ค้นว่าอยู่เล่มใด แล้วกด [ctrl]+f หรือใช้คำสั่งของเครื่องหาตำแหน่งในเล่มอีกทีนะครับ



จัดรูปหน้าใหม่
เพื่อความสะดวก และสวยงาม
(เฉพาะหน้าจอใหญ่ เช่น คอมพิวเตอร์)
กรุณาคลิก จัดรูปหน้าใหม่
เพื่อให้กรอบ
ค้นข้อความ ปรากฎที่ด้านซ้ายของหน้า

พระไตรปิฎกภาษาไทย
ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ๔๕ เล่ม (ปกสีฟ้า)
ทั้งออนไลน์และออฟไลน์
ที่มาของข้อมูล : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับ มจร.
MCUTRAI Version 1.0

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๓-๒ สุตตันตปิฎกที่ ๒๕ ขุททกนิกาย
อปทาน ภาค ๒ พุทธวงศ์ จริยาปิฎก

พระสุตตันตปิฎก
ขุททกนิกาย อปทาน ภาค ๒
_____________
ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๑. กณิการวรรค] ๗. อัชเชลผลทายกเถราปทาน
[๗๐] ในกัปที่ ๓๑ นับจากกัปนี้ไป
ข้าพเจ้าได้ถวายผลไม้ไว้ในครั้งนั้น
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการถวายผลไม้
[๗๑] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว
ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๗๒] การที่ข้าพเจ้ามาในสำนักของพระพุทธเจ้า
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๗๓] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าก็ได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระมาตุลุงคผลทายกเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วย
ประการฉะนี้
มาตุลุงคผลทายกเถราปทานที่ ๖ จบ

๗. อัชเชลผลทายกเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระอัชเชลผลทายกเถระ
(พระอัชเชลผลทายกเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๗๔] ครั้งนั้น พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าอชินะ(สิทธัตถะ)
ผู้เพียบพร้อมด้วยจรณะ ฉลาดในสมาธิ เป็นมุนี
ประทับอยู่ที่ภูเขาหิมพานต์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๑๙๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๑. กณิการวรรค] ๘. อโมรผลิยเถราปทาน
[๗๕] ข้าพเจ้าถือผลรกฟ้ามีขนาดเท่าหม้อ
ถือร่มใบไม้แล้วได้ถวายพระศาสดา
[๗๖] ในกัปที่ ๙๔ นับจากกัปนี้ไป
ข้าพเจ้าได้ถวายผลไม้ไว้ในครั้งนั้น
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการถวายผลไม้
[๗๗] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว
ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๗๘] การที่ข้าพเจ้ามาในสำนักของพระพุทธเจ้า
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๗๙] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าก็ได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระอัชเชลผลทายกเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการ
ฉะนี้
อัชเชลผลทายกเถราปทานที่ ๗ จบ

๘. อโมรผลิยเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระอโมรผลิยเถระ
(พระอโมรผลิยเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๘๐] ข้าพเจ้าได้ถวายผลอโมระแด่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ผู้มีพระฉวีวรรณดังทองคำ ผู้สมควรรับเครื่องบูชา
ซึ่งกำลังเสด็จดำเนินไปตามถนน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๑๙๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๑. กณิการวรรค] ๙. ตาลผลิยเถราปทาน
[๘๑] ในกัปที่ ๙๑ นับจากกัปนี้ไป
ข้าพเจ้าได้ถวายผลไม้ไว้ในครั้งนั้น
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการถวายผลไม้
[๘๒] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว
ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๘๓] การที่ข้าพเจ้ามาในสำนักของพระพุทธเจ้า
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๘๔] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าก็ได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระอโมรผลิยเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
อโมรผลิยเถราปทานที่ ๘ จบ

๙. ตาลผลิยเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระตาลผลิยเถระ
(พระตาลผลิยเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๘๕] พระผู้มีพระภาคพระนามว่าสตรังสี๑
ทรงเป็นพระสยัมภู ผู้ไม่ทรงพ่ายแพ้
ทรงออกจากวิเวกแล้วเสด็จไปบิณฑบาต

เชิงอรรถ :
๑ สตรังสี เป็นพระคุณนามของพระพุทธเจ้า หมายถึงพระพุทธเจ้ามีพระรัศมีแผ่ออกจากพระวรกายหลายร้อย
หลายแสน เปรียบเหมือนรัศมีดวงอาทิตย์ที่แผ่ออกไปทั่วทุกทิศ (ขุ.อป.อ. ๒/๖๒-๓/๑๕๔,๑๕/๑๙๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๑๙๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๑. กณิการวรรค] ๙. ตาลผลิยเถราปทาน
[๘๖] ข้าพเจ้าถือผลไม้อยู่ ได้เห็นแล้ว
จึงเข้าไปเฝ้าพระองค์ผู้องอาจกว่านรชน
เป็นผู้มีจิตเลื่อมใส มีใจยินดี จึงได้ถวายผลตาล
[๘๗] ในกัปที่ ๙๔ นับจากกัปนี้ไป
ข้าพเจ้าได้ถวายผลไม้ไว้ในครั้งนั้น
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการถวายผลไม้
[๘๘] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว
ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๘๙] การที่ข้าพเจ้ามาในสำนักของพระพุทธเจ้า
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๙๐] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าก็ได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระตาลผลิยเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
ตาลผลิยเถราปทานที่ ๙ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๑๙๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๑. กณิการวรรค] ๑๐. นาฬิเกรผลทายกเถราปทาน
๑๐. นาฬิเกรผลทายกเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระนาฬิเกรผลทายกเถระ
(พระนาฬิเกรผลทายกเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๙๑] ครั้งนั้น ข้าพเจ้าเป็นชาวสวนอยู่ในกรุงพันธุมดี
ได้เห็นพระพุทธเจ้าผู้ปราศจากธุลีคือกิเลส
ซึ่งกำลังเสด็จไปในอากาศ
[๙๒] ข้าพเจ้าได้ถือผลมะพร้าวไปถวายพระพุทธเจ้า
ผู้ประเสริฐที่สุด พระองค์ผู้มีพระยศยิ่งใหญ่
ประทับยืนอยู่ในอากาศ ทรงรับแล้ว
[๙๓] ทำให้ข้าพเจ้าเกิดความปลื้มใจ
และทรงนำความสุขมาให้ในปัจจุบัน
ข้าพเจ้ามีจิตผ่องใส เพราะได้ถวายผลมะพร้าวแด่พระพุทธเจ้า
[๙๔] ได้ประสบปีติอันไพบูลย์และสุขอันสูงสุด
รัตนะย่อมบังเกิดแก่ข้าพเจ้าผู้บังเกิดอยู่ในภพนั้น ๆ
[๙๕] ในกัปที่ ๙๑ นับจากกัปนี้ไป
ข้าพเจ้าได้ถวายผลไม้ไว้ในครั้งนั้น
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการถวายผลไม้
[๙๖] ทิพยจักษุของข้าพเจ้าบริสุทธิ์
ข้าพเจ้าฉลาดในสมาธิ ถึงความสำเร็จอภิญญา
นี้เป็นผลแห่งการถวายผลไม้
[๙๗] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว
ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๑๙๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๑. กณิการวรรค] รวมอปทานที่มีในวรรค
[๙๘] การที่ข้าพเจ้ามาในสำนักของพระพุทธเจ้า
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๙๙] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าก็ได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระนาฬิเกรผลทายกเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการ
ฉะนี้
นาฬิเกรผลทายกเถราปทานที่ ๑๐ จบ
กณิการวรรคที่ ๕๑ จบบริบูรณ์

รวมอปทานที่มีในวรรคนี้คือ

๑. ตีณิกณิการปุปผิยเถราปทาน ๒. เอกปัตตทายกเถราปทาน
๓. กาสุมาริกผลทายกเถราปทาน ๔. อวฏผลิยเถราปทาน
๕. จารผลิยเถราปทาน ๖. มาตุลุงคผลทายกเถราปทาน
๗. อัชเชลผลทายกเถราปทาน ๘. อโมรผลิยเถราปทาน
๙. ตาลผลิยเถราปทาน ๑๐. นาฬิเกรผลทายกเถราปทาน

ในวรรคนี้ บัณฑิตนับคาถาได้ ๙๙ คาถา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๒๐๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๒. ผลทายกวรรค] ๑. กุรัญชิยผลทายกเถราปทาน
๕๒. ผลทายกวรรค
หมวดว่าด้วยการถวายผลไม้เป็นต้น
๑. กุรัญชิยผลทายกเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระกุรัญชิยผลทายกเถระ
(พระกุรัญชิยผลทายกเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๑] เมื่อชาติก่อน ข้าพเจ้าเป็นนายพรานเนื้อ เที่ยวอยู่ในป่า
ได้เห็นพระพุทธเจ้าผู้ปราศจากธุลีคือกิเลส
ทรงถึงความสำเร็จแห่งธรรมทั้งปวง
[๒] ข้าพเจ้าเลื่อมใสแล้ว ได้ถือผลอัญชันขาว ด้วยมือทั้ง ๒ ของตน
ไปถวายพระพุทธเจ้า ผู้ประเสริฐที่สุด
เป็นเนื้อนาบุญ เป็นนักปราชญ์
[๓] ในกัปที่ ๓๑ นับจากกัปนี้ไป
ข้าพเจ้าได้ถวายผลไม้ไว้ในครั้งนั้น
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการถวายผลไม้
[๔] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว
ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๕] การที่ข้าพเจ้ามาในสำนักของพระพุทธเจ้า
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๒๐๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๒. ผลทายกวรรค] ๒. กปิฏฐผลทายกเถราปทาน
[๖] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าก็ได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระกุรัญชิยผลทายกเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการ
ฉะนี้
กุรัญชิยผลทายกเถราปทานที่ ๑ จบ

๒. กปิฏฐผลทายกเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระกปิฏฐผลทายกเถระ
(พระกปิฏฐผลทายกเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๗] ข้าพเจ้าได้ถวายผลมะขวิดแด่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ผู้มีพระฉวีวรรณดังทองคำ ผู้สมควรรับเครื่องบูชา
ซึ่งกำลังเสด็จดำเนินไปตามถนน
[๘] ในกัปที่ ๙๑ นับจากกัปนี้ไป
ข้าพเจ้าได้ถวายผลไม้ไว้ในครั้งนั้น
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการถวายผลไม้
[๙] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว
ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๑๐] การที่ข้าพเจ้ามาในสำนักของพระพุทธเจ้า
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๒๐๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๒. ผลทายกวรรค] ๓. โกสุมพผลิยเถราปทาน
วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๑๑] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าก็ได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระกปิฏฐผลทายกเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการ
ฉะนี้
กปิฏฐผลทายกเถราปทานที่ ๒ จบ

๓. โกสุมพผลิยเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระโกสุมพผลิยเถระ
(พระโกสุมพผลิยเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๑๒] ครั้งนั้น ข้าพเจ้าได้ถวายผลสะคร้อแด่พระผู้องอาจกว่านรชน
ผู้เป็นเทพยิ่งกว่าเทพ ทรงงดงามดังต้นรกฟ้าขาว
ซึ่งกำลังเสด็จดำเนินไปตามถนน
[๑๓] ในกัปที่ ๓๑ นับจากกัปนี้ไป
ข้าพเจ้าได้ถวายผลไม้ไว้ในครั้งนั้น
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการถวายผลไม้
[๑๔] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว
ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๒๐๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๒. ผลทายกวรรค] ๔. เกตกปุปผิยเถราปทาน
[๑๕] การที่ข้าพเจ้ามาในสำนักของพระพุทธเจ้า
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๑๖] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าก็ได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระโกสุมพผลิยเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
โกสุมพผลิยเถราปทานที่ ๓ จบ

๔. เกตกปุปผิยเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระเกตกปุปผิยเถระ
(พระเกตกปุปผิยเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๑๗] พระพุทธเจ้าผู้เป็นบุรุษสูงสุดประทับอยู่ที่ฝั่งแม่น้ำวินตา
ข้าพเจ้าได้เห็นพระพุทธเจ้าผู้ปราศจากธุลีคือกิเลส
ผู้เป็นเอกอัครบุคคล มีพระทัยตั้งมั่น
[๑๘] ครั้งนั้น ข้าพเจ้าเป็นผู้มีจิตเลื่อมใส มีใจยินดี
บูชาพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐที่สุด ด้วยดอกการะเกด
ซึ่งมีกลิ่นหอมเหมือนน้ำผึ้ง
[๑๙] ในกัปที่ ๙๑ นับจากกัปนี้ไป
ข้าพเจ้าได้ใช้ดอกไม้บูชาไว้
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการบูชาพระพุทธเจ้า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๒๐๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๒. ผลทายกวรรค] ๕. นาคปุปผิยเถราปทาน
[๒๐] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว
ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๒๑] การที่ข้าพเจ้ามาในสำนักของพระพุทธเจ้า
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๒๒] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าก็ได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระเกตกปุปผิยเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
เกตกปุปผิยเถราปทานที่ ๔ จบ

๕. นาคปุปผิยเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระนาคปุปผิยเถระ
(พระนาคปุปผิยเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๒๓] ข้าพเจ้าได้นำดอกกากะทิงมาบูชาพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ผู้มีพระฉวีวรรณดังทองคำ ผู้สมควรรับเครื่องบูชา
ซึ่งกำลังเสด็จดำเนินไปตามถนน
[๒๔] ในกัปที่ ๙๑ นับจากกัปนี้ไป
ข้าพเจ้าได้ใช้ดอกไม้บูชาไว้
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการบูชาพระพุทธเจ้า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๒๐๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๒. ผลทายกวรรค] ๖. อัชชุนปุปผิยเถราปทาน
[๒๕] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว
ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๒๖] การที่ข้าพเจ้ามาในสำนักของพระพุทธเจ้า
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๒๗] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าก็ได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระนาคปุปผิยเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
นาคปุปผิยเถราปทานที่ ๕ จบ

๖. อัชชุนปุปผิยเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระอัชชุนปุปผิยเถระ
(พระอัชชุนปุปผิยเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๒๘] ครั้งนั้น ข้าพเจ้าได้เป็นกินนรอยู่ที่ฝั่งแม่น้ำจันทภาคา
ได้เห็นพระสยัมภูพุทธเจ้า ผู้ปราศจากธุลีคือกิเลส
ผู้ไม่ทรงพ่ายแพ้
[๒๙] ข้าพเจ้าเป็นผู้มีจิตเลื่อมใส มีใจยินดี
เกิดความปราโมทย์ ประนมมือแล้ว
ถือดอกรกฟ้ามาบูชาพระสยัมภู
[๓๐] ด้วยกรรมที่ข้าพเจ้าได้ทำไว้ดีแล้วนั้น
และด้วยเจตนาที่ตั้งไว้มั่น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๒๐๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๒. ผลทายกวรรค] ๖. อัชชุนปุปผิยเถราปทาน
ข้าพเจ้าละร่างกินนรแล้ว
จึงได้ไปเกิดในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์
[๓๑] ข้าพเจ้าได้เป็นจอมเทพครองเทวสมบัติตลอด ๓๖ ชาติ
ได้เกิดเป็นพระเจ้าจักรพรรดิครองมหาสมบัติ ๑๐ ชาติ
[๓๒] และได้เป็นพระเจ้าประเทศราชอันไพบูลย์นับชาติไม่ถ้วน
พืชนั้นเป็นอันข้าพเจ้าได้หว่านไว้แล้ว
ในเนื้อนาที่ดีคือพระสยัมภู
[๓๓] กุศลของข้าพเจ้ามีอยู่ ข้าพเจ้าบวชเป็นบรรพชิต
วันนี้ ข้าพเจ้าเป็นผู้ควรแก่การบูชาในศาสนาของพระศากยบุตร
[๓๔] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว
ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๓๕] การที่ข้าพเจ้ามาในสำนักของพระพุทธเจ้า
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๓๖] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าก็ได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระอัชชุนปุปผิยเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
อัชชุนปุปผิยเถราปทานที่ ๖ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๒๐๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๒. ผลทายกวรรค] ๗. กุฏชปุปผิยเถราปทาน
๗. กุฏชปุปผิยเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระกุฏชปุปผิยเถระ
(พระกุฏชปุปผิยเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๓๗] ในที่ไม่ไกลจากภูเขาหิมพานต์ มีภูเขาลูกหนึ่งชื่ออัจจละ
พระพุทธเจ้าพระนามว่าสุทัสสนะ ประทับอยู่ที่ระหว่างภูเขา
[๓๘] ข้าพเจ้าถือดอกไม้ซึ่งเกิดที่ภูเขาหิมพานต์เหาะไป ณ ที่นั้น
ได้เห็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้ข้ามโอฆะได้แล้ว ผู้ไม่มีอาสวะ
[๓๙] ครั้งนั้น ข้าพเจ้าถือดอกโมกใหญ่ทูลเกล้า
บูชาพระสยัมภูพุทธเจ้า ผู้ทรงแสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่
[๔๐] ในกัปที่ ๓๑ นับจากกัปนี้ไป
ข้าพเจ้าได้ใช้ดอกไม้บูชาไว้
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการบูชาพระพุทธเจ้า
[๔๑] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว
ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๔๒] การที่ข้าพเจ้ามาในสำนักของพระพุทธเจ้า
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๔๓] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าก็ได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระกุฏชปุปผิยเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
กุฏชปุปผิยเถราปทานที่ ๗ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๒๐๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๒. ผลทายกวรรค] ๘. โฆสสัญญกเถราปทาน
๘. โฆสสัญญกเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระโฆสสัญญกเถระ
(พระโฆสสัญญกเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๔๔] เมื่อชาติก่อน ข้าพเจ้าเป็นนายพรานเนื้อเที่ยวอยู่ในป่าใหญ่
ได้เห็นพระพุทธเจ้าผู้ปราศจากธุลีคือกิเลส
ซึ่งหมู่เทวดาห้อมล้อมแล้ว
[๔๕] ทรงประกาศสัจจะ ๔ ทรงแสดงอมตบทอยู่
ข้าพเจ้าได้ฟังธรรมอันไพเราะของพระพุทธเจ้า
ผู้เป็นเผ่าพันธุ์ของโลกพระนามว่าสิขี
[๔๖] จึงทำจิตให้เลื่อมใสในพระสุรเสียงและในพระองค์
ผู้หาใครเสมอเหมือนและเปรียบเทียบมิได้
ครั้นทำจิตให้เลื่อมใสแล้ว จึงได้ข้ามภพที่ข้ามได้ยาก
[๔๗] ในกัปที่ ๓๑ นับจากกัปนี้ไป
ข้าพเจ้าได้สัญญาในพระสุรเสียงในครั้งนั้น
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งสัญญาในพระสุรเสียง
[๔๘] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว
ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๔๙] การที่ข้าพเจ้ามาในสำนักของพระพุทธเจ้า
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๒๐๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๒. ผลทายกวรรค] ๙. สัพพผลทายกเถราปทาน
[๕๐] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าก็ได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระโฆสสัญญกเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
โฆสสัญญกเถราปทานที่ ๘ จบ

๙. สัพพผลทายกเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระสัพพผลทายกเถระ
(พระสัพพผลทายกเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๕๑] ครั้งนั้น ข้าพเจ้าได้เป็นพราหมณ์มีนามว่าวรุณ
เรียนจบมนตร์แล้วละทิ้งบุตร ๑๐ คน เข้าป่า
[๕๒] สร้างอาศรมอย่างดี สร้างบรรณศาลา
จัดไว้เป็นสัดส่วนน่ารื่นรมย์ใจ อยู่ในป่าใหญ่
[๕๓] พระพุทธเจ้าพระนามว่าปทุมุตตระ
ผู้ทรงรู้แจ้งโลก ผู้สมควรรับเครื่องบูชา
พระองค์ทรงประสงค์จะช่วยเหลือข้าพเจ้า
จึงเสด็จมายังอาศรมของข้าพเจ้า
[๕๔] พระรัศมีได้แผ่ไปทั่วไพรสณฑ์
ครั้งนั้น ป่าใหญ่สว่างไสวด้วยพุทธานุภาพ
[๕๕] ข้าพเจ้าเห็นปาฏิหาริย์ของพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐที่สุด
ผู้คงที่ จึงได้เก็บใบไม้มาเย็บเป็นกระทงแล้วใส่ผลไม้จนเต็ม
[๕๖] เข้าไปเฝ้าพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้วได้ถวายทั้งหาบ
เพราะจะทรงอนุเคราะห์ข้าพเจ้า
พระพุทธเจ้าจึงได้ตรัสพระดำรัสนี้ว่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๒๑๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๒. ผลทายกวรรค] ๙. สัพพผลทายกเถราปทาน
[๕๗] ท่านจงหาบตามหลังเรามา
เมื่อพระสงฆ์ฉันแล้ว บุญจักมีแก่ท่าน
[๕๘] ข้าพเจ้าได้หอบห่อผลไม้ถวายภิกษุสงฆ์
ทำจิตให้เลื่อมใสในภิกษุสงฆ์นั้นแล้ว
ได้ไปเกิดในสวรรค์ชั้นดุสิต
[๕๙] ข้าพเจ้าผู้ประกอบด้วยบุญกรรม
เสวยยศ พร้อมด้วยการฟ้อนรำ ขับร้อง
และประโคมดนตรีอันเป็นทิพย์
อยู่ในสวรรค์ชั้นดุสิตนั้น
[๖๐] ข้าพเจ้าเกิดในกำเนิดใด ๆ
คือจะเกิดเป็นเทวดาหรือมนุษย์ก็ตาม
(ในกำเนิดนั้น ๆ) ข้าพเจ้าไม่มีความพร่องด้วยโภคะเลย
นี้เป็นผลแห่งการถวายผลไม้
[๖๑] เพราะได้ถวายผลไม้แด่พระพุทธเจ้า
ข้าพเจ้าจึงครองความเป็นใหญ่
ตลอดทวีปทั้ง ๔ พร้อมทั้งทะเลและภูเขา
[๖๒] แม้ฝูงนกเท่าที่โผบินอยู่ในอากาศ
ก็อยู่ในอำนาจของข้าพเจ้า
นี้เป็นผลแห่งการถวายผลไม้
[๖๓] ยักษ์ ภูต รากษส กุมภัณฑ์ และครุฑ
เท่าที่มีอยู่ในไพรสณฑ์ ต่างก็มาบำรุงข้าพเจ้า
[๖๔] แม้จระเข้ หมาใน ผึ้ง เหลือบ และยุงทั้ง ๒
ก็อยู่ในอำนาจของข้าพเจ้า
นี้เป็นผลแห่งการถวายผลไม้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๒๑๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๒. ผลทายกวรรค] ๙. สัพพผลทายกเถราปทาน
[๖๕] แม้นกครุฑและเหล่าปักษีที่มีกำลังมาก
ก็มานับถือข้าพเจ้าเป็นที่พึ่ง
นี้เป็นผลแห่งการถวายผลไม้
[๖๖] แม้พวกนาคที่มีอายุยืน มีฤทธิ์
มียศมาก ก็อยู่ในอำนาจของข้าพเจ้า
นี้เป็นผลแห่งการถวายผลไม้
[๖๗] ราชสีห์ เสือโคร่ง เสือเหลือง หมี
หมาป่า หมาใน ก็อยู่ในอำนาจของข้าพเจ้า
นี้เป็นผลแห่งการถวายผลไม้
[๖๘] รุกขเทวดาที่มีรัศมีดังดาวประกายพรึก
และเหล่าอากาสัฏฐเทวดา
ทั้งหมดล้วนนับถือข้าพเจ้าเป็นที่พึ่ง
นี้เป็นผลแห่งการถวายผลไม้
[๖๙] ธรรมที่เห็นได้โดยยาก ละเอียด ลึกซึ้ง
ซึ่งพระศาสดาทรงประกาศไว้ดีแล้ว
ข้าพเจ้าก็ได้บรรลุแล้ว
นี้เป็นผลแห่งการถวายผลไม้
[๗๐] ข้าพเจ้าบรรลุวิโมกข์ ๘ เป็นผู้มีความเพียร
และมีปัญญาเครื่องรักษาตนอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
นี้เป็นผลแห่งการถวายผลไม้
[๗๑] บรรดาพุทธบุตรผู้บรรลุอรหัตตผล
สิ้นโทสะ มียศยิ่งใหญ่ ข้าพเจ้าก็เป็นผู้หนึ่ง
นี้เป็นผลแห่งการถวายผลไม้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๒๑๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๒. ผลทายกวรรค] ๙. สัพพผลทายกเถราปทาน
[๗๒] ข้าพเจ้าได้สำเร็จอภิญญา ถูกกุศลมูลตักเตือนแล้ว
กำหนดรู้อาสวะทั้งปวงแล้ว อยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
[๗๓] บรรดาพุทธบุตรผู้ได้วิชชา ๓ มีฤทธิ์
มียศยิ่งใหญ่ มีหูทิพย์ ข้าพเจ้าก็เป็นผู้หนึ่ง
[๗๔] ในกัปที่ ๑๐๐,๐๐๐ นับจากกัปนี้ไป
ข้าพเจ้าได้ถวายผลไม้ไว้ในครั้งนั้น
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการถวายผลไม้
[๗๕] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว
ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๗๖] การที่ข้าพเจ้ามาในสำนักของพระพุทธเจ้า
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๗๗] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าก็ได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระสัพพผลทายกเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการ
ฉะนี้
สัพพผลทายกเถราปทานที่ ๙ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๒๑๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๒. ผลทายกวรรค] ๑๐. ปทุมธาริยเถราปทาน
๑๐. ปทุมธาริยเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระปทุมธาริยเถระ
(พระปทุมธาริยเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๗๘] ในที่ไม่ไกลจากภูเขาหิมพานต์ มีภูเขาลูกหนึ่งชื่อโรมสะ
ครั้งนั้น พระพุทธเจ้าพระนามว่าอภิสัมภวะ ประทับอยู่กลางแจ้ง
[๗๙] ข้าพเจ้าออกจากที่อยู่ กั้นดอกปทุม(แทนร่ม)
ครั้นกั้นอยู่ตลอดหนึ่งวันแล้วจึงกลับไปยังที่อยู่
[๘๐] ในกัปที่ ๓๑ นับจากกัปนี้ไป
ข้าพเจ้าได้บูชาพระพุทธเจ้าไว้
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการบูชาพระพุทธเจ้า
[๘๑] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว
ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๘๒] การที่ข้าพเจ้ามาในสำนักของพระพุทธเจ้า
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๘๓] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าก็ได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระปทุมธาริยเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
ปทุมธาริยเถราปทานที่ ๑๐ จบ
ผลทายกวรรคที่ ๕๒ จบบริบูรณ์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๒๑๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๒. ผลทายกวรรค] รวมอปทานที่มีในวรรคนี้
รวมอปทานที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. กุรัญชิยผลทายกเถราปทาน ๒. กปิฏฐผลทายกเถราปทาน
๓. โกสุมพผลิยเถราปทาน ๔. เกตกปุปผิยเถราปทาน
๕. นาคปุปผิยเถราปทาน ๖. อัชชุนปุปผิยเถราปทาน
๗. กุฏชปุปผิยเถราปทาน ๘. โฆสสัญญกเถราปทาน
๙. สัพพผลทายกเถราปทาน ๑๐. ปทุมธาริยเถราปทาน

ในวรรคนี้ บัณฑิตนับคาถาได้ ๘๓ คาถา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๒๑๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๓. ติณทายกวรรค] ๑. ติณมุฏฐิทายกเถราปทาน
๕๓. ติณทายกวรรค
หมวดว่าด้วยการถวายหญ้าเป็นต้น
๑. ติณมุฏฐิทายกเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระติณมุฏฐิทายกเถระ
(พระติณมุฏฐิทายกเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๑] ในที่ไม่ไกลจากภูเขาหิมพานต์ มีภูเขาลูกหนึ่งชื่อลัมพกะ
ที่ภูเขานั้นแล พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าติสสะ
เสด็จจงกรมอยู่กลางแจ้ง
[๒] เมื่อชาติก่อน ข้าพเจ้าเป็นนายพรานเนื้ออยู่ในป่าดงใหญ่
เห็นพระพุทธเจ้าผู้เป็นเทพยิ่งกว่าเทพ
จึงได้ถวายหญ้ากำหนึ่ง
[๓] เพื่อประทับนั่งสำหรับพระพุทธเจ้า
ครั้นถวายแล้วทำจิตให้เลื่อมใส
ได้ถวายอภิวาทพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว
บ่ายหน้าหลีกไปทางทิศเหนือ
[๔] ข้าพเจ้าพอเดินไปได้ไม่นานก็ถูกราชสีห์ทำร้าย
ถูกราชสีห์ฆ่าตายในที่นั้นนั่นเอง
[๕] ในเวลาใกล้ตาย กรรมที่ข้าพเจ้าได้กระทำไว้ในพระพุทธเจ้า
ผู้ประเสริฐที่สุด ไม่มีอาสวะ ข้าพเจ้าจึงได้ไปเกิดในเทวโลก
ดุจความเร็วแห่งลูกศรที่พ้นจากแล่งไปแล้ว
[๖] ในเทวโลกนั้น ปราสาท ๗ ชั้น สูง ๑,๐๐๐ ชั่วลูกธนู
สะพรั่งไปด้วยธง พราวไปด้วยแก้วมณีสีเขียว
อันสวยงาม ซึ่งบุญกรรมเนรมิตให้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๒๑๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๓. ติณทายกวรรค] ๑. ติณมุฏฐิทายกเถราปทาน
[๗] แสงสว่างของปราสาทนั้นพวยพุ่งดังดวงอาทิตย์อุทัย
ข้าพเจ้ามีนางเทพกัญญาอยู่มากมาย
เพลิดเพลินหมกมุ่นอยู่ในกามคุณ
[๘] ข้าพเจ้าถูกกุศลมูลตักเตือนแล้ว
จุติจากเทวโลกกลับมาเกิดเป็นมนุษย์
ได้บรรลุธรรมเป็นที่สิ้นอาสวะแล้ว
[๙] ในกัปที่ ๙๔ นับจากกัปนี้ไป
ข้าพเจ้าได้ถวายหญ้าสำหรับประทับนั่งไว้
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการถวายหญ้ากำหนึ่ง
[๑๐] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว
ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๑๑] การที่ข้าพเจ้ามาในสำนักของพระพุทธเจ้า
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๑๒] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าก็ได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระติณมุฏฐิทายกเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
ติณมุฏฐิทายกเถราปทานที่ ๑ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๒๑๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๓. ติณทายกวรรค] ๒. เวจจกทายกเถราปทาน
๒. เวจจกทายกเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระเวจจกทายกเถระ
(พระเวจจกทายกเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๑๓] ข้าพเจ้าเลื่อมใส ได้ถวายเวจกุฎีหลังหนึ่งด้วยมือของตน
แด่พระผู้มีพระภาคพระนามว่าวิปัสสี ผู้เจริญที่สุดในโลก ผู้คงที่
[๑๔] ข้าพเจ้าได้ยานคือช้าง ยานคือม้า
และยานทิพย์ อย่างครบถ้วน
ได้บรรลุธรรมเป็นที่สิ้นอาสวะเพราะการถวายเวจกุฎีนั้น
[๑๕] ในกัปที่ ๙๑ นับจากกัปนี้ไป
ข้าพเจ้าได้ถวายเวจกุฎีไว้
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการถวายเวจกุฎี
[๑๖] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว
ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๑๗] การที่ข้าพเจ้ามาในสำนักของพระพุทธเจ้า
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๑๘] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าก็ได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระเวจจกทายกเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
เวจจกทายกเถราปทานที่ ๒ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๒๑๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๓. ติณทายกวรรค] ๓. สรณคมนิยเถราปทาน
๓. สรณคมนิยเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระสรณคมนิยเถระ
(พระสรณคมนิยเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๑๙] ครั้งนั้น ข้าพเจ้าผู้เป็นอาชีวกและภิกษุ
ลงเรือไปด้วยกัน เมื่อเรือกำลังจะอับปาง
ภิกษุได้ให้สรณะแก่ข้าพเจ้า
[๒๐] ในกัปที่ ๓๑ นับจากกัปนี้ไป
ภิกษุนั้นได้ให้สรณะใดแก่ข้าพเจ้า
ด้วยสรณะนั้น ข้าพเจ้าจึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งสรณคมน์
[๒๑] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว
ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๒๒] การที่ข้าพเจ้ามาในสำนักของพระพุทธเจ้า
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๒๓] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าก็ได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระสรณคมนิยเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
สรณคมนิยเถราปทานที่ ๓ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๒๑๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๓. ติณทายกวรรค] ๔. อัพภัญชนทายกเถราปทาน
๔. อัพภัญชนทายกเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระอัพภัญชนทายกเถระ
(พระอัพภัญชนทายกเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๒๔] ข้าพเจ้าอยู่ใกล้พระราชอุทยานในกรุงพันธุมดี
ครั้งนั้น ข้าพเจ้านุ่งผ้าหนังสัตว์ สะพายคนโทน้ำ
[๒๕] ข้าพเจ้าได้เห็นพระสยัมภูพุทธเจ้า ผู้ปราศจากธุลีคือกิเลส
ผู้ไม่ทรงพ่ายแพ้ มีความเพียร มีพระทัยแน่วแน่
มีปกติเข้าฌาน ยินดีในฌาน ทรงแสวงคุณอันยิ่งใหญ่
[๒๖] สำเร็จความประสงค์ทั้งปวง ข้ามโอฆะได้แล้ว ไม่มีอาสวะ
ครั้นเห็นแล้วก็เป็นผู้เลื่อมใส มีใจยินดี ได้ถวายยาหยอดตา
[๒๗] ในกัปที่ ๙๑ นับจากกัปนี้ไป
ข้าพเจ้าได้ถวายทานไว้ในครั้งนั้น
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการถวายยาหยอดตา
[๒๘] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว
ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๒๙] การที่ข้าพเจ้ามาในสำนักของพระพุทธเจ้า
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๓๐] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าก็ได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระอัพภัญชนทายกเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
อัพภัญชนทายกเถราปทานที่ ๔ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๒๒๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๓. ติณทายกวรรค] ๕. สุปฏทายกเถราปทาน
๕. สุปฏทายกเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระสุปฏทายกเถระ
(พระสุปฏทายกเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๓๑] พระพุทธเจ้าพระนามว่าวิปัสสี ทรงเป็นผู้นำสัตว์โลก
เสด็จออกจากที่ประทับพักผ่อนกลางวันแล้ว
ข้าพเจ้าได้ถวายผ้าทออย่างดี เนื้อเบา
บันเทิงอยู่ในสวรรค์ตลอดกัปหนึ่ง
[๓๒] ในกัปที่ ๙๑ นับจากกัปนี้ไป
ข้าพเจ้าได้ถวายผ้าไว้
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการถวายผ้าอย่างดี
[๓๓] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว
ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๓๔] การที่ข้าพเจ้ามาในสำนักของพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐที่สุด
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๓๕] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าก็ได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระสุปฏทายกเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
สุปฏทายกเถราปทานที่ ๕ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๒๒๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๓. ติณทายกวรรค] ๖. ทัณฑทายกเถราปทาน
๖. ทัณฑทายกเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระทัณฑทายกเถระ
(พระทัณฑทายกเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๓๖] ครั้งนั้น ข้าพเจ้าได้เข้าไปยังป่าใหญ่
ตัดไม้ไผ่มาทำเป็นไม้แขวน(ผ้า) ถวายพระสงฆ์
[๓๗] ข้าพเจ้าไหว้ท่านผู้มีวัตรงาม ด้วยจิตที่เลื่อมใสนั้น
ครั้นถวายไม้แขวนแล้วมุ่งหน้าหลีกไปทางทิศเหนือ
[๓๘] ในกัปที่ ๙๔ นับจากกัปนี้ไป
ข้าพเจ้าได้ถวายไม้ไว้ในครั้งนั้น
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการถวายไม้
[๓๙] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว
ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๔๐] การที่ข้าพเจ้ามาในสำนักของพระพุทธเจ้า
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๔๑] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าก็ได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระทัณฑทายกเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
ทัณฑทายกเถราปทานที่ ๖ จบ
ภาณวารที่ ๒๓ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๒๒๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๓. ติณทายกวรรค] ๗. คิริเนลปูชกเถราปทาน
๗. คิริเนลปูชกเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระคิริเนลปูชกเถระ
(พระคิริเนลปูชกเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๔๒] เมื่อชาติก่อน ข้าพเจ้าเป็นนายพรานเนื้อ เที่ยวอยู่ในป่า
ได้เห็นพระพุทธเจ้าผู้ปราศจากธุลีคือกิเลส
ทรงถึงความสำเร็จแห่งธรรมทั้งปวง
[๔๓] ข้าพเจ้าเป็นผู้มีจิตเลื่อมใส มีใจยินดี
ในพระพุทธเจ้าพระองค์นั้น
ผู้ประกอบด้วยพระมหากรุณา
ทรงยินดีในประโยชน์เกื้อกูลต่อสรรพสัตว์
จึงบูชาด้วยดอกไม้ที่บริสุทธิ์
[๔๔] ในกัปที่ ๓๑ นับจากกัปนี้ไป
ข้าพเจ้าได้ใช้ดอกไม้บูชาไว้
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการบูชาพระพุทธเจ้า
[๔๕] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว
ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๔๖] การที่ข้าพเจ้ามาในสำนักของพระพุทธเจ้า
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๒๒๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๓. ติณทายกวรรค] ๘. โพธิสัมมัชชกเถราปทาน
[๔๗] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าก็ได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระคิริเนลปูชกเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
คิริเนลปูชกเถราปทานที่ ๗ จบ

๘. โพธิสัมมัชชกเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระโพธิสัมมัชชกเถระ
(พระโพธิสัมมัชชกเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๔๘] เมื่อชาติปางก่อน ข้าพเจ้าเก็บใบโพธิ์ที่ถูกทิ้งไว้
ที่ลานพระเจดีย์ไปทิ้ง จึงได้คุณ ๒๐ ประการ
[๔๙] ด้วยเดชแห่งกรรมนั้น
เมื่อข้าพเจ้าเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในภพน้อยภพใหญ่
ก็เวียนว่ายตายเกิดอยู่ใน ๒ ภพ
คือ (๑) ในภพเทวดา (๒) ภพมนุษย์
[๕๐] จุติจากเทวโลกแล้วมาสู่ภพมนุษย์
ก็เกิดเฉพาะใน ๒ ตระกูล
คือ (๑) ตระกูลกษัตริย์ (๒) ตระกูลพราหมณ์
[๕๑] ข้าพเจ้ามีอวัยวะน้อยใหญ่ครบถ้วน มีร่างกายสูงใหญ่
รูปงาม สะอาดสะอ้าน สมบูรณ์ ไม่บกพร่อง
[๕๒] ข้าพเจ้าเกิดในภพใดภพหนึ่ง
คือในเทวโลกหรือในหมู่มนุษย์
มีผิวพรรณดังทองคำ
เหมือนทองคำที่นายช่างหลอมดีแล้ว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๒๒๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๓. ติณทายกวรรค] ๘. โพธิสัมมัชชกเถราปทาน
[๕๓] ผิวของข้าพเจ้า อ่อนนุ่ม สนิท
ละเอียดอ่อนอยู่ตลอดเวลา
ในเพราะใบโพธิ์ที่ข้าพเจ้าได้ขนไปทิ้ง
[๕๔] ในคติไหน ๆ ก็ตามเถิด ฝุ่นละออง
ย่อมไม่ติดร่างกาย ที่ประชุมกันขึ้น
นี้เป็นวิบากในเพราะใบไม้ที่ข้าพเจ้าได้ขนไปทิ้ง
[๕๕] เพราะความร้อนจากลม แดด
หรือเพราะความร้อนจากไฟก็ตาม
ที่กายของข้าพเจ้าเหงื่อไม่ไหล
นี้เป็นวิบากในเพราะใบไม้ที่ข้าพเจ้าได้ขนไปทิ้ง
[๕๖] ที่กายของข้าพเจ้าไม่มีโรคเรื้อน ฝี
โรคกลาก ตกกระ พุพอง และหิดเปื่อย
นี้เป็นวิบากในเพราะใบไม้ที่ข้าพเจ้าได้ขนไปทิ้ง
[๕๗] อีกข้อหนึ่ง คุณของกรรมนั้น
ย่อมบังเกิดในภพน้อยภพใหญ่
คือโรคไม่มีในกาย
นี้เป็นวิบากในเพราะใบไม้ที่ข้าพเจ้าได้ขนไปทิ้ง
[๕๘] อีกข้อหนึ่ง คุณของกรรมนั้น
ย่อมบังเกิดในภพน้อยภพใหญ่
คือความบีบคั้นทางใจไม่มี
นี้เป็นวิบากในเพราะใบไม้ที่ข้าพเจ้าได้ขนไปทิ้ง
[๕๙] อีกข้อหนึ่ง คุณของกรรมนั้น
ย่อมบังเกิดในภพน้อยภพใหญ่
คือข้าพเจ้าไม่มีศัตรู
นี้เป็นวิบากในเพราะใบไม้ที่ข้าพเจ้าได้ขนไปทิ้ง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๒๒๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๓. ติณทายกวรรค] ๘. โพธิสัมมัชชกเถราปทาน
[๖๐] อีกข้อหนึ่ง คุณของกรรมนั้น
ย่อมบังเกิดในภพน้อยภพใหญ่
คือโภคสมบัติไม่มีความบกพร่องเลย
นี้เป็นวิบากในเพราะใบไม้ที่ข้าพเจ้าได้ขนไปทิ้ง
[๖๑] อีกข้อหนึ่ง คุณของกรรมนั้น
ย่อมบังเกิดในภพน้อยภพใหญ่
คือไม่มีอัคคีภัย ราชภัย โจรภัย และอุทกภัย
[๖๒] อีกข้อหนึ่ง คุณของกรรมนั้น
ย่อมบังเกิดในภพน้อยภพใหญ่
คือทาสหญิงชายเป็นผู้ติดตามคล้อยตามความคิดของข้าพเจ้า
[๖๓] บุคคลเกิดในมนุษยโลกที่มีอายุขัยเท่าใด
อายุของข้าพเจ้าไม่หย่อนไปกว่านั้น
ดำรงอยู่ได้จนชั่วอายุขัย
[๖๔] คนภายใน คนภายนอก ชาวนิคม
ตลอดจนชาวแว่นแคว้น ล้วนแต่เป็นผู้คอยช่วยเหลือ
มุ่งความเจริญ ปรารถนาความสุขแก่ข้าพเจ้าไปทุกคน
[๖๕] ทุก ๆ ภพ ข้าพเจ้าเป็นผู้มีโภคะ มียศ
มีสิริ มีญาติ มีพวกพ้อง ไม่มีเวร
ปราศจากความสะดุ้งกลัวภัย ในกาลทั้งปวง
[๖๖] เมื่อข้าพเจ้ายังเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในภพ เทวดา
มนุษย์ อสูร คนธรรพ์ ยักษ์ และรากษส
ล้วนคอยอารักขาป้องกันอยู่ทุกเมื่อ
[๖๗] ข้าพเจ้าเสวยยศทั้ง ๒ ทั้งในเทวโลกและมนุษยโลก
และในอวสานก็ได้บรรลุนิพพานอันเกษมอย่างยอดเยี่ยม
[๖๘] คนเช่นใดพึงได้บุญเพราะเจาะจงพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
หรือต้นไม้เป็นสถานที่ตรัสรู้ของพระศาสดาพระองค์นั้น
สำหรับคนเช่นนั้น อะไรเล่าที่พึงได้โดยยาก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๒๒๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๓. ติณทายกวรรค] ๙. อามัณฑผลทายกเถราปทาน
[๖๙] เขาเป็นผู้ยิ่งใหญ่กว่าคนอื่น ๆ ในมรรค ผล และปริยัติธรรม
และในคุณคือฌาน และอภิญญา เป็นผู้ไม่มีอาสวะแล้วปรินิพพาน
[๗๐] เมื่อชาติก่อน ข้าพเจ้ามีใจร่าเริงเก็บใบโพธิ์ไปทิ้ง
จึงเป็นผู้พรั่งพร้อมด้วยองค์คุณ ๒๐ ประการนี้ ในกาลทั้งปวง
[๗๑] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว
ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๗๒] การที่ข้าพเจ้ามาในสำนักของพระพุทธเจ้า
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๗๓] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าก็ได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระโพธิสัมมัชชกเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
โพธิสัมมัชชกเถราปทานที่ ๘ จบ

๙. อามัณฑผลทายกเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระอามัณฑผลทายกเถระ
(พระอามัณฑผลทายกเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๗๔] พระชินเจ้าพระนามว่าปทุมุตตระ
ผู้ทรงถึงความสำเร็จแห่งธรรมทั้งปวง
ผู้ทรงเป็นผู้นำสัตว์โลก ออกจากสมาธิแล้วจงกรมอยู่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๒๒๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๓. ติณทายกวรรค] ๙. อามัณฑผลทายกเถราปทาน
[๗๕] ครั้งนั้น ข้าพเจ้าเก็บผลไม้หาบมา
ได้เห็นพระมหามุนีพุทธเจ้า
ผู้ปราศจากธุลีคือกิเลส เสด็จจงกรมอยู่
[๗๖] ข้าพเจ้าเป็นผู้มีจิตเลื่อมใส มีใจยินดี
ได้ประนมมือเหนือศีรษะ
ถวายอภิวาทพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้วจึงได้ถวายผลแฟง
[๗๗] ในกัปที่ ๑๐๐,๐๐๐ นับจากกัปนี้ไป
ข้าพเจ้าได้ถวายผลไม้ไว้ในครั้งนั้น
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการถวายผลแฟง
[๗๘] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว
ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๗๙] การที่ข้าพเจ้ามาในสำนักของพระพุทธเจ้า
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๘๐] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าก็ได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระอามัณฑผลทายกเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วย
ประการฉะนี้
อามัณฑผลทายกเถราปทานที่ ๙ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๒๒๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๓. ติณทายกวรรค] ๑๐. สุคันธเถราปทาน
๑๐. สุคันธเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระสุคันธเถระ
(พระสุคันธเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๘๑] ในภัทรกัปนี้ พระพุทธเจ้าผู้เป็นเผ่าพันธุ์ของพราหมณ์
มีพระยศยิ่งใหญ่๑ พระนามว่ากัสสปะ ตามพระโคตร
ทรงประเสริฐกว่าเจ้าลัทธิทั้งหลาย เสด็จอุบัติขึ้นแล้ว
[๘๒] พระองค์ทรงสมบูรณ์ด้วยอนุพยัญชนะ
มีพระลักษณะอันประเสริฐ ๓๒ ประการ๒
ซึ่งมีพระรัศมีประมาณ ๑ วาแวดล้อมแล้ว
ปกคลุมไปด้วยข่ายพระรัศมี
[๘๓] ทรงทำหมู่สัตว์ให้ยินดีได้เหมือนดวงจันทร์
เปล่งพระรัศมีได้เหมือนดวงอาทิตย์
ทำหมู่สัตว์ให้เยือกเย็นได้เหมือนเมฆฝน
เป็นบ่อเกิดแห่งคุณเหมือนสาคร
[๘๔] พระองค์เปรียบดังแผ่นดินโดยศีล
เปรียบดังภูเขาหิมพานต์โดยสมาธิ
เปรียบดังอากาศโดยปัญญา
เป็นผู้ไม่ข้องเกี่ยว(อะไร ๆ)เหมือนสายลม
[๘๕] มีธรรมเป็นเครื่องอยู่ตามอัธยาศัย
ไม่บกพร่อง ทรงแกล้วกล้าในท่ามกลางบริษัท
เมื่อจะฉุดมหาชนขึ้น(จากหล่มคือกาม)จึงทรงประกาศสัจจะ

เชิงอรรถ :
๑ มีพระยศยิ่งใหญ่ หมายถึงมียศแผ่ไปในโลกทั้ง ๓ คือ มนุษยโลก เทวโลก พรหมโลก (ขุ.อป.อ.
๒/๒๕๑/๓๓๑)
๒ดูเชิงอรรถหน้า ๑๐ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๒๒๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๓. ติณทายกวรรค] ๑๐. สุคันธเถราปทาน
[๘๖] ครั้งนั้น ข้าพเจ้าเป็นบุตรเศรษฐี
มียศยิ่งใหญ่ในกรุงพาราณสี
ข้าพเจ้ามีทรัพย์และธัญชาติอย่างล้นเหลือ
จึงมีความองอาจ
[๘๗] ข้าพเจ้าเดินพักผ่อนไปจนถึงป่ามฤคทายวัน
ได้เห็นพระศาสดาผู้เป็นที่พึ่งแห่งสัตว์โลก
กำลังแสดงอมตบทอยู่
[๘๘] มีพระดำรัสไพเราะ น่าฟัง
มีพระสุรเสียงดุจเสียงนกการเวก
มีพระสุรเสียงก้องกังวานคล้ายเสียงหงส์และเสียงฟ้าคำรน
ทำมหาชนให้รู้แจ้งชัด ผู้เป็นเทพยิ่งกว่าเทพ
[๘๙] ครั้นเห็นพระองค์แล้วและได้สดับพระสุรเสียงที่ไพเราะ
ข้าพเจ้าจึงได้สละโภคะมิใช่น้อย ออกบวชเป็นบรรพชิต
[๙๐] ข้าพเจ้าบวชแล้วเช่นนี้ ไม่นานนักก็เป็นพหูสูต
เป็นพระธรรมกถึก มีปฏิภาณอันวิจิตร
[๙๑] ข้าพเจ้าเป็นผู้องอาจในการพรรณนา
ได้สรรเสริญพระคุณของพระศาสดา
ผู้มีพระฉวีวรรณดังทองคำอยู่บ่อย ๆ
ณ ท่ามกลางบริษัทใหญ่ว่า
[๙๒] พระศาสดาพระองค์นี้ เป็นพระขีณาสพ
เป็นพระพุทธเจ้า ไม่มีทุกข์ ทรงตัดความสงสัยได้แล้ว
ถึงความสิ้นกรรมทุกอย่าง ทรงพ้นจากกิเลสแล้ว
ในเพราะธรรมเป็นที่สิ้นไปแห่งอุปธิ
[๙๓] พระพุทธเจ้าพระองค์นี้นั้น เป็นพระผู้มีพระภาค
พระองค์ทรงเป็นผู้ประเสริฐอย่างยิ่ง
ทรงประกาศธรรมจักรอันประเสริฐแก่ชาวโลกพร้อมทั้งเทวโลก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๒๓๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๓. ติณทายกวรรค] ๑๐. สุคันธเถราปทาน
[๙๔] เป็นพระฤาษีทรงฝึกพระองค์เองและฝึกมหาชน
ทรงสงบระงับเองและทำให้มหาชนสงบระงับ
ทรงดับกิเลสเองและทรงยังมหาชนให้ดับกิเลส
ทรงเบาพระทัยเองและทรงให้มหาชนเบาใจ
[๙๕] ทรงมีความแกล้วกล้า องอาจ กล้าหาญ มีพระปัญญา
ทรงประกอบด้วยพระกรุณา ทรงได้วสี ทรงมีชัยชนะ
ทรงชนะแล้ว ไม่ทรงคะนอง ทรงหมดความห่วงใย
[๙๖] เป็นผู้ไม่หวั่นไหว ไม่สั่นคลอน เป็นนักปราชญ์
ไม่หลงใหล ไม่มีใครเสมอเหมือน เป็นมุนี ทรงฝักใฝ่ในธุระ
ทรงกล้าหาญแม้ในหมู่เจ้าลัทธิ ดังพญาโคอุสภะ
พญาคชสาร และพญาราชสีห์
[๙๗] เป็นผู้ปราศจากราคะ ปราศจากมลทิน
เป็นดังพรหม ฉลาดกว่านักปราชญ์
กำจัดเสียซึ่งข้าศึกคือกิเลส หมดเสี้ยนหนาม
ปราศจากความเศร้าโศก ไม่มีใครเสมอเหมือน
เป็นผู้ประเสริฐ เป็นผู้หมดจด
[๙๘] เป็นพราหมณ์ เป็นสมณะ เป็นที่พึ่ง เป็นหมอ
เป็นผู้กำจัดลูกศร(คือความโศก) เป็นนักรบ
เป็นผู้เบิกบาน เป็นผู้คงแก่เรียนและเรียนรู้กว้างขวาง
ไม่หวั่นไหว มีใจเบิกบาน ยิ้มแย้ม
[๙๙] ทรงฝึกอินทรีย์ เป็นผู้นำตนไป เป็นผู้ทำ เป็นผู้นำ
เป็นผู้ประกาศ เป็นผู้ยังสัตว์ให้ร่าเริง
เป็นผู้วิด เป็นผู้ตัด เป็นผู้ฟัง เป็นผู้สรรเสริญ
[๑๐๐] เป็นผู้ไม่มีลิ่มสลัก ปราศจากลูกศร ไม่มีทุกข์
ไม่มีความสงสัย เป็นผู้หมดตัณหา
ปราศจากธุลี เป็นผู้ขุด เป็นผู้ทำลาย
เป็นผู้กล่าว เป็นผู้ทำให้ปรากฏ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๒๓๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๓. ติณทายกวรรค] ๑๐. สุคันธเถราปทาน
[๑๐๑] เป็นผู้ช่วยสัตว์ให้ข้าม ให้ทำประโยชน์ ให้สร้างประโยชน์
เป็นผู้ช่วยให้ถึงสัมปทา เป็นผู้ช่วยสัตว์ให้บรรลุ
เป็นผู้มีประโยชน์เกื้อกูล เป็นผู้ฆ่า
ทรงทำกิเลสให้เร่าร้อน ทำตัณหาให้เหือดแห้ง
[๑๐๒] ดำรงอยู่ในสัจจะ หาผู้เสมอเหมือนมิได้
ไม่มีสหาย ทรงมีความกรุณา มีความมหัศจรรย์
ไม่ทรงหลอกลวง เป็นผู้ทำ
เป็นฤๅษี เป็นผู้ประเสริฐ(พระพุทธเจ้า)
[๑๐๓] ทรงข้ามพ้นความสงสัยได้แล้ว
ไม่ทรงถือพระองค์ ทรงมีพระคุณหาประมาณมิได้
ไม่มีใครเปรียบเทียบ ไม่ยึดถือถ้อยคำทุกชนิด
บรรลุธรรมที่ควรแนะนำทุกประการ ทรงชนะหมู่มาร
[๑๐๔] ความเลื่อมใสในพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐ
พระนามว่าสตรังสีพระองค์นั้น
เป็นเหตุนำอมตมหานิพพานมาให้
เพราะฉะนั้น ความศรัทธาในพระพุทธเจ้า
พระธรรม และพระสงฆ์ จึงมีประโยชน์มาก
[๑๐๕] ข้าพเจ้าสรรเสริญพระพุทธเจ้า
ผู้เป็นสรณะอย่างสูงสุดของโลกทั้ง ๓
ด้วยคุณมีอย่างนี้เป็นต้น
จึงแสดงธรรมกถาในท่ามกลางบริษัท
[๑๐๖] จุติจากอัตภาพนั้นแล้ว
ได้เสวยความสุขมากในสวรรค์ชั้นดุสิต
จุติจากสวรรค์ชั้นดุสิตแล้วเกิดในมนุษย์ เป็นผู้มีกลิ่นหอม

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๒๓๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๓. ติณทายกวรรค] ๑๐. สุคันธเถราปทาน
[๑๐๗] ลมหายใจ กลิ่นปาก และกลิ่นกายของข้าพเจ้า
ก็เช่นนั้นเหมือนกัน(คือมีกลิ่นหอม)
และกลิ่นทั้งหมดนั้น
ของข้าพเจ้าก็หอมอยู่เป็นนิตย์
[๑๐๘] กลิ่นปากของข้าพเจ้า หอมฟุ้งไปตลอดกาล
เหมือนกลิ่นดอกปทุม ดอกอุบล และดอกจำปา
และกายของข้าพเจ้าก็หอมฟุ้งไปทุกเมื่อเช่นนั้นเหมือนกัน
[๑๐๙] ทั้งหมดนั้นเป็นผลแห่งการกล่าวสรรเสริญคุณของพระพุทธเจ้า
ผลนั้นน่าอัศจรรย์อย่างยิ่ง
ขอท่านทุกคนจงตั้งใจฟังภาษิตของเรา
[๑๑๐] ครั้นข้าพเจ้ากล่าวสรรเสริญคุณของพระพุทธเจ้า
ซึ่งนำประโยชน์และความสุขมาให้แล้ว
เป็นผู้มีจิตผ่องแผ้วในธรรมทั้งปวง
พระสงฆ์เป็นผู้ขวนขวายในความเพียรอย่างยิ่ง
[๑๑๑] มียศ ถึงความสุข งดงาม รุ่งเรือง น่ารัก น่าชม
เป็นผู้กล่าว ไม่ดูหมิ่นดูแคลน ไม่มีโทษ และเป็นผู้มีปัญญา
[๑๑๒] ขวนขวายในธรรมเป็นที่สิ้นกิเลส
พระนิพพานอันเหล่าชนผู้ภักดีต่อพระพุทธเจ้าพึงได้โดยง่าย
ข้าพเจ้าจักกล่าวถึงเหตุของพวกเขา
เชิญท่านทั้งหลายฟังเหตุนั้นตามเป็นจริง
[๑๑๓] ข้าพเจ้าถวายอภิวาทก็เพราะค้นพบพระยศ
ที่มีอยู่ของพระผู้มีพระภาค
เพราะเหตุนั้น แม้ข้าพเจ้าจะเกิดในภพใด ๆ ก็เป็นผู้มียศในภพนั้น ๆ
[๑๑๔] ข้าพเจ้าสรรเสริญพระพุทธเจ้าผู้ทำที่สุดทุกข์ได้
และพระธรรมที่สงบซึ่งปัจจัยปรุงแต่งมิได้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๒๓๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๓. ติณทายกวรรค] ๑๐. สุคันธเถราปทาน
เป็นผู้ให้ความสุขแก่สรรพสัตว์
เพราะกรรมนั้น ข้าพเจ้าจึงได้รับแต่ความสุข
[๑๑๕] ข้าพเจ้าผู้ประกอบด้วยปีติในพระพุทธเจ้า
สรรเสริญคุณของพระพุทธเจ้า
เป็นที่พอใจของตนเอง และเป็นที่พอใจของคนอื่น
เพราะฉะนั้น ข้าพเจ้าจึงเป็นผู้มีความพอใจ
[๑๑๖] พระชินเจ้าพระองค์ใด ทรงย่ำยีพวกเดียรถีย์
ล่วงพ้นเดียรถีย์ได้
ข้าพเจ้าเมื่อสรรเสริญคุณของพระชินเจ้าพระองค์นั้น
จึงชมเชยพระองค์ผู้ทรงเป็นผู้นำ
เพราะฉะนั้น ข้าพเจ้าจึงเป็นผู้มีแต่ความรุ่งเรือง
[๑๑๗] ข้าพเจ้าเมื่อกล่าวสรรเสริญคุณของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ได้กระทำตนให้เป็นที่รักแม้ของประชาชน
เป็นเหมือนดวงจันทร์อันมีในสารทกาล๑
เพราะฉะนั้น ข้าพเจ้าจึงเป็นผู้น่ารัก น่าชม
[๑๑๘] ข้าพเจ้าชมเชยพระสุคตด้วยวาจาทุกอย่างตามความสามารถ
เพราะฉะนั้น ข้าพเจ้าจึงมีปฏิภาณวิจิตรเหมือนท่านพระวังคีสะ
[๑๑๙] คนพาลเหล่าใดเป็นผู้มีความสงสัย จึงดูหมิ่นพระมหามุนี
เพราะฉะนั้น ข้าพเจ้าจึงข่มคนพาลเหล่านั้นโดยการข่มขี่ที่ชอบธรรม
[๑๒๐] ข้าพเจ้าช่วยกำจัดกิเลสทั้งหลายของเหล่าสัตว์
ด้วยการสรรเสริญพระพุทธเจ้า
เพราะอานุภาพของกรรมนั้น
ข้าพเจ้าจึงเป็นผู้มีจิตปราศจากกิเลส

เชิงอรรถ :
๑ สารทกาล หมายถึงฤดูใบไม้ร่วง ฤดูสารท ย่างเข้าฤดูหนาว (องฺ.ติก.(แปล) ๒๐/๖๔/๒๔๘,๙๕/๓๒๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๒๓๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๓. ติณทายกวรรค] ๑๐. สุคันธเถราปทาน
[๑๒๑] ข้าพเจ้าแสดงพุทธานุสสติ
ได้ทำปัญญาเครื่องตรัสรู้ให้เกิดแก่ผู้ฟัง
เพราะฉะนั้น ข้าพเจ้าจึงเป็นผู้มีปัญญาเห็นแจ้งอรรถที่ละเอียด
[๑๒๒] ข้าพเจ้าเป็นผู้สิ้นอาสวะทุกอย่าง
จักข้ามพ้นห้วงน้ำคือสังสารวัฏไปได้
และเป็นผู้ได้วสี ไม่ถือมั่น๑ ถึงความดับสนิท
[๑๒๓] ในกัปนี้เอง ข้าพเจ้าได้สดุดีพระชินเจ้าไว้
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการบูชาพระพุทธเจ้า
[๑๒๔] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว
ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๑๒๕] การที่ข้าพเจ้ามาในสำนักของพระพุทธเจ้า
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๑๒๖] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าก็ได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระสุคันธเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
สุคันธเถราปทานที่ ๑๐ จบ
ติณทายกวรรคที่ ๕๓ จบบริบูรณ์

เชิงอรรถ :
๑ คำว่า ไม่ถือมั่น หมายถึงไม่ถือกิเลสเครื่องยึดมั่นถือมั่น คือ อุปาทาน ๔ ประการ คือ (๑) กามุปาทาน
(๒) ทิฏฐุปาทาน (๓) สีลัพพตุปาทาน (๔) อัตตวาทุปาทาน (ที.ปา. (แปล) ๑๑/๓๑๒/๒๙๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๒๓๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๓. ติณทายกวรรค] รวมอปทานที่มีในวรรค
รวมอปทานที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. ติณมุฏฐิทายกเถราปทาน ๒. เวจจกทายกเถราปทาน
๓. สรณคมนิยเถราปทาน ๔. อัพภัญชนทายกเถราปทาน
๕. สุปฏทายกเถราปทาน ๖. ทัณฑทายกเถราปทาน
๗. คิริเนลปูชกเถราปทาน ๘. โพธิสัมมัชชกเถราปทาน
๙. อามัณฑผลทายกเถราปทาน ๑๐. สุคันธเถราปทาน

ในวรรคนี้ บัณฑิตนับคาถาได้ ๑๒๓ คาถา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๒๓๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๔. กัจจายนวรรค] ๑. มหากัจจายนเถราปทา
๕๔. กัจจายนวรรค
หมวดว่าด้วยพระกัจจายนะเป็นต้น
๑. มหากัจจายนเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระมหากัจจายนเถระ
(พระมหากัจจายนเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๑] พระชินเจ้าพระนามว่าปทุมุตตระ
ผู้หมดตัณหา ทรงชนะสิ่งที่ใคร ๆ เอาชนะไม่ได้
ทรงเป็นผู้นำ เสด็จอุบัติขึ้นแล้ว
ในกัปที่ ๑๐๐,๐๐๐ นับจากกัปนี้ไป
[๒] พระองค์เป็นผู้แกล้วกล้า
มีพระเนตรเหมือนกลีบบัว
มีพระพักตร์ปราศจากมลทินดุจดวงจันทร์
มีพระฉวีวรรณดุจทองคำ
มีพระรัศมีเสมอด้วยแสงอาทิตย์
[๓] ดึงดูดดวงตาและดวงใจของสัตว์ไว้ได้
ประดับด้วยพระลักษณะอันประเสริฐ
ไม่ยึดถือถ้อยคำทุกชนิด
ผู้อันหมู่มนุษย์และเทวดาสักการะ
[๔] ตรัสรู้ด้วยพระองค์เอง ทรงช่วยเหล่าสัตว์ให้ตรัสรู้
ทรงนำไปได้อย่างรวดเร็ว ทรงมีพระสุรเสียงไพเราะ
มีพระอุปนิสัยเนื่องด้วยพระกรุณา
ทรงแกล้วกล้าในท่ามกลางบริษัท

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๒๓๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๔. กัจจายนวรรค] ๑. มหากัจจายนเถราปทาน
[๕] ทรงแสดงธรรมอย่างไพเราะ ซึ่งประกอบด้วยสัจจะ ๔
ทรงช่วยเหลือหมู่สัตว์ ที่จมอยู่ในเปือกตมคือโมหะได้
[๖] ครั้งนั้น ข้าพเจ้าเป็นดาบส เที่ยวไปแต่ผู้เดียว
อาศัยอยู่ที่ภูเขาหิมพานต์
กำลังไปยังมนุษยโลกทางอากาศก็ได้เห็นพระชินเจ้า
[๗] ข้าพเจ้าได้เข้าเฝ้าพระองค์แล้ว
ฟังพระธรรมเทศนาของพระธีรเจ้า
ผู้ทรงพรรณนาคุณอันยิ่งใหญ่ของสาวกอยู่ว่า
[๘-๙] ‘เราไม่เห็นสาวกอื่นบางรูป
ในธรรมวินัยนี้เหมือนพระกัจจายนะนี้
ผู้ประกาศธรรมที่เราแสดงไว้โดยย่อให้พิสดารได้
ทำชุมชนและเราให้ยินดี
เพราะฉะนั้น พระกัจจายนะนี้เป็นผู้เลิศในตำแหน่งที่เลิศนั้น
ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงจำไว้อย่างนี้เถิด’
[๑๐] ครั้งนั้น ข้าพเจ้าได้ฟังพระดำรัสที่รื่นรมย์ใจแล้ว
เกิดความอัศจรรย์ใจ จึงไปยังป่าหิมพานต์นำกลุ่มดอกไม้มา
[๑๑] บูชาพระผู้เป็นสรณะของสัตว์โลก
แล้วปรารถนาตำแหน่งนั้น
ครั้งนั้น พระผู้เป็นที่อยู่แห่งสรณะ
ทรงทราบอัธยาศัยของข้าพเจ้าแล้ว
ได้ทรงพยากรณ์ว่า
[๑๒] ‘เธอทั้งหลายจงดูฤๅษีผู้ประเสริฐนี้
ซึ่งเป็นผู้มีผิวพรรณเหมือนทองคำที่ไล่มลทินออกแล้ว
มีโลมชาติชูชันและมีใจเบิกบาน ยืนประนมมือนิ่งอยู่
[๑๓] ร่าเริง มีนัยน์ตาเต็มดี
มีอัธยาศัยน้อมไปในคุณของพระพุทธเจ้า


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๒๓๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๔. กัจจายนวรรค] ๑. มหากัจจายนเถราปทาน
มีใจเบิกบาน ซึ่งเกิดแต่ธรรม
มีรัศมีเรืองรองเหมือนถูกรดด้วยน้ำอมฤต
[๑๔] ข้าแต่พระมหามุนี ข้าพระองค์ได้ฟังคุณของพระกัจจายนะแล้ว
จึงได้ยืนปรารถนาตำแหน่งนั้น
ในอนาคตกาลของพระโคดมพุทธเจ้า
[๑๕] ฤๅษีผู้นี้มีนามว่ากัจจายนะ ตามโคตร
เป็นธรรมทายาท เป็นโอรสที่ธรรมเนรมิต
จักเป็นสาวกของพระศาสดา
[๑๖] เขาจักเป็นพหูสูต มีญาณยิ่งใหญ่
รู้อธิบายชัดแจ้ง เป็นมุนี
จักถึงตำแหน่งนั้น ดังที่เราพยากรณ์ไว้’
[๑๗] ในกัปที่ ๑๐๐,๐๐๐ นับจากกัปนี้ไป
ข้าพเจ้าได้ทำกรรมไว้ในครั้งนั้น
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการบูชาพระพุทธเจ้า
[๑๘] ข้าพเจ้าเวียนว่ายตายเกิดอยู่ใน ๒ ภพ
คือ (๑) ภพเทวดา (๒) ภพมนุษย์
คติอื่นข้าพเจ้าไม่รู้จักเลย
นี้เป็นผลแห่งการบูชาพระพุทธเจ้า
[๑๙] ข้าพเจ้ารู้เฉพาะ ๒ ตระกูล
คือ (๑) ตระกูลกษัตริย์ (๒) ตระกูลพราหมณ์
จะไม่เกิดในตระกูลที่ต่ำ
นี้เป็นผลแห่งการบูชาพระพุทธเจ้า
[๒๐] ในภพสุดท้าย ข้าพเจ้าเกิดเป็นพราหมณ์ปุโรหิต
ของพระเจ้าจัณฑปัชโชต ในกรุงอุชเชนีที่รื่นรมย์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๒๓๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๔. กัจจายนวรรค] ๑. มหากัจจายนเถราปทาน
[๒๑] เป็นบุตรของพราหมณ์ชื่อว่าติปีติวัจฉะ
เป็นผู้ฉลาด เรียนจบพระเวท
ส่วนมารดาของข้าพเจ้าชื่อว่าจันทนปทุมา
ข้าพเจ้าชื่อว่ากัจจายนะ เป็นผู้มีผิวพรรณสวยงาม
[๒๒] ข้าพเจ้าถูกพระเจ้าแผ่นดิน
ทรงส่งไปเพื่อพิจารณา(สืบข่าว)พระพุทธเจ้า
ได้เห็นพระผู้นำซึ่งเป็นประตูของโมกขบุรี๑
เป็นที่สั่งสมพระคุณ
[๒๓] และได้ฟังพุทธภาษิตที่ปราศจากมลทิน
เป็นเครื่องชำระล้างเปือกตมคือคติ
ได้บรรลุอมตธรรมที่สงบระงับ
พร้อมกับบุรุษที่เหลืออีก ๗ คน
[๒๔] ข้าพเจ้าเป็นผู้รู้อธิบายในอมตบทที่ยิ่งใหญ่ของพระสุคต
และมีมโนรถอันสำเร็จด้วยดี ได้รับแต่งตั้งในตำแหน่งเอตทัคคะ
[๒๕] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว
ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๒๖] การที่ข้าพเจ้ามาในสำนักของพระพุทธเจ้า
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว

เชิงอรรถ :
๑ โมกขบุรี หมายถึงบุรีคือพระนิพพาน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๒๔๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๔. กัจจายนวรรค] ๒. วักกลิเถราปทาน
[๒๗] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าก็ได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระมหากัจจายนเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
มหากัจจายนเถราปทานที่ ๑ จบ

๒. วักกลิเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระวักกลิเถระ
(พระวักกลิเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๒๘] พระผู้ทรงเป็นผู้นำมีพระนามไม่ต่ำต้อย
มีพระคุณนับไม่ถ้วน
พระนามว่าปทุมุตตระ ตามพระโคตร
เสด็จอุบัติขึ้นแล้วในกัปที่ ๑๐๐,๐๐๐ นับจากกัปนี้ไป
[๒๙] มีพระพักตร์เหมือนดอกปทุม
มีพระฉวีวรรณงดงาม ไม่มีมลทินเหมือนดอกปทุม
ไม่เปื้อนด้วยโลกธรรม เหมือนดอกปทุมไม่เปื้อนด้วยน้ำ
[๓๐] ทรงเป็นนักปราชญ์ มีพระเนตรเหมือนกลีบบัว
และน่ารักเหมือนดอกปทุม
กลิ่นพระโอษฐ์หอมคล้ายกลิ่นดอกปทุม
เพราะฉะนั้น พระองค์จึงทรงพระนามว่าปทุมุตตระ
[๓๑] พระองค์ทรงเป็นผู้เจริญที่สุดในโลก
ไม่ทรงถือพระองค์เปรียบเป็นนัยน์ตาให้คนบอด๑

เชิงอรรถ :
๑ เป็นนัยน์ตาให้คนบอด หมายความว่า ทรงประทานปัญญาจักษุให้แก่สรรพสัตว์ด้วยพระธรรมเทศนา
(ขุ.อป.อ. ๒/๓๑/๒๖๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๒๔๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๔. กัจจายนวรรค] ๒. วักกลิเถราปทาน
มีพระอิริยาบถสงบ เป็นที่สั่งสมคุณ
เป็นดุจสาครที่รองรับพระกรุณาคุณและพระปัญญาคุณ
[๓๒] ถึงในครั้งไหน ๆ พระมหาวีระพระองค์นั้น
ก็เป็นผู้ที่พรหม อสูร และเทวดาบูชา เป็นผู้สูงสุดในหมู่ชน
ในท่ามกลางหมู่ชนที่คับคั่งไปด้วยเทวดาและมนุษย์
[๓๓] เมื่อจะให้บริษัททั้งปวงยินดีด้วยพระพักตร์มีกลิ่นหอม(เบิกบาน)
และด้วยพระสุรเสียงที่ไพเราะเพราะพริ้ง
จึงได้ชมสาวกของพระองค์ว่า
[๓๔] ภิกษุอื่นผู้มุ่งมั่นด้วยศรัทธา มีปัญญาดี
มีความอาลัยในการดูเราเช่นกับวักกลิภิกษุนี้ไม่มีเลย
[๓๕] ครั้งนั้น ข้าพเจ้าเป็นบุตรของพราหมณ์ในกรุงหงสวดี
ได้ฟังพระดำรัสนั้น จึงปรารถนาตำแหน่งนั้น
[๓๖] ครั้งนั้น ข้าพเจ้าได้ทูลนิมนต์พระตถาคต
ผู้ไม่มีมลทินพระองค์นั้น พร้อมด้วยพระสาวก
ให้เสวยและฉันตลอด ๗ วันแล้วให้ครองผ้าชุดใหม่
[๓๗] ข้าพเจ้าหมอบลงแล้วจมลง(ดื่มด่ำ)ในสาคร
คือพระอนันตคุณของพระตถาคตพระองค์นั้น
เต็มเปี่ยมไปด้วยปีติ ได้กราบทูลคำนี้ว่า
[๓๘] ข้าแต่พระมหามุนี ผู้เป็นพระฤาษี
ขอข้าพระองค์จงเป็นเช่นกับภิกษุผู้เป็นสัทธาธิมุต (มุ่งมั่นด้วยศรัทธา)
ที่พระองค์ทรงตรัสชมเชยว่า เลิศกว่าภิกษุทั้งหลายผู้มีศรัทธา
[๓๙] เมื่อข้าพเจ้ากราบทูลดังนี้แล้ว
พระมหามุนีผู้มีความเพียรมาก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๒๔๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๔. กัจจายนวรรค] ๒. วักกลิเถราปทาน
มีทรรศนะที่หาเครื่องกั้นมิได้
ได้ตรัสพระดำรัสนี้ในชุมนุมชนว่า
[๔๐] ‘จงดูมาณพนี้ ผู้นุ่งผ้าเนื้อเกลี้ยงสีเหลือง
มีสังวาลทองคำคล้องกาย
ดึงดูดดวงตาและดวงใจของหมู่ชนไว้ได้
[๔๑] ในอนาคตกาล
มาณพนี้ เป็นผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลายผู้สัทธาธิมุต
จักได้เป็นสาวกของพระโคดม
ผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่
[๔๒] เขาเป็นเทวดาหรือมนุษย์ก็ตาม
จักเป็นผู้เว้นจากความเดือดร้อนทั้งปวง
เป็นที่รวมแห่งโภคะทุกอย่าง มีความสุขเวียนว่ายตายเกิดไป
[๔๓] ในกัปที่ ๑๐๐,๐๐๐ นับจากกัปนี้ไป
พระศาสดาพระนามว่าโคดม ตามพระโคตร
ทรงสมภพในราชสกุลโอกกากราช จักอุบัติขึ้นในโลก
[๔๔] มาณพผู้นี้จักมีนามว่าวักกลิ ตามโคตร
เป็นธรรมทายาท เป็นโอรสที่ธรรมเนรมิต
เป็นพระสาวกของพระศาสดา’
[๔๕] ด้วยผลกรรมที่วิเศษนั้น และด้วยเจตนาที่ตั้งไว้มั่น
ข้าพเจ้าละกายมนุษย์แล้ว จึงได้ไปเกิดในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์
[๔๖] ข้าพเจ้ามีความสุขในที่ทุกสถาน
เวียนว่ายตายเกิดอยู่ในภพน้อยภพใหญ่
ได้เกิดในตระกูลหนึ่งในกรุงสาวัตถี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๒๔๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๔. กัจจายนวรรค] ๒. วักกลิเถราปทาน
[๔๗] ข้าพเจ้าผู้ละเอียดอ่อนเหมือนเนยข้น
นุ่มนิ่มเหมือนใบไม้อ่อนซึ่งยังนอนหงายอยู่
[๔๘] มารดาถูกภัยคือปีศาจคุกคาม
มีใจหวาดกลัวจึงให้นอนลง
แทบพระยุคลบาทของพระผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่
กราบทูลว่า ‘ข้าแต่พระโลกนาถ ผู้ทรงเป็นผู้นำ
หม่อมฉันขอถวายทารกนี้แด่พระองค์
ขอพระองค์จงทรงเป็นที่พึ่งของเขาด้วยเถิด’
[๔๙] ครั้งนั้น พระมุนีพระองค์นั้นผู้ทรงเป็นที่พึ่ง
ของหมู่สัตว์ผู้หวาดกลัว ได้ทรงรับข้าพเจ้า
ด้วยฝ่าพระหัตถ์ที่บริสุทธิ์อ่อนนุ่มมีตาข่ายกำหนดด้วยจักร
[๕๐] จำเดิมแต่นั้นมา ข้าพเจ้าได้รับการคุ้มครองโดยไม่ต้องเฝ้ารักษา
จึงพ้นจากความป่วยไข้ทุกอย่าง อยู่อย่างสุขสำราญ
[๕๑] ข้าพเจ้าห่างจากพระสุคตเพียงครู่เดียว ก็กระวนกระวาย
พออายุได้ ๗ ขวบ ก็บวชเป็นบรรพชิต
[๕๒] ข้าพเจ้าเป็นผู้ไม่อิ่มอยู่ เพราะเห็นพระรูปกายที่ประเสริฐ
ซึ่งเกิดจากพระบารมีทุกอย่าง
มีดวงตาสีดำสนิท มีผิวพรรณสัณฐานงดงาม
[๕๓] ครั้งนั้น พระชินเจ้าทรงทราบว่า
ข้าพเจ้ายินดีในพระรูป
จึงได้ตรัสสอนข้าพเจ้าว่า ‘อย่าเลย วักกลิ
ทำไม เธอจึงยินดีในรูปที่ชนพาลชอบเล่า
[๕๔] ผู้ใดเห็นพระสัทธรรม ผู้นั้นชื่อว่าเป็นบัณฑิตเห็นเรา
(ส่วน)ผู้ไม่เห็นพระสัทธรรม ถึงจะเห็นเราก็ชื่อว่าไม่เห็น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๒๔๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๔. กัจจายนวรรค] ๒. วักกลิเถราปทาน
[๕๕] ร่างกายมีโทษไม่สิ้นสุดเหมือนต้นไม้มีพิษ
เป็นที่อาศัยของโรคทุกชนิด ล้วนเป็นที่ประชุมของทุกข์
[๕๖] เพราะฉะนั้น เธอจงเบื่อหน่ายในรูป
พิจารณาเห็นความเกิดขึ้น
และความเสื่อมไปแห่งขันธ์ทั้งหลาย
จะถึงที่สุดแห่งสรรพกิเลสได้โดยง่ายเถิด’
[๕๗] ข้าพเจ้าถูกพระผู้ทรงเป็นผู้นำสัตว์โลก
ผู้แสวงหาประโยชน์พระองค์นั้น ทรงพร่ำสอนอย่างนี้
ได้ขึ้นไปยังภูเขาคิชฌกูฏ เพ่งดูอยู่ที่ซอกภูเขา
[๕๘] พระชินเจ้าผู้มหามุนีประทับยืนอยู่ที่เชิงเขา
เมื่อจะทรงปลอบโยนข้าพเจ้า ได้ตรัสเรียกว่า ‘วักกลิ’
ข้าพเจ้าได้ฟังพระดำรัสนั้นจึงเบิกบานใจ
[๕๙] ครั้งนั้น ข้าพเจ้าวิ่งลงไปที่เงื้อมเขาลึกหลายร้อยชั่วบุรุษ
แต่ก็ถึงแผ่นดินได้โดยสะดวกทีเดียวด้วยพุทธานุภาพ
[๖๐] พระผู้มีพระภาคทรงแสดงพระธรรมเทศนา
คือความเกิดขึ้นและความเสื่อมไปแห่งขันธ์ทั้งหลายอีก
ข้าพเจ้ารู้ทั่วถึงธรรมนั้นแล้ว จึงได้บรรลุอรหัตตผล
[๖๑] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาค ผู้ทรงพระปรีชามาก
ทรงบรรลุจรณธรรม๑ ทรงประกาศข้าพเจ้าว่า
เป็นเลิศกว่าภิกษุทั้งหลายฝ่ายสัทธาธิมุต
ในท่ามกลางบุรุษผู้ควรบูชาอย่างยิ่ง

เชิงอรรถ :
๑ จรณธรรม หมายถึงจรณธรรม ๑๕ มีศีลเป็นต้น (ขุ.อป.อ. ๒/๖๑/๒๖๙)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๒๔๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๔. กัจจายนวรรค] ๓. มหากัปปินเถราปทาน
[๖๒] ในกัปที่ ๑๐๐,๐๐๐ นับจากกัปนี้ไป
ข้าพเจ้าได้ทำกรรมไว้ในครั้งนั้น
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการบูชาพระพุทธเจ้า
[๖๓] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว
ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๖๔] การที่ข้าพเจ้ามาในสำนักของพระพุทธเจ้า
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๖๕] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระวักกลิเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
วักกลิเถราปทานที่ ๒ จบ

๓. มหากัปปินเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระมหากัปปินเถระ
(พระมหากัปปินเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๖๖] พระชินเจ้าพระนามว่าปทุมุตตระ
ผู้ทรงถึงความสำเร็จแห่งธรรมทั้งปวง
ทรงปรากฏแล้วในอากาศทั้งสิ้น
เหมือนดวงอาทิตย์ปรากฏในท้องฟ้าในสารทกาล

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๒๔๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๔. กัจจายนวรรค] ๓. มหากัปปินเถราปทาน
[๖๗] ทรงทำดอกบัวคือเวไนยสัตว์ให้เบ่งบานด้วยพระรัศมีคือพระดำรัส
พระผู้ทรงเป็นผู้นำสัตว์โลกพระองค์นั้น
ทรงทำเปือกตมคือกิเลสให้แห้งไปด้วยพระรัศมีคือปัญญา
[๖๘] พระผู้ทรงวชิรญาณขจัดยศของพวกเดียรถีย์
เหมือนดวงอาทิตย์
พระทิวากรพุทธเจ้าทรงส่องสว่าง
ทั้งกลางวันและกลางคืน ในที่ทุกแห่ง
[๖๙] พระพุทธองค์เป็นบ่อเกิดแห่งคุณ
เหมือนทะเลเป็นบ่อเกิดแห่งรัตนะ
ทรงทำเมฆฝนคือธรรมให้ตกลงเพื่อหมู่สัตว์
เหมือนเมฆทำฝนให้ตก
[๗๐] ครั้งนั้น ข้าพเจ้าเป็นผู้พิพากษาอยู่ในกรุงหงสวดี
ได้เข้าไปฟังธรรมของพระพุทธเจ้าพระนามว่าปทุมุตตระ
[๗๑] ซึ่งกำลังประกาศคุณของสาวกผู้มีสติ
ผู้กล่าวสอนภิกษุทั้งหลายอยู่ ทรงทำใจของข้าพเจ้าให้ยินดี
[๗๒] ข้าพเจ้าได้ฟังแล้วเกิดปีติโสมนัส
ทูลนิมนต์พระตถาคตพร้อมด้วยสาวกให้เสวยและฉันแล้ว
ปรารถนาตำแหน่งนั้น
[๗๓] ครั้งนั้น พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้มีส่วนเปรียบด้วยหงส์
มีพระสุรเสียงเหมือนเสียงหงส์และเสียงมโหระทึก๑
ได้ตรัสว่า จงดูมหาอำมาตย์ผู้นี้ ผู้องอาจในการตัดสิน
[๗๔] ซึ่งหมอบอยู่แทบเท้าของเรา
มีโลมชาติชูชันและมีใจฟูขึ้น

เชิงอรรถ :
๑ มโหระทึก หมายถึงกลองโลหะชนิดหนึ่งของชนชาติที่อยู่ตอนใต้ประเทศจีน ใช้ตีเป็นสัญญาณและประโคม
(พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน, พ.ศ. ๒๕๒๕, น. ๖๓๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๒๔๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๔. กัจจายนวรรค] ๓. มหากัปปินเถราปทาน
มีวรรณะเหมือนแก้วมุกดาที่งดงาม
มีนัยน์ตาและใบหน้าที่ผ่องใส
[๗๕] มีบริวารเป็นอันมาก ทำราชการ มียศใหญ่
มหาอำมาตย์นี้ปรารถนาตำแหน่งภิกษุผู้กล่าวสอน
เพราะร่วมยินดีด้วย
[๗๖] ด้วยบิณฑบาต ด้วยการบริจาค
และด้วยการตั้งความปรารถนาไว้นี้
เขาจะไม่เกิดยังทุคติเลยตลอด ๑๐๐,๐๐๐ กัป
[๗๗] จักเสวยความเป็นผู้มีส่วนแห่งความเป็นเทวดาในหมู่เทพ
และความเป็นใหญ่ในหมู่มนุษย์
จักบรรลุพระนิพพานด้วยผลกรรมที่เหลือ
[๗๘] ในกัปที่ ๑๐๐,๐๐๐ นับจากกัปนี้ไป
พระศาสดาพระนามว่าโคดม ตามพระโคตร
ทรงสมภพในราชสกุลโอกกากราช จักอุบัติขึ้นในโลก
[๗๙] มหาอำมาตย์นี้จักมีนามว่ากัปปินะ
เป็นธรรมทายาท เป็นโอรสที่ธรรมเนรมิต
เป็นสาวกของพระศาสดา
[๘๐] จากนั้น ข้าพเจ้าได้ทำสักการะที่กระทำไว้ดีแล้ว
ในศาสนาของพระชินเจ้า ละกายมนุษย์แล้ว
จึงได้ไปเกิดในสวรรค์ชั้นดุสิต
[๘๑] ข้าพเจ้าครองราชสมบัติในเทวโลก
และมนุษยโลกโดยธรรม แล้วเกิดในตระกูลช่างหูก
ในหมู่บ้านใกล้กรุงพาราณสี
[๘๒] ข้าพเจ้ากับภรรยามีบริวาร ๑๐๐,๐๐๐ คน
ได้อุปัฏฐากพระปัจเจกพุทธเจ้า ๕๐๐ องค์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๒๔๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๔. กัจจายนวรรค] ๓. มหากัปปินเถราปทาน
[๘๓] นิมนต์ให้ฉันตลอดไตรมาส แล้วให้ครองไตรจีวร
ข้าพเจ้าทั้งหมดจุติจากอัตภาพนั้นแล้ว
จึงได้ไปเกิดในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์
[๘๔] ข้าพเจ้าทั้งหลายจุติจากสวรรค์นั้นแล้ว
กลับมาเกิดเป็นมนุษย์อีก ในกุกกุฏบุรี ข้างภูเขาหิมพานต์
[๘๕] ข้าพเจ้าได้เป็นโอรสผู้มียศใหญ่นามว่ากัปปินะ
พวกที่เหลือเกิดในตระกูลอำมาตย์แวดล้อมข้าพเจ้า
[๘๖] ข้าพเจ้ามีความสุขในราชสมบัติเป็นอันมาก
สำเร็จสิ่งที่ต้องประสงค์ทุกประการ
ได้ฟังข่าวการอุบัติของพระพุทธเจ้าที่พวกพ่อค้าบอกดังนี้ว่า
[๘๗] ‘พระพุทธเจ้าผู้เป็นเอกอัครบุคคล ไม่มีใครเหมือน
เสด็จอุบัติขึ้นแล้วในโลก พระองค์ทรงประกาศพระสัทธรรม
ซึ่งเป็นอมตะเป็นสุขอย่างประเสริฐ
[๘๘] และสาวกของพระองค์ขวนขวายดีแล้ว
หลุดพ้นดีแล้ว ไม่มีอาสวะ’
ครั้นข้าพเจ้าได้ฟังคำของพ่อค้าเหล่านั้นแล้ว
ได้ทำสักการะพวกพ่อค้า
[๘๙] สละราชสมบัติ พร้อมด้วยอำมาตย์ ได้เป็นพุทธมามกะ
พากันออกเดินทาง ได้เห็นแม่น้ำมหาจันทามีน้ำเต็มเสมอขอบฝั่ง
[๙๐] ทั้งไม่มีท่าน้ำ ไม่มีแพ ข้ามได้ยาก
และยังมีกระแสน้ำไหลเชี่ยว
ข้าพเจ้าข้ามแม่น้ำไปได้โดยความสวัสดี
เพราะระลึกถึงพระพุทธคุณว่า
[๙๑] ‘ถ้าพระพุทธเจ้าทรงข้ามกระแสน้ำคือภพ
ทรงถึงที่สุดแห่งโลก ทรงรู้แจ้งไซร้
ด้วยสัจวาจานี้ ขอการไปของข้าพเจ้าจงสำเร็จ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๒๔๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๔. กัจจายนวรรค] ๓. มหากัปปินเถราปทาน
[๙๒] ถ้ามรรคเป็นเครื่องให้สัตว์ถึงความสงบได้
เป็นเครื่องให้โมกขธรรมอันเป็นสันติสุขได้
ด้วยสัจวาจานี้ ขอการไปของข้าพเจ้าจงสำเร็จ
[๙๓] ถ้าพระสงฆ์เป็นผู้ข้ามพ้นความกันดารไปได้
เป็นเนื้อนาบุญอย่างยอดเยี่ยม
ด้วยสัจวาจานี้ ขอการไปของข้าพเจ้าจงสำเร็จ’
[๙๔] พร้อมกับที่ข้าพเจ้าทำสัจจะอย่างประเสริฐนี้
น้ำได้ไหลหลีกออกไปจากหนทาง
ลำดับนั้น ข้าพเจ้าได้ข้ามขึ้นฝั่งแม่น้ำที่น่ารื่นรมย์ใจได้โดยสะดวก
[๙๕] ข้าพเจ้าได้เห็นพระพุทธเจ้าประทับนั่งอยู่
เปล่งรัศมีดุจดวงอาทิตย์อุทัย รุ่งเรืองดุจภูเขาทอง
โชติช่วงดุจต้นพฤกษาประทีป
[๙๖] ผู้อันสาวกห้อมล้อม เปรียบดังดวงจันทร์
ที่ล้อมรอบด้วยดาวนักษัตร
ทำเทวดาและมนุษย์ให้เพลิดเพลิน
ประหนึ่งท้าววาสวะ ทำฝนคือรัตนะให้ตก
[๙๗] ข้าพเจ้าพร้อมด้วยอำมาตย์ถวายบังคม
เข้าเฝ้า ณ ที่สมควร
ลำดับนั้น พระพุทธเจ้าทรงทราบอัธยาศัยแล้ว
จึงได้ทรงแสดงธรรม
[๙๘] ข้าพเจ้าทั้งหลายได้ฟังธรรมที่ปราศจากมลทินแล้ว
ได้ทูลขอพระชินเจ้าว่า ‘ข้าแต่พระองค์ผู้มีความเพียรมาก
ขอได้โปรดให้ข้าพระองค์ทั้งหลายได้บรรพชาเถิด
ข้าพระองค์ทั้งหลายข้ามภพได้แล้ว’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๒๕๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๔. กัจจายนวรรค] ๓. มหากัปปินเถราปทาน
[๙๙] พระมุนีผู้ประเสริฐสุดตรัสว่า
‘ภิกษุทั้งหลาย ธรรมอันเรากล่าวดีแล้ว
เธอทั้งหลายจงประพฤติพรหมจรรย์เพื่อทำที่สุดทุกข์เถิด’
[๑๐๐] พร้อมกับพุทธดำรัสนี้ ข้าพเจ้าทุกคนล้วนทรงเพศเป็นภิกษุ
ได้อุปสมบท เป็นพระโสดาบันในศาสนา
[๑๐๑] จากนั้น พระผู้ทรงเป็นผู้นำวิเศษ
ได้เสด็จไปยังพระเชตวัน แล้วทรงพร่ำสอน
ข้าพเจ้าผู้อันพระชินเจ้าทรงพร่ำสอนแล้วก็ได้บรรลุพระอรหัต
[๑๐๒] ลำดับนั้น ข้าพเจ้าได้สั่งสอนภิกษุ ๑,๐๐๐ รูป
แม้ภิกษุเหล่านั้นก็ปฏิบัติตามคำสอนของข้าพเจ้า
เป็นผู้ไม่มีอาสวะ
[๑๐๓] พระชินเจ้าทรงพอพระทัยในคุณข้อนั้น
จึงทรงตั้งข้าพเจ้าไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะ
ในท่ามกลางมหาชนว่า
‘ภิกษุชื่อกัปปินะเลิศกว่าภิกษุทั้งหลายผู้ให้โอวาทแก่ภิกษุ’
[๑๐๔] กรรมที่ข้าพเจ้าได้ทำไว้ในกัปที่ ๑๐๐,๐๐๐
ได้แสดงผลแก่ข้าพเจ้าแล้วในอัตภาพนี้
ข้าพเจ้าหลุดพ้นดีแล้ว(จากกิเลส)
ดุจความเร็วแห่งลูกศรที่พ้นไปจากแล่ง
ข้าพเจ้าเผากิเลสทั้งหลายได้แล้ว
[๑๐๕] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว
ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๑๐๖] การที่ข้าพเจ้ามาในสำนักของพระพุทธเจ้า
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๒๕๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๔. กัจจายนวรรค] ๔. ทัพพมัลลปุตตเถราปทาน
วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๑๐๗] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระมหากัปปินเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
มหากัปปินเถราปทานที่ ๓ จบ

๔. ทัพพมัลลปุตตเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระทัพพมัลลปุตตเถระ
(พระทัพพมัลลบุตรเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๑๐๘] พระชินเจ้าพระนามว่าปทุมุตตระ
ทรงรู้แจ้งโลกทั้งปวง เป็นพระมุนี ทรงมีพระจักษุ
เสด็จอุบัติขึ้นแล้วในกัปที่ ๑๐๐,๐๐๐ นับจากกัปนี้ไป
[๑๐๙] พระองค์เป็นผู้ตรัสสอน ทรงแสดงธรรมให้สัตว์รู้ชัดได้
ทรงช่วยสรรพสัตว์ให้ข้ามพ้น
ทรงฉลาดในเทศนา เป็นพระพุทธเจ้า
ทรงช่วยหมู่ชนให้ข้ามพ้นได้เป็นจำนวนมาก
[๑๑๐] พระองค์เป็นผู้อนุเคราะห์ ประกอบด้วยพระกรุณา
ทรงแสวงหาประโยชน์เกื้อกูลเพื่อสรรพสัตว์
ทรงทำเดียรถีย์ที่มาเฝ้าทั้งหมดให้ดำรงอยู่ในศีล ๕
[๑๑๑] เมื่อเป็นเช่นนี้ ศาสนาจึงหมดความอากูล
ว่างจากพวกเดียรถีย์
และงดงามด้วยพระอรหันต์ทั้งหลาย ผู้ได้วสี ผู้คงที่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๒๕๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๔. กัจจายนวรรค] ๔. ทัพพมัลลปุตตเถราปทาน
[๑๑๒] พระมหามุนีพระองค์นั้นทรงมีพระวรกายสูง ๕๘ ศอก
มีพระฉวีวรรณคล้ายทองคำที่ล้ำค่า
มีพระลักษณะอันประเสริฐ ๓๒ ประการ๑
[๑๑๓] ครั้งนั้น สัตว์ทั้งหลายมีอายุประมาณ ๑๐๐,๐๐๐ ปี
พระชินสีห์พระองค์นั้น
ก็ดำรงพระชนมายุอยู่ประมาณเท่านั้น
ทรงช่วยหมู่ชนให้ข้ามพ้นได้เป็นจำนวนมาก
[๑๑๔] ครั้งนั้น ข้าพเจ้าเป็นบุตรเศรษฐีผู้มียศใหญ่ในกรุงหงสวดี
ได้เข้าเฝ้าพระองค์ผู้ส่องโลกให้สว่างไสว
แล้วได้ฟังพระธรรมเทศนา
[๑๑๕] ข้าพเจ้าได้ฟังพระดำรัสของพระองค์ซึ่งตรัสยกย่องภิกษุ
พร้อมด้วยสาวกผู้จัดแจงเสนาสนะให้ภิกษุทั้งหลายก็พลอยยินดี
[๑๑๖] จึงทำสักการะอย่างยิ่งใหญ่แด่พระองค์
ผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่พร้อมทั้งพระสงฆ์
หมอบลงแทบพระบาทด้วยเศียรเกล้า
แล้วปรารถนาตำแหน่งนั้น
[๑๑๗] ความจริง ในครั้งนั้น พระมหาวีระพระองค์นั้น
ได้ทรงพยากรณ์กรรมของข้าพเจ้าไว้ว่า
‘บุตรเศรษฐีนี้ได้นิมนต์พระผู้เป็นผู้นำสัตว์โลก’
พร้อมด้วยพระสงฆ์ให้เสวยและฉันตลอด ๗ วัน
[๑๑๘] เขาจักมีดวงตาเหมือนกลีบบัว มีช่วงไหล่เหมือนราชสีห์
มีผิวพรรณดุจทองคำ หมอบอยู่แทบเท้าของเรา
ปรารถนาตำแหน่งอันสูงสุด
[๑๑๙] ในกัปที่ ๑๐๐,๐๐๐ นับจากกัปนี้ไป
พระศาสดาพระนามว่าโคดม ตามพระโคตร
ทรงสมภพในราชสกุลโอกกากราช จักอุบัติขึ้นในโลก

เชิงอรรถ :
๑ ดูเชิงอรรถหน้า ๑๐ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๒๕๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๔. กัจจายนวรรค] ๔. ทัพพมัลลปุตตเถราปทาน
[๑๒๐] บุตรเศรษฐีนี้จักได้เป็นสาวกของพระพุทธเจ้าพระองค์นั้น
ปรากฏโดยชื่อว่าทัพพะ
เป็นภิกษุผู้เลิศฝ่ายภิกษุผู้จัดแจงเสนาสนะตามปรารถนา’
[๑๒๑] ด้วยกรรมที่ข้าพเจ้าได้ทำไว้ดีแล้วนั้น
และด้วยเจตนาที่ตั้งไว้มั่น
ข้าพเจ้าละกายมนุษย์แล้ว
จึงได้ไปเกิดในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์
[๑๒๒] ครองเทวสมบัติตลอด ๓๐๐ ชาติ
ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ๕๐๐ ชาติ
[๑๒๓] และได้เป็นพระเจ้าประเทศราชอันไพบูลย์นับชาติไม่ถ้วน
เพราะอานุภาพแห่งกรรมนั้น
ข้าพเจ้าจึงมีความสุขในทุกภพ
[๑๒๔] ในกัปที่ ๙๑ นับจากกัปนี้ไป
พระพุทธเจ้าพระนามว่าวิปัสสี ผู้ทรงเป็นผู้นำ
ผู้มีพระเนตรงาม ทรงเห็นแจ้งธรรมทั้งปวงเสด็จอุบัติขึ้นแล้ว
[๑๒๕] ข้าพเจ้ามีจิตขัดเคือง ได้กล่าวตู่สาวกของพระพุทธเจ้า
ผู้คงที่พระองค์นั้น ผู้สิ้นอาสวะทั้งปวงแล้ว
ทั้งที่รู้อยู่ว่า ท่านเป็นผู้บริสุทธิ์
[๑๒๖] อนึ่ง ข้าพเจ้าจับสลากแล้วถวายข้าวสุกที่หุงด้วยน้ำนม
แด่พระสาวกทั้งหลายผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่
ของพระพุทธเจ้าผู้แกล้วกล้ากว่านรชนพระองค์นั้นแหละ
[๑๒๗] ในภัทรกัปนี้ พระพุทธเจ้าผู้เป็นเผ่าพันธุ์ของพราหมณ์
ผู้มีพระยศยิ่งใหญ่ พระนามว่ากัสสปะ ตามพระโคตร
ทรงประเสริฐกว่าเจ้าลัทธิทั้งหลาย เสด็จอุบัติขึ้นแล้ว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๒๕๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๔. กัจจายนวรรค] ๔. ทัพพมัลลปุตตเถราปทาน
[๑๒๘] พระองค์พร้อมด้วยสาวกประกาศศาสนาให้รุ่งเรือง
ข่มเดียรถีย์ผู้หลอกลวงได้แล้ว
ทรงแนะนำเหล่าเวไนยสัตว์ ปรินิพพานแล้ว
[๑๒๙] เมื่อพระโลกนาถพร้อมด้วยสาวกปรินิพพานแล้ว
เมื่อศาสนากำลังจะสิ้นไป เทพและมนุษย์พากันสลดใจ
สยายผม มีน้ำตานองหน้า คร่ำครวญว่า
[๑๓๐] ‘ดวงตาคือพระธรรมจักดับ
เราทั้งหลายจักไม่ได้เห็นท่านผู้มีวัตรดีงาม
จักไม่ได้ฟังพระสัทธรรม น่าสังเวชใจ เราทั้งหลายช่างมีบุญน้อย’
[๑๓๑] ครั้งนั้น พื้นปฐพีทั้งหมดนี้ ทั้งใหญ่ทั้งหนา
ได้ไหว สาครดังจะมีความเศร้าโศก
ส่งเสียงดังกึกก้องอย่างน่าสงสาร
[๑๓๒] เหล่าอมนุษย์ตีกลองอยู่ทั่วทั้ง ๔ ทิศ
อสนีบาตที่น่าสะพรึงกลัวก็ฟาดลงอยู่โดยรอบ
[๑๓๓] อุกกาบาตตกจากท้องฟ้า ปรากฏเป็นลำเพลิง
มีควันและเปลวเพลิงพวยพุ่ง
หมู่สัตว์ร้องครวญครางอย่างน่าสงสาร
[๑๓๔] ครั้งนั้น ข้าพเจ้าทั้งหลายเป็นภิกษุรวม ๗ รูปด้วยกัน
ได้เห็นความอุบาทว์ที่ร้ายแรง
แสดงเหตุถึงความตั้งอยู่ไม่ได้แห่งศาสนา
จึงเกิดความสังเวชใจ คิดกันว่า
[๑๓๕] ‘เราทั้งหลายเว้นศาสนาไม่ควรจะมีชีวิตอยู่
จึงเข้าไปยังป่าใหญ่แล้ว
บำเพ็ญเพียรตามคำสอนของพระชินสีห์เถิด’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๒๕๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๔. กัจจายนวรรค] ๔. ทัพพมัลลปุตตเถราปทาน
[๑๓๖] ครั้งนั้น ข้าพเจ้าได้พบภูเขาหินสูงในป่า
จึงไต่บันไดขึ้นไปยังภูเขาลูกนั้นแล้วผลักบันไดให้ตกลง
[๑๓๗] ครั้งนั้น พระเถระได้ตักเตือนพวกข้าพเจ้าว่า
‘การอุบัติขึ้นแห่งพระพุทธเจ้าหาได้แสนยาก
อีกประการหนึ่ง ศรัทธาที่ได้ไว้ก็หายาก
และศาสนายังเหลืออีกเล็กน้อย
[๑๓๘] ผู้ที่ปล่อยเวลาให้ผ่านไป จะต้องตกลงไปในสาคร
คือความทุกข์ซึ่งไม่มีที่สิ้นสุด
เพราะฉะนั้น ท่านทั้งหลายควรกระทำความเพียร
ตลอดเวลาที่ศาสนายังดำรงอยู่เถิด’
[๑๓๙] ครั้งนั้น พระเถระนั้นเป็นพระอรหันต์
องค์รองได้เป็นพระอนาคามี
พวกข้าพเจ้าที่เหลือจากนั้น เป็นผู้มีศีลบริสุทธิ์
ประกอบความเพียร จึงได้ไปเกิดยังเทวโลก
[๑๔๐] พระเถระองค์ที่ข้ามสงสารไป
ได้ปรินิพพานในพรหมโลกชั้นสุทธาวาสเพียงองค์เดียว
ข้าพเจ้าทั้งหลาย คือ (๑) ตัวข้าพเจ้า (๒) พระปุกกุสาติ
(๓) พระสภิยะ (๔) พระพาหิยะ
[๑๔๑] (๕) พระกุมารกัสสปะ เกิดในที่นั้น ๆ
อันพระโคดมทรงอนุเคราะห์
จึงหลุดพ้นจากเครื่องจองจำคือสงสารได้
[๑๔๒] ข้าพเจ้าเกิดในตระกูลมัลลกษัตริย์
ในกรุงกุสินารา เมื่อยังอยู่ในครรภ์นั่นแหละ
มารดาได้สิ้นพระชนม์ เขาช่วยกันยกขึ้นสู่จิตกาธาน
ข้าพเจ้าได้ตกลงมาจากจิตกาธานนั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๒๕๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๔. กัจจายนวรรค] ๔. ทัพพมัลลปุตตเถราปทาน
[๑๔๓] ตกลงไปในกองไม้ จากนั้น จึงปรากฏนามว่าทัพพะ
ด้วยผลแห่งการประพฤติพรหมจรรย์
ข้าพเจ้ามีอายุได้ ๗ ขวบก็หลุดพ้นจากกิเลส
[๑๔๔] ด้วยผลที่ข้าพเจ้าถวายข้าวสุกที่หุงด้วยน้ำนม
ข้าพเจ้าจึงประกอบด้วยองค์ ๕
เพราะบาปที่ข้าพเจ้ากล่าวตู่พระขีณาสพ
จึงถูกคนชั่วจำนวนมากโจท(กล่าวหา)
[๑๔๕] บัดนี้ ข้าพเจ้าล่วงบุญและบาปทั้ง ๒ แล้ว
ได้บรรลุสันติสุขอย่างยิ่ง อยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
[๑๔๖] ข้าพเจ้าจัดแจงเสนาสนะให้ท่านผู้มีวัตรดีงามทั้งหลายยินดี
พระชินเจ้าทรงพอพระทัยในคุณข้อนั้น
จึงทรงตั้งข้าพเจ้าไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะ
[๑๔๗] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว
ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๑๔๘] การที่ข้าพเจ้ามาในสำนักของพระพุทธเจ้า
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๑๔๙] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระทัพพมัลลบุตรเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
ทัพพมัลลปุตตเถราปทานที่ ๔ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๒๕๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๔. กัจจายนวรรค] ๕. กุมารกัสสปเถราปทาน
๕. กุมารกัสสปเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระกุมารกัสสปเถระ
(พระกุมารกัสสปเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๑๕๐] พระผู้มีพระภาคพระนามว่าปทุมุตตระ ทรงเป็นผู้นำสัตว์โลก
ทรงบำเพ็ญประโยชน์เกื้อกูลแก่สรรพสัตว์ เป็นนักปราชญ์
เสด็จอุบัติขึ้นแล้วในกัปที่ ๑๐๐,๐๐๐ นับจากกัปนี้ไป
[๑๕๑] ครั้งนั้น ข้าพเจ้าเป็นพราหมณ์มีชื่อเสียงเลื่องลือ
เรียนจบไตรเพท เที่ยวพักสำราญในเวลากลางวัน
ได้เห็นพระผู้มีพระภาค ผู้ทรงเป็นผู้นำสัตว์โลก
[๑๕๒] กำลังทรงประกาศสัจจะ ๔
ช่วยมนุษย์พร้อมด้วยเทวดาให้ตรัสรู้
กำลังสรรเสริญสาวกของพระองค์
ผู้กล่าวธรรมีกถาอย่างวิจิตรอยู่ในหมู่มหาชน
[๑๕๓] ครั้งนั้น ข้าพเจ้าเบิกบานใจจึงทูลนิมนต์พระตถาคต
แล้วประดับมณฑปด้วยผ้าที่ย้อมด้วยสีต่าง ๆ
[๑๕๔] ให้โชติช่วงด้วยรัตนะต่าง ๆ ทูลนิมนต์พระตถาคต
พร้อมทั้งพระสงฆ์ให้เสวยและฉันโภชนะ
มีรสเลิศต่าง ๆ ตลอด ๗ วัน ในมณฑปนั้น
[๑๕๕] ได้บูชาพระตถาคตพร้อมทั้งสาวก
ด้วยดอกไม้อันสวยงามนานาชนิด
แล้วหมอบลงแทบพระบาท ปรารถนาตำแหน่งนั้น
[๑๕๖] ครั้งนั้น พระมุนีผู้ประเสริฐ ทรงมีพระกรุณา
ได้ตรัสว่า ‘จงดูพราหมณ์ผู้ประเสริฐนี้
ผู้มีปากและดวงตาเหมือนดอกปทุม

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๒๕๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๔. กัจจายนวรรค] ๕. กุมารกัสสปเถราปทาน
[๑๕๗] ผู้มากด้วยความปรีดาปราโมทย์
มีโลมชาติชูชันและมีใจฟูขึ้น มีนัยน์ตากลมโต
นำความร่าเริงมา มีความอาลัยในศาสนาของเรา
[๑๕๘] ผู้มีใจดี มีผ้าผืนเดียวหมอบอยู่แทบเท้าของเรา
เขาปรารถนาตำแหน่งคือการกล่าวธรรมได้อย่างวิจิตรนั้น
[๑๕๙] ในกัปที่ ๑๐๐,๐๐๐ นับจากกัปนี้ไป
พระศาสดาพระนามว่าโคดม ตามพระโคตร
ทรงสมภพในราชสกุลโอกกากราช จักอุบัติขึ้นในโลก
[๑๖๐] ผู้นี้จักมีนามว่ากุมารกัสสปะ
เป็นธรรมทายาท เป็นโอรสที่ธรรมเนรมิต
จักเป็นสาวกของพระศาสดาพระองค์นั้น
[๑๖๑] เพราะอานุภาพแห่งดอกไม้และผ้า
อันวิจิตรและรัตนะทั้งหลาย
เขาจักถึงความเป็นเลิศกว่าภิกษุทั้งหลาย
ผู้กล่าวธรรมได้อย่างวิจิตร’
[๑๖๒] ด้วยกรรมที่ข้าพเจ้าได้ทำไว้ดีแล้วนั้น
และด้วยเจตนาที่ตั้งไว้มั่น
ข้าพเจ้าละกายมนุษย์แล้ว
จึงได้ไปเกิดในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์
[๑๖๓] ข้าพเจ้าเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในภพน้อยภพใหญ่
เหมือนตัวละครเต้นรำหมุนเวียนอยู่กลางเวที
ข้าพเจ้าเป็นลูกของเนื้อชื่อสาขะ
ได้ถือปฏิสนธิในครรภ์ของแม่เนื้อ
[๑๖๔] ครั้งนั้น เมื่อข้าพเจ้ายังอยู่ในครรภ์
ถึงวาระที่จะต้องถูกฆ่า
มารดาของข้าพเจ้าถูกเนื้อชื่อสาขะทอดทิ้ง
จึงยึดเนื้อชื่อนิโครธเป็นที่พึ่ง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๒๕๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๔. กัจจายนวรรค] ๕. กุมารกัสสปเถราปทาน
[๑๖๕] มารดาของข้าพเจ้าได้พญาเนื้อชื่อนิโครธนั้น
สละชีวิตของตนช่วยให้พ้นจากความตายแล้ว
ตักเตือนข้าพเจ้าผู้เป็นลูกของตนในครั้งนั้นอย่างนี้ว่า
[๑๖๖] ‘ควรคบแต่เนื้อชื่อนิโครธเท่านั้น
ไม่ควรเข้าไปคบหาเนื้อชื่อสาขะ
การตายในสำนักของเนื้อชื่อนิโครธยังประเสริฐกว่า
การมีชีวิตอยู่ในสำนักของเนื้อชื่อสาขะ จะประเสริฐอย่างไร๑
[๑๖๗] ข้าพเจ้า มารดาของข้าพเจ้าและพวกเนื้อนอกนี้
ได้เนื้อชื่อนิโครธผู้เป็นนายฝูงนั้นพร่ำสอน
อาศัยโอวาทของเนื้อชื่อนิโครธนั้น
จึงได้ไปยังที่อยู่อาศัยคือสวรรค์ชั้นดุสิตที่รื่นรมย์
ประหนึ่งว่าได้ไปยังเรือนของตนที่ทิ้งจากไป
[๑๖๘] เมื่อศาสนาของพระกัสสปธีรเจ้า
กำลังถึงความสิ้นไป ข้าพเจ้าได้ขึ้นไปยังภูเขา
บำเพ็ญเพียรตามคำสอนของพระชินเจ้า
[๑๖๙] ก็บัดนี้ เกิดในตระกูลเศรษฐีในกรุงราชคฤห์
มารดาของข้าพเจ้ามีครรภ์ ออกบวชเป็นบรรพชิต
[๑๗๐] ภิกษุณีทั้งหลายรู้ว่ามารดาของข้าพเจ้ามีครรภ์
จึงนำไปหาพระเทวทัต พระเทวทัตนั้นกล่าวว่า
‘จงนาสนะภิกษุณีชั่วรูปนี้เสีย’
[๑๗๑] แม้ในบัดนี้ มารดาผู้ให้กำเนิดของข้าพเจ้า
อันพระชินเจ้าผู้เป็นจอมมุนี ทรงอนุเคราะห์ไว้
จึงได้มีความสุขอยู่ในสำนักของภิกษุณี

เชิงอรรถ :
๑ ขุ.ชา.(แปล) ๒๗/๑๒/๖

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๒๖๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๔. กัจจายนวรรค] ๕. กุมารกัสสปเถราปทาน
[๑๗๒] พระเจ้าแผ่นดินพระนามว่าโกศล
ได้ทรงทราบเรื่องนั้นแล้วจึงทรงชุบเลี้ยงข้าพเจ้าไว้
ด้วยเครื่องบริหารพระกุมาร
และตัวข้าพเจ้าก็มีชื่อว่ากัสสปะ
[๑๗๓] เพราะอาศัยท่านพระมหากัสสปเถระ
ข้าพเจ้าจึงมีชื่อว่ากุมารกัสสปะ
เพราะได้ฟังพระธรรมเทศนาที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงว่า
กายเช่นกับจอมปลวก
[๑๗๔] จากนั้นจิตของข้าพเจ้าก็หลุดพ้น
ไม่ถือมั่นโดยประการทั้งปวง
ข้าพเจ้าได้รับตำแหน่งเอตทัคคะ ก็เพราะทรมานพระเจ้าปายาสิ
[๑๗๕] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว
ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๑๗๖] การที่ข้าพเจ้ามาในสำนักของพระพุทธเจ้า
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๑๗๗] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระกุมารกัสสปเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
กุมารกัสสปเถราปทานที่ ๕ จบ
ภาณวารที่ ๒๔ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๒๖๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๔. กัจจายนวรรค] ๖. พาหิยเถราปทาน
๖. พาหิยเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระพาหิยเถระ
(พระพาหิยเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๑๗๘] ในกัปที่ ๑๐๐,๐๐๐ นับจากกัปนี้ไป
พระผู้มีพระภาคพระนามว่าปทุมุตตระ
ทรงเป็นผู้นำ(สัตว์โลก) มีพระรัศมีมาก
เป็นผู้เลิศในโลกทั้ง ๓ เสด็จอุบัติขึ้นแล้ว
[๑๗๙] ข้าแต่พระมุนี เมื่อพระผู้มีพระภาค
ตรัสสรรเสริญคุณของภิกษุผู้ตรัสรู้ได้เร็วพลัน
ข้าพระองค์ได้ฟังแล้วมีจิตเบิกบาน
จึงได้ทำสักการะพระผู้มีพระภาค ผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่
[๑๘๐] ข้าแต่พระมุนี ข้าพระองค์ถวายทานตลอด ๗ วัน
แด่พระผู้มีพระภาค พร้อมทั้งพระสาวก
ถวายอภิวาทพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว
ปรารถนาตำแหน่งนั้นในกาลนั้น
[๑๘๑] ลำดับนั้น พระพุทธเจ้าทรงพยากรณ์ข้าพเจ้าว่า
‘จงดูพราหมณ์ที่หมอบอยู่แทบเท้าของเรานี้
ผู้มีโสมนัสเอิบอิ่มสมบูรณ์ เห็นประจักษ์
[๑๘๒] มีร่างกายที่บุญกรรมสร้างสรรค์ให้คล้ายทองคำ
ผุดผ่อง ผิวบาง ริมฝีปากแดงเหมือนผลตำลึงสุก
มีฟันขาวคมเรียบเสมอ
[๑๘๓] มีกำลังคือคุณมาก มีโลมชาติชูชันและมีใจฟูขึ้น
เป็นบ่อเกิดแห่งกระแสน้ำคือคุณ
มีหน้ายิ้มแย้มแจ่มใสด้วยปีติ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๒๖๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๔. กัจจายนวรรค] ๖. พาหิยเถราปทาน
[๑๘๔] เขาปรารถนาตำแหน่งของภิกษุผู้ตรัสรู้เร็วพลัน
ในอนาคต จักมีพระมหาวีระพระนามว่าโคดม
[๑๘๕] เขาจักมีนามว่าพาหิยะ
เป็นธรรมทายาท เป็นโอรสที่ธรรมเนรมิต
จักเป็นสาวกของพระศาสดาพระองค์นั้น’
[๑๘๖] ครั้งนั้น ข้าพเจ้ายินดีแล้ว
หมั่นกระทำสักการะแด่พระมหามุนีจนตลอดชีวิต
จุติแล้วได้ไปเกิดในสวรรค์ ดุจไปยังที่อยู่ของตน
[๑๘๗] ข้าพเจ้าจะเป็นเทวดาหรือมนุษย์ก็ตาม
ย่อมเป็นผู้มีความสุข เพราะอานุภาพแห่งกรรมนั้น
ข้าพเจ้าเวียนว่ายตายเกิดจึงได้เสวยสมบัติ
[๑๘๘] เมื่อสิ้นศาสนาของพระกัสสปธีรเจ้า
ข้าพเจ้าได้ขึ้นไปยังภูเขาศิลาล้วน
บำเพ็ญเพียรตามคำสอนของพระชินสีห์
[๑๘๙] เป็นผู้มีศีลบริสุทธิ์ มีปัญญา
ทำตามคำสอนของพระชินสีห์
ข้าพเจ้า ๕ คนด้วยกัน
จุติจากอัตภาพนั้นแล้วได้ไปเกิดยังเทวโลก
[๑๙๐] ข้าพเจ้าชื่อพาหิยะ เกิดในภารุกัจฉนคร
ซึ่งเป็นเมืองที่อุดมสมบูรณ์
ภายหลังได้แล่นเรือไปในสาคร
ซึ่งให้สำเร็จประโยชน์เพียงเล็กน้อย
[๑๙๑] แต่นั้น เรือแล่นไปได้ ๒-๓ วัน ก็อับปางลง
ครั้งนั้น ข้าพเจ้าตกลงไปในสาคร
ซึ่งเป็นที่อยู่แห่งมังกรที่ร้ายกาจ น่าสะพรึงกลัว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๒๖๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๔. กัจจายนวรรค] ๖. พาหิยเถราปทาน
[๑๙๒] ครั้งนั้น ข้าพเจ้าพยายามว่ายน้ำข้ามทะเลใหญ่
ไปถึงท่าประเสริฐชื่อสุปปารกะ
ข้าพเจ้ามีคนรู้จักน้อย
[๑๙๓] นุ่งผ้าเปลือกไม้เข้าไปยังบ้านเพื่อก้อนข้าว
ครั้งนั้น หมู่ชนพากันยินดีกล่าวว่า
‘ผู้นี้เป็นพระอรหันต์มาที่นี้แล้ว
[๑๙๔] พวกเราสักการะพระอรหันต์นี้ด้วยข้าว น้ำ
ผ้า ที่นอน และเภสัชแล้ว จักถึงความสุข’
[๑๙๕] ครั้งนั้น ข้าพเจ้าได้ปัจจัย เป็นผู้ที่พวกเขาสักการบูชาแล้ว
จึงเกิดความดำริโดยไม่แยบคายขึ้นว่า เราเป็นพระอรหันต์
[๑๙๖] ลำดับนั้น บุพเทวดารู้วารจิตของข้าพเจ้า
จึงตักเตือนว่า ‘ท่านไม่รู้ทางที่เป็นอุบาย๑
จะเป็นพระอรหันต์ได้อย่างไรเล่า’
[๑๙๗] ครั้งนั้น ข้าพเจ้าถูกเทวดาตักเตือนแล้ว
ก็เกิดความสลดใจ จึงสอบถามเทวดานั้นว่า
‘พระอรหันต์ผู้ประเสริฐกว่านรชน
ในโลกเหล่านี้คือใคร ‘อยู่ที่ไหน’
[๑๙๘] เทวดานั้นตอบว่า ‘พระชินเจ้าผู้มีพระปัญญามาก
ผู้ประเสริฐ มีปัญญาเสมอด้วยแผ่นดิน
พระองค์เป็นโอรสของเจ้าศากยะ เป็นพระอรหันต์
ไม่มีอาสวะ ทรงแสดงธรรมเพื่อบรรลุอรหัต
อยู่ในพระราชมณเฑียรของพระเจ้าโกศลในกรุงสาวัตถี’
[๑๙๙] ข้าพเจ้าได้ฟังคำของเทวดานั้นแล้ว
เอิบอิ่มใจเหมือนคนกำพร้าได้ขุมทรัพย์

เชิงอรรถ :
๑ รู้ทางที่เป็นอุบาย คือรู้ทางที่จะให้บรรลุถึงพระนิพพาน (ขุ.อป.อ. ๒/๑๙๖/๒๙๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๒๖๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๔. กัจจายนวรรค] ๖. พาหิยเถราปทาน
ยิ้มแย้ม เบิกบานใจที่จะได้พบพระอรหันต์ผู้ประเสริฐ
น่าชม น่าพึงใจ ผู้มีพระญาณเป็นโคจรไม่มีที่สิ้นสุด
[๒๐๐] ครั้งนั้น ข้าพเจ้าออกจากที่นั้นไปด้วยตั้งใจว่า
‘เราเมื่อชนะกิเลสได้ก็จะได้เห็นพระพักตร์
ที่ปราศจากมลทินของพระศาสดาในกาลทุกเมื่อ’
ไปถึงแคว้นที่รื่นรมย์นั้นแล้วได้ถามพวกพราหมณ์ว่า
‘พระศาสดาผู้ทำชาวโลกให้เพลิดเพลินประทับอยู่ ณ ที่ไหน’
[๒๐๑] ครั้งนั้น พราหมณ์ทั้งหลายตอบว่า
‘พระศาสดาผู้ที่มนุษย์และเทวดากราบไหว้
เสด็จเข้าไปบิณฑบาตยังเมือง
ท่านผู้ขวนขวายจะเข้าเฝ้าพระมุนี
จงรีบกลับไปเฝ้ากราบไหว้พระองค์ผู้เป็นบุคคลผู้เลิศ’
[๒๐๒] ลำดับนั้น ข้าพเจ้าได้ไปยังกรุงสาวัตถี
ที่อุดมสมบูรณ์โดยด่วน ได้เห็นพระองค์ผู้ไม่มักมาก
และไม่ติดในรสอาหาร กำลังเสด็จบิณฑบาต
[๒๐๓] ทรงบาตร มีพระเนตรสำรวม
ทรงยังอมตธรรมให้โชติช่วงอยู่ในนครนี้
ประหนึ่งเป็นที่อยู่ของพระสิริ
มีพระพักตร์โชติช่วงดังรัศมีดวงอาทิตย์
[๒๐๔] ครั้นพบพระองค์ ข้าพเจ้าจึงได้หมอบลงแล้ว
กราบทูลดังนี้ว่า ‘ข้าแต่พระโคดม
ขอพระองค์โปรดเป็นที่พึ่งของข้าพระองค์
ผู้วิบัติในทางที่น่ารังเกียจด้วยเถิด’
[๒๐๕] พระมุนีผู้ประเสริฐได้ตรัสว่า ‘เรากำลังเที่ยวบิณฑบาต
เพื่อประโยชน์แก่การช่วยสัตว์ให้ข้ามพ้น
เวลานี้ไม่ใช่เวลาแสดงธรรมแก่ท่าน’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๒๖๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๔. กัจจายนวรรค] ๖. พาหิยเถราปทาน
[๒๐๖] ครั้งนั้น ข้าพเจ้ามีความปรารถนาแรงกล้าในธรรม
จึงได้ทูลอ้อนวอนพระพุทธเจ้าบ่อย ๆ
พระองค์แสดงธรรมอันเป็นสุญญตบทที่ลึกซึ้งแก่ข้าพเจ้า
[๒๐๗] ข้าพเจ้าได้ฟังธรรมของพระองค์แล้ว
ก็บรรลุธรรมเป็นที่สิ้นอาสวะ
โอ ! ข้าพเจ้าเป็นผู้ที่พระศาสดาทรงอนุเคราะห์แล้ว
เป็นผู้มีอายุสิ้นแล้ว
[๒๐๘] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว
ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๒๐๙] การที่ข้าพเจ้ามาในสำนักของพระพุทธเจ้า
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๒๑๐] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
[๒๑๑] พระพาหิยทารุจิริยเถระ
ถูกแม่โคตัวที่ถูกผีสิงไม่เห็นตัวขวิดให้ล้มลงที่กองขยะ
ได้กล่าวพยากรณ์ด้วยประการดังนี้
[๒๑๒] พระเถระผู้มีปัญญามาก เป็นนักปราชญ์
ครั้นกล่าวบุพจริตของตนแล้ว
ปรินิพพานในกรุงสาวัตถี ที่อุดมสมบูรณ์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๒๖๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๔. กัจจายนวรรค] ๖. พาหิยเถราปทาน
[๒๑๓] พระฤๅษีผู้ประเสริฐ เสด็จออกจากนคร
ทอดพระเนตรเห็นพระพาหิยทารุจิริยะผู้นุ่งผ้าเปลือกไม้
เป็นนักปราชญ์ ซึ่งมีความเร่าร้อนอันลอยได้แล้ว
[๒๑๔] ล้มลงที่ภูมิภาค ดุจคันเสาธงใหญ่อันลมพัดให้ล้มลง
หมดอายุ กิเลสเหือดแห้ง ทำกิจในศาสนาของพระชินเจ้า
[๒๑๕] ลำดับนั้น พระศาสดาตรัสเรียกสาวกทั้งหลาย
ผู้ยินดีในศาสนามาสั่งว่า เธอทั้งหลายจงช่วยกันยกร่าง
ของเพื่อนพรหมจารีแล้วนำไปเผาเสียเถิด
[๒๑๖] จงสร้างสถูปบูชา เขาเป็นคนมีปรีชามากนิพพานแล้ว
สาวกผู้ทำตามคำของเรา
เป็นผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลายฝ่ายที่ตรัสรู้ได้เร็วพลัน
[๒๑๗] คาถาที่มีประโยชน์คาถาเดียวที่คนฟังแล้วสงบระงับได้
ย่อมดีกว่าคาถาที่ไร้ประโยชน์ตั้ง ๑,๐๐๐ คาถา๑
[๒๑๘] ดิน น้ำ ลม ไฟ ไม่ตั้งอยู่ในนิพพานใด
ในพระนิพพานนั้น ดาวฤกษ์ที่สุกสกาวก็ส่องแสงไปไม่ถึง
ดวงอาทิตย์ก็ส่องแสงไปไม่ถึง
[๒๑๙] ดวงจันทร์ก็ส่องแสงไปไม่ถึง ความมืดก็ไม่มี
อนึ่ง เมื่อใด พราหมณ์ผู้ได้ชื่อว่าเป็นมุนี
เพราะเป็นผู้สงบ รู้จริงด้วยตนเองแล้ว
[๒๒๐] เมื่อนั้น เขาย่อมพ้นจากรูปภพ อรูปภพ สุข และทุกข์๒
พระโลกนาถผู้เป็นมุนี เป็นที่พึ่งของโลกทั้ง ๓
ได้ตรัสไว้อย่างนี้ ด้วยประการฉะนี้
ได้ทราบว่า ท่านพระพาหิยเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
พาหิยเถราปทานที่ ๖ จบ

เชิงอรรถ :
๑ ขุ.ธ. (แปล) ๒๕/๑๐๑/๖๑
๒ ดูเทียบ ขุ.อุ. (แปล) ๒๕/๑๐/๑๘๘

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๒๖๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๔. กัจจายนวรรค] ๗. มหาโกฏฐิกเถราปทาน
๗. มหาโกฏฐิกเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระมหาโกฏฐิกเถระ
(พระมหาโกฏฐิกเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๒๒๑] พระชินเจ้าพระนามว่าปทุมุตตระ
ทรงรู้แจ้งโลกทั้งปวง๑ เป็นพระมุนี มีพระจักษุ
เสด็จอุบัติขึ้นแล้วในกัปที่ ๑๐๐,๐๐๐ นับจากกัปนี้ไป
[๒๒๒] พระองค์เป็นผู้ตรัสสอน ทรงแสดงธรรมให้สัตว์รู้ชัดได้
ทรงช่วยสรรพสัตว์ให้ข้ามพ้น
ทรงฉลาดในเทศนา เป็นพระพุทธเจ้า
ทรงช่วยหมู่ชนให้ข้ามพ้นได้เป็นจำนวนมาก
[๒๒๓] พระองค์เป็นผู้อนุเคราะห์ ประกอบด้วยพระกรุณา
ทรงแสวงหาประโยชน์เกื้อกูลเพื่อสรรพสัตว์
ทรงทำเดียรถีย์ที่มาเฝ้าทั้งหมดให้ดำรงอยู่ในศีล ๕
[๒๒๔] เมื่อเป็นเช่นนี้ ศาสนาจึงหมดความอากูล
ว่างจากพวกเดียรถีย์
และงดงามด้วยพระอรหันต์ทั้งหลาย ผู้ได้วสี ผู้คงที่
[๒๒๕] พระมหามุนีพระองค์นั้น ทรงมีพระวรกายสูง ๕๘ ศอก
มีพระฉวีวรรณคล้ายทองคำที่ล้ำค่า
มีพระลักษณะอันประเสริฐ ๓๒ ประการ๒

เชิงอรรถ :
๑ รู้แจ้งโลกทั้งปวง ในที่นี้หมายถึงรู้แจ้งโลกตามสภาวะ เหตุเกิดโลก ความดับโลก วิธีปฏิบัติให้ลุถึง
ความดับโลก คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค และทรงรู้แจ้งโลกทั้ง ๓ คือ (๑) สังขารโลก (๒) สัตวโลก
(๓) โอกาสโลก (ขุ.พุทฺธ.อ. ๖๐/๑๔๓)
๒ ดูเชิงอรรถหน้า ๑๐ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๒๖๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๔. กัจจายนวรรค] ๗. มหาโกฏฐิกเถราปทาน
[๒๒๖] ขณะนั้น สัตว์ทั้งหลายมีอายุประมาณ ๑๐๐,๐๐๐ ปี
พระชินสีห์พระองค์นั้น
ก็ดำรงพระชนมายุอยู่ประมาณเท่านั้น
ทรงช่วยหมู่ชนให้ข้ามพ้นได้เป็นจำนวนมาก
[๒๒๗] ครั้งนั้น ข้าพเจ้าเป็นพราหมณ์ชาวกรุงหงสวดี เรียนจบไตรเพท
ได้เข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า ผู้เลิศกว่าสัตว์โลกทั้งปวง
แล้วได้ฟังพระธรรมเทศนา
[๒๒๘] ครั้งนั้น พระธีรเจ้าพระองค์นั้น
ทรงตั้งสาวกผู้แตกฉานในปฏิสัมภิทา
ฉลาดในอรรถ ธรรม นิรุตติ
และปฏิภาณไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะ
[๒๒๙] ข้าพเจ้าได้ฟังพระดำรัสนั้นแล้วก็พลอยยินดี
จึงได้ทูลนิมนต์พระชินเจ้าผู้ประเสริฐ
พร้อมทั้งสาวกให้เสวยและฉันตลอด ๗ วัน
[๒๓๐] ข้าพเจ้าทูลนิมนต์พระพุทธเจ้าผู้ดังสาคร
พร้อมทั้งสาวกให้ครองผ้าชุดใหม่
แล้วหมอบลงแทบพระบาท ปรารถนาตำแหน่งนั้น
[๒๓๑] ลำดับนั้น พระพุทธเจ้าทรงเป็นบุคคลผู้เลิศในโลก
ได้ตรัสว่า ‘จงดูพราหมณ์ผู้ประเสริฐ
ซึ่งหมอบอยู่แทบเท้าเรานี้ มีรัศมีเหมือนกลีบบัว
[๒๓๒] พราหมณ์นี้ปรารถนาตำแหน่งประเสริฐสุดของภิกษุ
เพราะการบริจาคทานด้วยศรัทธานั้น
และเพราะการฟังพระสัทธรรมของพระพุทธเจ้า
[๒๓๓] พราหมณ์นี้จักเป็นผู้มีความสุขในทุกภพ
เวียนว่ายตายเกิดในภพน้อยภพใหญ่
จักได้ตำแหน่งนั้นตามใจปรารถนาในอนาคตกาล

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๒๖๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๔. กัจจายนวรรค] ๗. มหาโกฏฐิกเถราปทาน
[๒๓๔] ในกัปที่ ๑๐๐,๐๐๐ นับจากกัปนี้ไป
พระศาสดาพระนามว่าโคดม ตามพระโคตร
ทรงสมภพในราชสกุลโอกกากราช จักอุบัติขึ้นในโลก
[๒๓๕] พราหมณ์นี้จักมีนามว่าโกฏฐิกะ
เป็นธรรมทายาท เป็นโอรสที่ธรรมเนรมิต
เป็นสาวกของพระศาสดาพระองค์นั้น’
[๒๓๖] ข้าพเจ้าได้ฟังพุทธพยากรณ์นั้นแล้ว
เป็นผู้เบิกบาน มีจิตประกอบด้วยเมตตา
บำรุงพระชินเจ้าจนตลอดชีวิตในครั้งนั้น
เพราะข้าพเจ้าเป็นผู้ประกอบด้วยปัญญา
[๒๓๗] ด้วยวิบากกรรมนั้น และด้วยเจตนาที่ตั้งไว้มั่น
ข้าพเจ้าละกายมนุษย์แล้ว
จึงได้ไปเกิดในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์
[๒๓๘] ข้าพเจ้าได้ครองเทวสมบัติตลอด ๓๐๐ ชาติ
ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ๕๐๐ ชาติ
[๒๓๙] และได้เป็นพระเจ้าประเทศราชอันไพบูลย์นับชาติไม่ถ้วน
เพราะอานุภาพแห่งกรรมนั้น
ข้าพเจ้าจึงเป็นผู้มีความสุขในทุกภพ
[๒๔๐] ข้าพเจ้าเวียนว่ายตายเกิดอยู่ใน ๒ ภพ
คือ (๑) เทวดา (๒) มนุษย์
คติอื่นข้าพเจ้าไม่รู้จักเลย
นี้เป็นผลแห่งกรรมที่สั่งสมไว้ดีแล้ว
[๒๔๑] ข้าพเจ้าเกิดเฉพาะใน ๒ ตระกูล
คือ (๑) ตระกูลกษัตริย์ (๒) ตระกูลพราหมณ์
จะไม่เกิดในตระกูลที่ต่ำ
นี้เป็นผลแห่งกรรมที่สั่งสมไว้ดีแล้ว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๒๗๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๔. กัจจายนวรรค] ๗. มหาโกฏฐิกเถราปทาน
[๒๔๒] เมื่อถึงภพสุดท้าย
ข้าพเจ้าได้เป็นเผ่าพันธุ์ของพราหมณ์
เกิดในตระกูลพราหมณมหาศาล
ที่มีทรัพย์มากในกรุงสาวัตถี
[๒๔๓] มารดาของข้าพเจ้าชื่อจันทวดี
บิดาของข้าพเจ้าชื่ออัสสลายนะ
ในคราวที่พระพุทธเจ้าทรงแนะนำบิดาของข้าพเจ้า
เพื่อความบริสุทธิ์ทุกอย่าง
[๒๔๔] ข้าพเจ้าเลื่อมใสในพระสุคต
ได้บวชเป็นบรรพชิต
พระโมคคัลลานะเป็นพระอาจารย์
พระสารีบุตรเป็นพระอุปัชฌาย์
[๒๔๕] ในขณะกำลังปลงผม ข้าพเจ้าก็ตัดทิฏฐิพร้อมทั้งรากได้
และขณะนุ่งผ้ากาสาวะ ก็ได้บรรลุอรหัตตผล
[๒๔๖] ข้าพเจ้ามีปัญญาแตกฉานในอรรถ ธรรม นิรุตติ และปฏิภาณ
เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคทรงเป็นผู้เลิศในโลก
จึงทรงตั้งข้าพเจ้าไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะ
[๒๔๗] ข้าพเจ้าถูกท่านพระอุปติสสะ
ไต่ถามในปฏิสัมภิทาก็แก้ได้ไม่ขัดข้อง
เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าจึงเป็นผู้เลิศในศาสนาของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
[๒๔๘] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว
ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๒๗๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๔. กัจจายนวรรค] ๘. อุรุเวลกัสสปเถราปทาน
[๒๔๙] การที่ข้าพเจ้ามาในสำนักของพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐ
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๒๕๐] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระมหาโกฏฐิกเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
มหาโกฏฐิกเถราปทานที่ ๗ จบ

๘. อุรุเวลกัสสปเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระอุรุเวลกัสสปเถระ
(พระอุรุเวลกัสสปเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๒๕๑] พระชินเจ้าพระนามว่าปทุมุตตระ
ทรงรู้แจ้งโลกทั้งปวง เป็นพระมุนี มีพระจักษุ
เสด็จอุบัติขึ้นแล้วในกัปที่ ๑๐๐,๐๐๐ นับจากกัปนี้ไป
[๒๕๒] พระองค์เป็นผู้ตรัสสอน ทรงแสดงธรรมให้สัตว์รู้ชัดได้
ทรงช่วยสรรพสัตว์ให้ข้ามพ้น
ทรงฉลาดในเทศนา เป็นพระพุทธเจ้า
ทรงช่วยหมู่ชนให้ข้ามพ้นได้เป็นจำนวนมาก
[๒๕๓] พระองค์เป็นผู้อนุเคราะห์ ประกอบด้วยพระกรุณา
แสวงหาประโยชน์เกื้อกูลเพื่อสรรพสัตว์
ทรงทำเดียรถีย์ที่มาเฝ้าทั้งหมดให้ดำรงอยู่ในศีล ๕

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๒๗๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๔. กัจจายนวรรค] ๘. อุรุเวลกัสสปเถราปทาน
[๒๕๔] เมื่อเป็นเช่นนี้ ศาสนาจึงหมดความอากูล
ว่างจากพวกเดียรถีย์
และงดงามด้วยพระอรหันต์ทั้งหลาย ผู้ได้วสี ผู้คงที่
[๒๕๕] พระมหามุนีพระองค์นั้น ทรงมีพระวรกายสูง ๕๘ ศอก
มีพระฉวีวรรณคล้ายทองคำที่ล้ำค่า
มีพระลักษณะอันประเสริฐ ๓๒ ประการ๑
[๒๕๖] ขณะนั้น สัตว์ทั้งหลายมีอายุประมาณ ๑๐๐,๐๐๐ ปี
พระชินสีห์พระองค์นั้น
ก็ดำรงพระชนมายุอยู่ประมาณเท่านั้น
ทรงช่วยหมู่ชนให้ข้ามพ้นได้เป็นจำนวนมาก
[๒๕๗] ครั้งนั้น ข้าพเจ้าเป็นพราหมณ์ชาวกรุงหงสวดี
ประชาชนสมมติว่าเป็นผู้ประเสริฐ
ได้เข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าผู้ส่องโลกให้สว่างไสว
แล้วได้ฟังพระธรรมเทศนา
[๒๕๘] ครั้งนั้น ข้าพเจ้าได้ฟังพระผู้มีพระภาค
ทรงแต่งตั้งสาวกของพระองค์ในตำแหน่งเอตทัคคะ
ในที่ประชุมใหญ่ จึงพลอยยินดี
[๒๕๙] ได้ทูลนิมนต์พระมหาชินเจ้าพร้อมกับสาวกจำนวนมาก
แล้วได้ถวายทานพร้อมด้วยพราหมณ์อีก ๑,๐๐๐ คน
[๒๖๐] ครั้นถวายมหาทานแล้ว
ข้าพเจ้าได้ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาค ผู้ทรงเป็นผู้นำสัตว์โลก
แล้วยืนอยู่ ณ ที่สมควร เป็นผู้เบิกบาน ได้กราบทูลดังนี้ว่า
[๒๖๑] ‘ข้าแต่พระองค์ผู้แกล้วกล้า
ด้วยความเชื่อในพระองค์และด้วยอธิการคุณ
ขอให้ข้าพระองค์ผู้เกิดในภพนั้น ๆ จงมีบริวารมากเถิด’

เชิงอรรถ :
๑ ดูเชิงอรรถหน้า ๑๐ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๒๗๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๔. กัจจายนวรรค] ๘. อุรุเวลกัสสปเถราปทาน
[๒๖๒] ครั้งนั้น พระศาสดาผู้มีพระสุรเสียงก้อง
เหมือนเสียงคชสารคำราม
มีพระสำเนียงไพเราะเหมือนเสียงนกการเวก
ได้ตรัสกับบริษัทว่า ‘จงดูพราหมณ์นี้
[๒๖๓] ผู้มีผิวพรรณดุจทองคำ แขนใหญ่
ปากและดวงตาเหมือนดอกปทุม
มีโลมชาติชูชันและมีใจฟูขึ้น ร่าเริงมีศรัทธาในคุณของเรา
[๒๖๔] เขาปรารถนาตำแหน่งภิกษุผู้มีเสียงเหมือนราชสีห์
ในอนาคตกาล เขาจักได้ตำแหน่งนี้สมความปรารถนา
[๒๖๕] ในกัปที่ ๑๐๐,๐๐๐ นับจากกัปนี้ไป
พระศาสดาพระนามว่าโคดม ตามพระโคตร
ทรงสมภพในราชสกุลโอกกากราช จักอุบัติขึ้นในโลก
[๒๖๖] พราหมณ์นี้จักมีนามว่ากัสสปะ ตามโคตร
เป็นธรรมทายาท เป็นโอรสที่ธรรมเนรมิต
จักเป็นสาวกของพระศาสดาพระองค์นั้น
[๒๖๗] ในกัปที่ ๙๒ นับจากกัปนี้ไป
ได้มีพระผู้เป็นผู้นำชั้นเลิศของโลกพระนามว่าผุสสะ
ทรงเป็นศาสดาผู้ยอดเยี่ยม หาผู้เปรียบมิได้
ไม่มีใครเสมอเหมือน
[๒๖๘] พระศาสดาพระนามว่าผุสสะพระองค์นั้นแล
ทรงกำจัดความมืด๑ ทั้งปวง ถางรกชัฏใหญ่
ทรงบันดาลฝนคืออมตธรรมให้ตกลง
ให้มนุษย์และทวยเทพอิ่มหนำ

เชิงอรรถ :
๑ ความมืด ในที่นี้หมายถึงกิเลสมีราคะ โทสะ และโมหะเป็นต้น (ขุ.อป.อ. ๒/๒๖๘/๒๙๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๒๗๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๔. กัจจายนวรรค] ๘. อุรุเวลกัสสปเถราปทาน
[๒๖๙] ครั้งนั้น ข้าพเจ้า ๓ คนพี่น้อง
ได้เป็นราชอำมาตย์ในกรุงพาราณสี
ล้วนแต่เป็นที่ไว้วางพระทัยของพระราชา
[๒๗๐] รูปร่างองอาจแกล้วกล้า สมบูรณ์ด้วยพละกำลัง
ไม่พ่ายแพ้ในสงคราม
ครั้งนั้น พระเจ้าแผ่นดินผู้ถูกเจ้าเมืองชายแดนก่อกำเริบ
จึงมีรับสั่งกับพวกข้าพเจ้าว่า
[๒๗๑] ‘ท่านทั้งหลายจงไปชนบทชายแดน
ปราบปรามขบถของแผ่นดินให้ราบคาบแล้วกลับมา’
และทรงพร่ำสอนว่า ‘พวกท่านบำรุงแว่นแคว้นของเรา
ให้เกษมแล้วจงมอบคืน’
[๒๗๒] ลำดับนั้น ข้าพเจ้าได้กราบทูลว่า
‘ถ้าพระองค์จะพึงประทานพระผู้ทรงเป็นผู้นำ
เพื่อให้ข้าพระองค์ทั้งหลายอุปัฏฐากบ้าง
พระองค์ทั้งหลายก็จักทำกิจของพระองค์ให้สำเร็จ’
[๒๗๓] ลำดับนั้น ข้าพเจ้าได้รับพระราชทานพรแล้ว
ถูกพระภูมิบาลส่งไปปราบปรามชายแดนที่กำเริบให้วางอาวุธแล้ว
จึงกลับมายังนครนั้นอีก
[๒๗๔] ข้าพเจ้าทูลขอการรับอุปัฏฐากพระศาสดาจากพระราชา
ได้พระศาสดาทรงเป็นผู้นำสัตว์โลก
เป็นพระมุนีผู้ประเสริฐแล้ว ได้บูชาพระองค์จนตลอดชีวิต
[๒๗๕] ผ้ามีค่ามาก อาหารมีรสเลิศ
เสนาสนะเป็นที่รื่นรมย์และเภสัชที่มีประโยชน์
[๒๗๖] พวกข้าพเจ้ามีศีล มีกรุณา มีใจประกอบด้วยภาวนา
จึงถวายปัจจัยที่พวกข้าพเจ้าให้เกิดขึ้นโดยธรรม
แด่พระมุนีพร้อมทั้งพระสงฆ์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๒๗๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๔. กัจจายนวรรค] ๘. อุรุเวลกัสสปเถราปทาน
[๒๗๗] อุปัฏฐากพระผู้ทรงเป็นผู้นำด้วยจิตเมตตาตลอดเวลา
เมื่อพระผู้ทรงเป็นผู้นำ ผู้เลิศในโลกนั้นปรินิพพานแล้ว
ก็ทำการบูชาตามกำลัง
[๒๗๘] ทุกคนจุติจากอัตภาพนั้นแล้ว
ได้ไปเกิดในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์
เสวยสุขอย่างมากในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์นั้น
นี้เป็นผลแห่งการบูชาพระพุทธเจ้า
[๒๗๙] ข้าพเจ้าเมื่อเกิดอยู่ในภพ
เป็นเหมือนนายช่างดอกไม้
ได้ดอกไม้ตามแต่จะหามาได้แล้ว
จัดแสดงให้เป็นแบบต่าง ๆ มากมาย
ได้เป็นพระเจ้าวิเทหราช
[๒๘๐] ข้าพเจ้ามีอัธยาศัยเป็นมิจฉาทิฏฐิ
เพราะถ้อยคำของอเจลกคุณ
ตกนรกเพราะไม่เชื่อคำตักเตือนของธิดาของข้าพเจ้านามว่ารุจา
[๒๘๑] ถูกนารทพรหมพร่ำสอนมากมาย
จึงละทิฏฐิอันชั่วช้านั้นได้
[๒๘๒] แล้วบำเพ็ญกุศลกรรมบถ ๑๐ ให้บริบูรณ์โดยพิเศษ
ละกายมนุษย์แล้วจึงได้ไปเกิดในสวรรค์ ดุจไปยังที่อยู่ของตน
[๒๘๓] เมื่อถึงภพสุดท้าย
ข้าพเจ้าได้เป็นเผ่าพันธุ์ของพราหมณ์
เกิดในตระกูลพราหมณมหาศาล ในกรุงพาราณสีที่มั่งคั่ง
[๒๘๔] ข้าพเจ้ากลัวต่อความแก่ ความเจ็บ และความตาย
จึงเข้าป่าใหญ่ แสวงหาบทคือพระนิพพาน
ได้บวชในสำนักของชฎิล

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๒๗๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๔. กัจจายนวรรค] ๘. อุรุเวลกัสสปเถราปทาน
[๒๘๕] ครั้งนั้น น้องชายทั้ง ๒ ของข้าพเจ้า
ก็ได้บวชพร้อมกับข้าพเจ้า
ข้าพเจ้าได้สร้างอาศรมอาศัยอยู่ที่ตำบลอุรุเวลา
[๒๘๖] ข้าพเจ้ามีชื่อว่ากัสสปะ ตามโคตร
แต่เพราะอาศัยอยู่ที่ตำบลอุรุเวลา
จึงได้นามบัญญัติว่าอุรุเวลกัสสปะ
[๒๘๗] เพราะน้องชายของข้าพเจ้าอาศัยอยู่ใกล้แม่น้ำ
เขาจึงได้นามว่านทีกัสสปะ
เพราะน้องชายอีกคนหนึ่งของข้าพเจ้า
อาศัยอยู่ที่ตำบลคยา เขาจึงประกาศนามว่าคยากัสสปะ
[๒๘๘] น้องชายคนเล็กมีศิษย์ ๒๐๐ คน
น้องชายคนกลางมีศิษย์ ๓๐๐ คน
ส่วนข้าพเจ้ามีไม่น้อยกว่า ๕๐๐ คน
ศิษย์ทุกคนล้วนประพฤติตามข้าพเจ้า
[๒๘๙] ครั้งนั้น พระพุทธเจ้าทรงเป็นผู้เลิศในโลก
เป็นสารถีฝึกนรชน ได้เสด็จมาหาข้าพเจ้า
ทรงทำปาฏิหาริย์ต่าง ๆ แก่ข้าพเจ้า และทรงแนะนำ
[๒๙๐] ข้าพเจ้ากับบริวาร ๑,๐๐๐ ได้อุปสมบท
ด้วยเอหิภิกขุอุปสัมปทา
ได้บรรลุอรหัตพร้อมกับภิกษุเหล่านั้นทุกรูป
[๒๙๑] ภิกษุเหล่านั้นและภิกษุเหล่าอื่นจำนวนมาก
แวดล้อมข้าพเจ้าเป็นบริวารยศ
และข้าพเจ้าก็สามารถสั่งสอนได้
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคผู้เป็นฤๅษี
ผู้ประเสริฐก็สั่งสอนข้าพเจ้า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๒๗๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๔. กัจจายนวรรค] ๙. ราธเถราปทาน
[๒๙๒] พระองค์ทรงตั้งข้าพเจ้าไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะ
คือความเป็นผู้มีบริษัทมาก
โอ สักการะที่ได้ทำไว้ในพระพุทธเจ้า
ได้ก่อให้เกิดผลแก่ข้าพเจ้าแล้ว
[๒๙๓] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว
ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๒๙๔] การที่ข้าพเจ้ามาในสำนักของพระพุทธเจ้า
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๒๙๕] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระอุรุเวลกัสสปเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
อุรุเวลกัสสปเถราปทานที่ ๘ จบ

๙. ราธเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระราธเถระ
(พระราธเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๒๙๖] พระชินเจ้าพระนามว่าปทุมุตตระ
ทรงรู้แจ้งโลกทั้งปวง เป็นพระมุนี มีพระจักษุ
เสด็จอุบัติขึ้นแล้วในกัปที่ ๑๐๐,๐๐๐ นับจากกัปนี้ไป
[๒๙๗] พระองค์เป็นผู้ตรัสสอน ทรงแสดงธรรมให้สัตว์รู้ชัดได้
ทรงช่วยสรรพสัตว์ให้ข้ามพ้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๒๗๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๔. กัจจายนวรรค] ๙. ราธเถราปทาน
ทรงฉลาดในเทศนา เป็นพระพุทธเจ้า
ทรงช่วยหมู่ชนให้ข้ามพ้นได้เป็นจำนวนมาก
[๒๙๘] พระองค์เป็นผู้อนุเคราะห์ ประกอบด้วยพระกรุณา
ทรงแสวงหาประโยชน์เกื้อกูลเพื่อสรรพสัตว์
ทรงทำเดียรถีย์ที่มาเฝ้าทั้งหมดให้ดำรงอยู่ในศีล ๕
[๒๙๙] เมื่อเป็นเช่นนี้ ศาสนาจึงหมดความอากูล
ว่างจากพวกเดียรถีย์
และงดงามด้วยพระอรหันต์ทั้งหลาย ผู้ได้วสี ผู้คงที่
[๓๐๐] พระมหามุนีพระองค์นั้น ทรงมีพระวรกายสูง ๕๘ ศอก
มีพระฉวีวรรณคล้ายทองคำที่ล้ำค่า
มีพระลักษณะอันประเสริฐ ๓๒ ประการ๑
[๓๐๑] ขณะนั้น สัตว์ทั้งหลายมีอายุประมาณ ๑๐๐,๐๐๐ ปี
พระชินสีห์พระองค์นั้น
ก็ดำรงพระชนมายุอยู่ประมาณเท่านั้น
ทรงช่วยหมู่ชนให้ข้ามพ้นได้เป็นจำนวนมาก
[๓๐๒] ครั้งนั้น ข้าพเจ้าเป็นพราหมณ์ชาวกรุงหงสวดี เรียนจบมนตร์
ได้เข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคผู้ประเสริฐกว่านรชน
[๓๐๓] ทรงมีความเพียรมาก ทรงแกล้วกล้าในบริษัท
ทรงเป็นผู้นำวิเศษ ทรงกำลังตั้งภิกษุผู้มีปฏิภาณไว้
ในตำแหน่งเอตทัคคะแล้วได้ฟังพระธรรมเทศนา
[๓๐๔] ครั้งนั้น ข้าพเจ้าทำสักการะในพระองค์ผู้เป็นผู้นำสัตว์โลก
พร้อมทั้งภิกษุสงฆ์ แล้วหมอบลงแทบพระบาทด้วยเศียรเกล้า
ปรารถนาตำแหน่งนั้น

เชิงอรรถ :
๑ ดูเชิงอรรถหน้า ๑๐ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๒๗๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๔. กัจจายนวรรค] ๙. ราธเถราปทาน
[๓๐๕] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาค
ผู้มีพระรัศมีซ่านออกจากพระวรกายดุจแท่งทอง
ได้ตรัสกับข้าพเจ้าด้วยพระสุรเสียงอันน่ายินดี
มีปกตินำมลทินคือกิเลสออกไปว่า
[๓๐๖] ‘จงเป็นผู้มีความสุข
มีอายุยืนเถิด ปณิธาน(ความปรารถนา) ของเธอก็จงสำเร็จเถิด
สักการะที่เธอทำในเราพร้อมทั้งพระสงฆ์ก็จงมีผลไพบูลย์อย่างยิ่งเถิด
[๓๐๗] ในกัปที่ ๑๐๐,๐๐๐ นับจากกัปนี้ไป
พระศาสดาพระนามว่าโคดม ตามพระโคตร
ทรงสมภพในราชสกุลโอกกากราช จักอุบัติขึ้นในโลก
[๓๐๘] พราหมณ์นี้จักมีนามว่าราธะ
เป็นธรรมทายาท เป็นโอรสที่ธรรมเนรมิต
เป็นสาวกของพระศาสดาพระองค์นั้น
[๓๐๙] พระผู้ทรงเป็นผู้นำพระองค์นั้น
เป็นพระราชโอรสของเจ้าศากยะ ทรงองอาจกว่านรชน
ทรงยินดีในคุณที่เป็นเหตุของท่านแล้ว จักทรงแต่งตั้งท่านว่า
เป็นผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลายผู้มีปฏิภาณ’
[๓๑๐] ข้าพเจ้าได้ฟังพุทธพยากรณ์นั้นแล้ว
เป็นผู้เบิกบาน มีจิตประกอบด้วยเมตตา
บำรุงพระชินเจ้าจนตลอดชีวิต ในครั้งนั้น
เพราะข้าพเจ้าเป็นผู้ประกอบด้วยปัญญา
[๓๑๑] ด้วยกรรมที่ข้าพเจ้าได้ทำไว้ดีแล้วนั้น
และด้วยเจตนาที่ตั้งไว้มั่น
ข้าพเจ้าละกายมนุษย์แล้ว
จึงได้ไปเกิดในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๒๘๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๔. กัจจายนวรรค] ๙. ราธเถราปทาน
[๓๑๒] ข้าพเจ้าได้ครองเทวสมบัติตลอด ๓๐๐ ชาติ
ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ๕๐๐ ชาติ
[๓๑๓] และได้เป็นพระเจ้าประเทศราชอย่างไพบูลย์นับชาติไม่ถ้วน
เพราะอานุภาพแห่งกรรมนั้น
ข้าพเจ้าจึงเป็นผู้มีความสุขในทุกภพ
[๓๑๔] เมื่อถึงภพสุดท้าย ข้าพเจ้าเกิดในตระกูลที่ยากจน
ขาดเครื่องนุ่งห่มและอาหาร
ในกรุงราชคฤห์ที่อุดมสมบูรณ์
[๓๑๕] ได้ถวายภิกษาทัพพีหนึ่งแก่พระสารีบุตรผู้คงที่
ในเวลาที่ข้าพเจ้าแก่เฒ่า ได้อาศัยอารามนั้นอยู่
[๓๑๖] ครั้งนั้น ไม่มีภิกษุรูปใดบวชให้ข้าพเจ้าผู้แก่เฒ่า
ผู้มีกำลังและเรี่ยวแรงถดถอย
เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าจึงเป็นคนตกยาก
มีผิวพรรณไม่ผ่องใสและเศร้าโศก
[๓๑๗] พระมหามุนีผู้ประกอบด้วยพระมหากรุณา
ทอดพระเนตรเห็นเข้าจึงตรัสถามข้าพเจ้าว่า
‘ลูก ไฉนจึงเศร้าโศก จงบอกถึงความเสียดแทงที่เกิดในใจของเธอ’
[๓๑๘] ข้าพเจ้าได้กราบทูลว่า ‘ข้าแต่พระองค์ผู้มีความเพียร
ข้าพระองค์ไม่ได้บวชในศาสนาของพระองค์ ซึ่งพระองค์ตรัสดีแล้ว
เพราะความเศร้าโศกนั้น ข้าพระองค์จึงเป็นคนตกยาก
ข้าแต่พระผู้ทรงเป็นผู้นำ
ขอพระองค์จงเป็นที่พึ่งของข้าพระองค์ด้วยเถิด’
[๓๑๙] ครั้งนั้น พระมุนีผู้ประเสริฐ
ได้รับสั่งให้เรียกภิกษุมาประชุมพร้อมแล้วตรัสถามว่า
‘ผู้ที่นึกถึงสักการะยิ่งใหญ่ของพราหมณ์นี้ได้ มีอยู่หรือจงบอกมา’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๒๘๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๔. กัจจายนวรรค] ๙. ราธเถราปทาน
[๓๒๐] ครั้งนั้น พระสารีบุตรได้กราบทูลว่า
‘ข้าพระองค์ระลึกถึงสักการะของเขาได้อยู่
พราหมณ์นี้ได้ถวายภิกษาทัพพีหนึ่ง
แก่ข้าพระองค์ผู้กำลังเที่ยวบิณฑบาต พระพุทธเจ้าข้า’
(พระผู้มีพระภาคตรัสว่า)
[๓๒๑] สาธุ สาธุ สารีบุตร เธอเป็นคนกตัญญู
เธอจงให้พราหมณ์เฒ่านี้บวชเถิด
เขาจักเป็นปูชนียบุคคล’
[๓๒๒] ลำดับนั้น ข้าพเจ้าได้รับการบรรพชาอุปสมบท
ด้วยกรรมวาจา และไม่นานนักก็ได้บรรลุธรรมเป็นที่สิ้นอาสวะ
[๓๒๓] เพราะข้าพเจ้าเป็นผู้เพลิดเพลิน
ฟังพุทธดำรัสโดยความเคารพ
ฉะนั้น พระชินเจ้าจึงทรงตั้งข้าพเจ้าว่า
เป็นผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลายฝ่ายปฏิภาณ
[๓๒๔] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว
ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๓๒๕] การที่ข้าพเจ้ามาในสำนักของพระพุทธเจ้า
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๓๒๖] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระราธเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
ราธเถราปทานที่ ๙ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๒๘๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๔. กัจจายนวรรค] ๑๐. โมฆราชเถราปทาน
๑๐. โมฆราชเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระโมฆราชเถระ
(พระโมฆราชเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๓๒๗] พระผู้มีพระภาคพระนามว่าปทุมุตตระ
ทรงรู้แจ้งโลก ทรงบำเพ็ญประโยชน์เกื้อกูลแก่สรรพสัตว์
เป็นพระมุนี มีพระจักษุ
เสด็จอุบัติขึ้นแล้วในกัปที่ ๑๐๐,๐๐๐ นับจากกัปนี้ไป
[๓๒๘] พระองค์เป็นผู้ตรัสสอน ทรงแสดงธรรมให้สัตว์รู้ชัดได้
ทรงช่วยสรรพสัตว์ให้ข้ามพ้น
ทรงฉลาดในเทศนา เป็นพระพุทธเจ้า
ทรงช่วยหมู่ชนให้ข้ามพ้นได้เป็นจำนวนมาก
[๓๒๙] พระองค์เป็นผู้อนุเคราะห์ ประกอบด้วยพระกรุณา
ทรงแสวงหาประโยชน์เกื้อกูลเพื่อสรรพสัตว์
ทรงทำเดียรถีย์ที่มาเฝ้าทั้งหมดให้ดำรงอยู่ในศีล ๕
[๓๓๐] เมื่อเป็นเช่นนี้ ศาสนาจึงหมดความอากูล
ว่างจากพวกเดียรถีย์
และงดงามด้วยพระอรหันต์ทั้งหลาย ผู้ได้วสี ผู้คงที่
[๓๓๑] พระมหามุนีพระองค์นั้น ทรงมีพระวรกายสูง ๕๘ ศอก
มีพระฉวีวรรณคล้ายทองคำที่ล้ำค่า
มีพระลักษณะอันประเสริฐ ๓๒ ประการ๑
[๓๓๒] ขณะนั้น สัตว์ทั้งหลายมีอายุประมาณ ๑๐๐,๐๐๐ ปี
พระชินสีห์พระองค์นั้น

เชิงอรรถ :
๑ ดูเชิงอรรถหน้า ๑๐ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๒๘๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๔. กัจจายนวรรค] ๑๐. โมฆราชเถราปทาน
ก็ดำรงพระชนมายุอยู่ประมาณเท่านั้น
ทรงช่วยหมู่ชนให้ข้ามพ้นได้เป็นจำนวนมาก
[๓๓๓] ครั้งนั้น ข้าพเจ้ารับจ้างทำงานของบุคคลอื่นในตระกูลหนึ่ง
ในกรุงหงสวดี ข้าพเจ้าไม่มีทรัพย์สินอะไรที่เป็นของตนเลย
[๓๓๔] ข้าพเจ้าอาศัยอยู่ที่ศาลาพักผ่อนที่เขาปรับพื้นไว้แล้ว
ได้ก่อไฟขึ้นที่ศาลา พื้นศิลาจึงดำเพราะถูกไฟไหม้
[๓๓๕] ครั้งนั้น พระโลกนาถผู้ประกาศสัจจะ ๔
ได้ตรัสสรรเสริญสาวกผู้ทรงจีวรเศร้าหมองในที่ประชุมชน
[๓๓๖] ข้าพเจ้าพอใจในคุณนั้นของพระองค์ จึงได้ปรนนิบัติพระตถาคต
ปรารถนาตำแหน่งที่สูงสุดคือความเป็นผู้เลิศ
กว่าภิกษุผู้ทรงจีวรเศร้าหมอง
[๓๓๗] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคพระนามว่าปทุมุตตระ
ได้ตรัสกับสาวกทั้งหลายว่า
จงดูบุรุษนี้ผู้มีผ้าห่มเศร้าหมอง ร่างกายผอมบาง
[๓๓๘] แต่สีหน้าผ่องใสเพราะปีติ
ประกอบด้วยทรัพย์คือ ศรัทธา มีโลมชาติชูชัน
มีใจร่าเริง ไม่หวั่นไหว เหมือนหมู่ไม้สาละที่หนาแน่น๑
[๓๓๙] บุรุษนี้ผู้มีความพอใจในคุณของภิกษุชื่อสัจจเสนะ
ผู้ทรงจีวรเศร้าหมองนั้น จึงปรารถนาตำแหน่งนั้น
[๓๔๐] ข้าพเจ้าได้ฟังพุทธพยากรณ์นั้นแล้วเป็นผู้เบิกบาน
ซบศีรษะลงถวายพระชินเจ้า กระทำแต่กรรมที่ดีงาม
ในศาสนาพระชินเจ้าจนตลอดชีวิต

เชิงอรรถ :
๑ เหมือนหมู่ไม้สาละวนที่หนาแน่น ในที่นี้ ได้แก่ ศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ (องฺ.จตุกฺก. (แปล)
๒๑/๑๕๐/๒๑๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๒๘๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๔. กัจจายนวรรค] ๑๐. โมฆราชเถราปทาน
[๓๔๑] ด้วยกรรมที่ข้าพเจ้าได้ทำไว้ดีแล้วนั้น
และด้วยเจตนาที่ตั้งไว้มั่น
ข้าพเจ้าละกายมนุษย์แล้ว
จึงได้ไปเกิดในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์
[๓๔๒] ด้วยกรรมคือการใช้ไฟลนที่พื้นศาลาพักผ่อน
ข้าพเจ้าจึงถูกทุกขเวทนาเบียดเบียน
หมกไหม้ในนรกนับพันปี
[๓๔๓] ด้วยวิบากกรรมที่ยังเหลืออยู่นั้น
ข้าพเจ้าเกิดเป็นมนุษย์
จึงมีรอยตำหนิติดตัวมาตามลำดับตลอด ๕๐๐ ชาติ
[๓๔๔] เพราะอานุภาพแห่งกรรมนั้น
ข้าพเจ้าจึงเต็มไปด้วยโรคเรื้อน
เสวยมหันตทุกข์ตลอด ๕๐๐ ชาติเหมือนกัน
[๓๔๕] ในภัทรกัปนี้ ข้าพเจ้ามีจิตเลื่อมใส
จึงได้นิมนต์พระอุปริฏฐะผู้มียศ
ให้ฉันบิณฑบาตจนอิ่มหนำ
[๓๔๖] ด้วยผลกรรมอันวิเศษนั้น
และด้วยเจตนาที่ตั้งไว้มั่น
ข้าพเจ้าละกายมนุษย์แล้ว
จึงได้ไปเกิดในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์
[๓๔๗] เมื่อถึงภพสุดท้าย ข้าพเจ้าได้เกิดในตระกูลกษัตริย์
เพียบพร้อมไปด้วยมหาสมบัติ เมื่อพระชนกสวรรคตไป
[๓๔๘] ข้าพเจ้าถูกโรคเรื้อนรบกวน
ในเวลากลางคืน ก็ไม่ได้รับความสุขในการนอน
เพราะความสุขในรัชสมบัติกลายเป็นโมฆะไป
ฉะนั้น ข้าพเจ้าจึงได้ชื่อว่าโมฆราช

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๒๘๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๔. กัจจายนวรรค] ๑๐. โมฆราชเถราปทาน
[๓๔๙] ข้าพเจ้าเห็นโทษของร่างกาย
จึงบวชเป็นบรรพชิต มอบตัวเป็นศิษย์
ของพราหมณ์ผู้เลิศชื่อพาวรี
[๓๕๐] ข้าพเจ้าเข้าไปเฝ้าพระผู้ทรงเป็นผู้นำแห่งนรชน
พร้อมด้วยบริวารจำนวนมาก
ได้ทูลถามปัญหาที่ละเอียดลึกซึ้ง
กับพระองค์ผู้มีวาทะประเสริฐ ผู้มีวาทะเป็นประโยชน์ว่า
[๓๕๑] โลกนี้ โลกหน้า พรหมโลก และเทวโลก
ข้าพระองค์ไม่ทราบถึงความเห็นของพระองค์
พระนามว่าโคดม ผู้มีพระยศ
[๓๕๒] เมื่อเป็นเช่นนี้ จึงมีปัญหามาถึงพระองค์
ผู้ทรงเห็นล่วงสามัญชนว่า
ข้าพระองค์พิจารณาเห็นโลกอย่างไร
มัจจุราชจึงจะมองไม่เห็น
[๓๕๓] โมฆราช เธอจงเป็นผู้มีสติทุกเมื่อ
พิจารณาเห็นโลกโดยความเป็นของว่างเปล่า
ถอนความเห็นว่าเป็นอัตตาเสีย
เมื่อเป็นเช่นนี้ จะพึงข้ามพ้นมัจจุราชได้
[๓๕๔] เธอเมื่อพิจารณาเห็นโลกด้วยอุบายอย่างนี้
มัจจุราชจึงจะมองไม่เห็น
พระพุทธเจ้า ผู้ทรงเยียวยาโรคได้ทุกชนิด
ได้ตรัสกับข้าพเจ้าดังว่ามานี้
[๓๕๕] พร้อมกับเวลาจบคาถา ข้าพเจ้าปราศจากผมและหนวด
นุ่งห่มผ้ากาสาวะได้เป็นภิกษุและเป็นพระอรหันต์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๒๘๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๔. กัจจายนวรรค] ๑๐. โมฆราชเถราปทาน
[๓๕๖] ข้าพเจ้าถูกโรคเบียดเบียน ถูกเขาพูดบีบคั้นว่า
วิหารอย่าได้เสียหายเลย จึงไม่อยู่ในวิหารของสงฆ์
[๓๕๗] ข้าพเจ้าเก็บผ้ามาจากกองขยะ ป่าช้า และทางรถทางเกวียน
แล้วทำผ้าสังฆาฏิจากผ้านั้น ใช้สอยจีวรที่เศร้าหมอง
[๓๕๘] พระผู้ทรงเป็นผู้นำวิเศษ เป็นนายแพทย์ใหญ่
ทรงพอพระทัยในคุณข้อนั้นของข้าพเจ้า
จึงทรงตั้งข้าพเจ้าไว้ในตำแหน่งแห่งภิกษุ
ผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลายฝ่ายที่ใช้สอยจีวรเศร้าหมอง
[๓๕๙] ข้าพเจ้าสิ้นบุญและบาป หายจากโรคทุกชนิด
ไม่มีอาสวะ ดับสนิท
เหมือนเปลวไฟที่หมดเชื้อดับไป
[๓๖๐] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว
ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๓๖๑] การที่ข้าพเจ้ามาในสำนักของพระพุทธเจ้า
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๓๖๒] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระโมฆราชเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
โมฆราชเถราปทานที่ ๑๐ จบ
กัจจายนวรรคที่ ๕๔ จบบริบูรณ์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๒๘๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๔. กัจจายนวรรค] รวมอปทานที่มีในวรรค
รวมอปทานที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. มหากัจจายนเถราปทาน ๒. วักกลิเถราปทาน
๓. มหากัปปินเถราปทาน ๔. ทัพพมัลลปุตตเถราปทาน
๕. กุมารกัสสปเถราปทาน ๖. พาหิยเถราปทาน
๗. มหาโกฏฐิกเถราปทาน ๘. อุรุเวลกัสสปเถราปทาน
๙. ราธเถราปทาน ๑๐. โมฆราชเถราปทาน

ในวรรคนี้ บัณฑิตนับคาถาได้ ๓๖๒ คาถา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๒๘๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๕. ภัททิยวรรค] ๑. ลกุณฏกภัททิยเถราปทาน
๕๕. ภัททิยวรรค
หมวดว่าด้วยพระภัททิยะเป็นต้น
๑. ลกุณฏกภัททิยเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระลกุณฏกภัททิยเถระ
(พระลกุณฏกภัททิยเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๑] พระชินเจ้าพระนามว่าปทุมุตตระ
ทรงถึงความสำเร็จแห่งธรรมทั้งปวง ทรงเป็นผู้นำ
เสด็จอุบัติขึ้นแล้วในโลกในกัปที่ ๑๐๐,๐๐๐ นับจากกัปนี้ไป
[๒] ครั้งนั้น ข้าพเจ้าเป็นบุตรเศรษฐีผู้มีทรัพย์มากในกรุงหงสวดี
เที่ยวเดินเล่นพักผ่อนอยู่ ได้ไปถึงสังฆาราม
[๓] ครั้งนั้น พระผู้ทรงเป็นผู้นำ ผู้ส่องโลกให้สว่างไสวพระองค์นั้น
ทรงแสดงธรรม ได้ตรัสสรรเสริญสาวก
ผู้ประเสริฐกว่าภิกษุทั้งหลายที่มีเสียงไพเราะ
[๔] ข้าพเจ้าได้ฟังการสรรเสริญนั้นแล้วก็พลอยยินดี
จึงได้ทำสักการะแด่พระองค์ผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่
กราบพระยุคลบาทของพระศาสดาแล้ว
ปรารถนาตำแหน่งนั้น
[๕] ครั้งนั้น พระพุทธเจ้าผู้ทรงเป็นผู้นำวิเศษ
ได้ตรัสพยากรณ์ในท่ามกลางสงฆ์ว่า
ในอนาคตกาล ท่านผู้นี้จักได้ตำแหน่งนี้สมความปรารถนา
[๖] ในกัปที่ ๑๐๐,๐๐๐ นับจากกัปนี้ไป
พระศาสดาพระนามว่าโคดม ตามพระโคตร
ทรงสมภพในราชสกุลโอกกากราช จักอุบัติขึ้นในโลก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๒๘๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๕. ภัททิยวรรค] ๑. ลกุณฏกภัททิยเถราปทาน
[๗] บุตรเศรษฐีนี้จักมีนามว่าภัททิยะ
เป็นธรรมทายาท เป็นโอรสที่ธรรมเนรมิต
เป็นสาวกของพระศาสดาพระองค์นั้น
[๘] ด้วยกรรมที่ข้าพเจ้าได้ทำไว้ดีแล้วนั้น
และด้วยเจตนาที่ตั้งไว้มั่น
ข้าพเจ้าละกายมนุษย์แล้ว
จึงได้ไปเกิดในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์
[๙] ในกัปที่ ๙๒ นับจากกัปนี้ไป
พระชินเจ้าพระนามว่าผุสสะ ทรงเป็นผู้นำ
หาผู้กระทบกระทั่งได้ยาก ยากที่จะข่มได้
ประเสริฐกว่าสัตว์โลกทั้งปวง เสด็จอุบัติขึ้นแล้ว
[๑๐] และพระองค์ทรงเพียบพร้อมด้วยจรณะ
ทรงเป็นผู้ประเสริฐ เที่ยงตรง ทรงมีความเพียรเผากิเลส
ทรงแสวงหาประโยชน์เกื้อกูลเพื่อสรรพสัตว์
ทรงเปลื้องสัตว์จำนวนมากจากกิเลสเครื่องจองจำ
[๑๑] ข้าพเจ้าเกิดเป็นนกดุเหว่าขาว
อาศัยอยู่ที่ต้นมะม่วงใกล้พระคันธกุฎี
อันประเสริฐน่าเพลิดเพลินยินดี
ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าผุสสะพระองค์นั้น
[๑๒] ครั้งนั้น ข้าพเจ้าเห็นพระชินเจ้าผู้ประเสริฐสุด
ทรงเป็นทักขิไณยบุคคล กำลังเสด็จบิณฑบาต
จึงทำจิตให้เลื่อมใส แล้วส่งเสียงร้องอย่างไพเราะ
[๑๓] ครั้งนั้น ข้าพเจ้าบินไปที่สวนหลวง
คาบมะม่วงผลที่สุกดีมีเปลือกเหมือนทองคำ
น้อมเข้าไปถวายพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๒๙๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๕. ภัททิยวรรค] ๑. ลกุณฏกภัททิยเถราปทาน
[๑๔] ขณะนั้น พระชินเจ้าผู้ทรงเป็นผู้นำ
ประกอบด้วยพระมหากรุณา ทรงทราบวารจิตของข้าพเจ้า
จึงทรงรับบาตรมาจากมือของภิกษุผู้อุปัฏฐาก
[๑๕] ข้าพเจ้ามีจิตร่าเริงได้ถวายผลมะม่วงแด่พระมหามุนี
ครั้นใส่บาตรแล้วก็ประนมปีก
[๑๖] ส่งเสียงร้องด้วยเสียงไพเราะน่ายินดี น่าฟัง
เพื่อบูชาพระพุทธเจ้า แล้วกลับไปหลับนอน
[๑๗] ครั้งนั้น นกเหยี่ยวผู้มีใจหยาบช้า
ได้โฉบข้าพเจ้าผู้มีจิตเบิกบาน
มีอัธยาศัยน้อมไปสู่ความรักต่อพระพุทธเจ้าไปฆ่าเสีย
[๑๘] ข้าพเจ้าจุติจากอัตภาพนั้นแล้ว
ไปเสวยสุขอย่างมากอยู่ในสวรรค์ชั้นดุสิต
แล้วมาสู่กำเนิดมนุษย์เพราะอานุภาพแห่งกรรมนั้น
[๑๙] ในภัทรกัปนี้ พระพุทธเจ้าพระนามว่ากัสสปะ ตามพระโคตร
ผู้เป็นเผ่าพันธุ์ของพราหมณ์ มีพระยศยิ่งใหญ่
ประเสริฐกว่านักปราชญ์ทั้งหลาย เสด็จอุบัติขึ้นแล้ว
[๒๐] พระองค์นั้นพร้อมสาวกทรงประกาศศาสนาให้รุ่งเรือง
ข่มเดียรถีย์ผู้หลอกลวงเสียแล้ว ทรงแนะนำเวไนยสัตว์
ปรินิพพานแล้ว
[๒๑] เมื่อพระองค์ทรงเป็นผู้เลิศในโลก เสด็จดับขันธปรินิพพานแล้ว
ประชุมชนจำนวนมากที่เลื่อมใส
สร้างพระสถูปเพื่อจะบูชาพระพุทธเจ้าผู้ศาสดา
[๒๒] พวกเขาปรึกษากันอย่างนี้ว่า
เราทั้งหลายจักช่วยกันสร้างพระสถูปของพระศาสดา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๒๙๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๕. ภัททิยวรรค] ๑. ลกุณฏกภัททิยเถราปทาน
ผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ ให้สูงถึง ๗ โยชน์
ประดับด้วยรัตนะ ๗ ประการ
[๒๓] ครั้งนั้น ข้าพเจ้าเป็นจอมทัพของพระเจ้าแผ่นดิน
แคว้นกาสีพระนามว่ากิกี
ได้พูดถึงขนาดเจดีย์ของพระพุทธเจ้า
ผู้ทรงพระคุณหาประมาณมิได้
[๒๔] ครั้งนั้น ชนเหล่านั้นได้ช่วยกันสร้างเจดีย์ของพระศาสดา
ผู้ทรงเป็นนักปราชญ์กว่านรชน สูงเพียงโยชน์เดียว
ประดับด้วยรัตนะนานาชนิดตามคำแนะนำของข้าพเจ้า
[๒๕] ด้วยกรรมที่ข้าพเจ้าได้ทำไว้ดีแล้วนั้น
และด้วยเจตนาที่ตั้งไว้มั่น
ข้าพเจ้าละกายมนุษย์แล้ว
จึงได้ไปเกิดในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์
[๒๖] บัดนี้ เป็นภพสุดท้าย ข้าพเจ้าเกิดในตระกูลเศรษฐี
ที่มั่งคั่ง สมบูรณ์ มีทรัพย์มากในกรุงสาวัตถี
[๒๗] ข้าพเจ้าได้เห็นพระสุคตในเวลาเสด็จเข้านคร
เป็นผู้มีความอัศจรรย์ใจ บวชแล้วไม่นานก็ได้บรรลุอรหัตตผล
[๒๘] ด้วยกรรมคือการลดขนาดของพระเจดีย์ที่ข้าพเจ้าได้ทำไว้แล้ว
ข้าพเจ้าจึงมีร่างกายต่ำเตี้ย น่าเย้ยหยัน
[๒๙] ข้าพเจ้าบูชาพระพุทธเจ้าผู้เป็นฤาษีผู้ประเสริฐ ด้วยเสียงที่ไพเราะ
จึงได้ถึงความเป็นผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลายที่มีเสียงไพเราะ
[๓๐] ด้วยการถวายผลไม้แด่พระพุทธเจ้า
และด้วยการระลึกถึงพระพุทธคุณ
ข้าพเจ้าจึงสมบูรณ์ด้วยสามัญผลอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๒๙๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๕. ภัททิยวรรค] ๒. กังขาเรวตเถราปทาน
[๓๑] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว
ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๓๒] การที่ข้าพเจ้ามาในสำนักของพระพุทธเจ้า
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๓๓] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระลกุณฏกภัททิยเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการ
ฉะนี้
ลกุณฏกภัททิยเถราปทานที่ ๑ จบ

๒. กังขาเรวตเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระกังขาเรวตเถระ
(พระกังขาเรวตเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๓๔] พระชินเจ้าพระนามว่าปทุมุตตระ
ผู้มีพระจักษุในธรรมทั้งปวง ทรงเป็นผู้นำ
เสด็จอุบัติขึ้นแล้วในกัปที่ ๑๐๐,๐๐๐ นับจากกัปนี้ไป
[๓๕] พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น มีพระหนุเหมือนคางราชสีห์
พระดำรัสเหมือนเสียงพรหม
พระดำรัสที่เปล่งออกดุจเสียงหงส์และเสียงมโหระทึก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๒๙๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๕. ภัททิยวรรค] ๒. กังขาเรวตเถราปทาน
เสด็จดำเนินประดุจการก้าวย่างของพญากุญชร
มีพระรัศมีประหนึ่งรัศมีของดวงจันทร์และดวงอาทิตย์เป็นต้น
[๓๖] ทรงพระปรีชามาก มีความเพียรมาก
มีความเพ่งพินิจมาก ทรงรู้คติของเหล่าสัตว์จำนวนมาก
ประกอบด้วยพระมหากรุณา
เป็นที่พึ่งของสรรพสัตว์ ทรงขจัดความมืดใหญ่
[๓๗] บางคราว พระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้เลิศในโลกทั้ง ๓ เป็นมุนี
ทรงทราบวารจิตของสัตว์ทั้งหลายพระองค์นั้น
เมื่อจะทรงแนะนำเวไนยสัตว์หมู่ใหญ่จึงทรงแสดงธรรม
[๓๘] พระชินเจ้าตรัสสรรเสริญภิกษุผู้มีปกติเข้าฌาน
ยินดีในฌาน มีความเพียร สงบระงับ
มีจิตไม่ขุ่นมัว ทรงทำหมู่ชนผู้เป็นบริษัทให้ยินดี
[๓๙] ครั้งนั้น ข้าพเจ้าเป็นพราหมณ์ชาวกรุงหงสาวดี จบไตรเพท
ได้ฟังพระธรรมแล้วก็พลอยยินดี
จึงปรารถนาตำแหน่งนั้น
[๔๐] ครั้งนั้น พระชินเจ้าทรงเป็นผู้นำวิเศษ
ได้ตรัสพยากรณ์ในท่ามกลางสงฆ์ว่า
จงยินดีเถิด พราหมณ์ เธอจักได้ตำแหน่งนั้นสมความปรารถนา
[๔๑] ในกัปที่ ๑๐๐,๐๐๐ นับจากกัปนี้ไป
พระศาสดาพระนามว่าโคดม ตามพระโคตร
ทรงสมภพในราชสกุลโอกกากราช จักอุบัติขึ้นในโลก
[๔๒] เขาจักมีนามว่าเรวตะ
เป็นธรรมทายาท เป็นโอรสที่ธรรมเนรมิต
เป็นสาวกของพระศาสดาพระองค์นั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๒๙๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๕. ภัททิยวรรค] ๒. กังขาเรวตเถราปทาน
[๔๓] ด้วยกรรมที่ข้าพเจ้าทำไว้ดีแล้วนั้น
และด้วยเจตนาที่ตั้งไว้มั่น
ข้าพเจ้าละกายมนุษย์แล้ว
จึงได้ไปเกิดในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์
[๔๔] บัดนี้ เป็นภพสุดท้าย ข้าพเจ้าเกิดในตระกูลกษัตริย์
ที่มั่งคั่งสมบูรณ์ มีทรัพย์มาก ในกรุงโกลิยะ
[๔๕] ในคราวที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมในกรุงกบิลพัสดุ์
ข้าพเจ้าเลื่อมใสในพระสุคต จึงออกบวชเป็นบรรพชิต
[๔๖] ความสงสัยของข้าพเจ้าในสิ่งที่ควรและไม่ควรนั้น ๆ มีมาก
พระพุทธเจ้าได้ทรงแสดงธรรมที่ประเสริฐ
กำจัดข้อสงสัยทั้งปวงนั้น
[๔๗] จากนั้น ข้าพเจ้าก็ข้ามพ้นสงสารได้
เป็นผู้มีความยินดีอยู่ในสุขที่เกิดแต่ฌานทุกเมื่อ
ครั้งนั้น พระพุทธเจ้าทอดพระเนตรเห็นข้าพเจ้าจึงตรัสพระดำรัสนี้ว่า
[๔๘] ความสงสัยบางอย่างในความรู้ของตน
หรือในความรู้ของผู้อื่นทั้งในโลกนี้และโลกหน้า
ความสงสัยทั้งปวงนั้น บุคคลผู้มีปกติเข้าฌาน
มีความเพียรประพฤติพรหมจรรย์ย่อมละได้
[๔๙] กรรมที่ข้าพเจ้าทำได้ไว้ในกัปที่ ๑๐๐,๐๐๐
ได้แสดงผลแก่ข้าพเจ้าแล้วในอัตภาพนี้
ข้าพเจ้าหลุดพ้นดีแล้ว(จากกิเลส)
ดุจความเร็วแห่งลูกศรที่พ้นไปจากแล่ง
ข้าพเจ้าเผากิเลสทั้งหลายได้แล้ว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๒๙๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๕. ภัททิยวรรค] ๓. สีวลีเถราปทาน
[๕๐] ลำดับนั้น พระมุนีผู้มีพระปรีชามาก
ทรงถึงที่สุดโลก ทรงเห็นข้าพเจ้าว่ายินดีในฌานเนืองนิจ
จึงทรงตั้งข้าพเจ้าว่าเป็นผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลายฝ่ายที่ยินดีในฌาน
[๕๑] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว
ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๕๒] การที่ข้าพเจ้ามาในสำนักของพระพุทธเจ้า
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๕๓] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระกังขาเรวตเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
กังขาเรวตเถราปทานที่ ๒ จบ

๓. สีวลีเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระสีวลีเถระ
(พระสีวลีเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๕๔] พระชินเจ้าพระนามว่าปทุมุตตระ
ผู้มีพระจักษุในธรรมทั้งปวง ทรงเป็นผู้นำ
เสด็จอุบัติขึ้นแล้วในกัปที่ ๑๐๐,๐๐๐ นับจากกัปนี้ไป

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๒๙๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๕. ภัททิยวรรค] ๓. สีวลีเถราปทาน
[๕๕] สำหรับพระองค์ ศีลใคร ๆ ก็นับไม่ได้
สมาธิเปรียบได้ดังเพชร
ญาณที่ประเสริฐใคร ๆ ก็นับไม่ได้
และวิมุตติก็หาอะไรเปรียบมิได้
[๕๖] พระผู้ทรงเป็นผู้นำ ทรงแสดงธรรม
ในสมาคมมนุษย์ เทวดา นาค และพรหม
ซึ่งเนืองแน่นไปด้วยสมณะและพราหมณ์
[๕๗] พระพุทธองค์ผู้แกล้วกล้าในท่ามกลางบริษัท
ทรงตั้งสาวกของพระองค์ ผู้มีลาภมาก มีบุญ
มีความรุ่งเรืองไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะ
[๕๘] ครั้งนั้น ข้าพเจ้าเป็นกษัตริย์ในกรุงหงสวดี
ได้ฟังพระชินเจ้าตรัสถึงคุณเป็นอันมากของสาวกนั้น
[๕๙] ข้าพเจ้าจึงทูลนิมนต์พระชินสีห์พร้อมด้วยสาวก
ให้เสวยและฉันตลอด ๗ วัน
ครั้นถวายมหาทานแล้ว ก็ได้ปรารถนาตำแหน่งนั้น
[๖๐] ครั้งนั้น พระธีรเจ้าผู้องอาจกว่าบุรุษ
ทอดพระเนตรเห็นข้าพเจ้าผู้หมอบอยู่แทบยุคลบาท
จึงได้ตรัสพระดำรัสนี้ด้วยพระสุรเสียงอย่างกึกก้อง
[๖๑] ลำดับนั้น ผู้ประสงค์จะสดับพระดำรัสของพระชินเจ้า
คือ มหาชน ทวยเทพ คนธรรพ์ พรหมผู้มีฤทธิ์มาก
[๖๒] อนึ่ง สมณะและพราหมณ์ต่างประนมมือนมัสการ(กราบทูลว่า)
ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นบุรุษอาชาไนย
ข้าพระองค์ทั้งหลายขอนอบน้อมพระองค์
ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นบุรุษสูงสุด
ข้าพระองค์ทั้งหลายขอนอบน้อมพระองค์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๒๙๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๕. ภัททิยวรรค] ๓. สีวลีเถราปทาน
[๖๓] พระมหากษัตริย์ได้ถวายทานเกิน ๗ วัน
ข้าแต่พระมหามุนี ข้าพระองค์ทั้งหลาย
ประสงค์จะฟังผลของมหาทานนั้น
ขอพระองค์โปรดพยากรณ์ด้วยเถิด
[๖๔] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า
ท่านทั้งหลายจงฟังภาษิตของเรา
ทักษิณาที่ตั้งไว้แล้วในพระพุทธเจ้า
ผู้ทรงคุณหาประมาณมิได้พร้อมทั้งพระสงฆ์
[๖๕] ใครจะเป็นผู้กล่าวถึงทักษิณาทานได้
เพราะทักษิณานั้นมีผลหาประมาณมิได้
อนึ่ง กษัตริย์ผู้มีโภคะมากนี้ปรารถนาตำแหน่งอันสูงสุดว่า
[๖๖] ในบรรดาคนที่มีลาภไพบูลย์
เราก็พึงเป็นผู้มีลาภเหมือนภิกษุชื่อสุทัศนะ
กษัตริย์องค์นี้จักทรงได้ตำแหน่งนั้นในอนาคตกาล
[๖๗] ในกัปที่ ๑๐๐,๐๐๐ นับจากกัปนี้ไป
พระศาสดาพระนามว่าโคดม ตามพระโคตร
ทรงสมภพในราชสกุลโอกกากราช จักอุบัติขึ้นในโลก
[๖๘] กษัตริย์องค์นี้จักมีนามว่าสีวลี
เป็นธรรมทายาท เป็นโอรสที่ธรรมเนรมิต
เป็นสาวกของพระศาสดาพระองค์นั้น
[๖๙] ด้วยกรรมที่ข้าพเจ้าได้ทำไว้ดีแล้วนั้น
และด้วยเจตนาที่ตั้งไว้มั่น
ข้าพเจ้าละกายมนุษย์แล้ว
จึงได้ไปเกิดในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๒๙๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๕. ภัททิยวรรค] ๓. สีวลีเถราปทาน
[๗๐] ในกัปที่ ๙๑ นับจากกัปนี้ไป
พระผู้ทรงเป็นผู้นำสัตว์โลกพระนามว่าวิปัสสี ผู้มีพระเนตรงดงาม
ทรงเห็นแจ้งธรรมทั้งปวง เสด็จอุบัติขึ้นแล้ว
[๗๑] ครั้งนั้น ข้าพเจ้าเป็นคนโปรดปราน
เป็นคนที่ขยันและขวนขวายในการงาน
แห่งตระกูลหนึ่งอยู่ในกรุงพันธุมดี
[๗๒] ครั้งนั้น ชุมชนหมู่หนึ่งสั่งให้นายช่างสร้างบริเวณ
ซึ่งปรากฏชื่อว่ามหันต์ ถวายพระผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่
พระนามว่าวิปัสสี
[๗๓] เมื่อการสร้างบริเวณสำเร็จแล้ว
พวกเขาได้ถวายมหาทานซึ่งประกอบด้วยของเคี้ยว
มัวแต่แสวงหานมส้มใหม่
และน้ำผึ้งใหม่อยู่จึงไม่ได้ถวาย
[๗๔] ขณะนั้น ข้าพเจ้ากำลังถือนมส้ม
และน้ำผึ้งใหม่เดินไปยังเรือนของนายจ้าง
ชนทั้งหลายที่แสวงหานมส้มและน้ำผึ้งใหม่มาพบข้าพเจ้า
[๗๕] ถึงให้ราคาถึง ๑,๐๐๐ กหาปณะ ก็ยังไม่ได้ของ ๒ อย่างนั้น
ลำดับนั้น ข้าพเจ้าคิดว่า
ของอย่างนี้จักไม่ใช่เป็นของเล็กน้อยเลย
[๗๖] ชนเหล่านี้ทั้งหมดสักการะพระตถาคต ฉันใด
แม้เราก็จักทำสักการะพระผู้ทรงเป็นผู้นำสัตว์โลก
พร้อมทั้งพระสงฆ์ ฉันนั้น
[๗๗] ครั้งนั้น ข้าพเจ้าได้นำนมส้มและน้ำผึ้งไป ผสมเข้าด้วยกัน
แล้วถวายพระโลกนาถพร้อมทั้งพระสงฆ์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๒๙๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๕. ภัททิยวรรค] ๓. สีวลีเถราปทาน
[๗๘] ด้วยกรรมที่ข้าพเจ้าได้ทำไว้ดีแล้วนั้น
และด้วยเจตนาที่ตั้งไว้มั่น
ข้าพเจ้าละกายมนุษย์แล้ว
จึงได้ไปเกิดในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์
[๗๙] ข้าพเจ้าได้เป็นพระเจ้าแผ่นดิน
ผู้มียศยิ่งใหญ่ในกรุงพาราณสีอีก
ครั้งนั้น ข้าพเจ้าแค้นใจศัตรูจึงสั่งทหาร
ให้ปิดประตูเมือง
[๘๐] ครั้งนั้น เหล่าพระราชาผู้มีเดช
ที่ถูกล้อมรักษาไว้ได้เพียงวันเดียว
เพราะวิบากแห่งกรรมนั้น
ข้าพเจ้าจึงต้องตกนรกที่ร้ายกาจ
[๘๑] บัดนี้ เป็นภพสุดท้าย ข้าพเจ้าเกิดในกรุงโกลิยะ
พระชนนีของข้าพเจ้าพระนามว่าสุปปวาสา
พระชนกของข้าพเจ้าพระนามว่ามหาลิลิจฉวี
[๘๒] ข้าพเจ้าเกิดในขัตติยตระกูลก็เพราะบุญกรรม
แต่เพราะอานุภาพแห่งการปิดประตูเมือง
ข้าพเจ้าจึงต้องประสบทุกข์
อยู่ในพระครรภ์ของพระมารดาถึง ๗ ปี
[๘๓] ข้าพเจ้าหลงช่องคลอดอีก ๗ วัน ประสบทุกข์หนัก
พระมารดาของข้าพเจ้าต้องประสบทุกข์แสนสาหัสเช่นนี้
ก็เพราะมีความพอใจให้ปิดประตูเมือง
[๘๔] ข้าพเจ้าผู้ที่พระพุทธเจ้าทรงอนุเคราะห์แล้ว
จึงคลอดออกจากพระครรภ์ของพระมารดาโดยความสวัสดี
ข้าพเจ้าได้ออกบวชเป็นบรรพชิตในวันที่คลอดนั่นเอง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๓๐๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๕. ภัททิยวรรค] ๓. สีวลีเถราปทาน
[๘๕] พระสารีบุตรเถระผู้มีปัญญามาก
เป็นพระอุปัชฌาย์ของข้าพเจ้า
พระมหาโมคคัลลานเถระผู้มีฤทธิ์มาก
เมื่อปลงผมให้ได้พร่ำสอนข้าพเจ้า
[๘๖] ในขณะกำลังปลงผม ข้าพเจ้าก็ได้บรรลุอรหัตตผล
ทวยเทพ หมู่นาค และมนุษย์ทั้งหลาย
ต่างก็น้อมนำปัจจัยเข้ามาถวายข้าพเจ้า
[๘๗] ข้าพเจ้าเป็นผู้มีใจยินดีปรีดา
บูชาพระโลกนาถพระนามว่าปทุมุตตระ
และพระพุทธเจ้าพระนามว่าวิปัสสี
ผู้ทรงเป็นผู้นำวิเศษด้วยปัจจัยทั้งหลายโดยพิเศษ
[๘๘] ด้วยผลอันวิเศษแห่งกรรมนั้น
ข้าพเจ้าจึงได้ลาภที่อุดมไพบูลย์ในที่ทุกแห่ง
คือในป่า ในบ้าน ในน้ำ และบนบก
[๘๙] ในคราวใด พระพุทธเจ้าทรงเป็นผู้นำชั้นเลิศในโลก
เป็นผู้นำวิเศษพร้อมด้วยภิกษุ ๓๐,๐๐๐ รูป
เสด็จไปเยี่ยมพระเรวตะ
[๙๐] ในคราวนั้น ข้าพเจ้าบำรุงพระพุทธเจ้า
ผู้ทรงมีปรีชามาก ทรงมีความเพียรมาก
ทรงเป็นผู้นำสัตว์โลก พร้อมด้วยพระสงฆ์ด้วยปัจจัย ๔
ที่เหล่าเทวดาน้อมนำมาถวายข้าพเจ้า
[๙๑] พระองค์ได้เสด็จเยี่ยมพระเรวตะแล้ว
ภายหลังเสด็จกลับไปยังพระเชตวันมหาวิหาร
จึงทรงแต่งตั้งข้าพเจ้าไว้ในเอตทัคคะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๓๐๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๕. ภัททิยวรรค] ๔. วังคีสเถราปทาน
[๙๒] พระศาสดาผู้ทรงบำเพ็ญประโยชน์เกื้อกูลแก่สรรพสัตว์
ได้ตรัสสรรเสริญข้าพเจ้าในท่ามกลางบริษัทว่า
ภิกษุทั้งหลาย บรรดาสาวกของเรา
ภิกษุชื่อว่าสีวลีนี้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลายผู้ที่มีลาภมาก
[๙๓] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว
ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๙๔] การที่ข้าพเจ้ามาในสำนักของพระพุทธเจ้า
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๙๕] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระสีวลีเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
สีวลีเถราปทานที่ ๓ จบ

๔. วังคีสเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระวังคีสเถระ
(พระวังคีสเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๙๖] พระชินเจ้าพระนามว่าปทุมุตตระ
ผู้มีพระจักษุในธรรมทั้งปวง ทรงเป็นผู้นำ
เสด็จอุบัติขึ้นแล้วในกัปที่ ๑๐๐,๐๐๐ นับจากกัปนี้ไป

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๓๐๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๕. ภัททิยวรรค] ๔. วังคีสเถราปทาน
[๙๗] ศาสนาของพระองค์งดงามไปด้วยพระอรหันต์ทั้งหลาย
เหมือนคลื่นในสาคร และเหมือนดวงดาวในท้องฟ้า
[๙๘] พระชินเจ้าผู้สูงสุด อันมนุษย์พร้อมทั้งทวยเทพ อสูร
และนาคห้อมล้อมในท่ามกลางหมู่ชน
ซึ่งเนืองแน่นไปด้วยสมณะและพราหมณ์
[๙๙] พระชินเจ้าพระองค์นั้นทรงถึงที่สุดโลก
ทรงทำสัตว์โลกทั้งหลายให้ยินดีด้วยพระรัศมี
ทรงทำดอกบัวคือเวไนยสัตว์ให้เบ่งบานด้วยพระดำรัส
[๑๐๐] ทรงสมบูรณ์ด้วยเวสารัชชธรรม ๔๑ ประการ
เป็นบุรุษผู้สูงสุด ละความกลัวและความกำหนัดได้แล้ว
ทรงบรรลุธรรมที่เกษม มีความแกล้วกล้า
[๑๐๑] พระผู้ทรงเป็นผู้เลิศในโลก
ทรงปฏิญาณฐานะที่ประเสริฐ ล้ำเลิศ
และพุทธภูมิทั้งสิ้น ไม่มีใครจะทักท้วงได้ในฐานะไหน ๆ
[๑๐๒] เมื่อพระพุทธเจ้าผู้คงที่พระองค์นั้น
บันลือสีหนาทที่น่าสะพรึงกลัวอยู่
ย่อมไม่มีเทวดา มนุษย์ หรือพรหมบันลือตอบได้
[๑๐๓] พระพุทธเจ้าผู้แกล้วกล้า
ทรงแสดงธรรมที่ประเสริฐ ทรงช่วยมนุษย์และเทวดา
ให้ข้าม(สงสารวัฏ)ทรงประกาศธรรมจักรในท่ามกลางบริษัท
[๑๐๔] ตรัสสรรเสริญคุณเป็นอันมาก
แล้วตั้งพระสาวกผู้เลิศกว่าภิกษุผู้มีปฏิภาณ
ที่ชาวโลกยกย่องว่าเป็นคนดีนั้นไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะ

เชิงอรรถ :
๑ เวสารัชชธรรม ๔ (ม.มู. (แปล) ๑๒/๑๕๐/๑๔๘, ดูเทียบ องฺ.จตุกฺก. (แปล) ๒๑/๘/๑๓-๑๔, ขุ.อป.อ.
๒/๑๐๐/๓๑๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๓๐๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๕. ภัททิยวรรค] ๔. วังคีสเถราปทาน
[๑๐๕] ครั้งนั้น ข้าพเจ้าเป็นพราหมณ์ชาวกรุงหงสวดี
ประชาชนสมมติว่าเป็นผู้ประเสริฐ
รู้แจ้งพระเวททุกคัมภีร์ มีนามว่าวังคีสะ
มีวาทะที่เป็นประโยชน์
[๑๐๖] ข้าพเจ้าได้เข้าเฝ้าพระมหาวีระพระองค์นั้น
สดับพระธรรมเทศนานั้นแล้ว
ได้ปีติอย่างประเสริฐ เป็นผู้ยินดีในคุณของสาวก
[๑๐๗] ครั้งนั้น ข้าพเจ้าได้ทูลนิมนต์พระสุคตผู้ทำสัตว์โลกให้เพลิดเพลิน
พร้อมทั้งพระสงฆ์ให้เสวยและฉันตลอด ๗ วันแล้ว
ให้ครองผ้าชุดใหม่
[๑๐๘] ข้าพเจ้าได้หมอบลงแทบพระบาทด้วยเศียรเกล้า
ได้โอกาสจึงยืนประนมมืออยู่ ณ ที่สมควร
เป็นผู้ร่าเริง กล่าวสดุดีพระชินเจ้าผู้สูงสุดว่า
[๑๐๙] ข้าแต่พระองค์ผู้มีวาทะที่เป็นประโยชน์
ข้าพระองค์ขอนอบน้อมพระองค์
ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นพระฤาษีผู้ประเสริฐ
ข้าพระองค์ขอนอบน้อมพระองค์
ข้าแต่พระองค์ผู้ทรงเป็นผู้เลิศในโลกทั้งปวง
ข้าพระองค์ขอนอบน้อมพระองค์
ข้าแต่พระองค์ผู้ขจัดภัย ข้าพระองค์ขอนอบน้อมพระองค์
[๑๑๐] ข้าแต่พระองค์ผู้ทรงย่ำยีมาร
ข้าพระองค์ขอนอบน้อมพระองค์
ข้าแต่พระองค์ผู้ทรงแสดงทิฏฐิ
ข้าพระองค์ขอนอบน้อมพระองค์
ข้าแต่พระองค์ผู้ทรงประทานสันติสุข

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๓๐๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๕. ภัททิยวรรค] ๔. วังคีสเถราปทาน
ข้าพระองค์ขอนอบน้อมพระองค์
ข้าแต่พระองค์ผู้ทรงทำที่พึ่ง ข้าพระองค์ขอนอบน้อมพระองค์
[๑๑๑] พระองค์ทรงเป็นที่พึ่งของชนทั้งหลายผู้ไม่มีที่พึ่ง
ทรงประทานความไม่มีภัยแก่คนทั้งหลายที่ตื่นกลัว
ทรงเป็นที่ไว้วางใจของคนทั้งหลายที่มีภูมิธรรม๑สงบระงับ
ทรงเป็นที่พึ่งของคนทั้งหลายผู้แสวงหาที่พึ่งที่ระลึก
[๑๑๒] เราได้สดุดีพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ด้วยคำกล่าวสดุดีมีอาทิอย่างนี้แล้ว
ได้กล่าวสรรเสริญพระคุณอันยิ่งใหญ่
จึงได้บรรลุคติของภิกษุผู้เป็นนักพูดผู้กล้า
[๑๑๓] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคผู้ทรงมีปฏิภาณไม่มีที่สิ้นสุด
ได้ตรัสว่า ผู้นั้นใดเป็นผู้เลื่อมใสทูลนิมนต์พระพุทธเจ้า
พร้อมทั้งสาวกให้เสวยและฉันตลอด ๗ วัน
[๑๑๔] ด้วยมือทั้ง ๒ ของตน และได้กล่าวสดุดีคุณของเรา
ผู้นั้นปรารถนาตำแหน่งของภิกษุผู้เป็นนักพูดผู้แกล้วกล้า
[๑๑๕] ในอนาคตกาล เขาจักได้ตำแหน่งนี้สมความปรารถนา
เสวยทิพยสมบัติและมนุษยสมบัติมีประมาณไม่น้อย
[๑๑๖] ในกัปที่ ๑๐๐,๐๐๐ นับจากกัปนี้ไป
พระศาสดาพระนามว่าโคดม ตามพระโคตร
ทรงสมภพในราชสกุลโอกกากราช จักอุบัติขึ้นในโลก
[๑๑๗] พราหมณ์นี้จักมีนามว่าวังคีสะ
เป็นธรรมทายาท เป็นโอรสที่ธรรมเนรมิต
เป็นสาวกของพระศาสดาพระองค์นั้น

เชิงอรรถ :
๑ ภูมิธรรม หมายถึงโสดาปัตติมรรคเป็นต้น (ขุ.อป.อ. ๒/๑๑๑/๓๑๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๓๐๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๕. ภัททิยวรรค] ๔. วังคีสเถราปทาน
[๑๑๘] ข้าพเจ้าได้ฟังพุทธพยากรณ์นั้นแล้ว
เป็นผู้เบิกบาน มีจิตประกอบด้วยเมตตา
อุปัฏฐากพระชินเจ้าผู้ตถาคตด้วยปัจจัยทั้งหลาย
จนตลอดชีวิตในครั้งนั้น
[๑๑๙] ด้วยกรรมที่ข้าพเจ้าได้ทำไว้ดีแล้วนั้น
และด้วยเจตนาที่ตั้งไว้มั่น
ข้าพเจ้าละกายมนุษย์แล้ว
จึงได้ไปเกิดในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์
[๑๒๐] บัดนี้ เป็นภพสุดท้าย ข้าพเจ้าเกิดในตระกูลปริพาชก
เมื่อข้าพเจ้าเกิดเป็นครั้งสุดท้าย มีอายุได้ ๗ ขวบ
[๑๒๑] เป็นผู้รู้แจ้งพระเวททุกคัมภีร์
แกล้วกล้าในวาทศาสตร์ มีเสียงไพเราะ
มีถ้อยคำวิจิตร สามารถย่ำยีวาทะของผู้อื่นได้
[๑๒๒] เพราะข้าพเจ้าเกิดที่วังคชนบท
และเป็นใหญ่ในถ้อยคำ ข้าพเจ้าจึงได้ชื่อว่าวังคีสะ
เพราะฉะนั้น ถึงแม้ชื่อของข้าพเจ้าจะเป็นเลิศ ก็เป็นชื่อสมมติตามโลก
[๑๒๓] ในกาลที่ข้าพเจ้ารู้เดียงสา อยู่ในวัยเริ่มเป็นหนุ่ม
ได้เห็นท่านพระสารีบุตรในกรุงราชคฤห์ที่รื่นรมย์
ภาณวารที่ ๒๕ จบ

[๑๒๔] ท่านอุ้มบาตรสำรวม สายตาไม่ลอกแลก
พูดพอประมาณ และมองดูเพียงชั่วแอก เที่ยวบิณฑบาตอยู่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๓๐๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๕. ภัททิยวรรค] ๔. วังคีสเถราปทาน
[๑๒๕] ครั้นเห็นท่านแล้วก็ยิ้มแย้ม
ได้กล่าวบทคาถาที่สมควรอันวิจิตร
เหมือนดอกกรรณิการ์ที่เป็นกลุ่ม
[๑๒๖] ท่านบอกข้าพเจ้าถึงพระศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า
ผู้ทรงเป็นผู้นำสัตว์โลก
ครั้งนั้น พระสารีบุตรผู้ฉลาด เป็นนักปราชญ์นั้น
ได้พูดกับข้าพเจ้าให้ยิ่งขึ้นไป
[๑๒๗] ข้าพเจ้าอันพระเถระผู้คงที่กล่าวถ้อยคำ
อันประกอบด้วยวิราคธรรม ยอดเยี่ยมที่เห็นได้ยาก
ให้ยินดีแล้ว ด้วยปฏิภาณอันวิจิตร
[๑๒๘] จึงหมอบลงแทบเท้าของท่านด้วยเศียรเกล้า
แล้วก็กล่าวว่า ขอได้โปรดให้กระผมบรรพชาเถิด
ลำดับนั้น ท่านพระสารีบุตร ผู้มีปัญญามาก
ได้นำข้าพเจ้าเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐที่สุด
[๑๒๙] ข้าพเจ้าหมอบลงแทบพระยุคลพระบาทด้วยเศียรเกล้าแล้ว
นั่ง ณ ที่ใกล้พระศาสดา
พระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐกว่าบัณฑิตทั้งหลาย
ได้ตรัสถามข้าพเจ้าว่า
วังคีสะ ศิลปะอะไร ๆ ของท่านมีอยู่จริงหรือ
[๑๓๐] (ข้าพเจ้ากราบทูลว่า จริง พระเจ้าข้า)
พระพุทธเจ้าตรัสว่า ท่านรู้ศีรษะของคนที่ตายไปแล้วว่า
ไปสู่สุคติหรือทุคติจริงหรือ
ถ้าท่านสามารถรู้ได้ด้วยวิชาพิเศษของท่าน จงบอกมา
[๑๓๑] เมื่อข้าพเจ้าทูลรับรองแล้ว
พระพุทธองค์ก็ทรงแสดงกะโหลกศีรษะ ๓ กะโหลก
ข้าพเจ้าได้กราบทูลว่า เป็นศีรษะของคนที่เกิดในนรกและเทวดา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๓๐๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๕. ภัททิยวรรค] ๔. วังคีสเถราปทาน
[๑๓๒] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาค ทรงเป็นผู้นำ
ได้แสดงกะโหลกศีรษะของพระขีณาสพ
เพราะศีรษะนั้น ข้าพเจ้าหมดมานะ
จึงทูลขอบรรพชา อย่างอ่อนน้อม
[๑๓๓] ครั้นบรรพชาแล้ว ได้กล่าวสรรเสริญพระสุคตทุก ๆ แห่ง
เมื่อนั้นแหละ ภิกษุทั้งหลายพากันเพ่งโทษข้าพเจ้าว่าเป็นจินตกวี
[๑๓๔] ลำดับนั้น พระพุทธเจ้า ทรงเป็นผู้นำวิเศษ
ได้ตรัสถามข้าพเจ้าเพื่อทดลองว่า
คาถาเหล่านี้ ย่อมแจ่มแจ้งโดยสมควรแก่เหตุแก่คนทั้งหลาย
ผู้ตรึกตรองแล้วมิใช่หรือ
[๑๓๕] ข้าแต่พระองค์ผู้มีความเพียร
ข้าพระองค์มิใช่นักกาพย์กลอน แต่ว่าคาถาทั้งหลาย
แจ่มแจ้งโดยสมควรแก่เหตุแก่ข้าพระองค์
วังคีสะ ถ้าเช่นนั้น ท่านจงกล่าวสดุดีเราโดยสมควรแก่เหตุในบัดนี้
[๑๓๖] ครั้งนั้น ข้าพเจ้าได้กล่าวคาถาสดุดีพระธีระผู้เป็นฤๅษีผู้ประเสริฐ
ในกาลนั้น พระชินเจ้าพระองค์นั้นทรงพอพระทัยด้วยสมควรแก่เหตุ
จึงทรงตั้งข้าพเจ้าไว้ในตำแหน่งอันเลิศ
[๑๓๗] ข้าพเจ้ามีปฏิภาณอันวิจิตรจึงดูหมิ่นภิกษุรูปอื่น
แต่มีศีลเป็นที่รัก
เกิดความสลดใจเพราะการดูหมิ่นนั้นจึงได้บรรลุอรหัตแล้ว
[๑๓๘] (พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า)
ไม่มีใครอื่นที่เลิศกว่าภิกษุทั้งหลาย
ที่มีปฏิภาณเหมือนกับวังคีสภิกษุนี้
ภิกษุทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจงจำไว้อย่างนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๓๐๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๕. ภัททิยวรรค] ๕. นันทกเถราปทาน
[๑๓๙] กรรมที่ข้าพเจ้าได้ทำไว้ในกัปที่ ๑๐๐,๐๐๐
ได้แสดงผลแก่ข้าพเจ้าแล้วในอัตภาพนี้
ข้าพเจ้าหลุดพ้นดีแล้ว(จากกิเลส)
ดุจความเร็วแห่งลูกศรที่พ้นไปจากแล่ง
ข้าพเจ้าเผากิเลสทั้งหลายได้แล้ว
[๑๔๐] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว
ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๑๔๑] การที่ข้าพเจ้ามาในสำนักของพระพุทธเจ้า
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๑๔๒] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระวังคีสเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
วังคีสเถราปทานที่ ๔ จบ

๕. นันทกเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระนันทกเถระ
(พระนันทกเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๑๔๓] พระชินเจ้าพระนามว่าปทุมุตตระ
ผู้มีพระจักษุในธรรมทั้งปวง ทรงเป็นผู้นำ
เสด็จอุบัติขึ้นแล้วในกัปที่ ๑๐๐,๐๐๐ นับจากกัปนี้ไป

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๓๐๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๕. ภัททิยวรรค] ๕. นันทกเถราปทาน
[๑๔๔] พระองค์เป็นผู้ประเสริฐกว่าเจ้าลัทธิทั้งหลาย
เป็นบุรุษอาชาไนย ทรงปฏิบัติเพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล
และเพื่อความสุขแก่สรรพสัตว์ ในโลกพร้อมทั้งเทวโลก
[๑๔๕] พระชินเจ้า ผู้ถึงความเป็นผู้เลิศด้วยยศ
มีพระสิริ ประดับด้วยพระเกียรติคุณ
คนทั่วโลกบูชา ปรากฏไปทุกทิศ
[๑๔๖] พระองค์ทรงข้ามพ้นวิจิกิจฉา ล่วงพ้นความสงสัย
มีใจดำริบริบูรณ์ ทรงบรรลุสัมโพธิญาณที่ยอดเยี่ยม
[๑๔๗] ทรงทำมรรคที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น
เป็นผู้ยอดเยี่ยมกว่านรชน
ตรัสบอกสิ่งที่บุคคลอื่นยังไม่เคยบอก
และทรงทำสิ่งที่ยังไม่เกิดให้เกิดมีพร้อม
[๑๔๘] ทรงรู้จักทาง ทรงเข้าใจทางอย่างแจ่มแจ้ง
ตรัสบอกทางให้ ทรงองอาจกว่านรชน
ทรงฉลาดในทาง ทรงเป็นพระศาสดา
เป็นผู้ยอดเยี่ยมกว่านรชนผู้เป็นนายสารถีทั้งหลาย
[๑๔๙] ครั้งนั้น พระผู้ทรงเป็นผู้นำ
ทรงประกอบด้วยพระมหากรุณาได้แสดงธรรม
ทรงช่วยดึงหมู่สัตว์ผู้จมลงแล้วในเปือกตมคือโมหะขึ้น
[๑๕๐] พระมหามุนีทรงสรรเสริญสาวก
ผู้ที่ชาวโลกยกย่องว่าประเสริฐในการกล่าวสอนภิกษุณีทั้งหลาย
ได้ทรงตั้งไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะ
[๑๕๑] ข้าพเจ้าได้ฟังการสรรเสริญนั้นแล้วก็พลอยยินดี
จึงทูลนิมนต์พระตถาคตพร้อมทั้งพระสงฆ์
ให้เสวยและฉันภัตตาหารแล้ว ปรารถนาตำแหน่งที่สูงสุดนั้น
[๑๕๒] ครั้งนั้น พระผู้ทรงเป็นที่พึ่ง
ผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ ทรงเบิกบานพระทัย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๓๑๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๕. ภัททิยวรรค] ๕. นันทกเถราปทาน
ได้ตรัสกับข้าพเจ้าว่า ท่านจงเป็นผู้มีความสุข มีอายุยืนเถิด
ท่านจักได้ตำแหน่งนั้นสมความปรารถนา
[๑๕๓] ในกัปที่ ๑๐๐,๐๐๐ นับจากกัปนี้ไป
พระศาสดาพระนามว่าโคดม ตามพระโคตร
ทรงสมภพในราชสกุลโอกกากราช จักอุบัติขึ้นในโลก
[๑๕๔] ท่านจักมีนามว่านันทกะ
เป็นธรรมทายาทเป็นโอรสที่ธรรมเนรมิต
เป็นสาวกของพระศาสดาพระองค์นั้น
[๑๕๕] ด้วยกรรมที่ข้าพเจ้าได้ทำไว้ดีแล้วนั้น
และด้วยเจตนาที่ตั้งไว้มั่น
ข้าพเจ้าละกายมนุษย์แล้ว
จึงได้ไปเกิดในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์
[๑๕๖] บัดนี้ เป็นภพสุดท้าย ข้าพเจ้าเกิดในตระกูลเศรษฐี
ที่มั่งคั่ง สมบูรณ์ มีทรัพย์มากในกรุงสาวัตถี
[๑๕๗] ข้าพเจ้าได้เห็นพระสุคตในเวลาเสด็จเข้านคร
เป็นผู้มีความอัศจรรย์ใจ ได้ออกบวชเป็นบรรพชิต
ในวันที่พระองค์ทรงรับพระอารามชื่อว่าเชตวัน
[๑๕๘] จากนั้นไม่นานข้าพเจ้าได้รับการสั่งสอน
จากพระศาสดาผู้รู้แจ้งธรรม
จึงข้ามพ้นสังสารวัฏไปได้ บรรลุอรหัตตผล
[๑๕๙] ข้าพเจ้ากระทำการสอบถามธรรมกถาแก่ภิกษุณีทั้งหลาย
ภิกษุณีที่ข้าพเจ้าสอนนั้น ล้วนได้เป็นผู้ไม่มีอาสวะ
[๑๖๐] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคผู้ทรงบำเพ็ญประโยชน์เกื้อกูล
อันใหญ่หลวง ทรงพอพระทัย
จึงทรงตั้งข้าพเจ้าไว้ในตำแหน่งภิกษุผู้เลิศ
กว่าภิกษุทั้งหลายฝ่ายผู้กล่าวสอนภิกษุณีจำนวน ๙๕ รูป

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๓๑๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๕. ภัททิยวรรค] ๖. กาฬุทายีเถราปทาน
[๑๖๑] กรรมที่ข้าพเจ้าได้ทำไว้ในกัปที่ ๑๐๐,๐๐๐
ได้แสดงผลแก่ข้าพเจ้าแล้วในอัตภาพนี้
ข้าพเจ้าหลุดพ้นดีแล้ว(จากกิเลส)
ดุจความเร็วแห่งลูกศรที่พ้นไปจากแล่ง
ข้าพเจ้าเผากิเลสทั้งหลายได้แล้ว
[๑๖๒] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว
ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๑๖๓] การที่ข้าพเจ้ามาในสำนักของพระพุทธเจ้า
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๑๖๔] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระนันทกเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
นันทกเถราปทานที่ ๕ จบ

๖. กาฬุทายีเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระกาฬุทายีเถระ
(พระกาฬุทายีเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๑๖๕] พระชินเจ้าพระนามว่าปทุมุตตระ
ผู้มีพระจักษุในธรรมทั้งปวง ทรงเป็นผู้นำ
เสด็จอุบัติขึ้นแล้วในกัปที่ ๑๐๐,๐๐๐ นับจากกัปนี้ไป

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๓๑๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๕. ภัททิยวรรค] ๖. กาฬุทายีเถราปทาน
[๑๖๖] พระชินเจ้าทรงเป็นศาสดา
ผู้ประเสริฐกว่าผู้นำ(เจ้าลัทธิ)ทั้งหลาย
ทรงรู้แจ้งสิ่งที่เป็นคุณและสิ่งที่เป็นโทษ
เป็นผู้กตัญญูกตเวที ทรงประกอบเหล่าสัตว์ไว้ในท่า๑
[๑๖๗] ทรงเป็นสัพพัญญู ทรงมีอัธยาศัยเอ็นดู
เป็นที่สั่งสมแห่งอนันตคุณ
ทรงพิจารณาด้วยพระญาณนั้นแล้ว
จึงทรงแสดงธรรมที่ประเสริฐ
[๑๖๘] บางครั้งพระชินเจ้านั้น ผู้มีความเพียรมาก
มีพระปัญญาบริสุทธิ์
แสดงธรรมที่ประกอบด้วยสัจจะทั้ง ๔ อันไพเราะ
แก่หมู่ชนเป็นอนันต์
[๑๖๙] สรรพสัตว์ประมาณ ๑๐๐,๐๐๐ ได้บรรลุธรรม
เพราะได้สดับธรรมที่ประเสริฐ มีความงามในเบื้องต้น
ท่ามกลาง และที่สุดนั้น
[๑๗๐] ครั้งนั้น แผ่นดินก็สั่นสะเทือน
และ เมฆก็คำรน เหล่าเทวดา พรหม
มนุษย์ และอสูร ต่างก็แซ่ซ้องสาธุการ
[๑๗๑] โอ พระศาสดาทรงประกอบด้วยพระกรุณา
โอ พระสัทธรรมเทศนา
โอ พระชินเจ้าผู้ทรงช่วยหมู่สัตว์
ที่จมลงในสมุทรคือภพขึ้นมาได้
[๑๗๒] เมื่อหมู่สัตว์พร้อมทั้งมนุษย์
เทวดา และพรหม เกิดความสังเวชเช่นนี้แล้ว
พระชินเจ้าได้ทรงสรรเสริญสาวก
ผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลายฝ่ายทำตระกูลให้เลื่อมใส

เชิงอรรถ :
๑ ในท่า ในที่นี้หมายถึงประกอบคือให้สรรพสัตว์ดำรงอยู่ในมรรคที่เป็นมหากุศลซึ่งเป็นอุบายในการบรรลุนิพพาน
ด้วยการแสดงธรรม (ขุ.อป.อ. ๒/๑๖๖/๓๒๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๓๑๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๕. ภัททิยวรรค] ๖. กาฬุทายีเถราปทาน
[๑๗๓] ครั้งนั้น ข้าพเจ้าเกิดในตระกูลอำมาตย์ในกรุงหงสวดี
เป็นผู้นำมาซึ่งความเลื่อมใส น่าชม มีทรัพย์
และมีธัญญาหารเหลือล้น
[๑๗๔] ข้าพเจ้าเข้าไปยังวิหารหังสาราม
ไหว้พระตถาคตพระองค์นั้น
ได้ฟังธรรมที่ไพเราะ และทำสักการะแด่พระองค์ผู้คงที่
[๑๗๕] ข้าพเจ้าหมอบลงแทบพระยุคลบาทแล้ว ได้กราบทูลคำนี้ว่า
ข้าแต่พระมุนี ภิกษุรูปใดในศาสนาของพระองค์
เป็นผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลายฝ่ายทำตระกูลให้เลื่อมใส
[๑๗๖] ข้าแต่พระมหาวีระ ข้าพระองค์พึงเป็นเหมือนภิกษุรูปนั้น
ในศาสนาของพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐที่สุดด้วยเถิด
ครั้งนั้น พระศาสดาผู้ประกอบด้วยพระมหากรุณา
เมื่อจะใช้น้ำอมฤตรดข้าพเจ้า
[๑๗๗] ได้ตรัสกับข้าพเจ้าว่า ลุกขึ้นเถิดลูก
เธอจักได้ตำแหน่งนี้สมความปรารถนา
บุคคลทำสักการะในพระชินเจ้าแล้ว
จะพึงเป็นผู้ปราศจากผลได้อย่างไรเล่า
[๑๗๘] ในกัปที่ ๑๐๐,๐๐๐ นับจากกัปนี้
พระศาสดาพระนามว่าโคดม ตามพระโคตร
ทรงสมภพในราชสกุลโอกกากราช จักอุบัติขึ้นในโลก
[๑๗๙] เขาจักมีนามว่ากาฬุทายี
เป็นธรรมทายาท เป็นโอรสที่ธรรมเนรมิต
เป็นสาวกของพระศาสดาพระองค์นั้น
[๑๘๐] ครั้งนั้น ข้าพเจ้าได้ฟังพุทธพยากรณ์นั้นแล้ว
เป็นผู้เบิกบาน มีจิตประกอบด้วยเมตตา
บำรุงพระชินเจ้าผู้ทรงเป็นผู้นำวิเศษ
ด้วยปัจจัยทั้งหลายจนตลอดชีวิต

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๓๑๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๕. ภัททิยวรรค] ๖. กาฬุทายีเถราปทาน
[๑๘๑] ด้วยวิบากกรรมนั้น
และด้วยเจตนาที่ตั้งไว้มั่น
ข้าพเจ้าละกายมนุษย์แล้ว
จึงได้ไปเกิดในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์
[๑๘๒] บัดนี้ ภพนี้เป็นภพสุดท้าย
ข้าพเจ้าเกิดในตระกูลมหาอำมาตย์
ในกรุงกบิลพัสดุ ที่น่ารื่นรมย์
พระเจ้าสุทโธทนะเป็นพระเจ้าแผ่นดิน
[๑๘๓] ครั้งนั้น เจ้าชายสิทธัตถะผู้ทรงเป็นผู้องอาจกว่านรชน
ได้ประสูติแล้วที่สวนลุมพินี ที่รื่นรมย์
เพื่อเกื้อกูลและเพื่อความสุขแก่สัตว์โลกทั้งมวล
[๑๘๔] ข้าพเจ้าก็เกิดในวันนั้น
เติบโตพร้อมกับพระสิทธัตถราชกุมารนั้นแหละ
เป็นสหายที่รักเอ็นดู คุ้นเคย และฉลาดในทางนิติธรรม
[๑๘๕] พระสิทธัตถราชกุมารนั้นมีพระชนมายุ ๒๙ พรรษา
ได้เสด็จออกผนวช บำเพ็ญเพียรตลอด ๖ ปี
จึงได้เป็นพระพุทธเจ้า ผู้ทรงเป็นผู้นำวิเศษ
[๑๘๖] พระองค์ทรงชนะมารพร้อมทั้งเสนามาร
ทรงข้ามห้วงน้ำคือภพได้แล้ว
ได้เป็นพระพุทธเจ้าในโลกนี้พร้อมทั้งเทวโลก
[๑๘๗] เสด็จไปยังป่าอิสิปตนะ ทรงแนะนำปัญจวัคคีย์
จากนั้น พระผู้มีพระภาคก็เสด็จไปในที่นั้น ๆ
ทรงแนะนำเวไนยสัตว์
[๑๘๘] พระชินเจ้าพระองค์นั้น เมื่อจะทรงแนะนำเวไนยสัตว์
เมื่อจะทรงสงเคราะห์หมู่มนุษย์พร้อมทั้งทวยเทพ
ได้เสด็จไปถึงภูเขาในแคว้นมคธแล้ว ประทับอยู่ในกาลนั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๓๑๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๕. ภัททิยวรรค] ๖. กาฬุทายีเถราปทาน
[๑๘๙] ครั้งนั้น ข้าพเจ้าถูกพระเจ้าแผ่นดิน
พระนามว่าสุทโธทนะ ทรงส่งไปแล้ว
ได้เฝ้าพระทศพล บวชแล้ว ได้เป็นพระอรหันต์
[๑๙๐] ครั้งนั้น ข้าพเจ้าทูลอ้อนวอนพระศาสดา
ผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ ให้เสด็จไปกรุงกบิลพัสดุ์
ลำดับนั้น ข้าพเจ้าได้ล่วงหน้าไปก่อน
ทำตระกูลใหญ่ ๆ ให้เลื่อมใสแล้ว
[๑๙๑] พระชินเจ้าผู้องอาจกว่าบุรุษ
ทรงพอพระทัยในคุณข้อนั้นแล้วกล่าวชมเชยข้าพเจ้า
พระองค์ผู้ทรงเป็นผู้นำวิเศษได้ทรงตั้งข้าพเจ้าว่า
เป็นผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลายฝ่ายที่ทำตระกูลให้เลื่อมใส
[๑๙๒] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว
ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๑๙๓] การที่ข้าพเจ้ามาในสำนักของพระพุทธเจ้า
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๑๙๔] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระกาฬุทายีเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
กาฬุทายีเถราปทานที่ ๖ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๓๑๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๕. ภัททิยวรรค] ๗. อภยเถราปทาน
๗. อภยเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระอภยเถระ
(พระอภยเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๑๙๕] พระชินเจ้าพระนามว่าปทุมุตตระ
ผู้ทรงถึงความสำเร็จในธรรมทั้งปวง ทรงเป็นผู้นำ
เสด็จอุบัติขึ้นแล้วในกัปที่ ๑๐๐,๐๐๐ นับจากกัปนี้ไป
[๑๙๖] พระตถาคตทรงทำบุคคลบางพวกให้ตั้งอยู่ในสรณคมน์
บางพวกให้ตั้งอยู่ในศีลคือกุศลกรรมบถ ๑๐ ที่อุดม
[๑๙๗] พระองค์ผู้ทรงเป็นนักปราชญ์
ทรงประทานสามัญญผล๑ ที่อุดมแก่บุคคลบางคน
ทรงมอบสมาบัติ ๘ และวิชชา ๓ แก่บุคคลบางคน
[๑๙๘] พระองค์ผู้ประเสริฐกว่านรชน
ทรงประกอบคนบางคนไว้ในอภิญญา ๖
พระองค์ผู้เป็นนาถะทรงประทาน
ปฏิสัมภิทา ๔ แก่บุคคลบางคน
[๑๙๙] พระองค์ผู้เป็นสารถีฝึกนรชน
ทรงเห็นหมู่สัตว์ที่ควรแนะนำให้ตรัสรู้ได้
แม้ในสถานที่นับโยชน์ไม่ถ้วน ก็รีบเสด็จไปแนะนำ
[๒๐๐] ครั้งนั้น ข้าพเจ้าเป็นบุตรของพราหมณ์ในกรุงหงสวดี
เรียนจบพระเวททั้งหมด เข้าใจไวยากรณ์

เชิงอรรถ :
๑ สามัญญผล ได้แก่ โสดาปัตติผล สกทาคามิผล อนาคามิผล อรหัตตผล (ที.ปา. (แปล) ๑๑/๓๑๑/๒๘๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๓๑๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๕. ภัททิยวรรค] ๗. อภยเถราปทาน
[๒๐๑] ฉลาดในนิรุตติ๑ แกล้วกล้าในคัมภีร์นิฆัณฑุศาสตร์
เข้าใจตัวบท รู้แจ่มแจ้งในคัมภีร์เกฏุภะ๒
ฉลาดในฉันท์และกาพย์กลอน
[๒๐๒] เมื่อเที่ยวเดินพักผ่อน ได้ไปถึงพระวิหารหังสาราม
ข้าพเจ้าได้เห็นพระพุทธเจ้าผู้ล้ำเลิศประเสริฐที่สุด
มีมหาชนห้อมล้อม
[๒๐๓] ข้าพเจ้ามีความคิดเป็นข้าศึก
เข้าไปใกล้พระองค์ผู้ปราศจากธุลีคือกิเลส
ซึ่งกำลังทรงแสดงธรรม
ได้ฟังพระดำรัสซึ่งปราศจากมลทินของพระองค์
[๒๐๔] ข้าพเจ้าไม่เห็นพระดำรัสที่กระทบ
ที่กล่าวซ้ำ ๆ กัน ที่ผิดไวยากรณ์
หรือที่ไร้ประโยชน์ของพระมุนีพระองค์นั้นเลย
เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าจึงบวช
[๒๐๕] โดยเวลาไม่นานนัก ข้าพเจ้าก็เป็นผู้แกล้วกล้าในธรรมทุกอย่าง
ได้รับยกย่องให้เป็นคณบดี ในพระพุทธพจน์ที่ละเอียดอ่อน
[๒๐๖] ครั้งนั้น ข้าพเจ้าได้ประพันธ์คาถา ๔ คาถา
ซึ่งมีพยัญชนะสละสลวยชมเชยพระพุทธเจ้า
ผู้ทรงเป็นผู้เลิศในโลกทั้ง ๓ แล้วแสดงทุก ๆ วันว่า
[๒๐๗] พระพุทธเจ้าเป็นผู้ปราศจากความยินดี
มีความเพียรมาก ทรงอยู่ในสังสารวัฏที่มีภัย
ไม่เสด็จดับขันธปรินิพพาน
ก็เพราะทรงประกอบด้วยพระกรุณา(ในหมู่สัตว์)
ฉะนั้น พระมุนีจึงชื่อว่าทรงประกอบด้วยพระกรุณา

เชิงอรรถ :
๑ ที.สี.อ. ๒๕๖/๒๒๒ และดู Dawson, John. A classieal Dictionary of Hindu Mythology (London
Lroutledge and kegan Paul, 1957) P. 222
๒ ที.สี.อ. ๒๕๖/๒๒๒ และดู Dawson, John. A classieal Dictionary of Hindu Mythology (London
Lroutledge and kegan Paul, 1957) P. 222

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๓๑๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๕. ภัททิยวรรค] ๗. อภยเถราปทาน
[๒๐๘] บุคคลผู้ใด ถึงเป็นปุถุชนก็ไม่ตกอยู่ในอำนาจของกิเลส
ประกอบด้วยสติ มีสัมปชัญญะ
เพราะฉะนั้น บุคคลผู้นั้นจึงเป็นอจินไตย
[๒๐๙] กิเลสที่มีกำลังอ่อน ซึ่งนอนเนื่องอยู่ในสันดานของเรา
ถูกเผาด้วยไฟคือญาณแล้วไม่สิ้นไป ข้อนั้นไม่เคยมีเลย
[๒๑๐] ผู้ใดเป็นที่เคารพของสัตว์โลกทั้งปวง
ซึ่งเป็นครูในโลก และเป็นอาจารย์ของชาวโลก
โลกย่อมอนุวัตรตามผู้นั้น
[๒๑๑] ข้าพเจ้าขอสดุดีพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ด้วยคาถามีอาทิดังนี้แสดงธรรมตลอดชีวิต
จุติจากอัตภาพนั้นแล้ว ได้ไปเกิดในสวรรค์
[๒๑๒] ในกัปที่ ๑๐๐,๐๐๐ นับจากกัปนี้ไป
ข้าพเจ้ากล่าวสดุดีพระพุทธเจ้าไว้
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการกล่าวสดุดี
[๒๑๓] ครั้งนั้น ข้าพเจ้าได้ครองราชสมบัติที่ยิ่งใหญ่อันเป็นทิพย์ในเทวโลก
ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิเสวยราชสมบัติที่ยิ่งใหญ่เป็นอันมาก
[๒๑๔] ข้าพเจ้าเกิดเฉพาะใน ๒ ภพ
คือ (๑) ภพเทวดา (๒) ภพมนุษย์
คติอื่นข้าพเจ้าไม่รู้จักเลย
นี้เป็นผลแห่งการกล่าวสดุดี
[๒๑๕] ข้าพเจ้าเกิดเฉพาะใน ๒ ตระกูล
คือ (๑) ตระกูลกษัตริย์ (๒) ตระกูลพราหมณ์
ข้าพเจ้าไม่รู้จักตระกูลต่ำเลย
นี้เป็นผลแห่งการกล่าวสดุดี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๓๑๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๕. ภัททิยวรรค] ๗. อภยเถราปทาน
[๒๑๖] บัดนี้ เป็นภพสุดท้าย ข้าพเจ้ามีนามว่าอภัย
เป็นโอรสของพระเจ้าพิมพิสาร
ในกรุงราชคฤห์ที่อุดมสมบูรณ์
[๒๑๗] ข้าพเจ้าตกอยู่ในอำนาจของปาปมิตร
ถูกนิครนถ์นาฏบุตรให้ลุ่มหลง
ส่งไปเฝ้าพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐที่สุด
[๒๑๘] ข้าพเจ้าทูลถามปัญหาที่ละเอียดสุขุม
ได้ฟังพยากรณ์ที่ประเสริฐ
จึงบวช ไม่นานก็ได้บรรลุอรหัตตผล
[๒๑๙] ข้าพเจ้าได้รับยกย่องทุกเมื่อ
เพราะการสดุดีพระชินเจ้าผู้ประเสริฐ
เป็นผู้มีร่างกายและปากมีกลิ่นหอม
แต่เป็นผู้เพียบพร้อมด้วยความสุข
[๒๒๐] เพราะอานุภาพแห่งกรรมนั้น
ข้าพเจ้าจึงเป็นผู้มีปัญญาเฉียบแหลม
มีปัญญาแจ่มใส มีปัญญาว่องไว
มีปัญญามาก และมีปฏิภาณที่วิจิตร
[๒๒๑] ข้าพเจ้าเป็นผู้มีจิตเลื่อมใส
กล่าวสดุดีพระสยัมภูพระนามว่าปทุมุตตระ
ผู้ไม่มีใครเสมอเหมือน
ด้วยผลแห่งกรรมนั้น ข้าพเจ้าจึงไม่ได้ไปบังเกิด
ในอบายภูมิตั้งหลายแสนกัป
[๒๒๒] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว
ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๓๒๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๕. ภัททิยวรรค] ๘. โลมสติยเถราปทาน
[๒๒๓] การที่ข้าพเจ้ามาในสำนักของพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐที่สุด
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๒๒๔] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระอภยเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
อภยเถราปทานที่ ๗ จบ

๘. โลมสติยเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระโลมสติยเถระ
(พระโลมสติยเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๒๒๕] ในภัทรกัป๑นี้ พระชินเจ้าผู้เป็นเผ่าพันธุ์ของพราหมณ์
มีพระยศยิ่งใหญ่ พระนามว่ากัสสปะ ตามพระโคตร
ประเสริฐกว่าเจ้าลัทธิทั้งหลาย เสด็จอุบัติขึ้นแล้ว
[๒๒๖] ครั้งนั้น ข้าพเจ้าและสหายชื่อจันทนะ
บรรพชาในศาสนาแล้ว
ได้บำเพ็ญกิจในศาสนาจนตลอดชีวิต
[๒๒๗] ข้าพเจ้าทั้ง ๒ จุติจากอัตภาพนั้นแล้ว
ได้ไปเกิดในสวรรค์ชั้นดุสิต

เชิงอรรถ :
๑ กัปมี ๔ คือ (๑) กัปที่มีพระพุทธเจ้าอุบัติขึ้นองค์เดียว ชื่อว่าสารกัป (๒) กัปที่มีพระพุทธเจ้าอุบัติขึ้น ๒
หรือ ๓ องค์ ชื่อว่าวรกัป (๓) กัปที่มีพระพุทธเจ้าอุบัติขึ้น ๔ องค์ ชื่อว่ามัณฑกัป (๔) กัปที่มีพระ
พุทธเจ้าอุบัติขึ้น ๕ องค์ ชื่อว่าภัทรกัป ในภัทรกัปนี้มีพระพุทธเจ้าอุบัติขึ้น ๕ องค์ คือ พระกกุสันธ
พุทธเจ้า พระโกนาคมนพุทธเจ้า พระกัสสปพุทธเจ้า พระโคดมพุทธเจ้า พระเมตเตยยพุทธเจ้า (ขุ.อป.อ.
๒/๒๒๕/๓๓๐)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๓๒๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๕. ภัททิยวรรค] ๘. โลมสติยเถราปทาน
ข่มเทพบุตรที่เหลือในสวรรค์ชั้นดุสิตนั้น
ด้วยการฟ้อน การขับร้อง การประโคม
[๒๒๘] และด้วยองค์ ๑๐ มีรูปเป็นต้นอันเป็นทิพย์
เสวยความสุขเป็นอันมากอยู่จนตลอดอายุ
[๒๒๙] จุติจากสวรรค์ชั้นดุสิตนั้นแล้ว
จันทเทพบุตรได้ไปเกิดในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์
ส่วนข้าพเจ้าได้เกิดเป็นโอรสของเจ้าศากยะในกรุงกบิลพัสดุ์
[๒๓๐] ในคราวที่พระศาสดาทรงเป็นผู้นำสัตว์โลก
ซึ่งพระอุทายีเถระทูลเชิญเสด็จถึงกรุงกบิลพัสดุ์
เพื่อทรงอนุเคราะห์เจ้าศากยะ
[๒๓๑] ครั้งนั้น พวกเจ้าศากยะมีมานะจัด
ไม่รู้คุณของพระพุทธเจ้า เป็นคนกระด้างเพราะชาติตระกูล
ไม่เอื้อเฟื้อ ไม่นอบน้อมพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
[๒๓๒] พระชินเจ้าทรงทราบความดำริ
ของเจ้าศากยะเหล่านั้น
จึงได้เสด็จจงกรมในอากาศ เหมือนเมฆฝนตกลง
และเหมือนเปลวไฟที่ลุกโพลงอยู่
[๒๓๓] ทรงแสดงพระรูปที่ไม่มีที่เปรียบแล้วอันตรธานไป
แม้พระองค์เดียวก็เนรมิตเป็นหลายองค์ได้
แล้วกลับเป็นองค์เดียวเหมือนเดิม
[๒๓๔] พระมุนีทรงแสดงความมืดและแสงสว่าง
ทรงกระทำปาฏิหาริย์มากมาย
ทรงปราบพวกพระญาติจนหมดมานะ
[๒๓๕] ขณะนั้นเอง มหาเมฆที่ตั้งขึ้นในทวีปทั้ง ๔ ทำฝนให้ตกแล้ว
ก็ในครั้งนั้น พระพุทธเจ้าได้แสดงเวสสันดรชาดก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๓๒๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๕. ภัททิยวรรค] ๘. โลมสติยเถราปทาน
[๒๓๖] ครั้งนั้น กษัตริย์เหล่านั้นทุกพระองค์
กำจัดความมัวเมาที่เกิดจากชาติตระกูลได้แล้ว
ถึงพระพุทธเจ้าว่าเป็นสรณะ
ในครั้งนั้น พระเจ้าสุทโธทนะได้ตรัสว่า
[๒๓๗] ข้าแต่พระองค์ผู้มีปัญญาเสมอด้วยแผ่นดิน
ทรงมีสมันตจักษุ ครั้งนี้เป็นครั้งที่ ๓
ที่หม่อมฉันถวายบังคมพระบาทของพระองค์
(ครั้งที่ ๑) ในคราวที่พระองค์ประสูติแผ่นดินไหว
(ครั้งที่ ๒) ในคราวที่เงาต้นหว้าไม่ละพระองค์
[๒๓๘] ครั้งนั้น ข้าพเจ้าเห็นพุทธานุภาพนั้นแล้ว
เกิดอัศจรรย์ใจ จึงได้บรรพชา เป็นผู้บูชามารดา
ได้อาศัยอยู่ในกรุงกบิลพัสดุ์นั้นเอง
[๒๓๙] ครั้งนั้น จันทเทพบุตรได้เข้ามาหาข้าพเจ้าแล้ว
ถามถึงนัยทั้งโดยย่อและพิสดารแห่งภัทเทกรัตตสูตร๑
[๒๔๐] ครั้งนั้น ข้าพเจ้าถูกจันทเทพบุตรตักเตือนแล้ว
จึงเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าซึ่งเป็นผู้นำของนรชน
ได้ฟังภัทเทกรัตตสูตร เป็นผู้สลดใจต้องการอยู่ป่า
[๒๔๑] ได้บอกลามารดาว่า จักอยู่ป่าแต่เพียงผู้เดียว
เมื่อถูกมารดาห้ามปรามว่า
ลูกเป็นคนละเอียดอ่อน ข้าพเจ้าก็ได้ตอบว่า
[๒๔๒] ข้าพเจ้าจักใช้อกบดขยี้หญ้าคา หญ้าเลา หญ้าแฝก
หญ้าปล้อง และหญ้ามุงกระต่าย
ให้แหลกละเอียดทั้งหมด พอกพูนวิเวก

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ ม.อุ. (แปล) ๑๔/๒๗๒-๒๗๕/๓๑๙-๓๒๓

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๓๒๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๕. ภัททิยวรรค] ๘. โลมสติยเถราปทาน
[๒๔๓] ครั้งนั้น ข้าพเจ้าเข้าป่าจึงได้บรรลุอรหัตตผล
นึกถึงคำสอนของพระชินเจ้า
เพราะระลึกถึงคำสอนของพระชินเจ้า คือ ภัทเทกรัตโตวาทว่า
[๒๔๔] บุคคลไม่ควรนึงถึงสิ่งที่ล่วงไปแล้ว
ไม่ควรหวังสิ่งที่ยังไม่มาถึง
สิ่งใดที่ล่วงไปแล้ว สิ่งนั้นก็เป็นอันละไปแล้ว
สิ่งใดที่ยังไม่มาถึง สิ่งนั้นก็ยังไม่เกิดขึ้น
[๒๔๕] ส่วนบุคคลใดเห็นแจ้งธรรมที่เป็นปัจจุบัน
ไม่ง่อนแง่น ไม่คลอนแคลนในธรรมนั้น ๆ
บุคคลนั้นควรเจริญธรรมนั้นให้แจ่มแจ้ง
[๒๔๖] บุคคลควรทำความเพียรตั้งแต่วันนี้ทีเดียว
ใครเล่าจะรู้ว่า ความตายจักมีในวันพรุ่งนี้
เพราะว่าความผัดเพี้ยนกับมัจจุราชมีเสนานั้น
ย่อมไม่มีแก่เราทั้งหลาย
[๒๔๗] พระมุนีผู้สงบเรียกบุคคลผู้มีความเพียร
ไม่เกียจคร้านทั้งกลางวันและกลางคืน
ซึ่งมีปกติอยู่อย่างนี้นั้นแลว่า ผู้มีราตรีเดียวเจริญ ดังนี้
[๒๔๘] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว
ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๒๔๙] การที่ข้าพเจ้ามาในสำนักของพระพุทธเจ้า
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๓๒๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๕. ภัททิยวรรค] ๙. วนวัจฉเถราปทาน
[๒๕๐] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระโลมสติยเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
โลมสติยเถราปทานที่ ๘ จบ

๙. วนวัจฉเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระวนวัจฉเถระ
(พระวนวัจฉเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๒๕๑] ในภัทรกัปนี้ พระชินเจ้าผู้เป็นเผ่าพันธุ์ของพราหมณ์
มีพระยศยิ่งใหญ่ พระนามว่ากัสสปะ ตามพระโคตร
ประเสริฐกว่าเจ้าลัทธิทั้งหลาย เสด็จอุบัติขึ้นแล้ว
[๒๕๒] ครั้งนั้น ข้าพเจ้าบวชในศาสนาของพระพุทธเจ้าพระองค์นั้น
ประพฤติพรหมจรรย์จนตลอดชีวิต
จุติจากอัตภาพนั้นแล้ว
[๒๕๓] ด้วยกรรมที่ข้าพเจ้าได้ทำไว้ดีแล้วนั้น
และด้วยเจตนาที่ตั้งไว้มั่น
ข้าพเจ้าละกายมนุษย์แล้ว
จึงได้ไปเกิดในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์
[๒๕๔] จุติจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์นั้นแล้ว ได้เกิดเป็นนกพิราบอยู่ในป่า
ในป่านั้นมีภิกษุผู้สมบูรณ์ด้วยคุณ
ยินดีในฌานทุกเมื่อ อาศัยอยู่
[๒๕๕] ท่านเป็นผู้มีจิตเมตตา ประกอบด้วยกรุณา
มีหน้าอิ่มเอิบทุกเมื่อ มีจิตวางเฉย
มีความเพียรมาก ฉลาดในอัปปมัญญา๑

เชิงอรรถ :
๑ อัปปมัญญา หมายถึงจิตที่ประกอบด้วยเมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา ซึ่งแผ่ไปโดยไม่มีขอบเขต ไม่มี
ประมาณ (ที.ปา. (แปล) ๑๑/๓๐๘/๒๘๐)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๓๒๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๕. ภัททิยวรรค] ๙. วนวัจฉเถราปทาน
[๒๕๖] มีความดำริปราศจากนิวรณ์๑
มีอัธยาศัยมุ่งประโยชน์แก่สรรพสัตว์ โดยไม่นาน
ข้าพเจ้าก็มีความคุ้นเคยในสาวกของพระสุคตองค์นั้น
[๒๕๗] เมื่อข้าพเจ้าไปเกาะอยู่แทบเท้าของท่าน
ผู้นั่งอยู่ในอาศรม ในครั้งนั้น บางครั้งท่านก็ให้อาหาร
บางครั้งท่านก็แสดงธรรม
[๒๕๘] ครั้งนั้น ข้าพเจ้าเข้าไปหาท่านผู้เป็นโอรสของพระชินเจ้า
ด้วยความรักอันไพบูลย์ จุติจากอัตภาพนั้นแล้ว
ได้ไปเกิดในสวรรค์ประหนึ่งจากที่อยู่
แล้วกลับไปยังที่อยู่ของตนฉะนั้น
[๒๕๙] ข้าพเจ้าจุติจากสวรรค์แล้ว
บังเกิดในหมู่มนุษย์ด้วยบุญกรรม
ได้สละเรือนออกบวชโดยมาก
[๒๖๐] ข้าพเจ้าเป็นสมณะ ดาบส พราหมณ์
ปริพาชกอยู่ในป่ามานานหลายร้อยชาติ
[๒๖๑] บัดนี้ เป็นภพสุดท้าย ข้าพเจ้าหยั่งลงสู่ครรภ์
แห่งภรรยาของพราหมณ์วัจฉโคตร
ในกรุงกบิลพัสดุ์ที่น่ารื่นรมย์
[๒๖๒] เมื่อข้าพเจ้ายังอยู่ในครรภ์มารดาของข้าพเจ้าแพ้ท้อง
ในเวลาที่ข้าพเจ้าใกล้คลอด ท่านตัดสินใจที่จะอยู่ป่า
[๒๖๓] จากนั้น มารดาของข้าพเจ้าได้คลอดข้าพเจ้า
ที่ชายป่าที่น่ารื่นรมย์
เมื่อข้าพเจ้าคลอดจากครรภ์มารดา
ชนทั้งหลายใช้ผ้ากาสายะรองรับไว้

เชิงอรรถ :
๑ นิวรณ์ หมายถึงธรรมกั้นจิตไม่ให้บรรลุความดีมี ๕ อย่าง คือ (๑) กามฉันทะ ความพอใจในกาม
(๒) พยาบาท ความคิดร้าย (๓) ถีนมิทธะ ความหดหู่และเซื่องซึม (๔) อุทธัจจกุกกุจจะ ความฟุ้งซ่าน
และร้อนใจ (๕) วิจิกิจฉา ความลังเลสงสัย (ที.ปา. (แปล) ๑๑/๓๑๕/๓๐๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๓๒๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๕. ภัททิยวรรค] ๙. วนวัจฉเถราปทาน
[๒๖๔] ขณะนั้น พระสิทธัตถราชกุมาร
ผู้เป็นดังธงชัยของศากยวงศ์ก็ทรงประสูติ
ข้าพเจ้าเป็นสหายรักสนิทชิดชอบกันของพระองค์
[๒๖๕] เมื่อพระองค์ทรงละยศที่ไพบูลย์
เสด็จออกมหาภิเนษกรมณ์
โดยมุ่งสาระประโยชน์แก่หมู่สัตว์
แม้ข้าพเจ้าก็ออกบวชแล้วเข้าไปยังป่าหิมพานต์
[๒๖๖] ข้าพเจ้าพบพระกัสสปะผู้อยู่ป่า
ผู้ควรสรรเสริญ ผู้บอกกล่าวเรื่องธุดงค์
ก็ได้ฟังข่าวว่า พระชินเจ้าเสด็จอุบัติขึ้นแล้ว
จึงได้เข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าผู้ทรงเป็นสารถีฝึกนรชน
[๒๖๗] พระองค์ได้ทรงแสดงธรรม
ประกาศประโยชน์ทุกประการแก่ข้าพเจ้า
จากนั้น ข้าพเจ้าบวชแล้วเข้าไปยังป่าตามเดิม
[๒๖๘] เมื่อข้าพเจ้าอยู่ในป่านั้น
เป็นผู้ไม่ประมาทก็ได้สำเร็จอภิญญา ๖
โอ เราผู้ที่พระศาสดาผู้ทรงเป็นกัลยาณมิตรทรงอนุเคราะห์แล้ว
เป็นผู้มีลาภที่ได้ดีแล้วหนอ
[๒๖๙] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว
ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๒๗๐] การที่ข้าพเจ้าได้มาในสำนักของพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐที่สุด
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๓๒๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๕. ภัททิยวรรค] ๑๐. จูฬสุคันธเถราปทาน
[๒๗๑] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระวนวัจฉเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
วนวัจฉเถราปทานที่ ๙ จบ

๑๐. จูฬสุคันธเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระจูฬสุคันธเถระ
(พระจูฬสุคันธเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๒๗๒] ในภัทรกัปนี้ พระชินเจ้าผู้เป็นเผ่าพันธุ์ของพราหมณ์
มีพระยศยิ่งใหญ่ พระนามว่ากัสสปะ ตามพระโคตร
ประเสริฐกว่าเจ้าลัทธิทั้งหลาย เสด็จอุบัติขึ้นแล้ว
[๒๗๓] พระองค์สมบูรณ์ด้วยอนุพยัญชนะ
มีพระลักษณะอันประเสริฐ ๓๒ ประการ๑
มีพระรัศมีล้อมรอบข้างละวา
ทรงประกอบด้วยข่ายรัศมี
[๒๗๔] ทรงทำหมู่สัตว์ให้ยินดีได้เหมือนดวงจันทร์
เปล่งพระรัศมีเหมือนดวงอาทิตย์
ทำหมู่สัตว์ให้เยือกเย็นได้เหมือนเมฆฝน
เป็นบ่อเกิดแห่งคุณเหมือนทะเล(เป็นบ่อเกิดแห่งรัตนะ)
[๒๗๕] พระองค์เปรียบดังแผ่นดินโดยศีล
เปรียบดังภูเขาหิมพานต์โดยสมาธิ
เปรียบดังอากาศโดยปัญญา
เป็นผู้ไม่ข้องเกี่ยว(กับอะไร ๆ) เหมือนสายลม

เชิงอรรถ :
๑ ดูเชิงอรรถหน้า ๑๐ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๓๒๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๕. ภัททิยวรรค] ๑๐. จูฬสุคันธเถราปทาน
[๒๗๖] ครั้งนั้น ข้าพเจ้าเกิดในตระกูลใหญ่
ที่มีทรัพย์และธัญญาหารมากมาย
เป็นที่สั่งสมรัตนะต่าง ๆ ในกรุงพาราณสี
[๒๗๗] ข้าพเจ้าได้เข้าเฝ้าพระผู้ทรงเป็นผู้นำสัตว์โลก
ซึ่งประทับนั่งอยู่กับบริวารจำนวนมาก
ได้ฟังอมตธรรมที่นำมาซึ่งความยินดีแห่งจิต
[๒๗๘] พระพุทธองค์ทรงมีพระลักษณะอันประเสริฐ ๓๒ ประการ๑
เหมือนดวงจันทร์ซึ่งเป็นนักษัตรที่งาม
ทรงสมบูรณ์ด้วยอนุพยัญชนะ
เหมือนต้นพญาไม้สาละมีดอกบานสะพรั่ง
[๒๗๙] มีข่ายคือพระรัศมีแวดล้อม
เหมือนสุวรรณบรรพตมีรัศมีรุ่งเรือง
มีพระรัศมีล้อมรอบด้านละวา
เหมือนดวงอาทิตย์มีรัศมีเป็นร้อย
[๒๘๐] มีพระพักตร์เหมือนทองคำ
เป็นพระชินเจ้าผู้ประเสริฐ
เป็นดังขุนเขาที่ให้เกิดความยินดี
มีพระทัยเต็มด้วยพระกรุณา
มีพระคุณดุจสาคร
[๒๘๑] มีพระเกียรติปรากฏแก่ชาวโลก
เหมือนภูเขาสิเนรุซึ่งเป็นขุนเขาสูงสุด
มีพระยศแผ่ไป เป็นนักปราชญ์
เป็นผู้มีความรู้ดังอากาศ
[๒๘๒] มีพระหฤทัยไม่ข้องเกี่ยวในที่ทั้งปวงเหมือนสายลม
ทรงเป็นผู้นำ ทรงเป็นที่พึ่งของสรรพสัตว์ดังแผ่นดิน
ทรงเป็นพระมุนีผู้ประเสริฐ

เชิงอรรถ :
๑ ดูเชิงอรรถหน้า ๑๐ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๓๒๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๕. ภัททิยวรรค] ๑๐. จูฬสุคันธเถราปทาน
[๒๘๓] ไม่ถูกโลกธรรมแปดเปื้อน
เหมือนดอกบัวไม่เปื้อนด้วยน้ำ
ประทับอยู่ดังกองไฟที่เผาเสี้ยนตอคือวาทะชั่ว
[๒๘๔] พระองค์ทรงเป็นเหมือนยาบำบัดโรค ในที่ทั้งปวง
ทรงทำลายยาพิษคือกิเลสให้พินาศ
ทรงประดับด้วยสุคนธชาติคือคุณ
เหมือนยอดเขาคันธมาทน์
[๒๘๕] ทรงเป็นนักปราชญ์ซึ่งเป็นบ่อเกิดแห่งคุณ
ดังทะเลเป็นบ่อเกิดแห่งรัตนะ
และทรงเป็นผู้ประเสริฐกว่านรชน
ดังม้าสินธพชาติอาชาไนย
ทรงกำจัดมลทินคือกิเลส
[๒๘๖] ทรงย่ำยีมารและเสนามารได้
เหมือนขุนพลผู้มีชัยโดยพิเศษ
ทรงเป็นใหญ่เพราะรัตนะคือโพชฌงค์ ๗๑
เหมือนพระเจ้าจักรพรรดิทรงเป็นใหญ่
เพราะรัตนะ ๗ ประการ๒ ฉะนั้น
[๒๘๗] ทรงเป็นผู้เยียวยาพยาธิคือโทสะเหมือนหมอใหญ่รักษาไข้
ทรงผ่าฝีคือทิฏฐิเหมือนศัลยแพทย์ผู้ประเสริฐ
[๒๘๘] ครั้งนั้น พระพุทธองค์ทรงส่องโลกให้สว่าง
อันมนุษย์และเทวดาสักการะแล้ว
เป็นดังดวงตะวันส่องแสงสว่างให้แก่นรชน
ทรงแสดงธรรมในท่ามกลางบริษัท

เชิงอรรถ :
๑ ที.ปา. (แปล) ๑๑/๓๓๐/๓๓๑
๒ รัตนะ ๗ ประการ คือ (๑) จักกรัตนะ (จักรแก้ว) (๒) หัตถิรัตนะ (ช้างแก้ว) (๓) อัสสรัตนะ
(ม้าแก้ว) (๔) มณิรัตนะ (มณีแก้ว) (๕) อิตถีรัตนะ (นางแก้ว) (๖) คหปติรัตนะ (ขุนคลังแก้ว)
(๗) ปริณายกรัตนะ (ขุนพลแก้ว) (ที.ม. (แปล) ๑๐/๓๓/๑๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๓๓๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๕. ภัททิยวรรค] ๑๐. จูฬสุคันธเถราปทาน
[๒๘๙] พระองค์ทรงพร่ำสอนอย่างนี้ว่า
บุคคลจะเป็นผู้มีโภคสมบัติมากได้ก็เพราะการถวายทาน
จะเข้าถึงสุคติได้ก็เพราะศีล
จะดับกิเลสได้ก็เพราะการเจริญภาวนา
[๒๙๐] บริษัททั้งหลายทั้งปวงฟังเทศนานั้นที่มีความเบาใจมาก
ซึ่งไพเราะทั้งเบื้องต้น ท่ามกลางและที่สุด
มีรสเลิศประหนึ่งน้ำอมฤต
[๒๙๑] ข้าพเจ้าได้ฟังพระธรรมที่ไพเราะยิ่ง
ก็เกิดความเลื่อมใสในศาสนาของพระชินเจ้า
จึงถึงพระสุคตเป็นที่พึ่งนอบน้อมบูชาจนตลอดชีวิต
[๒๙๒] ครั้งนั้น ข้าพเจ้านั้นได้ใช้คันธชาติ ๔ ชนิด๑
ทาพื้นพระคันธกุฎีของพระมุนีเดือนละ ๘ วัน
[๒๙๓] โดยตั้งปณิธานให้สรีระที่ปราศจากกลิ่นหอมให้มีกลิ่นหอม
ครั้งนั้น พระชินเจ้าได้ตรัสพยากรณ์
ข้าพเจ้าผู้ต้องการได้กายมีกลิ่นหอมว่า
[๒๙๔] นรชนใด ใช้ของหอมทาพื้นพระคันธกุฎีคราวเดียว
ด้วยผลของกรรมนั้น นรชนนั้นเกิดในภพใดภพหนึ่ง
[๒๙๕] นรชนนี้จักเป็นผู้มีกลิ่นกายหอมไปทุก ๆ ชาติ
จักเป็นผู้ประกอบด้วยกลิ่นคือคุณ ไม่มีอาสวะแล้วนิพพาน
[๒๙๖] ด้วยกรรมที่ข้าพเจ้าได้ทำไว้ดีแล้วนั้น
และด้วยเจตนาที่ตั้งไว้มั่น
ข้าพเจ้าละกายมนุษย์แล้ว
จึงได้ไปเกิดในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์

เชิงอรรถ :
๑ คันธชาติ ๔ ชนิด คือ (๑) กลิ่นที่เกิดจากราก (๒) กลิ่นที่เกิดจากแก่น (๓) กลิ่นที่เกิดจากดอก
(๔) กลิ่นที่เกิดจากใบ (องฺ.ติก. (แปล) ๒๐/๘๐/๓๐๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๓๓๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๕. ภัททิยวรรค] ๑๐. จูฬสุคันธเถราปทาน
[๒๙๗] บัดนี้ เป็นภพสุดท้าย ข้าพเจ้าเกิดในตระกูลพราหมณ์
เมื่อข้าพเจ้ายังอยู่ในครรภ์มารดา
มารดาเป็นหญิงมีกายมีกลิ่นหอม
[๒๙๘] และในเวลาที่ข้าพเจ้าคลอดจากครรภ์มารดานั้น
กรุงสาวัตถีหอมฟุ้งเหมือนอบด้วยกลิ่นหอมทุกอย่าง
[๒๙๙] ขณะนั้น ฝนดอกไม้ที่หอมหวล
กลิ่นทิพย์ที่น่ารื่นรมย์ใจ และธูปมีค่ามากก็หอมฟุ้งไป
[๓๐๐] ข้าพเจ้าเกิดในเรือนหลังใด
เรือนหลังนั้น เทวดาได้ใช้ธูปและดอกไม้
ล้วนแต่มีกลิ่นหอมและเครื่องหอมมาอบ
[๓๐๑] ในเวลาที่ข้าพเจ้ายังเยาว์และเจริญวัยดำรงอยู่ในปฐมวัย
พระศาสดาผู้เป็นสารถีฝึกนรชน
ทรงแนะนำบริษัทของพระองค์ที่เหลือแล้ว
[๓๐๒] มีสาวกเหล่านั้นทั้งหมดแวดล้อมเสด็จมาถึงกรุงสาวัตถี
ครั้งนั้น ข้าพเจ้าได้เห็นพุทธานุภาพนั้นแล้วจึงออกบวช
[๓๐๓] ข้าพเจ้าเจริญธรรม ๔ ประการ
คือ ศีล สมาธิ ปัญญา และวิมุตติอันยอดเยี่ยม
แล้วบรรลุธรรมเป็นที่สิ้นอาสวะ
[๓๐๔] ในคราวที่ข้าพเจ้าออกบวช
ในคราวที่ข้าพเจ้าเป็นพระอรหันต์
และในคราวที่ข้าพเจ้าจักปรินิพพาน
ได้มีฝนซึ่งมีกลิ่นหอม(ตกลงมา)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๓๓๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๕. ภัททิยวรรค] ๑๐. จูฬสุคันธเถราปทาน
[๓๐๕] ก็กลิ่นกายที่ประเสริฐสุดของข้าพเจ้า
ครอบงำจันทน์ ดอกจำปาและดอกอุบลซึ่งมีค่ามากได้
และข้าพเจ้าไปในที่ใด ๆ
ก็จะส่งกลิ่นฟุ้งไปทั่วเหนือกลิ่นหอมนอกนี้ได้
[๓๐๖] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว
ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๓๐๗] การที่ข้าพเจ้ามาในสำนักของพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐที่สุด
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๓๐๘] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระจูฬสุคันธเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
จูฬสุคันธเถราปทานที่ ๑๐ จบ
ภัททิยวรรคที่ ๕๕ จบบริบูรณ์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๓๓๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๕. ภัททิยวรรค] รวมอปทานที่มีในวรรค
รวมอปทานที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. ลกุณฏกภัททิยเถราปทาน ๒. กังขาเรวตเถราปทาน
๓. สีวลีเถราปทาน ๔. วังคีสเถราปทาน
๕. นันทกเถราปทาน ๖. กาฬุทายีเถราปทาน
๗. อภยเถราปทาน ๘. โลมสติยเถราปทาน
๙. วนวัจฉเถราปทาน ๑๐. จูฬสุคันธเถราปทาน

ในวรรคนี้ บัณฑิตนับคาถาได้ ๓๑๖ คาถา

รวมวรรค

๑. กณิการวรรค ๒. ผลทายกวรรค
๓. ติณทายกวรรค ๔. กัจจายนวรรค
๕. ภัททิยวรรค

บัณฑิตนับคาถาไว้แผนกหนึ่งรวมได้ ๙๘๔ คาถา
และประกาศอปทานรวมได้ ๕๕๖ อปทาน
พร้อมทั้งอุทานคาถา มีคาถารวม ๖,๒๑๘ คาถา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๓๓๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๖. ยสวรรค] ๑. ยสเถราปทาน
๕๖. ยสวรรค
หมวดว่าด้วยพระยสเถระเป็นต้น
๑. ยสเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระยสเถระ
(พระยสเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๑] วิมาน ข้าพเจ้าได้สร้างไว้ดีแล้ว
ให้ยื่นลงไปในมหาสมุทร
สระโบกขรณีข้าพเจ้าก็สร้างไว้ดีแล้ว
ทั้งยังมีนกจักรพากมาส่งเสียงร้องขับขาน
[๒] ที่วิมานนั้นแม่น้ำก็ดารดาษด้วยบัวเผื่อน
ดอกปทุมและดอกอุบล
มีท่าน้ำราบเรียบน่ารื่นรมย์ใจ
กระแสน้ำก็ไหลไปเอื่อย ๆ
[๓] แม่น้ำนั้นก็ชุกชุมไปด้วยปลาและเต่า
คลาคล่ำไปด้วยนกนานาชนิด มีนกยูง นกกระเรียน
และนกดุเหว่าเป็นต้น ต่างก็ส่งเสียงร้องอย่างไพเราะ
[๔] ที่ริมแม่น้ำนี้มีนกพิราบ นกเป็ดน้ำ
นกจักรพาก นกกาน้ำ นกกระทา
นกสาลิกา นกเขาไฟ นกโพระดก
[๕] หงส์ นกกระเรียน นกเค้าแมว
นกขมิ้นเหลืองอ่อนมากมายพากันส่งเสียงร้อง
แม่น้ำก็สมบูรณ์ด้วยรัตนะ ๗ ประการ
มีแก้วมณี แก้วมุกดา และแก้วประพาฬเป็นต้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๓๓๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๖. ยสวรรค] ๑. ยสเถราปทาน
[๖] ต้นไม้ทุกชนิดล้วนเป็นทองคำ
แออัดยัดเยียดด้วยลำต้นขนาดต่าง ๆ
ส่องวิมานของข้าพเจ้าให้สว่าง
ทั้งกลางวันและกลางคืน ตลอดกาลทุกเมื่อ
[๗] เครื่องดนตรี ๖๐,๐๐๐ ชิ้นก็บรรเลงอยู่ทั้งเช้าและเย็น
สตรี ๑๖,๐๐๐ นาง ก็แวดล้อมข้าพเจ้าอยู่ทุกเมื่อ
[๘] ข้าพเจ้าเป็นผู้มีจิตเลื่อมใส มีใจยินดีออกจากวิมานแล้ว
กราบไหว้พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าสุเมธะ
ผู้ทรงเป็นผู้นำสัตว์โลก มีพระยศยิ่งใหญ่พระองค์นั้น
[๙] ข้าพเจ้าครั้นถวายอภิวาทพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว
จึงทูลนิมนต์พระพุทธองค์พร้อมทั้งภิกษุสงฆ์
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าสุเมธะ ผู้ทรงเป็นผู้นำสัตว์โลก
ทรงเป็นนักปราชญ์พระองค์นั้น ทรงรับนิมนต์แล้ว
[๑๐] พระมหามุนี ทรงแสดงธรรมีกถาแก่ข้าพเจ้าแล้ว
จึงส่งข้าพเจ้าไป ข้าพเจ้าถวายอภิวาทพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว
จึงเข้าสู่วิมานของตน
[๑๑] ครั้งนั้น ข้าพเจ้าเรียกบริวารชนมาประชุมกันทั้งหมด
โดยแจ้งให้ทราบว่า พระพุทธเจ้าจะเสด็จมายังวิมานของเรา
ในเวลาเช้า
[๑๒] การที่พวกเราอยู่ในที่ใกล้ของพระองค์
นับว่าเป็นลาภของพวกเราที่พวกเราได้ดีแล้ว
แม้พวกเราก็จักได้บูชาพระศาสดา
ผู้เป็นพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐที่สุด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๓๓๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๖. ยสวรรค] ๑. ยสเถราปทาน
[๑๓] ข้าพเจ้าจัดตั้งข้าวน้ำเสร็จแล้ว
จึงให้คนไปกราบทูลบอกเวลา
พระพุทธเจ้าทรงเป็นผู้นำสัตว์โลก
ได้เสด็จมาถึงพร้อมด้วยพระอรหันต์ ๑๐๐,๐๐๐ รูป ผู้ได้วสี
[๑๔] ข้าพเจ้าได้รับเสด็จด้วยดนตรีประกอบด้วยองค์ ๕๑
พระพุทธเจ้าผู้เป็นบุรุษสูงสุด
ประทับนั่งบนตั่งที่เป็นทองคำล้วน
[๑๕] คราวนั้น เครื่องมุงเบื้องบนเป็นทองคำล้วน
เหล่าชนพากันกระพือพัดภิกษุสงฆ์ผู้ยอดเยี่ยม
[๑๖] ข้าพเจ้าเลี้ยงภิกษุสงฆ์
ให้อิ่มหนำด้วยข้าวน้ำอย่างเพียงพอ
ได้ถวายผ้าแก่ภิกษุสงฆ์องค์ละคู่
[๑๗] พระพุทธเจ้าพระนามว่าสุเมธะ
ผู้สมควรรับเครื่องบูชาพระองค์นั้น
ประทับนั่งในท่ามกลางภิกษุสงฆ์แล้ว
ได้ตรัสคำเป็นพระคาถาเหล่านี้ว่า
[๑๘] เราจักประกาศเกียรติคุณ
ของผู้ที่เลี้ยงเราและภิกษุเหล่านี้ทั้งหมด
ให้อิ่มหนำด้วยข้าวและน้ำ
ท่านทั้งหลายจงฟังเรากล่าวเถิด
[๑๙] ผู้นั้นจักรื่นเริงในเทวโลกตลอด ๑,๘๐๐ กัป
จักเกิดเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ๑,๐๐๐ ชาติ

เชิงอรรถ :
๑ ดนตรีประกอบด้วยองค์ ๕ คือ (๑) อาตตะ (โทน) (๒) วิตตะ (ตะโพน) (๓) อาตตวิตตะ (บันเฑาะว์)
(๔) ฆานะ (กังสดาล) (๕) สุสิระ (ปี่,สังข์) (ขุ.วิ.อ. ๓๔/๓๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๓๓๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๖. ยสวรรค] ๑. ยสเถราปทาน
[๒๐] เขาจะเกิดยังกำเนิดใด
คือจะเป็นกำเนิดเทวดาหรือกำเนิดมนุษย์ก็ตาม
เขาจักมีเครื่องมุงบังที่เป็นทองคำล้วนคอยกางกั้น
[๒๑] ในกัปที่ ๓๐,๐๐๐ นับจากกัปนี้
พระศาสดาพระนามว่าโคดม ตามพระโคตร
ทรงสมภพในราชสกุลโอกกากราช จักอุบัติขึ้นในโลก
[๒๒] เขาจักเป็นธรรมทายาทของพระศาสดาพระองค์นั้น
เป็นโอรสที่ธรรมเนรมิต
กำหนดรู้อาสวะทั้งปวงเป็นผู้ไม่มีอาสวะแล้วนิพพาน
[๒๓] เขาจักนั่งในท่ามกลางพระสงฆ์ บันลือสีหนาท
ชนทั้งหลายคอยกั้นฉัตรให้เขาแม้ที่เชิงตะกอน
เขาจักถูกเผาภายใต้ฉัตร
[๒๔] สามัญผลข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ข้าพเจ้าไม่มีความสะดุ้งไม่ว่าจะเป็นที่มณฑปหรือที่โคนไม้
[๒๕] ในกัปที่ ๓๐,๐๐๐ (นับจากกัปนี้ไป)
ข้าพเจ้าได้ถวายทานไว้ในครั้งนั้น
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการถวายทานทั้งปวง
[๒๖] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว
ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๒๗] การที่ข้าพเจ้ามาในสำนักของพระพุทธเจ้า
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๓๓๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๖. ยสวรรค] ๒. นทีกัสสปเถราปทาน
[๒๘] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระยสเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
ยสเถราปทานที่ ๑ จบ

๒. นทีกัสสปเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระนทีกัสสปเถระ
(พระนทีกัสสปเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๒๙] เมื่อพระผู้มีพระภาคพระนามว่าปทุมุตตระ
ผู้เจริญที่สุดในโลก ผู้คงที่ ผู้เป็นพระศาสดา
เสด็จโคจรบิณฑบาต
ข้าพเจ้าได้ถือผลไม้ที่มีรสเลิศ อันยอดเยี่ยม มีชื่อเสียง
ตามวาระได้ถวายแด่พระองค์
[๓๐] เพราะกรรมนั้น ข้าพเจ้าได้เกิดเป็นจอมเทพ
ผู้เจริญที่สุดในโลก เป็นผู้องอาจกว่านรชน
ละความชนะและความพ่ายแพ้ได้แล้ว
บรรลุฐานะที่ไม่หวั่นไหว
[๓๑] ในกัปที่ ๑๐๐,๐๐๐ นับจากกัปนี้ไป
ข้าพเจ้าได้ถวายผลไม้ไว้ในครั้งนั้น
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการถวายผลไม้ที่มีรสเลิศ
[๓๒] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๓๓๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๖. ยสวรรค] ๓. คยากัสสปเถราปทาน
ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๓๓] การที่ข้าพเจ้ามาในสำนักของพระพุทธเจ้า
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๓๔] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระนทีกัสสปเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
นทีกัสสปเถราปทานที่ ๒ จบ

๓. คยากัสสปเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระคยากัสสปเถระ
(พระคยากัสสปเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๓๕] ครั้งนั้น ข้าพเจ้านุ่งห่มหนังสัตว์
สะพายหาบบริขาร
ได้นำหาบใส่ผลกระเบาไปอาศรม
[๓๖] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคชินเจ้าพระองค์เดียว
ไม่มีสาวกติดตาม ทรงมีพระรัศมีโชติช่วงตลอดกาลทั้งปวง
ได้เสด็จเข้ามายังอาศรมของข้าพเจ้า
[๓๗] ข้าพเจ้าทำจิตของตนให้เลื่อมใส
ถวายอภิวาทพระชินเจ้าผู้มีวัตรงดงาม
ถวายผลกระเบาแด่พระพุทธเจ้าด้วยมือทั้ง ๒

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๓๔๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๖. ยสวรรค] ๔. กิมิลเถราปทาน
[๓๘] ในกัปที่ ๓๑ นับจากกัปนี้
ข้าพเจ้าได้ถวายผลไม้ไว้ในครั้งนั้น
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการถวายผลกระเบา
[๓๙] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว
ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๔๐] การที่ข้าพเจ้ามาในสำนักของพระพุทธเจ้า
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๔๑] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระคยากัสสปเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
คยากัสสปเถราปทานที่ ๓ จบ

๔. กิมิลเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระกิมิลเถระ
(พระกิมิลเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๔๒] เมื่อพระผู้มีพระภาคพระนามว่ากกุสันธะ
ผู้เป็นเผ่าพันธุ์ของพราหมณ์ ทรงอยู่จบพรหมจรรย์
เสด็จดับขันธปรินิพพานแล้ว
ข้าพเจ้าถือเอาพวงมาลัยดอกสนไปให้ช่างทำมณฑป(สถูป)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๓๔๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๖. ยสวรรค] ๔. กิมิลเถราปทาน
[๔๓] ข้าพเจ้าไปเกิดในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์
ได้วิมานชั้นสูงสุด รุ่งเรืองล่วงเทวดาเหล่าอื่น
นี้เป็นผลแห่งบุญกรรม
[๔๔] ข้าพเจ้าเมื่อจงกรมและยืนอยู่ในเวลากลางวัน
หรือกลางคืนก็ตาม ก็มีดอกสนมุงบัง
นี้เป็นผลแห่งบุญกรรม
[๔๕] ในกัปนี้เอง ข้าพเจ้าได้บูชาพระพุทธเจ้าไว้
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการบูชาพระพุทธเจ้า
[๔๖] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว
ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๔๗] การที่ข้าพเจ้ามาในสำนักของพระพุทธเจ้า
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๔๘] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระกิมิลเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
กิมิลเถราปทานที่ ๔ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๓๔๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๖. ยสวรรค] ๕. วัชชีปุตตเถราปทาน
๕. วัชชีปุตตเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระวัชชีบุตรเถระ
(พระวัชชีบุตรเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๔๙] พระผู้มีพระภาคพระนามว่าสหัสสรังสี
ทรงเป็นพระสยัมภู ผู้ไม่ทรงพ่ายแพ้
ทรงออกจากวิเวกแล้ว เสด็จออกโคจรบิณฑบาต
[๕๐] ข้าพเจ้าถือผลไม้อยู่เห็นแล้วจึงไปใกล้พระพุทธองค์
ผู้องอาจกว่านรชน เป็นผู้มีจิตเลื่อมใส มีใจยินดี
ได้ถวายผลไม้พร้อมทั้งขั้ว
[๕๑] ในกัปที่ ๙๔ นับจากกัปนี้ไป
ข้าพเจ้าได้ถวายผลไม้ไว้ในครั้งนั้น
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการถวายผลไม้
[๕๒] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว
ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๕๓] การที่ข้าพเจ้ามาในสำนักของพระพุทธเจ้า
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๕๔] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระวัชชีบุตรเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
วัชชีปุตตเถราปทานที่ ๕ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๓๔๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๖. ยสวรรค] ๖. อุตตรเถราปทาน
๖. อุตตรเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระอุตตรเถระ
(พระอุตตรเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๕๕] พระผู้มีพระภาคสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าสุเมธะ
มีพระลักษณะอันประเสริฐ ๓๒ ประการ๑
พระองค์ผู้มีวิเวกเป็นเยี่ยม จึงเสด็จเข้าไปยังป่าหิมพานต์
[๕๖] ครั้นเสด็จถึงป่าหิมพานต์แล้ว พระมุนีผู้เลิศ
ผู้เป็นบุรุษสูงสุด ทรงประกอบด้วยพระกรุณา
ก็ประทับนั่งขัดสมาธิ
[๕๗] ครั้งนั้น ข้าพเจ้าเป็นวิทยาธรสัญจรไปในอากาศ
ถือหลาวคมซึ่งทำดีแล้ว เหาะไปในท้องฟ้า
[๕๘] พระพุทธเจ้าทรงทำป่าใหญ่ให้สว่างไสว
เหมือนไฟบนยอดภูเขา เหมือนดวงจันทร์ในวันเพ็ญ
เหมือนต้นพญาไม้สาละซึ่งมีดอกบานสะพรั่ง ฉะนั้น
[๕๙] ข้าพเจ้าเห็นพุทธรังสี มีสีคล้ายเปลวไฟที่ไหม้ไม้อ้อ
พวยพุ่งออกจากป่า จึงทำจิตให้เลื่อมใส
[๖๐] ข้าพเจ้าเลือกเก็บดอกไม้อยู่
ได้เห็นดอกกรรณิการ์ซึ่งมีกลิ่นหอมคล้ายกลิ่นทิพย์
จึงเก็บมา ๓ ดอก ได้บูชาพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐที่สุด
[๖๑] ครั้งนั้น ด้วยอานุภาพแห่งพระพุทธเจ้า
ดอกไม้ของข้าพเจ้าทั้ง ๓ ดอกกลับขั้วขึ้นหันกลีบดอกลง
ทำเป็นร่มเงาเพื่อพระศาสดา
[๖๒] ด้วยกรรมที่ข้าพเจ้าได้ทำไว้ดีแล้วนั้น
และด้วยเจตนาที่ตั้งไว้มั่น

เชิงอรรถ :
๑ ดูเชิงอรรถหน้า ๑๐ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๓๔๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๖. ยสวรรค] ๖. อุตตรเถราปทาน
ข้าพเจ้าละกายมนุษย์แล้ว
จึงได้ไปเกิดในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์
[๖๓] ในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์นั้น
วิมานสูง ๖๐ โยชน์ กว้าง ๓๐ โยชน์
ซึ่งบุญกรรมสร้างขึ้นอย่างสวยงามเพื่อข้าพเจ้า
รู้จักกันว่ากรรณิการ์วิมาน
[๖๔] ปราสาท ๗ ชั้นสูง ๑,๐๐๐ ชั่วลูกธนู
สะพรั่งไปด้วยธง พราวไปด้วยแก้วมณีสีเขียว
และป้อม ๑๐๐,๐๐๐ ป้อม ปรากฏในวิมานของข้าพเจ้า
[๖๕] บัลลังก์ทองคำ บัลลังก์แก้วมณี
บัลลังก์แก้วทับทิม และบัลลังก์แก้วผลึก
เกิดขึ้นตามปรารถนาตามประสงค์
[๖๖] ที่นอนมีราคามากยัดด้วยนุ่น
มีลวดลายต่าง ๆ มีขนตั้งขึ้นด้านเดียวและหมอนพร้อม
[๖๗] ข้าพเจ้ามีหมู่เทวดาห้อมล้อมออกจากวิมาน
เที่ยวจาริกไปในเทวโลก
ในเวลาที่ปรารถนาจะไป
[๖๘] ยืนอยู่ภายใต้ดอกไม้
ข้าพเจ้ามีดอกไม้เป็นเครื่องมุงบังอยู่เบื้องบน
สถานที่ประมาณ ๑๐๐ โยชน์มุงบังไปด้วยดอกกรรณิการ์
[๖๙] เครื่องดนตรี ๖๐,๐๐๐ ชิ้น บรรเลงกล่อมข้าพเจ้าทั้งเช้าและเย็น
ไม่หยุดหย่อน แวดล้อมข้าพเจ้าเป็นนิตย์ ตลอดคืนตลอดวัน
[๗๐] ในวิมานนั้น ข้าพเจ้ารื่นรมย์ด้วยการฟ้อน
การขับร้อง การเคาะกังสดาล และการประโคม
ข้าพเจ้าเป็นผู้หมกมุ่นในกาม บันเทิงอยู่ด้วยความยินดีในการเล่น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๓๔๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๖. ยสวรรค] ๖. อุตตรเถราปทาน
[๗๑] ครั้งนั้น ข้าพเจ้าบริโภคและดื่มอยู่ในวิมานนั้น
บันเทิงอยู่ในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์
ข้าพเจ้าพร้อมด้วยหมู่นางอัปสรบันเทิงอยู่ในวิมานอันอุดม
[๗๒] ข้าพเจ้าครองเทวสมบัติตลอด ๕๐๐ ชาติ
เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ๓๐๐ ชาติ
และได้เป็นพระเจ้าประเทศราชอันไพบูลย์นับชาติไม่ถ้วน
[๗๓] เมื่อข้าพเจ้าเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในภพน้อยภพใหญ่
ย่อมได้โภคะมากมาย ข้าพเจ้าไม่มีความบกพร่องในโภคะเลย
นี้เป็นผลแห่งการบูชาพระพุทธเจ้า
[๗๔] ข้าพเจ้าเวียนว่ายตายเกิดอยู่ใน ๒ ภพ
คือ (๑) ภพเทวดา (๒) ภพมนุษย์
คติอื่นข้าพเจ้าไม่รู้จักเลย
นี้เป็นผลแห่งการบูชาพระพุทธเจ้า
[๗๕] ข้าพเจ้าเกิดเฉพาะใน ๒ ตระกูล
คือ (๑) ตระกูลกษัตริย์ (๒) ตระกูลพราหมณ์
ตระกูลต่ำข้าพเจ้าไม่รู้จักเลย
นี้เป็นผลแห่งการบูชาพระพุทธเจ้า
[๗๖] ยานคือช้าง ยานคือม้า วอและคานหาม
ข้าพเจ้าก็ได้รับมาครบถ้วน
นี้เป็นผลแห่งการบูชาพระพุทธเจ้า
[๗๗] หมู่ทาสหญิง ทาสชาย
และเหล่านารีที่ประดับตกแต่งอย่างสวยงาม
ข้าพเจ้าก็ได้รับมาครบถ้วน
นี้เป็นผลแห่งการบูชาพระพุทธเจ้า
[๗๘] ผ้าไหม ผ้ากัมพล ผ้าเปลือกไม้ และผ้าฝ้าย
ข้าพเจ้าก็ได้รับมาครบถ้วน
นี้เป็นผลแห่งการบูชาพระพุทธเจ้า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๓๔๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๖. ยสวรรค] ๖. อุตตรเถราปทาน
[๗๙] ผ้าใหม่ ผลไม้ใหม่ โภชนะมีรสเลิศใหม่ ๆ
ข้าพเจ้าก็ได้รับมาครบถ้วน
นี้เป็นผลแห่งการบูชาพระพุทธเจ้า
[๘๐] (คำเชื้อเชิญเช่นนี้ว่า) เชิญเคี้ยวกินสิ่งนี้
เชิญบริโภคสิ่งนี้ เชิญนอนบนที่นอนนี้
ข้าพเจ้าก็ได้รับมาครบถ้วน
นี้เป็นผลแห่งการบูชาพระพุทธเจ้า
[๘๑] ข้าพเจ้าเป็นผู้ที่เขาบูชาในที่ทุกสถาน
มียศสูงส่ง มีพวกมาก มีบริวารไม่แตกแยกกันทุกเมื่อ
บรรดาพวกญาติ ข้าพเจ้าเป็นผู้ประเสริฐที่สุด
นี้เป็นผลแห่งการบูชาพระพุทธเจ้า
[๘๒] ข้าพเจ้าไม่รู้จักความหนาว ความร้อน
ทั้งไม่มีความเร่าร้อน
อนึ่ง ทุกข์ทางใจก็ไม่มีในหทัยของข้าพเจ้า
[๘๓] ข้าพเจ้าเป็นผู้มีผิวพรรณดุจทองคำ
เวียนว่ายตายเกิดอยู่ในภพน้อยภพใหญ่
ความเป็นผู้ผิวพรรณทรามข้าพเจ้าไม่รู้จักเลย
นี้เป็นผลแห่งการบูชาพระพุทธเจ้า
[๘๔] ข้าพเจ้าถูกกุศลมูลตักเตือนแล้วจุติจากเทวโลก
เกิดในตระกูลมหาศาลที่มั่งคั่งในกรุงสาวัตถี
[๘๕] ข้าพเจ้าได้ละกามคุณ ๕๑ ออกบวชเป็นบรรพชิต
มีอายุได้ ๗ ขวบ ก็ได้บรรลุอรหัตตผล

เชิงอรรถ :
๑ กามคุณ ๕ หมายถึงสิ่งที่น่าปรารถนา น่าใคร่ ๕ อย่าง คือ รูป,เสียง,กลิ่น,รส และโผฏฐัพพะ
(ที.ปา. (แปล) ๑๑/๓๑๕/๓๐๐)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๓๔๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๖. ยสวรรค] ๖. อุตตรเถราปทาน
[๘๖] พระพุทธเจ้าผู้มีพระจักษุ
ทรงทราบคุณวิเศษของข้าพเจ้า
จึงให้ข้าพเจ้าอุปสมบท
ข้าพเจ้ามีอายุน้อยอยู่ก็ได้เป็นปูชนียบุคคล
นี้เป็นผลแห่งการบูชาพระพุทธเจ้า
[๘๗] ทิพยจักษุของข้าพเจ้าบริสุทธิ์ ข้าพเจ้าผู้ฉลาดในสมาธิ
ถึงความสำเร็จอภิญญา
นี้เป็นผลแห่งการบูชาพระพุทธเจ้า
[๘๘] ข้าพเจ้าบรรลุปฏิสัมภิทา ฉลาดในอิทธิบาท๑
ถึงความสำเร็จในธรรมทั้งหลาย
นี้เป็นผลแห่งการบูชาพระพุทธเจ้า
[๘๙] ในกัปที่ ๓๐,๐๐๐ นับจากกัปนี้ไป
ข้าพเจ้าได้บูชาพระพุทธเจ้าไว้
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการบูชาพระพุทธเจ้า
[๙๐] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว
ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๙๑] การที่ข้าพเจ้าได้มาในสำนักของพระพุทธเจ้า
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว

เชิงอรรถ :
๑ อิทธิบาท หมายถึงคุณเครื่องให้ถึงความสำเร็จ มี ๔ อย่าง คือ (๑) ฉันทะ (ความพอใจรักใคร่สิ่งนั้น)
(๒) วิริยะ (ความพยายามทำสิ่งนั้น) (๓) จิตตะ (ความเอาใจฝักใฝ่สิ่งนั้น) (๔) วิมังสา (ความพิจารณา
ใคร่ครวญหาเหตุผลในสิ่งนั้น) (ที.ปา. (แปล) ๑๑/๓๐๖/๒๗๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๓๔๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๖. ยสวรรค] ๗. อปรอุตตรเถราปทาน
[๙๒] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระอุตตรเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
อุตตรเถราปทานที่ ๖ จบ

๗. อปรอุตตรเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระอปรอุตตรเถระ
(พระอปรอุตตรเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๙๓] เมื่อพระสิทธัตถโลกนาถ ผู้ทรงเป็นผู้นำสัตว์โลก
เสด็จดับขันธปรินิพพานแล้ว
ข้าพเจ้าได้นำหมู่ญาติของข้าพเจ้ามาทำการบูชาพระธาตุ
[๙๔] ในกัปที่ ๙๔ นับจากกัปนี้ไป
ข้าพเจ้าได้บูชาพระธาตุไว้
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการบูชาพระธาตุ
[๙๕] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว
ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๙๖] การที่ข้าพเจ้ามาในสำนักของพระพุทธเจ้า
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๓๔๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๖. ยสวรรค] ๘. ภัททชิเถราปทาน
[๙๗] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระอปรอุตตรเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
อปรอุตตรเถราปทานที่ ๗ จบ

๘. ภัททชิเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระภัททชิเถระ
(พระภัททชิเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๙๘] ครั้งนั้น ข้าพเจ้าลงสู่สระโบกขรณี
ที่ช้างนานาชนิดอาศัยอาบกิน(ดื่มกิน)
ถอนเหง้าบัวในสระโบกขรณีนั้นขึ้นมา
เพราะเหตุต้องการจะกิน
[๙๙] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าพระนามว่าปทุมุตตระ
ผู้ทรงผ้ากาสาวะรุ่งเรืองดุจนภาสีทอง
เสด็จเหาะไปในอากาศ
[๑๐๐] ครั้งนั้น พระพุทธองค์ทรงสะบัดผ้าบังสุกุล
ข้าพเจ้าได้ยินเสียงจึงแหงนหน้าขึ้นดู
ได้พบพระพุทธเจ้าผู้ทรงเป็นผู้นำสัตว์โลก
[๑๐๑] ข้าพเจ้ายืนอยู่ ณ ที่นั้นเอง
ได้ทูลอ้อนวอนพระพุทธเจ้าผู้ทรงเป็นผู้นำสัตว์โลกว่า
น้ำผึ้งพร้อมทั้งเหง้าบัว
น้ำนม เนยใสที่มีอยู่ในก้านบัว มีอยู่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๓๕๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๖. ยสวรรค] ๘. ภัททชิเถราปทาน
[๑๐๒] ขอพระพุทธเจ้าผู้มีพระจักษุจงรับเพื่ออนุเคราะห์ข้าพระองค์เถิด
ลำดับนั้น พระศาสดาผู้ประกอบด้วยพระกรุณา
มีพระยศยิ่งใหญ่เสด็จลงจากอากาศ
[๑๐๓] พระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้มีพระจักษุ
ทรงรับภิกษาหารของข้าพเจ้าเพื่อทรงอนุเคราะห์
ครั้นทรงรับภิกษาหารแล้ว
ได้กระทำอนุโมทนาแก่ข้าพเจ้าว่า
[๑๐๔] ท่านผู้มีบุญมาก ขอจงมีความสุขเถิด
คติจงสำเร็จแก่เธอ ด้วยการถวายเหง้าบัวนี้
เธอจงได้รับความสุขอันไพบูลย์เถิด
[๑๐๕] พระชินสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าปทุมุตตระ
ครั้นตรัสพระดำรัสนี้แล้ว
ทรงรับภิกษาหารแล้วเหาะไปทางอากาศ
[๑๐๖] ลำดับนั้น ข้าพเจ้าถือเหง้าบัวกลับมายังอาศรม
ของข้าพเจ้า แขวนเหง้าบัวไว้ที่ต้นไม้
แล้วระลึกถึงทานของตน
[๑๐๗] ครั้งนั้น ลมพายุใหญ่ก็เกิดขึ้น
ได้พัดป่าให้ปั่นป่วน
ครั้งนั้น อากาศบันลือลั่นและฟ้าผ่าลงมา
[๑๐๘] ลำดับนั้น สายฟ้าผ่าลงที่ศีรษะของข้าพเจ้า
ข้าพเจ้าเป็นผู้นั่งตายในที่นั้นเอง
[๑๐๙] ข้าพเจ้าประกอบด้วยบุญกรรม
จึงไปเกิดในสวรรค์ชั้นดุสิต ทิ้งไว้แต่ซากศพ
ข้าพเจ้าอภิรมย์อยู่ในเทวโลก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๓๕๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๖. ยสวรรค] ๘. ภัททชิเถราปทาน
[๑๑๐] เทพอัปสร ๘๖,๐๐๐ นางล้วนประดับตกแต่งอย่างสวยงาม
ปรนนิบัติข้าพเจ้าทั้งเช้าและเย็น
นี้เป็นผลแห่งการถวายเหง้าบัว
[๑๑๑] ครั้งนั้น ข้าพเจ้ากลับมาเกิดยังกำเนิดมนุษย์
เป็นผู้มีความสุข ข้าพเจ้าไม่มีความพร่องในโภคะเลย
นี้เป็นผลแห่งการถวายเหง้าบัว
[๑๑๒] ข้าพเจ้าอันพระพุทธเจ้าผู้เป็นเทพยิ่งกว่าเทพ
ผู้คงที่พระองค์นั้นทรงอนุเคราะห์แล้ว อาสวะทั้งปวงก็สิ้นไป
บัดนี้ ภพใหม่ย่อมไม่มี
[๑๑๓] ในกัปที่ ๑๐๐,๐๐๐ นับจากกัปนี้ไป
ข้าพเจ้าได้ถวายเหง้าบัวไว้ในครั้งนั้น
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการถวายเหง้าบัว
[๑๑๔] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว
ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๑๑๕] การที่ข้าพเจ้ามาในสำนักของพระพุทธเจ้า
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๑๑๖] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระภัททชิเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
ภัททชิเถราปทานที่ ๘ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๓๕๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๖. ยสวรรค] ๙. สิวกเถราปทาน
๙. สิวกเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระสิวกเถระ
(พระสิวกเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๑๑๗] เมื่อพระผู้มีพระภาคพระนามว่าวิปัสสี
ผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ เสด็จเที่ยวบิณฑบาตอยู่
ข้าพเจ้าเห็นบาตรที่ว่างเปล่า
จึงได้ถวายขนมกุมมาสจนเต็มบาตร
[๑๑๘] ในกัปที่ ๙๑ นับจากกัปนี้ไป
ข้าพเจ้าได้ถวายภิกษาไว้ในครั้งนั้น
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการถวายขนมกุมมาส
[๑๑๙] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว
ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๑๒๐] การที่ข้าพเจ้ามาในสำนักของพระพุทธเจ้า
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๑๒๑] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระสิวกเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
สิวกเถราปทานที่ ๙ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๓๕๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๖. ยสวรรค] ๑๐. อุปวานเถราปทาน
๑๐. อุปวานเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระอุปวานเถระ
(พระอุปวานเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๑๒๒] พระชินสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าปทุมุตตระ
ผู้ถึงความสำเร็จแห่งธรรมทั้งปวง
ทรงรุ่งเรืองดังกองไฟเสด็จดับขันธปรินิพพานแล้ว
[๑๒๓] มหาชนมาประชุมกันบูชาพระตถาคต
สร้างจิตกาธานอย่างงดงามแล้ว ยกพระสรีระขึ้นวางไว้
[๑๒๔] ชนเหล่านั้นทั้งหมด พร้อมทั้งเทวดาและมนุษย์
ถวายพระเพลิงพุทธสรีระแล้ว รวบรวมพระธาตุ
พากันสร้างพุทธสถูปไว้ ณ ที่นั้น
[๑๒๕] สถูปชั้นที่ ๑ ทำด้วยทองคำ
ชั้นที่ ๒ ทำด้วยแก้วมณี ชั้นที่ ๓ ทำด้วยเงิน
ชั้นที่ ๔ ทำด้วยแก้วผลึก
[๑๒๖] ที่พระสถูปนั้น ชั้นที่ ๕ ทำด้วยแก้วทับทิม
ชั้นที่ ๖ ทำด้วยแก้วลาย
ชั้นที่สูง ๆ ขึ้นไปจากนี้ทำด้วยแก้วทั้งหมด
[๑๒๗] ร่างร้าน ทำด้วยแก้วมณี
ไพที(แท่นสำหรับวางเครื่องสักการะ) ทำด้วยรัตนะ
องค์พระสถูปทำด้วยทองคำล้วน สูงขึ้นไปหนึ่งโยชน์
[๑๒๘] ครั้งนั้น หมู่เทวดามาประชุมกัน ณ ที่นั้นแล้วร่วมปรึกษากันว่า
ถึงพวกเราก็จักสร้างพระสถูปเพื่อบูชาพระโลกนาถ ผู้คงที่
[๑๒๙] พระบรมสารีริกธาตุไม่แยกกัน คือรวมเป็นกลุ่มเดียวกัน
พวกเราจักสร้างพระสถูปครอบไว้ที่พระพุทธสถูปนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๓๕๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๖. ยสวรรค] ๑๐. อุปวานเถราปทาน
[๑๓๐] หมู่เทพได้ขยายพระสถูปให้สูงขึ้นไปอีกหนึ่งโยชน์
ด้วยรัตนะทั้ง ๗ ประการ
พระสถูปองค์นั้นจึงมีความสูง ๒ โยชน์
ซึ่งส่องสว่างขจัดความมืดได้
[๑๓๑] ครั้งนั้น พวกนาคมาประชุมกัน ณ ที่นั้นแล้ว
ร่วมปรึกษากันว่า มนุษย์และเทวดาเหล่านั้น
ได้พากันสร้างพระพุทธสถูปเสร็จแล้ว
[๑๓๒] พวกเราอย่าได้ประมาทกันเลย
มนุษย์และเทวดาไม่ประมาทกันแล้ว
ถึงพวกเราก็จักสร้างพระสถูป
เพื่อบูชาพระโลกนาถ ผู้คงที่
[๑๓๓] พวกนาคพากันรวบรวมแก้วมรกต แก้วมหานิล
และแก้วมณีโชติรส ช่วยกันประดับพระพุทธสถูป
[๑๓๔] ครั้งนั้น พระสถูปทั้งองค์ สำเร็จด้วยแก้วมณี
จนกระทั่งเป็นพุทธเจดีย์สูง ๓ โยชน์ ส่องแสงสว่างไสว
[๑๓๕] ครั้งนั้น พวกครุฑมาประชุมกันแล้ว
ร่วมปรึกษากันว่า มนุษย์ เทวดา
และนาคเหล่านั้นได้พากันทำพุทธบูชาแล้ว
[๑๓๖] พวกเราอย่ามัวประมาทอยู่เลย
มนุษย์ นาค และเทวดาไม่ประมาทกันแล้ว
ถึงพวกเราก็จักสร้างพระสถูป
เพื่อบูชาพระโลกนาถ ผู้คงที่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๓๕๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๖. ยสวรรค] ๑๐. อุปวานเถราปทาน
[๑๓๗] ครุฑเหล่านั้น ได้สร้างพระสถูป
ครอบพระสถูปแก้วมณีทั้งองค์
แม้พวกเขาก็ได้ขยายพระพุทธเจดีย์ให้กว้างไปอีกหนึ่งโยชน์
[๑๓๘] พระพุทธสถูปสูงขึ้นไปอีก ๔ โยชน์ รุ่งโรจน์
ย่อมส่องสว่างไปทั่วทุกทิศ ดุจดวงอาทิตย์อุทัย
[๑๓๙] ครั้งนั้น พวกกุมภัณฑ์มาประชุมกันแล้ว
ร่วมปรึกษากันว่า มนุษย์ เทวดา
นาค และครุฑก็เป็นเหมือนกันหมด
[๑๔๐] ต่างก็ได้พากันสร้างพระสถูปที่อุดมพวกละองค์
บูชาพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐที่สุด
พวกเราอย่ามัวประมาทกันเลย
มนุษย์และเทวดาไม่ประมาทกันแล้ว
[๑๔๑] ถึงพวกเราก็จักสร้างพระสถูป
เพื่อบูชาพระโลกนาถ ผู้คงที่
จักใช้รัตนะทั้งหลายประดับพระพุทธเจดีย์ให้กว้างออกไป
[๑๔๒] กุมภัณฑ์แม้เหล่านั้น
ได้ขยายพระพุทธเจดีย์ให้กว้างออกไปอีกหนึ่งโยชน์
ครั้งนั้น พระสถูปจึงสูงขึ้นเป็น ๕ โยชน์
ย่อมส่องแสงสว่างไสว
[๑๔๓] ครั้งนั้น พวกยักษ์มาประชุมกัน ณ ที่นั้นแล้ว
ร่วมปรึกษากันว่า มนุษย์ เทวดา
นาค ครุฑ และกุมภัณฑ์
[๑๔๔] ต่างก็ได้พากันสร้างพระสถูป
ที่ประเสริฐสุดพวกละองค์บูชาพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐที่สุด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๓๕๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๖. ยสวรรค] ๑๐. อุปวานเถราปทาน
พวกเราอย่ามัวประมาทกันเลย
มนุษย์และเทวดาไม่ประมาทกันแล้ว
[๑๔๕] ถึงพวกเราก็จักสร้างพระสถูป บูชาพระโลกนาถ ผู้คงที่
นำแก้วผลึกมาประดับพระพุทธเจดีย์ให้กว้างออกไปอีก
[๑๔๖] ยักษ์แม้เหล่านั้น
ได้ขยายพระพุทธเจดีย์ให้กว้างออกไปอีกหนึ่งโยชน์
ครั้งนั้น พระสถูปจึงสูงขึ้นเป็น ๖ โยชน์ ส่องแสงสว่างไสว
[๑๔๗] ครั้งนั้น พวกคนธรรพ์มาประชุมกันแล้ว
ร่วมปรึกษากันว่า มนุษย์ เทวดา
นาค กุมภัณฑ์ และครุฑก็เหมือนกัน
[๑๔๘] พวกเขาทั้งหมดได้พากันสร้างพระพุทธสถูป
ในเรื่องสร้างพระสถูปนี้ พวกเรายังไม่ได้สร้าง
ถึงพวกเราก็จักสร้างพระสถูป บูชาพระโลกนาถ ผู้คงที่
[๑๔๙] ครั้งนั้น คนธรรพ์เหล่านั้น
สร้างไพทีเป็น ๗ แห่งแล้วได้ทำธงและฉัตรไว้
พวกคนธรรพ์ได้ช่วยกันสร้างพระสถูปซึ่งสำเร็จด้วยทองคำล้วน
[๑๕๐] ครั้งนั้น พระสถูปสูงขึ้นเป็น ๗ โยชน์
ส่องแสงสว่างไสว จนไม่รู้กลางวันหรือกลางคืน
เพราะมีแสงสว่างอยู่ตลอดเวลา
[๑๕๑] ดวงจันทร์ ดวงอาทิตย์พร้อมทั้งดวงดาว
ก็ข่มแสงพระสถูปนั้นไม่ได้
ในที่ประมาณ ๑๐๐ โยชน์โดยรอบ แม้ประทีปก็ไม่โชติช่วง
[๑๕๒] โดยกาลนั้น มนุษย์เหล่าใดเหล่าหนึ่งจะบูชาพระสถูป
พวกเขาไม่ขึ้นไปยังพระสถูป
เพียงโยนเครื่องสักการะขึ้นไปบนอากาศ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๓๕๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๖. ยสวรรค] ๑๐. อุปวานเถราปทาน
[๑๕๓] ยักษ์ที่มีนามว่าอภิสัมมตะ
ซึ่งเหล่าเทวดาตั้งไว้(เพื่อรักษาพระสถูป)
คอยรับธงหรือพวงดอกไม้ไปบูชาให้ยิ่งขึ้น
[๑๕๔] ชนเหล่านั้นไม่เห็นยักษ์นั้น
คงเห็นแต่พวงดอกไม้ของยักษ์ลอยไปอยู่
พวกเขาทั้งหมดเห็นแล้วอย่างนี้
เมื่อตายไปจึงไปสู่สุคติ
[๑๕๕] มนุษย์ทั้งหลายที่ไม่พอใจในพระพุทธพจน์
และมนุษย์ทั้งหลายที่เลื่อมใสศาสนา
ผู้มีความต้องการจะเห็นปาฏิหาริย์
จะพากันบูชาพระสถูป
[๑๕๖] ครั้งนั้น ข้าพเจ้าได้เป็นคนรับจ้างอยู่ในกรุงหงสวดี
เห็นประชาชนพากันรื่นเริงบันเทิงใจ
จึงคิดอย่างนี้ในครั้งนั้นว่า
[๑๕๗] หมู่ชนเหล่านี้พากันดีใจไม่เคยอิ่มถึงสักการะ
ซึ่งปรากฏที่เรือนแห่งพระธาตุ
ของพระผู้มีพระภาคพระองค์ใด
พระผู้มีพระภาคผู้ยิ่งใหญ่พระองค์นั้น หาเป็นเช่นนั้นไม่
[๑๕๘] แม้เราก็จักทำสักการบูชาพระโลกนาถ ผู้คงที่
เป็นธรรมทายาทของพระองค์ในอนาคตกาล
[๑๕๙] ข้าพเจ้าจึงใช้ผ้าห่มของข้าพเจ้าที่ช่างย้อมซักไว้อย่างดี
คล้องไว้ที่ปลายไม้ไผ่แล้วจึงยกขึ้นเป็นธงในท้องฟ้า
[๑๖๐] ยักษ์อภิสัมมตะ หยิบธงของข้าพเจ้านำไปในท้องฟ้า
ข้าพเจ้าเห็นแต่ธงสะบัดพลิ้วเพราะสายลม
จึงทำความร่าเริงให้เกิดขึ้นอย่างยิ่ง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๓๕๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๖. ยสวรรค] ๑๐. อุปวานเถราปทาน
[๑๖๑] ข้าพเจ้าทำจิตให้เลื่อมใสในธงนั้นแล้ว
เข้าไปหาพระสมณะ อภิวาทพระภิกษุรูปนั้นแล้ว
จึงถามถึงวิบากในการบูชาด้วยธง
[๑๖๒] พระภิกษุรูปนั้นมีความยินดีมากต่อข้าพเจ้า
จึงกล่าวถ้อยคำที่ทำความปีติให้เกิดแก่ข้าพเจ้าว่า
ท่านจักได้เสวยวิบากแห่งธงนั้นตลอดกาล
[๑๖๓] กองทัพ ๔ เหล่า คือ พลช้าง พลม้า พลรถ
พลเดินเท้า จักแวดล้อมท่านเป็นนิตย์
นี้เป็นผลแห่งการถวายธง
[๑๖๔] เครื่องดนตรี ๖๐,๐๐๐ ชิ้น
กลองที่ประดับตกแต่งอย่างสวยงาม
จักแวดล้อมท่านเป็นนิตย์
นี้เป็นผลแห่งการถวายธง
[๑๖๕] สาวรุ่น ๘๖,๐๐๐ นาง ล้วนประดับตกแต่งสวยงาม
สวมใส่ผ้าอาภรณ์อันงดงาม ห้อยตุ้มหูแก้วมณี
[๑๖๖] มีตากลมโต มีปกติร่าเริง รูปร่างงาม
เอวเล็กเอวบาง จักแวดล้อมท่านเป็นนิตย์
นี้เป็นผลแห่งการถวายธง
[๑๖๗] ท่านจักรื่นรมย์ในเทวโลกตลอด ๓๐,๐๐๐ กัป
จักเกิดเป็นจอมเทพ ครองเทวสมบัติตลอด ๘๐ ชาติ
[๑๖๘] จักเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ๑,๐๐๐ ชาติ
จักเป็นพระเจ้าประเทศราชอันไพบูลย์นับชาติไม่ถ้วน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๓๕๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๖. ยสวรรค] ๑๐. อุปวานเถราปทาน
[๑๖๙] ในกัปที่ ๑๐๐,๐๐๐ (นับจากกัปนี้ไป)
พระศาสดาพระนามว่าโคดม ตามพระโคตร
ทรงสมภพในราชสกุลโอกกากราช จักอุบัติขึ้นในโลก
[๑๗๐] ท่านถูกกุศลมูลตักเตือนแล้วจุติจากเทวโลก
ประกอบด้วยบุญกรรม
จักเกิดเป็นเผ่าพันธุ์ของพราหมณ์
[๑๗๑] ท่านจักละทิ้งสมบัติประมาณ ๘๐ โกฏิ
และทาสกรรมกรจำนวนมากแล้ว
บวชในศาสนาของพระผู้มีพระภาคพระนามว่าโคดม
[๑๗๒] ท่านมีชื่อว่าอุปวานะ
จักให้พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าโคดม
ผู้ประเสริฐแห่งวงศ์ศากยะ ผู้ประเสริฐ ทรงพอพระทัยแล้ว
เป็นสาวกของพระศาสดา
[๑๗๓] กรรมที่ข้าพเจ้าได้ทำไว้ในกัปที่ ๑๐๐,๐๐๐
ได้แสดงผลแก่ข้าพเจ้าแล้วในอัตภาพนี้
ข้าพเจ้าหลุดพ้นดีแล้ว(จากกิเลส)
ดุจความเร็วแห่งลูกศรที่พ้นไปจากแล่ง
ข้าพเจ้าเผากิเลสทั้งหลายได้แล้ว
[๑๗๔] เมื่อข้าพเจ้าเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ
เป็นใหญ่ในทวีปทั้ง ๔ ชนทั้งหลาย
จักโบกธงประจำตลอดที่ ๓ โยชน์โดยรอบทุกเวลา
[๑๗๕] ในกัปที่ ๑๐๐,๐๐๐ นับจากกัปนี้ไป
ข้าพเจ้าได้ทำกรรมไว้ในครั้งนั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๓๖๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๖. ยสวรรค] ๑๑. รัฏฐปาลเถราปทาน
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการถวายธง
[๑๗๖] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว
ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๑๗๗] การที่ข้าพเจ้ามาในสำนักของพระพุทธเจ้า
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๑๗๘] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระอุปวานเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
อุปวานเถราปทานที่ ๑๐ จบ

๑๑. รัฏฐปาลเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระรัฏฐบาลเถระ
(พระรัฏฐบาลเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๑๗๙] ข้าพเจ้าได้ถวายช้างประเสริฐ มีงางอนงาม
สมควรเป็นพาหนะแด่พระผู้มีพระภาค
พระนามว่าปทุมุตตระ
ผู้เจริญที่สุดในโลก ผู้คงที่
[๑๘๐] พญาช้างนั้นงดงามด้วยเศวตฉัตร
พร้อมทั้งเครื่องประดับและควาญช้าง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๓๖๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๖. ยสวรรค] ๑๑. รัฏฐปาลเถราปทาน
ข้าพเจ้าให้ตีราคา ทั้งหมดนั้นแล้ว
ให้สร้างสังฆาราม(ด้วยราคาช้างนั้น)
[๑๘๑] ข้าพเจ้าให้สร้างปราสาท ๕๔,๐๐๐ หลัง
บำเพ็ญทานดุจห้วงน้ำใหญ่
มอบถวายพระพุทธเจ้า ผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่
[๑๘๒] พระสยัมภูพุทธเจ้า ผู้มีความเพียรมาก
เป็นบุคคลผู้เลิศ ได้ทรงอนุโมทนาแล้ว
เมื่อจะให้ชนทั้งหมดรื่นเริง ทรงแสดงอมตบทแล้ว
[๑๘๓] พระพุทธเจ้าพระนามว่าปทุมุตตระ
ประทับนั่งในท่ามกลางภิกษุสงฆ์แล้ว
ทรงพยากรณ์กรรมนั้นแก่ข้าพเจ้า
ได้ตรัสพระคาถาเหล่านี้ว่า
[๑๘๔] บุคคลผู้นี้ให้สร้างปราสาท ๕๔,๐๐๐ หลัง
เราจักกล่าวผลวิบากของเขา
พวกเธอจงฟังเรากล่าวเถิด
[๑๘๕] เรือนยอด ๑๘,๐๐๐ หลัง จักเกิดมี
และเรือนยอดเหล่านั้นสำเร็จด้วยทองคำล้วน
บังเกิดขึ้นในวิมานชั้นสูงสุด
[๑๘๖] ผู้นี้จักเกิดเป็นจอมเทพ
ครองเทวสมบัติตลอด ๕๐ ชาติ
จักเกิดเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ๕๘ ชาติ
[๑๘๗] ในกัปที่ ๑๐๐,๐๐๐ (นับจากกัปนี้ไป)
พระศาสดาพระนามว่าโคดม ตามพระโคตร
ทรงสมภพในราชสกุลโอกกากราช จักอุบัติขึ้นในโลก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๓๖๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๖. ยสวรรค] ๑๑. รัฏฐปาลเถราปทาน
[๑๘๘] เขาถูกกุศลมูลตักเตือนแล้ว จักจุติจากเทวโลก
บังเกิดในตระกูลที่มั่งคั่ง มีโภคะเป็นอันมาก
[๑๘๙] เขาจักมีชื่อว่ารัฏฐบาล
ภายหลังถูกกุศลมูลตักเตือนแล้ว
จักออกบวชเป็นสาวกของพระศาสดา
[๑๙๐] เขามีจิตเด็ดเดี่ยวยินดีเพื่อบำเพ็ญเพียร
สงบระงับ ไม่มีอุปธิ
กำหนดรู้อาสวะทั้งปวงเป็นผู้ไม่มีอาสวะแล้วนิพพาน”
[๑๙๑] ข้าพเจ้าขวนขวายออกบวช ละโภคสมบัติ
ไม่มีความรักในโภคะ ซึ่งเหมือนก้อนเขฬะ
[๑๙๒] ข้าพเจ้ามีความเพียรนำพาธุระไป
อันเป็นเหตุนำธรรมเป็นแดนเกษมจากโยคะมาให้
ข้าพเจ้าทรงร่างกายอันมีในภพสุดท้าย
อยู่ในศาสนาของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
[๑๙๓] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว
ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๑๙๔] การที่ข้าพเจ้าได้มาในสำนักของพระพุทธเจ้า
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๓๖๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๖. ยสวรรค] รวมอปทานที่มีในวรรค
[๑๙๕] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระรัฏฐบาลเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
รัฏฐปาลเถราปทานที่ ๑๑ จบ
ยสวรรคที่ ๕๖ จบบริบูรณ์

รวมอปทานที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. ยสเถราปทาน ๒. นทีกัสสปเถราปทาน
๓. คยากัสสปเถราปทาน ๔. กิมิลเถราปทาน
๕. วัชชีปุตตเถราปทาน ๖. อุตตรเถราปทาน
๗. อปรอุตตรเถราปทาน ๘. ภัททชิเถราปทาน
๙. สิวกเถราปทาน ๑๐. อุปวานเถราปทาน
๑๑. รัฏฐปาลเถราปทาน

ในวรรคนี้ บัณฑิตนับคาถาได้ ๑๙๕ คาถา
เถราปทาน จบ
พุทธาปทาน ปัจเจกพุทธาปทาน
และเถราปทาน จบเพียงเท่านี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๓๖๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๑. สุเมธาวรรค] ๑. สุเมธาเถริยาปทาน
พระสุตตันตปิฎก
ขุททกนิกาย เถรีอปทาน
__________________
ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

๑. สุเมธาวรรค
หมวดว่าด้วยพระเถรีชื่อสุเมธาเป็นต้น
๑. สุเมธาเถริยาปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระสุเมธาเถรี
ลำดับต่อไปนี้ จงสดับอปทานของพระเถรีต่อไป
(พระสุเมธาเถรี เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๑] เมื่อพระผู้มีพระภาคพระนามว่าโกนาคมนะ
ประทับอยู่ที่สังฆาราม
หม่อมฉันเป็นหญิงสหายกัน ๓ คน ได้ถวายวิหารทาน
[๒] หม่อมฉันทั้งหลายเกิดในเทวโลก ๑๐ ครั้ง ๑๐๐ ครั้ง
๑๐๐,๐๐๐ ครั้ง ในมนุษยโลก ไม่จำต้องพูดถึง
[๓] ในเทวโลกหม่อมฉันเป็นผู้มีฤทธิ์มาก
ในมนุษยโลกไม่จำต้องพูดถึง
ได้เป็นนางแก้ว๑ เป็นพระมเหสีของพระเจ้าจักรพรรดิ

เชิงอรรถ :
๑ นางแก้ว ในที่นี้หมายถึงหญิงดีที่มีคุณสมบัติ คือ เว้นโทษ ๖ ประการ มีความงาม ๕ ประการ มีความ
งามกว่ามนุษย์ทั่วไป ฯลฯ (ขุ.เถรี.อ. ๓/๓๖๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๓๖๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๑. สุเมธาวรรค] ๑. สุเมธาเถริยาปทาน
[๔] ชน ๓ คน คือ นางธนัญชานีพราหมณี
พระนางเขมาเถรี และหม่อมฉัน ได้สั่งสมกุศลไว้ในชาตินั้น
เกิดในตระกูลที่เพียบพร้อมทุกอย่าง
[๕] ได้สร้างอารามอย่างสวยงาม
ประดับด้วยเครื่องตกแต่งทุกอย่างเสร็จแล้ว
มอบถวายพระสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข
เป็นผู้เพลิดเพลินแล้ว
[๖] เพราะอำนาจแห่งกรรมนั้น
หม่อมฉันเกิดในที่ไหน ๆ
ในเทวโลกก็ตาม ในมนุษยโลกก็ตาม
ก็ถึงความเป็นผู้เลิศ
[๗] ในกัปนี้เอง พระพุทธเจ้าผู้เป็นเผ่าพันธุ์ของพราหมณ์
มีพระยศยิ่งใหญ่ พระนามว่ากัสสปะ ตามพระโคตร
ประเสริฐกว่าเจ้าลัทธิทั้งหลาย เสด็จอุบัติขึ้นแล้ว
[๘] ครั้งนั้น พระเจ้ากาสีพระนามว่ากิกี
ทรงเป็นใหญ่กว่านรชนในกรุงพาราณสีที่อุดม
ทรงเป็นอุปัฏฐากของพระพุทธเจ้าผู้แสวงหาพระคุณอันยิ่งใหญ่
[๙] ท้าวเธอมีพระราชธิดา ๗ พระองค์
พระราชกัญญาเหล่านั้นดำรงอยู่ในความสุข
ทรงพอพระทัยในการอุปัฏฐากพระพุทธเจ้า
และประพฤติพรหมจรรย์๑
[๑๐] หม่อมฉันเป็นพระสหายของพระราชธิดาเหล่านั้น
เป็นสตรีผู้มั่นคงในศีล ได้ถวายทานโดยเคารพ
ประพฤติวัตรอยู่ในเรือนนั่นเอง

เชิงอรรถ :
๑ พรหมจรรย์ ในที่นี้หมายถึงความประพฤติประเสริฐ มี ๑๐ ประการ คือ (๑) ทาน (๒) เวยยาวัจจะ
(๓) เบญจศีล (๔) อัปปมัญญา (๕) เมถุนวิรัติ (๖) สทารสันโดษ (๗) วิริยะ (๘) อุโปสถังคะ
(๙) อริยมรรค (๑๐) ศาสนา (ที.สี.อ. ๑/๑๙๐/๑๖๐-๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๓๖๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๑. สุเมธาวรรค] ๑. สุเมธาเถริยาปทาน
[๑๑] ด้วยกรรมที่หม่อมฉันได้ทำไว้ดีแล้วนั้น
และด้วยเจตนาที่ตั้งไว้มั่น
หม่อมฉันละกายมนุษย์แล้ว
จึงได้ไปเกิดในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์
[๑๒] หม่อมฉันจุติจากสวรรคชั้นดาวดึงส์นั้นแล้วไปเกิดในสวรรค์ชั้นยามา
จุติจากสวรรค์ชั้นยามานั้นแล้วไปเกิดในสวรรค์ชั้นดุสิต
จุติจากสวรรค์ชั้นดุสิตนั้นแล้วไปเกิดในสวรรค์ชั้นนิมมานรดี
จุติจากสวรรค์ชั้นนิมมานรดีนั้นแล้วไปเกิดในสวรรค์
ชั้นปรนิมมิตวสวัตดี
[๑๓] หม่อมฉันประกอบบุญกรรมไว้
เกิดในภพใด ๆ ในภพนั้น ๆ
ก็ได้เป็นพระมเหสีของพระราชา
[๑๔] หม่อมฉันจุติจากสวรรค์ชั้นปรนิมมิตวสวัตดีนั้นแล้ว
มาเกิดในหมู่มนุษย์ ได้เป็นพระมเหสีของพระเจ้าจักรพรรดิ
และได้เป็นพระมเหสีของพระเจ้าแผ่นดิน
[๑๕] เสวยสมบัติทั้งในเทวโลกและมนุษยโลก
มีความสุขทุกชาติ เวียนว่ายตายเกิดอยู่หลายชาติ
[๑๖] นั้นเป็นเหตุ เป็นแดนเกิด และมูลเหตุ
คือเป็นความสมควรในพระศาสนา
นั่นเป็นสโมธานข้อที่ ๑
ข้อนั้นเป็นความดับของหม่อมฉันผู้ยินดีในธรรม
[๑๗] กิเลสทั้งหลายหม่อมฉันก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงหม่อมฉันก็ถอนได้แล้ว
หม่อมฉันตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๓๖๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๑. สุเมธาวรรค] ๒. เมขลทายิกาเถริยาปทาน
[๑๘] การที่หม่อมฉันมาในสำนักของพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐที่สุด
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ หม่อมฉันได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า หม่อมฉันก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๑๙] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ หม่อมฉันก็ได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า หม่อมฉันก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า พระสุเมธาภิกษุณีได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
สุเมธาเถริยาปทานที่ ๑ จบ

๒. เมขลทายิกาเถริยาปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระเมขลทายิกาเถรี
(พระเมขลทายิกาเถรี เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๒๐] หม่อมฉันได้สร้างพระสถูป
เพื่อพระผู้มีพระภาคพระนามว่าสิทธัตถะ
หม่อมฉันได้ถวายสังวาล๑ เพื่อนวกรรมสถูปของพระศาสดา
[๒๑] และเมื่อมหาสถูปสำเร็จแล้ว หม่อมฉันเลื่อมใสต่อพระมุนี
ผู้ทรงเป็นที่พึ่งของสัตว์โลก
ได้ถวายสังวาลอีกด้วยมือทั้ง ๒ ของตน
[๒๒] ในกัปที่ ๙๔ นับจากกัปนี้ไป
หม่อมฉันได้ถวายสังวาลไว้ในครั้งนั้น
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการสร้างพระสถูป

เชิงอรรถ :
๑ สังวาล หมายถึงสายรัดเอวผู้หญิง, เข็มขัดสตรี (พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๒๕
น. ๘๑๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๓๖๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๑. สุเมธาวรรค] ๓. มัณฑปทายิกาเถริยาปทาน
[๒๓] กิเลสทั้งหลายหม่อมฉันก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงหม่อมฉันก็ถอนได้แล้ว
หม่อมฉันตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๒๔] การที่หม่อมฉันมาในสำนักของพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐที่สุด
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ หม่อมฉันได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า หม่อมฉันก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๒๕] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ หม่อมฉันได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า หม่อมฉันก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า พระเมขลทายิกาภิกษุณีได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
เมขลทายิกาเถริยาปทานที่ ๒ จบ

๓. มัณฑปทายิกาเถริยาปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระมัณฑปทายิกาเถรี
(พระมัณฑปทายิกาเถรี เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๒๖] หม่อมฉันได้ให้นายช่างสร้างมณฑป
ถวายพระพุทธเจ้าพระนามว่าโกนาคมนะ
และได้อุทิศถวายพระสถูปที่ประเสริฐแก่พระพุทธเจ้า
ผู้เป็นเผ่าพันธุ์ของโลกไว้
[๒๗] หม่อมฉันไปยังชนบท นิคม หรือราชธานีใด ๆ
ย่อมได้รับการบูชาในที่นั้น ๆ ทุกแห่ง
นี้เป็นผลแห่งบุญกรรม

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๓๖๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๑. สุเมธาวรรค] ๔. สังกมนทาเถริยาปทาน
[๒๘] กิเลสทั้งหลายหม่อมฉันก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงหม่อมฉันก็ถอนได้แล้ว
หม่อมฉันตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๒๙] การที่หม่อมฉันมาในสำนักของพระพุทธเจ้า
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ หม่อมฉันได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า หม่อมฉันก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๓๐] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ หม่อมฉันก็ได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า หม่อมฉันก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า พระมัณฑปทายิกาภิกษุณีได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
มัณฑปทายิกาเถริยาปทานที่ ๓ จบ

๔. สังกมนทาเถริยาปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระสังกมนทาเถรี
(พระสังกมนทาเถรี เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๓๑] เมื่อพระผู้มีพระภาคพระนามว่าโกณฑัญญะ
ผู้เจริญที่สุดในโลก ผู้คงที่
ทรงช่วยสัตว์ให้ข้ามพ้น เสด็จดำเนินไปตามถนน
[๓๒] กุลบุตรกุลธิดาออกจากเรือนแล้วนอนคว่ำหน้า
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคผู้เจริญที่สุดในโลก ผู้ทรงอนุเคราะห์
ได้เสด็จเหยียบไปบนศีรษะหม่อมฉัน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๓๗๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๑. สุเมธาวรรค] ๕. นฬมาลิกาเถริยาปทาน
[๓๓] พระองค์ทรงเป็นผู้นำสัตว์โลก
ครั้นเสด็จเหยียบแล้ว ได้เสด็จเลยไป
หม่อมฉันได้ไปเกิดในสวรรค์ชั้นดุสิต
ก็เพราะจิตที่เลื่อมใสนั้น
[๓๔] กิเลสทั้งหลายหม่อมฉันก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงหม่อมฉันก็ถอนได้แล้ว
หม่อมฉันตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๓๕] การที่หม่อมฉันมาในสำนักของพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐที่สุด
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ หม่อมฉันได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า หม่อมฉันก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๓๖] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ หม่อมฉันก็ได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า หม่อมฉันก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า พระสังกมนทาภิกษุณีได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
สังกมนทาเถริยาปทานที่ ๔ จบ

๕. นฬมาลิกาเถริยาปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระนฬมาลิกาเถรี
(พระนฬมาลิกาเถรี เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๓๗] ครั้งนั้น หม่อมฉันได้เกิดเป็นนางกินนรี
อาศัยอยู่ที่ฝั่งแม่น้ำจันทภาคา
หม่อมฉันได้เห็นพระสยัมภูพุทธเจ้า
ผู้ปราศจากธุลีคือกิเลส ไม่ทรงพ่ายแพ้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๓๗๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๑. สุเมธาวรรค] ๕. นฬมาลิกาเถริยาปทาน
[๓๘] หม่อมฉันเป็นผู้มีจิตเลื่อมใส มีใจยินดี เกิดโสมนัส
ประนมมือแล้ว ถือพวงมาลัยดอกอ้อมาบูชาพระสยัมภู
[๓๙] ด้วยกรรมที่หม่อมฉันได้ทำไว้ดีแล้วนั้น
และด้วยเจตนาที่ตั้งไว้มั่น
หม่อมฉันละกายกินนรีแล้ว
จึงได้ไปเกิดในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์
[๔๐] หม่อมฉันได้เป็นพระมเหสีของท้าวเทวราช ๓๖ พระองค์
และได้เป็นพระมเหสีของพระเจ้าจักรพรรดิ ๑๐ พระองค์
หม่อมฉันเสวยกุศลกรรมแล้วก็ออกบวชเป็นบรรพชิต
[๔๑] กิเลสทั้งหลายหม่อมฉันก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงหม่อมฉันก็ถอนได้แล้ว
อาสวะทั้งปวงก็สิ้นแล้ว
บัดนี้ ภพใหม่ไม่มีอีก
[๔๒] ในกัปที่ ๙๔ นับจากกัปนี้ไป
หม่อมฉันใช้ดอกไม้บูชาไว้
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการบูชาพระพุทธเจ้า
[๔๓] กิเลสทั้งหลายหม่อมฉันก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงหม่อมฉันก็ถอนได้แล้ว
หม่อมฉันตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๔๔] การที่หม่อมฉันมาในสำนักของพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐที่สุด
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ หม่อมฉันได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า หม่อมฉันก็ได้ทำสำเร็จแล้ว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๓๗๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๑. สุเมธาวรรค] ๖. เอกปิณฑปาตทายิกาเถริยาปทาน
[๔๕] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ หม่อมฉันก็ได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า หม่อมฉันก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า พระนฬมาลิกาภิกษุณีได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
นฬมาลิกาเถริยาปทานที่ ๕ จบ

๖. เอกปิณฑปาตทายิกาเถริยาปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระเอกปิณฑปาตทายิกาเถรี
(พระเอกปิณฑปาตทายิกาเถรี เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึง
กล่าวว่า)
[๔๖] ในกรุงพันธุมดี มีกษัตริย์พระองค์หนึ่ง
พระนามว่าพันธุมา หม่อมฉันเป็นพระมเหสีของท้าวเธอ
ย่อมสนทนากันเป็นบางครั้งบางคราวเท่านั้น
[๔๗] ครั้งนั้น หม่อมฉันนั่งอยู่ในที่สงัด คิดอย่างนี้ว่า
‘กุศลที่จะนำติดตัวไปซึ่งเราทำไว้ไม่มีเลย
[๔๘] เราคงจะต้องตกนรกที่มีความเร่าร้อนมาก
ทั้งเผ็ดร้อนร้ายกาจแสนจะทารุณโดยแน่นอน
เราไม่มีความสงสัยในข้อนี้เลย’
[๔๙] หม่อมฉันจึงไปเข้าเฝ้าพระราชาแล้วกราบทูลดังนี้ว่า
‘ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นกษัตริย์
ขอพระองค์ทรงพระราชทานสมณะ
แก่หม่อมฉันสักองค์หนึ่งเถิด
หม่อมฉันจักนิมนต์ท่านให้ฉัน’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๓๗๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๑. สุเมธาวรรค] ๖. เอกปิณฑปาตทายิกาเถริยาปทาน
[๕๐] พระมหาราชาได้พระราชทานสมณะ
ผู้มีอินทรีย์อันอบรมแล้ว๑แก่หม่อมฉัน
หม่อมฉันรับบาตรของท่านมาแล้ว
นิมนต์ให้ฉันจนอิ่มหนำด้วยอาหารอย่างดีเยี่ยม
[๕๑] หม่อมฉันได้ปรุงอาหารอย่างดีเยี่ยม
และเครื่องลูบไล้ที่มีกลิ่นหอม
ปิดด้วยตาข่าย คลุมด้วยผ้าสีเหลือง
[๕๒] หม่อมฉันระลึกถึงวัตถุทานของหม่อมฉันนี้เป็นอารมณ์จนตลอดชีวิต
ทำจิตให้เลื่อมใสในกุศลกรรมนั้นแล้ว
จึงได้ไปเกิดในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์
[๕๓] หม่อมฉันได้เป็นพระมเหสีของท้าวเทวราช ๓๐ พระองค์
สิ่งที่ใจของหม่อมฉันปรารถนาก็บังเกิดตามความปรารถนา
[๕๔] หม่อมฉันได้เป็นพระมเหสี
ของพระเจ้าจักรพรรดิ ๒๐ พระองค์
เป็นหญิงผู้มีกุศลอันสั่งสมไว้แล้ว
เวียนว่ายตายเกิดอยู่ในภพน้อยภพใหญ่๒
[๕๕] หม่อมฉันเป็นผู้พ้นจากเครื่องผูกพันทุกอย่างแล้ว
หม่อมฉันปราศจากตัณหาที่จะให้เกิดอีก
อาสวะทั้งปวงก็สิ้นไปแล้ว
บัดนี้ ภพใหม่ไม่มีอีก

เชิงอรรถ :
๑ อินทรีย์อันอบรมแล้ว ในที่นี้หมายถึงอินทรีย์ ๕ คือ ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา อันอบรมแล้วด้วย
อริยมรรคภาวนา (ขุ.เถรี.อ. ๑๘๒-๑๘๘/๒๑๐)
๒ ภพน้อยภพใหญ่ ในที่นี้หมายถึงความเจริญและความเสื่อม หรือสมบัติและวิบัติ ความยั่งยืนและ
ความขาดสูญ บุญและบาป (ขุ.จริยา.อ. ๒/๒๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๓๗๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๑. สุเมธาวรรค] ๗. กฏัจฉุภิกขทายิกาเถริยาปทาน
[๕๖] ในกัปที่ ๙๑ นับจากกัปนี้ไป
หม่อมฉันได้ถวายทานไว้ในครั้งนั้น
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการถวายบิณฑบาต
[๕๗] กิเลสทั้งหลายหม่อมฉันก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงหม่อมฉันก็ถอนได้แล้ว
หม่อมฉันตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๕๘] การที่หม่อมฉันมาในสำนักของพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐที่สุด
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ หม่อมฉันได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า หม่อมฉันก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๕๙] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ หม่อมฉันก็ได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า หม่อมฉันก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า พระเอกปิณฑปาตทายิกาภิกษุณีได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการ
ฉะนี้
เอกปิณฑปาตทายิกาเถริยาปทานที่ ๖ จบ

๗. กฏัจฉุภิกขทายิกาเถริยาปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระกฏัจฉุภิกขทายิกาเถรี
(พระกฏัจฉุภิกขทายิกาเถรี เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๖๐] หม่อมฉันได้ตักภิกษาหารทัพพีหนึ่งถวายพระพุทธเจ้า
ผู้ประเสริฐที่สุดพระนามว่าติสสะ ผู้พระศาสดา
ซึ่งกำลังเสด็จบิณฑบาตอยู่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๓๗๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๑. สุเมธาวรรค] ๗. กฏัจฉุภิกขทายิกาเถริยาปทาน
[๖๑] พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าติสสะ ผู้พระศาสดา
ทรงเป็นผู้นำชั้นเลิศของโลก ทรงรับแล้ว
ได้ประทับยืนที่ถนนทรงทำอนุโมทนาแก่หม่อมฉันว่า
[๖๒] ‘เธอถวายภิกษาหารทัพพีหนึ่งนี้แล้ว
จักได้ไปเกิดในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์
จักเป็นพระมเหสีของท้าวเทวราช ๓๖ พระองค์
[๖๓] จักเป็นพระมเหสีของพระเจ้าจักรพรรดิ ๕๐ พระองค์
และจักได้สิ่งตามที่ใจปรารถนาทุกอย่างในกาลทั้งปวง
[๖๔] เธอเสวยสมบัติแล้ว จักเป็นผู้ไม่มีความห่วงใยบวช
จักกำหนดรู้อาสวะทั้งปวงเป็นผู้ไม่มีอาสวะแล้วนิพพาน’
[๖๕] ครั้นตรัสอย่างนี้แล้วพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าติสสะ
ทรงเป็นผู้นำชั้นเลิศของโลก เป็นนักปราชญ์
ได้เสด็จเหาะขึ้นสู่ท้องฟ้า เหมือนพญาหงส์ไปในอากาศ
[๖๖] ทานหม่อมฉันถวายไว้ดีแล้ว
ยัญสมบัติหม่อมฉันก็ได้บูชาดีแล้ว
หม่อมฉันได้บรรลุบทที่ไม่หวั่นไหว
ก็เพราะการถวายภิกษาหารทัพพีหนึ่ง
[๖๗] ในกัปที่ ๙๒ นับจากกัปนี้ไป
หม่อมฉันได้ถวายทานไว้ในครั้งนั้น
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการถวายภิกษาหาร
[๖๘] กิเลสทั้งหลายหม่อมฉันก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงหม่อมฉันก็ถอนได้แล้ว
หม่อมฉันตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๓๗๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๑. สุเมธาวรรค] ๘. สัตตอุปปลมาลิกาเถริยาปทาน
[๖๙] การที่หม่อมฉันมาในสำนักของพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐที่สุด
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ หม่อมฉันได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า หม่อมฉันก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๗๐] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ หม่อมฉันก็ได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า หม่อมฉันก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า พระกฏัจฉุภิกขทายิกาภิกษุณีได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการ
ฉะนี้
กฏัจฉุภิกขทายิกาเถริยาปทานที่ ๗ จบ

๘. สัตตอุปปลมาลิกาเถริยาปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระสัตตอุปปลมาลิกาเถรี
(พระสัตตอุปปลมาลิกาเถรี เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๗๑] ในกรุงอรุณวดี มีกษัตริย์พระองค์หนึ่งพระนามว่าอรุณ
หม่อมฉันเป็นพระมเหสีของท้าวเธอ หม่อมฉันไม่ได้ร้อยพวงมาลัย
[๗๒] ได้หยิบดอกอุบลมีกลิ่นหอมเหมือนดอกไม้ทิพย์มา ๗ ดอก
แล้วนั่งในปราสาทที่ประเสริฐ คิดอย่างนี้ในขณะนั้นว่า
[๗๓] ‘ประโยชน์อะไรสำหรับเราด้วยพวงมาลัยเหล่านี้
ซึ่งเรานำมาประดับศีรษะของตนเอง
เราควรนำไปบูชาพระญาณของพระพุทธเจ้า
ผู้ประเสริฐที่สุด จะประเสริฐกว่า’
[๗๔] เราเมื่อจะบูชาพระสัมมาสัมพุทธเจ้า นั่งแล้วที่ใกล้ประตู
จักบูชาพระมหามุนีสัมมาสัมพุทธเจ้า ในเวลาที่พระองค์เสด็จมา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๓๗๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๑. สุเมธาวรรค] ๘. สัตตอุปปลมาลิกาเถริยาปทาน
[๗๕] พระชินเจ้าผู้งดงามดังต้นรกฟ้าขาว
เหมือนพญาไกรสรราชสีห์
พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ เสด็จมาตามถนน
[๗๖] หม่อมฉันเห็นพระพุทธรังสีแล้ว ก็ร่าเริงตื่นเต้น
ยังไม่ทันถึงประตู ก็ได้บูชาพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐที่สุด
[๗๗] ทำดอกอุบล ๗ ดอกเหล่านั้น
ให้แผ่ขยายเป็นหลังคากั้นอยู่ในท้องฟ้า
เหนือพระเศียรของพระพุทธเจ้า
[๗๘] หม่อมฉันมีจิตเบิกบาน๑ มีใจยินดี
เกิดโสมนัส๒ ประนมมือ ทำจิตให้เลื่อมใสในบูชานั้น
จึงได้ไปเกิดในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์
[๗๙] เหนือศีรษะของหม่อมฉัน เขากั้นเครื่องมุงบังดอกไม้
สีเขียวขนาดใหญ่กลิ่นทิพย์หอมฟุ้งไป
นี้เป็นผลแห่งดอกอุบล ๗ ดอก
[๘๐] บางครั้ง เมื่อหม่อมฉันถูกหมู่ญาตินำออกไป
ครั้งนั้น เขากั้นเครื่องมุงบังดอกไม้สีเขียว
ให้บริวารของหม่อมฉันเท่าที่มีอยู่
[๘๑] หม่อมฉันได้เป็นพระมเหสีของท้าวเทวราช ๗๐ พระองค์
เป็นใหญ่ในทุกภพ เวียนว่ายตายเกิดอยู่ในภพน้อยภพใหญ่
[๘๒] ได้เป็นพระมเหสีของพระเจ้าจักรพรรดิ ๖๓ พระองค์
ชนทั้งหลายอนุวัตตามหม่อมฉันทั้งหมด หม่อมฉันมีวาจาน่าเชื่อถือ

เชิงอรรถ :
๑ มีจิตเบิกบาน หมายถึงมีจิตปราศจากกิเลสมีความโกรธและความถือตัวเป็นต้น มีจิตโสมนัส มีใจสงบ
(ขุ.อป.อ. ๑/๑๓๔/๒๔๕)
๒ เทียบได้กับคำว่า เวทชาโต แก้เป็น อุปฺปนฺนโสมนสฺโส (ขุ.อป.อ. ๒/๑๓๒/๓๖)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๓๗๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๑. สุเมธาวรรค] ๘. สัตตอุปปลมาลิกาเถริยาปทาน
[๘๓] ผิวพรรณของหม่อมฉันเหมือนสีดอกอุบล
และกลิ่นกายของหม่อมฉันก็หอมฟุ้งไปคล้ายกลิ่นหอมของดอกอุบล
หม่อมฉันไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการบูชาพระพุทธเจ้า
[๘๔] หม่อมฉันเป็นผู้ฉลาดในอิทธิบาท
ยินดีในการเจริญโพชฌงค์ ถึงความสำเร็จอภิญญา
นี้เป็นผลแห่งการบูชาพระพุทธเจ้า
[๘๕] หม่อมฉันเป็นผู้ฉลาดในสติปัฏฐาน
มีสมาธิฌานเป็นโคจร ขวนขวายในสัมมัปปธาน
นี้เป็นผลแห่งการบูชาพระพุทธเจ้า
[๘๖] หม่อมฉันมีความเพียรนำพาธุระไป
อันเป็นเหตุนำธรรมเป็นแดนเกษมจากโยคะมาให้
อาสวะทั้งปวงก็สิ้นไปแล้ว
บัดนี้ ภพใหม่ไม่มีอีก
[๘๗] ในกัปที่ ๓๑ นับจากกัปนี้ไป
หม่อมฉันได้ใช้ดอกไม้บูชาไว้ในครั้งนั้น
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการบูชาพระพุทธเจ้า
[๘๘] กิเลสทั้งหลายหม่อมฉันก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงหม่อมฉันก็ถอนได้แล้ว
หม่อมฉันตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๘๙] การที่หม่อมฉันมาในสำนักของพระพุทธเจ้า
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ หม่อมฉันได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า หม่อมฉันก็ได้ทำสำเร็จแล้ว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๓๗๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๑. สุเมธาวรรค] ๙. ปัญจทีปิกาเถริยาปทาน
[๙๐] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ หม่อมฉันก็ได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า หม่อมฉันก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า พระสัตตอุปปลมาลิกาภิกษุณีได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการ
ฉะนี้
สัตตอุปปลมาลิกาเถริยาปทานที่ ๘ จบ

๙. ปัญจทีปิกาเถริยาปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระปัญจทีปิกาเถรี
(พระปัญจทีปิกาเถรี เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๙๑] ครั้งนั้น หม่อมฉันเป็นผู้ประพฤติธรรมอยู่ในกรุงหงสวดี
มีความต้องการกุศล จึงท่องเที่ยวไปตามวัดวาอาราม
[๙๒] ได้เห็นต้นโพธิ์ที่ประเสริฐ ในกาฬปักข์(ข้างแรม)
จึงทำจิตให้เลื่อมใสในต้นโพธิ์นั้นแล้วนั่งที่โคนต้นโพธิ์
[๙๓] หม่อมฉันตั้งจิตคารวะประนมมือเหนือศีรษะ
ประกาศถึงความโสมนัสแล้วคิดอย่างนี้ในขณะนั้นว่า
[๙๔] ‘ถ้าพระพุทธเจ้าทรงมีพระคุณหาประมาณมิได้
ไม่มีบุคคลเปรียบเสมอเหมือน
โปรดแสดงปาฏิหาริย์แก่เราเถิด
คือขอให้ต้นโพธิ์นี้จงเปล่งรัศมีเถิด’
[๙๕] ทันใดนั้นเอง พร้อมกับที่หม่อมฉันรำพึง
ต้นโพธิ์มีรัศมีดั่งทองคำล้วน โชติช่วงสว่างไสวไปทั่วทุกทิศ
[๙๖] หม่อมฉันนั่งอยู่ที่โคนต้นโพธิ์นั้นตลอด ๗ คืน ๗ วัน
เมื่อถึงวันที่ ๗ หม่อมฉันได้ทำการบูชาด้วยประทีป

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๓๘๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๑. สุเมธาวรรค] ๙. ปัญจทีปิกาเถริยาปทาน
[๙๗] ประทีป ๕ ดวง โชติช่วงล้อมรอบอาสนะ
ครั้งนั้น ประทีปของหม่อมฉันโชติช่วงอยู่จนอาทิตย์อุทัย
[๙๘] ด้วยกรรมที่หม่อมฉันได้ทำไว้ดีแล้วนั้น
และด้วยเจตนาที่ตั้งไว้มั่น
หม่อมฉันละกายมนุษย์แล้ว
จึงได้ไปเกิดในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์
[๙๙] วิมานที่บุญกรรมสร้างขึ้นอย่างสวยงามเพื่อหม่อมฉัน
ในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์นั้น เรียกว่าปัญจทีปวิมาน
สูง ๑๐๐ โยชน์ กว้าง ๖๐ โยชน์
[๑๐๐] ประทีปนับไม่ถ้วนส่องสว่างล้อมรอบหม่อมฉันอยู่
ทั่วทั้งเทววิมานโชติช่วงด้วยแสงประทีป
[๑๐๑] หม่อมฉันนั่งหันหน้าไปทางทิศบูรพา
ถ้าปรารถนาจะดู ก็จะเห็นได้ทุกอย่างด้วยจักษุ
ทั้งในเบื้องบน เบื้องล่าง และเบื้องขวาง
[๑๐๒] หม่อมฉันปรารถนาจะเห็นกรรมดีและกรรมชั่ว
ที่คนทำแล้วในที่มีประมาณเท่าใด ที่มีประมาณเท่านั้น
ย่อมไม่มีต้นไม้หรือภูเขามากางกั้นได้
[๑๐๓] หม่อมฉันได้เป็นพระมเหสีของท้าวเทวราช ๘๐ พระองค์
และได้เป็นพระมเหสีของพระเจ้าจักรพรรดิ ๑๐๐ พระองค์
[๑๐๔] หม่อมฉันเกิดในกำเนิดใด ๆ
คือจะเกิดเป็นเทวดาหรือมนุษย์ก็ตาม
ในกำเนิดนั้น ๆ ประทีปนับแสนดวงส่องแสงล้อมรอบหม่อมฉัน
[๑๐๕] หม่อมฉันจุติจากเทวโลกแล้ว เกิดในครรภ์มารดา
เมื่อหม่อมฉันอยู่ในครรภ์มารดา นัยน์ตาของหม่อมฉันมิได้หลับ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๓๘๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๑. สุเมธาวรรค] ๙. ปัญจทีปิกาเถริยาปทาน
[๑๐๖] ประทีปนับแสนดวงส่องสว่างอยู่ที่เรือนคลอดของหม่อมฉัน
ผู้เพียบพร้อมด้วยบุญกรรม
นี้เป็นผลแห่งประทีป ๕ ดวง
[๑๐๗] เมื่อถึงภพสุดท้าย หม่อมฉันกลับใจให้วิเศษ
จึงเห็นพระนิพพานอันเป็นสภาวะเยือกเย็น
ไม่มีชราและมรณะ
[๑๐๘] พอหม่อมฉันอายุได้ ๗ ขวบก็ได้บรรลุอรหัตตผล
พระพุทธเจ้าพระนามว่าโคดม
ทรงทราบถึงคุณธรรมของหม่อมฉัน
แล้วจึงประทานอุปสมบทให้
[๑๐๙] ประทีป ๕ ดวง ลุกโพลงส่องสว่างให้หม่อมฉัน
มณฑป โคนไม้ ปราสาท ถ้ำ หรือที่เรือนว่าง
[๑๑๐] ทิพยจักษุของหม่อมฉันบริสุทธิ์
หม่อมฉันฉลาดในสมาธิ ถึงความสำเร็จอภิญญา
นี้เป็นผลแห่งประทีป ๕ ดวง
[๑๑๑] หม่อมฉันเป็นผู้อยู่จบพรหมจรรย์ทั้งปวง
ทำกิจเสร็จแล้ว ไม่มีอาสวะ
ข้าแต่พระมหาวีระ ผู้มีพระจักษุ
หม่อมฉันชื่อว่าปัญจทีปา ขอกราบพระยุคลบาทของพระองค์
[๑๑๒] ในกัปที่ ๑๐๐,๐๐๐ นับจากกัปนี้ไป
หม่อมฉันได้ถวายประทีปไว้ในครั้งนั้น
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งประทีป ๕ ดวง
[๑๑๓] กิเลสทั้งหลายหม่อมฉันก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงหม่อมฉันก็ถอนได้แล้ว
หม่อมฉันตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๓๘๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๑. สุเมธาวรรค] ๑๐. อุทกทายิกาเถริยาปทาน
[๑๑๔] การที่หม่อมฉันมาในสำนักของพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐที่สุด
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ หม่อมฉันได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า หม่อมฉันก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๑๑๕] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ หม่อมฉันก็ได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า หม่อมฉันก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า พระปัญจทีปิกาภิกษุณีได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
ปัญจทีปิกาเถริยาปทานที่ ๙ จบ

๑๐. อุทกทายิกาเถริยาปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระอุทกทายิกาเถรี
(พระอุทกทายิกาเถรี เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๑๑๖] หม่อมฉันเป็นหญิงหาบน้ำขายอยู่ในกรุงพันธุมดี
เลี้ยงชีพอยู่ด้วยการหาบน้ำขาย
เลี้ยงดูเด็ก ๆ ด้วยการงานนั้น
[๑๑๗] หม่อมฉันไม่มีไทยธรรม หม่อมฉันเข้าไปยังซุ้มน้ำแล้ว
ตั้งน้ำถวายไว้ในหมู่สงฆ์ผู้เป็นบุญเขตที่ยอดเยี่ยม
[๑๑๘] ด้วยกรรมที่หม่อมฉันได้ทำไว้ดีแล้วนั้น
จึงได้ไปเกิดในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์
ในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์นั้น วิมานอันบุญกรรมเนรมิต
สร้างขึ้นอย่างสวยงามเพื่อหม่อมฉันเพราะการหาบน้ำถวาย
[๑๑๙] ครั้งนั้น หม่อมฉันเป็นผู้ประเสริฐกว่านางอัปสรตั้ง ๑,๐๐๐
หม่อมฉันปกครองนางอัปสรเหล่านั้นทั้งหมดด้วยฐานะ ๑๐ ประการ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๓๘๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๑. สุเมธาวรรค] ๑๐. อุทกทายิกาเถริยาปทาน
[๑๒๐] หม่อมฉันได้เป็นพระมเหสีของท้าวเทวราช ๕๐ พระองค์
และได้เป็นพระมเหสีของพระเจ้าจักรพรรดิ ๒๐ พระองค์
[๑๒๑] หม่อมฉันเวียนว่ายตายเกิดอยู่ใน ๒ ภพ
คือ (๑) ภพเทวดา (๒) ภพมนุษย์
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการถวายน้ำ
[๑๒๒] บนยอดภูเขา ยอดไม้ ในอากาศหรือที่พื้นดินก็ตาม
ในเวลาที่ต้องการน้ำหม่อมฉันย่อมได้เร็วพลัน
[๑๒๓] ทิศที่ไม่มีฝนตก เพราะแดดร้อนจัดหม่อมฉันจึงกระหายน้ำ
มหาเมฆดังจะรู้ความดำริของหม่อมฉันย่อมให้ฝนตก
[๑๒๔] บางครั้ง เมื่อหม่อมฉันถูกหมู่ญาตินำออกไป
ครั้งนั้น มหาเมฆก็บันดาลให้ฝนตกในเวลาที่หม่อมฉันปรารถนา
[๑๒๕] ในสรีระของหม่อมฉัน ไม่มีความร้อนหรือความเร่าร้อนเลย
และที่กายของหม่อมฉันก็ไม่มีละอองธุลีเลย
นี้เป็นผลแห่งการถวายน้ำสรง
[๑๒๖] วันนี้ หม่อมฉันมีใจบริสุทธิ์ ปราศจากจิตที่หยาบช้า
อาสวะทั้งปวงก็สิ้นไปแล้ว
บัดนี้ ภพใหม่ไม่มีอีก
[๑๒๗] ในกัปที่ ๙๑ นับจากกัปนี้ไป
หม่อมฉันได้ทำกรรมไว้ในครั้งนั้น
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการถวายน้ำสรง
[๑๒๘] กิเลสทั้งหลายหม่อมฉันก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงหม่อมฉันก็ถอนได้แล้ว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๓๘๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๑. สุเมธาวรรค] รวมอปทานที่มีในวรรค
หม่อมฉันตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๑๒๙] การที่หม่อมฉันมาในสำนักของพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐที่สุด
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ หม่อมฉันได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า หม่อมฉันก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๑๓๐] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ หม่อมฉันก็ได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า หม่อมฉันก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า พระอุทกทายิกาภิกษุณีได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
อุทกทายิกาเถริยาปทานที่ ๑๐ จบ
สุเมธาวรรคที่ ๑ จบบริบูรณ์

รวมอปทานที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. สุเมธาเถริยาปทาน ๒. เมขลทายิกาเถริยาปทาน
๓. มัณฑปทายิกาเถริยาปทาน ๔. สังกมนทาเถริยาปทาน
๕. นฬมาลิกาเถริยาปทาน ๖. เอกปิณฑปาตทายิกาเถริยาปทาน
๗. กฏัจฉุภิกขทายิกาเถริยาปทาน ๘. สัตตอุปปลมาลิกาเถริยาปทาน
๙. ปัญจทีปิกาเถริยาปทาน ๑๐. อุทกทายิกาเถริยาปทาน

ในวรรคนี้ บัณฑิตนับจำนวนคาถาได้ ๑๓๐ คาถา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๓๘๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๒. เอกูโปสถิกวรรค] ๑. เอกูโปสถิกาเถริยาปทาน
๒. เอกูโปสถิกวรรค
หมวดว่าด้วยผู้รักษาอุโบสถอย่างเดียว
๑. เอกูโปสถิกาเถริยาปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระเอกูโปสถิกาเถรี
(พระเอกูโปสถิกาเถรี เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๑] ในกรุงพันธุมดี มีกษัตริย์พระองค์หนึ่งพระนามว่าพันธุมา
ในวันเพ็ญ ท้าวเธอทรงอยู่จำอุโบสถ
[๒] สมัยนั้น หม่อมฉันได้เป็นนางกุมภทาสีอยู่ในกรุงพันธุมดีนั้น
เห็นเสนาพร้อมทั้งพระราชา จึงคิดอย่างนี้ในครั้งนั้นว่า
[๓] ‘แม้พระราชาก็ยังทรงละราชกิจมาอยู่จำอุโบสถ
กรรมนั้นต้องมีผลแน่นอน หมู่ชนจึงพากันเบิกบานใจ’
[๔] หม่อมฉันพิจารณาทุคติและความเป็นคนยากจนได้
โดยอุบายที่แยบคาย ทำจิตใจให้ร่าเริงแล้วอยู่จำอุโบสถ
[๕] หม่อมฉันรักษาอุโบสถในศาสนาของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ด้วยกรรมที่หม่อมฉันได้ทำไว้ดีแล้วนั้น
หม่อมฉันจึงได้ไปเกิดในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์
[๖] วิมานที่บุญกรรมสร้างให้หม่อมฉันอย่างสวยงาม
ในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์นั้น
สูงขึ้นไป ๑ โยชน์ ประกอบด้วยเรือนยอดอันประเสริฐ
มีที่นั่งมีค่ามากประดับอย่างสวยงาม
[๗] เทพอัปสร ๑๐๐,๐๐๐ นาง ต่างก็อยู่ใกล้หม่อมฉันทุกเมื่อ
หม่อมฉันรุ่งเรืองเหนือกว่าเทพอัปสรเหล่าอื่น ในกาลทั้งปวง
[๘] หม่อมฉันได้เป็นพระมเหสีของท้าวเทวราช ๖๔ พระองค์
และได้เป็นพระมเหสีของพระเจ้าจักรพรรดิ ๖๓ พระองค์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๓๘๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๒. เอกูโปสถิกวรรค] ๑. เอกูโปสถิกาเถริยาปทาน
[๙] หม่อมฉันมีผิวพรรณงามดังทองคำ
เวียนว่ายตายเกิดอยู่ในภพทั้งหลาย
ได้เป็นผู้ประเสริฐในทุกภพ
นี้เป็นผลแห่งการรักษาอุโบสถ
[๑๐] ยานคือช้าง ยานคือม้า และยานคือรถ
หม่อมฉันก็ได้รับมาครบถ้วน
นี้เป็นผลแห่งการรักษาอุโบสถ
[๑๑] ภาชนะทอง ภาชนะเงิน ภาชนะแก้วผลึก
และภาชนะแก้วทับทิม หม่อมฉันก็ได้รับมาครบถ้วน
[๑๒] ผ้าไหม ผ้ากัมพล ผ้าเปลือกไม้ ผ้าฝ้าย
และผ้าที่มีราคาแพง ๆ หม่อมฉันก็ได้รับมาครบถ้วน
[๑๓] ข้าว น้ำ ของเคี้ยว ผ้า และเสนาสนะ
หม่อมฉันก็ได้รับมาครบถ้วน
นี้เป็นผลแห่งการรักษาอุโบสถ
[๑๔] เครื่องหอมชนิดดี ดอกไม้ และจุรณสำหรับลูบไล้
หม่อมฉันก็ได้รับมาครบถ้วน
นี้เป็นผลแห่งการรักษาอุโบสถ
[๑๕] เรือนยอด ปราสาท มณฑป เรือนโล้น และถ้ำ
หม่อมฉันก็ได้รับมาครบถ้วน
นี้เป็นผลแห่งการรักษาอุโบสถ
[๑๖] หม่อมฉันอายุ ๗ ขวบก็ได้บวชเป็นบรรพชิต
ยังไม่ถึงกึ่งเดือนก็ได้บรรลุอรหัตตผล
[๑๗] กิเลสทั้งหลายหม่อมฉันก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงหม่อมฉันก็ถอนได้แล้ว
อาสวะทั้งปวงก็สิ้นไปแล้ว
บัดนี้ ภพใหม่ไม่มีอีก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๓๘๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๒. เอกูโปสถิกวรรค] ๒. สลฬปุปผิกาเถริยาปทาน
[๑๘] ในกัปที่ ๙๑ นับจากกัปนี้ไป
หม่อมฉันได้ทำกรรมไว้ในครั้งนั้น
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการรักษาอุโบสถ
[๑๙] กิเลสทั้งหลายหม่อมฉันก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงหม่อมฉันก็ถอนได้แล้ว
หม่อมฉันตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๒๐] การที่หม่อมฉันมาในสำนักของพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐที่สุด
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ หม่อมฉันได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า หม่อมฉันก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๒๑] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ หม่อมฉันก็ได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า หม่อมฉันก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า พระเอกูโปสถิกาภิกษุณีได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
เอกูโปสถิกาเถริยาปทานที่ ๑ จบ

๒. สลฬปุปผิกาเถริยาปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระสลฬปุปผิกาเถรี
(พระสลฬปุปผิกาเถรี เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๒๒] ครั้งนั้น หม่อมฉันได้เกิดเป็นนางกินนรี
อาศัยอยู่ที่ฝั่งแม่น้ำจันทภาคา
หม่อมฉันได้เห็นพระพุทธเจ้าผู้ทรงองอาจกว่านรชน
ผู้เป็นเทพยิ่งกว่าเทพ เสด็จจงกรมอยู่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๓๘๘ }


>>>>> หน้าต่อไป >>>>>





eXTReMe Tracker