตุ ๓

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๖๔๓ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๘.ธัมมหทยวิภังค์] ๒.อุปปัตตานุปปัตติวาร ๒.รูปธาตุ
อกุศลเหตุ ๒ เป็นไฉน
อกุศลเหตุ ๒ คือ อกุศลเหตุคือโลภะ และอกุศลเหตุคือโมหะ
เหล่านี้ชื่อว่าอกุศลเหตุ ๒
อัพยากตเหตุ ๓ เป็นไฉน
อัพยากตเหตุ ๓ คือ อโลภะ อโทสะ และอโมหะ ฝ่ายวิปากแห่งสภาวธรรม
ที่เป็นกุศล หรือในสภาวธรรมที่เป็นอัพยากตกิริยา เหล่านี้ชื่อว่าอัพยากตเหตุ ๓
เหล่านี้เรียกว่า เหตุ ๘ ในรูปธาตุ (๖)
อาหาร ๓ ในรูปธาตุ เป็นไฉน
อาหาร ๓ ในรูปธาตุ คือ
๑. ผัสสาหาร ๒. มโนสัญเจตนาหาร
๓. วิญญาณาหาร
เหล่านี้เรียกว่า อาหาร ๓ ในรูปธาตุ (๗)
ผัสสะ ๔ ในรูปธาตุ เป็นไฉน
ผัสสะ ๔ ในรูปธาตุ คือ

๑. จักขุสัมผัส ๒. โสตสัมผัส
๓. มโนธาตุสัมผัส ๔. มโนวิญญาณธาตุสัมผัส

เหล่านี้เรียกว่า ผัสสะ ๔ ในรูปธาตุ (๘)
เวทนา ๔ ฯลฯ สัญญา ๔ ฯลฯ เจตนา ๔ ฯลฯ จิต ๔ ในรูปธาตุ
เป็นไฉน
จิต ๔ ในรูปธาตุ คือ

๑. จักขุวิญญาณ ๒. โสตวิญญาณ
๓. มโนธาตุ ๔. มโนวิญญาณธาตุ

เหล่านี้เรียกว่า จิต ๔ ในรูปธาตุ (๙-๑๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๖๔๔ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๘.ธัมมหทยวิภังค์] ๒.อุปปัตตานุปปัตติวาร ๓.อรูปธาตุ
๓. อรูปธาตุ
(ธาตุในอรูปภูมิ)
[๙๙๕] ในอรูปธาตุ ขันธ์มีเท่าไร ฯลฯ จิตมีเท่าไร
ในอรูปธาตุ ขันธ์มี ๔ อายตนะมี ๒ ธาตุมี ๒ สัจจะมี ๓ อินทรีย์มี ๑๑
เหตุมี ๘ อาหารมี ๓ ผัสสะมี ๑ เวทนามี ๑ สัญญามี ๑ เจตนามี ๑ จิต
มี ๑
[๙๙๖] บรรดาสภาวธรรมเหล่านั้น ขันธ์ ๔ ในอรูปธาตุ เป็นไฉน
ขันธ์ ๔ ในอรูปธาตุ คือ
๑. เวทนาขันธ์ ๒. สัญญาขันธ์
๓. สังขารขันธ์ ๔. วิญญาณขันธ์
เหล่านี้เรียกว่า ขันธ์ ๔ ในอรูปธาตุ (๑)
อายตนะ ๒ ในอรูปธาตุ เป็นไฉน
อายตนะ ๒ ในอรูปธาตุ คือ มนายตนะ และธัมมายตนะ
เหล่านี้เรียกว่า อายตนะ ๒ ในอรูปธาตุ (๒)
ธาตุ ๒ ในอรูปธาตุ เป็นไฉน
ธาตุ ๒ ในอรูปธาตุ คือ มโนวิญญาณธาตุ และธัมมธาตุ
เหล่านี้เรียกว่า ธาตุ ๒ ในอรูปธาตุ (๓)
สัจจะ ๓ ในอรูปธาตุ เป็นไฉน
สัจจะ ๓ ในอรูปธาตุ คือ
๑. ทุกขสัจ ๒. สมุทยสัจ
๓. มัคคสัจ
เหล่านี้เรียกว่า สัจจะ ๓ ในอรูปธาตุ (๔)
อินทรีย์ ๑๑ ในอรูปธาตุ เป็นไฉน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๖๔๕ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๘.ธัมมหทยวิภังค์] ๒.อุปปัตตานุปปัตติวาร ๓.อรูปธาตุ
อินทรีย์ ๑๑ ในอรูปธาตุ คือ

๑. มนินทรีย์ ๒. ชีวิตินทรีย์
๓. โสมนัสสินทรีย์ ๔. อุเปกขินทรีย์
๕. สัทธินทรีย์ ๖. วิริยินทรีย์
๗. สตินทรีย์ ๘. สมาธินทรีย์
๙. ปัญญินทรีย์ ๑๐. อัญญินทรีย์
๑๑. อัญญาตาวินทรีย์

เหล่านี้เรียกว่า อินทรีย์ ๑๑ ในอรูปธาตุ (๕)
เหตุ ๘ ในอรูปธาตุ เป็นไฉน
เหตุ ๘ ในอรูปธาตุ คือ กุศลเหตุ ๓ อกุศลเหตุ ๒ อัพยากตเหตุ ๓ ฯลฯ
เหล่านี้เรียกว่า เหตุ ๘ ในอรูปธาตุ (๖)
อาหาร ๓ ในอรูปธาตุ เป็นไฉน
อาหาร ๓ ในอรูปธาตุ คือ
๑. ผัสสาหาร ๒. มโนสัญเจตนาหาร
๓. วิญญาณาหาร
เหล่านี้เรียกว่า อาหาร ๓ ในอรูปธาตุ (๗)
ผัสสะ ๑ ในอรูปธาตุ เป็นไฉน
ผัสสะ ๑ ในอรูปธาตุ คือ มโนวิญญาณธาตุสัมผัส
นี้เรียกว่า ผัสสะ ๑ ในอรูปธาตุ (๘)
เวทนา ๑ ฯลฯ สัญญา ๑ ฯลฯ เจตนา ๑ ฯลฯ จิต ๑ ในอรูปธาตุ เป็น
ไฉน
จิต ๑ ในอรูปธาตุ คือ มโนวิญญาณธาตุ
นี้เรียกว่า จิต ๑ ในอรูปธาตุ (๙-๑๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๖๔๖ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๘.ธัมมหทยวิภังค์] ๒.อุปปัตตานุปปัตติวาร ๔.อปริยาปันนะ
๔. อปริยาปันนะ
(ธรรมที่ไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์)
[๙๙๗] ในธรรมที่ไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ ขันธ์มีเท่าไร ฯลฯ จิตมีเท่าไร
ในธรรมที่ไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ ขันธ์มี ๔ อายตนะมี ๒ ธาตุมี ๒ สัจจะมี
๒ อินทรีย์มี ๑๒ เหตุมี ๖ อาหารมี ๓ ผัสสะมี ๑ เวทนามี ๑ สัญญามี ๑
เจตนามี ๑ จิตมี ๑
[๙๙๘] บรรดาสภาวธรรมเหล่านั้น ขันธ์ ๔ ในธรรมที่ไม่นับเนื่องใน
วัฏฏทุกข์ เป็นไฉน
ขันธ์ ๔ ในธรรมที่ไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ คือ
๑. เวทนาขันธ์ ๒. สัญญาขันธ์
๓. สังขารขันธ์ ๔. วิญญาณขันธ์
เหล่านี้เรียกว่า ขันธ์ ๔ ในธรรมที่ไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ (๑)
อายตนะ ๒ ในธรรมที่ไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ เป็นไฉน
อายตนะ ๒ ในธรรมที่ไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ คือ มนายตนะ และธัมมายตนะ
เหล่านี้เรียกว่า อายตนะ ๒ ในธรรมที่ไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ (๒)
ธาตุ ๒ ในธรรมที่ไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ เป็นไฉน
ธาตุ ๒ ในธรรมที่ไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ คือ มโนวิญญาณธาตุ และธัมมธาตุ
เหล่านี้เรียกว่า ธาตุ ๒ ในธรรมที่ไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ (๓)
สัจจะ ๒ ในธรรมที่ไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ เป็นไฉน
สัจจะ ๒ ในธรรมที่ไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ คือ มัคคสัจ และนิโรธสัจ
เหล่านี้เรียกว่า สัจจะ ๒ ในธรรมที่ไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ (๔)
อินทรีย์ ๑๒ ในธรรมที่ไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ เป็นไฉน
อินทรีย์ ๑๒ ในธรรมที่ไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ คือ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๖๔๗ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๘.ธัมมหทยวิภังค์] ๒.อุปปัตตานุปปัตติวาร ๔.อปริยาปันนะ

๑. มนินทรีย์ ๒. ชิวหินทรีย์
๓. โสมนัสสินทรีย์ ๔. อุเปกขินทรีย์
๕. สัทธินทรีย์ ๖. วิริยินทรีย์
๗. สตินทรีย์ ๘. สมาธินทรีย์
๙. ปัญญินทรีย์ ๑๐. อนัญญาตัญญัสสามีตินทรีย์
๑๑. อัญญินทรีย์ ๑๒. อัญญาตาวินทรีย์

เหล่านี้เรียกว่า อินทรีย์ ๑๒ ในธรรมที่ไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ (๕)
เหตุ ๖ ในธรรมที่ไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ เป็นไฉน
เหตุ ๖ ในธรรมที่ไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ คือ กุศลเหตุ ๓ และอัพยากต-
เหตุ ๓
บรรดาเหตุ ๖ เหล่านั้น กุศลเหตุ ๓ เป็นไฉน
กุศลเหตุ ๓ คือ
๑. กุศลเหตุคืออโลภะ ๒. กุศลเหตุคืออโทสะ
๓. กุศลเหตุคืออโมหะ
เหล่านี้ชื่อว่ากุศลเหตุ ๓
อัพยากตเหตุ ๓ เป็นไฉน
อัพยากตเหตุ ๓ คือ อโลภะ อโทสะ และอโมหะ ฝ่ายวิบากแห่งสภาวธรรม
ที่เป็นกุศล เหล่านี้ชื่อว่าอัพยากตเหตุ ๓
เหล่านี้เรียกว่า เหตุ ๖ ในธรรมที่ไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ (๖)
อาหาร ๓ ในธรรมที่ไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ เป็นไฉน
อาหาร ๓ ในธรรมที่ไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ คือ
๑. ผัสสาหาร ๒. มโนสัญเจตนาหาร
๓. วิญญาณาหาร
เหล่านี้เรียกว่า อาหาร ๓ ในธรรมที่ไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ (๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๖๔๘ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๘.ธัมมหทยวิภังค์] ๓.ปริยาปันนาปริยาปันนวาร ๑.กามธาตุ
ผัสสะ ๑ ในธรรมที่ไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ เป็นไฉน
ผัสสะ ๑ ในธรรมที่ไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ คือ มโนวิญญาณธาตุสัมผัส
นี้เรียกว่า ผัสสะ ๑ ในธรรมที่ไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ (๘)
เวทนา ๑ ฯลฯ สัญญา ๑ ฯลฯ เจตนา ๑ ฯลฯ จิต ๑ ในธรรมที่ไม่
นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ เป็นไฉน
จิต ๑ ในธรรมที่ไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ คือ มโนวิญญาณธาตุ
นี้เรียกว่า จิต ๑ ในธรรมที่ไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ (๙-๑๒)

๓. ปริยาปันนาปริยาปันนวาร
(วาระว่าด้วยธรรมที่นับเนื่องและไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์)
๑. กามธาตุ
(ธาตุในกามภูมิ)
[๙๙๙] บรรดาขันธ์ ๕ ขันธ์เท่าไรเป็นโลกิยะ เท่าไรเป็นโลกุตตระ ฯลฯ
บรรดาจิต ๗ จิตเท่าไรนับเนื่องในกามธาตุ เท่าไรไม่นับเนื่องในกามธาตุ
[๑๐๐๐] รูปขันธ์เป็นโลกิยะ ขันธ์ ๔ ที่เป็นโลกิยะก็มี ที่เป็นโลกุตตระก็มี
อายตนะ ๑๐ นับเนื่องในกามธาตุ อายตนะ ๒ ที่นับเนื่องในกามธาตุก็มี
ที่ไม่นับเนื่องในกามธาตุก็มี
ธาตุ ๑๖ นับเนื่องในกามธาตุ ธาตุ ๒ ที่นับเนื่องในกามธาตุก็มี ที่ไม่นับ
เนื่องในกามธาตุก็มี
สมุทยสัจนับเนื่องในกามธาตุ สัจจะ ๒ ไม่นับเนื่องในกามธาตุ ทุกขสัจที่
นับเนื่องในกามธาตุก็มี ที่ไม่นับเนื่องในกามธาตุก็มี
อินทรีย์ ๑๐ นับเนื่องในกามธาตุ อินทรีย์ ๓ ไม่นับเนื่องในกามธาตุ อินทรีย์
๙ ที่นับเนื่องในกามธาตุก็มี ที่ไม่นับเนื่องในกามธาตุก็มี


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๖๔๙ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๘.ธัมมหทยวิภังค์] ๓.ปริยาปันนาปริยาปันนวาร ๒. รูปธาตุ
อกุศลเหตุ ๓ นับเนื่องในกามธาตุ เหตุ ๖ ที่นับเนื่องในกามธาตุก็มี ที่ไม่
นับเนื่องในกามธาตุก็มี
กวฬิงการาหารนับเนื่องในกามธาตุ อาหาร ๓ ที่นับเนื่องในกามธาตุก็มี ที่
ไม่นับเนื่องในกามธาตุก็มี
ผัสสะ ๖ นับเนื่องในกามธาตุ มโนวิญญาณธาตุสัมผัส ที่นับเนื่องในกามธาตุ ก็มี
ที่ไม่นับเนื่องในกามธาตุก็มี
เวทนา ๖ ฯลฯ สัญญา ๖ ฯลฯ เจตนา ๖ ฯลฯ จิต ๖ นับเนื่องในกามธาตุ
มโนวิญญาณธาตุ ที่นับเนื่องในกามธาตุก็มี ที่ไม่นับเนื่องในกามธาตุก็มี

๒. รูปธาตุ
(ธาตุในรูปภูมิ)
[๑๐๐๑] บรรดาขันธ์ ๕ ขันธ์เท่าไรนับเนื่องในรูปธาตุ เท่าไรไม่นับเนื่องใน
รูปธาตุ ฯลฯ บรรดาจิต ๗ จิตเท่าไรนับเนื่องในรูปธาตุ เท่าไรไม่นับเนื่องใน
รูปธาตุ
[๑๐๐๒] รูปขันธ์ไม่นับเนื่องในรูปธาตุ ขันธ์ ๔ ที่นับเนื่องในรูปธาตุก็มี ที่
ไม่นับเนื่องในรูปธาตุก็มี
อายตนะ ๑๐ นับเนื่องในรูปธาตุ อายตนะ ๒ ที่นับเนื่องในรูปธาตุก็มี ที่
ไม่นับเนื่องในรูปธาตุก็มี
ธาตุ ๑๖ ไม่นับเนื่องในรูปธาตุ ธาตุ ๒ ที่นับเนื่องในรูปธาตุก็มี ที่ไม่นับ
เนื่องในรูปธาตุก็มี
สัจจะ ๓ ไม่นับเนื่องในรูปธาตุ ทุกขสัจที่นับเนื่องในรูปธาตุก็มี ที่ไม่นับ
เนื่องในรูปธาตุก็มี
อินทรีย์ ๑๓ ไม่นับเนื่องในรูปธาตุ อินทรีย์ ๙ ที่นับเนื่องในรูปธาตุก็มี ที่
ไม่นับเนื่องในรูปธาตุก็มี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๖๕๐ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๘.ธัมมหทยวิภังค์] ๓.ปริยาปันนาปริยาปันนวาร ๓.อรูปธาตุ
อกุศลเหตุ ๓ ไม่นับเนื่องในรูปธาตุ เหตุ ๖ ที่นับเนื่องในรูปธาตุก็มี ที่ไม่
นับเนื่องในรูปธาตุก็มี
กวฬิงการาหารไม่นับเนื่องในรูปธาตุ อาหาร ๓ ที่นับเนื่องในรูปธาตุก็มี ที่
ไม่นับเนื่องในรูปธาตุก็มี
ผัสสะ ๖ ไม่นับเนื่องในรูปธาตุ มโนวิญญาณธาตุสัมผัสที่นับเนื่องในรูปธาตุก็มี
ที่ไม่นับเนื่องในรูปธาตุก็มี
เวทนา ๖ ฯลฯ สัญญา ๖ ฯลฯ เจตนา ๖ ฯลฯ จิต ๖ ไม่นับเนื่องใน
รูปธาตุ มโนวิญญาณธาตุที่นับเนื่องในรูปธาตุก็มี ที่ไม่นับเนื่องในรูปธาตุก็มี

๓. อรูปธาตุ
(ธาตุในอรูปภูมิ)
[๑๐๐๓] บรรดาขันธ์ ๕ ขันธ์เท่าไรนับเนื่องในอรูปธาตุ เท่าไรไม่นับเนื่อง
ในอรูปธาตุ ฯลฯ บรรดาจิต ๗ จิตเท่าไรนับเนื่องในอรูปธาตุ เท่าไรไม่นับเนื่องใน
อรูปธาตุ
[๑๐๐๔] รูปขันธ์ไม่นับเนื่องในอรูปธาตุ ขันธ์ ๔ ที่นับเนื่องในอรูปธาตุก็มี
ที่ไม่นับเนื่องในอรูปธาตุก็มี
อายตนะ ๑๐ ไม่นับเนื่องในอรูปธาตุ อายตนะ ๒ ที่นับเนื่องในอรูปธาตุก็มี
ที่ไม่นับเนื่องในอรูปธาตุก็มี
ธาตุ ๑๖ ไม่นับเนื่องในอรูปธาตุ ธาตุ ๒ ที่นับเนื่องในอรูปธาตุก็มี ที่ไม่
นับเนื่องในอรูปธาตุก็มี
สัจจะ ๓ ไม่นับเนื่องในอรูปธาตุ ทุกขสัจที่นับเนื่องในอรูปธาตุก็มี ที่ไม่นับ
เนื่องในอรูปธาตุก็มี
อินทรีย์ ๑๔ ไม่นับเนื่องในอรูปธาตุ อินทรีย์ ๘ ที่นับเนื่องในอรูปธาตุก็มี ที่
ไม่นับเนื่องในอรูปธาตุก็มี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๖๕๑ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๘.ธัมมหทยวิภังค์] ๓.ปริยาปันนาปริยาปันนวาร ๔. ปริยาปันนาปริยาปันนะ
อกุศลเหตุ ๓ ไม่นับเนื่องในอรูปธาตุ เหตุ ๖ ที่นับเนื่องในอรูปธาตุก็มี ที่
ไม่นับเนื่องในอรูปธาตุก็มี
กวฬิงการาหารไม่นับเนื่องในอรูปธาตุ อาหาร ๓ ที่นับเนื่องในอรูปธาตุก็มี
ที่ไม่นับเนื่องในอรูปธาตุก็มี
ผัสสะ ๖ ไม่นับเนื่องในอรูปธาตุ มโนวิญญาณธาตุสัมผัสที่นับเนื่องในอรูปธาตุ
ก็มี ที่ไม่นับเนื่องในอรูปธาตุก็มี
เวทนา ๖ ฯลฯ สัญญา ๖ ฯลฯ เจตนา ๖ ฯลฯ จิต ๖ ไม่นับเนื่องใน
อรูปธาตุ มโนวิญญาณธาตุที่นับเนื่องในอรูปธาตุก็มี ที่ไม่นับเนื่องในอรูปธาตุก็มี

๔. ปริยาปันนาปริยาปันนะ
(ธรรมที่นับเนื่องและไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์)
[๑๐๐๕] บรรดาขันธ์ ๕ ขันธ์เท่าไรเป็นโลกิยะ เท่าไรเป็นโลกุตตระ ฯลฯ
บรรดาจิต ๗ จิตเท่าไรเป็นโลกิยะ เท่าไรเป็นโลกุตตระ
[๑๐๐๖] รูปขันธ์เป็นโลกิยะ ขันธ์ ๔ ที่เป็นโลกิยะก็มี ที่เป็นโลกุตตระก็มี
อายตนะ ๑๐ เป็นโลกิยะ อายตนะ ๒ ที่เป็นโลกิยะก็มี ที่เป็นโลกุตตระก็มี
ธาตุ ๑๖ เป็นโลกิยะ ธาตุ ๒ ที่เป็นโลกิยะก็มี ที่เป็นโลกุตตระก็มี
สัจจะ ๒ เป็นโลกิยะ สัจจะ ๒ เป็นโลกุตตระ
อินทรีย์ ๑๐ เป็นโลกิยะ อินทรีย์ ๓ เป็นโลกุตตระ อินทรีย์ ๙ ที่เป็นโลกิยะก็มี
ที่เป็นโลกุตตระก็มี
อกุศลเหตุ ๓ เป็นโลกิยะ เหตุ ๖ ที่เป็นโลกิยะก็มี ที่เป็นโลกุตตระก็มี
กวฬิงการาหารเป็นโลกิยะ อาหาร ๓ ที่เป็นโลกิยะก็มี ที่เป็นโลกุตตระก็มี
ผัสสะ ๖ เป็นโลกิยะ มโนวิญญาณธาตุสัมผัสที่เป็นโลกิยะก็มี ที่เป็นโลกุตตระ
ก็มี
เวทนา ๖ ฯลฯ สัญญา ๖ ฯลฯ เจตนา ๖ ฯลฯ จิต ๖ เป็นโลกิยะ
มโนวิญญาณธาตุที่เป็นโลกิยะก็มี ที่เป็นโลกุตตระก็มี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๖๕๒ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๘.ธัมมหทยวิภังค์] ๔.ธัมมทัสสนวาร ๑.กามธาตุ
๔. ธัมมทัสสนวาร
(วาระว่าด้วยการแสดงธรรม)
๑. กามธาตุ
(ธาตุในกามภูมิ)
[๑๐๐๗] ในขณะเกิดในกามธาตุ ขันธ์เท่าไรปรากฏ ฯลฯ จิตเท่าไรปรากฏ
ในขณะเกิดในกามธาตุ ขันธ์ ๕ ปรากฏแก่สัตว์ทุกจำพวก อายตนะ ๑๑
ปรากฏแก่สัตว์บางพวก อายตนะ ๑๐ ปรากฏแก่สัตว์บางพวก อายตนะ ๑๐ เหล่า
อื่นอีกปรากฏแก่สัตว์บางพวก อายตนะ ๙ ปรากฏแก่สัตว์บางพวก อายตนะ ๗
ปรากฏแก่สัตว์บางพวก
ธาตุ ๑๑ ปรากฏแก่สัตว์บางพวก ธาตุ ๑๐ ปรากฏแก่สัตว์บางพวก ธาตุ
๑๐ เหล่าอื่นอีก ปรากฏแก่สัตว์บางพวก ธาตุ ๙ ปรากฏแก่สัตว์บางพวก ธาตุ ๗
ปรากฏแก่สัตว์บางพวก
สัจจะ ๑ ปรากฏแก่สัตว์ทุกจำพวก
อินทรีย์ ๑๔ ปรากฏแก่สัตว์บางพวก อินทรีย์ ๑๓ ปรากฏแก่สัตว์บางพวก
อินทรีย์ ๑๓ เหล่าอื่นอีก ปรากฏแก่สัตว์บางพวก อินทรีย์ ๑๒ ปรากฏแก่สัตว์
บางพวก อินทรีย์ ๑๐ ปรากฏแก่สัตว์บางพวก อินทรีย์ ๙ ปรากฏแก่สัตว์บางพวก
อินทรีย์ ๙ เหล่าอื่นอีก ปรากฏแก่สัตว์บางพวก อินทรีย์ ๘ ปรากฏแก่สัตว์บางพวก
อินทรีย์ ๘ เหล่าอื่นอีก ปรากฏแก่สัตว์บางพวก อินทรีย์ ๗ ปรากฏแก่สัตว์บางพวก
อินทรีย์ ๕ ปรากฏแก่สัตว์บางพวก อินทรีย์ ๔ ปรากฏแก่สัตว์บางพวก
เหตุ ๓ ปรากฏแก่สัตว์บางพวก เหตุ ๒ ปรากฏแก่สัตว์บางพวก อเหตุกวิบาก
ปรากฏแก่สัตว์บางพวก
อาหาร ๔ ปรากฏแก่สัตว์ทุกจำพวก ผัสสะ ๑ ปรากฏแก่สัตว์ทุกจำพวก
เวทนา ๑ สัญญา ๑ เจตนา ๑ จิต ๑ ปรากฏแก่สัตว์ทุกจำพวก


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๖๕๓ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๘.ธัมมหทยวิภังค์] ๔.ธัมมทัสสนวาร ๑.กามธาตุ
[๑๐๐๘] ในขณะเกิดในกามธาตุ ขันธ์ ๕ เหล่าไหนปรากฏแก่สัตว์ทุกจำพวก
รูปขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ ในขณะเกิดในกามธาตุ ขันธ์ ๕ เหล่านี้
ปรากฏแก่สัตว์ทุกจำพวก
[๑๐๐๙] ในขณะเกิดในกามธาตุ อายตนะ ๑๑ ปรากฏแก่สัตว์พวกไหน
ในขณะเกิดในกามธาตุ อายตนะ ๑๑ คือ

๑. จักขายตนะ ๒. รูปายตนะ
๓. โสตายตนะ ๔. ฆานายตนะ
๕. คันธายตนะ ๖. ชิวหายตนะ
๗. รสายตนะ ๘. กายายตนะ
๙. โผฏฐัพพายตนะ ๑๐. มนายตนะ
๑๑. ธัมมายตนะ

ปรากฏแก่เทวดาชั้นกามาวจร มนุษย์ผู้เกิดในสมัยต้นกัป เปรต อสุรกาย สัตว์
เดรัจฉานผู้เป็นโอปปาติกสัตว์และสัตว์นรก ซึ่งมีอายตนะครบบริบูรณ์ ในขณะเกิด
ในกามธาตุ อายตนะ ๑๑ ปรากฏแก่สัตว์พวกนี้
ในขณะเกิดในกามธาตุ อายตนะ ๑๐ ปรากฏแก่สัตว์พวกไหน
ในขณะเกิดในกามธาตุ อายตนะ ๑๐ คือ

๑. รูปายตนะ ๒. โสตายตนะ
๓. ฆานายตนะ ๔. คันธายตนะ
๕. ชิวหายตนะ ๖. รสายตนะ
๗. กายายตนะ ๘. โผฏฐัพพายตนะ
๙. มนายตนะ ๑๐. ธัมมายตนะ

ปรากฏแก่เปรต อสุรกาย สัตว์เดรัจฉาน ผู้เป็นโอปปาติกสัตว์ และสัตว์นรก ซึ่งมี
ตาบอดมาแต่กำเนิด ในขณะเกิดในกามธาตุ อายตนะ ๑๐ ปรากฏแก่สัตว์พวกนี้
ในขณะเกิดในกามธาตุ อายตนะ ๑๐ อื่นอีก ปรากฏแก่สัตว์พวกไหน
ในขณะเกิดในกามธาตุ อายตนะ ๑๐ คือ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๖๕๔ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๘.ธัมมหทยวิภังค์] ๔.ธัมมทัสสนวาร ๑.กามธาตุ

๑. จักขายตนะ ๒. รูปายตนะ
๓. ฆานายตนะ ๔. คันธายตนะ
๕. ชิวหายตนะ ๖. รสายตนะ
๗. กายายตนะ ๘. โผฏฐัพพายตนะ
๙. มนายตนะ ๑๐. ธัมมายตนะ

ปรากฏแก่เปรต อสุรกาย สัตว์เดรัจฉาน ผู้เป็นโอปปาติกสัตว์ และสัตว์นรก ซึ่งมี
หูหนวกมาแต่กำเนิด ในขณะเกิดในกามธาตุ อายตนะ ๑๐ ปรากฏแก่สัตว์พวกนี้
ในขณะเกิดในกามธาตุ อายตนะ ๙ ปรากฏแก่สัตว์พวกไหน
ในขณะเกิดในกามธาตุ อายตนะ ๙ คือ

๑. รูปายตนะ ๒. ฆานายตนะ
๓. คันธายตนะ ๔. ชิวหายตนะ
๕. รสายตนะ ๖. กายายตนะ
๗. โผฏฐัพพายตนะ ๘. มนายตนะ
๙. ธัมมายตนะ

ปรากฏแก่เปรต อสุรกาย สัตว์เดรัจฉาน ผู้เป็นโอปปาติกสัตว์ และสัตว์นรก ซึ่ง
มีตาบอดและหูหนวกมาแต่กำเนิด ในขณะเกิดในกามธาตุ อายตนะ ๙ ปรากฏ
แก่สัตว์พวกนี้
ในขณะเกิดในกามธาตุ อายตนะ ๗ ปรากฏแก่สัตว์พวกไหน
ในขณะเกิดในกามธาตุ อายตนะ ๗ คือ

๑. รูปายตนะ ๒. คันธายตนะ
๓. รสายตนะ ๔. กายายตนะ
๕. โผฏฐัพพายตนะ ๖. มนายตนะ
๗. ธัมมายตนะ

ปรากฏแก่สัตว์ผู้เกิดในครรภ์ ในขณะเกิดในกามธาตุ อายตนะ ๗ เหล่านี้ปรากฏ
แก่สัตว์พวกนี้ (๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๖๕๕ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๘.ธัมมหทยวิภังค์] ๔.ธัมมทัสสนวาร ๑.กามธาตุ
[๑๐๑๐] ในขณะเกิดในกามธาตุ ธาตุ ๑๑ ปรากฏแก่สัตว์พวกไหน
ในขณะเกิดในกามธาตุ ธาตุ ๑๑ คือ

๑. จักขุธาตุ ๒. รูปธาตุ
๓. โสตธาตุ ๔. ฆานธาตุ
๕. คันธธาตุ ๖. ชิวหาธาตุ
๗. รสธาตุ ๘. กายธาตุ
๙. โผฏฐัพพธาตุ ๑๐. มโนวิญญาณธาตุ
๑๑. ธัมมธาตุ

ปรากฏแก่เทวดาชั้นกามาวจร มนุษย์ผู้เกิดในสมัยต้นกัป เปรต อสุรกาย สัตว์
เดรัจฉาน ผู้เป็นโอปปาติกสัตว์ และสัตว์นรก ซึ่งมีอายตนะครบบริบูรณ์ ในขณะ
เกิดในกามธาตุ ธาตุ ๑๑ ปรากฏแก่สัตว์พวกนี้
ในขณะเกิดในกามธาตุ ธาตุ ๑๐ ปรากฏแก่สัตว์พวกไหน
ในขณะเกิดในกามธาตุ ธาตุ ๑๐ คือ

๑. รูปธาตุ ๒. โสตธาตุ
๓. ฆานธาตุ ๔. คันธธาตุ
๕. ชิวหาธาตุ ๖. รสธาตุ
๗. กายธาตุ ๘. โผฏฐัพพธาตุ
๙. มโนวิญญาณธาตุ ๑๐. ธัมมธาตุ

ปรากฏแก่เปรต อสุรกาย สัตว์เดรัจฉาน ผู้เป็นโอปปาติกสัตว์ และสัตว์นรก
ซึ่งมีตาบอดมาแต่กำเนิด ในขณะเกิดในกามธาตุ ธาตุ ๑๐ ปรากฏแก่สัตว์พวกนี้
ในขณะเกิดในกามธาตุ อายตนะ ๑๐ อื่นอีก ปรากฏแก่สัตว์พวกไหน
ในขณะเกิดในกามธาตุ ธาตุ ๑๐ คือ

๑. จักจุธาตุ ๒. รูปธาตุ
๓. ฆานธาตุ ๔. คันธธาตุ
๕. ชิวหาธาตุ ๖. รสธาตุ
๗. กายธาตุ ๘. โผฏฐัพพธาตุ
๙. มโนวิญญาณธาตุ ๑๐. ธัมมธาตุ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๖๕๖ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๘.ธัมมหทยวิภังค์] ๔.ธัมมทัสสนวาร ๑.กามธาตุ
ปรากฏแก่เปรต อสุรกาย สัตว์เดรัจฉาน ผู้เป็นโอปปาติกสัตว์ และสัตว์นรก
ซึ่งมีหูหนวกมาแต่กำเนิด ในขณะเกิดในกามธาตุ ธาตุ ๑๐ ปรากฏแก่สัตว์พวกนี้
ในขณะเกิดในกามธาตุ ธาตุ ๙ ปรากฏแก่สัตว์พวกไหน
ในขณะเกิดในกามธาตุ ธาตุ ๙ คือ

๑. รูปธาตุ ๒. ฆานธาตุ
๓. คันธธาตุ ๔. ชิวหาธาตุ
๕. รสธาตุ ๖. กายธาตุ
๗. โผฏฐัพพธาตุ ๘. มโนวิญญาณธาตุ
๙. ธัมมธาตุ

ปรากฏแก่เปรต อสุรกาย สัตว์เดรัจฉาน ผู้เป็นโอปปาติกสัตว์ และสัตว์นรก
ซึ่งมีตาบอดและหูหนวกมาแต่กำเนิด ในขณะเกิดในกามธาตุ ธาตุ ๙ เหล่านี้ ปรากฏ
แก่สัตว์พวกนี้
ในขณะเกิดในกามธาตุ ธาตุ ๗ ปรากฏแก่สัตว์พวกไหน
ในขณะเกิดในกามธาตุ ธาตุ ๗ คือ

๑. รูปธาตุ ๒. คันธธาตุ
๓. รสธาตุ ๔. กายธาตุ
๕. โผฏฐัพพธาตุ ๖. มโนวิญญาณธาตุ
๗. ธัมมธาตุ

ปรากฏแก่สัตว์ผู้เกิดในครรภ์ ในขณะเกิดในกามธาตุ ธาตุ ๗ เหล่านี้ปรากฏ
แก่สัตว์พวกนี้ (๓)
[๑๐๑๑] ในขณะเกิดในกามธาตุ สัจจะ ๑ ข้อไหนปรากฏแก่สัตว์ทุกจำพวก
สัจจะ ๑ ข้อนี้คือ ทุกขสัจ ในขณะเกิดในกามธาตุ สัจจะนี้ปรากฏแก่สัตว์
ทุกจำพวก (๔)
[๑๐๑๒] ในขณะเกิดในกามธาตุ อินทรีย์ ๑๔ ปรากฏแก่สัตว์พวกไหน
ในขณะเกิดในกามธาตุ อินทรีย์ ๑๔ คือ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๖๕๗ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๘.ธัมมหทยวิภังค์] ๔.ธัมมทัสสนวาร ๑.กามธาตุ

๑. จักขุนทรีย์ ๒. โสตินทรีย์
๓. ฆานินทรีย์ ๔. ชิวหินทรีย์
๕. กายินทรีย์ ๖. มนินทรีย์
๗. อิตถินทรีย์ หรือปุริสินทรีย์ ๘. ชีวิตินทรีย์
๙. โสมนัสสินทรีย์ หรืออุเปกขินทรีย์ ๑๐. สัทธินทรีย์
๑๑. วิริยินทรีย์ ๑๒. สตินทรีย์
๑๓. สมาธินทรีย์ ๑๔. ปัญญินทรีย์

ปรากฏแก่เทวดาชั้นกามาวจรผู้เป็นสเหตุกสัตว์ สัมปยุตด้วยญาณ ในขณะเกิดใน
กามธาตุ อินทรีย์ ๑๔ เหล่านี้ปรากฏแก่สัตว์พวกนี้
ในขณะเกิดในกามธาตุ อินทรีย์ ๑๓ ปรากฏแก่สัตว์พวกไหน
ในขณะเกิดในกามธาตุ อินทรีย์ ๑๓ คือ

๑. จักขุนทรีย์ ๒. โสตินทรีย์
๓. ฆานินทรีย์ ๔. ชิวหินทรีย์
๕. กายินทรีย์ ๖. มนินทรีย์
๗. อิตถินทรีย์ หรือปุริสินทรีย์ ๘. ชีวิตินทรีย์
๙. โสมนัสสินทรีย์ หรืออุเปกขินทรีย์ ๑๐. สัทธินทรีย์
๑๑. วิริยินทรีย์ ๑๒. สตินทรีย์
๑๓. สมาธินทรีย์

ปรากฏแก่เทวดาชั้นกามาวจรผู้เป็นสเหตุกสัตว์ วิปปยุตจากญาณ ในขณะเกิดใน
กามธาตุ อินทรีย์ ๑๓ ปรากฏแก่สัตว์พวกนี้
ในขณะเกิดในกามธาตุ อินทรีย์ ๑๓ อื่นอีก ปรากฏแก่สัตว์พวกไหน
ในขณะเกิดในกามธาตุ อินทรีย์ ๑๓ อื่นอีก คือ

๑. จักขุนทรีย์ ๒. โสตินทรีย์
๓. ฆานินทรีย์ ๔. ชิวหินทรีย์
๕. กายินทรีย์ ๖. มนินทรีย์
๗. อิตถินทรีย์ หรือปุริสินทรีย์ ๘. ชีวิตินทรีย์


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๖๕๘ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๘.ธัมมหทยวิภังค์] ๔.ธัมมทัสสนวาร ๑.กามธาตุ

๙. โสมนัสสินทรีย์ หรืออุเปกขินทรีย์ ๑๐. สัทธินทรีย์
๑๑. วิริยินทรีย์ ๑๒. สตินทรีย์
๑๓. สมาธินทรีย์

ปรากฏแก่มนุษย์ผู้เกิดในสมัยต้นกัป ผู้เป็นสเหตุกสัตว์ สัมปยุตด้วยญาณ ในขณะ
เกิดในกามธาตุ อินทรีย์ ๑๓ ปรากฏแก่สัตว์พวกนี้
ในขณะเกิดในกามธาตุ อินทรีย์ ๑๒ ปรากฏแก่สัตว์พวกไหน
ในขณะเกิดในกามธาตุ อินทรีย์ ๑๒ คือ

๑. จักขุนทรีย์ ๒. โสตินทรีย์
๓. ฆานินทรีย์ ๔. ชิวหินทรีย์
๕. กายินทรีย์ ๖. มนินทรีย์
๗. ชีวิตินทรีย์ ๘. โสมนัสสินทรีย์ หรืออุเปกขินทรีย์
๙. สัทธินทรีย์ ๑๐. วิริยินทรีย์
๑๑. สตินทรีย์ ๑๒. สมาธินทรีย์

ปรากฏแก่มนุษย์ผู้เกิดในสมัยต้นกัป ผู้เป็นสเหตุกสัตว์ วิปปยุตจากญาณ ในขณะ
เกิดในกามธาตุ อินทรีย์ ๑๒ ปรากฏแก่สัตว์พวกนี้
ในขณะเกิดในกามธาตุ อินทรีย์ ๑๐ ปรากฏแก่สัตว์พวกไหน
ในขณะเกิดในกามธาตุ อินทรีย์ ๑๐ คือ

๑. กายินทรีย์ ๒. มนินทรีย์
๓. อิตถินทรีย์ หรือปุริสินทรีย์ ๔. ชีวิตินทรีย์
๕. โสมนัสสินทรีย์ หรืออุเปกขินทรีย์ ๖. สัทธินทรีย์
๗. วิริยินทรีย์ ๘. สตินทรีย์
๙. สมาธินทรีย์ ๑๐. ปัญญินทรีย์

ปรากฏแก่สัตว์ผู้เกิดในครรภ์ ผู้เป็นสเหตุกสัตว์ สัมปยุตด้วยญาณ ในขณะเกิดใน
กามธาตุ อินทรีย์ ๑๐ ปรากฏแก่สัตว์พวกนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๖๕๙ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๘.ธัมมหทยวิภังค์] ๔.ธัมมทัสสนวาร ๑.กามธาตุ
ในขณะเกิดในกามธาตุ อินทรีย์ ๙ ปรากฏแก่สัตว์พวกไหน
ในขณะเกิดในกามธาตุ อินทรีย์ ๙ คือ

๑. กายินทรีย์ ๒. มนินทรีย์
๓. อิตถินทรีย์ หรือปุริสินทรีย์ ๔. ชีวิตินทรีย์
๕. โสมนัสสินทรีย์ หรืออุเปกขินทรีย์ ๖. สัทธินทรีย์
๗. วิริยินทรีย์ ๘. สตินทรีย์
๙. สมาธินทรีย์

ปรากฏแก่สัตว์ผู้เกิดในครรภ์ ผู้เป็นสเหตุกสัตว์ วิปปยุตจากญาณ ในขณะเกิด
ในกามธาตุ อินทรีย์ ๙ ปรากฏแก่สัตว์พวกนี้
ในขณะเกิดในกามธาตุ อินทรีย์ ๙ อื่นอีก ปรากฏแก่สัตว์พวกไหน
ในขณะเกิดในกามธาตุ อินทรีย์ ๙ อื่นอีก คือ

๑. จักขุนทรีย์ ๒. โสตินทรีย์
๓. ฆานินทรีย์ ๔. ชิวหินทรีย์
๕. กายินทรีย์ ๖. มนินทรีย์
๗. อิตถินทรีย์ หรือปุริสินทรีย์ ๘. ชีวิตินทรีย์
๙. อุเปกขินทรีย์

ปรากฏแก่เปรต อสุรกาย สัตว์เดรัจฉาน ผู้เป็นโอปปาติกสัตว์ และสัตว์นรก ซึ่ง
มีอายตนะครบบริบูรณ์ ในขณะที่เกิดในกามธาตุ อินทรีย์ ๙ ปรากฏแก่สัตว์พวกนี้
ในขณะเกิดในกามธาตุ อินทรีย์ ๘ ปรากฏแก่สัตว์พวกไหน
ในขณะเกิดในกามธาตุ อินทรีย์ ๘ คือ

๑. โสตินทรีย์ ๒. ฆานินทรีย์
๓. ชิวหินทรีย์ ๔. กายินทรีย์
๕. มนินทรีย์ ๖. อิตถินทรีย์ หรือปุริสินทรีย์
๗. ชีวิตินทรีย์ ๘. อุเปกขินทรีย์

ปรากฏแก่เปรต อสุรกาย สัตว์เดรัจฉาน ผู้เป็นโอปปาติกสัตว์ และสัตว์นรก ซึ่งมี
ตาบอดมาแต่กำเนิด ในขณะเกิดในกามธาตุ อินทรีย์ ๘ ปรากฏแก่สัตว์พวกนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๖๖๐ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๘.ธัมมหทยวิภังค์] ๔.ธัมมทัสสนวาร ๑.กามธาตุ
ในขณะเกิดในกามธาตุ อินทรีย์ ๘ อื่นอีก ปรากฏแก่สัตว์พวกไหน
ในขณะเกิดในกามธาตุ อินทรีย์ ๘ อื่นอีก คือ

๑. จักขุนทรีย์ ๒. ฆานินทรีย์
๓. ชิวหินทรีย์ ๔. กายินทรีย์
๕. มนินทรีย์ ๖. อิตถินทรีย์ หรือปุริสินทรีย์
๗. ชีวิตินทรีย์ ๘. อุเปกขินทรีย์

ปรากฏแก่เปรต อสุรกาย สัตว์เดรัจฉาน ผู้เป็นโอปปาติกสัตว์ และสัตว์นรก ซึ่ง
มีหูหนวกมาแต่กำเนิด ในขณะเกิดในกามธาตุ อินทรีย์ ๘ ปรากฏแก่สัตว์พวกนี้
ในขณะเกิดในกามธาตุ อินทรีย์ ๗ ปรากฏแก่สัตว์พวกไหน
ในขณะเกิดในกามธาตุ อินทรีย์ ๗ คือ

๑. ฆานินทรีย์ ๒. ชิวหินทรีย์
๓. กายินทรีย์ ๔. มนินทรีย์
๕. อิตถินทรีย์ หรือปุริสินทรีย์ ๖. ชีวิตินทรีย์
๗. อุเปกขินทรีย์

ปรากฏแก่เปรต อสุรกาย สัตว์เดรัจฉาน ผู้เป็นโอปปาติกสัตว์ และสัตว์นรก ซึ่ง
มีตาบอดและหูหนวกมาแต่กำเนิด ในขณะเกิดในกามธาตุ อินทรีย์ ๗ เหล่านี้
ปรากฏแก่สัตว์พวกนี้
ในขณะเกิดในกามธาตุ อินทรีย์ ๕ ปรากฏแก่สัตว์พวกไหน
ในขณะเกิดในกามธาตุ อินทรีย์ ๕ คือ

๑. กายินทรีย์ ๒. มนินทรีย์
๓. อิตถินทรีย์ หรือปุริสินทรีย์ ๔. ชีวิตินทรีย์
๕. อุเปกขินทรีย์

ปรากฏแก่สัตว์ผู้เกิดในครรภ์ เว้นนปุงสกสัตว์ ผู้เป็นอเหตุกะ ในขณะเกิดในกามธาตุ
อินทรีย์ ๕ ปรากฏแก่สัตว์พวกนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๖๖๑ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๘.ธัมมหทยวิภังค์] ๔.ธัมมทัสสนวาร ๑.กามธาตุ
ในขณะเกิดในกามธาตุ อินทรีย์ ๔ ปรากฏแก่สัตว์พวกไหน
ในขณะเกิดในกามธาตุ อินทรีย์ ๔ คือ
๑. กายินทรีย์ ๒. มนินทรีย์
๓. ชีวิตินทรีย์ ๔. อุเปกขินทรีย์
ปรากฏแก่สัตว์ผู้เกิดในครรภ์ ผู้เป็นอเหตุกะเป็นนปุงสกสัตว์ ในขณะเกิดในกามธาตุ
อินทรีย์ ๔ ปรากฏแก่สัตว์พวกนี้
[๑๐๑๓] ในขณะเกิดในกามธาตุ เหตุ ๓ ปรากฏแก่สัตว์พวกไหน
ในขณะเกิดในกามธาตุ เหตุ ๓ คือ วิปากเหตุคืออโลภะ วิปากเหตุคือ
อโทสะ และวิปากเหตุคืออโมหะ ปรากฏแก่เทวดาชั้นกามาวจร มนุษย์ผู้เกิดใน
สมัยต้นกัป สัตว์ผู้เกิดในครรภ์ ซึ่งเป็นสเหตุกสัตว์ สัมปยุตด้วยญาณ ในขณะ
เกิดในกามธาตุ เหตุ ๓ ปรากฏแก่สัตว์พวกนี้
ในขณะเกิดในกามธาตุ เหตุ ๒ ปรากฏแก่สัตว์พวกไหน
ในขณะเกิดในกามธาตุ เหตุ ๒ คือ วิปากเหตุคืออโลภะ และวิปากเหตุคือ
อโทสะ ปรากฏแก่เทวดาชั้นกามาวจร มนุษย์ผู้เกิดในสมัยต้นกัป สัตว์ผู้เกิดในครรภ์
ซึ่งเป็นสเหตุกสัตว์ วิปปยุตจากญาณ ในขณะเกิดในกามธาตุ เหตุ ๒ ปรากฏ
แก่สัตว์พวกนี้ อเหตุกวิบาก ปรากฏแก่สัตว์ที่เหลือจากนั้น (๖)
[๑๐๑๔] ในขณะเกิดในกามธาตุ อาหาร ๔ เหล่าไหนปรากฏแก่สัตว์ทุก
จำพวก
อาหาร ๔ คือ
๑. กวฬิงการาหาร ๒. ผัสสาหาร
๓. มโนสัญเจตนาหาร ๔. วิญญาณาหาร
ในขณะเกิดในกามธาตุ อาหาร ๔ ปรากฏแก่สัตว์ทุกจำพวก (๗)
ในขณะเกิดในกามธาตุ ผัสสะ ๑ ข้อไหนปรากฏแก่สัตว์ทุกจำพวก
ผัสสะ ๑ ข้อนี้คือ มโนวิญญาณธาตุสัมผัส ในขณะเกิดในกามธาตุ ผัสสะ ๑
ข้อนี้ปรากฏแก่สัตว์ทุกจำพวก (๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๖๖๒ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๘.ธัมมหทยวิภังค์] ๔.ธัมมทัสสนวาร ๒.รูปธาตุ
ในขณะเกิดในกามธาตุ เวทนา ๑ ฯลฯ สัญญา ๑ ฯลฯ เจตนา ๑ ฯลฯ
จิต ๑ อย่างไหนปรากฏแก่สัตว์ทุกจำพวก
จิต ๑ คือ มโนวิญญาณธาตุ
ในขณะเกิดในกามธาตุ จิต ๑ นี้ปรากฏแก่สัตว์ทุกจำพวก (๙-๑๒)

๒. รูปธาตุ
(ธาตุในรูปภูมิ)
[๑๐๑๕] ในขณะเกิดในรูปธาตุ ขันธ์เท่าไรปรากฏ ฯลฯ จิตเท่าไรปรากฏ
ในขณะเกิดในรูปธาตุ ขันธ์ ๕ อายตนะ ๕ ธาตุ ๕ สัจจะ ๑ อินทรีย์ ๑๐
เหตุ ๓ อาหาร ๓ ผัสสะ ๑ เวทนา ๑ สัญญา ๑ เจตนา ๑ จิต ๑ ปรากฏแก่เทวดา
เว้นอสัญญสัตตพรหม
[๑๐๑๖] ในขณะเกิดในรูปธาตุ ขันธ์ ๕ เหล่าไหนปรากฏ
ขันธ์ ๕ คือ

๑. รูปขันธ์ ๒. เวทนาขันธ์
๓. สัญญาขันธ์ ๔. สังขารขันธ์
๕. วิญญาณขันธ์

ในขณะเกิดในรูปธาตุ ขันธ์ ๕ เหล่านี้ปรากฏ (๑)
ในขณะเกิดในรูปธาตุ อายตนะ ๕ เหล่าไหนปรากฏ
อายตนะ ๕ คือ

๑. จักขายตนะ ๒. รูปายตนะ
๓. โสตายตนะ ๔. มนายตนะ
๕. ธัมมายตนะ

ในขณะเกิดในรูปธาตุ อายตนะ ๕ เหล่านี้ปรากฏ (๒)
ในขณะเกิดในรูปธาตุ ธาตุ ๕ เหล่าไหนปรากฏ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๖๖๓ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๘.ธัมมหทยวิภังค์] ๔.ธัมมทัสสนวาร ๒.รูปธาตุ
ธาตุ ๕ เหล่านี้คือ

๑. จักขุธาตุ ๒. รูปธาตุ
๓. โสตธาตุ ๔. มโนวิญญาณธาตุ
๕. ธัมมธาตุ

ในขณะเกิดในรูปธาตุ ธาตุ ๕ เหล่านี้ปรากฏ (๓)
ในขณะเกิดในรูปธาตุ สัจจะ ๑ ข้อไหนปรากฏ
สัจจะ ๑ ข้อนี้คือ ทุกขสัจ ในขณะเกิดในรูปธาตุสัจจะ ๑ ข้อนี้ปรากฏ (๔)
ในขณะเกิดในรูปธาตุ อินทรีย์ ๑๐ เหล่าไหนปรากฏ
อินทรีย์ ๑๐ เหล่านี้ คือ

๑. จักขุนทรีย์ ๒. โสตินทรีย์
๓. มนินทรีย์ ๔. ชีวิตินทรีย์
๕. โสมนัสสินทรีย์ หรืออุเปกขินทรีย์ ๖. สัทธินทรีย์
๗. วิริยินทรีย์ ๘. สตินทรีย์
๙. สมาธินทรีย์ ๑๐. ปัญญินทรีย์

ในขณะเกิดในรูปธาตุ อินทรีย์ ๑๐ เหล่านี้ปรากฏ (๕)
ในขณะเกิดในรูปธาตุ เหตุ ๓ เหล่าไหนปรากฏ
เหตุ ๓ คือ วิปากเหตุคืออโลภะ วิปากเหตุคืออโทสะ และวิปากเหตุคืออโมหะ
ในขณะเกิดในรูปธาตุ เหตุ ๓ เหล่านี้ปรากฏ (๖)
ในขณะเกิดในรูปธาตุ อาหาร ๓ เหล่าไหนปรากฏ
อาหาร ๓ คือ
๑. ผัสสาหาร ๒. มโนสัญเจตนาหาร
๓. วิญญาณาหาร
ในขณะเกิดในรูปธาตุ อาหาร ๓ เหล่านี้ปรากฏ (๗)
ในขณะเกิดในรูปธาตุ ผัสสะ ๑ อย่างไหนปรากฏ
ผัสสะ ๑ คือ มโนวิญญาณธาตุสัมผัส ในขณะเกิดในรูปธาตุ ผัสสะ ๑ นี้
ปรากฏ (๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๖๖๔ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๘.ธัมมหทยวิภังค์] ๔.ธัมมทัสสนวาร ๔.อรูปธาตุ
ในขณะเกิดในรูปธาตุ เวทนา ๑ ฯลฯ สัญญา ๑ ฯลฯ เจตนา ๑ ฯลฯ
จิต ๑ อย่างไหนปรากฏ
จิต ๑ คือ มโนวิญญาณธาตุ
ในขณะที่เกิดในรูปธาตุ จิต ๑ นี้ปรากฏ (๙-๑๒)

๓. อสัญญสัตว์
(สัตว์ที่ไม่มีสัญญา)
[๑๐๑๗] ในขณะเกิด ขันธ์เท่าไรปรากฏ ฯลฯ จิตเท่าไรปรากฏแก่
อสัญญสัตตพรหม
ในขณะเกิด ขันธ์ ๑ คือ รูปขันธ์
อายตนะ ๒ คือ รูปายตนะ และธัมมายตนะ
ธาตุ ๒ คือ รูปธาตุ และธัมมธาตุ
สัจจะ ๑ คือ ทุกขสัจ
อินทรีย์ ๑ คือ รูปชีวิตินทรีย์
ปรากฏแก่อสัญญสัตตพรหม อสัญญสัตตพรหม ไม่มีเหตุ ไม่มีอาหาร ไม่มีผัสสะ
ไม่มีเวทนา ไม่มีสัญญา ไม่มีเจตนา ไม่มีจิตปรากฏ

๔. อรูปธาตุ
(ธาตุในอรูปภูมิ)
[๑๐๑๘] ในขณะเกิดในอรูปธาตุ ขันธ์เท่าไรปรากฏ ฯลฯ จิตเท่าไรปรากฏ
ในขณะเกิดในอรูปธาตุ ขันธ์ ๔ อายตนะ ๒ ธาตุ ๒ สัจจะ ๑ อินทรีย์ ๘
เหตุ ๓ อาหาร ๓ ผัสสะ ๑ เวทนา ๑ สัญญา ๑ เจตนา ๑ จิต ๑ ปรากฏ
[๑๐๑๙] ในขณะเกิดในอรูปธาตุ ขันธ์ ๔ เหล่าไหนปรากฏ
ขันธ์ ๔ คือ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๖๖๕ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๘.ธัมมหทยวิภังค์] ๔.ธัมมทัสสนวาร ๔.อรูปธาตุ
๑. เวทนาขันธ์ ๒. สัญญาขันธ์
๓. สังขารขันธ์ ๔. วิญญาณขันธ์
ในขณะเกิดในอรูปธาตุ ขันธ์ ๔ เหล่านี้ปรากฏ (๑)
ในขณะเกิดในอรูปธาตุ อายตนะ ๒ เหล่าไหนปรากฏ
อายตนะ ๒ คือ มนายตนะ และธัมมายตนะ
ในขณะเกิดในอรูปธาตุ อายตนะ ๒ เหล่านี้ปรากฏ (๒)
ในขณะเกิดในอรูปธาตุ ธาตุ ๒ เหล่าไหนปรากฏ
ธาตุ ๒ คือ มโนวิญญาณธาตุ และธัมมธาตุ
ในขณะเกิดในอรูปธาตุ ธาตุ ๒ เหล่านี้ปรากฏ (๓)
ในขณะเกิดในอรูปธาตุ สัจจะ ๑ ข้อไหนปรากฏ
สัจจะ ๑ ข้อนี้คือ ทุกขสัจ
ในขณะเกิดในอรูปธาตุ สัจจะ ๑ ข้อนี้ปรากฏ (๔)
ในขณะเกิดในอรูปธาตุ อินทรีย์ ๘ เหล่าไหนปรากฏ
อินทรีย์ ๘ คือ

๑. มนินทรีย์ ๒. ชีวิตินทรีย์
๓. อุเปกขินทรีย์ ๔. สัทธินทรีย์
๕. วิริยินทรีย์ ๖. สตินทรีย์
๗. สมาธินทรีย์ ๘. ปัญญินทรีย์

ในขณะเกิดในอรูปธาตุ อินทรีย์ ๘ เหล่านี้ปรากฏ (๕)
ในขณะเกิดในอรูปธาตุ เหตุ ๓ เหล่าไหนปรากฏ
เหตุ ๓ คือ วิปากเหตุคืออโลภะ วิปากเหตุคืออโทสะ และวิปากเหตุคือ
อโมหะ
ในขณะเกิดในอรูปธาตุ เหตุ ๓ เหล่านี้ปรากฏ (๖)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๖๖๖ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๘.ธัมมหทยวิภังค์] ๕.ภูมันตรทัสสนวาร
ในขณะเกิดในอรูปธาตุ อาหาร ๓ เหล่าไหนปรากฏ
อาหาร ๓ คือ
๑. ผัสสาหาร ๒. มโนสัญเจตนาหาร
๓. วิญญาณาหาร
ในขณะเกิดในอรูปธาตุ อาหาร ๓ เหล่านี้ปรากฏ (๗)
ในขณะเกิดในอรูปธาตุ ผัสสะ ๑ อย่างไหนปรากฏ
ผัสสะ ๑ คือ มโนวิญญาณาธาตุสัมผัส
ในขณะเกิดในอรูปธาตุ ผัสสะ ๑ นี้ปรากฏ (๘)
ในขณะเกิดในอรูปธาตุ เวทนา ๑ ฯลฯ สัญญา ๑ ฯลฯ เจตนา ๑ ฯลฯ
จิต ๑ อย่างไหนปรากฏ
จิต ๑ คือ มโนวิญญาณธาตุ
ในขณะเกิดในอรูปธาตุ จิต ๑ นี้ปรากฏ (๙-๑๒)

๕. ภูมันตรทัสสนวาร
(วาระว่าด้วยการแสดงระหว่างภูมิ)
[๑๐๒๐] สภาวธรรมที่เป็นกามาวจร สภาวธรรมที่ไม่เป็นกามาวจร สภาว-
ธรรมที่เป็นรูปาวจร สภาวธรรมที่ไม่เป็นรูปาวจร สภาวธรรมที่เป็นอรูปาวจร
สภาวธรรมที่ไม่เป็นอรูปาวจร สภาวธรรมที่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ สภาวธรรมที่ไม่
นับเนื่องในวัฏฏทุกข์
สภาวธรรมที่เป็นกามาวจร เป็นไฉน
ขันธ์ ธาตุ อายตนะ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณที่ท่องเที่ยวอยู่ใน
ภูมินี้ ที่นับเนื่องในภูมินี้ ในระหว่างนี้ คือ เบื้องล่างกำหนดเอาอเวจีนรกเป็น
ที่สุด เบื้องบนกำหนดเอาเหล่าเทวดาชั้นปรนิมมิตวสวัตตีเป็นที่สุด สภาวธรรม
เหล่านี้ชื่อว่าเป็นกามาวจร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๖๖๗ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๘.ธัมมหทยวิภังค์] ๕.ภูมันตรทัสสนวาร
สภาวธรรมที่ไม่เป็นกามาวจร เป็นไฉน
สภาวธรรมที่เป็นรูปาวจร ที่เป็นอรูปาวจร ที่ไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ สภาว-
ธรรมเหล่านี้ชื่อว่าไม่เป็นกามาวจร
สภาวธรรมที่เป็นรูปาวจร เป็นไฉน
สภาวธรรมคือจิตและเจตสิกของบุคคลผู้เข้าสมาบัติ ผู้เกิดในรูปภูมิ หรือ
พระอรหันต์ผู้อยู่เป็นสุขในปัจจุบัน ที่ท่องเที่ยวอยู่ในภูมินี้ นับเนื่องในภูมินี้ ใน
ระหว่างนี้คือ เบื้องล่างกำหนดเอาพรหมโลกเป็นที่สุด (ชั้นพรหมปาริสัชชา) เบื้อง
บนกำหนดเอาพรหมชั้นอกนิฏฐภพเป็นที่สุด สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นรูปาวจร
สภาวธรรมที่ไม่เป็นรูปาวจร เป็นไฉน
สภาวธรรมที่เป็นกามาวจร ที่เป็นอรูปาวจร ที่ไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ สภาว-
ธรรมเหล่านี้ชื่อว่าไม่เป็นรูปาวจร
สภาวธรรมที่เป็นอรูปาวจร เป็นไฉน
สภาวธรรมคือจิตและเจตสิกของบุคคลผู้เข้าสมาบัติ ผู้เกิดในอรูปภูมิ หรือ
พระอรหันต์ผู้อยู่เป็นสุขในปัจจุบัน ที่ท่องเที่ยวอยู่ในภูมินี้ นับเนื่องในภูมินี้ ใน
ระหว่างนี้ คือ เบื้องล่างกำหนดเอาพรหมผู้เข้าถึงชั้นอากาสานัญจายตนภพเป็นที่สุด
เบื้องบนกำหนดเอาเหล่าพรหมผู้เข้าถึงชั้นเนวสัญญานาสัญญายตนภพเป็น ที่สุด
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นอรูปาวจร
สภาวธรรมที่ไม่เป็นอรูปาวจร เป็นไฉน
สภาวธรรมที่เป็นกามาวจร ที่เป็นรูปาวจร ที่ไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ สภาว-
ธรรม เหล่านี้ชื่อว่าไม่เป็นอรูปาวจร
สภาวธรรมที่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ เป็นไฉน
สภาวธรรมคือกุศล อกุศล และอัพยากฤตที่เป็นอารมณ์ของอาสวะ
สภาวธรรมที่เป็นกามาวจร สภาวธรรมที่เป็นรูปาวจร สภาวธรรมที่เป็นอรูปาวจร
ได้แก่ รูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ และวิญญาณขันธ์ สภาวธรรม
เหล่านี้ชื่อว่านับเนื่องในวัฏฏทุกข์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๖๖๘ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๘.ธัมมหทยวิภังค์] ๖. อุปปาทกกัมมอายุปปมาณวาร ๑. อุปปาทกกรรม
สภาวธรรมที่ไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ เป็นไฉน
มรรค ผลแห่งมรรค ธาตุที่ปัจจัยไม่ปรุงแต่ง (นิพพาน) สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อ
ว่าไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์

๖. อุปปาทกกัมมอายุปปมาณวาร
(วาระว่าด้วยกรรมเป็นเหตุให้เกิดและประมาณอายุของสัตว์)
๑. อุปปาทกกรรม
(กรรมเป็นเหตุให้เกิด)
[๑๐๒๑] ที่ชื่อว่า เทวดา ได้แก่
เทวดา ๓ จำพวก คือ
๑. สมมติเทวดา (เทวดาโดยสมมติ)
๒. อุปปัตติเทวดา (เทวดาโดยอุบัติ)
๓. วิสุทธิเทวดา (เทวดาโดยความบริสุทธิ์)
พระราชา พระราชเทวี พระราชกุมาร๑ เรียกว่า สมมติเทวดา
เทวดาเบื้องบนนับแต่เทวดาชั้นจาตุมหาราชขึ้นไปเรียกว่า อุปปัตติเทวดา
พระอรหันต์ทั้งหลายเรียกว่า วิสุทธิเทวดา
พวกมนุษย์ผู้ให้ทาน สมาทานศีล รักษาอุโบสถแล้วไปเกิดที่ไหน
พวกมนุษย์ให้ทาน สมาทานศีล รักษาอุโบสถแล้ว บางพวกไปเกิดเป็นสหาย
ของกษัตริย์มหาศาล บางพวกไปเกิดเป็นสหายของพราหมณ์มหาศาล บางพวกไป
เกิดเป็นสหายของคฤหบดีมหาศาล บางพวกไปเกิดเป็นสหายของเทวดาชั้นจาตุ-
มหาราช บางพวกไปเกิดเป็นสหายของเทวดาชั้นดาวดึงส์ บางพวกไปเกิดเป็น
สหายของเทวดาชั้นยามา บางพวกไปเกิดเป็นสหายของเทวดาชั้นดุสิต บางพวก
ไปเกิดเป็นสหายของเทวดาชั้นนิมมานรดี บางพวกไปเกิดเป็นสหายของเทวดาชั้น
ปรนิมมิตวสวัตตี

เชิงอรรถ :
๑ อภิ.วิ.อ. ๑๐๒๑/๕๖๕

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๖๖๙ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๘.ธัมมหทยวิภังค์] ๖.อุปปาทกกัมมอายุปปมาณวาร ๒.อายุปปมาณะ
๒. อายุปปมาณะ
(ประมาณอายุ)
[๑๐๒๒] อายุของมนุษย์ มีประมาณเท่าไร
มีประมาณ ๑๐๐ ปี ต่ำกว่านั้นบ้าง เกินกว่านั้นบ้างก็มี (๑)
[๑๐๒๓] อายุของเทวดาชั้นจาตุมหาราช มีประมาณเท่าไร
๕๐ ปีของมนุษย์ นับเป็นวันหนึ่งคืนหนึ่งของเทวดาชั้นจาตุมหาราช ๓๐
ราตรีโดยราตรีนั้นเป็น ๑ เดือน ๑๒ เดือนโดยเดือนนั้น เป็น ๑ ปี ๕๐๐ ปี
ทิพย์โดยปีนั้น เป็นประมาณอายุของเทวดาชั้นจาตุมหาราช
นับอย่างปีมนุษย์ มีประมาณเท่าไร
มีประมาณ ๙ ล้านปี (๒)
อายุของเทวดาชั้นดาวดึงส์ มีประมาณเท่าไร
๑๐๐ ปีของมนุษย์นับเป็นวันหนึ่ง คืนหนึ่งของเทวดาชั้นดาวดึงส์ ๓๐ ราตรี
โดยราตรีนั้น เป็น ๑ เดือน ๑๒ เดือนโดยเดือนนั้น เป็น ๑ ปี ๑,๐๐๐ ปี
ทิพย์โดยปีนั้น เป็นประมาณอายุของเทวดาชั้นดาวดึงส์
นับอย่างปีมนุษย์ มีประมาณเท่าไร
มีประมาณ ๓ โกฏิ ๖ ล้านปี (๓)
อายุของเทวดาชั้นยามา มีประมาณเท่าไร
๒๐๐ ปีของมนุษย์นับเป็นวันหนึ่งคืนหนึ่งของเทวดาชั้นยามา ๓๐ ราตรีโดย
ราตรีนั้น เป็น ๑ เดือน ๑๒ เดือนโดยเดือนนั้น เป็น ๑ ปี ๒,๐๐๐ ปีทิพย์โดยปีนั้น
เป็นประมาณอายุของเทวดาชั้นยามา
นับอย่างปีมนุษย์ มีประมาณเท่าไร
มีประมาณ ๑๔ โกฏิ ๔ ล้านปี (๔)
อายุของเทวดาชั้นดุสิต มีประมาณเท่าไร


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๖๗๐ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๘.ธัมมหทยวิภังค์] ๖.อุปปาทกกัมมอายุปปมาณวาร ๒.อายุปปมาณะ
๔๐๐ ปีของมนุษย์นับเป็นวันหนึ่งคืนหนึ่งของเทวดาชั้นดุสิต ๓๐ ราตรีโดย
ราตรีนั้น เป็น ๑ เดือน ๑๒ เดือนโดยเดือนนั้น เป็น ๑ ปี ๔,๐๐๐ ปีทิพย์โดยปีนั้น
เป็นประมาณอายุของเทวดาชั้นดุสิต
นับอย่างปีมนุษย์ มีประมาณเท่าไร
มีประมาณ ๕๗ โกฏิ ๖ ล้านปี (๕)
อายุของเทวดาชั้นนิมมานรดี มีประมาณเท่าไร
๘๐๐ ปีของมนุษย์นับเป็นวันหนึ่งคืนหนึ่งของเทวดาชั้นนิมมานรดี ๓๐ ราตรี
โดยราตรีนั้น เป็น ๑ เดือน ๑๒ เดือนโดยเดือนนั้น เป็น ๑ ปี ๘,๐๐๐ ปีทิพย์
โดยปีนั้น เป็นประมาณอายุของเทวดาชั้นนิมมานรดี
นับอย่างปีมนุษย์ มีประมาณเท่าไร
มีประมาณ ๒๓๐ โกฏิ ๔ ล้านปี (๖)
อายุของเทวดาชั้นปรนิมมิตวสวัตตี มีประมาณเท่าไร
๑,๖๐๐ ปีของมนุษย์นับเป็นวันหนึ่งคืนหนึ่งของเทวดาชั้นปรนิมมิตวสวัตตี ๓๐
ราตรีโดยราตรีนั้น เป็น ๑ เดือน ๑๒ เดือนโดยเดือนนั้นเป็น ๑ ปี ๑๖,๐๐๐ ปี
ทิพย์เป็นประมาณอายุของเทวดาชั้นปรนิมมิตวสวัตตี
นับอย่างปีมนุษย์ มีประมาณเท่าไร
มีประมาณ ๙๒๑ โกฏิ ๖ ล้านปี (๗)
เทวดาชั้นกามาวจรสวรรค์ ๖ ชั้นเพียบพร้อมด้วยกามคุณทุกอย่าง
อายุของเทวดาชั้นกามาวจรสวรรค์ ๖ ชั้น นับรวมกันทั้งหมดเป็นเท่าไร
เป็น ๑,๒๒๘ โกฏิ ๕ ล้านปี โดยนับอย่างปีของมนุษย์
[๑๐๒๔] บุคคลเจริญปฐมฌานได้อย่างสามัญ ไปเกิดที่ไหน
บุคคลเจริญปฐมฌานได้อย่างสามัญแล้วไปเกิดเป็นสหายของเทวดาชั้นพรหม-
ปาริสัชชา


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๖๗๑ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๘.ธัมมหทยวิภังค์] ๖.อุปปาทกกัมมอายุปปมาณวาร ๒.อายุปปมาณะ
อายุของเทวดา เหล่านั้นมีประมาณเท่าไร
มีประมาณเท่าส่วนที่ ๓ แห่งกัป (๘)
บุคคลเจริญปฐมฌานได้อย่างกลาง ไปเกิดที่ไหน
ไปเกิดเป็นสหายของเทวดาชั้นพรหมปุโรหิตา
อายุของเทวดา เหล่านั้นมีประมาณเท่าไร
มีประมาณกึ่งกัป (๙)
บุคคลเจริญปฐมฌานได้อย่างประณีต ไปเกิดที่ไหน
บุคคลเจริญปฐมฌานได้อย่างประณีตแล้ว ไปเกิดเป็นสหายของเทวดาชั้น
มหาพรหม
อายุของเทวดา เหล่านั้นมีประมาณเท่าไร
มีประมาณ ๑ กัป (๑๐)
[๑๐๒๕] บุคคลเจริญทุติยฌานได้อย่างสามัญ ไปเกิดที่ไหน
บุคคลผู้เจริญทุติยฌานได้อย่างสามัญแล้ว ไปเกิดเป็นสหายของเทวดาชั้น
ปริตตาภา
อายุของเทวดา เหล่านั้นมีประมาณเท่าไร
มีประมาณ ๒ กัป (๑๑)
บุคคลเจริญทุติยฌานได้อย่างกลาง ไปเกิดที่ไหน
บุคคลเจริญทุติยฌานได้อย่างกลางแล้ว ไปเกิดเป็นสหายของเทวดาชั้น
อัปปมาณาภา
อายุของเทวดา เหล่านั้นมีประมาณเท่าไร
มีประมาณ ๔ กัป (๑๒)
บุคคลเจริญทุติยฌานได้อย่างประณีต ไปเกิดที่ไหน
บุคคลเจริญทุติยฌานได้อย่างประณีตแล้วไปเกิดเป็นสหายของเทวดาชั้นอาภัสสรา


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๖๗๒ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๘.ธัมมหทยวิภังค์] ๖.อุปปาทกกัมมอายุปปมาณวาร ๒.อายุปปมาณะ
อายุของเทวดา เหล่านั้นมีประมาณเท่าไร
มีประมาณ ๘ กัป (๑๓)
[๑๐๒๖] บุคคลเจริญตติยฌานได้อย่างสามัญ ไปเกิดที่ไหน
บุคคลเจริญตติยฌานได้อย่างสามัญแล้ว ไปเกิดเป็นสหายของเทวดาชั้นปริตต-
สุภา
อายุของเทวดา เหล่านั้นมีประมาณเท่าไร
มีประมาณ ๑๖ กัป (๑๔)
บุคคลเจริญตติยฌานได้อย่างกลาง ไปเกิดที่ไหน
บุคคลเจริญตติยฌานได้อย่างกลาง ไปเกิดเป็นสหายของเทวดาชั้นอัปปมาณสุภา
อายุของเทวดา เหล่านั้นมีประมาณเท่าไร
มีประมาณ ๓๒ กัป (๑๕)
บุคคลเจริญตติยฌานได้อย่างประณีต ไปเกิดที่ไหน
บุคคลเจริญตติยฌานได้อย่างประณีตแล้ว ไปเกิดเป็นสหายของเทวดาชั้น
สุภกิณหา
อายุของเทวดา เหล่านั้นมีประมาณเท่าไร
มีประมาณ ๖๔ กัป (๑๖)
[๑๐๒๗] บุคคลเจริญจตุตถฌานแล้ว บางพวกไปเกิดเป็นสหายของอสัญญสัตต-
เทวดา บางพวกไปเกิดเป็นสหายของเทวดาชั้นเวหัปผลา บางพวกไปเกิดเป็นสหาย
ของเทวดาชั้นอวิหา บางพวกไปเกิดเป็นสหายของเทวดาชั้นอตัปปา บางพวกไปเกิด
เป็นสหายของเทวดาชั้นสุทัสสา บางพวกไปเกิดเป็นสหายของเทวดาชั้นสุทัสสี
บางพวกไปเกิดเป็นสหายของเทวดาชั้นอกนิฏฐา บางพวกไปเกิดเป็นสหายของ
เทวดาผู้เข้าถึงอากาสานัญจายตนภพ บางพวกไปเกิดเป็นสหายของเทวดาผู้เข้าถึง
วิญญาณัญจายตนภพ บางพวกไปเกิดเป็นสหายของเทวดาผู้เข้าถึงอากิญจัญญายตน-
ภพ บางพวกไปเกิดเป็นสหายของเทวดาผู้เข้าถึงเนวสัญญานาสัญญายตนภพ เพราะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๖๗๓ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๘.ธัมมหทยวิภังค์] ๖.อุปปาทกกัมมอายุปปมาณวาร ๒.อายุปปมาณะ
มีอารมณ์ต่างกัน เพราะมีมนสิการต่างกัน เพราะมีฉันทะต่างกัน เพราะมีปณิธาน
ต่างกัน๑ เพราะมีอธิโมกข์ต่างกัน เพราะมีอภินิหารต่างกัน เพราะมีปัญญาต่างกัน
อายุของอสัญญสัตตเทวดาและเทวดาชั้นเวหัปผลา มีประมาณเท่าไร
มีประมาณ ๕๐๐ กัป (๑๗-๑๘)
อายุของเทวดาชั้นอวิหา มีประมาณเท่าไร
มีประมาณ ๑,๐๐๐ กัป (๑๙)
อายุของเทวดาชั้นอตัปปา มีประมาณเท่าไร
มีประมาณ ๒,๐๐๐ กัป (๒๐)
อายุของเทวดาชั้นสุทัสสา มีประมาณเท่าไร
มีประมาณ ๔,๐๐๐ กัป (๒๑)
อายุของเทวดาชั้นสุทัสสี มีประมาณเท่าไร
มีประมาณ ๘,๐๐๐ กัป (๒๒)
อายุของเทวดาชั้นอกนิฏฐา มีประมาณเท่าไร
มีประมาณ ๑๖,๐๐๐ กัป (๒๓)
[๑๐๒๘] อายุของเทวดาผู้เข้าถึงอากาสานัญจายตนภพ มีประมาณเท่าไร
มีประมาณ ๒๐,๐๐๐ กัป (๒๔)
อายุของเทวดาผู้เข้าถึงวิญญาณัญจายตนภพ มีประมาณเท่าไร
มีประมาณ ๔๐,๐๐๐ กัป (๒๕)
อายุของเทวดาผู้เข้าถึงอากิญจัญญายตนภพ มีประมาณเท่าไร
มีประมาณ ๖๐,๐๐๐ กัป (๒๖)
อายุของเทวดาผู้เข้าถึงเนวสัญญานาสัญญายตนภพ มีประมาณเท่าไร
มีประมาณ ๘๔,๐๐๐ กัป (๒๗)

เชิงอรรถ :
๑ คือทำความปรารถนาในปฐวีกสิณเป็นต้น (อภิ.วิ.อ. ๑๐๒๗/๕๖๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๖๗๔ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๘.ธัมมหทยวิภังค์] ๗.อภิญเญยยาทิวาร
[๑๐๒๙] เหล่าสัตว์ผู้อันอำนาจแห่งบุญส่งเสริมแล้ว
ไปสู่กามภพและรูปภพหรือไปถึงภวัคคพรหมบ้าง
แต่ยังกลับไปสู่ทุคติภูมิได้อีก
เหล่าสัตว์ที่มีอายุยืนถึงเพียงนั้นก็ยังจุติได้เพราะหมดอายุ
ไม่ว่าภพไหน ๆ ที่ชื่อว่าเที่ยงไม่มี พระผู้มีพระภาคผู้ทรง
แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ได้ตรัสไว้แล้วอย่างนี้
เพราะฉะนั้นแล เหล่านักปราชญ์ผู้มีปัญญาเฉลียวฉลาด
รอบคอบคำนึงถึงความจริงข้อนี้ จึงเจริญมรรคอันสูงสุด
เพื่อพ้นจากชรามรณะ
ครั้นเจริญมรรคที่บริสุทธิ์สะอาดซึ่งมีปกติยังสัตว์ให้หยั่ง
ถึงนิพพานแล้ว จึงเป็นผู้ปราศจากอาสวะ ปรินิพพานเพราะ
กำหนดรู้อาสวะทั้งปวงฉะนี้แล

๗. อภิญเญยยาทิวาร
(วาระว่าด้วยธรรมที่พึงรู้ยิ่งเป็นต้น)
[๑๐๓๐] บรรดาขันธ์ ๕ ขันธ์เท่าไรพึงรู้ยิ่ง เท่าไรพึงกำหนดรู้ เท่าไรพึงละ
เท่าไรพึงเจริญ เท่าไรพึงทำให้แจ้ง เท่าไรไม่พึงละ เท่าไรไม่พึงเจริญ เท่าไรไม่พึง
ทำให้แจ้ง ฯลฯ บรรดาจิต ๗ จิตเท่าไรพึงรู้ยิ่ง เท่าไรพึงกำหนดรู้ เท่าไรพึงละ
เท่าไรพึงเจริญ เท่าไรพึงทำให้แจ้ง เท่าไรไม่พึงละ เท่าไรไม่พึงเจริญ เท่าไรไม่พึง
ทำให้แจ้ง
[๑๐๓๑] รูปขันธ์พึงรู้ยิ่ง พึงกำหนดรู้ แต่ไม่พึงละ ไม่พึงเจริญ ไม่พึงทำให้แจ้ง
ขันธ์ ๔ พึงรู้ยิ่ง พึงกำหนดรู้ ที่พึงละก็มี ที่พึงเจริญก็มี ที่พึงทำให้แจ้งก็มี
ที่ไม่พึงละ ไม่พึงเจริญ ไม่พึงทำให้แจ้งก็มี (๑)
อายตนะ ๑๐ พึงรู้ยิ่ง พึงกำหนดรู้ แต่ไม่พึงละ ไม่พึงเจริญ ไม่พึงทำให้แจ้ง
อายตนะ ๒ พึงรู้ยิ่ง พึงกำหนดรู้ ที่พึงละก็มี ที่พึงเจริญก็มี ที่พึงทำให้แจ้งก็มี
ที่ไม่พึงละ ไม่พึงเจริญ ไม่พึงทำให้แจ้งก็มี (๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๖๗๕ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๘. ธัมมหทยวิภังค์] ๗. อภิญเญยยาทิวาร
ธาตุ ๑๖ พึงรู้ยิ่ง พึงกำหนดรู้ แต่ไม่พึงละ ไม่พึงเจริญ ไม่พึงทำให้แจ้ง
ธาตุ ๒ พึงรู้ยิ่ง พึงกำหนดรู้ ที่พึงละก็มี ที่พึงเจริญก็มี ที่พึงทำให้แจ้งก็มี
ที่ไม่พึงละ ไม่พึงเจริญ ไม่พึงทำให้แจ้งก็มี (๓)
สมุทยสัจพึงรู้ยิ่ง พึงกำหนดรู้ พึงละ แต่ไม่พึงเจริญ ไม่พึงทำให้แจ้ง
มัคคสัจพึงรู้ยิ่ง พึงกำหนดรู้ แต่ไม่พึงละ พึงเจริญ แต่ไม่พึงทำให้แจ้ง
นิโรธสัจพึงรู้ยิ่ง พึงกำหนดรู้ แต่ไม่พึงละ ไม่พึงเจริญ แต่พึงทำให้แจ้ง
ทุกขสัจพึงรู้ยิ่ง พึงกำหนดรู้ ที่พึงละ แต่ไม่พึงเจริญก็มี ที่ไม่พึงทำให้แจ้ง
และไม่พึงละก็มี (๔)
อินทรีย์ ๙ พึงรู้ยิ่ง พึงกำหนดรู้ แต่ไม่พึงละ ไม่พึงเจริญ ไม่พึงทำให้แจ้ง
โทมนัสสินทรีย์พึงรู้ยิ่ง พึงกำหนดรู้ พึงละ แต่ไม่พึงเจริญ ไม่พึงทำให้แจ้ง
อนัญญาตัญญัสสามีตินทรีย์พึงรู้ยิ่ง พึงกำหนดรู้ แต่ไม่พึงละ พึงเจริญ แต่ไม่
พึงทำให้แจ้ง
อัญญินทรีย์พึงรู้ยิ่ง พึงกำหนดรู้ แต่ไม่พึงละ ที่พึงเจริญก็มี ที่พึงทำให้แจ้งก็มี
อัญญาตาวินทรีย์พึงรู้ยิ่ง พึงกำหนดรู้ แต่ไม่พึงละ ไม่พึงเจริญ แต่พึงทำให้แจ้ง
อินทรีย์ ๓ พึงรู้ยิ่ง พึงกำหนดรู้ แต่ไม่พึงละ ที่พึงเจริญก็มี ที่พึงทำให้แจ้งก็มี
ที่ไม่พึงเจริญ ไม่พึงทำให้แจ้งก็มี
อินทรีย์ ๖ พึงรู้ยิ่ง พึงกำหนดรู้ ที่พึงละก็มี ที่พึงเจริญก็มี ที่พึงทำให้แจ้งก็มี
ที่ไม่พึงละ ไม่พึงเจริญ ไม่พึงทำให้แจ้งก็มี (๕)
อกุศลเหตุ ๓ พึงรู้ยิ่ง พึงกำหนดรู้ พึงละ แต่ไม่พึงเจริญ ไม่พึงทำให้แจ้ง
กุศลเหตุ ๓ พึงรู้ยิ่ง พึงกำหนดรู้ ไม่พึงละ ที่พึงเจริญก็มี ที่ไม่พึงทำให้แจ้ง
และไม่พึงเจริญก็มี
อัพยากตเหตุ ๓ พึงรู้ยิ่ง พึงกำหนดรู้ แต่ไม่พึงละ ไม่พึงเจริญ ที่พึงทำให้
แจ้งก็มี ที่ไม่พึงทำให้แจ้งก็มี (๖)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๖๗๖ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๘.ธัมมหทยวิภังค์] ๘.สารัมมณานารัมมณวาร
กวฬิงการาหารพึงรู้ยิ่ง พึงกำหนดรู้ แต่ไม่พึงละ ไม่พึงเจริญ ไม่พึงทำให้แจ้ง
อาหาร ๓ พึงรู้ยิ่ง พึงกำหนดรู้ ที่พึงละก็มี ที่พึงเจริญก็มี ที่พึงทำให้แจ้งก็มี
ที่ไม่พึงละ ไม่พึงเจริญ ไม่พึงทำให้แจ้งก็มี (๗)
ผัสสะ ๖ พึงรู้ยิ่ง พึงกำหนดรู้ แต่ไม่พึงละ ไม่พึงเจริญ ไม่พึงทำให้แจ้ง
มโนวิญญาณธาตุสัมผัสพึงรู้ยิ่ง พึงกำหนดรู้ ที่พึงละก็มี ที่พึงเจริญก็มี ที่
พึงทำให้แจ้งก็มี ที่ไม่พึงละ ไม่พึงเจริญ ไม่พึงทำให้แจ้งก็มี (๘)
เวทนา ๖ ฯลฯ สัญญา ๖ ฯลฯ เจตนา ๖ ฯลฯ จิต ๖ พึงรู้ยิ่ง พึงกำหนดรู้
แต่ไม่พึงละ ไม่พึงเจริญ ไม่พึงทำให้แจ้ง
มโนวิญญาณธาตุพึงรู้ยิ่ง พึงกำหนดรู้ ที่พึงละก็มี ที่พึงเจริญก็มี ที่พึงทำให้
แจ้งก็มี ที่ไม่พึงละ ไม่พึงเจริญ ไม่พึงทำให้แจ้งก็มี (๙-๑๒)

๘. สารัมมณานารัมมณวาร
(วาระว่าด้วยธรรมที่รับรู้อารมณ์ได้และไม่ได้)
[๑๐๓๒] บรรดาขันธ์ ๕ ขันธ์เท่าไรรับรู้อารมณ์ได้ เท่าไรรับรู้อารมณ์ไม่ได้
ฯลฯ บรรดาจิต ๗ จิตเท่าไรรับรู้อารมณ์ได้ เท่าไรรับรู้อารมณ์ไม่ได้
[๑๐๓๓] รูปขันธ์รับรู้อารมณ์ไม่ได้ ขันธ์ ๔ รับรู้อารมณ์ได้ (๑)
อายตนะ ๑๐ รับรู้อารมณ์ไม่ได้ มนายตนะรับรู้อารมณ์ได้ ธัมมายตนะที่รับ
รู้อารมณ์ได้ก็มี ที่รับรู้อารมณ์ไม่ได้ก็มี (๒)
ธาตุ ๑๐ รับรู้อารมณ์ไม่ได้ ธาตุ ๗ รับรู้อารมณ์ได้ ธัมมธาตุที่รับรู้
อารมณ์ได้ก็มี ที่รับรู้อารมณ์ไม่ได้ก็มี (๓)
สัจจะ ๒ รับรู้อารมณ์ได้ นิโรธสัจรับรู้อารมณ์ไม่ได้ ทุกขสัจที่รับรู้อารมณ์ได้ก็มี
ที่รับรู้อารมณ์ไม่ได้ก็มี (๔)
อินทรีย์ ๗ รับรู้อารมณ์ไม่ได้ อินทรีย์ ๑๔ รับรู้อารมณ์ได้ ชีวิตินทรีย์ที่
รับรู้อารมณ์ได้ก็มี ที่รับรู้อารมณ์ไม่ได้ก็มี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๖๗๗ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๘.ธัมมหทยวิภังค์] ๘.สารัมมณานารัมมณวาร
เหตุ ๙ รับรู้อารมณ์ได้
กวฬิงการาหารรับรู้อารมณ์ไม่ได้ อาหาร ๓ รับรู้อารมณ์ได้
ผัสสะ ๗ เวทนา ๗ สัญญา ๗ เจตนา ๗ และจิต ๗ รับรู้อารมณ์ได้ (๕-
๑๒)
[๑๐๓๔] บรรดาขันธ์ ๕ ขันธ์เท่าไรมีธรรมที่รับรู้อารมณ์ได้เป็นอารมณ์ เท่า
ไรมีธรรมที่รับรู้อารมณ์ไม่ได้เป็นอารมณ์ เท่าไรที่รับรู้อารมณ์ไม่ได้ ฯลฯ บรรดาจิต
๗ จิตเท่าไรมีธรรมที่รับรู้อารมณ์ได้เป็นอารมณ์ เท่าไรมีธรรมที่รับรู้อารมณ์ไม่ได้
เป็นอารมณ์ เท่าไรรับรู้อารมณ์ไม่ได้๑
[๑๐๓๕] รูปขันธ์รับรู้อารมณ์ไม่ได้ ขันธ์ ๔ ที่มีสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ได้
เป็นอารมณ์ก็มี ที่มีสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ไม่ได้เป็นอารมณ์ก็มี (๑)
อายตนะ ๑๐ รับรู้อารมณ์ไม่ได้ มนายตนะที่มีสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ได้
เป็นอารมณ์ก็มี ที่มีสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ไม่ได้เป็นอารมณ์ก็มี ธัมมายตนะมี
สภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ได้เป็นอารมณ์ก็มี ที่มีสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ไม่ได้เป็น
อารมณ์ก็มี ที่รับรู้อารมณ์ไม่ได้ก็มี (๒)
ธาตุ ๑๐ รับรู้อารมณ์ไม่ได้ ธาตุ ๖ มีสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ไม่ได้เป็น
อารมณ์ มโนวิญญาณธาตุที่มีสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ได้เป็นอารมณ์ก็มี ที่มีสภาว-
ธรรมที่รับรู้อารมณ์ไม่ได้เป็นอารมณ์ก็มี ธัมมธาตุที่มีสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ได้
เป็นอารมณ์ก็มี ที่มีสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ไม่ได้เป็นอารมณ์ก็มี ที่รับรู้อารมณ์
ไม่ได้ก็มี (๓)
นิโรธสัจรับรู้อารมณ์ไม่ได้ มัคคสัจมีสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ไม่ได้เป็นอารมณ์
สมุทยสัจที่มีสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ได้เป็นอารมณ์ก็มี ที่มีสภาวธรรมที่รับรู้
อารมณ์ไม่ได้เป็นอารมณ์ก็มี ทุกขสัจที่มีสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ได้เป็นอารมณ์ก็มี
ที่มีสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ไม่ได้เป็นอารมณ์ก็มี ที่รับรู้อารมณ์ไม่ได้ก็มี (๔)

เชิงอรรถ :
๑ อภิ.สงฺ.อ. ๗-๑๓/๙๕,๑๑๐๑/๔๒๖

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๖๗๘ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๘.ธัมมหทยวิภังค์] ๙.ทิฏฐสุตาทิทัสสนวาร
อินทรีย์ ๗ รับรู้อารมณ์ไม่ได้ อินทรีย์ ๕ มีสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ไม่ได้
เป็นอารมณ์ อินทรีย์ ๙ ที่มีสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ได้เป็นอารมณ์ก็มี มี
สภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ไม่ได้เป็นอารมณ์ก็มี ชีวิตินทรีย์มีสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์
ได้เป็นอารมณ์ก็มี มีสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ไม่ได้เป็นอารมณ์ก็มี ที่รับรู้อารมณ์
ไม่ได้ก็มี (๕)
เหตุ ๙ มีสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ได้เป็นอารมณ์ก็มี ที่มีสภาวธรรมที่รับรู้
อารมณ์ไม่ได้เป็นอารมณ์ก็มี
กวฬิงการาหารรับรู้อารมณ์ไม่ได้ อาหาร ๓ ที่มีสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ได้
เป็นอารมณ์ก็มี ที่มีสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ไม่ได้เป็นอารมณ์ก็มี
ผัสสะ ๖ มีสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ไม่ได้เป็นอารมณ์ มโนวิญญาณธาตุสัมผัส
ที่มีสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ได้เป็นอารมณ์ก็มี ที่มีสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ไม่ได้
เป็นอารมณ์ก็มี
เวทนา ๖ สัญญา ๖ เจตนา ๖ และจิต ๖ มีสภาวธรรมรับรู้อารมณ์ไม่
ได้เป็นอารมณ์ มโนวิญญาณธาตุที่มีสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ได้เป็นอารมณ์ก็มี ที่
มีสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ไม่ได้เป็นอารมณ์ก็มี (๖-๑๒)

๙. ทิฏฐสุตาทิทัสสนวาร
(วาระว่าด้วยการแสดงสภาวธรรมที่เห็นได้และสดับได้เป็นต้น)
[๑๐๓๖] บรรดาขันธ์ ๕ ขันธ์เท่าไรเป็นสภาวธรรมที่เห็นได้ เท่าไรเป็นสภาว-
ธรรมที่ฟังได้ เท่าไรเป็นสภาวธรรมที่รู้ได้ เท่าไรเป็นสภาวธรรมที่เข้าใจได้ เท่าไร
เป็นสภาวธรรมที่เห็นไม่ได้ ฟังไม่ได้ รู้ไม่ได้ และเข้าใจไม่ได้ ฯลฯ บรรดาจิต ๗
จิตเท่าไรเป็นสภาวธรรมที่เห็นได้ เท่าไรเป็นสภาวธรรมที่ฟังได้ เท่าไรเป็นสภาวธรรม
ที่รู้ได้ เท่าไรเป็นสภาวธรรมที่เข้าใจได้ เท่าไรเป็นสภาวธรรมที่เห็นไม่ได้ ฟังไม่ได้
รู้ไม่ได้ และเข้าใจไม่ได้
[๑๐๓๗] รูปขันธ์ที่เห็นได้ก็มี ที่ฟังได้ก็มี ที่รู้ได้ก็มี ที่เข้าใจได้ก็มี ที่เห็นไม่ได้
ฟังไม่ได้ รู้ไม่ได้ และเข้าใจไม่ได้ก็มี ขันธ์ ๔ เห็นไม่ได้ ฟังไม่ได้ รู้ไม่ได้ แต่เข้าใจได้


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๖๗๙ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๘.ธัมมหทยวิภังค์] ๑๐.ติกาทิทัสสนวาร ๑. กุสลติกะ
รูปายตนะ เห็นได้ แต่ฟังไม่ได้ รู้ไม่ได้ แต่เข้าใจได้ สัททายตนะ
เห็นไม่ได้ แต่ฟังได้ รู้ไม่ได้ แต่เข้าใจได้ คันธายตนะ รสายตนะ และโผฏฐัพพายตนะ
เห็นไม่ได้ ฟังไม่ได้ แต่รู้ได้ เข้าใจได้ อายตนะ ๗ เห็นไม่ได้ ฟังไม่ได้ รู้ไม่ได้
แต่เข้าใจได้
รูปธาตุ เห็นได้ แต่ฟังไม่ได้ รู้ไม่ได้ แต่เข้าใจได้ สัททธาตุ เห็นไม่ได้ แต่ฟังได้
รู้ไม่ได้ แต่เข้าใจได้ คันธธาตุ รสธาตุและโผฏสัพพธาตุ เห็นไม่ได้ ฟังไม่ได้ แต่รู้ได้
เข้าใจได้ ธาตุ ๑๓ เห็นไม่ได้ ฟังไม่ได้ รู้ไม่ได้ แต่เข้าใจได้
สัจจะ ๓ เห็นไม่ได้ ฟังไม่ได้ รู้ไม่ได้ แต่เข้าใจได้ ทุกขสัจ ที่เห็นได้ก็มี ที่ฟังได้
ก็มี ที่รู้ได้ก็มี ที่เข้าใจได้ก็มี ที่เห็นไม่ได้ ฟังไม่ได้ รู้ไม่ได้ แต่เข้าใจได้ก็มี
อินทรีย์ ๒๒ เห็นไม่ได้ ฟังไม่ได้ รู้ไม่ได้ แต่เข้าใจได้
เหตุ ๙ เห็นไม่ได้ ฟังไม่ได้ รู้ไม่ได้ แต่เข้าใจได้
อาหาร ๔ เห็นไม่ได้ ฟังไม่ได้ รู้ไม่ได้ แต่เข้าใจได้
ผัสสะ ๗ เห็นไม่ได้ ฟังไม่ได้ รู้ไม่ได้ แต่เข้าใจได้
เวทนา ๗ สัญญา ๗ เจตนา ๗ และจิต ๗ เห็นไม่ได้ ฟังไม่ได้ รู้ไม่ได้
แต่เข้าใจได้

๑๐. ติกาทิทัสสนวาร
(วาระว่าด้วยการแสดงรวบรวมติกมาติกาเป็นต้น)
๑. กุสลติกะ
[๑๐๓๘] บรรดาขันธ์ ๕ ขันธ์เท่าไรเป็นกุศล เท่าไรเป็นอกุศล เท่าไรเป็น
อัพยากฤต ฯลฯ บรรดาจิต ๗ จิตเท่าไรเป็นกุศล เท่าไรเป็นอกุศล เท่าไรเป็น
อัพยากฤต
รูปขันธ์เป็นอัพยากฤต ขันธ์ ๔ ที่เป็นกุศลก็มี ที่เป็นอกุศลก็มี ที่เป็น
อัพยากฤตก็มี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๖๘๐ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๘.ธัมมหทยวิภังค์] ๑๐.ติกาทิทัสสนวาร ๒.เวทนาติกะ
อายตนะ ๑๐ เป็นอัพยากฤต อายตนะ ๒ ที่เป็นกุศลก็มี ที่เป็นอกุศลก็มี
ที่เป็นอัพยากฤตก็มี
ธาตุ ๑๖ เป็นอัพยากฤต ธาตุ ๒ ที่เป็นกุศลก็มี ที่เป็นอกุศลก็มี ที่เป็น
อัพยากฤตก็มี
สมุทยสัจเป็นอกุศล มัคคสัจเป็นกุศล นิโรธสัจเป็นอัพยากฤต ทุกขสัจที่เป็น
กุศลก็มี ที่เป็นอกุศลก็มี ที่เป็นอัพยากฤตก็มี
อินทรีย์ ๑๐ เป็นอัพยากฤต โทมนัสสินทรีย์เป็นอกุศล อนัญญาตัญ-
ญัสสามีตินทรีย์เป็นกุศล อินทรีย์ ๔ ที่เป็นกุศลก็มี ที่เป็นอัพยากฤตก็มี อินทรีย์
๖ ที่เป็นกุศลก็มี ที่เป็นอกุศลก็มี ที่เป็นอัพยากฤตก็มี
กุศลเหตุ ๓ เป็นกุศล อกุศลเหตุ ๓ เป็นอกุศล อัพยากตเหตุ ๓ เป็น
อัพยากฤต
กวฬิงการาหารเป็นอัพยากฤต อาหาร ๓ ที่เป็นกุศลก็มี ที่เป็นอกุศลก็มี
ที่เป็นอัพยากฤตก็มี
ผัสสะ ๖ เป็นอัพยากฤต มโนวิญญาณธาตุสัมผัสที่เป็นกุศลก็มี ที่เป็น
อกุศลก็มี ที่เป็นอัพยากฤตก็มี
เวทนา ๖ สัญญา ๖ เจตนา ๖ และจิต ๖ เป็นอัพยากฤต มโนวิญญาณธาตุ
ที่เป็นกุศลก็มี ที่เป็นอกุศลก็มี ที่เป็นอัพยากฤตก็มี

๒. เวทนาติกะ
[๑๐๓๙] บรรดาขันธ์ ๕ ขันธ์เท่าไรสัมปยุตด้วยสุขเวทนา เท่าไรสัมปยุต
ด้วยทุกขเวทนา เท่าไรสัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา ฯลฯ บรรดาจิต ๗ จิตเท่าไร
สัมปยุตด้วยสุขเวทนา เท่าไรสัมปยุตด้วยทุกขเวทนา เท่าไรสัมปยุตด้วยอทุกขม-
สุขเวทนา
ขันธ์ ๒ กล่าวไม่ได้ว่า สัมปยุตด้วยสุขเวทนา สัมปยุตด้วยทุกขเวทนา หรือ
สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา ขันธ์ ๓ ที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาก็มี ที่สัมปยุตด้วย
ทุกขเวทนาก็มี ที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนาก็มี (๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๖๘๑ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๘.ธัมมหทยวิภังค์] ๑๐.ติกาทิทัสสนวาร ๒.เวทนาติกะ
อายตนะ ๑๐ กล่าวไม่ได้ว่า สัมปยุตด้วยสุขเวทนา สัมปยุตด้วยทุกขเวทนา
หรือสัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา มนายตนะที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาก็มี ที่สัมปยุต
ด้วยทุกขเวทนาก็มี ที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนาก็มี ธัมมายตนะที่สัมปยุตด้วย
สุขเวทนาก็มี ที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนาก็มี ที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนาก็มี ที่
กล่าวไม่ได้ว่า สัมปยุตด้วยสุขเวทนา สัมปยุตด้วยทุกขเวทนา หรือสัมปยุตด้วย
อทุกขมสุขเวทนาก็มี (๒)
ธาตุ ๑๐ กล่าวไม่ได้ว่า สัมปยุตด้วยสุขเวทนา สัมปยุตด้วยทุกขเวทนา หรือ
สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา ธาตุ ๕ สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา กายวิญญาณ-
ธาตุที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาก็มี ที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนาก็มี มโนวิญญาณธาตุที่
สัมปยุตด้วยสุขเวทนาก็มี ที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนาก็มี ที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุข-
เวทนาก็มี ธัมมธาตุที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาก็มี ที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนาก็มี ที่
สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนาก็มี ที่กล่าวไม่ได้ว่า สัมปยุตด้วยสุขเวทนา สัมปยุต
ด้วยทุกขเวทนา หรือสัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนาก็มี (๓)
สัจจะ ๒ ที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาก็มี ที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนาก็มี
นิโรธสัจกล่าวไม่ได้ว่า สัมปยุตด้วยสุขเวทนา สัมปยุตด้วยทุกขเวทนา หรือสัมปยุต
ด้วยอทุกขมสุขเวทนา ทุกขสัจที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาก็มี ที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนา
ก็มี ที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนาก็มี ที่กล่าวไม่ได้ว่า สัมปยุตด้วยสุขเวทนา
สัมปยุตด้วยทุกขเวทนา หรือสัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนาก็มี (๔)
อินทรีย์ ๑๒ กล่าวไม่ได้ว่า สัมปยุตด้วยสุขเวทนา สัมปยุตด้วยทุกขเวทนา
หรือสัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา อินทรีย์ ๖ ที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาก็มี ที่
สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนาก็มี อินทรีย์ ๓ ที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาก็มี ที่
สัมปยุตด้วยทุกขเวทนาก็มี ที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนาก็มี ชีวิตินทรีย์ที่
สัมปยุตด้วยสุขเวทนาก็มี ที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนาก็มี ที่สัมปยุตด้วยอทุกขม-
สุขเวทนาก็มี ที่กล่าวไม่ได้ว่า สัมปยุตด้วยสุขเวทนา สัมปยุตด้วยทุกขเวทนา หรือ
สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนาก็มี (๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๖๘๒ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๘.ธัมมหทยวิภังค์] ๑๐.ติกาทิทัสสนวาร ๓.วิปากติกะ
อกุศลเหตุคือโทสะสัมปยุตด้วยทุกขเวทนา เหตุ ๗ ที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาก็มี
ที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนาก็มี อกุศลเหตุคือโมหะที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาก็มี
ที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนาก็มี ที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนาก็มี (๖)
กวฬิงการาหารกล่าวไม่ได้ว่า สัมปยุตด้วยสุขเวทนา สัมปยุตด้วยทุกขเวทนา
หรือสัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา อาหาร ๓ ที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาก็มี ที่สัมปยุต
ด้วยทุกขเวทนาก็มี ที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนาก็มี (๗)
ผัสสะ ๕ สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา กายวิญญาณธาตุสัมผัสที่สัมปยุต
ด้วยสุขเวทนาก็มี ที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนาก็มี มโนวิญญาณธาตุสัมผัสที่สัมปยุต
ด้วยสุขเวทนาก็มี ที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนาก็มี ที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา
ก็มี (๘)
เวทนา ๗ กล่าวไม่ได้ว่า สัมปยุตด้วยสุขเวทนา สัมปยุตด้วยทุกขเวทนา
หรือสัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา
สัญญา ๕ เจตนา ๕ และจิต ๕ สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา
กายวิญญาณธาตุที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาก็มี ที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนาก็มี
มโนวิญญาณธาตุที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาก็มี ที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนาก็มี ที่สัมปยุต
ด้วยอทุกขมสุขเวทนาก็มี (๙-๑๒)

๓. วิปากติกะ
[๑๐๔๐] บรรดาขันธ์ ๕ ขันธ์เท่าไรเป็นวิบาก เท่าไรเป็นเหตุให้เกิดวิบาก
เท่าไรไม่เป็นวิบากและไม่เป็นเหตุให้เกิดวิบาก ฯลฯ บรรดาจิต ๗ จิตเท่าไรเป็น
วิบาก เท่าไรเป็นเหตุให้เกิดวิบาก เท่าไรไม่เป็นวิบากและไม่เป็นเหตุให้เกิดวิบาก
รูปขันธ์ไม่เป็นวิบากและไม่เป็นเหตุให้เกิดวิบาก ขันธ์ ๔ ที่เป็นวิบากก็มี ที่
เป็นเหตุให้เกิดวิบากก็มี ที่ไม่เป็นวิบากและไม่เป็นเหตุให้เกิดวิบากก็มี (๑)
อายตนะ ๑๐ ไม่เป็นวิบากและไม่เป็นเหตุให้เกิดวิบาก อายตนะ ๒ ที่เป็น
วิบากก็มี ที่เป็นเหตุให้เกิดวิบากก็มี ที่ไม่เป็นวิบากและไม่เป็นเหตุให้เกิดวิบาก
ก็มี (๒)


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๖๘๓ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๘.ธัมมหทยวิภังค์] ๑๐.ติกาทิทัสสนวาร ๔.อุปาทินนติกะ
ธาตุ ๑๐ ไม่เป็นวิบากและไม่เป็นเหตุให้เกิดวิบาก ธาตุ ๕ เป็นวิบาก มโน-
ธาตุที่เป็นวิบากก็มี ที่ไม่เป็นวิบากและไม่เป็นเหตุให้เกิดวิบากก็มี ธาตุ ๒ ที่เป็นวิบาก
ก็มี ที่เป็นเหตุให้เกิดวิบากก็มี ที่ไม่เป็นวิบากและไม่เป็นเหตุให้เกิดวิบากก็มี (๓)
สัจจะ ๒ เป็นเหตุให้เกิดวิบาก นิโรธสัจไม่เป็นวิบากและไม่เป็นเหตุให้เกิดวิบาก
ทุกขสัจที่เป็นวิบากก็มี ที่เป็นเหตุให้เกิดวิบากก็มี ที่ไม่เป็นวิบากและไม่เป็นเหตุให้
เกิดวิบากก็มี (๔)
อินทรีย์ ๗ ไม่เป็นวิบากและไม่เป็นเหตุให้เกิดวิบาก อินทรีย์ ๓ เป็นวิบาก
อินทรีย์ ๒ เป็นเหตุให้เกิดวิบาก อัญญินทรีย์ที่เป็นวิบากก็มี ที่เป็นเหตุให้เกิด
วิบากก็มี อินทรีย์ ๙ ที่เป็นวิบากก็มี ที่เป็นเหตุให้เกิดวิบากก็มี ที่ไม่เป็นวิบาก
และไม่เป็นเหตุให้เกิดวิบากก็มี (๕)
เหตุ ๖ เป็นเหตุให้เกิดวิบาก อัพยากตเหตุ ๓ ที่เป็นวิบากก็มี ที่ไม่เป็น
วิบากและไม่เป็นเหตุให้เกิดวิบากก็มี (๖)
กวฬิงการาหารไม่เป็นวิบากและไม่เป็นเหตุให้เกิดวิบาก อาหาร ๓ ที่เป็นวิบาก
ก็มี ที่เป็นเหตุให้เกิดวิบากก็มี ที่ไม่เป็นวิบากและไม่เป็นเหตุให้เกิดวิบากก็มี
ผัสสะ ๕ เป็นวิบาก มโนธาตุสัมผัสที่เป็นวิบากก็มี ที่ไม่เป็นวิบากและไม่เป็น
เหตุให้เกิดวิบากก็มี มโนวิญญาณธาตุสัมผัสที่เป็นวิบากก็มี ที่เป็นเหตุให้เกิดวิบาก
ก็มี ที่ไม่เป็นวิบากและไม่เป็นเหตุให้เกิดวิบากก็มี
เวทนา ๕ สัญญา ๕ เจตนา ๕ และจิต ๕ เป็นวิบาก
มโนธาตุที่เป็นวิบากก็มี ที่ไม่เป็นวิบากและไม่เป็นเหตุให้เกิดวิบากก็มี
มโนวิญญาณธาตุที่เป็นวิบากก็มี ที่เป็นเหตุให้เกิดวิบากก็มี ที่ไม่เป็นวิบาก
และไม่เป็นเหตุให้เกิดวิบากก็มี (๗-๑๒)

๔. อุปาทินนติกะ
[๑๐๔๑] บรรดาขันธ์ ๕ ขันธ์เท่าไรที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิ
ยึดถือและเป็นอารมณ์ของอุปาทาน เท่าไรที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิ
ไม่ยึดถือแต่เป็นอารมณ์ของอุปาทาน เท่าไรที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิ
ไม่ยึดถือและไม่เป็นอารมณ์ของอุปาทาน ฯลฯ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๖๘๔ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๘.ธัมมหทยวิภังค์] ๑๐.ติกาทิทัสสนวาร ๔.อุปาทินนติกะ
บรรดาจิต ๗ จิตเท่าไรที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือและเป็น
อารมณ์ของอุปาทาน เท่าไรที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือแต่เป็น
อารมณ์ของอุปาทาน เท่าไรที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือและไม่
เป็นอารมณ์ของอุปาทาน
รูปขันธ์ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือและเป็นอารมณ์ของ
อุปาทานก็มี ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือแต่เป็นอารมณ์ของ
อุปาทานก็มี ขันธ์ ๔ ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือและเป็นอารมณ์
ของอุปาทานก็มี ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือแต่เป็นอารมณ์ของ
อุปาทานก็มี ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือและไม่เป็นอารมณ์ของ
อุปาทานก็มี (๑)
อายตนะ ๕ กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือและเป็นอารมณ์ของ
อุปาทาน สัททายตนะกรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือแต่เป็นอารมณ์
ของอุปาทาน อายตนะ ๔ ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือและเป็น
อารมณ์ของอุปาทานก็มี ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือแต่เป็น
อารมณ์ของอุปาทานก็มี อายตนะ ๒ ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึด
ถือและเป็นอารมณ์ของอุปาทานก็มี ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึด
ถือแต่เป็นอารมณ์ของอุปาทานก็มี ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือ
และไม่เป็นอารมณ์ของอุปาทานก็มี (๒)
ธาตุ ๑๐ กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือและเป็นอารมณ์ของ
อุปาทาน สัททธาตุกรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือแต่เป็นอารมณ์ของ
อุปาทาน ธาตุ ๕ ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือและเป็นอารมณ์
ของอุปาทานก็มี ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือแต่เป็นอารมณ์ของ
อุปาทานก็มี ธาตุ ๒ ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือและเป็นอารมณ์
ของอุปาทานก็มี ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือแต่เป็นอารมณ์
ของอุปาทานก็มี ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือและไม่เป็นอารมณ์
ของอุปาทานก็มี (๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๖๘๕ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๘.ธัมมหทยวิภังค์] ๑๐.ติกาทิทัสสนวาร ๔.อุปาทินนติกะ
สมุทยสัจ กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือแต่เป็นอารมณ์ของ
อุปาทาน สัจจะ ๒ ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือและไม่เป็น
อารมณ์ของอุปาทาน ทุกขสัจที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือและเป็น
อารมณ์ของอุปาทานก็มี ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือแต่เป็น
อารมณ์ของอุปาทานก็มี (๔)
อินทรีย์ ๙ กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือและเป็นอารมณ์ของ
อุปาทาน โทมนัสสินทรีย์กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือแต่เป็น
อารมณ์ของอุปาทาน อินทรีย์ ๓ กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือ
และไม่เป็นอารมณ์ของอุปาทาน อินทรีย์ ๙ ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและ
ทิฏฐิยึดถือและเป็นอารมณ์ของอุปาทานก็มี ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและ
ทิฏฐิไม่ยึดถือแต่เป็นอารมณ์ของอุปาทานก็มี ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและ
ทิฏฐิไม่ยึดถือและไม่เป็นอารมณ์ของอุปาทานก็มี
อกุศลเหตุ ๓ กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือแต่เป็นอารมณ์
ของอุปาทาน กุศลเหตุ ๓ ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือแต่เป็น
อารมณ์ของอุปาทานก็มี ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือและไม่
เป็นอารมณ์ของอุปาทานก็มี อัพยากตเหตุ ๓ ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและ
ทิฏฐิยึดถือและเป็นอารมณ์ของอุปาทานก็มี ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและ
ทิฏฐิไม่ยึดถือแต่เป็นอารมณ์ของอุปาทานก็มี ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและ
ทิฏฐิไม่ยึดถือและไม่เป็นอารมณ์ของอุปาทานก็มี (๕)
กวฬิงการาหารที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือและเป็นอารมณ์ของ
อุปาทานก็มี ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือแต่เป็นอารมณ์ของ
อุปาทานก็มี อาหาร ๓ ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือและเป็น
อารมณ์ของอุปาทานก็มี ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือแต่เป็น
อารมณ์ของอุปาทานก็มี ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือและไม่
เป็นอารมณ์ของอุปาทานก็มี (๖)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๖๘๖ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๘.ธัมมหทยวิภังค์] ๑๐.ติกาทิทัสสนวาร ๕.วิตักกติกะ
ผัสสะ ๕ กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือและเป็นอารมณ์ของ
อุปาทาน มโนธาตุสัมผัสที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือและเป็น
อารมณ์ของอุปาทานก็มี ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือแต่
เป็นอารมณ์ของอุปาทานก็มี มโนวิญญาณธาตุสัมผัสที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหา
และทิฏฐิยึดถือและเป็นอารมณ์ของอุปาทานก็มี ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและ
ทิฏฐิไม่ยึดถือแต่เป็นอารมณ์ของอุปาทานก็มี ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและ
ทิฏฐิไม่ยึดถือและไม่เป็นอารมณ์ของอุปาทานก็มี
เวทนา ๕ สัญญา ๕ เจตนา ๕ และจิต ๕ กรรมอันประกอบด้วยตัณหา
และทิฏฐิยึดถือและเป็นอารมณ์ของอุปาทาน มโนธาตุที่กรรมอันประกอบด้วย
ตัณหาและทิฏฐิยึดถือและเป็นอารมณ์ของอุปาทานก็มี ที่กรรมอันประกอบด้วย
ตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือแต่เป็นอารมณ์ของอุปาทานก็มี มโนวิญญาณธาตุที่กรรม
อันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือและเป็นอารมณ์ของอุปาทานก็มี ที่กรรมอัน
ประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือแต่เป็นอารมณ์ของอุปาทานก็มี ที่กรรมอัน
ประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือและไม่เป็นอารมณ์ของอุปาทานก็มี (๗-๑๒)

๕. วิตักกติกะ
[๑๐๔๒] บรรดาขันธ์ ๕ ขันธ์เท่าไรมีทั้งวิตกและวิจาร เท่าไรไม่มีวิตกมีเพียง
วิจาร เท่าไรไม่มีทั้งวิตกและวิจาร ฯลฯ บรรดาจิต ๗ จิตเท่าไรมีทั้งวิตกและวิจาร
เท่าไรไม่มีวิตกมีเพียงวิจาร เท่าไรไม่มีทั้งวิตกและวิจาร
รูปขันธ์ ไม่มีทั้งวิตกและวิจาร ขันธ์ ๓ ที่มีทั้งวิตกและวิจารก็มี ที่ไม่มีวิตก
มีเพียงวิจารก็มี ที่ไม่มีทั้งวิตกและวิจารก็มี สังขารขันธ์ที่มีทั้งวิตกและวิจารก็มี ที่
ไม่มีวิตกมีเพียงวิจารก็มี ที่ไม่มีทั้งวิตกและวิจารก็มี ที่กล่าวไม่ได้ว่า มีทั้งวิตกและ
วิจาร ไม่มีวิตกมีเพียงวิจาร หรือไม่มีทั้งวิตกและวิจารก็มี (๑)
อายตนะ ๑๐ ไม่มีทั้งวิตกและวิจาร มนายตนะที่มีทั้งวิตกและวิจารก็มี ที่ไม่
มีวิตกมีเพียงวิจารก็มี ที่ไม่มีทั้งวิตกและวิจารก็มี ธัมมายตนะที่มีทั้งวิตกและวิจาร
ก็มี ที่ไม่มีวิตกมีเพียงวิจารก็มี ที่ไม่มีทั้งวิตกและวิจารก็มี ที่กล่าวไม่ได้ว่า มีทั้ง
วิตกและวิจาร ไม่มีวิตกมีเพียงวิจาร หรือไม่มีทั้งวิตกและวิจารก็มี (๒)


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๖๘๗ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๘.ธัมมหทยวิภังค์] ๑๐.ติกาทิทัสสนวาร ๑. รูปทุกะ
ธาตุ ๑๕ ไม่มีทั้งวิตกและวิจาร มโนธาตุมีทั้งวิตกและวิจาร มโนวิญญาณ-
ธาตุที่มีทั้งวิตกและวิจารก็มี ที่ไม่มีวิตกมีเพียงวิจารก็มี ที่ไม่มีทั้งวิตกและวิจารก็มี
ธัมมธาตุที่มีทั้งวิตกและวิจารก็มี ที่ไม่มีวิตกมีเพียงวิจารก็มี ที่ไม่มีทั้งวิตกและวิจาร
ก็มี ที่กล่าวไม่ได้ว่า มีทั้งวิตกและวิจาร ไม่มีวิตกมีเพียงวิจาร หรือไม่มีทั้งวิตกและ
วิจารก็มี (๓)
สมุทยสัจมีทั้งวิตกและวิจาร นิโรธสัจไม่มีทั้งวิตกและวิจาร มัคคสัจที่มีทั้งวิตก
และวิจารก็มี ที่ไม่มีวิตกมีเพียงวิจารก็มี ที่ไม่มีทั้งวิตกและวิจารก็มี ทุกขสัจที่มีทั้ง
วิตกและวิจารก็มี ที่ไม่มีวิตกมีเพียงวิจารก็มี ที่ไม่มีทั้งวิตกและวิจารก็มี ที่กล่าวไม่
ได้ว่า มีทั้งวิตกและวิจาร ไม่มีวิตกมีเพียงวิจาร หรือไม่มีทั้งวิตกและวิจารก็มี (๔)
อินทรีย์ ๙ ไม่มีทั้งวิตกและวิจาร โทมนัสสินทรีย์มีทั้งวิตกและวิจาร
อุเปกขินทรีย์ที่มีทั้งวิตกและวิจารก็มี ที่ไม่มีทั้งวิตกและวิจารก็มี อินทรีย์ ๑๑ ที่มี
ทั้งวิตกและวิจารก็มี ที่ไม่มีวิตกมีเพียงวิจารก็มี ที่ไม่มีทั้งวิตกและวิจารก็มี (๕)
อกุศลเหตุ ๓ มีทั้งวิตกและวิจาร เหตุ ๖ ที่มีทั้งวิตกและวิจารก็มี ที่ไม่มี
วิตกมีเพียงวิจารก็มี ที่ไม่มีทั้งวิตกและวิจารก็มี
กวฬิงการาหารไม่มีทั้งวิตกและวิจาร อาหาร ๓ ที่มีทั้งวิตกและวิจารก็มี ที่
ไม่มีวิตกมีเพียงวิจารก็มี ที่ไม่มีทั้งวิตกและวิจารก็มี
ผัสสะ ๕ ไม่มีทั้งวิตกและวิจาร มโนธาตุสัมผัสมีทั้งวิตกและวิจาร มโน-
วิญญาณธาตุสัมผัสที่มีทั้งวิตกและวิจารก็มี ที่ไม่มีวิตกมีเพียงวิจารก็มี ที่ไม่มีทั้ง
วิตกและวิจารก็มี
เวทนา ๕ สัญญา ๕ เจตนา ๕ และจิต ๕ ไม่มีทั้งวิตกและวิจาร
มโนธาตุ มีทั้งวิตกและวิจาร มโนวิญญาณธาตุที่มีทั้งวิตกและวิจารก็มี ที่ไม่มีวิตก
มีเพียงวิจารก็มี ที่ไม่มีทั้งวิตกและวิจารก็มี (๖-๑๒)

๑. รูปทุกะ
[๑๐๔๓] บรรดาขันธ์ ๕ ขันธ์เท่าไรเป็นรูป เท่าไรไม่เป็นรูป ฯลฯ บรรดา
จิต ๗ จิตเท่าไรเป็นรูป เท่าไรไม่เป็นรูป

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๖๘๘ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๘.ธัมมหทยวิภังค์] ๑๐.ติกาทิทัสสนวาร ๒.โลกิยทุกะ
รูปขันธ์เป็นรูป ขันธ์ ๔ ไม่เป็นรูป
อายตนะ ๑๐ เป็นรูป มนายตนะไม่เป็นรูป ธัมมายตนะที่เป็นรูปก็มี ที่ไม่
เป็นรูปก็มี
ธาตุ ๑๐ เป็นรูป ธาตุ ๗ ไม่เป็นรูป ธัมมธาตุที่เป็นรูปก็มี ที่ไม่เป็นรูปก็มี
สัจจะ ๓ ไม่เป็นรูป ทุกขสัจที่เป็นรูปก็มี ที่ไม่เป็นรูปก็มี
อินทรีย์ ๗ เป็นรูป อินทรีย์ ๑๔ ไม่เป็นรูป ชีวิตินทรีย์ที่เป็นรูปก็มี ที่ไม่
เป็นรูปก็มี
เหตุ ๙ ไม่เป็นรูป
กวฬิงการาหารเป็นรูป อาหาร ๓ ไม่เป็นรูป
ผัสสะ ๗ ไม่เป็นรูป
เวทนา ๗ สัญญา ๗ เจตนา ๗ และจิต ๗ ไม่เป็นรูป

๒. โลกิยทุกะ
[๑๐๔๔] บรรดาขันธ์ ๕ ขันธ์เท่าไรเป็นโลกิยะ เท่าไรเป็นโลกุตตระ บรรดา
อายตนะ ๑๒ อายตนะเท่าไรเป็นโลกิยะ เท่าไรเป็นโลกุตตระ บรรดาธาตุ ๑๘
ธาตุเท่าไรเป็นโลกิยะ เท่าไรเป็นโลกุตตระ
บรรดาสัจจะ ๔ สัจจะเท่าไรเป็นโลกิยะ เท่าไรเป็นโลกุตตระ ฯลฯ บรรดาจิต
๗ จิตเท่าไรเป็นโลกิยะ เท่าไรเป็นโลกุตตระ
รูปขันธ์เป็นโลกิยะ ขันธ์ ๔ ที่เป็นโลกิยะก็มี ที่เป็นโลกุตตระก็มี
อายตนะ ๑๐ เป็นโลกิยะ อายตนะ ๒ ที่เป็นโลกิยะก็มี ที่เป็นโลกุตตระก็มี
ธาตุ ๑๖ เป็นโลกิยะ ธาตุ ๒ ที่เป็นโลกิยะก็มี ที่เป็นโลกุตตระก็มี
สัจจะ ๒ เป็นโลกิยะ สัจจะ ๒ เป็นโลกุตตระ
อินทรีย์ ๑๐ เป็นโลกิยะ อินทรีย์ ๓ เป็นโลกุตตระ อินทรีย์ ๙ ที่เป็นโลกิยะ
ก็มี ที่เป็นโลกุตตระก็มี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๖๘๙ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๘.ธัมมหทยวิภังค์] ๑๐.ติกาทิทัสสนวาร ๒.โลกิยทุกะ
อกุศลเหตุ ๓ เป็นโลกิยะ เหตุ ๖ ที่เป็นโลกิยะก็มี ที่เป็นโลกุตตระก็มี
กวฬิงการาหารเป็นโลกิยะ อาหาร ๓ ที่เป็นโลกิยะก็มี ที่เป็นโลกุตตระก็มี
ผัสสะ ๖ เป็นโลกิยะ มโนวิญญาณธาตุสัมผัสที่เป็นโลกิยะก็มี ที่เป็นโลกุตตระ
ก็มี
เวทนา ๖ เป็นโลกิยะ เวทนาที่เกิดแต่มโนวิญญาณธาตุสัมผัส ที่เป็นโลกิยะก็มี
ที่เป็นโลกุตตระก็มี
สัญญา ๖ เป็นโลกิยะ สัญญาเกิดแต่มโนวิญญาณธาตุสัมผัสที่เป็นโลกิยะก็มี
ที่เป็นโลกุตตระก็มี
เจตนา ๖ เป็นโลกิยะ เจตนาที่เกิดแต่มโนวิญญาณธาตุสัมผัสที่เป็นโลกิยะก็มี
ที่เป็นโลกุตตระก็มี
จิต ๖ เป็นโลกิยะ มโนวิญญาณธาตุที่เป็นโลกิยะก็มี ที่เป็นโลกุตตระก็มี

สรุปหัวข้อธรรมที่แสดงมา
อภิญญา สารัมมณะ ๒ ทิฏฐะ กุสละ เวทนา
วิปากะ อุปาทินนะ วิตักกะ รูป และโลกิยะ ฉะนี้แล

ธัมมหทยวิภังค์ จบบริบูรณ์

วิภังคปกรณ์ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๖๙๐ }


พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๕ อภิธรรมปิฎกที่ ๐๒ วิภังค์ จบ





eXTReMe Tracker