ค้นว่าอยู่เล่มใด แล้วกด [ctrl]+f หรือใช้คำสั่งของเครื่องหาตำแหน่งในเล่มอีกทีนะครับ



จัดรูปหน้าใหม่
เพื่อความสะดวก และสวยงาม
(เฉพาะหน้าจอใหญ่ เช่น คอมพิวเตอร์)
กรุณาคลิก จัดรูปหน้าใหม่
เพื่อให้กรอบ
ค้นข้อความ ปรากฎที่ด้านซ้ายของหน้า

พระไตรปิฎกภาษาไทย
ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ๔๕ เล่ม (ปกสีฟ้า)
ทั้งออนไลน์และออฟไลน์
ที่มาของข้อมูล : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับ มจร.
MCUTRAI Version 1.0

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๔-๒ อภิธรรมปิฎกที่ ๐๑ ธัมมสังคนี

พระอภิธรรมปิฎก
ธัมมสังคณี
_________
ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๑. จิตตุปปาทกัณฑ์] อัพยากตบท มโนธาตุที่เป็นกุศลวิบาก
ความตรึก ความตรึกโดยอาการต่าง ๆ ความดำริ ความที่จิตแนบแน่นใน
อารมณ์ ความที่จิตแนบสนิทในอารมณ์ ความยกจิตขึ้นสู่อารมณ์ ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่า
วิตกที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[๔๖๒] วิจาร ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ความตรอง ความพิจารณา ความตามพิจารณา ความเข้าไปพิจารณา ความ
ที่จิตสืบต่ออารมณ์ ความที่จิตเพ่งอารมณ์ ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่าวิจารที่เกิดขึ้นใน
สมัยนั้น
[๔๖๓] อุเบกขา ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ความสำราญทางใจก็ไม่ใช่ ความไม่สำราญทางใจก็ไม่ใช่ ความเสวยอารมณ์ที่
ไม่ทุกข์ไม่สุข อันเกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่ไม่ทุกข์ไม่สุข อันเกิดแต่
เจโตสัมผัส ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่าอุเบกขาที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[๔๖๔] เอกัคคตา ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ความตั้งอยู่แห่งจิต ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่าเอกัคคตาที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[๔๖๕] มนินทรีย์ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
จิต มโน มานัส หทัย ปัณฑระ มโน มนายตนะ มนินทรีย์ วิญญาณ
วิญญาณขันธ์ และมโนวิญญาณธาตุที่เหมาะสมกัน ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่ามนินทรีย์
ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[๔๖๖] อุเปกขินทรีย์ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ความสำราญทางใจก็ไม่ใช่ ความไม่สำราญทางใจก็ไม่ใช่ ความเสวยอารมณ์ที่
ไม่ทุกข์ไม่สุข อันเกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่ไม่ทุกข์ไม่สุข อันเกิดแต่
เจโตสัมผัส ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่าอุเปกขินทรีย์ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[๔๖๗] ชีวิตินทรีย์ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
อายุ ความดำรงอยู่ ความเป็นไป กิริยาที่ให้เป็นไป อาการที่สืบเนื่องกัน ความ
ดำเนินไป ความหล่อเลี้ยง ชีวิต ชีวิตินทรีย์ แห่งสภาวธรรมที่ไม่เป็นรูปเหล่านั้นใน
สมัยนั้น นี้ชื่อว่าชีวิตินทรีย์ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น หรือสภาวธรรมที่ไม่เป็นรูปซึ่ง
อิงอาศัยกันเกิดขึ้นแม้อื่นในสมัยนั้น สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นอัพยากฤต

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๑๓๐ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๑. จิตตุปปาทกัณฑ์] อัพยากตบท มโนวิญญาณธาตุที่เป็นกุศลวิบากสหรคตด้วยโสมนัส
ขันธ์ ๔ อายตนะ ๒ ธาตุ ๒ อาหาร ๓ อินทรีย์ ๓ ผัสสะ ๑ ฯลฯ
มโนธาตุ ๑ ธัมมายตนะ ๑ และธัมมธาตุ ๑ ในสมัยนั้น หรือสภาวธรรมที่ไม่เป็นรูปซึ่ง
อิงอาศัยกันเกิดขึ้นแม้อื่นในสมัยนั้น สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นอัพยากฤต ฯลฯ
[๔๖๘] สังขารขันธ์ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ผัสสะ เจตนา วิตก วิจาร เอกัคคตา และชีวิตินทรีย์ หรือสภาวธรรมที่
ไม่เป็นรูปซึ่งอิงอาศัยกันเกิดขึ้นแม้อื่นในสมัยนั้น เว้นเวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ และ
วิญญาณขันธ์ นี้ชื่อว่าสังขารขันธ์ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า
เป็นอัพยากฤต
มโนธาตุที่เป็นกุศลวิบาก จบ

มโนวิญญาณธาตุที่เป็นกุศลวิบากสหรคตด้วยโสมนัส
[๔๖๙] สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤต เป็นไฉน
มโนวิญญาณธาตุที่เป็นกุศลวิบาก สหรคตด้วยโสมนัส มีรูปเป็นอารมณ์ ฯลฯ
มีธรรมเป็นอารมณ์ หรือปรารภอารมณ์ใด ๆ เกิดขึ้น เพราะได้ทำได้สั่งสมกามาวจร
กุศลกรรมไว้ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา จิต วิตก วิจาร
ปีติ สุข เอกัคคตา มนินทรีย์ โสมนัสสินทรีย์ และชีวิตินทรีย์ ก็เกิดขึ้น หรือ
สภาวธรรมที่ไม่เป็นรูปซึ่งอิงอาศัยกันเกิดขึ้นในสมัยนั้น สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็น
อัพยากฤต
[๔๗๐] ผัสสะ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ความกระทบ กิริยาที่กระทบ กิริยาที่ถูกต้อง ภาวะที่ถูกต้อง ที่เกิดขึ้นในสมัย
นั้น นี้ชื่อว่าผัสสะที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[๔๗๑] เวทนา ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ความสำราญทางใจ ความสุขทางใจ อันเกิดแต่สัมผัสแห่งมโนวิญญาณธาตุที่
เหมาะสมกัน ความเสวยอารมณ์ที่สำราญเป็นสุข อันเกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวย
อารมณ์ที่สำราญเป็นสุข อันเกิดแต่เจโตสัมผัส ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่าเวทนาที่เกิดขึ้น
ในสมัยนั้น


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๑๓๑ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๑. จิตตุปปาทกัณฑ์] อัพยากตบท มโนวิญญาณธาตุที่เป็นกุศลวิบากสหรคตด้วยโสมนัส
[๔๗๒] สัญญา ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ความจำได้ กิริยาที่จำได้ ภาวะที่จำได้ อันเกิดแต่สัมผัสแห่งมโนวิญญาณธาตุ
ที่เหมาะสมกัน ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่าสัญญาที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[๔๗๓] เจตนา ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ความจงใจ กิริยาที่จงใจ ภาวะที่จงใจ อันเกิดแต่สัมผัสแห่งมโนวิญญาณธาตุ
ที่เหมาะสมกัน ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่าเจตนาที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[๔๗๔] จิต ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
จิต มโน มานัส หทัย ปัณฑระ มโน มนายตนะ มนินทรีย์ วิญญาณ
วิญญาณขันธ์ และมโนวิญญาณธาตุที่เหมาะสมกัน ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่าจิตที่เกิดขึ้น
ในสมัยนั้น
[๔๗๕] วิตก ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ความตรึก ความตรึกโดยอาการต่าง ๆ ความดำริ ความที่จิตแนบแน่น
ในอารมณ์ ความที่จิตแนบสนิทในอารมณ์ ความยกจิตขึ้นสู่อารมณ์ ในสมัยนั้น
นี้ชื่อว่าวิตกที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[๔๗๖] วิจาร ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ความตรอง ความพิจารณา ความตามพิจารณา ความเข้าไปพิจารณา
ความที่จิตสืบต่ออารมณ์ ความที่จิตเพ่งอารมณ์ ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่าวิจารที่เกิดขึ้น
ในสมัยนั้น
[๔๗๗] ปีติ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ความอิ่มเอิบ ความปราโมทย์ ความยินดีอย่างยิ่ง ความบันเทิง ความร่าเริง
ความรื่นเริง ความปลื้มใจ ความตื่นเต้น ความที่จิตชื่นชมยินดี ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่า
ปีติที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[๔๗๘] สุข ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ความสำราญทางใจ ความสุขทางใจ ความเสวยอารมณ์ที่สำราญเป็นสุข
อันเกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่สำราญเป็นสุข อันเกิดแต่เจโตสัมผัส
ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่าสุขที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๑๓๒ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๑. จิตตุปปาทกัณฑ์] อัพยากตบท มโนวิญญาณธาตุที่เป็นกุศลวิบากสหรคตด้วยโสมนัส
[๔๗๙] เอกัคคตา ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ความตั้งอยู่แห่งจิต ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่าเอกัคคตาที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[๔๘๐] มนินทรีย์ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
จิต มโน มานัส หทัย ปัณฑระ มโน มนายตนะ มนินทรีย์ วิญญาณ
วิญญาณขันธ์ และมโนวิญญาณธาตุที่เหมาะสมกัน ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่ามนินทรีย์
ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[๔๘๑] โสมนัสสินทรีย์ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ความสำราญทางใจ ความสุขทางใจ ความเสวยอารมณ์ที่สำราญเป็นสุข
อันเกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่สำราญเป็นสุข อันเกิดแต่เจโตสัมผัส
ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่าโสมนัสสินทรีย์ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[๔๘๒] ชีวิตินทรีย์ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
อายุ ความดำรงอยู่ ความเป็นไป กิริยาที่ให้เป็นไป อาการที่สืบเนื่องกัน
ความดำเนินไป ความหล่อเลี้ยง ชีวิต ชีวิตินทรีย์ แห่งสภาวธรรมที่ไม่เป็นรูปเหล่านั้น
ในสมัยนั้น นี้เรียกว่า ชีวิตินทรีย์ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น หรือสภาวธรรมที่ไม่เป็นรูป
ซึ่งอิงอาศัยกันเกิดขึ้นแม้อื่นในสมัยนั้น สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นอัพยากฤต
ขันธ์ ๔ อายตนะ ๒ ธาตุ ๒ อาหาร ๓ อินทรีย์ ๓ ผัสสะ ๑ ฯลฯ
มโนวิญญาณธาตุ ๑ ธัมมายตนะ ๑ และธัมมธาตุ ๑ ในสมัยนั้น หรือสภาวธรรม
ที่ไม่เป็นรูปซึ่งอิงอาศัยกันเกิดขึ้นแม้อื่นในสมัยนั้น สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็น
อัพยากฤต ฯลฯ
[๔๘๓] สังขารขันธ์ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ผัสสะ เจตนา วิตก วิจาร ปีติ เอกัคคตา และชีวิตินทรีย์ หรือสภาวธรรม
ที่ไม่เป็นรูปซึ่งอิงอาศัยกันเกิดขึ้นแม้อื่นในสมัยนั้น เว้นเวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ และ
วิญญาณขันธ์ นี้ชื่อว่าสังขารขันธ์ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า
เป็นอัพยากฤต
มโนวิญญาณธาตุที่เป็นกุศลวิบากสหรคตด้วยโสมนัส จบ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๑๓๓ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๑. จิตตุปปาทกัณฑ์] อัพยากตบท มโนวิญญาณธาตุที่เป็นกุศลวิบากสหรคตด้วยอุเบกขา
มโนวิญญาณธาตุที่เป็นกุศลวิบากสหรคตด้วยอุเบกขา
[๔๘๔] สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤต เป็นไฉน
มโนวิญญาณธาตุที่เป็นกุศลวิบาก สหรคตด้วยอุเบกขา มีรูปเป็นอารมณ์ ฯลฯ
มีธรรมเป็นอารมณ์ หรือปรารภอารมณ์ใด ๆ เกิดขึ้น เพราะได้ทำได้สั่งสมกามาวจร
กุศลกรรมไว้ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา จิต วิตก วิจาร
อุเบกขา เอกัคคตา มนินทรีย์ อุเปกขินทรีย์ และชีวิตินทรีย์ ก็เกิดขึ้น หรือ
สภาวธรรมที่ไม่เป็นรูปซึ่งอาศัยกันเกิดขึ้นแม้อื่นในสมัยนั้น สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า
เป็นอัพยากฤต
[๔๘๕] ผัสสะ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ความกระทบ กิริยาที่กระทบ กิริยาที่ถูกต้อง ภาวะที่ถูกต้อง ที่เกิดขึ้นในสมัย
นั้น นี้ชื่อว่าผัสสะที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[๔๘๖] เวทนา ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ความสำราญทางใจก็ไม่ใช่ ความไม่สำราญทางใจก็ไม่ใช่ อันเกิดแต่สัมผัสแห่ง
มโนวิญญาณธาตุที่เหมาะสมกัน ความเสวยอารมณ์ที่ไม่ทุกข์ไม่สุข อันเกิดแต่
เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่ไม่ทุกข์ไม่สุข อันเกิดแต่เจโตสัมผัสที่เกิดขึ้นใน
สมัยนั้น นี้ชื่อว่าเวทนาที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[๔๘๗] สัญญา ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ความจำได้ กิริยาที่จำได้ ภาวะที่จำได้ อันเกิดแต่สัมผัสแห่งมโนวิญญาณธาตุ
ที่เหมาะสมกัน ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่าสัญญาที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[๔๘๘] เจตนา ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ความจงใจ กิริยาที่จงใจ ภาวะที่จงใจ อันเกิดแต่สัมผัสแห่งมโนวิญญาณธาตุ
ที่เหมาะสมกัน ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่าเจตนาที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[๔๘๙] จิต ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
จิต มโน มานัส หทัย ปัณฑระ มโน มนายตนะ มนินทรีย์ วิญญาณ
วิญญาณขันธ์ และมโนวิญญาณธาตุที่เหมาะสมกัน ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่าจิตที่เกิดขึ้น
ในสมัยนั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๑๓๔ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๑. จิตตุปปาทกัณฑ์] อัพยากตบท มโนวิญญาณธาตุที่เป็นกุศลวิบากสหรคตด้วยอุเบกขา
[๔๙๐] วิตก ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ความตรึก ความตรึกโดยอาการต่าง ๆ ความดำริ ความที่จิตแนบแน่นใน
อารมณ์ ความที่จิตแนบสนิทในอารมณ์ ความยกจิตขึ้นสู่อารมณ์ ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่า
วิตกที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[๔๙๑] วิจาร ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ความตรอง ความพิจารณา ความตามพิจารณา ควมเข้าไปพิจารณา ความ
ที่จิตสืบต่ออารมณ์ ความที่จิตเพ่งอารมณ์ ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่าวิจารที่เกิดขึ้นใน
สมัยนั้น
[๔๙๒] อุเบกขา ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ความสำราญทางใจก็ไม่ใช่ ความไม่สำราญทางใจก็ไม่ใช่ ความเสวยอารมณ์ที่
ไม่ทุกข์ไม่สุข อันเกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่ไม่ทุกข์ไม่สุข อันเกิดแต่
เจโตสัมผัส ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่าอุเบกขาที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[๔๙๓] เอกัคคตา ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ความตั้งอยู่แห่งจิต ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่าเอกัคคตาที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[๔๙๔] มนินทรีย์ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
จิต มโน มานัส หทัย ปัณฑระ มโน มนายตนะ มนินทรีย์ วิญญาณ
วิญญาณขันธ์ และมโนวิญญาณธาตุ ที่เหมาะสมกัน ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่ามนินทรีย์ที่
เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[๔๙๕] อุเปกขินทรีย์ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ความสำราญทางใจก็ไม่ใช่ ความไม่สำราญทางใจก็ไม่ใช่ ความเสวยอารมณ์
ที่ไม่ทุกข์ไม่สุข อันเกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่ไม่ทุกข์ไม่สุข อันเกิดแต่
เจโตสัมผัส ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่าอุเปกขินทรีย์ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[๔๙๖] ชีวิตินทรีย์ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
อายุ ความดำรงอยู่ ความเป็นไป กิริยาที่ให้เป็นไป อาการที่สืบเนื่องกัน ความ
ดำเนินไป ความหล่อเลี้ยง ชีวิต ชีวิตินทรีย์ แห่งสภาวธรรมที่ไม่เป็นรูปเหล่านั้น
ในสมัยนั้น นี้เรียกว่า ชีวิตินทรีย์ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น หรือสภาวธรรมที่ไม่เป็นรูปซึ่ง
อิงอาศัยกันเกิดขึ้นแม้อื่นในสมัยนั้น สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นอัพยากฤต

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๑๓๕ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๑. จิตตุปปาทกัณฑ์] อัพยากตบท มหาวิปากจิต ๘
ขันธ์ ๔ อายตนะ ๒ ธาตุ ๒ อาหาร ๓ อินทรีย์ ๓ ผัสสะ ๑ ฯลฯ
มโนวิญญาณธาตุ ๑ ธัมมายตนะ ๑ และธัมมธาตุ ๑ ในสมัยนั้น หรือสภาวธรรม
ที่ไม่เป็นรูปซึ่งอิงอาศัยกันเกิดขึ้นแม้อื่นในสมัยนั้น สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็น
อัพยากฤต ฯลฯ
[๔๙๗] สังขารขันธ์ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ผัสสะ เจตนา วิตก วิจาร เอกัคคตา และชีวิตินทรีย์ หรือสภาวธรรมที่ไม่เป็น
รูปซึ่งอิงอาศัยกันเกิดขึ้นแม้อื่นในสมัยนั้น เว้นเวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ และวิญญาณ
ขันธ์ นี้ชื่อว่าสังขารขันธ์ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็น
อัพยากฤต
มโนวิญญาณธาตุที่เป็นกุศลวิบากสหรคตด้วยอุเบกขา จบ

มหาวิปากจิต ๘
[๔๙๘] สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤต เป็นไฉน
เพราะได้ทำได้สั่งสมกามาวจรกุศลกรรมไว้ มโนวิญญาณธาตุที่เป็นวิบาก
สหรคตด้วยโสมนัส สัมปยุตด้วยญาณ ฯลฯ สหรคตด้วยโสมนัส สัมปยุตด้วยญาณ
เกิดขึ้นโดยมีเหตุชักจูง ฯลฯ สหรคตด้วยโสมนัส วิปปยุตจากญาณ ฯลฯ สหรคต
ด้วยโสมนัส วิปปยุตจากญาณ เกิดขึ้นโดยมีเหตุชักจูง สหรคตด้วยอุเบกขา สัมปยุต
ด้วยญาณ ฯลฯ สหรคตด้วยอุเบกขา สัมปยุตด้วยญาณ เกิดขึ้นโดยมีเหตุชักจูง
สหรคตด้วยอุเบกขา วิปปยุตตจากญาณ ฯลฯ สหรคตด้วยอุเบกขา วิปปยุตจาก
ญาณ มีรูปเป็นอารมณ์ ฯลฯ มีธรรมเป็นอารมณ์ หรือปรารภอารมณ์ใด ๆ เกิดขึ้น
โดยมีเหตุชักจูงในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น ฯลฯ
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นอัพยากฤต ฯลฯ อัพยากตมูลคืออโลภะ ฯลฯ
อัพยากตมูลคืออโทสะ ฯลฯ อัพยากตมูลคืออโมหะ ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อ
ว่าเป็นอัพยากฤต
มหาวิปากจิต ๘ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๑๓๖ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๑. จิตตุปปาทกัณฑ์] อัพยากตบท อรูปาวจรวิปากจิต
รูปาวจรวิปากจิต
[๔๙๙] สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤต เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคเพื่อเข้าถึงรูปภพ สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐม-
ฌานที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ
ก็เกิดขึ้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล
โยคาวจรบุคคลสงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌานที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์
ซึ่งเป็นวิบาก เพราะได้ทำได้สั่งสมรูปาวจรกุศลกรรมนั้นนั่นแหละ อยู่ในสมัยใด ใน
สมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็น
อัพยากฤต
[๕๐๐] สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤต เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคเพื่อเข้าถึงรูปภพ เพราะวิตกวิจารสงบระงับไปแล้ว
ฯลฯ บรรลุทุติยฌาน ฯลฯ บรรลุตติยฌาน ฯลฯ บรรลุจตุตถฌาน ฯลฯ
บรรลุปฐมฌาน ฯลฯ บรรลุปัญจมฌานที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ อยู่ในสมัยใด ใน
สมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล
โยคาวจรบุคคลบรรลุปัญจมฌานที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข
เพราะละสุขและทุกข์ได้ ฯลฯ ซึ่งเป็นวิบาก เพราะได้ทำได้สั่งสมรูปาวจรกุศลกรรม
นั้นนั่นแหละ อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น ฯลฯ
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นอัพยากฤต
รูปาวจรวิปากจิต จบ

อรูปาวจรวิปากจิต
[๕๐๑] สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤต เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคเพื่อเข้าถึงอรูปภพ เพราะก้าวล่วงรูปสัญญาโดย
ประการทั้งปวง เพราะปฏิฆสัญญาดับไป เพราะไม่มนสิการนานัตตสัญญา จึงบรรลุ
จตุตถฌานที่สหรคตด้วยอากาสานัญจายตนสัญญา ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข เพราะละสุข
และทุกข์ได้ ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น ฯลฯ
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๑๓๗ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๑. จิตตุปปาทกัณฑ์] อัพยากตบท อรูปาวจรวิปากจิต
โยคาวจรบุคคล เพราะก้าวล่วงรูปสัญญาโดยประการทั้งปวง เพราะปฏิฆ-
สัญญาดับไป เพราะไม่มนสิการนานัตตสัญญา จึงบรรลุจตุตถฌานที่สหรคตด้วย
อากาสานัญจายตนสัญญา ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข เพราะละสุขและทุกข์ได้ ฯลฯ ซึ่งเป็น
วิบาก เพราะได้ทำได้สั่งสมอรูปาวจรกุศลกรรมนั้นนั่นแหละ อยู่ในสมัยใด ในสมัย
นั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นอัพยากฤต
[๕๐๒] สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤต เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคเพื่อเข้าถึงอรูปภพ เพราะก้าวล่วงอากาสานัญ-
จายตนะโดยประการทั้งปวง จึงบรรลุจตุตถฌานที่สหรคตด้วยวิญญาณัญจายตน-
สัญญา ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข เพราะละสุขและทุกข์ได้ ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น
ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล
โยคาวจรบุคคล เพราะก้าวล่วงอากาสานัญญายตนะโดยประการทั้งปวง
บรรลุจตุตถฌานที่สหรคตด้วยวิญญาณัญจายตนสัญญา ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข เพราะละ
สุขและทุกข์ได้ ฯลฯ ซึ่งเป็นวิบาก เพราะได้ทำได้สั่งสมอรูปาวจรกุศลกรรม
นั้นนั่นแหละ อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น ฯลฯ
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นอัพยากฤต
[๕๐๓] สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤต เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคเพื่อเข้าถึงอรูปภพ เพราะก้าวล่วงวิญญาณัญ-
จายตนะโดยประการทั้งปวง จึงบรรลุจตุตถฌานที่สหรคตด้วยอากิญจัญญายตน-
สัญญา ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข เพราะละสุขและทุกข์ได้ ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น
ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล
โยคาวจรบุคคล เพราะก้าวล่วงวิญญาณัญจายตนะโดยประการทั้งปวง บรรลุ
จตุตถฌานที่สหรคตด้วยอากิญจัญญายตนสัญญา ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข เพราะละสุข
และทุกข์ได้ ฯลฯ ซึ่งเป็นวิบาก เพราะได้ทำได้สั่งสมอรูปาวจรกุศลกรรมนั้นนั่นแหละ
อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้
ชื่อว่าเป็นอัพยากฤต
[๕๐๔] สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤต เป็นไฉน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๑๓๘ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๑. จิตตุปปาทกัณฑ์] อัพยากตบท โลกุตตรวิปากจิต สุทธิกปฏิปทา
โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคเพื่อเข้าถึงอรูปภพ เพราะก้าวล่วงอากิญจัญ-
ญายตนะโดยประการทั้งปวง จึงบรรลุจตุตถฌานที่สหรคตด้วยเนวสัญญานา-
สัญญายตนสัญญา ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข เพราะละสุขและทุกข์ได้ ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ใน
สมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล
โยคาวจรบุคคล เพราะก้าวล่วงอากิญจัญญายตนะโดยประการทั้งปวง จึงบรรลุ
จตุตถฌานที่สหรคตด้วยเนวสัญญานาสัญญายตนสัญญา ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข เพราะ
ละสุขและทุกข์ได้ ฯลฯ ซึ่งเป็นวิบาก เพราะได้ทำได้สั่งสมรูปาวจรกุศลกรรมนั้น
นั่นแหละ อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น ฯลฯ สภาวธรรม
เหล่านี้ชื่อว่าเป็นอัพยากฤต
อรูปาวจรวิปากจิต จบ

โลกุตตรวิปากจิต
สุทธิกปฏิปทา
[๕๐๕] สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤต เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคลเจริญฌานที่เป็นโลกุตตระซึ่งเป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ให้ถึง
นิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน
เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ
ก็เกิดขึ้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล
โยคาวจรบุคคลสงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌานที่เป็นสุญญตะ เป็น
ทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา ซึ่งเป็นวิบาก เพราะได้ทำได้เจริญฌานที่เป็นโลกุตตร-
กุศลนั้นนั่นแหละ อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อัญญินทรีย์ ฯลฯ อวิกเขปะ
ก็เกิดขึ้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นอัพยากฤต
[๕๐๖] สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤต เป็นไฉน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๑๓๙ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๑. จิตตุปปาทกัณฑ์] อัพยากตบท โลกุตตรวิปากจิต สุทธิกปฏิปทา
โยคาวจรบุคคลเจริญฌานที่เป็นโลกุตตระซึ่งเป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ให้ถึง
นิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน
เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ
ก็เกิดขึ้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล
โยคาวจรบุคคลสงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌานที่เป็นอนิมิตตะ เป็น
ทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา ซึ่งเป็นวิบาก เพราะได้ทำได้เจริญฌานที่เป็นโลกุตตร-
กุศลนั้นนั่นแหละ อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อัญญินทรีย์ ฯลฯ อวิกเขปะ
ก็เกิดขึ้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นอัพยากฤต
[๕๐๗] สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤต เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคลเจริญฌานที่เป็นโลกุตตระซึ่งเป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ให้ถึง
นิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน
เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ
ก็เกิดขึ้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล
โยคาวจรบุคคลสงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌานที่เป็นอัปปณิหิตะ เป็น
ทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา ซึ่งเป็นวิบาก เพราะได้เจริญฌานที่เป็นโลกุตตรกุศล
นั้นนั่นแหละ อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อัญญินทรีย์ ฯลฯ อวิกเขปะ
ก็เกิดขึ้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นอัพยากฤต
[๕๐๘] สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤต เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคลเจริญฌานที่เป็นโลกุตตระซึ่งเป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ให้ถึง
นิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น เพราะวิตกวิจารสงบระงับไปแล้ว ฯลฯ
บรรลุทุติยฌาน ฯลฯ บรรลุตติยฌาน ฯลฯ บรรลุจตุตถฌาน ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน
ฯลฯ บรรลุปัญจมฌานที่เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา ชื่อว่าเป็นกุศล ฯลฯ ที่เป็น
สุญญตะ เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา ชื่อว่าเป็นวิบาก ฯลฯ เป็นทุกขาปฏิปทา
ทันธาภิญญา ชื่อว่าเป็นกุศล ฯลฯ ที่เป็นอนิมิตตะ เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา
ชื่อว่าเป็นวิบาก ฯลฯ เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา ชื่อว่าเป็นกุศล ฯลฯ ที่เป็น
อัปปณิหิตะ เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา ชื่อว่าเป็นวิบาก อยู่ในสมัยใด ในสมัย
นั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นอัพยากฤต

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๑๔๐ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๑. จิตตุปปาทกัณฑ์] อัพยากตบท โลกุตตรวิปากจิต สุทธิกสุญญตะ
[๕๐๙] สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤต เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคลเจริญฌานที่เป็นโลกุตตระซึ่งเป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ให้ถึง
นิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน
เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา ฯลฯ เป็นสุขาปฏิปทาทันธาภิญญา ฯลฯ เป็น
สุขาปฏิปทาทันธาภิญญา ฯลฯ บรรลุทุติยฌาน ฯลฯ บรรลุตติยฌาน ฯลฯ
บรรลุจตุตถฌาน ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน ฯลฯ บรรลุปัญจมฌาน เป็นสุขาปฏิปทา
ทันธาภิญญา ชื่อว่าเป็นกุศล ฯลฯ ที่เป็นสุญญตะ เป็นสุขาปฏิปทาขิปปาภิญญา
ชื่อว่าเป็นวิบาก ฯลฯ เป็นสุขาปฏิปทาขิปปาภิญญา ชื่อว่าเป็นกุศล ฯลฯ ที่เป็น
อนิมิตตะ เป็นสุขาปฏิปทาขิปปาภิญญา ชื่อว่าเป็นวิบาก ฯลฯ เป็นสุขาปฏิปทา
ขิปปาภิญญา ชื่อว่าเป็นกุศล ฯลฯ ที่เป็นอัปปณิหิตะ เป็นสุขาปฏิปทาขิปปาภิญญา
ชื่อว่าเป็นวิบาก อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น ฯลฯ
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นอัพยากฤต
สุทธิกปฏิปทา จบ

สุทธิกสุญญตะ
[๕๑๐] สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤต เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคลเจริญฌานที่เป็นโลกุตตระซึ่งเป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ให้ถึง
นิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน
ที่เป็นสุญญตะ อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น ฯลฯ
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล
โยคาวจรบุคคลสงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌานที่เป็นสุญญตะ ซึ่งเป็น
วิบาก เพราะได้ทำได้เจริญฌานที่เป็นโลกุตตรกุศลนั้นนั่นแหละ อยู่ในสมัยใด ใน
สมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็น
อัพยากฤต
[๕๑๑] สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤต เป็นไฉน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๑๔๑ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๑. จิตตุปปาทกัณฑ์] อัพยากตบท โลกุตตรวิปากจิต สุทธิกสุญญตะ
โยคาวจรบุคคลเจริญฌานที่เป็นโลกุตตระซึ่งเป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ให้ถึง
นิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน
ที่เป็นสุญญตะ อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น ฯลฯ
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล
โยคาวจรบุคคลสงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌานที่เป็นอนิมิตตะ ซึ่งเป็น
วิบาก เพราะได้ทำได้เจริญฌานที่เป็นโลกุตตรกุศลนั้นนั่นแหละ อยู่ในสมัยใด ใน
สมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็น
อัพยากฤต
[๕๑๒] สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤต เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคลเจริญฌานที่เป็นโลกุตตระซึ่งเป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ให้ถึง
นิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน
ที่เป็นสุญญตะ อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น ฯลฯ
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล
โยคาวจรบุคคลสงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌานที่เป็นอัปปณิหิตะ ซึ่งเป็น
วิบาก เพราะได้ทำได้เจริญฌานที่เป็นโลกุตตรกุศลนั้นนั่นแหละ อยู่ในสมัยใด ใน
สมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็น
อัพยากฤต
[๕๑๓] สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤต เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคลเจริญฌานที่เป็นโลกุตตระซึ่งเป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ให้ถึง
นิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น เพราะวิตกวิจาร สงบระงับไปแล้ว
ฯลฯ บรรลุทุติยฌาน ฯลฯ บรรลุตติยฌาน ฯลฯ บรรลุจตุตถฌาน ฯลฯ บรรลุ
ปฐมฌาน ฯลฯ บรรลุปัญจมฌานที่เป็นสุญญตะ ชื่อว่าเป็นกุศล ฯลฯ ที่เป็นสุญญตะ
ชื่อว่าเป็นวิบาก ฯลฯ ที่เป็นสุญญตะ ชื่อว่าเป็นกุศล ฯลฯ ที่เป็นอนิมิตตะ ชื่อว่า
เป็นวิบาก ฯลฯ ที่เป็นสุญญตะ ชื่อว่าเป็นกุศล ฯลฯ ที่เป็นอัปปณิหิตะ ชื่อว่า
เป็นวิบาก อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น ฯลฯ
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นอัพยากฤต
สุทธิกสุญญตะ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๑๔๒ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๑. จิตตุปปาทกัณฑ์] อัพยากตบท โลกุตตรวิปากจิต สุญญตปฎิปทา
สุญญตปฏิปทา
[๕๑๔] สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤต เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคลเจริญฌานที่เป็นโลกุตตระซึ่งเป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ให้ถึง
นิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌานที่
เป็นสุญญตะ เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ
ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล
โยคาวจรบุคคลสงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌานที่เป็นสุญญตะ ซึ่งเป็น
ทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา ซึ่งเป็นวิบาก เพราะได้ทำได้เจริญฌานที่เป็นโลกุตตร-
กุศลนั้นนั่นแหละ อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น ฯลฯ
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นอัพยากฤต
[๕๑๕] สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤต เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคลเจริญฌานที่เป็นโลกุตตระซึ่งเป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ให้ถึง
นิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌานที่
เป็นสุญญตะ เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ
อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล
โยคาวจรบุคคลสงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌานที่เป็นอนิมิตตะ เป็น
ทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา ซึ่งเป็นวิบาก เพราะได้ทำได้เจริญฌานที่เป็นโลกุตตร-
กุศลนั้นนั่นแหละ อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น ฯลฯ
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นอัพยากฤต
[๕๑๖] สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤต เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคลเจริญฌานที่เป็นโลกุตตระซึ่งเป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ให้ถึง
นิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌานที่
เป็นสุญญตะ เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ
อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล
โยคาวจรบุคคล สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌานที่เป็นอัปปณิหิตะ เป็น
ทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา ซึ่งเป็นวิบาก เพราะได้ทำได้เจริญฌานที่เป็นโลกุตตร-

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๑๔๓ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๑. จิตตุปปาทกัณฑ์] อัพยากตบท โลกุตตรวิปากจิต สุญญตปฎิปทา
กุศลนั้นนั่นและ อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น ฯลฯ
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นอัพยากฤต
[๕๑๗] สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤต เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคลเจริญฌานที่เป็นโลกุตตระซึ่งเป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ให้ถึง
นิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น บรรลุทุติยฌาน ฯลฯ เพราะวิตก
วิจารสงบระงับไปแล้ว ฯลฯ บรรลุตติยฌาน ฯลฯ บรรลุจตุตถฌาน ฯลฯ บรรลุ
ปฐมฌาน ฯลฯ บรรลุปัญจมฌานที่เป็นสุญญตะ เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา
อยู่ ชื่อว่าเป็นกุศล ฯลฯ ที่เป็นสุญญตะ เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา ชื่อว่าเป็น
วิบาก ฯลฯ ที่เป็นสุญญตะ เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา ชื่อว่าเป็นกุศล ฯลฯ ที่
เป็นอนิมิตตะ เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา ชื่อว่าเป็นวิบาก ฯลฯ ที่เป็นสุญญตะ
เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา ชื่อว่าเป็นกุศล ฯลฯ ที่เป็นอัปปณิหิตะ เป็น
ทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา ชื่อว่าเป็นวิบาก อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ
อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นอัพยากฤต
[๕๑๘] สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤต เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคลเจริญฌานที่เป็นโลกุตตระซึ่งเป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ให้ถึง
นิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน
ที่เป็นสุญญตะ เป็นทุกขาปฏิปทาขิปปาภิญญา ฯลฯ ที่เป็นสุญญตะ เป็น
สุขาปฏิปทาขิปปาภิญญา ฯลฯ ที่เป็นสุญญตะ เป็นสุขาปฏิปทาขิปปาภิญญา ฯลฯ
บรรลุทุติยฌาน ฯลฯ บรรลุตติยฌาน ฯลฯ บรรลุจตุตถฌาน ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน
ฯลฯ บรรลุปัญจมฌานที่เป็นสุญญตะ เป็นสุขาปฏิปทาขิปปาภิญญา ชื่อว่า
เป็นกุศล ฯลฯ ที่เป็นสุญญตะ เป็นสุขาปฏิปทาขิปปาภิญญา ชื่อว่าเป็นวิบาก ฯลฯ
ที่เป็นสุญญตะ เป็นสุขาปฏิปทาขิปปาภิญญา ชื่อว่าเป็นกุศล ฯลฯ ที่เป็นอนิมิตตะ
เป็นสุขาปฏิปทาขิปปาภิญญา ชื่อว่าเป็นวิบาก ฯลฯ ที่เป็นสุญญตะ เป็น
สุขาปฏิปทาขิปปาภิญญา ชื่อว่าเป็นกุศล ฯลฯ ที่เป็นอัปปณิหิตะ เป็นสุขาปฏิปทา
ขิปปาภิญญา ชื่อว่าเป็นวิบาก อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ
ก็เกิดขึ้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นอัพยากฤต
สุญญตปฏิปทา จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๑๔๔ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๑. จิตตุปปาทกัณฑ์] อัพยากตบท โลกุตตรวิปากจิต สุทธิกอัปปณิหิตะ
สุทธิกอัปปณิหิตะ
[๕๑๙] สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤต เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคลเจริญฌานที่เป็นโลกุตตระซึ่งเป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ให้ถึง
นิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌานที่
เป็นอัปปณิหิตะ อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น ฯลฯ
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล
โยคาวจรบุคคลสงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌานที่เป็นอัปปณิหิตะ ซึ่งเป็น
วิบาก เพราะได้ทำได้เจริญฌานที่เป็นโลกุตตรกุศลนั้นนั่นแหละ อยู่ในสมัยใด ในสมัย
นั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นอัพยากฤต
[๕๒๐] สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤต เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคลเจริญฌานที่เป็นโลกุตตระซึ่งเป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ให้ถึง
นิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌานที่
เป็นอัปปณิหิตะ อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น ฯลฯ
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล
โยคาวจรบุคคล สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌานที่เป็นอนิมิตตะ ซึ่งเป็น
วิบาก เพราะได้ทำได้เจริญฌานที่เป็นโลกุตตรกุศลนั้นนั่นแหละ อยู่ในสมัยใด ในสมัย
นั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นอัพยากฤต
[๕๒๑] สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤต เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคลเจริญฌานที่เป็นโลกุตตระซึ่งเป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ให้ถึง
นิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน
ที่เป็นอัปปณิหิตะ อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น ฯลฯ
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล
โยคาวจรบุคคลสงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌานที่เป็นสุญญตะ ซึ่งเป็น
วิบาก เพราะได้ทำได้เจริญฌานที่เป็นโลกุตตรกุศลนั้นนั่นแหละ อยู่ในสมัยใด ในสมัย
นั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นอัพยากฤต
[๕๒๒] สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤต เป็นไฉน


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๑๔๕ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๑. จิตตุปปาทกัณฑ์] อัพยากตบท โลกุตตรวิปากจิต อัปปณิหิตปฏิปทา
โยคาวจรบุคคลเจริญฌานที่เป็นโลกุตตระซึ่งเป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ให้ถึง
นิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น เพราะวิตกวิจารสงบระงับไปแล้ว ฯลฯ
ทุติยฌาน ฯลฯ บรรลุตติยฌาน ฯลฯ บรรลุจตุตถฌาน ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน
ฯลฯ บรรลุปัญจมฌานที่เป็นอัปปณิหิตะ ชื่อว่าเป็นกุศล ฯลฯ ที่เป็นอัปปณิหิตะ ชื่อ
ว่าเป็นวิบาก ฯลฯ ที่เป็นอัปปณิหิตะ ชื่อว่าเป็นกุศล ฯลฯ ที่เป็นอนิมิตตะ ชื่อว่า
เป็นวิบาก ฯลฯ ที่เป็นอัปปณิหิตะ ชื่อว่าเป็นกุศล ฯลฯ ที่เป็นสุญญตะ ชื่อว่าเป็น
วิบาก อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น ฯลฯ สภาวธรรม
เหล่านี้ชื่อว่าเป็นอัพยากฤต
สุทธิกอัปปณิหิตะ จบ

อัปปณิหิตปฏิปทา
[๕๒๓] สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤต เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคลเจริญฌานที่เป็นโลกุตตระซึ่งเป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ให้ถึง
นิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌานที่
เป็นอัปปณิหิตะ เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ
ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล
โยคาวจรบุคคลสงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌานที่เป็นอัปปณิหิตะ เป็น
ทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา ซึ่งเป็นวิบาก เพราะได้ทำได้เจริญฌานที่เป็นโลกุตตร-
กุศลนั้นนั่นแหละ อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น ฯลฯ
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นอัพยากฤต
[๕๒๔] สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤต เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคลเจริญฌานที่เป็นโลกุตตระซึ่งเป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ให้ถึง
นิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌานที่
เป็นอัปปณิหิตะ เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ
ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๑๔๖ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๑. จิตตุปปาทกัณฑ์] อัพยากตบท โลกุตตรวิปากจิต อัปปณิหิตปฏิปทา
โยคาวจรบุคคลสงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌานที่เป็นอนิมิตตะ เป็น
ทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา ซึ่งเป็นวิบาก เพราะได้ทำได้เจริญฌานที่เป็นโลกุตตร-
กุศลนั้นนั่นแหละ อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น ฯลฯ
สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่าเป็นอัพยากฤต
[๕๒๕] สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤต เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคลเจริญฌานที่เป็นโลกุตตระซึ่งเป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ให้ถึง
นิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌานที่
เป็นอัปปณิหิตะ เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ
ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล
โยคาวจรบุคคลสงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌานเป็นสุญญตะ เป็น
ทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา ซึ่งเป็นวิบาก เพราะได้ทำได้เจริญฌานที่เป็นโลกุตตร-
กุศลนั่นแหละ อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น ฯลฯ
สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่าเป็นอัพยากฤต
[๕๒๖] สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤต เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคลเจริญฌานที่เป็นโลกุตตระซึ่งเป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ให้ถึง
นิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น เพราะวิตกวิจารสงบระงับไปแล้ว ฯลฯ
บรรลุทุติยฌาน ฯลฯ บรรลุตติยฌาน ฯลฯ บรรลุจตุตถฌาน ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน
ฯลฯ บรรลุปัญจมฌานที่เป็นอัปปณิหิตะ เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา ชื่อว่า
เป็นกุศล ฯลฯ ที่เป็นอัปปณิหิตะ เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา ชื่อว่าเป็น
วิบาก ฯลฯ ที่เป็นอัปปณิหิตะ เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา ชื่อว่าเป็นกุศล
ฯลฯ ที่เป็นอนิมิตตะ เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา ชื่อว่าเป็นวิบาก ฯลฯ ที่เป็น
อัปปณิหิตะ เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา ชื่อว่าเป็นกุศล ฯลฯ ที่เป็นสุญญตะ
เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา ชื่อว่าเป็นวิบาก อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ
ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นอัพยากฤต
[๕๒๗] สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤต เป็นไฉน


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๑๔๗ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๑. จิตตุปปาทกัณฑ์] อัพยากตบท โลกุตตรวิปากจิต มหานัย ๒๐
โยคาวจรบุคคลเจริญฌานที่เป็นโลกุตตระซึ่งเป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ให้ถึง
นิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌานที่
เป็นอัปปณิหิตะ เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา ฯลฯ ที่เป็นอัปปณิหิตะ เป็น
สุขาปฏิปทาทันธาภิญญา ฯลฯ ที่เป็นอัปปณิหิตะ เป็นสุขาปฏิปทาขิปปาภิญญา
ฯลฯ บรรลุทุติยฌาน ฯลฯ บรรลุตติยฌาน ฯลฯ บรรลุจตุตถฌาน ฯลฯ บรรลุ
ปฐมฌาน ฯลฯ บรรลุปัญจมฌานที่เป็นอัปปณิหิตะ เป็นสุขาปฏิปทาขิปปาภิญญา
ชื่อว่าเป็นกุศล ฯลฯ ที่เป็นอัปปณิหิตะ เป็นสุขาปฏิปทาขิปปาภิญญา ชื่อว่าเป็น
วิบาก ฯลฯ ที่เป็นอัปปณิหิตะ เป็นสุขาปฏิปทาขิปปาภิญญา ชื่อว่าเป็นกุศล ฯลฯ
ที่เป็นอนิมิตตะ เป็นสุขาปฏิปทาขิปปาภิญญา ชื่อว่าเป็นวิบาก ฯลฯ ที่เป็น
อัปปณิหิตะ เป็นสุขาปฏิปทาขิปปาภิญญา ชื่อว่าเป็นกุศล ฯลฯ ที่เป็นสุญญตะ
เป็นสุขาปฏิปทาขิปปาภิญญา ชื่อว่าเป็นวิบาก อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ
ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นอัพยากฤต
อัปปณิหิตปฏิปทา จบ

มหานัย ๒๐
[๕๒๘] สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤต เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคที่เป็นโลกุตตระ ฯลฯ เจริญสติปัฏฐานที่เป็น
โลกุตตระ ฯลฯ เจริญสัมมัปปธานที่เป็นโลกุตตระ ฯลฯ เจริญอิทธิบาทที่เป็น
โลกุตตระ ฯลฯ เจริญอินทรีย์ที่เป็นโลกุตตระ ฯลฯ เจริญพละที่เป็นโลกุตตระ ฯลฯ
เจริญโพชฌงค์ที่เป็นโลกุตตระ ฯลฯ เจริญสัจจะที่เป็นโลกุตตระ ฯลฯ เจริญสมถะที่
เป็นโลกุตตระ ฯลฯ เจริญวิปัสสนาที่เป็นโลกุตตระ ฯลฯ เจริญขันธ์ที่เป็นโลกุตตระ
ฯลฯ เจริญอายตนะที่เป็นโลกุตตระ ฯลฯ เจริญธาตุที่เป็นโลกุตตระ ฯลฯ เจริญ
อาหารที่เป็นโลกุตตระ ฯลฯ เจริญผัสสะที่เป็นโลกุตตระ ฯลฯ เจริญเวทนาที่เป็น
โลกุตตระ ฯลฯ เจริญสัญญาที่เป็นโลกุตตระ ฯลฯ เจริญเจตนาที่โลกุตตระ ฯลฯ
เจริญจิตที่เป็นโลกุตตระซึ่งเป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ให้ถึงนิพพาน เพื่อละทิฏฐิ
เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน เป็นทุกขาปฏิปทา-
ทันธาภิญญา อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น ฯลฯ
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๑๔๘ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๑. จิตตุปปาทกัณฑ์] อัพยากตบท โลกุตตรวิปากจิต ฉันทาธิปไตย สุทธิกปฏิปทา
โยคาวจรบุคคลสงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌานที่เป็นสุญญตะ ฯลฯ
เป็นอนิมิตตะ ฯลฯ เป็นอัปปณิหิตะ เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา ซึ่งเป็นวิบาก
เพราะได้ทำได้เจริญฌานที่เป็นโลกุตตรกุศลนั้นนั่นแหละ อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น
ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นอัพยากฤต
มหานัย ๒๐ จบ

ฉันทาธิปไตย สุทธิกปฏิปทา
[๕๒๙] สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤต เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคลเจริญฌานที่เป็นโลกุตตระซึ่งเป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ให้ถึง
นิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน
เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา เป็นฉันทาธิปไตย อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ
ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล
โยคาวจรบุคคลสงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌานเป็นฉันทาธิปไตย เป็น
สุญญตะ เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา เป็นสุญญตะ ฯลฯ ซึ่งเป็นวิบาก เพราะ
ได้ทำได้เจริญฌานที่เป็นโลกุตตรกุศลนั้นนั่นแหละ อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ
ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นอัพยากฤต
[๕๓๐] สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤต เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคลเจริญฌานที่เป็นโลกุตตระซึ่งเป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ให้ถึง
นิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน
เป็นฉันทาธิปไตยอยู่ เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น
ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล
โยคาวจรบุคคล สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌานเป็นฉันทาธิปไตย เป็น
อนิมิตตะ เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญาซึ่งเป็นวิบาก เพราะได้ทำได้เจริญฌาน
ที่เป็นโลกุตตรกุศลนั้นนั่นแหละ อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ
ก็เกิดขึ้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นอัพยากฤต


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๑๔๙ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๑. จิตตุปปาทกัณฑ์] อัพยากตบท โลกุตตรวิปากจิต ฉันทาธิปไตย สุทธิกปฏิปทา
[๕๓๑] สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤต เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคลเจริญฌานที่เป็นโลกุตตระซึ่งเป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ให้ถึง
นิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน
เป็นฉันทาธิปไตย เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ
ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล
โยคาวจรบุคคล สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌานเป็นฉันทาธิปไตย เป็น
อัปปณิหิตะ เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญาซึ่งเป็นวิบาก เพราะได้ทำได้เจริญฌานที่
เป็นโลกุตตรกุศลนั้นนั่นแหละ อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ
ก็เกิดขึ้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นอัพยากฤต
[๕๓๒] สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤต เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคลเจริญฌานที่เป็นโลกุตตระซึ่งเป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ให้ถึง
นิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น เพราะวิตกวิจารสงบระงับไปแล้ว ฯลฯ จึง
บรรลุทุติยฌาน ฯลฯ บรรลุตติยฌาน ฯลฯ บรรลุจตุตถฌาน ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน
ฯลฯ บรรลุปัญจมฌานเป็นฉันทาธิปไตย เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา ชื่อว่า
เป็นกุศล ฯลฯ เป็นฉันทาธิปไตย เป็นสุญญตะ เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา
ชื่อว่า เป็นวิบาก ฯลฯ เป็นฉันทาธิปไตย เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา ชื่อว่า
เป็นกุศล ฯลฯ เป็นฉันทาธิปไตย เป็นอนิมิตตะ เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา
ชื่อว่าเป็นวิบาก ฯลฯ เป็นฉันทาธิปไตย เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา ชื่อว่า
เป็นกุศล ฯลฯ เป็นฉันทาธิปไตย เป็นอัปปณิหิตะ เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา
ชื่อว่าเป็นวิบาก อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น ฯลฯ
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นอัพยากฤต
[๕๓๓] สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤต เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคลเจริญฌานที่เป็นโลกุตตระซึ่งเป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ให้ถึง
นิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌานเป็น
ฉันทาธิปไตย เป็นทุกขาปฏิปทาขิปปาภิญญา ฯลฯ เป็นฉันทาธิปไตย เป็นสุขา-
ปฏิปทาทันธาภิญญา ฯลฯ เป็นฉันทาธิปไตย เป็นสุขาปฏิปทาขิปปาภิญญา ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๑๕๐ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๑. จิตตุปปาทกัณฑ์] อัพยากตบท โลกุตตรวิปากจิต ฉันทาธิปไตย สุทธิกสุญญตะ
บรรลุทุติยฌาน ฯลฯ บรรลุตติยฌาน ฯลฯ บรรลุจตุตถฌาน ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน
ฯลฯ บรรลุปัญจมฌานเป็นฉันทาธิปไตย เป็นสุขาปฏิปทาขิปปาภิญญา ฯลฯ
ชื่อว่าเป็นกุศล ฯลฯ เป็นฉันทาธิปไตย เป็นสุญญตะ เป็นทุกขาปฏิปทาขิปปาภิญญา
ชื่อว่า เป็นวิบาก ฯลฯ เป็นฉันทาธิปไตย เป็นสุขาปฏิปทาขิปปาภิญญา ชื่อว่า
เป็นกุศล ฯลฯ เป็นฉันทาธิปไตย เป็นอนิมิตตะ เป็นสุขาปฏิปทาขิปปาภิญญา ชื่อว่า
เป็นวิบาก ฯลฯ เป็นฉันทาธิปไตย เป็นสุขาปฏิปทาขิปปาภิญญา ชื่อว่าเป็นกุศล
ฯลฯ เป็นฉันทาธิปไตย เป็นอัปปณิหิตะ เป็นสุขาปฏิปทาขิปปาภิญญา ชื่อว่า
เป็นวิบาก อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น ฯลฯ
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นอัพยากฤต
ฉันทาธิปไตย สุทธิกปฏิปทา จบ

ฉันทาธิปไตย สุทธิกสุญญตะ
[๕๓๔] สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤต เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคลเจริญฌานที่เป็นโลกุตตระซึ่งเป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ให้ถึง
นิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน
เป็นฉันทาธิปไตย เป็นสุญญตะ อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ
ก็เกิดขึ้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่าเป็นกุศล
โยคาวจรบุคคล สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌานเป็นฉันทาธิปไตย เป็น
สุญญตะ ซึ่งเป็นวิบาก เพราะได้ทำได้เจริญฌานที่เป็นโลกุตตรกุศลนั้นนั่นแหละ อยู่
ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่า
นี้ชื่อว่าเป็นอัพยากฤต
[๕๓๕] สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤต เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคลเจริญฌานที่เป็นโลกุตตระซึ่งเป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ให้ถึง
นิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌานเป็น
ฉันทาธิปไตย เป็นสุญญตะ อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น
ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๑๕๑ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๑. จิตตุปปาทกัณฑ์] อัพยากตบท โลกุตตรวิปากจิต ฉันทาธิปไตย สุทธิกสุญญตะ
โยคาวจรบุคคลสงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌานเป็นฉันทาธิปไตย เป็น
อนิมิตตะ ซึ่งเป็นวิบาก เพราะได้ทำได้เจริญฌานที่เป็นโลกุตตรกุศลนั้นนั่นแหละ อยู่
ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้
ชื่อว่าเป็นอัพยากฤต
[๕๓๖] สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤต เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคลเจริญฌานที่เป็นโลกุตตระซึ่งเป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ให้ถึง
นิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน
เป็นฉันทาธิปไตย เป็นสุญญตะ อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ
ก็เกิดขึ้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล
โยคาวจรบุคคลสงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌานเป็นฉันทาธิปไตย เป็น
อัปปณิหิตะ ซึ่งเป็นวิบาก เพราะได้ทำได้เจริญฌานที่เป็นโลกุตตรกุศลนั้นนั่นแหละ
อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่า
นี้ชื่อว่าเป็นอัพยากฤต
[๕๓๗] สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤต เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคลเจริญฌานที่เป็นโลกุตตระซึ่งเป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ให้ถึง
นิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น เพราะวิตกวิจารสงบระงับไปแล้ว ฯลฯ
บรรลุทุติยฌาน ฯลฯ บรรลุตติยฌาน ฯลฯ บรรลุจตุตถฌาน ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน
ฯลฯ บรรลุปัญจมฌานเป็นฉันทาธิปไตย เป็นสุญญตะ ชื่อว่าเป็นกุศล ฯลฯ เป็น
ฉันทาธิปไตย เป็นสุญญตะ ชื่อว่าเป็นวิบาก ฯลฯ เป็นฉันทาธิปไตย เป็นสุญญตะ
ชื่อว่าเป็นกุศล ฯลฯ เป็นฉันทาธิปไตย เป็นอนิมิตตะ ชื่อว่าเป็นวิบาก ฯลฯ เป็น
ฉันทาธิปไตย เป็นสุญญตะ ชื่อว่าเป็นกุศล ฯลฯ เป็นฉันทาธิปไตย เป็นอัปปณิหิตะ
ชื่อว่าเป็นวิบาก อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น ฯลฯ
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นอัพยากฤต
ฉันทาธิปไตย สุทธิกสุญญตะ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๑๕๒ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๑. จิตตุปปาทกัณฑ์] อัพยากตบท โลกุตตรวิปากจิต วิบากแห่งมรรคจิตดวงที่ ๑
วิบากแห่งมรรคจิตดวงที่ ๑
[๕๓๘] สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤต เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคลเจริญฌานที่เป็นโลกุตตระซึ่งเป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ให้ถึง
นิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌานเป็น
ฉันทาธิปไตย เป็นสุญญตะ เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น
ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล
โยคาวจรบุคคล สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌานเป็นฉันทาธิปไตย เป็น
สุญญตะ เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา ซึ่งเป็นวิบาก เพราะได้ทำได้เจริญฌาน
ที่เป็นโลกุตตรกุศลนั้นนั่นแหละ อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ
ก็เกิดขึ้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นอัพยากฤต
[๕๓๙] สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤต เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคลเจริญฌานที่เป็นโลกุตตระซึ่งเป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ให้ถึง
นิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌานเป็น
ฉันทาธิปไตย เป็นสุญญตะ เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น
ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล
โยคาวจรบุคคลสงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌานเป็นฉันทาธิปไตย เป็น
อนิมิตตะ เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญาซึ่งเป็นวิบาก ฯลฯ เพราะได้ทำได้เจริญ
ฌานที่เป็นโลกุตตรกุศลนั่นแหละ อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ
ก็เกิดขึ้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นอัพยากฤต
[๕๔๐] สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤต เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคลเจริญฌานที่เป็นโลกุตตระซึ่งเป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ให้ถึง
นิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน เป็น
ฉันทาธิปไตย เป็นสุญญตะ เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น
ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล
โยคาวจรบุคคลสงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌานเป็นฉันทาธิปไตย เป็น
อัปปณิหิตะ เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญาซึ่งเป็นวิบาก เพราะได้ทำได้เจริญฌาน


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๑๕๓ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๑. จิตตุปปาทกัณฑ์] อัพยากตบท โลกุตตรวิปากจิต วิบากแห่งมรรคจิตดวงที่ ๑
ที่เป็นโลกุตตรกุศลนั้นนั่นแหละ อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ
ก็เกิดขึ้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นอัพยากฤต
[๕๔๑] สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤต เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคลเจริญฌานที่เป็นโลกุตตระซึ่งเป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ให้ถึง
นิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น เพราะวิตกวิจารสงบระงับไปแล้ว ฯลฯ
บรรลุทุติยฌาน ฯลฯ บรรลุตติยฌาน ฯลฯ บรรลุจตุตถฌาน ฯลฯ บรรลุ
ปฐมฌาน ฯลฯ บรรลุปัญจมฌานเป็นสุญญตะ เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา เป็น
ฉันทาธิปไตยอยู่ ชื่อว่าเป็นกุศล ฯลฯ เป็นสุญญตะ เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา
เป็นฉันทาธิปไตยอยู่ ชื่อว่าเป็นวิบาก ฯลฯ เป็นสุญญตะ เป็นทุกขาปฏิปทาทันธา-
ภิญญา เป็นฉันทาธิปไตย ชื่อว่าเป็นกุศล ฯลฯ เป็นอนิมิตตะ เป็นทุกขาปฏิปทา
ทันธาภิญญา เป็นฉันทาธิปไตย ชื่อว่าเป็นวิบาก ฯลฯ เป็นสุญญตะ เป็น
ทุกขาปฏิปทา ทันธาภิญญา เป็นฉันทาธิปไตย ชื่อว่าเป็นกุศล ฯลฯ เป็นอัปปณิหิตะ
เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา เป็นฉันทาธิปไตย ชื่อว่าเป็นวิบาก อยู่ในสมัยใด ใน
สมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็น
อัพยากฤต
[๕๔๒] สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤต เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคลเจริญฌานที่เป็นโลกุตตระซึ่งเป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ให้ถึง
นิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌานเป็น
ฉันทาธิปไตย เป็นสุญญตะ เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา ฯลฯ เป็นฉันทาธิปไตย
เป็นสุญญตะ เป็นสุขาปฏิปทาทันธาภิญญา ฯลฯ เป็นฉันทาธิปไตย เป็นสุญญตะ
เป็นสุขาปฏิปทาขิปปาภิญญา ฯลฯ บรรลุทุติยฌาน ฯลฯ บรรลุตติยฌาน ฯลฯ
บรรลุจตุตถฌาน ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน ฯลฯ บรรลุปัญจมฌาน เป็นฉันทาธิปไตย
เป็นสุญญตะ เป็นสุขาปฏิปทาขิปปาภิญญา ชื่อว่าเป็นกุศล ฯลฯ เป็นฉันทาธิปไตย
เป็นสุญญตะ เป็นสุขาปฏิปทาขิปปาภิญญา ชื่อว่าเป็นวิบาก ฯลฯ เป็นฉันทาธิปไตย
เป็นสุญญตะ เป็นสุขาปฏิปทาขิปปาภิญญา ชื่อว่าเป็นกุศล ฯลฯ เป็นฉันทาธิปไตย
เป็นอนิมิตตะ เป็นสุขาปฏิปทาขิปปาภิญญา ชื่อว่าเป็นวิบาก ฯลฯ เป็นฉันทาธิปไตย


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๑๕๔ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๑. จิตตุปปาทกัณฑ์] อัพยากตบท โลกุตตรวิปากจิต วิบากแห่งมรรคจิตดวงที่ ๑
เป็นสุญญตะ เป็นสุขาปฏิปทาขิปปาภิญญา ชื่อว่าเป็นกุศล ฯลฯ เป็นฉันทาธิปไตย
เป็นอัปปณิหิตะ เป็นสุขาปฏิปทาขิปปาภิญญา ชื่อว่าเป็นวิบาก อยู่ในสมัยใด ในสมัย
นั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นอัพยากฤต
[๕๔๓] สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤต เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคลเจริญฌานที่เป็นโลกุตตระซึ่งเป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ให้ถึง
นิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน
เป็นฉันทาธิปไตย เป็นอัปปณิหิตะ อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ
ก็เกิดขึ้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล
โยคาวจรบุคคลสงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน เป็นฉันทาธิปไตย เป็น
อัปปณิหิตะซึ่งเป็นวิบาก เพราะได้ทำได้เจริญฌานที่เป็นโลกุตตรกุศลนั้นนั่นแหละ
อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้
ชื่อว่าเป็นอัพยากฤต
[๕๔๔] สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤต เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคลเจริญฌานที่เป็นโลกุตตระซึ่งเป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ให้ถึง
นิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน
เป็นฉันทาธิปไตย เป็นอัปปณิหิตะ อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ
ก็เกิดขึ้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล
โยคาวจรบุคคลสงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌานเป็นฉันทาธิปไตย เป็น
อนิมิตตะ ซึ่งเป็นวิบาก เพราะได้ทำได้เจริญฌานที่เป็นโลกุตตรกุศลนั้นนั่นแหละ อยู่
ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้
ชื่อว่าเป็นอัพยากฤต
[๕๔๕] สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤต เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคลเจริญฌานที่เป็นโลกุตตระซึ่งเป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ให้ถึง
นิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน
เป็นฉันทาธิปไตย เป็นอัปปณิหิตะ อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ
ก็เกิดขึ้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๑๕๕ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๑. จิตตุปปาทกัณฑ์] อัพยากตบท โลกุตตรวิปากจิต วิบากแห่งมรรคจิตดวงที่ ๑
โยคาวจรบุคคลสงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน เป็นฉันทาธิปไตย เป็น
สุญญตะ ซึ่งเป็นวิบาก เพราะได้ทำได้เจริญฌานที่เป็นโลกุตตรกุศลนั้นนั่นแหละ อยู่
ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้
ชื่อว่าเป็นอัพยากฤต
[๕๔๖] สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤต เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคลเจริญฌานที่เป็นโลกุตตระซึ่งเป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ให้ถึง
นิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น เพราะวิตกวิจารสงบระงับไปแล้ว ฯลฯ
บรรลุทุติยฌาน ฯลฯ บรรลุตติยฌาน ฯลฯ บรรลุจตุตถฌาน ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน
ฯลฯ บรรลุปัญจมฌาน ฯลฯ เป็นฉันทาธิปไตย เป็นอัปปณิหิตะ ชื่อว่าเป็นกุศล
ฯลฯ เป็นฉันทาธิปไตย เป็นอัปปณิหิตะ ชื่อว่าเป็นวิบาก ฯลฯ เป็นฉันทาธิปไตย
เป็นอัปปณิหิตะ ชื่อว่าเป็นกุศล ฯลฯ เป็นฉันทาธิปไตย เป็นอนิมิตตะ ชื่อว่า
เป็นวิบาก ฯลฯ เป็นฉันทาธิปไตย เป็นอัปปณิหิตะ ชื่อว่าเป็นกุศล ฯลฯ เป็น
ฉันทาธิปไตย เป็นสุญญตะ ชื่อว่าเป็นวิบาก อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ
อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นอัพยากฤต
[๕๔๗] สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤต เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคลเจริญฌานที่เป็นโลกุตตระซึ่งเป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ให้ถึง
นิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน
เป็นฉันทาธิปไตย เป็นอัปปณิหิตะ เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ในสมัยใด
ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล
โยคาวจรบุคคลสงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌานเป็นฉันทาธิปไตย เป็น
อัปปณิหิตะ เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา ซึ่งเป็นวิบาก เพราะได้ทำได้เจริญฌาน
ที่เป็นโลกุตตรกุศลนั้นนั่นแหละ อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ
ก็เกิดขึ้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นอัพยากฤต
[๕๔๘] สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤต เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคลเจริญฌานที่เป็นโลกุตตระซึ่งเป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ให้ถึง
นิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน
เป็นฉันทาธิปไตย เป็นอัปปณิหิตะ เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ในสมัยใด
ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๑๕๖ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๑. จิตตุปปาทกัณฑ์] อัพยากตบท โลกุตตรวิปากจิต วิบากแห่งมรรคจิตดวงที่ ๑
โยคาวจรบุคคลสงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน เป็นฉันทาธิปไตย เป็น
อนิมิตตะ เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา ซึ่งเป็นวิบาก เพราะได้ทำได้เจริญฌาน
ที่เป็นโลกุตตรกุศลนั้นนั่นแหละ อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ
ก็เกิดขึ้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นอัพยากฤต
[๕๔๙] สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤต เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคลเจริญฌานที่เป็นโลกุตตระซึ่งเป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ให้ถึง
นิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน
เป็นฉันทาธิปไตย เป็นอัปปณิหิตะ เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ในสมัยใด
ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล
โยคาวจรบุคคลสงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน เป็นฉันทาธิปไตย เป็น
สุญญตะ เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา ซึ่งเป็นวิบาก เพราะได้ทำได้เจริญฌาน
ที่เป็นโลกุตตรกุศลนั้นนั่นแหละ อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ
ก็เกิดขึ้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นอัพยากฤต
[๕๕๐] สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤต เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคลเจริญฌานที่เป็นโลกุตตระซึ่งเป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ให้ถึง
นิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น เพราะวิตกวิจารสงบระงับไปแล้ว ฯลฯ
บรรลุทุติยฌาน ฯลฯ บรรลุตติยฌาน ฯลฯ บรรลุจตุตถฌาน ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน
ฯลฯ บรรลุปัญจมฌาน เป็นฉันทาธิปไตย เป็นอัปปณิหิตะ เป็นทุกขาปฏิปทา-
ทันธาภิญญา ชื่อว่าเป็นกุศล ฯลฯ เป็นฉันทาธิปไตย เป็นอัปปณิหิตะ เป็น
ทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา ชื่อว่าเป็นวิบาก ฯลฯ เป็นฉันทาธิปไตย เป็นอัปปณิหิตะ
เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา ชื่อว่าเป็นกุศล ฯลฯ เป็นฉันทาธิปไตย เป็นอนิมิตตะ
เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา ชื่อว่าเป็นวิบาก ฯลฯ เป็นฉันทาธิปไตย เป็น
อัปปณิหิตะ เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา ชื่อว่าเป็นกุศล ฯลฯ เป็นฉันทาธิปไตย
เป็นสุญญตะ เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา ชื่อว่าเป็นวิบาก อยู่ในสมัยใด ใน
สมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็น
อัพยากฤต


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๑๕๗ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๑. จิตตุปปาทกัณฑ์] อัพยากตบท โลกุตตรวิปากจิต วิบากแห่งมรรคจิตดวงที่ ๑
[๕๕๑] สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤต เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคลเจริญฌานที่เป็นโลกุตตระซึ่งเป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ให้ถึง
นิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน
เป็นฉันทาธิปไตย เป็นอัปปณิหิตะ เป็นทุกขาปฏิปทาขิปปาภิญญา ฯลฯ เป็น
ฉันทาธิปไตย เป็นอัปปณิหิตะ เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา ฯลฯ เป็น
ฉันทาธิปไตย เป็นอัปปณิหิตะ เป็นสุขาปฏิปทาขิปปาภิญญา ฯลฯ บรรลุทุติยฌาน
ฯลฯ บรรลุตติยฌาน ฯลฯ บรรลุจตุตถฌาน ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน ฯลฯ บรรลุ
ปัญจมฌาน เป็นฉันทาธิปไตย เป็นอัปปณิหิตะ เป็นสุขาปฏิปทาขิปปาภิญญา
ชื่อว่าเป็นกุศล ฯลฯ เป็นฉันทาธิปไตย เป็นอัปปณิหิตะ เป็นสุขาปฏิปทาขิปปาภิญญา
ชื่อว่าเป็นวิบาก ฯลฯ เป็นฉันทาธิปไตย เป็นอัปปณิหิตะ เป็นสุขาปฏิปทา
ขิปปาภิญญา ชื่อว่าเป็นกุศล ฯลฯ เป็นฉันทาธิปไตย เป็นอนิมิตตะ เป็นสุขาปฏิปทา
ขิปปาภิญญา ชื่อว่าเป็นวิบาก ฯลฯ เป็นฉันทาธิปไตย เป็นอัปปณิหิตะ เป็น
สุขาปฏิปทาขิปปาภิญญา ชื่อว่าเป็นกุศล ฯลฯ เป็นฉันทาธิปไตย เป็นสุญญตะ เป็น
สุขาปฏิปทาขิปปาภิญญา ชื่อว่าเป็นวิบาก อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ
อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นอัพยากฤต
[๕๕๒] สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤต เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคที่เป็นโลกุตตระ ฯลฯ เจริญสติปัฏฐานที่เป็น
โลกุตตระ ฯลฯ เจริญสัมมัปปธานที่เป็นโลกุตตระ ฯลฯ เจริญอิทธิบาทที่เป็น
โลกุตตระ ฯลฯ เจริญอินทรีย์ที่เป็นโลกุตตระ ฯลฯ เจริญพละที่เป็นโลกุตตระ ฯลฯ
เจริญโพชฌงค์ที่เป็นโลกุตตระ ฯลฯ เจริญสัจจะที่เป็นโลกุตตระ ฯลฯ เจริญสมถะที่
เป็นโลกุตตระ ฯลฯ เจริญวิปัสสนาที่เป็นโลกุตตระ ฯลฯ เจริญขันธ์ที่เป็นโลกุตตระ
ฯลฯ เจริญอายตนะที่เป็นโลกุตตระ ฯลฯ เจริญธาตุที่เป็นโลกุตตระ ฯลฯ เจริญ
อาหารที่เป็นโลกุตตระ ฯลฯ เจริญผัสสะที่เป็นโลกุตตระ ฯลฯ เจริญเวทนาที่เป็น
โลกุตตระ ฯลฯ เจริญสัญญาที่เป็นโลกุตตระ ฯลฯ เจริญเจตนาที่เป็นโลกุตตระ ฯลฯ
เจริญจิตที่เป็นโลกุตตระซึ่งเป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ให้ถึงนิพพาน เพื่อละทิฏฐิ
เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌานเป็นฉันทาธิปไตย เป็น
ทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น
ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๑๕๘ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๑. จิตตุปปาทกัณฑ์] อัพยากตบท โลกุตตรวิปากจิต วิบากแห่งมรรคจิตดวงที่ ๒ เป็นต้น
โยคาวจรบุคคลสงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌานที่เป็นสุญญตะ เป็น
ทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา ฯลฯ เป็นอนิมิตตะ ฯลฯ เป็นฉันทาธิปไตย เป็น
อัปปณิหิตะ ฯลฯ เป็นวิริยาธิปไตย ฯลฯ เป็นจิตตาธิปไตย ฯลฯ เป็นวิมังสาธิปไตย
ซึ่งเป็นวิบาก เพราะได้ทำได้เจริญฌานที่เป็นโลกุตตรกุศลนั้นนั่นแหละ อยู่ในสมัยใด
ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็น
อัพยากฤต
วิบากแห่งมรรคจิตดวงที่ ๑ จบ

วิบากแห่งมรรคจิตดวงที่ ๒ เป็นต้น
[๕๕๓] สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤต เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคลเจริญฌานที่เป็นโลกุตตระซึ่งเป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ให้ถึง
นิพพาน เพื่อทำกามราคะและพยาบาทให้เบาบาง เพื่อบรรลุภูมิที่ ๒ ฯลฯ เพื่อละ
กามราคะและพยาบาทโดยสิ้นเชิง เพื่อบรรลุภูมิที่ ๓ ฯลฯ เพื่อละรูปราคะ
อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะ และอวิชชาโดยสิ้นเชิง เพื่อบรรลุภูมิที่ ๔ สงัดจากกาม
ฯลฯ บรรลุปฐมฌานเป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น
ผัสสะ ฯลฯ อัญญินทรีย์ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า
เป็นกุศล
โยคาวจรบุคคลสงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌานซึ่งเป็นสุญญตะ อันเป็น
ทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา ซึ่งเป็นวิบาก เพราะได้ทำได้เจริญฌานที่เป็นโลกุตตร-
กุศลนั้นนั่นแหละ อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อัญญาตาวินทรีย์ ฯลฯ
อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น ฯลฯ หรือสภาวธรรมที่ไม่เป็นรูปซึ่งที่อิงอาศัยกันเกิดขึ้นแม้อื่น
ในสมัยนั้น สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นอัพยากฤต
[๕๕๔] ผัสสะ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ความกระทบ กิริยาที่กระทบ กิริยาที่ถูกต้อง ภาวะที่ถูกต้อง ในสมัยนั้น
นี้ชื่อว่าผัสสะที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น ฯลฯ
[๕๕๕] อัญญาตาวินทรีย์ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๑๕๙ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๑. จิตตุปปาทกัณฑ์] อัพยากตบท อัพยากฤตที่เป็นอกุศลวิบาก
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ความวิจัย ความเลือกสรร ความวิจัยธรรม ความ
กำหนดหมาย ความเข้าไปกำหนด ความเข้าไปกำหนดเฉพาะ ภาวะที่รู้ ภาวะที่ฉลาด
ภาวะที่รู้ละเอียด ความรู้อย่างแจ่มแจ้ง ความค้นคิด การใคร่ครวญ ปัญญาเหมือน
แผ่นดิน ปัญญาเครื่องทำลายกิเลส ปัญญาเครื่องนำทาง ความเห็นแจ้ง ความรู้ดี
ปัญญาเหมือนปฏัก ปัญญาปัญญินทรีย์ ปัญญาพละ ปัญญาเหมือนศัสตรา ปัญญา
เหมือนปราสาท ความสว่างคือปัญญา แสงสว่างคือปัญญา ปัญญาเหมือนประทีป
ปัญญาเหมือนดวงแก้ว ความไม่หลงงมงาย ความเลือกเฟ้นธรรม สัมมาทิฏฐิ
ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์มรรค นับเนื่องในมรรคที่เกิดขึ้น ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่า
อัญญาตาวินทรีย์๑ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น ฯลฯ หรือสภาวธรรมที่ไม่เป็นรูปซึ่งอิง
อาศัยกันเกิดขึ้นแม้อื่นในสมัยนั้น สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นอัพยากฤต
วิบากแห่งมรรคจิตดวงที่ ๒ เป็นต้น จบ
โลกุตตรวิปากจิต จบ

อัพยากฤตที่เป็นอกุศลวิบาก
ปัญจวิญญาณที่เป็นอกุศลวิบาก
[๕๕๖] สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤต เป็นไฉน
จักขุวิญญาณที่เป็นวิบาก สหรคตด้วยอุเบกขา มีรูปเป็นอารมณ์เกิดขึ้น ฯลฯ
โสตวิญญาณที่เป็นวิบาก สหรคตด้วยอุเบกขา มีเสียงเป็นอารมณ์เกิดขึ้น ฯลฯ
ฆานวิญญาณที่เป็นวิบาก สหรคตด้วยอุเบกขา มีกลิ่นเป็นอารมณ์เกิดขึ้น ฯลฯ
ชิวหาวิญญาณที่เป็นวิบาก สหรคตด้วยอุเบกขา มีรสเป็นอารมณ์เกิดขึ้น ฯลฯ
กายวิญญาณที่เป็นวิบาก สหรคตด้วยทุกข์ มีโผฏฐัพพะเป็นอารมณ์เกิดขึ้น เพราะ
ได้ทำได้สั่งสมอกุศลกรรมไว้ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา
จิต ทุกข์ เอกัคคตา มนินทรีย์ ทุกขินทรีย์ และชีวิตินทรีย์ ก็เกิดขึ้น หรือสภาวธรรม
ที่ไม่เป็นรูปซึ่งอิงอาศัยกันเกิดขึ้นแม้อื่นในสมัยนั้น สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า
เป็นอัพยากฤต

เชิงอรรถ :
๑ อภิ.วิ. ๓๕/๒๒๐/๑๔๘

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๑๖๐ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๑. จิตตุปปาทกัณฑ์] อัพยากตบท อัพยากฤตที่เป็นอกุศลวิบาก
[๕๕๗] ผัสสะ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ความกระทบ กิริยาที่กระทบ กิริยาที่ถูกต้อง ภาวะที่ถูกต้อง ในสมัยนั้น
นี้ชื่อว่าผัสสะที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[๕๕๘] เวทนา ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ความไม่สำราญทางกาย ความทุกข์ทางกาย อันเกิดแต่สัมผัสแห่งกาย
วิญญาณธาตุที่เหมาะสมกัน ความเสวยอารมณ์ที่ไม่สำราญเป็นทุกข์ อันเกิดแต่
กายสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่ไม่สำราญเป็นทุกข์ อันเกิดแต่กายสัมผัส ในสมัยนั้น
นี้ชื่อว่าเวทนาที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น ฯลฯ
[๕๕๙] ทุกข์ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ความไม่สำราญทางกาย ความทุกข์ทางกาย ความเสวยอารมณ์ที่ไม่สำราญ
เป็นทุกข์ อันเกิดแต่กายสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่ไม่สำราญเป็นทุกข์ อันเกิดแต่
กายสัมผัส ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่าทุกข์ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น ฯลฯ
[๕๖๐] ทุกขินทรีย์ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ความไม่สำราญทางกาย ความทุกข์ทางกาย ความเสวยอารมณ์ที่ไม่สำราญ
เป็นทุกข์ อันเกิดแต่กายสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่ไม่สบายเป็นทุกข์ อันเกิดแต่
กายสัมผัส ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่าทุกขินทรีย์๑ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น ฯลฯ หรือ
สภาวธรรมที่ไม่เป็นรูปซึ่งอิงอาศัยกันเกิดขึ้นแม้อื่นในสมัยนั้น สภาวธรรมเหล่านี้
ชื่อว่าเป็นอัพยากฤต
ขันธ์ ๔ อายตนะ ๒ ธาตุ ๒ อาหาร ๓ อินทรีย์ ๓ ผัสสะ ๑ ฯลฯ
กายวิญญาณธาตุ ๑ ธัมมายตนะ ๑ และธัมมธาตุ ๑ ในสมัยนั้น หรือสภาวธรรม
ที่ไม่เป็นรูปซึ่งอิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นในสมัยนั้น สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็น
อัพยากฤต ฯลฯ
[๕๖๑] สังขารขันธ์ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ผัสสะ เจตนา เอกัคคตา และชีวิตินทรีย์ หรือสภาวธรรมที่อาศัยกันเกิดขึ้นแม้
อื่นในสมัยนั้น เว้นเวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ และวิญญาณขันธ์ นี้ชื่อว่าสังขารขันธ์
ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นอัพยากฤต
ปัญจวิญญาณที่เป็นอกุศลวิบาก จบ

เชิงอรรถ :
๑ อภิ.วิ. ๓๕/๒๒๐/๑๔๗

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๑๖๑ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๑. จิตตุปปาทกัณฑ์] อัพยากตบท อัพยากฤตที่เป็นอกุศลวิบาก
มโนธาตุที่เป็นอกุศลวิบาก
[๕๖๒] สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤต เป็นไฉน
มโนธาตุที่เป็นวิบาก สหรคตด้วยอุเบกขา มีรูปเป็นอารมณ์ ฯลฯ มีโผฏฐัพพะ
เป็นอารมณ์ หรือปรารภอารมณ์ใด ๆ เกิดขึ้น เพราะได้ทำได้สั่งสมอกุศลกรรม ใน
สมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา จิต วิตก วิจาร อุเบกขา เอกัคคตา
มนินทรีย์ อุเปกขินทรีย์ และชีวิตินทรีย์ ก็เกิดขึ้น หรือสภาวธรรมที่ไม่เป็นรูปซึ่ง
อิงอาศัยกันเกิดขึ้นแม้อื่นในสมัยนั้น สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นอัพยากฤต ฯลฯ
ขันธ์ ๔ อายตนะ ๒ ธาตุ ๒ อาหาร ๓ อินทรีย์ ๓ ผัสสะ ๑ ฯลฯ
มโนธาตุ ๑ ธัมมายตนะ ๑ ธัมมธาตุ ๑ ในสมัยนั้น หรือสภาวธรรมที่ไม่เป็นรูปซึ่ง
อิงอาศัยกันเกิดขึ้นแม้อื่นในสมัยนั้น สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นอัพยากฤต ฯลฯ
[๕๖๓] สังขารขันธ์ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ผัสสะ เจตนา วิตก วิจาร เอกัคคตา และชีวิตินทรีย์ หรือสภาวธรรมที่ไม่
เป็นรูปซึ่งอิงอาศัยกันเกิดขึ้นแม้อื่นในสมัยนั้น เว้นเวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ และ
วิญญาณขันธ์ นี้ชื่อว่าสังขารขันธ์ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า
เป็นอัพยากฤต
มโนธาตุที่เป็นอกุศลวิบาก จบ

มโนวิญญาณธาตุที่เป็นอกุศลวิบาก
[๕๖๔] สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤต เป็นไฉน
มโนวิญญาณธาตุที่เป็นวิบาก สหรคตด้วยอุเบกขา มีรูปเป็นอารมณ์ ฯลฯ มี
ธรรมเป็นอารมณ์ หรือปรารภอารมณ์ใด ๆ เกิดขึ้น เพราะได้ทำได้สั่งสมอกุศลกรรม
ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา จิต วิตก วิจาร อุเบกขา
เอกัคคตา มนินทรีย์ อุเปกขินทรีย์ และชีวิตินทรีย์ ก็เกิดขึ้น หรือสภาวธรรมที่ไม่
เป็นรูปซึ่งอิงอาศัยกันเกิดขึ้นแม้อื่นในสมัยนั้น สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็น
อัพยากฤต ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๑๖๒ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๑. จิตตุปปาทกัณฑ์] อัพยากตบท อัพยากฤตที่เป็นอเหตุกกิริยา
ขันธ์ ๔ อายตนะ ๒ ธาตุ ๒ อาหาร ๓ อินทรีย์ ๓ ผัสสะ ๑ ฯลฯ
มโนวิญญาณธาตุ ๑ ธัมมายตนะ ๑ และธัมมธาตุ ๑ ในสมัยนั้น หรือสภาวธรรม
ที่ไม่เป็นรูปซึ่งอิงอาศัยกันเกิดขึ้นแม้อื่นในสมัยนั้น สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็น
อัพยากฤต ฯลฯ
[๕๖๕] สังขารขันธ์ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ผัสสะ เจตนา วิตก วิจาร เอกัคคตา และชีวิตินทรีย์ หรือสภาวธรรมที่ไม่
เป็นรูปซึ่งอิงอาศัยกันเกิดขึ้นแม้อื่นในสมัยนั้น เว้นเวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ และ
วิญญาณขันธ์ นี้ชื่อว่าสังขารขันธ์ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้
ชื่อว่าเป็นอัพยากฤต ฯลฯ
มโนวิญญาณธาตุที่เป็นอกุศลวิบาก จบ
อัพยากฤตที่เป็นอกุศลวิบาก จบ

อัพยากฤตที่เป็นอเหตุกกิริยา
มโนธาตุที่เป็นกิริยา
[๕๖๖] สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤต เป็นไฉน
มโนธาตุที่เป็นกิริยา ไม่เป็นกุศล ไม่เป็นอกุศล และไม่เป็นวิบากของกรรม
ที่สหรคตด้วยอุเบกขา มีรูปเป็นอารมณ์ ฯลฯ มีโผฏฐัพพะเป็นอารมณ์ หรือปรารภ
อารมณ์ใด ๆ เกิดขึ้น ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา จิต
วิตก วิจาร อุเบกขา เอกัคคตา มนินทรีย์ อุเปกขินทรีย์ และชีวิตินทรีย์ ก็เกิดขึ้น
หรือสภาวธรรมที่ไม่เป็นรูปซึ่งอิงอาศัยกันเกิดขึ้นแม้อื่นในสมัยนั้น สภาวธรรมเหล่านี้
ชื่อว่าเป็นอัพยากฤต ฯลฯ
ขันธ์ ๔ อายตนะ ๒ ธาตุ ๒ อาหาร ๓ อินทรีย์ ๓ ผัสสะ ๑ ฯลฯ มโนธาตุ
๑ ธัมมายตนะ ๑ และธัมมธาตุ ๑ ในสมัยนั้น หรือสภาวธรรมที่ไม่เป็นรูปซึ่งอิง
อาศัยกันเกิดขึ้นแม้อื่นในสมัยนั้น สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นอัพยากฤต ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๑๖๓ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๑. จิตตุปปาทกัณฑ์] อัพยากตบท อัพยากฤตที่เป็นอเหตุกกิริยา
[๕๖๗] สังขารขันธ์ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ผัสสะ เจตนา วิตก วิจาร เอกัคคตา และชีวิตินทรีย์ หรือสภาวธรรมที่ไม่
เป็นรูปซึ่งอิงอาศัยกันเกิดขึ้นแม้อื่นในสมัยนั้น เว้นเวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ และ
วิญญาณขันธ์ นี้ชื่อว่าสังขารขันธ์ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า
เป็นอัพยากฤต
มโนธาตุที่เป็นกิริยา จบ

มโนวิญญาณธาตุที่เป็นกิริยาสหรคตด้วยโสมนัส
[๕๖๘] สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤต เป็นไฉน
มโนวิญญาณธาตุที่เป็นกิริยา ไม่เป็นกุศล ไม่เป็นอกุศล และไม่เป็นวิบากของ
กรรม สหรคตด้วยโสมนัส มีรูปเป็นอารมณ์ ฯลฯ มีธรรมเป็นอารมณ์ หรือปรารภ
อารมณ์ใด ๆ เกิดขึ้นในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา จิต วิตก
วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา วิริยินทรีย์ สมาธินทรีย์ มนินทรีย์ โสมนัสสินทรีย์
และชีวิตินทรีย์ ก็เกิดขึ้น หรือสภาวธรรมที่ไม่เป็นรูปซึ่งอิงอาศัยกันเกิดขึ้นแม้อื่น
ในสมัยนั้น สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นอัพยากฤต
[๕๖๙] ผัสสะ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ความกระทบ กิริยาที่กระทบ กิริยาที่ถูกต้อง ภาวะที่ถูกต้อง ในสมัยนั้น
นี้ชื่อว่าผัสสะที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น ฯลฯ
[๕๗๐] เอกัคคตา ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ความตั้งอยู่แห่งจิต ความดำรงอยู่ ความตั้งมั่น ความไม่ซัดส่าย ความไม่
ฟุ้งซ่าน ความที่จิตไม่ซัดส่าย สมถะ สมาธินทรีย์ สมาธิพละ ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่า
เอกัคคตาที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น ฯลฯ
[๕๗๑] วิริยินทรีย์ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
การปรารภความเพียรทางใจ ความขะมักเขม้น ความบากบั่น ความขวนขวาย
ความพยายาม ความอุตสาหะ ความทนทาน ความเข้มแข็ง ความหมั่น ความมุ่งมั่น


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๑๖๔ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๑. จิตตุปปาทกัณฑ์] อัพยากตบท อัพยากฤตที่เป็นอเหตุกกิริยา
อย่างไม่ท้อถอย ความไม่ทอดทิ้งฉันทะ ความไม่ทอดทิ้งธุระ ความเอาใจใส่ธุระ
วิริยะ วิริยินทรีย์ วิริยพละ ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่าวิริยินทรีย์ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[๕๗๒] สมาธินทรีย์ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ความตั้งอยู่แห่งจิต ความดำรงอยู่ ความตั้งมั่นอยู่ ความไม่ซัดส่าย ความไม่
ฟุ้งซ่าน ความที่จิตไม่ซัดส่าย ความสงบ สมาธินทรีย์ สมาธิพละ ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่า
สมาธินทรีย์ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น ฯลฯ หรือสภาวธรรมที่ไม่เป็นรูปซึ่งอิงอาศัยกันเกิด
ขึ้นแม้อื่นในสมัยนั้น สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นอัพยากฤต
ขันธ์ ๔ อายตนะ ๒ ธาตุ ๒ อาหาร ๓ อินทรีย์ ๕ ผัสสะ ๑ ฯลฯ
มโนวิญญาณธาตุ ๑ ธัมมายตนะ ๑ และธัมมธาตุ ๑ ในสมัยนั้น หรือสภาวธรรม
ที่ไม่เป็นรูปซึ่งอิงอาศัยกันเกิดขึ้นแม้อื่นในสมัยนั้น สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็น
อัพยากฤต ฯลฯ
[๕๗๓] สังขารขันธ์ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ผัสสะ เจตนา วิตก วิจาร ปีติ เอกัคคตา วิริยินทรีย์ สมาธินทรีย์ และ
ชีวิตินทรีย์ หรือสภาวธรรมที่ไม่เป็นรูปซึ่งอิงอาศัยกันเกิดขึ้นแม้อื่นในสมัยนั้น เว้น
เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ และวิญญาณขันธ์ นี้ชื่อว่าสังขารขันธ์ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นอัพยากฤต
มโนวิญญาณธาตุที่เป็นกิริยาสหรคตด้วยโสมนัส จบ

มโนวิญญาณธาตุที่เป็นกิริยาสหรคตด้วยอุเบกขา
[๕๗๔] สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤต เป็นไฉน
มโนวิญญาณธาตุที่เป็นกิริยา ไม่เป็นกุศล ไม่เป็นอกุศล และไม่เป็นวิบากของ
กรรม ที่สหรคตด้วยอุเบกขา มีรูปเป็นอารมณ์ ฯลฯ มีธรรมเป็นอารมณ์ หรือ
ปรารภอารมณ์ใด ๆ เกิดขึ้น ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา
จิต วิตก วิจาร อุเบกขา เอกัคคตา วิริยินทรีย์ สมาธินทรีย์ มนินทรีย์
อุเปกขินทรีย์ และชีวิตินทรีย์ ก็เกิดขึ้น หรือสภาวธรรมที่ไม่เป็นรูปซึ่งอิงอาศัยกัน
เกิดขึ้นแม้อื่นในสมัยนั้น สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นอัพยากฤต ฯลฯ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๑๖๕ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๑. จิตตุปปาทกัณฑ์] อัพยากตบท กามาวจรกิริยาจิตที่เป็นสเหตุกะ
ขันธ์ ๔ อายตนะ ๒ ธาตุ ๒ อาหาร ๓ อินทรีย์ ๕ ผัสสะ ๑ ฯลฯ
มโนวิญญาณธาตุ ๑ ธัมมายตนะ ๑ และธัมมธาตุ ๑ ในสมัยนั้น หรือสภาวธรรม
ที่ไม่เป็นรูปซึ่งอิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นในสมัยนั้น สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็น
อัพยากฤต ฯลฯ
[๕๗๕] สังขารขันธ์ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ผัสสะ เจตนา วิตก วิจาร เอกัคคตา วิริยินทรีย์ สมาธินทรีย์ และชีวิตินทรีย์
หรือสภาวธรรมที่ไม่เป็นรูปซึ่งอิงอาศัยกันเกิดขึ้นแม้อื่นในสมัยนั้น เว้นเวทนาขันธ์
สัญญาขันธ์ และวิญญาณขันธ์ นี้ชื่อว่าสังขารขันธ์ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น ฯลฯ
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นอัพยากฤต
มโนวิญญาณธาตุที่เป็นกิริยาสหรคตด้วยอุเบกขา จบ
อัพยากฤตที่เป็นอเหตุกกิริยา จบ

กามาวจรกิริยาจิตที่เป็นสเหตุกะ
[๕๗๖] สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤต เป็นไฉน
มโนวิญญาณธาตุที่เป็นกิริยา ไม่เป็นกุศล ไม่เป็นอกุศล และไม่เป็นวิบากของ
กรรม สหรคตด้วยโสมนัส สัมปยุตด้วยญาณ ฯลฯ สหรคตด้วยโสมนัส สัมปยุต
ด้วยญาณ เกิดขึ้นโดยมีเหตุชักจูง ฯลฯ สหรคตด้วยโสมนัส วิปปยุตจากญาณ ฯลฯ
สหรคตด้วยโสมนัส วิปปยุตจากญาณ เกิดขึ้นโดยมีเหตุชักจูง ฯลฯ สหรคตด้วย
อุเบกขา สัมปยุตด้วยญาณ ฯลฯ สหรคตด้วยอุเบกขา สัมปยุตด้วยญาณ เกิดขึ้น
โดยมีเหตุชักจูง ฯลฯ สหรคตด้วยอุเบกขา วิปปยุตจากญาณ ฯลฯ สหรคตด้วย
อุเบกขา วิปปยุตจากญาณ มีรูปเป็นอารมณ์ ฯลฯ มีธรรมเป็นอารมณ์ หรือปรารภ
อารมณ์ใด ๆ เกิดขึ้นในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น ฯลฯ
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นอัพยากฤต ฯลฯ
อัพยากตมูล คือ อโลภะ ฯลฯ อัพยากตมูล คือ อโทสะ ฯลฯ อัพยากตมูล
คือ อโมหะ ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นอัพยากฤต
กามาวจรกิริยาจิตที่เป็นสเหตุกะ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๑๖๖ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๑. จิตตุปปาทกัณฑ์] อัพยากตบท อรูปาวจรกิริยาจิต
รูปาวจรกิริยาจิต
[๕๗๗] สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤต เป็นไฉน
พระขีณาสพเจริญฌานที่เป็นรูปาวจร เป็นกิริยา ไม่เป็นกุศล ไม่เป็นอกุศล ไม่
เป็นวิบากของกรรม แต่เป็นเพียงธรรมเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน สงัดจากกาม
ฯลฯ บรรลุปฐมฌานที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ
อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นอัพยากฤต
[๕๗๘] สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤต เป็นไฉน
พระขีณาสพเจริญฌานที่เป็นรูปาวจร เป็นกิริยา ไม่เป็นกุศล ไม่เป็นอกุศล
และไม่เป็นวิบากของกรรมแต่เป็นเพียงธรรมเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน เพราะวิตก
วิจารสงบระงับไปแล้ว ฯลฯ บรรลุทุติยฌาน ฯลฯ บรรลุตติยฌาน ฯลฯ บรรลุ
จตุตถฌาน ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน ฯลฯ บรรลุปัญจมฌาน ที่มีปฐวีกสิณเป็น
อารมณ์ อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น ฯลฯ
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นอัพยากฤต
รูปาวจรกิริยาจิต จบ

อรูปาวจรกิริยาจิต
[๕๗๙] สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤต เป็นไฉน
พระขีณาสพเจริญฌานที่เป็นอรูปาวจร เป็นกิริยา ไม่เป็นกุศล ไม่เป็นอกุศล
และไม่เป็นวิบากของกรรม แต่เป็นเพียงธรรมเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน เพราะ
ก้าวล่วงรูปสัญญา โดยประการทั้งปวง เพราะปฏิฆสัญญาดับไป เพราะไม่มนสิการ
ถึงนานัตตสัญญา จึงบรรลุจตุตถฌานที่สหรคตด้วยอากาสานัญจายตนสัญญา ไม่มี
ทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขและทุกข์ได้ ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ
อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นอัพยากฤต
[๕๘๐] สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤต เป็นไฉน
พระขีณาสพเจริญฌานที่เป็นอรูปาวจร เป็นกิริยา ไม่เป็นกุศล ไม่เป็นอกุศล
และไม่เป็นวิบากกรรมแต่เป็นเพียงธรรมเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน เพราะก้าวล่วง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๑๖๗ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๑. จิตตุปปาทกัณฑ์] อัพยากตบท อรูปาวจรกิริยาจิต
อากาสานัญจายตนะได้โดยประการทั้งปวง จึงบรรลุจตุตถฌานที่สหรคตด้วย
วิญญาณัญจายตนสัญญา ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข เพราะละสุขและทุกข์ได้ ฯลฯ อยู่ในสมัย
ใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็น
อัพยากฤต
[๕๘๑] สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤต เป็นไฉน
พระขีณาสพเจริญฌานที่เป็นอรูปาวจร เป็นกิริยา ไม่เป็นกุศล ไม่เป็นอกุศล
และไม่เป็นวิบากกรรม แต่เป็นเพียงธรรมเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน เพราะก้าว
ล่วงวิญญาณัญจายตนะได้โดยประการทั้งปวง จึงบรรลุจตุตถฌานที่สหรคตด้วย
อากิญจัญญายตนสัญญา ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข เพราะละสุขและทุกข์ได้ ฯลฯ อยู่ในสมัย
ใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็น
อัพยากฤต
[๕๘๒] สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤต เป็นไฉน
พระขีณาสพเจริญฌานที่เป็นอรูปาวจร เป็นกิริยา ไม่เป็นกุศล ไม่เป็นอกุศล
และไม่เป็นวิบากของกรรม แต่เป็นเพียงธรรมเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน เพราะก้าว
ล่วงอากิญจัญญายตนะได้โดยประการทั้งปวง จึงบรรลุจตุตถฌานที่สหรคตด้วย
เนวสัญญานาสัญญายตนะ ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข เพราะละสุขและทุกข์ได้ ฯลฯ อยู่ใน
สมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้
ชื่อว่าเป็นอัพยากฤต ฯลฯ
อัพยากตมูล คือ อโลภะ ฯลฯ อัพยากตมูล คือ อโทสะ ฯลฯ อัพยากตมูล
คือ อโมหะ ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นอัพยากฤต

อรูปาวจรกิริยาจิต จบ
อัพยากตบท จบ
จิตตุปปาทกัณฑ์ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๑๖๘ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๒. รูปกัณฑ์] เอกกมาติกา
๒. รูปกัณฑ์
อุทเทส
[๕๘๓] สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤต เป็นไฉน
วิบากแห่งสภาวธรรมที่เป็นกุศลและอกุศล ซึ่งเป็นกามาวจร รูปาวจร
อรูปาวจร และไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ ได้แก่ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์
และวิญญาณขันธ์
สภาวธรรมเหล่าใดเป็นกิริยา ไม่เป็นกุศล ไม่เป็นอกุศล และไม่เป็นวิบาก
แห่งกรรม รูปทั้งหมด และธาตุที่ปัจจัยไม่ปรุงแต่ง
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นอัพยากฤต

เอกกมาติกา
[๕๘๔] บรรดาสภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤตเหล่านั้น รูปทั้งหมด เป็นไฉน
มหาภูตรูป ๔ และรูปที่อาศัยมหาภูตรูป ๔ นี้เรียกว่ารูปทั้งหมด
รูปทั้งหมดไม่เป็นเหตุ ไม่มีเหตุ วิปปยุตจากเหตุ มีปัจจัยปรุงแต่ง ถูกปัจจัย
ปรุงแต่ง เป็นรูป เป็นโลกิยะ เป็นอารมณ์ของอาสวะ เป็นอารมณ์ของสังโยชน์ เป็น
อารมณ์ของคันถะ เป็นอารมณ์ของโอฆะ เป็นอารมณ์ของโยคะ เป็นอารมณ์ของนิวรณ์
เป็นอารมณ์ของปรามาส เป็นอารมณ์ของอุปาทาน เป็นอารมณ์ของกิเลส เป็น
อัพยากฤต รับรู้อารมณ์ไม่ได้ ไม่เป็นเจตสิก วิปปยุตจากจิต ไม่เป็นวิบากและไม่เป็น
เหตุให้เกิดวิบาก กิเลสไม่ทำให้เศร้าหมองแต่เป็นอารมณ์ของกิเลส ไม่ใช่มีทั้งวิตกและ
วิจาร ไม่ใช่ไม่มีวิตกมีเพียงวิจาร ไม่มีทั้งวิตกและวิจาร ไม่สหรคตด้วยปีติ ไม่สหรคต
ด้วยสุข ไม่สหรคตด้วยอุเบกขา ไม่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคและมรรคเบื้อง
บน ๓ ไม่มีเหตุต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคและมรรคเบื้องบน ๓ ไม่เป็นเหตุ
ให้ถึงปฏิสนธิ จุติ และนิพพาน ไม่เป็นของเสขบุคคลและอเสขบุคคล เป็นปริตตะ
เป็นกามาวจร ไม่เป็นรูปาวจร ไม่เป็นอรูปาวจร นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ ไม่ใช่ไม่นับเนื่อง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๑๖๙ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๒. รูปกัณฑ์] ทุกมาติกา ปกิณณกทุกะ
ในวัฏฏทุกข์ เป็นของไม่แน่นอน ไม่เป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ เป็นธรรมที่เกิดขึ้น
อันวิญญาณ ๖ รู้ได้ เป็นของไม่เที่ยง ถูกชราครอบงำ๑
รวมรูปหมวดละ ๑ อย่างนี้
เอกกมาติกา จบ

ทุกมาติกา
รวมรูปหมวดละ ๒
ปกิณณกทุกะ
รูปที่เป็นอุปาทายรูปก็มี (๕๙๕-๖๔๕) รูปที่ไม่เป็นอุปาทายรูปก็มี (๖๔๖-
๖๕๑)
รูปที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือก็มี (๖๕๒) รูปที่กรรมอัน
ประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือก็มี (๖๕๓)
รูปที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาทิฏฐิยึดถือและเป็นอารมณ์ของอุปาทานก็มี
(๖๕๔) รูปที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือแต่เป็นอารมณ์ของ
อุปาทานก็มี (๖๕๕)

รูปที่เห็นได้ก็มี (๖๕๖) รูปที่เห็นไม่ได้ก็มี (๖๕๗)
รูปที่กระทบได้ก็มี (๖๕๘) รูปที่กระทบไม่ได้ก็มี (๖๕๙)
รูปที่เป็นอินทรีย์ก็มี (๖๖๐) รูปที่ไม่เป็นอินทรีย์ก็มี (๖๖๑)
รูปที่เป็นมหาภูตรูปก็มี (๖๖๒) รูปที่ไม่เป็นมหาภูตรูปก็มี (๖๖๓)
รูปที่เป็นวิญญัตติรูปก็มี (๖๖๔) รูปที่ไม่เป็นวิญญัตติรูปก็มี (๖๖๕)
รูปที่มีจิตเป็นสมุฏฐานก็มี (๖๖๖) รูปที่ไม่มีจิตเป็นสมุฏฐานก็มี (๖๖๗)
รูปที่เกิดพร้อมกับจิตก็มี (๖๖๘) รูปที่ไม่เกิดพร้อมกับจิตก็มี (๖๖๙)
รูปที่เป็นไปตามจิตก็มี (๖๗๐) รูปที่ไม่เป็นไปตามจิตก็มี (๖๗๑)


เชิงอรรถ :
๑ อภิ.วิ. ๓๕/๓๓/๑๔

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๑๗๐ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๒. รูปกัณฑ์] ทุกมาติกา อารัมมณทุกะ

รูปที่เป็นภายในก็มี (๖๗๒) รูปที่เป็นภายนอกก็มี (๖๗๓)
รูปที่หยาบก็มี (๖๗๔) รูปที่ละเอียดก็มี (๖๗๕)
รูปไกลก็มี (๖๗๖) รูปใกล้ก็มี (๖๗๗)

ปกิณณกทุกะ จบ

วัตถุทุกะ
รูปเป็นที่อาศัยเกิดของจักขุสัมผัสก็มี (๖๗๘) รูปไม่เป็นที่อาศัยเกิดของจักขุสัมผัส
ก็มี (๖๗๙)
รูปเป็นที่อาศัยเกิดของเวทนาที่เกิดแต่จักขุสัมผัส ฯลฯ ของสัญญา ฯลฯ ของ
เจตนา ฯลฯ ของจักขุวิญญาณก็มี (๖๘๐) รูปไม่เป็นที่อาศัยเกิดของจักขุวิญญาณ
ก็มี (๖๘๑)
รูปเป็นที่อาศัยเกิดของโสตสัมผัส ฯลฯ ของฆานสัมผัส ฯลฯ ของชิวหาสัมผัส
ฯลฯ ของกายสัมผัสก็มี (๖๘๒) รูปไม่เป็นที่อาศัยเกิดของกายสัมผัสก็มี (๖๘๓)
รูปเป็นที่อาศัยเกิดของเวทนาที่เกิดแต่กายสัมผัส ฯลฯ ของสัญญา ฯลฯ ของ
เจตนา ฯลฯ ของกายวิญญาณก็มี (๖๘๔) รูปไม่เป็นที่อาศัยเกิดของกายวิญญาณ
ก็มี (๖๘๕)
วัตถุทุกะ จบ

อารัมมณทุกะ
รูปที่เป็นอารมณ์ของจักขุสัมผัสก็มี (๖๘๖) รูปที่ไม่เป็นอารมณ์ของจักขุสัมผัส
ก็มี (๖๘๗)
รูปที่เป็นอารมณ์ของเวทนาที่เกิดแต่จักขุสัมผัส ฯลฯ ของสัญญา ฯลฯ ของ
เจตนา ฯลฯ ของจักขุวิญญาณก็มี (๖๘๘) รูปที่ไม่เป็นอารมณ์ของจักขุวิญญาณ
ก็มี (๖๘๙)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๑๗๑ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๒. รูปกัณฑ์] ทุกมาติกา ธาตุทุกะ
รูปที่เป็นอารมณ์ของโสตสัมผัส ฯลฯ ของฆานสัมผัส ฯลฯ ของชิวหาสัมผัส
ฯลฯ ของกายสัมผัสก็มี (๖๙๐) รูปที่ไม่เป็นอารมณ์ของกายสัมผัสก็มี (๖๙๑)
รูปที่เป็นอารมณ์ของเวทนาที่เกิดแต่กายสัมผัส ฯลฯ ของสัญญา ฯลฯ ของ
เจตนา ฯลฯ ของกายวิญญาณก็มี (๖๙๒) รูปที่ไม่เป็นอารมณ์ของกายวิญญาณ
ก็มี (๖๙๓)
อารัมมณทุกะ จบ

อายตนทุกะ

รูปที่เป็นจักขายตนะก็มี (๖๙๔) รูปที่ไม่เป็นจักขายตนะก็มี (๖๙๕)
รูปที่เป็นโสตายตนะก็มี (๖๙๖) รูปที่ไม่เป็นโสตายตนะก็มี (๖๙๗)

รูปที่เป็นฆานายตนะ ฯลฯ รูปที่เป็นชิวหายตนะ ฯลฯ

รูปที่เป็นกายายตนะก็มี (๖๙๖) รูปที่ไม่เป็นกายายตนะก็มี (๖๙๗)
รูปที่เป็นรูปายตนะก็มี (๖๙๘) รูปที่ไม่เป็นรูปายตนะก็มี (๖๙๙)

รูปที่เป็นสัททายตนะ ฯลฯ รูปที่เป็นคันธายตนะ ฯลฯ รูปที่เป็นรสายตนะ ฯลฯ

รูปที่เป็นโผฏฐัพพายตนะก็มี (๗๐๐) รูปที่ไม่เป็นโผฏฐัพพายตนะก็มี (๗๐๑)

อายตนทุกะ จบ

ธาตุทุกะ

รูปที่เป็นจักขุธาตุก็มี (๗๐๒) รูปที่ไม่เป็นจักขุธาตุก็มี (๗๐๓)

รูปที่เป็นโสตธาตุก็มี ฯลฯ รูปที่เป็นฆานธาตุ ฯลฯ รูปที่เป็นชิวหาธาตุ ฯลฯ

รูปที่เป็นกายธาตุก็มี (๗๐๔) รูปที่ไม่เป็นกายธาตุก็มี (๗๐๕)
รูปที่เป็นรูปธาตุก็มี (๗๐๖) รูปที่ไม่เป็นรูปธาตุก็มี (๗๐๗)

รูปที่เป็นสัททธาตุก็มี ฯลฯ รูปที่เป็นคันธธาตุ ฯลฯ รูปที่เป็นรสธาตุ ฯลฯ

รูปที่เป็นโผฏฐัพพธาตุก็มี (๗๐๘) รูปที่ไม่เป็นโผฏฐัพพธาตุก็มี (๗๐๙)

ธาตุทุกะ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๑๗๒ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๒. รูปกัณฑ์] ทุกมาติกา สุขุมุทุกะ
อินทริยทุกะ

รูปที่เป็นจักขุนทรีย์ก็มี (๗๑๐) รูปที่ไม่เป็นจักขุนทรีย์ก็มี (๗๑๑)

รูปที่เป็นโสตินทรีย์ก็มี ฯลฯ รูปที่เป็นฆานินทรีย์ ฯลฯ รูปที่เป็นชิวหินทรีย์

ฯลฯ รูปที่เป็นกายินทรีย์ก็มี (๗๑๒) รูปที่ไม่เป็นกายินทรีย์ก็มี (๗๑๓)
รูปที่เป็นอิตถินทรีย์ก็มี (๗๑๔) รูปที่ไม่เป็นอิตถินทรีย์ก็มี (๗๑๕)
รูปที่เป็นปุริสินทรีย์ก็มี (๗๑๖) รูปที่ไม่เป็นปุริสินทรีย์ก็มี (๗๑๗)
รูปที่เป็นชีวิตินทรีย์ก็มี (๗๑๘) รูปที่ไม่เป็นชีวิตินทรีย์ก็มี (๗๑๙)

อินทริยทุกะ จบ

สุขุมรูปทุกะ

รูปที่เป็นกายวิญญัติก็มี (๗๒๐) รูปที่ไม่เป็นกายวิญญัติก็มี (๗๒๑)
รูปที่เป็นวจีวิญญัตติก็มี (๗๒๒) รูปที่ไม่เป็นวจีวิญญัติก็มี (๗๒๓)
รูปที่เป็นอากาสธาตุก็มี (๗๒๔) รูปที่ไม่เป็นอากาสธาตุก็มี (๗๒๕)
รูปที่เป็นอาโปธาตุก็มี (๗๒๖) รูปที่ไม่เป็นอาโปธาตุก็มี (๗๒๗)
รูปที่เป็นลหุตารูปก็มี (๗๒๘) รูปที่ไม่เป็นลหุตารูปก็มี (๗๒๙)
รูปที่เป็นมุทุตารูปก็มี (๗๓๐) รูปที่ไม่เป็นมุทุตารูปก็มี (๗๓๑)
รูปที่เป็นกัมมัญญตารูปก็มี (๗๓๒) รูปที่ไม่เป็นกัมมัญญตารูปก็มี (๗๓๓)
รูปที่เป็นอุปจยรูปก็มี (๗๓๔) รูปที่ไม่เป็นอุปจยรูปก็มี (๗๓๕)
รูปที่เป็นสันตติรูปก็มี (๗๓๖) รูปที่ไม่เป็นสันตติรูปก็มี (๗๓๗)
รูปที่เป็นชรตารูปก็มี (๗๓๘) รูปที่ไม่เป็นชรตารูปก็มี (๗๓๙)
รูปที่เป็นอนิจจตารูปก็มี (๗๔๐) รูปที่ไม่เป็นอนิจจตารูปก็มี (๗๔๑)
รูปที่เป็นกวฬิงการาหารก็มี (๗๔๒) รูปที่ไม่เป็นกวฬิงการาหาร๑ ก็มี (๗๔๓)

สุขุมรูปทุกะ จบ
รวมรูปหมวดละ ๒ อย่างนี้
ทุกมาติกา จบ

เชิงอรรถ :
๑ อภิ.วิ. ๓๕/๓๓/๑๕

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๑๗๓ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๒. รูปกัณฑ์] ติกมาติกา ปกิณณกติกะ
ติกมาติกา
รวมรูปหมวดละ ๓
ปกิณณกติกะ
อัชฌัตติกอุปาทาติกะ
[๕๘๕] รูปที่เป็นภายใน เป็นอุปาทายรูป (๗๔๔) รูปที่เป็นภายนอก เป็น
อุปาทายรูปก็มี (๗๔๕) รูปที่เป็นภายนอก ไม่เป็นอุปาทายรูปก็มี (๗๔๖)
อัชฌัตติกอุปาทินนติกะ
รูปที่เป็นภายใน เป็นรูปที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือ๑ (๗๔๗)
รูปที่เป็นภายนอก เป็นรูปที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือก็มี (๗๔๘)
รูปที่เป็นภายนอก เป็นรูปที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือก็มี (๗๔๙)
อัชฌัตติกอุปาทินนุปาทานิยติกะ
รูปที่เป็นภายใน เป็นรูปที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาทิฏฐิยึดถือและเป็น
อารมณ์ของอุปาทาน (๗๕๐) รูปที่เป็นภายนอก เป็นรูปที่กรรมอันประกอบด้วย
ตัณหาทิฏฐิยึดถือและเป็นอารมณ์ของอุปาทานก็มี (๗๕๑) รูปที่เป็นภายนอก เป็นรูป
ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือแต่เป็นอารมณ์ของอุปาทานก็มี (๗๕๒)
อัชฌัตติกอนิทัสสนติกะ
รูปที่เป็นภายใน เป็นรูปที่เห็นไม่ได้ (๗๕๓) รูปที่เป็นภายนอก เป็นรูปที่เห็นได้
ก็มี (๗๕๔) รูปที่เป็นภายนอก เป็นรูปที่เห็นไม่ได้ก็มี (๗๕๕)
อัชฌัตติกสัปปฏิฆติกะ
รูปที่เป็นภายใน เป็นรูปที่กระทบได้ (๗๕๖) รูปที่เป็นภายนอก เป็นรูปที่
กระทบได้ก็มี (๗๕๗) รูปที่เป็นภายนอก เป็นรูปที่กระทบไม่ได้ก็มี (๗๕๘)

เชิงอรรถ :
๑ อภิ.สงฺ.อ. ๙๐

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๑๗๔ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๒. รูปกัณฑ์] ติกมาติกา ปกิณณกติกะ
อัชฌัตติกอินทริยติกะ
รูปที่เป็นภายใน เป็นอินทริยรูป (๗๕๙) รูปที่เป็นภายนอก เป็นอินทริยรูปก็มี
(๗๖๐) รูปที่เป็นภายนอก ไม่เป็นอินทริยรูปก็มี (๗๖๑)
อัชฌัตติกมหาภูตติกะ
รูปที่เป็นภายในไม่เป็นมหาภูตรูป (๗๖๒) รูปที่เป็นภายนอก เป็นมหาภูตรูปก็มี
(๗๖๓) รูปที่เป็นภายนอก ไม่เป็นมหาภูตรูปก็มี (๗๖๔)
อัชฌัตติกนวิญญัตติติกะ
รูปที่เป็นภายในไม่เป็นวิญญัตติรูป (๗๖๕) รูปที่เป็นภายนอก เป็นวิญญัตติรูป
ก็มี (๗๖๖) รูปที่เป็นภายนอก ไม่เป็นวิญญัตติรูปก็มี (๗๖๗)
อัชฌัตติกนจิตตสมุฏฐานติกะ
รูปที่เป็นภายในไม่มีจิตเป็นสมุฏฐาน (๗๖๘) รูปที่เป็นภายนอก มีจิต
เป็นสมุฏฐานก็มี (๗๖๙) รูปที่เป็นภายนอก ไม่มีจิตเป็นสมุฏฐานก็มี (๗๗๐)
อัชฌัตติกนจิตตสหภูติกะ
รูปที่เป็นภายในไม่เกิดพร้อมกับจิต (๗๗๑) รูปที่เป็นภายนอก ที่เกิดพร้อมกับ
จิตก็มี (๗๗๒) รูปที่เป็นภายนอก ไม่เกิดพร้อมกับจิตก็มี (๗๗๓)
อัชฌัตติกนจิตตานุปริวัตติติกะ
รูปที่เป็นภายในไม่เป็นไปตามจิต (๗๗๔) รูปที่เป็นภายนอก เป็นไปตามจิต
ก็มี (๗๗๕) รูปที่เป็นภายนอก ไม่เป็นไปตามจิตก็มี (๗๗๖)
อัชฌัตติกโอฬาริกติกะ
รูปที่เป็นภายใน เป็นรูปหยาบ (๗๗๗) รูปที่เป็นภายนอก เป็นรูปหยาบก็มี
(๗๗๘) รูปที่เป็นภายนอก เป็นรูปละเอียดก็มี (๗๗๙)


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๑๗๕ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๒. รูปกัณฑ์] ติกมาติกา วัตถุติกะ
อัชฌัตติกสันติเกติกะ
รูปที่เป็นภายใน เป็นรูปใกล้ (๗๘๐) รูปที่เป็นภายนอก เป็นรูปไกลก็มี (๗๘๑)
รูปที่เป็นภายนอก เป็นรูปใกล้ก็มี (๗๘๒)
ปกิณณกติกะ จบ

วัตถุติกะ
พาหิรจักขุสัมผัสสัสสนวัตถุติกะ
รูปที่เป็นภายนอก ไม่เป็นที่อาศัยเกิดของจักขุสัมผัส (๗๘๓) รูปที่เป็นภายใน
เป็นที่อาศัยเกิดของจักขุสัมผัสก็มี (๗๘๔) รูปที่เป็นภายใน ไม่เป็นที่อาศัยเกิดของ
จักขุสัมผัสก็มี (๗๘๕)
พาหิรจักขุสัมผัสสชาเวทนายนวัตถุติกะ
รูปที่เป็นภายนอก ไม่เป็นที่อาศัยเกิดของเวทนาที่เกิดแต่จักขุสัมผัส ฯลฯ ของ
สัญญา ฯลฯ ของเจตนา ฯลฯ ของจักขุวิญญาณ (๗๘๖) รูปที่เป็นภายใน เป็น
ที่อาศัยเกิดของจักขุวิญญาณก็มี (๗๘๗) รูปที่เป็นภายใน ไม่เป็นที่อาศัยเกิดของ
จักขุวิญญาณก็มี (๗๘๘)
พาหิรโสตสัมผัสสัสสนวัตถุติกาทิติกะ
รูปที่เป็นภายนอก ไม่เป็นที่อาศัยเกิดของโสตสัมผัส ฯลฯ ของฆานสัมผัส ฯลฯ
ของชิวหาสัมผัส ฯลฯ ของกายสัมผัส (๗๘๙) รูปที่เป็นภายใน เป็นที่อาศัยเกิดของ
กายสัมผัสก็มี (๗๙๐) รูปที่เป็นภายใน ไม่เป็นที่อาศัยเกิดของกายสัมผัสก็มี (๗๙๑)
พาหิรกายสัมผัสสชาเวทนายนวัตถุติกาทิติกะ
รูปที่เป็นภายนอกไม่ เป็นที่อาศัยเกิดของเวทนาที่เกิดแต่กายสัมผัส ฯลฯ ของ
สัญญา ฯลฯ ของเจตนา ฯลฯ ของกายวิญญาณ (๗๙๒) รูปที่เป็นภายใน เป็น
ที่อาศัยเกิดของกายวิญญาณก็มี (๗๙๓) รูปที่เป็นภายใน ไม่เป็นที่อาศัยเกิดของ
กายวิญญาณก็มี (๗๙๔)
วัตถุติกะ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๑๗๖ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๒. รูปกัณฑ์] ติกมาติกา อายตนติกะ
อารัมมณติกะ
อัชฌัตติกจักขุสัมผัสสัสสนารัมมณติกะ
รูปที่เป็นภายใน ไม่เป็นอารมณ์ของจักขุสัมผัส (๗๙๕) รูปที่เป็นภายนอก เป็น
อารมณ์ของจักขุสัมผัสก็มี (๗๙๖) รูปที่เป็นภายนอก ไม่เป็นอารมณ์ของจักขุสัมผัส
ก็มี (๗๙๗)
อัชฌัตติกจักขุสัมผัสสชาเวทนายนารัมมณติกาทิติกะ
รูปที่เป็นภายใน ไม่เป็นอารมณ์ของเวทนาที่เกิดแต่จักขุสัมผัส ฯลฯ ของสัญญา
ฯลฯ ของเจตนา ฯลฯ ของจักขุวิญญาณ (๗๙๘) รูปที่เป็นภายนอก เป็นอารมณ์
ของจักขุวิญญาณก็มี (๗๙๙) รูปที่เป็นภายนอก ไม่เป็นอารมณ์ของจักขุวิญญาณ
ก็มี (๘๐๐)
อัชฌัตติกโสตสัมผัสสัสสนารัมมณติกาทิติกะ
รูปที่เป็นภายใน ไม่เป็นอารมณ์ของโสตสัมผัส ฯลฯ ของฆานสัมผัส ฯลฯ ของ
ชิวหาสัมผัส ฯลฯ ของกายสัมผัส (๘๐๑) รูปที่เป็นภายนอก เป็นอารมณ์ของกาย
สัมผัสก็มี (๘๐๒) รูปที่เป็นภายนอก ไม่เป็นอารมณ์ของกายสัมผัสก็มี (๘๐๓)
อัชฌัตติกกายสัมผัสสชาเวทนายนารัมมณติกาทิติกะ
รูปที่เป็นภายใน ไม่เป็นอารมณ์ของเวทนาที่เกิดแต่กายสัมผัส ฯลฯ ของสัญญา
ฯลฯ ของเจตนา ฯลฯ ของกายวิญญาณ (๘๐๔) รูปที่เป็นภายนอก เป็นอารมณ์
ของกายวิญญาณก็มี (๘๐๕) รูปที่เป็นภายนอก ไม่เป็นอารมณ์ของกายวิญญาณ
ก็มี (๘๐๖)
อารัมมณติกะ จบ

อายตนติกะ
พาหิรนจักขายตนติกะ
รูปที่เป็นภายนอก ไม่เป็นจักขายตนะ (๘๐๗) รูปที่เป็นภายใน เป็นจักขายตนะ
ก็มี (๘๐๘) รูปที่เป็นภายใน ไม่เป็นจักขายตนะก็มี (๘๐๙)


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๑๗๗ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๒. รูปกัณฑ์] ติกมาติกา ธาตุติกะ
พาหิรนโสตายตนาทิติกะ
รูปที่เป็นภายนอก ไม่เป็นโสตายตนะ ฯลฯ ไม่เป็นฆานายตนะ ฯลฯ ไม่เป็น
ชิวหายตนะ ฯลฯ ไม่เป็นกายายตนะ (๘๑๐) รูปที่เป็นภายใน เป็นกายายตนะก็มี
(๘๑๑) รูปที่เป็นภายใน ไม่เป็นกายายตนะก็มี (๘๑๒)
อัชฌัตติกนรูปายตนติกะ
รูปที่เป็นภายใน ไม่เป็นรูปายตนะ (๘๑๓) รูปที่เป็นภายนอก เป็นรูปายตนะก็มี
(๘๑๔) รูปที่เป็นภายนอก ไม่เป็นรูปายตนะก็มี (๘๑๕)
อัชฌัตติกนสัททายตนติกาทิติกะ
รูปที่เป็นภายใน ไม่เป็นสัททายตนะ ฯลฯ ไม่เป็นคันธายตนะ ฯลฯ ไม่
เป็นรสายตนะ ฯลฯ ไม่เป็นโผฏฐัพพายตนะ (๘๑๖) รูปที่เป็นภายนอก เป็น
โผฏฐัพพายตนะก็มี (๘๑๗) รูปที่เป็นภายนอก ไม่เป็นโผฏฐัพพายตนะก็มี (๘๑๘)
อายตนติกะ จบ

ธาตุติกะ
พาหิรนจักขุธาตุติกะ
รูปที่เป็นภายนอก ไม่เป็นจักขุธาตุ (๘๑๙) รูปที่เป็นภายใน เป็นจักขุธาตุก็มี
(๘๒๐) รูปที่เป็นภายใน ไม่เป็นจักขุธาตุก็มี (๘๒๑)
พาหิรนโสตธาตุติกาทิติกะ
รูปที่เป็นภายนอก ไม่เป็นโสตธาตุ ฯลฯ ไม่เป็นฆานธาตุ ฯลฯ ไม่เป็นชิวหาธาตุ
ฯลฯ ไม่เป็นกายธาตุ (๘๒๒) รูปที่เป็นภายใน เป็นกายธาตุก็มี (๘๒๓) รูปที่เป็นภายใน
ไม่เป็นกายธาตุก็มี (๘๒๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๑๗๘ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๒. รูปกัณฑ์] ติกมาติกา อินทริยติกะ
อัชฌัตติกนรูปธาตุติกะ
รูปที่เป็นภายใน ไม่เป็นรูปธาตุ (๘๒๕) รูปที่เป็นภายนอก เป็นรูปธาตุก็มี (๘๒๖)
รูปที่เป็นภายนอก ไม่เป็นรูปธาตุก็มี (๘๒๗)
อัชฌัตติกนสัททธาตุติกาทิติกะ
รูปที่เป็นภายใน ไม่เป็นสัททธาตุ ฯลฯ ไม่เป็นคันธธาตุ ฯลฯ ไม่เป็นรสธาตุ
ฯลฯ ไม่เป็นโผฏฐัพพธาตุ (๘๒๘) รูปที่เป็นภายนอก เป็นโผฏฐัพพธาตุก็มี (๘๒๙)
รูปที่เป็นภายนอก ไม่เป็นโผฏฐัพพธาตุก็มี (๘๓๐)
ธาตุติกะ จบ

อินทริยติกะ
พาหิรนจักขุนทริยติกะ
รูปที่เป็นภายนอก ไม่เป็นจักขุนทรีย์ (๘๓๑) รูปที่เป็นภายใน เป็นจักขุนทรีย์
ก็มี (๘๓๒) รูปที่เป็นภายใน ไม่เป็นจักขุนทรีย์ก็มี (๘๓๓)
พาหิรนโสตินทริยติกาทิติกะ
รูปที่เป็นภายนอก ไม่เป็นโสตินทรีย์ ฯลฯ ไม่เป็นฆานินทรีย์ ฯลฯ ไม่เป็น
ชิวหินทรีย์ ฯลฯ ไม่เป็นกายินทรีย์ (๘๓๔) รูปที่เป็นภายใน เป็นกายินทรีย์ก็มี (๘๓๕)
รูปที่เป็นภายใน ไม่เป็นกายินทรีย์ก็มี (๘๓๖)
อัชฌัตติกนอิตถินทริยติกะ
รูปที่เป็นภายใน ไม่เป็นอิตถินทรีย์ (๘๓๗) รูปที่เป็นภายนอก เป็นอิตถินทรีย์
ก็มี (๘๓๘) รูปที่เป็นภายนอก ไม่เป็นอิตถินทรีย์ก็มี (๘๓๙)
อัชฌัตติกนปุริสินทริยติกะ
รูปที่เป็นภายใน ไม่เป็นปุริสินทรีย์ (๘๔๐) รูปที่เป็นภายนอก เป็นปุริสินทรีย์
ก็มี (๘๔๑) รูปที่เป็นภายนอก ไม่เป็นปุริสินทรีย์ก็มี (๘๔๒)


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๑๗๙ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๒. รูปกัณฑ์] ติกมาติกา สุขุมรูปติกะ
อัชฌัตติกนชีวิตินทริยติกะ
รูปที่เป็นภายใน ไม่เป็นชีวิตินทรีย์ (๘๔๓) รูปที่เป็นภายนอก เป็นชีวิตินทรีย์
ก็มี (๘๔๔) รูปที่เป็นภายนอก ไม่เป็นชีวิตินทรีย์ก็มี (๘๔๕)
อินทริยติกะ จบ

สุขุมรูปติกะ
อัชฌัตติกนกายวิญญัตติติกะ
รูปที่เป็นภายใน ไม่เป็นกายวิญญัติ (๘๔๖) รูปที่เป็นภายนอก เป็น
กายวิญญัติก็มี (๘๔๗) รูปที่เป็นภายนอก ไม่เป็นกายวิญญัติก็มี (๘๔๘)
อัชฌัตติกนวจีวิญญัตติติกะ
รูปที่เป็นภายใน ไม่เป็นวจีวิญญัติ (๘๔๙) รูปที่เป็นภายนอก เป็นวจีวิญญัติ
ก็มี (๘๕๐) รูปที่เป็นภายนอก ไม่เป็นวจีวิญญัติก็มี (๘๕๑)
อัชฌัตติกนอากาสธาตุติกะ
รูปที่เป็นภายใน ไม่เป็นอากาสธาตุ (๘๕๒) รูปที่เป็นภายนอก เป็นอากาสธาตุก็มี
(๘๕๓) รูปที่เป็นภายนอก ไม่เป็นอากาสธาตุก็มี (๘๕๔)
อัชฌัตติกนอาโปธาตุติกะ
รูปที่เป็นภายใน ไม่เป็นอาโปธาตุ (๘๕๕) รูปที่เป็นภายนอก เป็นอาโปธาตุก็มี
(๘๕๖) รูปที่เป็นภายนอก ไม่เป็นอาโปธาตุก็มี (๘๕๗)
อัชฌัตติกนรูปัสสลหุตาติกะ
รูปที่เป็นภายใน ไม่เป็นลหุตารูป (๘๕๘) รูปที่เป็นภายนอก เป็นลหุตารูปก็มี
(๘๕๙) รูปที่เป็นภายนอก ไม่เป็นลหุตารูปก็มี (๘๖๐)
อัชฌัตติกนรูปัสสมุทุตาติกะ
รูปที่เป็นภายใน ไม่เป็นมุทุตารูป (๘๖๑) รูปที่เป็นภายนอก เป็นมุทุตารูปก็มี
(๘๖๒) รูปที่เป็นภายนอก ไม่เป็นมุทุตารูปก็มี (๘๖๓)


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๑๘๐ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๒. รูปกัณฑ์] ติกมาติกา สุขุมรูปติกะ
อัชฌัตติกนรูปัสสกัมมัญญตาติกะ
รูปที่เป็นภายใน ไม่เป็นกัมมัญญตารูป (๘๖๔) รูปที่เป็นภายนอก เป็น
กัมมัญญตารูปก็มี (๘๖๕) รูปที่เป็นภายนอก ไม่เป็นกัมมัญญตารูปก็มี (๘๖๖)
อัชฌัตติกนรูปัสสอุปจยติกะ
รูปที่เป็นภายใน ไม่เป็นอุปจยรูป (๘๖๗) รูปที่เป็นภายนอก เป็นอุปจยรูป
ก็มี (๘๖๘) รูปที่เป็นภายนอก ไม่เป็นอุปจยรูปก็มี (๘๖๙)
อัชฌัตติกนรูปัสสสันตติติกะ
รูปที่เป็นภายใน ไม่เป็นสันตติรูป (๘๗๐) รูปที่เป็นภายนอก เป็นสันตติรูป
ก็มี (๘๗๑) รูปที่เป็นภายนอก ไม่เป็นสันตติรูปก็มี (๘๗๒)
อัชฌัตติกนรูปัสสชรตาติกะ
รูปที่เป็นภายใน ไม่เป็นชรตารูป (๘๗๓) รูปที่เป็นภายนอก เป็นชรตารูป
ก็มี (๘๗๔) รูปที่เป็นภายนอก ไม่เป็นชรตารูปก็มี (๘๗๕)
อัชฌัตติกนรูปัสสอนิจจตาติกะ
รูปที่เป็นภายใน ไม่เป็นอนิจจตารูป (๘๗๖) รูปที่เป็นภายนอก เป็นอนิจจตารูป
ก็มี (๘๗๗) รูปที่เป็นภายนอก ไม่เป็นอนิจจตารูปก็มี (๘๗๘)
อัชฌัตติกนกวฬิงการาหารติกะ
รูปที่เป็นภายใน ไม่เป็นกวฬิงการาหาร (๘๗๙) รูปที่เป็นภายนอก เป็น
กวฬิงการาหารก็มี (๘๘๐) รูปที่เป็นภายนอก ไม่เป็นกวฬิงการาหาร๑ ก็มี (๘๘๑)
สุขุมรูปติกะ จบ
รวมรูปหมวดละ ๓ อย่างนี้
ติกมาติกา จบ

เชิงอรรถ :
๑ อภิ.วิ. ๓๕/๓๓/๑๕

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๑๘๑ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๒. รูปกัณฑ์] จตุกกมาติกา
จตุกกมาติกา
รวมรูปหมวดละ ๔
อุปาทาอุปาทินนจตุกกะ
[๕๘๖] รูปที่เป็นอุปาทายรูป เป็นรูปที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิ
ยึดถือก็มี (๘๘๒) รูปที่เป็นอุปาทายรูป เป็นรูปที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและ
ทิฏฐิไม่ยึดถือก็มี (๘๘๓) รูปที่ไม่เป็นอุปาทายรูป เป็นรูปที่กรรมอันประกอบด้วย
ตัณหาและทิฏฐิยึดถือก็มี (๘๘๔) รูปที่ไม่เป็นอุปาทายรูป เป็นรูปที่กรรมอัน
ประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือก็มี (๘๘๕)
อุปาทาอุปาทินนุปาทานิยจตุกกะ
รูปที่เป็นอุปาทายรูป เป็นรูปที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาทิฏฐิยึดถือและเป็น
อารมณ์ของอุปาทานก็มี (๘๘๖) รูปที่เป็นอุปาทายรูป เป็นรูปที่กรรมอันประกอบ
ด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือแต่เป็นอารมณ์ของอุปาทานก็มี (๘๘๗) รูปที่ไม่เป็น
อุปาทายรูป เป็นรูปที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาทิฏฐิยึดถือและเป็นอารมณ์ของ
อุปาทานก็มี (๘๘๘) รูปที่ไม่เป็นอุปาทายรูป เป็นรูปที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหา
และทิฏฐิไม่ยึดถือแต่เป็นอารมณ์ของอุปาทานก็มี (๘๘๙)
อุปาทาสัปปฏิฆจตุกกะ
รูปที่เป็นอุปาทายรูป เป็นรูปที่กระทบได้ก็มี (๘๙๐) รูปที่เป็นอุปาทายรูป เป็น
รูปที่กระทบไม่ได้ก็มี (๘๙๑) รูปที่ไม่เป็นอุปาทายรูป เป็นรูปที่กระทบได้ก็มี (๘๙๒)
รูปที่ไม่เป็นอุปาทายรูป เป็นรูปที่กระทบไม่ได้ก็มี (๘๙๓)
อุปาทาโอฬาริกจตุกกะ
รูปที่เป็นอุปาทายรูป เป็นรูปหยาบก็มี (๘๙๔) รูปที่เป็นอุปาทายรูป เป็นรูป
ละเอียดก็มี (๘๙๕) รูปที่ไม่เป็นอุปาทายรูป เป็นรูปหยาบก็มี (๘๙๖) รูปที่ไม่เป็น
อุปาทายรูป เป็นรูปละเอียดก็มี (๘๙๗)


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๑๘๒ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๒. รูปกัณฑ์] จตุกกมาติกา
อุปาทาทูเรจตุกกะ
รูปที่เป็นอุปาทายรูป เป็นรูปไกลก็มี (๘๙๘) รูปที่เป็นอุปาทายรูป เป็นรูปใกล้
ก็มี (๘๙๙) รูปที่ไม่เป็นอุปาทายรูป เป็นรูปไกลก็มี (๙๐๐) รูปที่ไม่เป็นอุปาทายรูป
เป็นรูปใกล้ก็มี (๙๐๑)
อุปาทินนสนิทัสสนจตุกกะ
รูปที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือ เป็นรูปที่เห็นได้ก็มี (๙๐๒)
รูปที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือ เป็นรูปที่เห็นไม่ได้ก็มี (๙๐๓)
รูปที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือ เป็นรูปที่เห็นได้ก็มี (๙๐๔)
รูปที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือ เป็นรูปที่เห็นไม่ได้ก็มี (๙๐๕)
อุปาทินนสัปปฏิฆจตุกกะ
รูปที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือ เป็นรูปที่กระทบได้ก็มี (๙๐๖)
รูปที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือ เป็นรูปที่กระทบไม่ได้ก็มี (๙๐๗)
รูปที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือ เป็นรูปที่กระทบได้ก็มี (๙๐๘)
รูปที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือ เป็นรูปที่กระทบไม่ได้ก็มี (๙๐๙)
อุปาทินนมหาภูตจตุกกะ
รูปที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือ เป็นมหาภูตรูปก็มี (๙๑๐)
รูปที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือ ไม่เป็นมหาภูตรูปก็มี (๙๑๑)
รูปที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือ เป็นมหาภูตรูปก็มี (๙๑๒)
รูปที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือ ไม่เป็นมหาภูตรูปก็มี (๙๑๓)
อุปาทินนโอฬาริกจตุกกะ
รูปที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือ เป็นรูปหยาบก็มี (๙๑๔)
รูปที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือ เป็นรูปละเอียดก็มี (๙๑๕)
รูปที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือ เป็นรูปหยาบก็มี (๙๑๖)
รูปที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือ เป็นรูปละเอียดก็มี (๙๑๗)


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๑๘๓ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๒. รูปกัณฑ์] จตุกกมาติกา
อุปาทินนทูเรจตุกกะ
รูปที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือ เป็นรูปไกลก็มี (๙๑๘)
รูปที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือ เป็นรูปใกล้ก็มี (๙๑๙)
รูปที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือ เป็นรูปไกลก็มี (๙๒๐)
รูปที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือ เป็นรูปใกล้ก็มี (๙๒๑)
อุปาทินนุปาทานิยสนิทัสสนจตุกกะ
รูปที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาทิฏฐิยึดถือและเป็นอารมณ์ของอุปาทาน
เป็นรูปที่เห็นได้ก็มี (๙๒๒) รูปที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาทิฏฐิยึดถือและเป็น
อารมณ์ของอุปาทาน เป็นรูปที่เห็นไม่ได้ก็มี (๙๒๓) รูปที่กรรมอันประกอบด้วย
ตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือแต่เป็นอารมณ์ของอุปาทาน เป็นรูปที่เห็นได้ก็มี (๙๒๔) รูป
ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือแต่เป็นอารมณ์ของอุปาทาน เป็นรูป
ที่เห็นไม่ได้ก็มี (๙๒๕)
อุปาทินนุปาทานิยสัปปฏิฆจตุกกะ
รูปที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาทิฏฐิยึดถือและเป็นอารมณ์ของอุปาทาน
เป็นรูปที่กระทบได้ก็มี (๙๒๖) รูปที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาทิฏฐิยึดถือและเป็น
อารมณ์ของอุปาทาน เป็นรูปที่กระทบไม่ได้ก็มี (๙๒๗) รูปที่กรรมอันประกอบ
ด้วยด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือแต่เป็นอารมณ์ของอุปาทาน เป็นรูปที่กระทบได้
ก็มี (๙๒๘) รูปที่กรรมอันประกอบด้วยด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือแต่เป็นอารมณ์
ของอุปาทาน เป็นรูปที่กระทบไม่ได้ก็มี (๙๒๙)
อุปาทินนุปาทานิยมหาภูตจตุกกะ
รูปที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาทิฏฐิยึดถือและเป็นอารมณ์ของอุปาทาน
เป็นมหาภูตรูปก็มี (๙๓๐) รูปที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาทิฏฐิยึดถือและเป็น
อารมณ์ของอุปาทาน ไม่เป็นมหาภูตรูปก็มี (๙๓๑) รูปที่กรรมอันประกอบด้วยด้วย
ตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือแต่เป็นอารมณ์ของอุปาทาน เป็นมหาภูตรูปก็มี (๙๓๒) รูป
ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือแต่เป็นอารมณ์ของอุปาทาน ไม่เป็น
มหาภูตรูปก็มี (๙๓๓)


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๑๘๔ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๒. รูปกัณฑ์] จตุกกมาติกา
อุปาทินนุปาทานิยโอฬาริกจตุกกะ
รูปที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาทิฏฐิยึดถือและเป็นอารมณ์ของอุปาทาน
เป็นรูปหยาบก็มี (๙๓๔) รูปที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาทิฏฐิยึดถือและเป็น
อารมณ์ของอุปาทาน เป็นรูปละเอียดก็มี (๙๓๕) รูปที่กรรมอันประกอบด้วยด้วย
ตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือแต่เป็นอารมณ์ของอุปาทาน เป็นรูปหยาบก็มี (๙๓๖) รูปที่
กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือแต่เป็นอารมณ์ของอุปาทาน เป็นรูป
ละเอียดก็มี (๙๓๗)
อุปาทินนุปาทานิยทูเรจตุกกะ
รูปที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาทิฏฐิยึดถือและเป็นอารมณ์ของอุปาทาน
เป็นรูปไกลก็มี (๙๓๘) รูปที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาทิฏฐิยึดถือและเป็นอารมณ์
ของอุปาทาน เป็นรูปใกล้ก็มี (๙๓๙) รูปที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่
ยึดถือแต่เป็นอารมณ์ของอุปาทาน เป็นรูปไกลก็มี (๙๔๐) รูปที่กรรมอันประกอบ
ด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือแต่เป็นอารมณ์ของอุปาทาน เป็นรูปใกล้ก็มี (๙๔๑)
สัปปฏิฆอินทริยจตุกกะ
รูปที่กระทบได้เป็นอินทริยรูปก็มี (๙๔๒) รูปที่กระทบไม่ได้เป็นอินทริยรูปก็มี
(๙๔๓) รูปที่กระทบไม่ได้เป็นอินทริยรูปก็มี (๙๔๔) รูปที่กระทบไม่ได้ไม่เป็นอินทริย-
รูปก็มี (๙๔๕)
สัปปฏิฆมหาภูตจตุกกะ
รูปที่กระทบได้เป็นมหาภูตรูปก็มี (๙๔๖) รูปที่กระทบได้ไม่เป็นมหาภูตรูปก็มี
(๙๔๗) รูปที่กระทบไม่ได้เป็นมหาภูตรูปก็มี (๙๔๘) รูปที่กระทบไม่ได้ไม่เป็นมหา-
ภูตรูปก็มี (๙๔๙)
อินทริยโอฬาริกจตุกกะ
รูปที่เป็นอินทริยรูป เป็นรูปหยาบก็มี (๙๕๐) รูปที่เป็นอินทริยรูป เป็นรูป
ละเอียดก็มี (๙๕๑) รูปที่ไม่เป็นอินทริยรูป เป็นรูปหยาบก็มี (๙๕๒) รูปที่ไม่เป็น
อินทริยรูป เป็นรูปละเอียดก็มี (๙๕๓)


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๑๘๕ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๒. รูปกัณฑ์] จตุกกมาติกา
อินทริยทูเรจตุกกะ
รูปที่เป็นอินทริยรูป เป็นรูปไกลก็มี (๙๕๔) รูปที่เป็นอินทริยรูป เป็นรูปใกล้ก็มี
(๙๕๕) รูปที่ไม่เป็นอินทริยรูป เป็นรูปไกลก็มี (๙๕๖) รูปที่ไม่เป็นอินทริยรูปเป็น
รูปใกล้ก็มี (๙๕๗)
มหาภูตโอฬาริกจตุกกะ
รูปที่เป็นมหาภูตรูป เป็นรูปหยาบก็มี (๙๕๘) รูปที่เป็นมหาภูตรูป เป็นรูป
ละเอียดก็มี (๙๕๙) รูปที่ไม่เป็นมหาภูตรูป เป็นรูปหยาบก็มี (๙๖๐) รูปที่ไม่เป็น
มหาภูตรูป เป็นรูปละเอียดก็มี (๙๖๑)
มหาภูตทูเรจตุกกะ
รูปที่เป็นมหาภูตรูป เป็นรูปไกลก็มี (๙๖๒) รูปที่เป็นมหาภูตรูป เป็นรูปใกล้
ก็มี (๙๖๓) รูปที่ไม่เป็นมหาภูตรูป เป็นรูปไกลก็มี (๙๖๔) รูปที่ไม่เป็นมหาภูตรูป
เป็นรูปใกล้ก็มี (๙๖๕)
ทิฏฐาทิจตุกกะ
รูปเป็นรูปที่เห็นได้ เป็นรูปที่สดับได้ เป็นรูปที่ทราบได้ เป็นรูปที่รู้แจ้งได้๑
(๙๖๖)
รวมรูปหมวดละ ๔ อย่างนี้
จตุกกมาติกา จบ

เชิงอรรถ :
๑ อภิ.วิ. ๓๕/๓๓/๑๖

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๑๘๖ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๒. รูปกัณฑ์] สัตตกมาติกา
ปัญจกมาติกา
รวมรูปหมวดละ ๕
[๕๘๗] รูปที่เป็นปฐวีธาตุ (๙๖๗) รูปที่เป็นอาโปธาตุ (๙๖๘) รูปที่เป็นเตโชธาตุ
(๙๖๙) รูปที่เป็นวาโยธาตุ (๙๗๐) รูปที่เป็นอุปาทายรูป๑(๙๗๑)
รวมรูปหมวดละ ๕ อย่างนี้
ปัญจกมาติกา จบ

ฉักกมาติกา
รวมรูปหมวดละ ๖
[๕๘๘] รูปที่จักขุวิญญาณรู้ได้ รูปที่โสตวิญญาณรู้ได้ รูปที่ฆานวิญญาณรู้ได้
รูปที่ชิวหาวิญญาณรู้ได้ รูปที่กายวิญญาณรู้ได้ รูปที่มโนวิญญาณรู้ได้๑ (๙๗๒)
รวมรูปหมวดละ ๖ อย่างนี้
ฉักกมาติกา จบ

สัตตกมาติกา
รวมรูปหมวดละ ๗
[๕๘๙] รูปที่จักขุวิญญาณรู้ได้ รูปที่โสตวิญญาณรู้ได้ รูปที่ฆานวิญญาณรู้ได้
รูปที่ชิวหาวิญญาณรู้ได้ รูปที่กายวิญญาณรู้ได้ รูปที่มโนธาตุรู้ได้ รูปที่มโนวิญญาณ-
ธาตุรู้ได้๑ (๙๗๓)
รวมรูปหมวดละ ๗ อย่างนี้
สัตตกมาติกา จบ

เชิงอรรถ :
๑ อภิ.วิ. ๓๕/๓๓/๑๖

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๑๘๗ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๒. รูปกัณฑ์] ทสกมาติกา
อัฏฐกมาติกา
รวมรูปหมวดละ ๘
[๕๙๐] รูปที่จักขุวิญญาณรู้ได้ รูปที่โสตวิญญาณรู้ได้ รูปที่ฆานวิญญาณรู้ได้
รูปที่ชิวหาวิญญาณรู้ได้ รูปที่กายวิญญาณรู้ได้ ที่มีสัมผัสเป็นสุขก็มี ที่มีสัมผัสเป็น
ทุกข์ก็มี รูปที่มโนธาตุรู้ได้ รูปที่มโนวิญญาณธาตุรู้ได้๑ (๙๗๔)
รวมรูปหมวดละ ๘ อย่างนี้
อัฏฐกมาติกา จบ

นวกมาติกา
รวมรูปหมวดละ ๙
[๕๙๑] รูปที่เป็นจักขุนทรีย์ รูปที่เป็นโสตินทรีย์ รูปที่เป็นฆานินทรีย์ รูปที่เป็น
ชิวหินทรีย์ รูปที่เป็นกายินทรีย์ รูปที่เป็นอิตถินทรีย์ รูปที่เป็นปุริสินทรีย์ รูปที่เป็น
ชีวิตินทรีย์ รูปที่ไม่เป็นอินทรีย์๑ (๙๗๕)
รวมรูปหมวดละ ๙ อย่างนี้
นวกมาติกา จบ

ทสกมาติกา
รวมรูปหมวดละ ๑๐
[๕๙๒] รูปที่เป็นจักขุนทรีย์ รูปที่เป็นโสตินทรีย์ รูปที่เป็นฆานินทรีย์ รูปที่เป็น
ชิวหินทรีย์ รูปที่เป็นกายินทรีย์ รูปที่เป็นอิตถินทรีย์ รูปที่เป็นปุริสินทรีย์ รูปที่
เป็นชีวิตินทรีย์ รูปที่ไม่เป็นอินทรีย์๑ ที่กระทบได้ก็มี ที่กระทบไม่ได้ก็มี (๙๗๖-๙๘๑)
รวมรูปหมวดละ ๑๐ อย่างนี้
ทสกมาติกา จบ

เชิงอรรถ :
๑ อภิ.วิ. ๓๕/๓๓/๑๖

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๑๘๘ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๒. รูปกัณฑ์] รูปวิภัตติ เอกกนิทเทส
เอกาทสกมาติกา
รวมรูปหมวดละ ๑๑
[๕๙๓] รูปที่เป็นจักขายตนะ รูปที่เป็นโสตายตนะ รูปที่เป็นฆานายตนะ รูปที่
เป็นชิวหายตนะ รูปที่เป็นกายายตนะ รูปที่เป็นรูปายตนะ รูปที่เป็นสัททายตนะ รูป
ที่เป็นคันธายตนะ รูปที่เป็นรสายตนะ รูปที่เป็นโผฏฐัพพายตนะ รูปที่เห็นไม่ได้และ
กระทบไม่ได้๑ ซึ่งนับเนื่องในธัมมายตนะ (๙๘๒-๙๘๔)
รวมรูปหมวดละ ๑๑ อย่างนี้
เอกาทสกมาติกา จบ
มาติกา จบ

รูปวิภัตติ
เอกกนิทเทส
[๕๙๔] รูปทั้งหมดไม่เป็นเหตุ ไม่มีเหตุ วิปปยุตจากเหตุ มีปัจจัยปรุงแต่ง ถูก
ปัจจัยปรุงแต่ง เป็นรูป เป็นโลกิยะ เป็นอารมณ์ของอาสวะ เป็นอารมณ์ของสังโยชน์
เป็นอารมณ์ของคันถะ เป็นอารมณ์ของโอฆะ เป็นอารมณ์ของโยคะ เป็นอารมณ์ของ
นิวรณ์ เป็นอารมณ์ของปรามาส เป็นอารมณ์ของอุปาทาน เป็นอารมณ์ของกิเลส
เป็นอัพยากฤต รับรู้อารมณ์ไม่ได้ ไม่เป็นเจตสิก วิปปยุตจากจิต ไม่เป็นวิบากและไม่
เป็นเหตุให้เกิดวิบาก กิเลสไม่ทำให้เศร้าหมองแต่เป็นอารมณ์ของกิเลส ไม่ใช่มีทั้ง
วิตกและวิจาร ไม่ใช่ไม่มีวิตกมีเพียงวิจาร ไม่มีทั้งวิตกและวิจาร ไม่สหรคตด้วยปีติ
ไม่สหรคตด้วยสุข ไม่สหรคตด้วยอุเบกขา ไม่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคและ
มรรคเบื้องบน ๓ ไม่มีเหตุต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคและมรรคเบื้องบน ๓
ไม่เป็นเหตุให้ถึงปฏิสนธิ จุติ และนิพพาน ไม่เป็นของเสขบุคคลและอเสขบุคคล เป็น

เชิงอรรถ :
๑ อภิ.วิ. ๓๕/๓๓/๑๖

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๑๘๙ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๒. รูปกัณฑ์] รูปวิภัตติ ทุกนิทเทส ปกิณณกทุกะ อุปาทาภาชนีย์
ปริตตะ เป็นกามาวจร ไม่เป็นรูปาวจร ไม่เป็นอรูปาวจร นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ ไม่ใช่
ไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ เป็นธรรมชาติไม่แน่นอน ไม่เป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์
เป็นธรรมที่เกิดขึ้น อันวิญญาณ ๖ รู้ได้ เป็นธรรมชาติไม่เที่ยง ถูกชราครอบงำ๑
รวมรูปหมวดละ ๑ อย่างนี้
เอกกนิทเทส จบ

ทุกนิทเทส
ปกิณณกทุกะ
อุปาทาภาชนีย์
[๕๙๕] รูปที่เป็นอุปาทายรูป นั้นเป็นไฉน
จักขายตนะ โสตายตนะ ฆานายตนะ ชิวหายตนะ กายายตนะ รูปายตนะ
สัททายตนะ คันธายตนะ รสายตนะ อิตถินทรีย์ ปุริสินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ กายวิญญัติ
วจีวิญญัติ อากาสธาตุ ลหุตารูป มุทุตารูป กัมมัญญตารูป อุปจยรูป สันตติรูป
ชรตารูป อนิจจตารูป และกวฬิงการาหาร
จักขายตนะ
[๕๙๖] รูปที่เป็นจักขายตนะ นั้นเป็นไฉน
จักษุใด เป็นปสาทรูป อาศัยมหาภูตรูป ๔ นับเนื่องในอัตภาพ ที่เห็นไม่ได้แต่
กระทบได้ สัตว์นี้ เคยเห็น กำลังเห็น จักเห็น หรือพึงเห็นรูปที่เห็นได้กระทบได้ด้วย
จักษุใดที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้ นี้ชื่อว่าจักขุบ้าง จักขายตนะบ้าง จักขุธาตุบ้าง
จักขุนทรีย์บ้าง โลกบ้าง ทวารบ้าง สมุทรบ้าง ปัณฑระบ้าง เขตบ้าง วัตถุบ้าง
เนตรบ้าง นัยนาบ้าง ฝั่งนี้บ้าง บ้านว่างบ้าง รูปนี้ชื่อว่าเป็นจักขายตนะ๒
[๕๙๗] รูปที่เป็นจักขายตนะ นั้นเป็นไฉน

เชิงอรรถ :
๑ อภิ.วิ. ๓๕/๓๓/๑๔ ๒ อภิ.วิ. ๓๕/๑๕๖/๘๐

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๑๙๐ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๒. รูปกัณฑ์] รูปวิภัตติ ทุกนิทเทส ปกิณณกทุกะ อุปาทาภาชนีย์
จักษุใด เป็นปสาทรูป อาศัยมหาภูตรูป ๔ นับเนื่องในอัตภาพ ที่เห็นไม่ได้แต่
กระทบได้ รูปที่เห็นได้และกระทบได้ เคยกระทบ กำลังกระทบ จักกระทบ หรือ
พึงกระทบ ที่จักษุใดซึ่งเห็นไม่ได้แต่กระทบได้ นี้ชื่อว่าจักขุบ้าง จักขายตนะบ้าง
จักขุธาตุบ้าง จักขุนทรีย์บ้าง โลกบ้าง ทวารบ้าง สมุทรบ้าง ปัณฑระบ้าง เขตบ้าง
วัตถุบ้าง เนตรบ้าง นัยนาบ้าง ฝั่งนี้บ้าง บ้านว่างบ้าง รูปนี้ชื่อว่าเป็นจักขายตนะ
[๕๙๘] รูปที่เป็นจักขายตนะ นั้นเป็นไฉน
จักษุใด เป็นปสาทรูป อาศัยมหาภูตรูป ๔ นับเนื่องในอัตภาพ ที่เห็นไม่ได้แต่
กระทบได้ จักษุใด เห็นไม่ได้ เคยกระทบ กระทบแล้ว กำลังกระทบ จักกระทบ หรือ
พึงกระทบที่รูปซึ่งเห็นได้และกระทบได้ นี้ชื่อว่าจักขุบ้าง จักขายตนะบ้าง จักขุธาตุ
บ้าง จักขุนทรีย์บ้าง โลกบ้าง ทวารบ้าง สมุทรบ้าง ปัณฑระบ้าง เขตบ้าง วัตถุบ้าง
เนตรบ้าง นัยนาบ้าง ฝั่งนี้บ้าง บ้านว่างบ้าง รูปนี้ชื่อว่าเป็นจักขายตนะ
[๕๙๙] รูปที่เป็นจักขายตนะ นั้นเป็นไฉน
จักษุใด เป็นปสาทรูป อาศัยมหาภูตรูป ๔ นับเนื่องในอัตภาพ ที่เห็นไม่ได้แต่
กระทบได้ เพราะอาศัยจักษุใด จักขุสัมผัสปรารภรูปเป็นอารมณ์ เคยเกิด กำลังเกิด
จักเกิด หรือพึงเกิด ฯลฯ เพราะอาศัยจักษุใด เวทนาที่เกิดแต่จักขุสัมผัส ฯลฯ
สัญญา ฯลฯ เจตนา ฯลฯ จักขุวิญญาณปรารภรูปเป็นอารมณ์ เคยเกิด กำลังเกิด
จักเกิด หรือพึงเกิด ฯลฯ เพราะอาศัยจักษุใด จักขุสัมผัสมีรูปเป็นอารมณ์ เคย
เกิด กำลังเกิด จักเกิด หรือพึงเกิด ฯลฯ เพราะอาศัยจักษุใด เวทนาที่เกิดจาก
จักขุสัมผัส ฯลฯ สัญญา ฯลฯ เจตนา ฯลฯ จักขุวิญญาณมีรูปเป็นอารมณ์ เคย
เกิด กำลังเกิด จักเกิด หรือพึงเกิด นี้ชื่อว่าจักขุบ้าง จักขายตนะบ้าง จักขุธาตุบ้าง
จักขุนทรีย์บ้าง โลกบ้าง ทวารบ้าง สมุทรบ้าง ปัณฑระบ้าง เขตบ้าง วัตถุบ้าง
เนตรบ้าง นัยนาบ้าง ฝั่งนี้บ้าง บ้านว่างบ้าง รูปนี้ชื่อว่าเป็นจักขายตนะ
โสตายตนะ
[๖๐๐] รูปที่เป็นโสตายตนะ นั้นเป็นไฉน
โสตะใด เป็นปสาทรูป อาศัยมหาภูตรูป ๔ นับเนื่องในอัตภาพ ที่เห็นไม่ได้แต่
กระทบได้ สัตว์นี้ เคยฟัง กำลังฟัง จักฟัง หรือพึงฟังเสียงที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๑๙๑ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๒. รูปกัณฑ์] รูปวิภัตติ ทุกนิทเทส ปกิณณกทุกะ อุปาทาภาชนีย์
ด้วยโสตะใด ที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้ นี้ชื่อว่าโสตะบ้าง โสตายตนะบ้าง โสตธาตุ
บ้าง โสตินทรีย์บ้าง โลกบ้าง ทวารบ้าง สมุทรบ้าง ปัณฑระบ้าง เขตบ้าง
วัตถุบ้าง ฝั่งนี้บ้าง บ้านว่างบ้าง รูปนี้ชื่อว่าเป็นโสตายตนะ๑
[๖๐๑] รูปที่เป็นโสตายตนะ นั้นเป็นไฉน
โสตะใด เป็นปสาทรูป อาศัยมหาภูตรูป ๔ นับเนื่องในอัตภาพ ที่เห็นไม่ได้แต่
กระทบได้ เสียงที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้ เคยกระทบ กำลังกระทบ จักกระทบ หรือ
พึงกระทบ ที่โสตะใดที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้ นี้ชื่อว่าโสตะบ้าง โสตายตนะบ้าง
โสตธาตุบ้าง โสตินทรีย์บ้าง โลกบ้าง ทวารบ้าง สมุทรบ้าง ปัณฑระบ้าง เขตบ้าง
วัตถุบ้าง ฝั่งนี้บ้าง บ้านว่างบ้าง รูปนี้ชื่อว่าเป็นโสตายตนะ
[๖๐๒] รูปที่เป็นโสตายตนะ นั้นเป็นไฉน
โสตะใด เป็นปสาทรูป อาศัยมหาภูตรูป ๔ นับเนื่องในอัตภาพ ที่เห็นไม่ได้แต่
กระทบได้ โสตะใดที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้ เคยกระทบ กำลังกระทบ จักกระทบ
หรือพึงกระทบเสียงที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้ นี้ชื่อว่าโสตะบ้าง โสตายตนะบ้าง
โสตธาตุบ้าง โสตินทรีย์บ้าง โลกบ้าง ทวารบ้าง สมุทรบ้าง ปัณฑระบ้าง เขตบ้าง
วัตถุบ้าง บ้านว่างบ้าง รูปนี้ชื่อว่าเป็นโสตายตนะ
[๖๐๓] รูปที่เป็นโสตายตนะ นั้นเป็นไฉน
โสตะใด เป็นปสาทรูป อาศัยมหาภูตรูป ๔ นับเนื่องในอัตภาพ ที่เห็นไม่ได้แต่
กระทบได้ เพราะอาศัยโสตะใด โสตสัมผัสปรารภเสียงเป็นอารมณ์ เคยเกิด กำลัง
เกิด จักเกิด หรือพึงเกิด ฯลฯ เพราะอาศัยโสตะใด เวทนาที่เกิดแต่โสตสัมผัส ฯลฯ
สัญญา ฯลฯ เจตนา ฯลฯ โสตวิญญาณปรารภเสียงเป็นอารมณ์ เคยเกิด กำลังเกิด
จักเกิด หรือพึงเกิด ฯลฯ อาศัยโสตะใด โสตสัมผัสมีเสียงเป็นอารมณ์ เคยเกิด
กำลังเกิด จักเกิด หรือพึงเกิด ฯลฯ เพราะอาศัยโสตะใด เวทนาที่เกิดแต่โสตสัมผัส
ฯลฯ สัญญา ฯลฯ เจตนา ฯลฯ โสตวิญญาณมีเสียงเป็นอารมณ์ เคยเกิด กำลัง
เกิด จักเกิด หรือพึงเกิด นี้ชื่อว่าโสตะบ้าง โสตายตนะบ้าง โสตธาตุบ้าง
โสตินทรีย์บ้าง โลกบ้าง ทวารบ้าง สมุทรบ้าง ปัณฑระบ้าง เขตบ้าง วัตถุบ้าง
ฝั่งนี้บ้าง บ้านว่างบ้าง รูปนี้ชื่อว่าเป็นโสตายตนะ

เชิงอรรถ :
๑ อภิ.วิ. ๓๕/๑๕๗/๘๐

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๑๙๒ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๒. รูปกัณฑ์] รูปวิภัตติ ทุกนิทเทส ปกิณณกทุกะ อุปาทาภาชนีย์
ฆานายตนะ
[๖๐๔] รูปที่เป็นฆานายตนะ นั้นเป็นไฉน
ฆานะใด เป็นปสาทรูป อาศัยมหาภูตรูป ๔ นับเนื่องในอัตภาพ ที่เห็นไม่ได้แต่
กระทบได้ สัตว์นี้ เคยดม กำลังดม จักดม หรือพึงดมกลิ่นที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้
ด้วยฆานะใด ที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้ นี้ชื่อว่าฆานะบ้าง ฆานายตนะบ้าง ฆานธาตุ
บ้าง ฆานินทรีย์บ้าง โลกบ้าง ทวารบ้าง สมุทรบ้าง ปัณฑระบ้าง เขตบ้าง วัตถุบ้าง
ฝั่งนี้บ้าง บ้านว่างบ้าง รูปนี้ชื่อว่าเป็นฆานายตนะ๑
[๖๐๕] รูปที่เป็นฆานายตนะ นั้นเป็นไฉน
ฆานะใด เป็นปสาทรูป อาศัยมหาภูตรูป ๔ นับเนื่องในอัตภาพ ที่เห็นไม่ได้แต่
กระทบได้ กลิ่นที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้ เคยกระทบ กำลังกระทบ จักกระทบ หรือ
พึงกระทบที่ฆานะใด ที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้ นี้ชื่อว่าฆานะบ้าง ฆานายตนะบ้าง
ฆานธาตุบ้าง ฆานินทรีย์บ้าง โลกบ้าง ทวารบ้าง สมุทรบ้าง ปัณฑระบ้าง เขตบ้าง
วัตถุบ้าง ฝั่งนี้บ้าง บ้านว่างบ้าง รูปนี้ชื่อว่าเป็นฆานายตนะ
[๖๐๖] รูปที่เป็นฆานายตนะ นั้นเป็นไฉน
ฆานะใด เป็นปสาทรูป อาศัยมหาภูตรูป ๔ นับเนื่องในอัตภาพ ที่เห็นไม่ได้แต่
กระทบได้ ฆานะใดที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้ เคยกระทบ กำลังกระทบ จักกระทบ
หรือพึงกระทบ กลิ่นที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้ นี้ชื่อว่าฆานะบ้าง ฆานายตนะบ้าง
ฆานธาตุบ้าง ฆานินทรีย์บ้าง โลกบ้าง ทวารบ้าง สมุทรบ้าง ปัณฑระบ้าง เขตบ้าง
วัตถุบ้าง ฝั่งนี้บ้าง บ้านว่างบ้าง รูปนี้ชื่อว่าเป็นฆานายตนะ
[๖๐๗] รูปที่เป็นฆานายตนะ นั้นเป็นไฉน
ฆานะใด เป็นปสาทรูป อาศัยมหาภูตรูป ๔ นับเนื่องในอัตภาพ ที่เห็นไม่ได้แต่
กระทบได้ เพราะอาศัยฆานะใด ฆานสัมผัสปรารภกลิ่นเป็นอารมณ์ เคยเกิด กำลัง
เกิด จักเกิด หรือพึงเกิด ฯลฯ เพราะอาศัยฆานะใด เวทนาที่เกิดแต่ฆานสัมผัส
ฯลฯ สัญญา ฯลฯ เจตนา ฯลฯ ฆานวิญญาณปรารภกลิ่น เคยเกิด กำลังเกิด
จักเกิด หรือพึงเกิด ฯลฯ เพราะอาศัยฆานะใด ฆานสัมผัสมีกลิ่นเป็นอารมณ์

เชิงอรรถ :
๑ อภิ.วิ. ๓๕/๑๕๘/๘๐

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๑๙๓ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๒. รูปกัณฑ์] รูปวิภัตติ ทุกนิทเทส ปกิณณกทุกะ อุปาทาภาชนีย์
เคยเกิด กำลังเกิด จักเกิด หรือพึงเกิด ฯลฯ เพราะอาศัยฆานะใด เวทนาที่เกิดแต่
ฆานสัมผัส ฯลฯ สัญญา ฯลฯ เจตนา ฯลฯ ฆานวิญญาณ มีกลิ่นเป็นอารมณ์
เคยเกิด กำลังเกิด จักเกิด หรือพึงเกิด นี้ชื่อว่าฆานะบ้าง ฆานายตนะบ้าง
ฆานธาตุบ้าง ฆานินทรีย์บ้าง โลกบ้าง ทวารบ้าง สมุทรบ้าง ปัณฑระบ้าง เขตบ้าง
วัตถุบ้าง ฝั่งนี้บ้าง บ้านว่างบ้าง รูปนี้ชื่อว่าเป็นฆานายตนะ
ชิวหายตนะ
[๖๐๘] รูปที่เป็นชิวหายตนะ นั้นเป็นไฉน
ชิวหาใด เป็นปสาทรูป อาศัยมหาภูตรูป ๔ นับเนื่องในอัตภาพ ที่เห็นไม่ได้
แต่กระทบได้ สัตว์นี้เคยลิ้ม กำลังลิ้ม จักลิ้ม หรือพึงลิ้มรสที่เห็นไม่ได้แต่กระทบ
ได้ด้วยชิวหาใด ที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้ นี้ชื่อว่าชิวหาบ้าง ชิวหายตนะบ้าง
ชิวหาธาตุบ้าง ชิวหินทรีย์บ้าง โลกบ้าง ทวารบ้าง สมุทรบ้าง ปัณฑระบ้าง
เขตบ้าง วัตถุบ้าง บ้านว่างบ้าง รูปนี้ชื่อว่าเป็นชิวหายตนะ๑
[๖๐๙] รูปที่เป็นชิวหายตนะ นั้นเป็นไฉน
ชิวหาใด เป็นปสาทรูป อาศัยมหาภูตรูป ๔ นับเนื่องในอัตภาพ ที่เห็นไม่ได้แต่
กระทบได้ รสที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้ เคยกระทบ กำลังกระทบ จักกระทบ หรือพึง
กระทบที่ชิวหาใด ที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้ นี้ชื่อว่าชิวหาบ้าง ชิวหายตนะบ้าง
ชิวหาธาตุบ้าง ชิวหินทรีย์บ้าง โลกบ้าง ทวารบ้าง สมุทรบ้าง ปัณฑระบ้าง
เขตบ้าง วัตถุบ้าง ฝั่งนี้บ้าง บ้านว่างบ้าง รูปนี้ชื่อว่าเป็นชิวหายตนะ
[๖๑๐] รูปที่เป็นชิวหายตนะ นั้นเป็นไฉน
ชิวหาใด เป็นปสาทรูป อาศัยมหาภูตรูป ๔ นับเนื่องในอัตภาพ ที่เห็นไม่ได้แต่
กระทบได้ ชิวหาใด ที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้ เคยกระทบ กำลังกระทบ จักกระทบ
หรือพึงกระทบ รสที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้ นี้ชื่อว่าชิวหาบ้าง ชิวหายตนะบ้าง
ชิวหาธาตุบ้าง ชิวหินทรีย์บ้าง โลกบ้าง ทวารบ้าง สมุทรบ้าง ปัณฑระบ้าง
เขตบ้าง วัตถุบ้าง ฝั่งนี้บ้าง บ้านว่างบ้าง รูปนี้ชื่อว่าเป็นชิวหายตนะ

เชิงอรรถ :
๑ อภิ.วิ. ๓๕/๑๕๙/๘๑

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๑๙๔ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๒. รูปกัณฑ์] รูปวิภัตติ ทุกนิทเทส ปกิณณกทุกะ อุปาทาภาชนีย์
[๖๑๑] รูปที่เป็นชิวหายตนะ นั้นเป็นไฉน
ชิวหาใด เป็นปสาทรูป อาศัยมหาภูตรูป ๔ นับเนื่องในอัตภาพ ที่เห็นไม่ได้แต่
กระทบได้ เพราะอาศัยชิวหาใด ชิวหาสัมผัสปรารภรสเป็นอารมณ์ เคยเกิด กำลัง
เกิด จักเกิด หรือพึงเกิด ฯลฯ เพราะอาศัยชิวหาใด เวทนาที่เกิดแต่ชิวหาสัมผัส
ฯลฯ สัญญา ฯลฯ เจตนา ฯลฯ ชิวหาวิญญาณ ปรารภรส เคยเกิด กำลังเกิด
จักเกิด หรือพึงเกิด ฯลฯ เพราะอาศัยชิวหาใด ชิวหาสัมผัสมีรสเป็นอารมณ์
เคยเกิด กำลังเกิด จักเกิด หรือพึงเกิด ฯลฯ เพราะอาศัยชิวหาใด เวทนาที่เกิด
แต่ชิวหาสัมผัส ฯลฯ สัญญา ฯลฯ เจตนา ฯลฯ ชิวหาวิญญาณมีรสเป็นอารมณ์
เคยเกิด กำลังเกิด จักเกิด หรือพึงเกิด นี้ชื่อว่าชิวหาบ้าง ชิวหายตนะบ้าง
ชิวหาธาตุบ้าง ชิวหินทรีย์บ้าง โลกบ้าง ทวารบ้าง สมุทรบ้าง ปัณฑระบ้าง
เขตบ้าง วัตถุบ้าง ฝั่งนี้บ้าง บ้านว่างบ้าง รูปนี้ชื่อว่าเป็นชิวหายตนะ

กายายตนะ
[๖๑๒] รูปที่เป็นกายายตนะ นั้นเป็นไฉน
กายใด เป็นปสาทรูป อาศัยมหาภูตรูป ๔ นับเนื่องในอัตภาพ ที่เห็นไม่ได้แต่
กระทบได้ สัตว์นี้เคยถูกต้อง กำลังถูกต้อง จักถูกต้อง หรือพึงถูกต้อง โผฏฐัพพะ
ที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้ด้วยกายใดที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้ นี้ชื่อว่ากายบ้าง
กายายตนะบ้าง กายธาตุบ้าง กายินทรีย์บ้าง โลกบ้าง ทวารบ้าง สมุทรบ้าง
ปัณฑระบ้าง เขตบ้าง วัตถุบ้าง ฝั่งนี้บ้าง บ้านว่างบ้าง รูปนี้ชื่อว่าเป็นกายายตนะ๑
[๖๑๓] รูปที่เป็นกายายตนะ นั้นเป็นไฉน
กายใด เป็นปสาทรูป อาศัยมหาภูตรูป ๔ นับเนื่องในอัตภาพ ที่เห็นไม่ได้แต่
กระทบได้ โผฏฐัพพะที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้ เคยกระทบ กำลังกระทบ จักกระทบ
หรือพึงกระทบที่กายใดที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้ นี้ชื่อว่ากายบ้าง กายายตนะบ้าง
กายธาตุบ้าง กายินทรีย์บ้าง โลกบ้าง ทวารบ้าง สมุทรบ้าง ปัณฑระบ้าง เขตบ้าง
วัตถุบ้าง ฝั่งนี้บ้าง บ้านว่างบ้าง รูปนี้ชื่อว่าเป็นกายายตนะ
[๖๑๔] รูปที่เป็นกายายตนะ นั้นเป็นไฉน

เชิงอรรถ :
๑ อภิ.วิ. ๓๕/๑๖๐/๘๑

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๑๙๕ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๒. รูปกัณฑ์] รูปวิภัตติ ทุกนิทเทส ปกิณณกทุกะ อุปาทาภาชนีย์
กายใด เป็นปสาทรูป อาศัยมหาภูตรูป ๔ นับเนื่องในอัตภาพ ที่เห็นไม่ได้แต่
กระทบได้ กายใดที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้ เคยกระทบ กำลังกระทบ จักกระทบ หรือ
พึงกระทบที่โผฏฐัพพะที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้ นี้ชื่อว่ากายบ้าง กายายตนะบ้าง
กายธาตุบ้าง กายินทรีย์บ้าง โลกบ้าง ทวารบ้าง สมุทรบ้าง ปัณฑระบ้าง เขตบ้าง
วัตถุบ้าง ฝั่งนี้บ้าง บ้านว่างบ้าง รูปนี้ชื่อว่าเป็นกายายตนะ
[๖๑๕] รูปที่เป็นกายายตนะ นั้นเป็นไฉน
กายใด เป็นปสาทรูป อาศัยมหาภูตรูป ๔ นับเนื่องในอัตภาพ ที่เห็นไม่ได้แต่
กระทบได้ เพราะอาศัยกายใด กายสัมผัสปรารภโผฏฐัพพะเป็นอารมณ์ เคยเกิด
กำลังเกิด จักเกิด หรือพึงเกิด ฯลฯ เพราะอาศัยกายใด เวทนาที่เกิดแต่กายสัมผัส
ฯลฯ สัญญา ฯลฯ เจตนา ฯลฯ กายวิญญาณ ปรารภโผฏฐัพพะเป็นอารมณ์
เคยเกิด กำลังเกิด จักเกิด หรือพึงเกิด ฯลฯ เพราะอาศัยกายใด กายสัมผัสมี
โผฏฐัพพะเป็นอารมณ์ เคยเกิด กำลังเกิด จักเกิด หรือพึงเกิด ฯลฯ เพราะอาศัย
กายใด เวทนาที่เกิดแต่กายสัมผัส ฯลฯ สัญญา ฯลฯ เจตนา ฯลฯ กายวิญญาณ
มีโผฏฐัพพะเป็นอารมณ์ เคยเกิด กำลังเกิด จักเกิด หรือพึงเกิด นี้ชื่อว่ากายบ้าง
กายายตนะบ้าง กายธาตุบ้าง กายินทรีย์บ้าง โลกบ้าง ทวารบ้าง สมุทรบ้าง
ปัณฑระบ้าง เขตบ้าง วัตถุบ้าง ฝั่งนี้บ้าง บ้านว่างบ้าง รูปนี้ชื่อว่าเป็นกายายตนะ

รูปายตนะ
[๖๑๖] รูปที่เป็นรูปายตนะ นั้นเป็นไฉน
รูปใดเป็นสีต่าง ๆ อาศัยมหาภูตรูป ๔ ที่เห็นได้ และกระทบได้ ได้แก่ สีเขียว
สีเหลือง สีแดง สีขาว สีดำ สีหงสบาท สีคล้ำ สีเขียวใบไม้ สีม่วง ยาว สั้น
ละเอียด หยาบ กลม รี สี่เหลี่ยม หกเหลี่ยม แปดเหลี่ยม สิบหกเหลี่ยม ลุ่ม ดอน
เงา แดด แสงสว่าง มืด เมฆ หมอก ควัน ละออง แสงจันทร์ แสงอาทิตย์ แสงดาว
แสงกระจก แสงแก้วมณี แสงสังข์ แสงแก้วมุกดา แสงแก้วไพฑูรย์ แสงทอง
แสงเงิน หรือรูปแม้อื่นใดที่เป็นสีต่าง ๆ อาศัยมหาภูตรูป ๔ ที่เห็นได้และกระทบได้
มีอยู่ สัตว์นี้เคยเห็น กำลังเห็น จักเห็น หรือพึงเห็นรูปใด ที่เห็นได้และกระทบได้ด้วย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๑๙๖ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๒. รูปกัณฑ์] รูปวิภัตติ ทุกนิทเทส ปกิณณกทุกะ อุปาทาภาชนีย์
จักษุที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้ นี้ชื่อว่ารูปบ้าง รูปายตนะบ้าง รูปธาตุบ้าง รูปนี้ชื่อว่า
เป็นรูปายตนะ๑
[๖๑๗] รูปที่เป็นรูปายตนะ นั้นเป็นไฉน
รูปใด เป็นสีต่าง ๆ อาศัยมหาภูตรูป ๔ เป็นรูปที่เห็นได้และกระทบได้ ได้แก่
สีเขียว สีเหลือง สีแดง สีขาว สีดำ สีหงสบาท สีคล้ำ สีเขียวใบไม้ สีม่วง ยาว สั้น
ละเอียด หยาบ กลม รี สี่เหลี่ยม หกเหลี่ยม แปดเหลี่ยม สิบหกเหลี่ยม ลุ่ม ดอน
เงา แดด แสงสว่าง มืด เมฆ หมอก ควัน ละออง แสงจันทร์ แสงอาทิตย์ แสงดาว
แสงกระจก แสงแก้วมณี แสงสังข์ แสงแก้วมุกดา แสงแก้วไพฑูรย์ แสงทอง
แสงเงิน หรือรูปแม้อื่นใด ที่เป็นสีต่าง ๆ อาศัยมหาภูตรูป ๔ เป็นรูปที่เห็นได้และ
กระทบได้ มีอยู่ จักษุที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้ เคยกระทบ กำลังกระทบ จักกระทบ
หรือพึงกระทบที่รูปใดซึ่งเห็นได้และกระทบได้ นี้ชื่อว่ารูปบ้าง รูปายตนะบ้าง รูปธาตุ
บ้าง รูปนี้ชื่อว่าเป็นรูปายตนะ
[๖๑๘] รูปที่เป็นรูปายตนะ นั้นเป็นไฉน
รูปใด เป็นสีต่าง ๆ อาศัยมหาภูตรูป ๔ เป็นรูปที่เห็นได้และกระทบได้ ได้แก่
สีเขียว สีเหลือง สีแดง สีขาว สีดำ สีหงสบาท สีคล้ำ สีเขียวใบไม้ สีม่วง ยาว สั้น
ละเอียด หยาบ กลม รี สี่เหลี่ยม หกเหลี่ยม แปดเหลี่ยม สิบหกเหลี่ยม ลุ่ม ดอน
เงา แดด แสงสว่าง มืด เมฆ หมอก ควัน ละออง แสงจันทร์ แสงอาทิตย์ แสงดาว
แสงกระจก แสงแก้วมณี แสงสังข์ แสงแก้วมุกดา แสงแก้วไพฑูรย์ แสงทอง
แสงเงิน หรือรูปแม้อื่น ที่เป็นสีต่าง ๆ อาศัยมหาภูตรูป ๔ เป็นรูปที่เห็นได้และกระทบ
ได้ มีอยู่ รูปใดที่เห็นได้และกระทบได้ เคยกระทบ กำลังกระทบ จักกระทบ หรือพึง
กระทบที่จักษุใดซึ่งเห็นไม่ได้แต่กระทบได้ นี้ชื่อว่ารูปบ้าง รูปายตนะบ้าง รูปธาตุบ้าง
รูปนี้ชื่อว่าเป็นรูปายตนะ
[๖๑๙] รูปที่เป็นรูปายตนะ นั้นเป็นไฉน
รูปใดที่เป็นสีต่าง ๆ อาศัยมหาภูตรูป ๔ เป็นรูปที่เห็นได้และกระทบได้ ได้แก่
สีเขียว สีเหลือง สีแดง สีขาว สีดำ สีหงสบาท สีคล้ำ สีเขียวใบไม้ สีม่วง ยาว

เชิงอรรถ :
๑ อภิ.วิ. ๓๕/๑๖๒/๘๒

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๑๙๗ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๒. รูปกัณฑ์] รูปวิภัตติ ทุกนิทเทส ปกิณณกทุกะ อุปาทาภาชนีย์
สั้น ละเอียด หยาบ กลม รี สี่เหลี่ยม หกเหลี่ยม แปดเหลี่ยม สิบหกเหลี่ยม ลุ่ม
ดอน เงา แดด แสงสว่าง มืด เมฆ หมอก ควัน ละออง แสงจันทร์ แสงอาทิตย์
แสงดาว แสงกระจก แสงแก้วมณี แสงสังข์ แสงแก้วมุกดา แสงแก้วไพฑูรย์
แสงทอง แสงเงิน หรือรูปแม้อื่นใดที่เป็นสีต่าง ๆ ซึ่งอาศัยมหาภูตรูป ๔ เป็นรูปที่
เห็นได้และกระทบได้ มีอยู่ เพราะปรารภรูปใด จักขุสัมผัสอาศัยจักษุ เคยเกิด
กำลังเกิด จักเกิด หรือพึงเกิด ฯลฯ เพราะปรารภรูปใด เวทนาที่เกิดแต่จักขุสัมผัส
ฯลฯ สัญญา ฯลฯ เจตนา ฯลฯ จักขุวิญญาณอาศัยจักษุ เคยเกิด กำลังเกิด จักเกิด
หรือพึงเกิด ฯลฯ จักขุสัมผัส มีรูปใดเป็นอารมณ์ อาศัยจักษุ เคยเกิด กำลังเกิด
จักเกิด หรือพึงเกิด ฯลฯ เวทนาที่เกิดแต่จักขุสัมผัส ฯลฯ สัญญา ฯลฯ เจตนา
ฯลฯ จักขุวิญญาณมีรูปใดเป็นอารมณ์ อาศัยจักษุ เคยเกิด กำลังเกิด จักเกิด หรือ
พึงเกิด นี้ชื่อว่ารูปบ้าง รูปายตนะบ้าง รูปธาตุบ้าง รูปนี้ชื่อว่าเป็นรูปายตนะ

สัททายตนะ
[๖๒๐] รูปที่เป็นสัททายตนะ นั้นเป็นไฉน
เสียงใด อาศัยมหาภูตรูป ๔ เป็นเสียงที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้ ได้แก่ เสียง
กลอง เสียงตะโพน เสียงสังข์ เสียงบัณเฑาะว์ เสียงขับร้อง เสียงประโคม เสียง
กรับ เสียงปรบมือ เสียงร้องของสัตว์ เสียงกระทบกันแห่งธาตุ เสียงลม เสียงน้ำ
เสียงมนุษย์ เสียงอมนุษย์ หรือเสียงแม้อื่นใดอาศัยมหาภูตรูป ๔ ที่เห็นไม่ได้แต่
กระทบได้ มีอยู่ สัตว์นี้ เคยฟัง กำลังฟัง จักฟัง หรือพึงฟังเสียงใดที่เห็นไม่ได้แต่
กระทบได้ด้วยโสตปสาทที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้ นี้ชื่อว่าสัททะบ้าง สัททายตนะบ้าง
สัททธาตุบ้าง รูปนี้ชื่อว่าเป็นสัททายตนะ๑
[๖๒๑] รูปที่เป็นสัททายตนะ นั้นเป็นไฉน
เสียงใด อาศัยมหาภูตรูป ๔ เป็นเสียงที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้ ได้แก่ เสียง
กลอง เสียงตะโพน เสียงสังข์ เสียงบัณเฑาะว์ เสียงขับร้อง เสียงประโคม เสียง
กรับ เสียงปรบมือ เสียงร้องของสัตว์ เสียงกระทบกันของธาตุ เสียงลม เสียงน้ำ

เชิงอรรถ :
๑ อภิ.วิ. ๓๕/๑๖๓/๘๓

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๑๙๘ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๒. รูปกัณฑ์] รูปวิภัตติ ทุกนิทเทส ปกิณณกทุกะ อุปาทาภาชนีย์
เสียงมนุษย์ เสียงอมนุษย์ หรือเสียงแม้อื่นใดอาศัยมหาภูตรูป ๔ ที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้
มีอยู่ โสตปสาทที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้ เคยกระทบ กำลังกระทบ จักกระทบ หรือ
พึงกระทบที่เสียงใดที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้ นี้ชื่อว่าสัททะบ้าง สัททายตนะบ้าง
สัททธาตุบ้าง รูปนี้ชื่อว่าเป็นสัททายตนะ
[๖๒๒] รูปที่เป็นสัททายตนะ นั้นเป็นไฉน
เสียงใด อาศัยมหาภูตรูป ๔ ที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้ ได้แก่ เสียงกลอง เสียง
ตะโพน เสียงสังข์ เสียงบัณเฑาะว์ เสียงขับร้อง เสียงประโคม เสียงกรับ เสียง
ปรบมือ เสียงร้องของสัตว์ เสียงกระทบกันของธาตุ เสียงลม เสียงน้ำ เสียงมนุษย์
เสียงอมนุษย์ หรือเสียงแม้อื่นใดอาศัยมหาภูตรูป ๔ ที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้ มีอยู่
เสียงใดที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้ เคยกระทบ กำลังกระทบ จักกระทบ หรือพึงกระทบ
ที่โสตปสาทที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้ นี้ชื่อว่าสัททะบ้าง สัททายตนะบ้าง สัททธาตุบ้าง
รูปนี้ชื่อว่าเป็นสัททายตนะ
[๖๒๓] รูปที่เป็นสัททายตนะ นั้นเป็นไฉน
เสียงใด อาศัยมหาภูตรูป ๔ เป็นเสียงที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้ ได้แก่ เสียงกลอง
เสียงตะโพน เสียงสังข์ เสียงบัณเฑาะว์ เสียงขับร้อง เสียงประโคม เสียงกรับ เสียง
ปรบมือ เสียงร้องของสัตว์ เสียงกระทบกันของธาตุ เสียงลม เสียงน้ำ เสียงมนุษย์
เสียงอมนุษย์ หรือเสียงแม้อื่นใดอาศัยมหาภูตรูป ๔ ที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้ มีอยู่
เพราะปรารภเสียงใด โสตสัมผัสอาศัยโสตปสาท เคยเกิด กำลังเกิด จักเกิด หรือ
พึงเกิด ฯลฯ เพราะปรารภเสียงใด เวทนาที่เกิดแต่โสตสัมผัส ฯลฯ สัญญา ฯลฯ
เจตนา ฯลฯ โสตวิญญาณอาศัยโสตปสาท เคยเกิด กำลังเกิด จักเกิด หรือ
พึงเกิด ฯลฯ โสตสัมผัสมีเสียงใดเป็นอารมณ์ อาศัยโสตปสาท เคยเกิด กำลังเกิด
จักเกิด หรือพึงเกิด ฯลฯ เวทนา ที่เกิดแต่โสตสัมผัส ฯลฯ สัญญา ฯลฯ เจตนา
ฯลฯ โสตวิญญาณมีเสียงใดเป็นอารมณ์ อาศัยโสตปสาท เคยเกิด กำลังเกิด จักเกิด
หรือพึงเกิด นี้ชื่อว่าสัททะบ้าง สัททายตนะบ้าง สัททธาตุบ้าง รูปนี้ชื่อว่าเป็น
สัททายตนะ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๑๙๙ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๒. รูปกัณฑ์] รูปวิภัตติ ทุกนิทเทส ปกิณณกทุกะ อุปาทาภาชนีย์
คันธายตนะ
[๖๒๔] รูปที่เป็นคันธายตนะ นั้นเป็นไฉน
กลิ่นใด อาศัยมหาภูตรูป ๔ เป็นกลิ่นที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้ ได้แก่ กลิ่นรากไม้
กลิ่นแก่นไม้ กลิ่นเปลือกไม้ กลิ่นใบไม้ กลิ่นดอกไม้ กลิ่นผลไม้ กลิ่นบูด กลิ่นเน่า
กลิ่นหอม กลิ่นเหม็น หรือกลิ่นแม้อื่นใดซึ่งอาศัยมหาภูตรูป ๔ ที่เห็นไม่ได้แต่กระทบ
ได้ มีอยู่ สัตว์นี้เคยดม กำลังดม จักดม หรือพึงดมกลิ่นใดที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้
ด้วยฆานปสาทที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้ นี้ชื่อว่าคันธะบ้าง คันธายตนะบ้าง คันธธาตุ
บ้าง รูปนี้ชื่อว่าเป็นคันธายตนะ๑
[๖๒๕] รูปที่เป็นคันธายตนะ นั้นเป็นไฉน
กลิ่นใด อาศัยมหาภูตรูป ๔ เป็นกลิ่นที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้ ได้แก่ กลิ่นรากไม้
กลิ่นแก่นไม้ กลิ่นเปลือกไม้ กลิ่นใบไม้ กลิ่นดอกไม้ กลิ่นผลไม้ กลิ่นบูด กลิ่นเน่า
กลิ่นหอม กลิ่นเหม็น หรือกลิ่นแม้อื่นใดซึ่งอาศัยมหาภูตรูป ๔ ที่เห็นไม่ได้แต่กระทบ
ได้ มีอยู่ ฆานปสาทที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้ เคยกระทบ กำลังกระทบ จักกระทบ
หรือพึงกระทบที่กลิ่นใดที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้ นี้ชื่อว่าคันธะบ้าง คันธายตนะบ้าง
คันธธาตุบ้าง รูปนี้ชื่อว่าเป็นคันธายตนะ
[๖๒๖] รูปที่เป็นคันธายตนะ นั้นเป็นไฉน
กลิ่นใด อาศัยมหาภูตรูป ๔ เป็นกลิ่นที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้ ได้แก่ กลิ่น
รากไม้ กลิ่นแก่นไม้ กลิ่นเปลือกไม้ กลิ่นใบไม้ กลิ่นดอกไม้ กลิ่นผลไม้ กลิ่นบูด กลิ่น
เน่า กลิ่นหอม กลิ่นเหม็น หรือกลิ่นแม้อื่นใด ซึ่งอาศัยมหาภูตรูป ๔ ที่เห็นไม่ได้แต่
กระทบได้ มีอยู่ กลิ่นใดที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้ เคยกระทบ กำลังกระทบ จักกระทบ
หรือพึงกระทบที่ฆานปสาทซึ่งเห็นไม่ได้แต่กระทบได้ นี้ชื่อว่าคันธะบ้าง คันธายตนะ
บ้าง คันธธาตุบ้าง รูปนี้ชื่อว่าเป็นคันธายตนะ
[๖๒๗] รูปที่เป็นคันธายตนะ นั้นเป็นไฉน
กลิ่นใด อาศัยมหาภูตรูป ๔ เป็นกลิ่นที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้ ได้แก่ กลิ่น
รากไม้ กลิ่นแก่นไม้ กลิ่นเปลือกไม้ กลิ่นใบไม้ กลิ่นดอกไม้ กลิ่นผลไม้ กลิ่นบูด กลิ่น

เชิงอรรถ :
๑ อภิ.วิ. ๓๕/๑๖๔/๘๓

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๒๐๐ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๒. รูปกัณฑ์] รูปวิภัตติ ทุกนิทเทส ปกิณณกทุกะ อุปาทาภาชนีย์
เน่า กลิ่นหอม กลิ่นเหม็น หรือกลิ่นแม้อื่นใด อาศัยมหาภูตรูป ๔ ที่เห็นไม่ได้แต่
กระทบได้ มีอยู่ เพราะปรารภกลิ่นใด ฆานสัมผัสอาศัยฆานปสาท เคยเกิด กำลัง
เกิด จักเกิด หรือพึงเกิด ฯลฯ เพราะปรารภกลิ่นใด เวทนาที่เกิดแต่ฆานสัมผัส
ฯลฯ สัญญา ฯลฯ เจตนา ฯลฯ ฆานวิญญาณอาศัยฆานปสาท เคยเกิด กำลังเกิด
จักเกิด หรือพึงเกิด ฯลฯ ฆานสัมผัส มีกลิ่นใดเป็นอารมณ์ อาศัยฆานปสาท
เคยเกิด กำลังเกิด จักเกิด หรือพึงเกิด ฯลฯ เวทนาที่เกิดแต่ฆานสัมผัส ฯลฯ
สัญญา ฯลฯ เจตนา ฯลฯ ฆานวิญญาณมีกลิ่นใดเป็นอารมณ์ อาศัยฆานปสาท
เคยเกิด กำลังเกิด จักเกิด หรือพึงเกิด นี้ชื่อว่าคันธะบ้าง คันธายตนะบ้าง
คันธธาตุบ้าง รูปนี้ชื่อว่าเป็นคันธายตนะ
รสายตนะ
[๖๒๘] รูปที่เป็นรสายตนะ นั้นเป็นไฉน
รสใด อาศัยมหาภูตรูป ๔ เป็นรสที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้ ได้แก่ รสรากไม้ รส
ลำต้น รสเปลือกไม้ รสใบไม้ รสดอกไม้ รสผลไม้ รสเปรี้ยว หวาน ขม เผ็ด เค็ม ขื่น
เฝื่อน ฝาด อร่อย ไม่อร่อย หรือรสแม้อื่นใด อาศัยมหาภูตรูป ๔ ที่เห็นไม่ได้แต่
กระทบได้ มีอยู่ สัตว์นี้เคยลิ้ม กำลังลิ้ม จักลิ้ม หรือพึงลิ้มรสใดที่เห็นไม่ได้แต่
กระทบได้ด้วยชิวหาปสาทที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้ นี้ชื่อว่ารสบ้าง รสายตนะบ้าง
รสธาตุบ้าง รูปนี้ชื่อว่าเป็นรสายตนะ๑
[๖๒๙] รูปที่เป็นรสายตนะ นั้นเป็นไฉน
รสใด อาศัยมหาภูตรูป ๔ เป็นรสที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้ ได้แก่ รสรากไม้
รสลำต้น รสเปลือกไม้ รสใบไม้ รสดอกไม้ รสผลไม้ รสเปรี้ยว หวาน ขม เผ็ด เค็ม
ขื่น เฝื่อน ฝาด อร่อย ไม่อร่อย หรือรสแม้อื่นใด อาศัยมหาภูตรูป ๔ ที่เห็นไม่ได้
แต่กระทบได้ มีอยู่ ชิวหาปสาทที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้ เคยกระทบ กำลังกระทบ
จักกระทบ หรือพึงกระทบที่รสใดที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้ นี้ชื่อว่ารสบ้าง รสายตนะ
บ้าง รสธาตุบ้าง รูปนี้ชื่อว่าเป็นรสายตนะ

เชิงอรรถ :
๑ อภิ.วิ. ๓๕/๑๖๕/๘๔

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๒๐๑ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๒. รูปกัณฑ์] รูปวิภัตติ ทุกนิทเทส ปกิณณกทุกะ อุปาทาภาชนีย์
[๖๓๐] รูปที่เป็นรสายตนะ นั้นเป็นไฉน
รสใด อาศัยมหาภูตรูป ๔ เป็นรสที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้ ได้แก่ รสรากไม้
รสลำต้น รสเปลือกไม้ รสใบไม้ รสดอกไม้ รสผลไม้ รสเปรี้ยว หวาน ขม เผ็ด
เค็ม ขื่น เฝื่อน ฝาด อร่อย ไม่อร่อย หรือรสแม้อื่นใดอาศัยมหาภูตรูป ๔ ที่เห็น
ไม่ได้แต่กระทบได้ มีอยู่ รสใดที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้ เคยกระทบ กำลังกระทบ
จักกระทบ หรือพึงกระทบที่ชิวหาปสาทซึ่งเห็นไม่ได้แต่กระทบได้ นี้ชื่อว่ารสบ้าง
รสายตนะบ้าง รสธาตุบ้าง รูปนี้ชื่อว่าเป็นรสายตนะ
[๖๓๑] รูปที่เป็นรสายตนะ นั้นเป็นไฉน
รสใด อาศัยมหาภูตรูป ๔ เป็นรสที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้ ได้แก่ รสรากไม้
รสลำต้น รสเปลือกไม้ รสใบไม้ รสดอกไม้ รสผลไม้ รสเปรี้ยว หวาน ขม เผ็ด เค็ม
ขื่น เฝื่อน ฝาด อร่อย ไม่อร่อย หรือรสแม้อื่นใดซึ่งอาศัยมหาภูตรูป ๔ ที่เห็นไม่ได้
แต่กระทบได้ มีอยู่ เพราะปรารภรสใด ชิวหาสัมผัสอาศัยชิวหาปสาท เคยเกิด กำลัง
เกิด จักเกิด หรือพึงเกิด ฯลฯ เพราะปรารภรสใด เวทนาที่เกิดแต่ชิวหาสัมผัส ฯลฯ
สัญญา ฯลฯ เจตนา ฯลฯ ชิวหาวิญญาณ อาศัยชิวหาปสาท เคยเกิด กำลังเกิด
จักเกิด หรือพึงเกิด ฯลฯ ชิวหาสัมผัสมีรสใดเป็นอารมณ์ อาศัยชิวหาปสาท เคยเกิด
กำลังเกิด จักเกิด หรือพึงเกิด ฯลฯ เวทนาที่เกิดแต่ชิวหาสัมผัส ฯลฯ สัญญา ฯลฯ
เจตนา ฯลฯ ชิวหาวิญญาณ มีรสใดเป็นอารมณ์ อาศัยชิวหาปสาท เคยเกิด กำลัง
เกิด จักเกิด หรือพึงเกิด นี้ชื่อว่ารสบ้าง รสายตนะบ้าง รสธาตุบ้าง รูปนี้ชื่อว่า
เป็นรสายตนะ
อิตถินทรีย์
[๖๓๒] รูปที่เป็นอิตถินทรีย์ นั้นเป็นไฉน
ทรวดทรงหญิง เครื่องหมายประจำเพศหญิง กิริยาหญิง อาการหญิง สภาพ
หญิง ภาวะหญิง ของสตรี รูปนี้ชื่อว่าเป็นอิตถินทรีย์๑

เชิงอรรถ :
๑ อภิ.วิ. ๓๕/๒๒๐/๑๔๖

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๒๐๒ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๒. รูปกัณฑ์] รูปวิภัตติ ทุกนิทเทส ปกิณณกทุกะ อุปาทาภาชนีย์
ปุริสินทรีย์
[๖๓๓] รูปที่เป็นปุริสินทรีย์ นั้นเป็นไฉน
ทรวดทรงชาย เครื่องหมายประจำเพศชาย กิริยาชาย อาการชาย สภาพ
ชาย ภาวะชาย ของบุรุษ รูปนี้ชื่อว่าเป็นปุริสินทรีย์๑
ชีวิตินทรีย์
[๖๓๔] รูปที่เป็นชีวิตินทรีย์ นั้นเป็นไฉน
อายุ ความดำรงอยู่ ความเป็นไป กิริยาที่ให้เป็นไป อาการที่สืบเนื่องกัน
ความดำเนินไป ความหล่อเลี้ยง ชีวิต ชีวิตินทรีย์แห่งสภาวธรรมที่เป็นรูปเหล่านั้น
รูปนี้ชื่อว่าเป็นชีวิตินทรีย์๑
กายวิญญัติ
[๖๓๕] รูปที่เป็นกายวิญญัติ นั้นเป็นไฉน
ความเข้มแข็ง กิริยาที่เข้มแข็งด้วยดี ภาวะที่เข้มแข็งด้วยดี การแสดงให้รู้ความ
หมาย กิริยาที่แสดงให้รู้ความหมาย ภาวะที่แสดงให้รู้ความหมายแห่งกายของ
บุคคลผู้มีจิตเป็นกุศล มีจิตเป็นอกุศล มีจิตเป็นอัพยากฤต ก้าวไปอยู่ ถอยกลับ
อยู่ แลดูอยู่ เหลียวดูอยู่ คู้เข้าอยู่ หรือเหยียดออกอยู่ รูปนี้ชื่อว่าเป็น
กายวิญญัติ
วจีวิญญัติ
[๖๓๖] รูปที่เป็นวจีวิญญัติ นั้นเป็นไฉน
การพูด การเปล่งวาจา การเจรจา การกล่าว การป่าวร้อง การโฆษณา
วาจา วจีเภท แห่งบุคคลผู้มีจิตเป็นกุศล มีจิตเป็นอกุศล มีจิตเป็นอัพยากฤต นี้
เรียกว่า วาจา การแสดงให้รู้ความหมาย กิริยาที่แสดงให้รู้ความหมาย ภาวะที่
แสดงให้รู้ความหมายด้วยวาจานั้น รูปนี้ชื่อว่าเป็นวจีวิญญัติ

เชิงอรรถ :
๑ อภิ.วิ. ๓๕/๒๒๐/๑๔๖

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๒๐๓ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๒. รูปกัณฑ์] รูปวิภัตติ ทุกนิทเทส ปกิณณกทุกะ อุปาทาภาชนีย์
อากาสธาตุ
[๖๓๗] รูปที่เป็นอากาสธาตุ นั้นเป็นไฉน
อากาศ ธรรมชาติที่นับว่าอากาศ ความว่างเปล่า ธรรมชาติที่นับว่าความว่าง
เปล่า ช่องว่าง ธรรมชาติที่นับว่าช่องว่าง ซึ่งมหาภูตรูป ๔ ถูกต้องไม่ได้ รูปนี้ชื่อว่า
เป็นอากาสธาตุ
ลหุตารูป
[๖๓๘] รูปที่เป็นลหุตารูป นั้นเป็นไฉน
ความเบา ความรวดเร็ว ความไม่เชื่องช้า ความไม่หนักแห่งรูป รูปนี้ชื่อว่าเป็น
ลหุตารูป
มุทุตารูป
[๖๓๙] รูปที่เป็นมุทุตารูป นั้นเป็นไฉน
ความอ่อน ภาวะที่อ่อน ความไม่แข็ง ความไม่กระด้างแห่งรูป รูปนี้ชื่อว่าเป็น
มุทุตารูป
กัมมัญญตารูป
[๖๔๐] รูปที่เป็นกัมมัญญตารูป นั้นเป็นไฉน
ความควรแก่การงาน กิริยาที่ควรแก่การงาน ภาวะที่ควรแก่การงานแห่งรูป
รูปนี้ชื่อว่าเป็นกัมมัญญตารูป
อุปจยรูป
[๖๔๑] รูปที่เป็นอุปจยรูป นั้นเป็นไฉน
ความแรกเกิดแห่งอายตนะ นั้นเป็นความเกิดขึ้นแห่งรูป รูปนี้ชื่อว่าเป็น
อุปจยรูป

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๒๐๔ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๒. รูปกัณฑ์] รูปวิภัตติ ทุกนิทเทส ปกิณณกทุกะ อุปาทาภาชนีย์
สันตติรูป
[๖๔๒] รูปที่เป็นสันตติรูป นั้นเป็นไฉน
ความเจริญแห่งรูป นั้นเป็นความสืบต่อแห่งรูป รูปนี้ชื่อว่าเป็นสันตติรูป
ชรตารูป
[๖๔๓] รูปที่เป็นชรตารูป นั้นเป็นไฉน
ความชรา ความคร่ำคร่า ความมีฟันหลุด ความมีผมหงอก ความมีหนังเหี่ยว
ความเสื่อมอายุ ความหง่อมแห่งอินทรีย์แห่งรูป รูปนี้ชื่อว่าเป็นชรตารูป
อนิจจตารูป
[๖๔๔] รูปที่เป็นอนิจจตารูป นั้นเป็นไฉน
ความสิ้นไป ความเสื่อมไป ความแตก ความทำลาย ความไม่เที่ยง
ความอันตรธานแห่งรูป รูปนี้ชื่อว่าเป็นอนิจจตารูป
กวฬิงการาหารรูป
[๖๔๕] รูปที่เป็นกวฬิงการาหาร นั้นเป็นไฉน
ข้าวสุก ขนมสด ขนมแห้ง ปลา เนื้อ นมสด นมส้ม เนยใส เนยข้น น้ำมัน
น้ำผึ้ง น้ำอ้อย หรือรูปแม้อื่น มีอยู่ ที่พึงกินทางปาก ขบเคี้ยว กลืนกิน อิ่มท้อง
ซึ่งมีโอชาเป็นเหตุให้สัตว์ในสถานที่นั้น ๆ ดำรงชีพอยู่ได้ รูปนี้ชื่อว่าเป็นกวฬิง-
การาหาร
รูปนี้ชื่อว่าเป็นอุปาทายรูป
อุปาทาภาชนีย์ จบ
ปฐมภาณวารในรูปกัณฑ์ จบ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๒๐๕ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๒. รูปกัณฑ์] รูปวิภัตติ ทุกนิทเทส ปกิณณกทุกะ
อนุปาทารูป
[๖๔๖] รูปที่ไม่เป็นอุปาทายรูป นั้นเป็นไฉน
โผฏฐัพพายตนะ และอาโปธาตุ
โผฏฐัพพายตนะ
[๖๔๗] รูปที่เป็นโผฏฐัพพายตนะ นั้นเป็นไฉน
ปฐวีธาตุ เตโชธาตุ วาโยธาตุ ที่แข็ง อ่อน ละเอียด หยาบ มีสัมผัสเป็นสุข
มีสัมผัสเป็นทุกข์ หนัก เบา สัตว์นี้เคยถูกต้อง กำลังถูกต้อง จักถูกต้อง หรือพึง
ถูกต้องโผฏฐัพพะใด ที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้ด้วยกายปสาทที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้
นี้ชื่อว่าโผฏฐัพพะบ้าง โผฏฐัพพายตนะบ้าง โผฏฐัพพธาตุบ้าง รูปนี้ชื่อว่าเป็น
โผฏฐัพพายตนะ๑
[๖๔๘] รูปที่เป็นโผฏฐัพพายตนะ นั้นเป็นไฉน
ปฐวีธาตุ เตโชธาตุ วาโยธาตุ ที่แข็ง อ่อน ละเอียด หยาบ มีสัมผัสเป็นสุข มี
สัมผัสเป็นทุกข์ หนัก เบา กายที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้ เคยกระทบ กำลังกระทบ
จักกระทบ หรือพึงกระทบ ที่โผฏฐัพพะใดที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้ นี้ชื่อว่าโผฏฐัพพะ
บ้าง โผฏฐัพพายตนะบ้าง โผฏฐัพพธาตุบ้าง รูปนี้ชื่อว่าเป็นโผฏฐัพพายตนะ
[๖๔๙] รูปที่เป็นโผฏฐัพพายตนะ นั้นเป็นไฉน
ปฐวีธาตุ เตโชธาตุ วาโยธาตุ ที่แข็ง อ่อน ละเอียด หยาบ มีสัมผัสเป็นสุข มี
สัมผัสเป็นทุกข์ หนัก เบา โผฏฐัพพะใดที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้ เคยกระทบ
กำลังกระทบ จักกระทบ หรือพึงกระทบที่กายปสาทที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้ นี้
ชื่อว่าโผฏฐัพพะบ้าง โผฏฐัพพายตนะบ้าง โผฏฐัพพธาตุบ้าง รูปนี้ชื่อว่าเป็น
โผฏฐัพพายตนะ
[๖๕๐] รูปที่เป็นโผฏฐัพพายตนะ นั้นเป็นไฉน
ปฐวีธาตุ เตโชธาตุ วาโยธาตุ ที่แข็ง อ่อน ละเอียด หยาบ มีสัมผัสเป็นสุข มี
สัมผัสเป็นทุกข์ หนัก เบา เพราะปรารภโผฏฐัพพะใด กายสัมผัสอาศัยกายปสาทรูป

เชิงอรรถ :
๑ อภิ.วิ. ๓๕/๑๖๖/๘๔

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๒๐๖ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๒. รูปกัณฑ์] รูปวิภัตติ ทุกนิทเทส ปกิณณกทุกะ
เคยเกิด กำลังเกิด จักเกิด หรือพึงเกิด ฯลฯ เพราะปรารภโผฏฐัพพะใด เวทนาที่
เกิดแต่กายสัมผัส ฯลฯ สัญญา ฯลฯ เจตนา ฯลฯ กายวิญญาณ อาศัยกายปสาท
เคยเกิด กำลังเกิด จักเกิด หรือพึงเกิด ฯลฯ กายสัมผัสมีโผฏฐัพพะใดเป็นอารมณ์
อาศัยกายปสาท เคยเกิด กำลังเกิด จักเกิด หรือพึงเกิด ฯลฯ เวทนาที่เกิดแต่กาย
สัมผัส ฯลฯ สัญญา ฯลฯ เจตนา ฯลฯ กายวิญญาณมีโผฏฐัพพะใดเป็นอารมณ์
อาศัยกายปสาท เคยเกิด กำลังเกิด จักเกิด หรือพึงเกิด นี้ชื่อว่าโผฏฐัพพะบ้าง
โผฏฐัพพายตนะบ้าง โผฏฐัพพธาตุบ้าง รูปนี้ชื่อว่าเป็นโผฏฐัพพายตนะ
อาโปธาตุ
[๖๕๑] รูปที่เป็นอาโปธาตุ นั้นเป็นไฉน
ความเอิบอาบ ธรรมชาติที่เอิบอาบ ความเหนียว ธรรมชาติที่เหนียว
ธรรมชาติเป็นเครื่องเกาะกุมรูป รูปนี้ชื่อว่าเป็นอาโปธาตุ
รูปนี้ชื่อว่าไม่เป็นอุปาทายรูป
อุปาทินนรูป
[๖๕๒] รูปที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือ นั้นเป็นไฉน
จักขายตนะ โสตายตนะ ฆานายตนะ ชิวหายตนะ กายายตนะ อิตถินทรีย์
ปุริสินทรีย์ และชีวิตินทรีย์ หรือรูปแม้อื่น มีอยู่ ได้แก่ รูปายตนะ คันธายตนะ
รสายตนะ โผฏฐัพพายตนะ อากาสธาตุ อาโปธาตุ อุปจยรูป สันตติรูป และ
กวฬิงการาหาร อันกรรมแต่งขึ้น รูปนี้ชื่อว่ากรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิ
ยึดถือ
อนุปาทินนรูป
[๖๕๓] รูปที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือ นั้นเป็นไฉน
สัททายตนะ กายวิญญัติ วจีวิญญัติ ลหุตารูป มุทุตารูป กัมมัญญตารูป
ชรตารูป และอนิจจตารูป หรือรูปแม้อื่น มีอยู่ ได้แก่ รูปายตนะ คันธายตนะ
รสายตนะ โผฏฐัพพายตนะ อากาสธาตุ อาโปธาตุ อุปจยรูป สันตติรูป และ
กวฬิงการาหาร อันกรรมไม่ได้แต่งขึ้น รูปนี้ชื่อว่ากรรมอันประกอบด้วยตัณหาและ
ทิฏฐิไม่ยึดถือ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๒๐๗ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๒. รูปกัณฑ์] รูปวิภัตติ ทุกนิทเทส ปกิณณกทุกะ
อุปาทินนุปาทานิยรูป
[๖๕๔] รูปที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาทิฏฐิยึดถือและเป็นอารมณ์ของ
อุปาทาน นั้นเป็นไฉน
จักขายตนะ ฯลฯ กายายตนะ อิตถินทรีย์ ปุริสินทรีย์ และชีวิตินทรีย์
หรือรูปแม้อื่น มีอยู่ ได้แก่ รูปายตนะ คันธายตนะ รสายตนะ โผฏฐัพพายตนะ
อากาสธาตุ อาโปธาตุ อุปจยรูป สันตติรูป และกวฬิงการาหาร อันกรรมแต่งขึ้น
รูปนี้ชื่อว่ากรรมอันประกอบด้วยตัณหาทิฏฐิยึดถือและเป็นอารมณ์ของอุปาทาน
อนุปาทินนุปาทานิยรูป
[๖๕๕] รูปที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือแต่เป็นอารมณ์
ของอุปาทาน นั้นเป็นไฉน
สัททายตนะ กายวิญญัติ วจีวิญญัติ ลหุตารูป มุทุตารูป กัมมัญญตารูป
ชรตารูป และอนิจจตารูป หรือรูปแม้อื่น มีอยู่ ได้แก่ รูปายตนะ คันธายตนะ
รสายตนะ โผฏฐัพพายตนะ อากาสธาตุ อาโปธาตุ อุปจยรูป สันตติรูป และ
กวฬิงการาหาร (อาหารคือคำข้าว) อันกรรมไม่ได้แต่งขึ้น รูปนี้ชื่อว่ากรรมอัน
ประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือแต่เป็นอารมณ์ของอุปาทาน
สนิทัสสนรูป
[๖๕๖] รูปที่เห็นได้ นั้นเป็นไฉน
รูปายตนะ รูปนี้ชื่อว่าเห็นได้
อนิทัสสนรูป
[๖๕๗] รูปที่เห็นไม่ได้ นั้นเป็นไฉน
จักขายตนะ ฯลฯ กวฬิงการาหาร รูปนี้ชื่อว่าเห็นไม่ได้
สัปปฏิฆรูป
[๖๕๘] รูปที่กระทบได้ นั้นเป็นไฉน


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๒๐๘ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๒. รูปกัณฑ์] รูปวิภัตติ ทุกนิทเทส ปกิณณกทุกะ
จักขายตนะ โสตายตนะ ฆานายตนะ ชิวหายตนะ กายายตนะ รูปายตนะ
สัททายตนะ คันธายตนะ รสายตนะ และโผฏฐัพพายตนะ รูปนี้ชื่อว่ากระทบได้
อัปปฏิฆรูป
[๖๕๙] รูปที่กระทบไม่ได้ นั้นเป็นไฉน
อิตถินทรีย์ ฯลฯ กวฬิงการาหาร รูปนี้ชื่อว่ากระทบไม่ได้
อินทริยรูป
[๖๖๐] รูปที่เป็นอินทรีย์ นั้นเป็นไฉน
จักขุนทรีย์ โสตินทรีย์ ฆานินทรีย์ ชิวหินทรีย์ กายินทรีย์ อิตถินทรีย์
ปุริสินทรีย์ และชีวิตินทรีย์ รูปนี้ชื่อว่าเป็นอินทรีย์
อนินทริยรูป
[๖๖๑] รูปที่ไม่เป็นอินทรีย์ นั้นเป็นไฉน
รูปายตนะ ฯลฯ กวฬิงการาหาร รูปนี้ชื่อว่าไม่เป็นอินทรีย์
มหาภูตรูป
[๖๖๒] รูปที่เป็นมหาภูตรูป นั้นเป็นไฉน
โผฏฐัพพายตนะ และอาโปธาตุ รูปนี้ชื่อว่าเป็นมหาภูตรูป
นมหาภูตรูป
[๖๖๓] รูปที่ไม่เป็นมหาภูตรูป นั้นเป็นไฉน
จักขายตนะ ฯลฯ กวฬิงการาหาร รูปนี้ชื่อว่าไม่เป็นมหาภูตรูป
วิญญัตติรูป
[๖๖๔] รูปที่เป็นวิญญัตติรูป นั้นเป็นไฉน
กายวิญญัติ และวจีวิญญัติ รูปนี้ชื่อว่าเป็นวิญญัตติรูป


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๒๐๙ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๒. รูปกัณฑ์] รูปวิภัตติ ทุกนิทเทส ปกิณณกทุกะ
นวิญญัตติรูป
[๖๖๕] รูปที่ไม่เป็นวิญญัตติรูป นั้นเป็นไฉน
จักขายตนะ ฯลฯ กวฬิงการาหาร รูปนี้ชื่อว่าไม่เป็นวิญญัตติรูป
จิตตสมุฏฐานรูป
[๖๖๖] รูปที่มีจิตเป็นสมุฏฐาน นั้นเป็นไฉน
กายวิญญัติ และวจีวิญญัติ หรือรูปแม้อื่น มีอยู่ ที่เกิดแต่จิต มีจิตเป็นเหตุ
มีจิตเป็นสมุฏฐาน ได้แก่ รูปายตนะ สัททายตนะ คันธายตนะ รสายตนะ
โผฏฐัพพายตนะ อากาสธาตุ อาโปธาตุ ลหุตารูป มุทุตารูป กัมมัญญตารูป
อุปจยรูป สันตติรูป และกวฬิงการาหาร รูปนี้ชื่อว่ามีจิตเป็นสมุฏฐาน
นจิตตสมุฏฐานรูป
[๖๖๗] รูปที่ไม่มีจิตเป็นสมุฏฐาน นั้นเป็นไฉน
จักขายตนะ ฯลฯ กายายตนะ อิตถินทรีย์ ปุริสินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ ชรตารูป
และอนิจจตารูป หรือรูปแม้อื่น มีอยู่ ที่ไม่เกิดจากจิต ไม่มีจิตเป็นเหตุ ไม่มีจิตเป็น
สมุฏฐาน ได้แก่ รูปายตนะ สัททายตนะ คันธายตนะ รสายตนะ โผฏฐัพพายตนะ
อากาสธาตุ อาโปธาตุ ลหุตารูป มุทุตารูป กัมมัญญตารูป อุปจยรูป สันตติรูป
และกวฬิงการาหาร รูปนี้ชื่อว่าไม่มีจิตเป็นสมุฏฐาน
จิตตสหภูรูป
[๖๖๘] รูปที่เกิดพร้อมกับจิต นั้นเป็นไฉน
กายวิญญัติ และวจีวิญญัติ รูปนี้ชื่อว่าเกิดพร้อมกับจิต
นจิตตสหภูรูป
[๖๖๙] รูปที่ไม่เกิดพร้อมกับจิต นั้นเป็นไฉน
จักขายตนะ ฯลฯ กวฬิงการาหาร รูปนี้ชื่อว่าไม่เกิดพร้อมกับจิต


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๒๑๐ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๒. รูปกัณฑ์] รูปวิภัตติ ทุกนิทเทส ปกิณณกทุกะ
จิตตานุปริวัตติรูป
[๖๗๐] รูปที่เป็นไปตามจิต นั้นเป็นไฉน
กายวิญญัติ และวจีวิญญัติ รูปนี้ชื่อว่าเป็นไปตามจิต
นจิตตานุปริวัตติรูป
[๖๗๑] รูปที่ไม่เป็นไปตามจิต นั้นเป็นไฉน
จักขายตนะ ฯลฯ กวฬิงการาหาร รูปนี้ชื่อว่าไม่เป็นไปตามจิต
อัชฌัตติกรูป
[๖๗๒] รูปที่เป็นภายใน นั้นเป็นไฉน
จักขายตนะ ฯลฯ กายายตนะ รูปนี้ชื่อว่าเป็นภายใน
พาหิรรูป
[๖๗๓] รูปที่เป็นภายนอก นั้นเป็นไฉน
รูปายตนะ ฯลฯ กวฬิงการาหารรูป รูปนี้ชื่อว่าเป็นภายนอก
โอฬาริกรูป
[๖๗๔] รูปหยาบ นั้นเป็นไฉน
จักขายตนะ ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะ รูปนี้ชื่อว่ารูปหยาบ
สุขุมรูป
[๖๗๕] รูปละเอียด นั้นเป็นไฉน
อิตถินทรีย์ ฯลฯ กวฬิงการาหาร รูปนี้ชื่อว่ารูปละเอียด
ทูเรรูป
[๖๗๖] รูปไกล นั้นเป็นไฉน
อิตถินทรีย์ ฯลฯ กวฬิงการาหาร รูปนี้ชื่อว่ารูปไกล


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๒๑๑ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๒. รูปกัณฑ์] รูปวิภัตติ ทุกนิทเทส วัตถุทุกะ
สัตติเกรูป
[๖๗๗] รูปใกล้ นั้นเป็นไฉน
จักขายตนะ ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะ รูปนี้ชื่อว่ารูปใกล้
ปกิณณกทุกะ จบ

วัตถุทุกะ
[๖๗๘] รูปเป็นที่อาศัยเกิดของจักขุสัมผัส นั้นเป็นไฉน
จักขายตนะ รูปนี้ชื่อว่าเป็นที่อาศัยเกิดของจักขุสัมผัส
[๖๗๙] รูปไม่เป็นที่อาศัยเกิดของจักขุสัมผัส นั้นเป็นไฉน
โสตายตนะ ฯลฯ กวฬิงการาหาร รูปนี้ชื่อว่าไม่เป็นที่อาศัยเกิดของจักขุสัมผัส
[๖๘๐] รูปเป็นที่อาศัยเกิดของเวทนาที่เกิดแต่จักขุสัมผัส ฯลฯ ของ
สัญญา ฯลฯ ของเจตนา ฯลฯ ของจักขุวิญญาณ นั้นเป็นไฉน
จักขายตนะ รูปนี้ชื่อว่าเป็นที่อาศัยเกิดของจักขุวิญญาณ
[๖๘๑] รูปไม่เป็นที่อาศัยเกิดของจักขุวิญญาณ นั้นเป็นไฉน
โสตายตนะ ฯลฯ กวฬิงการาหาร รูปนี้ชื่อว่าไม่เป็นที่อาศัยเกิดของจักขุวิญญาณ
[๖๘๒] รูปเป็นที่อาศัยเกิดของโสตสัมผัส ฯลฯ ของฆานสัมผัส ฯลฯ
ของชิวหาสัมผัส ฯลฯ ของกายสัมผัส นั้นเป็นไฉน
กายายตนะ รูปนี้ชื่อว่าเป็นที่อาศัยเกิดของกายสัมผัส
[๖๘๓] รูปไม่เป็นที่อาศัยเกิดของกายสัมผัส นั้นเป็นไฉน
จักขายตนะ ฯลฯ กวฬิงการาหาร รูปนี้ชื่อว่าไม่เป็นที่อาศัยเกิดของกายสัมผัส
[๖๘๔] รูปเป็นที่อาศัยเกิดของเวทนาที่เกิดแต่กายสัมผัส ฯลฯ ของ
สัญญา ฯลฯ ของเจตนา ฯลฯ ของกายวิญญาณ นั้นเป็นไฉน
กายายตนะ รูปนี้ชื่อว่าเป็นที่อาศัยเกิดของกายวิญญาณ
[๖๘๕] รูปไม่เป็นที่อาศัยเกิดของกายวิญญาณ นั้นเป็นไฉน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๒๑๒ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๒. รูปกัณฑ์] รูปวิภัตติ ทุกนิทเทส อารัมมณกทุกะ
จักขายตนะ ฯลฯ กวฬิงการาหาร รูปนี้ชื่อว่าไม่เป็นที่อาศัยเกิดของกาย-
วิญญาณ
วัตถุทุกะ จบ

อารัมมณทุกะ
[๖๘๖] รูปที่เป็นอารมณ์ของจักขุสัมผัส นั้นเป็นไฉน
รูปายตนะ รูปนี้ชื่อว่าเป็นอารมณ์ของจักขุสัมผัส
[๖๘๗] รูปที่ไม่เป็นอารมณ์ของจักขุสัมผัส นั้นเป็นไฉน
จักขายตนะ ฯลฯ กวฬิงการาหาร รูปนี้ชื่อว่าไม่เป็นอารมณ์ของจักขุสัมผัส
[๖๘๘] รูปที่เป็นอารมณ์ของเวทนาที่เกิดแต่จักขุสัมผัส ฯลฯ ของสัญญา
ฯลฯ ของเจตนา ฯลฯ ของจักขุวิญญาณ นั้นเป็นไฉน
รูปายตนะ รูปนี้ชื่อว่าเป็นอารมณ์ของจักขุวิญญาณ
[๖๘๙] รูปที่ไม่เป็นอารมณ์ของจักขุวิญญาณ นั้นเป็นไฉน
จักขายตนะ ฯลฯ กวฬิงการาหาร รูปนี้ชื่อว่าไม่เป็นอารมณ์ของจักขุวิญญาณ
[๖๙๐] รูปที่เป็นอารมณ์ของโสตสัมผัส ฯลฯ ของฆานสัมผัส ฯลฯ ของ
ชิวหาสัมผัส ฯลฯ ของกายสัมผัส นั้นเป็นไฉน
โผฏฐัพพายตนะ รูปนี้ชื่อว่าเป็นอารมณ์ของกายสัมผัส
[๖๙๑] รูปที่ไม่เป็นอารมณ์ของกายสัมผัส นั้นเป็นไฉน
จักขายตนะ ฯลฯ กวฬิงการาหาร รูปนี้ชื่อว่าไม่เป็นอารมณ์ของกายสัมผัส
[๖๙๒] รูปที่เป็นอารมณ์ของเวทนาที่เกิดแต่กายสัมผัส ฯลฯ ของสัญญา
ฯลฯ ของเจตนา ฯลฯ ของกายวิญญาณ นั้นเป็นไฉน
โผฏฐัพพายตนะ รูปนี้ชื่อว่าเป็นอารมณ์ของกายวิญญาณ
[๖๙๓] รูปที่ไม่เป็นอารมณ์ของกายวิญญาณ นั้นเป็นไฉน
จักขายตนะ ฯลฯ กวฬิงการาหาร รูปนี้ชื่อว่าไม่เป็นอารมณ์ของกายวิญญาณ
อารัมมณทุกะ จบ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๒๑๓ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๒. รูปกัณฑ์] รูปวิภัตติ ทุกนิทเทส อายตนทุกะ
อายตนทุกะ
[๖๙๔] รูปที่เป็นจักขายตนะ นั้นเป็นไฉน
จักษุใด เป็นปสาทรูป อาศัยมหาภูตรูป ๔ ฯลฯ นี้ชื่อว่าบ้านว่างบ้าง รูปนี้
ชื่อว่าเป็นจักขายตนะ
[๖๙๕] รูปที่ไม่เป็นจักขายตนะ นั้นเป็นไฉน
โสตายตนะ ฯลฯ กวฬิงการาหาร รูปนี้ชื่อว่าไม่เป็นจักขายตนะ
[๖๙๖] รูปที่เป็นโสตายตนะ ฯลฯ เป็นฆานายตนะ ฯลฯ เป็นชิวหายตนะ
ฯลฯ เป็นกายายตนะ นั้นเป็นไฉน
กายใด เป็นปสาทรูป อาศัยมหาภูตรูป ๔ ฯลฯ นี้ชื่อว่าบ้านว่างบ้าง รูปนี้
ชื่อว่าเป็นกายายตนะ
[๖๙๗] รูปที่ไม่เป็นกายายตนะ นั้นเป็นไฉน
จักขายตนะ ฯลฯ กวฬิงการาหาร รูปนี้ชื่อว่าไม่เป็นกายายตนะ
[๖๙๘] รูปที่เป็นรูปายตนะ นั้นเป็นไฉน
รูปใด เป็นสีต่าง ๆ อาศัยมหาภูตรูป ๔ ฯลฯ นี้ชื่อว่ารูปธาตุบ้าง รูปนี้ชื่อว่า
เป็นรูปายตนะ
[๖๙๙] รูปที่ไม่เป็นรูปายตนะ นั้นเป็นไฉน
จักขายตนะ ฯลฯ กวฬิงการาหาร รูปนี้ชื่อว่าไม่เป็นรูปายตนะ
[๗๐๐] รูปที่เป็นสัททายตนะ ฯลฯ เป็นคันธายตนะ ฯลฯ เป็นรสายตนะ
ฯลฯ เป็นโผฏฐัพพายตนะ นั้นเป็นไฉน
ปฐวีธาตุ ฯลฯ นี้ชื่อว่าโผฏฐัพพธาตุบ้าง รูปนี้ชื่อว่าเป็นโผฏฐัพพายตนะ
[๗๐๑] รูปที่ไม่เป็นโผฏฐัพพายตนะ นั้นเป็นไฉน
จักขายตนะ ฯลฯ กวฬิงการาหาร รูปนี้ชื่อว่าไม่เป็นโผฏฐัพพายตนะ
อายตนทุกะ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๒๑๔ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๒. รูปกัณฑ์] รูปวิภัตติ ทุกนิทเทส อินทริยทุกะ
ธาตุทุกะ
[๗๐๒] รูปที่เป็นจักขุธาตุ นั้นเป็นไฉน
จักขายตนะ รูปนี้ชื่อว่าเป็นจักขุธาตุ
[๗๐๓] รูปที่ไม่เป็นจักขุธาตุ นั้นเป็นไฉน
โสตายตนะ ฯลฯ กวฬิงการาหาร รูปนี้ชื่อว่าไม่เป็นจักขุธาตุ
[๗๐๔] รูปที่เป็นโสตธาตุ ฯลฯ เป็นฆานธาตุ ฯลฯ เป็นชิวหาธาตุ ฯลฯ
เป็นกายธาตุ นั้นเป็นไฉน
กายายตนะ รูปนี้ชื่อว่าเป็นกายธาตุ
[๗๐๕] รูปที่ไม่เป็นกายธาตุ นั้นเป็นไฉน
จักขายตนะ ฯลฯ กวฬิงการาหาร รูปนี้ชื่อว่าไม่เป็นกายธาตุ
[๗๐๖] รูปที่เป็นรูปธาตุ นั้นเป็นไฉน
รูปายตนะ รูปนี้ชื่อว่าเป็นรูปธาตุ
[๗๐๗] รูปที่ไม่เป็นรูปธาตุ นั้นเป็นไฉน
จักขายตนะ ฯลฯ กวฬิงการาหาร รูปนี้ชื่อว่าไม่เป็นรูปธาตุ
[๗๐๘] รูปที่เป็นสัททธาตุ ฯลฯ เป็นคันธธาตุ ฯลฯ เป็นรสธาตุ ฯลฯ
เป็นโผฏฐัพพธาตุ นั้นเป็นไฉน
โผฏฐัพพายตนะ รูปนี้ชื่อว่าเป็นโผฏฐัพพธาตุ
[๗๐๙] รูปที่ไม่เป็นโผฏฐัพพธาตุ นั้นเป็นไฉน
จักขายตนะ ฯลฯ กวฬิงการาหาร รูปนี้ชื่อว่าไม่เป็นโผฏฐัพพธาตุ
ธาตุทุกะ จบ

อินทริยทุกะ
[๗๑๐] รูปที่เป็นจักขุนทรีย์ นั้นเป็นไฉน
จักษุใด เป็นปสาทรูป อาศัยมหาภูตรูป ๔ ฯลฯ นี้ชื่อว่าบ้านว่างบ้าง รูปนี้
ชื่อว่าเป็นจักขุนทรีย์


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๒๑๕ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๒. รูปกัณฑ์] รูปวิภัตติ ทุกนิทเทส อินทริยะทุกะ
[๗๑๑] รูปที่ไม่เป็นจักขุนทรีย์ นั้นเป็นไฉน
โสตายตนะ ฯลฯ กวฬิงการาหาร รูปนี้ชื่อว่าไม่เป็นจักขุนทรีย์
[๗๑๒] รูปที่เป็นโสตินทรีย์ ฯลฯ เป็นฆานินทรีย์ ฯลฯ เป็นชิวหินทรีย์
ฯลฯ เป็นกายินทรีย์ ฯลฯ นั้นเป็นไฉน
กายใด เป็นปสาทรูป อาศัยมหาภูตรูป ๔ ฯลฯ นี้ชื่อว่าบ้านว่างบ้าง รูปนี้
ชื่อว่าเป็นกายินทรีย์
[๗๑๓] รูปที่ไม่เป็นกายินทรีย์ นั้นเป็นไฉน
จักขายตนะ ฯลฯ กวฬิงการาหาร รูปนี้ชื่อว่าไม่เป็นกายินทรีย์
[๗๑๔] รูปที่เป็นอิตถินทรีย์ นั้นเป็นไฉน
ทรวดทรงหญิง เครื่องหมายประจำเพศหญิง กิริยาหญิง อาการหญิง สภาพ
หญิง ภาวะหญิง ของสตรี รูปนี้ชื่อว่าเป็นอิตถินทรีย์
[๗๑๕] รูปที่ไม่เป็นอิตถินทรีย์ นั้นเป็นไฉน
จักขายตนะ ฯลฯ กวฬิงการาหาร รูปนี้ชื่อว่าไม่เป็นอิตถินทรีย์
[๗๑๖] รูปที่เป็นปุริสินทรีย์ นั้นเป็นไฉน
ทรวดทรงชาย เครื่องหมายประจำเพศชาย กิริยาชาย อาการชาย สภาพ
ชาย ภาวะชาย ของบุรุษ รูปนี้ชื่อว่าเป็นปุริสินทรีย์
[๗๑๗] รูปที่ไม่เป็นปุริสินทรีย์ นั้นเป็นไฉน
จักขายตนะ ฯลฯ กวฬิงการาหาร รูปนี้ชื่อว่าไม่เป็นปุริสินทรีย์
[๗๑๘] รูปที่เป็นชีวิตินทรีย์ นั้นเป็นไฉน
อายุ ความดำรงอยู่ ความเป็นไป กิริยาที่ให้เป็นไป อาการที่สืบเนื่องกัน
ความดำเนินไป ความหล่อเลี้ยง ชีวิต ชีวิตินทรีย์แห่งสภาวธรรมที่เป็นรูปเหล่านั้น
รูปนี้ชื่อว่าเป็นชีวิตินทรีย์
[๗๑๙] รูปที่ไม่เป็นชีวิตินทรีย์ นั้นเป็นไฉน
จักขายตนะ ฯลฯ กวฬิงการาหาร รูปนี้ชื่อว่าไม่เป็นชีวิตินทรีย์
อินทริยทุกะ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๒๑๖ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๒. รูปกัณฑ์] รูปวิภัตติ ทุกนิทเทส สุขุมรูปทุกะ
สุขุมรูปทุกะ
[๗๒๐] รูปที่เป็นกายวิญญัติ นั้นเป็นไฉน
ความเข้มแข็ง กิริยาที่เข้มแข็งด้วยดี ภาวะที่เข้มแข็งด้วยดี การแสดงให้รู้ความ
หมาย กิริยาที่แสดงให้รู้ความหมาย ภาวะที่แสดงให้รู้ความหมายแห่งกายของ
บุคคลผู้มีจิตเป็นกุศล มีจิตเป็นอกุศล มีจิตเป็นอัพยากฤต ก้าวไปอยู่ ถอยกลับอยู่
แลดูอยู่ เหลียวดูอยู่ คู้เข้าอยู่ หรือเหยียดออกอยู่ รูปนี้ชื่อว่าเป็นกายวิญญัติ
[๗๒๑] รูปที่ไม่เป็นกายวิญญัติ นั้นเป็นไฉน
จักขายตนะ ฯลฯ กวฬิงการาหาร รูปนี้ชื่อว่าไม่เป็นกายวิญญัติ
[๗๒๒] รูปที่เป็นวจีวิญญัติ นั้นเป็นไฉน
การพูด การเปล่งวาจา การเจรจา การกล่าว การป่าวร้อง การโฆษณา
วาจา วจีเภท แห่งบุคคลผู้มีจิตเป็นกุศล มีจิตเป็นอกุศล หรือมีจิตเป็นอัพยากฤต
นี้เรียกว่า วาจา การแสดงให้รู้ความหมาย กิริยาที่แสดงให้รู้ความหมาย ภาวะที่
แสดงให้รู้ความหมายด้วยวาจานั้น รูปนี้ชื่อว่าเป็นวจีวิญญัติ
[๗๒๓] รูปที่ไม่เป็นวจีวิญญัติ นั้นเป็นไฉน
จักขายตนะ ฯลฯ กวฬิงการาหาร รูปนี้ชื่อว่าไม่เป็นวจีวิญญัติ
[๗๒๔] รูปที่เป็นอากาสธาตุ นั้นเป็นไฉน
อากาศ ธรรมชาติที่นับว่าอากาศ ความว่างเปล่า ธรรมชาติที่นับว่าความว่าง
เปล่า ช่องว่าง ธรรมชาติที่นับว่าช่องว่างซึ่งมหาภูตรูป ๔ ถูกต้องไม่ได้ รูปนี้ชื่อว่า
เป็นอากาสธาตุ๑
[๗๒๕] รูปที่ไม่เป็นอากาสธาตุ นั้นเป็นไฉน
จักขายตนะ ฯลฯ กวฬิงการาหาร รูปนี้ชื่อว่าไม่เป็นอากาสธาตุ
[๗๒๖] รูปที่เป็นอาโปธาตุ นั้นเป็นไฉน
ความเอิบอาบ ธรรมชาติที่เอิบอาบ ความเหนียว ธรรมชาติที่เหนียว
ธรรมชาติเป็นเครื่องเกาะกุมรูป รูปนี้ชื่อว่าเป็นอาโปธาตุ

เชิงอรรถ :
๑ อภิ.วิ. ๓๕/๖๑๗๗/๙๙

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๒๑๗ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๒. รูปกัณฑ์] รูปวิภัตติ ทุกนิทเทส สุขุมรูปทุกะ
[๗๒๗] รูปที่ไม่เป็นอาโปธาตุ นั้นเป็นไฉน
จักขายตนะ ฯลฯ กวฬิงการาหาร รูปนี้ชื่อว่าไม่เป็นอาโปธาตุ
[๗๒๘] รูปที่เป็นลหุตารูป นั้นเป็นไฉน
ความเบา ความรวดเร็ว ความไม่เชื่องช้า ความไม่หนักแห่งรูป รูปนี้ชื่อว่า
เป็นลหุตารูป
[๗๒๙] รูปที่ไม่เป็นลหุตารูป นั้นเป็นไฉน
จักขายตนะ ฯลฯ กวฬิงการาหาร รูปนี้ชื่อว่าไม่เป็นลหุตารูป
[๗๓๐] รูปที่เป็นมุทุตารูป นั้นเป็นไฉน
ความอ่อน ภาวะที่อ่อน ความไม่แข็ง ความไม่กระด้างแห่งรูป รูปนี้ชื่อว่า
เป็นมุทุตารูป
[๗๓๑] รูปที่ไม่เป็นมุทุตารูป นั้นเป็นไฉน
จักขายตนะ ฯลฯ กวฬิงการาหาร รูปนี้ชื่อว่าไม่เป็นมุทุตารูป
[๗๓๒] รูปที่เป็นกัมมัญญตารูป นั้นเป็นไฉน
ความควรแก่การงาน กิริยาที่ควรแก่การงาน ภาวะที่ควรแก่การงานแห่ง
รูป รูปนี้ชื่อว่าเป็นกัมมัญญตารูป
[๗๓๓] รูปที่ไม่เป็นกัมมัญญตารูป นั้นเป็นไฉน
จักขายตนะ ฯลฯ กวฬิงการาหาร รูปนี้ชื่อว่าไม่เป็นกัมมัญญตารูป
[๗๓๔] รูปที่เป็นอุปจยรูป นั้นเป็นไฉน
ความแรกเกิดแห่งอายตนะ นั้นเป็นความเกิดขึ้นแห่งรูป รูปนี้ชื่อว่า
เป็นอุปจยรูป
[๗๓๕] รูปที่ไม่เป็นอุปจยรูป นั้นเป็นไฉน
จักขายตนะ ฯลฯ กวฬิงการาหาร รูปนี้ชื่อว่าไม่เป็นอุปจยรูป
[๗๓๖] รูปที่เป็นสันตติรูป นั้นเป็นไฉน
ความเจริญแห่งรูป นั้นเป็นความสืบต่อแห่งรูป รูปนี้ชื่อว่าเป็นสันตติรูป


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๒๑๘ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๒. รูปกัณฑ์] รูปวิภัตติ ทุกนิทเทส สุขุมรูปทุกะ
[๗๓๗] รูปที่ไม่เป็นสันตติรูป นั้นเป็นไฉน
จักขายตนะ ฯลฯ กวฬิงการาหาร รูปนี้ชื่อว่าไม่เป็นสันตติรูป
[๗๓๘] รูปที่เป็นชรตารูป นั้นเป็นไฉน
ความชรา ความคร่ำคร่า ความมีฟันหลุด ความมีผมหงอก ความมีหนังเหี่ยว
ความเสื่อมอายุ ความหง่อมแห่งอินทรีย์แห่งรูป รูปนี้ชื่อว่าเป็นชรตารูป
[๗๓๙] รูปที่ไม่เป็นชรตารูป นั้นเป็นไฉน
จักขายตนะ ฯลฯ กวฬิงการาหาร รูปนี้ชื่อว่าไม่เป็นชรตารูป
[๗๔๐] รูปที่เป็นอนิจจตารูป นั้นเป็นไฉน
ความสิ้นไป ความเสื่อมไป ความแตก ความทำลาย ความไม่เที่ยง ความ
อันตรธานแห่งรูป รูปนี้ชื่อว่าเป็นอนิจจตารูป
[๗๔๑] รูปที่ไม่เป็นอนิจจตารูป นั้นเป็นไฉน
จักขายตนะ ฯลฯ กวฬิงการาหาร รูปนี้ชื่อว่าไม่เป็นอนิจจตารูป
[๗๔๒] รูปที่เป็นกวฬิงการาหาร นั้นเป็นไฉน
ข้าวสุก ขนมสด ขนมแห้ง ปลา เนื้อ นมสด เนยใส เนยข้น น้ำมัน น้ำผึ้ง
น้ำอ้อย หรือรูปแม้อื่น มีอยู่ ที่พึงกินทางปากขบเคี้ยว กลืนกิน อิ่มท้อง ซึ่งมี
โอชาเป็นเหตุให้สัตว์ในสถานที่นั้น ๆ ดำรงชีพอยู่ได้ รูปนี้ชื่อว่าเป็นกวฬิงการาหาร
[๗๔๓] รูปที่ไม่เป็นกวฬิงการาหาร นั้นเป็นไฉน
จักขายตนะ ฯลฯ อนิจจตารูป รูปนี้ชื่อว่าไม่เป็นกวฬิงการาหาร
สุขุมรูปทุกะ จบ
รวมรูปหมวดละ ๒ อย่างนี้
ทุกนิทเทส จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๒๑๙ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๒. รูปกัณฑ์] รูปวิภัตติ ติกนิทเทส ปกิณณกติกะ
ติกนิทเทส
ปกิณณกติกะ
อัชฌัตติกอุปาทาติกะ
[๗๔๔] รูปที่เป็นภายในเป็นอุปาทายรูป นั้นเป็นไฉน
จักขายตนะ ฯลฯ กายายตนะ รูปที่เป็นภายในนี้ชื่อว่าเป็นอุปาทายรูป
[๗๔๕] รูปที่เป็นภายนอกเป็นอุปาทายรูป นั้นเป็นไฉน
รูปายตนะ ฯลฯ กวฬิงการาหาร รูปที่เป็นภายนอกนี้ชื่อว่าเป็นอุปาทายรูป
[๗๔๖] รูปที่เป็นภายนอกไม่เป็นอุปาทายรูป นั้นเป็นไฉน
โผฏฐัพพายตนะ และอาโปธาตุ รูปที่เป็นภายนอกนี้ชื่อว่าไม่เป็นอุปาทายรูป
อัชฌัตติกอุปาทินนติกะ
[๗๔๗] รูปที่เป็นภายในเป็นรูปที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือ
นั้นเป็นไฉน
จักขายตนะ ฯลฯ กายายตนะ รูปที่เป็นภายในนี้ชื่อว่ากรรมอันประกอบด้วย
ตัณหาและทิฏฐิยึดถือ
[๗๔๘] รูปที่เป็นภายนอกเป็นรูปที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิ
ยึดถือ นั้นเป็นไฉน
อิตถินทรีย์ ปุริสินทรีย์ และชีวิตินทรีย์ หรือรูปแม้อื่น มีอยู่ ได้แก่ รูปายตนะ
คันธายตนะ รสายตนะ โผฏฐัพพายตนะ อากาสธาตุ อาโปธาตุ อุปจยรูป สันตติรูป
และกวฬิงการาหาร ที่กรรมปรุงแต่งขึ้น รูปที่เป็นภายนอกนี้ชื่อว่ากรรมอันประกอบ
ด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือ
[๗๔๙] รูปที่เป็นภายนอกเป็นรูปที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิ
ไม่ยึดถือ นั้นเป็นไฉน
สัททายตนะ กายวิญญัติ วจีวิญญัติ ลหุตารูป มุทุตารูป กัมมัญญตารูป
ชรตารูป และอนิจจตารูป หรือรูปแม้อื่น มีอยู่ ได้แก่ รูปายตนะ คันธายตนะ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๒๒๐ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๒. รูปกัณฑ์] รูปวิภัตติ ติกนิทเทส ปกิณณกติกะ
รสายตนะ โผฏฐัพพายตนะ อากาสธาตุ อาโปธาตุ อุปจยรูป สันตติรูป และ
กวฬิงการาหาร ที่กรรมไม่ได้ปรุงแต่งขึ้น รูปที่เป็นภายนอกนี้ชื่อว่ากรรมอันประกอบ
ด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือ
อัชฌัตติกอุปาทินนุปาทานิยติกะ
[๗๕๐] รูปที่เป็นภายในเป็นรูปที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาทิฏฐิยึดถือ
และเป็นอารมณ์ของอุปาทาน นั้นเป็นไฉน
จักขายตนะ ฯลฯ กายายตนะ รูปที่เป็นภายในนี้ชื่อว่ากรรมอันประกอบด้วย
ตัณหาทิฏฐิยึดถือและเป็นอารมณ์ของอุปาทาน
[๗๕๑] รูปที่เป็นภายนอกเป็นรูปที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาทิฏฐิยึดถือ
และเป็นอารมณ์ของอุปาทาน นั้นเป็นไฉน
อิตถินทรีย์ ปุริสินทรีย์ และชีวิตินทรีย์ หรือรูปแม้อื่น มีอยู่ ได้แก่ รูปายตนะ
คันธายตนะ รสายตนะ โผฏฐัพพายตนะ อากาสธาตุ อาโปธาตุ อุปจยรูป สันตติรูป
และกวฬิงการาหาร ที่กรรมปรุงแต่งขึ้น รูปที่เป็นภายนอกนี้ชื่อว่ากรรมอันประกอบ
ด้วยตัณหาทิฏฐิยึดถือและเป็นอารมณ์ของอุปาทาน
[๗๕๒] รูปที่เป็นภายนอกเป็นรูปที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิ
ไม่ยึดถือแต่เป็นอารมณ์ของอุปาทาน นั้นเป็นไฉน
สัททายตนะ กายวิญญัติ วจีวิญญัติ ลหุตารูป มุทุตารูป กัมมัญญตารูป
ชรตารูป และอนิจจตารูป หรือรูปแม้อื่น มีอยู่ ได้แก่ รูปายตนะ คันธายตนะ
รสายตนะ โผฏฐัพพายตนะ อากาสธาตุ อาโปธาตุ อุปจยรูป สันตติรูป และ
กวฬิงการาหาร ที่กรรมไม่ได้ปรุงแต่งขึ้น รูปที่เป็นภายนอกนี้ชื่อว่ากรรมอันประกอบ
ด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือแต่เป็นอารมณ์ของอุปาทาน
อัชฌัตติกอนิทัสสนติกะ
[๗๕๓] รูปที่เป็นภายในเป็นรูปที่เห็นไม่ได้ นั้นเป็นไฉน
จักขายตนะ ฯลฯ กายายตนะ รูปที่เป็นภายในนี้ชื่อว่าเห็นไม่ได้


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๒๒๑ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๒. รูปกัณฑ์] รูปวิภัตติ ติกนิทเทส ปกิณณกติกะ
[๗๕๔] รูปที่เป็นภายนอกเป็นรูปที่เห็นได้ นั้นเป็นไฉน
รูปายตนะ ฯลฯ รูปที่เป็นภายนอกนี้ชื่อว่าเห็นได้
[๗๕๕] รูปที่เป็นภายนอกเป็นรูปที่เห็นไม่ได้ นั้นเป็นไฉน
สัททายตนะ ฯลฯ กวฬิงการาหาร รูปที่เป็นภายนอกนี้ชื่อว่าเห็นไม่ได้
อัชฌัตติกสัปปฏิฆติกะ
[๗๕๖] รูปที่เป็นภายในเป็นรูปที่กระทบได้ นั้นเป็นไฉน
จักขายตนะ ฯลฯ กายายตนะ รูปที่เป็นภายในนี้ชื่อว่ากระทบได้
[๗๕๗] รูปที่เป็นภายนอกเป็นรูปที่กระทบได้ นั้นเป็นไฉน
รูปายตนะ ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะ รูปที่เป็นภายนอกนี้ชื่อว่ากระทบได้
[๗๕๘] รูปที่เป็นภายนอกเป็นรูปที่กระทบไม่ได้ นั้นเป็นไฉน
อิตถินทรีย์ ฯลฯ กวฬิงการาหาร รูปที่เป็นภายนอกนี้ชื่อว่ากระทบไม่ได้
อัชฌัตติกอินทริยติกะ
[๗๕๙] รูปที่เป็นภายในเป็นอินทริยรูป นั้นเป็นไฉน
จักขุนทรีย์ ฯลฯ กายินทรีย์ รูปที่เป็นภายในนี้ชื่อว่าเป็นอินทริยรูป
[๗๖๐] รูปที่เป็นภายนอกเป็นอินทริยรูป นั้นเป็นไฉน
อิตถินทรีย์ ปุริสินทรีย์ และชีวิตินทรีย์ รูปที่เป็นภายนอกนี้ชื่อว่าเป็นอินทริย-
รูป
[๗๖๑] รูปที่เป็นภายนอกไม่เป็นอินทริยรูป นั้นเป็นไฉน
รูปายตนะ ฯลฯ กวฬิงการาหาร รูปที่เป็นภายนอกนี้ชื่อว่าไม่เป็นอินทริยรูป
อัชฌัตติกนมหาภูตติกะ
[๗๖๒] รูปที่เป็นภายในไม่เป็นมหาภูตรูป นั้นเป็นไฉน
จักขายตนะ ฯลฯ กายายตนะ รูปที่เป็นภายในนี้ชื่อว่าไม่เป็นมหาภูตรูป
[๗๖๓] รูปที่เป็นภายนอกเป็นมหาภูตรูป นั้นเป็นไฉน
โผฏฐัพพายตนะ ฯลฯ อาโปธาตุ รูปที่เป็นภายนอกนี้ชื่อว่าเป็นมหาภูตรูป


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๒๒๒ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๒. รูปกัณฑ์] รูปวิภัตติ ติกนิทเทส ปกิณณกติกะ
[๗๖๔] รูปที่เป็นภายนอกไม่เป็นมหาภูตรูป นั้นเป็นไฉน
รูปายตนะ ฯลฯ กวฬิงการาหาร รูปที่เป็นภายนอกนี้ชื่อว่าไม่เป็นมหาภูตรูป
อัชฌัตติกนวิญญัตติติกะ
[๗๖๕] รูปที่เป็นภายในไม่เป็นวิญญัตติรูป นั้นเป็นไฉน
จักขายตนะ ฯลฯ กายายตนะ รูปที่เป็นภายในนี้ชื่อว่าไม่เป็นวิญญัตติรูป
[๗๖๖] รูปที่เป็นภายนอกเป็นวิญญัตติรูป นั้นเป็นไฉน
กายวิญญัติ และวจีวิญญัติ รูปที่เป็นภายนอกนี้ชื่อว่าเป็นวิญญัตติรูป
[๗๖๗] รูปที่เป็นภายนอกไม่เป็นวิญญัตติรูป นั้นเป็นไฉน
รูปายตนะ ฯลฯ กวฬิงการาหาร รูปที่เป็นภายนอกนี้ชื่อว่าไม่เป็นวิญญัตติรูป
อัชฌัตติกนจิตตสมุฏฐานติกะ
[๗๖๘] รูปที่เป็นภายในไม่มีจิตเป็นสมุฏฐาน นั้นเป็นไฉน
จักขายตนะ ฯลฯ กายายตนะ รูปที่เป็นภายในนี้ชื่อว่าไม่มีจิตเป็นสมุฏฐาน
[๗๖๙] รูปที่เป็นภายนอกมีจิตเป็นสมุฏฐาน นั้นเป็นไฉน
กายวิญญัติ และวจีวิญญัติ หรือแม้รูปอื่น มีอยู่ ได้แก่ รูปายตนะ สัททายตนะ
คันธายตนะ รสายตนะ โผฏฐัพพายตนะ อากาสธาตุ อาโปธาตุ ลหุตารูป มุทุตารูป
กัมมัญญตารูป อุปจยรูป สันตติรูป และกวฬิงการาหาร ที่เกิดจากจิตมีจิตเป็นเหตุ
มีจิตเป็นสมุฏฐาน รูปที่เป็นภายนอกนี้ชื่อว่ามีจิตเป็นสมุฏฐาน
[๗๗๐] รูปที่เป็นภายนอกไม่มีจิตเป็นสมุฏฐาน นั้นเป็นไฉน
อิตถินทรีย์ ปุริสินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ ชรตารูป และอนิจจตารูป หรือรูปแม้อื่น
มีอยู่ ได้แก่ รูปายตนะ สัททายตนะ คันธายตนะ รสายตนะ โผฏฐัพพายตนะ
อากาสธาตุ อาโปธาตุ ลหุตารูป มุทุตารูป กัมมัญญตารูป อุปจยรูป สันตติรูป
และกวฬิงการาหาร ที่ไม่เกิดจากจิต ไม่มีจิตเป็นเหตุ ไม่มีจิตเป็นสมุฏฐาน รูปที่เป็น
ภายนอกนี้ชื่อว่าไม่มีจิตเป็นสมุฏฐาน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๒๒๓ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๒. รูปกัณฑ์] รูปวิภัตติ ติกนิทเทส ปกิณณกติกะ
อัชฌัตติกนจิตตสหภูติกะ
[๗๗๑] รูปที่เป็นภายในไม่เกิดพร้อมกับจิต นั้นเป็นไฉน
จักขายตนะ ฯลฯ กายายตนะ รูปที่เป็นภายในนี้ชื่อว่าไม่เกิดพร้อมกับจิต
[๗๗๒] รูปที่เป็นภายนอกเกิดพร้อมกับจิต นั้นเป็นไฉน
กายวิญญัติ และวจีวิญญัติ รูปที่เป็นภายนอกนี้ชื่อว่าเกิดพร้อมกับจิต
[๗๗๓] รูปที่เป็นภายนอกไม่เกิดพร้อมกับจิต นั้นเป็นไฉน
รูปายตนะ ฯลฯ กวฬิงการาหาร รูปที่เป็นภายนอกนี้ชื่อว่าไม่เกิดพร้อมกับจิต
อัชฌัตติกนจิตตานุปริวัตติติกะ
[๗๗๔] รูปที่เป็นภายในไม่เป็นไปตามจิต นั้นเป็นไฉน
จักขายตนะ ฯลฯ กายายตนะ รูปที่เป็นภายในนี้ชื่อว่าไม่เป็นไปตามจิต
[๗๗๕] รูปที่เป็นภายนอกเป็นไปตามจิต นั้นเป็นไฉน
กายวิญญัติ และวจีวิญญัติ รูปที่เป็นภายนอกนี้ชื่อว่าเป็นไปตามจิต
[๗๗๖] รูปที่เป็นภายนอกไม่เป็นไปตามจิต นั้นเป็นไฉน
รูปายตนะ ฯลฯ กวฬิงการาหาร รูปที่เป็นภายนอกนี้ชื่อว่าไม่เป็นไปตามจิต
อัชฌัตติกโอฬาริกติกะ
[๗๗๗] รูปที่เป็นภายในเป็นรูปหยาบ นั้นเป็นไฉน
จักขายตนะ ฯลฯ กายายตนะ รูปที่เป็นภายในนี้ชื่อว่าเป็นรูปหยาบ
[๗๗๘] รูปที่เป็นภายนอกเป็นรูปหยาบ นั้นเป็นไฉน
รูปายตนะ ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะ รูปที่เป็นภายนอกนี้ชื่อว่าเป็นรูปหยาบ
[๗๗๙] รูปที่เป็นภายนอกเป็นรูปละเอียด นั้นเป็นไฉน
อิตถินทรีย์ ฯลฯ กวฬิงการาหาร รูปที่เป็นภายนอกนี้ชื่อว่าเป็นรูปละเอียด
อัชฌัตติกสันติเกติกะ
[๗๘๐] รูปที่เป็นภายในเป็นรูปใกล้ นั้นเป็นไฉน
จักขายตนะ ฯลฯ กายายตนะ รูปที่เป็นภายในนี้ชื่อว่าเป็นรูปใกล้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๒๒๔ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๒. รูปกัณฑ์] รูปวิภัตติ ติกนิทเทส วัตถุติกะ
[๗๘๑] รูปที่เป็นภายนอกเป็นรูปไกล นั้นเป็นไฉน
อิตถินทรีย์ ฯลฯ กวฬิงการาหาร รูปที่เป็นภายนอกนี้ชื่อว่าเป็นรูปไกล
[๗๘๒] รูปที่เป็นภายนอกเป็นรูปใกล้ นั้นเป็นไฉน
รูปายตนะ ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะ รูปที่เป็นภายนอกนี้ชื่อว่าเป็นรูปใกล้
ปกิณณกติกะ จบ

วัตถุติกะ
พาหิรจักขุสัมผัสสัสสนวัตถุติกะ
[๗๘๓] รูปที่เป็นภายนอกไม่เป็นที่อาศัยเกิดของจักขุสัมผัส นั้นเป็นไฉน
รูปายตนะ ฯลฯ กวฬิงการาหาร รูปที่เป็นภายนอกนี้ชื่อว่าไม่เป็นที่อาศัยเกิด
ของจักขุสัมผัส
[๗๘๔] รูปที่เป็นภายในเป็นที่อาศัยเกิดของจักขุสัมผัส นั้นเป็นไฉน
จักขายตนะ รูปที่เป็นภายในนี้ชื่อว่าเป็นที่อาศัยเกิดของจักขุสัมผัส
[๗๘๕] รูปที่เป็นภายในไม่เป็นที่อาศัยเกิดของจักขุสัมผัส นั้นเป็นไฉน
โสตายตนะ ฯลฯ กายายตนะ รูปที่เป็นภายในนี้ชื่อว่าไม่เป็นที่อาศัยเกิดของ
จักขุสัมผัส
พาหิรจักขุสัมผัสสชาเวทนายนวัตถุติกะ
[๗๘๖] รูปที่เป็นภายนอกไม่เป็นที่อาศัยเกิดของเวทนาที่เกิดแต่จักขุสัมผัส
ฯลฯ ของสัญญา ฯลฯ ของเจตนา ฯลฯ ของจักขุวิญญาณ นั้นเป็นไฉน
รูปายตนะ ฯลฯ กวฬิงการาหาร รูปที่เป็นภายนอกนี้ชื่อว่าไม่เป็นที่อาศัยเกิด
ของจักขุวิญญาณ
[๗๘๗] รูปที่เป็นภายในเป็นที่อาศัยเกิดของจักขุวิญญาณ นั้นเป็นไฉน
จักขายตนะ รูปที่เป็นภายในนี้ชื่อว่าเป็นที่อาศัยเกิดของจักขุวิญญาณ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๒๒๕ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๒. รูปกัณฑ์] รูปวิภัตติ ติกนิทเทส วัตถุติกะ
[๗๘๘] รูปที่เป็นภายในไม่เป็นที่อาศัยเกิดของจักขุวิญญาณ นั้นเป็นไฉน
โสตายตนะ ฯลฯ กายายตนะ รูปที่เป็นภายในนี้ชื่อว่าไม่เป็นที่อาศัยเกิดของ
จักขุวิญญาณ
พาหิรโสตสัมผัสสัสสนวัตถุติกาทิติกะ
[๗๘๙] รูปที่เป็นภายนอกไม่เป็นที่อาศัยเกิดของโสตสัมผัส ฯลฯ ของ
ฆานสัมผัส ฯลฯ ของชิวหาสัมผัส ฯลฯ ของกายสัมผัส นั้นเป็นไฉน
รูปายตนะ ฯลฯ กวฬิงการาหาร รูปที่เป็นภายนอกนี้ชื่อว่าไม่เป็นที่อาศัยเกิด
ของกายสัมผัส
[๗๙๐] รูปที่เป็นภายในเป็นที่อาศัยเกิดของกายสัมผัส นั้นเป็นไฉน
กายายตนะ รูปที่เป็นภายในนี้ชื่อว่าเป็นที่อาศัยเกิดของกายสัมผัส
[๗๙๑] รูปที่เป็นภายในไม่เป็นที่อาศัยเกิดของกายสัมผัส นั้นเป็นไฉน
จักขายตนะ ฯลฯ ชิวหายตนะ รูปที่เป็นภายในนี้ชื่อว่าไม่เป็นที่อาศัยเกิดของ
กายสัมผัส
พาหิรกายสัมผัสสชาเวทนายนวัตถุติกาทิติกะ
[๗๙๒] รูปที่เป็นภายนอกไม่เป็นที่อาศัยเกิดของเวทนาที่เกิดแต่กายสัมผัส
ฯลฯ ของสัญญา ฯลฯ ของเจตนา ฯลฯ ของกายวิญญาณ นั้นเป็นไฉน
รูปายตนะ ฯลฯ กวฬิงการาหาร รูปที่เป็นภายนอกนี้ชื่อว่าไม่เป็นที่อาศัยเกิด
ของกายวิญญาณ
[๗๙๓] รูปที่เป็นภายในเป็นที่อาศัยเกิดของกายวิญญาณ นั้นเป็นไฉน
กายายตนะ รูปที่เป็นภายในนี้ชื่อว่าเป็นที่อาศัยเกิดของกายวิญญาณ
[๗๙๔] รูปที่เป็นภายในไม่เป็นที่อาศัยเกิดของกายวิญญาณ นั้นเป็นไฉน
จักขายตนะ ฯลฯ ชิวหายตนะ รูปที่เป็นภายในนี้ชื่อว่าไม่เป็นที่อาศัยเกิดของ
กายวิญญาณ
วัตถุติกะ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๒๒๖ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๒. รูปกัณฑ์] รูปวิภัตติ ติกนิทเทส อารัมมณติกะ
อารัมมณติกะ
อัชฌัตติกจักขุสัมผัสสัสสนารัมมณติกะ
[๗๙๕] รูปที่เป็นภายในไม่เป็นอารมณ์ของจักขุสัมผัส นั้นเป็นไฉน
จักขายตนะ ฯลฯ กายายตนะ รูปที่เป็นภายในนี้ชื่อว่าไม่เป็นอารมณ์ของ
จักขุสัมผัส
[๗๙๖] รูปที่เป็นภายนอกเป็นอารมณ์ของจักขุสัมผัส นั้นเป็นไฉน
รูปายตนะ รูปที่เป็นภายนอกนี้ชื่อว่าเป็นอารมณ์ของจักขุสัมผัส
[๗๙๗] รูปที่เป็นภายนอกไม่เป็นอารมณ์ของจักขุสัมผัส นั้นเป็นไฉน
สัททายตนะ ฯลฯ กวฬิงการาหาร รูปที่เป็นภายนอกนี้ชื่อว่าไม่เป็นอารมณ์
ของจักขุสัมผัส
จักขุสัมผัสสชาเวทนายนารัมมณติกาทิติกะ
[๗๙๘] รูปที่เป็นภายในไม่เป็นอารมณ์ของเวทนาที่เกิดแต่จักขุสัมผัส ฯลฯ
ของสัญญา ฯลฯ ของเจตนา ฯลฯ ของจักขุวิญญาณ นั้นเป็นไฉน
จักขายตนะ ฯลฯ กายายตนะ รูปที่เป็นภายในนี้ชื่อว่าไม่เป็นอารมณ์ของ
จักขุวิญญาณ
[๗๙๙] รูปที่เป็นภายนอกเป็นอารมณ์ของจักขุวิญญาณ นั้นเป็นไฉน
รูปายตนะ รูปที่เป็นภายนอกนี้ชื่อว่าเป็นอารมณ์ของจักขุวิญญาณ
[๘๐๐] รูปที่เป็นภายนอกไม่เป็นอารมณ์ของจักขุวิญญาณ นั้นเป็นไฉน
สัททายตนะ ฯลฯ กวฬิงการาหาร รูปที่เป็นภายนอกนี้ชื่อว่าไม่เป็นอารมณ์
ของจักขุวิญญาณ
อัชฌัตติกโสตสัมผัสสัสสนารัมมณติกาทิติกะ
[๘๐๑] รูปที่เป็นภายในไม่เป็นอารมณ์ของโสตสัมผัส ฯลฯ ของฆานสัมผัส
ฯลฯ ของชิวหาสัมผัส ฯลฯ ของกายสัมผัส นั้นเป็นไฉน
จักขายตนะ ฯลฯ กายายตนะ รูปที่เป็นภายในนี้ชื่อว่าไม่เป็นอารมณ์ของ
กายสัมผัส


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๒๒๗ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๒. รูปกัณฑ์] รูปวิภัตติ ติกนิทเทส อายตนติกะ
[๘๐๒] รูปที่เป็นภายนอกเป็นอารมณ์ของกายสัมผัส นั้นเป็นไฉน
โผฏฐัพพายตนะ รูปที่เป็นภายนอกนี้ชื่อว่าเป็นอารมณ์ของกายสัมผัส
[๘๐๓] รูปที่เป็นภายนอกไม่เป็นอารมณ์ของกายสัมผัส นั้นเป็นไฉน
รูปายตนะ ฯลฯ กวฬิงการาหาร รูปที่เป็นภายนอกนี้ชื่อว่าไม่เป็นอารมณ์ของ
กายสัมผัส
อัชฌัตติกกายสัมผัสสชาเวทนายนารัมมณติกาทิติกะ
[๘๐๔] รูปที่เป็นภายในไม่เป็นอารมณ์ของเวทนาที่เกิดแต่กายสัมผัส ฯลฯ
ของสัญญา ฯลฯ ของเจตนา ฯลฯ ของกายวิญญาณ นั้นเป็นไฉน
จักขายตนะ ฯลฯ กายายตนะ รูปที่เป็นภายในนี้ชื่อว่าไม่เป็นอารมณ์ของ
กายวิญญาณ
[๘๐๕] รูปที่เป็นภายนอกเป็นอารมณ์ของกายวิญญาณ นั้นเป็นไฉน
โผฏฐัพพายตนะ รูปที่เป็นภายนอกนี้ชื่อว่าเป็นอารมณ์ของกายวิญญาณ
[๘๐๖] รูปที่เป็นภายนอกไม่เป็นอารมณ์ของกายวิญญาณ นั้นเป็นไฉน
รูปายตนะ ฯลฯ กวฬิงการาหาร รูปที่เป็นภายนอกนี้ชื่อว่าไม่เป็นอารมณ์ของ
กายวิญญาณ
อารัมมณติกะ จบ

อายตนติกะ
พาหิรนจักขายตนติกะ
[๘๐๗] รูปที่เป็นภายนอกไม่เป็นจักขายตนะ นั้นเป็นไฉน
รูปายตนะ ฯลฯ กวฬิงการาหาร รูปที่เป็นภายนอกนี้ชื่อว่าไม่เป็นจักขายตนะ
[๘๐๘] รูปที่เป็นภายในเป็นจักขายตนะ นั้นเป็นไฉน
จักษุใด เป็นปสาทรูป อาศัยมหาภูตรูป ๔ ฯลฯ นี้ชื่อว่าบ้านว่างบ้าง รูปที่เป็น
ภายในนี้ชื่อว่าเป็นจักขายตนะ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๒๒๘ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๒. รูปกัณฑ์] รูปวิภัตติ ติกนิทเทส อายตนติกะ
[๘๐๙] รูปที่เป็นภายในไม่เป็นจักขายตนะ นั้นเป็นไฉน
โสตายตนะ ฯลฯ กายายตนะ รูปที่เป็นภายในนี้ชื่อว่าไม่เป็นจักขายตนะ
พาหิรนโสตายตนติกาทิติกะ
[๘๑๐] รูปที่เป็นภายนอกไม่เป็นโสตายตนะ ฯลฯ ไม่เป็นฆานายตนะ ฯลฯ
ไม่เป็นชิวหายตนะ ฯลฯ ไม่เป็นกายายตนะ นั้นเป็นไฉน
รูปายตนะ ฯลฯ กวฬิงการาหาร รูปที่เป็นภายนอกนี้ชื่อว่าไม่เป็นกายายตนะ
[๘๑๑] รูปที่เป็นภายในเป็นกายายตนะ นั้นเป็นไฉน
กายใด เป็นปสาทรูป อาศัยมหาภูตรูป ๔ ฯลฯ นี้ชื่อว่าบ้านว่างบ้าง รูปที่
เป็นภายในนี้ชื่อว่าเป็นกายายตนะ
[๘๑๒] รูปที่เป็นภายในไม่เป็นกายายตนะ นั้นเป็นไฉน
จักขายตนะ ฯลฯ ชิวหายตนะ รูปที่เป็นภายในนี้ชื่อว่าไม่เป็นกายายตนะ
อัชฌัตติกนรูปายตนติกะ
[๘๑๓] รูปที่เป็นภายในไม่เป็นรูปายตนะ นั้นเป็นไฉน
จักขายตนะ ฯลฯ กายายตนะ รูปที่เป็นภายในนี้ชื่อว่าไม่เป็นรูปายตนะ
[๘๑๔] รูปที่เป็นภายนอกเป็นรูปายตนะ นั้นเป็นไฉน
รูปใด เป็นสีต่าง ๆ อาศัยมหาภูตรูป ๔ ฯลฯ นี้ชื่อว่ารูปธาตุบ้าง รูปที่เป็น
ภายนอกนี้ชื่อว่าเป็นรูปายตนะ
[๘๑๕] รูปที่เป็นภายนอกไม่เป็นรูปายตนะ นั้นเป็นไฉน
สัททายตนะ ฯลฯ กวฬิงการาหาร รูปที่เป็นภายนอกนี้ชื่อว่าไม่เป็นรูปายตนะ
อัชฌัตติกนสัททายตนติกาทิติกะ
[๘๑๖] รูปที่เป็นภายในไม่เป็นสัททายตนะ ฯลฯ ไม่เป็นคันธายตนะ ฯลฯ
ไม่เป็นรสายตนะ ฯลฯ ไม่เป็นโผฏฐัพพายตนะ นั้นเป็นไฉน
จักขายตนะ ฯลฯ กายายตนะ รูปที่เป็นภายในนี้ชื่อว่าไม่เป็นโผฏฐัพพายตนะ
[๘๑๗] รูปที่เป็นภายนอกเป็นโผฏฐัพพายตนะ นั้นเป็นไฉน


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๒๒๙ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๒. รูปกัณฑ์] รูปวิภัตติ ติกนิทเทส ธาตุติกะ
ปฐวีธาตุ ฯลฯ นี้ชื่อว่าโผฏฐัพพธาตุบ้าง รูปที่เป็นภายนอกนี้ ชื่อว่าเป็น
โผฏฐัพพายตนะ
[๘๑๘] รูปที่เป็นภายนอกไม่เป็นโผฏฐัพพายตนะ นั้นเป็นไฉน
รูปายตนะ ฯลฯ กวฬิงการาหาร รูปที่เป็นภายนอกนี้ ชื่อว่าไม่เป็น
โผฏฐัพพายตนะ
อายตนติกะ จบ

ธาตุติกะ
พาหิรนจักขุธาตุติกะ
[๘๑๙] รูปที่เป็นภายนอกไม่เป็นจักขุธาตุ นั้นเป็นไฉน
รูปายตนะ ฯลฯ กวฬิงการาหาร รูปที่เป็นภายนอกนี้ชื่อว่าไม่เป็นจักขุธาตุ
[๘๒๐] รูปที่เป็นภายในเป็นจักขุธาตุ นั้นเป็นไฉน
จักขายตนะ รูปที่เป็นภายในนี้ชื่อว่าเป็นจักขุธาตุ
[๘๒๑] รูปที่เป็นภายในไม่เป็นจักขุธาตุ นั้นเป็นไฉน
โสตายตนะ ฯลฯ กายายตนะ รูปที่เป็นภายในนี้ชื่อว่าไม่เป็นจักขุธาตุ
พาหิรนโสตธาตุติกาทิติกะ
[๘๒๒] รูปที่เป็นภายนอกไม่เป็นโสตธาตุ ฯลฯ ไม่เป็นฆานธาตุ ฯลฯ
ไม่เป็นชิวหาธาตุ ฯลฯ ไม่เป็นกายธาตุ นั้นเป็นไฉน
รูปายตนะ ฯลฯ กวฬิงการาหาร รูปที่เป็นภายนอกนี้ชื่อว่าไม่เป็นกายธาตุ
[๘๒๓] รูปที่เป็นภายในเป็นกายธาตุ นั้นเป็นไฉน
กายายตนะ รูปที่เป็นภายในนี้ชื่อว่าเป็นกายธาตุ
[๘๒๔] รูปที่เป็นภายในไม่เป็นกายธาตุ นั้นเป็นไฉน
จักขายตนะ ฯลฯ ชิวหายตนะ รูปที่เป็นภายในนี้ชื่อว่าไม่เป็นกายธาตุ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๒๓๐ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๒. รูปกัณฑ์] รูปวิภัตติ ติกนิทเทส อินทริยติกะ
อัชฌัตติกนรูปธาตุติกะ
[๘๒๕] รูปที่เป็นภายในไม่เป็นรูปธาตุ นั้นเป็นไฉน
จักขายตนะ ฯลฯ กายายตนะ รูปที่เป็นภายในนี้ชื่อว่าไม่เป็นรูปธาตุ
[๘๒๖] รูปที่เป็นภายนอกเป็นรูปธาตุ นั้นเป็นไฉน
รูปายตนะ รูปที่เป็นภายนอกนี้ชื่อว่าเป็นรูปธาตุ
[๘๒๗] รูปที่เป็นภายนอกไม่เป็นรูปธาตุ นั้นเป็นไฉน
สัททายตนะ ฯลฯ กวฬิงการาหาร รูปที่เป็นภายนอกนี้ชื่อว่าไม่เป็นรูปธาตุ
อัชฌัตติกนสัททธาตุติกาทิติกะ
[๘๒๘] รูปที่เป็นภายในไม่เป็นสัททธาตุ ฯลฯ ไม่เป็นคันธธาตุ ฯลฯ ไม่
เป็นรสธาตุ ฯลฯ ไม่เป็นโผฏฐัพพธาตุ นั้นเป็นไฉน
จักขายตนะ ฯลฯ กายายตนะ รูปที่เป็นภายในนี้ชื่อว่าไม่เป็นโผฏฐัพพธาตุ
[๘๒๙] รูปที่เป็นภายนอกเป็นโผฏฐัพพธาตุ นั้นเป็นไฉน
โผฏฐัพพายตนะ รูปที่เป็นภายนอกนี้ชื่อว่าเป็นโผฏฐัพพธาตุ
[๘๓๐] รูปที่เป็นภายนอกไม่เป็นโผฏฐัพพธาตุ นั้นเป็นไฉน
รูปายตนะ ฯลฯ กวฬิงการาหาร รูปที่เป็นภายนอกนี้ชื่อว่าไม่เป็นโผฏฐัพพธาตุ
ธาตุติกะ จบ

อินทริยติกะ
พาหิรนจักขุนทริยติกะ
[๘๓๑] รูปที่เป็นภายนอกไม่เป็นจักขุนทรีย์ นั้นเป็นไฉน
รูปายตนะ ฯลฯ กวฬิงการาหาร รูปที่เป็นภายนอกนี้ชื่อว่าไม่เป็นจักขุนทรีย์
[๘๓๒] รูปที่เป็นภายในเป็นจักขุนทรีย์ นั้นเป็นไฉน
จักษุใด เป็นปสาทรูป อาศัยมหาภูตรูป ๔ ฯลฯ นี้ชื่อว่าบ้านว่างบ้าง รูปที่
เป็นภายในนี้ชื่อว่าเป็นจักขุนทรีย์


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๒๓๑ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๒. รูปกัณฑ์] รูปวิภัตติ ติกนิทเทส อินทริยติกะ
[๘๓๓] รูปที่เป็นภายในไม่เป็นจักขุนทรีย์ นั้นเป็นไฉน
โสตายตนะ ฯลฯ กายายตนะ รูปที่เป็นภายในนี้ชื่อว่าไม่เป็นจักขุนทรีย์
พาหิรนโสตินทริยติกาทิติกะ
[๘๓๔] รูปที่เป็นภายนอกไม่เป็นโสตินทรีย์ ฯลฯ ไม่เป็นฆานินทรีย์ ฯลฯ
ไม่เป็นชิวหินทรีย์ ฯลฯ ไม่เป็นกายินทรีย์ นั้นเป็นไฉน
รูปายตนะ ฯลฯ กวฬิงการาหาร รูปที่เป็นภายนอกนี้ชื่อว่าไม่เป็นกายินทรีย์
[๘๓๕] รูปที่เป็นภายในเป็นกายินทรีย์ นั้นเป็นไฉน
กายใด เป็นปสาทรูป อาศัยมหาภูตรูป ๔ ฯลฯ นี้ชื่อว่าบ้านว่างบ้าง รูปที่เป็น
ภายในนี้ชื่อว่าเป็นกายินทรีย์
[๘๓๖] รูปที่เป็นภายในไม่เป็นกายินทรีย์ นั้นเป็นไฉน
จักขายตนะ ฯลฯ ชิวหายตนะ รูปที่เป็นภายในนี้ชื่อว่าไม่เป็นกายินทรีย์
อัชฌัตติกนอิตถินทริยติกะ
[๘๓๗] รูปที่เป็นภายในไม่เป็นอิตถินทรีย์ นั้นเป็นไฉน
จักขายตนะ ฯลฯ กายายตนะ รูปที่เป็นภายในนี้ชื่อว่าไม่เป็นอิตถินทรีย์
[๘๓๘] รูปที่เป็นภายนอกเป็นอิตถินทรีย์ นั้นเป็นไฉน
ทรวดทรงหญิง เครื่องหมายประจำเพศหญิง กิริยาหญิง อาการหญิง สภาพ
หญิง ภาวะหญิงของสตรี รูปที่เป็นภายนอกนี้ชื่อว่าเป็นอิตถินทรีย์
[๘๓๙] รูปที่เป็นภายนอกไม่เป็นอิตถินทรีย์ นั้นเป็นไฉน
รูปายตนะ ฯลฯ กวฬิงการาหาร รูปที่เป็นภายนอกนี้ชื่อว่าไม่เป็นอิตถินทรีย์
อัชฌัตติกนปุริสินทริยติกะ
[๘๔๐] รูปที่เป็นภายในไม่เป็นปุริสินทรีย์ นั้นเป็นไฉน
จักขายตนะ ฯลฯ กายายตนะ รูปที่เป็นภายในนี้ชื่อว่าไม่เป็นปุริสินทรีย์
[๘๔๑] รูปที่เป็นภายนอกเป็นปุริสินทรีย์ นั้นเป็นไฉน
ทรวดทรงชาย เครื่องหมายประจำเพศชาย กิริยาชาย อาการชาย สภาพชาย
ภาวะชาย ของบุรุษ รูปที่เป็นภายนอกนี้ชื่อว่าเป็นปุริสินทรีย์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๒๓๒ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๒. รูปกัณฑ์] รูปวิภัตติ ติกนิทเทส สุขุมรูปติกะ
[๘๔๒] รูปที่เป็นภายนอกไม่เป็นปุริสินทรีย์ นั้นเป็นไฉน
รูปายตนะ ฯลฯ กวฬิงการาหาร รูปที่เป็นภายนอกนี้ชื่อว่าไม่เป็นปุริสินทรีย์
อัชฌัตติกนชีวิตินทริยติกะ
[๘๔๓] รูปที่เป็นภายในไม่เป็นชีวิตินทรีย์ นั้นเป็นไฉน
จักขายตนะ ฯลฯ กายายตนะ รูปที่เป็นภายในนี้ชื่อว่าไม่เป็นชีวิตินทรีย์
[๘๔๔] รูปที่เป็นภายนอกเป็นชีวิตินทรีย์ นั้นเป็นไฉน
อายุ ความดำรงอยู่ ความเป็นไป กิริยาที่ให้เป็นไป อาการที่สืบเนื่องกัน ความ
ดำเนินไป ความหล่อเลี้ยง ชีวิต ชีวิตินทรีย์แห่งสภาวธรรมที่เป็นรูปเหล่านั้น รูปที่
เป็นภายนอกนี้ชื่อว่าเป็นชีวิตินทรีย์
[๘๔๕] รูปที่เป็นภายนอกไม่เป็นชีวิตินทรีย์ นั้นเป็นไฉน
รูปายตนะ ฯลฯ กวฬิงการาหาร รูปที่เป็นภายนอกนี้ชื่อว่าไม่เป็นชีวิตินทรีย์
อินทริยติกะ จบ

สุขุมรูปติกะ
อัชฌัตติกนกายวิญญัตติติกะ
[๘๔๖] รูปที่เป็นภายในไม่เป็นกายวิญญัติ นั้นเป็นไฉน
จักขายตนะ ฯลฯ กายายตนะ รูปที่เป็นภายในนี้ชื่อว่าไม่เป็นกายวิญญัติ
[๘๔๗] รูปที่เป็นภายนอกเป็นกายวิญญัติ นั้นเป็นไฉน
ความเข้มแข็ง กิริยาที่เข้มแข็งด้วยดี ภาวะที่เข้มแข็งด้วยดี การแสดงให้รู้ความ
หมาย กิริยาที่แสดงให้รู้ความหมาย ภาวะที่แสดงให้รู้ความหมายแห่งกายของ
บุคคลผู้มีจิตเป็นกุศล มีจิตเป็นอกุศล มีจิตเป็นอัพยากฤต ก้าวไปอยู่ ถอยกลับอยู่
แลดูอยู่ เหลียวดูอยู่ คู้เข้าอยู่ หรือเหยียดออกอยู่ รูปที่เป็นภายนอกนี้ชื่อว่าเป็น
กายวิญญัติ
[๘๔๘] รูปที่เป็นภายนอกไม่เป็นกายวิญญัติ นั้นเป็นไฉน
รูปายตนะ ฯลฯ กวฬิงการาหาร รูปที่เป็นภายนอกนี้ชื่อว่าไม่เป็นกายวิญญัติ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๒๓๓ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๒. รูปกัณฑ์] รูปวิภัตติ ติกนิทเทส สุขุมรูปติกะ
อัชฌัตติกนวจีวิญญัตติติกะ
[๘๔๙] รูปที่เป็นภายในไม่เป็นวจีวิญญัติ นั้นเป็นไฉน
จักขายตนะ ฯลฯ กายายตนะ รูปที่เป็นภายในนี้ชื่อว่าไม่เป็นวจีวิญญัติ
[๘๕๐] รูปที่เป็นภายนอกเป็นวจีวิญญัติ นั้นเป็นไฉน
การพูด การเปล่งวาจา การเจรจา การกล่าว การป่าวร้อง การโฆษณา วาจา
วจีเภท ของบุคคลผู้มีจิตเป็นกุศล มีจิตเป็นอกุศล หรือมีจิตเป็นอัพยากฤต นี้เรียกว่า
วาจา การแสดงให้รู้ความหมาย กิริยาที่แสดงให้รู้ความหมาย ภาวะที่แสดงให้รู้
ความหมายด้วยวาจานั้น รูปที่เป็นภายนอกนี้ชื่อว่าเป็นวจีวิญญัติ
[๘๕๑] รูปที่เป็นภายนอกไม่เป็นวจีวิญญัติ นั้นเป็นไฉน
รูปายตนะ ฯลฯ กวฬิงการาหาร รูปที่เป็นภายนอกนี้ชื่อว่าไม่เป็นวจีวิญญัติ
อัชฌัตติกนอากาสธาตุติกะ
[๘๕๒] รูปที่เป็นภายในไม่เป็นอากาสธาตุ นั้นเป็นไฉน
จักขายตนะ ฯลฯ กายายตนะ รูปที่เป็นภายในนี้ชื่อว่าไม่เป็นอากาสธาตุ
[๘๕๓] รูปที่เป็นภายนอกเป็นอากาสธาตุ นั้นเป็นไฉน
อากาศ ธรรมชาติที่นับว่าอากาศ ความว่างเปล่า ธรรมชาติที่นับว่าความ
ว่างเปล่า ช่องว่าง ธรรมชาติที่นับว่าช่องว่างซึ่งมหาภูตรูป ๔ ถูกต้องไม่ได้ รูปที่เป็น
ภายนอกนี้ชื่อว่าเป็นอากาสธาตุ
[๘๕๔] รูปที่เป็นภายนอกไม่เป็นอากาสธาตุ นั้นเป็นไฉน
รูปายตนะ ฯลฯ กวฬิงการาหาร รูปที่เป็นภายนอกนี้ชื่อว่าไม่เป็นอากาสธาตุ
อัชฌัตติกนอาโปธาตุติกะ
[๘๕๕] รูปที่เป็นภายในไม่เป็นอาโปธาตุ นั้นเป็นไฉน
จักขายตนะ ฯลฯ กายายตนะ รูปที่เป็นภายในนี้ชื่อว่าไม่เป็นอาโปธาตุ
[๘๕๖] รูปที่เป็นภายนอกเป็นอาโปธาตุ นั้นเป็นไฉน
ความเอิบอาบ ธรรมชาติที่เอิบอาบ ความเหนียว ธรรมชาติที่เหนียว
ธรรมชาติเป็นเครื่องเกาะกุมรูป รูปที่เป็นภายนอกนี้ชื่อว่าเป็นอาโปธาตุ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๒๓๔ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๒. รูปกัณฑ์] รูปวิภัตติ ติกนิทเทส สุขุมรูปติกะ
[๘๕๗] รูปที่เป็นภายนอกไม่เป็นอาโปธาตุ นั้นเป็นไฉน
รูปายตนะ ฯลฯ กวฬิงการาหาร รูปที่เป็นภายนอกนี้ชื่อว่าไม่เป็นอาโปธาตุ
อัชฌัตติกนรูปัสสลหุตาติกะ
[๘๕๘] รูปที่เป็นภายในไม่เป็นลหุตารูป นั้นเป็นไฉน
จักขายตนะ ฯลฯ กายายตนะ รูปที่เป็นภายในนี้ชื่อว่าไม่เป็นลหุตารูป
[๘๕๙] รูปที่เป็นภายนอกเป็นลหุตารูป นั้นเป็นไฉน
ความเบา ความรวดเร็ว ความไม่เชื่องช้า ความไม่หนักแห่งรูป รูปที่เป็น
ภายนอกนี้ชื่อว่าเป็นลหุตารูป
[๘๖๐] รูปที่เป็นภายนอกไม่เป็นลหุตารูป นั้นเป็นไฉน
รูปายตนะ ฯลฯ กวฬิงการาหาร รูปที่เป็นภายนอกนี้ชื่อว่าไม่เป็นลหุตารูป
อัชฌัตติกนรูปัสสมุทุตาติกะ
[๘๖๑] รูปที่เป็นภายในไม่เป็นมุทุตารูป นั้นเป็นไฉน
จักขายตนะ ฯลฯ กายายตนะ รูปที่เป็นภายในนี้ชื่อว่าไม่เป็นมุทุตารูป
[๘๖๒] รูปที่เป็นภายนอกเป็นมุทุตารูป นั้นเป็นไฉน
ความอ่อน ภาวะที่อ่อน ความไม่แข็ง ความไม่กระด้างแห่งรูป รูปที่เป็น
ภายนอกนี้ชื่อว่าเป็นมุทุตารูป
[๘๖๓] รูปที่เป็นภายนอกไม่เป็นมุทุตารูป นั้นเป็นไฉน
รูปายตนะ ฯลฯ กวฬิงการาหาร รูปที่เป็นภายนอกนี้ชื่อว่าไม่เป็นมุทุตารูป
อัชฌัตติกนรูปัสสกัมมัญญตาติกะ
[๘๖๔] รูปที่เป็นภายในไม่เป็นกัมมัญญตารูป นั้นเป็นไฉน
จักขายตนะ ฯลฯ กายายตนะ รูปที่เป็นภายในนี้ชื่อว่าไม่เป็นกัมมัญญตารูป
[๘๖๕] รูปที่เป็นภายนอกเป็นกัมมัญญตารูป นั้นเป็นไฉน
ความควรแก่การงาน กิริยาที่ควรแก่การงาน ภาวะที่ควรแก่การงานแห่งรูป
รูปที่เป็นภายนอกนี้ชื่อว่าเป็นกัมมัญญตารูป


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๒๓๕ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๒. รูปกัณฑ์] รูปวิภัตติ ติกนิทเทส สุขุมรูปติกะ
[๘๖๖] รูปที่เป็นภายนอกไม่เป็นกัมมัญญตารูป นั้นเป็นไฉน
รูปายตนะ ฯลฯ กวฬิงการาหาร รูปที่เป็นภายนอกนี้ชื่อว่าไม่เป็น
กัมมัญญตารูป
อัชฌัตติกนรูปัสสอุปจยติกะ
[๘๖๗] รูปที่เป็นภายในไม่เป็นอุปจยรูป นั้นเป็นไฉน
จักขายตนะ ฯลฯ กายายตนะ รูปที่เป็นภายในนี้ชื่อว่าไม่เป็นอุปจยรูป
[๘๖๘] รูปที่เป็นภายนอกเป็นอุปจยรูป นั้นเป็นไฉน
ความแรกเกิดแห่งอายตนะ เป็นความเจริญแห่งรูป รูปที่เป็นภายนอกนี้ชื่อว่า
เป็นอุปจยรูป
[๘๖๙] รูปที่เป็นภายนอกไม่เป็นอุปจยรูป นั้นเป็นไฉน
รูปายตนะ ฯลฯ กวฬิงการาหาร รูปที่เป็นภายนอกนี้ชื่อว่าไม่เป็นอุปจยรูป
อัชฌัตติกนรูปัสสสันตติติกะ
[๘๗๐] รูปที่เป็นภายในไม่เป็นสันตติรูป นั้นเป็นไฉน
จักขายตนะ ฯลฯ กายายตนะ รูปที่เป็นภายในนี้ชื่อว่าไม่เป็นสันตติรูป
[๘๗๑] รูปที่เป็นภายนอกเป็นสันตติรูป นั้นเป็นไฉน
ความเจริญแห่งรูป เป็นความสืบต่อแห่งรูป รูปที่เป็นภายนอกนี้ชื่อว่า
เป็นสันตติรูป
[๘๗๒] รูปที่เป็นภายนอกไม่เป็นสันตติรูป นั้นเป็นไฉน
รูปายตนะ ฯลฯ กวฬิงการาหาร รูปที่เป็นภายนอกนี้ชื่อว่าไม่เป็นสันตติรูป
อัชฌัตติกนรูปัสสชรตาติกะ
[๘๗๓] รูปที่เป็นภายในไม่เป็นชรตารูป นั้นเป็นไฉน
จักขายตนะ ฯลฯ กายายตนะ รูปที่เป็นภายในนี้ชื่อว่าไม่เป็นชรตารูป
[๘๗๔] รูปที่เป็นภายนอกเป็นชรตารูป นั้นเป็นไฉน


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๒๓๖ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๒. รูปกัณฑ์] รูปวิภัตติ ติกนิทเทส สุขุมรูปติกะ
ความชรา ความคร่ำคร่า ความมีฟันหลุด ความมีผมหงอก ความมีหนังเหี่ยว
ความเสื่อมอายุ ความหง่อมแห่งอินทรีย์ของรูป รูปที่เป็นภายนอกนี้ชื่อว่าเป็น
ชรตารูป
[๘๗๕] รูปที่เป็นภายนอกไม่เป็นชรตารูป นั้นเป็นไฉน
รูปายตนะ ฯลฯ กวฬิงการาหาร รูปที่เป็นภายนอกนี้ชื่อว่าไม่เป็นชรตารูป
อัชฌัตติกนรูปัสสอนิจจตาติกะ
[๘๗๖] รูปที่เป็นภายในไม่เป็นอนิจจตารูป นั้นเป็นไฉน
จักขายตนะ ฯลฯ กายายตนะ รูปที่เป็นภายในนี้ชื่อว่าไม่เป็นอนิจจตารูป
[๘๗๗] รูปที่เป็นภายนอกเป็นอนิจจตารูป นั้นเป็นไฉน
ความสิ้นไป ความเสื่อมไป ความแตก ความทำลาย ความไม่เที่ยง ความ
หายไปแห่งรูป รูปที่เป็นภายนอกนี้ชื่อว่าเป็นอนิจจตารูป
[๘๗๘] รูปที่เป็นภายนอกไม่เป็นอนิจจตารูป นั้นเป็นไฉน
รูปายตนะ ฯลฯ กวฬิงการาหาร รูปที่เป็นภายนอกนี้ชื่อว่าไม่เป็นอนิจจตารูป
อัชฌัตติกนกวฬิงการาหารติกะ
[๘๗๙] รูปที่เป็นภายในไม่เป็นกวฬิงการาหาร นั้นเป็นไฉน
จักขายตนะ ฯลฯ กายายตนะ รูปที่เป็นภายในนี้ชื่อว่าไม่เป็นกวฬิงการาหาร
[๘๘๐] รูปที่เป็นภายนอกเป็นกวฬิงการาหาร นั้นเป็นไฉน
ข้าวสุก ขนมสด ขนมแห้ง ปลา เนื้อ นมสด นมส้ม เนยใส เนยข้น น้ำมัน
น้ำผึ้ง น้ำอ้อย หรือรูปแม้อื่น มีอยู่ ที่พึงกินทางปาก ขบเคี้ยว กลืนกิน อิ่มท้อง ซึ่ง
มีโอชาเป็นเหตุให้สัตว์ในสถานที่นั้น ๆ ดำรงชีพอยู่ได้ รูปที่เป็นภายนอกนี้ชื่อว่าเป็น
กวฬิงการาหาร
[๘๘๑] รูปที่เป็นภายนอกไม่เป็นกวฬิงการาหาร นั้นเป็นไฉน
รูปายตนะ ฯลฯ อนิจจตารูป รูปที่เป็นภายนอกนี้ชื่อว่าไม่เป็นกวฬิงการาหาร
สุขุมรูปติกะ จบ
รวมรูปหมวดละ ๓ อย่างนี้
ติกนิทเทส จบ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๒๓๗ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๒. รูปกัณฑ์] รูปวิภัตติ จตุกกนิทเทส
จตุกกนิทเทส
อุปาทาอุปาทินนจตุกกะ
[๘๘๒] รูปที่เป็นอุปาทายรูปเป็นรูปที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและ
ทิฏฐิยึดถือ นั้นเป็นไฉน
จักขายตนะ ฯลฯ กายายตนะ อิตถินทรีย์ ปุริสินทรีย์ และชีวิตินทรีย์ หรือ
รูปแม้อื่น มีอยู่ ได้แก่ รูปายตนะ คันธายตนะ รสายตนะ อากาสธาตุ อุปจยรูป
สันตติรูป และกวฬิงการาหารที่กรรมปรุงแต่งขึ้น รูปที่เป็นอุปาทายรูปนี้ชื่อว่ากรรม
อันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือ
[๘๘๓] รูปที่เป็นอุปาทายรูปเป็นรูปที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและ
ทิฏฐิไม่ยึดถือ นั้นเป็นไฉน
สัททายตนะ กายวิญญัติ วจีวิญญัติ ลหุตารูป มุทุตารูป กัมมัญญตารูป
ชรตารูป และอนิจจตารูป หรือรูปแม้อื่น มีอยู่ ได้แก่ รูปายตนะ คันธายตนะ
รสายตนะ อากาสธาตุ อุปจยรูป สันตติรูป และกวฬิงการาหารที่กรรมไม่ได้ปรุงแต่ง
ขึ้น รูปที่เป็นอุปาทายรูปนี้ชื่อว่ากรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือ
[๘๘๔] รูปที่ไม่เป็นอุปาทายรูปเป็นรูปที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและ
ทิฏฐิยึดถือ นั้นเป็นไฉน
โผฏฐัพพายตนะ และอาโปธาตุที่กรรมปรุงแต่งขึ้น รูปที่ไม่เป็นอุปาทายรูปนี้ชื่อ
ว่ากรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือ
[๘๘๕] รูปที่ไม่เป็นอุปาทายรูปเป็นรูปที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและ
ทิฏฐิไม่ยึดถือ นั้นเป็นไฉน
โผฏฐัพพายตนะ และอาโปธาตุที่กรรมไม่ได้ปรุงแต่งขึ้น รูปที่ไม่เป็นอุปาทายรูป
นี้ ชื่อว่ากรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือ
อุปาทาอุปาทินนุปาทานิยจตุกกะ
[๘๘๖] รูปที่เป็นอุปาทายรูปเป็นรูปที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาทิฏฐิยึด
ถือและเป็นอารมณ์ของอุปาทาน นั้นเป็นไฉน


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๒๓๘ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๒. รูปกัณฑ์] รูปวิภัตติ จตุกกนิทเทส
จักขายตนะ ฯลฯ กายายตนะ อิตถินทรีย์ ปุริสินทรีย์ และชีวิตินทรีย์ หรือ
รูปแม้อื่น มีอยู่ ได้แก่ รูปายตนะ คันธายตนะ รสายตนะ อากาสธาตุ อุปจยรูป
สันตติรูป และกวฬิงการาหาร ที่กรรมปรุงแต่งขึ้น รูปที่เป็นอุปาทายรูปนี้ชื่อว่า
กรรมอันประกอบด้วยตัณหาทิฏฐิยึดถือและเป็นอารมณ์ของอุปาทาน
[๘๘๗] รูปที่เป็นอุปาทายรูปเป็นรูปที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและ
ทิฏฐิไม่ยึดถือแต่เป็นอารมณ์ของอุปาทาน นั้นเป็นไฉน
สัททายตนะ กายวิญญัติ วจีวิญญัติ ลหุตารูป มุทุตารูป กัมมัญญตารูป
ชรตารูป และอนิจจตารูป หรือรูปแม้อื่น มีอยู่ ได้แก่ รูปายตนะ คันธายตนะ
รสายตนะ อากาสธาตุ อุปจยรูป สันตติรูป และกวฬิงการาหารที่กรรมไม่ได้ปรุงแต่ง
ขึ้น รูปที่เป็นอุปาทายรูปนี้ชื่อว่ากรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือแต่
เป็นอารมณ์ของอุปาทาน
[๘๘๘] รูปที่ไม่เป็นอุปาทายรูปเป็นรูปที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาทิฏฐิ
ยึดถือและเป็นอารมณ์ของอุปาทาน นั้นเป็นไฉน
โผฏฐัพพายตนะ และอาโปธาตุที่กรรมปรุงแต่งขึ้น รูปที่ไม่เป็นอุปาทายรูปนี้
ชื่อว่ากรรมอันประกอบด้วยตัณหาทิฏฐิยึดถือและเป็นอารมณ์ของอุปาทาน
[๘๘๙] รูปที่ไม่เป็นอุปาทายรูปเป็นรูปที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและ
ทิฏฐิไม่ยึดถือแต่เป็นอารมณ์ของอุปาทาน นั้นเป็นไฉน
โผฏฐัพพายตนะ และอาโปธาตุที่กรรมไม่ได้ปรุงแต่งขึ้น รูปที่ไม่เป็นอุปาทายรูป
นี้ชื่อว่ากรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือแต่เป็นอารมณ์ของอุปาทาน
อุปาทาสัปปฏิฆจตุกกะ
[๘๙๐] รูปที่เป็นอุปาทายรูปเป็นรูปที่กระทบได้ นั้นเป็นไฉน
จักขายตนะ ฯลฯ รสายตนะ รูปที่เป็นอุปาทายรูปนี้ชื่อว่าเป็นรูปที่กระทบได้
[๘๙๑] รูปที่เป็นอุปาทายรูปเป็นรูปที่กระทบไม่ได้ นั้นเป็นไฉน
อิตถินทรีย์ ฯลฯ กวฬิงการาหาร รูปที่เป็นอุปาทายรูปนี้ชื่อว่าเป็นรูปที่กระทบ
ไม่ได้


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๒๓๙ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๒. รูปกัณฑ์] รูปวิภัตติ จตุกกนิทเทส
[๘๙๒] รูปที่ไม่เป็นอุปาทายรูปเป็นรูปที่กระทบได้ นั้นเป็นไฉน
โผฏฐัพพายตนะ รูปที่ไม่เป็นอุปาทายรูปนี้ชื่อว่าเป็นรูปที่กระทบได้
[๘๙๓] รูปที่ไม่เป็นอุปาทายรูปเป็นรูปที่กระทบไม่ได้ นั้นเป็นไฉน
อาโปธาตุ รูปที่ไม่เป็นอุปาทายรูปนี้ชื่อว่าเป็นรูปที่กระทบไม่ได้
อุปาทาโอฬาริกจตุกกะ
[๘๙๔] รูปที่เป็นอุปาทายรูปเป็นรูปหยาบ นั้นเป็นไฉน
จักขายตนะ ฯลฯ รสายตนะ รูปที่เป็นอุปาทายรูปนี้ชื่อว่าเป็นรูปหยาบ
[๘๙๕] รูปที่เป็นอุปาทายรูปเป็นรูปละเอียด นั้นเป็นไฉน
อิตถินทรีย์ ฯลฯ กวฬิงการาหาร รูปที่เป็นอุปาทายรูปนี้ชื่อว่าเป็นรูปละเอียด
[๘๙๖] รูปที่ไม่เป็นอุปาทายรูปเป็นรูปหยาบ นั้นเป็นไฉน
โผฏฐัพพายตนะ รูปที่ไม่เป็นอุปาทายรูปนี้ชื่อว่าเป็นรูปหยาบ
[๘๙๗] รูปที่ไม่เป็นอุปาทายรูปเป็นรูปละเอียด นั้นเป็นไฉน
อาโปธาตุ รูปที่ไม่เป็นอุปาทายรูปนี้ชื่อว่าเป็นรูปละเอียด
อุปาทาทูเรจตุกกะ
[๘๙๘] รูปที่เป็นอุปาทายรูปเป็นรูปไกล นั้นเป็นไฉน
อิตถินทรีย์ ฯลฯ กวฬิงการาหาร รูปที่เป็นอุปาทายรูปนี้ชื่อว่าเป็นรูปไกล
[๘๙๙] รูปที่เป็นอุปาทายรูปเป็นรูปใกล้ นั้นเป็นไฉน
จักขายตนะ ฯลฯ รสายตนะ รูปที่เป็นอุปาทายรูปนี้ชื่อว่าเป็นรูปใกล้
[๙๐๐] รูปที่ไม่เป็นอุปาทายรูปเป็นรูปไกล นั้นเป็นไฉน
อาโปธาตุ รูปที่ไม่เป็นอุปาทายรูปนี้ชื่อว่าเป็นรูปไกล
[๙๐๑] รูปที่ไม่เป็นอุปาทายรูปเป็นรูปใกล้ นั้นเป็นไฉน
โผฏฐัพพายตนะ รูปที่ไม่เป็นอุปาทายรูปนี้ชื่อว่าเป็นรูปใกล้
อุปาทินนสนิทัสสนจตุกกะ
[๙๐๒] รูปที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือเป็นรูปที่เห็นได้
นั้นเป็นไฉน


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๒๔๐ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๒. รูปกัณฑ์] รูปวิภัตติ จตุกกนิทเทส
รูปายตนะที่กรรมปรุงแต่งขึ้น รูปที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือ
นี้ชื่อว่าเห็นได้
[๙๐๓] รูปที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือเป็นรูปที่เห็นไม่ได้
นั้นเป็นไฉน
จักขายตนะ ฯลฯ กายายตนะ อิตถินทรีย์ ปุริสินทรีย์ และชีวิตินทรีย์ หรือ
รูปแม้อื่น มีอยู่ ได้แก่ คันธายตนะ รสายตนะ โผฏฐัพพายตนะ อากาสธาตุ
อาโปธาตุ อุปจยรูป สันตติรูป และกวฬิงการาหารที่กรรมปรุงแต่งขึ้น รูปที่กรรมอัน
ประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือนี้ชื่อว่าเห็นไม่ได้
[๙๐๔] รูปที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือเป็นรูปที่เห็นได้
นั้นเป็นไฉน
รูปายตนะที่กรรมไม่ได้ปรุงแต่งขึ้น รูปที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิ
ไม่ยึดถือนี้ชื่อว่าเห็นได้
[๙๐๕] รูปที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือเป็นรูปที่เห็น
ไม่ได้ นั้นเป็นไฉน
สัททายตนะ กายวิญญัติ วจีวิญญัติ ลหุตารูป มุทุตารูป กัมมัญญตารูป
ชรตารูป และอนิจจตารูป หรือรูปแม้อื่น มีอยู่ ได้แก่ คันธายตนะ รสายตนะ
โผฏฐัพพายตนะ อากาสธาตุ อาโปธาตุ อุปจยรูป สันตติรูป และกวฬิงการาหาร
ที่กรรมไม่ได้ปรุงแต่งขึ้น รูปที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือนี้ชื่อว่า
เห็นไม่ได้
อุปาทินนสัปปฏิฆจตุกกะ
[๙๐๖] รูปที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือเป็นรูปที่กระทบได้
นั้นเป็นไฉน
จักขายตนะ ฯลฯ กายายตนะ หรือรูปแม้อื่น มีอยู่ ได้แก่ รูปายตนะ
คันธายตนะ รสายตนะ และโผฏฐัพพายตนะที่กรรมปรุงแต่งขึ้น รูปที่กรรมอัน
ประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือนี้ชื่อว่ากระทบได้


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๒๔๑ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๒. รูปกัณฑ์] รูปวิภัตติ จตุกกนิทเทส
[๙๐๗] รูปที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือเป็นรูปที่กระทบ
ไม่ได้ นั้นเป็นไฉน
อิตถินทรีย์ ปุริสินทรีย์ และชีวิตินทรีย์ หรือรูปแม้อื่น มีอยู่ ได้แก่ อากาสธาตุ
อาโปธาตุ อุปจยรูป สันตติรูป และกวฬิงการาหารที่กรรมปรุงแต่งขึ้น รูปที่กรรมอัน
ประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือนี้ชื่อว่ากระทบไม่ได้
[๙๐๘] รูปที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือเป็นรูปที่
กระทบได้ นั้นเป็นไฉน
สัททายตนะ หรือรูปแม้อื่น มีอยู่ ได้แก่ รูปายตนะ คันธายตนะ รสายตนะ และ
โผฏฐัพพายตนะที่กรรมไม่ได้ปรุงแต่งขึ้น รูปที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิ
ไม่ยึดถือนี้ชื่อว่ากระทบได้
[๙๐๙] รูปที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือเป็นรูปที่
กระทบไม่ได้ นั้นเป็นไฉน
กายวิญญัติ วจีวิญญัติ ลหุตารูป มุทุตารูป กัมมัญญตารูป ชรตารูป และ
อนิจจตารูป หรือรูปแม้อื่น มีอยู่ ได้แก่ อากาสธาตุ อาโปธาตุ อุปจยรูป สันตติรูป
และกวฬิงการาหารที่กรรมไม่ได้ปรุงแต่งขึ้น รูปที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและ
ทิฏฐิไม่ยึดถือนี้ชื่อว่ากระทบไม่ได้
อุปาทินนมหาภูตจตุกกะ
[๙๑๐] รูปที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือเป็นมหาภูตรูป
นั้นเป็นไฉน
โผฏฐัพพายตนะ และอาโปธาตุที่กรรมปรุงแต่งขึ้น รูปที่กรรมอันประกอบด้วย
ตัณหาและทิฏฐิยึดถือนี้ชื่อว่าเป็นมหาภูตรูป
[๙๑๑] รูปที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือไม่เป็นมหาภูตรูป
นั้นเป็นไฉน
จักขายตนะ ฯลฯ กายายตนะ อิตถินทรีย์ ปุริสินทรีย์ และชีวิตินทรีย์ หรือ
รูปแม้อื่น มีอยู่ ได้แก่ รูปายตนะ คันธายตนะ รสายตนะ อากาสธาตุ อุปจยรูป
สันตติรูป และกวฬิงการาหารที่กรรมปรุงแต่งขึ้น รูปที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหา
และทิฏฐิยึดถือนี้ชื่อว่าไม่เป็นมหาภูตรูป


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๒๔๒ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๒. รูปกัณฑ์] รูปวิภัตติ จตุกกนิทเทส
[๙๑๒] รูปที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือเป็นมหาภูตรูป
นั้น เป็นไฉน
โผฏฐัพพายตนะ และอาโปธาตุที่กรรมไม่ได้ปรุงแต่งขึ้น รูปที่กรรมอันประกอบ
ด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือนี้ชื่อว่าเป็นมหาภูตรูป
[๙๑๓] รูปที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือไม่เป็นมหา-
ภูตรูป นั้นเป็นไฉน
สัททายตนะ กายวิญญัติ วจีวิญญัติ ลหุตารูป มุทุตารูป กัมมัญญตารูป
ชรตารูป และอนิจจตารูป หรือรูปแม้อื่น มีอยู่ ได้แก่ รูปายตนะ คันธายตนะ รสายตนะ
อากาสธาตุ อุปจยรูป สันตติรูป และกวฬิงการาหารที่กรรมไม่ได้ปรุงแต่งขึ้น รูปที่
กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือนี้ชื่อว่าไม่เป็นมหาภูตรูป
อุปาทินนโอฬาริกจตุกกะ
[๙๑๔] รูปที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือเป็นรูปหยาบ นั้น
เป็นไฉน
จักขายตนะ ฯลฯ กายายตนะ หรือรูปแม้อื่น มีอยู่ ได้แก่ รูปายตนะ คันธายตนะ
รสายตนะ และโผฏฐัพพายตนะที่กรรมปรุงแต่งขึ้น รูปที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหา
และทิฏฐิยึดถือนี้ชื่อว่าเป็นรูปหยาบ
[๙๑๕] รูปที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือเป็นรูปละเอียด
นั้นเป็นไฉน
อิตถินทรีย์ ปุริสินทรีย์ และชีวิตินทรีย์ หรือรูปแม้อื่น มีอยู่ ได้แก่ อากาสธาตุ
อาโปธาตุ อุปจยรูป สันตติรูป และกวฬิงการาหารที่กรรมปรุงแต่งขึ้น รูปที่กรรมอัน
ประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือนี้ชื่อว่าเป็นรูปละเอียด
[๙๑๖] รูปที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือเป็นรูปหยาบ
นั้นเป็นไฉน
สัททายตนะ หรือรูปแม้อื่น มีอยู่ ได้แก่ รูปายตนะ คันธายตนะ รสายตนะ
และโผฏฐัพพายตนะอันกรรมไม่ได้ปรุงแต่งขึ้น รูปที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและ
ทิฏฐิไม่ยึดถือนี้ชื่อว่าเป็นรูปหยาบ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๒๔๓ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๒. รูปกัณฑ์] รูปวิภัตติ จตุกกนิทเทส
[๙๑๗] รูปที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือเป็นรูปละเอียด
นั้นเป็นไฉน
กายวิญญัติ วจีวิญญัติ ลหุตารูป มุทุตารูป กัมมัญญตารูป ชรตารูป และ
อนิจจตารูป หรือรูปแม้อื่น มีอยู่ ได้แก่ อากาสธาตุ อาโปธาตุ อุปจยรูป สันตติรูป
และกวฬิงการาหารที่กรรมไม่ได้ปรุงแต่งขึ้น รูปที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและ
ทิฏฐิไม่ยึดถือนี้ชื่อว่าเป็นรูปละเอียด
อุปาทินนทูเรจตุกกะ
[๙๑๘] รูปที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือเป็นรูปไกล นั้น
เป็นไฉน
อิตถินทรีย์ ปุริสินทรีย์ และชีวิตินทรีย์ หรือรูปแม้อื่น มีอยู่ ได้แก่ อากาสธาตุ
อาโปธาตุ อุปจยรูป สันตติรูป และกวฬิงการาหารที่กรรมปรุงแต่งขึ้น รูปที่กรรมอัน
ประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือนี้ชื่อว่าเป็นรูปไกล
[๙๑๙] รูปที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือเป็นรูปใกล้ นั้น
เป็นไฉน
จักขายตนะ ฯลฯ กายายตนะ หรือรูปแม้อื่น มีอยู่ ได้แก่ รูปายตนะ
คันธายตนะ รสายตนะ และโผฏฐัพพายตนะที่กรรมปรุงแต่งขึ้น รูปที่กรรมอัน
ประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือนี้ชื่อว่าเป็นรูปใกล้
[๙๒๐] รูปที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือเป็นรูปไกล
นั้นเป็นไฉน
กายวิญญัติ วจีวิญญัติ ลหุตารูป มุทุตารูป กัมมัญญตารูป ชรตารูป และ
อนิจจตารูป หรือรูปแม้อื่น มีอยู่ ได้แก่ อากาสธาตุ อาโปธาตุ อุปจยรูป สันตติรูป
และกวฬิงการาหารที่กรรมไม่ได้ปรุงแต่งขึ้น รูปที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและ
ทิฏฐิไม่ยึดถือนี้ชื่อว่าเป็นรูปไกล
[๙๒๑] รูปที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือเป็นรูปใกล้
นั้นเป็นไฉน


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๒๔๔ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๒. รูปกัณฑ์] รูปวิภัตติ จตุกกนิทเทส
สัททายตนะ หรือรูปแม้อื่น มีอยู่ ได้แก่ รูปายตนะ คันธายตนะ รสายตนะ และ
โผฏฐัพพายตนะที่กรรมไม่ได้ปรุงแต่งขึ้น รูปที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิ
ไม่ยึดถือนี้ชื่อว่าเป็นรูปใกล้
อุปาทินนุปาทานิยสนิทัสสนจตุกกะ
[๙๒๒] รูปที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาทิฏฐิยึดถือและเป็นอารมณ์ของ
อุปาทานเป็นรูปที่เห็นได้ นั้นเป็นไฉน
รูปายตนะที่กรรมปรุงแต่งขึ้น รูปที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาทิฏฐิยึดถือและ
เป็นอารมณ์ของอุปาทานนี้ชื่อว่าเห็นได้
[๙๒๓] รูปที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาทิฏฐิยึดถือและเป็นอารมณ์ของ
อุปาทานเป็นรูปที่เห็นไม่ได้ นั้นเป็นไฉน
จักขายตนะ ฯลฯ กายายตนะ อิตถินทรีย์ ปุริสินทรีย์ และชีวิตินทรีย์ หรือ
รูปแม้อื่น มีอยู่ ได้แก่ คันธายตนะ รสายตนะ โผฏฐัพพายตนะ อากาสธาตุ
อาโปธาตุ อุปจยรูป สันตติรูป และกวฬิงการาหารที่กรรมปรุงแต่งขึ้น รูปที่กรรม
อันประกอบด้วยตัณหาทิฏฐิยึดถือและเป็นอารมณ์ของอุปาทานนี้ชื่อว่าเห็นไม่ได้
[๙๒๔] รูปที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือแต่เป็น
อารมณ์ของอุปาทานเป็นรูปที่เห็นได้ นั้นเป็นไฉน
รูปายตนะที่กรรมไม่ได้ปรุงแต่งขึ้น รูปที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิ
ไม่ยึดถือแต่เป็นอารมณ์ของอุปาทานนี้ชื่อว่าเห็นได้
[๙๒๕] รูปที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือแต่เป็น
อารมณ์ของอุปาทานเป็นรูปที่เห็นไม่ได้ นั้นเป็นไฉน
สัททายตนะ กายวิญญัติ วจีวิญญัติ ลหุตารูป มุทุตารูป กัมมัญญตารูป
ชรตารูป และอนิจจตารูป หรือรูปแม้อื่น มีอยู่ ได้แก่ คันธายตนะ รสายตนะ
โผฏฐัพพายตนะ อากาสธาตุ อาโปธาตุ อุปจยรูป สันตติรูป และกวฬิงการาหารที่
กรรมไม่ได้ปรุงแต่งขึ้น รูปที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือแต่เป็น
อารมณ์ของอุปาทานนี้ชื่อว่าเห็นไม่ได้


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๒๔๕ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๒. รูปกัณฑ์] รูปวิภัตติ จตุกกนิทเทส
อุปาทินนุปาทานิยสัปปฏิฆจตุกกะ
[๙๒๖] รูปที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาทิฏฐิยึดถือและเป็นอารมณ์ของ
อุปาทานเป็นรูปที่กระทบได้ นั้นเป็นไฉน
จักขายตนะ ฯลฯ กายายตนะ หรือรูปแม้อื่น มีอยู่ ได้แก่ รูปายตนะ
คันธายตนะ รสายตนะ และโผฏฐัพพายตนะที่กรรมปรุงแต่งขึ้น รูปที่กรรมอัน
ประกอบด้วยตัณหาทิฏฐิยึดถือและเป็นอารมณ์ของอุปาทานนี้ชื่อว่ากระทบได้
[๙๒๗] รูปที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาทิฏฐิยึดถือและเป็นอารมณ์ของ
อุปาทานเป็นรูปที่กระทบไม่ได้ นั้นเป็นไฉน
อิตถินทรีย์ ปุริสินทรีย์ และชีวิตินทรีย์ หรือรูปแม้อื่น มีอยู่ ได้แก่ อากาสธาตุ
อาโปธาตุ อุปจยรูป สันตติรูป และกวฬิงการาหารที่กรรมปรุงแต่งขึ้น รูปที่กรรมอัน
ประกอบด้วยตัณหาทิฏฐิยึดถือและเป็นอารมณ์ของอุปาทานนี้ชื่อว่ากระทบไม่ได้
[๙๒๘] รูปที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือแต่เป็น
อารมณ์ของอุปาทานเป็นรูปที่กระทบได้ นั้นเป็นไฉน
สัททายตนะ หรือรูปแม้อื่น มีอยู่ ได้แก่ รูปายตนะ คันธายตนะ รสายตนะ และ
โผฏฐัพพายตนะที่กรรมไม่ได้ปรุงแต่งขึ้น รูปที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิ
ไม่ยึดถือแต่เป็นอารมณ์ของอุปาทานนี้ชื่อว่ากระทบได้
[๙๒๙] รูปที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือแต่เป็น
อารมณ์ของอุปาทานเป็นรูปที่กระทบไม่ได้ นั้นเป็นไฉน
กายวิญญัติ วจีวิญญัติ ลหุตารูป มุทุตารูป กัมมัญญตารูป ชรตารูป และ
อนิจจตารูป หรือรูปแม้อื่น มีอยู่ ได้แก่ อากาสธาตุ อาโปธาตุ อุปจยรูป สันตติรูป
และกวฬิงการาหารที่กรรมไม่ได้ปรุงแต่งขึ้น รูปที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและ
ทิฏฐิไม่ยึดถือแต่เป็นอารมณ์ของอุปาทานนี้ชื่อว่ากระทบไม่ได้
อุปาทินนุปาทานิยมหาภูตจตุกกะ
[๙๓๐] รูปที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาทิฏฐิยึดถือและเป็นอารมณ์ของ
อุปาทานเป็นมหาภูตรูป นั้นเป็นไฉน


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๒๔๖ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๒. รูปกัณฑ์] รูปวิภัตติ จตุกกนิทเทส
โผฏฐัพพายตนะ และอาโปธาตุที่กรรมปรุงแต่งขึ้น รูปที่กรรมอันประกอบด้วย
ตัณหาทิฏฐิยึดถือและเป็นอารมณ์ของอุปาทานนี้ชื่อว่าเป็นมหาภูตรูป
[๙๓๑] รูปที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาทิฏฐิยึดถือและเป็นอารมณ์ของ
อุปาทาน ไม่เป็นมหาภูตรูป นั้นเป็นไฉน
จักขายตนะ ฯลฯ กายายตนะ อิตถินทรีย์ ปุริสินทรีย์ และชีวิตินทรีย์ หรือ
รูปแม้อื่น มีอยู่ ได้แก่ รูปายตนะ คันธายตนะ รสายตนะ อากาสธาตุ อุปจยรูป
สันตติรูป และกวฬิงการาหารที่กรรมปรุงแต่งขึ้น รูปที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหา
ทิฏฐิยึดถือและเป็นอารมณ์ของอุปาทานนี้ชื่อว่าไม่เป็นมหาภูตรูป
[๙๓๒] รูปที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือแต่เป็น
อารมณ์ของอุปาทานเป็นมหาภูตรูป นั้นเป็นไฉน
โผฏฐัพพายตนะ และอาโปธาตุที่กรรมไม่ได้ปรุงแต่งขึ้น รูปที่กรรมอันประกอบ
ด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือแต่เป็นอารมณ์ของอุปาทานนี้ชื่อว่าเป็นมหาภูตรูป
[๙๓๓] รูปที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือแต่เป็น
อารมณ์ของอุปาทาน ไม่เป็นมหาภูตรูป นั้นเป็นไฉน
สัททายตนะ กายวิญญัติ วจีวิญญัติ ลหุตารูป มุทุตารูป กัมมัญญตารูป
ชรตารูป และอนิจจตารูป หรือรูปแม้อื่น มีอยู่ ได้แก่ รูปายตนะ คันธายตนะ
รสายตนะ อากาสธาตุ อุปจยรูป สันตติรูป และกวฬิงการาหารที่กรรมไม่ได้ปรุงแต่ง
ขึ้น รูปที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือแต่เป็นอารมณ์ของอุปาทาน
นี้ชื่อว่าไม่เป็นมหาภูตรูป
อุปาทินนุปาทานิยโอฬาริกจตุกกะ
[๙๓๔] รูปที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาทิฏฐิยึดถือและเป็นอารมณ์ของ
อุปาทานเป็นรูปหยาบ นั้นเป็นไฉน
จักขายตนะ ฯลฯ กายายตนะ หรือรูปแม้อื่น มีอยู่ ได้แก่ รูปายตนะ
คันธายตนะ รสายตนะ และโผฏฐัพพายตนะที่กรรมปรุงแต่งขึ้น รูปที่กรรมอัน
ประกอบด้วยตัณหาทิฏฐิยึดถือและเป็นอารมณ์ของอุปาทานนี้ชื่อว่าเป็นรูปหยาบ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๒๔๗ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๒. รูปกัณฑ์] รูปวิภัตติ จตุกกนิทเทส
[๙๓๕] รูปที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาทิฏฐิยึดถือและเป็นอารมณ์ของ
อุปาทานเป็นรูปละเอียด นั้นเป็นไฉน
อิตถินทรีย์ ปุริสินทรีย์ และชีวิตินทรีย์ หรือรูปแม้อื่น มีอยู่ ได้แก่ อากาสธาตุ
อาโปธาตุ อุปจยรูป สันตติรูป และกวฬิงการาหารที่กรรมปรุงแต่งขึ้น รูปที่กรรมอัน
ประกอบด้วยตัณหาทิฏฐิยึดถือและเป็นอารมณ์ของอุปาทานนี้ชื่อว่าเป็นรูปละเอียด
[๙๓๖] รูปที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือแต่เป็น
อารมณ์ของอุปาทานเป็นรูปหยาบ นั้นเป็นไฉน
สัททายตนะ หรือรูปแม้อื่น มีอยู่ ได้แก่ รูปายตนะ คันธายตนะ รสายตนะ และ
โผฏฐัพพายตนะที่กรรมไม่ได้ปรุงแต่งขึ้น รูปที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิ
ไม่ยึดถือแต่เป็นอารมณ์ของอุปาทานนี้ชื่อว่าเป็นรูปหยาบ
[๙๓๗] รูปที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือแต่เป็น
อารมณ์ของอุปาทานเป็นรูปละเอียด นั้นเป็นไฉน
กายวิญญัติ วจีวิญญัติ ลหุตารูป มุทุตารูป กัมมัญญตารูป ชรตารูป และ
อนิจจตารูป หรือรูปแม้อื่น มีอยู่ ได้แก่ อากาสธาตุ อาโปธาตุ อุปจยรูป สันตติรูป
และกวฬิงการาหารที่กรรมไม่ได้ปรุงแต่งขึ้น รูปที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและ
ทิฏฐิไม่ยึดถือแต่เป็นอารมณ์ของอุปาทานนี้ชื่อว่าเป็นรูปละเอียด
อุปาทินนุปาทานิยทูเรจตุกกะ
[๙๓๘] รูปที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาทิฏฐิยึดถือและเป็นอารมณ์ของ
อุปาทานเป็นรูปไกล นั้นเป็นไฉน
อิตถินทรีย์ ปุริสินทรีย์ และชีวิตินทรีย์ หรือรูปแม้อื่น มีอยู่ ได้แก่ อากาสธาตุ
อาโปธาตุ อุปจยรูป สันตติรูป และกวฬิงการาหารที่กรรมปรุงแต่งขึ้น รูปที่กรรมอัน
ประกอบด้วยตัณหาทิฏฐิยึดถือและเป็นอารมณ์ของอุปาทานนี้ชื่อว่าเป็นรูปไกล
[๙๓๙] รูปที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาทิฏฐิยึดถือและเป็นอารมณ์ของ
อุปาทานเป็นรูปใกล้ นั้นเป็นไฉน
จักขายตนะ ฯลฯ กายายตนะ หรือรูปแม้อื่น มีอยู่ ได้แก่ รูปายตนะ
คันธายตนะ รสายตนะ และโผฏฐัพพายตนะที่กรรมปรุงแต่งขึ้น รูปที่กรรมอัน
ประกอบด้วยตัณหาทิฏฐิยึดถือและเป็นอารมณ์ของอุปาทานนี้ชื่อว่าเป็นรูปใกล้


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๒๔๘ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๒. รูปกัณฑ์] รูปวิภัตติ จตุกกนิทเทส
[๙๔๐] รูปที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือแต่เป็น
อารมณ์ของอุปาทานเป็นรูปไกล นั้นเป็นไฉน
กายวิญญัติ วจีวิญญัติ ลหุตารูป มุทุตารูป กัมมัญญตารูป ชรตารูป และ
อนิจจตารูป หรือรูปแม้อื่น มีอยู่ ได้แก่ อากาสธาตุ อาโปธาตุ อุปจยรูป สันตติรูป
และกวฬิงการาหารที่กรรมไม่ได้ปรุงแต่งขึ้น รูปที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและ
ทิฏฐิไม่ยึดถือแต่เป็นอารมณ์ของอุปาทานนี้ชื่อว่าเป็นรูปไกล
[๙๔๑] รูปที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือแต่เป็น
อารมณ์ของอุปาทานเป็นรูปใกล้ นั้นเป็นไฉน
สัททายตนะ หรือรูปแม้อื่น มีอยู่ ได้แก่ รูปายตนะ คันธายตนะ รสายตนะ และ
โผฏฐัพพายตนะที่กรรมไม่ได้ปรุงแต่งขึ้น รูปที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิ
ไม่ยึดถือแต่เป็นอารมณ์ของอุปาทานนี้ชื่อว่าเป็นรูปใกล้
สัปปฏิฆอินทริยจตุกกะ
[๙๔๒] รูปที่กระทบได้เป็นอินทริยรูป นั้นเป็นไฉน
จักขุนทรีย์ ฯลฯ กายินทรีย์ รูปที่กระทบได้นี้ชื่อว่าเป็นอินทริยรูป
[๙๔๓] รูปที่กระทบได้ไม่เป็นอินทริยรูป นั้นเป็นไฉน
รูปายตนะ ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะ รูปที่กระทบได้นี้ชื่อว่าไม่เป็นอินทริยรูป
[๙๔๔] รูปที่กระทบไม่ได้เป็นอินทริยรูป นั้นเป็นไฉน
อิตถินทรีย์ ปุริสินทรีย์ และชีวิตินทรีย์ รูปที่กระทบไม่ได้นี้ชื่อว่าเป็นอินทริยรูป
[๙๔๕] รูปที่กระทบไม่ได้ไม่เป็นอินทริยรูป นั้นเป็นไฉน
กายวิญญัติ วจีวิญญัติ ฯลฯ กวฬิงการาหาร รูปที่กระทบไม่ได้นี้ชื่อว่าไม่เป็น
อินทริยรูป
สัปปฏิฆมหาภูตจตุกกะ
[๙๔๖] รูปที่กระทบได้เป็นมหาภูตรูป นั้นเป็นไฉน
โผฏฐัพพายตนะ รูปที่กระทบได้นี้ชื่อว่าเป็นมหาภูตรูป


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๒๔๙ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๒. รูปกัณฑ์] รูปวิภัตติ จตุกกนิทเทส
[๙๔๗] รูปที่กระทบได้ไม่เป็นมหาภูตรูป นั้นเป็นไฉน
จักขายตนะ ฯลฯ รสายตนะ รูปที่กระทบได้นี้ชื่อว่าไม่เป็นมหาภูตรูป
[๙๔๘] รูปที่กระทบไม่ได้เป็นมหาภูตรูป นั้นเป็นไฉน
อาโปธาตุ รูปที่กระทบไม่ได้นี้ชื่อว่าเป็นมหาภูตรูป
[๙๔๙] รูปที่กระทบไม่ได้ไม่เป็นมหาภูตรูป นั้นเป็นไฉน
อิตถินทรีย์ ฯลฯ กวฬิงการาหาร รูปที่กระทบไม่ได้นี้ชื่อว่าไม่เป็นมหาภูตรูป
อินทริยโอฬาริกจตุกกะ
[๙๕๐] รูปที่เป็นอินทริยรูปเป็นรูปหยาบ นั้นเป็นไฉน
จักขุนทรีย์ ฯลฯ กายินทรีย์ รูปที่เป็นอินทริยรูปนี้ชื่อว่าเป็นรูปหยาบ
[๙๕๑] รูปที่เป็นอินทริยรูปเป็นรูปละเอียด นั้นเป็นไฉน
อิตถินทรีย์ ปุริสินทรีย์ และชีวิตินทรีย์ รูปที่เป็นอินทริยรูปนี้ชื่อว่าเป็นรูป
ละเอียด
[๙๕๒] รูปที่ไม่เป็นอินทริยรูปเป็นรูปหยาบ นั้นเป็นไฉน
รูปายตนะ ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะ รูปที่ไม่เป็นอินทริยรูปนี้ชื่อว่าเป็นรูปหยาบ
[๙๕๓] รูปที่ไม่เป็นอินทริยรูปเป็นรูปละเอียด นั้นเป็นไฉน
กายวิญญัติ วจีวิญญัติ ฯลฯ กวฬิงการาหาร รูปที่ไม่เป็นอินทริยรูปนี้ชื่อว่า
เป็นรูปละเอียด
อินทริยทูเรจตุกกะ
[๙๕๔] รูปที่เป็นอินทริยรูปเป็นรูปไกล นั้นเป็นไฉน
อิตถินทรีย์ ปุริสินทรีย์ และชีวิตินทรีย์ รูปที่เป็นอินทริยรูปนี้ชื่อว่าเป็นรูปไกล
[๙๕๕] รูปที่เป็นอินทริยรูปเป็นรูปใกล้ นั้นเป็นไฉน
จักขุนทรีย์ ฯลฯ กายินทรีย์ รูปที่เป็นอินทริยรูปนี้ชื่อว่าเป็นรูปใกล้
[๙๕๖] รูปที่ไม่เป็นอินทริยรูปเป็นรูปไกล นั้นเป็นไฉน
กายวิญญัติ วจีวิญญัติ ฯลฯ กวฬิงการาหาร รูปที่ไม่เป็นอินทริยรูปนี้ชื่อว่า
เป็นรูปไกล
[๙๕๗] รูปที่ไม่เป็นอินทริยรูปเป็นรูปใกล้ นั้นเป็นไฉน
รูปายตนะ ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะ รูปที่ไม่เป็นอินทริยรูปนี้ชื่อว่าเป็นรูปใกล้


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๒๕๐ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๒. รูปกัณฑ์] รูปวิภัตติ จตุกกนิทเทส
มหาภูตโอฬาริกจตุกกะ
[๙๕๘] รูปที่เป็นมหาภูตรูปเป็นรูปหยาบ นั้นเป็นไฉน
โผฏฐัพพายตนะ รูปที่เป็นมหาภูตรูปนี้ชื่อว่าเป็นรูปหยาบ
[๙๕๙] รูปที่เป็นมหาภูตรูปเป็นรูปละเอียด นั้นเป็นไฉน
อาโปธาตุ รูปที่เป็นมหาภูตรูปนี้ชื่อว่าเป็นรูปละเอียด
[๙๖๐] รูปที่ไม่เป็นมหาภูตรูปเป็นรูปหยาบ นั้นเป็นไฉน
จักขายตนะ ฯลฯ รสายตนะ รูปที่ไม่เป็นมหาภูตรูปนี้ชื่อว่าเป็นรูปหยาบ
[๙๖๑] รูปที่ไม่เป็นมหาภูตรูปเป็นรูปละเอียด นั้นเป็นไฉน
อิตถินทรีย์ ฯลฯ กวฬิงการาหาร รูปที่ไม่เป็นมหาภูตรูปนี้ชื่อว่าเป็นรูปละเอียด
มหาภูตทูเรจตุกกะ
[๙๖๒] รูปที่เป็นมหาภูตรูปเป็นรูปไกล นั้นเป็นไฉน
อาโปธาตุ รูปที่เป็นมหาภูตรูปนี้ชื่อว่าเป็นรูปไกล
[๙๖๓] รูปที่เป็นมหาภูตรูปเป็นรูปใกล้ นั้นเป็นไฉน
โผฏฐัพพายตนะ รูปที่เป็นมหาภูตรูปนี้ชื่อว่าเป็นรูปใกล้
[๙๖๔] รูปที่ไม่เป็นมหาภูตรูปเป็นรูปไกล นั้นเป็นไฉน
อิตถินทรีย์ ฯลฯ กวฬิงการาหาร รูปที่ไม่เป็นมหาภูตรูปนี้ชื่อว่าเป็นรูปไกล
[๙๖๕] รูปที่ไม่เป็นมหาภูตรูปเป็นรูปใกล้ นั้นเป็นไฉน
จักขายตนะ ฯลฯ รสายตนะ รูปที่ไม่เป็นมหาภูตรูปนี้ชื่อว่าเป็นรูปใกล้
ทิฏฐาทิจตุกกะ
[๙๖๖] รูปที่เห็นได้คือรูปายตนะ๑ รูปที่สดับได้คือสัททายตนะ รูปที่ทราบได้คือ
คันธายตนะ รสายตนะ และโผฏฐัพพายตนะ รูปที่รู้แจ้งได้ด้วยใจคือรูปทั้งหมด
รวมรูปหมวดละ ๔ อย่างนี้
จตุกกนิทเทส จบ

เชิงอรรถ :
๑ อภิ.สงฺ.อ. ๓๙๖

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๒๕๑ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๒. รูปกัณฑ์] รูปวิภัตติ ปัญจกนิทเทส
ปัญจกนิทเทส
[๙๖๗] รูปที่เป็นปฐวีธาตุ นั้นเป็นไฉน
ธรรมชาติที่แข็ง ธรรมชาติที่กระด้าง ความแข็ง ภาวะที่แข็งภายในตนหรือ
ภายนอกตน ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือ หรือที่กรรมอันประกอบ
ด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือ รูปนี้ชื่อว่าเป็นปฐวีธาตุ
[๙๖๘] รูปที่เป็นอาโปธาตุ นั้นเป็นไฉน
ความเอิบอาบ ธรรมชาติที่เอิบอาบ ความเหนียว ธรรมชาติที่เหนียว
ธรรมชาติเป็นเครื่องเกาะกุมรูปภายในตนหรือภายนอกตน ที่กรรมอันประกอบด้วย
ตัณหาและทิฏฐิยึดถือ หรือที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือ รูปนี้ชื่อ
ว่าเป็นอาโปธาตุ
[๙๖๙] รูปที่เป็นเตโชธาตุ นั้นเป็นไฉน
ความร้อน ธรรมชาติที่ร้อน ความอุ่น ธรรมชาติที่อุ่น ความอบอุ่น ธรรมชาติ
ที่อบอุ่นภายในตนหรือภายนอกตน ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือ
หรือที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือ รูปนี้ชื่อว่าเป็นเตโชธาตุ
[๙๗๐] รูปที่เป็นวาโยธาตุ นั้นเป็นไฉน
ความพัดไปมา ธรรมชาติที่พัดไปมา ธรรมชาติเครื่องค้ำจุนรูปภายในตนหรือ
ภายนอกตน ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือ หรือที่กรรมอันประกอบ
ด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือ รูปนี้ชื่อว่าเป็นวาโยธาตุ
[๙๗๑] รูปที่เป็นอุปาทายรูป นั้นเป็นไฉน
จักขายตนะ ฯลฯ กวฬิงการาหาร รูปนี้ชื่อว่าเป็นอุปาทายรูป
รวมรูปหมวดละ ๕ อย่างนี้
ปัญจกนิทเทส จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๒๕๒ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๒. รูปกัณฑ์] รูปวิภัตติ อัฏฐกนิทเทส
ฉักกนิทเทส
[๙๗๒] รูปที่จักขุวิญญาณรู้ได้คือรูปายตนะ รูปที่โสตวิญญาณรู้ได้คือสัททายตนะ
รูปที่ฆานวิญญาณรู้ได้คือคันธายตนะ รูปที่ชิวหาวิญญาณรู้ได้คือรสายตนะ รูปที่
กายวิญญาณรู้ได้คือโผฏฐัพพายตนะ รูปที่มโนวิญญาณรู้ได้คือรูปทั้งหมด
รวมรูปหมวดละ ๖ อย่างนี้
ฉักกนิทเทส จบ

สัตตกนิทเทส
[๙๗๓] รูปที่จักขุวิญญาณรู้ได้คือรูปายตนะ รูปที่โสตวิญญาณรู้ได้คือสัททายตนะ
รูปที่ฆานวิญญาณรู้ได้คือคันธายตนะ รูปที่ชิวหาวิญญาณรู้ได้คือรสายตนะ รูปที่
กายวิญญาณรู้ได้คือโผฏฐัพพายตนะ รูปที่มโนธาตุรู้ได้คือรูปายตนะ สัททายตนะ
คันธายตนะ รสายตนะ และโผฏฐัพพายตนะ รูปที่มโนวิญญาณธาตุรู้ได้คือรูปทั้งหมด
รวมรูปหมวดละ ๗ อย่างนี้
สัตตกนิทเทส จบ

อัฏฐกนิทเทส
[๙๗๔] รูปที่จักขุวิญญาณรู้ได้คือรูปายตนะ รูปที่โสตวิญญาณรู้ได้คือสัททายตนะ
รูปที่ฆานวิญญาณรู้ได้คือคันธายตนะ รูปที่ชิวหาวิญญาณรู้ได้คือรสายตนะ รูปที่
กายวิญญาณรู้ได้คือโผฏฐัพพะที่น่าชอบใจซึ่งมีสัมผัสเป็นสุข รูปที่กายวิญญาณรู้ได้
คือโผฏฐัพพะที่ไม่น่าชอบใจซึ่งมีสัมผัสเป็นทุกข์ รูปที่มโนธาตุรู้ได้คือรูปายตนะ
สัททายตนะ คันธายตนะ รสายตนะ และโผฏฐัพพายตนะ รูปที่มโนวิญญาณธาตุรู้ได้
คือรูปทั้งหมด
รวมรูปหมวดละ ๘ อย่างนี้
อัฏฐกนิทเทส จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๒๕๓ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๒. รูปกัณฑ์] รูปวิภัตติ ทสกนิเทส
นวกนิทเทส
[๙๗๕] รูปที่เป็นจักขุนทรีย์ นั้นเป็นไฉน
จักษุใด เป็นปสาทรูป อาศัยมหาภูตรูป ๔ ฯลฯ นี้ชื่อว่าบ้านว่างบ้าง รูปนี้
ชื่อว่าเป็นจักขุนทรีย์
[๙๗๖] รูปที่เป็นโสตินทรีย์ ฯลฯ เป็นฆานินทรีย์ ฯลฯ เป็นชิวหินทรีย์
ฯลฯ เป็นกายินทรีย์ ฯลฯ เป็นอิตถินทรีย์ ฯลฯ เป็นปุริสินทรีย์ ฯลฯ เป็น
ชีวิตินทรีย์ นั้นเป็นไฉน
อายุ ความดำรงอยู่ ความเป็นไป กิริยาที่ให้เป็นไป อาการที่สืบเนื่องกัน ความ
ดำเนินไป ความหล่อเลี้ยง ชีวิต ชีวิตินทรีย์แห่งสภาวธรรมที่เป็นรูปเหล่านั้น รูปนี้
ชื่อว่าเป็นชีวิตินทรีย์
[๙๗๗] รูปที่ไม่เป็นอินทรีย์ นั้นเป็นไฉน
รูปายตนะ ฯลฯ กวฬิงการาหาร รูปนี้ชื่อว่าไม่เป็นอินทรีย์
รวมรูปหมวดละ ๙ อย่างนี้
นวกนิทเทส จบ

ทสกนิทเทส
[๙๗๘] รูปที่เป็นจักขุนทรีย์ นั้นเป็นไฉน
จักษุใด เป็นปสาทรูป อาศัยมหาภูตรูป ๔ ฯลฯ นี้ชื่อว่าบ้านว่างบ้าง รูป
นี้ชื่อว่าเป็นจักขุนทรีย์
[๙๗๙] รูปที่เป็นโสตินทรีย์ ฯลฯ เป็นฆานินทรีย์ ฯลฯ เป็นชิวหินทรีย์
ฯลฯ เป็นกายินทรีย์ ฯลฯ เป็นอิตถินทรีย์ ฯลฯ เป็นปุริสินทรีย์ ฯลฯ
เป็นชีวิตินทรีย์ นั้นเป็นไฉน
อายุ ความดำรงอยู่ ความเป็นไป กิริยาที่ให้เป็นไป อาการที่สืบเนื่องกัน
ความดำเนินไป ความหล่อเลี้ยง ชีวิต ชีวิตินทรีย์แห่งสภาวธรรมที่เป็นรูปเหล่านั้น
รูปนี้ชื่อว่าเป็นชีวิตินทรีย์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๒๕๔ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๒. รูปกัณฑ์] รูปวิภัตติ เอกาทสกนิทเทส
[๙๘๐] รูปที่ไม่เป็นอินทรีย์ที่กระทบได้ นั้นเป็นไฉน
รูปายตนะ ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะ รูปที่ไม่เป็นอินทรีย์นี้ชื่อว่ากระทบได้
[๙๘๑] รูปที่ไม่เป็นอินทรีย์ที่กระทบไม่ได้ นั้นเป็นไฉน
กายวิญญัติ ฯลฯ กวฬิงการาหาร รูปที่ไม่เป็นอินทรีย์นี้ชื่อว่ากระทบไม่ได้
รวมรูปหมวดละ ๑๐ อย่างนี้
ทสกนิทเทส จบ

เอกาทสกนิทเทส
[๙๘๒] รูปที่เป็นจักขายตนะ นั้นเป็นไฉน
จักษุใด เป็นปสาทรูป อาศัยมหาภูตรูป ๔ ฯลฯ นี้ชื่อว่าบ้านว่างบ้าง รูปนี้
ชื่อว่าเป็นจักขายตนะ
[๙๘๓] รูปที่เป็นโสตายตนะ ฯลฯ เป็นฆานายตนะ ฯลฯ เป็นชิวหายตนะ
ฯลฯ เป็นกายายตนะ ฯลฯ เป็นรูปายตนะ ฯลฯ เป็นสัททายตนะ ฯลฯ เป็น
คันธายตนะ ฯลฯ เป็นรสายตนะ ฯลฯ เป็นโผฏฐัพพายตนะ นั้นเป็นไฉน
ปฐวีธาตุ ฯลฯ โผฏฐัพพธาตุบ้าง รูปนี้ชื่อว่าเป็นโผฏฐัพพายตนะ
[๙๘๔] รูปที่เห็นไม่ได้และกระทบไม่ได้ซึ่งนับเนื่องในธัมมายตนะ นั้นเป็น
ไฉน
อิตถินทรีย์ ฯลฯ กวฬิงการาหาร รูปที่เห็นไม่ได้ กระทบไม่ได้นี้ชื่อว่านับเนื่อง
ในธัมมายตนะ
รวมรูปหมวดละ ๑๑ อย่างนี้
เอกาทสกนิทเทส จบ
ภาณวารที่ ๘ จบ
รูปวิภัตติ จบ
รูปกัณฑ์ จบ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๒๕๕ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๓. นิกเขปกัณฑ์] ติกนิกเขปะ
๓. นิกเขปกัณฑ์
ติกนิกเขปะ
๑. กุสลติกะ
[๙๘๕] สภาวธรรมที่เป็นกุศล เป็นไฉน
กุศลมูล ๓ คือ อโลภะ อโทสะ และอโมหะ ได้แก่ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์
สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ ที่สัมปยุตด้วยกุศลมูลนั้น และกายกรรม วจีกรรม
มโนกรรม ที่มีกุศลมูลนั้นเป็นสมุฏฐาน สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล
[๙๘๖] สภาวธรรมที่เป็นอกุศล เป็นไฉน
อกุศลมูล ๓ คือ โลภะ โทสะ โมหะ และกิเลสที่ตั้งอยู่ในฐานเดียวกันกับอกุศล
มูลนั้น ได้แก่ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ และวิญญาณขันธ์ ที่สัมปยุต
ด้วยอกุศลมูลนั้น กายกรรม วจีกรรม และมโนกรรม ที่มีอกุศลมูลนั้นเป็นสมุฏฐาน
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นอกุศล
[๙๘๗] สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤต เป็นไฉน
วิบากแห่งสภาวธรรมที่เป็นกุศลและอกุศล ซึ่งเป็นกามาวจร รูปาวจร
อรูปาวจร และที่ไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ ได้แก่ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์
และวิญญาณขันธ์ สภาวธรรมที่เป็นกิริยา ไม่เป็นกุศล ไม่เป็นอกุศล และไม่เป็นวิบาก
แห่งกรรม รูปทั้งหมด และธาตุที่ปัจจัยไม่ปรุงแต่ง๑ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็น
อัพยากฤต
๒. เวทนาติกะ
[๙๘๘] สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนา เป็นไฉน
สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ และวิญญาณขันธ์ ที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาขันธ์นั้น
เว้นสุขเวทนาในกามาวจร รูปาวจร และในจิตที่ไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ อันเป็นที่เกิด
แห่งสุขเวทนาแล้ว สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าสัมปยุตด้วยสุขเวทนา

เชิงอรรถ :
๑ อสงฺขตา จ ธาตุ (ที.สี.อ. ๒๕๙)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๒๕๖ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๓. นิกเขปกัณฑ์] ติกนิกเขปะ
[๙๘๙] สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนา เป็นไฉน
สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ และวิญญาณขันธ์ ที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนานั้น เว้น
ทุกขเวทนาในกามาวจรอันเป็นที่เกิดแห่งทุกขเวทนาแล้ว สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า
สัมปยุตด้วยทุกขเวทนา
[๙๙๐] สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา เป็นไฉน
สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ และวิญญาณขันธ์ ที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนานั้น
เว้นอทุกขมสุขเวทนาในกามาวจร รูปาวจร อรูปาวจร และในจิตที่ไม่นับเนื่องใน
วัฏฏทุกข์ อันเป็นที่เกิดแห่งอทุกขมสุขเวทนาแล้ว สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าสัมปยุต
ด้วยอทุกขมสุขเวทนา
๓. วิปากติกะ
[๙๙๑] สภาวธรรมที่เป็นวิบาก๑เป็นไฉน
วิบากแห่งสภาวธรรมที่เป็นกุศลและอกุศล ซึ่งเป็นกามาวจร รูปาวจร
อรูปาวจร และที่ไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ ได้แก่ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์
และวิญญาณขันธ์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นวิบาก๑
[๙๙๒] สภาวธรรมที่เป็นเหตุให้เกิดวิบาก เป็นไฉน
สภาวธรรมที่เป็นกุศลและอกุศล ซึ่งเป็นกามาวจร รูปาวจร อรูปาวจร และ
ที่ไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ ได้แก่ เวทนาขันธ์ ฯลฯ และวิญญาณขันธ์ สภาวธรรม
เหล่านี้ชื่อว่าเป็นเหตุให้เกิดวิบาก
[๙๙๓] สภาวธรรมที่ไม่เป็นวิบากและไม่เป็นเหตุให้เกิดวิบาก เป็นไฉน
สภาวธรรมที่เป็นกิริยา ไม่เป็นกุศล ไม่เป็นอกุศล ไม่เป็นวิบากแห่งกรรม รูป
ทั้งหมด และธาตุที่ปัจจัยไม่ปรุงแต่ง สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าไม่เป็นวิบากและไม่เป็น
เหตุให้เกิดวิบาก
๔. อุปาทินนติกะ
[๙๙๔] สภาวธรรมที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาทิฏฐิยึดถือและเป็น
อารมณ์ของอุปาทาน เป็นไฉน

เชิงอรรถ :
๑ อภิ.สงฺ.อ. ๘๘

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๒๕๗ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๓. นิกเขปกัณฑ์] ติกนิกเขปะ
วิบากแห่งสภาวธรรมที่เป็นกุศลและอกุศล ซึ่งเป็นอารมณ์ของอาสวะ เป็น
กามาวจร รูปาวจร และอรูปาวจร ได้แก่ เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ และรูปที่
กรรมปรุงแต่ง สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่ากรรมอันประกอบด้วยด้วยตัณหาทิฏฐิยึดถือ
และเป็นอารมณ์ของอุปาทาน๑
[๙๙๕] สภาวธรรมที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือแต่
เป็นอารมณ์ของอุปาทาน เป็นไฉน
สภาวธรรมที่เป็นกุศลและอกุศล ซึ่งเป็นอารมณ์ของอาสวะ เป็นกามาวจร
รูปาวจร และอรูปาวจร ได้แก่ เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ สภาวธรรมที่เป็น
กิริยา ไม่เป็นกุศล ไม่เป็นอกุศล ไม่เป็นวิบากแห่งกรรม และรูปที่กรรมไม่ปรุงแต่ง
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่ากรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือแต่เป็น
อารมณ์ของอุปาทาน
[๙๙๖] สภาวธรรมที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาทิฏฐิไม่ยึดถือและไม่
เป็นอารมณ์ของอุปาทาน เป็นไฉน
มรรค ผลของมรรคที่ไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ และธาตุที่ปัจจัยไม่ปรุงแต่ง
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่ากรรมอันประกอบด้วยตัณหาทิฏฐิไม่ยึดถือและไม่เป็น
อารมณ์ของอุปาทาน
๕. สังกิลิฏฐติกะ
[๙๙๗] สภาวธรรมที่กิเลสทำให้เศร้าหมองและเป็นอารมณ์ของกิเลส
เป็นไฉน
อกุศลมูล ๓ คือ โลภะ โทสะ โมหะ และกิเลสที่ตั้งอยู่ในฐานเดียวกันกับอกุศล
มูลนั้น ได้แก่ เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ที่สัมปยุตด้วยอกุศลมูลนั้น กายกรรม
วจีกรรม และมโนกรรม ที่มีอกุศลมูลนั้นเป็นสมุฏฐาน สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า
กิเลสทำให้เศร้าหมองและเป็นอารมณ์ของกิเลส๑
[๙๙๘] สภาวธรรมที่กิเลสไม่ทำให้เศร้าหมองแต่เป็นอารมณ์ของกิเลส
เป็นไฉน

เชิงอรรถ :
๑ อภิ.สงฺ.อ. ๙๐

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๒๕๘ }


>>>>> หน้าต่อไป >>>>>





eXTReMe Tracker