ค้นว่าอยู่เล่มใด แล้วกด [ctrl]+f หรือใช้คำสั่งของเครื่องหาตำแหน่งในเล่มอีกทีนะครับ



จัดรูปหน้าใหม่
เพื่อความสะดวก และสวยงาม
(เฉพาะหน้าจอใหญ่ เช่น คอมพิวเตอร์)
กรุณาคลิก จัดรูปหน้าใหม่
เพื่อให้กรอบ
ค้นข้อความ ปรากฎที่ด้านซ้ายของหน้า

พระไตรปิฎกภาษาไทย
ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ๔๕ เล่ม (ปกสีฟ้า)
ทั้งออนไลน์และออฟไลน์
ที่มาของข้อมูล : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับ มจร.
MCUTRAI Version 1.0

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๑-๓ สุตตันตปิฎกที่ ๒๓ ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค

พระสุตตันตปิฎก
ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค
____________
ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๔. อินทริยกถา ๒. ทุติยสุตตันตนิทเทส
๓. สลัดออกจากเหล่ากิเลสที่เป็นไปตามอวิชชาและจากขันธ์
๔. สลัดออกจากสรรพนิมิตภายนอก
๕. สลัดออกจากปัญญินทรีย์ซึ่งมีอยู่ก่อนแต่การได้ปัญญินทรีย์ที่ประณีตกว่านั้น
[๑๙๒] ด้วยอำนาจแห่งปฐมฌาน อินทรีย์ ๕ จึงสลัดออกจากอินทรีย์ ๕
ในส่วนเบื้องต้น
ด้วยอำนาจแห่งทุติยฌาน อินทรีย์ ๕ จึงสลัดออกจากอินทรีย์ ๕ ในปฐมฌาน
ด้วยอำนาจแห่งตติยฌาน อินทรีย์ ๕ จึงสลัดออกจากอินทรีย์ ๕ ในทุติยฌาน
ด้วยอำนาจแห่งจตุตถฌาน อินทรีย์ ๕ จึงสลัดออกจากอินทรีย์ ๕ ในตติยฌาน
ด้วยอำนาจแห่งอากาสานัญจายตนสมาบัติ อินทรีย์ ๕ จึงสลัดออกจาก
อินทรีย์ ๕ ในจตุตถฌาน
ด้วยอำนาจแห่งวิญญาณัญจายตนสมาบัติ อินทรีย์ ๕ จึงสลัดออกจากอินทรีย์
๕ ในอากาสานัญจายตนสมาบัติ
ด้วยอำนาจแห่งอากิญจัญญายตนสมาบัติ อินทรีย์ ๕ จึงสลัดออกจากอินทรีย์
๕ ในวิญญาณัญจายตนสมาบัติ
ด้วยอำนาจแห่งเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ อินทรีย์ ๕ จึงสลัดออกจาก
อินทรีย์ ๕ ในอากิญจัญญายตนสมาบัติ
ด้วยอำนาจแห่งอนิจจานุปัสสนา อินทรีย์ ๕ จึงสลัดออกจากอินทรีย์ ๕
ในเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ (๘)
ด้วยอำนาจแห่งทุกขานุปัสสนา อินทรีย์ ๕ จึงสลัดออกจากอินทรีย์ ๕ ใน
อนิจจานุปัสสนา
ด้วยอำนาจแห่งอนัตตานุปัสสนา อินทรีย์ ๕ จึงสลัดออกจากอินทรีย์ ๕
ในทุกขานุปัสสนา
ด้วยอำนาจแห่งนิพพิทานุปัสสนา อินทรีย์ ๕ จึงสลัดออกจากอินทรีย์ ๕
ในอนัตตานุปัสสนา
ด้วยอำนาจแห่งวิราคานุปัสสนา อินทรีย์ ๕ จึงสลัดออกจากอินทรีย์ ๕
ในนิพพิทานุปัสสนา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๓๐๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๔. อินทริยกถา ๒. ทุติยสุตตันตนิทเทส
ด้วยอำนาจแห่งนิโรธานุปัสสนา อินทรีย์ ๕ จึงสลัดออกจากอินทรีย์ ๕
ในวิราคานุปัสสนา
ด้วยอำนาจแห่งปฏินิสสัคคานุปัสสนา อินทรีย์ ๕ จึงสลัดออกจากอินทรีย์ ๕
ในนิโรธานุปัสสนา
ด้วยอำนาจแห่งขยานุปัสสนา อินทรีย์ ๕ จึงสลัดออกจากอินทรีย์ ๕
ในปฏินิสสัคคานุปัสสนา
ด้วยอำนาจแห่งวยานุปัสสนา อินทรีย์ ๕ จึงสลัดออกจากอินทรีย์ ๕ ใน
ขยานุปัสสนา
ด้วยอำนาจแห่งวิปริณามานุปัสสนา อินทรีย์ ๕ จึงสลัดออกจากอินทรีย์ ๕
ในวยานุปัสสนา
ด้วยอำนาจแห่งอนิมิตตานุปัสสนา อินทรีย์ ๕ จึงสลัดออกจากอินทรีย์ ๕
ในวิปริณามานุปัสสนา
ด้วยอำนาจแห่งอัปปณิหิตานุปัสสนา อินทรีย์ ๕ จึงสลัดออกจากอินทรีย์ ๕
ในอนิมิตตานุปัสสนา
ด้วยอำนาจแห่งสุญญตานุปัสสนา อินทรีย์ ๕ จึงสลัดออกจากอินทรีย์ ๕
ในอัปปณิหิตานุปัสสนา
ด้วยอำนาจแห่งอธิปัญญาธัมมวิปัสสนา อินทรีย์ ๕ จึงสลัดออกจากอินทรีย์ ๕
ในสุญญตานุปัสสนา
ด้วยอำนาจแห่งยถาภูตญาณทัสสนะ อินทรีย์ ๕ จึงสลัดออกจากอินทรีย์ ๕
ในอธิปัญญาธัมมวิปัสสนา
ด้วยอำนาจแห่งอาทีนวานุปัสสนา อินทรีย์ ๕ จึงสลัดออกจากอินทรีย์ ๕
ในยถาภูตญาณทัสสนะ
ด้วยอำนาจแห่งปฏิสังขานุปัสสนา อินทรีย์ ๕ จึงสลัดออกจากอินทรีย์ ๕
ในอาทีนวานุปัสสนา
ด้วยอำนาจแห่งวิวัฏฏนานุปัสสนา อินทรีย์ ๕ จึงสลัดออกจากอินทรีย์ ๕
ในปฏิสังขานุปัสสนา


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๓๐๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๔. อินทริยกถา ๒. ทุติยสุตตันตนิทเทส
ด้วยอำนาจแห่งโสดาปัตติมรรค อินทรีย์ ๕ จึงสลัดออกจากอินทรีย์ ๕
ในวิวัฏฏนานุปัสสนา (๑๘-๒๖)
ด้วยอำนาจแห่งโสดาปัตติผลสมาบัติ อินทรีย์ ๕ จึงสลัดออกจากอินทรีย์ ๕
ในโสดาปัตติมรรค
ด้วยอำนาจแห่งสกทาคามิมรรค อินทรีย์ ๕ จึงสลัดออกจากอินทรีย์ ๕
ในโสดาปัตติผล
ด้วยอำนาจแห่งสกทาคามิผลสมาบัติ อินทรีย์ ๕ จึงสลัดออกจากอินทรีย์ ๕
ในสกทาคามิมรรค
ด้วยอำนาจแห่งอนาคามิมรรค อินทรีย์ ๕ จึงสลัดออกจากอินทรีย์ ๕
ในสกทาคามิผลสมาบัติ
ด้วยอำนาจแห่งอนาคามิผลสมาบัติ อินทรีย์ ๕ จึงสลัดออกจากอินทรีย์ ๕
ในอนาคามิมรรค
ด้วยอำนาจแห่งอรหัตตมรรค อินทรีย์ ๕ จึงสลัดออกจากอินทรีย์ ๕
ในอนาคามิผล
ด้วยอำนาจแห่งอรหัตตผลสมาบัติ อินทรีย์ ๕ จึงสลัดออกจากอินทรีย์ ๕
ในอรหัตตมรรค
อินทรีย์ ๕ ในเนกขัมมะ สลัดออกจากกามฉันทะ
อินทรีย์ ๕ ในอพยาบาท สลัดออกจากพยาบาท
อินทรีย์ ๕ ในอาโลกสัญญา สลัดออกจากถีนมิทธะ
อินทรีย์ ๕ ในอวิกเขปะ สลัดออกจากอุทธัจจะ
อินทรีย์ ๕ ในธัมมววัตถาน สลัดออกจากวิจิกิจฉา
อินทรีย์ ๕ ในญาณ สลัดออกจากอวิชชา
อินทรีย์ ๕ ในปามุชชะ สลัดออกจากอรติ
[๑๙๓] อินทรีย์ ๕ ในปฐมฌาน สลัดออกจากนิวรณ์
อินทรีย์ ๕ ในทุติยฌาน สลัดออกจากวิตกวิจาร
อินทรีย์ ๕ ในตติยฌาน สลัดออกจากปีติ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๓๐๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๔. อินทริยกถา ๒. ทุติยสุตตันตนิทเทส
อินทรีย์ ๕ ในจตุตถฌาน สลัดออกจากสุขและทุกข์
อินทรีย์ ๕ ในอากาสานัญจายตนสมาบัติ สลัดออกจากรูปสัญญา ปฏิฆสัญญา
นานัตตสัญญา
อินทรีย์ ๕ ในวิญญาณัญจายตนสมาบัติ สลัดออกจากอากาสานัญจายตน-
สัญญา
อินทรีย์ ๕ ในอากิญจัญญายตนสมาบัติ สลัดออกจากวิญญาณัญจายตน-
สัญญา
อินทรีย์ ๕ ในเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ สลัดออกจากอากิญจัญญายตน-
สัญญา
อินทรีย์ ๕ ในอนิจจานุปัสสนา สลัดออกจากนิจจสัญญา
อินทรีย์ ๕ ในทุกขานุปัสสนา สลัดออกจากสุขสัญญา
อินทรีย์ ๕ ในอนัตตานุปัสสนา สลัดออกจากอัตตสัญญา
อินทรีย์ ๕ ในนิพพิทานุปัสสนา สลัดออกจากนันทิ
อินทรีย์ ๕ ในวิราคานุปัสสนา สลัดออกจากราคะ
อินทรีย์ ๕ ในนิโรธานุปัสสนา สลัดออกจากสมุทัย
อินทรีย์ ๕ ในปฏินิสสัคคานุปัสสนา สลัดออกจากอาทานะ
อินทรีย์ ๕ ในขยานุปัสสนา สลัดออกจากฆนสัญญา
อินทรีย์ ๕ ในวยานุปัสสนา สลัดออกจากอายุหนะ
อินทรีย์ ๕ ในวิปริณามานุปัสสนา สลัดออกจากธุวสัญญา
อินทรีย์ ๕ ในอนิมิตตานุปัสสนา สลัดออกจากนิมิต
อินทรีย์ ๕ ในอัปปณิหิตานุปัสสนา สลัดออกจากปณิธิ
อินทรีย์ ๕ ในสุญญตานุปัสสนา สลัดออกจากอภินิเวส
อินทรีย์ ๕ ในอธิปัญญาธัมมวิปัสสนา สลัดออกจากสาราทานาภินิเวส
อินทรีย์ ๕ ในยถาภูตญาณทัสสนะ สลัดออกจากสัมโมหาภินิเวส
อินทรีย์ ๕ ในอาทีนวานุปัสสนา สลัดออกจากอาลยาภินิเวส
อินทรีย์ ๕ ในปฏิสังขานุปัสสนา สลัดออกจากอัปปฏิสังขา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๓๐๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๔. อินทริยกถา ๓. ตติยสุตตันตนิทเทส
อินทรีย์ ๕ ในวิวัฏฏนานุปัสสนา สลัดออกจากสัญโญคาภินิเวส
อินทรีย์ ๕ ในโสดาปัตติมรรค สลัดออกจากกิเลสซึ่งอยู่ร่วมกันกับทิฏฐิ
อินทรีย์ ๕ ในสกทาคามิมรรค สลัดออกจากกิเลสอย่างหยาบ
อินทรีย์ ๕ ในอนาคามิมรรค สลัดออกจากกิเลสอย่างละเอียด
อินทรีย์ ๕ ในอรหัตตมรรค สลัดออกจากกิเลสทั้งปวง
อินทรีย์ ๕ ในธรรมนั้น ๆ อันพระขีณาสพทั้งปวงสลัดออกได้แล้ว สลัดออก
ดีแล้ว ระงับแล้ว และระงับดีแล้ว
อินทรีย์ ๕ มีเครื่องสลัดออกด้วยอาการ ๑๘๐ อย่างนี้ บุคคลรู้ชัดเครื่องสลัด
ออกจากอินทรีย์ ๕ ด้วยอาการ ๑๘๐ อย่างนี้

สุตตันตนิทเทสที่ ๒ จบ
ปฐมภาณวาร จบ

๓. ตติยสุตตันตนิทเทส
แสดงสูตรที่ ๓
[๑๙๔] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้
อินทรีย์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ

๑. สัทธินทรีย์ (อินทรีย์คือศรัทธา)
๒. วิริยินทรีย์ (อินทรีย์คือวิริยะ)
๓. สตินทรีย์ (อินทรีย์คือสติ)
๔. สมาธินทรีย์ (อินทรีย์คือสมาธิ)
๕. ปัญญินทรีย์ (อินทรีย์คือปัญญา)


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๓๐๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๔. อินทริยกถา ๓. ตติยสุตตันตนิทเทส
ภิกษุทั้งหลาย พึงเห็นสัทธินทรีย์ได้ที่ไหน
พึงเห็นได้ในโสตาปัตติยังคะ๑ ๔ พึงเห็นสัทธินทรีย์ได้ที่นี้
พึงเห็นวิริยินทรีย์ได้ที่ไหน
พึงเห็นได้ในสัมมัปปธาน ๔ พึงเห็นวิริยินทรีย์ได้ที่นี้
พึงเห็นสตินทรีย์ได้ที่ไหน
พึงเห็นได้ในสติปัฏฐาน ๔ พึงเห็นสตินทรีย์ได้ที่นี้
พึงเห็นสมาธินทรีย์ได้ที่ไหน
พึงเห็นได้ในฌาน ๔ พึงเห็นสมาธินทรีย์ได้ที่นี้
พึงเห็นปัญญินทรีย์ได้ที่ไหน
พึงเห็นได้ในอริยสัจ ๔ พึงเห็นปัญญินทรีย์ได้ที่นี้
ด้วยอำนาจแห่งสัทธินทรีย์ในโสตาปัตติยังคะ ๔ พึงเห็นอินทรีย์ ๕ ด้วยอาการ
เท่าไร
ด้วยอำนาจแห่งวิริยินทรีย์ในสัมมัปปธาน ๔ พึงเห็นอินทรีย์ ๕ ด้วยอาการ
เท่าไร
ด้วยอำนาจแห่งสตินทรีย์ในสติปัฏฐาน ๔ พึงเห็นอินทรีย์ ๕ ด้วยอาการเท่าไร
ด้วยอำนาจแห่งสมาธินทรีย์ในฌาน ๔ พึงเห็นอินทรีย์ ๕ ด้วยอาการเท่าไร
ด้วยอำนาจแห่งปัญญินทรีย์ในอริยสัจ ๔ พึงเห็นอินทรีย์ ๕ ด้วยอาการเท่าไร
คือ ด้วยอำนาจแห่งสัทธินทรีย์ในโสตาปัตติยังคะ ๔ พึงเห็นอินทรีย์ ๕ ด้วย
อาการ ๒๐ อย่าง
ด้วยอำนาจแห่งวิริยินทรีย์ในสัมมัปปธาน ๔ พึงเห็นอินทรีย์ ๕ ด้วยอาการ ๒๐ อย่าง
ด้วยอำนาจแห่งสตินทรีย์ในสติปัฏฐาน ๔ พึงเห็นอินทรีย์ ๕ ด้วยอาการ ๒๐ อย่าง
ด้วยอำนาจแห่งสมาธินทรีย์ในฌาน ๔ พึงเห็นอินทรีย์ ๕ ด้วยอาการ ๒๐ อย่าง
ด้วยอำนาจแห่งปัญญินทรีย์ในอริยสัจ ๔ พึงเห็นอินทรีย์ ๕ ด้วยอาการ ๒๐ อย่าง

เชิงอรรถ :
๑ โสตาปัตติยังคะ ได้แก่ (๑) คบหาสัตบุรุษ (๒) ฟังสัทธรรม (๓) มนสิการโดยอุบายแยบคาย (๔) ปฏิบัติ
ธรรมสมควรแก่ธรรม (ขุ.ป.อ. ๒/๑๙๔/๑๖๐)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๓๑๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๔. อินทริยกถา ๓. ตติยสุตตันตนิทเทส
(๑) ปเภทคณนนิทเทส
แสดงอินทรีย์ตามหมวดธรรมต่าง ๆ
[๑๙๕] ด้วยอำนาจแห่งสัทธินทรีย์ในโสตาปัตติยังคะ ๔ พึงเห็นอินทรีย์
๕ ด้วยอาการ ๒๐ อย่าง เป็นอย่างไร
คือ พึงเห็นสัทธินทรีย์ เพราะมีสภาวะเป็นใหญ่ ในการน้อมใจเชื่อในโสตาปัตติ-
ยังคะคือการคบสัตบุรุษ (และ) ด้วยอำนาจแห่งสัทธินทรีย์ พึงเห็นวิริยินทรีย์ เพราะ
มีสภาวะประคองไว้ พึงเห็นสตินทรีย์ เพราะมีสภาวะตั้งมั่น พึงเห็นสมาธินทรีย์
เพราะมีสภาวะไม่ฟุ้งซ่าน พึงเห็นปัญญินทรีย์ เพราะมีสภาวะเห็น
พึงเห็นสัทธินทรีย์ เพราะมีสภาวะเป็นใหญ่ ในการน้อมใจเชื่อในโสตาปัตติยังคะ
คือการฟังสัทธรรมของสัตบุรุษ ฯลฯ
พึงเห็นสัทธินทรีย์ เพราะมีสภาวะเป็นใหญ่ ในการน้อมใจเชื่อในโสตาปัตติยังคะ
คือการมนสิการโดยอุบายแยบคาย ฯลฯ
พึงเห็นสัทธินทรีย์ เพราะมีสภาวะเป็นใหญ่ ในการน้อมใจเชื่อในโสตาปัตติยังคะ
คือการปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม (และ) ด้วยอำนาจแห่งสัทธินทรีย์ พึงเห็น
วิริยินทรีย์ เพราะมีสภาวะประคองไว้ พึงเห็นสตินทรีย์ เพราะมีสภาวะตั้งมั่น พึงเห็น
สมาธินทรีย์ เพราะมีสภาวะไม่ฟุ้งซ่าน พึงเห็นปัญญินทรีย์ เพราะมีสภาวะเห็น
ด้วยอำนาจแห่งสัทธินทรีย์ ในโสตาปัตติยังคะ ๔ พึงเห็นอินทรีย์ ๕ ด้วย
อาการ ๒๐ อย่างนี้
ด้วยอำนาจแห่งวิริยินทรีย์ในสัมมัปปธาน ๔ พึงเห็นอินทรีย์ ๕ ด้วยอาการ
๒๐ อย่าง เป็นอย่างไร
คือ พึงเห็นวิริยินทรีย์ เพราะมีสภาวะเป็นใหญ่ ในการประคองไว้ในสัมมัปปธาน
คือการไม่ทำบาปอกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น (และ) ด้วยอำนาจแห่งวิริยินทรีย์
พึงเห็นสตินทรีย์ เพราะมีสภาวะตั้งมั่น พึงเห็นสมาธินทรีย์ เพราะมีสภาวะไม่ฟุ้งซ่าน
พึงเห็นปัญญินทรีย์ เพราะมีสภาวะเห็น พึงเห็นสัทธินทรีย์ เพราะมีสภาวะน้อมใจเชื่อ
พึงเห็นวิริยินทรีย์ เพราะมีสภาวะเป็นใหญ่ ในการประคองไว้ในสัมมัปปธาน
คือการละบาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๓๑๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๔. อินทริยกถา ๓. ตติยสุตตันตนิทเทส
พึงเห็นวิริยินทรีย์ เพราะมีสภาวะเป็นใหญ่ ในการประคองไว้ในสัมมัปปธาน
คือการทำกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น ฯลฯ
พึงเห็นวิริยินทรีย์ เพราะมีสภาวะเป็นใหญ่ ในการประคองไว้ในสัมมัปปธาน
คือความดำรงอยู่ ไม่เลือนหาย ภิญโญภาพ ไพบูลย์ เจริญเต็มที่ แห่งกุศลธรรมที่
เกิดขึ้นแล้ว (และ) ด้วยอำนาจแห่งวิริยินทรีย์ พึงเห็นสตินทรีย์ เพราะมีสภาวะตั้งมั่น
พึงเห็นสมาธินทรีย์ เพราะมีสภาวะไม่ฟุ้งซ่าน พึงเห็นปัญญินทรีย์ เพราะมีสภาวะเห็น
พึงเห็นสัทธินทรีย์ เพราะมีสภาวะน้อมไป
ด้วยอำนาจแห่งวิริยินทรีย์ ในสัมมัปปธาน ๔ พึงเห็นอินทรีย์ ๕ ด้วย
อาการ ๒๐ อย่างนี้
ด้วยอำนาจแห่งสตินทรีย์ในสติปัฏฐาน ๔ พึงเห็นอินทรีย์ ๕ ด้วย
อาการ ๒๐ อย่าง เป็นอย่างไร
คือ พึงเห็นสตินทรีย์ เพราะมีสภาวะเป็นใหญ่ในการตั้งมั่นในสติปัฏฐานคือ
การพิจารณาเห็นกายในกาย (และ) ด้วยอำนาจแห่งสตินทรีย์ พึงเห็นสมาธินทรีย์
เพราะมีสภาวะไม่ฟุ้งซ่าน พึงเห็นปัญญินทรีย์ เพราะมีสภาวะเห็น พึงเห็นสัทธินทรีย์
เพราะมีสภาวะน้อมใจเชื่อ พึงเห็นวิริยินทรีย์ เพราะมีสภาวะประคองไว้
พึงเห็นสตินทรีย์ เพราะมีสภาวะเป็นใหญ่ในการตั้งมั่นในสติปัฏฐานคือการ
พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลาย ฯลฯ
พึงเห็นสตินทรีย์ เพราะมีสภาวะเป็นใหญ่ในการตั้งมั่นในสติปัฏฐานคือการ
พิจารณาเห็นจิตในจิต ฯลฯ
พึงเห็นสตินทรีย์ เพราะมีสภาวะเป็นใหญ่ในการตั้งมั่นในสติปัฏฐานคือการ
พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลาย (และ) ด้วยอำนาจแห่งสตินทรีย์ พึงเห็น
สมาธินทรีย์ เพราะมีสภาวะไม่ฟุ้งซ่าน พึงเห็นปัญญินทรีย์ เพราะมีสภาวะเห็น
พึงเห็นสัทธินทรีย์ เพราะมีสภาวะน้อมใจเชื่อ พึงเห็นวิริยินทรีย์ เพราะมีสภาวะ
ประคองไว้
ด้วยอำนาจแห่งสตินทรีย์ ในสติปัฏฐาน ๔ พึงเห็นอินทรีย์ ๕ ด้วยอาการ
๒๐ อย่างนี้


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๓๑๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๔. อินทริยกถา ๓. ตติยสุตตันตนิทเทส
ด้วยอำนาจแห่งสมาธินทรีย์ในฌาน ๔ พึงเห็นอินทรีย์ ๕ ด้วยอาการ ๒๐
อย่าง เป็นอย่างไร
คือ พึงเห็นสมาธินทรีย์ เพราะมีสภาวะเป็นใหญ่ ในความไม่ฟุ้งซ่านในปฐมฌาน
(และ) ด้วยอำนาจแห่งสมาธินทรีย์ พึงเห็นปัญญินทรีย์ เพราะมีสภาวะเห็น พึงเห็น
สัทธินทรีย์ เพราะมีสภาวะน้อมใจเชื่อ พึงเห็นวิริยินทรีย์ เพราะมีสภาวะประคองไว้
พึงเห็นสตินทรีย์ เพราะมีสภาวะตั้งมั่น
พึงเห็นสมาธินทรีย์ เพราะมีสภาวะเป็นใหญ่ ในความไม่ฟุ้งซ่าน ในทุติยฌาน ฯลฯ
พึงเห็นสมาธินทรีย์ เพราะมีสภาวะเป็นใหญ่ ในความไม่ฟุ้งซ่านในตติยฌาน
ฯลฯ
พึงเห็นสมาธินทรีย์ เพราะมีสภาวะเป็นใหญ่ ในความไม่ฟุ้งซ่านในจตุตถฌาน
(และ) ด้วยอำนาจแห่งสมาธินทรีย์ พึงเห็นปัญญินทรีย์ เพราะมีสภาวะเห็น พึงเห็น
สัทธินทรีย์ เพราะมีสภาวะน้อมใจเชื่อ พึงเห็นวิริยินทรีย์ เพราะมีสภาวะประคองไว้
พึงเห็นสตินทรีย์ เพราะมีสภาวะตั้งมั่น
ด้วยอำนาจแห่งสมาธินทรีย์ในฌาน ๔ พึงเห็นอินทรีย์ ๕ ด้วยอาการ ๒๐
อย่างนี้
ด้วยอำนาจแห่งปัญญินทรีย์ในอริยสัจ ๔ พึงเห็นอินทรีย์ ๕ ด้วยอาการ ๒๐
อย่าง เป็นอย่างไร
คือ พึงเห็นปัญญินทรีย์ เพราะมีสภาวะเป็นใหญ่ในการเห็นในอริยสัจคือทุกข์
(และ) ด้วยอำนาจแห่งปัญญินทรีย์ พึงเห็นสัทธินทรีย์ เพราะมีสภาวะน้อมใจเชื่อ
พึงเห็นวิริยินทรีย์ เพราะมีสภาวะประคองไว้ พึงเห็นสตินทรีย์ เพราะมีสภาวะตั้งมั่น
พึงเห็นสมาธินทรีย์ เพราะมีสภาวะไม่ฟุ้งซ่าน
พึงเห็นปัญญินทรีย์ เพราะมีสภาวะเป็นใหญ่ในการเห็นในอริยสัจคือทุกขสมุทัย
ฯลฯ
พึงเห็นปัญญินทรีย์ เพราะมีสภาวะเป็นใหญ่ในการเห็นในอริยสัจคือทุกขนิโรธ
ฯลฯ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๓๑๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๔. อินทริยกถา ๓. ตติยสุตตันตนิทเทส
พึงเห็นปัญญินทรีย์ เพราะมีสภาวะเป็นใหญ่ในการเห็นในอริยสัจคือทุกขนิโรธ-
คามินีปฏิปทา (และ) ด้วยอำนาจแห่งปัญญินทรีย์ พึงเห็นสัทธินทรีย์ เพราะมีสภาวะ
น้อมใจเชื่อ พึงเห็นวิริยินทรีย์ เพราะมีสภาวะประคองไว้ พึงเห็นสตินทรีย์ เพราะ
มีสภาวะตั้งมั่น พึงเห็นสมาธินทรีย์ เพราะมีสภาวะไม่ฟุ้งซ่าน
ด้วยอำนาจแห่งปัญญินทรีย์ในอริยสัจ ๔ พึงเห็นอินทรีย์ ๕ ด้วยอาการ ๒๐
อย่างนี้

(๒) จริยวาร
วาระว่าด้วยความประพฤติ
[๑๙๖] ด้วยอำนาจแห่งสัทธินทรีย์ในโสตาปัตติยังคะ ๔ พึงเห็นความ
ประพฤติแห่งอินทรีย์ ๕ ด้วยอาการเท่าไร
ด้วยอำนาจแห่งวิริยินทรีย์ในสัมมัปปธาน ๔ ฯลฯ
ด้วยอำนาจแห่งสตินทรีย์ในสติปัฏฐาน ๔ ฯลฯ
ด้วยอำนาจแห่งสมาธินทรีย์ในฌาน ๔ ฯลฯ
ด้วยอำนาจแห่งปัญญินทรีย์ในอริยสัจ ๔ พึงเห็นความประพฤติแห่งอินทรีย์ ๕
ด้วยอาการเท่าไร
คือ ด้วยอำนาจแห่งสัทธินทรีย์ในโสตาปัตติยังคะ ๔ พึงเห็นความประพฤติ
แห่งอินทรีย์ ๕ ด้วยอาการ ๒๐ อย่าง
ด้วยอำนาจแห่งวิริยินทรีย์ในสัมมัปปธาน ๔ ฯลฯ
ด้วยอำนาจแห่งสตินทรีย์ในสติปัฏฐาน ๔ ฯลฯ
ด้วยอำนาจแห่งสมาธินทรีย์ในฌาน ๔ ฯลฯ
ด้วยอำนาจแห่งปัญญินทรีย์ในอริยสัจ ๔ พึงเห็นความประพฤติแห่งอินทรีย์ ๕
ด้วยอาการ ๒๐ อย่าง
ด้วยอำนาจแห่งสัทธินทรีย์ในโสตาปัตติยังคะ ๔ พึงเห็นความประพฤติ
แห่งอินทรีย์ ๕ ด้วยอาการ ๒๐ อย่าง เป็นอย่างไร


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๓๑๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๔. อินทริยกถา ๓. ตติยสุตตันตนิทเทส
คือ พึงเห็นความประพฤติแห่งสัทธินทรีย์ เพราะมีสภาวะเป็นใหญ่ ในความ
น้อมใจเชื่อ ในโสตาปัตติยังคะคือการคบหาสัตบุรุษ (และ) ด้วยอำนาจสัทธินทรีย์
พึงเห็นความประพฤติแห่งวิริยินทรีย์ เพราะมีสภาวะประคองไว้ พึงเห็นความ
ประพฤติแห่งสตินทรีย์ เพราะมีสภาวะตั้งมั่น พึงเห็นความประพฤติแห่งสมาธินทรีย์
เพราะมีสภาวะไม่ฟุ้งซ่าน พึงเห็นความประพฤติแห่งปัญญินทรีย์ เพราะมีสภาวะเห็น
พึงเห็นความประพฤติแห่งสัทธินทรีย์ เพราะมีสภาวะเป็นใหญ่ ในความ
น้อมใจเชื่อ ในโสตาปัตติยังคะคือการฟังธรรมของสัตบุรุษ ฯลฯ
พึงเห็นความประพฤติแห่งสัทธินทรีย์ เพราะมีสภาวะเป็นใหญ่ ในความ
น้อมใจเชื่อ ในโสตาปัตติยังคะคือการมนสิการโดยอุบายแยบคาย ฯลฯ
พึงเห็นความประพฤติแห่งสัทธินทรีย์ เพราะมีสภาวะเป็นใหญ่ ในความ
น้อมใจเชื่อ ในโสตาปัตติยังคะคือการปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม (และ) ด้วยอำนาจ
สัทธินทรีย์ พึงเห็นความประพฤติแห่งสตินทรีย์ เพราะมีสภาวะตั้งมั่น พึงเห็นความ
ประพฤติแห่งสมาธินทรีย์ เพราะมีสภาวะไม่ฟุ้งซ่าน พึงเห็นความประพฤติแห่ง
ปัญญินทรีย์ เพราะมีสภาวะเห็น
ด้วยอำนาจแห่งสัทธินทรีย์ในโสตาปัตติยังคะ ๔ พึงเห็นความประพฤติแห่ง
อินทรีย์ ๕ ด้วยอาการ ๒๐ อย่างนี้
ด้วยอำนาจแห่งวิริยินทรีย์ในสัมมัปปธาน ๔ พึงเห็นความประพฤติแห่ง
อินทรีย์ ๕ ด้วยอาการ ๒๐ อย่าง เป็นอย่างไร
คือ พึงเห็นความประพฤติแห่งวิริยินทรีย์ เพราะมีสภาวะเป็นใหญ่ ในการ
ประคองไว้ ในสัมมัปปธานคือการไม่ทำบาปอกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น (และ)
ด้วยอำนาจแห่งวิริยินทรีย์ พึงเห็นความประพฤติแห่งสตินทรีย์ เพราะมีสภาวะตั้งมั่น
พึงเห็นความประพฤติแห่งสมาธินทรีย์ เพราะมีสภาวะไม่ฟุ้งซ่าน พึงเห็นความ
ประพฤติแห่งปัญญินทรีย์ เพราะมีสภาวะเห็น พึงเห็นความประพฤติแห่งสัทธินทรีย์
เพราะมีสภาวะน้อมใจเชื่อ ฯลฯ
พึงเห็นความประพฤติแห่งวิริยินทรีย์ เพราะมีสภาวะเป็นใหญ่ ในการประคองไว้
ในสัมมัปปธานคือการละบาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๓๑๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๔. อินทริยกถา ๓. ตติยสุตตันตนิทเทส
พึงเห็นความประพฤติแห่งวิริยินทรีย์ เพราะมีสภาวะเป็นใหญ่ ในการประคองไว้
ในสัมมัปปธานคือการทำกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น ฯลฯ
พึงเห็นความประพฤติแห่งวิริยินทรีย์ เพราะมีสภาวะเป็นใหญ่ ในการประคองไว้
ในสัมมัปปธานคือความดำรงอยู่ ไม่เลือนหาย ภิญโญภาพ ไพบูลย์ เจริญเต็มที่ แห่ง
กุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว (และ) ด้วยอำนาจแห่งวิริยินทรีย์ พึงเห็นความประพฤติแห่ง
สตินทรีย์ เพราะมีสภาวะตั้งมั่น ฯลฯ พึงเห็นความประพฤติแห่งสัทธินทรีย์ เพราะมี
สภาวะน้อมใจเชื่อ
ด้วยอำนาจแห่งวิริยินทรีย์ในสัมมัปปธาน ๔ พึงเห็นความประพฤติแห่งอินทรีย์
๕ ด้วยอาการ ๒๐ อย่างนี้
ด้วยอำนาจแห่งสตินทรีย์ในสติปัฏฐาน ๔ พึงเห็นความประพฤติแห่ง
อินทรีย์ ๕ ด้วยอาการ ๒๐ อย่าง เป็นอย่างไร
คือ พึงเห็นความประพฤติแห่งสตินทรีย์ เพราะมีสภาวะเป็นใหญ่ ในความตั้งมั่น
ในสติปัฏฐานคือการพิจารณาเห็นกายในกาย (และ) ด้วยอำนาจแห่งสตินทรีย์ พึงเห็น
ความประพฤติแห่งสมาธินทรีย์ เพราะมีสภาวะไม่ฟุ้งซ่าน พึงเห็นความประพฤติแห่ง
ปัญญินทรีย์ เพราะมีสภาวะเห็น พึงเห็นความประพฤติแห่งสัทธินทรีย์ เพราะมี
สภาวะน้อมใจเชื่อ พึงเห็นความประพฤติแห่งวิริยินทรีย์ เพราะมีสภาวะประคองไว้
พึงเห็นความประพฤติแห่งสตินทรีย์ เพราะมีสภาวะเป็นใหญ่ ในความตั้งมั่น
ในสติปัฏฐานคือการพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลาย ฯลฯ
พึงเห็นความประพฤติแห่งสตินทรีย์ เพราะมีสภาวะเป็นใหญ่ ในความตั้งมั่น
ในสติปัฏฐานคือการพิจารณาเห็นจิตในจิต ฯลฯ
พึงเห็นความประพฤติแห่งสตินทรีย์ เพราะมีสภาวะเป็นใหญ่ ในความตั้งมั่น
ในสติปัฏฐานคือการพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลาย (และ) ด้วยอำนาจแห่ง
สตินทรีย์ ฯลฯ พึงเห็นความประพฤติแห่งวิริยินทรีย์ เพราะมีสภาวะประคองไว้
ด้วยอำนาจแห่งสตินทรีย์ในสติปัฏฐาน ๔ พึงเห็นความประพฤติแห่งอินทรีย์ ๕
ด้วยอาการ ๒๐ อย่างนี้


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๓๑๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๔. อินทริยกถา ๓. ตติยสุตตันตนิทเทส
ด้วยอำนาจแห่งสมาธินทรีย์ในฌาน ๔ พึงเห็นความประพฤติแห่งอินทรีย์
๕ ด้วยอาการ ๒๐ อย่าง เป็นอย่างไร
คือ พึงเห็นความประพฤติแห่งสมาธินทรีย์ เพราะมีสภาวะเป็นใหญ่ ในความ
ไม่ฟุ้งซ่านในปฐมฌาน (และ) ด้วยอำนาจแห่งสมาธินทรีย์ พึงเห็นความประพฤติแห่ง
ปัญญินทรีย์ เพราะมีสภาวะเห็น พึงเห็นความประพฤติแห่งสัทธินทรีย์ เพราะมี
สภาวะน้อมใจเชื่อ พึงเห็นความประพฤติแห่งวิริยินทรีย์ เพราะมีสภาวะประคองไว้ พึงเห็น
ความประพฤติแห่งสตินทรีย์ เพราะมีสภาวะตั้งมั่น
พึงเห็นความประพฤติแห่งสมาธินทรีย์ เพราะมีสภาวะเป็นใหญ่ ในความไม่
ฟุ้งซ่านในทุติยฌาน ฯลฯ
พึงเห็นความประพฤติแห่งสมาธินทรีย์ เพราะมีสภาวะเป็นใหญ่ ในความไม่
ฟุ้งซ่านในตติยฌาน ฯลฯ
พึงเห็นความประพฤติแห่งสมาธินทรีย์ เพราะมีสภาวะเป็นใหญ่ ในความไม่
ฟุ้งซ่านในจตุตถฌาณ ฯลฯ พึงเห็นความประพฤติแห่งสตินทรีย์ เพราะมีสภาวะตั้งมั่น
ด้วยอำนาจแห่งสมาธินทรีย์ในฌาน ๔ พึงเห็นความประพฤติแห่งอินทรีย์ ๕
ด้วยอาการ ๒๐ อย่างนี้
ด้วยอำนาจแห่งปัญญินทรีย์ในอริยสัจ ๔ พึงเห็นความประพฤติแห่ง
อินทรีย์ ๕ ด้วยอาการ ๒๐ อย่าง เป็นอย่างไร
คือ พึงเห็นความประพฤติแห่งปัญญินทรีย์ เพราะมีสภาวะเป็นใหญ่ ในการเห็น
อริยสัจคือทุกข์ (และ) ด้วยอำนาจแห่งปัญญินทรีย์ พึงเห็นความประพฤติแห่ง
สัทธินทรีย์ เพราะมีสภาวะน้อมใจเชื่อ พึงเห็นความประพฤติแห่งวิริยินทรีย์ เพราะมี
สภาวะประคองไว้ พึงเห็นความประพฤติแห่งสตินทรีย์ เพราะมีสภาวะตั้งมั่น พึงเห็น
ความประพฤติแห่งสมาธินทรีย์ เพราะมีสภาวะไม่ฟุ้งซ่าน
พึงเห็นความประพฤติแห่งปัญญินทรีย์ เพราะมีสภาวะเป็นใหญ่ ในความเห็น
อริยสัจคือทุกขสมุทัย ฯลฯ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๓๑๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๔. อินทริยกถา ๓. ตติยสุตตันตนิทเทส
พึงเห็นความประพฤติแห่งปัญญินทรีย์ เพราะมีสภาวะเป็นใหญ่ ในความเห็น
อริยสัจคือทุกขนิโรธ ฯลฯ
พึงเห็นความประพฤติแห่งปัญญินทรีย์ เพราะมีสภาวะเป็นใหญ่ ในความเห็น
อริยสัจคือทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา (และ) ด้วยอำนาจแห่งปัญญินทรีย์ พึงเห็นความ
ประพฤติแห่งสัทธินทรีย์ เพราะมีสภาวะน้อมใจเชื่อ พึงเห็นความประพฤติแห่ง
วิริยินทรีย์ เพราะมีสภาวะประคองไว้ พึงเห็นความประพฤติแห่งสตินทรีย์ เพราะมี
สภาวะตั้งมั่น พึงเห็นความประพฤติแห่งสมาธินทรีย์ เพราะมีสภาวะไม่ฟุ้งซ่าน
ด้วยอำนาจแห่งปัญญินทรีย์ในอริยสัจ ๔ พึงเห็นความประพฤติแห่งอินทรีย์ ๕
ด้วยอาการ ๒๐ อย่างนี้

จารวิหารนิทเทส
แสดงความประพฤติและความเป็นอยู่
[๑๙๗] ความประพฤติและความเป็นอยู่ เป็นอันตรัสรู้แล้ว รู้แจ้งแล้ว
เหมือนอย่างสพรหมจารีผู้รู้แจ้ง มั่นใจบุคคล ตามที่ประพฤติ ตามที่เป็นอยู่ในฐานะ
ที่ลึกซึ้งว่า “ท่านผู้นี้บรรลุแล้วหรือว่าจักบรรลุแน่”
คำว่า ความประพฤติ อธิบายว่า ความประพฤติ ๘ อย่าง ได้แก่
๑. ความประพฤติในอิริยาบถ
๒. ความประพฤติในอายตนะ
๓. ความประพฤติในสติ
๔. ความประพฤติในสมาธิ
๕. ความประพฤติในญาณ
๖. ความประพฤติในมรรค
๗. ความประพฤติในผล
๘. ความประพฤติเพื่อประโยชน์แก่โลก
คำว่า ความประพฤติในอิริยาบถ ได้แก่ ความประพฤติในอิริยาบถ ๔

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๓๑๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๔. อินทริยกถา ๓. ตติยสุตตันตนิทเทส
คำว่า ความประพฤติในอายตนะ ได้แก่ ความประพฤติในอายตนะภายในและ
อายตนะภายนอกอย่างละ ๖
คำว่า ความประพฤติในสติ ได้แก่ ความประพฤติในสติปัฏฐาน ๔
คำว่า ความประพฤติในสมาธิ ได้แก่ ความประพฤติในฌาน ๔
คำว่า ความประพฤติในญาณ ได้แก่ ความประพฤติในอริยสัจ ๔
คำว่า ความประพฤติในมรรค ได้แก่ ความประพฤติในอริยมรรค ๔
คำว่า ความประพฤติในผล ได้แก่ ความประพฤติในสามัญญผล ๔
คำว่า ความประพฤติเพื่อประโยชน์แก่โลก ได้แก่ ความประพฤติในพระ
ตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ความประพฤติในพระปัจเจกพุทธเจ้าบางส่วน
ความประพฤติในพระสาวกบางส่วน ความประพฤติในอิริยาบถมีแก่ผู้ตั้งตนไว้ชอบ
ความประพฤติในอายตนะมีแก่ผู้สำรวมอินทรีย์ ความประพฤติในสติมีแก่ผู้ที่อยู่ด้วย
ความไม่ประมาท ความประพฤติในสมาธิมีแก่ผู้ขวนขวายในอธิจิต ความประพฤติ
ในญาณมีแก่ผู้บรรลุปัญญาเครื่องตรัสรู้ ความประพฤติในมรรคมีแก่ผู้ปฏิบัติชอบ
ความประพฤติในผลมีแก่ผู้ได้บรรลุผล และความประพฤติเพื่อประโยชน์แก่โลกมีแก่
พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้าบางส่วน พระสาวก
บางส่วน เหล่านี้ ชื่อว่าความประพฤติ ๘ อย่าง
อีกนัยหนึ่ง ความประพฤติ ๘ อย่าง คือ
๑. เมื่อน้อมใจเชื่อ ชื่อว่าย่อมประพฤติด้วยศรัทธา
๒. เมื่อประคองใจ ชื่อว่าย่อมประพฤติด้วยวิริยะ
๓. เมื่อตั้งจิตมั่น ชื่อว่าย่อมประพฤติด้วยสติ
๔. เมื่อทำความไม่ฟุ้งซ่าน ชื่อว่าย่อมประพฤติด้วยสมาธิ
๕. เมื่อรู้ชัด ชื่อว่าย่อมประพฤติด้วยปัญญา
๖. เมื่อรู้แจ้ง ชื่อว่าย่อมประพฤติด้วยวิญญาณ๑

เชิงอรรถ :
๑ วิญญาณ ในที่นี้หมายถึงอาวัชชนวิญญาณ (ขุ.ป.อ. ๒/๑๙๗/๑๖๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๓๑๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๔. อินทริยกถา ๓. ตติยสุตตันตนิทเทส
๗. เมื่อมนสิการว่า “กุศลธรรมทั้งหลายย่อมดำเนินไปแก่ผู้ปฏิบัติอย่างนี้”
ชื่อว่าย่อมประพฤติด้วยความประพฤติในอายตนะ
๘. เมื่อมนสิการว่า “ผู้ปฏิบัติอย่างนี้ ย่อมบรรลุคุณวิเศษ” ชื่อว่า
ย่อมประพฤติด้วยความประพฤติด้วยคุณวิเศษ
เหล่านี้ ชื่อว่าความประพฤติ ๘ อย่าง
อีกนัยหนึ่ง ความประพฤติ ๘ อย่าง คือ
๑. ความประพฤติสัมมาทิฏฐิ ชื่อว่าทัสสนจริยา (ความประพฤติด้วย
ความเห็น)
๒. ความประพฤติสัมมาสังกัปปะ ชื่อว่าอภินิโรปนจริยา (ความประพฤติ
ด้วยการปลูกฝังความดำริ)
๓. ความประพฤติสัมมาวาจา ชื่อว่าปริคคหจริยา (ความประพฤติด้วย
การกำหนดสำรวมวจี ๔ อย่าง )
๔. ความประพฤติสัมมากัมมันตะ ชื่อว่าสมุฏฐานจริยา (ความประพฤติ
ด้วยความหมั่น)
๕. ความประพฤติสัมมาอาชีวะ ชื่อว่าโวทานจริยา (ความประพฤติด้วย
ความผ่องแผ้ว)
๖. ความประพฤติสัมมาวายามะ ชื่อว่าปัคคหจริยา (ความประพฤติ
ด้วยการประคองความเพียร)
๗. ความประพฤติสัมมาสติ ชื่อว่าอุปัฏฐานจริยา (ความประพฤติด้วย
การเข้าไปตั้งสติ)
๘. ความประพฤติสัมมาสมาธิ ชื่อว่าอวิกเขปจริยา (ความประพฤติด้วย
ความไม่ฟุ้งซ่าน)
เหล่านี้ ชื่อว่าความประพฤติ ๘ อย่าง๑
คำว่า ความเป็นอยู่ อธิบายว่า บุคคลผู้น้อมใจเชื่อย่อมอยู่ด้วยศรัทธา ผู้
ประคองไว้ย่อมอยู่ด้วยความเพียร ผู้ตั้งมั่นย่อมอยู่ด้วยสติ ผู้ทำความไม่ฟุ้งซ่าน
ย่อมอยู่ด้วยสมาธิ ผู้รู้ชัดย่อมอยู่ด้วยปัญญา

เชิงอรรถ :
๑ ขุ.จู. (แปล) ๓๐/๑๒๑/๓๙๙-๔๐๑

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๓๒๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๔. อินทริยกถา ๓. ตติยสุตตันตนิทเทส
คำว่า ตรัสรู้แล้ว อธิบายว่า สภาวะที่น้อมใจเชื่อแห่งสัทธินทรีย์เป็นอันตรัสรู้
แล้ว สภาวะที่ประคองไว้แห่งวิริยินทรีย์เป็นอันตรัสรู้แล้ว สภาวะที่ตั้งมั่นแห่ง
สตินทรีย์เป็นอันตรัสรู้แล้ว สภาวะที่ไม่ฟุ้งซ่านแห่งสมาธินทรีย์เป็นอันตรัสรู้แล้ว
สภาวะที่เห็นแห่งปัญญินทรีย์เป็นอันตรัสรู้แล้ว
คำว่า รู้แจ้งแล้ว อธิบายว่า สภาวะที่น้อมใจเชื่อแห่งสัทธินทรีย์เป็นอันรู้แจ้ง
แล้ว สภาวะที่ประคองไว้แห่งวิริยินทรีย์เป็นอันรู้แจ้งแล้ว สภาวะที่ตั้งมั่นแห่ง
สตินทรีย์เป็นอันรู้แจ้งแล้ว สภาวะที่ไม่ฟุ้งซ่านแห่งสมาธินทรีย์เป็นอันรู้แจ้งแล้ว
สภาวะที่เห็นแห่งปัญญินทรีย์เป็นอันรู้แจ้งแล้ว
คำว่า ตามที่ประพฤติ อธิบายว่า ประพฤติด้วยศรัทธาอย่างนี้ ประพฤติด้วย
ความเพียรอย่างนี้ ประพฤติด้วยสติอย่างนี้ ประพฤติด้วยสมาธิอย่างนี้ ประพฤติด้วย
ปัญญาอย่างนี้
คำว่า ตามที่เป็นอยู่ อธิบายว่า เป็นอยู่ด้วยศรัทธาอย่างนี้ เป็นอยู่ด้วยความ
เพียรอย่างนี้ เป็นอยู่ด้วยสติอย่างนี้ เป็นอยู่ด้วยสมาธิอย่างนี้ เป็นอยู่ด้วยปัญญา
อย่างนี้
คำว่า ผู้รู้แจ้ง อธิบายว่า ผู้รู้แจ้ง ผู้มีปัญญาแจ่มแจ้ง ผู้มีปัญญาทำลายกิเลส
ผู้เป็นบัณฑิต ผู้ถึงพร้อมด้วยปัญญาเครื่องตรัสรู้
คำว่า สพรหมจารี อธิบายว่า ผู้ที่มีกรรมอย่างเดียวกัน มีอุทเทสอย่างเดียวกัน
มีสิกขาเสมอกัน
คำว่า ในฐานะที่ลึกซึ้ง อธิบายว่า ฌาน วิโมกข์ สมาธิ สมาบัติ มรรค
ผล อภิญญา และปฏิสัมภิทา ท่านกล่าวว่า เป็นฐานะที่ลึกซึ้ง
คำว่า มั่นใจ ได้แก่ พึงเชื่อ คือ พึงน้อมไป
คำว่า แน่ นี้เป็นคำกล่าวโดยนัยเดียว เป็นคำกล่าวโดยไม่สงสัย เป็นคำกล่าว
โดยไม่เคลือบแคลง เป็นคำกล่าวโดยไม่เป็น ๒ นัย เป็นคำกล่าวโดยไม่เป็น ๒ อย่าง
เป็นคำกล่าวโดยรัดกุม เป็นคำกล่าวโดยไม่ผิด คำว่า แน่ นี้ เป็นคำกล่าวที่กำหนดไว้
แน่นอน


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๓๒๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๔. อินทริยกถา ๔. จตุตถสุตตันตนิทเทส
คำว่า ท่าน นี้เป็นคำกล่าวด้วยความรัก เป็นคำกล่าวโดยความเคารพ คำว่า
ท่านนี้ เป็นคำกล่าวที่มีความเคารพและความยำเกรง
คำว่า บรรลุแล้ว ได้แก่ ถึงแล้ว
คำว่า หรือว่าจักบรรลุ ได้แก่ หรือว่าจักถึง
สุตตันตนิทเทส ที่ ๓ จบ

๔. จตุตถสุตตันตนิทเทส
แสดงสูตรที่ ๔
[๑๙๘] เหตุเกิดขึ้นเหมือนในสูตรข้างต้น๑
ภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้
อินทรีย์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สัทธินทรีย์
๒. วิริยินทรีย์
๓. สตินทรีย์
๔. สมาธินทรีย์
๕. ปัญญินทรีย์
ภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการ นี้แล
อินทรีย์ ๕ ประการนี้พึงเห็นด้วยอาการเท่าไร เพราะมีสภาวะอย่างไร
คือ อินทรีย์ ๕ ประการนี้พึงเห็นด้วยอาการ ๖ อย่าง เพราะมีสภาวะอย่างนี้
คือ พึงเห็นเพราะมีสภาวะเป็นใหญ่ เพราะมีสภาวะเป็นเครื่องชำระศีลที่เป็นเบื้องต้น
ให้หมดจด เพราะมีสภาวะมีประมาณยิ่ง เพราะมีสภาวะตั้งมั่น เพราะมีสภาวะ
ทำให้สิ้นไป เพราะมีสภาวะให้ตั้งอยู่

เชิงอรรถ :
๑ สูตรข้างต้น ในที่นี้หมายถึงสูตรที่ ๑ (ข้อ ๑๘๔ หน้า ๒๙๐ ในเล่มนี้)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๓๒๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๔. อินทริยกถา ๔. จตุตถสุตตันตนิทเทส
(๑) อาธิปเตยยัฏฐนิทเทส
แสดงสภาวะเป็นใหญ่
[๑๙๙] พึงเห็นอินทรีย์เพราะมีสภาวะเป็นใหญ่ เป็นอย่างไร
คือ พึงเห็นสัทธินทรีย์ เพราะมีสภาวะเป็นใหญ่ในความน้อมใจเชื่อแห่งบุคคล
ผู้ละความไม่มีศรัทธา (และ) ด้วยอำนาจแห่งสัทธินทรีย์ พึงเห็นวิริยินทรีย์ เพราะมี
สภาวะประคองไว้ พึงเห็นสตินทรีย์ เพราะมีสภาวะตั้งมั่น พึงเห็นสมาธินทรีย์
เพราะมีสภาวะไม่ฟุ้งซ่าน พึงเห็นปัญญินทรีย์ เพราะมีสภาวะเห็น
พึงเห็นวิริยินทรีย์ เพราะมีสภาวะเป็นใหญ่ในการประคองไว้แห่งบุคคลผู้ละ
ความเกียจคร้าน (และ) ด้วยอำนาจแห่งวิริยินทรีย์ พึงเห็นสตินทรีย์ เพราะมีสภาวะ
ตั้งมั่น พึงเห็นสมาธินทรีย์ เพราะมีสภาวะไม่ฟุ้งซ่าน พึงเห็นปัญญินทรีย์ เพราะมี
สภาวะเห็น พึงเห็นสัทธินทรีย์ เพราะมีสภาวะน้อมใจเชื่อ
พึงเห็นสตินทรีย์ เพราะมีสภาวะเป็นใหญ่ในความตั้งมั่นแห่งบุคคลผู้ละความ
ประมาท (และ) ด้วยอำนาจแห่งสตินทรีย์ พึงเห็นสมาธินทรีย์ เพราะมีสภาวะไม่
ฟุ้งซ่าน พึงเห็นปัญญินทรีย์ เพราะมีสภาวะเห็น พึงเห็นสัทธินทรีย์ เพราะมีสภาวะ
น้อมใจเชื่อ พึงเห็นวิริยินทรีย์ เพราะมีสภาวะประคองไว้
พึงเห็นสมาธินทรีย์ เพราะมีสภาวะเป็นใหญ่ในความไม่ฟุ้งซ่านแห่งบุคคลผู้ละ
อุทธัจจะ (และ) ด้วยอำนาจแห่งสมาธินทรีย์ พึงเห็นปัญญินทรีย์ เพราะมีสภาวะเห็น
พึงเห็นสัทธินทรีย์ เพราะมีสภาวะน้อมใจเชื่อ พึงเห็นวิริยินทรีย์ เพราะมีสภาวะ
ประคองไว้ พึงเห็นสตินทรีย์ เพราะมีสภาวะตั้งมั่น
พึงเห็นปัญญินทรีย์ เพราะมีสภาวะเป็นใหญ่ในการเห็นแห่งบุคคลผู้ละอวิชชา
(และ) ด้วยอำนาจแห่งปัญญินทรีย์ พึงเห็นสัทธินทรีย์ เพราะมีสภาวะน้อมใจเชื่อ
พึงเห็นวิริยินทรีย์ เพราะมีสภาวะประคองไว้ พึงเห็นสตินทรีย์ เพราะมีสภาวะตั้งมั่น
พึงเห็นสมาธินทรีย์ เพราะมีสภาวะไม่ฟุ้งซ่าน
พึงเห็นสัทธินทรีย์ เพราะมีสภาวะเป็นใหญ่ในความน้อมใจเชื่อ ด้วยอำนาจแห่ง
เนกขัมมะของบุคคลผู้ละกามฉันทะ (และ) ด้วยอำนาจแห่งสัทธินทรีย์ พึงเห็น


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๓๒๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๔. อินทริยกถา ๔. จตุตถสุตตันตนิทเทส
วิริยินทรีย์ เพราะมีสภาวะประคองไว้ พึงเห็นสตินทรีย์ เพราะมีสภาวะตั้งมั่น พึงเห็น
สมาธินทรีย์ เพราะมีสภาวะไม่ฟุ้งซ่าน พึงเห็นปัญญินทรีย์ เพราะมีสภาวะเห็น
พึงเห็นวิริยินทรีย์ เพราะมีสภาวะเป็นใหญ่ในการประคองไว้ ด้วยอำนาจแห่ง
เนกขัมมะของบุคคลผู้ละกามฉันทะ (และ) ด้วยอำนาจแห่งวิริยินทรีย์ พึงเห็นสตินทรีย์
เพราะมีสภาวะตั้งมั่น พึงเห็นสมาธินทรีย์ เพราะมีสภาวะไม่ฟุ้งซ่าน พึงเห็น
ปัญญินทรีย์ เพราะมีสภาวะเห็น พึงเห็นสัทธินทรีย์ เพราะมีสภาวะน้อมใจเชื่อ
พึงเห็นสตินทรีย์ เพราะมีสภาวะเป็นใหญ่ในความตั้งมั่น ด้วยอำนาจแห่ง
เนกขัมมะของบุคคลผู้ละกามฉันทะ (และ) ด้วยอำนาจแห่งสตินทรีย์ พึงเห็นสมาธินทรีย์
เพราะมีสภาวะไม่ฟุ้งซ่าน พึงเห็นปัญญินทรีย์ เพราะมีสภาวะเห็น พึงเห็นสัทธินทรีย์
เพราะมีสภาวะน้อมใจเชื่อ
พึงเห็นวิริยินทรีย์ เพราะมีสภาวะประคองไว้ พึงเห็นสมาธินทรีย์ เพราะมี
สภาวะเป็นใหญ่ในความไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยอำนาจแห่งเนกขัมมะของบุคคลผู้ละกามฉันทะ
(และ) ด้วยอำนาจแห่งสมาธินทรีย์ พึงเห็นปัญญินทรีย์ เพราะมีสภาวะเห็น พึงเห็น
สัทธินทรีย์ เพราะมีสภาวะน้อมใจเชื่อ พึงเห็นวิริยินทรีย์ เพราะมีสภาวะประคองไว้
พึงเห็นสตินทรีย์ เพราะมีสภาวะตั้งมั่น
พึงเห็นปัญญินทรีย์ เพราะมีสภาวะเป็นใหญ่ในความเห็น ด้วยอำนาจแห่ง
เนกขัมมะของบุคคลผู้ละกามฉันทะ (และ) ด้วยอำนาจแห่งปัญญินทรีย์ พึงเห็น
สัทธินทรีย์ เพราะมีสภาวะน้อมใจเชื่อ พึงเห็นวิริยินทรีย์ เพราะมีสภาวะประคองไว้
พึงเห็นสตินทรีย์ เพราะมีสภาวะตั้งมั่น พึงเห็นสมาธินทรีย์ เพราะมีสภาวะไม่ฟุ้งซ่าน
พึงเห็นสัทธินทรีย์ เพราะมีสภาวะเป็นใหญ่ในความน้อมใจเชื่อ ด้วยอำนาจแห่ง
อพยาบาทของบุคคลผู้ละพยาบาท ฯลฯ ด้วยอำนาจแห่งอาโลกสัญญาของบุคคลผู้
ละถีนมิทธะ ฯลฯ ด้วยอำนาจแห่งอรหัตตมรรคของบุคคลผู้ละกิเลสทั้งปวง (และ)
ด้วยอำนาจแห่งสัทธินทรีย์ พึงเห็นวิริยินทรีย์ เพราะมีสภาวะประคองไว้ พึงเห็น
สตินทรีย์ เพราะมีสภาวะตั้งมั่น พึงเห็นสมาธินทรีย์ เพราะมีสภาวะไม่ฟุ้งซ่าน
พึงเห็นปัญญินทรีย์ เพราะมีสภาวะเห็น ฯลฯ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๓๒๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๔. อินทริยกถา ๔. จตุตถสุตตันตนิทเทส
พึงเห็นปัญญินทรีย์ เพราะมีสภาวะเป็นใหญ่ในการเห็น ด้วยอำนาจแห่ง
อรหัตตมรรคของบุคคลผู้ละกิเลสทั้งปวง (และ) ด้วยอำนาจแห่งปัญญินทรีย์ พึงเห็น
สัทธินทรีย์ เพราะมีสภาวะน้อมใจเชื่อ พึงเห็นวิริยินทรีย์ เพราะมีสภาวะประคองไว้
พึงเห็นสตินทรีย์ เพราะมีสภาวะตั้งมั่น พึงเห็นสมาธินทรีย์ เพราะมีสภาวะไม่ฟุ้งซ่าน
พึงเห็นอินทรีย์ เพราะมีสภาวะเป็นใหญ่ อย่างนี้ (๑)

(๒) อาทิวิโสธนัฏฐนิทเทส
แสดงสภาวะเครื่องชำระศีลที่เป็นเบื้องต้นให้หมดจด
[๒๐๐] พึงเห็นอินทรีย์ เพราะมีสภาวะเป็นเครื่องชำระศีลที่เป็นเบื้อง
ต้นให้หมดจด เป็นอย่างไร
คือ ชื่อว่าสัทธินทรีย์ เพราะมีสภาวะน้อมใจเชื่อ ชื่อว่าสีลวิสุทธิ เพราะมีสภาวะ
ระวังความไม่มีศรัทธา เป็นเครื่องชำระศีลที่เป็นเบื้องต้นแห่งสัทธินทรีย์ให้หมดจด
ชื่อว่าวิริยินทรีย์ เพราะมีสภาวะประคองไว้ ชื่อว่าสีลวิสุทธิ เพราะมีสภาวะ
ระวังความเกียจคร้าน เป็นเครื่องชำระศีลที่เป็นเบื้องต้นแห่งวิริยินทรีย์ให้หมดจด
ชื่อว่าสตินทรีย์ เพราะมีสภาวะตั้งมั่น ชื่อว่าสีลวิสุทธิ เพราะมีสภาวะระวัง
ความประมาท เป็นเครื่องชำระศีลที่เป็นเบื้องต้นแห่งสตินทรีย์ให้หมดจด
ชื่อว่าสมาธินทรีย์ เพราะมีสภาวะไม่ฟุ้งซ่าน ชื่อว่าสีลวิสุทธิ เพราะมีสภาวะ
ระวังอุทธัจจะ เป็นเครื่องชำระศีลที่เป็นเบื้องต้นแห่งสมาธินทรีย์ให้หมดจด
ชื่อว่าปัญญินทรีย์ เพราะมีสภาวะเห็น ชื่อว่าสีลวิสุทธิ เพราะมีสภาวะระวัง
อวิชชา เป็นเครื่องชำระศีลที่เป็นเบื้องต้นแห่งปัญญินทรีย์ให้หมดจด
อินทรีย์ ๕ ในเนกขัมมะ ชื่อว่าสีลวิสุทธิ เพราะมีสภาวะระวังกามฉันทะ
เป็นเครื่องชำระศีลที่เป็นเบื้องต้นแห่งอินทรีย์ ๕ ให้หมดจด


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๓๒๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๔. อินทริยกถา ๔. จตุตถสุตตันตนิทเทส
อินทรีย์ ๕ ในอพยาบาท ชื่อว่าสีลวิสุทธิ เพราะมีสภาวะระวังพยาบาท
เป็นเครื่องชำระศีลที่เป็นเบื้องต้นแห่งอินทรีย์ ๕ ให้หมดจด ฯลฯ
อินทรีย์ ๕ ในอรหัตตมรรค ชื่อว่าสีลวิสุทธิ เพราะมีสภาวะระวังกิเลสทั้งปวง
เป็นเครื่องชำระศีลที่เป็นเบื้องต้นแห่งอินทรีย์ ๕ ให้หมดจด
พึงเห็นอินทรีย์ เพราะมีสภาวะเป็นเครื่องชำระศีลที่เป็นเบื้องต้นให้หมดจด
อย่างนี้ (๒)

(๓) อธิมัตตัฏฐนิทเทส
แสดงสภาวะมีประมาณยิ่ง
[๒๐๑] พึงเห็นอินทรีย์ เพราะมีสภาวะมีประมาณยิ่ง เป็นอย่างไร
คือ เพราะเจริญสัทธินทรีย์ ฉันทะจึงเกิดขึ้น ด้วยอำนาจฉันทะ ปามุชชะจึง
เกิดขึ้น ด้วยอำนาจปามุชชะ ด้วยอำนาจศรัทธา สัทธินทรีย์จึงมีประมาณยิ่ง
ด้วยอำนาจปามุชชะ ปีติจึงเกิดขึ้น ด้วยอำนาจปีติ ด้วยอำนาจศรัทธา
สัทธินทรีย์จึงมีประมาณยิ่ง
ด้วยอำนาจปีติ ปัสสัทธิจึงเกิดขึ้น ด้วยอำนาจปัสสัทธิ ด้วยอำนาจศรัทธา
สัทธินทรีย์จึงมีประมาณยิ่ง
ด้วยอำนาจปัสสัทธิ สุขจึงเกิดขึ้น ด้วยอำนาจสุข ด้วยอำนาจศรัทธา
สัทธินทรีย์จึงมีประมาณยิ่ง
ด้วยอำนาจสุข โอภาสจึงเกิดขึ้น ด้วยอำนาจโอภาส ด้วยอำนาจศรัทธา
สัทธินทรีย์จึงมีประมาณยิ่ง
ด้วยอำนาจโอภาส ความสังเวชจึงเกิดขึ้น ด้วยอำนาจความสังเวช ด้วยอำนาจ
ศรัทธา สัทธินทรีย์จึงมีประมาณยิ่ง
จิตสังเวชแล้วย่อมตั้งมั่น ด้วยอำนาจสมาธิ ด้วยอำนาจศรัทธา สัทธินทรีย์
จึงมีประมาณยิ่ง


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๓๒๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๔. อินทริยกถา ๔. จตุตถสุตตันตนิทเทส
จิตตั้งมั่นอย่างนั้นแล้วย่อมประคองไว้ดี ด้วยอำนาจการประคองไว้ ด้วยอำนาจ
ศรัทธา สัทธินทรีย์จึงมีประมาณยิ่ง
จิตประคองไว้แล้วอย่างนั้นย่อมวางเฉยดี ด้วยอำนาจอุเบกขา ด้วยอำนาจ
ศรัทธา สัทธินทรีย์จึงมีประมาณยิ่ง
ด้วยอำนาจอุเบกขา จิตจึงหลุดพ้นจากกิเลสที่มีสภาวะต่าง ๆ ด้วยอำนาจ
ความหลุดพ้น ด้วยอำนาจศรัทธา สัทธินทรีย์จึงมีประมาณยิ่ง
เพราะจิตหลุดพ้นแล้ว ธรรมเหล่านั้นจึงมีรสเป็นอย่างเดียวกัน เพราะมี
ความหมายว่าธรรมทั้งหลายมีรสเป็นอย่างเดียวกัน ด้วยอำนาจภาวนา ด้วยอำนาจ
ศรัทธา สัทธินทรีย์จึงมีประมาณยิ่ง
เพราะเป็นธรรมที่เจริญแล้ว ธรรมเหล่านั้นจึงหลีกออกจากธรรมนั้นไปสู่ธรรม
ที่ประณีตกว่า ด้วยอำนาจความหลีกออก ด้วยอำนาจศรัทธา สัทธินทรีย์จึงมี
ประมาณยิ่ง
เพราะหลีกออกแล้ว ฉะนั้น บุคคลจึงสละ(กิเลสและขันธ์)ได้ ด้วยอำนาจ
ความสละ ด้วยอำนาจศรัทธา สัทธินทรีย์จึงมีประมาณยิ่ง
เพราะสละแล้ว ฉะนั้น กิเลสและขันธ์จึงดับ ด้วยอำนาจความดับ ด้วยอำนาจ
ศรัทธา สัทธินทรีย์จึงมีประมาณยิ่ง
ความสละด้วยอำนาจความดับมี ๒ ประการ คือ
๑. ความสละด้วยการบริจาค
๒. ความสละด้วยความแล่นไป
ชื่อว่าความสละด้วยการบริจาค เพราะสละกิเลสและขันธ์ ชื่อว่าความสละด้วย
ความแล่นไป เพราะจิตแล่นไปในนิพพานธาตุที่เป็นความดับ ความสละด้วยอำนาจ
ความดับมี ๒ ประการนี้
เพราะละความไม่มีศรัทธา ฉันทะจึงเกิดขึ้น เพราะละความเร่าร้อนเพราะ
ความไม่มีศรัทธา ฉันทะจึงเกิดขึ้น เพราะละกิเลสที่ตั้งอยู่รวมกันกับทิฏฐิ ฉันทะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๓๒๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๔. อินทริยกถา ๔. จตุตถสุตตันตนิทเทส
จึงเกิดขึ้น เพราะละกิเลสส่วนที่หยาบ ฉันทะจึงเกิดขึ้น เพราะละกิเลสส่วนที่ละเอียด
ฉันทะจึงเกิดขึ้น เพราะละกิเลสทั้งปวง ฉันทะจึงเกิดขึ้น ด้วยอำนาจศรัทธา
ด้วยอำนาจฉันทะ สัทธินทรีย์จึงมีประมาณยิ่ง
เพราะเจริญวิริยินทรีย์ ฉันทะจึงเกิดขึ้น ฯลฯ เพราะละความเกียจคร้าน
ฉันทะจึงเกิดขึ้น เพราะละความเร่าร้อนเพราะความเกียจคร้าน ฉันทะจึงเกิดขึ้น ฯลฯ
เพราะเจริญสตินทรีย์ ฉันทะจึงเกิดขึ้น ฯลฯ เพราะละความประมาท
ฉันทะจึงเกิดขึ้น เพราะละความเร่าร้อนเพราะความประมาท ฉันทะจึงเกิดขึ้น ฯลฯ
เพราะเจริญสมาธินทรีย์ ฉันทะจึงเกิดขึ้น ฯลฯ เพราะละอุทธัจจะ ฉันทะจึง
เกิดขึ้น เพราะละความเร่าร้อนเพราะอุทธัจจะ ฉันทะจึงเกิดขึ้น ฯลฯ
เพราะเจริญปัญญินทรีย์ ฉันทะจึงเกิดขึ้น ด้วยอำนาจฉันทะ ปามุชชะจึงเกิดขึ้น
ด้วยอำนาจปามุชชะ ด้วยอำนาจปัญญา ปัญญินทรีย์จึงมีประมาณยิ่ง
ด้วยอำนาจปามุชชะ ปีติจึงเกิดขึ้น ด้วยอำนาจปีติ ด้วยอำนาจปัญญา
ปัญญินทรีย์จึงมีประมาณยิ่ง
ด้วยอำนาจปีติ ปัสสัทธิจึงเกิดขึ้น ด้วยอำนาจปัสสัทธิ ด้วยอำนาจปัญญา
ปัญญินทรีย์จึงมีประมาณยิ่ง
ด้วยอำนาจปัสสัทธิ สุขจึงเกิดขึ้น ด้วยอำนาจสุข ด้วยอำนาจปัญญา
ปัญญินทรีย์จึงมีประมาณยิ่ง
ด้วยอำนาจสุข โอภาสจึงเกิดขึ้น ด้วยอำนาจโอภาส ด้วยอำนาจปัญญา
ปัญญินทรีย์จึงมีประมาณยิ่ง
ด้วยอำนาจโอภาส ความสังเวชจึงเกิดขึ้น ด้วยอำนาจความสังเวช ด้วยอำนาจ
ปัญญา ปัญญินทรีย์จึงมีประมาณยิ่ง
จิตสังเวชแล้วย่อมตั้งมั่น ด้วยอำนาจสมาธิ ด้วยอำนาจปัญญา ปัญญินทรีย์
จึงมีประมาณยิ่ง


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๓๒๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๔. อินทริยกถา ๔. จตุตถสุตตันตนิทเทส
จิตตั้งมั่นแล้วอย่างนี้ย่อมประคองไว้ดี ด้วยอำนาจการประคองไว้ ด้วยอำนาจ
ปัญญา ปัญญินทรีย์จึงมีประมาณยิ่ง
จิตที่ประคองไว้แล้วอย่างนั้นย่อมวางเฉยดี ด้วยอำนาจอุเบกขา ด้วยอำนาจ
ปัญญา ปัญญินทรีย์จึงมีประมาณยิ่ง
ด้วยอำนาจอุเบกขา จิตจึงหลุดพ้นจากกิเลสที่มีสภาวะต่าง ๆ ด้วยอำนาจ
ความหลุดพ้น ด้วยอำนาจปัญญา ปัญญินทรีย์จึงมีประมาณยิ่ง
เพราะจิตหลุดพ้นแล้ว ธรรมเหล่านั้นจึงมีรสเป็นอย่างเดียวกัน เพราะมี
ความหมายว่าธรรมทั้งหลายมีรสเป็นอย่างเดียวกัน ด้วยอำนาจภาวนา ด้วยอำนาจ
ปัญญา ปัญญินทรีย์จึงมีประมาณยิ่ง
เพราะเป็นธรรมที่เจริญแล้ว ธรรมเหล่านั้นจึงหลีกออกจากธรรมนั้นไปสู่ธรรม
ที่ประณีตกว่า ด้วยอำนาจความหลีกออก ด้วยอำนาจปัญญา ปัญญินทรีย์จึงมี
ประมาณยิ่ง
เพราะหลีกออกแล้ว บุคคลจึงสละ(กิเลสและขันธ์)ได้ ด้วยอำนาจความสละ
ด้วยอำนาจปัญญา ปัญญินทรีย์จึงมีประมาณยิ่ง
เพราะสละแล้ว ฉะนั้น กิเลสและขันธ์จึงดับ ด้วยอำนาจความดับ ด้วยอำนาจ
ปัญญา ปัญญินทรีย์จึงมีประมาณยิ่ง
ความสละด้วยอำนาจความดับมี ๒ ประการ คือ
๑. ความสละด้วยการบริจาค
๒. ความสละด้วยความแล่นไป
ชื่อว่าความสละด้วยการบริจาค เพราะสละกิเลสและขันธ์ ชื่อว่าความสละด้วย
ความแล่นไป เพราะจิตแล่นไปในนิพพานธาตุที่เป็นความดับ ความสละด้วยอำนาจ
ความดับมี ๒ ประการนี้
พึงเห็นอินทรีย์ เพราะมีสภาวะมีประมาณยิ่งอย่างนี้

ทุติยภาณวาร จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๓๒๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๔. อินทริยกถา ๔. จตุตถสุตตันตนิทเทส
(๔) อธิฏฐานัฏฐนิทเทส
แสดงสภาวะตั้งมั่น
[๒๐๒] พึงเห็นอินทรีย์เพราะมีสภาวะตั้งมั่น เป็นอย่างไร
คือ เพราะเจริญสัทธินทรีย์ ฉันทะจึงเกิดขึ้น ด้วยอำนาจฉันทะ ด้วยอำนาจ
ศรัทธา สัทธินทรีย์จึงตั้งมั่น ด้วยอำนาจฉันทะ ปามุชชะจึงเกิดขึ้น ด้วยอำนาจ
ปามุชชะ ด้วยอำนาจศรัทธา สัทธินทรีย์ย่อมตั้งมั่น ฯลฯ๑
พึงเห็นอินทรีย์ เพราะมีสภาวะตั้งมั่นอย่างนี้

(๕) ปริยาทานัฏฐนิทเทส
แสดงสภาวะทำให้สิ้นไป
พึงเห็นอินทรีย์เพราะมีสภาวะทำให้สิ้นไป เป็นอย่างไร
คือ เพราะมีสภาวะน้อมใจเชื่อ สัทธินทรีย์จึงทำความไม่มีศรัทธาให้สิ้นไป
ทำความเร่าร้อนเพราะความไม่มีศรัทธาให้สิ้นไป
เพราะมีสภาวะประคองไว้ วิริยินทรีย์จึงทำความเกียจคร้านให้สิ้นไป ทำความ
เร่าร้อนเพราะความเกียจคร้านให้สิ้นไป
เพราะมีสภาวะตั้งมั่น สตินทรีย์จึงทำความประมาทให้สิ้นไป ทำความเร่าร้อน
เพราะความประมาทให้สิ้นไป
เพราะมีสภาวะไม่ฟุ้งซ่าน สมาธินทรีย์จึงทำอุทธัจจะให้สิ้นไป ทำความเร่าร้อน
เพราะอุทธัจจะให้สิ้นไป
เพราะมีสภาวะเห็น ปัญญินทรีย์จึงทำอวิชชาให้สิ้นไป ทำความเร่าร้อน
เพราะอวิชชาให้สิ้นไป
อินทรีย์ ๕ ในเนกขัมมะ ทำกามฉันทะให้สิ้นไป

เชิงอรรถ :
๑ ดูความเต็มองค์ธรรมในข้อ ๒๐๑ หน้า ๓๒๖-๓๒๙ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๓๓๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๔. อินทริยกถา ๔. จตุตถสุตตันตนิทเทส
อินทรีย์ ๕ ในอพยาบาท ทำพยาบาทให้สิ้นไป
อินทรีย์ ๕ ในอาโลกสัญญา ทำถีนมิทธะให้สิ้นไป
อินทรีย์ ๕ ในอวิกเขปะ ทำอุทธัจจะให้สิ้นไป
ฯลฯ๑
อินทรีย์ ๕ ในอรหัตตมรรค ทำกิเลสทั้งปวงให้สิ้นไป
พึงเห็นอินทรีย์ ๕ เพราะมีสภาวะทำให้สิ้นไปอย่างนี้

(๖) ปติฏฐาปกัฏฐนิทเทส
แสดงสภาวะให้ตั้งอยู่
[๒๐๓] พึงเห็นอินทรีย์ เพราะมีสภาวะให้ตั้งอยู่ เป็นอย่างไร
คือ ผู้มีศรัทธาให้สัทธินทรีย์ตั้งอยู่ในความน้อมใจเชื่อ สัทธินทรีย์ของผู้มี
ศรัทธาให้ผู้มีศรัทธาตั้งอยู่ในความน้อมใจเชื่อ
ผู้มีความเพียรให้วิริยินทรีย์ตั้งอยู่ในการประคองไว้ วิริยินทรีย์ของผู้มีความ
เพียรให้ผู้มีความเพียรตั้งอยู่ในการประคองไว้
ผู้มีสติให้สตินทรีย์ตั้งอยู่ในความตั้งมั่น สตินทรีย์ของผู้มีสติให้ผู้มีสติตั้งอยู่ใน
ความตั้งมั่น
ผู้มีจิตตั้งมั่นให้สมาธินทรีย์ตั้งอยู่ในอวิกเขปะ สมาธินทรีย์ของผู้มีจิตตั้งมั่นให้ผู้
มีจิตตั้งมั่นตั้งอยู่ในอวิกเขปะ
ผู้มีปัญญาให้ปัญญินทรีย์ตั้งอยู่ในความเห็น ปัญญินทรีย์ของผู้มีปัญญาให้ผู้มี
ปัญญาตั้งอยู่ในความเห็น
พระโยคาวจรให้อินทรีย์ ๕ ตั้งอยู่ในเนกขัมมะ อินทรีย์ ๕ ของพระโยคาวจร
ให้พระโยคาวจรตั้งอยู่ในเนกขัมมะ

เชิงอรรถ :
๑ ดูความเต็มองค์ธรรมในข้อ ๑๙๒-๑๙๓ หน้า ๓๐๗-๓๐๙ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๓๓๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๔. อินทริยกถา ๕. อินทริยสโมธาน
พระโยคาวจรให้อินทรีย์ ๕ ตั้งอยู่ในอพยาบาท อินทรีย์ ๕ ของพระโยคาวจร
ให้พระโยคาวจรตั้งอยู่ในอพยาบาท
พระโยคาวจรให้อินทรีย์ ๕ ตั้งอยู่ในอาโลกสัญญา อินทรีย์ ๕ ของพระโยคาวจร
ให้พระโยคาวจรตั้งอยู่ในอาโลกสัญญา
พระโยคาวจรให้อินทรีย์ ๕ ตั้งอยู่ในอวิกเขปะ อินทรีย์ ๕ ของพระโยคาวจร
ให้พระโยคาวจรตั้งอยู่ในอวิกเขปะ ฯลฯ๑
พระโยคาวจรให้อินทรีย์ ๕ ตั้งอยู่ในอรหัตตมรรค อินทรีย์ ๕ ของพระโยคาวจร
ให้พระโยคาวจรตั้งอยู่ในอรหัตตมรรค
พึงเห็นอินทรีย์ เพราะมีสภาวะให้ตั้งอยู่อย่างนี้
สุตตันตนิทเทสที่ ๔ จบ

๕. อินทริยสโมธาน
ว่าด้วยการประชุมอินทรีย์
[๒๐๔] ปุถุชนเมื่อเจริญสมาธิ เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ด้วยอาการเท่าไร
พระเสขะเมื่อเจริญสมาธิ เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ด้วยอาการเท่าไร ท่านผู้
ปราศจากราคะเมื่อเจริญสมาธิ เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ด้วยอาการเท่าไร
คือ ปุถุชนเมื่อเจริญสมาธิ เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ด้วยอาการ ๗ อย่าง พระ
เสขะเมื่อเจริญสมาธิ เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ด้วยอาการ ๘ อย่าง ท่านผู้ปราศจาก
ราคะเมื่อเจริญสมาธิ เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ด้วยอาการ ๑๐ อย่าง
ปุถุชนเมื่อเจริญสมาธิ เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ด้วยอาการ ๗ อย่าง
อะไรบ้าง
คือ เพราะน้อมนึกถึงแล้ว ปุถุชน
๑. เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ซึ่งอารมณ์
๒. เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ซึ่งสมถนิมิต

เชิงอรรถ :
๑ ดูความเต็มองค์ธรรมในข้อ ๑๙๒-๑๙๓ หน้า ๓๐๗-๓๐๙ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๓๓๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๔. อินทริยกถา ๕. อินทริยสโมธาน
๓. เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ซึ่งปัคคหนิมิต
๔. เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ซึ่งอวิกเขปะ
๕. เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ซึ่งโอภาส
๖. เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ซึ่งสัมปหังสนะ
๗. เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ซึ่งอุเบกขา
ปุถุชนเมื่อเจริญสมาธิ เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ด้วยอาการ ๗ อย่างนี้
พระเสขะเมื่อเจริญสมาธิ เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ด้วยอาการ ๘ อย่าง
อะไรบ้าง
คือ เพราะน้อมนึกถึงแล้ว พระเสขะ
๑. เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ซึ่งอารมณ์
๒. เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ซึ่งสมถนิมิต
๓. เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ซึ่งปัคคหนิมิต
๔. เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ซึ่งอวิกเขปะ
๕. เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ซึ่งโอภาส
๖. เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ซึ่งสัมปหังสนะ
๗. เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ซึ่งอุเบกขา
๘. เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ซึ่งสภาวะเดียว
พระเสขะเมื่อเจริญสมาธิ เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ด้วยอาการ ๘ อย่างนี้
ท่านผู้ปราศจากราคะเมื่อเจริญสมาธิ เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ด้วยอาการ
๑๐ อย่าง อะไรบ้าง
คือ เพราะน้อมนึกถึงแล้ว ท่านผู้ปราศจากราคะ
๑. เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ซึ่งอารมณ์
ฯลฯ
๘. เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ซึ่งสภาวะเดียว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๓๓๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๔. อินทริยกถา ๕. อินทริยสโมธาน
๙. เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ซึ่งญาณ
๑๐. เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ซึ่งจิต
ท่านผู้ปราศจากราคะเมื่อเจริญสมาธิ เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ด้วยอาการ ๑๐
อย่างนี้
[๒๐๕] ปุถุชนเมื่อเจริญวิปัสสนา เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ด้วยอาการเท่าไร
เป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้ด้วยอาการเท่าไร
พระเสขะเมื่อเจริญวิปัสสนา เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ด้วยอาการเท่าไร เป็นผู้
ฉลาดในความไม่ตั้งไว้ด้วยอาการเท่าไร
ท่านผู้ปราศจากราคะเมื่อเจริญวิปัสสนา เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ด้วยอาการ
เท่าไร เป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้ด้วยอาการเท่าไร
คือ ปุถุชนเมื่อเจริญวิปัสสนา เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ด้วยอาการ ๙ อย่าง
เป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้ด้วยอาการ ๙ อย่าง
พระเสขะเมื่อเจริญวิปัสสนา เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ด้วยอาการ ๑๐ อย่าง
เป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้ด้วยอาการ ๑๐ อย่าง
ท่านผู้ปราศจากราคะเมื่อเจริญวิปัสสนา เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ด้วยอาการ
๑๒ อย่าง เป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้ด้วยอาการ ๑๒ อย่าง
ปุถุชนเมื่อเจริญวิปัสสนา เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ด้วยอาการ ๙ อย่าง
อะไรบ้าง เป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้ด้วยอาการ ๙ อย่าง อะไรบ้าง
คือ ปุถุชนเมื่อเจริญวิปัสสนา
๑. เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้โดยความไม่เที่ยง
๒. เป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้โดยความเที่ยง
๓. เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้โดยความเป็นทุกข์
๔. เป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้โดยความเป็นสุข

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๓๓๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๔. อินทริยกถา ๕. อินทริยสโมธาน
๕. เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้โดยความเป็นอนัตตา
๖. เป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้โดยความเป็นอัตตา
๗. เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้โดยความสิ้นไป
๘. เป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้โดยความเป็นก้อน
๙. เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้โดยความเสื่อมไป
๑๐. เป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้โดยความประมวลมา
๑๑. เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้โดยความแปรผัน
๑๒. เป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้โดยความยั่งยืน
๑๓. เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้โดยอนิมิต
๑๔. เป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้โดยนิมิต
๑๕. เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้โดยความไม่มีปณิหิตะ (ที่ตั้ง)
๑๖. เป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้โดยปณิธิ
๑๗. เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้โดยสุญญตะ (ความว่าง)
๑๘. เป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้โดยอภินิเวส (ความยึดมั่น)
ปุถุชนเมื่อเจริญวิปัสสนา เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ด้วยอาการ ๙ อย่างนี้ เป็น
ผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้ด้วยอาการ ๙ อย่างนี้
[๒๐๖] พระเสขะเมื่อเจริญวิปัสสนา เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ด้วยอาการ
๑๐ อย่าง อะไรบ้าง เป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้ด้วยอาการ ๑๐ อย่าง อะไรบ้าง
คือ พระเสขะเมื่อเจริญวิปัสสนา
๑. เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้โดยความไม่เที่ยง
๒. เป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้โดยความเที่ยง
ฯลฯ
๑๗. เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้โดยสุญญตะ
๑๘. เป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้โดยอภินิเวส
๑๙. เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ซึ่งญาณ
๒๐. เป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้ซึ่งสิ่งที่มิใช่ญาณ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๓๓๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๔. อินทริยกถา ๕. อินทริยสโมธาน
พระเสขะเมื่อเจริญวิปัสสนา เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ด้วยอาการ ๑๐ อย่างนี้
เป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้ด้วยอาการ ๑๐ อย่างนี้
ท่านผู้ปราศจากราคะเมื่อเจริญวิปัสสนา เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ด้วย
อาการ ๑๒ อย่าง อะไรบ้าง เป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้ด้วยอาการ ๑๒ อย่าง
อะไรบ้าง
คือ ท่านผู้ปราศจากราคะเมื่อเจริญวิปัสสนา
๑. เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้โดยความไม่เที่ยง
๒. เป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้โดยความเที่ยง
ฯลฯ
๑๙. เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ซึ่งญาณ
๒๐. เป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้ซึ่งสิ่งที่มิใช่ญาณ
๒๑. เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้โดยความไม่เกี่ยวข้อง
๒๒. เป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้โดยความเกี่ยวข้อง
๒๓. เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้โดยความดับ
๒๔. เป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้ในสังขาร
ท่านผู้ปราศจากราคะเมื่อเจริญวิปัสสนา เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ด้วยอาการ
๑๒ อย่างนี้ เป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้ด้วยอาการ ๑๒ อย่างนี้
เพราะน้อมนึกถึงแล้ว ภิกษุให้อินทรีย์ทั้งหลายประชุมลง ด้วยอำนาจความ
เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ซึ่งอารมณ์ รู้ชัดโคจร และรู้แจ้งธรรมอันมีความสงบเป็น
ประโยชน์ ฯลฯ๑ ให้ธรรมทั้งหลายประชุมลง รู้ชัดโคจร และรู้แจ้งธรรมอันมีความ
สงบเป็นประโยชน์
คำว่า ให้อินทรีย์ทั้งหลายประชุมลง อธิบายว่า ให้อินทรีย์ทั้งหลาย
ประชุมลงอย่างไร
คือ ให้สัทธินทรีย์ประชุมลง เพราะมีสภาวะน้อมใจเชื่อ ฯลฯ ให้อินทรีย์ทั้งหลาย
ประชุมลง ด้วยอำนาจความเป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ซึ่งสมถนิมิต ฯลฯ ด้วยอำนาจ

เชิงอรรถ :
๑ ดูความเต็มข้อ ๑๖๘ หน้า ๒๖๑ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๓๓๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๔. อินทริยกถา ๕. อินทริยสโมธาน
ความเป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ซึ่งปัคคหนิมิต ฯลฯ ด้วยอำนาจความเป็นผู้ฉลาด
ในความตั้งไว้ซึ่งอวิกเขปะ ฯลฯ ด้วยอำนาจความเป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ซึ่ง
สัมปหังสนะ ฯลฯ ด้วยอำนาจความเป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ซึ่งอุเบกขา ฯลฯ ด้วย
อำนาจความเป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ซึ่งสภาวะเดียว ฯลฯ ด้วยอำนาจความเป็น
ผู้ฉลาดในความตั้งไว้ซึ่งญาณ ฯลฯ ด้วยอำนาจความเป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ซึ่งจิต
(ให้อินทรีย์ทั้งหลายประชุมลง) ด้วยอำนาจความเป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้โดย
ความไม่เที่ยง ฯลฯ ด้วยอำนาจความเป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้โดยความเที่ยง ฯลฯ
ด้วยอำนาจความเป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้โดยความเป็นทุกข์ ฯลฯ ด้วยอำนาจ
ความเป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้โดยความเป็นสุข ฯลฯ ด้วยอำนาจความเป็นผู้ฉลาด
ในความตั้งไว้โดยความเป็นอนัตตา ฯลฯ ด้วยอำนาจความเป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้
โดยความเป็นอัตตา ฯลฯ ด้วยอำนาจความเป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้โดยความสิ้นไป
ฯลฯ ด้วยอำนาจความเป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้โดยความเป็นก้อน ฯลฯ ด้วย
อำนาจความเป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้โดยความเสื่อมไป ฯลฯ ด้วยอำนาจความเป็น
ผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้โดยความประมวลมา ฯลฯ ด้วยอำนาจความเป็นผู้ฉลาดใน
ความตั้งไว้โดยความแปรผัน ฯลฯ ด้วยอำนาจความเป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้
โดยความยั่งยืน ฯลฯ ด้วยอำนาจความเป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้โดยอนิมิต ฯลฯ
ด้วยอำนาจความเป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้โดยนิมิต ฯลฯ ด้วยอำนาจความเป็นผู้
ฉลาดในความตั้งไว้โดยความไม่มีปณิหิตะ ฯลฯ ด้วยอำนาจความเป็นผู้ฉลาดใน
ความไม่ตั้งไว้โดยปณิธิ ฯลฯ ด้วยอำนาจความเป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้โดยสุญญตะ
ฯลฯ ด้วยอำนาจความเป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้โดยอภินิเวส ฯลฯ ด้วยอำนาจ
ความเป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ซึ่งญาณ ฯลฯ ด้วยอำนาจความเป็นผู้ฉลาดใน
ความไม่ตั้งไว้ซึ่งสิ่งที่มิใช่ญาณ ฯลฯ ด้วยอำนาจความเป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ซึ่ง
ความไม่เกี่ยวข้อง ฯลฯ ด้วยอำนาจความเป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้ซึ่งความเกี่ยวข้อง
ฯลฯ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๓๓๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๔. อินทริยกถา ๕. อินทริยสโมธาน
(ให้อินทรีย์ทั้งหลายประชุมลง) ด้วยอำนาจความเป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ซึ่ง
ความดับ ภิกษุย่อมให้อินทรีย์ทั้งหลายประชุมลง รู้ชัดโคจร และรู้แจ้งธรรมอันมี
ความสงบเป็นประโยชน์ (ด้วยอำนาจความเป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้ซึ่งสังขาร)
[๒๐๗] ปัญญาที่มีความชำนาญในอินทรีย์ ๓ ประการ โดยอาการ ๖๔
ชื่อว่าอาสวักขยญาณ๑
อินทรีย์ ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. อนัญญาตัญญัสสามีตินทรีย์
๒. อัญญินทรีย์
๓. อัญญาตาวินทรีย์
อนัญญาตัญญัสสามีตินทรีย์ ย่อมถึงฐานะเท่าไร อัญญินทรีย์ ย่อมถึงฐานะ
เท่าไร อัญญาตาวินทรีย์ ย่อมถึงฐานะเท่าไร
คือ อนัญญาตัญญัสสามีตินทรีย์ ย่อมถึงฐานะ ๑ คือ โสดาปัตติมรรค
อัญญินทรีย์ ย่อมถึงฐานะ ๖ คือ โสดาปัตติผล สกทาคามิมรรค สกทาคามิผล
อนาคามิมรรค อนาคามิผล อรหัตตมรรค
อัญญาตาวินทรีย์ ย่อมถึงฐานะ ๑ คือ อรหัตตผล
ในขณะแห่งโสดาปัตติมรรค อนัญญาตัญญัสสามีตินทรีย์มีสัทธินทรีย์ซึ่งมี
ความน้อมใจเชื่อเป็นบริวาร มีวิริยินทรีย์ซึ่งมีการประคองไว้เป็นบริวาร มีสตินทรีย์
ซึ่งมีความตั้งมั่นเป็นบริวาร มีสมาธินทรีย์ซึ่งมีความไม่ฟุ้งซ่านเป็นบริวาร
มีปัญญินทรีย์ซึ่งมีความเห็นเป็นบริวาร มีมนินทรีย์ซึ่งมีความรู้แจ้งเป็นบริวาร
มีโสมนัสสินทรีย์ซึ่งมีความยินดีเป็นบริวาร มีชีวิตินทรีย์ซึ่งมีความเป็นใหญ่ในความ
สืบต่อที่กำลังเป็นไป เป็นบริวาร

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบข้อ ๑๐๗ หน้า ๑๖๕ ในอาสวักขยญาณนิทเทสในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๓๓๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๔. อินทริยกถา ๕. อินทริยสโมธาน
ธรรมทั้งหลายที่เกิดในขณะแห่งโสดาปัตติมรรค ยกเว้นรูปที่มีจิตเป็นสมุฏฐาน
ทั้งหมดเป็นกุศล ทั้งหมดไม่มีอาสวะ ทั้งหมดเป็นธรรมเครื่องนำออก ทั้งหมดเป็น
เครื่องให้ถึงความไม่สั่งสม ทั้งหมดเป็นโลกุตตระ ทั้งหมดมีนิพพานเป็นอารมณ์
ในขณะแห่งโสดาปัตติมรรค อนัญญาตัญญัสสามีตินทรีย์มีอินทรีย์ ๘ ประการนี้
ซึ่งมีสหชาตธรรมเป็นบริวาร มีธรรมที่อาศัยกันและกันเป็นบริวาร มีธรรมที่
อาศัยกันเป็นบริวาร มีธรรมที่ประกอบร่วมกันเป็นบริวาร ไปร่วมกัน เกิดร่วมกัน
เกี่ยวข้องกัน ประกอบร่วมกัน ธรรมเหล่านั้นเป็นอาการและเป็นบริวารของ
อนัญญาตัญญัสสามีตินทรีย์นั้น
ในขณะแห่งโสดาปัตติผล ฯลฯ
ในขณะแห่งอรหัตตผล อัญญาตาวินทรีย์มีสัทธินทรีย์ซึ่งมีความน้อมใจเชื่อเป็น
บริวาร ฯลฯ มีชีวิตินทรีย์ซึ่งมีความเป็นใหญ่ในความสืบต่อที่กำลังเป็นไปเป็นบริวาร
ธรรมทั้งหลายที่เกิดในขณะแห่งอรหัตตผล ยกเว้นรูปที่มีจิตเป็นสมุฏฐาน
ทั้งหมดเป็นอัพยากฤต ทั้งหมดไม่มีอาสวะ ทั้งหมดเป็นโลกุตตระ ทั้งหมดมีนิพพาน
เป็นอารมณ์
ในขณะแห่งอรหัตตผล อัญญาตาวินทรีย์มีอินทรีย์ ๘ ประการนี้ ซึ่งมีสหชาต
ธรรมเป็นบริวาร ธรรมเหล่านี้เป็นอาการและเป็นบริวารของอัญญาตาวินทรีย์นั้น
อินทรีย์ ๘ รวม ๘ หมวดนี้ จึงเป็นอาการ ๖๔ ด้วยประการฉะนี้
คำว่า อาสวะ อธิบายว่า อาสวะเหล่านั้น อะไรบ้าง
คือ กามาสวะ ภวาสวะ ทิฏฐาสวะ อวิชชาสวะ
อาสวะเหล่านั้นย่อมสิ้นไป ณ ที่ไหน
คือ ทิฏฐาสวะทั้งสิ้นย่อมสิ้นไปด้วยโสดาปัตติมรรค กามาสวะซึ่งเป็นเหตุให้
สัตว์ไปสู่อบาย ภวาสวะซึ่งเป็นเหตุให้สัตว์ไปสู่อบาย อวิชชาสวะซึ่งเป็นเหตุให้สัตว์
ไปสู่อบาย ย่อมสิ้นไปด้วยโสดาปัตติมรรค อาสวะเหล่านี้ย่อมสิ้นไปในขณะแห่ง
โสดาปัตติมรรคนี้


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๓๓๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๔. อินทริยกถา ๕. อินทริยสโมธาน
กามาสวะส่วนหยาบย่อมสิ้นไปด้วยสกทาคามิมรรค ภวาสวะซึ่งตั้งอยู่ร่วมกับ
กามาสวะนั้น อวิชชาสวะซึ่งตั้งอยู่ร่วมกับกามาสวะนั้น ย่อมสิ้นไปด้วยสกทาคามิ-
มรรค อาสวะเหล่านี้ย่อมสิ้นไปในขณะแห่งสกทาคามิมรรคนี้
กามาสวะทั้งสิ้นย่อมสิ้นไปด้วยอนาคามิมรรค ภวาสวะซึ่งตั้งอยู่ร่วมกับ
กามาสวะนั้น อวิชชาสวะซึ่งตั้งอยู่ร่วมกับกามาสวะนั้น ย่อมสิ้นไปด้วยอนาคามิ-
มรรค อาสวะเหล่านี้ย่อมสิ้นไปในขณะแห่งอนาคามิมรรคนี้
ภวาสวะทั้งสิ้น อวิชชาสวะทั้งสิ้นย่อมสิ้นไปด้วยอรหัตตมรรค อาสวะเหล่านี้
ย่อมสิ้นไปในขณะแห่งอรหัตตมรรคนี้
[๒๐๘] สิ่งไร ๆ ในไตรโลกธาตุนี้
พระปัญญาจักขุของพระตถาคตนั้นไม่ทรงเห็น ไม่มีเลย
อนึ่ง ธรรมชาติอะไร ๆ ที่ควรรู้
พระพุทธญาณไม่รู้แจ้งก็ไม่มี
ธรรมชาติที่ควรแนะนำใดมีอยู่
พระตถาคตได้ทรงทราบธรรมชาติที่ควรแนะนำนั้นทั้งหมด
เพราะเหตุนั้น พระตถาคตจึงชื่อว่ามีพระสมันตจักขุ๑
คำว่า สมันตจักขุ อธิบายว่า ชื่อว่าสมันตจักขุ เพราะมีความหมายว่าอย่างไร
คือ พระพุทธญาณ ๑๔ ประการ ได้แก่
๑. ญาณในทุกข์ ชื่อว่าพุทธญาณ
๒. ญาณในทุกขสมุทัย ชื่อว่าพุทธญาณ
ฯลฯ
๑๓. สัพพัญญุตญาณ ชื่อว่าพุทธญาณ
๑๔. อนาวรณญาณ ชื่อว่าพุทธญาณ

เชิงอรรถ :
๑ ขุ.ม. (แปล) ๒๙/๑๕๖/๔๓๑, ขุ.จู. (แปล) ๓๐/๘๕/๓๐๕

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๓๔๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๔. อินทริยกถา ๕. อินทริยสโมธาน
พระพุทธญาณ ๑๔ ประการนี้แล บรรดาพุทธญาณ ๑๔ ประการนี้ ญาณ ๘
ประการเบื้องต้นเป็นญาณที่ทั่วไปแก่สาวก ส่วนญาณอีก ๖ ประการเบื้องปลาย
เป็นญาณที่ไม่ทั่วไปแก่สาวก
สภาวะที่ทนได้ยากแห่งทุกข์พระตถาคตทรงทราบแล้วตลอดทั้งหมด ที่ไม่ทรง
ทราบไม่มี เพราะเหตุนั้น พระตถาคตจึงชื่อว่ามีพระสมันตจักขุ สมันตจักขุเป็น
ปัญญินทรีย์ เป็นสัทธินทรีย์เพราะมีสภาวะน้อมใจเชื่อ เป็นวิริยินทรีย์เพราะมีสภาวะ
ประคองไว้ เป็นสตินทรีย์เพราะมีสภาวะตั้งมั่น เป็นสมาธินทรีย์ เพราะมีสภาวะไม่
ฟุ้งซ่าน ด้วยอำนาจแห่งปัญญินทรีย์ สภาวะที่ทนได้ยากแห่งทุกข์พระตถาคตทรง
เห็นแล้ว ทรงทราบแล้ว ทรงทำให้แจ้งแล้ว ทรงถูกต้องแล้วด้วยพระปัญญาตลอด
ทั้งหมด ที่ไม่ทรงถูกต้องแล้วด้วยพระปัญญาไม่มี เพราะเหตุนั้น พระตถาคตจึง
ชื่อว่ามีพระสมันตจักขุ สมันตจักขุเป็นปัญญินทรีย์ เป็นสัทธินทรีย์เพราะมีสภาวะ
น้อมใจเชื่อ เป็นวิริยินทรีย์เพราะมีสภาวะประคองไว้ เป็นสตินทรีย์เพราะมีสภาวะ
ตั้งมั่น เป็นสมาธินทรีย์เพราะมีสภาวะไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยอำนาจแห่งปัญญินทรีย์
สภาวะที่เป็นเหตุแห่งสมุทัย ฯลฯ
สภาวะที่เป็นความดับแห่งนิโรธ ฯลฯ
สภาวะที่เป็นทางแห่งมรรค ฯลฯ
สภาวะแห่งปัญญาที่แตกฉานดีในอรรถแห่งอัตถปฏิสัมภิทา ฯลฯ
สภาวะแห่งปัญญาที่แตกฉานดีในธรรมแห่งธัมมปฏิสัมภิทา ฯลฯ
สภาวะแห่งปัญญาที่แตกฉานดีในนิรุตติแห่งนิรุตติปฏิสัมภิทา ฯลฯ
สภาวะแห่งปัญญาที่แตกฉานดีในปฏิภาณแห่งปฏิภาณปฏิสัมภิทา ฯลฯ
ญาณในความยิ่งและความหย่อนแห่งอินทรีย์ทั้งหลาย ฯลฯ
ญาณในอาสยะและอนุสัยของสัตว์ทั้งหลาย ฯลฯ
ญาณในยมกปาฏิหาริย์ ฯลฯ
ญาณในพระมหากรุณาสมาบัติ ฯลฯ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๓๔๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๔. อินทริยกถา ๕. อินทริยสโมธาน
รูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ฟัง อารมณ์ที่ได้ทราบ ธรรมารมณ์ที่รู้แจ้ง ที่ถึง ที่แสวงหา
ที่ตรองตามด้วยใจ แห่งโลกพร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์ พร้อม
ทั้งสมณะ พราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย พระตถาคตทรงทราบแล้ว ทรงรู้แล้ว
ทรงทำให้แจ้งแล้ว ทรงถูกต้องแล้วด้วยพระปัญญาตลอดทั้งหมด ที่ไม่ทรงถูกต้องแล้ว
ด้วยพระปัญญาไม่มี เพราะเหตุนั้น พระตถาคตจึงชื่อว่ามีพระสมันตจักขุ สมันตจักขุ
เป็นปัญญินทรีย์ เป็นสัทธินทรีย์เพราะมีสภาวะน้อมใจเชื่อ เป็นวิริยินทรีย์เพราะมี
สภาวะประคองไว้ เป็นสตินทรีย์เพราะมีสภาวะตั้งมั่น เป็นสมาธินทรีย์เพราะมี
สภาวะไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยอำนาจแห่งปัญญินทรีย์
บุคคลเมื่อเชื่อ ชื่อว่าประคองไว้ เมื่อประคองไว้ ชื่อว่าเชื่อ เมื่อเชื่อ ชื่อว่า
ตั้งสติมั่น เมื่อตั้งสติมั่น ชื่อว่าเชื่อ เมื่อเชื่อ ชื่อว่าตั้งใจมั่น เมื่อตั้งใจมั่น ชื่อว่าเชื่อ
เมื่อเชื่อ ชื่อว่ารู้ชัด เมื่อรู้ชัด ชื่อว่าเชื่อ
บุคคลเมื่อประคองไว้ ชื่อว่าตั้งสติมั่น เมื่อตั้งสติมั่น ชื่อว่าประคองไว้ เมื่อ
ประคองไว้ ชื่อว่าตั้งใจมั่น เมื่อตั้งใจมั่น ชื่อว่าประคองไว้ เมื่อประคองไว้ ชื่อว่ารู้ชัด
เมื่อรู้ชัด ชื่อว่าประคองไว้ เมื่อประคองไว้ ชื่อว่าเชื่อ เมื่อเชื่อ ชื่อว่าประคองไว้
บุคคลเมื่อตั้งสติมั่น ชื่อว่าตั้งใจมั่น เมื่อตั้งใจมั่น ชื่อว่าตั้งสติมั่น เมื่อตั้งสติมั่น
ชื่อว่ารู้ชัด เมื่อรู้ชัด ชื่อว่าตั้งสติมั่น เมื่อตั้งสติมั่น ชื่อว่าเชื่อ เมื่อเชื่อ ชื่อว่าตั้งสติมั่น
เมื่อตั้งสติมั่น ชื่อว่าประคองไว้ เมื่อประคองไว้ ชื่อว่าตั้งสติมั่น
บุคคลเมื่อตั้งใจมั่น ชื่อว่ารู้ชัด เมื่อรู้ชัด ชื่อว่าตั้งใจมั่น เมื่อตั้งใจมั่น ชื่อว่าเชื่อ
เมื่อเชื่อ ชื่อว่าตั้งใจมั่น เมื่อตั้งใจมั่น ชื่อว่าประคองไว้ เมื่อประคองไว้ ชื่อว่าตั้งใจมั่น
เมื่อตั้งใจมั่น ชื่อว่าตั้งสติมั่น เมื่อตั้งสติมั่น ชื่อว่าตั้งใจมั่น
บุคคลเมื่อรู้ชัด ชื่อว่าเชื่อ เมื่อเชื่อ ชื่อว่ารู้ชัด เมื่อรู้ชัด ชื่อว่าประคองไว้ เมื่อ
ประคองไว้ ชื่อว่ารู้ชัด เมื่อรู้ชัด ชื่อว่าตั้งสติมั่น เมื่อตั้งสติมั่น ชื่อว่ารู้ชัด เมื่อรู้ชัด
ชื่อว่าตั้งใจมั่น เมื่อตั้งใจมั่น ชื่อว่ารู้ชัด
เพราะความเป็นผู้เชื่อจึงประคองไว้ เพราะความเป็นผู้ประคองไว้จึงเชื่อ เพราะ
ความเป็นผู้เชื่อจึงตั้งสติมั่น เพราะความเป็นผู้ตั้งสติมั่นจึงเชื่อ เพราะความเป็นผู้เชื่อ
จึงตั้งใจมั่น เพราะความเป็นผู้ตั้งใจมั่นจึงเชื่อ เพราะความเป็นผู้เชื่อจึงรู้ชัด เพราะ
ความเป็นผู้รู้ชัดจึงเชื่อ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๓๔๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๔. อินทริยกถา ๕. อินทริยสโมธาน
เพราะความเป็นผู้ประคองไว้จึงตั้งสติมั่น เพราะความเป็นผู้ตั้งสติมั่นจึงประคองไว้
เพราะความเป็นผู้ประคองไว้จึงตั้งใจมั่น เพราะความเป็นผู้ตั้งใจมั่นจึงประคองไว้
เพราะความเป็นผู้ประคองไว้จึงรู้ชัด เพราะความเป็นผู้รู้ชัดจึงประคองไว้ เพราะความ
เป็นผู้ประคองไว้จึงเชื่อ เพราะความเป็นผู้เชื่อจึงประคองไว้
เพราะความเป็นผู้ตั้งสติมั่นจึงตั้งใจมั่น เพราะความเป็นผู้ตั้งใจมั่นจึงตั้งสติมั่น
เพราะความเป็นผู้ตั้งสติมั่นจึงรู้ชัด เพราะความเป็นผู้รู้ชัดจึงตั้งสติมั่น เพราะความ
เป็นผู้ตั้งสติมั่นจึงเชื่อ เพราะความเป็นผู้เชื่อจึงตั้งสติมั่น เพราะความเป็นผู้ตั้งสติมั่น
จึงประคองไว้ เพราะความเป็นผู้ประคองไว้จึงตั้งสติมั่น
เพราะความเป็นผู้ตั้งใจมั่นจึงรู้ชัด เพราะความเป็นผู้รู้ชัดจึงตั้งใจมั่น เพราะ
ความเป็นผู้ตั้งใจมั่นจึงเชื่อ เพราะความเป็นผู้เชื่อจึงตั้งใจมั่น เพราะความเป็นผู้ตั้งใจ
มั่นจึงประคองไว้ เพราะความเป็นผู้ประคองไว้จึงตั้งใจมั่น เพราะความเป็นผู้ตั้งใจมั่น
จึงตั้งสติมั่น เพราะความเป็นผู้ตั้งสติมั่นจึงตั้งใจมั่น
เพราะความเป็นผู้รู้ชัดจึงเชื่อ เพราะความเป็นผู้เชื่อจึงรู้ชัด เพราะความเป็นผู้รู้
ชัดจึงประคองไว้ เพราะความเป็นผู้ประคองไว้จึงรู้ชัด เพราะความเป็นผู้รู้ชัดจึงตั้ง
สติมั่น เพราะความเป็นผู้ตั้งสติมั่นจึงรู้ชัด เพราะความเป็นผู้รู้ชัดจึงตั้งใจมั่น เพราะ
ความเป็นผู้ตั้งใจมั่นจึงรู้ชัด
พุทธจักขุชื่อว่าพุทธญาณ พุทธญาณชื่อว่าพุทธจักขุ เป็นเครื่องให้พระตถาคต
ทรงเห็นหมู่สัตว์ผู้มีกิเลสดุจธุลีในปัญญาจักษุน้อย มีกิเลสดุจธุลีในปัญญาจักษุมาก
มีอินทรีย์แก่กล้า มีอินทรีย์อ่อน มีอาการดี มีอาการทราม พึงสอนให้รู้แจ้งได้ง่าย
พึงสอนให้รู้แจ้งได้ยาก บางพวกมักเห็นปรโลกและโทษโดยความเป็นภัย บางพวก
มักไม่เห็นปรโลก และโทษโดยความเป็นภัย
คำว่า มีกิเลสดุจธุลีในปัญญาจักษุน้อย มีกิเลสดุจธุลีในปัญญาจักษุมาก
อธิบายว่า บุคคลผู้มีศรัทธา ชื่อว่ามีกิเลสดุจธุลีในปัญญาจักษุน้อย บุคคลผู้ไม่มีศรัทธา
ชื่อว่ามีกิเลสดุจธุลีในปัญญาจักษุมาก บุคคลผู้มีความเพียร ชื่อว่ามีกิเลสดุจธุลีใน


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๓๔๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๔. อินทริยกถา ๕. อินทริยสโมธาน
ปัญญาจักษุน้อย บุคคลผู้มีความเกียจคร้าน ชื่อว่ามีกิเลสดุจธุลีในปัญญาจักษุมาก
บุคคลผู้มีสติตั้งมั่น ชื่อว่ามีกิเลสดุจธุลีในปัญญาจักษุน้อย บุคคลผู้มีสติหลงลืม ชื่อ
ว่ามีกิเลสดุจธุลีในปัญญาจักษุมาก บุคคลผู้มีจิตตั้งมั่น ชื่อว่ามีกิเลสดุจธุลีใน
ปัญญาจักษุน้อย บุคคลผู้มีจิตไม่ตั้งมั่น ชื่อว่ามีกิเลสดุจธุลีในปัญญาจักษุมาก
บุคคลผู้มีปัญญาดี ชื่อว่ามีกิเลสดุจธุลีในปัญญาจักษุน้อย บุคคลผู้มีปัญญาทราม
ชื่อว่ามีกิเลสดุจธุลีในปัญญาจักษุมาก
คำว่า มีอินทรีย์แก่กล้า มีอินทรีย์อ่อน อธิบายว่า บุคคลผู้มีศรัทธา เป็นผู้มี
อินทรีย์แก่กล้า บุคคลผู้ไม่มีศรัทธา เป็นผู้มีอินทรีย์อ่อน ฯลฯ บุคคลผู้มีปัญญาดี
เป็นผู้มีอินทรีย์แก่กล้า บุคคลผู้มีปัญญาทราม เป็นผู้มีอินทรีย์อ่อน
คำว่า มีอาการดี มีอาการทราม อธิบายว่า บุคคลผู้มีศรัทธา เป็นผู้มีอาการดี
บุคคลผู้ไม่มีศรัทธา เป็นผู้มีอาการทราม ฯลฯ บุคคลผู้มีปัญญาดี เป็นผู้มีอาการดี
บุคคลผู้มีปัญญาทราม เป็นผู้มีอาการทราม
คำว่า พึงสอนให้รู้แจ้งได้ง่าย พึงสอนให้รู้แจ้งได้ยาก อธิบายว่า บุคคลผู้มี
ศรัทธา เป็นผู้พึงสอนให้รู้แจ้งได้ง่าย บุคคลผู้ไม่มีศรัทธา เป็นผู้พึงสอนให้รู้แจ้งได้ยาก
บุคคลผู้มีความเพียร เป็นผู้พึงสอนให้รู้แจ้งได้ง่าย บุคคลผู้เกียจคร้าน เป็นผู้พึงสอน
ให้รู้แจ้งได้ยาก บุคคลผู้มีสติตั้งมั่น เป็นผู้พึงสอนให้รู้แจ้งได้ง่าย บุคคลผู้มีสติหลงลืม
เป็นผู้พึงสอนให้รู้แจ้งได้ยาก บุคคลผู้มีจิตตั้งมั่น เป็นผู้พึงสอนให้รู้แจ้งได้ง่าย บุคคล
ผู้มีจิตไม่ตั้งมั่น เป็นผู้พึงสอนให้รู้แจ้งได้ยาก บุคคลผู้มีปัญญาดี เป็นผู้พึงสอนให้รู้แจ้ง
ได้ง่าย บุคคลผู้มีปัญญาทราม เป็นผู้พึงสอนให้รู้แจ้งได้ยาก
คำว่า บางพวกมักเห็นปรโลกและโทษโดยความเป็นภัย บางพวกมักไม่เห็น
ปรโลกและโทษโดยความเป็นภัย อธิบายว่า บุคคลผู้มีศรัทธาเป็นผู้มักเห็นปรโลก
และโทษโดยความเป็นภัย บุคคลผู้ไม่มีศรัทธาเป็นผู้มักไม่เห็นปรโลกและโทษโดย
ความเป็นภัย ฯลฯ บุคคลผู้มีปัญญาดีเป็นผู้มักเห็นปรโลกและโทษโดยความเป็นภัย
บุคคลผู้มีปัญญาทรามเป็นผู้มักไม่เห็นปรโลกและโทษโดยความเป็นภัย


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๓๔๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๔. อินทริยกถา ๕. อินทริยสโมธาน
คำว่า โลก อธิบายว่า ขันธโลก ธาตุโลก อายตนโลก วิปัตติภวโลก วิปัตติ-
สัมภวโลก สัมปัตติภวโลก สัมปัตติสัมภวโลก
โลก ๑ คือ สัตว์โลกทั้งปวงดำรงอยู่ได้เพราะอาหาร
โลก ๒ คือ นาม ๑ รูป ๑
โลก ๓ คือ เวทนา ๓
โลก ๔ คือ อาหาร ๔
โลก ๕ คือ อุปาทานขันธ์ ๕
โลก ๖ คือ อายตนะภายใน ๖
โลก ๗ คือ วิญญาณัฏฐิติ ๗
โลก ๘ คือ โลกธรรม ๘
โลก ๙ คือ สัตตาวาส ๙
โลก ๑๐ คือ อายตนะ ๑๐
โลก ๑๒ คือ อายตนะ ๑๒
โลก ๑๘ คือ ธาตุ ๑๘๑
คำว่า โทษ อธิบายว่า กิเลสทั้งปวงเป็นโทษ ทุจริตทั้งปวงเป็นโทษ อภิสังขาร
ทั้งปวงเป็นโทษ กรรมที่เป็นเหตุให้สัตว์ไปสู่ภพทั้งปวงเป็นโทษ สัญญาในโลกนี้และ
ในโทษนี้ว่าเป็นภัยอันแรงกล้า ปรากฏแล้วด้วยประการฉะนี้ เหมือนสัญญาในศัตรู
ผู้เงื้อดาบเข้ามาจะฆ่า ปรากฏแล้ว ฉะนั้น๒ พระตถาคตทรงรู้ ทรงเห็น ทรงทราบ
ทรงรู้แจ้งอินทรีย์ ๕ ประการนี้ ด้วยอาการ ๕๐ อย่างนี้

ตติยภาณวาร จบ
อินทริยกถา จบ

เชิงอรรถ :
๑ ขุ.จู. (แปล) ๓๐/๑๐๔/๓๕๕-๓๕๖
๒ ดูเทียบข้อ ๑๑๒ หน้า ๑๗๒-๑๗๔ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๓๔๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๕. วิโมกขกถา อุทเทส
๕. วิโมกขกถา
ว่าด้วยวิโมกข์

อุทเทส
[๒๐๙] เหตุเกิดขึ้นเหมือนในสูตรข้างต้น๑
ภิกษุทั้งหลาย วิโมกข์ ๓ ประการนี้
วิโมกข์ ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สุญญตวิโมกข์
๒. อนิมิตตวิโมกข์
๓. อัปปณิหิตวิโมกข์
ภิกษุทั้งหลาย วิโมกข์ ๓ ประการนี้แล
อีกประการหนึ่ง วิโมกข์ ๖๘ ประการ๒ คือ

๑. สุญญตวิโมกข์ ๒. อนิมิตตวิโมกข์
๓. อัปปณิหิตวิโมกข์ ๔. อัชฌัตตวุฏฐานวิโมกข์ (วิโมกข์
มีการออกจากอารมณ์ภายใน)
๕. พหิทธาวุฏฐานวิโมกข์ ๖. ทุภโตวุฏฐานวิโมกข์ (วิโมกข์มี
(วิโมกข์มีการออกจาก การออกจากอารมณ์ทั้งสอง)
อารมณ์ภายนอก)


เชิงอรรถ :
๑ สูตรข้างต้น ในที่นี้หมายถึงสูตรที่ ๑ (ข้อ ๑๘๔ หน้า ๒๙๐ ในเล่มนี้)
๒ วิโมกข์ ๖๘ ประการ ถ้าหากนับตามจำนวนเป็น ๗๕ ประการ แต่ท่านให้ตัดวิโมกข์ออกไป ๗ ประการ
คือวิโมกข์ข้อที่ ๑ ถึงข้อที่ ๖ และวิโมกข์ข้อที่ ๖๕ จึงเหลือเพียง ๖๘ ประการ (ตามนัย ขุ.ป.อ.
๒/๒๐๙/๑๗๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๓๔๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๕. วิโมกขกถา อุทเทส
๗-๑๐. วิโมกข์ ๔ จากอัชฌัตตวุฏฐานวิโมกข์
๑๑-๑๔. วิโมกข์ ๔ จากพหิทธาวุฏฐานวิโมกข์
๑๕-๑๘. วิโมกข์ ๔ จากทุภโตวุฏฐานวิโมกข์
๑๙-๒๒. วิโมกข์ ๔ อนุโลมตามอัชฌัตตวุฏฐานวิโมกข์
๒๓-๒๖. วิโมกข์ ๔ อนุโลมตามพหิทธาวุฏฐานวิโมกข์
๒๗-๓๐. วิโมกข์ ๔ อนุโลมตามทุภโตวุฏฐานวิโมกข์
๓๑-๓๔. วิโมกข์ ๔ ระงับจากอัชฌัตตวุฏฐานวิโมกข์
๓๕-๓๘. วิโมกข์ ๔ ระงับจากพหิทธาวุฏฐานวิโมกข์
๓๙-๔๒. วิโมกข์ ๔ ระงับจากทุภโตวุฏฐานวิโมกข์
๔๓. ชื่อว่าวิโมกข์ เพราะภิกษุผู้ได้รูปฌานย่อมเห็นรูปทั้งหลาย
๔๔. ชื่อว่าวิโมกข์ เพราะภิกษุผู้ไม่มีความหมายรู้ว่ารูปภายในเห็นรูป
ภายนอก
๔๕. ชื่อว่าวิโมกข์ เพราะภิกษุเป็นผู้น้อมไปในอารมณ์ว่างามเท่านั้น
๔๖. อากาสานัญจายตนสมาบัติวิโมกข์
๔๗. วิญญาณัญจายตนสมาบัติวิโมกข์
๔๘. อากิญจัญญายตนสมาบัติวิโมกข์
๔๙. เนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติวิโมกข์
๕๐. สัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติวิโมกข์ ๕๑. สมยวิโมกข์

๕๒. อสมยวิโมกข์ ๕๓. สามยิกวิโมกข์
๕๔. อสามยิกวิโมกข์ ๕๕. กุปปวิโมกข์
๕๖. อกุปปวิโมกข์ ๕๗. โลกียวิโมกข์
๕๘. โลกุตตรวิโมกข์ ๕๙. สาสววิโมกข์


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๓๔๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๕. วิโมกขกถา นิทเทส

๖๐. อนาสววิโมกข์ ๖๑. สามิสวิโมกข์
๖๒. นิรามิสวิโมกข์ ๖๓. นิรามิสานิรามิสตรวิโมกข์
๖๔. ปณิหิตวิโมกข์ ๖๕. อัปปณิหิตวิโมกข์
๖๖. ปณิหิตัปปฏิปัสสัทธิวิโมกข์ ๖๗. สัญญุตตวิโมกข์
๖๘. วิสัญญุตตวิโมกข์ ๖๙. เอกัตตวิโมกข์
๗๐. นานัตตวิโมกข์ ๗๑. สัญญาวิโมกข์
๗๒. ญาณวิโมกข์ ๗๓. สีติสิยาวิโมกข์
๗๔. ฌานวิโมกข์ ๗๕. อนุปาทาจิตตวิโมกข์

นิทเทส
[๒๑๐] สุญญตวิโมกข์ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ไปสู่ป่าก็ดี ไปสู่โคนไม้ก็ดี ไปสู่เรือนว่างก็ดี พิจารณา
ดังนี้ว่า “นามรูปนี้ว่างจากอัตตาและจากสิ่งที่เนื่องด้วยอัตตา” เธอไม่ทำอภินิเวส
(ความยึดมั่น) ในนามรูปนั้น เพราะเหตุนั้น วิโมกข์ของภิกษุนั้นจึงเป็นวิโมกข์ที่เป็น
สุญญตะ นี้ชื่อว่าสุญญตวิโมกข์
อนิมิตตวิโมกข์ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ไปสู่ป่าก็ดี ไปสู่โคนไม้ก็ดี ไปสู่เรือนว่างก็ดี พิจารณา
ดังนี้ว่า “นามรูปนี้ว่างจากอัตตาและจากสิ่งที่เนื่องด้วยอัตตา” เธอไม่ทำนิมิตใน
นามรูปนั้น เพราะเหตุนั้น วิโมกข์ของภิกษุนั้นจึงเป็นวิโมกข์ที่ไม่มีนิมิต นี้ชื่อว่า
อนิมิตตวิโมกข์
อัปปณิหิตวิโมกข์ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ไปสู่ป่าก็ดี ไปสู่โคนไม้ก็ดี ไปสู่เรือนว่างก็ดี พิจารณา
ดังนี้ว่า “นามรูปนี้ว่างจากอัตตาและจากสิ่งที่เนื่องด้วยอัตตา” เธอไม่ทำปณิธิ (ความ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๓๔๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๕. วิโมกขกถา นิทเทส
ตั้งมั่น) ในนามรูปนั้น เพราะเหตุนั้น วิโมกข์ของภิกษุนั้นจึงเป็นวิโมกข์ที่ไม่มีปณิหิตะ
นี้ชื่อว่าอัปปณิหิตวิโมกข์
อัชฌัตตวุฏฐานวิโมกข์ เป็นอย่างไร
คือ ฌาน ๔ นี้ชื่อว่าอัชฌัตตวุฏฐานวิโมกข์
พหิทธาวุฏฐานวิโมกข์ เป็นอย่างไร
คือ อรูปสมาบัติ ๔ นี้ชื่อว่าพหิทธาวุฏฐานวิโมกข์
ทุภโตวุฏฐานวิโมกข์ เป็นอย่างไร
คือ อริยมรรค ๔ นี้ชื่อว่าทุภโตวุฏฐานวิโมกข์
วิโมกข์ ๔ จากอัชฌัตตวุฏฐานวิโมกข์ เป็นอย่างไร
คือ ปฐมฌานออกจากนิวรณ์ ทุติยฌานออกจากวิตก วิจาร ตติยฌานออกจาก
ปีติ จตุตถฌานออกจากสุขและทุกข์ นี้ชื่อว่าวิโมกข์ ๔ จากอัชฌัตตวุฏฐานวิโมกข์ (๔)
วิโมกข์ ๔ จากพหิทธาวุฏฐานวิโมกข์ เป็นอย่างไร
คือ อากาสานัญจายตนสมาบัติออกจากรูปสัญญา ปฏิฆสัญญา
วิญญาณัญจายตนสมาบัติออกจากอากาสานัญจายตนสัญญา
อากิญจัญญายตนสมาบัติออกจากวิญญาณัญจายตนสัญญา
เนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติออกจากอากิญจัญญายตนสัญญา
นี้ชื่อว่าวิโมกข์ ๔ จากพหิทธาวุฏฐานวิโมกข์ (๔-๘)
วิโมกข์ ๔ จากทุภโตวุฏฐานวิโมกข์ เป็นอย่างไร
คือ โสดาปัตติมรรคออกจากสักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา และสีลัพพตปรามาส จาก
ทิฏฐานุสัย วิจิกิจฉานุสัยออกจากเหล่ากิเลสที่เป็นไปตามสักกายทิฏฐิเป็นต้นนั้น
จากขันธ์ทั้งหลาย และออกจากสรรพนิมิตภายนอก


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๓๔๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๕. วิโมกขกถา นิทเทส
สกทาคามิมรรคออกจากกามราคสังโยชน์ ปฏิฆสังโยชน์ ส่วนหยาบ ๆ จาก
กามราคานุสัย ปฏิฆานุสัย ส่วนหยาบ ๆ ออกจากเหล่ากิเลสที่เป็นไปตามกามราค-
สังโยชน์เป็นต้นนั้น จากขันธ์ทั้งหลาย และออกจากสรรพนิมิตภายนอก
อนาคามิมรรคออกจากกามราคสังโยชน์ ปฏิฆสังโยชน์ ส่วนละเอียด ๆ จาก
กามราคานุสัย ปฏิฆานุสัย ส่วนละเอียด ๆ ออกจากเหล่ากิเลสที่เป็นไปตามกามราค-
สังโยชน์เป็นต้นนั้น จากขันธ์ทั้งหลาย และออกจากสรรพนิมิตภายนอก
อรหัตตมรรคออกจากรูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะ อวิชชา มานานุสัย
ภวราคานุสัย (และ)อวิชชานุสัยออกจากเหล่ากิเลสที่เป็นไปตามรูปราคะเป็นต้นนั้น
จากขันธ์ทั้งหลาย และออกจากสรรพนิมิตภายนอก นี้ชื่อว่าวิโมกข์ ๔ จาก
ทุภโตวุฏฐานวิโมกข์ (๔-๑๒)
[๒๑๑] วิโมกข์ ๔ อนุโลมตามอัชฌัตตวุฏฐานวิโมกข์ เป็นอย่างไร
คือ วิตก วิจาร ปีติ สุข และเอกัคคตาจิต(จิตที่มีอารมณ์เดียว) เพื่อประโยชน์
แก่การได้ปฐมฌาน ฯลฯ เพื่อประโยชน์แก่การได้ทุติยฌาน ฯลฯ เพื่อประโยชน์แก่การ
ได้ตติยฌาน วิตก วิจาร ปีติ สุข และเอกัคคตาจิต เพื่อประโยชน์แก่การได้จตุตถฌาน
นี้ชื่อว่าวิโมกข์ ๔ อนุโลมตามอัชฌัตตวุฏฐานวิโมกข์ (๔-๑๖)
วิโมกข์ ๔ อนุโลมตามพหิทธาวุฏฐานวิโมกข์ เป็นอย่างไร
คือ วิตก วิจาร ปีติ สุข และเอกัคคตาจิต เพื่อประโยขน์แก่การได้อากาสานัญ-
จายตนสมาบัติ ฯลฯ เพื่อประโยชน์แก่การได้วิญญาณัญจายตนสมาบัติ ฯลฯ เพื่อ
ประโยชน์แก่การได้อากิญจัญญายตนสมาบัติ วิตก วิจาร ปีติ สุข และเอกัคคตาจิต
เพื่อประโยขน์แก่การได้เนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ นี้ชื่อว่าวิโมกข์ ๔ อนุโลม
ตามพหิทธาวุฏฐานวิโมกข์ (๔-๒๐)
วิโมกข์ ๔ อนุโลมตามทุภโตวุฏฐานวิโมกข์ เป็นอย่างไร
คือ อนิจจานุปัสสนา ทุกขานุปัสสนา อนัตตานุปัสสนา เพื่อประโยชน์แก่การได้
โสดาปัตติมรรค ฯลฯ เพื่อประโยชน์แก่การได้สกทาคามิมรรค ฯลฯ เพื่อประโยชน์
แก่การได้อนาคามิมรรค อนิจจานุปัสสนา ทุกขานุปัสสนา อนัตตานุปัสสนา เพื่อ
ประโยชน์แก่การได้อรหัตตมรรค นี้ชื่อว่าวิโมกข์ ๔ อนุโลมตามทุภโตวุฏฐานวิโมกข์
(๔-๒๔)


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๓๕๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๕. วิโมกขกถา นิทเทส
วิโมกข์ ๔ ระงับจากอัชฌัตตวุฏฐานวิโมกข์ เป็นอย่างไร
คือ การได้ปฐมฌาน หรือวิบากแห่งปฐมฌาน การได้ทุติยฌาน หรือวิบากแห่ง
ทุติยฌาน การได้ตติยฌาน หรือวิบากแห่งตติยฌาน การได้จตุตถฌาน หรือวิบาก
แห่งจตุตถฌาน นี้ชื่อว่าวิโมกข์ ๔ ระงับจากอัชฌัตตวุฏฐานวิโมกข์ (๔-๒๘)
วิโมกข์ ๔ ระงับจากพหิทธาวุฏฐานวิโมกข์ เป็นอย่างไร
คือ การได้อากาสานัญจายตนสมาบัติ หรือวิบากแห่งอากาสานัญจายตน-
สมาบัติ ฯลฯ การได้วิญญาณัญจายตนสมาบัติ ฯลฯ การได้อากิญจัญญายตน-
สมาบัติ ฯลฯ การได้เนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ หรือวิบากแห่งเนวสัญญา-
นาสัญญายตนสมาบัติ นี้ชื่อว่าวิโมกข์ ๔ ระงับจากพหิทธาวุฏฐานวิโมกข์ (๔-๓๒)
วิโมกข์ ๔ ระงับจากทุภโตวุฏฐานวิโมกข์ เป็นอย่างไร
คือ โสดาปัตติผลแห่งโสดาปัตติมรรค สกทาคามิผลแห่งสกทาคามิมรรค
อนาคามิผลแห่งอนาคามิมรรค อรหัตตผลแห่งอรหัตตมรรค นี้ชื่อว่าวิโมกข์ ๔
ระงับจากทุภโตวุฏฐานวิโมกข์ (๔-๓๖)
[๒๑๒] ชื่อว่าวิโมกข์ เพราะภิกษุผู้ได้รูปฌานย่อมเห็นรูปทั้งหลาย เป็น
อย่างไร
คือ ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้มนสิการถึงนิมิตสีเขียวในภายใน ย่อมได้
นีลสัญญา เธอทำนิมิตนั้นให้เป็นอันถือไว้ดีแล้ว ทรงจำไว้ดีแล้ว กำหนดไว้ดีแล้ว
ครั้นแล้วน้อมจิตไปในนิมิตสีเขียวภายนอก ย่อมได้นีลสัญญา เธอทำนิมิตนั้น
ให้เป็นอันถือไว้ดีแล้ว ทรงจำไว้ดีแล้ว กำหนดไว้ดีแล้ว ครั้นแล้วปฏิบัติ เจริญ
ทำให้มาก เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า “นิมิตสีเขียวทั้งสองทั้งภายในและภายนอกนี้
เป็นรูป” เธอมีความหมายรู้ว่าเป็นรูป
ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้มนสิการถึงนิมิตสีเหลือง ฯลฯ นิมิตสีแดง ฯลฯ
นิมิตสีขาวในภายใน ย่อมได้โอทาตสัญญา เธอทำนิมิตนั้นให้เป็นอันถือไว้ดีแล้ว ทรง
จำไว้ดีแล้ว กำหนดไว้ดีแล้ว ครั้นแล้วน้อมจิตไปในนิมิตสีขาวในภายนอก ย่อมได้
โอทาตสัญญา เธอทำนิมิตนั้นให้เป็นอันถือไว้ดีแล้ว ทรงจำไว้ดีแล้ว ครั้นแล้วปฏิบัติ
เจริญ ทำให้มาก เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า “นิมิตสีขาวทั้งสองทั้งภายในและภายนอก
นี้เป็นรูป” เธอมีความหมายรู้ว่าเป็นรูป ชื่อว่าวิโมกข์ เพราะภิกษุผู้ได้รูปฌานย่อม
เห็นรูปทั้งหลายอย่างนี้ (๓๗)


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๓๕๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๕. วิโมกขกถา นิทเทส
ชื่อว่าวิโมกข์ เพราะภิกษุผู้ไม่มีความหมายรู้ว่ารูปภายในเห็นรูปภายนอก
เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ไม่มนสิการถึงนิมิตสีเขียวในภายใน จึงไม่ได้
นีลสัญญา น้อมจิตไปในนิมิตสีเขียวภายนอก ย่อมได้นีลสัญญา เธอทำ
นิมิตนั้นให้เป็นอันถือไว้ดีแล้ว ทรงจำไว้ดีแล้ว กำหนดไว้ดีแล้ว ครั้นแล้วปฏิบัติ เจริญ
ทำให้มาก เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า “เราไม่มีความหมายรู้ว่าเป็นรูปในภายใน นิมิต
สีเขียวภายนอกนี้เป็นรูป” เธอมีความหมายรู้ว่าเป็นรูป
ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ไม่มนสิการถึงนิมิตสีเหลือง ฯลฯ นิมิตสีแดง ฯลฯ
นิมิตสีขาวในภายใน ย่อมไม่ได้โอทาตสัญญา น้อมจิตไปในนิมิตสีขาวในภายนอก
ย่อมได้โอทาตสัญญา เธอทำนิมิตนั้นให้เป็นอันถือไว้ดีแล้ว ทรงจำไว้ดีแล้ว
กำหนดไว้ดีแล้ว ครั้นแล้วปฏิบัติ เจริญ ทำให้มาก เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า “ไม่มี
รูปในภายใน นิมิตสีขาวในภายนอกนี้เป็นรูป” เธอมีความหมายรู้ว่าเป็นรูป ชื่อว่า
วิโมกข์ เพราะภิกษุผู้ไม่มีความหมายรู้ว่ารูปภายในเห็นรูปภายนอกอย่างนี้ (๓๘)
ชื่อว่าวิโมกข์ เพราะภิกษุเป็นผู้น้อมไปในอารมณ์ว่างามเท่านั้น เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้มีเมตตาจิตแผ่ไปตลอดทิศที่ ๑ ฯลฯ ทิศที่ ๒ ฯลฯ
ทิศที่ ๓ ฯลฯ ทิศที่ ๔ ฯลฯ ทิศเบื้องบน ทิศเบื้องล่าง ทิศเฉียง แผ่ไปตลอดโลก
ทั่วทุกหมู่เหล่าในที่ทุกสถาน ด้วยเมตตาจิตอันไพบูลย์ เป็นมหัคคตะ ไม่มีขอบเขต
ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนอยู่ เพราะเป็นผู้เจริญเมตตา สัตว์ทั้งหลายไม่เป็นที่
เกลียดชัง
มีกรุณาจิต ฯลฯ เพราะเป็นผู้เจริญกรุณา สัตว์ทั้งหลายไม่เป็นที่เกลียดชัง
มีมุทิตาจิต ฯลฯ เพราะเป็นผู้เจริญมุทิตา สัตว์ทั้งหลายไม่เป็นที่เกลียดชัง
มีอุเบกขาจิตแผ่ไปตลอดทิศที่ ๑ ฯลฯ เพราะเป็นผู้เจริญอุเบกขา สัตว์ทั้งหลาย
ไม่เป็นที่เกลียดชัง
ชื่อว่าวิโมกข์ เพราะภิกษุเป็นผู้น้อมไปในอารมณ์ว่างามเท่านั้นอย่างนี้ (๓๙)


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๓๕๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๕. วิโมกขกถา นิทเทส
[๒๑๓] อากาสานัญจายตนสมาบัติวิโมกข์ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เพราะล่วงรูปสัญญา เพราะดับปฏิฆสัญญา เพราะไม่
มนสิการถึงนานัตตสัญญาโดยประการทั้งปวง บรรลุอากาสานัญจายตนสมาบัติ ด้วย
มนสิการว่า “อากาศไม่มีที่สุด” นี้ชื่อว่าอากาสานัญจายตนสมาบัติวิโมกข์ (๔๐)
วิญญาณัญจายตนสมาบัติวิโมกข์ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เพราะล่วงอากาสานัญจายตนสมาบัติโดยประการ
ทั้งปวง บรรลุวิญญาณัญจายตนสมาบัติ ด้วยมนสิการว่า “วิญญาณไม่มีที่สุด”
นี้ชื่อว่าวิญญาณัญจายตนสมาบัติวิโมกข์ (๔๑)
อากิญจัญญายตนสมาบัติวิโมกข์ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เพราะล่วงวิญญาณัญจายตนสมาบัติได้โดยประการ
ทั้งปวง บรรลุอากิญจัญญายตนสมาบัติ ด้วยมนสิการว่า “อะไรน้อยหนึ่งย่อมไม่มี”
นี้ชื่อว่า อากิญจัญญายตนสมาบัติวิโมกข์ (๔๒)
เนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติวิโมกข์ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เพราะล่วงอากิญจัญญายตนสมาบัติโดยประการ
ทั้งปวง บรรลุเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ นี้ชื่อว่าเนวสัญญานาสัญญายตน-
สมาบัติวิโมกข์ (๔๓)
สัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติวิโมกข์ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เพราะล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติโดย
ประการทั้งปวง บรรลุสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ นี้ชื่อว่าสัญญาเวทยิตนิโรธ-
สมาบัติวิโมกข์ (๔๔)
สมยวิโมกข์ เป็นอย่างไร
คือ ฌาน ๔ และอรูปสมาบัติ ๔ นี้ชื่อว่าสมยวิโมกข์ (๔๕)
อสมยวิโมกข์ เป็นอย่างไร
คือ อริยมรรค ๔ สามัญญผล ๔ และนิพพาน นี้ชื่อว่าอสมยวิโมกข์ (๔๖)


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๓๕๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๕. วิโมกขกถา นิทเทส
สามยิกวิโมกข์ เป็นอย่างไร
คือ ฌาน ๔ และอรูปสมาบัติ ๔ นี้ชื่อว่าสามยิกวิโมกข์ (๔๗)
อสามยิกวิโมกข์ เป็นอย่างไร
คือ อริยมรรค ๔ สามัญญผล ๔ และนิพพาน นี้ชื่อว่าอสามยิกวิโมกข์ (๔๘)
กุปปวิโมกข์ เป็นอย่างไร
คือ ฌาน ๔ และอรูปสมาบัติ ๔ นี้ชื่อว่ากุปปวิโมกข์ (๔๙)
อกุปปวิโมกข์ เป็นอย่างไร
คือ อริยมรรค ๔ สามัญญผล ๔ และนิพพาน นี้ชื่อว่าอกุปปวิโมกข์ (๕๐)
โลกียวิโมกข์ เป็นอย่างไร
คือ ฌาน ๔ และอรูปสมาบัติ ๔ นี้ชื่อว่าโลกียวิโมกข์ (๕๑)
โลกุตตรวิโมกข์ เป็นอย่างไร
คือ อริยมรรค ๔ สามัญญผล ๔ และนิพพาน นี้ชื่อว่าโลกุตตรวิโมกข์ (๕๒)
สาสววิโมกข์ เป็นอย่างไร
คือ ฌาน ๔ และอรูปสมาบัติ ๔ นี้ชื่อว่าสาสววิโมกข์ (๕๓)
อนาสววิโมกข์ เป็นอย่างไร
คือ อริยมรรค ๔ สามัญญผล ๔ และนิพพาน นี้ชื่อว่าอนาสววิโมกข์ (๕๔)
สามิสวิโมกข์ เป็นอย่างไร
คือ วิโมกข์อันประกอบด้วยรูป นี้ชื่อว่าสามิสวิโมกข์ (๕๕)
นิรามิสวิโมกข์ เป็นอย่างไร
คือ วิโมกข์ที่ไม่ประกอบด้วยรูป นี้ชื่อว่านิรามิสวิโมกข์ (๕๖)
นิรามิสานิรามิสตรวิโมกข์ เป็นอย่างไร
คือ อริยมรรค ๔ สามัญญผล ๔ และนิพพาน นี้ชื่อว่านิรามิสานิรามิสตร-
วิโมกข์ (๕๗)


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๓๕๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๕. วิโมกขกถา นิทเทส
ปณิหิตวิโมกข์ เป็นอย่างไร
คือ ฌาน ๔ และอรูปสมาบัติ ๔ นี้ชื่อว่าปณิหิตวิโมกข์
อัปปณิหิตวิโมกข์ เป็นอย่างไร
คือ อริยมรรค ๔ สามัญญผล ๔ และนิพพาน นี้ชื่อว่าอัปปณิหิตวิโมกข์ (๕๘)
ปณิหิตัปปฏิปัสสัทธิวิโมกข์ เป็นอย่างไร
คือ การได้ปฐมฌานหรือวิบากแห่งปฐมฌาน ฯลฯ การได้เนวสัญญา-
นาสัญญายตนสมาบัติ หรือวิบากแห่งเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ นี้ชื่อว่า
ปณิหิตัปปฏิปัสสัทธิวิโมกข์ (๕๙)
สัญญุตตวิโมกข์ เป็นอย่างไร
คือ ฌาน ๔ และอรูปสมาบัติ ๔ นี้ชื่อว่าสัญญุตตวิโมกข์ (๖๐)
วิสัญญุตตวิโมกข์ เป็นอย่างไร
คือ อริยมรรค ๔ สามัญญผล ๔ และนิพพาน นี้ชื่อว่าวิสัญญุตตวิโมกข์ (๖๑)
เอกัตตวิโมกข์ เป็นอย่างไร
คือ อริยมรรค ๔ สามัญญผล ๔ และนิพพาน นี้ชื่อว่าเอกัตตวิโมกข์ (๖๒)
นานัตตวิโมกข์ เป็นอย่างไร
คือ ฌาน ๔ และอรูปสมาบัติ ๔ นี้ชื่อว่านานัตตวิโมกข์ (๖๓)
[๒๑๔] สัญญาวิโมกข์ เป็นอย่างไร
คือ สัญญาวิโมกข์ ๑ เป็นสัญญาวิโมกข์ ๑๐ สัญญาวิโมกข์ ๑๐ เป็นสัญญา-
วิโมกข์ ๑ ด้วยอำนาจวัตถุ๑ (และ) ด้วยปริยาย๒

เชิงอรรถ :
๑ สัญญาวิโมกข์ ๑ เป็นสัญญาวิโมกข์ ๑๐ ด้วยอำนาจวัตถุ หมายถึงเป็นสัญญาวิโมกข์ ๑๐ ด้วยอำนาจ
วัตถุ ๑๐ มีนิจจสัญญาเป็นต้น (ขุ.ป.อ.๒/๒๑๔/๑๘๓-๔)
๒ สัญญาวิโมกข์ ๑๐ เป็นสัญญาวิโมกข์ ๑ ด้วยปริยาย หมายถึงเป็นสัญญาวิโมกข์ ๑ ด้วยการพ้นจาก
สัญญานั้น (ขุ.ป.อ.๒/๒๑๔/๑๘๓-๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๓๕๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๕. วิโมกขกถา นิทเทส
พึงเป็นอย่างไร
คือ อนิจจานุปัสสนาญาณ (ญาณคือการพิจารณาเห็นความไม่เที่ยง) พ้นจาก
นิจจสัญญา เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าสัญญาวิโมกข์ ทุกขานุปัสสนาญาณ (ญาณคือ
การพิจารณาเห็นความเป็นทุกข์) พ้นจากสุขสัญญา เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าสัญญา-
วิโมกข์ อนัตตานุปัสสนาญาณ (ญาณคือการพิจารณาเห็นความเป็นอนัตตา) พ้นจาก
อัตตสัญญา เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าสัญญาวิโมกข์ นิพพิทานุปัสสนาญาณ (ญาณ
คือการพิจารณาเห็นความเบื่อหน่าย) พ้นจากนันทิสัญญา เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า
สัญญาวิโมกข์ วิราคานุปัสสนาญาณ (ญาณคือการพิจารณาเห็นความคลายกำหนัด)
พ้นจากราคสัญญา เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าสัญญาวิโมกข์ นิโรธานุปัสสนาญาณ (ญาณ
คือการพิจารณาเห็นความดับ) พ้นจากสมุทยสัญญา ฯลฯ ปฏินิสสัคคานุปัสสนา-
ญาณ (ญาณคือการพิจารณาเห็นความสละคืน) พ้นจากอาทานสัญญา เพราะเหตุนั้น
จึงชื่อว่าสัญญาวิโมกข์ อนิมิตตานุปัสสนาญาณ (ญาณคือการพิจารณาเห็นความไม่
มีนิมิต) พ้นจากนิมิตตสัญญา เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าสัญญาวิโมกข์ อัปปณิหิตา-
นุปัสสนาญาณ (ญาณคือการพิจารณาเห็นความไม่มีที่ตั้ง) พ้นจากปณิธิสัญญา เพราะ
เหตุนั้น จึงชื่อว่าสัญญาวิโมกข์ สุญญตานุปัสสนาญาณ (ญาณคือการพิจารณาเห็น
ความว่าง) พ้นจากอภินิเวสสัญญา เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าสัญญาวิโมกข์ สัญญา-
วิโมกข์ ๑ เป็นสัญญาวิโมกข์ ๑๐ สัญญาวิโมกข์ ๑๐ เป็นสัญญาวิโมกข์ ๑ ด้วย
อำนาจวัตถุ (และ) ด้วยปริยาย พึงเป็นอย่างนี้
อนิจจานุปัสสนาญาณในรูป พ้นจากนิจจสัญญา เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า
สัญญาวิโมกข์ ฯลฯ สุญญตานุปัสสนาญาณในรูป พ้นจากอภินิเวส เพราะเหตุนั้น
จึงชื่อว่าสัญญาวิโมกข์ สัญญาวิโมกข์ ๑ เป็นสัญญาวิโมกข์ ๑๐ สัญญาวิโมกข์ ๑๐
เป็นสัญญาวิโมกข์ ๑ ด้วยอำนาจวัตถุ (และ) ด้วยปริยาย พึงเป็นอย่างนี้
อนิจจานุปัสสนาญาณในเวทนา พ้นจากนิจจสัญญา เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า
สัญญาวิโมกข์ ฯลฯ อนิจจานุปัสสนาญาณในสัญญา ฯลฯ ในสังขาร ฯลฯ ใน
วิญญาณ ฯลฯ ในจักขุ ฯลฯ อนิจจานุปัสสนาญาณในชราและมรณะ พ้นจาก
นิจจสัญญา เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าสัญญาวิโมกข์ ฯลฯ สุญญตานุปัสสนาญาณใน


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๓๕๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๕. วิโมกขกถา นิทเทส
ชราและมรณะ พ้นจากอภินิเวสสัญญา เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าสัญญาวิโมกข์
สัญญาวิโมกข์ ๑ เป็นสัญญาวิโมกข์ ๑๐ สัญญาวิโมกข์ ๑๐ เป็นสัญญาวิโมกข์ ๑
ด้วยอำนาจวัตถุ (และ) ด้วยปริยาย พึงเป็นอย่างนี้ นี้ชื่อว่าสัญญาวิโมกข์ (๖๔)
[๒๑๕] ญาณวิโมกข์ เป็นอย่างไร
คือ ญาณวิโมกข์ ๑ เป็นญาณวิโมกข์ ๑๐ ญาณวิโมกข์ ๑๐ เป็นญาณวิโมกข์ ๑
ด้วยอำนาจวัตถุ (และ) ด้วยปริยาย พึงเป็นอย่างนี้
พึงเป็นอย่างไร
คือ อนิจจานุปัสสนายถาภูตญาณ (ยถาภูตญาณคือการพิจารณาเห็นความ
ไม่เที่ยง) พ้นจากความไม่รู้คือความหลงว่าเที่ยง เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าญาณวิโมกข์
ทุกขานุปัสสนายถาภูตญาณ (ยถาภูตญาณคือการพิจารณาเห็นความเป็นทุกข์) พ้น
จากความไม่รู้คือความหลงว่าสุข เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าญาณวิโมกข์ อนัตตานุ-
ปัสสนายถาภูตญาณ (ยถาภูตญาณคือการพิจารณาเห็นความเป็นอนัตตา) พ้นจาก
ความไม่รู้คือความหลงว่าอัตตา เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าญาณวิโมกข์ นิพพิทานุ-
ปัสสนายถาภูตญาณ (ยถาภูตญาณคือการพิจารณาเห็นความเบื่อหน่าย) พ้นจาก
ความไม่รู้คือความหลงว่านันทิ(ความยินดี) เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าญาณวิโมกข์
วิราคานุปัสสนายถาภูตญาณ (ยถาภูตญาณคือการพิจารณาเห็นความคลายกำหนัด)
พ้นจากความไม่รู้คือความหลงว่าราคะ(ความกำหนัด) เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าญาณ-
วิโมกข์ นิโรธานุปัสสนายถาภูตญาณ (ยถาภูตญาณคือการพิจารณาเห็นความดับ)
พ้นจากความไม่รู้คือความหลงว่าสมุทัย(เหตุเกิด) เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าญาณวิโมกข์
ปฏินิสสัคคานุปัสสนายถาภูตญาณ (ยถาภูตญาณคือการพิจารณาเห็นความสละคืน)
พ้นจากความไม่รู้คือความหลงว่าอภินิเวส(ความยึดมั่น) เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า
ญาณวิโมกข์ อนิมิตตานุปัสสนายถาภูตญาณ (ยถาภูตญาณคือการพิจารณาเห็น
ความไม่มีนิมิต) พ้นจากความไม่รู้คือความหลงว่านิมิต เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า
ญาณวิโมกข์ อัปปณิหิตานุปัสสนายถาภูตญาณ (ยถาภูตญาณคือการพิจารณาเห็น
ความไม่มีที่ตั้ง) พ้นจากความไม่รู้คือความหลงว่าปณิธิ(ความตั้งมั่น) เพราะเหตุนั้น


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๓๕๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๕. วิโมกขกถา นิทเทส
จึงชื่อว่าญาณวิโมกข์ สุญญตานุปัสสนายถาภูตญาณ (ยถาภูตญาณคือการพิจารณา
เห็นความว่าง) พ้นจากความไม่รู้คือความหลงว่าอาทานะ(ความยึดถือ) เพราะเหตุนั้น
จึงชื่อว่าญาณวิโมกข์ ญาณวิโมกข์ ๑ เป็นญาณวิโมกข์ ๑๐ ญาณวิโมกข์ ๑๐
เป็นญาณวิโมกข์ ๑ ด้วยอำนาจวัตถุ (และ) ด้วยปริยาย พึงเป็นอย่างนี้
อนิจจานุปัสสนายถาภูตญาณในรูป พ้นจากความไม่รู้คือความหลงว่าเที่ยง
เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าญาณวิโมกข์ ฯลฯ สุญญตานุปัสสนายถาภูตญาณในรูป
พ้นจากความไม่รู้คือความหลงว่าอภินิเวส เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าญาณวิโมกข์
ญาณวิโมกข์ ๑ เป็นญาณวิโมกข์ ๑๐ ญาณวิโมกข์ ๑๐ เป็นญาณวิโมกข์ ๑
ด้วยอำนาจวัตถุ (และ) ด้วยปริยาย พึงเป็นอย่างนี้
อนิจจานุปัสสนายถาภูตญาณในเวทนา ฯลฯ ในสัญญา ฯลฯ ในสังขาร ฯลฯ
ในวิญญาณ ฯลฯ ในจักขุ ฯลฯ อนิจจานุปัสสนายถาภูตญาณในชราและมรณะ
พ้นจากความไม่รู้คือความหลงว่าเที่ยง เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าญาณวิโมกข์ ฯลฯ
สุญญตานุปัสสนายถาภูตญาณในชราและมรณะ พ้นจากความไม่รู้คือความหลงว่า
อาทานะ เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าญาณวิโมกข์ ญาณวิโมกข์ ๑ เป็นญาณวิโมกข์ ๑๐
ญาณวิโมกข์ ๑๐ เป็นญาณวิโมกข์ ๑ ด้วยอำนาจวัตถุ (และ) ด้วยปริยาย พึงเป็น
อย่างนี้ นี้ชื่อว่าญาณวิโมกข์ (๖๕)
[๒๑๖] สีติสิยาวิโมกข์ เป็นอย่างไร
คือ สีติสิยาวิโมกข์ ๑ เป็นสีติสิยาวิโมกข์ ๑๐ สีติสิยาวิโมกข์ ๑๐ เป็นสีติสิยา-
วิโมกข์ ๑ ด้วยอำนาจวัตถุ (และ) ด้วยปริยาย
พึงเป็นอย่างไร
คือ อนิจจานุปัสสนาเป็นญาณมีความเย็นใจอย่างยอดเยี่ยม พ้นจากความ
เดือดร้อน ความเร่าร้อน และความกระวนกระวายเพราะเที่ยง เพราะเหตุนั้น จึงชื่อ
ว่าสีติสิยาวิโมกข์ ทุกขานุปัสสนาเป็นญาณมีความเย็นใจอย่างยอดเยี่ยม พ้นจาก
ความเดือดร้อน ความเร่าร้อน และความกระวนกระวายเพราะสุข เพราะเหตุนั้น
จึงชื่อว่าสีติสิยาวิโมกข์ อนัตตานุปัสสนาเป็นญาณมีความเย็นใจอย่างยอดเยี่ยม
พ้นจากความเดือดร้อน ความเร่าร้อน และความกระวนกระวายเพราะอัตตา


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๓๕๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๕. วิโมกขกถา นิทเทส
เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าสีติสิยาวิโมกข์ นิพพิทานุปัสสนาเป็นญาณมีความเย็นใจอย่าง
ยอดเยี่ยม พ้นจากความเดือดร้อน ความเร่าร้อน และความกระวนกระวายเพราะ
นันทิ วิราคานุปัสสนาเป็นญาณมีความเย็นใจอย่างยอดเยี่ยม พ้นจากความเดือดร้อน
ความเร่าร้อน และความกระวนกระวายเพราะราคะ เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าสีติสิยา-
วิโมกข์ นิโรธานุปัสสนาเป็นญาณมีความเย็นใจอย่างยอดเยี่ยม พ้นจากความ
เดือดร้อน ความเร่าร้อน และความกระวนกระวายเพราะสมุทัย เพราะเหตุนั้น
จึงชื่อว่าสีติสิยาวิโมกข์ ปฏินิสสัคคานุปัสสนาเป็นญาณมีความเย็นใจอย่างยอดเยี่ยม
พ้นจากความเดือดร้อน ความเร่าร้อน และความกระวนกระวายเพราะอภินิเวส
เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าสีติสิยาวิโมกข์ อนิมิตตานุปัสสนาเป็นญาณมีความเย็นใจ
อย่างยอดเยี่ยม พ้นจากความเดือดร้อน ความเร่าร้อน และความกระวนกระวาย
เพราะนิมิต เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าสีติสิยาวิโมกข์ อัปปณิหิตานุปัสสนาเป็นญาณมี
ความเย็นใจอย่างยอดเยี่ยม พ้นจากความเดือดร้อน ความเร่าร้อน และความ
กระวนกระวายเพราะปณิธิ เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าสีติสิยาวิโมกข์ สุญญตานุปัสสนา
เป็นญาณมีความเย็นใจอย่างยอดเยี่ยม พ้นจากความเดือดร้อน ความเร่าร้อน และ
ความกระวนกระวายเพราะอาทานะ เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าสีติสิยาวิโมกข์
สีติสิยาวิโมกข์ ๑ เป็นสีติสิยาวิโมกข์ ๑๐ สีติสิยาวิโมกข์ ๑๐ เป็นสีติสิยา-
วิโมกข์ ๑ ด้วยอำนาจวัตถุ (และ) ด้วยปริยาย พึงเป็นอย่างนี้
อนิจจานุปัสสนาในรูป เป็นญาณมีความเย็นใจอย่างยอดเยี่ยม พ้นจากความ
เดือดร้อน ความเร่าร้อน และความกระวนกระวายเพราะเที่ยง เพราะเหตุนั้น
จึงชื่อว่าสีติสิยาวิโมกข์ ฯลฯ ด้วยอำนาจวัตถุ (และ) ด้วยปริยาย พึงเป็นอย่างนี้
อนิจจานุปัสสนาในเวทนา ฯลฯ ในสัญญา ฯลฯ ในสังขาร ฯลฯ ในวิญญาณ
ฯลฯ ในจักขุ ฯลฯ อนิจจานุปัสสนาในชราและมรณะ เป็นญาณมีความเย็นใจอย่าง
ยอดเยี่ยม พ้นจากความเดือดร้อน ความเร่าร้อน และความกระวนกระวาย
เพราะเที่ยง เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าสีติสิยาวิโมกข์ ฯลฯ
สีติสิยาวิโมกข์ ๑ เป็นสีติสิยาวิโมกข์ ๑๐ สีติสิยาวิโมกข์ ๑๐ เป็นสีติสิยา-
วิโมกข์ ๑ ด้วยอำนาจวัตถุ (และ) ด้วยปริยาย พึงเป็นอย่างนี้ นี้ชื่อว่าสีติสิยา-
วิโมกข์ (๖๖)


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๓๕๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๕. วิโมกขกถา นิทเทส
[๒๑๗] ฌานวิโมกข์ เป็นอย่างไร
คือ เนกขัมมะย่อมเผา เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าฌาน เนกขัมมะย่อมเผา
กามฉันทะให้ไหม้ เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าฌาน บุคคลเมื่อเผา ย่อมหลุดพ้น เพราะ
เหตุนั้น จึงชื่อว่าฌานวิโมกข์ เมื่อเผาให้ไหม้ ย่อมหลุดพ้น เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า
ฌานวิโมกข์ กิเลสทั้งหลาย ย่อมไหม้ไป เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าธรรม
พระอรหันต์ย่อมเผากิเลสให้ไหม้ คือรู้จักกิเลสที่ถูกเผาแล้วและกิเลสที่กำลังถูกเผา
ให้ไหม้ไป เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าฌานวิโมกข์
อพยาบาทย่อมเผา เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าฌาน อพยาบาทย่อมเผาพยาบาท
ให้ไหม้ เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าฌาน บุคคลเมื่อเผา ย่อมหลุดพ้น เพราะเหตุนั้น จึง
ชื่อว่าฌานวิโมกข์ เมื่อเผาให้ไหม้ ย่อมหลุดพ้น เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าฌานวิโมกข์
กิเลสทั้งหลาย ย่อมไหม้ไป เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าธรรม พระอรหันต์ย่อมเผากิเลส
ทั้งหลาย คือรู้จักกิเลสที่ถูกเผาแล้วและกิเลสที่กำลังถูกเผาให้ไหม้ไป เพราะเหตุนั้น
จึงชื่อว่าฌานวิโมกข์
อาโลกสัญญาย่อมเผา เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าฌาน อาโลกสัญญาย่อมเผา
ถีนมิทธะให้ไหม้ เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าฌาน ฯลฯ อวิกเขปะย่อมเผา เพราะเหตุนั้น
จึงชื่อว่าฌาน อวิกเขปะย่อมเผาอุทธัจจะให้ไหม้ เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าฌาน
ธัมมววัตถานย่อมเผา เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าฌาน ธัมมววัตถานย่อมเผาวิจิกิจฉา
ให้ไหม้ เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าฌาน
ญาณย่อมเผา เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าฌาน ญาณย่อมเผาอวิชชาให้ไหม้
เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าฌาน ปามุชชะย่อมเผา เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าฌาน
ปามุชชะย่อมเผาอรติให้ไหม้ เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าฌาน ปฐมฌานย่อมเผา
เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าฌาน ปฐมฌานย่อมเผานิวรณ์ให้ไหม้ เพราะเหตุนั้นจึงชื่อ
ว่าฌาน ฯลฯ อรหัตตมรรคย่อมเผา เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าฌาน อรหัตตมรรค
ย่อมเผากิเลสทั้งปวงให้ไหม้ เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าฌาน พระอรหันต์เมื่อเผา


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๓๖๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๕. วิโมกขกถา นิทเทส
ย่อมหลุดพ้น เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าฌาณวิโมกข์ เมื่อเผาให้ไหม้ ย่อมหลุดพ้น
เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าฌานวิโมกข์ กิเลสทั้งหลาย ย่อมไหม้ไป เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า
ธรรม พระอรหันต์ย่อมเผากิเลสให้ไหม้ คือรู้จักกิเลสที่ถูกเผาแล้วและกิเลสที่กำลัง
ถูกเผาให้ไหม้ไป เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าฌานวิโมกข์
นี้ชื่อว่าฌานวิโมกข์ ฯ (๖๗)
[๒๑๘] อนุปาทาจิตตวิโมกข์ เป็นอย่างไร
คือ อนุปาทาจิตตวิโมกข์ ๑ เป็นอนุปาทาจิตตวิโมกข์ ๑๐ อนุปาทาจิตต-
วิโมกข์ ๑๐ เป็นอนุปาทาจิตตวิโมกข์ ๑ ด้วยอำนาจวัตถุ (และ) ด้วยปริยาย
พึงเป็นอย่างไร
คือ อนิจจานุปัสสนาญาณ พ้นจากอุปาทานว่าเที่ยง เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า
อนุปาทาจิตตวิโมกข์ ทุกขานุปัสสนาญาณ พ้นจากอุปาทานว่าสุข เพราะเหตุนั้น
จึงชื่อว่าอนุปาทาจิตตวิโมกข์ อนัตตานุปัสสนาญาณ พ้นจากอุปาทานว่าอัตตา
เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าอนุปาทาจิตตวิโมกข์ นิพพิทานุปัสสนาญาณ พ้นจาก
อุปาทานว่านันทิ เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าอนุปาทาจิตตวิโมกข์ วิราคานุปัสสนาญาณ
พ้นจากอุปาทานว่าราคะ เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าอนุปาทาจิตตวิโมกข์ นิโรธานุ-
ปัสสนาญาณ พ้นจากอุปาทานว่าสมุทัย เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าอนุปาทาจิตตวิโมกข์
ปฏินิสสัคคานุปัสสนาญาณ พ้นจากอุปาทานว่าอาทานะ เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า
อนุปาทาจิตตวิโมกข์ อนิมิตตานุปัสสนาญาณ พ้นจากอุปาทานว่านิมิต เพราะ
เหตุนั้น จึงชื่อว่าอนุปาทาจิตตวิโมกข์ อัปปณิหิตานุปัสสนาญาณ พ้นจากอุปาทาน
ว่าปณิธิ เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าอนุปาทาจิตตวิโมกข์ สุญญตานุปัสสนาญาณ
พ้นจากอุปาทานว่าอภินิเวส เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าอนุปาทาจิตตวิโมกข์
อนุปาทาจิตตวิโมกข์ ๑ เป็นอนุปาทาจิตตวิโมกข์ ๑๐ อนุปาทาจิตตวิโมกข์ ๑๐
เป็นอนุปาทาจิตตวิโมกข์ ๑ ด้วยอำนาจวัตถุ (และ) ด้วยปริยาย พึงเป็นอย่างนี้
อนิจจานุปัสสนาญาณในรูป พ้นจากอุปาทานว่าเที่ยง เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า
อนุปาทาจิตตวิโมกข์ ฯลฯ สุญญตานุปัสสนาญาณในรูป พ้นจากอุปาทานว่าอภินิเวส
เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าอนุปาทาจิตตวิโมกข์


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๓๖๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๕. วิโมกขกถา นิทเทส
อนุปาทาจิตตวิโมกข์ ๑ เป็นอนุปาทาจิตตวิโมกข์ ๑๐ อนุปาทาจิตตวิโมกข์ ๑๐
เป็นอนุปาทาจิตตวิโมกข์ ๑ ด้วยอำนาจวัตถุ (และ) ด้วยปริยาย พึงเป็นอย่างนี้
อนิจจานุปัสสนาญาณในเวทนา ฯลฯ ในสัญญา ฯลฯ ในสังขาร ฯลฯ ใน
วิญญาณ ฯลฯ ในจักขุ ฯลฯ อนิจจานุปัสสนาญาณในชราและมรณะ พ้นจาก
อุปาทานว่าเที่ยง เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าอนุปาทาจิตตวิโมกข์ ฯลฯ สุญญตานุ-
ปัสสนาญาณในชราและมรณะ พ้นจากอุปาทานว่าอภินิเวส เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า
อนุปาทาจิตตวิโมกข์
อนุปาทาจิตตวิโมกข์ ๑ เป็นอนุปาทาจิตตวิโมกข์ ๑๐ อนุปาทาจิตต-
วิโมกข์ ๑๐ เป็นอนุปาทาจิตตวิโมกข์ ๑ ด้วยอำนาจวัตถุ (และ) ด้วยปริยาย
พึงเป็นอย่างนี้
อนิจจานุปัสสนาญาณพ้นจากอุปาทานเท่าไร ทุกขานุปัสสนาญาณพ้นจาก
อุปาทานเท่าไร อนัตตานุปัสสนาญาณพ้นจากอุปาทานเท่าไร นิพพิทานุปัสสนา-
ญาณ ฯลฯ วิราคานุปัสสนาญาณ ฯลฯ นิโรธานุปัสสนาญาณ ฯลฯ ปฏินิสสัคคา-
นุปัสสนาญาณ ฯลฯ อนิมิตตานุปัสสนาญาณ ฯลฯ อัปปณิหิตานุปัสสนาญาณ
ฯลฯ สุญญตานุปัสสนาญาณพ้นจากอุปาทานเท่าไร
คือ อนิจจานุปัสสนาญาณพ้นจากอุปาทาน ๓ ทุกขานุปัสสนาญาณพ้นจาก
อุปาทาน ๑ อนัตตานุปัสสนาญาณพ้นจากอุปาทาน ๓ นิพพิทานุปัสสนาญาณพ้น
จากอุปาทาน ๑ วิราคานุปัสสนาญาณพ้นจากอุปาทาน ๑ นิโรธานุปัสสนาญาณพ้น
จากอุปาทาน ๔ ปฏินิสสัคคานุปัสสนาญาณพ้นจากอุปาทาน ๔ อนิมิตตา-
นุปัสสนาญาณพ้นจากอุปาทาน ๓ อัปปณิหิตานุปัสสนาญาณพ้นจากอุปาทาน ๑
สุญญตานุปัสสนาญาณพ้นจากอุปาทาน ๓
อนิจจานุปัสสนาญาณพ้นจากอุปาทาน ๓ อะไรบ้าง คือ
๑. ทิฏฐุปาทาน
๒. สีลัพพตุปาทาน
๓. อัตตวาทุปาทาน
อนิจจานุปัสสนาญาณพ้นจากอุปาทาน ๓ นี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๓๖๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๕. วิโมกขกถา นิทเทส
ทุกขานุปัสสนาญาณพ้นจากอุปาทาน ๑ อะไร
คือ กามุปาทาน
ทุกขานุปัสสนาญาณพ้นจากอุปาทาน ๑ นี้
อนัตตานุปัสสนาญาณพ้นจากอุปาทาน ๓ อะไรบ้าง คือ
๑. ทิฏฐุปาทาน
๒. สีลัพพตุปาทาน
๓. อัตตวาทุปาทาน
อนัตตานุปัสสนาญาณพ้นจากอุปาทาน ๓ นี้
นิพพิทานุปัสสนาญาณพ้นจากอุปาทาน ๑ อะไร
คือ กามุปาทาน
นิพพิทานุปัสสนาญาณพ้นจากอุปาทาน ๑ นี้
วิราคานุปัสสนาญาณพ้นจากอุปาทาน ๑ อะไร
คือ กามุปาทาน
วิราคานุปัสสนาญาณพ้นจากอุปาทาน ๑ นี้
นิโรธานุปัสสนาญาณพ้นจากอุปาทาน ๔ อะไรบ้าง คือ
๑. กามุปาทาน
๒. ทิฏฐุปาทาน
๓. สีลัพพตุปาทาน
๔. อัตตวาทุปาทาน
นิโรธานุปัสสนาญาณพ้นจากอุปาทาน ๔ นี้
ปฏินิสสัคคานุปัสสนาญาณพ้นจากอุปาทาน ๔ อะไรบ้าง คือ
๑. กามุปาทาน
๒. ทิฏฐุปาทาน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๓๖๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๕. วิโมกขกถา นิทเทส
๓. สีลัพพตุปาทาน
๔. อัตตวาทุปาทาน
ปฏินิสสัคคานุปัสสนาญาณพ้นจากอุปาทาน ๔ นี้
อนิมิตตานุปัสสนาญาณพ้นจากอุปาทาน ๓ อะไรบ้าง คือ
๑. ทิฏฐุปาทาน
๒. สีลัพพตุปาทาน
๓. อัตตวาทุปาทาน
อนิมิตตานุปัสสนาญาณพ้นจากอุปาทาน ๓ นี้
อัปปณิหิตานุปัสสนาญาณพ้นจากอุปาทาน ๑ อะไร
คือ กามุปาทาน
อัปปณิหิตานุปัสสนาญาณพ้นจากอุปาทาน ๑ นี้
สุญญตานุปัสสนาญาณพ้นจากอุปาทาน ๓ อะไรบ้าง คือ
๑. ทิฏฐุปาทาน
๒. สีลัพพตุปาทาน
๓. อัตตวาทุปาทาน
สุญญตานุปัสสนาญาณพ้นจากอุปาทาน ๓ นี้
ญาณ ๔ นี้ คือ
๑. อนิจจานุปัสสนาญาณ
๒. อนัตตานุปัสสนาญาณ
๓. อนิมิตตานุปัสสนาญาณ
๔. สุญญตานุปัสสนาญาณ
พ้นจากอุปาทาน ๓ คือ
๑. ทิฏฐุปาทาน
๒. สีลัพพตุปาทาน
๓. อัตตวาทุปาทาน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๓๖๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๕. วิโมกขกถา นิทเทส
ญาณ ๔ นี้ คือ
๑. ทุกขานุปัสสนาญาณ
๒. นิพพิทานุปัสสนาญาณ
๓. วิราคานุปัสสนาญาณ
๔. อัปปณิหิตานุปัสสนาญาณ
พ้นจากอุปาทาน ๑
คือ กามุปาทาน
ญาณ ๒ นี้ คือ
๑. นิโรธานุปัสสนาญาณ
๒. ปฏินิสสัคคานุปัสสนาญาณ
พ้นจากอุปาทาน ๔ คือ
๑. กามุปาทาน
๒. ทิฏฐุปาทาน
๓. สีลัพพตุปาทาน
๔. อัตตวาทุปาทาน
นี้ชื่อว่าอนุปาทาจิตตวิโมกข์ (๖๘)
ปฐมภาณวารแห่งวิโมกขกถา จบ
[๒๑๙] ประตูสู่วิโมกข์ ๓ ประการนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อการนำออกจากโลก คือ
๑. การออกจากโลกมีได้ เพราะพิจารณาเห็นสังขารทั้งปวง ทั้งโดยส่วนเบื้อง
ต้นและส่วนเบื้องปลาย และเพราะจิตดำเนินไปในอนิมิตตธาตุ
๒. การออกจากโลกมีได้ เพราะทำใจให้อาจหาญในสังขารทั้งปวง และเพราะ
จิตดำเนินไปในอัปปณิหิตธาตุ
๓. การออกจากโลกมีได้ เพราะพิจารณาเห็นธรรมทั้งปวงโดยความเป็นฝ่ายอื่น
และเพราะจิตดำเนินไปในสุญญตธาตุ
ประตูสู่วิโมกข์ ๓ ประการนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อการนำออกจากโลก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๓๖๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๕. วิโมกขกถา นิทเทส
เมื่อบุคคลมนสิการโดยความไม่เที่ยง สังขารปรากฏอย่างไร เมื่อมนสิการ
โดยความเป็นทุกข์ สังขารปรากฏอย่างไร เมื่อมนสิการโดยความเป็นอนัตตา
สังขารปรากฏอย่างไร
คือ เมื่อบุคคลมนสิการโดยความไม่เที่ยง สังขารปรากฏโดยความสิ้นไป เมื่อ
มนสิการโดยความเป็นทุกข์ สังขารปรากฏโดยความเป็นภัย เมื่อมนสิการโดยความ
เป็นอนัตตา สังขารปรากฏโดยสุญญตะ๑
เมื่อบุคคลมนสิการโดยความไม่เที่ยง จิตมากด้วยธรรมอะไร เมื่อมนสิการ
โดยความเป็นทุกข์ จิตมากด้วยธรรมอะไร เมื่อมนสิการโดยความเป็นอนัตตา
จิตมากด้วยธรรมอะไร
คือ เมื่อบุคคลมนสิการโดยความไม่เที่ยง จิตมากด้วยความน้อมใจเชื่อ เมื่อ
มนสิการโดยความเป็นทุกข์ จิตมากด้วยความสงบ เมื่อมนสิการโดยความเป็น
อนัตตา จิตมากด้วยความรู้
บุคคลผู้มนสิการโดยความไม่เที่ยง มากด้วยความน้อมใจเชื่อ ย่อมได้อินทรีย์
อะไร ผู้มนสิการโดยความเป็นทุกข์ มากด้วยความสงบ ย่อมได้อินทรีย์อะไร ผู้
มนสิการโดยความเป็นอนัตตา มากด้วยความรู้ ย่อมได้อินทรีย์อะไร
คือ บุคคลผู้มนสิการโดยความไม่เที่ยง มากด้วยความน้อมใจเชื่อ ย่อมได้
สัทธินทรีย์ ผู้มนสิการโดยความเป็นทุกข์ มากด้วยความสงบ ย่อมได้สมาธินทรีย์
ผู้มนสิการโดยความเป็นอนัตตา มากด้วยความรู้ ย่อมได้ปัญญินทรีย์
เมื่อบุคคลมนสิการโดยความไม่เที่ยง มากด้วยความน้อมใจเชื่อ อินทรีย์อะไร
เป็นใหญ่ อินทรีย์แห่งภาวนาที่เป็นไปตามอินทรีย์นั้นมีเท่าไร เป็นสหชาตปัจจัย
เป็นอัญญมัญญปัจจัย เป็นนิสสยปัจจัย เป็นสัมปยุตตปัจจัย เป็นธรรมมีรสเป็น
อย่างเดียวกัน ชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่าอย่างไร ใครย่อมเจริญ
เมื่อมนสิการโดยความเป็นทุกข์ มากด้วยความสงบ อินทรีย์อะไรเป็นใหญ่
เมื่อมนสิการโดยความเป็นอนัตตา มากด้วยความรู้ อินทรีย์อะไรเป็นใหญ่ อินทรีย์

เชิงอรรถ :
๑ สุญญตะ หมายถึงเว้นจากอัตตา (ขุ.ป.อ. ๒/๒๑๙/๑๘๖)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๓๖๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๕. วิโมกขกถา นิทเทส
แห่งภาวนาที่เป็นไปตามอินทรีย์นั้นมีเท่าไร เป็นสหชาตปัจจัย เป็นอัญญมัญญปัจจัย
เป็นนิสสยปัจจัย เป็นสัมปยุตตปัจจัย เป็นธรรมมีรส๑เป็นอย่างเดียวกัน ชื่อว่า
ภาวนา เพราะมีความหมายว่าอย่างไร ใครย่อมเจริญ
เมื่อมนสิการโดยความเป็นอนัตตา มากด้วยความรู้ อินทรีย์อะไรเป็นใหญ่
อินทรีย์แห่งภาวนาที่เป็นไปตามอินทรีย์นั้นมีเท่าไร เป็นสหชาตปัจจัย เป็นอัญญ-
มัญญปัจจัย เป็นนิสสยปัจจัย เป็นสัมปยุตตปัจจัย เป็นธรรมมีรสเป็นอย่างเดียวกัน
ชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่าอย่างไร ใครย่อมเจริญ
คือ เมื่อบุคคลมนสิการโดยความไม่เที่ยง มากด้วยความน้อมใจเชื่อ สัทธินทรีย์
เป็นใหญ่ อินทรีย์แห่งภาวนาที่เป็นไปตามสัทธินทรีย์นั้นมี ๔ ประการ เป็นสหชาต-
ปัจจัย เป็นอัญญมัญญปัจจัย เป็นนิสสยปัจจัย เป็นสัมปยุตตปัจจัย เป็นธรรม
มีรสเป็นอย่างเดียวกัน ชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่ามีรสเป็นอย่างเดียวกัน
ผู้ใดปฏิบัติชอบ ผู้นั้นย่อมเจริญ การเจริญอินทรีย์ย่อมไม่มีแก่ผู้ปฏิบัติผิด
เมื่อมนสิการโดยความเป็นทุกข์ มากด้วยความสงบ สมาธินทรีย์เป็นใหญ่
อินทรีย์แห่งภาวนาที่เป็นไปตามสมาธินทรีย์นั้นมี ๔ ประการ เป็นสหชาตปัจจัย
เป็นอัญญมัญญปัจจัย เป็นนิสสยปัจจัย เป็นสัมปยุตตปัจจัย เป็นธรรมมีรสเป็นอย่าง
เดียวกัน ชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่ามีรสเป็นอย่างเดียวกัน ผู้ใดปฏิบัติ
ชอบ ผู้นั้นย่อมเจริญ การเจริญอินทรีย์ ย่อมไม่มีแก่ผู้ปฏิบัติผิด
เมื่อมนสิการโดยความเป็นอนัตตา มากด้วยความรู้ ปัญญินทรีย์เป็นใหญ่
อินทรีย์แห่งภาวนาที่เป็นไปตามปัญญินทรีย์นั้นมี ๔ ประการ เป็นสหชาตปัจจัย
เป็นอัญญมัญญปัจจัย เป็นนิสสยปัจจัย เป็นสัมปยุตตปัจจัย เป็นธรรมมีรส
เป็นอย่างเดียวกัน ชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่ามีรสเป็นอย่างเดียวกัน
ผู้ใดปฏิบัติชอบ ผู้นั้นย่อมเจริญ การเจริญอินทรีย์ ย่อมไม่มีแก่ผู้ปฏิบัติผิด

เชิงอรรถ :
๑ รส ในที่นี้หมายถึงวิมุตติรส (ขุ.ป.อ. ๒/๒๒๐/๑๘๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๓๖๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๕. วิโมกขกถา นิทเทส
[๒๒๐] เมื่อบุคคลมนสิการโดยความไม่เที่ยง มากด้วยความน้อมใจเชื่อ อินทรีย์
อะไรเป็นใหญ่ อินทรีย์แห่งภาวนาที่เป็นไปตามอินทรีย์นั้นมีเท่าไร เป็นสหชาตปัจจัย
เป็นอัญญมัญญปัจจัย เป็นนิสสยปัจจัย เป็นสัมปยุตตปัจจัย
ในเวลารู้แจ้งอินทรีย์อะไรเป็นใหญ่ อินทรีย์แห่งการรู้แจ้งที่เป็นไปตามอินทรีย์นั้น
มีเท่าไร เป็นสหชาตปัจจัย เป็นอัญญมัญญปัจจัย เป็นนิสสยปัจจัย เป็นสัมปยุตต-
ปัจจัย เป็นธรรมมีรสเป็นอย่างเดียวกัน ชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่าอย่างไร
ชื่อว่าการรู้แจ้ง เพราะมีความหมายว่าอย่างไร
เมื่อบุคคลมนสิการโดยความเป็นทุกข์ มากด้วยความสงบ อินทรีย์อะไร
เป็นใหญ่ อินทรีย์แห่งภาวนาที่เป็นไปตามอินทรีย์นั้นมีเท่าไร เป็นสหชาตปัจจัย เป็น
อัญญมัญญปัจจัย เป็นนิสสยปัจจัย เป็นสัมปยุตตปัจจัย ในเวลารู้แจ้งอินทรีย์อะไร
เป็นใหญ่ อินทรีย์แห่งการรู้แจ้งที่เป็นไปตามอินทรีย์นั้นมีเท่าไร เป็นสหชาตปัจจัย
เป็นอัญญมัญญปัจจัย เป็นนิสสยปัจจัย เป็นสัมปยุตตปัจจัย เป็นธรรมมีรสเป็น
อย่างเดียวกัน ชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่าอย่างไร ชื่อว่าการรู้แจ้ง เพราะมี
ความหมายว่าอย่างไร
เมื่อบุคคลมนสิการโดยความเป็นอนัตตา มากด้วยความรู้ อินทรีย์อะไร
เป็นใหญ่ อินทรีย์แห่งภาวนาที่เป็นไปตามอินทรีย์นั้นมีเท่าไร เป็นสหชาตปัจจัย
เป็นอัญญมัญญปัจจัย เป็นนิสสยปัจจัย เป็นสัมปยุตตปัจจัย
ในเวลารู้แจ้งอินทรีย์อะไรเป็นใหญ่ อินทรีย์แห่งการรู้แจ้งที่เป็นไปตามอินทรีย์นั้น
มีเท่าไร เป็นสหชาตปัจจัย เป็นอัญญมัญญปัจจัย เป็นนิสสยปัจจัย เป็นสัมปยุตต-
ปัจจัย เป็นธรรมมีรสเป็นอย่างเดียวกัน ชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่า
อย่างไร ชื่อว่าการรู้แจ้ง เพราะมีความหมายว่าอย่างไร
คือ เมื่อบุคคลมนสิการโดยความไม่เที่ยง มากด้วยความน้อมใจเชื่อ สัทธินทรีย์
เป็นใหญ่ อินทรีย์แห่งภาวนาที่เป็นไปตามสัทธินทรีย์นั้นมี ๔ ประการ เป็นสหชาต-
ปัจจัย เป็นอัญญมัญญปัจจัย เป็นนิสสยปัจจัย เป็นสัมปยุตตปัจจัย


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๓๖๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๕. วิโมกขกถา นิทเทส
ในเวลารู้แจ้งปัญญินทรีย์เป็นใหญ่ อินทรีย์แห่งการรู้แจ้งที่เป็นไปตามปัญญินทรีย์
นั้นมี ๔ ประการ เป็นสหชาตปัจจัย เป็นอัญญมัญญปัจจัย เป็นนิสสยปัจจัย เป็น
สัมปยุตตปัจจัย เป็นธรรมมีรสเป็นอย่างเดียวกัน ชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมาย
ว่ามีรสเป็นอย่างเดียวกัน ชื่อว่าการรู้แจ้ง เพราะมีความหมายว่าเห็น ด้วยอาการ
อย่างนี้ แม้บุคคลผู้รู้แจ้งก็ชื่อว่าย่อมเจริญ แม้ผู้เจริญก็ชื่อว่าย่อมรู้แจ้ง
เมื่อบุคคลมนสิการโดยความเป็นทุกข์ มากด้วยความสงบ สมาธินทรีย์
เป็นใหญ่ อินทรีย์แห่งภาวนาที่เป็นไปตามสมาธินทรีย์นั้นมี ๔ ประการ เป็นสหชาต-
ปัจจัย เป็นอัญญมัญญปัจจัย เป็นนิสสยปัจจัย เป็นสัมปยุตตปัจจัย
ในเวลารู้แจ้งปัญญินทรีย์เป็นใหญ่ อินทรีย์แห่งการรู้แจ้งที่เป็นไปตามปัญญินทรีย์
นั้นมี ๔ ประการ เป็นสหชาตปัจจัย เป็นอัญญมัญญปัจจัย เป็นนิสสยปัจจัย
เป็นสัมปยุตตปัจจัย เป็นธรรมมีรสเป็นอย่างเดียวกัน ชื่อว่าภาวนา เพราะมีความ
หมายว่ามีรสเป็นอย่างเดียวกัน ชื่อว่าการรู้แจ้ง เพราะมีความหมายว่าเห็น ด้วย
อาการอย่างนี้ แม้บุคคลผู้รู้แจ้งก็ชื่อว่าย่อมเจริญ แม้ผู้เจริญก็ชื่อว่าย่อมรู้แจ้ง
เมื่อบุคคลมนสิการโดยความเป็นอนัตตา มากด้วยความรู้ ปัญญินทรีย์
เป็นใหญ่ อินทรีย์แห่งภาวนาที่เป็นไปตามปัญญินทรีย์นั้นมี ๔ ประการ เป็นสหชาต-
ปัจจัย เป็นอัญญมัญญปัจจัย เป็นนิสสยปัจจัย เป็นสัมปยุตตปัจจัย
ในเวลารู้แจ้งปัญญินทรีย์เป็นใหญ่ อินทรีย์แห่งการรู้แจ้งที่เป็นไปตามปัญญินทรีย์
นั้นมี ๔ ประการ เป็นสหชาตปัจจัย เป็นอัญญมัญญปัจจัย เป็นนิสสยปัจจัย
เป็นสัมปยุตตปัจจัย เป็นธรรมมีรสเป็นอย่างเดียวกัน ชื่อว่าภาวนา เพราะมีความ
หมายว่ามีรสเป็นอย่างเดียวกัน ชื่อว่าการรู้แจ้ง เพราะมีความหมายว่าเห็น ด้วย
อาการอย่างนี้ แม้บุคคลผู้รู้แจ้งก็ชื่อว่าย่อมเจริญ แม้ผู้เจริญก็ชื่อว่าย่อมรู้แจ้ง
[๒๒๑] เมื่อบุคคลมนสิการโดยความไม่เที่ยง อินทรีย์อะไรมีประมาณยิ่ง
เพราะอินทรีย์อะไรมีประมาณยิ่งบุคคลจึงเป็นสัทธาธิมุต เมื่อมนสิการโดยความ
เป็นทุกข์ อินทรีย์อะไรมีประมาณยิ่ง เพราะอินทรีย์อะไรมีประมาณยิ่งบุคคลจึงเป็น
กายสักขี เมื่อมนสิการโดยความเป็นอนัตตา อินทรีย์อะไรมีประมาณยิ่ง เพราะ
อินทรีย์อะไรมีประมาณยิ่งบุคคลจึงเป็นทิฏฐิปัตตะ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๓๖๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๕. วิโมกขกถา นิทเทส
คือ เมื่อบุคคลมนสิการโดยความไม่เที่ยง สัทธินทรีย์มีประมาณยิ่ง เพราะ
สัทธินทรีย์มีประมาณยิ่ง บุคคลจึงเป็นสัทธาธิมุต เมื่อมนสิการโดยความเป็นทุกข์
สมาธินทรีย์มีประมาณยิ่ง เพราะสมาธินทรีย์มีประมาณยิ่ง บุคคลจึงเป็นกายสักขี
เมื่อมนสิการโดยความเป็นอนัตตา ปัญญินทรีย์มีประมาณยิ่ง เพราะปัญญินทรีย์มี
ประมาณยิ่ง บุคคลจึงเป็นทิฏฐิปัตตะ บุคคลผู้น้อมใจเชื่อ เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า
สัทธาธิมุต บุคคลชื่อว่าทำให้แจ้ง เพราะเป็นผู้ถูกต้องธรรม เพราะเหตุนั้น จึงชื่อ
ว่ากายสักขี บุคคลชื่อว่าบรรลุแล้ว เพราะเป็นผู้เห็นธรรม เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า
ทิฏฐิปัตตะ บุคคลผู้ใจเชื่อ เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าสัทธาธิมุต บุคคลถูกต้อง
ฌานก่อน ภายหลังจึงทำให้แจ้งนิพพานซึ่งเป็นความดับ เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า
กายสักขี ญาณว่า “สังขารเป็นทุกข์ นิโรธเป็นสุข” เป็นญาณอันบุคคลเห็นแล้ว
ทราบแล้ว ทำให้แจ้งแล้ว ถูกต้องแล้วด้วยปัญญา เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าทิฏฐิ-
ปัตตะ บุคคล ๓ จำพวกนี้ คือ สัทธาธิมุต๑ ๑ กายสักขี๒ ๑ ทิฏฐิปัตตะ๓ ๑ พึงเป็น
สัทธาธิมุตก็ได้ เป็นกายสักขีก็ได้ เป็นทิฏฐิปัตตะก็ได้ด้วยอำนาจวัตถุ (และ) ด้วย
ปริยาย
คำว่า พึงเป็น อธิบายว่า พึงเป็นอย่างไร
คือ เมื่อบุคคลมนสิการโดยความไม่เที่ยง สัทธินทรีย์มีประมาณยิ่ง เพราะ
สัทธินทรีย์มีประมาณยิ่ง บุคคลจึงเป็นสัทธาธิมุต เมื่อมนสิการโดยความเป็นทุกข์
สัทธินทรีย์มีประมาณยิ่ง เพราะสัทธินทรีย์มีประมาณยิ่ง บุคคลจึงเป็นสัทธาธิมุต
เมื่อมนสิการโดยความเป็นอนัตตา สัทธินทรีย์มีประมาณยิ่ง เพราะสัทธินทรีย์มี
ประมาณยิ่ง บุคคลจึงเป็นสัทธาธิมุต บุคคล ๓ จำพวกนี้เป็นสัทธาธิมุตด้วย
อำนาจสัทธินทรีย์อย่างนี้

เชิงอรรถ :
๑ สัทธาธิมุต หมายถึงพระอริยบุคคลผู้บรรลุโสดาปัตติผลขึ้นไป พ้นด้วยศรัทธา (องฺ.ติก.อ. ๒/๒๑/๙๘,
องฺ.สตฺตก.อ. ๓/๑๔/๑๖๑-๑๖๒)
๒ กายสักขี หมายถึงพระอริยบุคคลผู้บรรลุโสดาปัตติผลขึ้นไป เป็นผู้เห็นประจักษ์กับตัว สัมผัสวิโมกข์ ๘
ด้วยนามกายแล้วสามารถจะทำให้แจ้งพระนิพพาน (องฺ.ติก.อ. ๒/๒๑/๙๘, องฺ.สตฺตก.อ. ๓/๑๔/๑๖๑)
๓ ทิฏฐิปัตตะ หมายถึงพระอริยบุคคลผู้บรรลุโสดาปัตติผลขึ้นไป มีสัมมาทิฏฐิ เข้าใจอริยสัจถูกต้อง
(องฺ.ติก.อ. ๒/๒๑๙/๘, องฺ.สตฺตก.อ. ๓/๑๔/๑๖๑-๑๖๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๓๗๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๕. วิโมกขกถา นิทเทส
เมื่อบุคคลมนสิการโดยความเป็นทุกข์ สมาธินทรีย์มีประมาณยิ่ง เพราะ
สมาธินทรีย์มีประมาณยิ่ง บุคคลจึงเป็นกายสักขี เมื่อมนสิการโดยความเป็นอนัตตา
สมาธินทรีย์มีประมาณยิ่ง เพราะสมาธินทรีย์มีประมาณยิ่ง บุคคลจึงเป็นกายสักขี
เมื่อมนสิการโดยความไม่เที่ยง สมาธินทรีย์มีประมาณยิ่ง เพราะสมาธินทรีย์มี
ประมาณยิ่ง บุคคลจึงเป็นกายสักขี บุคคล ๓ จำพวกนี้เป็นกายสักขีด้วยอำนาจ
สมาธินทรีย์อย่างนี้
เมื่อบุคคลมนสิการโดยความเป็นอนัตตา ปัญญินทรีย์มีประมาณยิ่ง เพราะ
ปัญญินทรีย์มีประมาณยิ่ง บุคคลจึงเป็นทิฏฐิปัตตะ เมื่อมนสิการโดยความไม่เที่ยง
ปัญญินทรีย์มีประมาณยิ่ง เพราะปัญญินทรีย์มีประมาณยิ่ง บุคคลจึงเป็นทิฏฐิปัตตะ
เมื่อมนสิการโดยความเป็นทุกข์ ปัญญินทรีย์มีประมาณยิ่ง เพราะปัญญินทรีย์มี
ประมาณยิ่ง บุคคลจึงเป็นทิฏฐิปัตตะ บุคคล ๓ จำพวกนี้เป็นทิฏฐิปัตตะด้วยอำนาจ
ปัญญินทรีย์อย่างนี้
บุคคล ๓ จำพวกนี้ คือ สัทธาธิมุต ๑ กายสักขี ๑ ทิฏฐิปัตตะ ๑ พึงเป็น
สัทธาธิมุตก็ได้ เป็นกายสักขีก็ได้ เป็นทิฏฐิปัตตะก็ได้ด้วยอำนาจวัตถุ(และ)ด้วยปริยาย
อย่างนี้
บุคคล ๓ จำพวกนี้ คือ สัทธาธิมุต ๑ กายสักขี ๑ ทิฏฐิปัตตะ ๑ ฯลฯ
พึงเป็นสัทธาธิมุตอย่างหนึ่ง เป็นกายสักขีอย่างหนึ่ง เป็นทิฏฐิปัตตะอย่างหนึ่ง
ด้วยประการฉะนี้
ถามว่า พึงเป็นอย่างไร
ตอบว่า เมื่อบุคคลมนสิการโดยความไม่เที่ยง สัทธินทรีย์มีประมาณยิ่ง เพราะ
สัทธินทรีย์มีประมาณยิ่ง บุคคลจึงเป็นสัทธาธิมุต เมื่อมนสิการโดยความเป็นทุกข์
สมาธินทรีย์มีประมาณยิ่ง เพราะสมาธินทรีย์มีประมาณยิ่ง บุคคลจึงเป็นกายสักขี
เมื่อมนสิการโดยความเป็นอนัตตา ปัญญินทรีย์มีประมาณยิ่ง เพราะปัญญินทรีย์
มีประมาณยิ่ง บุคคลจึงเป็นทิฏฐิปัตตะ บุคคล ๓ จำพวกนี้ คือ สัทธาธิมุต ๑
กายสักขี ๑ ทิฏฐิปัตตะ ๑ พึงเป็นสัทธาธิมุตอย่างหนึ่ง เป็นกายสักขีอย่างหนึ่ง
เป็นทิฏฐิปัตตะอย่างหนึ่ง ด้วยประการฉะนี้
เมื่อบุคคลมนสิการโดยความไม่เที่ยง สัทธินทรีย์มีประมาณยิ่ง เพราะสัทธินทรีย์
มีประมาณยิ่ง บุคคลจึงได้โสดาปัตติมรรค เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่าเป็น


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๓๗๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๕. วิโมกขกถา นิทเทส
สัทธานุสารี๑ อินทรีย์ที่เป็นไปตามสัทธินทรีย์นั้นมี ๔ ประการ เป็นสหชาตปัจจัย
เป็นอัญญมัญญปัจจัย เป็นนิสสยปัจจัย เป็นสัมปยุตตปัจจัย การเจริญอินทรีย์ ๔
ย่อมมีด้วยอำนาจสัทธินทรีย์ บุคคลเหล่าใดเหล่าหนึ่งได้โสดาปัตติมรรคด้วยอำนาจ
สัทธินทรีย์ บุคคลเหล่านั้นแม้ทั้งหมดเป็นสัทธานุสารี
เมื่อบุคคลมนสิการโดยความไม่เที่ยง สัทธินทรีย์มีประมาณยิ่ง เพราะสัทธินทรีย์
มีประมาณยิ่ง บุคคลจึงทำให้แจ้งโสดาปัตติผล เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า
เป็นสัทธาธิมุต อินทรีย์ที่เป็นไปตามอินทรีย์นั้นมี ๔ ประการ เป็นสหชาตปัจจัย
เป็นอัญญมัญญปัจจัย เป็นนิสสยปัจจัย เป็นสัมปยุตตปัจจัย อินทรีย์ ๔ เป็น
อันบุคคลเจริญแล้ว เจริญดีแล้วด้วยอำนาจสัทธินทรีย์ บุคคลเหล่าใดเหล่าหนึ่ง
ทำให้แจ้งโสดาปัตติผลด้วยอำนาจสัทธินทรีย์ บุคคลเหล่านั้นทั้งหมดเป็นสัทธาธิมุต
เมื่อบุคคลมนสิการโดยความไม่เที่ยง สัทธินทรีย์มีประมาณยิ่ง เพราะ
สัทธินทรีย์มีประมาณยิ่ง บุคคลจึงได้สกทาคามิมรรค ฯลฯ ทำให้แจ้งสกทาคามิผล
ได้อนาคามิมรรค ฯลฯ ทำให้แจ้งอนาคามิผล ฯลฯ ได้อรหัตตมรรค ฯลฯ ทำให้
แจ้งอรหัตตผล เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า เป็นสัทธาธิมุต อินทรีย์ที่เป็นไป
ตามสัทธินทรีย์นั้นมี ๔ ประการ ฯลฯ เป็นสัมปยุตตปัจจัย อินทรีย์ ๔ เป็นอัน
บุคคลเจริญแล้ว เจริญดีแล้ว ด้วยอำนาจสัทธินทรีย์ บุคคลเหล่าใดเหล่าหนึ่ง
ทำให้แจ้งอรหัตตผลด้วยอำนาจสัทธินทรีย์ บุคคลเหล่านั้นทั้งหมดเป็นสัทธาธิมุต
เมื่อบุคคลมนสิการโดยความเป็นทุกข์ สมาธินทรีย์มีประมาณยิ่ง เพราะ
สมาธินทรีย์มีประมาณยิ่ง บุคคลจึงได้โสดาปัตติมรรค เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าว
ว่า เป็นกายสักขี อินทรีย์ที่เป็นไปตามสมาธินทรีย์นั้นมี ๔ ประการ เป็นสหชาต-
ปัจจัย เป็นอัญญมัญญปัจจัย เป็นนิสสยปัจจัย เป็นสัมปยุตตปัจจัย การเจริญ
อินทรีย์ ๔ ย่อมมีด้วยอำนาจสมาธินทรีย์ บุคคลเหล่าใดเหล่าหนึ่งได้โสดาปัตติมรรค
ด้วยอำนาจสมาธินทรีย์ บุคคลเหล่านั้นทั้งหมดเป็นกายสักขี

เชิงอรรถ :
๑ สัทธานุสารี หมายถึงผู้แล่นไปตามศรัทธา ท่านผู้ปฏิบัติเพื่อบรรลุโสดาปัตติผล มีศรัทธาแก่กล้าบรรลุ
ผลแล้วกลายเป็นศรัทธาวิมุตติ (องฺ.ทุก.อ. ๒/๔๙/๕๕,องฺ.สตฺตก.อ. ๓/๑๔/๑๖๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๓๗๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๕. วิโมกขกถา นิทเทส
เมื่อบุคคลมนสิการโดยความเป็นทุกข์ สมาธินทรีย์มีประมาณยิ่ง เพราะ
สมาธินทรีย์มีประมาณยิ่ง บุคคลจึงทำให้แจ้งโสดาปัตติผล ฯลฯ ได้สกทาคามิ-
มรรค ฯลฯ ทำให้แจ้งสกทาคามิผล ฯลฯ ได้อนาคามิมรรค ฯลฯ ทำให้แจ้ง
อนาคามิผล ฯลฯ ได้อรหัตตมรรค ฯลฯ ทำให้แจ้งอรหัตตผล เพราะเหตุนั้น
ท่านจึงกล่าวว่า เป็นกายสักขี อินทรีย์ที่เป็นไปตามสมาธินทรีย์นั้นมี ๔ ประการ
เป็นสหชาตปัจจัย เป็นอัญญมัญญปัจจัย เป็นนิสสยปัจจัย เป็นสัมปยุตตปัจจัย
อินทรีย์ ๔ เป็นอันบุคคลเจริญแล้ว เจริญดีแล้วด้วยอำนาจสมาธินทรีย์ บุคคล
เหล่าใดเหล่าหนึ่งทำให้แจ้งอรหัตตผลด้วยอำนาจสมาธินทรีย์ บุคคลเหล่านั้น
ทั้งหมดเป็นกายสักขี
เมื่อบุคคลมนสิการโดยความเป็นอนัตตา ปัญญินทรีย์มีประมาณยิ่ง เพราะ
ปัญญินทรีย์มีประมาณยิ่ง บุคคลจึงได้โสดาปัตติมรรค เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า
เป็นธรรมานุสารี๑ อินทรีย์ที่เป็นไปตามปัญญินทรีย์นั้นมี ๔ ประการ ฯลฯ เป็น
สัมปยุตตปัจจัย การเจริญอินทรีย์ ๔ ย่อมมีได้ด้วยอำนาจปัญญินทรีย์ บุคคล
เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ได้โสดาปัตติมรรคด้วยอำนาจปัญญินทรีย์ บุคคลเหล่านั้น
ทั้งหมดเป็นธรรมานุสารี
เมื่อบุคคลมนสิการโดยความเป็นอนัตตา ปัญญินทรีย์มีประมาณยิ่ง เพราะ
ปัญญินทรีย์มีประมาณยิ่ง บุคคลจึงทำให้แจ้งโสดาปัตติผล เพราะเหตุนั้น ท่านจึง
กล่าวว่า เป็นทิฏฐิปัตตะ อินทรีย์ที่เป็นไปตามปัญญินทรีย์นั้นมี ๔ ประการ ฯลฯ
เป็นสัมปยุตตปัจจัย อินทรีย์ ๔ เป็นอันบุคคลเจริญแล้ว เจริญดีแล้วด้วยอำนาจ
ปัญญินทรีย์ บุคคลเหล่าใดเหล่าหนึ่งทำให้แจ้งโสดาปัตติผลด้วยอำนาจปัญญินทรีย์
บุคคลเหล่านั้นทั้งหมดเป็นทิฏฐิปัตตะ
เมื่อบุคคลมนสิการโดยความเป็นอนัตตา ปัญญินทรีย์มีประมาณยิ่ง เพราะ
ปัญญินทรีย์มีประมาณยิ่ง บุคคลจึงได้สกทาคามิมรรค ฯลฯ ทำให้แจ้งสกทาคามิผล
ฯลฯ ได้อนาคามิมรรค ฯลฯ ทำให้แจ้งอนาคามิผล ฯลฯ ได้อรหัตตมรรค ฯลฯ
ทำให้แจ้งอรหัตตผล เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า เป็นทิฏฐิปัตตะ อินทรีย์ที่

เชิงอรรถ :
๑ ธรรมานุสารี หมายถึงผู้แล่นไปตามธรรม ท่านผู้ปฏิบัติเพื่อบรรลุโสดาปัตติผล มีปัญญาแก่กล้า บรรลุผล
แล้วกลายเป็นทิฏฐิปัตตะ (องฺ.ทุก.อ. ๒/๔๙/๕๕, องฺ.สตฺตก.อ. ๓/๑๔/๑๖๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๓๗๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๕. วิโมกขกถา นิทเทส
เป็นไปตามปัญญินทรีย์นั้นมี ๔ ประการ เป็นสหชาตปัจจัย เป็นอัญญมัญญปัจจัย
เป็นนิสสยปัจจัย เป็นสัมปยุตตปัจจัย อินทรีย์ ๔ เป็นอันบุคคลเจริญแล้ว เจริญ
ดีแล้วด้วยอำนาจปัญญินทรีย์ บุคคลเหล่าใดเหล่าหนึ่งทำให้แจ้งอรหัตตผลด้วย
อำนาจปัญญินทรีย์ บุคคลเหล่านั้นทั้งหมดเป็นทิฏฐิปัตตะ
[๒๒๒] บุคคลเหล่าใดเหล่าหนึ่งเจริญแล้ว กำลังเจริญ หรือจักเจริญซึ่ง
เนกขัมมะ บรรลุแล้ว กำลังบรรลุ หรือจักบรรลุ ถึงแล้ว กำลังถึง หรือจักถึง ได้แล้ว
กำลังได้ หรือจักได้ รู้แจ้งแล้ว กำลังรู้แจ้ง หรือจักรู้แจ้ง ทำให้แจ้งแล้ว กำลัง
ทำให้แจ้ง หรือจักทำให้แจ้ง ถูกต้องแล้ว กำลังถูกต้อง หรือจักถูกต้อง ถึงความ
ชำนาญแล้ว กำลังถึงความชำนาญ หรือจักถึงความชำนาญ ถึงความสำเร็จแล้ว
กำลังถึงความสำเร็จ หรือจักถึงความสำเร็จ ถึงความแกล้วกล้าแล้ว กำลังถึง
ความแกล้วกล้า หรือจักถึงความแกล้วกล้า บุคคลเหล่านั้นทั้งหมดเป็นสัทธาธิมุต
ด้วยอำนาจสัทธินทรีย์ เป็นกายสักขีด้วยอำนาจสมาธินทรีย์ เป็นทิฏฐิปัตตะด้วย
อำนาจปัญญินทรีย์
บุคคลเหล่าใดเหล่าหนึ่งเจริญแล้ว กำลังเจริญ หรือจักเจริญซึ่งอพยาบาท ฯลฯ
อาโลกสัญญา ฯลฯ อวิกเขปะ ฯลฯ ธัมมววัตถาน ฯลฯ ญาณ ฯลฯ ปามุชชะ
ฯลฯ ปฐมฌาน ฯลฯ ทุติยฌาน ฯลฯ ตติยฌาน ฯลฯ จตุตถฌาน ฯลฯ
อากาสานัญจายตนสมาบัติ ฯลฯ วิญญาณัญจายตนสมาบัติ ฯลฯ อากิญจัญ-
ญายตนสมาบัติ ฯลฯ เนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ ฯลฯ อนิจจานุปัสสนา
ฯลฯ ทุกขานุปัสสนา ฯลฯ อนัตตานุปัสสนา ฯลฯ นิพพิทานุปัสสนา ฯลฯ
วิราคานุปัสสนา ฯลฯ นิโรธานุปัสสนา ฯลฯ ปฏินิสสัคคานุปัสสนา ฯลฯ
ขยานุปัสสนา ฯลฯ วยานุปัสสนา ฯลฯ วิปริณามานุปัสสนา ฯลฯ อนิมิตตา-
นุปัสสนา ฯลฯ อัปปณิหิตานุปัสสนา ฯลฯ สุญญตานุปัสสนา ฯลฯ อธิปัญญา-
ธัมมวิปัสสนา ฯลฯ ยถาภูตญาณทัสสนะ ฯลฯ อาทีนวานุปัสสนา ฯลฯ
ปฏิสังขานุปัสสนา ฯลฯ วิวัฏฏนานุปัสสนา ฯลฯ โสดาปัตติมรรค ฯลฯ
สกทาคามิมรรค ฯลฯ อนาคามิมรรค บุคคลเหล่าใดเหล่าหนึ่งเจริญแล้ว กำลัง
เจริญ หรือจักเจริญซึ่งอรหัตตมรรค


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๓๗๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๕. วิโมกขกถา นิทเทส
บุคคลเหล่าใดเหล่าหนึ่งเจริญแล้ว กำลังเจริญ หรือจักเจริญ ซึ่งสติปัฏฐาน ๔
ฯลฯ สัมมัปปธาน ๔ ฯลฯ อิทธิบาท ๔ ฯลฯ อินทรีย์ ๕ ฯลฯ พละ ๕ ฯลฯ
โพชฌงค์ ๗ ฯลฯ อริยมรรคมีองค์ ๘ บุคคลเหล่าใดเหล่าหนึ่งเจริญแล้ว กำลังเจริญ
หรือจักเจริญ ซึ่งวิโมกข์ ๘ บรรลุแล้ว กำลังบรรลุ หรือจักบรรลุ ถึงแล้ว กำลังถึง
หรือจักถึง ได้แล้ว กำลังได้ หรือจักได้ รู้แจ้งแล้ว กำลังรู้แจ้ง หรือจักรู้แจ้ง
ทำให้แจ้งแล้ว กำลังทำให้แจ้ง หรือจักทำให้แจ้ง ถูกต้องแล้ว กำลังถูกต้อง หรือ
จักถูกต้อง ถึงความชำนาญแล้ว กำลังถึงความชำนาญ หรือจักถึงความชำนาญ
ถึงความสำเร็จแล้ว กำลังถึงความสำเร็จ หรือจักถึงความสำเร็จ ถึงความแกล้วกล้า
แล้ว กำลังถึงความแกล้วกล้า หรือจักถึงความแกล้วกล้า บุคคลเหล่านั้นทั้งหมด
เป็นสัทธาธิมุตด้วยอำนาจสัทธินทรีย์ เป็นกายสักขีด้วยอำนาจสมาธินทรีย์ เป็น
ทิฏฐิปัตตะด้วยอำนาจปัญญินทรีย์
บุคคลเหล่าใดเหล่าหนึ่ง บรรลุแล้ว กำลังบรรลุ หรือจักบรรลุซึ่งปฏิสัมภิทา ๔
ฯลฯ บุคคลเหล่านั้นทั้งหมดเป็นสัทธาธิมุตด้วยอำนาจสัทธินทรีย์ เป็นกายสักขีด้วย
อำนาจสมาธินทรีย์ เป็นทิฏฐิปัตตะด้วยอำนาจปัญญินทรีย์
บุคคลเหล่าใดเหล่าหนึ่ง รู้แจ้งแล้ว กำลังรู้แจ้ง หรือจักรู้แจ้งซึ่งวิชชา ๓ ฯลฯ
บุคคลเหล่านั้นทั้งหมดเป็นสัทธาธิมุตด้วยอำนาจสัทธินทรีย์ เป็นกายสักขีด้วย
อำนาจสมาธินทรีย์ เป็นทิฏฐิปัตตะด้วยอำนาจปัญญินทรีย์
บุคคลเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ศึกษาแล้ว กำลังศึกษา หรือจักศึกษาซึ่งสิกขา ๓
ทำให้แจ้งแล้ว กำลังทำให้แจ้ง หรือจักทำให้แจ้ง ถูกต้องแล้ว กำลังถูกต้อง หรือ
จักถูกต้อง ถึงความชำนาญแล้ว กำลังถึงความชำนาญ หรือจักถึงความชำนาญ
ถึงความสำเร็จแล้ว กำลังถึงความสำเร็จ หรือจักถึงความสำเร็จ ถึงความแกล้วกล้า
แล้ว กำลังถึงความแกล้วกล้า หรือจักถึงความแกล้วกล้า บุคคลเหล่านั้นทั้งหมด
เป็นสัทธาธิมุตด้วยอำนาจสัทธินทรีย์ เป็นกายสักขีด้วยอำนาจสมาธินทรีย์ เป็น
ทิฏฐิปัตตะด้วยอำนาจปัญญินทรีย์
บุคคลเหล่าใดเหล่าหนึ่ง กำหนดรู้ทุกข์ ละสมุทัย ทำให้แจ้งนิโรธ เจริญมรรค
บุคคลเหล่านั้นทั้งหมดเป็นสัทธาธิมุตด้วยอำนาจสัทธินทรีย์ เป็นกายสักขีด้วย
อำนาจสมาธินทรีย์ เป็นทิฏฐิปัตตะด้วยอำนาจปัญญินทรีย์


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๓๗๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๕. วิโมกขกถา นิทเทส
การรู้แจ้งสัจจะมีได้ด้วยอาการเท่าไร บุคคลรู้แจ้งสัจจะด้วยอาการเท่าไร
คือ การรู้แจ้งสัจจะมีได้ด้วยอาการ ๔ อย่าง บุคคลรู้แจ้งสัจจะด้วยอาการ ๔
อย่าง ได้แก่
๑. รู้แจ้งทุกขสัจว่า เป็นธรรมที่ควรรู้แจ้งด้วยการกำหนดรู้
๒. รู้แจ้งสมุทยสัจว่า เป็นธรรมที่ควรรู้แจ้งด้วยการละ
๓. รู้แจ้งนิโรธสัจว่า เป็นธรรมที่ควรรู้แจ้งด้วยการทำให้แจ้ง
๔. รู้แจ้งมัคคสัจว่า เป็นธรรมที่ควรรู้แจ้งด้วยการเจริญ
การรู้แจ้งสัจจะมีได้ด้วยอาการ ๔ อย่างนี้ บุคคลเมื่อรู้แจ้งสัจจะด้วยอาการ ๔
อย่างนี้ เป็นสัทธาธิมุตด้วยอำนาจสัทธินทรีย์ เป็นกายสักขีด้วยอำนาจสมาธินทรีย์
เป็นทิฏฐิปัตตะด้วยอำนาจปัญญินทรีย์
การรู้แจ้งสัจจะมีได้ด้วยอาการเท่าไร บุคคลรู้แจ้งสัจจะด้วยอาการเท่าไร
คือ การรู้แจ้งสัจจะมีได้ด้วยอาการ ๙ อย่าง บุคคลรู้แจ้งสัจจะด้วยอาการ ๙
อย่าง ได้แก่
๑. รู้แจ้งทุกขสัจว่า เป็นธรรมที่ควรรู้แจ้งด้วยการกำหนดรู้
๒. รู้แจ้งสมุทยสัจว่า เป็นธรรมที่ควรรู้แจ้งด้วยการละ
๓. รู้แจ้งนิโรธสัจว่า เป็นธรรมที่ควรรู้แจ้งด้วยการทำให้แจ้ง
๔. รู้แจ้งมัคคสัจว่า เป็นธรรมที่ควรรู้แจ้งด้วยการเจริญ
๕. รู้แจ้งธรรมทั้งปวงด้วยความรู้ยิ่ง
๖. รู้แจ้งสังขารทั้งปวงด้วยการกำหนดรู้
๗. รู้แจ้งอกุศลธรรมทั้งปวงด้วยการละ
๘. รู้แจ้งมรรค ๔ ด้วยการเจริญ
๙. รู้แจ้งนิโรธด้วยการทำให้แจ้ง
การรู้แจ้งสัจจะมีได้ด้วยอาการ ๙ อย่างนี้ บุคคลเมื่อรู้แจ้งสัจจะด้วยอาการ ๙
อย่างนี้ เป็นสัทธาธิมุตด้วยอำนาจสัทธินทรีย์ เป็นกายสักขีด้วยอำนาจสมาธินทรีย์
เป็นทิฏฐิปัตตะด้วยอำนาจปัญญินทรีย์
ทุติยภาณวาร จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๓๗๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๕. วิโมกขกถา นิทเทส
[๒๒๓] เมื่อบุคคลมนสิการโดยความไม่เที่ยง สังขารปรากฏอย่างไร เมื่อ
มนสิการโดยความเป็นทุกข์ สังขารปรากฏอย่างไร เมื่อมนสิการโดยความเป็น
อนัตตา สังขารปรากฏอย่างไร
คือ เมื่อบุคคลมนสิการโดยความไม่เที่ยง สังขารปรากฏโดยความสิ้นไป เมื่อ
มนสิการโดยความเป็นทุกข์ สังขารปรากฏโดยความเป็นภัย เมื่อมนสิการโดยความ
เป็นอนัตตา สังขารปรากฏโดยสุญญตะ
เมื่อบุคคลมนสิการโดยความไม่เที่ยง จิตมากด้วยอะไร เมื่อมนสิการโดยความ
เป็นทุกข์ จิตมากด้วยอะไร เมื่อมนสิการโดยความเป็นอนัตตา จิตมากด้วยอะไร
คือ เมื่อบุคคลมนสิการโดยความไม่เที่ยง จิตมากด้วยความน้อมใจเชื่อ เมื่อ
มนสิการโดยความเป็นทุกข์ จิตมากด้วยความสงบ เมื่อมนสิการโดยความเป็น
อนัตตา จิตมากด้วยความรู้
บุคคลผู้มนสิการโดยความไม่เที่ยง มากด้วยความน้อมใจเชื่อ ย่อมได้วิโมกข์
อะไร ผู้มนสิการโดยความเป็นทุกข์ มากด้วยความสงบ ย่อมได้วิโมกข์อะไร ผู้
มนสิการโดยความเป็นอนัตตา มากด้วยความรู้ ย่อมได้วิโมกข์อะไร
คือ บุคคลผู้มนสิการโดยความไม่เที่ยง มากด้วยความน้อมใจเชื่อ ย่อมได้
อนิมิตตวิโมกข์ ผู้มนสิการโดยความเป็นทุกข์ มากด้วยความสงบ ย่อมได้
อัปปณิหิตวิโมกข์ ผู้มนสิการโดยความเป็นอนัตตา มากด้วยความรู้ ย่อมได้
สุญญตวิโมกข์
[๒๒๔] เมื่อบุคคลมนสิการโดยความไม่เที่ยง มากด้วยความน้อมใจเชื่อ
วิโมกข์อะไรเป็นใหญ่ วิโมกข์แห่งภาวนาที่เป็นไปตามวิโมกข์นั้นมีเท่าไร เป็นสหชาต-
ปัจจัย เป็นอัญญมัญญปัจจัย เป็นนิสสยปัจจัย เป็นสัมปยุตตปัจจัย มีรสเป็น
อย่างเดียวกัน ชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่าอย่างไร ใครเจริญ
เมื่อบุคคลมนสิการโดยความเป็นทุกข์ มากด้วยความสงบ วิโมกข์อะไร
เป็นใหญ่ วิโมกข์แห่งภาวนาที่เป็นไปตามวิโมกข์นั้นมีเท่าไร เป็นสหชาตปัจจัย
เป็นอัญญมัญญปัจจัย เป็นนิสสยปัจจัย เป็นสัมปยุตตปัจจัย มีรสเป็นอย่างเดียวกัน
ชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่าอย่างไร ใครเจริญ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๓๗๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๕. วิโมกขกถา นิทเทส
เมื่อมนสิการโดยความเป็นอนัตตา มากด้วยความรู้ วิโมกข์อะไรเป็นใหญ่
วิโมกข์แห่งภาวนาที่เป็นไปตามวิโมกข์นั้นมีเท่าไร เป็นสหชาตปัจจัย เป็นอัญญ-
มัญญปัจจัย เป็นนิสสยปัจจัย เป็นสัมปยุตตปัจจัย มีรสเป็นอย่างเดียวกัน ชื่อว่า
ภาวนา เพราะมีความหมายว่าอย่างไร ใครย่อมเจริญ
คือ เมื่อบุคคลมนสิการโดยความไม่เที่ยง มากด้วยความน้อมใจเชื่อ อนิมิตต-
วิโมกข์เป็นใหญ่ วิโมกข์แห่งภาวนาที่เป็นไปตามอนิมิตตวิโมกข์นั้นมี ๒ ประการ๑
เป็นสหชาตปัจจัย ฯลฯ มีรสเป็นอย่างเดียวกัน ชื่อว่าภาวนา เพราะมีความ
หมายว่ามีรสเป็นอย่างเดียวกัน ผู้ใดปฏิบัติโดยชอบ ผู้นั้นย่อมเจริญ การเจริญวิโมกข์
ย่อมไม่มีแก่ผู้ปฏิบัติผิด
เมื่อมนสิการโดยความเป็นทุกข์ มากด้วยความสงบ อัปปณิหิตวิโมกข์
เป็นใหญ่ วิโมกข์แห่งภาวนาที่เป็นไปตามอัปปณิหิตวิโมกข์นั้นมี ๒ ประการ๒เป็น
สหชาตปัจจัย เป็นอัญญมัญญปัจจัย เป็นนิสสยปัจจัย เป็นสัมปยุตตปัจจัย มีรส
เป็นอย่างเดียวกัน ชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่ามีรสเป็นอย่างเดียวกัน ผู้ใด
ปฏิบัติโดยชอบ ผู้นั้นย่อมเจริญ การเจริญวิโมกข์ย่อมไม่มีแก่ผู้ปฏิบัติผิด
เมื่อมนสิการโดยความเป็นอนัตตา มากด้วยความรู้ สุญญตวิโมกข์เป็นใหญ่
วิโมกข์แห่งภาวนาที่เป็นไปตามสุญญตวิโมกข์นั้นมี ๒ ประการ๓เป็นสหชาตปัจจัย
เป็นอัญญมัญญปัจจัย เป็นนิสสยปัจจัย เป็นสัมปยุตตปัจจัย มีรสเป็นอย่างเดียวกัน
ชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่ามีรสเป็นอย่างเดียวกัน ผู้ใดปฏิบัติโดยชอบ
ผู้นั้นย่อมเจริญ การเจริญวิโมกข์ย่อมไม่มีแก่ผู้ปฏิบัติผิด
เมื่อบุคคลมนสิการโดยความไม่เที่ยง มากด้วยความน้อมใจเชื่อ วิโมกข์อะไร
เป็นใหญ่ วิโมกข์แห่งภาวนาที่เป็นไปตามวิโมกข์นั้นมีเท่าไร เป็นสหชาตปัจจัย
เป็นอัญญมัญญปัจจัย เป็นนิสสยปัจจัย เป็นสัมปยุตตปัจจัย มีรสเป็นอย่างเดียวกัน
ชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่ามีรสเป็นอย่างเดียวกัน ในเวลารู้แจ้ง วิโมกข์
อะไรเป็นใหญ่ วิโมกข์แห่งการรู้แจ้งที่เป็นไปตามวิโมกข์นั้นมีเท่าไร เป็นสหชาตปัจจัย

เชิงอรรถ :
๑ ได้แก่ อัปปณิหิตวิโมกข์และสุญญตวิโมกข์ (ขุ.ป.อ. ๒/๒๒๔/๑๙๒)
๒ ได้แก่ สุญญตวิโมกข์และอนิมิตตวิโมกข์ (ขุ.ป.อ. ๒/๒๒๔/๑๙๒)
๓ ได้แก่ อนิมิตตวิโมกข์และอัปปณิหิตวิโมกข์ (ขุ.ป.อ. ๒/๒๒๔/๑๙๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๓๗๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๕. วิโมกขกถา นิทเทส
เป็นอัญญมัญญปัจจัย เป็นนิสสยปัจจัย เป็นสัมปยุตตปัจจัย มีรสเป็นอย่างเดียวกัน
ชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่าอย่างไร ชื่อว่าการรู้แจ้ง เพราะมีความหมายว่า
อย่างไร
เมื่อบุคคลมนสิการโดยความเป็นทุกข์ มากด้วยความสงบ วิโมกข์อะไรเป็น
ใหญ่ วิโมกข์แห่งภาวนาที่เป็นไปตามวิโมกข์นั้นมีเท่าไร เป็นสหชาตปัจจัย
เป็นอัญญมัญญปัจจัย เป็นนิสสยปัจจัย เป็นสัมปยุตตปัจจัย มีรสเป็นอย่างเดียวกัน
ชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่ามีรสเป็นอย่างเดียวกัน ในเวลารู้แจ้ง วิโมกข์
อะไรเป็นใหญ่ วิโมกข์แห่งการรู้แจ้งที่เป็นไปตามวิโมกข์นั้นมีเท่าไร เป็นสหชาตปัจจัย
เป็นอัญญมัญญปัจจัย เป็นนิสสยปัจจัย เป็นสัมปยุตตปัจจัย มีรสเป็นอย่างเดียวกัน
ชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่าอย่างไร ชื่อว่าการรู้แจ้ง เพราะมีความหมาย
ว่าอย่างไร
เมื่อมนสิการโดยความเป็นอนัตตา มากด้วยความรู้ วิโมกข์อะไรเป็น
ใหญ่ วิโมกข์แห่งภาวนาที่เป็นไปตามวิโมกข์นั้นมีเท่าไร เป็นสหชาตปัจจัย เป็น
อัญญมัญญปัจจัย เป็นนิสสยปัจจัย เป็นสัมปยุตตปัจจัย มีรสเป็นอย่างเดียวกัน
ชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่ามีรสเป็นอย่างเดียวกัน ในเวลารู้แจ้ง วิโมกข์
อะไรเป็นใหญ่ วิโมกข์แห่งการรู้แจ้งที่เป็นไปตามวิโมกข์นั้นมีเท่าไร เป็นสหชาตปัจจัย
เป็นอัญญมัญญปัจจัย เป็นนิสสยปัจจัย เป็นสัมปยุตตปัจจัย มีรสเป็นอย่างเดียวกัน
ชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่าอย่างไร ชื่อว่าการรู้แจ้ง เพราะมีความหมายว่า
อย่างไร
[๒๒๕] คือ เมื่อบุคคลมนสิการโดยความไม่เที่ยง มากด้วยความน้อมใจเชื่อ
อนิมิตตวิโมกข์เป็นใหญ่ วิโมกข์แห่งภาวนาที่เป็นไปตามอนิมิตตวิโมกข์นั้นมี ๒ ประการ
เป็นสหชาตปัจจัย เป็นอัญญมัญญปัจจัย เป็นนิสสยปัจจัย เป็นสัมปยุตตปัจจัย
มีรสเป็นอย่างเดียวกัน แม้ในเวลารู้แจ้ง อนิมิตตวิโมกข์ก็เป็นใหญ่ วิโมกข์แห่ง
การรู้แจ้งที่เป็นไปตามอนิมิตตวิโมกข์นั้นมี ๒ ประการ เป็นสหชาตปัจจัย เป็น
อัญญมัญญปัจจัย เป็นนิสสยปัจจัย เป็นสัมปยุตตปัจจัย มีรสเป็นอย่างเดียวกัน
ชื่อว่าการรู้แจ้ง เพราะมีความหมายว่าเห็น แม้บุคคลผู้รู้แจ้งอย่างนี้ ก็ชื่อว่าเจริญ
แม้ผู้เจริญก็ชื่อว่ารู้แจ้ง


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๓๗๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๕. วิโมกขกถา นิทเทส
เมื่อมนสิการโดยความเป็นทุกข์ มากด้วยความสงบ อัปปณิหิตวิโมกข์
เป็นใหญ่ วิโมกข์แห่งภาวนาที่เป็นไปตามอัปปณิหิตวิโมกข์นั้นมี ๒ ประการ เป็น
สหชาตปัจจัย เป็นอัญญมัญญปัจจัย เป็นนิสสยปัจจัย เป็นสัมปยุตตปัจจัย มีรส
เป็นอย่างเดียวกัน แม้ในเวลารู้แจ้ง อัปปณิหิตวิโมกข์ก็เป็นใหญ่ วิโมกข์แห่งการรู้
แจ้งที่เป็นไปตามอัปปณิหิตวิโมกข์นั้นมี ๒ ประการ เป็นสหชาตปัจจัย เป็นอัญญ-
มัญญปัจจัย เป็นนิสสยปัจจัย เป็นสัมปยุตตปัจจัย แม้ผู้เจริญก็ชื่อว่ารู้แจ้ง
เมื่อมนสิการโดยความเป็นอนัตตา มากด้วยความรู้ สุญญตวิโมกข์เป็นใหญ่
วิโมกข์แห่งภาวนาที่เป็นไปตามสุญญตวิโมกข์นั้นมี ๒ ประการ เป็นสหชาตปัจจัย
เป็นอัญญมัญญปัจจัย เป็นนิสสยปัจจัย เป็นสัมปยุตตปัจจัย มีรสเป็นอย่างเดียวกัน
แม้ในเวลารู้แจ้ง สุญญตวิโมกข์ก็เป็นใหญ่ วิโมกข์แห่งการรู้แจ้งที่เป็นไปตาม
สุญญตวิโมกข์นั้นมี ๒ ประการ เป็นสหชาตปัจจัย เป็นอัญญมัญญปัจจัย เป็น
นิสสยปัจจัย เป็นสัมปยุตตปัจจัย แม้ผู้เจริญก็ชื่อว่ารู้แจ้ง
[๒๒๖] เมื่อบุคคลมนสิการโดยความไม่เที่ยง วิโมกข์อะไรมีประมาณยิ่ง เพราะ
วิโมกข์อะไรมีประมาณยิ่ง บุคคลจึงเป็นสัทธาธิมุต เมื่อมนสิการโดยความเป็นทุกข์
วิโมกข์อะไรมีประมาณยิ่ง เพราะวิโมกข์อะไรมีประมาณยิ่ง บุคคลจึงเป็นกายสักขี
เมื่อมนสิการโดยความเป็นอนัตตา วิโมกข์อะไรมีประมาณยิ่ง เพราะวิโมกข์อะไรมี
ประมาณยิ่ง บุคคลจึงเป็นทิฏฐิปัตตะ
คือ เมื่อบุคคลมนสิการโดยความไม่เที่ยง อนิมิตตวิโมกข์มีประมาณยิ่ง เพราะ
อนิมิตตวิโมกข์มีประมาณยิ่ง บุคคลจึงเป็นสัทธาธิมุต เมื่อมนสิการโดยความเป็น
ทุกข์ อัปปณิหิตวิโมกข์มีประมาณยิ่ง เพราะอัปปณิหิตวิโมกข์มีประมาณยิ่ง บุคคล
จึงเป็นกายสักขี เมื่อมนสิการโดยความเป็นอนัตตา สุญญตวิโมกข์มีประมาณยิ่ง
เพราะสุญญตวิโมกข์มีประมาณยิ่ง บุคคลจึงเป็นทิฏฐิปัตตะ
บุคคลผู้น้อมใจเชื่อ เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าสัทธาธิมุต บุคคลชื่อว่าทำให้แจ้ง
เพราะเป็นผู้ถูกต้องธรรม เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่ากายสักขี บุคคลชื่อว่าบรรลุแล้ว
เพราะเป็นผู้เห็นธรรม เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าทิฏฐิปัตตะ บุคคลผู้น้อมใจเชื่อ
เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าสัทธาธิมุต บุคคลถูกต้องฌานก่อน ภายหลังจึงทำให้แจ้ง
นิพพานซึ่งเป็นความดับ เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่ากายสักขี ญาณว่า “สังขารเป็นทุกข์


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๓๘๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๕. วิโมกขกถา นิทเทส
นิโรธเป็นสุข” เป็นญาณอันบุคคลเห็นแล้ว ทราบแล้ว ทำให้แจ้งแล้ว ถูกต้องแล้ว
ด้วยปัญญา เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าทิฏฐิปัตตะ ฯลฯ บุคคลเหล่าใดเหล่าหนึ่ง
เจริญแล้ว กำลังเจริญ หรือจักเจริญซึ่งเนกขัมมะ ฯลฯ บุคคลเหล่านั้นทั้งหมด
เป็นสัทธาธิมุตด้วยอำนาจอนิมิตตวิโมกข์ เป็นกายสักขีด้วยอำนาจอัปปณิหิตวิโมกข์
เป็นทิฏฐิปัตตะด้วยอำนาจสุญญตวิโมกข์
บุคคลเหล่าใดเหล่าหนึ่ง เจริญแล้ว กำลังเจริญ หรือจักเจริญซึ่งอพยาบาท
ฯลฯ อาโลกสัญญา ฯลฯ อวิกเขปะ ฯลฯ บุคคลเหล่าใดเหล่าหนึ่ง กำหนดรู้ทุกข์
ละสมุทัย ทำให้แจ้งนิโรธ เจริญมรรค บุคคลเหล่านั้นทั้งหมดเป็นสัทธาธิมุตด้วย
อำนาจอนิมิตตวิโมกข์ เป็นกายสักขีด้วยอำนาจอัปปณิหิตวิโมกข์ เป็นทิฏฐิปัตตะ
ด้วยอำนาจสุญญตวิโมกข์
การรู้แจ้งสัจจะมีได้ด้วยอาการเท่าไร บุคคลรู้แจ้งสัจจะด้วยอาการเท่าไร
คือ การรู้แจ้งสัจจะมีได้ด้วยอาการ ๔ อย่าง บุคคลรู้แจ้งสัจจะด้วยอาการ ๔
อย่าง ได้แก่
๑. รู้แจ้งทุกขสัจว่า เป็นธรรมที่ควรรู้แจ้งด้วยการกำหนดรู้
๒. รู้แจ้งสมุทยสัจว่า เป็นธรรมที่ควรรู้แจ้งด้วยการละ
๓. รู้แจ้งนิโรธสัจว่า เป็นธรรมที่ควรรู้แจ้งด้วยการทำให้แจ้ง
๔. รู้แจ้งมัคคสัจว่า เป็นธรรมที่ควรรู้แจ้งด้วยการเจริญ
การรู้แจ้งสัจจะมีได้ด้วยอาการ ๔ อย่างนี้ บุคคลเมื่อรู้แจ้งสัจจะด้วยอาการ ๔
อย่างนี้ เป็นสัทธาธิมุตด้วยอำนาจอนิมิตตวิโมกข์ เป็นกายสักขีด้วยอำนาจ
อัปปณิหิตวิโมกข์ เป็นทิฏฐิปัตตะด้วยอำนาจสุญญตวิโมกข์
การรู้แจ้งสัจจะมีได้ด้วยอาการเท่าไร บุคคลรู้แจ้งสัจจะด้วยอาการเท่าไร
คือ การรู้แจ้งสัจจะมีได้ด้วยอาการ ๙ อย่าง บุคคลรู้แจ้งสัจจะด้วยอาการ ๙
อย่าง ได้แก่
๑. รู้แจ้งทุกขสัจว่า เป็นธรรมที่ควรรู้แจ้งด้วยการกำหนดรู้
ฯลฯ
๙. รู้แจ้งนิโรธด้วยการทำให้แจ้ง๑

เชิงอรรถ :
๑ ดูความเต็มในข้อ ๒๒๒ หน้า ๓๗๖ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๓๘๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๕. วิโมกขกถา นิทเทส
การรู้แจ้งสัจจะมีได้ด้วยอาการ ๙ อย่างนี้ บุคคลเมื่อรู้แจ้งสัจจะด้วยอาการ
๙ อย่างนี้ เป็นสัทธาธิมุตด้วยอำนาจอนิมิตตวิโมกข์ เป็นกายสักขีด้วยอำนาจ
อัปปณิหิตวิโมกข์ เป็นทิฏฐิปัตตะด้วยอำนาจสุญญตวิโมกข์
[๒๒๗] บุคคลผู้มนสิการโดยความไม่เที่ยงจะรู้เห็นธรรมเหล่าไหนตามความ
เป็นจริง สัมมาทัสสนะ (ความเห็นชอบ) เป็นอย่างไร สังขารทั้งปวงชื่อว่าบุคคล
เห็นดีแล้วโดยความไม่เที่ยงด้วยการอนุมานตามสัมมาทัสสนะนั้นเป็นอย่างไร บุคคล
ละความสงสัยได้ที่ไหน
บุคคลผู้มนสิการโดยความเป็นทุกข์จะรู้เห็นธรรมเหล่าไหนตามความเป็นจริง
สัมมาทัสสนะเป็นอย่างไร สังขารทั้งปวงชื่อว่าบุคคลเห็นดีแล้วโดยความเป็นทุกข์
ด้วยการอนุมานตามสัมมาทัสสนะนั้นเป็นอย่างไร บุคคลละความสงสัยได้ที่ไหน
บุคคลผู้มนสิการโดยความเป็นอนัตตาจะรู้เห็นธรรมเหล่าไหนตามความเป็นจริง
สัมมาทัสสนะเป็นอย่างไร ธรรมทั้งปวงชื่อว่าบุคคลเห็นดีแล้วโดยความเป็นอนัตตา
ด้วยการอนุมานตามสัมมาทัสสนะนั้นเป็นอย่างไร บุคคลละความสงสัยได้ที่ไหน
คือ บุคคลผู้มนสิการโดยความไม่เที่ยงจะรู้เห็นนิมิตตามความเป็นจริง เพราะ
รู้เห็นนิมิตตามความเป็นจริงนั้น ท่านจึงกล่าวว่าสัมมาทัสสนะ สังขารทั้งปวงชื่อว่า
บุคคลเห็นดีแล้วโดยความไม่เที่ยงด้วยการอนุมานตามสัมมาทัสสสะนั้นอย่างนี้
บุคคลละความสงสัยได้ที่สัมมาทัสสนะนี้
บุคคลผู้มนสิการโดยความเป็นทุกข์จะรู้เห็นความเป็นไปตามความเป็นจริง
เพราะรู้เห็นความเป็นไปตามความเป็นจริงนั้น ท่านจึงกล่าวว่าสัมมาทัสสนะ สังขาร
ทั้งปวงชื่อว่าบุคคลเห็นดีแล้วโดยความเป็นทุกข์ด้วยการอนุมานตามสัมมาทัสสนะนั้น
อย่างนี้ บุคคลละความสงสัยได้ที่สัมมาทัสสนะนี้
บุคคลผู้มนสิการโดยความเป็นอนัตตา จะรู้เห็นนิมิตและความเป็นไปตามความ
เป็นจริง เพราะรู้เห็นนิมิตและความเป็นไปตามความเป็นจริงนั้น ท่านจึงกล่าวว่า
สัมมาทัสสนะ ธรรมทั้งปวงชื่อว่าบุคคลเห็นดีแล้วโดยความเป็นอนัตตาด้วยการ
อนุมานตามสัมมาทัสสนะนั้นอย่างนี้ บุคคลละความสงสัยได้ที่สัมมาทัสสนะนี้


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๓๘๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๕. วิโมกขกถา นิทเทส
ธรรมเหล่านี้ คือ ยถาภูตญาณ สัมมาทัสสนะ และกังขาวิตรณะมีอรรถ
ต่างกันและมีพยัญชนะต่างกัน หรือมีอรรถอย่างเดียวกัน ต่างกันแต่พยัญชนะเท่านั้น
ธรรมเหล่านี้ คือ ยถาภูตญาณ สัมมาทัสสนะ และกังขาวิตรณะมีอรรถ
อย่างเดียวกัน ต่างกันแต่พยัญชนะเท่านั้น
เมื่อบุคคลมนสิการโดยความไม่เที่ยง อะไรปรากฏโดยความเป็นภัย เมื่อ
มนสิการโดยความเป็นทุกข์ อะไรปรากฏโดยความเป็นภัย เมื่อมนสิการโดยความ
เป็นอนัตตา อะไรปรากฏโดยความเป็นภัย
คือ เมื่อบุคคลมนสิการโดยความไม่เที่ยง นิมิตปรากฏโดยความเป็นภัย เมื่อ
มนสิการโดยความเป็นทุกข์ ความเป็นไปปรากฏโดยความเป็นภัย เมื่อมนสิการโดย
ความเป็นอนัตตา นิมิตและความเป็นไปปรากฏโดยความเป็นภัย
ธรรมเหล่านี้ คือ ปัญญาในการ(เห็นสังขาร)ปรากฏโดยความเป็นภัย อาทีนว-
ญาณ และนิพพิทามีอรรถต่างกันและมีพยัญชนะต่างกัน หรือมีอรรถอย่างเดียวกัน
ต่างกันแต่พยัญชนะเท่านั้น
ธรรมเหล่านี้ คือ ปัญญาในการ(เห็นสังขาร)ปรากฏโดยความเป็นภัย อาทีนว-
ญาณ และนิพพิทามีอรรถอย่างเดียวกัน ต่างกันแต่พยัญชนะเท่านั้น
ธรรมเหล่านี้ คือ อนัตตานุปัสสนาและสุญญตานุปัสสนามีอรรถต่างกันและ
มีพยัญชนะต่างกัน หรือมีอรรถอย่างเดียวกัน ต่างกันแต่พยัญชนะเท่านั้น
ธรรมเหล่านี้ คือ อนัตตานุปัสสนาและสุญญตานุปัสสนามีอรรถอย่างเดียวกัน
ต่างกันแต่พยัญชนะเท่านั้น
เมื่อบุคคลมนสิการโดยความไม่เที่ยง ญาณคือการพิจารณาอะไรย่อมเกิดขึ้น
เมื่อมนสิการโดยความเป็นทุกข์ ญาณคือการพิจารณาอะไรย่อมเกิดขึ้น เมื่อ
มนสิการโดยความเป็นอนัตตา ญาณคือการพิจารณาอะไรย่อมเกิดขึ้น
คือ เมื่อบุคคลมนสิการโดยความไม่เที่ยง ญาณคือการพิจารณานิมิตย่อม
เกิดขึ้น เมื่อมนสิการโดยความเป็นทุกข์ ญาณคือการพิจารณาความเป็นไปย่อม
เกิดขึ้น เมื่อมนสิการโดยความเป็นอนัตตา ญาณคือการพิจารณานิมิตและความ
เป็นไปย่อมเกิดขึ้น


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๓๘๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๕. วิโมกขกถา นิทเทส
ธรรมเหล่านี้ คือ มุญจิตุกัมยตาญาณ ปฏิสังขานุปัสสนาญาณ และ
สังขารุเปกขาญาณมีอรรถต่างกันและมีพยัญชนะต่างกัน หรือมีอรรถอย่างเดียวกัน
ต่างกันแต่พยัญชนะเท่านั้น
ธรรมเหล่านี้ คือ มุญจิตุกัมยตาญาณ ปฏิสังขานุปัสสนาญาณ และ
สังขารุเปกขาญาณมีอรรถอย่างเดียวกัน ต่างกันแต่พยัญชนะเท่านั้น
เมื่อบุคคลมนสิการโดยความไม่เที่ยง จิตออกจากอะไร แล่นไปในที่ไหน
เมื่อมนสิการโดยความเป็นทุกข์ จิตออกจากอะไร แล่นไปในที่ไหน เมื่อมนสิการ
โดยความเป็นอนัตตา จิตออกจากอะไร แล่นไปในที่ไหน
คือ เมื่อบุคคลมนสิการโดยความไม่เที่ยง จิตออกจากนิมิต แล่นไปใน
นิพพานซึ่งไม่มีนิมิต เมื่อมนสิการโดยความเป็นทุกข์ จิตออกจากความเป็นไป
แล่นไปในนิพพานซึ่งไม่มีความเป็นไป เมื่อมนสิการโดยความเป็นอนัตตา จิตออก
จากนิมิตและความเป็นไป แล่นไปในนิพพานธาตุซึ่งเป็นความดับ ซึ่งไม่มีนิมิตและ
ความเป็นไป
ธรรมเหล่านี้ คือ ปัญญาในการออกและหลีกไปจากนิมิตภายนอกและโคตรภู-
ธรรมมีอรรถต่างกันและมีพยัญชนะต่างกัน หรือมีอรรถอย่างเดียวกัน ต่างกันแต่
พยัญชนะเท่านั้น
ธรรมเหล่านี้ คือ ปัญญาในการออกและหลีกไปจากนิมิตภายนอกและโคตรภู-
ธรรม มีอรรถอย่างเดียวกัน ต่างกันแต่พยัญชนะเท่านั้น
บุคคลผู้มนสิการโดยความไม่เที่ยงย่อมหลุดพ้นด้วยวิโมกข์อะไร ผู้มนสิการ
โดยความเป็นทุกข์ย่อมหลุดพ้นด้วยวิโมกข์อะไร ผู้มนสิการโดยความเป็นอนัตตา
ย่อมหลุดพ้นด้วยวิโมกข์อะไร
คือ บุคคลผู้มนสิการโดยความไม่เที่ยง ย่อมหลุดพ้นด้วยอนิมิตตวิโมกข์ ผู้
มนสิการโดยความเป็นทุกข์ย่อมหลุดพ้นด้วยอัปปณิหิตวิโมกข์ ผู้มนสิการโดยความ
เป็นอนัตตาย่อมหลุดพ้นด้วยสุญญตวิโมกข์


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๓๘๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๕. วิโมกขกถา นิทเทส
ธรรมเหล่านี้ คือ ปัญญาในการออกและหลีกไปจากกิเลสขันธ์และจากนิมิต
ภายนอกและมัคคญาณมีอรรถต่างกันและมีพยัญชนะต่างกัน หรือมีอรรถอย่างเดียว
กัน ต่างกันแต่พยัญชนะเท่านั้น
ธรรมเหล่านี้ คือ ปัญญาในการออกและหลีกไปจากกิเลสขันธ์และจากนิมิต
ภายนอกและมัคคญาณมีอรรถอย่างเดียวกัน ต่างกันแต่พยัญชนะเท่านั้น
[๒๒๘] วิโมกข์ ๓ ย่อมมีในขณะต่างกันด้วยอาการเท่าไร ย่อมมีในขณะ
เดียวกันด้วยอาการเท่าไร
คือ วิโมกข์ ๓ ย่อมมีในขณะต่างกันด้วยอาการ ๔ อย่าง ย่อมมีในขณะ
เดียวกันด้วยอาการ ๗ อย่าง
วิโมกข์ ๓ ย่อมมีในขณะต่างกันด้วยอาการ ๔ อย่าง อะไรบ้าง คือ
๑. ด้วยสภาวะเป็นใหญ่ ๒. ด้วยสภาวะตั้งมั่น
๓. ด้วยสภาวะน้อมจิตไป ๔. ด้วยสภาวะนำออกไป
วิโมกข์ ๓ ย่อมมีในขณะต่างกันด้วยสภาวะเป็นใหญ่ เป็นอย่างไร
คือ เมื่อบุคคลมนสิการโดยความไม่เที่ยง อนิมิตตวิโมกข์เป็นใหญ่ เมื่อมนสิการ
โดยความเป็นทุกข์ อัปปณิหิตวิโมกข์เป็นใหญ่ เมื่อมนสิการโดยความเป็นอนัตตา
สุญญตวิโมกข์เป็นใหญ่ วิโมกข์ ๓ ย่อมมีในขณะต่างกันด้วยสภาวะเป็นใหญ่อย่างนี้
วิโมกข์ ๓ ย่อมมีในขณะต่างกันด้วยสภาวะตั้งมั่น เป็นอย่างไร
คือ บุคคลผู้มนสิการโดยความไม่เที่ยงย่อมตั้งจิตไว้มั่นด้วยอำนาจแห่ง
อนิมิตตวิโมกข์ ผู้มนสิการโดยความเป็นทุกข์ย่อมตั้งจิตไว้มั่นด้วยอำนาจแห่ง
อัปปณิหิตวิโมกข์ ผู้มนสิการโดยความเป็นอนัตตาย่อมตั้งจิตไว้มั่นด้วยอำนาจแห่ง
สุญญตวิโมกข์ วิโมกข์ ๓ ย่อมมีในขณะต่างกันด้วยสภาวะตั้งมั่นอย่างนี้
วิโมกข์ ๓ ย่อมมีในขณะต่างกันด้วยสภาวะน้อมจิตไป เป็นอย่างไร
คือ บุคคลผู้มนสิการโดยความไม่เที่ยงย่อมน้อมจิตไปด้วยอำนาจแห่งอนิมิตต-
วิโมกข์ ผู้มนสิการโดยความเป็นทุกข์ย่อมน้อมจิตไปด้วยอำนาจแห่งอัปปณิหิตวิโมกข์
ผู้มนสิการโดยความเป็นอนัตตาย่อมน้อมจิตไปด้วยอำนาจแห่งสุญญตวิโมกข์ วิโมกข์
๓ ย่อมมีในขณะต่างกันด้วยสภาวะน้อมจิตไปอย่างนี้


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๓๘๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๕. วิโมกขกถา นิทเทส
วิโมกข์ ๓ ย่อมมีในขณะต่างกันด้วยสภาวะนำออกไป เป็นอย่างไร
คือ บุคคลผู้มนสิการโดยความไม่เที่ยงย่อมนำจิตออกไปสู่นิพพานซึ่งเป็นความ
ดับด้วยอำนาจแห่งอนิมิตตวิโมกข์ ผู้มนสิการโดยความเป็นทุกข์ย่อมนำจิตออกไปสู่
นิพพานซึ่งเป็นความดับด้วยอำนาจแห่งอัปปณิหิตวิโมกข์ ผู้มนสิการโดยความเป็น
อนัตตาย่อมนำจิตออกไปสู่นิพพานซึ่งเป็นความดับด้วยอำนาจแห่งสุญญตวิโมกข์
วิโมกข์ ๓ ย่อมมีในขณะต่างกันด้วยสภาวะนำออกไปอย่างนี้
วิโมกข์ ๓ ย่อมมีในขณะต่างกันด้วยอาการ ๔ อย่างนี้
วิโมกข์ ๓ ย่อมมีในขณะเดียวกันด้วยอาการ ๗ อย่าง อะไรบ้าง คือ

๑. ด้วยสภาวะประชุมลง ๒. ด้วยสภาวะบรรลุ
๓. ด้วยสภาวะได้ ๔. ด้วยสภาวะรู้แจ้ง
๕. ด้วยสภาวะทำให้แจ้ง ๖. ด้วยสภาวะถูกต้อง
๗. ด้วยสภาวะตรัสรู้

วิโมกข์ ๓ ย่อมมีในขณะเดียวกันด้วยสภาวะประชุมลง ด้วยสภาวะบรรลุ
ด้วยสภาวะได้ ด้วยสภาวะรู้แจ้ง ด้วยสภาวะทำให้แจ้ง ด้วยสภาวะถูกต้อง
ด้วยสภาวะตรัสรู้ เป็นอย่างไร
คือ บุคคลผู้มนสิการโดยความไม่เที่ยงย่อมพ้นจากนิมิต เพราะเหตุนั้น
วิโมกข์นั้นจึงเป็นอนิมิตตวิโมกข์ บุคคลพ้นจากอารมณ์ใดย่อมไม่ตั้งอยู่ในอารมณ์นั้น
เพราะเหตุนั้น วิโมกข์นั้นจึงเป็นอัปปณิหิตวิโมกข์ บุคคลไม่ตั้งอยู่ในอารมณ์ใด
เป็นผู้ว่างจากอารมณ์นั้น เพราะเหตุนั้น วิโมกข์นั้นจึงเป็นสุญญตวิโมกข์ บุคคล
ว่างจากนิมิตใด เป็นผู้ไม่มีนิมิตเพราะนิมิตนั้น เพราะเหตุนั้น วิโมกข์นั้นจึงเป็น
อนิมิตตวิโมกข์ วิโมกข์ ๓ ย่อมมีในขณะเดียวกันด้วยสภาวะประชุมลง ด้วยสภาวะ
บรรลุ ด้วยสภาวะได้ ด้วยสภาวะรู้แจ้ง ด้วยสภาวะทำให้แจ้ง ด้วยสภาวะถูกต้อง
ด้วยสภาวะตรัสรู้อย่างนี้
บุคคลผู้มนสิการโดยความเป็นทุกข์ย่อมพ้นจากปณิธิ (ความตั้งมั่น) เพราะเหตุนั้น
วิโมกข์นั้นจึงเป็นอัปปณิหิตวิโมกข์ บุคคลไม่ตั้งอยู่ในทุกข์ใด เป็นผู้ว่างจากทุกข์นั้น
เพราะเหตุนั้น วิโมกข์นั้นจึงเป็นสุญญตวิโมกข์ บุคคลว่างจากนิมิตใด เป็นผู้ไม่มี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๓๘๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๕. วิโมกขกถา นิทเทส
นิมิตเพราะนิมิตนั้น เพราะเหตุนั้น วิโมกข์นั้นจึงเป็นอนิมิตตวิโมกข์ บุคคลไม่มีนิมิต
เพราะนิมิตใด ไม่ตั้งอยู่ในนิมิตนั้น เพราะเหตุนั้น วิโมกข์นั้นจึงเป็นอัปปณิหิตวิโมกข์
วิโมกข์ ๓ ย่อมมีในขณะเดียวกันด้วยสภาวะประชุมลง ด้วยสภาวะบรรลุ ด้วยสภาวะ
ได้ ด้วยสภาวะรู้แจ้ง ด้วยสภาวะทำให้แจ้ง ด้วยสภาวะถูกต้อง ด้วยสภาวะตรัสรู้
อย่างนี้
บุคคลผู้มนสิการโดยความเป็นอนัตตาย่อมพ้นจากอภินิเวส (ความยึดมั่น)
เพราะเหตุนั้น วิโมกข์นั้นจึงเป็นสุญญตวิโมกข์ บุคคลว่างจากนิมิตใด เป็นผู้ไม่มีนิมิต
เพราะนิมิตนั้น เพราะเหตุนั้น วิโมกข์นั้นจึงเป็นอนิมิตตวิโมกข์ บุคคลไม่มีนิมิต
เพราะนิมิตใด ไม่ตั้งอยู่ในนิมิตนั้น เพราะเหตุนั้น วิโมกข์นั้นจึงเป็นอัปปณิหิตวิโมกข์
บุคคลไม่ตั้งอยู่ในนิมิตใด เป็นผู้ว่างจากนิมิตนั้น เพราะเหตุนั้น วิโมกข์นั้นจึงเป็น
สุญญตวิโมกข์ วิโมกข์ ๓ ย่อมมีในขณะเดียวกันด้วยสภาวะประชุมลง ด้วยสภาวะ
บรรลุ ด้วยสภาวะได้ ด้วยสภาวะรู้แจ้ง ด้วยสภาวะทำให้แจ้ง ด้วยสภาวะถูกต้อง
ด้วยสภาวะตรัสรู้ วิโมกข์ ๓ ย่อมมีในขณะเดียวกันด้วยอาการ ๗ อย่างนี้
[๒๒๙] วิโมกข์มีอยู่ ธรรมที่เป็นประธานมีอยู่ ธรรมที่เป็นประธานแห่ง
วิโมกข์มีอยู่ ธรรมที่เป็นข้าศึกต่อวิโมกข์มีอยู่ ธรรมที่อนุโลมตามวิโมกข์มีอยู่
วิโมกขวิวัฏมีอยู่ การเจริญวิโมกข์มีอยู่ ความสงบระงับแห่งวิโมกข์มีอยู่
วิโมกข์ อะไรบ้าง คือ
๑. สุญญตวิโมกข์ ๒. อนิมิตตวิโมกข์
๓. อัปปณิหิตวิโมกข์
สุญญตวิโมกข์ เป็นอย่างไร
คือ อนิจจานุปัสสนาญาณพ้นจากอภินิเวสว่าเที่ยง เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า
สุญญตวิโมกข์ ทุกขานุปัสสนาญาณพ้นจากอภินิเวสว่าสุข เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า
สุญญตวิโมกข์ อนัตตานุปัสสนาญาณพ้นจากอภินิเวสว่าอัตตา เพราะเหตุนั้น จึง
ชื่อว่าสุญญตวิโมกข์ นิพพิทานุปัสสนาญาณพ้นจากอภินิเวสว่านันทิ เพราะเหตุนั้น
จึงชื่อว่าสุญญตวิโมกข์ วิราคานุปัสสนาญาณพ้นจากอภินิเวสว่าราคะ เพราะเหตุนั้น
จึงชื่อว่าสุญญตวิโมกข์ นิโรธานุปัสสนาญาณพ้นจากอภินิเวสว่าสมุทัย เพราะเหตุนั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๓๘๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๕. วิโมกขกถา นิทเทส
จึงชื่อว่าสุญญตวิโมกข์ ปฏินิสสัคคานุปัสสนาญาณพ้นจากอภินิเวสว่าอาทานะ
เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าสุญญตวิโมกข์ อนิมิตตานุปัสสนาญาณพ้นจากอภินิเวสว่า
นิมิต เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าสุญญตวิโมกข์ อัปปณิหิตานุปัสสนาญาณพ้นจาก
อภินิเวสว่าปณิธิ เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าสุญญตวิโมกข์ สุญญตานุปัสสนาญาณ
พ้นจากอภินิเวสทุกอย่าง เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าสุญญตวิโมกข์
อนิจจานุปัสสนาญาณในรูปพ้นจากอภินิเวสว่าเที่ยง เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า
สุญญตวิโมกข์ ฯลฯ สุญญตานุปัสสนาญาณในรูปพ้นจากอภินิเวสทุกอย่าง
เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าสุญญตวิโมกข์ อนิจจานุปัสสนาญาณในเวทนา ฯลฯ ใน
สัญญา ฯลฯ ในสังขาร ฯลฯ ในวิญญาณ ฯลฯ ในจักขุ ฯลฯ อนิจจานุปัสสนา-
ญาณในชราและมรณะพ้นจากอภินิเวสว่าเที่ยง เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าสุญญตวิโมกข์
ฯลฯ สุญญตานุปัสสนาญาณในชราและมรณะพ้นจากอภินิเวสทุกอย่าง เพราะ
เหตุนั้น จึงชื่อว่าสุญญตวิโมกข์ นี้เป็นสุญญตวิโมกข์
อนิมิตตวิโมกข์ เป็นอย่างไร
คือ อนิจจานุปัสสนาญาณพ้นจากนิมิตว่าเที่ยง เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า
อนิมิตตวิโมกข์ ทุกขานุปัสสนาญาณพ้นจากนิมิตว่าสุข เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า
อนิมิตตวิโมกข์ อนัตตานุปัสสนาญาณพ้นจากนิมิตว่าอัตตา เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า
อนิมิตตวิโมกข์ นิพพิทานุปัสสนาญาณพ้นจากนิมิตว่านันทิ เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า
อนิมิตตวิโมกข์ วิราคานุปัสสนาญาณพ้นจากนิมิตว่าราคะ เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า
อนิมิตตวิโมกข์ นิโรธานุปัสสนาญาณพ้นจากนิมิตว่าสมุทัย เพราะเหตุนั้น จึงชื่อ
ว่าอนิมิตตวิโมกข์ ปฏินิสสัคคานุปัสสนาญาณพ้นจากนิมิตว่าอาทานะ เพราะเหตุนั้น
จึงชื่อว่าอนิมิตตวิโมกข์ อนิมิตตานุปัสสนาญาณพ้นจากสรรพนิมิต เพราะเหตุนั้น
จึงชื่อว่าอนิมิตตวิโมกข์ อัปปณิหิตานุปัสสนาญาณพ้นจากนิมิตว่าปณิธิ เพราะ
เหตุนั้น จึงชื่อว่าอนิมิตตวิโมกข์ สุญญตานุปัสสนาญาณพ้นจากนิมิตว่าอภินิเวส
เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าอนิมิตตวิโมกข์
อนิจจานุปัสสนาญาณในรูปพ้นจากนิมิตว่าเที่ยง เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า
อนิมิตตวิโมกข์ ฯลฯ อนิมิตตานุปัสสนาญาณในรูปพ้นจากสรรพนิมิต เพราะ
เหตุนั้น จึงชื่อว่าอนิมิตตวิโมกข์ อัปปณิหิตานุปัสสนาญาณในรูปพ้นจากนิมิตว่าปณิธิ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๓๘๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๕. วิโมกขกถา นิทเทส
เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าอนิมิตตวิโมกข์ สุญญตานุปัสสนาญาณในรูปพ้นจากนิมิตว่า
อภินิเวส เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าอนิมิตตวิโมกข์ อนิจจานุปัสสนาญาณในเวทนา ฯลฯ
ในสัญญา ฯลฯ ในสังขาร ฯลฯ ในวิญญาณ ฯลฯ ในจักขุ ฯลฯ อนิจจานุปัสสนา-
ญาณในชราและมรณะพ้นจากนิมิตว่าเที่ยง เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าอนิมิตตวิโมกข์
ฯลฯ อนิมิตตานุปัสสนาญาณในชราและมรณะพ้นจากสรรพนิมิต เพราะเหตุนั้น
จึงชื่อว่าอนิมิตตวิโมกข์ อัปปณิหิตานุปัสสนาญาณในชราและมรณะพ้นจากนิมิตว่า
ปณิธิ เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าอนิมิตตวิโมกข์ สุญญตานุปัสสนาญาณในชรา
และมรณะพ้นจากนิมิตว่าอภินิเวส เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าอนิมิตตวิโมกข์ นี้เป็น
อนิมิตตวิโมกข์
อัปปณิหิตวิโมกข์ เป็นอย่างไร
คือ อนิจจานุปัสสนาญาณพ้นจากปณิธิว่าเที่ยง เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า
อัปปณิหิตวิโมกข์ ทุกขานุปัสสนาญาณพ้นจากปณิธิว่าสุข เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า
อัปปณิหิตวิโมกข์ อนัตตานุปัสสนาญาณพ้นจากปณิธิว่าอัตตา เพราะเหตุนั้น จึง
ชื่อว่าอัปปณิหิตวิโมกข์ นิพพิทานุปัสสนาญาณพ้นจากปณิธิว่านันทิ เพราะเหตุนั้น
จึงชื่อว่าอัปปณิหิตวิโมกข์ วิราคานุปัสสนาญาณพ้นจากปณิธิว่าราคะ เพราะเหตุนั้น
จึงชื่อว่าอัปปณิหิตวิโมกข์ นิโรธานุปัสสนาญาณพ้นจากปณิธิว่าสมุทัย เพราะเหตุนั้น
จึงชื่อว่าอัปปณิหิตวิโมกข์ ปฏินิสสัคคานุปัสสนาญาณพ้นจากปณิธิว่าอาทานะ
เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าอัปปณิหิตวิโมกข์ อนิมิตตานุปัสสนาญาณพ้นจากปณิธิว่า
นิมิต เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าอัปปณิหิตวิโมกข์ อัปปณิหิตานุปัสสนาญาณพ้นจาก
ปณิธิทุกอย่าง เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าอัปปณิหิตวิโมกข์ สุญญตานุปัสสนาญาณ
พ้นจากปณิธิว่าอภินิเวส เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าอัปปณิหิตวิโมกข์
อนิจจานุปัสสนาญาณในรูปพ้นจากปณิธิว่าเที่ยง เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า
อัปปณิหิตวิโมกข์ ฯลฯ อัปปณิหิตานุปัสสนาญาณในรูปพ้นจากปณิธิทุกอย่าง
เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าอัปปณิหิตวิโมกข์ สุญญตานุปัสสนาญาณในรูปพ้นจาก
ปณิธิว่าอภินิเวส เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าอัปปณิหิตวิโมกข์ อนิจจานุปัสสนาญาณ
ในเวทนา ฯลฯ ในสัญญา ฯลฯ ในสังขาร ฯลฯ ในวิญญาณ ฯลฯ ในจักขุ ฯลฯ
อนิจจานุปัสสนาญาณในชราและมรณะพ้นจากปณิธิว่าเที่ยง เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า
อัปปณิหิตวิโมกข์ ฯลฯ อัปปณิหิตานุปัสสนาญาณในชราและมรณะพ้นจากปณิธิ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๓๘๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๕. วิโมกขกถา นิทเทส
ทุกอย่าง เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าอัปปณิหิตวิโมกข์ สุญญตานุปัสสนาญาณในชรา
และมรณะพ้นจากปณิธิว่าอภินิเวส เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าอัปปณิหิตวิโมกข์ นี้
เป็นอัปปณิหิตวิโมกข์ นี้เป็นวิโมกข์ (๑)
[๒๓๐] ธรรมที่เป็นประธาน เป็นอย่างไร
คือ ธรรมที่เป็นฝ่ายแห่งการตรัสรู้ เป็นกุศล ไม่มีโทษ เกิดในภาวนานั้น นี้
เป็นธรรมที่เป็นประธาน (๒)
ธรรมที่เป็นประธานแห่งวิโมกข์ เป็นอย่างไร
คือ นิพพานซึ่งเป็นความดับ เป็นอารมณ์ของธรรมเหล่านั้น นี้เป็นธรรมที่
เป็นประธานแห่งวิโมกข์ (๓)
ธรรมที่เป็นข้าศึกต่อวิโมกข์ เป็นอย่างไร
คือ อกุศลมูล ๓ ทุจริต ๓ อกุศลธรรมแม้ทุกอย่างเป็นข้าศึกต่อวิโมกข์ นี้
เป็นธรรมที่เป็นข้าศึกต่อวิโมกข์ (๔)
ธรรมที่อนุโลมตามวิโมกข์ เป็นอย่างไร
คือ กุศลมูล ๓ สุจริต ๓ กุศลธรรมแม้ทุกอย่างเป็นธรรมที่อนุโลมตามวิโมกข์
นี้เป็นธรรมที่อนุโลมตามวิโมกข์ (๕)
วิโมกขวิวัฏ เป็นอย่างไร
คือ สัญญาวิวัฏ เจโตวิวัฏ จิตตวิวัฏ ญาณวิวัฏ วิโมกขวิวัฏ สัจจวิวัฏ
พระโยคาวจรเมื่อหมายรู้ย่อมหลีกไป เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าสัญญาวิวัฏ เมื่อ
คิดย่อมหลีกไป เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าเจโตวิวัฏ เมื่อรู้แจ้งย่อมหลีกไป เพราะฉะนั้น
จึงชื่อว่าจิตตวิวัฏ เมื่อกระทำญาณย่อมหลีกไป เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าญาณวิวัฏ
เมื่อสละย่อมหลีกไป เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าวิโมกขวิวัฏ ย่อมหลีกไปในสภาวะแท้
เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าสัจจวิวัฏ
ในขณะแห่งมรรคใดมีสัญญาวิวัฏ ในขณะแห่งมรรคนั้นย่อมมีเจโตวิวัฏ ในขณะ
แห่งมรรคใดมีเจโตวิวัฏ ในขณะแห่งมรรคนั้นย่อมมีสัญญาวิวัฏ ในขณะแห่งมรรคใด
มีสัญญาวิวัฏ เจโตวิวัฏ ในขณะแห่งมรรคนั้นย่อมมีจิตตวิวัฏ ในขณะแห่งมรรคใด
มีจิตตวิวัฏ ในขณะแห่งมรรคนั้นย่อมมีสัญญาวิวัฏ เจโตวิวัฏ ในขณะแห่งมรรคใด


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๓๙๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๕. วิโมกขกถา นิทเทส
มีสัญญาวิวัฏ เจโตวิวัฏ จิตตวิวัฏ ในขณะแห่งมรรคนั้นย่อมมีญาณวิวัฏ ในขณะแห่ง
มรรคใดมีญาณวิวัฏ ในขณะแห่งมรรคนั้นย่อมมีสัญญาวิวัฏ เจโตวิวัฏ จิตตวิวัฏ
ในขณะแห่งมรรคใดมีสัญญาวิวัฏ เจโตวิวัฏ จิตตวิวัฏ ญาณวิวัฏ ในขณะแห่งมรรค
นั้นย่อมมีวิโมกขวิวัฏ ในขณะแห่งมรรคใดมีวิโมกขวิวัฏ ในขณะแห่งมรรคนั้นย่อมมี
สัญญาวิวัฏ เจโตวิวัฏ จิตตวิวัฏ ญาณวิวัฏ ในขณะแห่งมรรคใดมีสัญญาวิวัฏ
เจโตวิวัฏ จิตตวิวัฏ ญาณวิวัฏ โมกขวิวัฏ ในขณะแห่งมรรคนั้นย่อมมีสัจจวิวัฏ
ในขณะแห่งมรรคใดมีสัจจวิวัฏ ในขณะแห่งมรรคนั้นย่อมมีสัญญาวิวัฏ เจโตวิวัฏ จิตตวิวัฏ
ญาณวิวัฏ วิโมกขวิวัฏ นี้เป็นวิโมกขวิวัฏ (๖)
การเจริญวิโมกข์ เป็นอย่างไร
คือ การปฏิบัติ การเจริญ การทำให้มากซึ่งปฐมฌาน การปฏิบัติ การเจริญ
การทำให้มากซึ่งทุติยฌาน การปฏิบัติ การเจริญ การทำให้มากซึ่งตติยฌาน การ
ปฏิบัติ การเจริญ การทำให้มากซึ่งจตุตถฌาน การปฏิบัติ การเจริญ การทำ
ให้มากซึ่งอากาสานัญจายตนสมาบัติ การปฏิบัติ การเจริญ การทำให้มากซึ่ง
วิญญาณัญจายตนสมาบัติ ฯลฯ ซึ่งอากิญจัญญายตนสมาบัติ การปฏิบัติ การเจริญ
การทำให้มากซึ่งเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ การปฏิบัติ การเจริญ การทำ
ให้มากซึ่งโสดาปัตติมรรค การปฏิบัติ การเจริญ การทำให้มากซึ่งสกทาคามิมรรค
การปฏิบัติ การเจริญ การทำให้มากซึ่งอนาคามิมรรค การปฏิบัติ การเจริญ
การทำให้มากซึ่งอรหัตตมรรค นี้เป็นการเจริญวิโมกข์ (๗)
ความสงบระงับแห่งวิโมกข์ เป็นอย่างไร
คือ การได้ปฐมฌานหรือวิบากแห่งปฐมฌาน การได้ทุติยฌานหรือวิบากแห่ง
ทุติยฌาน การได้ตติยฌานหรือวิบากแห่งตติยฌาน ฯลฯ การได้จตุตถฌาน ฯลฯ
อากาสานัญจายตนสมาบัติ ฯลฯ วิญญานัญจายตนสมาบัติ ฯลฯ อากิญจัญญายตน-
สมาบัติ ฯลฯ การได้เนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ หรือวิบากแห่งเนวสัญญานา-
สัญญายตนสมาบัติ ฯลฯ โสดาปัตติผลแห่งโสดาปัตติมรรค ฯลฯ สกทาคามิผล
แห่งสกทาคามิมรรค ฯลฯ อนาคามิผลแห่งอนาคามิมรรค ฯลฯ อรหัตตผลแห่ง
อรหัตตมรรค นี้เป็นความสงบระงับแห่งวิโมกข์ (๘)
วิโมกขกถา จบ
ตติยภาณวาร จบ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๓๙๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๖. คติกถา
๖. คติกถา
ว่าด้วยคติ
[๒๓๑] ในปฏิสนธิขณะที่เป็นญาณสัมปยุต (ติเหตุกปฏิสนธิขณะ) ความเกิดขึ้น
แห่งคติสมบัติมีได้เพราะปัจจัยแห่งเหตุเท่าไร ในปฏิสนธิขณะที่เป็นญาณสัมปยุต
ความเกิดขึ้นแห่งขัตติยมหาศาล พราหมณมหาศาล คหบดีมหาศาล เทพชั้น
กามาวจรมีได้เพราะปัจจัยแห่งเหตุเท่าไร ความเกิดขึ้นแห่งเทพชั้นรูปาวจรมีได้
เพราะปัจจัยแห่งเหตุเท่าไร ความเกิดขึ้นแห่งเทพชั้นอรูปาวจรมีได้เพราะปัจจัย
แห่งเหตุเท่าไร
คือ ในปฏิสนธิขณะที่เป็นญาณสัมปยุต ความเกิดขึ้นแห่งคติสมบัติมีได
้เพราะปัจจัยแห่งเหตุ ๘ ประการ ในปฏิสนธิขณะที่เป็นญาณสัมปยุต ความเกิดขึ้น
แห่งขัตติยมหาศาล พราหมณมหาศาล คหบดีมหาศาล เทพชั้นกามาวจรมีได้
เพราะปัจจัยแห่งเหตุ ๘ ประการ ความเกิดขึ้นแห่งเทพชั้นรูปาวจรมีได้เพราะปัจจัย
แห่งเหตุ ๘ ประการ ความเกิดขึ้นแห่งเทพชั้นอรูปาวจรมีได้เพราะปัจจัยแห่งเหตุ ๘
ประการ
[๒๓๒] ในปฏิสนธิขณะที่เป็นญาณสัมปยุต (ติเหตุกปฏิสนธิขณะ) ความ
เกิดขึ้นแห่งคติสมบัติมีได้เพราะปัจจัยแห่งเหตุ ๘ ประการ เป็นอย่างไร
คือ ในชวนขณะแห่งกุศลกรรม เหตุ ๓ ประการ๑ ฝ่ายกุศลเป็นสหชาตปัจจัย
แก่เจตนาที่เกิดขึ้นในขณะนั้น เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า แม้เพราะกุศลมูลเป็น
ปัจจัย สังขารจึงมี ในขณะติดใจ เหตุ ๒ ประการ๒ฝ่ายอกุศลเป็นสหชาตปัจจัย
แก่เจตนาที่เกิดขึ้นในขณะนั้น เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า แม้เพราะอกุศลมูลเป็น
ปัจจัย สังขารจึงมี ในปฏิสนธิขณะ เหตุ ๓ ประการ ฝ่ายอัพยากฤตเป็นสหชาตปัจจัย
แก่เจตนาที่เกิดขึ้นในขณะนั้น เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า แม้เพราะนามรูปเป็น
ปัจจัย วิญญาณจึงมี แม้เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามรูปจึงมี

เชิงอรรถ :
๑ เหตุ ๓ ประการ ได้แก่ อโลภะ อโทสะ และอโมหะ (ขุ.ป.อ. ๒/๒๓๒/๑๙๙)
๒ เหตุ ๒ ประการ ได้แก่ โลภะและโมหะ (ขุ.ป.อ. ๒/๒๓๒/๑๙๙)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๓๙๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๖. คติกถา
ในปฏิสนธิขณะ เบญจขันธ์เป็นสหชาตปัจจัย เป็นอัญญมัญญปัจจัย เป็น
นิสสยปัจจัย เป็นวิปปยุตตปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ มหาภูตรูป ๔ เป็นสหชาตปัจจัย
เป็นอัญญมัญญปัจจัย เป็นนิสสยปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ องค์ประกอบแห่งชีวิต ๓
ประการ๑ เป็นสหชาตปัจจัย เป็นอัญญมัญญปัจจัย เป็นนิสสยปัจจัย เป็นวิปปยุตต-
ปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ นามและรูปเป็นสหชาตปัจจัย เป็นอัญญมัญญปัจจัย เป็น
นิสสยปัจจัย เป็นวิปปยุตตปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ ธรรม ๑๔ ประการ๒นี้เป็น
สหชาตปัจจัย เป็นอัญญมัญญปัจจัย เป็นนิสสยปัจจัย เป็นวิปปยุตตปัจจัย ใน
ปฏิสนธิขณะ อรูปขันธ์ ๔ เป็นสหชาตปัจจัย เป็นอัญญมัญญปัจจัย เป็นนิสสย-
ปัจจัย เป็นสัมปยุตตปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ อินทรีย์ ๕ เป็นสหชาตปัจจัย เป็น
อัญญมัญญปัจจัย เป็นนิสสยปัจจัย เป็นสัมปยุตตปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ เหตุ ๓
ประการ เป็นสหชาตปัจจัย เป็นอัญญมัญญปัจจัย เป็นนิสสยปัจจัย เป็นสัมปยุตต-
ปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ นามและวิญญาณเป็นสหชาตปัจจัย เป็นอัญญมัญญปัจจัย
เป็นนิสสยปัจจัย เป็นสัมปยุตตปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ ธรรม ๑๔ ประการ๓นี้
เป็นสหชาตปัจจัย เป็นอัญญมัญญปัจจัย เป็นนิสสยปัจจัย เป็นสัมปยุตตปัจจัย
ในปฏิสนธิขณะ ธรรม ๒๘ ประการนี้เป็นสหชาตปัจจัย เป็นอัญญมัญญปัจจัย เป็น
นิสสยปัจจัย เป็นวิปปยุตตปัจจัย ในปฏิสนธิขณะที่เป็นญาณสัมปยุต ความเกิดขึ้น
แห่งคติสมบัติมีได้เพราะปัจจัยแห่งเหตุ ๘ ประการนี้ (๑)
ในปฏิสนธิขณะ ความเกิดขึ้นแห่งขัตติยมหาศาล พราหมณมหาศาล คหบดี
มหาศาล เทพชั้นกามาวจรมีได้เพราะปัจจัยแห่งเหตุ ๘ ประการ เป็นอย่างไร
คือ ในชวนขณะแห่งกุศลกรรม เหตุ ๓ ประการ ฝ่ายกุศลเป็นสหชาตปัจจัย
แก่เจตนาที่เกิดขึ้นในขณะนั้น เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า แม้เพราะกุศลมูลเป็น
ปัจจัย สังขารจึงมี ในขณะติดใจ เหตุ ๒ ประการ ฝ่ายอกุศลเป็นสหชาตปัจจัย

เชิงอรรถ :
๑ องค์ประกอบแห่งชีวิต ๓ ประการ ได้แก่ (๑) อายุ (๒) ไออุ่น (๓) วิญญาณ (ขุ.ป.อ. ๒/๒๓๒/๒๐๑)
๒ ธรรม ๑๔ ประการ ได้แก่ ขันธ์ ๕, มหาภูตรูป ๔, ชีวิตสังขาร ๓, นาม ๑ รูป ๑ (รวมเป็น ๑๔) (ขุ.ป.อ.
๒/๒๓๒/๒๐๑)
๓ ธรรม ๑๔ ประการ ได้แก่ อรูปขันธ์ ๔, อินทรีย์ ๕, เหตุ ๓, นาม ๑, วิญญาณ ๑ (รวมเป็น ๑๔) (ขุ.ป.อ.
๒/๒๓๒/๒๐๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๓๙๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๖. คติกถา
แก่เจตนาที่เกิดขึ้นในขณะนั้น เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า แม้เพราะอกุศลมูล
เป็นปัจจัย สังขารจึงมี ในติเหตุกปฏิสนธิขณะ เหตุ ๓ ประการ ฝ่ายอัพยากฤตเป็น
สหชาตปัจจัยแก่เจตนาที่เกิดขึ้นในขณะนั้น เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า แม้เพราะ
นามรูปเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี แม้เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามรูปจึงมี
ในปฏิสนธิขณะ เบญจขันธ์เป็นสหชาตปัจจัย เป็นอัญญมัญญปัจจัย เป็น
นิสสยปัจจัย เป็นวิปปยุตตปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ มหาภูตรูป ๔ เป็นสหชาตปัจจัย
เป็นอัญญมัญญปัจจัย เป็นนิสสยปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ องค์ประกอบแห่งชีวิต ๓
ประการ เป็นสหชาตปัจจัย เป็นอัญญมัญญปัจจัย เป็นนิสสยปัจจัย เป็นวิปปยุตต-
ปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ นามและรูปเป็นสหชาตปัจจัย เป็นนิสสยปัจจัย เป็น
วิปปยุตตปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ ธรรม ๑๔ ประการนี้เป็นสหชาตปัจจัย เป็น
อัญญมัญญปัจจัย เป็นนิสสยปัจจัย เป็นวิปปยุตตปัจจัย
ในปฏิสนธิขณะ อรูปขันธ์ ๔ เป็นสหชาตปัจจัย เป็นอัญญมัญญปัจจัย เป็น
นิสสยปัจจัย เป็นสัมปยุตตปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ อินทรีย์ ๕ เป็นสหชาตปัจจัย
เป็นอัญญมัญญปัจจัย เป็นนิสสยปัจจัย เป็นสัมปยุตตปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ เหตุ ๓
ประการเป็นสหชาตปัจจัย เป็นอัญญมัญญปัจจัย เป็นนิสสยปัจจัย เป็นสัมปยุตต-
ปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ นามและวิญญาณเป็นสหชาตปัจจัย เป็นอัญญมัญญปัจจัย
เป็นนิสสยปัจจัย เป็นสัมปยุตตปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ ธรรม ๑๔ ประการนี้เป็น
สหชาตปัจจัย เป็นอัญญมัญญปัจจัย เป็นนิสสยปัจจัย เป็นสัมปยุตตปัจจัย ใน
ปฏิสนธิขณะ ธรรม ๒๘ ประการนี้เป็นสหชาตปัจจัย เป็นอัญญมัญญปัจจัย เป็น
นิสสยปัจจัย เป็นวิปปยุตตปัจจัย ในติเหตุกปฏิสนธิขณะ ความเกิดขึ้นแห่งขัตติย-
มหาศาล พราหมณมหาศาล คหบดีมหาศาล เทพชั้นกามาวจรมีได้เพราะปัจจัย
แห่งเหตุ ๘ ประการนี้ (๒)
ความเกิดขึ้นแห่งเทพชั้นรูปาวจรมีได้เพราะปัจจัยแห่งเหตุ ๘ ประการ
เป็นอย่างไร
คือ ในชวนขณะแห่งกุศลกรรม เหตุ ๓ ประการ ฝ่ายกุศล ฯลฯ ความ
เกิดขึ้นแห่งเทพชั้นรูปาวจรมีได้เพราะปัจจัยแห่งเหตุ ๘ ประการนี้ (๓)


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๓๙๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๖. คติกถา
ความเกิดขึ้นแห่งเทพชั้นอรูปาวจรมีได้เพราะปัจจัยแห่งเหตุ ๘ ประการ
เป็นอย่างไร
คือ ในชวนขณะแห่งกุศลกรรม เหตุ ๓ ประการ ฝ่ายกุศล เป็นสหชาตปัจจัย
แก่เจตนาที่เกิดขึ้นในขณะนั้น เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า แม้เพราะกุศลมูลเป็น
ปัจจัย สังขารจึงมี ในขณะติดใจ เหตุ ๒ ประการ ฝ่ายอกุศล เป็นสหชาตปัจจัย
แก่เจตนาที่เกิดขึ้นในขณะนั้น เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า แม้เพราะอกุศลมูลเป็น
ปัจจัย สังขารจึงมี ในปฏิสนธิขณะ เหตุ ๓ ประการ ฝ่ายอัพยากฤต เป็นสหชาต-
ปัจจัยแก่เจตนาที่เกิดขึ้นในขณะนั้น เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า แม้เพราะนามรูป
เป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี แม้เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามรูปจึงมี
ในปฏิสนธิขณะ อรูปขันธ์ ๔ เป็นสหชาตปัจจัย เป็นอัญญมัญญปัจจัย เป็น
นิสสยปัจจัย เป็นสัมปยุตตปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ อินทรีย์ ๕ เป็นสหชาตปัจจัย
เป็นอัญญมัญญปัจจัย เป็นนิสสยปัจจัย เป็นสัมปยุตตปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ เหตุ ๓
ประการเป็นสหชาตปัจจัย เป็นอัญญมัญญปัจจัย เป็นนิสสยปัจจัย เป็นสัมปยุตต-
ปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ นามและวิญญาณเป็นสหชาตปัจจัย เป็นอัญญมัญญปัจจัย
เป็นนิสสยปัจจัย เป็นสัมปยุตตปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ ธรรม ๑๔ ประการนี้เป็น
สหชาตปัจจัย เป็นอัญญมัญญปัจจัย เป็นนิสสยปัจจัย เป็นสัมปยุตตปัจจัย ความ
เกิดขึ้นแห่งเทพชั้นอรูปาวจรมีได้เพราะปัจจัยแห่งเหตุ ๘ ประการนี้ (๔)
[๒๓๓] ในปฏิสนธิขณะที่เป็นญาณวิปปยุต (ทุเหตุกปฏิสนธิขณะ) ความ
เกิดขึ้นแห่งคติสมบัติมีได้เพราะปัจจัยแห่งเหตุเท่าไร ในปฏิสนธิขณะที่เป็น
ญาณวิปปยุต ความเกิดขึ้นแห่งขัตติยมหาศาล พราหมณมหาศาล คหบดีมหาศาล
เทพชั้นกามาวจรมีได้เพราะปัจจัยแห่งเหตุเท่าไร
คือ ในปฏิสนธิขณะที่เป็นญาณวิปปยุต ความเกิดขึ้นแห่งคติสมบัติมีได้เพราะ
ปัจจัยแห่งเหตุ ๖ ประการ๑ ในปฏิสนธิขณะที่เป็นญาณวิปปยุต ความเกิดขึ้น
แห่งขัตติยมหาศาล พราหมณมหาศาล คหบดีมหาศาล เทพชั้นกามาวจรมีได้
เพราะปัจจัยแห่งเหตุ ๖ ประการ

เชิงอรรถ :
๑ เหตุ ๖ ประการ ได้แก่ กุศลเหตุ ๒ อกุศลเหตุ ๒ และวิปากเหตุ ๒ (ขุ.ป.อ. ๒/๒๓๓/๒๐๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๓๙๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๗. กัมมกถา
ในปฏิสนธิขณะที่เป็นญาณวิปปยุต ความเกิดขึ้นแห่งคติสมบัติมีได้เพราะ
ปัจจัยแห่งเหตุ ๖ ประการ เป็นอย่างไร
คือ ในชวนขณะแห่งกุศลกรรม เหตุ ๒ ประการ๑ ฝ่ายกุศล เป็นสหชาตปัจจัย
แก่เจตนาที่เกิดขึ้นในขณะนั้น เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า แม้เพราะกุศลมูล
เป็นปัจจัย สังขารจึงมี ในขณะติดใจ เหตุ ๒ ประการ ฝ่ายอกุศล เป็นสหชาตปัจจัย
แก่เจตนาที่เกิดขึ้นในขณะนั้น เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า แม้เพราะอกุศลมูล
เป็นปัจจัย สังขารจึงมี ในปฏิสนธิขณะ เหตุ ๒ ประการ ฝ่ายอัพยากฤต เป็น
สหชาตปัจจัยแก่เจตนาที่เกิดขึ้นในขณะนั้น เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า แม้
เพราะนามรูปเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี แม้เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามรูปจึงมี
ในปฏิสนธิขณะ เบญจขันธ์เป็นสหชาตปัจจัย เป็นอัญญมัญญปัจจัย เป็น
นิสสยปัจจัย เป็นวิปปยุตตปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ มหาภูตรูป ๔ เป็นสหชาตปัจจัย
เป็นอัญญมัญญปัจจัย เป็นนิสสยปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ องค์ประกอบแห่งชีวิต ๓
ประการเป็นสหชาตปัจจัย เป็นอัญญมัญญปัจจัย เป็นนิสสยปัจจัย เป็นวิปปยุตต-
ปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ นามและรูปเป็นสหชาตปัจจัย เป็นอัญญมัญญปัจจัย เป็น
นิสสยปัจจัย เป็นวิปปยุตตปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ ธรรม ๑๔ ประการนี้เป็นสหชาต-
ปัจจัย เป็นอัญญมัญญปัจจัย เป็นนิสสยปัจจัย เป็นวิปปยุตตปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ
อรูปขันธ์ ๔ เป็นสหชาตปัจจัย เป็นอัญญมัญญปัจจัย เป็นนิสสยปัจจัย เป็น
สัมปยุตตปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ อินทรีย์ ๔ เป็นสหชาตปัจจัย เป็นอัญญมัญญปัจจัย
เป็นนิสสยปัจจัย เป็นสัมปยุตตปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ เหตุ ๒ ประการ เป็นสหชาต-
ปัจจัย เป็นอัญญมัญญปัจจัย เป็นนิสสยปัจจัย เป็นสัมปยุตตปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ
นามและวิญญาณเป็นสหชาตปัจจัย เป็นอัญญมัญญปัจจัย เป็นนิสสยปัจจัย เป็น
สัมปยุตตปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ ธรรม ๑๒ ประการนี้เป็นสหชาตปัจจัย เป็น
อัญญมัญญปัจจัย เป็นนิสสยปัจจัย เป็นสัมปยุตตปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ ธรรม ๒๖
ประการนี้เป็นสหชาตปัจจัย เป็นอัญญมัญญปัจจัย เป็นนิสสยปัจจัย เป็นวิปปยุตต-
ปัจจัย ในทวิเหตุกปฏิสนธิขณะ ความเกิดขึ้นแห่งคติสมบัติมีได้เพราะปัจจัยแห่งเหตุ
๖ ประการนี้ (๑)

เชิงอรรถ :
๑ เหตุ ๒ ประการ ได้แก่ อโลภะและอโทสะ (ขุ.ป.อ. ๒/๒๓๒/๒๐๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๓๙๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๗. กัมมกถา
ในปฏิสนธิขณะที่เป็นญาณวิปปยุต ความเกิดขึ้นแห่งขัตติยมหาศาล
พราหมณมหาศาล คหบดีมหาศาล เทพชั้นกามาวจรมีได้เพราะปัจจัยแห่ง
เหตุ ๖ ประการ เป็นอย่างไร
คือ ในชวนขณะแห่งกุศลกรรม เหตุ ๒ ประการฝ่ายกุศลเป็นสหชาตปัจจัย
แก่เจตนาที่เกิดขึ้นในขณะนั้น เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า แม้เพราะกุศลมูลเป็น
ปัจจัย สังขารจึงมี ฯลฯ ในปฏิสนธิขณะที่เป็นญาณวิปปยุต ความเกิดขึ้นแห่ง
ขัตติยมหาศาล พราหมณมหาศาล คหบดีมหาศาล เทพชั้นกามาวจรมีได้เพราะ
ปัจจัยแห่งเหตุ ๖ ประการนี้ (๒)
คติกถา จบ

๗. กัมมกถา
ว่าด้วยกรรม
[๒๓๔] กรรมได้มีแล้ว วิบากแห่งกรรมก็ได้มีแล้ว กรรมได้มีแล้ว (แต่)วิบาก
แห่งกรรมไม่ได้มีแล้ว กรรมได้มีแล้ว วิบากแห่งกรรมก็มีอยู่ กรรมได้มีแล้ว (แต่)วิบาก
แห่งกรรมไม่มีอยู่ กรรมได้มีแล้ว วิบากแห่งกรรมก็จักมี กรรมได้มีแล้ว (แต่)วิบาก
แห่งกรรมจักไม่มี (อดีตกรรม) (๖)
กรรมมีอยู่ วิบากแห่งกรรมก็มีอยู่ กรรมมีอยู่ (แต่)วิบากแห่งกรรมไม่มีอยู่
กรรมมีอยู่ วิบากแห่งกรรมก็จักมี กรรมมีอยู่ (แต่)วิบากแห่งกรรมจักไม่มี
(ปัจจุบันกรรม) (๔-๑๐)
กรรมจักมี วิบากแห่งกรรมก็จักมี กรรมจักมี (แต่)วิบากแห่งกรรมจักไม่มี
(อนาคตกรรม) (๒-๑๒)
[๒๓๕] กุศลกรรมได้มีแล้ว วิบากแห่งกุศลกรรมก็ได้มีแล้ว กุศลกรรมได้มี
แล้ว (แต่)วิบากแห่งกุศลกรรมไม่ได้มีแล้ว กุศลกรรมได้มีแล้ว วิบากแห่งกุศล-
กรรมก็มีอยู่ กุศลกรรมได้มีแล้ว (แต่)วิบากแห่งกุศลกรรมไม่มีอยู่ กุศลกรรมได้มีแล้ว
วิบากแห่งกุศลกรรมก็จักมี กุศลกรรมได้มีแล้ว (แต่)วิบากแห่งกุศลกรรมจักไม่มี
กุศลกรรมมีอยู่ วิบากแห่งกุศลกรรมก็มีอยู่ กุศลกรรมมีอยู่ (แต่)วิบากแห่ง
กุศลกรรมไม่มีอยู่ กุศลกรรมมีอยู่ วิบากแห่งกุศลกรรมก็จักมี กุศลกรรมมีอยู่
(แต่)วิบากแห่งกุศลกรรมจักไม่มี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๓๙๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๗. กัมมกถา
กุศลกรรมจักมี วิบากแห่งกุศลกรรมก็จักมี กุศลกรรมจักมี (แต่)วิบากแห่ง
กุศลกรรมจักไม่มี
อกุศลกรรมได้มีแล้ว วิบากแห่งอกุศลกรรมก็ได้มีแล้ว อกุศลกรรมได้มีแล้ว
(แต่)วิบากแห่งอกุศลกรรมไม่ได้มีแล้ว อกุศลกรรมได้มีแล้ว วิบากแห่งอกุศลกรรมก็
มีอยู่ อกุศลกรรมได้มีแล้ว (แต่)วิบากแห่งอกุศลกรรมไม่มีอยู่ อกุศลกรรมได้มีแล้ว
วิบากแห่งอกุศลกรรมก็จักมี อกุศลกรรมได้มีแล้ว (แต่)วิบากแห่งอกุศลกรรมจักไม่มี
อกุศลกรรมมีอยู่ วิบากแห่งอกุศลกรรมก็มีอยู่ อกุศลกรรมมีอยู่ (แต่)วิบาก
แห่งอกุศลกรรมไม่มีอยู่ อกุศลกรรมมีอยู่ วิบากแห่งอกุศลกรรมก็จักมี อกุศลกรรม
มีอยู่ (แต่)วิบากแห่งอกุศลกรรมจักไม่มี
อกุศลกรรมจักมี วิบากแห่งอกุศลกรรมก็จักมี อกุศลกรรมจักมี (แต่)วิบาก
แห่งอกุศลกรรมจักไม่มี
กรรมมีโทษได้มีแล้ว ฯลฯ กรรมไม่มีโทษได้มีแล้ว ฯลฯ กรรมดำได้มีแล้ว
ฯลฯ กรรมขาวได้มีแล้ว ฯลฯ กรรมมีสุขเป็นกำไรได้มีแล้ว ฯลฯ กรรมมีทุกข์เป็น
กำไรได้มีแล้ว ฯลฯ กรรมมีสุขเป็นวิบากได้มีแล้ว ฯลฯ กรรมมีทุกข์เป็นวิบากได้
มีแล้ว วิบากแห่งกรรมที่มีทุกข์เป็นวิบากก็ได้มีแล้ว กรรมมีทุกข์เป็นวิบากได้มีแล้ว
(แต่)วิบากแห่งกรรมที่มีทุกข์เป็นวิบากไม่ได้มีแล้ว กรรมมีทุกข์เป็นวิบากได้มีแล้ว
วิบากแห่งกรรมที่มีทุกข์เป็นวิบากก็มีอยู่ กรรมที่มีทุกข์เป็นวิบากได้มีแล้ว (แต่)
วิบากแห่งกรรมที่มีทุกข์เป็นวิบากไม่มีอยู่ กรรมที่มีทุกข์เป็นวิบากได้มีแล้ว วิบาก
แห่งกรรมที่มีทุกข์เป็นวิบากก็จักมี กรรมที่มีทุกข์เป็นวิบากได้มีแล้ว (แต่)วิบาก
แห่งกรรมที่มีทุกข์เป็นวิบากจักไม่มี
กรรมที่มีทุกข์เป็นวิบากมีอยู่ วิบากแห่งกรรมที่มีทุกข์เป็นวิบากก็มีอยู่ กรรม
ที่มีทุกข์เป็นวิบากมีอยู่ (แต่)วิบากแห่งกรรมที่มีทุกข์เป็นวิบากไม่มีอยู่ กรรมที่มี
ทุกข์เป็นวิบากมีอยู่ วิบากแห่งกรรมที่มีทุกข์เป็นวิบากก็จักมี กรรมที่มีทุกข์เป็น
วิบากมีอยู่ (แต่)วิบากแห่งกรรมที่มีทุกข์เป็นวิบากจักไม่มี
กรรมที่มีทุกข์เป็นวิบากจักมี วิบากแห่งกรรมที่มีทุกข์เป็นวิบากก็จักมี กรรม
ที่มีทุกข์เป็นวิบากจักมี (แต่)วิบากแห่งกรรมที่มีทุกข์เป็นวิบากจักไม่มี
กัมมกถาที่ ๗ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๓๙๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๘. วิปัลลาสกถา
๘. วิปัลลาสกถา
ว่าด้วยวิปัลลาส
[๒๓๖] เหตุเกิดขึ้นเหมือนในสูตรข้างต้น ภิกษุทั้งหลาย สัญญาวิปัลลาส
(ความหมายรู้ผิด) จิตตวิปัลลาส (ความคิดผิด) ทิฏฐิวิปัลลาส (ความเห็นผิด) ๔
ประการนี้
สัญญาวิปัลลาส จิตตวิปัลลาส ทิฏฐิวิปัลลาส ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สัญญาวิปัลลาส จิตตวิปัลลาส ทิฏฐิวิปัลลาส ในสิ่งที่ไม่เที่ยงว่าเที่ยง
๒. สัญญาวิปัลลาส จิตตวิปัลลาส ทิฏฐิวิปัลลาส ในสิ่งที่เป็นทุกข์ว่า
เป็นสุข
๓. สัญญาวิปัลลาส จิตตวิปัลลาส ทิฏฐิวิปัลลาส ในสิ่งที่ไม่ใช่อัตตา
ว่าอัตตา
๔. สัญญาวิปัลลาส จิตตวิปัลลาส ทิฏฐิวิปัลลาส ในสิ่งที่ไม่งามว่างาม
ภิกษุทั้งหลาย สัญญาวิปัลลาส จิตตวิปัลลาส ทิฏฐิวิปัลลาส ๔ ประการ
นี้แล
นสัญญาวิปัลลาส (ความหมายรู้ไม่ผิด) นจิตตวิปัลลาส (ความคิดไม่ผิด)
นทิฏฐิวิปัลลาส (ความเห็นไม่ผิด) ๔ ประการนี้
นสัญญาวิปัลลาส นจิตตวิปัลลาส นทิฏฐิวิปัลลาส ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. นสัญญาวิปัลลาส นจิตตวิปัลลาส นทิฏฐิวิปัลลาส ในสิ่งที่ไม่
เที่ยงว่าไม่เที่ยง
๒. นสัญญาวิปัลลาส นจิตตวิปัลลาส นทิฏฐิวิปัลลาส ในสิ่งที่เป็นทุกข์
ว่าเป็นทุกข์
๓. นสัญญาวิปัลลาส นจิตตวิปัลลาส นทิฏฐิวิปัลลาส ในสิ่งที่ไม่ใช่
อัตตาว่าไม่ใช่อัตตา
๔. นสัญญาวิปัลลาส นจิตตวิปัลลาส นทิฏฐิวิปัลลาส ในสิ่งที่ไม่งาม
ว่าไม่งาม
ภิกษุทั้งหลาย นสัญญาวิปัลลาส นจิตตวิปัลลาส นทิฏฐิวิปัลลาส ๔ ประการ
นี้แล

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๓๙๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๘. วิปัลลาสกถา
เหล่าสัตว์ผู้ถูกมิจฉาทิฏฐิทำลาย
มีจิตฟุ้งซ่าน มีสัญญาผิด
มีสัญญาในสิ่งที่ไม่เที่ยงว่าเที่ยง
มีสัญญาในสิ่งที่เป็นทุกข์ว่าเป็นสุข
มีสัญญาในสิ่งที่ไม่งามว่างาม
สัตว์เหล่านั้นชื่อว่าติดอยู่ในเครื่องประกอบของมาร
ไม่เกษมจากโยคะ ประสบกับความเกิดและความตาย
ท่องเที่ยวไปสู่สังสารวัฏ
ก็ในกาลใด พระพุทธเจ้าผู้จุดประกายให้แสงสว่าง
เสด็จอุบัติขึ้นในโลก
ในกาลนั้น พระองค์ย่อมประกาศธรรมนี้
ให้สัตว์ถึงความดับทุกข์
สัตว์เหล่านั้นผู้มีปัญญา
ฟังธรรมของพระพุทธเจ้าเหล่านั้น
กลับได้ความคิดเป็นของตนเอง
ได้เห็นสิ่งที่ไม่เที่ยงโดยความไม่เที่ยง
ได้เห็นสิ่งที่เป็นทุกข์โดยความเป็นทุกข์
ได้เห็นสิ่งที่ไม่งามโดยความไม่งาม
ยึดถือสัมมาทิฏฐิพ้นทุกข์ทั้งหมดได้
วิปัลลาส ๔ ประการนี้ บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ๑ละได้แล้วก็มี ยังละ
ไม่ได้ก็มี บางประการละได้แล้ว บางประการยังละไม่ได้ สัญญาวิปัลลาส จิตต-
วิปัลลาส ทิฏฐิวิปัลลาส ในสิ่งที่ไม่เที่ยงว่าเที่ยงละได้แล้ว สัญญาในสิ่งที่เป็นทุกข์ว่า
เป็นสุขยังเกิดขึ้น จิตในสิ่งที่เป็นทุกข์ว่าเป็นสุขก็ยังเกิดขึ้น ทิฏฐิวิปัลลาสละได้แล้ว
สัญญาวิปัลลาส จิตตวิปัลลาส ทิฏฐิวิปัลลาสในสิ่งที่ไม่ใช่อัตตาว่าอัตตาละได้แล้ว
สัญญาในสิ่งที่ไม่งามว่างามยังเกิดขึ้น จิตในสิ่งที่ไม่งามว่างามก็ยังเกิดขึ้น ทิฏฐิวิปัลลาส

เชิงอรรถ :
๑ บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ ในที่นี้หมายถึงพระโสดาบัน (ขุ.ป.อ. ๒/๒๓๖/๒๐๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๔๐๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๙. มัคคกถา
(ในสิ่งที่ไม่งามว่างาม)ละได้แล้ว วิปัลลาส ๖ ในวัตถุ ๒ ละได้แล้ว๑ วิปัลลาส ๒
ในวัตถุ ๒ ละได้แล้ว๒ วิปัลลาส ๔ ยังละไม่ได้๓ วิปัลลาส ๘ ในวัตถุ ๔ ละได้แล้ว๔
วิปัลลาส ๔ ยังละไม่ได้
วิปัลลาสกถา จบ

๙. มัคคกถา
ว่าด้วยมรรค
[๒๓๗] คำว่า มรรค อธิบายว่า ชื่อว่ามรรค เพราะมีสภาวะว่าอย่างไร
คือ ในขณะแห่งโสดาปัตติมรรค ชื่อว่าสัมมาทิฏฐิ เพราะมีสภาวะเห็น เป็น
มรรคและเป็นเหตุ เพื่อละมิจฉาทิฏฐิ เพื่ออุปถัมภ์สหชาตธรรม เพื่อครอบงำ
กิเลสทั้งหลาย๕ เพื่อความหมดจดในเบื้องต้นแห่งปฏิเวธ เพื่อความตั้งมั่นแห่งจิต

เชิงอรรถ :
๑ วิปัลลาส ๖ ในวัตถุ ๒ ละได้แล้ว หมายถึงวิปัลลาส ๓ ประการ คือ สัญญาวิปัลลาส จิตตวิปัลลาส และ
ทิฏฐิวิปัลลาส คูณกับ วัตถุ ๒ ประการ คือ อนิจฺเจ นิจฺจํ (สิ่งที่ไม่เที่ยงว่าเที่ยง) และ อนตฺตนิ อตฺตา
(สิ่งที่ไม่ใช่อัตตาว่าอัตตา) เป็นวิปัลลาส ๖ ประการ ได้แก่ (๑) นิจจสัญญาวิปัลลาส (๒) อัตตสัญญาวิปัลลาส
(๓) นิจจจิตตวิปัลลาส (๔) อัตตจิตตวิปัลลาส (๕) นิจจทิฏฐิวิปัลลาส (๖) อัตตทิฏฐิวิปัลลาส (คำนวณ
ตามนัย ขุ.ป.อ. ๒/๒๓๖/๒๐๙)
๒ วิปัลลาส ๒ ในวัตถุ ๒ ละได้แล้ว หมายถึงทิฏฐิวิปัลลาส ๑ ประการ คูณกับ วัตถุ ๒ ประการ คือ
ทุกฺเข สุขํ (สิ่งที่เป็นทุกข์ว่าเป็นสุข) และ อสุเภ สุภํ (สิ่งที่ไม่งามว่างาม) เป็นวิปัลลาส ๒ ประการ ได้แก่
(๑) สุขทิฏฐิวิปัลลาส (๒) สุภทิฏฐิวิปัลลาส (คำนวณตามนัย ขุ.ป.อ. ๒/๒๓๖/๒๐๙)
๓ วิปัลลาส ๔ ยังละไม่ได้ หมายถึงวิปัลลาส ๒ ประการ คือ สัญญาวิปัลลาส กับ จิตตวิปัลลาส ในวัตถุ ๒
คือ ทุกฺเข สุขํ (สภาวะที่เป็นทุกข์ว่าเป็นสุข) อสุเภ สุภํ (สภาวะที่ไม่งามว่างาม) ประการละ ๒ วิปัลลาส
(๒ x ๒ เป็น ๔ วิปัลลาส) ได้แก่ (๑) สุขสัญญาวิปัลลาส (๒) สุภสัญญาวิปัลลาส (๓) สุขจิตตวิปัลลาส
(๔) สุภจิตตวิปัลลาส (คำนวณตามนัย ขุ.ป.อ. ๒/๒๓๖/๒๐๙)
๔ วิปัลลาส ๘ ในวัตถุ ๘ ละได้แล้ว หมายถึงวิปัลลาส ๖ ประการ ในวัตถุ ๒ (ในเชิงอรรถที่ ๒) รวมกับ
วิปัลลาส ๒ ประการ ในวัตถุ ๒ ประการ (ในเชิงอรรถที่ ๓) เป็นวิปัลลาส ๘ ประการ ได้แก่ (๑) นิจจสัญญา-
วิปัลลาส (๒) อัตตสัญญาวิปัลลาส (๓) นิจจจิตตวิปัลลาส (๔) อัตตจิตตวิปัลลาส (๕) นิจจทิฏฐิวิปัลลาส
(๖) สุขทิฏฐิวิปัลลาส (๗) อัตตทิฏฐิวิปัลลาส (๘) สุภทิฏฐิวิปัลลาส (คำนวณตามนัย ขุ.ป.อ. ๒/๒๓๖/๒๐๙)
๕ เพื่อครอบงำกิเลสทั้งหลาย หมายถึงทำกิเลสทั้งหลายให้สิ้นไป (ขุ.ป.อ. ๒/๒๓๗/๒๑๐)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๔๐๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๙. มัคคกถา
เพื่อความผ่องแผ้วแห่งจิต เพื่อบรรลุธรรมวิเศษ เพื่อรู้แจ้งธรรมอันยิ่ง เพื่อตรัสรู้
สัจจะ เพื่อให้จิตตั้งมั่นอยู่ในนิโรธ
ชื่อว่าสัมมาสังกัปปะ เพราะมีสภาวะตรึกตรอง เป็นมรรคและเป็นเหตุ เพื่อละ
มิจฉาสังกัปปะ เพื่ออุปถัมภ์สหชาตธรรม เพื่อครอบงำกิเลสทั้งหลาย เพื่อความ
หมดจดในเบื้องต้นแห่งปฏิเวธ เพื่อความตั้งมั่นแห่งจิต เพื่อความผ่องแผ้วแห่งจิต
เพื่อบรรลุธรรมวิเศษ เพื่อรู้แจ้งธรรมอันยิ่ง เพื่อตรัสรู้สัจจะ เพื่อให้จิตตั้งมั่นอยู่
ในนิโรธ
ชื่อว่าสัมมาวาจา เพราะมีสภาวะกำหนด เป็นมรรคและเป็นเหตุ เพื่อละมิจฉา-
วาจา เพื่ออุปถัมภ์สหชาตธรรม เพื่อครอบงำกิเลสทั้งหลาย เพื่อความหมดจดใน
เบื้องต้นแห่งปฏิเวธ เพื่อความตั้งมั่นแห่งจิต เพื่อความผ่องแผ้วแห่งจิต เพื่อบรรลุ
ธรรมวิเศษ เพื่อรู้แจ้งธรรมอันยิ่ง เพื่อตรัสรู้สัจจะ เพื่อให้จิตตั้งมั่นอยู่ในนิโรธ
ชื่อว่าสัมมากัมมันตะ เพราะมีสภาวะเป็นสมุฏฐาน เป็นมรรคและเป็นเหตุ
เพื่อละมิจฉากัมมันตะ เพื่ออุปถัมภ์สหชาตธรรม เพื่อครอบงำกิเลสทั้งหลาย เพื่อ
ความหมดจดในเบื้องต้นแห่งปฏิเวธ เพื่อความตั้งมั่นแห่งจิต เพื่อความผ่องแผ้วแห่งจิต
เพื่อบรรลุธรรมวิเศษ เพื่อรู้แจ้งธรรมอันยิ่ง เพื่อตรัสรู้สัจจะ เพื่อให้จิตตั้งมั่นอยู่ใน
นิโรธ
ชื่อว่าสัมมาอาชีวะ เพราะมีสภาวะผ่องแผ้ว เป็นมรรคและเป็นเหตุ เพื่อละ
มิจฉาอาชีวะ ฯลฯ ชื่อว่าสัมมาวายามะ เพราะมีสภาวะประคองไว้ เป็นมรรคและ
เป็นเหตุ เพื่อละมิจฉาวายามะ ฯลฯ ชื่อว่าสัมมาสติ เพราะมีสภาวะตั้งมั่น เป็น
มรรคและเป็นเหตุเพื่อละมิจฉาสติ ฯลฯ
ชื่อว่าสัมมาสมาธิ เพราะมีสภาวะไม่ฟุ้งซ่าน เป็นมรรคและเป็นเหตุ เพื่อละ
มิจฉาสมาธิ เพื่ออุปถัมภ์สหชาตธรรม เพื่อครอบงำกิเลสทั้งหลาย เพื่อความหมดจด
ในเบื้องต้นแห่งปฏิเวธ เพื่อความตั้งมั่นแห่งจิต เพื่อความผ่องแผ้วแห่งจิต เพื่อ
บรรลุธรรมวิเศษ เพื่อรู้แจ้งธรรมอันยิ่ง เพื่อตรัสรู้สัจจะ เพื่อให้จิตตั้งมั่นอยู่ในนิโรธ
ในขณะแห่งสกทาคามิมรรค ชื่อว่าสัมมาทิฏฐิ เพราะมีสภาวะเห็น ฯลฯ ชื่อว่า
สัมมาสมาธิ เพราะมีสภาวะไม่ฟุ้งซ่าน เป็นมรรคและเป็นเหตุ เพื่อละกามราค-
สังโยชน์ ปฏิฆสังโยชน์ ส่วนหยาบ ๆ กามราคานุสัย ปฏิฆานุสัย ส่วนหยาบ ๆ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๔๐๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๙. มัคคกถา
เพื่ออุปถัมภ์สหชาตธรรม เพื่อครอบงำกิเลสทั้งหลาย เพื่อความหมดจดในเบื้องต้น
แห่งปฏิเวธ เพื่อความตั้งมั่นแห่งจิต เพื่อความผ่องแผ้วแห่งจิต เพื่อบรรลุธรรมวิเศษ
เพื่อรู้แจ้งธรรมอันยิ่ง เพื่อตรัสรู้สัจจะ เพื่อให้จิตตั้งมั่นอยู่ในนิโรธ
ในขณะแห่งอนาคามิมรรค ชื่อว่าสัมมาทิฏฐิ เพราะมีสภาวะเห็น ฯลฯ ชื่อว่า
สัมมาสมาธิ เพราะมีสภาวะไม่ฟุ้งซ่าน เป็นมรรคและเป็นเหตุ เพื่อละกามราค-
สังโยชน์ ปฏิฆสังโยชน์ ส่วนละเอียด ๆ กามราคานุสัย ปฏิฆานุสัย ส่วนละเอียด ๆ
เพื่ออุปถัมภ์สหชาตธรรม เพื่อครอบงำกิเลสทั้งหลาย เพื่อความหมดจดในเบื้องต้น
แห่งปฏิเวธ เพื่อความตั้งมั่นแห่งจิต เพื่อความผ่องแผ้วแห่งจิต เพื่อบรรลุธรรมวิเศษ
เพื่อรู้แจ้งธรรมอันยิ่ง เพื่อตรัสรู้สัจจะ เพื่อให้จิตตั้งมั่นอยู่ในนิโรธ
ในขณะแห่งอรหัตตมรรค ชื่อว่าสัมมาทิฏฐิ เพราะมีสภาวะเห็น ฯลฯ ชื่อว่า
สัมมาสมาธิ เพราะมีสภาวะไม่ฟุ้งซ่าน เป็นมรรคและเป็นเหตุ เพื่อละรูปราคะ
อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะ อวิชชา มานานุสัย ภวราคานุสัย อวิชชานุสัย เพื่อ
อุปถัมภ์สหชาตธรรม เพื่อครอบงำกิเลสทั้งหลาย เพื่อความหมดจดในเบื้องต้น
แห่งปฏิเวธ เพื่อความตั้งมั่นแห่งจิต เพื่อความผ่องแผ้วแห่งจิต เพื่อบรรลุธรรมวิเศษ
เพื่อรู้แจ้งธรรมอันยิ่ง เพื่อตรัสรู้สัจจะ เพื่อให้จิตตั้งมั่นอยู่ในนิโรธ
มรรคคือความเห็น ชื่อว่าสัมมาทิฏฐิ มรรคคือความตรึกตรอง ชื่อว่า
สัมมาสังกัปปะ มรรคคือการกำหนด ชื่อว่าสัมมาวาจา มรรคคือสมุฏฐาน ชื่อว่า
สัมมากัมมันตะ มรรคคือความผ่องแผ้ว ชื่อว่าสัมมาอาชีวะ มรรคคือการประคองไว้
ชื่อว่าสัมมาวายามะ มรรคคือความตั้งมั่น ชื่อว่าสัมมาสติ มรรคคือความไม่ฟุ้งซ่าน
ชื่อว่าสัมมาสมาธิ
มรรคคือความตั้งมั่น ชื่อว่าสติสัมโพชฌงค์ มรรคคือการเลือกเฟ้น ชื่อว่า
ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ มรรคคือการประคองไว้ ชื่อว่าวิริยสัมโพชฌงค์ มรรคคือ
ความแผ่ซ่าน ชื่อว่าปีติสัมโพชฌงค์ มรรคคือความสงบ ชื่อว่าปัสสัทธิสัมโพชฌงค์
มรรคคือความไม่ฟุ้งซ่าน ชื่อว่าสมาธิสัมโพชฌงค์ มรรคคือการพิจารณา ชื่อว่า
อุเบกขาสัมโพชฌงค์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๔๐๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๙. มัคคกถา
มรรคคือความไม่หวั่นไหวเพราะความไม่มีศรัทธา ชื่อว่าสัทธาพละ มรรคคือ
ความไม่หวั่นไหวเพราะความเกียจคร้าน ชื่อว่าวิริยพละ มรรคคือความไม่หวั่นไหว
เพราะความประมาท ชื่อว่าสติพละ มรรคคือความไม่หวั่นไหวเพราะอุทธัจจะ ชื่อว่า
สมาธิพละ มรรคคือความไม่หวั่นไหวเพราะอวิชชา ชื่อว่าปัญญาพละ
มรรคคือความน้อมใจเชื่อ ชื่อว่าสัทธินทรีย์ มรรคคือการประคองไว้ ชื่อว่า
วิริยินทรีย์ มรรคคือความตั้งมั่น ชื่อว่าสตินทรีย์ มรรคคือความไม่ฟุ้งซ่าน ชื่อว่า
สมาธินทรีย์ มรรคคือความเห็น ชื่อว่าปัญญินทรีย์
มรรคที่ชื่อว่าอินทรีย์ เพราะมีสภาวะเป็นใหญ่ มรรคที่ชื่อว่าพละ เพราะมี
สภาวะไม่หวั่นไหว มรรคที่ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะนำออก มรรคที่ชื่อว่า
องค์แห่งมรรค เพราะมีสภาวะเป็นเหตุ มรรคที่ชื่อว่าสติปัฏฐาน เพราะมีสภาวะตั้งมั่น
มรรคที่ชื่อว่าสัมมัปปธาน เพราะมีสภาวะตั้งไว้ มรรคที่ชื่อว่าอิทธิบาท เพราะมี
สภาวะให้สำเร็จ มรรคที่ชื่อว่าสัจจะ เพราะมีสภาวะเป็นของแท้ มรรคที่ชื่อว่าสมถะ
เพราะมีสภาวะไม่ฟุ้งซ่าน มรรคที่ชื่อว่าวิปัสสนา เพราะมีสภาวะพิจารณาเห็น
มรรคที่ชื่อว่าสมถะและวิปัสสนา เพราะมีสภาวะมีรสเป็นอย่างเดียวกัน มรรคที่ชื่อ
ว่าธรรมที่เป็นคู่กัน เพราะมีสภาวะไม่ล่วงเลยกัน มรรคที่ชื่อว่าสีลวิสุทธิ เพราะมี
สภาวะสำรวม มรรคที่ชื่อว่าจิตตวิสุทธิ เพราะมีสภาวะไม่ฟุ้งซ่าน มรรคที่ชื่อว่า
ทิฏฐิวิสุทธิ เพราะมีสภาวะเห็น มรรคที่ชื่อว่าวิโมกข์ เพราะมีสภาวะหลุดพ้น
มรรคที่ชื่อว่าวิชชา เพราะมีสภาวะรู้แจ้ง มรรคที่ชื่อว่าวิมุตติ เพราะมีสภาวะสละ
มรรคที่ชื่อว่าญาณในความสิ้นไป เพราะมีสภาวะตัดขาด มรรคที่ชื่อว่าฉันทะ
เพราะมีสภาวะเป็นมูล มรรคที่ชื่อว่ามนสิการ เพราะมีสภาวะเป็นสมุฏฐาน มรรค
ที่ชื่อว่าผัสสะ เพราะมีสภาวะเป็นที่ประชุม มรรคที่ชื่อว่าเวทนา เพราะมีสภาวะเป็นที่รวม
มรรคที่ชื่อว่าสมาธิ เพราะมีสภาวะเป็นประธาน มรรคที่ชื่อว่าสติ เพราะมีสภาวะ
เป็นใหญ่ มรรคที่ชื่อว่าปัญญา เพราะมีสภาวะเป็นธรรมที่ยิ่งกว่าธรรมนั้น มรรคที่
ชื่อว่าวิมุตติ เพราะมีสภาวะเป็นแก่นสาร มรรคที่ชื่อว่าธรรมที่หยั่งลงสู่อมตะคือ
นิพพาน เพราะมีสภาวะเป็นที่สุด
มัคคกถา จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๔๐๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑๐. มัณฑเปยยกถา
๑๐. มัณฑเปยยกถา
ว่าด้วยพรหมจรรย์ที่ใสและน่าดื่ม
[๒๓๘] ภิกษุทั้งหลาย พรหมจรรย์นี้ใสและน่าดื่ม เมื่อพระศาสดายังปรากฏ
อยู่ ความใสมี ๓ ประการ คือ
๑. ความใสคือเทศนา ๒. ความใสคือผู้รับ
๓. ความใสคือพรหมจรรย์
ความใสคือเทศนา เป็นอย่างไร
คือ การบอก การแสดง การบัญญัติ การแต่งตั้ง การเปิดเผย การจำแนก
การทำให้ง่ายซึ่งอริยสัจ ๔ ฯลฯ สติปัฏฐาน ๔ ฯลฯ สัมมัปปธาน ๔ ฯลฯ
อิทธิบาท ๔ ฯลฯ อินทรีย์ ๕ ฯลฯ พละ ๕ ฯลฯ โพชฌงค์ ๗ ฯลฯ การบอก
การแสดง การบัญญัติ การแต่งตั้ง การเปิดเผย การจำแนก การทำให้ง่ายซึ่ง
อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้เป็นความใสคือเทศนา (๑)
ความใสคือผู้รับ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา เทวดา มนุษย์ หรือท่านผู้รู้แจ้ง
พวกใดพวกหนึ่ง นี้เป็นความใสคือผู้รับ (๒)
ความใสคือพรหมจรรย์ เป็นอย่างไร
คือ อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้ ได้แก่

๑. สัมมาทิฏฐิ ๒. สัมมาสังกัปปะ
๓. สัมมาวาจา ๔. สัมมากัมมันตะ
๕. สัมมาอาชีวะ ๖. สัมมาวายามะ
๗. สัมมาสติ ๘. สัมมาสมาธิ

นี้เป็นความใสคือพรหมจรรย์ (๓)
[๒๓๙] ความใสคือความน้อมใจเชื่อ ชื่อว่าสัทธินทรีย์ ความไม่มีศรัทธาเป็น
กาก๑ บุคคลทิ้งความไม่มีศรัทธาอันเป็นกากแล้วดื่มความใสคือความน้อมใจเชื่อของ
สัทธินทรีย์ เพราะเหตุนั้น สัทธินทรีย์จึงชื่อว่ามีความใสและน่าดื่ม

เชิงอรรถ :
๑ เป็นกาก หมายถึงเป็นของขุ่นมัวเว้นจากความผ่องใส (ขุ.ป.อ. ๒/๒๓๙/๒๑๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๔๐๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑๐. มัณฑเปยยกถา
ความใสคือการประคองไว้ ชื่อว่าวิริยินทรีย์ ความเกียจคร้านเป็นกาก บุคคล
ทิ้งความเกียจคร้านอันเป็นกากแล้วดื่มความใสคือการประคองไว้ของวิริยินทรีย์
เพราะเหตุนั้น วิริยินทรีย์จึงชื่อว่ามีความใสและน่าดื่ม
ความใสคือความตั้งมั่น ชื่อว่าสตินทรีย์ ความประมาทเป็นกาก บุคคลทิ้งความ
ประมาทอันเป็นกากแล้วดื่มความใสคือความตั้งมั่นของสตินทรีย์ เพราะเหตุนั้น
สตินทรีย์จึงชื่อว่ามีความใสและน่าดื่ม
ความใสคือความไม่ฟุ้งซ่าน ชื่อว่าสมาธินทรีย์ อุทธัจจะเป็นกาก บุคคลทิ้ง
อุทธัจจะอันเป็นกากแล้วดื่มความใสคือความไม่ฟุ้งซ่านของสมาธินทรีย์ เพราะ
เหตุนั้น สมาธินทรีย์จึงชื่อว่ามีความใสและน่าดื่ม
ความใสคือการเห็น ชื่อว่าปัญญินทรีย์ อวิชชาเป็นกาก บุคคลทิ้งอวิชชาอัน
เป็นกากแล้วดื่มความใสคือการเห็นของปัญญินทรีย์ เพราะเหุตนั้น ปัญญินทรีย์
จึงชื่อว่ามีความใสและน่าดื่ม
ความใสคือความไม่หวั่นไหวเพราะความไม่มีศรัทธา ชื่อว่าสัทธาพละ ความ
ไม่มีศรัทธาเป็นกาก บุคคลทิ้งความไม่มีศรัทธาอันเป็นกากแล้วดื่มความใสคือ
ความไม่หวั่นไหวเพราะความไม่มีศรัทธาของสัทธาพละ เพราะเหตุนั้น สัทธาพละ
จึงชื่อว่ามีความใสและน่าดื่ม
ความใสคือความไม่หวั่นไหวเพราะความเกียจคร้าน ชื่อว่าวิริยพละ ความ
เกียจคร้านเป็นกาก บุคคลทิ้งความเกียจคร้านอันเป็นกากแล้วดื่มความใสคือความ
ไม่หวั่นไหวเพราะความเกียจคร้านของวิริยพละ เพราะเหตุนั้น วิริยพละจึงชื่อว่ามี
ความใสและน่าดื่ม
ความใสคือความไม่หวั่นไหวเพราะความประมาท ชื่อว่าสติพละ ความ
ประมาทเป็นกาก บุคคลทิ้งความประมาทอันเป็นกากแล้วดื่มความใสคือความไม่
หวั่นไหวเพราะความไม่ประมาทของสติพละ เพราะเหตุนั้น สติพละจึงชื่อว่ามีความ
ใสและน่าดื่ม
ความใสคือความไม่หวั่นไหวเพราะอุทธัจจะ ชื่อว่าสมาธิพละ อุทธัจจะเป็นกาก
บุคคลทิ้งอุทธัจจะอันเป็นกากแล้วดื่มความใสคือความไม่หวั่นไหวเพราะอุทธัจจะของ
สมาธิพละ เพราะเหตุนั้น สมาธิพละจึงชื่อว่ามีความใสและน่าดื่ม


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๔๐๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑๐. มัณฑเปยยกถา
ความใสคือความไม่หวั่นไหวเพราะอวิชชา ชื่อว่าปัญญาพละ อวิชชาเป็นกาก
บุคคลทิ้งอวิชชาอันเป็นกากแล้วดื่มความใสคือความไม่หวั่นไหวเพราะอวิชชาของ
ปัญญาพละ เพราะเหตุนั้น ปัญญาพละจึงชื่อว่ามีความใสและน่าดื่ม
ความใสคือความตั้งมั่น ชื่อว่าสติสัมโพชฌงค์ ความประมาทเป็นกาก
บุคคลทิ้งความประมาทอันเป็นกากแล้วดื่มความใสคือความตั้งมั่นของสติสัมโพชฌงค์
เพราะเหตุนั้น สติสัมโพชฌงค์จึงชื่อว่ามีความใสและน่าดื่ม
ความใสคือการเลือกเฟ้น ชื่อว่าธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ อวิชชาเป็นกาก บุคคล
ทิ้งอวิชชาอันเป็นกากแล้วดื่มความใสคือการเลือกเฟ้นของธัมมวิจยสัมโพชฌงค์
เพราะเหตุนั้น ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์จึงชื่อว่ามีความใสและน่าดื่ม
ความใสคือการประคองไว้ ชื่อว่าวิริยสัมโพชฌงค์ ความเกียจคร้านเป็นกาก
บุคคลทิ้งความเกียจคร้านอันเป็นกากแล้วดื่มความใสคือการประคองไว้ของวิริย-
สัมโพชฌงค์ เพราะเหตุนั้น วิริยสัมโพชฌงค์จึงชื่อว่ามีความใสและน่าดื่ม
ความใสคือความแผ่ซ่าน ชื่อว่าปีติสัมโพชฌงค์ ความเร่าร้อนเป็นกาก บุคคล
ทิ้งความเร่าร้อนอันเป็นกากแล้วดื่มความใสคือความแผ่ซ่านของปีติสัมโพชฌงค์
เพราะเหตุนั้น ปีติสัมโพชฌงค์จึงชื่อว่ามีความใสและน่าดื่ม
ความใสคือความสงบ ชื่อว่าปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ ความชั่วหยาบเป็นกาก บุคคล
ทิ้งความชั่วหยาบอันเป็นกากแล้วดื่มความใสคือความสงบของปัสสัทธิสัมโพชฌงค์
เพราะเหตุนั้น ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์จึงชื่อว่ามีความใสและน่าดื่ม
ความใสคือความไม่ฟุ้งซ่าน ชื่อว่าสมาธิสัมโพชฌงค์ อุทธัจจะเป็นกาก บุคคล
ทิ้งอุทธัจจะอันเป็นกากแล้วดื่มความใสคือความไม่ฟุ้งซ่านของสมาธิสัมโพชฌงค์
เพราะเหตุนั้น สมาธิสัมโพชฌงค์จึงชื่อว่ามีความใสและน่าดื่ม
ความใสคือการพิจารณา ชื่อว่าอุเบกขาสัมโพชฌงค์ การไม่พิจารณาเป็นกาก
บุคคลทิ้งการไม่พิจารณาอันเป็นกากแล้วดื่มความใสคือการพิจารณาของอุเบกขา-
สัมโพชฌงค์ เพราะเหตุนั้น อุเบกขาสัมโพชฌงค์จึงชื่อว่ามีความใสและน่าดื่ม
ความใสคือการเห็น ชื่อว่าสัมมาทิฏฐิ มิจฉาทิฏฐิเป็นกาก บุคคลทิ้งมิจฉาทิฏฐิ
อันเป็นกากแล้วดื่มความใสคือการเห็นของสัมมาทิฏฐิ เพราะเหตุนั้น สัมมาทิฏฐิ
จึงชื่อว่ามีความใสและน่าดื่ม


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๔๐๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑๐. มัณฑเปยยกถา
ความใสคือความตรึกตรอง ชื่อว่าสัมมาสังกัปปะ มิจฉาสังกัปปะเป็นกาก
บุคคลทิ้งมิจฉาสังกัปปะอันเป็นกากแล้วดื่มความใสคือความตรึกตรองของสัมมา-
สังกัปปะ เพราะเหตุนั้น สัมมาสังกัปปะจึงชื่อว่ามีความใสและน่าดื่ม
ความใสคือการกำหนด ชื่อว่าสัมมาวาจา มิจฉาวาจาเป็นกาก บุคคลทิ้ง
มิจฉาวาจาอันเป็นกากแล้วดื่มความใสคือการกำหนดของสัมมาวาจา เพราะเหตุนั้น
สัมมาวาจาจึงชื่อว่ามีความใสและน่าดื่ม
ความใสคือสมุฏฐาน ชื่อว่าสัมมากัมมันตะ มิจฉากัมมันตะเป็นกาก บุคคล
ทิ้งมิจฉากัมมันตะอันเป็นกากแล้วดื่มความใสคือสมุฏฐานของสัมมากัมมันตะ เพราะ
เหตุนั้น สัมมากัมมันตะจึงชื่อว่ามีความใสและน่าดื่ม
ความใสคือความผ่องแผ้ว ชื่อว่าสัมมาอาชีวะ มิจฉาอาชีวะเป็นกาก บุคคล
ทิ้งมิจฉาอาชีวะอันเป็นกากแล้วดื่มความใสคือความผ่องแผ้วของสัมมาอาชีวะ
เพราะเหตุนั้น สัมมาอาชีวะจึงชื่อว่ามีความใสและน่าดื่ม
ความใสคือการประคองไว้ ชื่อว่าสัมมาวายามะ มิจฉาวายามะเป็นกาก
บุคคลทิ้งมิจฉาวายามะอันเป็นกากแล้วดื่มความใสคือการประคองไว้ของสัมมาวายามะ
เพราะเหตุนั้น สัมมาวายามะจึงชื่อว่ามีความใสและน่าดื่ม
ความใสคือความตั้งมั่น ชื่อว่าสัมมาสติ มิจฉาสติเป็นกาก บุคคลทิ้งมิจฉาสติ
อันเป็นกากแล้วดื่มความใสคือความตั้งมั่นของสัมมาสติ เพราะเหตุนั้น สัมมาสติ
จึงชื่อว่ามีความใสและน่าดื่ม
ความใสคือความไม่ฟุ้งซ่าน ชื่อว่าสัมมาสมาธิ มิจฉาสมาธิเป็นกาก บุคคล
ทิ้งมิจฉาสมาธิอันเป็นกากแล้วดื่มความใสคือความไม่ฟุ้งซ่านของสัมมาสมาธิ เพราะ
เหตุนั้น สัมมาสมาธิจึงชื่อว่ามีความใสและน่าดื่ม
[๒๔๐] ความใสมีอยู่ ความน่าดื่มมีอยู่ กากก็มีอยู่ ความใสคือความน้อม
ใจเชื่อ ชื่อว่าสัทธินทรีย์ ความไม่มีศรัทธาเป็นกาก อรรถรส๑ ธรรมรส๒ วิมุตติรส๓
ในสัทธินทรีย์นั้นเป็นความน่าดื่ม

เชิงอรรถ :
๑ อรรถรส หมายถึงสามัญญผล ๔ คือ โสดาปัตติผล สกทาคามิผล อนาคามิผล และอรหัตตผล
(องฺ.เอกก.อ. ๑/๓๓๕/๔๓๖)
๒ ธรรมรส หมายถึงมรรค ๔ คือ โสดาปัตติมรรค สกทาคามิมรรค อนาคามิมรรค และอรหัตตมรรค
(องฺ.เอกก.อ. ๑/๓๓๕/๔๓๖)
๓ วิมุตติรส หมายถึงอมตนิพพาน (องฺ.เอกก.อ. ๑/๓๓๕/๔๓๖)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๔๐๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑๐. มัณฑเปยยกถา
ความใสคือการประคองไว้ ชื่อว่าวิริยินทรีย์ ความเกียจคร้านเป็นกาก อรรถรส
ธรรมรส วิมุตติรสในวิริยินทรีย์นั้นเป็นความน่าดื่ม
ความใสคือความตั้งมั่น ชื่อว่าสตินทรีย์ ความประมาทเป็นกาก อรรถรส
ธรรมรส วิมุตติรสในสตินทรีย์นั้นเป็นความน่าดื่ม
ความใสคือความไม่ฟุ้งซ่าน ชื่อว่าสมาธินทรีย์ อุทธัจจะเป็นกาก อรรถรส
ธรรมรส วิมุตติรสในสมาธินทรีย์นั้นเป็นความน่าดื่ม
ความใสคือความเห็น ชื่อว่าปัญญินทรีย์ อวิชชาเป็นกาก อรรถรส ธรรมรส
วิมุตติรสในปัญญินทรีย์นั้นเป็นความน่าดื่ม
ความใสคือความไม่หวั่นไหวเพราะความไม่มีศรัทธา ชื่อว่าสัทธาพละ ความไม่
มีศรัทธาเป็นกาก อรรถรส ธรรมรส วิมุตติรสในสัทธาพละนั้นเป็นความน่าดื่ม
ความใสคือความไม่หวั่นไหวเพราะความเกียจคร้าน ชื่อว่าวิริยพละ ความ
เกียจคร้านเป็นกาก อรรถรส ธรรมรส วิมุตติรสในวิริยพละนั้นเป็นความน่าดื่ม
ความใสคือความไม่หวั่นไหวเพราะความประมาท ชื่อว่าสติพละ ความประมาท
เป็นกาก อรรถรส ธรรมรส วิมุตติรสในสติพละนั้นเป็นความน่าดื่ม
ความใสคือความไม่หวั่นไหวเพราะอุทธัจจะ ชื่อว่าสมาธิพละ อุทธัจจะเป็นกาก
อรรถรส ธรรมรส วิมุตติรสในสมาธิพละนั้นเป็นความน่าดื่ม
ความใสคือความไม่หวั่นไหวเพราะอวิชชา ชื่อว่าปัญญาพละ อวิชชาเป็นกาก
อรรถรส ธรรมรส วิมุตติรสในปัญญาพละนั้นเป็นความน่าดื่ม
ความใสคือความตั้งมั่น ชื่อว่าสติสัมโพชฌงค์ ความประมาทเป็นกาก อรรถรส
ธรรมรส วิมุตติรสในสติสัมโพชฌงค์นั้นเป็นความน่าดื่ม
ความใสคือการเลือกเฟ้น ชื่อว่าธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ อวิชชาเป็นกาก อรรถรส
ธรรมรส วิมุตติรสในธัมมวิจยสัมโพชฌงค์นั้นเป็นความน่าดื่ม
ความใสคือการประคองไว้ ชื่อว่าวิริยสัมโพชฌงค์ ความเกียจคร้านเป็นกาก
อรรถรส ธรรมรส วิมุตติรสในวิริยสัมโพชฌงค์นั้นเป็นความน่าดื่ม
ความใสคือความแผ่ซ่าน ชื่อว่าปีติสัมโพชฌงค์ ความเร่าร้อนเป็นกาก อรรถรส
ธรรมรส วิมุตติรสในปีติสัมโพชฌงค์นั้นเป็นความน่าดื่ม


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๔๐๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑๐. มัณฑเปยยกถา
ความใสคือความสงบ ชื่อว่าปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ ความชั่วหยาบเป็นกาก อรรถรส
ธรรมรส วิมุตติรสในปัสสัทธิสัมโพชฌงค์นั้นเป็นความน่าดื่ม
ความใสคือความไม่ฟุ้งซ่าน ชื่อว่าสมาธิสัมโพชฌงค์ อุทธัจจะเป็นกาก อรรถรส
ธรรมรส วิมุตติรสในสมาธิสัมโพชฌงค์นั้นเป็นความน่าดื่ม
ความใสคือการพิจารณา ชื่อว่าอุเบกขาสัมโพชฌงค์ การไม่พิจารณาเป็นกาก
อรรถรส ธรรมรส วิมุตติรสในอุเบกขาสัมโพชฌงค์นั้นเป็นความน่าดื่ม
ความใสคือการเห็น ชื่อว่าสัมมาทิฏฐิ มิจฉาทิฏฐิเป็นกาก อรรถรส ธรรมรส
วิมุตติรสในสัมมาทิฏฐินั้นเป็นความน่าดื่ม
ความใสคือความตรึกตรอง ชื่อว่าสัมมาสังกัปปะ มิจฉาสังกัปปะเป็นกาก อรรถรส
ธรรมรส วิมุตติรสในสัมมาสังกัปปะนั้นเป็นความน่าดื่ม
ความใสคือการกำหนด ชื่อว่าสัมมาวาจา มิจฉาวาจาเป็นกาก อรรถรส
ธรรมรส วิมุตติรสในสัมมาวาจานั้นเป็นความน่าดื่ม
ความใสคือสมุฏฐาน ชื่อว่าสัมมากัมมันตะ มิจฉากัมมันตะเป็นกาก อรรถรส
ธรรมรส วิมุตติรสในสัมมากัมมันตะนั้นเป็นความน่าดื่ม
ความใสคือความผ่องแผ้ว ชื่อว่าสัมมาอาชีวะ มิจฉาอาชีวะเป็นกาก อรรถรส
ธรรมรส วิมุตติรสในสัมมาอาชีวะนั้นเป็นความน่าดื่ม
ความใสคือการประคองไว้ ชื่อว่าสัมมาวายามะ มิจฉาวายามะเป็นกาก
อรรถรส ธรรมรส วิมุตติรสในสัมมาวายามะนั้นเป็นความน่าดื่ม
ความใสคือการตั้งมั่น ชื่อว่าสัมมาสติ มิจฉาสติเป็นกาก อรรถรส ธรรมรส
วิมุตติรสในสัมมาสตินั้นเป็นความน่าดื่ม
ความใสคือความไม่ฟุ้งซ่าน ชื่อว่าสัมมาสมาธิ มิจฉาสมาธิเป็นกาก อรรถรส
ธรรมรส วิมุตติรสในสัมมาสมาธินั้นเป็นความน่าดื่ม
ความใสคือการเห็น ชื่อว่าสัมมาทิฏฐิ ความใสคือความตรึกตรอง ชื่อว่า
สัมมาสังกัปปะ ความใสคือการกำหนด ชื่อว่าสัมมาวาจา ความใสคือสมุฏฐาน


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๔๑๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑๐. มัณฑเปยยกถา
ชื่อว่าสัมมากัมมันตะ ความใสคือความผ่องแผ้ว ชื่อว่าสัมมาอาชีวะ ความใสคือ
การประคองไว้ ชื่อว่าสัมมาวายามะ ความใสคือความตั้งมั่น ชื่อว่าสัมมาสติ
ความใสคือความไม่ฟุ้งซ่าน ชื่อว่าสัมมาสมาธิ
ความใสคือความตั้งมั่น ชื่อว่าสติสัมโพชฌงค์ ความใสคือการเลือกเฟ้น ชื่อว่า
ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ ความใสคือการประคองไว้ ชื่อว่าวิริยสัมโพชฌงค์ ความใสคือ
ความแผ่ซ่าน ชื่อว่าปีติสัมโพชฌงค์ ความใสคือความสงบ ชื่อว่าปัสสัทธิสัมโพชฌงค์
ความใสคือความไม่ฟุ้งซ่าน ชื่อว่าสมาธิสัมโพชฌงค์ ความใสคือการพิจารณา ชื่อว่า
อุเบกขาสัมโพชฌงค์
ความใสคือความไม่หวั่นไหวเพราะความไม่มีศรัทธา ชื่อว่าสัทธาพละ ความใส
คือความไม่หวั่นไหวเพราะความเกียจคร้าน ชื่อว่าวิริยพละ ความใสคือความไม่
หวั่นไหวเพราะความประมาท ชื่อว่าสติพละ ความใสคือความไม่หวั่นไหวเพราะอุทธัจจะ
ชื่อว่าสมาธิพละ ความใสคือความไม่หวั่นไหวเพราะอวิชชา ชื่อว่าปัญญาพละ
ความใสคือความน้อมใจเชื่อ ชื่อว่าสัทธินทรีย์ ความใสคือการประคองไว้ ชื่อว่า
วิริยินทรีย์ ความใสคือความตั้งมั่น ชื่อว่าสตินทรีย์ ความใสคือความไม่ฟุ้งซ่าน ชื่อว่า
สมาธินทรีย์ ความใสคือการเห็น ชื่อว่าปัญญินทรีย์
ความใสที่ชื่อว่าอินทรีย์ เพราะมีสภาวะเป็นใหญ่ ความใสที่ชื่อว่าพละ เพราะ
มีสภาวะไม่หวั่นไหว ความใสที่ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะนำออก ความใสที่ชื่อว่า
มรรค เพราะมีสภาวะเป็นเหตุ ความใสที่ชื่อว่าสติปัฏฐาน เพราะมีสภาวะตั้งมั่น
ความใสที่ชื่อว่าสัมมัปปธาน เพราะมีสภาวะเริ่มตั้งไว้ ความใสที่ชื่อว่าอิทธิบาท
เพราะมีสภาวะให้สำเร็จ ความใสที่ชื่อว่าสมถะ เพราะมีสภาวะไม่ฟุ้งซ่าน ความใส
ที่ชื่อว่าวิปัสสนา เพราะมีสภาวะพิจารณาเห็น ความใสที่ชื่อว่าสมถะและวิปัสสนา
เพราะมีสภาวะมีรสเป็นอย่างเดียวกัน ความใสที่ชื่อว่าธรรมที่เป็นคู่กัน เพราะมี
สภาวะไม่ล่วงเลยกัน ความใสที่ชื่อว่าสีลวิสุทธิ เพราะมีสภาวะสำรวม ความใสที่
ชื่อว่าจิตตวิสุทธิ เพราะมีสภาวะไม่ฟุ้งซ่าน ความใสที่ชื่อว่าทิฏฐิวิสุทธิ เพราะมี
สภาวะเห็น ความใสที่ชื่อว่าวิโมกข์ เพราะมีสภาวะหลุดพ้น ความใสที่ชื่อว่าวิชชา
เพราะมีสภาวะรู้แจ้ง ความใสที่ชื่อว่าวิมุตติ เพราะมีสภาวะปล่อย ความใสที่ชื่อว่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๔๑๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] รวมกถาที่มีในวรรค
ญาณในความสิ้นไป เพราะมีสภาวะตัดขาด ความใสที่ชื่อว่าอนุปปาทญาณ เพราะ
มีสภาวะสงบ ความใสที่ชื่อว่าฉันทะ เพราะมีสภาวะเป็นมูล ความใสที่ชื่อว่า
มนสิการ เพราะมีสภาวะเป็นสมุฏฐาน ความใสที่ชื่อว่าผัสสะ เพราะมีสภาวะเป็น
ที่ประชุม ความใสที่ชื่อว่าเวทนา เพราะมีสภาวะเป็นที่รวม ความใสที่ชื่อว่าสมาธิ
เพราะมีสภาวะเป็นประธาน ความใสที่ชื่อว่าสติ เพราะมีสภาวะเป็นใหญ่ ความใส
ที่ชื่อว่าปัญญา เพราะมีสภาวะเป็นธรรมที่ยิ่งกว่าธรรมนั้น ความใสที่ชื่อว่าวิมุตติ
เพราะมีสภาวะเป็นแก่นสาร ความใสที่ชื่อว่าธรรมที่หยั่งลงสู่อมตะคือนิพพาน เพราะ
มีสภาวะเป็นที่สุด ฉะนี้แล
มัณฑเปยยกถา จบ
จตุตถภาณวาร จบ
มหาวรรคที่ ๑ จบ

รวมกถาที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. ญาณกถา ๒. ทิฏฐิกถา
๓. อานาปานัสสติกถา ๔. อินทริยกถา
๕. วิโมกขกถา ๖. คติกถา
๗. กัมมกถา ๘. วิปัลลาสกถา
๙. มัคคกถา ๑๐. มัณฑเปยยกถา

วรรคที่ ๑ นี้เป็นวรรคอันยอดเยี่ยม ไม่มีวรรคอื่นเสมอ ท่านผู้ทรงนิกาย
ตั้งไว้แล้ว ฉะนี้แล

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๔๑๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค] ๑. ยุคนัทธกถา
๒. ยุคนัทธวรรค
หมวดว่าด้วยการเจริญธรรมที่เป็นคู่
๑. ยุคนัทธกถา
ว่าด้วยการเจริญธรรมที่เป็นคู่
[๑] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง ท่านพระอานนท์อยู่ ณ โฆสิตาราม เขตกรุงโกสัมพี ณ ที่นั้น
ท่านพระอานนท์เรียกภิกษุทั้งหลายมากล่าวว่า “ผู้มีอายุทั้งหลาย” ภิกษุเหล่านั้น
รับคำแล้ว ท่านพระอานนท์จึงได้กล่าวเรื่องนี้ว่า
“ผู้มีอายุทั้งหลาย ผู้ใดก็ตามไม่ว่าจะเป็นภิกษุหรือภิกษุณี ย่อมทำให้แจ้งอรหัต
ในสำนักของเรา ด้วยมรรคครบทั้ง ๔ ประการ หรือมรรคใดมรรคหนึ่งบรรดามรรค
๔ ประการนี้
มรรค ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญวิปัสสนามีสมถะนำหน้า เมื่อเธอเจริญ
วิปัสสนามีสมถะนำหน้า มรรคย่อมเกิด เธอปฏิบัติ๑ เจริญ ทำให้
มากซึ่งมรรคนั้น เมื่อเธอปฏิบัติ เจริญ ทำให้มากซึ่งมรรคนั้น
ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัยย่อมสิ้นไป
๒. ภิกษุเจริญสมถะมีวิปัสสนานำหน้า เมื่อเธอเจริญสมถะมีวิปัสสนา
นำหน้า มรรคย่อมเกิด เธอปฏิบัติ เจริญ ทำให้มากซึ่งมรรคนั้น
เมื่อเธอปฏิบัติ เจริญ ทำให้มากซึ่งมรรคนั้น ย่อมละสังโยชน์ได้
อนุสัยย่อมสิ้นไป
๓. ภิกษุเจริญสมถะและวิปัสสนาคู่กันไป เมื่อเธอเจริญสมถะและ
วิปัสสนาคู่กันไป มรรคย่อมเกิด เธอปฏิบัติ เจริญ ทำให้มากซึ่ง

เชิงอรรถ :
๑ คำว่า “ปฏิบัติ” แปลจากคำว่า “อาเสวติ” ซึ่งมีความหมายหลายนัยแล้วแต่บริบท (ดูข้อ ๒ ถัดไป) ในที่นี้
ที่ใช้คำว่า “ปฏิบัติ” เพื่อให้เป็นคำกลางของความหมายเหล่านั้น ในกรณีอื่นจะใช้คำว่า “เสพ” ก็ได้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๔๑๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค] ๑. ยุคนัทธกถา ๑. สุตตันตนิทเทส
มรรคนั้น เมื่อเธอปฏิบัติ เจริญ ทำให้มากซึ่ง มรรคนั้น ย่อมละ
สังโยชน์ได้ อนุสัยย่อมสิ้นไป
๔. ภิกษุมีใจถูกอุทธัจจะในธรรมกั้นไว้ ในเวลาที่จิตตั้งมั่นสงบอยู่ภายใน
มีภาวะที่จิตเป็นหนึ่งผุดขึ้น ตั้งมั่นอยู่ มรรคก็เกิดแก่เธอ เธอปฏิบัติ
เจริญ ทำให้มากซึ่งมรรคนั้น เมื่อเธอปฏิบัติ เจริญ ทำให้มากซึ่ง
มรรคนั้น ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัยย่อมสิ้นไป
ผู้ใดผู้หนึ่งก็ตามไม่ว่าจะเป็นภิกษุหรือภิกษุณี ย่อมทำให้แจ้งอรหัตในสำนัก
ของเรา ด้วยมรรคครบทั้ง ๔ ประการ หรือมรรคใดมรรคหนึ่งบรรดามรรค ๔
ประการนี้”

๑. สุตตันตนิทเทส
แสดงพระสูตร
[๒] ภิกษุเจริญวิปัสสนามีสมถะนำหน้า เป็นอย่างไร
คือ ความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจแห่งเนกขัมมะ เป็น
สมาธิ ชื่อว่าวิปัสสนา เพราะมีสภาวะพิจารณาเห็นธรรมที่เกิดในสมาธินั้น โดย
ความไม่เที่ยง โดยความเป็นทุกข์ โดยความเป็นอนัตตา ด้วยประการดังนี้ สมถะ
จึงมีก่อน วิปัสสนามีภายหลัง เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “เจริญวิปัสสนา
มีสมถะนำหน้า”
คำว่า เจริญ อธิบายว่า ภาวนา (การเจริญ) มี ๔ อย่าง คือ
๑. ชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่าธรรมทั้งหลายที่เกิดในภาวนา
นั้นไม่ล่วงเลยกัน
๒. ชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่าอินทรีย์ทั้งหลายมีรสเป็นอย่าง
เดียวกัน
๓. ชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่านำความเพียรที่สมควรแก่ธรรม
นั้นเข้าไป
๔. ชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่าปฏิบัติเนือง ๆ
คำว่า มรรคย่อมเกิด อธิบายว่า มรรคย่อมเกิดอย่างไร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๔๑๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค] ๑. ยุคนัทธกถา ๑. สุตตันตนิทเทส
คือ มรรคชื่อว่าสัมมาทิฏฐิ เพราะมีสภาวะเห็น ย่อมเกิด มรรคชื่อว่าสัมมา-
สังกัปปะ เพราะมีสภาวะตรึกตรอง ย่อมเกิด มรรคชื่อว่าสัมมาวาจา เพราะมีสภาวะ
กำหนด ย่อมเกิด มรรคชื่อว่าสัมมากัมมันตะ เพราะมีสภาวะเป็นสมุฏฐาน ย่อมเกิด
มรรคชื่อว่าสัมมาอาชีวะ เพราะมีสภาวะผ่องแผ้ว ย่อมเกิด มรรคชื่อว่าสัมมา-
วายามะ เพราะมีสภาวะประคองไว้ ย่อมเกิด มรรคชื่อว่าสัมมาสติ เพราะมี
สภาวะตั้งมั่น ย่อมเกิด มรรคชื่อว่าสัมมาสมาธิ เพราะมีสภาวะไม่ฟุ้งซ่าน ย่อมเกิด
มรรคย่อมเกิดอย่างนี้
คำว่า เธอปฏิบัติ เจริญ ทำให้มากซึ่งมรรคนั้น อธิบายว่า ภิกษุปฏิบัติ
อย่างไร
คือ ภิกษุนั้นเมื่อนึกถึง ชื่อว่าปฏิบัติ เมื่อรู้ ชื่อว่าปฏิบัติ เมื่อเห็น ชื่อว่าปฏิบัติ
เมื่อพิจารณา ชื่อว่าปฏิบัติ เมื่ออธิษฐานจิต ชื่อว่าปฏิบัติ เมื่อน้อมใจเชื่อด้วยศรัทธา
ชื่อว่าปฏิบัติ เมื่อประคองความเพียรไว้ ชื่อว่าปฏิบัติ เมื่อตั้งสติไว้มั่น ชื่อว่าปฏิบัติ
เมื่อตั้งจิตไว้มั่น ชื่อว่าปฏิบัติ เมื่อรู้ชัดด้วยปัญญา ชื่อว่าปฏิบัติ เมื่อรู้ยิ่งธรรมที่
ควรรู้ยิ่ง ชื่อว่าปฏิบัติ เมื่อกำหนดรู้ธรรมที่ควรกำหนดรู้ ชื่อว่าปฏิบัติ เมื่อละ
ธรรมที่ควรละ ชื่อว่าปฏิบัติ เมื่อเจริญธรรมที่ควรเจริญ ชื่อว่าปฏิบัติ เมื่อทำให้
แจ้งธรรมที่ควรทำให้แจ้ง ชื่อว่าปฏิบัติ ภิกษุปฏิบัติอย่างนี้
คำว่า เจริญ อธิบายว่า ภิกษุเจริญอย่างไร
คือ ภิกษุนั้นเมื่อนึกถึง ชื่อว่าเจริญ เมื่อรู้ ชื่อว่าเจริญ เมื่อเห็น ชื่อว่าเจริญ
เมื่อพิจารณา ชื่อว่าเจริญ เมื่ออธิษฐานจิต ชื่อว่าเจริญ เมื่อน้อมใจเชื่อด้วยศรัทธา
ชื่อว่าเจริญ เมื่อประคองความเพียรไว้ ชื่อว่าเจริญ เมื่อตั้งสติไว้มั่น ชื่อว่าเจริญ
เมื่อตั้งจิตไว้มั่น ชื่อว่าเจริญ เมื่อรู้ชัดด้วยปัญญา ชื่อว่าเจริญ เมื่อรู้ยิ่งธรรมที่ควรรู้ยิ่ง
ชื่อว่าเจริญ เมื่อกำหนดรู้ธรรมที่ควรกำหนดรู้ ชื่อว่าเจริญ เมื่อละธรรมที่ควรละ
ชื่อว่าเจริญ เมื่อเจริญธรรมที่ควรเจริญ ชื่อว่าเจริญ เมื่อทำให้แจ้งธรรมที่ควรทำให้แจ้ง
ชื่อว่าเจริญ ภิกษุเจริญอย่างนี้


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๔๑๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค] ๑. ยุคนัทธกถา ๑. สุตตันตนิทเทส
คำว่า ทำให้มาก อธิบายว่า ภิกษุทำให้มากอย่างไร
คือ ภิกษุนั้นเมื่อนึกถึง ชื่อว่าทำให้มาก เมื่อรู้ ชื่อว่าทำให้มาก เมื่อเห็น
ชื่อว่าทำให้มาก เมื่อพิจารณา ชื่อว่าทำให้มาก เมื่ออธิษฐานจิต ชื่อว่าทำให้มาก
เมื่อน้อมใจเชื่อด้วยศรัทธา ชื่อว่าทำให้มาก เมื่อประคองความเพียรไว้ ชื่อว่าทำให้
มาก เมื่อตั้งสติไว้มั่น ชื่อว่าทำให้มาก เมื่อตั้งจิตไว้มั่น ชื่อว่าทำให้มาก เมื่อรู้ชัด
ด้วยปัญญา ชื่อว่าทำให้มาก เมื่อรู้ยิ่งธรรมที่ควรรู้ยิ่ง ชื่อว่าทำให้มาก เมื่อ
กำหนดรู้ธรรมที่ควรกำหนดรู้ ชื่อว่าทำให้มาก เมื่อละธรรมที่ควรละ ชื่อว่าทำให้มาก
เมื่อเจริญธรรมที่ควรเจริญ ชื่อว่าทำให้มาก เมื่อทำให้แจ้งธรรมที่ควรทำให้แจ้ง
ชื่อว่าทำให้มาก ภิกษุทำให้มากอย่างนี้
คำว่า เมื่อเธอปฏิบัติมรรคนั้น ฯลฯ อนุสัยย่อมสิ้นไป อธิบายว่า ภิกษุ
ย่อมละสังโยชน์ได้อย่างไร อนุสัยย่อมสิ้นไปอย่างไร
คือ ย่อมละสังโยชน์ ๓ นี้ คือ สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา และสีลัพพตปรามาส
อนุสัย ๒ นี้ คือ ทิฏฐานุสัยและวิจิกิจฉานุสัย ย่อมสิ้นไปด้วยโสดาปัตติมรรค
ย่อมละสังโยชน์ ๒ นี้ คือ กามราคสังโยชน์และปฏิฆสังโยชน์ส่วนหยาบ ๆ
อนุสัย ๒ นี้ คือ กามราคานุสัยและปฏิฆานุสัยส่วนหยาบ ๆ ย่อมสิ้นไปด้วย
สกทาคามิมรรค
ย่อมละสังโยชน์ ๒ นี้ คือ กามราคสังโยชน์และปฏิฆสังโยชน์ ส่วนละเอียด ๆ
อนุสัย ๒ นี้ คือ กามราคานุสัยและปฏิฆานุสัย ส่วนละเอียด ๆ ย่อมสิ้นไปด้วย
อนาคามิมรรค
ย่อมละสังโยชน์ ๕ นี้ คือ รูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะ และอวิชชา
อนุสัย ๓ นี้ คือ มานานุสัย ภวราคานุสัย และอวิชชานุสัย ย่อมสิ้นไปด้วยอรหัตต-
มรรค ภิกษุย่อมละสังโยชน์ได้อย่างนี้ อนุสัยย่อมสิ้นไปอย่างนี้
[๓] ความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจแห่งอพยาบาท
เป็นสมาธิ ฯลฯ ความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจแห่งอาโลก-
สัญญา เป็นสมาธิ ฯลฯ ความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจแห่ง


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๔๑๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค] ๑. ยุคนัทธกถา ๑. สุตตันตนิทเทส
ความเป็นผู้พิจารณาเห็นความสละคืนหายใจเข้า ด้วยอำนาจแห่งความเป็นผู้พิจารณา
เห็นความสละคืนหายใจออก เป็นสมาธิ ฯลฯ ชื่อว่าวิปัสสนา เพราะมีความหมาย
ว่าพิจารณาเห็นธรรมที่เกิดในสมาธินั้น โดยความไม่เที่ยง โดยความเป็นทุกข์ โดย
ความเป็นอนัตตา ด้วยประการดังนี้ สมถะจึงมีก่อน วิปัสสนามีภายหลัง เพราะ
เหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “เจริญวิปัสสนามีสมถะนำหน้า”
คำว่า เจริญ อธิบายว่า ภาวนา (การเจริญ) มี ๔ อย่าง คือ
๑. ชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่าธรรมทั้งหลายที่เกิดในภาวนา
นั้นไม่ล่วงเลยกัน
๒. ชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่าอินทรีย์ทั้งหลายมีรสเป็นอย่าง
เดียวกัน
๓. ชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่านำความเพียรที่สมควรแก่ธรรม
นั้นเข้าไป
๔. ชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่าปฏิบัติเนือง ๆ
คำว่า มรรคย่อมเกิด อธิบายว่า มรรคย่อมเกิดอย่างไร
คือ มรรคชื่อว่าสัมมาทิฏฐิ เพราะมีสภาวะเห็น ย่อมเกิด มรรคชื่อว่าสัมมา-
สังกัปปะ เพราะมีสภาวะตรึกตรอง ฯลฯ มรรคชื่อว่าสัมมาสมาธิ เพราะมีสภาวะ
ไม่ฟุ้งซ่าน ย่อมเกิด มรรคย่อมเกิดอย่างนี้
คำว่า เธอปฏิบัติ เจริญ ทำให้มากซึ่งมรรคนั้น อธิบายว่า ภิกษุปฏิบัติ
อย่างไร
คือ ภิกษุนั้นเมื่อนึกถึง ชื่อว่าปฏิบัติ เมื่อรู้ ชื่อว่าปฏิบัติ ฯลฯ เมื่อทำให้
แจ้งธรรมที่ควรทำให้แจ้ง ชื่อว่าปฏิบัติ ภิกษุปฏิบัติอย่างนี้
คำว่า เจริญ อธิบายว่า ภิกษุเจริญอย่างไร
คือ ภิกษุนั้นเมื่อนึกถึง ชื่อว่าเจริญ เมื่อรู้ ชื่อว่าเจริญ ฯลฯ เมื่อทำให้
แจ้งธรรมที่ควรทำให้แจ้ง ชื่อว่าเจริญ ภิกษุเจริญอย่างนี้
คำว่า ทำให้มาก อธิบายว่า ภิกษุทำให้มากอย่างไร
คือ ภิกษุนั้นเมื่อนึกถึง ชื่อว่าทำให้มาก เมื่อรู้ ชื่อว่าทำให้มาก ฯลฯ เมื่อ
ทำให้แจ้งธรรมที่ควรทำให้แจ้ง ชื่อว่าทำให้มาก ภิกษุทำให้มากอย่างนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๔๑๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค] ๑. ยุคนัทธกถา ๑. สุตตันตนิทเทส
คำว่า เมื่อเธอปฏิบัติมรรคนั้น ฯลฯ อนุสัยย่อมสิ้นไป อธิบายว่า ภิกษุ
ย่อมละสังโยชน์ได้อย่างไร อนุสัยย่อมสิ้นไปอย่างไร
คือ ย่อมละสังโยชน์ ๓ นี้ คือ สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา และสีลัพพตปรามาส
อนุสัย ๒ นี้ คือ ทิฏฐานุสัยและวิจิกิจฉานุสัย ย่อมสิ้นไปด้วยโสดาปัตติมรรค
ย่อมละสังโยชน์ ๒ นี้ คือ กามราคสังโยชน์ และปฏิฆสังโยชน์ ส่วนหยาบ ๆ
อนุสัย ๒ นี้ คือ กามราคานุสัยและปฏิฆานุสัยส่วนหยาบ ๆ ย่อมสิ้นไปด้วย
สกทาคามิมรรค
ย่อมละสังโยชน์ ๒ นี้ คือ กามราคสังโยชน์และปฏิฆสังโยชน์ ส่วนละเอียด ๆ
อนุสัย ๒ นี้ คือ กามราคานุสัยและปฏิฆานุสัยส่วนละเอียด ๆ ย่อมสิ้นไปด้วย
อนาคามิมรรค
ย่อมละสังโยชน์ ๕ นี้ คือ รูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะ และอวิชชา
อนุสัย ๓ นี้ คือ มานานุสัย ภวราคานุสัย และอวิชชานุสัย ย่อมสิ้นไปด้วยอรหัตต-
มรรค ภิกษุย่อมละสังโยชน์ได้อย่างนี้ อนุสัยย่อมสิ้นไปอย่างนี้ ภิกษุชื่อว่าย่อม
เจริญวิปัสสนา มีสมถะนำหน้าอย่างนี้
[๔] ภิกษุนั้นเจริญสมถะมีวิปัสสนานำหน้า เป็นอย่างไร
คือ ชื่อว่าวิปัสสนา เพราะมีสภาวะพิจารณาเห็นโดยความไม่เที่ยง ชื่อว่า
วิปัสสนา เพราะมีสภาวะพิจารณาเห็นโดยความเป็นทุกข์ ชื่อว่าวิปัสสนา เพราะมี
สภาวะพิจารณาเห็นโดยความเป็นอนัตตา สภาวะที่จิตปล่อยธรรมทั้งหลายที่เกิดใน
วิปัสสนานั้นเป็นอารมณ์ และสภาวะที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ไม่ฟุ้งซ่าน เป็นสมาธิ
วิปัสสนาจึงมีก่อน สมถะมีภายหลัง ด้วยประการดังนี้ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า
“เจริญสมถะมีวิปัสสนานำหน้า”
คำว่า เจริญ อธิบายว่า ภาวนา (การเจริญ) มี ๔ อย่าง คือ ฯลฯ ชื่อว่า
ภาวนา เพราะมีความหมายว่าปฏิบัติเนือง ๆ
คำว่า มรรคย่อมเกิด อธิบายว่า มรรคย่อมเกิดอย่างไร ฯลฯ มรรคย่อม
เกิดอย่างนี้ ภิกษุย่อมละสังโยชน์ได้อย่างนี้ อนุสัยย่อมสิ้นไปอย่างนี้


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๔๑๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค] ๑. ยุคนัทธกถา ๑. สุตตันตนิทเทส
ชื่อว่าวิปัสสนา เพราะมีสภาวะพิจารณาเห็นรูปโดยความไม่เที่ยง ชื่อว่า
วิปัสสนา เพราะมีสภาวะพิจารณาเห็นรูปโดยความเป็นทุกข์ ชื่อว่าวิปัสสนา เพราะ
มีสภาวะพิจารณาเห็นรูปโดยความเป็นอนัตตา สภาวะที่จิตปล่อยธรรมทั้งหลายที่
เกิดในภาวนานั้นเป็นอารมณ์ และสภาวะที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ไม่ฟุ้งซ่าน เป็น
สมาธิ วิปัสสนาจึงมีก่อน สมถะมีภายหลัง ด้วยประการดังนี้ เพราะเหตุนั้น
ท่านจึงกล่าวว่า “เจริญสมถะมีวิปัสสนานำหน้า”
คำว่า เจริญ อธิบายว่า ภาวนา (การเจริญ) มี ๔ อย่าง คือ ฯลฯ ชื่อ
ว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่าปฏิบัติเนือง ๆ
คำว่า มรรคย่อมเกิด อธิบายว่า ฯลฯ มรรคย่อมเกิดอย่างนี้ ภิกษุย่อมละ
สังโยชน์ได้อย่างนี้ อนุสัยย่อมสิ้นไปอย่างนี้
ชื่อว่าวิปัสสนา เพราะมีสภาวะพิจารณาเห็นเวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ สังขาร
ฯลฯ วิญญาณ ฯลฯ จักขุ ฯลฯ ชื่อว่าวิปัสสนา เพราะมีสภาวะพิจารณาเห็นชรา
และมรณะโดยความไม่เที่ยง ชื่อว่าวิปัสสนา เพราะมีสภาวะพิจารณาเห็นชราและ
มรณะโดยความเป็นทุกข์ ชื่อว่าวิปัสสนา เพราะมีสภาวะพิจารณาเห็นชราและมรณะ
โดยความเป็นอนัตตา สภาวะที่จิตปล่อยธรรมทั้งหลายที่เกิดในภาวนานั้นเป็น
อารมณ์ และสภาวะที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ ไม่ฟุ้งซ่าน เป็นสมาธิ วิปัสสนาจึงมีก่อน
สมถะมีภายหลัง ด้วยประการดังนี้ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “เจริญสมถะมี
วิปัสสนานำหน้า”
คำว่า เจริญ อธิบายว่า ภาวนา (การเจริญ) มี ๔ อย่าง ฯลฯ ชื่อว่าภาวนา
เพราะมีความหมายว่าปฏิบัติเนือง ๆ
คำว่า มรรคย่อมเกิด อธิบายว่า มรรคย่อมเกิดอย่างไร ฯลฯ มรรคย่อม
เกิดอย่างนี้ ภิกษุย่อมละสังโยชน์ได้อย่างนี้ อนุสัยย่อมสิ้นไปอย่างนี้ ภิกษุเจริญ
สมถะมีวิปัสสนานำหน้าอย่างนี้
[๕] ภิกษุเจริญสมถะและวิปัสสนาคู่กันไป เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุเจริญสมถะและวิปัสสนาคู่กันไป ด้วยอาการ ๑๖ อย่าง๑ ได้แก่

เชิงอรรถ :
๑ อาการ ๑๖ อย่าง หมายเอาสภาวะที่เป็นคู่กันด้วย (ขุ.ป.อ. ๒/๕/๒๒๐)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๔๑๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค] ๑. ยุคนัทธกถา ๑. สุตตันตนิทเทส

๑. ด้วยมีสภาวะเป็นอารมณ์ ๒. ด้วยมีสภาวะเป็นโคจร
๓. ด้วยมีสภาวะละ ๔. ด้วยมีสภาวะสละ
๕. ด้วยมีสภาวะออก ๖. ด้วยมีสภาวะหลีกออก
๗. ด้วยมีสภาวะเป็นธรรมละเอียด ๘. ด้วยมีสภาวะเป็นธรรมประณีต
๙. ด้วยมีสภาวะหลุดพ้น ๑๐. ด้วยมีสภาวะไม่มีอาสวะ
๑๑. ด้วยมีสภาวะเป็นเครื่องข้าม ๑๒. ด้วยมีสภาวะไม่มีนิมิต
๑๓. ด้วยมีสภาวะไม่มีปณิหิตะ ๑๔. ด้วยมีสภาวะเป็นสุญญตะ
๑๕. ด้วยมีสภาวะมีรสเป็นอย่างเดียวกัน ๑๖. ด้วยมีสภาวะเป็นคู่กันไม่ล่วง
เลยกัน

ภิกษุเจริญสมถะและวิปัสสนาคู่กันไปด้วยมีสภาวะเป็นอารมณ์ เป็นอย่างไร
คือ เมื่อภิกษุละอุทธัจจะ จึงมีสมาธิคือความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ ไม่ฟุ้ง
ซ่าน มีนิโรธเป็นอารมณ์ เมื่อภิกษุนั้นละอวิชชา จึงมีวิปัสสนา เพราะมีสภาวะ
พิจารณาเห็น มีนิโรธเป็นอารมณ์ ด้วยประการดังนี้ สมถะและวิปัสสนาจึงมีรส
เป็นอย่างเดียวกัน เป็นคู่กัน ไม่ล่วงเลยกันด้วยมีสภาวะเป็นอารมณ์ ดังนี้ เพราะ
เหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “ภิกษุเจริญสมถะและวิปัสสนาคู่กันไปด้วยมีสภาวะเป็น
อารมณ์”
คำว่า เจริญ อธิบายว่า ภาวนา (การเจริญ) มี ๔ อย่าง คือ ฯลฯ ชื่อว่าภาวนา
เพราะมีความหมายว่าปฏิบัติเนือง ๆ
คำว่า มรรคย่อมเกิด อธิบายว่า มรรคย่อมเกิดอย่างไร ฯลฯ มรรคย่อม
เกิดอย่างนี้ ภิกษุย่อมละสังโยชน์ได้อย่างนี้ อนุสัยย่อมสิ้นไปอย่างนี้ ภิกษุเจริญ
สมถะและวิปัสสนาคู่กันไปด้วยมีสภาวะเป็นอารมณ์อย่างนี้
ภิกษุเจริญสมถะและวิปัสสนาคู่กันไปด้วยมีสภาวะเป็นโคจร เป็นอย่างไร
คือ เมื่อภิกษุละอุทธัจจะ จึงมีสมาธิคือความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ ไม่ฟุ้ง
ซ่าน มีนิโรธเป็นโคจร เมื่อภิกษุละอวิชชา จึงมีวิปัสสนาเพราะมีสภาวะพิจารณาเห็น
มีนิโรธเป็นโคจร ด้วยประการดังนี้ สมถะและวิปัสสนาจึงมีรสเป็นอย่างเดียวกัน เป็นคู่กัน
ไม่ล่วงเลยกันด้วยมีสภาวะเป็นโคจร ดังนี้ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “เจริญ
สมถะและวิปัสสนาคู่กันไปด้วยมีสภาวะเป็นโคจร”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๔๒๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค] ๑. ยุคนัทธกถา ๑. สุตตันตนิทเทส
ภิกษุเจริญสมถะและวิปัสสนาคู่กันไปด้วยมีสภาวะละ เป็นอย่างไร
คือ เมื่อภิกษุละกิเลสที่ประกอบด้วยอุทธัจจะและขันธ์ จึงมีสมาธิคือความ
ที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ไม่ฟุ้งซ่าน มีนิโรธเป็นโคจร เมื่อภิกษุละกิเลสที่ประกอบด้วย
อวิชชาและขันธ์ จึงมีวิปัสสนาเพราะมีสภาวะพิจารณาเห็น มีนิโรธเป็นโคจร ด้วย
ประการดังนี้ สมถะและวิปัสสนาจึงมีรสเป็นอย่างเดียวกัน เป็นคู่กัน ไม่ล่วงเลย
กันด้วยมีสภาวะละ ดังนี้ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “เจริญสมถะและวิปัสสนา
คู่กันไปด้วยมีสภาวะละ”
ภิกษุเจริญสมถะและวิปัสสนาคู่กันไปด้วยมีสภาวะสละ เป็นอย่างไร
คือ เมื่อภิกษุสละกิเลสที่ประกอบด้วยอุทธัจจะและขันธ์ จึงมีสมาธิคือความ
ที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ ไม่ฟุ้งซ่าน มีนิโรธเป็นโคจร เมื่อภิกษุสละกิเลสที่ประกอบ
ด้วยอวิชชาและขันธ์ จึงมีวิปัสสนาเพราะมีสภาวะพิจารณาเห็น มีนิโรธเป็นโคจร
ด้วยประการดังนี้ สมถะและวิปัสสนาจึงมีรสเป็นอย่างเดียวกัน เป็นคู่กัน ไม่ล่วง
เลยกันด้วยมีสภาวะสละ ดังนี้ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “เจริญสมถะและ
วิปัสสนาคู่กันไปด้วยมีสภาวะสละ”
ภิกษุเจริญสมถะและวิปัสสนาคู่กันไปด้วยมีสภาวะออก เป็นอย่างไร
คือ เมื่อภิกษุออกจากกิเลสที่ประกอบด้วยอุทธัจจะและจากขันธ์ จึงมีสมาธิ
คือความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ ไม่ฟุ้งซ่าน มีนิโรธเป็นโคจร เมื่อภิกษุออกจาก
กิเลสที่ประกอบด้วยอวิชชาและจากขันธ์ จึงมีวิปัสสนา เพราะมีสภาวะพิจารณาเห็น
มีนิโรธเป็นโคจร ด้วยประการดังนี้ สมถะและวิปัสสนาจึงมีรสเป็นอย่างเดียวกัน
เป็นคู่กัน ไม่ล่วงเลยกันด้วยมีสภาวะออก ดังนี้ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า
“เจริญสมถะและวิปัสสนาคู่กันไปด้วยมีสภาวะออก”
ภิกษุเจริญสมถะและวิปัสสนาคู่กันไปด้วยมีสภาวะหลีกออก เป็นอย่างไร
คือ เมื่อภิกษุหลีกออกจากกิเลสที่ประกอบด้วยอุทธัจจะและจากขันธ์ จึงมี
สมาธิคือความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ไม่ฟุ้งซ่าน มีนิโรธเป็นโคจร เมื่อภิกษุหลีก
ออกจากกิเลสที่ประกอบด้วยอวิชชาและจากขันธ์ จึงมีวิปัสสนา เพราะมีสภาวะ
พิจารณาเห็น มีนิโรธเป็นโคจร ด้วยประการดังนี้ สมถะและวิปัสสนาจึงมีรสเป็น


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๔๒๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค] ๑. ยุคนัทธกถา ๑. สุตตันตนิทเทส
อย่างเดียวกัน เป็นคู่กัน ไม่ล่วงเลยกันด้วยมีสภาวะหลีกออก ดังนี้ เพราะเหตุนั้น
ท่านจึงกล่าวว่า “เจริญสมถะและวิปัสสนาคู่กันไปด้วยมีสภาวะหลีกออก”
ภิกษุเจริญสมถะและวิปัสสนาคู่กันไปด้วยมีสภาวะเป็นธรรมละเอียด เป็น
อย่างไร
คือ เมื่อภิกษุละอุทธัจจะ จึงมีสมาธิคือความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ ไม่
ฟุ้งซ่าน เป็นธรรมละเอียด มีนิโรธเป็นโคจร เมื่อภิกษุละอวิชชา จึงมีวิปัสสนา
เพราะมีสภาวะพิจารณาเห็น เป็นธรรมละเอียด มีนิโรธเป็นโคจร ด้วยประการดังนี้
สมถะและวิปัสสนาจึงมีรสเป็นอย่างเดียวกัน เป็นคู่กัน ไม่ล่วงเลยกันด้วยมีสภาวะ
เป็นธรรมละเอียด ดังนี้ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “เจริญสมถะและวิปัสสนา
คู่กันไปด้วยมีสภาวะเป็นธรรมละเอียด”
ภิกษุเจริญสมถะและวิปัสสนาคู่กันไปด้วยมีสภาวะเป็นธรรมประณีต เป็น
อย่างไร
คือ เมื่อภิกษุละอุทธัจจะ จึงมีสมาธิคือความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ ไม่ฟุ้ง
ซ่าน เป็นธรรมประณีต มีนิโรธเป็นโคจร เมื่อภิกษุละอวิชชา จึงมีวิปัสสนา
เพราะมีสภาวะพิจารณาเห็น เป็นธรรมประณีต มีนิโรธเป็นโคจร ด้วยประการดังนี้
สมถะและวิปัสสนาจึงมีรสเป็นอย่างเดียวกัน เป็นคู่กัน ไม่ล่วงเลยกันด้วยมีสภาวะ
เป็นธรรมประณีต ดังนี้ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “เจริญสมถะและวิปัสสนา
คู่กันไปด้วยมีสภาวะเป็นธรรมประณีต”
ภิกษุเจริญสมถะและวิปัสสนาคู่กันไปด้วยมีสภาวะหลุดพ้น เป็นอย่างไร
คือ เมื่อภิกษุละอุทธัจจะ จึงมีสมาธิคือความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ ไม่ฟุ้ง
ซ่าน หลุดพ้นจากกามาสวะ มีนิโรธเป็นโคจร เมื่อภิกษุละอวิชชา จึงมีวิปัสสนา
เพราะมีสภาวะพิจารณาเห็น หลุดพ้นจากอวิชชาสวะ มีนิโรธเป็นโคจร ด้วยประการดังนี้
ชื่อว่าเจโตวิมุตติ เพราะมีสภาวะปราศจากราคะ ชื่อว่าปัญญาวิมุตติ เพราะมีสภาวะ
ปราศจากอวิชชา ด้วยประการดังนี้ สมถะและวิปัสสนาจึงมีรสเป็นอย่างเดียวกัน
เป็นคู่กัน ไม่ล่วงเลยกันด้วยมีสภาวะหลุดพ้น ดังนี้ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า
“เจริญสมถะและวิปัสสนาคู่กันไปด้วยมีสภาวะหลุดพ้น”


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๔๒๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค] ๑. ยุคนัทธกถา ๑. สุตตันตนิทเทส
ภิกษุเจริญสมถะและวิปัสสนาคู่กันไปด้วยมีสภาวะไม่มีอาสวะ เป็นอย่างไร
คือ เมื่อภิกษุละอุทธัจจะ จึงมีสมาธิคือความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ ไม่ฟุ้ง
ซ่าน ไม่มีอาสวะด้วยกามาสวะ มีนิโรธเป็นโคจร เมื่อภิกษุละอวิชชา จึงมีวิปัสสนา
เพราะมีสภาวะพิจารณาเห็น ไม่มีอาสวะด้วยอวิชชาสวะ มีนิโรธเป็นโคจร ด้วย
ประการดังนี้ สมถะและวิปัสสนาจึงมีรสเป็นอย่างเดียวกัน เป็นคู่กัน ไม่ล่วงเลยกัน
ด้วยมีสภาวะไม่มีอาสวะ ดังนี้ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “เจริญสมถะและ
วิปัสสนาคู่กันไปด้วยมีสภาวะไม่มีอาสวะ”
ภิกษุเจริญสมถะและวิปัสสนาคู่กันไปด้วยมีสภาวะเป็นเครื่องข้าม เป็นอย่างไร
คือ เมื่อภิกษุข้ามจากกิเลสที่ประกอบด้วยอุทธัจจะและจากขันธ์ จึงมีสมาธิ
คือความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ ไม่ฟุ้งซ่าน มีนิโรธเป็นโคจร เมื่อภิกษุข้ามจาก
กิเลสที่ประกอบด้วยอวิชชาและจากขันธ์ จึงมีวิปัสสนาเพราะมีสภาวะพิจารณาเห็น
มีนิโรธเป็นโคจร ด้วยประการดังนี้ สมถะและวิปัสสนาจึงมีรสเป็นอย่างเดียวกัน เป็น
คู่กัน ไม่ล่วงเลยกันด้วยมีสภาวะเป็นเครื่องข้าม ดังนี้ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า
“เจริญสมถะและวิปัสสนาคู่กันไปด้วยมีสภาวะเป็นเครื่องข้าม”
ภิกษุเจริญสมถะและวิปัสสนาคู่กันไปด้วยมีสภาวะไม่มีนิมิต เป็นอย่างไร
คือ เมื่อภิกษุละอุทธัจจะ จึงมีสมาธิคือความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ ไม่ฟุ้ง
ซ่าน ไม่มีนิมิตด้วยนิมิตทั้งปวง มีนิโรธเป็นโคจร เมื่อภิกษุละอวิชชา จึงมีวิปัสสนา
เพราะมีสภาวะพิจารณาเห็น ไม่มีนิมิตด้วยนิมิตทั้งปวง มีนิโรธเป็นโคจร ด้วย
ประการดังนี้ สมถะและวิปัสสนาจึงมีรสเป็นอย่างเดียวกัน เป็นคู่กัน ไม่ล่วงเลย
กันด้วยมีสภาวะไม่มีนิมิต ดังนี้ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “เจริญสมถะและ
วิปัสสนาคู่กันไปด้วยมีสภาวะไม่มีนิมิต”
ภิกษุเจริญสมถะและวิปัสสนาคู่กันไปด้วยมีสภาวะไม่มีปณิหิตะ เป็นอย่างไร
คือ เมื่อภิกษุละอุทธัจจะ จึงมีสมาธิคือความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ ไม่ฟุ้ง
ซ่าน ไม่มีปณิธิด้วยปณิธิทั้งปวง มีนิโรธเป็นโคจร เมื่อภิกษุละอวิชชา จึงมีวิปัสสนา
เพราะมีสภาวะพิจารณาเห็น ไม่มีปณิธิด้วยปณิธิทั้งปวง มีนิโรธเป็นโคจร ด้วย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๔๒๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค] ๑. ยุคนัทธกถา ๑. สุตตันตนิทเทส
ประการดังนี้ สมถะและวิปัสสนาจึงมีรสเป็นอย่างเดียวกัน เป็นคู่กัน ไม่ล่วงเลยกัน
ด้วยมีสภาวะไม่มีปณิหิตะ ดังนี้ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “เจริญสมถะและ
วิปัสสนาคู่กันไปด้วยมีสภาวะไม่มีปณิหิตะ”
ภิกษุเจริญสมถะและวิปัสสนาคู่กันไปด้วยมีสภาวะเป็นสุญญตะ เป็นอย่างไร
คือ เมื่อภิกษุละอุทธัจจะ จึงมีสมาธิคือความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ ไม่ฟุ้ง
ซ่าน ว่างจากอภินิเวสทั้งปวง มีนิโรธเป็นโคจร เมื่อภิกษุละอวิชชา จึงมีวิปัสสนา
เพราะมีสภาวะพิจารณาเห็น ว่างจากอภินิเวสทั้งปวง มีนิโรธเป็นโคจร ด้วยประการดังนี้
สมถะและวิปัสสนาจึงมีรสเป็นอย่างเดียวกัน เป็นคู่กัน ไม่ล่วงเลยกันด้วยมีสภาวะ
เป็นสุญญตะ ดังนี้ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “เจริญสมถะและวิปัสสนาคู่กันไป
ด้วยมีสภาวะเป็นสุญญตะ”
คำว่า เจริญ อธิบายว่า ภาวนา (การเจริญ) มี ๔ อย่าง คือ
๑. ชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่าธรรมทั้งหลายที่เกิดในภาวนา
นั้นไม่ล่วงเลยกัน
๒. ชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่าอินทรีย์ทั้งหลายมีรสเป็นอย่าง
เดียวกัน
๓. ชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่านำความเพียรที่สมควรแก่ธรรม
นั้นเข้าไป
๔. ชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่าปฏิบัติเนือง ๆ
คำว่า มรรคย่อมเกิด อธิบายว่า มรรคย่อมเกิดอย่างไร ฯลฯ มรรคย่อม
เกิดอย่างนี้ ฯลฯ ภิกษุย่อมละสังโยชน์ได้อย่างนี้ อนุสัยย่อมสิ้นไปอย่างนี้ ภิกษุเจริญ
สมถะและวิปัสสนาคู่กันไป ด้วยมีสภาวะเป็นสุญญตะอย่างนี้ ภิกษุเจริญสมถะและ
วิปัสสนาคู่กันไป ด้วยอาการ ๑๖ อย่างนี้ ภิกษุเจริญสมถะและวิปัสสนาคู่กันไป
อย่างนี้

สุตตันตนิทเทส จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๔๒๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค] ๑. ยุคนัทธกถา ๒. ธัมมุทธัจจวารนิทเทส
๒. ธัมมุทธัจจวารนิทเทส
แสดงอุทธัจจะในธรรมกั้นไว้
[๖] (ภิกษุ) มีใจถูกอุทธัจจะในธรรมกั้นไว้ เป็นอย่างไร
คือ เมื่อภิกษุมนสิการโดยความไม่เที่ยง โอภาสย่อมเกิดขึ้น ภิกษุนึกถึงโอภาส
ว่า “โอภาสเป็นธรรม” เพราะนึกถึงโอภาสนั้น ความฟุ้งซ่านเป็นอุทธัจจะ ภิกษุมี
ใจถูกอุทธัจจะนั้นกั้นไว้ ย่อมไม่รู้ชัดความปรากฏโดยความไม่เที่ยงตามความเป็นจริง
ไม่รู้ชัดความปรากฏโดยความเป็นทุกข์ตามความเป็นจริง ไม่รู้ชัดความปรากฏโดย
ความเป็นอนัตตาตามความเป็นจริง เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า มีใจถูกอุทธัจจะ
ในธรรมกั้นไว้ ในเวลาที่จิตตั้งมั่นสงบอยู่ภายใน มีภาวะที่จิตเป็นหนึ่งผุดขึ้น ตั้งมั่นอยู่
มรรคก็เกิดแก่เธอ มรรคย่อมเกิดอย่างไร ฯลฯ มรรคย่อมเกิดอย่างนี้ ภิกษุย่อม
ละสังโยชน์ได้อย่างนี้ อนุสัยย่อมสิ้นไปอย่างนี้
เมื่อมนสิการโดยความไม่เที่ยง ญาณ (ความรู้) ย่อมเกิดขึ้น ปีติ (ความอิ่มใจ)
ย่อมเกิดขึ้น ปัสสัทธิ (ความสงบกายสงบใจ) ย่อมเกิดขึ้น สุข (ความสุข) ย่อมเกิดขึ้น
อธิโมกข์ (ความน้อมใจเชื่อ) ย่อมเกิดขึ้น ปัคคหะ (ความเพียรที่พอดี) ย่อมเกิดขึ้น
อุปัฏฐาน (สติแก่กล้า) ย่อมเกิดขึ้น อุเบกขา (ความมีใจเป็นกลาง) ย่อมเกิดขึ้น
นิกันติ (ความติดใจ) ย่อมเกิดขึ้น ภิกษุนึกถึงนิกันติว่า “นิกันติเป็นธรรม” เพราะนึกถึง
นิกันตินั้น ความฟุ้งซ่านเป็นอุทธัจจะ ภิกษุมีใจถูกอุทธัจจะนั้นกั้นไว้อย่างนี้ ย่อม
ไม่รู้ชัดความปรากฏโดยความไม่เที่ยงตามความเป็นจริง ไม่รู้ชัดความปรากฏโดย
ความเป็นทุกข์ตามความเป็นจริง ไม่รู้ชัดความปรากฏโดยความเป็นอนัตตา
ตามความเป็นจริง เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า มีใจถูกอุทธัจจะในธรรมกั้นไว้
ในเวลาที่จิตตั้งมั่นสงบอยู่ภายใน มีภาวะที่จิตเป็นหนึ่งผุดขึ้น ตั้งมั่นอยู่ มรรคก็
เกิดแก่เธอ มรรคย่อมเกิดอย่างไร ฯลฯ มรรคย่อมเกิดอย่างนี้ ภิกษุย่อมละ
สังโยชน์ได้อย่างนี้ อนุสัยย่อมสิ้นไปอย่างนี้
เมื่อมนสิการโดยความเป็นทุกข์ ฯลฯ เมื่อมนสิการโดยความเป็นอนัตตา
โอภาสย่อมเกิดขึ้น ฯลฯ ญาณย่อมเกิดขึ้น ปีติย่อมเกิดขึ้น ปัสสัทธิย่อมเกิดขึ้น
สุขย่อมเกิดขึ้น อธิโมกข์ย่อมเกิดขึ้น ปัคคหะย่อมเกิดขึ้น อุปัฏฐานย่อมเกิดขึ้น


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๔๒๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค] ๒. สัจจกถา
อุเบกขาย่อมเกิดขึ้น นิกันติย่อมเกิดขึ้น ภิกษุนึกถึงนิกันติว่า “นิกันติเป็นธรรม”
เพราะนึกถึงนิกันตินั้น ความฟุ้งซ่านเป็นอุทธัจจะ ภิกษุมีใจถูกอุทธัจจะนั้นกั้นไว้
ย่อมไม่รู้ชัดความปรากฏโดยความเป็นอนัตตาตามความเป็นจริง ไม่รู้ชัดความ
ปรากฏโดยความไม่เที่ยงตามความเป็นจริง ไม่รู้ชัดความปรากฏโดยความเป็นทุกข์
ตามความเป็นจริง เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า มีใจถูกอุทธัจจะในธรรมกั้นไว้ ฯลฯ
ภิกษุย่อมละสังโยชน์ได้อย่างนี้ อนุสัยย่อมสิ้นไปอย่างนี้
เมื่อมนสิการรูปโดยความไม่เที่ยง ฯลฯ เมื่อมนสิการรูปโดยความเป็นทุกข์
ฯลฯ เมื่อมนสิการรูปโดยความเป็นอนัตตา เมื่อมนสิการเวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ
สังขาร ฯลฯ วิญญาณ ฯลฯ จักขุ ฯลฯ เมื่อมนสิการชราและมรณะโดยความไม่เที่ยง
ฯลฯ เมื่อมนสิการชราและมรณะโดยความเป็นทุกข์ ฯลฯ เมื่อมนสิการชราและ
มรณะโดยความเป็นอนัตตา โอภาสย่อมเกิดขึ้น ญาณย่อมเกิดขึ้น ปีติย่อมเกิดขึ้น
ปัสสัทธิย่อมเกิดขึ้น สุขย่อมเกิดขึ้น อธิโมกข์ย่อมเกิดขึ้น ปัคคหะย่อมเกิดขึ้น
อุปัฏฐานย่อมเกิดขึ้น อุเบกขาย่อมเกิดขึ้น นิกันติย่อมเกิดขึ้น ภิกษุนึกถึงนิกันติว่า
“นิกันติเป็นธรรม” เพราะนึกถึงนิกันตินั้น ความฟุ้งซ่านเป็นอุทธัจจะ ภิกษุมีใจถูก
อุทธัจจะนั้นกั้นไว้ ย่อมไม่รู้ชัดชราและมรณะซึ่งปรากฏโดยความเป็นอนัตตาตาม
ความเป็นจริง ไม่รู้ชัดชราและมรณะซึ่งปรากฏโดยความไม่เที่ยงตามความเป็นจริง
ไม่รู้ชัดชราและมรณะซึ่งปรากฏโดยความเป็นทุกข์ตามความเป็นจริง เพราะเหตุนั้น
ท่านจึงกล่าวว่า มีใจถูกอุทธัจจะในธรรมกั้นไว้ ในเวลาที่จิตตั้งมั่นสงบอยู่ภายใน
มีภาวะที่จิตเป็นหนึ่งผุดขึ้น ตั้งมั่นอยู่ โดยความไม่เที่ยง มรรคก็เกิดแก่เธอ มรรค
ย่อมเกิดอย่างไร ฯลฯ มรรคย่อมเกิดอย่างนี้ ฯลฯ ภิกษุละสังโยชน์ได้อย่างนี้
อนุสัยย่อมสิ้นไปอย่างนี้ ภิกษุมีใจถูกอุทธัจจะในธรรมกั้นไว้อย่างนี้
[๗] จิตย่อมกวัดแกว่ง หวั่นไหว
เพราะโอภาส เพราะญาณ เพราะปีติ
เพราะปัสสัทธิ เพราะสุข
เพราะอธิโมกข์ เพราะปัคคหะ
เพราะอุปัฏฐาน เพราะอุเบกขา
เพราะน้อมนึกถึงอุเบกขาและนิกันติ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๔๒๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค] ๒. สัจจกถา
ภิกษุนั้นกำหนดฐานะ ๑๐ ประการนี้
ด้วยปัญญาแล้ว ย่อมเป็นผู้ฉลาด
ในอุทธัจจะในธรรม
และย่อมไม่ถึงความหลงใหล
จิตกวัดแกว่ง เศร้าหมอง
จิตภาวนาย่อมเคลื่อน
จิตกวัดแกว่ง ไม่เศร้าหมอง
จิตภาวนาย่อมเสื่อมไป
จิตบริสุทธิ์ ไม่เศร้าหมอง
จิตภาวนาย่อมไม่เสื่อมไป
จิตไม่ฟุ้งซ่าน ไม่เศร้าหมอง
จิตภาวนาย่อมไม่เคลื่อน
ด้วยฐานะ ๔ ประการนี้ ภิกษุย่อมรู้ชัดความที่จิตกวัดแกว่ง ฟุ้งซ่าน ถูก
โอภาสเป็นต้นกั้นไว้ ด้วยฐานะ ๑๐ ประการนี้ ฉะนี้แล
(ธัมมุทธัจจวารนิทเทส จบ)
ยุคนัทธกถา จบ

๒. สัจจกถา
ว่าด้วยสัจจะ
[๘] เหตุเกิดขึ้นเหมือนในสูตรข้างต้น๑ ภิกษุทั้งหลาย สัจจะ ๔ ประการนี้
เป็นของแท้ ไม่ผิด ไม่เป็นอย่างอื่น
สัจจะ ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ

เชิงอรรถ :
๑ สูตรข้างต้น ในที่นี้หมายถึงยุคนัทธกถา ข้อที่ ๑ หน้า ๔๑๓ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๔๒๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค] ๒. สัจจกถา ๑. ปฐมสุตตันตนิทเทส
๑. สัจจะว่า นี้ทุกข์ เป็นของแท้ ไม่ผิด ไม่เป็นอย่างอื่น
๒. สัจจะว่า นี้ทุกขสมุทัย เป็นของแท้ ไม่ผิด ไม่เป็นอย่างอื่น
๓. สัจจะว่า นี้ทุกขนิโรธ เป็นของแท้ ไม่ผิด ไม่เป็นอย่างอื่น
๔. สัจจะว่า นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา เป็นของแท้ ไม่ผิด ไม่เป็นอย่างอื่น
ภิกษุทั้งหลาย สัจจะ ๔ ประการนี้แล เป็นของแท้ ไม่ผิด ไม่เป็นอย่างอื่น

๑. ปฐมสุตตันตนิทเทส
แสดงสูตรที่ ๑
ทุกข์ ชื่อว่าสัจจะ เพราะมีสภาวะเป็นของแท้ เป็นอย่างไร
คือ สภาวะที่ทนได้ยากแห่งทุกข์ ๔ ประการ เป็นของแท้ ไม่ผิด ไม่เป็นอย่างอื่น
ได้แก่
๑. สภาวะที่บีบคั้นแห่งทุกข์ ๒. สภาวะที่ปัจจัยปรุงแต่งแห่งทุกข์
๓. สภาวะที่ทำให้เดือดร้อนแห่งทุกข์ ๔. สภาวะที่แปรผันแห่งทุกข์
สภาวะที่ทนได้ยากแห่งทุกข์ ๔ ประการนี้เป็นของแท้ ไม่ผิด ไม่เป็นอย่างอื่น
ทุกข์ ชื่อว่าสัจจะ เพราะมีสภาวะเป็นของแท้อย่างนี้
สมุทัย ชื่อว่าสัจจะ เพราะมีสภาวะเป็นของแท้ เป็นอย่างไร
คือ สภาวะที่เป็นเหตุเกิดแห่งสมุทัย ๔ ประการ เป็นของแท้ ไม่ผิด
ไม่เป็นอย่างอื่น ได้แก่
๑. สภาวะที่ประมวลมาแห่งสมุทัย ๒. สภาวะที่เป็นเหตุเกิดแห่งสมุทัย
๓. สภาวะที่เกี่ยวข้องแห่งสมุทัย ๔. สภาวะที่พัวพันแห่งสมุทัย
สภาวะที่เป็นเหตุเกิดแห่งสมุทัย ๔ ประการนี้เป็นของแท้ ไม่ผิด ไม่เป็น
อย่างอื่น สมุทัย ชื่อว่าสัจจะ เพราะมีสภาวะเป็นของแท้อย่างนี้
นิโรธ ชื่อว่าสัจจะ เพราะมีสภาวะเป็นของแท้ เป็นอย่างไร
คือ สภาวะที่เป็นความดับแห่งนิโรธ ๔ ประการ เป็นของแท้ ไม่ผิด
ไม่เป็นอย่างอื่น ได้แก่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๔๒๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค] ๒. สัจจกถา ๑. ปฐมสุตตันตนิทเทส
๑. สภาวะที่เป็นเครื่องสลัดออกแห่งนิโรธ ๒. สภาวะที่เป็นวิเวกแห่งนิโรธ
๓. สภาวะที่เป็นอสังขตะแห่งนิโรธ ๔. สภาวะที่เป็นอมตะแห่งนิโรธ
สภาวะที่เป็นความดับแห่งนิโรธ ๔ ประการนี้เป็นของแท้ ไม่ผิด ไม่เป็น
อย่างอื่น นิโรธ ชื่อว่าสัจจะ เพราะมีสภาวะเป็นของแท้อย่างนี้
มรรค ชื่อว่าสัจจะ เพราะมีสภาวะเป็นของแท้ เป็นอย่างไร
คือ สภาวะที่เป็นทางแห่งมรรค ๔ ประการ เป็นของแท้ ไม่ผิด ไม่เป็นอย่างอื่น
ได้แก่
๑. สภาวะที่นำออกแห่งมรรค ๒. สภาวะที่เป็นเหตุแห่งมรรค
๓. สภาวะที่เห็นแห่งมรรค ๔. สภาวะที่เป็นใหญ่แห่งมรรค
สภาวะที่เป็นทางแห่งมรรค ๔ ประการนี้เป็นของแท้ ไม่ผิด ไม่เป็นอย่างอื่น
มรรค ชื่อว่าสัจจะ เพราะมีสภาวะเป็นของแท้อย่างนี้
[๙] สัจจะ ๔ มีการรู้แจ้งด้วยญาณเดียว พร้อมด้วยอาการเท่าไร
คือ สัจจะ ๔ มีการรู้แจ้งด้วยญาณเดียว พร้อมด้วยอาการ ๔ อย่าง ได้แก่
๑. ด้วยสภาวะเป็นของแท้ ๒. ด้วยสภาวะเป็นอนัตตา
๓. ด้วยสภาวะเป็นของจริง ๔. ด้วยสภาวะรู้แจ้ง
สัจจะ ๔ ท่านสงเคราะห์เข้ากับอาการ ๔ อย่างนี้ สัจจะใดท่านสงเคราะห์
เข้าด้วยกัน สัจจะนั้นเป็นสภาวะเดียว พระโยคาวจรย่อมรู้แจ้งสัจจะที่เป็นสภาวะเดียว
ด้วยญาณเดียว เพราะเหตุนั้น สัจจะ ๔ จึงมีการรู้แจ้งด้วยญาณเดียว
สัจจะ ๔ มีการรู้แจ้งด้วยญาณเดียว พร้อมด้วยสภาวะเป็นของแท้ เป็นอย่างไร
คือ สัจจะ ๔ มีการรู้แจ้งด้วยญาณเดียว พร้อมด้วยสภาวะเป็นของแท้
ด้วยอาการ ๔ อย่าง ได้แก่
๑. สภาวะที่ทนได้ยากแห่งทุกข์ มีสภาวะเป็นของแท้
๒. สภาวะที่เป็นเหตุเกิดแห่งสมุทัย มีสภาวะเป็นของแท้
๓. สภาวะที่เป็นความดับแห่งนิโรธ มีสภาวะเป็นของแท้
๔. สภาวะที่เป็นทางแห่งมรรค มีสภาวะเป็นของแท้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๔๒๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค] ๒. สัจจกถา ๑. ปฐมสุตตันตนิทเทส
สัจจะ ๔ ท่านสงเคราะห์เข้ากับสภาวะเป็นของแท้ ด้วยอาการ ๔ อย่างนี้
สัจจะใดท่านสงเคราะห์เข้าด้วยกัน สัจจะนั้นเป็นสภาวะเดียว พระโยคาวจรย่อม
รู้แจ้งสัจจะที่เป็นสภาวะเดียว ด้วยญาณเดียว เพราะเหตุนั้น สัจจะ ๔ จึงมีการ
รู้แจ้งด้วยญาณเดียว
สัจจะ ๔ มีการรู้แจ้งด้วยญาณเดียว พร้อมด้วยสภาวะเป็นอนัตตา เป็น
อย่างไร
คือ สัจจะ ๔ มีการรู้แจ้งด้วยญาณเดียว พร้อมด้วยสภาวะเป็นอนัตตา
ด้วยอาการ ๔ อย่าง ได้แก่
๑. สภาวะที่ทนได้ยากแห่งทุกข์ มีสภาวะเป็นอนัตตา
๒. สภาวะที่เป็นเหตุเกิดแห่งสมุทัย มีสภาวะเป็นอนัตตา
๓. สภาวะที่เป็นความดับแห่งนิโรธ มีสภาวะเป็นอนัตตา
๔. สภาวะที่เป็นทางแห่งมรรค มีสภาวะเป็นอนัตตา
สัจจะ ๔ ท่านสงเคราะห์เข้ากับสภาวะเป็นอนัตตา ด้วยอาการ ๔ อย่างนี้
สัจจะใดท่านสงเคราะห์เข้าด้วยกัน สัจจะนั้นเป็นสภาวะเดียว พระโยคาวจรย่อม
รู้แจ้งสัจจะที่เป็นสภาวะเดียว ด้วยญาณเดียว เพราะเหตุนั้น สัจจะ ๔ จึงมีการ
รู้แจ้งด้วยญาณเดียว
สัจจะ ๔ มีการรู้แจ้งด้วยญาณเดียว พร้อมด้วยสภาวะเป็นของจริง เป็น
อย่างไร
คือ สัจจะ ๔ มีการรู้แจ้งด้วยญาณเดียว พร้อมด้วยสภาวะเป็นของจริง
ด้วยอาการ ๔ อย่าง ได้แก่
๑. สภาวะที่ทนได้ยากแห่งทุกข์ มีสภาวะเป็นของจริง
๒. สภาวะที่เป็นเหตุเกิดแห่งสมุทัย มีสภาวะเป็นของจริง
๓. สภาวะที่เป็นความดับแห่งนิโรธ มีสภาวะเป็นของจริง
๔. สภาวะที่เป็นทางแห่งมรรค มีสภาวะเป็นของจริง
สัจจะ ๔ ท่านสงเคราะห์เข้ากับสภาวะเป็นของจริง ด้วยอาการ ๔ อย่างนี้
สัจจะใดท่านสงเคราะห์เข้าด้วยกัน สัจจะนั้นเป็นสภาวะเดียว พระโยคาวจรย่อมรู้
แจ้งสัจจะที่เป็นสภาวะเดียว ด้วยญาณเดียว เพราะเหตุนั้น สัจจะ ๔ จึงมีการ
รู้แจ้งด้วยญาณเดียว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๔๓๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค] ๒. สัจจกถา ๑. ปฐมสุตตันตนิทเทส
สัจจะ ๔ มีการรู้แจ้งด้วยญาณเดียว พร้อมด้วยสภาวะรู้แจ้ง เป็นอย่างไร
คือ สัจจะ ๔ มีการรู้แจ้งด้วยญาณเดียว พร้อมด้วยสภาวะรู้แจ้ง ด้วยอาการ
๔ อย่าง ได้แก่
๑. สภาวะที่ทนได้ยากแห่งทุกข์ มีสภาวะรู้แจ้ง
๒. สภาวะที่เป็นเหตุเกิดแห่งสมุทัย มีสภาวะรู้แจ้ง
๓. สภาวะที่เป็นความดับแห่งนิโรธ มีสภาวะรู้แจ้ง
๔. สภาวะที่เป็นทางแห่งมรรค มีสภาวะรู้แจ้ง
สัจจะ ๔ ท่านสงเคราะห์เข้ากับสภาวะรู้แจ้ง ด้วยอาการ ๔ อย่างนี้
สัจจะใดท่านสงเคราะห์เข้าด้วยกัน สัจจะนั้นเป็นสภาวะเดียว พระโยคาวจรย่อม
รู้แจ้งสัจจะที่เป็นสภาวะเดียว ด้วยญาณเดียว เพราะเหตุนั้น สัจจะ ๔ จึงมีการ
รู้แจ้งด้วยญาณเดียว
[๑๐] สัจจะ ๔ มีการรู้แจ้งด้วยญาณเดียว เป็นอย่างไร คือ
สัจจะใดไม่เที่ยง สัจจะนั้นเป็นทุกข์ สัจจะใดเป็นทุกข์ สัจจะนั้นไม่เที่ยง
สัจจะใดไม่เที่ยงและเป็นทุกข์ สัจจะนั้นเป็นอนัตตา
สัจจะใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และเป็นอนัตตา สัจจะนั้นเป็นของแท้
สัจจะใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา และเป็นของแท้ สัจจะนั้นเป็นของจริง
สัจจะใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา เป็นของแท้ และเป็นของจริง
สัจจะนั้นท่านสงเคราะห์เข้าด้วยกัน สัจจะใดท่านสงเคราะห์เข้าด้วยกัน สัจจะนั้น
เป็นสภาวะเดียว พระโยคาวจรย่อมรู้แจ้งสัจจะหนึ่งด้วยญาณเดียว เพราะเหตุนั้น
สัจจะ ๔ จึงมีการรู้แจ้งด้วยญาณเดียว
สัจจะ ๔ มีการรู้แจ้งด้วยญาณเดียว พร้อมด้วยอาการเท่าไร
คือ สัจจะ ๔ มีการรู้แจ้งด้วยญาณเดียว พร้อมด้วยอาการ ๙ อย่าง ได้แก่
๑. ด้วยสภาวะเป็นของแท้ ๒. ด้วยสภาวะเป็นอนัตตา
๓. ด้วยสภาวะเป็นของจริง ๔. ด้วยสภาวะรู้แจ้ง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๔๓๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค] ๒. สัจจกถา ๑. ปฐมสุตตันตนิทเทส
๕. ด้วยสภาวะเป็นธรรมที่ควรรู้ยิ่ง
๖. ด้วยสภาวะเป็นธรรมที่ควรกำหนดรู้
๗. ด้วยสภาวะเป็นธรรมที่ควรละ
๘. ด้วยสภาวะเป็นธรรมที่ควรเจริญ
๙. ด้วยสภาวะเป็นธรรมที่ควรทำให้แจ้ง
สัจจะ ๔ ท่านสงเคราะห์เข้ากับอาการ ๙ อย่างนี้ สัจจะใดท่าน
สงเคราะห์เข้าด้วยกัน สัจจะนั้นเป็นสภาวะเดียว พระโยคาวจรย่อมรู้แจ้งสัจจะที่
เป็นสภาวะเดียวด้วยญาณเดียว เพราะเหตุนั้น สัจจะ ๔ จึงมีการรู้แจ้งด้วยญาณเดียว
สัจจะ ๔ มีการรู้แจ้งด้วยญาณเดียว พร้อมด้วยสภาวะเป็นของแท้ เป็น
อย่างไร
คือ สัจจะ ๔ มีการรู้แจ้งด้วยญาณเดียว พร้อมด้วยสภาวะเป็นของแท้
ด้วยอาการ ๙ อย่างนี้ ได้แก่
๑. สภาวะที่ทนได้ยากแห่งทุกข์ มีสภาวะเป็นของแท้
๒. สภาวะที่เป็นเหตุเกิดแห่งสมุทัย มีสภาวะเป็นของแท้
๓. สภาวะที่เป็นความดับแห่งนิโรธ มีสภาวะเป็นของแท้
๔. สภาวะที่เป็นทางแห่งมรรค มีสภาวะเป็นของแท้
๕. สภาวะที่ควรรู้ยิ่งแห่งอภิญญา มีสภาวะเป็นของแท้
๖. สภาวะที่ควรกำหนดรู้แห่งปริญญา มีสภาวะเป็นของแท้
๗. สภาวะที่ควรละแห่งปหานะ มีสภาวะเป็นของแท้
๘. สภาวะที่ควรเจริญแห่งภาวนา มีสภาวะเป็นของแท้
๙. สภาวะที่ควรทำให้แจ้งแห่งสัจฉิกิริยา มีสภาวะเป็นของแท้
สัจจะ ๔ ท่านสงเคราะห์เข้ากับสภาวะเป็นของแท้ ด้วยอาการ ๙ อย่างนี้
สัจจะใดท่านสงเคราะห์เข้าด้วยกัน สัจจะนั้นเป็นสภาวะเดียว พระโยคาวจรย่อมรู้
แจ้งสัจจะที่เป็นสภาวะเดียว ด้วยญาณเดียว เพราะเหตุนั้น สัจจะ ๔ จึงมีการรู้
แจ้งด้วยญาณเดียว
สัจจะ ๔ มีการรู้แจ้งด้วยญาณเดียว พร้อมด้วยสภาวะเป็นอนัตตา ...
พร้อมด้วยสภาวะเป็นของจริง ... สัจจะ ๔ มีการรู้แจังด้วยญาณเดียวพร้อม
ด้วยสภาวะรู้แจ้ง เป็นอย่างไร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๔๓๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค] ๒. สัจจกถา ๑. ปฐมสุตตันตนิทเทส
คือ สัจจะ ๔ มีการรู้แจ้งด้วยญาณเดียว พร้อมด้วยสภาวะรู้แจ้ง ด้วย
อาการ ๙ อย่าง ได้แก่
๑. สภาวะที่ทนได้ยากแห่งทุกข์ มีสภาวะรู้แจ้ง
๒. สภาวะที่เป็นเหตุเกิดแห่งสมุทัย มีสภาวะรู้แจ้ง
๓. สภาวะที่เป็นความดับแห่งนิโรธ มีสภาวะรู้แจ้ง
๔. สภาวะที่เป็นทางแห่งมรรค มีสภาวะรู้แจ้ง
๕. สภาวะที่ควรรู้ยิ่งแห่งอภิญญา มีสภาวะรู้แจ้ง
๖. สภาวะที่ควรกำหนดรู้แห่งปริญญา มีสภาวะรู้แจ้ง
๗. สภาวะที่ควรละแห่งปหานะ มีสภาวะรู้แจ้ง
๘. สภาวะที่ควรเจริญแห่งภาวนา มีสภาวะรู้แจ้ง
๙. สภาวะที่ควรทำให้แจ้งแห่งสัจฉิกิริยา มีสภาวะรู้แจ้ง
สัจจะ ๔ ท่านสงเคราะห์เข้ากับสภาวะรู้แจ้ง ด้วยอาการ ๙ อย่างนี้
สัจจะใดท่านสงเคราะห์เข้าด้วยกัน สัจจะนั้นเป็นสภาวะเดียว พระโยคาวจรย่อม
รู้แจ้งสัจจะที่เป็นสภาวะเดียว ด้วยญาณเดียว เพราะเหตุนั้น สัจจะ ๔ จึงมีการ
รู้แจ้งด้วยญาณเดียว
[๑๑] สัจจะ ๔ มีการรู้แจ้งด้วยญาณเดียว พร้อมด้วยอาการเท่าไร
คือ สัจจะ ๔ มีการรู้แจ้งด้วยญาณเดียวพร้อมด้วยอาการ ๑๒ อย่าง ได้แก่


๑. ด้วยสภาวะเป็นของแท้ ๒. ด้วยสภาวะเป็นอนัตตา
๓. ด้วยสภาวะเป็นของจริง ๔. ด้วยสภาวะรู้แจ้ง
๕. ด้วยสภาวะเป็นเครื่องรู้ยิ่ง ๖. ด้วยสภาวะเป็นเครื่องกำหนดรู้
๗. ด้วยสภาวะเป็นธรรม ๘. ด้วยสภาวะเป็นเหมือนอย่างนั้น
๙. ด้วยสภาวะเป็นธรรมที่รู้แล้ว ๑๐. ด้วยสภาวะเป็นธรรมที่ควร
ทำให้แจ้ง
๑๑. ด้วยสภาวะถูกต้อง ๑๒. ด้วยสภาวะตรัสรู้

สัจจะ ๔ ท่านสงเคราะห์เข้ากับอาการ ๑๒ อย่างนี้ สัจจะใดท่านสงเคราะห์
เข้าด้วยกัน สัจจะนั้นเป็นสภาวะเดียว พระโยคาวจรย่อมรู้แจ้งสัจจะที่เป็นสภาวะ
เดียวด้วยญาณเดียว เพราะเหตุนั้น สัจจะ ๔ จึงมีการรู้แจ้งด้วยญาณเดียว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๔๓๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค] ๒. สัจจกถา ๑. ปฐมสุตตันตนิทเทส
สัจจะ ๔ มีการรู้แจ้งด้วยญาณเดียว พร้อมด้วยสภาวะเป็นของแท้
เป็นอย่างไร
คือ สัจจะ ๔ มีการรู้แจ้งด้วยญาณเดียว พร้อมด้วยสภาวะเป็นของแท้
ด้วยอาการ ๑๖ อย่าง ได้แก่
๑. สภาวะที่บีบคั้นแห่งทุกข์ มีสภาวะเป็นของแท้
๒. สภาวะที่ถูกปัจจัยปรุงแต่งแห่งทุกข์ มีสภาวะเป็นของแท้
๓. สภาวะที่ทำให้เดือดร้อนแห่งทุกข์ มีสภาวะเป็นของแท้
๔. สภาวะที่แปรผันแห่งทุกข์ มีสภาวะเป็นของแท้
๕. สภาวะที่ประมวลมาแห่งสมุทัย มีสภาวะเป็นของแท้
๖. สภาวะที่เป็นเหตุเกิดแห่งสมุทัย มีสภาวะเป็นของแท้
๗. สภาวะที่เกี่ยวข้องแห่งสมุทัย มีสภาวะเป็นของแท้
๘. สภาวะที่พัวพันแห่งสมุทัย มีสภาวะเป็นของแท้
๙. สภาวะที่เป็นเครื่องสลัดออกแห่งนิโรธ มีสภาวะเป็นของแท้
๑๐. สภาวะที่เป็นวิเวกแห่งนิโรธ มีสภาวะเป็นของแท้
๑๑. สภาวะที่เป็นอสังขตะแห่งนิโรธ มีสภาวะเป็นของแท้
๑๒. สภาวะที่เป็นอมตะแห่งนิโรธ มีสภาวะเป็นของแท้
๑๓. สภาวะที่นำออกแห่งมรรค มีสภาวะเป็นของแท้
๑๔. สภาวะที่เป็นเหตุแห่งมรรค มีสภาวะเป็นของแท้
๑๕. สภาวะที่เห็นแห่งมรรค มีสภาวะเป็นของแท้
๑๖. สภาวะที่เป็นใหญ่แห่งมรรค มีสภาวะเป็นของแท้
สัจจะ ๔ ท่านสงเคราะห์เข้ากับสภาวะเป็นของแท้ ด้วยอาการ ๑๖ อย่างนี้
สัจจะใดท่านสงเคราะห์เข้าด้วยกัน สัจจะนั้นเป็นสภาวะเดียว พระโยคาวจร ย่อมรู้
แจ้งสัจจะที่เป็นสภาวะเดียว ด้วยญาณเดียว เพราะเหตุนั้น สัจจะ ๔ จึงมีการรู้
แจ้งด้วยญาณเดียว
สัจจะ ๔ มีการรู้แจ้งด้วยญาณเดียว พร้อมด้วยสภาวะเป็นอนัตตา ฯลฯ
พร้อมด้วยสภาวะเป็นของจริง พร้อมด้วยสภาวะรู้แจ้ง พร้อมด้วยสภาวะเป็น
เครื่องรู้ยิ่ง พร้อมด้วยสภาวะเป็นเครื่องกำหนดรู้ พร้อมด้วยสภาวะเป็นธรรม
พร้อมด้วยสภาวะเป็นของแท้ พร้อมด้วยสภาวะเป็นธรรมที่รู้แล้ว พร้อมด้วย
สภาวะเป็นธรรมที่ควรทำให้แจ้ง พร้อมด้วยสภาวะถูกต้อง ด้วยมีสภาวะตรัสรู้
เป็นอย่างไร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๔๓๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค] ๒. สัจจกถา ๑. ปฐมสุตตันตนิทเทส
คือ สัจจะ ๔ มีการรู้แจ้งด้วยญาณเดียว พร้อมด้วยสภาวะตรัสรู้ ด้วย
อาการ ๑๖ อย่าง ได้แก่
๑. สภาวะที่บีบคั้นแห่งทุกข์ มีสภาวะตรัสรู้
๒. สภาวะที่ปัจจัยปรุงแต่งแห่งทุกข์ มีสภาวะตรัสรู้
๓. สภาวะที่ทำให้เดือดร้อนแห่งทุกข์ มีสภาวะตรัสรู้
๔. สภาวะที่แปรผันแห่งทุกข์ มีสภาวะตรัสรู้
๕. สภาวะที่ประมวลมาแห่งสมุทัย มีสภาวะตรัสรู้
๖. สภาวะที่เป็นเหตุเกิดแห่งสมุทัย มีสภาวะตรัสรู้
๗. สภาวะที่เกี่ยวข้องแห่งสมุทัย มีสภาวะตรัสรู้
๘. สภาวะที่พัวพันแห่งสมุทัย มีสภาวะตรัสรู้
๙. สภาวะที่เป็นเครื่องสลัดออกแห่งนิโรธ มีสภาวะตรัสรู้
๑๐. สภาวะที่เป็นวิเวกแห่งนิโรธ มีสภาวะตรัสรู้
๑๑. สภาวะที่เป็นอสังขตะแห่งนิโรธ มีสภาวะตรัสรู้
๑๒. สภาวะที่เป็นอมตะแห่งนิโรธ มีสภาวะตรัสรู้
๑๓. สภาวะที่นำออกแห่งมรรค มีสภาวะตรัสรู้
๑๔. สภาวะที่เป็นเหตุแห่งมรรค มีสภาวะตรัสรู้
๑๕. สภาวะที่เห็นแห่งมรรค มีสภาวะตรัสรู้
๑๖. สภาวะที่เป็นใหญ่แห่งมรรค มีสภาวะตรัสรู้
สัจจะ ๔ ท่านสงเคราะห์เข้ากับสภาวะตรัสรู้ ด้วยอาการ ๑๖ อย่างนี้
สัจจะใดท่านสงเคราะห์เข้าด้วยกัน สัจจะนั้นเป็นสภาวะเดียว พระโยคาวจร ย่อมรู้
แจ้งสัจจะที่เป็นสภาวะเดียว ด้วยญาณเดียว เพราะเหตุนั้น สัจจะ ๔ จึงมีการรู้
แจ้งด้วยญาณเดียว
[๑๒] สัจจะมีลักษณะเท่าไร สัจจะมีลักษณะ ๒ คือ
๑. สังขตลักษณะ (ลักษณะแห่งธรรมที่มีปัจจัยปรุงแต่ง)
๒. อสังขตลักษณะ (ลักษณะแห่งธรรมที่ปัจจัยไม่ปรุงแต่ง)
สัจจะมีลักษณะ ๒ อย่างนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๔๓๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค] ๒. สัจจกถา ๑. ปฐมสุตตันตนิทเทส
สัจจะมีลักษณะเท่าไร สัจจะมีลักษณะ ๖ คือ
๑. สัจจะที่ปัจจัยปรุงแต่ง มีความเกิดปรากฏ
๒. สัจจะที่ปัจจัยปรุงแต่ง มีความเสื่อมปรากฏ
๓. สัจจะที่ปัจจัยปรุงแต่ง เมื่อยังตั้งอยู่ ความแปรเปลี่ยนปรากฏ
๔. สัจจะที่ปัจจัยไม่ปรุงแต่ง ความเกิดไม่ปรากฏ
๕. สัจจะที่ปัจจัยไม่ปรุงแต่ง ความเสื่อมไม่ปรากฏ
๖. สัจจะที่ปัจจัยไม่ปรุงแต่ง เมื่อยังตั้งอยู่ ความแปรเปลี่ยนไม่ปรากฏ
สัจจะมีลักษณะ ๖ อย่างนี้
สัจจะมีลักษณะเท่าไร สัจจะมีลักษณะ ๑๒ คือ
๑. ทุกขสัจ มีความเกิดปรากฏ
๒. ทุกขสัจ มีความเสื่อมปรากฏ
๓. ทุกขสัจ เมื่อยังตั้งอยู่ ความแปรเปลี่ยนปรากฏ
๔. สมุทยสัจ มีความเกิดปรากฏ
๕. สมุทยสัจ มีความเสื่อมปรากฏ
๖. สมุทยสัจ เมื่อยังตั้งอยู่ ความแปรเปลี่ยนปรากฏ
๗. มัคคสัจ มีความเกิดปรากฏ
๘. มัคคสัจ มีความเสื่อมปรากฏ
๙. มัคคสัจ เมื่อยังตั้งอยู่ ความแปรเปลี่ยนปรากฏ
๑๐. นิโรธสัจ ความเกิดไม่ปรากฏ
๑๑. นิโรธสัจ ความเสื่อมไม่ปรากฏ
๑๒. นิโรธสัจ เมื่อยังตั้งอยู่ ความแปรเปลี่ยนไม่ปรากฏ
สัจจะมีลักษณะ ๑๒ อย่างนี้
สัจจะ ๔ เป็นกุศลเท่าไร เป็นอกุศลเท่าไร เป็นอัพยากฤตเท่าไร
คือ สมุทยสัจเป็นอกุศล มัคคสัจเป็นกุศล นิโรธสัจเป็นอัพยากฤต ทุกขสัจ
เป็นกุศลก็มี เป็นอกุศลก็มี เป็นอัพยากฤตก็มี สัจจะ ๓ นี้ ท่านสงเคราะห์เข้ากับ
สัจจะ ๑ สัจจะ ๑ ท่านสงเคราะห์เข้ากับสัจจะ ๓ ด้วยอำนาจวัตถุ๑(และ) ด้วยปริยาย

เชิงอรรถ :
๑ วัตถุ ในที่นี้หมายถึงกุศล อกุศล อัพยากฤต ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค (ขุ.ป.อ. ๒/๑๒/๒๓๒))

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๔๓๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค] ๒. สัจจกถา ๒. ทุติยสุตตันตบาลี
คำว่า พึงมี อธิบายว่า พึงมีได้อย่างไร
คือ ทุกขสัจเป็นอกุศล สมุทยสัจเป็นอกุศล สัจจะ ๒ นี้ท่านสงเคราะห์เข้า
กับสัจจะ ๑ สัจจะ ๑ ท่านสงเคราะห์เข้ากับสัจจะ ๒ ด้วยความเป็นอกุศล พึงมีได้
อย่างนี้
ทุกขสัจเป็นกุศล มัคคสัจเป็นกุศล สัจจะ ๒ ท่านสงเคราะห์เข้ากับสัจจะ ๑
สัจจะ ๑ ท่านสงเคราะห์เข้ากับสัจจะ ๒ ด้วยความเป็นกุศล พึงมีได้อย่างนี้
ทุกขสัจเป็นอัพยากฤต นิโรธสัจเป็นอัพยากฤต สัจจะ ๒ ท่านสงเคราะห์เข้ากับ
สัจจะ ๑ สัจจะ ๑ ท่านสงเคราะห์เข้ากับสัจจะ ๒ ด้วยความเป็นอัพยากฤต
พึงมีได้อย่างนี้
สัจจะ ๓ ท่านสงเคราะห์เข้ากับสัจจะ ๑ สัจจะ ๑ ท่านสงเคราะห์เข้ากับสัจจะ
๓ ด้วยอำนาจวัตถุ (และ) ด้วยปริยาย พึงมีได้อย่างนี้
ปฐมสุตตันตนิทเทส จบ

๒. ทุติยสุตตันตบาลี
พระบาลีแห่งสูตรที่ ๒
[๑๓] ภิกษุทั้งหลาย ก่อนตรัสรู้ เมื่อเราเป็นโพธิสัตว์ยังมิได้ตรัสรู้ ได้มีความ
คิดดังนี้ว่า “อะไรหนอแลเป็นคุณ๑แห่งรูป อะไรเป็นโทษ๒แห่งรูป อะไรเป็นเครื่องสลัด
ออกจากรูป อะไรเป็นคุณแห่งเวทนา อะไรเป็นโทษแห่งเวทนา อะไรเป็นเครื่องสลัด
ออกจากเวทนา อะไรเป็นคุณแห่งสัญญา อะไรเป็นโทษแห่งสัญญา อะไรเป็นเครื่อง
สลัดออกจากสัญญา อะไรเป็นคุณแห่งสังขาร อะไรเป็นโทษแห่งสังขาร อะไรเป็น
เครื่องสลัดออกจากสังขาร อะไรเป็นคุณแห่งวิญญาณ อะไรเป็นโทษแห่งวิญญาณ
อะไรเป็นเครื่องสลัดออกจากวิญญาณ” เรานั้นได้มีความคิดอย่างนี้อีกว่า “สุขโสมนัส
ที่อาศัยรูปเกิดขึ้น นี้เป็นคุณแห่งรูป รูปไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผัน
เป็นธรรมดา นี้เป็นโทษแห่งรูป ธรรมเป็นที่กำจัดฉันทราคะ ธรรมเป็นที่ละฉันทราคะ๓

เชิงอรรถ :
๑-๒ ดูเชิงอรรถข้อ ๘/๑๕ ในสุตมยญาณนิทเทสในเล่มนี้
๓ ธรรมเป็นที่กำจัดฉันทราคะ ธรรมเป็นที่ละฉันทราคะ ในที่นี้หมายถึงนิพพาน (องฺ.ติก.อ. ๒/๑๐๔/๒๕๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๔๓๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค] ๒. สัจจกถา ๒. ทุติยสุตตันตนิทเทส
ในรูป นี้เป็นเครื่องสลัดออกจากรูป สุขโสมนัสที่อาศัยเวทนา ฯลฯ ที่อาศัยสัญญา
ฯลฯ ที่อาศัยสังขาร ฯลฯ สุขโสมนัสที่อาศัยวิญญาณเกิดขึ้น นี้เป็นคุณแห่งวิญญาณ
วิญญาณไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา นี้เป็นโทษแห่งวิญญาณ
ธรรมเป็นที่กำจัดฉันทราคะ ธรรมเป็นที่ละฉันทราคะในวิญญาณ นี้เป็นเครื่องสลัด
ออกจากวิญญาณ
เรายังไม่รู้ทั่วถึงคุณโดยความเป็นคุณ โทษโดยความเป็นโทษ และเครื่องสลัด
ออกจากอุปาทานขันธ์ ๕ โดยความเป็นเครื่องสลัดออกนี้ ตามความเป็นจริง
เพียงใด เราก็ยังไม่ยืนยันว่าเป็นผู้ตรัสรู้สัมมาสัมโพธิญาณอันยอดเยี่ยม ในโลก
พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณพราหมณ์
เทวดาและมนุษย์ เพียงนั้น แต่เมื่อใด เราได้รู้ทั่วถึงคุณโดยความเป็นคุณ โทษ
โดยความเป็นโทษ และเครื่องสลัดออกจากอุปาทานขันธ์ ๕ โดยความเป็นเครื่อง
สลัดออกนี้ ตามความเป็นจริง เมื่อนั้น เราจึงจะยินยันว่าเป็นผู้ตรัสรู้สัมมาสัมโพธิ--
ญาณอันยอดเยี่ยม ในโลก พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์
พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ อนึ่ง ญาณทัสสนะ๑เกิดขึ้นแล้วแก่เราว่า
“เจโตวิมุตติของเราไม่กำเริบ ชาตินี้เป็นชาติสุดท้าย บัดนี้ภพใหม่ไม่มีอีก”
ทุติยสุตตันตบาลี จบ

๒. ทุติยสุตตันตนิทเทส
แสดงสูตรที่ ๒
[๑๔] การรู้แจ้งด้วยการละสุขโสมนัสที่อาศัยรูปเกิดขึ้นว่า “นี้เป็นคุณแห่งรูป”
เป็นสมุทยสัจ การรู้แจ้งด้วยการกำหนดรู้รูปที่ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผัน
เป็นธรรมดาว่า “นี้เป็นโทษแห่งรูป” เป็นทุกขสัจ การรู้แจ้งด้วยการทำให้แจ้ง
ธรรมเป็นที่กำจัดฉันทราคะ ธรรมเป็นที่ละฉันทราคะในรูปว่า “นี้เป็นเครื่องสลัด
ออกจากรูป” เป็นนิโรธสัจ การรู้แจ้งด้วยการเจริญทิฏฐิ สังกัปปะ วาจา กัมมันตะ
อาชีวะ วายามะ สติ สมาธิ ในฐานะทั้ง ๓ นี้เป็นมัคคสัจ

เชิงอรรถ :
๑ ญาณทัสสนะ หมายถึงปัจจเวกขณญาณ ญาณหยั่งรู้ด้วยการพิจารณาทบทวน คือสำรวจรู้มรรค ผล กิเลส
ที่ละแล้ว กิเลสที่เหลืออยู่ และนิพพาน (เว้นพระอรหันต์) ไม่มีการพิจารณากิเลสที่ยังเหลืออยู่ (องฺ.ติก.อ.
๒/๑๐๔/๑๒๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๔๓๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค] ๒. สัจจกถา ๒. ทุติยสุตตันตนิทเทส
การรู้แจ้งด้วยการละสุขโสมนัสที่อาศัยเวทนา ฯลฯ ที่อาศัยสัญญา ฯลฯ
ที่อาศัยสังขาร ฯลฯ การรู้แจ้งด้วยการละสุขโสมนัสที่อาศัยวิญญาณเกิดขึ้นว่า “นี้
เป็นคุณแห่งวิญญาณ” เป็นสมุทยสัจ การรู้แจ้งด้วยการกำหนดรู้วิญญาณที่ไม่เที่ยง
เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดาว่า “นี้เป็นโทษแห่งวิญญาณ” เป็นทุกขสัจ
การรู้แจ้งด้วยการทำให้แจ้งธรรมเป็นที่กำจัดฉันทราคะ ธรรมเป็นที่ละฉันทราคะ
ในวิญญาณว่า “นี้เป็นเครื่องสลัดออกจากวิญญาณ” เป็นนิโรธสัจ การรู้แจ้งด้วย
การเจริญทิฏฐิ สังกัปปะ วาจา กัมมันตะ อาชีวะ วายามะ สติ สมาธิ ในฐานะ
ทั้ง ๓ นี้เป็นมัคคสัจ
[๑๕] คำว่า สัจจะ อธิบายว่า ชื่อว่าสัจจะด้วยอาการเท่าไร
คือ ชื่อว่าสัจจะด้วยอาการ ๓ อย่าง ได้แก่
๑. ด้วยมีสภาวะแสวงหา ๒. ด้วยมีสภาวะกำหนด
๓. ด้วยมีสภาวะรู้แจ้ง
ชื่อว่าสัจจะด้วยมีสภาวะแสวงหา เป็นอย่างไร
คือ ชื่อว่าสัจจะด้วยมีสภาวะแสวงหาอย่างนี้ว่า “ชราและมรณะมีอะไรเป็นเหตุ
มีอะไรเป็นเหตุเกิด มีอะไรเป็นกำเนิด มีอะไรเป็นแดนเกิด” ชื่อว่าสัจจะด้วยมี
สภาวะกำหนดอย่างนี้ว่า “ชราและมรณะมีชาติเป็นเหตุ มีชาติเป็นเหตุเกิด มีชาติ
เป็นกำเนิด มีชาติเป็นแดนเกิด” ชื่อว่าสัจจะด้วยมีสภาวะรู้แจ้งอย่างนี้ว่า “ญาณรู้
ชัดซึ่งชราและมรณะ เหตุเกิดแห่งชราและมรณะ ความดับแห่งชราและมรณะ และข้อ
ปฏิบัติที่ให้ถึงความดับแห่งชราและมรณะ”
ชื่อว่าสัจจะด้วยมีสภาวะแสวงหาอย่างนี้ว่า “ชาติมีอะไรเป็นเหตุ มีอะไรเป็น
เหตุเกิด มีอะไรเป็นกำเนิด มีอะไรเป็นแดนเกิด” ชื่อว่าสัจจะด้วยมีสภาวะกำหนด
อย่างนี้ว่า “ชาติมีภพเป็นเหตุ มีภพเป็นเหตุเกิด มีภพเป็นกำเนิด มีภพเป็นแดน
เกิด” ชื่อว่าสัจจะด้วยมีสภาวะรู้แจ้งอย่างนี้ว่า “ญาณรู้ชัดซึ่งชาติ เหตุเกิดแห่งชาติ
ความดับแห่งชาติ และข้อปฏิบัติที่ให้ถึงความดับแห่งชาติ”
ชื่อว่าสัจจะด้วยมีสภาวะแสวงหาอย่างนี้ว่า “ภพมีอะไรเป็นเหตุ มีอะไรเป็น
เหตุเกิด มีอะไรเป็นกำเนิด มีอะไรเป็นแดนเกิด” ชื่อว่าสัจจะด้วยมีสภาวะกำหนด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๔๓๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค] ๒. สัจจกถา ๒. ทุติยสุตตันตนิทเทส
อย่างนี้ว่า “ภพมีอุปาทานเป็นเหตุ มีอุปาทานเป็นเหตุเกิด มีอุปาทานเป็นกำเนิด มี
อุปาทานเป็นแดนเกิด” ชื่อว่าสัจจะด้วยมีสภาวะรู้แจ้งอย่างนี้ว่า “ญาณรู้ชัดซึ่งภพ
เหตุเกิดแห่งภพ ความดับแห่งภพ และข้อปฏิบัติที่ให้ถึงความดับแห่งภพ”
ชื่อว่าสัจจะด้วยมีสภาวะแสวงหาอย่างนี้ว่า “อุปาทานมีอะไรเป็นเหตุ มีอะไร
เป็นเหตุเกิด มีอะไรเป็นกำเนิด มีอะไรเป็นแดนเกิด” ชื่อว่าสัจจะด้วยมีสภาวะ
กำหนดอย่างนี้ว่า “อุปาทานมีตัณหาเป็นเหตุ มีตัณหาเป็นเหตุเกิด มีตัณหาเป็น
กำเนิด มีตัณหาเป็นแดนเกิด” ชื่อว่าสัจจะด้วยมีสภาวะรู้แจ้งอย่างนี้ว่า “ญาณรู้
ชัดซึ่งอุปาทาน เหตุเกิดแห่งอุปาทาน ความดับแห่งอุปาทาน และข้อปฏิบัติที่ให้
ถึงความดับแห่งอุปาทาน”
ชื่อว่าสัจจะด้วยมีสภาวะแสวงหาอย่างนี้ว่า “ตัณหามีอะไรเป็นเหตุ มีอะไร
เป็นเหตุเกิด มีอะไรเป็นกำเนิด มีอะไรเป็นแดนเกิด” ชื่อว่าสัจจะด้วยมีสภาวะกำหนด
อย่างนี้ว่า “ตัณหามีเวทนาเป็นเหตุ มีเวทนาเป็นเหตุเกิด มีเวทนาเป็นกำเนิด มี
เวทนาเป็นแดนเกิด” ชื่อว่าสัจจะด้วยมีสภาวะรู้แจ้งอย่างนี้ว่า “ญาณรู้ชัดซึ่งตัณหา
เหตุเกิดแห่งตัณหา ความดับแห่งตัณหา และข้อปฏิบัติที่ให้ถึงความดับแห่งตัณหา”
ชื่อว่าสัจจะด้วยมีสภาวะแสวงหาอย่างนี้ว่า “เวทนามีอะไรเป็นเหตุ มีอะไร
เป็นเหตุเกิด มีอะไรเป็นกำเนิด มีอะไรเป็นแดนเกิด” ชื่อว่าสัจจะด้วยมีสภาวะกำหนด
อย่างนี้ว่า “เวทนามีผัสสะเป็นเหตุ มีผัสสะเป็นเหตุเกิด มีผัสสะเป็นกำเนิด มี
ผัสสะเป็นแดนเกิด” ชื่อว่าสัจจะด้วยมีสภาวะรู้แจ้งอย่างนี้ว่า “ญาณรู้ชัดซึ่งเวทนา
เหตุเกิดแห่งเวทนา ความดับแห่งเวทนา และข้อปฏิบัติที่ให้ถึงความดับแห่งเวทนา”
ชื่อว่าสัจจะด้วยมีสภาวะแสวงหาอย่างนี้ว่า “ผัสสะมีอะไรเป็นเหตุ มีอะไรเป็น
เหตุเกิด มีอะไรเป็นกำเนิด มีอะไรเป็นแดนเกิด” ชื่อว่าสัจจะด้วยมีสภาวะกำหนด
อย่างนี้ว่า “ผัสสะมีสฬายตนะเป็นเหตุ มีสฬายตนะเป็นเหตุเกิด มีสฬายตนะเป็น
กำเนิด มีสฬายตนะเป็นแดนเกิด” ชื่อว่าสัจจะด้วยมีสภาวะรู้แจ้งอย่างนี้ว่า “ญาณ
รู้ชัดซึ่งผัสสะ เหตุเกิดแห่งผัสสะ ความดับแห่งผัสสะ และข้อปฏิบัติที่ให้ถึงความ
ดับแห่งผัสสะ”
ชื่อว่าสัจจะด้วยมีสภาวะแสวงหาอย่างนี้ว่า “สฬายตนะมีอะไรเป็นเหตุ มี
อะไรเป็นเหตุเกิด มีอะไรเป็นกำเนิด มีอะไรเป็นแดนเกิด” ชื่อว่าสัจจะด้วยมี


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๔๔๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค] ๒. สัจจกถา ๒. ทุติยสุตตันตนิทเทส
สภาวะกำหนดอย่างนี้ว่า “สฬายตนะมีนามรูปเป็นเหตุ มีนามรูปเป็นเหตุเกิด มี
นามรูปเป็นกำเนิด มีนามรูปเป็นแดนเกิด” ชื่อว่าสัจจะด้วยมีสภาวะรู้แจ้งอย่างนี้ว่า
“ญาณรู้ชัดซึ่งสฬายตนะ เหตุเกิดแห่งสฬายตนะ ความดับแห่งสฬายตนะ และข้อ
ปฏิบัติที่ให้ถึงความดับแห่งสฬายตนะ”
ชื่อว่าสัจจะด้วยมีสภาวะแสวงหาอย่างนี้ว่า “นามรูปมีอะไรเป็นเหตุ มีอะไร
เป็นเหตุเกิด มีอะไรเป็นกำเนิด มีอะไรเป็นแดนเกิด” ชื่อว่าสัจจะด้วยมีสภาวะกำหนด
อย่างนี้ว่า “นามรูปมีวิญญาณเป็นเหตุ มีวิญญาณเป็นเหตุเกิด มีวิญญาณเป็นกำเนิด
มีวิญญาณเป็นแดนเกิด” ชื่อว่าสัจจะด้วยมีสภาวะรู้แจ้งอย่างนี้ว่า “ญาณรู้ชัดซึ่ง
นามรูป เหตุเกิดแห่งนามรูป ความดับแห่งนามรูป และข้อปฏิบัติที่ให้ถึงความดับ
แห่งนามรูป”
ชื่อว่าสัจจะด้วยมีสภาวะแสวงหาอย่างนี้ว่า “วิญญาณมีอะไรเป็นเหตุ มีอะไร
เป็นเหตุเกิด มีอะไรเป็นกำเนิด มีอะไรเป็นแดนเกิด” ชื่อว่าสัจจะด้วยมีสภาวะ
กำหนดอย่างนี้ว่า “วิญญาณมีสังขารเป็นเหตุ มีสังขารเป็นเหตุเกิด มีสังขารเป็น
กำเนิด มีสังขารเป็นแดนเกิด” ชื่อว่าสัจจะด้วยมีสภาวะรู้แจ้งอย่างนี้ว่า “ญาณรู้ชัด
ซึ่งวิญญาณ เหตุเกิดแห่งวิญญาณ ความดับแห่งวิญญาณ และข้อปฏิบัติที่ให้ถึง
ความดับแห่งวิญญาณ”
ชื่อว่าสัจจะด้วยมีสภาวะแสวงหาอย่างนี้ว่า “สังขารมีอะไรเป็นเหตุ มีอะไรเป็น
เหตุเกิด มีอะไรเป็นกำเนิด มีอะไรเป็นแดนเกิด” ชื่อว่าสัจจะด้วยมีสภาวะกำหนด
อย่างนี้ว่า “สังขารมีอวิชชาเป็นเหตุ มีอวิชชาเป็นเหตุเกิด มีอวิชชาเป็นกำเนิด มี
อวิชชาเป็นแดนเกิด” ชื่อว่าสัจจะด้วยมีสภาวะรู้แจ้งอย่างนี้ว่า “ญาณรู้ชัดซึ่งสังขาร
เหตุเกิดแห่งสังขาร ความดับแห่งสังขาร และข้อปฏิบัติที่ให้ถึงความดับแห่งสังขาร”
[๑๖] ชราและมรณะเป็นทุกขสัจ ชาติเป็นสมุทยสัจ การสลัดชรามรณะและ
ชาติแม้ทั้งสองเป็นนิโรธสัจ การรู้ชัดความดับแห่งชรามรณะและชาติเป็นมัคคสัจ
ชาติเป็นทุกขสัจ ภพเป็นสมุทยสัจ การสลัดออกจากชาติและภพแม้ทั้งสอง
เป็นนิโรธสัจ การรู้ชัดความดับแห่งชาติและภพเป็นมัคคสัจ
ภพเป็นทุกขสัจ อุปาทานเป็นสมุทยสัจ การสลัดออกจากภพและอุปาทาน
แม้ทั้งสองเป็นนิโรธสัจ การรู้ชัดความดับภพและอุปาทานเป็นมัคคสัจ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๔๔๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค] ๒. สัจจกถา ๒. ทุติยสุตตันตนิทเทส
อุปาทานเป็นทุกขสัจ ตัณหาเป็นสมุทยสัจ การสลัดออกจากอุปาทานและ
ตัณหาแม้ทั้งสองเป็นนิโรธสัจ การรู้ชัดความดับแห่งอุปาทานและตัณหาเป็นมัคคสัจ
ตัณหาเป็นทุกขสัจ เวทนาเป็นสมุทยสัจ การสลัดออกจากตัณหาและเวทนา
แม้ทั้งสองเป็นนิโรธสัจ การรู้ชัดความดับแห่งตัณหาและเวทนาเป็นมัคคสัจ
เวทนาเป็นทุกขสัจ ผัสสะเป็นสมุทยสัจ การสลัดออกจากเวทนาและผัสสะ
แม้ทั้งสองเป็นนิโรธสัจ การรู้ชัดความดับแห่งเวทนาและผัสสะเป็นมัคคสัจ
ผัสสะเป็นทุกขสัจ สฬายตนะเป็นสมุทยสัจ การสลัดออกจากผัสสะและสฬายตนะ
แม้ทั้งสองเป็นนิโรธสัจ การรู้ชัดความดับแห่งผัสสะและสฬายตนะเป็นมัคคสัจ
สฬายตนะเป็นทุกขสัจ นามรูปเป็นสมุทยสัจ การสลัดออกจากสฬายตนะ
และนามรูปแม้ทั้งสองเป็นนิโรธสัจ การรู้ชัดความดับแห่งสฬายตนะและนามรูปเป็น
มัคคสัจ
นามรูปเป็นทุกขสัจ วิญญาณเป็นสมุทยสัจ การสลัดออกจากนามรูปและ
วิญญาณแม้ทั้งสองเป็นนิโรธสัจ การรู้ชัดความดับแห่งนามรูปและวิญญาณเป็นมัคคสัจ
วิญญาณเป็นทุกขสัจ สังขารเป็นสมุทยสัจ การสลัดออกจากวิญญาณและ
สังขารแม้ทั้งสองเป็นนิโรธสัจ การรู้ชัดความดับแห่งวิญญาณและสังขารเป็นมัคคสัจ
สังขารเป็นทุกขสัจ อวิชชาเป็นสมุทยสัจ การสลัดออกจากสังขารและอวิชชา
แม้ทั้งสองเป็นนิโรธสัจ การรู้ชัดความดับแห่งสังขารและอวิชชาเป็นมัคคสัจ
ชราและมรณะเป็นทุกขสัจ ชาติเป็นทุกขสัจก็มี เป็นสมุทยสัจก็มี การสลัด
ออกจากชรามรณะและชาติแม้ทั้งสองเป็นนิโรธสัจ การรู้ชัดความดับแห่งชรามรณะ
และชาติเป็นมัคคสัจ
ชาติเป็นทุกขสัจก็มี เป็นสมุทยสัจก็มี ภพเป็นทุกขสัจก็มี เป็นสมุทยสัจก็มี
การสลัดออกจากชาติและภพแม้ทั้งสองเป็นนิโรธสัจ การรู้ชัดความดับแห่งชาติและ
ภพเป็นมัคคสัจ ฯลฯ สังขารเป็นทุกขสัจ อวิชชาเป็นทุกขสัจก็มี เป็นสมุทยสัจก็มี
การสลัดสังขารและอวิชชาแม้ทั้งสองเป็นนิโรธสัจ การรู้ชัดความดับแห่งสังขารและ
อวิชชาเป็นมัคคสัจ ฉะนี้แล
ทุติยสุตตันตนิทเทส จบ
สัจจกถา จบ
ภาณวาร จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๔๔๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค] ๓. โพชฌังคกถา
๓. โพชฌังคกถา
ว่าด้วยโพชฌงค์
[๑๗] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ภิกษุทั้งหลาย โพชฌงค์ ๗ ประการนี้
โพชฌงค์ ๗ ประการ อะไรบ้าง คือ

๑. สติสัมโพชฌงค์ (ธรรมเป็นองค์แห่งการตรัสรู้คือความระลึกได้)
๒. ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ (ธรรมเป็นองค์แห่งการตรัสรู้คือการเลือกเฟ้น
ธรรม)
๓. วิริยสัมโพชฌงค์ (ธรรมเป็นองค์แห่งการตรัสรู้คือความเพียร)
๔. ปีติสัมโพชฌงค์ (ธรรมเป็นองค์แห่งการตรัสรู้คือความอิ่มใจ)
๕. ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ (ธรรมเป็นองค์แห่งการตรัสรู้คือความสงบกาย
สงบใจ)
๖. สมาธิสัมโพชฌงค์ (ธรรมเป็นองค์แห่งการตรัสรู้คือความตั้งจิตมั่น)
๗. อุเบกขาสัมโพชฌงค์ (ธรรมเป็นองค์แห่งการตรัสรู้คือความมีใจเป็น
กลาง)

ภิกษุทั้งหลาย โพชฌงค์ ๗ ประการนี้แล
คำว่า โพชฌงค์ อธิบายว่า ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีความหมายว่าอย่างไร คือ
ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะเป็นไปในความตรัสรู้ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้ ชื่อว่า
โพชฌงค์ เพราะตรัสรู้ตาม ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้เฉพาะ ชื่อว่าโพชฌงค์
เพราะตรัสรู้พร้อม
ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะตรัสรู้ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะตรัสรู้
ตาม ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะตรัสรู้เฉพาะ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะ
ตรัสรู้พร้อม (๑)
ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะให้ตรัสรู้ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะให้ตรัสรู้ตาม ชื่อว่า
โพชฌงค์ เพราะให้ตรัสรู้เฉพาะ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะให้ตรัสรู้พร้อม (๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๔๔๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค] ๓. โพชฌังคกถา
ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะให้ตรัสรู้ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะให้
ตรัสรู้ตาม ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะให้ตรัสรู้เฉพาะ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมี
สภาวะให้ตรัสรู้พร้อม (๓)
ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะเป็นไปในธรรมฝ่ายตรัสรู้ ชื่อว่าโพชฌงค์
เพราะมีสภาวะเป็นไปในธรรมฝ่ายตรัสรู้ตาม ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะเป็น
ไปในธรรมฝ่ายตรัสรู้เฉพาะ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะเป็นไปในธรรมฝ่าย
ตรัสรู้พร้อม (๔)
ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะเป็นเหตุให้ได้ความตรัสรู้ ชื่อว่าโพชฌงค์
เพราะมีสภาวะปลูกความตรัสรู้ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะบำรุงความตรัสรู้
ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะให้ถึงความตรัสรู้ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะให้
ถึงพร้อมความตรัสรู้ (๕)

มูลมูลกาทิทสกะ
ว่าด้วยหมวด ๑๐ แห่งธรรมที่เป็นมูลมีสภาวะเป็นมูลเป็นต้น
[๑๘] ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะเป็นมูล ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะ
ดำเนินไปในธรรมที่เป็นมูล ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะกำหนดธรรมที่เป็นมูล
ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะเป็นบริวารแห่งธรรมที่เป็นมูล ชื่อว่าโพชฌงค์
เพราะมีสภาวะเต็มรอบในธรรมที่เป็นมูล ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะแก่กล้าใน
ธรรมที่เป็นมูล ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะแตกฉานในธรรมที่เป็นมูล ชื่อว่า
โพชฌงค์ เพราะมีสภาวะให้ถึงความแตกฉานในธรรมที่เป็นมูล ชื่อว่าโพชฌงค์
เพราะมีสภาวะเจริญความชำนาญในความแตกฉานในธรรมที่เป็นมูล ชื่อว่าโพชฌงค์
แม้ของบุคคลผู้ถึงความชำนาญในความแตกฉานในธรรมที่เป็นมูล (๑)
ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะเป็นเหตุ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะ
ดำเนินไปในธรรมที่เป็นเหตุ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะกำหนดธรรมที่เป็นเหตุ
ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะเป็นบริวารแห่งธรรมที่เป็นเหตุ ชื่อว่าโพชฌงค์
เพราะมีสภาวะเต็มรอบในธรรมที่เป็นเหตุ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะแก่กล้า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๔๔๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค] ๓. โพชฌังคกถา
ในธรรมที่เป็นเหตุ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะแตกฉานในธรรมที่เป็นเหตุ ชื่อ
ว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะให้ถึงความแตกฉานในธรรมที่เป็นเหตุ ชื่อว่าโพชฌงค์
เพราะมีสภาวะเจริญความชำนาญในความแตกฉานในธรรมที่เป็นเหตุ ชื่อว่า
โพชฌงค์แม้ของบุคคลผู้ถึงความชำนาญในความแตกฉานในธรรมที่เป็นเหตุ (๒)
ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะเป็นปัจจัย ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะ
ดำเนินไปในธรรมที่เป็นปัจจัย ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะกำหนดธรรมที่เป็น
ปัจจัย ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะเป็นบริวารแห่งธรรมที่เป็นปัจจัย ชื่อว่าโพชฌงค์
เพราะมีสภาวะเต็มรอบในธรรมที่เป็นปัจจัย ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะแก่กล้า
ในธรรมที่เป็นปัจจัย ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะแตกฉานในธรรมที่เป็นปัจจัย
ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะให้ถึงความแตกฉานในธรรมที่เป็นปัจจัย ชื่อว่า
โพชฌงค์ เพราะมีสภาวะเจริญความชำนาญในความแตกฉานในธรรมที่เป็นปัจจัย
ชื่อว่าโพชฌงค์แม้ของบุคคลผู้ถึงความชำนาญในความแตกฉานในธรรมที่เป็นปัจจัย (๓)
ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะหมดจด ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะ
ดำเนินไปในความหมดจด ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะกำหนดความหมดจด
ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะเป็นบริวารแห่งความหมดจด ชื่อว่าโพชฌงค์
เพราะมีสภาวะเต็มรอบในความหมดจด ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะแก่กล้าใน
ความหมดจด ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะแตกฉานในความหมดจด ชื่อว่า
โพชฌงค์ เพราะมีสภาวะให้ถึงความแตกฉานในความหมดจด ชื่อว่าโพชฌงค์
เพราะมีสภาวะเจริญความชำนาญในความแตกฉานในความหมดจด ชื่อว่าโพชฌงค์
แม้ของบุคคลผู้ถึงความชำนาญในความแตกฉานในความหมดจด (๔)
ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะไม่มีโทษ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะ
ดำเนินไปในความไม่มีโทษ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะกำหนดความไม่มีโทษ
ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะเป็นบริวารแห่งความไม่มีโทษ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะ
มีสภาวะเต็มรอบในความไม่มีโทษ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะแก่กล้าในความ
ไม่มีโทษ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะแตกฉานในความไม่มีโทษ ชื่อว่าโพชฌงค์
เพราะมีสภาวะให้ถึงความแตกฉานในความไม่มีโทษ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมี
สภาวะเจริญความชำนาญในความแตกฉานในความไม่มีโทษ ชื่อว่าโพชฌงค์แม้ของ
บุคคลผู้ถึงความชำนาญในความแตกฉานในความไม่มีโทษ (๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๔๔๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค] ๓. โพชฌังคกถา
ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะเป็นเนกขัมมะ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะ
ดำเนินไปในเนกขัมมะ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะกำหนดเนกขัมมะ ชื่อว่า
โพชฌงค์ เพราะมีสภาวะเป็นบริวารแห่งเนกขัมมะ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะ
เต็มรอบในเนกขัมมะ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะแก่กล้าในเนกขัมมะ ชื่อว่า
โพชฌงค์ เพราะมีสภาวะแตกฉานในเนกขัมมะ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะให้
ถึงความแตกฉานในเนกขัมมะ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะเจริญความชำนาญ
ในความแตกฉานในเนกขัมมะ ชื่อว่าโพชฌงค์แม้ของบุคคลผู้ถึงความชำนาญใน
ความแตกฉานในเนกขัมมะ (๖)
ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะหลุดพ้น ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะ
ดำเนินไปในความหลุดพ้น ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะกำหนดความหลุดพ้น
ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะเป็นบริวารแห่งความหลุดพ้น ชื่อว่าโพชฌงค์
เพราะมีสภาวะเต็มรอบในความหลุดพ้น ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะแก่กล้าใน
ความหลุดพ้น ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะแตกฉานในความหลุดพ้น ชื่อว่า
โพชฌงค์ เพราะมีสภาวะให้ถึงความแตกฉานในความหลุดพ้น ชื่อว่าโพชฌงค์
เพราะมีสภาวะเจริญความชำนาญในความแตกฉานในความหลุดพ้น ชื่อว่าโพชฌงค์
แม้ของบุคคลผู้ถึงความชำนาญในความแตกฉานในความหลุดพ้น (๗)
ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะไม่มีอาสวะ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะ
ดำเนินไปในความไม่มีอาสวะ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะกำหนดความไม่มี
อาสวะ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะเป็นบริวารแห่งความไม่มีอาสวะ ชื่อว่า
โพชฌงค์ เพราะมีสภาวะเต็มรอบในความไม่มีอาสวะ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมี
สภาวะแก่กล้าในความไม่มีอาสวะ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะแตกฉานในความ
ไม่มีอาสวะ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะให้ถึงความแตกฉานในความไม่มีอาสวะ
ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะเจริญความชำนาญในความแตกฉานในความไม่มีอาสวะ
ชื่อว่าโพชฌงค์แม้ของบุคคลผู้ถึงความชำนาญในความแตกฉานในความไม่มีอาสวะ (๘)
ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะเป็นวิเวก ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะ
ดำเนินไปในวิเวก ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะกำหนดวิเวก ชื่อว่าโพชฌงค์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๔๔๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค] ๓. โพชฌังคกถา
เพราะมีสภาวะเป็นบริวารแห่งวิเวก ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะเต็มรอบในวิเวก
ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะแก่กล้าในวิเวก ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะ
แตกฉานในวิเวก ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะให้ถึงความแตกฉานในวิเวก ชื่อว่า
โพชฌงค์ เพราะมีสภาวะเจริญความชำนาญในความแตกฉานในวิเวก ชื่อว่า
โพชฌงค์แม้ของบุคคลผู้ถึงความชำนาญในความแตกฉานในวิเวก (๙)
ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะสละ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะดำเนินไป
ในความสละ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะกำหนดความสละ ชื่อว่าโพชฌงค์
เพราะมีสภาวะเป็นบริวารแห่งความสละ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะเต็มรอบใน
ความสละ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะแก่กล้าในความสละ ชื่อว่าโพชฌงค์
เพราะมีสภาวะแตกฉานในความสละ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะให้ถึงความ
แตกฉานในความสละ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะเจริญความชำนาญในความ
แตกฉานในความสละ ชื่อว่าโพชฌงค์แม้ของบุคคลผู้ถึงความชำนาญในความ
แตกฉานในความสละ (๑๐)
[๑๙] ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่เป็นมูล ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะ
ตรัสรู้สภาวะที่เป็นเหตุ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่เป็นปัจจัย ชื่อว่า
โพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่หมดจด ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่ไม่มีโทษ
ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่เป็นเนกขัมมะ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้
สภาวะที่หลุดพ้น ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่ไม่มีอาสวะ ชื่อว่าโพชฌงค์
เพราะตรัสรู้สภาวะที่เป็นวิเวก ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่สละ
ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะดำเนินไปในธรรมที่เป็นมูล ชื่อว่าโพชฌงค์
เพราะตรัสรู้สภาวะดำเนินไปในธรรมที่เป็นเหตุ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะ
ดำเนินไปในธรรมที่เป็นปัจจัย ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะดำเนินไปในความ
หมดจด ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะดำเนินไปในความไม่มีโทษ ชื่อว่า
โพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะดำเนินไปในเนกขัมมะ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้
สภาวะดำเนินไปในความหลุดพ้น ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะดำเนินไปใน
ความไม่มีอาสวะ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะดำเนินไปในวิเวก ชื่อว่าโพชฌงค์
เพราะตรัสรู้สภาวะดำเนินไปในความสละ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๔๔๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค] ๓. โพชฌังคกถา
ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะกำหนดธรรมที่เป็นมูล ฯลฯ ชื่อว่า
โพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะกำหนดความสละ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะ
ที่เป็นบริวารแห่งธรรมที่เป็นมูล ฯลฯ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่เป็น
บริวารแห่งความสละ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่เต็มรอบแห่งธรรมที่
เป็นมูล ฯลฯ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะเต็มรอบในความสละ ชื่อว่าโพชฌงค์
เพราะตรัสรู้สภาวะที่แก่กล้าในธรรมที่เป็นมูล ฯลฯ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้
สภาวะที่แก่กล้าในความสละ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะความแตกฉานใน
ธรรมที่เป็นมูล ฯลฯ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะความแตกฉานในความสละ
ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่ให้ถึงความแตกฉานในธรรมที่เป็นมูล ฯลฯ
ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่ให้ถึงความแตกฉานในความสละ ชื่อว่าโพชฌงค์
เพราะตรัสรู้สภาวะเจริญความชำนาญในความแตกฉานในธรรมที่เป็นมูล ฯลฯ ชื่อว่า
โพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่เจริญความชำนาญในความแตกฉานในความสละ
(ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะแม้ของบุคคลผู้ถึงความชำนาญในความแตก
ฉานในธรรมที่เป็นมูล ฯลฯ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะแม้ของบุคคลผู้ถึง
ความชำนาญในความแตกฉานในความสละ)
ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่ควรกำหนด ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะ
ตรัสรู้สภาวะที่เป็นบริวาร ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่เต็มรอบ ชื่อว่า
โพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่เป็นเอกัคคตารมณ์ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้
สภาวะที่ไม่ฟุ้งซ่าน ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่ประคองไว้ ชื่อว่าโพชฌงค์
เพราะตรัสรู้สภาวะที่ไม่กระจัดกระจายไป ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่ไม่
ขุ่นมัว ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่ไม่หวั่นไหว ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะ
ตรัสรู้สภาวะที่ตั้งอยู่ด้วยอำนาจความปรากฏแห่งจิตที่เป็นเอกัคคตารมณ์ ชื่อว่า
โพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่เป็นอารมณ์ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่
เป็นโคจร ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่ละ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้
สภาวะที่สละ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่ออก ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะ
ตรัสรู้สภาวะที่หลีกไป ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่ละเอียด ชื่อว่าโพชฌงค์
เพราะตรัสรู้สภาวะที่ประณีต ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่หลุดพ้น ชื่อว่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๔๔๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค] ๓. โพชฌังคกถา
โพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่ไม่มีอาสวะ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะ
เครื่องข้าม ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่ไม่มีนิมิต ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะ
ตรัสรู้สภาวะที่ไม่มีที่ตั้ง ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่ว่าง ชื่อว่าโพชฌงค์
เพราะตรัสรู้สภาวะที่มีรสเป็นอย่างเดียวกัน ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่
ไม่ล่วงเลยกัน ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะแห่งธรรมที่เป็นคู่กัน ชื่อว่าโพชฌงค์
เพราะตรัสรู้สภาวะเครื่องนำออก ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่เป็นเหตุ
ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่เห็น ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่เป็น
ใหญ่
ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่ไม่ฟุ้งซ่านแห่งสมถะ ชื่อว่าโพชฌงค์
เพราะตรัสรู้สภาวะที่พิจารณาเห็นแห่งวิปัสสนา ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะ
ที่มีรสเป็นอย่างเดียวกันแห่งสมถะและวิปัสสนา ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้
สภาวะที่ไม่ล่วงเลยกันแห่งธรรมที่เป็นคู่กัน ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่
สมาทานแห่งสิกขา ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่เป็นโคจรแห่งอารมณ์
ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่ประคองจิตที่ย่อท้อ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะ
ตรัสรู้สภาวะที่ข่มจิตที่ฟุ้งซ่าน ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่คุมจิตอัน
บริสุทธิ์จากความย่อท้อ และความฟุ้งซ่านทั้ง ๒ ประการ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะ
ตรัสรู้สภาวะที่บรรลุคุณวิเศษ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่รู้แจ้ง
อริยมรรคอันยอดเยี่ยม ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่ตรัสรู้สัจจะ ชื่อว่า
โพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่ให้จิตตั้งอยู่เฉพาะในนิโรธ
ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่น้อมใจเชื่อแห่งสัทธินทรีย์ ฯลฯ ชื่อว่า
โพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่เห็นแห่งปัญญินทรีย์
ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่ไม่หวั่นไหว เพราะความไม่มีศรัทธาแห่ง
สัทธาพละ ฯลฯ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่ไม่หวั่นไหว เพราะอวิชชา
แห่งปัญญาพละ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๔๔๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค] ๓. โพชฌังคกถา
ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่ตั้งมั่นแห่งสติสัมโพชฌงค์ ฯลฯ ชื่อว่า
โพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่พิจารณาแห่งอุเบกขาสัมโพชฌงค์
ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่เห็นแห่งสัมมาทิฏฐิ ฯลฯ ชื่อว่าโพชฌงค์
เพราะตรัสรู้สภาวะที่ไม่ฟุ้งซ่านแห่งสัมมาสมาธิ
ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่เป็นใหญ่แห่งอินทรีย์ ชื่อว่าโพชฌงค์
เพราะตรัสรู้สภาวะที่ไม่หวั่นไหวแห่งพละ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่นำ
ออกแห่งโพชฌงค์ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่เป็นเหตุแห่งมรรค ชื่อว่า
โพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่ตั้งมั่นแห่งสติปัฏฐาน ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้
สภาวะที่เริ่มตั้งแห่งสัมมัปปธาน ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่สำเร็จแห่ง
อิทธิบาท ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่เป็นของแท้แห่งสัจจะ ชื่อว่าโพชฌงค์
เพราะตรัสรู้สภาวะที่สงบระงับแห่งมรรค ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่
ทำให้แจ้งแห่งผล
ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่ตรึกตรองแห่งวิตก ชื่อว่าโพชฌงค์
เพราะตรัสรู้สภาวะที่ตรวจตราแห่งวิจาร ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่แผ่ไป
แห่งปีติ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่ไหลมาแห่งสุข ชื่อว่าโพชฌงค์
เพราะตรัสรู้สภาวะที่เป็นเอกัคคตารมณ์แห่งจิต ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะ
ที่นึก ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่รู้แจ้ง ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้
สภาวะที่รู้ชัด ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่จำได้ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะ
ตรัสรู้สภาวะที่เป็นธรรมเอกผุดขึ้น
ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่ควรรู้ยิ่ง ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้
สภาวะที่พิจารณาแห่งปริญญา ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่สละแห่งปหานะ
ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่มีรสเป็นอย่างเดียวกันแห่งภาวนา ชื่อว่า
โพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่ถูกต้องแห่งสัจฉิกิริยา ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้
สภาวะที่เป็นกองแห่งขันธ์ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่ทรงไว้แห่งธาตุ
ทั้งหลาย ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่ต่อแห่งอายตนะทั้งหลาย ชื่อว่า
โพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่ปัจจัยปรุงแต่งแห่งสังขตธรรม ชื่อว่าโพชฌงค์
เพราะตรัสรู้สภาวะที่ปัจจัยมิได้ปรุงแต่งแห่งอสังขตธรรม

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๔๕๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค] ๓. โพชฌังคกถา
ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะแห่งจิต ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะ
ที่ไม่มีระหว่างคั่นแห่งจิต ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่ออกแห่งจิต ชื่อว่า
โพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะหลีกไปแห่งจิต ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่เป็น
เหตุแห่งจิต ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่เป็นปัจจัยแห่งจิต ชื่อว่าโพชฌงค์
เพราะตรัสรู้สภาวะที่ตั้งมั่นแห่งจิต ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่เป็นภูมิ
แห่งจิต ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่เป็นอารมณ์แห่งจิต ชื่อว่าโพชฌงค์
เพราะตรัสรู้สภาวะที่เป็นโคจรแห่งจิต ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่เที่ยวไป
แห่งจิต ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่ไปแห่งจิต ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะ
ตรัสรู้สภาวะที่นำไปแห่งจิต ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่นำออกแห่งจิต
ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่สลัดออกแห่งจิต
ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่นึกในจิตที่เป็นเอกัคคตารมณ์ ชื่อว่า
โพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่รู้แจ้งในจิตที่เป็นเอกัคคตารมณ์ ชื่อว่าโพชฌงค์
เพราะตรัสรู้สภาวะที่รู้ชัดในจิตที่เป็นเอกัคคตารมณ์ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้
สภาวะที่จำได้ในจิตที่เป็นเอกัคคตารมณ์ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะ
ที่เป็นธรรมเอกผุดขึ้นในจิตที่เป็นเอกัคคตารมณ์ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะ
ที่เนื่องในจิตที่เป็นเอกัคคตารมณ์ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่แล่นไปใน
จิตที่เป็นเอกัคคตารมณ์ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่ผ่องใสในจิตที่เป็น
เอกัคคตารมณ์ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่ตั้งมั่นในจิตที่เป็นเอกัคคตารมณ์
ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่หลุดพ้นในจิตที่เป็นเอกัคคตารมณ์
ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่เห็นว่า “นี้ละเอียด” ในจิตที่เป็น
เอกัคคตารมณ์ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่ทำให้เป็นดุจญาณในจิตที่เป็น
เอกัคคตารมณ์ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่ทำให้เป็นที่ตั้งในจิตที่เป็น
เอกัคคตารมณ์ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่ตั้งขึ้นเนือง ๆ ในจิตที่เป็น
เอกัคคตารมณ์ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่อบรมในจิตที่เป็นเอกัคคตารมณ์
ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่ปรารภเสมอดีในจิตที่เป็นเอกัคคตารมณ์ ชื่อว่า
โพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่กำหนดในจิตที่เป็นเอกัคคตารมณ์ ชื่อว่าโพชฌงค์
เพราะตรัสรู้สภาวะที่เป็นบริวารในจิตที่เป็นเอกัคคตารมณ์ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๔๕๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค] ๓. โพชฌังคกถา
ตรัสรู้สภาวะที่เต็มรอบในจิตที่เป็นเอกัคคตารมณ์ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้
สภาวะที่ประชุมลงในจิตที่เป็นเอกัคคตารมณ์ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่
อธิษฐานในจิตที่เป็นเอกัคคตารมณ์ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่ปฏิบัติใน
จิตที่เป็นเอกัคคตารมณ์ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่เจริญในจิตที่เป็น
เอกัคคตารมณ์ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่ทำให้มากในจิตที่เป็น
เอกัคคตารมณ์ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่รวมดีในจิตที่เป็นเอกัคคตารมณ์
ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่หลุดพ้นด้วยดีในจิตที่เป็นเอกัคคตารมณ์
ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่ตรัสรู้ในจิตที่เป็นเอกัคคตารมณ์ ชื่อว่า
โพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่ตรัสรู้ตามในจิตที่เป็นเอกัคคตารมณ์ ชื่อว่าโพชฌงค์
เพราะตรัสรู้สภาวะที่ตรัสรู้เฉพาะในจิตที่เป็นเอกัคคตารมณ์ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะ
ตรัสรู้สภาวะที่ตรัสรู้พร้อมในจิตที่เป็นเอกัคคตารมณ์ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้
สภาวะที่ให้ตรัสรู้ในจิตที่เป็นเอกัคคตารมณ์ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่
ให้ตรัสรู้ตามในจิตที่เป็นเอกัคคตารมณ์ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่ให้
ตรัสรู้เฉพาะในจิตที่เป็นเอกัคคตารมณ์ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่ให้
ตรัสรู้พร้อมในจิตที่เป็นเอกัคคตารมณ์ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่เป็นไป
ในฝ่ายตรัสรู้ในจิตที่เป็นเอกัคคตารมณ์ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่เป็นไป
ในฝ่ายตรัสรู้ตามในจิตที่เป็นเอกัคคตารมณ์ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่
เป็นไปในฝ่ายให้ตรัสรู้เฉพาะในจิตที่เป็นเอกัคคตารมณ์ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะ
ตรัสรู้สภาวะที่เป็นไปในฝ่ายตรัสรู้พร้อมในจิตที่เป็นเอกัคคตารมณ์ ชื่อว่าโพชฌงค์
เพราะตรัสรู้สภาวะที่สว่างในจิตที่เป็นเอกัคคตารมณ์ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้
สภาวะที่สว่างขึ้นในจิตที่เป็นเอกัคคตารมณ์ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่
สว่างเนือง ๆ ในจิตที่เป็นเอกัคคตารมณ์ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่
สว่างเฉพาะในจิตที่เป็นเอกัคคตารมณ์ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่สว่าง
พร้อมในจิตที่เป็นเอกัคคตารมณ์
ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่อริยมรรคให้สว่าง ชื่อว่าโพชฌงค์
เพราะตรัสรู้สภาวะที่อริยมรรคให้รุ่งเรือง ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่
อริยมรรคทำให้กิเลสเร่าร้อน ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่อริยมรรคไม่มี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๔๕๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค] ๓. โพชฌังคกถา
มลทิน ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่อริยมรรคปราศจากมลทิน ชื่อว่า
โพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่อริยมรรคหมดมลทิน ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้
สภาวะแห่งความสงบ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่อริยมรรคทำให้กิเลสระงับ
ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะแห่งวิเวก ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่
ดำเนินไปในวิเวก ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะแห่งความคลายกำหนัด
ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่ดำเนินไปในความคลายกำหนัด ชื่อว่าโพชฌงค์
เพราะตรัสรู้สภาวะแห่งความดับ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่ดำเนินไปใน
ความดับ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะแห่งความสละ ชื่อว่าโพชฌงค์
เพราะตรัสรู้สภาวะที่ดำเนินไปในความสละ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะแห่ง
ความหลุดพ้น ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่ดำเนินไปในความหลุดพ้น
ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะแห่งฉันทะ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้
สภาวะที่เป็นมูลแห่งฉันทะ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่เป็นบาทแห่งฉันทะ
ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่เป็นประธานแห่งฉันทะ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะ
ตรัสรู้สภาวะที่สำเร็จแห่งฉันทะ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่น้อมไปแห่งฉันทะ
ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่ประคองไว้แห่งฉันทะ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะ
ตรัสรู้สภาวะที่ตั้งมั่นแห่งฉันทะ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่ไม่ฟุ้งซ่านแห่ง
ฉันทะ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่เห็นแห่งฉันทะ
ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะแห่งวิริยะ ฯลฯ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้
สภาวะแห่งจิตตะ ฯลฯ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะแห่งวิมังสา ชื่อว่าโพชฌงค์
เพราะตรัสรู้สภาวะที่เป็นมูลแห่งวิมังสา ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่เป็น
บาทแห่งวิมังสา ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่เป็นประธานแห่งวิมังสา ชื่อว่า
โพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่สำเร็จแห่งวิมังสา ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะ
ที่น้อมไปแห่งวิมังสา ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่ประคองไว้แห่งวิมังสา
ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่ตั้งมั่นแห่งวิมังสา ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้
สภาวะที่ไม่ฟุ้งซ่านแห่งวิมังสา ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่เห็นแห่งวิมังสา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๔๕๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค] ๓. โพชฌังคกถา
ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะแห่งทุกข์ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้
สภาวะที่บีบคั้นแห่งทุกข์ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่ปัจจัยปรุงแต่งแห่งทุกข์
ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่ทำให้เดือดร้อนแห่งทุกข์ ชื่อว่าโพชฌงค์
เพราะตรัสรู้สภาวะที่แปรผันแห่งทุกข์ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะแห่งสมุทัย
ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่ประมวลมาแห่งสมุทัย ฯลฯ ชื่อว่าโพชฌงค์
เพราะตรัสรู้สภาวะที่เป็นเหตุเกิดแห่งสมุทัย ฯลฯ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้
สภาวะที่เกี่ยวข้องแห่งสมุทัย ฯลฯ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่พัวพัน
แห่งสมุทัย ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะแห่งนิโรธ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะ
ตรัสรู้สภาวะที่เป็นเครื่องสลัดออกแห่งนิโรธ ฯลฯ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้
สภาวะที่เป็นวิเวกแห่งนิโรธ ฯลฯ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่เป็น
อสังขตะแห่งนิโรธ ฯลฯ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่เป็นอมตะแห่งนิโรธ
ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะแห่งมรรค ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่
นำออกแห่งมรรค ฯลฯ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่เป็นเหตุแห่งมรรค ฯลฯ
ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่เห็นแห่งมรรค ฯลฯ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะ
ตรัสรู้สภาวะที่เป็นใหญ่แห่งมรรค
ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่เป็นของแท้ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้
สภาวะที่เป็นอนัตตา ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่เป็นของจริง ชื่อว่าโพชฌงค์
เพราะตรัสรู้สภาวะที่รู้แจ้ง ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่รู้ยิ่ง ชื่อว่าโพชฌงค์
เพราะตรัสรู้สภาวะที่กำหนดรู้ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่เป็นธรรม ชื่อว่า
โพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่เป็นธาตุ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่รู้
ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่ทำให้แจ้ง ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะ
ที่ถูกต้อง ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่ตรัสรู้
ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้เนกขัมมะ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้อพยาบาท
ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้อาโลกสัญญา ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้อวิกเขปะ
ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้ธัมมววัตถาน ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้ญาณ ชื่อว่า
โพชฌงค์ เพราะตรัสรู้ปามุชชะ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้ปฐมฌาน ฯลฯ ชื่อว่า
โพชฌงค์ เพราะตรัสรู้อรหัตตมรรค ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้อรหัตตผลสมาบัติ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๔๕๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค] ๓. โพชฌังคกถา
ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สัทธินทรีย์ด้วยสภาวะน้อมใจเชื่อ ฯลฯ ชื่อว่า
โพชฌงค์ เพราะตรัสรู้ปัญญินทรีย์ด้วยสภาวะเห็น ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้
สัทธาพละด้วยสภาวะไม่หวั่นไหวเพราะความไม่มีศรัทธา ฯลฯ ชื่อว่าโพชฌงค์
เพราะตรัสรู้ปัญญาพละด้วยสภาวะไม่หวั่นไหวเพราะอวิชชา ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะ
ตรัสรู้สติสัมโพชฌงค์ด้วยสภาวะตั้งมั่น ฯลฯ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้อุเบกขา-
สัมโพชฌงค์ด้วยสภาวะพิจารณา
ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สัมมาทิฏฐิด้วยสภาวะเห็น ฯลฯ ชื่อว่าโพชฌงค์
เพราะตรัสรู้สัมมาสมาธิด้วยสภาวะไม่ฟุ้งซ่าน ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้อินทรีย์
ด้วยสภาวะเป็นใหญ่ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้พละด้วยสภาวะไม่หวั่นไหว ชื่อว่า
โพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่นำออก ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้มรรคด้วย
สภาวะเป็นเหตุ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สติปัฏฐานด้วยสภาวะตั้งมั่น ชื่อว่า
โพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สัมมัปปธานด้วยสภาวะตั้งไว้ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้
อิทธิบาทด้วยสภาวะให้สำเร็จ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สัจจะด้วยสภาวะเป็น
ของแท้ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สมถะด้วยสภาวะไม่ฟุ้งซ่าน ชื่อว่าโพชฌงค์
เพราะตรัสรู้วิปัสสนาด้วยสภาวะพิจารณาเห็น ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สมถะ
และวิปัสสนาด้วยสภาวะมีรสเป็นอย่างเดียวกัน ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้ธรรมที่
เป็นคู่กันด้วยสภาวะไม่ล่วงเลยกัน ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สีลวิสุทธิด้วยสภาวะ
สำรวม ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้จิตตวิสุทธิด้วยสภาวะไม่ฟุ้งซ่าน ชื่อว่าโพชฌงค์
เพราะตรัสรู้ทิฏฐิวิสุทธิด้วยสภาวะเห็น ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้วิโมกข์ด้วยสภาวะ
หลุดพ้น ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้วิชชาด้วยสภาวะรู้แจ้ง ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะ
ตรัสรู้วิมุตติด้วยสภาวะสละ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้ญาณในความสิ้นไปด้วย
สภาวะตัดขาด ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้อนุปปาทญาณด้วยสภาวะสงบระงับ
ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้ฉันทะด้วยสภาวะเป็นมูล ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะ
ตรัสรู้มนสิการด้วยสภาวะเป็นสมุฏฐาน ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้ผัสสะด้วย
สภาวะเป็นที่รวม ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้เวทนาด้วยสภาวะเป็นที่ประชุม ชื่อว่า
โพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สมาธิด้วยสภาวะเป็นประธาน ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สติ
ด้วยสภาวะเป็นใหญ่ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้ปัญญาด้วยสภาวะเป็นธรรมที่ยิ่ง
กว่าธรรมนั้น ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้วิมุตติด้วยสภาวะเป็นแก่นสาร ชื่อว่า
โพชฌงค์ เพราะตรัสรู้ธรรมที่หยั่งลงสู่อมตะคือนิพพานด้วยสภาวะเป็นที่สุด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๔๕๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค] ๓. โพชฌังคกถา
[๒๐] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ณ ที่นั้น ท่านพระสารีบุตรเรียกภิกษุทั้งหลายมากล่าวว่า “ท่านทั้งหลาย”
ภิกษุเหล่านั้นรับคำแล้ว ท่านพระสารีบุตรจึงได้กล่าวเรื่องนี้ว่า
ท่านทั้งหลาย โพชฌงค์ ๗ ประการนี้ โพชฌงค์ ๗ ประการอะไรบ้าง คือ
๑. สติสัมโพชฌงค์ ฯลฯ ๗. อุเบกขาสัมโพชฌงค์
โพชฌงค์ ๗ ประการนี้แล ผมนั้นประสงค์จะอยู่ในเวลาเช้าด้วยโพชฌงค์
ใด ๆ บรรดาโพชฌงค์ ๗ ประการนี้ ผมก็อยู่ในเวลาเช้าด้วยโพชฌงค์นั้น ๆ
ประสงค์จะอยู่ในเวลาเที่ยง ฯลฯ ในเวลาเย็นด้วยโพชฌงค์ใด ๆ ผมก็อยู่ในเวลา
เย็นด้วยโพชฌงค์นั้น ๆ ถ้าสติสัมโพชฌงค์ของผมมีอยู่ดังนี้ สติสัมโพชฌงค์ของผม
ก็ชื่อว่าหาประมาณมิได้ ชื่อว่าผมปรารภเสมอดีแล้ว เมื่อผมกำลังเที่ยวไป ย่อมรู้ชัด
สติสัมโพชฌงค์ที่ดำรงอยู่ว่า “ดำรงอยู่” ถ้าแม้สติสัมโพชฌงค์ของผมเคลื่อนไป
ก็รู้ชัดว่า “สติสัมโพชฌงค์ของผมเคลื่อนไปเพราะปัจจัยนี้” ฯลฯ ท่านทั้งหลาย
ถ้าอุเบกขาสัมโพชฌงค์ของผมมีอยู่ดังนี้ อุเบกขาสัมโพชฌงค์ของผมก็ชื่อว่า
หาประมาณมิได้ ชื่อว่าผมปรารภเสมอดีแล้ว เมื่อผมกำลังเที่ยวไป ย่อมรู้ชัด
อุเบกขาสัมโพชฌงค์ที่ดำรงอยู่ว่า “ดำรงอยู่” ถ้าแม้อุเบกขาสัมโพชฌงค์ของผมเคลื่อนไป
ก็รู้ชัดว่า “อุเบกขาสัมโพชฌงค์ของผมเคลื่อนไปเพราะปัจจัยนี้”
ท่านทั้งหลาย เปรียบเหมือนตู้เก็บผ้าของพระราชาหรือของมหาอำมาตย์ของ
พระราชา เต็มด้วยผ้าสีต่าง ๆ พระราชาหรือมหาอำมาตย์นั้นประสงค์จะใช้ผ้าคู่ใด
ในเวลาเช้า ก็ใช้ผ้าคู่นั้นนั่นแหละในเวลาเช้า ประสงค์จะใช้ผ้าคู่ใดในเวลาเที่ยง ฯลฯ
ในเวลาเย็น ก็ใช้ผ้าคู่นั้นนั่นแหละในเวลาเย็น ฉันใด ผมก็ฉันนั้นเหมือนกัน
ประสงค์จะอยู่ในเวลาเช้าด้วยโพชฌงค์ใด ๆ บรรดาโพชฌงค์ ๗ ประการนี้ ก็อยู่
ในเวลาเช้าด้วยโพชฌงค์นั้น ๆ ประสงค์จะอยู่ในเวลาเที่ยง ฯลฯ ในเวลาเย็นด้วย
โพชฌงค์ใด ๆ ก็อยู่ด้วยโพชฌงค์นั้น ๆ ถ้าสติสัมโพชฌงค์ของผมมีอยู่ดังนี้ สติ-
สัมโพชฌงค์ของผมก็ชื่อว่าหาประมาณมิได้ ชื่อว่าผมปรารภเสมอดีแล้ว เมื่อผม
กำลังเที่ยวไป ย่อมรู้ชัดสติสัมโพชฌงค์ที่ดำรงอยู่ว่า “ดำรงอยู่” ถ้าแม้สติ-
สัมโพชฌงค์ของผมเคลื่อนไปก็รู้ว่า “สติสัมโพชฌงค์ของผมเคลื่อนไปเพราะปัจจัยนี้”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๔๕๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค] ๓. โพชฌังคกถา
ฯลฯ ถ้าอุเบกขาสัมโพชฌงค์ของผมมีอยู่ดังนี้ อุเบกขาสัมโพชฌงค์ของผมก็ชื่อว่า
หาประมาณมิได้ ชื่อว่าผมปรารภเสมอดีแล้ว เมื่อผมกำลังเที่ยวไปย่อมรู้ชัดอุเบกขา-
สัมโพชฌงค์ที่ดำรงอยู่ว่า “ดำรงอยู่” ถ้าอุเบกขาสัมโพชฌงค์ของผมเคลื่อนไป ก็รู้ชัด
ว่า “อุเบกขาสัมโพชฌงค์ของผมเคลื่อนไปเพราะปัจจัยนี้”

สุตตันตนิทเทส
แสดงพระสูตร
[๒๑] โพชฌงค์ ในข้อว่า “ถ้าสติสัมโพชฌงค์ของผมมีอยู่ ดังนี้” มีอยู่อย่างไร
คือ นิโรธปรากฏเพียงใด โพชฌงค์ในข้อว่า “ถ้าสติสัมโพชฌงค์ของผมมีอยู่
ดังนี้” ก็มีเพียงนั้น เหมือนประทีปน้ำมันกำลังสว่างอยู่ เปลวไฟมีเพียงใด แสงก็
มีเพียงนั้น แสงมีเพียงใด เปลวไฟก็มีเพียงนั้น นิโรธมีอยู่เพียงใด โพชฌงค์ในข้อว่า
“ถ้าสติสัมโพชฌงค์ของผมมีอยู่ ดังนี้” ก็มีอยู่เพียงนั้น
โพชฌงค์ในข้อว่า “สติสัมโพชฌงค์ของผมก็ชื่อว่าหาประมาณมิได้ ดังนี้” มีอยู่
อย่างไร
คือ กิเลสทั้งหลาย ได้แก่ กิเลสที่กลุ้มรุมจิตทั้งปวงเทียว สังขารที่ให้เกิดในภพ
ใหม่มีประมาณ นิโรธชื่อว่าหาประมาณมิได้ เพราะมีสภาวะไม่หวั่นไหว เพราะมี
สภาวะเป็นอสังขตธรรม นิโรธปรากฏเพียงใด โพชฌงค์ในข้อว่า “สติสัมโพชฌงค์
ของผมก็ชื่อว่าหาประมาณมิได้ ดังนี้” ก็มีอยู่เพียงนั้น
โพชฌงค์ในข้อว่า “สติสัมโพชฌงค์ ชื่อว่าผมปรารภเสมอดีแล้วนั้น ดังนี้”
มีอยู่อย่างไร
คือ กิเลสทั้งหลาย ได้แก่ กิเลสที่กลุ้มรุมจิตทั้งปวงเทียว สังขารที่ให้เกิดใน
ภพใหม่ไม่เสมอ นิโรธมีความเสมอเป็นธรรมดา เพราะมีสภาวะเป็นธรรมละเอียด
เพราะมีสภาวะเป็นธรรมประณีต นิโรธปรากฏเพียงใด โพชฌงค์ในข้อว่า “สติ-
สัมโพชฌงค์ ชื่อว่าผมปรารภเสมอดีแล้ว ดังนี้” ก็มีอยู่เพียงนั้น
เมื่อผมกำลังเที่ยวไป ย่อมรู้ชัดสติสัมโพชฌงค์ที่ดำรงอยู่ว่า “ดำรงอยู่” ถ้า
สติสัมโพชฌงค์เคลื่อนไป ก็รู้ชัดว่า “สติสัมโพชฌงค์ของผมเคลื่อนไปเพราะปัจจัยนี้”
เป็นอย่างไร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๔๕๗ }


>>>>> หน้าต่อไป >>>>>





eXTReMe Tracker