ค้นว่าอยู่เล่มใด แล้วกด [ctrl]+f หรือใช้คำสั่งของเครื่องหาตำแหน่งในเล่มอีกทีนะครับ



จัดรูปหน้าใหม่
เพื่อความสะดวก และสวยงาม
(เฉพาะหน้าจอใหญ่ เช่น คอมพิวเตอร์)
กรุณาคลิก จัดรูปหน้าใหม่
เพื่อให้กรอบ
ค้นข้อความ ปรากฎที่ด้านซ้ายของหน้า

พระไตรปิฎกภาษาไทย
ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ๔๕ เล่ม (ปกสีฟ้า)
ทั้งออนไลน์และออฟไลน์
ที่มาของข้อมูล : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับ มจร.
MCUTRAI Version 1.0

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๙-๒ สุตตันตปิฎกที่ ๒๑ ขุททกนิกาย มหานิทเทส

พระสุตตันตปิฎก
ขุททกนิกาย มหานิทเทส
_____________
ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๖. ชราสุตตนิทเทส
อีกนัยหนึ่ง ความตระหนี่ขันธ์ก็ดี ความตระหนี่ธาตุก็ดี ความตระหนี่อายตนะ
ก็ดี ความมุ่งแต่จะได้ก็ดี นี้ตรัสเรียกว่า ความตระหนี่
ตัณหา ตรัสเรียกว่าความติดใจ คือ ความกำหนัด ความกำหนัดนัก ... อภิชฌา
อกุศลมูลคือโลภะ๑
คำว่า ความยึดถือว่าเป็นของเรา ได้แก่ ความยึดถือว่าเป็นของเรา ๒ อย่าง
คือ (๑) ความยึดถือว่าเป็นของเราด้วยอำนาจตัณหา (๒) ความยึดถือว่าเป็นของเรา
ด้วยอำนาจทิฏฐิ ... นี้ชื่อว่าความยึดถือว่าเป็นของเราด้วยอำนาจตัณหา ... นี้ชื่อว่า
ความยึดถือว่าเป็นของเราด้วยอำนาจทิฏฐิ๒
ชนทั้งหลายผู้หวาดระแวงว่าวัตถุที่ยึดถือว่าเป็นของเราจะถูกแย่งชิงไปย่อมเศร้า
โศกบ้าง เมื่อวัตถุนั้นกำลังถูกแย่งชิงไปย่อมเศร้าโศกบ้าง เมื่อวัตถุนั้นถูกแย่งชิงไป
แล้วย่อมเศร้าโศกบ้าง ชนทั้งหลายผู้หวาดระแวงว่าวัตถุที่ยึดถือว่าเป็นของเราจะ
แปรผันไปย่อมเศร้าโศกบ้าง เมื่อวัตถุนั้นกำลังแปรผันไปย่อมเศร้าโศกบ้าง เมื่อวัตถุ
นั้นแปรผันไปแล้วย่อมเศร้าโศกบ้าง ชนทั้งหลายผู้หวาดระแวงว่าวัตถุที่ยึดถือว่า
เป็นของเราจะถูกแย่งชิงไปย่อมคร่ำครวญบ้าง เมื่อวัตถุนั้นกำลังถูกแย่งชิงไปย่อม
คร่ำครวญบ้าง เมื่อวัตถุนั้นถูกแย่งชิงไปแล้วย่อมคร่ำครวญบ้าง ชนทั้งหลายผู้หวาด
ระแวงว่าวัตถุที่ยึดถือว่าเป็นของเราจะแปรผันไปย่อมคร่ำครวญบ้าง เมื่อวัตถุนั้น
กำลังแปรผันไป ย่อมคร่ำครวญบ้าง เมื่อวัตถุนั้นแปรผันไปแล้วก็ย่อมคร่ำครวญบ้าง
ชนทั้งหลายย่อมรักษา ปกป้อง ถือครอง ยึดถือ สิ่งที่ยึดถือว่าเป็นของเรา
ประพฤติตระหนี่ว่า เป็นของเรา ย่อมเศร้าโศก เพราะวัตถุที่ยึดถือว่าเป็นของเรา
จึงละความเศร้าโศกไม่ได้ ละความคร่ำครวญไม่ได้ ละความตระหนี่ไม่ได้ ละความ
ติดใจไม่ได้ ละไม่ได้ คือ ละเว้นไม่ได้ บรรเทาไม่ได้ ทำให้หมดสิ้นไปไม่ได้ ให้ถึง
ความไม่มีอีกไม่ได้ รวมความว่า ชนทั้งหลาย ผู้ติดใจในวัตถุที่ยึดถือว่าเป็นของเรา
ย่อมละทิ้งความเศร้าโศก ความคร่ำครวญและความตระหนี่ไม่ได้

เชิงอรรถ :
๑ ดูรายละเอียดข้อ ๓/๑๐-๑๑
๒ ดูรายละเอียดข้อ ๑๒/๕๘-๕๙

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๑๕๖ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๖. ชราสุตตนิทเทส
คำว่า เพราะฉะนั้น ในคำว่า เพราะฉะนั้น มุนีผู้เห็นแดนเกษม ละความ
ยึดถือได้แล้วเที่ยวไป ได้แก่ เพราะฉะนั้น คือ เพราะการณ์นั้น เพราะเหตุนั้น
เพราะปัจจัยนั้น เพราะต้นเหตุนั้น เมื่อเห็นโทษนี้ในการยึดถือว่าเป็นของเรา รวม
ความว่า เพราะฉะนั้น

ว่าด้วยโมเนยยธรรม ๓ ประการ
คำว่า มุนี อธิบายว่า ญาณ ท่านเรียกว่า โมนะ คือ ความรู้ทั่ว กิริยาที่รู้ชัด ...
ความไม่หลงงมงาย ความเลือกเฟ้นธรรม สัมมาทิฏฐิ๑ ผู้ประกอบด้วยญาณนั้น
ชื่อว่ามุนี คือ ผู้บรรลุโมนญาณแล้ว โมเนยยธรรม(ธรรมที่ทำให้เป็นมุนี) มี ๓ ประการ
คือ
๑. โมเนยยธรรมทางกาย ๒. โมเนยธรรมทางวาจา
๓. โมเนยยธรรมทางใจ ...
ผู้ก้าวล่วงกิเลสเครื่องข้องและตัณหาดุจตาข่ายได้แล้ว ชื่อว่ามุนี๒
คำว่า ความยึดถือ ได้แก่ ความยึดถือ ๒ อย่าง คือ (๑) ความยึดถือด้วย
อำนาจตัณหา (๒) ความยึดถือด้วยอำนาจทิฏฐิ ... นี้ชื่อว่าความยึดถือด้วยอำนาจ
ตัณหา ... นี้ชื่อว่าความยึดถือด้วยอำนาจทิฏฐิ๓
มุนีละความยึดถือด้วยอำนาจตัณหาได้แล้ว สลัดทิ้งความยึดถือด้วยอำนาจ
ทิฏฐิได้แล้ว ละ คือ ละเว้น บรรเทา ทำให้หมดสิ้นไป ให้ถึงความไม่มีอีก เที่ยวไป
ได้แก่ ประพฤติ อยู่ เคลื่อนไหว เป็นไป เลี้ยงชีวิต ดำเนินไป ยังชีวิตให้ดำเนินไป
คำว่า ผู้เห็นแดนเกษม อธิบายว่า อมตนิพพาน ตรัสเรียกว่า แดนเกษม คือ
ธรรมเป็นที่ระงับสังขารทั้งปวง เป็นที่สลัดทิ้งอุปธิทั้งหมด เป็นที่สิ้นตัณหา เป็นที่
คลายกำหนัด เป็นที่ดับกิเลส เป็นที่เย็นสนิท

เชิงอรรถ :
๑ ดูรายละเอียดข้อ ๒๑/๙๒
๒ ดูรายละเอียดข้อ ๑๔/๖๘-๖๙
๓ เทียบกับความในข้อ ๑๒/๕๘-๕๙

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๑๕๗ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๖. ชราสุตตนิทเทส
คำว่า ผู้เห็นแดนเกษม ได้แก่ ผู้เห็นแดนเกษม คือ เห็นที่ปกป้อง เห็นที่
หลีกเร้น เห็นที่พึ่ง เห็นที่ไม่มีภัย เห็นที่ไม่จุติ เห็นอมตธรรม เห็นนิพพาน รวม
ความว่า เพราะฉะนั้น มุนีผู้เห็นแดนเกษม ละความยึดถือได้แล้ว เที่ยวไป ด้วย
เหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า
ชนทั้งหลาย ผู้ติดใจในวัตถุที่ยึดถือว่าเป็นของเรา
ย่อมละทิ้งความเศร้าโศก ความคร่ำครวญและความตระหนี่ไม่ได้
เพราะฉะนั้น มุนีผู้เห็นแดนเกษม ละความยึดถือได้แล้ว เที่ยวไป
[๔๕] (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า)
บัณฑิตทั้งหลายกล่าวการไม่แสดงตนในภพ
ของภิกษุผู้ประพฤติหลีกเร้น ใช้ที่นั่งอันสงัดนั้นว่า
เป็นความสามัคคี

ว่าด้วยผู้ประพฤติหลีกเร้น
คำว่า ของภิกษุผู้ประพฤติหลีกเร้น อธิบายว่า พระเสขะ ๗ จำพวก ตรัส
เรียกว่าผู้ประพฤติหลีกเร้น (ส่วน)พระอรหันต์ ชื่อว่าผู้หลีกเร้นแล้ว
เพราะเหตุไร พระเสขะ ๗ จำพวก จึงตรัสเรียกว่า ผู้ประพฤติหลีกเร้น
พระเสขะเหล่านั้น ให้จิตหลีกเร้น ถอยกลับ หมุนกลับ ปิดกั้น ข่ม ห้าม รักษา
คุ้มครองจิตจากอารมณ์นั้น เที่ยวไป ประพฤติ อยู่ เคลื่อนไหว เป็นไป เลี้ยงชีวิต
ดำเนินไป ยังชีวิตให้ดำเนินไป คือให้จิตหลีกเร้น ถอยกลับ หมุนกลับ ปิดกั้น ข่ม
ห้าม รักษา คุ้มครองจิต ในจักขุทวาร เที่ยวไป ประพฤติ อยู่ เคลื่อนไหว เป็นไป
เลี้ยงชีวิต ดำเนินไป ยังชีวิตให้ดำเนินไป คือให้จิตหลีกเร้น ถอยกลับ ปิดกั้น ข่ม
ห้าม รักษา คุ้มครองจิต ในโสตทวาร ... ในฆานทวาร ... ในชิวหาทวาร ... ใน
กายทวาร ... ในมโนทวาร ...

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๑๕๘ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๖. ชราสุตตนิทเทส
พระเสขะเหล่านั้น ให้จิตหลีกเร้น ถอยกลับ หมุนกลับ ปิดกั้น ข่ม ห้าม รักษา
คุ้มครองจิตจากอารมณ์นั้น ๆ เที่ยวไป ประพฤติ อยู่ เคลื่อนไหว เป็นไป เลี้ยงชีวิต
ดำเนินไป ยังชีวิตให้ดำเนินไป คือ ให้จิตหลีกเร้น ถอยกลับ หมุนกลับ ปิดกั้น
ข่ม ห้าม รักษา คุ้มครองจิตในจักขุทวาร ... ในโสตทวาร .. ในฆานทวาร ... ใน
ชิวหาทวาร ... ในกายทวาร ... ในมโนทวาร เที่ยวไป ประพฤติ อยู่ เคลื่อนไหว
เป็นไป เลี้ยงชีวิต ดำเนินไป ยังชีวิตให้ดำเนินไป เปรียบเหมือนขนไก่ หรือเส้นเอ็นที่
ใส่เข้าไปในไฟแล้ว ย่อมหัก งอ ม้วน ไม่คลี่ออก ฉะนั้น เพราะเหตุนั้น พระเสขะ
๗ จำพวก จึงตรัสเรียกว่า ผู้ประพฤติหลีกเร้น
คำว่า ของภิกษุ ได้แก่ ของภิกษุผู้เป็นกัลยาณปุถุชน หรือของภิกษุผู้เป็น
พระเสขะ รวมความว่า ของภิกษุผู้ประพฤติหลีกเร้น
คำว่า ใช้ที่นั่งอันสงัด อธิบายว่า ที่สำหรับนั่งของภิกษุ ตรัสเรียกว่า ที่นั่ง
ได้แก่ เตียง ตั่ง เบาะ เสื่อ แผ่นหนัง เครื่องปูลาดทำด้วยหญ้า เครื่องปูลาดทำ
ด้วยใบไม้ เครื่องปูลาดทำด้วยฟาง ที่นั่งนั้นว่าง สงัด เงียบจากการได้เห็นรูปไม่เป็น
ที่สบาย ... จากการได้ยินเสียงไม่เป็นที่สบาย ... จากการได้กลิ่นไม่เป็นที่สบาย ... จาก
การได้ลิ้มรสไม่เป็นที่สบาย ... จากการถูกต้องโผฏฐัพพะไม่เป็นที่สบาย ... ที่นั่งนั้นว่าง
สงัด เงียบจากกามคุณ ๕ ไม่เป็นที่สบาย ผู้ใช้ คือ ใช้สอย เสพ เสพเป็นนิจ ซ่องเสพ
เสพเฉพาะที่นั่งอันสงัดนั้น รวมความว่า ใช้ที่นั่งอันสงัด
คำว่า ความสามัคคี ในคำว่า บัณฑิตทั้งหลายกล่าวการไม่แสดงตน
ในภพของภิกษุ ... นั้นว่า เป็นความสามัคคี ได้แก่ สามัคคี ๓ อย่าง คือ
๑. คณสามัคคี
๒. ธัมมสามัคคี
๓. อนภินิพพัตติสามัคคี
คณสามัคคี เป็นอย่างไร
คือ แม้หากภิกษุทั้งหลายเป็นอันมาก พร้อมเพรียงกัน ชื่นชม ไม่วิวาทกัน
เป็นเหมือนน้ำกลมกลืนกับน้ำนม มองดูกันและกันด้วยสายตาที่รักกันอยู่ นี้ชื่อว่า
คณสามัคคี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๑๕๙ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๖. ชราสุตตนิทเทส
ธัมมสามัคคี เป็นอย่างไร
คือ สติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗
อริยมรรคมีองค์ ๘ ธรรมเหล่านั้นย่อมดำเนินไป ผ่องใส ตั้งมั่น หลุดพ้นไป โดยความ
เป็นอันเดียวกัน ธรรมเหล่านั้นไม่มีความวิวาทขัดแย้งกัน นี้ชื่อว่าธัมมสามัคคี
อนภินิพพัตติสามัคคี เป็นอย่างไร
คือ แม้หากภิกษุเป็นอันมาก ปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ ความ
พร่อง หรือความเต็มแห่งนิพพานธาตุของภิกษุเหล่านั้นย่อมไม่ปรากฏ นี้ชื่อว่า
อนภินิพพัตติสามัคคี
คำว่า ในภพ อธิบายว่า นรกเป็นภพของสัตว์นรก กำเนิดเดรัจฉาน
เป็นภพของสัตว์ผู้เกิดในกำเนิดเดรัจฉาน เปตวิสัยเป็นภพของสัตว์ผู้เกิดในเปตวิสัย
มนุษยโลกเป็นภพของมนุษย์ เทวโลกเป็นภพของหมู่เทวดา
คำว่า บัณฑิตทั้งหลายกล่าวการไม่แสดงตนในภพของภิกษุ... นั้นว่า เป็น
ความสามัคคี อธิบายว่า บัณฑิตทั้งหลายกล่าว คือ พูด บอก แสดง ชี้แจง
อย่างนี้ว่า ภิกษุใด ไม่แสดงตนในนรกอันปกปิด ไม่แสดงตนในกำเนิดเดรัจฉาน ไม่
แสดงตนในเปตวิสัย ไม่แสดงตนในมนุษยโลก ไม่แสดงตนในเทวโลกอย่างนี้ การไม่
แสดงตนของภิกษุนั้นเป็นความสามัคคี คือ ข้อนี้ เป็นการปกปิด เป็นการเหมาะสม
เป็นการสมควร เป็นการอนุโลม รวมความว่า บัณฑิตทั้งหลายกล่าวการไม่แสดงตน
ในภพของภิกษุ ... นั้นว่า เป็นความสามัคคี ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า
บัณฑิตทั้งหลายกล่าวการไม่แสดงตนในภพ
ของภิกษุผู้ประพฤติหลีกเร้น ใช้ที่นั่งอันสงัดนั้นว่า
เป็นความสามัคคี
[๔๖] (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า)
มุนีไม่อาศัยในสิ่งทั้งปวง ไม่ทำสัตว์สังขารไหนให้เป็นที่รัก
และไม่ทำสัตว์สังขารไหนให้ไม่เป็นที่รัก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๑๖๐ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๖. ชราสุตตนิทเทส
ความคร่ำครวญและความตระหนี่ ไม่ติดอยู่ในมุนีนั้น
เหมือนหยาดน้ำไม่ติดอยู่บนใบบัว ฉะนั้น
คำว่า มุนีไม่อาศัยในสิ่งทั้งปวง อธิบายว่า อายตนะ ๑๒ ตรัสเรียกว่า
สิ่งทั้งปวง คือ ตาและรูป หูและเสียง จมูกและกลิ่น ลิ้นและรส กายและโผฏฐัพพะ
ใจและธรรมารมณ์
คำว่า มุนี อธิบายว่า ญาณ ท่านเรียกว่า โมนะ คือ ความรู้ทั่ว กิริยาที่รู้ชัด ...
ผู้ก้าวล่วงกิเลสเครื่องข้องและตัณหาดุจตาข่ายได้แล้ว ชื่อว่ามุนี๑
คำว่า ไม่อาศัย ได้แก่ ความอาศัย ๒ อย่าง คือ (๑) ความอาศัยด้วยอำนาจ
ตัณหา (๒) ความอาศัยด้วยอำนาจทิฏฐิ ... นี้ชื่อว่าความอาศัยด้วยอำนาจตัณหา ...
นี้ชื่อว่าความอาศัยด้วยอำนาจทิฏฐิ๒
มุนีละความอาศัยด้วยอำนาจตัณหาได้แล้ว สลัดทิ้งความอาศัยด้วยอำนาจ
ทิฏฐิได้แล้ว ไม่อาศัยตา ... หู ... จมูก ... ลิ้น ... กาย ... ใจ ... รูป ... เสียง ... กลิ่น ...
รส ... โผฏฐัพพะ ... ธรรมารมณ์ ... ตระกูล ... หมู่คณะ ... อาวาส ... ลาภ ... ยศ ...
สรรเสริญ ... สุข ... จีวร ... บิณฑบาต ... เสนาสนะ ... คิลานปัจจัยเภสัชบริขาร ...
กามธาตุ ... รูปธาตุ ... อรูปธาตุ ... กามภพ ... รูปภพ ... อรูปภพ ... สัญญาภพ ...
อสัญญาภพ ... เนวสัญญานาสัญญายตนภพ ... เอกโวการภพ๓ ... จตุโวการภพ๔ ...
ปัญจโวการภพ๕ ... ภพอดีต ... ภพอนาคต ... ภพปัจจุบัน ไม่อาศัยรูปที่เห็น ... เสียง
ที่ได้ยิน ... กลิ่น รส โผฏฐัพพะที่รับรู้ และธรรมารมณ์ที่รู้แจ้งแล้ว มุนีไม่อาศัย คือ
ไม่ติดแล้ว ไม่ติดแน่นแล้ว ไม่ติดพันแล้ว ไม่ติดใจแล้ว ออกแล้ว สลัดออกแล้ว
หลุดพ้นแล้ว ไม่เกี่ยวข้องกับธรรมทั้งปวงแล้ว มีใจเป็นอิสระ(จากความอาศัย)อยู่
รวมความว่า มุนีไม่อาศัยในสิ่งทั้งปวง

เชิงอรรถ :
๑ มุนี ดูรายละเอียดข้อ ๑๔/๖๘-๗๑
๒ เทียบกับความในข้อ ๑๒/๕๘-๕๙
๓ เอกโวการภพ ดูเชิงอรรถข้อ ๓/๑๒
๔ จตุโวการภพ ดูเชิงอรรถข้อ ๓/๑๒
๕ ปัญจโวการภพ ดูเชิงอรรถข้อ ๓/๑๒

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๑๖๑ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๖. ชราสุตตนิทเทส
ว่าด้วยสิ่งเป็นที่รัก ๒ จำพวก
คำว่า ไม่ทำสัตว์สังขารไหนให้เป็นที่รัก และไม่ทำสัตว์สังขารไหนให้ไม่เป็น
ที่รัก อธิบายว่า
คำว่า เป็นที่รัก ได้แก่ สิ่งเป็นที่รัก ๒ จำพวก คือ (๑) สัตว์ (๒) สังขาร
สัตว์เหล่าไหนเป็นที่รัก สัตว์ทั้งหลายในโลกนี้ เป็นผู้ปรารถนาแต่สิ่งที่เป็น
ประโยชน์ ปรารถนาแต่สิ่งที่เกื้อกูล ปรารถนาแต่ความผาสุก ปรารถนาแต่ความ
หลุดพ้นจากโยคะ คือ มารดา บิดา พี่ชายน้องชาย พี่สาวน้องสาว บุตร ธิดา มิตร
อำมาตย์ ญาติ หรือผู้ร่วมสายโลหิตของผู้นั้น สัตว์เหล่านี้ ชื่อว่าสิ่งเป็นที่รัก
สังขารเหล่าไหนเป็นที่รัก รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ อันน่าชอบใจ สังขาร
เหล่านี้ ชื่อว่าสิ่งเป็นที่รัก
คำว่า ไม่เป็นที่รัก ได้แก่ สิ่งไม่เป็นที่รัก ๒ จำพวก คือ (๑) สัตว์ (๒) สังขาร
สัตว์เหล่าไหนไม่เป็นที่รัก สัตว์ทั้งหลายในโลกนี้เป็นผู้ปรารถนาแต่สิ่งที่มิใช่
ประโยชน์ ปรารถนาแต่สิ่งที่ไม่เกื้อกูล ปรารถนาแต่ความไม่ผาสุก ไม่ปรารถนา
ความหลุดพ้นจากโยคะ ปรารถนาจะปลงชีวิตของผู้นั้น สัตว์เหล่านี้ ชื่อว่าไม่เป็นที่รัก
สังขารเหล่าไหนไม่เป็นที่รัก รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะอันไม่น่าชอบใจ
สังขารเหล่านี้ ชื่อว่าไม่เป็นที่รัก
คำว่า ไม่ทำสัตว์สังขารไหนให้เป็นที่รัก และไม่ทำสัตว์สังขารไหนให้ไม่เป็น
ที่รัก อธิบายว่า ไม่ทำให้เป็นที่รักด้วยอำนาจราคะว่า “สัตว์นี้เป็นที่รักของเรา สังขาร
เหล่านี้ เป็นที่ชอบใจของเรา” ไม่ทำให้ไม่เป็นที่รักด้วยอำนาจปฏิฆะ คือไม่ให้เกิด
ไม่ให้เกิดขึ้น ไม่ให้บังเกิด ไม่ให้บังเกิดขึ้นว่า “สัตว์นี้ไม่เป็นที่รักของเรา สังขาร
เหล่านี้ไม่เป็นที่ชอบใจของเรา” รวมความว่า ไม่ทำสัตว์สังขารไหนให้เป็นที่รัก และ
ไม่ทำสัตว์สังขารไหนให้ไม่เป็นที่รัก
คำว่า ในมุนีนั้น ในคำว่า ความคร่ำครวญและความตระหนี่ไม่ติดอยู่ใน
มุนีนั้น เหมือนหยาดน้ำไม่ติดอยู่บนใบบัว ฉะนั้น ได้แก่ ในบุคคลผู้เป็นพระ
อรหันตขีณาสพ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๑๖๒ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๖. ชราสุตตนิทเทส
คำว่า ความคร่ำครวญ ได้แก่ ความบ่นเพ้อ ความคร่ำครวญ กิริยาที่บ่นเพ้อ
กิริยาที่คร่ำครวญ ภาวะที่บ่นเพ้อ ภาวะที่คร่ำครวญ การพูดพล่าม การพูดเพ้อ
การพูดเพ้อเจ้อ ความพร่ำเพ้อ กิริยาที่พร่ำเพ้อ ภาวะที่พร่ำเพ้อ ของผู้ถูกความเสีย
หายของญาติกระทบบ้าง ถูกความเสียหายแห่งโภคทรัพย์กระทบบ้าง ถูกความเสีย
หายเพราะโรคกระทบบ้าง ถูกสีลวิบัติกระทบบ้าง ถูกทิฏฐิวิบัติกระทบบ้าง ประจวบ
กับความเสียหายอื่นนอกจากที่กล่าวแล้วบ้าง ถูกเหตุแห่งทุกข์อื่นนอกจากที่กล่าว
แล้วกระทบบ้าง
คำว่า ความตระหนี่ ได้แก่ มัจฉริยะ ๕ อย่าง คือ
๑. อาวาสมัจฉริยะ ๒. กุลมัจฉริยะ
๓. ลาภมัจฉริยะ ๔. วัณณมัจฉริยะ
๕. ธัมมมัจฉริยะ
คือ ความตระหนี่ กิริยาที่ตระหนี่ ภาวะที่ตระหนี่ ความเห็นแก่ได้ ความ
ถี่เหนี่ยว ความที่จิตเจ็บร้อน(ในการให้) ความที่จิตหวงแหนเห็นปานนี้ นี้ตรัสเรียกว่า
ความตระหนี่
อีกนัยหนึ่ง ความตระหนี่ขันธ์ก็ดี ความตระหนี่ธาตุก็ดี ความตระหนี่อายตนะ
ก็ดี ความมุ่งแต่จะได้ก็ดี นี้ตรัสเรียกว่า ความตระหนี่
คำว่า ไม่ติดอยู่ ... เหมือนหยาดน้ำไม่ติดอยู่บนใบบัว ฉะนั้น อธิบายว่า
ใบของบัวตรัสเรียกว่า ใบบัว น้ำตรัสเรียกว่า หยาดน้ำ ความคร่ำครวญและความ
ตระหนี่ ไม่ติด คือ ไม่ติดแน่น ไม่ติดพัน ได้แก่ เป็นสภาพไม่ติดแล้ว ไม่ติดแน่นแล้ว
ไม่ติดพันแล้ว ในบุคคลผู้เป็นพระอรหันตขีณาสพนั้น เหมือนหยาดน้ำ ไม่ติด คือ
ไม่ติดแน่น ไม่ติดพัน ได้แก่ เป็นของไม่ติดแล้ว เป็นของไม่ติดแน่นแล้ว เป็นของ
ไม่ติดพันแล้วบนใบบัว ฉะนั้น
อนึ่ง บุคคลผู้เป็นพระอรหันต์นั้น ไม่ติด คือ ไม่ติดแน่น ไม่ติดพัน ได้แก่ เป็น
ผู้ไม่ติดแล้ว ไม่ติดแน่นแล้ว ไม่ติดพันแล้ว ออกแล้ว สลัดออกแล้ว หลุดพ้นแล้ว
ไม่เกี่ยวข้องแล้วกับกิเลสเหล่านั้น มีใจเป็นอิสระอยู่ รวมความว่า ความคร่ำครวญ
และความตระหนี่ ไม่ติดอยู่ในมุนีนั้น เหมือนหยาดน้ำไม่ติดบนใบบัว ฉะนั้น ด้วยเหตุ
นั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๑๖๓ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๖. ชราสุตตนิทเทส
มุนีไม่อาศัยในสิ่งทั้งปวง ไม่ทำสัตว์สังขารไหนให้เป็นที่รัก
และไม่ทำสัตว์สังขารไหนให้ไม่เป็นที่รัก
ความคร่ำครวญและความตระหนี่ ไม่ติดอยู่ในมุนีนั้น
เหมือนหยาดน้ำไม่ติดอยู่บนใบบัว ฉะนั้น
[๔๗] (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า)
มุนีไม่ติดพันในรูปที่เห็น เสียงที่ได้ยินและอารมณ์ที่รับรู้
เหมือนหยาดน้ำไม่ติดบนใบบัว
เหมือนหยาดน้ำไม่ติดบนดอกบัว ฉะนั้น
คำว่า เหมือนหยาดน้ำไม่ติดบนใบบัว อธิบายว่า เม็ดน้ำ ตรัสเรียกว่า
หยาดน้ำ ใบของบัว ตรัสเรียกว่า ใบบัว เปรียบเหมือนหยาดน้ำ ไม่ติด คือ ไม่ติดแน่น
ไม่ติดพัน ได้แก่ เป็นของไม่ติดแล้ว ไม่ติดแน่นแล้ว ไม่ติดพันแล้ว บนใบบัว ฉะนั้น
รวมความว่า เหมือนหยาดน้ำไม่ติดบนใบบัว
คำว่า เหมือนหยาดน้ำไม่ติดบนดอกบัว ฉะนั้น อธิบายว่า ดอกของบัว
ตรัสเรียกว่า ดอกบัว น้ำตรัสเรียกว่า หยาดน้ำ เปรียบเหมือนหยาดน้ำไม่ติด คือ ไม่
ติดแน่น ไม่ติดพัน ได้แก่ เป็นของไม่ติดแล้ว ไม่ติดแน่นแล้ว ไม่ติดพันแล้วบนดอกบัว
ฉะนั้น รวมความว่า เหมือนหยาดน้ำไม่ติดบนดอกบัว ฉะนั้น
คำว่า เหมือน ... ฉะนั้น ในคำว่า มุนีไม่ติดพันในรูปที่เห็น เสียงที่ได้ยิน
และอารมณ์ที่รับรู้เหมือน... ฉะนั้น เป็นคำอุปไมยทำอุปมาให้สมบูรณ์
คำว่า มุนี อธิบายว่า ญาณ ท่านเรียกว่า โมนะ คือ ความรู้ทั่ว กิริยาที่รู้ชัด ...
ผู้ก้าวล่วงกิเลสเครื่องข้องและตัณหาดุจตาข่ายได้แล้ว ชื่อว่ามุนี๑
คำว่า ความติด ได้แก่ ความติด ๒ อย่าง คือ (๑) ความติดด้วยอำนาจ
ตัณหา (๒) ความติดด้วยอำนาจทิฏฐิ ... นี้ชื่อว่าความติดด้วยอำนาจตัณหา ... นี้ชื่อว่า
ความติดด้วยอำนาจทิฏฐิ๒

เชิงอรรถ :
๑ ดูรายละเอียดข้อ ๑๔/๖๘-๗๑
๒ เทียบกับความในข้อ ๑๒/๕๘-๕๙

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๑๖๔ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๖. ชราสุตตนิทเทส
มุนีละความติดด้วยอำนาจตัณหาได้แล้ว สลัดทิ้งความติดด้วยอำนาจทิฏฐิ
ได้แล้ว ไม่ติดในรูปที่เห็น ไม่ติดในเสียงที่ได้ยิน ไม่ติดในอารมณ์ที่รับรู้ ไม่ติดใน
ธรรมารมณ์ที่รู้แจ้งแล้ว คือ ไม่ติดแน่น ไม่ติดพัน ได้แก่ เป็นผู้ไม่ติดแล้ว ไม่ติด
แน่นแล้ว ไม่ติดพันแล้ว ออกแล้ว สลัดออกแล้ว หลุดพ้นแล้ว ไม่เกี่ยวข้องแล้ว มีใจ
เป็นอิสระ(จากกิเลส) อยู่ รวมความว่า มุนีไม่ติดพันในรูปที่เห็น เสียงที่ได้ยินและ
อารมณ์ที่รับรู้เหมือน ... ฉะนั้น ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า
มุนีไม่ติดพันในรูปที่เห็น เสียงที่ได้ยินและอารมณ์ที่รับรู้
เหมือนหยาดน้ำไม่ติดบนใบบัว
เหมือนหยาดน้ำไม่ติดบนดอกบัว ฉะนั้น
[๔๘] (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า)
พระอรหันต์ผู้มีปัญญาเครื่องกำจัด
ย่อมไม่สำคัญหมายรูปที่เห็น
เสียงที่ได้ยินและอารมณ์ที่รับรู้
พระอรหันต์นั้นไม่ต้องการความหมดจดด้วยมรรคอื่น
ย่อมไม่กำหนัด ย่อมไม่ต้องคลายกำหนัด
คำว่า ผู้มีปัญญาเครื่องกำจัด ในคำว่า พระอรหันต์ผู้มีปัญญาเครื่องกำจัด
ย่อมไม่สำคัญหมายรูปที่เห็น เสียงที่ได้ยินและอารมณ์ที่รับรู้ อธิบายว่า ปัญญา
ตรัสเรียกว่า เครื่องกำจัด คือ ความรู้ทั่ว กิริยาที่รู้ชัด ... ความไม่หลงงมงาย ความ
เลือกเฟ้นธรรม สัมมาทิฏฐิ๑
เพราะเหตุไร ปัญญาจึงตรัสเรียกว่า เครื่องกำจัด เพราะปัญญานั้นเป็นเครื่อง
กำจัด ชำระ ล้าง ซักฟอกกายทุจริต ... วจีทุจริต ... มโนทุจริต ... ราคะ ... โทสะ ... โมหะ ...
โกธะ ... อุปนาหะ ... มักขะ ... ปฬาสะ ... อิสสา ... มัจฉริยะ ... มายา ... สาเถยยะ ...
ถัมภะ ... สารัมภะ ... มานะ ... อติมานะ ... มทะ ... ปมาทะ ... กิเลสทุกชนิด ...
ทุจริตทุกทาง ... ความกระวนกระวายทุกอย่าง ... ความเร่าร้อนทุกสถาน ... ความ
เดือดร้อนทุกประการ ... เป็นเครื่องกำจัด ชำระ ล้าง และซักฟอก อกุสลาภิสังขาร
ทุกประเภท๒ เพราะเหตุนั้น ปัญญาจึงตรัสเรียกว่า เครื่องกำจัด

เชิงอรรถ :
๑ ดูรายละเอียดข้อ ๒๑/๙๒
๒ ดูคำแปลจากข้อ ๕/๑๗

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๑๖๕ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๖. ชราสุตตนิทเทส
อีกนัยหนึ่ง สัมมาทิฏฐิ เป็นเครื่องกำจัด ชำระ ล้างและซักฟอกมิจฉาทิฏฐิได้

สัมมาสังกัปปะ เป็นเครื่องกำจัด ... มิจฉาสังกัปปะได้
สัมมาวาจา เป็นเครื่องกำจัด ... มิจฉาวาจาได้
สัมมากัมมันตะ เป็นเครื่องกำจัด ... มิจฉากัมมันตะได้
สัมมาอาชีวะ เป็นเครื่องกำจัด ... มิจฉาอาชีวะได้
สัมมาวายามะ เป็นเครื่องกำจัด ... มิจฉาวายามะได้
สัมมาสติ เป็นเครื่องกำจัด ... มิจฉาสติได้
สัมมาสมาธิ เป็นเครื่องกำจัด ... มิจฉาสมาธิได้
สัมมาญาณ เป็นเครื่องกำจัด ... มิจฉาญาณได้


สัมมาวิมุตติ เป็นเครื่องกำจัด ชำระ ล้าง และซักฟอกมิจฉาวิมุตติได้

อีกนัยหนึ่ง อริยมรรคมีองค์ ๘ เป็นเครื่องกำจัด ชำระ ล้าง และซักฟอกกิเลส
ทุกชนิด ... ทุจริตทุกทาง ... ความกระวนกระวายทุกอย่าง ... ความเร่าร้อนทุกสถาน
... ความเดือดร้อนทุกประการ... อกุสลาภิสังขารทุกประเภท พระอรหันต์ประกอบ
ประกอบพร้อม ดำเนินไป ดำเนินไปพร้อม เป็นไป เป็นไปพร้อม เพียบพร้อมด้วย
ธรรมเป็นเครื่องกำจัดเหล่านี้ เพราะฉะนั้น พระอรหันต์จึงชื่อว่าผู้มีปัญญาเครื่อง
กำจัด พระอรหันต์นั้น เป็นผู้กำจัดความกำหนัดได้แล้ว กำจัดบาปได้แล้ว กำจัด
กิเลสได้แล้ว กำจัดความเร่าร้อนได้แล้ว รวมความว่า ผู้มีปัญญาเครื่องกำจัด
คำว่า พระอรหันต์ผู้มีปัญญาเครื่องกำจัด ย่อมไม่สำคัญหมายรูปที่เห็น เสียง
ที่ได้ยินและอารมณ์ที่รับรู้ อธิบายว่า พระอรหันต์ผู้มีปัญญาเครื่องกำจัด ย่อมไม่
สำคัญหมายรูปที่เห็น ไม่สำคัญหมายในรูปที่เห็น ไม่สำคัญหมายโดยรูปที่เห็น
คือไม่สำคัญหมายว่า “เราเห็นรูปแล้ว” ไม่สำคัญหมายเสียงที่ได้ยิน ไม่สำคัญหมาย
ในเสียงที่ได้ยิน ไม่สำคัญหมายโดยเสียงที่ได้ยิน คือ ไม่สำคัญหมายว่า “เราได้ยิน
เสียงแล้ว” ไม่สำคัญหมายอารมณ์ที่รับรู้ ไม่สำคัญหมายในอารมณ์ที่รับรู้ ไม่สำคัญ
หมายโดยอารมณ์ที่รับรู้ คือ ไม่สำคัญหมายว่า “เรารับรู้อารมณ์แล้ว” ไม่สำคัญ
หมายธรรมารมณ์ที่รู้แจ้ง ไม่สำคัญหมายในธรรมารมณ์ที่รู้แจ้ง ไม่สำคัญหมายโดย
ธรรมารมณ์ที่รู้แจ้ง คือ ไม่สำคัญหมายว่า “เรารู้แจ้งธรรมารมณ์แล้ว” สมจริงดังที่
พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๑๖๖ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๖. ชราสุตตนิทเทส
“ภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนสำคัญหมายกันว่า เรามีอยู่ ... เรานี้มีอยู่ ... เราจักมี ...
เราจักไม่มี ... เราจักเป็นผู้มีรูป ... เราจักเป็นผู้ไม่มีรูป ... เราจักเป็นผู้มีสัญญา ... เรา
จักเป็นผู้ไม่มีสัญญา ... เราจักเป็นผู้มีสัญญาก็มิใช่ ไม่มีสัญญาก็มิใช่ ... ภิกษุทั้งหลาย
ความสำคัญหมายเป็นโรค เป็นหัวฝี เป็นลูกศร เป็นอุปัทวะ ภิกษุทั้งหลาย
เพราะฉะนั้นแล พวกเธอพึงศึกษาในธรรมวินัยอย่างนี้ว่า พวกเราจักมีจิตไม่สำคัญ
หมายอยู่”๑ รวมความว่า พระอรหันต์ ผู้มีปัญญาเครื่องกำจัด ย่อมไม่สำคัญ
หมายรูปที่เห็น เสียงที่ได้ยินและอารมณ์ที่รับรู้
คำว่า พระอรหันต์นั้นไม่ต้องการความหมดจดด้วยมรรคอื่น อธิบายว่า
พระอรหันต์ผู้มีปัญญาเครื่องกำจัด ย่อมไม่ต้องการ คือ ย่อมไม่ยินดี ไม่ปรารถนา
ไม่มุ่งหมาย ไม่มุ่งหวังความหมดจด คือ ความสะอาด ความบริสุทธิ์ ความหลุดไป
ความพ้นไป ความหลุดพ้นไปด้วยมรรคอื่น คือ ด้วยมรรคที่ไม่หมดจด ปฏิปทาที่ผิด
ทางที่ไม่นำออกจากทุกข์ นอกจากสติปัฏฐาน สัมมัปปธาน อิทธิบาท อินทรีย์
พละ โพชฌงค์ และอริยมรรคมีองค์ ๘ รวมความว่า พระอรหันต์นั้นไม่ต้องการ
ความหมดจดด้วยมรรคอื่น
คำว่า พระอรหันต์นั้นย่อมไม่กำหนัด ย่อมไม่ต้องคลายกำหนัด อธิบายว่า
พาลปุถุชนทั้งปวงย่อมกำหนัด พระเสขะ๒ ๗ จำพวกรวมทั้งกัลยาณปุถุชน๓ ย่อม
คลายกำหนัด พระอรหันต์ย่อมไม่กำหนัด ย่อมไม่คลายกำหนัด พระอรหันต์นั้น
คลายกำหนัดแล้ว เพราะเป็นผู้ปราศจากราคะ เหตุสิ้นราคะ เพราะเป็นผู้ปราศจาก
โทสะ เหตุสิ้นโทสะ เพราะเป็นผู้ปราศจากโมหะ เหตุสิ้นโมหะ ท่านอยู่ใน(อริยวาส-
ธรรม)แล้ว ประพฤติจรณธรรมแล้ว ... พระอรหันต์ไม่มีการเวียนเกิด เวียนแก่ เวียน
ตาย และภพใหม่ก็ไม่มีอีก รวมความว่า พระอรหันต์นั้นย่อมไม่กำหนัด ย่อมไม่ต้อง
คลายกำหนัด ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า

เชิงอรรถ :
๑ สํ.สฬา. ๑๘/๒๔๘/๑๘๖
๒ พระเสขะ หมายถึงท่านผู้ยังต้องศึกษาหรือพระอริยบุคคล ๗ จำพวกเบื้องต้นในจำนวนพระอริยบุคคล ๘
คือ (๑) พระโสดาปัตติมรรค (๒) พระโสดาปัตติผล (๓) พระสกทาคามิมรรค (๔) พระสกทาคามิผล
(๕) พระอนาคามิมรรค (๖) พระอนาคามิผล (๗) พระอรหัตตมรรค (๘) พระอรหัตตผล (พระอเสขะ)
(ที.ปา. ๑๑/๓๓๓/๒๒๔)
๓ กัลยาณปุถุชน คือปุถุชนผู้มีคุณธรรมสูง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๑๖๗ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๗. ติสสเมตเตยยสุตตนิทเทส
พระอรหันต์ผู้มีปัญญาเครื่องกำจัด
ย่อมไม่สำคัญหมายรูปที่เห็น
เสียงที่ได้ยินและอารมณ์ที่รับรู้
พระอรหันต์นั้นไม่ต้องการความหมดจดด้วยมรรคอื่น
ย่อมไม่กำหนัด ย่อมไม่ต้องคลายกำหนัด
ชราสุตตนิทเทสที่ ๖ จบ

๗. ติสสเมตเตยยสุตตนิทเทส๑
อธิบายติสสเมตเตยยสูตร
ว่าด้วยปัญหาของติสสเมตเตยยะ
พระสารีบุตรเถระจะกล่าวอธิบายติสสเมตเตยยสูตร ดังต่อไปนี้
[๔๙] (ท่านพระติสสเมตเตยยะกราบทูลดังนี้)
ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ ขอพระองค์โปรดตรัสบอก
ความคับแค้นของบุคคลผู้ประกอบเมถุนธรรมเนือง ๆ
พวกข้าพระองค์ฟังคำสอนของพระองค์แล้วจักศึกษาวิเวก

ว่าด้วยเมถุนธรรม
คำว่า ของบุคคลผู้ประกอบเมถุนธรรมเนือง ๆ อธิบายว่า ธรรมเนียมของ
อสัตบุรุษ คือ ธรรมเนียมของชาวบ้าน ธรรมเนียมชั้นต่ำ ธรรมเนียมที่เลวทราม
ธรรมเนียมที่มีน้ำเป็นที่สุด ธรรมเนียมที่ปฏิบัติกันในที่ลับ ธรรมเนียมที่ต้องปฏิบัติ
กันเป็นคู่ ๆ ชื่อว่าเมถุนธรรม
เพราะเหตุไร จึงตรัสเรียกว่า เมถุนธรรม เพราะธรรมนั้นเป็นธรรมเนียมของ
คนคู่ ผู้กำหนัด กำหนัดนัก เปียกชุ่ม กลัดกลุ้มด้วยราคะ ถูกราคะครอบงำจิตเสมอ
กันทั้ง ๒ คน เพราะเหตุนั้น จึงตรัสเรียกว่า เมถุนธรรม

เชิงอรรถ :
๑ ขุ.สุ. ๒๕/๘๒๑-๘๓๐/๔๙๕-๔๙๖

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๑๖๘ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๗. ติสสเมตเตยยสุตตนิทเทส
คน ๒ คนก่อการทะเลาะกัน เรียกว่าคู่ทะเลาะ
คน ๒ คนก่อการบาดหมางกัน เรียกว่าคู่บาดหมาง
คน ๒ คนก่อการอื้อฉาวกัน เรียกว่าคู่อื้อฉาว
คน ๒ คนก่อการวิวาทกัน เรียกว่าคู่วิวาท
คน ๒ คนก่ออธิกรณ์กัน เรียกว่าคู่อธิกรณ์
คน ๒ คนสนทนากัน เรียกว่าคู่สนทนา
คน ๒ คนเจรจากัน เรียกว่าคู่เจรจา ฉันใด
ธรรมนั้นเป็นธรรมเนียมของคนคู่ ผู้กำหนัด กำหนัดนัก เปียกชุ่ม กลัดกลุ้ม
ด้วยราคะ ถูกราคะครอบงำจิตเสมอกันทั้ง ๒ คน ฉันนั้นเหมือนกัน เพราะเหตุนั้น
จึงตรัสเรียกว่า เมถุนธรรม
คำว่า ของบุคคลผู้ประกอบเมถุนธรรมเนือง ๆ ได้แก่ ของบุคคลผู้ประกอบ
ประกอบทั่ว ประกอบทั่วถึง ประกอบพร้อมในเมถุนธรรม คือ ผู้ประพฤติเรื่องนั้น
มากไปด้วยเรื่องนั้น หนักในเรื่องนั้น เอนไปในเรื่องนั้น โอนไปในเรื่องนั้น โน้มไป
ในเรื่องนั้น น้อมใจไปในเรื่องนั้น มุ่งเรื่องนั้นเป็นใหญ่ รวมความว่า ของบุคคลผู้
ประกอบเมถุนธรรมเนือง ๆ
คำว่า ดังนี้ ในคำว่า ท่านพระติสสเมตเตยยะกราบทูลดังนี้ เป็นบทสนธิ
เป็นคำเชื่อมบท เป็นคำที่ทำบทให้บริบูรณ์ เป็นความสัมพันธ์แห่งอักษร เป็นความ
สละสลวยแห่งพยัญชนะ คำว่า ดังนี้ นี้ เป็นคำเชื่อมบทหน้ากับบทหลังเข้าด้วยกัน
คำว่า ท่าน เป็นคำกล่าวด้วยความรัก เป็นคำกล่าวโดยความเคารพ เป็นคำ
กล่าวที่มีความเคารพ คำว่า ท่าน นี้ เป็นคำกล่าวแสดงความยำเกรง
คำว่า ติสสะ เป็นชื่อของพระเถระนั้น คือ เป็นการกล่าวถึง การขนานนาม
การบัญญัติ ชื่อที่เรียกกัน ชื่อ การตั้งชื่อ ชื่อที่ตั้งให้ ภาษา พยัญชนะ ชื่อเรียกเฉพาะ
คำว่า เมตเตยยะ เป็นโคตรของพระเถระนั้น คือ เป็นการกล่าวถึง การ
ขนานนาม การบัญญัติ ชื่อที่เรียกกัน รวมความว่า ท่านพระติสสเมตเตยยะ
กราบทูลดังนี้
คำว่า ความคับแค้น ในคำว่า ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ ขอพระองค์โปรด
ตรัสบอกความคับแค้น อธิบายว่า ขอพระองค์โปรดตรัส คือ โปรดบอก แสดง
บัญญัติ กำหนด เปิดเผย จำแนก ทำให้ง่าย ประกาศความคับแค้น คือ ความ
เคียดแค้น ความบีบคั้น ความอึดอัด ความเบียดเบียน ความขัดข้อง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๑๖๙ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๗. ติสสเมตเตยยสุตตนิทเทส
คำว่า ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ เป็นคำกล่าวด้วยความรัก เป็นคำกล่าว
โดยความเคารพ เป็นคำกล่าวที่มีความเคารพ คำว่า ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ นี้
เป็นคำกล่าวแสดงความยำเกรง รวมความว่า ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ ขอพระองค์
โปรดตรัสบอกความคับแค้น
คำว่า ฟังคำสั่งสอนของพระองค์แล้ว อธิบายว่า ฟังแล้ว คือ สดับแล้ว
เรียนแล้ว ทรงจำแล้ว กำหนดแล้วซึ่งพระดำรัส คำที่เป็นแนวทาง เทศนา คำสั่งสอน
คำพร่ำสอนของพระองค์ รวมความว่า ฟังคำสั่งสอนของพระองค์แล้ว

ว่าด้วยวิเวก ๓
คำว่า พวกข้าพระองค์ ... จักศึกษาวิเวก อธิบายว่า
คำว่า วิเวก ได้แก่ วิเวก ๓ อย่าง คือ (๑) กายวิเวก (ความสงัดกาย)
(๒) จิตตวิเวก (ความสงัดใจ) (๓) อุปธิวิเวก (ความสงัดอุปธิ)
กายวิเวก เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมใช้สอยเสนาสนะที่สงัด คือ ป่า โคนต้นไม้ ภูเขา
ซอกเขา ช่องเขา สุสาน ป่าดงดิบ กลางแจ้ง ลอมฟาง และมีกายสงัดอยู่ คือ เดินรูป
เดียว ยืนรูปเดียว นั่งรูปเดียว นอนรูปเดียว เข้าหมู่บ้านบิณฑบาตรูปเดียว กลับรูป
เดียว นั่งในที่ลับรูปเดียว อธิษฐานจงกรมรูปเดียว เที่ยวไป อยู่ เคลื่อนไหว เป็นไป
เลี้ยงชีวิต ดำเนินไป ยังชีวิตให้ดำเนินไปลำพังรูปเดียว นี้ชื่อว่ากายวิเวก
จิตตวิเวก เป็นอย่างไร
คือ ผู้บรรลุปฐมฌานย่อมมีจิตสงัดจากนิวรณ์ ผู้บรรลุทุติยฌานย่อมมีจิตสงัด
จากวิตกและวิจาร ผู้บรรลุตติยฌานย่อมมีจิตสงัดจากปีติ ผู้บรรลุจตุตถฌานย่อมมี
จิตสงัดจากสุขและทุกข์ ผู้บรรลุอากาสานัญจายตนสมาบัติ ย่อมมีจิตสงัดจาก
รูปสัญญา ปฏิฆสัญญา นานัตตสัญญา ผู้บรรลุวิญญาณัญจายตนสมาบัติ ย่อมมีจิต
สงัดจากอากาสนัญจายตนสัญญา ผู้บรรลุอากิญจัญญายตนสมาบัติ ย่อมมีจิตสงัด
จากวิญญาณัญจายตนสัญญา ผู้บรรลุเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ ย่อมมีจิต
สงัดจากอากิญจัญญายตนสัญญา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๑๗๐ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๗. ติสสเมตเตยยสุตตนิทเทส
ผู้เป็นพระโสดาบัน ย่อมมีจิตสงัดจากสักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส
ทิฏฐานุสัย วิจิกิจฉานุสัย และเหล่ากิเลสที่อยู่ในพวกเดียวกับสักกายทิฏฐิเป็นต้นนั้น
ผู้เป็นพระสกทาคามี ย่อมมีจิตสงัดจากกามราคสังโยชน์ ปฏิฆสังโยชน์อย่าง
หยาบ กามราคานุสัย ปฏิฆานุสัย อย่างหยาบ และเหล่ากิเลสที่อยู่ในพวกเดียวกับ
กามราคสังโยชน์เป็นต้นนั้น
ผู้เป็นพระอนาคามี ย่อมมีจิตสงัดจากกามราคสังโยชน์ ปฏิฆสังโยชน์อย่าง
ละเอียด กามราคานุสัย ปฏิฆานุสัย อย่างละเอียด และเหล่ากิเลสที่อยู่ในพวก
เดียวกับกามราคสังโยชน์เป็นต้นนั้น
ผู้เป็นพระอรหันต์ ย่อมมีจิตสงัดจากรูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะ
อวิชชา มานานุสัย ภวราคานุสัย อวิชชานุสัย เหล่ากิเลสที่อยู่ในพวกเดียวกับรูป
ราคะเป็นต้นนั้น และสังขารนิมิตทั้งปวงในภายนอก นี้ชื่อว่าจิตตวิเวก
อุปธิวิเวก เป็นอย่างไร
คือ กิเลสก็ดี ขันธ์ก็ดี อภิสังขารก็ดี ตรัสเรียกว่า อุปธิ อมตนิพพาน ตรัส
เรียกว่า อุปธิวิเวก คือ ธรรมเป็นที่ระงับสังขารทั้งปวง เป็นที่สลัดทิ้งอุปธิทั้งหมด
เป็นที่สิ้นตัณหา เป็นที่คลายกำหนัด เป็นที่ดับกิเลส เป็นที่เย็นสนิท นี้ชื่อว่า
อุปธิวิเวก
กายวิเวกย่อมมีแก่บุคคลผู้มีกายหลีกออกแล้ว ยินดีในเนกขัมมะ จิตตวิเวก
ย่อมมีแก่บุคคลผู้มีจิตบริสุทธิ์ ถึงความเป็นผู้ผ่องแผ้วยิ่ง และอุปธิเวกย่อมมีแก่
บุคคลผู้ปราศจากอุปธิ บรรลุนิพพานอันปราศจากปัจจัยปรุงแต่งแล้ว
คำว่า พวกข้าพระองค์ ... จักศึกษาวิเวก อธิบายว่า พระเถระนั้นศึกษาสิกขา
แล้วโดยปกติ อีกนัยหนึ่ง มุ่งหมายพระธรรมเทศนา ทูลขอพระธรรมเทศนา จึงกราบ
ทูลอย่างนี้ว่า พวกข้าพระองค์ ... จักศึกษาวิเวก ด้วยเหตุนั้น พระติสสเมตเตยยเถระ
จึงกราบทูลว่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๑๗๑ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๗. ติสสเมตเตยยสุตตนิทเทส
ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ ขอพระองค์โปรดตรัสบอก
ความคับแค้นของบุคคลผู้ประกอบเมถุนธรรมเนือง ๆ
พวกข้าพระองค์ฟังคำสอนของพระองค์แล้วจักศึกษาวิเวก
[๕๐] (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า เมตเตยยะ)
คำสั่งสอนของบุคคลผู้ประกอบเมถุนธรรมเนือง ๆ
ย่อมเลอะเลือน และบุคคลนั้นย่อมปฏิบัติผิด
การปฏิบัตินี้ เป็นธรรมไม่ประเสริฐในบุคคลนั้น
คำว่า ของบุคคลผู้ประกอบเมถุนธรรมเนือง ๆ อธิบายว่า ธรรมเนียมของ
อสัตบุรุษ คือ ธรรมเนียมของชาวบ้าน ธรรมเนียมชั้นต่ำ ธรรมเนียมที่เลวทราม
ธรรมเนียมที่มีน้ำเป็นที่สุด ธรรมเนียมที่ปฏิบัติกันในที่ลับ ธรรมเนียมที่ต้องปฏิบัติ
กันเป็นคู่ ๆ ชื่อว่าเมถุนธรรม
เพราะเหตุไร จึงตรัสเรียกว่า เมถุนธรรม เพราะธรรมนั้นเป็นธรรมเนียมของ
คนคู่ ผู้กำหนัด กำหนัดนัก เปียกชุ่ม กลัดกลุ้มด้วยราคะ ถูกราคะครอบงำจิตเสมอ
กันทั้ง ๒ คน เพราะเหตุนั้น จึงตรัสเรียกว่า เมถุนธรรม
คน ๒ คนก่อการทะเลาะกัน เรียกว่าคู่ทะเลาะ
คน ๒ คนก่อการบาดหมางกัน เรียกว่าคู่บาดหมาง
คน ๒ คนก่อการอื้อฉาวกัน เรียกว่าคู่อื้อฉาว
คน ๒ คนก่อการวิวาทกัน เรียกว่าคู่วิวาท
คน ๒ คนก่ออธิกรณ์กัน เรียกว่าคู่อธิกรณ์
คน ๒ คนสนทนากัน เรียกว่าคู่สนทนา
คน ๒ คนเจรจากัน เรียกว่าคู่เจรจา ฉันใด
ธรรมนั้นเป็นธรรมเนียมของคนคู่ ผู้กำหนัด กำหนัดนัก เปียกชุ่ม กลัดกลุ้ม
ด้วยราคะ ถูกราคะครอบงำจิตเสมอกันทั้ง ๒ คน ฉันนั้นเหมือนกัน เพราะเหตุนั้น
จึงตรัสเรียกว่า เมถุนธรรม

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๑๗๒ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๗. ติสสเมตเตยยสุตตนิทเทส
คำว่า ของบุคคลผู้ประกอบเมถุนธรรมเนือง ๆ ได้แก่ ของบุคคลผู้ประกอบ
ประกอบทั่ว ประกอบทั่วถึง ประกอบพร้อมในเมถุนธรรม คือ ผู้ประพฤติเรื่องนั้น
มากไปด้วยเรื่องนั้น หนักในเรื่องนั้น เอนไปในเรื่องนั้น โอนไปในเรื่องนั้น โน้มไปใน
เรื่องนั้น น้อมใจไปในเรื่องนั้น มุ่งเรื่องนั้นเป็นใหญ่ รวมความว่า ของบุคคลผู้
ประกอบเมถุนธรรมเนือง ๆ

อธิบายคำว่า ภควา
คำว่า เมตเตยยะ เป็นคำที่พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกพระเถระนั้นโดยโคตร
คำว่า พระผู้มีพระภาค เป็นคำกล่าวโดยความเคารพ
อีกนัยหนึ่ง ชื่อว่าพระผู้มีพระภาค เพราะทรงทำลายราคะได้แล้ว
ชื่อว่าพระผู้มีพระภาค เพราะทรงทำลายโทสะได้แล้ว
ชื่อว่าพระผู้มีพระภาค เพราะทรงทำลายโมหะได้แล้ว
ชื่อว่าพระผู้มีพระภาค เพราะทรงทำลายมานะได้แล้ว
ชื่อว่าพระผู้มีพระภาค เพราะทรงทำลายทิฏฐิได้แล้ว
ชื่อว่าพระผู้มีพระภาค เพราะทรงทำลายเสี้ยนหนามได้แล้ว
ชื่อว่าพระผู้มีพระภาค เพราะทรงทำลายกิเลสได้แล้ว
ชื่อว่าพระผู้มีพระภาค เพราะทรงจำแนก แยกแยะ แจกแจงธรรมรัตนะ
ชื่อว่าพระผู้มีพระภาค เพราะทรงทำที่สุดแห่งภพได้
ชื่อว่าพระผู้มีพระภาค เพราะทรงอบรมพระวรกายแล้ว
ชื่อว่าพระผู้มีพระภาค เพราะทรงอบรมศีล อบรมจิต อบรมปัญญาแล้ว
อีกนัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคทรงใช้สอยเสนาสนะที่เป็นป่าละเมาะและป่าทึบ
อันสงัด มีเสียงน้อย มีเสียงอึกทึกน้อย ปราศจากการสัญจรไปมาของผู้คน ควรเป็น
สถานที่ทำการลับของมนุษย์ สมควรเป็นที่หลีกเร้น จึงชื่อว่าพระผู้มีพระภาค


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๑๗๓ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๗. ติสสเมตเตยยสุตตนิทเทส
อีกนัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคทรงมีส่วนแห่งจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และ
คิลานปัจจัยเภสัชบริขาร จึงชื่อว่าพระผู้มีพระภาค
อีกนัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคทรงเป็นผู้มีส่วนแห่งอรรถรส๑ ธรรมรส๒ วิมุตติรส๓
อธิสีล อธิจิต อธิปัญญา จึงชื่อว่าพระผู้มีพระภาค
อีกนัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคทรงเป็นผู้มีส่วนแห่งฌาน ๔ อัปปมัญญา ๔
อรูปสมาบัติ ๔ จึงชื่อว่าพระผู้มีพระภาค
อีกนัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคทรงเป็นผู้มีส่วนแห่งวิโมกข์ ๘ อภิภายตนะ๔ ๘
อนุปุพพวิหารสมาบัติ ๙ จึงชื่อว่าพระผู้มีพระภาค
อีกนัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคทรงเป็นผู้มีส่วนแห่งสัญญาภาวนา ๑๐
กสิณสมาบัติ๕ ๑๐ อานาปานสติสมาธิ๖ อสุภสมาบัติ๗ จึงชื่อว่าพระผู้มีพระภาค
อีกนัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคทรงเป็นผู้มีส่วนแห่งสติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔
อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ อริยมรรคมีองค์ ๘ จึงชื่อว่า
พระผู้มีพระภาค

เชิงอรรถ :
๑ อรรถรส หมายถึงความถึงพร้อมแห่งผลของเหตุ (ขุ.ม.อ. ๕๐/๒๖๖)
๒ ธรรมรส หมายถึงความถึงพร้อมแห่งเหตุ (ขุ.ม.อ. ๕๐/๒๖๖)
๓ วิมุตติรส หมายถึงความถึงพร้อมแห่งผล (ขุ.ม.อ. ๕๐/๒๖๖)
๔ อภิภายตนะ คือฌานที่ครอบงำนิวรณธรรมและอารมณ์ที่เล็กหรือใหญ่ได้ (ม.ม. ๑๓/๒๔๙/๒๒๔)
๕ กสิณสมาบัติ หมายถึงภาวะสงบประณีตซึ่งพึงเข้าถึงด้วยการกำหนดวัตถุสำหรับเพ่งเพื่อจูงจิตให้เป็นสมาธิ
ได้แก่ ฌาน ๑๐ มีปฐวีกสิณฌานเป็นต้น (ขุ.ม.อ. ๕๐/๒๖๖)
๖ อานาปานสติสมาธิ ได้แก่สมาธิเกี่ยวเนื่องด้วยการตั้งสติกำหนดลมหายใจเข้าออก (ขุ.ม.อ. ๕๐/๒๖๖)
๗ อสุภสมาบัติ หมายถึงภาวะสงบประณีตซึ่งพึงเข้าถึงด้วยการพิจารณาร่างกายของตนและผู้อื่นให้
เห็นสภาพที่ไม่งาม หมายถึงซากศพในสภาพต่าง ๆ ๑๐ อย่าง คือ (๑) ซากศพที่เน่าพอง (๒) ซากศพ
ที่มีสีเขียว (๓) ซากศพที่มีน้ำเหลืองไหล (๔) ซากศพที่ขาดกลางตัว (๕) ซากศพที่สัตว์กัดกินแล้ว (๖) ซาก
ศพที่มีมือเท้าศีรษะขาด (๗) ซากศพที่ถูกสับ ฟัน เป็นท่อน ๆ (๘) ซากศพที่มีโลหิตไหลอยู่ (๙) ซากศพ
ที่มีตัวหนอนคลาคล่ำไปอยู่ (๑๐) ซากศพที่ยังเหลืออยู่แต่ร่างกระดูก (วิสุทฺธิ. ๑/๑๐๒/๑๙๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๑๗๔ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๗. ติสสเมตเตยยสุตตนิทเทส
อีกนัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคทรงเป็นผู้มีส่วนแห่งตถาคตพลญาณ๑ ๑๐
เวสารัชชญาณ๒ ๔ ปฏิสัมภิทา๓ ๔ อภิญญา๔ ๖ พุทธธรรม๕ ๖ จึงชื่อว่า
พระผู้มีพระภาค
พระนามว่า พระผู้มีพระภาค นี้ มิใช่พระชนนีทรงตั้ง มิใช่พระชนกทรงตั้ง
มิใช่พระภาดาทรงตั้ง มิใช่พระภคินีทรงตั้ง มิใช่มิตรและอำมาตย์ตั้ง มิใช่พระญาติและ
ผู้ร่วมสายโลหิตทรงตั้ง มิใช่สมณพราหมณ์ตั้ง มิใช่เทวดาตั้ง
คำว่า พระผู้มีพระภาค นี้ เป็นวิโมกขันติกนาม(พระนามในลำดับการบรรลุ
อรหัตตผล)เป็นสัจฉิกาบัญญัติ(บัญญัติที่เกิดเพราะทรงรู้แจ้งอรหัตตผล) ของพระผู้-
มีพระภาคพุทธเจ้าทั้งหลาย พร้อมกับการบรรลุพระสัพพัญญุตญาณ ที่โคนต้นโพธิ์
รวมความว่า พระผู้มีพระภาคตรัสว่า เมตเตยยะ

เชิงอรรถ :
๑ ตถาคตพลญาณ หมายถึงพระญาณอันเป็นกำลังของพระตถาคต ๑๐ ประการ ที่ทำให้พระองค์บันลือ
สีหนาท ประกาศพระศาสนาได้มั่นคง คือ (๑) ฐานาฐานญาณ ปรีชาหยั่งรู้กฎธรรมชาติเกี่ยวกับขอบเขต
และขีดขั้นของสิ่งทั้งหลาย (๒) กัมมวิปากญาณ ปรีชาหยั่งรู้ผลของกรรม (๓) สัพพัตถคามินีปฏิปทาญาณ
ปรีชาหยั่งรู้ข้อปฏิบัติที่จะนำไปสู่คติทั้งปวง หรือสู่ประโยชน์ทั้งปวง (๔) นานาธาตุญาณ ปรีชาหยั่งรู้สภาวะ
ของโลกอันประกอบด้วยธาตุต่าง ๆ เป็นอเนก (๕) นานาธิมุตติกญาณ ปรีชาหยั่งรู้อัธยาศัยเป็นต้น ของ
สัตว์ทั้งหลาย (๖) อินทริยปโรปริยัตตญาณ ปรีชาหยั่งรู้ความยิ่งหย่อนแห่งอินทรีย์ของสัตว์ทั้งหลาย (๗)
ฌานาทิสังกิเลสาทิญาณ ปรีชาหยั่งรู้ความเศร้าหมอง ความผ่องแผ้ว เป็นต้น (๘) ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ
ปรีชาหยั่งรู้ภพที่เคยอยู่ในหนหลังได้ (๙) จุตูปปาตญาณ ปรีชาหยั่งรู้จุติและอุบัติของสัตว์ทั้งหลาย (๑๐)
อาสวักขยญาณ ปรีชาหยั่งรู้ความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย (องฺ.ทสก. ๒๔/๒๑/๒๖-๒๙)
๒ เวสารัชชญาณ ๔ คือพระญาณอันเป็นเหตุให้ทรงแกล้วกล้า ไม่ครั่นคร้าม
๑. สัมมาสัมพุทธปฏิญญา ๒. ขีณาสวปฏิญญา
๓. อันตรายิกธัมมวาทะ ๔. นิยยานิกธัมมเทสนา (ม.มู. ๑๒/๑๕๐/๑๑๐-๑๑๑)
๓ ปฏิสัมภิทา ๔ หมายถึงปัญญาแตกฉาน ๔ อย่างคือ
(๑) อัตถปฏิสัมภิทา ปัญญาแตกฉานในอรรถ ปรีชาแจ้งในความหมาย
(๒) ธัมมปฏิสัมปทา ปัญญาแตกฉานในธรรม ปรีชาแจ้งในหลัก
(๓) นิรุตติปฏิสัมภิทา ปัญญาแตกฉานในนิรุตติ ปรีชาแจ้งในภาษา ศัพท์ ถ้อยคำบัญญัติ
(๔) ปฏิภาณปฏิสัมภิทา ปัญญาแตกฉานในปฏิภาณ ปรีชาแจ้งในความคิดทันการ มีไหวพริบ
(องฺ.จตุกฺก. ๒๑/๑๗๒/๑๘๓-๑๘๔)
๔ อภิญญา ๖ ดูเชิงอรรถข้อ ๓๘/๑๔๑
๕ พุทธธรรม ๖ หมายถึงพระปัญญาจักขุของพระพุทธเจ้า ที่ทรงทราบกายกรรม วจีกรรม มโนกรรมทั้งหมด
เป็นต้น (ขุ.ม.อ. ๕๐/๒๖๖) และดูรายละเอียดข้อ ๑๙๑/๕๔๕

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๑๗๕ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๗. ติสสเมตเตยยสุตตนิทเทส
ว่าด้วยคำสอน ๒ ส่วน
คำว่า คำสั่งสอน ... ย่อมเลอะเลือน ได้แก่ คำสั่งสอนเลอะเลือนโดยส่วน
ทั้ง ๒ คือ (๑) คำสั่งสอนส่วนปริยัติเลอะเลือน (๒) คำสั่งสอนส่วนปฏิบัติเลอะเลือน
คำสั่งสอนส่วนปริยัติ เป็นอย่างไร
คือ คำสั่งสอนที่เล่าเรียนของเขา คือ สุตตะ เคยยะ เวยยากรณะ คาถา
อุทาน อิติวุตตกะ ชาตกะ อัพภูตธรรม เวทัลละ นี้ชื่อว่าคำสั่งสอนส่วนปริยัติ
คำสั่งสอนนั้น ย่อมเลอะเลือน คือ ย่อมฟั่นเฟือน หลงลืม เลือนหาย ห่างหาย
รวมความว่า คำสั่งสอน ... ย่อมเลอะเลือน อย่างนี้บ้าง
คำสั่งสอนส่วนปฏิบัติ เป็นอย่างไร
คือ การปฏิบัติชอบ การปฏิบัติเหมาะสม การปฏิบัติที่ไม่เป็นข้าศึก การปฏิบัติ
ที่เอื้อประโยชน์ การปฏิบัติธรรมถูกต้องตามหลักธรรม การรักษาศีลให้บริบูรณ์
ความเป็นผู้สำรวมอินทรีย์ทั้ง ๖ (ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ) ความเป็นผู้รู้จักประมาณ
ในการบริโภคอาหาร ความเป็นผู้มีความเพียรเครื่องตื่นอยู่เสมอ สติสัมปชัญญะ
สติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗
อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้ชื่อว่าคำสั่งสอนส่วนปฏิบัติ คำสั่งสอนนั้น ย่อมเลอะเลือน คือ
ย่อมฟั่นเฟือน หลงลืม เลือนหาย ห่างหาย รวมความว่า คำสั่งสอน ... ย่อม
เลอะเลือน อย่างนี้บ้าง
คำว่า บุคคลนั้นย่อมปฏิบัติผิด อธิบายว่า บุคคลนั้นฆ่าสัตว์บ้าง ลักทรัพย์
บ้าง ตัดช่องย่องเบาบ้าง ขโมยยกเค้าบ้าง ปล้นบ้านบ้าง ดักจี้ในทางเปลี่ยวบ้าง
ละเมิดภรรยาของผู้อื่นบ้าง พูดเท็จบ้าง รวมความว่า บุคคลนั้นย่อมปฏิบัติผิด
คำว่า การปฏิบัตินี้ เป็นธรรมไม่ประเสริฐในบุคคลนั้น อธิบายว่า การ
ปฏิบัติผิด เป็นธรรมไม่ประเสริฐ เป็นธรรมของคนโง่ เป็นธรรมของคนหลง เป็น
ธรรมของคนไม่รู้ เป็นธรรมของคนมีวาทะหลบเลี่ยงไม่แน่นอน ในบุคคลนั้น รวม
ความว่า การปฏิบัตินี้เป็นธรรมไม่ประเสริฐในบุคคลนั้น ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาค
จึงตรัสว่า เมตเตยยะ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๑๗๖ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๗. ติสสเมตเตยยสุตตนิทเทส
คำสั่งสอนของบุคคลผู้ประกอบเมถุนธรรมเนือง ๆ
ย่อมเลอะเลือน และบุคคลนั้นย่อมปฏิบัติผิด
การปฏิบัตินี้ เป็นธรรมไม่ประเสริฐในบุคคลนั้น
[๕๑] (พระผู้มีพระภาคตรัสต่อไปว่า)
ผู้ใดในเบื้องต้นเที่ยวไปผู้เดียวแล้ว
(ต่อมา)เข้าไปเสพเมถุนธรรม ผู้รู้ทั้งหลายเรียกผู้นั้นว่า
เป็นปุถุชนเลวในโลก เหมือนยานที่แล่นไป ฉะนั้น

ว่าด้วยผู้บวชแล้วสึก
คำว่า ในเบื้องต้นเที่ยวไปผู้เดียว อธิบายว่า ในเบื้องต้นเที่ยวไปผู้เดียวด้วย
เหตุ ๒ อย่าง คือ (๑) ด้วยการบวช (๒) ด้วยการละความคลุกคลีด้วยหมู่คณะ
ในเบื้องต้นเที่ยวไปผู้เดียวด้วยการบวช เป็นอย่างไร
คือ ผู้นั้นตัดความกังวลเรื่องการครองเรือน ตัดความกังวลเรื่องบุตรภรรยา
ตัดความกังวลเรื่องญาติ ตัดความกังวลเรื่องมิตรและอำมาตย์ ตัดความกังวลเรื่อง
การสะสมทั้งหมด โกนผมและหนวดแล้ว นุ่งห่มผ้ากาสาวะ ออกจากเรือนบวชเป็น
บรรพชิต เข้าถึงความไม่กังวลแล้ว เที่ยวไปผู้เดียว คือ อยู่ เคลื่อนไหว เป็นไป เลี้ยงชีวิต
ดำเนินไป ยังชีวิตให้ดำเนินไปผู้เดียว ชื่อว่าในเบื้องต้นเที่ยวไปผู้เดียวด้วยการบวช
เป็นอย่างนี้
ในเบื้องต้นเที่ยวไปผู้เดียวด้วยการละความคลุกคลีด้วยหมู่คณะ เป็นอย่างไร
คือ เธอเมื่อเป็นนักบวชแล้วอย่างนี้ผู้เดียว ก็ใช้สอยเสนาสนะที่เป็นป่าละเมาะ
และป่าทึบ อันสงัด มีเสียงน้อย มีเสียงอึกทึกน้อย ปราศจากการสัญจรไปมาของผู้คน
ควรเป็นสถานที่ทำการลับของมนุษย์ สมควรเป็นที่หลีกเร้น เธอเดินรูปเดียว ยืนรูป
เดียว นั่งรูปเดียว นอนรูปเดียว เข้าหมู่บ้านเพื่อบิณฑบาตรูปเดียว กลับมารูปเดียว
นั่งในที่ลับรูปเดียว อธิษฐานจงกรมรูปเดียว เที่ยวไปผู้เดียว คือ อยู่ เคลื่อนไหว เป็นไป
เลี้ยงชีวิต ดำเนินไป ยังชีวิตให้ดำเนินไปผู้เดียว ชื่อว่าในเบื้องต้นเที่ยวไปผู้เดียวด้วย
การละความคลุกคลีด้วยหมู่คณะ เป็นอย่างนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๑๗๗ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๗. ติสสเมตเตยยสุตตนิทเทส
คำว่า ผู้ใด ... เข้าไปเสพเมถุนธรรม อธิบายว่า ธรรมเนียมของอสัตบุรุษ ...
ชื่อว่าเมถุนธรรม เพราะเหตุนั้น จึงตรัสเรียกว่า เมถุนธรรม๑
คำว่า ผู้ใด ... เข้าไปเสพเมถุนธรรม อธิบายว่า ต่อมา ผู้ใดบอกลา
พระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ สิกขา กลับมาเป็นคฤหัสถ์ แล้วเสพ เสพเป็นนิจ
คือ ซ่องเสพ เสพเฉพาะ ซึ่งเมถุนธรรม รวมความว่า ผู้ใด ... เข้าไปเสพเมถุนธรรม
คำว่า ยาน ในคำว่า ผู้นั้น ... ในโลก เหมือนยานที่แล่นไป ฉะนั้น อธิบาย
ว่า ยานคือช้าง ยานคือม้า ยานคือโค ยานคือแพะ ยานคือแกะ ยานคืออูฐ ยาน
คือลาที่แล่นไป คือ ยังไม่ได้ฝึกหัด ยังไม่ได้ฝึกฝน ยังไม่ได้อบรม ย่อมแล่นไป
ผิดทาง คือ ปีนตอไม้บ้าง ก้อนหินบ้าง ซึ่งไม่ราบเรียบ ทำร้ายยานเองบ้าง ผู้ขับขี่บ้าง
ตกลงไปในเหวบ้าง ผู้นั้นสึกแล้ว เปรียบได้กับยานที่แล่นไป ย่อมแล่นไปสู่ทางผิด คือ
ถือทิฏฐิผิด ... ถือสมาธิผิด เหมือนยานที่แล่นไปนั้น คือที่ยังไม่ได้ฝึกหัด ยังไม่ได้
ฝึกฝน ยังไม่ได้อบรม ย่อมแล่นไปผิดทาง ฉะนั้น
ผู้นั้นสึกแล้วเปรียบได้กับยานที่แล่นไป ย่อมแล่นไปสู่กายกรรม วจีกรรม
มโนกรรมที่ผิด ปาณาติบาต อทินนาทาน กาเมสุมิจฉาจาร มุสาวาท ปิสุณาวาจา
ผรุสวาจา สัมผัปปลาปะ อภิชฌา พยาบาท มิจฉาทิฏฐิ สังขารทั้งหลาย กามคุณ ๕
นิวรณ์ ๕ เหมือนยานที่แล่นไปนั้น คือ ที่ยังไม่ได้ฝึกหัด ยังไม่ได้ฝึกฝน ยังไม่ได้
อบรม ย่อมปีนตอไม้บ้าง ก้อนหินบ้าง ซึ่งไม่ราบเรียบ ฉะนั้น
ผู้นั้นสึกแล้วเปรียบได้กับยานที่แล่นไป ย่อมทำลายตนในนรก ย่อมทำลายตน
ในกำเนิดเดรัจฉาน ย่อมทำลายตนในเปตวิสัย ย่อมทำลายตนในมนุษยโลก ย่อม
ทำลายตนในเทวโลก เหมือนยานที่แล่นไปนั้น คือ ที่ยังไม่ได้ฝึกหัด ยังไม่ได้ฝึกฝน
ยังไม่ได้อบรม ย่อมทำลายยานเองบ้าง ผู้ขับขี่บ้าง ฉะนั้น
ผู้นั้นสึกแล้วเปรียบได้กับยานที่แล่นไป ย่อมตกไปในเหวคือชาติบ้าง เหวคือ
ชราบ้าง เหวคือพยาธิ(ความเจ็บป่วย)บ้าง เหวคือมรณะบ้าง เหวคือโสกะ(ความ
เศร้าโศก) ปริเทวะ(ความคร่ำครวญ) ทุกขะ(ความทุกข์กาย) โทมนัส(ความทุกข์ใจ)
และอุปายาส(ความคับแค้นใจ)บ้าง เหมือนยานที่แล่นไปนั้น คือ ที่ยังไม่ได้ฝึกหัด
ยังไม่ได้ฝึกฝน ยังไม่ได้อบรม ย่อมตกลงไปในเหวบ้าง ฉะนั้น

เชิงอรรถ :
๑ ดูรายละเอียดข้อ ๔๙/๑๖๘

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๑๗๘ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๗. ติสสเมตเตยยสุตตนิทเทส
คำว่า ในโลก ได้แก่ ในอบายโลก ... มนุษยโลก๑ รวมความว่า ผู้นั้น ... ในโลก
เหมือนยานที่แล่นไป ฉะนั้น
คำว่า ปุถุชน ในคำว่า ผู้รู้ทั้งหลายเรียก ... ว่า เป็นปุถุชนเลว อธิบายว่า
ชื่อว่าปุถุชน เพราะมีความหมายว่าอย่างไร ชื่อว่าปุถุชน เพราะให้กิเลสหยาบเกิดขึ้น
ชื่อว่าปุถุชน เพราะมีสักกายทิฏฐิอันหนาแน่นยังละไม่ได้ ชื่อว่าปุถุชน เพราะ
ปฏิญญาต่อหน้าศาสดาหลายองค์ ชื่อว่าปุถุชน เพราะถูกคติทุกอย่างร้อยรัดไว้มาก
ชื่อว่าปุถุชน เพราะปรุงแต่งอภิสังขารต่าง ๆ เป็นอันมาก ชื่อว่าปุถุชน เพราะถูก
โอฆะกิเลสต่าง ๆ เป็นอันมากพัดพาไป ชื่อว่าปุถุชน เพราะเดือดร้อนด้วยความ
เดือดร้อนต่าง ๆ เป็นอันมาก ชื่อว่าปุถุชน เพราะถูกความเร่าร้อนต่าง ๆ เป็นอันมาก
แผดเผา ชื่อว่าปุถุชน เพราะกำหนัด ยินดี ติดใจ หมกมุ่น เกาะติด เกี่ยวพัน พัวพัน
ในกามคุณ ๕ เป็นอันมาก ชื่อว่าปุถุชน เพราะถูกนิวรณ์ ๕ อย่างเป็นอันมาก หุ้มห่อ
โอบล้อม ห้อมล้อม ครอบคลุม ปกคลุม บดบัง
คำว่า ผู้รู้ทั้งหลายเรียก ... ว่า เป็นปุถุชนเลว อธิบายว่า ผู้รู้ทั้งหลายเรียก
คือ พูด บอก แสดง ชี้แจง อย่างนี้ว่า เป็นปุถุชนเลว คือ ทราม ต่ำทราม น่ารังเกียจ
หยาบช้า ต่ำต้อย รวมความว่า ผู้รู้ทั้งหลายเรียก ... ว่า เป็นปุถุชนเลว ด้วยเหตุนั้น
พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า
ผู้ใดในเบื้องต้นเที่ยวไปผู้เดียวแล้ว
(ต่อมา)เข้าไปเสพเมถุนธรรม ผู้รู้ทั้งหลายเรียกผู้นั้นว่า
เป็นปุถุชนเลวในโลก เหมือนยานที่แล่นไป ฉะนั้น
[๕๒] (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า)
ยศและเกียรติในเบื้องต้นของภิกษุนั้นเสื่อมไป
ภิกษุเห็นสมบัติและวิบัตินี้แล้ว พึงศึกษาเพื่อละเมถุนธรรม

เชิงอรรถ :
๑ ดูรายละเอียดข้อ ๓/๑๒

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๑๗๙ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๗. ติสสเมตเตยยสุตตนิทเทส
ว่าด้วยยศและเกียรติ
คำว่า ยศและเกียรติในเบื้องต้นของภิกษุนั้นเสื่อมไป อธิบายว่า
ยศ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ได้รับสักการะ เคารพ นับถือ บูชา
นอบน้อม ได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร ในเบื้องต้น
คือ ในคราวที่เป็นสมณะ นี้ชื่อว่ายศ
เกียรติ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ได้รับการสรรเสริญเกียรติคุณว่า เป็น
บัณฑิต เป็นผู้ฉลาด มีปัญญา เป็นพหูสูต มีถ้อยคำไพเราะ มีปฏิภาณดี เป็นผู้ทรง
จำพระสูตรบ้าง เป็นผู้ทรงจำพระวินัยบ้าง เป็นพระธรรมกถึกบ้าง เป็นผู้อยู่ป่า
เป็นวัตรบ้าง เป็นผู้เที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตรบ้าง เป็นผู้นุ่งห่มผ้าบังสุกุลเป็นวัตรบ้าง
เป็นผู้ทรงไตรจีวรเป็นวัตรบ้าง เป็นผู้เที่ยวบิณฑบาตตามลำดับตรอกเป็นวัตรบ้าง เป็นผู้
งดฉันอาหารมื้อหลังเป็นวัตรบ้าง เป็นผู้ถือการนั่งเป็นวัตรบ้าง เป็นผู้ถือการอยู่ใน
เสนาสนะตามที่เขาจัดให้เป็นวัตรบ้าง เป็นผู้ได้ปฐมฌานบ้าง เป็นผู้ได้ทุติยฌานบ้าง
เป็นผู้ได้ตติยฌานบ้าง เป็นผู้ได้จตุตถฌานบ้าง เป็นผู้ได้อากาสานัญจายตนสมาบัติ
บ้าง เป็นผู้ได้วิญญาณัญจายตนสมาบัติบ้าง เป็นผู้ได้อากิญจัญญายตนสมาบัติบ้าง
เป็นผู้ได้เนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติบ้าง ในเบื้องต้น คือ ในคราวที่เป็นสมณะ
นี้ชื่อว่าเกียรติ รวมความว่า ยศและเกียรติในเบื้องต้น
คำว่า ... ของภิกษุนั้นเสื่อมไป อธิบายว่า ต่อมา ภิกษุบอกลาพระพุทธเจ้า
พระธรรม พระสงฆ์ สิกขา กลับมาเป็นคฤหัสถ์ ยศและเกียรตินั้นของเธอ ย่อมเสื่อมไป
คือ เสียไป สิ้นไป หมดไป สูญหาย สลายไป รวมความว่า ยศและเกียรติในเบื้องต้น
ของภิกษุนั้นเสื่อมไป
คำว่า นี้ ในคำว่า ภิกษุเห็นสมบัติและวิบัตินี้แล้ว พึงศึกษาเพื่อละเมถุนธรรม
อธิบายว่า ยศและเกียรติในเบื้องต้น คือ ในคราวที่เป็นสมณะ ความเสื่อมยศ ความ
เสื่อมเกียรติของเธอ ผู้บอกลาพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ สิกขา กลับมาเป็น
คฤหัสถ์ในเวลาต่อมา คือ (เห็น)สมบัติและวิบัตินี้


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๑๘๐ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๗. ติสสเมตเตยยสุตตนิทเทส
คำว่า เห็นแล้ว ได้แก่ แลเห็นแล้ว เทียบเคียงแล้ว พิจารณาแล้ว ทำให้
กระจ่างแล้ว ทำให้แจ่มแจ้งแล้ว รวมความว่า เห็นสมบัติและวิบัตินี้แล้ว

ว่าด้วยสิกขา ๓
คำว่า พึงศึกษา ได้แก่ สิกขา ๓ คือ (๑) อธิสีลสิกขา (๒) อธิจิตตสิกขา
(๓) อธิปัญญาสิกขา
อธิสีลสิกขา เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีศีล สำรวมด้วยการสังวรในปาติโมกข์ สมบูรณ์
ด้วยอาจาระและโคจร เห็นภัยในโทษเพียงเล็กน้อย สมาทานศึกษาในสิกขาบท
ทั้งหลายอยู่ คือ สีลขันธ์เล็ก๑ สีลขันธ์ใหญ่๒ ศีลเป็นที่พึ่ง เป็นเบื้องต้น เป็นความ
ประพฤติ เป็นความสำรวม เป็นความระวัง เป็นหัวหน้า เป็นประธานเพื่อความถึง
พร้อมแห่งธรรมที่เป็นกุศล นี้ชื่อว่าอธิสีลสิกขา
อธิจิตตสิกขา เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลาย บรรลุปฐมฌาน
ที่มีวิตก วิจาร ปีติและสุข อันเกิดจากวิเวกอยู่ เพราะวิตกวิจาร สงบระงับไปแล้ว
บรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสในภายใน มีภาวะที่จิตเป็นหนึ่งผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มี
วิจาร มีแต่ปีติและสุขที่เกิดจากสมาธิอยู่ ... บรรลุตติยฌาน ... บรรลุจตุตถฌานที่ไม่
มีทุกข์ ไม่มีสุข มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขาอยู่ นี้ชื่อว่าอธิจิตตสิกขา
อธิปัญญาสิกขา เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีปัญญา ประกอบด้วยปัญญาอันประเสริฐ
หยั่งถึงความเกิดและความดับ เพิกถอนกิเลส ให้บรรลุถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ
เธอรู้ตามความเป็นจริงว่า “นี้ทุกข์” เธอรู้ตามความเป็นจริงว่า “นี้ทุกขสมุทัย” เธอรู้

เชิงอรรถ :
๑ ดูเชิงอรรถข้อ ๑๐/๔๘
๒ ดูเชิงอรรถข้อ ๑๐/๔๘

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๑๘๑ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๗. ติสสเมตเตยยสุตตนิทเทส
ตามความเป็นจริงว่า “นี้ทุกขนิโรธ” เธอรู้ตามความเป็นจริงว่า “นี้ทุกขนิโรธ-
คามินีปฏิปทา” เธอรู้ตามความเป็นจริงว่า “เหล่านี้อาสวะ” เธอรู้ตามความเป็น
จริงว่า “นี้อาสวสมุทัย” เธอรู้ตามความเป็นจริงว่า “นี้อาสวนิโรธ” เธอรู้ตามความ
เป็นจริงว่า “นี้อาสวนิโรธคามินีปฏิปทา” นี้ชื่อว่าอธิปัญญาสิกขา
คำว่า เมถุนธรรม อธิบายว่า ธรรมเนียมของอสัตบุรุษ ... ชื่อว่าเมถุนธรรม
เพราะเหตุนั้น จึงตรัสเรียกว่า เมถุนธรรม๑
คำว่า ภิกษุเห็นสมบัติและวิบัตินี้แล้ว พึงศึกษาเพื่อละเมถุนธรรม อธิบาย
ว่า ภิกษุพึงศึกษาอธิสีลสิกขา อธิจิตตสิกขา อธิปัญญาสิกขา เพื่อละ คือ เพื่อสงบ
สลัดทิ้ง ระงับเมถุนธรรม
สิกขา ๓ เหล่านี้ เมื่อภิกษุนึกถึง ชื่อว่าพึงศึกษา เมื่อทราบ ชื่อว่าพึงศึกษา
เมื่อเห็น ชื่อว่าพึงศึกษา เมื่อพิจารณา ชื่อว่าพึงศึกษา เมื่ออธิษฐานจิต ชื่อว่าพึงศึกษา
เมื่อน้อมใจเชื่อด้วยศรัทธา ชื่อว่าพึงศึกษา เมื่อประคองความเพียร ชื่อว่าพึงศึกษา
เมื่อตั้งสติ ชื่อว่าพึงศึกษา เมื่อตั้งใจมั่น ชื่อว่าพึงศึกษา เมื่อรู้ชัดด้วยปัญญา ชื่อว่า
พึงศึกษา เมื่อรู้ชัดธรรมที่ควรรู้ชัด ชื่อว่าพึงศึกษา เมื่อกำหนดรู้ธรรมที่ควรกำหนดรู้
ชื่อว่า พึงศึกษา เมื่อละธรรมที่ควรละ ชื่อว่าพึงศึกษา เมื่อเจริญธรรมที่ควรเจริญ
ชื่อว่า พึงศึกษา เมื่อทำให้แจ้งธรรมที่ควรทำให้แจ้ง ชื่อว่าพึงศึกษา คือ พึงประพฤติ
เอื้อเฟื้อ ประพฤติเอื้อเฟื้อโดยชอบ สมาทานประพฤติ รวมความว่า ภิกษุเห็นสมบัติ
และวิบัตินี้แล้ว พึงศึกษาเพื่อละเมถุนธรรม ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า
ยศและเกียรติในเบื้องต้นของภิกษุนั้นเสื่อมไป
ภิกษุเห็นสมบัติและวิบัตินี้แล้ว พึงศึกษาเพื่อละเมถุนธรรม
[๕๓] (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า)
ภิกษุนั้น ถูกความดำริครอบงำ
ย่อมซบเซาเหมือนคนกำพร้า
ครั้นได้ยินคำตำหนิของคนอื่นแล้ว
ย่อมเป็นผู้เก้อเขิน เป็นผู้เช่นนั้น

เชิงอรรถ :
๑ ดูรายละเอียดข้อ ๔๙/๑๖๘

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๑๘๒ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๗. ติสสเมตเตยยสุตตนิทเทส
ว่าด้วยข้อเสียของภิกษุ
คำว่า ภิกษุนั้นถูกความดำริครอบงำ ย่อมซบเซาเหมือนคนกำพร้า อธิบาย
ว่า ภิกษุนั้น ถูกความดำริในกาม ความดำริในพยาบาท ความดำริในความ
เบียดเบียนกัน ความดำริตามทิฏฐิ กระทบ ครอบงำ คือ กลุ้มรุม ประกอบ ตบแต่ง
ย่อมซบเซา คือ หงอยเหงา เซื่องซึม ซึมเศร้า เหมือนคนกำพร้า คนโง่ คนลุ่มหลง
นกฮูกจ้องจับหนูอยู่ที่กิ่งไม้ ย่อมซบเซา หงอยเหงา เซื่องซึม ซึมเศร้า ฉันใด สุนัข
จิ้งจอกคอยจ้องจับปลาอยู่ที่ริมฝั่งแม่น้ำ ย่อมซบเซา หงอยเหงา เซื่องซึม ซึมเศร้า
ฉันใด แมวคอยจ้องจับหนูอยู่ตามรอยต่อ ที่ท่อน้ำ และที่ฝั่งน้ำมีเปือกตม ย่อม
ซบเซา หงอยเหงา เซื่องซึม ซึมเศร้า ฉันใด ลาหลังเป็นแผล ย่อมซบเซา หงอยเหงา
เซื่องซึม ซึมเศร้า อยู่ตามรอยต่อ ที่ท่อน้ำ และที่ฝั่งมีเปือกตม ฉันใด ภิกษุนั้นก็ฉัน
นั้นเหมือนกัน เมื่อสึกแล้วถูกความดำริในกาม ความดำริในพยาบาท ความดำริใน
ความเบียดเบียนกัน ความดำริตามทิฏฐิ กระทบ ครอบงำ คือ กลุ้มรุม ประกอบ
ตบแต่ง ย่อมซบเซา คือ หงอยเหงา เซื่องซึม ซึมเศร้า เหมือนคนกำพร้า คนโง่
คนลุ่มหลง รวมความว่า ภิกษุนั้นถูกความดำริครอบงำ ย่อมซบเซาเหมือนคนกำพร้า
คำว่า ของคนอื่น ในคำว่า ครั้นได้ยินเสียงตำหนิของคนอื่นแล้ว ย่อมเป็นผู้
เก้อเขิน เป็นผู้เช่นนั้น อธิบายว่า อุปัชฌาย์ อาจารย์ ผู้ร่วมอุปัชฌาย์ ผู้ร่วม
อาจารย์ มิตร เพื่อนเห็น เพื่อนคบ หรือสหาย ตำหนิว่า “ผู้มีอายุ ไม่ใช่ลาภของ
ท่านเลย ท่านเอาดีได้ยาก ที่ได้ศาสดาสูงส่งเห็นปานนี้ บวชในธรรมวินัยที่พระ
ศาสดาตรัสไว้ดีแล้วอย่างนี้ ได้หมู่คณะที่ประเสริฐอย่างนี้ เพราะเหตุแห่งเมถุนธรรม
อันเลว ก็บอกลาพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ สิกขา กลับมาเป็นคฤหัสถ์ ท่าน
ไม่มีศรัทธาในกุศลธรรม ไม่มีหิริในกุศลธรรม ไม่มีโอตตัปปะในกุศลธรรม ไม่มีวิริยะ
ในกุศลธรรม ไม่มีสติในกุศลธรรม ไม่มีปัญญาในกุศลธรรม” เธอ ครั้นได้ยิน คือ
ได้ฟัง สำเหนียก พิจารณา กำหนดซึ่งคำ คือ คำที่เป็นแนวทาง เทศนา คำสั่งสอน
คำพร่ำสอน ของคนเหล่านั้นแล้ว ย่อมเป็นผู้เก้อเขิน คือ ขวยเขิน อึดอัด กระดากใจ
เสียใจ
คำว่า เป็นผู้เช่นนั้น ได้แก่ ภิกษุนั้น เมื่อสึกแล้วเป็นผู้เช่นนั้น คือเป็นผู้อย่างนั้น
ผู้ดำรงอย่างนั้น ผู้เป็นประการนั้น ผู้มีส่วนอย่างนั้น รวมความว่า ครั้นได้ยินคำ
ตำหนิของคนอื่นแล้ว ย่อมเป็นผู้เก้อเขิน เป็นผู้เช่นนั้น ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาค
จึงตรัสว่า


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๑๘๓ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๗. ติสสเมตเตยยสุตตนิทเทส
ภิกษุนั้น ถูกความดำริครอบงำ
ย่อมซบเซาเหมือนคนกำพร้า
ครั้นได้ยินคำตำหนิของคนอื่นแล้ว
ย่อมเป็นผู้เก้อเขิน เป็นผู้เช่นนั้น
[๕๔] (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า)
ลำดับนั้น ภิกษุนั้นถูกถ้อยคำของคนอื่นตักเตือนแล้ว
ย่อมสร้างศัสตรา เธอย่อมก้าวลงสู่ความเป็นคนพูดเท็จ
นี้แหละเป็นเครื่องทำให้ติดใหญ่ของเธอ
คำว่า ลำดับนั้น ในคำว่า ลำดับนั้น ภิกษุนั้นถูกถ้อยคำของคนอื่นตักเตือน
แล้ว ย่อมสร้างศัสตรา เป็นบทสนธิ เป็นคำเชื่อมบท เป็นคำที่ทำบทให้บริบูรณ์
เป็นความสัมพันธ์แห่งอักษร เป็นความสละสลวยแห่งพยัญชนะ คำว่า ลำดับนั้น นี้
เป็นคำเชื่อมบทหน้ากับบทหลังเข้าด้วยกัน

ว่าด้วยศัสตรา ๓ อย่าง
คำว่า ศัสตรา ได้แก่ ศัสตรา ๓ อย่าง คือ (๑) ศัสตราทางกาย (๒) ศัสตรา
ทางวาจา (๓) ศัสตราทางใจ กายทุจริต ๓ อย่าง ชื่อว่าศัสตราทางกาย
วจีทุจริต ๔ อย่าง ชื่อว่าศัสตราทางวาจา มโนทุจริต ๓ อย่าง ชื่อว่าศัสตราทางใจ
คำว่า ถูกถ้อยคำของคนอื่นตักเตือนแล้ว อธิบายว่า ถูกอุปัชฌาย์ อาจารย์
ผู้ร่วมอุปัชฌาย์ ผู้ร่วมอาจารย์ มิตร เพื่อนเห็น เพื่อนคบ หรือสหายตักเตือน ก็พูด
เท็จทั้งรู้อยู่ คือ พูดว่า “ท่านผู้เจริญ กระผมยินดีในการบวชอยู่แล้ว แต่กระผมต้อง
เลี้ยงดูมารดา เพราะเหตุนั้น กระผมจึงสึก” พูดว่า “กระผมต้องเลี้ยงดูบิดา ... ต้อง
เลี้ยงดูพี่ชายน้องชาย ... ต้องเลี้ยงดูพี่สาวน้องสาว ... ต้องเลี้ยงดูบุตร ... ต้องเลี้ยงดู
ธิดา ... ต้องเลี้ยงดูมิตร ... ต้องเลี้ยงดูอำมาตย์ ... ต้องเลี้ยงดูญาติ” พูดว่า “กระผม
ต้องเลี้ยงดูผู้ร่วมสายโลหิต ด้วยเหตุนั้น กระผมจึงสึก” ย่อมสร้าง คือ สร้างขึ้น
ให้เกิด ให้เกิดขึ้น ให้บังเกิด ให้บังเกิดขึ้นซึ่งศัสตราทางวาจาดังว่ามานี้ รวมความว่า
ลำดับนั้น ภิกษุนั้นถูกถ้อยคำของคนอื่นตักเตือนแล้ว ย่อมสร้างศัสตรา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๑๘๔ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๗. ติสสเมตเตยยสุตตนิทเทส
คำว่า นี้แหละเป็นเครื่องทำให้ติดใหญ่ของเธอ อธิบายว่า การกล่าวเท็จ
ทั้งที่รู้อยู่เป็นเครื่องทำให้ติดใหญ่ คือ เป็นป่าใหญ่ เป็นดงใหญ่ เป็นทางกันดารใหญ่
เป็นดุจทางขรุขระมาก เป็นทางคดมาก เป็นดุจหล่มใหญ่ เป็นดุจบ่อใหญ่ เป็นความ
กังวลมากมาย เป็นเครื่องผูกพันใหญ่ของเธอ รวมความว่า นี้แหละเป็นเครื่องทำให้
ติดใหญ่ของเธอ

ว่าด้วยมุสาวาท
คำว่า ย่อมก้าวลงสู่ความเป็นคนพูดเท็จ อธิบายว่า มุสาวาท ตรัสเรียกว่า
ความเป็นคนพูดเท็จ คนบางคนในโลกนี้ อยู่ในสภา อยู่ในบริษัท อยู่ท่ามกลาง
หมู่ญาติ อยู่ท่ามกลางหมู่ทหาร หรืออยู่ท่ามกลางราชสำนัก ถูกเขาอ้างเป็นพยาน
ซักถามว่า “ท่านรู้สิ่งใด จงกล่าวสิ่งนั้น” บุคคลนั้นไม่รู้ก็พูดว่า “รู้” หรือรู้ก็พูดว่า
“ไม่รู้” ไม่เห็นก็พูดว่า “เห็น” หรือเห็นก็พูดว่า “ไม่เห็น” เขาพูดเท็จทั้งที่รู้เพราะตน
เป็นเหตุบ้าง เพราะบุคคลอื่นเป็นเหตุบ้าง เพราะเหตุคือเห็นแก่อามิสเล็กน้อยบ้าง
ด้วยประการฉะนี้ นี้ตรัสเรียกว่า ความเป็นคนพูดเท็จ
อีกนัยหนึ่ง มุสาวาทมีได้ด้วยอาการ ๓ อย่าง คือ
๑. ก่อนพูดเธอก็รู้ว่า เราจักพูดเท็จ
๒. กำลังพูดก็รู้ว่า เรากำลังพูดเท็จ
๓. พูดแล้วก็รู้ว่า เราพูดเท็จแล้ว
มุสาวาทมีได้ด้วยอาการ ๓ อย่างเหล่านี้
อีกนัยหนึ่ง มุสาวาทมีได้ด้วยอาการ ๔ อย่าง ... ด้วยอาการ ๕ อย่าง ...
ด้วยอาการ ๖ อย่าง ... ด้วยอาการ ๗ อย่าง ...
มุสาวาทมีได้ด้วยอาการ ๘ อย่าง คือ
๑. ก่อนพูดเธอก็รู้อยู่ว่า เราจักพูดเท็จ
๒. กำลังพูดก็รู้ว่า เรากำลังพูดเท็จ
๓. พูดแล้วก็รู้ว่า เราพูดเท็จแล้ว
๔. ปิดบังทิฏฐิ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๑๘๕ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๗. ติสสเมตเตยยสุตตนิทเทส
๕. ปิดบังความพอใจ
๖. ปิดบังความชอบใจ
๗. ปิดบังความสำคัญ
๘. ปิดบังความจริง
มุสาวาทมีได้ด้วยอาการ ๘ อย่างเหล่านี้
คำว่า ย่อมก้าวลงสู่ความเป็นคนพูดเท็จ ได้แก่ ย่อมก้าวลง คือ ย่อมหยั่งลง
หยั่งลงเฉพาะ เข้าถึงความเป็นคนพูดเท็จ รวมความว่า ย่อมก้าวลงสู่ความเป็นคน
พูดเท็จ ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า
ลำดับนั้น ภิกษุนั้นถูกถ้อยคำของคนอื่นตักเตือนแล้ว
ย่อมสร้างศัสตรา เธอย่อมก้าวลงสู่ความเป็นคนพูดเท็จ
นี้แหละเป็นเครื่องทำให้ติดใหญ่ของเธอ
[๕๕] (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า)
ภิกษุ (ในเบื้องต้น) ได้สมญานามว่า เป็นบัณฑิต
อธิษฐานการเที่ยวไปผู้เดียว
ต่อมา เธอประกอบในเมถุนธรรม
ก็จักมัวหมอง เหมือนกับคนโง่ ฉะนั้น

ว่าด้วยต้นตรงปลายคด
คำว่า ภิกษุ(ในเบื้องต้น)ได้สมญานามว่า เป็นบัณฑิต อธิบายว่า ภิกษุ
บางรูปในธรรมวินัยนี้ ได้รับการสรรเสริญเกียรติคุณว่า เป็นบัณฑิต คือ เป็นผู้ฉลาด
มีปัญญา เป็นพหูสูต มีถ้อยคำไพเราะ มีปฏิภาณดี เป็นผู้ทรงจำพระสูตรบ้าง เป็นผู้
ทรงจำพระวินัยบ้าง เป็นพระธรรมกถึกบ้าง ... เป็นผู้ได้เนวสัญญานาสัญญายตน-
สมาบัติบ้าง ในเบื้องต้น คือ ในคราวที่เป็นสมณะ ซึ่งผู้คนรู้จักกัน รู้จักกันทั่ว ชื่อว่า
ได้สมญานามอย่างนี้ รวมความว่า ภิกษุ(ในเบื้องต้น)ได้สมญานามว่า เป็นบัณฑิต
คำว่า อธิษฐานการเที่ยวไปผู้เดียว อธิบายว่า ได้อธิษฐานการเที่ยวไปผู้เดียว
ด้วยเหตุ ๒ ประการ คือ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๑๘๖ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๗. ติสสเมตเตยยสุตตนิทเทส
๑. ด้วยการบวช ๒. ด้วยการละความคลุกคลีด้วยหมู่คณะ
ภิกษุอธิษฐานการเที่ยวไปผู้เดียวด้วยการบวช เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุตัดความกังวลเรื่องการครองเรือนทั้งหมด ... ภิกษุอธิษฐานการเที่ยว
ไปผู้เดียวด้วยการบวช เป็นอย่างนี้๑
ภิกษุอธิษฐานการเที่ยวไปผู้เดียวด้วยการละความคลุกคลีด้วยหมู่คณะ เป็น
อย่างไร
คือ ภิกษุนั้น เมื่อเป็นนักบวชแล้วอย่างนี้ผู้เดียว ก็ใช้สอยเสนาสนะที่เป็นป่า
ละเมาะและป่าทึบ อันสงัด ... ภิกษุอธิษฐานการเที่ยวไปผู้เดียวด้วยการละความคลุกคลี
ด้วยหมู่คณะ เป็นอย่างนี้ รวมความว่า อธิษฐานการเที่ยวไปผู้เดียว๒
คำว่า ต่อมา เธอประกอบในเมถุนธรรม อธิบายว่า ธรรมเนียมของอสัตบุรุษ
คือ ธรรมเนียมของชาวบ้าน ... ชื่อว่าเมถุนธรรม เพราะเหตุนั้น จึงตรัสเรียกว่า
เมถุนธรรม๓
คำว่า ต่อมา เธอประกอบในเมถุนธรรม อธิบายว่า ต่อมา เธอก็บอกลา
พระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ สิกขา กลับมาเป็นคฤหัสถ์ ประกอบ คือ ประกอบทั่ว
ประกอบทั่วถึง ประกอบพร้อมในเมถุนธรรม รวมความว่า ต่อมา เธอประกอบใน
เมถุนธรรม

ว่าด้วยการลงโทษ
คำว่า ก็จักมัวหมอง เหมือนกับคนโง่ ฉะนั้น อธิบายว่า จักลำบาก จัก
มัวหมอง คือ เศร้าหมอง เหมือนคนกำพร้า คนโง่ คนลุ่มหลง คือ ฆ่าสัตว์บ้าง
ลักทรัพย์บ้าง ตัดช่องย่องเบาบ้าง ขโมยยกเค้าบ้าง ปล้นบ้านบ้าง ดักจี้ในทางเปลี่ยว
บ้าง ละเมิดภรรยาของผู้อื่นบ้าง พูดเท็จบ้าง จักลำบาก จักมัวหมอง คือ เศร้าหมอง
แม้อย่างนี้ พระราชาก็รับสั่งให้จับเขาลงอาญาด้วยประการต่าง ๆ คือ ให้เฆี่ยนด้วยแส้

เชิงอรรถ :
๑ ดูรายละเอียดข้อ ๕๑/๑๗๗
๒ ดูรายละเอียดข้อ ๕๑/๑๗๗
๓ ดูรายละเอียดข้อ ๔๙/๑๖๘

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๑๘๗ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๗. ติสสเมตเตยยสุตตนิทเทส
บ้าง ให้เฆี่ยนด้วยหวายบ้าง ให้ตีด้วยไม้พลองบ้าง ตัดมือบ้าง ตัดเท้าบ้าง ตัดทั้งมือ
และเท้าบ้าง ตัดใบหูบ้าง ตัดจมูกบ้าง ตัดทั้งใบหูและจมูกบ้าง วางก้อนเหล็กแดงบน
ศีรษะบ้าง ถลกหนังศีรษะแล้วขัดให้ขาวเหมือนสังข์บ้าง เอาไฟยัดปากจนเลือดไหล
เหมือนปากราหูบ้าง เอาผ้าพันตัวราดน้ำมันแล้วจุดไฟเผาบ้าง พันมือแล้วจุดไฟต่าง
คบบ้าง ถลกหนังตั้งแต่คอถึงข้อเท้าให้ลุกเดินเหยียบหนังจนล้มลงบ้าง ถลกหนังตั้ง
แต่คอถึงบั้นเอว ทำให้มองดูเหมือนนุ่งผ้าคากรองบ้าง สวมปลอกเหล็กที่ข้อศอก
และเข่าแล้วเสียบหลาวทั้งห้าทิศเอาไฟเผาบ้าง ใช้เบ็ดเกี่ยวหนัง เนื้อ เอ็นออกมาบ้าง
เฉือนเนื้อออกเป็นแว่น ๆ เหมือนเหรียญกษาปณ์บ้าง เฉือนหนัง เนื้อ เอ็น ออก
เหลือไว้แต่กระดูกบ้าง ใช้หลาวแทงช่องหูให้ทะลุถึงกันบ้าง เสียบให้ติดดินแล้วจับเขา
หมุนได้รอบบ้าง ทุบกระดูกให้แหลกแล้วถลกหนังออกเหลือไว้แต่กองเนื้อเหมือน
ตั่งใบไม้บ้าง รดตัวด้วยน้ำมันที่กำลังเดือดพล่านบ้าง ให้สุนัขกัดกินจนเหลือแต่
กระดูกบ้าง ให้นอนบนหลาวทั้งเป็นบ้าง ตัดศีรษะออกด้วยดาบบ้าง เธอจักลำบาก
จักมัวหมอง คือ เศร้าหมอง อย่างนี้บ้าง
อีกนัยหนึ่ง เธอถูกกามตัณหาครอบงำ ถูกกามตัณหาตรึงใจไว้แล้ว เมื่อจะ
แสวงหาโภคทรัพย์ ก็ต้องแล่นเรือออกไปสู่มหาสมุทร ฝ่าหนาว ฝ่าร้อน ถูกสัมผัส
แห่งเหลือบ ยุง ลม แดด และสัตว์เลื้อยคลานเบียดเบียนเอาบ้าง ถูกความหิว
กระหายกดดันอยู่ ก็ต้องเดินทางไปคุมพรัฐ ตักโกลรัฐ(ตะกั่วป่า) ตักกสิลรัฐ
กาลมุขรัฐ ปุรรัฐ เวสุงครัฐ เวราปถรัฐ ชวารัฐ ตามลิงรัฐ(นครศรีธรรมราช) วังครัฐ
เอฬพันธนรัฐ สุวรรณกูฏรัฐ สุวรรณภูมิรัฐ ตัมพปาณิรัฐ สุปปาทกรัฐ เภรุกัจฉรัฐ
สุรัฏฐรัฐ ภังคโลกรัฐ ภังคณรัฐ ปรมภังคณรัฐ โยนรัฐ ปินรัฐ วินกรัฐ มูลปทรัฐ เดิน
ทางไปยังทะเลทรายที่ต้องหมายด้วยดาว คลานไปด้วยเข่า เดินทางด้วยแพะ เดิน
ทางด้วยแกะ ไปด้วยการตอกหลักผูกเชือกโหนไป ไปด้วยร่ม เดินทางด้วยการตัดไม้
ไผ่ทำพะองสำหรับปีน เดินทางอย่างนก เดินทางอย่างหนู ไปตามซอกเขา ไต่ไปตาม
ลำหวาย เธอก็จักลำบาก จักมัวหมอง คือ เศร้าหมอง อย่างนี้บ้าง
เมื่อแสวงหาไม่ได้ก็ต้องเสวยทุกข์และโทมนัสที่มีการไม่ได้เป็นต้นเหตุ เธอก็จัก
ลำบาก จักมัวหมอง คือ เศร้าหมอง อย่างนี้บ้าง


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๑๘๘ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๗. ติสสเมตเตยยสุตตนิทเทส
เธอ เมื่อแสวงหาได้มา และครั้นได้แล้ว ก็ยังต้องเสวยทุกข์และโทมนัส ที่มีการ
ต้องรักษาเป็นมูลเหตุบ้าง ด้วยความหวาดหวั่นว่า “อย่างไรหนอ พระราชาจะไม่พึง
ริบโภคทรัพย์ของเรา โจรจะไม่พึงปล้น ไฟจะไม่พึงไหม้ น้ำจะไม่พึงพัดพาไป ทายาท
ที่ไม่เป็นที่รักจะไม่พึงลักเอาไป” เมื่อรักษาคุ้มครองอยู่อย่างนี้ โภคทรัพย์ ย่อมเสื่อม
ค่าลง เธอต้องเสวยทุกข์และโทมนัส ที่มีความพลัดพรากเป็นมูล ก็จักลำบาก จัก
มัวหมอง คือ เศร้าหมอง อย่างนี้บ้าง รวมความว่า ต่อมา เธอประกอบในเมถุนธรรม
ก็จักมัวหมอง เหมือนกับคนโง่ ฉะนั้น ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า
ภิกษุ(ในเบื้องต้น) ได้สมญานามว่า เป็นบัณฑิต
อธิษฐานการเที่ยวไปผู้เดียว
ต่อมา เธอประกอบในเมถุนธรรม
ก็จักมัวหมอง เหมือนกับคนโง่ ฉะนั้น
[๕๖] (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า)
มุนีรู้โทษนี้แล้ว ในคราวเป็นคฤหัสถ์ก่อนบวชในธรรมวินัยนี้
พึงทำการเที่ยวไปผู้เดียวให้มั่นคง ไม่พึงเข้าไปเสพเมถุนธรรม

ว่าด้วยปฏิปทาของมุนี
คำว่า นี้ ในคำว่า มุนีรู้โทษนี้แล้ว ในคราวเป็นคฤหัสถ์ก่อนบวชในธรรมวินัย
นี้ อธิบายว่า ยศ และเกียรติ ในเบื้องต้น คือ ในคราวที่เป็นสมณะ ความเสื่อมยศ
ความเสื่อมเกียรติ ของเธอผู้บอกลาพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ สิกขา กลับมา
เป็นคฤหัสถ์ในเวลาต่อมา คือ(รู้)วิบัติแห่งสมบัตินี้
คำว่า รู้แล้ว ได้แก่ รู้แล้ว เทียบเคียงแล้ว พิจารณาแล้ว ทำให้กระจ่างแล้ว
ทำให้แจ่มแจ้งแล้ว
คำว่า มุนี อธิบายว่า ญาณ ท่านเรียกว่า โมนะ คือ ความรู้ทั่ว กิริยาที่รู้ชัด ...
ผู้ก้าวล่วงกิเลสเครื่องข้องและตัณหาดุจตาข่ายได้แล้ว ชื่อว่ามุนี๑

เชิงอรรถ :
๑ ดูรายละเอียดข้อ ๑๔/๖๘-๗๑

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๑๘๙ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๗. ติสสเมตเตยยสุตตนิทเทส
คำว่า ในธรรมวินัยนี้ ได้แก่ ในทิฏฐินี้ ในความถูกใจนี้ ความพอใจนี้ ความ
ยึดถือนี้ ธรรมนี้ วินัยนี้ ธรรมวินัยนี้ ปาพจน์นี้ พรหมจรรย์นี้ สัตถุศาสน์นี้
อัตภาพนี้ มนุษยโลกนี้ รวมความว่า มุนีรู้โทษนี้แล้ว ในคราวเป็นคฤหัสถ์ก่อนบวช
ในธรรมวินัยนี้
คำว่า พึงทำการเที่ยวไปผู้เดียวให้มั่นคง อธิบายว่า พึงทำการเที่ยวไปผู้เดียว
ให้มั่นคงด้วยเหตุ ๒ อย่าง คือ
๑. ด้วยการบวช ๒. ด้วยการละความคลุกคลีด้วยหมู่คณะ
มุนีพึงทำการเที่ยวไปผู้เดียวให้มั่นคงด้วยการบวช เป็นอย่างไร
คือ มุนีตัดความกังวลเรื่องการครองเรือน ตัดความกังวลเรื่องบุตรภรรยา
ตัดความกังวลเรื่องญาติ ตัดความกังวลเรื่องมิตรและอำมาตย์ ตัดความกังวลเรื่อง
การสะสมทั้งหมด โกนผมและหนวดแล้ว นุ่งห่มผ้ากาสาวะ ออกจากเรือนบวชเป็น
บรรพชิต เข้าถึงความไม่กังวลแล้ว พึงเที่ยวไปผู้เดียว คือ อยู่ เคลื่อนไหว เป็นไป
เลี้ยงชีวิต ดำเนินไป ยังชีวิตให้ดำเนินไปผู้เดียว มุนี ชื่อว่าพึงทำการเที่ยวไปผู้เดียว
ให้มั่นคงด้วยการบวช เป็นอย่างนี้
มุนีพึงทำการเที่ยวไปผู้เดียวให้มั่นคงด้วยการละความคลุกคลีด้วยหมู่คณะ
เป็นอย่างไร
คือ มุนีนั้น เมื่อเป็นนักบวชแล้วอย่างนี้ผู้เดียว พึงใช้สอยเสนาสนะที่เป็น
ป่าละเมาะและป่าทึบอันสงัด มีเสียงน้อย มีเสียงอึกทึกน้อย ปราศจากการสัญจร
ไปมาของผู้คน ควรเป็นสถานที่ทำการลับของมนุษย์ สมควรเป็นที่หลีกเร้น เธอเดิน
รูปเดียว ยืนรูปเดียว นั่งรูปเดียว นอนรูปเดียว เข้าหมู่บ้านเพื่อบิณฑบาตรูปเดียว
กลับมารูปเดียว นั่งในที่ลับรูปเดียว อธิษฐานจงกรมรูปเดียว พึงเที่ยวไปผู้เดียว คือ อยู่
เคลื่อนไหว เป็นไป เลี้ยงชีวิต ดำเนินไป ยังชีวิตให้ดำเนินไปผู้เดียว มุนี ชื่อว่าพึง
ทำการเที่ยวไปผู้เดียวให้มั่นคงด้วยการละความคลุกคลีด้วยหมู่คณะ เป็นอย่างนี้
คำว่า พึงทำการเที่ยวไปผู้เดียวให้มั่นคง ได้แก่ พึงทำการเที่ยวไปผู้เดียวให้
มั่นคง คือ พึงทำให้ยั่งยืน มีการสมาทานมั่นคง มีการสมาทานไม่คลอนแคลนใน
กุศลธรรมทั้งหลาย รวมความว่า พึงทำการเที่ยวไปผู้เดียวให้มั่นคง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๑๙๐ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๗. ติสสเมตเตยยสุตตนิทเทส
คำว่า ไม่พึงเข้าไปเสพเมถุนธรรม อธิบายว่า ธรรมเนียมของอสัตบุรุษ คือ
ธรรมเนียมของชาวบ้าน ... ชื่อว่าเมถุนธรรม เพราะเหตุนั้น จึงตรัสเรียกว่า
เมถุนธรรม๑ มุนี ไม่พึงเสพ คือ ไม่พึงเสพเป็นนิจ ไม่พึงซ่องเสพ ไม่พึงเสพเฉพาะ
ไม่พึงประพฤติ ไม่พึงประพฤติโดยเอื้อเฟื้อ ไม่พึงสมาทานประพฤติซึ่งเมถุนธรรม
รวมความว่า ไม่พึงเข้าไปเสพเมถุนธรรม ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า
มุนีรู้โทษนี้แล้ว ในคราวเป็นคฤหัสถ์ก่อนบวชในธรรมวินัยนี้
พึงทำการเที่ยวไปผู้เดียวให้มั่นคง ไม่พึงเข้าไปเสพเมถุนธรรม
[๕๗] (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า)
บุคคลพึงศึกษาวิเวกนั่นแหละ เพราะการประพฤติวิเวกนี้
เป็นกิจสูงสุดของพระอริยะทั้งหลาย
ไม่พึงสำคัญตนว่า เราเป็นผู้ประเสริฐสุดด้วยการประพฤติวิเวกนั้น
ผู้นั้นแล ชื่อว่าอยู่ใกล้นิพพาน
คำว่า วิเวก ในคำว่า พึงศึกษาวิเวกนั่นแหละ ได้แก่ วิเวก ๓ อย่าง คือ
๑. กายวิเวก ๒. จิตตวิเวก
๓. อุปธิวิเวก
กายวิเวก เป็นอย่างไร ... นี้ชื่อว่าอุปธิวิเวก๒
กายวิเวก ย่อมมีแก่บุคคลผู้มีกายหลีกออกแล้ว ยินดียิ่งในเนกขัมมะ จิตตวิเวก
ย่อมมีแก่บุคคลผู้มีจิตบริสุทธิ์ ถึงความเป็นผู้ผ่องแผ้วยิ่ง และอุปธิวิเวกย่อมมีแก่
บุคคลผู้ปราศจากอุปธิ บรรลุนิพพานอันปราศจากปัจจัยปรุงแต่ง
คำว่า ศึกษา ได้แก่ สิกขา ๓ คือ
๑. อธิสีลสิกขา ๒. อธิจิตตสิกขา
๓. อธิปัญญาสิกขา ... นี้ชื่อว่าอธิปัญญาสิกขา

เชิงอรรถ :
๑ ดูรายละเอียดข้อ ๕๐/๑๗๒
๒ ดูรายละเอียดข้อ ๗/๓๒-๓๔

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๑๙๑ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๗. ติสสเมตเตยยสุตตนิทเทส
คำว่า พึงศึกษาวิเวกนั่นแหละ ได้แก่ พึงศึกษา คือ พึงประพฤติเอื้อเฟื้อ
ประพฤติเอื้อเฟื้อโดยชอบ สมาทานประพฤติวิเวกนั่นแหละ รวมความว่า พึงศึกษา
วิเวกนั่นแหละ
คำว่า เพราะการประพฤติวิเวกนี้ เป็นกิจสูงสุดของพระอริยะทั้งหลาย
อธิบายว่า พระพุทธเจ้า พระพุทธสาวก และพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย ตรัสเรียก
ว่า พระอริยะ
การประพฤติวิเวก เป็นกิจยอดเยี่ยม ประเสริฐ วิเศษ นำหน้า สูงสุด
ประเสริฐสุด ของพระอริยะทั้งหลาย รวมความว่า เพราะการประพฤติวิเวกนี้
เป็นกิจสูงสุดของพระอริยะทั้งหลาย
คำว่า ไม่พึงสำคัญตนว่า เราเป็นผู้ประเสริฐสุดด้วยการประพฤติวิเวกนั้น
อธิบายว่า ไม่พึงทำการยกตน ไม่พึงทำการอวดตน ไม่พึงทำการถือตัว ไม่พึงทำ
ความแข็งกร้าว ไม่พึงทำความกระด้าง ด้วยการประพฤติวิเวกนั้น คือ ไม่พึงให้เกิด
ความถือตัว ไม่พึงทำความผูกพัน ด้วยการประพฤติวิเวกนั้น ได้แก่ ไม่ควรเป็นคน
แข็งกระด้าง เป็นคนเย่อหยิ่ง เป็นคนหัวสูง ด้วยการประพฤติวิเวกนั้น รวมความว่า
ไม่พึงสำคัญตนว่า เราเป็นผู้ประเสริฐสุดด้วยการประพฤติวิเวกนั้น
คำว่า ผู้นั้นแล ชื่อว่าอยู่ใกล้นิพพาน อธิบายว่า ผู้นั้น อยู่ใกล้ คือ อยู่ใกล้ชิด
อยู่ใกล้เคียง อยู่ไม่ไกล เข้าไปใกล้นิพพาน รวมความว่า ผู้นั้นแล ชื่อว่าอยู่ใกล้
นิพพาน ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า
บุคคลพึงศึกษาวิเวกนั่นแหละ เพราะการประพฤติวิเวกนี้
เป็นกิจสูงสุดของพระอริยะทั้งหลาย
ไม่พึงสำคัญตนว่า เราเป็นผู้ประเสริฐสุดด้วยการประพฤติวิเวกนั้น
ผู้นั้นแล ชื่อว่าอยู่ใกล้นิพพาน
[๕๘] (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า)
หมู่สัตว์ผู้ติดใจในกามทั้งหลาย ย่อมยินดีมุนีผู้ว่าง
ประพฤติอยู่ ไม่มุ่งหวังกามทั้งหลาย ผู้ข้ามโอฆะได้แล้ว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๑๙๒ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๗. ติสสเมตเตยยสุตตนิทเทส
คำว่า ผู้ว่าง ในคำว่า มุนีผู้ว่าง ประพฤติอยู่ อธิบายว่า ผู้ว่าง คือ สงัด
เงียบ ได้แก่ ผู้ว่าง คือ สงัด เงียบจากกายทุจริต ... วจีทุจริต ... มโนทุจริต ... ราคะ ..
โทสะ ... โมหะ ... โกธะ ... อุปนาหะ ... มักขะ ... ปฬาสะ ... อิสสา ... มัจฉริยะ ...
มายา ... สาเถยยะ ... ถัมภะ ... สารัมภะ ... มานะ ... อติมานะ ...มทะ ... ปมาทะ ...
กิเลสทุกชนิด ... ทุจริตทุกทาง... ความกระวนกระวายทุกอย่าง ... ความเร่าร้อน
ทุกสถาน ... ความเดือดร้อนทุกประการ ผู้ว่าง คือ สงัด เงียบจากอกุสลาภิสังขาร
ทุกประเภท๑
คำว่า มุนี อธิบายว่า ญาณ ท่านเรียกว่า โมนะ คือ ความรู้ทั่ว กิริยาที่รู้ชัด ...
ผู้ก้าวล่วงกิเลสเครื่องข้องและตัณหาดุจตาข่ายได้แล้ว ชื่อว่ามุนี๒
คำว่า ประพฤติอยู่ ได้แก่ ประพฤติอยู่ คือ อยู่ เคลื่อนไหว เป็นไป เลี้ยงชีวิต
ดำเนินไป ยังชีวิตให้ดำเนินไป รวมความว่า มุนีผู้ว่าง ประพฤติอยู่
คำว่า ไม่มุ่งหวังกามทั้งหลาย อธิบายว่า
คำว่า กาม ได้แก่ กาม ๒ อย่าง แบ่งตามหมวด คือ (๑) วัตถุกาม
(๒) กิเลสกาม ... เหล่านี้เรียกว่า วัตถุกาม ... เหล่านี้เรียกว่า กิเลสกาม๓
มุนีกำหนดรู้วัตถุกาม ละ คือ ละเว้น บรรเทา ทำให้หมดสิ้นไป ให้ถึงความไม่
มีอีกซึ่งกิเลสกาม ไม่มุ่งหวังในกามทั้งหลาย คือ เป็นผู้สละกามแล้ว คายกามแล้ว
ปล่อยกามแล้ว ละกามแล้ว สลัดทิ้งกามแล้ว ได้แก่ เป็นผู้คลายความกำหนัดแล้ว
สละราคะแล้ว คายราคะแล้ว ปล่อยราคะแล้ว ละราคะแล้ว สลัดทิ้งราคะแล้ว เป็นผู้
หมดความอยากแล้ว ดับแล้ว เย็นแล้ว มีตนอันประเสริฐเสวยสุขอยู่ รวมความว่า
ไม่มุ่งหวังกามทั้งหลาย

เชิงอรรถ :
๑ ดูคำแปลจากข้อ ๕/๑๗
๒ ดูรายละเอียดข้อ ๑๔/๖๘-๗๑
๓ดูรายละเอียดข้อ ๑/๑-๒

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๑๙๓ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๗. ติสสเมตเตยยสุตตนิทเสท
คำว่า หมู่สัตว์ ในคำว่า หมู่สัตว์ผู้ติดใจในกามทั้งหลาย ย่อมยินดี ...
ผู้ข้ามโอฆะได้แล้ว เป็นชื่อเรียกสัตว์ หมู่สัตว์ผู้กำหนัด ยินดี ติดใจ คือ สยบ
หมกมุ่น เกาะติด เกี่ยวพัน พัวพันในกามทั้งหลาย สัตว์เหล่านั้น ย่อมต้องการ
ยินดี ปรารถนา มุ่งหมาย มุ่งหวัง มุนีผู้ข้าม คือ ผู้ข้ามขึ้น ข้ามพ้น ก้าวล่วง
ก้าวพ้น ล่วงพ้นซึ่งกาโมฆะ ภโวฆะ ทิฏโฐฆะ อวิชโชฆะ ทางแห่งสงสารทั้งปวง
ได้แล้ว ถึงฝั่ง บรรลุฝั่ง ถึงที่สุด บรรลุที่สุด ถึงส่วนสุด บรรลุส่วนสุด ถึงท้ายสุด
บรรลุท้ายสุด ถึงที่ปกป้อง บรรลุที่ปกป้อง ถึงที่ป้องกัน บรรลุที่ป้องกัน ถึงที่
หลีกเร้น บรรลุที่หลีกเร้น ถึงที่พึ่ง บรรลุที่พึ่ง ถึงที่ไม่มีภัย บรรลุที่ไม่มีภัย
ถึงที่ไม่จุติ บรรลุที่ไม่จุติ ถึงอมตธรรม บรรลุอมตธรรม ถึงนิพพาน บรรลุนิพพาน
เปรียบเหมือนพวกลูกหนี้ ย่อมปรารถนา ยินดี ความเป็นผู้หมดหนี้ ฉันใด พวกที่
ป่วยไข้ ย่อมปรารถนา ยินดี ความเป็นผู้หายโรค ฉันใด พวกที่ติดอยู่ในเรือนจำ
ย่อมปรารถนา ยินดี ความพ้นจากเรือนจำ ฉันใด พวกทาส ย่อมปรารถนา ยินดี
ความเป็นไท ฉันใด พวกคนเดินทางกันดาร ย่อมปรารถนา ยินดี ภาคพื้นที่เกษม
ฉันใด หมู่สัตว์ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เป็นผู้กำหนัด ยินดี ติดใจ คือ สยบ หมกมุ่น
เกาะติด เกี่ยวพัน พัวพันในกามทั้งหลาย หมู่สัตว์เหล่านั้น ย่อมต้องการ ยินดี
ปรารถนา มุ่งหมาย มุ่งหวัง มุนีผู้ข้าม คือ ผู้ข้ามขึ้น ข้ามพ้นกาโมฆะ ... ภโวฆะ
... ถึงนิพพาน บรรลุนิพพาน รวมความว่า หมู่สัตว์ผู้ติดใจในกามทั้งหลาย
ย่อมยินดี ... ผู้ข้ามโอฆะได้แล้ว ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า
หมู่สัตว์ผู้ติดใจในกามทั้งหลาย ย่อมยินดีมุนีผู้ว่าง
ประพฤติอยู่ ไม่มุ่งหวังกามทั้งหลาย ผู้ข้ามโอฆะได้แล้ว
ติสสเมตเตยยสุตตนิทเทสที่ ๗ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๑๙๔ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๘. ปสูรสุตตนิทเทส
๘. ปสูรสุตตนิทเทส๑
อธิบายปสูรสูตร
ว่าด้วยปริพาชกชื่อว่าปสูระ
พระสารีบุตรเถระจะกล่าวอธิบายปสูรสูตร ดังต่อไปนี้
[๕๙] (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า)
สมณพราหมณ์เป็นอันมาก
ย่อมกล่าวความหมดจดในธรรมนี้เท่านั้น
ไม่กล่าวความหมดจดในธรรมเหล่าอื่น
บุคคลอาศัยศาสดาใด ก็กล่าวศาสดานั้นว่าดีงาม
ในเพราะทิฏฐิของตนนั้น เป็นผู้ตั้งอยู่ในปัจเจกสัจจะ
คำว่า ย่อมกล่าวความหมดจดในธรรมนี้เท่านั้น อธิบายว่า ย่อมกล่าว คือ
พูด บอก แสดง ชี้แจง ความหมดจด คือ ความสะอาด ความบริสุทธิ์ ความหลุดไป
ความพ้นไป ความหลุดพ้นไปในธรรมนี้เท่านั้น ได้แก่ กล่าว คือ พูด บอก แสดง
ชี้แจงความหมดจด คือ ความสะอาด ความบริสุทธิ์ ความหลุดไป ความพ้นไป
ความหลุดพ้นไปว่า “โลกเที่ยง นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นเป็นโมฆะ ... โลกไม่เที่ยง ...
โลกมีที่สุด ... โลกไม่มีที่สุด ... ชีวะกับสรีระเป็นอย่างเดียวกัน ... ชีวะ๒กับสรีระเป็น
คนละอย่างกัน ... หลังจากตายแล้วตถาคต๓เกิดอีก ... หลังจากตายแล้วตถาคตไม่
เกิดอีก ... หลังจากตายแล้วตถาคตเกิดอีก และไม่เกิดอีก” ... ย่อมกล่าว คือ
พูด บอก แสดง ชี้แจงความหมดจด คือ ความสะอาด ความบริสุทธิ์ ความหลุดไป
ความพ้นไป ความหลุดพ้นไปว่า “หลังจากตายแล้วตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่
จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่ นี้เท่านั้น จริง อย่างอื่นเป็นโมฆะ” รวมความว่า ย่อมกล่าว
ความหมดจดในธรรมนี้เท่านั้น

เชิงอรรถ :
๑ ขุ.สุ. ๒๕/๘๓๑-๘๔๑/๔๙๖-๔๙๘
๒ ชีวะ ดูเชิงอรรถข้อ ๑๖/๗๗
๓ ตถาคต ดูเชิงอรรถข้อ ๑๖/๗๗

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๑๙๕ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๘. ปสูรสุตตนิทเทส
คำว่า ไม่กล่าวความหมดจดในธรรมเหล่าอื่น อธิบายว่า ย่อมทิ้ง ละทิ้ง
ทอดทิ้ง วาทะอื่นทุกอย่าง นอกจากศาสดา ธรรมที่ศาสดากล่าวสอน หมู่คณะ
ทิฏฐิ ปฏิปทา มรรคของตน กล่าวอย่างนี้ คือ พูด บอก แสดง ชี้แจงอย่างนี้ว่า
“ศาสดานั้นมิใช่สัพพัญญู ธรรมมิใช่ศาสดากล่าวสอนไว้ดีแล้ว หมู่คณะมิใช่ผู้ปฏิบัติดี
แล้ว ทิฏฐิมิใช่สิ่งที่เจริญ ปฏิปทามิใช่ศาสดาบัญญัติไว้ดีแล้ว มรรคมิใช่ทางนำออก
จากทุกข์ ในธรรมนั้นไม่มีความหมดจด ความสะอาด ความบริสุทธิ์ ความหลุดไป
ความพ้นไป หรือความหลุดพ้นไป คือ ในธรรมนั้น สัตว์ทั้งหลาย ย่อมหมดจด
สะอาด บริสุทธิ์ หลุดไป พ้นไป หรือหลุดพ้นไปไม่ได้ สัตว์ทั้งหลายเป็นผู้เลว คือ
ทราม ต่ำทราม น่ารังเกียจ หยาบช้า ต่ำต้อย” รวมความว่า ไม่กล่าวความ
หมดจดในธรรมเหล่าอื่น
คำว่า บุคคลอาศัยศาสดาใด ในคำว่า บุคคลอาศัยศาสดาใด ก็กล่าวศาสดา
นั้นว่าดีงาม ในเพราะทิฏฐิของตนนั้น อธิบายว่า อาศัย คือ อิงอาศัย ติด ติดแน่น
ติดใจ น้อมใจเชื่อศาสดา ธรรมที่ศาสดากล่าวสอน หมู่คณะ ปฏิปทา มรรคใด
คำว่า ในเพราะทิฏฐิของตนนั้น ได้แก่ ในเพราะทิฏฐิของตน คือ ในความถูก
ใจของตน ความพอใจของตน ลัทธิของตน
คำว่า กล่าวว่าดีงาม ได้แก่ กล่าวว่างาม คือ กล่าวว่าดี กล่าวว่าฉลาด
กล่าวว่าเป็นนักปราชญ์ กล่าวว่ามีญาณ กล่าวว่ามีเหตุผล กล่าวว่ามีคุณลักษณะ
กล่าวว่าเหมาะแก่เหตุ กล่าวว่าสมฐานะ ในเพราะลัทธิของตน รวมความว่า บุคคล
อาศัยศาสดาใด ก็กล่าวศาสดานั้นว่าดีงาม ในเพราะทิฏฐิของตนนั้น
คำว่า สมณพราหมณ์เป็นอันมาก ... เป็นผู้ตั้งอยู่ในปัจเจกสัจจะ อธิบายว่า
สมณพราหมณ์เป็นอันมาก เป็นผู้ตั้งอยู่ คือ เป็นผู้ตั้งมั่น ติด ติดแน่น ติดใจ
น้อมใจเชื่อในปัจเจกสัจจะ ได้แก่ ตั้งอยู่ คือ ตั้งมั่น ติด ติดแน่น ติดใจ น้อมใจ
เชื่อว่า “โลกเที่ยง นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นเป็นโมฆะ ... โลกไม่เที่ยง” ... ตั้งอยู่
คือ ตั้งมั่น ติด ติดแน่น ติดใจ น้อมใจเชื่อว่า “หลังจากตายแล้วตถาคตจะว่า
เกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่ นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นเป็นโมฆะ” รวมความว่า
สมณพราหมณ์เป็นอันมาก ... เป็นผู้ตั้งอยู่ในปัจเจกสัจจะ ด้วยเหตุนั้น พระผู้มี-
พระภาคจึงตรัสว่า


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๑๙๖ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๘. ปสูรสุตตนิทเทส
สมณพราหมณ์เป็นอันมาก
ย่อมกล่าวความหมดจดในธรรมนี้เท่านั้น
ไม่กล่าวความหมดจดในธรรมเหล่าอื่น
บุคคลอาศัยศาสดาใด ก็กล่าวศาสดานั้นว่าดีงาม
ในเพราะทิฏฐิของตนนั้น เป็นผู้ตั้งอยู่ในปัจเจกสัจจะ
[๖๐] (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า)
สมณพราหมณ์เหล่านั้นเป็นคนอยากพูด
เข้าไปสู่บริษัทแล้ว จับคู่ กล่าวหากันและกันว่า เป็นคนพาล
สมณพราหมณ์เหล่านั้นอาศัยสิ่งอื่นแล้ว
ย่อมกล่าวถ้อยคำขัดแย้งกัน
อยากได้ความสรรเสริญ ก็กล่าวยกตนว่า เป็นผู้ฉลาด

ว่าด้วยการยกวาทะ
คำว่า สมณพราหมณ์เหล่านั้นเป็นคนอยากพูด ในคำว่า สมณพราหมณ์
เหล่านั้นเป็นคนอยากพูด เข้าไปสู่บริษัทแล้ว อธิบายว่า สมณพราหมณ์เหล่านั้น
เป็นคนอยากพูด คือ เป็นคนต้องการพูด ประสงค์จะพูด มุ่งหมายจะพูด เที่ยวแสวงหา
การพูด
คำว่า เข้าไปสู่บริษัทแล้ว ได้แก่ เข้าไปแล้ว คือ ก้าวลงแล้ว แทรกเข้าไปแล้ว
เข้าถึงแล้ว ซึ่งขัตติยบริษัท พราหมณบริษัท คหบดีบริษัท สมณบริษัท รวมความว่า
สมณพราหมณ์เหล่านั้นเป็นคนอยากพูด เข้าไปสู่บริษัทแล้ว
คำว่า จับคู่ ในคำว่า จับคู่ กล่าวหากันและกันว่า เป็นคนพาล อธิบายว่า
คน ๒ พวก คนก่อการทะเลาะกัน ๒ ฝ่าย คนก่อการบาดหมางกัน ๒ ฝ่าย
คนก่อการอื้อฉาวกัน ๒ ฝ่าย คนก่อการวิวาทกัน ๒ ฝ่าย คนก่ออธิกรณ์กัน ๒ ฝ่าย
คนว่ากล่าวกัน ๒ ฝ่าย คนโต้เถียงกัน ๒ ฝ่าย คนเหล่านั้น กล่าวหา คือ เห็น
แลเห็น เพ่งพินิจ พิจารณาดูกันและกัน โดยความเป็นคนพาล คือ โดยความเป็น
คนเลว ทราม ต่ำทราม น่ารังเกียจ หยาบช้า ต่ำต้อย รวมความว่า จับคู่ กล่าวหา
กันและกันว่า เป็นคนพาล

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๑๙๗ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๘. ปสูรสุตตนิทเทส
คำว่า สมณพราหมณ์เหล่านั้นอาศัยสิ่งอื่นแล้ว ย่อมกล่าวถ้อยคำขัดแย้งกัน
อธิบายว่า อาศัย คือ อิงอาศัย ติด ติดแน่น ติดใจ น้อมใจเชื่อศาสดา ธรรมที่ศาสดา
กล่าวสอน หมู่คณะ ทิฏฐิ ปฏิปทา มรรคอื่น
ความทะเลาะกัน ความบาดหมางกัน ความแก่งแย่งกัน ความวิวาทกัน
การมุ่งร้ายกัน ตรัสเรียกว่า ถ้อยคำที่ขัดแย้งกัน
อีกนัยหนึ่ง คำว่า ถ้อยคำขัดแยังกัน ได้แก่ ถ้อยคำที่ไม่นุ่มนวล อธิบายว่า
สมณพราหมณ์เหล่านั้น ย่อมกล่าว คือ พูด บอก แสดง ชี้แจงถ้อยคำขัดแย้งกัน
คือ คำทะเลาะกัน คำบาดหมางกัน คำแก่งแย่งกัน คำวิวาทกัน คำมุ่งร้ายกัน
รวมความว่า สมณพราหมณ์เหล่านั้นอาศัยสิ่งอื่นแล้ว ย่อมกล่าวถ้อยคำขัดแย้งกัน
คำว่า อยากได้ความสรรเสริญ ในคำว่า อยากได้ความสรรเสริญ ก็กล่าว
ยกตนว่าเป็นผู้ฉลาด อธิบายว่า อยากได้ความสรรเสริญ คือ ต้องการความสรรเสริญ
ประสงค์ความสรรเสริญ มุ่งหมายความสรรเสริญ เที่ยวแสวงหาความสรรเสริญ
คำว่า ก็กล่าวยกตนว่า เป็นผู้ฉลาด ได้แก่ กล่าวยกตนว่าเป็นผู้ฉลาด คือ
กล่าวว่าเป็นบัณฑิต กล่าวว่าเป็นนักปราชญ์ กล่าวว่ามีญาณ กล่าวว่าสมเหตุผล
กล่าวว่ามีคุณลักษณะ กล่าวว่าเหมาะแก่เหตุ กล่าวว่าสมฐานะตามลัทธิของตน
รวมความว่า อยากได้ความสรรเสริญ ก็กล่าวยกตนว่า เป็นผู้ฉลาด ด้วยเหตุนั้น
พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า
สมณพราหมณ์เหล่านั้นเป็นคนอยากพูด
เข้าไปสู่บริษัทแล้ว จับคู่ กล่าวหากันและกันว่า เป็นคนพาล
สมณพราหมณ์เหล่านั้นอาศัยสิ่งอื่นแล้ว
ย่อมกล่าวถ้อยคำขัดแย้งกัน
อยากได้ความสรรเสริญ ก็กล่าวยกตนว่า เป็นผู้ฉลาด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๑๙๘ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๘. ปสูรสุตตนิทเทส
[๖๑] (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า)
คนผู้ประกอบถ้อยคำ(เพื่อกล่าว)ในท่ามกลางบริษัท
เมื่ออยากได้ความสรรเสริญ ย่อมเป็นผู้ลังเลใจ
เป็นผู้เก้อเขิน ในเมื่อถูกค้านตกไป ย่อมโกรธเคือง
เพราะคำนินทา แสวงหาข้อแก้ตัว

ว่าด้วยแพ้วาทะแล้วขัดเคือง
คำว่า คนผู้ประกอบถ้อยคำ(เพื่อกล่าว)ในท่ามกลางบริษัท อธิบายว่า
คนผู้ประกอบ คือ เตรียมตัว ตระเตรียม รวบรวม เรียบเรียง ถ้อยคำของตนเพื่อ
กล่าวในท่ามกลางขัตติยบริษัท พราหมณบริษัท คหบดีบริษัท หรือสมณบริษัท
รวมความว่า คนผู้ประกอบถ้อยคำ(เพื่อกล่าว)ในท่ามกลางบริษัท
คำว่า เมื่ออยากได้ความสรรเสริญ ในคำว่า เมื่ออยากได้ความสรรเสริญ
ย่อมเป็นผู้ลังเลใจ อธิบายว่า เมื่ออยากได้ คือ ยินดี ปรารถนา มุ่งหมาย มุ่งหวัง
ความสรรเสริญ คือ ความชมเชย ความมีเกียรติ ความยกย่องคุณความดี
คำว่า ย่อมเป็นผู้ลังเลใจ อธิบายว่า ก่อนตอบโต้ ย่อมสงสัย ลังเลใจ คือ
ก่อนตอบโต้ ย่อมสงสัย ลังเลใจ อย่างนี้ว่า “เราจักมีชัย หรือปราชัยหนอ จักข่มเขา
อย่างไร จักทำลัทธิของเราให้เลิศลอยได้อย่างไร จักทำให้พิเศษได้อย่างไร จักทำให้
พิเศษยิ่งขึ้นไปได้อย่างไร จักทำการผูกมัดได้อย่างไร จักทำความผ่อนคลายได้อย่างไร
จักทำความตัดรอนได้อย่างไร จักตีขนาบวาทะเขาได้อย่างไร” รวมความว่า เมื่อ
อยากได้ความสรรเสริญ ย่อมเป็นผู้ลังเลใจ
คำว่า เป็นผู้เก้อเขิน ในเมื่อถูกค้านตกไป อธิบายว่า บริษัท สมาชิกของ
บริษัท ผู้พิจารณาปัญหา เป็นผู้มีเหตุผล ย่อมคัดค้านให้ตกไป คือ คัดค้านให้ตกไป
โดยอรรถว่า “คำที่ท่านพูดไร้ความหมาย” คัดค้านให้ตกไปโดยพยัญชนะว่า “สิ่งที่
ท่านพูดแล้วไม่ถูกต้องโดยพยัญชนะ” คัดค้านให้ตกไปทั้งโดยอรรถและพยัญชนะว่า
“สิ่งที่ท่านพูดแล้วไม่ถูกต้องทั้งโดยอรรถและพยัญชนะ” คัดค้านให้ตกไปว่า “อรรถที่
ท่านนำมาไม่ถูกต้อง พยัญชนะที่ท่านยกขึ้นมาไม่ถูกต้อง ทั้งอรรถและพยัญชนะที่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๑๙๙ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๘. ปสูรสุตตนิทเทส
ท่านนำมาและยกขึ้นมาไม่ถูกต้อง ความข่มผู้อื่นท่านยังมิได้ทำ การทำลัทธิให้เลิศ
ลอยท่านยังทำไม่ดี ความพิเศษท่านยังมิได้ทำ การทำให้พิเศษยิ่งขึ้นท่านยังทำไม่ดี
ความผูกมัด ท่านยังมิได้ทำ ความผ่อนคลายท่านยังทำไม่ถูกต้อง ความตัดรอนท่าน
ยังมิได้ทำ การขนาบวาทะท่านทำไม่ถูกต้อง ท่านพูดไม่ถูกต้อง กล่าวไม่ถูกต้อง
เจรจาไม่ถูกต้อง เปล่งวาจาผิด กล่าวให้คลาดเคลื่อน พูดชั่ว”
คำว่า เป็นผู้เก้อเขิน ในเมื่อถูกค้านตกไป อธิบายว่า เมื่อถูกคัดค้านให้ตกไป
เป็นผู้เก้อเขิน คือ ถูกบีบคั้น ถูกทำให้ละอาย ถูกทำให้กระวนกระวาย ถึงความ
ทุกข์ใจ รวมความว่า เป็นผู้เก้อเขิน ในเมื่อถูกค้านตกไป
คำว่า เพราะคำนินทา ในคำว่า ย่อมโกรธเคือง เพราะคำนินทา แสวงหา
ข้อแก้ตัว อธิบายว่า เพราะคำนินทา คือ คำครหา คำไม่ชมเชย คำไม่สรรเสริญคุณ
ความดี
คำว่า ย่อมโกรธเคือง ได้แก่ ย่อมโกรธเคือง คือ แค้นเคือง ขุ่นเคือง ได้แก่
ทำความโกรธเคือง ความขัดเคือง และความไม่พอใจให้ปรากฏ รวมความว่า
ย่อมโกรธเคือง เพราะคำนินทา
คำว่า แสวงหาข้อแก้ตัว ได้แก่ แสวงหาข้อแก้ตัว คือ แสวงหาข้อผิด
แสวงหาข้อพลั้งผิด แสวงหาข้อผิดพลาด แสวงหาข้อพลั้งเผลอ แสวงหาช่องทาง
รวมความว่า ย่อมโกรธเคือง เพราะคำนินทา แสวงหาข้อแก้ตัว ด้วยเหตุนั้น
พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า
คนผู้ประกอบถ้อยคำ(เพื่อกล่าว)ในท่ามกลางบริษัท
เมื่ออยากได้ความสรรเสริญ ย่อมเป็นผู้ลังเลใจ
เป็นผู้เก้อเขิน ในเมื่อถูกค้านตกไป ย่อมโกรธเคือง
เพราะคำนินทา แสวงหาข้อแก้ตัว
[๖๒] (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า)
บริษัทผู้พิจารณาปัญหากล่าววาทะของเขาว่า เลว
ถูกคัดค้านตกไปแล้ว เขาเสื่อมวาทะไปแล้ว
ย่อมคร่ำครวญ เศร้าโศก ทอดถอนใจว่า เขานำ(หน้า) เราไปแล้ว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๒๐๐ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๘. ปสูรสุตตนิทเทส
ว่าด้วยถูกข่มด้วยวาทะแล้วเสียใจ
คำว่า กล่าววาทะของเขาว่า เลว อธิบายว่า ชุมชนผู้พิจารณาปัญหา
ได้กล่าวอย่างนี้ คือ พูด บอก แสดง ชี้แจงวาทะของเขาว่า เลว คือ ทราม ต่ำทราม
เสื่อมเสีย ไม่บริบูรณ์ อย่างนี้ รวมความว่า กล่าววาทะของเขาว่า เลว
คำว่า บริษัทผู้พิจารณาปัญหา ... ถูกคัดค้านตกไปแล้ว อธิบายว่า บริษัท
สมาชิกของบริษัท ผู้พิจารณาปัญหา เป็นผู้มีเหตุผล ย่อมคัดค้านให้ตกไป คือ
คัดค้านให้ตกไปโดยอรรถว่า “คำที่ท่านพูดไร้ความหมาย” คัดค้านให้ตกไปโดย
พยัญชนะว่า “สิ่งที่ท่านพูดแล้วไม่ถูกต้องโดยพยัญชนะ” คัดค้านให้ตกไปทั้งโดย
อรรถและพยัญชนะว่า “สิ่งที่ท่านพูดแล้วไม่ถูกต้องทั้งโดยอรรถและพยัญชนะ”
คัดค้านให้ตกไปว่า “อรรถที่ท่านนำมาไม่ถูกต้อง พยัญชนะที่ท่านยกขึ้นมาไม่ถูกต้อง
ทั้งอรรถและพยัญชนะที่ท่านนำมาและยกขึ้นมาไม่ถูกต้อง ความข่มผู้อื่นท่านยัง
มิได้ทำ การทำลัทธิให้เลิศลอยท่านยังทำไม่ดี ความพิเศษท่านยังมิได้ทำ การทำให้
พิเศษยิ่งขึ้นท่านยังทำไม่ดี ความผูกมัดท่านยังมิได้ทำ ความผ่อนคลายท่านทำไว้
ไม่ถูกต้อง ความตัดรอนท่านยังมิได้ทำ การขนาบวาทะท่านทำไม่ถูกต้อง ท่านพูด
ไม่ถูกต้อง กล่าวไม่ถูกต้อง เจรจาไม่ถูกต้อง เปล่งวาจาผิด กล่าวให้คลาดเคลื่อน
พูดชั่ว” รวมความว่า บริษัทผู้พิจารณาปัญหา ... ถูกคัดค้านตกไปแล้ว
คำว่า ย่อมคร่ำครวญ ในคำว่า เขาเสื่อมวาทะไปแล้ว ย่อมคร่ำครวญ
เศร้าโศก อธิบายว่า การพูดพล่าม การพูดเพ้อ การพูดเพ้อเจ้อ ความพร่ำเพ้อ
กิริยาที่พร่ำเพ้อ ภาวะที่พร่ำเพ้อเห็นปานนี้ว่า เรานึก คิด พิจารณา กำหนดไว้เป็น
อย่างอื่น เขามีพวกมาก มีบริษัทมาก มีบริวารมาก และบริษัทนี้เป็นพวกแต่
หาพร้อมเพรียงกันไม่ ขอให้มีการพูดจาปราศรัยเพื่อให้บริษัทพร้อมเพรียงกันเถิด
เราจักทำลายเขาอีก รวมความว่า ย่อมคร่ำครวญ
คำว่า เศร้าโศก ได้แก่ เศร้าโศก คือ ลำบากใจ คร่ำครวญ ตีอกพร่ำเพ้อ
ถึงความหลงใหลว่า “เขามีชัยชนะ เราปราชัย เขาได้ลาภ เราไม่ได้ลาภ เขามียศ
เราไม่มียศ เขาได้ความสรรเสริญ เราได้แต่การนินทา เขามีสุข เรามีทุกข์ เขา
ได้รับสักการะ เคารพ นับถือ บูชา ยำเกรง ได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๒๐๑ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๘. ปสูรสุตตนิทเทส
คิลานปัจจัยเภสัชบริขาร เราไม่ได้รับสักการะ เคารพ นับถือ บูชา ยำเกรง ไม่ได้จีวร
บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร” รวมความว่า ย่อมคร่ำครวญ
เศร้าโศก
คำว่า เสื่อมวาทะไปแล้ว ได้แก่ เสื่อมวาทะไปแล้ว คือ มีวาทะเลว ทราม
ต่ำทราม เสื่อมเสีย ไม่บริบูรณ์ รวมความว่า เสื่อมวาทะไปแล้ว ย่อมคร่ำครวญ
เศร้าโศก
คำว่า ทอดถอนใจว่า เขานำ(หน้า)เราไปแล้ว อธิบายว่า ทอดถอนใจว่า
เขานำ คือ ล่วงเลย ก้าวล่วง ก้าวพ้น ล่วงพ้นเรา คือวาทะเรา ด้วยวาทะเขาแล้ว
รวมความว่า เขานำ(หน้า)เราไปแล้ว อย่างนี้บ้าง
อีกนัยหนึ่ง ทอดถอนใจว่า เขาเที่ยวไป คือ อยู่ เคลื่อนไหว เป็นไป เลี้ยงชีวิต
ดำเนินไป ยังชีวิตให้ดำเนินไป ครอบงำ ท่วมทับ รัดรึง ย่ำยีเรา คือวาทะเรา ด้วย
วาทะเขา รวมความว่า เขานำ(หน้า)เราไปแล้ว อย่างนี้บ้าง
การพูดพล่าม การพูดเพ้อ การพูดเพ้อเจ้อ ความพร่ำเพ้อ กิริยาที่พร่ำเพ้อ
ภาวะที่พร่ำเพ้อ ตรัสเรียกว่า การทอดถอนใจ รวมความว่า ทอดถอนใจว่า เขา
นำ(หน้า)เราไปแล้ว ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า
บริษัทผู้พิจารณาปัญหากล่าววาทะของเขาว่า เลว
ถูกคัดค้านตกไปแล้ว เขาเสื่อมวาทะไปแล้ว
ย่อมคร่ำครวญ เศร้าโศก ทอดถอนใจว่า เขานำ(หน้า)เราไปแล้ว
[๖๓] (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า)
การวิวาทเหล่านี้เกิดแล้วในหมู่สมณะ
ความยินดีและความยินร้าย มีอยู่ในการวิวาทเหล่านี้
บุคคลเห็นโทษนี้แล้ว พึงงดเว้นถ้อยคำขัดแย้งกัน
เพราะว่าไม่มีประโยชน์อื่นนอกจากการได้ความสรรเสริญ

ว่าด้วยโทษของการวิวาท
คำว่า การวิวาทเหล่านี้เกิดแล้วในหมู่สมณะ อธิบายว่า
คำว่า สมณะ ได้แก่ นักบวชพวกใดพวกหนึ่ง ซึ่งเข้าถึงการบวชเป็นปริพาชก
ถึงการบวชเป็นปริพาชก ภายนอกจากธรรมวินัยนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๒๐๒ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๘. ปสูรสุตตนิทเทส
การทะเลาะกันเพราะทิฏฐิ การบาดหมางกันเพราะทิฏฐิ การแก่งแย่ง
กันเพราะทิฏฐิ การวิวาทกันเพราะทิฏฐิ การมุ่งร้ายกันเพราะทิฏฐิเหล่านี้ เกิดแล้ว คือ
เกิดขึ้นแล้ว บังเกิดแล้ว บังเกิดขึ้นแล้ว ปรากฏแล้วในหมู่สมณะ รวมความว่า การ
วิวาทเหล่านี้เกิดแล้วในหมู่สมณะ
คำว่า ความยินดีและความยินร้าย มีอยู่ในการวิวาทเหล่านี้ อธิบายว่า
มีชนะมีแพ้ มีลาภมีเสื่อมลาภ มียศมีเสื่อมยศ มีนินทามีสรรเสริญ มีสุขมีทุกข์
มีโสมนัสมีโทมนัส มีอิฏฐารมณ์มีอนิฏฐารมณ์ มีปลอดโปร่งมีกระทบกระทั่ง
มีความยินดีมีความยินร้าย ใจยินดีเพราะชนะ ใจยินร้ายเพราะพ่ายแพ้ ใจยินดีเพราะ
ได้ลาภ ใจยินร้ายเพราะเสื่อมลาภ ใจยินดีเพราะได้ยศ ใจยินร้ายเพราะเสื่อมยศ
ใจยินดีเพราะสรรเสริญ ใจยินร้ายเพราะนินทา ใจยินดีเพราะความสุข ใจยินร้าย
เพราะความทุกข์ ใจยินดีเพราะโสมนัส ใจยินร้ายเพราะโทมนัส ใจยินดีเพราะเฟื่องฟู
ใจยินร้ายเพราะตกอับ รวมความว่า ความยินดีและความยินร้าย มีอยู่ในการวิวาท
เหล่านี้
คำว่า เห็นโทษนี้แล้ว ในคำว่า บุคคลเห็นโทษนี้แล้ว พึงงดเว้นถ้อยคำ
ขัดแย้งกัน อธิบายว่า เห็นแล้ว คือ แลเห็นแล้ว เทียบเคียงแล้ว พิจารณาแล้ว
ทำให้กระจ่างแล้ว ทำให้แจ่มแจ้งแล้วซึ่งโทษนี้ ในการทะเลาะกันเพราะทิฏฐิ การ
บาดหมางกันเพราะทิฏฐิ การแก่งแย่งกันเพราะทิฏฐิ การวิวาทกันเพราะทิฏฐิ การ
มุ่งร้ายกันเพราะทิฏฐิ
คำว่า บุคคลเห็นโทษนี้แล้ว พึงงดเว้นถ้อยคำขัดแย้งกัน อธิบายว่า การ
ทะเลาะกัน การบาดหมางกัน การแก่งแย่งกัน การวิวาทกัน การมุ่งร้ายกัน
ตรัสเรียกว่า ถ้อยคำขัดแย้งกัน
อีกนัยหนึ่ง ถ้อยคำที่ขัดแย้งกัน ได้แก่ ถ้อยคำที่ไม่นุ่มนวล อธิบายว่า
บุคคลนั้น ไม่พึงก่อถ้อยคำขัดแย้งกัน คือ ไม่พึงก่อการทะเลาะกัน ไม่พึงก่อการ
บาดหมางกัน ไม่พึงก่อการแก่งแย่งกัน ไม่พึงก่อการวิวาทกัน ไม่พึงก่อการมุ่ง
ร้ายกัน ได้แก่ พึงละ บรรเทา ทำให้หมดสิ้นไป ให้ถึงความไม่มีอีกซึ่งการทะเลาะ
การบาดหมาง การแก่งแย่ง การวิวาท การมุ่งร้าย คือ พึงเป็นผู้งด งดเว้น


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๒๐๓ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๘. ปสูรสุตตนิทเทส
เว้นขาด ออก สลัดออก หลุดพ้น ไม่เกี่ยวข้องกับการทะเลาะ การบาดหมาง การ
แก่งแย่ง การวิวาท การมุ่งร้าย มีใจเป็นอิสระ(จากกิเลส)อยู่ รวมความว่า บุคคล
เห็นโทษนี้แล้ว พึงงดเว้นถ้อยคำขัดแย้งกัน
คำว่า เพราะว่าไม่มีประโยชน์อื่นนอกจากการได้ความสรรเสริญ อธิบาย
ว่า ไม่มีประโยชน์อื่นนอกจากการได้ความสรรเสริญ คือ ไม่มี ไม่มีอยู่ ไม่ปรากฏ
หาไม่ได้ซึ่งประโยชน์ตน ประโยชน์ผู้อื่นหรือประโยชน์ทั้งสองฝ่าย ประโยชน์ในภพ
ปัจจุบันหรือประโยชน์ในภพหน้า ประโยชน์ตื้นหรือประโยชน์ลึก ประโยชน์ลี้ลับ
หรือประโยชน์ปิดบัง ประโยชน์ที่ควรแนะนำหรือประโยชน์ที่แนะนำแล้ว ประโยชน์ที่
ไม่มีโทษหรือประโยชน์ที่ไม่มีกิเลส ประโยชน์ที่ผ่องแผ้วหรือประโยชน์อย่างยิ่ง
รวมความว่า เพราะไม่มีประโยชน์อื่นนอกจากการได้ความสรรเสริญ ด้วยเหตุนั้น
พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า
การวิวาทเหล่านี้เกิดแล้วในหมู่สมณะ
ความยินดีและความยินร้าย มีอยู่ในการวิวาทเหล่านี้
บุคคลเห็นโทษนี้แล้ว พึงงดเว้นถ้อยคำขัดแย้งกัน
เพราะว่าไม่มีประโยชน์อื่นนอกจากการได้ความสรรเสริญ
[๖๔] (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า)
ก็หรือว่า บุคคลกล่าววาทะในท่ามกลางบริษัท
ได้รับความสรรเสริญ เพราะทิฏฐิของตนนั้น
เขาย่อมหัวเราะ และฟูใจด้วยประโยชน์แห่งความชนะนั้น
เพราะได้บรรลุถึงประโยชน์ตามที่ใจคิดไว้แล้ว
คำว่า เพราะทิฏฐิของตนนั้น ในคำว่า ก็หรือว่า ... ได้รับความสรรเสริญ
เพราะทิฏฐิของตนนั้น ได้แก่ ได้รับความสรรเสริญ คือ ชมเชย ยกย่อง พรรณนา
เพราะทิฏฐิของตน คือ ความถูกใจของตน ความพอใจของตน ลัทธิของตน รวมความว่า
ก็หรือว่า ... ได้รับความสรรเสริญ เพราะทิฏฐิของตนนั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๒๐๔ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๘. ปสูรสุตตนิทเทส
คำว่า กล่าววาทะในท่ามกลางบริษัท อธิบายว่า กล่าว คือ บอกวาทะของตน
ได้แก่ กล่าว พูด ชื่นชม พูดถึง แสดง เชิดชู ชี้แจง ยกย่องวาทะที่เอื้อต่อวาทะ
ตนในท่ามกลางขัตติยบริษัท พราหมณบริษัท คหบดีบริษัท หรือสมณบริษัท รวม
ความว่า กล่าววาทะในท่ามกลางบริษัท
คำว่า เขาย่อมหัวเราะ และฟูใจด้วยประโยชน์แห่งความชนะนั้น อธิบายว่า
เขาย่อมเป็นผู้ยินดี ร่าเริง เบิกบาน มีใจแช่มชื่น มีความดำริบริบูรณ์ด้วยประโยชน์
แห่งความชนะนั้น อีกนัยหนึ่ง เป็นผู้หัวเราะจนมองเห็นฟัน
คำว่า เขาย่อมหัวเราะ และฟูใจด้วยประโยชน์แห่งความชนะนั้น ได้แก่ เขา
ย่อมเป็นผู้ลำพองตน คือ ทะนงตน เชิดชูตนเป็นดุจธง เห่อเหิม ต้องการเชิดชูตน
เป็นดุจธง ด้วยประโยชน์แห่งความชนะนั้น รวมความว่า เขาย่อมหัวเราะ และฟูใจ
ด้วยประโยชน์แห่งความชนะนั้น
คำว่า เพราะได้บรรลุถึงประโยชน์ตามที่ใจคิดไว้แล้ว ได้แก่ เพราะได้บรรลุ
คือ ถึง ถึงเฉพาะ ประสบ ได้รับประโยชน์แห่งความชนะนั้น
คำว่า ตามที่ใจคิดไว้แล้ว ได้แก่ ตามที่ใจคิดไว้แล้ว คือ ได้เป็นอย่างที่คิด
ได้เป็นอย่างที่ดำริ ได้เป็นอย่างที่รู้แจ้ง รวมความว่า เพราะได้บรรลุถึงประโยชน์ตาม
ที่ใจคิดไว้แล้ว ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า
ก็หรือว่า บุคคลกล่าววาทะในท่ามกลางบริษัท
ได้รับความสรรเสริญ เพราะทิฏฐิของตนนั้น
เขาย่อมหัวเราะ และฟูใจด้วยประโยชน์แห่งความชนะนั้น
เพราะได้บรรลุถึงประโยชน์ตามที่ใจคิดไว้แล้ว
[๖๕] (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า)
ความลำพองตน ย่อมเป็นภูมิสำหรับย่ำยีของเขา
เขาจึงกล่าวคำถือตัวและคำดูหมิ่นกัน
บุคคลเห็นโทษนี้แล้ว ไม่ควรวิวาทกัน
เพราะผู้ฉลาดทั้งหลาย ไม่กล่าวความหมดจด
ด้วยการวิวาทกันนั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๒๐๕ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๘. ปสูรสุตตนิทเทส
คำว่า ความลำพองตน ย่อมเป็นภูมิสำหรับย่ำยีของเขา อธิบายว่า ความ
ลำพองตน คือ ความทะนงตน ความเชิดชูตนเป็นดุจธง ความเห่อเหิม ความที่จิต
ต้องการเชิดชูตนเป็นดุจธง รวมความว่า ความลำพองตน
คำว่า ย่อมเป็นภูมิสำหรับย่ำยีของเขา อธิบายว่า ความลำพองตน เป็นภูมิ
สำหรับย่ำยี คือ สำหรับตัดรอน สำหรับเบียดเบียน สำหรับบีบคั้น สำหรับก่อ
อันตราย สำหรับก่ออุปสรรคของเขา รวมความว่า ความลำพองตน ย่อมเป็นภูมิ
สำหรับย่ำยีของเขา
คำว่า เขาจึงกล่าวคำถือตัวและคำดูหมิ่นกัน ได้แก่ บุคคลนั้นจึงกล่าวคำ
ถือตัวและกล่าวคำดูหมิ่น รวมความว่า เขาจึงกล่าวคำถือตัวและคำดูหมิ่นกัน
คำว่า บุคคลเห็นโทษนี้แล้ว ไม่ควรวิวาทกัน อธิบายว่า เห็นแล้ว คือ แลเห็น
แล้ว เทียบเคียงแล้ว พิจารณาแล้ว ทำให้กระจ่างแล้ว ทำให้แจ่มแจ้งแล้วซึ่งโทษนี้
ในการทะเลาะกันเพราะทิฏฐิ การบาดหมางกันเพราะทิฏฐิ การแก่งแย่งกันเพราะ
ทิฏฐิ การวิวาทกันเพราะทิฏฐิ การมุ่งร้ายกันเพราะทิฏฐิ รวมความว่า บุคคลเห็น
โทษนี้แล้ว
คำว่า ไม่ควรวิวาทกัน อธิบายว่า ไม่พึงก่อการทะเลาะกัน ไม่พึงก่อการ
บาดหมางกัน ไม่พึงก่อการแก่งแย่งกัน ไม่พึงก่อการวิวาทกัน ไม่พึงก่อการมุ่ง
ร้ายกัน ได้แก่ พึงละ บรรเทา ทำให้หมดสิ้นไป ให้ถึงความไม่มีอีกซึ่งการทะเลาะกัน
การบาดหมางกัน การแก่งแย่งกัน การวิวาทกัน การมุ่งร้ายกัน คือ พึงเป็นผู้งด
งดเว้น เว้นขาด ออก สลัดออก หลุดพ้น ไม่เกี่ยวข้องกับการทะเลาะกัน การ
บาดหมางกัน การแก่งแย่งกัน การวิวาทกัน การมุ่งร้ายกันแล้ว มีใจเป็นอิสระ
(จากกิเลส) อยู่ รวมความว่า บุคคลเห็นโทษนี้แล้ว ไม่ควรวิวาทกัน
คำว่า ผู้ฉลาดทั้งหลาย ในคำว่า เพราะผู้ฉลาดทั้งหลาย ไม่กล่าวความ
หมดจดด้วยการวิวาทกันนั้น อธิบายว่า ผู้ฉลาดในขันธ์ ฉลาดในธาตุ ฉลาดใน
อายตนะ ฉลาดในปฏิจจสมุปบาท ฉลาดในสติปัฏฐาน ฉลาดในสัมมัปปธาน ฉลาด
ในอิทธิบาท ฉลาดในอินทรีย์ ฉลาดในพละ ฉลาดในโพชฌงค์ ฉลาดในมรรค ฉลาด
ในผล ฉลาดในนิพพาน


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๒๐๖ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๘. ปสูรสุตตนิทเทส
ผู้ฉลาดเหล่านั้น ไม่พูด ไม่บอก ไม่แสดง ไม่ชี้แจงความหมดจด คือ ความ
สะอาด ความบริสุทธิ์ ความหลุดไป ความพ้นไป ความหลุดพ้นไป ด้วยการทะเลาะ
กันเพราะทิฏฐิ การบาดหมางกันเพราะทิฏฐิ การแก่งแย่งกันเพราะทิฏฐิ การวิวาท
กันเพราะทิฏฐิ การมุ่งร้ายกันเพราะทิฏฐิ รวมความว่า เพราะผู้ฉลาดทั้งหลาย
ไม่กล่าวความหมดจดด้วยการวิวาทกันนั้น ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า
ความลำพองตน ย่อมเป็นภูมิสำหรับย่ำยีของเขา
เขาจึงกล่าวคำถือตัวและคำดูหมิ่นกัน
บุคคลเห็นโทษนี้แล้ว ไม่ควรวิวาทกัน
เพราะผู้ฉลาดทั้งหลาย ไม่กล่าวความหมดจด
ด้วยการวิวาทกันนั้น
[๖๖] (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า)
คนกล้าที่ได้รับการเลี้ยงดูด้วยของเสวยของพระราชา
เขาคึกคะนอง อยากพบคนกล้าฝ่ายตรงข้าม ย่อมได้พบ ฉันใด
(เจ้าลัทธิ ย่อมได้พบเจ้าลัทธิ ฉันนั้น)
ผู้กล้าเอ๋ย เจ้าลัทธิอยู่ที่ใด เธอจงไปเสียจากที่นั้นเถิด
เพราะกิเลสที่เคยมีแต่ก่อนของตถาคต มิได้มีเพื่อการรบ
คำว่า คนกล้า ในคำว่า คนกล้าที่ได้รับการเลี้ยงดูด้วยของเสวยของ
พระราชา ได้แก่ คนกล้า คือ ผู้กล้าหาญ นักสู้ ผู้ไม่ขลาด ไม่หวาดเสียว ไม่
สะดุ้งกลัว ไม่หนี
คำว่า ที่ได้รับการเลี้ยงดูด้วยของเสวยของพระราชา ได้แก่ ได้รับการเลี้ยงดู
คือ ชุบเลี้ยง ทำให้เจริญ ทำให้เติบโต ด้วยเครื่องขบเคี้ยวของพระราชา ด้วยเครื่อง
เสวยของพระราชา รวมความว่า คนกล้าที่ได้รับการเลี้ยงดูด้วยของเสวยของ
พระราชา
คำว่า เขาคึกคะนอง อยากพบคนกล้าฝ่ายตรงข้าม ย่อมได้พบ ฉันใด
อธิบายว่า เขาคึกคะนอง ร้องท้าทาย ตะโกนกึกก้อง อยากพบ คือ ยินดี ปรารถนา
มุ่งหมาย มุ่งหวัง ผู้กล้าฝ่ายตรงข้าม คือ คนฝ่ายตรงข้าม ศัตรูฝ่ายตรงข้าม นักปล้ำ
ฝ่ายตรงข้าม ย่อมได้พบ คือ เข้าพบ เข้าไปพบ รวมความว่า เขาคึกคะนอง
อยากพบคนกล้าฝ่ายตรงข้าม ย่อมได้พบ ฉันใด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๒๐๗ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๘. ปสูรสุตตนิทเทส
คำว่า ผู้กล้าเอ๋ย เจ้าลัทธิอยู่ที่ใด เธอจงไปเสียจากที่นั้นเถิด อธิบายว่า
เจ้าลัทธินั้นอยู่ที่ใด เธอจงไปเสียจากที่นั้น คือ จงเว้น จงไป จงก้าวหลีกจากที่นั้น
เพราะเขาเป็นผู้กล้าฝ่ายตรงข้าม เป็นคนฝ่ายตรงข้าม เป็นศัตรูฝ่ายตรงข้าม เป็น
นักปล้ำฝ่ายตรงข้ามของเธอ รวมความว่า ผู้กล้าเอ๋ย เจ้าลัทธิอยู่ที่ใด เธอจงไปเสีย
จากที่นั้นเถิด
คำว่า เพราะกิเลสที่เคยมีแต่ก่อนของตถาคต มิได้มีเพื่อการรบ อธิบายว่า
กิเลสเหล่าใด ซึ่งทำความเป็นข้าศึก ทำความขัดขวาง ทำความเป็นเสี้ยนหนาม
ทำความเป็นปฏิปักษ์ เมื่อก่อน คือ ที่โคนต้นโพธิ์ กิเลสเหล่านั้น ไม่มี ไม่มีอยู่ ไม่
ปรากฏ หาไม่ได้แก่ตถาคต คือ กิเลสเหล่านั้นตถาคตละได้แล้ว ตัดขาดได้แล้ว
ทำให้สงบได้แล้ว ระงับได้แล้ว ทำให้เกิดขึ้นไม่ได้อีก เผาด้วยไฟคือญาณแล้ว
คำว่า เพื่อการรบ ได้แก่ เพื่อประโยชน์แก่การรบ คือ เพื่อประโยชน์แก่การ
ทะเลาะกัน เพื่อประโยชน์แก่การบาดหมางกัน เพื่อประโยชน์แก่การแก่งแย่งกัน
เพื่อประโยชน์แก่การวิวาทกัน เพื่อประโยชน์แก่การมุ่งร้ายกัน รวมความว่า เพราะ
กิเลสที่เคยมีแต่ก่อนของตถาคต มิได้มีเพื่อการรบ ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาค
จึงตรัสว่า
คนกล้าที่ได้รับการเลี้ยงดูด้วยของเสวยของพระราชา
เขาคึกคะนอง อยากพบคนกล้าฝ่ายตรงข้าม ย่อมได้พบ ฉันใด
(เจ้าลัทธิ ย่อมได้พบเจ้าลัทธิ ฉันนั้น)
ผู้กล้าเอ๋ย เจ้าลัทธิอยู่ที่ใด เธอจงไปเสียจากที่นั้นเถิด
เพราะกิเลสที่เคยมีแต่ก่อนของตถาคต มิได้มีเพื่อการรบ
[๖๗] (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า)
ชนเหล่าใดถือทิฏฐิแล้ววิวาทกัน
และกล่าวอ้างว่า นี้เท่านั้นจริง
เธอจงพูดกับชนเหล่านั้นว่า กิเลสที่เป็นข้าศึกกัน
เมื่อวาทะเกิด ไม่มีในธรรมวินัยนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๒๐๘ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๘. ปสูรสุตตนิทเทส
ว่าด้วยวิวาทกันเพราะทิฏฐิ
คำว่า ชนเหล่าใดถือทิฏฐิแล้ววิวาทกัน อธิบายว่า ชนเหล่าใด จับ ยึด ถือ
ยึดมั่น ถือมั่น ทิฏฐิอย่างใดอย่างหนึ่งในทิฏฐิ ๖๒ แล้ว ย่อมวิวาทกัน คือ ย่อมก่อ
การทะเลาะกัน ก่อการบาดหมางกัน ก่อการแก่งแย่งกัน ก่อการวิวาทกัน ก่อการ
มุ่งร้ายกัน โดยพูดว่า “ท่านไม่รู้ธรรมวินัยนี้ เรารู้ธรรมวินัยนี้ ท่านจักรู้ธรรมวินัยนี้ได้
อย่างไร ท่านปฏิบัติผิด เราปฏิบัติถูกต้อง คำของเรามีประโยชน์ คำของท่านไม่มี
ประโยชน์ คำที่ควรพูดก่อนท่านก็พูดทีหลัง คำที่ควรพูดทีหลังท่านกลับพูดก่อน
คำที่ท่านใช้เสมอกลับติดขัด วาทะของท่านเราหักล้างได้แล้ว เราปราบปรามท่าน
ได้แล้ว ท่านจงเที่ยวไปเพื่อเปลื้องวาทะ หรือหากท่านสามารถ ก็จงแก้ไขเถิด”
รวมความว่า ชนเหล่าใด ถือทิฏฐิแล้ววิวาทกัน
คำว่า และกล่าวอ้างว่า นี้เท่านั้นจริง อธิบายว่า กล่าวอ้าง คือ พูด บอก
แสดง ชี้แจงว่า “โลกเที่ยง นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นเป็นโมฆะ ... โลกไม่เที่ยง” ...
กล่าวอ้าง คือ พูด บอก แสดง ชี้แจงว่า “หลังจากตายแล้วตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่
จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่ นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นเป็นโมฆะ” รวมความว่า และกล่าว
อ้างว่า นี้เท่านั้นจริง
คำว่า เธอจงพูดกับชนเหล่านั้นว่า กิเลสที่เป็นข้าศึกกัน เมื่อวาทะเกิด ไม่มี
ในธรรมวินัยนี้ อธิบายว่า เธอจงพูดกับเจ้าลัทธิเหล่านั้น คือ ตอบโต้วาทะด้วยวาทะ
ตอบโต้การข่มด้วยการข่ม ตอบโต้การเชิดชูด้วยการเชิดชู ตอบโต้ความพิเศษด้วย
ความพิเศษ ตอบโต้ความพิเศษให้ยิ่งขึ้นไปด้วยความพิเศษให้ยิ่งขึ้นไป ตอบโต้ความ
ผูกมัดด้วยความผูกมัด ตอบโต้ความผ่อนคลายด้วยความผ่อนคลาย ตอบโต้การตัด
รอนด้วยการตัดรอน ตอบโต้การขนาบวาทะด้วยการขนาบวาทะ เพราะคนเหล่านั้น
เป็นผู้กล้าฝ่ายตรงข้าม เป็นคนฝ่ายตรงข้าม เป็นศัตรูฝ่ายตรงข้าม เป็นนักปล้ำฝ่าย
ตรงข้ามของเธอ รวมความว่า เธอจงพูดกับชนเหล่านั้นว่า ... ไม่มีในธรรมวินัยนี้
คำว่า กิเลสที่เป็นข้าศึกกัน เมื่อวาทะเกิด อธิบายว่า เมื่อวาทะเกิด คือ
เกิดขึ้น บังเกิด บังเกิดขึ้น ปรากฏแล้ว กิเลสที่เป็นข้าศึก คือ ที่ขัดแย้งกัน ที่เป็น
เสี้ยนหนามกัน ที่เป็นปฏิปักษ์กันเหล่าใด พึงก่อการทะเลาะกัน ก่อการบาดหมางกัน
ก่อการแก่งแย่งกัน ก่อการวิวาทกัน ก่อการมุ่งร้ายกัน กิเลสเหล่านั้น ไม่มี คือ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๒๐๙ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๘. ปสูรสุตตนิทเทส
ไม่มีอยู่ ไม่ปรากฏ หาไม่ได้ แก่พระอรหันต์ ได้แก่ กิเลสเหล่านั้นพระอรหันต์
ละได้แล้ว ตัดขาดได้แล้ว ทำให้สงบได้แล้ว ระงับได้แล้ว ทำให้เกิดขึ้นไม่ได้อีก เผา
ด้วยไฟคือญาณแล้ว รวมความว่า เธอจงพูดกับชนเหล่านั้นว่า กิเลสที่เป็นข้าศึกกัน
เมื่อวาทะเกิด ไม่มีในธรรมวินัยนี้ ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า
ชนเหล่าใดถือทิฏฐิแล้ววิวาทกัน
และกล่าวอ้างว่า นี้เท่านั้นจริง
เธอจงพูดกับชนเหล่านั้นว่า กิเลสที่เป็นข้าศึกกัน
เมื่อวาทะเกิด ไม่มีในธรรมวินัยนี้
[๖๘] (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า)
พระอรหันต์เหล่าใด กำจัดเสนาได้แล้ว
ไม่เอาทิฏฐิไปกระทบทิฏฐิ เที่ยวไป
พระอรหันต์เหล่าใดในธรรมวินัยนี้
ไม่มีความถือมั่นสิ่งนี้ว่า ยอดเยี่ยม
ปสูระเอ๋ย เธอจะพึงได้อะไร ในพระอรหันต์เหล่านั้น

ว่าด้วยเสนามาร
คำว่า พระอรหันต์เหล่าใด กำจัดเสนาได้แล้ว ... เที่ยวไป อธิบายว่า
เสนามาร ตรัสเรียกว่า เสนา กายทุจริต ชื่อว่าเสนามาร วจีทุจริต ... มโนทุจริต ...
ราคะ ... โทสะ ... โมหะ ... โกธะ ... อุปนาหะ ... มักขะ ... ปฬาสะ ... อิสสา ...
มัจฉริยะ ... มายา ... สาเถยยะ ... ถัมภะ ... สารัมภะ ... มานะ ... อติมานะ ...
มทะ ... ปมาทะ ...กิเลสทุกชนิด... ทุจริตทุกทาง ... ความกระวนกระวายทุกอย่าง ...
ความเร่าร้อนทุกสถาน ... ความเดือดร้อนทุกประการ ... อกุสลาภิสังขารทุกประเภท
ชื่อว่าเสนามาร
สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า
กิเลสกามเราเรียกว่าเสนากองที่ ๑ ของท่าน
ความไม่ยินดีเราเรียกว่าเสนากองที่ ๒ ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๒๑๐ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๘. ปสูรสุตตนิทเทส
คนขลาดเอาชนะเสนานั้นไม่ได้
แต่คนกล้า ครั้นชนะได้แล้วย่อมได้ความสุข๑
เมื่อใดเสนามารทั้งหมด และกิเลสที่สร้างเสนาฝ่ายตรงข้ามทั้งปวง ถูกผู้มี
ปัญญาพิชิตและทำให้ปราชัย ทำลาย กำจัด ทำให้ไม่สู้หน้าแล้ว ด้วยอริยมรรค ๔
เมื่อนั้น ผู้นั้น พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกว่า เป็นผู้กำจัดเสนาได้แล้ว
คำว่า เหล่าใด ได้แก่ พระอรหันตขีณาสพ
คำว่า เที่ยวไป ได้แก่ เที่ยวไป คือ อยู่ เคลื่อนไหว เป็นไป เลี้ยงชีวิต
ดำเนินไป ยังชีวิตให้ดำเนินไป รวมความว่า พระอรหันต์เหล่าใด กำจัดเสนา
ได้แล้ว ... เที่ยวไป
คำว่า ไม่เอาทิฏฐิไปกระทบทิฏฐิ อธิบายว่า ทิฏฐิ ๖๒ พระอรหันต์เหล่าใด
ละได้แล้ว ตัดขาดได้แล้ว ทำให้สงบได้แล้ว ระงับได้แล้ว ทำให้เกิดขึ้นไม่ได้อีก เผา
ด้วยไฟคือญาณแล้ว พระอรหันต์เหล่านั้นไม่กระทบ คือ ไม่กระแทก ไม่บั่นทอน ไม่
ทำลายทิฏฐิด้วยทิฏฐิ รวมความว่า ไม่เอาทิฏฐิไปกระทบทิฏฐิ
คำว่า ปสูระเอ๋ย เธอจะพึงได้อะไร ในพระอรหันต์เหล่านั้น อธิบายว่า
ปสูระ ผู้เป็นคนฝ่ายตรงข้าม ผู้เป็นศัตรูฝ่ายตรงข้าม ผู้เป็นนักปล้ำฝ่ายตรงข้าม
เธอจะได้อะไร ในพระอรหันตขีณาสพเหล่านั้น รวมความว่า ปสูระเอ๋ย เธอจะพึงได้
อะไร ในพระอรหันต์เหล่านั้น
คำว่า พระอรหันต์เหล่าใดในธรรมวินัยนี้ ไม่มีความถือมั่นสิ่งนี้ว่า ยอด
เยี่ยม อธิบายว่า พระอรหันตขีณาสพเหล่าใดไม่มี ไม่มีอยู่ ไม่ปรากฏ หาไม่ได้ซึ่ง
ความถือ คือ ความยึดมั่น ความถือมั่น ความติดใจ ความน้อมใจเชื่อว่า “สิ่งนี้
เยี่ยม คือ ยอด ประเสริฐ วิเศษ นำหน้า สูงสูด ประเสริฐสุด” ได้แก่ ความ
ถือมั่นนั้น พระอรหันต์เหล่าใด ละได้แล้ว ตัดขาดได้แล้ว ทำให้สงบได้แล้ว ระงับ
ได้แล้ว ทำให้เกิดขึ้นไม่ได้อีก เผาด้วยไฟคือญาณแล้ว รวมความว่า พระอรหันต์
เหล่าใดในธรรมวินัยนี้ ไม่มีความถือมั่นสิ่งนี้ว่า ยอดเยี่ยม ด้วยเหตุนั้น พระผู้มี-
พระภาคจึงตรัสว่า

เชิงอรรถ :
๑ ดูรายละเอียดข้อ ๒๘/๑๑๕-๑๑๖

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๒๑๑ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๘. ปสูรสุตตนิทเทส
พระอรหันต์เหล่าใด กำจัดเสนาได้แล้ว
ไม่เอาทิฏฐิไปกระทบทิฏฐิ เที่ยวไป
พระอรหันต์เหล่าใดในธรรมวินัยนี้
ไม่มีความถือมั่นสิ่งนี้ว่า ยอดเยี่ยม
ปสูระเอ๋ย เธอจะพึงได้อะไร ในพระอรหันต์เหล่านั้น
[๖๙] (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า)
อนึ่ง เธอตรึกอยู่มาแล้ว เธอคิดทิฏฐิทั้งหลายด้วยใจ
มาถึงการแข่งคู่กับเราผู้มีปัญญาเครื่องกำจัดแล้ว
ย่อมไม่สามารถเทียมทันได้เลย

ว่าด้วยพระปัญญาของพระพุทธเจ้า
คำว่า อนึ่ง ในคำว่า อนึ่ง เธอตรึกอยู่มาแล้ว เป็นบทสนธิ เป็นคำเชื่อมบท
เป็นคำที่ทำบทให้บริบูรณ์ เป็นความสัมพันธ์แห่งอักษร เป็นความสละสลวยแห่ง
พยัญชนะ คำว่า อนึ่ง นี้ เป็นคำเชื่อมบทหน้ากับบทหลังเข้าด้วยกัน
คำว่า เธอตรึกอยู่มาแล้ว ได้แก่ เธอตรึก ตรอง ดำริอยู่ คือ ตรึก ตรอง
ดำริอยู่อย่างนี้ว่า เราจักมีชัยไหมหนอ จักปราชัยไหมหนอ จักทำการข่มอย่างไร
จักทำการเชิดชูอย่างไร จักทำลัทธิของเราให้เลิศลอยอย่างไร จักทำให้พิเศษอย่างไร
จักทำให้พิเศษยิ่งขึ้นไปอย่างไร จักทำการผูกมัดอย่างไร จักทำการผ่อนคลายอย่างไร
จักทำการตัดรอนอย่างไร จักทำการขนาบวาทะได้อย่างไร มาแล้ว คือ เข้ามาแล้ว
ถึงพร้อมแล้ว มาประจวบกับเราแล้ว รวมความว่า อนึ่ง เธอตรึกอยู่มาแล้ว
คำว่า เธอคิดถึงทิฏฐิทั้งหลายด้วยใจ อธิบายว่า
คำว่า ใจ ได้แก่ จิต มโน มานัส หทัย ปัณฑระ มนะ มนายตนะ มนินทรีย์
วิญญาณ วิญญาณขันธ์ มโนวิญญาณธาตุ ที่เกิดขึ้นจากผัสสะเป็นต้นนั้น เธอเฝ้า
แต่คิด คิดถึงแต่ทิฏฐิด้วยใจว่า “โลกเที่ยง ... โลกไม่เที่ยง ... หรือว่า หลังจาก
ตายแล้วตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่” รวมความว่า เธอคิดถึง
ทิฏฐิทั้งหลายด้วยใจ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๒๑๒ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๘. ปสูรสุตตนิทเทส
คำว่า เธอ ... มาถึงการแข่งคู่กับเราผู้มีปัญญาเครื่องกำจัดแล้ว ย่อมไม่
สามารถเทียมทันได้เลย อธิบายว่า ปัญญา ตรัสเรียกว่า เครื่องกำจัด คือ ความ
รู้ทั่ว กิริยาที่รู้ชัด ... ความไม่หลงงมงาย ความเลือกเฟ้นธรรม สัมมาทิฏฐิ๑
เพราะเหตุไร ปัญญาจึงตรัสเรียกว่า เครื่องกำจัด เพราะปัญญานั้นเป็นเครื่อง
กำจัด ชำระ ล้างและซักฟอกกายทุจริต ... วจีทุจริต ... เป็นเครื่องกำจัด ชำระ ล้าง
และซักฟอกอกุสลาภิสังขารทุกประเภท
อีกนัยหนึ่ง สัมมาทิฏฐิ เป็นเครื่องกำจัด ชำระ ล้างและซักฟอกมิจฉาทิฏฐิ
สัมมาสังกัปปะเป็นเครื่องกำจัดมิจฉาสังกัปปะ ... สัมมาวิมุตติ เป็นเครื่องกำจัด
ชำระ ล้างและซักฟอกมิจฉาวิมุตติ
อีกนัยหนึ่ง อริยมรรคมีองค์ ๘ เป็นเครื่องกำจัด ชำระ ล้างและซักฟอก
กิเลสทุกชนิด ... ทุจริตทุกทาง ... ความกระวนกระวายทุกอย่าง ... ความเร่าร้อน
ทุกสถาน ... ความเดือดร้อนทุกประการ เป็นเครื่องกำจัด ชำระ ล้างและซักฟอก
อกุสลาภิสังขารทุกประเภท
พระผู้มีพระภาคทรงประกอบ ประกอบพร้อม ดำเนินไป ดำเนินไปพร้อม
เป็นไป เป็นไปพร้อม เพียบพร้อมด้วยธรรมเครื่องชำระล้างเหล่านี้ เพราะฉะนั้น
พระผู้มีพระภาค จึงชื่อว่าผู้มีปัญญาเครื่องกำจัด พระองค์ทรงกำจัดความกำหนัด
ได้แล้ว กำจัดบาปได้แล้ว กำจัดกิเลสได้แล้ว กำจัดความเร่าร้อนได้แล้ว รวมความว่า
ผู้มีปัญญาเครื่องกำจัด
คำว่า เธอมาถึงการแข่งคู่กับเราผู้มีปัญญาเครื่องกำจัดแล้ว ย่อมไม่
สามารถเทียมทันได้เลย อธิบายว่า ปสูรปริพาชก ไม่สามารถแข่งคู่ คือ จับคู่
แข่งขัน สนทนา ปราศรัย ถึงการสนทนากับพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า ผู้มีปัญญา
เครื่องกำจัดได้เลย ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะปสูรปริพาชก เลว ทราม ต่ำทราม
น่ารังเกียจ หยาบช้า ต่ำต้อย ส่วนพระผู้มีพระภาค ทรงล้ำเลิศ ประเสริฐ วิเศษ
นำหน้า สูงสุด ประเสริฐสุด
ปสูรปริพาชก ไม่สามารถมาแข่งคู่ คือ จับคู่ แข่งขัน สนทนา ปราศรัย
ถึงการสนทนากับพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า ผู้มีปัญญาเครื่องกำจัดได้ เปรียบเหมือน

เชิงอรรถ :
๑ ดูรายละเอียดข้อ ๒๑/๙๒

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๒๑๓ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๘. ปสูรสุตตนิทเทส
กระต่ายไม่อาจมาแข่งคู่ คือ จับคู่แข่งขันกับช้างใหญ่กำลังตกมันได้ สุนัขจิ้งจอกแก่ ๆ
ไม่อาจมาแข่งคู่ คือ จับคู่ต่อยุทธกับราชสีห์ ผู้เป็นเจ้าแห่งมฤคได้ ลูกโคเล็ก ๆ ยังไม่
อดนม ไม่อาจมาแข่งคู่ คือ จับคู่แข่งขันกับโคผู้ซึ่งมีกำลังมากได้ กาไม่อาจมาแข่งคู่
คือ จับคู่แข่งขันกับพญาครุฑนามว่าเวนไตยได้ คนจัณฑาลไม่สามารถมาแข่งคู่ คือ
จับคู่ต่อยุทธกับพระเจ้าจักรพรรดิ์ได้ ปีศาจเล่นฝุ่นไม่อาจมาแข่งคู่ คือ จับคู่ต่อกร
กับพระอินทร์ผู้ทรงเป็นเทวราชได้
ข้อนั้น เป็นเพราะเหตุไร เพราะปสูรปริพาชก มีปัญญาเลว มีปัญญาทราม
มีปัญญาต่ำทราม มีปัญญาน่ารังเกียจ มีปัญญาหยาบช้า มีปัญญาต่ำต้อย
ส่วนพระผู้มีพระภาคมีพระปัญญามาก มีพระปัญญากว้างขวาง มีพระปัญญา
อาจหาญ มีพระปัญญาฉับไว มีพระปัญญาเฉียบคม มีพระปัญญาเพิกถอนกิเลส
ทรงความฉลาดในประเภทแห่งปัญญา มีพระญาณแตกฉาน ทรงบรรลุปฏิสัมภิทา
บรรลุเวสารัชชญาณ ๔ เป็นผู้ทรงทสพลญาณ ทรงเป็นบุรุษองอาจ ทรงเป็นบุรุษ
ดุจราชสีห์ ทรงเป็นบุรุษดุจนาค ทรงเป็นบุรุษอาชาไนย ทรงเป็นบุรุษผู้นำธุระ
มีพระญาณหาที่สุดมิได้ มีพระเดชหาที่สุดมิได้ มีพระยศหาที่สุดมิได้ ทรงมั่งคั่ง
มีทรัพย์มาก มีปัญญาเป็นทรัพย์ ทรงเป็นผู้นำ เป็นผู้นำไปโดยวิเศษ เป็นผู้
ตามแนะนำ ทรงให้รู้จักประโยชน์ ให้พินิจพิจารณา ทรงเพ่งประโยชน์ ทรงทำให้
เลื่อมใสได้ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ทรงทำมรรคที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น ทรงทำ
มรรคที่ยังไม่เกิดพร้อมให้เกิดพร้อม ตรัสบอกมรรคที่ยังมิได้ตรัสบอก ทรงรู้จักมรรค
ทรงรู้แจ้งมรรค ทรงฉลาดในมรรค และสาวกของพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น
ผู้ดำเนินไปตามมรรค อยู่ในบัดนี้ จะเพียบพร้อมด้วยศีลาทิคุณ ในภายหลัง
พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ทรงรู้ธรรมที่ควรรู้ ทรงเห็นธรรมที่ควรเห็น มี
พระจักษุ มีพระญาณ มีพระธรรม เป็นดุจพระพรหม ตรัส บอก นำความหมาย
ออกมา ประทานอมตธรรม เป็นพระธรรมสามี เป็นพระตถาคต ไม่มีสิ่งที่พระผู้มี-
พระภาคพระองค์นั้นยังไม่ทรงทราบ ไม่ทรงเห็น ไม่ทรงรู้แจ้ง ไม่ทรงทำให้แจ้ง มิได้
ทรงถูกต้องด้วยพระปัญญา ธรรมทั้งปวงรวมทั้งอดีต อนาคตและปัจจุบัน ย่อมมา
สู่คลองเฉพาะพระญาณของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า โดยอาการทั้งปวง ธรรมดา
ประโยชน์ที่ควรแนะนำอย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นธรรมที่ควรรู้มีอยู่ คือ ประโยชน์ตน


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๒๑๔ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๘. ปสูรสุตตนิทเทส
ประโยชน์ผู้อื่นหรือประโยชน์ทั้งสองฝ่าย ประโยชน์ในภพปัจจุบันหรือประโยชน์ในภพ
หน้า ประโยชน์ตื้นหรือประโยชน์ลึก ประโยชน์ลี้ลับหรือประโยชน์ปิดบัง ประโยชน์
ที่ควรแนะนำหรือประโยชน์ที่แนะนำแล้ว ประโยชน์ที่ไม่มีโทษหรือประโยชน์ที่ไม่มี
กิเลส ประโยชน์ที่ผ่องแผ้วหรือประโยชน์อย่างยิ่ง ประโยชน์ทั้งหมดนั้นย่อมเป็นไป
ภายในพระพุทธญาณ
กายกรรม วจีกรรม มโนกรรมทุกอย่าง ย่อมเป็นไปตามพระญาณของพระผู้มี-
พระภาคพุทธเจ้า พระญาณของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า ไม่ติดขัดในอดีต อนาคต
ปัจจุบัน บทธรรมที่ควรแนะนำมีอยู่เพียงใด พระญาณก็มีเพียงนั้น พระญาณมีอยู่
เพียงใด บทธรรมที่ควรแนะนำก็มีเพียงนั้น พระญาณย่อมมีบทธรรมที่ควรแนะนำ
เป็นส่วนสุดรอบ บทธรรมที่ควรแนะนำก็ย่อมมีพระญาณเป็นส่วนสุดรอบ พระญาณ
ย่อมไม่เป็นไปเกินบทธรรมที่ควรแนะนำ ทางแห่งบทธรรมที่ควรแนะนำก็มีอยู่ไม่เกิน
กว่าพระญาณ ธรรมเหล่านั้น ตั้งอยู่ในส่วนสุดรอบของกันและกัน เหมือนเมื่อชั้น
แห่งผอบ ๒ ชั้นทับกันสนิทพอดี ชั้นผอบด้านล่างก็ไม่เกินด้านบน ชั้นผอบด้านบน
ก็ไม่เกินด้านล่าง ชั้นผอบทั้ง ๒ ชั้นย่อมวางประกบกันที่ส่วนสุดโดยรอบของกัน
และกัน ฉันใด บทธรรมที่ควรแนะนำ และพระญาณของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า
ก็ตั้งอยู่ในส่วนสุดโดยรอบของกันและกัน ฉันนั้นเหมือนกัน บทธรรมที่ควรแนะนำ
มีอยู่เพียงใด พระญาณก็มีอยู่เพียงนั้น พระญาณมีอยู่เพียงใด บทธรรมที่ควรแนะนำ
ก็มีเพียงนั้น พระญาณย่อมมีบทธรรมที่ควรแนะนำเป็นส่วนสุดรอบ บทธรรมที่ควร
แนะนำก็ย่อมมีพระญาณเป็นส่วนสุดรอบ พระญาณย่อมไม่เป็นไปเกินกว่าบทธรรม
ที่ควรแนะนำ ทางแห่งบทธรรมที่ควรแนะนำก็มีอยู่ ไม่เกินกว่าพระญาณ ธรรม
เหล่านั้นย่อมตั้งอยู่ในส่วนสุดรอบของกันและกัน พระญาณของพระผู้มีพระภาค
พุทธเจ้า ย่อมเป็นไปในธรรมทั้งปวง
ธรรมทั้งปวงนับเนื่องด้วยความนึก นับเนื่องด้วยความหวัง นับเนื่องด้วย
มนสิการ นับเนื่องด้วยจิตตุปบาทของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า พระญาณของ
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าย่อมเป็นไปในสัตว์ทั้งปวง พระผู้มีพระภาคทรงทราบ
อัธยาศัย อนุสัย จริต อธิมุตติ ของเหล่าสัตว์ทุกจำพวก ทรงรู้จักเหล่าสัตว์ ผู้มี
กิเลสดุจธุลีน้อยในปัญญาจักษุ มีกิเลสดุจธุลีมากในปัญญาจักษุ มีอินทรีย์แก่กล้า
มีอินทรีย์อ่อน มีอาการดี มีอาการทราม ผู้ที่แนะนำให้รู้ได้ง่าย ผู้ที่แนะนำให้รู้


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๒๑๕ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๘. ปสูรสุตตนิทเทส
ได้ยาก เป็นภัพพสัตว์ เป็นอภัพพสัตว์ โลกพร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก
หมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ ย่อมเป็นไปภายในพระพุทธญาณ
ปลาและเต่าชนิดใดชนิดหนึ่ง รวมทั้งปลาติมิ ปลาติมิงคละและปลาติ-
มิติมิงคละ๑ ย่อมเป็นไปอยู่ภายในมหาสมุทร ฉันใด โลกพร้อมทั้งเทวโลก มารโลก
พรหมโลก หมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ ย่อมเป็นไปภายใน
พระญาณของพระพุทธเจ้า ฉันนั้นเหมือนกัน นกชนิดใดชนิดหนึ่ง รวมทั้งครุฑนาม
ว่าเวนไตย ย่อมบินไปในห้วงแห่งอากาศ ฉันใด พระพุทธสาวกทั้งหลาย ผู้เสมอกับ
พระสารีบุตรด้วยปัญญา ย่อมเป็นไปในส่วนแห่งพระพุทธญาณ ฉันนั้นเหมือนกัน
พระพุทธญาณย่อมแผ่ครอบคลุมปัญญาของเทวดาและมนุษย์อยู่
เหล่าบัณฑิตผู้เป็นกษัตริย์ เป็นพราหมณ์ เป็นคหบดี เป็นสมณะ ผู้มีปัญญา
ละเอียด รู้วาทะของผู้อื่น เหมือนนายขมังธนูสามารถยิงเนื้อทรายได้ ดุจจะเที่ยวทำ
ลายทิฏฐิผู้อื่นด้วยปัญญาตน บัณฑิตเหล่านั้นพากันปรุงแต่งปัญหา ย่อมเข้าไปหา
พระตถาคตแล้ว ทูลถามปัญหาที่ลี้ลับและปิดบัง ปัญหาเหล่านั้น ที่พระผู้มีพระภาค
ทรงซักไซ้และตรัสแก้แล้ว เป็นปัญหามีเหตุให้ทรงแสดง บัณฑิตเหล่านั้นถูกดึงดูด
ด้วยการวิสัชนาปัญหา จึงเลื่อมใสพระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาคย่อมทรงรุ่งเรือง
ยิ่งด้วยพระปัญญาในหมู่คนเหล่านั้นโดยแท้แล รวมความว่า เธอ...มาถึงการแข่ง
คู่กับเราผู้มีปัญญาเครื่องกำจัดแล้ว ย่อมไม่สามารถเทียมทันได้เลย ด้วยเหตุนั้น
พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า
อนึ่ง เธอตรึกอยู่มาแล้ว เธอคิดทิฏฐิทั้งหลายด้วยใจ
มาถึงการแข่งคู่กับเราผู้มีปัญญาเครื่องกำจัดแล้ว
ย่อมไม่สามารถเทียมทันได้เลย
ปสูรสุตตนิทเทสที่ ๘ จบ

เชิงอรรถ :
๑ ปลาทั้ง ๓ ตัวนี้เป็นปลาขนาดใหญ่ คือปลาติมิงคละสามารถกลืนกินปลาติมิได้ และปลาติมิติมิงคละ
มีขนาดลำตัวใหญ่ถึง ๕๐๐ โยชน์ และสามารถกลืนกินปลาติมิงคละได้ (ขุ.ม.อ. ๖๙/๒๙๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๒๑๖ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๙. มาคันทิยสุตตนิทเทส
๙. มาคันทิยสุตตนิทเทส๑
อธิบายมาคันทิยสูตร
ว่าด้วยเมถุนธรรม
พระสารีบุตรเถระจะกล่าวอธิบายมาคันทิยสูตร ดังต่อไปนี้
[๗๐] (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า)
เพราะเห็นนางตัณหา นางอรดี และนางราคา
ก็ไม่ได้มีความพอใจในเมถุนธรรม
จักมีความพอใจ เพราะเห็นเรือนร่าง
ที่เต็มไปด้วยปัสสาวะและอุจจาระนี้อย่างไรได้เล่า
เราไม่ปรารถนาจะถูกต้องเรือนร่างนางแม้ด้วยเท้า
คำว่า เพราะเห็นนางตัณหา นางอรดี และนางราคา ก็ไม่ได้มีความ
พอใจในเมถุนธรรม อธิบายว่า เพราะเห็น คือ แลเห็นเหล่าธิดามาร ได้แก่
นางตัณหา นางอรดีและนางราคา ก็ไม่ได้มีความพอใจ ความกำหนัด หรือความรัก
ในเมถุนธรรม รวมความว่า เพราะเห็นนางตัณหา นางอรดีและนางราคา ก็ไม่ได้มี
ความพอใจในเมถุนธรรม
คำว่า จักมีความพอใจ เพราะเห็นเรือนร่างที่เต็มไปด้วยปัสสาวะและ
อุจจาระนี้อย่างไรได้เล่า เราไม่ปรารถนาจะถูกต้องเรือนร่างนางแม้ด้วยเท้า
อธิบายว่า จักมีความพอใจ เพราะเห็นเรือนร่างที่เต็มไปด้วยปัสสาวะ อุจจาระ
เสมหะ เลือด มีกระดูกเป็นโครง มีเอ็นเป็นเครื่องผูกพัน มีเลือดและเนื้อเป็นเครื่อง
ฉาบทา ห่อหุ้มด้วยหนัง ปิดบังด้วยผิวหนัง มีช่องเล็กช่องใหญ่ ไหลเข้าออกอยู่เสมอ
มีหมู่หนอนแฝงตัวอยู่ เต็มไปด้วยมลทินโทษต่าง ๆ นี้ อย่างไรได้เล่า เราไม่ปรารถนา
จะเหยียบด้วยเท้า การสังวาส หรือการสมาคม จักมีมาจากไหนได้ รวมความว่า
จักมีความพอใจ เพราะเห็นเรือนร่างที่เต็มไปด้วยปัสสาวะและอุจจาระนี้อย่างไรได้เล่า
เราไม่ปรารถนาจะถูกต้องเรือนร่างนางแม้ด้วยเท้า ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึง
ตรัสว่า

เชิงอรรถ :
๑ ขุ.สุ. ๒๕/๘๔๒-๘๕๔/๔๙๘-๕๐๑

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๒๑๗ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๙. มาคันทิยสุตตนิทเทส
เพราะเห็นนางตัณหา นางอรดี และนางราคา
ก็ไม่ได้มีความพอใจในเมถุนธรรม
จักมีความพอใจ เพราะเห็นเรือนร่าง
ที่เต็มไปด้วยปัสสาวะและอุจจาระนี้อย่างไรได้เล่า
เราไม่ปรารถนาจะถูกต้องเรือนร่างนางแม้ด้วยเท้า
[๗๑] (มาคันทิยพราหมณ์ทูลถามว่า)
หากท่านไม่ปรารถนานารีผู้เป็นอิตถีรัตนะเช่นนี้
ที่พระราชาผู้เป็นจอมคนจำนวนมากพากันปรารถนา
ท่านจะกล่าวทิฏฐิ ศีล วัตร ชีวิต
และการอุบัติขึ้นในภพ ว่าเป็นเช่นไร
[๗๒] (พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า มาคันทิยะ)
การตกลงใจในธรรมทั้งหลายแล้วถือมั่นว่า
เรากล่าวสิ่งนี้ ดังนี้ ย่อมไม่มีแก่เรานั้น
เราเห็นโทษในทิฏฐิทั้งหลาย จึงไม่ยึดมั่น
เมื่อเลือกเฟ้น จึงได้เห็นความสงบภายใน
คำว่า เรากล่าวสิ่งนี้ ในคำว่า ... เรากล่าวสิ่งนี้ ดังนี้ ย่อมไม่มีแก่เรานั้น
อธิบายว่า เรากล่าวสิ่งนี้ คือ เรากล่าวสิ่งนั้น กล่าวเท่านี้ กล่าวเพียงเท่านี้ กล่าว
ทิฏฐินี้ว่า “โลกเที่ยง ... หรือว่าหลังจากตายแล้ว ตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่า
ไม่เกิดอีกก็มิใช่”
คำว่า ... ย่อมไม่มีแก่เรานั้น ได้แก่ ย่อมไม่มีแก่เรา คือ คำกล่าวว่า เรากล่าว
เพียงเท่านี้ ดังนี้ ย่อมไม่มีแก่เรานั้น รวมความว่า ... ว่าเรากล่าวสิ่งนี้ ดังนี้
ย่อมไม่มีแก่เรานั้น
คำว่า มาคันทิยะ เป็นคำที่พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกพราหมณ์นั้นโดยชื่อ
คำว่า พระผู้มีพระภาค เป็นคำกล่าวโดยความเคารพ ... คำว่า พระผู้มี-
พระภาค นี้ เป็นสัจฉิกาบัญญัติ๑ รวมความว่า พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า
มาคันทิยะ

เชิงอรรถ :
๑ ดูรายละเอียดข้อ ๕๐/๑๗๓-๑๗๕

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๒๑๘ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๙. มาคันทิยสุตตนิทเทส
ว่าด้วยทิฏฐิ ๖๒
คำว่า ในธรรมทั้งหลาย ในคำว่า การตกลงใจในธรรมทั้งหลายแล้วถือมั่น
ได้แก่ ในทิฏฐิ ๖๒
คำว่า ตกลงใจ ... แล้ว อธิบายว่า ตกลงใจแล้ว คือ วินิจฉัยแล้ว ตัดสินแล้ว
ชี้ขาดแล้ว เทียบเคียงแล้ว พิจารณาแล้ว ทำให้กระจ่างแล้ว ทำให้แจ่มแจ้งแล้ว
จับมั่น ยึดมั่น ถือมั่น รวบถือ รวมถือ รวบรวมถือ คือ ความถือ ความยึดมั่น
ความถือมั่น ความติดใจ ความน้อมใจเชื่อว่า “ข้อนี้จริง แท้ แน่ แท้จริง ตามเป็นจริง
ไม่วิปริต” ไม่มี ไม่มีอยู่ ไม่ปรากฏ หาไม่ได้แก่พระตถาคตพระองค์นั้น คือการ
ตกลงใจแล้วถือมั่น อันพระตถาคต ละได้แล้ว ตัดขาดได้แล้ว ทำให้สงบได้แล้ว ระงับ
ได้แล้ว ทำให้เกิดขึ้นไม่ได้อีก เผาด้วยไฟคือญาณแล้ว รวมความว่า การตกลงใจใน
ธรรมทั้งหลายแล้วยึดมั่น
คำว่า เราเห็นโทษในทิฏฐิทั้งหลาย จึงไม่ยึดมั่น อธิบายว่า เราเห็นโทษใน
ทิฏฐิทั้งหลาย จึงไม่ถือ ไม่ยึดมั่น ไม่ถือมั่นทิฏฐิทั้งหลาย
อีกนัยหนึ่ง ทิฏฐิทั้งหลาย บุคคลไม่ควรถือ ไม่ควรยึดมั่น ไม่ควรถือมั่น
รวมความว่า เราเห็นโทษในทิฏฐิทั้งหลาย จึงไม่ยึดมั่น อย่างนี้บ้าง
อีกนัยหนึ่ง เราเห็นโทษในทิฏฐิทั้งหลายว่า ทิฏฐินี้ว่า “โลกเที่ยง นี้เท่านั้นจริง
อย่างอื่นเป็นโมฆะ” เป็นทิฏฐิรกชัฏ เป็นทิฏฐิกันดาร เป็นทิฏฐิที่เป็นข้าศึก เป็นการ
ดิ้นรนด้วยทิฏฐิ เป็นเครื่องประกอบคือทิฏฐิ(ทิฏฐิสังโยชน์) มีทุกข์ มีความลำบาก
มีความคับแค้น มีความเร่าร้อน ไม่เป็นไปเพื่อความเบื่อหน่าย ไม่เป็นไปเพื่อคลาย
กำหนัด ไม่เป็นไปเพื่อดับ ไม่เป็นไปเพื่อสงบระงับ ไม่เป็นไปเพื่อรู้ยิ่ง ไม่เป็นไปเพื่อ
ตรัสรู้ ไม่เป็นไปเพื่อนิพพาน ไม่ถือ ไม่ยึดมั่น ไม่ถือมั่นทิฏฐิทั้งหลาย อนึ่ง ทิฏฐิ
ทั้งหลาย บุคคลไม่ควรถือ ไม่ควรยึดมั่น ไม่ควรถือมั่น รวมความว่า เราเห็นโทษใน
ทิฏฐิทั้งหลาย จึงไม่ยึดมั่น อย่างนี้บ้าง
อีกนัยหนึ่ง เราเห็นโทษในทิฏฐิทั้งหลายว่า ทิฏฐินี้ว่า “โลกไม่เที่ยง โลกมีที่สุด
โลกไม่มีที่สุด ชีวะกับสรีระเป็นอย่างเดียวกัน ชีวะกับสรีระเป็นคนละอย่างกัน
หลังจากตายแล้วตถาคตเกิดอีก หรือหลังจากตายแล้วตถาคตไม่เกิดอีก หลังจาก


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๒๑๙ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๙. มาคันทิยสุตตนิทเทส
ตายแล้วตถาคตเกิดอีกและไม่เกิดอีก หรือหลังจากตายแล้วตถาคตจะว่าเกิดอีก
ก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่ นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นเป็นโมฆะ” เป็นทิฏฐิรกชัฏ
เป็นทิฏฐิกันดาร เป็นทิฏฐิที่เป็นข้าศึก เป็นการดิ้นรนด้วยทิฏฐิ เป็นเครื่องประกอบ
คือทิฏฐิ มีทุกข์ มีความลำบาก มีความคับแค้น มีความเร่าร้อน ไม่เป็นไปเพื่อ
ความเบื่อหน่าย ไม่เป็นไปเพื่อคลายกำหนัด ไม่เป็นไปเพื่อดับ ไม่เป็นไปเพื่อสงบ
ระงับ ไม่เป็นไปเพื่อรู้ยิ่ง ไม่เป็นไปเพื่อตรัสรู้ ไม่เป็นไปเพื่อนิพพาน ไม่ถือ ไม่ยึดมั่น
ไม่ถือมั่นทิฏฐิทั้งหลาย อนึ่ง ทิฏฐิทั้งหลาย บุคคลไม่ควรถือ ไม่ควรยึดมั่น ไม่ควร
ถือมั่น รวมความว่า เราเห็นโทษในทิฏฐิทั้งหลาย จึงไม่ยึดมั่น อย่างนี้บ้าง
อีกนัยหนึ่ง เราเห็นโทษในทิฏฐิทั้งหลายว่า ทิฏฐิเหล่านี้ ที่บุคคลยึดถืออย่างนี้
แล้ว ย่อมมีคติและมีภพหน้าอย่างนั้น ๆ จึงไม่ถือ ไม่ยึดมั่น ไม่ถือมั่นทิฏฐิทั้งหลาย
อนึ่ง ทิฏฐิทั้งหลาย บุคคลไม่ควรถือ ไม่ควรยึดมั่น ไม่ควรถือมั่น รวมความว่า
เราเห็นโทษในทิฏฐิทั้งหลาย จึงไม่ยึดมั่น อย่างนี้บ้าง
อีกนัยหนึ่ง เราเห็นโทษในทิฏฐิทั้งหลายว่า ทิฏฐิเหล่านี้ ย่อมเป็นไปเพื่อเกิด
ในนรก เป็นไปเพื่อเกิดในกำเนิดเดรัจฉาน เป็นไปเพื่อเกิดในเปตวิสัย จึงไม่ถือ
ไม่ยึดมั่น ไม่ถือมั่นทิฏฐิทั้งหลาย อนึ่ง ทิฏฐิทั้งหลาย บุคคลไม่ควรถือ ไม่ควรยึดมั่น
ไม่ควรถือมั่น รวมความว่า เราเห็นโทษในทิฏฐิทั้งหลาย จึงไม่ยึดมั่น อย่างนี้บ้าง
อีกนัยหนึ่ง เราเห็นโทษในทิฏฐิทั้งหลายว่า ทิฏฐิเหล่านี้ ไม่เที่ยง ปัจจัยปรุงแต่ง
ขึ้น อาศัยกันเกิดขึ้น มีความสิ้นไปเป็นธรรมดา มีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา
มีความคลายไปเป็นธรรมดา มีความดับไปเป็นธรรมดา จึงไม่ถือ ไม่ยึดมั่น
ไม่ถือมั่นทิฏฐิทั้งหลาย อนึ่ง ทิฏฐิทั้งหลาย บุคคลไม่ควรถือ ไม่ควรยึดมั่น ไม่ควร
ถือมั่น รวมความว่า เราเห็นโทษในทิฏฐิทั้งหลาย จึงไม่ยึดมั่น อย่างนี้บ้าง
คำว่า เมื่อเลือกเฟ้น จึงได้เห็นความสงบภายใน อธิบายว่า ความสงบภายใน
คือ ความสงบ ความเข้าไปสงบ ความสงบเย็น ความดับ ความสงบระงับราคะ ...
โทสะ ...โมหะ ...โกธะ ...อุปนาหะ ... มักขะ ... ปฬาสะ ... อิสสา ... มัจฉริยะ ...
มายา ... สาเถยยะ ... ถัมภะ ... สารัมภะ ... มานะ ... อติมานะ ... มทะ ... ปมาทะ ...
กิเลสทุกชนิด ... ทุจริตทุกทาง ... ความกระวนกระวายทุกอย่าง ... ความเร่าร้อน
ทุกสถาน ... ความเดือดร้อนทุกประการ ... อกุสลาภิสังขารทุกประเภทภายใน


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๒๒๐ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๙. มาคันทิยสุตตนิทเทส
คำว่า เมื่อเลือกเฟ้น ได้แก่ เมื่อเลือกเฟ้น คือ เลือกสรร ชี้ขาด เทียบเคียง
พิจารณา ทำให้กระจ่าง ทำให้แจ่มแจ้งว่า “สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง” เมื่อเลือกเฟ้น
คือ เลือกสรร ชี้ขาด เทียบเคียง พิจารณา ทำให้กระจ่าง ทำให้แจ่มแจ้งว่า
“สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์ ... ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา ... สิ่งใดสิ่งหนึ่ง มีความเกิดขึ้น
เป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งหมด ล้วนมีความดับไปเป็นธรรมดา”
คำว่า จึงได้เห็น ได้แก่ จึงได้เห็น คือ ได้ดู ได้มองเห็น ได้แทงตลอด
รวมความว่า เมื่อเลือกเฟ้น จึงได้เห็นความสงบภายใน ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาค
จึงตรัสตอบว่า มาคันทิยะ
การตกลงใจในธรรมทั้งหลายแล้วถือมั่นว่า
เรากล่าวสิ่งนี้ ดังนี้ ย่อมไม่มีแก่เรานั้น
เราเห็นโทษในทิฏฐิทั้งหลาย จึงไม่ยึดมั่น
เมื่อเลือกเฟ้น จึงได้เห็นความสงบภายใน
[๗๓] (มาคันทิยพราหมณ์ทูลถามดังนี้)
ทิฏฐิเหล่าใดที่ตกลงใจกำหนดไว้แล้ว
มุนีไม่ยึดมั่นทิฏฐิเหล่านั้นแล
กล่าวเนื้อความใดว่า ความสงบภายใน
เนื้อความนั้น นักปราชญ์ทั้งหลายประกาศไว้อย่างไรหนอ
คำว่า ทิฏฐิเหล่าใดที่ตกลงใจกำหนดไว้แล้ว ได้แก่ ทิฏฐิ ๖๒ พราหมณ์
เรียกว่า ความตกลงใจ
คำว่า กำหนดไว้แล้ว ได้แก่ กำหนดแล้ว กำหนดไว้แล้ว คือ ปรุงแต่งไว้แล้ว
ตั้งไว้ดีแล้ว รวมความว่า กำหนดไว้แล้ว
อีกนัยหนึ่ง ทิฏฐิทั้งหลายที่กำหนด ไม่เที่ยง ปัจจัยปรุงแต่งขึ้น อาศัยกัน
เกิดขึ้น มีความสิ้นไปเป็นธรรมดา มีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา มีความคลายไป
เป็นธรรมดา มีความดับไปเป็นธรรมดา มีความแปรผันไปเป็นธรรมดา รวมความว่า
ทิฏฐิเหล่าใดที่ตกลงใจกำหนดไว้แล้ว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๒๒๑ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๙. มาคันทิยสุตตนิทเทส
คำว่า ดังนี้ ในคำว่า มาคันทิยพราหมณ์ทูลถามดังนี้ เป็นบทสนธิ ... คำว่า
ดังนี้ นี้ เป็นคำเชื่อมบทหน้ากับบทหลังเข้าด้วยกัน
คำว่า มาคันทิยะ เป็นชื่อของพราหมณ์นั้น คือเป็นการกล่าวถึง การ
ขนานนาม การบัญญัติ เป็นชื่อที่เรียกกัน รวมความว่า มาคันทิยพราหมณ์ทูลถาม
ดังนี้
คำว่า เหล่านั้นแล ในคำว่า มุนีไม่ยึดมั่นทิฏฐิเหล่านั้นแล กล่าวเนื้อความใด
ว่า ความสงบภายใน ได้แก่ ทิฏฐิ ๖๒
คำว่า มุนี อธิบายว่า ญาณ ท่านเรียกว่า โมนะ ... ผู้ก้าวล่วงกิเลสเครื่องข้อง
และตัณหาดุจตาข่ายได้แล้ว ชื่อว่ามุนี
คำว่า ไม่ยึดมั่น อธิบายว่า ท่านกล่าวว่า เราเห็นโทษในทิฏฐิทั้งหลาย
จึงไม่ถือ คือ ไม่ยึดมั่น ไม่ถือมั่นทิฏฐิทั้งหลาย และกล่าวว่า มีความสงบภายใน
คำว่า เนื้อความใด ได้แก่ เนื้อความที่ดีเยี่ยมใด รวมความว่า มุนีไม่ยึดมั่น
ทิฏฐิเหล่านั้นแล กล่าวเนื้อความใดว่า ความสงบภายใน
คำว่า อย่างไรหนอ ในคำว่า เนื้อความนั้น นักปราชญ์ทั้งหลายประกาศไว้
อย่างไรหนอ เป็นคำถามด้วยความสงสัย เป็นคำถามด้วยความข้องใจ เป็น
คำถาม ๒ แง่ เป็นคำถามมีแง่มุมหลายหลากว่า อย่างนี้หรือหนอ มิใช่หรือหนอ
เป็นอะไรเล่าหนอ เป็นอย่างไรเล่าหนอ รวมความว่า อย่างไรหนอ
คำว่า นักปราชญ์ทั้งหลาย ได้แก่ นักปราชญ์ทั้งหลาย คือ บัณฑิต ผู้มีปัญญา
มีปัญญาเครื่องตรัสรู้ มีญาณ มีปัญญาแจ่มแจ้ง มีปัญญาเครื่องทำลายกิเลส
คำว่า ประกาศไว้ ได้แก่ ประกาศไว้ คือ ประกาศให้ทราบ บอก แสดง
บัญญัติ กำหนด เปิดเผย จำแนก ทำให้ง่าย ประกาศไว้แล้ว รวมความว่า
เนื้อความนั้น นักปราชญ์ทั้งหลายประกาศไว้อย่างไรหนอ ด้วยเหตุนั้น พราหมณ์นั้น
จึงกล่าวว่า
ทิฏฐิเหล่าใดที่ตกลงใจกำหนดไว้แล้ว
มุนีไม่ยึดมั่นทิฏฐิเหล่านั้นแล
กล่าวเนื้อความใดว่า ความสงบภายใน
เนื้อความนั้น นักปราชญ์ทั้งหลายประกาศไว้อย่างไรหนอ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๒๒๒ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๙. มาคันทิยสุตตนิทเทส
[๗๔] (พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า มาคันทิยะ)
นักปราชญ์ไม่กล่าวความหมดจดเพราะทิฏฐิ
ไม่กล่าวความหมดจดเพราะสุตะ
ไม่กล่าวความหมดจดเพราะญาณ
ไม่กล่าวความหมดจดเพราะศีลและวัตร
บุคคลย่อมถึงความสงบภายใน
เพราะความไม่มีทิฏฐิ เพราะความไม่มีสุตะ
เพราะความไม่มีญาณ เพราะความไม่มีศีล
เพราะความไม่มีวัตรนั้นก็หามิได้
นักปราชญ์สลัดทิ้งธรรมเหล่านี้ได้แล้ว
ไม่ยึดมั่น เป็นผู้สงบ ไม่อาศัยแล้ว ไม่พึงหวังภพ
คำว่า นักปราชญ์ไม่กล่าวความหมดจดเพราะทิฏฐิ ไม่กล่าวความหมดจด
เพราะสุตะ ไม่กล่าวความหมดจดเพราะญาณ อธิบายว่า นักปราชญ์ไม่กล่าว คือ
ไม่พูด ไม่บอก ไม่แสดง ไม่ชี้แจงความหมดจด คือ ความสะอาด ความบริสุทธิ์
ความหลุดไป ความพ้นไป ความหลุดพ้นไป เพราะทิฏฐิ ... เพราะสุตะ ... เพราะ
ทิฏฐิและสุตะ นักปราชญ์ไม่กล่าว คือ ไม่พูด ไม่บอก ไม่แสดง ไม่ชี้แจงความหมดจด
คือ ความสะอาด ความบริสุทธิ์ ความหลุดไป ความพ้นไป ความหลุดพ้นไป เพราะ
ญาณ รวมความว่า นักปราชญ์ไม่กล่าวความหมดจดเพราะทิฏฐิ ไม่กล่าวความหมด
จดเพราะสุตะ ไม่กล่าวความหมดจดเพราะญาณ
คำว่า มาคันทิยะ เป็นคำที่พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกพราหมณ์นั้นโดยชื่อ
คำว่า พระผู้มีพระภาค เป็นคำกล่าวโดยความเคารพ ... คำว่า พระผู้มี
พระภาค นี้ เป็นสัจฉิกาบัญญัติ รวมความว่า พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า
มาคันทิยะ
คำว่า นักปราชญ์ไม่กล่าวความหมดจดเพราะศีลและวัตร อธิบายว่า
นักปราชญ์ไม่กล่าว คือ ไม่พูด ไม่บอก ไม่แสดง ไม่ชี้แจงความหมดจด คือ
ความสะอาด ความบริสุทธิ์ ความหลุดไป ความพ้นไป ความหลุดพ้นไปเพราะศีล ...
เพราะวัตร นักปราชญ์ไม่กล่าว คือ ไม่พูด ไม่บอก ไม่แสดง ไม่ชี้แจงความหมดจด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๒๒๓ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๙. มาคันทิยสุตตนิทเทส
คือ ความสะอาด ความบริสุทธิ์ ความหลุดไป ความพ้นไป ความหลุดพ้นไปเพราะ
ศีลวัตร รวมความว่า นักปราชญ์ไม่กล่าวความหมดจดเพราะศีลและวัตร
คำว่า บุคคลย่อมถึงความสงบภายใน เพราะความไม่มีทิฏฐิ เพราะความ
ไม่มีสุตะ เพราะความไม่มีญาณ เพราะความไม่มีศีล เพราะความไม่มีวัตรนั้นก็
หามิได้ อธิบายว่า ทิฏฐิ ประสงค์เอาสัมมาทิฏฐิมีวัตถุ ๑๐ คือ

๑. ทานที่ให้แล้วมีผล ๒. ยัญที่บูชาแล้วมีผล
๓. การเซ่นสรวงมีผล ๔. ผลวิบากของกรรมที่ทำดีทำชั่วมีอยู่
๕. โลกนี้มี ๖. โลกหน้ามี
๗. มารดามีคุณ ๘. บิดามีคุณ
๙. สัตว์ที่เป็นโอปปาติกะ๑มีอยู่

๑๐. สมณพราหมณ์ผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ รู้แจ้งโลกนี้และโลกหน้าด้วยตน
เองแล้วสอนให้ผู้อื่นรู้แจ้งมีอยู่ในโลก
สุตะ ประสงค์เอาเสียงจากผู้อื่น คือ สุตตะ เคยยะ เวยยากรณะ คาถา
อุทาน อิติวุตตกะ ชาตกะ อัพภูตธรรม เวทัลละ
ญาณ ประสงค์เอากัมมัสสกตาญาณ๒ สัจจานุโลมิกญาณ๓ อภิญญาญาณ๔
สมาปัตติญาณ๕
ศีล ประสงค์เอาปาติโมกขสังวร
วัตร ประสงค์เอาธุดงค์๖ ๘ ข้อ คือ
๑. อารัญญิกังคธุดงค์ ๒. ปิณฑปาติกังคธุดงค์
๓. ปังสุกูลิกังคธุดงค์ ๔. เตจีวริกังคธุดงค์

เชิงอรรถ :
๑ โอปปาติกะ หมายถึง สัตว์เกิดผุดขึ้น คือสัตว์ที่เกิดและเติบโตเต็มที่ทันที และเมื่อจุติ(ตาย)ก็หายวับไป
ไม่ทิ้งซากศพไว้ เช่น เทวดาและสัตว์นรก เป็นต้น (ที.สี.อ. ๑๗๑/๑๔๙)
๒ กัมมัสสกตาญาณ ญาณที่เชื่อความที่สัตว์มีกรรมเป็นของตน, เชื่อว่าแต่ละคนเป็นเจ้าของ จะต้องรับผิด
เสวยวิบากเป็นไปตามกรรมของตน หมายถึงสัมมาทิฏฐิ ๑๐ (อภิ.วิ.(แปล) ๓๕/๗๙๓/๕๐๙)
๓ สัจจานุโลมิกญาณ ญาณอันเป็นไปโดยอนุโลมแก่การหยั่งรู้อริยสัจ ญาณอันคล้อยต่อการตรัสรู้อริยสัจ
ย่อมเกิดขึ้นในลำดับถัดไป เป็นขั้นสุดท้ายของวิปัสสนาญาณ (อภิ.วิ.(แปล) ๓๕/๗๙๓/๕๐๙)
๔ อภิญญาญาณ ญาณคือความรู้อย่างยิ่งยวดมี ๖ (๑) อิทธิวิธิ (๒) ทิพพโสต (๓) เจโตปริยญาณ
(๔) ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ (๕) ทิพพจักขุ (๖) อาสวักขยญาณ (ที.สี.(แปล) ๙/๒๓๔-๒๔๘/๗๗-๘๔)
๕ สมาปัตติญาณ ญาณในสมาบัติ ๘ (ดูเชิงอรรถข้อ ๖/๒๕)
๖ ดูคำแปลจากข้อ ๑๗/๗๙

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๒๒๔ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๙. มาคันทิยสุตตนิทเทส
๕. สปทานจาริกังคธุดงค์ ๖. ขลุปัจฉาภัตติกังคธุดงค์
๗. เนสัชชิกังคธุดงค์ ๘. ยถาสันถติกังคธุดงค์
คำว่า บุคคลย่อมถึงความสงบภายใน เพราะความไม่มีทิฏฐิ เพราะความ
ไม่มีสุตะ เพราะความไม่มีญาณ เพราะความไม่มีศีล เพราะความไม่มีวัตรนั้นก็
หามิได้ อธิบายว่า บุคคลเป็นผู้บรรลุถึงความสงบภายใน เพียงเพราะสัมมาทิฏฐิ
ก็หามิได้ เพียงเพราะการได้ฟังก็หามิได้ เพียงเพราะญาณก็หามิได้ เพียงเพราะศีลก็
หามิได้ เพียงเพราะวัตรก็หามิได้ คือ บรรลุถึงความสงบภายใน โดยเว้นจากธรรม
เหล่านี้ก็หามิได้ เพราะธรรมเหล่านี้ เป็นเครื่องประกอบเพื่อบรรลุ เพื่อถึง เพื่อ
ถูกต้อง เพื่อทำให้แจ้งความสงบภายใน รวมความว่า บุคคลย่อมถึงความสงบภายใน
เพราะความไม่มีทิฏฐิ เพราะความไม่มีสุตะ เพราะความไม่มีญาณ เพราะความ
ไม่มีศีล เพราะความไม่มีวัตรนั้นก็หามิได้
คำว่า เหล่านี้ ในคำว่า สลัดทิ้งธรรมเหล่านี้ได้แล้ว ไม่ยึดมั่น อธิบายว่า
บุคคลหวังการละธรรมฝ่ายดำโดยกำจัดได้เด็ดขาด หวังการไม่ก่อตัณหาในกุศลธรรม
ทั้งหลายในไตรธาตุ บุคคลละธรรมฝ่ายดำ โดยการละได้อย่างเด็ดขาดแล้ว ตัดราก
ถอนโคน เหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี
เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ และไม่ก่อตัณหาในกุศลธรรมทั้งหลายในไตรธาตุเพราะเหตุใด
นักปราชญ์ย่อมไม่ถือ ไม่ยึดมั่น ไม่ถือมั่น เพราะเหตุเท่านี้
อีกนัยหนึ่ง ธรรมฝ่ายดำ นักปราชญ์ไม่ควรถือ ไม่ควรยึดมั่น ไม่ควรถือมั่น
รวมความว่า สลัดทิ้งธรรมเหล่านี้ได้แล้ว ไม่ยึดมั่น อย่างนี้บ้าง
บุคคลละตัณหา ทิฏฐิ และมานะได้เด็ดขาดแล้ว ตัดรากถอนโคนเหมือน
ต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้
เพราะเหตุใด นักปราชญ์ย่อมไม่ถือ ไม่ยึดมั่น ไม่ถือมั่น เพราะเหตุเท่านี้ รวมความว่า
สลัดทิ้งธรรมเหล่านี้ได้แล้ว ไม่ยึดมั่น อย่างนี้บ้าง
บุคคลละปุญญาภิสังขาร อปุญญาภิสังขาร และอาเนญชาภิสังขารได้เด็ดขาด
แล้ว ตัดรากถอนโคนเหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่
ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ เพราะเหตุใด นักปราชญ์ย่อมไม่ถือ ไม่ยึดมั่น
ไม่ถือมั่น เพราะเหตุเท่านี้ รวมความว่า สลัดทิ้งธรรมเหล่านี้ได้แล้ว ไม่ยึดมั่น
อย่างนี้บ้าง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๒๒๕ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๙. มาคันทิยสุตตนิทเทส
คำว่า เป็นผู้สงบ ในคำว่า นักปราชญ์ ... เป็นผู้สงบ ไม่อาศัยแล้ว ไม่พึง
หวังภพ อธิบายว่า ชื่อว่าเป็นผู้สงบ คือ เข้าไปสงบแล้ว สงบเย็นแล้ว ดับได้แล้ว
สงบระงับได้แล้ว เพราะสงบ ระงับ สงบเย็น เผา ดับ ปราศจาก สงบระงับราคะ ...
โทสะ ... โมหะ ... โกธะ ... อุปนาหะ ... มักขะ ... ปฬาสะ ... อิสสา ... มัจฉริยะ ...
มายา ... สาเถยยะ ... ถัมภะ ... สารัมภะ ... มานะ ... อติมานะ ... มทะ ... ปมาทะ ...
กิเลสทุกชนิด ... ทุจริตทุกทาง ... ความกระวนกระวายทุกอย่าง ... ความเร่าร้อน
ทุกสถาน ... ความเดือดร้อนทุกประการ อกุสลาภิสังขารทุกประเภท รวมความว่า
เป็นผู้สงบ
คำว่า ไม่อาศัยแล้ว ได้แก่ ความอาศัย ๒ อย่าง คือ (๑) ความอาศัยด้วย
อำนาจตัณหา (๒) ความอาศัยด้วยอำนาจทิฏฐิ ... นี้ชื่อว่าความอาศัยด้วยอำนาจ
ตัณหา ... นี้ชื่อว่าความอาศัยด้วยอำนาจทิฏฐิ๑
นักปราชญ์ละการอาศัยด้วยอำนาจตัณหาได้แล้ว สลัดทิ้งการอาศัยด้วย
อำนาจทิฏฐิได้แล้ว ไม่อาศัย คือ ไม่ถือ ไม่ยึดมั่น ไม่ถือมั่น ตา ... หู ... จมูก ... ลิ้น ...
กาย ... รูป ... เสียง ... กลิ่น ... รส ... โผฏฐัพพะ ... ตระกูล ... หมู่คณะ ... อาวาส ...
ลาภ ... ยศ ... สรรเสริญ ... สุข ... จีวร ... บิณฑบาต ... เสนาสนะ ... คิลานปัจจัย-
เภสัชบริขาร ... กามธาตุ ... รูปธาตุ ... อรูปธาตุ ... กามภพ ... รูปภพ ... อรูปภพ ...
สัญญาภพ ... อสัญญาภพ ... เนวสัญญานาสัญญาภพ ... เอกโวการภพ ...
จตุโวการภพ ... ปัญจโวการภพ ... อดีต ... อนาคต ... ปัจจุบัน ไม่อาศัย คือ ไม่ถือ
ไม่ยึดมั่น ไม่ถือมั่น รูปที่เห็น เสียงที่ได้ยิน กลิ่น รส โผฏฐัพพะที่รับรู้ และ
ธรรมารมณ์ที่พึงรู้แจ้ง รวมความว่า เป็นผู้สงบ ไม่อาศัยแล้ว
คำว่า ไม่พึงหวังภพ ได้แก่ ไม่พึงหวัง คือ ไม่พึงมุ่งหวัง ไม่พึงคาดหวัง
กามภพ รูปภพ อรูปภพ รวมความว่า นักปราชญ์ ... เป็นผู้สงบ ไม่อาศัยแล้ว
ไม่พึงหวังภพ ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสตอบว่า มาคันทิยะ
นักปราชญ์ไม่กล่าวความหมดจดเพราะทิฏฐิ
ไม่กล่าวความหมดจดเพราะสุตะ

เชิงอรรถ :
๑ ดูรายละเอียดข้อ ๑๒/๕๘-๕๙

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๒๒๖ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๙. มาคันทิยสุตตนิทเทส
ไม่กล่าวความหมดจดเพราะญาณ
ไม่กล่าวความหมดจดเพราะศีลและวัตร
บุคคลย่อมถึงความสงบภายใน
เพราะความไม่มีทิฏฐิ เพราะความไม่มีสุตะ
เพราะความไม่มีญาณ เพราะความไม่มีศีล
เพราะความไม่มีวัตรนั้นก็หามิได้
นักปราชญ์สลัดทิ้งธรรมเหล่านี้ได้แล้ว
ไม่ยึดมั่น เป็นผู้สงบ ไม่อาศัยแล้ว ไม่พึงหวังภพ
[๗๕] (มาคันทิยพราหมณ์กราบทูล ดังนี้)
หากนักปราชญ์ไม่กล่าวความหมดจดเพราะทิฏฐิ
ไม่กล่าวความหมดจดเพราะสุตะ
ไม่กล่าวความหมดจดเพราะญาณ
ไม่กล่าวความหมดจดเพราะศีลและวัตร
บุคคลย่อมถึงความสงบภายใน เพราะความไม่มีทิฏฐิ
เพราะความไม่มีสุตะ เพราะความไม่มีญาณ
เพราะความไม่มีศีล เพราะความไม่มีวัตรนั้นก็หามิได้
ข้าพเจ้าจึงเข้าใจธรรมของท่านว่า เป็นเรื่องงมงายแน่นอน
เพราะสมณพราหมณ์บางพวกถึงความหมดจดได้เพราะทิฏฐิ
คำว่า หากนักปราชญ์ไม่กล่าวความหมดจดเพราะทิฏฐิ ไม่กล่าวความ
หมดจดเพราะสุตะ ไม่กล่าวความหมดจดเพราะญาณ อธิบายว่า นักปราชญ์
ไม่กล่าว คือ ไม่พูด ไม่บอก ไม่แสดง ไม่ชี้แจงความหมดจด คือ ความสะอาด
ความบริสุทธิ์ ความหลุดไป ความพ้นไป ความหลุดพ้นไป เพราะทิฏฐิ ... เพราะสุตะ
... เพราะทิฏฐิและสุตะ ... นักปราชญ์ไม่กล่าว คือ ไม่พูด ไม่บอก ไม่แสดง ไม่ชี้แจง
ความหมดจด คือ ความสะอาด ความบริสุทธิ์ ความหลุดไป ความพ้นไป ความ
หลุดพ้นไป เพราะญาณ รวมความว่า หากนักปราชญ์ไม่กล่าวความหมดจดเพราะ
ทิฏฐิ ไม่กล่าวความหมดจดเพราะสุตะ ไม่กล่าวความหมดจดเพราะญาณ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๒๒๗ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๙. มาคันทิยสุตตนิทเทส
คำว่า ดังนี้ ในคำว่า มาคันทิยพราหมณ์กราบทูล ดังนี้ เป็นบทสนธิ ... คำว่า
ดังนี้ นี้ เป็นคำเชื่อมบทหน้ากับบทหลังเข้าด้วยกัน
คำว่า มาคันทิยะ เป็นชื่อของพราหมณ์นั้น ... รวมความว่า มาคันทิยพราหมณ์
กราบทูล ดังนี้
คำว่า ไม่กล่าวความหมดจดเพราะศีลและวัตร อธิบายว่า ไม่กล่าว คือ
ไม่พูด ไม่บอก ไม่แสดง ไม่ชี้แจงความหมดจด คือ ความสะอาด ความบริสุทธิ์
ความหลุดไป ความพ้นไป ความหลุดพ้นไปเพราะศีล ... เพราะวัตร ... ไม่กล่าว คือ
ไม่พูด ไม่บอก ไม่แสดง ไม่ชี้แจงความหมดจด คือ ความสะอาด ความบริสุทธิ์
ความหลุดไป ความพ้นไป ความหลุดพ้นไปเพราะศีลและวัตร รวมความว่า ไม่กล่าว
ความหมดจดเพราะศีลและวัตร
คำว่า บุคคลย่อมถึงความสงบภายใน เพราะความไม่มีทิฏฐิ เพราะ
ความไม่มีสุตะ เพราะความไม่มีญาณ เพราะความไม่มีศีล เพราะความไม่มี
วัตรนั้นก็หามิได้ อธิบายว่า ท่านกล่าวอย่างนี้ว่า ทิฏฐิก็พึงปรารถนา ... การฟัง
ก็พึงปรารถนา ... ญาณก็พึงปรารถนา ... ศีลก็พึงปรารถนา ... ท่านกล่าวอย่างนี้ว่า
วัตรก็พึงปรารถนา ท่านไม่สามารถยอมรับโดยส่วนเดียวได้ ทั้งไม่สามารถปฏิเสธ
โดยส่วนเดียวได้ รวมความว่า บุคคลย่อมถึงความสงบภายใน เพราะความไม่มีทิฏฐิ
เพราะความไม่มีสุตะ เพราะความไม่มีญาณ เพราะความไม่มีศีล เพราะความไม่มี
วัตรนั้น ก็หามิได้
คำว่า ข้าพเจ้าจึงเข้าใจธรรมของท่านว่า เป็นเรื่องงมงายแน่นอน อธิบายว่า
ข้าพเจ้าจึงเข้าใจอย่างนี้ คือ รู้ รู้ทั่ว รู้แจ่มแจ้ง รู้เฉพาะ แทงตลอดอย่างนี้ว่า ธรรม
ของท่านนี้ เป็นธรรมงมงาย คือ เป็นธรรมของคนเขลา ธรรมของคนหลง ธรรมของ
คนไม่รู้ ธรรมของคนมีลัทธิที่หลบเลี่ยงไม่แน่นอน รวมความว่า ข้าพเจ้าจึงเข้าใจ
ธรรมของท่านว่า เป็นเรื่องงมงายแน่นอน
คำว่า เพราะสมณพราหมณ์บางพวกถึงความหมดจดได้เพราะทิฏฐิ อธิบาย
ว่า สมณพราหมณ์บางพวก ถึงความหมดจด คือ ความสะอาด ความบริสุทธิ์
ความหลุดไป ความพ้นไป ความหลุดพ้นไปเพราะทิฏฐิว่า “โลกเที่ยง นี้เท่านั้นจริง
อย่างอื่นเป็นโมฆะ” สมณพราหมณ์บางพวก ถึงความหมดจด คือ ความสะอาด


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๒๒๘ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๙. มาคันทิยสุตตนิทเทส
ความบริสุทธิ์ ความหลุดไป ความพ้นไป ความหลุดพ้นไป เพราะทิฏฐิว่า “โลก
ไม่เที่ยง ... หลังจากตายแล้วตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่ นี้เท่านั้น
จริง อย่างอื่นเป็นโมฆะ” รวมความว่า เพราะสมณพราหมณ์บางพวกถึงความ
หมดจดได้เพราะทิฏฐิ ด้วยเหตุนั้น มาคันทิยพราหมณ์จึงกราบทูลดังนี้
หากนักปราชญ์ไม่กล่าวความหมดจดเพราะทิฏฐิ
ไม่กล่าวความหมดจดเพราะสุตะ
ไม่กล่าวความหมดจดเพราะญาณ
ไม่กล่าวความหมดจดเพราะศีลและวัตร
บุคคลย่อมถึงความสงบภายใน เพราะความไม่มีทิฏฐิ
เพราะความไม่มีสุตะ เพราะความไม่มีญาณ
เพราะความไม่มีศีล เพราะความไม่มีวัตรนั้นก็หามิได้
ข้าพเจ้าจึงเข้าใจธรรมของท่านว่า เป็นเรื่องงมงายแน่นอน
เพราะสมณพราหมณ์บางพวกถึงความหมดจดได้เพราะทิฏฐิ
[๗๖] (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า มาคันทิยะ)
เพราะอาศัยทิฏฐิทั้งหลาย ท่านจึงถามเนือง ๆ
ได้มาถึงความลุ่มหลงในทิฏฐิทั้งหลาย ที่ท่านถือมั่นไว้แล้ว
และท่านก็มิได้เห็นสัญญาแม้น้อยหนึ่งจากธรรมนี้
เพราะฉะนั้น ท่านจึงประสบแต่ความงมงาย
คำว่า เพราะอาศัยทิฏฐิทั้งหลาย ท่านจึงถามเนือง ๆ อธิบายว่า มาคันทิย-
พราหมณ์อาศัยทิฏฐิถามถึงทิฏฐิ อาศัยความเกี่ยวข้องถามถึงความเกี่ยวข้อง อาศัย
ความผูกพันถามถึงความผูกพัน อาศัยความกังวลถามถึงความกังวล
คำว่า จึงถามเนือง ๆ ได้แก่ จึงถามอยู่บ่อย ๆ รวมความว่า เพราะอาศัยทิฏฐิ
ทั้งหลายท่านจึงถามเนือง ๆ
คำว่า มาคันทิยะ เป็นคำที่พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกพราหมณ์นั้นโดยชื่อ
คำว่า พระผู้มีพระภาค เป็นคำกล่าวโดยความเคารพ ... คำว่า พระผู้มี
พระภาค นี้ เป็นสัจฉิกาบัญญัติ รวมความว่า พระผู้มีพระภาคตรัสว่า มาคันทิยะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๒๒๙ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๙. มาคันทิยสุตตนิทเทส
คำว่า ได้มาถึงความลุ่มหลงในทิฏฐิทั้งหลาย ที่ท่านถือมั่นไว้แล้ว อธิบายว่า
ทิฏฐิใด ท่านถือ คือ ยึดมั่น ถือมั่น ติดใจ น้อมใจเชื่อแล้ว ท่านหลง คือ ลุ่มหลง
หลงงมงาย ถึงความหลง ถึงความลุ่มหลง ถึงความหลงงมงาย แล่นไปสู่ความ
มืดมนแล้ว ในทิฏฐินั้น รวมความว่า ได้มาถึงความลุ่มหลงในทิฏฐิทั้งหลาย ที่ท่าน
ถือมั่นไว้แล้ว
คำว่า และท่านก็มิได้เห็นสัญญาแม้น้อยหนึ่งจากธรรมนี้ อธิบายว่า ท่าน
ไม่ได้พบสัญญาอันสมควร สัญญาที่ถึงแล้ว สัญญาในลักษณะ สัญญาในเหตุ หรือ
สัญญาในฐานะ จากธรรมนี้ คือ จากความสงบภายใน จากข้อปฏิบัติ หรือจาก
ธรรมเทศนาเลย ท่านจักได้ญาณจากที่ไหนเล่า รวมความว่า และท่านก็มิได้เห็น
สัญญาแม้น้อยหนึ่งจากธรรมนี้ อย่างนี้บ้าง
อีกนัยหนึ่ง ท่านไม่ได้พบเบญจขันธ์ซึ่งไม่เที่ยง หรือญาณซึ่งอนุโลม
อนิจจสัญญา เบญจขันธ์ซึ่งเป็นทุกข์ หรือญาณซึ่งอนุโลมทุกขสัญญา ธรรมซึ่งเป็น
อนัตตา หรือ ญาณซึ่งอนุโลมอนัตตสัญญา ธรรมเพียงแต่ความเกิดขึ้นแห่งสัญญา
หรือธรรมเป็นนิมิตแห่งสัญญาเลย ท่านจักได้ญาณจากที่ไหน รวมความว่า และท่าน
มิได้เห็นสัญญาแม้น้อยหนึ่งจากธรรมนี้ อย่างนี้บ้าง
คำว่า เพราะฉะนั้น ในคำว่า เพราะฉะนั้น ท่านจึงประสบแต่ความงมงาย
อธิบายว่า เพราะฉะนั้น คือ เพราะการณ์นั้น เพราะเหตุนั้น เพราะปัจจัยนั้น
เพราะต้นเหตุนั้น ท่านจึงประสบ คือ เห็น แลเห็น มองดู เพ่งพินิจ พิจารณา
ดูแต่ธรรมคือความงมงาย ธรรมของคนเขลา ธรรมของคนหลง ธรรมของคนไม่รู้
ธรรมของคนที่มีลัทธิหลบเลี่ยงไม่แน่นอน รวมความว่า เพราะฉะนั้น ท่านจึงประสบ
แต่ความงมงาย ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า มาคันทิยะ
เพราะอาศัยทิฏฐิทั้งหลาย ท่านจึงถามเนือง ๆ
ได้มาถึงความลุ่มหลงในทิฏฐิทั้งหลาย ที่ท่านถือมั่นไว้แล้ว
และท่านก็มิได้เห็นสัญญาแม้น้อยหนึ่งจากธรรมนี้
เพราะฉะนั้น ท่านจึงประสบแต่ความงมงาย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๒๓๐ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๙. มาคันทิยสุตตนิทเทส
[๗๗] (พระผู้มีพระภาคตรัสต่อไปว่า)
ผู้ใดสำคัญว่า เราเสมอเขา เลิศกว่าเขา หรือด้อยกว่าเขา
ผู้นั้นพึงต้องวิวาทกันด้วยความถือตัวนั้น
บุคคลไม่หวั่นไหวในเพราะความถือตัว ๓ อย่าง
ความสำคัญว่า เราเสมอเขา เลิศกว่าเขา
(หรือด้อยกว่าเขา) จึงไม่มีแก่บุคคลนั้น
คำว่า ผู้ใดสำคัญว่า เราเสมอเขา เลิศกว่าเขา หรือด้อยกว่าเขา ผู้นั้น
พึงต้องวิวาทกันด้วยความถือตัวนั้น อธิบายว่า ผู้ใดสำคัญว่า “เราเสมอเขา
เราเลิศกว่าเขา หรือ เราด้อยกว่าเขา” ผู้นั้น พึงต้องก่อการทะเลาะ ก่อการบาดหมาง
ก่อการแก่งแย่ง ก่อการวิวาท ก่อการมุ่งร้าย ด้วยความถือตัวนั้น คือ ด้วยทิฏฐินั้น
หรือกับบุคคลนั้นว่า “ท่านไม่รู้ธรรมวินัยนี้ เรารู้ธรรมวินัยนี้ ท่านจักรู้ธรรมวินัย
นี้ได้อย่างไร ท่านปฏิบัติผิด เราปฏิบัติถูกต้อง คำของเรามีประโยชน์ คำของท่าน
ไม่มีประโยชน์ คำที่ควรพูดก่อนท่านกลับพูดทีหลัง คำที่ควรพูดทีหลังท่าน
กลับพูดก่อน คำที่ท่านใช้เสมอกลับติดขัด วาทะของท่านเราหักล้างได้แล้ว
เราปราบปรามท่านได้แล้ว ท่านจงเที่ยวไปเพื่อเปลื้องวาทะ หรือหากท่านสามารถ
ก็จงแก้ไขเถิด” รวมความว่า ผู้ใดสำคัญว่า เราเสมอเขา เลิศกว่าเขา หรือด้อยกว่าเขา
ผู้นั้นพึงต้องวิวาทกันด้วยความถือตัวนั้น
คำว่า บุคคลไม่หวั่นไหวในเพราะความถือตัว ๓ อย่าง ความสำคัญว่า
เราเสมอเขา เลิศกว่าเขา(หรือด้อยกว่าเขา) จึงไม่มีแก่บุคคลนั้น อธิบายว่า
ความถือตัว ๓ อย่างเหล่านี้ ผู้ใด ละได้แล้ว ตัดขาดได้แล้ว ทำให้สงบได้แล้ว
ระงับได้แล้ว ทำให้เกิดขึ้นไม่ได้อีก เผาด้วยไฟคือญาณแล้ว ผู้นั้นย่อมไม่หวั่นไหว คือ
ไม่เอนเอียง ในความถือตัว ๓ อย่างเหล่านั้น ความสำคัญว่า เราเสมอเขา เราเลิศ
กว่าเขา หรือเราด้อยกว่าเขา ย่อมไม่มีแก่บุคคลผู้ไม่หวั่นไหว
คำว่า ไม่มีแก่บุคคลนั้น ได้แก่ ไม่มีแก่เรา รวมความว่า บุคคลไม่หวั่นไหวใน
เพราะความถือตัว ๓ อย่าง ความสำคัญว่า “เราเสมอเขา เลิศกว่าเขา หรือด้อย
กว่าเขา จึงไม่มีแก่บุคคลนั้น” ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๒๓๑ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๙. มาคันทิยสุตตนิทเทส
ผู้ใดสำคัญว่า เราเสมอเขา เลิศกว่าเขา หรือด้อยกว่าเขา
ผู้นั้นพึงต้องวิวาทกันด้วยความถือตัวนั้น
บุคคลไม่หวั่นไหวในเพราะความถือตัว ๓ อย่าง
ความสำคัญว่า เราเสมอเขา เลิศกว่าเขา
(หรือด้อยกว่าเขา) จึงไม่มีแก่บุคคลนั้น
[๗๘] (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า)
บุคคลผู้เป็นพราหมณ์นั้นพึงกล่าวอะไรว่า จริง
หรือบุคคลผู้เป็นพราหมณ์นั้นพึงโต้เถียงว่า เท็จ ด้วยเหตุอะไร
ความสำคัญว่าเราเสมอเขา เราเลิศกว่าเขา
(หรือเราด้อยกว่าเขา) ย่อมไม่มีในพระอรหันต์ใด
พระอรหันต์นั้น พึงตอบโต้วาทะ ด้วยเหตุอะไรเล่า
คำว่า พราหมณ์ ในคำว่า บุคคลผู้เป็นพราหมณ์นั้นพึงกล่าวอะไรว่า จริง
อธิบายว่า บุคคลชื่อว่าเป็นพราหมณ์ เพราะลอยธรรม ๗ ประการได้แล้ว ... บุคคล
นั้นไม่มีตัณหาและทิฏฐิอาศัย เป็นผู้มั่นคง บัณฑิตเรียกผู้นั้นว่า เป็นพราหมณ์๑
คำว่า บุคคลผู้เป็นพราหมณ์นั้นพึงกล่าวอะไรว่า จริง อธิบายว่า บุคคล
ผู้เป็นพราหมณ์ พึงกล่าว คือ พูด บอก แสดง ชี้แจงอะไรว่า “โลกเที่ยง นี้เท่านั้นจริง
อย่างอื่นเป็นโมฆะ” พึงกล่าว คือ พูด บอก แสดง ชี้แจงอะไรว่า “โลกไม่เที่ยง ...
หลังจากตายแล้วตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่ นี้เท่านั้นจริง
อย่างอื่นเป็นโมฆะ” รวมความว่า บุคคลผู้เป็นพราหมณ์นั้นพึงกล่าวอะไรว่า จริง
คำว่า หรือบุคคลผู้เป็นพราหมณ์นั้นพึงโต้เถียงว่า เท็จ ด้วยเหตุอะไร
อธิบายว่า บุคคลผู้เป็นพราหมณ์พึงก่อการทะเลาะ ก่อการบาดหมาง ก่อการ
แก่งแย่ง ก่อการวิวาท ก่อการมุ่งร้าย ด้วยมานะอะไร ด้วยทิฏฐิอะไร หรือกับ
บุคคลใดว่า “คำของเราจริง คำของท่านเท็จ ... ท่านไม่รู้ธรรมวินัยนี้ ... หรือหาก
ท่านสามารถ ก็จงแก้ไขเถิด” รวมความว่า หรือบุคคลผู้เป็นพราหมณ์นั้นพึง
โต้เถียงว่า เท็จ ด้วยเหตุอะไร

เชิงอรรถ :
๑ ดูรายละเอียดข้อ ๒๕/๑๐๔-๑๐๕

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๒๓๒ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๙. มาคันทิยสุตตนิทเทส
คำว่า ในพระอรหันต์ใด ในคำว่า ความสำคัญว่า เราเสมอเขา เราเลิศ
กว่าเขา (หรือเราด้อยกว่าเขา) ย่อมไม่มีในพระอรหันต์ใด อธิบายว่า ในพระ
อรหันต์คือ พระขีณาสพใด ไม่มีความถือตัวว่า “เราเสมอเขา” ไม่มีความถือดีว่า
“เราเลิศกว่าเขา” ไม่มีความดูหมิ่นว่า “เราด้อยกว่าเขา” คือ ไม่ปรากฏ หาไม่ได้
ได้แก่ ความถือตัวนั้นพระอรหันต์ละได้แล้ว ตัดขาดได้แล้ว ทำให้สงบได้แล้ว ระงับ
ได้แล้ว ทำให้เกิดขึ้นไม่ได้อีก เผาด้วยไฟคือญาณแล้ว รวมความว่า ความสำคัญว่า
เราเสมอเขา เราเลิศกว่าเขา(หรือเราด้อยกว่าเขา) ย่อมไม่มีในพระอรหันต์ใด
คำว่า พระอรหันต์นั้น พึงตอบโต้วาทะ ด้วยเหตุอะไรเล่า อธิบายว่า
พระอรหันต์นั้น พึงตอบโต้วาทะ คือ พึงโต้เถียง พึงก่อการทะเลาะ ก่อการ
บาดหมาง ก่อการแก่งแย่ง ก่อการวิวาท ก่อการมุ่งร้าย ด้วยเหตุอะไร ด้วยทิฏฐิ
อะไร หรือกับบุคคลใดว่า “ท่านไม่รู้ธรรมวินัยนี้ ... หรือหากท่านสามารถ ก็จง
แก้ไขเถิด” รวมความว่า พระอรหันต์นั้น พึงตอบโต้วาทะ ด้วยเหตุอะไรเล่า
ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า
บุคคลผู้เป็นพราหมณ์นั้นพึงกล่าวอะไรว่า จริง
หรือบุคคลผู้เป็นพราหมณ์นั้นพึงโต้เถียงว่า เท็จ ด้วยเหตุอะไร
ความสำคัญว่าเราเสมอเขา เราเลิศกว่าเขา
(หรือเราด้อยกว่าเขา) ย่อมไม่มีในพระอรหันต์ใด
พระอรหันต์นั้น พึงตอบโต้วาทะ ด้วยเหตุอะไรเล่า
[๗๙] (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า)
บุคคลละที่อาศัยแล้ว ไม่เที่ยวซ่านไปหาที่อาศัย
มุนีไม่ทำความเยื่อใยในกาม ว่างจากกามทั้งหลาย
ไม่มุ่งหมายอัตภาพต่อไป ไม่พึงกล่าวถ้อยคำขัดแย้งกัน
ครั้งนั้นแล หาลินทกานิคหบดี เข้าไปหาท่านพระมหากัจจายนะถึงที่อยู่ กราบ
ท่านพระมหากัจจายนะแล้ว นั่ง ณ ที่สมควร ครั้นแล้วได้ถามท่านพระมหา-
กัจจายนะว่า พระผู้มีพระภาคได้ตรัสภาษิตนี้ ในมาคันทิยปัญหา อันมาใน
อัฏฐกวรรคว่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๒๓๓ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๙. มาคันทิยสุตตนิทเทส
บุคคลละที่อาศัยแล้ว ไม่เที่ยวซ่านไปหาที่อาศัย
มุนีไม่ทำความเยื่อใยในกาม ว่างจากกามทั้งหลาย
ไม่มุ่งหมายอัตภาพต่อไป ไม่พึงกล่าวถ้อยคำขัดแย้งกัน
ข้าแต่ท่านมหากัจจายนะผู้เจริญ เนื้อความแห่งภาษิตที่พระผู้มีพระภาค
ตรัสแล้วโดยย่อนี้ พึงทราบโดยพิสดารอย่างไร
ท่านพระมหากัจจายนะตอบว่า ท่านคหบดี รูปธาตุเป็นที่อาศัยแห่งวิญญาณ
วิญญาณที่ผูกพันไว้ด้วยราคะในรูปธาตุ ตรัสเรียกว่า การเที่ยวซ่านไปหาที่อาศัย
เวทนาธาตุ ... สัญญาธาตุ ... สังขารธาตุ เป็นที่อาศัยแห่งวิญญาณ วิญญาณที่ผูก
พันไว้ด้วยราคะในสังขารธาตุ ตรัสเรียกว่า การเที่ยวซ่านไปหาที่อาศัย ท่านคหบดี
บุคคลผู้เที่ยวซ่านไปหาที่อาศัย เป็นอย่างนี้แล
ท่านคหบดี บุคคลผู้ไม่เที่ยวซ่านไปหาที่อาศัย เป็นอย่างไร
คือ ความพอใจ ความกำหนัด ความเพลิดเพลิน ความทะยานอยาก อุบาย
และความยึดมั่น อันเป็นเหตุที่ใจเข้าไปตั้งมั่นถือมั่นและนอนเนื่องแห่งรูปธาตุ พระ
ตถาคต ทรงละได้เด็ดขาดแล้ว ตัดรากถอนโคนเหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอน
โคนไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ ฉะนั้น บัณฑิตจึงเรียก
พระตถาคตว่า “ผู้ไม่ทรงเที่ยวซ่านไปหาที่อาศัย” ความพอใจ ความกำหนัด
ความเพลิดเพลิน ความทะยานอยาก อุบายและความยึดมั่น อันเป็นเหตุที่ใจเข้าไป
ตั้งมั่นถือมั่นและนอนเนื่องแห่งเวทนาธาตุ ... สัญญาธาตุ ... สังขารธาตุ ... วิญญาณธาตุ
พระตถาคต ทรงละได้เด็ดขาดแล้ว ตัดรากถอนโคนเหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอน
โคนไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ ฉะนั้น บัณฑิตจึงเรียก
พระตถาคตว่า “ผู้ไม่ทรงเที่ยวซ่านไปหาที่อาศัย” ท่านคหบดี บุคคลผู้ไม่เที่ยวซ่าน
ไปหาที่อาศัย เป็นอย่างนี้แล
ท่านคหบดี บุคคลผู้เที่ยวซ่านไปหาที่อาศัย เป็นอย่างไร
คือ ความเที่ยวซ่านไปหาและความผูกพันกับที่อาศัย คือ รูปนิมิต ... สัททนิมิต
... คันธนิมิต ... รสนิมิต ... โผฏฐัพพนิมิต ... ธัมมนิมิต ตรัสเรียกว่า “ผู้เที่ยวซ่าน
ไปหาที่อาศัย” ท่านคหบดี บุคคลผู้เที่ยวซ่านไปหาที่อาศัย เป็นอย่างนี้แล

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๒๓๔ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๙. มาคันทิยสุตตนิทเทส
ท่านคหบดี บุคคลผู้ไม่เที่ยวซ่านไปหาที่อาศัย เป็นอย่างไร
คือ ความซ่านไปหา และความผูกพันกับที่อาศัย คือ รูปนิมิต ... สัททนิมิต ...
คันธนิมิต ... รสนิมิต ... โผฏฐัพพนิมิต ... ธัมมนิมิต พระตถาคตทรงละได้เด็ดขาดแล้ว
ตัดรากถอนโคนเหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่ ทำให้
ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ ฉะนั้น บัณฑิตจึงเรียกพระตถาคตว่า “ผู้ไม่ทรงเที่ยวซ่านไป
หาที่อาศัย” ท่านคหบดี บุคคลผู้ไม่เที่ยวซ่านไปหาที่อาศัย เป็นอย่างนี้แล
ท่านคหบดี บุคคลเกิดความเยื่อใยในกาม เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ เกี่ยวข้องอยู่กับคฤหัสถ์ เพลิดเพลินร่วมกัน
เศร้าโศกร่วมกัน เมื่อพวกเขาสุขก็สุขด้วย เมื่อพวกเขาทุกข์ก็ทุกข์ด้วย เมื่อพวกเขา
มีกิจที่ควรทำเกิดขึ้น ก็ลงมือช่วยเหลือด้วยตนเอง ท่านคหบดี บุคคลเกิดความเยื่อ
ใยในกาม เป็นอย่างนี้แล
ท่านคหบดี บุคคลไม่เกิดความเยื่อใยในกาม เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ ไม่เกี่ยวข้องอยู่กับคฤหัสถ์ ไม่เพลิดเพลิน
ร่วมกัน ไม่เศร้าโศกร่วมกัน เมื่อพวกเขาสุขก็มิได้สุขด้วย เมื่อพวกเขาทุกข์ก็มิได้
ทุกข์ด้วย เมื่อพวกเขามีกิจที่ควรทำเกิดขึ้น ก็ไม่ลงมือช่วยเหลือด้วยตนเอง ท่าน
คหบดี บุคคลไม่เกิดความเยื่อใยในกาม เป็นอย่างนี้แล
ท่านคหบดี บุคคลไม่ว่างจากกามทั้งหลาย เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ ไม่ปราศจากความกำหนัด ไม่ปราศจาก
ความพอใจ ไม่ปราศจากความรัก ไม่ปราศจากความกระหาย ไม่ปราศจากความ
เร่าร้อน ไม่ปราศจากตัณหาในกามทั้งหลาย ท่านคหบดี บุคคลไม่ว่างจากกาม
ทั้งหลาย เป็นอย่างนี้แล
ท่านคหบดี บุคคลว่างจากกามทั้งหลาย เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ ปราศจากความกำหนัด ปราศจากความพอใจ
ปราศจากความรัก ปราศจากความกระหาย ปราศจากความเร่าร้อน ปราศจาก
ตัณหาในกามทั้งหลาย ท่านคหบดี บุคคลว่างจากกามทั้งหลาย เป็นอย่างนี้แล
ท่านคหบดี บุคคลมุ่งหวังอัตภาพต่อไป เป็นอย่างไร


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๒๓๕ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๙. มาคันทิยสุตตนิทเทส
คือ ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ มีความมุ่งหวังอย่างนี้ว่า “ในอนาคตกาล
เราพึงมีรูปอย่างนี้” เธอก็ประสบความเพลิดเพลินในความปรารถนานั้น มีความ
มุ่งหวังอย่างนี้ว่า ในอนาคตกาล “เราพึงมีเวทนาอย่างนี้ ... พึงมีสัญญาอย่างนี้ ...
พึงมีสังขารอย่างนี้ ... พึงมีวิญญาณอย่างนี้” เธอก็ประสบความเพลิดเพลินในความ
ปรารถนานั้น ท่านคหบดี บุคคลมุ่งหวังอัตภาพต่อไป เป็นอย่างนี้แล
ท่านคหบดี บุคคลไม่มุ่งหวังอัตภาพต่อไป เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ ไม่มีความมุ่งหวังอย่างนี้ว่า “ในอนาคตกาล
เราพึงมีรูปอย่างนี้” ไม่มีความมุ่งหวังอย่างนี้ว่า “ในอนาคตกาล เราพึงมีเวทนา
อย่างนี้ ... พึงมีสัญญาอย่างนี้ ... พึงมีสังขารอย่างนี้ ... พึงมีวิญญาณอย่างนี้” เธอก็
ไม่ประสบความเพลิดเพลินในความปรารถนานั้น ท่านคหบดี บุคคลไม่มุ่งหวัง
อัตภาพต่อไป เป็นอย่างนี้แล
ท่านคหบดี บุคคลกล่าวถ้อยคำขัดแย้งกัน เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้กล่าวถ้อยคำเห็นปานนี้ว่า “ท่านไม่รู้
ธรรมวินัยนี้ ... หรือหากท่านสามารถ ก็จงแก้ไขเถิด” ท่านคหบดี บุคคลกล่าว
ถ้อยคำขัดแย้งกัน เป็นอย่างนี้แล
ท่านคหบดี บุคคลไม่กล่าวถ้อยคำขัดแย้งกัน เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ไม่กล่าวถ้อยคำเห็นปานนี้ว่า “ท่านไม่รู้
ธรรมวินัยนี้ ... หรือหากท่านสามารถ ก็จงแก้ไขเถิด” ท่านคหบดี บุคคลไม่กล่าว
ถ้อยคำขัดแย้งกัน เป็นอย่างนี้แล
ท่านคหบดี ภาษิตที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ในมาคันทิยปัญหา อันมาใน
อัฏฐกวรรคว่า
บุคคลละที่อาศัยแล้ว ไม่เที่ยวซ่านไปหาที่อาศัย
มุนีไม่ทำความเยื่อใยในกาม ว่างจากกามทั้งหลาย
ไม่มุ่งหมายอัตภาพต่อไป ไม่พึงกล่าวถ้อยคำขัดแย้งกัน ดังนี้แล
ท่านคหบดี เนื่อความแห่งภาษิตที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้โดยย่อ พึงทราบโดย
พิสดารอย่างนี้แล ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๒๓๖ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๙. มาคันทิยสุตตนิทเทส
บุคคลละที่อาศัยแล้ว ไม่เที่ยวซ่านไปหาที่อาศัย
มุนีไม่ทำความเยื่อใยในกาม ว่างจากกามทั้งหลาย
ไม่มุ่งหมายอัตภาพต่อไป ไม่พึงกล่าวถ้อยคำขัดแย้งกัน
[๘๐] (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า)
บุคคลผู้นาคะสงัดจากทิฏฐิเหล่าใด
พึงเที่ยวไปในโลก ไม่พึงพูดจายึดถือทิฏฐิเหล่านั้น
ดอกบัวก้านมีหนามเกิดในน้ำ
ไม่แปดเปื้อนด้วยน้ำและโคลนตม ฉันใด
มุนีผู้กล่าวเรื่องความสงบ ก็ไม่ยินดี
ไม่แปดเปื้อนในกามและโลก ฉันนั้น
คำว่า เหล่าใด ในคำว่า บุคคลผู้นาคะสงัดจากทิฏฐิเหล่าใด พึงเที่ยวไปในโลก
ได้แก่ ทิฏฐิทั้งหลาย
คำว่า สงัด ได้แก่ ว่าง สงัด เงียบ จากกายทุจริต ... จากวจีทุจริต ... จาก
มโนทุจริต ... จากราคะ ... ว่าง สงัด เงียบจากอกุสลาภิสังขารทุกประเภท
คำว่า พึงเที่ยวไป ได้แก่ พึงเที่ยวไป คือ พึงอยู่ เคลื่อนไหว เป็นไป
เลี้ยงชีวิต ดำเนินไป ยังชีวิตให้ดำเนินไป
คำว่า ในโลก ได้แก่ ในมนุษยโลก รวมความว่า บุคคลผู้นาคะสงัดจากทิฏฐิ
เหล่าใด พึงเที่ยวไปในโลก
คำว่า ผู้นาคะ ในคำว่า ผู้นาคะ ... ไม่พึงพูดจายึดถือทิฏฐิเหล่านั้น อธิบายว่า
ชื่อว่าบุคคลผู้นาคะ เพราะไม่ทำความชั่ว ชื่อว่าบุคคลผู้นาคะ เพราะไม่ถึง ชื่อว่า
บุคคลผู้นาคะ เพราะไม่กลับมาหา
บุคคลชื่อว่าผู้นาคะ เพราะไม่ทำความชั่ว เป็นอย่างไร
คือ บาปอกุศลธรรมทั้งหลาย เป็นเหตุแห่งความเศร้าหมอง ก่อภพใหม่
มีความกระวนกระวาย มีทุกข์เป็นวิบาก เป็นที่ตั้งแห่งชาติ ชรา และมรณะต่อไป
ตรัสเรียกว่า ความชั่ว (สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า สภิยะ)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๒๓๗ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๙. มาคันทิยสุตตนิทเทส
บุคคลผู้ไม่ทำบาปแม้เล็กน้อยในโลก
สลัดสังโยชน์เครื่องผูกพันได้ทั้งหมด
ไม่ติดข้องอยู่ในธรรมเป็นเครื่องข้องทั้งปวง เป็นผู้หลุดพ้น
ดำรงตนมั่นคงเช่นนั้น บัณฑิตทั้งหลายเรียกว่า ผู้นาคะ๑
บุคคลชื่อว่าผู้นาคะ เพราะไม่ทำความชั่ว เป็นอย่างนี้
บุคคลชื่อว่าผู้นาคะ เพราะไม่ถึง เป็นอย่างไร
คือ บุคคลไม่ถึงฉันทาคติ(ลำเอียงเพราะชอบ) ไม่ถึงโทสาคติ(ลำเอียงเพราะชัง)
ไม่ถึงโมหาคติ(ลำเอียงเพราะหลง) ไม่ถึงภยาคติ(ลำเอียงเพราะกลัว) ไม่ดำเนินไป
ด้วยอำนาจราคะ ไม่ดำเนินไปด้วยอำนาจโทสะ ไม่ดำเนินไปด้วยอำนาจโมหะ ไม่
ดำเนินไปด้วยอำนาจมานะ ไม่ดำเนินไปด้วยอำนาจทิฏฐิ ไม่ดำเนินไปด้วยอำนาจ
อุทธัจจะ ไม่ดำเนินไปด้วยอำนาจวิจิกิจฉา ไม่ดำเนินไปด้วยอำนาจอนุสัย ได้แก่
ไม่ไป ไม่ออกไป ไม่ถูกพาไป ไม่ถูกนำไป ด้วยธรรมที่ก่อความเป็นฝักเป็นฝ่าย
บุคคลชื่อว่าผู้นาคะ เพราะไม่ถึง เป็นอย่างนี้
บุคคลชื่อว่าผู้นาคะ เพราะไม่กลับมาหา เป็นอย่างไร
คือ กิเลสเหล่าใดอริยบุคคลละได้แล้ว ด้วยโสดาปัตติมรรค อริยบุคคลนั้นก็
ย่อมไม่มา ไม่กลับมา ไม่หวนกลับมาสู่กิเลสเหล่านั้นอีก กิเลสเหล่าใด อริยบุคคลละ
ได้แล้วด้วยสกทาคามิมรรค ... ด้วยอนาคามิมรรค ... ด้วยอรหัตตมรรค อริยบุคคล
นั้นก็ย่อมไม่มา ไม่กลับมา ไม่หวนกลับมาสู่กิเลสเหล่านั้นอีก บุคคลชื่อว่าผู้นาคะ
เพราะไม่กลับมาหา เป็นอย่างนี้
คำว่า บุคคลผู้นาคะ ... ไม่พึงพูดจายึดถือทิฏฐิเหล่านั้น อธิบายว่า บุคคลผู้
นาคะ ไม่พึงพูดจา คือ ไม่พึงพูด กล่าว แสดง ชี้แจง ยึด จับ ถือ ยึดมั่น
ถือมั่นทิฏฐิเหล่านั้น ได้แก่ ไม่พึงพูดจา คือ ไม่พึงพูด กล่าว แสดง ชี้แจงว่า “โลกเที่ยง
... โลกไม่เที่ยง ... หลังจากตายแล้วตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่
นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นเป็นโมฆะ” รวมความว่า บุคคลผู้นาคะ ... ไม่พึงพูดจา
ยึดถือทิฏฐิเหล่านั้น

เชิงอรรถ :
๑ ขุ.สุ. ๒๕/๕๒๘/๔๓๗

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๒๓๘ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๙. มาคันทิยสุตตนิทเทส
คำว่า ดอกบัวก้านมีหนามเกิดในน้ำ ไม่แปดเปื้อนด้วยน้ำและโคลนตม
ฉันใด อธิบายว่า น้ำ ตรัสเรียกว่า เอละ น้ำ ตรัสเรียกว่า อัมพุ ดอกบัว ตรัส
เรียกว่า อัมพุชะ ก้านขรุขระ ตรัสเรียกว่ามีหนาม น้ำ ตรัสเรียกว่า วารี ดอกบัว
เกิดในน้ำ ตรัสเรียกว่า วาริชะ น้ำ ตรัสเรียกว่า ชละ เปือกตมตรัสเรียกว่า โคลนตม
ดอกบัวเกิดในน้ำ อยู่ในน้ำ (แต่) ไม่ติด ไม่ติดแน่น ไม่แปดเปื้อนด้วยน้ำและโคลนตม
คือ ไม่ถูกน้ำและโคลนตมติดแล้ว ติดแน่นแล้ว แปดเปื้อนแล้ว ฉันใด รวมความว่า
ดอกบัวก้านมีหนามเกิดในน้ำ ไม่แปดเปื้อนด้วยน้ำและโคลนตม ฉันใด
คำว่า ฉันนั้น ในคำว่า มุนีผู้กล่าวเรื่องความสงบ ก็ไม่ยินดี ไม่แปดเปื้อน
ในกามและโลก ฉันนั้น เป็นคำอุปไมยที่ทำอุปมาให้สมบูรณ์
คำว่า มุนี อธิบายว่า ญาณ ท่านเรียกว่า โมนะ ... ผู้ก้าวล่วงกิเลสเครื่องข้อง
และตัณหาดุจตาข่ายได้แล้ว ชื่อว่ามุนี
คำว่า ผู้กล่าวเรื่องความสงบ อธิบายว่า มุนีผู้กล่าวเรื่องความสงบ คือ
กล่าวเรื่องที่ป้องกัน กล่าวเรื่องที่หลีกเร้น กล่าวเรื่องที่พึ่ง กล่าวเรื่องที่ไม่มีภัย
กล่าวเรื่องที่ไม่คลาดเคลื่อน กล่าวเรื่องอมตธรรม กล่าวเรื่องนิพพาน รวมความว่า
มุนีผู้กล่าวเรื่องความสงบ ... ฉันนั้น
คำว่า ไม่ยินดี อธิบายว่า ตัณหา ตรัสเรียกว่า ความยินดี คือ ความกำหนัด
ความกำหนัดนัก ... อภิชฌา อกุศลมูลคือโลภะ๑
ตัณหาที่ตรัสเรียกว่าความยินดีนั้น มุนีใดละได้แล้ว คือ ตัดขาดได้แล้ว ทำให้
สงบได้แล้ว ระงับได้แล้ว ทำให้เกิดขึ้นไม่ได้อีก เผาด้วยไฟคือญาณแล้ว มุนีนั้น
ตรัสเรียกว่า ผู้ไม่ยินดี คือ ผู้ไม่ยินดี ไม่ติดใจ ไม่สยบ ไม่หมกมุ่นในรูป ... เสียง ...
กลิ่น ... รส... โผฏฐัพพะ ... ตระกูล ... หมู่คณะ ... อาวาส ... ลาภ ... ยศ ... สรรเสริญ
... สุข ... จีวร ... บิณฑบาต ... เสนาสนะ ... คิลานปัจจัยเภสัชบริขาร ... กามธาตุ ...
รูปธาตุ ... อรูปธาตุ ... กามภพ ... รูปภพ ... อรูปภพ ... สัญญาภพ ... อสัญญาภพ
... เนวสัญญานาสัญญาภพ ... เอกโวการภพ ... จตุโวการภพ ... ปัญจโวการภพ ...
อดีต ... อนาคต ... ปัจจุบัน คือผู้ไม่ยินดี ไม่ติดใจ ไม่สยบ ไม่หมกมุ่นในรูปที่เห็น
เสียงที่ได้ยิน กลิ่น รส โผฏฐัพพะที่รับรู้ และธรรมารมณ์ที่พึงรู้แจ้ง ได้แก่ เป็นผู้คลาย
ความยินดีแล้ว ปราศจากความยินดีแล้ว สละความยินดีแล้ว คายความยินดีแล้ว

เชิงอรรถ :
๑ ดูรายละเอียดข้อ ๓/๑๐-๑๑

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๒๓๙ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๙. มาคันทิยสุตตนิทเทส
ปล่อยความยินดีแล้ว ละความยินดีแล้ว สลัดทิ้งความยินดีแล้ว คือ เป็นผู้คลาย
ความกำหนัดแล้ว ปราศจากราคะแล้ว สละราคะแล้ว คายราคะแล้ว ปล่อยราคะแล้ว
ละราคะแล้ว สลัดทิ้งราคะแล้ว เป็นผู้หมดความอยากแล้ว เป็นผู้ดับแล้ว เป็นผู้เย็น
แล้ว มีตนอันประเสริฐเสวยสุขอยู่ รวมความว่า มุนีผู้กล่าวเรื่องความสงบ ก็ไม่ยินดี
อย่างนี้
คำว่า ไม่แปดเปื้อนในกามและโลก อธิบายว่า
คำว่า กาม ได้แก่ กาม ๒ อย่าง แบ่งตามหมวด คือ (๑) วัตถุกาม
(๒) กิเลสกาม ... เหล่านี้เรียกว่า วัตถุกาม ... เหล่านี้เรียกว่า กิเลสกาม๑
คำว่า ในโลก ได้แก่ ในอบายโลก มนุษยโลก เทวโลก ขันธโลก ธาตุโลก
อายตนโลก
คำว่า แปดเปื้อน ได้แก่ ความแปดเปื้อน ๒ อย่าง คือ (๑) ความแปดเปื้อน
ด้วยอำนาจตัณหา (๒) ความแปดเปื้อนด้วยอำนาจทิฏฐิ ... นี้ชื่อว่าความแปดเปื้อน
ด้วยอำนาจตัณหา ... นี้ชื่อว่าความแปดเปื้อนด้วยอำนาจทิฏฐิ๒
มุนีละความแปดเปื้อนด้วยอำนาจตัณหาได้แล้ว สลัดทิ้งความแปดเปื้อนด้วย
อำนาจทิฏฐิได้แล้ว ย่อมไม่ติด ไม่ติดแน่น ไม่แปดเปื้อนในกามและในโลก คือ เป็นผู้
ไม่ถูกตัณหาและทิฏฐิติด ติดแน่น แปดเปื้อน ออกแล้ว สลัดออกแล้ว หลุดพ้นแล้ว
ไม่เกี่ยวข้อง(ในกามและในโลก)แล้ว มีใจเป็นอิสระ(จากกิเลส)อยู่ รวมความว่า มุนีผู้
กล่าวเรื่องความสงบ ก็ไม่ยินดี ไม่แปดเปื้อนในกามและโลก ฉันนั้น ด้วยเหตุนั้น
พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า
บุคคลผู้นาคะสงัดจากทิฏฐิเหล่าใด
พึงเที่ยวไปในโลก ไม่พึงพูดจายึดถือทิฏฐิเหล่านั้น
ดอกบัวก้านมีหนามเกิดในน้ำ
ไม่แปดเปื้อนด้วยน้ำและโคลนตม ฉันใด
มุนีผู้กล่าวเรื่องความสงบ ก็ไม่ยินดี
ไม่แปดเปื้อนในกามและโลก ฉันนั้น

เชิงอรรถ :
๑ ดูรายละเอียดข้อ ๑/๑-๒
๒ เทียบกับความในข้อ ๑๒/๕๘-๕๙

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๒๔๐ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๙. มาคันทิยสุตตนิทเทส
[๘๑] (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า)
มุนีผู้จบเวทนั้น ย่อมไม่ไปด้วยทิฏฐิ
ไม่ถึงความถือตัวด้วยอารมณ์ที่รับรู้
มุนีนั้นผู้ไม่มีตัณหาและทิฏฐินั้น ไม่ถูกกรรมและสุตะนำไป
มุนีนั้นไม่ถูกตัณหาและทิฏฐินำเข้าไปในที่อาศัยทั้งหลาย
คำว่า ไม่ ในคำว่า มุนีผู้จบเวทนั้น ย่อมไม่ไปด้วยทิฏฐิ ไม่ถึงความถือตัว
ด้วยอารมณ์ที่รับรู้ เป็นคำปฏิเสธ
คำว่า ผู้จบเวท อธิบายว่า ญาณในมรรค ๔ ตรัสเรียกว่า เวท คือ ปัญญา
ปัญญินทรีย์ ปัญญาพละ ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ ปัญญาเครื่องพิจารณา ปัญญาเครื่อง
เห็นแจ้ง สัมมาทิฏฐิ
มุนีนั้น ถึงที่สุด บรรลุที่สุด ถึงส่วนสุด บรรลุส่วนสุด ถึงปลายสุด บรรลุปลายสุด
ถึงท้ายสุด บรรลุท้ายสุด ถึงที่ปกป้อง บรรลุที่ปกป้อง ถึงที่หลีกเร้น บรรลุที่หลีกเร้น
ถึงที่พึ่ง บรรลุที่พึง ถึงที่ไม่มีภัย บรรลุที่ไม่มีภัย ถึงที่ไม่จุติ บรรลุที่ไม่จุติ ถึงที่ไม่ตาย
บรรลุที่ไม่ตาย ถึงที่ดับ บรรลุที่ดับแห่งชาติ ชราและมรณะ ด้วยเวทเหล่านั้น
อีกนัยหนึ่ง มุนีนั้น ชื่อว่าผู้จบเวท เพราะถึงที่สุดแห่งเวททั้งหลายแล้ว
อีกนัยหนึ่ง ชื่อว่าผู้จบเวท เพราะถึงที่สุดด้วยเวททั้งหลายแล้ว
อีกนัยหนึ่ง ชื่อว่าผู้จบเวท เพราะรู้แจ้งธรรม ๗ ประการแล้ว คือ

๑. รู้แจ้งสักกายทิฏฐิ ๒. รู้แจ้งวิจิกิจฉา
๓. รู้แจ้งสีลัพพตปรามาส ๔. รู้แจ้งราคะ
๕. รู้แจ้งโทสะ ๖. รู้แจ้งโมหะ
๗. รู้แจ้งมานะแล้ว

มุนีนั้นเป็นผู้รู้แจ้งบาปอกุศลธรรม ซึ่งเป็นเหตุแห่งความเศร้าหมอง ก่อภพใหม่
มีความกระวนกระวาย มีทุกข์เป็นวิบาก เป็นที่ตั้งแห่งชาติ ชรา และมรณะต่อไป

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๒๔๑ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๙. มาคันทิยสุตตนิทเทส
(สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า สภิยะ)
บุคคลวิจัยเวททั้งหมดของสมณพราหมณ์ที่มีอยู่
เป็นผู้ปราศจากราคะในเวทนาทั้งปวง
ก้าวล่วงเวททั้งปวงแล้ว ชื่อว่าผู้จบเวท๑
คำว่า ย่อมไม่ไปด้วยทิฏฐิ อธิบายว่า ทิฏฐิ ๖๒ มุนีนั้น ละได้แล้ว คือ
ตัดขาดได้แล้ว ทำให้สงบได้แล้ว ระงับได้แล้ว ทำให้เกิดขึ้นไม่ได้อีก เผาด้วยไฟคือ
ญาณแล้ว มุนีนั้น ไม่ไป ไม่ออกไป ไม่ถูกพาไป ไม่ถูกนำไป ด้วยทิฏฐิ ทั้งไม่กลับมา
ไม่หวนกลับมาหาทิฏฐินั้น โดยเห็นเป็นสาระอีก รวมความว่า มุนีผู้จบเวทนั้น
ย่อมไม่ไปด้วยทิฏฐิ
คำว่า มุนีนั้นย่อมไม่ถึงความถือตัวด้วยอารมณ์ที่รับรู้ อธิบายว่า มุนีนั้น
ย่อมไม่ถึง คือ ไม่เข้าถึง ไม่เข้าไปหา ไม่ถือ ไม่ยึดมั่น ไม่ถือมั่น ความถือตัว ด้วย
รูปที่รู้แล้ว ด้วยเสียงบอกเล่าของผู้อื่น หรือด้วยสมมติของมหาชน รวมความว่า
มุนีผู้จบเวทนั้น ย่อมไม่ไปด้วยทิฏฐิ ไม่ถึงความถือตัวด้วยอารมณ์ที่รับรู้
คำว่า มุนีนั้นผู้ไม่มีตัณหาและทิฏฐินั้น อธิบายว่า มุนีนั้นผู้ไม่มีตัณหาและ
ทิฏฐินั้น คือ ไม่มีตัณหาและทิฏฐินั้นเป็นอย่างยิ่ง ไม่มีตัณหาและทิฏฐินั้นเป็นที่ไปใน
เบื้องหน้า ด้วยอำนาจตัณหา ด้วยอำนาจทิฏฐิ ตัณหา ทิฏฐิ และมานะ มุนีนั้นละ
ได้เด็ดขาดแล้ว ตัดรากถอนโคนเหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่
พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ ด้วยเหตุใด มุนีนั้น ก็ชื่อว่าไม่มีตัณหาและ
ทิฏฐินั้น คือ ไม่มีตัณหาและทิฏฐินั้นเป็นอย่างยิ่ง ไม่มีตัณหาและทิฏฐินั้นเป็นที่ไปใน
เบื้องหน้า ด้วยเหตุนั้น รวมความว่า มุนีนั้นผู้ไม่มีตัณหาและทิฏฐินั้น
คำว่า ไม่ถูกกรรม ในคำว่า ไม่ถูกกรรมและสุตะนำไป อธิบายว่า มุนี ไม่ไป
คือ ไม่ออกไป ไม่ถูกพาไป ไม่ถูกนำไป ด้วยปุญญาภิสังขาร อปุญญาภิสังขาร หรือ
อาเนญชาภิสังขาร รวมความว่า ไม่ถูกกรรม

เชิงอรรถ :
๑ ขุ.สุ. ๒๕/๕๓๕/๔๓๘

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๒๔๒ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๙. มาคันทิยสุตตนิทเทส
คำว่า ไม่ถูก ... และสุตะนำไป อธิบายว่า มุนี ไม่ไป คือ ไม่ออกไป ไม่ถูก
พาไป ไม่ถูกนำไป ด้วยความหมดจดด้วยสุตะ ด้วยเสียงบอกเล่าของผู้อื่น หรือด้วย
การสมมติของมหาชน รวมความว่า ไม่ถูกกรรมและสุตะนำไป
คำว่า มุนีนั้นไม่ถูกตัณหาและทิฏฐินำเข้าไปในที่อาศัยทั้งหลาย อธิบายว่า
คำว่า การนำเข้าไป ได้แก่ การนำเข้าไป ๒ อย่าง คือ (๑) การนำเข้าไปด้วย
อำนาจตัณหา (๒) การนำเข้าไปด้วยอำนาจทิฏฐิ ... นี้ชื่อว่าการนำเข้าไปด้วยอำนาจ
ตัณหา ... นี้ชื่อว่าการนำเข้าไปด้วยอำนาจทิฏฐิ๑
มุนีนั้นละการนำเข้าไปด้วยอำนาจตัณหาได้แล้ว สลัดทิ้งการนำเข้าไปด้วย
อำนาจทิฏฐิได้แล้ว เพราะเป็นผู้ละการนำเข้าไปด้วยอำนาจตัณหา สลัดทิ้งการนำ
เข้าไปด้วยอำนาจทิฏฐิได้แล้ว มุนีนั้น ชื่อว่าไม่ถูกตัณหาและทิฏฐินำเข้าไป คือ ไม่เข้า
ไปติด ไม่เข้าไปถึง ไม่ติดใจ ไม่น้อมใจเชื่อ ออกแล้ว สลัดออกแล้ว หลุดพ้นแล้ว
ไม่เกี่ยวข้องในที่อาศัยทั้งหลายแล้ว มีใจเป็นอิสระ(จากกิเลส)อยู่ รวมความว่า
มุนีนั้น ไม่ถูกตัณหาและทิฏฐินำเข้าไปในที่อาศัยทั้งหลาย ด้วยเหตุนั้น พระผู้มี
พระภาคจึงตรัสว่า
มุนีผู้จบเวทนั้น ย่อมไม่ไปด้วยทิฏฐิ
ไม่ถึงความถือตัวด้วยอารมณ์ที่รับรู้
มุนีนั้นผู้ไม่มีตัณหาและทิฏฐินั้น ไม่ถูกกรรมและสุตะนำไป
มุนีนั้นไม่ถูกตัณหาและทิฏฐินำเข้าไปในที่อาศัยทั้งหลาย
[๘๒] (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า)
มุนีผู้เว้นจากสัญญาแล้ว ย่อมไม่มีกิเลสเครื่องร้อยรัด
มุนีผู้หลุดพ้นด้วยปัญญาแล้ว ย่อมไม่มีความลุ่มหลง
ชนเหล่าใดยังถือสัญญาและทิฏฐิ
ชนเหล่านั้น ย่อมเที่ยวกระทบกระทั่งกันในโลก

เชิงอรรถ :
๑ เทียบกับความในข้อ ๑๒/๕๘-๕๙

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๒๔๓ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๙. มาคันทิยสุตตนิทเทส
คำว่า มุนีเว้นจากสัญญาแล้ว ย่อมไม่มีกิเลสเครื่องร้อยรัด อธิบายว่า
ผู้ใดเจริญอริยมรรค ที่มีสมถะเป็นเบื้องต้น ผู้นั้น ย่อมข่มกิเลสเครื่องร้อยรัดแล้ว
ตั้งแต่ต้น เมื่อบรรลุอรหัตตผลแล้ว พระอรหันต์ย่อมละได้เด็ดขาดทั้งกิเลสเครื่อง
ร้อยรัด โมหะ นิวรณ์ กามสัญญา พยาบาทสัญญา วิหิงสาสัญญาและทิฏฐิสัญญา
ตัดรากถอนโคนเหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี
เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ รวมความว่า มุนีผู้เว้นจากสัญญาแล้ว ย่อมไม่มีกิเลสเครื่อง
ร้อยรัด
คำว่า มุนีผู้หลุดพ้นด้วยปัญญาแล้ว ย่อมไม่มีความลุ่มหลง อธิบายว่า ผู้ใด
เจริญอริยมรรค ที่มีวิปัสสนาเป็นเบื้องต้น ผู้นั้น ย่อมข่มความลุ่มหลงได้ตั้งแต่ต้น
เมื่อบรรลุอรหัตตผลแล้ว พระอรหันต์ย่อมละได้เด็ดขาดทั้งโมหะ กิเลสเครื่องร้อยรัด
นิวรณ์ กามสัญญา พยาบาทสัญญา วิหิงสาสัญญา และทิฏฐิสัญญา ตัดรากถอน
โคนเหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้น
ต่อไปไม่ได้ รวมความว่า มุนีผู้หลุดพ้นด้วยปัญญาแล้ว ย่อมไม่มีความลุ่มหลง
คำว่า ชนเหล่าใดยังถือสัญญาและทิฏฐิ ชนเหล่านั้นย่อมเที่ยวกระทบ
กระทั่งกันในโลก อธิบายว่า ชนเหล่าใด ถือสัญญา คือ กามสัญญา พยาบาท-
สัญญา วิหิงสาสัญญา ชนเหล่านั้น ย่อมกระทบกระทั่งกัน คือ ทำร้ายกัน ด้วย
อำนาจสัญญา กล่าวคือ พระราชาทรงวิวาทกับพระราชาก็ได้ กษัตริย์วิวาทกับ
กษัตริย์ก็ได้ พราหมณ์วิวาทกับพราหมณ์ก็ได้ คหบดีวิวาทกับคหบดีก็ได้ มารดา
วิวาทกับบุตรก็ได้ บุตรวิวาทกับมารดาก็ได้ บิดาวิวาทกับบุตรก็ได้ บุตรวิวาทกับ
บิดาก็ได้ พี่ชายน้องชายวิวาทกับพี่ชายน้องชายก็ได้ พี่สาวน้องสาววิวาทกับพี่สาว
น้องสาวก็ได้ พี่ชายน้องชายวิวาทกับพี่สาวน้องสาวก็ได้ พี่สาวน้องสาววิวาทกับพี่
ชายน้องชายก็ได้ สหายวิวาทกับสหายก็ได้ ชนเหล่านั้น ก่อการทะเลาะ ก่อการ
บาดหมาง ก่อการแก่งแย่ง และก่อการวิวาทกัน ก่อการมุ่งร้ายเพราะสัญญานั้น
ก็ทำร้ายกันด้วยฝ่ามือบ้าง ด้วยก้อนดินบ้าง ด้วยท่อนไม้บ้าง ด้วยศัสตราบ้าง
เพราะทำร้ายกันนั้น ชนเหล่านั้นก็เข้าถึงความตายบ้าง ทุกข์ปางตายบ้าง ชนเหล่าใด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๒๔๔ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๙. มาคันทิยสุตตนิทเทส
ถือทิฏฐิว่า “โลกเที่ยง ... หรือ หลังจากตายแล้ว ตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่
เกิดอีกก็มิใช่” ชนเหล่านั้น ย่อมกระทบกระทั่งกัน คือ ทำร้ายกัน ด้วยอำนาจทิฏฐิ
ได้แก่กระทบกระทั่ง คือ ทำร้ายศาสดาโดยศาสดา ธรรมที่ศาสดากล่าวสอนโดย
ธรรมที่ศาสดากล่าวสอน หมู่คณะโดยหมู่คณะ ทิฏฐิโดยทิฏฐิ ปฏิปทาโดยปฏิปทา
มรรคโดยมรรค
อีกนัยหนึ่ง ชนเหล่านั้น ย่อมวิวาทกัน คือ ก่อการทะเลาะ ก่อการบาดหมาง
ก่อการแก่งแย่ง ก่อการวิวาท ก่อการมุ่งร้ายกันว่า “ท่านไม่รู้จักธรรมวินัยนี้ ... หรือ
หากท่านสามารถ ก็จงแก้ไขเถิด” ชนเหล่านั้น ยังละอภิสังขารไม่ได้ เพราะยังละ
อภิสังขารไม่ได้ จึงกระทบกระทั่งกันในคติ กระทบกระทั่งกันในนรก กระทบกระทั่ง
กันในกำเนิดเดรัจฉาน กระทบกระทั่งกันในเปตวิสัย กระทบกระทั่งกันในมนุษยโลก
กระทบกระทั่งกันในเทวโลก กระทบกระทั่งกัน คือ ทำร้ายคติด้วยคติ ... การถือ
กำเนิดด้วยการถือกำเนิด ... ปฏิสนธิด้วยปฏิสนธิ ... ภพด้วยภพ ... สงสารด้วยสงสาร
... วัฏฏะด้วยวัฏฏะ ได้แก่ เที่ยวไป อยู่ เคลื่อนไหว เป็นไป เลี้ยงชีวิต ดำเนินไป
ยังชีวิตให้ดำเนินไป กระทบกระทั่งกัน
คำว่า ในโลก ได้แก่ ในอบายโลก มนุษยโลก เทวโลก ขันธโลก ธาตุโลก
อายตนโลก รวมความว่า ชนเหล่าใดยังถือสัญญาและทิฏฐิ ชนเหล่านั้นย่อมเที่ยว
กระทบกระทั่งกันในโลก ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า
มุนีผู้เว้นจากสัญญาแล้ว ย่อมไม่มีกิเลสเครื่องร้อยรัด
มุนีผู้หลุดพ้นด้วยปัญญาแล้ว ย่อมไม่มีความลุ่มหลง
ชนเหล่าใดยังถือสัญญาและทิฏฐิ
ชนเหล่านั้นย่อมเที่ยวกระทบกระทั่งกันในโลก
มาคันทิยสุตตนิทเทสที่ ๙ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๒๔๕ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๑๐. ปุราเภทสุตตนิทเทส
๑๐. ปุราเภทสุตตนิทเทส๑
อธิบายปุราเภทสูตร
ว่าด้วยก่อนการดับขันธปรินิพพาน
พระสารีบุตรเถระจะกล่าวอธิบายปุราเภทสูตร ดังต่อไปนี้
[๘๓] (พระพุทธเนรมิตทูลถามว่า)
บุคคลมีทัสสนะ๒อย่างไร มีศีลอย่างไร
จึงเรียกว่า เป็นผู้สงบแล้ว
ข้าแต่พระโคตมะ ข้าพระองค์ทูลถามแล้ว
ขอพระองค์โปรดตรัสบอกนรชนผู้สูงสุดนั้นแก่ข้าพระองค์เถิด

ว่าด้วยคำถามของพระพุทธเนรมิต
คำว่า มีทัสสนะอย่างไร ในคำว่า บุคคลมีทัสสนะอย่างไร มีศีลอย่างไร
จึงเรียกว่า เป็นผู้สงบแล้ว อธิบายว่า บุคคลประกอบด้วยทัสสนะอย่างไร คือ มี
จุดยืนอย่างไร มีท่าทีอย่างไร มีแนวเทียบอย่างไร รวมความว่า มีทัสสนะอย่างไร
คำว่า มีศีลอย่างไร อธิบายว่า บุคคลประกอบด้วยศีลอย่างไร คือ มีจุดยืน
อย่างไร มีท่าทีอย่างไร มีแนวเทียบอย่างไร รวมความว่า มีทัสสนะอย่างไร มีศีล
อย่างไร
คำว่า จึงเรียกว่า เป็นผู้สงบแล้ว อธิบายว่า จึงตรัสเรียก คือ กล่าว พูด
บอก แสดง ชี้แจงว่า เป็นผู้สงบแล้ว ระงับแล้ว เย็นแล้ว สงัดแล้ว พระพุทธเนรมิต
ทูลถามถึงอธิปัญญาด้วยคำว่า มีทัสสนะอย่างไร ทูลถามถึงอธิสีลด้วยคำว่า
มี�ศีลอย่างไร ทูลถามถึงอธิจิตด้วยคำว่า เป็นผู้สงบแล้ว รวมความว่า บุคคลมี
ทัสสนะอย่างไร มีศีลอย่างไร จึงเรียกว่า เป็นผู้สงบแล้ว

เชิงอรรถ :
๑ ขุ.สุ. ๒๕/๘๕๕-๘๖๘/๕๐๑-๕๐๓
๒ ทัสสนะ ในที่นี้หมายถึง อธิปัญญา
ศีล ในที่นี้หมายถึง อธิสีล
สงบ ในที่นี้หมายถึง อธิจิต (ขุ.สุ.อ. ๘๕๕/๓๘๘, ขุ.ม.อ. ๘๓/๓๑๕) และดู ขุ.สุ. ๒๕/๓๖๒/๔๐๒,
ขุ.สุ.อ. ๓๖๒/๑๗๐ ประกอบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๒๔๖ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๑๐. ปุราเภทสุตตนิทเทส
คำว่า นรชนนั้น ในคำว่า ข้าแต่พระโคตมะ ขอพระองค์โปรดตรัสบอก
นรชน ... นั้น แก่ข้าพระองค์เถิด อธิบายว่า ข้าพระองค์ทูลถาม ทูลขอ
ทูลอัญเชิญ ทูลให้ทรงประกาศ นรชนใด พระพุทธเนรมิตเรียกพระผู้มีพระภาค
พุทธเจ้าโดยพระโคตรว่า พระโคตมะ
คำว่า โปรดตรัสบอก อธิบายว่า โปรดตรัส คือ โปรดบอก แสดง บัญญัติ
กำหนด เปิดเผย จำแนก ทำให้ง่าย ทรงประกาศ รวมความว่า ข้าแต่พระโคตมะ
ขอพระองค์โปรดตรัสบอกนรชน ... นั้น แก่ข้าพระองค์เถิด
คำว่า ทูลถามแล้ว ในคำว่า ข้าพระองค์ทูลถามแล้ว ... นรชนผู้สูงสุด
อธิบายว่า ข้าพระองค์ทูลสอบถาม ทูลถามแล้ว ทูลขอแล้ว ทูลอัญเชิญแล้ว ทูลให้
ทรงประกาศแล้ว
คำว่า นรชนผู้สูงสุด อธิบายว่า นรชนผู้ยอดเยี่ยม ประเสริฐ วิเศษ นำหน้า
สูงสุด ประเสริฐสุด รวมความว่า ข้าพระองค์ทูลถามแล้ว ... นรชนผู้สูงสุด ด้วย
เหตุนั้น พระพุทธเนรมิตนั้นจึงทูลถามว่า
บุคคลมีทัสสนะอย่างไร มีศีลอย่างไร
จึงเรียกว่า เป็นผู้สงบแล้ว
ข้าแต่พระโคตมะ ข้าพระองค์ทูลถามแล้ว
ขอพระองค์โปรดตรัสบอกนรชนผู้สูงสุดนั้นแก่ข้าพระองค์เถิด
[๘๔] (พระผู้มีพระภาคตรัสตอบดังนี้)
ก่อนดับขันธปรินิพพาน พระอรหันต์เป็นผู้คลายตัณหา
ไม่ติดอยู่กับความเพลิดเพลินที่มีอยู่ในส่วนเบื้องต้น
ใคร ๆ กำหนดไม่ได้ในส่วนท่ามกลาง
พระอรหันต์นั้นมิได้มุ่งหวังถึงตัณหาและทิฏฐิ(ในส่วนเบื้องปลาย)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๒๔๗ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๑๐. ปุราเภทสุตตนิทเทส
อธิบายคำว่า ภควา
คำว่า ก่อนดับขันธปรินิพพาน พระอรหันต์เป็นผู้คลายตัณหา อธิบายว่า
ก่อนกายแตก ก่อนอัตภาพแตก ก่อนการทิ้งซากศพ ก่อนการขาดชีวิตินทรีย์
พระอรหันต์เป็นผู้คลายตัณหาแล้ว คือ ปราศจากตัณหาแล้ว สละตัณหาได้แล้ว
คายตัณหาได้แล้ว ปล่อยตัณหาได้แล้ว ละตัณหาได้แล้ว สลัดทิ้งตัณหาได้แล้ว คือ
เป็นผู้คลายความกำหนัดแล้ว ปราศจากราคะแล้ว สละราคะได้แล้ว คายราคะ
ได้แล้ว ปล่อยราคะได้แล้ว ละราคะได้แล้ว สลัดทิ้งราคะได้แล้ว เป็นผู้หมดความ
อยากแล้ว เป็นผู้ดับแล้ว เป็นผู้เย็นแล้ว มีตนอันประเสริฐเสวยสุขอยู่
คำว่า พระผู้มีพระภาค เป็นคำกล่าวโดยความเคารพ
อีกนัยหนึ่ง ชื่อว่าพระผู้มีพระภาค เพราะทรงทำลายราคะได้แล้ว
ชื่อว่าพระผู้มีพระภาค เพราะทรงทำลายโทสะได้แล้ว
ชื่อว่าพระผู้มีพระภาค เพราะทรงทำลายโมหะได้แล้ว
ชื่อว่าพระผู้มีพระภาค เพราะทรงทำลายมานะได้แล้ว
ชื่อว่าพระผู้มีพระภาค เพราะทรงทำลายทิฏฐิได้แล้ว
ชื่อว่าพระผู้มีพระภาค เพราะทรงทำลายเสี้ยนหนามได้แล้ว
ชื่อว่าพระผู้มีพระภาค เพราะทรงทำลายกิเลสได้แล้ว
ชื่อว่าพระผู้มีพระภาค เพราะทรงจำแนก แยกแยะ แจกแจงธรรมรัตนะ
ชื่อว่าพระผู้มีพระภาค เพราะทรงทำที่สุดแห่งภพได้แล้ว
ชื่อว่าพระผู้มีพระภาค เพราะทรงอบรมพระวรกายแล้ว
ชื่อว่าพระผู้มีพระภาค เพราะทรงอบรมศีล อบรมจิต อบรมปัญญาแล้ว
อีกนัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคทรงใช้สอยเสนาสนะที่เป็นป่าละเมาะและป่าทึบ
อันสงัด มีเสียงน้อย มีเสียงอึกทึกน้อย ปราศจากการสัญจรไปมาของผู้คน ควรเป็น
สถานที่ทำการลับของมนุษย์ สมควรเป็นที่หลีกเร้น จึงชื่อว่าพระผู้มีพระภาค
อีกนัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคทรงมีส่วนแห่งจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และ
คิลานปัจจัยเภสัชบริขาร จึงชื่อว่าพระผู้มีพระภาค
อีกนัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคทรงเป็นผู้มีส่วนแห่งอรรถรส ธรรมรส วิมุตติรส
อธิสีล อธิจิต อธิปัญญา จึงชื่อว่าพระผู้มีพระภาค


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๒๔๘ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๑๐. ปุราเภทสุตตนิทเทส
อีกนัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคทรงเป็นผู้มีส่วนแห่งฌาน ๔ อัปปมัญญา ๔
อรูปสมาบัติ ๔ จึงชื่อว่าพระผู้มีพระภาค
อีกนัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคทรงเป็นผู้มีส่วนแห่งวิโมกข์ ๘ อภิภายตนะ ๘
อนุปุพพวิหารสมาบัติ ๙ จึงชื่อว่าพระผู้มีพระภาค
อีกนัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคทรงเป็นผู้มีส่วนแห่งสัญญาภาวนา ๑๐ กสิณ-
สมาบัติ ๑๐ อานาปานสติสมาธิ อสุภสมาบัติ จึงชื่อว่าพระผู้มีพระภาค
อีกนัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคทรงเป็นผู้มีส่วนแห่งสติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔
อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ อริยมรรคมีองค์ ๘ จึงชื่อว่าพระ
ผู้มีพระภาค
อีกนัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคทรงเป็นผู้มีส่วนแห่งตถาคตพลญาณ ๑๐ เวสารัชช-
ญาณ ๔ ปฏิสัมภิทา ๔ อภิญญา ๖ พุทธธรรม ๖ จึงชื่อว่าพระผู้มีพระภาค
พระนามว่า พระผู้มีพระภาค นี้ มิใช่พระชนนีทรงตั้ง มิใช่พระชนกทรงตั้ง
มิใช่พระภาดาทรงตั้ง มิใช่พระภคินีทรงตั้ง มิใช่มิตรและอำมาตย์ตั้ง มิใช่พระญาติ
และผู้ร่วมสายโลหิตทรงตั้ง มิใช่สมณพราหมณ์ตั้ง มิใช่เทวดาตั้ง
คำว่า พระผู้มีพระภาค นี้ เป็นวิโมกขันติกนาม เป็นสัจฉิกาบัญญัติ ของ
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทั้งหลาย พร้อมกับการบรรลุพระสัพพัญญุตญาณ ที่โคน
ต้นโพธิ์ รวมความว่า พระผู้มีพระภาคตรัสตอบดังนี้ ก่อนดับขันธปรินิพพาน
พระอรหันต์เป็นผู้คลายตัณหา
คำว่า ไม่ติดอยู่กับความเพลิดเพลินที่มีอยู่ในส่วนเบื้องต้น อธิบายว่า
อดีตกาล ตรัสเรียกว่า ส่วนเบื้องต้น พระอรหันต์ปรารภอดีตกาล ละตัณหาได้แล้ว
สลัดทิ้งทิฏฐิได้แล้ว เพราะเป็นผู้ละตัณหา สลัดทิ้งทิฏฐิได้แล้ว พระอรหันต์จึงชื่อว่า
ไม่ติดอยู่กับความเพลิดเพลินที่มีอยู่ในส่วนเบื้องต้น อย่างนี้บ้าง
อีกนัยหนึ่ง พระอรหันต์ย่อมไม่ดำเนินไปตามความเพลิดเพลินที่มีอยู่ก่อนนั้นว่า
“ในอดีตกาล เราได้มีรูปอย่างนี้ ... มีเวทนาอย่างนี้ ... มีสัญญาอย่างนี้ ... มีสังขาร
อย่างนี้” ... พระอรหันต์ย่อมไม่ดำเนินไปตามความเพลิดเพลินที่มีอยู่ก่อนนั้นว่า
“ในอดีตกาล เราได้มีวิญญาณอย่างนี้” พระอรหันต์จึงชื่อว่าไม่ติดอยู่กับความ
เพลิดเพลินที่มีอยู่ในส่วนเบื้องต้นอย่างนี้บ้าง


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๒๔๙ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๑๐. ปุราเภทสุตตนิทเทส
อีกนัยหนึ่ง พระอรหันต์ย่อมไม่มีวิญญาณเกี่ยวเนื่องด้วยฉันทราคะที่มีอยู่ก่อน
นั้นว่า ในอดีตกาล เราได้มีตาเช่นนี้ เห็นรูปเช่นนี้ จึงไม่เพลิดเพลินตาและรูปนั้น
เพราะเป็นผู้ไม่มีวิญญาณเกี่ยวเนื่องด้วยฉันทราคะ พระอรหันต์ จึงชื่อว่าไม่ติดอยู่กับ
ความเพลิดเพลินที่มีอยู่ในส่วนเบื้องต้น เพราะไม่ใยดีในตาและรูปนั้น อย่างนี้บ้าง
พระอรหันต์ไม่มีวิญญาณเกี่ยวเนื่องด้วยฉันทราคะที่มีอยู่ก่อนนั้นว่า ในอดีตกาล
เราได้มีหูเช่นนี้ ได้ยินเสียงเช่นนี้ ... เราได้มีจมูกเช่นนี้ ได้กลิ่นเช่นนี้ ... เราได้มีลิ้นเช่นนี้
รู้รสเช่นนี้ ... เราได้มีกายเช่นนี้ สัมผัสกับโผฏฐัพพะเช่นนี้ ... พระอรหันต์ย่อมไม่มี
วิญญาณเกี่ยวเนื่องด้วยฉันทราคะที่มีอยู่ก่อนนั้นว่า ในอดีตกาลเราได้มีใจเช่นนี้
รู้ธรรมารมณ์เช่นนี้ จึงไม่เพลิดเพลินอายตนะภายในและอายตนะภายนอกนั้น เพราะ
ไม่มีวิญญาณเกี่ยวเนื่องด้วยฉันทราคะ พระอรหันต์ จึงชื่อว่าไม่ติดอยู่กับความ
เพลิดเพลินที่มีอยู่ในส่วนเบื้องต้น เพราะไม่ใยดีในใจและธรรมารมณ์นั้น อย่างนี้บ้าง
อีกนัยหนึ่ง พระอรหันต์ย่อมไม่ชื่นใจ ไม่ใยดี ไม่ถึงความปลาบปลื้มใจ ด้วย
การหัวเราะ การพูดจา การปราศรัย และการเล่นหัวกับมาตุคาม ในครั้งก่อน แม้
ด้วยประการอย่างนี้ พระอรหันต์จึงชื่อว่าไม่ติดอยู่กับความเพลิดเพลินที่มีอยู่ในส่วน
เบื้องต้น
คำว่า ใคร ๆ กำหนดไม่ได้ในส่วนท่ามกลาง อธิบายว่า ปัจจุบันกาล ตรัส
เรียกว่า ส่วนท่ามกลาง พระอรหันต์ปรารภปัจจุบันกาล ละตัณหาได้แล้ว สลัดทิ้ง
ทิฏฐิได้แล้ว เพราะเป็นผู้ละตัณหา สลัดทิ้งทิฏฐิได้แล้ว ใคร ๆ จึงกำหนดไม่ได้ว่า
เป็นผู้กำหนัด เป็นผู้ขัดเคือง เป็นผู้หลง เป็นผู้ยึดติด เป็นผู้ยึดมั่น เป็นผู้ฟุ้งซ่าน
เป็นผู้ลังเล เป็นผู้ตกอยู่ในพลังกิเลส
พระอรหันต์ละอภิสังขารเหล่านั้นได้แล้ว เพราะเป็นผู้ละอภิสังขารได้แล้ว ใคร ๆ
จึงกำหนดไม่ได้โดยคติว่า “เป็นผู้เกิดในนรก เป็นผู้เกิดในกำเนิดเดรัจฉาน เป็นผู้เกิด
ในเปตวิสัย เป็นมนุษย์ เป็นเทวดา เป็นผู้มีรูป เป็นผู้ไม่มีรูป เป็นผู้มีสัญญา เป็นผู้ไม่มี
สัญญา หรือเป็นผู้มีสัญญาก็มิใช่ ไม่มีสัญญาก็มิใช่” พระอรหันต์นั้นจะพึงกำหนด
ด้วยเหตุ ปัจจัย และการณ์ใด เหตุ ปัจจัย และการณ์นั้นไม่มี รวมความว่า ใคร ๆ
กำหนดไม่ได้ในส่วนท่ามกลาง


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๒๕๐ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๑๐. ปุราเภทสุตตนิทเทส
ว่าด้วยความมุ่งหวัง ๒ อย่าง
คำว่า นั้น ในคำว่า พระอรหันต์นั้นมิได้มุ่งหวังตัณหาและทิฏฐิ(ในส่วน
เบื้องปลาย) ได้แก่ พระอรหันตขีณาสพ
คำว่า ความมุ่งหวังตัณหาและทิฏฐิ(ในส่วนเบื้องปลาย) ได้แก่ ความมุ่ง
หวังในส่วนเบื้องปลาย ๒ อย่าง คือ (๑) ความมุ่งหวังด้วยอำนาจตัณหาในส่วน
เบื้องปลาย (๒) ความมุ่งหวังด้วยอำนาจทิฏฐิในส่วนเบื้องปลาย ... นี้ชื่อว่าความมุ่ง
หวังด้วยอำนาจตัณหาในส่วนเบื้องปลาย ... นี้ชื่อว่าความมุ่งหวังด้วยอำนาจทิฏฐิใน
ส่วนเบื้องปลาย
พระอรหันต์นั้นละความมุ่งหวังด้วยอำนาจตัณหาในส่วนเบื้องปลายได้แล้ว
สลัดทิ้งความมุ่งหวังด้วยอำนาจทิฏฐิในส่วนเบื้องปลายได้แล้ว เพราะเป็นผู้ละความ
มุ่งหวังด้วยอำนาจตัณหาในส่วนเบื้องปลาย สลัดทิ้งความมุ่งหวังด้วยอำนาจทิฏฐิใน
ส่วนเบื้องปลายได้แล้ว พระอรหันต์จึงไม่เที่ยวมุ่งหวังตัณหาหรือทิฏฐิ คือไม่มีตัณหา
เป็นธงชัย ไม่มีตัณหาเป็นยอดธง ไม่มีตัณหาเป็นใหญ่ ไม่มีทิฏฐิเป็นธงชัย ไม่มีทิฏฐิ
เป็นยอดธง ไม่มีทิฏฐิเป็นใหญ่ ไม่ถูกตัณหาหรือทิฏฐิครอบงำเที่ยวไป รวมความว่า
พระอรหันต์นั้นมิได้มุ่งหวังตัณหาและทิฏฐิ(ในส่วนเบื้องปลาย)
อีกนัยหนึ่ง พระอรหันต์ย่อมไม่ดำเนินไปตามความเพลิดเพลินในเบญจขันธ์ว่า
“ในอนาคตกาล เราพึงมีรูปอย่างนี้ ... มีเวทนาอย่างนี้ ... มีสัญญาอย่างนี้ ...
มีสังขารอย่างนี้” ... พระอรหันต์ย่อมไม่ดำเนินไปตามความเพลิดเพลินในเบญจขันธ์ว่า
“ในอนาคตกาล เราพึงมีวิญญาณอย่างนี้” พระอรหันต์นั้นจึงชื่อว่าไม่มีความมุ่งหวัง
เบญจขันธ์ในอนาคตกาล อย่างนี้บ้าง
อีกนัยหนึ่ง พระอรหันต์ย่อมไม่ตั้งใจเพื่อให้ได้ตาและรูปที่ยังไม่ได้ว่า “ใน
อนาคตกาล เราพึงมีตาเช่นนี้ เห็นรูปเช่นนี้” เพราะไม่มีความตั้งใจเช่นนั้นเป็นปัจจัย
พระอรหันต์จึงไม่เพลิดเพลินตาและรูปนั้น เมื่อไม่เพลิดเพลินตาและรูปนั้น พระ
อรหันต์นั้นจึงไม่มีความมุ่งหวังในอนาคตกาล อย่างนี้บ้าง
พระอรหันต์ย่อมไม่ตั้งใจเพื่อให้ได้หูและเสียงที่ยังไม่ได้ว่า “ในอนาคตกาล เรา
พึงมีหูเช่นนี้ ได้ยินเสียงเช่นนี้ ... ในอนาคตกาล เราพึงมีจมูกเช่นนี้ ได้กลิ่นเช่นนี้...
ในอนาคตกาล เราพึงมีลิ้นเช่นนี้ รู้รสเช่นนี้ ... ในอนาคตกาล เราพึงมีกายเช่นนี้


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๒๕๑ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๑๐. ปุราเภทสุตตนิทเทส
สัมผัสโผฏฐัพพะเช่นนี้” ... ไม่ตั้งใจเพื่อให้ได้ใจและธรรมารมณ์ที่ยังไม่ได้ว่า “ใน
อนาคตกาล เราพึงมีใจเช่นนี้ รู้ธรรมารมณ์เช่นนี้” เพราะไม่มีความตั้งใจเช่นนั้นเป็น
ปัจจัย พระอรหันต์จึงไม่เพลิดเพลินใจและธรรมารมณ์นั้น เมื่อไม่เพลิดเพลินใจและ
ธรรมารมณ์นั้น พระอรหันต์นั้นจึงไม่มีความมุ่งหวังในอนาคตกาล อย่างนี้บ้าง
อีกนัยหนึ่ง พระอรหันต์ย่อมไม่ตั้งใจเพื่อให้ได้ภพที่ยังไม่ได้ว่า “เราจักเป็น
เทพเจ้า หรือเทวดาตนใดตนหนึ่งด้วยศีล วัตร ตบะ หรือพรหมจรรย์นี้” เพราะการ
ไม่ตั้งใจเช่นนั้นเป็นปัจจัย พระอรหันต์จึงไม่เพลิดเพลินภพนั้น เมื่อไม่เพลิดเพลิน
ภพนั้น พระอรหันต์จึงไม่มีความมุ่งหวังในอนาคตกาล อย่างนี้บ้าง
ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า (พระผู้มีพระภาคตรัสตอบดังนี้)
ก่อนดับขันธปรินิพพาน พระอรหันต์เป็นผู้คลายตัณหา
ไม่ติดอยู่กับความเพลิดเพลินที่มีอยู่ในส่วนเบื้องต้น
ใคร ๆ กำหนดไม่ได้ในส่วนท่ามกลาง
พระอรหันต์นั้นมิได้มุ่งหวังถึงตัณหาและทิฏฐิ(ในส่วนเบื้องปลาย)
[๘๕] (พระผู้มีพระภาคตรัสต่อไปว่า)
บุคคลผู้ไม่โกรธ ไม่สะดุ้ง ไม่โอ้อวด
ไม่คะนอง พูดด้วยปัญญา ไม่ฟุ้งซ่าน
เป็นผู้สำรวมวาจา นั้นแล ชื่อว่าเป็นมุนี

ว่าด้วยเหตุเกิดความโกรธ ๑๐ อย่าง
คำว่า ผู้ไม่โกรธ ในคำว่า ผู้ไม่โกรธ ไม่สะดุ้ง กล่าวไว้แล้วข้างต้น อนึ่ง
ควรกล่าวถึงความโกรธก่อน ความโกรธ ย่อมเกิดได้เพราะเหตุ ๑๐ อย่าง คือ
๑. เพราะสำคัญว่า ผู้นี้ได้ทำสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่เรา
๒. เพราะสำคัญว่า ผู้นี้กำลังทำสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่เรา
๓. เพราะสำคัญว่า ผู้นี้ทำสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่เรา
๔. ... ผู้นี้ได้ทำสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่คนผู้เป็นที่รักที่ชอบพอของเรา
๕. ... ผู้นี้กำลังทำสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่คนผู้เป็นที่รักที่ชอบพอของเรา
๖. ... ผู้นี้จักทำสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่คนผู้เป็นที่รักที่ชอบพอของเรา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๒๕๒ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๑๐. ปุราเภทสุตตนิทเทส
๗. ... ผู้นี้ทำสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่คนผู้ไม่เป็นที่รักไม่เป็นที่ชอบพอของเรา
๘. ... ผู้นี้กำลังทำสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่คนผู้ไม่เป็นที่รักไม่เป็นที่ชอบพอของ
เรา
๙. ... ผู้นี้จักทำสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่คนผู้ไม่เป็นที่รักไม่เป็นที่ชอบพอของเรา
๑๐. ความโกรธเกิดขึ้นในฐานะอันไม่สมควร
ใจปองร้าย มุ่งร้าย ขัดเคือง ขุ่นเคือง เคือง เคืองมาก เคืองตลอด ชัง ชิงชัง
เกลียดชัง ใจพยาบาท ใจแค้นเคือง ความโกรธ กิริยาที่โกรธ ภาวะที่โกรธ ความคิด
ประทุษร้าย กิริยาที่คิดประทุษร้าย ภาวะที่คิดประทุษร้าย ความคิดปองร้าย กิริยา
ที่คิดปองร้าย ภาวะที่คิดปองร้าย ความโกรธ ความแค้น ความดุร้าย ความ
เกรี้ยวกราด ความไม่แช่มชื่นแห่งจิตเห็นปานนี้ นี้ตรัสเรียกว่า ความโกรธ
อีกนัยหนึ่ง พึงทราบความโกรธมาก ความโกรธน้อย บางครั้งความโกรธ
เพียงทำให้ใจขุ่นมัว ยังไม่ถึงกับหน้าเง้าหน้างอก็มี บางครั้งความโกรธเพียงทำให้
หน้าเง้าหน้างอ แต่ยังไม่ถึงกับคางสั่นก็มี บางครั้งความโกรธเพียงทำให้คางสั่น แต่
ยังไม่ถึงกับพูดคำหยาบก็มี บางครั้งความโกรธเพียงทำให้พูดคำหยาบ แต่ยังไม่ถึง
กับตาขวางมองทิศมองทางก็มี บางครั้งความโกรธเพียงทำให้ตาขวางมองทิศ
มองทาง แต่ยังไม่ถึงกับคว้าไม้คว้ามีดก็มี บางครั้งความโกรธเพียงทำให้คว้าไม้
คว้ามีด แต่ยังไม่ถึงกับเงือดเงื้อไม้และมีด(ที่ถือไว้)ก็มี บางครั้งความโกรธเพียงแค่
ทำให้เงือดเงื้อไม้และมีด แต่ยังไม่ถึงกับลงมือฟาดฟันก็มี บางครั้งความโกรธเพียง
แต่ฟาดฟัน แต่ยังไม่ถึงกับทำให้เกิดบาดแผลก็มี บางครั้งความโกรธเพียงแต่ทำให้
เกิดบาดแผล แต่ยังไม่ถึงกับทำให้กระดูกหักก็มี บางครั้งความโกรธเพียงแต่ทำให้
กระดูกหัก แต่ยังไม่ถึงกับทำให้อวัยวะขาดหลุดไปก็มี บางครั้งความโกรธเพียงแต่
ทำให้อวัยวะขาดหลุดไป แต่ยังไม่ถึงกับทำให้เสียชีวิตก็มี บางครั้งความโกรธเพียง
แต่ทำให้ผู้อื่นเสียชีวิต แต่ยังไม่ถึงกับทำให้ดำรงอยู่เพื่อฆ่าตนเองก็มี เมื่อใด ความ
โกรธทำให้ฆ่าบุคคลอื่นแล้วฆ่าตนเองเสียด้วย เมื่อนั้น ความโกรธเป็นไปรุนแรงมาก
ถึงความเป็นสิ่งร้ายแรงอย่างยิ่ง ความโกรธนั้น ผู้ใด ละได้แล้ว ตัดขาดได้แล้ว
ทำให้สงบได้แล้ว ระงับได้แล้ว ทำให้เกิดขึ้นไม่ได้อีก เผาด้วยไฟคือญาณแล้ว ผู้นั้น
ตรัสเรียกว่า ผู้ไม่โกรธ บุคคลชื่อว่าผู้ไม่โกรธ เพราะละความโกรธได้แล้ว บุคคล
ชื่อว่าผู้ไม่โกรธ เพราะกำหนดรู้วัตถุแห่งความโกรธได้แล้ว บุคคลชื่อว่าผู้ไม่โกรธ
เพราะตัดเหตุแห่งความโกรธได้แล้ว รวมความว่า ผู้ไม่โกรธ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๒๕๓ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๑๐. ปุราเภทสุตตนิทเทส
ว่าด้วยผู้ไม่สะดุ้ง
คำว่า ไม่สะดุ้ง อธิบายว่า ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้สะดุ้ง หวาดเสียว
หวั่นหวาด เธอย่อมสะดุ้ง หวาดเสียว หวั่นหวาด กลัว ถึงความสะดุ้งว่า เราไม่ได้
ตระกูล ไม่ได้หมู่คณะ ไม่ได้อาวาส ไม่ได้ลาภ ไม่ได้ยศ ไม่ได้สรรเสริญ ไม่ได้สุข
ไม่ได้จีวร ไม่ได้บิณฑบาต ไม่ได้เสนาสนะ ไม่ได้คิลานปัจจัยเภสัชบริขาร หรือไม่ได้
ผู้พยาบาลเวลาเจ็บป่วย ย่อมสะดุ้ง หวาดเสียว หวั่นหวาด กลัว ถึงความสะดุ้งว่า
“เราเป็นผู้ไม่มีชื่อเสียงปรากฏ”
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ไม่สะดุ้ง ไม่หวาดเสียว ไม่หวั่นหวาด เธอย่อมไม่
สะดุ้ง ไม่หวาดเสียว ไม่หวั่นหวาด ไม่กลัว ไม่ถึงความสะดุ้งว่า เราไม่ได้ตระกูล
ไม่ได้หมู่คณะ ไม่ได้อาวาส ไม่ได้ลาภ ไม่ได้ยศ ไม่ได้สรรเสริญ ไม่ได้สุข ไม่ได้จีวร
ไม่ได้บิณฑบาต ไม่ได้เสนาสนะ ไม่ได้คิลานปัจจัยเภสัชบริขาร หรือไม่ได้ผู้พยาบาล
เวลาเจ็บป่วย ย่อมไม่สะดุ้ง ไม่หวาดเสียว ไม่หวั่นหวาด ไม่กลัว ไม่ถึงความ
สะดุ้งว่า “เราเป็นผู้ไม่มีชื่อเสียงปรากฏ” รวมความว่า ผู้ไม่โกรธ ไม่สะดุ้ง

ว่าด้วยผู้ไม่โอ้อวด
คำว่า ไม่โอ้อวด ไม่คะนอง อธิบายว่า ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้อวด
เป็นผู้โอ้อวด เธอย่อมอวด โอ้อวดว่า “เราเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยศีลบ้าง สมบูรณ์ด้วย
วัตรบ้าง สมบูรณ์ด้วยศีลวัตรบ้าง สมบูรณ์ด้วยชาติบ้าง สมบูรณ์ด้วยโคตรบ้าง
สมบูรณ์ด้วยความเป็นบุตรของผู้มีตระกูลบ้าง สมบูรณ์ด้วยความเป็นผู้มีรูปงามบ้าง
สมบูรณ์ด้วยทรัพย์บ้าง สมบูรณ์ด้วยการศึกษาบ้าง สมบูรณ์ด้วยหน้าที่การงานบ้าง
สมบูรณ์ด้วยหลักแห่งศิลปวิทยาบ้าง สมบูรณ์ด้วยวิทยฐานะบ้าง สมบูรณ์ด้วยความ
เป็นผู้คงแก่เรียนบ้าง สมบูรณ์ด้วยปฏิภาณบ้าง สมบูรณ์ด้วยสิ่งอื่นนอกจากที่กล่าว
มาแล้วบ้าง ออกบวชจากตระกูลสูงบ้าง ออกบวชจากตระกูลใหญ่บ้าง ออกบวชจาก
ตระกูลมีทรัพย์มากบ้าง ออกบวชจากตระกูลมีโภคสมบัติมากบ้าง เป็นผู้มีชื่อเสียง
มียศกว่าคฤหัสถ์และบรรพชิตทั้งหลายบ้าง เป็นผู้ได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และ
คิลานปัจจัยเภสัชบริขารบ้าง เป็นผู้ทรงจำพระสูตรบ้าง ทรงจำพระวินัยบ้าง เป็น
พระธรรมกถึกบ้าง เป็นผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตรบ้าง เป็นผู้ถือบิณฑบาตเป็นวัตรบ้าง
เป็นผู้นุ่งห่มผ้าบังสุกุลเป็นวัตรบ้าง เป็นผู้ทรงไตรจีวรเป็นวัตรบ้าง เป็นผู้เที่ยว


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๒๕๔ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๑๐. ปุราเภทสุตตนิทเทส
บิณฑบาตไปตามลำดับตรอกเป็นวัตรบ้าง เป็นผู้งดอาหารมื้อหลังเป็นวัตรบ้าง เป็นผู้
ถือการนั่งเป็นวัตรบ้าง เป็นผู้ถือการอยู่ในเสนาสนะตามที่เขาจัดให้เป็นวัตรบ้าง เป็น
ผู้ได้ปฐมฌานบ้าง เป็นผู้ได้ทุติยฌานบ้าง เป็นผู้ได้ตติยฌานบ้าง เป็นผู้ได้
จตุตถฌานบ้าง เป็นผู้ได้อากาสานัญจายตนสมาบัติบ้าง เป็นผู้ได้วิญญาณัญจายตน-
สมาบัติบ้าง เป็นผู้ได้อากิญจัญญายตนสมาบัติบ้าง เป็นผู้ได้เนวสัญญานา-
สัญญายตนสมาบัติบ้าง” ภิกษุนี้ย่อมไม่อวด ไม่โอ้อวด อย่างนี้ คือ เป็นผู้งด
งดเว้น เว้นขาด ออกแล้ว สลัดออกแล้ว หลุดพ้นแล้ว ไม่เกี่ยวข้องแล้วกับความอวด
ความโอ้อวด มีใจเป็นอิสระ(จากกิเลส) อยู่ รวมความว่า ผู้ไม่โอ้อวด

ว่าด้วยผู้ไม่คะนอง
คำว่า ความคะนอง ในคำว่า ผู้ไม่คะนอง อธิบายว่า ความคะนองมือ
ชื่อว่าความคะนอง ความคะนองเท้า ชื่อว่าความคะนอง ความคะนองมือและเท้า
ก็ชื่อว่าความคะนอง ความสำคัญในสิ่งไม่ควรว่าควร ความสำคัญในสิ่งที่ควรว่า
ไม่ควร ความสำคัญในวิกาลว่าเป็นกาล ความสำคัญในกาลว่าเป็นวิกาล ความ
สำคัญในสิ่งที่ไม่มีโทษว่ามีโทษ ความสำคัญในสิ่งที่มีโทษว่าไม่มีโทษ ความคะนอง
กิริยาที่คะนอง ภาวะที่คะนอง ความเดือดร้อนจิต ใจฟุ้งซ่านเห็นปานนี้ นี้ตรัสเรียกว่า
ความคะนอง
อีกนัยหนึ่ง ความคะนอง ความเดือดร้อนจิต ใจฟุ้งซ่าน เกิดขึ้นเพราะเหตุ
๒ อย่าง คือ (๑) เพราะทำ (๒) เพราะไม่ทำ
ความคะนอง ความเดือดร้อนจิต ใจฟุ้งซ่าน เกิดขึ้นเพราะทำและเพราะไม่ทำ
เป็นอย่างไร
คือ ความคะนอง ความเดือดร้อนจิต ใจฟุ้งซ่าน เกิดขึ้นว่า “เราทำแต่
กายทุจริต ไม่ทำกายสุจริต ... เราทำแต่วจีทุจริต ไม่ทำวจีสุจริต ... เราทำแต่มโนทุจริต
ไม่ทำมโนสุจริต ... เราทำแต่ปาณาติบาต ไม่ทำความงดเว้นจากปาณาติปาต ... เรา
ทำแต่อทินนาทาน ไม่ทำความงดเว้นจากอทินนาทาน ... เราทำแต่กาเมสุมิจฉาจาร
ไม่ทำความงดเว้นจากกาเมสุมิจฉาจาร ... เราทำแต่มุสาวาท ไม่ทำความงดเว้นจาก
มุสาวาท ... เราทำแต่ปิสุณาวาจา ไม่ทำความงดเว้นจากปิสุณาวาจา ... เราทำแต่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๒๕๕ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๑๐. ปุราเภทสุตตนิทเทส
ผรุสวาจา ไม่ทำความงดเว้นจากผรุสวาจา ... เราทำแต่สัมผัปปลาปะ ไม่ทำความ
งดเว้นจากสัมผัปปลาปะ ... เราทำแต่อภิชฌา ไม่ทำอนภิชฌา ... เราทำแต่พยาบาท
ไม่ทำอัพยาบาท” ความคะนอง ความเดือดร้อนจิต ใจฟุ้งซ่าน เกิดขึ้นว่า “เราทำแต่
มิจฉาทิฏฐิ ไม่ทำสัมมาทิฏฐิ” ความคะนอง ความเดือดร้อนจิต ใจฟุ้งซ่าน เกิดขึ้น
เพราะทำและเพราะไม่ทำ เป็นอย่างนี้
อีกนัยหนึ่ง ความคะนอง ความเดือดร้อนจิต ใจฟุ้งซ่าน เกิดขึ้นว่า “เรามิได้
รักษาศีลให้บริบูรณ์” ความคะนอง ความเดือดร้อนจิต ใจฟุ้งซ่าน เกิดขึ้นว่า “เรา
ไม่สำรวมในอินทรีย์ทั้ง ๖ ... ไม่รู้จักประมาณในการบริโภคอาหาร ... ไม่ประกอบ
ความเพียรเป็นเครื่องตื่นอยู่เสมอ ... ไม่หมั่นประกอบสติสัมปชัญญะ ... ไม่เจริญ
สติปัฏฐาน ๔ ... ไม่เจริญสัมมัปปธาน ๔ ... ไม่เจริญอิทธิบาท ๔ ... ไม่เจริญ
อินทรีย์ ๕ ... ไม่เจริญพละ ๕ ... ไม่เจริญโพชฌงค์ ๗ ... ไม่เจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ ...
ไม่กำหนดรู้ทุกข์ ... ไม่ละสมุทัย ... ไม่เจริญมรรค เราไม่ทำนิโรธให้ประจักษ์แจ้ง”
ความคะนองนี้ผู้ใดละได้แล้ว คือ ตัดขาดได้แล้ว ทำให้สงบได้แล้ว ระงับได้แล้ว
ทำให้เกิดขึ้นไม่ได้อีก เผาด้วยไฟคือญาณแล้ว ผู้นั้น ตรัสเรียกว่า ผู้ไม่คะนอง
รวมความว่า ผู้ไม่โอ้อวด ไม่คะนอง

ว่าด้วยปัญญาเรียกว่า มันตา
คำว่า ผู้พูดด้วยปัญญา ไม่ฟุ้งซ่าน อธิบายว่า ปัญญาตรัสเรียกว่า มันตา
คือ ความรู้ทั่ว กิริยาที่รู้ชัด ... ความไม่หลงงมงาย ความเลือกเฟ้นธรรม สัมมาทิฏฐิ
มีวิเคราะห์ว่า ผู้ใดกำหนดกล่าววาจาด้วยปัญญา แม้พูดมาก แม้กล่าวมาก
แม้แสดงมาก แม้ชี้แจงมาก ก็ไม่กล่าวถ้อยคำที่เป็นเรื่องพูดชั่ว กล่าวชั่ว เจรจาชั่ว
ปราศรัยชั่ว เล่าเรื่องชั่ว ฉะนั้น ผู้นั้น จึงชื่อว่าผู้พูดด้วยปัญญา
ความฟุ้งซ่าน ในคำว่า ไม่ฟุ้งซ่าน เป็นอย่างไร
คือ ความฟุ้งซ่าน ความไม่สงบแห่งจิต ใจกวัดแกว่ง ความคิดวกวน นี้ตรัส
เรียกว่า ความฟุ้งซ่าน
ความฟุ้งซ่านนี้ ผู้ใดละได้แล้ว คือ ตัดขาดได้แล้ว ทำให้สงบได้แล้ว ระงับ
ได้แล้ว ทำให้เกิดขึ้นไม่ได้อีก เผาด้วยไฟคือญาณแล้ว ผู้นั้น ตรัสเรียกว่า ผู้ไม่
ฟุ้งซ่าน รวมความว่า ผู้พูดด้วยปัญญา ไม่ฟุ้งซ่าน


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๒๕๖ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๑๐. ปุราเภทสุตตนิทเทส
ว่าด้วยการสำรวมวาจา
คำว่า บุคคล... เป็นผู้สำรวมวาจานั้นแล ชื่อว่าเป็นมุนี อธิบายว่า ภิกษุใน
ธรรมวินัยนี้ละการกล่าวเท็จ เว้นขาดจากการกล่าวเท็จได้แล้ว คือเป็นคนพูดจริง
ตั้งมั่นในความสัตย์ มีถ้อยคำมั่นคง เชื่อถือได้ ไม่กล่าวคำหลอกลวงชาวโลก
ละวาจาส่อเสียด เว้นขาดจากวาจาส่อเสียดได้แล้ว ฟังจากข้างนี้แล้ว ไม่ไปบอกข้าง
โน้น เพื่อทำลายคนหมู่นี้ ฟังจากข้างโน้นแล้ว ไม่ไปบอกข้างนี้ เพื่อทำลายคนหมู่โน้น
เป็นผู้สมานคนที่แตกแยกกัน หรือส่งเสริมคนที่มีประโยชน์ร่วมกัน มีความสามัคคี
เป็นที่ชื่นชม ยินดีในความสามัคคี รื่นเริงในสามัคคีธรรม เป็นผู้กล่าววาจาก่อให้เกิด
ความสามัคคี ละวาจาหยาบ เว้นขาดจากวาจาหยาบได้แล้ว วาจาใด ไร้โทษ
สบายหู น่ารัก จับใจ แบบชาวเมือง คนส่วนใหญ่ชอบใจ พอใจ ก็กล่าววาจาเช่นนั้น
ละการพูดเพ้อเจ้อ เว้นขาดจากการพูดเพ้อเจ้อได้แล้ว พูดถูกเวลา พูดจริง
พูดอิงอรรถ พูดอิงธรรม พูดอิงวินัย กล่าววาจาเป็นหลักฐาน มีที่อ้างอิง มีต้น
มีปลาย ประกอบด้วยประโยชน์ตามกาลอันสมควร ประกอบด้วยวจีสุจริต ๔
กล่าววาจาปราศจากโทษ ๔ สถาน เป็นผู้งดแล้ว งดเว้นแล้ว เว้นขาดแล้ว ออกแล้ว
สลัดออกแล้ว หลุดพ้นแล้ว ไม่เกี่ยวข้องแล้วกับเดรัจฉานกถา๑ ๓๒ ประการ มีใจ
เป็นอิสระ (จากกิเลส) อยู่
ภิกษุย่อมกล่าวกถาวัตถุ ๑๐ ประการ คือ
๑. ย่อมกล่าวอัปปิจฉกถา(ถ้อยคำที่ชักนำให้มีความปรารถนาน้อย)
๒. สันตุฏฐิกถา(ถ้อยคำที่ชักนำให้มีความสันโดษ)
๓. ปวิเวกกถา(ถ้อยคำที่ชักนำให้มีความสงัดกายใจ)
๔. อสังสัคคกถา(ถ้อยคำที่ชักนำให้ไม่คลุกคลีด้วยหมู่)
๕. วิริยารัมภกถา(ถ้อยคำที่ชักนำให้มุ่งมั่นทำความเพียร)
๖. สีลกถา(ถ้อยคำที่ชักนำให้ตั้งอยู่ในศีล)
๗. สมาธิกถา(ถ้อยคำที่ชักนำให้ทำจิตมั่น)
๘. ปัญญากถา(ถ้อยคำที่ชักนำให้เกิดปัญญา)
๙. วิมุตติกถา(ถ้อยคำที่ชักนำให้ทำใจให้พ้นจากกิเลสและความทุกข์)

เชิงอรรถ :
๑ เดรัจฉานกถา ดูรายละเอียดข้อ ๑๕๗/๔๓๙

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๒๕๗ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๑๐. ปุราเภทสุตตนิทเทส
๑๐. วิมุตติญาณทัสสนกถา (ถ้อยคำที่ชักนำให้สนใจและเข้าใจเรื่องความรู้
ความเห็นในภาวะที่หลุดพ้นจากกิเลสและความทุกข์)
ย่อมกล่าวสติปัฏฐานกถา สัมมัปปธานกถา อิทธิบาทกถา อินทริยกถา
พลกถา โพชฌงคกถา มัคคกถา ผลกถา นิพพานกถา
คำว่า ผู้สำรวมวาจา ได้แก่ ผู้สำรวม เคร่งครัด คุ้มครอง ปกปัก รักษา
สังวร สงบ
คำว่า มุนี อธิบายว่า ญาณ ท่านเรียกว่า โมนะ คือ ความรู้ทั่ว กิริยาที่รู้ชัด ...
ความไม่หลงงมงาย ความเลือกเฟ้นธรรม สัมมาทิฏฐิ ... ผู้ก้าวล่วงกิเลสเครื่องข้อง
และตัณหาดุจตาข่ายได้แล้ว ชื่อว่ามุนี รวมความว่า บุคคล ... เป็นผู้สำรวมวาจา
นั้นแล ชื่อว่าเป็นมุนี ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า
บุคคลผู้ไม่โกรธ ไม่สะดุ้ง ไม่โอ้อวด
ไม่คะนอง พูดด้วยปัญญา ไม่ฟุ้งซ่าน
เป็นผู้สำรวมวาจา นั้นแล ชื่อว่าเป็นมุนี
[๘๖] (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า)
บุคคลผู้ไม่มีตัณหาเครื่องเหนี่ยวรั้งในอนาคต
ไม่เศร้าโศกถึงสิ่งที่ล่วงไปแล้ว ผู้เห็นวิเวกในผัสสะทั้งหลาย
ย่อมไม่ถูกนำไปในทิฏฐิทั้งหลาย

ว่าด้วยผู้ไม่มีตัณหา
คำว่า บุคคลผู้ไม่มีตัณหาเครื่องเหนี่ยวรั้งในอนาคต อธิบายว่า ตัณหา
ตรัสเรียกว่า เครื่องเหนี่ยวรั้ง คือ ความกำหนัด ความกำหนัดนัก ... อภิชฌา
อกุศลมูลคือโลภะ ตัณหาเครื่องเหนี่ยวรั้งนั้น ผู้ใดละได้แล้ว ตัดขาดได้แล้ว ทำให้
สงบได้แล้ว ระงับได้แล้ว ทำให้เกิดขึ้นไม่ได้อีก เผาด้วยไฟคือญาณแล้ว รวมความว่า
บุคคลผู้ไม่มีตัณหาเครื่องเหนี่ยวรั้งในอนาคต อย่างนี้บ้าง
อีกนัยหนึ่ง บุคคลไม่ดำเนินตามความเพลิดเพลินในรูปว่า “ในอนาคตกาล
เราพึงมีรูปอย่างนี้ ... พึงมีเวทนาอย่างนี้ ... พึงมีสัญญาอย่างนี้ ... พึงมีสังขารอย่างนี้”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๒๕๘ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๑๐. ปุราเภทสุตตนิทเทส
ย่อมไม่ดำเนินตามความเพลิดเพลินในวิญญาณว่า “ในอนาคตกาล เราพึงมี
วิญญาณอย่างนี้” จึงชื่อว่า ผู้ไม่มีตัณหาเครื่องเหนี่ยวรั้งในอนาคต อย่างนี้บ้าง
อีกนัยหนึ่ง บุคคลไม่ตั้งจิตเพื่อให้ได้ตาและรูปที่ยังไม่ได้ว่า “ในอนาคตกาล
เราพึงมีตาเช่นนี้ เห็นรูปเช่นนี้” เพราะมีการไม่ตั้งจิตเป็นปัจจัย เขาจึงไม่เพลิดเพลิน
ตาและรูปนั้น เมื่อไม่เพลิดเพลินตาและรูปนั้น จึงชื่อว่าไม่มีตัณหาเครื่องเหนี่ยวรั้ง
ในอนาคต อย่างนี้บ้าง ... “ในอนาคตกาล ขอเราพึงมีหูเช่นนี้ ได้ยินเสียงเช่นนี้”
บุคคลไม่ตั้งจิตเพื่อให้ได้ใจและธรรมารมณ์ที่ยังไม่ได้ว่า “ในอนาคตกาล เราพึงมีใจ
เช่นนี้ รู้ธรรมารมณ์เช่นนี้” เพราะไม่มีความตั้งจิตเป็นปัจจัย เขาจึงไม่เพลิดเพลินใจ
และธรรมารมณ์นั้น เมื่อไม่เพลิดเพลินใจและธรรมารมณ์นั้น จึงชื่อว่า ไม่มีตัณหา
เครื่องเหนี่ยวรั้งในอนาคต อย่างนี้บ้าง
อีกนัยหนึ่ง บุคคลไม่ตั้งจิตเพื่อให้ได้ภพที่ยังไม่ได้ว่า เราจักเป็นเทพ หรือ
เทวดาตนใดตนหนึ่งด้วยศีล วัตร ตบะ หรือพรหมจรรย์นี้ เพราะมีการไม่ตั้งจิตเป็น
ปัจจัย เขาจึงไม่เพลิดเพลินภพนั้น เมื่อไม่เพลิดเพลินภพนั้น จึงชื่อว่า ไม่มีตัณหา
เครื่องเหนี่ยวรั้งในอนาคต อย่างนี้บ้าง

ว่าด้วยผู้ไม่เศร้าโศก
คำว่า ไม่เศร้าโศกถึงสิ่งที่ล่วงไปแล้ว อธิบายว่า ไม่เศร้าโศกถึงสิ่งที่แปรผัน
ไป หรือเมื่อสิ่งนั้นแปรผันไปแล้วก็ไม่เศร้าโศก คือ ไม่เศร้าโศก ไม่ลำบาก
ไม่คร่ำครวญ ไม่ตีอกพร่ำเพ้อ ไม่ถึงความหลงใหลว่า “ตาของเราแปรผันไป”
ไม่เศร้าโศก ไม่ลำบาก ไม่คร่ำครวญ ไม่ตีอกพร่ำเพ้อ ไม่ถึงความหลงใหลว่า
“หูของเรา ... จมูกของเรา .... ลิ้นของเรา ... กายของเรา ... รูปของเรา ... เสียงของเรา
... กลิ่นของเรา ... รสของเรา ... โผฏฐัพพะของเรา ... ตระกูลของเรา ... จีวรของเรา ...
หมู่คณะของเรา ... อาวาสของเรา ... ลาภของเรา ... ยศของเรา ... สรรเสริญของเรา ...
สุขของเรา ... บิณฑบาตของเรา ... เสนาสนะของเรา ... คิลานปัจจัยเภสัชบริขาร
ของเรา ... มารดาของเรา ... บิดาของเรา ... พี่ชายน้องชายของเรา ... พี่สาวน้อง
สาวของเรา ... บุตรของเรา ... ธิดาของเรา ... มิตรและอำมาตย์ของเรา ... ญาติของเรา
ผู้ร่วมสายโลหิตของเราแปรผันไป” ดังนี้ รวมความว่า ไม่เศร้าโศกถึงสิ่งที่ล่วง
ไปแล้ว


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๒๕๙ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๑๐. ปุราเภทสุตตนิทเทส
ว่าด้วยผัสสะ
คำว่า ผู้เห็นวิเวกในผัสสะทั้งหลาย อธิบายว่า
คำว่า ผัสสะ ได้แก่ จักขุสัมผัส โสตสัมผัส ฆานสัมผัส ชิวหาสัมผัส
กายสัมผัส มโนสัมผัส อธิวจนสัมผัส ปฏิฆสัมผัส สุขเวทนียสัมผัส ทุกขเวทนียสัมผัส
อทุกขมสุขเวทนียสัมผัส ผัสสะที่เป็นกุศล ผัสสะที่เป็นอกุศล ผัสสะที่เป็นอัพยากฤต
ผัสสะที่เป็นกามาวจร ผัสสะที่เป็นรูปาวจร ผัสสะที่เป็นอรูปาวจร สุญญตผัสสะ
อนิมิตตผัสสะ อัปปณิหิตผัสสะ ผัสสะที่เป็นโลกิยะ ผัสสะที่เป็นโลกุตตระ ผัสสะ
ที่เป็นอดีต ผัสสะที่เป็นอนาคต ผัสสะที่เป็นปัจจุบัน ผัสสะ ความถูกต้อง กิริยาที่ถูก
ต้อง ภาวะที่ถูกต้องเห็นปานนี้ นี้ตรัสเรียกว่า ผัสสะ
คำว่า ผู้เห็นวิเวกในผัสสะทั้งหลาย อธิบายว่า บุคคลเห็นจักขุสัมผัสว่า
ว่างจากตน จากธรรมที่เนื่องในตน จากความเที่ยง จากความยั่งยืน จากความ
สืบต่อ หรือจากธรรมที่ไม่แปรผัน เห็นโสตสัมผัส ... ฆานสัมผัส ... ชิวหาสัมผัส ...
กายสัมผัส ... มโนสัมผัส ... อธิวจนสัมผัส ... ปฏิฆสัมผัส ... สุขเวทนียผัสสะ ...
ทุกขเวทนียผัสสะ ... อทุกขมสุขเวทนียผัสสะ ... ผัสสะที่เป็นกุศล ... ผัสสะที่เป็นอกุศล
... ผัสสะที่เป็นอัพยากฤต ... ผัสสะที่เป็นกามาวจร ... ผัสสะที่เป็นรูปาวจร ... ผัสสะ
ที่เป็นอรูปาวจร ... ผัสสะที่เป็นโลกิยะ ... เห็นผัสสะที่เป็นโลกุตตระว่า ว่างจากตน
จากธรรมที่เนื่องในตน จากความเที่ยง จากความยั่งยืน จากความสืบต่อ หรือจาก
ธรรมที่ไม่แปรผัน
อีกนัยหนึ่ง บุคคลเห็นผัสสะที่เป็นอดีตว่า ว่างจากผัสสะที่เป็นอนาคตและ
ผัสสะที่เป็นปัจจุบัน เห็นผัสสะที่เป็นอนาคตว่า ว่างจากผัสสะที่เป็นอดีตและผัสสะที่
เป็นปัจจุบัน เห็นผัสสะที่เป็นปัจจุบันว่า ว่างจากผัสสะที่เป็นอดีตและผัสสะที่เป็น
อนาคต
อีกนัยหนึ่ง บุคคลเห็นผัสสะที่เป็นอริยะ ไม่มีอาสวะ เป็นโลกุตตระ ปฏิสังยุต
ด้วยสุญญตธรรมว่า ว่างจากราคะ โทสะ โมหะ โกธะ อุปนาหะ มักขะ ปฬาสะ
อิสสา มัจฉริยะ มายา สาเถยยะ ถัมภะ สารัมภะ มานะ อติมานะ มทะ ปมาทะ
กิเลสทุกชนิด ทุจริตทุกทาง ความกระวนกระวายทุกอย่าง ความเร่าร้อนทุกสถาน
ความเดือดร้อนทุกประการ อกุสลาภิสังขารทุกประเภท ด้วยประการอย่างนี้ รวม
ความว่า ผู้เห็นวิเวกในผัสสะทั้งหลาย


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๒๖๐ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๑๐. ปุราเภทสุตตนิทเทส
คำว่า ย่อมไม่ถูกนำไปในทิฏฐิทั้งหลาย อธิบายว่า ทิฏฐิ ๖๒ บุคคลนั้น
ละได้แล้ว ตัดขาดได้แล้ว ทำให้สงบได้แล้ว ระงับได้แล้ว ทำให้เกิดขึ้นไม่ได้อีก
เผาด้วยไฟคือญาณแล้ว บุคคลนั้นย่อมไม่ไป ไม่ออก ไม่ถูกพาไป ไม่ถูกนำไปด้วย
ทิฏฐิ บุคคลนั้นจึงไม่กลับถือ ไม่หวนกลับมาสู่ทิฏฐินั้นว่าเป็นสาระอีก รวมความว่า
ย่อมไม่ถูกนำไปในทิฏฐิทั้งหลาย ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า
บุคคลผู้ไม่มีตัณหาเครื่องเหนี่ยวรั้งในอนาคต
ไม่เศร้าโศกถึงสิ่งที่ล่วงไปแล้ว ผู้เห็นวิเวกในผัสสะทั้งหลาย
ย่อมไม่ถูกนำไปในทิฏฐิทั้งหลาย
[๘๗] (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า)
บุคคลเป็นผู้หลีกเร้น ไม่หลอกลวง ไม่ทะเยอทะยาน
ไม่ตระหนี่ ไม่คะนอง ไม่เป็นที่น่ารังเกียจ
และไม่ประกอบในความเป็นผู้มีวาจาส่อเสียด

ว่าด้วยผู้หลีกเร้น
คำว่า บุคคลเป็นผู้หลีกเร้น ในคำว่า บุคคลเป็นผู้หลีกเร้น ไม่หลอกลวง
อธิบายว่า ชื่อว่าเป็นผู้หลีกเร้น เพราะละราคะได้แล้ว ... เพราะละโทสะได้แล้ว ...
เพราะละโมหะได้แล้ว ... เพราะละโกธะ ... อุปนาหะ ... มักขะ ... ปฬาสะ ... อิสสา ...
มัจฉริยะ ... ชื่อว่าเป็นผู้หลีกเร้น เพราะละอกุสลาภิสังขารทุกประเภทได้แล้ว
สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า
“ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้หลีกเร้น เป็นอย่างไร ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุใน
ธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ละอัสมิมานะได้เด็ดขาดแล้ว ตัดรากถอนโคนเหมือนต้นตาล
ที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ ภิกษุ
ทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้หลีกเร้น เป็นอย่างนี้”๑ รวมความว่า เป็นผู้หลีกเร้น

เชิงอรรถ :
๑ องฺ.จตุกฺก. ๒๑/๓๘/๔๖

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๒๖๑ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๑๐. ปุราเภทสุตตนิทเทส
ว่าด้วยความหลอกลวง ๓ อย่าง
คำว่า ไม่หลอกลวง ได้แก่ ความหลอกลวง ๓ อย่าง คือ
๑. ความหลอกลวงเกี่ยวกับการใช้สอยปัจจัย
๒. ความหลอกลวงเกี่ยวกับอิริยาบถ
๓. ความหลอกลวงเกี่ยวกับการพูดเลียบเคียง
ความหลอกลวงเกี่ยวกับการใช้สอยปัจจัย เป็นอย่างไร
คือ คหบดีในโลกนี้ ย่อมนิมนต์ภิกษุ ถวายจีวร บิณฑบาต เสนาสนะและ
คิลานปัจจัยเภสัชบริขาร ภิกษุนั้น มีความปรารถนาเลวทราม ถูกความอยาก
ครอบงำ มีความต้องการจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร
เพราะต้องการได้ให้มากยิ่งขึ้น จึงบอกคืนจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัย
เภสัชบริขาร เธอพูดอย่างนี้ว่า “จีวรที่มีค่ามากจะมีประโยชน์อะไรแก่สมณะ สมณะ
ควรเที่ยวเลือกเก็บผ้าเก่าจากป่าช้า กองหยากเยื่อ หรือร้านตลาด เอามาทำ
สังฆาฏิใช้ จึงจะเป็นการเหมาะสม บิณฑบาตที่มีค่ามากจะมีประโยชน์อะไรแก่สมณะ
สมณะควรสำเร็จความเป็นอยู่ด้วยก้อนข้าวที่ได้มาด้วยปลีแข้ง โดยการเที่ยวแสวงหา
จึงจะเป็นการเหมาะสม เสนาสนะที่มีค่ามากจะมีประโยชน์อะไรแก่สมณะ สมณะควร
อยู่ที่โคนไม้ อยู่ที่ป่าช้า หรืออยู่กลางแจ้ง จึงจะเป็นการเหมาะสม คิลานปัจจัย-
เภสัชบริขารที่มีค่ามากจะมีประโยชน์อะไรแก่สมณะ สมณะควรทำยาด้วยน้ำมูตรเน่า
หรือชิ้นลูกสมอ จึงจะเป็นการเหมาะสม”
เพราะต้องการได้ให้มากยิ่งขึ้นนั้น เธอจึงครองจีวรเศร้าหมอง ฉันบิณฑบาต
เศร้าหมอง ใช้สอยเสนาสนะซอมซ่อ ใช้คิลานปัจจัยเภสัชบริขารตามมีตามได้ คหบดี
ทั้งหลายรู้จักภิกษุนั้นอย่างนี้ว่า “สมณะรูปนี้ มีความปรารถนาน้อย สันโดษ
สงบสงัด ไม่คลุกคลีด้วยหมู่คณะ ปรารภความเพียร มีวาทะกำจัดขัดเกลา” ก็ยิ่ง
นิมนต์เธอให้รับจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขารมากยิ่งขึ้น
เธอจึงพูดอย่างนี้ว่า “เพราะพรั่งพร้อมด้วยเหตุ ๓ ประการ กุลบุตรผู้มีศรัทธา
ย่อมประสบบุญมาก คือ เพราะพรั่งพร้อมด้วยศรัทธา ... เพราะพรั่งพร้อมด้วย
ไทยธรรม ... เพราะพรั่งพร้อมด้วยพระทักขิไณยบุคคล กุลบุตรผู้มีศรัทธาย่อม
ประสบบุญมาก ท่านทั้งหลายมีศรัทธานี้อยู่ ไทยธรรมนี้ก็มีอยู่พร้อม ทั้งอาตมภาพ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๒๖๒ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๑๐. ปุราเภทสุตตนิทเทส
ก็เป็นปฏิคาหก ถ้าอาตมภาพไม่รับ พวกท่านก็จักเสื่อมจากบุญไปเสีย อาตมภาพ
มิได้มีความต้องการด้วยปัจจัยนี้ แต่จักรับเพื่ออนุเคราะห์พวกท่าน” เพราะอาศัย
เหตุนั้น เธอจึงรับจีวรมากมาย รับบิณฑบาตมากมาย รับเสนาสนะมากมาย
รับคิลานปัจจัยเภสัชบริขารมากมาย การทำหน้านิ่ว การทำคิ้วขมวด การหลอกลวง
กิริยาที่หลอกลวง ภาวะที่หลอกลวง เห็นปานนี้ นี้ชื่อว่าความหลอกลวงเกี่ยวกับ
การใช้สอยปัจจัย
ความหลอกลวงเกี่ยวกับอริยาบถ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ มีความปรารถนาเลวทราม ถูกความอยาก
ครอบงำ ปรารถนาจะให้เขายกย่อง คิดว่า “คนจักยกย่องเราด้วยอุบายอย่างนี้”
จึงสำรวมการเดิน สำรวมการยืน สำรวมการนั่ง สำรวมการนอน ตั้งสติเดิน
ตั้งสติยืน ตั้งสตินั่ง ตั้งสตินอน ทำทีเหมือนภิกษุมีสมาธิเดิน เหมือนภิกษุมี
สมาธิยืน เหมือนภิกษุมีสมาธินั่ง เหมือนภิกษุมีสมาธินอน เป็นเหมือนภิกษุ
เจริญฌานอวดต่อหน้า การตั้งท่า การวางท่า การดำรงมั่นอิริยาบถ การทำหน้านิ่ว
การทำคิ้วขมวด การหลอกลวง กิริยาที่หลอกลวง ภาวะที่หลอกลวง เห็นปานนี้
นี้เรียกว่า ความหลอกลวงเกี่ยวกับอิริยาบถ
ความหลอกลวงเกี่ยวกับการพูดเลียบเคียง เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ มีความปรารถนาเลวทราม ถูกความอยาก
ครอบงำ ปรารถนาจะให้เขายกย่อง คิดว่า “คนจักยกย่องเราด้วยอุบายอย่างนี้”
จึงกล่าววาจาอิงอริยธรรม คือพูดว่า “ภิกษุผู้ทรงจีวร มีรูปแบบอย่างนี้ เป็นสมณะ
มีศักดิ์ใหญ่ ผู้ใช้บาตร ... ใช้ภาชนะโลหะ ... ใช้ธมกรก๑ ... ใช้ผ้ากรองน้ำ ... ใช้ลูกกุญแจ
... ใช้รองเท้า ... ใช้ประคดเอว ... ใช้สายโยกบาตร มีรูปแบบอย่างนี้ เป็นสมณะ
มีศักดิ์ใหญ่” พูดว่า “ภิกษุผู้มีอุปัชฌาย์ระดับนี้ เป็นสมณะมีศักดิ์ใหญ่ มีอาจารย์
ระดับนี้ ... มีผู้ร่วมอุปัชฌาย์ระดับนี้ ... มีผู้ร่วมอาจารย์ระดับนี้ ... มีมิตร ...
มีพรรคพวก ... มีคนที่คบหากัน ... มีสหายระดับนี้ เป็นสมณะมีศักดิ์ใหญ่” พูดว่า

เชิงอรรถ :
๑ ธมกรก คือ กระบอกกรองน้ำของพระสงฆ์ เป็นเครื่องใช้สอยอย่าง ๑ ในอัฐบริขาร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๒๖๓ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๑๐. ปุราเภทสุตตนิทเทส
“ภิกษุผู้อยู่ในวิหารมีรูปแบบอย่างนี้ เป็นสมณะมีศักดิ์ใหญ่ ... อยู่ในเรือนมีหลังคา
ด้านเดียวมีรูปแบบอย่างนี้ ... อยู่ในปราสาท ... อยู่ในเรือนโล้น ... อยู่ในถ้ำ ...
อยู่ในที่หลีกเร้น ... อยู่ในกุฎี ... อยู่ในเรือนยอด ... อยู่ที่ป้อม ... อยู่ในโรงกลม ...
อยู่ในเรือนพัก ... อยู่ในเรือนรับรอง ... อยู่ในมณฑป ... อยู่ที่โคนไม้ มีรูปแบบ
อย่างนี้ เป็นสมณะมีศักดิ์ใหญ่”
อีกนัยหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้วางหน้าเฉยเมย ทำหน้านิ่วคิ้วขมวด โกหกหลอกลวง
ปลิ้นปล้อน ตลบตะแลง เป็นผู้ได้รับยกย่องด้วยการวางหน้าว่า “สมณะนี้ได้วิหาร-
สมาบัติ อันมีอยู่เห็นปานนี้” ภิกษุนั้น ย่อมกล่าวถ้อยคำเช่นนั้น อันเกี่ยวเนื่อง
ด้วยโลกุตตรธรรมและสุญญตนิพพาน อันลึกซึ้ง เร้นลับ ละเอียดอ่อน ปิดบัง
การทำหน้านิ่ว การทำคิ้วขมวด การหลอกลวง กิริยาที่หลอกลวง ภาวะที่หลอกลวง
เห็นปานนี้ นี้เรียกว่า ความหลอกลวงเกี่ยวกับการพูดเลียบเคียง
ความหลอกลวง ๓ อย่าง ผู้ใดละได้แล้ว ตัดขาดได้แล้ว ทำให้สงบได้แล้ว
ระงับได้แล้ว ทำให้เกิดขึ้นไม่ได้อีก เผาด้วยไฟคือญาณแล้ว ผู้นั้น ตรัสเรียกว่า ผู้ไม่
หลอกลวง รวมความว่า เป็นผู้หลีกเร้น ไม่หลอกลวง
คำว่า ไม่ทะเยอทะยาน ไม่ตระหนี่ อธิบายว่า ตัณหาตรัสเรียกว่า ความ
ทะเยอทะยาน คือ ความกำหนัด ความกำหนัดนัก ... อภิชฌา อกุศลมูลคือโลภะ
ตัณหาคือความทะเยอทะยานนั้น ผู้ใดละได้แล้ว ตัดขาดได้แล้ว ทำให้สงบ
ได้แล้ว ระงับได้แล้ว ทำให้เกิดขึ้นไม่ได้อีก เผาด้วยไฟคือญาณแล้ว ผู้นั้นตรัสเรียกว่า
ผู้ไม่ทะเยอทะยาน ผู้นั้นไม่มุ่งหมาย ไม่ต้องการได้ ไม่ยินดี ไม่ปรารถนา ไม่มุ่งหวัง
รูป ... เสียง ... กลิ่น ... รส ... โผฏฐัพพะ ... ตระกูล ... หมู่คณะ ... อาวาส ... ลาภ ...
ยศ ... สรรเสริญ ... สุข ... จีวร ... บิณฑบาต ... เสนาสนะ ... คิลานปัจจัยเภสัช-
บริขาร ... กามธาตุ ... รูปธาตุ ... อรูปธาตุ ... กามภพ ... รูปภพ ... อรูปภพ ...
สัญญาภพ ... อสัญญาภพ ... เนวสัญญานาสัญญาภพ ... เอกโวการภพ ...
จตุโวการภพ ... ปัญจโวการภพ... อดีต ... อนาคต ... ปัจจุบัน ... ไม่มุ่งหมาย
ไม่ต้องการได้ ไม่ยินดี ไม่ปรารถนา ไม่มุ่งหวังรูปที่เห็น เสียงที่ได้ยิน อารมณ์ที่รับรู้
และธรรมารมณ์ที่พึงรู้แจ้ง รวมความว่า ผู้ไม่ทะเยอทะยาน


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๒๖๔ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๑๐. ปุราเภทสุตตนิทเทส
ว่าด้วยความตระหนี่ ๕ อย่าง
คำว่า ไม่ตระหนี่ ได้แก่ มัจฉริยะ ๕ อย่าง คือ

๑. อาวาสมัจฉริยะ ๒. กุลมัจฉริยะ
๓. ลาภมัจฉริยะ ๔. วัณณมัจฉริยะ
๕. ธัมมมัจฉริยะ

ความตระหนี่ กิริยาที่ตระหนี่ ภาวะที่ตระหนี่ ความเห็นแก่ได้ ความถี่เหนี่ยว
ความที่จิตเจ็บร้อน(ในการให้) ความที่จิตหวงแหนเห็นปานนี้ นี้ตรัสเรียกว่า ความ
ตระหนี่
อีกนัยหนึ่ง ความตระหนี่ขันธ์ก็ดี ความตระหนี่ธาตุก็ดี ความตระหนี่อายตนะ
ก็ดี ความมุ่งแต่จะได้ก็ดี นี้ตรัสเรียกว่า ความตระหนี่ ความตระหนี่นี้บุคคลใดละ
ได้แล้ว ตัดขาดได้แล้ว ทำให้สงบได้แล้ว ระงับได้แล้ว ทำให้เกิดขึ้นไม่ได้อีก เผาด้วย
ไฟคือญาณแล้ว บุคคลนั้น ตรัสเรียกว่า ผู้ไม่ตระหนี่ รวมความว่า ไม่ทะเยอทะยาน
ไม่ตระหนี่

ว่าด้วยความคะนอง ๓ อย่าง
คำว่า ไม่คะนอง ไม่เป็นที่น่ารังเกียจ อธิบายว่า
คำว่า ความคะนอง ได้แก่ ความคะนอง ๓ อย่าง คือ
๑. ความคะนองทางกาย ๒. ความคะนองทางวาจา
๓. ความคะนองทางใจ
ความคะนองทางกาย เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ อยู่ในหมู่สงฆ์ก็แสดงความคะนองทางกาย
อยู่ในหมู่คณะ ... อยู่ในศาลาโรงฉัน ... อยู่ในเรือนไฟ ... อยู่ที่ท่าน้ำ ... กำลังเข้าสู่
ละแวกบ้าน ... เข้าสู่ละแวกบ้านแล้ว ก็แสดงความคะนองทางกาย
ภิกษุอยู่ในหมู่สงฆ์แสดงความคะนองทางกาย เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ อยู่ในหมู่สงฆ์ก็ไม่ทำความยำเกรง ยืนเบียด
เสียดภิกษุเถระบ้าง นั่งเบียดเสียดบ้าง ยืนบังหน้าบ้าง นั่งบังหน้าบ้าง นั่งบนอาสนะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๒๖๕ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๑๐. ปุราเภทสุตตนิทเทส
สูงบ้าง นั่งคลุมศีรษะบ้าง ยืนพูดบ้าง แกว่งแขนพูดบ้าง ภิกษุอยู่ในหมู่สงฆ์แสดง
ความคะนองทางกาย เป็นอย่างนี้
ภิกษุอยู่ในหมู่คณะแสดงความคะนองทางกาย เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ อยู่ในหมู่คณะก็ไม่ทำความยำเกรง เมื่อภิกษุ
เถระไม่สวมรองเท้าเดินจงกรมอยู่ ก็สวมรองเท้าเดินจงกรม เมื่อภิกษุเถระเดิน
จงกรมบนลานจงกรมต่ำ ก็เดินจงกรมบนลานจงกรมสูง เมื่อภิกษุเถระเดินจงกรมบน
พื้นดิน ก็เดินจงกรมบนลานจงกรม ยืนเบียดเสียดบ้าง นั่งเบียดเสียดบ้าง ยืนบัง
หน้าบ้าง นั่งบังหน้าบ้าง นั่งบนอาสนะสูงบ้าง นั่งคลุมศีรษะบ้าง ยืนพูดบ้าง แกว่งแขน
พูดบ้าง ภิกษุอยู่ในหมู่คณะแสดงความคะนองทางกาย เป็นอย่างนี้
ภิกษุอยู่ในศาลาโรงฉันแสดงความคะนองทางกาย เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ อยู่ในศาลาโรงฉัน ก็ไม่ทำความยำเกรง
นั่งแทรกภิกษุเถระบ้าง นั่งกีดกันอาสนะภิกษุนวกะบ้าง ยืนเบียดเสียดบ้าง นั่งเบียด
เสียดบ้าง ยืนบังหน้าบ้าง นั่งบังหน้าบ้าง นั่งบนอาสนะสูงบ้าง นั่งคลุมศีรษะบ้าง
ยืนพูดบ้าง แกว่งแขนพูดบ้าง ภิกษุอยู่ในศาลาโรงฉันแสดงความคะนองทางกาย
เป็นอย่างนี้
ภิกษุอยู่ในเรือนไฟแสดงความคะนองทางกาย เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ อยู่ในเรือนไฟไม่ทำความยำเกรง ยืนเบียด
เสียดภิกษุเถระบ้าง นั่งเบียดเสียดบ้าง ยืนบังหน้าบ้าง นั่งบังหน้าบ้าง นั่งบนอาสนะ
สูงบ้าง ไม่บอกก่อนแล้วใส่ฟืนบ้าง ไม่บอกก่อนแล้วปิดประตูบ้าง แกว่งแขนพูดบ้าง
ภิกษุอยู่ในเรือนไฟแสดงความคะนองทางกาย เป็นอย่างนี้
ภิกษุอยู่ที่ท่าน้ำแสดงความคะนองทางกาย เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ อยู่ที่ท่าน้ำไม่ทำความยำเกรง ลงเบียดเสียด
ภิกษุเถระบ้าง ลงข้างหน้าบ้าง อาบเบียดเสียดบ้าง อาบข้างหน้าบ้าง อาบเหนือ
น้ำบ้าง ขึ้นเบียดเสียดบ้าง ขึ้นข้างหน้าบ้าง ขึ้นเหนือน้ำบ้าง ภิกษุอยู่ที่ท่าน้ำแสดง
ความคะนองทางกาย เป็นอย่างนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๒๖๖ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๑๐. ปุราเภทสุตตนิทเทส
ภิกษุกำลังเข้าสู่ละแวกบ้านแสดงความคะนองทางกาย เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ กำลังเข้าสู่ละแวกบ้าน ไม่ทำความยำเกรง
เดินเบียดเสียดภิกษุเถระบ้าง เดินข้างหน้าบ้าง เดินแซงขึ้นหน้าภิกษุเถระบ้าง ภิกษุ
กำลังเข้าสู่ละแวกบ้านแสดงความคะนองทางกาย เป็นอย่างนี้
ภิกษุเข้าสู่ละแวกบ้านแล้วแสดงความคะนองทางกาย เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ เข้าสู่ละแวกบ้านแล้ว เมื่อเขาบอกว่า
“ขออย่าเข้าไปครับท่าน” ก็ยังเข้าไป เมื่อเขาบอกว่า “อย่ายืนครับท่าน” ก็ยังยืนขึ้น
เมื่อเขาบอกว่า “ขออย่านั่งครับท่าน” ก็ยังนั่งลง เข้าไปสู่ที่เป็นโอกาสไม่สมควรบ้าง
ยืนในที่เป็นโอกาสไม่สมควรบ้าง นั่งในที่เป็นโอกาสไม่สมควรบ้าง ผลุนผลันเข้าไป
ในห้องเล็กที่ซ่อนเร้นปกปิดของตระกูลบ้าง ในห้องที่กุลสตรี กุลธิดา สะใภ้ของ
ตระกูล กุมารีของตระกูลนั่งอยู่บ้าง ลูบศีรษะเด็กเล่นบ้าง ภิกษุเข้าสู่ละแวกบ้านแล้ว
แสดงความคะนองทางกาย เป็นอย่างนี้ นี้ชื่อว่าความคะนองทางกาย
ความคะนองทางวาจา เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ อยู่ในหมู่สงฆ์แสดงความคะนองทางวาจาบ้าง
อยู่ในหมู่คณะแสดงความคะนองทางวาจาบ้าง เข้าสู่ละแวกบ้านแล้วแสดงความ
คะนองทางวาจาบ้าง
ภิกษุอยู่ในหมู่สงฆ์แสดงความคะนองทางวาจา เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ อยู่ในหมู่สงฆ์ไม่ทำความยำเกรง ไม่เรียนแจ้ง
ภิกษุเถระหรือไม่ได้รับอาราธนา ก็แสดงธรรม วิสัชนาปัญหา สวดปาติโมกข์แก่
ภิกษุที่อยู่ในอาราม ยืนพูดบ้าง แกว่งแขนพูดบ้าง ภิกษุอยู่ในหมู่สงฆ์แสดงความ
คะนองทางวาจา เป็นอย่างนี้
ภิกษุอยู่ในหมู่คณะแสดงความคะนองทางวาจา เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ อยู่ในหมู่คณะไม่ทำความยำเกรง ไม่เรียนแจ้ง
ภิกษุเถระหรือไม่ได้รับอาราธนา ก็แสดงธรรม วิสัชนาปัญหาแก่ภิกษุทั้งหลายที่อยู่
ในอาราม ยืนพูดบ้าง แกว่งแขนพูดบ้าง แสดงธรรม วิสัชนาปัญหา แก่ภิกษุ ภิกษุณี
อุบาสก อุบาสิกาที่อยู่ในอาราม ยืนพูดบ้าง แกว่งแขนพูดบ้าง ภิกษุอยู่ในหมู่คณะ
แสดงความคะนองทางวาจา เป็นอย่างนี้


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๒๖๗ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๑๐. ปุราเภทสุตตนิทเทส
ภิกษุเข้าสู่ละแวกบ้านแล้ว แสดงความคะนองทางวาจา เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ เข้าสู่ละแวกบ้านแล้ว พูดกับสตรีหรือเด็กหญิง
อย่างนี้ว่า “แม่หนูชื่อนี้ นามสกุลนี้ มีอะไรบ้างล่ะ ข้าวต้มมีไหม ข้าวสวยมีไหม
ของขบเคี้ยวมีบ้างไหม พวกอาตมาจักดื่มอะไร จักฉันอะไร จักเคี้ยวอะไร มีอะไร
บ้าง หรือพวกเธอจักถวายอะไรแก่อาตมาบ้างล่ะ” พูดพร่ำเพ้อไป การพูดพล่าม
การพูดเพ้อ การพูดเพ้อเจ้อ การพูดพร่ำเพ้อ กิริยาที่พูดพร่ำเพ้อ ภาวะที่พูดพร่ำเพ้อ
เห็นปานนี้ ภิกษุเข้าสู่ละแวกบ้านแล้ว แสดงความคะนองทางวาจา เป็นอย่างนี้
นี้ชื่อว่าความคะนองทางวาจา
ความคะนองทางใจ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษบางรูปในธรรมวินัยนี้ มิใช่ออกบวชจากตระกูลสูง ก็มีจิตวางตัวเช่น
เดียวกับภิกษุผู้ออกบวชจากตระกูลสูง มิใช่ออกบวชจากตระกูลใหญ่ ก็มีจิตวางตัว
เช่นเดียวกับภิกษุผู้ออกบวชจากตระกูลใหญ่ มิใช่ออกบวชจากตระกูลที่มีโภคสมบัติ
มาก ... มิใช่ออกบวชจากตระกูลที่มีโภคสมบัติยิ่งใหญ่ ... มิใช่เป็นผู้ทรงจำพระสูตร ...
มิใช่เป็นผู้ทรงจำพระวินัย ... มิใช่เป็นพระธรรมกถึก ... มิใช่เป็นผู้อยู่ป่าเป็นวัตร ...
มิใช่เป็นผู้เที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร ... มิใช่เป็นผู้นุ่งห่มผ้าบังสุกุลเป็นวัตร ... มิใช่เป็น
ผู้ทรงไตรจีวรเป็นวัตร ... มิใช่เป็นผู้เที่ยวบิณฑบาตตามลำดับตรอกเป็นวัตร ... มิใช่
เป็นผู้งดอาหารมื้อหลังเป็นวัตร ... มิใช่เป็นผู้ถือการนั่งเป็นวัตร ... มิใช่เป็นผู้ถือการ
อยู่ในเสนาสนะตามที่เขาจัดให้เป็นวัตร ... มิใช่เป็นผู้ได้ปฐมฌานก็มีจิตวางตัวเช่น
เดียวกับภิกษุผู้ได้ปฐมฌาน ... มิใช่เป็นผู้ได้เนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ
ก็มีจิตวางตัวเช่นเดียวกับภิกษุผู้ได้เนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ นี้ชื่อว่าความ
คะนองทางใจ
ความคะนอง ๓ อย่างนี้ ผู้ใดละได้แล้ว ตัดขาดได้แล้ว ทำให้สงบได้แล้ว
ระงับได้แล้ว ทำให้เกิดขึ้นไม่ได้อีก เผาด้วยไฟคือญาณแล้ว ผู้นั้น ตรัสเรียกว่า
ผู้ไม่คะนอง รวมความว่า ผู้ไม่คะนอง


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๒๖๘ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๑๐. ปุราเภทสุตตนิทเทส
ว่าด้วยผู้น่ารังเกียจและไม่น่ารังเกียจ
คำว่า ไม่เป็นที่น่ารังเกียจ ได้แก่ บุคคลผู้น่ารังเกียจก็มี บุคคลผู้ไม่น่า
รังเกียจก็มี
บุคคลผู้น่ารังเกียจ เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ทุศีล ถือความชั่วเป็นเรื่องธรรมดา มีความ
ประพฤติไม่สะอาดที่นึกถึงได้ด้วยความน่ารังเกียจ มีการงานที่ปกปิด มิได้เป็นสมณะ
ก็ปฏิญญาว่าเป็นสมณะ มิได้ประพฤติพรหมจรรย์ก็ปฏิญญาว่าประพฤติพรหมจรรย์
เป็นคนเน่าภายใน มีใจชุ่มโชกด้วยความกำหนัด เป็นดุจขยะ นี้ตรัสเรียกว่า บุคคล
ผู้น่ารังเกียจ
อีกนัยหนึ่ง เขาเป็นคนมักโกรธ มากไปด้วยความแค้นเคือง ถูกใครว่าหน่อยก็
ขัดใจ โกรธเคือง พยาบาท มุ่งร้าย ทำความโกรธ ความแค้นเคือง และความ
ไม่ยินดีให้ปรากฏเสมอ นี้ตรัสเรียกว่า บุคคลผู้น่ารังเกียจ
อีกนัยหนึ่ง เขาเป็นคนมักโกรธ ผูกโกรธ ลบหลู่ ตีเสมอ ริษยา ตระหนี่
โอ้อวด หลอกลวง กระด้าง ถือตัว มีความอยากที่เลวทราม มีความเห็นผิด
ถือความคิดเห็นของตนเองเป็นใหญ่ ถือรั้น เปลี่ยนความคิดเห็นยาก นี้ตรัสเรียกว่า
บุคคลผู้น่ารังเกียจ
บุคคลผู้ไม่น่ารังเกียจ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีศีล สำรวมด้วยการสังวรในปาติโมกข์ สมบูรณ์
ด้วยอาจาระและโคจร มองเห็นภัยในโทษแม้เพียงเล็กน้อย สมาทานศึกษาอยู่ใน
สิกขาบททั้งหลาย นี้ตรัสเรียกว่า บุคคลผู้ไม่น่ารังเกียจ
อีกนัยหนึ่ง เธอเป็นคนไม่มักโกรธ ไม่มากไปด้วยความแค้นเคือง แม้ถูกใครว่า
กล่าวมากมาย ก็ไม่ขัดใจ ไม่โกรธเคือง ไม่พยาบาท ไม่มุ่งร้าย ไม่ทำความโกรธ
ความแค้นเคือง และความไม่ยินดีให้ปรากฏ นี้ตรัสเรียกว่า บุคคลผู้ไม่น่ารังเกียจ
อีกนัยหนึ่ง เธอเป็นคนไม่มักโกรธ ไม่ผูกโกรธ ไม่ลบหลู่ ไม่ตีเสมอ ไม่ริษยา
ไม่ตระหนี่ ไม่โอ้อวด ไม่หลอกลวง ไม่แข็งกระด้าง ไม่ถือตัว ไม่มีความอยากที่เลว


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๒๖๙ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๑๐. ปุราเภทสุตตนิทเทส
ทราม ไม่มีความเห็นผิด ไม่ถือความคิดเห็นของตนเองเป็นใหญ่ ไม่ถือรั้น เปลี่ยน
ความคิดเห็นง่าย นี้ตรัสเรียกว่า บุคคลผู้ไม่น่ารังเกียจ พระอริยบุคคลทุกประเภท
รวมทั้งกัลยาณปุถุชน เป็นบุคคลผู้ไม่น่ารังเกียจ รวมความว่า ผู้ไม่คะนอง ไม่เป็นที่
น่ารังเกียจ

ว่าด้วยผู้มีวาจาส่อเสียด
คำว่า และไม่ประกอบในความเป็นผู้มีวาจาส่อเสียด อธิบายว่า
คำว่า ความเป็นผู้มีวาจาส่อเสียด อธิบายว่า คนบางคนในโลกนี้ เป็นผู้มี
วาจาส่อเสียด ฟังจากข้างนี้แล้วไปบอกคนข้างโน้นเพื่อทำลายคนหมู่นี้ หรือฟังจาก
ข้างโน้นแล้วไปบอกคนข้างนี้เพื่อทำลายคนหมู่โน้น ด้วยวิธีนี้ ก็ทำคนที่สามัคคีให้
แตกแยก หรือสนับสนุนผู้ที่แตกแยกกันแล้ว ชอบการแบ่งพวกแบ่งเหล่า ยินดีการ
แบ่งพวกแบ่งเหล่า สนุกกับการแบ่งพวกแบ่งเหล่า พูดแต่เรื่องก่อให้เกิดการแบ่ง
พวกแบ่งเหล่า นี้ตรัสเรียกว่า ความเป็นผู้มีวาจาส่อเสียด
อีกนัยหนึ่ง บุคคลย่อมนำวาจาส่อเสียดเข้าไปด้วยเหตุ ๒ อย่าง คือ
๑. ด้วยประสงค์ให้ตนเป็นที่รัก ๒. ด้วยประสงค์ให้เขาแตกกัน
บุคคลย่อมนำวาจาส่อเสียดเข้าไปด้วยประสงค์ให้ตนเป็นที่รัก เป็นอย่างไร
คือ บุคคลย่อมนำวาจาส่อเสียดเข้าไปด้วยความประสงค์ให้ตนเป็นที่รักด้วย
คิดว่า “เราจักเป็นที่รัก เป็นที่พอใจ เป็นที่คุ้นเคย เป็นที่สนิทสนม เป็นที่ดีใจ
ของผู้นี้” บุคคลย่อมนำวาจาส่อเสียดเข้าไปด้วยประสงค์ให้ตนเป็นที่รัก เป็นอย่างนี้
บุคคลย่อมนำวาจาส่อเสียดเข้าไปด้วยประสงค์จะทำให้เขาแตกกัน
เป็นอย่างไร
คือ บุคคลย่อมนำวาจาส่อเสียดเข้าไปด้วยคิดว่า “ทำอย่างไร ชนเหล่านี้พึงเป็น
คนแปลกแยก แตกต่าง เป็นพรรคเป็นเหล่า เป็น ๒ พวก เป็น ๒ ฝัก ๒ ฝ่าย
แตกแยก ไม่ปรองดองกัน อยู่ลำบาก ไม่สบาย” บุคคลย่อมนำวาจาส่อเสียดเข้าไป
ด้วยประสงค์จะให้เขาแตกกัน เป็นอย่างนี้


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๒๗๐ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๑๐. ปุราเภทสุตตนิทเทส
วาจาส่อเสียดนี้ ผู้ใดละได้แล้ว ตัดขาดได้แล้ว ทำให้สงบได้แล้ว ระงับ
ได้แล้ว ทำให้เกิดขึ้นไม่ได้อีก เผาด้วยไฟคือญาณแล้ว ผู้นั้น ชื่อว่าไม่ประกอบ คือ
ไม่เกี่ยวข้อง ไม่ขวนขวาย ไม่พัวพันในความเป็นผู้มีวาจาส่อเสียด รวมความว่า และ
ไม่ประกอบในความเป็นผู้มีวาจาส่อเสียด ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า
บุคคลเป็นผู้หลีกเร้น ไม่หลอกลวง ไม่ทะเยอทะยาน
ไม่ตระหนี่ ไม่คะนอง ไม่เป็นที่น่ารังเกียจ
และไม่ประกอบในความเป็นผู้มีวาจาส่อเสียด
[๘๘] (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า)
บุคคลผู้ไม่ยินดีในสิ่งน่ายินดี
ไม่ประกอบในความดูหมิ่น ละเอียดอ่อน มีปฏิภาณ
ไม่ต้องเชื่อใคร และไม่ต้องคลายกำหนัด

ว่าด้วยกามคุณ ๕
คำว่า ไม่ยินดีในสิ่งน่ายินดี อธิบายว่า กามคุณ ๕ ตรัสเรียกว่า สิ่งน่ายินดี
เพราะเหตุไร กามคุณ ๕ จึงตรัสเรียกว่า สิ่งน่ายินดี เพราะโดยส่วนมาก
เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ย่อมต้องการ ยินดี ปรารถนา มุ่งหมาย มุ่งหวัง
กามคุณ ๕ เพราะเหตุนั้น กามคุณ ๕ จึงตรัสเรียกว่า สิ่งน่ายินดี
สิ่งที่น่ายินดีคือตัณหานี้ชนเหล่าใดยังละไม่ได้ รูปตัณหาก็ย่อมไหล หลั่งไหล
ซ่านไป เป็นไปทางตาของชนเหล่านั้น สัททตัณหาย่อมไหล... ทางหู ... คันธตัณหา
ย่อมไหล... ทางจมูก ... รสตัณหาย่อมไหล... ทางลิ้น ... โผฏฐัพพตัณหาย่อมไหล...
ทางกาย ... ธัมมตัณหาก็ย่อมไหล หลั่งไหล ซ่านไป เป็นไป ทางมโนวิญญาณของ
ชนเหล่านั้น สิ่งน่ายินดีคือตัณหานี้ชนเหล่าใดละได้แล้ว ตัดขาดได้แล้ว ทำให้สงบ
ได้แล้ว ระงับได้แล้ว ทำให้เกิดขึ้นไม่ได้อีก เผาด้วยไฟคือญาณแล้ว รูปตัณหา
ย่อมไม่ไหล ไม่หลั่งไหล ไม่ซ่านไป ไม่เป็นไปทางตาของชนเหล่านั้น สัททตัณหา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๒๗๑ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๑๐. ปุราเภทสุตตนิทเทส
ย่อมไม่ไหล... ทางหู ... คันธตัณหาย่อมไม่ไหล... ทางจมูก ... รสตัณหาย่อมไม่ไหล...
ทางลิ้น ... โผฏฐัพพตัณหาย่อมไม่ไหล... ทางกาย ... ธัมมตัณหาย่อมไม่ไหล
ไม่หลั่งไหล ไม่ซ่านไป ไม่เป็นไป ทางมโนวิญญาณของชนเหล่านั้น รวมความว่า
ไม่ยินดีในสิ่งน่ายินดี

ว่าด้วยความดูหมิ่น
คำว่า ไม่ประกอบในความดูหมิ่น อธิบายว่า
ความดูหมิ่น เป็นอย่างไร
คือ คนบางคนในโลกนี้ ดูหมิ่นผู้อื่นเพราะชาติบ้าง เพราะโคตรบ้าง ... เพราะ
เรื่องอื่นนอกจากที่กล่าวแล้วบ้าง ความถือตัว กิริยาที่ถือตัว ภาวะที่ถือตัว ความ
ลำพองตน ความทะนงตน ความเชิดชูตนเป็นดุจธง ความเห่อเหิม ความที่ต้องการ
เชิดชูตนเป็นดุจธงเห็นปานนี้ นี้ตรัสเรียกว่า ความดูหมิ่น ความดูหมิ่นนั้น ผู้ใด
ละได้แล้ว ตัดขาดได้แล้ว ทำให้สงบได้แล้ว ระงับได้แล้ว ทำให้เกิดขึ้นไม่ได้อีก
เผาด้วยไฟคือญาณแล้ว ผู้นั้นชื่อว่า ไม่ประกอบ คือ ไม่เกี่ยวข้อง ไม่ขวนขวาย
ไม่พัวพันในความดูหมิ่น รวมความว่า ไม่ประกอบในความดูหมิ่น
คำว่า ละเอียดอ่อน มีปฏิภาณ อธิบายว่า ชื่อว่าละเอียดอ่อน เพราะ
ประกอบด้วยกายกรรมอันละเอียดอ่อน ... วจีกรรมอันละเอียดอ่อน ... มโนกรรม
อันละเอียดอ่อน ... สติปัฏฐานอันละเอียดอ่อน ... สัมมัปปธานอันละเอียดอ่อน ...
อิทธิบาทอันละเอียดอ่อน ... อินทรีย์อันละเอียดอ่อน ... พละอันละเอียดอ่อน ...
โพชฌงค์อันละเอียดอ่อน ชื่อว่าละเอียดอ่อน เพราะประกอบด้วยอริยมรรคมีองค์ ๘
อันละเอียดอ่อน

ว่าด้วยผู้มีปฏิภาณ ๓ จำพวก
คำว่า มีปฏิภาณ อธิบายว่า บุคคลผู้มีปฏิภาณ ๓ จำพวก คือ
๑. บุคคลผู้มีปฏิภาณเพราะปริยัติ
๒. บุคคลผู้มีปฏิภาณเพราะปริปุจฉา
๓. บุคคลผู้มีปฏิภาณเพราะอธิคม

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๒๗๒ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๑๐. ปุราเภทสุตตนิทเทส
บุคคลผู้มีปฏิภาณเพราะปริยัติ เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในศาสนานี้ ได้เล่าเรียนพระพุทธพจน์ คือ สุตตะ เคยยะ
เวยยากรณะ คาถา อุทาน อิติวุตตกะ ชาตกะ อัพภูตธรรม เวทัลละ ญาณ(ความรู้)
ของบุคคลนั้นย่อมแจ่มแจ้ง เพราะอาศัยการเล่าเรียน บุคคลนี้ชื่อว่าผู้มีปฏิภาณ
เพราะปริยัติ
บุคคลผู้มีปฏิภาณเพราะปริปุจฉา เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในศาสนานี้ เป็นผู้ไต่สวนในประโยชน์ของตน ในความหมาย
ที่ควรรู้ ในลักษณะ ในเหตุ ในฐานะและอฐานะ ญาณของเขาย่อมแจ่มแจ้งเพราะ
การไต่สวนนั้น บุคคลนี้ชื่อว่าผู้มีปฏิภาณเพราะปริปุจฉา
บุคคลผู้มีปฏิภาณเพราะอธิคม เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในศาสนานี้ ได้บรรลุสติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔
อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ อริยมรรคมีองค์ ๘ อริยมรรค ๔ สามัญญผล ๔
ปฏิสัมภิทา ๔ อภิญญา ๖ บุคคลนั้นรู้เหตุ รู้ผล รู้นิรุตติ เมื่อรู้เหตุ เหตุก็แจ่มแจ้ง
เมื่อรู้ผล ผลก็แจ่มแจ้ง เมื่อรู้นิรุตติ๑ นิรุตติก็แจ่มแจ้ง ญาณในเหตุ ผล และนิรุตติ
ทั้ง ๓ เหล่านี้ ชื่อว่า ปฏิภาณปฏิสัมภิทา ผู้ประกอบ ประกอบพร้อม ดำเนินไป ดำเนินไป
พร้อม เป็นไป เป็นไปพร้อม เพียบพร้อมด้วยปฏิภาณปฏิสัมภิทานี้
บุคคลนั้นตรัสเรียกว่าผู้มีปฏิภาณ
ผู้ใดไม่มีปริยัติ ไม่มีปริปุจฉา ไม่มีอธิคม ญาณอะไรเล่าจักแจ่มแจ้งแก่เขาได้
รวมความว่า ละเอียดอ่อน มีปฏิภาณ

เชิงอรรถ :
๑ รู้นิรุตติ คือรู้ภาษาแจ่มแจ้ง บางทีท่านเรียกว่า นิรุตติปฏิสัมภิทา ปัญญาแตกฉานในนิรุตติ ปรีชาแจ้งใน
ภาษา รู้ศัพท์ ถ้อยคำบัญญัติ และภาษาต่าง ๆ เข้าใจใช้คำพูดชี้แจงให้ผู้อื่นเข้าใจและเห็นตามได้ (องฺ.จตุกฺก.
๒๑/๑๗๒/๑๘๓-๑๘๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๒๗๓ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๑๐. ปุราเภทสุตตนิทเทส
ว่าด้วยรู้ธรรมแล้วไม่ต้องเชื่อใครอีก
คำว่า ไม่ต้องเชื่อใคร ในคำว่า ไม่ต้องเชื่อใคร ไม่ต้องคลายกำหนัด
อธิบายว่า ธรรมที่ตนรู้ยิ่ง เห็นจริงด้วยตนเองแล้ว บุคคลไม่ต้องเชื่อใคร ๆ อื่น ไม่ว่า
จะเป็นสมณะ พราหมณ์ เทวดา มาร หรือพรหมก็ตาม คือ ธรรมที่ตนรู้ยิ่ง เห็นจริง
ด้วยตนเองแล้วว่า “สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง” บุคคลนั้นไม่ต้องเชื่อใคร ๆ อื่น ไม่ว่าจะ
เป็นสมณะ พราหมณ์ เทวดา มาร หรือพรหมก็ตาม คือธรรมที่ตนรู้ยิ่ง เห็น
จริงด้วยตนเองแล้วว่า “สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์ ... ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา ...
เพราะอวิชชาเป็นปัจจัยสังขารจึงมี ... เพราะชาติเป็นปัจจัยชรามรณะจึงมี ... เพราะ
อวิชชาดับ สังขารจึงดับ ... เพราะชาติดับ ชรามรณะจึงดับ ... นี้ทุกข์ ... นี้ทุกขนิโรธ-
คามินีปฏิปทา ... เหล่านี้อาสวะ ... นี้อาสวนิโรธคามินีปฏิปทา ... ธรรมเหล่านี้ควรรู้
แจ้ง ... ธรรมเหล่านี้ควรทำให้แจ้ง ... เหตุเกิด เหตุดับ คุณ โทษและการสลัดออก
แห่งผัสสายตนะ ๖ ... เหตุเกิด เหตุดับ คุณ โทษ และการสลัดออกแห่งอุปาทาน-
ขันธ์ ๕ ... เหตุเกิด เหตุดับ คุณ โทษ และการสลัดออกแห่งมหาภูตรูป ๔ ...
สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งหมดล้วนมีความดับไปเป็นธรรมดา”
บุคคลนั้นไม่ต้องเชื่อใคร ๆ อื่น ไม่ว่าจะเป็นสมณะ พราหมณ์ เทวดา มาร หรือ
พรหมก็ตาม
สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “สารีบุตร เธอเชื่อไหมว่า สัทธินทรีย์
ที่บุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมหยั่งลงสู่อมตธรรม มีอมตธรรมเป็นที่ไปใน
เบื้องหน้า มีอมตธรรมเป็นที่สุด ... วิริยินทรีย์ ... สตินทรีย์ ... สมาธินทรีย์ ...
ปัญญินทรีย์ ที่บุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมหยั่งลงสู่อมตธรรม มีอมตธรรม
เป็นที่ไปในเบื้องหน้า มีอมตธรรมเป็นที่สุด”
ท่านพระสารีบุตรกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ในข้อนี้ข้าพระองค์ไม่
จำต้องดำเนินไปด้วยความเชื่อต่อพระผู้มีพระภาคเลยว่า สัทธินทรีย์ ... วิริยินทรีย์ ...
สตินทรีย์ ... สมาธินทรีย์ ... ปัญญินทรีย์ ที่บุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อม
หยั่งลงสู่อมตธรรม มีอมตธรรมเป็นที่ไปในเบื้องหน้า มีอมตธรรมเป็นที่สุด ข้าแต่
พระองค์ผู้เจริญ ข้อนี้ ชนเหล่าใด ไม่รู้ ไม่เห็น ไม่เข้าใจ มิได้ทำให้แจ้ง มิได้สัมผัส
ด้วยปัญญาแล้ว ชนเหล่านั้น พึงต้องถึงความเชื่อต่อผู้อื่นในข้อนั้นว่า สัทธินทรีย์ ...


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๒๗๔ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๑๐. ปุราเภทสุตตนิทเทส
ปัญญินทรีย์ ที่บุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมหยั่งลงสู่อมตธรรม มีอมตธรรม
เป็นที่ไปในเบื้องหน้า มีอมตธรรมเป็นที่สุด ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้อนี้ ชนเหล่าใด
รู้ เห็น เข้าใจ ทำให้แจ้ง สัมผัสด้วยปัญญาแล้ว ชนเหล่านั้น ย่อมไม่มีความ
สงสัย ไม่มีความแคลงใจในข้อนั้นเลยว่า สัทธินทรีย์ ... วิริยินทรีย์ ... สตินทรีย์ ...
สมาธินทรีย์ ... ปัญญินทรีย์ ที่บุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมหยั่งลงสู่
อมตธรรม มีอมตธรรมเป็นที่ไปในเบื้องหน้า มีอมตธรรมเป็นที่สุด”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้อนี้ข้าพระองค์รู้ เห็น เข้าใจ ทำให้แจ้ง สัมผัส
ด้วยปัญญาแล้ว ข้าพระองค์ไม่มีความสงสัย ไม่มีความแคลงใจในข้อนั้นเลยว่า
สัทธินทรีย์ ... วิริยินทรีย์ ... สตินทรีย์ ... สมาธินทรีย์ ... ปัญญินทรีย์ที่บุคคล
เจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมหยั่งลงสู่อมตธรรม มีอมตธรรมเป็นที่ไปในเบื้องหน้า
มีอมตธรรมเป็นที่สุด”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ดีละ ดีละ สารีบุตร ข้อนี้ ชนเหล่าใด ไม่รู้ ไม่เห็น
ไม่เข้าใจ มิได้ทำให้แจ้ง มิได้สัมผัสด้วยปัญญาแล้ว ชนเหล่านั้น พึงต้องดำเนินไป
ด้วยความเชื่อต่อผู้อื่นในข้อนั้นว่า สัทธินทรีย์ ... ปัญญินทรีย์ ที่บุคคลเจริญแล้ว
ทำให้มากแล้ว ย่อมหยั่งลงสู่อมตธรรม มีอมตธรรมเป็นที่ไปในเบื้องหน้า มีอมตธรรม
เป็นที่สุด”๑
(พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดา ครั้นตรัสเวยยากรณ์ภาษิตนี้แล้ว จึงได้ตรัส
คาถาประพันธ์ต่อไปว่า)
นรชนใดผู้ไม่ต้องเชื่อใคร
รู้จักนิพพานที่ปัจจัยอะไรปรุงแต่งไม่ได้
ตัดรอยต่อแห่งการเกิดใหม่
ทำลายโอกาสแห่งการท่องเที่ยวไปในสงสาร
คลายความหวังแล้ว นรชนนั้นแล เป็นบุรุษสูงสุด๒

เชิงอรรถ :
๑ สํ.ม. ๑๙/๕๒๗/๒๐๔
๒ ขุ.ธ. ๒๕/๙๗/๓๔

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๒๗๕ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๑๐. ปุราเภทสุตตนิทเทส
ว่าด้วยผู้ไม่คลายกำหนัด
คำว่า ไม่ต้องเชื่อใคร และไม่ต้องคลายกำหนัด อธิบายว่า พาลปุถุชน
ทั้งหมดย่อมกำหนัด พระเสขะ ๗ จำพวก รวมทั้งกัลยาณปุถุชน ย่อมคลายกำหนัด
พระอรหันต์ย่อมไม่กำหนัด จึงไม่ต้องคลายกำหนัด พระอรหันต์ชื่อว่าผู้งดเว้น
เพราะหมดสิ้นราคะแล้ว เพราะหมดสิ้นโทสะแล้ว เพราะหมดสิ้นโมหะแล้ว ท่านอยู่
ใน(อริยวาสธรรม)แล้ว ประพฤติจรณธรรมแล้ว ... พระอรหันต์ไม่มีการเวียนเกิด
เวียนตาย และภพใหม่ก็ไม่มีอีก รวมความว่า ไม่ต้องเชื่อใคร และไม่ต้องคลาย
กำหนัด ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า
บุคคลผู้ไม่ยินดีในสิ่งน่ายินดี
ไม่ประกอบในความดูหมิ่น ละเอียดอ่อน มีปฏิภาณ
ไม่ต้องเชื่อใคร และไม่ต้องคลายกำหนัด
[๘๙] (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า)
บุคคลไม่ศึกษาเพราะอยากได้ลาภ
ไม่โกรธเพราะไม่ได้ลาภ ไม่เดือดดาล
และไม่ยินดีในรสเพราะตัณหา

ว่าด้วยศึกษาเพราะอยากได้ลาภ
คำว่า บุคคลไม่ศึกษาเพราะอยากได้ลาภ ไม่โกรธเพราะไม่ได้ลาภ
อธิบายว่า
บุคคลศึกษาเพราะอยากได้ลาภ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เห็นภิกษุได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ
และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร เธอคิดอย่างนี้ว่า “เพราะเหตุไรหนอ ท่านผู้มีอายุนี้
จึงได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร” เธอคิดต่อไปว่า
“ท่านผู้มีอายุนี้เป็นผู้ทรงจำพระสูตร เพราะเหตุนั้น ท่านจึงได้จีวร บิณฑบาต
เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร” เธอหวังลาภ จึงเล่าเรียนพระสูตร เพราะ
ลาภเป็นเหตุ เพราะลาภเป็นปัจจัย เพราะลาภเป็นต้นเหตุ เพราะมุ่งหวังการเกิดลาภ
โดยเฉพาะ บุคคลชื่อว่าศึกษาเพราะอยากได้ลาภ เป็นอย่างนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๒๗๖ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๑๐. ปุราเภทสุตตนิทเทส
อีกนัยหนึ่ง ภิกษุเห็นภิกษุได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัย-
เภสัชบริขาร เธอคิดอย่างนี้ว่า “เพราะเหตุไรหนอ ท่านผู้มีอายุนี้ จึงได้จีวร บิณฑบาต
เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร” เธอมีความคิดต่อไปว่า “ท่านผู้มีอายุนี้
เป็นผู้ทรงจำพระวินัย ... ผู้ทรงจำพระอภิธรรม เพราะเหตุนั้น ท่านจึงได้จีวร บิณฑบาต
เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร” เธอมุ่งหวังลาภ จึงเล่าเรียน ... พระอภิธรรม
เพราะลาภเป็นเหตุ เพราะลาภเป็นปัจจัย เพราะลาภเป็นต้นเหตุ เพราะมุ่งหวังการ
เกิดลาภโดยเฉพาะ บุคคลชื่อว่าศึกษาเพราะอยากได้ลาภ เป็นอย่างนี้
อีกนัยหนึ่ง ภิกษุเห็นภิกษุได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัย-
เภสัชบริขาร เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า “เพราะเหตุไรหนอ ท่านผู้มีอายุนี้จึงได้จีวร
บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร” เธอมีความคิดต่อไปว่า “ท่าน
ผู้มีอายุนี้ เป็นผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร ... เป็นผู้เที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร ... เป็นผู้
นุ่งห่มผ้าบังสุกุลเป็นวัตร ... เป็นผู้ทรงไตรจีวรเป็นวัตร ... เป็นผู้เที่ยวบิณฑบาตตาม
ลำดับตรอกเป็นวัตร ... เป็นผู้งดฉันอาหารมื้อหลังเป็นวัตร ... เป็นผู้ถือการนั่งเป็นวัตร
... เป็นผู้ถือการอยู่ในเสนาสนะตามที่เขาจัดให้เป็นวัตร เพราะเหตุนั้น ท่านจึงได้จีวร
บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร” เธอมุ่งหวังลาภ จึงเป็น
ผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร ... เป็นผู้ถือการอยู่ในเสนาสนะตามที่เขาจัดให้เป็นวัตร เพราะ
ลาภเป็นเหตุ เพราะลาภเป็นปัจจัย เพราะลาภเป็นต้นเหตุ เพราะมุ่งหวังการเกิดลาภ
โดยเฉพาะ บุคคลชื่อว่าศึกษาเพราะอยากได้ลาภ เป็นอย่างนี้
บุคคลไม่ศึกษาเพราะอยากได้ลาภ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ มิได้มุ่งหวังลาภ เล่าเรียนพระสูตร เล่าเรียนพระวินัย
เล่าเรียนพระอภิธรรม เพื่อประโยชน์ในการฝึกตน เพื่อประโยชน์แก่ความสงบของตน
เพื่อประโยชน์ในการทำตนให้ดับเย็น (ปรินิพพาน) มิใช่เพราะลาภเป็นเหตุ มิใช่
เพราะลาภเป็นปัจจัย มิใช่เพราะลาภเป็นต้นเหตุ มิใช่เพราะมุ่งหวังการเกิดลาภโดย
เฉพาะ บุคคลชื่อว่าไม่ศึกษาเพราะอยากได้ลาภ เป็นอย่างนี้
อีกนัยหนึ่ง ภิกษุไม่มุ่งหวังลาภ เพียงอาศัยความปรารถนาน้อย ความสันโดษ
ความขัดเกลากิเลส ความสงัด ความเป็นผู้ต้องการกุศลนี้อย่างเดียวเท่านั้น จึงเป็น
ผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร ... เป็นผู้เที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร ... เป็นผู้นุ่งห่มผ้าบังสุกุล


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๒๗๗ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๑๐. ปุราเภทสุตตนิทเทส
เป็นวัตร ... เป็นผู้ทรงไตรจีวรเป็นวัตร ... เป็นผู้เที่ยวบิณฑบาตตามลำดับตรอกเป็น
วัตร ... เป็นผู้งดอาหารมื้อหลังเป็นวัตร ... เป็นผู้ถือการนั่งเป็นวัตร ... เป็นผู้ถือการ
อยู่ในเสนาสนะตามที่เขาจัดให้เป็นวัตร มิใช่เพราะลาภเป็นเหตุ มิใช่เพราะลาภเป็น
ปัจจัย มิใช่เพราะลาภเป็นต้นเหตุ มิใช่เพราะมุ่งหวังการเกิดลาภโดยเฉพาะ บุคคล
ชื่อว่าไม่ศึกษาเพราะอยากได้ลาภ เป็นอย่างนี้ รวมความว่า บุคคลไม่ศึกษาเพราะ
อยากได้ลาภ

ว่าด้วยโกรธเพราะการไม่ได้
คำว่า ไม่โกรธเพราะไม่ได้ลาภ อธิบายว่า
ภิกษุโกรธเพราะไม่ได้ลาภ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ ยังโกรธ คือ แค้น เคือง ทำความโกรธ
ความขัดเคือง และความไม่พอใจให้ปรากฏว่า “เราไม่ได้ตระกูล หมู่คณะ อาวาส
ลาภ ยศ สรรเสริญ สุข จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ คิลานปัจจัยเภสัชบริขาร หรือ
ผู้พยาบาลยามอาพาธ เราไม่มีชื่อเสียงที่คนรู้จัก” บุคคลชื่อว่าโกรธเพราะไม่ได้ลาภ
เป็นอย่างนี้
ภิกษุไม่โกรธเพราะไม่ได้ลาภ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ไม่โกรธ คือ ไม่แค้น ไม่เคือง ไม่ทำความโกรธ
ความขัดเคือง และความไม่พอใจให้ปรากฏว่า “เราไม่ได้ตระกูล หมู่คณะ อาวาส
ลาภ ยศ สรรเสริญ สุข จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ คิลานปัจจัยเภสัชบริขาร หรือ
ผู้พยาบาลยามอาพาธ เราไม่มีชื่อเสียงที่คนรู้จัก” บุคคลชื่อว่าไม่โกรธเพราะไม่ได้ลาภ
เป็นอย่างนี้ รวมความว่า บุคคลไม่ศึกษาเพราะอยากได้ลาภ ไม่โกรธเพราะไม่ได้ลาภ
คำว่า เดือดดาล ในคำว่า ไม่เดือดดาล และไม่ยินดีในรสเพราะตัณหา
ได้แก่ ใจปองร้าย มุ่งร้าย ขัดเคือง ขุ่นเคือง แค้นเคือง เคือง เคืองมาก เคืองตลอด
ชัง ชิงชัง เกลียดชัง ใจพยาบาท ใจแค้นเคือง ความโกรธ กิริยาที่โกรธ ภาวะ
ที่โกรธ ความคิดประทุษร้าย กิริยาที่คิดประทุษร้าย ภาวะที่คิดประทุษร้าย ความ
คิดปองร้าย กิริยาที่คิดปองร้าย ภาวะที่คิดปองร้าย ความโกรธ ความแค้น ความ
ดุร้าย ความเกรี้ยวกราด ความไม่แช่มชื่นแห่งจิตเห็นปานนี้ นี้เรียกว่า ความ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๒๗๘ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๑๐. ปุราเภทสุตตนิทเทส
เดือดดาล ความเดือดดาลนั้น ผู้ใดละได้แล้ว ตัดขาดได้แล้ว ทำให้สงบได้แล้ว
ระงับได้แล้ว ทำให้เกิดขึ้นไม่ได้อีก เผาด้วยไฟคือญาณแล้ว ผู้นั้น ตรัสเรียกว่า ผู้ไม่
เดือดดาล
คำว่า ตัณหา ได้แก่ รูปตัณหา สัททตัณหา คันธตัณหา รสตัณหา
โผฏฐัพพตัณหา ธัมมตัณหา
คำว่า รส ได้แก่ รสจากราก รสจากลำต้น รสจากเปลือก รสจากใบ รส
จากดอก รสจากผล รสเปรี้ยว รสหวาน รสขม รสเผ็ด รสเค็ม รสปร่า รสเฝื่อน
รสฝาด รสอร่อย รสไม่อร่อย รสเย็น รสร้อน สมณพราหมณ์บางพวก ยินดีในรส
สมณพราหมณ์เหล่านั้นเที่ยวแสวงหารสเลิศด้วยปลายลิ้น ได้รสเปรี้ยวแล้วก็แสวง
หารสไม่เปรี้ยว ได้รสไม่เปรี้ยวแล้วก็แสวงหารสเปรี้ยว ได้รสหวานแล้วก็แสวงหารส
ไม่หวาน ได้รสไม่หวานแล้วก็แสวงหารสหวาน ได้รสขมแล้วก็แสวงหารสไม่ขม ได้
รสไม่ขมแล้วก็แสวงหารสขม ได้รสเผ็ดแล้วก็แสวงหารสไม่เผ็ด ได้รสไม่เผ็ดแล้วก็
แสวงหารสเผ็ด ได้รสเค็มแล้วก็แสวงหารสไม่เค็ม ได้รสไม่เค็มแล้วก็แสวงหารสเค็ม
ได้รสปร่าแล้วก็แสวงหารสไม่ปร่า ได้รสไม่ปร่าแล้วก็แสวงหารสปร่า ได้รสเปรี้ยว
แล้วก็แสวงหารสฝาด ได้รสฝาดแล้วก็แสวงหารสเปรี้ยว ได้รสอร่อยแล้วก็แสวงหา
รสไม่อร่อย ได้รสไม่อร่อยแล้วก็แสวงหารสอร่อย ได้ของเย็นแล้วก็แสวงหาของร้อน
ได้ของร้อนแล้วก็แสวงหาของเย็น สมณพราหมณ์เหล่านั้นได้รสใด ๆ แล้วก็ไม่ยินดี
ด้วยรสนั้น ๆ ยังแสวงหารสอื่น ๆ ต่อไปอีก เป็นผู้กำหนัด ยินดี ติดใจ สยบ หมกมุ่น
เกาะติด เกี่ยวพัน พัวพันในรสที่ชอบใจ ตัณหาในรสนี้ภิกษุใดละได้แล้ว ตัดขาดได้แล้ว
ทำให้สงบได้แล้ว ระงับได้แล้ว ทำให้เกิดขึ้นไม่ได้อีก เผาด้วยไฟคือญาณแล้ว ภิกษุ
นั้นพิจารณาแล้วโดยแยบคาย จึงฉันอาหาร มิใช่เพื่อเล่น มิใช่เพื่อมัวเมา มิใช่เพื่อ
ตบแต่ง มิใช่เพื่อประดับ แต่ฉันเพียงเพื่อให้ร่างกายนี้ดำรงอยู่ เพื่อให้ร่างกายนี้
ดำเนินไปได้ เพื่อระงับความลำบาก เพื่ออนุเคราะห์พรหมจรรย์อย่างเดียวเท่านั้น
ด้วยมนสิการว่า เราจักบำบัดเวทนาเก่า ไม่ให้เวทนาใหม่เกิดขึ้น การดำเนินชีวิต
ของเรา ความไม่มีโทษและอยู่สบายได้ด้วยวิธีการอย่างนี้
คนทาแผลเพียงเพื่อปลูกเนื้อเยื่อ หยอดเพลาเพียงเพื่อจะขนภาระไป หรือกิน
อาหารที่ปรุงจากเนื้อบุตรเพียงเพื่อจะเดินทางออกจากทางกันดารให้พ้นเท่านั้น
ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน พิจารณาโดยแยบคายแล้ว ฉันอาหาร มิใช่เพื่อเล่น


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๒๗๙ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๑๐. ปุราเภทสุตตนิทเทส
มิใช่เพื่อมัวเมา มิใช่เพื่อตบแต่ง มิใช่เพื่อประดับ แต่ฉันเพียงเพื่อจะให้ร่างกายนี้
ดำรงอยู่ เพื่อให้ร่างกายนี้ดำเนินไปได้ เพื่อระงับความลำบาก เพื่ออนุเคราะห์
พรหมจรรย์เท่านั้น ด้วยมนสิการว่า เราจักบำบัดเวทนาเก่า ไม่ให้เวทนาใหม่เกิดขึ้น
การดำเนินชีวิตของเรา ความไม่มีโทษและอยู่สบายได้ด้วยวิธีการอย่างนี้ ย่อมละ
บรรเทา ทำให้หมดสิ้นไป ให้ถึงความไม่มีอีกซึ่งตัณหาในรส เป็นผู้งดแล้ว งดเว้นแล้ว
เว้นขาดแล้ว ออกแล้ว สลัดออกแล้ว หลุดพ้นแล้ว ไม่เกี่ยวข้องกับตัณหาในรสแล้ว
มีใจเป็นอิสระ(จากกิเลส)อยู่ รวมความว่า ไม่เดือดดาล และไม่ยินดีในรสเพราะ
ตัณหา ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า
บุคคลไม่ศึกษาเพราะอยากได้ลาภ
ไม่โกรธเพราะไม่ได้ลาภ ไม่เดือดดาล
และไม่ยินดีในรสเพราะตัณหา
[๙๐] (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า)
บุคคลเป็นผู้วางเฉย มีสติทุกเมื่อ
ไม่สำคัญว่าเสมอเขา ไม่สำคัญว่าเลิศกว่าเขา
ไม่สำคัญว่าด้อยกว่าเขา ในโลก
กิเลสหนาย่อมไม่มีแก่บุคคลนั้น

ว่าด้วยอุเบกขามีองค์ ๖
คำว่า บุคคลเป็นผู้วางเฉย ในคำว่า บุคคลเป็นผู้วางเฉย มีสติทุกเมื่อ
อธิบายว่า บุคคลเป็นผู้ประกอบด้วยอุเบกขามีองค์ ๖ เห็นรูปทางตาแล้ว ก็ไม่ดีใจ
ไม่เสียใจ เป็นผู้วางเฉย มีสติสัมปชัญญะอยู่ ฟังเสียงทางหู ... ดมกลิ่นทางจมูก ...
ลิ้มรสทางลิ้น ... ถูกต้องโผฏฐัพพะทางกาย ... รู้ธรรมารมณ์ทางใจแล้ว ก็ไม่ดีใจ
ไม่เสียใจ เป็นผู้วางเฉย มีสติสัมปชัญญะอยู่ เห็นรูปทางตาแล้ว ไม่ติดใจ ไม่ยินดีรูป
ที่น่าพอใจ ไม่ให้เกิดความกำหนัด กายของเขาตั้งมั่น จิตก็ตั้งมั่น ดำรงดีอยู่ภายใน
หลุดพ้นดีแล้ว ทั้งเห็นรูปที่ไม่ชอบใจทางตาแล้วก็ไม่เสียใจ ไม่โกรธ ไม่หดหู่ ไม่
พยาบาท กายของเขาตั้งมั่น จิตก็ตั้งมั่น ดำรงดีอยู่ภายใน หลุดพ้นดีแล้ว ได้ยินเสียง
ทางหูแล้ว ... ดมกลิ่นทางจมูก ... ลิ้มรสทางลิ้น ... ถูกต้องโผฏฐัพพะทางกาย ...
รู้ธรรมารมณ์ทางใจแล้ว ก็ไม่ติดใจ ไม่ยินดีอารมณ์ที่น่าพอใจ ไม่ให้เกิดความ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๒๘๐ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๑๐. ปุราเภทสุตตนิทเทส
กำหนัดขึ้น กายของเขาตั้งมั่น จิตก็ตั้งมั่น ดำรงดีอยู่ภายใน หลุดพ้นดีแล้ว ทั้งรู้
ธรรมารมณ์ที่ไม่น่าชอบใจทางใจแล้ว ก็ไม่เสียใจ ไม่โกรธ ไม่หดหู่ ไม่พยาบาท
กายของเขาตั้งมั่น จิตก็ตั้งมั่น ดำรงดีอยู่ภายใน หลุดพ้นดีแล้ว
เห็นรูปทางตาแล้ว กายของเขาก็ตั้งมั่นในรูปที่ชอบใจและไม่ชอบใจ จิตก็ตั้งมั่น
ดำรงดีอยู่ภายใน หลุดพ้นดีแล้ว ฟังเสียงทางหูแล้ว ... ดมกลิ่นทางจมูก ... ลิ้มรส
ทางลิ้น ... ถูกต้องโผฏฐัพพะทางกาย ... รู้ธรรมารมณ์ทางใจแล้ว ก็มีกายตั้งมั่นใน
ธรรมารมณ์ทั้งที่ชอบใจและไม่ชอบใจ จิตก็ตั้งมั่น ดำรงดีอยู่ภายใน หลุดพ้นดีแล้ว
เห็นรูปทางตาแล้ว ก็ไม่กำหนัดในรูปที่ชวนให้กำหนัด ไม่ขัดเคืองในรูปที่ชวน
ให้ขัดเคือง ไม่หลงในรูปที่ชวนให้หลง ไม่โกรธในรูปที่ชวนให้โกรธ ไม่เศร้าหมองใน
รูปที่ชวนให้เศร้าหมอง ไม่มัวเมาในรูปที่ชวนให้มัวเมา ได้ยินเสียงทางหู ... ดมกลิ่น
ทางจมูก ... ลิ้มรสทางลิ้น ... ถูกต้องโผฏฐัพพะทางกาย ... รู้ธรรมารมณ์ทางใจแล้ว
ก็ไม่กำหนัดในธรรมารมณ์ที่ชวนให้กำหนัด ไม่ขัดเคืองในธรรมารมณ์ที่ชวนให้
ขัดเคือง ไม่หลงในธรรมารมณ์ที่ชวนให้หลง ไม่โกรธในธรรมารมณ์ที่ชวนให้โกรธ
ไม่เศร้าหมองในธรรมารมณ์ที่ชวนให้เศร้าหมอง ไม่มัวเมาในธรรมารมณ์ที่ชวนให้
มัวเมา เมื่อเห็น ก็เป็นเพียงเห็น เมื่อได้ยิน ก็เป็นเพียงได้ยิน เมื่อรับรู้ กลิ่น รส
โผฏฐัพพะ ก็เป็นเพียงรับรู้ เมื่อรู้แจ้งธรรมารมณ์ ก็เป็นเพียงรู้แจ้ง ไม่ติดในรูป
ที่เห็น ไม่ติดในเสียงที่ได้ยิน ไม่ติดในกลิ่น ไม่ติดในรส ไม่ติดในสัมผัสที่รับรู้ ไม่ติด
ในธรรมารมณ์ที่รู้แจ้งแล้ว ไม่มีตัณหา ไม่มีใจประทุษร้าย ตัณหาและทิฏฐิไม่อาศัย
ไม่พัวพัน พ้นขาด ไม่เกี่ยวข้องในรูปที่เห็น เสียงที่ได้ยิน กลิ่น รส โผฏฐัพพะที่รับรู้
และธรรมารมณ์ที่รู้แจ้ง มีใจเป็นอิสระ(จากกิเลส)อยู่
พระอรหันต์ก็มีตา เห็นรูปทางตา แต่พระอรหันต์ไม่มีความกำหนัดเพราะพอใจ
พระอรหันต์จึงมีจิตหลุดพ้นดีแล้ว พระอรหันต์ก็มีหู ได้ยินเสียงทางหู แต่พระอรหันต์
ไม่มีความกำหนัดเพราะพอใจ พระอรหันต์จึงมีจิตหลุดพ้นดีแล้ว พระอรหันต์ก็มีจมูก
ได้กลิ่นทางจมูก แต่พระอรหันต์ไม่มีความกำหนัดเพราะพอใจ พระอรหันต์จึงมีจิต
หลุดพ้นดีแล้ว พระอรหันต์ก็มีลิ้น ลิ้มรสทางลิ้น แต่พระอรหันต์ไม่มีความกำหนัด
เพราะพอใจ พระอรหันต์จึงมีจิตหลุดพ้นดีแล้ว พระอรหันต์ก็มีกายถูกต้องโผฏฐัพพะ
ทางกาย แต่พระอรหันต์ไม่มีความกำหนัดเพราะพอใจ พระอรหันต์จึงมีจิตหลุดพ้นดี
แล้ว พระอรหันต์ก็มีใจ รู้ธรรมารมณ์ทางใจ แต่พระอรหันต์ไม่มีความกำหนัด
เพราะพอใจ พระอรหันต์จึงมีจิตหลุดพ้นดีแล้ว


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๒๘๑ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๑๐. ปุราเภทสุตตนิทเทส
ตาชอบรูป ยินดีในรูป ชื่นชมในรูป พระอรหันต์ฝึก คุ้มครอง รักษา
สำรวมตา และแสดงธรรมเพื่อสำรวมตานั้น หูชอบเสียง ... จมูกชอบกลิ่น ...
ลิ้นชอบรส ... กายชอบโผฏฐัพพะ ... ใจชอบธรรมารมณ์ ยินดีในธรรมารมณ์
ชื่นชมในธรรมารมณ์ พระอรหันต์ฝึก คุ้มครอง รักษา สำรวมใจ และแสดงธรรม
เพื่อสำรวมใจนั้น
(สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า)
คนทั้งหลายนำสัตว์พาหนะที่ฝึกแล้วไปสู่ที่ประชุม
พระราชาย่อมทรงราชพาหนะที่ฝึกแล้ว
ในหมู่มนุษย์ คนที่ฝึกแล้ว ซึ่งอดกลั้นต่อคำล่วงเกินได้ ประเสริฐสุด
ม้าอัสดร ม้าอาชาไนย ม้าสินธพ ช้างใหญ่
ที่ได้รับการฝึกหัดแล้ว ประเสริฐ
แต่คนที่ฝึกหัดแล้ว ประเสริฐกว่าสัตว์พาหนะเหล่านั้น
เพราะใครก็ไปถึงนิพพานอันเป็นทิศที่ไม่เคยไป
ด้วยยานพาหนะเหล่านั้นไม่ได้ เหมือนบุคคลผู้ฝึกแล้ว
มีตนฝึกหัดแล้วอย่างดี ไปถึงได้๑
พระอรหันต์ทั้งหลาย หลุดพ้นจากภพใหม่แล้ว
บรรลุถึงภูมิที่ฝึกแล้ว ย่อมไม่หวั่นไหวในมานะทั้งหลาย
ท่านเป็นผู้ชนะแล้วในโลก๒
ผู้ใดอบรมอินทรีย์แล้วในโลกทั้งปวง ทั้งภายในและภายนอก
ผู้นั้นเป็นผู้อบรมแล้ว ฝึกดีแล้ว รู้ชัดทั้งโลกนี้และปรโลก
รอคอยอยู่แต่เวลาเท่านั้น๓

เชิงอรรถ :
๑ ขุ.ธ. ๒๕/๓๒๑-๓๒๓/๗๒
๒ สํ.ข. ๑๗/๗๖/๖๘
๓ ขุ.สุ. ๒๕/๕๒๒/๔๓๕

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๒๘๒ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๑๐. ปุราเภทสุตตนิทเทส
คำว่า บุคคลเป็นผู้วางเฉย ... ทุกเมื่อ อธิบายว่า ทุกเมื่อ คือ ในกาลทั้งปวง
ตลอดกาลทั้งปวง ตลอดกาลเป็นนิจ ตลอดกาลยั่งยืน ... ปัจฉิมวัย
คำว่า มีสติ อธิบายว่า มีสติด้วยเหตุ ๔ อย่าง คือ
๑. ชื่อว่ามีสติ เมื่อเจริญสติปัฏฐานพิจารณากายในกาย
๒. ชื่อว่ามีสติ เมื่อเจริญสติปัฏฐานพิจารณาเวทนาในเวทนาทั้งหลาย
๓. ชื่อว่ามีสติ เมื่อเจริญสติปัฏฐานพิจารณาจิตในจิต
๔. ชื่อว่ามีสติ เมื่อเจริญสติปัฏฐานพิจารณาธรรมในธรรมทั้งหลาย
ผู้นั้นพระผู้มีพระภาคตรัสเรียกว่า มีสติ รวมความว่า บุคคลเป็นผู้วางเฉย
มีสติทุกเมื่อ
คำว่า ไม่สำคัญว่าเสมอเขา ... ในโลก อธิบายว่า ไม่ให้เกิดความถือตัวเพราะ
ชาติ เพราะโคตร ... หรือเพราะสิ่งอื่นนอกจากที่กล่าวแล้วว่า “เราเป็นผู้เสมอเขา”
รวมความว่า ไม่สำคัญว่าเสมอเขา ... ในโลก
คำว่า ไม่สำคัญว่าเลิศกว่าเขา ไม่สำคัญว่าด้อยกว่าเขา อธิบายว่า ไม่ให้เกิด
ความดูหมิ่น เพราะชาติ เพราะโคตร ... หรือเพราะสิ่งอื่นนอกจากที่กล่าวแล้วว่า
“เราเลิศกว่าเขา” ไม่ให้เกิดความถือตัว เพราะชาติ เพราะโคตร ... หรือเพราะสิ่งอื่น
นอกจากที่กล่าวแล้วว่า “เราด้อยกว่าเขา” รวมความว่า ไม่สำคัญว่าเลิศกว่าเขา
ไม่สำคัญว่าด้อยกว่าเขา

ว่าด้วยกิเลสหนา ๗ อย่าง
คำว่า บุคคลนั้น ในคำว่า กิเลสหนาย่อมไม่มีแก่บุคคลนั้น ได้แก่
พระอรหันตขีณาสพ
คำว่า กิเลสหนา ได้แก่ กิเลสหนา ๗ อย่าง คือ

๑. กิเลสหนาคือราคะ ๒. กิเลสหนาคือโทสะ
๓. กิเลสหนาคือโมหะ ๔. กิเลสหนาคือมานะ
๕. กิเลสหนาคือทิฏฐิ ๖. กิเลสหนาคือกิเลส
๗. กิเลสหนาคือกรรม


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๒๘๓ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๑๐. ปุราเภทสุตตนิทเทส
กิเลสหนาเหล่านั้นไม่มี ไม่มีอยู่ คือ ไม่ปรากฏ หาไม่ได้แก่พระอรหันต์นั้น
คือ กิเลสหนาเหล่านั้นพระอรหันต์ละได้แล้ว ตัดขาดได้แล้ว ทำให้สงบได้แล้ว ระงับ
ได้แล้ว ทำให้เกิดขึ้นไม่ได้อีก เผาด้วยไฟคือญาณแล้ว รวมความว่า กิเลสหนาย่อม
ไม่มีแก่บุคคลนั้น ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า
บุคคลเป็นผู้วางเฉย มีสติทุกเมื่อ
ไม่สำคัญว่าเสมอเขา ไม่สำคัญว่าเลิศกว่าเขา
ไม่สำคัญว่าด้อยกว่าเขา ในโลก
กิเลสหนาย่อมไม่มีแก่บุคคลนั้น
[๙๑] (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า)
บุคคลใดไม่มีที่อาศัย
ไม่มีตัณหาในภพหรือในวิภพ
บุคคลนั้นรู้ธรรมแล้วไม่อาศัย

ว่าด้วยที่อาศัย
คำว่า บุคคลใด ในคำว่า บุคคลใดไม่มีที่อาศัย ได้แก่ พระอรหันตขีณาสพ
คำว่า ที่อาศัย ได้แก่ ความอาศัย ๒ อย่าง คือ (๑) ความอาศัยด้วยอำนาจ
ตัณหา (๒) ความอาศัยด้วยอำนาจทิฏฐิ ... นี้ชื่อว่าความอาศัยด้วยอำนาจตัณหา ...
นี้ชื่อว่าความอาศัยด้วยอำนาจทิฏฐิ
บุคคลนั้นละความอาศัยด้วยอำนาจตัณหาได้แล้ว สลัดทิ้งความอาศัยด้วย
อำนาจทิฏฐิได้แล้ว เพราะเป็นผู้ละความอาศัยด้วยอำนาจตัณหา สลัดทิ้งความอาศัย
ด้วยอำนาจทิฏฐิได้แล้ว บุคคลใด ไม่มี คือ ไม่มีอยู่ ไม่ปรากฏ หาไม่ได้ซึ่งที่อาศัย
คือ ที่อาศัยนั้น บุคคลนั้นละได้แล้ว ตัดขาดได้แล้ว ทำให้สงบได้แล้ว ระงับได้แล้ว
ทำให้เกิดขึ้นไม่ได้อีก เผาด้วยไฟคือญาณแล้ว รวมความว่า บุคคลใดไม่มีที่อาศัย
คำว่า รู้แล้ว ในคำว่า รู้ธรรมแล้วไม่อาศัย อธิบายว่า รู้แล้ว คือ ทราบแล้ว
เทียบเคียงแล้ว พิจารณาแล้ว ทำให้กระจ่างแล้ว ทำให้แจ่มแจ้งแล้วว่า “สังขาร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๒๘๔ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๑๐. ปุราเภทสุตตนิทเทส
ทั้งปวงไม่เที่ยง ... สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์ ... ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา” ... รู้แล้ว คือ
ทราบแล้ว เทียบเคียงแล้ว พิจารณาแล้ว ทำให้กระจ่างแล้ว ทำให้แจ่มแจ้ง
แล้วว่า “สิ่งใดสิ่งหนึ่ง มีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งหมดล้วนมีความดับไป
เป็นธรรมดา”
คำว่า ไม่อาศัย ได้แก่ ความอาศัย ๒ อย่าง คือ (๑) ความอาศัยด้วยอำนาจ
ตัณหา (๒) ความอาศัยด้วยอำนาจทิฏฐิ ... นี้ชื่อว่าความอาศัยด้วยอำนาจตัณหา ...
นี้ชื่อว่าความอาศัยด้วยอำนาจทิฏฐิ
บุคคลนั้นละความอาศัยด้วยอำนาจตัณหาได้แล้ว สลัดทิ้งความอาศัยด้วย
อำนาจทิฏฐิได้แล้ว ไม่อาศัยตา ... ไม่อาศัยหู ... ไม่อาศัยจมูก ... ไม่อาศัยลิ้น ... ไม่
อาศัยกาย ... ไม่อาศัยใจ ... คือ ไม่ติดแล้ว ไม่ติดแน่นแล้ว ไม่ติดพันแล้ว ไม่ติดใจแล้ว
ออกแล้ว สลัดออกแล้ว หลุดพ้นแล้ว ไม่เกี่ยวข้องกับรูป ... เสียง ... กลิ่น ... รส ...
โผฏฐัพพะ ... ธรรมารมณ์ ... ตระกูล ... หมู่คณะ ... อาวาส ... รูปที่เห็น เสียงที่ได้ยิน
กลิ่น รส โผฏฐัพพะที่รับรู้ และธรรมารมณ์ที่พึงรู้แจ้ง มีใจเป็นอิสระ(จากกิเลส)อยู่
รวมความว่า รู้ธรรมแล้วไม่อาศัย

ว่าด้วยตัณหา
คำว่า ตัณหา ในคำว่า ไม่มีตัณหาในภพหรือในวิภพ ได้แก่ รูปตัณหา
สัททตัณหา คันธตัณหา รสตัณหา โผฏฐัพพตัณหา ธัมมตัณหา
คำว่า บุคคลใด ได้แก่ พระอรหันตขีณาสพ
คำว่า ในภพ ได้แก่ ในภวทิฏฐิ
คำว่า ในวิภพ ได้แก่ ในวิภวทิฏฐิ
คำว่า ในภพ ได้แก่ ในสัสสตทิฏฐิ
คำว่า ในวิภพ ได้แก่ ในอุจเฉททิฏฐิ
คำว่า ในภพ อธิบายว่า ในภพต่อไป ในคติต่อไป ในการถือกำเนิดต่อไป
ในปฏิสนธิต่อไป ในความบังเกิดของอัตภาพต่อไป


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๒๘๕ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๑๐. ปุราเภทสุตตนิทเทส
ตัณหาไม่มี คือ ไม่มีอยู่ ไม่ปรากฏ หาไม่ได้แก่บุคคลใด คือ ตัณหานั้น บุคคล
นั้นละได้แล้ว ตัดขาดได้แล้ว ทำให้สงบได้แล้ว ระงับได้แล้ว ทำให้เกิดขึ้นไม่ได้อีก
เผาด้วยไฟคือญาณแล้ว รวมความว่า ไม่มีตัณหาในภพหรือในวิภพ ด้วยเหตุนั้น
พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า
บุคคลใดไม่มีที่อาศัย
ไม่มีตัณหาในภพหรือในวิภพ
บุคคลนั้นรู้ธรรมแล้วไม่อาศัย
[๙๒] (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า)
เราเรียกบุคคลนั้น ผู้ไม่มุ่งหวังในกามทั้งหลายว่า
เป็นผู้เข้าไปสงบ บุคคลนั้นไม่มีกิเลสเครื่องร้อยรัด
ข้ามตัณหาที่ชื่อว่าวิสัตติกาได้แล้ว
คำว่า เราเรียกบุคคลนั้น... เป็นผู้เข้าไปสงบ อธิบายว่า เราเรียกบุคคลนั้น
คือ พูด บอก แสดง ชี้แจง บุคคลนั้นว่า เป็นผู้สงบ เข้าไปสงบ สงบเย็น คือ
ดับแล้ว ระงับแล้ว รวมความว่า เราเรียกบุคคลนั้น... เป็นผู้เข้าไปสงบ
คำว่า ผู้ไม่มุ่งหวังในกามทั้งหลาย อธิบายว่า
คำว่า กาม ได้แก่ กาม ๒ อย่าง แบ่งตามหมวด คือ (๑) วัตถุกาม
(๒) กิเลสกาม ... เหล่านี้ เรียกว่าวัตถุกาม ... เหล่านี้ เรียกว่ากิเลสกาม๑
บุคคลกำหนดรู้วัตถุกามแล้ว ละ คือ ละเว้น บรรเทา ทำให้หมดสิ้นไป
ให้ถึงความไม่มีอีกซึ่งกิเลสกาม ชื่อว่าไม่มุ่งหวังในกามทั้งหลาย ได้แก่ เป็นผู้
คลายกามแล้ว สละกามแล้ว คายกามแล้ว ปล่อยกามแล้ว ละกามแล้ว สลัดทิ้งกาม
แล้ว คือ เป็นผู้คลายความกำหนัดแล้ว สละราคะแล้ว คายราคะแล้ว ปล่อยราคะแล้ว
ละราคะแล้ว สลัดทิ้งราคะแล้ว ในกามทั้งหลาย เป็นผู้หมดความอยากแล้ว เป็นผู้
ดับแล้ว เป็นผู้เย็นแล้ว มีตนอันประเสริฐเสวยสุขอยู่ รวมความว่า ผู้ไม่มุ่งหวัง
ในกามทั้งหลาย

เชิงอรรถ :
๑ ดูรายละเอียดข้อ ๑/๑-๒

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๒๘๖ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๑๐. ปุราเภทสุตตนิทเทส
ว่าด้วยกิเลสเครื่องร้อยรัด ๔ อย่าง
คำว่า กิเลศเครื่องร้อยรัด ในคำว่า บุคคลนั้นไม่มีกิเลสเครื่องร้อยรัด
อธิบายว่า กิเลสเครื่องร้อยรัด ๔ อย่าง คือ
๑. กิเลสเครื่องร้อยรัดกายคืออภิชฌา
๒. กิเลสเครื่องร้อยรัดกายคือพยาบาท
๓. กิเลสเครื่องร้อยรัดกายคือสีลัพพตปรามาส
๔. กิเลสเครื่องร้อยรัดกายคือความถือมั่นว่านี้เท่านั้นจริง
ความกำหนัดในทิฏฐิของตน ชื่อว่ากิเลสเครื่องร้อยรัดกายคืออภิชฌา
ความอาฆาต ความไม่พอใจในวาทะของผู้อื่น ชื่อว่ากิเลสเครื่องร้อยรัดกายคือ
พยาบาท
ความยึดมั่นศีล วัตร หรือศีลวัตรของตน ชื่อว่ากิเลสเครื่องร้อยรัดกายคือ
สีลัพพตปรามาส
ทิฏฐิของตน ชื่อว่ากิเลสเครื่องร้อยรัดกายคืออิทังสัจจาภินิเวส
คำว่า บุคคลนั้น ได้แก่ พระอรหันตขีณาสพ
คำว่า บุคคลนั้นไม่มีกิเลสเครื่องร้อยรัด อธิบายว่า บุคคลนั้นไม่มี ไม่มีอยู่
ไม่ปรากฏ หาไม่ได้ซึ่งกิเลสเครื่องร้อยรัด คือ กิเลสเครื่องร้อยรัดบุคคลนั้นละ
ได้แล้ว ตัดขาดได้แล้ว ทำให้สงบได้แล้ว ระงับได้แล้ว ทำให้เกิดขึ้นไม่ได้อีก เผาด้วย
ไฟคือญาณแล้ว รวมความว่า บุคคลนั้นไม่มีกิเลสเครื่องร้อยรัด

ว่าด้วยตัณหามีชื่อต่าง ๆ
คำว่า บุคคลนั้น... ข้ามตัณหาที่ชื่อว่าวิสัตติกาได้แล้ว อธิบายว่า ตัณหา
ตรัสเรียกว่า วิสัตติกา คือ ความกำหนัด ความกำหนัดนัก ... อภิชฌา อกุศลมูล
คือโลภะ๑

เชิงอรรถ :
๑ ดูรายละเอียดข้อ ๓/๑๐-๑๑

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๒๘๗ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๑๐. ปุราเภทสุตตนิทเทส
คำว่า วิสัตติกา อธิบายว่า ตัณหาชื่อว่าวิสัตติกา เพราะมีความหมายอย่างไร
ตัณหาชื่อว่าวิสัตติกา เพราะซ่านไป ชื่อว่าวิสัตติกา เพราะแผ่ไป ชื่อว่าวิสัตติกา
เพราะกระจายไป ชื่อว่าวิสัตติกา เพราะไม่สม่ำเสมอ ชื่อว่าวิสัตติกา เพราะครอบงำ
ชื่อว่าวิสัตติกา เพราะสะท้อนไป ชื่อว่าวิสัตติกา เพราะเป็นตัวการให้พูดผิด ชื่อว่า
วิสัตติกา เพราะมีรากเป็นพิษ ชื่อว่าวิสัตติกา เพราะมีผลเป็นพิษ ชื่อว่าวิสัตติกา
เพราะเป็นตัวการให้บริโภคสิ่งมีพิษ
อีกนัยหนึ่ง ตัณหานั้นซ่านไป แผ่ไป ขยายไปในรูป ... เสียง ... กลิ่น ... รส ...
โผฏฐัพพะ ... ตระกูล ... หมู่คณะ ... อาวาส ... ซ่านไป แผ่ไป ขยายไปในรูปที่เห็น
เสียงที่ได้ยิน กลิ่น รส โผฏฐัพพะที่รับรู้ และธรรมารมณ์ที่พึงรู้แจ้ง รวมความว่า
ตัณหาที่ชื่อว่าวิสัตติกา
คำว่า บุคคลนั้นข้ามตัณหาที่ชื่อว่าวิสัตติกาได้แล้ว อธิบายว่า บุคคลนั้น
ข้ามได้แล้ว คือ ข้ามไปได้แล้ว ข้ามพ้นแล้ว ก้าวล่วงแล้ว ล่วงเลยแล้วซึ่งตัณหา
ที่ชื่อว่าวิสัตติกานี้ รวมความว่า บุคคลนั้นข้ามตัณหาที่ชื่อว่าวิสัตติกาได้แล้ว ด้วย
เหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า
เราเรียกบุคคลนั้น ผู้ไม่มุ่งหวังในกามทั้งหลายว่า
เป็นผู้เข้าไปสงบ บุคคลนั้นไม่มีกิเลสเครื่องร้อยรัด
ข้ามตัณหาที่ชื่อว่าวิสัตติกาได้แล้ว
[๙๓] (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า)
บุคคลนั้นไม่มีบุตร สัตว์เลี้ยง นาไร่และที่ดิน
ทิฏฐิว่ามีอัตตา หรือทิฏฐิว่าไม่มีอัตตา หาไม่ได้ในบุคคลนั้น

ว่าด้วยบุตรเป็นต้น
คำว่า ไม่ ในคำว่า บุคคลนั้น ไม่มีบุตร สัตว์เลี้ยง นาไร่และที่ดิน เป็นคำ
ปฏิเสธ
คำว่า บุคคลนั้น ได้แก่ พระอรหันตขีณาสพ
คำว่า บุตร ได้แก่ บุตร ๔ จำพวก คือ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๒๘๘ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๑๐. ปุราเภทสุตตนิทเทส
๑. บุตรเกิดจากตน ๒. บุตรเกิดในเขต
๓. บุตรที่เขาให้ ๔. บุตรที่อยู่ในสำนัก
คำว่า สัตว์เลี้ยง ได้แก่ แพะ แกะ ไก่ สุกร ช้าง โค ม้า และลา
คำว่า นาไร่ ได้แก่ นาข้าวสาลี นาข้าวเจ้า ไร่ถั่วเขียว ไร่ถั่วราชมาศ
นาข้าวเหนียว นาข้าวละมาน ไร่งา
คำว่า ที่ดิน ได้แก่ ที่ปลูกเรือน ที่สร้างยุ้งฉาง ที่หน้าเรือน ที่หลังเรือน ที่สวน
ที่อยู่
คำว่า บุคคลนั้น ไม่มีบุตร สัตว์เลี้ยง นาไร่และที่ดิน อธิบายว่า บุคคลนั้น
ไม่มี คือ ไม่มีอยู่ ไม่ปรากฏ หาไม่ได้ซึ่งความยึดถือว่ามีบุตร ความยึดถือว่า
มีสัตว์เลี้ยง ความยึดถือว่ามีนาไร่ ความยึดถือว่ามีที่ดิน คือ ความยึดถือว่า
มีบุตรเป็นต้น เขาละได้แล้ว ตัดขาดได้แล้ว ทำให้สงบได้แล้ว ระงับได้แล้ว
ทำให้เกิดขึ้นไม่ได้อีก เผาด้วยไฟคือญาณแล้ว รวมความว่า บุคคลนั้น ไม่มีบุตร สัตว์เลี้ยง
นาไร่และที่ดิน

ว่าด้วยทิฏฐิ
คำว่า ทิฏฐิว่ามีอัตตา ในคำว่า ทิฏฐิว่ามีอัตตา หรือทิฏฐิว่าไม่มีอัตตา
หาไม่ได้ในบุคคลนั้น ได้แก่ ไม่มีสัสสตทิฏฐิ
คำว่า ทิฏฐิว่าไม่มีอัตตา ได้แก่ ไม่มีอุจเฉททิฏฐิ
คำว่า ทิฏฐิว่ามีอัตตา ได้แก่ ไม่มีสิ่งที่ยึดถือ
คำว่า ทิฏฐิว่าไม่มีอัตตา ได้แก่ ไม่มีสิ่งที่พึงปล่อยวาง อธิบายว่า สิ่งที่ยึดถือ
ไม่มีแก่บุคคลใด สิ่งที่พึงปล่อยวางก็ไม่มีแก่บุคคลนั้น สิ่งที่พึงปล่อยวางไม่มีแก่
บุคคลใด สิ่งที่ยึดถือก็ไม่มีแก่บุคคลนั้น บุคคลนั้นผู้เป็นพระอรหันต์ ก้าวพ้นการ
ยึดถือ และการปล่อยวางแล้ว ล่วงพ้นความเจริญและความเสื่อมแล้ว บุคคลนั้น
อยู่ใน(อริยวาสธรรม)แล้ว ประพฤติจรณธรรมแล้ว ... บุคคลนั้น ไม่มีการเวียนเกิด
เวียนตาย และภพใหม่ก็ไม่มีอีก รวมความว่า ทิฏฐิว่ามีอัตตา หรือทิฏฐิว่าไม่มีอัตตา
หาไม่ได้ในบุคคลนั้น ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า
บุคคลนั้น ไม่มีบุตร สัตว์เลี้ยง นาไร่และที่ดิน
ทิฏฐิว่ามีอัตตา หรือทิฏฐิว่าไม่มีอัตตา หาไม่ได้ในบุคคลนั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๒๘๙ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๑๐. ปุราเภทสุตตนิทเทส
[๙๔] (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า)
เหล่าปุถุชนหรือสมณพราหมณ์
พึงกล่าวหาบุคคลนั้นด้วยโทษใด
โทษนั้นไม่เชิดชูบุคคลนั้นเลย
เพราะฉะนั้น บุคคลนั้นจึงไม่หวั่นไหวในเพราะวาทะทั้งหลาย
คำว่า เหล่าปุถุชน ในคำว่า เหล่าปุถุชนหรือสมณพราหมณ์พึงกล่าวหา
บุคคลนั้นด้วยโทษใด อธิบายว่า ชื่อว่าปุถุชน เพราะมีความหมายว่าอย่างไร
ชื่อว่าปุถุชน เพราะให้กิเลสหยาบเกิดขึ้น ชื่อว่าปุถุชน เพราะมีสักกายทิฏฐิ
อันหนาแน่นยังละไม่ได้ ชื่อว่าปุถุชน เพราะปฏิญญาต่อหน้าศาสดาหลายองค์
ชื่อว่าปุถุชน เพราะถูกคติทุกอย่างร้อยรัดไว้มาก ชื่อว่าปุถุชน เพราะปรุงแต่ง
อภิสังขารต่าง ๆ เป็นอันมาก ชื่อว่าปุถุชน เพราะถูกโอฆะกิเลสต่าง ๆ เป็นอันมาก
พัดพาไป ชื่อว่าปุถุชน เพราะเดือดร้อนด้วยความเดือดร้อนต่าง ๆ เป็นอันมาก
ชื่อว่าปุถุชน เพราะถูกความเร่าร้อนต่าง ๆ เป็นอันมากแผดเผา ชื่อว่าปุถุชน เพราะ
กำหนัด ยินดี ติดใจ สยบ หมกมุ่น เกาะติด เกี่ยวพัน พัวพันในกามคุณ ๕ เป็น
อันมาก ชื่อว่าปุถุชน เพราะถูกนิวรณ์ ๕ เป็นอันมาก หุ้มห่อ โอบล้อม ห้อมล้อม
ครอบคลุม ปกคลุม บดบัง
คำว่า สมณะ ได้แก่ คนพวกหนึ่ง เป็นผู้เข้าถึง สมบูรณ์ด้วยการบวชภายนอก
ศาสนานี้
คำว่า พราหมณ์ ได้แก่ คนพวกหนึ่ง ผู้อ้างตัวว่าเป็นผู้เจริญ
คำว่า เหล่าปุถุชน หรือสมณพราหมณ์พึงกล่าวหาบุคคลนั้นด้วยโทษใด
อธิบายว่า เหล่าปุถุชน พึงกล่าวหาบุคคลนั้นด้วยราคะ โทสะ โมหะ มานะ ทิฏฐิ
อุทธัจจะ วิจิกิจฉา อนุสัย ใด ๆ ว่า “เป็นผู้กำหนัด เป็นผู้ขัดเคือง เป็นผู้หลง เป็นผู้
ยึดติด เป็นผู้ยึดมั่น เป็นผู้ฟุ้งซ่าน เป็นผู้ลังเล หรือเป็นผู้ตกอยู่ในพลังกิเลส”
บุคคลนั้นละอภิสังขารเหล่านั้นได้แล้ว เพราะละอภิสังขารได้แล้ว เหล่าปุถุชน
พึงกล่าวหาบุคคลนั้นโดยคติใดว่า “เป็นผู้เกิดในนรก เป็นผู้เกิดในกำเนิดเดรัจฉาน
เป็นผู้เกิดในเปตวิสัย เป็นมนุษย์ เป็นเทพ เป็นผู้มีรูป เป็นผู้ไม่มีรูป เป็นผู้มีสัญญา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๒๙๐ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๑๐. ปุราเภทสุตตนิทเทส
เป็นผู้ไม่มีสัญญา หรือเป็นผู้มีสัญญาก็มิใช่ ไม่มีสัญญาก็มิใช่” บุคคลนั้นไม่มีเหตุ
ไม่มีปัจจัย ไม่มีการณ์ ที่จะให้ปุถุชนเป็นต้นกล่าวหา พูดถึง เอ่ยถึง แสดงถึง ชี้แจง
ถึงได้เลย รวมความว่า เหล่าปุถุชนหรือสมณพราหมณ์พึงกล่าวหาบุคคลนั้นด้วย
โทษใด

ว่าด้วยการเชิดชู ๒ อย่าง
คำว่า บุคคลนั้น ในคำว่า โทษนั้นไม่เชิดชูบุคคลนั้นเลย ได้แก่
พระอรหันตขีณาสพ
คำว่า เชิดชู อธิบายว่า การเชิดชู ๒ อย่าง คือ
๑. การเชิดชูด้วยอำนาจตัณหา ๒. การเชิดชูด้วยอำนาจทิฏฐิ ...
นี้ชื่อว่าการเชิดชูด้วยอำนาจตัณหา ... นี้ชื่อว่าการเชิดชูด้วยอำนาจทิฏฐิ๑
บุคคลนั้นละการเชิดชูด้วยอำนาจตัณหาได้แล้ว สลัดทิ้งการเชิดชูด้วยอำนาจ
ทิฏฐิได้แล้ว เพราะเป็นผู้ละการเชิดชูด้วยอำนาจตัณหา สลัดทิ้งการเชิดชูด้วยอำนาจ
ทิฏฐิได้แล้ว บุคคลนั้นจึงไม่เที่ยวเชิดชูตัณหาหรือทิฏฐิไว้ คือ ไม่มีตัณหาเป็นธงชัย
ไม่มีตัณหาเป็นยอดธง ไม่มีตัณหาเป็นใหญ่ ไม่มีทิฏฐิเป็นธงชัย ไม่มีทิฏฐิเป็นยอดธง
ไม่มีทิฏฐิเป็นใหญ่ ไม่ได้ถูกตัณหาหรือทิฏฐิครอบงำเที่ยวไป รวมความว่า โทษนั้น
ไม่เชิดชูบุคคลนั้นเลย
คำว่า เพราะฉะนั้น ในคำว่า เพราะฉะนั้น บุคคลจึงไม่หวั่นไหวในเพราะ
วาทะทั้งหลาย อธิบายว่า เพราะฉะนั้น คือ เพราะการณ์นั้น เพราะเหตุนั้น
เพราะปัจจัยนั้น เพราะต้นเหตุนั้น บุคคลนั้นย่อมไม่หวั่นไหว คือ ไม่โยก ไม่โคลง
ไม่กระเพื่อม ไม่สั่น ไม่สะท้าน ไม่สะเทือน ในเพราะวาทะ คือ ในเพราะการว่าร้าย
นินทา ติเตียน ไม่สรรเสริญ ไม่ยกย่องความดี รวมความว่า เพราะฉะนั้น บุคคลนั้น
จึงไม่หวั่นไหวในเพราะวาทะทั้งหลาย ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า
เหล่าปุถุชนหรือสมณพราหมณ์
พึงกล่าวหาบุคคลนั้นด้วยโทษใด
โทษนั้นไม่เชิดชูบุคคลนั้นเลย
เพราะฉะนั้น บุคคลนั้นจึงไม่หวั่นไหวในเพราะวาทะทั้งหลาย

เชิงอรรถ :
๑ เทียบกับความในข้อ ๑๒/๕๘-๕๙

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๒๙๑ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๑๐. ปุราเภทสุตตนิทเทส
[๙๕] (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า)
บุคคลผู้เป็นมุนี เป็นผู้คลายความยินดี
ไม่ตระหนี่ ย่อมไม่กล่าวในเรื่องเลิศกว่าเขา
ไม่กล่าวในเรื่องเสมอเขา ไม่กล่าวในเรื่องด้อยกว่าเขา
เป็นผู้ไม่มีความกำหนด ย่อมไม่ถึงความกำหนด
คำว่า เป็นผู้คลายความยินดี ไม่ตระหนี่ อธิบายว่า ตัณหา ตรัสเรียกว่า
ความยินดี คือ ความกำหนัด ความกำหนัดนัก ... อภิชฌา อกุศลมูลคือโลภะ
ความยินดีนั้น บุคคลใดละได้แล้ว ตัดขาดได้แล้ว ทำให้สงบได้แล้ว ระงับได้แล้ว
ทำให้เกิดขึ้นไม่ได้อีก เผาด้วยไฟคือญาณแล้ว บุคคลนั้นตรัสเรียกว่า ผู้คลายความ
ยินดี คือ ผู้นั้นไม่ยินดี ไม่ติดใจ ไม่สยบ ไม่หมกมุ่นในรูป ... ในรูปที่เห็น เสียงที่
ได้ยิน กลิ่น รส โผฏฐัพพะที่รับรู้ และธรรมารมณ์ที่พึงรู้แจ้ง ได้แก่ เป็นผู้คลาย
ความยินดีแล้ว คือ ปราศจากความยินดีแล้ว สละความยินดีแล้ว คายความ
ยินดีแล้ว ปล่อยความยินดี ละความยินดีแล้ว สลัดทิ้งความยินดีแล้ว เป็นผู้หมด
ความอยากแล้ว เป็นผู้ดับแล้ว เป็นผู้เย็นแล้ว มีตนอันประเสริฐเสวยสุขอยู่ รวม
ความว่า เป็นผู้คลายความยินดี
คำว่า ไม่ตระหนี่ อธิบายว่า
คำว่า ความตระหนี่ ได้แก่ มัจฉริยะ ๕ อย่าง คือ
๑. อาวาสมัจฉริยะ ๒. กุลมัจฉริยะ
๓. ลาภมัจฉริยะ ๔. วัณณมัจฉริยะ
๕. ธัมมมัจฉริยะ
ความตระหนี่ ... ความมุ่งแต่จะได้เห็นปานนี้ นี้ตรัสเรียกว่า ความตระหนี่
ความตระหนี่นั้นบุคคลใดละได้แล้ว ตัดขาดได้แล้ว ทำให้สงบได้แล้ว ระงับได้แล้ว
ทำให้เกิดขึ้นไม่ได้อีก เผาด้วยไฟคือญาณแล้ว บุคคลนั้นตรัสเรียกว่า ผู้ไม่ตระหนี่
รวมความว่า เป็นผู้คลายความยินดี ไม่ตระหนี่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๒๙๒ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๑๐. ปุราเภทสุตตนิทเทส
คำว่า มุนี ในคำว่า บุคคลผู้เป็นมุนี ... ย่อมไม่กล่าวในเรื่องเลิศกว่าเขา
ไม่กล่าวในเรื่องเสมอเขา ไม่กล่าวในเรื่องด้อยกว่าเขา อธิบายว่า ญาณ
ท่าน เรียกว่า โมนะ ... ผู้ก้าวล่วงกิเลสเป็นเครื่องข้องและตัณหาดุจตาข่ายได้แล้ว
ชื่อว่ามุนี๑
บุคคลผู้เป็นมุนีย่อมไม่กล่าว คือ ไม่พูด ไม่บอก ไม่แสดง ไม่ชี้แจงว่า “เราเลิศ
กว่าเขา เราเสมอเขา หรือเราด้อยกว่าเขา” รวมความว่า บุคคลผู้เป็นมุนี ... ย่อมไม่
กล่าวในเรื่องเลิศกว่าเขา ไม่กล่าวในเรื่องเสมอเขา ไม่กล่าวในเรื่องด้อยกว่าเขา

ว่าด้วยการกำหนด ๒ อย่าง
คำว่า เป็นผู้ไม่มีความกำหนด ย่อมไม่ถึงความกำหนด อธิบายว่า
คำว่า ความกำหนด ได้แก่ ความกำหนด ๒ อย่าง คือ
๑. ความกำหนดด้วยอำนาจตัณหา ๒. ความกำหนดด้วยอำนาจทิฏฐิ ...
นี้ชื่อว่าความกำหนดด้วยอำนาจตัณหา ... นี้ชื่อว่าความกำหนดด้วยอำนาจ
ทิฏฐิ๒
บุคคลนั้นละความกำหนดด้วยอำนาจตัณหาได้แล้ว สลัดทิ้งความกำหนัดด้วย
อำนาจทิฏฐิได้แล้ว เพราะเป็นผู้ละความกำหนดด้วยอำนาจตัณหา สลัดทิ้งความ
กำหนัดด้วยอำนาจทิฏฐิได้แล้ว จึงไม่ถึง คือ ไม่เข้าถึง ไม่เข้าไปถึง ไม่ถือ ไม่ยึดมั่น
ไม่ถือมั่นความกำหนดด้วยอำนาจตัณหา หรือความกำหนดด้วยอำนาจทิฏฐิ รวม
ความว่า ย่อมไม่ถึงความกำหนด
คำว่า เป็นผู้ไม่มีความกำหนด อธิบายว่า
คำว่า ความกำหนด ได้แก่ ความกำหนด ๒ อย่าง คือ
๑. ความกำหนดด้วยอำนาจตัณหา ๒. ความกำหนดด้วยอำนาจทิฏฐิ ...
นี้ชื่อว่าความกำหนดด้วยอำนาจตัณหา...นี้ชื่อว่าความกำหนดด้วยอำนาจทิฏฐิ๓

เชิงอรรถ :
๑ ดูรายละเอียดข้อ ๑๔/๖๘-๗๑
๒ เทียบกับความในข้อ ๑๒/๕๘-๕๙
๓ เทียบกับความในข้อ ๑๒/๕๘-๕๙

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๒๙๓ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๑๐. ปุราเภทสุตตนิทเทส
บุคคลนั้นละความกำหนดด้วยอำนาจตัณหาได้แล้ว สลัดทิ้งความกำหนดด้วย
อำนาจทิฏฐิได้แล้ว เพราะเป็นผู้ละความกำหนดด้วยอำนาจตัณหา สลัดทิ้งความ
กำหนดด้วยอำนาจทิฏฐิได้แล้ว จึงไม่กำหนด คือ ไม่ให้เกิด ไม่ให้เกิดขึ้น ไม่ให้
บังเกิด ไม่ให้บังเกิดขึ้นซึ่งความกำหนดด้วยอำนาจตัณหาหรือความกำหนดด้วย
อำนาจทิฏฐิ รวมความว่า เป็นผู้ไม่มีความกำหนด ย่อมไม่ถึงความกำหนด ด้วย
เหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า
บุคคลผู้เป็นมุนี เป็นผู้คลายความยินดี
ไม่ตระหนี่ ย่อมไม่กล่าวในเรื่องเลิศกว่าเขา
ไม่กล่าวในเรื่องเสมอเขา ไม่กล่าวในเรื่องด้อยกว่าเขา
เป็นผู้ไม่มีความกำหนด ย่อมไม่ถึงความกำหนด
[๙๖] (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า)
บุคคลใดไม่มีความถือว่าเป็นของตนในโลก
เมื่อไม่มีความถือว่าเป็นของตน ย่อมไม่เศร้าโศก
ไม่ถึงความลำเอียงในธรรมทั้งหลาย
บุคคลนั้นแล เรียกว่า ผู้สงบ

ว่าด้วยผู้ไม่มีความถือว่าเป็นของตน
คำว่า บุคคลใด ในคำว่า บุคคลใด ไม่มีความถือว่าเป็นของตน ได้แก่
พระอรหันตขีณาสพ
คำว่า ไม่มีความถือว่าเป็นของตนในโลก อธิบายว่า บุคคลใดไม่มีความถือ
ความยึดมั่น ความถือมั่น ความติดใจ ความน้อมใจถึงรูป เวทนา สัญญา สังขาร
วิญญาณไร ๆ ว่า นี้ของเรา หรือ สิ่งนี้ของผู้อื่น ความถือว่าเป็นของตน บุคคลนั้นละ
ได้แล้ว ... เผาด้วยไฟคือญาณแล้ว รวมความว่า บุคคลใด ไม่มีความถือว่าเป็นของ
ตนในโลก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๒๙๔ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๑๐. ปุราเภทสุตตนิทเทส
ว่าด้วยผู้ไม่เศร้าโศก
คำว่า เมื่อไม่มีความถือว่าเป็นของตน ย่อมไม่เศร้าโศก อธิบายว่า ไม่เศร้า
โศกถึงวัตถุที่แปรผันไป หรือเมื่อวัตถุแปรผันไปแล้วก็ไม่เศร้าโศก ย่อมไม่เศร้าโศก
คือ ไม่ลำบาก ไม่คร่ำครวญ ไม่ตีอกพร่ำเพ้อ ไม่ถึงความหลงใหลว่า
“ตาของเราแปรผันไป ... หูของเรา ... จมูกของเรา .... ลิ้นของเรา ... กายของเรา ...
ใจของเรา ... รูปของเรา ... เสียงของเรา ... กลิ่นของเรา ... รสของเรา ... โผฏฐัพพะ
ของเรา ... ตระกูลของเรา ... หมู่คณะของเรา ... อาวาสของเรา ... ลาภของเรา ...
ยศของเรา ... สรรเสริญของเรา ... สุขของเรา ... จีวรของเรา ... บิณฑบาตของเรา ...
เสนาสนะของเรา ...คิลานปัจจัยเภสัชบริขารของเรา ... มารดาของเรา ... บิดาของเรา
... พี่ชายน้องชายของเรา ... พี่สาวน้องสาวของเรา ... บุตรของเรา ... ธิดาของเรา ...
มิตรและอำมาตย์ของเรา ... ญาติของเรา ... ย่อมไม่เศร้าโศก คือ ไม่ลำบากใจ
ไม่คร่ำครวญ ไม่ตีอกพร่ำเพ้อ ไม่ถึงความหลงใหลว่า “ผู้ร่วมสายโลหิตของเรา
แปรผันไป” รวมความว่า เมื่อไม่มีความถือว่าเป็นของตน ย่อมไม่เศร้าโศก
อย่างนี้บ้าง
อีกนัยหนึ่ง บุคคลใดถูกความไม่ยินดี คือ ทุกขเวทนากระทบ ครอบงำ
กลุ้มรุม ประกอบ ย่อมไม่เศร้าโศก คือ ไม่ลำบาก ไม่คร่ำครวญ ไม่ตีอกพร่ำเพ้อ
ไม่ถึงความหลงใหล ได้แก่ ถูกโรคทางตากระทบ ครอบงำ กลุ้มรุม ประกอบ ย่อม
ไม่เศร้าโศก คือ ไม่ลำบาก ไม่คร่ำครวญ ไม่ตีอกพร่ำเพ้อ ไม่ถึงความหลงใหล
ถูกโรคทางหู .... โรคทางจมูก ... โรคทางลิ้น ... โรคทางกาย ... โรคศีรษะ ... โรคหู ...
โรคปาก ... โรคฟัน ... โรคไอ ... โรคหืด ... ไข้หวัด ... ไข้พิษ ... ไข้เชื่อมซึม ... โรคท้อง
... เป็นลมสลบ ... ลงแดง ... จุกเสียด ... อหิวาตกโรค ... โรคเรื้อน ... ฝี ... กลาก ...
มองคร่อ ... ลมบ้าหมู ... หิดเปื่อย ... หิดด้าน ... หิด ... หูด ... โรคละลอก ... โรค
ดีซ่าน ... โรคเบาหวาน ... โรคเริม ... โรคพุพอง ... โรคริดสีดวงทวาร ... ความเจ็บป่วย
ที่เกิดจากดี ... ความเจ็บป่วยที่เกิดจากเสมหะ ... ความเจ็บป่วยที่เกิดจากลม ... ไข้
สันนิบาต ... ความเจ็บป่วยที่เกิดจากการเปลี่ยนฤดูกาล ... ความเจ็บป่วยที่เกิดจาก
การผลัดเปลี่ยนอริยาบถไม่ได้ส่วนกัน ... ความเจ็บป่วยที่เกิดจากความพากเพียร
เกินกำลัง ... ความเจ็บป่วยที่เกิดจากผลกรรม ... ความหนาว ... ความร้อน ...
ความหิว ... ความกระหาย ... ปวดอุจจาระ ... ปวดปัสสาวะ ... ทุกข์ที่เกิดจาก
สัมผัสแห่งเหลือบ ยุง ลม แดด และสัตว์เลื้อยคลานกระทบ ครอบงำ กลุ้มรุม ประกอบ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๒๙๕ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๑๐. ปุราเภทสุตตนิทเทส
ย่อมไม่เศร้าโศก คือ ไม่ลำบากใจ ไม่คร่ำครวญ ไม่ตีอกพร่ำเพ้อ ไม่ถึงความหลงใหล
รวมความว่า เมื่อไม่มีความถือว่าเป็นของตน ย่อมไม่เศร้าโศก อย่างนี้บ้าง
อีกนัยหนึ่ง เมื่อความถือว่าเป็นของตนไม่มีอยู่ ไม่ปรากฏ หาไม่ได้ ย่อมไม่
เศร้าโศก คือ ไม่ลำบากใจ ไม่ตีอกพร่ำเพ้อ ไม่ถึงความหลงใหลว่า “โอ เราไม่มีสิ่ง
นั้นหนอ เราพึงมีสิ่งนั้นหนอ และเราไม่ได้สิ่งนั้นหนอ” รวมความว่า เมื่อไม่มีความ
ถือว่าเป็นของตน ก็ย่อมไม่เศร้าโศก อย่างนี้บ้าง

ว่าด้วยผู้ไม่ลำเอียง
คำว่า ไม่ถึงความลำเอียงในธรรมทั้งหลาย อธิบายว่า ไม่ถึงฉันทาคติ
ไม่ถึงโทสาคติ ไม่ถึงโมหาคติ ไม่ถึงภยาคติ คือ ไม่ดำเนินไปตามอำนาจราคะ
ไม่ดำเนินไปตามอำนาจโทสะ ไม่ดำเนินไปตามอำนาจโมหะ ไม่ดำเนินไปตามอำนาจ
มานะ ไม่ดำเนินไปตามอำนาจทิฏฐิ ไม่ดำเนินไปตามอำนาจอุทธัจจะ ไม่ดำเนินไป
ตามอำนาจวิจิกิจฉา ไม่ดำเนินไปตามอำนาจอนุสัย ได้แก่ ไม่ไป ไม่ออกไป ไม่ถูก
พาไป ไม่ถูกนำไป ด้วยธรรมที่ก่อความเป็นฝักเป็นฝ่าย รวมความว่า ไม่ถึงความ
ลำเอียงในธรรมทั้งหลาย

ว่าด้วยผู้สงบ
คำว่า บุคคลนั้นแล เรียกว่า ผู้สงบ อธิบายว่า บุคคลนั้น เรียก คือ กล่าว
พูด บอก แสดง ชี้แจงว่าผู้สงบ คือ เข้าไปสงบ สงบเย็น ดับ สงัด รวมความว่า
ผู้นั้นแล เรียกว่า ผู้สงบ ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า
บุคคลใดไม่มีความถือว่าเป็นของตนในโลก
เมื่อไม่มีความถือว่าเป็นของตน ย่อมไม่เศร้าโศก
ไม่ถึงความลำเอียงในธรรมทั้งหลาย
บุคคลนั้นแล เรียกว่า ผู้สงบ
ปุราเภทสุตตนิทเทสที่ ๑๐ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๒๙๖ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๑๑. กลหวิวาทสุตตนิทเทส
๑๑. กลหวิวาทสุตตนิทเทส๑
อธิบายกลหวิวาทสูตร
ว่าด้วยการทะเลาะวิวาท
พระสารีบุตรเถระจะกล่าวอธิบายกลหวิวาทสูตร ดังต่อไปนี้
[๙๗] (พระพุทธเนรมิตทูลถามว่า)
การทะเลาะ การวิวาท ความคร่ำครวญ
ความเศร้าโศก ความตระหนี่ ความถือตัว
ความดูหมิ่นและวาจาส่อเสียด มีมาจากไหน
กิเลสเหล่านั้นมีมาจากไหน
ขอเชิญพระองค์โปรดตรัสบอกเหตุนั้น
คำว่า การทะเลาะ ในคำว่า การทะเลาะ การวิวาท ... มีมาจากไหน
อธิบายว่า การทะเลาะมีอาการอย่างเดียวกันกับการวิวาท ได้แก่ การทะเลาะ ก็คือ
การวิวาท การวิวาท ก็คือการทะเลาะ
อีกนัยหนึ่ง ว่าโดยการทะเลาะที่มีอาการต่างจากการวิวาท การวิวาทที่เป็น
ส่วนเบื้องต้นแห่งการทะเลาะ เรียกว่า การวิวาท กล่าวคือ พระราชาทรงวิวาทกับ
พระราชาก็ได้ กษัตริย์วิวาทกับกษัตริย์ก็ได้ พราหมณ์วิวาทกับพราหมณ์ก็ได้ คหบดี
วิวาทกับคหบดีก็ได้ มารดาวิวาทกับบุตรก็ได้ บุตรวิวาทกับมารดาก็ได้ บิดาวิวาท
กับบุตรก็ได้ บุตรวิวาทกับบิดาก็ได้ พี่ชายน้องชายวิวาทกับพี่ชายน้องชายก็ได้ พี่สาว
น้องสาววิวาทกับพี่สาวน้องสาวก็ได้ พี่ชายน้องชายวิวาทกับพี่สาวน้องสาวก็ได้ พี่สาว
น้องสาววิวาทกับพี่ชายน้องชายก็ได้ สหายวิวาทกับสหายก็ได้ นี้ชื่อว่าการวิวาท
การทะเลาะ เป็นอย่างไร
คือ คนครองเรือนใฝ่หาเรื่องกัน ก็ทำการทะเลาะกันด้วยกายวาจา บรรพชิต
ต้องอาบัติก็ทำการทะเลาะกันด้วยกายวาจา นี้ชื่อว่าการทะเลาะ

เชิงอรรถ :
๑ ขุ.สุ. ๒๕/๘๖๙-๘๘๔/๕๐๓-๕๐๖

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๒๙๗ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๑๑. กลหวิวาทสุตตนิทเทส
คำว่า การทะเลาะ การวิวาท... มีมาจากไหน อธิบายว่า พระพุทธเนรมิต
ทูลถาม ทูลสอบถาม ทูลขอ ทูลอัญเชิญ ทูลให้ทรงประกาศมูล เหตุ ต้นเหตุ การ
เกิดขึ้น แดนเกิด สมุฏฐาน อาหาร อารมณ์ ปัจจัย เหตุเกิดว่า การทะเลาะ และการ
วิวาท มีมาจากไหน คือ เกิดจากไหน เกิดขึ้นจากไหน บังเกิดจากไหน บังเกิดขึ้น
จากไหน ปรากฏจากไหน มีอะไรเป็นต้นเหตุ มีอะไรเป็นเหตุเกิด มีอะไรเป็นกำเนิด
มีอะไรเป็นแดนเกิด รวมความว่า การทะเลาะ การวิวาท... มีมาจากไหน

ว่าด้วยความคร่ำครวญ
คำว่า ความคร่ำครวญ ในคำว่า ความคร่ำครวญ ความเศร้าโศก ความตระหนี่
อธิบายว่า ความบ่นเพ้อ ความคร่ำครวญ กิริยาที่บ่นเพ้อ กิริยาที่คร่ำครวญ ภาวะที่
บ่นเพ้อ ภาวะที่คร่ำครวญ การพูดพล่าม การพูดเพ้อ การพูดเพ้อเจ้อ ความพร่ำเพ้อ
กิริยาที่พร่ำเพ้อ ภาวะที่พร่ำเพ้อ ของผู้ถูกความเสียหายของญาติกระทบบ้าง ถูก
ความเสียหายแห่งโภคทรัพย์กระทบบ้าง ถูกความเสียหายเพราะโรคกระทบบ้าง
ถูกสีลวิบัติกระทบบ้าง ถูกทิฏฐิวิบัติกระทบบ้าง ประจวบกับความเสียหายนอกจากที่
กล่าวแล้วกระทบบ้าง ถูกเหตุแห่งทุกข์อื่นนอกจากที่กล่าวแล้วกระทบบ้าง

ว่าด้วยความเศร้าโศก
คำว่า ความเศร้าโศก ได้แก่ ความเศร้าโศก กิริยาที่เศร้าโศก ภาวะที่เศร้าโศก
ความเศร้าโศกภายใน ความเศร้าโศกมากภายใน ความเร่าร้อนภายใน ความ
เร่าร้อนมากภายใน ความหม่นไหม้แห่งจิต ความทุกข์ใจ ลูกศรคือความเศร้าโศก
ของผู้ถูกความเสียหายของญาติกระทบบ้าง ถูกความเสียหายแห่งโภคทรัพย์กระทบ
บ้าง ถูกความเสียหายเพราะโรคกระทบบ้าง ถูกสีลวิบัติกระทบบ้าง ถูกทิฏฐิวิบัติ
กระทบบ้าง ประจวบกับความเสียหายอื่นนอกจากที่กล่าวแล้วกระทบบ้าง ถูกเหตุ
แห่งทุกข์อื่นนอกจากที่กล่าวแล้วกระทบบ้าง
คำว่า ความตระหนี่ ได้แก่ มัจฉริยะ ๕ อย่าง คือ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๒๙๘ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๑๑. กลหวิวาทสุตตนิทเทส
๑. อาวาสมัจฉริยะ ๒. กุลมัจฉริยะ
๓. ลาภมัจฉริยะ ๔. วัณณมัจฉริยะ
๕. ธัมมมัจฉริยะ
ความตระหนี่ กิริยาที่ตระหนี่ ภาวะที่ตระหนี่ ความเห็นแก่ได้ ความถี่เหนียว
ความที่จิตเจ็บร้อน (ในการให้) ความที่จิตหวงแหนเห็นปานนี้ นี้ตรัสเรียกว่า
ความตระหนี่
อีกนัยหนึ่ง ความตระหนี่ขันธ์ก็ดี ความตระหนี่ธาตุก็ดี ความตระหนี่อายตนะก็ดี
ความมุ่งแต่จะได้ก็ดี นี้ตรัสเรียกว่า ความตระหนี่ รวมความว่า ความคร่ำครวญ
ความเศร้าโศก ความตระหนี่
คำว่า ความถือตัว ในคำว่า ความถือตัว ความดูหมิ่นและวาจาส่อเสียด
อธิบายว่า คนบางคนในโลกนี้ เกิดความถือตัว เพราะชาติบ้าง เพราะโคตรบ้าง
เพราะเป็นบุตรของผู้มีตระกูลบ้าง เพราะเป็นผู้มีรูปงามบ้าง เพราะมีทรัพย์บ้าง
เพราะการศึกษาบ้าง เพราะหน้าที่การงานบ้าง เพราะมีหลักแห่งศิลปวิทยาบ้าง
เพราะวิทยฐานะบ้าง เพราะความคงแก่เรียนบ้าง เพราะปฏิภาณบ้าง เพราะสิ่งอื่น
นอกจากที่กล่าวแล้วบ้าง
คำว่า ความดูหมิ่น ได้แก่ คนบางคนในโลกนี้ ดูหมิ่นผู้อื่น เพราะชาติบ้าง
เพราะโคตรบ้าง... เพราะสิ่งอื่นนอกจากที่กล่าวแล้วบ้าง

ว่าด้วยผู้มีวาจาส่อเสียด
คำว่า และวาจาส่อเสียด อธิบายว่า คนบางคนในโลกนี้ เป็นผู้มีวาจาส่อเสียด
ฟังจากข้างนี้แล้วไปบอกข้างโน้นเพื่อทำลายคนหมู่นี้ หรือฟังจากข้างโน้นแล้วไปบอก
คนข้างนี้เพื่อทำลายคนหมู่โน้น ด้วยวิธีนี้ ก็ทำคนที่สามัคคีให้แตกแยก หรือ
สนับสนุนผู้ที่แตกแยกกันแล้ว ชอบการแบ่งพวกแบ่งเหล่า ยินดีการแบ่งพวกแบ่ง
เหล่า สนุกกับการแบ่งพวกแบ่งเหล่า พูดแต่เรื่องก่อให้เกิดการแบ่งพวกแบ่งเหล่า
นี้ตรัสเรียกว่า ความเป็นผู้มีวาจาส่อเสียด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๒๙๙ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๑๑. กลหวิวาทสุตตนิทเทส
อีกนัยหนึ่ง บุคคลย่อมนำวาจาส่อเสียดเข้าไปด้วยเหตุ ๒ ประการ คือ
๑. ด้วยประสงค์ให้ตนเป็นที่รัก ๒. ด้วยประสงค์ให้เขาแตกกัน
บุคคลย่อมนำวาจาส่อเสียดเข้าไปด้วยประสงค์ให้ตนเป็นที่รัก เป็นอย่างไร
คือ บุคคลย่อมนำวาจาส่อเสียดเข้าไปด้วยประสงค์ให้ตนเป็นที่รักด้วยคิดว่า
“เราจักเป็นที่รัก เป็นที่พอใจ เป็นที่คุ้นเคย เป็นที่สนิทสนม เป็นที่ดีใจของผู้นี้” บุคคล
ย่อมนำวาจาส่อเสียดเข้าไปด้วยประสงค์ให้ตนเป็นที่รัก เป็นอย่างนี้
บุคคลย่อมนำวาจาส่อเสียดเข้าไปด้วยประสงค์ให้เขาแตกกัน เป็นอย่างไร
คือ บุคคลย่อมนำวาจาส่อเสียดเข้าไปด้วยคิดว่า “ทำอย่างไร ชนเหล่านี้
พึงเป็นคนแปลกแยก แตกต่าง เป็นพรรคเป็นเหล่า เป็น ๒ พวก เป็น ๒ ฝัก ๒ ฝ่าย
แตกแยก ไม่ปรองดองกัน อยู่ลำบาก ไม่สบาย” บุคคลย่อมนำวาจาส่อเสียดเข้าไป
ด้วยประสงค์ให้เขาแตกกัน เป็นอย่างนี้ รวมความว่า ความถือตัว ความดูหมิ่น
และวาจาส่อเสียด
คำว่า กิเลสเหล่านั้นมีมาจากไหน ขอเชิญพระองค์โปรดตรัสบอกเหตุนั้น
อธิบายว่า พระพุทธเนรมิต ทูลถาม ทูลสอบถาม ทูลขอ ทูลอัญเชิญ ทูลให้ทรง
ประกาศมูล เหตุ ต้นเหตุ การเกิดขึ้น แดนเกิด สมุฏฐาน อาหาร อารมณ์ ปัจจัย
เหตุเกิดแห่งกิเลส ๘ จำพวกเหล่านี้ว่า กิเลส ๘ จำพวกเหล่านี้ คือ

๑. การทะเลาะ ๒. การวิวาท
๓. ความคร่ำครวญ ๔. ความเศร้าโศก
๕. ความตระหนี่ ๖. ความถือตัว
๗. ความดูหมิ่น ๘. วาจาส่อเสียด

มีมาจากไหน คือ เกิดจากไหน เกิดขึ้นจากไหน บังเกิดจากไหน บังเกิดขึ้น
จากไหน ปรากฏจากไหน มีอะไรเป็นต้นเหตุ มีอะไรเป็นเหตุเกิด มีอะไรเป็นกำเนิด
มีอะไรเป็นแดนเกิด รวมความว่า กิเลสเหล่านั้นมีมาจากไหน
คำว่า ขอเชิญพระองค์โปรดตรัสบอกเหตุนั้น อธิบายว่า ขอเชิญพระองค์
โปรดตรัส คือ ขอโปรดบอก แสดง บัญญัติ กำหนด เปิดเผย จำแนก ทำให้ง่าย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๓๐๐ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๑๑. กลหวิวาทสุตตนิทเทส
ประกาศ รวมความว่า กิเลสเหล่านั้นมีมาจากไหน ขอเชิญพระองค์โปรดตรัสบอก
เหตุนั้น ด้วยเหตุนั้น พระพุทธเนรมิตจึงทูลถามว่า
การทะเลาะ การวิวาท ความคร่ำครวญ
ความเศร้าโศก ความตระหนี่ ความถือตัว
ความดูหมิ่นและวาจาส่อเสียด มีมาจากไหน
กิเลสเหล่านั้นมีมาจากไหน
ขอเชิญพระองค์โปรดตรัสบอกเหตุนั้น
[๙๘] (พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า)
การทะเลาะ การวิวาท ความคร่ำครวญ
ความเศร้าโศก ความตระหนี่ ความถือตัว
ความดูหมิ่นและวาจาส่อเสียด มีมาจากสิ่งเป็นที่รัก
การทะเลาะ การวิวาท ประกอบในความตระหนี่
มีมาจากสิ่งเป็นที่รัก เมื่อการวิวาทเกิดขึ้นแล้ว
ก็มีวาจาส่อเสียดเกิดขึ้น

ว่าด้วยการทะเลาะเป็นต้น มาจากสิ่งเป็นที่รัก
คำว่า สิ่งเป็นที่รัก ในคำว่า การทะเลาะ การวิวาท ความคร่ำครวญ
ความเศร้าโศก ความตระหนี่... มีมาจากสิ่งเป็นที่รัก ได้แก่ สิ่งเป็นที่รัก ๒ จำพวก
คือ (๑) สัตว์ (๒) สังขาร
สัตว์เหล่าไหนเป็นที่รัก สัตว์ทั้งหลายในโลกนี้ เป็นผู้ปรารถนาแต่สิ่งที่เป็น
ประโยชน์ ปรารถนาแต่สิ่งที่เกื้อกูล ปราถนาแต่ความผาสุก ปรารถนาแต่ความ
หลุดพ้นจากโยคะ คือ มารดา บิดา พี่ชายน้องชาย พี่สาวน้องสาว บุตร ธิดา มิตร
อำมาตย์ ญาติ หรือผู้ร่วมสายโลหิตของผู้นั้น สัตว์เหล่านี้ชื่อว่าสิ่งเป็นที่รัก
สังขารเหล่าไหนเป็นที่รัก รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ที่น่าพอใจ สังขารเหล่านี้
ชื่อว่าสิ่งเป็นที่รัก
ชนทั้งหลายผู้หวาดระแวงว่าสิ่งเป็นที่รักจะถูกแย่งชิงไป ย่อมก่อการทะเลาะกัน
บ้าง เมื่อสิ่งเป็นที่รักกำลังถูกแย่งชิงไปย่อมก่อการทะเลาะกันบ้าง เมื่อสิ่งเป็นที่รักถูก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๓๐๑ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๑๑. กลหวิวาทสุตตนิทเทส
แย่งชิงไปแล้วย่อมก่อการทะเลาะกันบ้าง ชนทั้งหลายผู้หวาดระแวงว่าสิ่งเป็นที่รักจะ
แปรผันไป ย่อมก่อการทะเลาะกันบ้าง เมื่อสิ่งเป็นที่รักกำลังแปรผันไป ย่อมก่อการ
ทะเลาะกันบ้าง เมื่อสิ่งเป็นที่รักแปรผันไปแล้ว ย่อมก่อการทะเลาะกันบ้าง
ชนทั้งหลายผู้หวาดระแวงว่าสิ่งเป็นที่รักจะถูกแย่งชิงไป ย่อมวิวาทกันบ้าง
เมื่อสิ่งเป็นที่รักกำลังถูกแย่งชิงไป ย่อมวิวาทกันบ้าง เมื่อสิ่งเป็นที่รักถูกแย่งชิงไปแล้ว
ย่อมวิวาทกันบ้าง ชนทั้งหลายผู้หวาดระแวงว่าสิ่งเป็นที่รักจะแปรผันไป ย่อมวิวาท
กันบ้าง เมื่อสิ่งเป็นที่รักกำลังแปรผันไป ย่อมวิวาทกันบ้าง เมื่อสิ่งเป็นที่รัก
แปรผันไปแล้ว ย่อมวิวาทกันบ้าง
ชนทั้งหลายผู้หวาดระแวงว่าสิ่งเป็นที่รักจะถูกแย่งชิงไป ย่อมคร่ำครวญบ้าง
เมื่อสิ่งเป็นที่รักกำลังถูกแย่งชิงไป ย่อมคร่ำครวญบ้าง เมื่อสิ่งเป็นที่รักถูกแย่งชิงไปแล้ว
ย่อมคร่ำครวญบ้าง ชนทั้งหลายผู้หวาดระแวงว่าสิ่งเป็นที่รักจะแปรผันไป ย่อม
คร่ำครวญบ้าง เมื่อสิ่งเป็นที่รักกำลังแปรผันไป ย่อมคร่ำครวญบ้าง เมื่อสิ่งเป็นที่รัก
แปรผันไปแล้ว ย่อมคร่ำครวญบ้าง
ชนทั้งหลายผู้หวาดระแวงว่าสิ่งเป็นที่รักจะถูกแย่งชิงไป ย่อมเศร้าโศกบ้าง เมื่อ
สิ่งเป็นที่รักกำลังถูกแย่งชิงไป ย่อมเศร้าโศกบ้าง เมื่อสิ่งเป็นที่รักถูกแย่งชิงไปแล้ว
ย่อมเศร้าโศกบ้าง ชนทั้งหลายผู้หวาดระแวงว่าสิ่งเป็นที่รักจะแปรผันไป ย่อม
เศร้าโศกบ้าง เมื่อสิ่งเป็นที่รักกำลังแปรผันไป ย่อมเศร้าโศกบ้าง เมื่อสิ่งเป็นที่รัก
แปรผันไปแล้ว ย่อมเศร้าโศกบ้าง
ชนทั้งหลาย ย่อมรักษา ปกป้อง ถือครอง ยึดถือว่าเป็นของเรา ประพฤติ
ตระหนี่อยู่ซึ่งสิ่งเป็นที่รัก
คำว่า ความถือตัว ความดูหมิ่นและวาจาส่อเสียด อธิบายว่า ชนทั้งหลาย
เกิดความถือตัวเพราะอาศัยสิ่งเป็นที่รัก เกิดความดูหมิ่นเพราะอาศัยสิ่งเป็นที่รัก
ชนทั้งหลายเกิดความถือตัวเพราะอาศัยสิ่งเป็นที่รัก เป็นอย่างไร
คือ ชนทั้งหลายเกิดความถือตัวเพราะอาศัยสิ่งเป็นที่รักว่า “เราเป็นผู้มีปกติได้
รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ที่ถูกใจ” ชนทั้งหลายเกิดความถือตัวเพราะอาศัยสิ่ง
เป็นที่รัก เป็นอย่างนี้


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๓๐๒ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๑๑. กลหวิวาทสุตตนิทเทส
ชนทั้งหลายเกิดความดูหมิ่นเพราะอาศัยสิ่งเป็นที่รัก เป็นอย่างไร
คือ ชนทั้งหลายเกิดความดูหมิ่นเพราะอาศัยสิ่งเป็นที่รักว่า “เราเป็นผู้มีปกติ
ได้รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ที่ถูกใจ” ส่วนชนอื่นเหล่านี้ หามีปกติได้รูป เสียง
กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ที่ถูกใจไม่ ชนทั้งหลายเกิดความดูหมิ่นเพราะอาศัยสิ่งเป็นที่รัก
เป็นอย่างนี้
คำว่า วาจาส่อเสียด อธิบายว่า คนบางคนในโลกนี้ เป็นผู้กล่าววาจาส่อเสียด
ฟังจากข้างนี้แล้ว ไปบอกข้างโน้นเพื่อทำลายคนหมู่นี้...อย่างนี้ ชื่อว่านำวาจา
ส่อเสียดเข้าไป โดยมุ่งหวังให้เขาแตกกัน รวมความว่า ความถือตัว ความดูหมิ่น
และวาจาส่อเสียด
คำว่า การทะเลาะ การวิวาท ประกอบในความตระหนี่ ได้แก่ กิเลส ๗ ชนิด
เหล่านี้ คือ

๑. การทะเลาะ ๒. การวิวาท
๓. ความคร่ำครวญ ๔. ความเศร้าโศก
๕. ความถือตัว ๖. ความดูหมิ่น
๗. วาจาส่อเสียด

ประกอบ คือ เกี่ยวเนื่อง ต่อเนื่อง สืบเนื่องในความตระหนี่ รวมความว่า
การทะเลาะ การวิวาท ประกอบในความตระหนี่
คำว่า เมื่อการวิวาทเกิดขึ้นแล้ว ก็มีวาจาส่อเสียดเกิดขึ้น อธิบายว่า เมื่อ
การวิวาท เกิด คือ เกิดขึ้น บังเกิด บังเกิดขึ้น ปรากฏแล้ว ชนทั้งหลายย่อมนำ
วาจาส่อเสียดเข้าไป คือฟังจากข้างนี้แล้วไปบอกข้างโน้นเพื่อทำลายคนหมู่นี้ หรือฟัง
จากข้างโน้นแล้วไปบอกข้างนี้เพื่อทำลายคนหมู่โน้น ด้วยวิธีนี้ ก็ทำคนที่สามัคคีให้
แตกแยก หรือสนับสนุนผู้ที่แตกแยกกันแล้ว ชอบการแบ่งพวกแบ่งเหล่า ยินดีการ
แบ่งพวกแบ่งเหล่า สนุกกับการแบ่งพวกแบ่งเหล่า พูดแต่เรื่องก่อให้เกิดการแบ่ง
พวกแบ่งเหล่า นี้ตรัสเรียกว่า วาจาส่อเสียด
อีกนัยหนึ่ง บุคคลย่อมนำวาจาส่อเสียดเข้าไปด้วยเหตุ ๒ ประการ คือ (๑)
ด้วยประสงค์ให้ตนเป็นที่รัก (๒) ด้วยประสงค์ให้เขาแตกกัน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๓๐๓ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๑๑. กลหวิวาทสุตตนิทเทส
บุคคลย่อมนำวาจาส่อเสียดเข้าไปด้วยประสงค์ให้ตนเป็นที่รัก เป็นอย่างไร
คือ บุคคลย่อมนำวาจาส่อเสียดเข้าไปด้วยประสงค์ให้ตนเป็นที่รักว่า “เราจัก
เป็นที่รัก เป็นที่พอใจ เป็นที่คุ้นเคย เป็นที่สนิทสนม เป็นที่ดีใจของผู้นี้” บุคคลย่อม
นำวาจาส่อเสียดเข้าไปด้วยประสงค์ให้ตนเป็นที่รัก เป็นอย่างนี้
บุคคลย่อมนำวาจาส่อเสียดเข้าไปด้วยประสงค์ให้เขาแตกกัน เป็นอย่างไร
คือ บุคคลย่อมนำวาจาส่อเสียดเข้าไปด้วยประสงค์ให้เขาแตกกันว่า “ทำอย่างไร
ชนเหล่านี้ พึงเป็นคนแปลกแยก แตกต่าง เป็นพรรคเป็นเหล่า เป็น ๒ พวก
เป็น ๒ ฝัก ๒ ฝ่าย แตกแยก ไม่ปรองดองกัน อยู่ลำบากไม่สบาย” บุคคลย่อมนำ
วาจาส่อเสียดเข้าไปด้วยประสงค์ให้เขาแตกกัน เป็นอย่างนี้ รวมความว่า เมื่อการ
วิวาทเกิดขึ้นแล้ว ก็มีวาจาส่อเสียดเกิดขึ้น ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัส
ตอบว่า
การทะเลาะ การวิวาท ความคร่ำครวญ
ความเศร้าโศก ความตระหนี่ ความถือตัว
ความดูหมิ่น และวาจาส่อเสียด มีมาจากสิ่งเป็นที่รัก
การทะเลาะ การวิวาท ประกอบในความตระหนี่
มีมาจากสิ่งเป็นที่รัก เมื่อการวิวาทเกิดขึ้นแล้ว
ก็มีวาจาส่อเสียดเกิดขึ้น
[๙๙] (พระพุทธเนรมิตทูลถามว่า)
สิ่งเป็นที่รักในโลกมีอะไรเป็นต้นเหตุ
และชนเหล่าใดท่องเที่ยวไปในโลกเพราะความโลภ
ความโลภของชนเหล่านั้นมีอะไรเป็นต้นเหตุ
ความหวังและความสำเร็จหวังใดจะมีแก่นรชนในภพหน้า
ความหวังและความสำเร็จหวังนั้นมีอะไรเป็นต้นเหตุ

ว่าด้วยอะไรเป็นต้นเหตุแห่งสิ่งเป็นที่รัก
คำว่า สิ่งเป็นที่รักในโลกมีอะไรเป็นต้นเหตุ อธิบายว่า พระพุทธเนรมิต
ทูลถาม ทูลสอบถาม ทูลขอ ทูลอัญเชิญ ทูลให้ทรงประกาศถึงมูล...เหตุเกิดแห่ง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๓๐๔ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๑๑. กลหวิวาทสุตตนิทเทส
สิ่งเป็นที่รักว่า สิ่งเป็นที่รัก มีอะไรเป็นต้นเหตุ คือ เกิดจากอะไร เกิดขึ้นจากไหน
บังเกิดจากอะไร บังเกิดขึ้นจากไหน ปรากฏจากอะไร มีอะไรเป็นต้นเหตุ มีอะไรเป็น
เหตุเกิด มีอะไรเป็นกำเนิด มีอะไรเป็นแดนเกิด รวมความว่า สิ่งเป็นที่รักในโลก
มีอะไรเป็นต้นเหตุ
คำว่า และชนเหล่าใด ในคำว่า และชนเหล่าใดท่องเที่ยวไปในโลกเพราะ
ความโลภ ได้แก่ กษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทร คฤหัสถ์ บรรพชิต เทวดา
และมนุษย์
คำว่า เพราะความโลภ ได้แก่ ความโลภ กิริยาที่โลภ ภาวะที่โลภ ความ
กำหนัดนัก กิริยาที่กำหนัดนัก ภาวะที่กำหนัดนัก อภิชฌา อกุศลมูลคือโลภะ
คำว่า ท่องเที่ยวไป ได้แก่ ท่องเที่ยวไป คือ อยู่ เคลื่อนไหว เป็นไป เลี้ยงชีวิต
ดำเนินไป ยังชีวิตให้ดำเนินไป
คำว่า ในโลก ได้แก่ ในอบายโลก มนุษยโลก เทวโลก ขันธโลก ธาตุโลก
อายตนโลก รวมความว่า และชนเหล่าใดท่องเที่ยวไปในโลกเพราะความโลภ
คำว่า ความหวังและความสำเร็จหวังนั้นมีอะไรเป็นต้นเหตุ อธิบายว่า
พระพุทธเนรมิตทูลถาม ทูลสอบถาม ทูลขอ ทูลอัญเชิญ ทูลให้ทรงประกาศถึง
มูล...เหตุเกิดแห่งความหวังและความสำเร็จหวังว่า ความหวังและความสำเร็จหวังมี
อะไรเป็นต้นเหตุ คือ เกิดจากอะไร เกิดขึ้นจากไหน บังเกิดจากอะไร บังเกิดขึ้นจากไหน
ปรากฏจากอะไร มีอะไรเป็นต้นเหตุ มีอะไรเป็นเหตุเกิด มีอะไรเป็นกำเนิด มีอะไร
เป็นแดนเกิด รวมความว่า ความหวังและความสำเร็จหวังนั้นมีอะไรเป็นต้นเหตุ
คำว่า ความหวังและความสำเร็จหวังใดจะมีแก่นรชนในภพหน้า อธิบายว่า
ความหวังและความสำเร็จหวังใด เป็นที่ไปในเบื้องหน้า คือ เป็นเกาะ เป็นที่
ต้านทาน เป็นที่หลีกเร้น เป็นที่พึ่งของนรชน คือ นรชนเป็นผู้มีความสำเร็จหวัง
เป็นที่ไปในเบื้องหน้า รวมความว่า ความหวังและความสำเร็จหวังใดจะมีแก่นรชนใน
ภพหน้า ด้วยเหตุนั้น พระพุทธเนรมิต จึงทูลถามว่า
สิ่งเป็นที่รักในโลกมีอะไรเป็นต้นเหตุ
และชนเหล่าใดท่องเที่ยวไปในโลกเพราะความโลภ
ความโลภของชนเหล่านั้นมีอะไรเป็นต้นเหตุ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๓๐๕ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๑๑. กลหวิวาทสุตตนิทเทส
ความหวังและความสำเร็จหวังใดจะมีแก่นรชนในภพหน้า
ความหวังและความสำเร็จหวังนั้นมีอะไรเป็นต้นเหตุ
[๑๐๐] (พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า)
สิ่งเป็นที่รักในโลกมีความพอใจเป็นต้นเหตุ
และชนเหล่าใดท่องเที่ยวไปในโลกเพราะความโลภ
ความโลภของชนเหล่านั้นมีความพอใจเป็นต้นเหตุ
ความหวังและความสำเร็จหวังใดจะมีแก่นรชนในภพหน้า
ความหวังและความสำเร็จหวังของนรชนนั้น
มีความพอใจนี้เป็นต้นเหตุ
คำว่า ความพอใจ ในคำว่า สิ่งเป็นที่รักในโลกมีความพอใจเป็นต้นเหตุ
ได้แก่ ความพอใจด้วยอำนาจความใคร่ ความกำหนัดด้วยอำนาจความใคร่ ความ
เพลิดเพลินด้วยอำนาจความใคร่ ความทะยานอยากด้วยอำนาจความใคร่ ความเยื่อ
ใยด้วยอำนาจความใคร่ ความเร่าร้อนด้วยอำนาจความใคร่ ความสยบด้วยอำนาจ
ความใคร่ ความติดใจด้วยอำนาจความใคร่ ห้วงน้ำคือความใคร่ กิเลสเครื่องประกอบ
คือความใคร่ กิเลสเครื่องยึดมั่นคือความใคร่ กิเลสเครื่องกั้นจิตคือความพอใจด้วย
อำนาจความใคร่ในกามทั้งหลาย
อีกนัยหนึ่ง ความพอใจ ๕ อย่าง คือ
๑. ความพอใจในการแสวงหา ๒. ความพอใจในการได้
๓. ความพอใจในการบริโภค ๔. ความพอใจในการสะสม
๕. ความพอใจในการสละ
ความพอใจในการแสวงหา เป็นอย่างไร
คือ คนบางคนในโลกนี้ ชอบใจ มีความต้องการ เกิดความพอใจ ก็แสวงหารูป...
เสียง... กลิ่น... รส... โผฏฐัพพะ นี้ชื่อว่าความพอใจในการแสวงหา
ความพอใจในการได้ เป็นอย่างไร
คือ คนบางคนในโลกนี้ ชอบใจ มีความต้องการ เกิดความพอใจ ย่อมได้รูป...
เสียง... กลิ่น... รส...โผฏฐัพพะ นี้ชื่อว่าความพอใจในการได้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๓๐๖ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๑๑. กลหวิวาทสุตตนิทเทส
ความพอใจในการบริโภค เป็นอย่างไร
คือ คนบางคนในโลกนี้ ชอบใจ มีความต้องการ เกิดความพอใจ ย่อมบริโภค
รูป...เสียง...กลิ่น...รส...โผฏฐัพพะ นี้ชื่อว่าความพอใจในการบริโภค
ความพอใจในการสะสม เป็นอย่างไร
คือ คนบางคนในโลกนี้ ชอบใจ มีความต้องการ เกิดความพอใจ ย่อมทำการ
สะสมทรัพย์ ด้วยหวังว่า “จักมีประโยชน์ในคราวเกิดอันตราย” นี้ชื่อว่าความพอใจ
ในการสะสม
ความพอใจในการสละ เป็นอย่างไร
คือ คนบางคนในโลกนี้ ชอบใจ มีความต้องการ เกิดความพอใจ ย่อมสละ
ทรัพย์ให้แก่พลช้าง พลม้า พลรถ พลธนู พลเดินเท้า ด้วยคิดว่า “คนเหล่านี้
จักรักษา ปกป้อง ห้อมล้อมเรา” นี้ชื่อว่าความพอใจในการสละ

ว่าด้วยสิ่งเป็นที่รัก ๒ จำพวก
คำว่า สิ่งเป็นที่รัก ได้แก่ สิ่งเป็นที่รัก ๒ จำพวก คือ (๑) สัตว์ (๒) สังขาร ...
สัตว์เหล่านี้ ชื่อว่าสิ่งเป็นที่รัก... สังขารเหล่านี้ชื่อว่าสิ่งเป็นที่รัก๑
คำว่า สิ่งเป็นที่รักในโลกมีความพอใจเป็นต้นเหตุ อธิบายว่า สิ่งเป็นที่รัก
มีความพอใจเป็นต้นเหตุ คือ มีความพอใจเป็นเหตุเกิด มีความพอใจเป็นกำเนิด
มีความพอใจเป็นแดนเกิด รวมความว่า สิ่งเป็นที่รักในโลกมีความพอใจเป็นต้นเหตุ
คำว่า ชนเหล่าใด ในคำว่า และชนเหล่าใดท่องเที่ยวไปในโลกเพราะ
ความโลภ ได้แก่ กษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทร คฤหัสถ์ บรรพชิต เทวดา
และมนุษย์
คำว่า เพราะความโลภ ได้แก่ ความโลภ กิริยาที่โลภ ภาวะที่โลภ ความ
กำหนัดนัก กิริยาที่กำหนัดนัก ภาวะที่กำหนัดนัก อภิชฌา อกุศลมูลคือโลภะ



เชิงอรรถ :
๑ดูรายละเอียดข้อ ๙๘/๓๐๑


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๓๐๗ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๑๑. กลหวิวาทสุตตนิทเทส
คำว่า ท่องเที่ยวไป ได้แก่ ท่องเที่ยวไป คือ อยู่ เคลื่อนไหว เป็นไป เลี้ยงชีวิต
ดำเนินไป ยังชีวิตให้ดำเนินไป
คำว่า ในโลก ได้แก่ ในอบายโลก...ในอายตนโลก๑ รวมความว่า และชนเหล่า
ใดท่องเที่ยวไปในโลกเพราะความโลภ

ว่าด้วยความหวัง
คำว่า ความหวังและความสำเร็จหวังของนรชนนั้นมีความพอใจนี้เป็น
ต้นเหตุ อธิบายว่า ตัณหา ตรัสเรียกว่า ความหวัง คือ ความกำหนัด ความกำหนัด
นัก... อภิชฌา อกุศลมูลคือโลภะ๒
คำว่า ความสำเร็จหวัง อธิบายว่า คนบางคนในโลกนี้ เมื่อแสวงหารูปก็ได้รูป
เป็นผู้สมหวังในรูป เมื่อแสวงหาเสียง...กลิ่น...รส... โผฏฐัพพะ ... ตระกูล ... หมู่คณะ
... อาวาส ... ลาภ ... ยศ ... สรรเสริญ ... สุข ... จีวร ... บิณฑบาต ... เสนาสนะ ...
คิลานปัจจัยเภสัชบริขาร ... พระสูตร ... พระวินัย ... พระอภิธรรม ... อารัญญิกังค-
ธุดงค์ ... ปิณฑปาติกังคธุดงค์ ... ปังสุกูลิกังคธุดงค์ ... เตจีวริกังคธุดงค์ ... สปทาน-
จาริกังคธุดงค์ ... ขลุปัจฉาภัตติกังคธุดงค์ ... เนสัชชิกังคธุดงค์ ... ยถาสันถติกังคธุดงค์
... ปฐมฌาน ... ทุติยฌาน ... ตติยฌาน ... จตุตถฌาน ... อากาสานัญจายตนสมาบัติ
... วิญญาณัญจายตนสมาบัติ ... อากิญจัญญายตนสมาบัติ ... เมื่อแสวงหา
เนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ ก็ได้เนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ เป็นผู้
สมหวังในเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ (สมจริงดังที่พระกาฬุทายีกราบทูลพระ
ผู้มีพระภาคว่า)
ชาวนาไถนาก็ด้วยหวังผล หว่านพืชก็ด้วยหวังผล
พวกพ่อค้าเที่ยวหาทรัพย์เดินเรือไปสู่สมุทรก็ด้วยหวังผล
ข้าพระองค์อยู่ในที่นี้ด้วยความหวังอันใด
ขอความหวังอันนั้นของข้าพระองค์จงสำเร็จเถิด๓

เชิงอรรถ :
๑ ดูรายละเอียดข้อ ๓/๑๒
๒ ดูรายละเอียดข้อ ๓/๑๐-๑๑
๓ ขุ.เถร.(แปล) ๒๖/๕๓๐/๔๓๒

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๓๐๘ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๑๑. กลหวิวาทสุตตนิทเทส
ความสำเร็จตามความหวัง ตรัสเรียกว่า ความสำเร็จหวัง
คำว่า ความหวังและความสำเร็จหวังของนรชนนั้น มีความพอใจนี้เป็น
ต้นเหตุ อธิบายว่า ความหวังและความสำเร็จหวัง มีความพอใจนี้เป็นต้นเหตุ มีความ
พอใจเป็นเหตุเกิด มีความพอใจเป็นกำเนิด มีความพอใจเป็นแดนเกิด รวมความว่า
ความหวังและความสำเร็จหวัง มีความพอใจนี้เป็นต้นเหตุ
คำว่า ความหวังและความสำเร็จหวังใดจะมีแก่นรชนในภพหน้า อธิบาย
ว่า ความหวังและความสำเร็จหวังใด เป็นที่ไปในเบื้องหน้า เป็นเกาะ เป็นที่ต้านทาน
เป็นที่หลีกเร้น เป็นที่พึ่งของนรชน คือ นรชนเป็นผู้มีความสำเร็จหวังเป็นที่ไปใน
เบื้องหน้า รวมความว่า ความหวังและความสำเร็จหวังใดจะมีแก่นรชนในภพหน้า
ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสตอบว่า
สิ่งเป็นที่รักในโลกมีความพอใจเป็นต้นเหตุ
และชนเหล่าใดท่องเที่ยวไปในโลกเพราะความโลภ
ความโลภของชนเหล่านั้นมีความพอใจเป็นต้นเหตุ
ความหวังและความสำเร็จหวังใดจะมีแก่นรชนในภพหน้า
ความหวังและความสำเร็จหวังของนรชนนั้น
มีความพอใจนี้เป็นต้นเหตุ
[๑๐๑] (พระพุทธเนรมิตทูลถามว่า)
ฉันทะในโลกมีต้นเหตุมาจากไหน
และการตัดสินใจมีมาจากไหน
อนึ่ง ความโกรธ ความเป็นคนพูดเท็จ
และความสงสัยมีมาจากอะไร
และธรรมเหล่าใดพระสมณะตรัสไว้แล้ว
ธรรมเหล่านั้นมีมาจากอะไร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๓๐๙ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๑๑. กลหวิวาทสุตตนิทเทส
ว่าด้วยฉันทะเป็นต้น มีอะไรเป็นต้นเหตุ
คำว่า ฉันทะในโลกมีต้นเหตุมาจากไหน อธิบายว่า พระพุทธเนรมิตทูลถาม
ทูลสอบถาม ทูลขอ ทูลอัญเชิญ ทูลให้ทรงประกาศถึงมูล...เหตุเกิดแห่งฉันทะว่า
ฉันทะมีต้นเหตุมาจากไหน คือ เกิดจากไหน เกิดขึ้นจากไหน บังเกิดจากไหน บังเกิด
ขึ้นจากไหน ปรากฏจากไหน มีอะไรเป็นต้นเหตุ มีอะไรเป็นเหตุเกิด มีอะไรเป็นกำเนิด
มีอะไรเป็นแดนเกิด รวมความว่า ฉันทะในโลกมีต้นเหตุมาจากไหน
คำว่า และการตัดสินใจมีมาจากไหน อธิบายว่า พระพุทธเนรมิตทูลถาม ทูล
สอบถาม ทูลขอ ทูลอัญเชิญ ทูลให้ทรงประกาศถึงมูล...เหตุเกิดแห่งการตัดสิน
ใจว่า การตัดสินใจมีมาจากไหน คือ เกิดจากไหน เกิดขึ้นจากไหน บังเกิดจากไหน
บังเกิดขึ้นจากไหน ปรากฏจากไหน มีอะไรเป็นต้นเหตุ มีอะไรเป็นเหตุเกิด มีอะไร
เป็นกำเนิด มีอะไรเป็นแดนเกิด รวมความว่า และการตัดสินใจมีมาจากไหน
คำว่า ความโกรธ ในคำว่า ความโกรธ ความเป็นคนพูดเท็จ และความ
สงสัย อธิบายว่า ใจปองร้าย มุ่งร้าย ขัดเคือง ขุ่นเคือง เคือง เคืองมาก เคืองตลอด
ชัง ชิงชัง เกลียดชัง ใจพยาบาท ใจแค้นเคือง ความโกรธ กิริยาที่โกรธ ภาวะที่โกรธ
ความคิดประทุษร้าย กิริยาที่คิดประทุษร้าย ภาวะที่คิดประทุษร้าย ความคิด
ปองร้าย กิริยาที่คิดปองร้าย ภาวะที่คิดปองร้าย ความโกรธ ความแค้น ความดุร้าย
ความเกรี้ยวกราด ความไม่แช่มชื่นแห่งจิตเห็นปานนี้
มุสาวาท ตรัสเรียกว่า ความเป็นคนพูดเท็จ
ความลังเล ตรัสเรียกว่า ความสงสัย รวมความว่า ความโกรธ ความเป็นคน
พูดเท็จ และความสงสัย
คำว่า และธรรมเหล่าใด ในคำว่า และธรรมเหล่าใดพระสมณะตรัสไว้แล้ว
อธิบายว่า ธรรมเหล่าใด ดำเนินไปพร้อมกัน คือ เกิดพร้อมกัน เกี่ยวข้องกัน
ประกอบกัน เกิดคราวเดียวกัน ดับคราวเดียวกัน มีวัตถุอย่างเดียวกัน มีอารมณ์
อย่างเดียวกันกับความโกรธ ความเป็นคนพูดเท็จ และความสงสัย ธรรมเหล่านี้ตรัส
เรียกว่า ธรรมเหล่าใด
อีกนัยหนึ่ง กิเลสเหล่าใดมีชาติเป็นอย่างอื่น ตั้งอยู่แล้วโดยอาการอื่น กิเลส
เหล่านี้ ตรัสเรียกว่า ธรรมเหล่าใด


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๓๑๐ }


>>>>> หน้าต่อไป >>>>>





eXTReMe Tracker