ค้นว่าอยู่เล่มใด แล้วกด [ctrl]+f หรือใช้คำสั่งของเครื่องหาตำแหน่งในเล่มอีกทีนะครับ



จัดรูปหน้าใหม่
เพื่อความสะดวก และสวยงาม
(เฉพาะหน้าจอใหญ่ เช่น คอมพิวเตอร์)
กรุณาคลิก จัดรูปหน้าใหม่
เพื่อให้กรอบ
ค้นข้อความ ปรากฎที่ด้านซ้ายของหน้า

พระไตรปิฎกภาษาไทย
ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ๔๕ เล่ม (ปกสีฟ้า)
ทั้งออนไลน์และออฟไลน์
ที่มาของข้อมูล : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับ มจร.
MCUTRAI Version 1.0

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖-๓ สุตตันตปิฎกที่ ๑๘ ขุททกนิกาย
วิมาน เปตวัตถุ เถรคาถา เถรีคาถา

พระสุตตันตปิฎก
ขุททกนิกาย เถรคาถา
_____________
ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๑. เอกกนิบาต] รวมเรื่องพระเถระที่มีในวรรค
๙. รามเณยยกเถรคาถา
ภาษิตของรามเณยยกเถระ
ทราบว่า ท่านพระรามเณยยกเถระได้กล่าวคาถาไว้ดังนี้ว่า
[๔๙] เจ้ามารร้ายเอ๋ย จิตของเรานั้นไม่หวั่นไหว
ในเพราะเสียงจ้อกแจ้กของฝูงนกกระจาบและเสียงกู่ก้องของฝูงลิง
เพราะจิตของเรายินดีในเอกัคคตารมณ์๑

๑๐. วิมลเถรคาถา
ภาษิตของพระวิมลเถระ
ทราบว่า ท่านพระวิมลเถระได้กล่าวคาถาไว้ดังนี้ว่า
[๕๐] พื้นปฐพีฉ่ำชื่นด้วยน้ำฝน
ลมเจือละอองฝนก็โชยพัด
ทั้งสายฟ้าก็แลบอยู่ทั่วท้องฟ้า
(แต่)วิตก๒ทั้งหลายระงับไป
จิตของเราตั้งมั่นดีแล้ว
ปัญจมวรรค จบ

รวมเรื่องพระเถระที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. พระสิริวัฑฒเถระ ๒. พระขทิรวนิยเรวตเถระ
๓. พระสุมังคลเถระ ๔. พระสานุเถระ
๕. พระรมณียวิหารีเถระ ๖. พระสมิทธิเถระ
๗. พระอุชชยเถระ ๘. พระสัญชยเถระ
๙. พระรามเณยยกเถระ ๑๐. พระวิมลเถระ


เชิงอรรถ :
๑ มีอารมณ์เดียว (ขุ.เถร.อ. ๑/๔๙/๑๘๘)
๒ การตรึกถึงกามคุณเป็นต้น (ขุ.เถร.อ. ๑/๕๐/๑๙๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๓๒๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๑. เอกกนิบาต] ๖. ฉัฏฐวรรค ๓. วัลลิยเถรคาถา
๖. ฉัฏฐวรรค
หมวดที่ ๖
๑. โคธิกเถรคาถา
ภาษิตของพระโคธิกเถระ
ทราบว่า ท่านพระโคธิกเถระได้กล่าวคาถาไว้ดังนี้ว่า
[๕๑] ฝนตกลงมา เสียงดังกระหึ่มคล้ายเสียงเพลงอันไพเราะ
กุฎีของเราสบาย มุงบังมิดชิดดี จิตเราตั้งมั่นดีแล้ว
ถ้าต้องการจะตกก็จงตกลงมาเถิดฝน

๒. สุพาหุเถรคาถา
ภาษิตของพระสุพาหุเถระ
ทราบว่า ท่านพระสุพาหุเถระได้กล่าวคาถาไว้ดังนี้ว่า
[๕๒] ฝนตกลงมา เสียงดังกระหึ่มคล้ายเสียงเพลงอันไพเราะ
กุฎีของเราสบาย มุงบังมิดชิดดี จิตเราตั้งมั่นดีแล้ว
ถ้าต้องการจะตกก็จงตกลงมาเถิดฝน

๓. วัลลิยเถรคาถา
ภาษิตของพระวัลลิยเถระ
ทราบว่า ท่านพระวัลลิยเถระได้กล่าวคาถาไว้ดังนี้ว่า
[๕๓] ฝนตกลงมา เสียงดังกระหึ่มคล้ายเสียงเพลงอันไพเราะ
กุฎีของเราสบาย มุงบังมิดชิดดี
ในกุฎีนั้น เราอยู่อย่างผู้ไม่ประมาท
ถ้าต้องการจะตกก็จงตกลงมาเถิดฝน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๓๒๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๑. เอกกนิบาต] ๖. ฉัฏฐวรรค ๖. กุฏิวิหารีเถรคาถา
๔. อุตติยเถรคาถา
ภาษิตของพระอุตติยเถระ
ทราบว่า ท่านพระอุตติยเถระได้กล่าวคาถาไว้ดังนี้ว่า
[๕๔] ฝนตกลงมา เสียงดังกระหึ่มคล้ายเสียงเพลงอันไพเราะ
กุฎีของเราสบาย มุงบังมิดชิดดี
ในกุฎีนั้น เราอยู่(แต่ผู้เดียว) ไม่มีเพื่อน
ถ้าต้องการจะตกก็จงตกลงมาเถิดฝน

๕. อัญชนวนิยเถรคาถา
ภาษิตของพระอัญชนวนิยเถระ
ทราบว่า ท่านพระอัญชนวนิยเถระได้กล่าวคาถาไว้ดังนี้ว่า
[๕๕] เราเข้าไปป่าอัญชนาวัน เอาตั่งเป็นกุฎี
บรรลุวิชชา ๓ แล้ว
เราได้ทำตามคำสอนของพระพุทธเจ้าแล้ว

๖. กุฏิวิหารีเถรคาถา
ภาษิตของพระกุฏิวิหารีเถระ
ทราบว่า คนเฝ้านาและพระกุฎีวิหารีเถระสนทนากันว่าดังนี้
[๕๖] (คนเฝ้านาถามว่า) ใครเล่านั่งอยู่ในกระท่อม
พระกุฏิวิหารีเถระ(ตอบว่า) ภิกษุผู้ปราศจากราคะ
มีจิตมั่นคงดีแล้ว อยู่ในกระท่อม
เข้าใจอย่างนี้เถิดโยม
กระท่อมที่ท่านสร้างไว้แล้ว ไม่เปล่าประโยชน์เลย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๓๒๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๑. เอกกนิบาต] ๖. ฉัฏฐวรรค ๙. โกสัลลวิหาริเถรคาถา
๗. ทุติยกุฏิวิหารีเถรคาถา
ภาษิตของพระทุติยกุฏิวิหารีเถระ
ทราบว่า ท่านพระทุติยกุฏิวิหารีเถระได้กล่าวคาถาที่เทวดาได้กล่าวกับตนว่า
ดังนี้
[๕๗] กุฎี๑หลังนี้เป็นกุฎีเก่า
ท่านปรารถนากุฎีใหม่หลังอื่นทำไม
ขอท่านจงคลายความหวังในกุฎีหลังใหม่เสียเถิด
เพราะกุฎีหลังใหม่นำทุกข์มาให้

๘. รมณียกุฏิกเถรคาถา
ภาษิตของพระรมณียกุฏิกเถระ
ทราบว่า ท่านพระรมณียกุฏิกเถระได้กล่าวคาถาไว้ดังนี้ว่า
[๕๘] กุฎีของเราน่ารื่นรมย์
เป็นที่พอใจ ทายกผู้มีศรัทธาถวายไว้
อาตมาไม่ต้องการพวกผู้หญิง
พวกเธอจงไปในที่ที่พวกเขาต้องการพวกผู้หญิงเถิด

๙. โกสัลลวิหาริเถรคาถา
ภาษิตของพระโกสัลลวิหารีเถระ
ทราบว่า ท่านพระโกสัลลวิหารีเถระได้กล่าวคาถาไว้ดังนี้ว่า
[๕๙] เราบวชด้วยศรัทธา เราสร้างกุฎีอยู่ในป่า
เราจึงอยู่อย่างคนไม่ประมาท
มีความเพียรเป็นนิตย์ และมีสติสัมปชัญญะ

เชิงอรรถ :
๑ ห้องที่อยู่ของพระ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๓๒๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๑. เอกกนิบาต] ๗. สัตตวรรค ๑. วัปปเถรคาถา
๑๐. สีวลีเถรคาถา
ภาษิตของพระสีวลีเถระ
ทราบว่า ท่านพระสีวลีเถระได้กล่าวคาถาไว้ดังนี้ว่า
[๖๐] ความปรารถนาที่เราเข้าไปสู่กุฎี
เฝ้าแสวงหาวิชชาและวิมุตติอันเป็นเครื่องถอนมานานุสัย
ความดำรินั้นของเราสำเร็จแล้ว
ฉัฏฐวรรค จบ

รวมเรื่องพระเถระที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. พระโคธิกเถระ ๒. พระสุพาหุเถระ
๓. พระวัลลิยเถระ ๔. พระอุตติยเถระ
๕. พระอัญชนวนิยเถระ ๖. พระกุฏิวิหารีเถระ
๗. พระทุติยกุฏิวิหารีเถระ ๘. พระรมณียกุฏิกเถระ
๙. พระโกสัลลวิหารีเถระ ๑๐. พระสีวลีเถระ

๗. สัตตมวรรค
หมวดที่ ๗
๑. วัปปเถรคาถา
ภาษิตของพระวัปปเถระ
ทราบว่า ท่านพระวัปปเถระได้กล่าวคาถาไว้ดังนี้ว่า
[๖๑] ผู้เห็นธรรมย่อมเห็นทั้งผู้เห็นธรรมและผู้ไม่เห็นธรรม
ผู้ไม่เห็นธรรมย่อมไม่เห็นทั้งผู้ไม่เห็นธรรมและผู้เห็นธรรม

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๓๒๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๑. เอกกนิบาต] ๗. สัตตวรรค ๔. วิมลโกณฑัญญเถรคาถา
๒. วัชชีปุตตกเถรคาถา
ภาษิตของพระวัชชีบุตรเถระ
ทราบว่า ท่านพระวัชชีบุตรเถระได้กล่าวคาถาไว้ดังนี้ว่า
[๖๒] เราอยู่ในป่าแต่ผู้เดียว เหมือนกับท่อนไม้ที่เขาทิ้งไว้ในป่า
คนหมู่มากปรารถนาจะเป็นเช่นอย่างเรา
เหมือนสัตว์นรกพากันปรารถนาผู้ไปสวรรค์

๓. ปักขเถรคาถา
ภาษิตของพระปักขเถระ
ทราบว่า ท่านพระปักขเถระได้กล่าวคาถาไว้ดังนี้ว่า
[๖๓] ชิ้นเนื้อพลัดหลุดจากปากเหยี่ยว
เหยี่ยวติดใจในชิ้นเนื้อนั้นก็หวนกลับมาโฉบเอาอีก
นิพพานที่น่ารื่นรมย์ซึ่งพระอริยเจ้ายินดีแล้วเป็นความสุขโดยส่วนเดียว
มีความสุขซึ่งเกิดจากผลสมาบัติติดตามมา
เป็นกิจที่เราทำเสร็จแล้ว

๔. วิมลโกณฑัญญเถรคาถา
ภาษิตของพระวิมลโกญญเถระ
ทราบว่า ท่านพระวิมลโกณฑัญญเถระได้กล่าวคาถาไว้ดังนี้ว่า
[๖๔] ภิกษุผู้เกิดจากนางทุมะ๑กับพระเจ้าปัณฑรเกตุ๒ผู้ครองเศวตฉัตร
ลดธง๓เสียได้ ใช้ธงชัยนั้นแหละ๔กำจัดมานะมีประการหลากหลาย
เป็นดุจลดธงผืนใหญ่ลงเสียได้

เชิงอรรถ :
๑ นางอัมพปาลี (ขุ.อิติ.อ. ๖๔/๒๒๗)
๒ พระเจ้าพิมพิสาร (ขุ.อิติ.อ. ๖๔/๒๒๗)
๓ มานะ (ขุ.อิติ.อ. ๖๔/๒๒๘)
๔ ปัญญานั้นแหละ (ขุ.อิติ.อ. ๖๔/๒๒๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๓๒๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๑. เอกกนิบาต] ๗. สัตตวรรค ๗. เอกธัมมสวนิยเถรคาถา
๕. อุกเขปกตวัจฉเถรคาถา
ภาษิตของพระอุกเขปกตวัจฉเถระ
ทราบว่า ท่านพระอุกเขปกตวัจฉเถระได้กล่าวคาถาไว้ดังนี้ว่า
[๖๕] ภิกษุผู้นั่งสงบเสงี่ยม มีความปราโมทย์เป็นอย่างยิ่ง
ย่อมกล่าวพระพุทธพจน์ซึ่งท่านพระอุกเขปกตวัจฉเถระ
ท่องจนคล่องปากมาเป็นเวลาหลายปี แก่ชาวบ้านทั้งหลายได้

๖. เมฆิยเถรคาถา
ภาษิตของพระเมฆิยเถระ
ทราบว่า ท่านพระเมฆิยเถระได้กล่าวคาถาไว้ดังนี้ว่า
[๖๖] พระมหาวีระผู้ถึงฝั่งธรรมทั้งปวงแล้ว
ได้ทรงพร่ำสอนเรา
เราฟังธรรมของพระพุทธองค์แล้ว มีสติ
อยู่ในสำนัก ได้บรรลุวิชชา ๓
เราได้ทำตามคำสอนของพระพุทธเจ้าแล้ว

๗. เอกธัมมสวนิยเถรคาถา
ภาษิตของพระเอกธรรมสวนิยเถระ
ทราบว่า ท่านพระเอกธรรมสวนิยเถระได้กล่าวคาถาไว้ดังนี้ว่า
[๖๗] เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว
เราถอนภพทั้งปวงได้แล้ว
การเวียนว่ายตายเกิดสิ้นไปแล้ว
บัดนี้ ไม่มีการเกิดอีก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๓๒๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๑. เอกกนิบาต] ๗. สัตตวรรค ๑๐. ปุณณเถรคาถา
๘. เอกุทานิยเถรคาถา
ภาษิตของพระเอกุทานิยเถระ
ทราบว่า ท่านพระเอกุทานิยเถระได้กล่าวคาถาไว้ดังนี้ว่า
[๖๘] ผู้มีจิตมั่นคง ไม่ประมาท
เป็นพระขีณาสพ ศึกษาทางแห่งความเป็นพระมุนี๑
ผู้คงที่ สงบ มีสติทุกขณะ ย่อมเป็นผู้ไม่เศร้าโศก

๙. ฉันนเถรคาถา
ภาษิตของพระฉันนเถระ
ทราบว่า ท่านพระฉันนเถระได้กล่าวคาถาไว้ดังนี้ว่า
[๖๙] เราได้สดับธรรม มีรสลึก โอฬาร
ของพระผู้มีพระภาคผู้เป็นมหาสมณะ
ดำเนินตามแนวทางซึ่งพระผู้มีพระภาคผู้มีพระญาณอันประเสริฐคือ
พระสัพพัญญู๒ทรงแสดงไว้แล้ว เพื่อบรรลุอมตนิพพาน
พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นทรงรอบรู้ในทางเกษมจากโยคะ

๑๐. ปุณณเถรคาถา
ภาษิตของพระปุณณเถระ
ทราบว่า ท่านพระปุณณเถระได้กล่าวคาถาไว้ดังนี้ว่า
[๗๐] ศีลเท่านั้นเป็นเลิศในโลกนี้
ส่วนผู้มีปัญญา เป็นผู้สูงสุดทั้งในหมู่มนุษย์และหมู่เทวดา
ชัยชนะจะมีได้ก็เพราะศีลและปัญญา
สัตตมวรรค จบ

เชิงอรรถ :
๑ ทางแห่งความเป็นมุนี ได้แก่ โพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการ (ขุ.เถ.อ. ๑/๖๘/๒๓๙)
๒ รู้ทุกอย่าง (ขุ.เถร.อ. ๑/๖๙/๒๔๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๓๒๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๑. เอกกนิบาต] ๘. อัฏฐมวรรค ๒. อาตุมเถรคาถา
รวมเรื่องพระเถระที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. พระวัปปเถระ ๒. พระวัชชีบุตรเถระ
๓. พระปักขเถระ ๔. พระวิมลโกณฑัญญเถระ
๕. พระอุกเขปกตวัจฉเถระ ๖. พระเมฆิยเถระ
๗. พระเอกธรรมสวนิยเถระ ๘. พระเอกุทานิยเถระ
๙. พระฉันนเถระ ๑๐. พระปุณณเถระ

๘. อัฏฐมวรรค
หมวดที่ ๘
๑. วัจฉปาลเถรคาถา
ภาษิตของพระวัจฉปาลเถระ
ทราบว่า ท่านพระวัจฉปาลเถระได้กล่าวคาถาไว้ดังนี้ว่า
[๗๑] พระโยคาวจรมีปกติเห็นเนื้อความทั้งสุขุมและละเอียดยิ่งนัก
มีปัญญาฉลาดเฉียบแหลม ประพฤติอ่อนน้อมถ่อมตนอยู่เสมอ
ปฏิบัติตามศีลของพระพุทธเจ้าเป็นอาจิณ
พึงบรรลุนิพพานได้โดยไม่ยาก

๒. อาตุมเถรคาถา
ภาษิตของพระอาตุมเถระ
ทราบว่า ท่านพระอาตุมเถระได้กล่าวคาถาไว้ดังนี้ว่า
[๗๒] ลำไผ่อ่อน แตกแขนง มีใบกิ่งก้านสาขาแล้ว
เป็นสิ่งที่ยากที่จะเขยื้อนถอนได้ ฉันใด
อาตมาก็ฉันนั้นเหมือนกัน เมื่อโยมแม่นำภรรยามาให้
ขอโยมแม่ได้โปรดยินยอมอาตมาเถิด
เพราะว่า บัดนี้ อาตมาเป็นบรรพชิตแล้ว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๓๒๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๑. เอกกนิบาต] ๘. อัฏฐมวรรค ๕. สุสารทเถรคาถา
๓. มาณวเถรคาถา
ภาษิตของพระมาณวเถระ
ทราบว่า ท่านพระมาณวเถระได้กล่าวคาถาไว้ดังนี้ว่า
[๗๓] เราได้พบเห็นคนแก่ คนเจ็บหนัก
และคนตายเมื่อถึงอายุขัย
หลังจากนั้นก็ละกามารมณ์อันเป็นที่น่าพึงใจเสียได้
จึงออกบวช

๔. สุยามนเถรคาถา
ภาษิตของพระสุยามนเถระ
ทราบว่า ท่านพระสุยามนเถระได้กล่าวคาถาไว้ดังนี้ว่า
[๗๔] ความพอใจในกามคุณ ความคิดร้ายผู้อื่น
ความหดหู่ซึมเซา ความฟุ้งซ่านรำคาญใจ
ทั้งความลังเลสงสัยย่อมไม่มีแก่ภิกษุโดยประการทั้งปวงเลย

๕. สุสารทเถรคาถา
ภาษิตของพระสุสารทเถระ
ทราบว่า ท่านพระสุสารทเถระได้กล่าวคาถาไว้ดังนี้ว่า
[๗๕] การได้พบเห็นเหล่าสัตบุรุษผู้อบรมตนดีแล้วเป็นการดี
เป็นเหตุให้ตัดความสงสัยเสียได้
ทำความรู้ให้เจริญงอกงาม
เหล่าสัตบุรุษย่อมทำคนแม้ที่เป็นพาลให้กลายเป็นบัณฑิตได้
ฉะนั้น การสมาคมกับเหล่าสัตบุรุษจึงเป็นการดี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๓๓๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๑. เอกกนิบาต] ๘. อัฏฐมวรรค ๘. เมณฑสิรเถรคาถา
๖. ปิยัญชหเถรคาถา
ภาษิตของพระปิยัญชหเถระ
ทราบว่า ท่านพระปิยัญชหเถระได้กล่าวคาถาไว้ดังนี้ว่า
[๗๖] เมื่อเหล่าสัตว์หยิ่งผยองด้วยมานะเป็นต้น
พึงประพฤตินอบน้อมถ่อมตน
เมื่อเหล่าสัตว์ลดหย่อนความเพียรพยายาม
พึงช่วยเขาให้ตั้งอยู่ในความเพียรพยายาม
เมื่อเหล่าสัตว์อยู่อย่างผู้ไม่ประพฤติพรหมจรรย์
ก็พึงประพฤติพรหมจรรย์เสียเอง
เมื่อเหล่าสัตว์ยินดีในกามคุณ ตนก็ไม่พึงยินดี

๗. หัตถาโรหปุตตเถรคาถา
ภาษิตของพระหัตถาโรหบุตรเถระ
ทราบว่า ท่านพระหัตถาโรหบุตรเถระได้กล่าวคาถาไว้ดังนี้ว่า
[๗๗] แต่ก่อนจิตนี้ได้ท่องเที่ยวไปในอารมณ์ต่าง ๆ
ตามความปรารถนา ตามความต้องการ ตามความสบาย
วันนี้ เราจะข่มจิตนั่นโดยอุบายอันแยบยล
เหมือนควาญช้างปราบพยศช้างตกมัน

๘. เมณฑสิรเถรคาถา
ภาษิตของพระเมณฑสิรเถระ
ทราบว่า ท่านพระเมณฑสิรเถระได้กล่าวคาถาไว้ดังนี้ว่า
[๗๘] เราเมื่อยังไม่ได้ญาณที่เป็นเครื่องหยุดสังสารวัฏ๑
ต้องท่องเที่ยวไปสู่สังสารวัฏนับชาติไม่ถ้วน
กองทุกข์ของเราผู้มีความเกิดเป็นทุกข์ ได้พลัดตกไปแล้ว

เชิงอรรถ :
๑ การเวียนว่ายตายเกิด (ขุ.เถร.อ. ๑/๗๘/๒๖๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๓๓๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๑. เอกกนิบาต] รวมเรื่องพระเถระที่มีในวรรค
๙. รักขิตเถรคาถา
ภาษิตของพระรักขิตเถระ
ทราบว่า ท่านพระรักขิตเถระได้กล่าวคาถาไว้ดังนี้ว่า
[๗๙] ราคะทั้งมวลเราก็ละได้แล้ว
โทสะทั้งมวลเราก็ถอนได้แล้ว
โมหะทั้งมวลของเราก็ไปปราศแล้ว
เราจึงเป็นผู้เย็นดับสนิทแล้ว

๑๐. อุคคเถรคาถา
ภาษิตของพระอุคคเถระ
ทราบว่า ท่านพระอุคคเถระได้กล่าวคาถาไว้ดังนี้ว่า
[๘๐] กรรมที่เราได้ทำแล้ว
จะน้อยหรือมากก็ตาม
ทั้งมวลนั้นสิ้นสุดลงแล้ว
บัดนี้ ไม่มีการเกิดอีก
อัฏฐมวรรค จบ

รวมเรื่องพระเถระที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. พระวัจฉปาลเถระ ๒. พระอาตุมเถระ
๓. พระมาณวเถระ ๔. พระสุยามนเถระ
๕. พระสุสารทเถระ ๖. พระปิยัญชนเถระ
๗. พระหัตถาโรหบุตรเถระ ๘. พระเมณฑสิรเถระ
๙. พระรักขิตเถระ ๑๐. พระอุคคเถระ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๓๓๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๑. เอกกนิบาต] ๙. นวมวรรค ๓. สีหเถรคาถา
๙. นวมวรรค
หมวดที่ ๙
๑. สมิติคุตตเถรคาถา
ภาษิตของพระสมิติคุตตเถระ
ทราบว่า ท่านพระสมิติคุตตเถระได้กล่าวคาถาไว้ดังนี้ว่า
[๘๑] เราได้เสวยบาปกรรมที่เราทำเอาไว้
ในชาติอื่น ๆ ในปางก่อน ในอัตภาพนี้เอง
เรื่องบาปกรรมอื่นจะไม่มีอีกต่อไป

๒. กัสสปเถรคาถา
ภาษิตของมารดากล่าวกับพระกัสสปเถระ
ทราบว่า โยมมารดาของท่านพระกัสสปเถระได้กล่าวคาถาไว้ดังนี้ว่า
[๘๒] ลูกเอ๋ย ในทิศใด ๆ อาหารหาง่าย
ไร้โรคและปราศจากภัย จงไปในทิศนั้น ๆ เถิด
ขอเจ้าอย่าได้ประสบความเศร้าโศกเลย

๓. สีหเถรคาถา
ภาษิตของพระศาสดาที่ตรัสสอนพระสีหเถระ
ทราบว่า พระศาสดาทรงมีพุทธดำรัสสอนท่านพระสีหเถระอย่างนี้ว่า
[๘๓] สีหะ เธออย่าประมาทอยู่เลย
อย่าเกียจคร้านทั้งกลางวันและกลางคืน
จงบำเพ็ญกุศลธรรม
ละฉันทราคะในอัตภาพเสียให้ได้โดยพลันเถิด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๓๓๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๑. เอกกนิบาต] ๙. นวมวรรค ๖. นาคิตเถรคาถา
๔. นีตเถรคาถา
ภาษิตของพระศาสดาที่ตรัสสอนพระนีตเถระ
ทราบว่า พระศาสดาเมื่อจะประทานโอวาทแก่ท่านพระนีตเถระได้ตรัส
พระคาถาไว้ดังนี้ว่า
[๘๔] คนทรามปัญญา เอาแต่นอนทั้งคืน
ชอบมั่วสุมกับหมู่พวกทั้งวัน
เมื่อไรจึงจะสิ้นทุกข์ได้

๕. สุนาคเถรคาถา
ภาษิตของพระสุนาคเถระ
ทราบว่า ท่านพระสุนาคเถระได้กล่าวคาถาไว้ดังนี้ว่า
[๘๕] ผู้ฉลาดในนิมิตแห่งจิต รู้รสแห่งวิเวก
เพ่งพินิจอยู่ ฉลาดในการบริหารกรรมฐาน มีสติตั้งมั่น
พึงบรรลุนิรามิสสุข๑ได้

๖. นาคิตเถรคาถา
ภาษิตของพระนาคิตเถระ
ทราบว่า ท่านพระนาคิตเถระได้กล่าวคาถาไว้ดังนี้ว่า
[๘๖] ทางแห่งลัทธิอื่น ๆ นอกจากพระพุทธศาสนานี้
ไม่ใช่ทางดำเนินไปสู่นิพพาน เหมือนอริยมรรคนี้เลย
พระผู้มีพระภาคผู้เป็นพระบรมครู
ทรงสั่งสอนภิกษุสงฆ์ไว้เองโดยประการฉะนี้
ดุจทรงชี้ให้เห็นผลมะขามป้อมที่ฝ่าพระหัตถ์

เชิงอรรถ :
๑ นิพพาน (ขุ.เถร.อ. ๑/๘๕/๒๘๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๓๓๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๑. เอกกนิบาต] ๙. นวมวรรค ๙. (ปฐม)เทวสภเถรคาถา
๗. ปวิฏฐเถรคาถา
ภาษิตของพระปวิฏฐเถระ
ทราบว่า ท่านพระปวิฏฐเถระได้กล่าวคาถาไว้ดังนี้ว่า
[๘๗] ขันธ์ ๕ เราเห็นแล้วตามความเป็นจริง
ภพทั้งปวงเราทำลายได้แล้ว
การเวียนว่ายตายเกิดก็สิ้นไปแล้ว
บัดนี้ ไม่มีการเกิดอีก

๘. อัชชุนเถรคาถา
ภาษิตของพระอัชชุนเถระ
ทราบว่า ท่านพระอัชชุนเถระได้กล่าวคาถาไว้ดังนี้ว่า
[๘๘] เราสามารถยกตนจากห้วงน้ำใหญ่คือสงสาร ขึ้นสู่บกคือนิพพาน
ได้ เหมือนคนที่ถูกพัดพาไปในห้วงน้ำใหญ่ช่วยขึ้นฝั่งได้
เราได้รู้แจ้งตลอดอริยสัจ ๔ แล้ว

๙. (ปฐม)เทวสภเถรคาถา
ภาษิตของพระ(ปฐม)เทวสภเถระ
ทราบว่า ท่านพระ(ปฐม)เทวสภเถระได้กล่าวคาถาไว้ดังนี้ว่า
[๘๙] เราข้ามพ้นกามราคะดุจเปือกตม
และฉันทราคะดุจหล่มมาได้แล้ว
เราละทิฏฐิเสมือนบาดาลได้ขาดแล้ว
เราพ้นจากโอฆะและกิเลสเครื่องร้อยรัดทั้งหลายได้แล้ว
และมานะทั้งมวลเรากำจัดได้แล้ว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๓๓๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๑. เอกกนิบาต] ๑๐. ทสมวรรค ๑. ปริปุณณกเถรคาถา
๑๐. สามิทัตตเถรคาถา
ภาษิตของพระสามิทัตตเถระ
ทราบว่า ท่านพระสามิทัตตเถระได้กล่าวคาถาไว้ดังนี้ว่า
[๙๐] ขันธ์ ๕ เรากำหนดรู้แล้ว
ขันธ์เหล่านั้นดำรงอยู่อย่างถูกตัดรากถอนโคนแล้ว
การเวียนว่ายตายเกิดสิ้นไปแล้ว
บัดนี้ไม่มีการเกิดอีก
นวมวรรค จบ

รวมเรื่องพระเถระที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. พระสมิติคุตตเถระ ๒. พระกัสสปเถระ
๓. พระสีหเถระ ๔. พระนีตเถระ
๕. พระสุนาคเถระ ๖. พระนาคิตเถระ
๗. พระปวิฏฐเถระ ๘. พระอัชชุนเถระ
๙. พระ(ปฐม)เทวสภเถระ ๑๐. พระสามิทัตตเถระ

๑๐. ทสมวรรค
หมวดที่ ๑๐
๑. ปริปุณณกเถรคาถา
ภาษิตของพระปริปุณณเถระ
ทราบว่า ท่านพระปริปุณณกเถระได้กล่าวคาถาไว้ดังนี้ว่า
[๙๑] สุธาโภชน์๑มีรสนับร้อยที่เราบริโภคแล้ว
ยังไม่เทียบเท่านิพพานสุขที่เราได้บรรลุในวันนี้
เพราะนิพพานธรรมนั้นเป็นธรรมอันพระโคดมสัมมาสัมพุทธเจ้า
ผู้ทรงเห็นนิพพานอันอะไรกำหนดมิได้ทรงแสดงไว้แล้ว

เชิงอรรถ :
๑ ข้าวที่สะอาดบริสุทธิ์ซึ่งเป็นอาหารของเทวดา (ขุ.เถร.อ. ๑/๙๑/๒๙๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๓๓๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๑. เอกกนิบาต] ๑๐. ทสมวรรค ๔. เมตตชิเถรคาถา
๒. วิชยเถรคาถา
ภาษิตของพระวิชยเถระ
ทราบว่า ท่านพระวิชยเถระได้กล่าวคาถาไว้ดังนี้ว่า
[๙๒] ท่านผู้สิ้นอาสวะแล้ว ไม่ติดในอาหาร
มีสุญญตวิโมกข์๑ อนิมิตตวิโมกข์๒ และอัปปณิหิตวิโมกข์๓ ทั้ง ๓
เป็นอารมณ์ ไม่ทิ้งร่องรอยไว้ให้เป็นที่รู้ได้ เหมือนนกไม่ทิ้งร่องรอย
ไว้ในอากาศ

๓. เอรกเถรคาถา
ภาษิตของพระเอรกเถระ
ทราบว่า ท่านพระเอรกเถระได้กล่าวซ้ำคาถาที่พระผู้มีพระภาคตรัสแล้วนั่นแล
ดังนี้ว่า
[๙๓] เอรกะ กามมีแต่ทุกข์ กามไม่มีสุขเลย
ผู้ที่ยินดีในกาม ชื่อว่าใฝ่ทุกข์
ผู้ที่ไม่ยินดีในกาม ชื่อว่าไม่ใฝ่ทุกข์

๔. เมตตชิเถรคาถา
ภาษิตของพระเมตตชิเถระ
ทราบว่า ท่านพระเมตตชิเถระได้กล่าวคาถาไว้ดังนี้ว่า
[๙๔] ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคศากยบุตรผู้ทรงพระสิริ
พระองค์นั้น พระองค์ผู้ทรงบรรลุสัพพัญญุตญาณอันเลิศ
ทรงแสดงนวโลกุตตรธรรม๔อันเลิศนี้ไว้เป็นอย่างดี

เชิงอรรถ :
๑ สุญญตวิโมกข์ ความหลุดพ้นด้วยความว่างเพราะไม่มีกิเลสมีราคะเป็นต้น
๒ อนิมิตตวิโมกข์ ความหลุดพ้นเพราะไม่ถือนิมิตในสังขารเป็นต้น
๓ อัปปณิหิตวิโมกข์ ความหลุดพ้นเพราะไม่มีนิมิตที่จะถือเอาด้วยอำนาจราคะเป็นต้น (ขุ.เถร.อ. ๑/๙๒/๓๐๐)
๔ ธรรมเหนือโลก ๙ อย่าง (มรรค ๔ ผล ๔ นิพพาน ๑) (ขุ.เถร.อ. ๑/๙๔/๓๐๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๓๓๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๑. เอกกนิบาต] ๑๐. ทสมวรรค ๗. ติสสเถรคาถา
๕. จักขุปาลเถรคาถา
ภาษิตของพระจักขุบาลเถระ
ทราบว่า ท่านพระจักขุบาลเถระได้กล่าวคาถาไว้ดังนี้ว่า
[๙๕] เรามีนัยน์ตาพิการ ตาบอด
เดินทางไกลทุรกันดาร
ถึงจะต้องนอนเกลือกกลิ้งอยู่บนพื้นดิน
ก็จะไม่ร่วมทางไปกับคนชั่วช้า

๖. ขัณฑสุมนเถรคาถา
ภาษิตของพระขัณฑสุมนเถระ
ทราบว่า ท่านพระขัณฑสุมนเถระได้กล่าวคาถาไว้ดังนี้ว่า
[๙๖] เพราะบริจาคดอกไม้ดอกเดียวแท้ ๆ
เราจึงรับการบำเรออยู่ในแดนสวรรค์ถึง ๘๐๐ ล้านปี
ด้วยเศษกุศลธรรมแห่งการบริจาคนั้น
ได้บรรลุนิพพานแล้ว

๗. ติสสเถรคาถา
ภาษิตของพระติสสเถระ
ทราบว่า ท่านพระติสสเถระได้กล่าวคาถาไว้ดังนี้ว่า
[๙๗] เราละทิ้งจานทองคำลวดลายวิจิตร
มีค่านับร้อยปละ๑มาใช้บาตรดินแทน
นี้เป็นการอภิเษกครั้งที่ ๒

เชิงอรรถ :
๑ ๑ ปละ = ๔ ออนซ์ (A.P. Buddhadatta mahathera PALi-Engilsh Dictionary หน้า ๑๗๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๓๓๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๑. เอกกนิบาต] ๑๐. ทสมวรรค ๑๐. (ทุติย)เทวสภเถรคาถา
๘. อภัยเถรคาถา
ภาษิตของพระอภัยเถระ
ทราบว่า ท่านพระอภัยเถระได้กล่าวคาถาไว้ดังนี้ว่า
[๙๘] เมื่อเห็นรูป มัวใส่ใจถึงอารมณ์อันเป็นที่รักอยู่
ย่อมหลงลืมสติได้ ผู้ที่มีจิตกำหนัดนัก ยังเสวยรูปารมณ์อยู่
รูปารมณ์นั้นย่อมผูกพันเขาไว้
และอาสวะทั้งหลายย่อมเจริญแก่เขาผู้เข้าถึงมูลแห่งภพ

๙. อุตติยเถรคาถา
ภาษิตของพระอุตติยเถระ
ทราบว่า ท่านพระอุตติยเถระได้กล่าวคาถาไว้ดังนี้ว่า
[๙๙] เมื่อบุคคลฟังเสียงแล้ว มัวใส่ใจถึงอารมณ์อันเป็นที่รักอยู่
ย่อมหลงลืมสติได้
ผู้ที่มีจิตกำหนัดนักยังเสวยสัททารมณ์อยู่
สัททารมณ์นั้นย่อมผูกพันเขาไว้
และอาสวะทั้งหลายย่อมเจริญแก่เขาผู้เข้าถึงสังสารวัฏ

๑๐. (ทุติย)เทวสภเถรคาถา
ภาษิตของพระ(ทุติย)เทวสภเถระ
ทราบว่า ท่านพระ(ทุติย)เทวสภเถระได้ล่าวคาถาไว้ดังนี้ว่า
[๑๐๐] ภิกษุผู้ถึงพร้อมด้วยความเพียรชอบ
มีสติปัฏฐานเป็นอารมณ์๑
ทั้งประดับประดาด้วยดอกไม้คือวิมุตติ
ไม่ช้าเลย จะเป็นผู้หมดอาสวะ ปรินิพพาน
ทสมวรรค จบ

เชิงอรรถ :
๑ จิตตั้งมั่นอยู่ในที่ตั้งของสติ ๔ อย่าง คือ (กาย เวทนา จิต ธรรม) (ขุ.เถร.อ. ๑/๑๐๐/๓๑๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๓๓๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๑. เอกกนิบาต] ๑๑. เอกาทสวรรค ๒. เสตุจฉเถรคาถา
รวมเรื่องพระเถระที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. พระปริปุณณกเถระ ๒. พระวิชยเถระ
๓. พระเอรกเถระ ๔. พระเมตตชิเถระ
๕. พระจักขุปาลเถระ ๖. พระขัณฑสุมนเถระ
๗. พระติสสเถระ ๘. พระอภัยเถระ
๙. พระอุตติยเถระ ๑๐. พระ(ทุติย)เทวสภเถระ

เอกาทสมวรรค
หมวดที่ ๑๑
๑. เพลัฏฐกานิเถรคาถา
ภาษิตของพระเพลัฏฐกานิเถระ
ทราบว่า ท่านพระเพลัฏฐกานิเถระได้กล่าวคาถาไว้ดังนี้ว่า
[๑๐๑] เธอละเพศคฤหัสถ์มาบวชแล้ว ยังไม่ทันเสร็จกิจเลย
ก็มีปากกล้าเหมือนไถ เห็นแก่ปากแก่ท้อง ทั้งเกียจคร้าน
ซึมเซา เหมือนสุกรอ้วนที่เขาขุนด้วยเศษอาหาร
ย่อมเข้าถึงการเกิดบ่อย ๆ

๒. เสตุจฉเถรคาถา
ภาษิตของพระเสตุจฉเถระ
ทราบว่า ท่านพระเสตุจฉเถระได้กล่าวคาถาไว้ดังนี้ว่า
[๑๐๒] ชนทั้งหลายที่ยังถูกมานะหลอกลวง
เศร้าหมองในสังขารทั้งหลาย
ถูกลาภและความเสื่อมลาภครอบงำได้
ย่อมบรรลุสมาธิไม่ได้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๓๔๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๑. เอกกนิบาต] ๑๑. เอกาทสวรรค ๖. สุเหมันตเถรคาถา
๓. พันธุรเถรถาคา
ภาษิตของพระพันธุรเถระ
ทราบว่า ท่านพระพันธุรเถระได้กล่าวคาถาไว้ดังนี้ว่า
[๑๐๓] ลาภคืออามิสนั่นเราไม่ต้องการ
เรามีความสุขพอแล้ว อิ่มเอิบด้วยรสพระธรรม
ครั้นได้ดื่มรสอันล้ำเลิศแล้ว
ก็จะไม่ขอทำความใกล้ชิดกับรสอย่างอื่นที่เป็นพิษ

๔. ขิตกเถรคาถา
ภาษิตของพระขิตกเถระ
ทราบว่า ท่านพระขิตกเถระได้กล่าวคาถาไว้ดังนี้ว่า
[๑๐๔] กายของเราที่ได้สัมผัสกับสุขอันมีปีติมาก
เป็นกายเบาหนอ ย่อมลอยไปได้เหมือนปุยนุ่นที่ปลิวไปตามลม

๕. มลิตวัมภเถรคาถา
ภาษิตของพระมลิตวัมภเถระ
ทราบว่า ท่านพระมลิตวัมภเถระได้กล่าวคาถาไว้ดังนี้ว่า
[๑๐๕] เราเกิดกระสันขึ้นในที่ใด จะไม่อยู่ในที่นั้น
ถึงจะยินดีอย่างนั้น ก็พึงหลีกไปเสีย
ส่วนผู้มีปัญญาไม่พึงอยู่ประจำสถานที่ที่ไม่ประกอบด้วยประโยชน์เลย

๖. สุเหมันตเถรคาถา
ภาษิตของพระสุเหมันตเถระ
ทราบว่า ท่านพระสุเหมันตเถระได้กล่าวคาถาไว้ดังนี้ว่า
[๑๐๖] เนื้อความที่มีความหมายตั้งร้อย มีลักษณะถึงร้อย
คนโง่เห็นได้ลักษณะเดียวเท่านั้น ส่วนคนฉลาดเห็นได้ทั้งร้อยอย่าง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๓๔๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๑. เอกกนิบาต] ๑๑. เอกาทสวรรค ๙. สังฆรักขิตเถรคาถา
๗. ธัมมสังวรเถรคาถา
ภาษิตของพระธรรมสังวรเถระ
ทราบว่า ท่านพระธัมมสังวรเถระได้กล่าวคาถาไว้ดังนี้ว่า
[๑๐๗] เราใช้ปัญญาพิจารณาแล้ว
จึงออกจากเรือนบวช บรรลุวิชชา ๓
ได้ทำตามคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าแล้ว

๘. ธัมมสฏปิตุเถรคาถา
ภาษิตของพระธรรมสฏปิตุเถระ
ทราบว่า ท่านพระธัมมสฏปิตุเถระได้กล่าวคาถาไว้ดังนี้ว่า
[๑๐๘] เรานั้นอายุได้ ๑๒๐ ปี
จึงได้ออกบวชเป็นบรรพชิต บรรลุวิชชา ๓
ได้ทำตามคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าแล้ว

๙. สังฆรักขิตเถรคาถา
ภาษิตของพระสังฆรักขิตเถระ
ทราบว่า ท่านพระสังฆรักขิตเถระได้กล่าวคาถาไว้ดังนี้ว่า
[๑๐๙] ภิกษุผู้อยู่ในที่สงัดรูปนี้เห็นจะไม่คำนึงถึง
คำสอนของพระผู้มีพระภาค
ผู้ทรงอนุเคราะห์สัตว์โลกด้วยประโยชน์สูงสุดเป็นแน่
เพราะเหตุนั้นแล จึงไม่สำรวมอินทรีย์อยู่
เหมือนแม่เนื้อลูกอ่อนในป่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๓๔๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๑. เอกกนิบาต] ๑๒. ทวาททสมวรรค ๑. เชนตเถรคาถา
๑๐. อุสภเถรคาถา
ภาษิตของพระอุสภเถระ
ทราบว่า ท่านพระอุสภเถระได้กล่าวคาถาไว้ดังนี้ว่า
[๑๑๐] พฤกษชาติทั้งหลายบนยอดเขาที่ฝนตกรดใหม่ ๆ
งอกงามเต็มที่แล้ว ย่อมให้เกิดภาวะที่จิตควรแก่ภาวนาเพิ่มขึ้นแก่
เราผู้ชื่อว่าอุสภะ ซึ่งยังต้องการความสงัด เห็นความสำคัญในป่า
เอกาทสมวรรค จบ

รวมเรื่องพระเถระที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. พระเพลัฏฐกานิเถระ ๒. พระเสตุจฉเถระ
๓. พระพันธุรเถระ ๔. พระขิตกเถระ
๕. พระมลิตวัมภเถระ ๖. พระสุเหมันตเถระ
๗. พระธรรมสังวรเถระ ๘. พระธรรมสฏปิตุเถระ
๙. พระสังฆรักขิตเถระ ๑๐. พระอุสภเถระ

๑๒. ทวาทสมวรรค
หมวดที่ ๑๒
๑. เชนตเถรคาถา
ภาษิตของพระเชนตเถระ
ทราบว่า ท่านพระเชนตเถระได้กล่าวคาถาไว้ดังนี้ว่า
[๑๑๑] การบวชเป็นของยากแท้
เรือนมีการอยู่ครองได้ยาก
ธรรมก็ลึกซึ้ง โภคะทั้งหลายก็หาได้ยาก
การเป็นอยู่ของพวกเราตามมีตามได้ก็ฝืดเคือง
ดังนั้น จึงควรที่จะคิดถึงความไม่แน่นอนอยู่เสมอ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๓๔๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๑. เอกกนิบาต] ๑๒. ทวาททสมวรรค ๔. อธิมุตตเถรคาถา
๒. วัจฉโคตตเถรคาถา
ภาษิตของพระวัจฉโคตตเถระ
ทราบว่า พระวัจฉโคตตเถระได้กล่าวคาถาไว้ดังนี้ว่า
[๑๑๒] เราซึ่งได้วิชชา ๓ มักเพ่งถึงนิพพานอันเป็นธรรมประณีต
ฉลาดในอุบายสำหรับสงบใจ
ได้บรรลุประโยชน์ตน
ได้ทำตามคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าแล้ว

๓. วนวัจฉเถรคาถา
ภาษิตของพระวนวัจฉเถระ
ทราบว่า ท่านพระวนวัจฉเถระได้กล่าวคาถาไว้ดังนี้ว่า
[๑๑๓] ภูเขาหินอันกว้างใหญ่ไพศาล
มีน้ำไหลใสสะอาด
มีฝูงค่างและฝูงเนื้อฟานคลาคล่ำ
ดารดาษไปด้วยน้ำและสาหร่ายเหล่านั้น
ย่อมทำให้เรารื่นรมย์ใจยิ่งนัก

๔. อธิมุตตเถรคาถา
ภาษิตของพระอธิมุตตเถระ
ทราบว่า ท่านพระอธิมุตตเถระได้กล่าวคาถาไว้ดังนี้ว่า
[๑๑๔] ภิกษุผู้ขวนขวายในการบำรุงร่างกาย
ยังติดสุขอยู่ทางร่างกาย
เมื่อสิ้นชีวิตโดยพลัน
จะมีความเป็นสมณะที่ดีได้ที่ไหน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๓๔๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๑. เอกกนิบาต] ๑๒. ทวาททสมวรรค ๗. ยสเถรคาถา
๕. มหานามเถรคาถา
ภาษิตของพระมหานามเถระ
ทราบว่า ท่านพระมหานามเถระได้กล่าวคาถาไว้ดังนี้ว่า
[๑๑๕] (มหานาม)ท่านนี้กำลังจะเสื่อมประโยชน์เพราะภูเขาเนสาทกะ
อันมากไปด้วยหมู่ต้นโมกมันและต้นอ้อยช้าง
เป็นขุนเขาที่สมบูรณ์ด้วยร่มเงาและน้ำ
ปกคลุมไปด้วยพุ่มไม้และเถาวัลย์นานาพันธุ์

๖. ปาราปริยเถรคาถา
ภาษิตของพระปาราปริยเถระ
ทราบว่า ท่านพระปาราปริยเถระได้กล่าวคาถาไว้ดังนี้ว่า
[๑๑๖] เราละผัสสายตนะ ๖ ได้แล้ว
คุ้มครองสำรวมระวังทวาร ๖ ด้วยดี
กำจัดสรรพกิเลสอันเป็นมูลรากแห่งวัฏฏทุกข์ได้หมดแล้ว
จึงหมดสิ้นอาสวะ

๗. ยสเถรคาถา
ภาษิตของพระยสเถระ
ทราบว่า ท่านพระยสเถระได้กล่าวคาถาไว้ดังนี้ว่า
[๑๑๗] เราลูบไล้ดีแล้ว นุ่งห่มดีแล้ว
ประดับด้วยเครื่องอาภรณ์ทุกชนิด
บรรลุวิชชา ๓
ได้ทำตามคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าแล้ว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๓๔๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๑. เอกกนิบาต] ๑๒. ทวาททสมวรรค ๑๐. อิสิทัตตเถรคาถา
๘. กิมพิลเถรคาถา
ภาษิตของพระกิมพิลเถระ
ทราบว่า ท่านพระกิมพิลเถระได้กล่าวคาถาไว้ดังนี้ว่า
[๑๑๘] วัยย่อมร่วงโรยไปเร็วนัก
รูปที่เป็นอยู่อย่างนั้นย่อมปรากฏแก่เรา เหมือนกับสิ่งอื่น ๆ
เราระลึกถึงร่างกายของเราผู้อยู่ไม่ปราศจากสติ
เหมือนกับร่างกายของผู้อื่น

๙. วัชชีปุตตเถรคาถา
ภาษิตของพระวัชชีบุตรเถระ
ทราบว่า ท่านพระวัชชีบุตรเถระได้กล่าวคาถาไว้ดังนี้ว่า
[๑๑๙] ท่านพระอานนท์โคตมโคตร ท่านจงเข้าไปยังสุมทุมพุ่มไม้
กำหนดนิพพานไว้ในใจ เพ่งฌานไปเถิด และอย่าประมาท
เสียงวิพากษ์วิจารณ์ของคนจะช่วยอะไรท่านได้

๑๐. อิสิทัตตเถรคาถา
ภาษิตของพระอิสิทัตตเถระ
ทราบว่า ท่านพระอิสิทัตตเถระได้กล่าวคาถาไว้ดังนี้ว่า
[๑๒๐] ขันธ์ ๕ เรากำหนดรู้แล้ว
ขันธ์เหล่านั้นดำรงอยู่อย่างถูกตัดรากถอนโคนแล้ว
ความสิ้นทุกข์เราได้บรรลุแล้ว
เราได้ถึงความสิ้นอาสวะแล้ว
ทวาทสมวรรค จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๓๔๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๑. เอกกนิบาต] ๑๒. ทวาททสมวรรค รวมเรื่องพระเถระที่มีในวรรค
รวมเรื่องพระเถระที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. พระเชนตเถระ ๒. พระวัจฉโคตตเถระ
๓. พระวนวัจฉเถระ ๔. พระอธิมุตตเถระ
๕. พระมหานามเถระ ๖. พระปาราปริยเถระ
๗. พระยสเถระ ๘. พระกิมพิลเถระ
๙. พระวัชชีบุตรเถระ ๑๐. พระอิสิทัตตเถระ

เอกกนิบาต จบ

รวมหัวข้อที่มีในเอกกนิบาต
ในเอกกนิบาตนี้แหละ ท่านผู้หวังประโยชน์ส่วนใหญ่
รวบรวมพระเถระผู้ทำกิจที่ควรทำสำเร็จแล้ว หาอาสวะมิได้
ได้ ๑๒๐ รูป

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๓๔๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๒. ทุกนิบาต] ๑. ปฐมวรรค ๒. ปิณโฑลภารทวาชเถรคาถา
๒. ทุกนิบาต
๑. ปฐมวรรค
หมวดที่ ๑
๑. อุตตรเถรคาถา
ภาษิตของพระอุตตรเถระ
ทราบว่า ท่านพระอุตตรเถระได้กล่าว ๒ คาถาไว้ดังนี้ว่า
[๑๒๑] ภพที่เที่ยงสักภพก็ไม่มี หรือแม้สังขารที่เที่ยงก็ไม่มี
ขันธ์เหล่านั้นย่อมเวียนเกิดและเวียนดับไป
[๑๒๒] เรารู้โทษอย่างนี้แล้ว จึงไม่มีความต้องการภพ
สลัดออกจากกามทุกอย่าง ได้ถึงความสิ้นอาสวะแล้ว

๒. ปิณโฑลภารทวาชเถรคาถา
ภาษิตของพระปิณโฑลภารทวาชเถระ
ทราบว่า ท่านพระปิณโฑลภารทวาชเถระได้กล่าว ๒ คาถาไว้ดังนี้ว่า
[๑๒๓] ชีวิตของเรานี้ หาเป็นไปโดยไม่สมควรไม่
อาหารทำใจให้สงบไม่ได้
แต่เราเห็นว่าร่างกายดำรงอยู่ได้เพราะอาหาร
จึงได้เที่ยวแสวงหาอาหารโดยทางที่ชอบ
[๑๒๔] ด้วยว่า นักปราชญ์มีพระพุทธเจ้าเป็นต้น
ได้กล่าวการไหว้ และการบูชาในตระกูลทั้งหลายว่า
เป็นเปือกตม เป็นลูกศรอันละเอียดซึ่งถอนขึ้นได้ยาก
เป็นสักการะที่คนชั่วละได้ยาก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๓๔๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๒. ทุกนิบาต]๑. ปฐมวรรค ๕. อชินเถรคาถา
๓. วัลลิยเถรคาถา
ภาษิตของพระวัลลิยเถระ
(พระวัลลิยเถระเมื่อจะพยากรณ์พระอรหัต จึงได้กล่าว ๒ คาถาไว้ดังนี้ว่า)
[๑๒๕] ลิงเข้าไปในกระท่อมมี ๕ ประตู
พยายามเวียนเข้าออกทางประตูเนือง ๆ
[๑๒๖] จงหยุดนิ่ง อย่าวิ่งไปนะเจ้าลิง
เพราะเจ้าอาศัยเรือนคืออัตภาพไม่ได้ เหมือนดังกาลก่อน
เจ้าถูกเราข่มไว้ด้วยปัญญาแล้ว จักไปไกลไม่ได้เลย

๔. คังคาตีริยเถรคาถา
ภาษิตของพระคังคาตีริยเถระ
(พระคังคาตีริยเถระเมื่อจะพยากรณ์พระอรหัต จึงได้กล่าว ๒ คาถาไว้ดังนี้ว่า)
[๑๒๗] เราสร้างกระท่อมด้วยใบตาล ๓ ใบ อยู่ที่ริมฝั่งแม่น้ำคงคา
บาตรของเราเหมือนหม้อสำหรับตักน้ำนมรดศพ
และจีวรของเราเป็นผ้าบังสุกุล
[๑๒๘] ในระหว่าง ๒ พรรษา เราพูดเพียงคำเดียว
ระหว่างพรรษาที่ ๓ เราทำลายกองความมืดได้แล้ว๑

๕. อชินเถรคาถา
ภาษิตของพระอชินเถระ
(พระอชินเถระเมื่อจะให้ภิกษุทั้งหลายสังเวช จึงได้กล่าว ๒ คาถาไว้ดังนี้ว่า)
[๑๒๙] ถึงแม้ว่าบุคคลจะมีวิชชา ๓ ละมัจจุราชได้ ไม่มีอาสวะ
คนพาลทั้งหลายที่ไม่มีความรู้ย่อมดูหมิ่นบุคคลนั้นว่า
เป็นผู้ไม่มีชื่อเสียง

เชิงอรรถ :
๑ ทำลายอวิชชาได้ด้วยอริยมรรค (ขุ.เถ.อ. ๑/๑๒๘/๓๘๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๓๔๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๒. ทุกนิบาต] ๑. ปฐมวรรค ๘. สุราธเถรคาถา
[๑๓๐] ส่วนบุคคลใดในโลกนี้เป็นผู้มักได้ข้าวและน้ำ
ถึงแม้ว่าบุคคลนั้นจะเป็นคนชั่วช้าเลวทราม
ก็เป็นที่สักการะนับถือของพวกเขา

๖. เมฬชินเถรคาถา
ภาษิตของพระเมฬชินเถระ
(พระเมฬชินเถระเมื่อจะบันลือสีหนาท จึงได้กล่าว ๒ คาถาไว้ดังนี้ว่า)
[๑๓๑] เมื่อใด เราได้ฟังธรรมของพระศาสดาผู้ทรงแสดงอยู่
เมื่อนั้น เรารู้ธรรมทั้งปวง
จึงไม่รู้สึกสงสัยในพระศาสดาที่ใคร ๆ ชนะไม่ได้
[๑๓๒] ซึ่งเป็นผู้นำหมู่ แกล้วกล้าเป็นอันมาก
ประเสริฐเลิศกว่าสารถีทั้งหลาย
เราไม่มีความสงสัยในมรรคหรือข้อปฏิบัติ

๗. ราธเถรคาถา
ภาษิตของพระราธเถระ
(พระราธเถระเมื่อจะชมเชยภาวนา จึงได้กล่าว ๒ คาถาไว้ดังนี้ว่า)
[๑๓๓] เรือนที่มุงไม่ดี ฝนย่อมรั่วรดได้ ฉันใด
จิตที่ไม่ได้อบรม ราคะย่อมรั่วรดได้ ฉันนั้น
[๑๓๔] เรือนที่มุงดีแล้ว ฝนย่อมรั่วรดไม่ได้ ฉันใด
จิตที่อบรมดีแล้ว ราคะก็รั่วรดไม่ได้ ฉันนั้น

๘. สุราธเถรคาถา
ภาษิตของพระสุราธเถระ
(พระสุราธเถระเมื่อจะพยากรณ์พระอรหัต จึงได้กล่าว ๒ คาถาไว้ดังนี้ว่า)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๓๕๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๒. ทุกนิบาต] ๑. ปฐมวรรค ๑๐. วสภเถรคาถา
[๑๓๕] ด้วยว่าชาติของเราสิ้นไปแล้ว
คำสั่งสอนของพระชินเจ้าเราอยู่จบแล้ว
ทิฏฐิและอวิชชาคือข่ายเราละได้แล้ว
ตัณหานำไปสู่ภพเราก็ถอนได้แล้ว
[๑๓๖] เราออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตเพื่อประโยชน์ใด
ประโยชน์นั้นเราได้บรรลุแล้ว
ความสิ้นไปแห่งสังโยชน์ทั้งปวงเราก็ได้บรรลุแล้ว

๙. โคตมเถรคาถา
ภาษิตของพระโคตมเถระ
(พระโคตมเถระเมื่อจะพยากรณ์พระอรหัต จึงได้กล่าว ๒ คาถาไว้ดังนี้ว่า)
[๑๓๗] มุนีทั้งหลายผู้ไม่พัวพันในเหล่าสตรีทั้งหลายย่อมนอนเป็นสุข
เหล่าสตรีที่หาสัจจะได้ยากแสนยาก
บุรุษต้องคอยระแวดระวังตลอดกาลทุกเมื่อ
[๑๓๘] กาม เราได้ประพฤติเพื่อฆ่าเจ้าได้แล้ว
บัดนี้ เราจึงไม่เป็นหนี้เจ้า
เดี๋ยวนี้เราบรรลุนิพพานที่บุคคลไปแล้วไม่เศร้าโศก

๑๐. วสภเถรคาถา
ภาษิตของพระวสภเถระ
(พระวสภเถระเมื่อจะติเตียนความปรารถนาเลวทราม จึงได้กล่าว ๒ คาถาไว้
ดังนี้ว่า)
[๑๓๙] บุคคลผู้ลวงโลกย่อมฆ่าตนก่อน ภายหลังจึงฆ่าผู้อื่น
บุคคลผู้ลวงโลกนั้นย่อมฆ่าตนได้ง่าย
เหมือนนายพรานนกหาอุบายฆ่านกด้วยนกต่อ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๓๕๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๒. ทุกนิบาต] ๒. ทุติยวรรค ๑. มหาจุนทเถรคาถา
[๑๔๐] ท่านสุชัมบดี บุคคลผู้มีวรรณะภายนอก๑ไม่ชื่อว่าเป็นพราหมณ์
เพราะพราหมณ์ต้องมีวรรณะภายใน
ผู้ใดมีกรรมชั่ว ผู้นั้นแลเป็นคนชั้นต่ำ
ปฐมวรรค จบ

รวมเรื่องพระเถระที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. พระอุตตรเถระ ๒. พระปิณโฑลภารทวาชเถระ
๓. พระวัลลิยเถระ ๔. พระคังคาตีริยเถระ
๕. พระอชินเถระ ๖. พระเมฬชินเถระ
๗. พระราธเถระ ๘. พระสุราธเถระ
๙. พระโคตมเถระ ๑๐. พระวสภเถระ ล้วนมีฤทธิ์มาก

๒. ทุติยวรรค
หมวดที่ ๒
๑. มหาจุนทเถรคาถา
ภาษิตของพระมหาจุนทเถระ
(พระมหาจุนทเถระเมื่อจะสรรเสริญอุปนิสัยที่หนักแน่นและการอยู่อย่างสงัด
จึงได้กล่าว ๒ คาถาไว้ดังนี้ว่า)
[๑๔๑] การฟังด้วยดีเป็นเหตุให้การศึกษาเจริญ
การศึกษาเป็นเหตุให้ปัญญาเจริญ
บุคคลรู้ประโยชน์ได้ก็เพราะปัญญา
ประโยชน์ที่บุคคลรู้แล้วนำความสุขมาให้

เชิงอรรถ :
๑ วรรณะ คือ คุณสมบัติมีศีลเป็นต้น (ขุ.เถร.อ. ๑/๑๔๐/๔๐๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๓๕๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๒. ทุกนิบาต] ๒. ทุติยวรรค ๓. เหรัญญิกานิเถรคาถา
[๑๔๒] ภิกษุพึงใช้เสนาสนะที่สงัด
พึงประพฤติธรรมที่เป็นเหตุให้หลุดพ้นจากสังโยชน์
ถ้ายังไม่ประสบความยินดีในเสนาสนะที่สงัดและโมกขธรรมนั้น
ก็ควรเป็นผู้มีสติรักษาตนอยู่ในหมู่

๒. โชติทาสเถรคาถา
ภาษิตของพระโชติทาสเถระ
(พระโชติทาสเถระเมื่อจะสอนพวกญาติผู้ถือความบริสุทธิ์ภายนอกในลัทธิต่าง ๆ
จึงได้กล่าว ๒ คาถาไว้ดังนี้ว่า)
[๑๔๓] ชนเหล่าใดเหล่าหนึ่งผู้มีความพยายามร้ายกาจ
เบียดเบียนมนุษย์ทั้งหลายด้วยการกระทำที่เจือไปด้วยความผลุน
ผลันก็ดี ด้วยการทำที่มีความประสงค์ต่าง ๆ กันก็ดี
แม้ชนเหล่านั้นก็ย่อมเกลี่ยตนลงในเหตุนั้นเหมือนกัน
เพราะกรรมย่อมไม่สูญหาย
[๑๔๔] คนทำกรรมใดไว้ ดีหรือชั่วก็ตาม
เขาย่อมเป็นผู้รับผลของกรรมนั้นที่ตนทำไว้โดยแท้

๓. เหรัญญิกานิเถรคาถา
ภาษิตของพระเหรัญญิกานิเถระ
(พระเหรัญญิกานิเถระเมื่อจะตักเตือนน้องชาย จึงได้กล่าว ๒ คาถาไว้ดังนี้ว่า)
[๑๔๕] วันคืนผ่านพ้นไป ชีวิตย่อมดับไป
อายุของสัตว์ทั้งหลายย่อมสิ้นไป
เหมือนน้ำในแม้น้ำน้อยสิ้นไป
[๑๔๖] เมื่อเป็นเช่นนั้น คนพาลถึงทำบาปกรรมอยู่ก็ไม่รู้สึกตัว
ภายหลัง เขาได้รับทุกข์แสนสาหัส
เพราะบาปกรรมนั้นมีผลเลวทราม

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๓๕๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๒. ทุกนิบาต] ๒. ทุติยวรรค ๖. มหากาลเถรคาถา
๔. โสมมิตตเถรคาถา
ภาษิตของพระโสมมิตตเถระ
(พระโสมมิตตเถระเมื่อจะคุกคามพระวิมลเถระด้วยโอวาท จึงได้กล่าว ๒ คาถา
ไว้ดังนี้ว่า)
[๑๔๗] บุคคลเกาะท่อนไม้เล็ก ๆ ย่อมจมลงในมหาสมุทร ฉันใด
บุคคลแม้มีความเป็นอยู่ดี อาศัยคนเกียจคร้าน
ก็จมลงในสังสารวัฏได้ ฉันนั้น
เพราะฉะนั้น บุคคลพึงเว้นคนเกียจคร้านมีความเพียรย่อหย่อนเสีย
[๑๔๘] บุคคลพึงอยู่ร่วมกับเหล่าบัณฑิตผู้สงัด เป็นอริยะ
ผู้มีใจเด็ดเดี่ยว เข้าฌานอยู่ ปรารภความเพียรเป็นนิตย์

๕. สัพพมิตตเถรคาถา
ภาษิตของพระสัพพมิตตเถระ
(พระสัพพมิตตเถระได้กล่าว ๒ คาถาไว้ดังนี้ว่า)
[๑๔๙] คนเกี่ยวข้องกับคน คนยินดีกับคน
คนถูกคนเบียดเบียน และคนเบียดเบียนคน
[๑๕๐] จะต้องการอะไรด้วยคนสำหรับเขา หรือสิ่งที่คนให้เกิด
จงละคนที่เบียดเบียนคนเป็นอันมากไปเสีย

๖. มหากาลเถรคาถา
ภาษิตของพระมหากาลเถระ
(พระมหากาลเถระเมื่อจะกล่าวสอนตน จึงได้กล่าว ๒ คาถาไว้ดังนี้ว่า)
[๑๕๑] นางกาฬีมีร่างกายใหญ่ ดำเหมือนกา หักขาซ้าย ขาขวา
แขนซ้าย แขนขวา และทุบศีรษะซากศพ
ดังทุบหม้อนมเปรี้ยว นั่งจัดให้เรียบร้อยอยู่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๓๕๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๒. ทุกนิบาต] ๒. ทุติยวรรค ๘. กิมพิลเถรคาถา
[๑๕๒] ผู้ใด ไม่รู้แจ้ง ย่อมก่ออุปธิกิเลส
ผู้นั้นเป็นคนเขลา ย่อมประสบทุกข์อยู่ร่ำไป
เพราะฉะนั้น ผู้รู้แจ้ง ไม่ควรก่ออุปธิกิเลส
เราอย่าถูกทุบศีรษะนอนอยู่อย่างนี้อีกต่อไป

๗. ติสสเถรคาถา
ภาษิตของพระติสสเถระ
(พระติสสเถระเมื่อจะประกาศโทษในลาภสักการะและความที่ตนไม่ติดข้องอยู่
ในลาภสักการะนั้น จึงได้กล่าว ๒ คาถาไว้ดังนี้ว่า)
[๑๕๓] ภิกษุโล้นครองผ้าสังฆาฏิ มักได้ ข้าว น้ำ ผ้า และที่นอน
ชื่อว่าได้ข้าศึกไว้มาก
[๑๕๔] ภิกษุรู้โทษในลาภสักการะว่า เป็นภัยใหญ่อย่างนี้แล้ว
ควรเป็นผู้มีลาภน้อย มีจิตไม่ชุ่มด้วยตัณหา มีสติ เว้นขาด

๘. กิมพิลเถรคาถา
ภาษิตของพระกิมพิลเถระ
(ท่านพระกิมพิลเถระเมื่อจะแสดงความอยู่ร่วมกันด้วยความสามัคคี จึงได้
กล่าว ๒ คาถาไว้ดังนี้ว่า)
[๑๕๕] พระศากยบุตรทั้งหลายซึ่งเป็นสหายกันในปาจีนวังสทายวัน
พากันละทิ้งโภคะไม่น้อย มายินดีในการเที่ยวแสวงหาบิณฑบาต
[๑๕๖] ปรารภความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยว
บากบั่นมุ่งมั่นเป็นนิตย์
ละความยินดีที่เป็นโลกิยะ
มายินดีอยู่ด้วยความยินดีในธรรม

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๓๕๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๒. ทุกนิบาต]๒. ทุติยวรรค ๑๐. สิริมเถรคาถา
๙. นันทเถรคาถา
ภาษิตของพระนันทเถระ
(พระนันทเถระเกิดความโสมนัส จึงได้กล่าว ๒ คาถาไว้ดังนี้ว่า)
[๑๕๗] เรามัวประกอบการประดับตกแต่ง
มีจิตฟุ้งซ่านและกวัดแกว่ง
ถูกกามราคะรบกวน เพราะไม่ได้ทำโยนิโสมนสิการ๑
[๑๕๘] เราปฏิบัติโดยอุบายที่ชอบ
อันพระพุทธเจ้าผู้เป็นเผ่าพันธ์พระอาทิตย์ผู้ฉลาดในอุบาย
ได้ทรงสั่งสอนแนะนำแล้ว
จึงถอนจิตในภพได้แล้ว

๑๐. สิริมเถรคาถา
ภาษิตของพระสิริมเถระ
(พระสิริมเถระเมื่อจะติเตียนความเป็นปุถุชน จึงได้กล่าว ๒ คาถาไว้ดังนี้ว่า)
[๑๕๙] ถ้าตนมีจิตไม่ตั้งมั่น
แม้ชนเหล่าอื่นจะสรรเสริญ
ชนเหล่าอื่นก็สรรเสริญเปล่า
เพราะตนมีจิตไม่ตั้งมั่น
[๑๖๐] ถ้าตนมีจิตตั้งมั่นดีแล้ว
แม้ชนเหล่าอื่นจะติเตียน
ชนเหล่าอื่นก็ติเตียนเปล่า
เพราะตนมีจิตตั้งมั่นดีแล้ว
ทุติยวรรค จบ

เชิงอรรถ :
๑ การทำในใจโดยแยบคาย (การใช้ความคิดอย่างถูกวิธี)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๓๕๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๒. ทุกนิบาต] ๓. ตติยวรรค ๒. ภัททชิเถรคาถา
รวมเรื่องพระเถระที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. พระมหาจุนทเถระ ๒. พระโชติทาสเถระ
๓. พระเหรัญญิกานิเถระ ๔. พระโสมมิตตเถระ
๕. พระสัพพมิตตเถระ ๖. พระมหากาลเถระ
๗. พระติสสเถระ ๘. พระกิมพิลเถระ
๙. พระนันทเถระ ๑๐. พระสิริมเถระ

๓. ตติยวรรค
หมวดที่ ๓
๑. อุตตรเถรคาถา
ภาษิตของพระอุตตรเถระ
(พระอุตตรเถระเมื่อพยากรณ์พระอรหัต จึงได้กล่าว ๒ คาถาไว้ดังนี้ว่า)
[๑๖๑] เรากำหนดรู้ขันธ์ทั้งหลายแล้ว ถอนตัณหาขึ้นได้ด้วยดี
ถึงโพชฌงค์เราเจริญแล้ว เราได้ถึงความสิ้นอาสวะแล้ว
[๑๖๒] ครั้นกำหนดรู้ขันธ์ทั้งหลายแล้ว ถอนตัณหาดุจข่ายได้
เจริญโพชฌงค์แล้ว จักเป็นผู้ไม่มีอาสวะนิพพาน

๒. ภัททชิเถรคาถา
ภาษิตของพระภัททชิเถระ
(พระภัททชิเถระสรรเสริญปราสาททองที่ตนเคยครอบครอง จึงได้กล่าว ๒
คาถาไว้ดังนี้ว่า)
[๑๖๓] พระราชาทรงพระนามว่าปนาทะ
มีปราสาททองกว้างและสูงประมาณ ๑๖ โยชน์
ชนทั้งหลายกล่าวกันว่าสูงประมาณ ๑,๐๐๐ โยชน์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๓๕๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๒. ทุกนิบาต] ๓. ตติยวรรค ๓. โสภิตเถรคาถา
[๑๖๔] มีชั้นพันชั้น ร้อยยอด สะพรั่งไปด้วยธง
พราวไปด้วยแก้วสีเขียว
ในปราสาทนั้น มีนักฟ้อนหกพันคน แบ่งเป็น ๗ กลุ่ม
พากันฟ้อนรำอยู่

๓. โสภิตเถรคาถา
ภาษิตของพระโสภิตเถระ
ทราบว่า ท่านพระโสภิตเถระ เมื่อเปล่งอุทาน จึงได้กล่าว ๒ คาถาไว้ดังนี้ว่า
[๑๖๕] เราเป็นภิกษุ มีสติ มีปัญญา บำเพ็ญเพียรอย่างแรงกล้า
ระลึกชาติก่อนได้ ๕๐๐ กัปเพียงคืนเดียว
[๑๖๖] เราเจริญสติปัฏฐาน ๔ โพชฌงค์ ๗ มรรค ๘๑
ระลึกชาติก่อนได้ ๕๐๐ กัป เพียงคืนเดียว

เชิงอรรถ :
๑ สติปัฏฐาน ๔ หมายถึงที่ตั้งของสติ ๔ ประการ คือ
(๑) กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน สติกำหนดพิจารณากายเป็นอารมณ์
(๒) เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน สติกำหนดพิจารณาเวทนาเป็นอารมณ์
(๓) จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน สติกำหนดพิจารณาจิตเป็นอารมณ์
(๔) ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน สติกำหนดพิจารณาธรรมเป็นอารมณ์.
(ที.ม. ๑๐/๓๗๓/๒๔๘)
โพชฌงค์ ๗ ธรรมที่เป็นองค์แห่งการตรัสรู้ ๗ ประการ คือ
(๑) สติ ความระลึกได้ (๒) ธัมมวิจยะ ความเฟ้นธรรม
(๓) วิริยะ ความเพียร (๔) ปีติ ความอิ่มใจ
(๕) ปัสสัทธิ ความสงบกายสงบใจ (๖) สมาธิ ความตั้งใจมั่น
(๗) อุเบกขา ความมีใจเป็นกลางเพราะเห็นตามความเป็นจริง
(ที.ป. ๑๑/๓๕๗/๒๕๘)
มรรค ๘ ทางมีองค์แปดประการอันประเสริฐ คือ
(๑) สัมมาทิฏฐิ เห็นชอบ (๒) สัมมาสังกัปปะ ดำริชอบ
(๓) สัมมาวาจา เจรจาชอบ (๔) สัมมากัมมันตะ การกระทำชอบ
(๕) สัมมาอาชีวะ เลี้ยงชีวิตชอบ (๖) สัมมาวายาม พยายามชอบ
(๗) สัมมาสติ ระลึกชอบ (๘) สัมมาสมาธิ ตั้งจิตมั่นชอบ
(ที.ม. ๑๐/๔๐๒/๒๖๖)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๓๕๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๒. ทุกนิบาต] ๓. ตติยวรรค ๖. ปุณณมาสเถรคาถา
๔. วัลลิยเถรคาถา
ภาษิตของพระวัลลิยเถระ
(พระวัลลิยเถระเมื่อจะถามพระเวณุทัตตเถระ จึงได้กล่าว ๒ คาถาไว้ดังนี้ว่า)
[๑๖๗] กิจใดอันบุคคลผู้มีความเพียรมั่น
มุ่งที่จะตรัสรู้ พึงทำกิจนั้น
เราจักทำไม่ให้พลาด
เชิญท่านดูความเพียร ความบากบั่นของเราเถิด
[๑๖๘] อนึ่ง ขอท่านจงบอกหนทางอันหยั่งลงสู่อมตมหานิพพาน
ซึ่งเป็นทางตรงให้เรา เราจะรู้ด้วยญาณ
ดุจกระแสแม่น้ำคงคาไหลไปสู่สาคร

๕. วีตโสกเถรคาถา
ภาษิตของพระวีตโสกเถระ
(พระวีตโสกเถระเมื่อจะพยากรณ์พระอรหัต จึงได้กล่าว ๒ คาถาไว้ดังนี้ว่า)
[๑๖๙] ช่างกัลบกเข้ามาหาเรา ด้วยคิดว่า จักตัดผมของเรา
เราจึงรับเอากระจกจากช่างกัลบกนั้นมาส่องดูร่างกาย
[๑๗๐] ร่างกายได้ปรากฏเป็นสภาพว่างเปล่า
ความบอด ความมืดได้สิ้นไป
กิเลสดุจผ้าขี้ริ้วทั้งปวง เราตัดขาดด้วยดีแล้ว
บัดนี้ ไม่มีการเกิดอีก

๖. ปุณณมาสเถรคาถา
ภาษิตของพระปุณณมาสเถระ
(พระปุณณเถระเมื่อจะแสดงธรรมแก่ภรรยาเก่า จึงได้กล่าว ๒ คาถาไว้ดังนี้ว่า)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๓๕๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๒. ทุกนิบาต] ๓. ตติยวรรค ๘. ภารตเถรคาถา
[๑๗๑] เราละนิวรณ์๑ ๕ เพื่อบรรลุนิพพาน
ซึ่งเป็นแดนเกษมจากโยคะแล้ว
ถือเอาแว่นส่องธรรม คือญาณทัสสนะสำหรับตน
[๑๗๒] พิจารณาดูร่างกายนี้ทั่วทั้งภายในภายนอก
ร่างกายของเราได้ปรากฏเป็นสภาพว่างเปล่า
ทั้งภายในและภายนอก

๗. นันทกเถรคาถา
ภาษิตของพระนันทกเถระ
(พระนันทกเถระเมื่อจะพยากรณ์พระอรหัต จึงได้กล่าว ๒ คาถาไว้ดังนี้ว่า)
[๑๗๓] โคอาชาไนยที่ดี พลาดล้มแล้วลุกขึ้นยืนใหม่ได้
ได้ความสังเวชอย่างยิ่งแล้ว ไม่ท้อถอย นำภาระต่อไปได้ ฉันใด
[๑๗๔] ท่านทั้งหลายจงทรงจำข้าพเจ้าไว้ว่า
เป็นอาชาไนยสมบูรณ์ด้วยทัศนะ
เป็นสาวกของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
เป็นบุตรซึ่งเกิดแต่พระอุระของพระพุทธเจ้า ฉันนั้น

๘. ภารตเถรคาถา
ภาษิตของพระภารตเถระ
(พระภารตเถระเมื่อจะบอกมิจฉาวิตกที่เกิดแก่พระนันทกเถระ จึงได้กล่าว ๒
คาถาไว้ดังนี้ว่า)

เชิงอรรถ :
๑ นิวรณ์ ๕ สิ่งที่กั้นจิตไม่ให้ก้าวหน้าในคุณธรรม ๕ ประการ คือ (๑) กามฉันทะ ความพอใจในกาม
(๒) พยาบาท ความคิดร้าย (๓) ถีนมิทธะ ความหดหู่และเซื่องซึม (๔) อุทธัจจกุกกุจจะ ความฟุ้งซ่าน
และร้อนใจ (๕) วิจิกิจฉา ความลังเลสงสัย (องฺ. ปญฺจก. ๒๒/๕๑/๕๙)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๓๖๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๒. ทุกนิบาต] ๓. ตติยวรรค ๑๐. กัณหทินนเถรคาถา
[๑๗๕] เชิญมาเถิดนันทกะ เราไปยังสำนักพระอุปัชฌาย์
จักบันลือสีหนาทเฉพาะพระพักตร์พระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐ
[๑๗๖] พระผู้มีพระภาคผู้เป็นมุนีทรงเอ็นดูให้พวกเราบวช
เพื่อประโยชน์ใด ประโยชน์นั้นคือความสิ้นสังโยชน์ทั้งปวง
พวกเราก็ได้บรรลุแล้ว

๙. ภารทวาชเถรคาถา
ภาษิตของพระภารทวาชเถระ
(พระภารทวาชเถระเมื่อจะบอกปริยัติธรรมและปฏิบัติธรรมแก่บุตร จึงได้กล่าว
๒ คาถาไว้ดังนี้ว่า)
[๑๗๗] ธีรชนผู้มีปัญญา ชนะมารพร้อมทั้งเสนามาร
ชื่อว่า ชนะสงคราม
ย่อมบันลือเหมือนราชสีห์บันลือที่ซอกเขา
[๑๗๘] พระศาสดาเราเข้าถึงแล้ว
พระธรรมเราก็บูชา
และพระสงฆ์เราก็นับถือแล้ว
และเพราะได้เห็นลูกผู้ไม่มีอาสวกิเลส
พ่อก็ปลาบปลื้มดีใจ

๑๐. กัณหทินนเถรคาถา
ภาษิตของพระกัณหทินนเถระ
(พระกัณหทินนเถระเมื่อจะพยากรณ์พระอรหัต จึงได้กล่าว ๒ คาถาไว้ดังนี้ว่า)
[๑๗๙] สัตบุรุษทั้งหลาย เราเข้าไปหาแล้ว
ธรรมทั้งหลายเราฟังแล้ว เนืองนิตย์
ครั้นฟังธรรมแล้ว จะดำเนินไปสู่ทางอันหยั่งลงสู่อมตธรรม

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๓๖๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๒. ทุกนิบาต] ๔. จตุตถวรรค ๑. มิคสิรเถรคาถา
[๑๘๐] เมื่อเรา เป็นผู้กำจัดความกำหนัดยินดีในภพได้แล้ว
ความกำหนัดยินดีในภพย่อมไม่มีแก่เราอีก
ไม่ได้มีแล้ว จักไม่มี และในบัดนี้ก็ไม่มีแก่เรา
ตติยวรรค จบ

รวมเรื่องพระเถระที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. พระอุตตรเถระ ๒. พระภัททชิเถระ
๓. พระโสภิตเถระ ๔. พระวัลลิยเถระ
๕. พระวีตโสกเถระ ๖. พระปุณณมาสเถระ
๗. พระนันทกเถระ ๘. พระภารตเถระ
๙. พระภารทวาชเถระ ๑๐. พระกัณหทินนเถระ

๔. จตุตถวรรค
หมวดที่ ๔
๑. มิคสิรเถรคาถา
ภาษิตของพระมิคสิรเถระ
(พระมิคสิรเถระเมื่อจะพยากรณ์พระอรหัต จึงได้กล่าว ๒ คาถาไว้ดังนี้ว่า)
[๑๘๑] จำเดิมแต่กาลที่เราได้บวชในพระศาสนาของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
เมื่อจะหลุดพ้น ได้บรรลุ ล่วงเสียซึ่งกามธาตุ๑
[๑๘๒] ต่อแต่นั้น เมื่อเราเพ่งธรรมของพระพุทธเจ้าผู้เป็นดังพรหม
จิตจึงหลุดพ้นและมารู้ชัดว่า ความหลุดพ้นของเราไม่กำเริบ
เพราะความสิ้นไปแห่งสังโยชน์ทั้งปวง

เชิงอรรถ :
๑ ก้าวล่วงโลกที่ยังเกี่ยวข้องอยู่ด้วยการเสพกามด้วยอนาคามิมรรคฌาน (ขุ.เถร.อ. ๑/๘๒/๔๗๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๓๖๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๒. ทุกนิบาต] ๔. จตุตถวรรค ๓. อุปวาณเถรคาถา
๒. สิวกเถรคาถา
ภาษิตของพระสิวกเถระ
(พระสิวกเถระเมื่อจะพยากรณ์พระอรหัต จึงได้กล่าว ๒ คาถาไว้ดังนี้ว่า)
[๑๘๓] เรือนคืออัตภาพที่เกิดในภพนั้น ๆ บ่อย ๆ
เป็นของไม่เที่ยง
เรามัวแสวงหานายช่างคือตัณหาผู้สร้างเรือน
จึงได้ท่องเที่ยวไปสิ้นกาลมีประมาณเท่านี้
การเกิดบ่อย ๆ เป็นทุกข์
[๑๘๔] แน่ะนายช่างผู้สร้างเรือน
บัดนี้ เราพบท่านแล้ว
ท่านจะสร้างเรือนอีกไม่ได้
กลอนเรือนคือกิเลสของท่าน เราหักสิ้นแล้ว
และช่อฟ้าคืออวิชชาแห่งเรือนที่ท่านสร้าง เราก็ทำลายแล้ว
จิตของเรา เราทำให้สิ้นสุด จะดับในภพนี้เอง

๓. อุปวาณเถรคาถา
ภาษิตของพระอุปวาณเถระ
(พระอุปวาณเถระเมื่อจะบอกประโยชน์แก่พราหมณ์ จึงได้กล่าว ๒ คาถาไว้
ดังนี้ว่า)
[๑๘๕] ท่านพราหมณ์ พระสุคตเป็นพระอรหันต์ ในโลก
เป็นมุนี ถูกลมเบียดเบียนแล้ว
ถ้ามีน้ำร้อน ขอท่านจงถวายพระมุนีเถิด
[๑๘๖] พระมุนีพระองค์นั้นเป็นผู้อันบุคคลผู้ควรบูชา บูชาแล้ว
ผู้ควรสักการะ สักการะแล้ว และผู้ควรนอบน้อม นอบน้อมแล้ว
เราปรารถนาจะนำน้ำร้อนไปถวายพระองค์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๓๖๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๒. ทุกนิบาต] ๔. จตุตถวรรค ๕. สัมพุลกัจจานเถรคาถา
๔. อิสิทินนเถรคาถา
ภาษิตของเทวดาเตือนพระอิสิทินนเถระ
(เทวดาผู้หวังประโยชน์เกื้อกูล เมื่อจะเตือนพระอิสิทินนเถระ จึงได้กล่าว ๒
คาถาไว้ดังนี้ว่า)
[๑๘๗] เรา(เทวดา) เห็นอุบาสกทั้งหลายผู้ทรงธรรม
กล่าวอยู่ว่า กามทั้งหลายไม่เที่ยง
แต่อุบาสกเหล่านั้น เป็นผู้กำหนัดอย่างแรงกล้า
ห่วงใยในแก้วมณี ต่างหู บุตรธิดาและภรรยา
[๑๘๘] เพราะเหตุที่อุบาสกเหล่านั้น
ไม่รู้ธรรมในพระศาสนานี้เป็นแน่
ถึงอย่างนั้น ก็ยังกล่าวว่า กามทั้งหลายไม่เที่ยง
แต่พวกเขาไม่มีกำลังปัญญาที่จะตัดราคะได้
ฉะนั้น พวกเขาจึงติดบุตรธิดา ภรรยาและทรัพย์
พระอิสิทินนเถระ(ฟังคำนั้นแล้วก็เกิดความสังเวช ไม่นานนักก็ได้บรรลุพระอรหัต)

๕. สัมพุลกัจจานเถรคาถา
ภาษิตของพระสัมพุลกัจจานเถระ
(พระสัมพุลกัจจานเถระเมื่อจะพยากรณ์พระอรหัต จึงได้กล่าว ๒ คาถาไว้
ดังนี้ว่า)
[๑๘๙] ฝนตกไปเถิด ฟ้าร้องครืน ๆ ไปเถิด
และเราคนเดียวอยู่ในถ้ำที่น่ากลัว
ถึงเราคนเดียวจะอยู่ในถ้ำที่น่ากลัว
ก็ไม่มีความกลัว ความสะดุ้งหวาดเสียว หรือขนลุกขนพอง
[๑๙๐] การที่เราคนเดียวอยู่ในถ้ำที่น่ากลัว
ก็ไม่มีความกลัว ความสะดุ้งหวาดเสียว
หรือขนลุกขนพอง นี้เป็นธรรมดา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๓๖๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๒. ทุกนิบาต] ๔. จตุตถวรรค ๗. โสณโปฏิริยปุตตเถรคาถา
๖. ขิตกเถรคาถา
ภาษิตของพระขิตกเถระ
(พระขิตกเถระเมื่อจะข่มพวกภิกษุผู้อยู่ป่า จึงได้กล่าว ๒ คาถาไว้ดังนี้ว่า)
[๑๙๑] จิตของใครตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวดังภูเขา
ไม่กำหนัดในอารมณ์อันชวนให้กำหนัด
ไม่ขัดเคืองในอารมณ์อันชวนให้ขัดเคือง
ผู้ใดอบรมจิตได้อย่างนี้
ทุกข์จะมาถึงผู้นั้นแต่ที่ไหน
[๑๙๒] จิตของเราตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวดังภูเขา
ไม่กำหนัดในอารมณ์อันชวนให้กำหนัด
ไม่ขัดเคืองในอารมณ์อันชวนให้ขัดเคือง
เราอบรมจิตได้แล้วอย่างนี้
ทุกข์จะมาถึงเราแต่ที่ไหน

๗. โสณโปฏิริยปุตตเถรคาถา
ภาษิตของพระโสณโปฏิริยปุตตเถระ
(พระผู้มีพระภาค เมื่อจะตรัสสอนพระโสณโปฏิริยบุตรเถระ จึงได้ตรัสพระ
คาถาว่า)
[๑๙๓] ราตรีที่ประกอบด้วยฤกษ์มาลินี๑
มิใช่เป็นราตรีที่จะหลับก่อน
ราตรีเช่นนี้เป็นราตรีที่ผู้รู้แจ้งปรารถนาแล้ว
เพื่อประกอบความเพียรโดยแท้

เชิงอรรถ :
๑ ฤกษ์มาลินี หมายถึง ฤกษ์ที่มีดวงดาวขึ้นเป็นกลุ่มเหมือนพวงดอกไม้ (ดาวลูกไก่) เป็นฤกษ์ที่ควรทำความ
เพียร ไม่ใช่เวลานอน (ขุ.เถร.อ. ๑/๑๙๓/๔๘๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๓๖๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๒. ทุกนิบาต] ๔. จตุตถวรรค ๙. อุสภเถรคาถา
(พระโสณโปฏิริยเถระได้ฟังพระดำรัสนั้นก็สลดใจ กลับได้หิริโอตตัปปะ
อธิษฐานอัพโภกาสิกังคธุดงค์๑ กระทำการเจริญวิปัสสนา ได้กล่าวคาถาไว้ดังนี้ว่า)
[๑๙๔] ถ้าช้างพึงเหยียบเราผู้ตกจากคอช้าง
เราตายเสียในสงครามประเสริฐกว่า
แพ้แล้วเป็นอยู่จะประเสริฐอะไร

๘. นิสภเถรคาถา
ภาษิตของพระนิสภเถระ
(พระนิสภเถระ เมื่อจะกล่าวสอนภิกษุสหายทั้งหลาย จึงได้กล่าว ๒ คาถา
ไว้ดังนี้ว่า)
[๑๙๕] วิญญูชนละเบญจกามคุณ ซึ่งน่ารักน่ารื่นรมย์ใจ
ออกบวชด้วยศรัทธา พึงทำที่สุดทุกข์ได้
[๑๙๖] เราไม่อยากตาย ไม่อยากเป็นอยู่
แต่เรามีสติสัมปชัญญะอยู่เฉพาะหน้า คอยเวลาอันควร

๙. อุสภเถรคาถา
ภาษิตของพระอุสภเถระ
(พระอุสภเถระเมื่อจะพยากรณ์พระอรหัต จึงได้กล่าว ๒ คาถาไว้ดังนี้ว่า)
[๑๙๗] เราฝันว่าได้ห่มจีวรสีใบมะม่วงอ่อนเฉวียงบ่า
นั่งบนคอช้าง เข้าไปบิณฑบาตยังหมู่บ้าน
[๑๙๘] ลงจากคอช้างแล้ว ได้ความสลดใจ
ครั้งนั้น เรานั้นมีความสว่าง
ได้ความสลดใจ ถึงความสิ้นอาสวะแล้ว

เชิงอรรถ :
๑ องค์แห่งผู้ถือการอยู่ที่แจ้งเป็นวัตร (ขุ.เถร.อ. ๑/๑๙๓/๔๘๙)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๓๖๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๒. ทุกนิบาต] ๕. ปัญจมวรรค ๑. กุมารกัสสปเถรคาถา
๑๐. กัปปฏกุรเถรคาถา
ภาษิตของพระกัปปฏกุรเถระ
(พระผู้มีพระภาค เมื่อจะตรัสสอนพระกัปปฏกุรเถระ จึงได้ตรัส ๒ คาถาไว้
ดังนี้ว่า)
[๑๙๙] กัปปฏกุรภิกษุเกิดความวิตกผิดว่า ผ้าขี้ริ้วผืนนี้เป็นของเรา
เมื่อน้ำใส(คืออมตธรรม)มีอยู่เต็มเปี่ยมในหม้ออมตธรรม
กลับมีใจปราศจากอมตธรรมคำสอนของเรานี้
เป็นทางที่เราสอนไว้แล้วเพื่อสั่งสมฌานทั้งหลาย
[๒๐๐] กัปปฏะ เธออย่ามานั่งโงกง่วงอยู่เลย
อย่าให้เราต้องสอนเธอเสียงดัง ณ ที่ใกล้หูเลย
กัปปฏะ เธอนั่งโงกง่วงอยู่ในท่ามกลางสงฆ์ช่างไม่รู้จักประมาณเลย
จตุตถวรรค จบ

รวมเรื่องพระเถระที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. พระมิคสิรเถระ ๒. พระสิวกเถระ
๓. พระอุปวาณเถระ ๔. พระอิสิทินนเถระ
๕. พระสัมพุลกัจจานเถระ ๖. พระขิตกเถระ
๗. พระโสณโปฏิริยบุตรเถระ ๘. พระนิสภเถระ
๙. พระอุสภเถระ ๑๐. พระกัปปฏกุรเถระ

๕. ปัญจมวรรค
หมวดที่ ๕
๑. กุมารกัสสปเถรคาถา
ภาษิตของพระกุมารกัสสปเถระ
(พระกุมารกัสสปเถระเมื่อจะพยากรณ์พระอรหัต จึงได้กล่าว ๒ คาถาไว้
ดังนี้ว่า)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๓๖๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๒. ทุกนิบาต] ๕. ปัญจมวรรค ๒. ธัมมปาลเถรคาถา
[๒๐๑] น่าอัศจรรย์หนอ พระพุทธเจ้า พระธรรม
และสัมปทาของพระศาสดาของเราทั้งหลาย
อันเป็นที่จะทำพระสาวกให้รู้แจ้งธรรมเช่นนั้นได้
[๒๐๒] บรรดาพระสาวกที่หยั่งรู้ถึงกายของตน๑
ได้ในอสงไขยกัป๒นั้น
พระกุมารกัสสปะนี้เป็นองค์สุดท้าย
ร่างกายนี้เป็นร่างกายสุดท้าย
การเวียนว่ายตายเกิดเป็นวาระสุดท้าย
บัดนี้ ไม่มีการเกิดอีก

๒. ธัมมปาลเถรคาถา
ภาษิตของพระธัมมปาลเถระ
(พระธรรมปาลเถระเมื่อจะแสดงธรรมโปรดพวกสามเณร จึงได้กล่าว ๒
คาถาไว้ดังนี้ว่า)
[๒๐๓] ภิกษุใดแลยังหนุ่มแน่น
ประกอบความขวนขวายในพระพุทธศาสนา
ผู้ตื่นอยู่ ในเมื่อคนเหล่าอื่นหลับแล้ว
ชื่อว่าไม่ไร้ผล
[๒๐๔] เพราะฉะนั้น ภิกษุผู้มีปัญญา
ระลึกถึงคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย
จึงควรประกอบศรัทธา ศีล ความเลื่อมใส
และการเห็นธรรมเนือง ๆ

เชิงอรรถ :
๑ หยั่งรู้อุปาทานขันธ์ คือ ขันธ์ที่อาศัยความยึดมั่นถือมั่น (ขุ.เถร.อ. ๑/๒๐๒/๕๐๑)
๒ มหากัปที่ผ่านไปนานจนไม่สามารถนับได้ (ขุ.เถร.อ. ๑/๒๐๒/๕๐๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๓๖๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๒. ทุกนิบาต] ๕. ปัญจมวรรค ๔. โมฆราชเถรคาถา
๓. พรหมาลิเถรคาถา
ภาษิตของพระพรหมาลิเถระ
(พระพรหมาลิเถระเมื่อจะยกย่องการประกอบความเพียรเนือง ๆ จึงได้กล่าว
๒ คาถาไว้ดังนี้ว่า)
[๒๐๕] อินทรีย์ของใครถึงความสงบ
เหมือนม้าที่นายสารถีฝึกดีแล้ว
แม้เทวดาทั้งหลาย ก็กระหยิ่ม(ชื่นชม)ต่อผู้นั้น
ซึ่งละมานะได้แล้ว ไม่มีอาสวะ เป็นผู้คงที่
[๒๐๖] อินทรีย์ของเราถึงความสงบ
เหมือนม้าตัวที่นายสารถีฝึกดีแล้ว
แม้เทวดาทั้งหลาย ก็กระหยิ่มต่อเรา
ซึ่งละมานะได้แล้ว ไม่มีอาสวะ เป็นผู้คงที่

๔. โมฆราชเถรคาถา
ภาษิตของพระศาสดาตรัสถามพระโมฆราชเถระ
(พระศาสดาตรัสถามพระโมฆราชเถระ ด้วยพระคาถาที่ ๑ ว่า)
[๒๐๗] โมฆราชผู้มีผิวพรรณเศร้าหมอง แต่มีจิตดีงาม
เธอเป็นภิกษุมีจิตตั้งมั่นเนืองนิตย์
จะทำอย่างไรตลอดราตรีกาล
ที่หนาวเหน็บในฤดูเหมันต์
พระโมฆราชเถระ (เมื่อจะทูลตอบพระศาสดา จึงได้กล่าวคาถาไว้ดังนี้ว่า)
[๒๐๘] ข้าพระองค์ได้ฟังมาว่า
ชาวมคธเกี่ยวข้าวเสร็จเรียบร้อยแล้ว
ข้าพระองค์พึงคลุมกายด้วยฟางแล้วนอน
เหมือนกับภิกษุเหล่าอื่น ผู้มีความเป็นอยู่สบาย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๓๖๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๒. ทุกนิบาต] ๕. ปัญจมวรรค ๖. จูฬกเถรคาถา
๕. วิสาขปัญจาลีปุตตเถรคาถา
ภาษิตของพระวิสาขปัญจาลีบุตรเถระ
(พระวิสาขปัญจาลีบุตรเถระเมื่อจะบอกลักษณะของพระธรรมกถึกแก่ภิกษุ
ทั้งหลาย จึงได้กล่าว ๒ คาถาไว้ดังนี้ว่า)
[๒๐๙] (พระธรรมกถึกประกอบด้วยองค์ ๕ เหล่านี้ คือ)
๑. ไม่พึงยกตน
๒. ไม่ข่มผู้อื่น
๓. ไม่พึงมองดูด้วยความเหยียดหยาม
๔. ไม่พึงกระทบกระทั่งท่านผู้ถึงฝั่งนิพพาน
๕. ไม่พึงกล่าวคุณความดีของตนในที่ชุมชน
ไม่ฟุ้งซ่าน กล่าวแต่พอประมาณ มีวัตรดีงาม
[๒๑๐] พระธรรมกถึกนั้นมักเห็นเนื้อความอันสุขุมและละเอียดยิ่งนัก
มีปัญญาเฉลียวฉลาด ประพฤติอ่อนน้อมถ่อมตนอยู่เสมอ
ปฏิบัติตามศีลของพระพุทธเจ้าเป็นอาจิณ
พึงได้นิพพานไม่ยากเลย

๖. จูฬกเถรคาถา
ภาษิตของพระจูฬกเถระ
(พระจูฬกเถระเมื่อจะทำตนให้เกิดอุตสาหะในการเจริญภาวนา จึงได้กล่าว ๒
คาถาไว้ดังนี้ว่า)
[๒๑๑] นกยูงทั้งหลาย มีหงอนงาม ขนหางงาม
สร้อยคอเขียวงาม จะงอยปากงาม
มีเสียงไพเราะ ส่งเสียงร้องอยู่
อนึ่ง แม้แผ่นดินใหญ่นี้มีหญ้าเขียวชะอุ่ม
มีน้ำชุ่มชื่น ท้องฟ้าก็มีเมฆสวยงาม

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๓๗๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๒. ทุกนิบาต] ๕. ปัญจมวรรค ๘. วัชชิตเถรคาถา
[๒๑๒] ท่านมีสภาวะที่ควรแก่การงาน
จงเพ่งฌานที่พระโยคาวจรผู้มีใจดีเพ่งแล้ว
จงเป็นผู้มีความพยายามไม่หยุดยั้ง
ในพระศาสนาของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าด้วยดี
จงบรรลุนิพพานอันเป็นธรรมสูงสุด
ขาวสะอาด ผุดผ่อง ละเอียด
เห็นได้แสนยากเป็นสภาพที่แน่นอนนั้นเถิด

๗. อนูปมเถรคาถา
ภาษิตของพระอนูปมเถระ
(พระอนูปมเถระกล่าวสอนตนเองด้วย ๒ คาถาไว้ดังนี้ว่า)
[๒๑๓] จิตที่มีความเพลิดเพลิน
ถูกกรรมกิเลสยกขึ้นสู่ภพซึ่งเป็นเช่นกับหลาว
ท่านเว้นจากภพที่เรียกว่าหลาว
และกามคุณที่เรียกว่าท่อนไม้นั้น ๆ เสีย
[๒๑๔] เรากล่าวอกุศลจิตนั้นว่าเป็นจิตมีโทษ
กล่าวอกุศลจิตนั้นว่าเป็นจิตประทุษร้าย
พระศาสดาที่บุคคลหาได้โดยยาก ท่านก็ได้แล้ว
ท่านอย่ามาชักชวนเราในทางฉิบหายเลย

๘. วัชชิตเถรคาถา
ภาษิตของพระวัชชิตเถระ
(พระวัชชิตเถระระลึกชาติก่อนของตนได้ จึงได้กล่าว ๒ คาถาไว้ดังนี้ว่า)
[๒๑๕] เราเป็นปุถุชนมืดมนอยู่ เมื่อไม่เห็นอริยสัจ
จึงได้ท่องเที่ยววนเวียนไปมาในคติทั้งหลายตลอดกาลนาน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๓๗๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา[๒. ทุกนิบาต] รวมเรื่องพระเถระที่มีในวรรค
[๒๑๖] เรานั้นไม่ประมาทแล้ว
กำจัดกรรมกิเลสที่ได้ชื่อว่าสงสารได้แล้ว
เราตัดคติทั้งปวงขาดแล้ว บัดนี้ไม่มีการเกิดอีก

๙. สันธิตเถรคาถา
ภาษิตของพระสันธิตเถระ
(พระสันธิตเถระเมื่อจะประกาศการบรรลุคุณวิเศษของตน จึงได้กล่าว ๒
คาถาไว้ดังนี้ว่า)
[๒๑๗] เรามีสติตั้งมั่นได้สัญญาอย่างหนึ่ง
ซึ่งประกอบด้วยพุทธานุสติ ณ โคนต้นอัสสัตถพฤกษ์
สว่างไสวไปด้วยรัศมีสีเขียว งามสะพรั่ง
[๒๑๘] ในกัปที่ ๓๑ แต่ภัททกัปนี้ไป
เราได้ถึงความสิ้นอาสวะแล้ว
เพราะนำสัญญาที่เราได้ในครั้งนั้นมา
ปัญจมวรรค จบ

รวมเรื่องพระเถระที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. พระกุมารกัสสปเถระ ๒. พระธรรมปาลเถระ
๓. พระพรหมาลิเถระ ๔. พระโมฆราชเถระ
๕. พระวิสาขปัญจาลีบุตรเถระ ๖. พระจูฬกเถระ
๗. พระอนูปมเถระ ๘. พระวัชชิตเถระ

๙. พระสันธิตเถระ ผู้นำธุลีคือกิเลสออกได้
ในทุกนิบาต รวมคาถาได้ ๙๘ คาถา
และรวมพระเถระผู้ฉลาดในนัย ซึ่งกล่าวคาถาไว้ได้ ๔๙ รูป
ทุกนิบาต จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๓๗๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๓. ติกนิบาต] ๒. ปัจจยเถรคาถา
๓. ติกนิบาต
๑. อังคณิกภารทวาชเถรคาถา
ภาษิตของพระอังคณิกภารทวาชเถระ
(พระอังคณิกภารทวาชเถระเมื่อจะพยากรณ์พระอรหัต จึงได้กล่าว ๓ คาถา
ไว้ดังนี้ว่า)
[๒๑๙] เมื่อเราแสวงหาความบริสุทธิ์โดยอุบายไม่สมควร
จึงได้บำเรอไฟอยู่ในป่า
เราไม่รู้ทางอันบริสุทธิ์
จึงได้บำเพ็ญตบะอย่างอื่นอีก
[๒๒๐] ความสุขนั้นเราได้แล้วโดยง่าย
ขอท่านจงมองเห็นธรรมว่าเป็นธรรมดีงาม
เราบรรลุวิชชา ๓ ได้ทำตามคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าแล้ว
[๒๒๑] เมื่อก่อน เราได้เป็นเผ่าพันธ์แห่งพระพรหม
แต่บัดนี้ เราเป็นพราหมณ์ บรรลุวิชชา ๓
ล้างมลทินคือกิเลสได้แล้ว
และเป็นพราหมณ์จบไตรเพท

๒. ปัจจยเถรคาถา
ภาษิตของพระปัจจยเถระ
(พระปัจจยเถระเมื่อจะพยากรณ์พระอรหัต จึงได้กล่าว ๓ คาถาไว้ดังนี้ว่า)
[๒๒๒] เราบวชแล้วได้ ๕ วัน
ยังเป็นเสขบุคคลอยู่
ยังไม่ได้บรรลุพระอรหัต
เมื่อเราเข้าไปยังวิหารแล้วได้ตั้งใจปรารถนาว่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๓๗๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๓. ติกนิบาต] ๔. ธนิยเถรคาถา
[๒๒๓] เมื่อเรายังถอนลูกศรคือตัณหาขึ้นไม่ได้
เราจะไม่กิน ไม่ดื่ม ไม่ออกไปจากวิหาร
ทั้งจะไม่เอนกายนอน
[๒๒๔] เชิญท่านดูความเพียร
ความบากบั่นของเรานั้นผู้อยู่อย่างนี้ เราบรรลุวิชชา ๓
ได้ทำตามคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าแล้ว

๓. พากุลเถรคาถา
ภาษิตของพระพากุลเถระ
(พระพากุลเถระเมื่อจะพยากรณ์พระอรหัต จึงได้กล่าว ๓ คาถาไว้ดังนี้ว่า)
[๒๒๕] ผู้ต้องการจะทำกิจที่ควรทำก่อนในภายหลัง
ย่อมพลาดจากฐานะที่นำความสุขมาให้
และย่อมเดือดร้อนในภายหลัง
[๒๒๖] บุคคลพึงพูดถึงสิ่งที่ตนทำได้
ไม่พึงพูดถึงสิ่งที่ตนทำไม่ได้
บัณฑิตทั้งหลายย่อมรู้จักบุคคลผู้ไม่ทำ ดีแต่พูด
[๒๒๗] นิพพานที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงแล้ว
เป็นสุขดีหนอ ไม่มีความโศก
ปราศจากกิเลสดุจธุลี เกษม เป็นที่ดับทุกข์ได้

๔. ธนิยเถรคาถา
ภาษิตของพระธนิยเถระ
(พระธนิยเถระเมื่อจะพยากรณ์พระอรหัต จึงได้กล่าว ๓ คาถาไว้ดังนี้ว่า)
[๒๒๘] ถ้าภิกษุมุ่งหวังในความเป็นสมณะ
ปรารถนาจะเป็นอยู่สบาย
ไม่ควรดูหมิ่นจีวร ข้าว และน้ำอันเป็นของสงฆ์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๓๗๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๓. ติกนิบาต] ๕. มาตังคปุตตเถรคาถา
[๒๒๙] ถ้าภิกษุมุ่งหวังในความเป็นสมณะ
ปรารถนาจะเป็นอยู่สบาย
พึงใช้สอยที่นอนที่นั่ง
เหมือนงูอาศัยรูหนูอยู่
[๒๓๐] ถ้าภิกษุมุ่งหวังในความเป็นสมณะ
ปรารถนาจะเป็นอยู่สบาย
พึงยินดีด้วยปัจจัยตามมีตามได้
และพึงเจริญธรรมอันเอก๑

๕. มาตังคปุตตเถรคาถา
ภาษิตของพระมาตังคบุตรเถระ
(พระมาตังคบุตรเถระเมื่อจะติเตียนความเกียจคร้านและยกย่องการปรารภ
ความเพียร จึงได้กล่าว ๓ คาถาไว้ดังนี้ว่า)
[๒๓๑] ขณะทั้งหลายย่อมล่วงเลยมาณพทั้งหลาย
ผู้ละทิ้งการงานด้วยอ้างว่า เวลานี้
หนาวนัก ร้อนนัก เป็นเวลาเย็นนัก
[๒๓๒] ส่วนผู้ไม่คำนึงถึงความหนาวและความร้อนยิ่งไปกว่าหญ้า
ทำหน้าที่ของคนอยู่
ย่อมไม่เสื่อมจากความสุข
[๒๓๓] เราจะใช้อกฝ่าหญ้าแพรก หญ้าคา หญ้าดอกเลา
หญ้าแฝก หญ้ามุงกระต่าย
และหญ้าปล้อง พอกพูนวิเวก

เชิงอรรถ :
๑ ภาวะแห่งความไม่ประมาท (ขุ.เถร.อ. ๑/๒๓๐/๕๓๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๓๗๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๓. ติกนิบาต] ๗. วารณเถรคาถา
๖. ขุชชโสภิตเถรคาถา
ภาษิตของพระขุชชโสภิตเถระ
(พระขุชชโสภิตเถระเมื่อจะบอกความประสงค์ที่ตนมาแก่เทวดา จึงได้กล่าว
คาถาไว้ดังนี้ว่า)
[๒๓๔] สมณะทั้งหลายเหล่าใด
กล่าวธรรมได้อย่างวิจิตร
เป็นพหูสูต เป็นชาวเมืองปาฏลีบุตร
ท่านขุชชโสภิตะนี้เป็นรูปหนึ่ง
ในภิกษุเหล่านั้น ผู้ยืนอยู่ที่ประตูถ้ำ
(เทวดา เมื่อจะประกาศเรื่องที่พระเถระมาให้สงฆ์ทราบ จึงได้กล่าวคาถาไว้
ดังนี้ว่า)
[๒๓๕] สมณะทั้งหลายเหล่าใด
กล่าวธรรมได้อย่างวิจิตร
เป็นพหูสูต เป็นชาวเมืองปาฏลีบุตร
ท่านขุชชโสภิตะนี้เป็นภิกษุรูปหนึ่ง ในภิกษุเหล่านั้น
มายืนอยู่ที่ประตูถ้ำได้ ดุจลมพัดมา
(พระเถระพยากรณ์พระอรหัตด้วยคาถานี้ว่า)
[๒๓๖] ขุชชโสภิตภิกษุนี้ ได้รับความสุขด้วยอาการเหล่านี้
คือ ด้วยการรบดี การบูชาดี การชนะสงคราม
และการประพฤติพรหมจรรย์ประจำ

๗. วารณเถรคาถา
ภาษิตของพระวารณเถระ
(พระผู้มีพระภาคเมื่อประทานโอวาทแก่พระวารณเถระ จึงได้ตรัส ๓ คาถาไว้
ดังนี้ว่า)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๓๗๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๓. ติกนิบาต] ๘. ปัสสิกเถรคาถา
[๒๓๗] ในหมู่มนุษย์นี้ นรชนผู้ใดผู้หนึ่งเบียดเบียนสัตว์อื่น
นรชนนั้นย่อมเสื่อมจากความสุข
ในโลกทั้งสอง คือ โลกนี้และโลกหน้า
[๒๓๘] ส่วนนรชนใดมีจิตเมตตา ช่วยเหลือสัตว์ทุกหมู่เหล่า
นรชนเช่นนี้นั้นย่อมประสบบุญมาก
[๒๓๙] บุคคลควรศึกษาคำสุภาษิต
การเข้าไปนั่งใกล้สมณะ
การอยู่ผู้เดียวในที่ลับ
และธรรมเป็นเครื่องสงบระงับจิต

๘. ปัสสิกเถรคาถา
ภาษิตของพระปัสสิกเถระ
(พระปัสสิกเถระเมื่อกราบทูลพระศาสดาถึงอุปการะที่ตนทำแก่พวกญาติ จึง
ได้กล่าว ๓ คาถาไว้ดังนี้ว่า)
[๒๔๐] คนมีศรัทธา มีปัญญาดี ตั้งอยู่ในธรรม
มีศีลสมบูรณ์ แม้เพียงคนเดียว
ย่อมมีประโยชน์แก่ญาติและพวกพ้องทั้งหลายผู้ไม่มีศรัทธา
[๒๔๑] ญาติทั้งหลายถูกเราผู้มีความรักญาติและพวกพ้อง
แนะนำตักเตือนแล้วด้วยความเอ็นดู
จึงทำสักการะบูชาในภิกษุทั้งหลาย
[๒๔๒] ญาติเหล่านั้นตายล่วงลับไป
ได้รับความสุขในเทพชั้นดาวดึงส์
พี่น้องชายและมารดาของข้าพระองค์
พรั่งพร้อมด้วยกามคุณตามที่ปรารถนา บันเทิงอยู่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๓๗๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๓. ติกนิบาต] ๑๐. สาฏิมัตติยเถรคาถา
๙. ยโสชเถรคาถา
ภาษิตของพระยโสชเถระ
(พระผู้มีพระภาคเมื่อจะทรงสรรเสริญพระยโสชเถระว่า เป็นผู้มีความปรารถนา
น้อยอย่างยิ่ง จึงได้ตรัสพระคาถานี้ว่า)
[๒๔๓] นรชนผู้รู้ประมาณในข้าวและน้ำ ย่อมซูบผอม
มีตัวสะพรั่งด้วยเส้นเอ็นคล้ายเถาหญ้านาง แต่มีใจไม่ย่อท้อ
(พระยโสชเถระเมื่อกล่าวสอนธรรมแก่ภิกษุทั้งหลาย จึงได้กล่าว ๒ คาถาไว้
ดังนี้ว่า)
[๒๔๔] ภิกษุถูกเหลือบและยุงกัดในป่าใหญ่
พึงเป็นผู้มีสติอดกลั้นในอันตรายนั้น
เหมือนช้างในสงคราม
[๒๔๕] ภิกษุอยู่ผู้เดียว เป็นเหมือนพรหม
อยู่ ๒ รูปเหมือนเทพ
อยู่ ๓ รูปเหมือนชาวบ้าน
อยู่มากกว่านั้น ย่อมมีความโกลาหลมากขึ้น

๑๐. สาฏิมัตติยเถรคาถา
ภาษิตของพระสาฏิมัตติยเถระ
(สาฏิมัตติยเถระเมื่อกล่าวสอนธรรมแก่เจ้าของเรือนนั้น จึงได้กล่าว ๓
คาถาไว้ดังนี้ว่า)
[๒๔๖] เมื่อก่อน ท่านมีศรัทธา
(แต่)วันนี้ ท่านไม่มีศรัทธา
สิ่งใดเป็นของท่าน ขอสิ่งนั้นจงเป็นของท่านตามเดิมเถิด
เราไม่มีความทุจริต

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๓๗๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๓. ติกนิบาต] ๑๒. อุตตรปาลเถรคาถา
[๒๔๗] เพราะศรัทธาไม่เที่ยง คลอนแคลน
ศรัทธานั้น เราเห็นมาแล้วอย่างนั้น
คนทั้งหลายรักง่ายหน่ายเร็ว
ในความรักและความหน่ายนั้น พระมุนีจะชนะได้อย่างไร
[๒๔๘] คนทั้งหลายย่อมหุงอาหารไว้เพื่อมุนี
ทุกตระกูล ตระกูลละเล็กละน้อย
เราจะเที่ยวบิณฑบาตด้วยปลีแข้ง เพราะกำลังแข้งของเรายังมีอยู่

๑๑. อุปาลิเถรคาถา
ภาษิตของพระอุปาลิเถระ
(พระอุบาลีเถระเมื่อกล่าวสอนภิกษุทั้งหลาย จึงได้กล่าว ๓ คาถาไว้ดังนี้ว่า)
[๒๔๙] ภิกษุออกบวชใหม่ด้วยศรัทธา ยังใหม่(ต่อการศึกษา)
พึงคบกัลยาณมิตรผู้มีอาชีวะบริสุทธิ์ ไม่เกียจคร้าน
[๒๕๐] ภิกษุออกบวชใหม่ด้วยศรัทธา ยังใหม่อยู่ในหมู่สงฆ์
พึงเป็นผู้ฉลาดศึกษาพระวินัย
[๒๕๑] ภิกษุออกบวชใหม่ด้วยศรัทธา ยังใหม่
พึงเป็นผู้ฉลาดในสิ่งที่ควรและไม่ควร
ไม่ควรประพฤติตนเป็นคนออกหน้าออกตา

๑๒. อุตตรปาลเถรคาถา
ภาษิตของพระอุตตรเถระ
(พระอุตตรปาลเถระได้กล่าว ๓ คาถาไว้ดังนี้ว่า)
[๒๕๒] เบญจกามคุณซึ่งทำใจให้ลุ่มหลง
ได้ทำเราผู้เป็นบัณฑิต สงบ
สามารถค้นคว้าประโยชน์ได้ ให้ตกอยู่ในโลก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๓๗๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๓. ติกนิบาต] ๑๔. โคตมเถรคาถา
[๒๕๓] เราได้ตกไปในอำนาจแห่งมาร
ถูกลูกศรคือราคะเสียบติดแน่น
ก็ยังสามารถเปลื้องตนจากบ่วงมัจจุราชได้
[๒๕๔] กามทั้งปวงเราละได้แล้ว
ภพทั้งปวงเราทำลายได้แล้ว
การเวียนว่ายตายเกิดสิ้นไปแล้ว
บัดนี้ ไม่มีการเกิดอีก

๑๓. อภิภูตเถรคาถา
ภาษิตของพระอภิภูตเถระ
(พระอภิภูตเถระได้กล่าว ๓ คาถาไว้ดังนี้ว่า)
[๒๕๕] ขอเชิญญาติทั้งหลายเท่าที่มาประชุมกันในสมาคมนี้ทั้งหมด
โปรดตั้งใจฟัง เราจักแสดงธรรมโปรดท่านทั้งหลาย
การเกิดบ่อย ๆ เป็นทุกข์
[๒๕๖] ขอท่านทั้งหลายจงพากเพียร บากบั่น
ขวนขวายในคำสอนของพระพุทธเจ้า
กำจัดเสนาของพญามัจจุราชเสีย
เหมือนกุญชรทำลายเรือนไม้อ้อ
[๒๕๗] ผู้ไม่ประมาทอยู่ในพระธรรมวินัยนี้
จะละการเวียนว่ายตายเกิด แล้วทำที่สุดทุกข์ได้

๑๔. โคตมเถรคาถา
ภาษิตของพระโคตมเถระ
(พระโคตมเถระแสดงธรรมด้วย ๓ คาถาไว้ดังนี้ว่า)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๓๘๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๓. ติกนิบาต] ๑๕. หารติเถรคาถา
[๒๕๘] เราเมื่อยังท่องเที่ยวไปมาได้ไปตกนรกบ้าง
ได้ไปถือปฏิสนธิยังเปตโลกบ้าง
ในกำเนิดสัตว์ดิรัจฉานอันมีแต่ทุกข์บ้าง
เราเสวยทุกข์อยู่หลายประการมาเป็นเวลานาน
[๒๕๙] แม้อัตภาพมนุษย์ เราก็ผ่านมามากแล้ว
เราได้ไปสวรรค์เป็นครั้งคราว
และได้ดำรงอยู่ในรูปภพ อรูปภพ
เนวสัญญีนาสัญญีภพ (และ) อสัญญีภพ
[๒๖๐] เรารู้แจ้งชัดภพทั้งหลายอันหาแก่นสารมิได้
ถูกปัจจัยปรุงแต่ง ไม่ยั่งยืน เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา
ครั้นรู้แจ้งภพนั้นอันเกิดในตนแล้ว
จึงเป็นผู้มีสติ ได้บรรลุสันติธรรมที่แท้จริง

๑๕. หาริตเถรคาถา
ภาษิตของพระหาริตเถระ
(พระหาริตเถระเมื่อจะพยากรณ์พระอรหัต จึงได้กล่าว ๓ คาถาไว้ดังนี้ว่า)
[๒๖๑] ผู้ต้องการจะทำกิจที่ควรทำก่อนในภายหลัง
ย่อมพลาดจากฐานะที่นำความสุขมาให้
และย่อมเดือดร้อนในภายหลัง
[๒๖๒] บุคคลพึงพูดถึงสิ่งที่ตนทำได้
ไม่พึงพูดถึงสิ่งที่ตนทำไม่ได้
บัณฑิตย่อมรู้จักบุคคลผู้ไม่ทำ ดีแต่พูด
[๒๖๓] นิพพานที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงแล้ว
เป็นสุขดีหนอ ไม่มีความโศก ปราศจากกิเลสดุจธุลี
เกษม เป็นที่ดับทุกข์ได้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๓๘๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๓. ติกนิบาต] รวมเรื่องพระเถรที่มีในนิบาต
๑๖. วิมลเถรคาถา
ภาษิตของพระวิมลเถระ
(พระวิมลเถระได้กล่าว ๓ คาถาไว้ดังนี้ว่า)
[๒๖๔] ผู้ปรารถนาความสุขที่ยั่งยืน
พึงเว้นปาปมิตรเสียให้ไกล
คบหาแต่คนดี และพึงอยู่ในโอวาทของท่าน
[๒๖๕] บุคคลเกาะท่อนไม้เล็ก ๆ ย่อมจมลงในมหาสมุทร ฉันใด
บุคคลแม้มีความเป็นอยู่ดี อาศัยคนเกียจคร้าน
ก็จมลงในสังสารวัฏได้ ฉันนั้น
เพราะฉะนั้น บุคคลควรเว้นคนเกียจคร้าน
มีความเพียรย่อหย่อนเสีย
[๒๖๖] บุคคลพึงอยู่ร่วมกับเหล่าบัณฑิตผู้สงัด เป็นอริยะ
มีใจเด็ดเดี่ยว เข้าฌานอยู่ ปรารภความเพียรเป็นนิตย์
ติกนิบาต จบ

รวมเรื่องพระเถรที่มีในนิบาตนี้ คือ

๑. พระอังคณิกภารทวาชเถระ ๒. พระปัจจยเถระ
๓. พระพากุลเถระ ๔. พระธนิยเถระ
๕. พระมาตังคบุตรเถระ ๖. พระขุชชโสภิตเถระ
๗. พระวารณเถระ ๘. พระปัสสิกเถระ
๙. พระยโสชเถระ ๑๐. พระสาฏิมัตติยเถระ
๑๑. พระอุบาลีเถระ ๑๒. พระอุตตรปาลเถระ
๑๓. พระอภิภูตเถระ ๑๔. พระโคตมเถระ
๑๕. พระพาริตเถระ ๑๖. พระวิมลเถระ

ในติกนิบาต รวมพระเถระได้ ๑๖ รูป
รวมคาถาได้ ๔๘ คาถา ฉะนี้แล

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๓๘๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๔. จตุตกกนิบาต] ๒. ภคุเถรคาถา
๔. จตุกกนิบาต
๑. นาคสมาลเถรคาถา
ภาษิตของพระนาคสมาลเถระ
(พระนาคสมาลเถระพยากรณ์พระอรหัตด้วย ๔ คาถาไว้ดังนี้ว่า)
[๒๖๗] หญิงนักฟ้อนตกแต่งร่างกายนุ่งผ้าสวยงาม
ทัดทรงดอกไม้ ลูบไล้ด้วยจุรณแก่นจันทน์
ฟ้อนรำอยู่ในท่ามกลางถนนหลวง เมื่อดนตรีบรรเลงอยู่
[๒๖๘] เมื่อเราเดินเข้าไปบิณฑบาต
ได้เห็นนางผู้ตกแต่งร่างกาย นุ่งผ้าสวยงาม
เหมือนบ่วงมัจจุราชที่วางดักไว้
[๒๖๙] จากนั้น โยนิโสมนสิการจึงเกิดขึ้นแก่เรา โทษก็ปรากฏ
ความเบื่อหน่ายก็เกิดขึ้นพร้อมกัน
[๒๗๐] ต่อแต่นั้น จิตของเราก็หลุดพ้น
ท่านจงมองเห็นธรรมว่าเป็นธรรมดีงาม
เราบรรลุวิชชา ๓๑ ได้ทำตามคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าแล้ว

๒. ภคุเถรคาถา
ภาษิตของพระภคุเถระ
(พระภคุเถระได้กล่าว ๔ คาถาไว้ดังนี้ว่า)
[๒๗๑] เราถูกความง่วงเหงาหาวนอนครอบงำ
ได้ออกไปจากที่อยู่ กำลังขึ้นที่จงกรม
ได้ล้มลงที่พื้นดินตรงนั้นเอง

เชิงอรรถ :
๑ วิชชา ๓ คือ (๑) ปุพเพนิวาสานุสติญาณ ความรู้ที่ให้ระลึกชาติได้ (๒) จุตูปปาตญาณ ความรู้การจุติ
และอุบัติของสัตว์ทั้งหลาย (๓) อาสวักขยญาณ ความรู้ที่ทำอาสวะให้สิ้น (ที.ปา. ๑๑/๓๕๓/๒๕๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๓๘๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๔. จตุตกกนิบาต] ๓. สภิยเถรคาถา
[๒๗๒] เรานั้นนวดตัวแล้ว กลับขึ้นที่จงกรมใหม่
มีใจตั้งมั่นดีแล้ว ได้จงกรม ณ ที่จงกรม
[๒๗๓] จากนั้น โยนิโสมนสิการจึงเกิดขึ้นแก่เรา
โทษก็ปรากฏ ความเบื่อหน่ายก็เกิดขึ้นพร้อมกัน
[๒๗๔] ต่อแต่นั้น จิตของเราก็หลุดพ้น
ท่านจงมองเห็นธรรมว่าเป็นธรรมดีงาม
เราบรรลุวิชชา ๓ ได้ทำตามคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าแล้ว

๓. สภิยเถรคาถา
ภาษิตของพระสภิยเถระ
(พระสภิยเถระแสดงธรรมด้วย ๔ คาถาไว้ดังนี้ว่า)
[๒๗๕] ชนเหล่าอื่นย่อมไม่รู้ว่า พวกเรากำลังย่อยยับอยู่ในโลกนี้
บรรดาชนเหล่านั้น ชนเหล่าใดรู้แจ้งอยู่
ความทะเลาะวิวาทกันย่อมระงับได้จากสำนักของชนเหล่านั้น
[๒๗๖] เมื่อพวกที่ไม่รู้สึก ยังประพฤติยึดถืออยู่เหมือนจะไม่ตาย
ความทะเลาะวิวาทย่อมสงบลงไม่ได้เลย
ส่วนพวกที่รู้ธรรมตามความเป็นจริง
ย่อมไม่กระสับกระส่าย
ในเมื่อสัตว์ทั้งหลายกระสับกระส่ายอยู่
[๒๗๗] กรรมที่ย่อหย่อน วัตรที่เศร้าหมอง
และพรหมจรรย์ที่พึงระลึกถึงด้วยความระแวงสงสัย
ทุกอย่างนั้นไม่มีผลมาก
[๒๗๘] ผู้ใดไม่มีความเคารพในเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย
ผู้นั้นย่อมห่างไกลจากพระสัทธรรม เหมือนฟ้ากับดิน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๓๘๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๔. จตุตกกนิบาต] ๕. ชัมพุกเถรคาถา
๔. นันทกเถรคาถา
ภาษิตของพระนันทกเถระ
(พระนันทกเถระได้กล่าว ๔ คาถาไว้ดังนี้ว่า)
[๒๗๙] น่าติเตียนร่างกายของเธอ
ที่เต็มไปด้วยของน่ารังเกียจ มีกลิ่นเหม็น
เป็นฝักฝ่ายของมาร ชุ่มไปด้วยกิเลส
มีช่อง ๙ ช่อง๑ เป็นที่ไหลออกแห่งของไม่สะอาดเป็นประจำ
[๒๘๐] เธออย่าได้คิดถึงเรื่องเก่า
อย่ามาเย้ายวนพระอริยสาวกเลย
แม้ในสวรรค์ ท่านเหล่านั้นก็ยังไม่ยินดี
จะกล่าวไปใยถึงกามคุณของมนุษย์เล่า
[๒๘๑] ชนเหล่าใดโง่เขลา เบาปัญญา
ไม่มีความคิด ถูกโมหะครอบงำ
ชนเช่นนั้นย่อมยินดีในบ่วงที่มารวางดักไว้นั้น
[๒๘๒] ชนเหล่าใดคลายราคะ โทสะ และอวิชชาได้แล้ว
ชนเช่นนั้นเป็นผู้มั่นคง ตัดด้ายคือตัณหาที่นำไปสู่ภพได้ขาด
ไม่มีเครื่องผูก จึงไม่ยินดีในบ่วงแห่งมารนั้น

๕. ชัมพุกเถรคาถา
ภาษิตของพระชัมพุกเถระ
(พระชัมพุกเถระได้กล่าว ๔ คาถาไว้ดังนี้ว่า)
[๒๘๓] ตลอดเวลา ๕๕ ปี เรามีกายหมักหมมด้วยฝุ่น
บริโภคอาหารเดือนละครั้ง ถอนผมและหนวดออกแล้ว

เชิงอรรถ :
๑ ทวาร ๙ คือ ตา (๒) หู (๒) จมูก (๒) ปาก (๑) ทวารหนัก (๑) ทวารเบา (๑) รวมเป็น ๙

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๓๘๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๔. จตุตกกนิบาต] ๖. เสนกเถรคาถา
[๒๘๔] ยืนด้วยเท้าข้างเดียว เว้นการนั่ง
กินคูถแห้งและไม่ยินดีอาหารที่เขาเชื้อเชิญ
[๒๘๕] เราได้ทำบาปกรรมอันเป็นเหตุให้ไปสู่ทุคติเป็นอันมากเช่นนั้น
ถูกโอฆะต่าง ๆ พัดพาไป
จึงได้ถึงพระพุทธเจ้าว่าเป็นที่พึ่ง
[๒๘๖] ท่านจงมองเห็นการถึงสรณะ
จงมองเห็นธรรมว่าเป็นธรรมดีงาม
เราบรรลุวิชชา ๓ ได้ทำตามคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าแล้ว

๖. เสนกเถรคาถา
ภาษิตของพระเสนกเถระ
(พระเสนกเถระได้กล่าว ๔ คาถาด้วยการเปล่งอุทานว่า)
[๒๘๗] เป็นการดีหนอที่เรามาใกล้ท่าน้ำคยาในวันเพ็ญเดือน ๔
เพราะได้เห็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมอันประเสริฐ
[๒๘๘] ซึ่งพระองค์มีพระรัศมีมากอย่าง
เป็นพระคณาจารย์ ผู้ถึงความเป็นผู้เลิศ
ทรงเป็นผู้นำอย่างยอดเยี่ยมของชาวโลกพร้อมทั้งเทวโลก
ทรงเป็นผู้ชนะมาร มีพระญาณหาประมาณมิได้
[๒๘๙] มีอานุภาพมาก มีความเพียรมาก มีความรุ่งเรืองมาก
ไม่มีอาสวะ สิ้นอาสวะทั้งมวล
เป็นพระศาสดา ไม่มีภัยแต่ที่ไหน ๆ
[๒๙๐] พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น
ได้ทรงปลดเปลื้องเรามีนามว่าเสนกะ
ผู้เศร้าหมองมานาน ถูกมิจฉาทิฏฐิหุ้มห่อไว้
จากกิเลสเครื่องร้อยรัดทั้งสิ้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๓๘๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๔. จตุตกกนิบาต] ๘. ราหุลเถรคาถา
๗. สัมภูตเถรคาถา
ภาษิตของพระสัมภูตเถระ
ทราบว่า ท่านพระสัมภูตเถระได้กล่าวคาถา ๔ คาถาไว้ดังนี้ว่า
[๒๙๑] ผู้ใดรีบในเวลาที่ควรช้า
และช้าในเวลาที่ควรรีบ
ผู้นั้นเป็นคนเขลา ย่อมประสบทุกข์
เพราะไม่จัดแจงโดยแยบคาย
[๒๙๒] ประโยชน์ของเขาย่อมเสื่อมไป
เหมือนดวงจันทร์ข้างแรม
เขาย่อมได้รับความตำหนิจากวิญญูชน
และพลาดจากมิตรทั้งหลาย
[๒๙๓] ผู้ใดช้าในเวลาที่ควรช้า
และรีบในเวลาที่ควรรีบ
ผู้นั้นเป็นบัณฑิตย่อมประสบสุข
เพราะจัดแจงโดยอุบายที่แยบคาย
[๒๙๔] ประโยชน์ของเขา ย่อมบริบูรณ์
เหมือนดวงจันทร์ข้างขึ้น
เขาย่อมได้รับการยกย่องสรรเสริญ
และไม่พลาดจากมิตรทั้งหลาย

๘. ราหุลเถรคาถา
ภาษิตของพระราหุลเถระ
(พระราหุลเถระได้กล่าว ๔ คาถาไว้ดังนี้ว่า)
[๒๙๕] ชนทั้งหลายรู้จักเราว่า พระราหุลผู้เจริญ
เพียบพร้อมด้วยคุณสมบัติ ๒ ประการนั่นเอง
คือเพราะเหตุที่เราเป็นโอรสของพระพุทธเจ้า
และได้ดวงตาเห็นธรรม

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๓๘๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๔. จตุตกกนิบาต] ๙. จันทนเถรคาถา
[๒๙๖] อนึ่ง เพราะอาสวะของเราหมดสิ้นแล้ว
และเพราะไม่มีการเกิดอีก
เราจึงเป็นพระอรหันต์ ผู้ควรแก่ทักษิณา
บรรลุวิชชา ๓ เห็นอมตธรรม
[๒๙๗] สัตว์ทั้งหลายมืดมนเพราะกาม
ถูกข่ายรัดรึงไว้แน่น ถูกเครื่องมุงบังคือตัณหาปกคลุมไว้
ถูกเครื่องผูกคือความประมาทผูกพันไว้ เหมือนปลาในข้อง
[๒๙๘] เราสลัดกามนั้นได้ ตัดบ่วงมารได้
ถอนตัณหาพร้อมทั้งรากเหง้า
จึงเป็นผู้เย็นดับสนิท

๙. จันทนเถรคาถา
ภาษิตของพระจันทนเถระ
(พระจันทนเถระได้พยากรณ์พระอรหัตด้วยคาถาไว้ดังนี้ว่า)
[๒๙๙] ภรรยาแต่งตัวด้วยเครื่องประดับล้วนแต่เป็นทองคำ
มีหมู่สาวใช้ห้อมล้อม ได้อุ้มลูกมาหาเรา
[๓๐๐] แต่(เรา)พอเห็นนางผู้เป็นมารดาแห่งบุตรของเรา
ได้ตกแต่งร่างกายนุ่งผ้าสวยงาม กำลังมา
เหมือนบ่วงมัจจุราชที่วางดักไว้
[๓๐๑] จากนั้น โยนิโสมนสิการจึงเกิดขึ้นแก่เรา
โทษก็ปรากฏ ความเบื่อหน่ายก็เกิดขึ้นพร้อมกัน
[๓๐๒] ต่อแต่นั้น จิตของเราก็หลุดพ้น
ท่านจงมองเห็นธรรมว่าเป็นธรรมดีงาม
เราบรรลุวิชชา ๓ ได้ทำตามคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าแล้ว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๓๘๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๔. จตุตกกนิบาต] ๑๐. ธัมมิกเถรคาถา
๑๐. ธัมมิกเถรคาถา
ภาษิตของพระธรรมิกเถระ
(พระศาสดา ได้ตรัส ๓ พระคาถาไว้ดังนี้ว่า)
[๓๐๓] ธรรมเท่านั้นย่อมรักษาผู้ประพฤติธรรม
ธรรมที่ประพฤติดีแล้วย่อมนำสุขมาให้
นี้เป็นอานิสงส์ในธรรมที่ประพฤติดีแล้ว
ผู้ประพฤติธรรมย่อมไม่ไปสู่ทุคติ
[๓๐๔] เพราะธรรมและอธรรมทั้งสองมีผลไม่เหมือนกัน
อธรรมนำไปสู่นรก
ธรรมให้ถึงสุคติ
[๓๐๕] เพราะเหตุนั้น บุคคลเมื่อชื่นชมยินดีด้วยโอวาท
อันพระตถาคตผู้มั่นคงตรัสไว้ดีแล้วอย่างนี้
พึงทำความพอใจในธรรมทั้งหลาย
สาวกทั้งหลายของพระตถาคตผู้ประเสริฐ
ตั้งอยู่ในธรรมแล้ว เป็นนักปราชญ์
ถึงธรรมว่าเป็นที่พึ่งอันประเสริฐสุด
ย่อมพ้นไปได้
(พระธรรมิกเถระได้พยากรณ์พระอรหัตด้วยคาถาสุดท้ายว่า)
[๓๐๖] เรากำจัดอวิชชาซึ่งเป็นรากเหง้าดุจหัวฝี
ถอนข่ายคือตัณหาได้แล้ว
เรานั้นสิ้นสังสารวัฏแล้ว
และไม่มีกิเลสเป็นเหตุขัดข้อง
เหมือนดวงจันทร์ในวันเพ็ญปราศจากเมฆหมอก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๓๘๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๔. จตุตกกนิบาต] ๑๒. มุทิตเถรคาถา
๑๑. สัปปกเถรคาถา
ภาษิตของพระสัปปกเถระ
(พระสัปปกเถระได้กล่าว ๔ คาถาไว้ดังนี้ว่า)
[๓๐๗] เมื่อใด นางนกยางมีขนขาวสะอาด
ถูกความกลัวต่อเมฆดำ(ฝนฟ้าคะนอง)คุกคาม
ปรารถนาจะกลับรัง จะบินเข้าสู่รัง
เมื่อนั้น แม่น้ำอชกรณี ย่อมทำเราให้รื่นรมย์
[๓๐๘] เมื่อใด นางนกยางมีขนขาวสะอาด
ถูกความกลัวต่อเมฆดำคุกคาม
ไม่เห็นที่เร้นที่หลบภัย ย่อมเสาะหาที่เร้นที่หลบภัย
เมื่อนั้น แม่น้ำอชกรณี ย่อมทำเราให้รื่นรมย์
[๓๐๙] ต้นหว้าทั้งหลาย ณ ที่นั้น ๆ ทั้งสองฟากฝั่ง
ทำฝั่งแม่น้ำข้างหลังถ้ำใหญ่ให้งดงาม
จะทำสัตว์อะไร ไม่ให้ยินดีได้ในที่นั้นเล่า
[๓๑๐] กบทั้งหลายมีผู้เสียงเบา
หลบหนีฝูงงูพิษได้อย่างปลอดภัย
พากันส่งเสียงร้องอย่างไพเราะ
วันนี้เป็นสมัยที่อยู่ปราศจากภูเขาและแม่น้ำก็หาไม่
แม่น้ำอชกรณีเป็นแม่น้ำที่ปลอดภัย สวยงาม น่ารื่นรมย์ดี

๑๒. มุทิตเถรคาถา
ภาษิตของพระมุทิตเถระ
(พระมุทิตเถระได้กล่าว ๔ คาถาไว้ดังนี้ว่า)
[๓๑๑] เราต้องการจะเลี้ยงชีพ จึงได้บรรพชาอุปสมบทแล้ว
จากนั้นจึงได้มีศรัทธา มีความเพียรบากบั่นมั่นคง โดยตั้งใจว่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๓๙๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๔. จตุตกกนิบาต] รวมเรื่องพระเถระที่มีในนิบาต
[๓๑๒] ร่างกายของเรานี้จงแตกทำลายไปเถิด
เนื้อหนังของเราจงเหือดแห้งไป
แข้งขาทั้ง ๒ จะหลุดจากที่ต่อเข่าทั้ง ๒ พลัดตกไปก็ตามที
[๓๑๓] เมื่อเรายังถอนลูกศรคือตัณหาขึ้นไม่ได้
เราจักไม่กิน ไม่ดื่ม ไม่ออกไปจากวิหาร
ทั้งจักไม่เอนกายนอน
[๓๑๔] เชิญท่านดู ความเพียรและความบากบั่นของเรานั้น
ผู้อยู่อย่างนี้ เราบรรลุวิชชา ๓
ได้ทำตามคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าแล้ว
จตุกกนิบาต จบ

รวมเรื่องพระเถระที่มีในนิบาตนี้ คือ

๑. พระนาคสมาลเถระ ๒. พระภคุเถระ
๓. พระสภิยเถระ ๔. พระนันทกเถระ
๕. พระชัมพุกเถระ ๖. พระเสนกเถระ
๗. พระสัมภูตเถระ ๘. พระราหุลเถระ
๙. พระจันทนเถระ ๑๐. พระธรรมิกเถระ
๑๑. พระสัปปกเถระ ๑๒. พระมุทิตเถระ

มี ๕๒ (๔๘) คาถา
และพระเถระทั้งหมดก็มี ๑๓ รูป (๑๒ รูป) ฉะนี้แล

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๓๙๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๕. ปัญจกนิบาต] ๑. ราชทัตตเถรคาถา
๕. ปัญจกนิบาต
๑. ราชทัตตเถรคาถา
ภาษิตของพระราชทัตตเถระ
(พระราชทัตตเถระได้กล่าว ๕ คาถาไว้ดังนี้ว่า)
[๓๑๕] ภิกษุไปป่าช้าผีดิบ๑แล้ว
ได้เห็นซากศพหญิงที่ถูกทอดทิ้งไว้ในป่าช้า
ทั้งถูกหมู่หนอนบ่อนกัดกินอยู่
[๓๑๖] ธรรมดาคนผู้รักสวยรักงามบางพวก
พบเห็นซากศพอันเลวแล้วพากันเกลียดชัง
(แต่)กามราคะปรากฏแก่เรา
เรานั้นเป็นเหมือนคนตาบอด
เพราะไม่เห็นของไม่สะอาด
ที่ไหลออกจากทวารทั้ง ๙ ในซากศพนั้น
[๓๑๗] ชั่วระยะเวลาที่ข้าวสุก
เราหลีกออกจากสถานที่นั้น
มีสติสัมปชัญญะ
ได้เข้าไปยังสถานที่สมควรแห่งหนึ่ง
[๓๑๘] จากนั้น โยนิโสมนสิการจึงเกิดขึ้นแก่เรา
โทษก็ปรากฏ ความเบื่อหน่ายก็เกิดขึ้นพร้อมกัน
[๓๑๙] ต่อแต่นั้น จิตของเราก็หลุดพ้น
ท่านจงมองเห็นธรรมว่าเป็นธรรมดีงาม
เราบรรลุวิชชา ๓ ได้ทำตามคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าแล้ว

เชิงอรรถ :
๑ ภิกฺขุ อสุภกมฺมฏฺฐานตฺถํ อุปคนฺตฺวา ภิกษุไปป่าช้าผีดิบเพื่อเจริญอสุภกรรมฐาน (ขุ.เถร.อ. ๒/๓๑๕/๔๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๓๙๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๕. ปัญจกนิบาต] ๒. สุภูตเถรคาถา
๒. สุภูตเถรคาถา
ภาษิตของพระสุภูตเถระ
(พระสุภูตเถระได้กล่าว ๕ คาถาไว้ดังนี้ว่า)
[๓๒๐] คนผู้ประสงค์จะทำการงาน
ประกอบตนอยู่ในการงานที่ไม่ควรประกอบ
หากยังขืนทำอยู่
จะไม่ประสบความสำเร็จ
การประกอบในการงานที่ไม่ควรประกอบนั้นแล
เป็นลักษณะแห่งความล้มเหลว
[๓๒๑] บุคคลใดยังเพิกถอนความเป็นอยู่อย่างลำบากไม่ได้
หากละทิ้งความไม่ประมาทซึ่งเป็นธรรมอันเอกเสีย
บุคคลนั้นเป็นเหมือนคนกาลกิณี
หากละทิ้งธรรมอื่น ๆ เสียแม้ทั้งหมด
ก็จะพึงเป็นเหมือนคนตาบอด
เพราะมองไม่เห็นทั้งธรรมที่สงบและธรรมที่ไม่สงบ
[๓๒๒] บุคคลควรพูดถึงสิ่งที่ตนทำได้
ไม่พึงพูดถึงสิ่งที่ตนทำไม่ได้
บัณฑิตทั้งหลายย่อมรู้จักบุคคลผู้ไม่ทำ ดีแต่พูด
[๓๒๓] ดอกไม้งาม มีสีสวย(แต่)ไม่มีกลิ่น แม้ฉันใด
วาจาสุภาษิตก็ฉันนั้น
ย่อมไม่มีผลแก่ผู้ไม่ทำตาม
[๓๒๔] ดอกไม้งาม มีทั้งสีและมีกลิ่น แม้ฉันใด
วาจาสุภาษิต ก็ฉันนั้น
ย่อมมีผลแก่ผู้ทำตามด้วยดี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๓๙๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๕. ปัญจกนิบาต] ๓. คิริมานันทเถรคาถา
๓. คิริมานันทเถรคาถา
ภาษิตของพระคิริมานันทเถระ
(พระคิริมานันทเถระได้กล่าว ๕ คาถาไว้ดังนี้ว่า)
[๓๒๕] ฝนตกลงมาเสียงดังกระหึ่มคล้ายเสียงเพลงอันไพเราะ
กุฎีของเราสบาย มุงบังมิดชิดดี
เราเข้าไปสงบอยู่ในกุฎีนั้น
ถ้าต้องการจะตก ก็จงตกลงมาเถิดฝน
[๓๒๖] ฝนตกลงมาเสียงดังกระหึ่มคล้ายเสียงเพลงอันไพเราะ
กุฎีของเราสบาย มุงบังมิดชิดดี
เรามีจิตสงบอยู่ในกุฎีนั้น
ถ้าต้องการจะตก ก็จงตกลงมาเถิดฝน
[๓๒๗] ฝนตกลงมาเสียงดังกระหึ่มคล้ายเสียงเพลงอันไพเราะ
กุฎีของเราสบาย มุงบังมิดชิดดี
เราไม่มีราคะอยู่ในกุฎีนั้น
ถ้าต้องการจะตก ก็จงตกลงมาเถิดฝน
[๓๒๘] ฝนตกลงมาเสียงดังกระหึ่มคล้ายเสียงเพลงอันไพเราะ
กุฎีของเราสบาย มุงบังมิดชิดดี
เราไม่มีโทสะอยู่ในกุฎีนั้น
ถ้าต้องการจะตก ก็จงตกลงมาเถิดฝน
[๓๒๙] ฝนตกลงมาเสียงดังกระหึ่มคล้ายเสียงเพลงขับอันไพเราะ
กุฎีของเราสบาย มุงบังมิดชิดดี
เราไม่มีโมหะอยู่ในกุฎีนั้น
ถ้าต้องการจะตก ก็จงตกลงมาเถิดฝน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๓๙๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๕. ปัญจกนิบาต] ๔. สุมนเถรคาถา
๔. สุมนเถรคาถา
ภาษิตของพระสุมนเถระ
(พระสุมนเถระเมื่อเปล่งอุทานจึงได้กล่าว ๕ คาถาไว้ดังนี้ว่า)
[๓๓๐] พระอุปัชฌาย์ปรารถนาธรรมข้อใด ในบรรดาธรรมทั้งหลาย
จึงได้อนุเคราะห์เราผู้มุ่งหวังแต่นิพพาน
กิจที่ควรทำ เราได้ทำเสร็จสิ้นแล้ว
[๓๓๑] ธรรม๑เราได้บรรลุแล้ว
ทำให้แจ้งประจักษ์ด้วยตนเองแล้ว
เรานั้นมีญาณบริสุทธิ์ หมดความสงสัย
จึงประกาศให้แจ้งในสำนักท่าน
[๓๓๒] เรารู้จักขันธ์ที่อาศัยอยู่มาก่อน๒
ชำระทิพยจักษุให้หมดจดแล้ว
เราได้บรรลุประโยชน์ตน ได้ทำตามคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าแล้ว
[๓๓๓] เราไม่ประมาท
ศึกษาสิกขามาอย่างดีในคำสอนของท่าน
กิเลสอาสวะทั้งมวลของเราสิ้นไปแล้ว
บัดนี้ ไม่มีการเกิดอีก
[๓๓๔] ท่านมีแต่ความเอ็นดู
ได้อนุเคราะห์สั่งสอนเรา ด้วยข้อวัตรปฏิบัติที่ประเสริฐ
คำสอนของท่านไม่ไร้ค่า
เราเป็นอันเตวาสิกศึกษาแล้วในสำนักของท่าน

เชิงอรรถ :
๑ มรรค ๔ (๑) โสดาปัตติมรรค (๒) สกทาคามิมรรค (๓) อนาคามิมรรค (๔) อรหัตตมรรค
(ขุ.เถร.อ. ๒/๓๓๑/๕๕)
๒ บุพเพสันนิวาส

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๓๙๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๕. ปัญจกนิบาต] ๖. นทีกัสสปเถรคาถา
๕. วัฑฒเถรคาถา
ภาษิตของพระวัฑฒเถระ
(พระวัฑฒเถระได้กล่าว ๕ คาถากึ่งไว้ดังนี้ว่า)
[๓๓๕] ทราบว่า โยมมารดาของเราดีแท้
ได้ชี้ให้เราเห็นประตักอันเป็นคำสั่งสอน
ซึ่งเราได้ถูกท่านผู้ให้กำเนิด พร่ำสอน ฟังคำมาแล้ว
ก็ได้ปรารภความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยว
ได้บรรลุสัมโพธิญาณอันยอดเยี่ยม
[๓๓๖] เราเป็นพระอรหันต์ ผู้ควรแก่ทักษิณา
บรรลุวิชชา ๓ เห็นอมตธรรม
ชนะเสนามารได้แล้ว อยู่อย่างไม่มีอาสวะ
[๓๓๗] อาสวะที่มีแก่เราทั้งภายในและภายนอก
เราถอนได้หมดสิ้นแล้ว และจะเกิดขึ้นไม่ได้อีก
[๓๓๘] โยมมารดาเป็นหญิงผู้มีความแกล้วกล้า
ได้กล่าวเนื้อความนี้แก่เรา
แม้เมื่อเราเป็นบุตรของท่านผู้ไม่มีกิเลส
กิเลสอันเปรียบเหมือนหมู่ไม้ในป่าก็ย่อมไม่มีแก่ท่านแน่
[๓๓๙] ทุกข์เราทำให้สิ้นสุดแล้ว
อัตภาพนี้มีเป็นครั้งสุดท้าย
สังสารวัฏคือความเกิดและความตายหมดสิ้นแล้ว
บัดนี้ ไม่มีการเกิดอีก

๖. นทีกัสสปเถรคาถา
ภาษิตของพระนทีกัสสปเถระ
(พระนทีกัสสปเถระได้กล่าว ๕ คาถาไว้ดังนี้ว่า)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๓๙๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๕. ปัญจกนิบาต] ๗. คยากัสสสปเถรคาถา
[๓๔๐] พระพุทธเจ้าได้เสด็จมาสู่แม่น้ำเนรัญชรา
เพื่อเป็นประโยชน์แก่เราผู้ได้ฟังธรรมแล้วละมิจฉาทิฏฐิได้
[๓๔๑] ครั้งเมื่อเราเป็นปุถุชนยังมืดมนอยู่
สำคัญเอาว่า การบูชายัญนี้เป็นความบริสุทธิ์
จึงได้บูชายัญต่าง ๆ ชนิด และได้บูชาไฟด้วย
[๓๔๒] เรานั้นยึดถือทิฏฐิ
ลุ่มหลงไปด้วยการเชื่อถือผิด
เป็นคนตาบอด ยังไม่รู้แจ้ง
ได้สำคัญถึงความไม่บริสุทธิ์ ว่าเป็นความบริสุทธิ์
[๓๔๓] มิจฉาทิฏฐิเราละได้แล้ว
ภพทั้งปวงเราทำลายได้แล้ว
บัดนี้ เราบูชาไฟคือพระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้ควรแก่ทักษิณา
เราจะนอบน้อมพระตถาคต
[๓๔๔] ความลุ่มหลงทั้งปวงเราละได้แล้ว
ภวตัณหาเราก็ทำลายได้แล้ว
การเวียนว่ายตายเกิดสิ้นไปแล้ว
บัดนี้ ไม่มีการเกิดอีก

๗. คยากัสสปเถรคาถา
ภาษิตของพระคยากัสสปเถระ
(พระคยากัสสปเถระได้กล่าว ๕ คาถาไว้ดังนี้ว่า)
[๓๔๕] เรานั้นได้ลงน้ำ(ลอยบาป)ในแม่น้ำคยา
ในวันเพ็ญเดือน ๔ วันหนึ่ง ๓ เวลา
คือ เวลาเช้า เวลาเที่ยง เวลาเย็น
โดยเข้าใจเอาว่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๓๙๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๕. ปัญจกนิบาต] ๘. วักกลิเถรคาถา
[๓๔๖] เราได้เสวยบาปกรรมที่เราทำไว้ในชาติอื่น ๆ แต่ปางก่อน
บัดนี้ เราจะลอยบาปนั้นเสียตรงนี้
เราได้มีความเห็นอย่างนี้มาแต่เดิม
[๓๔๗] เรานั้นครั้นฟังพระวาจาสุภาษิต
อันเป็นบทที่ประกอบด้วยเหตุผลแล้ว
ก็ได้พิจารณาเห็นเนื้อความตามความเป็นจริง
ได้อย่างถ่องแท้ โดยแยบคาย
[๓๔๘] ล้างบาปได้หมดแล้ว เป็นผู้ไม่มีมลทิน
หมดจดสะอาด บริสุทธิ์
เป็นทายาทของพระพุทธเจ้า
เป็นบุตรพุทธโอรส
[๓๔๙] เราก้าวลงสู่กระแสน้ำคือมรรคอันมีองค์ ๘
ลอยบาปได้หมดแล้ว จึงบรรลุวิชชา ๓
ได้ทำตามคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าแล้ว

๘. วักกลิเถรคาถา
ภาษิตของพระวักกลิเถระ
(พระผู้มีพระภาคได้ตรัสถามว่า)
[๓๕๐] เธอ เมื่ออยู่ในป่าใหญ่เป็นสถานที่ลำบาก
หาปัจจัยได้ยาก ถูกโรคลมรบกวน จักทำอย่างไรละภิกษุ
พระวักกลิเถระ (ได้กราบทูลว่า)
[๓๕๑] ข้าพระองค์จักแผ่ปีติสุขอันไพบูลย์ไปทั่วร่างกาย
ครอบงำแม้ปัจจัยที่เศร้าหมอง อยู่ในป่าใหญ่
[๓๕๒] จะเจริญสติปัฏฐาน ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕
และโพชฌงค์ ๗ อยู่ในป่าใหญ่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๓๙๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๕. ปัญจกนิบาต] ๙. วิชิตเสนเถรคาถา
[๓๕๓] ข้าพระองค์พอได้เห็นเพื่อนพรหมจารี๑ทั้งหลาย
ผู้ปรารภความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยว
มีความบากบั่นมั่นคงเป็นนิตย์ มีความสามัคคีพร้อมเพรียงกัน
มีความเห็นร่วมกัน จึงจักอยู่ในป่าใหญ่
[๓๕๔] เมื่อระลึกถึงพระพุทธเจ้า ผู้ฝึกพระองค์แล้ว
มีพระหฤทัยตั้งมั่น จักเป็นผู้ไม่เกียจคร้าน
ทั้งกลางวันและกลางคืนอยู่ในป่าใหญ่

๙. วิชิตเสนเถรคาถา
ภาษิตของพระวิชิตเสนเถระ
(พระวิชิตเสนเถระได้กล่าว ๕ คาถาไว้ดังนี้ว่า)
[๓๕๕] เราจะคล้องจิตของเจ้าไว้
เหมือนควาญช้างกักช้างไว้ที่ประตูเมือง
เราจะไม่ชักนำเจ้าซึ่งเป็นข่ายแห่งกามเกิดในร่างกาย
ให้เป็นไปในกรรมชั่ว
[๓๕๖] เจ้าถูกเราคล้องไว้จะไปไม่ได้
เหมือนช้างไม่ได้ช่องประตู หมดทางไป
แน่ะจิตผู้ชั่วช้า ก็เจ้าผู้ดื้อด้าน
จะพอใจในกรรมชั่ว เที่ยวไปเสมอ ๆ มิได้
[๓๕๗] ควาญช้างผู้มีกำลังเข้มแข็ง
ย่อมบังคับช้างที่จับได้ใหม่ ยังไม่ได้ฝึก
ทั้งไม่ต้องการ(จะให้ฝึก)ด้วย ให้อยู่ในอำนาจได้ ฉันใด
เราจะบังคับเจ้าให้อยู่ในอำนาจได้ ฉันนั้น

เชิงอรรถ :
๑ ผู้ประพฤติพรหมจรรย์,ผู้ประพฤติธรรมมีเว้นจากเมถุนเป็นต้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๓๙๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๕. ปัญจกนิบาต] ๑๐. ยสทัตตเถรคาถา
[๓๕๘] สารถีมือหนึ่ง เก่งในการฝึกม้าให้ดี
ย่อมฝึกม้าให้รอบรู้ได้ ฉันใด
เราตั้งอยู่ในพละ ๕
จะฝึกเจ้าให้ได้ ฉันนั้น
[๓๕๙] จักใช้สติผูกเจ้าไว้ จะคอยเอาใจใส่ฝึกเจ้า
เจ้าจิตเอ๋ย เจ้าถูกบังคับให้ทำธุระด้วยความเพียรแล้ว
จะไปไกลจากอารมณ์ภายในนี้ไม่ได้

๑๐. ยสทัตตเถรคาถา
ภาษิตของพระยสทัตตเถระ
(พระยสทัตตเถระได้กล่าว ๕ คาถาไว้ดังนี้ว่า)
[๓๖๐] คนปัญญาทราม คิดแต่จะแข่งดี
ถึงฟังคำสอนของพระชินเจ้า
ก็ยังไกลจากพระสัทธรรม เหมือนฟ้ากับดิน
[๓๖๑] คนปัญญาทราม คิดแต่จะแข่งดี
ถึงฟังคำสอนของพระชินเจ้า
ก็ยังเสื่อมจากพระสัทธรรม เหมือนดวงจันทร์ข้างแรม
[๓๖๒] คนปัญญาทราม คิดแต่จะแข่งดี
ถึงฟังคำสอนของพระชินเจ้า
ก็ยังเหี่ยวแห้งในพระสัทธรรม เหมือนปลาในน้ำน้อย
[๓๖๓] คนปัญญาทราม คิดแต่จะแข่งดี
ถึงฟังคำสอนของพระชินเจ้า
ก็ไม่งอกงามในพระสัทธรรม เหมือนพืชเน่าในไร่นา
[๓๖๔] ส่วนผู้ใดมีจิตอันคุ้มครองไว้แล้ว ย่อมฟังคำสอนของพระชินเจ้า
ผู้นั้นทำอาสวะทั้งปวงให้สิ้นไป ทำพระอรหัตให้แจ้งแล้ว
บรรลุนิพพานอันสงบอย่างยิ่ง เป็นผู้ไม่มีอาสวะ ปรินิพพาน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๔๐๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๕. ปัญจกนิบาต] ๑๒. โกสิยเถรคาถา
๑๑. โสณกุฏิกัณณเถรคาถา
ภาษิตของพระโสณกุฏิกัณณเถระ
(พระโสณกุฏิกัณณเถระได้กล่าว ๕ คาถาไว้ดังนี้ว่า)
[๓๖๕] เราได้อุปสมบทแล้ว เป็นผู้หลุดพ้น ไม่มีอาสวะ
ได้เฝ้าพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น
และได้อยู่ร่วมกับพระองค์ในพระวิหาร
[๓๖๖] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่กลางแจ้งหลายราตรีนั่นเทียว
คราวนั้นพระศาสดา ผู้ทรงฉลาดในธรรมเป็นเครื่องอยู่
ได้เสด็จเข้าไปสู่พระวิหาร
[๓๖๗] พระโคดมได้ทรงลาดผ้าสังฆาฏิ
สำเร็จสีหไสยาสน์ ละความขลาดกลัวได้แล้ว
เหมือนราชสีห์นอนอยู่ในถ้ำภูเขา
[๓๖๘] จากนั้น โสณสาวกของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ผู้กล่าววาจาไพเราะ
ได้กล่าวพระสัทธรรมถวาย
เบื้องพระพักตร์พระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐ
[๓๖๙] กำหนดรู้เบญจขันธ์
ทำอริยมรรคมีองค์ ๘ อันเป็นทางตรงให้เจริญ
บรรลุนิพพานอันสงบอย่างยิ่ง
จักเป็นผู้ไม่มีอาสวะ ปรินิพพาน

๑๒. โกสิยเถรคาถา
ภาษิตของพระโกสิยเถระ
(พระโกสิยเถระได้กล่าว ๕ คาถาไว้ดังนี้ว่า)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๔๐๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๕. ปัญจกนิบาต] ๑๒. โกสิยเถรคาถา
[๓๗๐] ผู้ใดเป็นปราชญ์ รู้คำสั่งสอนของครูทั้งหลาย
พึงอยู่ในโอวาทของท่าน
และพึงทำความเคารพให้เกิดในโอวาทของท่าน
ผู้นั้นชื่อว่ามีความภักดี เป็นบัณฑิต
และพึงเป็นผู้วิเศษเพราะรู้ธรรมทั้งหลาย
[๓๗๑] อันตรายที่ร้ายแรงเกิดขึ้นแล้ว
ทำผู้ใดซึ่งพิจารณาอยู่ให้หวั่นไหวไม่ได้
ผู้นั้นชื่อว่ามีกำลัง เป็นบัณฑิต
และพึงเป็นผู้วิเศษเพราะรู้ธรรมทั้งหลาย
[๓๗๒] ผู้ใดตั้งมั่นไม่หวั่นไหว
มีปัญญาลึกซึ้ง เหมือนมหาสมุทร
เห็นอรรถที่ละเอียด
ผู้นั้นชื่อว่าเป็นผู้ไม่ง่อนแง่น เป็นบัณฑิต
และพึงเป็นผู้วิเศษ เพราะรู้ธรรมทั้งหลาย
[๓๗๓] ผู้ใดเป็นพหูสูต ทรงธรรม
และมักประพฤติธรรมสมควรแก่ธรรม
ผู้นั้นชื่อว่าเป็นบัณฑิตเช่นกับครูนั้น
และพึงเป็นผู้วิเศษเพราะรู้ธรรมทั้งหลาย
[๓๗๔] ผู้ใดย่อมรู้ความหมายของพระปริยัติธรรม
ที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้แล้ว
และครั้นรู้แล้วก็ทำตามที่รู้
ผู้นั้นชื่อว่าเป็นผู้อยู่ในอำนาจเหตุผล เป็นบัณฑิต
และพึงเป็นผู้วิเศษเพราะรู้ธรรมทั้งหลาย
ปัญจกนิบาต จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๔๐๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๕. ปัญจกนิบาต] รวมเรื่องพระเถระที่มีในนิบาต
รวมเรื่องพระเถระที่มีในนิบาตนี้ คือ

๑. พระราชทัตตเถระ ๒. พระสุภูตเถระ
๓. พระคิริมานันทเถระ ๔. พระสุมนเถระ
๕. พระวัฑฒเถระ ๖. พระนทีกัสสปเถระ
๗. พระคยากัสสปเถระ ๘. พระวักกลิเถระ
๙. พระวิชิตเถระ ๑๐. พระยสทัตตเถระ
๑๑. พระโสณกุฏิกัณณเถระ ๑๒. พระโกสิยเถระ

ในนิบาตนี้ มีพระเถระ ๑๒ รูป
กล่าวรูปละ ๕ คาถา รวมเป็น ๖๐ คาถา ฉะนี้แล

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๔๐๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๖. ฉักกนิบาต] ๑. อุรุเวลกัสสปเถรคาถา
๖. ฉักกนิบาต
๑. อุรุเวลกัสสปเถรคาถา
ภาษิตของพระอุรุเวลกัสสปเถระ
(พระอุรุเวลกัสสปเถระได้กล่าว ๖ คาถาไว้ดังนี้ว่า)
[๓๗๕] (พระโคดมยังไม่กำราบเราเพียงใด)
เราเห็นปาฏิหาริย์ของพระโคดมผู้เรืองยศแล้ว
ก็ยังเป็นคนลวงโลกด้วยความริษยา และมานะ
ยังไม่นอบน้อม เพียงนั้น
[๓๗๖] พระศาสดาผู้เป็นสารถีฝึกคน
ทรงทราบความดำริของเราแล้ว ก็ทรงปราม
แต่นั้น เราก็ได้มีความสังเวช
ขนพองสยองเกล้าอย่างไม่เคยเป็น
[๓๗๗] คราวนั้น เราละความสำเร็จนิดหน่อยของเรา
ครั้งที่เคยเป็นชฎิล๑
แล้วบวชในพระศาสนาของพระชินเจ้า
[๓๗๘] ครั้งก่อน เรายินดีด้วยการบูชายัญ มุ่งกามสุคติภูมิ
ภายหลัง ถอนราคะ โทสะ และแม้โมหะได้ขาด
[๓๗๙] เรารู้ขันธ์ที่อาศัยอยู่มาก่อน
ได้ชำระทิพยจักษุให้หมดจดแล้ว
มีฤทธิ์ รู้จิตของผู้อื่น
และบรรลุทิพพโสตญาณ
[๓๘๐] อนึ่ง เราออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตเพื่อประโยชน์ใด
ประโยชน์นั้นเป็นที่สิ้นไปแห่งสังโยชน์ทั้งปวง เราบรรลุแล้ว

เชิงอรรถ :
๑ นักบวชประเภทหนึ่ง เกล้าผมมุ่นเป็นมวยสูงขึ้น มักถือลัทธิบูชาไฟ บางครั้งจัดเข้าในพวกฤษี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๔๐๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๖. ฉักกนิบาต]๒. เตกิจฉกานิเถรคาถา
๒. เตกิจฉกานิเถรคาถา
ภาษิตของพระเตกิจฉกานิเถระ
(มารกล่าวว่า)
[๓๘๑] ข้าวเปลือกเขาเก็บไว้ในฉาง
ข้าวสาลีก็ยังอยู่ในลาน
ข้าพเจ้าไม่ได้ก้อนข้าว
บัดนี้ยังจะทำอย่างไร
(พระเตกิจฉกานิเถระกล่าวว่า)
[๓๘๒] ท่านเลื่อมใสแล้ว
จงระลึกถึงพระพุทธเจ้า
ซึ่งมีพระคุณหาประมาณมิได้
จะเป็นผู้มีสรีระที่ปีติถูกต้องแล้วเบิกบานใจเนือง ๆ
[๓๘๓] ท่านเลื่อมใสแล้ว
จงระลึกถึงพระธรรม
ซึ่งมีพระคุณหาประมาณมิได้
จะเป็นผู้มีสรีระที่ปีติถูกต้องแล้ว เบิกบานใจเนือง ๆ
[๓๘๔] ท่านเลื่อมใสแล้ว
จงระลึกถึงพระสงฆ์
ซึ่งมีพระคุณหาประมาณมิได้
จะเป็นผู้มีสรีระที่ปีติถูกต้องแล้ว เบิกบานใจเนือง ๆ
(มารกล่าวว่า)
[๓๘๕] ท่านอยู่กลางแจ้ง
ตลอดราตรีที่เย็น ซึ่งเป็นฤดูหนาวเหล่านี้
ท่านอย่าได้ถูกความหนาวรบกวน เบียดเบียนเลย
นิมนต์เข้าวิหารซึ่งมีบานประตูหน้าต่างมิดชิดเถิด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๔๐๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๖. ฉักกนิบาต] ๓. มหานาคเถรคาถา
(พระเตกิจฉกานิเถระกล่าวว่า)
[๓๘๖] เราจะสัมผัสอัปปมัญญาทั้งสี่๑
และจะมีความสุข อยู่ด้วยอัปปมัญญาเหล่านั้น
เราจะอยู่อย่างไม่หวั่นไหว
ไม่เดือดร้อน เพราะความหนาวอยู่

๓. มหานาคเถรคาถา
ภาษิตของพระมหานาคเถระ
(พระมหานาคเถระได้กล่าว ๖ คาถาไว้ดังนี้ว่า)
[๓๘๗] ผู้ใดไม่มีความเคารพในเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย
ผู้นั้น ย่อมเสื่อมจากพระสัทธรรม
เหมือนปลาในน้ำน้อย
[๓๘๘] ผู้ใดไม่มีความเคารพในเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย
ผู้นั้น ไม่งอกงามในพระสัทธรรม
เหมือนพืชเน่าในไร่นา
[๓๘๙] ผู้ใดไม่มีความเคารพในเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย
ผู้นั้น ย่อมอยู่ห่างไกลจากนิพพาน
ในพระศาสนาของพระศาสดาผู้เป็นพระธรรมราชา
[๓๙๐] ผู้ใดมีความเคารพในเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย
ผู้นั้น ย่อมไม่เสื่อมจากพระสัทธรรม
เหมือนปลาในน้ำมาก

เชิงอรรถ :
๑ อัปปมัญญา ๔ คือ พรหมวิหาร ๔ (๑. เมตตา ความรักใคร่ปรารถนาดีอยากให้เขามีความสุข ๒. กรุณา
ความสงสารคิดช่วยให้พ้นทุกข์ ๓. มุทิตา ความยินดีในเมื่อผู้อื่นมีสุข ๔. อุเบกขา ความมีใจเป็นกลาง ไม่
เอนเอียงเพราะรักเพราะชัง) ที่ชื่อว่าอัปปมัญญาเพราะแผ่ไปโดยไม่มีประมาณในสัตว์ในบุคคล ไม่จำกัดขอบเขต
(ขุ.เถร.อ. ๒/๓๘๖/๙๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๔๐๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๖. ฉักกนิบาต] ๔. กุลลเถรคาถา
[๓๙๑] ผู้ใดมีความเคารพในเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย
ผู้นั้นย่อมงอกงามในพระสัทธรรม
เหมือนพืชดีในไร่นา
[๓๙๒] ผู้ใดมีความเคารพในเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย
ผู้นั้นย่อมอยู่ใกล้นิพพาน
ในพระศาสนาของพระศาสดาผู้เป็นพระธรรมราชา

๔. กุลลเถรคาถา
ภาษิตของพระกุลลเถระ
(พระกุลลเถระได้กล่าว ๖ คาถาไว้ดังนี้ว่า)
[๓๙๓] กุลลภิกษุ ไปป่าช้าผีดิบ
ได้เห็นซากศพหญิงที่ถูกทอดทิ้งไว้ในป่าช้า
ทั้งถูกหมู่หนอนบ่อนกัดกิน
[๓๙๔] กุลละเอ๋ย เจ้าจงพิจารณาดูร่างกายที่กระสับกระส่าย
ไม่สะอาด เปื่อยเน่า หลั่งของไม่สะอาดเข้าออก
ที่พวกคนเขลาชื่นชมกันนัก
[๓๙๕] เราใช้แว่นคือพระธรรมส่องดูร่างกายนี้
ซึ่งว่างเปล่าทั้งภายในและภายนอก
เพื่อบรรลุญาณทัสสนะ๑
[๓๙๖] ร่างกายของเรานี้ กับซากศพนั้น ก็เหมือนกัน
ซากศพนั่นกับร่างกายของเรานี้ ก็เหมือนกัน
ร่างกายนี้ ท่อนล่าง ท่อนบน ก็เหมือนกัน
ท่อนบน ท่อนล่างก็เหมือนกัน

เชิงอรรถ :
๑ ปัญญาหยั่งรู้ด้วยการเห็นธรรม คือ บรรลุธรรมจักษุกล่าวคือมรรคญาณ (ขุ.เถร.อ. ๒/๓๙๕/๑๐๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๔๐๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๖. ฉักกนิบาต] ๕. มาลุงกยปุตตเถรคาถา
[๓๙๗] ร่างกายกลางวัน กลางคืน ก็เหมือนกัน
กลางคืน กลางวัน ก็เหมือนกัน
ในกาลก่อนกับภายหลัง ก็เหมือนกัน
ภายหลัง กับกาลก่อนก็เหมือนกัน
[๓๙๘] อิสรชนผู้เพียบพร้อมด้วยกามสุข
ที่เขาบำเรอด้วยดนตรีเครื่องห้า ย่อมไม่ยินดีเช่นนั้น
เหมือนกับเราผู้มีจิตแน่วแน่
พิจารณาเห็นธรรมแจ่มแจ้งโดยชอบ

๕. มาลุงกยปุตตเถรคาถา
ภาษิตของพระมาลุงกยบุตรเถระ
(พระมาลุงกยบุตรเถระแสดงธรรมด้วย ๖ คาถาไว้ดังนี้ว่า)
[๓๙๙] ตัณหา ย่อมเจริญแก่มนุษย์ ผู้ประพฤติประมาท
เหมือนเถาย่านทรายเจริญอยู่ในป่า
เขาย่อมเร่ร่อนไปมา
เหมือนวานรที่ต้องการผลไม้ เที่ยวเร่ร่อนไปในป่า
[๔๐๐] ตัณหาที่เลวทรามซ่านไปในโลกนี้
ย่อมครอบงำบุคคลใดไว้ได้
ความโศกย่อมเจริญแก่บุคคลนั้น
เหมือนหญ้าคมบางที่ถูกฝนตกรดแล้วเจริญงอกงามขึ้น
[๔๐๑] ส่วนบุคคลใด ครอบงำตัณหาที่เลวทรามนั้น
ซึ่งล่วงได้ยาก ในโลกไว้ได้
ความโศกย่อมตกไปจากบุคคลนั้น
เหมือนหยาดน้ำกลิ้งตกไปจากใบบัว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๔๐๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๖. ฉักกนิบาต] ๖. สัปปทาสเถรคาถา
[๔๐๒] เพราะเหตุนั้น เราขอเตือนท่านทั้งหลาย
ขอท่านทั้งหลายที่ประชุมกันในที่นี้ จงมีความเจริญ
ขอท่านทั้งหลายจงขุดรากเหง้าแห่งตัณหา
เหมือนผู้ต้องการหญ้าแฝกขุดหญ้าแฝกอยู่
มารอย่าได้ระรานท่านทั้งหลายอยู่ร่ำไป
เหมือนกระแสน้ำระรานไม้อ้อ
[๔๐๓] ท่านทั้งหลาย จงทำตามพระพุทธพจน์
ขณะอย่าได้ล่วงเลยท่านทั้งหลายไปเสีย
เพราะเหล่าชนที่ปล่อยให้ขณะล่วงเลยไป
แออัดกันในนรก เศร้าโศกอยู่
[๔๐๔] ความประมาทคือความเลินเล่อ จัดเป็นธุลี
ธุลีเกิดจากความประมาท
บุคคลพึงถอนลูกศรที่เสียบอยู่ในหทัยของตน
ด้วยความไม่ประมาท และด้วยวิชชาเถิด

๖. สัปปทาสเถรคาถา
ภาษิตของพระสัปปาทเถระ
(พระสัปปทาสเถระได้กล่าว ๖ คาถาไว้ดังนี้ว่า)
[๔๐๕] ตั้งแต่เราบวชมาได้ ๒๕ พรรษา
ไม่ได้ความสงบใจ แม้เพียงดีดนิ้วมือ
[๔๐๖] เราไม่ได้เอกัคคตาจิต๑ ถูกกามราคะรบกวน
ประคองแขนคร่ำครวญ
ไม่ยอมออกจากวิหารโดยคิดว่า

เชิงอรรถ :
๑ จิตมีอารมณ์เป็นหนึ่ง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๔๐๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๖. ฉักกนิบาต] ๗. กาติยานเถรคาถา
[๔๐๗] ชีวิตจะมีประโยชน์อะไรสำหรับเรา
เราจะนำศัสตรามา คนอย่างเรา จะบอกลาสิกขาทำไมเล่า
ควรตายเสียเถิด
[๔๐๘] คราวนั้น เราได้ฉวยมีดโกนขึ้นอยู่บนเตียงน้อย
ได้จดมีดโกน เพื่อจะเชือดหลอดคอของตน
[๔๐๙] แต่นั้น โยนิโสมนสิการก็เกิดขึ้นแก่เรา
โทษก็ปรากฏ ความเบื่อหน่ายก็เกิดขึ้นพร้อมกัน
[๔๑๐] ต่อแต่นั้น จิตของเราก็หลุดพ้น
ท่านจงมองเห็นธรรมว่าเป็นธรรมดีงาม
เราบรรลุวิชชา ๓
ได้ทำตามคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าแล้ว

๗. กาติยานเถรคาถา
ภาษิตของพระกาติยานเถระ
(พระกาติยานเถระได้กล่าว ๖ คาถาไว้อย่างนี้)
[๔๑๑] ลุกขึ้นนั่งเถิด กาติยานะ อย่ามัวนอนหลับอยู่เลย
จงตื่นเถิด อย่าให้มัจจุราช ซึ่งเป็นพวกพ้องของความประมาท
ชนะเธอผู้เกียจคร้านด้วยอุบายที่โกงได้เลย
[๔๑๒] ชาติและชราครอบงำเธอ
เหมือนกำลังคลื่นมหาสมุทร
เธอนั้นจงทำที่พึ่งอย่างดีสำหรับตนเสีย
เพราะเธอไม่มีที่พึ่งอย่างอื่น
ทั้งในโลกนี้และโลกหน้า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๔๑๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๖. ฉักกนิบาต] ๘. มิคชาลเถรคาถา
[๔๑๓] พระศาสดาชี้บอกทางนี้
ซึ่งล่วงพ้นกิเลสเครื่องข้อง
และจากภัยคือชาติและชรา
เธอจงอย่าได้ประมาทตลอดยามต้นและยามปลาย
หมั่นกระทำความเพียรให้มั่นเถิด
[๔๑๔] จงปลดเปลื้องเครื่องผูกทั้งหลายที่เป็นของเดิมเสีย
ใช้สอยผ้าสังฆาฏิ ปลงผมด้วยมีดโกน
และฉันอาหารที่เที่ยวภิกษาจารได้มา
อย่าเห็นแก่การเล่นสนุกสนาน
อย่าเห็นแก่การหลับนอน จงหมั่นเข้าฌานเถิด กาติยานะ
[๔๑๕] เธอจงเพ่งฌาน ชนะกิเลส
เธอเป็นผู้ฉลาดในทางที่ปลอดโปร่งจากโยคะ
จะถึงความบริสุทธิ์ซึ่งไม่มีความบริสุทธิ์อื่นใดยิ่งกว่าแล้วปรินิพพาน
เหมือนไฟลุกโชนที่เขาดับด้วยน้ำ
[๔๑๖] ประทีปที่มีเปลวไฟน้อย ย่อมดับไปเพราะลม
เหมือนเถาวัลย์หลุดร่วงเพราะลม ฉันใด
เธอผู้มีโคตรเหมือนพระอินทร์ แม้เธอก็ฉันนั้น
อย่าถือมั่น จงกำจัดมารเสีย
จงปราศจากความกำหนัดพอใจในเวทนาทั้งหลาย
จงเป็นผู้สงบเย็น รอคอยกาลปรินิพพานในอัตภาพนี้แล

๘. มิคชาลเถรคาถา
ภาษิตของพระมิคชาลเถระ
(พระมิคชาลเถระได้กล่าว ๖ คาถาไว้ดังนี้ว่า)
[๔๑๗] พระพุทธเจ้าผู้เป็นเผ่าพันธ์แห่งพระอาทิตย์ย์
ทรงมีพระจักษุ ได้ทรงแสดงไว้ดีแล้ว ซึ่งพระธรรม
ที่ล่วงสังโยชน์ได้ทั้งหมด
ทำวัฏฏะให้พินาศไปสิ้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๔๑๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๖. ฉักกนิบาต] ๙. เชนตปุโรหิตปุตตเถรคาถา
[๔๑๘] เป็นธรรมที่นำเหล่าสัตว์ออกจากสงสาร
เป็นเครื่องข้ามพ้นสงสารได้
ทำรากเหง้าแห่งตัณหาให้เหือดแห้งไป
ทำลายกรรมกิเลสซึ่งเป็นที่ตั้งแห่งความอาฆาตที่มีรากเป็นพิษ
ให้ถึงความดับ
[๔๑๙] พระธรรมซึ่งเป็นเครื่องกำจัดกรรมให้สิ้นสุด
อันพระพุทธเจ้าแสดงแล้ว
เพื่อทำลายรากเหง้าอวิชชา ให้ตกไปด้วยวชิรญาณ
เมื่อการยึดถือวิญญาณทั้งหลายปรากฏขึ้น
[๔๒๐] เป็นธรรมให้รู้เวทนาทั้งหลายได้แจ่มแจ้ง
ปลดเปลื้องอุปาทาน
พิจารณาเห็นภพดุจหลุมถ่านเพลิงด้วยญาณ
[๔๒๑] เป็นธรรมหยั่งรู้ได้ยาก ลึกซึ้ง
ห้ามความแก่และความตายได้
เป็นทางประเสริฐประกอบด้วยองค์ ๘ สงบทุกข์ เกษม
[๔๒๒] เป็นธรรมเครื่องเห็นแสงสว่างตามความเป็นจริง
ถึงความปลอดโปร่งอย่างมาก สงบ มีความเจริญเป็นที่สุด
เพราะทรงทราบกรรมว่าเป็นกรรม และวิบากโดยความเป็นวิบาก
แห่งธรรมที่อิงอาศัยกันและกันเกิดขึ้น

๙. เชนตปุโรหิตปุตตเถรคาถา
ภาษิตของพระเชนตปุโรหิตบุตรเถระ
(พระเชนตปุโรหิตบุตรเถระได้กล่าว ๖ คาถาไว้ดังนี้ว่า)
[๔๒๓] เราเป็นผู้มัวเมาด้วยความเมาเพราะชาติสกุล โภคะ อิสริยยศ
ทรวดทรง ผิวพรรณและรูปร่าง
เราได้ประพฤติมัวเมาด้วยความเมาอย่างอื่นอีก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๔๑๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๖. ฉักกนิบาต] ๑๐. สุมนเถรคาถา
[๔๒๔] เราเป็นคนโง่ ถูกอติมานะกำจัด มีใจกระด้างจัด ชูมานะดุจธง
จึงไม่สำคัญใคร ๆ ว่า เสมอกับตนและยิ่งกว่าตน
[๔๒๕] กระด้างเพราะมานะ ไม่เอื้อเฟื้อ จึงไม่ยอมกราบไหว้ใคร ๆ
แม้เป็นมารดา บิดา และแม้ผู้อื่นที่ควรเคารพ
[๔๒๖] เราได้พบพระศาสดาผู้ทรงแนะนำ
เลิศประเสริฐสูงสุดกว่าสารถีทั้งหลาย
ทรงรุ่งเรืองอยู่ดุจพระอาทิตย์ มีภิกษุสงฆ์แวดล้อม
[๔๒๗] จึงมีใจเลื่อมใส ละทิ้งมานะและความมัวเมาแล้ว
กราบไหว้พระศาสดาผู้สูงสุดกว่าสัตว์ทุกหมู่เหล่าด้วยเศียรเกล้า
[๔๒๘] ความถือตัวว่าดีกว่าเขา และความถือตัวว่าเลวกว่าเขา
เราละถอนได้เด็ดขาดแล้ว
อัสมิมานะเราก็ตัดขาดแล้ว
มานะทุกอย่างเราก็ทำลายเสียแล้ว

๑๐. สุมนเถรคาถา
ภาษิตของพระสุมนเถระ
(พระสุมนเถระได้กล่าว ๖ คาถาไว้ดังนี้ว่า)
[๔๒๙] เมื่อครั้งเราบวชใหม่ มีอายุได้ ๗ ขวบ โดยกำเนิด
ได้ข่มพญานาค ผู้มีฤทธิ์มากด้วยฤทธิ์
[๔๓๐] ได้ตักน้ำจากสระใหญ่อโนดาดมาถวายพระอุปัชฌาย์
พระศาสดาได้ทอดพระเนตรเห็นเราแล้ว ตรัสดังนี้ว่า
[๔๓๑] สารีบุตร เธอจงดูเด็กน้อยนี้ ผู้มีใจตั้งมั่นดีภายใน
กำลังถือหม้อน้ำมานี้
[๔๓๒] สามเณรของพระอนุรุทธะ มีวัตรน่าเลื่อมใส
มีอิริยาบถงดงาม ทั้งแกล้วกล้าด้วยฤทธิ์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๔๑๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๖. ฉักกนิบาต] ๑๑. นหาตกมุนีเถรคาถา
[๔๓๓] อันพระอนุรุทธะผู้เป็นบุรุษอาชาไนย ฝึกให้เป็นบุรุษอาชาไนย
ผู้เป็นคนดีฝึกให้เป็นคนดี
ผู้สำเร็จกิจแล้ว แนะนำสั่งสอนแล้ว
[๔๓๔] สุมนสามเณรนั้น ได้ถึงความสงบอย่างยิ่ง
ทำให้แจ้งซึ่งธรรมอันไม่กำเริบพระอรหัตตผล
แล้วหวังว่าใคร ๆ อย่าพึงรู้จักเรา

๑๑. นหาตกมุนีเถรคาถา
ภาษิตของพระนหาตกมุนีเถระ
(พระผู้มีพระภาคได้ตรัสถามว่า)
[๔๓๕] เธอเมื่ออยู่ในป่าใหญ่ เป็นสถานที่ลำบากหาปัจจัยได้ยาก
ถูกโรคลมรบกวน จักทำอย่างไรละ ภิกษุ
พระนหาตกมุนีเถระ(ได้กราบทูลว่า)
[๔๓๖] ข้าพระองค์จะแผ่ปีติสุขอันไพบูลย์ไปทั่วร่างกาย
ครอบงำแม้ปัจจัยที่เศร้าหมอง อยู่ในป่าใหญ่
[๔๓๗] จะเจริญสติปัฏฐาน ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕
และโพชฌงค์ ๗ อยู่ในป่าใหญ่
[๔๓๘] พิจารณาเนือง ๆ ถึงจิตที่บริสุทธิ์
ซึ่งหลุดพ้นจากกิเลส ไม่ขุ่นมัว จะไม่มีอาสวะอยู่
[๔๓๙] อาสวะทั้งหมดของข้าพระองค์ที่มีอยู่ทั้งภายในและภายนอก
ข้าพระองค์ถอนขึ้นได้ไม่เหลือเลย และจะไม่เกิดขึ้นอีก
[๔๔๐] ขันธ์ ๕ ข้าพระองค์กำหนดรู้แล้ว
ขันธ์เหล่านั้นดำรงอยู่อย่างถูกตัดรากถอนโคนแล้ว
ข้าพระองค์ได้บรรลุความสิ้นทุกข์แล้ว บัดนี้ ไม่มีการเกิดอีก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๔๑๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๖. ฉักกนิบาต] ๑๓. สิริมัณฑเถรคาถา
๑๒. พรหมทัตตเถรคาถา
ภาษิตของพระพรหมทัตตเถระ
(พระพรหมทัตตเถระได้กล่าว ๖ คาถาไว้ดังนี้ว่า)
[๔๔๑] สำหรับผู้ที่ไม่โกรธ ฝึกฝนตนมาแล้ว
เป็นอยู่สม่ำเสมอ หลุดพ้นเพราะรู้โดยชอบ
สงบคงที่ ความโกรธจะมีแต่ที่ไหน
[๔๔๒] ผู้ใดโกรธตอบผู้ที่โกรธ ผู้นั้นเลวกว่าผู้ที่โกรธนั้นแหละ
เพราะความที่โกรธตอบนั้น ผู้ที่ไม่โกรธตอบผู้ที่โกรธ
ชื่อว่าย่อมชนะสงคราม ที่ชนะได้ยาก
[๔๔๓] ผู้ที่รู้ว่าผู้อื่นโกรธเคืองแล้วมีสติสงบอยู่ได้
ชื่อว่าประพฤติประโยชน์ตนเองและผู้อื่นทั้งสองฝ่าย
[๔๔๔] เหล่าชนที่ไม่เข้าใจธรรม
ย่อมสำคัญบุคคลผู้อดกลั้นต่อตนและผู้อื่นทั้งสอง
นั้นว่าเป็นคนโง่เขลา
[๔๔๕] ถ้าความโกรธพึงเกิดขึ้นแก่ท่าน
ท่านจงคำนึงถึงพระโอวาทที่อุปมาด้วยเลื่อย
ถ้าความอยากในรสพึงเกิดขึ้นแก่ท่าน
ท่านจงระลึกถึงพระโอวาทที่อุปมาด้วยเนื้อบุตร
[๔๔๖] ถ้าจิตของท่านแล่นพล่านไปทั้งในกามและภพ
ท่านจงรีบข่มไว้ด้วยสติเหมือนคนห้ามปรามปศุสัตว์ดื้อที่กินข้าวกล้า

๑๓. สิริมัณฑเถรคาถา
ภาษิตของท่านพระสิริมัณฑเถระ
(พระสิริมัณฑเถระได้กล่าว ๖ คาถาไว้ดังนี้ว่า)
[๔๔๗] ทุจริตที่ปิดบังไว้ย่อมรั่วรด ที่เปิดเผยย่อมไม่รั่วรด
เพราะฉะนั้น ควรเปิดเผยทุจริตที่ปิดไว้นั้นเสีย
ทุจริตที่เปิดเผยนั้น จะไม่รั่วรดได้ด้วยอาการอย่างนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๔๑๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๖. ฉักกนิบาต] ๑๔. สัพพกามีเถรคาถา
[๔๔๘] สัตว์โลกถูกมัจจุราชคอยขจัด ถูกชรารุมล้อม
ถูกลูกศรคือตัณหาคอยทิ่มแทง
ทั้งถูกความอยากแผดเผาตลอดกาล
[๔๔๙] สัตว์โลก ถูกมัจจุราชคอยขจัด และถูกชรารุมล้อม
ไม่มีที่พึ่ง ถูกเบียดเบียนอยู่เป็นนิตย์
เหมือนโจรถูกลงอาชญา
[๔๕๐] ชรา พยาธิ มรณะ ทั้ง ๓ เปรียบเหมือนกองไฟ
ย่อมมาย่ำยีสัตว์โลกนี้
สัตว์โลกนี้ ไม่มีกำลังที่จะต่อสู้
ทั้งไม่มีความเร็วที่จะหนีไป
[๔๕๑] บุคคลควรทำวันคืนไม่ให้ไร้ประโยน์
ด้วยการใส่ใจถึงวิปัสสนาไม่ว่าน้อยหรือมาก
ชีวิตของผู้ที่ผ่านวันคืนไปเท่าใด
ก็เป็นอันพร่องไปเท่านั้น
[๔๕๒] วันคืนสุดท้าย ย่อมคืบคลานเข้าไปใกล้บุคคล
ทุกอิริยาบถ คือ ยืน เดิน นั่ง หรือนอน
เพราะฉะนั้น ท่านไม่พึงประมาทกาลเวลา

๑๔. สัพพกามีเถรคาถา
ภาษิตของพระสัพพกามีเถระ
(พระสัพพกามีเถระได้กล่าว ๖ คาถาไว้ดังนี้ว่า)
[๔๕๓] สัตว์สองเท้านี้ ไม่สะอาด มีกลิ่นเหม็น
เต็มไปด้วยซากศพต่าง ๆ
หลั่งของไม่สะอาดออกทั่วทั้งร่างกาย
ต้องบริหารอยู่ประจำ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๔๑๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๖. ฉักกนิบาต] รวมเรื่องพระเถระที่มีในนิบาต
[๔๕๔] กามคุณ ๕ ย่อมลวงเบียดเบียนปุถุชน
เหมือนนายพรานแอบใช้เครื่องดัก ดักเนื้อ
เหมือนชาวประมงใช้เบ็ดตกปลา
(และ)เหมือนพรานเนื้อใช้ตังดักลิง
[๔๕๕] กามคุณ ๕ เหล่านั้น คือ รูป เสียง กลิ่น รส
และโผฏฐัพพะที่น่าชอบใจ ย่อมปรากฏในเรือนร่างหญิง
[๔๕๖] เหล่าปุถุชนที่มีจิตกำหนัด ส้องเสพหญิงเหล่านั้นอยู่
ย่อมขยายสังสารวัฏที่น่ากลัว ย่อมก่อภพใหม่ไม่มีสิ้นสุด
[๔๕๗] ส่วนผู้ใดเว้นขาดสตรีเหล่านั้น
ผู้นั้นชื่อว่ามีสติ ก้าวล่วงตัณหาที่ซ่านไปในโลกนี้ได้ด้วยดี
เหมือนคนสลัดหัวงูจากเท้า
[๔๕๘] เราเห็นโทษในกามทั้งหลาย
เห็นการออกบวชโดยความเกษม
พรากจากกามเสียได้ทั้งหมดแล้วได้ถึงความสิ้นอาสวะ
ฉักกนิบาต จบ

รวมเรื่องพระเถระที่มีในนิบาตนี้ คือ

๑. พระอุรุเวลกัสสปเถระ ๒. พระเตกิจฉกานิเถระ
๓. พระมหานาคเถระ ๔. พระกุลลเถระ
๕. พระมาลุงกยบุตรเถระ ๖. พระสัปปทาสเถระ
๗. พระกาติยานเถระ ๘. พระมิคชาลเถระ
๙. พระเชนตปุโรหิตบุตรเถระ ๑๐. พระสุมนเถระ
๑๑. พระนหาตกมุนีเถระ ๑๒. พระพรหมทัตตเถระ
๑๓. พระสิริมัณฑเถระ ๑๔. พระสัพพกามีเถระ

ในนิบาตนี้ มี ๘๔ คาถา และมีพระเถระ ๑๔ รูป ฉะนี้แล

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๔๑๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๗. สัตตกนิบาต] ๑. สุนทรสมุททเถรคาถา
๗. สัตตกนิบาต
๑. สุนทรสมุททเถรคาถา
ภาษิตของพระสุนทรสมุทรเถระ
(พระสุนทรสมุทรเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ว่า)
[๔๕๙] หญิงแพศยาตกแต่งร่างกาย นุ่งผ้าสวยงาม
ทัดทรงดอกไม้ ลูบไล้ของหอม
มีเท้าย้อมด้วยสีแดงได้สวมเขียงเท้า ยืนอยู่
[๔๖๐] นางได้ถอดเขียงเท้า ประนมมือไว้ข้างหน้า
พูดเล้าโลมเราด้วยถ้อยคำที่ไพเราะอ่อนหวานว่า
[๔๖๑] ท่านเป็นนักบวชที่ยังหนุ่มแน่น โปรดเชื่อฟังดิฉัน
จงบริโภคกามที่เป็นของมนุษย์
ดิฉันจะมอบทรัพย์สมบัติให้ท่าน
ดิฉันขอให้สัจจะแก่ท่าน
ถ้าท่านไม่เชื่อ จะให้ดิฉันนำไฟมาทำการสบถต่อท่านก็ได้
[๔๖๒] เมื่อคราวที่เราทั้งสองแก่เฒ่าจนถือไม้เท้าจึงค่อยบวช
เมื่อเป็นเช่นนี้นับว่าได้ชัยชนะในโลกทั้ง ๒
[๔๖๓] เราเพราะเห็นหญิงแพศยาตกแต่งร่างกาย นุ่งผ้าสวยงาม
ประนมมืออ้อนวอน เหมือนบ่วงมัจจุราชที่วางดักไว้
[๔๖๔] แต่นั้น โยนิโสมนสิการก็เกิดขึ้นแก่เรา
โทษก็ปรากฏ ความเบื่อหน่ายก็เกิดขึ้นพร้อม
[๔๖๕] ต่อจากนั้น จิตของเราก็หลุดพ้น
ท่านจงเห็นธรรมว่าเป็นธรรมดีงาม
เราบรรลุวิชชา ๓ ได้ทำตามคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าแล้ว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๔๑๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๗. สัตตกนิบาต] ๒. ลกุณฏกภัททิยเถรคาถา
๒. ลกุณฏกภัททิยเถรคาถา
ภาษิตของพระลกุณฑกภัททิยเถระ
(พระลกุณฏกภัททิยเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ว่า)
[๔๖๖] พระภัททิยภิกษุอยู่ในอัมพาฏการามอันสวยงาม
ใกล้ชัฏแห่งป่า ได้ถอนตัณหาพร้อมทั้งรากแล้ว
เป็นผู้งามด้วยคุณมีศีลเป็นต้น
เข้าฌานอยู่ในชัฏแห่งป่า
[๔๖๗] ผู้มักบริโภคกามบางพวกยินดีด้วยเสียงตะโพน
เสียงพิณและเสียงบัณเฑาะว์
ส่วนเรายินดีในคำสอนของพระพุทธเจ้าอยู่ที่โคนไม้
[๔๖๘] หากพระพุทธเจ้าพึงประทานพรแก่เรา
และหากเราพึงได้รับพรนั้น
เราจะพึงรับกายคตาสติที่ชาวโลกทั้งมวลควรเจริญอยู่ประจำ
[๔๖๙] เหล่าชนที่ดูหมิ่นรูปร่างเรา แต่ชมเสียงเรา
ชื่อว่ายังตกอยู่ภายใต้อำนาจฉันทราคะ ย่อมไม่รู้จักเรา
[๔๗๐] คนโง่เขลาถูกกิเลสปิดกั้นไว้โดยรอบ
ไม่รู้ทั้งภายใน ไม่เห็นทั้งภายนอก
ย่อมถูกชักจูงไปตามกระแสเสียง
[๔๗๑] แม้คนที่ไม่รู้ภายใน เห็นชัดแต่ภายนอก
ชื่อว่าเห็นแต่ผลภายนอก
ย่อมถูกชักจูงไปตามกระแสเสียง
[๔๗๒] ส่วนคนที่มีความเห็นไม่ถูกปิดกั้น
รู้ชัดทั้งภายใน เห็นแจ้งทั้งภายนอก
ย่อมไม่ถูกชักจูงไปตามกระแสเสียง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๔๑๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๗. สัตตกนิบาต] ๓. ภัททเถรคาถา
๓. ภัททเถรคาถา
ภาษิตของพระภัททเถระ
(พระภัททเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ว่า)
[๔๗๓] เราเป็นบุตรคนเดียว จึงได้เป็นที่รักของมารดาบิดา
เพราะเหตุว่ามารดาบิดาได้เรามาด้วยการประพฤติวัตร
และการบวงสรวงมากมาย
[๔๗๔] มารดาบิดาทั้งสองนั้นแหละมุ่งหวังความเจริญ
แสวงหาประโยชน์เพื่ออนุเคราะห์เรา
จึงได้น้อมนำเราไปถวายพระพุทธเจ้าด้วยกราบทูลว่า
[๔๗๕] บุตรชายคนนี้ข้าพระองค์ทั้งสองได้มาโดยยาก
เป็นสุขุมาลชาติ ได้รับแต่ความสุข
ข้าแต่พระองค์ผู้ทรงเป็นที่พึ่งของสัตว์โลก
ข้าพระองค์ทั้งสอง ขอถวายบุตรสุดที่รักคนนี้
ไว้เป็นคนรับใช้พระองค์ผู้ทรงชนะมาร
[๔๗๖] พระศาสดาทรงรับเราแล้ว ได้รับสั่งกับพระอานนท์เถระว่า
จงบวชให้เด็กนี้ เด็กนี้จักเป็นผู้รอบรู้ได้รวดเร็ว
[๔๗๗] พระศาสดาผู้ทรงชนะมาร ครั้นทรงสั่งให้บวชให้เราแล้ว
ก็ได้เสด็จเข้าพระคันธกุฎี เมื่อพระอาทิตย์ยังไม่ทันอัสดงคต
พอเริ่มวิปัสสนานั้น จิตของเราก็ได้หลุดพ้นแล้ว
[๔๗๘] แต่นั้น พระศาสดาทรงออกจากผลสมาบัตินั้นแล้ว
เสด็จออกจากที่เร้น ทรงรับสั่งกับเราว่า
ภัททะ เธอจงเป็นภิกษุมาเถิด
พระวาจานั้นได้เป็นการอุปสมบทของเรา
[๔๗๙] เราเกิดมาได้ ๗ ปี ก็ได้อุปสมบท ได้บรรลุวิชชา ๓
น่าอัศจรรย์จริง ความที่ธรรมเป็นธรรมดี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๔๒๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๗. สัตตกนิบาต] ๔. โสปากเถรคาถา
๔. โสปากเถรคาถา
ภาษิตของพระโสปากเถระ
(พระโสปากเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ว่า)
[๔๘๐] เราได้เห็นพระพุทธเจ้าผู้สูงสุดกว่านรชน
เสด็จจงกรมที่ร่มเงาแห่งพระคันธกุฎี
ได้เข้าไปเฝ้าพระองค์ซึ่งเป็นบุรุษผู้สูงสุด แล้วถวายบังคม ณ ที่นั้น
[๔๘๑] ได้ห่มจีวรเฉวียงบ่า ประนมมือ เดินจงกรมตามพระองค์
ผู้ซึ่งปราศจากกิเลสดุจธุลีสูงสุดกว่าสรรพสัตว์
[๔๘๒] ลำดับนั้น พระองค์ได้ตรัสถามปัญหากับเรา
เราเชี่ยวชาญรอบรู้ปัญหาทั้งหลาย
จึงไม่สะทกสะท้านและหวาดกลัว
ได้พยากรณ์ถวายพระศาสดา
[๔๘๓] เมื่อเราแก้ปัญหาถวายเสร็จแล้ว
พระตถาคตทรงอนุโมทนาแล้ว
ทรงเหลียวดูภิกษุสงฆ์ได้ตรัสเนื้อความนี้ว่า
[๔๘๔] เป็นลาภของชาวอังคะและชาวมคธ
ที่โสปากภิกษุนี้บริโภค จีวร บิณฑบาต
เสนาสนะ และคิลานปัจจัย
และได้ตรัสถึงการต้อนรับและสามีจิกรรม
ของชาวอังคะและชาวมคธเหล่านั้น ว่าเป็นลาภของพวกเขา
[๔๘๕] โสปากะ ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป เธอจงมาพบเรา
และการแก้ปัญหานี้แหละ จงเป็นการอุปสมบทของเธอ
[๔๘๖] เราเกิดมามีอายุได้ ๗ ขวบ ก็ได้อุปสมบทแล้ว
ยังทรงร่างกายซึ่งมีในภพสุดท้ายอยู่
น่าอัศจรรย์จริง ความที่ธรรมเป็นธรรมดี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๔๒๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๗. สัตตกนิบาต] ๕. สรภังคเถรคาถา
๕. สรภังคเถรคาถา
ภาษิตของพระสรภังคเถระ
(พระสรภังคเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ว่า)
[๔๘๗] เราได้ใช้มือหักต้นแขม ทำกระท่อมอยู่อาศัย
เพราะเหตุนั้น เราจึงได้มีชื่อโดยสมมติว่าสรภังคะ
[๔๘๘] วันนี้ เราไม่สมควรใช้มือทั้งสองหักต้นแขมอีก
เพราะพระสมณโคดมผู้เรืองยศ
ทรงบัญญัติสิกขาบททั้งหลายสำหรับพวกเราแล้ว
[๔๘๙] เมื่อก่อน เราผู้ชื่อว่าสรภังคะไม่เคยได้เห็นโรค๑ ครบบริบูรณ์
โรคนี้นั้นเราผู้ทำตามพระดำรัสของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ผู้เป็นเทพยิ่งกว่าเทพได้เห็นแล้ว
[๔๙๐] พระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระนามว่า วิปัสสี สิขี
เวสสภู กกุสันธะ โกนาคมนะ และกัสสปะ
ได้ทรงดำเนินไปโดยทางใดแล
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าโคดมก็ทรงดำเนินโดยทางนั้น
[๔๙๑] พระพุทธเจ้าทั้ง ๗ พระองค์ปราศจากตัณหา
ไม่ทรงยึดมั่น หยั่งถึงความดับ เสด็จอุบัติโดยธรรมกาย ผู้คงที่
ได้ทรงแสดงธรรมนี้ คือ
[๔๙๒] อริยสัจ ๔ อันได้แก่ ทุกข์ เหตุให้เกิดทุกข์
ความดับทุกข์ และทางที่ดำเนินไปให้ถึงความสิ้นทุกข์
ด้วยทรงอนุเคราะห์เหล่าสัตว์

เชิงอรรถ :
๑ อุปาทานขันธ์ ๕ (รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ) ชื่อว่า โรค เพราะอรรถว่าเสียดแทงด้วย
อำนาจแห่งการเป็นทุกขเวทนาเป็นต้น (ขุ.เถร.อ. ๒/๔๘๙/๑๕๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๔๒๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๗. สัตตกนิบาต] รวมเรื่องพระเถระที่มีในนิบาต
[๔๙๓] ทุกข์อันไม่มีที่สุดในสังสารวัฏ
ย่อมเป็นไปไม่ได้ในนิโรธที่ทรงแสดงไว้
เพราะกายนี้ดับไป และเพราะชีวิตนี้สิ้นไป ภพใหม่ไม่มีอีก
เราเป็นผู้หลุดพ้นดีแล้วจากสรรพกิเลสและภพทั้งปวง
สัตตกนิบาต จบ

รวมเรื่องพระเถระที่มีในนิบาตนี้ คือ

๑. พระสุนทรสมุทรเถระ ๒. พระลกุณฏกภัททิยเถระ
๓. พระภัททเถระ ๔. พระโสปากเถระ
๕. พระสรภังคเถระ

ในสัตตกนิบาตนี้ มีพระเถระ ๕ รูป
และมี ๓๕ คาถา ฉะนี้แล

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๔๒๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๘. อัฏฐกนิบาต] ๑. มหากัจจายนเถรคาถา
๘. อัฏฐกนิบาต
๑. มหากัจจายนเถรคาถา
ภาษิตของพระมหากัจจายนเถระ
(พระมหากัจจายนเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ว่า)
[๔๙๔] ภิกษุไม่พึงทำงานก่อสร้างให้มาก๑
พึงเว้นห่างหมู่ชน
ไม่พึงขวนขวายเพื่อประจบสกุล
ภิกษุผู้ขวนขวายนั้นชื่อว่าติดในรส
ย่อมละทิ้งประโยชน์ที่จะนำความสุขมาให้
[๔๙๕] ด้วยว่านักปราชญ์มีพระพุทธเจ้าเป็นต้น
ได้กล่าวการไหว้และการบูชาในตระกูลทั้งหลายว่า
เป็นเปือกตม เป็นลูกศรอันแหลมคมซึ่งถอนขึ้นได้ยาก
เป็นสักการะที่คนชั่วละได้ยาก
[๔๙๖] ภิกษุไม่พึงแนะนำให้คนอื่นกระทำกรรมชั่ว
และไม่พึงส้องเสพกรรมชั่วนั้นเสียเอง
เพราะสัตว์ทั้งหลายมีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์
[๔๙๗] คนเราจะเป็นโจรเพราะคำพูดของผู้อื่นก็หาไม่
จะเป็นมุนีเพราะคำพูดของผู้อื่นก็หาไม่
และบุคคลรู้จักตนเองว่าเป็นอย่างไร
แม้เทพทั้งหลายก็รู้จักเขาว่าเป็นอย่างนั้น

เชิงอรรถ :
๑ ไม่พึงเริ่มงานก่อสร้างใหม่ ที่ใหญ่ เช่นการสร้างวัดใหม่เป็นต้น ซึ่งขัดต่อการบำเพ็ญสมณธรรม แต่งาน
ปฏิสังขรณ์เสนาสนะที่ทรุดโทรม ซึ่งใช้ความพยายามเล็กน้อย ควรทำแท้ เพื่อปฏิบัติบูชาพระดำรัสของ
พระศาสดา (ขุ.เถร.อ. ๒/๔๙๔/๑๖๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๔๒๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๘. อัฏฐกนิบาต] ๒. สิริมิตตเถรคาถา
[๔๙๘] พวกอื่นย่อมไม่รู้ว่า พวกเราย่อยยับอยู่ในโลกนี้
บรรดาชนเหล่านั้น ชนเหล่าใดรู้แจ้งอยู่
ความทะเลาะวิวาทกันย่อมระงับได้จากสำนักของคนเหล่านั้น
[๔๙๙] ผู้มีปัญญาถึงจะสิ้นทรัพย์ ก็เป็นอยู่ได้
ส่วนคนมีทรัพย์ แต่ไม่มีปัญญา ก็เป็นอยู่ไม่ได้
[๕๐๐] บุคคลย่อมได้ยินเสียงทุกอย่างด้วยหู
ย่อมเห็นรูปทุกอย่างด้วยตา
ส่วนนักปราชญ์ไม่พึงละทิ้งทุกอย่างที่ได้เห็น ที่ได้ยิน
[๕๐๑] ผู้เป็นปราชญ์นั้นถึงมีตาดี ก็พึงทำเป็นเหมือนคนตาบอด
ถึงมีหูดี ก็พึงทำเป็นเหมือนคนหูหนวก
ถึงมีปัญญา ก็พึงทำเป็นเหมือนคนใบ้
ถึงมีกำลัง ก็พึงทำเป็นเหมือนคนอ่อนแอ
ครั้นเมื่อประโยชน์เกิดขึ้นแล้ว ถึงจะนอนในเวลาใกล้จะตาย
ก็ยังทำประโยชน์ให้สำเร็จได้

๒. สิริมิตตเถรคาถา
ภาษิตของพระสิริมิตตเถระ
(พระสิริมิตตเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ว่า)
[๕๐๒] ภิกษุใดไม่มักโกรธ ไม่ผูกโกรธ
ไม่มีมายา ไม่ส่อเสียด
ภิกษุนั้นผู้คงที่ละไปแล้ว
ย่อมไม่เศร้าโศกด้วยข้อปฏิบัติตามที่กล่าวมานี้
[๕๐๓] ภิกษุใดไม่มักโกรธ ไม่ผูกโกรธ ไม่มีมายา ไม่ส่อเสียด
ภิกษุนั้นคุ้มครองทวารไว้ได้ทุกเมื่อ ละไปแล้ว
ย่อมไม่เศร้าโศกด้วยข้อปฏิบัติตามที่กล่าวมานี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๔๒๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๘. อัฏฐกนิบาต] ๒. สิริมิตตเถรคาถา
[๕๐๔] ภิกษุใดไม่มักโกรธ ไม่ผูกโกรธ
ไม่มีมายา ไม่ส่อเสียด
มีศีลงาม ภิกษุนั้นละไปแล้ว
ย่อมไม่เศร้าโศกด้วยข้อปฏิบัติตามที่กล่าวมานี้
[๕๐๕] ภิกษุใดไม่มักโกรธ ไม่ผูกโกรธ
ไม่มีมายา ไม่ส่อเสียด
เป็นกัลยาณมิตร ภิกษุนั้นละไปแล้ว
ย่อมไม่เศร้าโศกด้วยข้อปฏิบัติตามที่กล่าวมานี้
[๕๐๖] ภิกษุใดไม่มักโกรธ ไม่ผูกโกรธ
ไม่มีมายา ไม่ส่อเสียด
มีปัญญาดี ภิกษุนั้นละไปแล้ว
ย่อมไม่เศร้าโศกในโลกหน้าด้วยข้อปฏิบัติตามที่กล่าวมานี้
[๕๐๗] ผู้ใดมีศรัทธาในพระตถาคตตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว
มีศีล และมีกัลยาณธรรม
ที่พระอริยเจ้าปรารถนาและสรรเสริญ
[๕๐๘] ผู้ใดมีความเลื่อมใสในพระสงฆ์
ทั้งมีความเห็นตรง
พระอริยเจ้าทั้งหลายมีพระพุทธเจ้าเป็นต้น
ได้เรียกผู้นั้นว่า เป็นผู้ไม่ขัดสน
ชีวิตของเขาก็ไม่ไร้ประโยชน์
[๕๐๙] เพราะฉะนั้น ผู้มีปัญญา
เมื่อระลึกถึงคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย
จึงควรประกอบศรัทธา ศีล ความเลื่อมใส
และความเห็นธรรมไว้เนือง ๆ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๔๒๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๘. อัฏฐกนิบาต] ๓. มหาปันถกเถรคาถา
๓. มหาปันถกเถรคาถา
ภาษิตของพระมหาปันถกเถระ
(พระมหาปันถกเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ว่า)
[๕๑๐] เมื่อใด เราได้เฝ้าพระศาสดา
ผู้ไม่มีภัยแต่ที่ไหนเป็นครั้งแรก
เมื่อนั้น เราได้มีความสังเวช
เพราะได้เฝ้าพระองค์ผู้เป็นบุคคลสูงสุด
[๕๑๑] ผู้ใดพึงใช้มือและเท้านวดพระศาสดาผู้ทรงสิริซึ่งเสด็จมา
ผู้นั้นพึงยังพระศาสดาให้ยินดีเช่นนั้นหาได้ไม่
[๕๑๒] คราวนั้น เราได้ละทิ้งบุตรภรรยา ทรัพย์ และข้าวเปลือก
ปลงผม โกนหนวด ออกบวชเป็นบรรพชิต
[๕๑๓] เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยสิกขาและสาชีพ
สำรวมด้วยดีในอินทรีย์ทั้งหลาย
นอบน้อมพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ได้อยู่อย่างเป็นผู้ไม่พ่ายแพ้มาร
[๕๑๔] ต่อมา ความมุ่งมั่นที่จิตเราปรารถนาไว้ว่า
เมื่อเรายังถอนลูกศรคือตัณหาขึ้นไม่ได้
เราไม่พึงนั่งเปล่าแม้เพียงครู่เดียว
[๕๑๕] เชิญท่านดูความเพียรและความบากบั่นของเรานั้นผู้อยู่อย่างนี้
เราได้บรรลุวิชชา ๓ ได้ทำตามคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าแล้ว
[๕๑๖] เรารู้ถึงขันธ์ที่อาศัยอยู่มาก่อนได้
ชำระทิพยจักษุให้หมดจดแล้ว
เป็นพระอรหันต์ ผู้ควรแก่ทักษิณา
หลุดพ้นแล้ว ไม่มีอุปธิกิเลส

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๔๒๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๘. อัฏฐกนิบาต]รวมเรื่องพระเถระที่มีในนิบาต
[๕๑๗] ต่อเมื่อราตรีสิ้นไป พอดวงอาทิตย์ขึ้นไป
เราได้นั่งขัดสมาธิทำตัณหาให้เหือดแห้งไปได้หมด
อัฏฐกนิบาต จบ

รวมเรื่องพระเถระที่มีในนิบาตนี้ คือ
๑. พระมหากัจจายนเถระ ๒.พระสิริมิตตเถระ
๓. พระมหาปันถกเถระ
ในอัฏฐกนิบาต มีพระเถระ ๓ รูป
และมี ๒๔ คาถา ฉะนี้แล

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๔๒๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๙. นวกนิบาต] ๑. ภูตเถรคาถา
๙. นวกนิบาต
๑. ภูตเถรคาถา
ภาษิตของพระภูตเถระ
(พระภูตเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ว่า)
[๕๑๘] เมื่อใด บัณฑิตกำหนดรู้ทุกข์ว่า
ชราและมรณะเป็นทุกข์ที่ปุถุชนทั้งหลาย
ผู้ติดอยู่ในเบญจขันธ์ไม่รู้แจ้ง
เป็นผู้มีสติ เข้าฌานอยู่
เมื่อนั้น ย่อมไม่ได้ความยินดีที่ประเสริฐยิ่งกว่า
ความยินดีในวิปัสสนา มรรคและผลนั้น
[๕๑๙] เมื่อใด บัณฑิตละตัณหาที่ซ่านไปในอารมณ์ต่าง ๆ
อันนำทุกข์มาให้
นำทุกข์อันเกิดเพราะความต่อเนื่องแห่งปปัญจธรรม๑
มีสติ เข้าฌานอยู่
เมื่อนั้น ย่อมไม่ได้ความยินดีที่ประเสริฐ
ยิ่งกว่าความยินดีวิปัสสนา มรรค และผลนั้น
[๕๒๐] เมื่อใด บัณฑิตสัมผัสทางอันสูงสุด ปลอดโปร่ง
ที่ให้ลุถึงมรรคมีองค์ ๘ เป็นที่ชำระกิเลสได้หมด
ด้วยปัญญา มีสติ เข้าฌานอยู่
เมื่อนั้น ย่อมไม่ได้ความยินดีที่ประเสริฐ
ยิ่งกว่าความยินดีในวิปัสสนามรรคและผลนั้น

เชิงอรรถ :
๑ ธรรมเครื่องเนิ่นช้า หมายถึงธรรมที่ทำการเวียนว่ายตายเกิดของสัตว์ทั้งหลายให้ยึดยาวออกไป ซึ่งได้แก่
ราคะ ความกำหนัด มานะ ความถือตัวเป็นต้น (ขุ.เถร.อ. ๒/๕๑๙/๑๘๐)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๔๒๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๙. นวกนิบาต] ๑. ภูตเถรคาถา
[๕๒๑] เมื่อใด บัณฑิตเจริญสันตบท๑ซึ่งไม่มีความเศร้าโศก
ปราศจากกิเลสดุจธุลี อันปัจจัยปรุงแต่งไม่ได้
เป็นที่ชำระกิเลสได้หมด ตัดกิเลสเครื่องผูกพันคือสังโยชน์
เมื่อนั้น ย่อมไม่ได้ความยินดีที่ประเสริฐ
ยิ่งกว่าความยินดีในวิปัสสนา มรรค และผลนั้น
[๕๒๒] เมื่อใด กลองคือเมฆพรั่งพรูไปด้วยสายฝน
คำรามอยู่ในท้องฟ้า ซึ่งเป็นทางไปของฝูงนกโดยรอบ
และภิกษุผู้อยู่ประจำเงื้อมภูเขา ยังเข้าฌานอยู่
เมื่อนั้น ก็ย่อมไม่ได้ความยินดีที่ประเสริฐ
ยิ่งกว่าความยินดีในฌานนั้น
[๕๒๓] เมื่อใด บัณฑิตมีจิตเบิกบาน นั่งเข้าฌานอยู่ที่ฝั่งแม่น้ำทั้งหลาย
ซึ่งดารดาษไปด้วยดอกโกสุม มีดอกไม้ป่าเป็นช่อสวยงาม
เมื่อนั้น ย่อมไม่ได้ความยินดีที่ประเสริฐ
ยิ่งกว่าความยินดีในฌานนั้น
[๕๒๔] เมื่อใด มีฝนฟ้าร้องในเวลากลางคืน
ฝูงสัตว์ที่มีเขี้ยวงาก็พากันยินดีในป่าใหญ่ที่สงัด
และภิกษุผู้อยู่ประจำเงื้อมภูเขา เข้าฌานอยู่
เมื่อนั้น ก็ย่อมไม่ได้ความยินดีที่ประเสริฐ
ยิ่งกว่าความยินดีในฌานนั้น
[๕๒๕] เมื่อใด ภิกษุกำจัดวิตกทั้งหลายของตนได้
เข้าถ้ำภายในภูเขา ปราศจากความกระวนกระวายใจ
ปราศจากกิเลสที่ตรึงใจโดยสิ้นเชิง เข้าฌานอยู่
เมื่อนั้น ย่อมไม่ได้ความยินดีที่ประเสริฐ
ยิ่งกว่าความยินดีในฌานนั้น

เชิงอรรถ :
๑ นิพพาน (ขุ.เถร.อ. ๒/๕๒๑/๑๘๐)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๔๓๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๙. นวกนิบาต] รวมเรื่องพระเถระที่มีในนิบาต
[๕๒๖] เมื่อใด ภิกษุมีความสุข
กำจัดกิเลสที่เป็นมลทินที่ตรึงใจและความโศกได้
ไม่มีกลอนประตูคืออวิชชา ไม่มีป่าคือตัณหา
ปราศจากลูกศรคือกิเลส
ทั้งทำอาสวะให้สิ้นไปได้หมด เข้าฌานอยู่
เมื่อนั้น ย่อมไม่ได้ความยินดีที่ประเสริฐ
ยิ่งกว่าความยินดีในฌานนั้น
นวกนิบาต จบ

รวมเรื่องพระเถระที่มีในนิบาตนี้ คือ
๑. พระภูตเถระที่เห็นธรรมโดยถ่องแท้
เป็นดุจนอแรดรูปเดียว
และในนวกนิบาต มี ๙ คาถา ฉะนี้แล

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๔๓๑ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๑๐. ทสกนิบาต] ๑. กาฬุทายีเถรคาถา
๑๐. ทสกนิบาต
๑. กาฬุทายีเถรคาถา
ภาษิตของพระกาฬุทายีเถระ
(พระกาฬุทายีเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ว่า)
[๕๒๗] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บัดนี้
หมู่ไม้มีดอกและใบสีแดงดังถ่านเพลิง
ผลัดใบเก่าทิ้ง ผลิดอกออกผล
หมู่ไม้เหล่านั้น สว่างไสวดังเปลวเพลิง
ข้าแต่พระมหาวีระ ผู้มีส่วนแห่งอรรถรสเป็นต้น
เวลานี้เป็นเวลาสมควรอนุเคราะห์หมู่พระญาติ
[๕๒๘] หมู่ไม้มีดอกบานสะพรั่ง น่ารื่นรมย์ใจ
ส่งกลิ่นหอมฟุ้งตลบไปทั่วทุกทิศ
ผลัดใบเก่าทิ้ง ผลิดอกออกผล
ข้าแต่พระองค์ผู้แกล้วกล้า
ถึงเวลาที่พระองค์จะเสด็จหลีกไปจากที่นี้
[๕๒๙] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็ฤดูนี้ไม่หนาวนัก ไม่ร้อนนัก
เป็นฤดูที่สบาย เหมาะแก่การเดินทาง
พระประยูรญาติทั้งฝ่ายศากยวงศ์และโกลิยวงศ์จะได้เฝ้าพระองค์
ผู้ผินพระพักตร์ไปทางทิศตะวันออกซึ่งกำลังเสด็จข้ามแม่น้ำโรหิณี
[๕๓๐] ชาวนาไถนาก็ด้วยหวังผล
หว่านพืชก็ด้วยหวังผล
พวกพ่อค้าที่เที่ยวหาทรัพย์ เดินเรือไปสู่สมุทร ก็ด้วยหวังผล
ข้าพระองค์อยู่ในที่นี้ด้วยหวังอันใด
ขอความหวังอันนั้นของข้าพระองค์จงสำเร็จเถิด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๔๓๒ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๑๐. ทสกนิบาต] ๑. กาฬุทายีเถรคาถา
[๕๓๑] ชาวนาหว่านพืชตามฤดูกาล
ฝนก็ตกต้องตามฤดูกาล
ชาวนาไถนาตามฤดูกาล
รัฐจึงจะได้ข้าวเปลือกเป็นประจำ
[๕๓๒] พวกผู้ขอเที่ยวขอบ่อย ๆ
พวกทานบดีก็ให้บ่อย ๆ
ครั้นทานบดีให้บ่อย ๆ แล้วก็ไปสู่สวรรค์บ่อย ๆ
[๕๓๓] นักปราชญ์มีปัญญากว้างขวาง เกิดในสกุลใด
ย่อมทำสกุลนั้นให้บริสุทธิ์สะอาดอย่างเดียว ถึง ๗ ชั่วคน
ข้าพระองค์เข้าใจว่า พระองค์เป็นเทพเหนือกว่าเทพ
ย่อมทรงสามารถทำผู้อื่นให้บริสุทธิ์ได้
เพราะพระองค์ทรงอุบัติโดยอริยชาติ ได้สัจนามว่า มุนี
[๕๓๔] พระราชบิดาของพระองค์พระนามว่า สุทโทธนะ
ผู้แสวงคุณอันยิ่งใหญ่
ส่วนพระมเหสีพระนามว่า มหามายา เป็นพุทธมารดา
ซึ่งถนอมพระครรภ์พระโพธิสัตว์มาแล้ว
เสด็จสวรรคตไปบันเทิงอยู่ในโลกสวรรค์(ชั้นดุสิต)
[๕๓๕] พระนางมายาเทวีโคตมีพระองค์นั้นสวรรคต
จุติจากโลกนี้ เพียบพร้อมด้วยกามคุณทิพย์
มีหมู่นางฟ้าห้อมล้อม ทรงบันเทิงอยู่ด้วยกามคุณ ๕
(พระกาฬุทายีเถระ ได้ถวายพระพรพระเจ้าสุทโธทนมหาราชว่า)
[๕๓๖] อาตมภาพเป็นบุตรของพระพุทธเจ้าผู้ที่ไม่มีใครย่ำยีได้
มีพระรัศมีแผ่ซ่านจากพระวรกาย ไม่มีผู้ที่จะเปรียบปาน คงที่
มหาบพิตร พระองค์เป็นบิดาของพระพุทธเจ้าผู้เป็นบิดาของ
อาตมา ทั้งเป็นพระเจ้าปู่ของอาตมาโดยธรรม

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๔๓๓ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๑๐. ทสกนิบาต] ๒. เอกวิหาริยเถรคาถา
๒. เอกวิหาริยเถรคาถา
ภาษิตของพระเอกวิหาริยเถระ
(พระเอกวิหาริยเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ว่า)
[๕๓๗] ถ้าไม่มีผู้อื่นอยู่ข้างหน้าหรือข้างหลัง
เราอยู่ในป่าผู้เดียวจะมีความผาสุกอย่างยิ่ง
[๕๓๘] เอาเถอะ เราคนเดียวจะไปป่าที่พระพุทธเจ้าทรงสรรเสริญว่า
มีแต่ความผาสุกแก่ภิกษุผู้มักอยู่ผู้เดียว มีใจเด็ดเดี่ยว
[๕๓๙] เราผู้เดียวมุ่งประโยชน์เป็นสำคัญ
จะรีบเข้าป่าใหญ่ที่ทำปีติให้เกิดแก่ผู้บำเพ็ญเพียร
น่ารื่นรมย์ ซึ่งช้างซับมันอาศัยอยู่
[๕๔๐] จะอาบน้ำที่ซอกภูเขาอันเยือกเย็นในป่าร่มรื่น
มีดอกไม้บานสะพรั่ง จงกรมแต่ผู้เดียว
[๕๔๑] เมื่อไร เราจะได้อยู่ป่าใหญ่ที่น่ารื่นรมย์แต่ผู้เดียว
ไม่มีเพื่อน ได้สำเร็จกิจ ไม่มีอาสวะ
[๕๔๒] ขอความประสงค์ของเราผู้ต้องการจะทำอย่างนั้นจงสำเร็จเถิด
เราจักทำให้สำเร็จได้เอง ผู้อื่นไม่อาจทำให้ผู้อื่นได้เลย
[๕๔๓] เรานี้สวมเกราะคือความเพียรอยู่ จะเข้าป่าใหญ่
ยังไม่ถึงความสิ้นอาสวะ ก็จักไม่ออกจากป่าใหญ่นั้น
[๕๔๔] เมื่อลมเย็นพัดเอากลิ่นดอกไม้หอมฟุ้งมา
เราจะนั่งบนยอดเขาทำลายอวิชชา
[๕๔๕] จักได้รับความสุข รื่นรมย์ด้วยวิมุตติสุข
ที่เงื้อมภูเขามีพื้นเย็นในป่า ซึ่งดารดาษด้วยดอกโกสุม แน่แท้
[๕๔๖] เรานั้นมีความดำริเต็มเปี่ยม เหมือนดวงจันทร์วันเพ็ญ
สิ้นอาสวะทั้งปวง บัดนี้ การเกิดอีกก็ไม่มี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๔๓๔ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๑๐. ทสกนิบาต] ๓. มหากัปปินเถรคาถา
๓. มหากัปปินเถรคาถา
ภาษิตของพระมหากัปปินเถระ
(พระมหากัปปินเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ว่า)
[๕๔๗] ผู้ใดย่อมเห็นประโยชน์ที่เกื้อกูลและไม่เกื้อกูล
ทั้งสองที่ยังมาไม่ถึงนั้นได้ก่อน
ผู้ที่เป็นศัตรูหรือมิตรของผู้นั้น
คอยหาช่องทางอยู่ก็ย่อมไม่เห็น
[๕๔๘] ผู้ใดเจริญอานาปานสติให้บริบูรณ์ด้วยดี
อบรมมาโดยลำดับ ตามที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้
ผู้นั้นยังโลกนี้ให้สว่างไสว
เหมือนดวงจันทร์พ้นจากเมฆ
[๕๔๙] จิตของเราผ่องแผ้วหนอ
ได้รับอบรมด้วยดีอย่างไม่มีประมาณ
เป็นจิตรู้แจ้งแทงตลอดและประคองไว้ดีแล้ว
ย่อมสว่างไสวไปทั่วทุกทิศ
[๕๕๐] ผู้มีปัญญาถึงจะสิ้นทรัพย์ ก็เป็นอยู่ได้
ส่วนคนมีทรัพย์ แต่ไม่มีปัญญา ก็เป็นอยู่ไม่ได้
[๕๕๑] ปัญญาเป็นเครื่องตัดสินเรื่องที่ได้ฟังมา
เป็นเหตุเจริญชื่อเสียงและความสรรเสริญ
นรชนผู้ประกอบด้วยปัญญาในโลกนี้
แม้ในเวลาที่ตนตกทุกข์ ก็ยังประสบสุขได้
[๕๕๒] ธรรมนี้มิใช่มีแต่วันนี้
ไม่น่าอัศจรรย์ ทั้งมิใช่ไม่เคยมีมา
ในโลกที่สัตว์เกิดสัตว์ตายจะไม่เคยมีได้อย่างไร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๔๓๕ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๑๐. ทสกนิบาต] ๔. จูฬปันถกเถรคาถา
[๕๕๓] เมื่อสัตว์เกิดมาแล้วจะต้องตายต่อจากการมีชีวิตแน่แท้
สัตว์ทั้งหลายเกิดมาแล้ว ๆ ในโลกนี้ย่อมตายทั้งนั้น
เพราะสัตว์ทั้งหลายมีความเกิด ความตายเป็นธรรมดาอย่างนี้
[๕๕๔] การที่คนอื่น ๆ ร้องไห้ถึงผู้ที่ตายไป
เพื่อต้องการให้ผู้ที่ตายไปนั้นมีชีวิต
ไม่เป็นประโยชน์สำหรับผู้ที่ตายไป
การร้องไห้นี้นำยศมาให้ไม่ได้
นำความสรรเสริญมาให้ก็ไม่ได้
ทั้งสมณพราหมณ์ก็ไม่สรรเสริญเลย
[๕๕๕] ดวงตาและร่างกายของผู้ร้องไห้ย่อมร่วงโรย
ผิวพรรณ กำลัง และความคิดก็เสื่อม
พวกคนที่เป็นศัตรูของผู้ร้องไห้นั้นย่อมยินดี
ส่วนพวกที่เป็นมิตรของเขาก็ย่อมไม่มีความสุขไปด้วย
[๕๕๖] เพราะฉะนั้นแล บุคคลพึงปรารถนาท่านผู้เป็นนักปราชญ์
และท่านผู้เป็นพหูสูตซึ่งสามารถทำกิจของตนให้สำเร็จได้
ด้วยกำลังปัญญาให้อยู่ในสกุล
เหมือนคนทั้งหลายข้ามแม่น้ำที่เต็มเปี่ยมได้ด้วยเรือ

๔. จูฬปันถกเถรคาถา
ภาษิตของพระจูฬปันถกเถระ
(พระจูฬปันถกเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ว่า)
[๕๕๗] เมื่อก่อน เราได้มีญาณคติเกิดช้า เราจึงถูกดูหมิ่น
ทั้งพี่ชาย ก็ได้ขับไล่เราว่า เจ้าจงกลับไปบ้านเดี๋ยวนี้
[๕๕๘] เรานั้นถูกขับไล่แล้ว ยังมีความเยื่อใยในพระศาสนาอยู่
จึงได้ไปยืนเสียใจใกล้ซุ้มประตูสังฆารามนั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๔๓๖ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๑๐. ทสกนิบาต] ๔. จูฬปันถกเถรคาถา
[๕๕๙] พระผู้มีพระภาคได้เสด็จมา ณ ที่นั้น
ทรงลูบศีรษะเรา ทรงจับแขนเรา พาเข้าไปสู่สังฆาราม
[๕๖๐] พระศาสดาทรงอนุเคราะห์เรา
ได้ทรงประทานผ้าเช็ดพระบาท ด้วยรับสั่งว่า
เธอจงอธิษฐานผ้าที่สะอาดนี้ให้มั่นคง ณ ที่สมควร
[๕๖๑] เราฟังพระดำรัสของพระองค์
ยังยินดีอยู่ในพระศาสนา
ได้ทำสมาธิให้เกิดเพื่อบรรลุประโยชน์สูงสุด
[๕๖๒] เรารู้ถึงขันธ์ที่อาศัยอยู่มาก่อน
ชำระทิพยจักษุให้หมดจดแล้ว
เราบรรลุวิชชา ๓
ได้ทำตามคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าแล้ว
[๕๖๓] ปันถกเถระเนรมิตตนหนึ่งพัน
นั่งในอัมพวันที่น่ารื่นรมย์
จนถึงเวลาเขามานิมนต์
[๕๖๔] ลำดับนั้น พระศาสดาทรงใช้ทูต
ให้ไปบอกเวลาฉันอาหารแก่เรา
เมื่อทูตบอกเวลาฉันแล้ว
เราก็ได้เหาะไปเฝ้า
[๕๖๕] ถวายบังคมพระยุคลบาทพระศาสดาแล้ว นั่ง ณ ที่สมควร
ทีนั้น พระศาสดาทรงรับรองเราผู้ถวายบังคมแล้วนั่งอยู่
[๕๖๖] ปันถกเถระเป็นผู้ควรบูชาของชาวโลกทั้งมวล
เป็นผู้ควรรับของที่เขานำมาบูชา
เป็นเนื้อนาบุญของหมู่มนุษย์ ได้รับทักษิณาแล้ว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๔๓๗ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๑๐. ทสกนิบาต] ๕. กัปปเถรคาถา
๕. กัปปเถรคาถา
ภาษิตของพระกัปปเถระ
(พระศาสดาตรัสอสุภกถาสอนพระเจ้ากัปปะนั้นด้วยพระคาถาเหล่านี้ว่า)
[๕๖๗] ร่างกายนี้เต็มไปด้วยของโสโครกและมลทินต่าง ๆ
มีหลุมคูถใหญ่เป็นที่เกิด เป็นดุจบ่อน้ำครำที่มีมานาน
เป็นดุจฝีใหญ่ เป็นดุจแผลใหญ่
[๕๖๘] เป็นกายเต็มไปด้วยหนองและเลือด เต็มไปด้วยหลุมคูถ
มีน้ำไหลออกเป็นนิตย์ หลั่งของเน่าเสียออกอยู่ประจำ
[๕๖๙] มีเส้นเอ็นใหญ่ ๖๐ เส้นรัดรึงไว้
มีเครื่องฉาบทาคือเนื้อฉาบทาไว้ มีเสื้อคือหนังหุ้มห่อไว้
เป็นกายเปื่อยเน่า ไม่มีประโยชน์
[๕๗๐] เชื่อมต่อไว้ด้วยโครงกระดูก
เกี่ยวร้อยไว้ด้วยด้ายคือเส้นเอ็น
ผลัดเปลี่ยนอิริยาบถได้ เพราะมีมหาภูตรูป ๔
ชีวิตินทรีย์ ลมอัสสาสะ ปัสสาสะ๑
และวิญญาณเป็นต้นเกี่ยวเนื่องกัน
[๕๗๑] นรชนผู้มีจิตเป็นไปตามความปรารถนา
ดำเนินไปสู่ความตายอย่างแน่นอน
อยู่ใกล้มัจจุราช ละทิ้งร่างกายไว้ในโลกนี้เอง
[๕๗๒] ร่างกายที่ถูกอวิชชาหุ้มห่อไว้
ถูกกิเลสเครื่องร้อยรัด ๔ อย่างร้อยรัดไว้
เป็นกายจมลงในห้วงน้ำคือกิเลส
ถูกข่ายคืออนุสัยกิเลสปกคลุมไว้

เชิงอรรถ :
๑ ลมหายใจออกหายใจเข้า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๔๓๘ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๑๐. ทสกนิบาต] ๖. วังคันตปุตตอุปเสนคาถา
[๕๗๓] ประกอบด้วยนิวรณ์ ๕ เพียบพร้อมด้วยวิตก
ถูกรากเหง้าแห่งภพคือตัณหารัดรึง
ถูกเครื่องปิดบังคือโมหะปิดบังไว้
[๕๗๔] ร่างกายนี้ถูกเครื่องหมุนคือกรรมให้หมุนไป จึงหมุนไปอย่างนี้
สมบัติ(ที่มีอยู่ในร่างกายนี้)มีวิบัติเป็นที่สุด
ย่อมมีความพลัดพรากกันเป็นธรรมดา
[๕๗๕] เหล่าปุถุชนผู้โง่เขลาซึ่งยึดถือร่างกายนี้ว่าเป็นของเรา
ย่อมทำสังสารวัฏที่น่ากลัวให้เจริญ ทั้งยึดภพใหม่ไว้
[๕๗๖] เหล่ากุลบุตรผู้เป็นบัณฑิตซึ่งละร่างกายที่น่ารังเกียจนี้
คลายอวิชชา และภวตัณหาซึ่งเป็นรากเหง้าแห่งภพได้แล้ว
จักปรินิพพานอย่างไม่มีอาสวะ
เหมือนคนที่ต้องการความสุขอยากมีชีวิตอยู่
เห็นอสรพิษตัวเปื้อนคูถแล้วก็หลีกหนีไปฉะนั้น

๖. วังคันตปุตตอุปเสนเถรคาถา
ภาษิตของพระวังคันตปุตตอุปเสนเถระ
(พระวังคันตปุตตอุปเสนเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ว่า)
[๕๗๗] ภิกษุพึงอยู่เสนาสนะอันสงัด ปราศจากเสียงอื้ออึง
ที่สัตว์ร้ายอาศัยอยู่ เพราะการหลีกเร้นเป็นเหตุ
[๕๗๘] พึงเก็บผ้าจากกองขยะ จากป่าช้า
และตรอกน้อย ตรอกใหญ่นั้น
ทำเป็นผ้านุ่ง ผ้าห่ม แล้วใช้จีวรที่เศร้าหมอง
[๕๗๙] ภิกษุพึงคุ้มครองทวาร
สำรวมระวังทำใจให้เคารพเอื้อเฟื้อแล้ว
เที่ยวบิณฑบาตตามลำดับสกุล ตามลำดับตรอก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๔๓๙ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๑๐. ทสกนิบาต] ๗. โคตมเถรคาถา
[๕๘๐] พึงยินดีด้วยของตามที่ได้ ถึงจะเป็นของเศร้าหมอง
และไม่ควรปรารถนารสอย่างอื่นจากรสตามที่ได้มาให้มาก
สำหรับผู้ที่ยังติดในรส ใจย่อมไม่ยินดีในฌาน
[๕๘๑] ภิกษุพึงเป็นผู้มีความปรารถนาน้อย สันโดษ ชอบสงัด
เป็นมุนี และไม่อยู่คลุกคลีด้วยคฤหัสถ์และบรรพชิตทั้งสอง
[๕๘๒] ภิกษุผู้เป็นบัณฑิตควรแสดงตนให้เป็นเหมือนคนโง่และคนใบ้
ไม่ควรพูดมากในท่ามกลางสงฆ์
[๕๘๓] ท่านไม่พึงว่าร้ายใคร พึงเว้นการกระทบกระทั่ง
ควรสำรวมในพระปาติโมกข์ และรู้จักประมาณในการขบฉัน
[๕๘๔] เป็นผู้ฉลาดในการเกิดขึ้นแห่งจิตที่กำหนดนิมิตไว้ดีแล้ว
ประกอบสมถะและวิปัสสนาตามกาลอันสมควรเนือง ๆ
[๕๘๕] ภิกษุผู้เป็นบัณฑิตพึงเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยความเพียรเป็นนิตย์
ประกอบภาวนาทุกเมื่อ
หากยังไม่ถึงที่สุดทุกข์ไม่พึงถึงความวางใจ
[๕๘๖] อาสวะทั้งปวงของภิกษุผู้ปรารถนาความบริสุทธิ์เป็นอยู่อย่างนี้
ย่อมสิ้นไป และท่านก็ย่อมบรรลุนิพพาน

๗. โคตมเถรคาถา
ภาษิตของพระโคดมเถระ
(พระโคดมเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ว่า)
[๕๘๗] บุคคลพึงรู้จักประโยชน์ของตน ๑ พึงตรวจดูปาพจน์๑ ๑
พึงตรวจตราสิ่งที่สมควรในศาสนานี้
ของกุลบุตรผู้เข้าถึงความเป็นสมณะ ๑

เชิงอรรถ :
๑ ธรรมและวินัยที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าประกาศไว้แล้ว (ขุ.เถร.อ.๒/๕๘๗/๒๓๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๔๔๐ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๑๐. ทสกนิบาต] ๗. โคตมเถรคาถา
[๕๘๘] มิตรดี ๑ การสมาทานสิกขาให้บริบูรณ์ ๑
การเชื่อฟังครูทั้งหลาย ๑ นี้เป็นการสมควรแก่สมณะในศาสนานี้
[๕๘๙] ความเคารพในพระพุทธเจ้า ๑
ความนอบน้อมในพระธรรมตามความเป็นจริง ๑
การทำความยำเกรงในพระสงฆ์ ๑
นี้เป็นการสมควรแก่สมณะ
[๕๙๐] ภิกษุผู้ประกอบในอาจาระและโคจร ๑
ผู้ชำระอาชีพให้บริสุทธิ์ ซึ่งท่านผู้รู้ไม่ตำหนิติเตียน ๑
การตั้งจิตไว้ชอบ ๑ นี้เป็นการสมควรแก่สมณะ
[๕๙๑] จาริตศีล ๑ วาริตศีล ๑
การผลัดเปลี่ยนอิริยาบถที่น่าเลื่อมใส ๑
การประกอบเนือง ๆ ในอธิจิต ๑
นี้เป็นการสมควรแก่สมณะ
[๕๙๒] เสนาสนะป่า ๑ ที่สงัด ๑ ที่เงียบ ๑ ที่มุนีอยู่อาศัย ๑
นี้เป็นการสมควรแก่สมณะ
[๕๙๓] จตุปาริสุทธิศีล ๑ พาหุสัจจะ ๑
การพิจารณาค้นคว้าธรรมตามความเป็นจริง ๑
การรู้แจ้งอริยสัจ ๑ นี้เป็นการสมควรแก่สมณะ
[๕๙๔] ข้อที่บุคคลพึงเจริญอนิจจสัญญาว่า สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง ๑
เจริญอนัตตสัญญาว่า ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา ๑
เจริญอสุภสัญญา ๑ เจริญอนภิรติสัญญาในโลก ๑
นี้เป็นการสมควรแก่สมณะ
[๕๙๕] ข้อที่บุคคลพึงเจริญโพชฌงค์ ๑ อิทธิบาท ๑
อินทรีย์ ๑ พละ ๑ อริยัฏฐังคิกมรรค ๑
นี้เป็นการสมควรแก่สมณะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๔๔๑ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๑๐. ทสกนิบาต] รวมเรื่องพระเถระที่มีในนิบาต
[๕๙๖] พระมุนีพึงละตัณหา ๑
ทำลายอาสวะพร้อมทั้งรากเหง้า ๑
พึงอยู่อย่างผู้มีจิตหลุดพ้น ๑
นี้เป็นการสมควรแก่สมณะ
ทสกนิบาต จบ

รวมเรื่องพระเถระที่มีในนิบาตนี้ คือ

๑. พระกาฬุทายีเถระ ๒. พระเอกวิหาริยเถระ
๓. พระมหากัปปินเถระ ๔. พระจูฬปันถกเถระ
๕. พระกัปปเถระ ๖. พระวังคันตปุตตอุปเสนเถระ
๗. พระโคตมเถระ

ในทสกนิบาตนี้ มีพระเถระ ๗ รูปนี้
และมี ๗๐ คาถา ฉะนี้แล

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๔๔๒ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๑๑. เอกาทสกนิบาต]๑. สังกิจจเถรคาถา
๑๑. เอกาทสกนิบาต
๑. สังกิจจเถรคาถา
ภาษิตของพระสังกิจจเถระ
(อุบาสกคนหนึ่งต้องการบำรุงสังกิจจสามเณร จึงนิมนต์สามเณรให้อยู่ที่ใกล้
ด้วยคาถาว่า)
[๕๙๗] พ่อสามเณร ป่าจะมีประโยชน์อะไรสำหรับท่าน
ในฤดูฝน ภูเขาชื่ออุชชุหานะนั่นเองไม่เป็นที่สบาย
ลมหัวด้วนก็พัดมาประจำ ท่านจะพึงพอใจหรือ
เพราะความสงัดเป็นที่ต้องการของผู้เจริญฌาน
(พระสังกิจจเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ว่า)
[๕๙๘] ในฤดูฝน ลมหัวด้วน ย่อมพัดพาเมฆหมอกไปได้ฉันใด
สัญญาที่ประกอบด้วยวิเวกก็ฉันนั้นเหมือนกัน
ย่อมดึงจิตของอาตมาไปสู่ที่วิเวก
[๕๙๙] กายคตาสติกรรมฐานที่ประกอบด้วยความคลายกำหนัด
ในร่างกาย เกิดขึ้นแก่อาตมาทันที เหมือนกาดำเกิดจากฟองไข่
เที่ยวอาศัยอยู่ในป่าช้า
[๖๐๐] ภิกษุผู้ไม่มีคนอื่นคอยดูแลรักษา
และไม่คอยดูแลรักษาคนอื่น นั้นแล
ไม่มีความเยื่อใยในกามทั้งหลาย ย่อมอยู่เป็นสุข
[๖๐๑] ภูเขาศิลาอันกว้างใหญ่ไพศาล
มีน้ำไหลใสสะอาด
มีฝูงค่างและฝูงเนื้อฟานคลาคล่ำ
ดารดาษไปด้วยน้ำและสาหร่ายเหล่านั้น
ย่อมทำให้อาตมารื่นรมย์ใจยิ่งนัก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๔๔๓ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๑๑. เอกาทสกนิบาต ]รวมเรื่องพระเถระที่มีในนิบาต
[๖๐๒] ในเสนาสนะที่สงัดคือป่า ซอกเขา และถ้ำ
ที่สัตว์ร้ายอาศัยอยู่ อาตมาเคยอยู่มาแล้ว
[๖๐๓] อาตมาไม่เคยดำริถึงสิ่งที่ไม่ดี ประกอบด้วยโทษเลยว่า
ขอสัตว์เหล่านี้จงถูกเบียดเบียน จงถูกฆ่า จงประสบทุกข์
[๖๐๔] อาตมาได้ปรนนิบัติพระศาสดา
ได้ทำตามคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าแล้ว
ปลงภาระที่หนักเสียได้
ถอนตัณหาที่นำไปสู่ภพได้ขาดแล้ว
[๖๐๕] อาตมาออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตเพื่อประโยชน์ใด
ประโยชน์นั้นอันเป็นที่สิ้นไปแห่งสังโยชน์ทั้งปวง
อาตมาก็ได้บรรลุแล้ว
[๖๐๖] อาตมาไม่อยากตาย
ไม่อยากเป็นอยู่
แต่อาตมารอคอยเวลาอยู่
เหมือนลูกจ้างทำการงานคอยค่าจ้าง
[๖๐๗] อาตมาไม่อยากตาย
ไม่อยากเป็นอยู่
แต่อาตมามีสติสัมปชัญญะอยู่เฉพาะหน้า
คอยเวลาอันควร
เอกาทสกนิบาต จบ

รวมเรื่องพระเถระที่มีในนิบาตนี้ คือ
รวมพระสังกิจจเถระผู้ทำกิจเสร็จแล้ว
ไม่มีอาสวะรูปเดียวเท่านั้น
และในเอกาทสกนิบาต มี ๑๑ คาถา ฉะนี้แล

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๔๔๔ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๑๒. ทวาทสกนิบาต] ๑. สีลวเถรคาถา
๑๒. ทวาทสกนิบาต
๑. สีลวเถรคาถา
ภาษิตของพระสีลวเถระ
(พระสีลวเถระแสดงธรรมด้วยคาถาเหล่านี้ว่า)
[๖๐๘] กุลบุตรในสัตว์โลกนี้ผู้ใคร่ประโยชน์
พึงศึกษาศีลนั่นแหละให้เป็นอันศึกษาดีแล้วในโลกนี้
เพราะศีลที่รักษาแล้ว ย่อมนำสมบัติทุกประเภทมาให้ได้
[๖๐๙] ผู้มีปัญญาเมื่อปรารถนาความสุข ๓ อย่าง
คือ การสรรเสริญ ๑ การได้ความปลื้มใจ ๑
การตายไปแล้วบันเทิงในสวรรค์ ๑
ควรรักษาศีล
[๖๑๐] เพราะผู้มีศีล มีความสำรวม ย่อมได้มิตรมาก
ส่วนผู้ทุศีล ประพฤติแต่ความชั่ว ย่อมแตกจากมิตร
[๖๑๑] นรชนผู้ทุศีลย่อมได้รับการตำหนิและติเตียน
นรชนผู้มีศีลย่อมได้รับความยกย่องชมเชยและสรรเสริญทุกเมื่อ
[๖๑๒] ศีลเป็นเบื้องต้น เป็นที่ตั้ง
เป็นบ่อเกิดแห่งคุณความดีทั้งหลาย
เป็นประธานแห่งธรรมทั้งปวง
เพราะฉะนั้น พึงชำระศีลให้บริสุทธิ์
[๖๑๓] สังวรศีล เป็นเครื่องกั้นทุจริต ทำจิตให้ร่าเริง
และเป็นท่าสำหรับหยั่งลงมหาสมุทรคือนิพพาน
ของพระพุทธเจ้าทุกพระองค์
เพราะฉะนั้น ควรชำระศีลให้บริสุทธิ์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๔๔๕ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๑๒. ทวาทสกนิบาต] ๒. สุนีตเถรคาถา
[๖๑๔] ศีลเป็นกำลังหาสิ่งเปรียบปานมิได้
เป็นอาวุธชั้นเยี่ยม เป็นอาภรณ์อันประเสริฐ
เป็นเกราะบังอย่างน่าอัศจรรย์
[๖๑๕] ศีลเป็นสะพานอันมีพลังมาก มีกลิ่นหอมอย่างยิ่ง
เป็นเครื่องลูบไล้อย่างประเสริฐ
ซึ่งเป็นเหตุให้ผู้มีศีล มีชื่อเสียง ระบือไปทั่วทุกทิศ
[๖๑๖] ศีลเป็นกำลังที่ดีเลิศ เป็นเสบียงเดินทางชั้นเยี่ยม
เป็นยานพาหนะชั้นประเสริฐ
ซึ่งเป็นเหตุให้ผู้มีศีลไปได้ทั่วทุกทิศ
[๖๑๗] คนพาลมีใจไม่ตั้งมั่นในศีล ย่อมได้รับการติฉินนินทาในโลกนี้
และตายไปแล้ว ย่อมได้รับทุกข์โทมนัสในอบายภูมิ
ย่อมได้รับทุกข์โทมนัสในที่ทั่วไป
[๖๑๘] ธีรชนตั้งมั่นดีในศีล ย่อมได้รับชื่อเสียงในโลกนี้
และตายไปแล้ว ย่อมได้รับสุขโสมนัสในสวรรค์
ย่อมได้รับสุขโสมนัสในที่ทั่วไป
[๖๑๙] ศีลเท่านั้นเป็นเลิศในโลกนี้
ส่วนผู้มีปัญญาเป็นผู้สูงสุดทั้งในหมู่มนุษย์และหมู่เทวดา
ชัยชนะก็เพราะศีลและปัญญา

๒. สุนีตเถรคาถา
ภาษิตของพระสุนีตเถระ
(พระสุนีตเถระได้บันลือสีหนาทด้วยคาถาเหล่านี้ว่า)
[๖๒๐] เราเกิดมาในสกุลต่ำ ซ้ำขัดสน
มีของกินน้อย มีการงานต่ำ
ได้เป็นคนเก็บดอกไม้ที่เหี่ยวแห้งไปทิ้ง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๔๔๖ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๑๒. ทวาทสกนิบาต] ๒. สุนีตเถรคาถา
[๖๒๑] เราถูกคนทั้งหลายเกลียดชัง ดูหมิ่น ข่มขู่
ได้ถ่อมตน ไหว้หมู่ชนเป็นอันมาก
[๖๒๒] ต่อมา เราได้พบพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ทรงมีความเพียรมากซึ่งมีภิกษุสงฆ์แวดล้อม
กำลังเสด็จเข้าไปยังพระนครอันอุดมของชาวมคธ
[๖๒๓] จึงวางหาบลงแล้ว
เข้าไปถวายบังคมพระองค์ซึ่งเป็นบุคคลผู้สูงสุด
ได้ประทับยืนอยู่เพื่ออนุเคราะห์เรา
[๖๒๔] ครั้งนั้น เราได้ถวายบังคมพระยุคลบาทพระศาสดา
แล้วยืนอยู่ ณ ที่สมควร
จึงได้ทูลขอบรรพชากับพระองค์ผู้สูงสุดกว่าสรรพสัตว์
[๖๒๕] ลำดับนั้น พระศาสดาผู้ทรงมีพระกรุณา
อนุเคราะห์สัตว์โลกทั้งมวล ได้ตรัสกับเราว่า
เธอเป็นภิกษุมาเถิด
พระวาจานั้นได้เป็นการอุปสมบทของเรา
[๖๒๖] เรานั้นอยู่ในป่าแต่ผู้เดียว ไม่เกียจคร้าน
ได้ทำตามพระโอวาทพระศาสดาผู้ชนะมารทรงสั่งสอนเรามา
[๖๒๗] ในราตรีปฐมยาม เราระลึกชาติก่อนได้
ในมัชฌิมยาม ได้ชำระทิพยจักษุให้สะอาดแล้ว
ในปัจฉิมยาม ได้ทำลายกองแห่งความมืดคืออวิชชาแล้ว
[๖๒๘] ต่อเมื่อราตรีสิ้นไป
ดวงอาทิตย์ขึ้นไปจนตก
พระอินทร์และท้าวมหาพรหมพากันมาประณมอัญชลี
นอบน้อมเราพร้อมกับกล่าวว่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๔๔๗ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๑๒. ทวาทสกนิบาต] รวมเรื่องพระเถระที่มีในนิบาต
[๖๒๙] ข้าแต่ท่านผู้เป็นบุรุษอาชาไนย
ขอความนอบน้อมจงมีแด่ท่าน
ข้าแต่ท่านผู้เป็นบุรุษสูงสุด
ขอความนอบน้อมจงมีแด่ท่าน
ท่านผู้นิรทุกข์ ท่านสิ้นอาสวะแล้วเป็นผู้ควรแก่ทักษิณา
[๖๓๐] ลำดับนั้น พระศาสดาได้ทรงเห็นซึ่งหมู่เทวดาแวดล้อมอยู่
จึงทรงแย้ม แล้วได้ตรัสเนื้อความนี้ว่า
[๖๓๑] บุคคลชื่อว่าเป็นพราหมณ์เพราะคุณธรรมนี้ คือ
ตบะ พรหมจรรย์ ความสำรวม และความฝึกฝน
ตบะเป็นต้นนี้จัดเป็นพราหมณ์ชั้นสูงสุด
ทวาทสกนิบาต จบ

รวมเรื่องพระเถระที่มีในนิบาตนี้ ๒ รูป คือ
พระเถระ ๒ รูปนี้มีฤทธิ์มาก คือ
๑. พระสีลวเถระ ๒. พระสุนีตเถระ
ในทวาทสกนิบาตมี ๒๔ คาถา ฉะนี้แล

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๔๔๘ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๑๓. เตรสกนิบาต] ๑. โสณโกฬิวิสเถรคาถา
๑๓. เตรสกนิบาต
๑. โสณโกฬิวิสเถรคาถา
ภาษิตของพระโสณโกฬิวิสเถระ
(พระโสณโกฬิวิสเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ว่า)
[๖๓๒] ผู้ใดเป็นคหบดีที่ยิ่งใหญ่
สมความปรารถนาในรัฐของพระเจ้าอังคะ
วันนี้ ผู้นั้นชื่อว่าโสณะ
เป็นผู้เยี่ยมที่สุดในธรรมทั้งหลาย ได้ถึงที่สุดทุกข์
[๖๓๓] ภิกษุพึงตัดสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ พึงละสังโยชน์เบื้องสูง ๕
และพึงเจริญอินทรีย์ ๕ ให้ยิ่ง
ภิกษุผู้ล่วงธรรมเป็นเครื่องข้องได้ทั้ง ๕
ท่านเรียกว่า ข้ามโอฆะได้แล้ว
[๖๓๔] สำหรับภิกษุผู้ประมาท มีใจพองเหมือนต้นอ้อ
ยังมีความยินดีในอายตนะภายนอก
ศีล สมาธิ และปัญญาย่อมไม่บริบูรณ์
[๖๓๕] ภิกษุเหล่านี้ละทิ้งกิจที่ควรทำ มาทำแต่กิจที่ไม่ควรทำ
อาสวะทั้งหลายของพวกเธอผู้ประมาท
มีใจพองเหมือนต้นอ้อ ย่อมเจริญ
[๖๓๖] ส่วนภิกษุเหล่าใดปรารภกายคตาสติด้วยดีเป็นนิตย์
ภิกษุเหล่านั้นมักกระทำกิจที่ควรทำเป็นนิตย์ ไม่ทำกิจที่ไม่ควรทำ
อาสวะของพวกเธอผู้มีสติสัมปชัญญะ ย่อมถึงความสิ้นไป
[๖๓๗] เมื่อพระศาสดาตรัสบอกทางตรงไว้แล้ว เธอทั้งหลายจงดำเนิน
ไปเถิด อย่าหยุดเสีย กุลบุตรผู้หวังประโยชน์
เมื่อเตือนตนด้วยตนเอง พึงน้อมตนเข้าถึงนิพพานได้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๔๔๙ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย เถรคาถา[๑๓. เตรสกนิบาต] รวมเรื่องพระเถระที่มีในนิบาต
[๖๓๘] เมื่อเราบำเพ็ญเพียรอย่างหนัก
พระศาสดาซึ่งมีพระจักษุยอดเยี่ยมในโลก
ได้ทรงแสดงธรรมอุปมาด้วยสายพิณสอนเรา
เราฟังพระดำรัสของพระองค์แล้วยินดีอยู่ในคำสอน
[๖๓๙] ทำสมถะ๑ให้ถึงพร้อมเพื่อบรรลุประโยชน์สูงสุด
เราบรรลุวิชชา ๓ ได้ทำตามคำสั่งสองของพุทธเจ้าแล้ว
[๖๔๐] เราผู้น้อมไปในเนกขัมมะ๒ และความสงัดใจ
น้อมไปในความไม่เบียดเบียน หมดความยึดมั่นถือมั่น
[๖๔๑] น้อมไปในความสิ้นตัณหาและความไม่หลงแห่งใจ
เพราะเห็นความเกิดขึ้นแห่งอายตนะ จิตจึงหลุดพ้นได้โดยชอบ
[๖๔๒] ภิกษุผู้มีจิตสงบระงับหลุดพ้นโดยชอบ ทำกิจเสร็จแล้วนั้น
ย่อมไม่มีการสั่งสม ทั้งไม่มีกิจอื่นที่จะต้องทำ
[๖๔๓] ภูเขาหินแท่งทึบย่อมไม่สะเทือนเพราะลมฉันใด
รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะและธรรมารมณ์ทั้งมวล
[๖๔๔] ทั้งที่เป็นอิฏฐารมณ์และอนิฏฐารมณ์
ทำจิตของผู้คงที่ให้หวั่นไหวไม่ได้ ฉันนั้น
จิตของผู้คงที่นั้น เป็นจิตตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว
ไม่เกาะเกี่ยวด้วยอารมณ์อะไร
เพราะผู้คงที่นั้นได้เห็นความเสื่อมไปแห่งอารมณ์นั้นแล้ว
เตรสกนิบาต จบ

รวมเรื่องพระเถระที่มีในนิบาตนี้ คือ
๑. พระโสณโกฬิวิสเถระมีฤทธิ์มากรูปเดียวเท่านั้น
และในเตรสกนิบาตนี้ มี ๑๓ คาถา ฉะนี้แล

เชิงอรรถ :
๑ สมาธิที่ทำให้เกิดวิปัสสนา (ขุ.เถร.อ. ๒/๖๓๙/๒๖๑)
๒ การออกบวช (ขุ.เถร.อ. ๒/๖๔๐/๒๖๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๔๕๐ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๑๔. จุททสกนิบาต] ๑. ขทิรวนิยเรวตเถรคาถา
๑๔. จุททสกนิบาต
๑. ขทิรวนิยเรวตเถรคาถา
ภาษิตของพระขทิวนิยเรวตเถระ
(พระขทิรวนิยเรวตเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ว่า)
[๖๔๕] นับแต่อาตมาออกบวชเป็นบรรพชิต
ไม่เคยดำริถึงสิ่งที่ไม่ดี ประกอบด้วยโทษเลยว่า
[๖๔๖] ขอสัตว์เหล่านี้จงถูกเบียดเบียน จงถูกฆ่า จงประสบทุกข์
อาตมาไม่เคยดำริในระยะกาลยาวนานเช่นนี้
[๖๔๗] แต่รู้เฉพาะการเจริญเมตตาไม่มีประมาณ
ซึ่งได้อบรมสั่งสมมาโดยลำดับตามที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้แล้ว
[๖๔๘] เป็นมิตร เป็นสหายกับสัตว์ทุกจำพวก
อนุเคราะห์สัตว์ทุกจำพวก
ยินดีในการไม่เบียดเบียน เจริญเมตตาจิตทุกเมื่อ
[๖๔๙] และทำจิตที่ไม่ง่อนแง่น ไม่ขุ่นเคืองให้บันเทิง
เจริญพรหมวิหาร ที่คนเลวส้องเสพไม่ได้
[๖๕๐] สาวกของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเข้าทุติยฌานที่ไม่มีวิตก
เป็นผู้ประกอบด้วยความเป็นผู้นิ่งอย่างประเสริฐโดยแท้จริง
[๖๕๑] ภูเขาศิลาล้วนตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว แม้ฉันใด
ภิกษุก็ฉันนั้น เพราะสิ้นโมหะ ย่อมไม่หวั่นไหวดุจภูเขา ฉันนั้น
[๖๕๒] คนผู้ไม่มีกิเลสเครื่องยั่วยวน
ใฝ่ใจแสวงหาความสะอาดอยู่เป็นนิตย์
ความชั่วเพียงเท่าปลายขนทราย
ย่อมปรากฏดังเท่าก้อนเมฆ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๔๕๑ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๑๔. จุททสกนิบาต] ๑. ขทิรวนิยเรวตเถรคาถา
[๖๕๓] เมืองชายแดนได้รับการคุ้มครองทั้งภายในและภายนอก ฉันใด
ท่านทั้งหลายโปรดคุ้มครองตนให้ได้ ฉันนั้น
ขณะอย่าได้ล่วงเลยท่านทั้งหลายไปเสีย
[๖๕๔] อาตมาไม่อยากตาย
ไม่อยากเป็นอยู่
แต่อาตมารอคอยเวลาอยู่
เหมือนลูกจ้างทำการงานคอยค่าจ้าง
[๖๕๕] อาตมาไม่อยากตาย
ไม่อยากเป็นอยู่
แต่อาตมามีสติสัมปชัญญะอยู่เฉพาะหน้า
คอยเวลาอันสมควร
[๖๕๖] อาตมาปรนนิบัติพระศาสดา
ได้ทำตามคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าแล้ว
ปลงภาระที่หนักเสียได้
ถอนตัณหาที่นำไปสู่ภพได้ขาดแล้ว
[๖๕๗] อาตมาออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตเพื่อประโยชน์ใด
ประโยชน์นั้นอันเป็นที่สิ้นไปแห่งสังโยชน์ทั้งปวง
อาตมาก็ได้บรรลุแล้ว
[๖๕๘] หน้าที่ที่ควรทำให้ถึงพร้อมมีทานและศีลเป็นต้น
ท่านทั้งหลาย โปรดทำให้ถึงพร้อมด้วยความไม่ประมาทเถิด
นี้เป็นคำสั่งสอนของอาตมา
อาตมาหลุดพ้นจากกิเลสและภพได้ทั้งหมดแล้ว
จักปรินิพพานละ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๔๕๒ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๑๔. จุททสกนิบาต] ๒. โคทัตตเถรคาถา
๒. โคทัตตเถรคาถา
ภาษิตของพระโคทัตตเถระ
(พระโคทัตตเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ว่า)
[๖๕๙] โคอาชาไนยดีถูกเทียมที่แอกเกวียน
สามารถนำแอกเกวียนไปได้
ถูกภาระหนักเบียดเบียน
ก็ไม่ยอมสลัดแอกเกวียนที่เทียมไว้ ฉันใด
[๖๖๐] เหล่าชนที่บริบูรณ์ด้วยปัญญา
เหมือนมหาสมุทรที่เต็มเปี่ยมด้วยน้ำ
ย่อมไม่ดูหมิ่นชนอื่น ๆ ฉันนั้น
ข้อนี้เป็นดังอริยธรรมของคนทั้งหลาย
[๖๖๑] นรชนคนหนุ่มทั้งหลายที่ตกอยู่ในอำนาจของกาลเวลา
ไปตามอำนาจของความเจริญและความเสื่อม
ย่อมประสบทุกข์ และย่อมเศร้าโศก
[๖๖๒] เหล่าปุถุชนที่ยังโง่เขลา มักไม่เห็นตามความเป็นจริง
พอมีสุขเป็นเหตุก็ฟูขึ้น พอมีทุกข์เป็นเหตุก็ฟุบลง
จึงเดือดร้อนเพราะเหตุ ๒ ประการนี้
[๖๖๓] ส่วนอริยชนทั้งหลายที่ล่วงตัณหา
เป็นเหตุพัวพันในทุกขเวทนา สุขเวทนา และอทุกขมสุขเวทนา
ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวดุจเสาเขื่อน ไม่ฟูขึ้นหรือฟุบลง
[๖๖๔] ย่อมไม่ติดในลาภ เสื่อมลาภ ยศ เสื่อมยศ
นินทา สรรเสริญ สุขและทุกข์เลย
[๖๖๕] ท่านเหล่านั้นไม่ติดในโลกธรรมทุกประเภท
เหมือนหยาดน้ำไม่ติดบนใบบัว
ธีรชนทั้งหลายประสบสุข ไม่พ่ายแพ้ในที่ทุกแห่ง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๔๕๓ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๑๔. จุททสกนิบาต] รวมเรื่องพระเถระที่มีในนิบาต
[๖๖๖] การไม่ได้ลาภโดยธรรม กับการได้ลาภโดยไม่ชอบธรรม
๒ อย่างนี้ การไม่ได้ลาภแต่ชอบธรรมประเสรฐิกว่า
การได้ลาภโดยไม่ชอบธรรมไม่ประเสริฐเลย
[๖๖๗] ผู้ไม่มีความรู้ มียศ กับผู้มีความรู้แต่ไม่มียศ
๒ จำพวกนี้ ผู้มีความรู้ แต่ไม่มียศ ประเสริฐกว่า
ผู้ไม่มีความรู้ มียศ ไม่ประเสริฐเลย
[๖๖๘] การที่คนพาลสรรเสริญ กับการที่บัณฑิตติเตียน
๒ อย่างนี้ การที่บัณฑิตติเตียนนั่นแหละประเสริฐกว่า
การที่คนพาลสรรเสริญไม่ประเสริฐเลย
[๖๖๙] ความสุขที่เกิดเพราะอาศัยกามคุณ
กับความทุกข์ที่เกิดแต่ความสงัด
๒ อย่างนี้ ความทุกข์ที่เกิดแต่ความสงัด ประเสริฐกว่า
ความสุขที่เกิดเพราะอาศัยกามคุณ ไม่ประเสริฐเลย
[๖๗๐] ความเป็นอยู่โดยไม่ชอบธรรม กับความตายโดยชอบธรรม
๒ อย่างนี้ ความตายโดยชอบธรรมประเสริฐกว่า
ความเป็นอยู่โดยไม่ชอบธรรม ไม่ประเสริฐเลย
[๖๗๑] ท่านเหล่าใดละความยินดี ยินร้ายได้
มีจิตสงบ เที่ยวไปในภพน้อยภพใหญ่ ไม่ติดอยู่ในโลก
ท่านเหล่านั้นไม่มีความรักหรือความชัง
[๖๗๒] เจริญโพชฌงค์ ๗ อินทรีย์ ๕ และพละ ๕
บรรลุความสงบอย่างยิ่ง ไม่มีอาสวะ ย่อมปรินิพพาน
จุททสกนิบาต จบ

รวมเรื่องพระเถระที่มีในนิบาตนี้ คือ
พระเถระ ๒ รูปนี้ มีฤทธิ์มาก คือ
๑. พระขทิรวนิยเรวตเถระ ๒. พระโคทัตตเถระ
ในจุททสกนิบาตนี้ มี ๒๘ คาถา ฉะนี้แล

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๔๕๔ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๑๕. โสฬสกนิบาต] ๑. อัญญาสิโกณฑัญญเถรคาถา
๑๕. โสฬสกนิบาต
๑. อัญญาสิโกณฑัญญเถรคาถา
ภาษิตของพระอัญญาโกณฑัญญเถระ
(ท้าวสักกเทวราชตรัสภาษิตที่ ๑ ว่า)
[๖๗๓] ข้าพเจ้านี้สดับธรรมซึ่งมีอรรถรสมาก จึงเลื่อมใสอย่างยิ่ง
ธรรมที่คลายกำหนัดพอใจ เพราะไม่ยึดมั่นโดยสิ้นเชิง
พระคุณท่านแสดงไว้แล้ว
(พระอัญญาโกณฑัญญเถระได้กล่าวภาษิตเหล่านี้ว่า)
[๖๗๔] อารมณ์ที่วิจิตรในโลกมากมาย
เห็นจะย่ำยีคนที่ยังมีความดำริถึงอารมณ์ ว่างาม
ซึ่งประกอบด้วยราคะในพื้นปฐพีนี้
[๖๗๕] เมื่อฝนห่าใหญ่ตกลงมาช่วยระงับฝุ่นธุลีที่ลมพัดให้ฟุ้งขึ้นได้ ฉันใด
เมื่อใดพระอริยสาวกพิจารณาเห็นด้วยปัญญา
เมื่อนั้น ความดำริผิดย่อมระงับไปได้ ฉันนั้น
[๖๗๖] เมื่อใด พระอริยสาวกพิจารณาเห็นด้วยปัญญาว่า
สังขารทั้งหลายทั้งปวงไม่เที่ยง
เมื่อนั้น ย่อมหน่ายในทุกข์ นั่นเป็นทางแห่งความบริสุทธิ์
[๖๗๗] เมื่อใด พระอริยสาวกย่อมพิจารณาเห็นด้วยปัญญาว่า
สังขารทั้งหลายทั้งปวงเป็นทุกข์
เมื่อนั้น ย่อมหน่ายในทุกข์ นั่นเป็นทางแห่งความบริสุทธิ์
[๖๗๘] เมื่อใด พระอริยสาวกย่อมพิจารณาเห็นด้วยปัญญาว่า
ธรรมทั้งหลายทั้งปวงเป็นอนัตตา
เมื่อนั้น ย่อมหน่ายในทุกข์ นั่นเป็นทางแห่งความบริสุทธิ์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๔๕๕ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๑๕. โสฬสกนิบาต] ๑. อัญญาสิโกณฑัญญเถรคาถา
[๖๗๙] อัญญาโกณฑัญญเถระผู้ตรัสรู้ตามพระพุทธเจ้า
ได้มีความบากบั่นอย่างแรงกล้า ละความเกิดและความตายได้
บำเพ็ญมัคคพรหมจรรย์อย่างบริบูรณ์สิ้นเชิง
[๖๘๐] ตัดบ่วงคือโอฆะ๑ ตะปูตรึงใจ๒อย่างมั่นคง
และทำลายภูเขาที่ทำลายได้ยากแล้ว
ข้ามไปถึงฝั่งคือนิพพาน มีปกติเข้าฌาน
พ้นจากเครื่องผูกคือกิเลสมารได้แล้ว
[๖๘๑] ภิกษุที่ยังมีจิตฟุ้งซ่าน กลับกลอก
คบหาแต่มิตรชั่ว ถูกคลื่น(คือความผูกโกรธ)ซัดไป
จมในห้วงน้ำใหญ่คือสงสาร
[๖๘๒] ส่วนภิกษุที่มีจิตไม่ฟุ้งซ่าน ไม่กลับกลอก มีปัญญารักษาตน
สำรวมอินทรีย์ คบหาแต่มิตรดี
เป็นนักปราชญ์ พึงทำความสิ้นทุกข์ได้
[๖๘๓] นรชนผู้รู้ประมาณในข้าวและน้ำย่อมซูบผอม
มีตัวสะพรั่งไปด้วยเส้นเอ็นคล้ายเถาหญ้านาง แต่มีใจไม่ย่อท้อ
[๖๘๔] ถูกฝูงเหลือบและยุงกัดในป่าใหญ่
พึงเป็นผู้มีสติอดกลั้นในอันตรายนั้น เหมือนช้างในสงคราม
[๖๘๕] อาตมาไม่อยากตาย ไม่อยากเป็นอยู่
แต่รอคอยเวลาอยู่ เหมือนลูกจ้างทำการงานคอยค่าจ้าง
[๖๘๖] อาตมาไม่อยากตาย ไม่อยากเป็นอยู่
แต่อาตมามีสติสัมปชัญญะอยู่เฉพาะหน้า คอยเวลาอันควร

เชิงอรรถ :
๑ ห้วงน้ำ ๔ อย่าง คือ (๑) กาโมฆะ ห้วงน้ำคือกาม (๒) ภโวฆะ ห้วงน้ำคือภพ (๓) ทิฏโฐฆะ ห้วงน้ำตือ
ทิฏฐิ (๔) อวิชโชฆะ ห้วงน้ำคืออวิชชา (ขุ.เถร.อ. ๒/๖๘๐/๒๘๓)
๒ ตะปูตรึงใจมี ๕ อย่าง คือ (๑) ความสงสัยในพระศาสดา (๒) ในพระธรรม ( ๓) ในพระสงฆ์ (๔) ในการ
ศึกษา (๕) โกรธไม่พอใจในเพื่อนพรหมจรรย์ (ขุ.เถร.อ. ๒/๖๘๐/๒๘๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๔๕๖ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๑๕. โสฬสกนิบาต] ๒. อุทายีเถรคาถา
[๖๘๗] อาตมาปรนนิบัติพระศาสดา
ได้ทำตามคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าแล้ว
ปลงภาระที่หนักเสียได้ ถอนตัณหาที่นำไปสู่ภพได้ขาดแล้ว
[๖๘๘] อาตมาออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตเพื่อประโยชน์ใด
ประโยชน์นั้นอาตมาได้บรรลุแล้ว
จะมีประโยชน์อะไรด้วยสัทธิวิหาริกผู้ว่ายากสำหรับอาตมา

๒. อุทายีเถรคาถา
ภาษิตของพระอุทายีเถระ
(พระอุทายีเถระเมื่อจะชมเชยพระศาสดา ได้กล่าวภาษิตเหล่านี้ว่า)
[๖๘๙] พระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้ทรงบังเกิดในหมู่มนุษย์
ฝึกฝนพระองค์แล้ว มีพระหฤทัยตั้งมั่น
ทรงดําเนินไปในทางที่ประเสริฐ ทรงยินดีในธรรมเป็นที่สงบระงับจิต
[๖๙๐] ทรงถึงความสำเร็จแห่งธรรมทั้งปวงพระองค์ใดที่มนุษย์ทั้งหลาย
นอบน้อม พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้นแม้เทวดาทั้งหลายก็
นอบน้อม ข้าพเจ้าฟังมาแต่พระอรหันต์ทั้งหลายดังว่ามานี้
[๖๙๑] เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายย่อมนอบน้อมพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
พระองค์ใด ผู้ทรงล่วงสังโยชน์ทั้งปวง เสด็จออกจากป่า๑ มาสู่
นิพพาน เสด็จออกจากกามมายินดีในเนกขัมมะ เหมือนทองคำที่
พ้นจากหิน
[๖๙๒] พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้นแล เป็นดุจช้างตัวประเสริฐ
ทรงรุ่งเรืองล่วงโลกพร้อมทั้งเทวโลก ดุจภูเขาหิมวันต์เหนือภูเขา
ศิลาเหล่าอื่น ทรงมีพระนามว่านาคโดยแท้จริง ทรงยอดเยี่ยม
กว่าผู้ที่มีนามว่านาคทั้งหมด

เชิงอรรถ :
๑ กิเลส (ขุ.เถร.อ. ๒/๖๙๑/๒๘,)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๔๕๗ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๑๕. โสฬสกนิบาต] ๒. อุทายีเถรคาถา
[๖๙๓] เราจะแสดงผู้ที่ได้นามว่านาคโดยแท้จริงนั้นแก่พวกท่าน
เพราะผู้ที่ไม่ทำชั่วทุกอย่าง ชื่อว่านาค
ความสงบเสงี่ยมและความไม่เบียดเบียนทั้ง ๒ นั้น
เป็นเท้าหน้าของผู้ที่ได้นามว่า ช้าง
[๖๙๔] สติ และสัมปชัญญะทั้ง ๒ นั้น
เป็นเท้าหลังของผู้ที่ได้นามว่าช้าง
ผู้ที่ได้นามว่าพญาช้าง
มีศรัทธาเป็นงวง มีอุเบกขาเป็นงาขาว
[๖๙๕] มีสติเป็นคอ มีปัญญาเครื่องพิจารณาค้นคว้าธรรมเป็นเศียร
มีธรรมคือสมถะและวิปัสสนาซึ่งเป็นที่รวมอยู่แห่งปัญญาเป็นท้อง
มีวิเวกเป็นหาง
[๖๙๖] พญาช้างคือพระพุทธเจ้านั้นทรงเข้าฌานประจำ
ทรงยินดีในนิพพาน มีพระหฤทัยตั้งมั่นดีภายใน
เมื่อเสด็จพระราชดำเนิน ก็มีพระหฤทัยตั้งมั่น
ประทับยืน ก็มีพระหฤทัยตั้งมั่น
[๖๙๗] เมื่อบรรทม ก็มีพระหฤทัยตั้งมั่น
แม้ประทับนั่ง ก็มีพระหฤทัยตั้งมั่น ทรงสำรวมทุกอย่าง
นี้เป็นคุณสมบัติของพญาช้างคือพระพุทธเจ้า
[๖๙๘] พญาช้าง คือพระพุทธเจ้านั้น บริโภคสิ่งที่ไม่มีโทษ
ไม่บริโภคสิ่งที่มีโทษ ได้อาหารและเครื่องนุ่งห่มแล้วงดการสั่งสม
[๖๙๙] ตัดสังโยชน์ กิเลสเครื่องผูกพันน้อยใหญ่ทั้งหมด
ไม่มีความห่วงใยเลย ไปได้ทุกทิศ
[๗๐๐] ดอกบัวขาวมีกลิ่นหอมหวน ชวนให้รื่นรมย์ใจเกิดก็ในน้ำ
เติบโตก็ในน้ำ แต่ไม่ติดอยู่กับน้ำ แม้ฉันใด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๔๕๘ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๑๕. โสฬสกนิบาต] รวมเรื่องพระเถระที่มีในนิบาต
[๗๐๑] พระพุทธเจ้าเสด็จอุบัติในโลก ทั้งทรงอยู่ในโลก
ก็ไม่ทรงติดอยู่กับโลก
เหมือนดอกบัวไม่ติดอยู่กับน้ำ ฉันนั้นเหมือนกัน
[๗๐๒] ไฟกองใหญ่ที่ลุกโชน เมื่อหมดเชื้อก็ดับไป
ถึงเมื่อยังมีเถ้าอยู่ เขาก็เรียกว่า ไฟดับ
[๗๐๓] อุปมาที่ให้รู้แจ่มแจ้งเนื้อความข้อนี้
วิญญูชนทั้งหลายแสดงไว้แล้ว
ท่านผู้ที่มีนามว่ามหานาคทั้งหลายจะรู้แจ้งพญาช้างคือพระพุทธเจ้า
อันเราผู้ได้นามว่านาคแสดงไว้แล้ว
[๗๐๔] พญาช้างคือพระพุทธเจ้า ปราศจากราคะ โทสะ โมหะ
หมดอาสวะ เมื่อทรงละพระวรกาย จะไม่มีอาสวะ ปรินิพพาน
โสฬสกนิบาต จบ

รวมเรื่องพระเถระที่มีในนิบาตนี้ คือ
พระเถระ ๒ รูปนี้ มีฤทธิ์มาก คือ
๑. พระอัญญาโกณฑัญญะเถระ ๒. พระอุทายีเถระ
ในโสฬสกนิบาตนี้ มี ๓๒ คาถา ฉะนี้แล

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๔๕๙ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๑๖. วีสตินิบาต] ๑. อธิมุตตเถรคาถา
๑๖. วีสตินิบาต
๑. อธิมุตตเถรคาถา
ภาษิตของพระอธิมุตตเถระ
(หัวหน้าโจร เมื่อจะสรรเสริญพระเถระ ได้กล่าว ๒ ภาษิตเหล่านี้ว่า)
[๗๐๕] เมื่อก่อน เหล่าสัตว์ที่พวกเราฆ่าเพื่อบูชายัญหรือเพื่อทรัพย์
ย่อมเกิดความกลัวทั้งนั้น ย่อมพากันหวาดหวั่นและบ่นเพ้อรำพัน
[๗๐๖] ท่านนั้นไม่มีความกลัว สีหน้าผ่องใสยิ่งนัก
เพราะเหตุไร ท่านจึงไม่คร่ำครวญ ในเมื่อเกิดภัยใหญ่เช่นนี้
(พระเถระ เมื่อจะแสดงธรรมโปรดหัวหน้าโจร จึงได้กล่าวภาษิตเหล่านี้ว่า)
[๗๐๗] ท่านหัวหน้า สำหรับผู้ที่ไม่เยื่อใยในชีวิตย่อมไม่มีทุกข์ทางใจ
ภัยทุกอย่างผู้ที่สิ้นสังโยชน์ล่วงพ้นภัยทุกอย่างได้แล้ว
[๗๐๘] เมื่อสิ้นตัณหาที่นำไปสู่ภพก็ย่อมไม่มีความกลัวตายโดยประการ
ใดประการหนึ่งในปัจจุบันนั้น เหมือนคนที่ไม่กลัวความหนัก ในเมื่อ
วางของหนักลงแล้ว
[๗๐๙] พรหมจรรย์อาตมาประพฤติดีแล้ว
และแม้มรรคอาตมาก็อบรมดีแล้ว
อาตมาจึงไม่มีความกลัวตาย เหมือนคนไม่กลัวโรคในเมื่อหายโรค
[๗๑๐] พรหมจรรย์อาตมาประพฤติดีแล้ว
และแม้มรรคอาตมาก็อบรมดีแล้ว
อาตมาได้เห็นภพว่าเป็นสิ่งที่ไม่น่ายินดี
เหมือนคนดื่มยาพิษแล้วสำรอกออกมา
[๗๑๑] ผู้ที่ถึงฝั่ง ไม่ยึดมั่น เสร็จกิจ หมดอาสวะ
ย่อมพอใจเพราะความสิ้นอายุ
เหมือนผู้ร้ายพ้นจากการถูกประหารชีวิต ก็ร่าเริงยินดีอยู่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๔๖๐ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๑๖. วีสตินิบาต] ๑. อธิมุตตเถรคาถา
[๗๑๒] ผู้บรรลุสภาวธรรมชั้นสูงสุด ไม่มีความเยื่อใยในโลกทั้งมวล
เมื่อจะตายก็ไม่เศร้าโศก เหมือนคนที่พ้นจากเรือนที่ถูกไฟไหม้
[๗๑๓] พระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้ทรงแสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ตรัสว่า
ความเกี่ยวข้องกันอย่างใดอย่างหนึ่งก็ดี ภพที่ได้ในหมู่สัตว์ก็ดี
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ตรัสว่า
สิ่งนี้ทั้งหมดไม่มีอิสระ
[๗๑๔] พระอริยสาวกผู้รู้แจ้งภพ ๓ นั้นตามที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้แล้ว
ไม่ยึดภพไร ๆ เหมือนคนไม่จับก้อนเหล็กแดงลุกโชน
[๗๑๕] อาตมาไม่มีความคิดว่า
เราได้เป็น เราจะเป็น เราจักไม่เป็นเช่นนี้อีก
สังขารทั้งหลายจักดับไป อาตมาจะคร่ำครวญถึงสังขารนั้นไปทำไม
[๗๑๖] ท่านหัวหน้า สำหรับผู้พิจารณาเห็นความเกิดขึ้นแห่งธรรม
ล้วน ๆ ความสืบเนื่องแห่งสังขารล้วน ๆ ตามที่เป็นจริง
ย่อมไม่มีความกลัว
[๗๑๗] เมื่อใด บุคคลพิจารณาเห็นโลกว่า
เสมอด้วยหญ้าและไม้ด้วยปัญญา
เมื่อนั้น เขาซึ่งไม่ยึดถือว่าเป็นของเรา
ย่อมไม่เศร้าโศกว่า ของเราไม่มี
[๗๑๘] อาตมาเบื่อหน่ายร่างกาย ไม่ต้องการภพ
กายนี้จะแตก และจะไม่มีกายอื่นอีก
[๗๑๙] หากพวกท่านปรารถนาจะทำกิจใดด้วยร่างกาย
ขอเชิญทำกิจนั้นได้ตามความปรารถนาเถิด
ในการทำหรือไม่ทำนั้น อาตมาจะไม่มีทั้งความเคียดแค้นและพอใจ
เพราะการทำนั้นเป็นเหตุ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๔๖๑ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๑๖. วีสตินิบาต] ๑.อธิมุตตเถรคาถา
[๗๒๐] พวกโจรฟังคำของพระอธิมุตตเถระนั้นซึ่งน่าอัศจรรย์
ทำให้ขนชูชันนั้นแล้ว วางศัสตราวุธแล้ว
ได้กล่าวเนื้อความนี้ว่า
[๗๒๑] ท่านผู้เจริญ ท่านไม่มีความเศร้าโศกนี้
เพราะท่านทำกรรมอะไรไว้
หรือใครเป็นอาจารย์ของท่าน
หรือเพราะอาศัยคำสอนของใคร
พระอธิมุตตเถระ (ได้ฟังดังนั้นแล้ว เมื่อจะให้คำตอบ จึงได้กล่าวภาษิต
เหล่านี้ว่า)
[๗๒๒] พระศาสดาผู้เป็นสัพพัญญู ทรงรู้เห็นธรรมทั้งปวง
ทรงชนะหมู่มาร มีพระกรุณาอย่างใหญ่หลวง
ทรงเยียวยารักษาสัตว์โลกทั้งมวล
เป็นอาจารย์ของอาตมา
[๗๒๓] พระองค์ได้ทรงแสดงธรรม
ที่ให้ถึงความสิ้นอาสวะอย่างยอดเยี่ยมนี้ไว้
เพราะอาศัยคำสั่งสอนของพระองค์
อาตมาจึงได้ความไม่เศร้าโศกนี้แล
[๗๒๔] พวกโจรฟังคำสุภาษิตของพระอธิมุตตเถระผู้เป็นฤๅษี
จึงพากันวางศัสตราและอาวุธ
บางพวกก็ได้งดเว้นกรรมนั้น
และบางพวกก็ได้ขอบวช
[๗๒๕] พวกเขา ครั้นบวชในพระศาสนาของพระสุคต
เจริญโพชฌงค์ ๗ และพละ ๕ แล้ว
เป็นบัณฑิต มีจิตเบิกบาน ยินดี อบรมอินทรีย์แล้ว
ได้บรรลุสันตบทคือนิพพาน อันไม่มีปัจจัยอะไร ๆ ปรุงแต่ง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๔๖๒ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๑๖. วีสตินิบาต] ๒. ปาราปริยเถรคาถา
๒. ปาราปริยเถรคาถา
ภาษิตของพระปาราปริยเถระ
(พระปาราปริยเถระเมื่อจะประกาศอาการที่ตนคิด จึงได้กล่าวภาษิตเหล่านี้ว่า)
[๗๒๖] ภิกษุชื่อปาราปริยะ เป็นสมณะ นั่งอยู่แต่ลำพังผู้เดียว
มีจิตสงบสงัดเข้าฌานอยู่ ได้มีความคิดว่า
[๗๒๗] คนพึงทำอะไรโดยลำดับ
ประพฤติวัตรอย่างไร ประพฤติมารยาทอย่างไร
จึงจะชื่อว่าพึงทำกิจของตนและไม่เบียดเบียนใคร ๆ
[๗๒๘] อินทรีย์ทั้งหลายนั่นแหละ ย่อมมีไว้เพื่อเป็นประโยชน์
และไม่เป็นประโยชน์สำหรับมวลมนุษย์
อินทรีย์ที่ไม่ได้ระวังรักษาย่อมเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์
ส่วนอินทรีย์ที่ระวังรักษาแล้วย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์
[๗๒๙] คนที่ระวังรักษาและคุ้มครองอินทรีย์เท่านั้น
ชื่อว่าเป็นผู้ทำกิจของตน และไม่พึงเบียดเบียนใคร ๆ
[๗๓๐] ถ้าผู้ใดไม่ห้ามจักขุนทรีย์ที่เป็นไปในรูปทั้งหลายมักไม่เห็นโทษ
ผู้นั้นย่อมพ้นจากทุกข์ไม่ได้เลย
[๗๓๑] อนึ่ง ผู้ใดไม่ห้ามโสตินทรีย์ที่เป็นไปในเสียงทั้งหลาย
มักไม่เห็นโทษ ผู้นั้นย่อมพ้นจากทุกข์ไม่ได้เลย
[๗๓๒] หากผู้ใดไม่เห็นอุบายเป็นที่สลัดออก ส้องเสพกลิ่น
ผู้นั้นยังติดอยู่ในกลิ่น ย่อมพ้นจากทุกข์ไม่ได้
[๗๓๓] ผู้ใดยังคำนึงถึงรสเปรี้ยว รสหวาน และรสขม
ติดอยู่ในความอยากในรส ย่อมไม่รู้สึกถึงความคิดในใจที่เกิดขึ้นว่า
เราจะทำที่สุดทุกข์ ผู้นั้นก็ย่อมพ้นจากทุกข์ไม่ได้
[๗๓๔] ผู้ใดยังนึกถึงโผฏฐัพพะที่สวยงาม ไม่ปฏิกูล ยินดีแล้ว
ผู้นั้นย่อมประสบทุกข์ต่าง ๆ ซึ่งมีราคะเป็นเหตุ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๔๖๓ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๑๖. วีสตินิบาต] ๒.ปาราปริยเถรคาถา
[๗๓๕] ผู้ใดไม่อาจระวังรักษาใจจากธรรมารมณ์เหล่านี้
ทุกข์ที่เกิดจากกระแสอารมณ์ทั้ง ๕ ย่อมติดตามผู้นั้น
เพราะไม่ระวังรักษาใจนั้น
[๗๓๖] ร่างกายนี้เต็มไปด้วยหนอง เลือด และซากศพเป็นจำนวนมาก
ที่นรชนผู้กล้าสร้างไว้ เกลี้ยงเกลา วิจิตรงดงามแต่ภายนอก
ภายในเต็มไปด้วยของไม่สะอาด มีคูถเป็นต้น ดุจสมุก
[๗๓๗] ที่เผ็ดร้อน มีรสหวานชื่นใจ ผูกพันด้วยความรัก
เป็นทุกข์ ฉาบไว้ด้วยของที่น่าชื่นใจภายนอก
ดุจมีดโกนทาน้ำผึ้งที่คนเขลาไม่รู้ซึ้งฉะนั้น
[๗๓๘] บุรุษที่ยังกำหนัดยินดีในรูป เสียง กลิ่น (รส) และโผฏฐัพพะ
ของสตรี ย่อมประสบทุกข์ต่าง ๆ
[๗๓๙] กระแสตัณหาในสตรีทั้ง ๕ ย่อมไหลไปในทวารทั้ง ๕ ของบุรุษ
ผู้ใดมีความเพียรอาจทำการป้องกันกระแสตัณหาทั้ง ๕ นั้นได้
[๗๔๐] ผู้นั้น มีความรู้ตั้งอยู่ในธรรม ขยัน มีปัญญาเครื่องพิจารณา
ถึงจะยินดีอยู่ ก็พึงทำกิจที่ประกอบด้วยเหตุผลได้
[๗๔๑] ถ้ายังติดอยู่กับการประกอบกิจที่เป็นประโยชน์ปัจจุบัน
ควรเว้นกิจที่ไม่เป็นประโยชน์ เป็นผู้ไม่ประมาท
มีปัญญาเครื่องพิจารณา รู้ว่ากิจนั้นไม่ควรทำแล้ว พึงเว้นเสีย
[๗๔๒] ควรยึดกิจที่ประกอบประโยชน์ในปัจจุบัน
และความยินดีที่ประกอบด้วยธรรม ประพฤติ เพราะความยินดี
นั้นแล ชื่อว่าเป็นความยินดีสูงสุด
[๗๔๓] ผู้ใดปรารถนาจะใช้อุบายต่าง ๆ ช่วงชิงเอาสิ่งของของคนเหล่าอื่น
ฆ่า เบียดเบียนผู้อื่น และทำผู้อื่นให้เศร้าโศก
ฉกชิงเอาสิ่งของของคนเหล่าอื่นด้วยความทารุณ ร้ายกาจ
การกระทำของผู้นั้นไม่ประกอบด้วยประโยชน์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๔๖๔ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๑๖. วีสตินิบาต] ๓. เตลกานิเถรคาถา
[๗๔๔] คนมีกำลัง เมื่อจะถากไม้ย่อมใช้ลิ่มตอกลิ่ม ฉันใด
ภิกษุผู้ฉลาดก็ฉันนั้น ย่อมใช้อินทรีย์นั่นแหละขจัดอินทรีย์
[๗๔๕] นรชนใดอบรมศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ และปัญญา
ใช้อินทรีย์ ๕ ฝึกอินทรีย์ ๕ เป็นพราหมณ์
ไม่มีทุกข์ ถึงอนุปาทิเสสนิพพาน
[๗๔๖] นรชนนั้นมีความรู้ ตั้งอยู่ในธรรม
ทำตามอนุสาสนีที่เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าทุกประการ
ย่อมประสบสุข

๓. เตลกานิเถรคาถา
ภาษิตของพระเตลกานิเถระ
(พระเตลกานิเถระได้กล่าวภาษิตเหล่านี้ว่า)
[๗๔๗] เราได้มีความเพียร ค้นคิดธรรมอยู่นานหนอ
เมื่อสอบถามสมณพราหมณ์ ก็ยังไม่ได้ความกระจ่างใจ
[๗๔๘] ในโลกนี้ ใครเล่า เป็นผู้ถึงฝั่ง
ใครเป็นผู้บรรลุธรรมที่หยั่งลงสู่อมตะ
เราจะปฏิบัติตามธรรมของใครซึ่งจะเป็นเหตุให้รู้แจ้งปรมัตถธรรมได้
[๗๔๙] เรามีความคดคือกิเลสอยู่ภายใน เหมือนปลากินเบ็ด
ทั้งถูกผูกด้วยบ่วงคือกิเลส เหมือนท้าวเวปจิตติอสูรถูกผูกด้วยบ่วง
ของท้าวสักกะจอมเทพ
[๗๕๐] เรากระชากบ่วงคือกิเลสนั้นไม่หลุด
จึงไม่พ้นไปจากความเศร้าโศกและความร่ำไรรำพันนั้น
ใครในโลกนี้จะช่วยแก้เครื่องผูกคือกิเลส
ประกาศทางตรัสรู้ให้เราได้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๔๖๕ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๑๖. วีสตินิบาต] ๓. เตลกานิเถรคาถา
[๗๕๑] เราจะปฏิบัติตามธรรมของใครคือสมณะ
หรือพราหมณ์หรือใครผู้แสดงธรรมเป็นเหตุกำจัดกิเลส
ที่จะลอยชราและมรณะเสียได้
[๗๕๒] จิตของเราถูกร้อยไว้ด้วยความลังเลสงสัย
ประกอบด้วยความแข่งดีมีกำลัง ถึงความกระด้าง
เพราะใจประกอบด้วยความโกรธ ถูกความโลภคอยทำลาย
[๗๕๓] เชิญท่านดูลูกศรคือทิฏฐิ ๓๐ ประเภท
อันมีธนูคือตัณหาเป็นสมุฏฐานเนื่องอยู่ในอก
มีกำลังทำลายหทัยอยู่เถิด
[๗๕๔] การไม่ละทิฏฐิที่เหลือ๑เป็นอันถูกลูกศร
คือความดำริผิดให้อาจหาญ
เราถูกยิงด้วยลูกศรคือทิฏฐินั้นหวั่นไหวอยู่
เหมือนใบไม้ไหวเพราะต้องลม
[๗๕๕] บาปกรรมตั้งขึ้นภายในเรา พลันให้ผล
เป็นไปในร่างกายที่มีผัสสายตนะ๒ ๖ ทุกเมื่อ
[๗๕๖] เรายังไม่พบหมอที่จะช่วยถอนลูกศร๓ของเรานั้นได้เลย
ทั้งหมดนั้นก็ไม่สามารถใช้เครื่องมือแพทย์ต่าง ๆ
ศัสตรา เวทมนต์ และยาอื่น ๆ ถอนลูกศรนั้นได้
[๗๕๗] ใครเล่าไม่ต้องใช้ศัสตรา ไม่ทำร่างกายให้เป็นแผล
ไม่เบียดเบียนร่างกายทุกส่วน จักถอนลูกศรคือกิเลส
ซึ่งเป็นลูกศรโดยปรมัตถ์ที่เสียบอยู่ภายในหทัยของเราออกได้

เชิงอรรถ :
๑ คือตั้งแต่สักกายทิฏฐิเป็นต้น (ขุ.เถร.อ. ๒/๗๕๔/๓๑๕)
๒ ผัสสายตนะ ๖ ได้แก่ ๑.จักขุสัมผัส ความกระทบทางตา ๒.โสตสัมผัส ความกระทบทางหู ๓.ฆานสัมผัส
ความกระทบทางจมูก ๔.ชิวหาสัมผัส ความกระทบทางลิ้น ๕.กายสัมผัส ความกระทบทางกาย ๖.
มโนสัมผัส ความกระทบทางใจ (ที.ปาฏิ. ๑๑/๓๒๓/๒๑๕)
๓ คือทิฏฐิและกิเลส

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๔๖๖ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๑๖. วีสตินิบาต] ๓. เตลกานิเถรคาถา
[๗๕๘] ผู้ลอยโทษที่เป็นพิษ(คือกิเลสมีราคะเป็นต้น)เสียได้
จัดว่าเป็นใหญ่ในธรรมแท้ ประเสริฐสุด
ช่วยชี้มือ(คืออริยมรรค) บอกที่บก(คือนิพพาน)
ให้แก่เราผู้ตกห้วงน้ำใหญ่ คือสงสารที่ลึก
[๗๕๙] เราได้จมลงในห้วงน้ำใหญ่คือสงสาร
ซึ่งมีดินเหนียวคือธุลีมีราคะเป็นต้นที่ไม่สามารถจะนำออกได้
เป็นที่แผ่ไปแห่งมายาความริษยา ความแข่งดี
และความง่วงเหงาหาวนอน
[๗๖๐] ความดำริทั้งหลายที่อาศัยราคะ เป็นเหมือนห้วงน้ำใหญ่
มีอุทธัจจะเป็นเมฆคำรน มีเมฆหมอกคือสังโยชน์ ๑๐
ย่อมนำเราผู้มีความเห็นผิดไป
[๗๖๑] กระแสตัณหาไหลไปในอารมณ์ทั้งปวง
ทั้งตัณหาดังเถาวัลย์ก็ผลิขึ้น
ใครจะพึงกั้นกระแสตัณหาเหล่านั้นได้
ใครเล่าจักตัดตัณหาดังเถาวัลย์นั้นได้
[๗๖๒] ท่านผู้เจริญทั้งหลาย เชิญท่านทั้งหลายทำเขื่อนอันเป็นเครื่อง
กั้นกระแสตัณหาเสีย อย่าให้กระแสตัณหาที่เกิดแต่ใจพัดพาท่าน
ทั้งหลายไปเร็วพลันดังกระแสน้ำพัดพาต้นไม้ที่อยู่ริมฝั่งไป
[๗๖๓] พระศาสดาทรงมีพระปัญญาเป็นอาวุธ
อันหมู่ฤๅษีอาศัยแล้ว เป็นที่พึ่งสำหรับเราผู้มีภัย
กำลังแสวงหาฝั่งคือนิพพานจากที่มิใช่ฝั่งได้อย่างนี้
[๗๖๔] พระองค์ได้ทรงประทานบันได ที่นายช่างทำดีแล้ว บริสุทธิ์
ทำด้วยไม้แก่นคือธรรมอันมั่นคง
แก่เราผู้กำลังถูกกระแสห้วงน้ำ(คือตัณหา)พัดไป
และรับสั่งว่า อย่ากลัวเลย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๔๖๗ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๑๖. วีสตินิบาต] ๔. รัฏฐปาลเถรคาถา
[๗๖๕] เราได้ขึ้นปราสาทคือสติปัฏฐาน
พิจารณาเห็นหมู่สัตว์ผู้ยินดีในร่างกายของตน
ที่เราจักได้รู้ในกาลก่อนโดยเป็นแก่นสาร
[๗๖๖] เมื่อคราวที่เราได้เห็นทาง (คือวิปัสสนา)
ซึ่งเป็นอุบายสำหรับขึ้นเรือ (คืออริยมรรค)
แล้วไม่ยึดถือว่าเป็นตัวตน จึงได้เห็นท่าที่ดีเยี่ยม๑
[๗๖๗] พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้ทรงแสดงทางอันยอดเยี่ยม
เพื่อไม่ให้เป็นไปแห่งบาปธรรมคือทิฏฐิและมานะเป็นต้น
ซึ่งเปรียบเหมือนลูกศรเกิดแต่ตน ทั้งเกิดแต่ตัณหาที่นำไปสู่ภพได้
[๗๖๘] พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงกำจัดโทษที่เป็นพิษ
ได้ทรงช่วยบรรเทากิเลสเครื่องร้อยรัดของเราที่นอนเนื่องอยู่ในสันดาน
ครอบงำสันดานอยู่มาเป็นเวลานาน

๔. รัฏฐปาลเถรคาถา
ภาษิตของพระรัฏฐปาลเถระ
(พระรัฏฐปาลเถระได้กล่าวภาษิตเหล่านี้ว่า)
[๗๖๙] ขอเชิญโยมมารดาบิดาทรงดูอัตภาพ
ที่ผ้าและอาภรณ์เป็นต้น ทำให้วิจิตร
มีกายเป็นแผล มีกระดูก ๓๐๐ ท่อนเป็นโครงร่าง
กระสับกระส่ายที่พวกคนเขลาดำริหวังกันส่วนมาก
ซึ่งไม่มีความยั่งยืนตั้งมั่น
[๗๗๐] ขอเชิญโยมมารดาบิดาทรงดูรูปที่สตรีใช้แก้วมณีและต่างหู
แต่งให้วิจิตร ซึ่งมีหนังหุ้มกระดูกไว้ภายใน งามพร้อมเสื้อผ้า

เชิงอรรถ :
๑ โสดาปัตติมรรค (ขุ.เถร.อ. ๒/๗๖๖/๓๑๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๔๖๘ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๑๖. วีสตินิบาต] ๔. รัฏฐปาลเถรคาถา
[๗๗๑] เท้าทั้งสองย้อมด้วยครั่งสด หน้าทาด้วยจุรณ
ก็สามารถทำคนเขลาให้ลุ่มหลง
แต่ไม่สามารถทำคนที่แสวงหาฝั่งคือนิพพานให้ลุ่มหลงได้
[๗๗๒] ผมที่ตบแต่งให้เป็นลอนดังกระดานหมากรุก
ตาทั้งสองที่หยอดด้วยยาหยอดตาก็สามารถทำคนเขลาให้ลุ่มหลง
แต่ไม่สามารถทำคนที่แสวงหาฝั่งคือนิพพานให้ลุ่มหลงได้
[๗๗๓] กายที่มีสภาพเปื่อยเน่าเป็นธรรมดาซึ่งตบแต่งแล้ว
เหมือนกล่องยาหยอดตาใหม่ ๆ ที่งดงาม
ก็สามารถทำคนเขลาให้ลุ่มหลง
แต่ไม่สามารถทำคนที่แสวงหาฝั่งคือนิพพานให้ลุ่มหลงได้
[๗๗๔] นายพรานเนื้อดักบ่วงไว้แล้ว เนื้อไม่มาติดบ่วง
เราทั้งหลาย(ฝูงเนื้อ)กินเหยื่อแล้วหลบหนีไป
เมื่อนายพรานกำลังคร่ำครวญอยู่
[๗๗๕] เราทั้งหลายกัดบ่วงของพรานเนื้อขาดแล้ว เนื้อไม่ติดบ่วง
เรากินเหยื่อแล้วหลบหนีไป เมื่อพรานเนื้อกำลังเศร้าโศกอยู่
[๗๗๖] อาตมาเห็นผู้คนที่มีทรัพย์ในโลก ได้ทรัพย์เครื่องปลื้มใจแล้ว
ไม่ยอมให้(ใคร) เพราะความหลง
ได้ทรัพย์แล้ว เก็บสะสมไว้ และปรารถนากามคุณยิ่ง ๆ ขึ้นไป
[๗๗๗] พระราชาทรงกดขี่ ช่วงชิงเอาแผ่นดิน
ทรงครอบครองแผ่นดินซึ่งมีสมุทรสาครล้อมรอบ
ตลอดสมุทรสาครฝั่งนี้ ยังไม่ทรงพอ
ยังทรงปรารถนาจะครอบครองสมุทรสาครฝั่งโน้นอีก
[๗๗๘] ทั้งพระราชาและคนอื่นเป็นจำนวนมากที่ยังไม่ปราศจากตัณหา
เข้าถึงความตาย ยังไม่เต็มตามที่ต้องการเลย
ก็ละทิ้งร่างกายไป เพราะความอิ่มด้วยกามไม่มีในโลก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๔๖๙ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๑๖. วีสตินิบาต] ๔. รัฏฐปาลเถรคาถา
[๗๗๙] หมู่ญาติพากันสยายผม คร่ำครวญถึงคนที่ตายนั้นและพูดว่า
ทำอย่างไรหนอ พวกญาติของเราทั้งหลายจึงจะไม่ตาย
แต่นั้นก็นำศพนั้นซึ่งห่อผ้าไว้แล้วยกขึ้นสู่เชิงตะกอนแล้วช่วยกันเผา
[๗๘๐] ศพนั้นถูกเขาใช้หลาวแทงเผาอยู่ ละโภคทรัพย์ มีแต่ผ้าผืนเดียว
เมื่อคนจะตาย ญาติ มิตร หรือสหายก็ช่วยไม่ได้
[๗๘๑] ทายาททั้งหลายก็ขนทรัพย์สมบัติของเขาไป
ส่วนสัตว์ที่ตายไปก็ย่อมไปตามกรรม
เมื่อตายไป ทรัพย์ไร ๆ คือ บุตร ภรรยา ข้าวของ เงินทอง
และแว่นแคว้นก็ติดตามไปไม่ได้
[๗๘๒] ทรัพย์ช่วยคนให้มีอายุยืนไม่ได้
ทั้งช่วยคนให้ละความแก่ก็ไม่ได้
นักปราชญ์ทั้งหลายกล่าวชีวิตนั้นว่าน้อยนัก
ไม่ยั่งยืน มีความแปรเปลี่ยนไปเป็นธรรมดา
[๗๘๓] ทั้งคนมั่งมี ทั้งคนยากจนก็ย่อมประสบเช่นนั้น
ทั้งพาลและบัณฑิตก็ประสบเหมือนกันทั้งนั้น
คนพาลนั่นแหละถูกเหตุแห่งทุกข์กระทบเข้า
ย่อมหวั่นไหวเพราะความเป็นคนโง่
ส่วนบัณฑิตถูกต้องก็ไม่หวั่นไหว
[๗๘๔] เพราะเหตุนั้นแล ปัญญาเท่านั้นเป็นเหตุบรรลุนิพพาน
ซึ่งเป็นที่สุดแห่งภพในโลกนี้ จึงประเสริฐกว่าทรัพย์
ก็เพราะยังไม่ได้บรรลุที่สุด คนพาลทั้งหลายจึงทำแต่กรรมชั่วในภพ
น้อยภพใหญ่เพราะความเขลา
[๗๘๕] ผู้ที่ทำกรรมชั่ว ต้องเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในสังสารวัฏร่ำไป
คนมีปัญญาน้อย เมื่อเชื่อคนที่ทำกรรมชั่วนั้น
ก็ย่อมเวียนว่ายตายเกิดร่ำไป

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๔๗๐ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๑๖. วีสตินิบาต] ๔. รัฏฐปาลเถรคาถา
[๗๘๖] โจรผู้ทำกรรมถูกเขาจับได้ตรงทาง ๓ แยก
ย่อมเดือดร้อนเพราะกรรมของตน ฉันใด
หมู่สัตว์ผู้ทำกรรมชั่ว ตายไปแล้ว ย่อมเดือดร้อนในโลกหน้า
เพราะกรรมของตน ฉันนั้น
[๗๘๗] เพราะกามทั้งหลายที่งดงามน่าปรารถนาชวนให้รื่นรมย์ใจ
ย่อมย่ำยีจิตโดยสภาวะต่าง ๆ ฉะนั้น
อาตมาเห็นโทษในกามคุณทั้งหลาย จึงได้บวช มหาบพิตร
[๗๘๘] สัตว์ทั้งหลายทั้งหนุ่มทั้งแก่ พอร่างแตกสลายก็ล่วงไป
เหมือนผลไม้สุกงอมร่วงหล่นไป
มหาบพิตร อาตมาเห็นความไม่เที่ยงแม้นี้ จึงได้บวช
ความเป็นสมณะที่ปฏิบัติไม่ผิดนั่นแหละ ประเสริฐกว่า
[๗๘๙] อาตมาบวชด้วยศรัทธาได้ปฏิบัติชอบในพระศาสนาของพระชินเจ้า
การบวชของอาตมาไม่มีโทษ อาตมาฉันอาหารอย่างไม่เป็นหนี้
[๗๙๐] พิจารณาเห็นกามทั้งหลายโดยความเป็นของร้อน
เงินทองโดยความเป็นศัสตรา ทุกข์ตั้งแต่ถือปฏิสนธิในครรภ์ และ
ภัยใหญ่ในนรก
[๗๙๑] ครั้นเห็นโทษนี้แล้ว จึงได้ความสังเวชในครั้งนั้น
ในคราวนั้น อาตมานั้นเป็นผู้ถูกลูกศรคือราคะเป็นต้นทิ่มแทงอยู่
บัดนี้ถึงความสิ้นอาสวะแล้ว
[๗๙๒] อาตมาปรนนิบัติพระศาสดา
ได้ทำตามคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าแล้ว ปลงภาระที่หนักเสียได้
ถอนตัณหาที่นำไปสู่ภพได้ขาดแล้ว
[๗๙๓] อาตมาออกบวชเป็นบรรพชิตเพื่อประโยชน์ใด
ประโยชน์นั้นอันเป็นที่สิ้นไปแห่งสังโยชน์ทั้งปวง
อาตมาก็ได้บรรลุแล้ว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๔๗๑ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๑๖. วีสตินิบาต] ๕. มาลุงกยปุตตเถรคาถา
๕. มาลุงกยปุตตเถรคาถา
ภาษิตของพระมาลุงกยบุตรเถระ
(พระมาลุงกยบุตรเถระได้กล่าวภาสิตเหล่านี้ว่า)
[๗๙๔] เมื่อเห็นรูป มัวใส่ใจถึงอารมณ์อันเป็นที่รักอยู่
ย่อมหลงลืมสติได้
ผู้ที่มีจิตกำหนัดนักยังเสวยรูปารมณ์อยู่
[๗๙๕] เวทนาต่าง ๆ ซึ่งมีรูปเป็นอารมณ์ ย่อมเจริญแก่เขา
อภิชฌา๑ และวิหิงสา๒ ย่อมเบียดเบียนจิตของเขา
เพราะสั่งสมอย่างนี้ ทุกข์ย่อมเป็นไป
ท่านกล่าวว่ายังห่างไกลนิพพาน
[๗๙๖] เมื่อฟังเสียงแล้ว มัวใส่ใจถึงอารมณ์อันเป็นที่รักอยู่
ย่อมหลงลืมสติได้
ผู้ที่มีจิตกำหนัดนัก ยังเสวยสัททารมณ์อยู่
สัททารมณ์นั้นย่อมผูกพันเขาไว้
[๗๙๗] เวทนาต่าง ๆ ซึ่งมีเสียงเป็นอารมณ์ ย่อมเจริญแก่เขา
อภิชฌา และวิหิงสา ย่อมเบียดเบียนจิตของเขา
เพราะสั่งสมอย่างนี้ ทุกข์ย่อมเป็นไป
ท่านกล่าวว่ายังห่างไกลนิพพาน
[๗๙๘] เมื่อบุคคลดมกลิ่นแล้ว ใส่ใจว่าเป็นนิมิตที่น่ายินดี
ก็เป็นอันหลงลืมสติ
ก็เมื่อเป็นเช่นนั้น เขามีจิตกำหนัดนัก
เพลิดเพลิน และติดคันธารมณ์นั้นอยู่

เชิงอรรถ :
๑ ความเพ่งเล็งอยากได้จัด (ขุ.เถร.อ. ๒/๗๙๕/๓๓๕)
๒ ความพยาบาท (ขุ.เถร.อ. ๒/๗๙๒/๓๓๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๔๗๒ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๑๖. วีสตินิบาต] ๕. มาลุงกยปุตตเถรคาถา
[๗๙๙] เวทนาต่าง ๆ ซึ่งมีกลิ่นเป็นอารมณ์ ย่อมเจริญแก่เขา
อภิชฌา และวิหิงสา ย่อมเบียดเบียนจิตของเขา
เพราะสั่งสมอย่างนี้ ทุกข์ย่อมเป็นไป
ท่านกล่าวว่า ยังห่างไกลนิพพาน
[๘๐๐] เมื่อบุคคลลิ้มรสแล้ว ใส่ใจว่าเป็นนิมิตที่อร่อย
ก็เป็นอันหลงลืมสติ
ก็เมื่อเป็นเช่นนั้น เขามีจิตกำหนัดนัก
เพลิดเพลิน และติดรสารมณ์นั้นอยู่
[๘๐๑] เวทนาต่าง ๆ ซึ่งมีรสเป็นอารมณ์ ย่อมเจริญแก่เขา
อภิชฌา และวิหิงสา ย่อมเบียดเบียนจิตของเขา
เพราะสั่งสมอย่างนี้ ทุกข์ย่อมเป็นไป
ท่านกล่าวว่ายังห่างไกลนิพพาน
[๘๐๒] เมื่อบุคคลถูกต้องโผฏฐัพพะแล้ว ใส่ใจว่าเป็นนิมิตที่น่าติดใจ
ก็เป็นอันหลงลืมสติ
ก็เมื่อเป็นเช่นนั้น เขามีจิตกำหนัดนัก
เพลิดเพลิน และติดโผฏฐัพพารมณ์นั้นอยู่
[๘๐๓] เวทนาต่าง ๆ ซึ่งมีผัสสะเป็นอารมณ์ ย่อมเจริญแก่เขา
อภิชฌา และวิหิงสา ย่อมเบียดเบียนจิตของเขา
เพราะสั่งสมอย่างนี้ ทุกข์ย่อมเป็นไป
ท่านกล่าวว่า ยังห่างไกลนิพพาน
[๘๐๔] เมื่อบุคคลรู้ธรรมารมณ์แล้ว
ใส่ใจว่าเป็นนิมิตที่น่าเพลิดเพลิน
ก็เป็นอันหลงลืมสติ
ก็เมื่อเป็นเช่นนั้น เขามีจิตกำหนัดนัก
เพลิดเพลิน และติดธรรมารมณ์นั้นอยู่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๔๗๓ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๑๖. วีสตินิบาต] ๕. มาลุงกยปุตตเถรคาถา
[๘๐๕] เวทนาต่าง ๆ ซึ่งมีธรรมารมณ์เป็นเหตุ ย่อมเจริญแก่เขา
อภิชฌา และวิหิงสา ย่อมเบียดเบียนจิตของเขา
เพราะสั่งสมอย่างนี้ ทุกข์ย่อมเป็นไป
ท่านกล่าวว่ายังห่างไกลนิพพาน
[๘๐๖] ผู้ที่เห็นรูปแล้ว มีสติอยู่เฉพาะหน้า
ไม่กำหนัดยินดีในรูป มีจิตคลายความกำหนัด
รู้แจ้งรูปารมณ์นั้น และไม่ติดรูปารมณ์นั้นอยู่
[๘๐๗] เมื่อพระโยคีนั้นพิจารณาเห็นรูป
โดยความเป็นของไม่เที่ยงเป็นต้น
หรือแม้เสวยเวทนาโดยที่กิเลสมีอภิชฌาเป็นต้น เป็นไปไม่ได้
กิเลสวัฏย่อมสิ้นไป ย่อมก่อรากขึ้นไม่ได้ฉันใด
ท่านมีสติประพฤติอยู่อย่างนี้ก็ฉันนั้น
เมื่อไม่ก่อวัฏฏทุกข์อย่างนี้ ท่านกล่าวว่าอยู่ใกล้นิพพาน
[๘๐๘] ผู้ที่ฟังเสียงแล้ว มีสติอยู่เฉพาะหน้า
ไม่กำหนัดยินดีในเสียง
มีจิตคลายความกำหนัด
รู้แจ้งสัททารมณ์นั้น และไม่ติดสัททารมณ์นั้นอยู่
[๘๐๙] เมื่อพระโยคีนั้น ฟังเสียง หรือแม้เสวยเวทนา
โดยที่กิเลสมีอภิชฌาเป็นต้น เป็นไปไม่ได้
กิเลสวัฏ ย่อมสิ้นไป ย่อมก่อรากขึ้นไม่ได้
ท่านมีสติประพฤติอยู่อย่างนี้ เมื่อไม่ก่อวัฏฏทุกข์อย่างนี้
ท่านกล่าวว่า อยู่ใกล้นิพพาน
[๘๑๐] ผู้ที่ดมกลิ่นแล้ว มีสติอยู่เฉพาะหน้า
ไม่กำหนัดยินดีในกลิ่น มีจิตคลายความกำหนัด
รู้แจ้งคันธารมณ์นั้น และไม่ติดคันธารมณ์นั้นอยู่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๔๗๔ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๑๖. วีสตินิบาต] ๕. มาลุงกยปุตตเถรคาถา
[๘๑๑] เมื่อพระโยคีนั้น ดมกลิ่น หรือแม้เสวยเวทนา
โดยที่กิเลสมีอภิชฌาเป็นต้น เป็นไปไม่ได้
กิเลสวัฏ ย่อมสิ้นไป ย่อมก่อรากขึ้นไม่ได้
ท่านมีสติประพฤติอยู่อย่างนี้ เมื่อไม่ก่อวัฏฏทุกข์อย่างนี้
ท่านกล่าวว่า อยู่ใกล้นิพพาน
[๘๑๒] ผู้ที่ลิ้มรสแล้ว มีสติอยู่เฉพาะหน้า
ไม่กำหนัดยินดีในรส มีจิตคลายความกำหนัด
รู้แจ้งรสารมณ์นั้น และไม่ติดรสารมณ์นั้นอยู่
[๘๑๓] เมื่อพระโยคีนั้นลิ้มรส หรือแม้เสวยเวทนา
โดยที่กิเลสมีอภิชฌาเป็นต้น เป็นไปไม่ได้
กิเลสวัฏย่อมสิ้นไป ย่อมก่อรากขึ้นไม่ได้
ท่านมีสติประพฤติอยู่อย่างนี้ เมื่อไม่ก่อวัฏฏทุกข์อย่างนี้
ท่านกล่าวว่าอยู่ใกล้นิพพาน
[๘๑๔] ผู้ที่ถูกต้องโผฏฐัพพะแล้ว มีสติอยู่เฉพาะหน้า
ไม่กำหนัดยินดีในโผฏฐัพพะ มีจิตคลายความกำหนัด
รู้แจ้งโผฏฐัพพารมณ์นั้น และไม่ติดโผฏฐัพพารมณ์นั้นอยู่
[๘๑๕] เมื่อพระโยคีนั้น ถูกต้องโผฏฐัพพะ หรือแม้เสวยเวทนา
โดยที่กิเลสมีอภิชฌาเป็นต้นเป็นไปไม่ได้
กิเลสวัฏย่อมสิ้นไป ย่อมก่อรากขึ้นไม่ได้
ท่านมีสติประพฤติอยู่อย่างนี้ เมื่อไม่ก่อวัฏฏทุกข์อย่างนี้
ท่านกล่าวว่าอยู่ใกล้นิพพาน
[๘๑๖] ผู้ที่รู้ธรรมารมณ์แล้ว มีสติอยู่เฉพาะหน้า
ไม่กำหนัดยินดีในธรรมารมณ์
มีจิตคลายความกำหนัด รู้แจ้งธรรมารมณ์นั้น
และไม่ติดธรรมารมณ์นั้นอยู่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๔๗๕ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๑๖. วีสตินิบาต] ๖. เสลเถรคาถา
[๘๑๗] เมื่อพระโยคีนั้น รู้แจ้งธรรมารมณ์หรือแม้เสวยเวทนา
โดยที่กิเลสมีอภิชฌาเป็นต้น เป็นไปไม่ได้
กิเลสวัฏย่อมสิ้นไป ย่อมก่อรากขึ้นไม่ได้
ท่านมีสติประพฤติอยู่อย่างนี้ เมื่อไม่ก่อวัฏฏทุกข์อย่างนี้
ท่านกล่าวว่าอยู่ใกล้นิพพาน

๖. เสลเถรคาถา
ภาษิตของพระเสลเถระ
(พระเสลเถระ ครั้งเป็นคฤหัสถ์ ได้สดุดีพระผู้มีพระภาคด้วยภาษิต ๖ ภาษิตว่า)
[๘๑๘] ข้าแต่พระผู้มีพระภาค พระองค์เสด็จอุบัติมาดีแล้ว
ทรงมีพระวิริยภาพ มีพระวรกายสมบูรณ์
มีพระรัศมีที่ซ่านออกจากพระวรกายงดงาม
สวยงามน่าทัศนายิ่งนัก
พระฉวีวรรณเปล่งปลั่งดังทองคำ พระเขี้ยวแก้วทั้งซ้ายขวาก็สุกใส
[๘๑๙] เพราะพระลักษณะแห่งมหาบุรุษ
ที่มีปรากฏแก่มหาบุรุษนั้น
ย่อมมีปรากฏในพระวรกายของพระองค์อย่างครบถ้วน
[๘๒๐] พระองค์มีพระเนตรแจ่มใส พระพักตร์ผุดผ่อง
พระวรกายสูงใหญ่ตรง
มีพระเดช ทรงรุ่งเรืองท่ามกลางหมู่สมณะ
เหมือนดวงอาทิตย์รุ่งเรืองอยู่
[๘๒๑] พระองค์เป็นภิกษุ มีพระคุณสมบัติงดงามน่าชม
มีพระฉวีวรรณ ผุดผ่องดังทองคำ
พระองค์ทรงมีวรรณสูงส่งถึงเพียงนี้ จะเป็นสมณะไปทำไม

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๔๗๖ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๑๖. วีสตินิบาต] ๖. เสลเถรคาถา
[๘๒๒] พระองค์ควรเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ที่องอาจในหมู่พลรถ
ทรงปราบปรามไพรีชนะ ทรงเป็นใหญ่ในภาคพื้นชมพูทวีป
ซึ่งมีสมุทรสาครทั้งสี่เป็นขอบเขต
[๘๒๓] ข้าแต่พระโคดม ขอเชิญพระองค์ขึ้นครองราชย์
เป็นพระเจ้าจักรพรรดิจอมมนุษย์ตามพระราชประเพณี
ที่กษัตราธิราชโดยพระชาติได้เสวยราชย์
มีหมู่เสวกามาตย์เสด็จตามพระองค์เถิด
(พระผู้มีพระภาคตรัสพระพุทธภาษิตนี้ว่า)
[๘๒๔] เสลพราหมณ์ เราเป็นพระราชาอยู่แล้ว
คือเป็นพระธรรมราชาผู้ยอดเยี่ยม
ยังธรรมจักรที่ไม่มีใคร ๆ หมุนไปได้ ให้หมุนไปได้
(พระเสลเถระครั้งเป็นคฤหัสถ์ได้กล่าวภาษิตเหล่านี้ว่า)
[๘๒๕] ข้าแต่พระโคดม พระองค์ทรงปฏิญาณว่า
เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นธรรมราชาผู้ยอดเยี่ยม
ทั้งยังตรัสยืนยันว่า ยังธรรมจักรให้เป็นไป
[๘๒๖] ใครหนอเป็นเสนาบดีของพระองค์ผู้เจริญ
เป็นสาวกผู้ประพฤติตามเบื้องพระยุคลบาทของพระองค์ผู้เป็นศาสดา
ใครจะช่วยประกาศธรรมจักรที่พระองค์ทรงให้เป็นไปแล้วนี้ได้
(พระผู้มีพระภาคตรัสพระพุทธภาษิตนี้ว่า)
[๘๒๗] เสลพราหมณ์เอ๋ย สารีบุตรผู้เกิดตามตถาคต
จะช่วยประกาศธรรมจักรที่ยอดเยี่ยมซึ่งเราให้เป็นไปไว้แล้ว
[๘๒๘] พราหมณ์ เราได้รู้ยิ่งธรรมที่ควรรู้ยิ่ง
ได้เจริญธรรมที่ควรให้เจริญ ได้ละธรรมที่ควรละได้แล้ว
เพราะฉะนั้น เราจึงเป็นพระพุทธเจ้า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๔๗๗ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๑๖. วีสตินิบาต] ๖. เสลเถรคาถา
[๘๒๙] พราหมณ์ ท่านจงกำจัดความเคลือบแคลงสงสัยในเราเสีย
จงน้อมใจเชื่อเราเสียเถิด
เพราะว่าการพบเห็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลาย
[๘๓๐] ผู้จะปรากฏเนือง ๆ ในโลก
ย่อมเป็นการหาได้ยาก
พราหมณ์ เรานั้น เป็นพุทธเจ้า
เป็นหมอผ่าตัดลูกศรคือกิเลสมีราคะเป็นต้นชั้นเยี่ยม
[๘๓๑] เป็นผู้ประเสริฐ ไม่มีผู้เปรียบเทียบ
ย่ำยีมารและเสนามาร
ทำมารทั้งหมดซึ่งไม่ใช่มิตรไว้ในอำนาจ
ไม่มีภัยแต่ที่ไหนเบิกบานอยู่
(พระเสลเถระ ครั้งเป็นคฤหัสถ์ กราบทูลด้วย ๓ คาถาว่า)
[๘๓๒] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอเชิญพระองค์
จงทรงใคร่ครวญคำของข้าพระองค์นี้
เหมือนอย่างที่พระตถาคตผู้มีพระจักษุ
เป็นหมอผ่าตัดลูกศรคือกิเลสมีราคะเป็นต้น
เป็นมหาวีระ ตรัสไว้ดังราชสีห์บันลือในป่า
[๘๓๓] ใครได้เห็นพระองค์ผู้ประเสริฐ ไม่มีผู้เปรียบเทียบ
ย่ำยีมารและเสนามาร
จะไม่พึงเลื่อมใสเล่า
ถึงคนที่เกิดในตระกูลต่ำก็ยังเลื่อมใส
[๘๓๔] ผู้ปรารถนาจะตามฉัน ก็เชิญมา
หรือผู้ไม่ปรารถนา ก็เชิญกลับไป
ฉันจะบวชในสำนักของพระพุทธเจ้า
ผู้มีพระปัญญาประเสริฐนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๔๗๘ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๑๖. วีสตินิบาต] ๖. เสลเถรคาถา
(มาณพทั้งหลายซึ่งเป็นอันเตวาสิก ๓๐๐ คน ได้กล่าวภาษิตนี้ว่า)
[๘๓๕] ถ้าท่านอาจารย์ผู้เจริญชอบใจคำสอน
ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้านี้
แม้พวกเราก็จะบวชในสำนัก
ของพระพุทธเจ้าผู้มีพระปัญญาประเสริฐ
(พระเสลเถระ ครั้งเป็นคฤหัสถ์ดีใจ ได้กราบทูลด้วยภาษิตว่า)
[๘๓๖] พราหมณ์ ๓๐๐ คนนี้ พากันประนมมือ ทูลขอบรรพชาว่า
ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ข้าพระองค์ทั้งหลาย
จะประพฤติพรหมจรรย์ในสำนักของพระองค์
(พระผู้มีพระภาค ให้พราหมณ์ทั้งหมดบวชแล้ว ตรัสพระพุทธภาษิตว่า)
[๘๓๗] เสละ พรหมจรรย์เรากล่าวไว้ดีแล้ว
ผู้บรรลุจะเห็นได้เอง ให้ผลไม่จำกัดกาล
ในศาสนาที่มีการบรรพชาไม่ไร้ผล
เมื่อคนที่ไม่ประมาทหมั่นศึกษาอยู่
(พระเสลเถระเมื่อจะพยากรณ์พระอรหัต ได้กล่าวภาษิตเหล่านี้ว่า)
[๘๓๘] ข้าแต่พระผู้มีพระภาคผู้มีพระจักษุ
เพราะข้าพระองค์ทั้งหลายได้ถึงสรณคมน์นั้นในวันที่ ๘ แต่นี้ ฉะนั้น
ข้าพระองค์ทั้งหลายจึงได้ใช้เวลาฝึกอินทรีย์
ในพระศาสนาของพระองค์มาเป็นเวลา ๗ วัน
[๘๓๙] พระองค์ทรงเป็นสัพพัญญูพุทธเจ้า
เป็นศาสดา เป็นจอมปราชญ์ ทรงครอบงำมารได้
ทรงตัดอนุสัยกิเลสได้ ทรงข้ามห้วงน้ำใหญ่คือสงสารได้แล้ว
จึงทรงยังหมู่สัตว์นี้ให้ข้ามได้ด้วย
[๘๔๐] พระองค์ทรงล่วงอุปธิกิเลสได้พ้น ทำลายอาสวะแล้ว
ไม่มีความยึดมั่น ละความหวาดกลัวภัยได้
เหมือนราชสีห์ ไม่กลัวต่อหมู่เนื้อ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๔๗๙ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๑๖. วีสตินิบาต] ๗. ภัททิยกาฬิโคธาปุตตเถรคาถา
[๘๔๑] ข้าแต่พระองค์ผู้ทรงแกล้วกล้า
ภิกษุทั้ง ๓๐๐ รูปนี้ ยืนประนมมืออยู่
ขอพระองค์ทรงเหยียดพระยุคลบาทเถิด
ภิกษุทั้งหลาย จะได้ถวายบังคมพระองค์ผู้เป็นศาสดา

๗. ภัททิยกาฬิโคธาปุตตเถรคาถา
ภาษิตของพระภัททิยกาฬิโคธาปุตรเถระ
(พระภัททิยกาฬิโคธาบุตรเถระ (ได้บันลือสีหนาทต่อพระพักตร์พระศาสดา
ด้วยภาษิตเหล่านี้ว่า)
[๘๔๒] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ (เมื่อก่อน) ข้าพระองค์
เมื่อจะไปไหน นั่งคอช้างไป
เมื่อจะนุ่งห่มผ้า ก็นุ่งห่มผ้าเนื้อละเอียด
เมื่อจะบริโภค ก็บริโภคแต่ข้าวสาลีที่ราดด้วยเนื้ออันสะอาด
[๘๔๓] บัดนี้ ข้าพระองค์มีนามว่าภัททิยะ
เป็นโอรสของพระนางกาฬิโคธา
เป็นผู้เจริญ มีความเพียรต่อเนื่อง
ยินดีในอาหารที่บิณฑบาตได้มา ไม่ยึดมั่น เพ่งพินิจอยู่
[๘๔๔] ข้าพระองค์มีนามว่าภัททิยะ เป็นโอรสของพระนางกาฬิโคธา
ถือการนุ่งห่มผ้าบังสุกุลเป็นวัตร มีความเพียรต่อเนื่อง
ยินดีในอาหารที่บิณฑบาตได้มา ไม่ยึดมั่น เพ่งพินิจอยู่
[๘๔๕] ฯลฯ ถือการเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร
มีความเพียรต่อเนื่อง ฯลฯ
[๘๔๖] ฯลฯ ถือการครองผ้า ๓ ผืนเป็นวัตร
มีความเพียรต่อเนื่อง ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๔๘๐ }


>>>>> หน้าต่อไป >>>>>





eXTReMe Tracker