ค้นว่าอยู่เล่มใด แล้วกด [ctrl]+f หรือใช้คำสั่งของเครื่องหาตำแหน่งในเล่มอีกทีนะครับ



จัดรูปหน้าใหม่
เพื่อความสะดวก และสวยงาม
(เฉพาะหน้าจอใหญ่ เช่น คอมพิวเตอร์)
กรุณาคลิก จัดรูปหน้าใหม่
เพื่อให้กรอบ
ค้นข้อความ ปรากฎที่ด้านซ้ายของหน้า

พระไตรปิฎกภาษาไทย
ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ๔๕ เล่ม (ปกสีฟ้า)
ทั้งออนไลน์และออฟไลน์
ที่มาของข้อมูล : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับ มจร.
MCUTRAI Version 1.0

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๓ สุตตันตปิฎกที่ ๑๕ อังคุตตรนิกาย สัตตก อัฏฐก นวกนิบาต

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๑.ธนวรรค ๑.ปฐมปิยสูตร

พระสุตตันตปิฎก
อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต
_____________
ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ปัณณาสก์
๑. ธนวรรค
หมวดว่าด้วยอริยทรัพย์
๑. ปฐมปิยสูตร
ว่าด้วยธรรมที่เป็นเหตุให้เป็นที่รัก สูตรที่ ๑

[๑] ข้าพเจ้า๑ ได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิก-
เศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมา
ตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึง
ได้ตรัสเรื่องนี้ว่า

เชิงอรรถ :
๑ ข้าพเจ้า ในตอนเริ่มต้นของพระสูตรนี้ และพระสูตรอื่น ๆ ในเล่มนี้หมายถึง พระอานนท์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๑ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๑.ธนวรรค ๑.ปฐมปิยสูตร
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๗ ประการ ย่อมไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่
พอใจ ไม่เป็นที่เคารพ และไม่เป็นที่ยกย่องของเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย
ธรรม ๗ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เป็นผู้มุ่งลาภ ๒. เป็นผู้มุ่งสักการะ
๓. เป็นผู้มุ่งชื่อเสียง ๔. เป็นผู้ไม่มีหิริ (ความอายบาป)
๕. เป็นผู้ไม่มีโอตตัปปะ (ความกลัวบาป)
๖. เป็นผู้มีความปรารถนาชั่ว ๗. เป็นมิจฉาทิฏฐิ
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๗ ประการนี้แล ย่อมไม่เป็นที่รัก ไม่เป็น
ที่พอใจ ไม่เป็นที่เคารพ และไม่เป็นที่ยกย่องของเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๗ ประการ ย่อมเป็นที่รัก เป็นที่พอใจ
เป็นที่เคารพ และเป็นที่ยกย่องของเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย
ธรรม ๗ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้

๑. เป็นผู้ไม่มุ่งลาภ ๒. เป็นผู้ไม่มุ่งสักการะ
๓. เป็นผู้ไม่มุ่งชื่อเสียง ๔. เป็นผู้มีหิริ
๕. เป็นผู้มีโอตตัปปะ ๖. เป็นผู้มักน้อย
๗. เป็นสัมมาทิฏฐิ

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๗ ประการนี้แล ย่อมเป็นที่รัก เป็นทื่
พอใจ เป็นที่เคารพ และเป็นที่ยกย่องของเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย
ปฐมปิยสูตรที่ ๑ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๒ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๑.ธนวรรค ๒.ทุติยปิยสูตร
๒. ทุติยปิยสูตร
ว่าด้วยธรรมที่เป็นเหตุให้เป็นที่รัก สูตรที่ ๒
[๒] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๗ ประการ ย่อมไม่เป็นที่รัก
ไม่เป็นที่พอใจ ไม่เป็นที่เคารพ และไม่เป็นที่ยกย่องของเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย
ธรรม ๗ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้

๑. เป็นผู้มุ่งลาภ ๒. เป็นผู้มุ่งสักการะ
๓. เป็นผู้มุ่งชื่อเสียง ๔. เป็นผู้ไม่มีหิริ
๕. เป็นผู้ไม่มีโอตตัปปะ ๖. เป็นผู้มีความริษยา
๗. เป็นผู้มีความตระหนี่

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๗ ประการนี้แล ย่อมไม่เป็นที่รัก
ไม่เป็นที่พอใจ ไม่เป็นที่เคารพ และไม่เป็นที่ยกย่องของเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๗ ประการ ย่อมเป็นที่รัก เป็นที่พอใจ
เป็นที่เคารพ และเป็นที่ยกย่องของเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย
ธรรม ๗ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้

๑. เป็นผู้ไม่มุ่งลาภ ๒. เป็นผู้ไม่มุ่งสักการะ
๓. เป็นผู้ไม่มุ่งชื่อเสียง ๔. เป็นผู้มีหิริ
๕. เป็นผู้มีโอตตัปปะ ๖. เป็นผู้ไม่มีความริษยา
๗. เป็นผู้ไม่มีความตระหนี่

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๗ ประการนี้แล ย่อมเป็นที่รัก เป็นที่
พอใจ เป็นที่เคารพ และเป็นที่ยกย่องของเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย
ทุติยปิยสูตรที่ ๒ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๓ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๑.ธนวรรค ๓.สังขิตตพลสูตร
๓. สังขิตตพลสูตร
ว่าด้วยพละโดยย่อ
[๓] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิก-
เศรษฐี ฯลฯ๑
ภิกษุทั้งหลาย พละ (กำลัง) ๗ ประการนี้
พละ ๗ ประการ อะไรบ้าง คือ

๑. สัทธาพละ (กำลังคือศรัทธา)
๒. วิริยพละ (กำลังคือวิริยะ)
๓. หิริพละ (กำลังคือหิริ)
๔. โอตตัปปพละ (กำลังคือโอตตัปปะ)
๕. สติพละ (กำลังคือสติ)
๖. สมาธิพละ (กำลังคือสมาธิ)
๗. ปัญญาพละ (กำลังคือปัญญา)

ภิกษุทั้งหลาย พละ ๗ ประการนี้แล
ภิกษุผู้เป็นบัณฑิตมีพละ ๗ ประการนี้ คือ
สัทธาพละ วิริยพละ หิริพละ โอตตัปปพละ
สติพละ สมาธิพละ และปัญญาพละ
ย่อมอยู่อย่างเป็นสุข

เชิงอรรถ :
๑ ดูความเต็มในข้อ ๑ (ปฐมปิยสูตร) หน้า ๑ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๔ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๑.ธนวรรค ๔.วิตถตพลสูตร
เลือกเฟ้นธรรมโดยแยบคาย
เห็นแจ้งอรรถด้วยปัญญา๑
ความหลุดพ้นแห่งใจย่อมมีได้
เหมือนความดับไปแห่งประทีป ฉะนั้น
สังขิตตพลสูตรที่ ๓ จบ

๔. วิตถตพลสูตร๒
ว่าด้วยพละโดยพิสดาร
[๔] ภิกษุทั้งหลาย พละ ๗ ประการนี้
พละ ๗ ประการ อะไรบ้าง คือ

๑. สัทธาพละ ๒. วิริยพละ
๓. หิริพละ ๔. โอตตัปปพละ
๕. สติพละ ๖. สมาธิพละ
๗. ปัญญาพละ

สัทธาพละ เป็นอย่างไร
คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้เป็นผู้มีศรัทธา เชื่อปัญญาเครื่องตรัสรู้ของตถาคตว่า
‘แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้ด้วยพระองค์เอง

เชิงอรรถ :
๑ เลือกเฟ้นธรรมโดยแยบคาย หมายถึงพิจารณาเห็นธรรมคืออริยสัจ ๔
เห็นแจ้งอรรถด้วยปัญญา หมายถึงเห็นแจ้งสัจธรรมด้วยปัญญาในอริยมรรค (องฺ.สตฺตก.อ.๓/๑-๕/๑๕๙)
๒ ดูเทียบ ที.ปา. ๑๑/๓๓๑/๒๒๒, ขุ.ม. (แปล) ๒๙/๕/๑๖, องฺ.ปญฺจก. (แปล) ๒๒/๒/๒-๕, ๑๔/๑๗

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๕ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๑.ธนวรรค ๔.วิตถตพลสูตร
โดยชอบ ฯลฯ๑ เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า๒ เป็นพระ
ผู้มีพระภาค‘๓ นี้เรียกว่า สัทธาพละ
วิริยพละ เป็นอย่างไร
คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้เป็นผู้ปรารภความเพียร๔ เพื่อละอกุศลธรรม เพื่อ
ให้กุศลธรรมเกิด มีความเข้มแข็ง๕ มีความบากบั่นมั่นคง ไม่ทอดธุระในกุศลธรรม
ทั้งหลายอยู่ นี้เรียกว่า วิริยพละ
หิริพละ เป็นอย่างไร
คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้เป็นผู้มีหิริ คือ ละอายต่อกายทุจริต วจีทุจริต
มโนทุจริต ละอายต่อการประกอบบาปอกุศลธรรมทั้งหลาย นี้เรียกว่า หิริพละ
โอตตัปปพละ เป็นอย่างไร
คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้เป็นผู้มีโอตตัปปะ คือ สะดุ้งกลัวต่อกายทุจริต
วจีทุจริต มโนทุจริต สะดุ้งกลัวต่อการประกอบบาปอกุศลธรรมทั้งหลาย นี้เรียกว่า
โอตตัปปพละ

เชิงอรรถ :
๑ ดูความเต็มในอัฏฐกนิบาต ข้อ ๒๙ (อักขณสูตร) หน้า ๒๗๖ ในเล่มนี้
๒ ชื่อว่า พระพุทธเจ้า เพราะทรงรู้สิ่งที่ควรรู้ทั้งหมดด้วยพระองค์เอง และทรงสอนผู้อื่นให้รู้ตาม
๓ ชื่อว่า พระผู้มีพระภาค เพราะ (๑) ทรงมีโชค (๒) ทรงทำลายข้าศึกคือกิเลส (๓) ทรงประกอบด้วยภคธรรม
๖ ประการ (คือ ความเป็นใหญ่เหนือจิตของตน โลกุตตรธรรม ยศ สิริ ความสำเร็จประโยชน์ตามต้องการ
และความเพียร) (๔) ทรงจำแนกแจกแจงธรรม (๕) ทรงเสพอริยธรรม (๖) ทรงคายตัณหาในภพทั้งสาม
(๗) ทรงเป็นที่เคารพของชาวโลก (๘) ทรงอบรมพระองค์ดีแล้ว (๙) ทรงมีส่วนแห่งปัจจัย ๔ เป็นต้น
(ตามนัย วิ.อ.๑/๑/๑๐๓-๑๑๘, สารตฺถ.ฏีกา ๑/๒๗๐, วิสุทธิ. ๑/๑๒๔-๑๔๕/๒๑๕-๒๓๒)
๔ ปรารภความเพียรในที่นี้หมายถึงทำความเพียรทางกายและทางใจไม่ย่อหย่อน (องฺ.เอกก.อ. ๑/๓๙๔/๔๔๐,
องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๒/๑)
๕ มีความเข้มแข็ง ในที่นี้หมายถึงมีกำลังความเพียร (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๒/๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๖ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๑.ธนวรรค ๔.วิตถตพลสูตร
สติพละ เป็นอย่างไร
คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้เป็นผู้มีสติ คือ ประกอบด้วยสติปัญญาเป็นเครื่อง
รักษาตน๑อย่างยิ่ง ระลึกถึงสิ่งที่ทำและคำที่พูดแม้นานได้ นี้เรียกว่า สติพละ
สมาธิพละ เป็นอย่างไร
คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม ฯลฯ๒ บรรลุจตุตถฌานที่ไม่มีทุกข์
ไม่มีสุข มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขาอยู่ นี้เรียกว่า สมาธิพละ
ปัญญาพละ เป็นอย่างไร
คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้เป็นผู้มีปัญญา คือ ประกอบด้วยปัญญาเป็น
เครื่องพิจารณาเห็นทั้งความเกิดและความดับอันเป็นอริยะ๓ ชำแรกกิเลสให้ถึงความ
สิ้นทุกข์โดยชอบ นี้เรียกว่า ปัญญาพละ
ภิกษุทั้งหลาย พละ ๗ ประการนี้แล
ภิกษุผู้เป็นบัณฑิตมีพละ ๗ ประการนี้ คือ
สัทธาพละ วิริยพละ หิริพละ โอตตัปปพละ
สติพละ สมาธิพละ และปัญญาพละ
ย่อมอยู่อย่างเป็นสุข

เชิงอรรถ :
๑ สติปัญญาเป็นเครื่องรักษาตน (เนปกฺก) เป็นชื่อของปัญญาที่เป็นอุปการะแก่สติ (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๑๔/๔)
๒ ดูความเต็มในสัตตกนิบาต ข้อ ๕๓ (นันทมาตาสูตร) หน้า ๙๕ ในเล่มนี้
๓ ปัญญาเป็นเครื่องพิจารณาเห็นทั้งความเกิดและความดับอันเป็นอริยะ แยกอธิบายดังนี้ คือ
ปัญญาเป็นเครื่องพิจารณาเห็น ในที่นี้หมายถึงวิปัสสนาปัญญา และมัคคปัญญา
ความเกิดและความดับ ในที่นี้หมายถึงความเกิดและความดับแห่งเบญจขันธ์ ได้แก่ รูป เวทนา สัญญา
สังขาร และวิญญาณ
อันเป็นอริยะ ในที่นี้หมายถึงบริสุทธิ์อยู่ห่างไกลจากกิเลสทั้งหลายด้วยวิกขัมภนปหานะ (การละด้วยการ
ข่มไว้) และด้วยสมุจเฉทปหานะ (การละด้วยการตัดขาด) (องฺ.ปญฺจก.อ.๓/๒/๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๗ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๑.ธนวรรค ๕.สังขิตตธนสูตร
เลือกเฟ้นธรรมโดยแยบคาย
เห็นแจ้งอรรถด้วยปัญญา
ความหลุดพ้นแห่งใจย่อมมีได้
เหมือนความดับไปแห่งประทีป ฉะนั้น
วิตถตพลสูตรที่ ๔ จบ

๕. สังขิตตธนสูตร
ว่าด้วยอริยทรัพย์โดยย่อ
[๕] ภิกษุทั้งหลาย ทรัพย์ ๗ ประการนี้
ทรัพย์ ๗ ประการ อะไรบ้าง คือ

๑. สัทธาธนะ(ทรัพย์คือศรัทธา) ๒. สีลธนะ (ทรัพย์คือศีล)
๓. หิริธนะ (ทรัพย์คือหิริ) ๔. โอตตัปปธนะ (ทรัพย์คือโอตตัปปะ)
๕. สุตธนะ (ทรัพย์คือสุตะ) ๖. จาคธนะ (ทรัพย์คือจาคะ)
๗. ปัญญาธนะ (ทรัพย์คือปัญญา)

ภิกษุทั้งหลาย ทรัพย์ ๗ ประการนี้แล
ผู้ใดจะเป็นสตรี หรือบุรุษก็ตาม
มีทรัพย์ ๗ ประการนี้ คือ สัทธาธนะ
สีลธนะ หิริธนะ โอตตัปปธนะ
สุตธนะ จาคธนะ และปัญญาธนะ
บัณฑิตทั้งหลายเรียกผู้นั้นว่า ‘เป็นคนไม่ขัดสน’
ชีวิตของเขาก็ไม่สูญเปล่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๘ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๑.ธนวรรค ๖.วิตถตธนสูตร
เพราะฉะนั้น ผู้มีปัญญา
เมื่อระลึกถึงคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย
ควรหมั่นประกอบศรัทธา ศีล
ความเลื่อมใสและการเห็นธรรม๑
สังขิตตธนสูตรที่ ๕ จบ

๖. วิตถตธนสูตร๒
ว่าด้วยอริยทรัพย์โดยพิสดาร
[๖] ภิกษุทั้งหลาย ทรัพย์ ๗ ประการนี้
ทรัพย์ ๗ ประการ อะไรบ้าง คือ

๑. สัทธาธนะ ๒. สีลธนะ
๓. หิริธนะ ๔. โอตตัปปธนะ
๕. สุตธนะ ๖. จาคธนะ
๗. ปัญญาธนะ

สัทธาธนะ เป็นอย่างไร
คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้เป็นผู้มีศรัทธา คือ เชื่อปัญญาเครื่องตรัสรู้ของ
ตถาคตว่า ‘แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้
ด้วยพระองค์เองโดยชอบ ฯลฯ๓ เป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระผู้มีพระภาค’ นี้เรียกว่า
สัทธาธนะ

เชิงอรรถ :
๑ การเห็นธรรม ในที่นี้หมายถึงเห็นอริยสัจ ๔ คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค (องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๕๒/๓๔๙)
และ ดู องฺ.จตุกฺก. (แปล) ๒๑/๕๒/๘๗
๒ ดู ที.ปา. ๑๑/๓๓๐/๒๒๑, องฺ.ปญฺจก. (แปล) ๒๒/๔๗/๗๖
๓ ดูความเต็มในอัฏฐกนิบาต ข้อ ๒๙ (อักขณสูตร) หน้า ๒๗๖ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๙ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๑.ธนวรรค ๖.วิตถตธนสูตร
สีลธนะ เป็นอย่างไร
คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้เป็นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ ฯลฯ๑ เป็นผู้เว้นขาด
จากการเสพของมึนเมาคือสุราและเมรัย๒อันเป็นเหตุแห่งความประมาท นี้เรียกว่า
สีลธนะ
หิริธนะ เป็นอย่างไร
คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้เป็นผู้มีหิริ คือ ละอายต่อกายทุจริต วจีทุจริต
มโนทุจริต ละอายต่อการประกอบบาปอกุศลธรรมทั้งหลาย นี้เรียกว่า หิริธนะ
โอตตัปปธนะ เป็นอย่างไร
คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้เป็นผู้มีโอตตัปปะ คือ สะดุ้งกลัวต่อกายทุจริต
วจีทุจริต มโนทุจริต สะดุ้งกลัวต่อการประกอบบาปอกุศลธรรมทั้งหลาย นี้เรียกว่า
โอตตัปปธนะ
สุตธนะ เป็นอย่างไร
คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้เป็นพหูสูต ทรงสุตะ๓ สั่งสมสุตะ เป็นผู้ได้ฟังมาก
ซึ่งธรรมทั้งหลายที่มีความงามในเบื้องต้น มีความงามในท่ามกลาง และมีความงาม

เชิงอรรถ :
๑ ดูความเต็มและความพิสดารในอัฏฐกนิบาต ข้อ ๔๑ (สังขิตตุโปสถสูตร) หน้า ๓๐๓-๓๐๔ ในเล่มนี้
๒ สุราและเมรัย หมายถึงสุรา ๕ อย่าง คือ (๑) สุราแป้ง (๒) สุราขนม (๓) สุราข้าวสุก (๔) สุราใส่เชื้อ
(๕) สุราผสมเครื่องปรุง และเมรัย ๕ อย่าง คือ (๑) เครื่องดองดอกไม้ (๒) เครื่องดองผลไม้ (๓) เครื่องดอง
น้ำอ้อย (๔) เครื่องดองผสมเครื่องปรุง (๕) เครื่องดองน้ำผึ้ง (ขุ.ขุ.อ. ๒/๑๗-๑๘)
ส่วนใน องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๑๗๙/๖๙, องฺ.ปญฺจก.ฏีกา ๓/๑๗๙/๖๖ อธิบายว่า เมรัยมี ๔ อย่าง กล่าวคือ
ไม่มีเครื่องดองผสมเครื่องปรุง
คำว่า ‘เว้นขาดจากการเสพของมึนเมาคือสุราและเมรัย’ อาจแปลได้อีกว่า ‘เว้นขาดจากการเสพสุรา
เมรัยและของมึนเมา’ ตามนัยนี้คือ ‘ตทุภยเมว (สุราเมรยํ) มทนียฏฺเฐน มชฺชํ, ยํ วา ปนฺมฺปิ กิฺจิ
มทนียํ’ แปลว่า สุราและเมรัยทั้งสองนั้นแหละ เป็นของมึนเมา เพราะเป็นเหตุให้เมา และยังมีสิ่งอื่นอีกที่
เป็นของมึนเมา (ขุ.ขุ.อ. ๒/๑๘)
๓ สุตะ ในที่นี้หมายถึงนวังคสัตถุศาสน์ คำสอนของพระศาสดามีองค์ ๙ คือ (๑)สุตตะ ได้แก่ อุภโตวิภังค์
นิทเทส ขันธกะ ปริวาร พระสูตรในสุตตนิบาต และพุทธวจนะอื่น ๆ ที่มีชื่อว่าสุตตะ หรือสุตตันตะ
(๒) เคยยะ ได้แก่ ความที่มีร้อยแก้ว และร้อยกรองผสมกัน หมายถึงพระสูตรที่มีคาถาทั้งหมด โดยเฉพาะ
สคาถวรรค ในสังยุตตนิกาย (๓) เวยยากรณะ ได้แก่ ความร้อยแก้วล้วน หมายเอาอภิธรรมปิฎกทั้งหมด
พระสูตรที่ไม่มีคาถา และพระพุทธพจน์อื่นใดที่ไม่จัดเข้าในองค์ ๘ ข้อที่เหลือ (๔) คาถา ได้แก่ ความ
ร้อยกรองล้วน หมายเอาธรรมบท เถรคาถา เถรีคาถา และคาถาล้วนในสุตตนิบาตที่ไม่มีชื่อว่าเป็นสูตร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๑๐ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๑.ธนวรรค ๖.วิตถตธนสูตร
ในที่สุด๑ ประกาศพรหมจรรย์๒พร้อมทั้งอรรถและพยัญชนะ บริสุทธิ์บริบูรณ์๓ครบถ้วน
ทรงจำไว้ได้ คล่องปาก ขึ้นใจ แทงตลอดดีด้วยทิฏฐิ๔ นี้เรียกว่า สุตธนะ
จาคธนะ เป็นอย่างไร
คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้เป็นผู้มีใจปราศจากความตระหนี่อันเป็นมลทิน
มีจาคะอันสละแล้ว มีฝ่ามือชุ่ม๕ ยินดีในการสละ ควรแก่การขอ ยินดีในการแจกทาน
อยู่ครองเรือน นี้เรียกว่า จาคธนะ

เชิงอรรถ :
(๕) อุทาน ได้แก่ พระคาถาที่ทรงเปล่งด้วยพระทัยอันสหรคตด้วยโสมนัส สัมปยุตด้วยญาณพร้อมทั้ง
ข้อความอันประกอบอยู่ด้วย รวมเป็นพระสูตร ๘๒ สูตร (๖) อิติวุตตกะ ได้แก่ พระสูตร ๑๑๐ สูตรที่
ตรัสโดยนัยว่า “วุตฺตํ เหตํ ภควตา” (๗) ชาตกะ ได้แก่ ชาดก ๕๕๐ เรื่อง มีอปัณณกชาดก เป็นต้น
(๘) อัพภูตธรรม ได้แก่ พระสูตรที่ว่าด้วยเหตุอัศจรรย์ทุกสูตร เช่นที่ตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย ความเป็น
อัจฉริยะไม่เคยปรากฏ ๔ ประการนี้ มีอยู่ในอานนท์” ดังนี้ เป็นต้น (๙) เวทัลละ ได้แก่ พระสูตรแบบถาม
ตอบซึ่งผู้ถามได้ทั้งความรู้และความพอใจถามต่อๆ ไป เช่น จูฬเวทัลลสูตร มหาเวทัลลสูตร สัมมาทิฏฐิสูตร
สักกปัญหสูตร สังขารภาชนิยสูตร และมหาปุณณมสูตร (องฺ.จตุกฺก.อ.๒/๖/๒๘๒, วิ.อ.๑/๒๖) และดู
องฺ.จตุกฺก. (แปล) ๒๑/๖/๙-๑๑, องฺ.ปญฺจก. (แปล) ๒๒/๗๓/๑๒๓
๑ มีความงามในเบื้องต้น หมายถึงศีล มีความงามในท่ามกลาง หมายถึงอริยมรรค และ มีความงาม
ในที่สุด หมายถึงพระนิพพาน (ที.สี.อ. ๑/๑๙๐/๑๕๙)
๒ พรหมจรรย์ หมายถึงความประพฤติประเสริฐ มีนัย ๑๐ ประการ คือ ทาน (การให้) เวยยาวัจจะ (การ
ขวนขวายช่วยเหลือ) ปัญจสีละ (ศีลห้า) อัปปมัญญา (การประพฤติพรหมวิหารอย่างไม่มีขอบเขต)
เมถุนวิรัติ (การงดเว้นจากการเสพเมถุน) สทารสันโดษ (ความยินดีเฉพาะคู่ครองของตน) วิริยะ (ความเพียร)
อุโปสถังคะ (องค์อุโบสถ) อริยมรรค (ทางอันประเสริฐ) และศาสนา (พระพุทธศาสนา) ในที่นี้หมายถึงศาสนา
(ที.สี.อ. ๑/๑๙๐/๑๖๐-๑๖๒)
๓ บริสุทธิ์ หมายถึงไม่มีสิ่งเป็นโทษที่จะต้องนำออก บริบูรณ์ หมายถึงเต็มที่แล้วโดยไม่ต้องนำไปเพิ่มอีก
(ตามนัย วิ.อ. ๑/๑/๑๒๑)
๔ แทงตลอดดีด้วยทิฏฐิ หมายถึงรู้แจ้งธรรมโดยผลและเหตุด้วยปัญญา (องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๒๒/๓๐๐)
๕ มีฝ่ามือชุ่ม หมายถึงมีมือล้างสะอาดแล้วด้วยน้ำคือศรัทธา ถ้าคนไม่มีศรัทธาแม้จะล้างถึง ๗ ครั้งก็ชื่อว่า
มีมือยังไม่ได้ล้าง มีมือสกปรก แต่คนมีศรัทธา แม้มีมือสกปรกก็ชื่อว่ามีมือสะอาดแล้ว (องฺ.ติก.อ. ๒/๔๒/
๑๔๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๑๑ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๑.ธนวรรค ๖.วิตถตธนสูตร
ปัญญาธนะ เป็นอย่างไร
คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้เป็นผู้มีปัญญา คือ ประกอบด้วยปัญญา ฯลฯ๑
ให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ นี้เรียกว่า ปัญญาธนะ
ภิกษุทั้งหลาย ทรัพย์ ๗ ประการนี้แล
ผู้ใดจะเป็นสตรี หรือบุรุษก็ตาม
มีทรัพย์ ๗ ประการนี้ คือ สัทธาธนะ
สีลธนะ หิริธนะ โอตตัปปธนะ
สุตธนะ จาคธนะ และปัญญาธนะ
บัณฑิตทั้งหลายเรียกผู้นั้นว่า ‘เป็นคนไม่ขัดสน’
ชีวิตของเขาก็ไม่สูญเปล่า
เพราะฉะนั้น ผู้มีปัญญา
เมื่อระลึกถึงคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย
ควรหมั่นประกอบศรัทธา ศีล
ความเลื่อมใสและการเห็นธรรม

วิตถตธนสูตรที่ ๖ จบ

เชิงอรรถ :
๑ ดูความเต็มในข้อ ๔ (วิตถตพลสูตร) หน้า ๕ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๑๒ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๑.ธนวรรค ๗.อุคคสูตร
๗. อุคคสูตร
ว่าด้วยมหาอำมาตย์ชื่ออุคคะ
[๗] ครั้งนั้น ราชมหาอำมาตย์ชื่ออุคคะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร๑ ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคยปรากฏ ที่มิคารเศรษฐีผู้เป็น
หลานของโรหณเศรษฐีนี้เป็นผู้มั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีโภคทรัพย์มากถึงเพียงนี้”
พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “อุคคะ มิคารเศรษฐีผู้เป็นหลานของโรหณเศรษฐี
เป็นผู้มั่งคั่งเพียงไร มีทรัพย์มากเท่าไร มีโภคทรัพย์มากเท่าไร”
อุคคมหาอำมาตย์กราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เขามีทองแสนหนึ่ง ไม่จำ
ต้องกล่าวถึงเงิน”๒
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า อุคคะ ทรัพย์นั้นมีอยู่จริง เรามิได้กล่าวว่า ทรัพย์นั้น
ไม่มี แต่ทรัพย์นั้นแลเป็นของทั่วไปแก่ไฟ น้ำ พระราชา โจร และทายาทผู้ไม่เป็นที่รัก
อุคคะ ทรัพย์ ๗ ประการนี้แล เป็นของไม่ทั่วไปแก่ไฟ น้ำ พระราชา โจร และ
ทายาทผู้ไม่เป็นที่รัก
ทรัพย์ ๗ ประการ อะไรบ้าง คือ

๑. สัทธาธนะ ๒. สีลธนะ
๓. หิริธนะ ๔. โอตตัปปธนะ
๕. สุตธนะ ๖. จาคธนะ
๗. ปัญญาธนะ

อุคคะ ทรัพย์ ๗ ประการนี้แล เป็นของไม่ทั่วไปแก่ไฟ น้ำ พระราชา โจร และ
ทายาทผู้ไม่ที่เป็นรัก

เชิงอรรถ :
๑ ที่สมควร (เอกมนฺตํ) ในที่นี้หมายถึงที่เหมาะสมเว้นโทษ ๖ ประการ คือ (๑) ไกลเกินไป (๒) ใกล้เกินไป
(๓) อยู่เหนือลม (๔) อยู่สูงเกินไป (๕) อยู่ตรงหน้าเกินไป (๖) อยู่ข้างหลังเกินไป (องฺ.ทุก.อ. ๒/๑๖/๑๕)
๒ เงิน ในที่นี้หมายถึงเครื่องเงิน เช่น ถ้วย โถ โอ ชาม ขันน้ำ และเครื่องปูลาด เป็นต้น (องฺ.สตฺตก.อ.
๓/๗/๑๕๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๑๓ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๑.ธนวรรค ๘.สัญโญชนสูตร
ผู้ใดจะเป็นสตรี หรือบุรุษก็ตาม
มีทรัพย์ ๗ ประการนี้ คือ สัทธาธนะ
สีลธนะ หิริธนะ โอตตัปปธนะ
สุตธนะ จาคธนะ และปัญญาธนะ
ผู้นั้นแลเป็นคนมีทรัพย์มาก
ใคร ๆ ไม่พึงชนะได้ทั้งในเทวโลกและมนุษยโลก
เพราะฉะนั้น ผู้มีปัญญา
เมื่อระลึกถึงคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย
ควรหมั่นประกอบศรัทธา ศีล
ความเลื่อมใสและการเห็นธรรม
อุคคสูตรที่ ๗ จบ

๘. สัญโญชนสูตร
ว่าด้วยสังโยชน์๑
[๘] ภิกษุทั้งหลาย สังโยชน์ (กิเลสเครื่องประกอบสัตว์ไว้ในภพ) ๗ ประการนี้
สังโยชน์ ๗ ประการ อะไรบ้าง คือ

๑. อนุนยสังโยชน์๒ (สังโยชน์คือความยินดี)
๒. ปฏิฆสังโยชน์ (สังโยชน์คือความยินร้าย)
๓. ทิฏฐิสังโยชน์ (สังโยชน์คือความเห็นผิด)
๔. วิจิกิจฉาสังโยชน์ (สังโยชน์คือความลังเลสงสัย)
๕. มานสังโยชน์ (สังโยชน์คือความถือตัว)
๖. ภวราคสังโยชน์ (สังโยชน์คือความติดใจในภพ)
๗. อวิชชาสังโยชน์ (สังโยชน์คือความไม่รู้แจ้ง)

ภิกษุทั้งหลาย สังโยชน์ ๗ ประการนี้แล

สัญโญชนสูตรที่ ๘ จบ

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ ที.ปา ๑๑/๓๓๒/๒๒๓, สํ.ม. ๑๙/๑๘๐-๑๘๑/๕๖-๕๗, องฺ.ทสก. (แปล) ๒๔/๑๓/๒๑, อภิ.วิ. (แปล)
๓๕/๙๔๐/๕๙๒,๙๔๙/๖๐๖)
๒ อนุนยสังโยชน์ หมายถึงกามราคสังโยชน์ (องฺ.สตฺตก.อ.๓/๘/๑๖๐)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๑๔ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๑.ธนวรรค ๙.ปหานสูตร
๙. ปหานสูตร
ว่าด้วยการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์เพื่อละสังโยชน์
[๙] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุอยู่ประพฤติพรหมจรรย์เพื่อละ เพื่อตัดสังโยชน์ ๗
ประการ
ภิกษุอยู่ประพฤติพรหมจรรย์เพื่อละ เพื่อตัดสังโยชน์ ๗ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ภิกษุอยู่ประพฤติพรหมจรรย์เพื่อละ เพื่อตัดอนุนยสังโยชน์
๒. ... ปฏิฆสังโยชน์
๓. ... ทิฏฐิสังโยชน์
๔. ... วิจิกิจฉาสังโยชน์
๕. ... มานสังโยชน์
๖. ... ภวราคสังโยชน์
๗. ภิกษุอยู่ประพฤติพรหมจรรย์เพื่อละ เพื่อตัดอวิชชาสังโยชน์
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุอยู่ประพฤติพรหมจรรย์เพื่อละ เพื่อตัดสังโยชน์ ๗ ประการนี้แล
ภิกษุทั้งหลาย เมื่อใด ภิกษุละอนุนยสังโยชน์ได้เด็ดขาด ตัดรากถอนโคน
เหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไป
ไม่ได้ ละปฏิฆสังโยชน์ได้เด็ดขาด ฯลฯ ทิฏฐิสังโยชน์ ฯลฯ วิจิกิจฉาสังโยชน์ ฯลฯ
มานสังโยชน์ ฯลฯ ภวราคสังโยชน์ ฯลฯ ละอวิชชาสังโยชน์ได้เด็ดขาด ตัดราก
ถอนโคน เหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี
เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ เมื่อนั้น เราจึงเรียกภิกษุนี้ว่า ‘ตัดตัณหาได้แล้ว ถอนสังโยชน์
ได้แล้ว ทำที่สุดแห่งทุกข์ได้แล้วเพราะละมานะได้โดยชอบ‘๑

ปหานสูตรที่ ๙ จบ

เชิงอรรถ :
๑ หมายถึงตัดตัณหาได้เด็ดขาดด้วยโลกุตตรมรรค ถอนสังโยชน์ ๑๐ ประการได้ ทำให้วัฏฏทุกข์หยุดการ
หมุนได้ และคำว่า “เพราะละมานะได้” แปลจากบาลีว่า “มานาภิสมยา” ตามนัย วิ.อ. ๑/๙๗ ใช้ใน
ความหมายว่า ‘ละ’ ดังนั้น จึงมีความหมายว่า เพราะรู้ยิ่งคือเห็นและละมานะ ๙ ประการได้ (ม.มู.อ.๑/๒๗/
๙๕, องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๑๗๗/๓๙๘) และดู องฺ.จตุกฺก. (แปล) ๒๑/๑๗๗/๒๔๙, ๒๕๗/๓๗๔, องฺ.ฉกฺก. (แปล)
๒๒/๑๐๕/๖๒๗

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๑๕ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๑.ธนวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค
๑๐. มัจฉริยสูตร
ว่าด้วยมัจฉริยะ
[๑๐] ภิกษุทั้งหลาย สังโยชน์ ๗ ประการนี้
สังโยชน์ ๗ ประการ อะไรบ้าง คือ

๑. อนุนยสังโยชน์ ๒. ปฏิฆสังโยชน์
๓. ทิฏฐิสังโยชน์ ๔. วิจิกิจฉาสังโยชน์
๕. มานสังโยชน์ ๖. อิสสาสังโยชน์ (สังโยชน์คือความริษยา)

๗. มัจฉริยสังโยชน์ (สังโยชน์คือความตระหนี่)
ภิกษุทั้งหลาย สังโยชน์ ๗ ประการนี้แล
มัจฉริยสูตรที่ ๑๐ จบ
ธนวรรคที่ ๑ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. ปฐมปิยสูตร ๒. ทุติยปิยสูตร
๓. สังขิตตพลสูตร ๔. วิตถตพลสูตร
๕. สังขิตตธนสูตร ๖. วิตถตธนสูตร
๗. อุคคสูตร ๘. สัญโญชนสูตร
๙. ปหานสูตร ๑๐. มัจฉริยสูตร


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๑๖ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๒.อนุสยวรรค ๑.ปฐมอนุสยสูตร
๒. อนุสยวรรค
หมวดว่าด้วยอนุสัย

๑. ปฐมอนุสยสูตร
ว่าด้วยอนุสัย สูตรที่ ๑
[๑๑] ภิกษุทั้งหลาย อนุสัย๑ (กิเลสที่นอนเนื่องในสันดาน) ๗ ประการนี้
อนุสัย ๗ ประการ อะไรบ้าง คือ

๑. กามราคานุสัย (อนุสัยคือความกำหนัดในกาม)
๒. ปฏิฆานุสัย (อนุสัยคือความยินร้าย)
๓. ทิฏฐานุสัย (อนุสัยคือความเห็นผิด)
๔. วิจิกิจฉานุสัย (อนุสัยคือความลังเลสงสัย)
๕. มานานุสัย (อนุสัยคือความถือตัว)
๖. ภวราคานุสัย (อนุสัยคือความติดใจในภพ)
๗. อวิชชานุสัย (อนุสัยคือความไม่รู้แจ้ง)

ภิกษุทั้งหลาย อนุสัย ๗ ประการนี้แล

ปฐมอนุสยสูตรที่ ๑ จบ

เชิงอรรถ :
๑ ดู ที.ปา. ๑๑/๓๓๒/๒๒๓, สํ.ม. ๑๙/๑๗๖/๕๕, อภิ.วิ. (แปล) ๓๕/๙๔๙/๖๐๕-๖๐๖

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๑๗ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๒.อนุสยวรรค ๒.ทุติยอนุสยสูตร
๒. ทุติยอนุสยสูตร
ว่าด้วยอนุสัย สูตรที่ ๒
[๑๒] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุอยู่ประพฤติพรหมจรรย์เพื่อละ เพื่อตัดอนุสัย
๗ ประการ
ภิกษุอยู่ประพฤติพรหมจรรย์เพื่อละ เพื่อตัดอนุสัย ๗ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ภิกษุอยู่ประพฤติพรหมจรรย์เพื่อละ เพื่อตัดกามราคานุสัย
๒. ... ปฏิฆานุสัย
๓. ... ทิฏฐานุสัย
๔. ... วิจิกิจฉานุสัย
๕. ... มานานุสัย
๖. ... ภวราคานุสัย
๗. ภิกษุอยู่ประพฤติพรหมจรรย์เพื่อละ เพื่อตัดอวิชชานุสัย
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุอยู่ประพฤติพรหมจรรย์เพื่อละ เพื่อตัดอนุสัย ๗ ประการนี้แล
ภิกษุทั้งหลาย เมื่อใด ภิกษุละกามราคานุสัยได้เด็ดขาด ตัดรากถอนโคน
เหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไป
ไม่ได้ ละปฏิฆานุสัยได้เด็ดขาด ฯลฯ ทิฏฐานุสัย ฯลฯ วิจิกิจฉานุสัย ฯลฯ มานานุสัย
ฯลฯ ภวราคานุสัย ฯลฯ ละอวิชชานุสัยได้เด็ดขาด ตัดรากถอนโคน เหมือน
ต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้
เมื่อนั้น ภิกษุนี้เราจึงเรียกว่า ‘ตัดตัณหาได้แล้ว ถอนสังโยชน์ได้แล้ว ทำที่สุด
แห่งทุกข์ได้แล้ว เพราะละมานะได้โดยชอบ’
ทุติยอนุสยสูตรที่ ๒ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๑๘ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๒.อนุสยวรรค ๓.กุลสูตร
๓. กุลสูตร๑
ว่าด้วยตระกูลที่ภิกษุไม่ควรเข้าไปหาและควรเข้าไปหา
[๑๓] ภิกษุทั้งหลาย ตระกูลที่ประกอบด้วยองค์ ๗ ประการ ภิกษุยังไม่เคย
เข้าไปหา ก็ไม่ควรเข้าไปหา หรือเข้าไปหาแล้ว ก็ไม่ควรนั่งใกล้
องค์ ๗ ประการ อะไรบ้าง คือ
ตระกูล
๑. ต้อนรับด้วยความไม่เต็มใจ
๒. ไหว้ด้วยความไม่เต็มใจ
๓. ให้อาสนะด้วยความไม่เต็มใจ
๔. ปกปิดของที่มีอยู่
๕. มีของมาก แต่ถวายน้อย
๖. มีของประณีต แต่ถวายของเศร้าหมอง
๗. ถวายโดยไม่เคารพ ไม่ถวายโดยเคารพ
ภิกษุทั้งหลาย ตระกูลที่ประกอบด้วยองค์ ๗ ประการนี้แล ภิกษุยังไม่เคยเข้า
ไปหา ก็ไม่ควรเข้าไปหา หรือเข้าไปหาแล้ว ก็ไม่ควรนั่งใกล้
ภิกษุทั้งหลาย ตระกูลที่ประกอบด้วยองค์ ๗ ประการ ภิกษุยังไม่เคยเข้าไปหา
ควรเข้าไปหา หรือเข้าไปหาแล้ว ควรนั่งใกล้
องค์ ๗ ประการ อะไรบ้าง คือ
ตระกูล
๑. ต้อนรับด้วยความเต็มใจ
๒. ไหว้ด้วยความเต็มใจ
๓. ให้อาสนะด้วยความเต็มใจ
๔. ไม่ปกปิดของที่มีอยู่

เชิงอรรถ :
๑ ดูนวกนิบาต ข้อ ๑๗ (กุลสูตร) หน้า ๔๖๕-๔๖๖ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๑๙ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๒.อนุสยวรรค ๔.ปุคคลสูตร
๕. มีของมาก ก็ถวายมาก
๖. มีของประณีต ก็ถวายของประณีต
๗. ถวายโดยเคารพ ไม่ถวายโดยไม่เคารพ
ภิกษุทั้งหลาย ตระกูลที่ประกอบด้วยองค์ ๗ ประการนี้แล ภิกษุยังไม่เคยเข้า
ไปหา ควรเข้าไปหา หรือเข้าไปหาแล้ว ควรนั่งใกล้
กุลสูตรที่ ๓ จบ

๔. ปุคคลสูตร
ว่าด้วยบุคคลผู้ควรแก่ของที่เขานำมาถวาย
[๑๔] ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๗ จำพวกนี้๑ เป็นผู้ควรแก่ของที่เขานำมาถวาย
ควรแก่ของต้อนรับ ควรแก่ทักษิณา ควรแก่การทำอัญชลี เป็นนาบุญอันยอดเยี่ยม
ของโลก
บุคคล ๗ จำพวกไหนบ้าง คือ
๑. ท่านผู้เป็นอุภโตภาควิมุต๒ ๒. ท่านผู้เป็นปัญญาวิมุต๓
๓. ท่านผู้เป็นกายสักขี๔ ๔. ท่านผู้เป็นทิฏฐิปัตตะ๕

เชิงอรรถ :
๑ ดู ที.ปา. ๑๑/๑๕๐/๙๑, ๓๓๒/๒๒๓, ม.ม. ๑๓/๑๘๒/๑๕๕, องฺ.ทสก. (แปล) ๒๔/๑๖/๒๙, อภิ.ปุ. (แปล)
๓๖/๑๕/๑๔๘,๒๐๘/๒๒๙-๒๓๑
๒ ท่านผู้เป็นอุภโตภาควิมุต (ผู้หลุดพ้นทั้งสองส่วน) หมายถึงท่านผู้หลุดพ้นจากรูปกายด้วยอรูปสมาบัติ
และหลุดพ้นจากนามกายด้วยอริยมรรค ได้แก่ พระอรหันต์ผู้บำเพ็ญสมถกัมมัฏฐาน ได้สัมผัสวิโมกข์ ๘
ด้วยนามกาย ได้เจโตวิมุตติขั้นอรูปสมาบัติ และสิ้นอาสวะเพราะเห็นด้วยปัญญา เป็นพระอรหันต์ผู้ได้
ปัญญาวิมุตติ (องฺ.สตฺตก.อ. ๓/๑๔/๑๖๐, องฺ.นวก.อ. ๓/๔๕/๓๑๖)
๓ ท่านผู้เป็นปัญญาวิมุต (ผู้หลุดพ้นด้วยปัญญา) หมายถึงพระอรหันต์ผู้บำเพ็ญวิปัสสนาล้วนๆ มิได้สัมผัส
วิโมกข์ ๘ แต่สิ้นอาสวะเพราะเห็นด้วยปัญญา (องฺ.สตฺตก.อ. ๓/๑๔/๑๖๑)
๔ ท่านผู้เป็นกายสักขี (ผู้เป็นพยานในนามกาย) หมายถึงท่านที่ได้สัมผัสวิโมกข์ ๘ ด้วยนามกาย และอาสวะ
บางส่วนก็สิ้นไปเพราะเห็นด้วยปัญญา ได้แก่ พระอริยบุคคลผู้บรรลุโสดาปัตติผลขึ้นไป จนถึงท่านผู้ปฏิบัติ
เพื่อบรรลุพระอรหัตที่มีสมาธินทรีย์แก่กล้าในการปฏิบัติ (องฺ.สตฺตก.อ. ๓/๑๔/๑๖๑)
๕ ท่านผู้เป็นทิฏฐิปัตตะ (ผู้บรรลุสัมมาทิฏฐิ) หมายถึงท่านผู้เข้าใจอริยสัจถูกต้องและอาสวะบางส่วนก็สิ้นไป
เพราะเห็นด้วยปัญญา ได้แก่ พระอริยบุคคลผู้บรรลุโสดาปัตติผลขึ้นไปจนถึงผู้ปฏิบัติเพื่อพระอรหัตที่มี
ปัญญินทรีย์แก่กล้าในการปฏิบัติ (องฺ.สตฺตก.อ. ๓/๑๔/๑๖๑))

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๒๐ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๒.อนุสยวรรค ๕.อุทกูปมาสูตร
๕. ท่านผู้เป็นสัทธาวิมุต๑ ๖. ท่านผู้เป็นธัมมานุสารี๒
๗. ท่านผู้เป็นสัทธานุสารี๓
ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๗ จำพวกนี้แล เป็นผู้ควรแก่ของที่เขานำมาถวาย ควรแก่
ของต้อนรับ ควรแก่ทักษิณา ควรแก่การทำอัญชลี เป็นนาบุญอันยอดเยี่ยมของโลก
ปุคคลสูตรที่ ๔ จบ

๕. อุทกูปมาสูตร
ว่าด้วยบุคคลผู้เปรียบด้วยคนตกน้ำ๔
[๑๕] ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้เปรียบด้วยคนตกน้ำ ๗ จำพวก มีปรากฏอยู่
ในโลก
บุคคล ๗ จำพวกไหนบ้าง คือ
๑. บุคคลบางคนในโลกนี้ จมแล้วครั้งเดียว ก็ยังจมอยู่นั่นเอง
๒. บุคคลบางคนในโลกนี้ โผล่ขึ้นแล้วจมลงอีก
๓. บุคคลบางคนในโลกนี้ โผล่ขึ้นแล้วหยุดอยู่
๔. บุคคลบางคนในโลกนี้ โผล่ขึ้นแล้วเหลียวมองดู
๕. บุคคลบางคนในโลกนี้ โผล่ขึ้นแล้วข้ามไป

เชิงอรรถ :
๑ ท่านผู้เป็นสัทธาวิมุต (ผู้หลุดพ้นด้วยศรัทธา) หมายถึงท่านผู้เข้าใจอริยสัจถูกต้อง ได้แก่ พระอริยบุคคล
ผู้บรรลุโสดาปัตติผลขึ้นไป จนถึงผู้ปฏิบัติเพื่อบรรลุพระอรหัตที่มีสัทธินทรีย์แก่กล้าในการปฏิบัติ (องฺ.
สตฺตก.อ. ๓/๑๔/๑๖๒)
๒ ท่านผู้เป็นธัมมานุสารี (ผู้แล่นไปตามธรรม) หมายถึงพระอริยบุคคลผู้บำเพ็ญอริยมรรค ดำรงอยู่ใน
โสดาปัตติมรรค กำลังปฏิบัติเพื่อบรรลุโสดาปัตติผลมีปัญญาแก่กล้าเป็นตัวนำ (องฺ.สตฺตก.อ. ๓/๑๔/๑๖๒)
๓ ท่านผู้เป็นสัทธานุสารี (ผู้แล่นไปตามศรัทธา) หมายถึงท่านผู้ดำรงอยู่ในโสดาปัตติมรรค กำลังปฏิบัติเพื่อ
บรรลุโสดาปัตติผล มีศรัทธาแก่กล้าเป็นตัวนำ (องฺ.สตฺตก.อ. ๓/๑๔/๑๖๒)
๔ ดู อภิ.ปุ. (แปล) ๓๖/๑๓/๑๔๗,๒๐๓/๒๒๗-๒๒๘

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๒๑ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๒.อนุสยวรรค ๕.อุทกูปมาสูตร
๖. บุคคลบางคนในโลกนี้ โผล่ขึ้นแล้วได้ที่พึ่ง
๗. บุคคลบางคนในโลกนี้ โผล่ขึ้นแล้วข้ามไปถึงฝั่ง เป็นผู้ลอยบาปอยู่
บนบก
บุคคลผู้จมลงครั้งเดียว ก็ยังจมอยู่นั่นเอง เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้ประกอบด้วยอกุศลธรรมฝ่ายดำโดยส่วนเดียว๑
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้จมลงครั้งเดียว ก็ยังจมอยู่นั่นเอง เป็นอย่างนี้แล
บุคคลผู้โผล่ขึ้นแล้วจมลงอีก เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้โผล่ขึ้นมาแล้ว ได้แก่ มีศรัทธาดีในกุศลธรรมทั้งหลาย
มีหิริดี ... มีโอตตัปปะดี ... มีวิริยะดี ... มีปัญญาดีในกุศลธรรมทั้งหลาย แต่ศรัทธา
ของเขานั้นไม่คงอยู่กับที่ ไม่เจริญ เสื่อมไปฝ่ายเดียว หิริของเขานั้น ... โอตตัปปะ
ของเขานั้น ... วิริยะของเขานั้น ... ปัญญาของเขานั้นไม่คงอยู่กับที่ ไม่เจริญ เสื่อมไป
ฝ่ายเดียว ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้โผล่ขึ้นแล้วจมลงอีก เป็นอย่างนี้แล
บุคคลผู้โผล่ขึ้นแล้วหยุดอยู่ เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้โผล่ขึ้นมาแล้ว ได้แก่ มีศรัทธาดีในกุศลธรรมทั้งหลาย
มีหิริดี ... มีโอตตัปปะดี ... มีวิริยะดี ... มีปัญญาดีในกุศลธรรมทั้งหลาย และศรัทธา
ของเขานั้นไม่เสื่อม ไม่เจริญ คงอยู่กับที่ หิริของเขานั้น ... โอตตัปปะของเขานั้น ...
วิริยะของเขานั้น ... ปัญญาของเขานั้นไม่เสื่อม ไม่เจริญ คงอยู่กับที่ ภิกษุทั้งหลาย
บุคคลผู้โผล่ขึ้นแล้วหยุดอยู่ เป็นอย่างนี้แล

เชิงอรรถ :
๑ อกุศลธรรมฝ่ายดำโดยส่วนเดียว ในที่นี้หมายถึงนิยตมิจฉาทิฏฐิ ได้แก่ ลัทธินัตถิกวาทะ (ลัทธิที่ถือว่า
ทานที่บุคคลให้แล้วไม่มีผล) อเหตุกวาทะ (ลัทธิที่ถือว่าไม่มีเหตุปัจจัยเพื่อความบริสุทธิ์แห่งสัตว์ทั้งหลาย)
และอกิริยวาทะ (ลัทธิที่ถือว่าการกระทำทุกอย่างไม่มีผล ทำดีก็ไม่ได้ดีทำชั่วก็ไม่ได้ชั่ว (เป็นความเห็นที่
ปฏิเสธกฎแห่งกรรม) (องฺ.สตฺตก.อ. ๓/๑๕/๑๖๒, องฺ.สตฺตก.ฏีกา ๓/๑๕/๑๘๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๒๒ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๒.อนุสยวรรค ๕.อุทกูปมาสูตร
บุคคลผู้โผล่ขึ้นแล้วเหลียวมองดู เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้โผล่ขึ้นมาแล้ว ได้แก่มีศรัทธาดีในกุศลธรรมทั้งหลาย
มีหิริดี ... มีโอตตัปปะดี ... มีวิริยะดี ... มีปัญญาดีในกุศลธรรมทั้งหลาย และเพราะ
สังโยชน์ ๓ ประการสิ้นไป เขาจึงเป็นโสดาบัน ไม่มีทางตกต่ำ มีความแน่นอนที่จะ
สำเร็จสัมโพธิ๑ในวันข้างหน้า ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้โผล่ขึ้นแล้วเหลียวมองดู เป็น
อย่างนี้แล
บุคคลผู้โผล่ขึ้นแล้วข้ามไป เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้โผล่ขึ้นมาแล้ว ได้แก่มีศรัทธาดีในกุศลธรรมทั้งหลาย
มีหิริดี ... มีโอตตัปปะดี ... มีวิริยะดี ... มีปัญญาดีในกุศลธรรมทั้งหลาย และเพราะ
สังโยชน์ ๓ ประการสิ้นไป เพราะราคะ โทสะและโมหะเบาบาง เขาจึงเป็นสกทาคามี
มาสู่โลกนี้อีกเพียงครั้งเดียว ก็จะทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้โผล่ขึ้น
แล้วข้ามไป เป็นอย่างนี้แล
บุคคลผู้โผล่ขึ้นแล้วได้ที่พึ่ง เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้โผล่ขึ้นมาแล้ว ได้แก่มีศรัทธาดีในกุศลธรรมทั้งหลาย
มีหิริดี ... มีโอตตัปปะดี ... มีวิริยะดี ... มีปัญญาดีในกุศลธรรมทั้งหลาย และเพราะ
สังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ ประการสิ้นไป เขาจึงเป็นโอปปาติกะ๒ ปรินิพพานในภพชั้น
สุทธาวาสนั้น ไม่กลับมาจากโลกนั้น ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้โผล่ขึ้นแล้วได้ที่พึ่ง
เป็นอย่างนี้แล

เชิงอรรถ :
๑ สัมโพธิ ในที่นี้หมายถึงมรรคเบื้องสูง ๓ ประการ (คือ สกทาคามิมรรค อนาคามิมรรค และอรหัตตมรรค)
(องฺ.ติก.อ. ๒/๘๗/๒๔๒, องฺ.ติก.ฏีกา ๒/๘๗/๒๓๕, สารตฺถ.ฏีกา ๑/๒๑/๕๕๙)
๒ โอปปาติกะ คือสัตว์ที่เกิดและเติบโตเต็มที่ทันที และเมื่อจุติ (ตาย) ก็หายวับไปไม่ทิ้งซากศพไว้ เช่น เทวดา
และสัตว์นรก เป็นต้น (ที.สี.อ. ๑/๑๗๑/๑๔๙) ในที่นี้หมายถึงโอปปาติกะที่ละสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ ประการ
ได้เป็นพระอริยบุคคลชั้นอนาคามีไปเกิดในสุทธาวาส ๕ ชั้น มีชั้นอวิหาเป็นต้น แล้วดำรงภาวะอยู่ในชั้น
นั้น ๆ ปรินิพพานสิ้นกิเลสอยู่ในสุทธาวาสนั่นเอง ไม่กลับมาเกิดเป็นมนุษย์อีก (องฺ.เอกาทสก.อ. ๓/๑๖/๓๘๖)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๒๓ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๒.อนุสยวรรค ๖.อนิจจานุปัสสีสูตร
บุคคลผู้โผล่ขึ้นแล้วข้ามไปถึงฝั่ง เป็นผู้ลอยบาปอยู่บนบก เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้โผล่ขึ้นมาแล้ว ได้แก่มีศรัทธาดีในกุศลธรรมทั้งหลาย
มีหิริดี... มีโอตตัปปะดี... มีวิริยะดี... มีปัญญาดีในกุศลธรรมทั้งหลาย และเขาทำให้
แจ้งเจโตวิมุตติ๑ ปัญญาวิมุตติ๒ อันไม่มีอาสวะ เพราะอาสวะสิ้นไป ด้วยปัญญาอัน
ยิ่งเอง เข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้โผล่ขึ้นแล้วข้ามไปถึงฝั่ง เป็นผู้
ลอยบาปอยู่บนบก เป็นอย่างนี้แล๓
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้เปรียบด้วยคนตกน้ำ ๗ จำพวกนี้แล มีปรากฏอยู่ในโลก
อุทกูปมาสูตรที่ ๕ จบ

๖. อนิจจานุปัสสีสูตร
ว่าด้วยบุคคลผู้พิจารณาเห็นความไม่เที่ยง
[๑๖] ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๗ จำพวกนี้ เป็นผู้ควรแก่ของที่เขานำมาถวาย
ควรแก่ของต้อนรับ ควรแก่ทักษิณา ควรแก่การทำอัญชลี เป็นนาบุญอันยอดเยี่ยม
ของโลก
บุคคล ๗ จำพวกไหนบ้าง คือ
๑. บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้พิจารณาเห็นความไม่เที่ยง มีสัญญาว่า
ไม่เที่ยง รู้ว่าเป็นสภาวะไม่เที่ยงในสังขารทั้งปวงอยู่ ตั้งใจมั่นเนืองๆ
สม่ำเสมอ ไม่ขาดระยะ มีปัญญาหยั่งรู้ เขาทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ
ปัญญาวิมุตติอันไม่มีอาสวะ เพราะอาสวะสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง

เชิงอรรถ :
๑ เจโตวิมุตติ หมายถึงความหลุดพ้นจากกิเลสด้วยอำนาจการฝึกจิตซึ่งเป็นผลแห่งสมาธิ (องฺ.ทุก.อ. ๒/๘๘/
๖๒)
๒ ปัญญาวิมุตติ หมายถึงความหลุดพ้นจากกิเลสด้วยการกำจัดอวิชชาได้ซึ่งเป็นผลแห่งปัญญา (องฺ.ทุก.อ.
๒/๘๘/๖๒)
๓ คำว่า “โผล่ขึ้น” ในสูตรนี้ หมายถึงมีศรัทธา หิริ โอตตัปปะ วิริยะ และปัญญา บุคคลจำพวกที่ ๗ นี้
หมายถึงผู้ข้ามโอฆะคือกิเลสทั้งปวงได้ ดำรงตนอยู่บนบกคือนิพพาน (องฺ.สตฺตก.อ. ๓/๑๕/๑๖๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๒๔ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๒.อนุสยวรรค ๖.อนิจจานุปัสสีสูตร
เข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน ภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นบุคคลจำพวกที่ ๑ ผู้ควร
แก่ของที่เขานำมาถวาย ควรแก่ของต้อนรับ ควรแก่ทักษิณา ควร
แก่การทำอัญชลี เป็นนาบุญอันยอดเยี่ยมของโลก
๒. บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้พิจารณาเห็นความไม่เที่ยง มีสัญญาว่า
ไม่เที่ยง รู้ว่าเป็นสภาวะไม่เที่ยงในสังขารทั้งปวงอยู่ ตั้งใจมั่นเนืองๆ
สม่ำเสมอ ไม่ขาดระยะ มีปัญญาหยั่งรู้ เขามีปัญญาหยั่งรู้ความสิ้น
อาสวะและความสิ้นชีวิต ไม่ก่อนไม่หลังกัน ภิกษุทั้งหลาย นี้เป็น
บุคคลจำพวกที่ ๒ ผู้ควรแก่ของที่เขานำมาถวาย ควรแก่ของต้อนรับ
ควรแก่ทักษิณา ควรแก่การทำอัญชลี เป็นนาบุญอันยอดเยี่ยมของโลก
๓. บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้พิจารณาเห็นความไม่เที่ยง มีสัญญาว่า
ไม่เที่ยง รู้ว่าเป็นสภาวะไม่เที่ยงในสังขารทั้งปวงอยู่ ตั้งใจมั่นเนืองๆ
สม่ำเสมอ ไม่ขาดระยะ มีปัญญาหยั่งรู้ เพราะสังโยชน์เบื้องต่ำ
๕ ประการสิ้นไป เขาจึงเป็นอันตราปรินิพพายี๑ ภิกษุทั้งหลาย
นี้เป็นบุคคลจำพวกที่ ๓ ผู้ควรแก่ของที่เขานำมาถวาย ควรแก่ของ
ต้อนรับ ควรแก่ทักษิณา ควรแก่การทำอัญชลี เป็นนาบุญอันยอด
เยี่ยมของโลก

เชิงอรรถ :
๑ อันตราปรินิพพายี หมายถึงพระอนาคามีผู้ปรินิพพานในระหว่าง คือเกิดในสุทธาวาสภพใดภพหนึ่งแล้ว
อายุยังไม่ถึงกึ่งของอายุผู้เกิดในชั้นสุทธาวาสก็ปรินิพพานเสียในระหว่าง แต่ละชั้นมี ๓ จำพวก เช่นในชั้น
อวิหามีอายุ ๑,๐๐๐ กัป มี ๓ จำพวก ดังนี้ คือ
พวกที่ ๑ บรรลุพระอรหัตตผลในวันที่เกิด ถ้าไม่บรรลุในวันที่เกิดได้ก็บรรลุไม่เกินภายใน ๑๐๐ กัป
พวกที่ ๒ เมื่อไม่สามารถบรรลุพระอรหัตตผลในวันที่เกิดหรือบรรลุภายใน ๑๐๐ กัปได้ ก็บรรลุภายใน
๒๐๐ กัป
พวกที่ ๓ เมื่อไม่สามารถบรรลุพระอรหัตตผลภายใน ๒๐๐ กัปได้ ก็บรรลุไม่เกินภายใน ๔๐๐ กัป
ส่วนในสุทธาวาสชั้นอื่น ๆ คือ ชั้นอตัปปาที่มีอายุ ๒,๐๐๐ กัป ชั้นสุทัสสาที่มีอายุ ๔,๐๐๐ กัป ชั้นสุทัสสี
ที่มีอายุ ๘,๐๐๐ กัป ชั้นอกนิฏฐาที่มีอายุ ๑๖,๐๐๐ กัป ก็มีนัยเช่นเดียวกันนี้ (องฺ.ติก.อ.๒/๘๘/๒๔๓) และ
ดู อภิ.วิ. (แปล) ๓๕/๑๐๒๗/๖๗๓-๖๗๔ ประกอบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๒๕ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๒.อนุสยวรรค ๖.อนิจจานุปัสสีสูตร
๔. บุคคลบางคนในโลกนี้ ฯลฯ จึงเป็นอุปหัจจปรินิพพายี๑ ฯลฯ
๕. บุคคลบางคนในโลกนี้ ฯลฯ จึงเป็นอสังขารปรินิพพายี๒ ฯลฯ
๖. บุคคลบางคนในโลกนี้ ฯลฯ จึงเป็นสสังขารปรินิพพายี๓ ฯลฯ
๗. บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้พิจารณาเห็นความไม่เที่ยง มีสัญญาว่า
ไม่เที่ยง รู้ว่าเป็นสภาวะไม่เที่ยงในสังขารทั้งปวงอยู่ ตั้งใจมั่นเนืองๆ
สม่ำเสมอ ไม่ขาดระยะ มีปัญญาหยั่งรู้ เพราะสังโยชน์เบื้องต่ำ
๕ ประการสิ้นไป เขาจึงเป็นอุทธังโสตอกนิฏฐคามี๔ ภิกษุทั้งหลาย
นี้เป็นบุคคลจำพวกที่ ๗ ผู้ควรแก่ของที่เขานำมาถวาย ควรแก่
ของต้อนรับ ควรแก่ทักษิณา ควรแก่การทำอัญชลี เป็นนาบุญอัน
ยอดเยี่ยมของโลก
ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๗ จำพวกนี้แล เป็นผู้ควรแก่ของที่เขานำมาถวาย
ควรแก่ของต้อนรับ ควรแก่ทักษิณา ควรแก่การทำอัญชลี เป็นนาบุญอันยอดเยี่ยม
ของโลก

อนิจจานุปัสสีสูตรที่ ๖ จบ

เชิงอรรถ :
๑ อุปหัจจปรินิพพายี หมายถึงพระอนาคามีผู้เกิดในสุทธาวาสภพใดภพหนึ่งแล้ว มีอายุพ้นกึ่งจึงปรินิพพาน
(องฺ.ติก.อ. ๒/๘๘/๒๔๓) เช่น ในชั้นอวิหาซึ่งมีอายุ ๑,๐๐๐ กัป พระอนาคามีจำพวกนี้มีอายุพ้นกึ่งคือ
พ้น ๕๐๐ กัปแล้วจึงปรินิพพาน ส่วนในสุทธาวาสชั้นอื่นที่เหลือซึ่งมีอายุแตกต่างกันไปก็มีนัยเช่นเดียวกันนี้
๒ อสังขารปรินิพพายี หมายถึงพระอนาคามีผู้บรรลุพระอรหัตปรินิพพานโดยไม่ต้องใช้ความเพียรมาก (องฺ.ติก.อ.
๒/๘๘/๒๔๓)
๓ สสังขารปรินิพพายี หมายถึงพระอนาคามีผู้เกิดในสุทธาวาสภพใดภพหนึ่งบรรลุพระอรหัตปรินิพพาน
โดยต้องใช้ความเพียรมาก (องฺ.ติก.อ. ๒/๘๘/๒๔๓)
๔ อุทธังโสตอกนิฏฐคามี หมายถึงพระอนาคามีผู้มีกระแสสูงขึ้นไปจนถึงชั้นอกนิฏฐภพคือเกิดในสุทธา-
วาสภพใดภพหนึ่งแล้วก็จะเกิดเลื่อนต่อไปจนถึงชั้นอกนิฏฐภพ แล้วจึงปรินิพพานในภพนั้น (องฺ.ติก.อ. ๒/
๘๘/๒๔๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๒๖ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๒.อนุสยวรรค ๘.อนัตตานุปัสสีสูตร
๗. ทุกขานุปัสสีสูตร
ว่าด้วยบุคคลผู้พิจารณาเห็นความเป็นทุกข์
[๑๗] ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๗ จำพวกนี้ เป็นผู้ควรแก่ของที่เขานำมาถวาย
ฯลฯ๑ เป็นนาบุญอันยอดเยี่ยมของโลก
บุคคล ๗ จำพวกไหนบ้าง คือ
๑. บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้พิจารณาเห็นความเป็นทุกข์ มีสัญญา
ว่าเป็นทุกข์ รู้ว่าเป็นทุกข์ในสังขารทั้งปวงอยู่
ฯลฯ
ทุกขานุปัสสีสูตรที่ ๗ จบ

๘. อนัตตานุปัสสีสูตร
ว่าด้วยบุคคลผู้พิจารณาเห็นความเป็นอนัตตา
[๑๘] ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๗ จำพวกนี้ เป็นผู้ควรแก่ของที่เขานำมาถวาย
ฯลฯ เป็นนาบุญอันยอดเยี่ยมของโลก
บุคคล ๗ จำพวกไหนบ้าง คือ
๑. บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้พิจารณาเห็นความเป็นอนัตตา มีสัญญา
ว่าเป็นอนัตตา รู้ว่าเป็นอนัตตาในสังขารทั้งปวงอยู่
ฯลฯ

อนัตตานุปัสสีสูตรที่ ๘ จบ

เชิงอรรถ :
๑ เครื่องหมาย “ฯลฯ” ที่ปรากฏในข้อ ๑๗-๑๘ ดูความเต็มในข้อ ๑๖ (อนิจจานุปัสสีสูตร) หน้า ๒๔-๒๖

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๒๗ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๒.อนุสยวรรค ๙.นิพพานสูตร
๙. นิพพานสูตร
ว่าด้วยบุคคลผู้พิจารณาเห็นความเป็นสุขในนิพพาน
[๑๙] ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๗ จำพวกนี้ เป็นผู้ควรแก่ของที่เขานำมาถวาย
ฯลฯ เป็นนาบุญอันยอดเยี่ยมของโลก
บุคคล ๗ จำพวกไหนบ้าง คือ
๑. บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้พิจารณาเห็นความเป็นสุข มีสัญญาว่า
เป็นสุข รู้ว่าเป็นสุขในนิพพานอยู่ ตั้งใจมั่นเนืองๆ สม่ำเสมอ ไม่ขาด
ระยะ มีปัญญาหยั่งรู้ เขาทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันไม่มี
อาสวะ เพราะอาสวะสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง เข้าถึงอยู่ใน
ปัจจุบัน ภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นบุคคลจำพวกที่ ๑ ผู้ควรแก่ของที่
เขานำมาถวาย ฯลฯ เป็นนาบุญอันยอดเยี่ยมของโลก
๒. บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้พิจารณาเห็นความเป็นสุข มีสัญญาว่า
เป็นสุข รู้ว่าเป็นสุขในนิพพานอยู่ ตั้งใจมั่นเนืองๆ สม่ำเสมอ ไม่ขาด
ระยะ มีปัญญาหยั่งรู้ เขามีปัญญาหยั่งรู้ความสิ้นอาสวะ และความ
สิ้นชีวิต ไม่ก่อนไม่หลังกัน ภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นบุคคลจำพวกที่ ๒
ผู้ควรแก่ของที่เขานำมาถวาย ฯลฯ เป็นนาบุญอันยอดเยี่ยมของโลก
๓. บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้พิจารณาเห็นความเป็นสุข มีสัญญาว่า
เป็นสุข รู้ว่าเป็นสุขในนิพพานอยู่ ตั้งใจมั่นเนืองๆ สม่ำเสมอ ไม่ขาด
ระยะ มีปัญญาหยั่งรู้ เพราะสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ ประการสิ้นไป เขา
จึงเป็นอันตราปรินิพพายี ภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นบุคคลจำพวกที่ ๓
ผู้ควรแก่ของที่เขานำมาถวาย ฯลฯ เป็นนาบุญอันยอดเยี่ยมของโลก
๔. บุคคลบางคนในโลกนี้ ฯลฯ จึงเป็นอุปหัจจปรินิพพายี ฯลฯ
๕. บุคคลบางคนในโลกนี้ ฯลฯ จึงเป็นอสังขารปรินิพพายี ฯลฯ
๖. บุคคลบางคนในโลกนี้ ฯลฯ จึงเป็นสสังขารปรินิพพายี๑ ฯลฯ
๗. บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้พิจารณาเห็นความเป็นสุข มีสัญญาว่า
เป็นสุข รู้ว่าเป็นสุขในนิพพานอยู่ ตั้งใจมั่นเนืองๆ สม่ำเสมอ ไม่ขาด
ระยะ มีปัญญาหยั่งรู้ เพราะสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ ประการสิ้นไป เขาจึง

เชิงอรรถ :
๑ ดูเชิงอรรถที่ ๑ หน้า ๒๕ และเชิงอรรถที่ ๑-๔ หน้า ๒๖ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๒๘ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๒.อนุสยวรรค ๑๐.นิททสวัตถุสูตร
เป็นอุทธังโสตอกนิฏฐคามี ภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นบุคคลจำพวกที่ ๗
ผู้ควรแก่ของที่เขานำมาถวาย ฯลฯ เป็นนาบุญอันยอดเยี่ยมของโลก
ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๗ จำพวกนี้แล เป็นผู้ควรแก่ของที่เขานำมาถวาย ฯลฯ
เป็นนาบุญอันยอดเยี่ยมของโลก
นิพพานสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. นิททสวัตถุสูตร
ว่าด้วยนิททสวัตถุ
[๒๐] ภิกษุทั้งหลาย นิททสวัตถุ๑ (เหตุให้ได้ชื่อว่าผู้ไม่มีอายุ ๑๐ ปี) ๗ ประการนี้
นิททสวัตถุ ๗ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เป็นผู้มีฉันทะอย่างแรงกล้าในการสมาทานสิกขา๒ และได้ความรัก
ในการสมาทานสิกขาต่อไป๓
๒. เป็นผู้มีฉันทะอย่างแรงกล้าในการใคร่ครวญธรรม๔ และได้ความรัก
ในการใคร่ครวญธรรมต่อไป

เชิงอรรถ :
๑ คำว่า นิททสวัตถุ นี้ แปลว่า ธรรมที่เป็นเหตุให้ชื่อว่า “นิททสะ” แปลว่า มีอายุไม่ถึง ๑๐ ปี คำนี้เป็นคำที่
พวกเดียรถีย์ใช้เรียกนิครนถ์ผู้ประพฤติพรหมจรรย์กำหนด ๑๒ ปี ถ้าตายลง เมื่อถึง ๑๐ ปี เรียกผู้นั้นว่า
“นิททสะ” คือ เมื่อมาเกิดอีกจะมีอายุไม่ถึง ๑๐ ปี และอาจไม่ถึง ๙ ปี ๑ ปี แต่พระผู้มีพระภาคทรงใช้คำนี้
หมายถึงพระขีณาสพในความหมายว่า “ไม่มีการเกิดอีก” ไม่ว่าจะเกิดมาเพียงวันเดียวหรือครู่เดียว โดยมี
เงื่อนไขว่าผู้นั้นต้องเพียบพร้อมด้วยธรรม ๗ ประาร ส่วนเวลาประพฤติพรหมจรรย์มากน้อยไม่สำคัญ
ดู ข้อ ๔๒-๔๓ หน้า ๖๒-๖๖ ในเล่มนี้ประกอบด้วย (องฺ.สตฺตก.อ. ๓๒๐/๑๖๔-๑๖๕, ที.ปา.อ. ๓/๓๓๑/
๒๓๘) และดู ที.ปา. ๑๑/๓๓๑/๒๒๒
๒ สมาทานสิกขา ในที่นี้หมายถึงการบำเพ็ญไตรสิกขา คือ ศีล สมาธิ และปัญญาให้บริบูรณ์ และถูกต้อง
(องฺ.สตฺตก.อ. ๓/๒๐/๑๖๕, องฺ.สตฺตก.ฏีกา ๓/๒๐/๑๙๒)
๓ ต่อไป ในที่นี้หมายถึงกาลเวลาแห่งการบำเพ็ญที่ต่อเนื่องกันไม่ขาดระยะ มิได้หมายถึงภพในอนาคต
(องฺ.สตฺตก.อ. ๓/๒๐/๑๖๕, องฺ.สตฺตก.ฏีกา ๓/๒๐/๑๙๒)
๔ การใคร่ครวญธรรม แปลจากบาลีว่า “ธมฺมนิสนฺติ” หมายถึงการเพ่งพินิจพิจารณาเห็นธรรม โดยความ
เป็นสภาวะไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และเป็นอนัตตา ดังนั้น คำว่า “ธมฺมนิสนฺติ” นี้จึงเป็นชื่อของวิปัสสนา (ความ
เห็นแจ้ง) (องฺ.สตฺตก.อ. ๓/๒๐/๑๖๕, องฺ.สตฺตก.ฏีกา ๓/๒๐/๑๙๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๒๙ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๒.อนุสยวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค
๓. เป็นผู้มีฉันทะอย่างแรงกล้าในการกำจัดความอยาก๑ และได้ความ
รักในการกำจัดความอยากต่อไป
๔. เป็นผู้มีฉันทะอย่างแรงกล้าในการหลีกเร้น และได้ความรักในการ
หลีกเร้นต่อไป
๕. เป็นผู้มีฉันทะอย่างแรงกล้าในการปรารภความเพียร และได้ความรัก
ในการปรารภความเพียรต่อไป
๖. เป็นผู้มีฉันทะอย่างแรงกล้าในสติปัญญาเป็นเครื่องรักษาตน๒ และได้
ความรักในสติปัญญาเป็นเครื่องรักษาตนต่อไป
๗. เป็นผู้มีฉันทะอย่างแรงกล้าในการแทงตลอดด้วยทิฏฐิ๓และได้ความรัก
ในการแทงตลอดด้วยทิฏฐิต่อไป
ภิกษุทั้งหลาย นิททสวัตถุ ๗ ประการนี้แล
นิททสวัตถุสูตรที่ ๑๐ จบ
อนุสยวรรคที่ ๒ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. ปฐมอนุสยสูตร ๒. ทุติยอนุสยสูตร
๓. กุลสูตร ๔. ปุคคลสูตร
๕. อุทกูปมาสูตร ๖. อนิจจานุปัสสีสูตร
๗. ทุกขานุปัสสีสูตร ๘. อนัตตานุปัสสีสูตร
๙. นิพพานสูตร ๑๐. นิททสวัตถุสูตร


เชิงอรรถ :
๑ การกำจัดความอยาก หมายถึงการกำจัดหรือการข่มตัณหาได้ด้วยอำนาจของภังคานุปัสสนาญาณ
(ญาณอันตามเห็นความสลาย) (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๒๐/๑๖๕, องฺ.สตฺตก.ฏีกา ๓/๒๐/๑๙๒) หรือด้วยอำนาจ
วิปัสสนาญาณมีวิราคานุปัสสนาเป็นต้น (ที.ปา.ฏีกา ๓๓๑/๓๒๖)
๒ สติปัญญาเป็นเครื่องรักษาตน ในที่นี้หมายถึงสติและเนปักกปัญญากล่าวคือสติและสัมปชัญญะ (องฺ.สตฺตก.อ.
๓/๒๐/๑๖๕, องฺ.สตฺตก.ฏีกา ๓/๒๐/๑๙๓)
๓ ในการแทงตลอดด้วยทิฏฐิ แปลจากบาลีว่า ทิฏฺฐิปฏิเวเธ หมายถึงมัคคทัสสนะ (การเห็นมรรค) กล่าว
คือ การเห็นแจ้งด้วยมัคคสัมมาทิฏฐิ (องฺ.สตฺตก.อ. ๓/๒๐/๑๖๕, องฺ.สตฺตก.ฏีกา ๓/๒๐/๑๙๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๓๐ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๓.วัชชิสัตตกวรรค ๑.สารันททสูตร
๓. วัชชิสัตตกวรรค
หมวดว่าด้วยธรรม ๗ ประการของชาววัชชี๑
๑. สารันททสูตร
ว่าด้วยการแสดงอปริหานิยธรรมที่สารันททเจดีย์
[๒๑] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ สารันททเจดีย์๒ เขตกรุงเวสาลี
ครั้งนั้น เจ้าลิจฉวีหลายองค์ได้พากันเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาท
แล้วประทับนั่ง ณ ที่สมควร พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกับเจ้าลิจฉวีเหล่านั้นดังนี้ว่า
“เจ้าลิจฉวีทั้งหลาย เราจักแสดงอปริหานิยธรรม๓ ๗ ประการแก่ท่านทั้งหลาย
ท่านทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว” เจ้าลิจฉวีเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว
พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า
“เจ้าลิจฉวีทั้งหลาย อปริหานิยธรรม ๗ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. พวกเจ้าวัชชีพึงหวังได้แต่ความเจริญ๔ อย่างเดียว ไม่มีความเสื่อมเลย
ตราบเท่าที่พวกเจ้าวัชชียังหมั่นประชุมกันเนืองนิตย์ ประชุมกันมากครั้ง
๒. พวกเจ้าวัชชีพึงหวังได้แต่ความเจริญอย่างเดียว ไม่มีความเสื่อมเลย
ตราบเท่าที่พวกเจ้าวัชชียังพร้อมเพรียงกันประชุม พร้อมเพรียงกัน
เลิกประชุม และพร้อมเพรียงกันทำกิจที่พวกเจ้าวัชชีพึงทำ
๓. พวกเจ้าวัชชีพึงหวังได้แต่ความเจริญอย่างเดียว ไม่มีความเสื่อมเลย
ตราบเท่าที่พวกเจ้าวัชชียังไม่บัญญัติสิ่งที่มิได้บัญญัติไว้ ไม่ล้มล้างสิ่งที่
บัญญัติไว้แล้ว ถือปฏิบัติมั่นในวัชชีธรรมที่วางไว้เดิม๕

เชิงอรรถ :
๑ ดู ที.ม.๑๐/๑๓๔/๖๖-๖๘ (มหาปรินิพพานสูตร)
๒ สารันททเจดีย์ หมายถึงสถานที่เป็นที่อยู่ของยักษ์ชื่อสารันททะ หรือหมายถึงสถานที่ที่พระพุทธเจ้าทรง
ทำนิมิตโอภาสแก่พระอานนท์ (องฺ.สตฺตก.อ. ๓/๒๑/๑๖๖)
๓ อปริหานิยธรรม หมายถึงธรรมที่เป็นเหตุให้เกิดความเจริญโดยส่วนเดียว ไม่มีความเสื่อม มี ๒ ประเภท
คือ ราชอปริหานิยธรรม และภิกขุอปริหานิยธรรม (ที.ม.อ. ๒/๑๓๔-๑๓๖/๑๑๖-๑๒๘)
๔ ความเจริญ ในที่นี้หมายถึงความเจริญด้วยคุณธรรมมีศีลเป็นต้น (ที.ม.อ. ๒/๑๓๖/๑๒๖)
๕ วัชชีธรรมที่วางไว้เดิม หมายถึงประเพณีที่สืบต่อกันมานาน เช่น จับผู้ต้องสงสัยว่าเป็นโจร ผู้จับจะไม่
สอบสวนเอง แต่จะส่งให้ฝ่ายสอบสวน ฝ่ายสอบสวนสืบสวนแล้วรู้ว่าไม่ใช่ก็ปล่อย ถ้ายังสงสัยก็ส่งต่อขึ้นไป
ตามลำดับชั้น บางกรณีอาจส่งถึงเสนาบดี บางกรณีอาจส่งถึงพระราชาเพื่อทรงวินิจฉัย (ที.ม.อ.๒/๑๓๔/๑๑๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๓๑ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๓.วัชชิสัตตกวรรค ๒.วัสสการสูตร
๔. พวกเจ้าวัชชีพึงหวังได้แต่ความเจริญอย่างเดียว ไม่มีความเสื่อมเลย
ตราบเท่าที่พวกเจ้าวัชชียังสักการะ เคารพ นับถือ บูชาเจ้าวัชชีผู้มี
พระชนมายุมากของชาววัชชี และสำคัญถ้อยคำของท่านเหล่านั้นว่า
เป็นสิ่งควรรับฟัง
๕. พวกเจ้าวัชชีพึงหวังได้แต่ความเจริญอย่างเดียว ไม่มีความเสื่อมเลย
ตราบเท่าที่พวกเจ้าวัชชียังไม่ฉุดคร่าขืนใจกุลสตรีหรือกุลกุมารีให้อยู่
ร่วมด้วย
๖. พวกเจ้าวัชชีพึงหวังได้แต่ความเจริญอย่างเดียว ไม่มีความเสื่อมเลย
ตราบเท่าที่พวกเจ้าวัชชียังสักการะ เคารพ นับถือ บูชาเจดีย์ใน
แคว้นวัชชีของชาววัชชีทั้งในเมืองและนอกเมือง และไม่ละเลยการบูชา
อันชอบธรรมที่เคยให้ เคยกระทำต่อเจดีย์เหล่านั้นให้เสื่อมสูญไป
๗. พวกเจ้าวัชชีพึงหวังได้แต่ความเจริญอย่างเดียว ไม่มีความเสื่อมเลย
ตราบเท่าที่พวกเจ้าวัชชียังจัดการรักษา คุ้มครอง ป้องกันพระอรหันต์
ทั้งหลายโดยชอบธรรมด้วยตั้งใจว่า ‘ทำอย่างไร พระอรหันต์ที่ยัง
ไม่มา พึงมาสู่แว่นแคว้นของเรา และท่านที่มาแล้วพึงอยู่อย่างผาสุก’
พวกเจ้าวัชชีพึงหวังได้แต่ความเจริญอย่างเดียว ไม่มีความเสื่อมเลย ตราบเท่า
ที่พวกเจ้าวัชชียังมีอปริหานิยธรรมทั้ง ๗ ประการนี้อยู่ และใส่ใจอปริหานิยธรรม
ทั้ง ๗ ประการนี้อยู่”
สารันททสูตรที่ ๑ จบ

๒. วัสสการสูตร
ว่าด้วยวัสสการพราหมณ์๑
[๒๒] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่ภูเขาคิชฌกูฏ เขตกรุงราชคฤห์ สมัยนั้น
พระราชาแห่งแคว้นมคธ พระนามว่าอชาตศัตรู เวเทหิบุตร มีพระประสงค์จะ

เชิงอรรถ :
๑ ดู ที.ม. ๑๐/๑๓๑-๑๓๕/๖๕-๖๘

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๓๒ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๓.วัชชิสัตตกวรรค ๒.วัสสการสูตร
เสด็จไปปราบแคว้นวัชชี รับสั่งว่า “เราจะโค่นล้มพวกเจ้าวัชชีผู้มีฤทธิ์๑มากอย่างนี้
มีอานุภาพ๒มากอย่างนี้ ให้พินาศย่อยยับ”๓
พระราชาแห่งแคว้นมคธพระนามว่าอชาตศัตรู เวเทหิบุตร จึงรับสั่งเรียก
วัสสการพราหมณ์มหาอำมาตย์แคว้นมคธมาตรัสว่า “มาเถิด พราหมณ์ ท่านจงไป
เฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ กราบพระยุคลบาทด้วยเศียรเกล้า แล้วทูลถามถึง
พระสุขภาพ ความมีพระโรคาพาธน้อย กระปรี้กระเปร่า มีพระพลานามัยสมบูรณ์
อยู่สำราญตามคำของเราว่า ‘ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระราชาแห่งแคว้นมคธ พระนาม
ว่าอชาตศัตรู เวเทหิบุตร ขอกราบพระยุคลบาทของพระผู้มีพระภาคด้วยพระเศียร
ทูลถามถึงพระสุขภาพ ความมีพระโรคาพาธน้อย กระปรี้กระเปร่า มีพระพลานามัย
สมบูรณ์ อยู่สำราญ’ และท่านจงกราบทูลว่า ‘ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระราชาแห่ง
แคว้นมคธ พระนามว่าอชาตศัตรู เวเทหิบุตร มีพระประสงค์จะเสด็จไปปราบแคว้น
วัชชี มีรับสั่งอย่างนี้ว่า ‘เราจะโค่นล้มพวกเจ้าวัชชีผู้มีฤทธิ์มากอย่างนี้ มีอานุภาพมาก
อย่างนี้ ให้พินาศย่อยยับ’ พระผู้มีพระภาคทรงพยากรณ์แก่ท่านอย่างไร ท่านพึงจำ
คำพยากรณ์นั้นให้ดีแล้วมาบอกเรา เพราะว่าพระตถาคตทั้งหลายย่อมไม่ตรัสคำเท็จ”
วัสสการพราหมณ์มหาอำมาตย์แคว้นมคธ ทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว เข้าไป
เฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ได้สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่
ระลึกถึงกันแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ข้าแต่ท่านพระโคดม พระราชาแห่งแคว้นมคธ พระนามว่าอชาตศัตรู เวเทหิ
บุตร ขอกราบพระยุคลบาทของพระโคดมด้วยพระเศียร ทูลถามถึงพระสุขภาพ
ความมีพระโรคาพาธน้อย กระปรี้กระเปร่า มีพระพลานามัยสมบูรณ์ อยู่สำราญ
พระราชาแห่งแคว้นมคธ พระนามว่าอชาตศัตรู เวเทหิบุตร มีพระประสงค์จะเสด็จไป

เชิงอรรถ :
๑ ฤทธิ์ ในที่นี้หมายถึงความพร้อมเพรียงกัน (องฺ.สตฺตก.อ. ๓/๒๒/๑๗๐)
๒ อานุภาพ ในที่นี้หมายถึงการได้รับการศึกษาฝึกฝนศิลปะต่าง ๆ เช่น ศิลปะการฝึกช้างเป็นต้น (องฺ.สตฺตก.อ.
๓/๒๒/๑๗๐)
๓ ให้พินาศย่อยยับ ในที่นี้หมายถึงทำให้ไม่มี ให้ถึงความไม่เจริญ และให้ถึงความเสื่อมไปแห่งญาติ (องฺ.สตฺตก.อ.
๓/๒๒/๑๗๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๓๓ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๓.วัชชิสัตตกวรรค ๒.วัสสการสูตร
ปราบแคว้นวัชชี มีรับสั่งอย่างนี้ว่า ''เราจะโค่นล้มพวกเจ้าวัชชีผู้มีฤทธิ์มากอย่างนี้
มีอานุภาพมากอย่างนี้ ให้พินาศย่อยยับ”
สมัยนั้น ท่านพระอานนท์ยืนถวายงานพัดพระผู้มีพระภาคอยู่ ณ เบื้องพระ
ปฤษฎางค์ พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกท่านพระอานนท์มาตรัสถามว่า
“อานนท์ เธอได้ยินไหมว่า ‘พวกเจ้าวัชชีหมั่นประชุมกันเนืองนิตย์ ประชุมกัน
มากครั้ง”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ได้ยินว่า ‘พวกเจ้าวัชชีหมั่นประชุมกันเนือง
นิตย์ ประชุมกันมากครั้ง”
“อานนท์ พวกเจ้าวัชชีพึงหวังได้แต่ความเจริญอย่างเดียว ไม่มีความเสื่อมเลย
ตราบเท่าที่พวกเจ้าวัชชียังหมั่นประชุมกันเนืองนิตย์ ประชุมกันมากครั้ง''
''อานนท์ เธอได้ยินไหมว่า ‘พวกเจ้าวัชชีพร้อมเพรียงกันประชุม พร้อมเพรียง
กันเลิกประชุม และพร้อมเพรียงกันทำกิจที่พวกเจ้าวัชชีพึงทำ”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ได้ยินว่า ‘พวกเจ้าวัชชีพร้อมเพรียงกันประชุม
พร้อมเพรียงกันเลิกประชุม และพร้อมเพรียงกันทำกิจที่พวกเจ้าวัชชีพึงทำ”
“อานนท์ พวกเจ้าวัชชีพึงหวังได้แต่ความเจริญอย่างเดียว ไม่มีความเสื่อมเลย
ตราบเท่าที่พวกเจ้าวัชชียังพร้อมเพรียงกันประชุม พร้อมเพรียงกันเลิกประชุม และ
พร้อมเพรียงกันทำกิจที่พวกเจ้าวัชชีพึงทำ''
'' อานนท์ เธอได้ยินไหมว่า ‘พวกเจ้าวัชชีไม่บัญญัติสิ่งที่มิได้บัญญัติไว้ ไม่ล้มล้าง
สิ่งที่บัญญัติไว้แล้ว ถือปฏิบัติมั่นในวัชชีธรรมที่วางไว้เดิม”๑
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ได้ยินว่า ‘พวกเจ้าวัชชีไม่บัญญัติสิ่งที่มิได้
บัญญัติไว้ ไม่ล้มล้างสิ่งที่บัญญัติไว้แล้ว ถือปฏิบัติมั่นในวัชชีธรรมที่วางไว้เดิม”
“อานนท์ พวกเจ้าวัชชีพึงหวังได้แต่ความเจริญอย่างเดียว ไม่มีความเสื่อมเลย
ตราบเท่าที่พวกเจ้าวัชชียังไม่บัญญัติสิ่งที่มิได้บัญญัติไว้ ไม่ล้มล้างสิ่งที่บัญญัติไว้แล้ว
ถือปฏิบัติมั่นในวัชชีธรรมที่วางไว้เดิม""

เชิงอรรถ :
๑ ดูเชิงอรรถที่ ๕ สัตตกนิบาต ข้อ ๒๑ หน้า ๓๑ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๓๔ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๓.วัชชิสัตตกวรรค ๒.วัสสการสูตร
''อานนท์ เธอได้ยินไหมว่า ‘พวกเจ้าวัชชีสักการะ เคารพ นับถือ บูชาเจ้าวัชชี
ผู้มีพระชนมายุมากของชาววัชชี และสำคัญถ้อยคำของท่านเหล่านั้นว่าเป็นสิ่งที่ควร
รับฟัง”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ได้ยินว่า ‘พวกเจ้าวัชชีสักการะ เคารพ
นับถือ บูชาเจ้าวัชชีผู้มีพระชนมายุมากของชาววัชชี และสำคัญถ้อยคำของท่าน
เหล่านั้นว่าเป็นสิ่งควรรับฟัง”
“อานนท์ พวกเจ้าวัชชีพึงหวังได้แต่ความเจริญอย่างเดียว ไม่มีความเสื่อมเลย
ตราบเท่าที่พวกเจ้าวัชชียังสักการะ เคารพ นับถือ บูชาเจ้าวัชชีผู้มีพระชนมายุมาก
ของชาววัชชี และสำคัญถ้อยคำของท่านเหล่านั้นว่าเป็นสิ่งที่ควรรับฟัง''
''อานนท์ เธอได้ยินไหมว่า ‘พวกเจ้าวัชชีไม่ฉุดคร่าขืนใจกุลสตรีหรือกุลกุมารี
ให้อยู่ร่วมด้วย”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ได้ยินว่า ‘พวกเจ้าวัชชีไม่ฉุดคร่าขืนใจกุลสตรี
หรือกุลกุมารีให้อยู่ร่วมด้วย”
“อานนท์ พวกเจ้าวัชชีพึงหวังได้แต่ความเจริญอย่างเดียว ไม่มีความเสื่อมเลย
ตราบเท่าที่พวกเจ้าวัชชียังไม่ฉุดคร่าขืนใจกุลสตรีหรือกุลกุมารีให้อยู่ร่วมด้วย''
“อานนท์ เธอได้ยินไหมว่า ‘พวกเจ้าวัชชีสักการะ เคารพ นับถือ บูชาเจดีย์
ในแคว้นวัชชีของชาววัชชีทั้งในเมืองและนอกเมือง และไม่ละเลยการบูชาอันชอบธรรม
ที่เคยให้ เคยกระทำต่อเจดีย์เหล่านั้นให้เสื่อมสูญไป”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ได้ยินว่า ‘พวกเจ้าวัชชีสักการะ เคารพ
นับถือ บูชาเจดีย์ในแคว้นวัชชีของชาววัชชีทั้งในเมืองและนอกเมือง และไม่ละเลย
การบูชาอันชอบธรรมที่เคยให้ เคยกระทำต่อเจดีย์เหล่านั้นให้เสื่อมสูญไป”
“อานนท์ พวกเจ้าวัชชีพึงหวังได้แต่ความเจริญอย่างเดียว ไม่มีความเสื่อมเลย
ตราบเท่าที่พวกเจ้าวัชชียังสักการะ เคารพ นับถือ บูชาเจดีย์ในแคว้นวัชชีของชาว
วัชชีทั้งในเมืองและนอกเมือง และไม่ละเลยการบูชาอันชอบธรรมที่เคยให้ เคย
กระทำต่อเจดีย์เหล่านั้นให้เสื่อมสูญไป''

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๓๕ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๓.วัชชิสัตตกวรรค ๒.วัสสการสูตร
'' อานนท์ เธอได้ยินไหมว่า ‘พวกเจ้าวัชชีจัดการรักษา คุ้มครอง ป้องกัน
พระอรหันต์ทั้งหลายโดยชอบธรรมด้วยตั้งใจว่า ‘ทำอย่างไร พระอรหันต์ที่ยังไม่มา
พึงมาสู่แว่นแคว้นของเรา ท่านที่มาแล้วพึงอยู่อย่างผาสุก”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ได้ยินว่า ‘พวกเจ้าวัชชีจัดการรักษา คุ้มครอง
ป้องกันพระอรหันต์ทั้งหลายโดยชอบธรรม ด้วยตั้งใจว่า ‘ทำอย่างไร พระอรหันต์ที่
ยังไม่มา พึงมาสู่แว่นแคว้นของเรา ท่านที่มาแล้วพึงอยู่อย่างผาสุก”
“อานนท์ พวกเจ้าวัชชีพึงหวังได้แต่ความเจริญอย่างเดียว ไม่มีความเสื่อมเลย
ตราบเท่าที่พวกเจ้าวัชชียังจัดการรักษา คุ้มครอง ป้องกันพระอรหันต์ทั้งหลายโดย
ชอบธรรมด้วยตั้งใจว่า ‘ทำอย่างไร พระอรหันต์ที่ยังไม่มา พึงมาสู่แว่นแคว้นของเรา
และท่านที่มาแล้วพึงอยู่อย่างผาสุก”
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งวัสสการพราหมณ์ มหาอำมาตย์แคว้น
มคธว่า “พราหมณ์ สมัยหนึ่ง เราอยู่ที่สารันททเจดีย์ เขตกรุงเวสาลี ได้แสดง
อปริหานิยธรรม ๗ ประการนี้แก่พวกเจ้าวัชชี พวกเจ้าวัชชีพึงหวังได้แต่ความเจริญ
อย่างเดียว ไม่มีความเสื่อมเลย ตราบเท่าที่พวกเจ้าวัชชียังมีอปริหานิยธรรมทั้ง ๗
ประการนี้อยู่ และใส่ใจอปริหานิยธรรมทั้ง ๗ ประการนี้อยู่
วัสสการพราหมณ์ มหาอำมาตย์แคว้นมคธกราบทูลว่า “ข้าแต่ท่านพระ
โคดม พวกเจ้าวัชชีมีอปริหานิยธรรมแม้เพียงประการเดียว ก็พึงหวังได้แต่ความ
เจริญอย่างเดียว ไม่มีความเสื่อมเลย ไม่จำต้องกล่าวว่ามีครบทั้ง ๗ ประการ
ข้าแต่ท่านพระโคดม พระราชาแห่งแคว้นมคธ พระนามว่าอชาตศัตรู เวเทหิบุตร
ไม่ควรทำสงครามกับพวกเจ้าวัชชี นอกจากจะใช้วิธีปรองดองทางการทูต หรือไม่ก็
ทำให้แตกสามัคคีกัน ข้าแต่ท่านพระโคดม ถ้าอย่างนั้น บัดนี้ ข้าพระองค์ขอ
ทูลลากลับ เพราะมีกิจมาก มีหน้าที่ที่จะต้องทำอีกมาก”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “พราหมณ์ ท่านจงกำหนดเวลาที่สมควร ณ บัดนี้เถิด”
จากนั้น วัสสการพราหมณ์ มหาอำมาตย์แคว้นมคธมีใจยินดี ชื่นชมพระดำรัส
ของพระผู้มีพระภาคลุกจากที่นั่งแล้วจากไป
วัสสการสูตรที่ ๒ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๓๖ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๓.วัชชิสัตตกวรรค ๓.ปฐมสัตตกสูตร
๓. ปฐมสัตตกสูตร
ว่าด้วยอปริหานิยธรรม ๗ ประการ๑ สูตรที่ ๑
[๒๓] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่ภูเขาคิชฌกูฏ เขตกรุงราชคฤห์ ณ ที่นั้น
พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดง
อปริหานิยธรรม ๗ ประการแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจัก
กล่าว” ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า
“ภิกษุทั้งหลาย อปริหานิยธรรม ๗ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ภิกษุพึงหวังได้แต่ความเจริญอย่างเดียว ไม่มีความเสื่อมเลย ตราบเท่า
ที่ภิกษุยังหมั่นประชุมกันเนืองนิตย์ ประชุมกันมากครั้ง
๒. ภิกษุพึงหวังได้แต่ความเจริญอย่างเดียว ไม่มีความเสื่อมเลย ตราบเท่า
ที่ภิกษุยังพร้อมเพรียงกันประชุม พร้อมเพรียงกันเลิกประชุม และ
พร้อมเพรียงกันทำกิจที่สงฆ์พึงทำ
๓. ภิกษุพึงหวังได้แต่ความเจริญอย่างเดียว ไม่มีความเสื่อมเลย ตราบเท่า
ที่ภิกษุยังไม่บัญญัติสิ่งที่เรามิได้บัญญัติไว้ ไม่ล้มล้างสิ่งที่เราบัญญัติ
ไว้แล้ว ถือปฏิบัติมั่นในสิกขาบทที่บัญญัติไว้
๔. ภิกษุพึงหวังได้แต่ความเจริญอย่างเดียว ไม่มีความเสื่อมเลย ตราบเท่า
ที่ภิกษุยังสักการะ เคารพ นับถือ บูชาภิกษุผู้เป็นเถระ เป็นรัตตัญญู๒
บวชมานาน เป็นสังฆบิดร เป็นสังฆปริณายก และสำคัญถ้อยคำของ
ท่านเหล่านั้นว่าเป็นสิ่งควรรับฟัง
๕. ภิกษุพึงหวังได้แต่ความเจริญอย่างเดียว ไม่มีความเสื่อมเลย ตราบเท่า
ที่ภิกษุยังไม่ตกอยู่ในอำนาจแห่งตัณหาก่อให้เกิดภพใหม่ ที่เกิดขึ้นแล้ว

เชิงอรรถ :
๑ ดู ที.ม. ๑๐/๑๓๖-๑๔๐/๖๙-๗๒
๒ เป็นเถระในที่นี้หมายถึงเป็นผู้มีความมั่นคง(ถิรภาวะ)ในพระศาสนาไม่หวนคืนไปสู่เพศคฤหัสถ์อีกประกอบ
ด้วยคุณธรรมที่ให้เป็นพระเถระคือศีลเป็นต้น รัตตัญญู เป็นตำแหน่งเอตทัคคะที่พระอัญญาโกณฑัญญะ
ได้รับยกย่องจากพระพุทธเจ้า มีความหมายว่ารู้ราตรีนาน คือบวช รู้แจ้งธรรม และเป็นพระขีณาสพก่อน
พระสาวกทั้งหลาย (องฺ.เอกก.อ. ๑/๑๘๘/๑๒๒, องฺ.สตฺตก.อ. ๓/๒๓/๑๗๔, องฺ.สตฺตก.ฏีกา ๓/๒๓/๒๐๐)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๓๗ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๓.วัชชิสัตตกวรรค ๔.ทุติยสัตตกสูตร
๖. ภิกษุพึงหวังได้แต่ความเจริญอย่างเดียว ไม่มีความเสื่อมเลย ตราบเท่า
ที่ภิกษุยังเป็นผู้มุ่งหวังเสนาสนะป่า
๗. ภิกษุพึงหวังได้แต่ความเจริญอย่างเดียว ไม่มีความเสื่อมเลย ตราบเท่า
ที่ภิกษุตั้งสติมั่นไว้ในภายในว่า ‘ทำอย่างไร เพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย
ผู้มีศีลงามที่ยังไม่มา ขอให้มา และท่านที่มาแล้ว พึงอยู่อย่างผาสุก’
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงหวังได้แต่ความเจริญอย่างเดียว ไม่มีความเสื่อมเลย
ตราบเท่าที่ภิกษุยังมีอปริหานิยธรรมทั้ง ๗ ประการนี้อยู่ และใส่ใจอปริหานิยธรรม
ทั้ง ๗ ประการนี้อยู่”
ปฐมสัตตกสูตรที่ ๓ จบ

๔. ทุติยสัตตกสูตร
ว่าด้วยอปริหานิยธรรม ๗ ประการ สูตรที่ ๒
[๒๔] ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงอปริหานิยธรรม ๗ ประการแก่เธอ
ทั้งหลาย ฯลฯ๑
อปริหานิยธรรม ๗ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ภิกษุพึงหวังได้แต่ความเจริญอย่างเดียว ไม่มีความเสื่อมเลย ตราบเท่า
ที่ภิกษุยังเป็นผู้ไม่ชอบการงาน๒ ไม่ยินดีในการงาน ไม่หมั่นประกอบ
ความเป็นผู้ชอบการงาน
๒. ภิกษุพึงหวังได้แต่ความเจริญอย่างเดียว ไม่มีความเสื่อมเลย ตราบเท่า
ที่ภิกษุยังเป็นผู้ไม่ชอบการพูดคุย๓ ฯลฯ

เชิงอรรถ :
๑ เครื่องหมาย “ฯลฯ” ที่ปรากฏในตอนต้นข้อความของข้อ ๒๔-๒๗ นี้ ดูความเต็มในข้อ ๒๓ (ปฐมสัตตกสูตร)
หน้า ๓๗ ในเล่มนี้
๒ ไม่ชอบการงาน ในที่นี้หมายถึงการหยุดพักทำกิจมีการทำจีวร ประคตเอว ผ้ากรองน้ำ ไม้กวาด และผ้า
เช็ดเท้า หรืองานก่อสร้างต่าง ๆ เช่นก่อสร้างวิหารเป็นต้น ที่เป็นเหตุให้ละเลยต่อการบำเพ็ญคันถธุระและ
วิปัสสนาธุระ หันมามุ่งบำเพ็ญสมณธรรม (ที.ม.อ. ๒/๑๓๗/๑๒๘, องฺ.สตฺตก.อ. ๓/๒๔/๑๗๖ - ๑๗๗,
องฺ.ฉกฺก. ฏีกา ๓/๑๔-๑๕/๑๑๘)
๓ ไม่ชอบการพูดคุย ในที่นี้หมายถึงไม่มุ่งสนทนาเรื่องนอกธรรมวินัย เช่น เรื่องบุรุษ สตรี เป็นต้น แต่
สนทนาเรื่องธรรม ถามปัญหา ตอบปัญหาเกี่ยวกับธรรมวินัย พูดน้อย พูดมีที่จบ ดังพระพุทธพจน์ที่ว่า
ภิกษุผู้นั่งประชุม มีหน้าที่ ๒ อย่าง คือ (๑) สนทนาธรรม (๒) เป็นผู้นิ่งอย่างพระอริยะ (ที.ม.อ. ๒/๑๓๗/๑๒๘,
องฺ.สตฺตก.อ. ๓/๒๔/๑๗๗) และดู ม.มู. ๑๒/๒๗๓/๒๓๕, องฺ.ฉกฺก. (แปล) ๒๒/๒๒/๔๕๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๓๘ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๓.วัชชิสัตตกวรรค ๕.ตติยสัตตกสูตร
๓. ภิกษุพึงหวังได้แต่ความเจริญอย่างเดียว ไม่มีความเสื่อมเลย ตราบเท่า
ที่ภิกษุยังเป็นผู้ไม่ชอบการนอนหลับ๑ ฯลฯ
๔. ภิกษุพึงหวังได้แต่ความเจริญอย่างเดียว ไม่มีความเสื่อมเลย ตราบเท่า
ที่ภิกษุยังเป็นผู้ไม่ชอบการคลุกคลีด้วยหมู่ ฯลฯ
๕. ภิกษุพึงหวังได้แต่ความเจริญอย่างเดียว ไม่มีความเสื่อมเลย ตราบเท่า
ที่ภิกษุยังเป็นผู้ไม่มีความปรารถนาชั่ว ไม่ตกไปสู่อำนาจของความ
ปรารถนาชั่ว
๖. ภิกษุพึงหวังได้แต่ความเจริญอย่างเดียว ไม่มีความเสื่อมเลย ตราบเท่า
ที่ภิกษุยังไม่มีมิตรชั่ว มีสหายชั่ว มีเพื่อนชั่ว
๗. ภิกษุพึงหวังได้แต่ความเจริญอย่างเดียว ไม่มีความเสื่อมเลย ตราบ
เท่าที่ภิกษุยังไม่ถึงความหยุดชงักเสียในระหว่างเพียงเพราะได้บรรลุ
คุณวิเศษชั้นต่ำ
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงหวังได้แต่ความเจริญอย่างเดียว ไม่มีความเสื่อมเลย
ตราบเท่าที่ภิกษุยังมีอปริหานิยธรรมทั้ง ๗ ประการนี้อยู่ และใส่ใจอปริหานิยธรรม
ทั้ง ๗ ประการนี้อยู่
ทุติยสัตตกสูตรที่ ๔ จบ

๕. ตติยสัตตกสูตร
ว่าด้วยอปริหานิยธรรม ๗ ประการ สูตรที่ ๓
[๒๕] ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงอปริหานิยธรรม ๗ ประการแก่เธอ
ทั้งหลาย ฯลฯ
อปริหานิยธรรม ๗ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ภิกษุพึงหวังได้แต่ความเจริญอย่างเดียว ไม่มีความเสื่อมเลย ตราบ
เท่าที่ภิกษุยังมีศรัทธา๒

เชิงอรรถ :
๑ ไม่ชอบการนอนหลับ ในที่นี้หมายถึงจะยืนก็ตาม จะเดินก็ตาม จะนั่งก็ตาม จะมีจิตตกภวังค์เพราะร่างกาย
เจ็บป่วยก็ตาม ก็ไม่ถูกถีนมิทธะ (ความหดหู่และเซื่องซึม) ครอบงำ (องฺ.สตฺตก.อ. ๓/๒๔/๑๗๗) และดู ม.มู.
๑๒/๓๘๗/๓๔๕ (มหาสัจจกสูตร) ประกอบ
๒ ศรัทธา มี ๔ ประการ คือ (๑) อาคมนียะ (ศรัทธาของพระโพธิสัตว์ผู้บำเพ็ญเพื่อพระสัพพัญญุตญาณ)
(๒) อธิคมะ (ศรัทธาของพระอริยบุคคล) (๓) ปสาทะ (ศรัทธาในพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์)
(๔) โอกัปปนะ (ศรัทธาอย่างมั่นคง) แต่ในที่นี้หมายถึงปสาทะและโอกัปปนะเท่านั้น (ที.ม.อ.๒/๑๓๘/๑๒๙)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๓๙ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๓.วัชชิสัตตกวรรค ๖.โพชฌังคสูตร
๒. ภิกษุพึงหวังได้แต่ความเจริญอย่างเดียว ไม่มีความเสื่อมเลย ตราบ
เท่าที่ภิกษุยังมีหิริ
๓. ภิกษุพึงหวังได้แต่ความเจริญอย่างเดียว ไม่มีความเสื่อมเลย ตราบเท่า
ที่ภิกษุยังมีโอตตัปปะ
๔. ภิกษุพึงหวังได้แต่ความเจริญอย่างเดียว ไม่มีความเสื่อมเลย ตราบเท่า
ที่ภิกษุยังเป็นพหูสูต๑
๕. ภิกษุพึงหวังได้แต่ความเจริญอย่างเดียว ไม่มีความเสื่อมเลย ตราบเท่า
ที่ภิกษุยังปรารภความเพียร
๖. ภิกษุพึงหวังได้แต่ความเจริญอย่างเดียว ไม่มีความเสื่อมเลย ตราบเท่า
ที่ภิกษุยังมีสติตั้งมั่น
๗. ภิกษุพึงหวังได้แต่ความเจริญอย่างเดียว ไม่มีความเสื่อมเลย ตราบเท่า
ที่ภิกษุยังมีปัญญา
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงหวังได้แต่ความเจริญอย่างเดียว ไม่มีความเสื่อมเลย
ตราบเท่าที่ภิกษุยังมีอปริหานิยธรรมทั้ง ๗ ประการนี้อยู่ และใส่ใจอปริหานิยธรรม
ทั้ง ๗ ประการนี้อยู่
ตติยสัตตกสูตรที่ ๕ จบ

๖. โพชฌังคสูตร
ว่าด้วยโพชฌงค์ที่เป็นอปริหานิยธรรม
[๒๖] ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงอปริหานิยธรรม ๗ ประการแก่เธอ
ทั้งหลาย ฯลฯ
อปริหานิยธรรม ๗ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ภิกษุพึงหวังได้แต่ความเจริญอย่างเดียว ไม่มีความเสื่อมเลย ตราบเท่า
ที่ภิกษุยังเจริญสติสัมโพชฌงค์ (ธรรมที่เป็นองค์แห่งการตรัสรู้คือ
ความระลึกได้)

เชิงอรรถ :
๑ พหูสูต มี ๒ ประการ คือ (๑) ปริยัตติพหูสูต (แตกฉานในพระไตรปิฎก) (๒) ปฏิเวธพหูสูต (บรรลุสัจจะ
ทั้งหลาย) แต่ในที่นี้หมายถึงปริยัตติพหูสูต (ที.ม.อ. ๒/๑๓๘/๑๓๐)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๔๐ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๓.วัชชิสัตตกวรรค ๖.โพชฌังคสูตร
๒. ภิกษุพึงหวังได้แต่ความเจริญอย่างเดียว ไม่มีความเสื่อมเลย ตราบเท่า
ที่ภิกษุยังเจริญธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ (ธรรมที่เป็นองค์แห่งการตรัสรู้
คือความเฟ้นธรรม)
๓. ภิกษุพึงหวังได้แต่ความเจริญอย่างเดียว ไม่มีความเสื่อมเลย ตราบเท่า
ที่ภิกษุยังเจริญวิริยสัมโพชฌงค์ (ธรรมที่เป็นองค์แห่งการตรัสรู้คือ
ความเพียร)
๔. ภิกษุพึงหวังได้แต่ความเจริญอย่างเดียว ไม่มีความเสื่อมเลย ตราบเท่า
ที่ภิกษุยังเจริญปีติสัมโพชฌงค์ (ธรรมที่เป็นองค์แห่งการตรัสรู้คือ
ความอิ่มใจ)
๕. ภิกษุพึงหวังได้แต่ความเจริญอย่างเดียว ไม่มีความเสื่อมเลย ตราบเท่า
ที่ภิกษุยังเจริญปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ (ธรรมที่เป็นองค์แห่งการตรัสรู้
คือความสงบกายสงบใจ)
๖. ภิกษุพึงหวังได้แต่ความเจริญอย่างเดียว ไม่มีความเสื่อมเลย ตราบเท่า
ที่ภิกษุยังเจริญสมาธิสัมโพชฌงค์ (ธรรมที่เป็นองค์แห่งการตรัสรู้คือ
ความตั้งจิตมั่น)
๗. ภิกษุพึงหวังได้แต่ความเจริญอย่างเดียว ไม่มีความเสื่อมเลย ตราบเท่า
ที่ภิกษุยังเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ (ธรรมที่เป็นองค์แห่งการตรัสรู้
คือความวางใจเป็นกลาง)
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงหวังได้แต่ความเจริญอย่างเดียว ไม่มีความเสื่อมเลย
ตราบเท่าที่ภิกษุยังมีอปริหานิยธรรมทั้ง ๗ ประการนี้อยู่ และใส่ใจอปริหานิยธรรม
ทั้ง ๗ ประการนี้อยู่
โพชฌังคสูตรที่ ๖ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๔๑ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๓.วัชชิสัตตกวรรค ๗.สัญญาสูตร
๗. สัญญาสูตร
ว่าด้วยสัญญาที่เป็นอปริหานิยธรรม
[๒๗] ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงอปริหานิยธรรม ๗ ประการแก่เธอ
ทั้งหลาย ฯลฯ
อปริหานิยธรรม ๗ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ภิกษุพึงหวังได้แต่ความเจริญอย่างเดียว ไม่มีความเสื่อมเลย ตราบ
เท่าที่ภิกษุยังเจริญอนิจจสัญญา (กำหนดหมายความไม่เที่ยงแห่ง
สังขาร)
๒. ภิกษุพึงหวังได้แต่ความเจริญอย่างเดียว ไม่มีความเสื่อมเลย ตราบ
เท่าที่ภิกษุยังเจริญอนัตตสัญญา (กำหนดหมายความเป็นอนัตตา
แห่งธรรมทั้งปวง)
๓. ภิกษุพึงหวังได้แต่ความเจริญอย่างเดียว ไม่มีความเสื่อมเลย ตราบ
เท่าที่ภิกษุยังเจริญอสุภสัญญา (กำหนดหมายความไม่งามแห่งกาย)
๔. ภิกษุพึงหวังได้แต่ความเจริญอย่างเดียว ไม่มีความเสื่อมเลย ตราบ
เท่าที่ภิกษุยังเจริญอาทีนวสัญญา (กำหนดหมายโทษทุกข์ของกาย
อันมีความเจ็บไข้ต่างๆ)
๕. ภิกษุพึงหวังได้แต่ความเจริญอย่างเดียว ไม่มีความเสื่อมเลย ตราบ
เท่าที่ภิกษุยังเจริญปหานสัญญา (กำหนดหมายเพื่อละอกุศลวิตก
และบาปธรรมทั้งหลาย)
๖. ภิกษุพึงหวังได้แต่ความเจริญอย่างเดียว ไม่มีความเสื่อมเลย ตราบ
เท่าที่ภิกษุยังเจริญวิราคสัญญา (กำหนดหมายวิราคะว่าเป็นธรรม
ละเอียดประณีต)
๗. ภิกษุพึงหวังได้แต่ความเจริญอย่างเดียว ไม่มีความเสื่อมเลย ตราบ
เท่าที่ภิกษุยังเจริญนิโรธสัญญา (กำหนดหมายนิโรธว่าเป็นธรรม
ละเอียดประณีต)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๔๒ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๓.วัชชิสัตตกวรรค ๘.ปฐมปริหานิสูตร
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงหวังได้แต่ความเจริญอย่างเดียว ไม่มีความเสื่อมเลย
ตราบเท่าที่ภิกษุยังมีอปริหานิยธรรมทั้ง ๗ ประการนี้อยู่ และใส่ใจอปริหานิยธรรม
ทั้ง ๗ ประการนี้อยู่
สัญญาสูตรที่ ๗ จบ

๘. ปฐมปริหานิสูตร
ว่าด้วยธรรมที่เป็นเหตุแห่งความเสื่อม สูตรที่ ๑
[๒๘] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิก-
เศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมา
ตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๗ ประการนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความเสื่อมแก่ภิกษุผู้
เป็นเสขะ
ธรรม ๗ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ความเป็นผู้ชอบการงาน
๒. ความเป็นผู้ชอบการพูดคุย
๓. ความเป็นผู้ชอบการนอนหลับ
๔. ความเป็นผู้ชอบการคลุกคลีด้วยหมู่
๕. ความเป็นผู้ไม่คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย
๖. ความเป็นผู้ไม่รู้จักประมาณในการบริโภค
๗. กิจที่สงฆ์จะต้องทำมีอยู่ในสงฆ์ ภิกษุผู้เป็นเสขะไม่เห็นประจักษ์ในกิจนั้น
อย่างนี้ว่า ‘พระเถระผู้เป็นรัตตัญญู บวชมานาน เป็นผู้รับภาระมีอยู่
ในสงฆ์ ท่านเหล่านั้นจักปรากฏด้วยกิจนั้น‘๑ จึงต้องขวนขวายด้วย
ตนเอง

เชิงอรรถ :
๑ ท่านเหล่านั้นจักปรากฏด้วยกิจนั้น หมายถึงท่านจะรับภาระหน้าที่ตามสมควรแก่ภาวะของท่านเอง
(องฺ.สตฺตก.อ.๓/๒๘/๑๗๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๔๓ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๓.วัชชิสัตตกวรรค ๙.ทุติยปริหานิสูตร
ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๗ ประการนี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อความเสื่อมแก่ภิกษุผู้
เป็นเสขะ
ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๗ ประการนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความไม่เสื่อมแก่ภิกษุผู้
เป็นเสขะ
ธรรม ๗ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ความเป็นผู้ไม่ชอบการงาน
๒. ความเป็นผู้ไม่ชอบการพูดคุย
๓. ความเป็นผู้ไม่ชอบการนอนหลับ
๔. ความเป็นผู้ไม่ชอบการคลุกคลีด้วยหมู่
๕. ความเป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย
๖. ความเป็นผู้รู้จักประมาณในการบริโภค
๗. กิจที่สงฆ์จะต้องทำมีอยู่ในสงฆ์ ภิกษุผู้เป็นเสขะเห็นประจักษ์ในกิจ
นั้นอย่างนี้ว่า ‘พระเถระผู้เป็นรัตตัญญู บวชมานาน เป็นผู้รับภาระมีอยู่ในสงฆ์ ท่าน
เหล่านั้นจักปรากฏด้วยกิจนั้น’ จึงไม่ต้องขวนขวายด้วยตนเอง
ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๗ ประการนี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อความไม่เสื่อมแก่ภิกษุผู้
เป็นเสขะ
ปฐมปริหานิสูตรที่ ๘ จบ

๙. ทุติยปริหานิสูตร
ว่าด้วยธรรมที่เป็นเหตุแห่งความเสื่อม สูตรที่ ๒
[๒๙] ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๗ ประการนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความเสื่อมแก่อุบาสก
ธรรม ๗ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ละเลยการเยี่ยมเยียนภิกษุ
๒. ทอดทิ้งการฟังสัทธรรม

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๔๔ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๓.วัชชิสัตตกวรรค ๙.ทุติยปริหานิสูตร
๓. ไม่ศึกษาในอธิศีล๑
๔. ไม่มีความเลื่อมใสมากในภิกษุผู้เป็นเถระ ผู้เป็นนวกะ และผู้เป็นมัชฌิมะ๒
๕. ฟังธรรมอย่างคอยคิดโต้แย้งเพ่งโทษ
๖. แสวงหาผู้รับทักษิณานอกศาสนานี้
๗. ทำอุปการะนอกศาสนาก่อน๓
ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๗ ประการนี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อความเสื่อมแก่อุบาสก
ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๗ ประการนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความไม่เสื่อมแก่อุบาสก
ธรรม ๗ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ไม่ละเลยการเยี่ยมเยียนภิกษุ
๒. ไม่ทอดทิ้งการฟังสัทธรรม
๓. ศึกษาในอธิศีล
๔. มีความเลื่อมใสมากในภิกษุผู้เป็นเถระ ผู้เป็นนวกะ และผู้เป็นมัชฌิมะ
๕. ฟังธรรมอย่างไม่คอยคิดโต้แย้งเพ่งโทษ
๖. ไม่แสวงหาผู้รับทักษิณานอกศาสนานี้
๗. ทำอุปการะในศาสนานี้ก่อน
ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๗ ประการนี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อความไม่เสื่อมแก่อุบาสก
พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดาได้ตรัสเวยยากรณภาษิตนี้แล้ว จึงได้ตรัสคาถา
ประพันธ์ต่อไปอีกว่า
อุบาสกใดละเลยการเยี่ยมเยียนภิกษุผู้อบรมตน
ทอดทิ้งการฟังอริยธรรม ไม่ศึกษาในอธิศีล

เชิงอรรถ :
๑ อธิศีล ในที่นี้หมายถึงศีล ๕ และศีล ๑๐ (องฺ.สตฺตก.อ. ๓/๒๙/๑๗๘)
๒ ผู้เป็นเถระ หมายถึงพระผู้มีระดับอายุ คุณธรรม ความรู้ที่นับว่าเป็นพระผู้ใหญ่คือมีพรรษาตั้งแต่ ๑๐ ขึ้น
ไปและทรงจำพระปาติโมกข์ได้
ผู้เป็นนวกะ หมายถึงพระใหม่มีระดับอายุ คุณธรรม ความรู้ที่นับว่ายังใหม่มีพรรษาต่ำกว่า ๕ ที่ยังต้อง
ถือนิสสัย
ผู้เป็นมัชฌิมะ หมายถึงพระระดับกลางมีพรรษาตั้งแต่ครบ ๕ แต่ยังไม่ถึง ๑๐ (เทียบ วิ.อ. ๑/๔๕/๒๕๓)
๓ ทำอุปการะนอกศาสนาก่อน หมายถึงให้เครื่องไทยธรรมแก่เดียรถีย์ก่อนแล้วจึงถวายแก่ภิกษุในภายหลัง
(องฺ.สตฺตก.อ. ๓/๒๙/๑๗๘) และดู องฺ.ปญฺจก. (แปล) ๒๒/๑๗๕/๒๙๒

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๔๕ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๓.วัชชิสัตตกวรรค ๑๐. วิปัตติสูตร
ไม่มีความเลื่อมใสยิ่งขึ้นในภิกษุทั้งหลาย
ปรารถนาฟังสัทธรรมอย่างคอยคิดโต้แย้ง
แสวงหาผู้รับทักษิณานอกศาสนานี้
และทำอุปการะนอกศาสนาก่อน
อุบาสกนั้นผู้เสพธรรม ๗ ประการ
อันเป็นเหตุแห่งความเสื่อมที่เราแสดงดีแล้วนี้แล
ย่อมเสื่อมจากสัทธรรม
ส่วนอุบาสกใดไม่ละเลยการเยี่ยมเยียนภิกษุผู้อบรมตน
ไม่ทอดทิ้งการฟังอริยธรรม ศึกษาในอธิศีล
มีความเลื่อมใสยิ่งขึ้นในภิกษุทั้งหลาย
ปรารถนาฟังสัทธรรมอย่างไม่คอยคิดโต้แย้ง
ไม่แสวงหาผู้รับทักษิณานอกศาสนานี้
และทำอุปการะในศาสนานี้ก่อน
อุบาสกนั้นผู้เสพธรรม ๗ ประการ
อันไม่เป็นเหตุแห่งความเสื่อมที่เราแสดงดีแล้วนี้แล
ย่อมไม่เสื่อมจากสัทธรรม
ทุติยปริหานิสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. วิปัตติสูตร
ว่าด้วยวิบัติและสมบัติของอุบาสก
[๓๐] ภิกษุทั้งหลาย วิบัติของอุบาสก ๗ ประการนี้ ฯลฯ๑
ภิกษุทั้งหลาย สมบัติของอุบาสก ๗ ประการนี้ ฯลฯ
วิปัตติสูตรที่ ๑๐ จบ

เชิงอรรถ :
๑ เครื่องหมาย “ฯลฯ” ที่ปรากฏในข้อ ๓๐-๓๑ ดูความเต็มในข้อ ๒๙ (ทุติยปริหานิสูตร) หน้า ๔๔-๔๕
ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๔๖ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๓.วัชชิสัตตกวรรค ๑๑.ปราภวสูตร
๑๑. ปราภวสูตร
ว่าด้วยความเสื่อมและความเจริญของอุบาสก
[๓๑] ภิกษุทั้งหลาย ความเสื่อมของอุบาสก ๗ ประการนี้ ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย ความเจริญของอุบาสก ๗ ประการนี้
ความเจริญของอุบาสก ๗ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ไม่ละเลยการเยี่ยมเยียนภิกษุ
๒. ไม่ทอดทิ้งการฟังสัทธรรม
๓. ศึกษาในอธิศีล
๔. มีความเลื่อมใสมากในภิกษุผู้เป็นเถระ ผู้เป็นนวกะ และผู้เป็นมัชฌิมะ
๕. ฟังธรรมอย่างไม่คอยคิดโต้แย้งเพ่งโทษ
๖. ไม่แสวงหาผู้รับทักษิณานอกศาสนานี้
๗. ทำอุปการะในศาสนานี้ก่อน
ภิกษุทั้งหลาย ความเจริญของอุบาสก ๗ ประการนี้แล
อุบาสกใดละเลยการเยี่ยมเยียนภิกษุผู้อบรมตน
ทอดทิ้งการฟังอริยธรรม ไม่ศึกษาในอธิศีล
ไม่มีความเลื่อมใสยิ่งขึ้นในภิกษุทั้งหลาย
ปรารถนาฟังสัทธรรมอย่างคอยคิดโต้แย้ง
แสวงหาผู้รับทักษิณานอกศาสนานี้
และทำอุปการะนอกศาสนาก่อน
อุบาสกนั้นผู้เสพธรรม ๗ ประการ
อันเป็นเหตุแห่งความเสื่อมที่เราแสดงดีแล้วนี้แล
ย่อมเสื่อมจากสัทธรรม

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๔๗ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๓.วัชชิสัตตกวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค
ส่วนอุบาสกใดไม่ละเลยการเยี่ยมเยียนภิกษุผู้อบรมตน
ไม่ทอดทิ้งการฟังอริยธรรม ศึกษาในอธิศีล
มีความเลื่อมใสยิ่งขึ้นในภิกษุทั้งหลาย
ปรารถนาฟังสัทธรรมอย่างไม่คอยคิดโต้แย้ง
ไม่แสวงหาผู้รับทักษิณานอกศาสนานี้
และทำอุปการะในศาสนานี้ก่อน
อุบาสกนั้นผู้เสพธรรม ๗ ประการ
อันไม่เป็นเหตุแห่งความเสื่อมที่เราแสดงดีแล้วนี้แล
ย่อมไม่เสื่อมจากสัทธรรม
ปราภวสูตรที่ ๑๑ จบ
วัชชิสัตตกวรรคที่ ๓ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. สารันททสูตร ๒. วัสสการสูตร
๓. ปฐมสัตตกสูตร ๔. ทุติยสัตตกสูตร
๕. ตติยสัตตกสูตร ๖. โพชฌังคสูตร
๗. สัญญาสูตร ๘. ปฐมปริหานิสูตร
๙. ทุติยปริหานิสูตร ๑๐. วิปัตติสูตร
๑๑. ปราภวสูตร


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๔๘ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๔.เทวตาวรรค ๑.อัปปมาทคารวสูตร
๔. เทวตาวรรค
หมวดว่าด้วยเทวดา
๑. อัปปมาทคารวสูตร
ว่าด้วยความเคารพในความไม่ประมาท
[๓๒] ครั้งนั้น เมื่อราตรีผ่านไป๑ เทวดาองค์หนึ่งมีวรรณะงดงามยิ่งนัก เปล่ง
รัศมีให้สว่างไปทั่วพระเชตวัน เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาท
แล้วยืนอยู่ ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรม ๗ ประการนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความไม่เสื่อมแก่ภิกษุ
ธรรม ๗ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ความเป็นผู้มีความเคารพในพระศาสดา
๒. ความเป็นผู้มีความเคารพในพระธรรม
๓. ความเป็นผู้มีความเคารพในพระสงฆ์
๔. ความเป็นผู้มีความเคารพในสิกขา
๕. ความเป็นผู้มีความเคารพในสมาธิ
๖. ความเป็นผู้มีความเคารพในความไม่ประมาท
๗. ความเป็นผู้มีความเคารพในปฏิสันถาร๒
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรม ๗ ประการนี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อความไม่เสื่อมแก่
ภิกษุ”

เชิงอรรถ :
๑ ราตรีผ่านไป ในที่นี้หมายถึงปฐมยาม (ยามแรก) กำหนดเวลา ๔ ชั่วโมง ตั้งแต่เวลา ๑๘ นาฬิกา ถึง ๒๒
นาฬิกาแห่งราตรีผ่านไป กำลังอยู่ในช่วงมัชฌิมยาม (ยามท่ามกลาง) คือ กำลังอยู่ในช่วงเวลา ๒๒ นาฬิกา
ถึง ๒ นาฬิกาของวันใหม่ (องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๒๑-๒๒/๑๐๘) และดู องฺ.ฉกฺก. (แปล) ๒๒/๓๒/๔๗๘
๒ ปฏิสันถาร ในที่นี้หมายถึงการต้อนรับ มี ๒ อย่าง คือ (๑) อามิสปฏิสันถาร (การต้อนรับด้วยอามิส)
(๒) ธัมมปฏิสันถาร (การต้อนรับด้วยธรรม) (องฺ.ทุก. (แปล) ๒๐/๑๕๓/๑๒๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๔๙ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๔.เทวตาวรรค ๑.อัปปมาทคารวสูตร
เมื่อเทวดานั้นได้กราบทูลดังนี้แล้ว พระศาสดาทรงพอพระทัย ครั้นเทวดานั้นรู้
ว่า ‘พระศาสดาทรงพอพระทัยเรา’ จึงถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาค ทำประทักษิณ๑
แล้วหายไป ณ ที่นั้นแล
ครั้นคืนนั้นผ่านไป พระผู้มีพระภาคได้รับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า
ภิกษุทั้งหลาย เมื่อคืนนี้ เมื่อราตรีผ่านไป เทวดาองค์หนึ่งมีวรรณะงดงามยิ่งนัก
เปล่งรัศมีให้สว่างไปทั่วพระเชตวัน เข้ามาหาเราถึงที่อยู่ ไหว้เราแล้วยืนอยู่ ณ ที่
สมควร ได้กล่าวกับเราดังนี้ว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรม ๗ ประการนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความไม่เสื่อมแก่ภิกษุ
ธรรม ๗ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ความเป็นผู้มีความเคารพในพระศาสดา
๒. ความเป็นผู้มีความเคารพในพระธรรม
๓. ความเป็นผู้มีความเคารพในพระสงฆ์
๔. ความเป็นผู้มีความเคารพในสิกขา
๕. ความเป็นผู้มีความเคารพในสมาธิ
๖. ความเป็นผู้มีความเคารพในความไม่ประมาท
๗. ความเป็นผู้มีความเคารพในปฏิสันถาร
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรม ๗ ประการนี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อความไม่เสื่อมแก่
ภิกษุ
ภิกษุทั้งหลาย เทวดานั้นครั้นกล่าวดังนี้แล้ว จึงไหว้เรา ทำประทักษิณแล้วหาย
ไป ณ ที่นั้นแล

เชิงอรรถ :
๑ ทำประทักษิณ หมายถึงเดินเวียนขวาโดยการประนมมือเวียนไปทางขวาตามเข็มนาฬิกา ๓ รอบ มีผู้ที่ตน
เคารพอยู่ทางขวา เสร็จแล้วหันหน้าไปทางผู้ที่ตนเคารพ เดินถอยหลังจนสุดสายตา จนมองไม่เห็นผู้ที่ตน
เคารพแล้วคุกเข่าลงกราบด้วยเบญจางคประดิษฐ์ (การกราบด้วยอวัยวะทั้ง ๕ อย่าง ลงกับพื้น คือ กราบ
เอาเข่าทั้งสอง มือทั้งสอง และศีรษะ (หน้าผาก) จรดลงกับพื้น) แล้วลุกขึ้นเดินจากไป (วิ.อ. ๑/๑๕/๑๗๖-
๑๗๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๕๐ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๔.เทวตาวรรค ๒.หิรีคารวสูตร
ภิกษุมีความเคารพในศาสดา
มีความเคารพในธรรม
มีความเคารพอย่างแรงกล้าในสงฆ์
มีความเคารพในสมาธิ มีความเพียร
มีความเคารพอย่างแรงกล้าในสิกขา
มีความเคารพในความไม่ประมาท
มีความเคารพในปฏิสันถาร
เป็นผู้ไม่ควรเสื่อม ดำรงอยู่ใกล้นิพพานทีเดียว
อัปปมาทคารวสูตรที่ ๑ จบ

๒. หิรีคารวสูตร
ว่าด้วยความเคารพในหิริ
[๓๓] ภิกษุทั้งหลาย เมื่อคืนนี้ เมื่อราตรีผ่านไป เทวดาองค์หนึ่งมีวรรณะ
งดงามยิ่งนัก เปล่งรัศมีให้สว่างไปทั่วพระเชตวัน เข้ามาหาเราถึงที่อยู่ ไหว้แล้วยืนอยู่
ณ ที่สมควร ได้กล่าวกับเราดังนี้ว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรม ๗ ประการนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความไม่เสื่อมแก่ภิกษุ
ธรรม ๗ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ความเป็นผู้มีความเคารพในพระศาสดา
๒. ความเป็นผู้มีความเคารพในพระธรรม
๓. ความเป็นผู้มีความเคารพในพระสงฆ์
๔. ความเป็นผู้มีความเคารพในสิกขา
๕. ความเป็นผู้มีความเคารพในสมาธิ
๖. ความเป็นผู้มีความเคารพในหิริ (ความอายบาป)
๗. ความเป็นผู้มีความเคารพในโอตตัปปะ (ความกลัวบาป)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๕๑ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๔.เทวตาวรรค ๓.ปฐมโสวจัสสตาสูตร
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรม ๗ ประการนี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อความไม่เสื่อมแก่
ภิกษุ
ภิกษุทั้งหลาย เทวดานั้นครั้นกล่าวดังนี้แล้ว จึงไหว้เราทำประทักษิณแล้วหายไป
ณ ที่นั้นแล
ภิกษุมีความเคารพในศาสดา
มีความเคารพในธรรม
มีความเคารพอย่างแรงกล้าในสงฆ์
มีความเคารพในสมาธิ มีความเพียร
มีความเคารพอย่างแรงกล้าในสิกขา
ถึงพร้อมด้วยหิริและโอตตัปปะ
มีความยำเกรง มีความเคารพ
เป็นผู้ไม่ควรเสื่อม ดำรงอยู่ใกล้นิพพานทีเดียว
หิรีคารวสูตรที่ ๒ จบ

๓. ปฐมโสวจัสสตาสูตร
ว่าด้วยความเป็นผู้ว่าง่าย สูตรที่ ๑
[๓๔] ภิกษุทั้งหลาย เมื่อคืนนี้ เมื่อราตรีผ่านไป เทวดาองค์หนึ่ง ฯลฯ๑
ได้กล่าวกับเราดังนี้ว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรม ๗ ประการนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความไม่เสื่อมแก่ภิกษุ
ธรรม ๗ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ความเป็นผู้มีความเคารพในพระศาสดา
๒. ความเป็นผู้มีความเคารพในพระธรรม
๓. ความเป็นผู้มีความเคารพในพระสงฆ์

เชิงอรรถ :
๑ เครื่องหมาย “ฯลฯ” ในข้อ ๓๔-๓๕ ดูความเต็มในข้อ ๓๒ (อัปปมาทคารวสูตร) หน้า ๔๙ ในวรรคเดียวกันนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๕๒ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๔.เทวตาวรรค ๔.ทุติยโสวจัสสตาสูตร
๔. ความเป็นผู้มีความเคารพในสิกขา
๕. ความเป็นผู้มีความเคารพในสมาธิ
๖. ความเป็นผู้ว่าง่าย
๗. ความเป็นผู้มีกัลยาณมิตร (มิตรดี)
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรม ๗ ประการนี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อความไม่เสื่อมแก่
ภิกษุ
ภิกษุทั้งหลาย เทวดานั้นครั้นกล่าวดังนี้แล้ว จึงไหว้เรา ทำประทักษิณแล้วหายไป
ณ ที่นั้นแล
ภิกษุมีความเคารพในศาสดา
มีความเคารพในธรรม
มีความเคารพอย่างแรงกล้าในสงฆ์
มีความเคารพในสมาธิ มีความเพียร
มีความเคารพอย่างแรงกล้าในสิกขา
มีกัลยาณมิตร เป็นผู้ว่าง่าย
มีความยำเกรง มีความเคารพ
เป็นผู้ไม่ควรเสื่อม ดำรงอยู่ใกล้นิพพานทีเดียว
ปฐมโสวจัสสตาสูตรที่ ๓ จบ

๔. ทุติยโสวจัสสตาสูตร
ว่าด้วยความเป็นผู้ว่าง่าย สูตรที่ ๒
[๓๕] ภิกษุทั้งหลาย เมื่อคืนนี้ เมื่อราตรีผ่านไป เทวดาองค์หนึ่ง ฯลฯ ได้กล่าว
กับเราดังนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรม ๗ ประการนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความไม่เสื่อม
แก่ภิกษุ
ธรรม ๗ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ความเป็นผู้มีความเคารพในพระศาสดา
๒. ความเป็นผู้มีความเคารพในพระธรรม

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๕๓ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๔.เทวตาวรรค ๔.ทุติยโสวจัสสตาสูตร
๓. ความเป็นผู้มีความเคารพในพระสงฆ์
๔. ความเป็นผู้มีความเคารพในสิกขา
๕. ความเป็นผู้มีความเคารพในสมาธิ
๖. ความเป็นผู้ว่าง่าย
๗. ความเป็นผู้มีกัลยาณมิตร
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรม ๗ ประการนี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อความไม่เสื่อมแก่
ภิกษุ
ภิกษุทั้งหลาย เทวดานั้นครั้นกล่าวดังนี้แล้ว จึงไหว้เรา ทำประทักษิณแล้วหาย
ไป ณ ที่นั้นแล
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ท่านพระสารีบุตรได้กราบทูลพระผู้มีพระ
ภาคดังนี้ว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ย่อมรู้ชัดเนื้อความแห่งพระภาษิตที่พระผู้มี
พระภาคตรัสไว้โดยย่อนี้ได้โดยพิสดารอย่างนี้ว่า
ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้
๑. ตนเองเป็นผู้มีความเคารพในพระศาสดา สรรเสริญความเป็นผู้มี
ความเคารพในพระศาสดา ชักชวนภิกษุเหล่าอื่นผู้ไม่มีความเคารพ
ในพระศาสดาให้มีความเคารพในพระศาสดา ทั้งประกาศคุณที่มี
จริงของภิกษุเหล่าอื่นผู้มีความเคารพในพระศาสดาตามกาลอันควร
๒. ตนเองเป็นผู้มีความเคารพในพระธรรม ฯลฯ
๓. ตนเองเป็นผู้มีความเคารพในพระสงฆ์ ฯลฯ
๔. ตนเองเป็นผู้มีความเคารพในสิกขา ฯลฯ
๕. ตนเองเป็นผู้มีความเคารพในสมาธิ ฯลฯ
๖. ตนเองเป็นผู้ว่าง่าย ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๕๔ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๔.เทวตาวรรค ๔.ทุติยโสวจัสสตาสูตร
๗. ตนเองเป็นผู้มีกัลยาณมิตร สรรเสริญความเป็นผู้มีกัลยาณมิตร
ชักชวนภิกษุเหล่าอื่นผู้ไม่มีกัลยาณมิตรให้เป็นผู้มีกัลยาณมิตร ทั้ง
ประกาศคุณที่มีจริงของภิกษุเหล่าอื่นผู้มีกัลยาณมิตรตามกาลอันควร
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ย่อมรู้ชัดเนื้อความแห่งพระภาษิตที่พระผู้มี
พระภาคตรัสไว้โดยย่อนี้ได้โดยพิสดารอย่างนี้
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดีละ ดีละ สารีบุตร ดีจริง สารีบุตร เธอรู้ชัดเนื้อความ
แห่งภาษิตที่เรากล่าวไว้โดยย่อนี้ได้โดยพิสดารอย่างนี้
สารีบุตร ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. ตนเองเป็นผู้มีความเคารพในศาสดา สรรเสริญความเป็นผู้มีความ
เคารพในศาสดา ชักชวนภิกษุเหล่าอื่นผู้ไม่มีความเคารพในศาสดา
ให้มีความเคารพในศาสดา ทั้งประกาศคุณที่มีจริงของภิกษุเหล่าอื่น
ผู้มีความเคารพในศาสดาตามกาลอันควร
๒. ตนเองเป็นผู้มีความเคารพในธรรม ฯลฯ
๓. ตนเองเป็นผู้มีความเคารพในสงฆ์ ฯลฯ
๔. ตนเองเป็นผู้มีความเคารพในสิกขา ฯลฯ
๕. ตนเองเป็นผู้มีความเคารพในสมาธิ ฯลฯ
๖. ตนเองเป็นผู้ว่าง่าย ฯลฯ
๗. ตนเองเป็นผู้มีกัลยาณมิตร สรรเสริญความเป็นผู้มีกัลยาณมิตร
ชักชวนภิกษุเหล่าอื่นผู้ไม่มีกัลยาณมิตรให้เป็นผู้มีกัลยาณมิตร ทั้ง
ประกาศคุณที่มีจริงของภิกษุเหล่าอื่นผู้มีกัลยาณมิตรตามกาลอันควร
สารีบุตร เธอพึงทราบเนื้อความแห่งภาษิตที่เรากล่าวไว้โดยย่อนี้ได้โดย
พิสดารอย่างนี้เถิด
ทุติยโสวจัสสตาสูตรที่ ๔ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๕๕ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๔.เทวตาวรรค ๕.ปฐมมิตตสูตร
๕. ปฐมมิตตสูตร
ว่าด้วยองค์แห่งมิตร สูตรที่ ๑
[๓๖] ภิกษุทั้งหลาย มิตรประกอบด้วยองค์ ๗ ประการ เป็นผู้ควรเสพ
องค์ ๗ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ให้สิ่งที่ให้ได้ยาก
๒. ทำสิ่งที่ทำได้ยาก
๓. อดทนถ้อยคำที่อดทนได้ยาก
๔. เปิดเผยความลับแก่เพื่อน
๕. ปิดความลับของเพื่อน
๖. ไม่ทอดทิ้งในยามวิบัติ
๗. เมื่อเพื่อนสิ้นโภคสมบัติก็ไม่ดูหมิ่น
ภิกษุทั้งหลาย มิตรประกอบด้วยองค์ ๗ ประการนี้แล เป็นผู้ควรเสพ
มิตรย่อมให้สิ่งที่ให้ได้ยาก ทำสิ่งที่ทำได้ยาก
อดทนคำหยาบแม้ที่อดทนได้ยาก
เปิดเผยความลับแก่เพื่อน ปิดความลับของเพื่อน
ไม่ทอดทิ้งในยามวิบัติ
เมื่อเพื่อนสิ้นโภคสมบัติก็ไม่ดูหมิ่น
ในโลกนี้ ฐานะเหล่านี้มีอยู่ในบุคคลใด
บุคคลนั้นจัดว่าเป็นมิตร
ผู้ต้องการจะคบมิตร ควรคบมิตรเช่นนั้น

ปฐมมิตตสูตรที่ ๕ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๕๖ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๔.เทวตาวรรค ๖.ทุติยมิตตสูตร
๖. ทุติยมิตตสูตร
ว่าด้วยองค์แห่งมิตร สูตรที่ ๒
[๓๗] ภิกษุทั้งหลาย มิตรประกอบด้วยองค์ ๗ ประการ เป็นผู้ควรเสพ ควรคบ
ควรเข้าไปนั่งใกล้ แม้จะถูกขับไล่ก็ตาม
องค์ ๗ ประการ อะไรบ้าง คือ

๑. เป็นที่รักเป็นที่พอใจ๑ ๒. เป็นที่เคารพ
๓. เป็นที่ยกย่อง ๔. เป็นนักพูด๒
๕. เป็นผู้อดทนต่อถ้อยคำ๓ ๖. เป็นผู้พูดถ้อยคำลึกซึ้งได้๔
๗. ไม่ชักนำในอฐานะ๕

ภิกษุทั้งหลาย มิตรประกอบด้วยองค์ ๗ ประการนี้แล เป็นผู้ควรเสพ ควรคบ
ควรเข้าไปนั่งใกล้ แม้จะถูกขับไล่ก็ตาม

เชิงอรรถ :
๑ เป็นที่รักเป็นที่พอใจ ในที่นี้หมายถึงมีลักษณะแห่งกัลยาณมิตร ๘ ประการ คือ (๑) มีศรัทธา คือ เชื่อการ
ตรัสรู้ของพระตถาคต เชื่อกรรมและผลของกรรม (๒) มีศีล คือ เป็นที่รัก เป็นที่เคารพ เป็นที่นับถือของ
สัตว์ทั้งหลาย (๓) มีสุตะ คือ กล่าวถ้อยคำที่ลึกซึ้งที่สัมปยุตด้วยสัจจะและปฏิจจสมุปบาท (๔) มีจาคะ คือ
ปรารถนาน้อย สันโดษ ชอบสงัด ไม่คลุกคลีด้วยหมู่ (๕) มีความเพียร คือ ปรารภความเพียรในการปฏิบัติ
เพื่อเกื้อกูลแก่ตนและเกื้อกูลแก่ผู้อื่น (๖) มีสติ คือ มีสติตั้งมั่น (๗) มีสมาธิ คือ มีจิตตั้งมั่นไม่ฟุ้งซ่าน
(๘) มีปัญญา คือ รู้อย่างไม่วิปริต ใช้สติพิจารณาคติแห่งกุศลธรรมและอกุศลธรรม รู้สิ่งที่เกื้อกูลและสิ่งไม่
เกื้อกูลแห่งสัตว์ทั้งหลายด้วยปัญญาตามความเป็นจริง มีจิตเป็นหนึ่งในอารมณ์นั้นด้วยสมาธิ เว้นสิ่งที่ไม่
เกื้อกูล ประกอบสิ่งที่เกื้อกูลด้วยความเพียร (องฺ.สตฺตก.ฏีกา ๓/๓๗-๔๓/๒๐๓)
๒ เป็นนักพูด ในที่นี้หมายถึงเป็นผู้ฉลาดในการใช้คำพูด (องฺ.สตฺตก.อ. ๓/๓๗/๑๗๙)
๓ อดทนต่อถ้อยคำ ในที่นี้หมายถึงปฏิบัติตามโอวาทที่ท่านให้แล้ว (องฺ.สตฺตก.อ. ๓/๓๗/๑๗๙)
๔ ถ้อยคำลึกซึ้ง หมายถึงเรื่องเกี่ยวกับฌาน วิปัสสนา มรรค ผล และนิพพาน (องฺ.สตฺตก.อ. ๓/๓๗/๑๗๙)
๕ ไม่ชักนำในอฐานะ หมายถึงป้องกันไม่ให้ทำในสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์เกื้อกูล มีคติเป็นทุกข์ แต่ชักชวนให้
ทำสิ่งที่เป็นประโยชน์เกื้อกูลมีคติเป็นสุข (เทียบ องฺ.สตฺตก.ฏีกา ๓/๓๗/๒๐๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๕๗ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๔.เทวตาวรรค ๗.ปฐมปฏิสัมภิทาสูตร
มิตรเป็นที่รัก เป็นที่เคารพ เป็นที่ยกย่อง
เป็นนักพูด เป็นผู้อดทนต่อถ้อยคำ
พูดถ้อยคำลึกซึ้งได้ ไม่ชักนำในอฐานะ
ในโลกนี้ ฐานะเหล่านี้มีอยู่ในบุคคลใด
บุคคลนั้นจัดว่าเป็นมิตรผู้มุ่งประโยชน์และอนุเคราะห์
ผู้ต้องการจะคบมิตร ควรคบมิตรเช่นนั้น
แม้จะถูกขับไล่ก็ตาม
ทุติยมิตตสูตรที่ ๖ จบ

๗. ปฐมปฏิสัมภิทาสูตร
ว่าด้วยธรรมที่เป็นเหตุให้บรรลุปฏิสัมภิทา สูตรที่ ๑
[๓๘] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๗ ประการ ไม่นานนัก ก็จะ
ทำให้แจ้งปฏิสัมภิทา๑ ๔ ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง เข้าถึงอยู่
ธรรม ๗ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า ‘จิตของเรานี้หดหู่’
๒. รู้ชัดจิตท้อแท้ภายใน๒ ตามความเป็นจริงว่า ‘จิตของเราท้อแท้ภายใน’
๓. รู้ชัดจิตฟุ้งซ่านไปภายนอก๓ ตามความเป็นจริงว่า ‘จิตของเราฟุ้งซ่าน
ไปภายนอก’
๔. รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า เวทนาปรากฏเกิดขึ้น ปรากฏตั้งอยู่ ปรากฏ
ดับไป

เชิงอรรถ :
๑ ดู อภิ.วิ. (แปล) ๓๕/๗๑๘-๗๓๑/๔๕๙-๔๖๕,๗๔๖-๗๔๗/๔๗๕,๘๐๐/๕๑๓
๒ จิตท้อแท้ภายใน ในที่นี้หมายถึงจิตที่ตกอยู่ในถีนมิทธะ (องฺ.สตฺตก.อ. ๓/๓๘/๑๗๙)
๓ จิตฟุ้งซ่านไปภายนอก ในที่นี้หมายถึงจิตที่ฟุ้งซ่านไปในกามคุณ ๕ ประการ (องฺ.สตฺตก.อ. ๓/๓๘/๑๗๙)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๕๘ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๔.เทวตาวรรค ๘.ทุติยปฏิสัมภิทาสูตร
๕. รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า สัญญาปรากฏเกิดขึ้น ปรากฏตั้งอยู่ ปรากฏ
ดับไป
๖. รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า วิตกปรากฏเกิดขึ้น ปรากฏตั้งอยู่ ปรากฏ
ดับไป
๗. กำหนดดี มนสิการดี ทรงจำดี แทงตลอดดีด้วยปัญญาซึ่งนิมิตใน
ธรรมที่เป็นสัปปายะและอสัปปายะ๑ ที่เลวและประณีต ที่มีส่วนดำ
และขาว
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๗ ประการนี้แล ไม่นานนัก ก็จะทำให้
แจ้งปฏิสัมภิทา ๔ ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง เข้าถึงอยู่
ปฐมปฏิสัมภิทาสูตรที่ ๗ จบ

๘. ทุติยปฏิสัมภิทาสูตร
ว่าด้วยธรรมที่เป็นเหตุให้บรรลุปฏิสัมภิทา สูตรที่ ๒
[๓๙] ภิกษุทั้งหลาย สารีบุตรประกอบด้วยธรรม ๗ ประการ จึงทำให้แจ้ง
ปฏิสมภิทา ๔ ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง เข้าถึงอยู่
ธรรม ๗ ประการ อะไรบ้าง คือ
ในธรรมวินัยนี้ สารีบุตร
๑. รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า ‘จิตของเรานี้หดหู่’
๒. รู้ชัดจิตท้อแท้ภายในตามความเป็นจริงว่า ‘จิตของเราท้อแท้ภายใน’
๓. รู้ชัดจิตฟุ้งซ่านไปภายนอกตามความเป็นจริงว่า ‘จิตของเราฟุ้งซ่าน
ไปภายนอก’

เชิงอรรถ :
๑ นิมิตในธรรมที่เป็นสัปปายะและอสัปปายะ หมายถึงเหตุในธรรมที่เป็นอุปการะและที่ไม่เป็นอุปการะ
(องฺ.สตฺตก.อ. ๓/๓๘/๑๗๙)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๕๙ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๔.เทวตาวรรค ๙.ปฐมวสสูตร
๔. รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า เวทนาปรากฏเกิดขึ้น ปรากฏตั้งอยู่ ปรากฏ
ดับไป
๕. รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า สัญญาปรากฏเกิดขึ้น ปรากฏตั้งอยู่ ปรากฏ
ดับไป
๖. รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า วิตกปรากฏเกิดขึ้น ปรากฏตั้งอยู่ ปรากฏ
ดับไป
๗. กำหนดดี มนสิการดี ทรงจำดี แทงตลอดดีด้วยปัญญาซึ่งจิตในธรรม
ที่เป็นสัปปายะและอสัปปายะ ที่เลวและประณีต ที่มีส่วนดำและขาว
ภิกษุทั้งหลาย สารีบุตรประกอบด้วยธรรม ๗ ประการนี้แล จึงทำให้แจ้ง
ปฏิสัมภิทา ๔ ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง เข้าถึงอยู่
ทุติยปฏิสัมภิทาสูตรที่ ๘ จบ

๙. ปฐมวสสูตร
ว่าด้วยธรรมที่เป็นเหตุให้จิตตกอยู่ในอำนาจ สูตรที่ ๑
[๔๐] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๗ ประการ ย่อมทำจิตไว้ใน
อำนาจ และไม่เป็นไปตามอำนาจของจิต
ธรรม ๗ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เป็นผู้ฉลาดในสมาธิ
๒. เป็นผู้ฉลาดในการเข้าสมาธิ๑
๓. เป็นผู้ฉลาดในการให้สมาธิตั้งอยู่ได้๒
๔. เป็นผู้ฉลาดในการออกจากสมาธิ๓
๕. เป็นผู้ฉลาดในความพร้อมแห่งสมาธิ๔

เชิงอรรถ :
๑ ฉลาดในการเข้าสมาธิ หมายถึงฉลาดเลือกอาหารและฤดูที่เหมาะแก่การเจริญสมาธิ (องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๒๔/
๑๐๙) และดู องฺ.ฉกฺก. (แปล) ๒๒/๒๔/๔๕๕
๒ ฉลาดในการให้สมาธิตั้งอยู่ได้ หมายถึงสามารถรักษาสมาธิให้ดำรงอยู่ได้นาน (องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๒๔/๑๐๙)
๓ ฉลาดในการออกจากสมาธิ หมายถึงกำหนดเวลาที่จะออกจากสมาธิได้ (องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๒๔/๑๐๙)
๔ ฉลาดในความพร้อมแห่งสมาธิ หมายถึงสามารถทำสมาธิจิตให้มีความร่าเริงได้ (องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๒๔/๑๐๙)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๖๐ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๔.เทวตาวรรค ๑๐.ทุติยวสสูตร
๖. เป็นผู้ฉลาดในอารมณ์แห่งสมาธิ๑
๗. เป็นผู้ฉลาดในอภินิหารแห่งสมาธิ๒
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๗ ประการนี้แล ย่อมทำจิตไว้ในอำนาจ
และไม่เป็นไปตามอำนาจของจิต
ปฐมวสสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. ทุติยวสสูตร
ว่าด้วยธรรมที่เป็นเหตุให้จิตตกอยู่ในอำนาจ สูตรที่ ๒
[๔๑] ภิกษุทั้งหลาย สารีบุตรประกอบด้วยธรรม ๗ ประการ ย่อมทำจิต
ไว้ในอำนาจ และไม่เป็นไปตามอำนาจของจิต
ธรรม ๗ ประการ อะไรบ้าง คือ
ในธรรมวินัยนี้ สารีบุตร
๑. เป็นผู้ฉลาดในสมาธิ
๒. เป็นผู้ฉลาดในการเข้าสมาธิ
๓. เป็นผู้ฉลาดในการให้สมาธิตั้งอยู่ได้
๔. เป็นผู้ฉลาดในการออกจากสมาธิ
๕. เป็นผู้ฉลาดในความพร้อมแห่งสมาธิ
๖. เป็นผู้ฉลาดในอารมณ์แห่งสมาธิ
๗. เป็นผู้ฉลาดในอภินิหารแห่งสมาธิ
ภิกษุทั้งหลาย สารีบุตรประกอบด้วยธรรม ๗ ประการนี้แล ย่อมทำจิตไว้ใน
อำนาจ และไม่เป็นไปตามอำนาจของจิต
ทุติยวสสูตรที่ ๑๐ จบ

เชิงอรรถ :
๑ ฉลาดในอารมณ์แห่งสมาธิหมายถึงฉลาดในการเว้นธรรมที่ไม่เป็นอุปการะแก่สมาธิแล้วเลือกเจริญแต่ธรรม
ที่เป็นสัปปายะ และเป็นอุปการะโดยรู้ว่า ‘นี้คืออารมณ์ที่เป็นนิมิต (เครื่องหมาย) สำหรับให้จิตกำหนด นี้คือ
อารมณ์ที่เป็นไตรลักษณ์’ (องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๒๔/๑๐๙)
๒ ฉลาดในอภินิหารแห่งสมาธิ หมายถึงฉลาดในการเจริญสมาธิในชั้นปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน และ
จตุตถฌาน ตามลำดับจนเกิดความชำนาญแล้วเข้าสมาธิชั้นสูงขึ้นไป (องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๒๔/๑๑๐)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๖๑ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๔.เทวตาวรรค ๑๑.ปฐมนิททสสูตร
๑๑. ปฐมนิททสสูตร
ว่าด้วยนิททสวัตถุ สูตรที่ ๑
[๔๒] ครั้งนั้นแล เวลาเช้า ท่านพระสารีบุตรครองอันตรวาสก ถือบาตรและ
จีวร๑เข้าไปยังกรุงสาวัตถีเพื่อบิณฑบาต ได้มีความคิดอย่างนี้ว่า “การเที่ยวบิณฑบาต
ในกรุงสาวัตถียังเช้านัก ทางที่ดี เราควรจะเข้าไปยังอารามของพวกอัญเดียรถีย์ปริพาชก”
ครั้นแล้วจึงเข้าไปยังอารามของพวกอัญเดียรถีย์ปริพาชก ได้สนทนาปราศรัยพอเป็น
ที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้วนั่ง ณ ที่สมควร
สมัยนั้นแล พวกอัญเดียรถีย์ปริพาชกนั่งประชุมกัน สนทนากันในระหว่าง
การประชุมว่า “ผู้มีอายุทั้งหลาย ท่านผู้ใดผู้หนึ่งประพฤติพรหมจรรย์บริสุทธิ์บริบูรณ์
ครบ ๑๒ ปี ควรเรียกท่านผู้นั้นว่า ‘นิททสภิกษุ'๒
ท่านพระสารีบุตรไม่ยินดี ไม่คัดค้านภาษิตของอัญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้น
ลุกจากอาสนะจากไปด้วยคิดว่า “เราจักรู้ชัดเนื้อความแห่งภาษิตนี้ในสำนักของพระผู้
มีพระภาค” ท่านพระสารีบุตรครั้นเที่ยวบิณฑบาตในกรุงสาวัตถี กลับจากบิณฑบาต
หลังจากฉันจากอาหารเสร็จแล้ว จึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาท
แล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อเช้านี้ ข้าพระองค์ครองอันตรวาสก ถือบาตรและ
จีวรเข้าไปยังกรุงสาวัตถีเพื่อบิณฑบาต ได้มีความคิดอย่างนี้ว่า ‘การเที่ยวบิณฑบาต
ในกรุงสาวัตถียังเช้านัก ทางที่ดี เราควรจะเข้าไปยังอารามของพวกอัญเดียรถีย์ปริพาชก’
ครั้นแล้วจึงเข้าไปยังอารามของพวกอัญเดียรถีย์ปริพาชก ได้สนทนาปราศรัยพอเป็น
ที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้วนั่ง ณ ที่สมควร สมัยนั้นแล พวกอัญเดียรถีย์

เชิงอรรถ :
๑ คำว่า “ครองอันตรวาสกถือบาตรและจีวร” นี้มิใช่ว่าก่อนหน้านี้พระสารีบุตรมิได้นุ่งสบง มิใช่พระสารีบุตร
ถือบาตรและจีวรไปโดยเปลือยกายส่วนบน แต่คำว่า “ครองอันตรวาสก” หมายถึงท่านผลัดเปลี่ยนสบง หรือ
ขยับสบงที่นุ่งอยู่ให้กระชับ คำว่า “ถือบาตรและจีวร” หมายถึงถือบาตรด้วยมือ ถือจีวรด้วยกาย คือห่มจีวร
แล้วอุ้มบาตรนั่นเอง (เทียบ วิ.อ. ๑/๑๖/๑๘๐, ที.ม.อ. ๒/๑๕๓/๑๔๓, ม.มู.อ. ๑/๖๓/๑๖๓, ขุ.อุ.อ. ๖/๖๕)
๒ ดูเชิงอรรถที่ ๑ สัตตกนิบาต ข้อ ๒๐ (นิททสวัตถุสูตร) หน้า ๒๙ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๖๒ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๔.เทวตาวรรค ๑๑.ปฐมนิททสสูตร
ปริพาชกนั่งประชุมกัน สนทนากันในระหว่างการประชุมว่า ผู้มีอายุทั้งหลาย ท่าน
ผู้ใดผู้หนึ่งประพฤติพรหมจรรย์บริสุทธิ์บริบูรณ์ครบ ๑๒ ปี ควรเรียกท่านผู้นั้นว่า
‘นิททสภิกษุ’ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ไม่ยินดี ไม่คัดค้านภาษิตของ
อัญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้น ลุกจากอาสนะจากไปด้วยคิดว่า ‘เราจักรู้ชัดเนื้อความ
แห่งภาษิตนี้ในสำนักของพระผู้มีพระภาค’ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อาจหรือหนอที่จะ
บัญญัตินิททสภิกษุไว้ในพระธรรมวินัยนี้ด้วยเหตุเพียงนับพรรษาอย่างเดียว”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า สารีบุตร ไม่อาจเลยที่จะบัญญัตินิททสภิกษุไว้
ในธรรมวินัยนี้ด้วยเหตุเพียงนับพรรษาอย่างเดียว นิททสวัตถุ ๗ ประการนี้แล เราทำ
ให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้วจึงประกาศไว้
นิททสวัตถุ ๗ ประการ๑ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เป็นผู้มีฉันทะอย่างแรงกล้าในการสมาทานสิกขา และได้ความรักใน
การสมาทานสิกขาต่อไป
๒. เป็นผู้มีฉันทะอย่างแรงกล้าในการใคร่ครวญธรรม และได้ความรัก
ในการใคร่ครวญธรรมต่อไป
๓. เป็นผู้มีฉันทะอย่างแรงกล้าในการกำจัดความอยาก และได้ความรัก
ในการกำจัดความอยากต่อไป
๔. เป็นผู้มีฉันทะอย่างแรงกล้าในการหลีกเร้น และได้ความรักในการ
หลีกเร้นต่อไป
๕. เป็นผู้มีฉันทะอย่างแรงกล้าในการปรารภความเพียร และได้ความ
รักในการปรารภความเพียรต่อไป
๖. เป็นผู้มีฉันทะอย่างแรงกล้าในสติปัญญาเป็นเครื่องรักษาตน และได้
ความรักในสติปัญญาเป็นเครื่องรักษาตนต่อไป

เชิงอรรถ :
๑ ดูนิททสวัตถุสูตร สัตตกนิบาต ข้อ ๒๐ หน้า ๒๙-๓๐ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๖๓ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๔.เทวตาวรรค ๑๒.ทุติยนิททสสูตร
๗. เป็นผู้มีฉันทะอย่างแรงกล้าในการแทงตลอดด้วยทิฏฐิ และได้ความ
รักในการแทงตลอดด้วยทิฏฐิต่อไป
สารีบุตร นิททสวัตถุ ๗ ประการนี้แล เราทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้ว
จึงประกาศไว้
ภิกษุประกอบด้วยนิททสวัตถุ ๗ ประการนี้แล หากประพฤติพรหมจรรย์บริสุทธิ์
บริบูรณ์ครบ ๑๒ ปี ควรเรียกภิกษุนั้นว่า ‘นิททสภิกษุ’ หากประพฤติพรหมจรรย์
บริสุทธิ์บริบูรณ์ครบ ๒๔ ปี ควรเรียกภิกษุนั้นว่า ‘นิททสภิกษุ’ หากประพฤติพรหม
จรรย์บริสุทธิ์บริบูรณ์ครบ ๓๖ ปี ก็ควรเรียกภิกษุนั้นว่า ‘นิททสภิกษุ’ หากประพฤติ
พรหมจรรย์บริสุทธิ์บริบูรณ์ครบ ๔๘ ปี ก็ควรเรียกภิกษุนั้นว่า ‘นิททสภิกษุ'
ปฐมนิททสสูตรที่ ๑๑ จบ

๑๒. ทุติยนิททสสูตร
ว่าด้วยนิททสวัตถุ สูตรที่ ๒
[๔๓] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ โฆสิตาราม เขตกรุงโกสัมพี ครั้งนั้นแล
เวลาเช้า ท่านพระอานนท์ครองอันตรวาสกถือบาตรและจีวรเข้าไปยังกรุงโกสัมพี
เพื่อบิณฑบาต ได้มีความคิดอย่างนี้ว่า “การเที่ยวบิณฑบาตในกรุงโกสัมพียังเช้านัก
ทางที่ดี เราควรจะเข้าไปยังอารามของพวกอัญเดียรถีย์ปริพาชก” ครั้นแล้วจึงเข้าไปยัง
อารามของพวกอัญเดียรถีย์ปริพาชก ได้สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็น
ที่ระลึกถึงกันแล้วนั่ง ณ ที่สมควร
สมัยนั้นแล พวกอัญเดียรถีย์ปริพาชกนั่งประชุมกัน สนทนากันในระหว่าง
การประชุมว่า “ผู้มีอายุทั้งหลาย ท่านผู้ใดผู้หนึ่งประพฤติพรหมจรรย์บริสุทธิ์บริบูรณ์
ครบ ๑๒ ปี ควรเรียกท่านผู้นั้นว่า “นิททสภิกษุ”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๖๔ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๔.เทวตาวรรค ๑๒.ทุติยนิททสสูตร
ท่านพระอานนท์ไม่ยินดี ไม่คัดค้านภาษิตของอัญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้น
ลุกจากอาสนะจากไปด้วยคิดว่า “เราจักรู้ชัดเนื้อความแห่งภาษิตนี้ในสำนักของพระผู้
มีพระภาค” ท่านพระอานนท์ครั้นเที่ยวบิณฑบาตในกรุงโกสัมพี กลับจากบิณฑบาต
หลังจากฉันอาหารเสร็จแล้ว จึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาท
แล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อเช้านี้ ข้าพระองค์ครองอันตรวาสก ถือบาตรและ
จีวรเข้าไปยังกรุงโกสัมพีเพื่อบิณฑบาต ได้มีความคิดอย่างนี้ว่า ‘การเที่ยวบิณฑบาต
ในกรุงโกสัมพียังเช้านัก ทางที่ดี เราควรจะเข้าไปยังอารามของพวกอัญเดียรถีย์
ปริพาชก’ ครั้นแล้วจึงเข้าไปยังอารามของพวกอัญเดียรถีย์ปริพาชก ได้สนทนา
ปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้วนั่ง ณ ที่สมควร สมัยนั้นแล
พวกอัญเดียรถีย์ปริพาชกนั่งประชุมกัน สนทนากันในระหว่างการประชุมว่า ผู้มีอายุ
ทั้งหลาย ท่านผู้ใดผู้หนึ่งประพฤติพรหมจรรย์บริสุทธิ์บริบูรณ์ครบ ๑๒ ปี ควรเรียก
ท่านผู้นั้นว่า ‘นิททสภิกษุ’ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ไม่ยินดี ไม่คัดค้าน
ภาษิตของอัญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้น ลุกจากอาสนะจากไปด้วยคิดว่า ‘เราจักรู้ชัด
เนื้อความแห่งภาษิตนี้ในสำนักของพระผู้มีพระภาค’ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อาจหรือหนอ
ที่จะบัญญัตินิททสภิกษุไว้ในพระธรรมวินัยนี้ด้วยเหตุเพียงนับพรรษาอย่างเดียว”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า อานนท์ ไม่อาจเลยที่จะบัญญัตินิททสภิกษุไว้ใน
ธรรมวินัยนี้ด้วยเหตุเพียงนับพรรษาอย่างเดียว นิททสวัตถุ ๗ ประการนี้แล เราทำ
ให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้วจึงประกาศไว้
นิททสวัตถุ ๗ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เป็นผู้มีศรัทธา ๒. เป็นผู้มีหิริ
๓. เป็นผู้มีโอตตัปปะ ๔. เป็นพหูสูต

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๖๕ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๔.เทวตาวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค
๕. เป็นผู้ปรารภความเพียร ๖. เป็นผู้มีสติ
๗. เป็นผู้มีปัญญา
อานนท์ นิททสวัตถุ ๗ ประการนี้แล เราทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้ว
จึงประกาศไว้
ภิกษุประกอบด้วยนิททสวัตถุ ๗ ประการนี้แล หากประพฤติพรหมจรรย์
บริสุทธิ์บริบูรณ์ครบ ๑๒ ปี ก็ควรเรียกภิกษุนั้นว่า ‘นิททสภิกษุ’ หากประพฤติ
พรหมจรรย์บริสุทธิ์บริบูรณ์ครบ ๒๔ ปี ก็ควรเรียกภิกษุนั้นว่า ‘นิททสภิกษุ’
หากประพฤติพรหมจรรย์บริสุทธิ์บริบูรณ์ครบ ๓๖ ปี ก็ควรเรียกภิกษุนั้นว่า
‘นิททสภิกษุ’ หากประพฤติพรหมจรรย์บริสุทธิ์บริบูรณ์ครบ ๔๘ ปี ก็ควรเรียก
ภิกษุนั้นว่า ‘นิททสภิกษุ'
ทุติยนิททสสูตรที่ ๑๑ จบ
เทวตาวรรคที่ ๔ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. อัปปมาทคารวสูตร ๒. หิริคารวสูตร
๓. ปฐมโสวจัสสตาสูตร ๔. ทุติยโสวจัสสตาสูตร
๕. ปฐมมิตตสูตร ๖. ทุติยมิตตสูตร
๗. ปฐมปฏิสัมภิทาสูตร ๘. ทุติยปฏิสัมภิทาสูตร
๙. ปฐมวสสูตร ๑๐. ทุติยวสสูตร
๑๑. ปฐมนิททสสูตร ๑๒. ทุติยนิททสสูตร


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๖๖ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๕.มหายัญญวรรค ๑.สัตตวิญญาณัฏฐิติสูตร
๕. มหายัญญวรรค
หมวดว่าด้วยมหายัญ
๑. สัตตวิญญาณัฏฐิติสูตร๑
ว่าด้วยวิญญาณฐิติ ๗ ประการ
[๔๔] ภิกษุทั้งหลาย วิญญาณฐิติ๒ (ภูมิเป็นที่ตั้งแห่งวิญญาณ) ๗ ประการนี้
วิญญาณฐิติ ๗ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. มีสัตว์ผู้มีกายต่างกัน มีสัญญาต่างกัน คือ มนุษย์บางพวก เทวดา
บางพวก๓ และวินิปาติกะบางพวก๔ นี้เป็นวิญญาณฐิติที่ ๑
๒. มีสัตว์ผู้มีกายต่างกัน แต่มีสัญญาอย่างเดียวกัน คือ เทวดาชั้น
พรหมกายิกา๕เกิดในปฐมฌานภูมิ นี้เป็นวิญญาณฐิติที่ ๒
๓. มีสัตว์ผู้มีกายอย่างเดียวกัน แต่มีสัญญาต่างกัน คือ เทวดาชั้น
อาภัสสระ นี้เป็นวิญญาณฐิติที่ ๓
๔. มีสัตว์ผู้มีกายอย่างเดียวกัน มีสัญญาอย่างเดียวกัน คือ เทวดาชั้น
สุภกิณหะ (เทวดาที่เต็มไปด้วยความงาม) นี้เป็นวิญญาณฐิติที่ ๔

เชิงอรรถ :
๑ ที.ม. ๑๐/๑๒๗/๖๑-๖๒, ที.ปา. ๑๑/๓๓๒/๒๒๒-๒๒๓, ๓๕๗/๒๕๘-๒๕๙, ขุ.จู. (แปล) ๓๐/๘๓/๒๘๙
๒ วิญญาณฐิติ หมายถึงที่ตั้งแห่งปฏิสนธิวิญญาณ (องฺ.สตฺตก.อ. ๓/๔๔-๔๕/๑๘๐)
๓ เทวดาบางพวก หมายถึงเทพในสวรรค์ชั้นกามาวาจรภูมิ ๖ คือ (๑) ชั้นจาตุมหาราช (๒) ชั้นดาวดึงส์
(๓) ชั้นยาม (๔) ชั้นดุสิต (๕) ชั้นนิมมานรดี (๖) ชั้นปรนิมมิตวสวัตดี (ที.ม.อ. ๒/๑๒๗/๑๐๙, ขุ.จู.อ.
๘๓/๕๗)
๔ วินิปาติกะบางพวก หมายถึงพวกเวมานิกเปรตที่พ้นจากอบายภูมิ ๔ มียักษิณีผู้เป็นมารดาของอุตตระ
ยักษิณีผู้เป็นมารดาของปิยังกระ ยักษิณีผู้เป็นมิตรของผุสสะ ร่างกายของเปรตเหล่านี้แตกต่างกัน คือ มีทั้ง
อ้วน ผอม เตี้ย สูง มีผิวขาว ผิวดำ ผิวสีทอง และสีนิล มีลักษณะ มีสัญญาต่างกัน ด้วย ติเหตุกะ ทุเหตุกะ
และอเหตุกะ เหมือนของมนุษย์ เวมานิกเปรตเหล่านี้ไม่มีศักดิ์มากเหมือนพวกเทวดา บางพวกได้รับทุกข์
ในข้างแรม ได้รับสุขในข้างขึ้น แต่เวมานิกเปรตที่เป็นติเหตุกะสามารถบรรลุธรรมได้ ดุจการบรรลุธรรมของ
ยักษิณีผู้เป็นมารดาของปิยังกระ เป็นต้น (ที.ม.อ. ๒/๑๒๗/๑๐๙, องฺ.สตฺตก.อ. ๓/๔๔-๔๕/๑๘๐, ขุ.จู.อ.
๘๓/๕๗)
๕ เทวดาชั้นพรหมกายิกา หมายถึงพรหมชั้นปฐมฌานภูมิ (ระดับปฐมฌาน) ๓ ชั้น คือ (๑) พรหมปาริสัชชา
(พวกบริษัทบริวารมหาพรหม) (๒) พรหมปโรหิตา (พวกปุโรหิตมหาพรหม) (๓) มหาพรหมา (พวกท้าว
มหาพรหม) (ที.ม.อ. ๒/๑๒๗/๑๐๙-๑๑๐, องฺ.สตฺตก.อ. ๓/๔๔-๔๕/๑๘๐)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๖๗ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๕.มหายัญญวรรค ๒.สมาธิปริกขารสูตร
๕. มีสัตว์ผู้บรรลุอากาสานัญจายตนฌาน๑ อยู่โดยกำหนดว่า ‘อากาศ
หาที่สุดมิได้’ เพราะล่วงรูปสัญญา ดับปฏิฆสัญญา ไม่มนสิการ-
นานัตตสัญญาโดยประการทั้งปวง นี้เป็นวิญญาณฐิติที่ ๕
๖. มีสัตว์ผู้ล่วงอากาสานัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุ
วิญญาณัญจายตนฌาน๒ อยู่โดยกำหนดว่า ‘วิญญาณหาที่สุดมิได้’
นี้เป็นวิญญาณฐิติที่ ๖
๗. มีสัตว์ผู้ล่วงวิญญาณัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุ
อากิญจัญญายตนฌาน๓ อยู่โดยกำหนดว่า ‘ไม่มีอะไร’ นี้เป็น
วิญญาณฐิติที่ ๗
ภิกษุทั้งหลาย วิญญาณฐิติ ๗ ประการนี้แล
สัตตวิญญาณัฏฐิติสูตรที่ ๑ จบ

๒. สมาธิปริกขารสูตร๔
ว่าด้วยบริขารแห่งสมาธิ
[๔๕] ภิกษุทั้งหลาย บริขารแห่งสมาธิ๕ ๗ ประการนี้
บริขารแห่งสมาธิ ๗ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สัมมาทิฏฐิ (เห็นชอบ) ๒. สัมมาสังกัปปะ (ดำริชอบ)
๓. สัมมาวาจา (เจรจาชอบ) ๔. สัมมากัมมันตะ (กระทำชอบ)

เชิงอรรถ :
๑ อากาสานัญจายตนฌาน หมายถึงฌานที่กำหนดอากาศคือช่องว่างอันหาที่สุดมิได้เป็นอารมณ์ เป็นขั้นที่ ๑
ของอรูปฌาน ๔ (ที.สี.อ. ๑/๔๑๔/๓๐๘)
๒ วิญญาณัญจายตนฌาน หมายถึงฌานที่กำหนดวิญญาณอันหาที่สุดมิได้เป็นอารมณ์ เป็นขั้นที่ ๒ ของ
อรูปฌาน ๔ (ที.สี.อ. ๑/๔๑๔/๓๐๘)
๓ อากิญจัญญายตนฌาน หมายถึงฌานที่กำหนดภาวะอันไม่มีอะไร(ความว่าง)เป็นอารมณ์ ฌานนี้เรียกอีก
อย่างหนึ่งว่า สัญญัคคะ (ที่สุดแห่งสัญญา) เพราะเป็นภาวะสุดท้ายของการมีสัญญา กล่าวคือ ผู้บรรลุ
อากิญจัญญายตนฌานแล้ว ขั้นต่อไปจะเข้าถึงเนวสัญญานาสัญญายตนฌานบ้างเข้าถึงสัญญาเวทยิตนิโรธบ้าง
(ที.สี.อ. ๑/๔๑๔/๓๐๘)
๔ ดูเทียบ ที.ม. ๑๐/๒๙๐/๑๘๖, ที.ปา. ๑๑/๓๓๐/๒๒๑, ม.อุ.๑๔/๑๓๖/๑๒๑, สํ.ม.๑๙/๒๘/๑๖
๕ บริขารแห่งสมาธิ หมายถึงองค์ประกอบของมรรคสมาธิ (องฺ.สตฺตก.อ. ๓/๔๔-๔๕/๑๘๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๖๘ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๕.มหายัญญวรรค ๓.ปฐมอัคคิสูตร
๕. สัมมาอาชีวะ (เลี้ยงชีพชอบ) ๖. สัมมาวายามะ (พยายามชอบ)
๗. สัมมาสติ (ระลึกชอบ)
ภิกษุทั้งหลาย สภาวะที่จิตมีอารมณ์เดียวซึ่งมีองค์ ๗ ประการนี้แวดล้อม
เรียกว่า ‘อริยสัมมาสมาธิที่มีอุปนิสะ‘๑ บ้าง ว่า ‘อริยสัมมาทิฏฐิที่มีบริขาร’ บ้าง
สมาธิปริกขารสูตรที่ ๒ จบ

๓. ปฐมอัคคิสูตร
ว่าด้วยไฟ สูตรที่ ๑
[๔๖] ภิกษุทั้งหลาย อัคคิ (ไฟ) ๗ ประการนี้
อัคคิ ๗ ประการ๒ อะไรบ้าง คือ

๑. ราคัคคิ (ไฟคือราคะ)
๒. โทสัคคิ (ไฟคือโทสะ)
๓. โมหัคคิ (ไฟคือโมหะ)
๔. อาหุเนยยัคคิ (ไฟคืออาหุไนยบุคคล)
๕. คหปตัคคิ (ไฟคือคหบดี)
๖. ทักขิเณยยัคคิ (ไฟคือทักขิไณยบุคคล)
๗. กัฏฐัคคิ (ไฟที่เกิดจากไม้)

ภิกษุทั้งหลาย อัคคิ ๗ ประการนี้แล
ปฐมอัคคิสูตรที่ ๓ จบ

เชิงอรรถ :
๑ อุปนิสะ หมายถึงอุปนิสสัยในที่นี้ได้แก่หมวดธรรมที่เป็นเหตุทำหน้าที่ร่วมกัน (ที.ม.อ. ๒/๒๙๐/
๒๕๗, ๒๙๐/๒๖๗)
๒ ราคะโทสะ และโมหะ ที่เรียกว่า อัคคิ เพราะมีความหมายว่า ตามเผาผลาญ อาหุเนยยัคคิ แยกอธิบาย
ดังนี้ คือ อาหุเนยยะ + อัคคิ คำว่า อาหุเนยยะ มาจาก อาหุนะ หมายถึงเครื่องสักการะ บุคคลผู้ควรแก่
เครื่องสักการะ เรียกว่า อาหุไนยบุคคล คือมารดาบิดา ที่เรียกว่า อัคคิ เพราะเป็นเหตุให้บุตรผู้ปฏิบัติผิด
ต่อตนต้องถูกเผาไหม้ในนรกได้ คหปตัคคิ แยกเป็น คหปติ + อัคคิ คำว่า คหบดี หมายถึงเจ้าของเรือนผู้
ให้ที่นอน เสื้อผ้า เครื่องประดับ ที่เรียกว่า อัคคิ เพราะเป็นเหตุให้มาตุคามผู้ประพฤตินอกใจตน ต้องถูก
เผาไหม้ในนรก ทักขิเณยยัคคิ แยกเป็น ทักขิเณยยะ + อัคคิ คำว่า ทักขิเณยยะ มาจากคำว่า ทักขิณา
หมายถึงปัจจัย ๔ บุคคลผู้ควรแแก่ปัจจัย ๔ เรียกว่า ทักขิไณยบุคคล คือภิกษุสงฆ์ ที่เรียกว่า อัคคิ เพราะ
เป็นเหตุให้คฤหัสถ์ผู้ปฏิบัติผิด เช่น ด่า บริภาษ ต้องถูกเผาไหม้ในนรก เป็นต้น กัฏฐัคคิ หมายถึงไฟที่เกิด
จากไม้แห้ง (องฺ.สตฺตก.อ. ๓/๔๖/๑๘๒-๑๘๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๖๙ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๕.มหายัญญวรรค ๔.ทุติยอัคคิสูตร
๔. ทุติยอัคคิสูตร
ว่าด้วยไฟ สูตรที่ ๒
[๔๗] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของ
อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี สมัยนั้นแล อุคคตสรีรพราหมณ์ตระเตรียม
มหายัญ โคผู้ ๕๐๐ ตัวถูกนำเข้าไปผูกไว้ที่หลัก เพื่อประโยชน์แก่การบูชายัญ
ลูกโคผู้ ๕๐๐ ตัวถูกนำเข้าไปผูกไว้ที่หลักเพื่อประโยชน์แก่การบูชายัญ ลูกโคตัวเมีย
๕๐๐ ตัวถูกนำเข้าไปผูกไว้ที่หลักเพื่อประโยชน์แก่การบูชายัญ แพะ ๕๐๐ ตัวถูกนำ
เข้าไปผูกไว้ที่หลักเพื่อประโยชน์แก่การบูชายัญ แกะ ๕๐๐ ตัวถูกนำเข้าไปผูกไว้ที่หลัก
เพื่อประโยชน์แก่การบูชายัญ
ครั้งนั้นแล อุคคตสรีรพราหมณ์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ได้สนทนา
ปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจพอเป็นที่ระลึกถึงกัน แล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถาม
พระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ท่านพระโคดม ข้าพเจ้าได้สดับมาว่า ‘การก่อไฟ การปัก
หลักบูชายัญ ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “พราหมณ์ แม้เราก็ได้สดับมาว่า ‘การก่อไฟ
การปักหลักบูชายัญ ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก”
แม้ครั้งที่ ๒ ฯลฯ
แม้ครั้งที่ ๓ อุคคตสรีรพราหมณ์ก็ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ท่าน
พระโคดม ข้าพเจ้าได้สดับมาว่า ‘การก่อไฟ การปักหลักบูชายัญ ย่อมมีผลมาก
มีอานิสงส์มาก”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “พราหมณ์ แม้เราก็ได้สดับมาว่า ‘การก่อไฟ
การปักหลักบูชายัญ ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก”
พราหมณ์กราบทูลว่า “ท่านพระโคดม ข้อความทั้งหมดของท่านพระโคดมและ
ของข้าพเจ้าย่อมสมกัน”
เมื่ออุคคตสรีรพราหมณ์กราบทูลอย่างนี้แล้ว ท่านพระอานนท์ได้กล่าวกับ
อุคคตสรีรพราหมณ์ดังนี้ว่า “พราหมณ์ ท่านไม่ควรถามพระตถาคตอย่างนี้ว่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๗๐ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๕.มหายัญญวรรค ๔.ทุติยอัคคิสูตร
‘ท่านพระโคดม ข้าพเจ้าได้สดับมาว่า ‘การก่อไฟ การปักหลักบูชายัญ ย่อมมีผลมาก
มีอานิสงส์มาก’ แต่ควรถามพระตถาคตอย่างนี้ว่า ‘ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพเจ้า
ประสงค์จะก่อไฟ ประสงค์จะปักหลักบูชายัญ ขอพระผู้มีพระภาคโปรดตักเตือน
โปรดพร่ำสอนข้าพเจ้าถึงข้อที่จะพึงเป็นไปเพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขแก่ข้าพเจ้าตลอดกาล
นานเถิด”
ลำดับนั้น อุคคตสรีรพราหมณ์ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่
พระองค์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าประสงค์จะก่อไฟ ประสงค์จะปักหลักบูชายัญ ขอท่าน
พระโคดมโปรดตักเตือน โปรดพร่ำสอนข้าพเจ้าถึงข้อที่จะพึงเป็นไปเพื่อเกื้อกูล เพื่อ
สุขแก่ข้าพเจ้าตลอดกาลนานเถิด”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “พราหมณ์ บุคคลเมื่อจะก่อไฟ ปักหลักบูชายัญ
ก่อนที่จะบูชายัญ ย่อมเงื้อศัสตรา ๓ ชนิด ที่เป็นอกุศล มีทุกข์เป็นกำไร มีทุกข์
เป็นผล
ศัสตรา ๓ ชนิด อะไรบ้าง คือ
๑. ศัสตราทางกาย
๒. ศัสตราทางวาจา
๓. ศัสตราทางใจ
บุคคลเมื่อจะก่อไฟ ปักหลักบูชายัญ ก่อนที่จะบูชายัญ ย่อมคิดอย่างนี้ว่า
‘ต้องฆ่าโคผู้เท่านี้ตัวเพื่อประโยชน์แก่การบูชายัญ ต้องฆ่าลูกโคผู้เท่านี้ตัวเพื่อประโยชน์แก่
การบูชายัญ ต้องฆ่าลูกโคตัวเมียเท่านี้ตัวเพื่อประโยชน์แก่การบูชายัญ ต้องฆ่าแพะ
เท่านี้ตัวเพื่อประโยชน์แก่การบูชายัญ ต้องฆ่าแกะเท่านี้ตัวเพื่อประโยชน์แก่การบูชายัญ’
เขาคิดว่า ‘จะทำบุญ’ แต่กลับทำสิ่งที่มิใช่บุญ คิดว่า ‘จะทำกุศล’ แต่กลับทำอกุศล
คิดว่า ‘จะแสวงหาทางสุคติ’ แต่กลับแสวงหาทางทุคติ พราหมณ์ บุคคลเมื่อจะก่อไฟ
ปักหลักบูชายัญ ก่อนที่จะบูชายัญ ย่อมเงื้อศัสตราทางใจชนิดที่ ๑ นี้ ที่เป็นอกุศล
มีทุกข์เป็นกำไร มีทุกข์เป็นผล
บุคคลเมื่อจะก่อไฟ ปักหลักบูชายัญ ก่อนที่จะบูชายัญ ย่อมกล่าวอย่างนี้ว่า
‘ต้องฆ่าโคผู้เท่านี้ตัวเพื่อประโยชน์แก่การบูชายัญ ต้องฆ่าลูกโคผู้เท่านี้ตัวเพื่อประโยชน์แก่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๗๑ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๕.มหายัญญวรรค ๔.ทุติยอัคคิสูตร
การบูชายัญ ต้องฆ่าลูกโคตัวเมียเท่านี้ตัวเพื่อประโยชน์แก่การบูชายัญ ต้องฆ่าแพะ
เท่านี้ตัวเพื่อประโยชน์แก่การบูชายัญ ต้องฆ่าแกะเท่านี้ตัวเพื่อประโยชน์แก่การบูชายัญ’
เขาคิดว่า ‘จะทำบุญ’ แต่กลับทำสิ่งที่มิใช่บุญ คิดว่า ‘จะทำกุศล’ แต่กลับทำอกุศล
คิดว่า ‘จะแสวงหาทางสุคติ’ แต่กลับแสวงหาทางทุคติ พราหมณ์ บุคคลเมื่อจะก่อไฟ
ปักหลักบูชายัญ ก่อนที่จะบูชายัญ ย่อมเงื้อศัสตราทางวาจาชนิดที่ ๒ นี้ที่เป็นอกุศล
มีทุกข์เป็นกำไร มีทุกข์เป็นผล
บุคคลเมื่อจะก่อไฟปักหลักบูชายัญ ก่อนที่จะบูชายัญ ตนเองลงมือฆ่าโคผู้
ก่อนเพื่อประโยชน์แก่การบูชายัญ ตนเองลงมือฆ่าลูกโคผู้ก่อนเพื่อประโยชน์แก่การ
บูชายัญ ตนเองลงมือฆ่าลูกโคตัวเมียก่อนเพื่อประโยชน์แก่การบูชายัญ ตนเองลงมือ
ฆ่าแพะก่อนเพื่อประโยชน์แก่การบูชายัญ ตนเองลงมือฆ่าแกะก่อนเพื่อประโยชน์แก่
การบูชายัญ เขาคิดว่า ‘จะทำบุญ’ แต่กลับทำสิ่งที่มิใช่บุญ คิดว่า ‘จะทำกุศล’ แต่กลับ
ทำอกุศล คิดว่า ‘จะแสวงหาทางสุคติ’ แต่กลับแสวงหาทางทุคติ พราหมณ์ บุคคล
เมื่อจะก่อไฟปักหลักบูชายัญ ก่อนที่จะบูชายัญ ย่อมเงื้อศัสตราทางกายชนิดที่ ๓ นี้
ที่เป็นอกุศล มีทุกข์เป็นกำไร มีทุกข์เป็นผล
พราหมณ์ บุคคลเมื่อจะก่อไฟปักหลักบูชายัญ ก่อนที่จะบูชายัญ ย่อมเงื้อ
ศัสตรา ๓ ชนิดนี้แล ที่เป็นอกุศล มีทุกข์เป็นกำไร มีทุกข์เป็นผล
พราหมณ์ อัคคิ(ไฟ) ๓ ประการนี้ เป็นสิ่งที่ควรละ ควรเว้น ไม่ควรเสพ
อัคคิ ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ราคัคคิ (ไฟคือราคะ)
๒. โทสัคคิ (ไฟคือโทสะ)
๓. โมหัคคิ (ไฟคือโมหะ)
เพราะเหตุไร ราคัคคินี้ จึงเป็นสิ่งที่ควรละ ควรเว้น ไม่ควรเสพ
เพราะบุคคลผู้มีราคะ ถูกราคะครอบงำ มีจิตถูกราคะกลุ้มรุม ย่อมประพฤติ
ทุจริตทางกาย ประพฤติทุจริตทางวาจา ประพฤติทุจริตทางใจ หลังจากตายแล้ว
เขาจึงไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ฉะนั้น ราคัคคินี้ จึงเป็นสิ่งที่ควรละ ควรเว้น
ไม่ควรเสพ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๗๒ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๕.มหายัญญวรรค ๔.ทุติยอัคคิสูตร
เพราะเหตุไร โทสัคคินี้ จึงเป็นสิ่งที่ควรละ ควรเว้น ไม่ควรเสพ
เพราะบุคคลผู้มีโทสะ ถูกโทสะครอบงำ มีจิตถูกโทสะกลุ้มรุม ย่อมประพฤติ
ทุจริตทางกาย ประพฤติทุจริตทางวาจา ประพฤติทุจริตทางใจ หลังจากตายแล้ว
เขาจึงไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ฉะนั้น โทสัคคินี้ จึงเป็นสิ่งที่ควรละ
ควรเว้น ไม่ควรเสพ
เพราะเหตุไร โมหัคคินี้ จึงเป็นสิ่งที่ควรละ ควรเว้น ไม่ควรเสพ
เพราะบุคคลผู้มีโมหะ ถูกโมหะครอบงำ มีจิตถูกโมหะกลุ้มรุม ย่อมประพฤติ
ทุจริตทางกาย ประพฤติทุจริตทางวาจา ประพฤติทุจริตทางใจ หลังจากตายแล้ว
เขาจึงไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ฉะนั้น โมหัคคินี้ จึงเป็นสิ่งที่ควรละ ควรเว้น
ไม่ควรเสพ
พราหมณ์ อัคคิ ๓ ประการนี้แล เป็นสิ่งที่ควรละ ควรเว้น ไม่ควรเสพ
พราหมณ์ อัคคิ ๓ ประการนี้ เป็นสิ่งที่ควรสักการะ เคารพ นับถือ บูชา
แล้วบริหารให้เป็นสุขโดยชอบ
อัคคิ ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. อาหุเนยยัคคิ
๒. คหปตัคคิ
๓. ทักขิเณยยัคคิ
อาหุเนยยัคคิ เป็นอย่างไร
คือ บุตรในโลกนี้มีมารดาหรือบิดา นี้เรียกว่า อาหุเนยยัคคิ ข้อนั้น
เพราะเหตุไร เพราะบุตรเกิดมาจากมารดาบิดานี้ ฉะนั้น อาหุเนยยัคคินี้ จึงเป็นผู้ที่
ควรสักการะ เคารพ นับถือ บูชา บริหารให้เป็นสุขโดยชอบ
คหปตัคคิ เป็นอย่างไร
คือ คหบดีในโลกนี้มีบุตร ภรรยา ทาส คนใช้ หรือกรรมกร นี้เรียกว่า
คหปตัคคิ ฉะนั้น คหปตัคคินี้ จึงเป็นผู้ที่ควรสักการะ เคารพ นับถือ บูชา บริหาร
ให้เป็นสุขโดยชอบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๗๓ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๕.มหายัญญวรรค ๔.ทุติยอัคคิสูตร
ทักขิเณยยัคคิ เป็นอย่างไร
คือ สมณพราหมณ์ผู้เว้นขาดจากความมัวเมาและประมาท ตั้งมั่นอยู่ในขันติ
และโสรัจจะ ฝึกตนได้เป็นหนึ่ง ทำตนให้สงบได้เป็นหนึ่ง ทำตนให้ดับเย็นได้เป็นหนึ่ง
นี้เรียกว่า ทักขิเนยยัคคิ ฉะนั้น ทักขิเณยยัคคินี้ จึงเป็นผู้ที่ควรสักการะ เคารพ
นับถือ บูชา แล้วบริหารให้เป็นสุขโดยชอบ
พราหมณ์ อัคคิ ๓ ประการนี้แล เป็นสิ่งที่ควรสักการะ เคารพ นับถือ บูชา
แล้วบริหารให้เป็นสุขโดยชอบ
ส่วนกัฏฐัคคินี้ ต้องจุดตามกาลอันควร ต้องคอยดูตามกาลอันควร ต้องคอย
ดับตามกาลอันควร ต้องคอยเก็บตามกาลอันควร
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว อุคคตสรีรพราหมณ์ได้กราบทูลพระผู้มี
พระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่ท่านพระโคดม ภาษิตของท่านพระโคดมชัดเจนไพเราะยิ่งนัก
ฯลฯ ขอท่านพระโคดมโปรดทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะ ตั้งแต่วันนี้
เป็นต้นไปจนตลอดชีวิต ข้าพระองค์จะปล่อยโคผู้ ๕๐๐ ตัว ให้ชีวิตพวกมัน จะปล่อย
ลูกโคผู้ ๕๐๐ ตัว ให้ชีวิตพวกมัน จะปล่อยลูกโคตัวเมีย ๕๐๐ ตัว ให้ชีวิตพวกมัน
จะปล่อยแพะ ๕๐๐ ตัว ให้ชีวิตพวกมัน จะปล่อยแกะ ๕๐๐ ตัว ให้ชีวิตพวกมัน
พวกมันจะกินหญ้าสด ดื่มน้ำเย็นและรับลมเย็น”

ทุติยอัคคิสูตรที่ ๔ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๗๔ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๕.มหายัญญวรรค ๖.ทุติยสัญญาสูตร
๕. ปฐมสัญญาสูตร
ว่าด้วยสัญญา๑ สูตรที่ ๑
[๔๘] ภิกษุทั้งหลาย สัญญา ๗ ประการนี้ ที่ภิกษุเจริญทำให้มาก๒แล้ว
ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่อมตะ๓ มีอมตะเป็นที่สุด
สัญญา ๗ ประการ อะไรบ้าง คือ

๑. อสุภสัญญา (กำหนดหมายความไม่งามแห่งกาย)
๒. มรณสัญญา (กำหนดหมายความตายที่จะต้องมาถึงเป็นธรรมดา)
๓. อาหาเร ปฏิกูลสัญญา (กำหนดหมายความปฏิกูลในอาหาร)
๔. สัพพโลเก อนภิรตสัญญา (กำหนดหมายความไม่น่าเพลิดเพลินในโลกทั้งปวง)
๕. อนิจจสัญญา (กำหนดหมายความไม่เที่ยงแห่งสังขาร)
๖. อนิจเจ ทุกขสัญญา (กำหนดหมายความเป็นทุกข์ในความไม่เที่ยงแห่งสังขาร)
๗. ทุกเข อนัตตสัญญา (กำหนดหมายความเป็นอนัตตาในความเป็นทุกข์)

ภิกษุทั้งหลาย สัญญา ๗ ประการนี้แล ที่ภิกษุเจริญทำให้มากแล้ว ย่อมมี
ผลมาก มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นที่สุด
ปฐมสัญญาสูตรที่ ๕ จบ

๖. ทุติยสัญญาสูตร
ว่าด้วยสัญญา สูตรที่ ๒
[๔๙] ภิกษุทั้งหลาย สัญญา ๗ ประการนี้ ที่ภิกษุเจริญทำให้มากแล้ว
ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นที่สุด
สัญญา ๗ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. อสุภสัญญา ๒. มรณสัญญา
๓. อาหาเร ปฏิกูลสัญญา ๔. สัพพโลเก อนภิรตสัญญา

เชิงอรรถ :
๑ ดู องฺ.ทสก. (แปล) ๒๔/๕๖/๑๒๓
๒ เจริญ หมายถึงบำเพ็ญสิ่งที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้นให้เจริญขึ้นและตามรักษาสิ่งที่เกิดขึ้นแล้วให้มีอยู่ตลอดไป
(องฺ.เอกก. อ. ๑/๕๔-๕๕/๖๓, ๔๑๘/๔๔๘, ๔๕๓/๔๖๙
ทำให้มาก หมายถึงทำบ่อย ๆ (องฺ.เอกก.อ. ๑/๖๐๐-๖๑๑/๔๘๐)
๓ อมตะ หมายถึงพระนิพพาน (องฺ.สตฺตก.อ. ๓/๔๘-๔๙/๑๘๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๗๕ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๕.มหายัญญวรรค ๖.ทุติยสัญญาสูตร
๕. อนิจจสัญญา ๖. อนิจเจ ทุกขสัญญา
๗. ทุกเข อนัตตสัญญา
ภิกษุทั้งหลาย สัญญา ๗ ประการนี้แล ที่ภิกษุเจริญทำให้มากแล้ว ย่อมมี
ผลมาก มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นที่สุด
เรากล่าวไว้เช่นนี้แลว่า ‘อสุภสัญญาที่ภิกษุเจริญทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก
มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นที่สุด‘ เพราะอาศัยเหตุอะไร เราจึง
กล่าวไว้เช่นนั้น
ภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัยเหตุนี้ว่า ภิกษุมีใจที่อบรมแล้วด้วยอสุภสัญญาอยู่
โดยมาก จิตย่อมหดกลับ งอกลับ หมุนกลับ ไม่ออกไปรับการร่วมเมถุนธรรม
อุเบกขาหรือความเป็นของปฏิกูลย่อมตั้งอยู่ ขนไก่หรือเส้นเอ็นที่เขาใส่เข้าไปในไฟ
ย่อมหดกลับ งอกลับ หมุนกลับ ไม่คลี่ออก ฉันใด ภิกษุมีใจที่อบรมแล้วด้วยอสุภ-
สัญญาอยู่โดยมาก จิตย่อมหดกลับ งอกลับ หมุนกลับ ไม่ออกไปรับการร่วมเมถุน
ธรรม ฉันนั้นเหมือนกันแล อุเบกขาหรือความเป็นของปฏิกูลย่อมตั้งอยู่
ถ้าภิกษุมีใจที่อบรมแล้วด้วยอสุภสัญญาอยู่โดยมาก จิตย่อมไหลไปตามการ
ร่วมเมถุนธรรม ความเป็นของไม่ปฏิกูลย่อมตั้งอยู่ ภิกษุพึงทราบข้อนี้ว่า ‘อสุภ-
สัญญา เรามิได้เจริญแล้ว คุณวิเศษทั้งเบื้องต้นและเบื้องปลายจึงไม่มีแก่เรา
ภาวนาพละ(กำลังคือภาวนา) ของเรายังไม่ถึงที่’ เพราะฉะนั้น ภิกษุนั้นจึงเป็นผู้รู้ชัด
ในอสุภสัญญานั้น
แต่ถ้าภิกษุมีใจที่อบรมแล้วด้วยอสุภสัญญาอยู่โดยมาก จิตย่อมหดกลับ
งอกลับ หมุนกลับ ไม่ออกไปรับการร่วมเมถุนธรรม อุเบกขาหรือความเป็นของ
ปฏิกูลย่อมตั้งอยู่ ภิกษุพึงทราบข้อนี้ว่า ‘อสุภสัญญา เราเจริญดีแล้ว คุณวิเศษ
ทั้งเบื้องต้นและเบื้องปลายจึงมีแก่เรา ภาวนาพละของเราถึงที่แล้ว’ เพราะฉะนั้น
ภิกษุนั้นจึงเป็นผู้รู้ชัดในอสุภสัญญานั้น
เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้นว่า “‘อสุภสัญญาที่ภิกษุเจริญทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก
มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นที่สุด’' (๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๗๖ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๕.มหายัญญวรรค ๖.ทุติยสัญญาสูตร
เรากล่าวไว้เช่นนี้แลว่า ‘มรณสัญญาที่ภิกษุเจริญทำให้มากแล้ว ย่อมมี
ผลมาก มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นที่สุด‘ เพราะอาศัยเหตุอะไร
เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น
ภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัยเหตุนี้ว่า ภิกษุมีใจที่อบรมแล้วด้วยมรณสัญญา
อยู่โดยมาก จิตย่อมหดกลับ งอกลับ หมุนกลับ ไม่ออกไปรับความติดใจในชีวิต
อุเบกขาหรือความเป็นของปฏิกูลย่อมตั้งอยู่ ขนไก่หรือเส้นเอ็นที่เขาใส่เข้าไปในไฟ
ย่อมหดกลับ งอกลับ หมุนกลับ ไม่คลี่ออก ฉันใด ภิกษุมีใจที่อบรมแล้วด้วย
มรณสัญญาอยู่โดยมาก จิตย่อมหดกลับ งอกลับ หมุนกลับ ไม่ออกไปรับความติดใจ
ในชีวิต ฉันนั้นเหมือนกันแล อุเบกขาหรือความเป็นของปฏิกูลย่อมตั้งอยู่
ถ้าภิกษุมีใจที่อบรมแล้วด้วยมรณสัญญาอยู่โดยมาก จิตย่อมไหลไปตามความ
ติดใจในชีวิต ความเป็นของไม่ปฏิกูลย่อมตั้งอยู่ ภิกษุพึงทราบข้อนี้ว่า ‘มรณสัญญา
เรามิได้เจริญแล้ว คุณวิเศษทั้งเบื้องต้นและเบื้องปลายจึงไม่มีแก่เรา ภาวนาพละของ
เรายังไม่ถึงที่’ เพราะฉะนั้น ภิกษุนั้นจึงเป็นผู้รู้ชัดในมรณสัญญานั้น
แต่ถ้าภิกษุมีใจที่อบรมแล้วด้วยมรณสัญญาอยู่โดยมาก จิตย่อมหดกลับ งอกลับ
หมุนกลับ ไม่ออกไปรับความติดใจในชีวิต อุเบกขาหรือความเป็นของปฏิกูลย่อม
ตั้งอยู่ ภิกษุพึงทราบข้อนี้ว่า ‘มรณสัญญา เราเจริญดีแล้ว คุณวิเศษทั้งเบื้องต้นและ
เบื้องปลายจึงมีแก่เรา ภาวนาพละของเราถึงที่แล้ว’ เพราะฉะนั้น ภิกษุนั้นจึงเป็นผู้รู้
ชัดในมรณสัญญานั้น
เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้นว่า ‘'มรณสัญญาที่ภิกษุเจริญทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก
มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นที่สุด'’ (๒)
เรากล่าวไว้เช่นนี้แลว่า ‘อาหาเร ปฏิกูลสัญญาที่ภิกษุเจริญทำให้มากแล้ว
ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นที่สุด‘ เพราะอาศัย
เหตุอะไร เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๗๗ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๕.มหายัญญวรรค ๖.ทุติยสัญญาสูตร
ภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัยเหตุนี้ว่า ภิกษุมีใจที่อบรมแล้วด้วยอาหาเร ปฏิกูล-
สัญญาอยู่โดยมาก จิตย่อมหดกลับ งอกลับ หมุนกลับ ไม่ออกไปรับตัณหาในรส
อุเบกขาหรือความเป็นของปฏิกูลย่อมตั้งอยู่ ขนไก่หรือเส้นเอ็นที่เขาใส่เข้าไปในไฟ
ย่อมหดกลับ งอกลับ หมุนกลับ ไม่คลี่ออก ฉันใด ภิกษุมีใจที่อบรมแล้วด้วยอาหาเร
ปฏิกูลสัญญาอยู่โดยมาก จิตย่อมหดกลับ งอกลับ หมุนกลับ ไม่ออกไปรับตัณหาในรส
ฉันนั้นเหมือนกันแล อุเบกขาหรือความเป็นของปฏิกูลย่อมตั้งอยู่
ถ้าภิกษุมีใจที่อบรมแล้วด้วยอาหาเร ปฏิกูลสัญญาอยู่โดยมาก จิตย่อมไหลไป
ตามตัณหาในรส ความเป็นของไม่ปฏิกูลย่อมตั้งอยู่ ภิกษุพึงทราบข้อนี้ว่า ‘อาหาเร
ปฏิกูลสัญญา เรามิได้เจริญแล้ว คุณวิเศษทั้งเบื้องต้นและเบื้องปลายจึงไม่มีแก่เรา
ภาวนาพละของเรายังไม่ถึงที่’ เพราะฉะนั้น ภิกษุนั้นจึงเป็นผู้รู้ชัดในอาหาเร ปฏิกูล-
สัญญานั้น
แต่ถ้าภิกษุมีใจที่อบรมแล้วด้วยอาหาเร ปฏิกูลสัญญาอยู่โดยมาก จิตย่อม
หดกลับ งอกลับ ฯลฯ ตัณหาในรส อุเบกขาหรือความเป็นของปฏิกูลย่อมตั้งอยู่
ภิกษุพึงทราบข้อนี้ว่า ‘อาหาเร ปฏิกูลสัญญา เราเจริญดีแล้ว คุณวิเศษทั้งเบื้องต้น
และเบื้องปลายจึงมีแก่เรา ภาวนาพละของเราถึงที่แล้ว’ เพราะฉะนั้น ภิกษุนั้นจึงเป็น
ผู้รู้ชัดในอาหาเร ปฏิกูลสัญญานั้น
เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้นว่า ' ‘อาหาเร ปฏิกูลสัญญาที่ภิกษุเจริญ ทำให้มากแล้ว
ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นที่สุด'’ (๓)
เรากล่าวไว้เช่นนี้แลว่า '‘สัพพโลเก อนภิรตสัญญาที่ภิกษุเจริญทำให้มากแล้ว
ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นที่สุด'’ เพราะอาศัยเหตุ
อะไร เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น
ภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัยเหตุนี้ว่า ภิกษุมีใจที่อบรมแล้วด้วยสัพพโลเก
อนภิรตสัญญาอยู่โดยมาก จิตย่อมหดกลับ งอกลับ หมุนกลับ ไม่ออกไปรับความ
วิจิตรของโลก อุเบกขาหรือความเป็นของปฏิกูลย่อมตั้งอยู่ ขนไก่หรือเส้นเอ็นที่เขา
ใส่เข้าไปในไฟ ย่อมหดกลับ งอกลับ หมุนกลับ ไม่คลี่ออก ฉันใด ภิกษุมีใจที่อบรม

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๗๘ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๕.มหายัญญวรรค ๖.ทุติยสัญญาสูตร
แล้วด้วยสัพพโลเก อนภิตรสัญญาอยู่โดยมาก จิตย่อมหดกลับ งอกลับ หมุนกลับ
ไม่ออกไปรับความวิจิตรของโลก ฉันนั้นเหมือนกันแล อุเบกขาหรือความเป็นของ
ปฏิกูลย่อมตั้งอยู่
ถ้าภิกษุมีใจที่อบรมแล้วด้วยสัพพโลเก อนภิรตสัญญาอยู่โดยมาก จิตย่อมไหล
ไปตามความวิจิตรของโลก ความเป็นของไม่ปฏิกูลย่อมตั้งอยู่ ภิกษุพึงทราบข้อนี้ว่า
‘สัพพโลเก อนภิรตสัญญา เรามิได้เจริญแล้ว คุณวิเศษทั้งเบื้องต้นและเบื้องปลาย
จึงไม่มีแก่เรา ภาวนาพละของเรายังไม่ถึงที่’ เพราะฉะนั้น ภิกษุนั้นจึงเป็นผู้รู้ชัดใน
สัพพโลเก อนภิรตสัญญานั้น
แต่ถ้าภิกษุมีใจที่อบรมแล้วด้วยสัพพโลเก อนภิรตสัญญาอยู่โดยมาก จิตย่อม
หดกลับ งอกลับ หมุนกลับ ไม่ออกไปรับความวิจิตรของโลก อุเบกขาหรือความเป็น
ของปฏิกูลย่อมตั้งอยู่ ภิกษุพึงทราบข้อนี้ว่า ‘สัพพโลเก อนภิรตสัญญา เราเจริญ
ดีแล้ว คุณวิเศษทั้งเบื้องต้นและเบื้องปลายจึงมีแก่เรา ภาวนาพละของเราถึงที่แล้ว’
เพราะฉะนั้น ภิกษุนั้นจึงเป็นผู้รู้ชัดในสัพพโลเก อนภิรตสัญญานั้น
เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้นว่า ‘'สัพพโลเก อนภิรตสัญญาที่ภิกษุเจริญ ทำให้มากแล้ว
ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นที่สุด’' (๔)
เรากล่าวไว้เช่นนี้แลว่า '‘อนิจจสัญญาที่ภิกษุเจริญทำให้มากแล้ว ย่อมมี
ผลมาก มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นที่สุด’' เพราะอาศัยเหตุอะไร
เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น
ภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัยเหตุนี้ว่า ภิกษุมีใจที่อบรมแล้วด้วยอนิจจสัญญาอยู่
โดยมาก จิตย่อมหดกลับ งอกลับ หมุนกลับ ไม่ออกไปรับลาภสักการะและชื่อเสียง
อุเบกขาหรือความเป็นของปฏิกูลย่อมตั้งอยู่ ขนไก่หรือเส้นเอ็นที่เขาใส่เข้าไปในไฟ
ย่อมหดกลับ งอกลับ หมุนกลับ ไม่คลี่ออก ฉันใด ภิกษุมีใจที่อบรมแล้วด้วย
อนิจจสัญญาอยู่โดยมาก จิตย่อมหดกลับ งอกลับ หมุนกลับ ไม่ออกไปรับลาภ
สักการะและชื่อเสียง ฉันนั้นเหมือนกันแล อุเบกขาหรือความเป็นของปฏิกูลย่อม
ตั้งอยู่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๗๙ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๕.มหายัญญวรรค ๖.ทุติยสัญญาสูตร
ถ้าภิกษุมีใจที่อบรมแล้วด้วยอนิจจสัญญาอยู่โดยมาก จิตย่อมไหลไปตามลาภ
สักการะและชื่อเสียง ความเป็นของไม่ปฏิกูลย่อมตั้งอยู่ ภิกษุพึงทราบข้อนี้ว่า
‘อนิจจสัญญา เรามิได้เจริญแล้ว คุณวิเศษทั้งเบื้องต้นและเบื้องปลายจึงไม่มีแก่เรา
ภาวนาพละของเรายังไม่ถึงที่’ เพราะฉะนั้น ภิกษุนั้นจึงเป็นผู้รู้ชัดในอนิจจสัญญานั้น
แต่ถ้าภิกษุมีใจที่อบรมแล้วด้วยอนิจจสัญญาอยู่โดยมาก จิตย่อมหดกลับ
งอกลับ หมุนกลับ ไม่ออกไปรับลาภสักการะและชื่อเสียง อุเบกขาหรือความเป็น
ของปฏิกูลย่อมตั้งอยู่ ภิกษุพึงทราบข้อนี้ว่า ‘อนิจจสัญญา เราเจริญดีแล้ว คุณวิเศษ
ทั้งเบื้องต้นและเบื้องปลายจึงมีแก่เรา ภาวนาพละของเราถึงที่แล้ว’ เพราะฉะนั้น
ภิกษุนั้นจึงเป็นผู้รู้ชัดในอนิจจสัญญานั้น
เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้นว่า ‘อนิจจสัญญาที่ภิกษุเจริญทำให้มากแล้ว ย่อมมี
ผลมาก มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นที่สุด’ (๕)
เรากล่าวไว้เช่นนี้แลว่า ‘อนิจเจ ทุกขสัญญาที่ภิกษุเจริญทำให้มากแล้ว ย่อม
มีผลมาก มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นที่สุด’ เพราะอาศัยเหตุอะไร
เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น
ภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัยเหตุนี้ว่า ภิกษุมีใจที่อบรมแล้วด้วยอนิจเจ ทุกขสัญญา
อยู่โดยมาก สัญญาในความเฉื่อยชา ในความเกียจคร้าน ในความท้อถอย ในความ
ประมาท ในการไม่ประกอบความเพียร และในการไม่พิจารณาปรากฏว่าเป็นภัยอัน
ร้ายแรงเหมือนเพชฌาตผู้เงื้อดาบขึ้น
ถ้าภิกษุมีใจที่อบรมแล้วด้วยอนิจเจ ทุกขสัญญาอยู่โดยมาก สัญญาในความ
เฉื่อยชา ในความเกียจคร้าน ในความท้อถอย ในความประมาท ในการไม่ประกอบ
ความเพียร และในการไม่พิจารณาไม่ปรากฏว่าเป็นภัยอันร้ายแรงเหมือนเพชฌฆาต
ผู้เงื้อดาบขึ้น ภิกษุพึงทราบข้อนี้ว่า ‘อนิจเจ ทุกขสัญญา เรามิได้เจริญแล้ว คุณวิเศษ
ทั้งเบื้องต้นและเบื้องปลายจึงไม่มีแก่เรา ภาวนาพละของเรายังไม่ถึงที่’ เพราะฉะนั้น
ภิกษุนั้นจึงเป็นผู้รู้ชัดในอนิจเจ ทุกขสัญญานั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๘๐ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๕.มหายัญญวรรค ๖.ทุติยสัญญาสูตร
แต่ถ้าภิกษุมีใจที่อบรมแล้วด้วยอนิจเจ ทุกขสัญญาอยู่โดยมาก สัญญาใน
ความเฉื่อยชา ในความเกียจคร้าน ในความท้อถอย ในความประมาท ในการ
ไม่ประกอบความเพียร และในการไม่พิจารณาปรากฏว่าเป็นภัยอันร้ายแรง เหมือน
เพชฌฆาตผู้เงื้อดาบขึ้น ภิกษุพึงทราบข้อนี้ว่า อนิจเจ ทุกขสัญญา เราเจริญดีแล้ว
คุณวิเศษทั้งเบื้องต้นและเบื้องปลายจึงมีแก่เรา ภาวนาพละของเราถึงที่แล้ว’ เพราะ
ฉะนั้น ภิกษุนั้นจึงเป็นผู้รู้ชัดในอนิจเจ ทุกขสัญญานั้น
เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้นว่า ‘อนิจเจ ทุกขสัญญาที่ภิกษุเจริญทำให้มากแล้ว ย่อมมี
ผลมาก มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นที่สุด’ (๖)
เรากล่าวไว้เช่นนี้แลว่า ‘ทุกเข อนัตตสัญญาที่ภิกษุเจริญทำให้มากแล้ว
ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นที่สุด’ เพราะอาศัย
เหตุอะไร เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น
ภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัยเหตุนี้ว่า ภิกษุมีใจที่อบรมแล้วด้วยทุกเข อนัตต-
สัญญาอยู่โดยมาก มีใจปราศจากอหังการ มมังการ และมานะ๑ในร่างกายที่มีวิญญาณนี้
และในนิมิตภายนอกทั้งปวง ก้าวล่วงมานะ๒ สงบแล้ว หลุดพ้นดีแล้ว๓
ถ้าภิกษุมีใจที่อบรมแล้วด้วยทุกเข อนัตตสัญญาอยู่โดยมาก มีใจไม่ปราศจาก
อหังการ มมังการ และมานะในร่างกายที่มีวิญญาณนี้ และในนิมิตภายนอกทั้งปวง
ไม่ก้าวล่วงมานะ ไม่สงบ ไม่หลุดพ้นแล้ว ภิกษุพึงทราบข้อนี้ว่า ‘ทุกเข อนัตตสัญญา
เรามิได้เจริญแล้ว คุณวิเศษทั้งเบื้องต้นและเบื้องปลายจึงไม่มีแก่เรา ภาวนาพละของ
เรายังไม่ถึงที่’ เพราะฉะนั้น ภิกษุนั้นจึงเป็นผู้รู้ชัดในทุกเข อนัตตสัญญานั้น

เชิงอรรถ :
๑ อหังการ หมายถึงทิฏฐิที่มีความยึดถือว่าเป็นเรา
มมังการ หมายถึงตัณหา คือความทะยานอยากว่าเป็นของเรา
มานะ หมายถึงมานะ ๙ ประการ (องฺ.สตฺตก.อ. ๓/๔๘/๑๘๔) และดู ขุ.ม. (แปล) ๒๙/๑๗๘/๕๐๘, อภิ.วิ.
(แปล) ๓๕/๙๖๒/๖๑๖-๖๑๗
๒ ก้าวล่วงมานะ แปลจากบาลีว่า ‘วิธาสมติกฺกนฺตํ’ วิธ ศัพท์ มีความหมาย ๓ นัย คือ (๑) หมายถึงส่วน
(ดู อภิ.สงฺ. ๓๔/๕๘๔/๑๖๘) (๒) หมายถึงประการ (ดู สํ.ส. ๑๕/๙๕/๖๑) (๓) หมายถึงมานะ (ดู อภิ.วิ. ๓๕/
๑๒๐/๔๔๘) ในที่นี้หมายถึงมานะ ๓ ประการ คือ (๑) ความถือตัวว่าเลิศกว่าเขา (๒) ความถือตัวว่า
เสมอเขา (๓) ความถือตัวว่าด้อยกว่าเขา (องฺ.สตฺตก.ฏีกา ๓/๔๙/๒๑๑)
๓ หลุดพ้นดีแล้ว หมายถึงหลุดพ้นด้วยวิมุตติ ๕ ประการ มีตทังควิมุตติ เป็นต้น (องฺ.สตฺตก.อ. ๓/๔๘-๔๙/
๑๘๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๘๑ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๕.มหายัญญวรรค ๗.เมถุนสูตร
แต่ถ้าภิกษุมีใจที่อบรมแล้วด้วยทุกเข อนัตตสัญญาอยู่โดยมาก มีใจปราศจาก
อหังการ มมังการ และมานะ ในร่างกายที่มีวิญญาณนี้ และในนิมิตภายนอกทั้งปวง
ก้าวล่วงมานะ สงบแล้ว หลุดพ้นดีแล้ว ภิกษุพึงทราบข้อนี้ว่า ‘ทุกเข อนัตตสัญญา
เราเจริญดีแล้ว คุณวิเศษทั้งเบื้องต้นและเบื้องปลายจึงมีแก่เรา ภาวนาพละของเรา
ถึงที่แล้ว’ เพราะฉะนั้น ภิกษุนั้นจึงเป็นผู้รู้ชัดในทุกเข อนัตตสัญญานั้น
เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้นว่า ‘ทุกเข อนัตตสัญญาที่ภิกษุเจริญ ทำให้มากแล้ว
ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นที่สุด’ (๗)
ภิกษุทั้งหลาย สัญญา ๗ ประการนี้แล ที่ภิกษุเจริญทำให้มากแล้ว ย่อมมี
ผลมาก มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นที่สุด
ทุติยสัญญาสูตรที่ ๖ จบ

๗. เมถุนสูตร
ว่าด้วยเมถุนสังโยค
[๕๐] ครั้งนั้นแล ชาณุสโสณิพราหมณ์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
ได้สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้วนั่ง ณ ที่สมควร
ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ท่านพระโคดมยังปฏิญญาว่าตนเป็นพรหมจารีอยู่หรือ”๑
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “พราหมณ์ บุคคลเมื่อจะกล่าวให้ถูกต้อง
พึงกล่าวถึงผู้ใดผู้หนึ่งว่า ‘เขาประพฤติพรหมจรรย์ ไม่ขาด ไม่ทะลุ ไม่ด่าง ไม่พร้อย

เชิงอรรถ :
๑ สาเหตุที่พราหมณ์ทูลถามเช่นนี้ เพราะคิดว่า ‘พราหมณ์ เมื่อจะเรียนเวทยังต้องประพฤติพรหมจรรย์ใช้
ระยะเวลาถึง ๔๘ ปีเลย แต่พระสมณโคดมเคยอยู่ครองเรือน อภิรมย์ในปราสาท ๓ หลัง ท่ามกลางเหล่า
นางฟ้อนนางรำ แล้วไฉนบัดนี้จึงมาพูดว่าตนประพฤติพรหมจรรย์’ ทั้งนี้เพราะยึดติดรูปแบบกฎเกณฑ์
และเวลาการประพฤติพรหมจรรย์ตามลัทธิอื่น ดู ข้อ ๔๒-๔๓ หน้า ๖๒-๖๖ ในเล่มนี้ประกอบ(องฺ.สตฺตก.
อ. ๓/๕๐/๑๘๔-๑๘๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๘๒ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๕.มหายัญญวรรค ๗.เมถุนสูตร
บริสุทธิ์ บริบูรณ์’ บุคคลนั้นเมื่อจะกล่าวให้ถูกต้อง พึงกล่าวถึงเรานั้นแล เพราะเรา
ประพฤติพรหมจรรย์ ไม่ขาด ไม่ทะลุ ไม่ด่าง ไม่พร้อย บริสุทธิ์ บริบูรณ์”๑
พราหมณ์ทูลถามว่า “ ท่านพระโคดม อะไรเล่าชื่อว่าเป็นความขาด ความทะลุ
ความด่าง ความพร้อยแห่งพรหมจรรย์”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า
๑. สมณะหรือพราหมณ์บางคนในโลกนี้ ปฏิญญาว่าเป็นพรหมจารีอย่าง
ถูกต้อง ไม่ประพฤติกิจสองต่อสอง๒ กับมาตุคาม แต่ยังยินดีการ
ลูบไล้ การขัดถู การให้อาบน้ำ และการนวดฟั้นของมาตุคาม
เขาชอบใจ ติดใจ และถึงความปลื้มใจกับการทำเช่นนั้น แม้นี้ก็ชื่อว่า
เป็นความขาด ความทะลุ ความด่าง และความพร้อยแห่งพรหมจรรย์
พราหมณ์ ผู้นี้เราเรียกว่าประพฤติพรหมจรรย์ไม่บริสุทธิ์ ประกอบด้วย
เมถุนสังโยค ย่อมไม่หลุดพ้นจากชาติ(ความเกิด) ชรา(ความแก่)
มรณะ (ความตาย) โสกะ(ความเศร้าโศก) ปริเทวะ(ความคร่ำครวญ)
ทุกข์(ความทุกข์กาย) โทมนัส (ความทุกข์ใจ) และอุปายาส (ความ
คับแค้นใจ) เรากล่าวว่า ไม่หลุดพ้นจากทุกข์
๒. สมณะหรือพราหมณ์บางคนในโลกนี้ ปฏิญญาว่าเป็นพรหมจารีอย่าง
ถูกต้อง ไม่ประพฤติกิจสองต่อสองกับมาตุคาม ทั้งไม่ยินดีการลูบไล้
การขัดถู การให้อาบน้ำ และการนวดฟั้นของมาตุคาม แต่ยัง
สัพยอก๓ เล่นหัว๔ หัวเราะร่ากับมาตุคาม ฯลฯ

เชิงอรรถ :
๑ การที่พระผู้มีพระภาคตรัสตอบอย่างนี้มีนัยให้รู้ว่า ‘ตลอดระยะเวลา ๖ ปีที่พระองค์บำเพ็ญเพียรในขณะที่
ยังมีกิเลสอยู่นั้น แม้เพียงแต่ความคิดคำนึงถึงความสุขในราชสมบัติ หรือความพรั่งพร้อมด้วยนางฟ้อนใน
ปราสาทนั้น มิได้เกิดขึ้นแก่พระองค์เลยแม้แต่น้อย’ ซึ่งเป็นพระดำรัสตอบที่สามารถสยบพราหมณ์ได้ ดุจ
การใช้มนตร์จับงูเห่า และดุจการใช้เท้าเหยียบที่คอหอยศัตรู ฉะนั้น (องฺ.สตฺตก.อ. ๓/๕๐/๑๘๕)
๒ กิจสองต่อสอง ในที่นี้หมายถึงกิจที่คนสองคนซึ่งมีความรักใคร่กำหนัดหมกมุ่นเหมือนกันทำร่วมกัน เป็น
ชื่อของเมถุนธรรมที่เป็นประเวณีของชาวบ้าน มารยาทของคนชั้นต่ำ กิริยาชั่วหยาบมีน้ำเป็นที่สุด เป็นกิจ
ที่ต้องทำในที่ลับ (วิ.อ. ๑/๓๙/๒๓๑, ๕๕/๒๗๕, องฺ.สตฺตก.อ. ๓/๕๐/๑๘๕, องฺ.สตฺตก.ฏีกา ๓/๕๐-๕๑/๒๑๑)
และดู วิ.มหา. (แปล) ๑/๓๙/๒๘, ๕๕/๔๒
๓ สัพยอก ในที่นี้หมายถึงพูดเรื่องน่าหัวเราะ (องฺ.สตฺตก.อ. ๓/๕๐/๑๘๕)
๔ เล่นหัว ในที่นี้หมายถึงการพูดล้อเล่น (องฺ.สตฺตก.อ. ๓/๕๐/๑๘๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๘๓ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๕.มหายัญญวรรค ๗.เมถุนสูตร
๓. สมณะหรือพราหมณ์บางคนในโลกนี้ ฯลฯ ทั้งไม่สัพยอก เล่นหัว
หัวเราะร่ากับมาตุคาม แต่ยังเพ่งจ้องตามาตุคาม ฯลฯ
๔. สมณะหรือพราหมณ์บางคนในโลกนี้ ฯลฯ ทั้งไม่เพ่งจ้องตามาตุคาม
แต่ยังฟังเสียงของมาตุคามผู้หัวเราะ ผู้พูด ผู้ขับร้อง หรือผู้ร้องไห้
อยู่นอกฝาหรือนอกกำแพง ฯลฯ
๕. สมณะหรือพราหมณ์บางคนในโลกนี้ ฯลฯ ทั้งไม่ฟังเสียงของมาตุคาม
ผู้หัวเราะ ผู้พูด ผู้ขับร้อง หรือผู้ร้องไห้อยู่นอกฝาหรือนอกกำแพง
แต่ยังคอยนึกถึงการที่เคยหัวเราะพูดจาเล่นหัวกับมาตุคาม ฯลฯ
๖. สมณะหรือพราหมณ์บางคนในโลกนี้ ฯลฯ ทั้งไม่คอยนึกถึงการที่
เคยหัวเราะพูดจาเล่นหัวกับมาตุคาม แต่ยังดูคหบดีหรือบุตรคหบดี
ผู้เอิบอิ่มพรั่งพร้อมด้วยกามคุณ ๕ บำเรอตนอยู่ ฯลฯ
๗. สมณะหรือพราหมณ์บางคนในโลกนี้ ฯลฯ ทั้งไม่ดูคหบดีหรือบุตร
คหบดีผู้เอิบอิ่มพรั่งพร้อมด้วยกามคุณ ๕ บำเรอตนอยู่ แต่ยัง
ประพฤติพรหมจรรย์ปรารถนาเป็นเทพเจ้าหมู่ใดหมู่หนึ่งว่า ‘ด้วยศีล
วัตร ตบะหรือพรหมจรรย์นี้ เราจักเป็นเทพหรือเทพองค์ใดองค์หนึ่ง’
เขาชอบใจ ติดใจ และถึงความปลื้มใจกับการทำเช่นนั้น แม้นี้ก็
ชื่อว่าเป็นความขาด ความทะลุ ความด่าง และความพร้อยแห่ง
พรหมจรรย์ พราหมณ์ ผู้นี้เราเรียกว่าประพฤติพรหมจรรย์ไม่
บริสุทธิ์ ประกอบด้วยเมถุนสังโยค ไม่หลุดพ้นจากชาติ ชรา
มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส เรากล่าวว่า
ไม่หลุดพ้นจากทุกข์
พราหมณ์ ตราบใด เรายังเห็นเมถุนสังโยค ๗ ประการนี้ อย่างใดอย่างหนึ่ง
ในตนที่ยังละไม่ได้ ตราบนั้น เราก็ยังไม่ยืนยันว่า เป็นผู้ตรัสรู้สัมมาสัมโพธิญาณ
อันยอดเยี่ยมในโลกพร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์พร้อมทั้ง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๘๔ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๕.มหายัญญวรรค ๘.สังโยคสูตร
สมณพราหมณ์ เทวดา และมนุษย์ แต่เมื่อใดเราไม่เห็นเมถุนสังโยค ๗ ประการนี้
อย่างใดอย่างหนึ่งในตนที่ยังละไม่ได้ เมื่อนั้นเราจึงยืนยันได้ว่า เป็นผู้ตรัสรู้สัมมา-
สัมโพธิญาณอันยอดเยี่ยมในโลกพร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์
พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดา และมนุษย์ ญาณทัสสนะเกิดขึ้นแก่เราว่า ‘วิมุตติ
ของเราไม่กำเริบ ชาตินี้เป็นชาติสุดท้าย บัดนี้ภพใหม่ย่อมไม่มี’
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ชาณุสโสณิพราหมณ์ได้กราบทูลพระผู้มี
พระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่ท่านพระโคดม ภาษิตของท่านพระโคดมชัดเจนไพเราะยิ่งนัก
ฯลฯ ขอท่านพระโคดมโปรดทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะตั้งแต่วันนี้
เป็นต้นไปจนตลอดชีวิต”
เมถุนสูตรที่ ๗ จบ

๘. สังโยคสูตร
ว่าด้วยความเกี่ยวข้องและความไม่เกี่ยวข้อง
[๕๑] ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมบรรยาย๑เรื่องความเกี่ยวข้องและ
ความไม่เกี่ยวข้องแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว ภิกษุ
เหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า
ธรรมบรรยายเรื่องความเกี่ยวข้องและความไม่เกี่ยวข้อง เป็นอย่างไร
คือ สตรีย่อมกำหนด
๑. ความเป็นสตรีภายในตน ๒. กิริยาของสตรี
๓. ท่าทางของสตรี๒ ๔. ความไว้ตัวของสตรี

เชิงอรรถ :
๑ คำว่า บรรยาย ในคำว่า ธรรมบรรยาย นี้แปลจาก ปริยาย ศัพท์ ซึ่งมีความหมาย ๓ นัย คือ (๑) หมายถึง
เทศนา (ดู ม.มู. ๑๒/๒๐๕/๑๗๕, องฺ.ฉกฺก. ๒๒/๖๓/๓๙๐) (๒) หมายถึงวาระ (ดู ม.อุ. ๑๔/๒๙๘/๓๔๔)
(๓) หมายถึงเหตุ (ดู วิ.มหา. ๑/๑๖๔/๙๕) ในที่นี้หมายถึงเหตุ (วิ.อ. ๑/๓/๑๒๖, องฺ.สตฺตก.อ. ๓/๕๑/๑๘๕)
๒ ท่าทางของสตรี หมายถึงมรรยาทต่าง ๆ เช่น การนุ่ง การห่ม เป็นต้น (องฺ.สตฺตก.อ. ๓/๕๑/๑๘๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๘๕ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๕.มหายัญญวรรค ๘.สังโยคสูตร
๕. ความพอใจของสตรี ๖. เสียงของสตรี
๗. เครื่องประดับของสตรี
เธอย่อมติดใจยินดียิ่งในความเป็นสตรีภายในตนเป็นต้นนั้น
เธอผู้ติดใจยินดียิ่งในความเป็นสตรีภายในตนเป็นต้นนั้น ย่อมกำหนด

๑. ความเป็นบุรุษภายนอก ๒. กิริยาของบุรุษ
๓. ท่าทางของบุรุษ ๔. ความไว้ตัวของบุรุษ
๕. ความพอใจของบุรุษ ๖. เสียงของบุรุษ
๗. เครื่องประดับของบุรุษ

เธอย่อมติดใจยินดียิ่งในความเป็นบุรุษภายนอกเป็นต้นนั้น เธอผู้ติดใจยินดียิ่ง
ในความเป็นบุรุษภายนอกเป็นต้นนั้น ย่อมมุ่งหวังการเกี่ยวข้องภายนอกและมุ่งหวัง
สุขและโสมนัสที่จะเกิดขึ้นเพราะการเกี่ยวข้องนั้นเป็นปัจจัย สัตว์ทั้งหลายผู้ยินดียิ่ง
ในความเป็นสตรี ย่อมเป็นผู้เกี่ยวข้องกับบุรุษทั้งหลาย สตรีล่วงพ้นความเป็นสตรีไปไม่ได้
อย่างนี้แล
บุรุษย่อมกำหนด

๑. ความเป็นบุรุษภายในตน ๒. กิริยาของบุรุษ
๓. ท่าทางของบุรุษ ๔. ความไว้ตัวของบุรุษ
๕. ความพอใจของบุรุษ ๖. เสียงของบุรุษ
๗. เครื่องประดับของบุรุษ

เขาย่อมติดใจยินดียิ่งในความเป็นบุรุษภายในตนเป็นต้นนั้น
เขาผู้ติดใจยินดียิ่งในความเป็นบุรุษภายในตนเป็นต้นนั้น ย่อมกำหนด

๑. ความเป็นสตรีภายนอก ๒. กิริยาของสตรี
๓. ท่าทางของสตรี ๔. ความไว้ตัวของสตรี
๕. ความพอใจของสตรี ๖. เสียงของสตรี
๗. เครื่องประดับของสตรี


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๘๖ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๕.มหายัญญวรรค ๘.สังโยคสูตร
เขาย่อมติดใจยินดียิ่งในความเป็นสตรีภายนอกเป็นต้นนั้น เขาผู้ติดใจยินดียิ่ง
ในความเป็นสตรีภายนอกเป็นต้นนั้น ย่อมมุ่งหวังการเกี่ยวข้องภายนอกและมุ่งหวัง
สุขและโสมนัสที่จะเกิดขึ้นเพราะการเกี่ยวข้องนั้นเป็นปัจจัย สัตว์ทั้งหลายผู้ยินดียิ่ง
ในความเป็นบุรุษ ย่อมเป็นผู้เกี่ยวข้องกับสตรีทั้งหลาย บุรุษล่วงพ้นความเป็นบุรุษไป
ไม่ได้ อย่างนี้แล
ภิกษุทั้งหลาย ความเกี่ยวข้องเป็นอย่างนี้แล
ความไม่เกี่ยวข้อง เป็นอย่างไร
คือ สตรีย่อมไม่กำหนด

๑. ความเป็นสตรีภายในตน ๒. กิริยาของสตรี
๓. ท่าทางของสตรี ๔. ความไว้ตัวของสตรี
๕. ความพอใจของสตรี ๖. เสียงของสตรี
๗. เครื่องประดับของสตรี

เธอย่อมไม่ติดใจไม่ยินดียิ่งในความเป็นสตรีภายในตนเป็นต้นนั้น
เธอผู้ไม่ติดใจไม่ยินดียิ่งในความเป็นสตรีในภายในตนเป็นต้นนั้น ย่อมไม่กำหนด

๑. ความเป็นบุรุษภายนอก ๒. กิริยาของบุรุษ
๓. ท่าทางของบุรุษ ๔. ความไว้ตัวของบุรุษ
๕. ความพอใจของบุรุษ ๖. เสียงของบุรุษ
๗. เครื่องประดับของบุรุษ

เธอย่อมไม่ติดใจไม่ยินดียิ่งในความเป็นบุรุษภายนอกเป็นต้นนั้น เธอผู้ไม่ติดใจ
ไม่ยินดียิ่งในความเป็นบุรุษภายนอกเป็นต้นนั้น ย่อมไม่มุ่งหวังการเกี่ยวข้องภายนอก
และไม่มุ่งหวังสุขและโสมนัสที่จะเกิดขึ้นเพราะการเกี่ยวข้องนั้นเป็นปัจจัย สัตว์ทั้งหลาย
ผู้ไม่ยินดียิ่งในความเป็นสตรี ย่อมเป็นผู้ไม่เกี่ยวข้องกับบุรุษทั้งหลาย สตรีล่วงพ้น
ความเป็นสตรีไปได้ อย่างนี้แล

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๘๗ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๕.มหายัญญวรรค ๘.สังโยคสูตร
บุรุษย่อมไม่กำหนด

๑. ความเป็นบุรุษภายในตน ๒. กิริยาของบุรุษ
๓. ท่าทางของบุรุษ ๔. ความไว้ตัวของบุรุษ
๕. ความพอใจของบุรุษ ๖. เสียงของบุรุษ
๗. เครื่องประดับของบุรุษ

เขาย่อมไม่ติดใจไม่ยินดียิ่งในความเป็นบุรุษภายในตนเป็นต้นนั้น
เขาผู้ไม่ติดใจไม่ยินดียิ่งในความเป็นบุรุษภายในตนเป็นต้นนั้น ย่อมไม่กำหนด

๑. ความเป็นสตรีภายนอก ๒. กิริยาของสตรี
๓. ท่าทางของสตรี ๔. ความไว้ตัวของสตรี
๕. ความพอใจของสตรี ๖. เสียงของสตรี
๗. เครื่องประดับของสตรี

เขาย่อมไม่ติดใจไม่ยินดียิ่งในความเป็นสตรีภายนอกเป็นต้นนั้น เขาผู้ไม่ติดใจไม่
ยินดียิ่งในความเป็นสตรีภายนอกเป็นต้นนั้น ย่อมไม่มุ่งหวังการเกี่ยวข้องภายนอกและ
ไม่มุ่งหวังสุขและโสมนัสที่จะเกิดขึ้นเพราะการเกี่ยวข้องนั้นเป็นปัจจัย สัตว์ทั้งหลายผู้
ไม่ยินดียิ่งในความเป็นบุรุษ ย่อมเป็นผู้ไม่เกี่ยวข้องกับสตรีทั้งหลาย บุรุษล่วงพ้นความ
เป็นบุรุษไปได้ อย่างนี้แล
ภิกษุทั้งหลาย ความไม่เกี่ยวข้อง เป็นอย่างนี้แล
ภิกษุทั้งหลาย ธรรมบรรยายเรื่องความเกี่ยวข้องและความไม่เกี่ยวข้อง เป็น
อย่างนี้แล
สังโยคสูตรที่ ๘ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๘๘ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๕.มหายัญญวรรค ๙.ทานมหัปผลสูตร
๙. ทานมหัปผลสูตร
ว่าด้วยทานที่มีผลมากและทานที่ไม่มีผลมาก
[๕๒] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ฝั่งสระคัคคราโบกขรณี เขต
กรุงจัมปา ครั้งนั้นแล อุบาสกชาวกรุงจัมปาจำนวนมากเข้าไปหาท่านพระสารีบุตรถึง
ที่อยู่ อภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กล่าวกับท่านพระสารีบุตรดังนี้ว่า
“ท่านผู้เจริญ เราทั้งหลายได้ฟังธรรมีกถาต่อพระพักตร์พระผู้มีพระภาคผ่าน
มานานแล้ว ขอให้เราทั้งหลายได้ฟังธรรมีกถาของพระผู้มีพระภาคเถิด”
ท่านพระสารีบุตรกล่าวว่า “ผู้มีอายุทั้งหลาย ถ้าเช่นนั้น ท่านทั้งหลายควรมา
ในวันอุโบสถเถิด จะได้ฟังธรรมีกถาในสำนักของพระผู้มีพระภาคแน่นอน” อุบาสก
ชาวกรุงจัมปารับคำแล้วลุกจากที่นั่ง อภิวาท ทำประทักษิณแล้วจากไป
ครั้นถึงวันอุโบสถ อุบาสกชาวกรุงจัมปาได้พากันไปหาท่านพระสารีบุตรถึงที่อยู่
อภิวาทแล้ว ได้ยืนอยู่ ณ ที่สมควร ต่อจากนั้น ท่านพระสารีบุตรพร้อมด้วยอุบาสก
ชาวกรุงจัมปาเหล่านั้นเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง
ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ มีได้ไหม ทานชนิดเดียวกันที่บุคคลบางคนในโลกนี้
ถวายแล้วไม่มีผลมาก ไม่มีอานิสงส์มาก แต่ที่บุคคลบางคนในโลกนี้ถวายแล้วกลับมี
ผลมาก มีอานิสงส์มาก”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “มีได้ สารีบุตร ทานชนิดเดียวกันที่บุคคล
บางคนในโลกนี้ถวายแล้วไม่มีผลมาก ไม่มีอานิสงส์มาก แต่ที่บุคคลบางคนในโลกนี้
ถวายแล้วกลับมีผลมาก มีอานิสงส์มาก”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อะไรหนอแลเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้ทานชนิดเดียวกันที่
บุคคลบางคนในโลกนี้ถวายแล้ว ไม่มีผลมาก ไม่มีอานิสงส์มาก อะไรหนอแล
เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้ทานชนิดเดียวกันที่บุคคลบางคนในโลกนี้ถวายแล้วกลับมีผลมาก
มีอานิสงส์มาก”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๘๙ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๕.มหายัญญวรรค ๙.ทานมหัปผลสูตร
“สารีบุตร บุคคลบางคนในโลกนี้ให้ทานอย่างมีใจเยื่อใย ให้ทานอย่างมีจิต
ผูกพัน ให้ทานอย่างมุ่งหวังสั่งสมบุญ ให้ทานด้วยคิดว่า ‘เราละโลกนี้ไปแล้วจัก
บริโภคผลทานนี้’ เขาจึงให้ทานนั้น คือ ข้าว น้ำ ผ้า ยาน ดอกไม้ ของหอม
เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่พัก และเครื่องประทีปแก่สมณะหรือพราหมณ์ สารีบุตร
เธอเข้าใจเรื่องนั้นอย่างไร คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ควรให้ทานเช่นนั้นหรือไม่”
“ควรให้ พระพุทธเจ้าข้า”
“สารีบุตร ในการให้ทานเช่นนั้น บุคคลผู้ให้ทานอย่างมีใจเยื่อใย ให้ทานอย่างมี
จิตผูกพัน ให้ทานอย่างมุ่งหวังสั่งสมบุญ ให้ทานด้วยคิดว่า ‘เราละโลกนี้ไปแล้วจัก
บริโภคผลทานนี้’ เขาให้ทานนั้นแล้ว หลังจากตายแล้ว ย่อมไปเกิดร่วมกับพวก
เทวดาชั้นจาตุมหาราช เขาให้กรรมนั้นสิ้นไป ให้ฤทธิ์นั้นสิ้นไป ให้ยศนั้นสิ้นไป
ให้ความเป็นใหญ่นั้นสิ้นไป เป็นผู้ยังต้องมา คือมาสู่ความเป็นอย่างนี้”
“สารีบุตร ส่วนบุคคลบางคนในโลกนี้ให้ทานอย่างไม่มีใจเยื่อใย ให้ทานอย่าง
ไม่มีจิตผูกพัน ให้ทานอย่างไม่มุ่งหวังสั่งสมบุญ มิใช่ให้ทานด้วยคิดว่า ‘เราละโลกนี้
ไปแล้วจักบริโภคผลทานนี้’ แต่ให้ทานด้วยคิดว่า ‘การให้ทานเป็นการดี‘ฯลฯ”
“สารีบุตร ส่วนบุคคลบางคนในโลกนี้ให้ทานอย่างไม่มีใจเยื่อใย ให้ทาน
อย่างไม่มีจิตผูกพัน ให้ทานอย่างไม่มุ่งหวังสั่งสมบุญ มิใช่ให้ทานด้วยคิดว่า ‘เราละ
โลกนี้ไปแล้วจักบริโภคผลทานนี้’ ทั้งมิใช่ให้ทานด้วยคิดว่า ‘การให้ทานเป็นการดี’
แต่ให้ทานด้วยคิดว่า ‘บิดามารดา ปู่ย่า ตายาย เคยให้ทาน เคยทำทาน เราไม่ควร
ให้วงศ์ตระกูลเก่าแก่เสื่อมเสียไป’ ฯลฯ”
“สารีบุตร ส่วนบุคคลบางคนในโลกนี้ ฯลฯ ทั้งมิใช่ให้ทานด้วยคิดว่า ‘บิดา
มารดา ปู่ย่า ตายาย เคยให้ทาน เคยทำทาน เราไม่ควรให้วงศ์ตระกูลเก่าแก่เสื่อม
เสียไป’ แต่ให้ทานด้วยคิดว่า ‘เราหุงหากินเองได้ ชนเหล่านี้หุงหากินเองไม่ได้ การ
ที่เราหุงหากินเองได้ จะไม่ให้ทานแก่ชนเหล่านี้ผู้หุงหากินเองไม่ได้ ไม่ควร’ ฯลฯ”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๙๐ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๕.มหายัญญวรรค ๙.ทานมหัปผลสูตร
“สารีบุตร ส่วนบุคคลบางคนในโลกนี้ ฯลฯ ทั้งมิใช่ให้ทานด้วยคิดว่า ‘เราหุง
หากินเองได้ ชนเหล่านี้หุงหากินเองไม่ได้ การที่เราหุงหากินเองได้ จะไม่ให้ทานแก่
ชนเหล่านี้ผู้หุงหากินเองไม่ได้ ไม่ควร’ แต่ให้ทานด้วยคิดว่า ‘เราให้ทานและจำแนก
ทานนี้ เหมือนเหล่าฤาษีในปางก่อน คือ อัฏฐกฤาษี วามกฤาษี วามเทวฤาษี
เวสสามิตตฤาษี ยมคัคคิฤาษี อังคีรสฤาษี ภารทวาชฤาษี วาเสฏฐฤาษี กัสสป-
ฤาษี และภคุฤาษี ได้บูชามหายัญ๑แล้ว ฉะนั้น’ ฯลฯ”
“สารีบุตร ส่วนบุคคลบางคนในโลกนี้ ฯลฯ ทั้งมิใช่ให้ทานด้วยคิดว่า ‘เราจัก
ให้ทานและจำแนกทานนี้เหมือนเหล่าฤาษีในปางก่อน คือ อัฏฐกฤาษี วามกฤาษี
วามเทวฤาษี เวสสามิตตฤาษี ยมทัคคิฤาษี อังคีรสฤาษี ภารทวาชฤาษี
วาเสฏฐฤาษี กัสสปฤาษี และภคุฤาษี ได้บูชามหายัญแล้ว’ แต่ให้ทานด้วยคิดว่า
‘เมื่อเราให้ทานนี้ จิตย่อมผ่องใส จะเกิดความชื่นชม โสมนัส ฯลฯ”
“สารีบุตร ส่วนบุคคลบางคนในโลกนี้ ฯลฯ ทั้งมิใช่ให้ทานด้วยคิดว่า ‘เมื่อเรา
ให้ทานนี้ จิตย่อมผ่องใส จะเกิดความชื่นชม โสมนัส’ แต่ให้ทานเป็นเครื่องประดับจิต
ปรุงแต่งจิต เขาจึงให้ทานนั้น คือ ข้าว น้ำ ผ้า ยาน ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้
ที่นอน ที่พัก และเครื่องประทีปแก่สมณะหรือพราหมณ์ สารีบุตร เธอเข้าใจเรื่องนั้น
อย่างไร คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ควรให้ทานเช่นนั้นหรือไม่”
“ควรให้ พระพุทธเจ้าข้า”
“สารีบุตร ในการให้ทานเช่นนั้น บุคคลผู้ให้ทานอย่างไม่มีใจเยื่อใย ให้ทาน
อย่างไม่มีจิตผูกพัน ให้ทานอย่างไม่มุ่งหวังสั่งสมบุญ มิใช่ให้ทานด้วยคิดว่า ‘เราละ
โลกนี้ไปแล้วจักบริโภคผลทานนี้’ มิใช่ให้ทานด้วยคิดว่า ‘การให้ทานเป็นการดี’ มิใช่
ให้ทานด้วยคิดว่า ‘บิดามารดา ปู่ย่า ตายาย เคยให้ทาน เคยทำทาน เราไม่ควรให้
วงศ์ตระกูลเก่าแก่เสื่อมเสียไป’ มิใช่ให้ทานด้วยคิดว่า ‘เราหุงหากินเองได้ ชนเหล่านี้

เชิงอรรถ :
๑ มหายัญในที่นี้หมายถึงการตระเตรียมมหาทานซึ่งประกอบไปด้วยอาหารและเภสัชต่าง ๆ มีเนยใส เนยข้น
นมส้ม น้ำผึ้ง น้ำอ้อย เป็นต้น (องฺ.สตฺตก.อ. ๓/๕๒/๑๘๖)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๙๑ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๕.มหายัญญวรรค ๑๐.นันทมาตาสูตร
หุงหากินเองไม่ได้ การที่เราหุงหากินเองได้ จะไม่ให้ทานแก่ชนเหล่านี้ผู้หุงหากินเอง
ไม่ได้ ไม่ควร’ มิใช่ให้ทานด้วยคิดว่า ‘เราจักให้ทานและจำแนกทานนี้เหมือนเหล่า
ฤาษีในปางก่อน คือ อัฏฐกฤาษี วามกฤาษี วามเทวฤาษี เวสสามิตตฤาษี ยมทัคคิฤาษี
อังคีรสฤาษี ภารทวาชฤาษี วาเสฏฐฤาษี กัสสปฤาษีและภคุฤาษี ได้บูชามหายัญ
แล้ว’ ทั้งมิใช่ให้ทานด้วยคิดว่า ‘เมื่อเราให้ทานนี้ จิตย่อมผ่องใส จะเกิดความชื่นชม
โสมนัส’ แต่ให้ทานเป็นเครื่องประดับจิต ปรุงแต่งจิต เขาจึงให้ทานนั้น หลังจาก
ตายแล้ว ย่อมไปเกิดร่วมกับพวกเทวดาชั้นพรหมกายิกา๑ เขาให้กรรมนั้นสิ้นไป
ให้ฤทธิ์นั้นสิ้นไป ให้ยศนั้นสิ้นไป ให้ความเป็นใหญ่นั้นสิ้นไป เป็นผู้ไม่ต้องกลับมา
คือ ไม่มาสู่ความเป็นอย่างนี้
สารีบุตร นี้แลเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้ทานชนิดเดียวกัน ที่บุคคลบางคนในโลกนี้
ให้แล้วไม่มีผลมาก ไม่มีอานิสงส์มาก นี้แลเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้ทานชนิดเดียวกัน
ที่บุคคลบางคนในโลกนี้ถวายแล้วกลับมีผลมาก มีอานิสงส์มาก”
ทานมหัปผลสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. นันทมาตาสูตร
ว่าด้วยอริยธรรมของนันทมาตาอุบาสิกา
[๕๓] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง ท่านพระสารีบุตรและท่านพระมหาโมคคัลานะ จาริกไปในทักขิณาคีรี
ชนบท พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ สมัยนั้นแล ในเวลาใกล้รุ่ง นันทมาตาอุบาสิกา
ชาวเมืองเวฬุกัณฏกะ๒ลุกขึ้นสวดปารายนสูตร๓เป็นทำนองสรภัญญะ

เชิงอรรถ :
๑ ดูเชิงอรรถที่ ๕ สัตตกนิบาต ข้อ ๔๔ หน้า ๖๗ ในเล่มนี้
๒ ที่มีชื่อว่า เวฬุกัณฏกะ เพราะเป็นเมืองที่ถูกสร้างกำแพงล้อมรอบโดยใช้ไม้ไผ่ (องฺ.สตฺตก.อ. ๓/๕๓/๑๘๗)
๓ ที่ชื่อว่า ปารายนะ เพราะนำไปสู่ฝั่งคือนิพพาน (องฺ.สตฺตก.อ.๓/๕๓/๑๘๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๙๒ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๕.มหายัญญวรรค ๑๐.นันทมาตาสูตร
ท้าวเวสวัณมหาราชมีกรณียกิจบางอย่าง เสด็จจากทิศเหนือไปยังทิศใต้ ได้สดับ
เสียงของนันทมาตาที่กำลังสวดปารายนสูตรเป็นทำนองสรภัญญะ ได้ประทับยืนสดับ
จนสวดจบ
ครั้นนันทมาตาอุบาสิกาสวดปารายนสูตรเป็นทำนองสรภัญญะจบแล้วก็นิ่งอยู่
ท้าวเวสวัณมหาราชทรงทราบว่านันทมาตาอุบาสิกาสวดจบ จึงอนุโมทนาว่า
“ดีละ น้องหญิง ดีละ น้องหญิง”
“ท่านผู้มีพักตร์ผ่องใสนี้คือใคร”
“เราคือเวสวัณมหาราช พี่ชายของเธอ”
“ท่านผู้มีพักตร์ผ่องใส ดีละ ถ้าเช่นนั้น ขอธรรมบรรยายที่ดิฉันสวดนี้จงเป็น
เครื่องต้อนรับท่าน”
“ดีละ น้องหญิง นั่นแหละจงเป็นเครื่องต้อนรับเรา พรุ่งนี้ ภิกษุสงฆ์มีท่านพระ
สารีบุตรและท่านพระโมคคัลลานะเป็นประธาน ยังไม่ทันฉันอาหารเช้า จักมาถึง
เมืองเวฬุกัณฏกะ เธอพึงอังคาสภิกษุสงฆ์นั้นอุทิศทักษิณาทานแก่เรา การทำอย่างนี้
จักเป็นเครื่องต้อนรับเรา”
ครั้นคืนนั้นผ่านไป นันทมาตาอุบาสิกาได้จัดของขบฉันอย่างดีไว้ในนิเวศน์ของตน
ลำดับนั้นแล ภิกษุสงฆ์มีท่านพระสารีบุตรและท่านพระโมคคัลลานะเป็นประธาน
ยังไม่ทันฉันอาหารเช้า ก็ได้เดินทางมาถึงเมืองเวฬุกัณฏกะ นันทมาตาอุบาสิกาจึง
เรียกบุรุษคนหนึ่งมาสั่งว่า “มานี่ พ่อหนุ่ม เธอจงไปยังอารามบอกภัตตกาล(เวลา
ฉันอาหาร)แก่ภิกษุสงฆ์ว่า ‘ท่านผู้เจริญ ได้เวลาแล้ว ภัตตาหารในนิเวศน์ของคุณแม่
นันทมาตาอุบาสิกาเสร็จแล้ว”
บุรุษนั้นรับคำแล้วก็ไปยังอารามบอกภัตตกาลแก่ภิกษุสงฆ์ว่า “ท่านผู้เจริญ
ได้เวลาแล้ว ภัตตาหารในนิเวศน์ของคุณแม่นันทมาตาอุบาสิกาเสร็จแล้ว”
ครั้นเวลาเช้า ภิกษุสงฆ์มีท่านพระสารีบุตรและท่านพระโมคคัลลานะเป็นประธาน
ครองอันตรวาสก ถือบาตรและจีวร เข้าไปยังนิเวศน์ของนันทมาตาอุบาสิกาแล้วนั่ง
บนอาสนะที่ปูลาดไว้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๙๓ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๕.มหายัญญวรรค ๑๐.นันทมาตาสูตร
ลำดับนั้นแล นันทมาตาอุบาสิกาได้อังคาส๑ภิกษุสงฆ์มีท่านพระสารีบุตรและ
ท่านพระโมคคัลลานะเป็นประธานให้อิ่มหนำสำราญด้วยของเคี้ยวของฉันอันประณีต
ด้วยมือตนเอง
เมื่อท่านพระสารีบุตรฉันเสร็จวางมือจากบาตร นันทมาตาอุบาสิกาจึงนั่ง ณ
ที่สมควรที่ใดที่หนึ่งซึ่งต่ำกว่า ท่านพระสารีบุตรได้ถามนันทมาตาอุบาสิกาว่า
“นันทมาตา ใครบอกการมาของภิกษุสงฆ์แก่เธอ”
นันทมาตาอุบาสิกาตอบว่า
๑. “ท่านผู้เจริญ ขอโอกาสเจ้าค่ะ ในเวลาใกล้รุ่ง ดิฉันลุกขึ้นสวดปารายนสูตร
เป็นทำนองสรภัญญะจบแล้วได้นิ่งอยู่ ขณะนั้น ท้าวเวสวัณมหาราชทรงทราบว่า
ดิฉันสวดจบแล้ว จึงอนุโมทนาว่า ‘ดีละ น้องหญิง ดีละ น้องหญิง’' ดิฉันจึงถามว่า
‘ท่านผู้มีพักตร์ผ่องใสนี้คือใคร’ ท้าวเวสวัณตอบว่า ‘เราคือเวสวัณมหาราช พี่ชาย
ของเธอ’ ดิฉันกล่าวว่า ‘ท่านผู้มีพักตร์ผ่องใส ดีละ ถ้าเช่นนั้น ขอธรรมบรรยายที่ดิฉัน
สวดนี้จงเป็นเครื่องต้อนรับท่าน’ ท้าวเวสวัณตอบว่า ‘ดีละ น้องหญิง นั่นแหละจงเป็น
เครื่องต้อนรับเรา พรุ่งนี้ ภิกษุสงฆ์มีท่านพระสารีบุตรและท่านพระโมคคัลลานะเป็น
ประธาน ยังไม่ทันฉันอาหารเช้า จักมาถึงเมืองเวฬุกัณฏกะ เธอพึงอังคาสภิกษุสงฆ์
นั้นอุทิศทักษิณาทานแก่เรา การทำอย่างนี้จักเป็นเครื่องต้อนรับเรา’ ท่านผู้เจริญ
ขอบุญอันมีผลมากในทานนี้จงอำนวยผลเพื่อความสุขแด่ท้าวเวสวัณมหาราชเถิด”
“นันทมาตา น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคยปรากฏ ที่เธอเจรจากันต่อหน้าท้าว
เวสวัณมหาราชผู้เป็นเทพบุตรมีฤทธิ์มากอย่างนี้ มีศักดิ์มากอย่างนี้”
๒. “ท่านผู้เจริญ ธรรมที่น่าอัศจรรย์ ไม่เคยปรากฏของดิฉัน มิใช่มีเท่านี้
ธรรมที่น่าอัศจรรย์ ไม่เคยปรากฏของดิฉัน แม้อย่างอื่นยังมีอยู่ ขอโอกาสเจ้าค่ะ
ดิฉันมีบุตรคนเดียวชื่อนันทะ เป็นที่รัก เป็นที่ชอบใจ พระราชาได้กดขี่ ข่มเหงฆ่าเธอ
เพราะสาเหตุเพียงนิดเดียว เมื่อเด็กนั้นถูกจับแล้วก็ตาม กำลังถูกจับก็ตาม ถูกฆ่า
แล้วก็ตาม กำลังถูกฆ่าก็ตาม ถูกประหารแล้วก็ตาม กำลังถูกประหารก็ตาม ดิฉัน
ไม่รู้สึกว่าจิตจะหวั่นไหวเลย”

เชิงอรรถ :
๑ อังคาส เป็นคำภาษาเขมรที่นำมาใช้เป็นคำกริยาในภาษาไทยหมายถึงถวายอาหารพระ เลี้ยงพระ แปลจาก
คำว่า สนฺตปฺเปสิ ปรากฏในพระไตรปิฎกหลายเล่ม (พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.๒๕๒๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๙๔ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๕.มหายัญญวรรค ๑๐.นันทมาตาสูตร
“นันทมาตา น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคยปรากฏ แม้เพียงจิตตุปบาทเธอก็ทำให้
บริสุทธิ์ได้”
๓. “ท่านผู้เจริญ ธรรมที่น่าอัศจรรย์ ไม่เคยปรากฏของดิฉัน มิใช่มีเท่านี้
ธรรมที่น่าอัศจรรย์ ไม่เคยปรากฏของดิฉัน แม้อย่างอื่นยังมีอยู่ ขอโอกาสเจ้าค่ะ
สามีของดิฉันตายแล้วไปเกิดเป็นยักษ์ตนหนึ่ง มาปรากฏตัวอย่างเดิมให้ดิฉันเห็น ดิฉัน
ไม่รู้สึกว่าจิตจะหวั่นไหวเพราะเหตุนั้นเลย”
“นันทมาตา น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคยปรากฏ แม้เพียงจิตตุปบาทเธอก็ทำให้
บริสุทธิ์ได้”
๔. “ท่านผู้เจริญ ธรรมที่น่าอัศจรรย์ ไม่เคยปรากฏของดิฉัน มิใช่มีเท่านี้
ธรรมที่น่าอัศจรรย์ ไม่เคยปรากฏของดิฉัน แม้อย่างอื่นยังมีอยู่ ขอโอกาสเจ้าค่ะ
นับแต่เวลาที่สามีหนุ่มนำดิฉันผู้ยังเป็นสาวมา ดิฉันไม่เคยคิดที่จะประพฤตินอกใจ
สามีเลย ไหนเลย จะประพฤตินอกใจด้วยกายเล่า”
“นันทมาตา น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคยปรากฏ แม้เพียงจิตตุปบาทเธอก็ทำให้
บริสุทธิ์ได้”
๕. “ท่านผู้เจริญ ธรรมที่น่าอัศจรรย์ ไม่เคยปรากฏของดิฉัน มิใช่มีเท่านี้
ธรรมที่น่าอัศจรรย์ ไม่เคยปรากฏของดิฉัน แม้อย่างอื่นยังมีอยู่ ขอโอกาสเจ้าค่ะ
เมื่อดิฉันแสดงตนเป็นอุบาสิกาแล้ว ไม่รู้สึกว่าได้จงใจล่วงละเมิดสิกขาบทเลย”
“นันทมาตา น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคยปรากฏ แม้เพียงจิตตุปบาทเธอก็ทำให้
บริสุทธิ์ได้”
๖. “ท่านผู้เจริญ ธรรมที่น่าอัศจรรย์ ไม่เคยปรากฏของดิฉัน มิใช่มีเท่านี้
ธรรมที่น่าอัศจรรย์ ไม่เคยปรากฏของดิฉัน แม้อย่างอื่นยังมีอยู่ ขอโอกาสเจ้าค่ะ
ดิฉันยังหวังว่า เราจะต้องสงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลาย บรรลุปฐมฌานที่มี
วิตก วิจาร ปีติ และสุขอันเกิดจากวิเวกอยู่ เพราะวิตกวิจารสงบระงับไป บรรลุ
ทุติยฌานมีความผ่องใสในภายใน มีภาวะที่จิตเป็นหนึ่งผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร
มีแต่ปีติและสุขอันเกิดจากสมาธิอยู่ เพราะปีติจางคลายไป มีอุเบกขา มีสติ สัมปชัญญะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๙๕ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๕.มหายัญญวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค
เสวยสุขด้วยนามกาย บรรลุตติยฌานที่พระอริยะสรรเสริญว่า ‘ผู้มีอุเบกขา มีสติ
อยู่เป็นสุข’ เพราะละสุขและทุกข์ได้ เพราะโสมนัสและโทมนัสดับไปก่อนแล้ว บรรลุ
จตุตถฌานที่ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขาอยู่”
“นันทมาตา น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคยปรากฏ”
๗. “ท่านผู้เจริญ ธรรมที่น่าอัศจรรย์ ไม่เคยปรากฏของดิฉัน มิใช่มีเท่านี้
ธรรมที่น่าอัศจรรย์ ไม่เคยปรากฏของดิฉัน แม้อย่างอื่นก็ยังมีอยู่ บรรดาสังโยชน์
เบื้องต่ำ ๕ ประการที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงแล้ว ดิฉันไม่เห็นสังโยชน์อะไรในตน
เองที่ยังละไม่ได้”
“นันทมาตา น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคยปรากฏ”
ลำดับนั้นแล ท่านพระสารีบุตรได้ชี้แจงให้นันทมาตาอุบาสิกาเห็นชัด ชวนใจให้
อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริง
ด้วยธรรมีกถา ลุกจากอาสนะแล้วจากไป
นันทมาตาสูตรที่ ๑๐ จบ
มหายัญญวรรคที่ ๕ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. สัตตวิญญาณัฏฐิติสูตร ๒. สมาธิปริกขารสูตร
๓. ปฐมอัคคิสูตร ๔. ทุติยอัคคิสูตร
๕. ปฐมสัญญาสูตร ๖. ทุติยสัญญาสูตร
๗. เมถุนสูตร ๘. สังโยคสูตร
๙. ทานมหัปผลสูตร ๑๐. นันทมาตาสูตร

ปัณณาสก์ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๙๖ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๖.อัพยากตวรรค ๑.อัพยากตสูตร
๖. อัพยากตวรรค
หมวดว่าด้วยเรื่องที่ไม่พยากรณ์
๑. อัพยากตสูตร
ว่าด้วยเรื่องที่ไม่พยากรณ์
[๕๔] ครั้งนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวาย
อภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อะไรหนอเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้พระอริยสาวกผู้ได้สดับ
ไม่เกิดความลังเลสงสัยในเรื่องที่ไม่ควรพยากรณ์”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ภิกษุ เพราะทิฏฐิ๑ดับไป อริยสาวกผู้ได้สดับจึงไม่
เกิดความลังเลสงสัยในเรื่องที่ไม่ควรพยากรณ์ คือ
๑. ทิฏฐินี้ว่า ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคต๒เกิดอีก’ ทิฏฐินี้ว่า ‘หลังจาก
ตายแล้ว ตถาคตไม่เกิดอีก’ ทิฏฐินี้ว่า ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคต
เกิดอีกและไม่เกิดอีก’ ทิฏฐินี้ว่า ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตจะว่า
เกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่’
ปุถุชนผู้มิได้สดับย่อมไม่รู้ชัดทิฏฐิ๓ ไม่รู้ชัดเหตุเกิดทิฏฐิ ไม่รู้ชัด
ความดับทิฏฐิ ไม่รู้ชัดข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทิฏฐิ ทิฏฐินั้นย่อม
เจริญแก่เขา เขาย่อมไม่หลุดพ้นจากชาติ(ความเกิด) ชรา(ความแก่)
มรณะ(ความตาย) โสกะ(ความเศร้าโศก) ปริเทวะ (ความคร่ำครวญ)
ทุกข์(ความทุกข์กาย) โทมนัส (ความทุกข์ใจ) และอุปายาส (ความ
คับแค้นใจ) เรากล่าวว่า ไม่หลุดพ้นจากทุกข์

เชิงอรรถ :
๑ ทิฏฐิ ในที่นี้หมายถึงมิจฉาทิฏฐิ (ความเห็นผิด) (องฺ.สตฺตก.อ. ๓/๕๔/๑๘๙)
๒ ตถาคต ในที่นี้เป็นคำที่ลัทธิอื่นๆ ใช้มาก่อนพุทธกาล หมายถึงอัตตา (อาตมัน) ไม่ได้หมายถึงพระพุทธเจ้า
อรรถกถาอธิบายว่า หมายถึงสัตว์ (เทียบ ที.สี.อ. ๑/๖๕/๑๐๘, องฺ.สตฺตก.อ. ๓/๕๔/๑๘๙)
๓ ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทิฏฐิ ในที่นี้หมายถึงโสดาปัตติมรรค (องฺ.สตฺตก.อ. ๓/๕๔/๑๙๐)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๙๗ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๖.อัพยากตวรรค ๑.อัพยากตสูตร
ส่วนอริยสาวกผู้ได้สดับย่อมรู้ชัดทิฏฐิ รู้ชัดเหตุเกิดทิฏฐิ รู้ชัด
ความดับทิฏฐิ รู้ชัดข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทิฏฐิ ทิฏฐิของอริยสาวก
นั้นย่อมดับไป เขาย่อมหลุดพ้นจากชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ
ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส เรากล่าวว่า ย่อมหลุดพ้นจากทุกข์
อริยสาวกผู้ได้สดับ รู้อย่างนี้ เห็นอย่างนี้ ย่อมไม่พยากรณ์ว่า
‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตเกิดอีก’ ไม่พยากรณ์ว่า ‘หลังจากตายแล้ว
ตถาคตไม่เกิดอีก’ ไม่พยากรณ์ว่า ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตเกิดอีก
และไม่เกิดอีก’ ไม่พยากรณ์ว่า ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตจะว่า
เกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่’
อริยสาวกผู้ได้สดับ รู้อย่างนี้ เห็นอย่างนี้ เป็นผู้ไม่พยากรณ์
ในเรื่องที่ไม่ควรพยากรณ์เป็นธรรมดาอย่างนี้ อริยสาวกผู้ได้สดับ
รู้อย่างนี้ เห็นอย่างนี้ ย่อมไม่หวาดหวั่น ไม่หวั่นไหว ไม่สะทก-
สะท้าน ไม่สะดุ้ง ในเรื่องที่ไม่ควรพยากรณ์ คือ
๒. ตัณหานี้ว่า๑ ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตเกิดอีก‘ฯลฯ
๓. สัญญานี้ว่า ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตเกิดอีก’ ฯลฯ
๔. ความเข้าใจนี้ว่า ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตเกิดอีก’ ฯลฯ
๕. ความปรุงแต่งนี้ว่า ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตเกิดอีก‘ฯลฯ
๖. อุปาทานนี้ว่า ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตเกิดอีก’ ฯลฯ
๗. วิปปฏิสาร (ความเดือดร้อนใจ)นี้ว่า ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตเกิด
อีก’ วิปปฏิสารนี้ว่า ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตไม่เกิดอีก’ วิปปฏิสาร
นี้ว่า ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตเกิดอีกและไม่เกิดอีก’ วิปปฏิสาร
นี้ว่า ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีก
ก็มิใช่’
ปุถุชนผู้มิได้สดับย่อมไม่รู้ชัดวิปปฏิสาร ไม่รู้ชัดเหตุเกิดวิปปฏิสาร
ไม่รู้ชัดความดับวิปปฏิสาร ไม่รู้ชัดข้อปฏิบัติให้ถึงความดับวิปปฏิสาร
วิปปฏิสารนั้นย่อมเจริญแก่เขา เขาย่อมไม่หลุดพ้นจากชาติ ชรา มรณะ
โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส เรากล่าวว่า ไม่หลุดพ้น
จากทุกข์

เชิงอรรถ :
๑ คำว่า ‘ตัณหา สัญญา ความเข้าใจ ความปรุงแต่ง อุปาทาน วิปปฏิสาร‘ทั้ง ๖ คำนี้ เกิดขึ้นเพราะอาศัยทิฏฐิ
(มิจฉาทิฏฐิ) (องฺ.สตฺตก.อ. ๓/๕๔/๑๘๙)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๙๘ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๖.อัพยากตวรรค ๒.ปุริสคติสูตร
ส่วนอริยสาวกผู้ได้สดับย่อมรู้ชัดวิปปฏิสาร รู้ชัดเหตุเกิด
วิปปฏิสาร รู้ชัดความดับวิปปฏิสาร รู้ชัดข้อปฏิบัติให้ถึงความดับ
วิปปฏิสาร วิปปฏิสารของอริยสาวกนั้นย่อมดับไป เขาย่อมหลุดพ้น
จากชาติ ฯลฯ เรากล่าวว่า ย่อมหลุดพ้นจากทุกข์ อริยสาวกผู้
ได้สดับ รู้อย่างนี้ เห็นอย่างนี้ ย่อมไม่พยากรณ์ว่า ‘หลังจากตายแล้ว
ตถาคตเกิดอีก ฯลฯ ไม่พยากรณ์ว่า ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคต
เกิดอีกก็มิใช่ ไม่เกิดอีกก็มิใช่’
อริยสาวกผู้ได้สดับ รู้อย่างนี้ เห็นอย่างนี้ เป็นผู้ไม่พยากรณ์
ในเรื่องที่ไม่ควรพยากรณ์เป็นธรรมดาอย่างนี้ อริยสาวกผู้ได้สดับ
รู้อย่างนี้ เห็นอย่างนี้ ย่อมไม่หวาดหวั่น ไม่หวั่นไหว ไม่สะทกสะท้าน
ไม่สะดุ้ง ในเรื่องที่ไม่ควรพยากรณ์
ภิกษุ นี้แลเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้อริยสาวกผู้ได้สดับไม่เกิดความลังเลสงสัยในเรื่อง
ที่ไม่ควรพยากรณ์
อัพยากตสูตรที่ ๑ จบ

๒. ปุริสคติสูตร
ว่าด้วยคติของบุรุษ
[๕๕] ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงคติ๑ของบุรุษ ๗ ประการ และอนุปาทา-
ปรินิพพาน เธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว ภิกษุเหล่านั้นทูลรับ
สนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า
คติของบุรุษ ๗ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ภิกษุในธรรมวินัยนี้ปฏิบัติด้วยคิดอย่างนี้ว่า “ถ้ากรรม๒ไม่มีแล้ว
อัตภาพของเราก็ไม่พึงมี ถ้ากรรม๓จักไม่มี อัตภาพของเราก็จักไม่มี

เชิงอรรถ :
๑ คติ ในที่นี้หมายถึงญาณคติ (องฺ.สตฺตก.อ. ๓/๕๕/๑๙๐)
๒ กรรม ในที่นี้หมายถึงกรรมที่ทำให้เกิดในอัตภาพอดีตชาติ (องฺ.สตฺตก.อ. ๓/๕๕/๑๙๐)
๓ กรรม ในที่นี้หมายถึงกรรมที่ทำให้เกิดในอัตภาพต่อไป (องฺ.สตฺตก.อ. ๓/๕๕/๑๙๐)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๙๙ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๖.อัพยากตวรรค ๒.ปุริสคติสูตร
เราย่อมละเบญจขันธ์ที่มีอยู่เป็นอยู่ได้” ย่อมได้อุเบกขา เธอไม่ติดใจในภพ๑
ไม่ติดใจในสมภพ๒ เห็นทางที่สงบอย่างยิ่ง๓ ด้วยปัญญาอันชอบ เธอยัง
มิได้ทำให้แจ้งทางที่สงบนั้นโดยประการทั้งปวง ยังมิได้ละมานานุสัย
(อนุสัยคือความถือตัว)โดยประการทั้งปวง ยังมิได้ละภวราคานุสัย
(อนุสัยคือความติดใจในภพ)โดยประการทั้งปวง ยังมิได้ละอวิชชานุสัย
(อนุสัยคืออวิชชา)โดยประการทั้งปวง เพราะสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ ประการ
สิ้นไป เธอจึงเป็นอันตราปรินิพพายี๔ ภิกษุทั้งหลาย เมื่อช่างตีแผ่น
เหล็กที่ถูกเผาตลอดวัน สะเก็ดร่อนออกแล้วดับไป แม้ฉันใด ภิกษุ
ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ปฏิบัติด้วยคิดอย่างนี้ว่า “ถ้ากรรมไม่มีแล้ว
อัตภาพของเราก็ไม่พึงมี ถ้ากรรมจักไม่มี อัตภาพของเราก็จักไม่มี
เราย่อมละเบญจขันธ์ที่มีอยู่เป็นอยู่ได้” ย่อมได้อุเบกขา เธอไม่
ติดใจในภพ ไม่ติดใจในสมภพ เห็นทางที่สงบอย่างยิ่งด้วยปัญญา
อันชอบ เธอยังมิได้ทำให้แจ้งทางที่สงบนั้นโดยประการทั้งปวง ยังมิได้
ละมานานุสัยโดยประการทั้งปวง ยังมิได้ละภวราคานุสัยโดยประการ
ทั้งปวง ยังมิได้ละอวิชชานุสัยโดยประการทั้งปวง เพราะสังโยชน์
เบื้องต่ำ ๕ ประการสิ้นไป เธอจึงเป็นอันตราปรินิพพายี
๒. ภิกษุในธรรมวินัยนี้ปฏิบัติด้วยคิดอย่างนี้ว่า “ถ้ากรรมไม่มีแล้ว
อัตภาพของเราก็ไม่พึงมี ถ้ากรรมจักไม่มี อัตภาพของเราก็จักไม่มี
เราย่อมละเบญจขันธ์ที่มีอยู่เป็นอยู่ได้” ย่อมได้อุเบกขา เธอไม่
ติดใจในภพ ไม่ติดใจในสมภพ เห็นทางที่สงบอย่างยิ่งด้วยปัญญา
อันชอบ ยังมิได้ทำให้แจ้งทางที่สงบนั้นโดยประการทั้งปวง ยังมิได้
ละมานานุสัยโดยประการทั้งปวง ยังมิได้ละภวราคานุสัยโดยประการ
ทั้งปวง ยังมิได้ละอวิชชานุสัยโดยประการทั้งปวง เพราะสังโยชน์

เชิงอรรถ :
๑ ไม่ติดใจในภพ ในที่นี้หมายถึงไม่ติดใจในขันธ์ ๕ ในอดีตด้วยตัณหาและทิฏฐิ (องฺ.สตฺตก.อ. ๓/๕๕/๑๙๐)
๒ ไม่ติตใจในสมภพ ในที่นี้หมายถึงไม่ติดใจในขันธ์ ๕ ในอนาคต (องฺ.สตฺตก.อ.๓/๕๕/๑๙๐)
๓ ทางที่สงบอย่างยิ่ง ในที่นี้หมายถึงนิพพาน (องฺ.สตฺตก.อ. ๓/๕๕/๑๙๐)
๔ ดูเชิงอรรถที่ ๑ สัตตกนิบาต ข้อ ๑๖ หน้า ๒๕ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๑๐๐ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๖.อัพยากตวรรค ๒.ปุริสคติสูตร
เบื้องต่ำ ๕ ประการสิ้นไป เธอจึงเป็นอันตราปรินิพพายี ภิกษุ
ทั้งหลาย เมื่อช่างตีแผ่นเหล็กที่ถูกเผาตลอดวัน สะเก็ดร่อนกระเด็น
ออกแล้วดับไป แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน ปฏิบัติด้วยคิดอย่าง
นี้ว่า ถ้ากรรมไม่มีแล้ว อัตภาพของเราก็ไม่พึงมี ฯลฯ เพราะสังโยชน์
เบื้องต่ำ ๕ ประการสิ้นไป เธอจึงเป็นอันตราปรินิพพายี
๓. ภิกษุในธรรมวินัยนี้ปฏิบัติด้วยคิดอย่างนี้ว่า ถ้ากรรมไม่มีแล้ว อัตภาพ
ของเราก็ไม่พึงมี ฯลฯ เพราะสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ ประการสิ้นไป
เธอจึงเป็นอันตราปรินิพพายี ภิกษุทั้งหลาย เมื่อช่างตีแผ่นเหล็ก
ที่ถูกเผาตลอดวัน สะเก็ดร่อนกระเด็นออกตกลงไม่ถึงพื้นแล้วดับไป
แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน ปฏิบัติด้วยคิดอย่างนี้ว่า ถ้า
กรรมไม่มีแล้ว อัตภาพของเราก็ไม่พึงมี ฯลฯ เพราะสังโยชน์
เบื้องต่ำ ๕ ประการสิ้นไป เธอจึงเป็นอันตราปรินิพพายี
๔. ภิกษุในธรรมวินัยนี้ปฏิบัติด้วยคิดอย่างนี้ว่า ถ้ากรรมไม่มีแล้ว
อัตภาพของเราก็ไม่พึงมี ฯลฯ เพราะสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ ประการ
สิ้นไป เธอจึงเป็นอุปหัจจปรินิพพายี๑ ภิกษุทั้งหลาย เมื่อช่างตี
แผ่นเหล็กที่ถูกเผาตลอดวัน สะเก็ดร่อนกระเด็นออกตกลงถึงพื้น
แล้วดับไป แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน ปฏิบัติด้วยคิดอย่าง
นี้ว่า ถ้ากรรม ไม่มีแล้ว อัตภาพของเราก็ไม่พึงมี ฯลฯ เพราะ
สังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ ประการสิ้นไป เธอจึงเป็นอุปหัจจปรินิพพายี
๕. ภิกษุในธรรมวินัยนี้ปฏิบัติด้วยคิดอย่างนี้ว่า ถ้ากรรมไม่มีแล้ว อัตภาพ
ของเราก็ไม่พึงมี ฯลฯ เพราะสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ ประการสิ้นไป
เธอจึงเป็นอสังขารปรินิพพายี๒ ภิกษุทั้งหลาย เมื่อช่างตีแผ่นเหล็ก
ที่ถูกเผาตลอดวัน สะเก็ดร่อนกระเด็นออกแล้วตกลงที่กองหญ้าหรือ
กองไม้เล็กๆ ทำให้เกิดไฟบ้าง ทำให้เกิดควันบ้าง ไหม้กองหญ้า
หรือกองไม้เล็กๆ นั้นให้หมดไปแล้วจึงดับไปเพราะหมดเชื้อ แม้ฉันใด

เชิงอรรถ :
๑ ดูเชิงอรรถที่ ๑ สัตตกนิบาต ข้อ ๑๖ หน้า ๒๖ ในเล่มนี้ และดู องฺ.ทสก. (แปล) ๒๔/๖๓/๑๔๑
๒ อสังขารปรินิพพายี ดูเชิงอรรถที่ ๒ สัตตกนิบาต ข้อ ๑๖ หน้า ๒๖ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๑๐๑ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๖.อัพยากตวรรค ๒.ปุริสคติสูตร
ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน ปฏิบัติด้วยคิดอย่างนี้ว่า ถ้ากรรมไม่มีแล้ว
อัตภาพของเราก็ไม่พึงมี ฯลฯ เพราะสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ ประการ
สิ้นไป เธอจึงเป็นอสังขารปรินิพพายี
๖. ภิกษุในธรรมวินัยนี้ปฏิบัติด้วยคิดอย่างนี้ว่า ถ้ากรรมไม่มีแล้ว อัตภาพ
ของเราก็ไม่พึงมี ฯลฯ เพราะสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ ประการสิ้นไป
เธอจึงเป็นสสังขารปรินิพพายี๑ ภิกษุทั้งหลาย เมื่อช่างตีแผ่นเหล็ก
ที่ถูกเผาตลอดวัน สะเก็ดร่อนกระเด็นออกแล้วตกลงที่กองหญ้าหรือ
กองไม้เขื่องๆ ทำให้เกิดไฟบ้าง ทำให้เกิดควันบ้าง ไหม้กองหญ้า
หรือกองไม้เขื่องๆ นั้นให้หมดไปแล้วจึงดับไปเพราะหมดเชื้อ แม้ฉันใด
ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน ปฏิบัติด้วยคิดอย่างนี้ว่า ถ้ากรรมไม่มีแล้ว
อัตภาพของเราก็ไม่พึงมี ฯลฯ เพราะสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ ประการ
สิ้นไป เธอจึงเป็นสสังขารปรินิพพายี
๗. ภิกษุในธรรมวินัยนี้ปฏิบัติด้วยคิดอย่างนี้ว่า “ถ้ากรรมไม่มีแล้ว
อัตภาพของเราก็ไม่พึงมี ถ้ากรรมจักไม่มี อัตภาพของเราก็จักไม่มี
เราย่อมละเบญจขันธ์ที่มีอยู่เป็นอยู่ได้” ย่อมได้อุเบกขา เธอไม่ติดใจ
ในภพ ไม่ติดใจในสมภพ เห็นทางที่สงบอย่างยิ่งด้วยปัญญาอันชอบ
เธอยังมิได้ทำให้แจ้งทางที่สงบนั้นโดยประการทั้งปวง ยังมิได้ละ
มานานุสัยโดยประการทั้งปวง ยังมิได้ละภวราคานุสัยโดยประการ
ทั้งปวง ยังมิได้ละอวิชชานุสัยโดยประการทั้งปวง เพราะสังโยชน์
เบื้องต่ำ ๕ ประการสิ้นไป เธอจึงเป็นอุทธังโสตอกนิฏฐคามี๒ ภิกษุ
ทั้งหลาย เมื่อช่างตีแผ่นเหล็กที่ถูกเผาตลอดวัน สะเก็ดร่อนกระเด็น
ออกแล้วตกลงที่กองหญ้าหรือกองไม้ใหญ่ๆ ทำให้เกิดไฟบ้าง
ทำให้เกิดควันบ้าง ไหม้กองหญ้าหรือกองไม้นั้นให้หมดไปไหม้กอไม้บ้าง
ไหม้ป่าไม้บ้าง ครั้นแล้วจึงลามมาถึงยอดหญ้าสด ปลายทาง
ยอดภูเขา ริมน้ำ หรือภูมิภาคที่น่ารื่นรมย์แล้วจึงดับไปเพราะ

เชิงอรรถ :
๑ ดูเชิงอรรถที่ ๓ สัตตกนิบาต ข้อ ๑๖ หน้า ๒๖ ในเล่มนี้ และดู องฺ.ทสก. (แปล) ๒๔/๖๓/๑๔๒
๒ ดูเชิงอรรถที่ ๔ สัตตกนิบาต ข้อ ๑๖ หน้า ๒๖ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๑๐๒ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๖.อัพยากตวรรค ๓.ติสสพรหมสูตร
หมดเชื้อ แม้ฉันใด ภิกษุ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ปฏิบัติด้วยคิดอย่างนี้ว่า
ถ้ากรรมไม่มีแล้ว อัตภาพของเราก็ไม่พึงมี ฯลฯ เพราะสังโยชน์
เบื้องต่ำ ๕ ประการสิ้นไป เธอจึงเป็นอุทธังโสตอกนิฏฐคามี
ภิกษุทั้งหลาย คติของบุรุษ ๗ ประการนี้แล
อนุปาทาปรินิพพาน เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ปฏิบัติด้วยคิดอย่างนี้ว่า “ถ้ากรรมไม่มีแล้ว อัตภาพ
ของเราก็ไม่พึงมี ถ้ากรรมจักไม่มี อัตภาพของเราก็จักไม่มี เราย่อมละเบญจขันธ์ที่มี
อยู่เป็นอยู่ได้” ย่อมได้อุเบกขา เธอไม่ติดใจในภพ ไม่ติดใจในสมภพ เห็นทางที่สงบ
อย่างยิ่งด้วยปัญญาอันชอบ เธอทำให้แจ้งทางที่สงบนั้นโดยประการทั้งปวง ละมานานุสัย
โดยประการทั้งปวงได้ ละภวราคานุสัยโดยประการทั้งปวงได้ ละอวิชชานุสัยโดย
ประการทั้งปวงได้ ทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันไม่มีอาสวะ เพราะอาสวะ
สิ้นไปด้วย ปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน นี้เรียกว่า อนุปาทาปรินิพพาน
ภิกษุทั้งหลาย คติของบุรุษ ๗ ประการ และอนุปาทาปรินิพพานเป็นอย่างนี้แล
ปุริสคติสูตรที่ ๒ จบ

๓. ติสสพรหมสูตร
ว่าด้วยติสสพรหม๑
[๕๖] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่ภูเขาคิชฌกูฏ เขตกรุงราชคฤห์ ครั้งนั้น
เมื่อราตรีผ่านไป๒ เทวดา ๒ องค์มีวรรณะงดงามยิ่งนัก เปล่งรัศมีให้สว่างไปทั่วภูเขา
คิชฌกูฏ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วยืนอยู่ ณ ที่สมควร

เชิงอรรถ :
๑ หมายถึงพรหมผู้เคยบวชเป็นภิกษุสัทธิวิหาริกของท่านพระมหาโมคคัลลานะ (องฺ.สตฺตก.อ. ๓/๕๖/๑๙๑)
๒ ดูเชิงอรรถที่ ๑ สัตตกนิบาต ข้อ ๓๒ หน้า ๔๙ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๑๐๓ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๖.อัพยากตวรรค ๓.ติสสพรหมสูตร
เทวดาองค์หนึ่งได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุณี
เหล่านี้๑หลุดพ้นแล้ว”
เทวดาอีกองค์หนึ่งกราบทูลว่า “ภิกษุณีเหล่านี้หลุดพ้นดีแล้ว เพราะไม่มี
อุปาทานขันธ์๒เหลืออยู่”
เทวดา ๒ องค์นั้นได้กราบทูลดังนี้แล้ว พระศาสดาทรงพอพระทัย ครั้นเทวดา
๒ องค์นั้นทราบว่า พระศาสดาทรงพอพระทัยเรา จึงถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาค
ทำประทักษิณแล้วหายไป ณ ที่นั้นแล
ครั้นคืนนั้นผ่านไป พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า “ภิกษุ
ทั้งหลาย เมื่อคืนนี้ เมื่อราตรีผ่านไป เทวดา ๒ องค์มีวรรณะงดงามยิ่งนัก เปล่งรัศมี
ให้สว่างไปทั่วภูเขาคิชฌกูฏ เข้ามาหาเราถึงที่อยู่ ไหว้เราแล้วยืนอยู่ ณ ที่สมควร
เทวดาองค์หนึ่งได้กล่าวกับเราดังนี้ว่า ‘ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุณีเหล่านี้
หลุดพ้นแล้ว’ เทวดาอีกองค์หนึ่งกล่าวว่า ‘ภิกษุณีเหล่านี้หลุดพ้นดีแล้ว เพราะไม่มี
อุปาทานขันธ์เหลืออยู่’ เทวดา ๒ องค์นั้นครั้นกล่าวดังนี้แล้ว จึงไหว้เรา ทำประทักษิณ
แล้วหายไป ณ ที่นั้นแล”

เชิงอรรถ :
๑ ภิกษุณีเหล่านี้ ในที่นี้มายถึงเหล่าภิกษุณี ๕๐๐ รูปที่เป็นบริวารของมหาปชาบดีภิกษุณี (องฺ.สตฺตก.อ.
๓/๕๖/๑๙๑)
๒ อุปาทานขันธ์ มาจาก อุปาทาน+ขันธ์ แยกอธิบายความหมายได้ดังนี้ (๑ อุปาทาน แปลว่า ความถือมั่น
(อุป=มั่น+อาทาน=ถือ) มีความหมายหลายนัย เช่น หมายถึงชื่อของราคะที่ประกอบด้วยกามคุณ ๕
(ปญฺจกามคุณิกราคสฺเสตํ อธิวจนํ-สํ.ข.อ. ๒/๑/๑๖, อภิ.สงฺ.อ. ๑๒๑๙/๔๔๒) บ้าง หมายถึงความถือมั่น
ด้วยอำนาจตัณหามานะและทิฏฐิ (ตามนัย สํ.ข.อ. ๒/๖๓/๓๐๘) บ้าง (๒) ขันธ์ แปลว่ากอง (ตสฺส ขนฺธสฺส)
ราสิอาทิวเสน อตฺโถ เวทิตพฺโพ-อภิ.สงฺ.อ. ๕/๑๙๒) ดังนั้น อุปาทานขันธ์ จึงหมายถึงกองอันเป็นอารมณ์
แห่งความถือมั่น (อุปาทานานํ อารมฺมณภูตา ขนฺธา = อุปาทานกฺขนฺธา - สํ.ข.ฏีกา ๒๒/๒๕๔) และดู ที.ปา.
๑๑/๓๑๑/๒๐๔, ๓๑๕/๒๐๘, สํ.สฬา. ๑๘/๓๒๘/๒๗๗, สํ.ม. ๑๙/๑๗๙/๕๖
เมื่อนำองค์ธรรมคือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ มารวมกับอุปาทานขันธ์ เช่น วิฺญาณู-
ปาทานกฺขนฺโธ จึงแปลได้ว่า “กองอันเป็นอารมณ์แห่งความถือมั่นคือวิญญาณ” ตามนัย อภิ.สงฺ.อ. ๕/๑๙๒
ว่า วิญฺญาณเมว ขนฺโธ = วิญฺญาณกฺขนฺโธ (กองคือวิญญาณ)
อนึ่ง เมื่อกล่าวโดยสรุป อุปาทานขันธ์ หมายถึงทุกข์ ตามบาลีว่า “สงฺขิตฺเตน ปญฺจุปาทานกฺขนฺธา
ทุกฺขา” แปลว่า “ว่าโดยย่ออุปาทานขันธ์ ๕ เป็นตัวทุกข์” (ม.อุ. ๑๔/๓๗๓/๓๑๙, ขุ.ป. ๓๑/๓๓/๓๐-๔๑,
อภิ.วิ.อ. ๒๐๒/๑๗๗, วิสุทธิ.๒/๕๐๕/๑๒๒) และดู อภิ.วิ (แปล) ๓๕/๒๐๒/๑๖๖ ประกอบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๑๐๔ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๖.อัพยากตวรรค ๓.ติสสพรหมสูตร
สมัยนั้น ท่านพระมหาโมคคัลลานะนั่งอยู่ไม่ไกลจากพระผู้มีพระภาค ได้มี
ความคิดดังนี้ว่า “เทวดาเหล่าไหนมีญาณอย่างนี้ในบุคคลผู้ยังมีอุปาทานขันธ์เหลือ
อยู่ว่า ‘ยังมีอุปาทานขันธ์เหลืออยู่’ หรือในบุคคลผู้ไม่มีอุปาทานขันธ์เหลืออยู่ว่า
‘ไม่มีอุปาทานขันธ์เหลืออยู่”
สมัยนั้นแล ภิกษุชื่อติสสะมรณภาพได้ไม่นานก็เข้าถึงพรหมโลกชั้นใดชั้นหนึ่ง แม้ใน
พรหมโลกนั้น พวกพรหมก็รู้จักท่านอย่างนี้ว่า “ติสสพรหม มีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมาก”
ลำดับนั้นท่านพระมหาโมคคัลลานะได้หายจากภูเขาคิชฌกูฏไปปรากฏที่พรหม-
โลกนั้น เหมือนบุรุษมีกำลังเหยียดแขนออกหรือคู้แขนเข้า ฉะนั้น
ติสสพรหมได้เห็นท่านพระมหาโมคคัลลานะกำลังมาแต่ไกล จึงกล่าวกับท่าน
อย่างนี้ว่า “นิมนต์เข้ามาเถิด ท่านโมคคัลลานะผู้นิรทุกข์ ขอต้อนรับ นาน ๆ
ท่านจะมีเวลามา ณ ที่นี้ นิมนต์นั่งบนอาสนะที่ปูลาดไว้เถิด”
ท่านพระมหาโมคคัลลานะจึงนั่งบนอาสนะที่ปูลาดไว้ ฝ่ายติสสพรหมได้อภิวาท
ท่านแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ท่านพระมหาโมคคัลลานะจึงได้กล่าวดังนี้ว่า “ติสสะ เทวดา
เหล่าไหนมีญาณอย่างนี้ในบุคคลผู้ยังมีอุปาทานขันธ์เหลืออยู่ว่า ‘ยังมีอุปาทานขันธ์
เหลืออยู่’ หรือในบุคคลผู้ไม่มีอุปาทานขันธ์เหลืออยู่ว่า ‘ไม่มีอุปาทานขันธ์เหลืออยู่”
“ท่านโมคคัลลานะผู้นิรทุกข์ เหล่าเทวดาชั้นพรหมกายิกา๑มีญาณอย่างนี้ใน
บุคคลผู้ยังมีอุปาทานขันธ์เหลืออยู่ว่า ‘ยังมีอุปาทานขันธ์เหลืออยู่’ หรือในบุคคลผู้ไม่
มีอุปาทานขันธ์เหลืออยู่ว่า ‘ไม่มีอุปาทานขันธ์เหลืออยู่'
“ติสสะ เหล่าเทวดาชั้นพรหมกายิกาทั้งหมดเลยหรือที่มีญาณอย่างนี้ในบุคคล
ผู้ยังมีอุปาทานขันธ์เหลืออยู่ว่า ‘ยังมีอุปาทานขันธ์เหลืออยู่’ หรือในบุคคลผู้ไม่มี
อุปาทานขันธ์เหลืออยู่ว่า ‘ไม่มีอุปาทานขันธ์เหลืออยู่''
“มิใช่เลย ท่านโมคคัลลานะผู้นิรทุกข์ ที่เหล่าเทวดาชั้นพรหมกายิกาทั้งหมด
มีญาณอย่างนี้ในบุคคลผู้ยังมีอุปาทานขันธ์เหลืออยู่ว่า ‘ยังมีอุปาทานขันธ์เหลืออยู่’
หรือในบุคคลผู้ไม่มีอุปาทานขันธ์เหลืออยู่ว่า ‘ไม่มีอุปาทานขันธ์เหลืออยู่’

เชิงอรรถ :
๑ ดูเชิงอรรถที่ ๕ สัตตกนิบาต ข้อ ๔๔ หน้า ๖๗ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๑๐๕ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๖.อัพยากตวรรค ๓.ติสสพรหมสูตร
ท่านโมคคัลลานะผู้นิรทุกข์ เหล่าเทวดาชั้นพรหมกายิกาผู้ยินดีด้วยอายุที่เป็น
ของพรหม ยินดีด้วยวรรณะที่เป็นของพรหม ยินดีด้วยสุขที่เป็นของพรหม ยินดีด้วย
ยศที่เป็นของพรหม ยินดีด้วยความเป็นใหญ่ที่เป็นของพรหม ไม่รู้ชัดอุบายเป็น
เครื่องสลัดออกที่ยิ่งขึ้นไปตามความเป็นจริง เทวดาเหล่านั้นไม่มีญาณอย่างนี้ในบุคคล
ผู้ยังมีอุปาทานขันธ์เหลืออยู่ว่า ‘ยังมีอุปาทานขันธ์เหลืออยู่’ หรือในบุคคลผู้ไม่มี
อุปาทานขันธ์เหลืออยู่ว่า ‘ไม่มีอุปาทานขันธ์เหลืออยู่’
ท่านโมคคัลลานะผู้นิรทุกข์ ส่วนเหล่าเทวดาชั้นพรหมกายิกาผู้ไม่ยินดีด้วย
อายุที่เป็นของพรหม ไม่ยินดีด้วยวรรณะที่เป็นของพรหม ไม่ยินดีด้วยสุขที่เป็นของ
พรหม ไม่ยินดีด้วยยศที่เป็นของพรหม ไม่ยินดีด้วยความเป็นใหญ่ที่เป็นของพรหม
รู้ชัดซึ่งอุบายเป็นเครื่องสลัดออกที่ยิ่งขึ้นไปตามความเป็นจริง เทวดาเหล่านั้นมีญาณ
อย่างนี้ในบุคคลผู้ยังมีอุปาทานขันธ์เหลืออยู่ว่า ‘ยังมีอุปาทานขันธ์เหลืออยู่’ หรือใน
บุคคลผู้ไม่มีอุปาทานขันธ์เหลืออยู่ว่า ‘ไม่มีอุปาทานขันธ์เหลืออยู่’
ท่านโมคคัลลานะผู้นิรทุกข์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นอุภโตภาควิมุต๑ เทวดา
เหล่านั้นย่อมรู้จักภิกษุนั้นอย่างนี้ว่า ‘ท่านผู้นี้เป็นอุภโตภาควิมุต กายของท่านจัก
ดำรงอยู่เพียงใด เหล่าเทวดาและมนุษย์จักเห็นท่านเพียงนั้น แต่เมื่อท่านมรณภาพไป
เหล่าเทวดาและมนุษย์จักไม่เห็นท่าน’ เทวดาเหล่านั้นมีญาณอย่างนี้ในบุคคลผู้ยังมี
อุปาทานขันธ์เหลืออยู่ว่า ‘ยังมีอุปาทานขันธ์เหลืออยู่’ หรือในบุคคลผู้ไม่มีอุปาทานขันธ์
เหลืออยู่ว่า ‘ไม่มีอุปาทานขันธ์เหลืออยู่’
ท่านโมคคัลลานะผู้นิรทุกข์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นปัญญาวิมุต เทวดาเหล่านั้น
ย่อมรู้จักภิกษุนั้นอย่างนี้ว่า ‘ท่านผู้นี้เป็นปัญญาวิมุต กายของท่านจักดำรงอยู่เพียงใด

เชิงอรรถ :
๑ คำว่า “อุภโตภาควิมุต ปัญญาวิมุต กายสักขี ทิฏฐิปัตตะ สัทธาวิมุต ธัมมานุสารี” ที่ปรากฏในติสสพรหม-
สูตรนี้ ดูความหมายในเชิงอรรถที่ ๒,๓,๔,๕ หน้า ๒๐ และในเชิงอรรถที่ ๑,๒ หน้า ๒๑ ในเล่มนี้ และดู
องฺ.ทสก. (แปล) ๒๔/๑๖/๒๙-๓๐

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๑๐๖ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สันตตกนิบาต ๖.อัพยากตวรรค ๓.ติสสพรหมสูตร
เหล่าเทวดาและมนุษย์จักเห็นท่านเพียงนั้น แต่เมื่อท่านมรณภาพไป เหล่าเทวดาและ
มนุษย์จักไม่เห็นท่าน’ เทวดาเหล่านั้นมีญาณอย่างนี้ในบุคคลผู้ยังมีอุปาทานขันธ์
เหลืออยู่ว่า ‘ยังมีอุปาทานขันธ์เหลืออยู่’ หรือในบุคคลผู้ไม่มีอุปาทานขันธ์เหลืออยู่ว่า
‘ไม่มีอุปาทานขันธ์เหลืออยู่’
ท่านโมคคัลลานะผู้นิรทุกข์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นกายสักขี เทวดาเหล่านั้น
ย่อมรู้จักภิกษุนั้นอย่างนี้ว่า ‘ท่านผู้นี้เป็นกายสักขี เป็นการดีถ้าท่านผู้นี้ใช้สอย
เสนาสนะที่สมควร คบกัลยาณมิตร อบรมอินทรีย์ พึงทำให้แจ้งซึ่งประโยชน์
ยอดเยี่ยม๑อันเป็นที่สุดแห่งพรหมจรรย์ที่เหล่ากุลบุตรออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต
โดยชอบต้องการ ด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน เทวดาเหล่านั้นมีญาณ
อย่างนี้ในบุคคลผู้ยังมีอุปาทานขันธ์เหลืออยู่ว่า ‘ยังมีอุปาทานขันธ์เหลืออยู่’ หรือ
ในบุคคลผู้ไม่มีอุปาทานขันธ์เหลืออยู่ว่า‘ไม่มีอุปาทานขันธ์เหลืออยู่’
ท่านโมคคัลลานะผู้นิรทุกข์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นทิฏฐิปัตตะ ฯลฯ
ท่านโมคคัลลานะผู้นิรทุกข์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นสัทธาวิมุต ฯลฯ
ท่านโมคคัลลานะผู้นิรทุกข์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นธัมมานุสารี เทวดาเหล่า
นั้นย่อมรู้จักภิกษุนั้นอย่างนี้ว่า ‘ท่านผู้นี้เป็นธัมมานุสารี เป็นการดี ถ้าท่านผู้นี้ใช้
สอยเสนาสนะที่สมควร คบกัลยาณมิตร อบรมอินทรีย์ พึงทำให้แจ้งซึ่งประโยชน์
ยอดเยี่ยมอันเป็นที่สุดแห่งพรหมจรรย์ที่เหล่ากุลบุตรออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต
โดยชอบต้องการ ด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน เทวดาเหล่านั้นมีญาณ
อย่างนี้ในบุคคลผู้ยังมีอุปาทานขันธ์เหลืออยู่ว่า ‘ยังมีอุปาทานขันธ์เหลืออยู่’ หรือ
ในบุคคลผู้ไม่มีอุปาทานขันธ์เหลืออยู่ว่า ‘ไม่มีอุปาทานขันธ์เหลืออยู่”

เชิงอรรถ :
๑ ประโยชน์ยอดเยี่ยม ในที่นี้หมายถึงอรหัตตผลหรืออริยผลอันเป็นที่สุดแห่งมัคคพรหมจรรย์ (องฺ.ทุก.อ.
๒/๕/๗, ม.ม.อ. ๒/๘๒/๘๐)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๑๐๗ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๖.อัพยากตวรรค ๓.ติสสพรหมสูตร
ลำดับนั้น ท่านพระมหาโมคคัลลานะได้ชื่นชม อนุโมทนาภาษิตของติสสพรหม
แล้วได้หายจากพรหมโลกไปปรากฏที่ภูเขาคิชฌกูฏ เหมือนบุรุษมีกำลังเหยียดแขนออก
หรือคู้แขนเข้า ฉะนั้น
ลำดับนั้นแล ท่านพระมหาโมคคัลลานะได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคถึงถ้อยคำสนทนาปราศรัย
กับติสสพรหมทั้งหมด
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “โมคคัลลานะ ติสสพรหมไม่ได้แสดงบุคคลที่ ๗ ผู้มี
ธรรมเป็นเครื่องอยู่อันหานิมิตมิได้๑แก่เธอหรือ”
ท่านพระมหาโมคคัลลานะกราบทูลว่า “ข้าแต่พระผู้มีพระภาค บัดนี้เป็นกาล
ข้าแต่พระสุคต บัดนี้เป็นกาลที่พระผู้มีพระภาคจะทรงแสดงบุคคลที่ ๗ ผู้มีธรรม
เป็นเครื่องอยู่อันหานิมิตมิได้ ภิกษุทั้งหลายฟังจากพระผู้มีพระภาคแล้วจักทรงจำไว้”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “โมคคัลลานะ ถ้าเช่นนั้น เธอจงฟัง จงใส่ใจให้ดี
เราจักกล่าว”
ท่านพระมหาโมคคัลลานะทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัส
เรื่องนี้ว่า “โมคคัลลานะ ภิกษุในธรรมวินัยบรรลุเจโตสมาธิอันหานิมิตมิได้ เพราะไม่
มนสิการถึงนิมิตทั้งปวงอยู่ เทวดาเหล่านั้นย่อมรู้จักภิกษุนั้นอย่างนี้ว่า ‘ท่านผู้นี้
บรรลุเจโตสมาธิอันหานิมิตมิได้ เพราะไม่มนสิการถึงนิมิตทั้งปวงอยู่ เป็นการดี
ถ้าท่านผู้นี้ใช้สอยเสนาสนะที่สมควร คบกัลยาณมิตร อบรมอินทรีย์ พึงทำให้แจ้ง
ซึ่งประโยชน์ยอดเยี่ยมอันเป็นที่สุดแห่งพรหมจรรย์ที่เหล่ากุลบุตรออกจากเรือน บวชเป็น
บรรพชิตโดยชอบต้องการ ด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน
โมคคัลลานะ เทวดาเหล่านั้นมีญาณอย่างนี้แล ในบุคคลผู้ยังมีอุปาทานขันธ์
เหลืออยู่ว่า ‘ยังมีอุปาทานขันธ์เหลืออยู่’ หรือในบุคคลผู้ไม่มีอุปาทานขันธ์เหลืออยู่ว่า
‘ไม่มีอุปาทานขันธ์เหลืออยู่”
ติสสพรหมสูตรที่ ๓ จบ

เชิงอรรถ :
๑ ธรรมเป็นเครื่องอยู่อันหานิมิตมิได้ ในที่นี้หมายถึงพลววิปัสสนาสมาธิ (องฺ.สตฺตก.อ. ๓/๕๖/๑๙๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๑๐๘ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๖.อัพยากตวรรค ๔.สีหเสนาปติสูตร
๔. สีหเสนาปติสูตร
ว่าด้วยสีหเสนาบดี
[๕๗] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ กูฏาคารศาลา ป่ามหาวัน เขตกรุง
เวสาลี ครั้งนั้นแล สีหเสนาบดีเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาท
แล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติผลแห่งทานที่จะพึงเห็นเองได้ไหม พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “สีหะ ถ้าอย่างนั้น เราจะย้อนถามท่านในปัญหานั้น
ท่านพึงตอบปัญหานั้นตามที่ท่านชอบใจ สีหะ ท่านเข้าใจเรื่องนั้นอย่างไร คือ
ในกรุงเวสาลีนี้ มีคน ๒ คน คนหนึ่งไม่มีศรัทธา ตระหนี่ถี่เหนียว ชอบด่าบริภาษ
อีกคนหนึ่งมีศรัทธา เป็นทานบดี ยินดีให้ทานสม่ำเสมอ
สีหะ ท่านเข้าใจเรื่องนั้นอย่างไร คือ พระอรหันต์เมื่อจะอนุเคราะห์ พึงอนุเคราะห์
ใครก่อน ระหว่างคนไม่มีศรัทธา ตระหนี่ถี่เหนียว ชอบด่าบริภาษ กับคนมีศรัทธา
เป็นทานบดี ยินดีให้ทานสม่ำเสมอ”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระอรหันต์เมื่อจะอนุเคราะห์ จักอนุเคราะห์คนไม่มี
ศรัทธา ตระหนี่ถี่เหนียว ชอบด่าบริภาษก่อนได้อย่างไร พระอรหันต์เมื่อจะ
อนุเคราะห์ พึงอนุเคราะห์คนมีศรัทธา เป็นทานบดี ยินดีให้ทานสม่ำเสมอก่อน
แน่แท้”
“สีหะ ท่านเข้าใจเรื่องนั้นอย่างไร คือ พระอรหันต์เมื่อจะเข้าไปหา พึงเข้าไปหา
ใครก่อน ระหว่างคนไม่มีศรัทธา ตระหนี่ถี่เหนียว ชอบด่าบริภาษ กับคนมีศรัทธา
เป็นทานบดี ยินดีให้ทานสม่ำเสมอ”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระอรหันต์เมื่อจะเข้าไปหา จักเข้าไปหาคนไม่มีศรัทธา
ตระหนี่ถี่เหนียว ชอบด่าบริภาษก่อนได้อย่างไร พระอรหันต์เมื่อจะเข้าไปหา พึงเข้า
ไปหาคนมีศรัทธา เป็นทานบดี ยินดีให้ทานสม่ำเสมอก่อนแน่แท้”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๑๐๙ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๖.อัพยากตวรรค ๔.สีหเสนาปติสูตร
“สีหะ ท่านเข้าใจเรื่องนั้นอย่างไร คือ พระอรหันต์เมื่อจะรับทาน พึงรับทาน
ของใครก่อน ระหว่างคนไม่มีศรัทธา ตระหนี่ถี่เหนียว ชอบด่าบริภาษ กับคนมี
ศรัทธา เป็นทานบดี ยินดีให้ทานสม่ำเสมอ”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระอรหันต์เมื่อจะรับทาน จักรับทานของคนไม่มี
ศรัทธา ตระหนี่ถี่เหนียว ชอบด่าบริภาษก่อนได้อย่างไร พระอรหันต์เมื่อจะรับทาน
พึงรับทานของคนมีศรัทธา เป็นทานบดี ยินดีให้ทานสม่ำเสมอก่อนแน่แท้”
“สีหะ ท่านเข้าใจเรื่องนั้นอย่างไร คือ พระอรหันต์เมื่อจะแสดงธรรม พึงแสดง
ธรรมแก่ใครก่อน ระหว่างคนไม่มีศรัทธา ตระหนี่ถี่เหนียว ชอบด่าบริภาษ กับคน
มีศรัทธา เป็นทานบดี ยินดีให้ทานสม่ำเสมอ”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระอรหันต์เมื่อจะแสดงธรรม จักแสดงธรรมแก่คน
ไม่มีศรัทธา ตระหนี่ถี่เหนียว ชอบด่าบริภาษก่อนได้อย่างไร พระอรหันต์เมื่อจะ
แสดงธรรม พึงแสดงธรรมแก่คนมีศรัทธา เป็นทานบดี ยินดีให้ทานสม่ำเสมอก่อน
แน่แท้”
“สีหะ ท่านเข้าใจเรื่องนั้นอย่างไร คือ กิตติศัพท์อันงามของใครหนอควรขจรไป
ระหว่างคนไม่มีศรัทธา ตระหนี่ถี่เหนียว ชอบด่าบริภาษ กับคนมีศรัทธา เป็น
ทานบดี ยินดีให้ทานสม่ำเสมอ”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ กิตติศัพท์อันงามของคนไม่มีศรัทธา ตระหนี่ถี่เหนียว
ชอบด่าบริภาษจักขจรไปได้อย่างไร กิตติศัพท์อันงามของคนมีศรัทธา เป็นทานบดี
ยินดีให้ทานสม่ำเสมอเท่านั้นพึงขจรไป”
“สีหะ ท่านเข้าใจเรื่องนั้นอย่างไร คือ ใครกันเล่าระหว่างคนไม่มีศรัทธา ตระหนี่
ถี่เหนียว ชอบด่าบริภาษ กับคนมีศรัทธา เป็นทานบดี ยินดีให้ทานสม่ำเสมอเข้า
ไปยังบริษัทใดๆ จะเป็นขัตติยบริษัทก็ตาม พราหมณบริษัทก็ตาม คหบดีบริษัท
ก็ตาม สมณบริษัทก็ตาม พึงเป็นผู้แกล้วกล้า ไม่เก้อเขินเข้าไปยังบริษัทนั้นๆ”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๑๑๐ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๖.อัพยากตวรรค ๔.สีหเสนาปติสูตร
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ คนไม่มีศรัทธา ตระหนี่ถี่เหนียว ชอบด่าบริภาษ เข้าไป
ยังบริษัทใดๆ จะเป็นขัตติยบริษัทก็ตาม พราหมณบริษัทก็ตาม คหบดีบริษัทก็ตาม
สมณบริษัทก็ตาม จักเป็นผู้แกล้วกล้า ไม่เก้อเขิน เข้าไปยังบริษัทนั้นๆ ได้อย่างไร
คนมีศรัทธา เป็นทานบดี ยินดีให้ทานสม่ำเสมอ เข้าไปยังบริษัทใดๆ จะเป็นขัตติย-
บริษัทก็ตาม พราหมณบริษัทก็ตาม คหบดีบริษัทก็ตาม สมณบริษัทก็ตาม พึงเป็น
ผู้แกล้วกล้า ไม่เก้อเขินเข้าไปยังบริษัทนั้นๆ”
“สีหะ ท่านเข้าใจเรื่องนั้นอย่างไร คือ ใครกันเล่าระหว่างคนไม่มีศรัทธา ตระหนี่
ถี่เหนียว ชอบด่าบริภาษ กับคนมีศรัทธา เป็นทานบดี ยินดีให้ทานสม่ำเสมอ
หลังจากตายแล้ว พึงไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ คนไม่มีศรัทธา ตระหนี่ถี่เหนียว ชอบด่าบริภาษ
หลังจากตายแล้ว จักไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์ได้อย่างไร คนมีศรัทธา เป็นทานบดี
ยินดีให้ทานสม่ำเสมอ หลังจากตายแล้ว พึงไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ผลแห่งทานที่จะพึงเห็นเอง ๖ ประการพระผู้มีพระภาค
ตรัสบอกแล้ว ในผลแห่งทานที่จะพึงเห็นเอง ๖ ประการนั้น ข้าพระองค์ไม่เพียงแต่
เชื่อพระผู้มีพระภาคเท่านั้น แต่ยังทราบอีกด้วย ข้าพระองค์เป็นทายก เป็นทานบดี
พระอรหันต์เมื่อจะอนุเคราะห์ ย่อมอนุเคราะห์ข้าพระองค์ก่อน ข้าพระองค์เป็นทายก
เป็นทานบดี พระอรหันต์เมื่อจะเข้าไปหา ย่อมเข้าไปหาข้าพระองค์ก่อน ข้าพระองค์
เป็นทายก เป็นทานบดี พระอรหันต์เมื่อจะรับทาน ย่อมรับทานของข้าพระองค์ก่อน
ข้าพระองค์เป็นทายก เป็นทานบดี พระอรหันต์เมื่อจะแสดงธรรม ย่อมแสดงธรรม
แก่ข้าพระองค์ก่อน ข้าพระองค์เป็นทายก เป็นทานบดี กิตติศัพท์อันงามของ
ข้าพระองค์ขจรไปแล้วว่า ‘สีหะเสนาบดี เป็นการกบุคคล เป็นผู้อุปัฏฐากพระสงฆ์’
ข้าพระองค์เป็นทายก เป็นทานบดี เข้าไปยังบริษัทใดๆ จะเป็นขัตติยบริษัทก็ตาม
พราหมณบริษัทก็ตาม คหบดีบริษัทก็ตาม สมณบริษัทก็ตาม ย่อมเป็นผู้แกล้วกล้า
ไม่เก้อเขินเข้าไปยังบริษัทนั้นๆ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๑๑๑ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๖.อัพยากตวรรค ๕.อรักเขยยสูตร
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ผลแห่งทานที่จะพึงเห็นเอง ๖ ประการพระผู้มีพระภาค
ตรัสบอกแล้ว ในผลแห่งทานที่จะพึงเห็นเอง ๖ ประการนั้น ข้าพระองค์ไม่เพียงแต่
เชื่อพระผู้มีพระภาคเท่านั้น แต่ยังทราบอีกด้วย ส่วนผลแห่งทานที่จะพึงเห็นเอง
ประการที่ ๗ ที่พระผู้มีพระภาคตรัสบอกข้าพระองค์อย่างนี้ว่า ‘สีหะ ทายก ทานบดี
หลังจากตายแล้ว จะไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์’ ข้าพระองค์ยังไม่ทราบ แต่ในข้อนี้
ข้าพระองค์เชื่อพระผู้มีพระภาค”
“ข้อนั้นเป็นอย่างนั้น สีหะ ข้อนั้นเป็นอย่างนั้น สีหะ คือ ทายก ทานบดี
หลังจากตายแล้ว จะไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์”
สีหเสนาปติสูตรที่ ๔ จบ

๕. อรักเขยยสูตร
ว่าด้วยฐานะที่พระตถาคตไม่ต้องรักษา
[๕๘] ภิกษุทั้งหลาย ฐานะ ๔ ประการนี้ ที่ตถาคตไม่ต้องรักษา และตถาคต
ไม่ถูกติเตียนด้วยฐานะ ๓ ประการ
ฐานะ ๔ ประการที่ตถาคตไม่ต้องรักษา อะไรบ้าง คือ
๑. ตถาคตมีความประพฤติทางกายบริสุทธิ์ ไม่มีกายทุจริตที่จะต้อง
รักษาว่า ‘คนอื่นอย่าได้รู้กรรมนี้ของเรา’
๒. ตถาคตมีความประพฤติทางวาจาบริสุทธิ์ ไม่มีวจีทุจริตที่จะต้อง
รักษาว่า ‘คนอื่นอย่าได้รู้กรรมนี้ของเรา’
๓. ตถาคตมีความประพฤติทางใจบริสุทธิ์ ไม่มีมโนทุจริตที่จะต้องรักษาว่า
‘คนอื่นอย่าได้รู้กรรมนี้ของเรา’
๔. ตถาคตมีอาชีวะบริสุทธิ์ ไม่มีมิจฉาอาชีวะ(เลี้ยงชีพผิด)ที่จะต้องรักษาว่า
‘คนอื่นอย่าได้รู้กรรมนี้ของเรา’
นี้คือฐานะ ๔ ประการที่ตถาคตไม่ต้องรักษา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๑๑๒ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๖.อัพยากตวรรค ๕.อรักเขยยสูตร
ตถาคตไม่ถูกติเตียนด้วยฐานะ ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ตถาคตมีธรรมที่กล่าวไว้ดีแล้ว เราไม่เห็นนิมิต๑นี้ว่า ‘สมณะ พราหมณ์
เทวดา พรหม หรือใครๆ ในโลก จักทักท้วงเราด้วยคำพูดที่มีเหตุผล
ในธรรมนั้นว่า แม้เพราะเหตุนี้ ท่านจึงมิใช่เป็นผู้มีธรรมที่กล่าวไว้
ดีแล้ว’ เราเมื่อไม่เห็นนิมิตแม้นั้น จึงถึงความเกษม ไม่มีความกลัว
แกล้วกล้าอยู่๒
๒. เราได้บัญญัติไว้ดีแล้วซึ่งข้อปฏิบัติที่ให้ถึงนิพพานโดยวิธีที่สาวกทั้งหลาย
ของเราปฏิบัติตามแล้ว ย่อมทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ
อันไม่มีอาสวะ เพราะอาสวะสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่
ในปัจจุบัน เราไม่เห็นนิมิตนี้ว่า ‘สมณะ พราหมณ์ เทวดา พรหม
หรือใครๆ ในโลก จักทักท้วงเราด้วยคำพูดที่มีเหตุผลในธรรมนั้นว่า
แม้เพราะเหตุนี้ ท่านมิได้บัญญัติไว้ดีแล้วซึ่งข้อปฏิบัติที่ให้ถึงนิพพาน
โดยวิธีที่สาวกทั้งหลายของท่านปฏิบัติตามแล้ว ย่อมทำให้แจ้ง
เจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ ฯลฯ’ เราเมื่อไม่เห็นนิมิตแม้นั้น จึงถึง
ความเกษม ไม่มีความกลัว แกล้วกล้าอยู่
๓. สาวกบริษัทของเราหลายร้อย ทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ
ฯลฯ เราไม่เห็นนิมิตนี้ว่า ‘สมณะ พราหมณ์ เทวดา พรหม หรือ
ใครๆ ในโลก จักทักท้วงเราด้วยคำพูดที่มีเหตุผลในธรรมนั้นว่า
แม้เพราะเหตุนี้ สาวกบริษัทหลายร้อยของท่าน มิได้ทำให้แจ้ง
เจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันไม่มีอาสวะ เพราะอาสวะสิ้นไปด้วย
ปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน’ เราเมื่อไม่เห็นนิมิตแม้นั้น
จึงถึงความเกษม ไม่มีความกลัว แกล้วกล้าอยู่
ตถาคตไม่ถูกติเตียนด้วยฐานะ ๓ ประการนี้แล
ภิกษุทั้งหลาย ฐานะ ๔ ประการที่ตถาคตไม่ต้องรักษา และตถาคตไม่ถูก
ติเตียนด้วยฐานะ ๓ ประการนี้แล
อรักเขยยสูตรที่ ๕ จบ

เชิงอรรถ :
๑ นิมิต ในที่นี้หมายถึงธรรม คือเมื่อแสดงธรรม พระองค์ก็ไม่เห็นธรรมที่กล่าวไม่ดีแม้สักบทหนึ่ง และหมาย
ถึงบุคคล คือ พระองค์ไม่เห็นบุคคลแม้สักคนเดียวที่อุปัฏฐากพระองค์แล้วยังดิ้นรนกล่าวอยู่ว่า ‘ท่านกล่าว
ธรรมชั่ว ท่านกล่าวธรรมไม่ดี’ (องฺ.สตฺตก.อ. ๓/๕๘/๑๙๒)
๒ ดู องฺ.จตุกฺก. (แปล) ๒๑/๘/๑๓

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๑๑๓ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๖.อัพยากตวรรค ๖.กิมิลสูตร
๖. กิมิลสูตร
ว่าด้วยพระกิมิละ๑
[๕๙] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ป่าไผ่ เขตกรุงกิมิลา ครั้งนั้น ท่านพระ
กิมิละเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร
ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อะไรหนอ เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้พระสัทธรรมไม่ดำรง
อยู่ได้นาน ในเมื่อพระตถาคตปรินิพพานแล้ว”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “กิมิละ เมื่อตถาคตปรินิพพานแล้ว เหล่าภิกษุ
ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกาในธรรมวินัยนี้
๑. อยู่อย่างไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรงในศาสดา
๒. อยู่อย่างไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรงในธรรม
๓. อยู่อย่างไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรงในสงฆ์
๔. อยู่อย่างไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรงในสิกขา
๕. อยู่อย่างไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรงในสมาธิ
๖. อยู่อย่างไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรงในความไม่ประมาท
๗. อยู่อย่างไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรงในปฏิสันถาร
กิมิละ นี้แล เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้สัทธรรมดำรงอยู่ได้ไม่นาน ในเมื่อตถาคต
ปรินิพพานแล้ว”
ท่านพระกิมิละทูลถามว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อะไรหนอ เป็นเหตุเป็น
ปัจจัยให้พระสัทธรรมดำรงอยู่ได้นาน ในเมื่อพระตถาคตปรินิพพานแล้ว”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “กิมิละ เมื่อตถาคตปรินิพพานแล้ว เหล่าภิกษุ
ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกาในธรรมวินัยนี้

เชิงอรรถ :
๑ องฺ.ฉกฺก. (แปล) ๒๒/๔๐/๔๙๑

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๑๑๔ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๖.อัพยากตวรรค ๗.สัตตธัมมสูตร
๑. อยู่อย่างมีความเคารพ มีความยำเกรงในศาสดา
๒. อยู่อย่างมีความเคารพ มีความยำเกรงในธรรม
๓. อยู่อย่างมีความเคารพ มีความยำเกรงในสงฆ์
๔. อยู่อย่างมีความเคารพ มีความยำเกรงในสิกขา
๕. อยู่อย่างมีความเคารพ มีความยำเกรงในสมาธิ
๖. อยู่อย่างมีความเคารพ มีความยำเกรงในความไม่ประมาท
๗. อยู่อย่างมีความเคารพ มีความยำเกรงในปฏิสันถาร
กิมิละ นี้แล เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้สัทธรรมดำรงอยู่ได้นาน ในเมื่อตถาคต
ปรินิพพานแล้ว”
กิมิลสูตรที่ ๖ จบ

๗. สัตตธัมมสูตร
ว่าด้วยธรรม ๗ ประการที่เป็นเหตุให้บรรลุวิมุตติ
[๖๐] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๗ ประการ ไม่นานนัก ก็จะ
ทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันไม่มีอาสวะ เพราะอาสวะสิ้นไป ด้วยปัญญา
อันยิ่งเอง เข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน
ธรรม ๗ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เป็นผู้มีศรัทธา ๒. เป็นผู้มีศีล
๓. เป็นพหูสูต ๔. เป็นผู้หลีกเร้น
๕. เป็นผู้ปรารภความเพียร ๖. เป็นผู้มีสติ
๗. เป็นผู้มีปัญญา
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๗ ประการนี้แล ไม่นานนัก ก็จะทำ
ให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันไม่มีอาสวะ เพราะอาสวะสิ้นไป ด้วยปัญญา
อันยิ่งเอง เข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน
สัตตธัมมสูตรที่ ๗ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๑๑๕ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๖.อัพยากตวรรค ๘.จปลายมานสูตร
๘. จปลายมานสูตร
ว่าด้วยอุบายแก้ความง่วง
[๖๑] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ เภสกฬามิคทายวัน เขตกรุง
สุงสุมารคิระ แคว้นภัคคะ สมัยนั้นแล ท่านพระมหาโมคคัลลานะ กำลังนั่งง่วงอยู่
ที่หมู่บ้านกัลลวาลมุตตคาม แคว้นมคธ พระผู้มีพระภาคทอดพระเนตรเห็นท่าน
พระมหาโมคคัลลานะกำลังนั่งง่วงอยู่ ใกล้หมู่บ้านกัลลวาลมุตตคาม แคว้นมคธ
ด้วยตาทิพย์อันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์ แล้วได้ทรงหายไปจากป่าเภสกลามิคทายวัน
เขตกรุงสุงสุมารคิระ แคว้นภัคคะ ไปปรากฏต่อหน้าท่านพระมหาโมคคัลลานะใกล้
หมู่บ้านกัลลวาลมุตตคาม แคว้นมคธ เหมือนบุรุษมีกำลังเหยียดแขนออกหรือ
คู้แขนเข้า ฉะนั้น
พระผู้มีพระภาคได้ประทับนั่งบนพุทธอาสน์ที่ปูลาดไว้๑แล้ว ได้ตรัสกับท่าน
พระมหาโมคคัลลานะดังนี้ว่า “เธอง่วงหรือ โมคคัลลานะ เธอง่วงหรือ โมคคัลลานะ”
ท่านพระมหาโมคคัลลานะกราบทูลว่า “อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
๑. เมื่อเธอมีสัญญาอยู่อย่างไร ความง่วงนั้น ย่อมครอบงำเธอได้ เธออย่า
ได้มนสิการถึงสัญญานั้น อย่าได้ทำสัญญานั้นให้มาก เป็นไปได้ที่เมื่อเธออยู่อย่างนั้น
จะละความง่วงนั้นได้
๒. ถ้าเมื่อเธออยู่อย่างนั้น ยังละความง่วงนั้นไม่ได้ เธอพึงตรึกตรองพิจารณา
ธรรมตามที่ได้สดับมา ได้เล่าเรียนมา เป็นไปได้ที่เมื่อเธออยู่อย่างนั้น จะละความง่วง
นั้นได้

เชิงอรรถ :
๑ พุทธอาสน์ที่ปูลาดไว้ หมายถึง พุทธอาสน์ คือ ตั่ง เตียง แผ่นกระดาน แผ่นหิน หรือกองทรายที่ภิกษุผู้
บำเพ็ญเพียรปูลาดไว้เพื่อเป็นที่ประทับของพระผู้มีพระภาคที่จะเสด็จมาให้โอวาท ถ้าหาอาสนะอย่างนั้นไม่ได้
จะใช้ใบไม้แห้งปูลาดก็ได้ โดยลาดสังฆาฏิไว้บน นี้เป็นธรรมเนียมปฏิบัติสำหรับภิกษุผู้บำเพ็ญเพียร (องฺ.ฉกฺก.อ.
๓/๕๕/๑๓๕, องฺ.ฉกฺก.ฏีกา ๓/๕๕/๑๔๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๑๑๖ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๖.อัพยากตวรรค ๘.จปลายมานสูตร
๓. ถ้าเมื่อเธออยู่อย่างนั้น ยังละความง่วงนั้นไม่ได้ เธอพึงสาธยายธรรมตาม
ที่ได้สดับมา ได้เล่าเรียนมาโดยพิสดาร เป็นไปได้ที่เมื่อเธออยู่อย่างนั้น จะละความง่วง
นั้นได้
๔. ถ้าเมื่อเธออยู่อย่างนั้น ยังละความง่วงนั้นไม่ได้ เธอพึงยอนช่องหูทั้ง ๒ ข้าง
ใช้มือบีบนวดตัว เป็นไปได้ที่เมื่อเธออยู่อย่างนั้น จะละความง่วงนั้นได้
๕. ถ้าเมื่อเธออยู่อย่างนั้น ยังละความง่วงนั้นไม่ได้ เธอพึงลุกขึ้นยืน ใช้น้ำลูบตา
เหลียวดูทิศทั้งหลาย แหงนดูดาวนักษัตร เป็นไปได้ที่เมื่อเธออยู่อย่างนั้น จะละความ
ง่วงนั้นได้
๖. ถ้าเมื่อเธออยู่อย่างนั้น ยังละความง่วงนั้นไม่ได้ เธอพึงมนสิการถึงอาโลก-
สัญญา(ความกำหนดหมายแสงสว่าง) ตั้งสัญญาว่าเป็นกลางวันไว้ คือกลางวัน
อย่างไร กลางคืนก็อย่างนั้น กลางคืนอย่างไร กลางวันก็อย่างนั้น มีใจเปิดเผย
ไม่มีอะไรหุ้มห่อ ทำจิตให้โปร่งใส เป็นไปได้ที่เมื่อเธออยู่อย่างนั้น จะละความง่วงนั้นได้
๗. ถ้าเมื่อเธออยู่อย่างนั้น ยังละความง่วงนั้นไม่ได้ เธอพึงอธิษฐานจงกรม
กำหนดหมายเดินกลับไปกลับมา สำรวมอินทรีย์ภายใน มีใจไม่คิดไปภายนอก
เป็นไปได้ที่เมื่อเธออยู่อย่างนั้น จะละความง่วงนั้นได้
ถ้าเมื่อเธออยู่อย่างนั้น เธอยังละความง่วงนั้นไม่ได้ ก็พึงสำเร็จสีหไสยา(การ
นอนดุจราชสีห์)โดยตะแคงข้างขวา ซ้อนเท้าเหลื่อมเท้า มีสติสัมปชัญญะ ทำอุฏฐาน-
สัญญา(กำหนดหมายว่าจะลุกขึ้น)ไว้ในใจ พอตื่น ก็รีบลุกขึ้นด้วยตั้งใจว่า‘เราจักไม่
ประกอบความสุขในการนอน ไม่ประกอบความสุขในการเอกเขนก ไม่ประกอบ
ความสุขในการหลับ’ โมคคัลลานะ เธอพึงสำเหนียกอย่างนี้แล
โมคคัลลานะ เพราะเหตุนั้นแล เธอพึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า ‘เราจักไม่ชูงวง๑
เข้าไปยังตระกูล’ เธอพึงสำเหนียกอย่างนี้แล

เชิงอรรถ :
๑งวง ในที่นี้หมายถึงมานะ (องฺ.สตฺตก.อ. ๓/๖๑/๑๙๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๑๑๗ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๖.อัพยากตวรรค ๘.จปลายมานสูตร
โมคคัลลานะ ถ้าภิกษุชูงวงเข้าไปยังตระกูล และในตระกูลก็มีกิจที่จะต้องทำ
หลายอย่าง ทำให้ผู้คนไม่ใส่ใจถึงภิกษุผู้มาถึงแล้ว เพราะเหตุนั้น ภิกษุจึงมีความคิด
อย่างนี้ว่า ‘เดี๋ยวนี้ ใครกันนะยุยงให้เราแตกกับตระกูลนี้ เดี๋ยวนี้ คนเหล่านี้
เบื่อหน่ายเรา’ ดังนั้น เธอจึงมีความเก้อเขินเพราะไม่ได้อะไร เมื่อเก้อเขิน จึงมีความ
ฟุ้งซ้าน เมื่อฟุ้งซ่าน จึงมีความไม่สำรวม เมื่อไม่สำรวม จิตจึงห่างจากสมาธิ
โมคคัลลานะ เพราะเหตุนั้นแล เธอพึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า ‘เราจักไม่กล่าว
ถ้อยคำที่เป็นเหตุให้ทุ่มเถียงกัน’ เธอพึงสำเหนียกอย่างนี้แล
โมคคัลลานะ เมื่อมีถ้อยคำที่เป็นเหตุให้ทุ่มเถียงกัน ก็จำต้องพูดมาก เมื่อมี
การพูดมาก ความฟุ้งซ่านจึงมี เมื่อฟุ้งซ่าน จึงมีความไม่สำรวม เมื่อไม่สำรวม
จิตจึงห่างจากสมาธิ
โมคคัลลานะ เราไม่สรรเสริญการคลุกคลีกับคนทั้งปวง เราจะไม่สรรเสริญ
การคลุกคลีโดยประการทั้งปวงเลยก็หาไม่ คือ เราไม่สรรเสริญการคลุกคลีด้วยหมู่ชน
ทั้งคฤหัสถ์และบรรพชิต แต่เราสรรเสริญการคลุกคลีด้วยเสนาสนะที่มีเสียงน้อย
มีเสียงอึกทึกน้อย ปราศจากการสัญจรไปมาของผู้คน ควรเป็นสถานที่ทำการลับ
ของมนุษย์ สมควรเป็นที่หลีกเร้น
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนั้นแล้ว ท่านพระมหาโมคคัลลานะจึงได้ทูลถาม
พระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “พระพุทธเจ้าข้า ว่าโดยย่อ ด้วยข้อปฏิบัติเท่าไรหนอ
ภิกษุจึงชื่อว่าเป็นผู้หลุดพ้นเพราะความสิ้นไปแห่งตัณหา มีความสำเร็จสูงสุด๑ มีความ----------------------------------------

--
๑มีความสำเร็จสูงสุด หมายถึงเข้าถึงนิพพาน (องฺ.เอกาทสก.อ. ๓/๑๐/๓๘๓) และดู องฺ.เอกาทสก. (แปล)
๒๔/๑๐/๔๐๖ ภิกษุผู้ชื่อว่า มีความสำเร็จสูงสุด เพราะไม่มีธรรมที่กำเริบอีกและไม่มีสภาวะที่ต้องเสื่อมอีก
ชื่อว่า มีความเกษมจากโยคะสูงสุด เพราะปลอดภัยจากโยคกิเลส ๔ ประการได้อย่างสิ้นเชิง ชื่อว่า
ประพฤติพรหมจรรย์ถึงที่สุด เพราะการประพฤตินั้นจะไม่เสื่อมอีกเนื่องจากอยู่จบมัคคพรหมจรรย์แล้ว
ชื่อว่า มีที่สุดอันสูงสุด เพราะมีความสิ้นสุดคือการประพฤติมัคคพรหมจรรย์ และทำที่สุดวัฏฏทุกข์ได้
(องฺ.สตฺตก.ฏีกา ๓/๖๖๑/๒๑๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๑๑๘ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๖.อัพยากตวรรค ๘.จปลายมานสูตร
เกษมจากโยคะสูงสุด ประพฤติพรหมจรรย์ถึงที่สุด มีที่สุดอันสูงสุด ประเสริฐกว่า
เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “โมคคัลลานะ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ได้สดับมาว่า ธรรม
ทั้งปวงไม่ควรยึดมั่น ภิกษุได้สดับมาอย่างนั้นว่า ธรรมทั้งปวงไม่ควรยึดมั่น ภิกษุ
นั้นย่อมรู้ชัดธรรมทั้งปวง ครั้นรู้ชัดธรรมทั้งปวงแล้ว จึงกำหนดรู้ธรรมทั้งปวง
ครั้นกำหนดรู้ธรรมทั้งปวงแล้ว จึงเสวยเวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง คือ สุขเวทนา
ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา เธอพิจารณาเห็นความไม่เที่ยงในเวทนา
เหล่านั้นอยู่ พิจารณาเห็นความคลายไปในเวทนาเหล่านั้นอยู่ พิจารณาเห็นความดับ
ไปในเวทนาเหล่านั้นอยู่ พิจารณาเห็นความสละคืนในเวทนาเหล่านั้นอยู่ เมื่อพิจารณา
เห็นความไม่เที่ยงในเวทนาเหล่านั้นอยู่ พิจารณาเห็นความคลายไปในเวทนาเหล่านั้นอยู่
พิจารณาเห็นความดับไปในเวทนาเหล่านั้นอยู่ พิจารณาเห็นความสละคืนในเวทนา
เหล่านั้นอยู่ เธอก็ไม่ยึดมั่นอะไรๆ ในโลก เมื่อไม่ยึดมั่น ก็ไม่สะดุ้ง เมื่อไม่สะดุ้ง
ก็ปรินิพพานเฉพาะตน๑ เธอย่อมรู้ชัดว่า ‘ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจ
ที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป
โมคคัลลานะ ว่าโดยย่อ ด้วยข้อปฏิบัติเท่านี้แล ภิกษุจึงชื่อว่าเป็นผู้หลุดพ้น
เพราะความสิ้นไปแห่งตัณหา มีความสำเร็จสูงสุด มีความเกษมจากโยคะสูงสุด ประพฤติ
พรหมจรรย์ถึงที่สุด มีที่สุดอันสูงสุด ประเสริฐกว่าเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย”
จปลายมานสูตรที่ ๘ จบ

เชิงอรรถ :
๑ปรินิพพานเฉพาะตน ในที่นี้หมายถึงดับกิเลสได้เอง (องฺ.สตฺตก.อ. ๓/๖๑/๑๙๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๑๑๙ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๖.อัพยากตวรรค ๙.เมตตสูตร
๙. เมตตสูตร
ว่าด้วยการเจริญเมตตาจิต
[๖๒] ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายอย่ากลัวบุญเลย คำว่า บุญ นี้ เป็นชื่อ
ของความสุข เราย่อมรู้ชัดว่าบุญที่เราทำแล้วตลอดกาลนาน มีผลที่น่าปรารถนา
น่าใคร่ น่าพอใจ อันเราเสวยมาแล้วตลอดกาลนาน เราเจริญเมตตาจิตตลอด ๗ ปี
ไม่ได้กลับมาสู่โลกนี้อีกตลอด ๗ สังวัฏฏกัปและวิวัฏฏกัป๑ ภิกษุทั้งหลาย เมื่อโลกเสื่อม
เราเข้าถึงพรหมโลกชั้นอาภัสสระ เมื่อโลกเจริญ เราเข้าถึงพรหมวิมานอันว่างเปล่า
ภิกษุทั้งหลาย ในพรหมวิมานนั้น เราเป็นพรหม เป็นมหาพรหม เป็นผู้
ครอบงำ ไม่ใช่ถูกใครๆ ครอบงำ เป็นผู้เห็นแน่นอน๒ มีอำนาจ เราได้เป็นท้าวสักกะ
ผู้เป็นจอมเทพถึง ๓๖ ครั้ง ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิผู้ทรงธรรม เป็นธรรมราชา
มีมหาสมุทรทั้ง ๔ เป็นขอบเขต เป็นผู้ชนะสงคราม มีชนบทที่ถึงความมั่นคง
ประกอบด้วยรัตนะ ๗ ประการ ตั้งหลายร้อยครั้ง เรานั้นมีรัตนะ ๗ ประการนี้๓ คือ

๑. จักรแก้ว ๒. ช้างแก้ว
๓. ม้าแก้ว ๔. มณีแก้ว
๕. นางแก้ว ๖. คหบดีแก้ว
๗. ขุนพลแก้ว

เราเคยมีบุตรมากกว่าพันคน ล้วนแต่เป็นคนกล้าหาญชาญชัย ย่ำยีข้าศึกได้
เรานั้นปกครองแผ่นดินนี้อันมีมหาสมุทรเป็นขอบเขต โดยธรรม โดยไม่ต้องใช้อาชญา
ไม่ต้องใช้ศัสตรา

เชิงอรรถ :
๑ สังวัฏฏกัป คือ กัปฝ่ายเสื่อม ช่วงระยะเวลาที่โลกกำลังพินาศ วิวัฏฏกัป คือ กัปฝ่ายเจริญ ได้แก่ ช่วงระยะ
เวลาที่โลกกลับฟื้นขึ้นมาใหม่ (ตามนัย วิ.อ. ๑/๑๒/๑๕๘)
๒ เห็นแน่นอน หมายถึงเห็นเหตุการณ์อดีต อนาคต และปัจจุบันได้อย่างชัดเจนด้วยอภิญญาญาณ (องฺ.
สตฺตก.ฏีกา ๓/๖๒/๒๒๔)
๓ ดู ที.ม. ๑๐/๒๔๓-๒๕๑/๑๕๐-๑๕๔ ประกอบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๑๒๐ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๖.อัพยากตวรรค ๙.เมตตสูตร
จงดูวิบากแห่งบุญกุศล
ของบุคคลผู้แสวงหาความสุข
ภิกษุทั้งหลาย เราเจริญเมตตาจิตมา ๗ ปี
ไม่มาสู่โลกนี้อีกตลอด ๗ สังวัฏฏกัปและวิวัฏฏกัป
เมื่อโลกเสื่อม เราเข้าถึงพรหมโลกชั้นอาภัสสระ
เมื่อโลกเจริญ เราเข้าถึงพรหมวิมานอันว่างเปล่า
ในกาลนั้น เราเป็นมหาพรหมผู้มีอำนาจถึง ๗ ครั้ง
เป็นท้าวสักกะผู้เป็นจอมเทพ เสวยเทพสมบัติ ๓๖ ครั้ง
เป็นพระเจ้าจักรพรรดิผู้เป็นใหญ่แห่งชนชาวชมพูทวีป
เป็นกษัตราธิราชผู้ได้รับมูรธาภิเษก เป็นใหญ่ในหมู่มนุษย์
ปกครองปฐพีมณฑลนี้โดยไม่ต้องใช้อาชญา ไม่ต้องใช้ศัสตรา
สั่งสอนคนในปฐพีมณฑลนั้นโดยธรรมสม่ำเสมอ ไม่ผลุนผลัน
ครั้นได้ครองราชสมบัติในปฐพีมณฑลนี้โดยธรรมแล้ว
ได้เกิดในตระกูลมั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีโภคสมบัติมาก
เพียบพร้อมด้วยรัตนะ ๗ ประการ
ที่อำนวยความประสงค์ได้ทุกอย่าง
ฐานะนี้ พระพุทธเจ้าทั้งหลายผู้ทรงสงเคราะห์โลก ทรงแสดงไว้ดีแล้ว
เหตุที่เขาเรียกว่า เจ้าแผ่นดิน ก็เพราะเป็นใหญ่
เราเป็นพระราชาผู้เรืองเดช
มีทรัพย์อันเป็นอุปกรณ์เครื่องปลื้มใจมากมาย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๑๒๑ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๖.อัพยากตวรรค ๑๐.ภริยาสูตร
มีฤทธิ์ มียศ เป็นใหญ่แห่งชนชาวชมพูทวีป
ใครเล่า ได้ฟังแล้วจะไม่เลื่อมใส แม้ชนชั้นกัณหาภิชาติ๑
เพราะฉะนั้นแล ผู้มุ่งประโยชน์ มุ่งความเป็นใหญ่
เมื่อระลึกถึงคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย
พึงเคารพสัทธรรมเถิด
เมตตสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. ภริยาสูตร
ว่าด้วยภรรยา
[๖๓] ครั้งนั้นแล ในเวลาเช้า พระผู้มีพระภาคทรงครองอันตรวาสกถือบาตร
และจีวร เสด็จเข้าไปยังนิเวศน์ของอนาถบิณฑิกคหบดี แล้วประทับนั่งบนพุทธอาสน์
ที่ปูลาดไว้แล้ว สมัยนั้นแล ในนิเวศน์ของอนาถบิณฑิกคหบดี มีเหล่ามนุษย์ส่งเสียง
ดังอื้ออึง อนาถบิณฑิกคหบดีเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาท
แล้วนั่ง ณ ที่สมควร พระผู้มีพระภาคได้ตรัสถามอนาถบิณฑิกคหบดีดังนี้ว่า
“คหบดี เหตุไรหนอ เหล่ามนุษย์ในนิเวศน์ของท่านจึงส่งเสียงดังอื้ออึง เหมือน
ชาวประมงแย่งปลากัน”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ นางสุชาดานี้ ข้าพระองค์พามาจากตระกูลมั่งคั่ง เป็น
สะใภ้ในเรือน นางไม่เชื่อฟังแม่ผัว ไม่เชื่อฟังพ่อผัว ไม่เชื่อฟังสามี แม้แต่พระผู้มี
พระภาค นางก็ไม่สักการะ ไม่เคารพ ไม่นับถือ ไม่บูชา”
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคได้รับสั่งเรียกนางสุชาดาหญิงสะใภ้ในเรือนมา
ตรัสว่า “มานี่ สุชาดา” นางสุชาดาหญิงสะใภ้ในเรือนทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว
เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร พระผู้มี
พระภาคจึงได้ตรัสกับนางสุชาดาหญิงสะใภ้ในเรือนดังนี้ว่า

เชิงอรรถ :
๑ กัณหาภิชาติ หมายถึงบุคคลที่เกิดในตระกูลต่ำ ๕ ตระกูล คือ (๑) ตระกูลจัณฑาล (๒) ตระกูลช่างสาน
(๓) ตระกูลนายพราน (๔) ตระกูลช่างรถ (๕) ตระกูลคนขนขยะซึ่งเป็นตระกูลที่ยากจน (องฺ.ฉกฺก. (แปล)
๒๒/๕๗/๕๔๓-๕๔๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๑๒๒ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๖.อัพยากตวรรค ๑๐.ภริยาสูตร
สุชาดา ภรรยา ๗ จำพวกนี้
ภรรยา ๗ จำพวกไหนบ้าง คือ

๑. ภรรยาดุจเพชฌฆาต ๒. ภรรยาดุจนางโจร
๓. ภรรยาดุจนายหญิง ๔. ภรรยาดุจมารดา
๕. ภรรยาดุจพี่สาวน้องสาว ๖. ภรรยาดุจเพื่อน
๗. ภรรยาดุจทาสี

สุชาดา ภรรยา ๗ จำพวกนี้แล
บรรดาภรรยา ๗ จำพวกนั้น เธอเป็นภรรยาจำพวกไหน
นางสุชาดากราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หม่อมฉันไม่เข้าใจความหมาย
แห่งพระภาษิตที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้โดยย่อนี้อย่างพิสดาร ขอประทานวโรกาส
ขอพระผู้มีพระภาคโปรดทรงแสดงธรรมแก่หม่อมฉัน โดยวิธีที่หม่อมฉันจะเข้าใจ
ความหมายแห่งพระภาษิตที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้โดยย่อนี้ได้อย่างพิสดาร”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “สุชาดา ถ้าเช่นนั้น เธอจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว”
นางสุชาดาหญิงสะใภ้ในเรือนทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้
ตรัสดังนี้ว่า
ภรรยาใดคิดประทุษร้าย ไม่เกื้อกูลอนุเคราะห์
ยินดีต่อชายเหล่าอื่น ดูหมิ่นสามี
เป็นหญิงที่เขาซื้อมาด้วยทรัพย์ พยายามฆ่าสามี
ภรรยาเช่นนี้ เรียกว่า ภรรยาดุจเพชฌฆาต
ภรรยาใดมุ่งจะยักยอกทรัพย์แม้มีจำนวนน้อย
ที่สามีประกอบศิลปกรรม พาณิชยกรรม และกสิกรรมได้มา
ภรรยาเช่นนี้ เรียกว่า ภรรยาดุจนางโจร
ภรรยาใดไม่สนใจการงาน เกียจคร้าน กินจุ
หยาบคาย ดุร้าย มักพูดคำชั่วหยาบ
ข่มขี่สามีผู้ขยันหมั่นเพียร
ภรรยาเช่นนี้ เรียกว่า ภรรยาดุจนายหญิง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๑๒๓ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๖.อัพยากตวรรค ๑๐.ภริยาสูตร
ภรรยาใดเป็นผู้เกื้อกูลอนุเคราะห์ทุกเมื่อ
คอยทะนุถนอมสามี เหมือนมารดาคอยทะนุถนอมบุตร
รักษาทรัพย์ที่สามีหามาได้ไว้
ภรรยาเช่นนี้ เรียกว่า ภรรยาดุจมารดา
ภรรยาใดเป็นเหมือนพี่สาวน้องสาว
มีความเคารพในสามีของตน
มีใจละอายต่อบาป ประพฤติคล้อยตามอำนาจสามี
ภรรยาเช่นนี้ เรียกว่า ภรรยาดุจพี่สาวน้องสาว
ภรรยาใดเห็นสามีแล้วชื่นชมยินดี
เหมือนเพื่อนเห็นเพื่อนผู้จากไปนานแล้วกลับมา
เป็นหญิงมีตระกูล มีศีล มีวัตรปฏิบัติต่อสามี
ภรรยาเช่นนี้ เรียกว่า ภรรยาดุจเพื่อน
ภรรยาใดถูกสามีขู่จะฆ่าจะเฆี่ยนตี ก็ไม่โกรธ สงบเสงี่ยม
ไม่คิดขุ่นเคืองสามี อดทนได้
ไม่โกรธ ประพฤติคล้อยตามอำนาจสามี
ภรรยาเช่นนี้ เรียกว่า ภรรยาดุจทาสี
ภรรยาใดในโลกนี้ ที่เรียกว่า ภรรยาดุจเพชฌฆาต
ภรรยาดุจนางโจร และภรรยาดุจนายหญิง
ภรรยานั้น เป็นผู้ทุศีล หยาบคาย ไม่เอื้อเฟื้อ
เมื่อตายไป ย่อมไปสู่นรก
ส่วนภรรยาใดในโลกนี้ ที่เรียกว่า ภรรยาดุจมารดา
ภรรยาดุจพี่สาวน้องสาว
ภรรยาดุจเพื่อน ภรรยาดุจทาสี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๑๒๔ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๖.อัพยากตวรรค ๑๑.โกธนสูตร
ภรรยานั้น เพราะเป็นผู้ตั้งอยู่ในศีล
ยินดีและสำรวมมานาน
เมื่อตายไป ย่อมไปสู่สุคติโลกสวรรค์
สุชาดา ภรรยา ๗ จำพวกนี้แล
บรรดาภรรยา ๗ จำพวกนั้น เธอเป็นภรรยาจำพวกไหน
นางสุชาดากราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ขอพระผู้มี
พระภาคโปรดทรงจำหม่อมฉันไว้ว่า เป็นภรรยาดุจทาสี”
ภริยาสูตรที่ ๑๐ จบ

๑๑. โกธนสูตร
ว่าด้วยบุคคลผู้มักโกรธ
[๖๔] ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๗ ประการนี้ ที่ศัตรูมุ่งหมาย ที่ศัตรูพึงทำ
ย่อมมาถึงบุคคลผู้มักโกรธ จะเป็นสตรี หรือบุรุษก็ตาม
ธรรม ๗ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ศัตรูในโลกนี้ย่อมปรารถนาต่อศัตรูอย่างนี้ว่า ‘ขอให้เจ้าคนนี้มีผิว
พรรณทรามเถิด’ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะศัตรูย่อมไม่ยินดีให้ศัตรู
มีผิวพรรณงาม ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้มักโกรธ ถูกความโกรธ
ครอบงำ โกรธจัดนี้ แม้อาบน้ำดีแล้ว ไล้ทาดีแล้ว ตัดผม
โกนหนวดแล้วนุ่งผ้าขาวก็จริง แต่บุคคลผู้ถูกความโกรธครอบงำนั้น
ก็เป็นคนมีผิวพรรณทรามอยู่นั่นเอง นี้เป็นธรรมประการที่ ๑ ที่ศัตรู
มุ่งหมาย ที่ศัตรูพึงทำ
๒. ศัตรูในโลกนี้ย่อมปรารถนาต่อศัตรูอย่างนี้ว่า ‘ขอให้เจ้าคนนี้นอน
เป็นทุกข์เถิด’ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะศัตรูย่อมไม่ยินดีให้ศัตรู
นอนสบาย ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้มักโกรธ ถูกความโกรธครอบงำ
โกรธจัดนี้ แม้นอนอยู่บนเตียงมีเท้าเป็นรูปสัตว์ร้าย ลาดด้วยพรม
ขนสัตว์ ลาดด้วยเครื่องลาดมีลายรูปดอกไม้ มีเครื่องลาดหนังชะมด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๑๒๕ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๖.อัพยากตวรรค ๑๑.โกธนสูตร
เครื่องลาดมีเพดาน เครื่องลาดมีหมอน ๒ ข้างก็จริง แต่บุคคลผู้
ถูกความโกรธครอบงำนั้น ก็นอนเป็นทุกข์ อยู่นั่นเอง นี้เป็นธรรม
ประการที่ ๒ ที่ศัตรูมุ่งหมาย ที่ศัตรูพึงทำ
๓. ศัตรูในโลกนี้ย่อมปรารถนาต่อศัตรูอย่างนี้ว่า ‘ขอให้เจ้าคนนี้ อย่าได้
มีความเจริญเลย’ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะศัตรูย่อมไม่ยินดีให้
ศัตรูมีความเจริญ ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้มักโกรธ ถูกความโกรธ
ครอบงำ โกรธจัดนี้ แม้ได้ความเสื่อมก็เข้าใจว่า ‘ตนได้ความเจริญ’
แม้ได้ความเจริญก็เข้าใจว่า ‘ตนได้ความเสื่อม’ ธรรมเหล่านี้เป็น
ข้าศึกต่อกันและกัน ที่บุคคลผู้ถูกความโกรธครอบงำนั้นยึดถือแล้ว
ย่อมเป็นไปเพื่อไม่เกื้อกูล เพื่อทุกข์สิ้นกาลนาน นี้เป็นธรรมประการ
ที่ ๓ ที่ศัตรูมุ่งหมาย ที่ศัตรูพึงทำ
๔. ศัตรูในโลกนี้ย่อมปรารถนาต่อศัตรูอย่างนี้ว่า ‘ขอให้เจ้าคนนี้เป็นคน
ไม่มีโภคทรัพย์เถิด’ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะศัตรูย่อมไม่ยินดีให้
ศัตรูมีโภคทรัพย์ ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้มักโกรธ ถูกความโกรธ
ครอบงำ โกรธจัดนี้ แม้มีโภคทรัพย์ที่หามาได้ด้วยความขยันหมั่นเพียร
เก็บรวบรวมด้วยน้ำพักน้ำแรง อาบเหงื่อต่างน้ำ ประกอบด้วยธรรม
ได้มาโดยธรรมก็จริง แต่พระราชาก็รับสั่งให้ริบโภคทรัพย์ของบุคคล
ผู้ถูกความโกรธครอบงำ นี้เป็นธรรมประการที่ ๔ ที่ศัตรูมุ่งหมาย
ที่ศัตรูพึงทำ
๕. ศัตรูในโลกนี้ย่อมปรารถนาต่อศัตรูอย่างนี้ว่า ‘ขอให้เจ้าคนนี้เป็น
คนไม่มียศเถิด’ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะศัตรูย่อมไม่ยินดีให้ศัตรู
มียศ ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้มักโกรธ ถูกความโกรธครอบงำ
โกรธจัดนี้ แม้มียศที่ได้มาด้วยความไม่ประมาทก็จริง แต่บุคคลผู้
ถูกความโกรธครอบงำก็เสื่อมจากยศนั้น นี้เป็นธรรมประการที่ ๕
ที่ศัตรูมุ่งหมาย ที่ศัตรูพึงทำ
๖. ศัตรูในโลกนี้ย่อมปรารถนาต่อศัตรูอย่างนี้ว่า ‘ขอให้เจ้าคนนี้เป็น
คนไม่มีมิตรเถิด’ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะศัตรูย่อมไม่ยินดีให้ศัตรู

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๑๒๖ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๖.อัพยากตวรรค ๑๑.โกธนสูตร
มีมิตร ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้มักโกรธ ถูกความโกรธครอบงำ
โกรธจัดนี้ แม้มีมิตร อำมาตย์ ญาติ สาโลหิต๑ก็จริง แต่คน
เหล่านั้นก็พากันหลีกเลี่ยงบุคคลผู้ถูกความโกรธครอบงำนั้นไปห่างไกล
นี้เป็นธรรมประการที่ ๖ ที่ศัตรูมุ่งหมาย ที่ศัตรูพึงทำ
๗. ศัตรูในโลกนี้ย่อมปรารถนาต่อศัตรูอย่างนี้ว่า ‘ขอให้เจ้าคนนี้
หลังจากตายแล้วไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรกเถิด’ ข้อนั้น
เพราะเหตุไร เพราะศัตรูย่อมไม่ยินดีให้ศัตรูไปสู่สุคติ ภิกษุทั้งหลาย
บุคคลผู้มักโกรธ ถูกความโกรธครอบงำ โกรธจัดนี้ ประพฤติทุจริต
ทางกาย ประพฤติทุจริตทางวาจา ประพฤติทุจริตทางใจ หลังจาก
ตายแล้ว ย่อมไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก นี้เป็นธรรม
ประการที่ ๗ ที่ศัตรูมุ่งหมาย ที่ศัตรูพึงทำ
ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๗ ประการนี้แล ที่ศัตรูมุ่งหมาย ที่ศัตรูพึงทำ ย่อมมา
ถึงบุคคลผู้มักโกรธ จะเป็นสตรี หรือบุรุษก็ตาม
บุคคลผู้มักโกรธนั้น
มีผิวพรรณทราม นอนเป็นทุกข์
ได้ความเจริญแล้ว ก็ยังถึงความเสื่อม
บุคคลผู้มักโกรธ ถูกความโกรธครอบงำ
ทำการเข่นฆ่าทางกาย วาจา
ย่อมประสบความเสื่อมทรัพย์

เชิงอรรถ :
๑ อำมาตย์ หมายถึงเพื่อนที่รักกันมาก (สุหัชชา) สามารถปรึกษาหารือกันได้ทุกเรื่อง ทุกโอกาส
ญาติ หมายถึงบิดามารดาของสามีและเครือญาติฝ่ายบิดามารดาของสามี หรือบิดามารดาของภรรยาและ
เครือญาติฝ่ายบิดามารดาของภรรยา
สาโลหิต หมายถึงผู้ร่วมสายเลือดเดียวกัน ได้แก่ ปู่ หรือตา ย่า หรือยาย บิดาหรือมารดา บุตรหรือธิดา
พี่ชายน้องชาย พี่สาวน้องสาว (เทียบ องฺ.ติก.อ. ๒/๗๖/๒๒๗, องฺ.ทสก.อ. ๓/๗๑/๓๕๘, องฺ.ทสก.ฏีกา ๓/๗๑-
๗๔/๔๒๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๑๒๗ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๖.อัพยากตวรรค ๑๑.โกธนสูตร
บุคคลผู้มัวเมาด้วยความมัวเมาเพราะโกรธ
ย่อมถึงความเสื่อมยศ
ญาติมิตรและสหาย ย่อมหลีกเว้นบุคคลผู้มักโกรธ
ความโกรธก่อความเสียหาย
ความโกรธทำจิตให้กำเริบ
บุคคลผู้มักโกรธย่อมไม่รู้ภัยที่เกิดจากภายใน
บุคคลผู้โกรธย่อมไม่รู้อรรถ
บุคคลผู้โกรธย่อมไม่เห็นธรรม
ความโกรธครอบงำนรชนในกาลใด
ความมืดย่อมมีในกาลนั้น
บุคคลผู้โกรธย่อมก่อกรรมที่ทำได้ยากเหมือนทำได้ง่าย
ภายหลังเมื่อหายโกรธแล้ว
เขาย่อมเดือดร้อนเหมือนถูกไฟไหม้
บุคคลผู้โกรธย่อมแสดงความเก้อยาก๑ก่อน
เหมือนไฟแสดงควันก่อน
ความโกรธเกิดขึ้นในกาลใด
คนทั้งหลายย่อมโกรธในกาลนั้น
บุคคลผู้โกรธไม่มีหิริ ไม่มีโอตตัปปะ
ไม่มีคำพูดที่น่าเคารพ
บุคคลผู้ถูกความโกรธครอบงำไม่มีความสว่างแม้แต่น้อย
กรรมเหล่าใดห่างไกลจากธรรม เป็นเหตุให้เดือดร้อน
เราจักบอกกรรมเหล่านั้น
เธอทั้งหลายจงฟังธรรมนั้นไปตามลำดับ

เชิงอรรถ :
๑ ความเก้อยาก ในที่นี้หมายถึงความทุศีล อาการที่ล่วงละเมิดสิกขาบท โดยไม่รู้สึกละอาย ไม่ยอมรับ ทั้งยัง
รุกรานสงฆ์ว่า ‘ท่านเห็น ท่านได้ยินหรือว่าข้าพเจ้าทำผิดอะไร พวกท่านยกอาบัติอะไรขึ้นปรับข้าพเจ้า’
(เทียบ องฺ.ทสก.อ. ๓/๓๑/๓๔๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๑๒๘ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๖.อัพยากตวรรค ๑๑.โกธนสูตร
บุคคลผู้โกรธ ฆ่าบิดาก็ได้
บุคคลผู้โกรธ ฆ่ามารดาก็ได้
บุคคลผู้โกรธ ฆ่าพราหมณ์๑ก็ได้
บุคคลผู้โกรธ ฆ่าปุถุชนก็ได้
ลูกที่มารดาเลี้ยงไว้จนได้ลืมตามองโลกนี้
เป็นผู้มีกิเลสหนา โกรธขึ้นมา
ย่อมฆ่าแม้มารดาผู้ให้ชีวิตนั้น
สัตว์เหล่านั้นมีตนเป็นเครื่องเปรียบเทียบ
เพราะตนเป็นที่รักอย่างยิ่ง
ผู้โกรธหมกมุ่นในรูปต่างๆ๒ ย่อมฆ่าตนเองเพราะเหตุต่างๆ
คือฆ่าตนเองด้วยดาบบ้าง กินยาพิษตายบ้าง
ใช้เชือกผูกคอตายบ้าง กระโดดลงในซอกเขาตายบ้าง
คนเหล่านั้นเมื่อทำกรรม
อันมีแต่ความเสื่อมและทำลายตน ก็ไม่รู้สึก
ความเสื่อมเกิดจากความโกรธ
ตามที่กล่าวมา ความโกรธนี้ เป็นบ่วงแห่งมัจจุ
มีถ้ำเป็นที่อยู่อาศัย โดยรูปของความโกรธ
พึงตัดความโกรธนั้นด้วยทมะ (ความข่มใจ)
คือปัญญา๓ ความเพียร๔และทิฏฐิ๕

เชิงอรรถ :
๑ พราหมณ์ ในที่นี้หมายถึงพระอรหันตขีณาสพ (องฺ.สตฺตก.อ. ๓/๖๔/๑๙๗)
๒ รูปต่างๆ ในที่นี้หมายถึงอารมณ์ต่างๆ (องฺ.สตฺตก.อ.๓/๖๔/๑๙๗)
๓ ปัญญา ในที่นี้หมายถึงวิปัสสนาปัญญา (องฺ.สตฺตก.อ.๓/๖๔/๑๙๗)
๔ ความเพียร ในที่นี้หมายถึงความเพียรทางกายและจิตอันประกอบด้วยวิปัสสนาปัญญา (องฺ.สตฺตก.อ.
๓/๖๔/๑๙๗)
๕ ทิฏฐิ ในที่นี้หมายถึงสัมมาทิฏฐิที่เป็นองค์แห่งอริยมรรค (องฺ.สตฺตก.อ.๓/๖๔/๑๙๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๑๒๙ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๖.อัพยากตวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค
บัณฑิตพึงตัดอกุศลธรรมแต่ละอย่าง
พึงศึกษาในธรรมเหมือนอย่างนั้น
เธอทั้งหลายปรารถนาอยู่ว่า
‘ขอความเป็นผู้เก้อยากอย่าได้มีแก่เราทั้งหลาย’
บุคคลผู้ปราศจากความโกรธ ไม่มีความคับแค้นใจ
ปราศจากความโลภ ไม่มีความริษยา
ฝึกฝนตนแล้ว ละความโกรธได้แล้ว
เป็นผู้ไม่มีอาสวะ ปรินิพพาน
โกธนสูตรที่ ๑๑ จบ
อัพยากตวรรคที่ ๖ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. อัพยากตสูตร ๒. ปุริสคติสูตร
๓. ติสสพรหมสูตร ๔. สีหเสนาปติสูตร
๕. อรักเขยยสูตร ๖. กิมิลสูตร
๗. สัตตธัมมสูตร ๘. จปลายมานสูตร
๙. เมตตสูตร ๑๐. ภริยาสูตร
๑๑. โกธนสูตร


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๑๓๐ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๗.มหาวรรค ๑.หิริโอตัปปสูตร
๗. มหาวรรค
หมวดว่าด้วยเรื่องใหญ่
๑. หิริโอตตัปปสูตร
ว่าด้วยผลแห่งหิริและโอตตัปปะ
[๖๕] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย เมื่อหิริและโอตตัปปะไม่มี
อินทรียสังวรของบุคคลผู้มีหิริและโอตตัปปะวิบัติ ชื่อว่ามีเหตุถูกขจัดแล้ว เมื่อ
อินทรียสังวรไม่มี ศีลของบุคคลผู้มีอินทรียสังวรวิบัติ ชื่อว่ามีเหตุถูกขจัดแล้ว เมื่อ
ศีลไม่มี สัมมาสมาธิของบุคคลผู้มีศีลวิบัติ ชื่อว่ามีเหตุถูกขจัดแล้ว เมื่อสัมมาสมาธิ
ไม่มี ยถาภูตญาณทัสสนะของบุคคลผู้มีสัมมาสมาธิวิบัติ ชื่อว่ามีเหตุถูกขจัดแล้ว
เมื่อยถาภูตญาณทัสสนะไม่มี นิพพิทาและวิราคะของบุคคลผู้มียถาภูตญาณทัสสนะ-
วิบัติ ชื่อว่ามีเหตุถูกขจัดแล้ว เมื่อนิพพิทาและวิราคะไม่มี วิมุตติญาณทัสสนะของ
บุคคลผู้มีนิพพิทาและวิราคะวิบัติ ชื่อว่ามีเหตุถูกขจัดแล้ว
ภิกษุทั้งหลาย ต้นไม้ที่มีกิ่งและใบวิบัติแล้ว สะเก็ด เปลือก กระพี้ แม้แก่นของ
ต้นไม้นั้น ย่อมไม่ถึงความบริบูรณ์ แม้ฉันใด ภิกษุทั้งหลาย เมื่อหิริและโอตตัปปะ
ไม่มี อินทรียสังวรของบุคคลผู้มีหิริและโอตตัปปะวิบัติ ชื่อว่ามีเหตุถูกขจัดแล้ว ฯลฯ
วิมุตติญาณทัสสนะของบุคคลผู้มีนิพพิทาและวิราคะวิบัติ ชื่อว่ามีเหตุถูกขจัดแล้ว
ฉันนั้นเหมือนกัน
ภิกษุทั้งหลาย เมื่อหิริและโอตตัปปะมี อินทรียสังวรของบุคคลผู้สมบูรณ์ด้วย
หิริและโอตตัปปะ ชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์ เมื่ออินทรียสังวรมี ศีลของบุคคลผู้สมบูรณ์
ด้วยอินทรียสังวร ชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์ เมื่อศีลมี สัมมาสมาธิของบุคคลผู้สมบูรณ์
ด้วยศีล ชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์ เมื่อสัมมาสมาธิมี ยถาภูตญาณทัสสนะของบุคคลผู้
สมบูรณ์ด้วยสัมมาสมาธิ ชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์ เมื่อยถาภูตญาณทัสสนะมี นิพพิทา
และวิราคะของบุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยยถาภูตญาณทัสสนะ ชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์ เมื่อ
นิพพิทาและวิราคะมี วิมุตติญาณทัสสนะของบุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยนิพพิทาและวิราคะ
ชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๑๓๑ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๗.มหาวรรค ๒.สัตตสุริยสูตร
ภิกษุทั้งหลาย ต้นไม้ที่มีกิ่งและใบสมบูรณ์ สะเก็ด เปลือก กระพี้ แม้แก่นของ
ต้นไม้นั้น ย่อมถึงความบริบูรณ์ แม้ฉันใด ภิกษุทั้งหลาย เมื่อหิริและโอตตัปปะมี
อินทรียสังวรของบุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยหิริและโอตตัปปะ ชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์ ฯลฯ
วิมุตติญาณทัสสนะของบุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยนิพพิทาและวิราคะ ชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์
ฉันนั้นเหมือนกัน”
หิริโอตตัปปสูตรที่ ๑ จบ

๒. สัตตสุริยสูตร
ว่าด้วยดวงอาทิตย์ ๗ ดวง
[๖๖] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ อัมพปาลีวัน เขตกรุงเวสาลี ณ ที่นั้นแล
พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย” ภิกษุเหล่านั้น
ทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า
“ภิกษุทั้งหลาย สังขารทั้งหลายเป็นสภาวะไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืน ไม่น่าชื่นชม นี้เป็น
ข้อกำหนดควรเบื่อหน่าย ควรคลายกำหนัด ควรหลุดพ้นในสังขารทั้งปวง
ภิกษุทั้งหลาย ขุนเขาสิเนรุ ยาว ๘๔,๐๐๐ โยชน์ กว้าง ๘๔,๐๐๐ โยชน์
หยั่งลงในมหาสมุทร ๘๔,๐๐๐ โยชน์ สูงจากมหาสมุทรขึ้นไป ๘๔,๐๐๐ โยชน์
มีสมัยที่เวลาผ่านไปยาวนาน บางครั้งบางคราว ฝนไม่ตกหลายปี หลายร้อยปี
หลายพันปี หลายแสนปี เมื่อฝนไม่ตก พีชคาม ภูตคาม และติณชาติที่ใช้เข้ายา
ป่าไม้ใหญ่ ย่อมเฉา เหี่ยวแห้ง เป็นอยู่ไม่ได้ ฉันใด
สังขารทั้งหลายก็ฉันนั้น เป็นสภาวะไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืน ไม่น่าชื่นชม นี้เป็นข้อ
กำหนดควรเบื่อหน่าย ควรคลายกำหนัด ควรหลุดพ้นในสังขารทั้งปวง
มีสมัยที่เวลาผ่านไปยาวนาน บางครั้งบางคราว มีดวงอาทิตย์ดวงที่ ๒
ปรากฏ เพราะดวงอาทิตย์ดวงที่ ๒ ปรากฏ แม่น้ำน้อย หนองน้ำทุกแห่ง ระเหย
เหือดแห้ง ไม่มีน้ำ ฉันใด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๑๓๒ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๗.มหาวรรค ๒.สัตตสุริยสูตร
สังขารทั้งหลายก็ฉันนั้น เป็นสภาวะไม่เที่ยง ฯลฯ ควรหลุดพ้นในสังขารทั้งปวง
มีสมัยที่เวลาผ่านไปยาวนาน บางครั้งบางคราว มีดวงอาทิตย์ดวงที่ ๓ ปรากฏ
เพราะดวงอาทิตย์ดวงที่ ๓ ปรากฏ แม่น้ำสายใหญ่ๆ คือ คงคา ยมนา อจิรวดี สรภู
มหี ทุกแห่ง ระเหย เหือดแห้ง ไม่มีน้ำ ฉันใด
สังขารทั้งหลายก็ฉันนั้น เป็นสภาวะไม่เที่ยง ฯลฯ ควรหลุดพ้นในสังขารทั้งปวง
มีสมัยที่เวลาผ่านไปยาวนาน บางครั้งบางคราว มีดวงอาทิตย์ดวงที่ ๔ ปรากฏ
เพราะดวงอาทิตย์ดวงที่ ๔ ปรากฏ แหล่งน้ำใหญ่ๆ ที่เป็นแดนไหลมารวมกันของแม่
น้ำใหญ่ๆ เหล่านี้ คือ สระอโนดาด สระสีหปปาตะ สระรถการะ สระกัณณมุณฑะ
สระกุณาลา สระฉัททันต์ สระมันทากินี ทุกแห่ง ระเหย เหือดแห้ง ไม่มีน้ำ ฉันใด
สังขารทั้งหลายก็ฉันนั้น เป็นสภาวะไม่เที่ยง ฯลฯ ควรหลุดพ้นในสังขารทั้งปวง
มีสมัยที่เวลาผ่านไปยาวนาน บางครั้งบางคราว มีดวงอาทิตย์ดวงที่ ๕ ปรากฏ
เพราะดวงอาทิตย์ดวงที่ ๕ ปรากฏ น้ำในมหาสมุทรลึก ๑๐๐ โยชน์ก็ดี ๒๐๐ โยชน์
ก็ดี ๓๐๐ โยชน์ก็ดี ๔๐๐ โยชน์ก็ดี ๕๐๐ โยชน์ก็ดี ๖๐๐ โยชน์ก็ดี ๗๐๐ โยชน์ก็ดี
งวดลงเหลืออยู่เพียง ๗ ชั่วต้นตาลก็มี ๖ ชั่วต้นตาลก็มี ๕ ชั่วต้นตาลก็มี ๔ ชั่ว
ต้นตาลก็มี ๓ ชั่วต้นตาลก็มี ๒ ชั่วต้นตาลก็มี ชั่วต้นตาลเดียวก็มี เหลืออยู่เพียง
๗ ชั่วคน ๖ ชั่วคน ๕ ชั่วคน ๔ ชั่วคน ๓ ชั่วคน ๒ ชั่วคน ชั่วคนเดียว ชั่วครึ่ง
คนเพียงเอว เพียงเข่า เพียงแค่ข้อเท้า ภิกษุทั้งหลาย น้ำในมหาสมุทรยังเหลืออยู่
เพียงในรอยเท้าโคในที่นั้น ๆ เปรียบเหมือนในฤดูแล้ง เมื่อฝนเม็ดใหญ่ ๆ ตกลงมา
น้ำเหลืออยู่ในรอยเท้าโคในที่นั้น ๆ ฉะนั้นเพราะดวงอาทิตย์ดวงที่ ๕ ปรากฏ น้ำใน
มหาสมุทรแม้เพียงข้อนิ้วก็ไม่มี ฉันใด
สังขารทั้งหลายก็ฉันนั้น เป็นสภาวะไม่เที่ยง ฯลฯ ควรหลุดพ้นในสังขารทั้งปวง
มีสมัยที่เวลาผ่านไปยาวนาน บางครั้งบางคราว มีดวงอาทิตย์ดวงที่ ๖ ปรากฏ
เพราะดวงอาทิตย์ดวงที่ ๖ ปรากฏ แผ่นดินใหญ่นี้ และขุนเขาสิเนรุ ย่อมมีกลุ่มควัน
พวยพุ่งขึ้น ภิกษุทั้งหลาย นายช่างหม้อเผาหม้อที่เขาปั้นดีแล้ว ย่อมมีกลุ่มควัน
พวยพุ่งขึ้น ฉันใด ภิกษุทั้งหลาย เพราะดวงอาทิตย์ดวงที่ ๖ ปรากฏ แผ่นดินใหญ่นี้
และขุนเขาสิเนรุ ย่อมมีกลุ่มควันพวยพุ่งขึ้น ฉันนั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๑๓๓ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๗.มหาวรรค ๒.สัตตสุริยสูตร
สังขารทั้งหลายก็ฉันนั้น เป็นสภาวะไม่เที่ยง ฯลฯ ควรหลุดพ้นในสังขารทั้งปวง
มีสมัยที่เวลาผ่านไปยาวนาน บางครั้งบางคราว มีดวงอาทิตย์ดวงที่ ๖ ปรากฏ
เพราะดวงอาทิตย์ดวงที่ ๖ ปรากฏ แผ่นดินใหญ่นี้ และขุนเขาสิเนรุ เกิดไฟลุกโชน
มีแสงเพลิงเป็นอันเดียวกัน เมื่อแผ่นดินใหญ่นี้ และขุนเขาสิเนรุถูกไฟเผาผลาญอยู่
เปลวไฟถูกลมพัดขึ้นไปจนถึงพรหมโลก เมื่อขุนเขาสิเนรุถูกไฟเผาไหม้ กำลังพินาศ
ถูกกองเพลิงใหญ่เผาทั่วตลอดแล้ว ยอดเขาแม้ขนาด ๑๐๐ โยชน์ ๒๐๐ โยชน์ ๓๐๐
โยชน์ ๔๐๐ โยชน์ ๕๐๐ โยชน์ ย่อมพังทะลาย เมื่อแผ่นดินใหญ่นี้ และขุนเขา
สิเนรุถูกไฟเผาผลาญอยู่ ขี้เถ้าและเขม่าย่อมไม่ปรากฏ ภิกษุทั้งหลาย เมื่อเนยใสหรือ
น้ำมันถูกไฟเผาผลาญอยู่ ขี้เถ้าและเขม่าย่อมไม่ปรากฏ ฉันใด เมื่อแผ่นดินใหญ่นี้
และขุนเขาสิเนรุถูกไฟเผาผลาญอยู่ ขี้เถ้าและเขม่า ก็ย่อมไม่ปรากฏ ฉันนั้น
สังขารทั้งหลายก็ฉันนั้น เป็นสภาวะไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืน ไม่น่าชื่นชม นี้เป็น
ข้อกำหนดควรเบื่อหน่าย ควรคลายกำหนัด ควรหลุดพ้นในสังขารทั้งปวง
ในข้อนั้น ใครเล่า ชื่อว่าเป็นผู้รู้ ใครเล่า ชื่อว่าเป็นผู้เชื่อว่า ‘แผ่นดินใหญ่นี้
และขุนเขาสิเนรุถูกไฟเผาผลาญ พินาศ ไม่เหลืออยู่’ นอกจากอริยสาวกผู้มีบทอัน
เห็นแล้ว๑
ภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว ครูชื่อสุเนตตะ๒ เป็นเจ้าลัทธิผู้ปราศจาก
ความกำหนัดในกามทั้งหลาย มีสาวกหลายร้อยคน ได้แสดงธรรมแก่สาวกทั้งหลาย
เพื่อความเป็นผู้เกิดร่วมกับเทวดาชั้นพรหมโลก และเมื่อครูสุเนตตะแสดงธรรมเพื่อ
ความเป็นผู้เกิดร่วมกับเทวดาชั้นพรหมโลก เหล่าสาวกผู้รู้ชัดคำสอนอย่างดียิ่ง
หลังจากตายแล้ว ได้ไปเกิดในสุคติพรหมโลก ส่วนเหล่าสาวกผู้ไม่รู้ชัดคำสอน
อย่างดียิ่ง หลังจากตายแล้ว บางพวกได้ไปเกิดร่วมกับเทวดาชั้นปรนิมมิตวสวัตดี
บางพวกได้ไปเกิดร่วมกับเทวดาชั้นนิมมานรดี บางพวกได้ไปเกิดร่วมกับเทวดาชั้นดุสิต
บางพวกได้ไปเกิดร่วมกับเทวดาชั้นจาตุมหาราช บางพวกได้ไปเกิดร่วมกับขัตติย

เชิงอรรถ :-
๑ ผู้มีบทอันเห็นแล้ว ในที่นี้หมายถึงพระอริยสาวกผู้เป็นโสดาบัน (องฺ.สตฺตก.อ. ๓/๖๖/๑๙๙)
๒ ดู องฺ.ฉกฺก. (แปล) ๒๒/๕๔/๕๒๙

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๑๓๔ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๗.มหาวรรค ๒.สัตตสุริยสูตร
มหาศาล บางพวกได้ไปเกิดร่วมกับพราหมณมหาศาล บางพวกได้ไปเกิดร่วมกับ
คหบดีมหาศาล๑
ครั้งนั้นแล ครูสุเนตตะได้มีความคิดอย่างนี้ว่า ‘การที่เรามีคติในสัมปรายภพ
เสมอเหมือนกับเหล่าสาวก ไม่สมควรเลย ทางที่ดี เราควรเจริญเมตตาให้ยิ่งขึ้น’
ต่อจากนั้น ครูสุเนตตะได้เจริญเมตตาจิตตลอด ๗ ปี แล้วไม่มาสู่โลกนี้ตลอด
๗ สังวัฏฏกัปและวิวัฏฏกัป ภิกษุทั้งหลาย เมื่อโลกเสื่อม ครูสุเนตตะเข้าถึงพรหม
โลกชั้นอาภัสสระ เมื่อโลกเจริญครูสุเนตตะเข้าถึงพรหมวิมานอันว่างเปล่า
ภิกษุทั้งหลาย ในพรหมวิมานนั้น ครูสุเนตตะเป็นพรหม เป็นมหาพรหม
เป็นผู้ครอบงำ ไม่ใช่ถูกใครๆ ครอบงำ เป็นผู้เห็นแน่นอน มีอำนาจ ครูสุเนตตะได้
เป็นท้าวสักกะ ผู้เป็นจอมเทพถึง ๓๖ ครั้ง ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิผู้ทรงธรรม
เป็นธรรมราชา มีมหาสมุทรทั้ง ๔ เป็นขอบเขต เป็นผู้ชนะสงคราม มีชนบทที่ถึง
ความมั่นคง ประกอบด้วยรัตนะ ๗ ประการ ตั้งหลายร้อยครั้ง ครูสุเนตตะเคยมี
บุตรมากกว่าพันคน ล้วนแต่เป็นคนกล้าหาญชาญชัย ย่ำยีข้าศึกได้ ครูสุเนตตะนั้น
ปกครองแผ่นดินนี้อันมีมหาสมุทรเป็นขอบเขต โดยธรรม โดยไม่ต้องใช้อาชญา ไม่ต้อง
ใช้ศัสตรา
ภิกษุทั้งหลาย ครูสุเนตตะนั้นเป็นผู้มีอายุยืนนานอย่างนี้ เป็นผู้ดำรงอยู่ได้นาน
อย่างนี้ แต่ก็ไม่พ้นจากชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส
เราจึงกล่าวว่า ไม่หลุดพ้นจากทุกข์
ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะไม่รู้แจ้งแทงตลอดธรรม ๔ ประการ
ธรรม ๔ ประการ๒ อะไรบ้าง คือ
๑. เพราะไม่รู้แจ้งแทงตลอดอริยศีล
๒. เพราะไม่รู้แจ้งแทงตลอดอริยสมาธิ

เชิงอรรถ :
๑ มหาศาล หมายถึงผู้มีทรัพย์มาก คือ ขัตติยมหาศาลมีราชทรัพย์ ๑๐๐-๑,๐๐๐ โกฏิ พราหมณมหาศาล
มีทรัพย์ ๘๐ โกฏิ คหบดีมหาศาลมีทรัพย์ ๔๐ โกฏิ (ที.ม.อ. ๒/๒๑๐/๑๙๓)
๒ ดู องฺ.จตุกฺก. (แปล) ๒๑/๑/๑-๒, อภิ.ก. ๓๗/๒๘๑/๑๐๘

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๑๓๕ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๗.มหาวรรค ๓.นคโรปมสูตร
๓. เพราะไม่รู้แจ้งแทงตลอดอริยปัญญา
๔. เพราะไม่รู้แจ้งแทงตลอดอริยวิมุตติ
ภิกษุทั้งหลาย เราได้รู้แจ้งแทงตลอดอริยศีล เราได้รู้แจ้งแทงตลอดอริยสมาธิ
เราได้รู้แจ้งแทงตลอดอริยปัญญา เราได้รู้แจ้งแทงตลอดอริยวิมุตติ เราถอนภวตัณหา
ได้แล้ว ภวเนตติ๑สิ้นไปแล้ว บัดนี้ภพใหม่ไม่มีอีก”
พระผู้มีพระภาคผู้พระสุคตศาสดา ได้ตรัสเวยยากรณภาษิตนี้แล้ว จึงได้ตรัส
คาถาประพันธ์ต่อไปอีกว่า
พระโคดมผู้มียศตรัสรู้ธรรมเหล่านี้ คือ
ศีล สมาธิ ปัญญา และวิมุตติอันยอดเยี่ยม
ดังนั้น พระพุทธเจ้าจึงตรัสบอกธรรม
แก่ภิกษุทั้งหลายเพื่อความรู้ยิ่ง
พระศาสดาผู้มีพระจักษุ๒ทรงทำที่สุดแห่งทุกข์ ปรินิพพาน๓แล้ว
สัตตสุริยสูตรที่ ๒ จบ

๓. นคโรปมสูตร
ว่าด้วยธรรมเปรียบด้วยเครื่องป้องกันนคร
[๖๗] ภิกษุทั้งหลาย ในกาลใด ปัจจันตนคร(เมืองชายแดน)ของพระราชา
เป็นนครที่ป้องกันไว้ดีด้วยเครื่องป้องกันนคร ๗ ประการ และได้อาหาร ๔ อย่าง
ตามความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ได้โดยไม่ลำบาก ในกาลนั้น เราจึงเรียกปัจจันต-
นครของพระราชานี้ว่า ศัตรูหมู่ปัจจามิตรภายนอกทำอะไรไม่ได้

เชิงอรรถ :
๑ ภวเนตติ เป็นชื่อของตัณหา หมายถึงเชือกผูกสัตว์ไว้ในภพ (ภวรชฺชุ) (องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๑/๒๗๙)
๒ จักษุ ในที่นี้หมายถึงจักษุ ๕ คือ (๑) จักษุ (ตาเนื้อ) (๒) ทิพพจักษุ (ตาทิพย์) (๓) ปัญญาจักษุ (ตาปัญญา)
(๔) พุทธจักษุ (ตาพระพุทธเจ้า) (๕) สมันตจักษุ (ตาเห็นรอบ) (องฺ.สตฺตก.อ. ๓/๖๖/๑๙๙)
๓ ปรินิพพาน ในที่นี้หมายถึงดับกิเลสได้สิ้นเชิง (ที.ม.อ. ๒/๑๘๖/๑๖๙, องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๑/๒๗๙)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๑๓๖ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๗.มหาวรรค ๓.นคโรปมสูตร
ปัจจันตนครชื่อว่าป้องกันดีด้วยเครื่องป้องกันนคร ๗ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ปัจจันตนครของพระราชามีเสาระเนียดขุดหลุมฝังลึกไว้เป็นอย่างดี
ไม่หวั่นไหว ไม่คลอนแคลน ปัจจันตนครของพระราชาชื่อว่าป้อง
กันดี เพื่อคุ้มกันภัยภายในและป้องกันอันตรายภายนอก ด้วยเครื่อง
ป้องกันนครประการที่ ๑ นี้
๒. ปัจจันตนครของพระราชามีคูลึกและกว้าง ปัจจันตนครของพระราชา
ชื่อว่าป้องกันดีเพื่อคุ้มกันภัยภายในและป้องกันอันตรายภายนอก
ด้วยเครื่องป้องกันนครประการที่ ๒ นี้
๓. ปัจจันตนครของพระราชามีทางเดินได้รอบ ทั้งสูงและกว้าง ปัจจันต
นครของพระราชาชื่อว่าป้องกันดี เพื่อคุ้มกันภัยภายในและป้องกัน
อันตรายภายนอก ด้วยเครื่องป้องกันนครประการที่ ๓ นี้
๔. ปัจจันตนครของพระราชามีการสะสมอาวุธไว้มาก ทั้งที่เป็นอาวุธ
แหลมยาวและอาวุธมีคม ปัจจันตนครของพระราชาชื่อว่าป้องกันดี
เพื่อคุ้มกันภัยภายในและป้องกันอันตรายภายนอก ด้วยเครื่อง
ป้องกันนครประการที่ ๔ นี้
๕. ปัจจันตนครของพระราชามีกองพลตั้งอาศัยอยู่มาก คือ พลช้าง พล
ม้า พลรถ พลธนู หน่วยเชิญธง หน่วยจัดกระบวนทัพ หน่วยพลาธิ-
การ หน่วยเสนาธิการ หน่วยจู่โจม หน่วยทหารหาญ หน่วยกล้าตาย
หน่วยทหารเกราะหนัง หน่วยทหารทาส ปัจจันตนครของพระราชา
ชื่อว่าป้องกันดี เพื่อคุ้มกันภัยภายในและป้องกันอันตรายภายนอก
ด้วยเครื่องป้องกันนครประการที่ ๕ นี้
๖. ปัจจันตนครของพระราชามีทหารยามฉลาด เฉียบแหลม มีปัญญา
คอยกันคนที่ไม่รู้จักไม่ให้เข้าไป ให้คนที่รู้จักเข้าไป ปัจจันตนครของ
พระราชาชื่อว่าป้องกันดี เพื่อคุ้มกันภัยภายในและป้องกันอันตราย
ภายนอก ด้วยเครื่องป้องกันนครประการที่ ๖ นี้
๗. ปัจจันตนครของพระราชามีกำแพงสูงและกว้าง พร้อมด้วยป้อมก่ออิฐ
ถือปูนดี ปัจจันตนครของพระราชาชื่อว่าป้องกันดี เพื่อคุ้มกันภัย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๑๓๗ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๗.มหาวรรค ๓.นคโรปมสูตร
ภายในและป้องกันอันตรายภายนอก ด้วยเครื่องป้องกันนครประการ
ที่ ๗ นี้
อาหาร ๔ อย่างที่ได้ตามความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ได้โดยไม่ลำบาก
อะไรบ้าง คือ
๑. ปัจจันตนครของพระราชานี้ มีการสะสมหญ้า ไม้ และน้ำไว้มาก
เพื่อความอุ่นใจ เพื่อความไม่สะดุ้งกลัว เพื่อความอยู่ผาสุกของ
ประชาชนภายใน และเพื่อป้องกันอันตรายภายนอก
๒. ปัจจันตนครของพระราชา มีการสะสมข้าวสาลี และข้าวเหนียว
ไว้มาก เพื่อความอุ่นใจ เพื่อความไม่สะดุ้งกลัว เพื่อความอยู่ผาสุก
ของประชาชนภายใน และเพื่อป้องกันอันตรายภายนอก
๓. ปัจจันตนครของพระราชา มีการสะสมอปรัณณชาติ คือ งา ถั่วเขียว
ถั่วทอง ไว้มาก เพื่อความอุ่นใจ เพื่อความไม่สะดุ้งกลัว เพื่อความ
อยู่ผาสุกของประชาชนภายใน และเพื่อป้องกันอันตรายภายนอก
๔. ปัจจันตนครของพระราชา มีการสะสมเภสัช คือ เนยใส เนยข้น
น้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อย เกลือ ไว้มาก เพื่อความอุ่นใจ เพื่อความไม่
สะดุ้งกลัว เพื่อความอยู่ผาสุกของประชาชนภายใน และเพื่อป้องกัน
อันตรายภายนอก
ภิกษุทั้งหลาย อาหาร ๔ อย่างนี้แล ที่ได้ตามความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก
ได้โดยไม่ลำบาก
ภิกษุทั้งหลาย ในกาลใด ปัจจันตนครของพระราชาเป็นนครป้องกันไว้ดี ด้วย
เครื่องป้องกันนคร ๗ ประการนี้ และได้อาหาร ๔ ประการนี้ตามความปรารถนา
ได้โดยไม่ยาก ได้โดยไม่ลำบาก ในกาลนั้น เราจึงเรียกปัจจันตนครของพระราชานี้ว่า
ศัตรูหมู่ปัจจามิตรภายนอกทำอะไรไม่ได้
ภิกษุทั้งหลาย ในทำนองเดียวกัน ในกาลใด อริยสาวกประกอบด้วยสัทธรรม
๗ ประการ และได้ฌาน ๔ ประการ อันมีในจิตยิ่งซึ่งเป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๑๓๘ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๗.มหาวรรค ๓.นคโรปมสูตร
ตามความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ได้โดยไม่ลำบาก ในกาลนั้น เราจึงเรียกอริย-
สาวกนี้ว่า มารมีบาปก็ทำอะไรไม่ได้
อริยสาวกประกอบด้วยสัทธรรม ๗ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. อริยสาวกเป็นผู้มีศรัทธา คือเชื่อปัญญาเครื่องตรัสรู้ของตถาคตว่า
‘แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ฯลฯ๑ เป็นพระพุทธเจ้า
เป็นพระผู้มีพระภาค’ เปรียบเหมือนปัจจันตนครของพระราชา มี
เสาระเนียดขุดหลุมฝังลึกไว้เป็นอย่างดี ไม่หวั่นไหว ไม่คลอนแคลน
เพื่อคุ้มกันภัยภายในและป้องกันอันตรายภายนอก ภิกษุทั้งหลาย
อริยสาวกเป็นผู้มีศรัทธาเหมือนเสาระเนียด ย่อมละอกุศล เจริญ
กุศล ละธรรมที่มีโทษ เจริญธรรมที่ไม่มีโทษ บริหารตนให้บริสุทธิ์
อริยสาวกประกอบด้วยสัทธรรมประการที่ ๑ นี้
๒. อริยสาวกเป็นผู้มีหิริ คือ ละอายต่อกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต
ละอายต่อการประกอบบาปอกุศลธรรม เปรียบเหมือนปัจจันตนคร
ของพระราชา มีคูลึกและกว้าง เพื่อคุ้มกันภัยภายในและป้องกัน
อันตรายภายนอก ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้มีหิริเหมือนคู
ย่อมละอกุศล เจริญกุศล ละธรรมที่มีโทษ เจริญธรรมที่ไม่มีโทษ
บริหารตนให้บริสุทธิ์ อริยสาวกประกอบด้วยสัทธรรมประการ
ที่ ๒ นี้
๓. อริยสาวกเป็นผู้มีโอตตัปปะ คือ สะดุ้งกลัวต่อกายทุจริต วจีทุจริต
มโนทุจริต สะดุ้งกลัวต่อการประกอบบาปอกุศลธรรม เปรียบเหมือน
ปัจจันตนครของพระราชา มีทางเดินได้รอบ ทั้งสูงและกว้าง เพื่อ
คุ้มกันภัยภายในและป้องกันอันตรายภายนอก ภิกษุทั้งหลาย
อริยสาวกผู้มีโอตตัปปะเหมือนทางเดินรอบกำแพง ย่อมละอกุศล

เชิงอรรถ :
๑ ดูความเต็มในอัฏฐกนิบาต ข้อ ๒๙ (อักขณสูตร) หน้า ๒๗๖ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๑๓๙ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๗.มหาวรรค ๓.นคโรปมสูตร
เจริญกุศล ละธรรมที่มีโทษ เจริญธรรมที่ไม่มีโทษ บริหารตนให้
บริสุทธิ์ อริยสาวกประกอบด้วยสัทธรรมประการที่ ๓ นี้
๔. อริยสาวกเป็นพหูสูต ฯลฯ๑ แทงตลอดดีด้วยทิฏฐิ เปรียบเหมือน
ปัจจันตนครของพระราชา มีการสะสมอาวุธไว้มาก ทั้งที่เป็นอาวุธ
แหลมยาวและอาวุธมีคม เพื่อคุ้มกันภัยภายในและป้องกัน
อันตรายภายนอก ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้มีสุตะเหมือนอาวุธ
ย่อมละอกุศล เจริญกุศล ละธรรมที่มีโทษ เจริญธรรมที่ไม่มีโทษ
บริหารตนให้บริสุทธิ์ อริยสาวกประกอบด้วยสัทธรรมประการที่ ๔ นี้
๕. อริยสาวกเป็นผู้ปรารภความเพียร เพื่อละอกุศลธรรม เพื่อให้กุศล
ธรรมเกิด มีความเข้มแข็ง มีความบากบั่นมั่นคง ไม่ทอดธุระใน
กุศลธรรมทั้งหลายอยู่ เปรียบเหมือนปัจจันตนครของพระราชา มี
กองพลตั้งอาศัยอยู่มาก คือ พลช้าง พลม้า พลรถ พลธนู หน่วย
เชิญธง หน่วยจัดกระบวนทัพ หน่วยพลาธิการ หน่วยเสนาธิการ
หน่วยจู่โจม หน่วยทหารหาญ หน่วยกล้าตาย หน่วยทหาร
เกราะหนัง หน่วยทหารทาส เพื่อคุ้มกันภัยภายในและป้องกันอันตราย
ภายนอก ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกมีความเพียรเหมือนกองทัพ
ย่อมละอกุศล เจริญกุศล ละธรรมที่มีโทษ เจริญธรรมที่ไม่มีโทษ
บริหารตนให้บริสุทธิ์ อริยสาวกประกอบด้วยสัทธรรมประการที่ ๕ นี้
๖. อริยสาวกเป็นผู้มีสติ คือ ประกอบด้วยสติปัญญาเครื่องรักษาตน
อย่างยิ่ง ระลึกถึงสิ่งที่ทำคำที่พูดแม้นานได้ เปรียบเหมือนปัจจันต-
นครของพระราชา มีทหารยามฉลาดเฉียบแหลม มีปัญญา คอยกัน
คนที่ไม่รู้จักไม่ให้เข้าไป ให้คนที่รู้จักเข้าไป เพื่อคุ้มกันภัยภายใน
และป้องกันอันตรายภายนอก ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้มีสติ
เหมือนทหารยาม ย่อมละอกุศล เจริญกุศล ละธรรมที่มีโทษ เจริญ

เชิงอรรถ :
๑ ดูความเต็มในสัตตกนิบาต ข้อ ๖ หน้า ๑๐-๑๑ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๑๔๐ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๗.มหาวรรค ๓.นคโรปมสูตร
ธรรมที่ไม่มีโทษ บริหารตนให้บริสุทธิ์ อริยสาวกประกอบด้วย
สัทธรรมประการที่ ๖ นี้
๗. อริยสาวกก็ฉันนั้นเหมือนกัน เป็นผู้มีปัญญา คือ ประกอบด้วย
ปัญญาเครื่องพิจารณาเห็นทั้งความเกิดและความดับอันเป็นอริยะ
ชำแรกกิเลสให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ เปรียบเหมือนปัจจันตนคร
ของพระราชา มีกำแพงสูงและกว้าง พร้อมด้วยป้อมก่ออิฐถือปูนดี
เพื่อคุ้มกันภัยภายในและป้องกันอันตรายภายนอก ภิกษุทั้งหลาย
อริยสาวกถึงพร้อมด้วยปัญญาเหมือนป้อมที่ก่ออิฐถือปูนดี ย่อมละ
อกุศล เจริญกุศล ละธรรมที่มีโทษ เจริญธรรมที่ไม่มีโทษ บริหาร
ตนให้บริสุทธิ์ อริยสาวกประกอบด้วยสัทธรรมประการที่ ๗ นี้
ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกประกอบด้วยสัทธรรม ๗ ประการนี้
ฌาน ๔ ประการ อันมีในจิตยิ่งซึ่งเป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน ที่อริยสาวก
ได้ตามความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ได้โดยไม่ลำบาก อะไรบ้าง คือ
๑. อริยสาวกสงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลายแล้วบรรลุปฐมฌาน
ฯลฯ๑ เพื่อความอุ่นใจ เพื่อความไม่สะดุ้งกลัว เพื่อความอยู่ผาสุก
ของตน เพื่อก้าวลงสู่นิพพาน เปรียบเหมือนปัจจันตนครของ
พระราชา มีการสะสมหญ้า ไม้ และน้ำไว้มากเพื่อความอุ่นใจ เพื่อ
ความไม่สะดุ้งกลัว เพื่อความอยู่ผาสุกของประชาชนภายใน และเพื่อ
ป้องกันอันตรายภายนอก
๒. อริยสาวก เพราะวิตกวิจารสงบระงับไป บรรลุทุติยฌาน ฯลฯ๒
เพื่อความอุ่นใจ เพื่อความไม่สะดุ้งกลัว เพื่อความอยู่ผาสุกของตน
เพื่อก้าวลงสู่นิพพาน เปรียบเหมือนปัจจันตนครของพระราชามีการ
สะสมข้าวสาลีและข้าวเหนียวไว้มากเพื่อความอุ่นใจ เพื่อความไม่
สะดุ้งกลัว เพื่อความอยู่ผาสุกของประชาชนภายใน และเพื่อ
ป้องกันอันตรายภายนอก

เชิงอรรถ :
๑-๒ ดูความเต็มในอัฏฐกนิบาต ข้อ ๑๑ หน้า ๒๒๒ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๑๔๑ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๗.มหาวรรค ๓.นคโรปมสูตร
๓. อริยสาวก เพราะปีติคลายไป บรรลุตติยฌาน ฯลฯ๑ เพื่อความอุ่นใจ
เพื่อความไม่สะดุ้งกลัว เพื่อความอยู่ผาสุกของตน เพื่อก้าวลงสู่นิพพาน
เปรียบเหมือนปัจจันตนครของพระราชา มีการสะสมอปรัณณชาติ
คือ งา ถั่วเขียว ถั่วทอง ไว้มากเพื่อความอุ่นใจ เพื่อความไม่
สะดุ้งกลัว เพื่อความอยู่ผาสุกของประชาชนภายใน และป้องกัน
อันตรายภายนอก
๔. อริยสาวก เพราะละสุขและทุกข์ได้ เพราะโสมนัสและโทมนัสดับ
ไปก่อนแล้ว บรรลุจตุตถฌาน ฯลฯ๒ เพื่อความอุ่นใจ เพื่อความไม่
สะดุ้งกลัว เพื่อความอยู่ผาสุกของตน เพื่อก้าวลงสู่นิพพาน เปรียบ
เหมือนปัจจันตนครของพระราชา มีการสะสมเภสัช คือ เนยใส
เนยข้น น้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อย เกลือ ไว้มาก เพื่อความอุ่นใจ เพื่อ
ความไม่สะดุ้งกลัว เพื่อความอยู่ผาสุกของประชาชนภายในและ
ป้องกันอันตรายภายนอก
ฌาน ๔ ประการนี้อันมีในจิตยิ่งซึ่งเป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบันที่อริยสาวก
ได้ตามความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ได้โดยไม่ลำบาก
ภิกษุทั้งหลาย ในกาลใดแล อริยสาวกประกอบด้วยสัทธรรม ๗ ประการนี้
และได้ฌาน ๔ ประการ อันมีในจิตยิ่งซึ่งเป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบันนี้ตามความ
ปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ได้โดยไม่ลำบาก ภิกษุทั้งหลาย ในกาลนั้น เราจึงเรียก
อริยสาวกนี้ว่า มารมีบาปก็ทำอะไรไม่ได้
นคโรปมสูตรที่ ๓ จบ

เชิงอรรถ :
๑ ดูความเต็มในอัฏฐกนิบาต ข้อ ๑๑ หน้า ๒๒๒ ในเล่มนี้
๒ ดูความเต็มในอัฏฐกนิบาต ข้อ ๑๑ หน้า ๒๒๓ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๑๔๒ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๗.มหาวรรค ๔.ธัมมัญญูสูตร
๔. ธัมมัญญูสูตร
ว่าด้วยบุคคลผู้รู้ธรรม
[๖๘] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๗ ประการ๑นี้ เป็นผู้ควรแก่
ของที่เขานำมาถวาย ฯลฯ เป็นนาบุญอันยอดเยี่ยมของโลก
ธรรม ๗ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้

๑. เป็นธัมมัญญู ๒. เป็นอัตถัญญู
๓. เป็นอัตตัญญู ๔. เป็นมัตตัญญู
๕. เป็นกาลัญญู ๖. เป็นปริสัญญู
๗. เป็นปุคคลปโรปรัญญู๒

ภิกษุเป็นธัมมัญญู อย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้รู้ธรรมคือ สุตตะ เคยยะ เวยยากรณะ คาถา อุทาน
อิติวุตตกะ ชาตกะ อัพภูตธรรม เวทัลละ หากภิกษุไม่รู้ธรรมคือ สุตตะ ฯลฯ
เวทัลละเลย เราไม่พึงเรียกเธอว่าเป็นธัมมัญญูในที่นี้ แต่เพราะภิกษุรู้ธรรมคือ
สุตตะ ฯลฯ เวทัลละ ฉะนั้น เราจึงเรียกเธอว่าเป็นธัมมัญญู ภิกษุชื่อว่าเป็นธัมมัญญู
ด้วยประการฉะนี้
ภิกษุเป็นอัตถัญญู อย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้รู้ความหมายแห่งภาษิตนั้นๆ นั่นแลว่า ‘นี้เป็นความหมาย
แห่งภาษิตนี้ นี้เป็นความหมายแห่งภาษิตนี้’ หากภิกษุไม่รู้เนื้อความแห่งภาษิตนั้น ๆ
เลยว่า ‘นี้เป็นความหมายแห่งภาษิตนี้ นี้เป็นความหมายแห่งภาษิตนี้’ เราไม่พึง

เชิงอรรถ :
๑ ดู ที.ปา. ๑๑/๓๓๐/๒๒๒
๒ ปุคคลปโรปรัญญู หมายถึงรู้จักเลือกคน กล่าวคือรู้ว่า เมื่อคบหาคนใดอกุศลธรรมเสื่อมไปกุศลธรรมเจริญ
ขึ้น จึงเลือกคบคนนั้น เมื่อคบคนใดอกุศลธรรมเจริญขึ้น กุศลธรรมเสื่อมไป ก็ไม่คบคนนั้น (องฺ.สตฺตก.ฏีกา
๓/๖๘/๒๓๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๑๔๓ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๗.มหาวรรค ๔.ธัมมัญญูสูตร
เรียกเธอว่า ‘เป็นอัตถัญญู‘ในที่นี้ แต่เพราะภิกษุรู้ความหมายแห่งภาษิตนั้น ๆ ว่า
‘นี้เป็นความหมายแห่งภาษิตนี้ นี้เป็นความหมายแห่งภาษิตนี้’ ฉะนั้น เราจึงเรียก
เธอว่า เป็นอัตถัญญู ภิกษุชื่อว่าเป็นธัมมัญญู อัตถัญญู ด้วยประการฉะนี้
ภิกษุเป็นอัตตัญญู อย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้รู้จักตนว่า ‘ว่าโดยศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ ปัญญา
ปฏิภาณ เรามีอยู่ประมาณเท่านี้’ หากภิกษุไม่รู้จักตนว่า ‘ว่าโดยศรัทธา ศีล สุตะ
จาคะ ปัญญา ปฏิภาณ เรามีอยู่ประมาณเท่านี้’ เราไม่พึงเรียกเธอว่าเป็นอัตตัญญู
ในที่นี้ แต่เพราะภิกษุรู้จักตนว่า ‘ว่าโดยศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ ปัญญา
ปฏิภาณ เรามีอยู่ประมาณเท่านี้’ ฉะนั้น เราจึงเรียกเธอว่า เป็นอัตตัญญู ภิกษุ
ชื่อว่าเป็นธัมมัญญู อัตถัญญู อัตตัญญู ด้วยประการฉะนี้
ภิกษุเป็นมัตตัญญู อย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้รู้จักประมาณในการรับจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ
และคิลานปัจจัยเภสัชชบริขาร๑ หากภิกษุไม่รู้จักประมาณในการรับจีวร บิณฑบาต
เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชชบริขาร เราไม่พึงเรียกเธอว่าเป็นมัตตัญญูในที่นี้
แต่เพราะภิกษุรู้จักประมาณในการรับจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัย-
เภสัชชบริขาร ฉะนั้น เราจึงเรียกเธอว่าเป็นมัตตัญญู ภิกษุชื่อว่าเป็นธัมมัญญู
อัตถัญญู อัตตัญญู มัตตัญญู ด้วยประการฉะนี้
ภิกษุเป็นกาลัญญู อย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้รู้จักกาลว่า ‘นี้เป็นกาลแห่งอุทเทส๒ นี้เป็นกาลแห่ง
ปริปุจฉา๓ นี้เป็นกาลบำเพ็ญเพียร นี้เป็นกาลหลีกเร้น’ หากภิกษุไม่รู้จักกาลว่า ‘นี้เป็น

เชิงอรรถ :
๑ คิลานปัจจัยเภสัชชบริขาร คือเภสัชทั้ง ๕ ได้แก่ เนยใส เนยข้น น้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อย (วิ.อ. ๒/๒๙๐,
สารตฺถ.ฏีกา ๒/๒๙๐/๓๙๓) เป็นสิ่งสัปปายะสำหรับภิกษุเจ็บไข้ จัดว่าเป็นบริขาร คือ บริวารของชีวิต
ดุจกำแพงล้อมพระนครเพราะคอยป้องกันรักษาไม่ให้อาพาธที่จะบั่นรอนชีวิตได้ช่องเกิดขึ้น และเป็น
สัมภาระของชีวิตคอยประคับประคองชีวิตให้ดำรงอยู่ได้นาน (วิ.อ. ๒/๒๙๐/๔๐-๔๑, ม.มู.อ. ๑/๑๙๑/๓๙๗,
ม.มู.ฏีกา ๑/๒๓/๒๑๓) เป็นเครื่องป้องกันโรคบำบัดโรคที่ให้เกิดทุกขเวทนาเนื่องจากธาตุกำเริบให้หายไป
(สารตฺถ.ฏีกา ๒/๒๙๐/๓๙๓)
๒ อุทเทส หมายถึงการเรียนพระพุทธพจน์ (องฺ.สตฺตก.อ. ๓/๖๘/๒๐๓)
๓ ปริปุจฉา หมายถึงการสอบถามเหตุผล (องฺ.สตฺตก.อ. ๓/๖๘/๒๐๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๑๔๔ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๗.มหาวรรค ๔.ธัมมัญญูสูตร
กาลแห่งอุทเทศ นี้เป็นกาลแห่งปริปุจฉา นี้เป็นกาลบำเพ็ญเพียร นี้เป็นกาลหลีกเร้น’
เราไม่เรียกเธอว่าเป็นกาลัญญูในที่นี้ แต่เพราะภิกษุรู้จักกาลว่า ‘นี้เป็นกาลแห่งอุทเทศ
นี้เป็นกาลแห่งปริปุจฉา นี้เป็นกาลบำเพ็ญเพียร นี้เป็นกาลหลีกเร้น’ ฉะนั้น เราจึง
เรียกเธอว่าเป็นกาลัญญู ภิกษุชื่อว่าเป็นธัมมัญญู อัตถัญญู อัตตัญญู มัตตัญญู
กาลัญญู ด้วยประการฉะนี้
ภิกษุเป็นปริสัญญู อย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้รู้จักบริษัทว่า ‘นี้ขัตติยบริษัท นี้พราหมณบริษัท นี้
คหบดีบริษัท นี้สมณบริษัท ในบริษัทนั้นเราควรเข้าไปหาอย่างนี้ ควรยืนอย่างนี้
ควรทำอย่างนี้ ควรนั่งอย่างนี้ ควรกล่าวอย่างนี้ ควรสงบนิ่งอย่างนี้’ หากภิกษุ
ไม่รู้จักบริษัทว่า ‘นี้ขัตติยบริษัท ฯลฯ ควรสงบนิ่งอย่างนี้’ เราไม่เรียกเธอว่าเป็น
ปริสัญญู ในที่นี้ แต่เพราะภิกษุรู้จักบริษัทว่า ‘นี้ขัตติยบริษัท ฯลฯ ควรสงบนิ่ง
อย่างนี้’ ฉะนั้น เราจึงเรียกเธอว่าเป็นปริสัญญู ภิกษุชื่อว่าเป็นธัมมัญญู อัตถัญญู
อัตตัญญู มัตตัญญู กาลัญญู ปริสัญญู ด้วยประการฉะนี้
ภิกษุเป็นปุคคลปโรปรัญญู อย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้รู้จักบุคคล ๒ จำพวก บุคคล ๒ จำพวก คือ พวกหนึ่ง
ต้องการเห็นพระอริยะ อีกพวกหนึ่งไม่ต้องการเห็นพระอริยะ บุคคลพวกที่ไม่ต้องการ
เห็นพระอริยะ ก็ถูกติเตียนด้วยเหตุนั้น อย่างนี้ บุคคลพวกที่ต้องการเห็นพระอริยะ
ก็ได้รับการสรรเสริญด้วยเหตุนั้น อย่างนี้
บุคคลผู้ต้องการเห็นพระอริยะก็มี ๒ จำพวก คือ พวกหนึ่งต้องการฟังสัทธรรม
อีกพวกหนึ่งไม่ต้องการฟังสัทธรรม บุคคลพวกที่ไม่ต้องการฟังสัทธรรม ก็ถูกติเตียน
ด้วยเหตุนั้น อย่างนี้ บุคคลพวกที่ต้องการฟังสัทธรรม ก็ได้รับการสรรเสริญด้วย
เหตุนั้น อย่างนี้
บุคคลผู้ต้องการฟังสัทธรรมก็มี ๒ จำพวก คือ พวกหนึ่งเงี่ยโสตฟังธรรม อีกพวก
หนึ่งไม่เงี่ยโสตฟังธรรม บุคคลพวกที่ไม่เงี่ยโสตฟังธรรม ก็ถูกติเตียนด้วยเหตุนั้น
อย่างนี้ บุคคลพวกที่เงี่ยโสตฟังธรรม ก็ได้รับการสรรเสริญด้วยเหตุนั้น อย่างนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๑๔๕ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สันตตกนิบาต ๗.มหาวรรค ๕.ปาริฉัตตกสูตร
บุคคลเงี่ยโสตฟังสัทธรรมก็มี ๒ จำพวก คือ พวกหนึ่งฟังแล้วทรงจำธรรมไว้ได้
อีกพวกหนึ่งฟังแล้วทรงจำธรรมไม่ได้ บุคคลพวกที่ฟังแล้วทรงจำธรรมไม่ได้ ก็ถูก
ติเตียนด้วยเหตุนั้น อย่างนี้ บุคคลพวกที่ฟังแล้วทรงจำธรรมไว้ได้ ก็ได้รับการสรรเสริญ
ด้วยเหตุนั้น อย่างนี้
บุคคลฟังแล้วทรงจำธรรมไว้ได้ก็มี ๒ จำพวก คือ พวกหนึ่งพิจารณาเนื้อความ
แห่งธรรมที่ทรงจำไว้ อีกพวกหนึ่งไม่พิจารณาเนื้อความแห่งธรรมที่ทรงจำไว้ บุคคลพวก
ที่ไม่พิจารณาเนื้อความแห่งธรรมที่ทรงจำไว้ ก็ถูกติเตียนด้วยเหตุนั้น อย่างนี้ บุคคล
พวกที่พิจารณาเนื้อความแห่งธรรมที่ทรงจำไว้ ก็ได้รับการสรรเสริญด้วยเหตุนั้น อย่างนี้
บุคคลพิจารณาเนื้อความแห่งธรรมที่ทรงจำไว้ก็มี ๒ จำพวก คือ พวกหนึ่ง
รู้อรรถรู้ธรรมแล้วปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม อีกพวกหนึ่งรู้อรรถรู้ธรรมแล้วไม่ปฏิบัติ
ธรรมสมควรแก่ธรรม บุคคลพวกที่รู้อรรถรู้ธรรมแล้วไม่ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม
ก็ถูกติเตียนด้วยเหตุนั้น อย่างนี้ บุคคลพวกที่รู้อรรถรู้ธรรมแล้วปฏิบัติธรรมสมควร
แก่ธรรม ก็ได้รับการสรรเสริญด้วยเหตุนั้น อย่างนี้
บุคคลรู้อรรถรู้ธรรมแล้วปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรมก็มี ๒ จำพวก คือ
พวกหนึ่งปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตนเอง แต่ไม่ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลผู้อื่น อีกพวกหนึ่งปฏิบัติ
เพื่อเกื้อกูลตนเองและปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลผู้อื่น บุคคลพวกที่ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตนเอง
แต่ไม่ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลผู้อื่น ก็ถูกติเตียนด้วยเหตุนั้น อย่างนี้ พวกที่ปฏิบัติเพื่อ
เกื้อกูลตนเองและปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลผู้อื่น ก็ได้รับการสรรเสริญด้วยเหตุนั้น อย่างนี้
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้รู้จักบุคคล ๒ ฝ่ายด้วยประการฉะนี้แล ภิกษุชื่อว่า
เป็นปุคคลปโรปรัญญูอย่างนี้
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๗ ประการนี้แล จึงเป็นผู้ควรแก่ของที่
เขานำมาถวาย ฯลฯ๑ เป็นนาบุญอันยอดเยี่ยมของโลก
ธัมมัญญูสูตรที่ ๔ จบ


เชิงอรรถ :
๑ ดูความเต็มในสัตตกนิบาต ข้อ ๑๔ หน้า ๒๐ ในเล่มนี้


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๑๔๖ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สันตตกนิบาต ๗.มหาวรรค ๕.ปาริฉัตตกสูตร
๕. ปาริฉัตตกสูตร
ว่าด้วยอริยสาวกเปรียบได้กับต้นปาริฉัตร
[๖๙] ภิกษุทั้งหลาย
๑. สมัยใด ต้นไม้สวรรค์ชื่อปาริฉัตรของเทวดาชั้นดาวดึงส์มีใบเหลือง
สมัยนั้น เทวดาชั้นดาวดึงส์ต่างก็ดีใจกันว่า ‘บัดนี้ ต้นไม้สวรรค์ชื่อ
ปาริฉัตรมีใบเหลือง ไม่นานนัก เดี๋ยวใบก็จักร่วงหล่น’
๒. สมัยใด ต้นไม้สวรรค์ชื่อปาริฉัตรของเทวดาชั้นดาวดึงส์ผลัดใบ สมัยนั้น
เทวดาชั้นดาวดึงส์ต่างก็ดีใจว่า ‘บัดนี้ ต้นไม้สวรรค์ชื่อปาริฉัตรผลัดใบแล้ว
ไม่นานนัก เดี๋ยวก็จักผลิดอกออกใบ’
๓. สมัยใด ต้นไม้สวรรค์ชื่อปาริฉัตรของเทวดาชั้นดาวดึงส์ผลิดอก
ออกใบ สมัยนั้น เทวดาชั้นดาวดึงส์ต่างก็ดีใจว่า ‘บัดนี้ ต้นไม้
สวรรค์ชื่อปาริฉัตรผลิดอกออกใบแล้ว ไม่นานนัก เดี๋ยวก็จักเป็น
ช่อใบช่อดอก’
๔. สมัยใด ต้นไม้สวรรค์ชื่อปาริฉัตรของเทวดาชั้นดาวดึงส์เป็นช่อใบ
ช่อดอกแล้ว สมัยนั้น เทวดาชั้นดาวดึงส์ต่างก็ดีใจว่า ‘บัดนี้ ต้นไม้
สวรรค์ชื่อปาริฉัตรเป็นช่อใบช่อดอกแล้ว ไม่นานนัก เดี๋ยวก็จักมี
ดอกตูม’
๕. สมัยใด ต้นไม้สวรรค์ชื่อปาริฉัตรของเทวดาชั้นดาวดึงส์มีดอกตูมแล้ว
สมัยนั้น เทวดาชั้นดาวดึงส์ต่างก็ดีใจว่า ‘บัดนี้ ต้นไม้สวรรค์ชื่อ
ปาริฉัตรมีดอกตูมแล้ว ไม่นานนัก เดี๋ยวก็จักแย้ม’
๖. สมัยใด ต้นไม้สวรรค์ชื่อปาริฉัตรของเทวดาชั้นดาวดึงส์มีดอกแย้มแล้ว
สมัยนั้น เทวดาชั้นดาวดึงส์ต่างก็ดีใจว่า ‘บัดนี้ ต้นไม้สวรรค์ชื่อ
ปาริฉัตรมีดอกแย้มแล้ว ไม่นานนัก เดี๋ยวก็จักบานสะพรั่ง’
๗. สมัยใด ต้นไม้สวรรค์ชื่อปาริฉัตรของเทวดาชั้นดาวดึงส์ออกดอก
บานสะพรั่งแล้ว สมัยนั้น เทวดาชั้นดาวดึงส์ต่างก็ดีใจ เอิบอิ่ม
พรั่งพร้อมด้วยกามคุณ ๕ บำเรอตนอยู่ตลอด ๔ เดือนทิพย์ ณ
โคนต้นไม้สวรรค์ชื่อปาริฉัตร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๑๔๗ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๗.มหาวรรค ๕.ปาริฉัตตกสูตร
เมื่อต้นไม้สวรรค์ชื่อปาริฉัตรออกดอกบานสะพรั่งแล้ว แผ่รัศมีไปได้ ๕๐ โยชน์
ในบริเวณรอบ ๆ ส่งกลิ่นโชยไปตามลมได้ ๑๐๐ โยชน์ นี้เป็นอานุภาพของต้นไม้สวรรค์
ชื่อปาริฉัตร
ภิกษุทั้งหลาย ในทำนองเดียวกัน
๑. สมัยใด อริยสาวกคิดออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต สมัยนั้น
อริยสาวกจึงเปรียบเหมือนต้นปาริฉัตรของเทวดาชั้นดาวดึงส์ที่มีใบ
เหลือง
๒. สมัยใด อริยสาวกโกนผมและหนวด นุ่งห่มกาสาวพัสตร์ออกจาก
เรือนบวชเป็นบรรพชิต สมัยนั้น อริยสาวกจึงเปรียบเหมือนต้นไม้
สวรรค์ชื่อปาริฉัตรของเทวดาชั้นดาวดึงส์ที่ผลัดใบแล้ว
๓. สมัยใด อริยสาวกสงัดจากกามและอกุศลทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน
ฯลฯ๑ สมัยนั้น อริยสาวกจึงเปรียบเหมือนต้นไม้สวรรค์ชื่อปาริฉัตร
ของเทวดาชั้นดาวดึงส์ที่ผลิดอกออกใบแล้ว
๔. สมัยใด อริยสาวก เพราะวิตกวิจารสงบระงับไป บรรลุทุติยฌาน
ฯลฯ สมัยนั้น อริยสาวกจึงเปรียบเหมือนต้นไม้สวรรค์ชื่อปาริฉัตร
ของเทวดาชั้นดาวดึงส์ที่เป็นช่อใบช่อดอกแล้ว
๕. สมัยใด อริยสาวก เพราะปีติจางคลายไป มีอุเบกขา มีสติ สัมปชัญญะ
เสวยสุขด้วยนามกาย บรรลุตติยฌาน ฯลฯ สมัยนั้น อริยสาวก
จึงเปรียบเหมือนต้นไม้สวรรค์ชื่อปาริฉัตรของเทวดาชั้นดาวดึงส์ที่มี
ดอกตูมแล้ว
๖. สมัยใด อริยสาวก เพราะละสุขและทุกข์ได้ เพราะโสมนัสและโทมนัส
ดับไปก่อนแล้ว บรรลุจตุตถฌาน ฯลฯ สมัยนั้น อริยสาวกจึง
เปรียบเหมือนต้นปาริฉัตรของเทวดาชั้นดาวดึงส์ที่มีดอกแย้มแล้ว

เชิงอรรถ :
๑ ความเต็มขององค์ฌานในสูตรนี้ ดูอัฏฐกนิบาต ข้อ ๑๑ หน้า ๒๒๒-๒๒๓ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๑๔๘ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๗.มหาวรรค ๕.ปาริฉัตตกสูตร
๗. สมัยใด อริยสาวกทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันไม่มีอาสวะ
เพราะอาสวะสิ้นไป ฯลฯ สมัยนั้น อริยสาวกจึงเปรียบเหมือนต้นไม้
สวรรค์ชื่อปาริฉัตรของเทวดาชั้นดาวดึงส์ที่ออกดอกบานสะพรั่งแล้ว
ภิกษุทั้งหลาย สมัยนั้น ภุมมเทวดากระจายข่าวว่า ‘ท่านรูปนี้มีชื่ออย่างนี้
เป็นสัทธิวิหาริกของท่านผู้มีชื่อนี้ ได้ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต จากบ้านหรือ
นิคมชื่อโน้น ได้ทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันไม่มีอาสวะ เพราะอาสวะสิ้นไป
ด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบันแน่แท้’
เทวดาชั้นจาตุมหาราชสดับเสียงของภุมมเทวดาแล้ว ได้กระจายข่าวต่อไป ฯลฯ
เทวดาชั้นดาวดึงส์ ฯลฯ
เทวดาชั้นชั้นยามา ฯลฯ
เทวดาชั้นดุสิต ฯลฯ
เทวดาชั้นนิมมานรดี ฯลฯ
เทวดาชั้นปรนิมมิตวสวัตดี ฯลฯ
เทวดาชั้นพรหมกายิกา สดับเสียงของเทวดาชั้นปรนิมมิตวสวัตดีแล้ว ก็กระจาย
ข่าวว่า ‘ท่านรูปนี้มีชื่ออย่างนี้ เป็นสัทธิวิหาริกของท่านผู้มีชื่อนี้ ได้ออกจากเรือน
บวชเป็นบรรพชิต จากบ้านหรือนิคมชื่อโน้น ได้ทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ
อันไม่มีอาสวะ เพราะอาสวะสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน’
เพียงครู่เดียวเท่านั้น เสียงป่าวประกาศได้กระจายขึ้นไปถึงพรหมโลก ด้วยประการ
ฉะนี้ นี้เป็นอานุภาพของภิกษุผู้เป็นขีณาสพ
ปาริฉัตตกสูตรที่ ๕ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๑๔๙ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๗.มหาวรรค ๖.สักกัจจสูตร
๖. สักกัจจสูตร
ว่าด้วยความเคารพ
[๗๐] ครั้งนั้น ท่านพระสารีบุตรหลีกเร้นอยู่ในที่สงัด ได้เกิดความคิดคำนึงขึ้น
อย่างนี้ว่า “ภิกษุสักการะ เคารพ อาศัยอะไรหนอแลอยู่ จึงละอกุศล เจริญกุศลได้”
ลำดับนั้นแล ท่านพระสารีบุตรจึงมีความคิดดังนี้ว่า
๑. ภิกษุสักการะ เคารพ อาศัยพระศาสดาอยู่ จึงละอกุศล เจริญกุศลได้
๒. ภิกษุสักการะ เคารพ อาศัยพระธรรม ฯลฯ
๓. ภิกษุสักการะ เคารพ อาศัยพระสงฆ์ ฯลฯ
๔. ภิกษุสักการะ เคารพ อาศัยสิกขา ฯลฯ
๕. ภิกษุสักการะ เคารพ อาศัยสมาธิ ฯลฯ
๖. ภิกษุสักการะ เคารพ อาศัยความไม่ประมาท ฯลฯ
๗. ภิกษุสักการะ เคารพ อาศัยปฏิสันถารอยู่ จึงละอกุศล เจริญกุศลได้
ต่อมา ท่านพระสารีบุตรได้มีความคิดดังนี้ว่า “ธรรมของเราเหล่านี้ บริสุทธิ์
ผุดผ่อง ทางที่ดี เราควรจะไปกราบทูลธรรมเหล่านี้แด่พระผู้มีพระภาค ธรรมของเรา
เหล่านี้จักบริสุทธิ์ และนับว่าบริสุทธิ์ยิ่งขึ้น ด้วยอาการอย่างนี้ เปรียบเหมือนบุรุษได้
ทองคำแท่งอันบริสุทธิ์ผุดผ่อง เขามีความคิดอย่างนี้ว่า ‘ทองคำแท่งของเรานี้บริสุทธิ์
ผุดผ่อง ทางที่ดี เราควรจะไปเสนอทองคำแท่งนี้แก่ช่างทอง ทองคำแท่งของเรา
นี้ไปถึงช่างทองแล้วจักบริสุทธิ์ และนับว่าบริสุทธิ์ยิ่งขึ้นด้วยอาการอย่างนี้ แม้ฉันใด
ธรรมของเราเหล่านี้ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน จักบริสุทธิ์ผุดผ่อง ทางที่ดี เราควรจะไป
กราบทูลธรรมเหล่านี้แด่พระผู้มีพระภาค ธรรมของเราเหล่านี้ก็จักบริสุทธิ์ และนับว่า
บริสุทธิ์ยิ่งขึ้น ด้วยอาการอย่างนี้”
ครั้นในเวลาเย็น ท่านพระสารีบุตรได้ออกจากที่หลีกเร้น๑ เข้าไปเฝ้าพระผู้มี
พระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาค
ดังนี้ว่า

เชิงอรรถ :
๑ ที่หลีกเร้นในที่นี้หมายถึงการอยู่ผู้เดียวด้วยผลสมาบัติ (องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๑๗/๑๐๖, องฺ.สตฺตก.อ. ๓/๖๘/๒๐๓)
หรือทำนิพพานที่สงบสุขให้เป็นอารมณ์เข้าผลสมาบัติในเวลาเช้า (ตามนัย วิ.อ. ๑/๒๒/๒๐๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๑๕๐ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๗.มหาวรรค ๖.สักกัจจสูตร
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานวโรกาส ข้าพระองค์หลีกเร้นอยู่ในที่สงัด
เกิดความคิดคำนึงขึ้นอย่างนี้ว่า ‘ภิกษุสักการะ เคารพ อาศัยอะไรหนอแลอยู่ จึงละ
อกุศล เจริญกุศลได้’ ลำดับนั้นแลข้าพระองค์จึงเกิดความคิดดังนี้ว่า
๑. ภิกษุสักการะ เคารพ อาศัยพระศาสดาอยู่ จึงละอกุศล เจริญกุศลได้
๒. ภิกษุสักการะ เคารพ อาศัยพระธรรม ฯลฯ
๓. ภิกษุสักการะ เคารพ อาศัยพระสงฆ์ ฯลฯ
๔. ภิกษุสักการะ เคารพ อาศัยสิกขา ฯลฯ
๕. ภิกษุสักการะ เคารพ อาศัยสมาธิ ฯลฯ
๖. ภิกษุสักการะ เคารพ อาศัยความไม่ประมาท ฯลฯ
๗. ภิกษุสักการะ เคารพ อาศัยปฏิสันถารอยู่ จึงละอกุศล เจริญกุศลได้
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ต่อมา ข้าพระองค์ได้มีความคิดดังนี้ว่า ‘ธรรมของเรา
เหล่านี้บริสุทธิ์ผุดผ่อง ทางที่ดี เราควรจะไปกราบทูลธรรมเหล่านี้แด่พระผู้มีพระภาค
ธรรมของเราเหล่านี้จักบริสุทธิ์ และนับว่าบริสุทธิ์ยิ่งขึ้นด้วยอาการอย่างนี้ เปรียบ
เหมือนบุรุษได้ทองคำแท่งที่บริสุทธิ์ผุดผ่อง เขามีความคิดอย่างนี้ว่า ‘ทองคำแท่ง
ของเรานี้บริสุทธิ์ผุดผ่อง ทางที่ดีเราควรจะไปเสนอทองคำแท่งนี้แก่ช่างทอง ทองคำ
แท่งของเรานี้ไปถึงช่างทองแล้วจักบริสุทธิ์ และนับว่าบริสุทธิ์ยิ่งขึ้น ด้วยอาการอย่างนี้
แม้ฉันใด ธรรมของเราเหล่านี้ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน จักบริสุทธิ์ผุดผ่อง ทางที่ดี
เราควรจะไปกราบทูลธรรมเหล่านี้แด่พระผู้มีพระภาค ธรรมของเราเหล่านี้ก็จักบริสุทธิ์
และนับว่าบริสุทธิ์ยิ่งขึ้น ด้วยอาการอย่างนี้”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ดีละ ดีละ สารีบุตร ภิกษุสักการะ เคารพ อาศัย
ศาสดาอยู่ จึงละอกุศล เจริญกุศลได้ ฯลฯ อาศัยธรรม ฯลฯ อาศัยสงฆ์ ฯลฯ อาศัย
สิกขา ฯลฯ อาศัยสมาธิ ฯลฯ อาศัยความไม่ประมาท ฯลฯ สารีบุตร ภิกษุ
สักการะ เคารพ อาศัยปฏิสันถารอยู่ จึงละอกุศล เจริญกุศลได้”
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ท่านพระสารีบุตรได้กราบทูลพระผู้มีพระ
ภาคดังนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ย่อมรู้ชัดเนื้อความแห่งพระภาษิตที่
พระผู้มีพระภาคตรัสไว้โดยย่อนี้ได้โดยพิสดารอย่างนี้ว่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๑๕๑ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๗.มหาวรรค ๖.สักกัจจสูตร
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
๑-๒. เป็นไปไม่ได้เลยที่ภิกษุผู้ไม่มีความเคารพในพระศาสดา จักมีความ
เคารพในพระธรรม ภิกษุผู้ไม่มีความเคารพในพระศาสดา ก็ชื่อว่า
ไม่มีความเคารพในพระธรรมด้วย พระพุทธเจ้าข้า
๓. เป็นไปไม่ได้เลยที่ภิกษุผู้ไม่มีความเคารพในพระศาสดา ไม่มีความ
เคารพในพระธรรม จักมีความเคารพในพระสงฆ์ ภิกษุผู้ไม่มีความ
เคารพในพระศาสดา ไม่มีความเคารพในพระธรรม ก็ชื่อว่าไม่มี
ความเคารพในพระสงฆ์ด้วย พระพุทธเจ้าข้า
๔. เป็นไปไม่ได้เลยที่ภิกษุผู้ไม่มีความเคารพในพระศาสดา ไม่มีความ
เคารพในพระธรรม ไม่มีความเคารพในพระสงฆ์ จักมีความเคารพ
ในสิกขา ภิกษุผู้ไม่มีความเคารพในพระศาสดา ไม่มีความเคารพใน
พระธรรม ไม่มีความเคารพในพระสงฆ์ ก็ชื่อว่าไม่มีความเคารพใน
สิกขาด้วย พระพุทธเจ้าข้า
๕. เป็นไปไม่ได้เลยที่ภิกษุผู้ไม่มีความเคารพในพระศาสดา ไม่มีความ
เคารพในพระธรรม ไม่มีความเคารพในพระสงฆ์ ไม่มีความเคารพ
ในสิกขา จักมีความเคารพในสมาธิ ภิกษุผู้ไม่มีความเคารพใน
พระศาสดา ไม่มีความเคารพในพระธรรม ไม่มีความเคารพใน
พระสงฆ์ ไม่มีความเคารพในสิกขา ก็ชื่อว่าไม่มีความเคารพใน
สมาธิด้วย พระพุทธเจ้าข้า
๖. เป็นไปไม่ได้เลยที่ภิกษุผู้ไม่มีความเคารพในพระศาสดา ไม่มีความ
เคารพในพระธรรม ไม่มีความเคารพในพระสงฆ์ ไม่มีความเคารพ
ในสิกขา ไม่มีความเคารพในสมาธิ จักมีความเคารพในความไม่
ประมาท ภิกษุผู้ไม่มีความเคารพในพระศาสดา ไม่มีความเคารพ
ในพระธรรม ไม่มีความเคารพในพระสงฆ์ ไม่มีความเคารพในสิกขา
ไม่มีความเคารพในสมาธิ ก็ชื่อว่าไม่มีความเคารพในความไม่
ประมาทด้วย พระพุทธเจ้าข้า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๑๕๒ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๗.มหาวรรค ๖.สักกัจจสูตร
๗. เป็นไปไม่ได้เลยที่ภิกษุผู้ไม่มีความเคารพในพระศาสดา ไม่มีความ
เคารพในพระธรรม ไม่มีความเคารพในพระสงฆ์ ไม่มีความเคารพ
ในสิกขา ไม่มีความเคารพในสมาธิ ไม่มีความเคารพในความไม่
ประมาท จักมีความเคารพในปฏิสันถาร ภิกษุผู้ไม่มีความเคารพ
ในพระศาสดา ไม่มีความเคารพในพระธรรม ไม่มีความเคารพ
ในพระสงฆ์ ไม่มีความเคารพในสิกขา ไม่มีความเคารพในสมาธิ
ไม่มีความเคารพในความไม่ประมาท ก็ชื่อว่าไม่มีความเคารพใน
ปฏิสันถารด้วย พระพุทธเจ้าข้า
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
๑-๒. เป็นไปไม่ได้เลยที่ภิกษุผู้มีความเคารพในพระศาสดา จักไม่มีความ
เคารพในพระธรรม ภิกษุผู้มีความเคารพในพระศาสดา ก็ชื่อว่ามี
ความเคารพในพระธรรมด้วย พระพุทธเจ้าข้า
๓. เป็นไปไม่ได้เลยที่ภิกษุผู้มีเคารพในพระศาสดา มีความเคารพใน
พระธรรม จักไม่มีความเคารพในพระสงฆ์ ภิกษุผู้มีความเคารพ
ในพระศาสดา มีความเคารพในพระธรรม ก็ชื่อว่ามีความเคารพ
ในพระสงฆ์ด้วย พระพุทธเจ้าข้า
๔. เป็นไปไม่ได้เลยที่ภิกษุผู้มีความเคารพในพระศาสดา มีความเคารพ
ในพระธรรม มีความเคารพในพระสงฆ์ จักไม่มีความเคารพในสิกขา
ภิกษุผู้มีความเคารพในพระศาสดา มีความเคารพในพระธรรม
มีความเคารพในพระสงฆ์ ก็ชื่อว่ามีความเคารพในสิกขาด้วย
พระพุทธเจ้าข้า
๕. เป็นไปไม่ได้เลยที่ภิกษุผู้มีความเคารพในพระศาสดา มีความเคารพ
ในพระธรรม มีความเคารพในพระสงฆ์ มีความเคารพในสิกขา
จักไม่มีความเคารพในสมาธิ ภิกษุผู้มีความเคารพในพระศาสดา
มีความเคารพในพระธรรม มีความเคารพในพระสงฆ์ มีความ
เคารพในสิกขา ก็ชื่อว่ามีความเคารพในสมาธิด้วย พระพุทธเจ้าข้า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๑๕๓ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๗.มหาวรรค ๖.สักกัจจสูตร
๖. เป็นไปไม่ได้เลยที่ภิกษุผู้มีความเคารพในพระศาสดา มีความเคารพ
ในพระธรรม มีความเคารพในพระสงฆ์ มีความเคารพในสิกขา
มีความเคารพในสมาธิ จักไม่มีความเคารพในความไม่ประมาท
ภิกษุผู้มีความเคารพในพระศาสดา มีความเคารพในพระธรรม
มีความเคารพในพระสงฆ์ มีความเคารพในสิกขา มีความเคารพใน
สมาธิ ก็ชื่อว่ามีความเคารพในความไม่ประมาทด้วย พระพุทธเจ้าข้า
๗. เป็นไปไม่ได้เลยที่ภิกษุผู้มีความเคารพในพระศาสดา มีความเคารพ
ในพระธรรม มีความเคารพในพระสงฆ์ มีความเคารพในสิกขา
มีความเคารพในสมาธิ มีความเคารพในความไม่ประมาท จักไม่มี
ความเคารพในปฏิสันถาร ภิกษุผู้มีความเคารพในพระศาสดา
มีความเคารพในพระธรรม มีความเคารพในพระสงฆ์ มีความ
เคารพในสิกขา มีความเคารพในสมาธิ มีความเคารพในความไม่
ประมาท ก็ชื่อว่ามีความเคารพในปฏิสันถารด้วย พระพุทธเจ้าข้า
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
๑-๖. เป็นไปได้ที่ภิกษุผู้มีความเคารพในพระศาสดา จักมีความเคารพใน
พระธรรมด้วย ภิกษุผู้มีความเคารพในพระศาสดา ก็ชื่อว่ามีความ
เคารพในพระธรรมด้วย พระพุทธเจ้าข้า ฯลฯ
๗. เป็นไปได้ที่ภิกษุผู้มีความเคารพในพระศาสดา ฯลฯ มีความเคารพ
ในความไม่ประมาท จักมีความเคารพในปฏิสันถารด้วย ภิกษุผู้มี
ความเคารพในพระศาสดา มีความเคารพในพระธรรม มีความ
เคารพในพระสงฆ์ มีความเคารพในสิกขา มีความเคารพในสมาธิ
มีความเคารพในความไม่ประมาท ก็ชื่อว่ามีความเคารพในปฏิสันถารด้วย
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ย่อมรู้ชัดเนื้อความแห่งพระภาษิตที่พระผู้มี
พระภาคตรัสไว้โดยย่อนี้ได้โดยพิสดารอย่างนี้”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ดีละ ดีละ สารีบุตร ดีจริง สารีบุตร เธอรู้ชัดเนื้อความ
แห่งภาษิตที่เรากล่าวไว้โดยย่อนี้ได้โดยพิสดารอย่างนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๑๕๔ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๗.มหาวรรค ๖.สักกัจจสูตร
สารีบุตร
๑-๖. เป็นไปไม่ได้เลยที่ภิกษุผู้ไม่มีความเคารพในศาสดา จักมีความเคารพ
ในธรรม ภิกษุผู้ไม่มีความเคารพในศาสดา ก็ชื่อว่าไม่มีความเคารพ
ในธรรมด้วย ฯลฯ ภิกษุผู้ไม่มีความเคารพในศาสดา ไม่มีความ
เคารพในธรรม ไม่มีความเคารพในสงฆ์ ไม่มีความเคารพในสิกขา
ไม่มีความเคารพในสมาธิ ก็ชื่อว่าไม่มีความเคารพในความไม่
ประมาทด้วย
๗. เป็นไปไม่ได้เลยที่ภิกษุผู้ไม่มีความเคารพในศาสดา ไม่มีความ
เคารพในธรรม ไม่มีความเคารพในสงฆ์ ไม่มีความเคารพในสิกขา
ไม่มีความเคารพในสมาธิ ไม่มีความเคารพในความไม่ประมาท
จักมีความเคารพในปฏิสันถาร ภิกษุผู้ไม่มีความเคารพในศาสดา
ไม่มีความเคารพในธรรม ไม่มีความเคารพในสงฆ์ ไม่มีความ
เคารพในสิกขา ไม่มีความเคารพในสมาธิ ไม่มีความเคารพใน
ความไม่ประมาท ก็ชื่อว่าไม่มีความเคารพในปฏิสันถารด้วย
สารีบุตร
๑-๖. เป็นไปไม่ได้เลยที่ภิกษุผู้มีความเคารพในศาสดา จักไม่มีความ
เคารพในธรรม ภิกษุผู้มีความเคารพในศาสดา ก็ชื่อว่ามีความ
เคารพในธรรมด้วย ฯลฯ
๗. เป็นไปไม่ได้เลยที่ภิกษุผู้มีความเคารพในศาสดา มีความเคารพ
ในธรรม มีความเคารพในสงฆ์ มีความเคารพในสิกขา มีความ
เคารพในสมาธิ มีความเคารพในความไม่ประมาท จักไม่มีความ
เคารพในปฏิสันถาร ภิกษุผู้มีความเคารพในศาสดา มีความ
เคารพในธรรม มีความเคารพในสงฆ์ มีความเคารพในสิกขา
มีความเคารพในสมาธิ มีความเคารพในความไม่ประมาท ก็ชื่อว่า
มีความเคารพในปฏิสันถารด้วย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๑๕๕ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๗.มหาวรรค ๗.ภาวนาสูตร
สารีบุตร
๑-๖. เป็นไปได้ที่ภิกษุผู้มีความเคารพในศาสดา จักมีความเคารพใน
ธรรมด้วย ภิกษุผู้มีความเคารพในศาสดา ก็ชื่อว่ามีความเคารพใน
ธรรมด้วย ฯลฯ
๗. เป็นไปได้ที่ภิกษุผู้มีความเคารพในศาสดา ฯลฯ มีความเคารพใน
ความไม่ประมาท จักมีความเคารพในปฏิสันถารด้วย ภิกษุผู้มี
ความเคารพในศาสดา ฯลฯ มีความเคารพในความไม่ประมาท
ก็ชื่อว่ามีความเคารพในปฏิสันถารด้วย
สารีบุตร เธอพึงทราบเนื้อความแห่งภาษิตที่เรากล่าวไว้โดยย่อนี้แล โดยพิสดาร
อย่างนี้”
สักกัจจสูตรที่ ๖ จบ

๗. ภาวนาสูตร
ว่าด้วยภาวนา
[๗๑] ภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุไม่หมั่นประกอบภาวนาอยู่ แม้จะเกิดความ
ปรารถนาอย่างนี้ว่า ‘ทำอย่างไรหนอ จิตของเราจึงจะหลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลาย
เพราะไม่ถือมั่น’ ก็จริง แต่จิตของภิกษุนั้นก็ยังไม่หลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลาย เพราะ
ไม่ถือมั่นได้เลย ข้อนั้นเพราะเหตุไร ควรกล่าวว่า เพราะไม่ได้เจริญ เพราะไม่ได้เจริญ
อะไร เพราะไม่ได้เจริญสติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕
พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ อริยมรรคมีองค์ ๘
เปรียบเหมือนไข่ ๘ ฟอง ๑๐ ฟอง หรือ ๑๒ ฟอง ที่แม่ไก่กกไม่ดี ให้ความ
อบอุ่นไม่ดี ฟักไม่ดี แม้แม่ไก่นั้นจะเกิดความปรารถนาอย่างนี้ว่า ‘ทำอย่างไรหนอ
ลูกของเราจะไช้ปลายเล็บเท้า หรือจะงอยปากทำลายกระเปาะไข่ออกมาได้โดย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๑๕๖ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๗.มหาวรรค ๗.ภาวนาสูตร
สวัสดี ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะไข่เหล่านั้น แม่ไก่กกไม่ดี ให้ความอบอุ่นไม่ดี
ฟักไม่ดี แม้ฉันใด
ภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุไม่หมั่นประกอบภาวนาอยู่ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน
แม้จะเกิดความปรารถนาอย่างนี้ว่า ‘ทำอย่างไรหนอ จิตของเราจึงจะหลุดพ้นจาก
อาสวะทั้งหลาย เพราะไม่ถือมั่น’ ก็จริง แต่จิตของภิกษุนั้นก็ไม่หลุดพ้นจากอาสวะ
ทั้งหลาย เพราะไม่ถือมั่นได้เลย ข้อนั้นเพราะเหตุไร ควรกล่าวว่า เพราะไม่ได้เจริญ
เพราะไม่ได้เจริญอะไร เพราะไม่ได้เจริญสติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔
อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ อริยมรรคมีองค์ ๘
ภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุหมั่นประกอบภาวนาอยู่ แม้จะไม่เกิดความปรารถนา
อย่างนี้ว่า ‘ทำอย่างไรหนอ จิตของเราพึงหลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลาย เพราะไม่
ถือมั่น’ ก็จริง แต่จิตของภิกษุนั้นก็หลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลาย เพราะไม่ถือมั่นได้
ข้อนั้นเพราะเหตุไร ควรกล่าวว่า เพราะได้เจริญ เพราะได้เจริญอะไร เพราะได้เจริญ
สติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗
อริยมรรคมีองค์ ๘
เปรียบเหมือนไข่ ๘ ฟอง ๑๐ ฟอง หรือ ๑๒ ฟอง ที่แม่ไก่กกดีแล้ว ให้ความ
อบอุ่นดีแล้ว ฟักดีแล้ว แม้แม่ไก่นั้นจะไม่เกิดความปรารถนาอย่างนี้ว่า ‘ทำอย่างไร
หนอ ลูกของเราจะใช้ปลายเล็บเท้า หรือจะงอยปากทำลายกระเปาะไข่ออกมาได้โดย
สวัสดี’ ก็จริง แต่ลูกไก่เหล่านั้นก็สามารถใช้ปลายเล็บเท้า หรือจะงอยปากทำลาย
กระเปาะไข่ออกมาได้โดยสวัสดี ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะไข่เหล่านั้น แม่ไก่กกดี
แล้ว ให้ความอบอุ่นดีแล้ว ฟักดีแล้ว แม้ฉันใด
ภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุหมั่นประกอบภาวนาอยู่ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน แม้จะ
ไม่เกิดความปรารถนาอย่างนี้ว่า ‘ทำอย่างไรหนอ จิตของเราพึงหลุดพ้นจากอาสวะ
ทั้งหลาย เพราะไม่ถือมั่น’ ก็จริง แต่จิตของภิกษุนั้นก็หลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลาย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๑๕๗ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๗.มหาวรรค ๘.อัคคิกขันโธปมสูตร
เพราะไม่ถือมั่นได้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร ควรกล่าวว่า เพราะได้เจริญ เพราะได้เจริญ
อะไร เพราะได้เจริญสติปัฏฐาน ๔ ฯลฯ อริยมรรคมีองค์ ๘
ภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนรอยนิ้วมือ หรือรอยนิ้วหัวแม่มือที่ด้ามมีด
ปรากฏแก่ช่างไม้ หรือลูกมือช่างไม้ แต่เขาไม่รู้อย่างนี้ว่า ‘วันนี้ ด้ามมีดของเรา
กร่อนไปเท่านี้ เมื่อวานนี้เท่านี้ เมื่อวานซืนเท่านี้’ ก็จริง แต่เมื่อด้ามมีดกร่อนไป
เขาก็รู้ว่า กร่อนไปแล้วนั่นเอง แม้ฉันใด
ภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุหมั่นประกอบภาวนาอยู่ก็ฉันนั้นเหมือนกัน แม้จะไม่
รู้อย่างนี้ว่า ‘วันนี้ อาสวะของเราสิ้นไปแล้วเท่านี้ เมื่อวานนี้เท่านี้ เมื่อวานซืนเท่านี้’
ก็จริง แต่เมื่ออาสวะสิ้นไปแล้ว เธอก็รู้ว่า ‘สิ้นไปแล้ว’ นั่นเอง
ภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนเรือเดินสมุทรที่เขาผูกด้วยหวาย และขันชะเนาะแล้ว
แล่นไปในน้ำตลอด ๖ เดือน พอถึงฤดูหนาว ก็ถูกเข็นขึ้นบก เครื่องผูกเรือตากลม
และแดดไว้ เครื่องผูกเหล่านั้นถูกฝนตกชะ ย่อมชำรุดเสียหายไปโดยไม่ยาก ฉันใด
ภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุหมั่นประกอบภาวนาอยู่ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน สังโยชน์
ทั้งหลายย่อมระงับ ดับไปโดยไม่ยาก
ภาวนาสูตรที่ ๗ จบ

๘. อัคคิกขันโธปมสูตร
ว่าด้วยข้ออุปมาด้วยกองไฟ
[๗๒] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเสด็จจาริกไปในแคว้นโกศล พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์
หมู่ใหญ่เสด็จดำเนินทางไกล ได้ทอดพระเนตรเห็นกองไฟใหญ่ ที่กำลังลุกโชนโชติช่วง
อยู่ ณ สถานที่แห่งหนึ่ง ครั้นแล้วจึงเสด็จแวะลงข้างทาง ประทับนั่งบนพุทธอาสน์
ที่ปูลาดไว้ ณ โคนไม้ต้นหนึ่ง จึงตรัสถามภิกษุทั้งหลายว่า
“ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายเห็นกองไฟใหญ่โน้นที่กำลังลุกโชนโชติช่วงอยู่หรือไม่”
ภิกษุเหล่านั้นทูลรับว่า “เห็น พระพุทธเจ้าข้า”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๑๕๘ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๗.มหาวรรค ๘.อัคคิกขันโธปมสูตร
๑. “ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายเข้าใจเรื่องนั้นอย่างไร ระหว่างการเข้าไปนั่ง
กอดหรือนอนกอดกองไฟใหญ่โน้นที่กำลังลุกโชนโชติช่วงอยู่ กับการเข้าไปนั่งกอดหรือ
นอนกอดธิดากษัตริย์ ลูกสาวพราหมณ์ หรือลูกสาวคหบดีที่มีมือและเท้าอ่อนนุ่ม อย่าง
ไหนประเสริฐกว่ากัน”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ การที่บุคคลเข้าไปนั่งกอดหรือนอนกอดธิดากษัตริย์
ลูกสาวพราหมณ์ หรือลูกสาวคหบดีที่มีมือและเท้าอ่อนนุ่มนี้ประเสริฐกว่า ส่วนการ
ที่บุคคลเข้าไปนั่งกอดหรือนอนกอดกองไฟใหญ่โน้นที่กำลังลุกโชนโชติช่วงอยู่นี้ เป็นทุกข์
พระพุทธเจ้าข้า”
“ภิกษุทั้งหลาย เราขอบอกเธอทั้งหลาย เราขอเตือนเธอทั้งหลาย การที่บุคคล
ผู้ทุศีล มีธรรมเลวทราม ไม่สะอาด มีความประพฤติที่น่ารังเกียจ มีการงานปกปิด
ไม่ใช่สมณะแต่ปฏิญญาว่าเป็นสมณะ ไม่ใช่พรหมจารีแต่ปฏิญญาว่าเป็นพรหมจารี๑
เน่าภายใน ชุ่มด้วยราคะ เป็นเหมือนหยากเยื่อ เข้าไปนั่งกอดหรือนอนกอดธิดา
กษัตริย์ ลูกสาวพราหมณ์ หรือลูกสาวคหบดี จะประเสริฐอะไร การเข้าไปนั่งกอด
หรือนอนกอดกองไฟใหญ่โน้นที่กำลังลุกโชนโชติช่วงนี้ประเสริฐกว่า ข้อนั้นเพราะ
เหตุไร เพราะเขาจะพึงเข้าถึงความตายหรือทุกข์ปางตาย อันมีการเข้าไปนั่งกอด
หรือนอนกอดกองไฟใหญ่นั้นเป็นเหตุ แต่เขาหลังจากตายแล้ว ก็จะไม่ไปเกิดในอบาย
ทุคติ วินิบาต นรก เพราะการเข้าไปนั่งกอดหรือนอนกอดกองไฟนั้นเป็นปัจจัย
ภิกษุทั้งหลาย ส่วนการที่บุคคลผู้ทุศีล มีธรรมเลวทราม ไม่สะอาด มีความ
ประพฤติที่น่ารังเกียจ มีการงานปกปิด ไม่ใช่สมณะแต่ปฏิญญาว่าเป็นสมณะ ไม่ใช่
พรหมจารีแต่ปฏิญญาว่าเป็นพรหมจารี เน่าภายใน ชุ่มด้วยราคะ เป็นเหมือน
หยากเยื่อ เข้าไปนั่งกอดหรือนอนกอดธิดากษัตริย์ ลูกสาวพราหมณ์ หรือลูกสาว
คหบดีนั้น ย่อมเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์เกื้อกูล เพื่อทุกข์ตลอดกาลนานแก่บุคคล
ผู้ทุศีลนั้น และหลังจากตายแล้ว เขาย่อมไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก

เชิงอรรถ :
๑ ไม่ใช่พรหมจารี แต่ปฏิญญาว่าเป็นพรหมจารี หมายถึงตนเองไม่มีศีล หมดสภาพความเป็นภิกษุ แต่ยัง
เรียกตนว่า ‘เป็นภิกษุ‘แล้วร่วมอยู่ร่วมฉันกับภิกษุอื่นผู้มีศีล ใช้สิทธิ์ถือเอาลาภที่เกิดขึ้นในสงฆ์ (องฺ.ติก.อ.
๒/๑๓/๘๖) และดู องฺ.ติก. (แปล) ๒๐/๑๓/๑๕๒-๑๕๓

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๑๕๙ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๗.มหาวรรค ๘.อัคคิกขันโธปมสูตร
๒. ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายเข้าใจเรื่องนั้นอย่างไร ระหว่างการที่บุรุษผู้มี
กำลังใช้เชือกหนังที่เหนียวพันแข้งทั้ง ๒ ข้างแล้วดึงถูไปมา เชือกหนังนั้นพึงบาดผิว
ครั้นบาดผิวแล้วพึงบาดหนัง ครั้นบาดหนังแล้วพึงบาดเนื้อ ครั้นบาดเนื้อแล้ว
พึงตัดเส้นเอ็น ครั้นตัดเส้นเอ็นแล้วพึงตัดกระดูก ครั้นตัดกระดูกแล้วพึงจรด
เยื่อกระดูก กับการยินดีการกราบไหว้ของขัตติยมหาศาล พราหมณมหาศาล
หรือคหบดีมหาศาล อย่างไหนประเสริฐกว่ากัน”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ การยินดีการกราบไหว้ของขัตติยมหาศาล พราหมณ-
มหาศาล หรือคหบดีมหาศาลนี้ประเสริฐกว่า การที่บุรุษผู้มีกำลังใช้เชือกหนังที่
เหนียวพันแข้งทั้ง ๒ ข้างแล้วดึงถูไปมา เชือกหนังนั้นพึงบาดผิวแล้ว ฯลฯ พึงจรด
เยื่อกระดูกนี้ เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า”
“ภิกษุทั้งหลาย เราขอบอกเธอทั้งหลาย เราขอเตือนเธอทั้งหลาย การที่บุคคล
ผู้ทุศีลนั้น ฯลฯ เป็นเหมือนหยากเยื่อ ยินดีการกราบไหว้ของขัตติยมหาศาล
พราหมณมหาศาล หรือคหบดีมหาศาล จะประเสริฐอะไร การที่บุรุษผู้มีกำลังใช้
เชือกหนังที่เหนียวพันแข้งทั้ง ๒ ข้างแล้วดึงถูไปมา เชือกหนังนั้นพึงบาดผิว ฯลฯ
พึงจรดเยื่อกระดูกนี้เท่านั้นประเสริฐกว่า ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะเขาพึงเข้าถึงความตาย
หรือทุกข์ปางตายอันมีการบาดผิวเป็นต้นนั้นเป็นเหตุ แต่หลังจากตายแล้ว เขาจะไม่
ไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก เพราะเชือกหนังบาดผิวเป็นต้นนั้นเป็นปัจจัย
ภิกษุทั้งหลาย ส่วนการที่บุคคลผู้ทุศีล ฯลฯ เป็นเหมือนหยากเยื่อ ยินดีการ
กราบไหว้ของขัตติยมหาศาล พราหมณมหาศาล หรือคหบดีมหาศาล ย่อมเป็นไป
เพื่อมิใช่ประโยชน์เกื้อกูล เพื่อทุกข์ตลอดกาลนานแก่บุคคลผู้ทุศีลนั้น และหลังจาก
ตายแล้ว เขาย่อมไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก
๓. ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายเข้าใจเรื่องนั้นอย่างไร ระหว่างการที่บุรุษผู้มี
กำลังใช้หอกที่คมชะโลมด้วยน้ำมันพุ่งใส่กลางอก กับการยินดีการไหว้ของขัตติยมหาศาล
พราหมณมหาศาล หรือคหบดีมหาศาล อย่างไหนประเสริฐกว่ากัน”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๑๖๐ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๗.มหาวรรค ๘.อัคคิกขันโธปมสูตร
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ การยินดีการไหว้ของขัตติยมหาศาล พราหมณมหาศาล
หรือคหบดีมหาศาล ประเสริฐกว่า ส่วนการที่บุรุษผู้มีกำลังใช้หอกที่คมชะโลมด้วย
น้ำมัน พุ่งใส่กลางอกนี้เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า”
“ภิกษุทั้งหลาย เราขอบอกเธอทั้งหลาย เราขอเตือนเธอทั้งหลาย การที่บุคคล
ผู้ทุศีล ฯลฯ เป็นเหมือนหยากเยื่อ ยินดีการไหว้ของขัตติยมหาศาล พราหมณ-
มหาศาล หรือคหบดีมหาศาล จะประเสริฐอะไร การที่บุรุษผู้มีกำลังใช้หอกที่คม
ชะโลมด้วยน้ำมันพุ่งใส่กลางอกนี้เท่านั้น ประเสริฐกว่า ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะ
เขาจะพึงเข้าถึงความตาย หรือทุกข์ปางตายอันมีหอกที่คมชะโลมด้วยน้ำมันพุ่งใส่
กลางอกเป็นเหตุ แต่หลังจากตายแล้ว เขาจะไม่ไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก
เพราะการถูกหอกแทงนั้นเป็นปัจจัย
ภิกษุทั้งหลาย ส่วนการที่บุคคลผู้ทุศีล ฯลฯ เป็นเหมือนหยากเยื่อ ยินดีการ
ไหว้ของขัตติยมหาศาล พราหมณมหาศาล หรือคหบดีมหาศาล ย่อมเป็นไปเพื่อ
มิใช่ประโยชน์เกื้อกูล เพื่อทุกข์ตลอดกาลนานแก่บุคคลผู้ทุศีลนั้น และหลังจาก
ตายแล้ว เขาย่อมไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก
๔. ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายเข้าใจเรื่องนั้นอย่างไร ระหว่างการที่บุรุษผู้มี
กำลังใช้แผ่นเหล็กร้อนที่เผาไฟลุกโชนโชติช่วงนาบกายกับการใช้สอยจีวรที่เขาถวาย
ด้วยศรัทธาของขัตติยมหาศาล พราหมณมหาศาล หรือคหบดีมหาศาล อย่างไหน
จะประเสริฐกว่ากัน”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ การที่บุคคลผู้ทุศีลใช้สอยจีวรที่เขาถวายด้วยศรัทธา
ของขัตติยมหาศาล พราหมณมหาศาล หรือคหบดีมหาศาลนี้เท่านั้น ประเสริฐกว่า
ส่วนการที่บุรุษผู้มีกำลังใช้แผ่นเหล็กร้อนที่เผาไฟลุกโชนโชติช่วงนาบกายตัวเองนี้เป็นทุกข์
พระพุทธเจ้าข้า”
“ภิกษุทั้งหลาย เราขอบอกเธอทั้งหลาย เราขอเตือนเธอทั้งหลาย การที่บุคคล
ผู้ทุศีล ฯลฯ เป็นเหมือนหยากเยื่อ ใช้สอยจีวรที่เขาถวายด้วยศรัทธา ของขัตติย-
มหาศาล พราหมณมหาศาล หรือคหบดีมหาศาล จะประเสริฐอะไร การที่บุรุษผู้
มีกำลังใช้แผ่นเหล็กร้อน ที่เผาไฟลุกโชนโชติช่วงนาบกายนี้เท่านั้น ประเสริฐกว่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๑๖๑ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๗.มหาวรรค ๘.อัคคิกขันโธปมสูตร
ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะเขาพึงเข้าถึงความตาย หรือทุกข์ปางตาย อันมีการถูก
นาบกายด้วยแผ่นเหล็กร้อนนั้นเป็นเหตุ แต่หลังจากตายแล้ว เขาจะไม่ไปเกิดใน
อบาย ทุคติ วินิบาต นรก เพราะการถูกนาบกายด้วยแผ่นเหล็กร้อนนั้นเป็นปัจจัย
ภิกษุทั้งหลาย ส่วนการที่บุคคลผู้ทุศีล ฯลฯ เป็นเหมือนหยากเยื่อ ใช้สอยจีวร
ที่เขาถวายด้วยศรัทธาของขัตติยมหาศาล พราหมณมหาศาล หรือคหบดีมหาศาล
ย่อมเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์เกื้อกูล เพื่อทุกข์ตลอดกาลนานแก่บุคคลผู้ทุศีลนั้น และ
หลังจากตายแล้ว เขาย่อมไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก
๕. ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายเข้าใจเรื่องนั้นอย่างไร ระหว่างการที่บุรุษ
ผู้มีกำลังใช้ตะขอเหล็กร้อนที่เผาไฟลุกโชนโชติช่วงง้างปากแล้ว ใส่ก้อนเหล็กร้อน
ที่เผาไฟลุกโชนโชติช่วงเข้าไปในปาก ก้อนเหล็กร้อนนั้นพึงไหม้ริมฝีปากบ้าง ไหม้
ปากบ้าง ไหม้ลิ้นบ้าง ไหม้คอบ้าง ไหม้อกบ้าง พาไส้ใหญ่บ้าง ไส้น้อยบ้าง
ออกทางทวารเบื้องล่างของคนนั้น กับการฉันบิณฑบาตที่เขาถวายด้วยศรัทธาของ
ขัตติยมหาศาล พราหมณมหาศาล หรือคหบดีมหาศาล อย่างไหนประเสริฐ
กว่ากัน”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ การฉันบิณฑบาตที่เขาถวายด้วยศรัทธาของขัตติยมหาศาล
พราหมณมหาศาล หรือคหบดีมหาศาลนี้เท่านั้น ประเสริฐกว่า การที่บุรุษผู้มีกำลัง
ใช้ตะขอเหล็กร้อน ที่เผาไฟลุกโชนโชติช่วงง้างปากแล้ว ใส่ก้อนเหล็กร้อน ที่เผาไฟ
ลุกโชนโชติช่วงเข้าไปในปาก ก้อนเหล็กร้อนนั้นพึงไหม้ริมฝีปากบ้าง ไหม้ปากบ้าง
ไหม้ลิ้นบ้าง ไหม้คอบ้าง ไหม้อกบ้าง พาไส้ใหญ่บ้าง ไส้น้อยบ้าง ออกทางทวาร
เบื้องล่างของคนนั้นนี้เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า”
“ภิกษุทั้งหลาย เราขอบอกเธอทั้งหลาย เราขอเตือนเธอทั้งหลาย การที่บุคคล
ผู้ทุศีล ฯลฯ เป็นเหมือนหยากเยื่อ ฉันบิณฑบาตที่เขาถวายด้วยศรัทธาของขัตติย-
มหาศาล พราหมณมหาศาล หรือคหบดีมหาศาล จะประเสริฐอะไร การที่บุรุษ
ผู้มีกำลังใช้ตะขอเหล็กร้อนที่เผาไฟลุกโชนโชติช่วงง้างปากแล้ว ใส่ก้อนเหล็กร้อน
ที่เผาไฟลุกโชนโชติช่วงเข้าไปในปาก ก้อนเหล็กร้อนนั้นพึงไหม้ริมฝีปากบ้าง ไหม้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๑๖๒ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๗.มหาวรรค ๘.อัคคิกขันโธปมสูตร
ปากบ้าง ไหม้ลิ้นบ้าง ไหม้คอบ้าง ไหม้อกบ้าง พาไส้ใหญ่บ้าง ไส้น้อยบ้าง ออกทาง
ทวารเบื้องล่างของคนนั้นนี้เท่านั้น ประเสริฐกว่า ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะเขาพึง
เข้าถึงความตายหรือทุกข์ปางตาย อันมีการใส่ก้อนเหล็กร้อนนั้นเป็นเหตุ แต่หลัง
จากตายแล้ว เขาจะไม่ไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก เพราะการใส่ก้อนเหล็ก
ร้อนนั้นเป็นปัจจัย
ภิกษุทั้งหลาย ส่วนการที่บุคคลผู้ทุศีล ฯลฯ เป็นเหมือนหยากเยื่อ ฉันบิณฑบาต
ที่เขาถวายด้วยศรัทธาของขัตติยมหาศาล พราหมณมหาศาล หรือคหบดีมหาศาล
ย่อมเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์เกื้อกูล เพื่อทุกข์ตลอดกาลนานแก่บุคคลผู้ทุศีลนั้น
และหลังจากตายแล้ว เขาย่อมไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก
๖. ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายเข้าใจเรื่องนั้นอย่างไร ระหว่างการที่บุรุษผู้มี
กำลังจับศีรษะหรือคอแล้วให้นั่งทับ หรือนอนทับเตียงเหล็กร้อน ที่เผาไฟลุกโชน
โชติช่วง กับการใช้สอยเตียงตั่งที่เขาถวายด้วยศรัทธาของขัตติยมหาศาล พราหมณ-
มหาศาล หรือคหบดีมหาศาล อย่างไหนประเสริฐกว่ากัน”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ การใช้สอยเตียงตั่งที่เขาถวายด้วยศรัทธาของขัตติย-
มหาศาล พราหมณมหาศาล หรือคหบดีมหาศาลเท่านั้น ประเสริฐกว่า การที่บุรุษ
ผู้มีกำลังจับศีรษะ หรือคอแล้วให้นั่งทับ หรือนอนทับเตียงเหล็กร้อน ที่เผาไฟลุกโชน
โชติช่วงนี้เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า”
“ภิกษุทั้งหลาย เราขอบอกเธอทั้งหลาย เราขอเตือนเธอทั้งหลาย การที่บุคคล
ผู้ทุศีล ฯลฯ เป็นเหมือนหยากเยื่อ การใช้สอยเตียงตั่งที่เขาถวายด้วยศรัทธาของ
ขัตติยมหาศาล พราหมณมหาศาล หรือคหบดีมหาศาล จะประเสริฐอะไร การที่
บุรุษผู้มีกำลังจับศีรษะหรือคอแล้ว ให้นั่งทับหรือนอนทับเตียงเหล็กร้อน ที่เผาไฟลุก
โชนโชติช่วงนี้เท่านั้น ประเสริฐกว่า ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะเขาจะพึงเข้าถึง
ความตาย หรือทุกข์ปางตายอันมีการนั่งหรือนอนทับเตียงตั่งเหล็กร้อนนั้นเป็นเหตุ
แต่หลังจากตายแล้ว เขาจะไม่ไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก เพราะการ
นั่งหรือนอนทับเตียงตั่งเหล็กร้อนนั้นเป็นปัจจัย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๑๖๓ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๗.มหาวรรค ๘.อัคคิกขันโธปมสูตร
ภิกษุทั้งหลาย ส่วนการที่บุคคลผู้ทุศีล ฯลฯ เป็นเหมือนหยากเยื่อ การใช้สอย
เตียงตั่งที่เขาถวายด้วยศรัทธาของขัตติยมหาศาล พราหมณมหาศาล หรือคหบดี
มหาศาล ย่อมเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์เกื้อกูล เพื่อทุกข์ตลอดกาลนานแก่บุคคลผู้
ทุศีลนั้น และหลังจากตายแล้ว เขาย่อมไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก
๗. ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายเข้าใจเรื่องนั้นอย่างไร ระหว่างการที่บุรุษ
ผู้มีกำลังจับคนชูเท้าขึ้น ห้อยศีรษะลงแล้วโยนลงในหม้อเหล็กร้อนที่เผาไฟลุกโชน
โชติช่วง เขาถูกไฟลวกเดือดโผล่ขึ้นเป็นฟองในหม้อเหล็กร้อนนั้น บางครั้งก็ลอยขึ้น
บางครั้งก็จมลง บางครั้งก็ลอยขวาง กับการใช้สอยวิหารที่เขาถวายด้วยศรัทธา
ของขัตติยมหาศาล พราหมณมหาศาล หรือคหบดีมหาศาล อย่างไหนประเสริฐ
กว่ากัน”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ การใช้สอยวิหารที่เขาถวายด้วยศรัทธาของขัตติยมหาศาล
พราหมณมหาศาล หรือคหบดีมหาศาลเท่านั้น ประเสริฐกว่า การที่บุรุษผู้มีกำลัง
จับคนชูเท้าขึ้น ห้อยศีรษะลงแล้วโยนลงในหม้อเหล็กร้อนที่เผาไฟลุกโชนโชติช่วง
เขาถูกไฟลวกเดือดโผล่ขึ้นเป็นฟองในหม้อเหล็กร้อนนั้น บางครั้งก็ลอยขึ้น บางครั้ง
ก็จมลง บางครั้งก็ลอยขวางนี้เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า”
“ภิกษุทั้งหลาย เราขอบอกเธอทั้งหลาย เราขอเตือนเธอทั้งหลาย การที่บุคคล
ทุศีล ฯลฯ เป็นเหมือนหยากเยื่อ การใช้สอยวิหารที่เขาถวายด้วยศรัทธาของขัตติย-
มหาศาล พราหมณมหาศาล หรือคหบดีมหาศาล จะประเสริฐอะไร การที่บุรุษผู้มี
กำลังจับคนชูเท้าขึ้น ห้อยศีรษะลงแล้วโยนลงในหม้อเหล็กร้อนที่เผาไฟลุกโชนโชติช่วง
เขาถูกไฟลวกเดือดโผล่ขึ้นเป็นฟองในหม้อเหล็กร้อนนั้น บางครั้งก็ลอยขึ้น บางครั้ง
ก็จมลง บางครั้งก็ลอยขวางนี้เท่านั้น ประเสริฐกว่า ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะเขา
พึงเข้าถึงความตาย หรือทุกข์ปางตายอันมีการถูกโยนลงในหม้อเหล็กร้อนนั้นเป็นเหตุ
แต่หลังจากตายแล้ว เขาจะไม่ไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก เพราะการถูก
โยนลงในหม้อเหล็กร้อนนั้นเป็นปัจจัย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๑๖๔ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๗.มหาวรรค ๘.อัคคิกขันโธปมสูตร
ภิกษุทั้งหลาย ส่วนการที่บุคคลผู้ทุศีล ฯลฯ เป็นดุจหยากเยื่อ การใช้สอย
วิหารที่เขาถวายด้วยศรัทธาของขัตติยมหาศาล พราหมณมหาศาล หรือคหบดี-
มหาศาล ย่อมเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์เกื้อกูล เพื่อทุกข์ตลอดกาลนานแก่บุคคลผู้
ทุศีลนั้น และหลังจากตายแล้ว เขาย่อมไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก
ภิกษุทั้งหลาย เพราะฉะนั้น เธอทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า ‘เราทั้งหลาย
ใช้สอยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชชบริขารของชนเหล่าใด
สักการะเหล่านั้นของชนเหล่านั้นจักมีผลมาก มีอานิสงส์มาก และการบรรพชาของ
เราทั้งหลาย จักไม่เป็นหมัน มีผล มีกำไร’ ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงสำเหนียก
อย่างนี้แล
อีกประการหนึ่ง เธอทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า ‘ภิกษุเมื่อพิจารณาเห็น
ประโยชน์ตน ก็ควรที่จะทำประโยชน์ตนนั้นให้สำเร็จด้วยความไม่ประมาทโดยแท้
เมื่อพิจารณาเห็นประโยชน์ของผู้อื่น ก็ควรทำประโยชน์ของผู้อื่นนั้นให้สำเร็จด้วย
ความไม่ประมาทโดยแท้ หรือเมื่อพิจารณาเห็นประโยชน์ทั้ง ๒ อย่าง ก็ควรทำ
ประโยชน์ทั้ง ๒ อย่างนั้นให้สำเร็จด้วยความไม่ประมาท”
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสเวยยากรณภาษิตนี้แล้ว และเมื่อพระองค์กำลังตรัส
เวยยากรณภาษิตนี้อยู่ ภิกษุประมาณ ๖๐ รูปได้กระอักเลือดอุ่นๆ ออกมา ภิกษุ
ประมาณ ๖๐ รูป ได้บอกคืนสิกขากลับมาเป็นคฤหัสถ์ด้วยกราบทูลว่า “ข้าแต่
พระผู้มีพระภาค การประพฤติพรหมจรรย์ ทำได้ยากแสนยาก ข้าแต่พระผู้มี
พระภาค การประพฤติพรหมจรรย์ ทำได้ยากแสนยาก” ภิกษุอีกประมาณ ๖๐ รูป
มีจิตหลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลาย เพราะไม่ถือมั่น ฉะนี้แล

อัคคิกขันโธปมสูตรที่ ๘ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๑๖๕ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๗.มหาวรรค ๙.สุเนตตสูตร
๙. สุเนตตสูตร
ว่าด้วยครูชื่อสุเนตตะ๑
[๗๓] ภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว มีครูชื่อสุเนตตะ เป็นเจ้าลัทธิผู้
ปราศจากความกำหนัดในกามทั้งหลาย มีสาวกหลายร้อยคน ได้แสดงธรรมแก่
สาวกทั้งหลาย เพื่อความเป็นผู้เกิดในพรหมโลก สาวกเหล่าใด เมื่อครูสุเนตตะ
แสดงธรรมเพื่อความเป็นผู้เกิดในพรหมโลกอยู่ ไม่ทำจิตให้เลื่อมใส สาวกเหล่านั้น
หลังจากตายแล้ว ได้ไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ส่วนสาวกเหล่าใด เมื่อครู
สุเนตตะแสดงธรรม เพื่อความเป็นผู้เกิดในพรหมโลกอยู่ ได้ทำจิตให้เลื่อมใส สาวก
เหล่านั้นหลังจากตายแล้ว ได้ไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์
เรื่องเคยมีมาแล้ว มีครูชื่อมูคปักขะ ฯลฯ เรื่องเคยมีมาแล้ว มีครูชื่อ
อรเนมิ ฯลฯ เรื่องเคยมีมาแล้ว มีครูชื่อกุททาละ ฯลฯ เรื่องเคยมีมาแล้ว มีครู
ชื่อหัตถิปาละ ฯลฯ เรื่องเคยมีมาแล้ว มีครูชื่อโชติปาละ ฯลฯ เรื่องเคยมีมาแล้ว
มีครูชื่ออรกะเป็นเจ้าลัทธิผู้ปราศจากความกำหนัดในกามทั้งหลาย มีสาวกหลาย
ร้อยคน ได้แสดงธรรมแก่สาวกทั้งหลายเพื่อความเป็นผู้เกิดในพรหมโลก สาวกเหล่าใด
เมื่อครูอรกะแสดงธรรม เพื่อความเป็นผู้เกิดในพรหมโลกอยู่ ไม่ทำจิตให้เลื่อมใส
สาวกเหล่านั้นหลังจากตายแล้ว ได้ไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ส่วนสาวก
เหล่าใด เมื่อครูชื่ออรกะแสดงธรรมเพื่อความเป็นผู้เกิดในพรหมโลกอยู่ ได้ทำจิตให้
เลื่อมใส สาวกเหล่านั้นหลังจากตายแล้ว ได้ไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์
ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายเข้าใจเรื่องนั้นอย่างไร ผู้ใดถูกโทสะประทุษร้าย
พึงด่าบริภาษครูทั้ง ๗ นี้ ผู้เป็นเจ้าลัทธิผู้ปราศจากความกำหนัดในกามทั้งหลาย
มีบริวารหลายร้อยคน พร้อมทั้งหมู่สาวก ผู้นั้นจะพึงประสพสิ่งที่มิใช่บุญเป็นอันมาก
หรือไม่

เชิงอรรถ :
๑ ดู องฺ.ฉกฺก. (แปล) ๒๒/๕๔/๕๒๙

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๑๖๖ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๗.มหาวรรค ๑๐.อรกสูตร
“พึงประสพ พระพุทธเจ้าข้า”
“ภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดมีจิตถูกโทสะประทุษร้าย พึงด่าพึงบริภาษครูทั้ง ๗ นี้
ผู้เป็นเจ้าลัทธิ ผู้ปราศจากความกำหนัดในกามทั้งหลาย มีบริวารหลายร้อยคน
พร้อมทั้งหมู่สาวก ผู้นั้นพึงประสพสิ่งที่มิใช่บุญเป็นอันมาก ส่วนผู้ใดมีจิตถูกโทสะ
ประทุษร้าย พึงด่าบริภาษบุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ๑คนเดียว ผู้นั้นย่อมประสพ
สิ่งที่มิใช่บุญมากกว่าบุคคลผู้ด่าบริภาษครูทั้ง ๗ นั้น ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะเรา
ไม่กล่าวว่าการขุดโค่นคุณความดีของตนเช่นนี้ จะมีภายนอกศาสนานี้ เหมือนการ
ด่าการบริภาษเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย
ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล เธอทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า ‘จิตของเรา
ทั้งหลายจักไม่คิดประทุษร้ายในเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย’ เธอทั้งหลายพึงสำเหนียก
อย่างนี้แล”
สุเนตตสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. อรกสูตร
ว่าด้วยครูชื่ออรกะ
[๗๔] ภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว มีครูชื่ออรกะ เป็นเจ้าลัทธิผู้ปราศจาก
ความกำหนัดในกามทั้งหลาย มีสาวกหลายร้อยคน ได้แสดงธรรมแก่สาวกอย่างนี้ว่า
“พราหมณ์ ชีวิตของมนุษย์ทั้งหลายมีประมาณน้อย เล็กน้อย รวดเร็ว มีทุกข์มาก
มีความคับแค้นมาก บุคคลพึงรู้ด้วยปัญญา พึงทำกุศล พึงประพฤติพรหมจรรย์
ไม่มีหรอก สัตว์ที่เกิดมาแล้วจะไม่ตาย

เชิงอรรถ :
๑ ผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ ในที่นี้หมายถึงพระอริยบุคคลชั้นโสดาบันซึ่งมีชื่อว่า “ผู้ถึงพร้อมด้วยทัสสนะ” บ้าง
“ผู้มาสู่พระสัทธรรม” บ้าง “ผู้ประกอบด้วยฌานของพระเสขะ” บ้าง “ผู้ประกอบด้วยวิชชาของพระเสขะ”
บ้าง “ผู้เข้าถึงกระแสธรรม” บ้าง “ผู้มีปัญญาแทงตลอด” บ้าง “ผู้ยืนจรดประตูอมตะ” บ้าง (องฺ.เอกก.อ.
๑/๒๖๘/๔๐๒, องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๕๔/๑๓๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๑๖๗ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๗.มหาวรรค ๑๐.อรกสูตร
พราหมณ์ หยาดน้ำค้างที่ยอดหญ้า เมื่อดวงอาทิตย์ขึ้น ก็เหือดแห้งไปอย่าง
รวดเร็ว อยู่ได้ไม่นาน แม้ฉันใด ชีวิตของมนุษย์ทั้งหลายที่เปรียบด้วยหยาดน้ำค้าง
ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เป็นของเล็กน้อย รวดเร็ว มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก
บุคคลพึงรู้ด้วยปัญญา พึงทำกุศล พึงประพฤติพรหมจรรย์ ไม่มีหรอก สัตว์ที่เกิดมา
แล้วจะไม่ตาย
พราหมณ์ เมื่อฝนเม็ดใหญ่ตก ฟองน้ำย่อมแตกหายไปอย่างรวดเร็ว คงอยู่ได้
ไม่นาน แม้ฉันใด ชีวิตของมนุษย์ทั้งหลายที่เปรียบด้วยฟองน้ำ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน
เป็นของเล็กน้อย รวดเร็ว มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก บุคคลพึงรู้ด้วยปัญญา
พึงทำกุศล พึงประพฤติพรหมจรรย์ ไม่มีหรอก สัตว์ที่เกิดมาแล้วจะไม่ตาย
พราหมณ์ รอยขีดในน้ำย่อมขาดหายไปอย่างรวดเร็ว คงอยู่ได้ไม่นาน
แม้ฉันใด ชีวิตของมนุษย์ทั้งหลายที่เปรียบด้วยรอยขีดในน้ำ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน
เป็นของเล็กน้อย รวดเร็ว ฯลฯ ไม่มีหรอก สัตว์ที่เกิดมาแล้วจะไม่ตาย
พราหมณ์ แม่น้ำที่ไหลมาจากภูเขา มาจากที่ไกล มีกระแสเชี่ยว พัดสิ่งที่
พาไปได้ ไม่มีขณะ เวลา หรือชั่วครู่ที่มันจะหยุด โดยที่แท้ แม่น้ำนั้นย่อมไหลบ่า
เรื่อยไป แม้ฉันใด ชีวิตของมนุษย์ทั้งหลายที่เปรียบด้วยแม่น้ำที่ไหลมาจากภูเขา
ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เป็นของเล็กน้อย รวดเร็ว ฯลฯ ไม่มีหรอก สัตว์ที่เกิดมาแล้ว
จะไม่ตาย
พราหมณ์ บุรุษผู้มีกำลังอมก้อนเขฬะไว้ที่ปลายลิ้นแล้ว พึงถ่มทิ้งไปโดยไม่
ยากนัก แม้ฉันใด ชีวิตของมนุษย์ทั้งหลายที่เปรียบด้วยก้อนเขฬะ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน
เป็นของเล็กน้อย รวดเร็ว ฯลฯ ไม่มีหรอก สัตว์ที่เกิดมาแล้วจะไม่ตาย
พราหมณ์ ชิ้นเนื้อที่เขาใส่ไว้ในกระทะเหล็กที่ถูกเผาไฟตลอดทั้งวัน ย่อมหดหาย
ไปอย่างรวดเร็ว คงอยู่ได้ไม่นาน แม้ฉันใด ชีวิตของมนุษย์ทั้งหลายที่เปรียบด้วย
ชิ้นเนื้อ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เป็นของเล็กน้อย รวดเร็ว ฯลฯ ไม่มีหรอก สัตว์ที่เกิดมา
แล้วจะไม่ตาย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๑๖๘ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๗.มหาวรรค ๑๐.อรกสูตร
พราหมณ์ แม่โคที่จะถูกฆ่า ถูกเขานำไปสู่ที่ฆ่า ยกเท้าขึ้นคราวใด ก็ยิ่งใกล้
ถูกฆ่า ใกล้ตายเข้าไปคราวนั้น แม้ฉันใด ชีวิตของมนุษย์ทั้งหลายที่เปรียบด้วยแม่โค
ที่จะถูกฆ่า ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เป็นของเล็กน้อย รวดเร็ว ฯลฯ ไม่มีหรอก สัตว์ที่เกิด
มาแล้วจะไม่ตาย
ภิกษุทั้งหลาย สมัยนั้น มนุษย์ทั้งหลายได้มีอายุประมาณ ๖๐,๐๐๐ ปี เด็ก
หญิงมีอายุ ๕๐๐ ปี จึงมีสามีได้ สมัยนั้น มนุษย์ทั้งหลายมีอาพาธเพียง ๖ อย่าง
เท่านั้น คือ หนาว ร้อน หิว กระหาย ปวดอุจจาระ ปวดปัสสาวะ ภิกษุทั้งหลาย
เมื่อมนุษย์ทั้งหลายมีอายุยืนอย่างนี้ ดำรงอยู่ได้นานอย่างนี้ และมีอาพาธน้อย
อย่างนี้ ไฉนครูอรกะนั้นยังแสดงธรรมแก่สาวกทั้งหลายอย่างนี้ว่า “พราหมณ์ ชีวิต
ของมนุษย์ มีประมาณน้อย เล็กน้อย รวดเร็ว มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก
บุคคลพึงรู้ด้วยปัญญา พึงทำกุศล พึงประพฤติพรหมจรรย์ ไม่มีหรอก สัตว์ที่เกิดมา
แล้วจะไม่ตาย”
ภิกษุทั้งหลาย ปัจจุบันนี้ เมื่อจะกล่าวถึงชีวิตนั้นให้ถูกต้อง พึงกล่าวว่า “ชีวิต
ของมนุษย์ทั้งหลายมีประมาณน้อย เล็กน้อย รวดเร็ว มีทุกข์มาก มีความ
คับแค้นมาก บุคคลพึงรู้ด้วยปัญญา พึงทำกุศล พึงประพฤติพรหมจรรย์ ไม่มีหรอก
สัตว์ที่เกิดมาแล้วจะไม่ตาย”
ภิกษุทั้งหลาย ปัจจุบันนี้ ผู้มีอายุยืนจะอยู่ได้ ๑๐๐ ปี น้อยกว่านั้นก็มี
มากกว่านั้นก็มี ส่วนคนที่อยู่ได้ถึง ๑๐๐ ปี จะอยู่ได้ ๓๐๐ ฤดูเท่านั้น คือ
ฤดูหนาว ๑๐๐ ฤดูร้อน ๑๐๐ ฤดูฝน ๑๐๐ คนที่อยู่ได้ถึง ๓๐๐ ฤดู จะอยู่ได้ถึง
๑,๒๐๐ เดือน คือ ฤดูหนาว ๔๐๐ ฤดูร้อน ๔๐๐ ฤดูฝน ๔๐๐ คนที่อยู่ได้ถึง
๑,๒๐๐ เดือน จะอยู่ได้ถึง ๒,๔๐๐ กึ่งเดือน คือ ฤดูหนาว ๘๐๐ กึ่งเดือน ฤดูร้อน
๘๐๐ กึ่งเดือน ฤดูฝน ๘๐๐ กึ่งเดือน คนที่อยู่ได้ถึง ๒,๔๐๐ กึ่งเดือน จะอยู่ได้ถึง
๓๖,๐๐๐ ราตรี คือ ฤดูหนาว ๑๒,๐๐๐ ราตรี ฤดูร้อน ๑๒,๐๐๐ ราตรี ฤดูฝน
๑๒,๐๐๐ ราตรี คนที่อยู่ได้ถึง ๓๖,๐๐๐ ราตรี จะบริโภคอาหารได้ ๗๒,๐๐๐ มื้อ
คือ ฤดูหนาว ๒๔,๐๐๐ มื้อ ฤดูร้อน ๒๔,๐๐๐ มื้อ ฤดูฝน ๒๔,๐๐๐ มื้อ นับรวม
ถึงการดื่มนมมารดาและเหตุที่ทำให้ไม่ได้บริโภคอาหาร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๑๖๙ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๗.มหาวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค
ในข้อนั้น เหตุที่ทำให้ไม่ได้บริโภคอาหารมีดังนี้ คนโกรธก็ไม่บริโภคอาหาร
คนมีทุกข์ก็ไม่บริโภคอาหาร คนเจ็บไข้ก็ไม่บริโภคอาหาร คนรักษาอุโบสถก็ไม่
บริโภคอาหาร และคนหาอาหารไม่ได้ก็ไม่บริโภคอาหาร
ภิกษุทั้งหลาย เราได้กำหนดอายุ กำหนดประมาณอายุ กำหนดฤดู กำหนดปี
กำหนดเดือน กำหนดกึ่งเดือน กำหนดราตรี กำหนดวัน กำหนดอาหาร และ
กำหนดอันตรายแห่งการบริโภคอาหารของมนุษย์ผู้มีอายุ ๑๐๐ ปี ด้วยประการ
ฉะนี้แล
ภิกษุทั้งหลาย กิจใด ที่ศาสดาผู้แสวงหาประโยชน์เกื้อกูล ผู้อนุเคราะห์ อาศัย
ความอนุเคราะห์พึงทำแก่สาวกทั้งหลาย กิจนั้น เราได้ทำแล้วแก่เธอทั้งหลาย ภิกษุ
ทั้งหลาย นั่นโคนไม้ นั่นเรือนว่าง๑ เธอทั้งหลายจงเพ่ง๒ อย่าประมาท อย่าเป็นผู้มี
วิปปฏิสาร (ความร้อนใจ) ในภายหลังเลย นี้เป็นอนุสาสนีของเราเพื่อเธอทั้งหลาย
อรกสูตรที่ ๑๐ จบ
มหาวรรคที่ ๑๐ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. หิริโอตตัปปสูตร ๒. สัตตสุริยสูตร
๓. นคโรปมสูตร ๔. ธัมมัญญูสูตร
๕. ปาริฉัตตกสูตร ๖. สักกัจจสูตร
๗. ภาวนาสูตร ๘. อัคคิกขันโธปมสูตร
๙. สุเนตตสูตร ๑๐. อรกสูตร


เชิงอรรถ :
๑ คำว่า นั่นโคนไม้ นั่นเรือนว่าง นี้ พระผู้มีพระภาคตรัสบอกเสนาสนะ หรือสถานที่ที่สงัดปราศจากคน
เหมาะแก่การบำเพ็ญความเพียรแก่ภิกษุ ประหนึ่งว่า ทรงมอบมรดก (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๗๓/๓๖)
๒ เพ่ง ในที่นี้หมายถึงเจริญสมถกัมมัฏฐานโดยเพ่งอารมณ์กัมมัฏฐาน ๓๘ ประการ และเจริญวิปัสสนา-
กัมมัฏฐานโดยเพ่งขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ เป็นต้นว่าเป็นสภาวะไม่เที่ยง (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๗๓/๓๖)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๑๗๐ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๘.วินยวรรค ๑.ปฐมวินยธรสูตร
๘. วินยวรรค
หมวดว่าด้วยวินัย๑
๑. ปฐมวินยธรสูตร
ว่าด้วยคุณสมบัติของพระวินัยธร สูตรที่ ๑
[๗๕] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๗ ประการ
เป็นพระวินัยธรได้
ธรรม ๗ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. รู้จักอาบัติ
๒. รู้จักอนาบัติ
๓. รู้จักลหุกาบัติ
๔. รู้จักครุกาบัติ๒
๕. มีศีล สำรวมด้วยการสังวรในปาติโมกข์๓ เพียบพร้อมด้วยอาจาระ

เชิงอรรถ :
๑ พระสูตรที่ ๑-๘ ในวรรคนี้ ดูเปรียบเทียบกับคัมภีร์บริวาร (วิ.ป. ๘/๓๒๗/๒๘๘-๒๙๑)
๒ รู้จักอาบัติ หมายถึงรู้อาบัติที่ท่านแสดงไว้ในสิกขาบทและสิกขาบทวิภังค์ (อธิบายสิกขาบท)
รู้จักอนาบัติ หมายถึงสามารถวินิจฉัยเรื่องที่เกิดขึ้นเกี่ยวกับอาบัติแต่ไม่ถึงกับต้องอาบัติ เช่น นางภิกษุณี
อุบลวรรณาถูกข่มขืน ท่านไม่ยินดี จึงไม่ต้องอาบัติ ดู วิ.มหา (แปล) ๑/๖๘/๕๖-๕๗
รู้จักลหุกาบัติ หมายถึงรู้ว่าอาบัติ ๕ อย่าง คือ ถุลลัจจัย ปาจิตตีย์ ปาฏิเทสนียะ ทุกกฏ ทุพภาสิต จะพ้น
ได้ด้วยวินัยกรรมเบาคือการแสดงอาบัติ(เทสนาวิธี)
รู้จักครุกาบัติ หมายถึงรู้ว่าสังฆาทิเสสจะพ้นได้ด้วยวินัยกรรมหนักคือวุฏฐานวิธี (ระเบียบเครื่องออกจาก
อาบัติ ๔ อย่าง คือ ปริวาส มานัต อัพภาน และปฏิกัสสนา) และรู้ว่าปาราชิกไม่สามารถจะพ้นได้ด้วยวินัย
กรรมอะไร ๆ (วิ.อ. ๓/๓๒๑/๔๔๒)
๓ สังวรในปาติโมกข์ มีอรรถาธิบายแต่ละคำดังนี้ สังวร หมายถึงการไม่ล่วงละเมิดทางกาย ทางวาจา
ปาติโมกข์ หมายถึงศีลสิกขาบทที่เป็นเหตุให้ผู้รักษาหลุดพ้นจากทุกข์ (ปาติ = รักษา + โมกขะ = ความ
หลุดพ้น) (วิสุทฺธิ. ๑/๑๔/๑๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๑๗๑ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๘.วินยวรรค ๓.ตติยวินยธรสูตร
และโคจร๑ มีปกติเห็นภัยในโทษแม้เล็กน้อย สมาทานศึกษาอยู่ใน
สิกขาบททั้งหลาย
๖. ได้ฌาน ๔ อันมีในจิตยิ่ง ซึ่งเป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบันตาม
ความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ได้โดยไม่ลำบาก
๗. ทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันไม่มีอาสวะ เพราะอาสวะ
สิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๗ ประการนี้แล เป็นพระวินัยธรได้
ปฐมวินยธรสูตรที่ ๑ จบ

๒. ทุติยวินยธรสูตร
ว่าด้วยคุณสมบัติของพระวินัยธร สูตรที่ ๒
[๗๖] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๗ ประการ เป็นพระวินัยธรได้
ธรรม ๗ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. รู้จักอาบัติ
๒. รู้จักอนาบัติ

เชิงอรรถ :
๑ อาจาระ หมายถึงการไม่ล่วงละเมิดทางกาย การไม่ล่วงละเมิดทางวาจา การไม่ล่วงละเมิดทางกายและทาง
วาจา หรือการสำรวมศีลทั้งหมด คือ การไม่เลี้ยงชีพด้วยอาชีพที่ผิดที่พระพุทธเจ้าทรงรังเกียจ เช่น ไม่
เลี้ยงชีพด้วยการให้ไม้ไผ่ ให้ใบไม้ ดอกไม้ ผลไม้ เครื่องสาน ไม้สีฟัน ไม่เลี้ยงชีพด้วยการทำตนต่ำกว่า
คฤหัสถ์ ด้วยการพูดเล่นเป็นแกงถั่ว(จริงบ้างไม่จริงบ้าง) ไม่เลี้ยงชีพด้วยการเลี้ยงเด็ก และการรับส่งข่าว
(วิสุทฺธิ. ๑/๑๔/๑๘)
โคจร หมายถึงสถานที่เที่ยวไปของภิกษุซึ่งไม่มีหญิงแพศยา(โสเภณี) ไม่มีหญิงหม้าย ไม่มีสาวเทื้อ (สาวแก่)
ไม่มีบัณเฑาะก์ ไม่มีภิกษุณี ไม่มีร้านสุรา ไม่เป็นสถานที่ต้องคลุกคลีกับพระราชา มหาอำมาตย์ และพวก
เดียรถีย์ ตรงกันข้าม ต้องเป็นสถานที่ของตระกูลที่มีศรัทธาเลื่อมใส เป็นดุจบ่อน้ำ รุ่งเรืองด้วยผ้ากาสาวะ
อบอวลด้วยกลิ่นฤาษี มุ่งหวังความผาสุกแก่ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา เป็นสถานที่ที่ภิกษุสำรวม
อินทรีย์ ๖ งดเว้นการขวนขวายในการดูการละเล่นที่เป็นข้าศึกต่อกุศล เช่น การฟ้อน ขับร้อง ประโคมดนตรี
อนึ่ง คำว่า โคจร นี้หมายถึงธรรมที่เป็นอารมณ์ของวิปัสสนากัมมัฏฐาน คือ สติปัฏฐาน ๔ (ขุ.ม. (แปล)
๒๙/๑๙๖/๕๗๑-๕๗๒, วิสุทฺธิ ๑/๑๔/๑๗-๑๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๑๗๒ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๘.วินยวรรค ๓.ตติยวินยธรสูตร
๓. รู้จักลหุกาบัติ
๔. รู้จักครุกาบัติ
๕. ทรงจำปาติโมกข์ทั้งสอง๑ได้ดี จำแนกได้ดี ให้เป็นไปได้ดีโดยพิสดาร
วินิจฉัยได้ดีโดยสูตร โดยอนุพยัญชนะ๒
๖. ได้ฌาน ๔ อันมีในจิตยิ่งซึ่งเป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน ตาม
ความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ได้โดยไม่ลำบาก
๗. ทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันไม่มีอาสวะ เพราะอาสวะ
สิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๗ ประการนี้แล เป็นพระวินัยธรได้
ทุติยวินยธรสูตรที่ ๒ จบ

๓. ตติยวินยธรสูตร
ว่าด้วยคุณสมบัติของพระวินัยธร สูตรที่ ๓
[๗๗] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๗ ประการ เป็นพระวินัยธรได้
ธรรม ๗ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. รู้จักอาบัติ
๒. รู้จักอนาบัติ

เชิงอรรถ :
๑ ปาติโมกข์ทั้งสอง ในที่นี้หมายถึงวิภังค์ ๒ คือ ภิกขุวิภังค์ ว่าด้วยภิกขุปาติโมกข์ กล่าวคือสิกขาบทใน
ปาติโมกข์ฝ่ายภิกษุ ๒๒๗ ข้อ และภิกขุนีวิภังค์ ว่าด้วยภิกขุนีปาติโมกข์ กล่าวคือสิกขาบทฝ่ายภิกษุณี
๓๑๑ ข้อ (วิ.อ.๒/๑๔๕-๑๔๗/๓๑๙)
๒ วินิจฉัยได้ดีโดยสูตร ในที่นี้หมายถึงวินิจฉัยได้ดีด้วยคัมภีร์ขันธกะและปริวารแห่งพระวินัยปิฎก วินิจฉัยได้
ดีโดยอนุพยัญชนะ หมายถึงวินิจฉัยบทอักษรให้สมบูรณ์ ไม่ตกหล่น (วิ.อ. ๒/๑๔๕-๑๔๗/๓๑๙)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๑๗๓ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๘.วินยวรรค ๔.จตุตถวินยธรสูตร
๓. รู้จักลหุกาบัติ
๔. รู้จักครุกาบัติ
๕. เป็นผู้ตั้งมั่น ไม่ง่อนแง่นในวินัย๑
๖. ได้ฌาน ๔ อันมีในจิตยิ่งซึ่งเป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน ตาม
ความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ได้โดยไม่ลำบาก
๗. ทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันไม่มีอาสวะ เพราะอาสวะ
สิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๗ ประการนี้แล เป็นพระวินัยธรได้
ตติยวินยธรสูตรที่ ๓ จบ

๔. จตุตถวินยธรสูตร
ว่าด้วยคุณสมบัติของพระวินัยธร สูตรที่ ๔
[๗๘] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๗ ประการ เป็นพระวินัยธรได้
ธรรม ๗ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. รู้จักอาบัติ
๒. รู้จักอนาบัติ
๓. รู้จักลหุกาบัติ

เชิงอรรถ :
๑ ตั้งมั่นไม่ง่อนแง่น หมายถึงหนักแน่นมั่นคงและมั่นใจในเรื่องที่ตนวินิจฉัยไว้ดีแล้ว ไม่กวัดแกว่งโอนเอียง
คล้อยตามความคิดของผู้อื่น เมื่อถูกถามในเรื่องบาลี อรรถกถาตอนต้น ตอนปลาย ตามลำดับบท ก็ไม่
หวั่นไหวสะทกสะท้าน สามารถยืนยันได้ด้วยว่า ‘ข้าพเจ้าพูดอย่างนี้ อาจารย์ของข้าพเจ้าพูดอย่างนี้’ แยก
ตอบเป็นประเด็นได้ชัดเจน ดุจการใช้แหนบถอนขนที่ละเส้น (องฺ.สตฺตก.ฏีกา ๓/๗๕-๘๒/๒๔๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๑๗๔ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๘.วินยวรรค ๕.ปฐมวินยธรโสภณสูตร
๔. รู้จักครุกาบัติ
๕. ระลึกชาติก่อนได้หลายชาติ คือ ๑ ชาติบ้าง ๒ ชาติบ้าง ฯลฯ๑
ระลึกชาติก่อนได้หลายชาติ พร้อมทั้งลักษณะทั่วไปและชีวประวัติ
อย่างนี้
๖. เห็นหมู่สัตว์ผู้กำลังจุติ กำลังเกิด ทั้งชั้นต่ำและชั้นสูง งามและ
ไม่งาม เกิดดีและเกิดไม่ดี ด้วยตาทิพย์อันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์ ฯลฯ๒
รู้ชัดถึงหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรมอย่างนี้
๗. ทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันไม่มีอาสวะ เพราะอาสวะสิ้นไป
ด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๗ ประการนี้แล เป็นพระวินัยธรได้
จตุตถวินยธรสูตรที่ ๔ จบ

๕. ปฐมวินยธรโสภณสูตร
ว่าด้วยเหตุให้พระวินัยธรสง่างาม สูตรที่ ๑
[๗๙] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๗ ประการ เป็นพระวินัยธร
ย่อมสง่างาม
ธรรม ๗ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. รู้จักอาบัติ
๒. รู้จักอนาบัติ

เชิงอรรถ :
๑ ดูความเต็มในอัฏฐกนิบาต ข้อ ๑๑ หน้า ๒๒๓ ในเล่มนี้
๒ ดูความเต็มในอัฏฐกนิบาต ข้อ ๑๑ หน้า ๒๒๔ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๑๗๕ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๘.วินยวรรค ๖.ทุติยวินยธรโสภณสูตร
๓. รู้จักลหุกาบัติ
๔. รู้จักครุกาบัติ
๕. มีศีล ฯลฯ๑ สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย
๖. ได้ฌาน ๔ ฯลฯ ได้โดยไม่ลำบาก
๗. ทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ฯลฯ เข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๗ ประการนี้แล เป็นพระวินัยธร ย่อม
สง่างาม
ปฐมวินยธรโสภณสูตรที่ ๕ จบ

๖. ทุติยวินยธรโสภณสูตร
ว่าด้วยเหตุให้พระวินัยธรสง่างาม สูตรที่ ๒
[๘๐] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๗ ประการ เป็นพระวินัยธร
ย่อมสง่างาม
ธรรม ๗ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. รู้จักอาบัติ
๒. รู้จักอนาบัติ
๓. รู้จักลหุกาบัติ
๔. รู้จักครุกาบัติ
๕. ทรงจำปาติโมกข์ทั้งสองได้ดี จำแนกได้ดี ให้เป็นไปได้ดีโดยพิสดาร
วินิจฉัยได้ดีโดยสูตร โดยอนุพยัญชนะ

เชิงอรรถ :
๑ ดูความเต็มในสัตตกนิบาต ข้อ ๗๕ (ปฐมวินยธรสูตร) หน้า ๑๗๑ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๑๗๖ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๘.วินยวรรค ๗.ตติยวินยธรโสภณสูตร
๖. ได้ฌาน ๔ ฯลฯ ได้โดยไม่ลำบาก
๗. ทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ฯลฯ เข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๗ ประการนี้แล เป็นพระวินัยธร
ย่อมสง่างาม
ทุติยวินยธรโสภณสูตรที่ ๖ จบ

๗. ตติยวินยธรโสภณสูตร
ว่าด้วยเหตุให้พระวินัยธรสง่างาม สูตรที่ ๓
[๘๑] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๗ ประการ เป็นพระวินัยธร
ย่อมสง่างาม
ธรรม ๗ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. รู้จักอาบัติ
๒. รู้จักอนาบัติ
๓. รู้จักลหุกาบัติ
๔. รู้จักครุกาบัติ
๕. เป็นผู้ตั้งมั่น ไม่ง่อนแง่นในวินัย
๖. ได้ฌาน ๔ ฯลฯ ได้โดยไม่ลำบาก
๗. ทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ฯลฯ เข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๗ ประการนี้แล เป็นพระวินัยธร ย่อม
สง่างาม
ตติยวินยธรโสภณสูตรที่ ๗ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๑๗๗ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๘.วินยวรรค ๙.สัตถุสาสนสูตร
๘. จตุตถวินยธรโสภณสูตร
ว่าด้วยเหตุให้พระวินัยธรสง่างาม สูตรที่ ๔
[๘๒] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๗ ประการ เป็นพระวินัยธร
ย่อมสง่างาม
ธรรม ๗ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. รู้จักอาบัติ
๒. รู้จักอนาบัติ
๓. รู้จักลหุกาบัติ
๔. รู้จักครุกาบัติ
๕. ระลึกชาติก่อนได้หลายชาติ คือ ๑ ชาติบ้าง ๒ ชาติบ้าง ฯลฯ
ระลึกชาติก่อนได้หลายชาติ พร้อมทั้งลักษณะทั่วไปและชีวประวัติ
อย่างนี้
๖. เห็นหมู่สัตว์ผู้กำลังจุติ กำลังเกิด ทั้งชั้นต่ำและชั้นสูง งามและไม่งาม
เกิดดีและเกิดไม่ดี ด้วยตาทิพย์อันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์ ฯลฯ รู้ชัดถึง
หมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรมอย่างนี้
๗. ทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ฯลฯ เข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๗ ประการนี้แล เป็นพระวินัยธร
ย่อมสง่างาม
จตุตถวินยธรโสภณสูตรที่ ๘ จบ

๙. สัตถุสาสนสูตร
ว่าด้วยสัตถุศาสน์
[๘๓] ครั้งนั้นแล ท่านพระอุบาลีเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวาย
อภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานวโรกาส ขอพระผู้มีพระภาคโปรดแสดงธรรม
โดยย่อแก่ข้าพระองค์ซึ่งข้าพระองค์ได้ฟังแล้วจะพึงหลีกออกไปอยู่ผู้เดียว ไม่ประมาท
มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่เถิด”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๑๗๘ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๘.วินยวรรค ๑๐.อธิกรณสมถสูตร
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อุบาลี เธอรู้ธรรมเหล่าใดว่า ‘ธรรมเหล่านี้ไม่เป็นไป
เพื่อความเบื่อหน่ายอย่างที่สุด เพื่อคลายกำหนัด เพื่อความดับ เพื่อสงบระงับ
เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ เพื่อนิพพาน’ เธอพึงทรงจำธรรมเหล่านั้นไว้ให้ดีว่า ‘นี้ไม่ใช่ธรรม
นี้ไม่ใช่วินัย นี้ไม่ใช่สัตถุศาสน์ (คำสอนของพระศาสดา)’ แต่เธอรู้ธรรมเหล่าใดว่า
‘ธรรมเหล่านี้เป็นไปเพื่อความเบื่อหน่ายอย่างที่สุด เพื่อคลายกำหนัด เพื่อความดับ
เพื่อสงบระงับ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ เพื่อนิพพาน’ เธอพึงทรงจำธรรมเหล่านั้นไว้ให้ดีว่า
‘นี้เป็นธรรม นี้เป็นวินัย นี้เป็นสัตถุศาสน์”
สัตถุสาสนสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. อธิกรณสมถสูตร
ว่าด้วยอธิกรณสมถธรรม
[๘๔] ภิกษุทั้งหลาย อธิกรณสมถธรรม(ธรรมเครื่องระงับอธิกรณ์) ๗ ประการนี้
เพื่อระงับ เพื่อดับอธิกรณ์๑ที่เกิดขึ้นแล้ว ๆ
ธรรม ๗ ประการ๒ อะไรบ้าง คือ
๑. สงฆ์พึงให้สัมมุขาวินัย ๒. สงฆ์พึงให้สติวินัย
๓. สงฆ์พึงให้อมูฬหวินัย ๔. สงฆ์พึงให้ปฏิญญาตกรณะ

เชิงอรรถ :
๑ อธิกรณ์ ในที่นี้หมายถึงเรื่องที่สงฆ์ต้องดำเนินการมี ๔ อย่าง คือ (๑) วิวาทาธิกรณ์ การถกเถียงกันเกี่ยว
กับพระธรรมวินัย (๒)อนุวาทาธิกรณ์ การโจทหรือกล่าวหากันด้วยอาบัติ (๓)อาปัตตาธิกรณ์ การต้อง
อาบัติ การปรับอาบัติ และการแก้ไขตัวเองให้พ้นจากอาบัติ (๔) กิจจาธิกรณ์ กิจธุระต่าง ๆ ที่สงฆ์จะต้องทำ
เช่น การให้อุปสมบท การให้ผ้ากฐิน เป็นต้น (องฺ.ทุก.อ. ๒/๑๕/๑๓) และดู วิ.จู. ๖/๒๑๕/๒๔๕-๒๔๖
๒ สัมมุขาวินัย หมายถึงวิธีระงับอธิกรณ์ในที่พร้อมหน้าคือต้องพร้อมทั้ง ๔ พร้อมดังนี้ (๑) พร้อมหน้าสงฆ์
ได้แก่ ภิกษุเข้าร่วมประชุมครบองค์ประชุมตามที่กำหนดไว้ในแต่ละกรณี (๒) พร้อมหน้าบุคคล ได้แก่ คู่กรณี
หรือบุคคลที่เกี่ยวข้องในเรื่องนั้นอยู่พร้อมหน้า (๓) พร้อมหน้าวัตถุได้แก่ ยกเรื่องที่เกิดขึ้นนั้นมาวินิจฉัย
(๔) พร้อมหน้าธรรม ได้แก่ วินิจฉัยถูกต้องตามธรรมวินัย
สติวินัย หมายถึงวิธีระงับอธิกรณ์โดยประกาศสมมติให้ว่าพระอรหันต์เป็นพระอริยะผู้มีสติสมบูรณ์ เป็นวิธี
ระงับโดยเอาสติเป็นหลักในกรณีที่มีผู้โจทพระอรหันตขีณาสพ เป็นการบอกให้รู้ว่าใครจะโจทพระอรหันต์ไม่ได้
อมูฬหวินัย หมายถึงวิธีระงับอธิกรณ์โดยยกประโยชน์แก่ภิกษุที่หายเป็นบ้าแล้วในกรณีที่มีผู้โจทภิกษุนั้น
ด้วยอาบัติที่ต้องในขณะเป็นบ้า สงฆ์จะสวดประกาศสมมติเพื่อไม่ให้ใคร ๆ โจทเธอด้วยอาบัติ
ปฏิญญาตกรณะ หมายถึงวิธีระงับอธิกรณ์โดยปรับอาบัติตามคำรับสารภาพของภิกษุผู้ต้องอาบัติ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๑๗๙ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๘.วินยวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค
๕. สงฆ์พึงให้เยภุยยสิกา ๖. สงฆ์พึงให้ตัสสปาปิยสิกา
๗. สงฆ์พึงให้ติณวัตถารกะ
ภิกษุทั้งหลาย อธิกรณสมถธรรม ๗ ประการนี้แล เพื่อระงับเพื่อดับอธิกรณ์
ที่เกิดขึ้นแล้ว ๆ
อธิกรณสมถสูตรที่ ๑๐ จบ
วินยวรรคที่ ๘ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. ปฐมวินยธรสูตร ๒. ทุติยวินยธรสูตร
๓. ตติยวินยธรสูตร ๔. จตุตถวินยธรสูตร
๕. ปฐมวินยธรโสภณสูตร ๖. ทุติยวินยธรโสภณสูตร
๗. ตติยวินยธรโสภณสูตร ๘. จตุตถวินยธรโสภณสูตร
๙. สัตถุสาสนสูตร ๑๐. อธิกรณสมถสูตร


เชิงอรรถ :
เยภุยยสิกา หมายถึงวิธีระงับอธิกรณ์โดยตัดสินตามเสียงข้างมาก สงฆ์จะใช้วิธีการนี้ในกรณีที่บุคคลหลาย
ฝ่ายมีความเห็นไม่ตรงกัน
ตัสสปาปิยสิกา หมายถึงวิธีระงับอธิกรณ์โดยตัดสินลงโทษแก่ผู้กระทำผิด เมื่อสงฆ์พิจารณาตามหลักฐาน
พยานแล้วเห็นว่ามีความผิดจริง แม้เธอจะไม่รับสารภาพก็ตาม
ติณวัตถารกะ หมายถึงวิธีระงับอธิกรณ์โดยให้ทั้ง ๒ ฝ่ายประนีประนอมกัน เปรียบเหมือนเอาหญ้ากลบไว้
ไม่ต้องชำระสะสางความ วิธีนี้ใช้ระงับอธิกรณ์ที่ยุ่งยาก เช่น กรณีพิพาทกันของภิกษุชาวกรุงโกสัมพี ดู
กงฺขา.ฏีกา ๔๗๐ (วิ.อ. ๓/๑๙๕/๒๙๒-๒๙๓, ๒๐๒/๒๙๓, ๒๐๗/๒๙๔, ๒๑๒/๒๙๔-๒๙๕, ๓๔๐/๔๘๗,
๔๘๓/๕๔๘) และดู วิ.จู. ๖/๑๘๕-๒๑๒/๒๑๘-๒๔๓, วิ.ป. ๘/๒๗๕/๒๑๐

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๑๘๐ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๙.สมณวรรค ๓.พราหมณสูตร
๙. สมณวรรค
หมวดว่าด้วยสมณะ
๑. ภิกขุสูตร
ว่าด้วยเหตุให้ได้ชื่อว่าภิกษุ
[๘๕] ภิกษุทั้งหลาย บุคคลชื่อว่าภิกษุ เพราะทำลายธรรม ๗ ประการได้
ธรรม ๗ ประการ อะไรบ้าง คือ

๑. สักกายทิฏฐิ ๒. วิจิกิจฉา
๓. สีลัพพตปรามาส ๔. ราคะ
๕. โทสะ ๖. โมหะ
๗. มานะ

ภิกษุทั้งหลาย บุคคลชื่อว่าภิกษุ เพราะทำลายธรรม ๗ ประการนี้แลได้
ภิกขุสูตรที่ ๑ จบ

๒. สมณสูตร
ว่าด้วยเหตุให้ได้ชื่อว่าสมณะ
[๘๖] ภิกษุทั้งหลาย บุคคลชื่อว่าสมณะ เพราะระงับธรรม ๗ ประการได้
ฯลฯ
สมณสูตรที่ ๒ จบ

๓. พราหมณสูตร
ว่าด้วยเหตุให้ได้ชื่อว่าพราหมณ์
[๘๗] ภิกษุทั้งหลาย บุคคลชื่อว่าพราหมณ์ เพราะลอยธรรม ๗ ประการได้
ฯลฯ
พราหมณสูตรที่ ๓ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๑๘๑ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๙.สมณวรรค ๗.อริโยสูตร
๔. โสตติกสูตร
ว่าด้วยเหตุให้ได้ชื่อว่าโสตติกะ
[๘๘] ภิกษุทั้งหลาย บุคคลชื่อว่าโสตติกะ เพราะธรรม ๗ ประการร้อยรัด
ไม่ได้
ฯลฯ
โสตติกสูตรที่ ๔ จบ

๕. นหาตกสูตร
ว่าด้วยเหตุให้ได้ชื่อว่านหาตกะ
[๘๙] ภิกษุทั้งหลาย บุคคลชื่อว่านหาตกะ เพราะล้างธรรม ๗ ประการได้
ฯลฯ
นหาตกสูตรที่ ๕ จบ

๖. เวทคูสูตร
ว่าด้วยเหตุให้ได้ชื่อว่าเวทคู
[๙๐] ภิกษุทั้งหลาย บุคคลชื่อว่าเวทคู เพราะรู้ธรรม ๗ ประการ
ฯลฯ
เวทคูสูตรที่ ๖ จบ

๗. อริโยสูตร
ว่าด้วยเหตุให้ได้ชื่อว่าอริยะ
[๙๑] ภิกษุทั้งหลาย บุคคลชื่อว่าอริยะ เพราะกำจัดธรรม ๗ ประการได้
ฯลฯ
อริโยสูตรที่ ๗ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๑๘๒ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๙.สมณวรรค ๙.อสัทธัมมสูตร
๘. อรหาสูตร
ว่าด้วยเหตุให้ได้ชื่อว่าอรหันต์
[๙๒] ภิกษุทั้งหลาย บุคคลชื่อว่าอรหันต์ เพราะเป็นผู้ห่างไกลจากธรรม ๗
ประการได้
ธรรม ๗ ประการ อะไรบ้าง คือ

๑. สักกายทิฏฐิ ๒. วิจิกิจฉา
๓. สีลัพพตปรามาส ๔. ราคะ
๕. โทสะ ๖. โมหะ
๗. มานะ

ภิกษุทั้งหลาย บุคคลชื่อว่าอรหันต์ เพราะเป็นผู้ห่างไกลจากธรรม ๗ ประการ
นี้แล
อรหาสูตรที่ ๘ จบ

๙. อสัทธัมมสูตร
ว่าด้วยอสัทธรรม๑
[๙๓] ภิกษุทั้งหลาย อสัทธรรม ๗ ประการนี้
อสัทธรรม ๗ ประการ อะไรบ้าง คือ

๑. เป็นผู้ไม่มีศรัทธา ๒. เป็นผู้ไม่มีหิริ
๓. เป็นผู้ไม่มีโอตตัปปะ ๔. เป็นผู้มีสุตะน้อย
๕. เป็นผู้เกียจคร้าน ๖. เป็นผู้หลงลืมสติ
๗. เป็นผู้มีปัญญาทราม

ภิกษุทั้งหลาย อสัทธรรม ๗ ประการนี้แล
อสัทธัมมสูตรที่ ๙ จบ

เชิงอรรถ :
๑ ดู ที.ปา. ๑๑/๓๓๐/๒๒๒, อภิ.วิ. (แปล) ๓๕/๙๕๐/๖๐๗

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๑๘๓ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๙.สมณวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค
๑๐. สัทธัมมสูตร
ว่าด้วยสัทธรรม๑
[๙๔] ภิกษุทั้งหลาย สัทธรรม ๗ ประการนี้
สัทธรรม ๗ ประการ อะไรบ้าง คือ

๑. เป็นผู้มีศรัทธา ๒. เป็นผู้มีหิริ
๓. เป็นผู้มีโอตตัปปะ ๔. เป็นพหูสูต
๕. เป็นผู้ปรารภความเพียร ๖. เป็นผู้มีสติ
๗. เป็นผู้มีปัญญา

ภิกษุทั้งหลาย สัทธรรม ๗ ประการนี้แล
สัทธัมมสูตรที่ ๑๐ จบ
สมณวรรคที่ ๙ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. ภิกขุสูตร ๒. สมณสูตร
๓. พราหมณสูตร ๔. โสตติกสูตร
๕. นหาตกสูตร ๖. เวทคูสูตร
๗. อริโยสูตร ๘. อรหาสูตร
๙. อสัทธัมมสูตร ๑๐. สัทธัมมสูตร


เชิงอรรถ :
๑ ดู วิ.ป. ๘/๓๒๗/๒๙๑, ที.ปา. ๑๑/๓๓๐/๒๒๒

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๑๘๔ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สันตตกนิบาต ๑๐.อาหุเนยยวรรค
๑๐. อาหุเนยยวรรค
หมวดว่าด้วยอาหุไนยบุคคล
[๙๕] ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๗ จำพวกนี้ เป็นผู้ควรแก่ของที่เขานำมาถวาย
ควรแก่ของต้อนรับ ควรแก่ทักษิณา ควรแก่การทำอัญชลี เป็นนาบุญอันยอดเยี่ยม
ของโลก
บุคคล ๗ จำพวกไหนบ้าง คือ
๑. บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้พิจารณาเห็นความไม่เที่ยง มีสัญญาว่า
ไม่เที่ยง รู้ว่าเป็นสภาวะไม่เที่ยงในจักษุอยู่ ตั้งใจมั่นเนืองๆ สม่ำเสมอ
ไม่ขาดระยะ มีปัญญาหยั่งรู้ เขาทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ
อันไม่มีอาสวะ เพราะอาสวะสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง เข้าถึงอยู่
ในปัจจุบัน ภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นบุคคลจำพวกที่ ๑ ผู้ควรแก่ของที่
เขานำมาถวาย ควรแก่ของต้อนรับ ควรแก่ทักษิณา ควรแก่การทำ
อัญชลี เป็นนาบุญอันยอดเยี่ยมของโลก
๒. บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้พิจารณาเห็นความไม่เที่ยง มีสัญญาว่า
ไม่เที่ยง รู้ว่าเป็นสภาวะไม่เที่ยงในจักษุอยู่ ตั้งใจมั่นเนืองๆ สม่ำเสมอ
ไม่ขาดระยะ มีปัญญาหยั่งรู้ เขามีปัญญาหยั่งรู้ความสิ้นอาสวะและ
ความสิ้นชีวิต ไม่ก่อนไม่หลังกัน ภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นบุคคลจำพวก
ที่ ๒ ผู้ควรแก่ของที่เขานำมาถวาย ควรแก่ของต้อนรับ ควรแก่
ทักษิณา ควรแก่การทำอัญชลี เป็นนาบุญอันยอดเยี่ยมของโลก
๓. บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้พิจารณาเห็นความไม่เที่ยง มีสัญญาว่า
ไม่เที่ยง รู้ว่าเป็นสภาวะไม่เที่ยงในจักษุอยู่ ตั้งใจมั่นเนืองๆ สม่ำเสมอ
ไม่ขาดระยะ มีปัญญาหยั่งรู้ เพราะสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ ประการสิ้นไป

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๑๘๕ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สันตตกนิบาต ๑๐.อาหุเนยยวรรค
เขาจึงเป็นอันตราปรินิพพายี ภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นบุคคลจำพวกที่ ๓
ผู้ควรแก่ของที่เขานำมาถวาย ควรแก่ของต้อนรับ ควรแก่ทักษิณา
ควรแก่การทำอัญชลี เป็นนาบุญอันยอดเยี่ยมของโลก ฯลฯ
๔. บุคคลบางคนในโลกนี้ ฯลฯ เป็นอุปหัจจปรินิพพายี ฯลฯ
๕. บุคคลบางคนในโลกนี้ ฯลฯ เป็นอสังขารปรินิพพายี ฯลฯ
๖. บุคคลบางคนในโลกนี้ ฯลฯ เป็นสสังขารปรินิพพายี ฯลฯ
๗. บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้พิจารณาเห็นความไม่เที่ยง มีสัญญาว่า
ไม่เที่ยง รู้ว่าเป็นสภาวะไม่เที่ยงในจักษุอยู่ ตั้งใจมั่นเนืองๆ สม่ำเสมอ
ไม่ขาดระยะ มีปัญญาหยั่งรู้ เพราะสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ ประการสิ้นไป
เขาจึงเป็นอุทธังโสตอกนิฏฐคามี ภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นบุคคลจำพวก
ที่ ๗ ผู้ควรแก่ของที่เขานำมาถวาย ควรแก่ของต้อนรับ ควรแก่
ทักษิณา ควรแก่การทำอัญชลี เป็นนาบุญอันยอดเยี่ยมของโลก
ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๗ จำพวกนี้แล เป็นผู้ควรแก่ของที่เขานำมาถวาย
ควรแก่ของต้อนรับ ควรแก่ทักษิณา ควรแก่การทำอัญชลี เป็นนาบุญอันยอดเยี่ยม
ของโลก (๑)
[๙๖-๖๒๒] ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๗ จำพวกนี้ เป็นผู้ควรแก่ของที่เขานำ
มาถวาย ฯลฯ เป็นนาบุญอันยอดเยี่ยมของโลก
บุคคล ๗ จำพวกไหนบ้าง คือ
บุคคลบางคนในโลกนี้พิจารณาเห็นความเป็นทุกข์ ฯลฯ ในจักษุอยู่
... พิจารณาเห็นความเป็นอนัตตา ฯลฯ ในจักษุอยู่
... พิจารณาเห็นความสิ้นไป ฯลฯ ในจักษุอยู่
... พิจารณาเห็นความเสื่อมไป ฯลฯ ในจักษุอยู่
... พิจารณาเห็นความคลายไป ฯลฯ ในจักษุอยู่
... พิจารณาเห็นความดับไป ฯลฯ ในจักษุอยู่
... พิจารณาเห็นความสละคืน ฯลฯ ในจักษุอยู่ ฯลฯ (๒-๘)


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๑๘๖ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๑๐.อาหุเนยยวรรค
ในโสตะอยู่ ฯลฯ ในฆานะอยู่ ... ในชิวหาอยู่ ... ในกายอยู่ ... ในใจอยู่ ฯลฯ
(๙-๔๘)
ในรูปอยู่ ฯลฯ ในเสียงอยู่ ... ในกลิ่นอยู่ ... ในรสอยู่ ... ในโผฏฐัพพะอยู่ ...
ในธรรมารมณ์อยู่ ฯลฯ (๔๙-๙๖)
ในจักขุวิญญาณอยู่ ฯลฯ ในโสตวิญญาณอยู่ ... ในฆานวิญญาณอยู่ ...
ในชิวหาวิญญาณอยู่ ... ในกายวิญญาณอยู่ ... ในมโนวิญญาณอยู่ ฯลฯ (๙๗-๑๔๔)
ในจักขุสัมผัสอยู่ ฯลฯ ในโสตสัมผัสอยู่ ... ในฆานสัมผัสอยู่ ... ในชิวหาสัมผัสอยู่
... ในกายสัมผัสอยู่ ... ในมโนสัมผัสอยู่ ฯลฯ (๑๔๕-๑๙๒)
ในเวทนาที่เกิดจากจักขุสัมผัสอยู่ ฯลฯ ในเวทนาที่เกิดจากโสตสัมผัสอยู่ ...
ในเวทนาที่เกิดจากฆานสัมผัสอยู่ ... ในเวทนาที่เกิดจากชิวหาสัมผัสอยู่ ... ในเวทนา
ที่เกิดจากกายสัมผัสอยู่ ... ในเวทนาที่เกิดจากมโนสัมผัสอยู่ ฯลฯ (๑๙๓-๒๔๐)
ในรูปสัญญาอยู่ ฯลฯ ในสัททสัญญาอยู่ ... ในคันธสัญญาอยู่ ... ในรสสัญญาอยู่
... ในโผฏฐัพพสัญญาอยู่ ... ในธัมมสัญญาอยู่ ฯลฯ (๒๔๑-๒๘๘)
ในรูปสัญเจตนาอยู่ ฯลฯ ในสัททสัญเจตนาอยู่ ... ในคันธสัญเจตนาอยู่ ... ใน
รสสัญเจตนาอยู่ ... ในโผฏฐัพพสัญเจตนาอยู่ ... ในธัมมสัญเจตนาอยู่ ฯลฯ (๒๘๙-
๓๓๖)
ในรูปตัณหาอยู่ ฯลฯ ในสัททตัณหาอยู่ ... ในคันธตัณหาอยู่ ... ในรสตัณหาอยู่
... ในโผฏฐัพพตัณหาอยู่ ... ในธัมมตัณหาอยู่ ฯลฯ (๓๓๗-๓๘๔)
ในรูปวิตกอยู่ ฯลฯ ในสัททวิตกอยู่ ... ในคันธวิตกอยู่ ... ในรสวิตกอยู่ ... ใน
โผฏฐัพพวิตกอยู่ ... ในธัมมวิตกอยู่ ฯลฯ (๓๘๕-๔๓๒)
ในรูปวิจารอยู่ ฯลฯ ในสัททวิจารอยู่ ... ในคันธวิจารอยู่ ... ในรสวิจารอยู่ ...
ในโผฏฐัพพวิจารอยู่ ... ในธัมมวิจารอยู่ ฯลฯ (๔๓๓-๔๘๐)
... พิจารณาเห็นความไม่เที่ยง ... ในรูปขันธ์อยู่
... พิจารณาเห็นความเป็นทุกข์ ...

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๑๘๗ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๑๐.อาหุเนยยวรรค
... พิจารณาเห็นความเป็นอนัตตา ...
... พิจารณาเห็นความสิ้นไป ...
... พิจารณาเห็นความเสื่อมไป ...
... พิจารณาเห็นความคลายไป ...
... พิจารณาเห็นความดับไป ...
... พิจารณาเห็นความสละคืน ...
ในเวทนาขันธ์อยู่ ... ในสัญญาขันธ์อยู่ ... ในสังขารขันธ์อยู่ ... ในวิญญาณขันธ์อยู่
ฯลฯ (๔๘๑-๕๒๐)
ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๗ จำพวกนี้แล เป็นผู้ควรแก่ของที่เขานำมาถวาย ฯลฯ
เป็นนาบุญอันยอดเยี่ยมของโลก
ในอาหุเนยยวรรคนี้ มีหมวดธรรมดังนี้ คือ
ทวาร ๖ อารมณ์ ๖ วิญญาณ ๖ ผัสสะ ๖ เวทนา ๖
สัญญา ๖ สัญเจตนา ๖ ตัณหา ๖ วิตก ๖ วิจาร ๖ และขันธ์ ๕
แต่ละประการในธรรมแต่ละหมวดมีพระสูตร ๘ สูตร
มีสภาวธรรม ๘ ประการ คือ
ความไม่เที่ยง ความเป็นทุกข์ ความเป็นอนัตตา
ความสิ้นไป ความเสื่อมไป ความคลายกำหนัด
ความดับ และความสละคืน
จัดเป็นพระสูตรเบื้องต้น ๑๖ สูตร๑
โดยประกอบการพิจารณาไปตามลำดับ ประการละ ๘ สูตร
เมื่อรวมกันทั้งหมด ได้พระสูตร ๕๒๘ สูตร
อาหุเนยยวรรคที่ ๑๐ จบ

เชิงอรรถ :
๑ พระสูตรเบื้องต้น ๑๖ สูตร คือ ในธรรมประการที่ ๑ คือจักษุแห่งหมวดทวาร ๖ จัดพระสูตรได้ ๘ สูตร
และในธรรมประการที่ ๑ คือรูปแห่งหมวดอารมณ์ ๖ จัดพระสูตรได้ ๘ สูตรซึ่งเป็นหัวข้อธรรมตัวอย่าง
ให้หัวข้อธรรมอื่น ๆ ดำเนินไปในลักษณะเดียวกัน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๑๘๘ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ราคเปยยาล
ราคเปยยาล๑
[๖๒๓] ภิกษุทั้งหลาย บุคคลควรเจริญธรรม ๗ ประการ เพื่อรู้ยิ่ง
ราคะ(ความกำหนัด)
ธรรม ๗ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สติสัมโพชฌงค์ (ธรรมที่เป็นองค์แห่งการตรัสรู้คือ ความระลึกได้)
ฯลฯ๒
๗. อุเบกขาสัมโพชฌงค์ (ธรรมที่เป็นองค์แห่งการตรัสรู้คือความวางใจ
เป็นกลาง)
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลควรเจริญธรรม ๗ ประการนี้ เพื่อรู้ยิ่งราคะ (๑)
[๖๒๔] ภิกษุทั้งหลาย บุคคลควรเจริญธรรม ๗ ประการ เพื่อรู้ยิ่งราคะ
ธรรม ๗ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. อนิจจสัญญา (กำหนดหมายความไม่เที่ยงแห่งสังขาร)
๒. อนัตตสัญญา (กำหนดหมายความเป็นอนัตตาแห่งธรรมทั้งปวง)
๓. อสุภสัญญา (กำหนดหมายความไม่งามแห่งกาย)

เชิงอรรถ :
๑ ราคเปยยาล หมายถึงหมวดธรรมที่ทรงแสดงโดยย่อมีราคะเป็นต้น หมายความว่านอกจากราคะแล้วยังมี
อกุศลธรรมอีก ๑๖ ประการ รวมเป็น ๑๗ ประการ แต่ละประการมีเป้าหมาย ๑๐ เป้าหมาย (๑๐ เพื่อ เช่น
เพื่อรู้ยิ่ง) มีการคำนวณพระสูตรด้วยเป้าหมายละ ๑ สูตร จึงเป็น ๑๗๐ สูตร (๑๐ เป้าหมาย x อกุศลธรรม
๑๗ ประการ) นี้เป็นการคำนวณพระสูตรจากการเจริญหมวดธรรมเพียง ๑ หมวด แต่ในราคเปยยาลของ
สัตตกนิบาตนี้มีหมวดธรรมที่ต้องเจริญ ๓ หมวด จึงรวมเป็น ๕๑๐ สูตร (๑๗๐ สูตร x ๓ หมวดธรรม)
๒ ดูความเต็มในสัตตกนิบาต ข้อ ๒๖ (โพชฌังคสูตร) หน้า ๔๐-๔๑ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๑๘๙ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สันตตกนิบาต ราคเปยยาล
๔. อาทีนวสัญญา (กำหนดหมายโทษทุกข์ของกายอันมีความเจ็บไข้ต่างๆ)
๕. ปหานสัญญา (กำหนดหมายเพื่อละอกุศลวิตกและบาปธรรมทั้งหลาย)
๖. วิราคสัญญา (กำหนดหมายวิราคะว่าเป็นธรรมละเอียดประณีต)
๗. นิโรธสัญญา (กำหนดหมายนิโรธว่าเป็นธรรมละเอียดประณีต)
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลควรเจริญธรรม ๗ ประการนี้ เพื่อรู้ยิ่งราคะ (๒)
[๖๒๕] ภิกษุทั้งหลาย บุคคลควรเจริญธรรม ๗ ประการ เพื่อรู้ยิ่งราคะ
ธรรม ๗ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. อสุภสัญญา (กำหนดหมายความไม่งามแห่งกาย)
๒. มรณสัญญา (กำหนดหมายความตายที่จะต้องมาถึงเป็นธรรมดา)
๓. อาหาเร ปฏิกูลสัญญา (กำหนดหมายความปฏิกูลในอาหาร)
๔. สัพพโลเก อนภิรตสัญญา (กำหนดหมายความไม่น่าเพลิดเพลินใน
โลกทั้งปวง)
๕. อนิจจสัญญา (กำหนดหมายความไม่เที่ยงแห่งสังขาร)
๖. อนิจเจ ทุกขสัญญา (กำหนดหมายความเป็นทุกข์ในความไม่เที่ยง
แห่งสังขาร)
๗. ทุกเข อนัตตสัญญา (กำหนดหมายความเป็นอนัตตาในความเป็นทุกข์)
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลควรเจริญธรรม ๗ ประการนี้ เพื่อรู้ยิ่งราคะ (๓)
[๖๒๖-๖๕๒] ภิกษุทั้งหลาย บุคคลควรเจริญธรรม ๗ ประการ เพื่อกำหนด
รู้ราคะ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๑๙๐ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ราคเปยยาล
... เพื่อความสิ้นราคะ
... เพื่อละราคะ
... เพื่อความสิ้นไปแห่งราคะ
... เพื่อความเสื่อมไปแห่งราคะ
... เพื่อความคลายไปแห่งราคะ
... เพื่อความดับไปแห่งราคะ
... เพื่อความสละราคะ
... เพื่อความสละคืนราคะ...
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลควรเจริญธรรม ๗ ประการนี้ เพื่อความสละคืนราคะ
(๔-๓๐)
[๖๕๓-๑๑๓๒] ภิกษุทั้งหลาย บุคคลควรเจริญธรรม ๔ ประการ เพื่อรู้ยิ่ง
โทสะ(ความคิดประทุษร้าย)
... เพื่อกำหนดรู้โทสะ
... เพื่อความสิ้นโทสะ
... เพื่อละโทสะ
... เพื่อความสิ้นไปแห่งโทสะ
... เพื่อความเสื่อมไปแห่งโทสะ
... เพื่อความคลายไปแห่งโทสะ
... เพื่อความดับไปแห่งโทสะ
... เพื่อความสละโทสะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๑๙๑ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ราคเปยยาล
... เพื่อความสละคืนโทสะ ... โมหะ(ความหลง) ... โกธะ(ความโกรธ). ..
อุปนาหะ(ความผูกโกรธ) ... มักขะ(ความลบหลู่คุณท่าน) ... ปลาสะ(ความตีเสมอ) ...
อิสสา(ความริษยา) ... มัจฉริยะ(ความตระหนี่) ... มายา(มารยา) ... สาเถยยะ(ความ
โอ้อวด) ... ถัมภะ(ความหัวดื้อ) ... สารัมภะ(ความแข่งดี) ... มานะ(ความถือตัว) ...
อติมานะ(ความดูหมิ่นเขา) ... มทะ(ความมัวเมา) ... ปมาทะ(ความประมาท) ...
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลควรเจริญธรรม ๖ ประการนี้แล เพื่อความสละคืนปมาทะ
(๓๑-๕๑๐)
พระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้ ภิกษุเหล่านั้นมีใจยินดีต่างชื่นชมพระภาษิตของ
พระผู้มีพระภาคแล

ราคเปยยาล จบ

สัตตกนิบาต จบบริบูรณ์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๑๙๒ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๑.เมตตาวรรค ๑.เมตตาสูตร
พระสุตตันตปิฎก
อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต

_____________

ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

๑. ปฐมปัณณาสก์
๑. เมตตาวรรค
หมวดว่าด้วยเมตตา
๑. เมตตาสูตร๑
ว่าด้วยอานิสงส์แห่งเมตตาเจโตวิมุตติ
[๑] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิก-
เศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมา
ตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึง
ได้ตรัสดังนี้ว่า
ภิกษุทั้งหลาย เมตตาเจโตวิมุตติ๒ที่บุคคลเสพ เจริญ ทำให้มากแล้ว ทำให้
เป็นดุจยานแล้ว ทำให้เป็นที่ตั้งแล้ว ให้ตั้งมั่นแล้ว สั่งสมแล้ว ปรารภดีแล้ว พึงหวังได้
อานิสงส์ ๘ ประการ

เชิงอรรถ :
๑ ดู องฺ.เอกาทสก. (แปล) ๒๔/๑๕/๔๒๕-๔๒๖ และเทียบ ขุ.ป. (แปล) ๓๑/๒๒/๔๖๗
๒ เมตตาเจโตวิมุตติ หมายถึงเมตตาที่เกิดจากตติยฌานและจตุตถฌาน พ้นจากปัจจนีกธรรม (ธรรมที่เป็น
ข้าศึก) กล่าวคือนิวรณ์ ๕ ประการ ได้แก่ กามฉันทะ พยาบาท ถีนมิทธะ อุทธัจจกุกกุจจะ วิจิกิจฉา
(องฺ.เอกก.อ. ๑/๑๗/๔๒, องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๑๓/๑๐๔) และดู องฺ.ฉกฺก. (แปล) ๒๒/๑๓/๔๒๙

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๑๙๓ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๑.เมตตาวรรค ๑.เมตตาสูตร
อานิสงส์ ๘ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. หลับเป็นสุข
๒. ตื่นเป็นสุข
๓. ไม่ฝันร้าย
๔. เป็นที่รักของมนุษย์ทั้งหลาย
๕. เป็นที่รักของอมนุษย์ทั้งหลาย
๖. เทวดาทั้งหลายรักษา
๗. ไฟ ยาพิษ หรือศัสตรากล้ำกรายไม่ได้
๘. เมื่อยังไม่แทงตลอดคุณวิเศษ๑ย่อมเข้าถึงพรหมโลก
ภิกษุทั้งหลาย เมตตาเจโตวิมุตติที่บุคคลเสพ เจริญ ทำให้มากแล้ว ทำให้เป็น
ดุจยานแล้ว ทำให้เป็นที่ตั้งแล้ว ให้ตั้งมั่นแล้ว สั่งสมแล้ว ปรารภดีแล้ว พึงหวังได้
อานิสงส์ ๘ ประการนี้
ผู้มีสติตั้งมั่น เจริญเมตตาแผ่ไปไม่มีประมาณ
พิจารณาเห็นธรรมเป็นที่สิ้นอุปธิ๒
ย่อมมีสังโยชน์เบาบาง
หากบุคคลมีจิตไม่คิดประทุษร้ายสัตว์แม้ชีวิตเดียว
เจริญเมตตาเป็นประจำอยู่
ก็เป็นผู้ชื่อว่าฉลาดเพราะการเจริญเมตตานั้น
แต่พระอริยบุคคลผู้มีใจอนุเคราะห์หมู่สัตว์ทุกหมู่เหล่า
ชื่อว่าสั่งสมบุญไว้เป็นอันมาก
พระราชาผู้ทรงธรรมเช่นกับฤาษี
ทรงชนะใจหมู่สัตว์ทั่วแผ่นดินด้วยราชธรรม

เชิงอรรถ :
๑ คุณวิเศษ ในที่นี้หมายถึงอรหัตตผล (องฺ.เอกาทสก.อ. ๓/๑๕/๓๘๕)
๒ พิจารณาเห็นธรรมเป็นที่สิ้นอุปธิ หมายถึงบรรลุอรหัตตผลอันเป็นที่สิ้นกิเลสตามแนวทางการเจริญวิปัสสนา
ที่มีเมตตาเป็นพื้นฐาน (องฺ.อฏฺฐก.อ. ๓/๑/๒๑๒, องฺ.อฏฺฐก.ฏีกา ๓/๑/๒๕๐)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๑๙๔ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๑.เมตตาวรรค ๑.เมตตาสูตร
ทรงบูชายัญ คือ สัสสเมธะ ปุริสเมธะ
สัมมาปาสะ วาชเปยยะ และนิรัคคฬะ๑ เสด็จเที่ยวไป
ยัญเหล่านั้น ยังไม่ถึงเสี้ยวที่ ๑๖
แห่งเมตตาเจโตวิมุตติที่บุคคลเจริญดีแล้ว
เหมือนแสงหมู่ดวงดาวไม่ถึงเสี้ยวที่ ๑๖ แห่งแสงจันทร์ ฉะนั้น
ผู้มีเมตตาในสัตว์ทุกหมู่เหล่า
จะไม่ฆ่าเอง ไม่ใช้ให้ผู้อื่นฆ่า ไม่ชนะเอง๒ไม่ใช้ให้ผู้อื่นชนะ๓
ย่อมไม่มีเวร๔กับใครๆ
เมตตาสูตรที่ ๑ จบ

เชิงอรรถ :
๑ ยัญทั้ง ๕ นี้มีความหมายตรงกันข้ามกับมหายัญ ๕ ประการของพราหมณ์ โดย ๔ ยัญแรก (สัสสเมธะ
ปุริสเมธะ สัมมาปาสะ วาชเปยยะ) หมายถึงหลักสงเคราะห์ที่ดีงามของพระราชา (ราชสังคหวัตถุ) จัดเป็น
ส่วนเหตุ ยัญที่ ๕ (นิรัคคฬะ) จัดเป็นส่วนผล ยัญทั้ง ๕ นั้น มีความหมายดังนี้ (๑) สัสสเมธะ หมายถึง
ความฉลาดในการสงเคราะห์พสกนิกรด้วยการบำรุงพืชพันธุ์ธัญญาหาร ส่งเสริมการเกษตร มีความหมาย
ตรงกันข้ามกับอัศวเมธะ(การฆ่าม้าบูชายัญ) ของพราหมณ์ (๒) ปุริสเมธะ หมายถึงความฉลาดในการ
บำรุงข้าราชการ รู้จักส่งเสริมคนดีมีความสามารถ มีความหมายตรงกันข้ามกับปุริสเมธะ (การฆ่าคนบูชายัญ)
ของพราหมณ์ (๓) สัมมาปาสะ หมายถึงความมีอัธยาศัยดุจบ่วงคล้องใจประชาชนด้วยการส่งเสริมอาชีพ
เช่น ให้คนกู้ยืมทุนไปสร้างตัวไม่เก็บภาษีเป็นเวลา ๓ ปี เป็นต้น มีความหมายตรงกันข้ามกับสัมมาปาสะ
(การทำบ่วงแล้วขว้างไม้ลอดบ่วง ไม้ตกที่ไหนทำพิธีบูชายัญที่นั้น)ของพราหมณ์(๔) วาชเปยยะ หมายถึง
ความมีปิยวาจาเป็นที่ดูดดื่มใจคน เช่น เรียกว่า ‘พ่อ’ ‘ลุง’ (๕) นิรัคคฬะ หมายถึงบ้านเมืองสงบสุขปราศจาก
โจรผู้ร้าย ไม่ต้องระแวงภัย บ้านเรือนไม่ต้องลงกลอน เป็นผลที่เกิดจาก ๔ ประการแรก มีความหมายตรง
กันข้ามกับนิรัคคฬะของพราหมณ์ซึ่งหมายถึงการฆ่าครบทุกอย่างบูชายัญไม่จำกัด (องฺ.อฏฺฐก.อ. ๓/๑/๒๑๓,
ขุ.อิติ.อ. ๒๗/๑๐๖-๑๐๘, องฺ.อฏฺฐก.ฏีกา ๓/๑/๒๔๙-๒๕๒, องฺ.จตุกฺก.ฏีกา ๒/๓๙/๓๗๑-๓๗๒) และดู
เทียบใน สํ.ส. ๑๕/๑๒๐/๙๑, องฺ.จตุกฺก. (แปล) ๒๑/๓๙/๖๔-๖๖, ขุ.อิติ. ๒๕/๒๗/๒๕๐-๒๕๑, ขุ.สุ. ๒๕/
๒๘๗-๓๑๘/๓๘๙-๓๙๓
๒ ไม่ชนะเอง ในที่นี้หมายถึงไม่ทำความเสื่อมต่อผู้อื่นด้วยตนเอง (องฺ.อฏฺฐก.อ. ๓/๑/๒๑๔)
๓ ไม่ใช้ให้ผู้อื่นชนะ ในที่นี้หมายถึงไม่ใช้ให้ผู้อื่นทำความเสื่อมต่อผู้อื่น (องฺ.อฏฺฐก.อ. ๓/๑/๒๑๔)
๔ ไม่มีเวร ในที่นี้หมายถึงไม่มีอกุศลเวรและบุคคลเวร (องฺ.อฏฺฐก.อ. ๓/๑/๒๑๔) และดู ขุ.อิติ. ๒๕/๒๗/๒๕๑

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๑๙๕ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๑.เมตตาวรรค ๒.ปัญญาสูตร
๒. ปัญญาสูตร
ว่าด้วยเหตุปัจจัยที่ให้ได้ปัญญา
[๒] ภิกษุทั้งหลาย เหตุปัจจัย ๘ ประการนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อได้ปัญญา๑ อันเป็น
เบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์ที่ยังไม่ได้ เพื่อภิญโญภาพ ไพบูลย์ เจริญเต็มที่แห่งปัญญา
ที่ได้แล้ว
เหตุปัจจัย ๘ ประการ๒ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. อาศัยพระศาสดา หรือเพื่อนพรหมจารีรูปใดรูปหนึ่ง ผู้ตั้งอยู่ใน
ฐานะเป็นครู เป็นที่เข้าไปตั้งหิริโอตตัปปะ ความรัก และความ
เคารพอย่างแรงกล้า นี้เป็นเหตุปัจจัยที่ ๑ ที่เป็นไปเพื่อได้ปัญญา
อันเป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์ที่ยังไม่ได้ เพื่อภิญโญภาพ ไพบูลย์
เจริญเต็มที่แห่งปัญญาที่ได้แล้ว
๒. อาศัยพระศาสดา หรือเพื่อนพรหมจารีรูปใดรูปหนึ่ง ผู้ตั้งอยู่ใน
ฐานะเป็นครู เป็นที่เข้าไปตั้งหิริโอตตัปปะ ความรักและความเคารพ
อย่างแรงกล้า เธอเข้าไปหาแล้วสอบสวน ไต่ถามท่านเหล่านั้น
ตามเวลาอันสมควรว่า ‘ท่านผู้เจริญ พระพุทธพจน์นี้เป็นอย่างไร
เนื้อความแห่งพระพุทธพจน์นี้เป็นอย่างไร’ ท่านเหล่านั้นย่อมเปิด
เผยธรรมที่ยังไม่ได้เปิดเผย ทำให้ง่ายซึ่งธรรมที่ยังไม่ได้ทำให้ง่าย
และบรรเทาความสงสัยในธรรมที่น่าสงสัยหลายอย่าง นี้เป็นเหตุ
ปัจจัยที่ ๒ ที่เป็นไปเพื่อได้ปัญญาอันเป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์ที่
ยังไม่ได้ เพื่อภิญโญภาพ ไพบูลย์ เจริญเต็มที่แห่งปัญญาที่ได้แล้ว
๓. ได้ฟังธรรมนั้นแล้ว ย่อมทำความสงบ ๒ อย่าง คือ ความสงบกาย
และความสงบใจให้ถึงพร้อม นี้เป็นเหตุปัจจัยที่ ๓ ที่เป็นไปเพื่อได้

เชิงอรรถ :
๑ ปัญญา ในที่นี้หมายถึงวิปัสสนา (องฺ.อฏฺฐก.อ. ๓/๒/๒๑๔)
๒ ดู ที.ปา. ๑๑/๓๕๘/๒๖๑-๒๖๔

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๑๙๖ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๑.เมตตาวรรค ๒.ปัญญาสูตร
ปัญญาอันเป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์ที่ยังไม่ได้ เพื่อภิญโญภาพ
ไพบูลย์ เจริญเต็มที่แห่งปัญญาที่ได้แล้ว
๔. เป็นผู้มีศีล สำรวมด้วยการสังวรในปาติโมกข์ เพียบพร้อมด้วยอาจาระ
และโคจร๑ มีปกติเห็นภัยในโทษแม้เล็กน้อย สมาทานศึกษาอยู่ใน
สิกขาบททั้งหลาย นี้เป็นเหตุปัจจัยที่ ๔ ที่เป็นไปเพื่อได้ปัญญาอัน
เป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์ที่ยังไม่ได้ เพื่อภิญโญภาพ ไพบูลย์
เจริญเต็มที่แห่งปัญาที่ได้แล้ว
๕. เป็นพหูสูต ทรงสุตะ๒ สั่งสมสุตะ เป็นผู้ได้ฟังมากซึ่งธรรมทั้งหลาย
ที่มีความงามในเบื้องต้น มีความงามในท่ามกลาง และมีความงาม
ในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถและพยัญชนะ บริสุทธิ์
บริบูรณ์ครบถ้วน ทรงจำไว้ได้ คล่องปาก ขึ้นใจ แทงตลอดดีด้วย
ทิฏฐิ นี้เป็นเหตุปัจจัยที่ ๕ ที่เป็นไปเพื่อได้ปัญญาอันเป็นเบื้องต้น
แห่งพรหมจรรย์ที่ยังไม่ได้ เพื่อภิญโญภาพ ไพบูลย์ เจริญเต็มที่แห่ง
ปัญญาที่ได้แล้ว
๖. เป็นผู้ปรารภความเพียรเพื่อละอกุศลธรรม เพื่อให้กุศลธรรมเกิด
มีความเข้มแข็ง มีความบากบั่นมั่นคง ไม่ทอดธุระในกุศลธรรม
ทั้งหลายอยู่ นี้เป็นเหตุปัจจัยที่ ๖ ที่เป็นไปเพื่อได้ปัญญาอันเป็น
เบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์ที่ยังไม่ได้ เพื่อภิญโญภาพ ไพบูลย์ เจริญ
เต็มที่แห่งปัญญาที่ได้แล้ว
๗. อยู่ในที่ประชุมสงฆ์ ไม่พูดเรื่องราวต่างๆ ไม่พูดติรัจฉานกถา๓ กล่าว
ธรรมเอง เชื้อเชิญผู้อื่นให้กล่าว และไม่ดูหมิ่นการนิ่งอย่างพระอริยะ
นี้เป็นเหตุปัจจัยที่ ๗ ที่เป็นไปเพื่อได้ปัญญาอันเป็นเบื้องต้นแห่ง

เชิงอรรถ :
๑ ดูเชิงอรรถที่ ๑ สัตตกนิบาต ข้อ ๗๕ หน้า ๑๗๒ ในเล่มนี้
๒ ดูเชิงอรรถที่ ๓ สัตตกนิบาต ข้อ ๖ หน้า ๑๐ ในเล่มนี้
๓ ติรัจฉานกถา คือถ้อยคำอันขวางทางไปสู่สวรรค์หรือนิพพาน หมายถึงเรื่องราวที่ภิกษุไม่ควรนำมาเป็นข้อ
ถกเถียงสนทนากัน เพราะทำให้เกิดฟุ้งซ่าน และหลงเพลินเสียเวลา (วิ.อ. ๒/๑๔๔/๓๑๕, สารตฺถ.ฏีกา
๓/๑๔๔/๔๓, ที.สี.อ. ๑/๑๗/๘๔) มี ๒๘ อย่าง ดูรายละเอียดใน วิ.มหา. (แปล) ๒/๕๐๘/๕๙๙, วิ.ม. (แปล)
๕/๒๕๐/๑๙-๒๐, ที.สี. (แปล) ๙/๑๗/๗, ที.ปา. ๑๑/๕๐/๓๐, ม.ม. ๑๓/๒๒๓/๑๙๗, สํ.ม. ๑๙/๑๐๘๐/๓๖๙,
องฺ.ทสก. (แปล) ๒๔/๖๙/๑๕๐-๑๕๑, ขุ.ม. (แปล) ๒๙/๑๕๗/๔๓๙-๔๔๐

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๑๙๗ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๑.เมตตาวรรค ๒.ปัญญาสูตร
พรหมจรรย์ที่ยังไม่ได้ เพื่อภิญโญภาพ ไพบูลย์ เจริญเต็มที่แห่ง
ปัญญาที่ได้แล้ว
๘. เป็นผู้มีปกติเห็นความเกิดขึ้นและความเสื่อมไปในอุปาทานขันธ์ ๕
อยู่ว่า ‘รูปเป็นอย่างนี้ ความเกิดขึ้นแห่งรูปเป็นอย่างนี้ ความดับ
แห่งรูปเป็นอย่างนี้ เวทนาเป็นอย่างนี้ ฯลฯ สัญญาเป็นอย่างนี้ ฯลฯ
สังขารเป็นอย่างนี้ ฯลฯ วิญญาณเป็นอย่างนี้ ความเกิดขึ้นแห่ง
วิญญาณเป็นอย่างนี้ ความดับแห่งวิญญาณเป็นอย่างนี้’ นี้เป็นเหตุ
ปัจจัยที่ ๘ ที่เป็นไปเพื่อได้ปัญญาอันเป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์ที่
ยังไม่ได้ เพื่อภิญโญภาพ ไพบูลย์ เจริญเต็มที่แห่งปัญญาที่ได้แล้ว
เพื่อนพรหมจารีย่อมสรรเสริญภิกษุนั้นอย่างนี้ว่า
๑. ท่านผู้มีอายุนี้อาศัยพระศาสดา หรือเพื่อนพรหมจารีรูปใดรูปหนึ่ง
ผู้ตั้งอยู่ในฐานะเป็นครู เป็นที่เข้าไปตั้งหิริโอตตัปปะ ความรัก และ
ความเคารพอย่างแรงกล้า ท่านผู้นี้ย่อมรู้สิ่งที่ควรรู้ เห็นสิ่งที่ควร
เห็นเป็นแน่แท้ นี้เป็นธรรมที่เป็นไปเพื่อความเป็นที่รัก เพื่อความ
เป็นที่เคารพ เพื่อความยกย่อง เพื่อความเป็นสมณะ๑ เพื่อความ
เป็นอันเดียวกัน
๒. ท่านผู้นี้อาศัยพระศาสดาหรือเพื่อนพรหมจารีรูปใดรูปหนึ่ง ผู้ตั้งอยู่
ในฐานะเป็นครู เป็นที่เข้าไปตั้งหิริโอตตัปปะ ความรัก และความ
เคารพอย่างแรงกล้า เข้าไปหาแล้วสอบสวน ไต่ถามท่านเหล่านั้น
ตามเวลาอันสมควรว่า ‘ท่านผู้เจริญ พระพุทธพจน์นี้เป็นอย่างไร
เนื้อความแห่งพระพุทธพจน์นี้เป็นอย่างไร’ ท่านเหล่านั้นย่อมเปิด
เผยธรรมที่ยังไม่ได้เปิดเผย ทำให้ง่ายซึ่งธรรมที่ยังไม่ได้ทำให้ง่าย และ
บรรเทาความสงสัยในธรรมที่น่าสงสัยหลายอย่าง ท่านผู้นี้ย่อมรู้
สิ่งที่ควรรู้ เห็นสิ่งที่ควรเห็นเป็นแน่แท้ นี้เป็นธรรมที่เป็นไปเพื่อ

เชิงอรรถ :
๑ ความเป็นสมณะ ในที่นี้หมายถึงสมณธรรม (องฺ.อฏฺฐก.อ. ๓/๒/๒๑๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๑๙๘ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๑.เมตตาวรรค ๒.ปัญญาสูตร
ความเป็นที่รัก เพื่อความเป็นที่เคารพ เพื่อความยกย่อง เพื่อความ
เป็นสมณะ เพื่อความเป็นอันเดียวกัน
๓. ท่านผู้นี้ได้ฟังธรรมนั้นแล้ว ย่อมทำความสงบ ๒ อย่าง คือ ความสงบ
กายและความสงบใจให้ถึงพร้อม ท่านผู้นี้ย่อมรู้สิ่งที่ควรรู้ เห็นสิ่งที่
ควรเห็นเป็นแน่แท้ นี้เป็นธรรมที่เป็นไปเพื่อความเป็นที่รัก เพื่อความ
เป็นที่เคารพ เพื่อความยกย่อง เพื่อความเป็นสมณะ เพื่อความเป็น
อันเดียวกัน
๔. ท่านผู้นี้เป็นผู้มีศีล สำรวมด้วยการสังวรในปาติโมกข์ เพียบพร้อมด้วย
อาจาระและโคจร มีปกติเห็นภัยในโทษแม้เล็กน้อย สมาทานศึกษา
อยู่ในสิกขาบททั้งหลาย ท่านผู้นี้ย่อมรู้สิ่งที่ควรรู้ เห็นสิ่งที่ควรเห็น
เป็นแน่แท้ นี้เป็นธรรมที่เป็นไปเพื่อความเป็นที่รัก เพื่อความเป็น
ที่เคารพ เพื่อความยกย่อง เพื่อความเป็นสมณะ เพื่อความเป็น
อันเดียวกัน
๕. ท่านผู้นี้เป็นพหูสูต ทรงสุตะ สั่งสมสุตะ เป็นผู้ได้ฟังมากซึ่งธรรม
ทั้งหลายที่มีความงามในเบื้องต้น มีความงามในท่ามกลาง และมี
ความงามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถและพยัญชนะ
บริสุทธิ์ บริบูรณ์ครบถ้วน ทรงจำไว้ได้ คล่องปาก ขึ้นใจ แทงตลอดดี
ด้วยทิฏฐิ ท่านผู้นี้ย่อมรู้สิ่งที่ควรรู้ เห็นสิ่งที่ควรเห็นเป็นแน่แท้
นี้เป็นธรรมที่เป็นไปเพื่อความเป็นที่รัก เพื่อความเป็นที่เคารพ เพื่อ
ความยกย่อง เพื่อความเป็นสมณะ เพื่อความเป็นอันเดียวกัน
๖. ท่านผู้นี้เป็นผู้ปรารภความเพียร เพื่อละอกุศลธรรม เพื่อให้กุศลธรรม
เกิด มีความเข้มแข็ง มีความบากบั่นมั่นคง ไม่ทอดธุระในกุศลธรรม
ทั้งหลายอยู่ ท่านผู้นี้ย่อมรู้สิ่งที่ควรรู้ เห็นสิ่งที่ควรเห็นเป็นแน่แท้
นี้เป็นธรรมที่เป็นไปเพื่อความเป็นที่รัก เพื่อความเป็นที่เคารพ
เพื่อความยกย่อง เพื่อความเป็นสมณะ เพื่อความเป็นอันเดียวกัน
๗. ท่านผู้นี้อยู่ในที่ประชุมสงฆ์ ไม่พูดเรื่องราวต่าง ๆ ไม่พูดติรัจฉานกถา
กล่าวธรรมเอง เชื้อเชิญผู้อื่นให้กล่าว และไม่ดูหมิ่นการนิ่งอย่าง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๑๙๙ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๑.เมตตาวรรค ๓.ปฐมอัปปิยสูตร
พระอริยะ ท่านผู้นี้ย่อมรู้สิ่งที่ควรรู้ เห็นสิ่งที่ควรเห็นเป็นแน่แท้
นี้เป็นธรรมที่เป็นไปเพื่อความเป็นที่รัก เพื่อความเป็นที่เคารพ เพื่อ
ความยกย่อง เพื่อความเป็นสมณะ เพื่อความเป็นอันเดียวกัน
๘. ท่านผู้นี้เป็นผู้มีปกติเห็นความเกิดขึ้นและความเสื่อมไปในอุปาทานขันธ์
๕ อยู่ว่า ‘รูปเป็นอย่างนี้ ความเกิดขึ้นแห่งรูปเป็นอย่างนี้ ความดับ
แห่งรูปเป็นอย่างนี้ เวทนาเป็นอย่างนี้ ฯลฯ สัญญาเป็นอย่างนี้ ฯลฯ
สังขารเป็นอย่างนี้ ฯลฯ วิญญาณเป็นอย่างนี้ ความเกิดขึ้นแห่ง
วิญญาณเป็นอย่างนี้ ความดับแห่งวิญญาณเป็นอย่างนี้’ ท่านผู้นี้
ย่อมรู้สิ่งที่ควรรู้ เห็นสิ่งที่ควรเห็นเป็นแน่แท้ นี้เป็นธรรมที่เป็นไป
เพื่อความเป็นที่รัก เพื่อความเป็นที่เคารพ เพื่อความยกย่อง
เพื่อความเป็นสมณะ เพื่อความเป็นอันเดียวกัน
ภิกษุทั้งหลาย เหตุปัจจัย ๘ ประการนี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อได้ปัญญาอันเป็น
เบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์ที่ยังไม่ได้ เพื่อภิญโญภาพ ไพบูลย์ เจริญเต็มที่แห่งปัญญา
ที่ได้แล้ว
ปัญญาสูตรที่ ๒ จบ

๓. ปฐมอัปปิยสูตร
ว่าด้วยธรรมที่เป็นเหตุให้เป็นที่รักและไม่เป็นที่รัก สูตรที่ ๑
[๓] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๘ ประการ ย่อมไม่เป็นที่รัก
ไม่เป็นที่พอใจ ไม่เป็นที่เคารพ และไม่เป็นที่ยกย่องของเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย
ธรรม ๘ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้

๑. สรรเสริญผู้ไม่เป็นที่รัก ๒. ติเตียนผู้เป็นที่รัก
๓. มุ่งลาภ ๔. มุ่งสักการะ
๕. ไม่มีหิริ ๖. ไม่มีโอตตัปปะ
๗. มีความปรารถนาชั่ว ๘. เป็นมิจฉาทิฏฐิ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๒๐๐ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๑.เมตตาวรรค ๔.ทุติยอัปปิยสูตร
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๘ ประการนี้แล ย่อมไม่เป็นที่รัก
ไม่เป็นที่พอใจ ไม่เป็นที่เคารพ และไม่เป็นที่ยกย่องของเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๘ ประการ ย่อมเป็นที่รัก เป็นที่พอใจ
เป็นที่เคารพ และเป็นที่ยกย่องของเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย
ธรรม ๘ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้

๑. ไม่สรรเสริญผู้ไม่เป็นที่รัก ๒. ไม่ติเตียนผู้เป็นที่รัก
๓. ไม่มุ่งลาภ ๔. ไม่มุ่งสักการะ
๕. มีหิริ ๖. มีโอตตัปปะ
๗. มีความมักน้อย ๘. เป็นสัมมาทิฏฐิ

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๘ ประการนี้แล ย่อมเป็นที่รัก เป็นที่
พอใจ เป็นที่เคารพ และเป็นที่ยกย่องของเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย
ปฐมอัปปิยสูตรที่ ๓ จบ

๔. ทุติยอัปปิยสูตร
ว่าด้วยธรรมที่เป็นเหตุให้เป็นที่รักและไม่เป็นที่รัก สูตรที่ ๒
[๔] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๘ ประการ ย่อมไม่เป็นที่รัก
ไม่เป็นที่พอใจ ไม่เป็นที่เคารพ และไม่เป็นที่ยกย่องของเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย
ธรรม ๘ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้

๑. มุ่งลาภ ๒. มุ่งสักการะ
๓. มุ่งชื่อเสียง ๔. ไม่รู้จักกาล
๕. ไม่รู้จักประมาณ ๖. ไม่สะอาด๑
๗. พูดมาก ๘. ด่าบริภาษเพื่อนพรหมจารี


เชิงอรรถ :
๑ ไม่สะอาด ในที่นี้หมายถึงมีกายกรรมที่ไม่สะอาดเป็นต้น (องฺ.อฏฺฐก.อ. ๓/๓-๔/๒๑๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๒๐๑ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๑.เมตตาวรรค ๕.ปฐมโลกธัมมสูตร
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๘ ประการนี้แล ย่อมไม่เป็นที่รัก
ไม่เป็นที่พอใจ ไม่เป็นที่เคารพ และไม่เป็นที่ยกย่องของเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๘ ประการ ย่อมเป็นที่รัก เป็นที่พอใจ
เป็นที่เคารพ และเป็นที่ยกย่องของเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย
ธรรม ๘ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้

๑. ไม่มุ่งลาภ ๒. ไม่มุ่งสักการะ
๓. ไม่มุ่งชื่อเสียง ๔. รู้จักกาล
๕. รู้จักประมาณ ๖. สะอาด
๗. ไม่พูดมาก ๘. เป็นผู้ไม่ด่าบริภาษเพื่อนพรหมจารี

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๘ ประการนี้แล ย่อมเป็นที่รัก เป็นที่
พอใจ เป็นที่เคารพ และเป็นที่ยกย่องของเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย
ทุติยอัปปิยสูตรที่ ๔ จบ

๕. ปฐมโลกธัมมสูตร
ว่าด้วยโลกธรรม สูตรที่ ๑
[๕] ภิกษุทั้งหลาย โลกธรรม๑ ๘ ประการนี้ ย่อมหมุนไปตามโลก และโลกก็
หมุนไปตามโลกธรรม ๘ ประการ
โลกธรรม ๘ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ลาภ ๒. เสื่อมลาภ
๓. ยศ ๔. เสื่อมยศ

เชิงอรรถ :
๑ โลกธรรม หมายถึงสิ่งที่มีความแน่นอนสำหรับสัตว์โลก(องฺ.อฏฺฐก. ฏีกา ๓/๕/๒๕๓) และดู ที.ปา.๑๑/๓๓๗/
ผ๒๒๙

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๒๐๒ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๑.เมตตาวรรค ๕.ปฐมโลกธัมมสูตร

๕. นินทา ๖. สรรเสริญ
๗. สุข ๘. ทุกข์

ภิกษุทั้งหลาย โลกธรรม ๘ ประการนี้แล ย่อมหมุนไปตามโลก และโลกก็หมุน
ไปตามโลกธรรม ๘ ประการนี้
ลาภ เสื่อมลาภ ยศ เสื่อมยศ
นินทา สรรเสริญ สุข และทุกข์
ธรรมเหล่านี้ในหมู่มนุษย์ ล้วนไม่เที่ยง
ไม่มั่นคง มีความแปรผันเป็นธรรมดา๑
แต่ท่านผู้มีปัญญาดี มีสติ รู้ธรรมเหล่านี้แล้ว
ย่อมพิจารณาเห็นว่า มีความแปรผันเป็นธรรมดา
อิฏฐารมณ์(อารมณ์ที่น่าปรารถนา)จึงย่ำยีจิตของท่านไม่ได้
ท่านย่อมไม่ยินร้ายต่ออนิฏฐารมณ์(อารมณ์ที่ไม่น่าปรารถนา)
ความยินดีหรือความยินร้าย
ท่านขจัดปัดเป่า จนไม่มีอยู่
ท่านรู้ทางที่ปราศจากธุลี๒ ไม่มีความเศร้าโศก
เป็นผู้ถึงฝั่งแห่งภพ ย่อมรู้แจ้งชัดโดยถูกต้อง

ปฐมโลกธัมมสูตรที่ ๕ จบ

เชิงอรรถ :
๑ ดู ขุ.ม. (แปล) ๒๙/๑๗๒/๔๙๐
๒ ทางที่ปราศจากธุลี ในที่นี้หมายถึงนิพพาน (องฺ.อฏฺฐก.อ. ๓/๕/๒๑๕))

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๒๐๓ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๑.เมตตาวรรค ๖.ทุติยโลกธัมมสูตร
๖. ทุติยโลกธัมมสูตร
ว่าด้วยโลกธรรม สูตรที่ ๒
[๖] ภิกษุทั้งหลาย โลกธรรม ๘ ประการนี้ ย่อมหมุนไปตามโลก และโลกก็
หมุนไปตามโลกธรรม ๘ ประการ
โลกธรรม ๘ ประการ อะไรบ้าง คือ

๑. ลาภ ๒. เสื่อมลาภ
๓. ยศ ๔. เสื่อมยศ
๕. นินทา ๖. สรรเสริญ
๗. สุข ๘. ทุกข์

ภิกษุทั้งหลาย โลกธรรม ๘ ประการนี้แล ย่อมหมุนไปตามโลก และโลกก็หมุน
ไปตามโลกธรรม ๘ ประการนี้
ลาภ เสื่อมลาภ ยศ เสื่อมยศ นินทา สรรเสริญ สุข และทุกข์ย่อมเกิดขึ้น
แก่ปุถุชนผู้ยังไม่ได้สดับ
ลาภ เสื่อมลาภ ยศ เสื่อมยศ นินทา สรรเสริญ สุข และทุกข์ย่อมเกิดขึ้น
แก่อริยสาวกผู้ได้สดับ
ภิกษุทั้งหลาย ในข้อนั้นมีความแปลกกันอย่างไร มีความแตกต่างกันอย่างไร๑
มีเหตุทำให้ต่างกันอย่างไร ระหว่างอริยสาวกผู้ได้สดับกับปุถุชนผู้ยังไม่ได้สดับ
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมของข้าพระองค์
ทั้งหลายมีพระผู้มีพระภาคเป็นหลัก มีพระผู้มีพระภาคเป็นผู้นำ มีพระผู้มีพระภาค
เป็นที่พึ่ง ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานวโรกาส เฉพาะพระผู้มีพระภาคเท่านั้น
ที่จะทรงอธิบายเนื้อความแห่งพระภาษิตนั้นให้แจ่มแจ้งได้ ภิกษุทั้งหลายฟังต่อจาก
พระผู้มีพระภาคแล้ว จักทรงจำไว้”

เชิงอรรถ :
๑ คำว่า “มีความแปลกกันอย่างไร มีความแตกต่างกันอย่างไร” นี้หมายถึงมีความเพียรที่ยิ่ง กล่าวคือมี
กิริยาที่พึงกระทำให้วิเศษแตกต่างกันอย่างไร (องฺ.อฏฺฐก.อ. ๓/๖/๒๑๕, องฺ.อฏฺฐก.ฏีกา ๓/๖-๘/๒๕๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๒๐๔ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๑.เมตตาวรรค ๖.ทุติยโลกธัมมสูตร
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย ถ้าเช่นนั้น เธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจ
ให้ดี เราจักกล่าว” ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้
ตรัสเรื่องนี้ว่า
“ภิกษุทั้งหลาย ลาภเกิดขึ้นแก่ปุถุชนผู้ยังไม่ได้สดับ แต่เขาไม่เห็นประจักษ์
ไม่รู้ชัดตามความเป็นจริงดังนี้ว่า ‘ลาภนี้เกิดขึ้นแก่เราแล้ว แต่ลาภนั้นแล เป็นของ
ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา’ ความเสื่อมลาภ ฯลฯ ยศ ฯลฯ
ความเสื่อมยศ ฯลฯ นินทา ฯลฯ สรรเสริญ ฯลฯ สุข ฯลฯ ทุกข์เกิดขึ้นแก่ปุถุชน
ผู้ยังไม่ได้สดับ แต่เขาไม่เห็นประจักษ์ ไม่รู้ชัดตามความเป็นจริงดังนี้ว่า ‘ทุกข์นี้เกิดขึ้น
แก่เราแล้ว แต่ทุกข์นั้นแล เป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา’
ลาภย่อมครอบงำจิตของเขาได้ ความเสื่อมลาภย่อมครอบงำจิตของเขาได้ ยศย่อม
ครอบงำจิตของเขาได้ ความเสื่อมยศย่อมครอบงำจิตของเขาได้ นินทาย่อมครอบงำ
จิตของเขาได้ สรรเสริญย่อมครอบงำจิตของเขาได้ สุขย่อมครอบงำจิตของเขาได้
ทุกข์ย่อมครอบงำจิตของเขาได้ เขาย่อมยินร้ายในความเสื่อมลาภ ยินดีในยศที่
เกิดขึ้น ยินร้ายในความเสื่อมยศ ยินดีในความสรรเสริญที่เกิดขึ้น ยินร้ายในนินทา
ยินดีในสุขที่เกิดขึ้น ยินร้ายในทุกข์ เขาประกอบด้วยความยินดีและความยินร้าย
อย่างนี้ ย่อมไม่พ้นจากชาติ (ความเกิด) ชรา (ความแก่) มรณะ (ความตาย) โสกะ
(ความโศก) ปริเทวะ (ความคร่ำคราญ) ทุกข์ (ความทุกข์กาย) โทมนัส (ความทุกข์ใจ)
อุปายาส (ความคับ แค้นใจ) เรากล่าวว่า ไม่หลุดพ้นจากทุกข์
ภิกษุทั้งหลาย ลาภเกิดขึ้นแก่อริยสาวกผู้ได้สดับ เขาเห็นประจักษ์ รู้ชัดตาม
ความเป็นจริงดังนี้ว่า ‘ลาภนี้เกิดขึ้นแก่เราแล้ว แต่ลาภนั้นแล เป็นของไม่เที่ยง
เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา’ ความเสื่อมลาภ ฯลฯ ยศ ฯลฯ ความ
เสื่อมยศ ฯลฯ นินทา ฯลฯ สรรเสริญ ฯลฯ สุข ฯลฯ ทุกข์เกิดขึ้นแก่อริยสาวก
ผู้ได้สดับ แต่เขาเห็นประจักษ์ รู้ชัดตามความเป็นจริงดังนี้ว่า ‘ทุกข์นี้เกิดขึ้นแก่เราแล้ว
แต่ทุกข์นั้นแล เป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา’ ลาภย่อม
ครอบงำจิตของเขาไม่ได้ ความเสื่อมลาภย่อมครอบงำจิตของเขาไม่ได้ ยศย่อมครอบงำ
จิตของเขาไม่ได้ ความเสื่อมยศย่อมครอบงำจิตของเขาไม่ได้ นินทาย่อมครอบงำจิตของ
เขาไม่ได้ สรรเสริญย่อมครอบงำจิตของเขาไม่ได้ สุขย่อมครอบงำจิตของเขาไม่ได้


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๒๐๕ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๑.เมตตาวรรค ๖.ทุติยโลกธัมมสูตร
ทุกข์ย่อมครอบงำจิตของเขาไม่ได้ เขาไม่ยินดีในลาภที่เกิดขึ้น ไม่ยินร้ายในความ
เสื่อมลาภ ไม่ยินดีในยศที่เกิดขึ้น ไม่ยินร้ายในความเสื่อมยศ ไม่ยินดีในสรรเสริญที่
เกิดขึ้น ไม่ยินร้ายในนินทา ไม่ยินดีในสุขที่เกิดขึ้น ไม่ยินร้ายในทุกข์ เขาละ
ความยินดีและความยินร้ายได้อย่างนี้ จึงพ้นจากชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ
ทุกข์ โทมนัส อุปายาส เรากล่าวว่า หลุดพ้นจากทุกข์ได้
ภิกษุทั้งหลาย นี้แลคือความแปลกกัน นี้คือความแตกต่างกัน นี้คือเหตุ
ทำให้ต่างกัน ระหว่างอริยสาวกผู้ได้สดับกับปุถุชนผู้ยังไม่ได้สดับ”
ลาภ เสื่อมลาภ ยศ เสื่อมยศ
นินทา สรรเสริญ สุข และทุกข์
ธรรมเหล่านี้ในหมู่มนุษย์ ล้วนไม่เที่ยง
ไม่มั่นคง มีความแปรผันเป็นธรรมดา๑
แต่ท่านผู้มีปัญญาดี มีสติ รู้ธรรมเหล่านี้แล้ว
ย่อมพิจารณาเห็นว่า มีความแปรผันเป็นธรรมดา
อิฏฐารมณ์จึงย่ำยีจิตของท่านไม่ได้
ท่านย่อมไม่ยินร้ายต่ออนิฏฐารมณ์
ความยินดีหรือความยินร้าย
ท่านขจัดปัดเป่า จนไม่มีอยู่
ท่านรู้ทางที่ปราศจากธุลี ไม่มีความเศร้าโศก
เป็นผู้ถึงฝั่งแห่งภพ ย่อมรู้แจ้งชัดโดยชอบ
ทุติยโลกธัมมสูตรที่ ๖ จบ

เชิงอรรถ :
๑ ดู ขุ.ม. (แปล) ๒๙/๑๗๒/๔๙๐

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๒๐๖ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๑.เมตตาวรรค ๗.เทวทัตตวิปัตติสูตร
๗. เทวทัตตวิปัตติสูตร
ว่าด้วยวิบัติของพระเทวทัต๑
[๗] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ภูเขาคิชฌกูฏ เขตกรุงราชคฤห์
เมื่อพระเทวทัตจากไปไม่นาน ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคทรงปรารภพระเทวทัต
รับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า
“ภิกษุทั้งหลาย ทางที่ดี ภิกษุพึงพิจารณาเห็นวิบัติของตนตามกาลอันควร
ทางที่ดี ภิกษุพึงพิจารณาเห็นวิบัติของผู้อื่นตามกาลอันควร ทางที่ดี ภิกษุพึง
พิจารณาเห็นสมบัติของตนตามกาลอันควร ทางที่ดี ภิกษุพึงพิจารณาเห็นสมบัติ
ของผู้อื่นตามกาลอันควร
ภิกษุทั้งหลาย เทวทัตถูกอสัทธรรม ๘ ประการครอบงำย่ำยีจิต ต้องไปเกิด
ในอบาย ต้องไปเกิดในนรก ดำรงอยู่ชั่วกัป แก้ไขไม่ได้
อสัทธรรม ๘ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. เทวทัตถูกลาภครอบงำย่ำยีจิต ต้องไปเกิดในอบาย ต้องไปเกิด
ในนรก ดำรงอยู่ชั่วกัป แก้ไขไม่ได้
๒. เทวทัตถูกความเสื่อมลาภครอบงำย่ำยีจิต ฯลฯ
๓. เทวทัตถูกยศครอบงำย่ำยีจิต ฯลฯ
๔. เทวทัตถูกความเสื่อมยศครอบงำย่ำยีจิต ฯลฯ
๕. เทวทัตถูกสักการะครอบงำย่ำยีจิต ฯลฯ
๖. เทวทัตถูกความเสื่อมสักการะครอบงำย่ำยีจิต ฯลฯ
๗. เทวทัตถูกความปรารถนาชั่วครอบงำย่ำยีจิต ฯลฯ
๘. เทวทัตถูกความมีมิตรชั่วครอบงำย่ำยีจิต ต้องไปเกิดในอบาย ต้องไป
เกิดในนรก ดำรงอยู่ชั่วกัป แก้ไขไม่ได้
ภิกษุทั้งหลาย เทวทัตถูกอสัทธรรม ๘ ประการนี้แลครอบงำย่ำยีจิต ต้องไป
เกิดในอบาย ต้องไปเกิดในนรก ดำรงอยู่ชั่วกัป แก้ไขไม่ได้

เชิงอรรถ :
๑ วิ.จู. (แปล) ๗/๓๔๘-๓๔๙/๒๐๙-๒๑๐

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๒๐๗ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๑.เมตตาวรรค ๗.เทวทัตตวิปัตติสูตร
ภิกษุทั้งหลาย ทางที่ดี ภิกษุพึงครอบงำลาภที่เกิดขึ้นอยู่ พึงครอบงำความ
เสื่อมลาภที่เกิดขึ้นอยู่ ... ยศที่เกิดขึ้น ... ความเสื่อมยศที่เกิดขึ้น ... สักการะที่
เกิดขึ้น ... ความเสื่อมสักการะที่เกิดขึ้น ... ความปรารถนาชั่วที่เกิดขึ้น ... ความมี
มิตรชั่วที่เกิดขึ้นอยู่
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุอาศัยอำนาจประโยชน์อะไร จึงพึงครอบงำลาภที่เกิดขึ้นอยู่
... พึงครอบงำความมีมิตรชั่วที่เกิดขึ้นอยู่
ภิกษุทั้งหลาย เพราะเมื่อภิกษุไม่ครอบงำลาภที่เกิดขึ้นอยู่ อาสวะ๑และความ
เร่าร้อนที่ก่อความคับแค้น๒ พึงเกิดขึ้น แต่เมื่อเธอครอบงำลาภที่เกิดขึ้นอยู่ อาสวะ
และความเร่าร้อนที่ก่อความคับแค้นย่อมไม่มีแก่เธอ
เพราะเมื่อภิกษุไม่ครอบงำความเสื่อมลาภที่เกิดขึ้นอยู่ ... ยศที่เกิดขึ้น ... ความ
เสื่อมยศที่เกิดขึ้น ... สักการะที่เกิดขึ้น ... ความเสื่อมสักการะที่เกิดขึ้น ... ความ
ปรารถนาชั่วที่เกิดขึ้น ... ความมีมิตรชั่วที่เกิดขึ้นอยู่ อาสวะและความเร่าร้อนที่
ก่อความคับแค้นพึงเกิดขึ้น แต่เมื่อเธอครอบงำความมีมิตรชั่วที่เกิดขึ้นอยู่ อาสวะ
และความเร่าร้อนที่ก่อความคับแค้นย่อมไม่มีแก่เธอ
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุอาศัยอำนาจประโยชน์นี้แล จึงพึงครอบงำลาภที่เกิดขึ้นอยู่
... ความเสื่อมลาภที่เกิดขึ้น ... ยศที่เกิดขึ้น ... ความเสื่อมยศที่เกิดขึ้น ... สักการะที่
เกิดขึ้น ... ความเสื่อมสักการะที่เกิดขึ้น ... ความปรารถนาชั่วที่เกิดขึ้น ... ความมี
มิตรชั่วที่เกิดขึ้นอยู่

เชิงอรรถ :
๑ อาสวะ ในที่นี้หมายถึงอาสวะ ๔ คือ กามาสวะ อาสวะคือกาม ภวาสวะ อาสวะคือภพ ทิฏฐาสวะ อาสวะ
คือทิฏฐิ อวิชชาสวะ อาสวะคืออวิชชา (สํ.สฬา.อ. ๓/๕๓-๖๒/๑๔, องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๕๘/๑๔๐, องฺ.ฉกฺก.ฏีกา
๓/๕๘/๑๕๔-๑๖๒)
๒ ความเร่าร้อนที่ก่อความคับแค้น หมายถึงความเร่าร้อนคือกิเลสหรือความเร่าร้อนคือวิบากเหล่าอื่นที่
ก่อความทุกข์ทางกายและทุกข์ทางใจอันเป็นผลที่เกิดจากอาสวะ (องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๕๘/๑๔๐, องฺ.ฉกฺก.ฏีกา
๓/๕๘/๑๕๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๒๐๘ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๑.เมตตาวรรค ๘.อุตตรวิปัตติสูตร
ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล เธอทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า ‘เราทั้งหลาย
จักครอบงำลาภที่เกิดขึ้นอยู่ ... ความเสื่อมลาภที่เกิดขึ้น ... ยศที่เกิดขึ้น ... ความ
เสื่อมยศที่เกิดขึ้น ... สักการะที่เกิดขึ้น ... ความเสื่อมสักการะที่เกิดขึ้น ... ความ
ปรารถนาชั่วที่เกิดขึ้น ... ความมีมิตรชั่วที่เกิดขึ้นอยู่’ ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลาย
พึงสำเหนียกอย่างนี้แล”
เทวทัตตวิปัตติสูตรที่ ๗ จบ

๘. อุตตรวิปัตติสูตร
ว่าด้วยพระอุตตระแสดงธรรมเรื่องวิบัติ
[๘] สมัยหนึ่ง ท่านพระอุตตระอยู่ที่วฏชาลิกาวิหาร๑ ใกล้ภูเขาสังเขยยกะ
มหิสวัตถุชนบท ณ ที่นั้นแล ท่านพระอุตตระเรียกภิกษุทั้งหลายมากล่าวว่า
“ผู้มีอายุทั้งหลาย ทางที่ดี ภิกษุพึงพิจารณาเห็นวิบัติของตนตามกาลอันควร
ทางที่ดี ภิกษุพึงพิจารณาเห็นวิบัติของผู้อื่นตามกาลอันควร ทางที่ดี ภิกษุพึง
พิจารณาเห็นสมบัติของตนตามกาลอันควร ทางที่ดี ภิกษุพึงพิจารณาเห็นสมบัติ
ของผู้อื่นตามกาลอันควร”
สมัยนั้น ท้าวเวสวัณมหาราชมีกรณียกิจบางอย่างเสด็จจากทิศเหนือไปยังทิศใต้
ได้สดับเสียงของท่านพระอุตตระผู้กำลังแสดงธรรมแก่ภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้ว่า
“ผู้มีอายุทั้งหลาย ทางที่ดี ภิกษุพึงพิจารณาเห็นวิบัติของตนตามกาลอันควร ทางที่ดี
ภิกษุพึงพิจารณาเห็นวิบัติของผู้อื่นตามกาลอันควร ทางที่ดี ภิกษุพึงพิจารณาเห็น
สมบัติของตนตามกาลอันควร ทางที่ดี ภิกษุพึงพิจารณาเห็นสมบัติของผู้อื่นตาม
กาลอันควร”
ครั้งนั้นแล ท้าวเวสวัณมหาราชได้หายจากวฏชาลิกาวิหาร ใกล้ภูเขาสังเขยยกะ
มหิสวัตถุชนบท ไปปรากฏในเทวโลกชั้นดาวดึงส์ เหมือนบุรุษมีกำลังเหยียดแขนออก


เชิงอรรถ :
๑วฏชาลิกาวิหาร หมายถึงวิหารที่ตั้งอยู่ในป่าไทรย้อย (องฺ.อฏฺฐก.อ. ๓/๘/๒๑๖)


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๒๐๙ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๑.เมตตาวรรค ๘.อุตตรวิปัตติสูตร
หรือคู้แขนเข้าฉะนั้น ลำดับนั้น ท้าวเวสวัณมหาราชเข้าไปเฝ้าท้าวสักกะจอมเทพถึง
ที่ประทับ แล้วได้กราบทูลท้าวสักกะจอมเทพดังนี้ว่า “ขอเดชะท่านผู้นิรทุกข์ พระองค์
โปรดทรงทราบว่า ‘ท่านอุตตระนี้แสดงธรรมแก่ภิกษุทั้งหลาย ในวฏชาลิกาวิหาร
ใกล้ภูเขาสังเขยยกะ มหิสวัตถุชนบท อย่างนี้ว่า ‘ผู้มีอายุทั้งหลาย ทางที่ดี ภิกษุพึง
พิจารณาเห็นความวิบัติของตนตามกาลอันควร ฯลฯ ทางที่ดี ภิกษุพึงพิจารณา
เห็นสมบัติของผู้อื่นตามกาลอันควร”
ครั้งนั้นแล ท้าวสักกะจอมเทพได้ทรงหายจากเทวโลกชั้นดาวดึงส์ ไปปรากฏ
ต่อหน้าท่านพระอุตตระ ที่วฏชาลิกาวิหาร ใกล้ภูเขาสังเขยยกะ มหิสวัตถุชนบท
เหมือนบุรุษมีกำลังเหยียดแขนออกหรือคู้แขนเข้า ฉะนั้น ครั้นแล้วจึงเสด็จเข้าไปหา
ท่านพระอุตตระถึงที่อยู่ ทรงไหว้แล้วประทับยืน ณ ที่สมควร ตรัสถามท่านพระ
อุตตระดังนี้ว่า “จริงหรือ ท่านผู้เจริญ ทราบว่า ท่านพระอุตตระแสดงธรรมแก่ภิกษุ
ทั้งหลายอย่างนี้ว่า ‘ผู้มีอายุทั้งหลาย ทางที่ดี ภิกษุพึงพิจารณาเห็นความวิบัติของ
ตนตามกาลอันควร ฯลฯ ทางที่ดี ภิกษุพึงพิจารณาเห็นสมบัติของผู้อื่นตามกาล
อันควร”
ท่านพระอุตตระได้ถวายพระพรว่า “อย่างนั้น ท่านจอมเทพ”
“ท่านผู้เจริญ ข้อความนี้เป็นปฏิภาณส่วนตัวของท่านพระอุตตระเอง หรือว่า
เป็นพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น”
“ท่านจอมเทพ ถ้าเช่นนั้น อาตมภาพจักยกข้ออุปมาให้พระองค์สดับ วิญญูชน
บางพวกในโลกนี้จะรู้อรรถแห่งภาษิตได้ ท่านจอมเทพ มีข้าวเปลือกกองใหญ่อยู่ใน
ที่ไม่ไกลจากบ้าน หรือนิคม หมู่ชนเป็นอันมากพึงขนข้าวเปลือก จากข้าวเปลือก
กองใหญ่นั้นด้วยหาบบ้าง ด้วยตะกร้าบ้าง ด้วยห่อพกบ้าง กอบด้วยมือบ้าง
ท่านจอมเทพ หากมีบุคคลเข้าไปถามหมู่ชนเป็นอันมากนั้นอย่างนี้ว่า ‘พวกท่านขน
ข้าวเปลือกนี้มาจากไหน’ ท่านจอมเทพ หมู่ชนเป็นอันมากนั้นจะตอบอย่างไร จึงจะ
ชื่อว่าตอบได้อย่างถูกต้อง”
“ท่านผู้เจริญ หมู่ชนเป็นอันมากนั้น เมื่อจะตอบให้ถูกต้องควรตอบว่า ‘พวกเรา
ขนมาจากข้าวเปลือกกองใหญ่โน้น”


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๒๑๐ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๑.เมตตาวรรค ๘.อุตตรวิปัตติสูตร
“ท่านจอมเทพ ทำนองเดียวกันนั่นแล พระดำรัสที่เป็นสุภาษิตทั้งหมด เป็น
พระดำรัสของพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น อาตมภาพและ
สาวกเหล่าอื่นย่อมกล่าวโดยถือเอาจากสุภาษิตทั้งหมดนั้น”
“ท่านผู้เจริญ น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคยปรากฏ ท่านพระอุตตระกล่าวเรื่องนี้ไว้ดี
ยิ่งนักว่า ‘พระดำรัสที่เป็นสุภาษิตทั้งหมด เป็นพระดำรัสของพระผู้มีพระภาค
อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น อาตมภาพและสาวกเหล่าอื่นย่อมกล่าวโดย
ถือเอาจากสุภาษิตทั้งหมดนั้น’
ท่านอุตตระผู้เจริญ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ภูเขาคิชฌกูฏ
เขตกรุงราชคฤห์ เมื่อพระเทวทัตจากไปไม่นาน ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคทรง
ปรารภพระเทวทัต รับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า
‘ภิกษุทั้งหลาย ทางที่ดี ภิกษุพึงพิจารณาเห็นวิบัติของตนตามกาลอันควร
ทางที่ดี ภิกษุพึงพิจารณาเห็นวิบัติของผู้อื่นตามกาลอันควร ทางที่ดี ภิกษุ
พึงพิจารณาเห็นสมบัติของตนตามกาลอันควร ทางที่ดี ภิกษุพึงพิจารณาเห็นสมบัติ
ของผู้อื่นตามกาลอันควร
ภิกษุทั้งหลาย เทวทัตถูกอสัทธรรม ๘ ประการครอบงำย่ำยีจิต ต้องไปเกิด
ในอบาย ต้องไปเกิดในนรก ดำรงอยู่ชั่วกัป แก้ไขไม่ได้
อสัทธรรม ๘ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. เทวทัตถูกลาภครอบงำย่ำยีจิต ต้องไปเกิดในอบาย ต้องไปเกิดใน
นรก ดำรงอยู่ชั่วกัป แก้ไขไม่ได้
๒. เทวทัตถูกความเสื่อมลาภครอบงำย่ำยีจิต ฯลฯ
๓. เทวทัตถูกยศครอบงำย่ำยีจิต ฯลฯ
๔. เทวทัตถูกความเสื่อมยศครอบงำย่ำยีจิต ฯลฯ
๕. เทวทัตถูกสักการะครอบงำย่ำยีจิต ฯลฯ
๖. เทวทัตถูกความเสื่อมสักการะครอบงำย่ำยีจิต ฯลฯ
๗. เทวทัตถูกความปรารถนาชั่วครอบงำย่ำยีจิต ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๒๑๑ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๑.เมตตาวรรค ๘.อุตตรวิปัตติสูตร
๘. เทวทัตถูกความมีมิตรชั่วครอบงำย่ำยีจิต ต้องไปเกิดในอบาย ต้อง
ไปเกิดในนรก ดำรงอยู่ชั่วกัป แก้ไขไม่ได้
ภิกษุทั้งหลาย เทวทัตถูกอสัทธรรม ๘ ประการนี้แล ครอบงำย่ำยีจิต ต้องไป
เกิดในอบาย ต้องไปเกิดในนรก ดำรงอยู่ชั่วกัป แก้ไขไม่ได้
ภิกษุทั้งหลาย ทางที่ดี ภิกษุพึงครอบงำลาภที่เกิดขึ้นอยู่ ทางที่ดี ภิกษุพึง
ครอบงำความเสื่อมลาภที่เกิดขึ้นอยู่ ... ยศที่เกิดขึ้น ... ความเสื่อมยศที่เกิดขึ้น ...
สักการะที่เกิดขึ้น ... ความเสื่อมสักการะที่เกิดขึ้น ... ความปรารถนาชั่วที่เกิดขึ้น ...
ความมีมิตรชั่วที่เกิดขึ้นอยู่
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุอาศัยอำนาจประโยชน์อะไร จึงพึงครอบงำลาภที่เกิดขึ้นอยู่
... พึงครอบงำความมีมิตรชั่วที่เกิดขึ้นอยู่
ภิกษุทั้งหลาย เพราะเมื่อภิกษุไม่ครอบงำลาภที่เกิดขึ้นอยู่ อาสวะและความ
เร่าร้อนที่ก่อความคับแค้นพึงเกิดขึ้น แต่เมื่อเธอครอบงำลาภที่เกิดขึ้นอยู่ อาสวะ
และความเร่าร้อนที่ก่อความคับแค้นย่อมไม่มีแก่เธอ
เพราะเมื่อภิกษุไม่ครอบงำความเสื่อมลาภที่เกิดขึ้นอยู่ ... ยศที่เกิดขึ้น ... ความ
เสื่อมยศที่เกิดขึ้น ... สักการะที่เกิดขึ้น ... ความเสื่อมสักการะที่เกิดขึ้น ... ความ
ปรารถนาชั่วที่เกิดขึ้น ... ความมีมิตรชั่วที่เกิดขึ้นอยู่ อาสวะและความเร่าร้อนที่ก่อ
ความคับแค้นพึงเกิดขึ้น แต่เมื่อเธอครอบงำความมีมิตรชั่วที่เกิดขึ้นอยู่ อาสวะและ
ความเร่าร้อนที่ก่อความคับแค้นย่อมไม่มีแก่เธอ
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุอาศัยอำนาจประโยชน์นี้แล จึงพึงครอบงำลาภที่เกิดขึ้นอยู่
... ความเสื่อมลาภที่เกิดขึ้น ... ยศที่เกิดขึ้น ... ความเสื่อมยศที่เกิดขึ้น ... สักการะที่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๒๑๒ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๑.เมตตาวรรค ๙.นันทสูตร
เกิดขึ้น ... ความเสื่อมสักการะที่เกิดขึ้น ... ความปรารถนาชั่วที่เกิดขึ้น ... ความมี
มิตรชั่วที่เกิดขึ้นอยู่
ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล เธอทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า ‘เราทั้งหลาย
จักครอบงำลาภที่เกิดขึ้นอยู่ ... ความเสื่อมลาภที่เกิดขึ้น ... ยศที่เกิดขึ้น ... ความเสื่อม
ยศที่เกิดขึ้น ... สักการะที่เกิดขึ้น ... ความเสื่อมสักการะที่เกิดขึ้น ... ความปรารถนา
ชั่วที่เกิดขึ้น ... ความมีมิตรชั่วที่เกิดขึ้นอยู่’ ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลาย พึงสำเหนียก
อย่างนี้แล’
ท่านอุตตระผู้เจริญ ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ ในหมู่มนุษย์ บริษัท ๔ คือ ภิกษุ
ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ธรรมบรรยาย๑นี้หาได้ตั้งมั่นอยู่ในบริษัทหมู่ไหนไม่
ขอท่านอุตตระโปรดเรียนธรรมบรรยายนี้ โปรดจดจำธรรมบรรยายนี้ โปรดทรง
จำธรรมบรรยายนี้ไว้เถิด เพราะธรรมบรรยายนี้ประกอบด้วยประโยชน์ เป็นเบื้องต้น
แห่งพรหมจรรย์๒”
อุตตรวิปัตติสูตรที่ ๘ จบ

๙. นันทสูตร
ว่าด้วยพระนันทะ
[๙] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อจะเรียกนันทะให้ถูกต้อง ควรเรียกว่า ‘กุลบุตร’
เมื่อจะเรียกนันทะให้ถูกต้อง ควรเรียกว่า ‘ผู้มีกำลัง’ เมื่อจะเรียกนันทะให้ถูกต้อง
ควรเรียกว่า ‘ผู้น่ารัก‘๓ เมื่อจะเรียกนันทะให้ถูกต้อง ควรเรียกว่า ‘ผู้มีราคะจัด‘๔

เชิงอรรถ :
๑ ดูเชิงอรรถที่ ๑ สัตตกนิบาต ข้อ ๕๑ หน้า ๘๕ ในเล่มนี้
๒ เบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์ ในที่นี้หมายถึงพรหมจรรย์ทั้งสิ้นที่รวมลงในสิกขา ๓ (ศีล สมาธิ ปัญญา)
(องฺ.อฏฺฐก.อ.๓/๘/ ๒๑๖)
๓ ผู้น่ารัก ในที่นี้หมายถึงผู้ถึงพร้อมด้วยรูปสมบัติ (องฺ.อฏฺฐก.อ.๓/๙/๒๑๖)
๔ ผู้มีราคะจัด ในที่นี้หมายถึงมีราคะมาก (องฺ.อฏฺฐก.อ.๓/๙/๒๑๖)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๒๑๓ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๑.เมตตาวรรค ๙.นันทสูตร
ภิกษุทั้งหลาย เว้นแต่ว่า นันทะจะเป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย รู้จัก
ประมาณในการบริโภค ประกอบความเพียรเครื่องตื่นอยู่เนือง ๆ ประกอบด้วยสติ
และสัมปชัญญะ นันทะจึงจะสามารถประพฤติพรหมจรรย์ให้บริสุทธิ์บริบูรณ์ได้
ภิกษุทั้งหลาย ในข้อนั้น วิธีคุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลายสำหรับนันทะ
ดังนี้ คือ หากนันทะจำเป็นต้องมองดูทิศตะวันออก นันทะต้องสำรวมจิตทั้งหมด
มองดูทิศตะวันออกด้วยคิดว่า ‘เมื่อเรามองดูทิศตะวันออกอยู่อย่างนี้ บาปอกุศลธรรม
คืออภิชฌาและโทมนัสจักครอบงำจิตของเราไม่ได้’ นันทะต้องเป็นผู้มีสัมปชัญญะใน
การมองดูนั้นอย่างนี้
หากนันทะจำเป็นต้องมองดูทิศตะวันตก ฯลฯ จำเป็นต้องมองดูทิศเหนือ ฯลฯ
จำเป็นต้องมองดูทิศใต้ ฯลฯ จำเป็นต้องมองดูทิศเบื้องบน ฯลฯ จำเป็นต้องมองดู
ทิศเบื้องล่าง ฯลฯ จำเป็นต้องมองดูทิศเฉียง นันทะต้องสำรวมจิตทั้งหมดมองดู
ทิศเฉียง ด้วยคิดว่า ‘เมื่อเรามองดูทิศเฉียงอยู่อย่างนี้ บาปอกุศลธรรมคืออภิชฌา
และโทมนัสจักครอบงำจิตของเราไม่ได้’ นันทะต้องเป็นผู้มีสัมปชัญญะในการมองดูนั้น
อย่างนี้
ภิกษุทั้งหลาย นี้แล คือวิธีคุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลายสำหรับนันทะ
วิธีรู้จักประมาณในการบริโภคสำหรับนันทะ ดังนี้ คือ นันทะต้องพิจารณาโดย
แยบคายแล้วฉันอาหาร ไม่ใช่เพื่อเล่น ไม่ใช่เพื่อความมัวเมา๑ ไม่ใช่เพื่อประดับ๒
ไม่ใช่เพื่อตกแต่ง๓ แต่เพื่อให้กายนี้ดำรงอยู่ได้ เพื่อให้ชีวิตินทรีย์เป็นไป เพื่อบำบัด
ความหิว เพื่ออนุเคราะห์พรหมจรรย์ ด้วยคิดเห็นว่า ‘โดยอุบายนี้เราจักกำจัดเวทนา
เก่าเสียได้ และจักไม่ให้เวทนาใหม่เกิดขึ้น ความดำรงอยู่แห่งชีวิต ความไม่มีโทษ
และการอยู่โดยผาสุกจักมีแก่เรา’
ภิกษุทั้งหลาย นี้แล คือวิธีรู้จักประมาณในการบริโภคสำหรับนันทะ

เชิงอรรถ :
๑ เพื่อความมัวเมา หมายถึงความถือตัว ความลำพองตน ความทะนงตน ความเห่อเหิม ในที่นี้หมายถึง
ความถือตัวว่ามีกำลังเหมือนนักมวยปล้ำ ความถือตัวเพราะมานะ และความถือตัวว่าเป็นชาย (องฺ.ฉกฺก.
ฏีกา ๓/๕๘/๑๕๕) และดู องฺ.ติก. (แปล) ๒๐/๑๖/๑๕๙-๑๖๐, องฺ.ฉกฺก. (แปล) ๒๒/๕๘/๕๔๙, อภิ.วิ. (แปล)
๓๕/๘๔๕/๕๕๐
๒ เพื่อประดับ ในที่นี้หมายถึงเพื่อให้ร่างกายอ้วนพีอวบอิ่มเหมือนหญิงแพศยา (องฺ.ฉกฺก.ฏีกา ๓/๕๘/๑๕๕,
วิสุทธิ. ๑/๑๘/๓๓)
๓ เพื่อตกแต่ง ในที่นี้หมายถึงเพื่อประเทืองผิวให้งดงามเหมือนหญิงนักฟ้อน (องฺ.ฉกฺก.ฏีกา ๓/๕๘/๑๕๕,
วิสุทธิ. ๑/๑๘/๓๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๒๑๔ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๑.เมตตาวรรค ๑๐.การัณฑวสูตร
วิธีประกอบความเพียรเครื่องตื่นอยู่เนือง ๆ สำหรับนันทะ ดังนี้ คือ นันทะ
ต้องชำระจิตให้บริสุทธิ์จากธรรมเครื่องกางกั้น๑ด้วยการจงกรม ด้วยการนั่งตลอดวัน
ชำระจิตให้บริสุทธิ์จากธรรมเครื่องกางกั้นด้วยการจงกรม ด้วยการนั่งตลอด
ปฐมยามแห่งราตรี สำเร็จสีหไสยาโดยตะแคงข้างขวา ซ้อนเท้าเหลื่อมเท้า มีสติ-
สัมปชัญญะ ทำอุฏฐานสัญญา(ความหมายใจว่าจะลุกขึ้น)ไว้ในใจในมัชฌิมยามแห่ง
ราตรี ลุกขึ้นชำระจิตให้บริสุทธิ์จากธรรมเครื่องกางกั้นด้วยการจงกรม ด้วยการนั่ง
ตลอดปัจฉิมยามแห่งราตรี
ภิกษุทั้งหลาย นี้แล คือวิธีประกอบความเพียรเครื่องตื่นอยู่เนือง ๆ สำหรับ
นันทะ
วิธีมีสติสัมปชัญญะสำหรับนันทะ ดังนี้ คือ เวทนาปรากฏเกิดขึ้น ปรากฏ
ตั้งอยู่ และปรากฏดับไปแก่นันทะ สัญญาปรากฏเกิดขึ้น ปรากฏตั้งอยู่ และปรากฏ
ดับไปแก่นันทะ วิตกปรากฏเกิดขึ้น ปรากฏตั้งอยู่ และปรากฏดับไปแก่นันทะ
ภิกษุทั้งหลาย นี้แล คือ วิธีมีสติสัมปชัญญะสำหรับนันทะ
ภิกษุทั้งหลาย เว้นแต่ว่า นันทะจะเป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย รู้จัก
ประมาณในการบริโภค ประกอบความเพียรเครื่องตื่นอยู่เนืองๆ ประกอบด้วยสติ
และสัมปชัญญะ นันทะจึงจะสามารถประพฤติพรหมจรรย์ให้บริสุทธิ์บริบูรณ์ได้
อย่างนี้แล
นันทสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. การัณฑวสูตร
ว่าด้วยสมณะหยากเยื่อ
[๑๐] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ริมฝั่งสระคัคคราโบกขรณี
เขตกรุงจัมปา สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายโจทภิกษุด้วยอาบัติ ภิกษุรูปที่ถูกพวกภิกษุโจท
ด้วยอาบัตินั้น พูดกลบเกลื่อน พูดนอกเรื่อง แสดงอาการโกรธ ขัดเคือง และไม่พอใจ

เชิงอรรถ :
๑ ธรรมเครื่องกางกั้นในที่นี้หมายถึงนิวรณ์ ๕ ประการ คือ (๑) กามฉันทะ (ความพอใจในกาม) (๒) พยาบาท
(ความคิดร้าย) (๓) ถีนมิทธะ (ความหดหู่และเซื่องซึม) (๔) อุทธัจจกุกกุจจะ (ความฟุ้งซ่านและร้อนใจ)
(๕) วิจิกิจฉา (ความลังเลสงสัย) (องฺ.ปญฺจก. (แปล) ๒๒/๕๑/๘๙)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๒๑๕ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๑.เมตตาวรรค ๑๐.การัณฑวสูตร
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลาย
จงกำจัดบุคคลนี้ออกไป จงกำจัดบุคคลนี้ออกไป คนชนิดนี้ต้องขับออก เป็นบุตร
นอกคอก กวนใจเสียจริง ภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในธรรมวินัยนี้ มีการก้าวไป
การถอยกลับ การแลดู การเหลียวดู การคู้เข้า การเหยียดออก การครองสังฆาฏิ
บาตรและจีวรเหมือนภิกษุผู้เจริญอื่น ๆ ตราบเท่าที่ภิกษุทั้งหลายยังไม่เห็นอาบัติ
ของเขา แต่เมื่อใด ภิกษุทั้งหลายเห็นอาบัติของเขา เมื่อนั้น ภิกษุทั้งหลายย่อมรู้จัก
เขาอย่างนี้ว่า ‘ผู้นี้เป็นผู้ประทุษร้ายสมณะ เป็นสมณะแกลบ เป็นสมณะหยากเยื่อ’
ครั้นรู้จักเขาอย่างนี้แล้ว จึงนาสนะ๑เขาออกไป ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะคิดว่า
‘ภิกษุนี้อย่าได้ประทุษร้ายภิกษุที่ดีอื่น ๆ’
ภิกษุทั้งหลาย หญ้าที่ทำลายต้นข้าว มีเมล็ดเหมือนข้าวลีบ มีเมล็ดเหมือน
ข้าวตายนึ่ง พึงเกิดขึ้นในนาข้าวที่สมบูรณ์ รากของมันก็เป็นเช่นเดียวกับข้าวที่ดีอื่นๆ
ก้านของมันก็เป็นเช่นเดียวกับข้าวที่ดีอื่นๆ ใบของมันก็เป็นเช่นเดียวกับข้าวที่ดีอื่นๆ
ตราบเท่าที่มันยังไม่ออกรวง แต่เมื่อใด มันออกรวง เมื่อนั้น ชาวนาย่อมรู้จักมัน
อย่างนี้ว่า ‘หญ้านี้ทำลายต้นข้าว มีเมล็ดเหมือนข้าวลีบ มีเมล็ดเหมือนข้าวตายนึ่ง’
ครั้นรู้จักมันอย่างนี้แล้ว ชาวนาจึงถอนมันขึ้นพร้อมทั้งราก แล้วทิ้งให้พ้นจากที่นา
ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะคิดว่า ‘หญ้าชนิดนี้อย่าได้ทำลายข้าวที่ดีอื่น ๆ’ แม้ฉันใด
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในธรรมวินัยนี้ ก็ฉันนั้นเหมือนกันแล มีการก้าวไป
การถอยกลับ การแลดู การเหลียวดู การคู้เข้า การเหยียดออก การครองสังฆาฏิ
บาตรและจีวรเหมือนภิกษุผู้เจริญอื่น ๆ ตราบเท่าที่ภิกษุทั้งหลายยังไม่เห็นอาบัติ
ของเขา แต่เมื่อใด ภิกษุทั้งหลายเห็นอาบัติของเขา เมื่อนั้น ภิกษุทั้งหลายย่อมรู้จัก
เขาอย่างนี้ว่า ‘ผู้นี้เป็นผู้ประทุษร้ายสมณะ เป็นสมณะแกลบ เป็นสมณะหยากเยื่อ’
ครั้นรู้จักเขาอย่างนี้แล้ว จึงนาสนะเขาออกไป ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะคิดว่า ‘ภิกษุ
นี้อย่าได้ประทุษร้ายภิกษุที่ดีอื่น ๆ’
ภิกษุทั้งหลาย เมื่อบุคคลฝัดข้าวเปลือกกองใหญ่ ข้าวเปลือกที่เป็นตัวแกร่ง
ในข้าวเปลือกกองใหญ่นั้น ก็เป็นกองอยู่ส่วนหนึ่ง ส่วนข้าวเปลือกที่ลีบ ก็ถูกลมพัดไป

เชิงอรรถ :
๑ นาสนะ หมายถึงวิธีลงโทษพระ มี ๓ วิธี คือ (๑) ลิงคนาสนะ(ให้ฉิบหายจากเพศบรรพชิต) (๒) ทัณฑ-
กัมมนาสนะ(ให้ฉิบหายด้วยการลงโทษ) (๓) สังวาสนาสนะ(ให้ฉิบหายจากสังวาส) (วิ.อ. ๓/๓๒๑/๔๔๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๒๑๖ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๑.เมตตาวรรค ๑๐.การัณฑวสูตร
อยู่อีกส่วนหนึ่ง เจ้าของใช้ไม้กวาดกวาดข้าวที่ลีบนั้นออกไปโดยมาก ข้อนั้นเพราะ
เหตุไร เพราะคิดว่า ‘มันอย่าได้ทำลายข้าวเปลือกที่ดีอื่น ๆ’ แม้ฉันใด
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในธรรมวินัยนี้ ก็ฉันนั้นเหมือนกันแล มีการก้าวไป
การถอยกลับ การแลดู การเหลียวดู การคู้เข้า การเหยียดออก การครองสังฆาฏิ
บาตรและจีวร เหมือนภิกษุผู้เจริญอื่น ๆ ตราบเท่าที่ภิกษุทั้งหลายยังไม่เห็นอาบัติ
ของเขา แต่เมื่อใด ภิกษุทั้งหลายเห็นอาบัติของเขา เมื่อนั้น ภิกษุทั้งหลายย่อมรู้จัก
เขาอย่างนี้ว่า ‘ผู้นี้เป็นผู้ประทุษร้ายสมณะ เป็นสมณะแกลบ เป็นสมณะหยากเยื่อ’
ครั้นรู้จักเขาอย่างนี้แล้ว จึงนาสนะเขาออกไป ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะคิดว่า ‘ภิกษุ
นี้อย่าได้ประทุษร้ายภิกษุที่ดีอื่น ๆ’
ภิกษุทั้งหลาย บุรุษผู้ต้องการกระบอกตักน้ำดื่ม ถือขวานอันคมเข้าไปในป่า
เขาใช้สันขวานเคาะต้นไม้ใด ๆ บรรดาต้นไม้นั้น ๆ ต้นไม้ที่แข็งมีแก่น ซึ่งถูกเคาะ
ด้วยสันขวาน มีเสียงแน่น ส่วนต้นไม้ที่เสีย(เป็นโพลง)ข้างใน เปียกชื้น เกิดผุยุ่ย
ถูกเคาะด้วยสันขวาน มีเสียงก้อง เขาจึงตัดต้นไม้ที่เสียข้างในนั้นที่โคน ครั้นตัด
ที่โคนแล้ว จึงตัดปลาย ครั้นตัดปลายแล้ว จึงคว้านข้างในให้สะอาดดี ครั้นคว้าน
ข้างในให้สะอาดดีแล้ว จึงทำเป็นกระบอกตักน้ำดื่ม แม้ฉันใด
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในธรรมวินัยนี้ ก็ฉันนั้นเหมือนกันแล มีการก้าวไป
การถอยกลับ การแลดู การเหลียวดู การคู้เข้า การเหยียดออก การครองสังฆาฏิ
บาตรและจีวร เหมือนภิกษุผู้เจริญอื่น ๆ ตราบเท่าที่ภิกษุทั้งหลายยังไม่เห็นอาบัติ
ของเขา แต่เมื่อใด ภิกษุทั้งหลายเห็นอาบัติของเขา เมื่อนั้น ภิกษุทั้งหลายย่อมรู้จัก
เขาอย่างนี้ว่า ‘ผู้นี้เป็นผู้ประทุษร้ายสมณะ เป็นสมณะแกลบ เป็นสมณะหยากเยื่อ’
ครั้นรู้จักเขาอย่างนี้แล้ว จึงนาสนะเขาออกไป ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะคิดว่า ‘ภิกษุ
นี้อย่าได้ประทุษร้ายภิกษุที่ดีอื่น ๆ”
เพราะการอยู่ร่วมกัน บุคคลจึงรู้ได้ว่า
ผู้นี้เป็นผู้มีความปรารถนาชั่ว มักโกรธ
ลบหลู่คุณท่าน หัวดื้อ ตีเสมอ ริษยา ตระหนี่ โอ้อวด
บุคคลบางคนอยู่ในชุมชน พูดไพเราะ พูดดังสมณะ
ปิดบังกรรมชั่ว มีความเห็นชั่ว ไม่เอื้อเฟื้อ
พูดเลอะเทอะ พูดเท็จ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๒๑๗ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๑.เมตตาวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค
เธอทั้งหลายทราบบุคคลนั้นว่า เป็นอย่างไรแล้ว
จงพร้อมเพรียงกันขับบุคคลนั้นเสีย
จงกำจัดบุคคลผู้เป็นดังแกลบ
จงถอนบุคคลผู้เป็นดังหยากเยื่อออกไป
จงนำบุคคลผู้เป็นดังแกลบ
ผู้มิใช่สมณะ แต่ยังถือตัวว่าเป็นสมณะออกไปเสีย
ครั้นกำจัดบุคคลผู้ปรารถนาชั่ว
มีอาจาระและโคจร๑ชั่วออกแล้ว
จงเป็นผู้มีสติอยู่ร่วมกับบุคคลผู้บริสุทธิ์และบุคคลผู้ไม่บริสุทธิ์
จากนั้น เธอทั้งหลายเป็นผู้พร้อมเพรียงกัน
มีปัญญาเป็นเครื่องรักษาตน
จักทำที่สุดแห่งทุกข์ได้
การัณฑวสูตรที่ ๑๐ จบ
เมตตาวรรคที่ ๑ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. เมตตาสูตร ๒. ปัญญาสูตร
๓. ปฐมอัปปิยสูตร ๔. ทุติยอัปปิยสูตร
๕. ปฐมโลกธัมมสูตร ๖. ทุติยโลกธัมมสูตร
๗. เทวทัตตวิปัตติสูตร ๘. อุตตรวิปัตติสูตร
๙. นันทสูตร ๑๐. การัณฑวสูตร


เชิงอรรถ :
๑ ดูเชิงอรรถที่ ๑ สัตตกนิบาต ข้อ ๗๕ หน้า ๑๗๒ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๒๑๘ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๒.มหาวรรค ๑.เวรัญชสูตร
๒. มหาวรรค
หมวดว่าด้วยเรื่องใหญ่
๑. เวรัญชสูตร
ว่าด้วยพระพุทธเจ้าทรงแก้ข้อสงสัยของเวรัญชพราหมณ์
[๑๑] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ควงต้นสะเดาอันเป็นที่อยู่ของ
นเฬรุยักษ์ เขตเมืองเวรัญชา ครั้งนั้น๑ เวรัญชพราหมณ์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึง
ที่ประทับ ได้สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้วนั่ง ณ
ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ท่านพระโคดม ข้าพเจ้าได้ทราบมาว่า พระสมณโคดมไม่ไหว้ ไม่ลุกรับพวก
พราหมณ์ผู้แก่ ผู้เฒ่า ผู้ใหญ่ ผู้ล่วงกาลผ่านวัยมาโดยลำดับ หรือไม่เชื้อเชิญให้นั่ง
เรื่องที่ข้าพเจ้าได้ทราบมานั้นจริงทีเดียว เพราะท่านพระโคดมไม่ไหว้ ไม่ลุกรับ
พราหมณ์ผู้แก่ ผู้เฒ่า ผู้ใหญ่ ผู้ล่วงกาลผ่านวัยมาโดยลำดับ หรือไม่เชื้อเชิญให้นั่ง
การที่ท่านพระโคดมทำเช่นนั้นไม่สมควรเลย”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “พราหมณ์ ในโลกพร้อมทั้งเทวโลก มารโลก
พรหมโลก ในหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดา และมนุษย์ เรายังไม่เห็นผู้ที่
เราควรจะไหว้ ลุกรับ หรือเชื้อเชิญให้นั่ง เพราะตถาคตไหว้ ลุกรับ หรือเชื้อเชิญผู้ใด
ให้นั่ง ศีรษะของผู้นั้นจะต้องขาดตกไป”
๑. พราหมณ์กราบทูลต่อไปว่า “ท่านพระโคดมเป็นคนไม่มีรส”๒

เชิงอรรถ :
๑ ดู วิ.มหา. (แปล) ๑/๒-๑๕/๒-๘
๒ ข้อที่พราหมณ์ตำหนิพระผู้มีพระภาคว่า เป็นคนไม่มีรส ในที่นี้พราหมณ์มุ่งถึงความเป็นคนไม่มีสัมมา-
คารวะ เช่น การกราบไหว้ การต้อนรับ พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า พระองค์ละรสได้แล้ว หมายถึง
พระองค์ทรงละอัสสาทะ ความพอใจในรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัสได้แล้ว จึงเป็นคนไม่มีรส คือ ไม่ยินดี
ในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ (วิ.อ. ๑/๓/๑๒๕-๑๒๖)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๒๑๙ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๒.มหาวรรค ๑.เวรัญชสูตร
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “พราหมณ์ ข้อที่บุคคลกล่าวหาเราว่า ‘พระสมณ-
โคดมเป็นคนไม่มีรส’ นั้นมีมูลอยู่ เพราะตถาคตละรสคือรูป เสียง กลิ่น รส และ
โผฏฐัพพะได้หมดสิ้น ตัดรากถอนโคน เหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว
เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ ข้อที่บุคคลกล่าวหาเราว่า ‘พระ
สมณโคดมเป็นคนไม่มีรส’ นี้แลมีมูลอยู่ แต่ไม่ใช่ที่ท่านกล่าวถึง”
๒. พราหมณ์กราบทูลต่อไปว่า “ท่านพระโคดมเป็นคนไม่มีสมบัติ”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “พราหมณ์ ข้อที่บุคคลกล่าวหาเราว่า ‘พระ
สมณโคดมเป็นคนไม่มีสมบัติ’ นั้นมีมูลอยู่ เพราะตถาคตละสมบัติคือรูป เสียง กลิ่น
รส และโผฏฐัพพะได้หมดสิ้น ตัดรากถอนโคน เหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคน
ไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ ข้อที่บุคคลกล่าวหาเราว่า
‘พระสมณโคดมเป็นคนไม่มีสมบัติ’ นี้แลมีมูลอยู่ แต่ไม่ใช่ที่ท่านกล่าวถึง”
๓. พราหมณ์กราบทูลต่อไปว่า “ท่านพระโคดมสอนไม่ให้ทำ”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “พราหมณ์ ข้อที่บุคคลกล่าวหาเราว่า ‘พระ
สมณโคดมสอนไม่ให้ทำ’ นั้นมีมูลอยู่ เพราะเราสอนไม่ให้ทำกายทุจริต วจีทุจริต
และมโนทุจริต ตลอดถึงการไม่ให้ทำบาปอกุศลธรรมต่าง ๆ ข้อที่บุคคลกล่าวหา
เราว่า ‘พระสมณโคดมสอนไม่ให้ทำ’ นี้แลมีมูลอยู่ แต่ไม่ใช่ที่ท่านกล่าวถึง”
๔. พราหมณ์กราบทูลต่อไปว่า “ท่านพระโคดมสอนให้ทำลาย”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “พราหมณ์ ข้อที่บุคคลกล่าวหาเราว่า ‘พระ
สมณโคดมสอนให้ทำลาย’ นั้นมีมูลอยู่ เพราะเราสอนให้ทำลายราคะ โทสะ และ
โมหะ ตลอดถึงให้ทำลายบาปอกุศลธรรมต่างๆ ข้อที่บุคคลกล่าวหาเราว่า ‘พระ
สมณโคดมสอนให้ทำลาย’ นี้แลมีมูลอยู่ แต่ไม่ใช่ที่ท่านกล่าวถึง”
๕. พราหมณ์กราบทูลต่อไปว่า “ท่านพระโคดมเป็นคนช่างรังเกียจ”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “พราหมณ์ ข้อที่บุคคลกล่าวหาเราว่า ‘พระ
สมณโคดมเป็นคนช่างรังเกียจ’ นั้นมีมูลอยู่ เพราะเราช่างรังเกียจกายทุจริต


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๒๒๐ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๒.มหาวรรค ๑.เวรัญชสูตร
วจีทุจริต และมโนทุจริต ตลอดถึงรังเกียจบาปอกุศลธรรมต่าง ๆ ข้อที่บุคคล
กล่าวหาเราว่า ‘พระสมณโคดมเป็นคนช่างรังเกียจ’ นี้แลมีมูลอยู่ แต่ไม่ใช่ที่ท่าน
กล่าวถึง”
๖. พราหมณ์กราบทูลต่อไปว่า “ท่านพระโคดมเป็นคนช่างกำจัด”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “พราหมณ์ ข้อที่บุคคลกล่าวหาเราว่า ‘พระ
สมณโคดมเป็นคนช่างกำจัด’ นั้นมีมูลอยู่ เพราะเราแสดงธรรมเพื่อกำจัดราคะ
โทสะ และโมหะ ตลอดถึงแสดงธรรมเพื่อกำจัดบาปอกุศลธรรมต่าง ๆ ข้อที่บุคคล
กล่าวหาเราว่า ‘พระสมณโคดมเป็นคนช่างกำจัด’ นี้แลมีมูลอยู่ แต่ไม่ใช่ที่ท่าน
กล่าวถึง”
๗. พราหมณ์กราบทูลต่อไปว่า “ท่านพระโคดมเป็นคนช่างเผาผลาญ”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “พราหมณ์ ข้อที่บุคคลกล่าวหาเราว่า ‘พระ
สมณโคดมเป็นคนช่างเผาผลาญ’ นั้นมีมูลอยู่ เพราะเรากล่าวถึงบาปอกุศลธรรม
ทั้งหลาย คือ กายทุจริต วจีทุจริต และมโนทุจริตว่าเป็นสิ่งที่ควรเผาผลาญ เราเรียก
คนที่ละบาปอกุศลธรรมทั้งหลายที่ควรเผาผลาญได้หมดสิ้น ตัดรากถอนโคน เหมือน
ต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ว่า
‘เป็นคนช่างเผาผลาญ’ ตถาคตละบาปอกุศลธรรมที่ควรเผาผลาญได้หมดสิ้น ตัดราก
ถอนโคน เหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้น
ต่อไปไม่ได้ ข้อที่บุคคลกล่าวหาเราว่า ‘พระสมณโคดมเป็นคนช่างเผาผลาญ’ นี้แล
มีมูลอยู่ แต่ไม่ใช่ที่ท่านกล่าวถึง”
๘. พราหมณ์กราบทูลต่อไปว่า “ท่านพระโคดมเป็นคนไม่ผุดไม่เกิด”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “พราหมณ์ ข้อที่บุคคลกล่าวหาเราว่า ‘พระ
สมณโคดมเป็นคนไม่ผุดไม่เกิด’ นั้นมีมูลอยู่ เพราะเราเรียกคนที่ละการอยู่ในครรภ์
และการเกิดใหม่ได้หมดสิ้น ตัดรากถอนโคน เหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคน
ไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ว่า ‘เป็นคนไม่ผุดไม่เกิด’ ตถาคต


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๒๒๑ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๒.มหาวรรค ๑.เวรัญชสูตร
ละการอยู่ในครรภ์และการเกิดใหม่ได้หมดสิ้น ตัดรากถอนโคน เหมือนต้นตาลที่ถูก
ตัดรากถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ ข้อที่บุคคลกล่าว
หาเราว่า ‘พระสมณโคดมเป็นคนไม่ผุดไม่เกิด’ นี้แลมีมูลอยู่ แต่ไม่ใช่ที่ท่านกล่าวถึง
พราหมณ์ ไข่ ๘ ฟอง ๑๐ ฟอง หรือ ๑๒ ฟอง ที่แม่ไก่กกดีแล้ว ให้ความ
อบอุ่นดีแล้ว ฟักดีแล้ว บรรดาลูกไก่เหล่านั้น ลูกไก่ตัวที่ใช้เล็บหรือจะงอยปากทำลาย
กระเปาะ๑ไข่ออกมาได้โดยสวัสดีก่อน ควรเรียกมันว่า ‘เป็นตัวพี่หรือตัวน้อง”
พราหมณ์กราบทูลว่า “ท่านพระโคดม ควรเรียกว่า ‘พี่’ เพราะมันแก่กว่าเขา”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “เช่นเดียวกันนั่นแหละ พราหมณ์ ในขณะที่หมู่
สัตว์ถูกกระเปาะไข่คืออวิชชาห่อหุ้มอยู่ เราได้ทำลายกระเปาะไข่คืออวิชชา ผู้เดียว
เท่านั้นสำเร็จอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณอันยอดเยี่ยม จึงเป็นพี่ใหญ่ผู้ประเสริฐที่สุด
ของโลก
พราหมณ์ เราปรารภความเพียร ไม่ย่อหย่อน มีสติตั้งมั่น ไม่หลงลืม มีกายสงบ
ไม่กระสับกระส่าย มีจิตแน่วแน่เป็นสมาธิ
พราหมณ์ เรานั้นสงัดจากกาม และอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน
ที่มีวิตก วิจาร ปีติ และสุขอันเกิดจากวิเวกอยู่
เพราะวิตกวิจารสงบระงับไป เราบรรลุทุติยฌานที่มีความผ่องใสภายใน มีภาวะ
ที่จิตเป็นหนึ่งผุดขึ้น๒ ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีแต่ปีติและสุขอันเกิดจากสมาธิอยู่
เพราะปีติจางคลายไป เรามีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย
บรรลุตติยฌานที่พระอริยะทั้งหลายสรรเสริญว่า ‘ผู้มีอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข’

เชิงอรรถ :
๑ กระเปาะ คือ เปลือกไข่ส่วนที่เป็นสัณฐานนูนกลม คำว่า ‘กระเปาะ‘คือ รูปนูนกลม สิ่งต่างๆ ที่มีสัณฐาน
คล้ายคลึงเช่นนั้น เรียกว่า กระเปาะ เช่น กระเปาะไข่ กระเปาะดอกไม้ (พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน
พ.ศ.๒๕๒๕)
๒ เจตโส เอโกทิภาวํ ภาวะที่จิตเป็นหนึ่งผุดขึ้น คำว่า ‘เอโกทิ’ เป็นชื่อของสมาธิ ทุติยฌานชื่อว่าเอโกทิภาวะ
เพราะทำสมาธิที่ชื่อว่าเอโกทินี้ให้เกิดเจริญขึ้น พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ‘มีภาวะที่จิตเป็นหนึ่งผุดขึ้น’ เพราะ
สมาธิชื่อว่าเอโกทินี้ มีแก่จิตเท่านั้น ไม่มีแก่สัตว์ ไม่มีแก่ชีวะ (วิ.อ. ๑/๑๑/๑๔๓-๑๔๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๒๒๒ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๒.มหาวรรค ๑.เวรัญชสูตร
เพราะละสุขและทุกข์ได้ เพราะโสมนัสและโทมนัสดับไปก่อนแล้ว เราบรรลุ
จตุตถฌานที่ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขาอยู่
เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ผุดผ่อง ไม่มีกิเลสเพียงดังเนิน๑ ปราศจากความ
เศร้าหมอง อ่อน เหมาะแก่การใช้งาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ เรานั้นได้น้อม
จิตไปเพื่อปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ระลึกชาติก่อนได้หลายชาติ คือ ๑ ชาติบ้าง
๒ ชาติบ้าง ๓ ชาติบ้าง ๔ ชาติบ้าง ๕ ชาติบ้าง ๑๐ ชาติบ้าง ๒๐ ชาติบ้าง
๓๐ ชาติบ้าง ๔๐ ชาติบ้าง ๕๐ ชาติบ้าง ๑๐๐ ชาติบ้าง ๑,๐๐๐ ชาติบ้าง
๑๐๐,๐๐๐ ชาติบ้าง ตลอดสังวัฏฏกัปเป็นอันมากบ้าง ตลอดวิวัฏฏกัปเป็นอัน
มากบ้าง ตลอดสังวัฏฏกัปและวิวัฏฏกัปเป็นอันมากบ้างว่า ‘ในภพโน้น เรามีชื่อ
อย่างนั้น มีตระกูล มีวรรณะ มีอาหาร เสวยสุขทุกข์และมีอายุอย่างนั้นๆ จุติจากภพ
นั้นก็ไปเกิดในภพโน้น แม้ในภพนั้นเราก็มีชื่ออย่างนั้น มีตระกูล มีวรรณะ มีอาหาร
เสวยสุขทุกข์ และมีอายุอย่างนั้นๆ จุติจากภพนั้นแล้ว จึงมาเกิดในภพนี้ เราระลึก
ชาติก่อนได้หลายชาติพร้อมทั้งลักษณะทั่วไปและชีวประวัติอย่างนี้
พราหมณ์ เราได้บรรลุวิชชาที่ ๑ นี้แล ในยามที่ ๑ แห่งราตรี ความมืดมิด
คืออวิชชาเรากำจัดได้แล้ว แสงสว่างคือวิชชาได้เกิดขึ้นแก่เรา เปรียบเหมือน
แสงสว่างเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้ไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศกายและใจ
พราหมณ์ นี้คือการเจาะกระเปาะไข่คืออวิชชาออกมาครั้งที่ ๑ ของเรา
เหมือนการเจาะกระเปาะไข่ออกมาของลูกไก่

เชิงอรรถ :
๑ ไม่มีกิเลสเพียงดังเนินในที่หมายถึงไม่มีกิเลสมีราคะเป็นต้น เพราะขจัดปัจจัยมีสุขเป็นต้นได้ ราคะเป็นต้น
ท่านเรียกว่ากิเลสเพียงดังเนิน (อังคณะ) เพราะยังจิตให้ลาดต่ำโน้มเอียงไปสู่ที่ต่ำ เช่น ต้องย้อนกลับไปสู่
จตุตถฌานอีก เป็นต้น (วิ.อ. ๑/๑๒/๑๕๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๒๒๓ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๒.มหาวรรค ๑.เวรัญชสูตร
เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ ผุดผ่อง ไม่มีกิเลสเพียงดังเนิน ปราศจากความ
เศร้าหมอง อ่อน เหมาะแก่การใช้งาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ เรานั้นได้น้อมจิตไป
เพื่อจุตูปปาตญาณ เห็นหมู่สัตว์ผู้กำลังจุติและกำลังเกิด ทั้งชั้นต่ำและชั้นสูง งามและ
ไม่งาม เกิดดีและเกิดไม่ดีด้วยตาทิพย์อันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์ รู้ชัดถึงหมู่สัตว์ผู้เป็น
ไปตามกรรมว่า ‘หมู่สัตว์ที่ประกอบกายทุจริต วจีทุจริต และมโนทุจริต กล่าวร้าย
พระอริยะ มีความเห็นผิด และชักชวนผู้อื่นให้ทำกรรมตามความเห็นผิด พวกเขา
หลังจากตายแล้ว จะไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก แต่หมู่สัตว์ที่ประกอบ
กายสุจริต วจีสุจริต และมโนสุจริต ไม่กล่าวร้ายพระอริยะ มีความเห็นชอบ และ
ชักชวนผู้อื่นให้ทำกรรมตามความเห็นชอบ พวกเขาหลังจากตายแล้ว จะไปเกิดใน
สุคติโลกสวรรค์’
เราเห็นหมู่สัตว์ผู้กำลังจุติและกำลังเกิด ทั้งชั้นต่ำและชั้นสูง งามและไม่งาม
เกิดดีและเกิดไม่ดีด้วยตาทิพยอันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์ เรารู้ชัดถึงหมู่สัตว์ผู้เป็นไป
ตามกรรม ด้วยประการฉะนี้
พราหมณ์ เราได้บรรลุวิชชาที่ ๒ นี้แล ในยามที่ ๒ แห่งราตรี ความมืดมิด
คืออวิชชาเรากำจัดได้แล้ว แสงสว่างคือวิชชาได้เกิดขึ้นแก่เรา เปรียบเหมือนแสงสว่าง
เกิดขึ้นแก่บุคคลผู้ไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศกายและใจ
พราหมณ์ นี้คือการเจาะกระเปาะไข่คืออวิชชาออกมาครั้งที่ ๒ ของเรา เหมือน
การเจาะกระเปาะไข่ออกมาของลูกไก่
เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ ผุดผ่อง ไม่มีกิเลสเพียงดังเนิน ปราศจากความ
เศร้าหมอง อ่อน เหมาะแก่การใช้งาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ เรานั้นได้
น้อมจิตไปเพื่ออาสวักขยญาณ รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า ‘นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย
นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา นี้อาสวะ นี้อาสวสมุทัย นี้อาสวนิโรธ
นี้อาสวนิโรธคามินีปฏิปทา’ เมื่อเรารู้เห็นอยู่อย่างนี้ จิตย่อมหลุดพ้นจากกามาสวะ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๒๒๔ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๒.มหาวรรค ๑.เวรัญชสูตร
ภวาสวะ อวิชชาสวะ เมื่อจิตหลุดพ้นแล้วก็รู้ว่า ‘หลุดพ้นแล้ว’ รู้ชัดว่า ‘ชาติสิ้นแล้ว
อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำ๑เสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้
อีกต่อไป‘๒
พราหมณ์ เราได้บรรลุวิชชาที่ ๓ นี้แล ในยามที่ ๓ แห่งราตรี ความมืดมิด
คืออวิชชาเรากำจัดได้แล้ว แสงสว่างคือวิชชาได้เกิดขึ้นแก่เรา เปรียบเหมือนแสงสว่าง
เกิดขึ้นแก่บุคคลผู้ไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศกายและใจ
พราหมณ์ นี้คือการเจาะกระเปาะไข่คืออวิชชาออกมาครั้งที่ ๓ ของเรา เหมือน
การเจาะกระเปาะไข่ออกมาของลูกไก่”

เวรัญชพราหมณ์แสดงตนเป็นอุบาสก
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว เวรัญชพราหมณ์ได้กราบทูลพระผู้มี
พระภาคดังนี้ว่า “ท่านพระโคดมเป็นพี่ใหญ่ เป็นผู้ประเสริฐที่สุด ข้าแต่ท่านพระโคดม
ภาษิตของท่านพระโคดมชัดเจนไพเราะยิ่งนัก ข้าแต่ท่านพระโคดม ภาษิตของท่าน
พระโคดมชัดเจนไพเราะยิ่งนัก ท่านพระโคดมทรงประกาศธรรมแจ่มแจ้งโดยประการ
ต่างๆ เปรียบเหมือนบุคคลหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางแก่ผู้หลงทาง
หรือตามประทีปในที่มืด ด้วยตั้งใจว่า ‘คนมีตาดีจักเห็นรูปได้’ ข้าพระองค์นี้ขอถึง
ท่านพระโคดมพร้อมทั้งพระธรรมและพระสงฆ์เป็นสรณะ ขอท่านพระโคดมโปรดทรง
จำข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปจนตลอดชีวิต”
เวรัญชสูตรที่ ๑ จบ

เชิงอรรถ :
๑ กิจที่ควรทำ ในที่นี้หมายถึงกิจในอริยสัจ ๔ คือ การกำหนดรู้ทุกข์, การละเหตุเกิดแห่งทุกข์, การทำให้
แจ้งซึ่งความดับทุกข์ และการอบรมมรรคมีองค์ ๘ ให้เจริญ (ที.สี.อ. ๑/๒๔๘/๒๐๓)
๒ ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป ในที่นี้หมายถึงไม่มีหน้าที่ในการบำเพ็ญมรรคญาณเพื่อความ
สิ้นไปแห่งกิเลสอีกต่อไป เพราะพุทธศาสนาถือว่าการบรรลุพระอรหัตตผลเป็นจุดหมายสูงสุด (ที.สี.อ.
๑/๒๔๘/๒๐๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๒๒๕ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๒.มหาวรรค ๒.สีหสูตร
๒. สีหสูตร
ว่าด้วยสีหเสนาบดี๑
[๑๒] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ กูฏาคารศาลา ป่ามหาวัน
เขตกรุงเวสาลี สมัยนั้นแล เจ้าลิจฉวีผู้มีชื่อเสียงเป็นจำนวนมาก นั่งประชุมกันใน
สันถาคาร๒ กล่าวสรรเสริญพระพุทธเจ้า กล่าวสรรเสริญพระธรรม กล่าวสรรเสริญ
พระสงฆ์โดยประการต่าง ๆ
สมัยนั้น สีหเสนาบดีสาวกของนิครนถ์ นั่งอยู่ในที่ประชุมนั้นด้วย ลำดับนั้น
สีหเสนาบดีได้มีความคิดดังนี้ว่า “พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นต้องเป็นพระอรหันต-
สัมมาสัมพุทธเจ้าแน่ เพราะเจ้าลิจฉวีผู้มีชื่อเสียงจำนวนมากเหล่านี้นั่งประชุมกันใน
สันถาคาร ต่างก็กล่าวสรรเสริญพระพุทธเจ้า กล่าวสรรเสริญพระธรรม กล่าว
สรรเสริญพระสงฆ์โดยประการต่าง ๆ ทางที่ดี เราควรจะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค
อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น”
ต่อมา สีหเสนาบดีได้เข้าไปหานิครนถ์ นาฏบุตรถึงที่อยู่ ได้กล่าวกับนิครนถ์
นาฏบุตรดังนี้ว่า “ข้าพเจ้าปรารถนาจะไปเฝ้าพระสมณโคดม เจ้าข้า”
นิครนถ์ นาฏบุตรกล่าวว่า “สีหะ ท่านเป็นผู้สอนให้ทำ ไฉนจึงจะไปเฝ้า
พระสมณโคดมผู้สอนไม่ให้ทำเล่า เพราะพระสมณโคดมเป็นผู้สอนไม่ให้ทำ ย่อม
แสดงธรรมเพื่อการไม่ให้ทำ ทั้งแนะนำสาวกตามแนวนั้น”
ครั้งนั้นแล สีหเสนาบดีได้ล้มเลิกความตั้งใจที่จะไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค

เชิงอรรถ :
๑ สีหเสนาบดี หมายถึงสีหราชกุมาร ที่ได้นามว่า เสนาบดี เพราะได้รับเลือกให้เป็นผู้บัญชาการเหล่าทัพ เป็น
๑ ใน ๓ คนที่เป็นสาวกชั้นแนวหน้าของนิครนถ์ นาฏบุตร คือ อุบาลีคหบดีในเมืองนาลันทา เจ้าวัปปะ
ศากยะในกรุงกบิลพัสดุ์ และสีหเสนาบดีในกรุงเวสาลี (องฺ.อฏฺฐก.อ.๓/๑๒/๒๓๑) และดู วิ.ม. (แปล) ๕/๒๙๐-
๒๙๔/๑๐๘-๑๑๖
๒ สันถาคาร มีความหมาย ๒ นัย คือ นัยที่ ๑ หมายถึงอาคารที่สร้างขึ้นเพื่อเป็นที่พักผ่อนสำหรับมหาชน
อาคารนี้ถูกสร้างขึ้นที่ใจกลางเมือง คนที่อยู่รอบ ๆ ทั้ง ๔ ทิศสามารถมองเห็นได้ คนที่มาจาก ๔ ทิศ จะพัก
ที่อาคารนี้ก่อนที่จะเข้าไปพักในที่สะดวกสำหรับตน นัยที่ ๒ หมายถึงอาคารที่สร้างขึ้นเพื่อประชุมพิจารณา
ราชกิจสำหรับราชตระกูล ในที่นี้หมายถึงนัยที่ ๒ (องฺ.อฏฺฐก.อ.๓/๑๒/๒๒๙-๒๓๐)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๒๒๖ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๒.มหาวรรค ๒.สีหสูตร
แม้ครั้งที่ ๒ เจ้าลิจฉวีผู้มีชื่อเสียงเป็นจำนวนมาก ก็ได้นั่งประชุมกันใน
สันถาคาร กล่าวสรรเสริญพระพุทธเจ้า กล่าวสรรเสริญพระธรรม กล่าวสรรเสริญ
พระสงฆ์โดยประการต่าง ๆ
แม้ครั้งที่ ๒ สีหเสนาบดีก็มีความคิดดังนี้ว่า “พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น
ต้องเป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าแน่ เพราะเจ้าลิจฉวีผู้มีชื่อเสียงจำนวนมาก
เหล่านี้นั่งประชุมกันในสันถาคาร ต่างก็กล่าวสรรเสริญพระพุทธเจ้า กล่าวสรรเสริญ
พระธรรม กล่าวสรรเสริญพระสงฆ์โดยประการต่าง ๆ ทางที่ดี เราควรจะเข้าไปเฝ้า
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น”
ต่อมา สีหเสนาบดีได้เข้าไปหานิครนถ์ นาฏบุตรถึงที่อยู่ ได้กล่าวกับนิครนถ์
นาฏบุตรว่า “ข้าพเจ้าปรารถนาจะไปเฝ้าพระสมณโคดม เจ้าข้า”
นิครนถ์ นาฏบุตรกล่าวว่า “สีหะ ท่านเป็นผู้สอนให้ทำ ไฉนจึงจะไปเฝ้าพระ
สมณโคดมผู้สอนไม่ให้ทำเล่า เพราะพระสมณโคดมเป็นผู้สอนไม่ให้ทำ ย่อมแสดง
ธรรมเพื่อการไม่ให้ทำ ทั้งแนะนำพวกสาวกตามแนวนั้น”
แม้ครั้งที่ ๒ สีหเสนาบดีก็ล้มเลิกความตั้งใจที่จะไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค
แม้ครั้งที่ ๓ เจ้าลิจฉวีผู้มีชื่อเสียงเป็นจำนวนมาก ก็ได้นั่งประชุมกันในสันถาคาร
กล่าวสรรเสริญพระพุทธเจ้า กล่าวสรรเสริญพระธรรม กล่าวสรรเสริญพระสงฆ์โดย
ประการต่าง ๆ
แม้ครั้งที่ ๓ สีหเสนาบดีก็มีความคิดดังนี้ว่า “พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น
ต้องเป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าแน่ เพราะเจ้าลิจฉวีผู้มีชื่อเสียงจำนวนมาก
เหล่านี้ นั่งประชุมกันในสันถาคาร ต่างก็กล่าวสรรเสริญพระพุทธเจ้า กล่าวสรรเสริญ
พระธรรม กล่าวสรรเสริญพระสงฆ์โดยประการต่างๆ ก็พวกนิครนถ์เหล่านี้ เราจะ
บอกหรือไม่ ก็ไม่มีประโยชน์อะไร ทางที่ดี เราจะไม่บอกพวกนิครนถ์แล้วเข้าไปเฝ้า
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น”
ครั้งนั้น สีหเสนาบดีเดินทางออกจากกรุงเวสาลีแต่หัววัน พร้อมด้วยรถ
๕๐๐ คัน เดินทางไปด้วยยานพาหนะตลอดพื้นที่ที่ยานพาหนะจะไปได้ แล้วลงเดิน
เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูล
พระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๒๒๗ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๒.มหาวรรค ๒.สีหสูตร
“พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ได้ฟังมาดังนี้ว่า ‘พระสมณโคดมเป็นผู้สอนไม่ให้ทำ
แสดงธรรมเพื่อการไม่ให้ทำ ทั้งแนะนำพวกสาวกตามแนวนั้น’ พระพุทธเจ้าข้า
คนเหล่าใดกล่าวอย่างนี้ว่า ‘พระสมณโคดมเป็นผู้สอนไม่ให้ทำ แสดงธรรมเพื่อการ
ไม่ให้ทำ ทั้งแนะนำพวกสาวกตามแนวนั้น’ พระพุทธเจ้าข้า คนเหล่านั้นจะชื่อว่า
พูดตรงตามที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ ไม่ชื่อว่ากล่าวตู่พระผู้มีพระภาคด้วยคำเท็จหรือ
ชื่อว่ากล่าวแก้อย่างสมเหตุสมผลหรือ ไม่มีบ้างหรือที่คำกล่าวเช่นนั้นและคำที่กล่าว
ต่อ ๆ กันมา จะเป็นเหตุให้ถูกตำหนิได้๑ เพราะข้าพระองค์ไม่ประสงค์จะกล่าวตู่พระผู้มี
พระภาคเลย”

ข้อกล่าวหา ๘ ประการ
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า สีหะ
๑. ข้อที่บุคคลกล่าวหาเราว่า ‘พระสมณโคดมเป็นผู้สอนไม่ให้ทำ แสดงธรรม
เพื่อการไม่ให้ทำ ทั้งแนะนำพวกสาวกตามแนวนั้น’ นั้นมีมูลอยู่
๒. ข้อที่บุคคลกล่าวหาเราว่า ‘พระสมณโคดมเป็นผู้สอนให้ทำ แสดงธรรม
เพื่อการให้ทำ ทั้งแนะนำสาวกตามแนวนั้น’ นั้นมีมูลอยู่
๓. ข้อที่บุคคลกล่าวหาเราว่า ‘พระสมณโคดมเป็นผู้สอนให้ทำลาย แสดงธรรม
เพื่อความให้ทำลาย ทั้งแนะนำพวกสาวกตามแนวนั้น’ นั้นมีมูลอยู่
๔. ข้อที่บุคคลกล่าวหาเราว่า ‘พระสมณโคดมเป็นคนช่างรังเกียจ แสดงธรรม
เพื่อความรังเกียจ ทั้งแนะนำพวกสาวกตามแนวนั้น’ มีมูลอยู่
๕. ข้อที่บุคคลกล่าวหาเราว่า ‘พระสมณโคดมเป็นคนช่างกำจัด แสดงธรรม
เพื่อการกำจัด ทั้งแนะนำพวกสาวกตามแนวนั้น’ นั้นมีมูลอยู่
๖. ข้อที่บุคคลกล่าวหาเราว่า ‘พระสมณโคดมเป็นคนช่างเผาผลาญ แสดง
ธรรมเพื่อความเผาผลาญ ทั้งแนะนำพวกสาวกตามแนวนั้น’ นั้นมีมูลอยู่

เชิงอรรถ :
๑ ดู วิ.ม. (แปล) ๕/๒๙๐/๑๐๘, ที.สี. (แปล) ๙/๓๘๒/๑๖๑, สํ.สฬา. (แปล) ๑๘/๘๑/๗๔, องฺ.ติก. (แปล) ๒๐/
๕๘/๒๒๒

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๒๒๘ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๒.มหาวรรค ๒.สีหสูตร
๗. ข้อที่บุคคลกล่าวหาเราว่า ‘พระสมณโคดมเป็นคนไม่ผุดไม่เกิด แสดงธรรม
เพื่อความไม่ผุดไม่เกิด ทั้งแนะนำพวกสาวกตามแนวนั้น’ นั้นมีมูลอยู่
๘. ข้อที่บุคคลกล่าวหาเราว่า ‘พระสมณโคดมเป็นคนเบาใจ แสดงธรรมเพื่อ
ความเบาใจ ทั้งแนะนำพวกสาวกตามแนวนั้น’ นั้นมีมูลอยู่

พระดำรัสแก้ข้อกล่าวหา
ข้อที่บุคคลกล่าวหาเราว่า ‘พระสมณโคดมเป็นผู้สอนไม่ให้ทำ แสดงธรรม
เพื่อการไม่ให้ทำ ทั้งแนะนำพวกสาวกตามแนวนั้น’ นั้นมีมูลอยู่ เป็นอย่างไร
คือ เพราะเราสอนไม่ให้ทำกายทุจริต วจีทุจริต และมโนทุจริต ตลอดถึงการไม่
ให้ทำบาปอกุศลธรรมต่าง ๆ ข้อที่บุคคลกล่าวหาเราว่า ‘พระสมณโคดมเป็นผู้สอนไม่
ให้ทำ แสดงธรรมเพื่อการไม่ให้ทำ ทั้งแนะนำพวกสาวกตามแนวนั้น’ นี้แลมีมูลอยู่
ข้อที่บุคคลกล่าวหาเราว่า ‘พระสมณโคดมเป็นผู้สอนให้ทำ แสดงธรรม
เพื่อการให้ทำ ทั้งแนะนำพวกสาวกตามแนวนั้น’ นั้นมีมูลอยู่ เป็นอย่างไร
คือ เพราะเราสอนให้ทำกายสุจริต วจีสุจริต และมโนสุจริต ตลอดถึงการให้
ทำกุศลธรรมต่างๆ ข้อที่บุคคลกล่าวหาเราว่า ‘พระสมณโคดมเป็นผู้สอนให้ทำ
แสดงธรรมเพื่อการให้ทำ ทั้งแนะนำพวกสาวกตามแนวนั้น’ นี้แลมีมูลอยู่
ข้อที่บุคคลกล่าวหาเราว่า ‘พระสมณโคดมเป็นผู้สอนให้ทำลาย แสดงธรรม
เพื่อความให้ทำลาย ทั้งแนะนำพวกสาวกตามแนวนั้น’ นั้นมีมูลอยู่ เป็นอย่างไร
คือ เพราะเราสอนให้ทำลายราคะ โทสะ และโมหะ ตลอดถึงให้ทำลายบาป
อกุศลธรรมต่างๆ ข้อที่บุคคลกล่าวหาเราว่า ‘พระสมณโคดมเป็นผู้สอนให้ทำลาย
แสดงธรรมเพื่อการให้ทำลาย ทั้งแนะนำพวกสาวกตามแนวนั้น’ นี้แลมีมูลอยู่
ข้อที่บุคคลกล่าวหาเราว่า ‘พระสมณโคดมเป็นคนช่างรังเกียจ แสดงธรรม
เพื่อความรังเกียจ ทั้งแนะนำพวกสาวกตามแนวนั้น’ นั้นมีมูลอยู่ เป็นอย่างไร
คือ เพราะเราช่างรังเกียจกายทุจริต วจีทุจริต และมโนทุจริต ตลอดถึงรังเกียจ
การประกอบบาปอกุศลธรรมต่าง ๆ ข้อที่บุคคลกล่าวหาเราว่า ‘พระสมณโคดมเป็น


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๒๒๙ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๒.มหาวรรค ๒.สีหสูตร
คนช่างรังเกียจ แสดงธรรมเพื่อความรังเกียจ ทั้งแนะนำพวกสาวกตามแนวนั้น’ นี้แล
มีมูลอยู่
ข้อที่บุคคลกล่าวหาเราว่า ‘พระสมณโคดมเป็นคนช่างกำจัด แสดงธรรม
เพื่อความกำจัด ทั้งแนะนำพวกสาวกตามแนวนั้น’ นั้นมีมูลอยู่ เป็นอย่างไร
คือ เพราะเราแสดงธรรมเพื่อกำจัดราคะ โทสะ และโมหะ ตลอดถึงแสดงธรรม
เพื่อกำจัดบาปอกุศลธรรมต่าง ๆ ข้อที่บุคคลกล่าวหาเราว่า ‘พระสมณโคดมเป็น
คนช่างกำจัด แสดงธรรมเพื่อการกำจัด ทั้งแนะนำพวกสาวกตามแนวนั้น’ นี้แลมี
มูลอยู่
ข้อที่บุคคลกล่าวหาเราว่า ‘พระสมณโคดมเป็นคนช่างเผาผลาญ แสดงธรรม
เพื่อความเผาผลาญ ทั้งแนะนำพวกสาวกตามแนวนั้น’ นั้นมีมูลอยู่ เป็นอย่างไร
คือ เพราะเรากล่าวถึงบาปอกุศลธรรมทั้งหลาย คือ กายทุจริต วจีทุจริต และ
มโนทุจริตว่าเป็นสิ่งที่ควรเผาผลาญ เราเรียกคนที่ละบาปอกุศลธรรมที่ควรเผาผลาญ
ได้หมดสิ้น ตัดรากถอนโคนเหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่
ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ว่า ‘เป็นคนช่างเผาผลาญ’ ตถาคตละบาปอกุศลธรรมที่
ควรเผาผลาญได้หมดสิ้น ตัดรากถอนโคนเหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว
เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ ข้อที่บุคคลกล่าวหาเราว่า ‘พระสมณ
โคดมเป็นคนช่างเผาผลาญ แสดงธรรมเพื่อการเผาผลาญ ทั้งแนะนำพวกสาวกตาม
แนวนั้น’ นี้แลมีมูลอยู่
ข้อที่บุคคลกล่าวหาเราว่า ‘พระสมณโคดมเป็นคนไม่ผุดไม่เกิด แสดง
ธรรมเพื่อความไม่ผุดไม่เกิด ทั้งแนะนำพวกสาวกตามแนวนั้น’ นั้นมีมูลอยู่
เป็นอย่างไร
คือ เพราะเราเรียกคนที่ละการอยู่ในครรภ์และการเกิดใหม่ได้หมดสิ้น ตัดราก
ถอนโคน เหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี
เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ว่า ‘เป็นคนไม่ผุดไม่เกิด’ ตถาคตละการอยู่ในครรภ์และการเกิดใหม่
ได้หมดสิ้น ตัดรากถอนโคน เหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๒๓๐ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๒.มหาวรรค ๒.สีหสูตร
พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ ข้อที่บุคคลกล่าวหาเราว่า ‘พระสมณโคดมเป็น
คนไม่ผุดไม่เกิด แสดงธรรมเพื่อการไม่ผุดไม่เกิด ทั้งแนะนำพวกสาวกตามแนวนั้น’
นี้แลมีมูลอยู่
ข้อที่บุคคลกล่าวหาเราว่า ‘พระสมณโคดมเป็นคนเบาใจ แสดงธรรมเพื่อ
ความเบาใจ ทั้งแนะนำพวกสาวกตามแนวนั้น’ นั้นมีมูลอยู่ เป็นอย่างไร
คือ เพราะเราเป็นคนเบาใจด้วยความเบาใจอย่างยิ่ง แสดงธรรมเพื่อความ
เบาใจ และแนะนำเหล่าสาวกตามแนวนั้น ข้อที่บุคคลกล่าวหาเราว่า ‘พระสมณโคดม
เป็นคนเบาใจ แสดงธรรมเพื่อความเบาใจ ทั้งแนะนำพวกสาวกตามแนวนั้น’ นี้แล
มีมูลอยู่”
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสตอบอย่างนี้แล้ว สีหเสนาบดีได้กราบทูลพระผู้มีพระ
ภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์ชัดเจนไพเราะยิ่งนัก ข้าแต่
พระองค์ผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์ชัดเจนไพเราะยิ่งนัก ฯลฯ๑ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
ขอพระผู้มีพระภาคโปรดทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะตั้งแต่วันนี้เป็นต้น
ไปจนตลอดชีวิต”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “สีหะ ท่านใคร่ครวญก่อนแล้วจึงตัดสินใจเถิด คนที่
มีชื่อเสียงเช่นท่าน ต้องใคร่ครวญให้รอบคอบก่อนจึงเป็นการดี”
สีหเสนาบดีกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ปลาบปลื้มชื่นใจ
อย่างยิ่ง เพราะพระดำรัสที่พระองค์ตรัสว่า ‘สีหะ ท่านใคร่ครวญก่อนแล้วจึงตัดสินใจเถิด
คนที่มีชื่อเสียงเช่นท่าน ต้องใคร่ครวญให้รอบคอบก่อนจึงเป็นการดี’ เพราะพวก
อัญเดียรถีย์ได้ข้าพระองค์เป็นสาวกแล้ว ก็ป่าวประกาศไปทั่วกรุงเวสาลีว่า ‘สีห-
เสนาบดีเป็นสาวกของพวกเรา’ แต่พระองค์กลับตรัสว่า ‘ท่านใคร่ครวญก่อนแล้ว
จึงตัดสินใจเถิด คนที่มีชื่อเสียงเช่นท่าน ต้องใคร่ครวญให้รอบคอบก่อนจึงเป็น การดี’
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แม้ครั้งที่ ๒ ข้าพระองค์นี้ขอถึงพระผู้มีพระภาคพร้อมทั้ง
พระธรรมและพระสงฆ์เป็นสรณะ ขอพระผู้มีพระภาคโปรดทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็น
อุบาสกผู้ถึงสรณะตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปจนตลอดชีวิตเถิด”


เชิงอรรถ :
๑ ดูความเต็มในข้อ ๑๑ (เวรัญชสูตร) หน้า ๒๒๕ ในเล่มนี้


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๒๓๑ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๒.มหาวรรค ๒.สีหสูตร
ทรงสนับสนุนให้อุปถัมภ์ลัทธิที่เคยนับถือมาก่อน
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “สีหะ ตระกูลของท่านเคยเป็นที่ต้อนรับพวกนิครนถ์
มานาน ดังนั้น ท่านพึงใส่ใจว่าควรให้บิณฑบาตแก่พวกนิครนถ์ผู้เข้าไปตระกูล
ต่อไปเถิด”
สีหเสนาบดีกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ปลาบปลื้มชื่นใจ
อย่างยิ่งเพราะพระดำรัสที่พระองค์ตรัสว่า ‘สีหะ ตระกูลของท่านเคยเป็นที่ต้อนรับ
พวกนิครนถ์มานาน ดังนั้น ท่านพึงใส่ใจว่าควรให้บิณฑบาตแก่พวกนิครนถ์ผู้เข้าไป
ตระกูลต่อไปเถิด’ ข้าพระองค์ได้ฟังมาดังนี้ว่า พระสมณโคดมตรัสอย่างนี้ว่า ‘ควรให้
ทานแก่เราเท่านั้น ไม่ควรให้ทานแก่ศาสดาอื่น ควรให้ทานแก่สาวกของเราเท่านั้น
ไม่ควรให้ทานแก่สาวกของศาสดาอื่น ทานที่ให้แก่เราเท่านั้นมีผลมาก ทานที่ให้แก่
ศาสดาอื่นไม่มีผลมาก ทานที่ให้แก่สาวกของเราเท่านั้นมีผลมาก ทานที่ให้แก่สาวก
ของศาสดาอื่นไม่มีผลมาก’ แต่พระผู้มีพระภาคกลับทรงชักชวนให้ข้าพระองค์ให้ทาน
แก่พวกนิครนถ์ ข้าพระองค์จะรู้เวลาในเรื่องนี้เอง ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แม้ครั้งที่ ๓
ข้าพระองค์นี้ขอถึงพระผู้มีพระภาคพร้อมทั้งพระธรรมและพระสงฆ์เป็นสรณะ
ขอพระผู้มีพระภาคโปรดทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะตั้งแต่วันนี้
เป็นต้นไปจนตลอดชีวิต”
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคได้ตรัสอนุปุพพีกถาแก่สีหเสนาบดี คือ ทรงประกาศ
๑. ทานกถา (เรื่องทาน)
๒. สีลกถา (เรื่องศีล)
๓. สัคคกถา (เรื่องสวรรค์)
๔. กามาทีนวกถา (เรื่องโทษ ความต่ำทราม ความเศร้าหมองแห่งกาม)๑
๕. เนกขัมมานิสังสกถา (เรื่องอานิสงส์แห่งการออกจากกาม)

เชิงอรรถ :
๑ แปลมาจากคำว่า กามานํ อาทีนวํ โอการํ สงฺกิเลสํ (องฺ.อฏฺฐก. ๒๓/๑๒/๑๕๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๒๓๒ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๒.มหาวรรค ๒.สีหสูตร
เมื่อทรงทราบว่า สีหเสนาบดีมีจิตควรบรรลุธรรมสงบ อ่อน ปราศจาก
นิวรณ์ เบิกบาน ผ่องใส จึงทรงประกาศสามุกกังสิกเทศนา๑ของพระพุทธเจ้า
ทั้งหลาย คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค ธรรมจักษุอันปราศจากธุลี ปราศจาก
มลทิน ได้เกิดแก่สีหเสนาบดีนั้นบนที่นั่งนั่นเองว่า ‘สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็น
ธรรมดา สิ่งนั้นทั้งปวงมีความดับไปเป็นธรรมดา’ เปรียบเหมือนผ้าขาวสะอาด
ปราศจากมลทิน ควรรับน้ำย้อมได้เป็นอย่างดี
ครั้งนั้นแล สีหเสนาบดีได้เห็นธรรม บรรลุธรรม รู้ธรรม หยั่งลงสู่ธรรม
ข้ามพ้นความสงสัย๒ ปราศจากความเคลือบแคลง ถึงความแกล้วกล้า ปราศจาก
ความมีผู้อื่นเป็นปัจจัย๓ในศาสนาของพระศาสดา จึงกราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคพร้อมด้วยพระภิกษุสงฆ์โปรดรับภัตตาหาร
ในวันพรุ่งนี้เถิด”
พระผู้มีพระภาคทรงรับนิมนต์โดยดุษณีภาพ
สีหเสนาบดีนั้นทราบอาการที่พระผู้มีพระภาคทรงรับนิมนต์แล้วจึงลุกจากอาสนะ
ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาค ทำประทักษิณแล้วจากไป
ลำดับนั้น สีหเสนาบดีใช้มหาดเล็กผู้หนึ่งว่า “เธอไปหาซื้อเนื้อสดที่มีขายมา”
เมื่อคืนนั้นผ่านไป ได้สั่งให้จัดเตรียมของเคี้ยวของฉันอันประณีตไว้ในนิเวศน์

เชิงอรรถ :
๑ สามุกกังสิกเทศนา หมายถึงพระธรรมเทศนาที่พระพุทธเจ้าทั้งหลายตรัสรู้ด้วยพระองค์เอง ทรงเห็นด้วย
สยัมภูญาณ ไม่ทั่วไปแก่ผู้อื่น คือ มิได้รับการแนะนำจากผู้อื่น ตรัสรู้ลำพังพระองค์เองก่อนใครในโลก (วิ.อ.
๓/๒๙๓/๑๘๑, สารตฺถ.ฏีกา ๓/๒๖/๒๓๗)
หรืออีกนัยหนึ่ง หมายถึงพระธรรมเทศนาที่พระพุทธองค์ทรงยกขึ้นแสดงเองโดยไม่มีผู้ทูลอาราธนา หรือ
ทูลถาม (ที.สี.อ. ๑/๒๙๘/๒๕๐) และดู วิ.ม. (แปล) ๔/๒๕/๓๒-๓๓, ที.สี. (แปล) ๙/๒๙๘/๑๐๙, ๓๕๕/๑๔๙
๒ ความสงสัย ในที่นี้หมายถึงความสงสัย (วิจิกิจฉา) ๘ ประการ เป็นองค์ธรรมในสังโยชน์ ๑๐ ประการ
ดูรายละเอียดใน อภิ.สงฺ. (แปล) ๓๔/๑๐๐๘/๒๖๑ และความสงสัย ๑๖ ประการ ดู รายละเอียดใน ม.มู.
๑๒/๑๘/๑๑, สํ.นิ. ๑๖/๒๐/๒๗
๓ ปราศจากความมีผู้อื่นเป็นปัจจัย ในที่นี้หมายถึงไม่ต้องเชื่อผู้อื่น หรือไม่ต้องอาศัยผู้อื่นคอยสนับสนุน
ให้เชื่อ เพราะเห็นประจักษ์ชัดด้วยตนเอง (ที.สี.อ. ๑/๒๙๙/๒๕๐, องฺ.ฉกฺก.อ.๓/๑๖/๑๐๖, องฺ.ฉกฺก.ฏีกา
๓/๑๖/๑๑๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๒๓๓ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๒.มหาวรรค ๒.สีหสูตร
ของตนแล้ว จึงให้ไปกราบทูลภัตกาลว่า “ถึงเวลาแล้ว พระพุทธเจ้าข้า ภัตตาหาร
เสร็จแล้ว”
ครั้นเวลาเช้า พระผู้มีพระภาคทรงครองอันตรวาสก ทรงถือบาตรและจีวร
เสด็จเข้าไปยังนิเวศน์ของสีหเสนาบดีพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ ประทับนั่งบนพุทธอาสน์
ที่ปูลาดไว้
สมัยนั้น พวกนิครนถ์จำนวนมากพากันกอดแขนคร่ำครวญไปตามถนนสี่แยก
สามแยก ทั่วกรุงเวสาลีว่า “วันนี้ สีหเสนาบดีฆ่าสัตว์เลี้ยงตัวอ้วน ๆ ทำอาหารเลี้ยง
พระสมณโคดม พระสมณโคดมทั้งที่รู้อยู่ก็ยังฉันเนื้อที่เขาทำเจาะจงตนเอง”
ครั้งนั้นแล มหาดเล็กผู้หนึ่งเข้าไปหาสีหเสนาบดีแล้วกระซิบบอกว่า “ท่านครับ
ได้โปรดทราบ พวกนิครนถ์จำนวนมากพากันกอดแขนคร่ำครวญไปตามถนนสี่แยก
สามแยก ทั่วกรุงเวสาลีว่า ‘วันนี้ สีหเสนาบดีฆ่าสัตว์เลี้ยงตัวอ้วน ๆ ทำอาหาร
เลี้ยงพระสมณโคดม พระสมณโคดมทั้งที่รู้อยู่ก็ยังฉันเนื้อที่เขาทำเจาะจงตนเอง”
สีหเสนาบดีตอบว่า “ช่างเถิด ท่านเหล่านั้นประสงค์จะตำหนิพระพุทธเจ้า
ประสงค์จะตำหนิพระธรรม ประสงค์จะตำหนิพระสงฆ์มานานแล้ว และท่านเหล่านั้น
ก็กล่าวตู่พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นด้วยเรื่องที่ไม่มีอยู่ เปล่าประโยชน์ เป็นเรื่องเท็จ
ไม่เป็นจริง ส่วนพวกเราไม่จงใจฆ่าสัตว์แม้เพราะเหตุแห่งชีวิต”
จากนั้น สีหเสนาบดีได้นำของขบฉันอันประณีตประเคนภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้า
เป็นประธานให้ทรงอิ่มหนำด้วยตนเอง เมื่อพระผู้มีพระภาคเสวยเสร็จทรงวางพระหัตถ์
จากบาตร สีหเสนาบดีจึงเลือกที่นั่ง ณ ที่สมควรที่ใดที่หนึ่งซึ่งต่ำกว่า พระผู้มี
พระภาคทรงชี้แจงให้สีหเสนาบดีเห็นชัด ชวนใจให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจ
ให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริงด้วยธรรมีกถา แล้วทรงลุกจาก
อาสนะเสด็จจากไป
สีหสูตรที่ ๒ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๒๓๔ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๒.มหาวรรค ๓.อัสสาชานิยสูตร
๓. อัสสาชานิยสูตร
ว่าด้วยม้าอาชาไนย
[๑๓] ภิกษุทั้งหลาย ม้าอาชาไนย๑พันธุ์ดีของพระราชา ประกอบด้วยองค์
๘ ประการ ย่อมเป็นม้าควรแก่พระราชา ควรเป็นม้าต้น นับว่าเป็นราชพาหนะ
โดยแท้
องค์ ๘ ประการ อะไรบ้าง คือ
ม้าอาชาไนยพันธุ์ดีของพระราชาในโลกนี้
๑. เป็นสัตว์มีกำเนิดดีทั้งฝ่ายแม่ม้าและพ่อม้า เกิดในทิศที่ม้าอาชาไนย
พันธุ์ดีอื่น ๆ เกิด
๒. กินหญ้าสดหรือหญ้าแห้งที่เขาให้อย่างเรียบร้อยไม่เรี่ยราด
๓. รังเกียจที่จะหมอบทับหรือนอนทับอุจจาระหรือปัสสาวะ
๔. เป็นสัตว์สงบเสงี่ยม อยู่ร่วมกันเป็นสุข ไม่รบกวนม้าอื่น ๆ
๕. เป็นสัตว์เปิดเผยความโอ้อวด ความพยศคดโกงแก่นายสารถีตาม
ความเป็นจริง
๖. นายสารถีพยายามปราบความโอ้อวด ความพยศคดโกงเหล่านั้นของมันได้
๗. เป็นสัตว์ลากภาระไปได้ คือ มีความคิดว่า ‘ม้าอื่น ๆ จะลากภาระ
ไปได้หรือไม่ก็ตาม เราจักลากภาระนี้ไปได้’ และเมื่อเดินไปก็เดินไป
ตามทางตรงเท่านั้น
๘. เป็นสัตว์มีกำลัง คือทรงกำลังไว้ได้จนถึงวาระสุดท้ายแห่งชีวิต
ภิกษุทั้งหลาย ม้าอาชาไนยพันธุ์ดีของพระราชา ประกอบด้วยองค์ ๘ ประการ
นี้แล ย่อมเป็นม้าควรแก่พระราชา ควรเป็นม้าต้น นับว่าเป็นราชพาหนะโดยแท้
ฉันใด

เชิงอรรถ :
๑ ม้าอาชาไนย หมายถึงม้าที่เกิดในตระกูลม้าสินธพ หรือในตระกูลพญาม้าวลาหก (ธ.อ. ๖/๑๑๒) หรือม้า
รู้เหตุที่ควรและไม่ควร (องฺ.ติก.อ. ๒/๑๔๓/๒๗๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๒๓๕ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๒.มหาวรรค ๓.อัสสาชานิยสูตร
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๘ ประการ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน
ย่อมเป็นผู้ควรแก่ของที่เขานำมาถวาย ฯลฯ เป็นนาบุญอันยอดเยี่ยมของโลก
ธรรม ๘ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เป็นผู้มีศีล สำรวมด้วยการสังวรในปาติโมกข์ เพียบพร้อมด้วย
อาจาระและโคจร มีปกติเห็นภัยในโทษแม้เล็กน้อย สมาทานศึกษา
อยู่ในสิกขาบททั้งหลาย
๒. ฉันโภชนะที่เขาถวาย จะเศร้าหมองหรือประณีตก็ตาม โดยเคารพ
ไม่รังเกียจ
๓. รังเกียจกายทุจริต วจีทุจริต และมโนทุจริต ตลอดถึงรังเกียจการ
ประกอบบาปอกุศลธรรมต่าง ๆ
๔. เป็นผู้สงบเสงี่ยม อยู่ร่วมกันเป็นสุข ไม่รบกวนภิกษุอื่น ๆ
๕. เป็นผู้เปิดเผยความโอ้อวด ความพยศคดโกงแก่พระศาสดา หรือ
เพื่อนพรหมจารีทั้งหลายผู้เป็นวิญญูชน ตามความเป็นจริง
๖. พระศาสดา หรือเพื่อนพรหมจารีทั้งหลายผู้เป็นวิญญูชน พยายาม
ช่วยกันกำจัดความโอ้อวด ความพยศคดโกงเหล่านั้นของเธอได้
๗. เป็นผู้ศึกษา คือ ใฝ่ใจอยู่ว่า ‘ภิกษุอื่น ๆ จะศึกษาหรือไม่ก็ตาม
เฉพาะข้อนี้เราจักศึกษาได้’ เมื่อดำเนินไปก็ดำเนินไปตามทางตรงเท่านั้น
คือ สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ
๘. เป็นผู้ปรารภความเพียรอยู่ว่า จะเหลืออยู่แต่หนัง เอ็น กระดูก
ก็ตามที เนื้อและเลือดในสรีระจงเหือดแห้งไปเถิด เรายังไม่บรรลุผล
ที่จะพึงบรรลุ ด้วยเรี่ยวแรงของบุรุษ ด้วยความเพียรของบุรุษ
ด้วยความบากบั่นของบุรุษแล้ว จักไม่หยุดความเพียร
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๘ ประการนี้แล ย่อมเป็นผู้ควรแก่
ของที่เขานำมาถวาย ฯลฯ เป็นนาบุญอันยอดเยี่ยมของโลก
อัสสาชานิยสูตรที่ ๓ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๒๓๖ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๒.มหาวรรค ๔.อัสสขฬุงกสูตร
๔. อัสสขฬุงกสูตร
ว่าด้วยม้ากระจอกและคนกระจอก
[๑๔] ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงม้ากระจอก ๘ จำพวก และโทษของม้า
กระจอก ๘ ประการ คนกระจอก ๘ จำพวก และโทษของคนกระจอก ๘ ประการ
เธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว
พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า
ม้ากระจอก ๘ จำพวก และโทษของม้ากระจอก ๘ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ม้ากระจอกบางตัวในโลกนี้ที่นายสารถีสั่งว่า ‘เดินไป’ ถูกแทงด้วย
ประตัก๑เตือนอยู่ ย่อมถอยหลัง ดันรถให้กลับหลัง ม้ากระจอก
บางตัวในโลกนี้เป็นอย่างนี้ก็มี นี้เป็นโทษของม้ากระจอกประการที่ ๑
๒. ม้ากระจอกบางตัวในโลกนี้ที่นายสารถีสั่งว่า ‘เดินไป’ ถูกแทงด้วย
ประตักเตือนอยู่ ย่อมหกหลัง ดัดทูบให้หัก ม้ากระจอกบางตัวใน
โลกนี้เป็นอย่างนี้ก็มี นี้เป็นโทษของม้ากระจอกประการที่ ๒
๓. ม้ากระจอกบางตัวในโลกนี้ที่นายสารถีสั่งว่า ‘เดินไป’ ถูกแทงด้วย
ประตักเตือนอยู่ ย่อมยกขาขึ้นตะกุยงอนรถ ถีบงอนรถ ม้ากระจอก
บางตัวในโลกนี้เป็นเช่นนี้ก็มี นี้เป็นโทษของม้ากระจอกประการที่ ๓
๔. ม้ากระจอกบางตัวในโลกนี้ที่นายสารถีสั่งว่า ‘เดินไป’ ถูกแทงด้วย
ประตักเตือนอยู่ ย่อมเดินผิดทาง๒ ทำให้รถไปผิดทาง ม้ากระจอก
บางตัวในโลกนี้เป็นอย่างนี้ก็มี นี้เป็นโทษของม้ากระจอกประการที่ ๔
๕. ม้ากระจอกบางตัวในโลกนี้ที่นายสารถีสั่งว่า ‘เดินไป’ ถูกแทงด้วย
ประตักเตือนอยู่ ย่อมเชิดกายส่วนหน้า เผ่นขึ้นไป ม้ากระจอกบาง
ตัวในโลกนี้เป็นอย่างนี้ก็มี นี้เป็นโทษของม้ากระจอกประการที่ ๕

เชิงอรรถ :
๑ ประตัก หมายถึงไม้ที่ฝังเหล็กแหลมข้างปลาย ใช้แทงสัตว์พาหนะ เช่น วัว (พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน
พ.ศ.๒๕๒๕)
๒ ทำให้รถไปผิดทาง หมายถึงลากรถขึ้นเนิน หรือเข้าพงหนาม (องฺ.อฏฺฐก.อ. ๓/๑๔/๒๓๙)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๒๓๗ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๒.มหาวรรค ๔.อัสสขฬุงกสูตร
๖. ม้ากระจอกบางตัวในโลกนี้ที่นายสารถีสั่งว่า ‘เดินไป’ ถูกแทงด้วย
ประตักเตือนอยู่ (ไม่คำนึงถึงนายสารถี) ไม่คำนึงถึงประตัก กัด
บังเหียน๑ หลีกไปตามความประสงค์ ม้ากระจอกบางตัวในโลกนี้
เป็นอย่างนี้ก็มี นี้เป็นโทษของม้ากระจอกประการที่ ๖
๗. ม้ากระจอกบางตัวในโลกนี้ที่นายสารถีสั่งว่า ‘เดินไป’ ถูกแทงด้วย
ประตักเตือนอยู่ ไม่ก้าวไป ไม่ถอยหลัง ยืนทื่ออยู่เหมือนเสาเขื่อน
ณ ที่ตรงนั้นนั่นเอง ม้ากระจอกบางตัวในโลกนี้เป็นอย่างนี้ก็มี นี้เป็น
โทษของม้ากระจอกประการที่ ๗
๘. ม้ากระจอกบางตัวในโลกนี้ที่นายสารถีสั่งว่า ‘เดินไป’ ถูกแทงด้วย
ประตักเตือนอยู่ คุกเท้าหน้าและเท้าหลังลงหมอบทับเท้าทั้ง ๔ อยู่
ที่ตรงนั้นนั่นเอง ม้ากระจอกบางตัวในโลกนี้เป็นอย่างนี้ก็มี นี้เป็น
โทษของม้ากระจอกประการที่ ๘
ภิกษุทั้งหลาย ม้ากระจอก ๘ จำพวก และโทษของม้ากระจอก ๘ ประการนี้แล
ภิกษุทั้งหลาย คนกระจอก ๘ จำพวก และโทษของคนกระจอก ๘ ประการ
อะไรบ้าง คือ
๑. ภิกษุทั้งหลายในธรรมวินัยนี้โจทภิกษุด้วยอาบัติ ภิกษุรูปที่ถูกพวก
ภิกษุโจทด้วยอาบัตินั้น ย่อมอำพรางอาบัติไว้ เพราะระลึกไม่ได้ว่า
‘ผมระลึกไม่ได้ ผมระลึกไม่ได้’ เรากล่าวเปรียบบุคคลประเภทนี้ว่า
เหมือนม้ากระจอกที่นายสารถีสั่งว่า ‘เดินไป’ ถูกแทงด้วยประตัก
เตือนอยู่ ก็ถอยหลัง ดันรถให้กลับหลัง ฉะนั้น คนกระจอกบางคน
ในธรรมวินัยนี้เป็นอย่างนี้ก็มี นี้เป็นโทษของคนกระจอกประการที่ ๑
๒. ภิกษุทั้งหลายโจทภิกษุด้วยอาบัติ ภิกษุรูปที่ถูกพวกภิกษุโจทด้วย
อาบัตินั้น โต้ตอบภิกษุผู้เป็นโจทก์ว่า ‘การกล่าวของท่านผู้เป็น
คนพาล ไม่เฉียบแหลม จะมีประโยชน์อะไรเล่า ท่านเองย่อมเข้าใจ

เชิงอรรถ :
๑ บังเหียน หมายถึงเครื่องบังคับม้าทำด้วยเหล็ก หรือไม้ใส่ผ่าปากม้า (องฺ.อฏฺฐก.อ. ๓/๑๔/๒๓๙)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๒๓๘ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๒.มหาวรรค ๔.อัสสขฬุงกสูตร
สิ่งที่ควรพูด’ เรากล่าวเปรียบบุคคลประเภทนี้ว่าเหมือนม้ากระจอก
ที่นายสารถีสั่งว่า ‘เดินไป’ ถูกแทงด้วยประตักเตือนอยู่ ก็หกหลัง
ดัดทูบให้หัก ฉะนั้น คนกระจอกบางคนในธรรมวินัยนี้เป็นอย่างนี้ก็มี
นี้เป็นโทษของคนกระจอกประการที่ ๒
๓. ภิกษุทั้งหลายโจทภิกษุด้วยอาบัติ ภิกษุรูปที่ถูกพวกภิกษุโจทด้วย
อาบัตินั้น กลับยกอาบัติขึ้นปรับภิกษุผู้เป็นโจทก์ว่า ‘ท่านเองก็ต้อง
อาบัติชื่อนี้ ท่านจงทำคืนเสียก่อน’ เรากล่าวเปรียบบุคคลประเภทนี้
ว่าเหมือนม้ากระจอกที่นายสารถีสั่งว่า ‘เดินไป’ ถูกแทงด้วยประตัก
เตือนอยู่ ก็ยกขาขึ้นตะกุยงอนรถ ถีบงอนรถ ฉะนั้น คนกระจอก
บางคนในธรรมวินัยนี้เป็นอย่างนี้ก็มี นี้เป็นโทษของคนกระจอก
ประการที่ ๓
๔. ภิกษุทั้งหลายโจทภิกษุด้วยอาบัติ ภิกษุรูปที่ถูกพวกภิกษุโจทด้วย
อาบัตินั้น พูดกลบเกลื่อน พูดนอกเรื่อง แสดงอาการโกรธ ขัดเคือง
และไม่พอใจ เรากล่าวเปรียบบุคคลประเภทนี้ว่าเหมือนม้ากระจอก
ที่นายสารถีสั่งว่า ‘เดินไป’ ถูกแทงด้วยประตักเตือนอยู่ ก็เดิน
ผิดทาง ทำให้รถไปผิดทาง ฉะนั้น คนกระจอกบางคนในธรรมวินัย
นี้เป็นอย่างนี้ก็มี นี้เป็นโทษของคนกระจอกประการที่ ๔
๕. ภิกษุทั้งหลายโจทภิกษุด้วยอาบัติ ภิกษุรูปที่ถูกพวกภิกษุโจทด้วย
อาบัตินั้น กลับแกว่งแขนในท่ามกลางสงฆ์ เรากล่าวเปรียบบุคคล
ประเภทนี้ว่าเหมือนม้ากระจอกที่นายสารถีสั่งว่า ‘เดินไป’ ถูกแทง
ด้วยประตักเตือนอยู่ เชิดกายด้านหน้า เผ่นขึ้นไป ฉะนั้น คนกระจอก
บางคนในธรรมวินัยนี้เป็นอย่างนี้ก็มี นี้เป็นโทษของคนกระจอก
ประการที่ ๕
๖. ภิกษุทั้งหลายโจทภิกษุด้วยอาบัติ ภิกษุรูปที่ถูกพวกภิกษุโจท
ด้วยอาบัตินั้น ไม่เอื้อเฟื้อสงฆ์ ไม่เอื้อเฟื้อภิกษุผู้เป็นโจทก์ ทั้งที่มี
อาบัติติดตัวอยู่ ก็หลีกไปตามความประสงค์ เรากล่าวเปรียบบุคคล
ประเภทนี้ว่าเหมือนม้ากระจอกที่นายสารถีสั่งว่า ‘เดินไป’ ถูกแทง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๒๓๙ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๒.มหาวรรค ๔.อัสสขฬุงกสูตร
ด้วยประตักเตือนอยู่ ก็ไม่คำนึงถึงนายสารถี ไม่คำนึงถึงประตัก
กัดบังเหียน หลีกไปตามประสงค์ ฉะนั้น คนกระจอกบางคนใน
ธรรมวินัยนี้เป็นอย่างนี้ก็มี นี้เป็นโทษของคนกระจอกประการที่ ๖
๗. ภิกษุทั้งหลายโจทภิกษุด้วยอาบัติ ภิกษุรูปที่ถูกพวกภิกษุโจทด้วย
อาบัตินั้น กล่าวอย่างนี้ว่า ‘ผมไม่ได้ต้องอาบัติเลย ผมไม่ได้ต้อง
อาบัติเลย’ เธอใช้ความนิ่งทำให้สงฆ์ลำบาก เรากล่าวเปรียบบุคคล
ประเภทนี้ว่าเหมือนม้ากระจอกที่นายสารถีสั่งว่า ‘เดินไป’ ถูกแทง
ด้วยประตักเตือนอยู่ ก็ไม่ก้าวไป ไม่ถอยกลับ ยืนทื่ออยู่เหมือน
เสาเขื่อน ณ ที่ตรงนั้นนั่นเอง ฉะนั้น คนกระจอกบางคนในธรรม
วินัยนี้เป็นอย่างนี้ก็มี นี้เป็นโทษของคนกระจอกประการที่ ๗
๘. ภิกษุทั้งหลายโจทภิกษุด้วยอาบัติ ภิกษุรูปที่ถูกพวกภิกษุโจทด้วย
อาบัตินั้น กล่าวอย่างนี้ว่า ‘ทำไมหนอ ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย
จึงพยายามกล่าวหาผมนัก เอาละ ผมจักบอกคืนสิกขากลับมาเป็น
คฤหัสถ์’ เธอบอกคืนสิกขากลับมาเป็นคฤหัสถ์แล้วจึงกล่าวอย่างนี้ว่า
‘บัดนี้ ขอท่านผู้มีอายุทั้งหลายโปรดเบาใจเถิด’ เรากล่าวเปรียบ
บุคคลประเภทนี้ว่าเหมือนม้ากระจอกที่นายสารถีสั่งว่า ‘เดินไป’
ถูกแทงด้วยประตักเตือนอยู่ คุกเท้าหน้าและเท้าหลังลงหมอบทับเท้า
ทั้ง ๔ อยู่ที่ตรงนั้นนั่นเอง ฉะนั้น คนกระจอกบางคนในธรรมวินัยนี้
เป็นอย่างนี้ก็มี นี้เป็นโทษของคนกระจอกประการที่ ๘
ภิกษุทั้งหลาย คนกระจอก ๘ จำพวก และโทษของคนกระจอก ๘ ประการนี้แล
อัสสขฬุงกสูตรที่ ๔ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๒๔๐ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๒.มหาวรรค ๕.มลสูตร
๕. มลสูตร
ว่าด้วยมลทิน
[๑๕] ภิกษุทั้งหลาย มลทิน (ความมัวหมอง) ๘ ประการนี้
มลทิน ๘ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. มนตร์มีการไม่ท่องบ่นเป็นมลทิน
๒. เรือน๑มีความไม่ขยันหมั่นเพียรเป็นมลทิน
๓. ผิวพรรณมีความเกียจคร้านเป็นมลทิน
๔. ผู้รักษามีความประมาทเป็นมลทิน
๕. สตรีมีความประพฤติชั่ว๒ เป็นมลทิน
๖. ผู้ให้มีความตระหนี่เป็นมลทิน
๗. บาปอกุศลธรรมเป็นมลทินทั้งในโลกนี้และโลกหน้า
๘. มลทินที่ยิ่งกว่ามลทินนั้นคืออวิชชา
ภิกษุทั้งหลาย มลทิน ๘ ประการนี้แล
มนตร์มีการไม่ท่องบ่นเป็นมลทิน
เรือนมีความไม่ขยันหมั่นเพียรเป็นมลทิน
ผิวพรรณมีความเกียจคร้านเป็นมลทิน
ผู้รักษามีความประมาทเป็นมลทิน
สตรีมีความประพฤติชั่วเป็นมลทิน

เชิงอรรถ :
๑ เรือน หมายถึงบุคคลผู้อยู่ครองเรือน (องฺ.อฏฐก. ฏีกา ๓/๑๕-๑๘/๒๗๙)
๒ ประพฤติชั่ว หมายถึงประพฤตินอกใจ (องฺ.อฏฺฐก. ฏีกา ๓/๑๕-๑๘/๒๗๙)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๒๔๑ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๒.มหาวรรค ๖.ทูเตยยสูตร
ผู้ให้มีความตระหนี่เป็นมลทิน
บาปธรรมเป็นมลทินทั้งในโลกนี้และโลกหน้า
มลทินที่ยิ่งกว่ามลทินนั้นคืออวิชชา
มลสูตรที่ ๕ จบ

๖. ทูเตยยสูตร
ว่าด้วยคุณสมบัติของทูต๑
[๑๖] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๘ ประการ ควรทำหน้าที่ทูตได้
ธรรม ๘ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. รู้จักฟัง
๒. สามารถพูดให้ผู้อื่นฟังได้
๓. ใฝ่ศึกษา
๔. ทรงจำได้ดี
๕. เป็นผู้รู้ได้เข้าใจชัด๒
๖. สามารถพูดให้ผู้อื่นเข้าใจได้
๗. ฉลาดในสิ่งที่เป็นประโยชน์และไม่เป็นประโยชน์
๘. ไม่ก่อความทะเลาะวิวาท
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๘ ประการนี้แล ควรทำหน้าที่ทูตได้
ภิกษุทั้งหลาย สารีบุตรประกอบด้วยธรรม ๘ ประการ ควรทำหน้าที่ทูตได้

เชิงอรรถ :
๑ ดู วิ.จู. (แปล) ๗/๓๔๗/๒๐๘-๒๐๙, ขุ.ธ. ๒๕/๒๔๑-๒๔๓/๕๙
๒ เป็นผู้รู้ได้เข้าใจชัด หมายถึงเป็นผู้รู้ความหมายของสิ่งที่เป็นประโยชน์และไม่เป็นประโยชน์ (องฺ.อฏฺฐก.อ.
๓/๑๖/๒๓๙)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๒๔๒ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๒.มหาวรรค ๖.ทูเตยยสูตร
ธรรม ๘ ประการ อะไรบ้าง คือ
ในธรรมวินัยนี้ สารีบุตร
๑. รู้จักฟัง
๒. สามารถพูดให้ผู้อื่นฟังได้
๓. ใฝ่ศึกษา
๔. ทรงจำได้ดี
๕. เป็นผู้รู้ได้เข้าใจชัด
๖. สามารถพูดให้ผู้อื่นเข้าใจได้
๗. ฉลาดในสิ่งที่เป็นประโยชน์และไม่เป็นประโยชน์
๘. ไม่ก่อความทะเลาะวิวาท
ภิกษุทั้งหลาย สารีบุตรประกอบด้วยธรรม ๘ ประการนี้แล ควรทำหน้าที่
ทูตได้
ภิกษุผู้เข้าสู่ชุมชนที่โต้เถียงกันอย่างรุนแรง
ก็ไม่สะทกสะท้าน ไม่ทำคำพูดให้เสียหาย
ไม่ปกปิดข่าวสาส์น ชี้แจงอย่างไม่มีข้อสงสัย
ถูกย้อนถาม ก็ไม่โกรธ
ภิกษุผู้มีลักษณะเช่นนั้นแล ควรทำหน้าที่ทูตได้
ทูเตยยสูตรที่ ๖ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๒๔๓ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๒.มหาวรรค ๗.ปฐมพันธนสูตร
๗. ปฐมพันธนสูตร
ว่าด้วยอาการที่เป็นเครื่องผูกใจ สูตรที่ ๑
[๑๗] ภิกษุทั้งหลาย สตรีย่อมผูกบุรุษไว้ได้ด้วยอาการ ๘ อย่าง
อาการ ๘ อย่าง อะไรบ้าง คือ
๑. สตรีย่อมผูกบุรุษไว้ได้ด้วยรูป
๒. สตรีย่อมผูกบุรุษไว้ได้ด้วยรอยยิ้ม
๓. สตรีย่อมผูกบุรุษไว้ได้ด้วยวาจา
๔. สตรีย่อมผูกบุรุษไว้ได้ด้วยมารยาท๑
๕. สตรีย่อมผูกบุรุษไว้ได้ด้วยดอกไม้หรือผลไม้ที่หักมาจากป่า
๖. สตรีย่อมผูกบุรุษไว้ได้ด้วยกลิ่น
๗. สตรีย่อมผูกบุรุษไว้ได้ด้วยรส
๘. สตรีย่อมผูกบุรุษไว้ได้ด้วยผัสสะ
ภิกษุทั้งหลาย สตรีย่อมผูกบุรุษไว้ได้ด้วยอาการ ๘ อย่างนี้แล สัตว์ที่ถูกผัสสะ
ผูกไว้ ชื่อว่าถูกผูกไว้ด้วยดี

ปฐมพันธนสูตรที่ ๗ จบ

เชิงอรรถ :
๑ มารยาท ในที่นี้หมายถึงธรรมเนียมเกี่ยวกับการนุ่งและการห่มเป็นต้น (องฺ.อฏฺฐก.อ. ๓/๑๗/๒๔๐)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๒๔๔ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๒.มหาวรรค ๘.ทุติยพันธนสูตร
๘. ทุติยพันธนสูตร
ว่าด้วยอาการที่เป็นเครื่องผูกใจ สูตรที่ ๒
[๑๘] ภิกษุทั้งหลาย บุรุษย่อมผูกสตรีไว้ได้ด้วยอาการ ๘ อย่าง
อาการ ๘ อย่าง อะไรบ้าง คือ
๑. บุรุษย่อมผูกสตรีไว้ได้ด้วยรูป
๒. บุรุษย่อมผูกสตรีไว้ได้ด้วยรอยยิ้ม
๓. บุรุษย่อมผูกสตรีไว้ได้ด้วยวาจา
๔. บุรุษย่อมผูกสตรีไว้ได้ด้วยมารยาท
๕. บุรุษย่อมผูกสตรีไว้ได้ด้วยดอกไม้หรือผลไม้ที่หักมาจากป่า
๖. บุรุษย่อมผูกสตรีไว้ได้ด้วยกลิ่น
๗. บุรุษย่อมผูกสตรีไว้ได้ด้วยรส
๘. บุรุษย่อมผูกสตรีไว้ได้ด้วยผัสสะ
ภิกษุทั้งหลาย บุรุษย่อมผูกสตรีไว้ได้ด้วยอาการ ๘ อย่างนี้แล สัตว์ที่ถูกผัสสะ
ผูกไว้ ชื่อว่าถูกผูกไว้ด้วยดี

ทุติยพันธนสูตรที่ ๘ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๒๔๕ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๒.มหาวรรค ๙.ปหาราทสูตร
๙. ปหาราทสูตร
ว่าด้วยท้าวปหาราทะจอมอสูร
[๑๙] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ควงต้นสะเดาอันเป็นที่อยู่
ของนเฬรุยักษ์ เขตเมืองเวรัญชา ครั้งนั้น ท้าวปหาราทะจอมอสูร๑ เข้าไปเฝ้าพระ
ผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้ว ยืนอยู่ ณ ที่สมควร พระผู้มีพระภาคได้
ตรัสกับท้าวปหาราทะจอมอสูรดังนี้ว่า
“ปหาราทะ พวกอสูรต่างพากันยินดีในมหาสมุทรบ้างไหม”
ท้าวปหาราทะจอมอสูรกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พวกอสูรต่างพากัน
ยินดีในมหาสมุทร”
พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “ปหาราทะ ในมหาสมุทร มีสิ่งที่น่าอัศจรรย์
ไม่เคยปรากฏเท่าไร ที่พวกอสูรพบเห็นแล้วต่างพากันยินดีในมหาสมุทร”
ท้าวปหาราทะจอมอสูรกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ในมหาสมุทร มีสิ่ง
ที่น่าอัศจรรย์ ไม่เคยปรากฏ ๘ ประการ ที่พวกอสูรพบเห็นแล้วต่างพากันยินดี
สิ่งที่น่าอัศจรรย์ ไม่เคยปรากฏ ๘ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. มหาสมุทรต่ำไปโดยลำดับ ลาดไปโดยลำดับ ลึกลงไปโดยลำดับ
ไม่ลึกชันดิ่งไปทันที การที่มหาสมุทรต่ำไปโดยลำดับ ลาดไป
โดยลำดับ ลึกลงไปโดยลำดับ ไม่ลึกชันดิ่งไปทันที นี้เป็นสิ่งที่น่า
อัศจรรย์ ไม่เคยปรากฏประการที่ ๑ ในมหาสมุทรที่พวกอสูรพบ
เห็นแล้วต่างพากันยินดีในมหาสมุทร
๒. มหาสมุทรมีปกติคงที่ ไม่ล้นฝั่ง การที่มหาสมุทรมีปกติคงที่ ไม่ล้นฝั่ง
นี้เป็นสิ่งที่น่าอัศจรรย์ ไม่เคยปรากฏประการที่ ๒ ในมหาสมุทรที่
พวกอสูรพบเห็นแล้วต่างพากันยินดีในมหาสมุทร

เชิงอรรถ :
๑ จอมอสูร ในที่นี้หมายถึงผู้เป็นใหญ่แห่งเหล่าอสูร จอมอสูรมี ๓ ตน คือ จอมอสูรเวปจิตติ จอมอสูรราหู
และจอมอสูรปหาราทะ (องฺ.อฏฺฐก.อ. ๓/๑๙/๒๔๐)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๒๔๖ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๒.มหาวรรค ๙.ปหาราทสูตร
๓. มหาสมุทรไม่อยู่ร่วมกับซากศพ ย่อมซัดซากศพขึ้นฝั่งจนถึงบนบก
ทันที การที่มหาสมุทรไม่อยู่ร่วมกับซากศพ ย่อมซัดซากศพขึ้นฝั่ง
จนถึงบนบกทันที นี้เป็นสิ่งที่น่าอัศจรรย์ ไม่เคยปรากฏประการที่ ๓
ในมหาสมุทร ที่พวกอสูรพบเห็นแล้วต่างพากันยินดีในมหาสมุทร
๔. มหานทีทุกสาย คือ คงคา ยมุนา อจิรวดี สรภู มหี ไหลลงสู่มหาสมุทร
แล้วย่อมละชื่อและโคตรเดิมของตน รวมเรียกว่า ‘มหาสมุทร’
ทั้งสิ้น การที่มหานทีทุกสาย คือ คงคา ยมุนา อจิรวดี สรภู มหี
ไหลลงสู่มหาสมุทรแล้วย่อมละชื่อและโคตรเดิมของตน รวมเรียกว่า
‘มหาสมุทร’ ทั้งสิ้น นี้เป็นสิ่งที่น่าอัศจรรย์ ไม่เคยปรากฏประการ
ที่ ๔ ในมหาสมุทรที่พวกอสูรพบเห็นแล้วต่างพากันยินดีในมหาสมุทร
๕. แม่น้ำสายใดสายหนึ่งในโลก ที่ไหลรวมลงสู่มหาสมุทร และสายฝน
ตกลงจากฟากฟ้า ก็ไม่ทำให้มหาสมุทรพร่อง หรือเต็มได้ การที่
แม่น้ำสายใดสายหนึ่งในโลก ที่ไหลรวมลงสู่มหาสมุทร และสายฝน
ตกลงจากฟากฟ้า ก็ไม่ทำให้มหาสมุทรพร่องหรือเต็มได้ นี้เป็นสิ่งที่
น่าอัศจรรย์ ไม่เคยปรากฏประการที่ ๕ ในมหาสมุทรที่พวกอสูรพบ
เห็นแล้วต่างพากันยินดีในมหาสมุทร
๖. มหาสมุทรมีรสเดียว คือ รสเค็ม การที่มหาสมุทรมีรสเดียว คือ
รสเค็ม นี้เป็นสิ่งที่น่าอัศจรรย์ ไม่เคยปรากฏประการที่ ๖ ใน
มหาสมุทรที่พวกอสูรพบเห็นแล้วต่างพากันยินดีในมหาสมุทร
๗. มหาสมุทรมีรัตนะมาก มีรัตนะหลายชนิด คือ แก้วมุกดา แก้วมณี
แก้วไพฑูรย์ สังข์ ศิลา แก้วประพาฬ เงิน ทอง ทับทิม แก้วตาแมว
การที่มหาสมุทรมีรัตนะมาก มีรัตนะหลายชนิด คือ แก้วมุกดา
แก้วมณี แก้วไพฑูรย์ สังข์ ศิลา แก้วประพาฬ เงิน ทอง ทับทิม
แก้วตาแมว นี้เป็นสิ่งที่น่าอัศจรรย์ ไม่เคยปรากฏประการที่ ๗ ใน
มหาสมุทรที่พวกอสูรพบเห็นแล้วต่างพากันยินดีในมหาสมุทร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๒๔๗ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๒.มหาวรรค ๙.ปหาราทสูตร
๘. มหาสมุทรเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ขนาดใหญ่ คือ ปลาติมิติมิงคละ
ปลาติมิรมิงคละ อสูร นาค คนธรรพ์ มีลำตัว ๑๐๐ โยชน์ก็มี
มีลำตัว ๒๐๐ โยชน์ก็มี มีลำตัว ๓๐๐ โยชน์ก็มี มีลำตัว
๔๐๐ โยชน์ก็มี มีลำตัว ๕๐๐ โยชน์ก็มี การที่มหาสมุทรเป็นที่อยู่
อาศัยของสัตว์ขนาดใหญ่ คือ ปลาติมิติมิงคละ ปลาติมิรมิงคละ
อสูร นาค คนธรรพ์ มีลำตัว ๑๐๐ โยชน์ก็มี ฯลฯ มีลำตัว
๓๐๐ โยชน์ก็มี มีลำตัว ๔๐๐ โยชน์ก็มี มีลำตัว ๕๐๐ โยชน์ก็มี
นี้เป็นสิ่งที่น่าอัศจรรย์ ไม่เคยปรากฏประการที่ ๘ ในมหาสมุทรที่
พวกอสูรพบเห็นแล้วต่างพากันยินดีในมหาสมุทร
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ในมหาสมุทรมีสิ่งที่น่าอัศจรรย์ ไม่เคยปรากฏ ๘
ประการนี้แล ที่พวกอสูรพบเห็นแล้วต่างพากันยินดีในมหาสมุทร
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุทั้งหลายต่างพากันยินดีในธรรมวินัยนี้บ้างไหม”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ปหาราทะ ภิกษุทั้งหลายต่างพากันยินดีใน
ธรรมวินัยนี้”
ท้าวปหาราทะจอมอสูรทูลถามว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ในธรรมวินัยนี้มี
ธรรมที่น่าอัศจรรย์ ไม่เคยปรากฏเท่าไร ที่ภิกษุทั้งหลายพบเห็นแล้วต่างพากัน
ยินดีในธรรมวินัย”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ปหาราทะ ในธรรมวินัยนี้ มีธรรมที่น่าอัศจรรย์
ไม่เคยปรากฏ ๘ ประการ ที่ภิกษุทั้งหลายพบเห็นแล้วต่างพากันยินดีในธรรมวินัย
ธรรมที่น่าอัศจรรย์ ไม่เคยปรากฏ ๘ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ธรรมวินัยนี้มีการศึกษาไปตามลำดับ๑ มีการบำเพ็ญไปตามลำดับ๒
มีการปฏิบัติไปตามลำดับ๓ ไม่ใช่มีการบรรลุอรหัตตผลโดยทันที

เชิงอรรถ :
๑ การศึกษาไปตามลำดับในที่นี้หมายถึงการศึกษาสิกขา ๓ คือ ศีล สมาธิ และปัญญา (องฺ.อฏฺฐก.อ. ๓/๑๙/
๒๔๔)
๒ การบำเพ็ญไปตามลำดับ ในที่นี้หมายถึงการบำเพ็ญธุดงค์ ๑๓ (องฺ.อฏฺฐก.อ. ๓/๑๙/๒๔๔)
๓ การปฏิบัติไปตามลำดับ ในที่นี้หมายถึง อนุปัสสนา ๙ มหาวิปัสสนา ๑๘ อารัมมณวิภัตติ ๓๘ และ
โพธิปักขิยธรรม ๓๗ (องฺ.อฏฺฐก.อ. ๓/๑๙/๒๔๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๒๔๘ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๒.มหาวรรค ๙.ปหาราทสูตร
เหมือนมหาสมุทรต่ำไปโดยลำดับ ลาดไปโดยลำดับ ลึกลงไปโดย
ลำดับ ไม่ลึกชันดิ่งไปทันที การที่ธรรมวินัยนี้มีการศึกษาไปตาม
ลำดับ มีการบำเพ็ญไปตามลำดับ มีการปฏิบัติไปตามลำดับ ไม่ใช่
มีการบรรลุอรหัตตผลโดยทันที นี้เป็นธรรมที่น่าอัศจรรย์ ไม่เคย
ปรากฏประการที่ ๑ ในธรรมวินัยนี้ที่ภิกษุทั้งหลายพบเห็นแล้วต่าง
พากันยินดีในธรรมวินัยนี้
๒. สาวกทั้งหลายของเราย่อมไม่ละเมิดสิกขาบทที่เราบัญญัติไว้ แม้เพราะ
เหตุแห่งชีวิต เหมือนมหาสมุทรที่มีปกติคงที่ ไม่ล้นฝั่ง การที่สาวก
ทั้งหลายของเราไม่ละเมิดสิกขาบทที่เราบัญญัติไว้ แม้เพราะเหตุแห่ง
ชีวิต นี้เป็นธรรมที่น่าอัศจรรย์ ไม่เคยปรากฏประการที่ ๒ ใน
ธรรมวินัยนี้ที่ภิกษุทั้งหลายพบเห็นแล้วต่างพากันยินดีในธรรมวินัยนี้
๓. บุคคลใดผู้ทุศีล มีธรรมเลวทราม ไม่สะอาด มีความประพฤติที่
น่ารังเกียจ มีการงานปกปิด ไม่ใช่สมณะ แต่ปฏิญญาว่าเป็นสมณะ
ไม่ใช่พรหมจารี๑ แต่ปฏิญญาว่าเป็นพรหมจารี เน่าภายใน ชุ่มด้วย
ราคะ เป็นเหมือนหยากเยื่อ สงฆ์ก็ไม่อยู่ร่วมกับบุคคลนั้น ย่อม
ประชุมกันนำเธอออกไปทันที แม้เธอจะนั่งอยู่ในท่ามกลางภิกษุสงฆ์
ก็ยังห่างไกลจากสงฆ์ และสงฆ์ก็ห่างไกลจากเธอ เหมือนมหาสมุทร
ไม่อยู่ร่วมกับซากศพ ย่อมซัดซากศพขึ้นฝั่งจนถึงบนบกทันที การที่
บุคคลใดผู้ทุศีล มีธรรมเลวทราม ไม่สะอาด มีความประพฤติที่
น่ารังเกียจ มีการงานปกปิด ไม่ใช่สมณะ แต่ปฏิญญาว่าเป็น
สมณะ ไม่ใช่พรหมจารี แต่ปฏิญญาว่าเป็นพรหมจารี เน่าภายใน
ชุ่มด้วยราคะ เป็นเหมือนหยากเยื่อ สงฆ์ไม่อยู่ร่วมกับบุคคลนั้น
ย่อมประชุมกันนำเธอออกไปทันที แม้เธอจะนั่งอยู่ในท่ามกลาง
ภิกษุสงฆ์ ก็ยังห่างไกลจากสงฆ์ และสงฆ์ก็ห่างไกลจากเธอ นี้เป็น

เชิงอรรถ :
๑ ดูเชิงอรรถที่ ๑ สัตตกนิบาต ข้อ ๗๒ หน้า ๑๕๙ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๒๔๙ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๒.มหาวรรค ๙.ปหาราทสูตร
ธรรมที่น่าอัศจรรย์ ไม่เคยปรากฏประการที่ ๓ ในธรรมวินัยนี้ที่
ภิกษุทั้งหลายพบเห็นแล้วต่างพากันยินดีในธรรมวินัยนี้
๔. วรรณะ ๔ เหล่านี้ คือ กษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทร ออกจาก
เรือนบวชเป็นบรรพชิตในธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศแล้ว ย่อมละ
ชื่อและโคตรเดิมของตน รวมเรียกว่า ‘สมณศากยบุตร’ ทั้งสิ้น
เหมือนมหานทีทุกสาย คือ คงคา ยมุนา อจิรวดี สรภู มหี
ไหลลงสู่มหาสมุทรแล้ว ย่อมละชื่อและโคตรเดิมของตน รวม
เรียกว่า ‘มหาสมุทร’ ทั้งสิ้น การที่วรรณะ ๔ เหล่านี้ คือ กษัตริย์
พราหมณ์ แพศย์ ศูทร ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตในธรรมวินัย
ที่ตถาคตประกาศแล้ว ย่อมละชื่อและโคตรเดิมของตน รวมเรียกว่า
‘สมณศากยบุตร’ ทั้งสิ้น นี้เป็นธรรมที่น่าอัศจรรย์ ไม่เคยปรากฏ
ประการที่ ๔ ในธรรมวินัยนี้ที่ภิกษุทั้งหลายพบเห็นแล้วต่างพากัน
ยินดีในธรรมวินัยนี้
๕. แม้หากภิกษุจำนวนมากปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ
ก็ไม่ทำให้นิพพานพร่องหรือเต็มได้ เหมือนแม่น้ำสายใดสายหนึ่งในโลก
ที่ไหลรวมลงสู่มหาสมุทร และสายฝนตกลงจากฟากฟ้า ก็ไม่ทำ
ให้มหาสมุทรพร่องหรือเต็มได้ การที่แม้หากภิกษุจำนวนมาก
ปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ ก็ไม่ทำให้นิพพานพร่องหรือ
เต็มได้ นี้เป็นธรรมที่น่าอัศจรรย์ ไม่เคยปรากฏประการที่ ๕ ใน
ธรรมวินัยนี้ที่ภิกษุทั้งหลายเห็นแล้วต่างพากันยินดีในธรรมวินัยนี้
๖. ธรรมวินัยนี้มีรสเดียว คือ วิมุตติรส เหมือนมหาสมุทรมีรสเดียวคือ
รสเค็ม การที่ธรรมวินัยนี้มีรสเดียว คือ วิมุตติรส นี้เป็นธรรมที่
น่าอัศจรรย์ ไม่เคยปรากฏประการที่ ๖ ในธรรมวินัยนี้ที่ภิกษุ
ทั้งหลายพบเห็นแล้วต่างพากันยินดีในธรรมวินัยนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๒๕๐ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๒.มหาวรรค ๙.ปหาราทสูตร
๗. ธรรมวินัยนี้มีรัตนะมาก มีรัตนะหลายชนิด คือ สติปัฏฐาน ๔
สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗
อริยมรรคมีองค์ ๘ เหมือนมหาสมุทรที่มีรัตนะมาก มีรัตนะ
หลายชนิด คือ แก้วมุกดา แก้วมณี แก้วไพฑูรย์ สังข์ ศิลา
แก้วประพาฬ เงิน ทอง ทับทิม แก้วตาแมว การที่ธรรมวินัยนี้
มีรัตนะมาก มีรัตนะหลายชนิด คือ สติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔
อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้
เป็นธรรมที่น่าอัศจรรย์ ไม่เคยปรากฏประการที่ ๗ ในธรรมวินัยนี้
ที่ภิกษุทั้งหลายพบเห็นแล้วต่างพากันยินดีในธรรมวินัยนี้
๘. ธรรมวินัยนี้เป็นที่อยู่ของผู้ใหญ่ คือ พระโสดาบัน บุคคลผู้ปฏิบัติ
เพื่อทำให้แจ้งโสดาปัตติผล พระสกทาคามี บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำ
ให้แจ้งสกทาคามิผล พระอนาคามี บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้ง
อนาคามิผล พระอรหันต์ บุคคคลผู้ปฏิบัติเพื่ออรหัตตผล เหมือน
มหาสมุทรเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ขนาดใหญ่ คือ ปลาติมิติมิงคละ
ปลาติมิรมิงคละ อสูร นาค คนธรรพ์ มีลำตัว ๑๐๐ โยชน์ก็มี
มีลำตัว ๒๐๐ โยชน์ก็มี มีลำตัว ๓๐๐ โยชน์ก็มี มีลำตัว
๔๐๐ โยชน์ก็มี มีลำตัว ๕๐๐ โยชน์ก็มี การที่ธรรมวินัยนี้เป็น
ที่อยู่ของผู้ใหญ่ คือ พระโสดาบัน บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้ง
โสดาปัตติผล พระสกทาคามี บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้ง
สกทาคามิผล พระอนาคามี บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้ง
อนาคามิผล พระอรหันต์ บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่ออรหัตตผล๑ นี้เป็น
ธรรมที่น่าอัศจรรย์ ไม่เคยปรากฏ ประการที่ ๘ ในธรรมวินัยนี้
ที่ภิกษุทั้งหลายพบเห็นแล้วต่างพากันยินดีในธรรมวินัยนี้
ปหาราทะ ในธรรมวินัยนี้ มีธรรมที่น่าอัศจรรย์ ไม่เคยปรากฏ ๘ ประการนี้แล
ที่ภิกษุทั้งหลายพบเห็นแล้วต่างพากันยินดีในธรรมวินัยนี้

ปหาราทสูตรที่ ๙ จบ

เชิงอรรถ :
๑ ดู ที.ปา. ๑๑/๓๓๓/๒๒๔, อภิ.ปุ. (แปล) ๓๖/๒๐๗/๒๒๙

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๒๕๑ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๒.มหาวรรค ๑๐.อุโปสถสูตร
อุโปสถสูตร๑
ว่าด้วยเหตุที่พระพุทธเจ้าไม่ทรงแสดงปาติโมกข์
[๒๐] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ บุพพาราม ปราสาทของ
นางวิสาขามิคารมาตา เขตกรุงสาวัตถี สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคมีภิกษุสงฆ์
แวดล้อม ประทับนั่ง ในวันอุโบสถ เมื่อราตรีผ่านไป๒แล้ว ปฐมยามผ่านไปแล้ว
ท่านพระอานนท์ลุกจากอาสนะ ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่า ประนมมือไปทางที่พระผู้มี
พระภาคประทับอยู่ ได้กราบทูลดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ราตรีผ่านไปแล้ว ปฐมยามผ่านไปแล้ว ภิกษุสงฆ์
นั่งรออยู่นานแล้ว ขอพระผู้มีพระภาคทรงโปรดยกพระปาติโมกข์ขึ้นแสดงแก่ภิกษุ
ทั้งหลายเถิด พระพุทธเจ้าข้า”
เมื่อท่านพระอานนท์กราบทูลอย่างนี้แล้ว พระผู้มีพระภาคทรงนิ่ง๓
แม้ครั้งที่ ๒ เมื่อราตรีผ่านไปแล้ว มัชฌิมยามผ่านไปแล้ว ท่านพระอานนท์
ลุกจากอาสนะ ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่า ประนมมือไปทางที่พระผู้มีพระภาคประทับอยู่
ได้กราบทูลดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ราตรีผ่านไปแล้ว มัชฌิมยามผ่านไปแล้ว ภิกษุสงฆ์
นั่งรออยู่นานแล้ว ขอพระผู้มีพระภาคทรงโปรดยกพระปาติโมกข์ขึ้นแสดงแก่ภิกษุ
ทั้งหลายเถิด พระพุทธเจ้าข้า”
แม้ครั้งที่ ๒ พระผู้มีพระภาคก็ทรงนิ่ง

เชิงอรรถ :
๑ ดู วิ.จู. (แปล) ๗/๓๘๓-๓๘๕/๒๗๗-๒๘๔, ขุ.อุ.๒๕/๔๕/๑๖๓-๑๗๐, อภิ.ก.๓๗/๓๔๖/๑๘๘
๒ ดูเชิงอรรถที่ ๑ สัตตกนิบาต ข้อ ๓๒ หน้า ๔๙ ในเล่มนี้
๓ เหตุที่ทรงนิ่ง ไม่ทรงยกปาติโมกข์ขึ้นแสดง เพราะพระองค์ทรงมุ่งอนุเคราะห์ภิกษุผู้ทุศีลที่มีอยู่ในบริษัท
หากพระองค์ทรงยกปาติโมกข์ขึ้นแสดง ศีรษะของภิกษุผู้ทุศีลนั้นก็จักแตก ๗ เสี่ยง จึงทรงนิ่งเสีย (องฺ.อฏฺฐก.อ.
๓/๒๐/๒๔๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๒๕๒ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๒.มหาวรรค ๑๐.อุโปสถสูตร
แม้ครั้งที่ ๓ เมื่อราตรีผ่านไปแล้ว ปัจฉิมยามผ่านไปแล้ว ยามรุ่งอรุณ เริ่มสว่าง
ท่านพระอานนท์ลุกจากอาสนะ ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่า ประนมมือไปทางที่พระผู้มี
พระภาคประทับอยู่ ได้กราบทูลดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ราตรีผ่านไปแล้ว ปัจฉิมยามผ่านไปแล้ว ยามรุ่งอรุณ
เริ่มสว่าง ภิกษุสงฆ์นั่งรออยู่นานแล้ว ขอพระผู้มีพระภาคทรงโปรดยกพระปาติโมกข์
ขึ้นแสดงแก่ภิกษุทั้งหลายเถิด พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อานนท์ บริษัทไม่บริสุทธิ์”
ลำดับนั้น ท่านพระมหาโมคคัลลานะได้มีความคิดดังนี้ว่า “พระผู้มีพระภาค
ตรัสอย่างนี้ว่า ‘อานนท์ บริษัทไม่บริสุทธิ์’ ทรงหมายถึงใครกัน แล้วจึงกำหนดจิต
(ของภิกษุ)ด้วยจิต(ของตน)แล้วตรวจดูภิกษุสงฆ์ทุกรูป จึงได้เห็นบุคคลผู้ทุศีล
มีธรรมเลวทราม ไม่สะอาด มีความประพฤติที่น่ารังเกียจ มีการงานปกปิด ไม่ใช่
สมณะแต่ปฏิญญาว่าเป็นสมณะ ไม่ใช่พรหมจารี แต่ปฏิญญาว่าเป็นพรหมจารี
เน่าภายใน ชุ่มด้วยราคะ เป็นเหมือนหยากเยื่อ นั่งอยู่ในท่ามกลางสงฆ์นั้น
ครั้นเห็นแล้ว จึงลุกจากอาสนะเข้าไปหาบุคคลนั้น ได้กล่าวกับบุคคลนั้นว่า “ท่าน
จงลุกขึ้น พระผู้มีพระภาคทรงเห็นท่านแล้ว ท่านไม่มีสังวาส๑กับภิกษุทั้งหลาย”
เมื่อพระมหาโมคคัลลานะกล่าวอย่างนี้แล้ว บุคคลนั้นก็ยังนิ่งอยู่
แม้ครั้งที่ ๒ ท่านพระมหาโมคคัลลานะก็ได้กล่าวกับบุคคลนั้นว่า “ท่านจง
ลุกขึ้น พระผู้มีพระภาคทรงเห็นท่านแล้ว ท่านไม่มีสังวาสกับภิกษุทั้งหลาย”
แม้ครั้งที่ ๒ บุคคลนั้นก็ยังนิ่งอยู่
แม้ครั้งที่ ๓ ท่านพระมหาโมคคัลลานะก็ได้กล่าวกับบุคคลนั้นว่า “ท่านจง
ลุกขึ้น พระผู้มีพระภาคทรงเห็นท่านแล้ว ท่านไม่มีสังวาสกับภิกษุทั้งหลาย”
แม้ครั้งที่ ๓ บุคคลนั้นก็ยังนิ่งอยู่
ครั้นแล้ว ท่านพระมหาโมคคัลลานะจึงจับแขนเขาฉุดให้ออกไปภายนอกซุ้มประตู
ใส่กลอนแล้ว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาค

เชิงอรรถ :
๑ สังวาส ในที่นี้หมายถึงกรรมที่ทำร่วมกัน อุทเทส(ปาติโมกข์ที่ยกขึ้นแสดง)ที่สวดร่วมกัน ความมีสิกขา
เสมอกัน (วิ.มหา. (แปล) ๑/๕๕/๔๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๒๕๓ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๒.มหาวรรค ๑๐.อุโปสถสูตร
ดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ให้บุคคลนั้นออกไปพ้นแล้ว บริษัทบริสุทธิ์
แล้ว ขอพระผู้มีพระภาคทรงโปรดยกพระปาติโมกข์ขึ้นแสดงแก่ภิกษุทั้งหลายเถิด
พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคยปรากฏ โมคคัลลานะ โมฆบุรุษ
นี้ดื้ออยู่จนต้องฉุดแขนไล่ออกไป”
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย
ตั้งแต่บัดนี้ไป เธอทั้งหลายพึงทำอุโบสถ พึงยกปาติโมกข์ขึ้นแสดง ภิกษุทั้งหลาย
ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป เราจักไม่ทำอุโบสถ จักไม่ยกปาติโมกข์ขึ้นแสดง ภิกษุทั้งหลาย
เป็นไปไม่ได้ที่ตถาคตจะยกปาติโมกข์ขึ้นแสดงในเมื่อบริษัทไม่บริสุทธิ์๑
ภิกษุทั้งหลาย ในมหาสมุทรมีสิ่งที่น่าอัศจรรย์ ไม่เคยปรากฏ ๘ ประการที่
พวกอสูรพบเห็นแล้วต่างพากันยินดีในมหาสมุทร
สิ่งที่น่าอัศจรรย์ ไม่เคยปรากฏ ๘ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. มหาสมุทรต่ำไปโดยลำดับ ลาดไปโดยลำดับ ลึกลงไปโดยลำดับ
ไม่ลึกชันดิ่งไปทันที การที่มหาสมุทรต่ำไปโดยลำดับ ลาดไปโดย
ลำดับ ลึกลงไปโดยลำดับ ไม่ลึกชันดิ่งไปทันที นี้เป็นสิ่งที่น่าอัศจรรย์

เชิงอรรถ :
๑ ข้อความพระดำรัสนี้ เป็นพระดำรัสที่ตรัสมอบหมายให้ภิกษุสาวกยกอาณาปาติโมกข์ (ปาติโมกข์เกี่ยวกับ
ศีลบัญญัติ) ขึ้นแสดง (ดู วิ.ม. (แปล) ๔/๑๓๓/๒๐๙,๑๕๐/๒๒๘) หลังจากที่พระองค์ได้ทรงยกโอวาท-
ปาติโมกข์ (ปาติโมกข์คือพระโอวาท) ขึ้นแสดงทุกกึ่งเดือนมาเป็นเวลา ๒๐ ปีบริบูรณ์ (ดู ที.ม. ๑๐/๙๐/๔๓,
ขุ.ธ. ๒๕/๑๘๓-๑๘๕/๔๙-๕๐)
อนึ่ง เหตุที่ทรงงดแสดงเอง เพราะทรงประสงค์รักษาพุทธประเพณีว่า เมื่อทรงเห็นว่าบริษัท
ไม่บริสุทธิ์แล้ว พระพุทธเจ้าทุกพระองค์จะไม่ทรงทำอุโบสถ ไม่ทรงยกปาติโมกข์ขึ้นแสดง แต่เพื่อป้องกัน
ไม่ให้อุโบสถกรรมของภิกษุสงฆ์ขาดไป จึงทรงอนุญาตให้สงฆ์ยกอาณาปาติโมกข์ขึ้นแสดงแทน (อง.อฏฐก.
ฏีกา ๓/๒๐/๒๘๖-๒๘๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๒๕๔ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๒.มหาวรรค ๑๐.อุโปสถสูตร
ไม่เคยปรากฏ ประการที่ ๑ ในมหาสมุทรที่พวกอสูรพบเห็นแล้ว
ต่างพากันยินดีในมหาสมุทร
ฯลฯ๑
๘. มหาสมุทรเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ขนาดใหญ่ คือ ปลาติมิติมิงคละ
ปลาติมิรมิงคละ อสูร นาค คนธรรพ์ มีลำตัว ๑๐๐ โยชน์ก็มี ฯลฯ
มีลำตัว ๕๐๐ โยชน์ก็มี การที่มหาสมุทรเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์
ขนาดใหญ่ คือ ปลาติมิติมิงคละ ปลาติมิรมิงคละ อสูร นาค
คนธรรพ์ มีลำตัว ๑๐๐ โยชน์ก็มี ฯลฯ มีลำตัว ๕๐๐ โยชน์ก็มี
นี้เป็นสิ่งที่น่าอัศจรรย์ ไม่เคยปรากฏประการที่ ๘ ในมหาสมุทรที่
พวกอสูรพบเห็นแล้วต่างพากันยินดีในมหาสมุทร
ภิกษุทั้งหลาย ในมหาสมุทรมีสิ่งที่น่าอัศจรรย์ ไม่เคยปรากฏ ๘ ประการนี้แล
ที่พวกอสูรพบเห็นแล้วต่างพากันยินดีในมหาสมุทร
ภิกษุทั้งหลาย ในทำนองเดียวกัน ในธรรมวินัยนี้ มีธรรมที่น่าอัศจรรย์ ไม่เคย
ปรากฏ ๘ ประการ ที่ภิกษุทั้งหลายพบเห็นแล้วต่างพากันยินดีในธรรมวินัยนี้
ธรรมที่น่าอัศจรรย์ ไม่เคยปรากฏ ๘ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ธรรมวินัยนี้มีการศึกษาไปตามลำดับ มีการบำเพ็ญไปตามลำดับ
มีการปฏิบัติไปตามลำดับ ไม่ใช่มีการบรรลุอรหัตตผลโดยทันที
เหมือนมหาสมุทรที่ต่ำไปโดยลำดับ ลาดไปโดยลำดับ ลึกลงไป
โดยลำดับ ไม่ลึกชันดิ่งไปทันที การที่ธรรมวินัยนี้มีการศึกษาไปตาม
ลำดับ มีการบำเพ็ญไปตามลำดับ มีการปฏิบัติไปตามลำดับ ไม่ใช่
มีการบรรลุอรหัตตผลโดยทันที นี้เป็นธรรมที่น่าอัศจรรย์ ไม่เคย
ปรากฏประการที่ ๑ ในธรรมวินัยนี้ที่ภิกษุทั้งหลายพบเห็นแล้วต่าง
พากันยินดีในธรรมวินัยนี้
ฯลฯ

เชิงอรรถ :
๑ เครื่องหมาย ฯลฯ ที่ปรากฏในสูตรนี้ ดูความเต็มในอัฏฐกนิบาต ข้อ ๑๙ (ปหาราทสูตร) หน้า ๒๔๖-๒๕๑
ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๒๕๕ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๒.มหาวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค
๘. ธรรมวินัยนี้เป็นที่อยู่ของผู้ใหญ่ คือ พระโสดาบัน บุคคลผู้ปฏิบัติ
เพื่อทำให้แจ้งโสดาปัตติผล ฯลฯ บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่ออรหัตตผล
เหมือนมหาสมุทรเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ขนาดใหญ่ คือ ปลา
ติมิติมิงคละ ปลาติมิรมิงคละ อสูร นาค คนธรรพ์ มีลำตัว ๑๐๐
โยชน์ก็มี ฯลฯ มีลำตัว ๕๐๐ โยชน์ก็มี การที่ธรรมวินัยนี้เป็นที่อยู่
ของผู้ใหญ่ คือ พระโสดาบัน บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้ง
โสดาปัตติผล ฯลฯ บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่ออรหัตตผล นี้เป็นธรรม
ที่น่าอัศจรรย์ ไม่เคยปรากฏประการที่ ๘ ในธรรมวินัยนี้ที่ภิกษุ
ทั้งหลาย พบเห็นแล้วต่างพากันยินดีในธรรมวินัยนี้
ภิกษุทั้งหลาย ในธรรมวินัยนี้มีธรรมที่น่าอัศจรรย์ ไม่เคยปรากฏ ๘ ประการ
ที่ภิกษุทั้งหลายพบเห็นแล้วต่างพากันยินดีในธรรมวินัยนี้”
อุโปสถสูตรที่ ๑๐ จบ
มหาวรรคที่ ๒ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. เวรัญชสูตร ๒. สีหสูตร
๓. อัสสาชานียสูตร ๔. อัสสขฬุงกสูตร
๕. มลสูตร ๖. ทูเตยยสูตร
๗. ปฐมพันธนสูตร ๘. ทุติยพันธนสูตร
๙. ปหาราทสูตร ๑๐. อุโปสถสูตร


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๒๕๖ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๓.คหปติวรรค ๑.ปฐมอุคคสูตร
๓. คหปติวรรค
หมวดว่าด้วยคหบดี
๑. ปฐมอุคคสูตร
ว่าด้วยธรรมที่น่าอัศจรรย์ของอุคคคหบดี สูตรที่ ๑
[๒๑] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ กูฏาคารศาลา ป่ามหาวัน
เขตกรุงเวสาลี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคได้รับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า
“ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงทรงจำอุคคคหบดีชาวเมืองเวสาลีว่าเป็นผู้ประกอบ
ด้วยธรรมที่น่าอัศจรรย์ ไม่เคยปรากฏ ๘ ประการ” พระผู้มีพระภาคผู้สุคตได้ตรัส
เวยยากรณภาษิตนี้แล้ว เสด็จลุกจากพุทธอาสน์เข้าไปสู่พระวิหาร
ครั้นในเวลาเช้า ภิกษุรูปหนึ่งครองอันตรวาสก ถือบาตรและจีวรเข้าไปยังนิเวศน์
ของอุคคคหบดีชาวเมืองเวสาลีแล้วนั่งบนอาสนะที่ปูลาดไว้ ลำดับนั้น อุคคคหบดี
ชาวเมืองเวสาลีเข้าไปหาภิกษุนั้นถึงที่อยู่ อภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ภิกษุนั้นได้
ถามอุคคคหบดีนั้นดังนี้ว่า
“ท่านอุคคคหบดี พระผู้มีพระภาคทรงพยากรณ์ว่า ท่านเป็นผู้ประกอบด้วย
ธรรมที่น่าอัศจรรย์ ไม่เคยปรากฏ ๘ ประการ ธรรมที่น่าอัศจรรย์ ไม่เคยปรากฏ
๘ ประการ ที่เป็นเหตุให้ท่านได้รับพยากรณ์จากพระผู้มีพระภาค เป็นอย่างไร”
อุคคคหบดีกล่าวว่า “ท่านผู้เจริญ โยมไม่ทราบเลยว่า พระผู้มีพระภาคทรง
พยากรณ์ว่าโยมเป็นผู้ประกอบด้วยธรรมที่น่าอัศจรรย์ ไม่เคยปรากฏ ๘ ประการ
เหล่าไหน แต่ขอท่านโปรดฟังธรรมที่น่าอัศจรรย์ ไม่เคยปรากฏ ๘ ประการที่โยมมี
อยู่เถิด โปรดใส่ใจให้ดี โยมจักกล่าว ภิกษุนั้นรับคำแล้ว อุคคคหบดีชาวเมืองเวสาลี
จึงได้กล่าวเรื่องนี้ว่า
๑. “เมื่อโยมได้เห็นพระผู้มีพระภาคแต่ที่ไกลเป็นครั้งแรก พร้อมกับ
การเห็นนั่นเอง โยมก็มีจิตเลื่อมใสต่อพระผู้มีพระภาค นี้แลเป็น
ธรรมที่น่าอัศจรรย์ ไม่เคยปรากฏประการที่ ๑ ที่โยมมีอยู่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๒๕๗ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๓.คหปติวรรค ๑.ปฐมอุคคสูตร
๒. โยมมีจิตเลื่อมใสแล้ว เข้าไปนั่งใกล้พระผู้มีพระภาค พระองค์ได้ทรง
แสดงอนุปุพพีกถาแก่โยม คือ ทรงประกาศทานกถา(เรื่องทาน)
สีลกถา(เรื่องศีล) สัคคกถา(เรื่องสวรรค์) กามาทีนวกถา(เรื่องโทษ
ความต่ำทราม ความเศร้าหมองแห่งกาม) เนกขัมมานิสังสกถา
(เรื่องอานิสงส์แห่งการออกจากกาม)
เมื่อพระผู้มีพระภาคทรงทราบว่า โยมเป็นผู้มีจิตควร อ่อน
ปราศจากนิวรณ์ เบิกบาน ผ่องใส จึงทรงประกาศสามุกกังสิกเทศนา๑
คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค ธรรมจักษุอันปราศจากธุลี ปราศจาก
มลทิน ได้เกิดแก่โยมบนที่นั่งนั้นเองว่า ‘สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้น
เป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งปวงมีความดับไปเป็นธรรมดา’ เปรียบเหมือน
ผ้าขาวสะอาด ปราศจากมลทิน ควรรับน้ำย้อมได้เป็นอย่างดี ท่าน
ผู้เจริญ โยมนั้นได้เห็นธรรม บรรลุธรรม รู้ธรรม หยั่งลงสู่ธรรม
ข้ามพ้นความสงสัย ปราศจากความเคลือบแคลง ถึงความแกล้วกล้า
ปราศจากความมีผู้อื่นเป็นปัจจัยในศาสนาของพระศาสดา ได้ถึง
พระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์เป็นสรณะแล้ว และได้สมาทาน
สิกขาบทที่มีพรหมจรรย์เป็นที่ ๕ บนที่นั่งนั่นเอง นี้แลเป็นธรรม
ที่น่าอัศจรรย์ ไม่เคยปรากฏประการที่ ๒ ที่โยมมีอยู่
๓. โยมนั้นมีภรรยาที่เป็นสาวรุ่น ๔ คน โยมเข้าไปหาภรรยาเหล่านั้น
ถึงที่อยู่แล้วกล่าวกับพวกเธอว่า ‘น้องหญิงทั้งหลาย ฉันได้สมาทาน
สิกขาบทที่มีพรหมจรรย์เป็นที่ ๕ แล้ว หญิงใดปรารถนา หญิงนั้น
จงใช้จ่ายโภคทรัพย์เหล่านี้ และจงทำบุญ หรือกลับไปยังตระกูลญาติ
ของตนเถิด หรือมีความประสงค์ชาย ฉันก็จะมอบพวกเธอให้แก่เขา’
เมื่อโยมกล่าวอย่างนี้แล้ว ภรรยาหลวงได้กล่าวกับโยมว่า ‘ขอท่าน
โปรดมอบดิฉันให้แก่ชายผู้มีชื่อนี้เถิด’ ลำดับนั้น โยมได้เรียกชาย
คนนั้นมา ใช้มือซ้ายจับภรรยา มือขวาจับเต้าน้ำหลั่งน้ำมอบให้
ชายคนนั้นไป เมื่อบริจาคภรรยาสาวรุ่นให้เป็นทาน โยมไม่รู้สึก
ว่าจิตแปรไป นี้แลเป็นธรรมที่น่าอัศจรรย์ ไม่เคยปรากฏประการ
ที่ ๓ ที่โยมมีอยู่

เชิงอรรถ :
๑ ดูเชิงอรรถที่ ๑ อัฏฐกนิบาต ข้อ ๑๒ หน้า ๒๓๓ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๒๕๘ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๓.คหปติวรรค ๑.ปฐมอุคคสูตร
๔. ตระกูลของโยมมีโภคทรัพย์อยู่พร้อม และโภคทรัพย์เหล่านั้น โยม
ได้จำแนกแจกจ่ายกับผู้มีศีล มีกัลยาณธรรม นี้แลเป็นธรรมที่น่า
อัศจรรย์ ไม่เคยปรากฏประการที่ ๔ ที่โยมมีอยู่
๕. โยมเข้าไปนั่งใกล้ภิกษุใด ก็เข้าไปนั่งใกล้โดยเคารพเท่านั้น มิใช่เข้าไป
นั่งใกล้โดยไม่เคารพ นี้แลเป็นธรรมที่น่าอัศจรรย์ ไม่เคยปรากฏ
ประการที่ ๕ ที่โยมมีอยู่
๖. หากท่านผู้มีอายุนั้นจะแสดงธรรมแก่โยม โยมจะฟังโดยเคารพ
เท่านั้น มิใช่ฟังโดยไม่เคารพ หากท่านผู้มีอายุนั้นจะไม่แสดงธรรม
แก่โยม โยมก็จะแสดงธรรมแก่ท่าน นี้แลเป็นธรรมที่น่าอัศจรรย์
ไม่เคยปรากฏประการที่ ๖ ที่โยมมีอยู่
๗. ไม่น่าอัศจรรย์เลย ที่พวกเทวดาเข้ามาหาโยมแล้วบอกว่า ‘ท่าน
คหบดี ธรรมอันพระผู้มีพระภาคตรัสไว้ดีแล้ว’ เมื่อพวกเทวดากล่าว
อย่างนี้แล้ว โยมได้กล่าวกับเทวดาเหล่านั้นอย่างนี้ว่า ‘เทวดา
พวกท่านจะบอกอย่างนี้ หรือไม่บอกอย่างนี้ก็ตาม แท้จริง ธรรมก็
เป็นธรรมอันพระผู้มีพระภาคตรัสไว้ดีแล้ว’ โยมไม่รู้สึกฟูใจเพราะ
เหตุนั้นเลยว่า ‘พวกเทวดาเข้ามาหาโยม หรือโยมสนทนากับพวก
เทวดา’ นี้แลป็นธรรมที่น่าอัศจรรย์ ไม่เคยปรากฏประการที่ ๗
ที่โยมมีอยู่
๘. สังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ ประการ ที่พระผู้มีพระภาคได้ทรงแสดงไว้ โยม
ไม่เห็นสังโยชน์อะไรในตนที่ยังละไม่ได้ นี้แลป็นธรรมที่น่าอัศจรรย์
ไม่เคยปรากฏประการที่ ๘ ที่โยมมีอยู่
ท่านผู้เจริญ ธรรมที่น่าอัศจรรย์ ไม่เคยปรากฏ ๘ ประการนี้แล ที่โยมมีอยู่
แต่โยมไม่ทราบเลยว่า พระผู้มีพระภาคได้ทรงพยากรณ์ว่าโยมเป็นผู้ประกอบด้วยธรรม
ที่น่าอัศจรรย์ ไม่เคยปรากฏ ๘ ประการเหล่าไหน”
ลำดับนั้น ภิกษุนั้นรับบิณฑบาตในนิเวศน์ของอุคคคหบดีชาวเมืองเวสาลีแล้ว
ลุกจากอาสนะจากไป ท่านกลับจากบิณฑบาต หลังจากฉันอาหารเสร็จแล้ว เข้าไป
เฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลเรื่อง
ที่สนทนาปราศรัยกับอุคคคหบดีชาวเมืองเวสาลีทั้งหมดให้พระผู้มีพระภาคทรงทราบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๒๕๙ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๓.คหปติวรรค ๒.ทุตติยอุคคสูตร
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ดีละ ดีละ ภิกษุ อุคคคหบดีชาวเมืองเวสาลี เมื่อจะ
พยากรณ์ให้ถูกต้อง พึงพยากรณ์ไปตามนั้น ภิกษุ เราพยากรณ์ว่าอุคคคหบดีชาว
เมืองเวสาลีเป็นผู้ประกอบด้วยธรรมที่น่าอัศจรรย์ ไม่เคยปรากฏ ๘ ประการนี้แล
และเธอจงทรงจำอุคคคหบดีชาวเมืองเวสาลีว่าเป็นผู้ประกอบด้วยธรรมที่น่าอัศจรรย์
ไม่เคยปรากฏ ๘ ประการนี้”
ปฐมอุคคสูตรที่ ๑ จบ

๒. ทุติยอุคคสูตร
ว่าด้วยธรรมที่น่าอัศจรรย์ของอุคคคหบดี สูตรที่ ๒
[๒๒] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ บ้านหัตถิคาม แคว้นวัชชี
ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย
เธอทั้งหลายจงทรงจำอุคคคหบดีชาวบ้านหัตถิคามว่าเป็นผู้ประกอบด้วยธรรมที่
น่าอัศจรรย์ ไม่เคยปรากฏ ๘ ประการ” พระผู้มีพระภาคผู้สุคตได้ตรัสเวยยากรณ-
ภาษิตนี้แล้ว เสด็จลุกจากพุทธอาสน์เข้าไปสู่พระวิหาร
ครั้นเวลาเช้า ภิกษุรูปหนึ่งครองอันตรวาสก ถือบาตรและจีวรเข้าไปยังนิเวศน์
ของอุคคคหบดีชาวบ้านหัตถิคาม แล้วนั่งบนอาสนะที่ปูลาดไว้ ต่อมา อุคคคหบดี
ชาวบ้านหัตถิคามเข้าไปหาภิกษุนั้นถึงที่อยู่ อภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ภิกษุนั้นได้
กล่าวกับอุคคคหบดีชาวบ้านหัตถิคามดังนี้ว่า
“ท่านอุคคคหบดี พระผู้มีพระภาคทรงพยากรณ์ว่า ท่านเป็นผู้ประกอบด้วย
ธรรมที่น่าอัศจรรย์ ไม่เคยปรากฏ ๘ ประการ ท่านอุคคคหบดี ธรรมที่น่าอัศจรรย์
ไม่เคยปรากฏ ๘ ประการ อะไรบ้าง”
อุคคคหบดีกล่าวว่า “ท่านผู้เจริญ โยมไม่ทราบเลยว่า ‘พระผู้มีพระภาคได้ทรง
พยากรณ์ว่าโยมเป็นผู้ประกอบด้วยธรรมที่น่าอัศจรรย์ ไม่เคยปรากฏ ๘ ประการ
เหล่าไหน’ แต่ขอท่านโปรดฟังธรรมที่น่าอัศจรรย์ ไม่เคยปรากฏ ๘ ประการที่โยม
มีอยู่เถิด โปรดใส่ใจให้ดี โยมจักกล่าว” ภิกษุนั้นรับคำแล้ว อุคคคหบดีชาวบ้าน
หัตถิคามจึงได้กล่าวเรื่องนี้ว่า


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๒๖๐ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๓.คหปติวรรค ๒.ทุตติยอุคคสูตร
๑. เมื่อโยมกำลังเที่ยวชมอยู่ในสวนนาควัน ได้เห็นพระผู้มีพระภาคแต่
ที่ไกลเป็นครั้งแรก พร้อมกับการเห็นนั่นเอง โยมก็มีจิตเลื่อมใสต่อ
พระผู้มีพระภาค และส่างจากเมาสุรา นี้แลเป็นธรรมที่น่าอัศจรรย์
ไม่เคยปรากฏประการที่ ๑ ที่โยมมีอยู่
๒. โยมมีจิตเลื่อมใสแล้ว เข้าไปนั่งใกล้พระผู้มีพระภาค พระผู้มี
พระภาคทรงแสดงอนุปุพพีกถาแก่โยม คือ ทรงประกาศทานกถา
สีลกถา สัคคกถา กามาทีนวกถา เนกขัมมานิสังสกถา
เมื่อพระผู้มีพระภาคทรงทราบว่าโยมมีจิตควร อ่อน ปราศจาก
นิวรณ์ เบิกบาน ผ่องใส จึงทรงประกาศสามุกกังสิกเทศนา คือ
ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค ธรรมจักษุอันปราศจากธุลี ปราศจาก
มลทิน ได้เกิดแก่โยมบนที่นั่งนั้นเองว่า ‘สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้น
เป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งปวงมีความดับไปเป็นธรรมดา’ เปรียบเหมือน
ผ้าขาวสะอาด ปราศจากมลทิน ควรรับน้ำย้อมได้เป็นอย่างดี
ท่านผู้เจริญ โยมนั้นได้เห็นธรรม บรรลุธรรม รู้ธรรม หยั่งลงสู่ธรรม
ข้ามพ้นความสงสัย ปราศจากความเคลือบแคลง ถึงความแกล้วกล้า
ปราศจากความมีผู้อื่นเป็นปัจจัยในศาสนาของพระศาสดา ได้ถึง
พระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์เป็นสรณะแล้ว และได้
สมาทานสิกขาบทที่มีพรหมจรรย์เป็นที่ ๕ บนที่นั่งนั่นเอง นี้แล
เป็นธรรมที่น่าอัศจรรย์ ไม่เคยปรากฏประการที่ ๒ ที่โยมมีอยู่
๓. โยมนั้นมีภรรยาที่เป็นสาวรุ่น ๔ คน โยมเข้าไปหาภรรยาเหล่านั้น
ถึงที่อยู่แล้วกล่าวกับพวกเธอว่า ‘น้องหญิงทั้งหลาย ฉันได้สมาทาน
สิกขาบทที่มีพรหมจรรย์เป็นที่ ๕ แล้ว หญิงใดปรารถนา หญิงนั้น
จงใช้จ่ายโภคทรัพย์เหล่านี้ และจงทำบุญ หรือกลับไปยังตระกูล
ญาติของตนเถิด หรือมีความประสงค์ชาย ฉันก็จะมอบพวกเธอให้
แก่เขา’ เมื่อโยมกล่าวอย่างนี้แล้ว ภรรยาหลวงได้กล่าวกับโยมว่า
‘ขอท่านโปรดมอบดิฉันให้แก่ชายผู้มีชื่อนี้เถิด’ ลำดับนั้น โยมได้
เรียกชายคนนั้นมาใช้มือซ้ายจับภรรยา มือขวาจับเต้าน้ำหลั่งน้ำ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๒๖๑ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๓.คหปติวรรค ๒.ทุตติยอุคคสูตร
มอบให้ชายคนนั้นไป เมื่อบริจาคภรรยาสาวรุ่นให้เป็นทาน โยมไม่
รู้สึกว่าจิตแปรไป นี้แลเป็นธรรมที่น่าอัศจรรย์ ไม่เคยปรากฏประการ
ที่ ๓ ที่โยมมีอยู่
๔. ตระกูลของโยมมีโภคทรัพย์อยู่พร้อม และโภคทรัพย์เหล่านั้น โยม
ได้จำแนกแจกจ่ายกับผู้มีศีล มีกัลยาณธรรม นี้แลป็นธรรมที่น่า
อัศจรรย์ ไม่เคยปรากฏประการที่ ๔ ที่โยมมีอยู่
๕. โยมเข้าไปนั่งใกล้ภิกษุใด ก็เข้าไปนั่งใกล้โดยเคารพเท่านั้น มิใช่
เข้าไปนั่งใกล้โดยไม่เคารพ หากท่านผู้มีอายุนั้นจะแสดงธรรมแก่โยม
โยมจะฟังโดยเคารพเท่านั้น มิใช่ฟังโดยไม่เคารพ หากท่านผู้มี
อายุนั้นจะไม่แสดงธรรมแก่โยม โยมก็จะแสดงธรรมแก่ท่าน นี้แล
เป็นธรรมที่น่าอัศจรรย์ ไม่เคยปรากฏประการที่ ๕ ที่โยมมีอยู่
๖. ไม่น่าอัศจรรย์เลย ที่เมื่อโยมนิมนต์พระสงฆ์มาแล้ว พวกเทวดาเข้า
มาหาโยม แล้วบอกว่า ‘ท่านคหบดี ภิกษุรูปโน้นเป็นอุภโต-
ภาควิมุต๑ รูปโน้นเป็นปัญญาวิมุต รูปโน้นเป็นกายสักขี รูปโน้น
เป็นทิฏฐิปัตตะ รูปโน้นเป็นสัทธาวิมุต รูปโน้นเป็นธัมมานุสารี
รูปโน้นเป็นสัทธานุสารี รูปโน้นเป็นผู้มีศีล มีกัลยาณธรรม รูปโน้น
เป็นผู้ทุศีล มีบาปธรรม’ ท่านผู้เจริญ เมื่ออังคาสพระสงฆ์ โยมไม่
รู้สึกให้เกิดความคิดอย่างนี้ว่า ‘จะถวายแก่ท่านรูปนี้น้อย หรือจะ
ถวายแก่ท่านรูปนี้มาก’ แท้จริงโยมวางจิตสม่ำเสมอถวาย นี้แลป็น
ธรรมที่น่าอัศจรรย์ ไม่เคยปรากฏประการที่ ๖ ที่โยมมีอยู่
๗. ไม่น่าอัศจรรย์เลย ที่พวกเทวดาเข้ามาหาโยมแล้วบอกว่า ‘ท่าน
คหบดี ธรรมอันพระผู้มีพระภาคตรัสไว้ดีแล้ว’ เมื่อพวกเทวดา
กล่าวอย่างนี้แล้ว โยมได้กล่าวกับเทวดาเหล่านั้นอย่างนี้ว่า ‘เทวดา
พวกท่านจะบอกอย่างนี้ หรือไม่บอกอย่างนี้ก็ตาม แท้จริง ธรรมก็

เชิงอรรถ :
๑ ดูความหมายของบุคคล ๗ จำพวก ตั้งแต่อุภโตภาควิมุตจนถึงสัทธานุสารี ในเชิงอรรถที่ ๒-๕ หน้า ๒๐
และเชิงอรรถที่ ๑-๓ หน้า ๒๑ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๒๖๒ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๓.คหปติวรรค ๒.ทุตติยอุคคสูตร
เป็นธรรมอันพระผู้มีพระภาคตรัสไว้ดีแล้ว’ โยมไม่รู้สึกฟูใจเพราะเหตุ
นั้นเลยว่า ‘พวกเทวดาเข้ามาหาโยม หรือโยมสนทนากับพวกเทวดา’
นี้แลป็นธรรมที่น่าอัศจรรย์ ไม่เคยปรากฏประการที่ ๗ ที่โยมมีอยู่
๘. หากโยมจะสิ้นชีวิตก่อนพระผู้มีพระภาค ก็ไม่น่าอัศจรรย์เลยที่พระ
ผู้มีพระภาคจะทรงพยากรณ์อย่างนี้ว่า สังโยชน์ที่เป็นเหตุให้อุคค-
คหบดี ชาวบ้านหัตถิคามกลับมาสู่โลกนี้อีกไม่มี นี้แลเป็นธรรมที่
น่าอัศจรรย์ ไม่เคยปรากฏประการที่ ๘ ที่โยมมีอยู่
ท่านผู้เจริญ ธรรมที่น่าอัศจรรย์ ไม่เคยปรากฏ ๘ ประการนี้แล ที่โยมมีอยู่
แต่โยมไม่ทราบเลยว่า พระผู้มีพระภาคได้ทรงพยากรณ์ว่าโยมเป็นผู้ประกอบด้วย
ธรรมที่น่าอัศจรรย์ ไม่เคยปรากฏ ๘ ประการเหล่าไหน”
ลำดับนั้น ภิกษุนั้นรับบิณฑบาตในนิเวศน์ของอุคคคหบดีชาวบ้านหัตถิคามแล้ว
ลุกจากอาสนะจากไป ท่านกลับจากบิณฑบาต หลังจากฉันอาหารเสร็จแล้ว เข้าไป
เฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลเรื่อง
ที่สนทนาปราศรัยกับอุคคคหบดีชาวบ้านหัตถิคามทั้งหมดให้พระผู้มีพระภาคทรงทราบ
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ดีละ ดีละ ภิกษุ อุคคคหบดีชาวบ้านหัตถิคาม เมื่อ
จะพยากรณ์ให้ถูกต้อง พึงพยากรณ์ไปตามนั้น ภิกษุ เราได้พยากรณ์ว่าอุคคคหบดี
ชาวบ้านหัตถิคามป็นผู้ประกอบด้วยธรรมที่น่าอัศจรรย์ ไม่เคยปรากฏ ๘ ประการ
นี้แล และเธอจงทรงจำอุคคคหบดีชาวบ้านหัตถิคามว่าเป็นผู้ประกอบด้วยธรรมที่น่า
อัศจรรย์ ไม่เคยปรากฏ ๘ ประการนี้”

ทุติยอุคคสูตรที่ ๒ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๒๖๓ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๓.คหปติวรรค ๓.ปฐมหัตถกสูตร
๓. ปฐมหัตถกสูตร
ว่าด้วยธรรมที่น่าอัศจรรย์ของหัตถกอุบาสก สูตรที่ ๑
[๒๓] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ อัคคาฬวเจดีย์ กรุงอาฬวี
ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย
เธอทั้งหลายจงทรงจำหัตถกอุบาสก๑ชาวเมืองอาฬวีว่าเป็นผู้ประกอบด้วยธรรมที่น่า
อัศจรรย์ ไม่เคยปรากฏ ๗ ประการ
ธรรมที่น่าอัศจรรย์ ไม่เคยปรากฏ ๗ ประการ อะไรบ้าง คือ
หัตถกอุบาสกชาวเมืองอาฬวี

๑. เป็นผู้มีศรัทธา ๒. เป็นผู้มีศีล๒
๓. เป็นผู้มีหิริ ๔. เป็นผู้มีโอตตัปปะ
๕. เป็นพหูสูต ๖. เป็นผู้มีจาคะ
๗. เป็นผู้มีปัญญา

ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงทรงจำหัตถกอุบาสกชาวเมืองอาฬวีว่าเป็นผู้
ประกอบด้วยธรรมที่น่าอัศจรรย์ ไม่เคยปรากฏ ๗ ประการนี้แล”
พระผู้มีพระภาคผู้สุคตได้ตรัสเวยยากรณภาษิตนี้แล้ว เสด็จลุกจากพุทธ-
อาสน์เข้าไปสู่พระวิหาร
ครั้นเวลาเช้า ภิกษุรูปหนึ่งครองอันตรวาสก ถือบาตรและจีวรเข้าไปยังนิเวศน์
ของหัตถกอุบาสกชาวเมืองอาฬวีแล้วนั่งบนอาสนะที่ปูลาดไว้
ต่อมา หัตถกอุบาสกชาวเมืองอาฬวีเข้าไปหาภิกษุนั้นถึงที่อยู่ อภิวาทแล้วนั่ง
ณ ที่สมควร ภิกษุนั้นได้กล่าวกับหัตถกอุบาสกชาวเมืองอาฬวีดังนี้ว่า
“ผู้มีอายุ พระผู้มีพระภาคทรงพยากรณ์ว่า ท่านเป็นผู้ประกอบด้วยธรรมที่น่า
อัศจรรย์ ไม่เคยปรากฏ ๗ ประการ

เชิงอรรถ :
๑ หัตถกอุบาสก หมายถึงอุบาสกที่เป็นพระราชกุมารที่พระผู้มีพระภาคทรงรับจากมือของอาฬวกยักษ์ด้วย
พระหัตถ์ทั้งสอง (องฺ.อฏฺฐก.อ. ๓/๒๓/๒๔๖)
๒ ศีล ในที่นี้หมายถึงศีล ๕ และศีล ๑๐ (องฺ.อฏฺฐก.อ. ๓/๒๓/๒๔๖)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๒๖๔ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๓.คหปติวรรค ๓.ปฐมหัตถกสูตร
ธรรมที่น่าอัศจรรย์ ไม่เคยปรากฏ ๗ ประการ อะไรบ้าง คือ
หัตถกอุบาสกชาวเมืองอาฬวี

๑. เป็นผู้มีศรัทธา ๒. เป็นผู้มีศีล
๓. เป็นผู้มีหิริ ๔. เป็นผู้มีโอตตัปปะ
๕. เป็นพหูสูต ๖. เป็นผู้มีจาคะ
๗. เป็นผู้มีปัญญา

ผู้มีอายุ พระผู้มีพระภาคทรงพยากรณ์ว่า ท่านเป็นผู้ประกอบด้วยธรรมที่น่า
อัศจรรย์ ไม่เคยปรากฏ ๗ ประการนี้แล”
หัตถกอุบาสกชาวเมืองอาฬวีถามว่า “ท่านผู้เจริญ คฤหัสถ์ผู้นุ่งผ้าขาว ไม่มี
ในตำแหน่งที่พระผู้มีพระภาคทรงพยากรณ์นี้บ้างเลยหรือ”
ภิกษุนั้นกล่าวว่า “ผู้มีอายุ คฤหัสถ์ผู้นุ่งผ้าขาว ไม่มีในตำแหน่งที่พระผู้มี
พระภาคทรงพยากรณ์นี้เลย”
หัตถกอุบาสกกล่าวว่า “ท่านผู้เจริญ ดีจริง คฤหัสถ์ผู้นุ่งผ้าขาว ไม่มีใน
ตำแหน่งที่พระผู้มีพระภาคทรงพยากรณ์นี้เลย”
ลำดับนั้น ภิกษุนั้นรับบิณฑบาตในนิเวศน์ของหัตถกอุบาสกชาวเมืองอาฬวี
ลุกจากอาสนะแล้วจากไป กลับจากบิณฑบาตแล้ว หลังจากฉันภัตตาหารเสร็จแล้ว
เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูล
พระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานวโรกาส ในเวลาเช้า ข้าพระองค์ครอง
อันตรวาสก ถือบาตรและจีวรเข้าไปยังนิเวศน์ของหัตถกอุบาสกชาวเมืองอาฬวี
นั่งบนอาสนะที่ปูลาดไว้ ต่อมา หัตถกอุบาสกชาวเมืองอาฬวี ได้เข้ามาหาข้าพระองค์
อภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ได้กล่าวกับหัตถก-
อุบาสกชาวเมืองอาฬวีว่า ‘ผู้มีอายุ พระผู้มีพระภาคได้ทรงพยากรณ์ว่า ท่านเป็น
ผู้ประกอบด้วยธรรมที่น่าอัศจรรย์ ไม่เคยปรากฏ ๗ ประการ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๒๖๕ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๓.คหปติวรรค ๓.ปฐมหัตถกสูตร
ธรรมที่น่าอัศจรรย์ ไม่เคยปรากฏ ๗ ประการ อะไรบ้าง คือ
หัตถกอุบาสกชาวเมืองอาฬวี

๑. เป็นผู้มีศรัทธา ๒. เป็นผู้มีศีล
๓. เป็นผู้มีหิริ ๔. เป็นผู้มีโอตตัปปะ
๕. เป็นพหูสูต ๖. เป็นผู้มีจาคะ
๗. เป็นผู้มีปัญญา

ผู้มีอายุ พระผู้มีพระภาคได้ทรงพยากรณ์ว่า ท่านเป็นผู้ประกอบด้วยธรรมที่
น่าอัศจรรย์ ไม่เคยปรากฏ ๗ ประการนี้’
เมื่อข้าพระองค์กล่าวอย่างนี้แล้ว หัตถกอุบาสกชาวเมืองอาฬวีได้กล่าวกับ
ข้าพระองค์ดังนี้ว่า ‘ท่านผู้เจริญ คฤหัสถ์ผู้นุ่งผ้าขาว ไม่มีในตำแหน่งที่พระผู้มี
พระภาคทรงพยากรณ์นี้บ้างเลยหรือ’ ข้าพระองค์ตอบว่า ‘ผู้มีอายุ คฤหัสถ์ผู้นุ่ง
ผ้าขาว ไม่มีในตำแหน่งที่พระผู้มีพระภาคทรงพยากรณ์นี้’ เขาตอบว่า ‘ท่านผู้เจริญ
ดีจริง คฤหัสถ์ผู้นุ่งผ้าขาว ไม่มีในตำแหน่งที่พระผู้มีพระภาคทรงพยากรณ์นี้เลย”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ดีละ ดีละ ภิกษุ ภิกษุผู้เป็นกุลบุตรนั้นเป็นผู้มักน้อย
ไม่ปรารถนาให้ผู้อื่นรู้กุศลธรรมที่มีอยู่ในตน ภิกษุ ถ้าเช่นนั้น เธอจงทรงจำหัตถก-
อุบาสกชาวเมืองอาฬวีว่าเป็นผู้ประกอบด้วยธรรมที่น่าอัศจรรย์ ไม่เคยปรากฏนี้ คือ
ไม่ปรารถนาให้ผู้อื่นรู้กุศลธรรมที่มีอยู่ในตน เพราะความเป็นผู้มักนัอย”๑

ปฐมหัตถกสูตรที่ ๓

เชิงอรรถ :
๑ คำว่า “ไม่ปรารถนาให้ผู้อื่นรู้กุศลธรรมที่มีอยู่ในตน เพราะความเป็นผู้มักน้อย” นี้เป็นธรรมที่น่า
อัศจรรย์ไม่เคยปรากฏประการที่ ๘ ที่ตรัสเพิ่มเติมภายหลัง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๒๖๖ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๓.คหปติวรรค ๔.ทุติยหัตถกสูตร
๔. ทุติยหัตถกสูตร
ว่าด้วยธรรมที่น่าอัศจรรย์ของหัตถกอุบาสก สูตรที่ ๒
[๒๔] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ อัคคาฬวเจดีย์ เขตเมืองอาฬวี
ลำดับนั้น หัตถกอุบาสกชาวเมืองอาฬวี๑มีอุบาสกประมาณ ๕๐๐ คนแวดล้อม
เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร พระผู้มี
พระภาคจึงได้ตรัสกับหัตถกอุบาสกชาวเมืองอาฬวีว่า
“หัตถกะ บริษัทของท่านนี้มากนัก ท่านสงเคราะห์บริษัทจำนวนมากนี้อย่างไร”
หัตถกอุบาสกชาวเมืองอาฬวีกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์
สงเคราะห์บริษัทจำนวนมากนี้ด้วยสังคหวัตถุ ๔ ประการ ที่พระผู้มีพระภาคได้
ทรงแสดงไว้แล้ว คือ ข้าพระองค์รู้ว่า ‘ผู้นี้ควรสงเคราะห์ด้วยทาน’ ก็สงเคราะห์
ด้วยทาน รู้ว่า ‘ผู้นี้ควรสงเคราะห์ด้วยคำพูดอันไพเราะ’ ก็สงเคราะห์ด้วยคำพูดอัน
ไพเราะ รู้ว่า ‘ผู้นี้ควรสงเคราะห์ด้วยการทำประโยชน์ให้’ ก็สงเคราะห์ด้วยการ
ทำประโยชน์ให้ รู้ว่า ‘ผู้นี้ควรสงเคราะห์ด้วยการวางตัวสม่ำเสมอ’ ก็สงเคราะห์ด้วย
การวางตัวสม่ำเสมอ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ โภคทรัพย์ในตระกูลของข้าพระองค์มี
อยู่พร้อม คนทั้งหลายย่อมเข้าใจคำพูดของข้าพระองค์ว่าควรฟัง ไม่เหมือนคำพูด
ของคนจน”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ดีละ ดีละ หัตถกะ วิธีนี้ของท่านเป็นอุบายที่จะ
สงเคราะห์บริษัทจำนวนมากได้ จริงอยู่ ใครก็ตามที่สงเคราะห์บริษัทจำนวนมากได้
ในอดีตกาล ก็ล้วนแต่สงเคราะห์ด้วยสังคหวัตถุ ๔ ประการนี้แล ใครก็ตามที่จัก
สงเคราะห์บริษัทจำนวนมากในอนาคตกาล ก็ล้วนแต่จักสงเคราะห์ด้วยสังคหวัตถุ
๔ ประการนี้แล ใครก็ตามที่กำลังสงเคราะห์บริษัทจำนวนมากในปัจจุบัน ก็ล้วนแต่
สงเคราะห์ด้วยสังคหวัตถุ ๔ ประการนี้แล”
หลังจากนั้น หัตถกอุบาสกชาวเมืองอาฬวีที่พระผู้มีพระภาคทรงชี้แจงให้เห็นชัด
ชวนใจให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่น

เชิงอรรถ :
๑ อุบาสกชาวเมืองอาฬวี ในที่นี้หมายถึงอุบาสกที่เป็นอริยสาวกชั้นโสดาบัน สกทาคามี และอนาคามี
(องฺ.อฏฺฐก.อ. ๓/๒๔/๒๔๖)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๒๖๗ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๓.คหปติวรรค ๕.มหานามสูตร
ร่าเริงด้วยธรรมีกถาแล้ว ลุกจากที่นั่ง ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาค ทำประทักษิณ
แล้วจากไป
ลำดับนั้น เมื่อหัตถกอุบาสกชาวเมืองอาฬวีหลีกไปไม่นาน พระผู้มีพระภาครับ
สั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงทรงจำหัตถกอุบาสก
ชาวเมืองอาฬวีว่าเป็นผู้ประกอบด้วยธรรมที่น่าอัศจรรย์ ไม่เคยปรากฏ ๘ ประการ
ธรรมที่น่าอัศจรรย์ ไม่เคยปรากฏ ๘ ประการ อะไรบ้าง คือ
หัตถกอุบาสกชาวเมืองอาฬวี

๑. เป็นผู้มีศรัทธา ๒. เป็นผู้มีศีล
๓. เป็นผู้มีหิริ ๔. เป็นผู้มีโอตตัปปะ
๕. เป็นพหูสูต ๖. เป็นผู้มีจาคะ
๗. เป็นผู้มีปัญญา ๘. เป็นผู้มีความมักน้อย

ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงทรงจำหัตถกอุบาสกชาวเมืองอาฬวีว่าเป็นผู้
ประกอบด้วยธรรมที่น่าอัศจรรย์ ไม่เคยปรากฏ ๘ ประการนี้แล”
ทุติยหัตถกสูตรที่ ๔ จบ

๕. มหานามสูตร
ว่าด้วยเจ้าศากยะพระนามว่ามหานามะ
[๒๕] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ นิโครธาราม เขตกรุง
กบิลพัสดุ์ แคว้นสักกะ ลำดับนั้น เจ้าศากยะพระนามว่ามหานามะเสด็จเข้าไปเฝ้า
พระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคแล้วประทับนั่ง ณ ที่
สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บุคคลชื่อว่าอุบาสก ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอแล”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “มหานามะ เมื่อใดแล บุคคลเป็นผู้ถึง
พระพุทธเจ้าเป็นสรณะ เป็นผู้ถึงพระธรรมเป็นสรณะ เป็นผู้ถึงพระสงฆ์เป็นสรณะ
เมื่อนั้น บุคคลชื่อว่าอุบาสก ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๒๖๘ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๓.คหปติวรรค ๕.มหานามสูตร
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อุบาสกชื่อว่าผู้มีศีล ด้วยเหตุเพียงเท่าไร”
“มหานามะ เมื่อใดแล อุบาสกเป็นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ เป็นผู้เว้นขาด
จากการลักทรัพย์ เป็นผู้เว้นขาดจากการประพฤติผิดในกาม เป็นผู้เว้นขาดจากการ
พูดเท็จ เป็นผู้เว้นขาดจากการเสพของมึนเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นเหตุแห่งความ
ประมาท เมื่อนั้นอุบาสกชื่อว่าผู้มีศีล ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อุบาสกชื่อว่าผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตนเอง แต่ไม่ปฏิบัติ
เพื่อเกื้อกูลผู้อื่น ด้วยเหตุเพียงเท่าไร”
“มหานามะ เมื่อใดแล อุบาสก ตนเองเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศรัทธา แต่ไม่ชักชวน
ผู้อื่นให้เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศรัทธา ตนเองเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีล แต่ไม่ชักชวนผู้อื่น
ให้เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีล ตนเองเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยจาคะ แต่ไม่ชักชวนผู้อื่นให้เป็น
ผู้ถึงพร้อมด้วยจาคะ ตนเองเป็นผู้ประสงค์จะเห็นภิกษุ แต่ไม่ชักชวนผู้อื่นให้เห็นภิกษุ
ตนเองเป็นผู้ประสงค์จะฟังสัทธรรม แต่ไม่ชักชวนผู้อื่นให้ฟังสัทธรรม ตนเองเป็นผู้
ทรงจำธรรมที่ฟังแล้วไว้ได้ แต่ไม่ชักชวนผู้อื่นให้ทรงจำธรรมที่ฟังแล้วไว้ได้ ตนเองเป็น
ผู้พิจารณาเนื้อความแห่งธรรมที่ฟังแล้ว แต่ไม่ชักชวนผู้อื่นให้พิจารณาเนื้อความแห่งธรรม
ตนเองเป็นผู้รู้อรรถรู้ธรรมแล้วปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม๑ แต่ไม่ชักชวนผู้อื่นให้
ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม เมื่อนั้น อุบาสกชื่อว่าผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตนเอง
แต่ไม่ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลผู้อื่น ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อุบาสกชื่อว่าผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตนเองและเพื่อเกื้อกูล
ผู้อื่น ด้วยเหตุเพียงเท่าไร”
“มหานามะ เมื่อใดแล อุบาสก ตนเองเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศรัทธา และชักชวน
ผู้อื่นให้เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศรัทธา ตนเองเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีล และชักชวนผู้อื่น
ให้เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีล ตนเองเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยจาคะ และชักชวนผู้อื่นให้เป็น
ผู้ถึงพร้อมด้วยจาคะ ตนเองเป็นผู้ประสงค์จะเห็นภิกษุ และชักชวนผู้อื่นให้เห็นภิกษุ

เชิงอรรถ :
๑ ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม หมายถึงปฏิบัติปฏิปทาอันเป็นส่วนเบื้องต้นที่เหมาะแก่โลกุตตรธรรม ๙ ประการ
(คือ มรรค ๔ ผล ๔ นิพพาน ๑ ) (องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๙๗/๓๖๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๒๖๙ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๓.คหปติวรรค ๖.ชีวกสูตร
ตนเองเป็นผู้ประสงค์จะฟังสัทธรรม และชักชวนผู้อื่นให้ฟังสัทธรรม ตนเองเป็นผู้ทรง
จำธรรมที่ฟังแล้วไว้ได้ และชักชวนผู้อื่นให้ทรงจำธรรมที่ฟังแล้วไว้ได้ ตนเองเป็นผู้
พิจารณาเนื้อความแห่งธรรมที่ฟังแล้ว และชักชวนผู้อื่นให้พิจารณาเนื้อความแห่งธรรม
ตนเองเป็นผู้รู้อรรถรู้ธรรมแล้วปฏิบัติธรรมตามสมควรแก่ธรรม และชักชวนผู้อื่นให้
ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม เมื่อนั้น อุบาสกชื่อว่าผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตนเองและ
เพื่อเกื้อกูลผู้อื่น ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล”
มหานามสูตรที่ ๕ จบ

๖. ชีวกสูตร
ว่าด้วยหมอชีวกโกมารภัจ
[๒๖] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ชีวกัมพวัน เขตกรุงราชคฤห์
ลำดับนั้น หมอชีวกโกมารภัจเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาท
แล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บุคคลชื่อว่าอุบาสก ด้วยเพียงเหตุเท่าไรหนอแล”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ชีวก เมื่อใดแล บุคคลเป็นผู้ถึงพระพุทธเจ้า
เป็นสรณะ เป็นผู้ถึงพระธรรมเป็นสรณะ และเป็นผู้ถึงพระสงฆ์เป็นสรณะ เมื่อนั้น
บุคคลชื่อว่าอุบาสก ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อุบาสกชื่อว่าผู้มีศีล ด้วยเหตุเพียงเท่าไร”
“ชีวก เมื่อใดแล อุบาสกเป็นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ ฯลฯ๑ เป็นผู้เว้นขาดจาก
การเสพของมึนเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นเหตุแห่งความประมาท เมื่อนั้น อุบาสก
ชื่อว่าผู้มีศีล ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล”

เชิงอรรถ :
๑ ดูความเต็มในอัฏฐกนิบาต ข้อ ๒๕ (มหานามสูตร) หน้า ๒๖๙ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๒๗๐ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๓.คหปติวรรค ๖.ชีวกสูตร
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อุบาสกชื่อว่าผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตนเอง แต่ไม่ปฏิบัติ
เพื่อเกื้อกูลผู้อื่น ด้วยเหตุเพียงเท่าไร”
“ชีวก เมื่อใดแล อุบาสก ตนเองเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศรัทธา แต่ไม่ชักชวน
ผู้อื่นให้เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศรัทธา ฯลฯ๑ ตนเองเป็นผู้รู้อรรถรู้ธรรมแล้วปฏิบัติธรรม
สมควรแก่ธรรม แต่ไม่ชักชวนผู้อื่นให้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม เมื่อนั้น อุบาสก
ชื่อว่าผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตนเอง แต่ไม่ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลผู้อื่น ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อุบาสกชื่อว่าผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตนเองและเพื่อเกื้อกูล
ผู้อื่น ด้วยเหตุเพียงเท่าไร”
๊ชีวก เมื่อใดแล อุบาสก ตนเองเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศรัทธา และชักชวนผู้อื่นให้
เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศรัทธา ตนเองเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีล และชักชวนผู้อื่นให้เป็นผู้
ถึงพร้อมด้วยศีล ตนเองเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยจาคะ และชักชวนผู้อื่นให้เป็นผู้ถึงพร้อม
ด้วยจาคะ ตนเองเป็นผู้ประสงค์จะเห็นภิกษุ และชักชวนผู้อื่นให้เห็นภิกษุ ตนเองเป็น
ผู้ประสงค์จะฟังสัทธรรม และชักชวนผู้อื่นให้ฟังสัทธรรม ตนเองเป็นผู้ทรงจำธรรมที่
ฟังแล้วไว้ได้ และชักชวนผู้อื่นให้ทรงจำธรรมไว้ได้ ตนเองเป็นผู้พิจารณาเนื้อความแห่ง
ธรรมที่ฟังแล้ว และชักชวนผู้อื่นให้พิจารณาเนื้อความแห่งธรรม ตนเองเป็นผู้รู้อรรถ
รู้ธรรมแล้ว ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม และชักชวนผู้อื่นให้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม
เมื่อนั้น อุบาสกชื่อว่าผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตนเองและเพื่อเกื้อกูลผู้อื่น ด้วยเหตุเพียง
เท่านี้แล”
ชีวกสูตรที่ ๖ จบ

เชิงอรรถ :
๑ ดูข้อความเต็มในข้อ ๒๕ (มหานามสูตร) หน้า ๒๖๙

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๒๗๑ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๓.คหปติวรรค ๘.ทุติยพลสูตร
๗. ปฐมพลสูตร
ว่าด้วยกำลัง สูตรที่ ๑
[๒๗] ภิกษุทั้งหลาย กำลัง ๘ ประการนี้
กำลัง ๘ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. เด็กมีการร้องไห้เป็นกำลัง
๒. มาตุคามมีความโกรธเป็นกำลัง
๓. โจรมีอาวุธเป็นกำลัง
๔. พระราชามีอิสริยยศเป็นกำลัง
๕. คนพาลมีการเพ่งโทษผู้อื่นเป็นกำลัง
๖. บัณฑิตมีการไม่เพ่งโทษผู้อื่นเป็นกำลัง
๗. คนผู้เป็นพหูสูตมีการพิจารณาเป็นกำลัง
๘. สมณพราหมณ์มีขันติ๑เป็นกำลัง
ภิกษุทั้งหลาย กำลัง ๘ ประการนี้แล
ปฐมพลสูตรที่ ๗ จบ

๘. ทุติยพลสูตร๒
ว่าด้วยกำลัง สูตรที่ ๒
[๒๘] ครั้งนั้น ท่านพระสารีบุตรเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวาย
อภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร พระผู้มีพระภาคได้ตรัสถามท่านพระสารีบุตรดังนี้ว่า
“สารีบุตร ภิกษุขีณาสพมีกำลัง๓เท่าไร จึงปฏิญญาความสิ้นอาสวะทั้งหลายว่า
‘อาสวะของเราสิ้นแล้ว”

เชิงอรรถ :
๑ ขันติ ในที่นี้หมายถึงอธิวาสนขันติ (องฺ.อฏฺฐก.อ. ๓/๒๗/๒๔๘)
๒ ดู องฺ.ทสก. (แปล) ๒๔/๙๐/๒๐๔-๒๐๖
๓ กำลัง ในที่นี้หมายถึงญาณพละ(กำลังแห่งญาณ) (องฺ.อฏฺฐก.อ.๓/๒๘/๒๔๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๒๗๒ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๓.คหปติวรรค ๘.ทุติยพลสูตร
ท่านพระสารีบุตรกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุขีณาสพมีกำลัง
๘ ประการ จึงปฏิญญาความสิ้นอาสวะทั้งหลายว่า ‘อาสวะของเราสิ้นแล้ว’
กำลังของภิกษุขีณาสพ ๘ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สังขารทั้งปวงเป็นธรรมที่ภิกษุขีณาสพในพระธรรมวินัยนี้เห็นว่าเป็น
สภาวะไม่เที่ยงด้วยปัญญาอันชอบ๑ตามความเป็นจริง แม้ข้อที่
สังขารทั้งปวงเป็นธรรมที่ภิกษุขีณาสพเห็นว่าเป็นสภาวะไม่เที่ยงด้วย
ปัญญาอันชอบตามความเป็นจริง นี้ก็เป็นกำลังของภิกษุขีณาสพ
ที่ภิกษุขีณาสพอาศัยปฏิญญาความสิ้นอาสวะทั้งหลายว่า ‘อาสวะ
ของเราสิ้นแล้ว’
๒. กามทั้งหลายเป็นธรรมที่ภิกษุขีณาสพเห็นว่าเปรียบด้วยหลุมถ่านเพลิง
ด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริง แม้ข้อที่กามทั้งหลายเป็น
ธรรมที่ภิกษุขีณาสพเห็นว่าเปรียบด้วยหลุมถ่านเพลิงด้วยปัญญาอันชอบ
ตามความเป็นจริง นี้ก็เป็นกำลังของภิกษุขีณาสพที่ภิกษุขีณาสพ
อาศัยปฏิญญาความสิ้นอาสวะทั้งหลายว่า ‘อาสวะของเราสิ้นแล้ว’
๓. จิตของภิกษุขีณาสพเป็นธรรมชาติน้อมไป โน้มไป โอนไป ตั้งอยู่ใน
วิเวก๒ ยินดียิ่งในเนกขัมมะ๓ ปราศจากเงื่อนธรรม๔อันเป็นที่ตั้งแห่ง
อาสวะโดยประการทั้งปวง แม้ข้อที่จิตของภิกษุขีณาสพเป็นธรรมชาติ
น้อมไป โน้มไป โอนไป ตั้งอยู่ในวิเวก ยินดียิ่งในเนกขัมมะ ปราศจาก
เงื่อนธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งอาสวะโดยประการทั้งปวง นี้ก็เป็นกำลัง
ของภิกษุขีณาสพ ที่ภิกษุขีณาสพอาศัยปฏิญญาความสิ้นอาสวะ
ทั้งหลายว่า ‘อาสวะของเราสิ้นแล้ว’

เชิงอรรถ :
๑ ปัญญาอันชอบ ในที่นี้หมายถึงมัคคปัญญา (องฺ.อฏฺฐก.อ.๓/๒๘/๒๔๘)
๒ วิเวก หมายถึงนิพพาน (องฺ.อฏฺฐก.อ.๓/๒๘/๒๔๘) และดู องฺ.ทสก. (แปล) ๒๔/๙๐/๒๐๔-๒๐๖
๓ เนกขัมมะ ในที่นี้หมายถึงบรรพชา (การบวช) (องฺ.อฏฺฐก.อ. ๓/๒๘/๒๔๘)
๔ ปราศจากเงื่อนธรรม ในที่นี้หมายถึงปราศจากตัณหา ไม่มีความยึดติดหรือหมดตัณหาแล้ว (องฺ.อฏฺฐก.อ.
๓/๒๘/๒๔๘, องฺ.อฏฺฐก.ฏีกา ๓/๒๘/๒๘๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๒๗๓ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๓.คหปติวรรค ๙.อักขณสูตร
๔. สติปัฏฐาน ๔ เป็นธรรมที่ภิกษุขีณาสพเจริญอบรมดีแล้ว แม้ข้อที่
สติปัฏฐาน ๔ เป็นธรรมที่ภิกษุขีณาสพเจริญอบรมดีแล้ว นี้ก็เป็น
กำลังของภิกษุขีณาสพที่ภิกษุขีณาสพอาศัยปฏิญญาความสิ้นอาสวะ
ทั้งหลายว่า ‘อาสวะของเราสิ้นแล้ว’
๕. อิทธิบาท ๔ เป็นธรรมที่ภิกษุขีณาสพเจริญอบรมดีแล้ว ฯลฯ
๖. อินทรีย์ ๕ เป็นธรรมที่ภิกษุขีณาสพเจริญอบรมดีแล้ว ฯลฯ
๗. โพชฌงค์ ๗ เป็นธรรมที่ภิกษุขีณาสพเจริญอบรมดีแล้ว ฯลฯ
๘. อริยมรรคมีองค์ ๘ เป็นธรรมที่ภิกษุขีณาสพเจริญอบรมดีแล้ว แม้
ข้อที่อริยมรรคมีองค์ ๘ เป็นธรรมที่ภิกษุขีณาสพเจริญอบรมดีแล้ว
นี้ก็เป็นกำลังของภิกษุขีณาสพที่ภิกษุขีณาสพอาศัยปฏิญญาความ
สิ้นอาสวะทั้งหลายว่า ‘อาสวะของเราสิ้นแล้ว’
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุขีณาสพมีกำลัง ๘ ประการนี้แล จึงปฏิญญา
ความสิ้นอาสวะทั้งหลายว่า ‘อาสวะของเราสิ้นแล้ว”
ทุติยพลสูตรที่ ๘ จบ

๙. อักขณสูตร
ว่าด้วยขณะที่ไม่สมควรอยู่ประพฤติพรหมจรรย์๑
[๒๙] ภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับกล่าวว่า ‘ชาวโลกทำกิจในขณะ๒
ชาวโลกทำกิจในขณะ’ แต่เขาไม่รู้ขณะหรือมิใช่ขณะเลย ภิกษุทั้งหลาย กาลที่ไม่ใช่
ขณะไม่ใช่สมัยที่จะอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ ๘ ประการนี้
กาล ๘ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ตถาคตผู้เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้ด้วยพระองค์เองโดยชอบ เพียบพร้อม
ด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดี รู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกผู้ที่ควรฝึก

เชิงอรรถ :
๑ ดู ที.ปา. ๑๑/๓๔๒/๒๓๓-๒๓๔
๒ ทำกิจในขณะ หมายถึงทำกิจทั้งหลายในเมื่อมีโอกาส (องฺ.อฏฺฐก.อ.๓/๒๙/๒๔๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๒๗๔ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๓.คหปติวรรค ๙.อักขณสูตร
ได้อย่างยอดเยี่ยม เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็น
พระพุทธเจ้า เป็นพระผู้มีพระภาค อุบัติขึ้นแล้วในโลกนี้ และแสดง
ธรรม๑ที่นำความสงบมาให้ เป็นไปเพื่อปรินิพพาน๒ ให้ถึงการตรัสรู้
ที่พระสุคตทรงประกาศแล้ว แต่บุคคลนี้เป็นผู้เข้าถึงนรก นี้ไม่ใช่ขณะ
ไม่ใช่สมัยที่จะอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ประการที่ ๑
๒. ตถาคต ฯลฯ เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็น
พระพุทธเจ้า เป็นพระผู้มีพระภาค อุบัติขึ้นแล้วในโลก และแสดง
ธรรมที่นำความสงบมาให้ เป็นไปเพื่อปรินิพพาน ให้ถึงการตรัสรู้
ที่พระสุคตทรงประกาศแล้ว แต่บุคคลนี้เป็นผู้เข้าถึงกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน
ฯลฯ
๓. ตถาคต ฯลฯ แต่บุคคลนี้เป็นผู้เข้าถึงเปรตวิสัย ฯลฯ
๔. ตถาคต ฯลฯ แต่บุคคลนี้เป็นผู้เข้าถึงเทพนิกาย๓ที่มีอายุยืนชั้นใด
ชั้นหนึ่งแล้ว ฯลฯ
๕. ตถาคต ฯลฯ แต่บุคคลนี้เป็นผู้กลับมาเกิดในปัจจันตชนบท และอยู่
ในพวกมิลักขะที่ไม่รู้เดียงสา ที่ไม่มีภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก และ
อุบาสิกาผ่านไปมา ฯลฯ
๖. ตถาคต ฯลฯ แต่บุคคลนี้เป็นผู้กลับมาเกิดในมัชฌิมชนบท เป็น
มิจฉาทิฏฐิ มีความเห็นวิปริตว่า ‘ทานที่ให้แล้วไม่มีผล ยัญที่บูชา
แล้วไม่มีผล การเซ่นสรวงไม่มีผล ผลวิบากแห่งกรรมที่ทำดีและชั่วก็
ไม่มี โลกนี้ไม่มี โลกหน้าไม่มี มารดาไม่มีคุณ บิดาไม่มีคุณ
โอปปาติกสัตว์๔ไม่มี สมณพราหมณ์ผู้ประพฤติดีปฏิบัติชอบ ทำให้
แจ้งโลกนี้และโลกหน้าด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้วสอนผู้อื่นให้รู้แจ้ง
ก็ไม่มีในโลก ฯลฯ

เชิงอรรถ :
๑ ธรรม ในที่นี้หมายถึงสัจจะ ๔ (องฺ.อฏฺฐก.อ.๓/๒๙/๒๔๘) และดู ที.ปา.๑๑/๓๕๘/๒๖๙
๒ ปรินิพพาน ในที่นี้หมายถึงความดับกิเลส (องฺ.อฏฺฐก.อ.๓/๒๙/๒๔๘)
๓ เทพนิกาย ในที่นี้หมายถึงหมู่เทพเกิดเป็นอสัญญีสัตว์ (องฺ.อฏฺฐก.อ.๓/๒๙/๒๔๘)
๔ โอปปาติกสัตว์ คือสัตว์ที่เกิดและเติบโตเต็มที่ทันที และเมื่อจุติ (ตาย) ก็หายวับไปไม่ทิ้งซากศพไว้ เช่นเทวดา
และสัตว์นรก เป็นต้น (ที.สี.อ. ๑/๑๗๑/๑๔๙)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๒๗๕ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๓.คหปติวรรค ๙.อักขณสูตร
๗. ตถาคต ฯลฯ แต่บุคคลนี้เป็นผู้กลับมาเกิดในมัชฌิมชนบท เป็นคน
มีปัญญาทราม โง่เขลา เป็นคนเซอะ๑ ไม่สามารถจะรู้เนื้อความแห่ง
สุภาษิตและทุพภาษิตได้ นี้มิใช่ขณะมิใช่สมัยที่จะอยู่ประพฤติ
พรหมจรรย์ประการที่ ๗
๘. ตถาคตผู้เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้ด้วยพระองค์เองโดยชอบ ฯลฯ
เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า เป็น
พระผู้มีพระภาค ไม่อุบัติขึ้นแล้วในโลก และไม่แสดงธรรมที่นำ
ความสงบมาให้ เป็นไปเพื่อปรินิพพาน ให้ถึงการตรัสรู้ ที่พระสุคต
ทรงประกาศแล้ว ถึงบุคคลนี้จะกลับมาเกิดในมัชฌิมชนบท และ
เป็นผู้มีปัญญา ไม่โง่เขลา ไม่เป็นคนเซอะ สามารถรู้เนื้อความ
แห่งสุภาษิตและทุพภาษิตได้ นี้มิใช่ขณะมิใช่สมัยที่จะอยู่ประพฤติ
พรหมจรรย์ประการที่ ๘
ภิกษุทั้งหลาย กาลที่มิใช่ขณะมิใช่สมัยที่จะอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ ๘ ประการ
นี้แล
ภิกษุทั้งหลาย ขณะและสมัยที่ควรอยู่ประพฤติพรหมจรรย์มีประการเดียวเท่านั้น
ขณะและสมัยประการเดียวนั้น เป็นอย่างไร
คือ ตถาคตเป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้ด้วยพระองค์เองโดยชอบ เพียบพร้อม
ด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดี รู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกผู้ที่ควรฝึกได้อย่างยอดเยี่ยม
เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระผู้มีพระภาค

เชิงอรรถ :
๑ เป็นคนเซอะ แปลจากบาลีว่า ‘เอฬมูโค’ อรรถกถาอธิบายว่า ‘ปคฺฆริตเขฬมูโค’ แปลว่า ‘เป็นใบ้มี
น้ำลายไหล’ (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๑๑๒/๔๘) หมายถึงใช้ปากพูดได้แต่เป็นใบ้ พูดไม่ชัด (สํ.ม.อ. ๓/๒๒๕-๒๓๑/
๒๒๓ แต่ในอภิธานปฺปทีปิกาฏีกา อธิบายว่า หมายถึงผู้ไม่ฉลาดพูดและไม่ฉลาดฟัง และไม่ฉลาดในภาษา
ที่จะพูด (วตฺตุํ โสตุญฺจ อกุสโล, วจเน จ อกุสโล) และแยกอธิบายอีกว่า เอโฬ หมายถึง พธิโร (คนหูหนวก)
มูโค หมายถึง อวจโน (พูดไม่ได้) หรือหมายถึงคนโอ้อวด (สเฐปิ เอฬมูโค) (อภิธา.ฏีกา คาถา ๗๓๔)
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉบับ “PALI TEXT SOCIETY” ให้ความหมายว่า Idiot (โง่ บ้า จิตทราม)
หรือ lack-wit (ขาดสติ) (The Book of the Gradual sayings, VOL. 111 PP. 106, 132)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๒๗๖ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๓.คหปติวรรค ๙.อักขณสูตร
อุบัติขึ้นแล้วในโลกนี้ และแสดงธรรมที่จะนำความสงบมาให้ เป็นไปเพื่อปรินิพพาน
ให้ถึงการตรัสรู้ ที่พระสุคตทรงประกาศแล้ว และบุคคลนี้กลับมาเกิดในมัชฌิมชนบท
และเป็นผู้มีปัญญา ไม่โง่เขลา ไม่เป็นคนเซอะ สามารถรู้เนื้อความแห่งสุภาษิตและ
ทุพภาษิตได้ ภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นขณะและสมัยที่จะอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ประการ
เดียวเท่านั้น
พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดาได้ตรัสเวยยากรณภาษิตนี้แล้ว จึงได้ตรัสคาถา
ประพันธ์ต่อไปอีกว่า
เหล่าชนผู้ได้เกิดเป็นมนุษย์แล้ว
เมื่อพระตถาคตทรงประกาศสัทธรรมดีแล้ว
ยังไม่ได้ขณะ ชื่อว่าปล่อยขณะให้ล่วงไป
ชนหมู่มากกล่าวถึงกาลที่มิใช่ขณะว่าทำอันตรายต่อมรรค
พระตถาคตทั้งหลายทรงอุบัติขึ้นในโลกเพียงบางครั้งบางคราว
สิ่งที่มาพร้อมกันที่หาได้ยากในโลก คือ
การได้กำเนิดเป็นมนุษย์และการแสดงสัทธรรม
ชนผู้ใคร่ประโยชน์ ควรพยายามในกาลดังกล่าวมานั้น
บุคคลควรเข้าใจสัทธรรม
ขณะอย่าได้ล่วงเลยท่านทั้งหลายไปเสีย
เพราะคนผู้ล่วงเลยขณะไป
ย่อมยัดเยียดเศร้าโศกอยู่ในนรก
หากเขาปล่อยประโยชน์ให้เสียไป
ไม่บรรลุความเป็นผู้แน่นอนต่อสัทธรรมในโลกนี้ได้
จักเดือดร้อนในภายหลังสิ้นกาลนาน
เหมือนพ่อค้าผู้ปล่อยประโยชน์ให้เสียไป ฉะนั้น
คนผู้ถูกอวิชชาหุ้มห่อไว้ พรากจากสัทธรรม
จักเสวยสังสารวัฏคือชาติและมรณะสิ้นกาลนาน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๒๗๗ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๓.คหปติวรรค ๑๐.อนุรุทธมหาวิตักกสูตร
ส่วนชนเหล่าใดได้ความเป็นมนุษย์แล้ว
เมื่อพระตถาคตทรงประกาศสัทธรรมดีแล้ว
ได้ทำแล้ว จักทำ หรือกำลังทำตามพระดำรัสของพระศาสดา
ปฏิบัติตามแนวทางที่พระตถาคตทรงประกาศแล้ว
ชนเหล่านั้นชื่อว่าได้รู้แจ้งขณะ
คือพรหมจรรย์อันยอดเยี่ยมในโลก
บุคคลพึงเป็นผู้คุ้มครองสังวร๑ที่พระตถาคตผู้มีพระจักษุ
ผู้เป็นเผ่าพันธุ์แห่งพระอาทิตย์ทรงแสดงแล้ว
พึงเป็นผู้ไม่ชุ่มด้วยราคะ มีสติอยู่ทุกเมื่อ
ชนเหล่าใดตัดอนุสัยทั้งปวงที่ไปตามฝั่งคือบ่วงแห่งมาร
เป็นผู้ถึงความสิ้นอาสวะแล้ว
ชนเหล่านั้นชื่อว่าเป็นผู้ถึงฝั่ง๒ในโลก
อักขณสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. อนุรุทธมหาวิตักกสูตร
ว่าด้วยมหาปุริสวิตกของพระอนุรุทธะ
[๓๐] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ในป่าเภสกฬามิคทายวัน เขต
กรุงสุงสุมารคิระ๓ แคว้นภัคคะ สมัยนั้นแล ท่านพระอนุรุทธะอยู่ที่ปาจีนวังสทายวัน
ครั้งนั้น ท่านพระอนุรุทธหลีกเร้นอยู่ในที่สงัด เกิดความคิดอย่างนี้ว่า “นี้เป็นธรรม๔

เชิงอรรถ :
๑ สังวร ในที่นี้หมายถึงสีลสังวร (องฺ.อฏฺฐก.อ. ๓/๒๙/๒๔๙)
๒ ฝั่ง ในที่นี้หมายถึงพระนิพพาน (องฺ.อฏฺฐก.อ. ๓/๒๙/๒๔๙)
๓ สุงสุมารคิระ หมายถึงชื่อนครหลวงแห่งแคว้นภัคคะที่พระพุทธเจ้าประทับจำพรรษาที่ ๘ สุงสุมารคีรี ก็เรียก
๔ ธรรม ในที่นี้หมายถึงโลกุตตรธรรม ๙ (องฺ.อฏฺฐก.อ. ๓/๓๐/๒๕๐) และดู ที.ปา. ๑๑/๓๕๘/๒๖๙

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๒๗๘ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๓.คหปติวรรค ๑๐.อนุรุทธมหาวิตักกสูตร
ของบุคคลผู้มักน้อย๑ ไม่ใช่ธรรมของบุคคลผู้มักมาก นี้เป็นธรรมของบุคคลผู้สันโดษ
ไม่ใช่ธรรมของบุคคลผู้ไม่สันโดษ นี้เป็นธรรมของบุคคลผู้สงัด๒ ไม่ใช่ธรรมของบุคคล
ผู้ยินดีในการคลุกคลี๓ นี้เป็นธรรมของบุคคลผู้ปรารภความเพียร ไม่ใช่ธรรมของ
บุคคลผู้เกียจคร้าน นี้เป็นธรรมของบุคคลผู้มีสติตั้งมั่น ไม่ใช่ธรรมของบุคคลผู้หลง
ลืมสติ นี้เป็นธรรมของบุคคลผู้มีใจตั้งมั่น ไม่ใช่ธรรมของบุคคลผู้มีใจไม่ตั้งมั่น นี้เป็น
ธรรมของบุคคลผู้มีปัญญา ไม่ใช่ธรรมของบุคคลผู้มีปัญญาทราม”
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทราบความคิดของท่านพระอนุรุทธะด้วยพระทัยแล้ว
ทรงหายจากเภสกฬามิคทายวัน เขตกรุงสุงสุมารคิระ แคว้นภัคคะ ไปปรากฏต่อ
หน้าท่านพระอนุรุทธะที่ปาจีนวังสทายวัน แคว้นเจตี๔ เหมือนบุรุษมีกำลังเหยียดแขน
ออกหรือคู้แขนเข้า ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคประทับนั่งบนพุทธอาสน์ที่ปูลาดไว้แล้ว
ฝ่ายท่านพระอนุรุทธะถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคแล้วนั่ง ณ ที่สมควร พระผู้มี
พระภาคจึงได้ตรัสกับท่านพระอนุรุทธะดังนี้ว่า
“ดีละ ดีละ อนุรุทธะ ดีจริง อนุรุทธะ เธอตรึกมหาปุริสวิตกว่า ‘นี้เป็นธรรม
ของบุคคลผู้มักน้อย ไม่ใช่ธรรมของบุคคลผู้มักมาก นี้เป็นธรรมของบุคคลผู้สันโดษ
ไม่ใช่ธรรมของบุคคลผู้ไม่สันโดษ นี้เป็นธรรมของบุคคลผู้สงัด ไม่ใช่ธรรมของบุคคลผู้
ยินดีในการคลุกคลี นี้เป็นธรรมของบุคคลผู้ปรารภความเพียร ไม่ใช่ธรรมของบุคคล
ผู้เกียจคร้าน นี้เป็นธรรมของบุคคลผู้มีสติตั้งมั่น ไม่ใช่ธรรมของบุคคลผู้หลงลืมสติ

เชิงอรรถ :
๑ มักน้อย ในที่นี้หมายถึงความมักน้อย ๔ อย่าง คือ (๑) มักน้อยในปัจจัย กล่าวคือ เมื่อคนอื่นให้ของมาก
ก็รับน้อย เมื่อเขาให้ของน้อย ก็รับน้อยกว่า (๒) มักน้อยในการบรรลุ กล่าวคือ ไม่ให้บุคคลอื่นรู้การ
บรรลุธรรมของตน (๓) มักน้อยในปริยัตติ กล่าวคือ แม้ตนเองเป็นผู้ทรงพระไตรปิฎก ก็ไม่ให้บุคคลอื่นรู้
(๔) มักน้อยในธุดงค์ กล่าวคือ ไม่ให้บุคคลอื่นรู้การรักษาธุดงค์ของตน ดุจพระเถระผู้เป็นพี่น้องกัน ๒ รูป
(องฺ.อฏฺฐก.อ. ๓/๓๐/๒๕๐)
๒ สงัด ในที่นี้หมายถึงวิเวก ๓ คือ กายวิเวก จิตตวิเวก และอุปธิวิเวก (องฺ.อฏฺฐก.อ. ๓/๓๐/๒๕๐)
๓ ยินดีในการคลุกคลี ในที่นี้หมายถึงยินดีการคลุกคลีด้วยหมู่คณะ และความคลุกคลีด้วยกิเลส (องฺ.อฏฺฐก.อ.
๓/๓๐/๒๕๑)
๔ เจตี เป็นชื่อแคว้นหนึ่งซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยของพวกเจ้าที่มีพระนามว่าเจตี (องฺ.อฏฺฐก.อ. ๓/๓๐/๒๔๙)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๒๗๙ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๓.คหปติวรรค ๑๐.อนุรุทธมหาวิตักกสูตร
นี้เป็นธรรมของบุคคลผู้มีใจตั้งมั่น ไม่ใช่ธรรมของบุคคลผู้มีใจไม่ตั้งมั่น นี้เป็นธรรม
ของบุคคลผู้มีปัญญา ไม่ใช่ธรรมของบุคคลผู้มีปัญญาทราม’ อนุรุทธะ ถ้าอย่างนั้น
เธอจงตรึกมหาปุริสวิตกข้อที่ ๘ นี้ว่า ‘นี้เป็นธรรมของบุคคลผู้ยินดีในนิปปปัญจธรรม๑
ผู้พอใจในนิปปปัญจธรรม ไม่ใช่ธรรมของบุคคลผู้ยินดีในปปัญจธรรม๒ ผู้พอใจใน
ปปัญจธรรม’
อนุรุทธะ เมื่อใดแล เธอจักตรึกมหาปุริสวิตก ๘ ประการนี้ เมื่อนั้น เธอจัก
หวังได้ทีเดียวว่า ‘จักสงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลาย บรรลุปฐมฌานที่มีวิตก
วิจาร ปีติ และสุขอันเกิดจากวิเวกอยู่’
อนุรุทธะ เมื่อใดแล เธอจักตรึกมหาปุริสวิตก ๘ ประการนี้ เมื่อนั้น เธอจัก
หวังได้ทีเดียวว่า ‘เพราะวิตกวิจารสงบระงับไป จักบรรลุทุติยฌานที่มีความผ่องใส
ภายใน มีภาวะที่จิตเป็นหนึ่งผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีแต่ปีติและสุขอันเกิด
จากสมาธิอยู่’
อนุรุทธะ เมื่อใดแล เธอจักตรึกมหาปุริสวิตก ๘ ประการนี้ เมื่อนั้น เธอจัก
หวังได้ทีเดียวว่า ‘เพราะปีติจางคลายไป จักเป็นผู้มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ เสวยสุข
ด้วยนามกาย บรรลุตติยฌานที่พระอริยะทั้งหลายสรรเสริญว่า ‘ผู้มีอุเบกขา มีสติ
อยู่เป็นสุข’
อนุรุทธะ เมื่อใดแล เธอจักตรึกมหาปุริสวิตก ๘ ประการนี้ เมื่อนั้น เธอจัก
หวังได้ทีเดียวว่า ‘เพราะละสุขและทุกข์ได้ เพราะโสมนัสและโทมนัสดับไปก่อนแล้ว
จักบรรลุจตุตถฌานที่ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขาอยู่’
อนุรทธะ เมื่อใดแล เธอจักตรึกมหาปุริสวิตก ๘ ประการนี้ และจักได้ฌาน ๔
อันมีในจิตยิ่งซึ่งเป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบันตามความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก
ได้โดยไม่ลำบาก เมื่อนั้น ผ้าบังสุกุลจีวรจักปรากฏแก่เธอผู้สันโดษ อยู่ด้วยความ
ยินดี ด้วยความไม่สะดุ้งกลัว ด้วยความอยู่ผาสุก ด้วยการก้าวลงสู่นิพพาน เปรียบ
เหมือนหีบใส่ผ้าของคหบดี หรือบุตรคหบดีเต็มไปด้วยผ้าที่ย้อมด้วยสีต่าง ๆ ฉะนั้น

เชิงอรรถ :
๑ นิปปปัญจธรรม หมายถึงนิพพาน (องฺ.อฏฺฐก.อ. ๓/๓๐/๒๕๑)
๒ ปปัญจธรรม หมายถึงตัณหา มานะ และทิฏฐิ (องฺ.อฏฺฐก.อ. ๓/๓๐/๒๕๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๒๘๐ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๓.คหปติวรรค ๑๐.อนุรุทธมหาวิตักกสูตร
อนุรุทธะ เมื่อใดแล เธอจักตรึกมหาปุริสวิตก ๘ ประการนี้ และจักได้
ฌาน ๔ อันมีในจิตยิ่งซึ่งเป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบันตามความปรารถนา ได้โดย
ไม่ยาก ได้โดยไม่ลำบาก เมื่อนั้น อาหารคือคำข้าวที่ได้มาด้วยปลีแข้งจักปรากฏ
แก่เธอผู้สันโดษ อยู่ด้วยความยินดี ด้วยความไม่สะดุ้งกลัว ด้วยความอยู่ผาสุก
ด้วยการก้าวลงสู่นิพพาน เปรียบเหมือนข้าวสุกแห่งข้าวสาลีของคหบดีหรือบุตรคหบดี
ที่คัดกากออกแล้ว มีแกงหลายอย่าง มีกับหลายอย่าง ฉะนั้น
อนุรุทธะ เมื่อใดแล เธอจักตรึกมหาปุริสวิตก ๘ ประการนี้ และจักได้ฌาน ๔
อันมีในจิตยิ่งซึ่งเป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบันตามความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก
ได้โดยไม่ลำบาก เมื่อนั้น เสนาสนะคือโคนไม้จักปรากฏแก่เธอผู้สันโดษ อยู่ด้วย
ความยินดี ด้วยความไม่สะดุ้งกลัว ด้วยความอยู่ผาสุก ด้วยการก้าวลงสู่นิพพาน
เปรียบเหมือนเรือนยอดของคหบดีหรือบุตรคหบดีที่โบกทั้งภายในและภายนอกลมพัด
เข้าไม่ได้ มีบานประตูปิดมิดชิด หน้าต่างปิดสนิท ฉะนั้น
อนุรุทธะ เมื่อใดแล เธอจักตรึกมหาปุริสวิตก ๘ ประการนี้ และจักได้ฌาน ๔
อันมีในจิตยิ่งซึ่งเป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบันตามความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก
ได้โดยไม่ลำบาก เมื่อนั้น ที่นอนและที่นั่งที่ลาดด้วยหญ้าจักปรากฏแก่เธอผู้สันโดษ
อยู่ด้วยความยินดี ด้วยความไม่สะดุ้งกลัว ด้วยความอยู่ผาสุก ด้วยการก้าวลงสู่
นิพพาน เปรียบเหมือนบัลลังก์ของคหบดีหรือบุตรคหบดีที่ลาดด้วยผ้าโกเชาว์ ลาดด้วย
เครื่องลาดขนแกะสีขาว ลาดด้วยเครื่องลาดทำด้วยขนแกะลาย ลาดด้วยเครื่องลาด
อย่างดีทำด้วยหนังชะมด ข้างบนมีเพดาน มีหมอนสีแดงวางไว้ทั้ง ๒ ข้าง ฉะนั้น
อนุรุทธะ เมื่อใดแล เธอจักตรึกมหาปุริสวิตก ๘ ประการนี้ และจักได้ฌาน ๔
อันมีในจิตยิ่งซึ่งเป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบันตามความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก
ได้โดยไม่ลำบาก เมื่อนั้น ยาดองด้วยน้ำมูตรเน่าจักปรากฏแก่เธอผู้สันโดษ อยู่ด้วย
ความยินดี ด้วยความไม่สะดุ้งกลัว ด้วยความอยู่ผาสุก ด้วยการก้าวลงสู่นิพพาน
เปรียบเหมือนเภสัชชนิดต่าง ๆ คือ เนยใส เนยข้น น้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อยของคหบดี
หรือบุตรคหบดี
อนุรุทธะ ถ้าอย่างนั้น เธอควรอยู่จำพรรษาที่ปาจีนวังสทายวัน แคว้นเจตีนี้แล
ต่อไปเถิด”


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๒๘๑ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๓.คหปติวรรค ๑๐.อนุรุทธมหาวิตักกสูตร
ท่านพระอนุรุทธะทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสสอนท่านพระอนุรุทธะด้วยพระโอวาทนี้แล้ว
ทรงหายจากปาจีนวังสทายวัน แคว้นเจตี ไปปรากฏที่เภสกฬามิคทายวัน เขตกรุง
สุงสุมารคิระ แคว้นภัคคะ เหมือนบุรุษมีกำลังเหยียดแขนออกหรือคู้แขนเข้า ฉะนั้น
พระผู้มีพระภาคประทับนั่งบนพุทธอาสน์ที่ปูลาดไว้ แล้วรับสั่งเรียกภิกษุ
ทั้งหลายมาตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงมหาปุริสวิตก ๘ ประการแก่เธอ
ทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง ฯลฯ
มหาปุริสวิตก ๘ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. นี้เป็นธรรมของบุคคลผู้มักน้อย ไม่ใช่ธรรมของบุคคลผู้มักมาก
๒. นี้เป็นธรรมของบุคคลผู้สันโดษ ไม่ใช่ธรรมของบุคคลผู้ไม่สันโดษ
๓. นี้เป็นธรรมของบุคคลผู้สงัด ไม่ใช่ธรรมของบุคคลผู้ยินดีในการคลุกคลี
๔. นี้เป็นธรรมของบุคคลผู้ปรารภความเพียร ไม่ใช่ธรรมของบุคคลผู้
เกียจคร้าน
๕. นี้เป็นธรรมของบุคคลผู้มีสติตั้งมั่น ไม่ใช่ธรรมของบุคคลผู้หลงลืมสติ
๖. นี้เป็นธรรมของบุคคลผู้มีใจตั้งมั่น ไม่ใช่ธรรมของบุคคลผู้มีใจไม่ตั้งมั่น
๗. นี้เป็นธรรมของบุคคลผู้มีปัญญา ไม่ใช่ธรรมของบุคคลผู้มีปัญญาทราม
๘. นี้เป็นธรรมของบุคคลผู้ยินดีในนิปปปัญจธรรม ผู้พอใจในนิปปปัญจ-
ธรรม ไม่ใช่ธรรมของบุคคลผู้ยินดีในปปัญจธรรม ผู้พอใจในปปัญจธรรม
เรากล่าวไว้เช่นนี้แลว่า ‘นี้เป็นธรรมของบุคคลผู้มักน้อย ไม่ใช่ธรรมของ
บุคคลผู้มักมาก‘ เพราะอาศัยเหตุอะไร เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น
ภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัยเหตุนี้ว่า ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นผู้มักน้อย
ไม่ปรารถนาว่า คนทั้งหลายพึงรู้จักเราว่า ‘เป็นผู้มักน้อย’ เป็นผู้สันโดษ ไม่ปรารถนา
ว่า คนทั้งหลายพึงรู้จักเราว่า ‘เป็นผู้สันโดษ’ เป็นผู้สงัด ไม่ปรารถนาว่า ‘คนทั้งหลาย
พึงรู้จักเราว่า ‘เป็นผู้สงัด’ เป็นผู้ปรารภความเพียร ไม่ปรารถนาว่า คนทั้งหลายพึง
รู้จักเราว่า ‘เป็นผู้ปรารภความเพียร’ เป็นผู้มีสติตั้งมั่น ไม่ปรารถนาว่า คนทั้งหลาย
พึงรู้จักเราว่า ‘เป็นผู้มีสติตั้งมั่น’ เป็นผู้มีใจตั้งมั่น ไม่ปรารถนาว่า คนทั้งหลายพึงรู้จัก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๒๘๒ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๓.คหปติวรรค ๑๐.อนุรุทธมหาวิตักกสูตร
เราว่า ‘เป็นผู้มีใจตั้งมั่น’ เป็นผู้มีปัญญา ไม่ปรารถนาว่า คนทั้งหลายพึงรู้จักเราว่า
‘เป็นผู้มีปัญญา’ เป็นผู้ยินดีในนิปปปัญจธรรม ไม่ปรารถนาว่า คนทั้งหลายพึงรู้จัก
เราว่า ‘เป็นผู้ยินดีในนิปปปัญจธรรม’
เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้นว่า ‘นี้เป็นธรรมของบุคคลผู้มักน้อย ไม่ใช่ธรรมของบุคคล
ผู้มักมาก’
เรากล่าวไว้เช่นนี้แลว่า ‘นี้เป็นธรรมของบุคคลผู้สันโดษ ไม่ใช่ธรรมของ
บุคคลผู้ไม่สันโดษ‘ เพราะอาศัยเหตุอะไร เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น
ภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัยเหตุนี้ว่า ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นผู้สันโดษด้วย
จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชชบริขารตามแต่จะได้
เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้นว่า ‘นี้เป็นธรรมของบุคคลผู้สันโดษ ไม่ใช่ธรรมของบุคคล
ผู้ไม่สันโดษ’
เรากล่าวไว้เช่นนี้แลว่า ‘นี้เป็นธรรมของบุคคลผู้สงัด ไม่ใช่ธรรมของบุคคล
ผู้ยินดีในการคลุกคลี‘ เพราะอาศัยเหตุอะไร เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น
ภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัยเหตุนี้ว่า ภิกษุในธรรมวินัยนี้อยู่อย่างสงัด มีภิกษุ
ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา พระราชามหาอำมาตย์ของพระราชา เดียรถีย์ และสาวก
ของเดียรถีย์ทั้งหลายเข้าไปหา ในที่นั้น ภิกษุมีจิตน้อมไป โน้มไป โอนไป ตั้งอยู่ใน
วิเวก๑ ยินดียิ่งในเนกขัมมะ๒ ก็จำต้องกล่าวถ้อยคำอันเกี่ยวกับการส่งการรับโดยแท้
เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้นว่า ‘นี้เป็นธรรมของบุคคลผู้สงัด ไม่ใช่ธรรมของบุคคลผู้
ยินดีในการคลุกคล’
เรากล่าวไว้เช่นนี้แลว่า ‘นี้เป็นธรรมของบุคคลผู้ปรารภความเพียร ไม่ใช่
ธรรมของบุคคลผู้เกียจคร้าน‘ เพราะอาศัยเหตุอะไร เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น
ภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัยเหตุนี้ว่า ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นผู้ปรารภความ
เพียร เพื่อละอกุศลธรรม เพื่อให้กุศลธรรมเกิด มีความเข้มแข็ง มีความบากบั่น
มั่นคง ไม่ทอดธุระในกุศลธรรมทั้งหลาย



เชิงอรรถ :
๑ , ๒ ดูเชิงอรรถที่ ๒,๓ อัฏฐกนิบาต ข้อ ๒๘ หน้า ๒๗๓ ในเล่มนี้


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๒๘๓ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๓.คหปติวรรค ๑๐.อนุรุทธมหาวิตักกสูตร
เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้นว่า ‘นี้เป็นธรรมของบุคคลผู้ปรารภความเพียร ไม่ใช่ธรรม
ของบุคคลผู้เกียจคร้าน’
เรากล่าวไว้เช่นนี้แลว่า ‘นี้เป็นธรรมของบุคคลผู้มีสติตั้งมั่น ไม่ใช่ธรรม
ของบุคคลผู้หลงลืมสติ‘ เพราะอาศัยเหตุอะไร เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น
ภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัยเหตุนี้ว่า ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นผู้มีสติ คือ
ประกอบด้วยสติปัญญาเป็นเครื่องรักษาตนเป็นอย่างยิ่ง ระลึกถึงสิ่งที่ทำ คำที่พูด
แม้นานได้
เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้นว่า ‘นี้เป็นธรรมของบุคคลผู้มีสติตั้งมั่น ไม่ใช่ของบุคคลผู้
หลงลืมสติ’
เรากล่าวไว้เช่นนี้แลว่า ‘นี้เป็นธรรมของบุคคลผู้มีใจตั้งมั่น ไม่ใช่ธรรมของ
บุคคลผู้มีใจไม่ตั้งมั่น‘ เพราะอาศัยเหตุอะไร เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น
ภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัยเหตุนี้ว่า ภิกษุในธรรมวินัยนี้สงัดจากกาม ฯลฯ๑
บรรลุจตุตถฌานที่ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขาอยู่
เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้นว่า ‘นี้เป็นธรรมของบุคคลผู้มีใจตั้งมั่น ไม่ใช่ธรรมของ
บุคคลผู้มีใจไม่ตั้งมั่น’
เรากล่าวไว้เช่นนี้แลว่า ‘นี้เป็นธรรมของบุคคลผู้มีปัญญา ไม่ใช่ธรรมของ
บุคคลผู้มีปัญญาทราม‘ เพราะอาศัยเหตุอะไร เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น
ภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัยเหตุนี้ว่า ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นผู้มีปัญญา คือ
ประกอบด้วยปัญญาเป็นเครื่องพิจารณาเห็นทั้งความเกิดและความดับอันเป็นอริยะ
ชำแรกกิเลส ให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ


เชิงอรรถ :
๑ ดูความเต็มในข้อ ๑๑ (เวรัญชสูตร) หน้า ๒๒๒-๒๒๓ ในเล่มนี้


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๒๘๔ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๓.คหปติวรรค ๑๐.อนุรุทธมหาวิตักกสูตร
เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้นว่า ‘นี้เป็นธรรมของบุคคลผู้มีปัญญา ไม่ใช่ของบุคคลผู้มี
ปัญญาทราม’
เรากล่าวไว้เช่นนี้แลว่า ‘นี้เป็นธรรมของบุคคลผู้ยินดีในนิปปปัญจธรรม
ผู้พอใจในนิปปปัญจธรรม ไม่ใช่ธรรมของบุคคลผู้ยินดีในปปัญจธรรม ผู้พอใจ
ในปปัญจธรรม‘ เพราะอาศัยเหตุอะไร เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น
ภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัยเหตุนี้ว่า จิตของภิกษุในธรรมวินัยนี้ย่อมแล่นไป
เลื่อมใส ตั้งมั่นในปปัญจนิโรธ๑ ย่อมหลุดพ้น
เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้นว่า ‘นี้เป็นธรรมของบุคคลผู้ยินดีในนิปปปัญจธรรม
ผู้พอใจในนิปปปัญจธรรม ไม่ใช่ธรรมของบุคคลผู้ยินดีในปปัญจธรรม ผู้พอใจใน
ปปัญจธรรม”
ครั้งนั้น ท่านพระอนุรุทธะได้อยู่จำพรรษาที่ปาจีนวังสทายวัน แคว้นเจตีนั้นแล
ต่อไปอีก ท่านจากไปอยู่ผู้เดียว ไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่ ไม่นานนัก
ก็ได้ทำให้แจ้งประโยชน์ยอดเยี่ยม๒อันเป็นที่สุดแห่งพรหมจรรย์ ที่เหล่ากุลบุตรออก
จากเรือนบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบต้องการด้วยปัญญาอันยิ่งเอง เข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน
รู้ชัดว่า “ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่น
เพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป”
ท่านพระอนุรุทธะได้เป็นพระอรหันต์องค์หนึ่ง ในบรรดาพระอรหันต์ทั้งหลาย
ท่านพระอนุรุทธะผู้ได้บรรลุพระอรหัตแล้ว จึงได้กล่าวคาถาเหล่านี้ในเวลานั้นว่า

เชิงอรรถ :
๑ ปปัญจนิโรธ หมายถึงบทคือนิพพาน (องฺ.อฏฺฐก.อ. ๓/๓๐/๒๕๒)
๒ ประโยชน์ยอดเยี่ยม ในที่นี้หมายถึงอรหัตตผล หรืออริยผล อันเป็นที่สุดแห่งมรรคพรหมจรรย์ (องฺ.ทุก.อ.
๒/๕/๗, ม.ม.อ. ๒/๘๒/๘๐)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๒๘๕ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๓.คหปติวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค
พระศาสดาผู้ยอดเยี่ยมในโลก
ทรงทราบความดำริของเราแล้ว
จึงเสด็จมาหาเราด้วยมโนมยกายฤทธิ์๑
พระพุทธเจ้าผู้ทรงยินดีในนิปปปัญจธรรม
ทรงแสดงมหาปุริสวิตกยิ่งกว่าความดำริของเรา๒
ทรงแสดงนิปปปัญจธรรมแล้ว
เราได้รู้ทั่วถึงธรรมของพระองค์แล้ว
ยินดีในพระศาสนาอยู่
เราได้บรรลุวิชชา ๓ โดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าเราได้ทำตามแล้ว
อนุรุทธมหาวิตักกสูตรที่ ๑๐ จบ
คหปติวรรคที่ ๓ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. ปฐมอุคคสูตร ๒. ทุติยอุคคสูตร
๓. ปฐมหัตถกสูตร ๔. ทุติยหัตถกสูตร
๕. มหานามสูตร ๖. ชีวกสูตร
๗. ปฐมพลสูตร ๘. ทุติยพลสูตร
๙. อักขณสูตร ๑๐. อนุรุทธมหาวิตักกสูตร


เชิงอรรถ :
๑ มโนมยกายฤทธิ์ หมายถึงฤทธิ์ที่ทำให้กายเกิดขึ้นได้ด้วยอำนาจใจ กล่าวคือกายที่ใช้อำนาจจิตเนรมิตให้
เกิดขึ้นได้ และไปได้ (องฺ.อฏฺฐก.อ. ๓/๓๑/๒๕๓)
๒ ข้อความนี้หมายถึงท่านพระอนุรุทธะสามารถตรึกมหาปุริสวิตกได้เพียง ๗ ประการ แต่พระพุทธเจ้าทรง
แสดงได้ถึง ๘ ประการ (องฺ.อฏฺฐก.อ. ๓/๓๐/๒๕๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๒๘๖ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๔.ทานวรรค ๑.ปฐมทานสูตร
๔. ทานวรรค
หมวดว่าด้วยทาน
๑. ปฐมทานสูตร๑
ว่าด้วยทาน สูตรที่ ๑
[๓๑] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย ทาน ๘ ประการนี้
ทาน ๘ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. บุคคลบางคนให้ทานเพราะประสบเข้า๒
๒. บุคคลบางคนให้ทานเพราะความกลัว๓
๓. บุคคลบางคนให้ทานเพราะคิดว่า ‘เขาได้ให้แก่เราแล้ว’
๔. บุคคลบางคนให้ทานเพราะคิดว่า ‘เขาจักให้แก่เรา’
๕. บุคคลบางคนให้ทานเพราะคิดว่า ‘การให้ทานเป็นการดี’
๖. บุคคลบางคนให้ทานเพราะคิดว่า ‘เราหุงหากินเองได้ ชนเหล่านี้หุง
หากินเองไม่ได้ การที่เราหุงหากินเองได้จะไม่ให้ทานแก่ชนเหล่านี้ผู้
หุงหากินเองไม่ได้ ไม่ควร’
๗. บุคคลบางคนให้ทานด้วยคิดว่า ‘เมื่อเราให้ทานนี้ กิตติศัพท์อันงาม
ย่อมขจรไป’
๘. บุคคลบางคนให้ทานเพื่อเป็นเครื่องประดับจิตและปรุงแต่งจิต๔
ภิกษุทั้งหลาย ทาน ๘ ประการนี้แล
ปฐมทานสูตรที่ ๑ จบ

เชิงอรรถ :
๑ ดู ที.ปา.๑๑/๓๓๖/๒๒๗
๒ ให้ทานเพราะประสบเข้า หมายถึงเมื่อพบว่ามาหาก็ให้ทานได้ หรือให้รอสักครู่ก็ให้ทานได้ ไม่ให้ลำบากใจ
(องฺ.อฏฺฐก.อ.๓/๓๑/๒๕๓)
๓ ให้ทานเพราะกลัว ในที่นี้หมายถึงให้ทานเพราะกลัวถูกตำหนิติเตียน หรือกลัวอบายภูมิ (องฺ.อฏฺฐก.อ.
๓/๓๑/๒๕๓)
๔ ให้ทานเพื่อเป็นเครื่องประดับจิตและปรุงแต่งจิต ในที่นี้หมายถึงให้ทานเพื่อประดับจิตในการเจริญ
สมถกัมมัฏฐานและวิปัสสนากัมมัฏฐาน เพราะว่าทานย่อมทำจิตให้อ่อนโยน เหมาะแก่การเจริญกัมมัฏฐาน
ทั้งสอง (องฺ.อฏฺฐก.อ.๓/๓๑/๒๕๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๒๘๗ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๔.ทานวรรค ๓.ทานวัตถุสูตร
๒. ทุติยทานสูตร
ว่าด้วยทาน สูตรที่ ๒
[๓๒] ธรรมเหล่านี้ คือ ศรัทธา หิริ ทานที่เป็นกุศล
อันสัตบุรุษดำเนินตามแล้ว
สัตบุรุษทั้งหลายกล่าวว่าธรรม ๓ ประการนี้แล
เป็นทางไปสู่เทวโลก
เพราะด้วยธรรม ๓ ประการนี้แล บุคคลจึงไปสู่เทวโลกได้๑
ทุติยทานสูตรที่ ๒ จบ

๓. ทานวัตถุสูตร
ว่าด้วยทานวัตถุ
[๓๓] ภิกษุทั้งหลาย ทานวัตถุ๒ ๘ ประการนี้
ทานวัตถุ ๘ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. บุคคลบางคนให้ทานเพราะความชอบ
๒. บุคคลบางคนให้ทานเพราะความชัง
๓. บุคคลบางคนให้ทานเพราะความหลง
๔. บุคคลบางคนให้ทานเพราะความกลัว
๕. บุคคลบางคนให้ทานเพราะคิดว่า ‘พ่อและปู่เคยให้ทาน เคยทำทาน
เราไม่ควรให้วงศ์ตระกูลเก่าแก่เสื่อมหายไป’
๖. บุคคลบางคนให้ทานเพราะคิดว่า ‘เราให้ทานนี้แล้ว หลังจากตายแล้ว
จักไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์’

เชิงอรรถ :
๑ ดู. อภิ.ก.๓๗/๔๘๐/๒๘๙
๒ ทานวัตถุ หมายถึงเหตุแห่งการให้ทาน (องฺ.อฏฺฐก.อ. ๓/๓๓/๒๕๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๒๘๘ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๔.ทานวรรค ๔.เขตตสูตร
๗. บุคคลบางคนให้ทานเพราะคิดว่า ‘เมื่อเราให้ทานนี้ จิตย่อมผ่องใส
เกิดความชื่นชมโสมนัส’
๘. บุคคลบางคนให้ทานเพื่อเป็นเครื่องประดับจิตและปรุงแต่งจิต
ภิกษุทั้งหลาย ทานวัตถุ ๘ ประการนี้แล
ทานวัตถุสูตรที่ ๓ จบ

๔. เขตตสูตร
ว่าด้วยนาดีและนาไม่ดี
[๓๔] ภิกษุทั้งหลาย พืชที่หว่านลงในนาที่ประกอบด้วยองค์ ๘ ประการ
ย่อมไม่มีผลมาก ไม่มีความชื่นใจมาก ไม่มีความเจริญมาก
นาที่ประกอบด้วยองค์ ๘ ประการ เป็นอย่างไร
คือ นาในโลกนี้

๑. เป็นที่ลุ่มและดอน ๒. เป็นที่มีหินและกรวด
๓. เป็นที่ดินเค็ม ๔. เป็นที่ไถลงลึกไม่ได้
๕. เป็นที่ไม่มีทางน้ำเข้า ๖. เป็นที่ไม่มีทางน้ำออก
๗. เป็นที่ไม่มีเหมือง ๘. เป็นที่ไม่มีคันนา

ภิกษุทั้งหลาย พืชที่หว่านลงในนาที่ประกอบด้วยองค์ ๘ ประการ อย่างนี้
ย่อมไม่มีผลมาก ไม่มีความชื่นใจมาก ไม่มีความเจริญมาก
ภิกษุทั้งหลาย ในทำนองเดียวกัน ทานที่บุคคลให้ในสมณพราหมณ์ผู้ประกอบ
ด้วยองค์ ๘ ประการ ย่อมไม่มีผลมาก ไม่มีอานิสงส์มาก ไม่มีความรุ่งเรืองมาก
ไม่มีความแพร่หลายมาก
สมณพราหมณ์ผู้ประกอบด้วยองค์ ๘ ประการ เป็นอย่างไร
คือ สมณพราหมณ์ในโลกนี้
๑. เป็นผู้มีมิจฉาทิฏฐิ (เห็นผิด)
๒. เป็นผู้มีมิจฉาสังกัปปะ (ดำริผิด)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๒๘๙ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๔.ทานวรรค ๔.เขตตสูตร
๓. เป็นผู้มีมิจฉาวาจา(เจรจาผิด)
๔. เป็นผู้มีมิจฉากัมมันตะ(กระทำผิด)
๕. เป็นผู้มีมิจฉาอาชีวะ(เลี้ยงชีพผิด)
๖. เป็นผู้มีมิจฉาวายามะ(พยายามผิด)
๗. เป็นผู้มีมิจฉาสติ(ระลึกผิด)
๘. เป็นผู้มีมิจฉาสมาธิ(ตั้งจิตมั่นผิด)
ภิกษุทั้งหลาย ทานที่ให้ในสมณพราหมณ์ผู้ประกอบด้วยองค์ ๘ ประการ
อย่างนี้ ย่อมไม่มีผลมาก ไม่มีอานิสงส์มาก ไม่มีความรุ่งเรืองมาก ไม่มีความแพร่
หลายมาก
ภิกษุทั้งหลาย พืชที่หว่านลงในนาที่ประกอบด้วยองค์ ๘ ประการ ย่อมมี
ผลมาก มีความชื่นใจมาก มีความเจริญมาก
นาที่ประกอบด้วยองค์ ๘ ประการ เป็นอย่างไร
คือ นาในโลกนี้

๑. เป็นที่ไม่ลุ่มและดอน ๒. เป็นที่ไม่มีหินและกรวด
๓. เป็นที่ไม่มีดินเค็ม ๔. เป็นที่ไถลงลึกได้
๕. เป็นที่มีทางน้ำเข้า ๖. เป็นที่มีทางน้ำออก
๗. เป็นที่มีเหมือง ๘. เป็นที่มีคันนา

ภิกษุทั้งหลาย พืชที่หว่านลงในนาที่ประกอบด้วยองค์ ๘ ประการอย่างนี้
ย่อมมีผลมาก มีความชื่นใจมาก มีความเจริญมาก
ภิกษุทั้งหลาย ในทำนองเดียวกัน ทานที่ให้ในสมณพราหมณ์ผู้ประกอบ
ด้วยองค์ ๘ ประการ ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก มีความรุ่งเรืองมาก มีความ
แพร่หลายมาก
สมณพราหมณ์ผู้ประกอบด้วยองค์ ๘ ประการ เป็นอย่างไร
คือ สมณพราหมณ์ในโลกนี้
๑. เป็นผู้มีสัมมาทิฏฐิ(เห็นชอบ) ๒. เป็นผู้มีสัมมาสังกัปปะ(ดำริชอบ)
๓. เป็นผู้มีสัมมาวาจา(เจรจาชอบ) ๔. เป็นผู้มีสัมมากัมมันตะ(กระทำชอบ)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๒๙๐ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๔.ทานวรรค ๔.เขตตสูตร
๕. เป็นผู้มีสัมมาอาชีวะ(เลี้ยงชีพชอบ) ๖. เป็นผู้มีสัมมาวายามะ(พยายามชอบ)
๗. เป็นผู้มีสัมมาสติ(ระลึกชอบ) ๘. เป็นผู้มีสัมมาสมาธิ(ตั้งจิตมั่นชอบ)
ภิกษุทั้งหลาย ทานที่ให้ในสมณพราหมณ์ผู้ประกอบด้วยองค์ ๘ ประการ
อย่างนี้ ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก มีความรุ่งเรืองมาก มีความแพร่หลายมาก
พืชที่สมบูรณ์ถูกหว่านลงในนาที่สมบูรณ์
เมื่อฝนตกต้องตามฤดูกาล ธัญชาติจะงอกงามได้
เพราะไม่มีศัตรูพืช๑ มีความเจริญงอกงาม
มีความไพบูลย์ มีผลสมบูรณ์เต็มที่ ฉันใด
โภชนะที่สมบูรณ์๒ที่บุคคลให้
ในสมณพราหมณ์ผู้มีศีลสมบูรณ์ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน
ย่อมนำมาซึ่งกุศลอันสมบูรณ์
เพราะกรรมที่เขาทำไว้นั้นสมบูรณ์แล้ว
เพราะฉะนั้น บุคคลผู้หวังกุศลอันสมบูรณ์
จงเป็นผู้สมบูรณ์ในกุศลนี้
พึงคบท่านผู้มีปัญญาสมบูรณ์
บุญสัมปทาทั้งหลายย่อมสำเร็จได้อย่างนี้ คือ
ท่านผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ๓
ได้ความสมบูรณ์แห่งจิตแล้ว ทำกรรมให้บริบูรณ์
ได้ประโยชน์ที่สมบูรณ์
รู้โลกตามความเป็นจริงแล้ว
บรรลุทิฏฐิสัมปทา(ความถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ)

เชิงอรรถ :
๑ ไม่มีศัตรูพืช ในที่นี้หมายถึงแมลงและหนอนเป็นต้น (องฺ.อฏฺฐก.อ.๓/๓๔/๒๕๕)
๒ โภชนะที่สมบูรณ์ ในที่นี้หมายถึงโภชนะ ๕ อย่าง คือ ข้าวสุก ขนมสด ขนมแห้ง ปลา เนื้อ (องฺ.อฏฺฐก.อ.
๓/๓๔/๒๕๕)
๓ ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ ในที่นี้หมายถึงประกอบด้วยวิชชา ๓ และจรณะ ๑๕ (องฺ.อฏฺฐก.อ.๓/๓๔/
๒๕๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๒๙๑ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๔.ทานวรรค ๕.ทานูปปัตติสูตร
อาศัยมัคคสัมปทา๑แล้ว มีใจบริบูรณ์
ย่อมบรรลุอรหัตตผลได้
กำจัดมลทินทั้งปวงแล้ว จะบรรลุนิพพานสัมปทาได้
การหลุดพ้นจากทุกข์ทั้งปวงนั้น จัดเป็นสัพพสัมปทา
เขตตสูตรที่ ๔ จบ

๕. ทานูปปัตติสูตร
ว่าด้วยผลที่เกิดจากการให้ทาน๒
[๓๕] ภิกษุทั้งหลาย ผลที่เกิดจากการให้ทาน ๘ ประการนี้
ผลที่เกิดจากการให้ทาน ๘ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. บุคคลบางคนในโลกนี้ให้ทาน คือ ข้าว น้ำ ผ้า ยาน ดอกไม้
ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่พัก และเครื่องประทีปแก่สมณะ
หรือพราหมณ์ เขาให้สิ่งใด ก็หวังสิ่งนั้นตอบแทน เขาเห็นพวก
ขัตติยมหาศาล พราหมณ์มหาศาล หรือคหบดีมหาศาล๓ ผู้เอิบอิ่ม
พรั่งพร้อมบำเรอตนอยู่ด้วยกามคุณ ๕ จึงมีความปรารถนาอย่างนี้
ว่า ‘โอหนอ หลังจากตายแล้ว เราพึงเกิดร่วมกับพวกขัตติยมหาศาล
พราหมณ์มหาศาล หรือคหบดีมหาศาล’ เขาตั้งจิตนั้น อธิษฐาน
จิตนั้น เจริญจิตนั้นอยู่ จิตของเขาโน้มไปในทางต่ำ เจริญให้ยิ่งขึ้นไป
ไม่ได้ ย่อมเป็นไปเพื่อเกิดในที่นั้น๔ หลังจากตายแล้ว เขาจึงเกิดร่วม
กับพวกขัตติยมหาศาล พราหมณ์มหาศาล หรือคหบดีมหาศาล
ข้อนี้แล เรากล่าวไว้สำหรับผู้มีศีล ไม่ใช่สำหรับผู้ทุศีล ภิกษุทั้งหลาย
มโนปณิธานของท่านผู้มีศีลย่อมสำเร็จได้เพราะเป็นผู้บริสุทธิ์

เชิงอรรถ :
๑ มัคคสัมปทา หมายถึงโสดาปัตติมรรค (องฺ.อฏฺฐก.อ. ๓/๓๔/๒๕๕)
๒ ดู ที.ปา.๑๑/๓๓๗/๒๒๗-๒๒๙
๓ ดูเชิงอรรถที่ ๑ สัตตกนิบาต ข้อ ๖๖ หน้า ๑๓๕ ในเล่มนี้
๔ เกิดในที่นั้น หมายถึงเกิดในสถานที่ที่ตนปรารถนาไว้ในขณะทำบุญ (องฺ.อฏฺฐก.อ.๓/๓๕/๒๕๖)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๒๙๒ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๔.ทานวรรค ๕.ทานูปปัตติสูตร
๒. บุคคลบางคนในโลกนี้ให้ทาน คือ ข้าว น้ำ ผ้า ยาน ดอกไม้
ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่พัก และเครื่องประทีป เขาให้สิ่งใด
ก็หวังสิ่งนั้นตอบแทน เขาได้สดับมาว่า ‘พวกเทวดาชั้นจาตุมหาราช
มีอายุยืน มีผิวพรรณงาม มีความสุขมาก’ จึงมีความปรารถนา
อย่างนี้ว่า ‘โอหนอ หลังจากตายแล้ว เราพึงเกิดร่วมกับพวก
เทวดาชั้นจาตุมหาราช’ เขาตั้งจิตนั้น อธิษฐานจิตนั้น เจริญจิต
นั้นอยู่ จิตของเขาโน้มไปในทางต่ำ เจริญให้ยิ่งขึ้นไปไม่ได้ ย่อมเป็น
ไปเพื่อเกิดในที่นั้น หลังจากตายแล้ว เขาจึงเกิดร่วมกับพวกเทวดา
ชั้นจาตุมหาราช ข้อนี้แล เรากล่าวไว้สำหรับผู้มีศีล ไม่ใช่สำหรับ
ผู้ทุศีล ภิกษุทั้งหลาย มโนปณิธานของท่านผู้มีศีลย่อมสำเร็จได้
เพราะเป็นผู้บริสุทธิ์
๓. บุคคลบางคนในโลกนี้ให้ทาน คือ ข้าว น้ำ ผ้า ยาน ดอกไม้
ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่พัก และเครื่องประทีป แก่สมณะ
หรือพราหมณ์ เขาให้สิ่งใด ก็หวังสิ่งนั้นตอบแทน เขาได้สดับมาว่า
พวกเทวดาชั้นดาวดึงส์ ฯลฯ
๔. บุคคลบางคนในโลกนี้ ฯลฯ พวกเทวดาชั้นยามา ฯลฯ
๕. บุคคลบางคนในโลกนี้ ฯลฯ พวกเทวดาชั้นดุสิต ฯลฯ
๖. บุคคลบางคนในโลกนี้ ฯลฯ พวกเทวดาชั้นนิมมานรดี ฯลฯ
๗. บุคคลบางคนในโลกนี้ ฯลฯพวกเทวดาชั้นปรนิมมิตวสวัตดี มีอายุยืน
มีผิวพรรณงาม มีความสุขมาก จึงปรารถนาอย่างนี้ว่า ‘โอหนอ
หลังจากตายแล้ว เราพึงเกิดร่วมกับพวกเทวดาชั้นปรนิมมิตวสวัตดี’
เขาตั้งจิตนั้น อธิษฐานจิตนั้น เจริญจิตนั้นอยู่ จิตของเขาโน้มไปใน
ทางต่ำ เจริญให้ยิ่งขึ้นไปไม่ได้ ย่อมเป็นไปเพื่อเกิดในที่นั้น หลังจาก
ตายแล้ว เขาจึงเกิดร่วมกับพวกเทวดาชั้นปรนิมมิตวสวัตดี ข้อนี้แล
เรากล่าวไว้สำหรับผู้มีศีล ไม่ใช่สำหรับผู้ทุศีล ภิกษุทั้งหลาย มโนปณิธาน
ของท่านผู้มีศีลย่อมสำเร็จได้ เพราะเป็นผู้บริสุทธิ์
๘. บุคคลบางคนในโลกนี้ให้ทาน คือ ข้าว น้ำ ผ้า ยาน ดอกไม้ ของหอม
เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่พัก และเครื่องประทีป แก่สมณะหรือพราหมณ์
เขาให้สิ่งใด ก็หวังสิ่งนั้นตอบแทน เขาได้สดับมาว่า ‘พวกเทวดา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๒๙๓ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๔.ทานวรรค ๖.ปุญญกิริยาวัตถุสูตร
ชั้นพรหมกายิกา มีอายุยืน มีผิวพรรณงาม มีความสุขมาก’ จึงมี
ความปรารถนาอย่างนี้ว่า ‘โอหนอ หลังจากตายแล้ว เราพึงเกิด
ร่วมกับพวกเทวดาชั้นพรหมกายิกา’ เขาตั้งจิตนั้น อธิษฐานจิตนั้น
เจริญจิตนั้นอยู่ จิตของเขาโน้มไปในทางต่ำ เจริญให้ยิ่งขึ้นไปไม่ได้
ย่อมเป็นไปเพื่อเกิดในที่นั้น หลังจากตายแล้ว เขาจึงเกิดร่วมกับ
พวกเทวดาชั้นพรหมกายิกา ข้อนี้แล เรากล่าวไว้สำหรับผู้มีศีล
ไม่ใช่สำหรับผู้ทุศีล สำหรับผู้ปราศจากราคะ๑ ไม่ใช่สำหรับผู้มีราคะ
ภิกษุทั้งหลาย มโนปณิธานของท่านผู้มีศีล ย่อมสำเร็จได้ เพราะเป็น
ผู้ปราศจากราคะ
ภิกษุทั้งหลาย ผลที่เกิดจากการให้ทาน ๘ ประการนี้แล
ทานูปปัตติสูตรที่ ๕ จบ

๖. ปุญญกิริยาวัตถุสูตร
ว่าด้วยบุญกิริยาวัตถุ๒
[๓๖] ภิกษุทั้งหลาย บุญกิริยาวัตถุ ๓ ประการนี้
บุญกิริยาวัตถุ ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. บุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยทาน
๒. บุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยศีล
๓. บุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยภาวนา
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ทำบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยทานนิดหน่อย
ทำบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยศีลนิดหน่อย และไม่จัดแจงบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วย
ภาวนาเลย หลังจากตายแล้ว เขาย่อมเข้าถึงความเป็นผู้โชคร้ายในมนุษย์

เชิงอรรถ :
๑ ปราศจากราคะ ในที่นี้หมายถึงปราศจากราคะโดยการถอนขึ้นได้ด้วยมรรค หรือปราศจากราคะโดยการ
ข่มไว้ได้ด้วยสมาบัติ (องฺ.อฏฺฐก.อ.๓/๓๕/๒๕๖)
๒ บุญกิริยาวัตถุ มาจาก บุญกิริยา + วัตถุ แยกอธิบายความหมายได้ดังนี้ (๑) บุญกิริยา หมายถึงการ
ตั้งใจบำเพ็ญบุญ (๒) วัตถุ หมายถึงที่ตั้งหรือเหตุให้เกิดอานิสงส์ต่าง ๆ ดังนั้น บุญกิริยาวัตถุ จึงหมายถึง
การบำเพ็ญบุญอันเป็นเหตุให้เกิดอานิสงส์ (องฺ.อฏฺฐก.อ. ๓/๓๖/๒๕๖-๒๕๗, องฺ.อฏฺฐก.ฏีกา ๓/๓๖/๒๙๒-
๒๙๓) และดู ที.ปา. ๑๑/๓๐๕/๑๙๓-๑๙๖, ขุ.อิติ. ๒๕/๖๐-๖๑/๑๗๘

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๒๙๔ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๔.ทานวรรค ๖.ปุญญกิริยาวัตถุสูตร
บุคคลบางคนในโลกนี้ทำบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยทานพอประมาณ
ทำบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยศีลพอประมาณ แต่ไม่จัดแจงบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วย
ภาวนาเลย หลังจากตายแล้ว เขาย่อมเข้าถึงความเป็นผู้โชคดีในมนุษย์
บุคคลบางคนในโลกนี้ทำบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยทานมีประมาณยิ่ง ทำบุญ-
กิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยศีลมีประมาณยิ่ง แต่ไม่จัดแจงบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วย
ภาวนาเลย หลังจากตายแล้ว เขาย่อมเกิดร่วมกับเทวดาชั้นจาตุมหาราช ภิกษุ
ทั้งหลาย ท้าวมหาราชทั้ง ๔ ในชั้นนั้นทำบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยทานให้ยิ่งขึ้น
ทำบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยศีลให้ยิ่งขึ้น ย่อมครอบงำเทวดาชั้นจาตุมหาราชได้โดย
ฐานะ ๑๐ ประการ คือ อายุที่เป็นทิพย์ วรรณะที่เป็นทิพย์ สุขที่เป็นทิพย์ ยศที่
เป็นทิพย์ อธิปไตยที่เป็นทิพย์ รูปที่เป็นทิพย์ เสียงที่เป็นทิพย์ กลิ่นที่เป็นทิพย์
รสที่เป็นทิพย์ โผฏฐัพพะที่เป็นทิพย์
บุคคลบางคนในโลกนี้ทำบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยทานมีประมาณยิ่ง ทำบุญ-
กิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยศีลมีประมาณยิ่ง แต่ไม่จัดแจงบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วย
ภาวนาเลย หลังจากตายแล้ว เขาย่อมเกิดร่วมกับเทวดาชั้นดาวดึงส์ ภิกษุทั้งหลาย
ท้าวสักกะจอมเทพในชั้นดาวดึงส์นั้นทำบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยทานให้ยิ่งขึ้น
ทำบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยศีลให้ยิ่งขึ้น ย่อมครอบงำเทวดาชั้นดาวดึงส์ได้โดย
ฐานะ ๑๐ ประการ คือ อายุที่เป็นทิพย์ ฯลฯ โผฏฐัพพะที่เป็นทิพย์
บุคคลบางคนในโลกนี้ทำบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยทานมีประมาณยิ่ง ทำบุญ-
กิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยศีลมีประมาณยิ่ง แต่ไม่จัดแจงบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วย
ภาวนาเลย หลังจากตายแล้ว เขาย่อมเกิดร่วมกับเทวดาชั้นยามา ภิกษุทั้งหลาย
ท้าวสุยามเทพบุตรในชั้นยามานั้นทำบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยทานให้ยิ่งขึ้น ทำบุญ-
กิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยศีลให้ยิ่งขึ้น ย่อมครอบงำเทวดาชั้นยามาได้โดยฐานะ ๑๐ ประการ
คือ อายุที่เป็นทิพย์ ฯลฯ โผฏฐัพพะที่เป็นทิพย์
บุคคลบางคนในโลกนี้ทำบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยทานมีประมาณยิ่ง
ทำบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยศีลมีประมาณยิ่ง แต่ไม่จัดแจงบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วย
ภาวนาเลย หลังจากตายแล้ว เขาย่อมเกิดร่วมกับเทวดาชั้นดุสิต ภิกษุทั้งหลาย
ท้าวสันดุสิตในชั้นดุสิตนั้นทำบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยทานให้ยิ่งขึ้น ทำบุญกิริยาวัตถุ
ที่สำเร็จด้วยศีลให้ยิ่งขึ้น ย่อมครอบงำเทวดาชั้นดุสิตได้โดยฐานะ ๑๐ ประการ คือ
อายุที่เป็นทิพย์ ฯลฯ โผฏฐัพพะที่เป็นทิพย์


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๒๙๕ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๔.ทานวรรค ๗.สัปปุริสทานสูตร
บุคคลบางคนในโลกนี้ทำบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยทานมีประมาณยิ่ง ทำบุญ-
กิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยศีลมีประมาณยิ่ง แต่ไม่จัดแจงบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วย
ภาวนาเลย หลังจากตายแล้ว เขาย่อมเกิดร่วมกับเทวดาชั้นนิมมานรดี ภิกษุทั้งหลาย
ท้าวสุนิมมิตเทพบุตรในชั้นนิมมานรดีนั้นทำบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยทานให้ยิ่งขึ้น
ทำบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยศีลให้ยิ่งขึ้น ย่อมครอบงำเทวดาชั้นนิมมานรดีได้โดยฐานะ
๑๐ ประการ คือ อายุที่เป็นทิพย์ ฯลฯ โผฏฐัพพะที่เป็นทิพย์
บุคคลบางคนในโลกนี้ทำบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยทานมีประมาณยิ่ง ทำบุญ-
กิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยศีลมีประมาณยิ่ง แต่ไม่จัดแจงบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วย
ภาวนาเลย หลังจากตายแล้ว เขาย่อมเกิดร่วมกับเทวดาชั้นปรนิมมิตวสวัตดี
ภิกษุทั้งหลาย ท้าววสวัตดีเทพบุตรในชั้นปรนิมมิตวสวัตดีนั้น ทำบุญกิริยาวัตถุที่
สำเร็จด้วยทานให้ยิ่งขึ้น ทำบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยศีลให้ยิ่งขึ้น ย่อมครอบงำ
เทวดาชั้นปรนิมมิตวสวัตดีได้ โดยฐานะ ๑๐ ประการ คือ อายุที่เป็นทิพย์ วรรณะ
ที่เป็นทิพย์ สุขที่เป็นทิพย์ ยศที่เป็นทิพย์ อธิปไตยที่เป็นทิพย์ รูปที่เป็นทิพย์
เสียงที่เป็นทิพย์ กลิ่นที่เป็นทิพย์ รสที่เป็นทิพย์ โผฏฐัพพะที่เป็นทิพย์
ภิกษุทั้งหลาย บุญกิริยาวัตถุ ๓ ประการนี้แล
ปุญญกิริยาวัตถุสูตรที่ ๖ จบ

๗. สัปปุริสทานสูตร
ว่าด้วยสัปปุริสทาน
[๓๗] ภิกษุทั้งหลาย สัปปุริสทาน ๘ ประการนี้
สัปปุริสทาน ๘ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สัตบุรุษย่อมให้ของที่สะอาด ๒. สัตบุรุษย่อมให้ของที่ประณีต
๓. สัตบุรุษย่อมให้ตามกาล ๔. สัตบุรุษย่อมให้ของที่สมควร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๒๙๖ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๔.ทานวรรค ๘.สัปปุริสสูตร
๕. สัตบุรุษย่อมเลือกให้๑ ๖. สัตบุรุษย่อมให้เป็นนิตย์
๗. สัตบุรุษกำลังให้ก็ทำจิตให้ผ่องใส ๘. สัตบุรุษครั้นให้แล้วก็ดีใจ
ภิกษุทั้งหลาย สัปปุริสทาน ๘ ประการนี้แล
สัตบุรุษย่อมให้ทาน คือ
ให้น้ำและโภชนะที่สะอาด ให้ของที่ประณีต
ให้ตามกาล ให้ของที่สมควร ให้เป็นนิตย์
ในท่านผู้ประพฤติพรหมจรรย์ ผู้เป็นเขตดี
บริจาคอามิสมากมายก็ไม่เดือดร้อน
ท่านผู้เห็นแจ้งย่อมสรรเสริญทานที่สัตบุรุษให้แล้วอย่างนี้
บัณฑิตผู้มีปัญญา มีศรัทธา มีใจเสียสละ บูชาอย่างนี้
ย่อมเข้าถึงโลกที่ไม่มีความเบียดเบียน เป็นสุข
สัปปุริสทานสูตรที่ ๗ จบ

๘. สัปปุริสสูตร
ว่าด้วยคุณประโยชน์ของสัตบุรุษ
[๓๘] ภิกษุทั้งหลาย สัตบุรุษเมื่อเกิดในตระกูล ย่อมเกิดเพื่อประโยชน์ เพื่อ
เกื้อกูล เพื่อสุขแก่คนหมู่มาก คือ
๑. ย่อมเกิดเพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขแก่มารดาบิดา
๒. ย่อมเกิดเพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขแก่บุตรภรรยา
๓. ย่อมเกิดเพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขแก่ทาส กรรมกร และคนใช้

เชิงอรรถ :
๑ เลือกให้ในที่นี้หมายถึงเลือกสิ่งที่ไม่ดีออก แล้วถวายแต่สิ่งที่ดีด้วยการแสวงหาปฏิคาหก คือ พระทักขิไณย-
บุคคลและการตั้งความปรารถนาว่า ‘ถวายแก่ท่านรูปนี้จักมีผลมาก ถวายแก่ท่านรูปนี้จักไม่มีผลมาก’
(องฺ.อฏฺฐก.อ.๓/๓๗/๒๕๖-๒๕๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๒๙๗ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๔.ทานวรรค ๘.สัปปุริสสูตร
๔. ย่อมเกิดเพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขแก่มิตรและอำมาตย์๑
๕. ย่อมเกิดเพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขแก่ญาติผู้ล่วงลับไปแล้ว
๖. ย่อมเกิดเพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขแก่พระราชา
๗. ย่อมเกิดเพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขแก่เหล่าเทวดา
๘. ย่อมเกิดเพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขแก่สมณพราหมณ์
ภิกษุทั้งหลาย ก้อนเมฆใหญ่เมื่อตกลงมาให้ข้าวกล้าทั้งปวงเจริญงอกงาม ย่อม
ตกเพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขแก่คนหมู่มาก ฉันใด
ภิกษุทั้งหลาย สัตบุรุษเมื่อเกิดในตระกูล ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมเกิดเพื่อ
ประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขแก่คนหมู่มาก คือ
๑. ย่อมเกิดเพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขแก่มารดาบิดา
๒. ย่อมเกิดเพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขแก่บุตรภรรยา
๓. ย่อมเกิดเพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขแก่ทาส กรรมกร และคนใช้
๔. ย่อมเกิดเพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขแก่มิตรและอำมาตย์
๕. ย่อมเกิดเพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขแก่ญาติผู้ล่วงลับไปแล้ว
๖. ย่อมเกิดเพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขแก่พระราชา
๗. ย่อมเกิดเพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขแก่เหล่าเทวดา
๘. ย่อมเกิดเพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขแก่สมณพราหมณ์
สัตบุรุษผู้มีปัญญาอยู่ครองเรือน
เป็นผู้ไม่เกียจคร้านทั้งกลางคืนและกลางวัน
ย่อมเกิดเพื่อประโยชน์แก่คนหมู่มาก
เมื่อระลึกถึงอุปการคุณที่มารดาบิดาทำไว้ก่อน
ย่อมบูชามารดาบิดาโดยชอบธรรม๒
สัตบุรุษผู้มีศรัทธาตั้งมั่นแล้ว
และมีศีลเป็นที่รัก รู้ธรรมแล้ว

เชิงอรรถ :
๑ ดูเชิงอรรถที่ ๑ สัตตกนิบาต ข้อ ๖๔ หน้า ๑๒๗ ในเล่มนี้
๒ โดยชอบธรรม ในที่นี้หมายถึงโดยการบูชาด้วยปัจจัยที่มีเหตุ (องฺ.อฏฺฐก.อ.๓/๓๘/๒๕๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๒๙๘ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๔.ทานวรรค ๙.อภิสันทสูตร
ย่อมบูชาบรรพชิตผู้ไม่ครองเรือน
ผู้ไม่มีบาป ผู้ประพฤติพรหมจรรย์
สัตบุรุษผู้เกื้อกูลแก่พระราชา เกื้อกูลแก่เทวดา
เกื้อกูลแก่ญาติและสหายทั้งหลาย
ตั้งมั่นดีแล้วในสัทธรรม เป็นผู้เกื้อกูลแก่คนทั้งปวง
สัตบุรุษนั้นกำจัดมลทินคือความตระหนี่ได้แล้ว
ย่อมถึงโลกอันเกษม
สัปปุริสสูตรที่ ๘ จบ

๙. อภิสันทสูตร
ว่าด้วยห้วงบุญกุศล
[๓๙] ภิกษุทั้งหลาย ห้วงบุญกุศล๑ ๘ ประการนี้ นำสุขมาให้ เป็นไปเพื่อ
ให้ได้อารมณ์ดี๒ มีสุขเป็นผล ให้เกิดในสวรรค์ เป็นไปเพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขที่น่า
ปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ
ห้วงบุญกุศล ๘ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. อริยสาวกในธรรมวินัยนี้เป็นผู้ถึงพระพุทธเจ้าเป็นสรณะ นี้เป็นห้วง
บุญกุศลประการที่ ๑ นำสุขมาให้ เป็นไปเพื่อให้ได้อารมณ์ดี มีสุข
เป็นผล ให้เกิดในสวรรค์ เป็นไปเพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขที่น่าปรารถนา
น่าใคร่ น่าพอใจ
๒. อริยสาวกเป็นผู้ถึงพระธรรมเป็นสรณะ นี้เป็นห้วงบุญกุศลประการ
ที่ ๒ ฯลฯ
๓. อริยสาวกเป็นผู้ถึงพระสงฆ์เป็นสรณะ นี้เป็นห้วงบุญกุศลประการ
ที่ ๓ นำสุขมาให้ เป็นไปเพื่อให้ได้อารมณ์ดี มีสุขเป็นผล ให้เกิด
ในสวรรค์ เป็นไปเพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ

เชิงอรรถ :
๑ ห้วงบุญกุศล ในที่นี้หมายถึงผลแห่งบุญกุศล ซึ่งหลั่งไหลนำความสุขมาสู่ผู้บำเพ็ญอย่างต่อเนื่องไม่ขาดสาย
(องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๕๑/๓๔๘, องฺ.จตุกฺก.ฏีกา ๒/๕๑/๓๘๒)
๒ อารมณ์ดี ในที่นี้หมายถึงอารมณ์ คือ รูป เสียง กลิ่น รส และโผฏฐัพพะที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ
(องฺ.จตุกฺก. อ. ๒/๕๑/๓๔๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๒๙๙ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๔.ทานวรรค ๙.อภิสันทสูตร
ภิกษุทั้งหลาย ทาน ๕ ประการ๑นี้ เป็นมหาทาน ที่รู้กันว่าล้ำเลิศ รู้กันมานาน
รู้กันว่าเป็นอริยวงศ์ เป็นของเก่า ในอดีตไม่ถูกลบล้างแล้ว ไม่เคยถูกลบล้าง ในปัจจุบัน
ไม่ถูกลบล้าง ในอนาคตก็จักไม่ถูกลบล้าง ไม่ถูกสมณพราหมณ์ผู้รู้คัดค้าน
ทาน ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. อริยสาวกในธรรมวินัยนี้เป็นผู้ละเว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ อริยสาวก
ผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์แล้ว ชื่อว่าให้ความไม่มีภัย ให้ความ
ไม่มีเวร ให้ความไม่เบียดเบียนแก่สัตว์ทั้งหลาย ไม่มีประมาณ
ย่อมเป็นผู้มีส่วนแห่งความไม่มีภัย ความไม่มีเวร ความไม่เบียดเบียน
อันไม่มีประมาณ นี้เป็นทานประการที่ ๑ เป็นมหาทานที่รู้กันว่า
ล้ำเลิศ รู้กันมานาน รู้กันว่าเป็นอริยวงศ์ เป็นของเก่า ในอดีตไม่
ถูกลบล้างแล้ว ไม่เคยถูกลบล้าง ในปัจจุบันไม่ถูกลบล้าง ในอนาคต
ก็จักไม่ถูกลบล้าง ไม่ถูกสมณพราหมณ์ผู้รู้คัดค้าน นี้เป็นห้วงบุญ
กุศลประการที่ ๔ นำสุขมาให้ เป็นไปเพื่อให้ได้อารมณ์ดี มีสุขเป็นผล
ให้เกิดในสวรรค์ เป็นไปเพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขที่น่าปรารถนา น่าใคร่
น่าพอใจ
๒. อริยสาวกเป็นผู้ละเว้นขาดจากการลักทรัพย์ ฯลฯ
๓. อริยสาวกเป็นผู้ละเว้นขาดจากการประพฤติผิดในกาม ฯลฯ
๔. อริยสาวกเป็นผู้ละเว้นขาดจากการพูดเท็จ ฯลฯ
๕. อริยสาวกเป็นผู้ละเว้นขาดจากการเสพของมึนเมาคือสุราและเมรัย
อันเป็นเหตุแห่งความประมาท อริยสาวกผู้เว้นขาดจากการเสพของ
มึนเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นเหตุแห่งความประมาทแล้ว ชื่อว่าให้
ความไม่มีภัย ให้ความไม่มีเวร ให้ความไม่เบียดเบียนแก่สัตว์
ทั้งหลาย ไม่มีประมาณ ย่อมเป็นผู้มีส่วนแห่งความไม่มีภัย ความ
ไม่มีเวร ความไม่เบียดเบียนอันไม่มีประมาณ นี้เป็นทานประการ
ที่ ๕ เป็นมหาทานที่รู้กันว่าล้ำเลิศ รู้กันมานาน รู้กันว่าเป็นอริยวงศ์
เป็นของเก่า ในอดีตไม่ถูกลบล้างแล้ว ไม่เคยถูกลบล้าง ในปัจจุบัน
ไม่ถูกลบล้าง ในอนาคตก็จักไม่ถูกลบล้าง ไม่ถูกสมณพราหมณ์

เชิงอรรถ :
๑ ดู องฺ.จตุกฺก. (แปล) ๒๑/๒๘/๔๓, อภิ.ก.๓๗/๔๘๐/๒๘๙-๒๙๐ ประกอบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๓๐๐ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๔.ทานวรรค ๑๐.ทุจจริตวิปากสูตร
ผู้รู้คัดค้าน นี้แลเป็นห้วงบุญกุศลประการที่ ๘ นำสุขมาให้ เป็นไป
เพื่อให้ได้อารมณ์ดี มีสุขเป็นผล ให้เกิดในสวรรค์ เป็นไปเพื่อเกื้อกูล
เพื่อสุขที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ
ภิกษุทั้งหลาย ห้วงบุญกุศล ๘ ประการนี้แล นำสุขมาให้ เป็นไปเพื่อให้ได้
อารมณ์ดี มีสุขเป็นผล ให้เกิดในสวรรค์ เป็นไปเพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขที่น่าปรารถนา
น่าใคร่ น่าพอใจ
อภิสันทสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. ทุจจริตวิปากสูตร
ว่าด้วยวิบากแห่งทุจริต๑
[๔๐] ภิกษุทั้งหลาย ปาณาติบาต (การฆ่าสัตว์) ที่บุคคลเสพ เจริญ ทำให้
มากแล้ว ย่อมอำนวยผลให้ไปเกิดในนรก อำนวยผลให้ไปเกิดในกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน
อำนวยผลให้ไปเกิดในเปรตวิสัย วิบากแห่งปาณาติบาตอย่างเบาที่สุด ย่อมอำนวยผล
ให้เป็นผู้มีอายุน้อยแก่ผู้เกิดเป็นมนุษย์
อทินนาทาน (การลักทรัพย์) ที่บุคคลเสพ เจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมอำนวย
ผลให้ไปเกิดในนรก อำนวยผลให้ไปเกิดในกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน อำนวยผลให้ไปเกิด
ในเปรตวิสัย วิบากแห่งอทินนาทานอย่างเบาที่สุด ย่อมอำนวยผลให้เป็นผู้เสื่อม
โภคทรัพย์แก่ผู้เกิดเป็นมนุษย์
กาเมสุมิจฉาจาร (การประพฤติผิดในกาม) ที่บุคคลเสพ เจริญ ทำให้มากแล้ว
ย่อมอำนวยผลให้ไปเกิดในนรก อำนวยผลให้ไปเกิดในกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน อำนวยผล
ให้ไปเกิดในเปรตวิสัย วิบากแห่งกาเมสุมิจฉาจารอย่างเบาที่สุด ย่อมอำนวยผลให้
เป็นผู้มีศัตรูและเป็นผู้มีเวรแก่ผู้เกิดเป็นมนุษย์
มุสาวาท (การพูดเท็จ) ที่บุคคลเสพ เจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมอำนวยผลให้
ไปเกิดในนรก อำนวยผลให้ไปเกิดในกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน อำนวยผลให้ไปเกิดใน
เปรตวิสัย วิบากแห่งมุสาวาทอย่างเบาที่สุด ย่อมอำนวยผลให้ถูกกล่าวตู่ด้วยคำไม่จริง
แก่ผู้เกิดเป็นมนุษย์

เชิงอรรถ :
๑ ดู อภิ.ก.๓๗/๙๐๓/๕๑๓

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๓๐๑ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๔.ทานวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค
ปิสุณาวาจา (การพูดส่อเสียด) ที่บุคคลเสพ เจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อม
อำนวยผลให้ไปเกิดในนรก อำนวยผลให้ไปเกิดในกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน อำนวยผล
ให้ไปเกิดในเปรตวิสัย วิบากแห่งปิสุณาวาจาอย่างเบาที่สุด ย่อมอำนวยผลให้แตก
จากมิตรแก่ผู้เกิดเป็นมนุษย์
ผรุสวาจา (การพูดหยาบคาย) ที่บุคคลเสพ เจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมอำนวย
ผลให้ไปเกิดในนรก อำนวยผลให้ไปเกิดในกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน อำนวยผลให้ไปเกิด
ในเปรตวิสัย วิบากแห่งผรุสวาจาอย่างเบาที่สุด ย่อมอำนวยผลให้ได้ฟังเรื่องที่ไม่น่า
พอใจแก่ผู้เกิดเป็นมนุษย์
สัมผัปปลาปะ (การพูดเพ้อเจ้อ) ที่บุคคลเสพ เจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมอำนวย
ผลให้ไปเกิดในนรก อำนวยผลให้ไปเกิดในกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน อำนวยผลให้ไปเกิด
ในเปรตวิสัย วิบากแห่งสัมผัปปลาปะอย่างเบาที่สุด ย่อมอำนวยผลให้มีวาจาที่ไม่น่า
เชื่อถือแก่ผู้เกิดเป็นมนุษย์
ภิกษุทั้งหลาย การดื่มสุราและเมรัยที่บุคคลเสพ เจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อม
อำนวยผลให้ไปเกิดในนรก อำนวยผลให้ไปเกิดในกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน อำนวยผลให้
ไปเกิดในเปรตวิสัย วิบากแห่งการดื่มสุราและเมรัยอย่างเบาที่สุด ย่อมอำนวยผลให้
เป็นผู้วิกลจริตแก่ผู้เกิดเป็นมนุษย์
ทุจจริตวิปากสูตรที่ ๑๐ จบ
ทานวรรคที่ ๔ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. ปฐมทานสูตร ๒. ทุติยทานสูตร
๓. ทานวัตถุสูตร ๔. เขตตสูตร
๕. ทานูปปัตติสูตร ๖. ปุญญกิริยาวัตถุสูตร
๗. สัปปุริสทานสูตร ๘. สัปปุริสสูตร
๙. อภิสันทสูตร ๑๐. ทุจจริตวิปากสูตร


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๓๐๒ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๕.อุโปสถวรรค ๑.สังขิตตุโปสถสูตร
๕. อุโปสถวรรค
หมวดว่าด้วยอุโบสถ
๑. สังขิตตุโปสถสูตร
ว่าด้วยอุโบสถโดยย่อ
[๔๑] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิก-
เศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมา
ตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย” ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึง
ได้ตรัสเรื่องนี้ว่า
“ภิกษุทั้งหลาย อุโบสถประกอบด้วยองค์ ๘ ประการ ที่บุคคลอยู่จำแล้ว ย่อมมี
ผลมาก มีอานิสงส์มาก มีความรุ่งเรืองมาก แผ่ไพศาลมาก
อุโบสถประกอบด้วยองค์ ๘ ประการ ที่บุคคลอยู่จำแล้ว ย่อมมีผลมาก
มีอานิสงส์มาก มีความรุ่งเรืองมาก แผ่ไพศาลมาก เป็นอย่างไร
คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้เห็นประจักษ์ดังนี้ว่า
๑. พระอรหันต์ทั้งหลายละเว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ คือ วางทัณฑาวุธ
และศัสตราวุธ มีความละอาย มีความเอ็นดู มุ่งประโยชน์เกื้อกูลต่อ
สรรพสัตว์อยู่ตลอดชีวิต แม้เราก็ละเว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ คือ วาง
ทัณฑาวุธและศัสตราวุธ มีความละอาย มีความเอ็นดู มุ่งประโยชน์
เกื้อกูลต่อสรรพสัตว์อยู่ตลอดวันหนึ่งและคืนหนึ่งนี้ในวันนี้ เพราะ
องค์แม้นี้ เราชื่อว่าทำตามพระอรหันต์ทั้งหลายและอยู่จำอุโบสถ
อุโบสถเป็นอันประกอบด้วยองค์ที่ ๑ นี้
๒. พระอรหันต์ทั้งหลายละเว้นขาดจากการลักทรัพย์ คือ รับเอาแต่ของ
ที่เขาให้ มุ่งหวังแต่ของที่เขาให้ ไม่เป็นขโมย เป็นคนสะอาดอยู่
ตลอดชีวิต แม้เราก็ละเว้นขาดจากการลักทรัพย์ รับเอาแต่ของ
ที่เขาให้ มุ่งหวังแต่ของที่เขาให้ ไม่เป็นขโมย เป็นคนสะอาดอยู่ตลอด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๓๐๓ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๕.อุโปสถวรรค ๑.สังขิตตุโปสถสูตร
วันหนึ่งและคืนหนึ่งนี้ในวันนี้ เพราะองค์แม้นี้ เราชื่อว่าทำตาม
พระอรหันต์ทั้งหลายและอยู่จำอุโบสถ อุโบสถเป็นอันประกอบด้วย
องค์ที่ ๒ นี้
๓. พระอรหันต์ทั้งหลายละพฤติกรรมอันเป็นข้าศึกต่อพรหมจรรย์ คือ
ประพฤติพรหมจรรย์ เว้นห่างไกลจากเมถุนธรรมอันเป็นกิจของชาว
บ้านอยู่ตลอดชีวิต แม้เราก็ละพฤติกรรมอันเป็นข้าศึกต่อพรหมจรรย์
คือ ประพฤติพรหมจรรย์ เว้นห่างไกลจากเมถุนธรรมอันเป็นกิจของ
ชาวบ้านอยู่ตลอดวันหนึ่งและคืนหนึ่งนี้ในวันนี้ เพราะองค์แม้นี้
เราชื่อว่าทำตามพระอรหันต์ทั้งหลายและอยู่จำอุโบสถ อุโบสถเป็น
อันประกอบด้วยองค์ที่ ๓ นี้
๔. พระอรหันต์ทั้งหลายละเว้นขาดจากการพูดเท็จ คือ พูดแต่คำสัตย์
ดำรงความสัตย์ มีถ้อยคำเป็นหลัก เชื่อถือได้ ไม่หลอกลวงชาว
โลกอยู่ตลอดชีวิต แม้เราก็ละเว้นขาดจากการพูดเท็จ คือ พูดแต่
คำสัตย์ ดำรงความสัตย์ มีถ้อยคำเป็นหลัก เชื่อถือได้ ไม่หลอกลวง
ชาวโลกอยู่ตลอดวันหนึ่งและคืนหนึ่งนี้ในวันนี้ เพราะองค์แม้นี้ เรา
ชื่อว่าทำตามพระอรหันต์ทั้งหลายและอยู่จำอุโบสถ อุโบสถเป็นอัน
ประกอบด้วยองค์ที่ ๔ นี้
๕. พระอรหันต์ทั้งหลายละเว้นขาดจากการเสพของมึนเมาคือสุราและ
เมรัยอันเป็นเหตุแห่งความประมาทอยู่ตลอดชีวิต แม้เราก็ละเว้น
ขาดจากการเสพของมึนเมาคือสุราและเมรัย อันเป็นเหตุแห่งความ
ประมาทอยู่ตลอดวันและคืนหนึ่งนี้ในวันนี้ เพราะองค์แม้นี้ เราชื่อว่า
ทำตามพระอรหันต์ทั้งหลายและอยู่จำอุโบสถ อุโบสถเป็นอันประกอบ
ด้วยองค์ที่ ๕ นี้
๖. พระอรหันต์ทั้งหลาย ฉันมื้อเดียว ไม่ฉันตอนกลางคืน เว้นขาดจาก
การฉันในเวลาวิกาลอยู่ตลอดชีวิต แม้เราก็บริโภคมื้อเดียว ไม่บริโภค

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๓๐๔ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๕.อุโปสถวรรค ๑.สังขิตตุโปสถสูตร
ตอนกลางคืน เว้นขาดจากการบริโภคในเวลาวิกาลอยู่ตลอดวันหนึ่ง
และคืนหนึ่งนี้ในวันนี้ เพราะองค์แม้นี้ เราชื่อว่าทำตามพระอรหันต์
ทั้งหลายและอยู่จำอุโบสถ อุโบสถเป็นอันประกอบด้วยองค์ที่ ๖ นี้
๗. พระอรหันต์ทั้งหลายละเว้นขาดจากการฟ้อนรำ ขับร้อง ประโคม
ดนตรี ดูการละเล่นอันเป็นข้าศึกแก่กุศล การทัดทรง ประดับ ตกแต่ง
ร่างกายด้วยพวงดอกไม้ ของหอม และเครื่องประทินผิวอันเป็นลักษณะ
แห่งการแต่งตัวอยู่ตลอดชีวิต แม้เราก็ละเว้นขาดจากการฟ้อนรำ
ขับร้อง ประโคมดนตรี ดูการละเล่นที่เป็นข้าศึกแก่กุศล การทัดทรง
ประดับ ตกแต่งร่างกายด้วยพวงดอกไม้ ของหอม และเครื่องประทินผิว
อันเป็นลักษณะแห่งการแต่งตัวอยู่ตลอดวันหนึ่งและคืนหนึ่งนี้ในวันนี้
เพราะองค์แม้นี้ เราชื่อว่าทำตามพระอรหันต์ทั้งหลายและอยู่จำอุโบสถ
อุโบสถเป็นอันประกอบด้วยองค์ที่ ๗ นี้
๘. พระอรหันต์ทั้งหลายละเว้นขาดจากที่นอนสูงและที่นอนใหญ่ นอนบน
ที่นอนต่ำ คือ บนเตียงหรือบนที่นอนที่ปูลาดด้วยหญ้าอยู่ตลอดชีวิต
แม้เราก็ละเว้นขาดจากที่นอนสูงและที่นอนใหญ่ นอนบนที่นอนต่ำ
คือ บนเตียงหรือบนที่นอน ที่ปูลาดด้วยหญ้าอยู่ตลอดวันหนึ่งและ
คืนหนึ่งนี้ในวันนี้ เพราะองค์แม้นี้ เราชื่อว่าทำตามพระอรหันต์
ทั้งหลายและอยู่จำอุโบสถ อุโบสถเป็นอันประกอบด้วยองค์ที่ ๘ นี้
ภิกษุทั้งหลาย อุโบสถประกอบด้วยองค์ ๘ ประการ ที่บุคคลอยู่จำแล้ว ย่อมมี
ผลมาก มีอานิสงส์มาก มีความรุ่งเรืองมาก แผ่ไพศาลมาก เป็นอย่างนี้แล”

สังขิตตุโปสถสูตรที่ ๑ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๓๐๕ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๕.อุโปสถวรรค ๒.วิตถตุโปสถสูตร
๒. วิตถตุโปสถสูตร
ว่าด้วยอุโบสถโดยพิสดาร
[๔๒] ภิกษุทั้งหลาย อุโบสถประกอบด้วยองค์ ๘ ประการ ที่บุคคลอยู่จำแล้ว
ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก มีความรุ่งเรืองมาก แผ่ไพศาลมาก
อุโบสถประกอบด้วยองค์ ๘ ประการ ที่บุคคลอยู่จำแล้ว ย่อมมีผลมาก
มีอานิสงส์มาก มีความรุ่งเรืองมาก แผ่ไพศาลมาก เป็นอย่างไร
คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้เห็นประจักษ์ดังนี้ว่า๑
๑. พระอรหันต์ทั้งหลายละเว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ คือ วางทัณฑาวุธ
และศัสตราวุธ มีความละอาย มีความเอ็นดู มุ่งประโยชน์เกื้อกูลต่อ
สรรพสัตว์อยู่ตลอดชีวิต แม้เราก็ละเว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ คือ วาง
ทัณฑาวุธและศัสตราวุธ มีความละอาย มีความเอ็นดู มุ่งประโยชน์
เกื้อกูลต่อสรรพสัตว์อยู่ตลอดวันหนึ่งและคืนหนึ่งนี้ในวันนี้ เพราะ
องค์แม้นี้ เราชื่อว่าทำตามพระอรหันต์ทั้งหลายและอยู่จำอุโบสถ
อุโบสถเป็นอันประกอบด้วยองค์ที่ ๑ นี้
ฯลฯ๒
๘. พระอรหันต์ทั้งหลายละเว้นขาดจากที่นอนสูงและที่นอนใหญ่ นอน
บนที่นอนต่ำ คือ บนเตียงหรือบนที่นอนที่ปูลาดด้วยหญ้าอยู่ตลอด
ชีวิต แม้เราก็ละเว้นขาดจากที่นอนสูงและที่นอนใหญ่ นอนบนที่นอนต่ำ
คือ บนเตียงหรือบนที่นอนที่ปูลาดด้วยหญ้าอยู่ตลอดวันหนึ่งและ
คืนหนึ่งนี้ในวันนี้ เพราะองค์แม้นี้ เราชื่อว่าทำตามพระอรหันต์ทั้งหลาย
และอยู่จำอุโบสถ อุโบสถเป็นอันประกอบด้วยองค์ที่ ๘ นี้
ภิกษุทั้งหลาย อุโบสถประกอบด้วยองค์ ๘ ประการ ที่บุคคลอยู่จำแล้ว ย่อม
มีผลมาก มีอานิสงส์มาก มีความรุ่งเรืองมาก แผ่ไพศาลมาก เป็นอย่างนี้แล

เชิงอรรถ :
๑ ดู องฺ.ติก. (แปล) ๒๐/๗๑/๒๘๖-๒๙๐
๒ องค์อุโบสถ ๘ ประการที่ถูกย่อ (ฯลฯ) ไว้ในข้อ ๔๒,๔๓,๔๕ ดูความเต็มในอัฏฐกนิบาต ข้อ ๔๑ (สังขิตตุ-
โปสถสูตร) หน้า ๓๐๓-๓๐๕ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๓๐๖ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๕.อุโปสถวรรค ๒.วิตถตุโปสถสูตร
อุโบสถประกอบด้วยองค์ ๘ ประการ ที่บุคคลอยู่จำแล้ว ย่อมมีผลมาก
มีอานิสงส์มาก มีความรุ่งเรืองมาก แผ่ไพศาลมาก เพียงไร
คือ เปรียบเหมือนพระราชาพระองค์ใดพึงครองราชย์ เป็นอิสราธิบดี (เป็น
ผู้ยิ่งใหญ่เหนือผู้อื่น)แห่งชนบทใหญ่ ๑๖ แคว้นที่สมบูรณ์ด้วยแก้ว ๗ ประการนี้
คือ อังคะ มคธะ กาสี โกสละ วัชชี มัลละ เจตี วังสะ กุรุ ปัญจาละ มัจฉะ สุรเสนะ
อัสสกะ อวันตี คันธาระ กัมโพชะ การครองราชย์ของพระราชาพระองค์นั้น ยังมีค่า
ไม่ถึงเสี้ยวที่ ๑๖ แห่งอุโบสถที่ประกอบด้วยองค์ ๘ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะราช
สมบัติของมนุษย์เมื่อนำไปเปรียบกับสุขที่เป็นทิพย์ ถือว่าเป็นของเล็กน้อย
๕๐ ปีของมนุษย์เท่ากับวันและคืนหนึ่งของเทวดาชั้นจาตุมหาราช ๓๐ ราตรี
โดยราตรีนั้น เป็น ๑ เดือน ๑๒ เดือนโดยเดือนนั้น เป็น ๑ ปี ๕๐๐ ปีทิพย์โดยปีนั้น
เป็นประมาณอายุของเทวดาชั้นจาตุมหาราช ก็เรื่องนี้เป็นสิ่งที่เป็นไปได้ คือ สตรีหรือ
บุรุษบางคนในโลกนี้รักษาอุโบสถที่ประกอบด้วยองค์ ๘ หลังจากตายแล้วพึงไปเกิด
ร่วมกับเทวดาชั้นจาตุมหาราช ข้อนี้เรากล่าวหมายถึงเรื่องนี้แลว่า ราชสมบัติของ
มนุษย์เมื่อนำไปเปรียบกับสุขที่เป็นทิพย์ ถือว่าเป็นของเล็กน้อย
๑๐๐ ปีของมนุษย์เท่ากับวันและคืนหนึ่งของเทวดาชั้นดาวดึงส์ ๓๐ ราตรีโดย
ราตรีนั้น เป็น ๑ เดือน ๑๒ เดือน โดยเดือนนั้น เป็น ๑ ปี ๑,๐๐๐ ปีทิพย์โดย
ปีนั้น เป็นประมาณอายุของเทวดาชั้นดาวดึงส์ ก็เรื่องนี้เป็นสิ่งที่เป็นไปได้ คือ สตรี
หรือบุรุษบางคนในโลกนี้รักษาอุโบสถที่ประกอบด้วยองค์ ๘ หลังจากตายแล้วพึงไป
เกิดร่วมกับเทวดาชั้นดาวดึงส์ ข้อนี้เรากล่าวหมายถึงเรื่องนี้แลว่า ราชสมบัติของ
มนุษย์เมื่อนำไปเปรียบกับสุขที่เป็นทิพย์ ถือว่าเป็นของเล็กน้อย
๒๐๐ ปีของมนุษย์เท่ากับวันและคืนหนึ่งของเทวดาชั้นยามา ๓๐ ราตรีโดย
ราตรีนั้น เป็น ๑ เดือน ๑๒ เดือนโดยเดือนนั้น เป็น ๑ ปี ๒,๐๐๐ ปีทิพย์โดย
ปีนั้น เป็นประมาณอายุของเทวดาชั้นยามา ก็เรื่องนี้เป็นสิ่งที่เป็นไปได้ คือ สตรีหรือ
บุรุษบางคนในโลกนี้รักษาอุโบสถที่ประกอบด้วยองค์ ๘ หลังจากตายแล้วพึงไปเกิด
ร่วมกับเทวดาชั้นยามา ข้อนี้เรากล่าวหมายถึงเรื่องนี้แลว่า ราชสมบัติของมนุษย์
เมื่อนำไปเปรียบกับสุขที่เป็นทิพย์ ถือว่าเป็นของเล็กน้อย
๔๐๐ ปีของมนุษย์เท่ากับวันและคืนหนึ่งของเทวดาชั้นดุสิต ๓๐ ราตรีโดย
ราตรีนั้น เป็น ๑ เดือน ๑๒ เดือนโดยเดือนนั้น เป็น ๑ ปี ๔,๐๐๐ ปีทิพย์โดย
ปีนั้น เป็นประมาณอายุของเทวดาชั้นดุสิต ก็เรื่องนี้เป็นสิ่งที่เป็นไปได้ คือ สตรีหรือ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๓๐๗ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๕.อุโปสถวรรค ๓.วิสาขาสูตร
บุรุษบางคนในโลกนี้รักษาอุโบสถที่ประกอบด้วยองค์ ๘ หลังจากตายแล้วพึงไปเกิด
ร่วมกับเทวดาชั้นดุสิต ข้อนี้เรากล่าวหมายถึงเรื่องนี้แลว่า ราชสมบัติของมนุษย์เมื่อ
นำไปเปรียบกับสุขที่เป็นทิพย์ ถือว่าเป็นของเล็กน้อย
๘๐๐ ปีของมนุษย์เท่ากับวันและคืนหนึ่งของเทวดาชั้นนิมมานรดี ๓๐ ราตรี
โดยราตรีนั้นเป็น ๑ เดือน ๑๒ เดือนโดยเดือนนั้น เป็น ๑ ปี ๘,๐๐๐ ปีทิพย์โดยปีนั้น
เป็นประมาณอายุของเทวดาชั้นนิมมานรดี ก็เรื่องนี้เป็นสิ่งที่เป็นไปได้ คือ สตรีหรือ
บุรุษบางคนในโลกนี้รักษาอุโบสถที่ประกอบด้วยองค์ ๘ หลังจากตายแล้วพึงไปเกิด
ร่วมกับเทวดาชั้นนิมมานรดี ข้อนี้เรากล่าวหมายถึงเรื่องนี้แลว่า ราชสมบัติของ
มนุษย์เมื่อนำไปเปรียบกับสุขที่เป็นทิพย์ ถือว่าเป็นของเล็กน้อย
๑,๖๐๐ ปีของมนุษย์เท่ากับวันและคืนหนึ่งของเทวดาชั้นปรนิมมิตวสวัตดี ๓๐
ราตรีโดยราตรีนั้น เป็น ๑ เดือน ๑๒ เดือนโดยเดือนนั้น เป็น ๑ ปี ๑๖,๐๐๐ ปีทิพย์
โดยปีนั้น เป็นประมาณอายุของเทวดาชั้นปรนิมมิตวสวัตดี ก็เรื่องนี้เป็นสิ่งที่เป็นไปได้
คือ สตรีหรือบุรุษบางคนในโลกนี้รักษาอุโบสถที่ประกอบด้วยองค์ ๘ หลังจากตาย
แล้วพึงไปเกิดร่วมกับเทวดาชั้นปรนิมมิตวสวัตดี ข้อนี้เรากล่าวหมายถึงเรื่องนี้แลว่า
ราชสมบัติของมนุษย์เมื่อนำไปเปรียบกับสุขที่เป็นทิพย์ ถือว่าเป็นของเล็กน้อย
บุคคลไม่พึงฆ่าสัตว์ ไม่พึงลักทรัพย์
ไม่พึงพูดเท็จ ไม่พึงดื่มน้ำเมา
พึงงดเว้นจากเมถุนที่เป็นความประพฤติไม่ประเสริฐ
ไม่พึงบริโภคอาหารในเวลาวิกาล ในเวลากลางคืน
ไม่พึงทัดทรงดอกไม้ ไม่พึงลูบไล้ของหอม
และพึงนอนบนเตียง บนพื้น หรือบนที่ที่ปูลาดไว้
บัณฑิตทั้งหลายกล่าวว่า
อุโบสถที่ประกอบด้วยองค์ ๘ นี้แล
ที่พระพุทธเจ้าผู้ถึงที่สุดทุกข์ทรงประกาศไว้
ดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ทั้งสอง
งดงามส่องสว่าง โคจรไปทั่วสถานที่ประมาณเท่าใด
ก็ดวงจันทร์และดวงอาทิตย์นั้น
กำจัดความมืดไปในอากาศ
ทำให้ทิศสว่างไสว ส่องแสงอยู่ในอากาศ
ทั่วสถานที่ประมาณเท่าใด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๓๐๘ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๕.อุโปสถวรรค ๓.วิสาขาสูตร
ทรัพย์ คือ แก้วมุกดา แก้วมณี แก้วไพฑูรย์
ทองสิงคีและทองคำตลอดถึงทองชื่อว่าหฏกะ
เท่าที่มีอยู่ในสถานที่ประมาณเท่านั้น
และแสงดวงจันทร์ หมู่ดาวทั้งหมด
ยังไม่ถึงเสี้ยวที่ ๑๖๑ แห่งอุโบสถที่ประกอบด้วยองค์ ๘
เพราะฉะนั้นแล สตรีหรือบุรุษผู้มีศีล
รักษาอุโบสถที่ประกอบด้วยองค์ ๘
ทำบุญที่มีสุขเป็นกำไร ไม่ถูกนินทา ย่อมเข้าถึงสวรรค์
วิตถตุโปสถสูตรที่ ๒ จบ

๓. วิสาขาสูตร
ว่าด้วยทรงแสดงอุโบสถแก่นางวิสาขา
[๔๓] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่ปราสาทของนางวิสาขามิคารมาตา
ในบุพพาราม เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น นางวิสาขามิคารมาตาเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค
ถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้ว นั่ง ณ ที่สมควร พระผู้มีพระภาคได้ตรัสดังนี้ว่า
“วิสาขา อุโบสถประกอบด้วยองค์ ๘ ประการ ที่บุคคลอยู่จำแล้ว ย่อมมี
ผลมาก มีอานิสงส์มาก มีความรุ่งเรืองมาก แผ่ไพศาลมาก
อุโบสถประกอบด้วยองค์ ๘ ประการ ที่บุคคลอยู่จำแล้ว ย่อมมีผลมาก
มีอานิสงส์มาก มีความรุ่งเรืองมาก แผ่ไพศาลมาก เป็นอย่างไร
คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้เห็นประจักษ์ดังนี้ว่า
๑. พระอรหันต์ทั้งหลายละเว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ คือ วางทัณฑาวุธ
และศัสตราวุธ มีความละอาย มีความเอ็นดู มุ่งประโยชน์เกื้อกูลต่อ
สรรพสัตว์อยู่ตลอดชีวิต แม้เราก็ละเว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ คือ วาง

เชิงอรรถ :
๑ เสี้ยวที่ ๑๖ ในที่นี้หมายถึงอานิสงส์แห่งอุโบสถที่แบ่งเป็น ๑๖ ส่วน แล้วเอาส่วน ๑ ใน ๑๖ ส่วนนั้นมา
แบ่งเป็นอีก ๑๖ ส่วน แล้วเอาส่วนหนึ่งจาก ๑๖ ส่วนที่แบ่งครั้งที่ ๒ นั้นมาแบ่งเป็น ๑๖ ส่วนอีกครั้งหนึ่ง
เป็นครั้งที่ ๓ ส่วน ๑ ใน ๑๖ ส่วนที่แบ่งครั้งที่ ๓ นี้แหละจัดเป็นเสี้ยวที่ ๑๖ (ตามนัย สํ.อ. ๑/๒๔๒/๒๙๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๓๐๙ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๕.อุโปสถวรรค ๓.วิสาขาสูตร
ทัณฑาวุธและศัสตราวุธ มีความละอาย มีความเอ็นดู มุ่งประโยชน์
เกื้อกูลต่อสรรพสัตว์อยู่ตลอดวันหนึ่งและคืนหนึ่งนี้ในวันนี้ เพราะ
องค์แม้นี้ เราชื่อว่าทำตามพระอรหันต์ทั้งหลายและอยู่จำอุโบสถ
อุโบสถเป็นอันประกอบด้วยองค์ที่ ๑ นี้
ฯลฯ
๘. พระอรหันต์ทั้งหลายละเว้นขาดจากที่นอนสูงและที่นอนใหญ่ นอน
บนที่นอนต่ำ คือ บนเตียงหรือบนที่นอนที่ปูลาดด้วยหญ้าอยู่ตลอด
ชีวิต แม้เราก็ละเว้นขาดจากที่นอนสูงและที่นอนใหญ่ นอนบนที่
นอนต่ำ คือ บนเตียงหรือบนที่นอนที่ปูลาดด้วยหญ้าอยู่ตลอดวันหนึ่ง
และคืนหนึ่งนี้ในวันนี้ เพราะองค์แม้นี้ เราชื่อว่าทำตามพระอรหันต์
ทั้งหลายและอยู่จำอุโบสถ อุโบสถเป็นอันประกอบด้วยองค์ที่ ๘ นี้
วิสาขา อุโบสถประกอบด้วยองค์ ๘ ประการ ที่บุคคลเข้าจำแล้ว ย่อมมี
ผลมาก มีอานิสงส์มาก มีความรุ่งเรืองมาก แผ่ไพศาลมาก เป็นอย่างนี้แล
อุโบสถประกอบด้วยองค์ ๘ ประการ ที่บุคคลอยู่จำแล้ว ย่อมมีผลมาก
มีอานิสงส์มาก มีความรุ่งเรืองมาก แผ่ไพศาลมาก เพียงไร
คือ เปรียบเหมือนพระราชาพระองค์ใดพึงครองราชย์ เป็นอิสราธิบดี (เป็นผู้
ยิ่งใหญ่เหนือผู้อื่น)แห่งชนบทใหญ่ ๑๖ แคว้นที่สมบูรณ์ด้วยแก้ว ๗ ประการนี้ คือ
อังคะ มคธะ กาสี โกสละ วัชชี มัลละ เจตี วังสะ กุรุ ปัญจาละ มัจฉะ สุรเสนะ อัสสกะ
อวันตี คันธาระ กัมโพชะ การครองราชย์ของพระราชาพระองค์นั้น ยังมีค่าไม่ถึงเสี้ยวที่
๑๖ แห่งอุโบสถที่ประกอบด้วยองค์ ๘ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะราชสมบัติของ
มนุษย์เมื่อนำไปเปรียบกับสุขที่เป็นทิพย์ ถือว่าเป็นของเล็กน้อย
๕๐ ปีของมนุษย์เท่ากับวันและคืนหนึ่งของเทวดาชั้นจาตุมหาราช ๓๐ ราตรี
โดยราตรีนั้น เป็น ๑ เดือน ๑๒ เดือนโดยเดือนนั้น เป็น ๑ ปี ๕๐๐ ปีทิพย์โดยปีนั้น
เป็นประมาณอายุของเทวดาชั้นจาตุมหาราช ก็เรื่องนี้เป็นสิ่งที่เป็นไปได้ คือ สตรี
หรือบุรุษบางคนในโลกนี้รักษาอุโบสถที่ประกอบด้วยองค์ ๘ หลังจากตายแล้วพึงไป
เกิดร่วมกับเทวดาชั้นจาตุมหาราช ข้อนี้เรากล่าวหมายถึงเรื่องนี้แลว่า ราชสมบัติของ
มนุษย์เมื่อนำไปเปรียบกับสุขที่เป็นทิพย์ ถือว่าเป็นของเล็กน้อย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๓๑๐ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๕.อุโปสถวรรค ๓.วิสาขาสูตร
๑๐๐ ปีของมนุษย์เท่ากับวันและคืนหนึ่งของเทวดาชั้นดาวดึงส์ ๓๐ ราตรีโดย
ราตรีนั้น เป็น ๑ เดือน ๑๒ เดือนโดยเดือนนั้น เป็น ๑ ปี ๑,๐๐๐ ปีทิพย์โดยปีนั้น
เป็นประมาณอายุของเทวดาชั้นดาวดึงส์ ก็เรื่องนี้เป็นสิ่งที่เป็นไปได้ คือ สตรีหรือ
บุรุษบางคนในโลกนี้ รักษาอุโบสถที่ประกอบด้วยองค์ ๘ หลังจากตายแล้วพึงไปเกิด
ร่วมกับเทวดาชั้นดาวดึงส์ ข้อนี้เรากล่าวหมายถึงเรื่องนี้แลว่า ราชสมบัติของมนุษย์
เมื่อนำไปเปรียบกับสุขที่เป็นทิพย์ ถือว่าเป็นของเล็กน้อย
๒๐๐ ปีของมนุษย์ ฯลฯ๑
๔๐๐ ปีของมนุษย์ ฯลฯ
๘๐๐ ปีของมนุษย์ ฯลฯ
๑,๖๐๐ ปีของมนุษย์เท่ากับวันและคืนหนึ่งของเทวดาชั้นปรนิมมิตวสวัตดี ๓๐
ราตรีโดยราตรีนั้น เป็น ๑ เดือน ๑๒ เดือนโดยเดือนนั้น เป็น ๑ ปี ๑๖,๐๐๐ ปีทิพย์
โดยปีนั้น เป็นประมาณอายุของเทวดาชั้นปรนิมมิตวสวัตดี ก็เรื่องนี้เป็นสิ่งที่เป็นไปได้
คือ สตรีหรือบุรุษบางคนในโลกนี้รักษาอุโบสถที่ประกอบด้วยองค์ ๘ หลังจากตาย
แล้วพึงไปเกิดร่วมกับเทวดาชั้นปรนิมมิตวสวัตดี ข้อนี้เรากล่าวหมายถึงเรื่องนี้แลว่า
ราชสมบัติของมนุษย์เมื่อนำไปเปรียบกับสุขที่เป็นทิพย์ ถือว่าเป็นของเล็กน้อย”
บุคคลไม่พึงฆ่าสัตว์ ไม่พึงลักทรัพย์
ไม่พึงพูดเท็จ ไม่พึงดื่มน้ำเมา
พึงงดเว้นจากเมถุนที่เป็นความประพฤติไม่ประเสริฐ
ไม่พึงบริโภคอาหารในเวลาวิกาล ในเวลากลางคืน
ไม่พึงทัดทรงดอกไม้ ไม่พึงลูบไล้ของหอม
และพึงนอนบนเตียง บนพื้น หรือบนที่ที่ปูลาดไว้
บัณฑิตทั้งหลายกล่าวว่า
อุโบสถที่ประกอบด้วยองค์ ๘ นี้แล
ที่พระพุทธเจ้าผู้ถึงที่สุดทุกข์ทรงประกาศไว้
ดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ทั้งสอง
งดงามส่องสว่าง โคจรไปทั่วสถานที่ประมาณเท่าใด

เชิงอรรถ :
๑ การคำนวณปีที่ถูกย่อ (ฯลฯ) ไว้ ในข้อ ๔๓,๔๕ ดูความเต็มในข้อ ๔๒ หน้า ๓๐๗-๓๐๘

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๓๑๑ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๕.อุโปสถวรรค ๔.วาเสฏฐสูตร
ก็ดวงจันทร์และดวงอาทิตย์นั้น
กำจัดความมืดไปในอากาศ
ทำให้ทิศสว่างไสว ส่องแสงอยู่ในอากาศ
ทั่วสถานที่ประมาณเท่าใด
ทรัพย์ คือ แก้วมุกดา แก้วมณี แก้วไพฑูรย์
ทองสิงคีและทองคำตลอดถึงทองชื่อว่าหฏกะ
เท่าที่มีอยู่ในสถานที่ประมาณเท่านั้น
และแสงดวงจันทร์ หมู่ดาวทั้งหมด
ยังไม่ถึงเสี้ยวที่ ๑๖ แห่งอุโบสถที่ประกอบด้วยองค์ ๘
เพราะฉะนั้นแล สตรีหรือบุรุษผู้มีศีล
รักษาอุโบสถที่ประกอบด้วยองค์ ๘
ทำบุญที่มีสุขเป็นกำไร ไม่ถูกนินทา ย่อมเข้าถึงสวรรค์
วิสาขาสูตรที่ ๓ จบ

๔. วาเสฏฐสูตร
ว่าด้วยอุบาสกชื่อว่าวาเสฏฐะ
[๔๔] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ กูฏาคารศาลา ป่ามหาวัน
เขตกรุงเวสาลี ครั้งนั้น อุบาสกชื่อว่าวาเสฏฐะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสดังนี้ว่า
“วาเสฏฐะ อุโบสถประกอบด้วยองค์ ๘ ประการ ที่บุคคลอยู่จำแล้ว ย่อมมี
ผลมาก ฯลฯ ไม่ถูกนินทา ย่อมเข้าถึงสวรรค์”๑

เชิงอรรถ :
๑ ข้อความที่ละ (ฯลฯ) ไว้จนถึงคำว่า ไม่ถูกนินทา ย่อมเข้าถึงสวรรค์ มีข้อความเต็มในพระสูตรที่ ๓
(วิสาขาสูตร) ในวรรคเดียวกันนี้ ตั้งแต่ย่อหน้าที่ ๒ จนถึงจบคาถา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๓๑๒ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๕.อุโปสถวรรค ๔.วาเสฏฐสูตร
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว วาเสฏฐอุบาสกได้กราบทูลพระผู้มีพระ
ภาคดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ญาติและสาโลหิตผู้เป็นที่รักของข้าพระองค์ พึงอยู่จำ
อุโบสถประกอบด้วยองค์ ๘ ประการ การอยู่จำอุโบสถประกอบด้วยองค์ ๘ ประการนั้น
พึงเป็นไปเพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขตลอดกาลนานแก่ญาติและสาโลหิตผู้เป็นที่รักของข้าพระองค์
แม้หากกษัตริย์ทั้งปวงพึงอยู่จำอุโบสถประกอบด้วยองค์ ๘ ประการ การอยู่
จำอุโบสถประกอบด้วยองค์ ๘ ประการนั้น พึงเป็นไปเพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขตลอดกาล
นานแก่กษัตริย์ทั้งปวง
แม้หากพราหมณ์ทั้งปวง ฯลฯ
แม้หากแพศย์ทั้งปวง ฯลฯ
แม้หากศูทรทั้งปวงพึงอยู่จำอุโบสถประกอบด้วยองค์ ๘ ประการ การอยู่จำ
อุโบสถประกอบด้วยองค์ ๘ ประการนั้น พึงเป็นไปเพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขตลอดกาล
นานแก่ศูทรทั้งปวง”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “วาเสฏฐะ ข้อนี้เป็นอย่างนั้น วาเสฏฐะ ข้อนี้เป็น
อย่างนั้น แม้หากกษัตริย์ทั้งปวงพึงอยู่จำอุโบสถประกอบด้วยองค์ ๘ ประการ การอยู่
จำอุโบสถประกอบด้วยองค์ ๘ ประการนั้น พึงเป็นไปเพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขตลอดกาล
นานแก่กษัตริย์ทั้งปวง
แม้หากพราหมณ์ทั้งปวง ฯลฯ
แม้หากแพศย์ทั้งปวง ฯลฯ
แม้หากศูทรทั้งปวงพึงอยู่จำอุโบสถประกอบด้วยองค์ ๘ ประการ การอยู่จำ
อุโบสถประกอบด้วยองค์ ๘ ประการนั้น พึงเป็นไปเพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขตลอดกาลนาน
แก่ศูทรทั้งปวง
แม้หากชาวโลกพร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก หมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณ-
พราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ พึงอยู่จำอุโบสถประกอบด้วยองค์ ๘ ประการ การอยู่จำ
อุโบสถประกอบด้วยองค์ ๘ ประการนั้น พึงเป็นไปเพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขตลอดกาล
นานแก่ชาวโลกพร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก หมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์
เทวดาและมนุษย์


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๓๑๓ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๕.อุโปสถวรรค ๕.โพชฌาสูตร
แม้หากต้นสาละใหญ่ ๆ เหล่านั้น พึงอยู่จำอุโบสถประกอบด้วยองค์ ๘ ประการ
การอยู่จำอุโบสถประกอบด้วยองค์ ๘ ประการนั้น พึงเป็นไปเพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขตลอด
กาลนานแก่ต้นสาละใหญ่ ๆ เหล่านั้น จะป่วยกล่าวไปใยถึงผู้เกิดเป็นมนุษย์เล่า”
วาเสฏฐสูตรที่ ๔ จบ

๕. โพชฌาสูตร
ว่าด้วยอุบาสิกาชื่อว่าโพชฌา
[๔๕] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของ
อนาถบิณฑิกเศรษฐี ครั้งนั้นแล โพชฌาอุบาสิกาเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึง
ที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสดังนี้ว่า
“โพชฌา อุโบสถประกอบด้วยองค์ ๘ ประการ ที่บุคคลอยู่จำแล้ว ย่อมมี
ผลมาก มีอานิสงส์มาก มีความรุ่งเรืองมาก แผ่ไพศาลมาก
อุโบสถประกอบด้วยองค์ ๘ ประการ ที่บุคคลอยู่จำแล้ว ย่อมมีผลมาก
มีอานิสงส์มาก มีความรุ่งเรืองมาก แผ่ไพศาลมาก เป็นอย่างไร
คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้เห็นประจักษ์ดังนี้ว่า
๑. พระอรหันต์ทั้งหลายละเว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ คือ วางทัณฑาวุธ
และศัสตราวุธ มีความละอาย มีความเอ็นดู มุ่งประโยชน์เกื้อกูล
ต่อสรรพสัตว์อยู่ตลอดชีวิต แม้เราก็ละเว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ คือ
วางทัณฑาวุธและศัสตราวุธ มีความละอาย มีความเอ็นดู
มุ่งประโยชน์เกื้อกูลต่อสรรพสัตว์อยู่ตลอดวันหนึ่งและคืนหนึ่งนี้
ในวันนี้ เพราะองค์แม้นี้ เราชื่อว่าทำตามพระอรหันต์ทั้งหลายและ
อยู่จำอุโบสถ อุโบสถเป็นอันประกอบด้วยองค์ที่ ๑ นี้
ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๓๑๔ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๕.อุโปสถวรรค ๕.โพชฌาสูตร
๘. พระอรหันต์ทั้งหลายละเว้นขาดจากที่นอนสูงและที่นอนใหญ่ นอน
บนที่นอนต่ำ คือ บนเตียงหรือบนที่นอนที่ปูลาดด้วยหญ้าอยู่ตลอด
ชีวิต แม้เราก็ละเว้นขาดจากที่นอนสูงและที่นอนใหญ่ นอนบนที่นอนต่ำ
คือ บนเตียงหรือบนที่นอนที่ปูลาดด้วยหญ้าอยู่ตลอดวันหนึ่งและ
คืนหนึ่งนี้ในวันนี้ เพราะองค์แม้นี้ เราชื่อว่าทำตามพระอรหันต์
ทั้งหลายและอยู่จำอุโบสถ อุโบสถเป็นอันประกอบด้วยองค์ที่ ๘ นี้
โพชฌา อุโบสถประกอบด้วยองค์ ๘ ประการ ที่บุคคลอยู่จำแล้ว ย่อมมีผลมาก
มีอานิสงส์มาก มีความรุ่งเรืองมาก แผ่ไพศาลมาก เป็นอย่างนี้
อุโบสถประกอบด้วยองค์ ๘ ประการ ที่บุคคลอยู่จำแล้ว ย่อมมีผลมาก
มีอานิสงส์มาก มีความรุ่งเรืองมาก แผ่ไพศาลมาก เพียงไร
คือ เปรียบเหมือนพระราชาพระองค์ใดพึงครองราชย์ เป็นอิสราธิบดี (เป็นผู้ยิ่ง
ใหญ่เหนือผู้อื่น)แห่งชนบทใหญ่ ๑๖ แคว้นที่สมบูรณ์ด้วยแก้ว ๗ ประการเหล่านี้ คือ
อังคะ มคธะ กาสี โกสละ วัชชี มัลละ เจตี วังสะ กุรุ ปัญจาละ มัจฉะ สุรเสนะ
อัสสกะ อวันตี คันธาระ กัมโพชะ การครองราชย์ของพระราชาพระองค์นั้น ยังมี
ค่าไม่ถึงเสี้ยวที่ ๑๖ แห่งอุโบสถที่ประกอบด้วยองค์ ๘ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะ
ราชสมบัติของมนุษย์เมื่อนำไปเปรียบกับสุขที่เป็นทิพย์ ถือว่าเป็นของเล็กน้อย
๕๐ ปีของมนุษย์เท่ากับวันและคืนหนึ่งของเทวดาชั้นจาตุมหาราช ๓๐ ราตรี
ีโดยราตรีนั้น เป็น ๑ เดือน ๑๒ เดือนโดยเดือนนั้น เป็น ๑ ปี ๕๐๐ ปีทิพย์โดยปีนั้น
เป็นประมาณอายุของเทวดาชั้นจาตุมหาราช ก็เรื่องนี้เป็นสิ่งที่เป็นไปได้ คือ สตรี
หรือบุรุษบางคนในโลกนี้รักษาอุโบสถที่ประกอบด้วยองค์ ๘ หลังจากตายแล้วพึงไป
เกิดร่วมกับเทวดาชั้นจาตุมหาราช ข้อนี้เรากล่าวหมายถึงเรื่องนี้แลว่า ราชสมบัติ
ของมนุษย์เมื่อนำไปเปรียบกับสุขที่เป็นทิพย์ ถือว่าเป็นของเล็กน้อย
๑๐๐ ปีของมนุษย์ ฯลฯ
๒๐๐ ปีของมนุษย์ ฯลฯ
๔๐๐ ปีของมนุษย์ ฯลฯ
๘๐๐ ปีของมนุษย์ ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๓๑๕ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๕.อุโปสถวรรค ๕.โพชฌาสูตร
๑,๖๐๐ ปีของมนุษย์เท่ากับวันและคืนหนึ่งของเทวดาชั้นปรนิมมิตวสวัตดี ๓๐
ราตรีโดยราตรีนั้น เป็น ๑ เดือน ๑๒ เดือนโดยเดือนนั้น เป็น ๑ ปี ๑๖,๐๐๐ ปีทิพย์
โดยปีนั้น เป็นประมาณอายุของเทวดาชั้นปรนิมมิตวสวัตดี ก็เรื่องนี้เป็นสิ่งที่เป็นไปได้
คือ สตรีหรือบุรุษบางคนในโลกนี้รักษาอุโบสถที่ประกอบด้วยองค์ ๘ หลังจากตาย
แล้วพึงไปเกิดร่วมกับเทวดาชั้นปรนิมมิตวสวัตดี ข้อนี้เรากล่าวหมายถึงเรื่องนี้แลว่า
ราชสมบัติของมนุษย์เมื่อนำไปเปรียบกับสุขที่เป็นทิพย์ ถือว่าเป็นของเล็กน้อย”
บุคคลไม่พึงฆ่าสัตว์ ไม่พึงลักทรัพย์
ไม่พึงพูดเท็จ ไม่พึงดื่มน้ำเมา
พึงงดเว้นจากเมถุนที่เป็นความประพฤติไม่ประเสริฐ
ไม่พึงบริโภคอาหารในเวลาวิกาลในเวลากลางคืน
ไม่พึงทัดทรงดอกไม้ ไม่พึงลูบไล้ของหอม
และพึงนอนบนเตียง บนพื้น หรือบนที่ที่ปูลาดไว้
บัณฑิตทั้งหลายกล่าวว่า
อุโบสถที่ประกอบด้วยองค์ ๘ นี้แล
ที่พระพุทธเจ้าผู้ถึงที่สุดทุกข์ทรงประกาศไว้
ดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ทั้งสอง
งดงามส่องสว่าง โคจรไปทั่วสถานที่ประมาณเท่าใด
ก็ดวงจันทร์และดวงอาทิตย์นั้น
กำจัดความมืดไปในอากาศ
ทำให้ทิศสว่างไสว ส่องแสงอยู่ในอากาศ
ทั่วสถานที่ประมาณเท่าใด
ทรัพย์ คือ แก้วมุกดา แก้วมณี แก้วไพฑูรย์
ทองสิงคีและทองคำตลอดถึงทองชื่อว่าหฏกะ
เท่าที่มีอยู่ในสถานที่ประมาณเท่านั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๓๑๖ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๕.อุโปสถวรรค ๖.อนุรุทธสูตร
และแสงดวงจันทร์ หมู่ดาวทั้งหมด
ยังไม่ถึงเสี้ยวที่ ๑๖ แห่งอุโบสถที่ประกอบด้วยองค์ ๘
เพราะฉะนั้นแล สตรีหรือบุรุษผู้มีศีล
รักษาอุโบสถที่ประกอบด้วยองค์ ๘
ทำบุญที่มีสุขเป็นกำไร ไม่ถูกนินทา ย่อมเข้าถึงสวรรค์
โพชฌาสูตรที่ ๕ จบ

๖. อนุรุทธสูตร
ว่าด้วยพระอนุรุทธะ
[๔๖] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ โฆสิตาราม เขตกรุงโกสัมพี
สมัยนั้น ท่านพระอนุรุทธะพักผ่อนกลางวัน หลีกเร้นอยู่ ครั้งนั้น เทวดาเหล่า
มนาปกายิกา๑จำนวนมาก ได้เข้าไปหาท่านพระอนุรุทธะถึงที่อยู่ ไหว้แล้วยืนอยู่
ณ ที่สมควร ได้กล่าวกับท่านพระอนุรุทธะดังนี้ว่า
“ท่านพระอนุรุทธะผู้เจริญ พวกข้าพเจ้าเป็นเทวดาเหล่ามนาปกายิกา ครองความ
เป็นใหญ่และแผ่อำนาจไปในฐานะ ๓ ประการ คือ
๑. พวกข้าพเจ้าหวังวรรณะเช่นใด ก็ได้วรรณะเช่นนั้นโดยพลัน
๒. พวกข้าพเจ้าหวังเสียงเช่นใด ก็ได้เสียงเช่นนั้นโดยพลัน
๓. พวกข้าพเจ้าหวังสุขเช่นใด ก็ได้สุขเช่นนั้นโดยพลัน
ท่านพระอนุรุทธะผู้เจริญ พวกข้าพเจ้าเป็นเทวดาเหล่ามนาปกายิกา ครองความ
เป็นใหญ่และแผ่อำนาจไปในฐานะ ๓ ประการนี้แล”

เชิงอรรถ :
๑ เทวดาเหล่ามนาปกายิกา หมายถึงเทวดาชั้นนิมมานรดี เทวดาเหล่านี้เรียกว่า เทพนิมมานรดี และเทพ
มนาปา เพราะเนรมิตรูปตามที่ตนปรารถนาได้ และชื่นชมรูปที่เนรมิตนั้น (องฺ.ปญฺจก.อ.๓/๓๓/๒๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๓๑๗ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๕.อุโปสถวรรค ๖.อนุรุทธสูตร
ครั้งนั้นแล ท่านพระอนุรุทธะได้มีความดำริว่า “ไฉนหนอ เทวดาเหล่านี้
ทั้งหมดพึงมีร่างเขียว มีผิวพรรณเขียว มีผ้าเขียว มีเครื่องประดับเขียว”
ลำดับนั้น เทวดาเหล่านั้นได้ทราบความดำริของท่านพระอนุรุทธะแล้ว ทั้งหมด
จึงแปลงร่างเขียว มีผิวพรรณเขียว มีผ้าเขียว มีเครื่องประดับเขียว
ครั้งนั้น ท่านพระอนุรุทธะได้มีความดำริว่า “ไฉนหนอ เทวดาเหล่านี้ทั้งหมด
พึงมีร่างเหลือง ฯลฯ มีร่างแดง ฯลฯ มีร่างขาว มีผิวพรรณขาว มีผ้าขาว มีเครื่อง
ประดับขาว”
ลำดับนั้น เทวดาเหล่านั้นได้ทราบความดำริของท่านพระอนุรุทธะแล้ว ทั้งหมด
จึงแปลงร่างขาว มีผิวพรรณขาว มีผ้าขาว มีเครื่องประดับขาว
บรรดาเทวดาเหล่านั้น เทวดาบางองค์ขับร้อง บางองค์ฟ้อนรำ บางองค์ปรบมือ
เครื่องประดับของเทวดาเหล่านั้นมีเสียงไพเราะ จับใจ เร้าใจ ชวนให้เคลิบเคลิ้ม
และหลงใหล๑ เปรียบเหมือนดนตรีมีองค์ ๕๒ ที่นักดนตรีผู้เชี่ยวชาญปรับดีแล้ว
ประโคมดีแล้ว บรรเลงดีแล้ว มีเสียงไพเราะ จับใจ เร้าใจ ชวนให้เคลิบเคลิ้ม
และหลงใหล
ลำดับนั้น ท่านพระอนุรุทธะได้ทอดอินทรีย์ลง๓
เทวดาเหล่านั้นทราบว่า “พระคุณเจ้าอนุรุทธะไม่ยินดีเลย” จึงหายไป ณ ที่นั้นเอง
ครั้นเวลาเย็นท่านพระอนุรุทธะได้ออกจากที่หลีกเร้น๔ เข้าไปเฝ้าพระผู้มี
พระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มี
พระภาคดังนี้ว่า

เชิงอรรถ :
๑ หลงใหล ในที่นี้หมายถึงทำให้เกิดความมัวเมาเพราะมานะและความมัวเมาเพราะความเป็นชาย (องฺ.อฏฺฐก.อ.
๓/๔๖/๒๖๐)
๒ ดนตรีมีองค์ ๕ คือ (๑) อาตตะ กลองขึงหนังหน้าเดียว (๒) วิตตะ ตะโพน (๓) อาตตวิตตะ บัณเฑาะว์
(๔) สุสิระ ปี่หรือขลุ่ย (๕) ฆนะ ดาลที่เคาะด้วยศิลาและแผ่นเหล็ก (องฺ.อฏฺฐก.อ. ๓/๔๖/๒๕๙, อภิธา.
คาถา ๑๓๙-๑๔๐)
๓ ทอดอินทรีย์ลง ในที่นี้หมายถึงทอดสายตาลง ไม่ลืมตาดู (องฺ.อฏฺฐก.อ. ๓/๔๖/๒๖๐)
๔ ดูเชิงอรรถที่ ๑ สัตตกนิบาต ข้อ ๗๐ หน้า ๑๕๐ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๓๑๘ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๕.อุโปสถวรรค ๖.อนุรุทธสูตร
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานวโรกาส ข้าพระองค์พักผ่อนกลางวัน
หลีกเร้นอยู่ ครั้งนั้น เทวดาเหล่ามนาปกายิกาจำนวนมากได้เข้ามาหาข้าพระองค์
ถึงที่อยู่ ไหว้แล้ว ยืนอยู่ ณ ที่สมควร ได้กล่าวกับข้าพระองค์ดังนี้ว่า
‘ท่านพระอนุรุทธะผู้เจริญ พวกข้าพเจ้าเป็นเทวดาเหล่ามนาปกายิกา ครองความ
เป็นใหญ่และแผ่อำนาจไปในฐานะ ๓ ประการ คือ
๑. พวกข้าพเจ้าหวังวรรณะเช่นใด ก็ได้วรรณะเช่นนั้นโดยพลัน
๒. พวกข้าพเจ้าหวังเสียงเช่นใด ก็ได้เสียงเช่นนั้นโดยพลัน
๓. พวกข้าพเจ้าหวังสุขเช่นใด ก็ได้สุขเช่นนั้นโดยพลัน
ท่านพระอนุรุทธะผู้เจริญ พวกข้าพเจ้าเป็นเทวดาเหล่ามนาปกายิกา ครองความ
เป็นใหญ่และแผ่อำนาจไปในฐานะ ๓ ประการนี้แล’
ข้าพระองค์นั้นได้มีความดำริว่า ‘ไฉนหนอ เทวดาเหล่านี้ทั้งหมดพึงมีร่างเขียว
มีผิวพรรณเขียว มีผ้าเขียว มีเครื่องประดับเขียว’ ลำดับนั้น เทวดาเหล่านั้นได้ทราบ
ความดำริของข้าพระองค์แล้ว ทั้งหมดจึงแปลงร่างเขียว มีผิวพรรณเขียว มีผ้าเขียว
มีเครื่องประดับเขียว ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์นั้นได้มีความดำริว่า
‘ไฉนหนอ เทวดาเหล่านี้ ทั้งหมดพึงมีร่างเหลือง ฯลฯ มีร่างแดง ฯลฯ มีร่างขาว
มีผิวพรรณขาว มีผ้าขาว มีเครื่องประดับขาว’ ลำดับนั้น เทวดาเหล่านั้นได้ทราบ
ความดำริของข้าพระองค์แล้ว ทั้งหมดจึงแปลงร่างขาว มีผิวพรรณขาว มีผ้าขาว
และมีเครื่องประดับขาว
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บรรดาเทวดาเหล่านั้น เทวดาบางองค์ขับร้อง บางองค์
ฟ้อนรำ บางองค์ปรบมือ เครื่องประดับของเทวดาเหล่านั้นมีเสียงไพเราะ จับใจ
เร้าใจ ชวนให้เคลิบเคลิ้ม และหลงใหล เปรียบเหมือนดนตรีมีองค์ ๕ ที่นักดนตรี
ผู้เชี่ยวชาญปรับดี ประโคมดีแล้ว บรรเลงดีแล้ว มีเสียงไพเราะ จับใจ เร้าใจ ชวนให้
เคลิบเคลิ้ม และหลงใหล ข้าพระองค์ได้ทอดอินทรีย์ลง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๓๑๙ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๕.อุโปสถวรรค ๖.อนุรุทธสูตร
เทวดาเหล่านั้นทราบว่า ‘พระคุณเจ้าอนุรุทธะไม่ยินดีเลย’ จึงหายไป ณ
ที่นั้นเอง ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ มาตุคามประกอบด้วยธรรมเท่าไรหนอ หลังจาก
ตายแล้ว ย่อมไปเกิดร่วมกับเทวดาเหล่ามนาปกายิกา”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “อนุรุทธะ มาตุคามประกอบด้วยธรรม ๘ ประการนี้
หลังจากตายแล้ว ย่อมไปเกิดร่วมกับเทวดาเหล่ามนาปกายิกา
ธรรม ๘ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. มารดาบิดาผู้ปรารถนาประโยชน์ หวังเกื้อกูลอนุเคราะห์ด้วยความ
เอ็นดู ยกเธอให้สามีใด เธอต้องตื่นก่อนนอนทีหลังสามีนั้น คอยรับใช้
ปฏิบัติให้เป็นที่พอใจเขา พูดคำไพเราะต่อเขา
๒. ชนเหล่าใดเป็นที่เคารพของสามี คือ มารดา บิดา หรือสมณ-
พราหมณ์ เธอสักการะเคารพ นับถือ บูชาชนเหล่านั้น และต้อนรับ
ท่านเหล่านั้นผู้มาถึงแล้วด้วยน้ำและเสนาสนะ
๓. การงานเหล่าใดเป็นการงานในบ้านสามี คือ การทอผ้าขนสัตว์
หรือผ้าฝ้าย เธอเป็นคนขยันไม่เกียจคร้านในการงานเหล่านั้น ประกอบ
ด้วยปัญญาเป็นเครื่องพิจารณาอันเป็นอุบายในการงานเหล่านั้น
สามารถทำ สามารถจัดได้
๔. รู้จักการงานที่คนในบ้านสามี คือ ทาส คนใช้ หรือกรรมกร ว่าทำ
แล้วหรือยังไม่ได้ทำ รู้อาการของคนเหล่านั้นที่เป็นไข้ว่าดีขึ้นหรือ
ทรุดลง และแบ่งปันของกิน ของใช้ให้ตามส่วนที่ควร
๕. เธอรักษาคุ้มครองสิ่งที่สามีหามาได้ เป็นทรัพย์ ข้าว เงิน หรือทอง
ก็ตาม ไม่เป็นนักเลงการพนัน ไม่เป็นขโมย ไม่เป็นนักเลงสุรา
ไม่ล้างผลาญทรัพย์สมบัติ
๖. เธอเป็นอุบาสิกา ถึงพระพุทธเจ้าเป็นสรณะ ถึงพระธรรมเป็นสรณะ
ถึงพระสงฆ์เป็นสรณะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๓๒๐ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๕.อุโปสถวรรค ๖.อนุรุทธสูตร
๗. เธอเป็นผู้มีศีล คือ เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ เว้นขาดจากการลักทรัพย์
เว้นขาดจากการประพฤติผิดในกาม เว้นขาดจากการพูดเท็จ เว้น
ขาดจากการเสพของมึนเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นเหตุแห่งความ
ประมาท
๘. เธอเป็นผู้มีจาคะ คือ มีใจปราศจากความตระหนี่อันเป็นมลทิน มีจาคะ
อันสละแล้ว มีฝ่ามือชุ่ม๑ ยินดีในการสละ ควรแก่การขอ ยินดีใน
การแจกทานอยู่ครองเรือน
อนุรุทธะ มาตุคามประกอบด้วยธรรม ๘ ประการนี้แล หลังจากตายแล้ว
ย่อมไปเกิดร่วมกับเทวดาเหล่ามนาปกายิกา”
สตรีผู้เป็นบัณฑิต ย่อมไม่ดูหมิ่นสามี
ผู้มีความเพียร ขวนขวายเป็นนิตย์
เลี้ยงตนเองทุกเมื่อ ผู้ให้สิ่งที่ต้องการได้ทุกอย่าง
ไม่ทำให้สามีขุ่นเคืองด้วยการแสดงความหึงหวง
ยกย่องทุกคนที่สามีเคารพ เป็นคนขยัน ไม่เกียจคร้าน
สงเคราะห์คนข้างเคียงของสามี
ปฏิบัติถูกใจสามี รักษาทรัพย์ที่สามีหามาได้
สตรีผู้ยังประพฤติตามใจสามีอยู่อย่างนี้
จะเข้าถึงความเป็นเทวดาเหล่ามนาปกายิกา๒
อนุรุทธสูตรที่ ๖ จบ

เชิงอรรถ :
๑ มีฝ่ามือชุ่ม อรรถกถาอธิบายว่า ถ้าคนไม่มีศรัทธา แม้จะล้างมือถึง ๗ ครั้ง ก็ชื่อว่ายังมีมือไม่ได้ล้าง มีมือ
สกปรก แต่คนมีศรัทธา แม้มีมือสกปรก ก็ชื่อว่าได้ล้างมือสะอาดแล้ว (องฺ.ติก.อ. ๒/๔๒/๑๔๘)
๒ องฺ.ปญฺจก. (แปล) ๒๒/๓๓/๕๒-๕๓

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๓๒๑ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๕.อุโปสถวรรค ๗.ทุติยวิสาขาสูตร
๗. ทุติยวิสาขาสูตร
ว่าด้วยนางวิสาขา สูตรที่ ๒
[๔๗] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่ปราสาทของนางวิสาขา-
มิคารมาตา ในบุพพาราม เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น นางวิสาขามิคารมาตา ฯลฯ
นั่ง ณ ที่สมควร พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสดังนี้ว่า
“วิสาขา มาตุคามประกอบด้วยธรรม ๘ ประการนี้ หลังจากตายแล้ว ย่อมไป
เกิดร่วมกับเทวดาเหล่ามนาปกายิกา
ธรรม ๘ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. มารดาบิดาผู้ปรารถนาประโยชน์ หวังเกื้อกูลอนุเคราะห์ด้วย
ความเอ็นดู ยกเธอให้สามีใด เธอต้องตื่นก่อนนอนทีหลังสามีนั้น
คอยรับใช้ ปฏิบัติให้เป็นที่พอใจเขา พูดคำไพเราะต่อเขา
ฯลฯ๑
๘. เธอเป็นผู้มีจาคะ คือ มีใจปราศจากความตระหนี่อันเป็นมลทิน
มีจาคะอันสละแล้ว มีฝ่ามือชุ่ม ยินดีในการสละ ควรแก่การขอ
ยินดีในการแจกทานอยู่ครองเรือน
วิสาขา มาตุคามประกอบด้วยธรรม ๘ ประการนี้แล หลังจากตายแล้ว ย่อม
ไปเกิดร่วมกับเทวดาเหล่ามนาปกายิกา”
สตรีผู้เป็นบัณฑิต ย่อมไม่ดูหมิ่นสามี
ผู้มีความเพียร ขวนขวายเป็นนิตย์
เลี้ยงตนเองทุกเมื่อ ผู้ให้สิ่งที่ต้องการได้ทุกอย่าง
ไม่ทำให้สามีขุ่นเคืองด้วยการแสดงความหึงหวง
ยกย่องทุกคนที่สามีเคารพ เป็นคนขยัน ไม่เกียจคร้าน

เชิงอรรถ :
๑ องค์ธรรมที่ถูกย่อ (ฯลฯ) ไว้ในข้อ ๔๗,๔๘ ดูความเต็มในอัฏฐกนิบาตข้อ ๔๖ (อนุรุทธสูตร) หน้า ๓๒๐-๓๒๑
ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๓๒๒ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๕.อุโปสถวรรค ๘.นกุลมาตาสูตร
สงเคราะห์คนข้างเคียงของสามี
ปฏิบัติถูกใจสามี รักษาทรัพย์ที่สามีหามาได้
สตรีผู้ยังประพฤติตามใจสามีอยู่อย่างนี้
จะเข้าถึงความเป็นเทวดาเหล่ามนาปกายิกา
ทุติยวิสาขาสูตรที่ ๗ จบ

๘. นกุลมาตาสูตร
ว่าด้วยนกุลมาตาคหปตานี
[๔๘] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ เภสกฬามิคทายวัน เขตกรุง
สุงสุมารคิระ แคว้นภัคคะ ครั้งนั้น นกุลมาตาคหปตานีเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค
ถึงที่ประทับแล้ว ฯลฯ นั่งแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสดังนี้ว่า
“นกุลมาตา มาตุคามประกอบด้วยธรรม ๘ ประการนี้ หลังจากตายแล้ว ย่อม
ไปเกิดร่วมกับเทวดาเหล่ามนาปกายิกา
ธรรม ๘ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. มารดาบิดาผู้ปรารถนาประโยชน์ หวังเกื้อกูลอนุเคราะห์ด้วย
ความเอ็นดู ยกเธอให้สามีใด เธอต้องตื่นก่อนนอนทีหลังสามีนั้น
คอยรับใช้ ปฏิบัติให้เป็นที่พอใจเขา พูดคำไพเราะต่อเขา
ฯลฯ
๘. เธอเป็นผู้มีจาคะ คือ มีใจปราศจากความตระหนี่อันเป็นมลทิน
มีจาคะอันสละแล้ว มีฝ่ามือชุ่ม ยินดีในการสละ ควรแก่การขอ
ยินดีในการแจกทานอยู่ครองเรือน
นกุลมาตา มาตุคามประกอบด้วยธรรม ๘ ประการนี้แล หลังจากตายแล้ว
ย่อมไปเกิดร่วมกับเทวดาเหล่ามนาปกายิกา”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๓๒๓ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๕.อุโปสถวรรค ๙.ปฐมอิธโลกิกสูตร
สตรีผู้เป็นบัณฑิต ย่อมไม่ดูหมิ่นสามี
ผู้มีความเพียร ขวนขวายเป็นนิตย์
เลี้ยงตนเองทุกเมื่อ ผู้ให้สิ่งที่ต้องการได้ทุกอย่าง
ไม่ทำให้สามีขุ่นเคืองด้วยการแสดงความหึงหวง
ยกย่องทุกคนที่สามีเคารพ เป็นคนขยัน ไม่เกียจคร้าน
สงเคราะห์คนข้างเคียงของสามี
ปฏิบัติถูกใจสามี รักษาทรัพย์ที่สามีหามาได้
สตรีผู้ยังประพฤติตามใจสามีอยู่อย่างนี้
จะเข้าถึงความเป็นเทวดาเหล่ามนาปกายิกา
นกุลมาตาสูตรที่ ๘ จบ

๙. ปฐมอิธโลกิกสูตร
ว่าด้วยธรรมที่เป็นไปเพื่อชัยชนะในโลกนี้ สูตรที่ ๑
[๔๙] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่ปราสาทของนางวิสาขา-
มิคารมาตา ในบุพพาราม เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น นางวิสาขามิคารมาตาเข้าไป
เฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ฯลฯ แล้วนั่ง ณ ที่สมควร พระผู้มีพระภาคจึง
ได้ตรัสดังนี้ว่า
“วิสาขา มาตุคามประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ ชื่อว่าเป็นผู้ปฏิบัติเพื่อชัย
ชนะในโลกนี้ ปรารภโลกนี้๑
ธรรม ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
มาตุคามในโลกนี้
๑. จัดการงานดี ๒. สงเคราะห์คนข้างเคียง
๓. ปฏิบัติถูกใจสามี ๔. รักษาทรัพย์ที่สามีหามาได้

เชิงอรรถ :
๑ หมายถึงมีความขยันหมั่นเพียร มุ่งทำการงานในโลกนี้ให้สำเร็จโดยเรียบร้อย (องฺ.อฏฺฐก.อ.๓/๔๙-๕๐/๒๖๐)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๓๒๔ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๕.อุโปสถวรรค ๙.ปฐมอิธโลกิกสูตร
มาตุคามผู้จัดการงานดี เป็นอย่างไร
คือ มาตุคามในโลกนี้เป็นคนขยัน ไม่เกียจคร้านในการงานภายในบ้านสามี
คือ การทอผ้าขนสัตว์ หรือผ้าฝ้าย ประกอบด้วยปัญญาเป็นเครื่องพิจารณาอันเป็น
อุบาย ในการงานเหล่านั้น สามารถทำ สามารถจัดได้
มาตุคามผู้จัดการงานดี เป็นอย่างนี้แล
มาตุคามผู้สงเคราะห์คนข้างเคียง เป็นอย่างไร
คือ มาตุคามในโลกนี้รู้จักการงานที่คนในบ้านสามี คือ ทาส คนใช้ หรือ
กรรมกรว่าทำแล้วหรือยังไม่ได้ทำ รู้อาการของคนเหล่านั้นที่เป็ไข้ว่าดีขึ้นหรือทรุดลง
และแบ่งปันของกิน ของใช้ให้ตามส่วนที่ควร
มาตุคามผู้สงเคราะห์คนข้างเคียง เป็นอย่างนี้แล
มาตุคามปฏิบัติถูกใจสามี เป็นอย่างไร
คือ มาตุคามในโลกนี้ไม่ล่วงละเมิดสิ่งที่ไม่เป็นที่พอใจของสามี แม้เพราะเหตุ
แห่งชีวิต
มาตุคามปฏิบัติถูกใจสามี เป็นอย่างนี้แล
มาตุคามรักษาทรัพย์ที่สามีหามาได้ เป็นอย่างไร
คือ มาตุคามในโลกนี้รักษาคุ้มครองสิ่งที่สามีหามาได้ เป็นทรัพย์ ข้าว เงิน
หรือทองก็ตาม ไม่เป็นนักเลงการพนัน ไม่เป็นขโมย ไม่เป็นนักเลงสุรา ไม่ผลาญ
ทรัพย์สมบัติ
มาตุคามรักษาทรัพย์ที่สามีหามาได้ เป็นอย่างนี้แล
วิสาขา มาตุคามประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้แล ชื่อว่าเป็นผู้ปฏิบัติเพื่อ
ชัยชนะในโลกนี้ ปรารภโลกนี้
วิสาขา มาตุคามประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ ชื่อว่าเป็นผู้ปฏิบัติเพื่อชัยชนะ
ในโลกหน้า ปรารภโลกหน้า


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๓๒๕ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๕.อุโปสถวรรค ๙.ปฐมอิธโลกิกสูตร
ธรรม ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
มาตุคามในโลกนี้
๑. ถึงพร้อมด้วยศรัทธา ๒. ถึงพร้อมด้วยศีล
๓. ถึงพร้อมด้วยจาคะ ๔. ถึงพร้อมด้วยปัญญา
มาตุคามผู้ถึงพร้อมด้วยศรัทธา เป็นอย่างไร
คือ มาตุคามในโลกนี้เป็นผู้มีศรัทธา เชื่อปัญญาตรัสรู้ของตถาคตว่า ‘แม้เพราะ
เหตุนี้ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้ด้วยพระองค์เองโดยชอบ
เพียบพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดี รู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกผู้ที่ควรฝึกได้
อย่างยอดเยี่ยม เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า เป็น
พระผู้มีพระภาค’
มาตุคามผู้ถึงพร้อมด้วยศรัทธา เป็นอย่างนี้แล
มาตุคามผู้ถึงพร้อมด้วยศีล เป็นอย่างไร
คือ มาตุคามในโลกนี้เป็นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ ฯลฯ เว้นขาดจากการเสพ
ของมึนเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นเหตุแห่งความประมาท
มาตุคามผู้ถึงพร้อมด้วยศีล เป็นอย่างนี้แล
มาตุคามผู้ถึงพร้อมด้วยจาคะ เป็นอย่างไร
คือ มาตุคามในโลกนี้มีใจปราศจากความตระหนี่อันเป็นมลทิน มีจาคะอันสละแล้ว
มีฝ่ามือชุ่ม ยินดีในการสละ ควรแก่การขอ ยินดีในการแจกทาน อยู่ครองเรือน
มาตุคามผู้ถึงพร้อมด้วยจาคะ เป็นอย่างนี้แล
มาตุคามผู้ถึงพร้อมด้วยปัญญา เป็นอย่างไร
คือ มาตุคามในโลกนี้เป็นผู้มีปัญญา คือ ประกอบด้วยปัญญาเป็นเครื่อง
พิจารณาเห็นทั้งความเกิดและความดับอันเป็นอริยะ ชำแรกกิเลสให้ถึงความสิ้นทุกข์
โดยชอบ
มาตุคามผู้ถึงพร้อมด้วยปัญญา เป็นอย่างนี้แล

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๓๒๖ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๕.อุโปสถวรรค ๑๐.ทุติยอิธโลกิกสูตร
วิสาขา มาตุคามประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้แล ชื่อว่าเป็นผู้ปฏิบัติเพื่อ
ชัยชนะในโลกหน้า ปรารภโลกหน้า”
ภรรยาเป็นผู้จัดการงานดี
สงเคราะห์คนข้างเคียง ปฏิบัติถูกใจสามี
รักษาทรัพย์ที่สามีหามาได้
เป็นผู้มีศรัทธา ถึงพร้อมด้วยศีล
รู้ความประสงค์ของผู้ขอ๑ ปราศจากความตระหนี่
ชำระทางแห่งประโยชน์ที่มีอยู่ในชาติหน้าอยู่เป็นนิตย์
ธรรม ๘ ประการดังกล่าวมานี้ มีอยู่แก่สตรีใด
สตรีนั้น นักปราชญ์ทั้งหลายเรียกว่า
‘ผู้มีศีล ตั้งอยู่ในธรรม กล่าวคำสัตย์’
อุบาสิกาเช่นนั้นผู้ถึงพร้อมด้วยอาการ ๑๖ อย่าง
ประกอบด้วยองค์ ๘ ประการ เป็นผู้มีศีล
ย่อมเกิดในเทวโลกชื่อว่ามนาปกายิกะ
ปฐมอิธโลกิกสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. ทุติยอิธโลกิกสูตร
ว่าด้วยธรรมที่เป็นไปเพื่อชัยชนะในโลกนี้ สูตรที่ ๒
[๕๐] ภิกษุทั้งหลาย มาตุคามประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ ชื่อว่าเป็นผู้
ปฏิบัติเพื่อชัยชนะในโลกนี้ ปรารภโลกนี้

เชิงอรรถ :
๑ รู้ความประสงค์ของผู้ขอ ในที่นี้หมายถึงรู้อาการของผู้ขอ เช่น เห็นภิกษุเที่ยวบิณฑบาตยืนที่ประตูเรือน
ของตน แม้ท่านจะนิ่งไม่ออกปากขอก็รู้ความหมายได้ว่า ‘ท่านกำลังขอซึ่งเป็นการขออย่างพระอริยะ’ เมื่อรู้
แล้วก็จัดแจงไทยธรรมถวายท่านด้วยคิดว่า ‘พวกเราหุงต้มเองได้ แต่ท่านหุงต้มเองไม่ได้แล้วท่านจะหาภัตร
ได้ที่ไหน’ (องฺ.ปญฺจก.ฏีกา ๓/๓๖-๓๗/๒๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๓๒๗ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๕.อุโปสถวรรค ๑๐.ทุติยอิธโลกิกสูตร
ธรรม ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
มาตุคามในโลกนี้
๑. จัดการงานดี ๒. สงเคราะห์คนข้างเคียง
๓. ปฏิบัติถูกใจสามี ๔. รักษาทรัพย์ที่สามีหามาได้
มาตุคามผู้จัดการงานดี เป็นอย่างไร
คือ มาตุคามในโลกนี้เป็นคนขยัน ไม่เกียจคร้านในการงานภายในบ้านสามี
ฯลฯ มาตุคามผู้จัดการงานดี เป็นอย่างนี้แล
มาตุคามผู้สงเคราะห์คนข้างเคียง เป็นอย่างไร
คือ มาตุคามในโลกนี้รู้จักการงานที่คนในบ้านสามี ฯลฯ มาตุคามผู้สงเคราะห์
คนข้างเคียง เป็นอย่างนี้แล
มาตุคามปฏิบัติถูกใจสามี เป็นอย่างไร
คือ มาตุคามในโลกนี้ไม่ล่วงละเมิดสิ่งที่ไม่เป็นที่พอใจของสามี แม้เพราะเหตุ
แห่งชีวิต มาตุคามปฏิบัติถูกใจสามี เป็นอย่างนี้แล
มาตุคามรักษาทรัพย์ที่สามีหามาได้ เป็นอย่างไร
คือ มาตุคามในโลกนี้รักษาคุ้มครองสิ่งที่สามีหามาได้ ฯลฯ มาตุคามรักษา
ทรัพย์ที่สามีหามาได้ เป็นอย่างนี้แล
ภิกษุทั้งหลาย มาตุคามประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้แล ชื่อว่าเป็นผู้
ปฏิบัติเพื่อชัยชนะในโลกนี้ ปรารภโลกนี้
ภิกษุทั้งหลาย มาตุคามประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ ชื่อว่าเป็นผู้ปฏิบัติ
เพื่อชัยชนะในโลกหน้า ปรารภโลกหน้า
ธรรม ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
มาตุคามในโลกนี้
๑. ถึงพร้อมด้วยศรัทธา ๒. ถึงพร้อมด้วยศีล
๓. ถึงพร้อมด้วยจาคะ ๔. ถึงพร้อมด้วยปัญญา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๓๒๘ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๕.อุโปสถวรรค ๑๐.ทุติยอิธโลกิกสูตร
มาตุคามผู้ถึงพร้อมด้วยศรัทธา เป็นอย่างไร
คือ มาตุคามในโลกนี้เป็นผู้มีศรัทธา ฯลฯ มาตุคามผู้ถึงพร้อมด้วยศรัทธา
เป็นอย่างนี้แล
มาตุคามผู้ถึงพร้อมด้วยศีล เป็นอย่างไร
คือ มาตุคามในโลกนี้เป็นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ ฯลฯ เว้นขาดจากการเสพ
ของมึนเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นเหตุแห่งความประมาท มาตุคามผู้ถึงพร้อมด้วยศีล
เป็นอย่างนี้แล
มาตุคามผู้ถึงพร้อมด้วยจาคะ เป็นอย่างไร
คือ มาตุคามในโลกนี้มีใจปราศจากความตระหนี่อันเป็นมลทิน ฯลฯ มาตุคาม
ผู้ถึงพร้อมด้วยจาคะ เป็นอย่างนี้แล
มาตุคามผู้ถึงพร้อมด้วยปัญญา เป็นอย่างไร
คือ มาตุคามในโลกนี้เป็นผู้มีปัญญา ฯลฯ มาตุคามผู้ถึงพร้อมด้วยปัญญา
เป็นอย่างนี้แล
ภิกษุทั้งหลาย มาตุคามประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้แล ชื่อว่าเป็นผู้
ปฏิบัติเพื่อชัยชนะในโลกหน้า ปรารภโลกหน้า
ภรรยาเป็นผู้จัดการงานดี
สงเคราะห์คนข้างเคียง ปฏิบัติถูกใจสามี
รักษาทรัพย์ที่สามีหามาได้
เป็นผู้มีศรัทธา ถึงพร้อมด้วยศีล
รู้ความประสงค์ของผู้ขอ ปราศจากความตระหนี่
ชำระทางแห่งประโยชน์ที่มีอยู่ในชาติหน้าอยู่เป็นนิตย์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๓๒๙ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๕.อุโปสถวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค
ธรรม ๘ ประการดังกล่าวมานี้ มีอยู่แก่สตรีใด
สตรีนั้น นักปราชญ์ทั้งหลายเรียกว่า
‘ผู้มีศีล ตั้งอยู่ในธรรม กล่าวคำสัตย์’
อุบาสิกาเช่นนั้นผู้ถึงพร้อมด้วยอาการ ๑๖ อย่าง
ประกอบด้วยองค์ ๘ ประการ เป็นผู้มีศีล
ย่อมเกิดในเทวโลกชื่อว่ามนาปกายิกะ
ทุติยอิธโลกิกสูตรที่ ๑๐ จบ
อุโปสถวรรคที่ ๕ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. สังขิตตุโปสถสูตร ๒. วิตถตุโปสถสูตร
๓. วิสาขาสูตร ๔. วาเสฏฐสูตร
๕. โพชฌาสูตร ๖. อนุรุทธสูตร
๗. ทุติยวิสาขาสูตร ๘. นกุลมาตาสูตร
๙. ปฐมอิธโลกิกสูตร ๑๐. ทุติยอิธโลกิกสูตร

ปฐมปัณณาสก์ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๓๓๐ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๒.ทุติยปัณณาสก์] ๑.โคตมีวรรค ๑.โคตมีสูตร
๒. ทุติยปัณณาสก์
๑. โคตมีวรรค
หมวดว่าด้วยพระนางปชาบดีโคตมี
๑. โคตมีสูตร๑
ว่าด้วยพระนางปชาบดีโคตมีทูลขออุปสมบท
[๕๑] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ นิโครธาราม เขตกรุงกบิลพัสดุ์
แคว้นสักกะ ครั้งนั้นแล พระนางมหาปชาบดีโคตมีเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึง
ที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้ว ยืนอยู่ ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ขอประทานวโรกาส มาตุคามพึงได้ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตในพระ-
ธรรมวินัยที่พระตถาคตทรงประกาศไว้ด้วยเถิด พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสห้ามว่า “อย่าเลย โคตมี เธออย่าชอบใจการที่มาตุคาม
ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตในธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศไว้เลย”
แม้ครั้งที่ ๒ พระนางมหาปชาบดีโคตมีก็กราบทูลว่า “ขอประทานวโรกาส
มาตุคามพึงได้ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตในพระธรรมวินัย ที่พระตถาคตทรง
ประกาศไว้ด้วยเถิด พระพุทธเจ้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสห้ามว่า “อย่าเลย โคตมี เธออย่าชอบใจการที่มาตุคาม
ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตในธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศไว้เลย”
แม้ครั้งที่ ๓ พระนางมหาปชาบดีโคตมีก็กราบทูลว่า “ขอประทานวโรกาส
มาตุคามพึงได้ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตในพระธรรมวินัย ที่พระตถาคตทรง
ประกาศไว้ด้วยเถิด พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสห้ามว่า “อย่าเลย โคตมี เธออย่าชอบใจการที่มาตุคาม
ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตในธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศไว้เลย”

เชิงอรรถ :
๑ วิ.จู. (แปล) ๗/๔๐๒/๓๑๒-๓๑๕

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๓๓๑ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๒.ทุติยปัณณาสก์] ๑.โคตมีวรรค ๑.โคตมีสูตร
ลำดับนั้น พระนางมหาปชาบดีโคตมีทรงดำริว่า “พระผู้มีพระภาคไม่ทรงอนุญาต
ให้มาตุคามได้ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตในพระธรรมวินัยที่พระตถาคตทรง
ประกาศไว้” ทรงเป็นทุกข์ เสียพระทัย น้ำพระเนตรนองพระพักตร์ กันแสงอยู่
ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาค ทรงทำประทักษิณแล้วเสด็จจากไป
ครั้นพระผู้มีพระภาคประทัยอยู่ ณ เขตกรุงกบิลพัสดุ์ตามพระประสงค์แล้ว
เสด็จจาริกไปทางกรุงเวสาลี เสด็จจาริกไปโดยลำดับจนถึงกรุงเวสาลี ณ ที่นั้นแล
พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่กูฏาคารศาลา ป่ามหาวัน เขตกรุงเวสาลี
คราวนั้น พระนางมหาปชาบดีโคตมีทรงปลงพระเกศา ทรงนุ่งผ้ากาสายะ
เสด็จไปทางกรุงเวสาลีพร้อมด้วยนางศากิยานีจำนวนมาก เสด็จเข้าไปยังกูฏาคารศาลา
ป่ามหาวัน เขตกรุงเวสาลีโดยลำดับ เวลานั้น พระนางมหาปชาบดีโคตมีมีพระบาท
ระบม พระวรกายเปรอะเปื้อนฝุ่นธุลี เป็นทุกข์ เสียพระทัย น้ำพระเนตรนอง
พระพักตร์ ประทับยืนกันแสงอยู่ที่ภายนอกซุ้มประตู
ท่านพระอานนท์ได้เห็นพระนางมหาปชาบดีโคตมีมีพระบาทระบม พระวรกาย
เปรอะเปื้อนฝุ่นธุลี เป็นทุกข์ เสียพระทัย น้ำพระเนตรนองพระพักตร์ ประทับยืน
กันแสงอยู่ที่ภายนอกซุ้มประตู จึงถามพระนางมหาปชาบดีโคตมีว่า “พระนางโคตมี
เพราะเหตุไร พระองค์จึงมีพระบาทระบม พระวรกายเปรอะเปื้อนฝุ่นธุลี เป็นทุกข์
เสียพระทัย น้ำพระเนตรนองพระพักตร์ ประทับยืนกันแสงอยู่ที่ภายนอกซุ้มประตู”
พระนางมหาปชาบดีโคตมีตรัสตอบว่า “ท่านอานนท์ผู้เจริญ ที่เป็นเช่นนั้น
เพราะพระผู้มีพระภาคไม่ทรงอนุญาตให้มาตุคามได้ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตใน
พระธรรมวินัยที่พระตถาคตทรงประกาศไว้”
ท่านพระอานนท์กล่าวว่า “พระนางโคตมี ถ้าเช่นนั้น ขอพระองค์จงรออยู่สักครู่
จนกว่าอาตมาจะทูลขอพระผู้มีพระภาคให้มาตุคามได้ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตใน
พระธรรมวินัยที่พระตถาคตทรงประกาศไว้”
ครั้งนั้นแล ท่านพระอานนท์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวาย
อภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระนางมหาปชาบดีโคตมีนี้ มีพระบาทระบม พระวรกาย
เปรอะเปื้อนฝุ่นธุลี เป็นทุกข์ เสียพระทัย น้ำพระเนตรนองพระพักตร์ ประทับยืน
กันแสงอยู่ที่ภายนอกซุ้มประตู เพราะพระผู้มีพระภาคไม่ทรงอนุญาตให้มาตุคามได้


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๓๓๒ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๒.ทุติยปัณณาสก์] ๑.โคตมีวรรค ๑.โคตมีสูตร
ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตในพระธรรมวินัยที่พระตถาคตทรงประกาศไว้ ขอ
ประทานวโรกาส ขอมาตุคามพึงได้ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตในพระธรรมวินัย
ที่พระตถาคตทรงประกาศไว้ด้วยเถิด พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสห้ามว่า “อย่าเลย อานนท์ เธออย่าชอบใจการที่มาตุคาม
ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตในธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศไว้เลย”
แม้ครั้งที่ ๒ ฯลฯ
แม้ครั้งที่ ๓ ท่านพระอานนท์ก็ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ขอประทาน
วโรกาส ขอมาตุคามพึงได้ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตในพระธรรมวินัยที่พระตถาคต
ทรงประกาศไว้ด้วยเถิด พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสห้ามว่า “อย่าเลย อานนท์ เธออย่าชอบใจการที่มาตุคาม
ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตในธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศไว้เลย”
ลำดับนั้น ท่านพระอานนท์ได้มีความดำริว่า “พระผู้มีพระภาคไม่ทรงอนุญาต
ให้มาตุคามออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตในพระธรรมวินัยที่พระตถาคตทรงประกาศไว้
ทางที่ดีเราควรทูลขอพระผู้มีพระภาคให้มาตุคามออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตได้
ในพระธรรมวินัยที่พระตถาคตทรงประกาศไว้ด้วยอุบายบางอย่าง”
ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์
ผู้เจริญ มาตุคามออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตในพระธรรมวินัยที่พระตถาคตทรง
ประกาศไว้ จะสามารถทำให้แจ้งโสดาปัตติผล สกทาคามิผล อนาคามิผล หรือ
อรหัตตผลได้หรือไม่”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “อานนท์ มาตุคามออกจากเรือนบวชเป็น
บรรพชิตในธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศไว้ สามารถทำให้แจ้งโสดาปัตติผล สกทาคามิผล
อนาคามิผล หรืออรหัตตผลได้”
ท่านพระอานนท์กราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถ้ามาตุคามออกจากเรือน
บวชเป็นบรรพชิตในพระธรรมวินัยที่พระตถาคตทรงประกาศไว้ สามารถทำให้แจ้ง
โสดาปัตติผล ฯลฯ หรืออรหัตตผลได้ พระนางมหาปชาบดีโคตมีเป็นพระมาตุจฉา
ของพระผู้มีพระภาค ทรงมีอุปการะมาก เคยประคับประคองดูแลถวายเกษียรธาร
เมื่อพระชนนีสวรรคต ขอประทานวโรกาส ขอมาตุคามพึงได้ออกจากเรือนบวชเป็น
บรรพชิตในพระธรรมวินัยที่พระตถาคตทรงประกาศไว้ด้วยเถิด พระพุทธเจ้าข้า”


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๓๓๓ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๒.ทุติยปัณณาสก์] ๑.โคตมีวรรค ๑.โคตมีสูตร
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “อานนท์ ถ้ามหาปชาบดีโคตมีรับครุธรรม๑
๘ ประการได้ การรับครุธรรมนั้นแลเป็นการอุปสมบท๒ของเธอ คือ
๑. ภิกษุณีถึงจะบวชได้ ๑๐๐ พรรษา ก็ต้องทำการกราบไหว้ การต้อนรับ
การทำอัญชลีกรรม การทำสามีจิกรรม๓ แก่ภิกษุผู้บวชแม้ในวันนั้น
ธรรมข้อนี้ภิกษุณีพึงสักการะ เคารพ นับถือ บูชา ไม่พึงล่วงละเมิด
จนตลอดชีวิต
๒. ภิกษุณีไม่พึงอยู่จำพรรษาในอาวาสที่ไม่มีภิกษุ ธรรมข้อนี้ภิกษุณีพึง
สักการะ เคารพ นับถือ บูชา ไม่พึงล่วงละเมิดจนตลอดชีวิต
๓. ภิกษุณีพึงหวังธรรม ๒ อย่าง คือ ถามอุโบสถ และไปรับโอวาทจาก
ภิกษุสงฆ์ทุกกึ่งเดือน ธรรมข้อนี้ภิกษุณีพึงสักการะ เคารพ นับถือ
บูชา ไม่พึงล่วงละเมิดจนตลอดชีวิต
๔. ภิกษุณีจำพรรษาแล้วพึงปวารณาในสงฆ์ ๒ ฝ่าย โดยสถาน ๓ คือ
ได้เห็น ได้ฟัง หรือได้นึกสงสัย ธรรมข้อนี้ภิกษุณีพึงสักการะ เคารพ
นับถือ บูชา ไม่พึงล่วงละเมิดจนตลอดชีวิต
๕. ภิกษุณีต้องครุธรรมแล้วพึงประพฤติปักขมานัตในสงฆ์ ๒ ฝ่าย ธรรม
ข้อนี้ภิกษุณีพึงสักการะ เคารพ นับถือ บูชา ไม่พึงล่วงละเมิดจน
ตลอดชีวิต
๖. ภิกษุณีพึงแสวงหาการอุปสมบทในสงฆ์ ๒ ฝ่ายให้แก่นางสิกขมานา
ที่ศึกษาธรรม ๖ ข้อ ตลอด ๒ ปีแล้ว ธรรมข้อนี้ภิกษุณีพึงสักการะ
เคารพ นับถือ บูชา ไม่พึงล่วงละเมิดจนตลอดชีวิต
๗. ภิกษุณีไม่พึงด่า ไม่พึงบริภาษภิกษุ ไม่ว่ากรณีใด ๆ ธรรมข้อนี้ภิกษุณี
พึงสักการะ เคารพ นับถือ บูชา ไม่พึงล่วงละเมิดจนตลอดชีวิต

เชิงอรรถ :
๑ ดู วิ.มหา. (แปล) ๒/๑๔๙/๓๒๒-๓๒๓, วิ.จู. (แปล) ๗/๔๐๓/๓๑๕-๓๑๙
๒ อุปสมบท ในที่นี้หมายถึงทั้งการบรรพชาและอุปสมบท (องฺ.อฏฺฐก.อ. ๓/๕๑/๒๖๓)
๓ การกราบไหว้ หมายถึงการไม่มีมานะ(ความถือตัว) ก้มกราบด้วยเบญจางคประดิษฐ์ การต้อนรับ หมาย
ถึงลุกจากที่นั่งแล้วลุกขึ้นยืนรับ การทำอัญชลีกรรม หมายถึงประนมมือทั้ง ๑๐ นิ้วไหว้ การทำสามีจิกรรม
หมายถึงทำสามีจิกรรมอันสมควรมีการปูลาดอาสนะ และการพัดให้เป็นต้น (องฺ.อฏฺฐก.อ. ๓/๕๑/๒๖๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๓๓๔ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๒.ทุติยปัณณาสก์] ๑.โคตมีวรรค ๑.โคตมีสูตร
๘. ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ห้ามภิกษุณีสั่งสอนภิกษุ แต่ไม่ห้ามภิกษุสั่งสอน
ภิกษุณี ธรรมข้อนี้ภิกษุณีพึงสักการะ เคารพ นับถือ บูชา ไม่พึงล่วง
ละเมิดจนตลอดชีวิต
อานนท์ ถ้ามหาปชาบดีโคตมีรับครุธรรม ๘ ประการนี้ได้ การรับครุธรรมนั้นแล
เป็นการอุปสมบทของเธอ”
ลำดับนั้น ท่านพระอานนท์เรียนครุธรรม ๘ ประการนี้ในสำนักของพระ
ผู้มีพระภาคแล้ว เข้าไปหาพระนางมหาปชาบดีโคตมีถึงที่ประทับ แล้วกล่าวกับ
พระนางมหาปชาบดีโคตมีดังนี้ว่า
“พระนางโคตมี ถ้าพระองค์รับครุธรรม ๘ ประการได้ การรับครุธรรมนั้นแล
จักเป็นการอุปสมบทของพระองค์ คือ
๑. ภิกษุณีถึงจะบวชได้ ๑๐๐ พรรษา ก็ต้องทำการกราบไหว้ การต้อนรับ
การทำอัญชลีกรรม การทำสามีจิกรรมแก่ภิกษุผู้บวชแม้ในวันนั้น
ธรรมข้อนี้ภิกษุณีพึงสักการะ เคารพ นับถือ บูชา ไม่พึงล่วงละเมิด
จนตลอดชีวิต
ฯลฯ
๘. ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ห้ามภิกษุณีสั่งสอนภิกษุ แต่ไม่ห้ามภิกษุสั่งสอน
ภิกษุณี ธรรมข้อนี้ภิกษุณีพึงสักการะ เคารพ นับถือ บูชา ไม่พึง
ล่วงละเมิดจนตลอดชีวิต
พระนางโคตมี ถ้าพระองค์รับครุธรรม ๘ ประการได้ การรับครุธรรมนั้นแล
จักเป็นการอุปสมบทของพระองค์”
พระนางมหาปชาบดีโคตมีตรัสตอบว่า “ท่านอานนท์ผู้เจริญ ดิฉันก็จะรับ
ครุธรรม ๘ ประการนี้ ไม่ล่วงละเมิดจนตลอดชีวิต เปรียบเหมือนหญิงสาวหรือ
ชายหนุ่มผู้ชอบแต่งกายเมื่อสรงน้ำดำเกล้าแล้ว ได้พวงดอกอุบล พวงดอกมะลิ
หรือพวงดอกลำดวนแล้ว ก็ใช้มือทั้งสองประคองรับไว้เหนือศีรษะ”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๓๓๕ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๒.ทุติยปัณณาสก์] ๑.โคตมีวรรค ๑.โคตมีสูตร
ต่อมา ท่านพระอานนท์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาท
แล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“พระนางมหาปชาบดีโคตมีทรงรับครุธรรม ๘ ประการแล้ว จะไม่ล่วงละเมิด
จนตลอดชีวิต พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อานนท์ ถ้ามาตุคามจะไม่ออกจากเรือนบวชเป็น
บรรพชิตในธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศไว้ พรหมจรรย์ก็จะดำรงอยู่ได้นาน สัทธรรม
จะดำรงอยู่ได้ ๑,๐๐๐ ปี แต่เพราะมาตุคามออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตในธรรม-
วินัยที่ตถาคตประกาศไว้ บัดนี้ พรหมจรรย์จะดำรงอยู่ได้ไม่นาน ทั้งสัทธรรมจะ
ดำรงอยู่ได้เพียง ๕๐๐ ปี''๑
ธรรมวินัยที่มีมาตุคามออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตจะดำรงอยู่ได้ไม่นาน
เปรียบเหมือนตระกูลหนึ่งที่มีสตรีมาก มีบุรุษน้อย จะถูกโจรปล้นทรัพย์ทำร้ายได้ง่าย
ธรรมวินัยที่มีมาตุคามออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตจะดำรงอยู่ได้ไม่นาน
เปรียบเหมือนหนอนขยอก๒ที่ลงในนาข้าวสาลีซึ่งอุดมสมบูรณ์ ก็ทำให้นาข้าวนั้น
คงอยู่ได้ไม่นาน

เชิงอรรถ :
๑ ข้อความพระดำรัสนี้มีความหมายว่า ถ้าให้สตรีบวชโดยไม่ได้บัญญัติครุธรรมไว้ก่อน เวลาผ่านไป ๕๐๐ ปี
ก็จะไม่มีพระอรหันต์บรรลุปฏิสัมภิทา แต่เมื่อบัญญัติครุธรรมไว้ก่อนที่สตรีจะบวช ในระยะเวลา ๑,๐๐๐ ปี
ก็ยังมีพระอรหันต์ผู้บรรลุปฏิสัมภิทาอยู่ ผ่านไปอีก ๑,๐๐๐ ปี ก็ยังมีพระอรหันต์สุกขวิปัสสกอยู่ ผ่านไป
อีก ๑,๐๐๐ ปี ก็ยังมีพระอนาคามีอยู่ ผ่านไปอีก ๑,๐๐๐ ปี ก็ยังมีพระสกทาคามีอยู่ ผ่านไปอีก ๑,๐๐๐ ปี
ก็ยังมีพระโสดาบันอยู่ สรุปว่า ปฏิเวธสัทธรรมจะดำรงอยู่ได้ ๕,๐๐๐ ปี แม้ปริยัตติสัทธรรมก็จะดำรงอยู่ได้
๕,๐๐๐ ปี เพราะปริยัติกับปฏิเวธต่างเกื้อกูลกัน (วิ.อ. ๓/๔๐๓/๔๐๐-๔๐๗, องฺ.อฏฺฐก.อ. ๓/๕๑/๒๖๕)
๒ หนอนขยอก ในที่นี้หมายถึงแมลงเจาะกลางลำต้นข้าวแล้วทำให้รวงข้าวที่ออกมาไม่มีน้ำนม (องฺ.อฏฺฐก.อ.
๓/๕๑/๒๖๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๓๓๖ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๒.ทุติยปัณณาสก์] ๑.โคตมีวรรค ๒.โอวาทสูตร
ธรรมวินัยที่มีมาตุคามออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต จะดำรงอยู่ได้ไม่นาน
เปรียบเหมือนเพลี้ยที่ลงในไร่อ้อยซึ่งอุดมสมบูรณ์ ก็ทำให้ไร่อ้อยนั้นคงอยู่ได้ไม่นาน
อานนท์ เราบัญญัติครุธรรม ๘ ประการไว้ เพื่อไม่ให้ภิกษุณีล่วงละเมิดจน
ตลอดชีวิต เปรียบเหมือนคนกั้นทำนบที่สระใหญ่ไว้ เพื่อป้องกันไม่ให้น้ำไหลออก
ฉะนั้น”
โคตมีสูตรที่ ๑ จบ

๒. โอวาทสูตร
ว่าด้วยคุณสมบัติของภิกษุผู้จะสอนภิกษุณี
[๕๒] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ กูฏาคารศาลา ป่ามหาวัน
เขตกรุงเวสาลี ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวาย
อภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุประกอบด้วยธรรมเท่าไรหนอ สงฆ์จึงควรสมมติ
ให้เป็นผู้สั่งสอนภิกษุณี”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “อานนท์ ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๘ ประการ
สงฆ์จึงควรสมมติให้เป็นผู้สอนภิกษุณี
ธรรม ๘ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เป็นผู้มีศีล ฯลฯ๑ สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย
๒. เป็นพหูสูต ฯลฯ๒ แทงตลอดดีด้วยทิฏฐิ

เชิงอรรถ :
๑ ดูความเต็มในอัฏฐกนิบาต ข้อ ๒ (ปัญญาสูตร) หน้า ๑๙๗ ในเล่มนี้
๒ ดูความเต็มตามข้อที่อ้างในเชิงอรรถที่ ๑

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๓๓๗ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๒.ทุติยปัณณาสก์] ๑.โคตมีวรรค ๓.สังขิตตสูตร
๓. เป็นผู้ทรงจำปาติโมกข์ทั้งสองได้ดี จำแนกได้ดี ให้เป็นไปได้ดีโดย
พิสดาร วินิจฉัยได้ดีโดยสูตร โดยอนุพยัญชนะ๑
๔. เป็นผู้มีวาจางาม เจรจาถ้อยคำไพเราะ ประกอบด้วยวาจาชาวเมือง
ที่สละสลวย ไม่มีโทษ ให้รู้ความหมายได้
๕. เป็นผู้สามารถที่จะชี้แจงให้ภิกษุณีสงฆ์เห็นชัด ชวนใจให้อยากรับเอา
ไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริง
ด้วยธรรมีกถา
๖. เป็นที่รักเป็นที่ชอบใจของภิกษุณีโดยมาก
๗. เป็นผู้ไม่เคยประพฤติล่วงครุธรรม๒ ในสตรีผู้นุ่งห่มผ้ากาสายะบวชอุทิศ
พระผู้มีพระภาคพระองค์นี้
๘. มีพรรษา ๒๐ หรือเกิน ๒๐
อานนท์ ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๘ ประการนี้แล สงฆ์จึงควรสมมติให้เป็นผู้
สั่งสอนภิกษุณี”
โอวาทสูตรที่ ๒ จบ

๓. สังขิตตสูตร
ว่าด้วยลักษณะธรรมวินัยโดยย่อ๓
[๕๓] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ กูฏาคารศาลา ป่ามหาวัน
เขตกรุงเวสาลี ครั้งนั้นแล พระนางมหาปชาบดีโคตมีได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค
ถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้ว ได้ยืนอยู่ ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มี
พระภาคดังนี้ว่า

เชิงอรรถ :
๑ ดูเชิงอรรถที่ ๒ ในสัตตกนิบาต ข้อ ๗๖ (ทุติยวินยสูตร) หน้า ๑๗๓ ในเล่มนี้
๒ เป็นผู้ไม่เคยประพฤติล่วงครุธรรม หมายถึงในสมัยที่เป็นคฤหัสถ์ ไม่เคยจับต้องกายภิกษุณี ไม่เคย
ประพฤติผิดประเวณีกับนางสิกขมานาหรือสามเณรี (วิ.อ. ๒/๑๔๕-๑๔๗/๓๑๙, องฺ.อฏฺฐก.อ. ๓/๕๒/๒๖๕)
๓ วิ.จู. (แปล) ๗/๔๐๖/๓๒๒-๓๒๓

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๓๓๘ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๒.ทุติยปัณณาสก์] ๑.โคตมีวรรค ๓.สังขิตตสูตร
“ขอประทานวโรกาส ขอพระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมโดยย่อที่เมื่อหม่อมฉัน
ฟังแล้ว จะพึงเป็นผู้จากไปอยู่ผู้เดียว ไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศกายและใจ
อยู่เถิด พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “โคตมี เธอรู้ธรรมเหล่าใดว่า
๑. ธรรมเหล่านี้เป็นไปเพื่อความกำหนัด ไม่เป็นไปเพื่อคลายความกำหนัด
๒. ธรรมเหล่านี้เป็นไปเพื่อความประกอบไว้ ไม่เป็นไปเพื่อความพราก
๓. ธรรมเหล่านี้เป็นไปเพื่อการสะสม ไม่เป็นไปเพื่อการไม่สะสม
๔. ธรรมเหล่านี้เป็นไปเพื่อความมักมาก ไม่เป็นไปเพื่อความมักน้อย
๕. ธรรมเหล่านี้เป็นไปเพื่อความไม่สันโดษ ไม่เป็นไปเพื่อความสันโดษ
๖. ธรรมเหล่านี้เป็นไปเพื่อความคลุกคลีหมู่คณะ ไม่เป็นไปเพื่อความสงัด
๗. ธรรมเหล่านี้เป็นไปเพื่อความเกียจคร้าน ไม่เป็นไปเพื่อปรารภ
ความเพียร
๘. ธรรมเหล่านี้เป็นไปเพื่อความเป็นคนเลี้ยงยาก ไม่เป็นไปเพื่อความ
เป็นคนเลี้ยงง่าย
โคตมี เธอพึงทรงจำธรรมเหล่านี้ไว้โดยส่วนเดียวว่า ‘นั่นไม่ใช่ธรรม นั่นไม่ใช่
วินัย นั่นไม่ใช่สัตถุศาสน์’
โคตมี เธอรู้ธรรมเหล่าใดว่า
๑. ธรรมเหล่านี้เป็นไปเพื่อคลายความกำหนัด ไม่เป็นไปเพื่อความกำหนัด
๒. ธรรมเหล่านี้เป็นไปเพื่อความพราก ไม่เป็นไปเพื่อความประกอบไว้
๓. ธรรมเหล่านี้เป็นไปเพื่อการไม่สะสม ไม่เป็นไปเพื่อการสะสม
๔. ธรรมเหล่านี้เป็นไปเพื่อความมักน้อย ไม่เป็นไปเพื่อความมักมาก
๕. ธรรมเหล่านี้เป็นไปเพื่อความสันโดษ ไม่เป็นไปเพื่อความไม่สันโดษ
๖. ธรรมเหล่านี้เป็นไปเพื่อความสงัด ไม่เป็นไปเพื่อความคลุกคลีหมู่คณะ
๗. ธรรมเหล่านี้เป็นไปเพื่อปรารภความเพียร ไม่เป็นไปเพื่อความ
เกียจคร้าน
๘. ธรรมเหล่านี้เป็นไปเพื่อความเป็นคนเลี้ยงง่าย ไม่เป็นไปเพื่อความ
เป็นคนเลี้ยงยาก
โคตมี เธอพึงทรงจำธรรมเหล่านี้ไว้โดยส่วนเดียวว่า ‘นั่นเป็นธรรม นั่นเป็นวินัย
นั่นเป็นสัตถุศาสน์”
สังขิตตสูตรที่ ๓ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๓๓๙ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๒.ทุติยปัณณาสก์] ๑.โคตมีวรรค ๔.ทีฆชาณุสูตร
๔. ทีฆชาณุสูตร
ว่าด้วยโกฬิยบุตรชื่อว่าทีฆชาณุ
[๕๔] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ นิคมของชาวโกฬิยะชื่อว่า
กักกรปัตตะ เขตกรุงโกฬิยะ ครั้งนั้น โกฬิยบุตรชื่อว่าทีฆชาณุได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มี
พระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาค
ดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พวกข้าพระองค์เป็นคฤหัสถ์ เป็นกามโภคี อยู่ครองเรือน
นอนเบียดบุตร ใช้จันทน์ของชาวกาสี ทัดทรงดอกไม้ ของหอม และเครื่องลูบไล้
ยินดีทองและเงิน๑ ขอพระผู้มีพระภาคโปรดแสดงธรรมที่จะพึงเป็นไปเพื่อเกื้อกูลในภพนี้
เพื่อสุขในภพนี้และเพื่อเกื้อกูลในภพหน้าเพื่อสุขในภพหน้าแก่ข้าพระองค์ทั้งหลายเถิด”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “พยัคฆปัชชะ๒ ธรรม ๔ ประการนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อ
เกื้อกูลในภพนี้ เพื่อสุขในภพนี้แก่กุลบุตร
ธรรม ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. อุฏฐานสัมปทา (ความถึงพร้อมด้วยความหมั่น)
๒. อารักขสัมปทา (ความถึงพร้อมด้วยการรักษา)
๓. กัลยาณมิตตตา (ความเป็นผู้มีมิตรดี)
๔. สมชีวิตา (ความเป็นอยู่เหมาะสม)
อุฏฐานสัมปทา เป็นอย่างไร
คือ กุลบุตรในโลกนี้เลี้ยงชีพด้วยการงานใด จะเป็นกสิกรรม พาณิชยกรรม
โครักขกรรม เป็นช่างศร รับราชการ หรือศิลปะอย่างใดอย่างหนึ่งก็ตาม เป็นผู้ขยัน
ไม่เกียจคร้านในการงานที่จะต้องช่วยกันทำนั้น ประกอบด้วยปัญญาเป็นเครื่องพิจารณา----------------------------------------

--
๑ ดู ขุ.อุ. ๒๕/๕๒/๑๘๖
๒ พยัคฆปัชชะ เป็นชื่อเรียกชาวโกฬิยะ เพราะบรรพบุรุษของชาวโกฬิกะนี้สร้างบ้านเรือนอยู่ในพยัคฆปัชช-
นคร (นครทางเสือผ่าน) (องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๑๙๔/๔๑๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๓๔๐ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๒.ทุติยปัณณาสก์] ๑.โคตมีวรรค ๔.ทีฆชาณุสูตร
อันเป็นอุบายในการงานที่จะต้องช่วยกันทำนั้น สามารถทำได้ สามารถจัดได้ นี้เรียกว่า
อุฏฐานสัมปทา
อารักขสัมปทา เป็นอย่างไร
คือ กุลบุตรในโลกนี้มีโภคทรัพย์ที่หามาได้ด้วยความขยันหมั่นเพียร เก็บรวบรวม
ด้วยน้ำพักน้ำแรง อาบเหงื่อต่างน้ำ ประกอบด้วยธรรม๑ ได้มาโดยธรรม๒ เขารักษา
คุ้มครองโภคทรัพย์นั้นด้วยคิดว่า ‘ทำอย่างไร โภคทรัพย์เหล่านี้ของเรา จึงจะไม่ถูก
พระราชาริบ โจรไม่ลัก ไฟไม่ไหม้ น้ำไม่พัดไป ทายาทผู้ไม่เป็นที่รักไม่ลักไป’ นี้เรียกว่า
อารักขสัมปทา
กัลยาณมิตตตา เป็นอย่างไร
คือ กุลบุตรในโลกนี้วางตัวเหมาะสม เจรจา สนทนากับคนในหมู่บ้านหรือใน
นิคมที่ตนอาศัยอยู่ จะเป็นคหบดี บุตรคหบดี คนหนุ่มผู้เคร่งศีล หรือคนแก่ผู้เคร่ง
ศีลก็ตาม ผู้ถึงพร้อมด้วยศรัทธา ถึงพร้อมด้วยศีล ถึงพร้อมด้วยจาคะ และถึงพร้อม
ด้วยปัญญา คอยศึกษาสัทธาสัมปทาของท่านผู้ถึงพร้อมด้วยศรัทธาตามสมควร
คอยศึกษาสีลสัมปทาของท่านผู้ถึงพร้อมด้วยศีลตามสมควร คอยศึกษาจาคสัมปทา
ของท่านผู้ถึงพร้อมด้วยจาคะตามสมควร และคอยศึกษาปัญญาสัมปทาของท่านผู้
ถึงพร้อมด้วยปัญญาตามสมควร นี้เรียกว่า กัลยาณมิตตตา
สมชีวิตา เป็นอย่างไร
คือ กุลบุตรในโลกนี้รู้ทางเจริญแห่งโภคทรัพย์และทางเสื่อมแห่งโภคทรัพย์แล้ว
เลี้ยงชีพแต่พอเหมาะ ไม่ให้ฟุ่มเฟือยนัก ไม่ให้ฝืดเคืองนักด้วยคิดว่า ‘ด้วยการ
ใช้จ่ายอย่างนี้ รายรับของเราจักเกินรายจ่าย และรายจ่ายของเราจักไม่เกินรายรับ’
เปรียบเหมือนคนชั่งของ หรือลูกมือของคนชั่งของ ยกตราชั่งขึ้นดูก็รู้ได้ว่า ‘ต้อง
ลดลงเท่านี้ หรือเพิ่มขึ้นเท่านี้’ ฉันใด กุลบุตรก็ฉันนั้นเหมือนกัน รู้ทางเจริญแห่ง

เชิงอรรถ :
๑ ประกอบด้วยธรรม ในที่นี้หมายถึงมีกุศลธรรม ๑๐ ประการ (องฺ.ติก.ฏีกา. ๒/๑๔/๑๐๓)
๒ ได้มาโดยธรรม ในที่นี้หมายถึงโภคทรัพย์ที่บุคคลดำรงอยู่ในกุศลกรรมบถ ๑๐ แล้วได้มา (องฺ.จตุกฺก.อ.
๒/๖๑/๓๕๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๓๔๑ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๒.ทุติยปัณณาสก์] ๑.โคตมีวรรค ๔.ทีฆชาณุสูตร
โภคทรัพย์และทางเสื่อมแห่งโภคทรัพย์แล้วเลี้ยงชีพแต่พอเหมาะ ไม่ให้ฟุ่มเฟือยนัก
ไม่ให้ฝืดเคืองนักด้วยคิดว่า ‘ด้วยการใช้จ่ายอย่างนี้ รายรับของเราจักเกินรายจ่าย
และรายจ่ายของเราจักไม่เกินรายรับ’ ถ้ากุลบุตรนี้มีรายรับน้อย แต่เลี้ยงชีพอย่าง
ฟุ่มเฟือย ก็จะมีผู้กล่าวหาเขาได้ว่า ‘กุลบุตรผู้นี้ใช้จ่ายโภคทรัพย์เหมือนคนกินผล
มะเดื่อ‘๑ ถ้ากุลบุตรนี้มีรายรับมาก แต่เลี้ยงชีพอย่างฝืดเคือง ก็จะมีผู้กล่าวหา
เขาได้ว่า ‘กุลบุตรผู้นี้จักตายอย่างไม่สมฐานะ’ แต่เพราะกุลบุตรนี้รู้ทางเจริญแห่ง
โภคทรัพย์และทางเสื่อมแห่งโภคทรัพย์แล้วเลี้ยงชีพแต่พอเหมาะ ไม่ให้ฟุ่มเฟือยนัก
ไม่ให้ฝืดเคืองนักด้วยคิดว่า ‘ด้วยการใช้จ่ายอย่างนี้ รายรับของเราจักเกินรายจ่าย
และรายจ่ายของเราจักไม่เกินรายรับ’ นี้เรียกว่า สมชีวิตา
พยัคฆปัชชะ โภคทรัพย์ที่เกิดขึ้นโดยชอบอย่างนี้ มีทางเสื่อม ๔ ประการ คือ
๑. เป็นนักเลงหญิง ๒. เป็นนักเลงสุรา
๓. เป็นนักเลงการพนัน ๔. เป็นผู้มีมิตรชั่ว มีสหายชั่ว มีเพื่อนชั่ว
เปรียบเหมือนสระน้ำใหญ่มีทางไหลเข้า ๔ ทาง มีทางไหลออก ๔ ทาง บุรุษ
พึงปิดทางไหลเข้า เปิดทางไหลออกของสระน้ำนั้น และฝนก็มิได้ตกต้องตามฤดูกาล
เมื่อเป็นเช่นนี้ สระน้ำใหญ่นั้นก็เหือดแห้งไป ไม่เพิ่มปริมาณขึ้นเลย ฉันใด โภคทรัพย์
ที่เกิดขึ้นโดยชอบอย่างนี้ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน มีทางเสื่อม ๔ ประการ คือ
๑. เป็นนักเลงหญิง ๒. เป็นนักเลงสุรา
๓. เป็นนักเลงการพนัน ๔. เป็นผู้มีมิตรชั่ว มีสหายชั่ว มีเพื่อนชั่ว
พยัคฆปัชชะ โภคทรัพย์ที่เกิดขึ้นโดยชอบอย่างนี้ มีทางเจริญ ๔ ประการ คือ
๑. ไม่เป็นนักเลงหญิง ๒. ไม่เป็นนักเลงสุรา
๓. ไม่เป็นนักเลงการพนัน ๔. เป็นผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีเพื่อนดี
เปรียบเหมือนสระน้ำใหญ่มีทางไหลเข้า ๔ ทาง มีทางไหลออก ๔ ทาง บุรุษ
พึงเปิดทางไหลเข้า ปิดทางไหลออกของสระน้ำนั้น และฝนก็ตกต้องตามฤดูกาล เมื่อ

เชิงอรรถ :
๑ หมายถึงคนที่ต้องการกินผลมะเดื่อ เขย่าต้นมะเดื่อให้ผลสุก ๆ ร่วงลงมาจำนวนมาก แต่แล้วเขาก็กลับหยิบ
มากินเพียงบางผลเท่านั้น (องฺ.อฏฺฐก.อ. ๓/๕๔/๒๖๖)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๓๔๒ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๒.ทุติยปัณณาสก์] ๑.โคตมีวรรค ๔.ทีฆชาณุสูตร
เป็นเช่นนี้ สระน้ำใหญ่นั้นก็เพิ่มปริมาณขึ้น ไม่เหือดแห้งไปเลย ฉันใด โภคทรัพย์ที่
เกิดขึ้นโดยชอบอย่างนี้ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน มีทางเจริญ ๔ ประการ คือ
๑. ไม่เป็นนักเลงหญิง ๒. ไม่เป็นนักเลงสุรา
๓. ไม่เป็นนักเลงการพนัน ๔. เป็นผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีเพื่อนดี
พยัคฆปัชชะ ธรรม ๔ ประการนี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อเกื้อกูลในภพนี้ เพื่อสุขใน
ภพนี้แก่กุลบุตร
พยัคฆปัชชะ ธรรม ๔ ประการนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อเกื้อกูลในภพหน้า เพื่อสุขใน
ภพหน้าแก่กุลบุตร
ธรรม ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สัทธาสัมปทา ๒. สีลสัมปทา
๓. จาคสัมปทา ๔. ปัญญาสัมปทา
สัทธาสัมปทา เป็นอย่างไร
คือ กุลบุตรในโลกนี้เป็นผู้มีศรัทธา เชื่อปัญญาเครื่องตรัสรู้ของตถาคตว่า
‘แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ฯลฯ๑ เป็นศาสดาของเทวดาและ
มนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระผู้มีพระภาค’ นี้เรียกว่า สัทธาสัมปทา
สีลสัมปทา เป็นอย่างไร
คือ กุลบุตรในโลกนี้เป็นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ ฯลฯ๒ เว้นขาดจากการเสพ
ของมึนเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นเหตุแห่งความประมาท นี้เรียกว่า สีลสัมปทา
จาคสัมปทา เป็นอย่างไร
คือ กุลบุตรในโลกนี้มีใจปราศจากความตระหนี่อันเป็นมลทิน มีจาคะอันสละแล้ว
มีฝ่ามือชุ่ม ยินดีในการสละ ควรแก่การขอ ยินดีในการแจกทานอยู่ครองเรือน
นี้เรียกว่า จาคสัมปทา

เชิงอรรถ :
๑ ดูความเต็มในอัฏฐกนิบาต ข้อ ๔๙ (ปฐมอิธโลกิกสูตร) หน้า ๓๒๖ ในเล่มนี้
๒ ดูความเต็มและความพิสดารในอัฏฐกนิบาต ข้อ ๔๑ (สังขิตตุโปสถสูตร) หน้า ๓๐๓-๓๐๔ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๓๔๓ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๒.ทุติยปัณณาสก์] ๑.โคตมีวรรค ๕.อุชชยสูตร
ปัญญาสัมปทา เป็นอย่างไร
คือ กุลบุตรในโลกนี้เป็นผู้มีปัญญา คือ ประกอบด้วยปัญญาเป็นเครื่องพิจารณา
เห็นทั้งความเกิดและความดับอันเป็นอริยะ ชำแรกกิเลสให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ
นี้เรียกว่า ปัญญาสัมปทา
พยัคฆปัชชะ ธรรม ๔ ประการนี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อเกื้อกูลในภพหน้า เพื่อสุข
ในภพหน้าแก่กุลบุตร
คนขยันหมั่นเพียรในการงาน
ไม่ประมาท รู้วิธีการเลี้ยงชีพแต่พอเหมาะ
รักษาทรัพย์ที่หามาได้ เป็นผู้มีศรัทธา ถึงพร้อมด้วยศีล
รู้ความประสงค์ของผู้ขอ ปราศจากความตระหนี่
ชำระทางแห่งประโยชน์ที่มีในภพหน้าอยู่เป็นนิตย์
ที่พระพุทธเจ้าผู้มีพระนามว่าสัจจะตรัสธรรม ๘ ประการดังกล่าวมานี้
เพื่อผู้ครองเรือน ผู้มีศรัทธา
อันเป็นเหตุนำสุขมาให้ในโลกทั้ง ๒ คือ
ประโยชน์เกื้อกูลในภพนี้ และสุขในภพหน้า
จาคะ บุญ๑นี้ย่อมเจริญยิ่งขึ้น แก่คฤหัสถ์ทั้งหลาย ด้วยประการฉะนี้”
ทีฆชาณุสูตรที่ ๔ จบ

๕. อุชชยสูตร
ว่าด้วยอุชชยพราหมณ์
[๕๕] ครั้งหนึ่ง อุชชยพราหมณ์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ได้สนทนา
ปราศรัยกับพระผู้มีพระภาค พอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้วนั่ง ณ ที่สมควร
ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า

เชิงอรรถ :
๑ บุญ ในที่นี้หมายถึงศรัทธา ศีล และปัญญา (องฺ.อฏฺฐก.อ. ๓/๕๔/๒๖๖)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๓๔๔ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๒.ทุติยปัณณาสก์] ๑.โคตมีวรรค ๕.อุชชยสูตร
“ข้าแต่ท่านพระโคดม พวกข้าพระองค์คิดจะไปอยู่ต่างถิ่น ขอท่านพระโคดม
โปรดแสดงธรรมที่จะอำนวยผลเพื่อเกื้อกูลในภพนี้ เพื่อสุขในภพนี้ เพื่อเกื้อกูลใน
ภพหน้า เพื่อสุขในภพหน้าแก่พวกข้าพระองค์เถิด พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “พราหมณ์ ธรรม ๔ ประการนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อเกื้อกูล
ในภพนี้ เพื่อสุขในภพนี้แก่กุลบุตร
ธรรม ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. อุฏฐานสัมปทา ๒. อารักขสัมปทา
๓. กัลยาณมิตตตา ๔. สมชีวิตา
อุฏฐานสัมปทา เป็นอย่างไร
คือ กุลบุตรในโลกนี้เลี้ยงชีพด้วยการงานใด จะเป็นกสิกรรม พาณิชยกรรม
โครักขกรรม เป็นช่างศร รับราชการ หรือศิลปะอย่างใดอย่างหนึ่งก็ตาม เป็นผู้ขยัน
ไม่เกียจคร้านในการงานที่จะต้องช่วยกันทำนั้น ประกอบด้วยปัญญาเป็นเครื่องพิจารณา
อันเป็นอุบายในการงานที่จะต้องช่วยกันทำนั้น สามารถทำได้ สามารถจัดได้ นี้เรียกว่า
อุฏฐานสัมปทา
อารักขสัมปทา เป็นอย่างไร
คือ กุลบุตรในโลกนี้มีโภคทรัพย์ที่หามาได้ด้วยความขยันหมั่นเพียร เก็บรวบรวม
ด้วยน้ำพักน้ำแรง อาบเหงื่อต่างน้ำ ประกอบด้วยธรรม ได้มาโดยธรรม เขารักษา
คุ้มครองโภคทรัพย์นั้นด้วยคิดว่า ‘ทำอย่างไร โภคทรัพย์เหล่านี้ของเรา จึงจะไม่ถูก
พระราชาริบ โจรไม่ลัก ไฟไม่ไหม้ น้ำไม่พัดไป ทายาทผู้ไม่เป็นที่รักไม่ลักไป’ นี้เรียกว่า
อารักขสัมปทา
กัลยาณมิตตตา เป็นอย่างไร
คือ กุลบุตรในโลกนี้วางตัวเหมาะสม เจรจา สนทนากับคนในบ้านหรือในนิคม
ที่ตนอาศัยอยู่ จะเป็นคหบดี บุตรคหบดี คนหนุ่มผู้เคร่งศีล หรือคนแก่ผู้เคร่งศีล
ก็ตาม ผู้ถึงพร้อมด้วยศรัทธา ถึงพร้อมด้วยศีล ถึงพร้อมด้วยจาคะ และถึงพร้อม
ด้วยปัญญา คอยศึกษาสัทธาสัมปทาของท่านผู้ถึงพร้อมด้วยศรัทธาตามสมควร
คอยศึกษาสีลสัมปทาของท่านผู้ถึงพร้อมด้วยศีลตามสมควร คอยศึกษาจาคสัมปทา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๓๔๕ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๒.ทุติยปัณณาสก์] ๑.โคตมีวรรค ๕.อุชชยสูตร
ของท่านผู้ถึงพร้อมด้วยจาคะตามสมควร และคอยศึกษาปัญญาสัมปทาของท่านผู้ถึง
พร้อมด้วยปัญญาตามสมควร นี้เรียกว่า กัลยาณมิตตตา
สมชีวิตา เป็นอย่างไร
คือ กุลบุตรในโลกนี้รู้ทางเจริญแห่งโภคทรัพย์และทางเสื่อมแห่งโภคทรัพย์แล้ว
เลี้ยงชีวิตแต่พอเหมาะ ไม่ให้ฟุ่มเฟือยนัก ไม่ให้ฝืดเคืองนักด้วยคิดว่า ‘ด้วยการใช้
จ่ายอย่างนี้ รายรับของเราจักเกินรายจ่าย และรายจ่ายของเราจักไม่เกินรายรับ’
เปรียบเหมือนคนชั่งของ หรือลูกมือของคนชั่งของ ยกตราชั่งขึ้นดูก็รู้ได้ว่า ‘ต้อง
ลดลงเท่านี้ หรือเพิ่มขึ้นเท่านี้’ ฉันใด กุลบุตร ก็ฉันนั้นเหมือนกัน รู้ทางเจริญแห่ง
โภคทรัพย์และทางเสื่อมแห่งโภคทรัพย์แล้วเลี้ยงชีวิตแต่พอเหมาะ ไม่ให้ฟุ่มเฟือยนัก
ไม่ให้ฝืดเคืองนักด้วยคิดว่า ‘ด้วยการใช้จ่ายอย่างนี้ รายรับของเราจักเกินรายจ่าย
และรายจ่ายของเราจักไม่เกินรายรับ’ ถ้ากุลบุตรนี้มีรายรับน้อย แต่เลี้ยงชีวิตอย่าง
ฟุ่มเฟือย ก็จะมีผู้กล่าวหาเขาได้ว่า ‘กุลบุตรผู้นี้ใช้จ่ายโภคทรัพย์เหมือนคนกินผล
มะเดื่อ’ ถ้ากุลบุตรนี้มีรายรับมาก แต่เลี้ยงชีวิตอย่างฝืดเคือง ก็จะมีผู้กล่าวหาเขา
ได้ว่า ‘กุลบุตรนี้จักตายอย่างไม่สมฐานะ’ แต่เพราะกุลบุตรนี้รู้ทางเจริญแห่งโภคทรัพย์
และทางเสื่อมแห่งโภคทรัพย์แล้วเลี้ยงชีวิตแต่พอเหมาะ ไม่ให้ฟุ่มเฟือยนัก ไม่ให้
ฝืดเคืองนัก ด้วยคิดว่า ‘ด้วยการใช้จ่ายอย่างนี้ รายรับของเราจักเกินรายจ่าย
และรายจ่ายของเราจักไม่เกินรายรับ’ นี้เรียกว่า สมชีวิตา
พราหมณ์ โภคทรัพย์ที่เกิดขึ้นโดยชอบอย่างนี้ มีทางเสื่อม ๔ ประการ คือ
๑. เป็นนักเลงหญิง ๒. เป็นนักเลงสุรา
๓. เป็นนักเลงการพนัน ๔. เป็นผู้มีมิตรชั่ว มีสหายชั่ว มีเพื่อนชั่ว
เปรียบเหมือนสระน้ำใหญ่มีทางไหลเข้า ๔ ทาง มีทางไหลออก ๔ ทาง บุรุษ
พึงปิดทางไหลเข้า เปิดทางไหลออกของสระน้ำนั้น และฝนก็มิได้ตกต้องตามฤดูกาล
เมื่อเป็นเช่นนี้ สระน้ำใหญ่นั้นก็เหือดแห้งไป ไม่เพิ่มปริมาณขึ้นเลย ฉันใด โภคทรัพย์
ที่เกิดขึ้นโดยชอบอย่างนี้ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน มีทางเสื่อม ๔ ประการ คือ
๑. เป็นนักเลงหญิง ๒. เป็นนักเลงสุรา
๓. เป็นนักเลงการพนัน ๔. เป็นผู้มีมิตรชั่ว มีสหายชั่ว มีเพื่อนชั่ว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๓๔๖ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๒.ทุติยปัณณาสก์] ๑.โคตมีวรรค ๕.อุชชยสูตร
พราหมณ์ โภคทรัพย์ที่เกิดขึ้นโดยชอบอย่างนี้ มีทางเจริญ ๔ ประการ คือ
๑. ไม่เป็นนักเลงหญิง ๒. ไม่เป็นนักเลงสุรา
๓. ไม่เป็นนักเลงการพนัน ๔. เป็นผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีเพื่อนดี
เปรียบเหมือนสระน้ำใหญ่มีทางไหลเข้า ๔ ทาง มีทางไหลออก ๔ ทาง บุรุษ
พึงเปิดทางไหลเข้า ปิดทางไหลออกของสระน้ำนั้น และฝนก็ตกต้องตามฤดูกาล
เมื่อเป็นเช่นนี้ สระน้ำใหญ่นั้นก็เพิ่มปริมาณขึ้น ไม่เหือดแห้งไปเลย ฉันใด โภคทรัพย์
ที่เกิดขึ้นโดยชอบอย่างนี้ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน มีทางเจริญ ๔ ประการ คือ
๑. ไม่เป็นนักเลงหญิง ๒. ไม่เป็นนักเลงสุรา
๓. ไม่เป็นนักเลงการพนัน ๔. เป็นผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีเพื่อนดี
พราหมณ์ ธรรม ๔ ประการนี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อเกื้อกูลในภพนี้ เพื่อสุขใน
ภพนี้แก่กุลบุตร
พราหมณ์ ธรรม ๔ ประการนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อเกื้อกูลในภพหน้า
เพื่อสุขในภพหน้าแก่กุลบุตร
ธรรม ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สัทธาสัมปทา ๒. สีลสัมปทา
๓. จาคสัมปทา ๔. ปัญญาสัมปทา
สัทธาสัมปทา เป็นอย่างไร
คือ กุลบุตรในโลกนี้เป็นผู้มีศรัทธา เชื่อปัญญาเครื่องตรัสรู้ของตถาคตว่า
‘แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ฯลฯ๑ เป็นศาสดาของเทวดาและ
มนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระผู้มีพระภาค’ นี้เรียกว่า สัทธาสัมปทา
สีลสัมปทา เป็นอย่างไร
คือ กุลบุตรในโลกนี้เป็นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ ฯลฯ๒ เว้นขาดจากการเสพ
ของมึนเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นเหตุแห่งความประมาท นี้เรียกว่า สีลสัมปทา

เชิงอรรถ :
๑ ดูความเต็มในอัฏฐกนิบาต ข้อ ๔๙ (ปฐมอิธโลกิกสูตร) หน้า ๓๒๖ ในเล่มนี้
๒ ดูความเต็มในอัฏฐกนิบาต ข้อ ๔๖ (อนุรุทธสูตร) หน้า ๓๒๑ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๓๔๗ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๒.ทุติยปัณณาสก์] ๑.โคตมีวรรค ๕.อุชชยสูตร
จาคสัมปทา เป็นอย่างไร
คือ กุลบุตรในโลกนี้มีใจปราศจากความตระหนี่อันเป็นมลทิน มีจาคะอันสละแล้ว
มีฝ่ามือชุ่ม ยินดีในการสละ ควรแก่การขอ ยินดีในการแจกทานอยู่ครองเรือน
นี้เรียกว่า จาคสัมปทา
ปัญญาสัมปทา เป็นอย่างไร
คือ กุลบุตรในโลกนี้เป็นผู้มีปัญญา ฯลฯ๑ ให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ นี้เรียกว่า
ปัญญาสัมปทา
พราหมณ์ ธรรม ๔ ประการนี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อเกื้อกูลในภพหน้า เพื่อสุขใน
ภพหน้าแก่กุลบุตร
คนขยันหมั่นเพียรในการงาน
ไม่ประมาท รู้วิธีการเลี้ยงชีวิตแต่พอเหมาะ
รักษาทรัพย์ที่หามาได้ เป็นผู้มีศรัทธา ถึงพร้อมด้วยศีล
รู้ความประสงค์ของผู้ขอ ปราศจากความตระหนี่
ชำระทางแห่งประโยชน์ที่มีในภพหน้าอยู่เป็นนิตย์
ที่พระพุทธเจ้าผู้มีพระนามว่าสัจจะตรัสธรรม ๘ ประการดังกล่าวมานี้
เพื่อผู้ครองเรือน ผู้มีศรัทธา
อันเป็นเหตุนำสุขมาให้ในโลกทั้ง ๒ คือ
ประโยชน์เกื้อกูลในภพนี้ และสุขในภพหน้า
จาคะ บุญ ย่อมเจริญยิ่งขึ้นแก่คฤหัสถ์ทั้งหลาย ด้วยประการฉะนี้”
อุชชยสูตรที่ ๕ จบ

เชิงอรรถ :
๑ ดูความเต็มในข้อ ๕๔ (ทีฆชาณุสูตร) หน้า ๓๔๔ ในวรรคเดียวกันนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๓๔๘ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๒.ทุติยปัณณาสก์] ๑.โคตมีวรรค ๖.ภยสูตร
๖. ภยสูตร
ว่าด้วยภัยเป็นชื่อของกาม๑
[๕๖] ภิกษุทั้งหลาย
๑. คำว่า ‘ภัย’ เป็นชื่อของกาม
๒. คำว่า ‘ทุกข์’ เป็นชื่อของกาม
๓. คำว่า ‘โรค’ เป็นชื่อของกาม
๔. คำว่า ‘ฝี’ เป็นชื่อของกาม
๕. คำว่า ‘ลูกศร’ เป็นชื่อของกาม
๖. คำว่า ‘เครื่องข้อง’ เป็นชื่อของกาม
๗. คำว่า ‘เปือกตม’ เป็นชื่อของกาม
๘. คำว่า ‘การอยู่ในครรภ์’ เป็นชื่อของกาม
คำว่า ‘ภัย’ นี้เป็นชื่อของกาม เพราะเหตุไร
เพราะสัตว์โลกผู้ยินดีด้วยกามราคะ ถูกฉันทราคะ๒เกี่ยวพันไว้ ย่อมไม่พ้นจาก
ภัยทั้งที่มีในภพนี้ ทั้งที่มีในภพหน้า ฉะนั้น คำว่า ‘ภัย’ นี้ จึงเป็นชื่อของกาม

เชิงอรรถ :
๑ ดู องฺ.ฉกฺก. (แปล) ๒๒/๒๓/๔๕๓, ขุ.จู. (แปล) ๓๐/๑๓๗/๔๔๕-๔๔๖
๒ ฉันทราคะ หมายถึงความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจกล่าวคือตัณหา (องฺ.ติก.อ. ๒/๑๑๓/๒๖๐) ทั้งกาม-
ราคะ และฉันทราคะ เป็นชื่อเรียกกิเลสกามในจำนวน ๑๘ ชื่อ คือ (๑) ฉันทะ (ความพอใจ) (๒) ราคะ
(ความกำหนัด) (๓) ฉันทราคะ (ความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจ) (๔) สังกัปปะ (ความดำริ)
(๕) ราคะ (ความกำหนัด) (๖) สังกัปปราคะ (ความกำหนัดด้วยอำนาจความดำริ) (๗) กามฉันทะ (ความ
พอใจด้วยอำนาจความใคร่) (๘) กามราคะ (ความกำหนัดด้วยอำนาจความใคร่) (๙) กามนันทะ (ความ
เพลิดเพลินด้วยอำนาจความใคร่) (๑๐) กามตัณหา (ความทะยานอยากด้วยอำนาจความใคร่) (๑๑) กาม-
เสนหะ (ความเยื่อใยด้วยอำนาจความใคร่) (๑๒) กามปริฬาหะ (ความเร่าร้อนด้วยอำนาจความใคร่)
(๑๓) กามมุจฉา (ความสยบด้วยอำนาจความใคร่) (๑๔) กามัชโฌสานะ (ความติดใจด้วยอำนาจความใคร่)
(๑๕) กาโมฆะ (ห้วงน้ำคือความใคร่) (๑๖) กามโยคะ (กิเลสเครื่องประกอบด้วยอำนาจความใคร่)
(๑๗) กามุปาทานะ (กิเลสเครื่องยึดมั่นคือความใคร่) (๑๘) กามัจฉันทนีวรณะ (กิเลสเครื่องกั้นจิตคือ
ความพอใจด้วยอำนาจความใคร่) ขุ.ม. (แปล) ๒๙/๑/๒

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๓๔๙ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๒.ทุติยปัณณาสก์] ๑.โคตมีวรรค ๗.ปฐมอาหุเนยยสูตร
คำว่า ‘ทุกข์’ ฯลฯ คำว่า ‘โรค’ ฯลฯ คำว่า ‘ฝี’ ฯลฯ คำว่า ‘ลูกศร’ ฯลฯ
คำว่า ‘เครื่องข้อง’ ฯลฯ คำว่า ‘เปือกตม’ ฯลฯ
คำว่า ‘การอยู่ในครรภ์’ เป็นชื่อของกาม เพราะเหตุไร
เพราะสัตว์โลกผู้ยินดีด้วยกามราคะ ถูกฉันทราคะเกี่ยวพันไว้ ย่อมไม่พ้นจาก
การอยู่ในครรภ์ทั้งที่มีในภพนี้ ทั้งที่มีในภพหน้า ฉะนั้น คำว่า ‘การอยู่ในครรภ์’ นี้
จึงเป็นชื่อของกาม
ปุถุชนตกต่ำด้วยราคะอันน่ายินดี๑
ย่อมเข้าถึงความเป็นสัตว์เกิดในครรภ์อีกเพราะกามเหล่าใด
กามเหล่านี้ เรียกว่า ภัย ทุกข์ โรค ฝี
ลูกศร เครื่องข้อง เปือกตม และการอยู่ในครรภ์
แต่เมื่อใด ภิกษุมีความเพียรเผากิเลส ไม่ละสัมปชัญญะ
ภิกษุผู้เช่นนั้นก็ข้ามกามเป็นดุจทางลื่น๒ ที่ข้ามได้ยาก
มองเห็นหมู่สัตว์ผู้เข้าถึงชาติและชรา ดิ้นรนอยู่
ภยสูตรที่ ๖ จบ

๗. ปฐมอาหุเนยยสูตร
ว่าด้วยอาหุไนยบุคคล สูตรที่ ๑
[๕๗] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๘ ประการ เป็นผู้ควรแก่ของ
ที่เขานำมาถวาย ควรแก่ของต้อนรับ ควรแก่ทักษิณา ควรแก่การทำอัญชลี เป็น
นาบุญอันยอดเยี่ยมของโลก

เชิงอรรถ :
๑ ราคะอันน่ายินดี หมายถึงกามสุข (องฺ.อฏฺฐก.อ. ๓/๕๖/๒๖๗)
๒ ทางลื่น หมายถึงทางแห่งวัฏฏะ คือ การเวียนว่ายตายเกิด (องฺ.อฏฺฐก.อ. ๓/๕๖/๒๖๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๓๕๐ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๒.ทุติยปัณณาสก์] ๑.โคตมีวรรค ๗.ปฐมอาหุเนยยสูตร
ธรรม ๘ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เป็นผู้มีศีล ฯลฯ๑ สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย
๒. เป็นพหูสูต ฯลฯ๒ แทงตลอดดีด้วยทิฏฐิ
๓. เป็นผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีเพื่อนดี
๔. เป็นสัมมาทิฏฐิ ประกอบด้วยความเห็นชอบ
๕. เป็นผู้ได้ฌาน ๔ อันมีในจิตยิ่ง ซึ่งเป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน
ตามความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ได้โดยไม่ลำบาก
๖. ระลึกชาติก่อนได้หลายชาติ คือ ๑ ชาติบ้าง ๒ ชาติบ้าง ฯลฯ๓
พร้อมทั้งลักษณะทั่วไปและชีวประวัติอย่างนี้
๗. เห็นหมู่สัตว์ผู้กำลังจุติ กำลังเกิด ฯลฯ๔ ด้วยตาทิพย์อันบริสุทธิ์
เหนือมนุษย์ รู้ชัดถึงหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรม ฯลฯ
๘. ทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ ฯลฯ๕ เข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๘ ประการนี้แล ฯลฯ เป็นนาบุญอัน
ยอดเยี่ยมของโลก

ปฐมอาหุเนยยสูตรที่ ๗ จบ

เชิงอรรถ :
๑ ดูความเต็มในสัตตกนิบาต ข้อ ๗๕ (ปฐมวินยธรสูตร) หน้า ๑๗๑-๑๗๒ ในเล่มนี้
๒ ดูความเต็มในสัตตกนิบาต ข้อ ๖ (วิตถตธนสูตร) หน้า ๑๐-๑๑ ในเล่มนี้
๓ ดูความเต็มในอัฏฐกนิบาต ข้อ ๑๑ (เวรัญชสูตร) หน้า ๒๒๓ ในเล่มนี้
๔ ดูความเต็มในข้อตามที่อ้างในเชิงอรรถที่ ๓
๕ ดูความเต็มในสัตตกนิบาต ข้อ ๗๕ (ปฐมวินยธรสูตร) หน้า ๑๗๒ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๓๕๑ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๒.ทุติยปัณณาสก์] ๑.โคตมีวรรค ๘.ทุติยอาหุเนยยสูตร
๘. ทุติยอาหุเนยยสูตร
ว่าด้วยอาหุไนยบุคคล สูตรที่ ๒
[๕๘] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๘ ประการ เป็นผู้ควรแก่ของ
ที่เขานำมาถวาย ฯลฯ เป็นนาบุญอันยอดเยี่ยมของโลก
ธรรม ๘ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เป็นผู้มีศีล ฯลฯ๑ สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย
๒. เป็นพหูสูต ฯลฯ๒ แทงตลอดดีด้วยทิฏฐิ
๓. เป็นผู้ปรารภความเพียร มีความเข้มแข็ง มีความบากบั่นมั่นคง
ไม่ทอดธุระในกุศลธรรมทั้งหลาย
๔. เป็นผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร อาศัยเสนาสนะที่สงัด
๕. เป็นผู้อดทนต่อความยินร้ายและความยินดีได้ ครอบงำความยินร้าย
ที่เกิดขึ้นได้อยู่
๖. เป็นผู้อดทนต่อภัยที่น่ากลัวได้ ครอบงำย่ำยีภัยที่น่ากลัวซึ่งเกิดขึ้นได้อยู่
๗. เป็นผู้ได้ฌาน ๔ อันมีในจิตยิ่ง ซึ่งเป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน
ตามความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ได้โดยไม่ลำบาก
๘. ทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ ฯลฯ๓ เข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๘ ประการนี้แล ฯลฯ เป็นนาบุญอัน
ยอดเยี่ยมของโลก

ทุติยอาหุเนยยสูตรที่ ๘ จบ

เชิงอรรถ :
๑-๓ ข้อความที่ย่อ(ฯลฯ)ไว้ในสูตรนี้ ดูความเต็มในข้อตามที่อ้างในเชิงอรรถหน้า ๓๕๑

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๓๕๒ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๒.ทุติยปัณณาสก์] ๑.โคตมีวรรค ๑๐.ทุติยปุคคลสูตร
๙. ปฐมปุคคลสูตร๑
ว่าด้วยบุคคลผู้เป็นนาบุญของโลก สูตรที่ ๑
[๕๙] ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๘ จำพวกนี้ เป็นผู้ควรแก่ของที่เขานำมาถวาย
ควรแก่ของต้อนรับ ควรแก่ทักษิณา ควรแก่การทำอัญชลี เป็นนาบุญอันยอดเยี่ยม
ของโลก
บุคคล ๘ จำพวกไหนบ้าง คือ

๑. พระโสดาบัน ๒. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งโสดาปัตติผล
๓. พระสกทาคามี ๔. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งสกทาคามิผล
๕. พระอนาคามี ๖. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอนาคามิผล
๗. พระอรหันต์ ๘. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่ออรหัตตผล

ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๘ จำพวกนี้แล เป็นผู้ควรแก่ของที่เขานำมาถวาย ฯลฯ
เป็นนาบุญอันยอดเยี่ยมของโลก
บุคคลผู้ปฏิบัติ ๔ จำพวก
และบุคคลผู้ตั้งอยู่ในผล ๔ จำพวกนี้
เป็นสงฆ์ผู้ปฏิบัติตรง ประกอบด้วยปัญญาและศีล
บุญย่อมมีผลยิ่ง๒แก่มนุษย์ผู้มุ่งบุญบูชากระทำอยู่
ทานที่บุคคลให้ในสงฆ์นี้ย่อมมีผลมาก
ปฐมปุคคลสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. ทุติยปุคคลสูตร
ว่าด้วยบุคคลผู้เป็นนาบุญของโลก สูตรที่ ๒
[๖๐] ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๘ จำพวกนี้ เป็นผู้ควรแก่ของที่เขานำมาถวาย
ฯลฯ เป็นนาบุญอันยอดเยี่ยมของโลก

เชิงอรรถ :
๑ อภิ.ปุ. (แปล) ๓๖/๗/๑๓๘, ๒๐๗/๒๒๙
๒ มีผลยิ่ง ในที่นี้หมายถึงมีผลอันยิ่งใหญ่ หรือประมาณมิได้ (องฺ.อฏฺฐก.อ. ๓/๕๙-๖๐/๒๖๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๓๕๓ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๒.ทุติยปัณณาสก์] ๑.โคตมีวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค
บุคคล ๘ จำพวกไหนบ้าง คือ

๑. พระโสดาบัน ๒. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งโสดาปัตติผล
๓. พระสกทาคามี ๔. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งสกทาคามิผล
๕. พระอนาคามี ๖. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอนาคามิผล
๗. พระอรหันต์ ๘. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่ออรหัตตผล

ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๘ จำพวกนี้แล เป็นผู้ควรแก่ของที่เขานำมาถวาย ฯลฯ
เป็นนาบุญอันยอดเยี่ยมของโลก
บุคคล ๘ จำพวก คือบุคคลผู้ปฏิบัติ ๔ จำพวก
และบุคคลผู้ตั้งอยู่ในผล ๔ จำพวก
เป็นสงฆ์ผู้สูงส่งกว่าสัตว์ทั้งหลาย
บุญย่อมมีผลยิ่งแก่มนุษย์ผู้มุ่งบุญบูชากระทำอยู่
ทานที่บุคคลให้ในสงฆ์นี้ย่อมมีผลมาก
ทุติยปุคคลสูตรที่ ๑๐ จบ
โคตมีวรรคที่ ๑ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. โคตมีสูตร ๒. โอวาทสูตร
๓. สังขิตตสูตร ๔. ทีฆชาณุสูตร
๕. อุชชยสูตร ๖. ภยสูตร
๗. ปฐมอาหุเนยยสูตร ๘. ทุติยอาหุเนยยสูตร
๙. ปฐมปุคคลสูตร ๑๐. ทุติยปุคคลสูตร


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๓๕๔ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๒.ทุติยปัณณาสก์] ๒.ภูมิจาลวรรค ๑.อิจฉาสูตร
๒. ภูมิจาลวรรค
หมวดว่าด้วยเหตุที่ทำให้แผ่นดินไหวครั้งใหญ่
๑. อิจฉาสูตร
ว่าด้วยความอยากได้ลาภ
[๖๑] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๘ จำพวกนี้ มีปรากฏ
อยู่ในโลก
บุคคล ๘ จำพวกไหนบ้าง คือ
๑. เมื่อภิกษุในธรรมวินัยนี้อยู่อย่างสงัด๑ แต่ไม่ประพฤติให้ต่อเนื่อง๒
ความอยากได้ลาภ๓ย่อมเกิดขึ้น เธอหมั่น พากเพียร พยายาม
เพื่อให้ได้ลาภ เมื่อเธอหมั่น พากเพียร พยายามเพื่อให้ได้ลาภ
แต่ลาภก็ไม่เกิดขึ้น เพราะไม่ได้ลาภนั้น เธอจึงเศร้าโศก ลำบากใจ
ร่ำไร ทุบอก คร่ำครวญ ถึงความเลอะเลือน ภิกษุนี้เราเรียกว่าผู้
อยากได้ลาภอยู่ หมั่น พากเพียร พยายามเพื่อให้ได้ลาภ เธอชื่อว่า
เป็นผู้ไม่ได้ลาภ เศร้าโศก ร่ำไร และเคลื่อนจากสัทธรรม๔
๒. เมื่อภิกษุในธรรมวินัยนี้อยู่อย่างสงัด แต่ไม่ประพฤติให้ต่อเนื่อง
ความอยากได้ลาภย่อมเกิดขึ้น เธอหมั่น พากเพียร พยายามเพื่อ
ให้ได้ลาภ เมื่อเธอหมั่น พากเพียร พยายามเพื่อให้ได้ลาภ ลาภ
ก็เกิดขึ้น เพราะได้ลาภนั้น เธอจึงมัวเมา ประมาท เลินเล่อ ภิกษุนี้
เราเรียกว่าผู้อยากได้ลาภอยู่ หมั่น พากเพียร พยายามเพื่อให้
ได้ลาภ เธอชื่อว่าเป็นผู้ได้ลาภ มัวเมา ประมาท และเคลื่อนจาก
สัทธรรม

เชิงอรรถ :
๑ สงัด ในที่นี้หมายถึงความสงัดทางกาย (องฺ.อฏฺฐก.อ. ๓/๖๑/๒๖๘)
๒ ไม่ประพฤติให้ต่อเนื่อง หมายถึงไม่เจริญวิปัสสนากัมมัฏฐานให้ต่อเนื่องกันไป (องฺ.อฏฺฐก.อ. ๓/๖๑/๒๖๘)
๓ ลาภ ในที่นี้หมายถึงปัจจัย ๔ (องฺ.อฏฺฐก.อ. ๓/๖๑/๒๖๘)
๔ สัทธรรม ในที่นี้หมายถึงวิปัสสนา (องฺ.อฏฺฐก.อ. ๓/๖๑/๒๖๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๓๕๕ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๒.ทุติยปัณณาสก์] ๒.ภูมิจาลวรรค ๑.อิจฉาสูตร
๓. เมื่อภิกษุในธรรมวินัยนี้อยู่อย่างสงัด แต่ไม่ประพฤติให้ต่อเนื่อง
ความอยากได้ลาภย่อมเกิดขึ้น แต่เธอไม่หมั่น ไม่พากเพียร ไม่พยายาม
เพื่อให้ได้ลาภ เมื่อเธอไม่หมั่น ไม่พากเพียร ไม่พยายามเพื่อให้ได้ลาภ
ลาภก็ไม่เกิดขึ้น เพราะไม่ได้ลาภนั้น เธอจึงเศร้าโศก ลำบากใจ
ร่ำไร ทุบอก คร่ำครวญ ถึงความเลอะเลือน ภิกษุนี้เราเรียกว่า
ผู้อยากได้ลาภอยู่ แต่ไม่หมั่น ไม่พากเพียร ไม่พยายามเพื่อให้ได้ลาภ
เธอชื่อว่าเป็นผู้ไม่ได้ลาภ เศร้าโศก ร่ำไร และเคลื่อนจากสัทธรรม
๔. เมื่อภิกษุในธรรมวินัยนี้อยู่อย่างสงัด แต่ไม่ประพฤติให้ต่อเนื่อง
ความอยากได้ลาภย่อมเกิดขึ้น แต่เธอไม่หมั่น ไม่พากเพียร ไม่
พยายาม เพื่อให้ได้ลาภ เมื่อเธอไม่หมั่น ไม่พากเพียร ไม่พยายาม
เพื่อให้ได้ลาภ แต่ลาภก็เกิดขึ้น เพราะได้ลาภนั้น เธอจึงมัวเมา
ประมาท เลินเล่อ ภิกษุนี้เราเรียกว่าผู้อยากได้ลาภอยู่ แต่ไม่หมั่น
ไม่พากเพียร ไม่พยายาม เพื่อให้ได้ลาภ เธอชื่อว่าเป็นผู้ได้ลาภ
มัวเมา ประมาท และเคลื่อนจากสัทธรรม
๕. เมื่อภิกษุในธรรมวินัยนี้อยู่อย่างสงัด แต่ไม่ประพฤติให้ต่อเนื่อง
ความอยากได้ลาภย่อมเกิดขึ้น เธอหมั่น พากเพียร พยายาม
เพื่อให้ได้ลาภ เมื่อเธอหมั่น พากเพียร พยายามเพื่อให้ได้ลาภ
แต่ลาภก็ไม่เกิดขึ้น เพราะไม่ได้ลาภนั้น เธอก็ไม่เศร้าโศก ไม่ลำบากใจ
ไม่ร่ำไร ไม่ทุบอกคร่ำครวญ ไม่ถึงความเลอะเลือน ภิกษุนี้เราเรียก
ว่าผู้อยากได้ลาภอยู่ หมั่น พากเพียร พยายามเพื่อให้ได้ลาภ
เธอชื่อ ว่าเป็นผู้ไม่ได้ลาภ ไม่เศร้าโศก ไม่ร่ำไร และไม่เคลื่อนจาก
สัทธรรม
๖. เมื่อภิกษุในธรรมวินัยนี้อยู่อย่างสงัด แต่ไม่ประพฤติให้ต่อเนื่อง
ความอยากได้ลาภย่อมเกิดขึ้น เธอหมั่น พากเพียร พยายามเพื่อ
ให้ได้ลาภ เมื่อเธอหมั่น พากเพียร พยายามเพื่อให้ได้ลาภ ลาภก็
เกิดขึ้น เพราะได้ลาภนั้น เธอก็ไม่มัวเมา ไม่ประมาท ไม่เลินเล่อ
ภิกษุนี้เราเรียกว่าผู้อยากได้ลาภอยู่ หมั่น พากเพียร พยายามเพื่อ
ให้ได้ลาภ เธอชื่อว่าเป็นผู้ได้ลาภ ไม่มัวเมา ไม่ประมาท และไม่
เคลื่อนจากสัทธรรม

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๓๕๖ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๒.ทุติยปัณณาสก์] ๒.ภูมิจาลวรรค ๒.อลังสูตร
๗. เมื่อภิกษุในธรรมวินัยนี้อยู่อย่างสงัด แต่ไม่ประพฤติให้ต่อเนื่อง
ความอยากได้ลาภย่อมเกิดขึ้น แต่เธอไม่หมั่น ไม่พากเพียร ไม่พยายาม
เพื่อให้ได้ลาภ เมื่อเธอไม่หมั่น ไม่พากเพียร ไม่พยายามเพื่อให้
ได้ลาภ ลาภก็ไม่เกิดขึ้น เพราะไม่ได้ลาภนั้น เธอก็ไม่เศร้าโศก
ไม่ลำบากใจ ไม่ร่ำไร ไม่ทุบอกคร่ำครวญ ไม่ถึงความเลอะเลือน
ภิกษุนี้เราเรียกว่าผู้อยากได้ลาภอยู่ แต่ไม่หมั่น ไม่พากเพียร
ไม่พยายามเพื่อให้ได้ลาภ เธอชื่อว่าเป็นผู้ไม่ได้ลาภ ไม่เศร้าโศก
ไม่ร่ำไร และไม่เคลื่อนจากสัทธรรม
๘. เมื่อภิกษุในธรรมวินัยนี้อยู่อย่างสงัด แต่ไม่ประพฤติให้ต่อเนื่อง
ความอยากได้ลาภย่อมเกิดขึ้น แต่เธอไม่หมั่น ไม่พากเพียร ไม่
พยายามเพื่อให้ได้ลาภ เมื่อเธอไม่หมั่น ไม่พากเพียร ไม่พยายาม
เพื่อให้ได้ลาภ แต่ลาภก็เกิดขึ้น เพราะได้ลาภนั้น เธอไม่มัวเมา
ไม่ประมาท ไม่เลินเล่อ ภิกษุนี้เราเรียกว่าผู้อยากได้ลาภอยู่ แต่ไม่
หมั่น ไม่พากเพียร ไม่พยายามเพื่อให้ได้ลาภ เธอชื่อว่าเป็นผู้
ได้ลาภ ไม่มัวเมา ไม่ประมาท และไม่เคลื่อนจากสัทธรรม
ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๘ จำพวกนี้แล มีปรากฏอยู่ในโลก”
อิจฉาสูตรที่ ๑ จบ

๒. อลังสูตร
ว่าด้วยผู้สามารถทำประโยชน์ตนและผู้อื่น
[๖๒] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๖ ประการ เป็นผู้มีความ
สามารถสำหรับตนเองและมีความสามารถสำหรับผู้อื่น๑

เชิงอรรถ :
๑ หมายถึงสามารถปฏิบัติให้เกื้อกูลสำหรับตนเองและผู้อื่น (องฺ.อฏฺฐก.อ. ๓/๖๒/๒๖๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๓๕๗ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๒.ทุติยปัณณาสก์] ๒.ภูมิจาลวรรค ๒.อลังสูตร
ธรรม ๖ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. ใคร่ครวญได้เร็วในกุศลธรรมทั้งหลาย๑
๒. ทรงจำธรรมที่ฟังแล้วไว้ได้
๓. พิจารณาเนื้อความแห่งธรรมที่ทรงจำไว้ได้
๔. รู้อรรถรู้ธรรมแล้วปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม
๕. มีวาจางาม เจรจาถ้อยคำไพเราะ ประกอบด้วยวาจาชาวเมืองที่
สละสลวยไม่หยาบคายให้รู้ความหมายได้
๖ ชี้แจงให้เพื่อนพรหมจารีเห็นชัด ชวนใจให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ
เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริง
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๖ ประการนี้แล เป็นผู้มีความสามารถ
สำหรับตนเอง และมีความสามารถสำหรับผู้อื่น
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ เป็นผู้มีความสามารถ
สำหรับตนเอง และมีความสามารถสำหรับผู้อื่น
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. ใคร่ครวญไม่ได้เร็วในกุศลธรรมทั้งหลาย แต่ทรงจำธรรมที่ฟังแล้วไว้ได้
๒. พิจารณาเนื้อความแห่งธรรมที่ทรงจำไว้ได้
๓. รู้อรรถรู้ธรรมแล้วปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม
๔. มีวาจางาม ฯลฯ ให้รู้ความหมายได้
๕. ชี้แจงให้เพื่อนพรหมจารีเห็นชัด ชวนใจให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ
เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริง

เชิงอรรถ :
๑ ใคร่ครวญได้เร็วในกุศลธรรมทั้งหลาย หมายถึงเมื่อกล่าวถึงขันธ์ ธาตุ อายตนะ เป็นต้น ก็สามารถเข้าใจ
ได้ฉับพลัน ในสูตรนี้ มุ่งกล่าวถึงสมถะและวิปัสสนา (องฺ.อฏฺฐก.อ. ๓/๖๒/๒๖๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๓๕๘ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๒.ทุติยปัณณาสก์] ๒.ภูมิจาลวรรค ๒.อลังสูตร
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล เป็นผู้มีความสามารถ
สำหรับตนเอง และมีความสามารถสำหรับผู้อื่น
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ เป็นผู้มีความสามารถ
สำหรับตนเอง แต่ไม่มีความสามารถสำหรับผู้อื่น
ธรรม ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. ใคร่ครวญได้เร็วในกุศลธรรมทั้งหลาย
๒. ทรงจำธรรมที่ฟังแล้วไว้ได้
๓. พิจารณาเนื้อความแห่งธรรมที่ทรงจำไว้ได้ รู้อรรถรู้ธรรมแล้วปฏิบัติ
ธรรมสมควรแก่ธรรม
๔. ไม่มีวาจางาม ไม่เจรจาถ้อยคำไพเราะ ไม่ประกอบด้วยวาจา
ชาวเมืองที่สละสลวยไม่หยาบคายให้รู้ความหมายได้ ทั้งไม่ชี้แจงให้
เพื่อนพรหมจารีเห็นชัด ไม่ชวนใจให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ ไม่เร้าใจ
ให้อาจหาญแกล้วกล้า ไม่ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริง
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้แล เป็นผู้มีความสามารถ
สำหรับตนเอง แต่ไม่มีความสามารถสำหรับผู้อื่น
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ เป็นผู้มีความสามารถ
สำหรับผู้อื่น แต่ไม่มีความสามารถสำหรับตนเอง
ธรรม ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. ใคร่ครวญได้เร็วในกุศลธรรมทั้งหลาย
๒. ทรงจำธรรมที่ฟังแล้วไว้ได้ แต่ไม่พิจารณาเนื้อความแห่งธรรมที่ทรง
จำไว้ ทั้งไม่รู้อรรถรู้ธรรมแล้วปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม
๓. มีวาจางาม เจรจาถ้อยคำไพเราะ ฯลฯ ให้รู้ความหมายได้
๔. ชี้แจงให้เพื่อนพรหมจารีเห็นชัด ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๓๕๙ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๒.ทุติยปัณณาสก์] ๒.ภูมิจาลวรรค ๒.อลังสูตร
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้แล เป็นผู้มีความสามารถ
สำหรับผู้อื่น แต่ไม่มีความสามารถสำหรับตนเอง
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๓ ประการ เป็นผู้มีความสามารถ
สำหรับตนเอง แต่ไม่มีความสามารถสำหรับผู้อื่น
ธรรม ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. ใคร่ครวญไม่ได้เร็วในกุศลธรรมทั้งหลาย แต่ทรงจำธรรมที่ฟังแล้วไว้ได้
๒. พิจารณาเนื้อความแห่งธรรมที่ทรงจำไว้ได้
๓. รู้อรรถรู้ธรรมแล้วปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม แต่ไม่มีวาจางาม
ไม่เจรจาถ้อยคำไพเราะ ไม่ประกอบด้วยวาจาชาวเมืองที่สละสลวย
ไม่หยาบคายให้รู้ความหมายได้ ทั้งไม่ชี้แจงให้เพื่อนพรหมจารี
เห็นชัด ไม่ชวนใจให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ ไม่เร้าใจให้อาจหาญ
แกล้วกล้า ไม่ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริง
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๓ ประการนี้แล เป็นผู้มีความสามารถ
สำหรับตนเอง แต่ไม่มีความสามารถสำหรับผู้อื่น
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๓ ประการ เป็นผู้มีความสามารถ
สำหรับผู้อื่น แต่ไม่มีความสามารถสำหรับตนเอง
ธรรม ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. ใคร่ครวญไม่ได้เร็วในกุศลธรรมทั้งหลาย แต่ทรงจำธรรมที่ฟังแล้วไว้ได้
๒. ไม่พิจารณาเนื้อความแห่งธรรมที่ทรงจำไว้ได้ ทั้งไม่รู้อรรถรู้ธรรม
แล้วปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม แต่มีวาจางาม ฯลฯ ให้รู้ความ
หมายได้
๓. ชี้แจงให้เพื่อนพรหมจารีเห็นชัด ชวนใจให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจ
ให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๓๖๐ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๒.ทุติยปัณณาสก์] ๒.ภูมิจาลวรรค ๒.อลังสูตร
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๓ ประการนี้แล เป็นผู้มีความสามารถ
สำหรับผู้อื่น แต่ไม่มีความสามารถสำหรับตนเอง
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๒ ประการ เป็นผู้มีความสามารถ
สำหรับตนเอง แต่ไม่มีความสามารถสำหรับผู้อื่น
ธรรม ๒ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. ใคร่ครวญไม่ได้เร็วในกุศลธรรมทั้งหลาย ทั้งไม่ทรงจำธรรมที่ฟัง
แล้วไว้ได้ แต่พิจารณาเนื้อความแห่งธรรมที่ทรงจำไว้ได้
๒. รู้อรรถรู้ธรรมแล้วปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรมแล้ว แต่ไม่มีวาจางาม
ฯลฯ ให้รู้ความหมายได้ ทั้งไม่ชี้แจงให้เพื่อนพรหมจารีเห็นชัด ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๒ ประการนี้แล เป็นผู้มีความสามารถ
สำหรับตนเอง แต่ไม่มีความสามารถสำหรับผู้อื่น
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๒ ประการ เป็นผู้มีความสามารถ
สำหรับผู้อื่น แต่ไม่มีความสามารถสำหรับตนเอง
ธรรม ๒ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. ใคร่ครวญไม่ได้เร็วในกุศลธรรมทั้งหลาย ทั้งไม่ทรงจำธรรมที่ฟังแล้ว
ไว้ได้ ไม่พิจารณาเนื้อความแห่งธรรมที่ทรงจำไว้ได้ ไม่รู้อรรถรู้ธรรม
แล้วปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม แต่มีวาจางาม เจรจาถ้อยคำไพเราะ
ประกอบด้วยวาจาชาวเมืองที่สละสลวยไม่หยาบคายให้รู้ความหมายได้
๒. ชี้แจงให้เพื่อนพรหมจารีเห็นชัด ชวนใจให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ
เร้าใจให้อาจหาญ แกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริง
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๒ ประการนี้แล เป็นผู้มีความสามารถ
สำหรับผู้อื่น แต่ไม่มีความสามารถสำหรับตนเอง
อลังสูตรที่ ๒ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๓๖๑ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๒.ทุติยปัณณาสก์] ๒.ภูมิจาลวรรค ๓.สังขิตตสูตร
๓. สังขิตตสูตร
ว่าด้วยภิกษุทูลขอให้ทรงแสดงธรรมโดยย่อ
[๖๓] ครั้งนั้น ภิกษุรูปหนึ่งได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ฯลฯ
ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานวโรกาส
ขอพระผู้มีพระภาคโปรดแสดงธรรมโดยย่อแก่ข้าพระองค์ โดยที่เมื่อข้าพระองค์ได้ฟังแล้ว
จะพึงจากไปอยู่ผู้เดียว ไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “โมฆบุรุษบางพวกในโลกนี้ ย่อมเชื้อเชิญเราอย่างที่
เขาทำกันมา และเมื่อเราแสดงธรรมแล้ว ก็คอยติดตามเราเรื่อยไป”
ภิกษุรูปหนึ่งกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคโปรด
แสดงธรรมโดยย่อ ขอพระสุคตโปรดแสดงธรรมโดยย่อแก่ข้าพระองค์ ทำอย่างไร
ข้าพระองค์จึงจะรู้ทั่วถึงเนื้อความแห่งภาษิตของพระผู้มีพระภาค ทำอย่างไรข้าพระองค์
จึงจะเป็นทายาทแห่งภาษิตของพระผู้มีพระภาค”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุ เพราะฉะนั้นแล เธอพึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า
‘จิตของเราจักตั้งมั่น ดำรงมั่นด้วยดีในภายใน และบาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้วจัก
ครอบงำจิตไม่ได้อยู่’ เธอพึงสำเหนียกอย่างนี้แล
เมื่อใดแล จิตของเธอตั้งมั่น ดำรงมั่นด้วยดีในภายใน และบาปอกุศลธรรม
ที่เกิดขึ้นแล้วจักครอบงำจิตไม่ได้อยู่ เมื่อนั้น เธอพึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า ‘เมตตา-
เจโตวิมุตติจักเป็นธรรมอันเราเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ทำให้เป็นดุจยานแล้ว ทำให้
เป็นที่ตั้งแล้ว ให้ตั้งมั่นแล้ว สั่งสมแล้ว ปรารภดีแล้ว’ เธอพึงสำเหนียกอย่างนี้แล
เมื่อใดแล สมาธินี้เป็นธรรมอันเธอเจริญแล้ว ทำให้มากแล้วอย่างนี้ เมื่อนั้น
เธอพึงเจริญสมาธินี้ที่มีวิตกมีวิจารบ้าง เจริญสมาธิที่ไม่มีวิตกมีเพียงวิจารบ้าง เจริญ
สมาธิที่ไม่มีวิตกไม่มีวิจารบ้าง เจริญสมาธิที่มีปีติบ้าง เจริญสมาธิที่ไม่มีปีติบ้าง
เจริญสมาธิที่มีความยินดีบ้าง เจริญสมาธิที่มีอุเบกขาบ้าง
เมื่อใดแล สมาธินี้เป็นธรรมอันเธอเจริญแล้ว เจริญดีแล้วอย่างนี้ เมื่อนั้น
เธอพึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า ‘กรุณาเจโตวิมุตติ ฯลฯ เมื่อนั้น เธอพึงสำเหนียก


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๓๖๒ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๒.ทุติยปัณณาสก์] ๒.ภูมิจาลวรรค ๓.สังขิตตสูตร
อย่างนี้ว่า ‘มุทิตาเจโตวิมุตติ ฯลฯ เมื่อนั้น เธอพึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า ‘อุเบกขา-
เจโตวิมุตติ จักเป็นธรรมอันเราเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ทำให้เป็นดุจยานแล้ว
ทำให้เป็นที่ตั้งแล้ว ให้ตั้งมั่นแล้ว สั่งสมแล้ว ปรารภดีแล้ว’ เธอพึงสำเหนียก
อย่างนี้แล
เมื่อใดแล สมาธินี้เป็นธรรมอันเธอเจริญแล้ว ทำให้มากแล้วอย่างนี้ เมื่อนั้น
เธอพึงเจริญสมาธินี้ที่มีวิตกมีวิจารบ้าง เจริญสมาธิที่ไม่มีวิตกมีเพียงวิจารบ้าง เจริญ
สมาธิที่ไม่มีวิตกไม่มีวิจารบ้าง เจริญสมาธิที่มีปีติบ้าง เจริญสมาธิที่ไม่มีปีติบ้าง
เจริญสมาธิที่มีความยินดีบ้าง เจริญสมาธิที่มีอุเบกขาบ้าง
เมื่อใดแล สมาธินี้เป็นธรรมอันเธอเจริญแล้ว เจริญดีแล้วอย่างนี้ เมื่อนั้น
เธอพึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า ‘เราจักพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร
มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้’ เธอพึงสำเหนียกอย่างนี้แล
เมื่อใดแล สมาธินี้เป็นธรรมอันเธอเจริญแล้ว ทำให้มากแล้วอย่างนี้ เมื่อนั้น
เธอพึงเจริญสมาธินี้ที่มีวิตกมีวิจารบ้าง เจริญสมาธิที่ไม่มีวิตกมีเพียงวิจารบ้าง เจริญ
สมาธิที่ไม่มีวิตกไม่มีวิจารบ้าง เจริญสมาธิที่มีปีติบ้าง เจริญสมาธิที่ไม่มีปีติบ้าง
เจริญสมาธิที่มีความยินดีบ้าง เจริญสมาธิที่มีอุเบกขาบ้าง
เมื่อใดแล สมาธินี้เป็นธรรมอันเธอเจริญแล้ว เจริญดีแล้วอย่างนี้ เมื่อนั้น
เธอพึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า ‘เราจักพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่ ฯลฯ เมื่อนั้นเธอ
พึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า ‘เราจักพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ ฯลฯ เมื่อนั้นเธอพึงสำเหนียก
อย่างนี้ว่า ‘เราจักพิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ
กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้’ เธอพึงสำเหนียกอย่างนี้แล
เมื่อใดแล สมาธินี้เป็นธรรมอันเธอเจริญแล้ว ทำให้มากแล้วอย่างนี้ เมื่อนั้น
เธอพึงเจริญสมาธินี้ที่มีวิตกมีวิจารบ้าง เจริญสมาธิที่ไม่มีวิตกมีเพียงวิจารบ้าง เจริญ
สมาธิที่ไม่มีวิตกไม่มีวิจารบ้าง เจริญสมาธิที่มีปีติบ้าง เจริญสมาธิที่ไม่มีปีติบ้าง
เจริญสมาธิที่มีความยินดีบ้าง เจริญสมาธิที่มีอุเบกขาบ้าง


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๓๖๓ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๒.ทุติยปัณณาสก์] ๒.ภูมิจาลวรรค ๔.คยาสีสสูตร
เมื่อใดแล สมาธินี้เป็นธรรมอันเธอเจริญแล้ว เจริญดีแล้วอย่างนี้ เมื่อนั้น
เธอจะเดินไปที่ใด ๆ ก็เดินไปได้อย่างผาสุกในที่นั้น ๆ จะยืนอยู่ในที่ใด ๆ ก็ยืนอยู่
ได้อย่างผาสุกในที่นั้น ๆ จะนั่งอยู่ในที่ใด ๆ ก็นั่งอยู่ได้อย่างผาสุกในที่นั้น ๆ จะนอน
อยู่ในที่ใด ๆ ก็นอนอยู่อย่างผาสุกในที่นั้น ๆ๑”
ภิกษุนั้น เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสสอนด้วยพระโอวาทนี้แล้ว จึงลุกจากอาสนะ
ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาค ทำประทักษิณแล้วจากไป เธอจากไปอยู่ผู้เดียว ไม่ประมาท
มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่ ไม่นานนัก ก็ได้ทำให้แจ้งซึ่งประโยชน์ยอดเยี่ยม
อันเป็นที่สุดแห่งพรหมจรรย์ที่เหล่ากุลบุตรออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบ
ต้องการ ด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน รู้ชัดว่า “ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบ
พรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป”
ภิกษุนั้นได้เป็นพระอรหันต์องค์หนึ่ง ในบรรดาพระอรหันต์ทั้งหลาย
สังขิตตสูตรที่ ๓ จบ

๔. คยาสีสสูตร
ว่าด้วยพระธรรมเทศนาที่คยาสีสะ
[๖๔] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ตำบลคยาสีสะ เขตเมืองคยา
ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย ฯลฯ
๑. ก่อนจะตรัสรู้ เราเป็นโพธิสัตว์ยังไม่ได้ตรัสรู้ เรารู้โอภาส๒ แต่ไม่
เห็นรูปทั้งหลาย
๒. เรานั้นได้มีความคิดดังนี้ว่า ‘ถ้าเรารู้โอภาสและเห็นรูปทั้งหลาย
ด้วยอาการอย่างนี้ ญาณทัสสนะ๓ นี้ของเราก็จะบริสุทธิ์ยิ่งขึ้น’

เชิงอรรถ :
๑ หมายถึงผู้บรรลุอรหัตตผลย่อมอยู่อย่างผาสุกทุกอิริยาบถ (องฺ.อฏฺฐก.อ. ๓/๖๓/๒๗๐)
๒ โอภาส ในที่นี้หมายถึงทิพพจักขุญาณ (องฺ.อฏฺฐก.อ. ๓/๖๔/๒๗๐)
๓ ญาณทัสสนะ ในที่นี้หมายถึงทัสสนะคือญาณที่เป็นทิพพจักษุ ในสูตรนี้กล่าวถึงญาณ ๘ คือ (๑) ทิพพจักขุ-
ญาณ (๒) อิทธวิธญาณ (๓) เจโตปริยญาณ (๔) ยถากัมมูปคญาณ (๕) อนาคตังสญาณ (๖) ปัจจุปปันนังส-
ญาณ (๗) อตีตังสญาณ (๘) ปุพเพนิวาสญาณ (องฺ.อฏฺฐก.อ. ๓/๖๔/๒๗๐)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๓๖๔ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๒.ทุติยปัณณาสก์] ๒.ภูมิจาลวรรค ๔.คยาสีสสูตร
สมัยต่อมา เรานั้นเป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศกาย
และใจอยู่ รู้โอภาสและเห็นรูปทั้งหลาย แต่เราไม่ได้ยืนเจรจาปราศรัย
กับเทวดาเหล่านั้น
๓. เรานั้นได้มีความคิดดังนี้ว่า ‘ถ้าเรารู้โอภาส เห็นรูปทั้งหลาย
และยืนเจรจาปราศรัยกับเทวดาเหล่านั้น ด้วยอาการอย่างนี้ ญาณ-
ทัสสนะนี้ของเราก็จะบริสุทธิ์ยิ่งขึ้น’
สมัยต่อมา เรานั้นเป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศกาย
และใจอยู่ รู้โอภาส เห็นรูปทั้งหลาย และยืนเจรจาปราศรัยกับ
เทวดาเหล่านั้น แต่ไม่รู้จักเทวดาเหล่านั้นว่า ‘เทวดานี้มาจากเทพ
นิกายโน้น ๆ’
๔-๗. เรานั้นได้มีความคิดดังนี้ว่า ‘ถ้าเรารู้โอภาส เห็นรูปทั้งหลาย ยืนเจรจา
ปราศรัยกับเทวดาเหล่านั้น และรู้จักเทวดาเหล่านั้นว่า ‘เทวดาเหล่านี้
มาจากเทพนิกายโน้น ๆ’ ด้วยอาการอย่างนี้ ญาณทัสสนะนี้ของเรา
ก็จะบริสุทธิ์ยิ่งขึ้น’
สมัยต่อมา เรานั้นเป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศกาย
และใจอยู่ รู้โอภาส เห็นรูปทั้งหลาย ยืนเจรจาปราศรัยกับเทวดา
เหล่านั้น และรู้จักเทวดาเหล่านั้นว่า ‘เทวดาเหล่านี้มาจากเทพ
นิกายโน้น ๆ’ แต่ไม่รู้จักเทวดาเหล่านั้นว่า ‘ด้วยวิบากแห่งกรรมนี้
เทวดาเหล่านี้จุติจากภพนี้แล้ว จึงมาเกิดในภพนั้น’ ฯลฯ รู้จัก
เทวดาเหล่านั้นว่า ‘ด้วยวิบากแห่งกรรมนี้ เทวดาเหล่านี้จุติจาก
ภพนี้แล้ว จึงมาเกิดในภพนั้น’ แต่ไม่รู้จักเทวดาเหล่านั้นว่า ‘ด้วย
วิบากแห่งกรรมนี้ เทวดาเหล่านี้มีอาหารอย่างนี้ เสวยสุขและทุกข์
อย่างนี้’ ฯลฯ รู้จักเทวดาเหล่านั้นว่า ‘ด้วยวิบากแห่งกรรมนี้
เทวดาเหล่านี้มีอาหารอย่างนี้ เสวยสุขและทุกข์อย่างนี้’ แต่ไม่รู้จัก
เทวดาเหล่านั้นว่า ‘เทวดาเหล่านี้มีอายุยืนอย่างนี้ ดำรงอยู่ได้นาน
อย่างนี้’ ฯลฯ รู้จักเทวดาเหล่านั้นว่า ‘เทวดาเหล่านี้มีอายุยืนอย่างนี้
ดำรงอยู่ได้นานอย่างนี้’ แต่ไม่รู้จักเทวดาเหล่านั้นว่า ‘เราเคยอยู่ร่วม
หรือไม่เคยอยู่ร่วมกับเทวดาเหล่านี้’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๓๖๕ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๒.ทุติยปัณณาสก์] ๒.ภูมิจาลวรรค ๔.คยาสีสสูตร
๘. เรานั้นได้มีความคิดดังนี้ว่า ‘ถ้าเรารู้โอภาส เห็นรูปทั้งหลาย ยืนเจรจา
ปราศรัยกับเทวดาเหล่านั้น และรู้จักเทวดาเหล่านั้นว่า ‘เทวดาเหล่านี้
มาจากเทพนิกายโน้น ๆ’ รู้จักเทวดาเหล่านั้นว่า ‘ด้วยวิบากแห่ง
กรรมนี้ เทวดาเหล่านี้จุติจากภพนี้แล้ว จึงมาเกิดในภพนั้น’ รู้จัก
เทวดาเหล่านั้นว่า ‘เทวดาเหล่านี้มีอาหารอย่างนี้ เสวยสุขและทุกข์
อย่างนี้’ รู้จักเทวดาเหล่านั้นว่า ‘เทวดาเหล่านี้มีอายุยืนอย่างนี้
ดำรงอยู่ได้นานอย่างนี้’ และรู้จักเทวดาเหล่านั้นว่า ‘เราเคยอยู่ร่วม
หรือไม่เคยอยู่ร่วมกับเทวดาเหล่านี้’ ญาณทัสสนะนี้ของเราก็จะ
บริสุทธิ์ยิ่งขึ้น’
สมัยต่อมา เรานั้นเป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศกาย
และใจอยู่ รู้โอภาส เห็นรูปทั้งหลาย ยืนเจรจาปราศรัยกับเทวดา
เหล่านั้น และรู้จักเทวดาเหล่านั้นว่า ‘เทวดาเหล่านี้ มาจากเทพ
นิกายโน้น ๆ’ รู้จักเทวดาเหล่านั้นว่า ‘ด้วยวิบากแห่งกรรมนี้
เทวดาเหล่านี้จุติจากภพนี้แล้ว จึงมาเกิดในภพนั้น’ รู้จักเทวดา
เหล่านั้นว่า ‘เทวดาเหล่านี้มีอาหารอย่างนี้ เสวยสุขและทุกข์อย่างนี้’
รู้จักเทวดาเหล่านั้นว่า ‘เทวดาเหล่านี้มีอายุยืนอย่างนี้ ดำรงอยู่ได้
นานอย่างนี้’ และรู้จักเทวดาเหล่านั้นว่า ‘เราเคยอยู่ร่วมหรือไม่เคย
อยู่ร่วมกับเทวดาเหล่านี้’
อธิเทวญาณทัสสนะ(ความรู้ความเห็นเกี่ยวกับเทวดาผู้ยิ่ง)ของเรา ๘ ขั้นอย่างนี้
ยังไม่หมดจดดีตราบใด เราก็ยังไม่ยืนยันว่า เป็นผู้ตรัสรู้สัมมาสัมโพธิญาณอันยอด
เยี่ยมในโลกพร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์
เทวดา และมนุษย์ตราบนั้น
ภิกษุทั้งหลาย เมื่อใด อธิเทวญาณทัสสนะของเรา ๘ ขั้นอย่างนี้หมดจดดีแล้ว
เมื่อนั้น เราจึงยืนยันได้ว่า เป็นผู้ตรัสรู้สัมมาสัมโพธิญาณอันยอดเยี่ยมในโลกพร้อมทั้ง
เทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดา และมนุษย์
ญาณทัสสนะเกิดขึ้นแก่เราว่า ‘เจโตวิมุตติของเราไม่กำเริบ ชาตินี้เป็นชาติสุดท้าย
บัดนี้ ภพใหม่ไม่มีอีก’
คยาสีสสูตรที่ ๔ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๓๖๖ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๒.ทุติยปัณณาสก์] ๒.ภูมิจาลวรรค ๕.อภิภายตนสูตร
๕. อภิภายตนสูตร
ว่าด้วยอภิภายตนะ
[๖๕] ภิกษุทั้งหลาย อภิภายตนะ๑ ๘ ประการนี้
อภิภายตนะ ๘ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. บุคคลหนึ่งมีรูปสัญญาภายใน๒ เห็นรูปภายนอกขนาดเล็ก มีสีสันดี
หรือไม่ดี ครอบงำรูปเหล่านั้นได้ มีสัญญาอย่างนี้ว่า ‘เรารู้ เราเห็น’
นี้เป็นอภิภายตนะที่ ๑
๒. บุคคลหนึ่งมีรูปสัญญาภายใน เห็นรูปภายนอกขนาดใหญ่ มีสีสันดี
หรือไม่ดี ครอบงำรูปเหล่านั้นได้ มีสัญญาอย่างนี้ว่า ‘เรารู้ เราเห็น’
นี้เป็นอภิภายตนะที่ ๒
๓. บุคคลหนึ่งมีอรูปสัญญาภายใน๓ เห็นรูปภายนอกขนาดเล็ก มีสีสันดี
หรือไม่ดี ครอบงำรูปเหล่านั้นได้ มีสัญญาอย่างนี้ว่า ‘เรารู้ เราเห็น’
นี้เป็นอภิภายตนะที่ ๓
๔. บุคคลหนึ่งมีอรูปสัญญาภายใน เห็นรูปภายนอกขนาดใหญ่ มีสีสันดี
หรือไม่ดี ครอบงำรูปเหล่านั้นได้ มีสัญญาอย่างนี้ว่า ‘เรารู้ เราเห็น’
นี้เป็นอภิภายตนะที่ ๔
๕. บุคคลหนึ่งมีอรูปสัญญาภายใน เห็นรูปภายนอกที่เขียว มีสีเขียว
เปรียบด้วยของเขียว มีสีเขียวเข้ม ครอบงำรูปเหล่านั้นได้ มีสัญญา
อย่างนี้ว่า ‘เรารู้ เราเห็น’ นี้เป็นอภิภายตนะที่ ๕

เชิงอรรถ :
๑ อภิภายตนะ หมายถึงเหตุครอบงำ เหตุที่มีอิทธิพล ได้แก่ ญาณหรือฌานที่เป็นเหตุครอบงำปัจจนีกธรรม
คือนิวรณ์ ๕ และอารมณ์ทั้งหลาย คำนี้มาจาก อภิภู + อายตนะ ที่ชื่อว่า อภิภู เพราะครอบงำอารมณ์
และชื่อว่า อายตนะ เพราะเป็นที่เกิดความสุขอันวิเศษแก่พระโยคีทั้งหลาย และเพราะเป็นมนายตนะและ
ธัมมายตนะ (องฺ.อฏฺฐก.อ. ๓/๖๕/๒๗๐, องฺ.อฏฺฐก. ฏีกา ๓/๖๑-๖๕/๓๐๒, ที.ม.อ. ๒/๑๗๓/๑๖๔) และดู
ที.ม. ๑๐/๑๗๓/๙๘, ที.ปา. ๑๑/๓๓๘/๒๒๙-๒๓๐, ม.ม. ๑๓/๒๔๙/๒๒๔, องฺ.ทสก. (แปล) ๒๔/๒๙/๗๑
๒ มีรูปสัญญาภายใน หมายถึงจำได้หมายรู้รูปภายในโดยการบริกรรมรูปภายใน ยังไม่ถึงอัปปนา (องฺ.อฏฺฐก.
อ. ๓/๖๕/๒๗๐)
๓ มีอรูปสัญญาภายใน หมายถึงปราศจากบริกรรมอรูปภายใน เพราะไม่ให้รูปสัญญาเกิดขึ้น (องฺ.อฏฺฐก.อ.
๓/๖๕/๒๗๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๓๖๗ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๒.ทุติยปัณณาสก์] ๒.ภูมิจาลวรรค ๖.วิโมกขสูตร
๖. บุคคลหนึ่งมีอรูปสัญญาภายใน เห็นรูปภายนอกที่เหลือง มีสีเหลือง
เปรียบด้วยของเหลือง มีสีเหลืองเข้ม ครอบงำรูปเหล่านั้นได้ มีสัญญา
อย่างนี้ว่า ‘เรารู้ เราเห็น’ นี้เป็นอภิภายตนะที่ ๖
๗. บุคคลหนึ่งมีอรูปสัญญาภายใน เห็นรูปภายนอกที่แดง มีสีแดง
เปรียบด้วยของแดง มีสีแดงเข้ม ครอบงำรูปเหล่านั้นได้ มีสัญญา
อย่างนี้ว่า ‘เรารู้ เราเห็น’ นี้เป็นอภิภายตนะที่ ๗
๘. บุคคลหนึ่งมีอรูปสัญญาภายใน เห็นรูปภายนอกที่ขาว มีสีขาว
เปรียบด้วยของขาว มีสีขาวเข้ม ครอบงำรูปเหล่านั้นได้ มีสัญญา
อย่างนี้ว่า ‘เรารู้ เราเห็น’ นี้เป็นอภิภายตนะที่ ๘
ภิกษุทั้งหลาย อภิภายตนะ ๘ ประการนี้แล
อภิภายตนสูตรที่ ๕ จบ

๖. วิโมกขสูตร
ว่าด้วยวิโมกข์
[๖๖] ภิกษุทั้งหลาย วิโมกข์๑ ๘ ประการนี้
วิโมกข์ ๘ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. บุคคลผู้มีรูป๒ เห็นรูปทั้งหลาย นี้เป็นวิโมกข์ที่ ๑
๒. บุคคลผู้มีอรูปสัญญาภายใน เห็นรูปทั้งหลายภายนอก นี้เป็นวิโมกข์
ที่ ๒

เชิงอรรถ :
๑ วิโมกข์(ความหลุดพ้น) หมายถึงภาวะที่จิตหลุดพ้นจากสิ่งรบกวนและน้อมดิ่งไปในอารมณ์นั้นๆ (องฺ.อฏฺฐก.
อ. ๓/๖๖/๒๗๒) ดู ที.ม. ๑๐/๑๒๙/๖๓, ๑๗๔/๑๐๐, ที.ปา ๑๑/๓๓๙/๒๓๑, ๓๕๘/๒๗๑-๒๗๒, ม.ม. ๑๓/
๒๔๘/๒๒๓-๒๒๔, อภิ.วิ. (แปล) ๓๕/๘๒๘/๕๓๐-๕๓๑
๒ มีรูป ในที่นี้หมายถึงได้รูปฌานที่เกิดจากอาการทำบริกรรมในรูปภายในตน เช่น ทำบริกรรมผม เหงื่อ เนื้อ
เลือด กระดูก ฟัน เล็บ โดยวิธีการบริกรรมเป็นสีต่าง ๆ มีสีเขียว เหลือง แดง เป็นต้น (องฺ.อฏฺฐก.อ. ๓/๖๕/
๒๗๐,๖๖/๒๗๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๓๖๘ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๒.ทุติยปัณณาสก์] ๒.ภูมิจาลวรรค ๗.อนริยโวหารสูตร
๓. บุคคลเป็นผู้น้อมใจไปว่า ‘งาม’ เท่านั้น นี้เป็นวิโมกข์ที่ ๓
๔. บุคคลบรรลุอากาสานัญจายตนฌาน โดยกำหนดว่า ‘อากาศหา
ที่สุดมิได้’ อยู่ เพราะล่วงรูปสัญญา ดับปฏิฆสัญญา ไม่กำหนด
นานัตตสัญญาโดยประการทั้งปวง นี้เป็นวิโมกข์ที่ ๔
๕. บุคคลล่วงอากาสานัญจายตนฌาน โดยประการทั้งปวง บรรลุ
วิญญาณัญจายตนฌาน โดยกำหนดว่า ‘วิญญาณหาที่สุดมิได้’ อยู่
นี้เป็นวิโมกข์ที่ ๕
๖. บุคคลล่วงวิญญาณัญจายตนฌาน โดยประการทั้งปวง บรรลุ
อากิญจัญญายตนฌาน โดยกำหนดว่า ‘ไม่มีอะไร’ อยู่ นี้เป็น
วิโมกข์ที่ ๖
๗. บุคคลล่วงอากิญจัญญายตนฌาน โดยประการทั้งปวง บรรลุ
เนวสัญญานาสัญญายตนฌานอยู่ นี้เป็นวิโมกข์ที่ ๗
๘. บุคคลล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน โดยประการทั้งปวง บรรลุ
สัญญาเวทยิตนิโรธอยู่ นี้เป็นวิโมกข์ที่ ๘
ภิกษุทั้งหลาย วิโมกข์ ๘ ประการนี้แล
วิโมกขสูตรที่ ๖ จบ

๗. อนริยโวหารสูตร๑
ว่าด้วยอนริยโวหาร
[๖๗] ภิกษุทั้งหลาย อนริยโวหาร๒ ๘ ประการนี้
อนริยโวหาร ๘ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. การกล่าวสิ่งที่ไม่ได้เห็นว่าได้เห็น
๒. การกล่าวสิ่งที่ไม่ได้ฟังว่าได้ฟัง

เชิงอรรถ :
๑ ที.ปา. ๑๑/๓๑๓/๒๐๖, องฺ.จตุกฺก. (แปล) ๒๑/๒๕๐/๓๖๘, ๒๕๒/๓๖๙, อภิ.วิ. (แปล) ๓๕/๙๓๙/๕๙๐
๒ อนริยโวหาร ในที่นี้หมายถึงถ้อยคำของเหล่าชนผู้ไม่ใช่พระอริยะ (องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๒๕๐/๔๔๖)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๓๖๙ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๒.ทุติยปัณณาสก์] ๒.ภูมิจาลวรรค ๘.อริยโวหารสูตร
๓. การกล่าวสิ่งที่ไม่ได้ทราบว่าได้ทราบ
๔. การกล่าวสิ่งที่ไม่ได้รู้ว่าได้รู้
๕. การกล่าวสิ่งที่ได้เห็นว่าไม่ได้เห็น
๖. การกล่าวสิ่งที่ได้ฟังว่าไม่ได้ฟัง
๗. การกล่าวสิ่งที่ได้ทราบว่าไม่ได้ทราบ
๘. การกล่าวสิ่งที่ได้รู้ว่าไม่ได้รู้
ภิกษุทั้งหลาย อนริยโวหาร ๘ ประการนี้แล
อนริยโวหารสูตรที่ ๗ จบ

๘. อริยโวหารสูตร๑
ว่าด้วยอริยโวหาร
[๖๘] ภิกษุทั้งหลาย อริยโวหาร ๘ ประการนี้
อริยโวหาร ๘ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. การกล่าวสิ่งที่ไม่ได้เห็นว่าไม่ได้เห็น
๒. การกล่าวสิ่งที่ไม่ได้ฟังว่าไม่ได้ฟัง
๓. การกล่าวสิ่งที่ไม่ได้ทราบว่าไม่ได้ทราบ
๔. การกล่าวสิ่งที่ไม่ได้รู้ว่าไม่ได้รู้
๕. การกล่าวสิ่งที่ได้เห็นว่าได้เห็น
๖. การกล่าวสิ่งที่ได้ฟังว่าได้ฟัง
๗. การกล่าวสิ่งที่ได้ทราบว่าได้ทราบ
๘. การกล่าวสิ่งที่ได้รู้ว่าได้รู้
ภิกษุทั้งหลาย อริยโวหาร ๘ ประการนี้แล
อริยโวหารสูตรที่ ๘ จบ

เชิงอรรถ :
๑ ที.ปา. ๑๑/๓๑๓/๒๐๖, องฺ.จตุกฺก. (แปล) ๒๑/๒๕๑/๓๖๘,๒๕๓/๓๗๐

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๓๗๐ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๒.ทุติยปัณณาสก์] ๒.ภูมิจาลวรรค ๙.ปริสาสูตร
๙. ปริสาสูตร
ว่าด้วยบริษัท๑
[๖๙] ภิกษุทั้งหลาย บริษัท ๘ จำพวกนี้
บริษัท ๘ จำพวกไหนบ้าง คือ
๑. ขัตติยบริษัท (ชุมนุมกษัตริย์)
๒. พราหมณบริษัท (ชุมนุมพราหมณ์)
๓. คหบดีบริษัท (ชุมนุมคหบดี)
๔. สมณบริษัท (ชุมนุมสมณะ)
๕. จาตุมหาราชบริษัท (ชุมนุมเทพชั้นจาตุมหาราช)
๖. ดาวดึงสบริษัท (ชุมนุมเทพชั้นดาวดึงส์)
๗. มารบริษัท (ชุมนุมมาร)
๘. พรหมบริษัท (ชุมนุมพรหม)
ภิกษุทั้งหลาย เราจำได้ว่า ‘เคยเข้าไปหาขัตติยบริษัทหลายร้อยครั้ง ทั้งเคย
นั่งพูดคุยและสนทนาในขัตติยบริษัทนั้น กษัตริย์เหล่านั้นมีวรรณะเช่นใด เราก็มี
วรรณะเช่นนั้น กษัตริย์เหล่านั้นมีเสียงเช่นใด เราก็มีเสียงเช่นนั้น เราชี้แจงให้กษัตริย์
เหล่านั้นเห็นชัด ชวนใจให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า
ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริงด้วยธรรมีกถา และเมื่อเรากำลังพูดอยู่ ก็ไม่มีใครรู้ว่า
‘ผู้กำลังพูดอยู่นี้เป็นใคร เป็นเทวดาหรือมนุษย์’ ครั้นชี้แจงให้กษัตริย์เหล่านั้นเห็นชัด
ชวนใจให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่น
ร่าเริงด้วยธรรมีกถาแล้วก็หายไป และเมื่อเราหายไปแล้ว ก็ไม่มีใครรู้ว่า ‘ผู้ที่หายไป
แล้วนี้เป็นใคร เป็นเทวดาหรือมนุษย์’
ภิกษุทั้งหลาย เราจำได้ว่า ‘เคยเข้าไปหาพราหมณบริษัท ฯลฯ คหบดีบริษัท
ฯลฯ สมณบริษัท ฯลฯ จาตุมหาราชบริษัท ฯลฯ ดาวดึงสบริษัท ฯลฯ มารบริษัท ฯลฯ’-------------------------------------

-----
๑ ดู ที.ม. ๑๐/๑๗๒/๙๗-๙๘, ม.มู. ๑๒/๑๕๑/๑๑๒

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๓๗๑ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๒.ทุติยปัณณาสก์] ๒.ภูมิจาลวรรค ๑๐.ภูมิจาลสูตร
ภิกษุทั้งหลาย เราจำได้ว่า ‘เคยเข้าไปหาพรหมบริษัทหลายร้อยครั้ง ทั้งเคย
นั่งพูดคุยและสนทนาในพรหมบริษัทนั้น พรหมเหล่านั้นมีวรรณะเช่นใด เราก็มีวรรณะ
เช่นนั้น พรหมเหล่านั้นมีเสียงเช่นใด เราก็มีเสียงเช่นนั้น เราชี้แจงให้พรหมเหล่านั้น
เห็นชัด ชวนใจให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจ
ให้สดชื่นร่าเริงด้วยธรรมีกถา และเมื่อเรากำลังพูดอยู่ ก็ไม่มีใครรู้ว่า ‘ผู้กำลังพูด
อยู่นี้เป็นใคร เป็นเทวดาหรือมนุษย์’ ครั้นชี้แจงให้พรหมเหล่านั้นเห็นชัด ชวนใจให้
อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริง
ด้วยธรรมีกถาแล้วก็หายไป และเมื่อเราหายไปแล้ว ก็ไม่มีใครรู้ว่า ‘ผู้ที่หายไปแล้ว
นี้เป็นใคร เป็นเทวดาหรือมนุษย์’
ภิกษุทั้งหลาย บริษัท ๘ จำพวกนี้แล
ปริสาสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. ภูมิจาลสูตร
ว่าด้วยเหตุที่ทำให้แผ่นดินไหวครั้งใหญ่๑
[๗๐] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ กูฏาคารศาลา ป่ามหาวัน
เขตกรุงเวสาลี ครั้นในเวลาเช้า พระผู้มีพระภาคทรงครองอันตรวาสก ทรงถือบาตร
และจีวรเสด็จเข้าไปยังกรุงเวสาลีเพื่อบิณฑบาต เสด็จกลับจากบิณฑบาต หลังจาก
เสวยพระกระยาหารเสร็จแล้ว รับสั่งเรียกท่านพระอานนท์มาตรัสว่า “อานนท์ เธอจง
ถือนิสีทนะ๒ เราจะเข้าไปพักกลางวันที่ปาวาลเจดีย์” ท่านพระอานนท์ทูลรับสนอง
พระดำรัสแล้ว ถือนิสีทนะตามเสด็จพระผู้มีพระภาคไปข้างพระปฤษฎางค์
ครั้นพระผู้มีพระภาคเสด็จเข้าไปยังปาวาลเจดีย์ ประทับนั่งบนพุทธอาสน์ที่ปูลาด
ไว้แล้วได้ตรัสกับท่านพระอานนท์ดังนี้ว่า “อานนท์ กรุงเวสาลีน่ารื่นรมย์ อุเทนเจดีย์
น่ารื่นรมย์ โคตมกเจดีย์น่ารื่นรมย์ พหุปุตตกเจดีย์น่ารื่นรมย์ สัตตัมพเจดีย์น่า
รื่นรมย์ สารันททเจดีย์น่ารื่นรมย์ ปาวาลเจดีย์น่ารื่นรมย์

เชิงอรรถ :
๑ ดู ที.ม. ๑๐/๑๖๖-๑๖๙/๙๑-๙๖, สํ.ม. ๑๙/๘๒๒/๒๒๖-๒๒๙, ขุ.อุ. ๒๕/๕๑/๑๗๙-๑๘๔
๒ นิสีทนะ ในที่นี้หมายถึงแผ่นหนังสัตว์ (องฺ.อฏฺฐก.อ. ๓/๗๐/๒๗๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๓๗๒ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๒.ทุติยปัณณาสก์] ๒.ภูมิจาลวรรค ๑๐.ภูมิจาลสูตร
อิทธิบาท ๔ ผู้ใดผู้หนึ่งเจริญ ทำให้มากแล้ว ทำให้เป็นดุจยานแล้ว ทำให้เป็นที่
ตั้งแล้ว ให้ตั้งมั่นแล้ว สั่งสมแล้ว ปรารภดีแล้ว ผู้นั้นเมื่อมุ่งหวัง พึงดำรงอยู่ได้
๑ กัป หรือเกินกว่า ๑ กัป
อิทธิบาท ๔ ตถาคตเจริญ ทำให้มากแล้ว ทำให้เป็นดุจยานแล้ว ทำให้เป็นที่
ตั้งแล้ว ให้ตั้งมั่นแล้ว สั่งสมแล้ว ปรารภดีแล้ว ตถาคตเมื่อมุ่งหวัง พึงดำรงอยู่ได้
๑ กัป หรือเกินกว่า ๑ กัป”
เมื่อพระผู้มีพระภาคทรงทำนิมิตที่ชัดแจ้ง ทรงทำโอกาสที่ชัดเจนแม้อย่างนี้
ท่านพระอานนท์ก็ไม่อาจจะรู้ทัน จึงไม่กราบทูลวิงวอนพระผู้มีพระภาคว่า “ข้าแต่
พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคโปรดดำรงพระชนมชีพอยู่ตลอดกัป ขอพระสุคต
โปรดดำรงพระชนมชีพอยู่ตลอดกัปเพื่อเกื้อกูลแก่คนหมู่มาก เพื่อสุขแก่คนหมู่มาก เพื่อ
อนุเคราะห์ชาวโลก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย”
เพราะท่านถูกมารดลใจ
แม้ครั้งที่ ๒ ฯลฯ
แม้ครั้งที่ ๓ พระผู้มีพระภาคก็ได้ตรัสกับท่านพระอานนท์ดังนี้ว่า “อานนท์
กรุงเวสาลีน่ารื่นรมย์ อุเทนเจดีย์น่ารื่นรมย์ โคตมกเจดีย์น่ารื่นรมย์ พหุปุตตกเจดีย์
น่ารื่นรมย์ สัตตัมพเจดีย์น่ารื่นรมย์ สารันททเจดีย์น่ารื่นรมย์ ปาวาลเจดีย์น่ารื่นรมย์
อิทธิบาท ๔ ผู้ใดผู้หนึ่งเจริญ ทำให้มากแล้ว ทำให้เป็นดุจยานแล้ว ทำให้เป็น
ที่ตั้งแล้ว ให้ตั้งมั่นแล้ว สั่งสมแล้ว ปรารภดีแล้ว ผู้นั้นเมื่อมุ่งหวัง พึงดำรงอยู่ได้
๑ กัป หรือเกินกว่า ๑ กัป
อิทธิบาท ๔ ตถาคตเจริญ ฯลฯ ตถาคตเมื่อมุ่งหวัง พึงดำรงอยู่ได้ ๑ กัป
หรือเกินกว่า ๑ กัป”
เมื่อพระผู้มีพระภาคทรงทำนิมิตที่ชัดแจ้ง ทรงทำโอกาสที่ชัดเจนแม้อย่างนี้
ท่านพระอานนท์ก็ไม่อาจจะรู้ทัน จึงไม่กราบทูลวิงวอนพระผู้มีพระภาคว่า “ข้าแต่
พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคโปรดดำรงพระชนมชีพอยู่ตลอดกัป ขอพระสุคต


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๓๗๓ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๒.ทุติยปัณณาสก์] ๒.ภูมิจาลวรรค ๑๐.ภูมิจาลสูตร
โปรดดำรงพระชนมชีพอยู่ตลอดกัปเพื่อเกื้อกูลแก่คนหมู่มาก เพื่อสุขแก่คนหมู่มาก
เพื่ออนุเคราะห์ชาวโลก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขแก่เทวดาและมนุษย์
ทั้งหลาย” เพราะท่านถูกมารดลใจ
หลังจากนั้น พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกับท่านพระอานนท์ดังนี้ว่า “อานนท์
ไปเถิด เธอจงกำหนดเวลาที่สมควร ณ บัดนี้เถิด”
ท่านพระอานนท์ทูลรับสนองพระดำรัสแล้วลุกจากอาสนะ ถวายอภิวาทพระ
ผู้มีพระภาค ทำประทักษิณแล้วนั่งที่โคนไม้ต้นหนึ่งซึ่งไม่ไกลจากพระผู้มีพระภาค
ครั้นเมื่อท่านพระอานนท์จากไปไม่นาน มารผู้มีบาปได้กราบทูลพระผู้มีพระภาค
ดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บัดนี้ ขอพระผู้มีพระภาคโปรดปรินิพพานเถิด
ขอพระสุคตโปรดปรินิพพานเถิด เวลานี้ เป็นเวลาปรินิพพานของพระผู้มีพระภาค
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระวาจานี้ไว้ว่า ‘มารผู้มีบาป เราจะยังไม่ปรินิพพาน
ตราบเท่าที่เหล่าภิกษุผู้สาวกของเรายังไม่เฉียบแหลม ไม่ได้รับการแนะนำ ไม่แกล้วกล้า
ไม่บรรลุธรรมอันเป็นแดนเกษมจากโยคะ ไม่เป็นพหูสูต ไม่ทรงธรรม ไม่ปฏิบัติธรรม
สมควรแก่ธรรม ไม่ปฏิบัติชอบยิ่ง ไม่ประพฤติตามธรรม เรียนกับอาจารย์ของตนแล้ว
แต่ก็ยังบอก แสดง บัญญัติ กำหนด เปิดเผย จำแนก ทำให้ง่ายไม่ได้ ยังแสดงธรรม
มีปาฏิหาริย์ปราบปรัปปวาทที่เกิดขึ้นให้เรียบร้อยโดยชอบธรรมไม่ได้’
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เวลานี้ เหล่าภิกษุผู้เป็นสาวกของพระผู้มีพระภาค เป็นผู้
เฉียบแหลม ได้รับการแนะนำ แกล้วกล้า บรรลุธรรมอันเป็นแดนเกษมจากโยคะ
เป็นพหูสูต ทรงธรรม ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ปฏิบัติชอบยิ่ง ประพฤติ
ตามธรรม เรียนกับอาจารย์ของตนแล้วบอก แสดง บัญญัติ กำหนด เปิดเผย
จำแนกทำให้ง่ายได้ แสดงธรรมมีปาฏิหาริย์ปราบปรัปปวาทที่เกิดขึ้นให้เรียบร้อย
โดยชอบธรรมได้
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บัดนี้ขอพระผู้มีพระภาคโปรดปรินิพพานเถิด ขอพระ
สุคตโปรดปรินิพพานเถิด เวลานี้ เป็นเวลาปรินิพพานของพระผู้มีพระภาค พระผู้มี


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๓๗๔ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๒.ทุติยปัณณาสก์] ๒.ภูมิจาลวรรค ๑๐.ภูมิจาลสูตร
พระภาคได้ตรัสพระวาจานี้ไว้ว่า ‘มารผู้มีบาป เราจะยังไม่ปรินิพพาน ตราบเท่าที่
เหล่าภิกษุณีผู้สาวิกาของเรา ฯลฯ ตราบเท่าที่เหล่าอุบาสกผู้สาวกของเรา ฯลฯ
ตราบเท่าที่เหล่าอุบาสิกาผู้สาวิกาของเรายังไม่เฉียบแหลม ไม่ได้รับการแนะนำ
ไม่แกล้วกล้า ไม่บรรลุธรรมอันเป็นแดนเกษมจากโยคะ ไม่เป็นพหูสูต ไม่ทรงธรรม
ไม่ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ไม่ปฏิบัติชอบยิ่ง ไม่ประพฤติตามธรรม เรียนกับ
อาจารย์ของตนแล้วแต่ก็ยังบอก แสดง บัญญัติ กำหนด เปิดเผย จำแนก ทำให้ง่าย
ไม่ได้ ยังแสดงธรรมมีปาฏิหาริย์ปราบปรัปปวาทที่เกิดขึ้นให้เรียบร้อยโดยชอบธรรมไม่ได้’
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เวลานี้ เหล่าอุบาสิกาผู้สาวิกาของพระผู้มีพระภาค
เป็นผู้เฉียบแหลม ได้รับการแนะนำ แกล้วกล้า บรรลุธรรมอันเป็นแดนเกษมจาก
โยคะ เป็นพหูสูต ทรงธรรม ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ปฏิบัติชอบยิ่ง ประพฤติ
ตามธรรม เรียนกับอาจารย์ของตนแล้วบอก แสดง บัญญัติ กำหนด เปิดเผย
จำแนก ทำให้ง่ายได้ แสดงธรรมมีปาฏิหาริย์ปราบปรัปปวาทที่เกิดขึ้นให้เรียบร้อยโดย
ชอบธรรมได้
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บัดนี้ ขอพระผู้มีพระภาคโปรดปรินิพพานเถิด ขอพระ
สุคตโปรดปรินิพพานเถิด เวลานี้ เป็นเวลาปรินิพพานของพระผู้มีพระภาค พระผู้มี
พระภาคได้ตรัสพระวาจานี้ไว้ว่า ‘มารผู้มีบาป เราจะยังไม่ปรินิพพานตราบเท่าที่
พรหมจรรย์๑นี้ของเรายังไม่เจริญแพร่หลาย กว้างขวาง รู้กันโดยมาก เป็นปึกแผ่น
กระทั่งเทวดาและมนุษย์ทั้งหลายประกาศได้ดีแล้ว’
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เวลานี้ พรหมจรรย์ของพระผู้มีพระภาคเจริญแพร่หลาย
กว้างขวาง รู้กันโดยมาก เป็นปึกแผ่น กระทั่งเทวดาและมนุษย์ทั้งหลายประกาศ
ได้ดีแล้ว
บัดนี้ ขอพระผู้มีพระภาคโปรดปรินิพพานเถิด ขอพระสุคตโปรดปรินิพพานเถิด
เวลานี้ เป็นเวลาปรินิพพานของพระผู้มีพระภาคแล้ว”

เชิงอรรถ :
๑ พรหมจรรย์ ในที่นี้หมายถึงศาสนพรหมจรรย์ คือ คำสั่งสอนในพระพุทธศาสนาทั้งสิ้นที่รวมลงในไตรสิกขา
(องฺ.อฏฺฐก.อ. ๓/๗๐/๒๗๖)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๓๗๕ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๒.ทุติยปัณณาสก์] ๒.ภูมิจาลวรรค ๑๐.ภูมิจาลสูตร
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “มารผู้มีบาป ท่านจงขวนขวายน้อย๑เถิด
ไม่นานนัก ตถาคตจะปรินิพพาน จากนี้ไปอีก ๓ เดือน ตถาคตจะปรินิพพาน”
เวลานั้น พระผู้มีพระภาคทรงมีสติสัมปชัญญะ ทรงปลงพระชนมายุสังขารแล้ว
ณ ปาวาลเจดีย์ เมื่อพระองค์ทรงปลงพระชนมายุสังขาร๒แล้ว ได้เกิดแผ่นดินไหว
ครั้งใหญ่ น่าสะพรึงกลัว ขนพองสยองเกล้า ทั้งกลองทิพย์ก็ดังกึกก้อง ครั้นพระผู้มี
พระภาคทรงทราบความนั้นแล้ว จึงทรงเปล่งพระอุทานในเวลานั้นดังนี้ว่า
“มุนีละกรรมทั้งที่ชั่งได้และชั่งไม่ได้
อันเป็นเหตุก่อกำเนิดเป็นเครื่องปรุงแต่งภพได้แล้ว
ยินดีในภายใน มีใจมั่นคง
ทำลายกิเลสที่เกิดในตนได้
เหมือนนักรบทำลายเกราะได้ ฉะนั้น”
ลำดับนั้น ท่านพระอานนท์ได้มีความคิดดังนี้ว่า “แผ่นดินไหวครั้งนี้ รุนแรงจริง
แผ่นดินไหวครั้งนี้รุนแรงจริงๆ น่าสะพรึงกลัว ขนพองสยองเกล้า ทั้งกลองทิพย์ก็
ดังกึกก้อง อะไรหนอแลเป็นเหตุ เป็นปัจจัยให้แผ่นดินไหวอย่างรุนแรง”
ต่อมา ท่านพระอานนท์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาท
แล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
แผ่นดินไหวครั้งนี้รุนแรงจริง แผ่นดินไหวครั้งนี้รุนแรงจริงๆ น่าสะพรึงกลัว ขนพอง
สยองเกล้า ทั้งกลองทิพย์ก็ดังกึกก้อง อะไรหนอแลเป็นเหตุ เป็นปัจจัยให้แผ่นดินไหว
อย่างรุนแรง”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “อานนท์ เหตุปัจจัย ๘ ประการนี้ทำให้แผ่นดิน
ไหวอย่างรุนแรง

เชิงอรรถ :
๑ ขวนขวายน้อย ในที่นี้หมายถึงไม่ต้องกังวลห่วงใย (องฺ.อฏฺฐก.อ. ๓/๗๐/๒๗๗)
๒ ปลงอายุสังขาร หมายถึงสลัดปัจจัยเครื่องปรุงแต่งอายุ ตกลงพระทัยอย่างมีสติมั่นคง และกำหนดรู้ด้วย
พระปัญญาว่าจะปรินิพพาน (ที.ม.อ. ๒/๑๗๗/๑๖๗, องฺ.อฏฺฐก.อ. ๓/๗๐/๒๗๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๓๗๖ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๒.ทุติยปัณณาสก์] ๒.ภูมิจาลวรรค ๑๐.ภูมิจาลสูตร
เหตุปัจจัย ๘ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. มหาปฐพีนี้ตั้งอยู่บนน้ำ น้ำตั้งอยู่บนลม ลมตั้งอยู่บนอากาศ เวลา
ที่ลมพายุพัดแรงย่อมทำให้น้ำกระเพื่อม น้ำที่กระเพื่อมย่อมทำให้
แผ่นดินไหวตาม นี้เป็นเหตุปัจจัยประการที่ ๑ ที่ทำให้แผ่นดินไหว
อย่างรุนแรง
๒. สมณะหรือพราหมณ์ผู้มีฤทธิ์ เชี่ยวชาญทางจิต หรือเหล่าเทวดาผู้มี
ฤทธิ์มาก มีอานุภาพมากได้เจริญปฐวีสัญญานิดหน่อย แต่เจริญ
อาโปสัญญาจนหาประมาณมิได้ จึงทำให้แผ่นดินนี้ไหวสั่นสะเทือน
เลื่อนลั่น นี้เป็นเหตุปัจจัยประการที่ ๒ ที่ทำให้แผ่นดินไหวอย่าง
รุนแรง
๓. คราวที่พระโพธิสัตว์มีสติสัมปชัญญะจุติจากภพดุสิต เสด็จสู่พระครรภ์
ของพระมารดา แผ่นดินนี้ก็ไหวสั่นสะเทือนเลื่อนลั่น นี้เป็นเหตุปัจจัย
ประการที่ ๓ ที่ทำให้แผ่นดินไหวอย่างรุนแรง
๔. คราวที่พระโพธิสัตว์มีสติสัมปชัญญะ ประสูติจากพระครรภ์ของ
พระมารดา แผ่นดินนี้ก็ไหวสั่นสะเทือนเลื่อนลั่น นี้เป็นเหตุปัจจัย
ประการที่ ๔ ที่ทำให้แผ่นดินไหวอย่างรุนแรง
๕. คราวที่ตถาคตตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ แผ่นดินนี้ก็ไหวสั่น
สะเทือนเลื่อนลั่น นี้เป็นเหตุปัจจัยประการที่ ๕ ที่ทำให้แผ่นดินไหว
อย่างรุนแรง
๖. คราวที่ตถาคตประกาศธรรมจักรอันยอดเยี่ยมให้เป็นไป แผ่นดินนี้
ก็ไหวสั่นสะเทือนเลื่อนลั่น นี้เป็นเหตุปัจจัยประการที่ ๖ ที่ทำให้
แผ่นดินไหวอย่างรุนแรง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๓๗๗ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๒.ทุติยปัณณาสก์] ๒.ภูมิจาลวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค
๗. คราวที่ตถาคตมีสติสัมปชัญญะปลงอายุสังขาร แผ่นดินนี้ก็ไหวสั่น
สะเทือนเลื่อนลั่น นี้เป็นเหตุปัจจัยประการที่ ๗ ที่ทำให้แผ่นดินไหว
อย่างรุนแรง
๘. คราวที่ตถาคตปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ แผ่นดินนี้ก็
ไหวสั่นสะเทือนเลื่อนลั่น นี้เป็นเหตุปัจจัยประการที่ ๘ ที่ทำให้แผ่น
ดินไหวอย่างรุนแรง
อานนท์ เหตุปัจจัย ๘ ประการนี้แล ที่ทำให้แผ่นดินไหวอย่างรุนแรง”
ภูมิจาลสูตรที่ ๑๐ จบ
ภูมิจาลวรรคที่ ๒ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. อิจฉาสูตร ๒. อลังสูตร
๓. สังขิตตสูตร ๔. คยาสีสสูตร
๕. อภิภายตนสูตร ๖. วิโมกขสูตร
๗. อนริยโวหารสูตร ๘. อริยโวหารสูตร
๙. ปริสาสูตร ๑๐. ภูมิจาลสูตร


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๓๗๘ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๒.ทุติยปัณณาสก์] ๓.ยมกวรรค ๑.ปฐมสัทธาสูตร
๓. ยมกวรรค
หมวดว่าด้วยธรรมคู่กัน
๑. ปฐมสัทธาสูตร๑
ว่าด้วยศรัทธา สูตรที่ ๑
[๗๑] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้มีศรัทธา แต่ไม่มีศีล
เธอชื่อว่าเป็นผู้ไม่บริบูรณ์ด้วยองค์นั้นอย่างนี้ เธอพึงบำเพ็ญองค์นั้นให้บริบูรณ์ด้วย
คิดว่า ‘ทางที่ดี เราควรเป็นผู้มีศรัทธา มีศีล’ เมื่อใด ภิกษุเป็นผู้มีศรัทธา มีศีล
เมื่อนั้น เธอจึงชื่อว่าเป็นผู้บริบูรณ์ด้วยองค์นั้นอย่างนี้
ภิกษุเป็นผู้มีศรัทธาและมีศีล แต่ไม่เป็นพหูสูต เธอชื่อว่าเป็นผู้ไม่บริบูรณ์ด้วย
องค์นั้นอย่างนี้ เธอพึงบำเพ็ญองค์นั้นให้บริบูรณ์ด้วยคิดว่า ‘ทางที่ดี เราควรเป็นผู้มี
ศรัทธา มีศีล และเป็นพหูสูต’ เมื่อใด ภิกษุเป็นผู้มีศรัทธา มีศีล และเป็นพหูสูต
เมื่อนั้น เธอจึงชื่อว่าเป็นผู้บริบูรณ์ด้วยองค์นั้นอย่างนี้
ภิกษุเป็นผู้มีศรัทธา มีศีล และเป็นพหูสูต แต่ไม่เป็นธรรมกถึก๒ ฯลฯ เป็น
ธรรมกถึก แต่ไม่เข้าไปสู่บริษัท ฯลฯ เข้าไปสู่บริษัท แต่ไม่แกล้วกล้าแสดงธรรมแก่
บริษัท ฯลฯ แกล้วกล้าแสดงธรรมแก่บริษัท แต่ไม่ได้ฌาน ๔ อันมีในจิตยิ่ง๓
ซึ่งเป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบันตามความปรารถนา ได้โดยยาก ได้โดยลำบาก
ฯลฯ ได้ฌาน ๔ อันมีในจิตยิ่งซึ่งเป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบันตามความปรารถนา
ได้โดยไม่ยาก ได้โดยไม่ลำบาก แต่ไม่ทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันไม่มี

เชิงอรรถ :
๑ ดู องฺ.ทสก. (แปล) ๒๔/๘-๑๐/๑๒-๑๖
๒ ธรรมกถึก หมายถึงผู้แสดงธรรม หรือนักเทศน์ซึ่งจะต้องมีองค์ธรรม ๕ ประการ คือ (๑) แสดงธรรมไปตาม
ลำดับ (๒) แสดงอ้างเหตุ (๓) แสดงธรรมอาศัยความเอ็นดู (๔) ไม่เพ่งอามิสแสดงธรรม (๕) แสดงธรรม
ไม่กระทบตนและผู้อื่น (องฺ.ปญฺจก. (แปล) ๒๒/๑๕๙/๒๖๓)
๓ มีในจิตยิ่ง (อภิเจตสิก) ในที่นี้หมายถึงอุปจารสมาธิ (ม.มู.อ. ๑/๖๖/๑๗๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๓๗๙ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๒.ทุติยปัณณาสก์] ๓.ยมกวรรค ๑.ปฐมสัทธาสูตร
อาสวะ เพราะอาสวะสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเอง เข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน เธอชื่อว่าเป็น
ผู้ไม่บริบูรณ์ด้วยองค์นั้นอย่างนี้ เธอพึงบำเพ็ญองค์นั้นให้บริบูรณ์ด้วยคิดว่า ‘ทางที่ดี
เราควรเป็นผู้มีศรัทธา มีศีล เป็นพหูสูต เป็นธรรมกถึก เข้าไปสู่บริษัท แกล้วกล้า
แสดงธรรมแก่บริษัท เป็นผู้ได้ฌาน ๔ อันมีในจิตยิ่งซึ่งเป็นเครื่องอยู่เป็นสุขใน
ปัจจุบันตามความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ได้โดยไม่ลำบาก และทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ
ปัญญาวิมุตติอันไม่มีอาสวะ เพราะอาสวะสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเอง เข้าถึงอยู่ใน
ปัจจุบัน’
เมื่อใด ภิกษุ
๑. มีศรัทธา ๒. มีศีล
๓. เป็นพหูสูต ๔. เป็นธรรมกถึก
๕. เข้าไปสู่บริษัท ๖. แกล้วกล้าแสดงธรรมแก่บริษัท
๗. ได้ฌาน ๔ อันมีในจิตยิ่งซึ่งเป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบันตามความ
ปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ได้โดยไม่ลำบาก
๘. ทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันไม่มีอาสวะ เพราะอาสวะสิ้น
ไปด้วยปัญญาอันยิ่งเอง เข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน
เมื่อนั้น เธอจึงชื่อว่าเป็นผู้บริบูรณ์ด้วยองค์นั้นอย่างนี้
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๘ ประการนี้แล ชื่อว่าเป็นผู้ก่อให้เกิด
ความเลื่อมใสได้รอบด้าน๑ และเป็นผู้บริบูรณ์ด้วยอาการทั้งปวง๒”
ปฐมสัทธาสูตรที่ ๑ จบ

เชิงอรรถ :
๑ ก่อให้เกิดความเลื่อมใสได้รอบด้าน หมายถึงมีกายกรรม และวจีกรรมที่น่าเลื่อมใส (องฺ.ทสก.อ. ๓/๘/๓๑๙)
๒ บริบูรณ์ด้วยอาการทั้งปวง ในที่นี้หมายถึงบริบูรณ์ด้วยอาการของสมณะ ด้วยธรรมของสมณะ (องฺ.อฏฺฐก.อ.
๓/๗๑-๗๒/๒๘๐)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๓๘๐ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๒.ทุติยปัณณาสก์] ๓.ยมกวรรค ๒.ทุติยสัทธาสูตร
๒. ทุติยสัทธาสูตร
ว่าด้วยศรัทธา สูตรที่ ๒
[๗๒] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้มีศรัทธา แต่ไม่มีศีล เธอชื่อว่าเป็นผู้ไม่
บริบูรณ์ด้วยองค์นั้นอย่างนี้ เธอพึงบำเพ็ญองค์นั้นให้บริบูรณ์ด้วยคิดว่า ‘ทางที่ดี
เราควรเป็นผู้มีศรัทธา มีศีล’ เมื่อใด ภิกษุเป็นผู้มีศรัทธา มีศีล เมื่อนั้น เธอจึงชื่อ
ว่าเป็นผู้บริบูรณ์ด้วยองค์นั้นอย่างนี้
ภิกษุเป็นผู้มีศรัทธาและมีศีล แต่ไม่เป็นพหูสูต ฯลฯ เป็นพหูสูต แต่ไม่เป็น
ธรรมกถึก ฯลฯ เป็นธรรมกถึก แต่ไม่เข้าไปสู่บริษัท ฯลฯ เข้าไปสู่บริษัท แต่ไม่
แกล้วกล้าแสดงธรรมแก่บริษัท ฯลฯ แกล้วกล้าแสดงธรรมแก่บริษัท แต่ไม่ได้
สัมผัสสันตวิโมกข์๑ ไม่มีรูปเพราะล่วงรูปทั้งหลายได้ด้วยกายอยู่๒ ฯลฯ ได้สัมผัส
สันตวิโมกข์ซึ่งไม่มีรูปเพราะล่วงรูปทั้งหลายได้ด้วยกายอยู่ แต่ไม่ทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ
ปัญญาวิมุตติอันไม่มีอาสวะ เพราะอาสวะสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ใน
ปัจจุบัน เธอจึงชื่อว่าเป็นผู้ไม่บริบูรณ์ด้วยองค์นั้นอย่างนี้ เธอพึงบำเพ็ญองค์นั้น
ให้บริบูรณ์ด้วยคิดว่า ‘ทางที่ดี เราควรเป็นผู้มีศรัทธา มีศีล เป็นพหูสูต เป็น
ธรรมกถึก เข้าไปสู่บริษัท แกล้วกล้า แสดงธรรมแก่บริษัท ได้สัมผัสสันตวิโมกข์ซึ่ง
ไม่มีรูป เพราะล่วงรูปทั้งหลายได้ด้วยกายอยู่ และทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ
อันไม่มีอาสวะ เพราะอาสวะสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน’
เมื่อใด ภิกษุ
๑. มีศรัทธา ๒. มีศีล
๓. เป็นพหูสูต ๔. เป็นธรรมกถึก

เชิงอรรถ :
๑ สันตวิโมกข์ หมายถึงอรูปฌานที่พ้นได้อย่างสิ้นเชิง เพราะพ้นจากธรรมที่เป็นข้าศึก กล่าวคือนิวรณ์ ๕ และ
เพราะไม่เกี่ยวข้องในอารมณ์เป็นต้น (องฺ.ทสก.อ. ๓/๙/๓๒๐)
๒ กาย ในที่นี้หมายถึงนามกาย คือกองแห่งนามธรรม ได้แก่ เจตสิกทั้งหลาย (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๒๖/๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๓๘๑ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๒.ทุติยปัณณาสก์] ๓.ยมกวรรค ๓.ปฐมมรณัสสติสูตร
๕. เข้าไปสู่บริษัท ๖. แกล้วกล้าแสดงธรรมแก่บริษัท
๗. ได้สัมผัสสันตวิโมกข์ซึ่งไม่มีรูป เพราะล่วงรูปทั้งหลายได้ด้วยกายอยู่
๘. ทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันไม่มีอาสวะ เพราะอาสวะสิ้นไป
ด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน
เมื่อนั้น เธอจึงชื่อว่าเป็นผู้บริบูรณ์ด้วยองค์นั้นอย่างนี้
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๘ ประการนี้แล ชื่อว่าเป็นผู้ก่อให้เกิด
ความเลื่อมใสได้รอบด้าน และเป็นผู้บริบูรณ์ด้วยอาการทั้งปวง
ทุติยสัทธาสูตรที่ ๒ จบ

๓. ปฐมมรณัสสติสูตร
ว่าด้วยการเจริญมรณัสสติ๑สูตรที่ ๑
[๗๓] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ คิญชกาวสถาราม๒ ใน
นาทิกคาม ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า “ภิกษุ
ทั้งหลาย” ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า
“ภิกษุทั้งหลาย มรณัสสติที่บุคคลเจริญทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์
มาก หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นที่สุด เธอทั้งหลายเจริญมรณัสสติอยู่หรือไม่”
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสถามอย่างนี้แล้ว ภิกษุรูปหนึ่งได้กราบทูลพระผู้มี
พระภาคว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แม้ข้าพระองค์ก็ยังเจริญมรณัสสติอยู่”
พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “ภิกษุ เธอเจริญมรณัสสติอย่างไร”
ภิกษุกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ในเรื่องนี้ ข้าพระองค์มีความคิด
อย่างนี้ว่า ‘โอหนอ เราพึงเป็นอยู่ได้คืนหนึ่งและวันหนึ่ง เราพึงมนสิการถึงคำสอน
ของพระผู้มีพระภาค เราพึงทำกิจให้มากหนอ’ ข้าพระองค์เจริญมรณัสสติอย่างนี้แล”

เชิงอรรถ :
๑ ดู องฺ.ฉกฺก. (แปล) ๒๒/๑๙/๔๔๔
๒ คิญชกาวสถาราม หมายถึงปราสาทที่สร้างด้วยอิฐ (องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๑๙/๑๐๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๓๘๒ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๒.ทุติยปัณณาสก์] ๓.ยมกวรรค ๓.ปฐมมรณัสสติสูตร
ภิกษุอีกรูปหนึ่งกราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แม้
ข้าพระองค์ก็ยังเจริญมรณัสสติอยู่”
พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “ภิกษุ เธอเจริญมรณัสสติอย่างไร”
ภิกษุกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ในเรื่องนี้ ข้าพระองค์มีความคิด
อย่างนี้ว่า ‘โอหนอ เราพึงเป็นอยู่ได้วันหนึ่ง เราพึงมนสิการถึงคำสอนของพระผู้มี
พระภาค เราพึงทำกิจให้มากหนอ’ ข้าพระองค์เจริญมรณัสสติอย่างนี้แล”
ภิกษุอีกรูปหนึ่งกราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แม้ข้าพระองค์
ก็ยังเจริญมรณัสสติอยู่”
พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “ภิกษุ เธอเจริญมรณัสสติอย่างไร”
ภิกษุกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ในเรื่องนี้ ข้าพระองค์มีความคิด
อย่างนี้ว่า ‘โอหนอ เราพึงเป็นอยู่ได้กึ่งวัน เราพึงมนสิการถึงคำสอนของพระผู้มี
พระภาค เราพึงทำกิจให้มากหนอ’ ข้าพระองค์เจริญมรณัสสติอย่างนี้แล”
ภิกษุอีกรูปหนึ่งกราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แม้
ข้าพระองค์ก็ยังเจริญมรณัสสติอยู่”
พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “ภิกษุ เธอเจริญมรณัสสติอย่างไร”
ภิกษุกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ในเรื่องนี้ ข้าพระองค์มีความคิด
อย่างนี้ว่า ‘โอหนอ เราพึงเป็นอยู่ได้เพียงชั่วขณะฉันบิณฑบาตมื้อหนึ่ง เราพึง
มนสิการถึงคำสอนของพระผู้มีพระภาค เราพึงทำกิจให้มากหนอ’ ข้าพระองค์เจริญ
มรณัสสติอย่างนี้แล”
ภิกษุอีกรูปหนึ่งกราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แม้
ข้าพระองค์ก็ยังเจริญมรณัสสติอยู่”
พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “ภิกษุ เธอเจริญมรณัสสติอย่างไร”
ภิกษุกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ในเรื่องนี้ ข้าพระองค์มีความคิด
อย่างนี้ว่า ‘โอหนอ เราพึงเป็นอยู่ได้เพียงชั่วขณะฉันบิณฑบาตครึ่งหนึ่ง เราพึง
มนสิการถึงคำสอนของพระผู้มีพระภาค เราพึงทำกิจให้มากหนอ’ ข้าพระองค์เจริญ
มรณัสสติอย่างนี้แล”


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๓๘๓ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๒.ทุติยปัณณาสก์] ๓.ยมกวรรค ๓.ปฐมมรณัสสติสูตร
ภิกษุอีกรูปหนึ่งกราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แม้
ข้าพระองค์ก็ยังเจริญมรณัสสติอยู่”
พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “ภิกษุ เธอเจริญมรณัสสติอย่างไร”
ภิกษุกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ในเรื่องนี้ ข้าพระองค์มีความคิด
อย่างนี้ว่า ‘โอหนอ เราพึงเป็นอยู่ได้เพียงชั่วขณะเคี้ยวกินคำข้าว ๔-๕ คำ เราพึง
มนสิการถึงคำสอนของพระผู้มีพระภาค เราพึงทำกิจให้มากหนอ’ ข้าพระองค์เจริญ
มรณัสสติอย่างนี้แล”
ภิกษุอีกรูปหนึ่งกราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แม้
ข้าพระองค์ก็ยังเจริญมรณัสสติอยู่”
พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “ภิกษุ เธอเจริญมรณัสสติอย่างไร”
ภิกษุกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ในเรื่องนี้ ข้าพระองค์มีความคิด
อย่างนี้ว่า ‘โอหนอ เราพึงเป็นอยู่ได้เพียงชั่วขณะเคี้ยวกินคำข้าว ๑ คำ เราพึง
มนสิการถึงคำสอนของพระผู้มีพระภาค เราพึงทำกิจให้มากหนอ’ ข้าพระองค์เจริญ
มรณัสสติอย่างนี้แล”
ภิกษุอีกรูปหนึ่งกราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แม้
ข้าพระองค์ก็ยังเจริญมรณัสสติอยู่”
พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “ภิกษุ เธอเจริญมรณัสสติอย่างไร”
ภิกษุกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ในเรื่องนี้ ข้าพระองค์มีความคิด
อย่างนี้ว่า ‘โอหนอ เราพึงเป็นอยู่ได้เพียงชั่วขณะหายใจเข้าหายใจออก หรือหายใจ
ออกหายใจเข้า เราพึงมนสิการถึงคำสอนของพระผู้มีพระภาค เราพึงทำกิจให้มากหนอ’
ข้าพระองค์เจริญมรณัสสติอย่างนี้แล”
เมื่อภิกษุเหล่านั้นกราบทูลอย่างนี้แล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสว่า “ภิกษุ
ทั้งหลาย ภิกษุรูปที่เจริญมรณัสสติอย่างนี้ว่า ‘โอหนอ เราพึงเป็นอยู่ได้คืนหนึ่งและ
วันหนึ่ง เราพึงมนสิการถึงคำสอนของพระผู้มีพระภาค เราพึงทำกิจให้มากหนอ’
ภิกษุรูปที่เจริญมรณัสสติอย่างนี้ว่า ‘โอหนอ เราพึงเป็นอยู่ได้วันหนึ่ง เราพึง
มนสิการถึงคำสอนของพระผู้มีพระภาค เราพึงทำกิจให้มากหนอ’


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๓๘๔ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๒.ทุติยปัณณาสก์] ๓.ยมกวรรค ๓.ปฐมมรณัสสติสูตร
ภิกษุรูปที่เจริญมรณัสสติอย่างนี้ว่า ‘โอหนอ เราพึงเป็นอยู่ได้กึ่งวัน เราพึง
มนสิการถึงคำของพระผู้มีพระภาค เราพึงทำกิจให้มากหนอ’
ภิกษุรูปที่เจริญมรณัสสติอย่างนี้ว่า ‘โอหนอ เราพึงเป็นอยู่ได้เพียงชั่วขณะฉัน
บิณฑบาตมื้อหนึ่ง เราพึงมนสิการถึงคำสอนของพระผู้มีพระภาค เราพึงทำกิจ
ให้มากหนอ’
ภิกษุรูปที่เจริญมรณัสสติอย่างนี้ว่า ‘โอหนอ เราพึงเป็นอยู่ได้เพียงชั่วขณะฉัน
บิณฑบาตครึ่งหนึ่ง เราพึงมนสิการถึงคำสอนของพระผู้มีพระภาค เราพึงทำกิจ
ให้มากหนอ’
ภิกษุรูปที่เจริญมรณัสสติอย่างนี้ว่า ‘โอหนอ เราพึงเป็นอยู่ได้เพียงชั่วขณะเคี้ยว
กินคำข้าว ๔-๕ คำ เราพึงมนสิการถึงคำสอนของพระผู้มีพระภาค เราพึงทำกิจ
ให้มากหนอ’
ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวว่าภิกษุทั้ง ๖ รูปนี้ ยังเป็นผู้ประมาทอยู่ เจริญมรณัสสติ
อย่างเพลาเพื่อความสิ้นอาสวะทั้งหลาย
ภิกษุทั้งหลาย ส่วนภิกษุรูปที่เจริญมรณัสสติอย่างนี้ว่า ‘โอหนอ เราพึงเป็นอยู่
ได้เพียงชั่วขณะเคี้ยวกินคำข้าว ๑ คำ เราพึงมนสิการถึงคำสอนของพระผู้มีพระภาค
เราพึงทำกิจให้มากหนอ’
และภิกษุรูปที่เจริญมรณัสสติอย่างนี้ว่า ‘โอหนอ เราพึงเป็นอยู่ได้เพียงชั่วขณะ
หายใจเข้าหายใจออก หรือหายใจออกหายใจเข้า เราพึงมนสิการถึงคำสอนของ
พระผู้มีพระภาค เราพึงทำกิจให้มากหนอ’
ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวว่าภิกษุทั้ง ๒ รูปนี้เป็นผู้ไม่ประมาทอยู่ เจริญมรณัสสติ
อย่างแรงกล้าเพื่อความสิ้นอาสวะทั้งหลาย
เพราะเหตุนั้นแล เธอทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า ‘เราทั้งหลายจักเป็นผู้ไม่
ประมาทอยู่ จักเจริญมรณัสสติอย่างแรงกล้าเพื่อความสิ้นอาสวะทั้งหลาย’
ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้แล”
ปฐมมรณัสสติสูตรที่ ๓ จบ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๓๘๕ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๒.ทุติยปัณณาสก์] ๓.ยมกวรรค ๔. ทุติยมรณัสสติสูตร
๔. ทุติยมรณัสสติสูตร
ว่าด้วยการเจริญมรณัสสติ๑สูตรที่ ๒
[๗๔] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ คิญชกาวสถาราม ใน
นาทิกคาม ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย มรณัสสติที่บุคคลเจริญทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก
หยั่งลงสู่อมตะ๒ มีอมตะเป็นที่สุด
มรณัสสติที่บุคคลเจริญทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก
หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นที่สุด เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เมื่อกลางวันผ่านไป กลางคืนย่างเข้ามา พิจารณา
ดังนี้ว่า ‘ปัจจัยแห่งความตายของเรามีมากแท้ คือ งูพึงกัดเราก็ได้ แมงป่องพึงต่อย
เราก็ได้ หรือตะขาบพึงกัดเราก็ได้ เพราะเหตุนั้น เราพึงตาย เราพึงมีอันตราย๓นั้น
เราพึงพลาดหกล้มก็ได้ ภัตตาหารที่เราฉันแล้วไม่พึงย่อยก็ได้ ดีของเราพึงกำเริบก็ได้
เสมหะของเราพึงกำเริบก็ได้ ลมมีพิษดังศัสตราของเราพึงกำเริบก็ได้ พวกมนุษย์
พึงทำร้ายเราก็ได้ หรือพวกอมนุษย์พึงทำร้ายเราก็ได้ เพราะเหตุนั้น เราพึงตาย
เราพึงมีอันตรายนั้น’ ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้นพึงพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ‘บาปอกุศลธรรม
ที่เรายังละไม่ได้ ซึ่งจะพึงเป็นอันตรายแก่เราผู้จะตายในเวลากลางคืนมีอยู่หรือไม่’
ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า ‘บาปอกุศลธรรมที่เรายังละไม่ได้ ซึ่งจะพึง
เป็นอันตรายแก่เราผู้จะตายในเวลากลางคืนยังมีอยู่’ ภิกษุนั้นควรทำความพอใจ
ความพยายาม ความอุตสาหะ ความขะมักเขม้น ความไม่ท้อถอย สติและสัมชัญญะ
ให้มีประมาณยิ่งเพื่อละบาปอกุศลธรรมเหล่านั้น

เชิงอรรถ :
๑ ดู องฺ.ฉกฺก. (แปล) ๒๒/๒๐/๔๔๗
๒ อมตะ ในที่นี้หมายถึงนิพพาน (องฺ.สตฺตก.อ. ๓/๔๘-๔๙/๑๘๔)
๓ อันตราย มี ๓ อย่าง คือ (๑) อันตรายต่อชีวิต (๒) อันตรายต่อสมณธรรม (๓) อันตรายต่อสวรรค์และ
อันตรายต่อมรรคสำหรับผู้ที่ตายอย่างปุถุชน (องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๒๐/๑๐๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๓๘๖ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๒.ทุติยปัณณาสก์] ๓.ยมกวรรค ๔. ทุติยมรณัสสติสูตร
บุคคลผู้มีผ้าที่ถูกไฟไหม้ หรือมีศีรษะที่ถูกไฟไหม้ ควรทำความพอใจ ความ
พยายาม ความอุตสาหะ ความขะมักเขม้น ความไม่ท้อถอย สติและสัมปชัญญะ
ให้มีประมาณยิ่งเพื่อดับไฟที่ไหม้ผ้าหรือไฟที่ไหม้ศีรษะนั้น แม้ฉันใด ภิกษุนั้นก็ฉันนั้น
เหมือนกัน ควรทำความพอใจ ความพยายาม ความอุตสาหะ ความขะมักเขม้น
ความไม่ท้อถอย สติและสัมปชัญญะให้มีประมาณยิ่งเพื่อละบาปอกุศลธรรมเหล่านั้น
ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า ‘บาปกุศลธรรมที่เรายังละไม่ได้ ซึ่งจะพึงเป็น
อันตรายแก่เราผู้จะตายในเวลากลางคืนไม่มี’ ภิกษุนั้นพึงเป็นผู้มีปีติและปราโมทย์
นั้นแล ตามสำเหนียกในกุศลธรรมทั้งหลายทั้งกลางวันและกลางคืนอยู่เถิด
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เมื่อกลางคืนผ่านไป กลางวันย่างเข้ามา พิจารณาเห็น
ดังนี้ว่า ‘ปัจจัยแห่งความตายของเรามีมากแท้ คือ งูพึงกัดเราก็ได้ แมงป่องพึง
ต่อยเราก็ได้ หรือตะขาบพึงกัดเราก็ได้ เพราะเหตุนั้น เราพึงตาย เราพึงมีอันตรายนั้น
เราพึงพลาดหกล้มก็ได้ ภัตตาหารที่เราฉันแล้วไม่พึงย่อยก็ได้ ดีของเราพึงกำเริบก็ได้
เสมหะของเราพึงกำเริบก็ได้ ลมมีพิษดังศัสตราของเราพึงกำเริบก็ได้ พวกมนุษย์พึง
ทำร้ายเราก็ได้ หรือพวกอมนุษย์พึงทำร้ายเราก็ได้ เพราะเหตุนั้น เราพึงตาย เราพึง
มีอันตรายนั้น’ ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้นพึงพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ‘บาปอกุศลธรรมที่
เรายังละไม่ได้ ซึ่งจะพึงเป็นอันตรายแก่เราผู้จะตายในเวลากลางวันยังมีอยู่หรือไม่’
ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า ‘บาปอกุศลธรรมที่เรายังละไม่ได้ ซึ่งจะพึง
เป็นอันตรายแก่เราผู้จะตายในเวลากลางวันยังมีอยู่’ ภิกษุนั้นควรทำความพอใจ
ความพยายาม ความอุตสาหะ ความขะมักเขม้น ความไม่ท้อถอย สติและ
สัมปชัญญะให้มีประมาณยิ่งเพื่อละบาปอกุศลธรรมเหล่านั้น
บุคคลผู้มีผ้าที่ถูกไฟไหม้ หรือมีศีรษะที่ถูกไฟไหม้ ควรทำความพอใจ ความ
พยายาม ความอุตสาหะ ความขะมักเขม้น ความไม่ท้อถอย สติและสัมปชัญญะ
ให้มีประมาณยิ่งเพื่อดับไฟที่ไหม้ผ้าหรือไฟที่ไหม้ศีรษะนั้น แม้ฉันใด ภิกษุนั้นก็ฉันนั้น
เหมือนกัน ควรทำความพอใจ ความพยายาม ความอุตสาหะ ความขะมักเขม้น
ความไม่ท้อถอย สติและสัมปชัญญะให้มีประมาณยิ่งเพื่อละบาปอกุศลธรรมเหล่านั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๓๘๗ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๒.ทุติยปัณณาสก์] ๓.ยมกวรรค ๕.ปฐมสัมปทาสูตร
ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า ‘บาปอกุศลธรรมที่เรายังละไม่ได้ ซึ่งจะพึงเป็น
อันตรายแก่เราผู้จะตายในเวลากลางวันไม่มี’ ภิกษุนั้นพึงเป็นผู้มีปีติและปราโมทย์นั้นแล
ตามสำเหนียกในกุศลธรรมทั้งหลายทั้งกลางวันและกลางคืนอยู่เถิด
ภิกษุทั้งหลาย มรณัสสติที่บุคคลเจริญทำให้มากแล้วอย่างนี้แล ย่อมมีผลมาก
มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นที่สุด เป็นอย่างนี้แล
ทุติยมรณัสสติสูตรที่ ๔ จบ

๕. ปฐมสัมปทาสูตร
ว่าด้วยสัมปทา สูตรที่ ๑
[๗๕] ภิกษุทั้งหลาย สัมปทา (ความถึงพร้อม) ๘ ประการนี้
สัมปทา ๘ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. อุฏฐานสัมปทา (ความถึงพร้อมด้วยความหมั่น)
๒. อารักขสัมปทา (ความถึงพร้อมด้วยการรักษา)
๓. กัลยาณมิตตตา (ความเป็นผู้มีมิตรดี)
๔. สมชีวิตา (ความเป็นอยู่เหมาะสม)
๕. สัทธาสัมปทา (ความถึงพร้อมด้วยศรัทธา)
๖. สีลสัมปทา (ความถึงพร้อมด้วยศีล)
๗. จาคสัมปทา (ความถึงพร้อมด้วยจาคะ)
๘. ปัญญาสัมปทา (ความถึงพร้อมด้วยปัญญา)
ภิกษุทั้งหลาย สัมปทา ๘ ประการนี้แล
คนขยันหมั่นเพียรในการทำงาน
ไม่ประมาท รู้วิธีการเลี้ยงชีพแต่พอเหมาะ
รักษาทรัพย์ที่หามาได้ เป็นผู้มีศรัทธา ถึงพร้อมด้วยศีล
รู้ความประสงค์ของผู้ขอ ปราศจากความตระหนี่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๓๘๘ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๒.ทุติยปัณณาสก์] ๓.ยมกวรรค ๖.ทุติยสัมปทาสูตร
ชำระทางแห่งประโยชน์ที่มีในภพหน้าอยู่เป็นนิตย์
ที่พระพุทธเจ้าผู้มีพระนามว่าสัจจะตรัสธรรม ๘ ประการดังกล่าวมานี้
เพื่อผู้ครองเรือน ผู้มีศรัทธา
อันเป็นเหตุนำสุขมาให้ในโลกทั้ง ๒ คือ
ประโยชน์เกื้อกูลในภพนี้ และสุขในภพหน้า
จาคะ บุญนี้ย่อมเจริญยิ่งขึ้นแก่คฤหัสถ์ทั้งหลาย ด้วยประการฉะนี้
ปฐมสัมปทาสูตรที่ ๕ จบ

๖. ทุติยสัมปทาสูตร
ว่าด้วยสัมปทา๑ สูตรที่ ๒
[๗๖] ภิกษุทั้งหลาย สัมปทา ๘ ประการนี้
สัมปทา ๘ ประการ อะไรบ้าง คือ

๑. อุฏฐานสัมปทา ๒. อารักขสัมปทา
๓. กัลยาณมิตตตา ๔. สมชีวิตา
๕. สัทธาสัมปทา ๖. สีลสัมปทา
๗. จาคสัมปทา ๘. ปัญญาสัมปทา

อุฏฐานสัมปทา เป็นอย่างไร
คือ กุลบุตรในโลกนี้เลี้ยงชีพด้วยการงานใด จะเป็นกสิกรรม พาณิชยกรรม
โครักขกรรม เป็นช่างศร รับราชการ หรือศิลปะอย่างใดอย่างหนึ่งก็ตาม เป็นผู้ขยัน
ไม่เกียจคร้านในการงานที่จะต้องช่วยกันทำนั้น ประกอบด้วยปัญญาเป็นเครื่องพิจารณา
อันเป็นอุบายในการงานที่จะต้องช่วยกันทำนั้น สามารถทำได้ สามารถจัดได้ นี้เรียกว่า
อุฏฐานสัมปทา

เชิงอรรถ :
๑ ดูอัฏฐกนิบาต ข้อ ๕๔ (ทีฆชาณุสูตร) หน้า ๓๔๐-๓๔๔ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๓๘๙ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๒.ทุติยปัณณาสก์] ๓.ยมกวรรค ๓.ทุติยสัมปทาสูตร
อารักขสัมปทา เป็นอย่างไร
คือ กุลบุตรในโลกนี้มีโภคทรัพย์ที่หามาได้ด้วยความขยันหมั่นเพียร เก็บรวบ
รวมด้วยน้ำพักน้ำแรง อาบเหงื่อต่างน้ำ ประกอบด้วยธรรม ได้มาโดยธรรม
เขารักษาคุ้มครองโภคทรัพย์นั้นด้วยคิดว่า ‘ทำอย่างไร โภคทรัพย์เหล่านี้ของเราจึง
จะไม่ถูกพระราชาริบ โจรไม่ลัก ไฟไม่ไหม้ น้ำไม่พัดไป ทายาทผู้ไม่เป็นที่รักไม่ลักไป’
นี้เรียกว่า อารักขสัมปทา
กัลยาณมิตตตา เป็นอย่างไร
คือ กุลบุตรในโลกนี้วางตัวเหมาะสม เจรจา สนทนากับคนในหมู่บ้านหรือ
ในนิคมที่ตนอาศัยอยู่ จะเป็นคหบดี บุตรคหบดี คนหนุ่มผู้เคร่งศีล หรือคนแก่ผู้
เคร่งศีลก็ตาม ผู้ถึงพร้อมด้วยศรัทธา ถึงพร้อมด้วยศีล ถึงพร้อมด้วยจาคะ
และถึงพร้อมด้วยปัญญา คอยศึกษาสัทธาสัมปทาของท่านผู้ถึงพร้อมด้วยศรัทธาตาม
สมควร คอยศึกษาสีลสัมปทาของท่านผู้ถึงพร้อมด้วยศีลตามสมควร คอยศึกษา
จาคสัมปทาของท่านผู้ถึงพร้อมด้วยจาคะตามสมควร และคอยศึกษาปัญญาสัมปทา
ของท่านผู้ถึงพร้อมด้วยปัญญาตามสมควร นี้เรียกว่า กัลยาณมิตตตา
สมชีวิตา เป็นอย่างไร
คือ กุลบุตรในโลกนี้รู้ทางเจริญแห่งโภคทรัพย์และทางเสื่อมแห่งโภคทรัพย์แล้ว
เลี้ยงชีวิตแต่พอเหมาะ ไม่ให้ฟุ่มเฟือยนัก ไม่ให้ฝืดเคืองนักด้วยคิดว่า ‘ด้วยการใช้
จ่ายอย่างนี้ รายรับของเราจักเกินรายจ่าย และรายจ่ายของเราจักไม่เกินรายรับ’
เปรียบเหมือนคนชั่งของ หรือลูกมือของคนชั่งของ ยกตาชั่งขึ้นดูก็รู้ได้ว่า ‘ต้องลดลง
เท่านี้ หรือเพิ่มขึ้นเท่านี้’ ฉันใด กุลบุตร ก็ฉันนั้นเหมือนกัน รู้ทางเจริญแห่ง
โภคทรัพย์และทางเสื่อมแห่งโภคทรัพย์แล้วเลี้ยงชีพแต่พอเหมาะ ไม่ให้ฟุ่มเฟือยนัก
ไม่ให้ฝืดเคืองนักด้วยคิดว่า ‘ด้วยการใช้จ่ายอย่างนี้ รายรับของเราจักเกินรายจ่าย
และรายจ่ายของเราจักไม่เกินรายรับ’ ถ้ากุลบุตรนี้มีรายรับน้อย แต่เลี้ยงชีพอย่าง
ฟุ่มเฟือย ก็จะมีผู้กล่าวหาเขาได้ว่า ‘กุลบุตรผู้นี้ใช้จ่ายโภคทรัพย์เหมือนคนกินผล


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๓๙๐ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๒.ทุติยปัณณาสก์] ๓.ยมกวรรค ๓.ทุติยสัมปทาสูตร
มะเดื่อ‘๑ ถ้ากุลบุตรนี้มีรายรับมาก แต่เลี้ยงชีวิตอย่างฝืดเคือง ก็จะมีผู้กล่าวหาเขา
ได้ว่า ‘กุลบุตรผู้นี้จักตายอย่างไม่สมฐานะ’ แต่เพราะกุลบุตรนี้รู้ทางเจริญแห่ง
โภคทรัพย์และทางเสื่อมแห่งโภคทรัพย์แล้วเลี้ยงชีวิตแต่พอเหมาะ ไม่ให้ฟุ่มเฟือยนัก
ไม่ให้ฝืดเคืองนักด้วยคิดว่า ‘ด้วยการใช้จ่ายอย่างนี้ รายรับของเราจักเกินรายจ่าย
และรายจ่ายของเราจักไม่เกินรายรับ’ นี้เรียกว่า สมชีวิตา
สัทธาสัมปทา เป็นอย่างไร
คือ กุลบุตรในโลกนี้เป็นผู้มีศรัทธา เชื่อปัญญาเครื่องตรัสรู้ของตถาคตว่า
‘แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ฯลฯ๒ เป็นศาสดาของเทวดาและ
มนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระผู้มีพระภาค’ นี้เรียกว่า สัทธาสัมปทา
สีลสัมปทา เป็นอย่างไร
คือ กุลบุตรในโลกนี้เป็นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ ฯลฯ๓ เว้นขาดจากการเสพ
ของมึนเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นเหตุแห่งความประมาท นี้เรียกว่า สีลสัมปทา
จาคสัมปทา เป็นอย่างไร
คือ กุลบุตรในโลกนี้มีใจปราศจากความตระหนี่อันเป็นมลทิน ฯลฯ๔ ควรแก่
การขอ ยินดีในการแจกทาน นี้เรียกว่า จาคสัมปทา
ปัญญาสัมปทา เป็นอย่างไร
คือ กุลบุตรในโลกนี้เป็นผู้มีปัญญา คือ ฯลฯ๕ ให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ
นี้เรียกว่า ปัญญาสัมปทา
ภิกษุทั้งหลาย สัมปทา ๘ ประการนี้แล
คนขยันหมั่นเพียรในการทำงาน
ไม่ประมาท รู้วิธีการเลี้ยงชีวิตแต่พอเหมาะ

เชิงอรรถ :
๑ ดูเชิงอรรถที่ ๑ อัฏฐกนิบาต ข้อ ๕๔ หน้า ๓๔๒ ในเล่มนี้
๒-๕ ดูข้อความเต็มในอัฏฐกนิบาต ข้อ ๕๔ หน้า ๓๔๓-๓๔๔ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๓๙๑ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๒.ทุติยปัณณาสก์] ๓.ยมกวรรค ๗.อิจฉาสูตร
รักษาทรัพย์ที่หามาได้ เป็นผู้มีศรัทธา ถึงพร้อมด้วยศีล
รู้ความประสงค์ของผู้ขอ ปราศจากความตระหนี่
ชำระทางแห่งประโยชน์ที่มีในภพหน้าอยู่เป็นนิตย์
ที่พระพุทธเจ้าผู้มีพระนามว่าสัจจะตรัสธรรม ๘ ประการดังกล่าวมานี้
เพื่อผู้ครองเรือน ผู้มีศรัทธา
อันเป็นเหตุนำสุขมาให้ในโลกทั้ง ๒ คือ
ประโยชน์เกื้อกูลในภพนี้ และสุขในภพหน้า
จาคะ บุญนี้ย่อมเจริญยิ่งขึ้นแก่คฤหัสถ์ทั้งหลาย ด้วยประการฉะนี้
ทุติยสัมปทาสูตรที่ ๖ จบ

๗. อิจฉาสูตร
ว่าด้วยความอยากได้ลาภ๑
[๗๗] ณ ที่นั้นแล ท่านพระสารีบุตรเรียกภิกษุทั้งหลายมากล่าวว่า “ผู้มีอายุ
ทั้งหลาย” ภิกษุเหล่านั้นรับคำแล้ว ท่านพระสารีบุตรจึงได้กล่าวดังนี้ว่า
“บุคคล ๘ จำพวกนี้ มีปรากฏอยู่ในโลก
บุคคล ๘ จำพวกไหนบ้าง คือ
๑. เมื่อภิกษุในพระธรรมวินัยนี้อยู่อย่างสงัด แต่ไม่ประพฤติให้ต่อเนื่อง
ความอยากได้ลาภย่อมเกิดขึ้น เธอหมั่น พากเพียร พยายามเพื่อ
ให้ได้ลาภ เมื่อเธอหมั่น พากเพียร พยายามเพื่อให้ได้ลาภ แต่ลาภ
ก็ไม่เกิดขึ้น เพราะไม่ได้ลาภนั้น เธอจึงเศร้าโศก ลำบากใจ ร่ำไร
ทุบอก คร่ำครวญ ถึงความเลอะเลือน ภิกษุนี้เราเรียกว่าผู้อยาก
ได้ลาภอยู่ หมั่น พากเพียร พยายามเพื่อให้ได้ลาภ เธอชื่อว่าเป็น
ผู้ไม่ได้ลาภ เศร้าโศก ร่ำไร และเคลื่อนจากพระสัทธรรม

เชิงอรรถ :
๑ ดูอัฏฐกนิบาตข้อ ๖๑ (อิจฉาสูตร) หน้า ๓๕๕-๓๕๗ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๓๙๒ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๒.ทุติยปัณณาสก์] ๓.ยมกวรรค ๗.อิจฉาสูตร
๒. เมื่อภิกษุในพระธรรมวินัยนี้อยู่อย่างสงัด แต่ไม่ประพฤติให้ต่อเนื่อง
ความอยากได้ลาภย่อมเกิดขึ้น เธอหมั่น พากเพียร พยายาม
เพื่อให้ได้ลาภ เมื่อเธอหมั่น พากเพียร พยายามเพื่อให้ได้ลาภ
ลาภก็เกิดขึ้น เพราะได้ลาภนั้น เธอจึงมัวเมา ประมาท เลินเล่อ
ภิกษุนี้เราเรียกว่าผู้อยากได้ลาภอยู่ หมั่น พากเพียร พยายาม
เพื่อให้ได้ลาภ เธอชื่อว่าเป็นผู้ได้ลาภ มัวเมา ประมาท และเคลื่อน
จากพระสัทธรรม
๓. เมื่อภิกษุในพระธรรมวินัยนี้อยู่อย่างสงัด แต่ไม่ประพฤติให้ต่อเนื่อง
ความอยากได้ลาภย่อมเกิดขึ้น เธอไม่หมั่น ไม่พากเพียร
ไม่พยายามเพื่อให้ได้ลาภ เมื่อเธอไม่หมั่น ไม่พากเพียร
ไม่พยายามเพื่อให้ได้ลาภ ลาภก็ไม่เกิดขึ้น เพราะไม่ได้ลาภนั้น
เธอจึงเศร้าโศก ลำบากใจ ร่ำไร ทุบอกคร่ำครวญ ถึงความ
เลอะเลือน ภิกษุนี้เราเรียกว่าผู้อยากได้ลาภอยู่ แต่ไม่หมั่น
ไม่พากเพียร ไม่พยายามเพื่อให้ได้ลาภ เธอชื่อว่าเป็นผู้ไม่ได้ลาภ
เศร้าโศก ร่ำไร และเคลื่อนจากพระสัทธรรม
๔. เมื่อภิกษุในพระธรรมวินัยนี้อยู่อย่างสงัด แต่ไม่ประพฤติให้ต่อเนื่อง
ความอยากได้ลาภย่อมเกิดขึ้น แต่เธอไม่หมั่น ไม่พากเพียร
ไม่พยายามเพื่อให้ได้ลาภ เมื่อเธอไม่หมั่น ไม่พากเพียร ไม่พยายาม
เพื่อให้ได้ลาภ แต่ลาภก็เกิดขึ้น เพราะได้ลาภนั้น เธอจึงมัวเมา
ประมาท เลินเล่อ ภิกษุนี้เราเรียกว่าผู้อยากได้ลาภ แต่ไม่หมั่น
ไม่พากเพียร ไม่พยายามเพื่อให้ได้ลาภ เธอชื่อว่าเป็นผู้ได้ลาภ
มัวเมา ประมาท และเคลื่อนจากพระสัทธรรม
๕. เมื่อภิกษุในพระธรรมวินัยนี้อยู่อย่างสงัด แต่ไม่ประพฤติให้ต่อเนื่อง
ความอยากได้ลาภย่อมเกิดขึ้น เธอหมั่น พากเพียร พยายามเพื่อ
ให้ได้ลาภ เมื่อเธอหมั่น พากเพียร พยายามเพื่อให้ได้ลาภ แต่ลาภ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๓๙๓ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๒.ทุติยปัณณาสก์] ๓.ยมกวรรค ๗.อิจฉาสูตร
ก็ไม่เกิดขึ้น เพราะไม่ได้ลาภนั้น เธอก็ไม่เศร้าโศก ไม่ลำบากใจ
ไม่ร่ำไร ไม่ทุบอกคร่ำครวญ ไม่ถึงความเลอะเลือน ภิกษุนี้เรา
เรียกว่าผู้อยากได้ลาภอยู่ หมั่น พากเพียร พยายามเพื่อให้ได้ลาภ
เธอชื่อว่าเป็นผู้ไม่ได้ลาภ ไม่เศร้าโศก ไม่ร่ำไร และไม่เคลื่อนจาก
พระสัทธรรม
๖. เมื่อภิกษุในพระธรรมวินัยนี้อยู่อย่างสงัด แต่ไม่ประพฤติให้ต่อเนื่อง
ความอยากได้ลาภย่อมเกิดขึ้น เธอหมั่น พากเพียร พยายามเพื่อ
ให้ได้ลาภ เมื่อเธอหมั่น พากเพียร พยายามเพื่อให้ได้ลาภ ลาภก็
เกิดขึ้น เพราะได้ลาภนั้น เธอก็ไม่มัวเมา ไม่ประมาท ไม่เลินเล่อ
ภิกษุนี้เราเรียกว่าผู้อยากได้ลาภอยู่ หมั่น พากเพียร พยายามเพื่อ
ให้ได้ลาภ เธอชื่อว่าเป็นผู้ได้ลาภ ไม่มัวเมา ไม่ประมาท และไม่
เคลื่อนจากพระสัทธรรม
๗. เมื่อภิกษุในพระธรรมวินัยนี้อยู่อย่างสงัด แต่ไม่ประพฤติให้ต่อเนื่อง
ความอยากได้ลาภย่อมเกิดขึ้น แต่เธอไม่หมั่น ไม่พากเพียร ไม่พยายาม
เพื่อให้ได้ลาภ เมื่อเธอไม่หมั่น ไม่พากเพียร ไม่พยายามเพื่อให้
ได้ลาภ ลาภก็ไม่เกิดขึ้น เพราะไม่ได้ลาภนั้น เธอก็ไม่เศร้าโศก
ไม่ลำบากใจ ไม่ร่ำไร ไม่ทุบอกคร่ำครวญ ไม่ถึงความเลอะเลือน
ภิกษุนี้เราเรียกว่าผู้อยากได้ลาภอยู่ แต่ไม่หมั่น ไม่พากเพียร
ไม่พยายามเพื่อให้ได้ลาภ เธอชื่อว่าเป็นผู้ไม่ได้ลาภ ไม่เศร้าโศก
ไม่ร่ำไร และไม่เคลื่อนจากพระสัทธรรม
๘. เมื่อภิกษุในพระธรรมวินัยนี้อยู่อย่างสงัด แต่ไม่ประพฤติให้ต่อเนื่อง
ความอยากได้ลาภย่อมเกิดขึ้น แต่เธอไม่หมั่น ไม่พากเพียร
ไม่พยายามเพื่อให้ได้ลาภ เมื่อเธอไม่หมั่น ไม่พากเพียร ไม่พยายาม
เพื่อให้ได้ลาภ แต่ลาภก็เกิดขึ้น เพราะได้ลาภนั้น เธอก็ไม่มัวเมา
ไม่ประมาท ไม่เลินเล่อ ภิกษุนี้เราเรียกว่าผู้อยากได้ลาภอยู่ แต่ไม่
หมั่น ไม่พากเพียร ไม่พยายามเพื่อให้ได้ลาภ เธอชื่อว่าเป็นผู้ได้ลาภ
ไม่มัวเมา ไม่ประมาท และไม่เคลื่อนจากพระสัทธรรม
ผู้มีอายุทั้งหลาย บุคคล ๘ จำพวกนี้แล มีปรากฏอยู่ในโลก”
อิจฉาสูตรที่ ๗ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๓๙๔ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๒.ทุติยปัณณาสก์] ๓.ยมกวรรค ๘.อลังสูตร
๘. อลังสูตร
ว่าด้วยผู้สามารถทำประโยชน์ตนและผู้อื่น๑
[๗๘] ณ ที่นั้นแล ท่านพระสารีบุตรได้เรียกภิกษุทั้งหลายมากล่าวว่า ฯลฯ
ผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๖ ประการ เป็นผู้มีความสามารถสำหรับ
ตนเอง และมีความสามารถสำหรับผู้อื่น
ธรรม ๖ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้
๑. ใคร่ครวญได้เร็วในกุศลธรรมทั้งหลาย
๒. ทรงจำธรรมที่ฟังแล้วไว้ได้
๓. พิจารณาเนื้อความแห่งธรรมที่ทรงจำไว้ได้
๔. รู้อรรถรู้ธรรมแล้วปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม
๕. มีวาจางาม เจรจาถ้อยคำไพเราะ ประกอบด้วยวาจาชาวเมืองที่
สละสลวยไม่หยาบคายให้รู้ความหมายได้
๖. ชี้แจงให้เพื่อนพรหมจารีเห็นชัด ชวนใจให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ
เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริง
ผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๖ ประการนี้แล เป็นผู้มีความสามารถ
สำหรับตนเอง และมีความสามารถสำหรับผู้อื่น
ผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ เป็นผู้มีความสามารถ
สำหรับตนเอง และมีความสามารถสำหรับผู้อื่น
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้
๑. ใคร่ครวญไม่ได้เร็วในกุศลธรรมทั้งหลาย แต่ทรงจำธรรมที่ฟังแล้วไว้ได้
๒. พิจารณาเนื้อความแห่งธรรมที่ทรงจำไว้ได้

เชิงอรรถ :
๑ ดูอัฏฐกนิบาตข้อ ๖๒ (อลังสูตร) หน้า ๓๕๗-๓๖๑ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๓๙๕ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๒.ทุติยปัณณาสก์] ๓.ยมกวรรค ๘.อลังสูตร
๓. รู้อรรถรู้ธรรมแล้วปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม
๔. มีวาจางาม ฯลฯ ให้รู้ความหมายได้
๕. ชี้แจงให้เพื่อนพรหมจารีเห็นชัด ชวนใจให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจ
ให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริง
ผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล เป็นผู้มีความสามารถ
สำหรับตนเอง และมีความสามารถสำหรับผู้อื่น
ผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ เป็นผู้มีความสามารถ
สำหรับตนเอง แต่ไม่มีความสามารถสำหรับผู้อื่น
ธรรม ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้
๑. ใคร่ครวญได้เร็วในกุศลธรรมทั้งหลาย
๒. ทรงจำธรรมที่ฟังแล้วไว้ได้
๓. พิจารณาเนื้อความธรรมที่ทรงจำไว้ได้ รู้อรรถรู้ธรรมแล้วปฏิบัติธรรม
สมควรแก่ธรรม
๔. ไม่มีวาจางาม ไม่เจรจาถ้อยคำไพเราะ ไม่ประกอบด้วยวาจา
ชาวเมืองที่สละสลวยไม่หยาบคายให้รู้ความหมายได้ ทั้งไม่ชี้แจงให้
เพื่อนพรหมจารีเห็นชัด ไม่ชวนใจให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ ไม่เร้าใจ
ให้อาจหาญแกล้วกล้า ไม่ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริง
ผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้แล เป็นผู้มีความสามารถ
สำหรับตนเอง แต่ไม่มีความสามารถสำหรับผู้อื่น
ผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ เป็นผู้มีความสามารถ
สำหรับผู้อื่น แต่ไม่มีความสามารถสำหรับตนเอง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๓๙๖ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๒.ทุติยปัณณาสก์] ๓.ยมกวรรค ๘.อลังสูตร
ธรรม ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้
๑. ใคร่ครวญได้เร็วในกุศลธรรมทั้งหลาย
๒. ทรงจำธรรมที่ฟังแล้วไว้ได้ แต่ไม่พิจารณาเนื้อความแห่งธรรมที่ทรง
จำไว้ ทั้งไม่รู้อรรถรู้ธรรมแล้วปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม
๓. มีวาจางาม เจรจาถ้อยคำไพเราะ ฯลฯ ให้รู้ความหมายได้
๔. ชี้แจงให้เพื่อนพรหมจารีเห็นชัด ฯลฯ
ผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้แล เป็นผู้มีความ
สามารถสำหรับผู้อื่น แต่ไม่มีความสามารถสำหรับตนเอง
ผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๓ ประการ เป็นผู้มีความสามารถ
สำหรับตนเอง แต่ไม่มีความสามารถสำหรับผู้อื่น
ธรรม ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้
๑. ใคร่ครวญไม่ได้เร็วในกุศลธรรมทั้งหลาย แต่ทรงจำธรรมที่ฟังแล้วไว้ได้
๒. พิจารณาเนื้อความแห่งธรรมที่ทรงจำไว้ได้
๓. รู้อรรถรู้ธรรมแล้วปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม แต่ไม่มีวาจางาม
ไม่เจรจาถ้อยคำไพเราะ ไม่ประกอบด้วยวาจาชาวเมืองที่สละสลวย
ไม่หยาบคาย ให้รู้ความหมายได้ ทั้งไม่ชี้แจงให้เพื่อนพรหมจารี
เห็นชัด ไม่ชวนใจให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ ไม่เร้าใจให้อาจหาญ
แกล้วกล้า ไม่ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริง
ผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๓ ประการนี้แล เป็นผู้มีความ
สามารถสำหรับตนเอง แต่ไม่มีความสามารถสำหรับผู้อื่น
ผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๓ ประการ เป็นผู้มีความสามารถ
สำหรับผู้อื่น แต่ไม่มีความสามารถสำหรับตนเอง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๓๙๗ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๒.ทุติยปัณณาสก์] ๓.ยมกวรรค ๘.อลังสูตร
ธรรม ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้
๑. ใคร่ครวญไม่ได้เร็วในกุศลธรรมทั้งหลาย แต่ทรงจำธรรมที่ฟังแล้วไว้ได้
๒. ไม่พิจารณาเนื้อความแห่งธรรมที่ทรงจำไว้ได้ ทั้งไม่รู้อรรถรู้ธรรมแล้ว
ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม มีวาจางาม ฯลฯ ให้รู้ความหมายได้
๓. ชี้แจงให้เพื่อนพรหมจารีเห็นชัด ชวนใจให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ
เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริง
ผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๓ ประการนี้แล เป็นผู้มีความสามารถ
สำหรับผู้อื่น แต่ไม่มีความสามารถสำหรับตนเอง
ผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๒ ประการ เป็นผู้มีความสามารถ
สำหรับตนเอง แต่ไม่มีความสามารถสำหรับผู้อื่น
ธรรม ๒ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้
๑. ใคร่ครวญไม่ได้เร็วในกุศลธรรมทั้งหลาย ทั้งไม่ทรงจำธรรมที่ฟังแล้ว
ไว้ได้ แต่พิจารณาเนื้อความแห่งธรรมที่ทรงจำไว้ได้
๒. รู้อรรถรู้ธรรมแล้วปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม แต่ไม่มีวาจางาม ฯลฯ
ให้รู้ความหมายได้ไม่ ทั้งไม่ชี้แจงให้เพื่อนพรหมจารีเห็นชัด ฯลฯ
ผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๒ ประการนี้แล เป็นผู้มีความสามารถ
สำหรับตนเอง แต่ไม่มีความสามารถสำหรับผู้อื่น
ผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๒ ประการ เป็นผู้มีความสามารถ
สำหรับผู้อื่น แต่ไม่มีความสามารถสำหรับตนเอง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๓๙๘ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๒.ทุติยปัณณาสก์] ๓.ยมกวรรค ๙.ปริหานสูตร
ธรรม ๒ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้
๑. ใคร่ครวญไม่ได้เร็วในกุศลธรรมทั้งหลาย ทั้งไม่ทรงจำธรรมที่ฟังแล้ว
ไว้ได้ ไม่พิจารณาเนื้อความแห่งธรรมที่ทรงจำไว้ได้ ไม่รู้อรรถรู้
ธรรมแล้วปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม แต่มีวาจางาม เจรจาถ้อยคำ
ไพเราะ ประกอบด้วยวาจาชาวเมืองที่สละสลวยไม่หยาบคายให้รู้
ความหมายได้
๒. ชี้แจงให้เพื่อนพรหมจารีเห็นชัด ชวนใจให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ
เร้าใจให้อาจหาญ แกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริง
ผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๒ ประการนี้แล เป็นผู้มีความ
สามารถสำหรับผู้อื่น แต่ไม่มีความสามารถสำหรับตนเอง
อลังสูตรที่ ๘ จบ

๙. ปริหานสูตร
ว่าด้วยธรรมเป็นเหตุให้พระเสขะเสื่อม๑
[๗๙] ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๘ ประการนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความเสื่อมแก่ภิกษุ
ผู้เป็นเสขะ
ธรรม ๘ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ความเป็นผู้ชอบการงาน
๒. ความเป็นผู้ชอบการพูดคุย
๓. ความเป็นผู้ชอบการนอนหลับ
๔. ความเป็นผู้ชอบการคลุกคลีด้วยหมู่
๕. ความเป็นผู้ไม่คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย

เชิงอรรถ :
๑ ดูสัตตกนิบาตข้อ ๒๘ (ปฐมปริหานิสูตร) หน้า ๔๓-๔๔ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๓๙๙ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๒.ทุติยปัณณาสก์] ๓.ยมกวรรค ๑๐.กุสีตารัมภวัตถุสูตร
๖. ความเป็นผู้ไม่รู้จักประมาณในการบริโภค
๗. ความเป็นผู้ชอบธรรมเป็นเครื่องข้อง
๘. ความเป็นผู้ชอบปปัญจธรรม๑
ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๘ ประการนี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อความเสื่อมแก่ภิกษุผู้เป็นเสขะ
ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๘ ประการนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความไม่เสื่อมแก่ภิกษุผู้
เป็นเสขะ
ธรรม ๘ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ความเป็นผู้ไม่ชอบการงาน
๒. ความเป็นผู้ไม่ชอบการพูดคุย
๓. ความเป็นผู้ไม่ชอบการนอนหลับ
๔. ความเป็นผู้ไม่ชอบการคลุกคลีด้วยหมู่
๕. ความเป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย
๖. ความเป็นผู้รู้จักประมาณในการบริโภค
๗. ความเป็นผู้ไม่ชอบธรรมเป็นเครื่องข้อง
๘. ความเป็นผู้ไม่ชอบปปัญจธรรม
ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๘ ประการนี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อความไม่เสื่อมแก่ภิกษุ
ผู้เป็นเสขะ
ปริหานสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. กุสีตารัมภวัตถุสูตร
ว่าด้วยเหตุแห่งความเกียจคร้านและเหตุปรารภความเพียร
[๘๐] ภิกษุทั้งหลาย กุสีตวัตถุ (เหตุแห่งความเกียจคร้าน) ๘ ประการนี้
กุสีตวัตถุ ๘ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้มีงานที่ต้องทำ เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า ‘เราจัก
ต้องทำงาน เมื่อเราทำงานอยู่ กายจักเมื่อยล้า อย่ากระนั้นเลย

เชิงอรรถ :
๑ ดูเชิงอรรถที่ ๒ อัฏฐกนิบาต ข้อ ๓๐ หน้า ๒๘๐ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๔๐๐ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๒.ทุติยปัณณาสก์] ๓.ยมกวรรค ๑๐.กุสีตารัมภวัตถุสูตร
เราจะนอน’ เธอจึงนอนเสีย ไม่ปรารภความเพียรเพื่อถึงธรรมที่ยัง
ไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ทำ
ให้แจ้ง นี้เป็นกุสีตวัตถุประการที่ ๑
๒. ภิกษุทำงานแล้ว เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า ‘เราได้ทำงานแล้ว เมื่อ
เราทำงาน กายเมื่อยล้าแล้ว อย่ากระนั้นเลย เราจะนอน’ เธอจึง
นอนเสีย ไม่ปรารภความเพียรเพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรม
ที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ทำให้แจ้ง นี้เป็นกุสีตวัตถุ
ประการที่ ๒
๓. ภิกษุต้องเดินทาง เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า ‘เราจักต้องเดินทาง เมื่อ
เราเดินทาง กายจักเมื่อยล้า อย่ากระนั้นเลย เราจะนอน’ เธอจึง
นอนเสีย ไม่ปรารภความเพียรเพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุ
ธรรมที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ทำให้แจ้ง นี้เป็น
กุสีตวัตถุประการที่ ๓
๔. ภิกษุเดินทางแล้ว เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า ‘เราเดินทางแล้ว เมื่อ
เราเดินทาง กายเมื่อยล้าแล้ว อย่ากระนั้นเลย เราจะนอน’ เธอจึง
นอนเสีย ไม่ปรารภความเพียรเพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุ
ธรรมที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ทำให้แจ้ง นี้เป็น
กุสีตวัตถุประการที่ ๔
๕. ภิกษุเที่ยวบิณฑบาตตามหมู่บ้านหรือนิคม ไม่ได้โภชนะเศร้าหมอง
หรือประณีตบริบูรณ์เพียงพอตามต้องการ เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า
‘เราเที่ยวบิณฑบาตตามหมู่บ้านหรือนิคม ก็ไม่ได้โภชนะเศร้าหมอง
หรือประณีตบริบูรณ์เพียงพอตามต้องการ กายของเรานั้นเมื่อยล้าแล้ว
ไม่ควรแก่การงาน อย่ากระนั้นเลย เราจะนอน’ เธอจึงนอนเสีย
ไม่ปรารภความเพียร ฯลฯ นี้เป็นกุสีตวัตถุประการที่ ๕
๖. ภิกษุเที่ยวบิณฑบาตตามหมู่บ้านหรือนิคม ได้โภชนะเศร้าหมอง
หรือประณีตบริบูรณ์เพียงพอตามต้องการ เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๔๐๑ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๒.ทุติยปัณณาสก์] ๓.ยมกวรรค ๑๐.กุสีตารัมภวัตถุสูตร
‘เราเที่ยวบิณฑบาตตามหมู่บ้านหรือนิคม ได้โภชนะเศร้าหมองหรือ
ประณีตบริบูรณ์เพียงพอตามต้องการแล้ว กายของเรานั้นหนัก ไม่ควร
แก่การงาน เหมือนถั่วราชมาสชุ่มด้วยน้ำ อย่ากระนั้นเลย เรา
จะนอน’ เธอจึงนอนเสีย ไม่ปรารภความเพียร ฯลฯ นี้เป็นกุสีตวัตถุ
ประการที่ ๖
๗. ภิกษุเกิดมีอาพาธขึ้นเล็กน้อย เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า ‘เราเกิดมี
อาพาธขึ้นเล็กน้อยแล้ว มีข้ออ้างที่จะนอนได้ อย่ากระนั้นเลย
เราจะนอน’ เธอจึงนอนเสีย ไม่ปรารภความเพียร ฯลฯ นี้เป็น
กุสีตวัตถุประการที่ ๗
๘. ภิกษุหายอาพาธแล้ว แต่หายอาพาธยังไม่นาน เธอมีความคิด
อย่างนี้ว่า ‘เราหายอาพาธแล้ว แต่หายอาพาธยังไม่นาน กาย
ของเรานั้นยังอ่อนแอ ไม่ควรแก่การงาน อย่ากระนั้นเลย เรา
จะนอน’ เธอจึงนอนเสีย ไม่ปรารภความเพียรเพื่อถึงธรรมที่ยัง
ไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ทำ
ให้แจ้ง นี้เป็นกุสีตวัตถุประการที่ ๘
ภิกษุทั้งหลาย กุสีตวัตถุ ๘ ประการนี้แล
ภิกษุทั้งหลาย อารัมภวัตถุ (เหตุปรารภความเพียร) ๘ ประการนี้
อารัมภวัตถุ ๘ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ภิกษุในธรรมวินัยนี้มีงานที่ต้องทำ เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า ‘เราจัก
ต้องทำงาน เมื่อเราทำงาน การจะใส่ใจคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า
มิใช่ทำได้ง่าย อย่ากระนั้นเลย เราจะรีบปรารภความเพียรเพื่อถึงธรรม
ที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่
ทำให้แจ้ง’ เธอจึงปรารภความเพียรเพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อ
บรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ทำให้แจ้ง นี้เป็น
อารัมภวัตถุประการที่ ๑

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๔๐๒ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๒.ทุติยปัณณาสก์] ๓.ยมกวรรค ๑๐.กุสีตารัมภวัตถุสูตร
๒. ภิกษุทำงานแล้ว เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า ‘เราทำงานแล้ว
เมื่อทำงาน ก็ไม่สามารถที่จะใส่ใจคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าได้
อย่ากระนั้นเลย เราจะรีบปรารภความเพียรเพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง
เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ทำให้แจ้ง’
เธอจึงปรารภความเพียร ฯลฯ นี้เป็นอารัมภวัตถุประการที่ ๒
๓. ภิกษุต้องเดินทาง เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า เราจักต้องเดินทาง
การที่เราเดินทางอยู่จะใส่ใจคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้ามิใช่ทำได้ง่าย
อย่ากระนั้นเลย เราจะรีบปรารภความเพียร ฯลฯ นี้เป็นอารัมภ-
วัตถุประการที่ ๓
๔. ภิกษุเดินทางแล้ว เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า เราเดินทางแล้ว
เมื่อเดินทาง ก็ไม่สามารถจะใส่ใจคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าได้
อย่ากระนั้นเลย เราจะรีบปรารภความเพียร ฯลฯ นี้เป็นอารัมภ-
วัตถุประการที่ ๔
๕. ภิกษุเที่ยวบิณฑบาตตามหมู่บ้านหรือนิคม ไม่ได้โภชนะเศร้าหมอง
หรือประณีตบริบูรณ์เพียงพอตามต้องการ เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า
เราเที่ยวบิณฑบาตตามหมู่บ้านหรือนิคม ก็ไม่ได้โภชนะเศร้าหมอง
หรือประณีตบริบูรณ์เพียงพอตามต้องการ กายของเรานั้นเบา
ควรแก่การงาน อย่ากระนั้นเลย เราจะรีบปรารภความเพียร ฯลฯ
นี้เป็นอารัมภวัตถุประการที่ ๕
๖. ภิกษุเที่ยวบิณฑบาตตามหมู่บ้านหรือนิคม ได้โภชนะเศร้าหมอง
หรือประณีตบริบูรณ์เพียงพอตามต้องการ เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า
เราเที่ยวบิณฑบาตตามหมู่บ้านหรือนิคม ได้โภชนะเศร้าหมองหรือ
ประณีตบริบูรณ์เพียงพอตามต้องการแล้ว กายของเราเบา ควรแก่
การงาน อย่ากระนั้นเลย เราจะรีบปรารภความเพียร ฯลฯ นี้เป็น
อารัมภวัตถุประการที่ ๖

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๔๐๓ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๒.ทุติยปัณณาสก์] ๓.ยมกวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค
๗. ภิกษุเกิดมีอาพาธขึ้นเล็กน้อย เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า ‘เราเกิดมี
อาพาธขึ้นเล็กน้อยแล้ว เป็นไปได้ที่อาพาธของเราจะพึงรุนแรงขึ้น
อย่ากระนั้นเลย เราจะรีบปรารภความเพียร ฯลฯ นี้เป็นอารัมภ-
วัตถุประการที่ ๗
๘. ภิกษุหายอาพาธแล้ว แต่หายอาพาธยังไม่นาน เธอมีความคิด
อย่างนี้ว่า ‘เราหายอาพาธแล้ว แต่หายอาพาธยังไม่นาน เป็นไปได้
ที่อาพาธของเราจะพึงกลับกำเริบขึ้น อย่ากระนั้นเลย เราจะรีบ
ปรารภความเพียร เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่
บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ทำให้แจ้ง’ เธอจึงปรารภความเพียร
เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้ง
ธรรมที่ยังไม่ทำให้แจ้ง นี้เป็นอารัมภวัตถุประการที่ ๘
ภิกษุทั้งหลาย อารัมภวัตถุ ๘ ประการนี้แล
กุสีตารัมภวัตถุสูตรที่ ๑๐ จบ
ยมกวรรคที่ ๓ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. ปฐมสัทธาสูตร ๒. ทุติยสัทธาสูตร
๓. ปฐมมรณัสสติสูตร ๔. ทุติยมรณัสสติสูตร
๕. ปฐมสัมปทาสูตร ๖. ทุติยสัมปทาสูตร
๗. อิจฉาสูตร ๘. อลังสูตร
๙. ปริหานสูตร ๑๐. กุสีตารัมภวัตถุสูตร


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๔๐๔ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๒.ทุติยปัณณาสก์] ๔.สติวรรค ๑.สติสัมปชัญญสูตร
๔. สติวรรค
หมวดว่าด้วยสติสัมปชัญญะ
๑. สติสัมปชัญญสูตร
ว่าด้วยผลแห่งสติสัมปชัญญะ
[๘๑] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย เมื่อสติสัมปชัญญะไม่มี หิริและ
โอตตัปปะของบุคคลผู้มีสติสัมปชัญญะวิบัติ ชื่อว่ามีเหตุถูกขจัดแล้ว เมื่อหิริและ
โอตตัปปะไม่มี อินทรียสังวรของบุคคลผู้มีหิริและโอตตัปปะวิบัติ ชื่อว่ามีเหตุถูก
ขจัดแล้ว เมื่ออินทรียสังวรไม่มี ศีลของบุคคลผู้มีอินทรียสังวรวิบัติ ชื่อว่ามีเหตุถูก
ขจัดแล้ว เมื่อศีลไม่มี สัมมาสมาธิของบุคคลผู้มีศีลวิบัติ ชื่อว่ามีเหตุถูกขจัดแล้ว
เมื่อสัมมาสมาธิไม่มี ยถาภูตญาณทัสสนะของบุคคลผู้มีสัมมาสมาธิวิบัติ ชื่อว่า
มีเหตุถูกขจัดแล้ว เมื่อยถาภูตญาณทัสสนะไม่มี นิพพิทาและวิราคะของบุคคล
ผู้มียถาภูตญาณทัสสนะวิบัติ ชื่อว่ามีเหตุถูกขจัดแล้ว เมื่อนิพพิทาและวิราคะไม่มี
วิมุตติญาณทัสสนะของบุคคลผู้มีนิพพิทาและวิราคะวิบัติ ชื่อว่ามีเหตุถูกขจัดแล้ว
ภิกษุทั้งหลาย ต้นไม้ที่มีกิ่งและใบวิบัติแล้ว สะเก็ด เปลือก กระพี้ แม้แก่น
ของต้นไม้นั้น ย่อมไม่ถึงความบริบูรณ์ แม้ฉันใด
ภิกษุทั้งหลาย เมื่อสติสัมปชัญญะไม่มี หิริและโอตตัปปะของบุคคลผู้มี
สติสัมปชัญญะวิบัติ ชื่อว่ามีเหตุถูกขจัดแล้ว เมื่อหิริและโอตตัปปะไม่มี อินทรีย-
สังวรของบุคคลผู้มีหิริและโอตตัปปะวิบัติ ชื่อว่ามีเหตุถูกขจัดแล้ว ฯลฯ วิมุตติ-
ญาณทัสสนะของบุคคลผู้มีนิพพิทาและวิราคะวิบัติ ชื่อว่ามีเหตุถูกขจัดแล้ว ฉันนั้น
เหมือนกัน
ภิกษุทั้งหลาย เมื่อสติสัมปชัญญะมี หิริและโอตตัปปะของบุคคลผู้สมบูรณ์
ด้วยสติสัมปชัญญะ ชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์ เมื่อหิริและโอตตัปปะมี อินทรียสังวร
ของบุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยหิริและโอตตัปปะ ชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์ เมื่ออินทรียสังวรมี


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๔๐๕ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๒.ทุติยปัณณาสก์] ๔.สติวรรค ๒.ปุณณิยสูตร
ศีลของบุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยอินทรียสังวร ชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์ เมื่อศีลมี สัมมาสมาธิ
ของบุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยศีล ชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์ เมื่อสัมมาสมาธิมี ยถาภูต-
ญาณทัสสนะของบุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยสัมมาสมาธิ ชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์ เมื่อ
ยถาภูตญาณทัสสนะมี นิพพิทาและวิราคะของบุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยยถาภูตญาณทัสสนะ
ชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์ เมื่อนิพพิทาและวิราคะมี วิมุตติญาณทัสสนะของบุคคลผู้สมบูรณ์
ด้วยนิพพิทาและวิราคะ ชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์
ภิกษุทั้งหลาย ต้นไม้ที่มีกิ่งและใบสมบูรณ์ สะเก็ด เปลือก กระพี้ แม้แก่นของ
ต้นไม้นั้น ย่อมถึงความบริบูรณ์ แม้ฉันใด
ภิกษุทั้งหลาย เมื่อสติสัมปชัญญะมี หิริและโอตตัปปะของบุคคลผู้สมบูรณ์
ด้วยสติสัมปชัญญะ ชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์ เมื่อหิริและโอตตัปปะมี อินทรียสังวรของ
บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยหิริและโอตตัปปะ ชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์ ฯลฯ วิมุตติญาณทัสสนะ
ของบุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยนิพพิทาและวิราคะ ชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์ ฉันนั้นเหมือนกัน”
สติสัมปชัญญะสูตรที่ ๑ จบ

๒. ปุณณิยสูตร
ว่าด้วยพระปุณณิยะ๑
[๘๒] ครั้งนั้น ท่านพระปุณณิยะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวาย
อภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อะไรหนอแลเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้พระธรรมเทศนาของ
พระตถาคตแจ่มแจ้งในบางคราว แต่ในบางคราว กลับไม่แจ่มแจ้ง”

เชิงอรรถ :
๑ ดู องฺ.ทสก. (แปล) ๒๔/๘๓/๑๘๓-๑๘๔

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๔๐๖ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๒.ทุติยปัณณาสก์] ๔.สติวรรค ๓.มูลกสูตร
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ปุณณิยะ ภิกษุเป็นผู้มีศรัทธา แต่ไม่เข้าไปหา
ธรรมเทศนาของตถาคตจึงไม่แจ่มแจ้ง แต่เมื่อใด ภิกษุเป็นผู้มีศรัทธาและเข้าไปหา
เมื่อนั้น ธรรมเทศนาของตถาคตจึงแจ่มแจ้ง
ปุณณิยะ ภิกษุเป็นผู้มีศรัทธาและเข้าไปหา แต่ไม่เข้าไปนั่งใกล้ ... เข้าไปนั่งใกล้
แต่ไม่สอบถาม ... สอบถาม แต่ไม่เงี่ยโสตฟังธรรม ... เงี่ยโสตฟังธรรม แต่ฟังธรรม
แล้วไม่ทรงจำธรรมไว้ได้ ... ฟังแล้วทรงจำไว้ได้ แต่ไม่พิจารณาเนื้อความแห่งธรรมที่
ทรงจำไว้ได้ ... พิจารณาเนื้อความแห่งธรรมที่ทรงจำไว้ได้ แต่หาใช่รู้อรรถรู้ธรรมแล้ว
ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรมไม่ ธรรมเทศนาของตถาคตจึงไม่แจ่มแจ้ง
ปุณณิยะ แต่เมื่อใด ภิกษุเป็นผู้มีศรัทธา เข้าไปหา เข้าไปนั่งใกล้ สอบถาม
เงี่ยโสตฟังธรรม ฟังธรรมแล้วทรงจำธรรมไว้ พิจารณาเนื้อความแห่งธรรมที่ทรงจำไว้
เป็นผู้รู้อรรถรู้ธรรมแล้วปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม เมื่อนั้น ธรรมเทศนาของตถาคต
จึงแจ่มแจ้ง
ปุณณิยะ ธรรมเทศนาของตถาคตประกอบด้วยธรรม ๘ ประการนี้แล จึงแจ่ม
แจ้งโดยแท้”
ปุณณิยสูตรที่ ๒ จบ

๓. มูลกสูตร
ว่าด้วยมูลเหตุแห่งธรรมทั้งปวง๑
[๘๓] ภิกษุทั้งหลาย ถ้าอัญเดียรถีย์ปริพาชกถามอย่างนี้ว่า
๑. ธรรมทั้งปวง๒มีอะไรเป็นมูลเหตุ
๒. ธรรมทั้งปวงมีอะไรเป็นแดนเกิด
๓. ธรรมทั้งปวงมีอะไรเป็นเหตุเกิด
๔. ธรรมทั้งปวงมีอะไรเป็นที่ประชุม

เชิงอรรถ :
๑ องฺ.ทสก. (แปล) ๒๔/๕๘/๑๒๕
๒ ธรรมทั้งปวง ในที่นี้หมายถึงขันธ์ ๕ (องฺ.อฏฺฐก. ๓/๘๓/๒๘๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๔๐๗ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๒.ทุติยปัณณาสก์] ๔.สติวรรค ๓.มูลกสูตร
๕. ธรรมทั้งปวงมีอะไรเป็นประมุข
๖. ธรรมทั้งปวงมีอะไรเป็นใหญ่
๗. ธรรมทั้งปวงมีอะไรเป็นยิ่ง
๘. ธรรมทั้งปวงมีอะไรเป็นแก่น
เธอทั้งหลายถูกถามแล้วอย่างนี้ จะพึงตอบอัญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้นอย่างไร
ภิกษุเหล่านั้นกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมของข้าพระองค์
ทั้งหลายมีพระผู้มีพระภาคเป็นหลัก มีพระผู้มีพระภาคเป็นผู้นำ มีพระผู้มีพระภาค
เป็นที่พึ่ง ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานวโรกาส เฉพาะพระผู้มีพระภาคเท่านั้น
ที่จะทรงอธิบายเนื้อความแห่งภาษิตนั้นให้แจ่มแจ้งได้ ภิกษุทั้งหลายฟังต่อจาก
พระผู้มีพระภาคแล้วจักทรงจำไว้”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย ถ้าเช่นนั้น เธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจ
ให้ดี เราจักกล่าว”
ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสดังนี้ว่า
“ภิกษุทั้งหลาย ถ้าอัญเดียรถีย์ปริพาชกถามอย่างนี้ว่า
๑. ธรรมทั้งปวงมีอะไรเป็นมูล
๒. ธรรมทั้งปวงมีอะไรเป็นแดนเกิด
๓. ธรรมทั้งปวงมีอะไรเป็นเหตุเกิด
๔. ธรรมทั้งปวงมีอะไรเป็นที่ประชุม
๕. ธรรมทั้งปวงมีอะไรเป็นประมุข
๖. ธรรมทั้งปวงมีอะไรเป็นใหญ่
๗. ธรรมทั้งปวงมีอะไรเป็นยิ่ง
๘. ธรรมทั้งปวงมีอะไรเป็นแก่น
ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายถูกถามอย่างนี้แล้ว พึงตอบอัญเดียรถีย์ปริพาชก
เหล่านั้นอย่างนี้ว่า
๑. ธรรมทั้งปวงมีฉันทะเป็นมูล
๒. ธรรมทั้งปวงมีมนสิการเป็นแดนเกิด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๔๐๘ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๒.ทุติยปัณณาสก์] ๔.สติวรรค ๔.โจรสูตร
๓. ธรรมทั้งปวงมีผัสสะเป็นเหตุเกิด
๔. ธรรมทั้งปวงมีเวทนาเป็นที่ประชุม
๕. ธรรมทั้งปวงมีสมาธิเป็นประมุข
๖. ธรรมทั้งปวงมีสติเป็นใหญ่
๗. ธรรมทั้งปวงมีปัญญาเป็นยิ่ง
๘. ธรรมทั้งปวงมีวิมุตติเป็นแก่น
ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายถูกถามอย่างนี้แล้ว พึงตอบอัญเดียรถีย์ปริพาชก
เหล่านั้นอย่างนี้แล”
มูลกสูตรที่ ๓ จบ

๔. โจรสูตร
ว่าด้วยเหตุเสื่อมของมหาโจร
[๘๔] ภิกษุทั้งหลาย มหาโจรประกอบด้วยองค์ ๘ ประการ ย่อมเสื่อม
อย่างเร็วพลัน ดำรงอยู่ได้ไม่นาน
องค์ ๘ ประการ อะไรบ้าง คือ

๑. ทำร้ายคนที่ไม่โต้ตอบ ๒. ปล้นสิ่งของจนไม่เหลือ
๓. ฆ่าผู้หญิง ๔. ข่มขืนเด็กหญิง
๕. ปล้นนักบวช ๖. ปล้นท้องพระคลัง
๗. ปล้นใกล้ถิ่นเกินไป ๘. ไม่ฉลาดในการเก็บ

ภิกษุทั้งหลาย มหาโจรประกอบด้วยองค์ ๘ ประการนี้แล ย่อมเสื่อมอย่าง
เร็วพลัน ดำรงอยู่ได้ไม่นาน
ภิกษุทั้งหลาย มหาโจรประกอบด้วยองค์ ๘ ประการนี้แล ย่อมไม่เสื่อมอย่าง
เร็วพลัน ดำรงอยู่ได้นาน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๔๐๙ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๒.ทุติยปัณณาสก์] ๔.สติวรรค ๕.สมณสูตร
องค์ ๘ ประการ อะไรบ้าง คือ

๑. ไม่ทำร้ายคนที่ไม่โต้ตอบ ๒. ไม่ปล้นสิ่งของจนไม่เหลือ
๓. ไม่ฆ่าผู้หญิง ๔. ไม่ข่มขืนเด็กหญิง
๕. ไม่ปล้นนักบวช ๖. ไม่ปล้นท้องพระคลัง
๗. ไม่ปล้นใกล้ถิ่นเกินไป ๘. ฉลาดในการเก็บ

ภิกษุทั้งหลาย มหาโจรประกอบด้วยองค์ ๘ ประการนี้แล ย่อมไม่เสื่อมอย่าง
เร็วพลัน ดำรงอยู่ได้นาน
โจรสูตรที่ ๔ จบ

๕. สมณสูตร
ว่าด้วยพระนามของพระพุทธเจ้า
[๘๕] ภิกษุทั้งหลาย
๑. คำว่า สมณะ เป็นพระนามของพระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
๒. คำว่า พราหมณ์ เป็นพระนามของพระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
๓. คำว่า เวทคู เป็นพระนามของพระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
๔. คำว่า ภิสักกะ เป็นพระนามของพระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
๕. คำว่า นิมมละ เป็นพระนามของพระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
๖. คำว่า วิมละ เป็นพระนามของพระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
๗. คำว่า ญาณี เป็นพระนามของพระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
๘. คำว่า วิมุตตะ เป็นพระนามของพระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
สิ่งใดที่ผู้เป็นสมณะ ผู้เป็นพราหมณ์
อยู่จบพรหมจรรย์พึงบรรลุ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๔๑๐ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๒.ทุติยปัณณาสก์] ๔.สติวรรค ๖.ยสสูตร
สิ่งใดอันยอดเยี่ยม ที่ผู้จบเวท
ผู้เป็นศัลยแพทย์พึงบรรลุ
สิ่งใดที่ผู้หมดมลทิน
ผู้ปลอดมลทิน ผู้สะอาดพึงบรรลุ
สิ่งใดอันยอดเยี่ยม ที่ผู้ได้ญาณ
ผู้หลุดพ้นพึงบรรลุ
สิ่งนั้น ๆ เราบรรลุแล้ว
เรานั้นเป็นผู้ชนะสงคราม
เป็นผู้หลุดพ้น เปลื้องมหาชนจากเครื่องผูก
เราเป็นผู้ประเสริฐ เป็นผู้ฝึกตนได้อย่างยอดเยี่ยม
เป็นอเสขบุคคล ปรินิพพานแล้ว๑
สมณสูตรที่ ๕ จบ

๖. ยสสูตร
ว่าด้วยยศ๒
[๘๖] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเสด็จจาริกไปในแคว้นโกศล พร้อมด้วย
ภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ เสด็จถึงหมู่บ้านพราหมณ์แคว้นโกศลชื่ออิจฉานังคละ ณ ที่
นั้นแล พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่ราวป่าชื่ออิจฉานังคละ ใกล้หมู่บ้านพราหมณ์ชื่อ
อิจฉานังคละ

เชิงอรรถ :
๑ ปรินิพพานแล้ว ในที่นี้หมายถึงดับกิเลสได้แล้ว (องฺ.อฏฺฐก. ๓/๘๕/๒๘๒)
๒ ดู องฺ.ปญฺจก. (แปล) ๒๒/๓๐/๔๑-๔๔

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๔๑๑ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๒.ทุติยปัณณาสก์] ๔.สติวรรค ๖.ยสสูตร
พวกพราหมณ์และคหบดีชาวบ้านอิจฉานังคละได้ทราบข่าวว่า “ท่านพระสมณ-
โคดมศากยบุตรทรงออกผนวชจากศากยตระกูล เสด็จถึงบ้านอิจฉานังคละ ประทับอยู่
ที่ราวป่าอิจฉานังคละใกล้หมู่บ้านพราหมณ์ชื่ออิจฉานังคละ ท่านพระสมณโคดม
พระองค์นั้นมีกิตติศัพท์อันงามขจรไปอย่างนี้ว่า ‘แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาค
พระองค์นั้น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้ด้วยพระองค์เองโดยชอบ ฯลฯ ก็การได้พบ
พระอรหันต์เช่นนี้เป็นความดีอย่างแท้จริง”
ครั้นคืนผ่านไป พราหมณ์และคหบดีชาวบ้านอิจฉานังคละจึงพากันถือเอาของ
เคี้ยวของฉันเป็นอันมากเข้าไปถึงราวป่าชื่ออิจฉานังคละ ได้ยืนชุมนุมกันส่งเสียงอื้ออึง
ที่ซุ้มประตูด้านนอก
สมัยนั้นแล ท่านพระนาคิตะเป็นอุปัฏฐากของพระผู้มีพระภาค พระผู้มี
พระภาคได้รับสั่งเรียกท่านพระนาคิตะมาตรัสถามว่า “นาคิตะ คนพวกไหนส่งเสียง
อื้ออึงอยู่นั้นคล้ายพวกชาวประมงแย่งปลากัน”
ท่านพระนาคิตะกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พราหมณ์และคหบดีชาว
บ้านอิจฉานังคละเหล่านั้นพากันถือของเคี้ยวของฉันเป็นอันมากมายืนชุมนุมกันอยู่ที่
ซุ้มประตูด้านนอกเพื่อถวายพระผู้มีพระภาคและภิกษุสงฆ์”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “นาคิตะ เราไม่ติดยศ และยศก็ไม่ติดเรา ผู้ใดแลไม่ได้
ตามความปรารถนา ไม่ได้โดยไม่ยาก ไม่ได้โดยไม่ลำบากซึ่งเนกขัมมสุข๑ ปวิเวกสุข
อุปสมสุข และสัมโพธิสุขที่เราได้ตามความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ได้โดยไม่ลำบากนี้

เชิงอรรถ :
๑ เนกขัมมสุข หมายถึงสุขเกิดจากบรรพชา(การบวช)
ปวิเวกสุข หมายถึงสุขเกิดจากความสงัดจากอุปธิกิเลสทางกายและใจ
อุปสมสุข หมายถึงสุขในผลสมาบัติที่ให้กิเลสสงบระงับ
สัมโพธิสุข หมายถึงสุขในอริยมรรค (ขุ.จู.อ. ๑๔๐/๑๓๓) และดู ม.อุ. ๑๔/๓๒๘/๓๐๐, ขุ.จู. (แปล) ๓๐/๑๔๐/
๔๕๑ ประกอบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๔๑๒ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๒.ทุติยปัณณาสก์] ๔.สติวรรค ๖.ยสสูตร
ผู้นั้นชื่อว่ายินดีสุขที่ไม่สะอาด สุขในการนอนหลับ และสุขที่อิงอาศัยลาภสักการะและ
การสรรเสริญ”
ท่านพระนาคิตะกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บัดนี้ ขอพระผู้มีพระภาค
ผู้สุคตจงทรงรับ บัดนี้ เป็นเวลาที่พระผู้มีพระภาคจะทรงรับ พระองค์จักเสด็จไป
ทางใด ๆ พราหมณ์ คหบดี ชาวนิคม และชาวชนบทก็จักหลั่งไหลไปทางนั้น ๆ ข้าแต่
พระองค์ผู้เจริญ เปรียบเหมือนเมื่อฝนเม็ดใหญ่ตกลงมา น้ำย่อมไหลไปตามที่ลุ่ม
ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะพระผู้มีพระภาคทรงมีศีลและปัญญา”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “นาคิตะ เราไม่ติดยศ และยศก็ไม่ติดเรา ผู้ใดแลไม่
ได้ตามความปรารถนา ไม่ได้โดยไม่ยาก ไม่ได้โดยไม่ลำบากซึ่งเนกขัมมสุข ฯลฯ
ที่เราได้ตามความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ได้โดยไม่ลำบากนี้ ผู้นั้นชื่อว่ายินดีสุขที่
ไม่สะอาด สุขในการนอนหลับ สุขที่อิงอาศัยลาภสักการะและการสรรเสริญ
นาคิตะ แม้แต่เทวดาบางพวกก็ไม่ได้ตามความปรารถนา ไม่ได้โดยไม่ยาก
ไม่ได้โดยไม่ลำบากซึ่งเนกขัมมสุข ฯลฯ ที่เราได้ตามความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก
ได้โดยไม่ลำบากนี้ นาคิตะ แม้แต่พวกเธอมาประชุมพร้อมหน้ากัน หมั่นประกอบ
การอยู่คลุกคลีอยู่ ก็มีความคิดอย่างนี้ว่า ท่านเหล่านี้ไม่ได้ตามความปรารถนา
ไม่ได้โดยไม่ยาก ไม่ได้โดยไม่ลำบากซึ่งเนกขัมมสุข ฯลฯ ที่เราได้ตามความปรารถนา
ได้โดยไม่ยาก ได้โดยไม่ลำบากนี้ เพราะท่านเหล่านั้นมาประชุมพร้อมหน้ากัน
หมั่นประกอบการอยู่คลุกคลีอยู่
๑. เราเห็นภิกษุทั้งหลายในธรรมวินัยนี้ใช้นิ้วจี้สัพยอกเล่นหัวกันอยู่ เรานั้น
มีความคิดอย่างนี้ว่า ท่านเหล่านี้ไม่พึงได้ตามความปรารถนา ไม่ได้
โดยไม่ยาก ไม่ได้โดยไม่ลำบากซึ่งเนกขัมมสุข ฯลฯ ที่เราได้ตามความ
ปรารถนา ฯลฯ เพราะท่านเหล่านี้ใช้นิ้วจี้สัพยอกเล่นหัวกันอยู่
๒. เราเห็นภิกษุทั้งหลายในธรรมวินัยนี้ฉันอาหารตามต้องการจนอิ่มท้อง
แล้ว หมั่นประกอบความสุขในการนอน ความสุขในการเอกเขนก
และความสุขในการหลับอยู่ เรานั้นมีความคิดอย่างนี้ว่า ท่านเหล่านี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๔๑๓ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๒.ทุติยปัณณาสก์] ๔.สติวรรค ๖.ยสสูตร
ไม่ได้ตามความปรารถนา ไม่ได้โดยไม่ยาก ไม่ได้โดยไม่ลำบากซึ่ง
เนกขัมมสุข ฯลฯ ที่เราได้ตามความปรารถนา ฯลฯ เพราะท่าน
เหล่านี้ฉันอาหารตามต้องการจนอิ่มท้องแล้ว หมั่นประกอบความสุข
ในการนอน ความสุขในการเอกเขนก และความสุขในการหลับอยู่
๓. เราเห็นภิกษุในธรรมวินัยนี้ผู้อยู่ในเสนาสนะใกล้หมู่บ้าน มีสมาธินั่งอยู่
เรามีความคิดอย่างนี้ว่า ‘บัดนี้ คนวัด หรือสมณุทเทส๑จักบำรุง
ท่านผู้นี้ จักทำให้ท่านเคลื่อนจากสมาธิ’ เพราะเหตุนั้น เราจึงไม่
ยินดี การอยู่ในเสนาสนะใกล้หมู่บ้านของภิกษุนั้น
๔. เราเห็นภิกษุในธรรมวินัยนี้ผู้อยู่ป่าเป็นวัตร นั่งโงกง่วงอยู่ในป่า เรา
มีความคิดอย่างนี้ว่า ‘บัดนี้ ท่านผู้นี้จักบรรเทาความลำบากคือ
การหลับนี้แล้วมนสิการความกำหนดหมายว่าป่าเป็นเอกัคคตารมณ์’
เพราะเหตุนั้น เราจึงยินดีการอยู่ในป่าของภิกษุนั้น
๕. เราเห็นภิกษุในธรรมวินัยนี้ผู้อยู่ป่าเป็นวัตร ไม่มีสมาธินั่งอยู่ในป่า
เรามีความคิดอย่างนี้ว่า ‘บัดนี้ ท่านผู้นี้จักตั้งจิตที่ไม่เป็นสมาธิให้
เป็นสมาธิ หรือจักตามรักษาจิตที่เป็นสมาธิไว้’ เพราะเหตุนั้น
เราจึงยินดีการอยู่ในป่าของภิกษุนั้น
๖. เราเห็นภิกษุในธรรมวินัยนี้ผู้อยู่ป่าเป็นวัตร มีสมาธินั่งอยู่ในป่า
เรามีความคิดอย่างนี้ว่า ‘บัดนี้ ท่านผู้นี้จักเปลื้องจิตที่ยังไม่หลุดพ้น
ให้หลุดพ้น หรือจักตามรักษาจิตที่หลุดพ้นแล้วไว้ได้’ เพราะเหตุนั้น
เราจึงยินดีการอยู่ในป่าของภิกษุนั้น
๗. เราเห็นภิกษุในธรรมวินัยนี้ผู้อยู่ในเสนาสนะใกล้หมู่บ้าน ได้จีวร
บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชชบริขาร เธอพอใจลาภ
สักการะและการสรรเสริญนั้น ละทิ้งการหลีกเร้น ละทิ้งเสนาสนะ
อันสงัดคือป่าโปร่งและป่าทึบ เข้ามารวมกันอยู่ตามหมู่บ้าน ตำบล

เชิงอรรถ :
๑ สมณุทเทส หมายถึงสามเณร (วิ.มหา. (แปล) ๒/๔๓๐/๕๔๐)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๔๑๔ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๒.ทุติยปัณณาสก์] ๔.สติวรรค ๗.ปัตตนิกุชชนสูตร
และเมืองหลวง’ เพราะเหตุนั้น เราจึงไม่ยินดีการอยู่ในเสนาสนะ
ใกล้หมู่บ้านของภิกษุนั้น
๘. เราเห็นภิกษุในธรรมวินัยนี้ผู้อยู่ป่าเป็นวัตร ได้จีวร บิณฑบาต
เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชชบริขาร เธอสลัดลาภสักการะ
และการสรรเสริญนั้น ไม่ละทิ้งการหลีกเร้น ไม่ละทิ้งเสนาสนะอัน
สงัดคือป่าโปร่งและป่าทึบ’ เพราะเหตุนั้น เราจึงยินดีการอยู่ในป่า
ของภิกษุนั้น
สมัยใด เราเดินทางไกล ไม่เห็นใคร ๆ ข้างหน้า หรือข้างหลัง สมัยนั้น
เราย่อมมีความผาสุก โดยที่สุด แม้แต่การถ่ายอุจจาระและปัสสาวะ”
ยสสูตรที่ ๖ จบ

๗. ปัตตนิกุชชนสูตร
ว่าด้วยเหตุแห่งการคว่ำบาตรและหงายบาตร
[๘๗] ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์เมื่อมุ่งหวัง พึงคว่ำบาตร๑ต่ออุบาสกผู้ประกอบ
ด้วยองค์ ๘ ประการ
องค์ ๘ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ขวนขวายเพื่อไม่ใช่ลาภของภิกษุทั้งหลาย
๒. ขวนขวายเพื่อไม่ใช่ประโยชน์ของภิกษุทั้งหลาย
๓. ขวนขวายเพื่อความอยู่ไม่ได้ของภิกษุทั้งหลาย
๔. ด่าบริภาษภิกษุทั้งหลาย
๕. ยุยงภิกษุทั้งหลายให้แตกกัน
๖. กล่าวติเตียนพระพุทธเจ้า

เชิงอรรถ :
๑ คว่ำบาตร ในที่นี้หมายถึงการสวดกรรมวาจาเพื่อไม่รับไทยธรรมของอุบาสกผู้ประพฤติผิดต่อสงฆ์ มิใช่
หมายถึงคว่ำปากบาตรลง (องฺ.อฏฺฐก.อ. ๓/๘๗/๒๘๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๔๑๕ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๒.ทุติยปัณณาสก์] ๔.สติวรรค ๘.อัปปสาทปเวทนียสูตร
๗. กล่าวติเตียนพระธรรม
๘. กล่าวติเตียนพระสงฆ์
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์เมื่อมุ่งหวัง พึงคว่ำบาตรต่ออุบาสกผู้ประกอบด้วยองค์
๘ ประการนี้แล
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์เมื่อมุ่งหวัง พึงหงายบาตรต่ออุบาสกผู้ประกอบด้วยองค์
๘ ประการ
ธรรม ๘ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ไม่ขวนขวายเพื่อไม่ใช่ลาภของภิกษุทั้งหลาย
๒. ไม่ขวนขวายเพื่อไม่ใช่ประโยชน์ของภิกษุทั้งหลาย
๓. ไม่ขวนขวายเพื่อความอยู่ไม่ได้ของภิกษุทั้งหลาย
๔. ไม่ด่าไม่บริภาษภิกษุทั้งหลาย
๕. ไม่ยุยงภิกษุทั้งหลายให้แตกกัน
๖. กล่าวสรรเสริญพระพุทธเจ้า
๗. กล่าวสรรเสริญพระธรรม
๘. กล่าวสรรเสริญพระสงฆ์
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์เมื่อมุ่งหวัง พึงหงายบาตรต่ออุบาสกผู้ประกอบด้วยองค์
๘ ประการนี้แล
ปัตตนิกุชชนสูตรที่ ๗ จบ

๘. อัปปสาทปเวทนียสูตร
ว่าด้วยเหตุที่ควรประกาศว่าไม่ควรเลื่อมใส
[๘๘] ภิกษุทั้งหลาย อุบาสกเมื่อมุ่งหวัง พึงประกาศความไม่เลื่อมใสต่อภิกษุ
ผู้ประกอบด้วยธรรม ๘ ประการ
ธรรม ๘ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ขวนขวายเพื่อไม่ใช่ลาภของคฤหัสถ์ทั้งหลาย
๒. ขวนขวายเพื่อไม่ใช่ประโยชน์ของคฤหัสถ์ทั้งหลาย
๓. ด่าบริภาษคฤหัสถ์ทั้งหลาย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๔๑๖ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๒.ทุติยปัณณาสก์] ๔.สติวรรค ๘.อัปปสาทปเวทนียสูตร
๔. ยุยงคฤหัสถ์ทั้งหลายให้แตกกัน
๕. กล่าวติเตียนพระพุทธเจ้า
๖. กล่าวติเตียนพระธรรม
๗. กล่าวติเตียนพระสงฆ์
๘. อุบาสกทั้งหลายเห็นภิกษุนั้นในอโคจร
ภิกษุทั้งหลาย อุบาสกเมื่อมุ่งหวัง พึงประกาศความไม่เลื่อมใสต่อภิกษุผู้
ประกอบด้วยธรรม ๘ ประการนี้แล
ภิกษุทั้งหลาย อุบาสกเมื่อมุ่งหวัง พึงประกาศความเลื่อมใสต่อภิกษุผู้ประกอบ
ด้วยธรรม ๘ ประการ
ธรรม ๘ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ไม่ขวนขวายเพื่อไม่ใช่ลาภของคฤหัสถ์ทั้งหลาย
๒. ไม่ขวนขวายเพื่อไม่ใช่ประโยชน์ของคฤหัสถ์ทั้งหลาย
๓. ไม่ด่าไม่บริภาษคฤหัสถ์ทั้งหลาย
๔. ไม่ยุยงคฤหัสถ์ทั้งหลายให้แตกกัน
๕. กล่าวสรรเสริญพระพุทธเจ้า
๖. กล่าวสรรเสริญพระธรรม
๗. กล่าวสรรเสริญพระสงฆ์
๘. อุบาสกทั้งหลายเห็นภิกษุนั้นในโคจร
ภิกษุทั้งหลาย อุบาสกเมื่อมุ่งหวัง พึงประกาศความเลื่อมใสต่อภิกษุผู้ประกอบ
ด้วยธรรม ๘ ประการนี้แล
อัปปสาทปเวทนียสูตรที่ ๘ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๔๑๗ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๒.ทุติยปัณณาสก์] ๔.สติวรรค ๙.ปฏิสารณียสูตร
๙. ปฏิสารณียสูตร
ว่าด้วยเหตุที่ควรลงปฏิสารณียกรรม
[๘๙] ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์เมื่อมุ่งหวัง พึงลงปฏิสารณียกรรม๑ต่อภิกษุผู้ประกอบ
ด้วยธรรม ๘ ประการ
ธรรม ๘ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ขวนขวายเพื่อไม่ใช่ลาภของคฤหัสถ์ทั้งหลาย
๒. ขวนขวายเพื่อไม่ใช่ประโยชน์ของคฤหัสถ์ทั้งหลาย
๓. ด่าบริภาษคฤหัสถ์ทั้งหลาย
๔. ยุยงคฤหัสถ์ทั้งหลายให้แตกกัน
๕. กล่าวติเตียนพระพุทธเจ้า
๖. กล่าวติเตียนพระธรรม
๗. กล่าวติเตียนพระสงฆ์
๘. รับคำที่ชอบธรรมของคฤหัสถ์แต่ไม่ทำตาม
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์เมื่อมุ่งหวัง พึงลงปฏิสารณียกรรมต่อภิกษุผู้ประกอบ
ด้วยธรรม ๘ ประการนี้แล
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์เมื่อมุ่งหวัง พึงระงับปฏิสารณียกรรมต่อภิกษุผู้ประกอบ
ด้วยธรรม ๘ ประการ
ธรรม ๘ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ไม่ขวนขวายเพื่อไม่ใช่ลาภของคฤหัสถ์ทั้งหลาย
๒. ไม่ขวนขวายเพื่อไม่ใช่ประโยชน์ของคฤหัสถ์ทั้งหลาย

เชิงอรรถ :
๑ ดู วิ.จู. (แปล) ๖/๓๙/๗๗-๗๘

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๔๑๘ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๒.ทุติยปัณณาสก์] ๔.สติวรรค ๑๐.สัมมาวัตตนสูตร
๓. ไม่ด่าไม่บริภาษคฤหัสถ์ทั้งหลาย
๔. ไม่ยุยงคฤหัสถ์ทั้งหลายให้แตกกัน
๕. กล่าวสรรเสริญพระพุทธเจ้า
๖. กล่าวสรรเสริญพระธรรม
๗. กล่าวสรรเสริญพระสงฆ์
๘. รับคำที่ชอบธรรมของคฤหัสถ์แล้วทำตาม
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์เมื่อมุ่งหวัง พึงระงับปฏิสารณียกรรมต่อภิกษุผู้ประกอบ
ด้วยธรรม ๘ ประการนี้แล
ปฏิสารณียสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. สัมมาวัตตนสูตร
ว่าด้วยการประพฤติชอบ
[๙๐] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ถูกสงฆ์ลงตัสสปาปิยสิกากรรม๑แล้ว พึงประพฤติ
ชอบในธรรม ๘ ประการ คือ
๑. ไม่พึงให้อุปสมบท
๒. ไม่พึงให้นิสสัย
๓. ไม่พึงใช้สามเณรอุปัฏฐาก
๔. ไม่พึงรับสมมติเป็นผู้สั่งสอนภิกษุณี
๕. แม้ได้รับสมมติแล้วก็ไม่พึงสั่งสอนภิกษุณี

เชิงอรรถ :
๑ ดูเชิงอรรถที่ ๒ สัตตกนิบาต ข้อ ๘๔ หน้า ๑๗๙-๑๘๐

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๔๑๙ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๒.ทุติยปัณณาสก์] ๔.สติวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค
๖. ไม่พึงรับสมมติอะไร ๆ จากสงฆ์
๗. ไม่พึงดำรงอยู่ในตำแหน่งหัวหน้าอะไร ๆ
๘. ไม่พึงให้ประพฤติวุฏฐานวิธีเพราะตำแหน่งเดิมนั้น
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ถูกสงฆ์ลงตัสสปาปิยสิกากรรมแล้ว พึงประพฤติชอบใน
ธรรม ๘ ประการนี้แล
สัมมาวัตตนสูตรที่ ๑๐ จบ
สติวรรคที่ ๔ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. สติสัมปชัญญสูตร ๒. ปุณณิยสูตร
๓. มูลกสูตร ๔. โจรสูตร
๕. สมณสูตร ๖. ยสสูตร
๗. ปัตตนิกุชชนสูตร ๘. อัปปสาทปเวทนียสูตร
๙. ปฏิสารณียสูตร ๑๐. สัมมาวัตตนสูตร


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๔๒๐ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๒.ทุติยปัณณาสก์] ๕.สามัญญวรรค
๕. สามัญญวรรค
หมวดว่าด้วยธรรมที่เหมือนกัน๑
[๙๑-๑๑๖] โพชฌาอุบาสิกา สิริมาอุบาสิกา ปทุมาอุบาสิกา สุธัมมา
อุบาสิกา มนุชาอุบาสิกา อุตตราอุบาสิกา มุตตาอุบาสิกา เขมาอุบาสิกา
รุจีอุบาสิกา จุนทีราชกุมารี พิมพีอุบาสิกา สุมนาราชกุมารี มัลลิกาเทวี
ติสสาอุบาสิกา ติสสมาตาอุบาสิกา โสณาอุบาสิกา โสณมาตาอุบาสิกา
กาณาอุบาสิกา กาณมาตาอุบาสิกา อุตตรานันทมาตาอุบาสิกา วิสาขามิคาร-
มาตาอุบาสิกา ขุชชุตตราอุบาสิกา สามาวดีอุบาสิกา สุปวาสาโกฬิยธิดา
สุปปิยาอุบาสิกา นกุลมาตาคหปตานี [๑-๒๖]
สามัญญวรรคที่ ๕ จบ
ทุติยปัณณาสก์ จบ

เชิงอรรถ :
๑ หมายถึงวรรคที่ว่าด้วยองค์อุโบสถ ๘ เหมือนกัน (องฺ.อฏฺฐก.อ. ๓/๙๑/๒๘๔) ดูความเต็มของแต่ละสูตรเทียบ
ในอัฏฐกนิบาต ข้อ ๔๓ (วิสาขาสูตร) หน้า ๓๐๙-๓๑๒ และข้อ ๔๕ (โพชฌาสูตร) หน้า ๓๑๔-๓๑๗
ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๔๒๑ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต ราคเปยยาล
ราคเปยยาล
[๑๑๗] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเจริญธรรม ๘ ประการ เพื่อรู้ยิ่งราคะ
(ความกำหนัด)
ธรรม ๘ ประการ อะไรบ้าง คือ

๑. สัมมาทิฏฐิ (เห็นชอบ) ๒. สัมมาสังกัปปะ (ดำริชอบ)
๓. สัมมาวาจา (เจรจาชอบ) ๔. สัมมากัมมันตะ (กระทำชอบ)
๕. สัมมาอาชีวะ (เลี้ยงชีพชอบ) ๖. สัมมาวายามะ (พยายามชอบ)
๗. สัมมาสติ (ระลึกชอบ) ๘. สัมมาสมาธิ (ตั้งจิตมั่นชอบ)

[๑๑๘] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเจริญธรรม ๘ ประการ เพื่อรู้ยิ่งราคะ (๑)
ธรรม ๘ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ภิกษุรูปหนึ่งมีรูปสัญญาภายใน เห็นรูปภายนอก ขนาดเล็ก มีสีสัน
ดีหรือไม่ดี ครอบงำรูปเหล่านั้นได้ มีสัญญาอย่างนี้ว่า ‘เรารู้
เราเห็น’
๒. ภิกษุรูปหนึ่งมีรูปสัญญาภายใน เห็นรูปภายนอก ขนาดใหญ่ มีสีสัน
ดีหรือไม่ดี ครอบงำรูปเหล่านั้นได้ มีสัญญาอย่างนี้ว่า ‘เรารู้
เราเห็น’
๓. ภิกษุรูปหนึ่งมีอรูปสัญญาภายใน เห็นรูปภายนอก ขนาดเล็ก มีสีสัน
ดีหรือไม่ดี ครอบงำรูปเหล่านั้นได้ มีสัญญาอย่างนี้ว่า ‘เรารู้
เราเห็น’
๔. ภิกษุรูปหนึ่งมีอรูปสัญญาภายใน เห็นรูปภายนอก ขนาดใหญ่
มีสีสันดีหรือไม่ดี ครอบงำรูปเหล่านั้นได้ มีสัญญาอย่างนี้ว่า ‘เรารู้
เราเห็น’
๕. ภิกษุรูปหนึ่งมีอรูปสัญญาภายใน เห็นรูปภายนอกที่เขียว มีสีเขียว
เปรียบด้วยของเขียว มีสีเขียวเข้ม ครอบงำรูปเหล่านั้นได้ มีสัญญา
อย่างนี้ว่า ‘เรารู้ เราเห็น’
๖. ภิกษุรูปหนึ่งมีอรูปสัญญาภายใน เห็นรูปภายนอกที่เหลือง มีสี
เหลือง เปรียบด้วยของเหลือง มีสีเหลืองเข้ม ครอบงำรูปเหล่านั้นได้
มีสัญญาอย่างนี้ว่า ‘เรารู้ เราเห็น’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๔๒๒ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต ราคเปยยาล
๗. ภิกษุรูปหนึ่งมีอรูปสัญญาภายใน เห็นรูปภายนอกที่แดง มีสีแดง
เปรียบด้วยของแดง มีสีแดงเข้ม ครอบงำรูปเหล่านั้นได้ มีสัญญา
อย่างนี้ว่า ‘เรารู้ เราเห็น’
๘ ภิกษุรูปหนึ่งมีอรูปสัญญาภายใน เห็นรูปภายนอกที่ขาว มีสีขาว
เปรียบด้วยของขาว มีสีขาวเข้ม ครอบงำรูปเหล่านั้นได้ มีสัญญา
อย่างนี้ว่า ‘เรารู้ เราเห็น’
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเจริญธรรม ๘ ประการนี้ เพื่อรู้ยิ่งราคะ (๒)
[๑๑๙] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเจริญธรรม ๘ ประการ เพื่อรู้ยิ่งราคะ
ธรรม ๘ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ภิกษุผู้มีรูป เห็นรูปทั้งหลาย
๒. ภิกษุผู้มีอรูปสัญญาภายใน เห็นรูปทั้งหลายภายนอก
๓. ภิกษุเป็นผู้น้อมใจไปว่า ‘งาม’ เท่านั้น
๔. ภิกษุบรรลุอากาสานัญจายตนฌาน โดยกำหนดว่า ‘อากาศหา
ที่สุดมิได้’ อยู่ เพราะล่วงรูปสัญญา ดับปฏิฆสัญญา ไม่กำหนด
นานัตตสัญญาโดยประการทั้งปวง
๕. ภิกษุล่วงอากาสานัญจายตนฌาน โดยประการทั้งปวง บรรลุ
วิญญาณัญจายตนฌานโดยกำหนดว่า ‘วิญญาณหาที่สุดมิได้’ อยู่
๖. ภิกษุล่วงวิญญาณัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุ
อากิญจัญญายตนฌาน โดยกำหนดว่า ‘ไม่มีอะไร’ อยู่
๗. ภิกษุล่วงอากิญจัญญายตนฌาน โดยประการทั้งปวง บรรลุ
เนวสัญญานาสัญญายตนฌานอยู่
๘. ภิกษุล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุ
สัญญาเวทยิตนิโรธอยู่
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเจริญธรรม ๘ ประการนี้ เพื่อรู้ยิ่งราคะ (๓)
[๑๒๐-๑๔๖] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเจริญธรรม ๘ ประการ เพื่อกำหนดรู้ราคะ
... เพื่อความสิ้นราคะ
... เพื่อละราคะ
... เพื่อความสิ้นไปแห่งราคะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๔๒๓ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต ราคเปยยาล
... เพื่อความเสื่อมไปแห่งราคะ
... เพื่อความคลายไปแห่งราคะ
... เพื่อความดับไปแห่งราคะ
... เพื่อความสละราคะ
... เพื่อความสละคืนราคะ...
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเจริญธรรม ๘ ประการนี้ เพื่อความสละคืนราคะ ฯลฯ
(๔-๓๐)
[๑๔๗-๖๒๖] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเจริญธรรม ๘ ประการ เพื่อรู้ยิ่งโทสะ
(ความคิดประทุษร้าย)
... เพื่อกำหนดรู้โทสะ
... เพื่อความสิ้นโทสะ
... เพื่อละโทสะ
... เพื่อความสิ้นไปแห่งโทสะ
... เพื่อความเสื่อมไปแห่งโทสะ
... เพื่อความคลายไปแห่งโทสะ
... เพื่อความดับไปแห่งโทสะ
... เพื่อความสละโทสะ
... เพื่อความสละคืนโทสะ ... โมหะ(ความหลง) ... โกธะ(ความโกรธ) ...
อุปนาหะ(ความผูกโกรธ) ... มักขะ(ความลบหลู่คุณท่าน) ... ปลาสะ(ความตีเสมอ) ...
อิสสา (ความริษยา) ... มัจฉริยะ(ความตระหนี่) ... มายา(มารยา) ... สาเถยยะ
(ความโอ้อวด) ... ถัมภะ(ความหัวดื้อ) ... สารัมภะ(ความแข่งดี) ... มานะ(ความถือตัว)
... อติมานะ (ความดูหมิ่นเขา) ... มทะ(ความมัวเมา) ... ปมาทะ (ความประมาท) ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเจริญธรรม ๘ ประการนี้ เพื่อความสละคืนปมาทะ
(๓๑-๕๑๐)
ราคเปยยาล จบ
อัฏฐกนิบาต จบบริบูรณ์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๔๒๔ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๑.สัมโพธิวรรค ๑.สัมโพธิสูตร
พระสุตตันตปิฎก
อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต
_____________

ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
๑. ปฐมปัณณาสก์
๑. สัมโพธิวรรค
หมวดว่าด้วยสัมโพธิ๑
๑. สัมโพธิสูตร
ว่าด้วยสัมโพธิ
[๑] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิก-
เศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคได้รับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมา
ตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึง
ได้ตรัสเรื่องนี้ว่า
“ภิกษุทั้งหลาย ถ้าพวกอัญเดียรถีย์ปริพาชกถามอย่างนี้ว่า ‘ผู้มีอายุทั้งหลาย
อะไรเป็นเหตุแห่งการเจริญธรรมที่เป็นฝ่ายแห่งสัมโพธิ’ ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลาย
ถูกถามอย่างนี้แล้ว จะตอบพวกอัญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้นอย่างไร”

เชิงอรรถ :
๑ สัมโพธิ ในที่นี้หมายถึงมรรค ๔ คือโสดาปัตติมรรค สกทาคามิมรรค อนาคามิมรรค และอรหัตตมรรค
(องฺ.ติก.อ. ๒/๘๗/๒๔๒, ที.สี.อ. ๑/๓๗๓/๒๘๑, องฺ.ติก.ฏีกา ๒/๘๗/๒๓๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๔๒๕ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๑.สัมโพธิวรรค ๑.สัมโพธิสูตร
ภิกษุเหล่านั้นกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมของข้าพระองค์
ทั้งหลายมีพระผู้มีพระภาคเป็นหลัก ฯลฯ๑ ภิกษุทั้งหลายฟังต่อจากพระผู้มีพระภาค
แล้วจักทรงจำไว้”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า“ภิกษุทั้งหลาย ถ้าเช่นนั้น เธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจ
ให้ดี เราจักกล่าว” ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้
ตรัสดังนี้ว่า
“ภิกษุทั้งหลาย ถ้าพวกอัญเดียรถีย์ปริพาชกถามอย่างนี้ว่า ‘ผู้มีอายุทั้งหลาย
อะไรเป็นเหตุแห่งการเจริญธรรมที่เป็นฝ่ายแห่งสัมโพธิ’ เธอทั้งหลายถูกถามอย่างนี้
ควรตอบพวกอัญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้นอย่างนี้ว่า
๑. ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีเพื่อนดี๒ นี้เป็นเหตุ
ประการที่ ๑ แห่งการเจริญธรรมที่เป็นฝ่ายแห่งสัมโพธิ
๒. ภิกษุเป็นผู้มีศีล สำรวมด้วยการสังวรในปาติโมกข์ เพียบพร้อมด้วย
อาจาระและโคจรอยู่ มีปกติเห็นภัยในโทษแม้เล็กน้อย สมาทาน
ศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย นี้เป็นเหตุประการที่ ๒ แห่งการ
เจริญธรรมที่เป็นฝ่ายแห่งสัมโพธิ
๓. ภิกษุเป็นผู้ได้กถาเป็นเครื่องขัดเกลาอย่างยิ่ง ที่เป็นสัปปายะแห่งความ
เป็นไปของจิต๓ คือ อัปปิจฉกถา(เรื่องความมักน้อย) สันตุฏฐิกถา
(เรื่องความสันโดษ) ปวิเวกกถา(เรื่องความสงัด) อสังสัคคกถา(เรื่อง
ความไม่คลุกคลี) วิริยารัมภกถา(เรื่องการปรารภความเพียร)

เชิงอรรถ :
๑ ดูความเต็มในอัฏฐกนิบาต ข้อ ๘๓ (มูลกสูตร) หน้า ๔๐๗-๔๐๘ ในเล่มนี้
๒ มิตรดี หมายถึงมิตรที่มีคุณธรรมคือศีลเป็นต้น
สหาย หมายถึงเพื่อนร่วมงานที่ดี
เพื่อนดี หมายถึงเพื่อนที่รักใคร่ สนิทสนมรู้ใจกัน ซื่อสัตย์ต่อกัน (องฺ.ทสก.อ. ๓/๑๗/๓๒๒)
๓ เป็นสัปปายะแห่งความเป็นไปของจิต หมายถึงเป็นที่สบายและเป็นอุปการะแก่การชักนำจิตเข้าสู่สมถะ
และวิปัสสนา (องฺ.นวก.อ. ๓/๑/๒๘๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๔๒๖ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๑.สัมโพธิวรรค ๑.สัมโพธิสูตร
สีลกถา(เรื่องศีล) สมาธิกถา(เรื่องสมาธิ) ปัญญากถา(เรื่องปัญญา)
วิมุตติกถา(เรื่องวิมุตติ) วิมุตติญาณทัสสนกถา(เรื่องความรู้ความเห็น
ในวิมุตติ) ตามความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ได้โดยไม่ลำบาก
นี้เป็นเหตุประการที่ ๓ แห่งการเจริญธรรมที่เป็นฝ่ายแห่งสัมโพธิ
๔. ภิกษุเป็นผู้ปรารภความเพียร๑ เพื่อละอกุศลธรรม เพื่อให้กุศลธรรม
เกิด มีความเข้มแข็ง มีความบากบั่นมั่นคง ไม่ทอดธุระในกุศลธรรม
ทั้งหลาย นี้เป็นเหตุประการที่ ๔ แห่งการเจริญธรรมที่เป็นฝ่าย
แห่งสัมโพธิ
๕. ภิกษุเป็นผู้มีปัญญา คือ ประกอบด้วยปัญญาเป็นเครื่องพิจารณา
เห็นทั้งความเกิดและความดับอันเป็นอริยะ ชำแรกกิเลสให้ถึงความ
สิ้นทุกข์โดยชอบ นี้เป็นเหตุประการที่ ๕ แห่งการเจริญธรรมที่เป็น
ฝ่ายแห่งสัมโพธิ
ภิกษุผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีเพื่อนดี พึงหวังได้ข้อนี้ คือ จักเป็นผู้มีศีล สำรวม
ด้วยการสังวรในปาติโมกข์ เพียบพร้อมด้วยอาจาระและโคจรอยู่ มีปกติเห็นภัยในโทษ
แม้เล็กน้อย สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย
ภิกษุผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีเพื่อนดี พึงหวังได้ข้อนี้ คือ จักเป็นผู้ได้กถา
เป็นเครื่องขัดเกลาอย่างยิ่ง ที่เป็นสัปปายะแห่งความเป็นไปของจิต คือ อัปปิจฉกถา
สันตุฏฐิกถา ปวิเวกกถา อสังสัคคกถา วิริยารัมภกถา สีลกถา สมาธิกถา
ปัญญากถา วิมุตติกถา วิมุตติญาณทัสสนกถา ตามความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก
ได้โดยไม่ลำบาก
ภิกษุผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีเพื่อนดี พึงหวังได้ข้อนี้ คือ จักเป็นผู้ปรารภ
ความเพียร เพื่อละอกุศลธรรม เพื่อให้กุศลธรรมเกิด มีความเข้มแข็ง มีความบากบั่น
มั่นคง ไม่ทอดธุระในกุศลธรรมทั้งหลาย

เชิงอรรถ :
๑ ปรารภความเพียร หมายถึงประกอบความเพียรในสัมมัปปธาน (สารตฺถ.ฏีกา ๓/๘๔/๒๙๒) อีกนัยหนึ่ง
หมายถึงระดมความเพียรเต็มที่ (สารตฺถ.ฏีกา ๓/๒๔๓/๓๕๑) และดู องฺ.ทสก. (แปล) ๒๔/๑๑/๑๘

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๔๒๗ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๑.สัมโพธิวรรค ๑.สัมโพธิสูตร
ภิกษุผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีเพื่อนดี พึงหวังได้ข้อนี้ คือ จักเป็นผู้มีปัญญา คือ
ประกอบด้วยปัญญาเป็นเครื่องพิจารณาเห็นทั้งความเกิดและความดับอันเป็นอริยะ
ชำแรกกิเลสให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้นดำรงอยู่ในธรรม ๕ ประการนี้แล้ว พึงเจริญธรรม
๔ ประการให้ยิ่งขึ้นไป คือ
๑. พึงเจริญอสุภะเพื่อละราคะ๑
๒. พึงเจริญเมตตาเพื่อละพยาบาท๒
๓. พึงเจริญอานาปานสติเพื่อตัดวิตก๓
๔. พึงเจริญอนิจจสัญญาเพื่อถอนอัสมิมานะ๔
ภิกษุทั้งหลาย อนัตตสัญญาย่อมปรากฏแก่ภิกษุผู้ได้อนิจจสัญญา ภิกษุผู้ได้
อนัตตสัญญา ย่อมบรรลุนิพพานที่ถอนอัสมิมานะได้ในปัจจุบัน
สัมโพธิสูตรที่ ๑ จบ

เชิงอรรถ :
๑ เจริญอสุภะเพื่อละราคะ หมายถึงเจริญอสุภกัมมัฏฐานเพื่อข่มกามราคะที่เกิดขึ้นเพราะความประมาท
ขาดสติสังวรไม่รู้เท่าทันเป็นเบื้องต้น จากนั้นจึงเริ่มบำเพ็ญวิปัสสนาต่อไป เปรียบเทียบได้กับกระบวนการ
ของการเกี่ยวข้าว คือ ขณะที่ชาวนาเกี่ยวข้าวอยู่นั้นมีฝูงโคทำลายรั้วเข้ามาในนาได้ ชาวนาจำต้องวางเคียว
ไว้ก่อน แล้วถือไม้เรียวไปไล่ฝูงโคออกไปแล้วกลับมาซ่อมรั้วให้ดี จากนั้นจึงถือเคียวเกี่ยวข้าวต่อ ผู้บำเพ็ญ
เพียรเหมือนชาวนา ปัญญาเหมือนเคียว เวลาบำเพ็ญเหมือนเวลาเกี่ยวข้าว อสุภกัมมัฏฐานเหมือนไม้เรียว
สติสังวรเหมือนรั้ว ราคะเหมือนฝูงโค (องฺ.นวก.อ. ๓/๑/๒๘๕)
๒ เจริญเมตตาเพื่อละพยาบาท หมายถึงเจริญเมตตากัมมัฏฐานเพื่อละความโกรธที่เกิดขึ้น (องฺ.นวก.อ.
๓/๑/๒๘๖)
๓ ดู ม.ม. ๑๓/๑๔๑/๙๕-๙๖, ม.อุ. ๑๔/๑๔๗/๑๓๐-๑๓๑, สํ.ม. ๑๙/๙๗๗/๒๖๙, องฺ.ทสก. (แปล) ๒๔/๖/
๑๓๑-๑๓๒)
๔ อัสมิมานะ หมายถึงมานะ (ความถือตัวเป็นอย่างนั้นอย่างนี้) ๙ ประการ คือ (๑) เป็นผู้เลิศกว่าเขา
ถือตัวว่าเลิศกว่าเขา (๒) เป็นผู้เลิศกว่าเขา ถือตัวว่าเสมอเขา (๓) เป็นผู้เลิศกว่าเขา ถือตัวว่าด้อยกว่าเขา
(๔) เป็นผู้เสมอเขา ถือตัวว่าเลิศกว่าเขา (๕) เป็นผู้เสมอเขา ถือตัวว่าเสมอเขา (๖) เป็นผู้เสมอเขา ถือตัว
ว่าด้อยกว่าเขา (๗) เป็นผู้ด้อยกว่าเขา ถือตัวว่าเลิศกว่าเขา (๘) เป็นผู้ด้อยกว่าเขา ถือตัวว่าเสมอเขา
(๙) เป็นผู้ด้อยกว่าเขา ถือตัวว่าด้อยกว่าเขา (องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๓๘/๓๓๙, องฺ.นวก.อ. ๓/๑/๒๘๖) และดู
อภิ.สงฺ. (แปล) ๓๔/๑๒๓๙/๓๑๔, อภิ.วิ. (แปล) ๓๕/๘๓๒/๕๓๖,๘๖๖-๘๗๗/๕๕๔-๕๕๘,๙๖๒/๖๑๖

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๔๒๘ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๑.สัมโพธิวรรค ๒.นิสสยสูตร
๒. นิสสยสูตร
ว่าด้วยนิสสัย
[๒] ครั้งนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวาย
อภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บุคคลที่เรียกกันว่า ‘ผู้ถึงพร้อมด้วยนิสสัย๑ ผู้ถึงพร้อม
ด้วยนิสสัย’ ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยนิสสัย ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอแล”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า
๑. ถ้าภิกษุอาศัยศรัทธาแล้ว ละอกุศล เจริญกุศลได้ อกุศลนั้นย่อม
เป็นอันเธอละได้แน่แท้
๒. ถ้าภิกษุอาศัยหิริ ฯลฯ
๓. ถ้าภิกษุอาศัยโอตตัปปะ ฯลฯ
๔. ถ้าภิกษุอาศัยวิริยะ ฯลฯ
๕. ถ้าภิกษุอาศัยปัญญาแล้ว ละอกุศล เจริญกุศลได้ อกุศลนั้นย่อม
เป็นอันเธอละได้แน่แท้ อกุศลที่ภิกษุละได้แล้วเพราะเห็นด้วยปัญญา
อันเป็นอริยะ๒ เป็นอันภิกษุนั้นละได้แล้ว ละได้ดีแล้ว
ภิกษุนั้นดำรงอยู่ในธรรม ๕ ประการแล้ว พึงอาศัยธรรม ๔ ประการอยู่
ธรรม ๔ ประการ๓ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. พิจารณาแล้วเสพ
๒. พิจารณาแล้วอดกลั้น

เชิงอรรถ :
๑ นิสสัย ในที่นี้หมายถึงที่พึ่ง (องฺ.นวก.อ. ๓/๒/๒๘๖)
๒ ปัญญาอันเป็นอริยะ หมายถึงปัญญาในอริยมรรคพร้อมทั้งวิปัสสนา (องฺ.นวก.อ. ๓/๒/๒๘๖)
๓ พิจารณาแล้วเสพ หมายถึงพิจารณาแล้วเสพปัจจัย ๔ มีจีวรเป็นต้น
พิจารณาแล้วอดกลั้น หมายถึงพิจารณาแล้วอดกลั้นต่อความหนาวเป็นต้น
พิจารณาแล้วเว้น หมายถึงพิจารณาแล้วเว้นช้างดุร้าย หรือคนพาลเป็นต้น
พิจารณาแล้วบรรเทา หมายถึงพิจารณาแล้วบรรเทาอกุศลวิตก มีกามวิตก เป็นต้น ดู ที.ปา. ๑๑/๓๐๘/
๒๐๐, องฺ.ทสก. (แปล) ๒๔/๒๐/๔๐, ที.ปา.อ. ๓๐๘/๒๐๔

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๔๒๙ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๑.สัมโพธิวรรค ๓.เมฆิยสูตร
๓. พิจารณาแล้วเว้น
๔. พิจารณาแล้วบรรเทา
ภิกษุผู้ถึงพร้อมด้วยนิสสัย เป็นอย่างนี้แล”
นิสสยสูตรที่ ๒ จบ

๓. เมฆิยสูตร
ว่าด้วยพระเมฆิยะ๑
[๓] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ จาลิกาบรรพต๒ เขตเมือง
จาลิกา สมัยนั้น ท่านพระเมฆิยะเป็นอุปัฏฐากของพระผู้มีพระภาค๓ ครั้งนั้นแล
ท่านพระเมฆิยะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วยืน ณ
ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์
ปรารถนาจะเข้าไปยังชันตุคามเพื่อบิณฑบาต” พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “เมฆิยะ เธอจง
กำหนดเวลาที่ควร ณ บัดนี้เถิด”
ครั้นเวลาเช้า ท่านพระเมฆิยะครองอันตรวาสก ถือบาตรและจีวรเข้าไปยัง
ชันตุคามเพื่อบิณฑบาต กลับจากบิณฑบาต หลังจากฉันอาหารเสร็จแล้ว เดินไป
ตามฝั่งแม่น้ำกิมิกาฬา ขณะที่เที่ยวเดินพักผ่อน อยู่ที่ฝั่งแม่น้ำกิมิกาฬานั้น ได้เห็น
ป่ามะม่วงที่งดงาม น่ารื่นรมย์ จึงมีความคิดดังนี้ว่า “ป่ามะม่วงนี้ช่างงดงาม
น่ารื่นรมย์จริง เหมาะแก่การบำเพ็ญเพียรของกุลบุตรผู้ต้องการบำเพ็ญเพียร ถ้าพระ
ผู้มีพระภาคทรงอนุญาตเรา เราจะกลับมาบำเพ็ญเพียร ในป่ามะม่วงนี้”

เชิงอรรถ :
๑ ดู ขุ.อุ. ๒๕/๓๑/๑๓๙
๒ ที่ชื่อว่า จาลิกา เพราะเป็นภูเขาที่ปรากฏแก่ผู้แลดูในวันอุโบสถข้างแรม(กาฬปักษ์) ว่าเหมือนกับกำลังเคลื่อนไหว
ทั้งนี้เนื่องจากภูเขานี้มีสีขาวล้วนทั้งลูกซึ่งตัดกับความมืดในเวลากลางคืน (องฺ.นวก.อ. ๓/๓/๒๘๖-๒๘๗)
๓ พระเมฆิยเถระ เป็นพระอุปัฏฐากอีกรูปหนึ่งของพระผู้มีพระภาค เนื่องจากในต้นพุทธกาล (๒๐ พรรษาแรก)
พระผู้มีภาคไม่มีพระอุปัฏฐากประจำ บางคราวได้พระนาคสมาละ บางคราวได้พระนาคิตะ บางคราวได้
พระอุปวาหนะ บางคราวได้พระสุนักขัตตะ บางคราวได้พระสาคตะ บางคราวได้สามเณรจุนทะ (ขุ.อุ.อ.
๓๑/๒๓๐)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๔๓๐ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๑.สัมโพธิวรรค ๓.เมฆิยสูตร
ต่อมา ท่านพระเมฆิยะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาท
แล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
ขอประทานวโรกาส เมื่อเช้านี้ ข้าพระองค์ครองอันตรวาสก ถือบาตรและจีวร
เข้าไปยังชันตุคามเพื่อบิณฑบาต กลับจากบิณฑบาต ภายหลังฉันอาหารเสร็จแล้ว
เดินไปตามฝั่งแม่น้ำกิมิกาฬา ขณะที่เที่ยวเดินพักผ่อนอยู่ที่ฝั่งแม่น้ำกิมิกาฬา ได้เห็น
ป่ามะม่วงที่งดงาม น่ารื่นรมย์ จึงมีความคิดดังนี้ว่า ‘ป่ามะม่วงนี้ช่างงดงาม น่า
รื่นรมย์จริง เหมาะแก่การบำเพ็ญเพียรสำหรับกุลบุตรผู้ต้องการบำเพ็ญเพียรโดยแท้
ถ้าพระผู้มีพระภาคทรงอนุญาตเรา เราจะกลับมาบำเพ็ญเพียรในป่ามะม่วงนี้’
ถ้าพระผู้มีพระภาคทรงอนุญาตข้าพระองค์ ข้าพระองค์จะกลับไปบำเพ็ญเพียรในป่า
มะม่วงนั้น”
เมื่อท่านพระเมฆิยะกราบทูลอย่างนี้แล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสกับท่านดัง
นี้ว่า “เมฆิยะ เราอยู่คนเดียว เธอจงรอจนกว่าภิกษุรูปอื่นจะมา”๑
แม้ครั้งที่ ๒ ท่านพระเมฆิยะก็ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่
พระองค์ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคไม่ทรงมีกิจที่จะต้องทำให้ยิ่งขึ้นไปอีก๒ ทั้งไม่มีการ
สั่งสมกิจที่ทำแล้ว๓ ส่วนข้าพระองค์ยังมีกิจที่จะต้องทำให้ยิ่งขึ้นไปอีก ทั้งยังต้องสั่งสม
กิจที่ทำแล้ว ถ้าพระผู้มีพระภาคทรงอนุญาตข้าพระองค์ ข้าพระองค์จะกลับไป
บำเพ็ญเพียรในป่ามะม่วงนั้น”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “เมฆิยะ เราอยู่คนเดียว เธอจงรอจนกว่าภิกษุรูปอื่น
จะมา”

เชิงอรรถ :
๑ นัยว่าพระดำรัสนี้ พระผู้มีพระภาคตรัสด้วยพระประสงค์ที่จะประวิงเวลารอให้จิตของท่านพระเมฆิยะอ่อน
โยนเหมาะแก่การบำเพ็ญเพียร (องฺ.นวก.อ. ๓/๓/๒๘๗)
๒ ไม่มีกิจที่จะต้องทำให้ยิ่งขึ้นไปอีก ในที่นี้หมายถึงไม่มีกิจ ๔ อย่างในอริยสัจ ๔ ประการ กิจ ๔ อย่างนั้น
คือ ปริญญากิจ (หน้าที่กำหนดรู้ทุกข์) ปหานกิจ (หน้าที่ละเหตุเกิดทุกข์) สัจฉิกิริยากิจ (หน้าที่ทำให้แจ้ง
ความดับทุกข์) และภาวนากิจ (หน้าที่อบรมมรรคมีองค์ ๘ ให้เจริญ) (องฺ.นวก.อ. ๓/๓/๒๘๗, องฺ.ฉกฺก.ฏีกา
๓/๔๙/๑๔๑, ที.สี.อ. ๑/๒๔๘/๒๐๓)
๓ ไม่มีการสั่งสมกิจที่ทำแล้ว ในที่นี้หมายถึงไม่ต้องเพิ่มพูนกุศลธรรมและอกุศลธรรมที่เคยทำมาก่อน
อีกนัยหนึ่ง หมายถึงไม่ต้องเจริญมรรคที่เจริญได้แล้ว และไม่ต้องละกิเลสที่ละได้แล้วอีก (องฺ.นวก.อ. ๓/๓/
๒๘๗, ขุ.เถร.อ. ๖๔๔/๒๖๒) และดู องฺ.ฉกฺก. (แปล) ๒๒/๕๕/๕๓๖

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๔๓๑ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๑.สัมโพธิวรรค ๓.เมฆิยสูตร
แม้ครั้งที่ ๓ ท่านพระเมฆิยะก็ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่
พระองค์ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคไม่ทรงมีกิจที่จะต้องทำให้ยิ่งขึ้นไปอีก ทั้งไม่มีการ
สั่งสมกิจที่ทำแล้ว ส่วนข้าพระองค์ยังมีกิจที่จะต้องทำให้ยิ่งขึ้นไปอีก ทั้งยังต้องสั่ง
สมกิจที่ทำแล้ว ถ้าพระผู้มีพระภาคทรงอนุญาตข้าพระองค์ ข้าพระองค์จะกลับไป
บำเพ็ญเพียรในป่ามะม่วงนั้น”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “เมฆิยะ เมื่อเธอพูดว่า ‘จะไปบำเพ็ญเพียร’ เราจะพึง
ว่าอะไร เธอจงกำหนดเวลาที่สมควร ณ บัดนี้เถิด” ลำดับนั้น ท่านพระเมฆิยะ
ลุกจากที่นั่ง ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาค ทำประทักษิณแล้วเข้าไปยังป่ามะม่วงนั้น
อาศัยป่ามะม่วงนั้น นั่งพักกลางวันอยู่ ณ โคนไม้มะม่วงต้นหนึ่ง เมื่อท่านพักอยู่
ในป่ามะม่วงนั้น บาปอกุศลวิตก ๓ ประการ คือ กามวิตก(ความตรึกในทางกาม)
พยาปาทวิตก(ความตรึกในทางพยาบาท) วิหิงสาวิตก(ความตรึกในทางเบียดเบียน)
เกิดขึ้นโดยมาก
ครั้งนั้นแล ท่านพระเมฆิยะได้มีความคิดดังนี้ว่า “น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคย
ปรากฏ เราออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตด้วยศรัทธาแท้ ๆ แต่กระนั้นก็ยังถูกบาป
อกุศลวิตก ๓ ประการ คือ กามวิตก พยาปาทวิตก วิหิงสาวิตกรุมเร้าจิตได้”
ต่อมา ท่านพระเมฆิยะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาท
แล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานวโรกาส เมื่อข้าพระองค์อยู่ในป่ามะม่วงนั้น
บาปอกุศลวิตก ๓ ประการ คือ กามวิตก พยาปาทวิตก วิหิงสาวิตกเกิดขึ้น
โดยมาก ข้าพระองค์จึงมีความคิดดังนี้ว่า ‘น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคยปรากฏ เราออก
จากเรือนบวชเป็นบรรพชิตด้วยศรัทธาแท้ ๆ แต่กระนั้นก็ยังถูกบาปอกุศลวิตก
๓ ประการ คือ กามวิตก พยาบาทวิตก วิหิงสาวิตกรุมเร้าจิตได้”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “เมฆิยะ ธรรม ๕ ประการ ย่อมเป็นไปเพื่อความ
แก่กล้าแห่งเจโตวิมุตติที่ยังไม่แก่กล้า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๔๓๒ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๑.สัมโพธิวรรค ๓.เมฆิยสูตร
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีเพื่อนดี นี้เป็นธรรม
ประการที่ ๑ ที่เป็นไปเพื่อความแก่กล้าแห่งเจโตวิมุตติที่ยังไม่แก่กล้า
๒. ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นผู้มีศีล สำรวมด้วยการสังวรในปาติโมกข์
เพียบพร้อมด้วยอาจาระและโคจรอยู่ มีปกติเห็นภัยในโทษแม้เล็กน้อย
สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย นี้เป็นธรรมประการที่ ๒
ที่เป็นไปเพื่อความแก่กล้าแห่งเจโตวิมุตติที่ยังไม่แก่กล้า
๓. ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นผู้ได้กถาเป็นเครื่องขัดเกลาอย่างยิ่ง ที่เป็น
สัปปายะแห่งความเป็นไปของจิต คือ อัปปิจฉกถา สันตุฏฐิกถา
ปวิเวกกถา อสังสัคคกถา วิริยารัมภกถา สีลกถา สมาธิกถา
ปัญญากถา วิมุตติกถา วิมุตติญาณทัสสนกถา ตามความปรารถนา
ได้โดยไม่ยาก ได้โดยไม่ลำบาก นี้เป็นธรรมประการที่ ๓ ที่เป็นไป
เพื่อความแก่กล้าแห่งเจโตวิมุตติที่ยังไม่แก่กล้า
๔. ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นผู้ปรารภความเพียรเพื่อละอกุศลธรรม เพื่อ
ให้กุศลธรรมเกิด เป็นผู้มีความเข้มแข็ง มีความบากบั่นมั่นคง
ไม่ทอดธุระในกุศลธรรมทั้งหลาย นี้เป็นธรรมประการที่ ๔ ที่เป็นไป
เพื่อความแก่กล้าแห่งเจโตวิมุตติที่ยังไม่แก่กล้า
๕. ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นผู้มีปัญญา คือ ประกอบด้วยปัญญาเป็น
เครื่องพิจารณาเห็นทั้งความเกิดและความดับอันเป็นอริยะ ชำแรก
กิเลสให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ นี้เป็นธรรมประการที่ ๕ ที่เป็นไป
เพื่อความแก่กล้าแห่งเจโตวิมุตติที่ยังไม่แก่กล้า
ภิกษุผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีเพื่อนดี พึงหวังได้ข้อนี้ คือ จักเป็นผู้มีศีล ฯลฯ
สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย
ภิกษุผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีเพื่อนดี พึงหวังได้ข้อนี้ คือ จักเป็นผู้ได้กถา
เป็นเครื่องขัดเกลาอย่างยิ่ง ที่เป็นสัปปายะแห่งความเป็นไปของจิต คือ อัปปิจฉกถา
ฯลฯ วิมุตติญาณทัสสนกถา ตามความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ได้โดยไม่ลำบาก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๔๓๓ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๑.สัมโพธิวรรค ๔.นันทกสูตร
ภิกษุผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีเพื่อนดี พึงหวังได้ข้อนี้ คือ จักเป็นผู้ปรารภ
ความเพียร ฯลฯ ไม่ทอดธุระในกุศลธรรมทั้งหลาย
ภิกษุผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีเพื่อนดี พึงหวังได้ข้อนี้ คือ จักเป็นผู้มีปัญญา ฯลฯ
ให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ
เมฆิยะ ภิกษุนั้นดำรงอยู่ในธรรม ๕ ประการนี้แล้ว พึงเจริญธรรม ๔ ประการ
ให้ยิ่งขึ้นไป คือ
๑. พึงเจริญอสุภะเพื่อละราคะ
๒. พึงเจริญเมตตาเพื่อละพยาบาท
๓. พึงเจริญอานาปานสติเพื่อตัดวิตก
๔. พึงเจริญอนิจจสัญญาเพื่อถอนอัสมิมานะ
เมฆิยะ อนัตตสัญญาย่อมปรากฏแก่ภิกษุผู้ได้อนิจจสัญญา ภิกษุผู้ได้อนัตตสัญญา
ย่อมบรรลุนิพพานที่ถอนอัสมิมานะได้ในปัจจุบัน”
เมฆิยสูตรที่ ๓ จบ

๔. นันทกสูตร
ว่าด้วยพระนันทกะแสดงธรรม
[๔] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของ
อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี สมัยนั้น ท่านพระนันทกะชี้แจงให้ภิกษุทั้งหลาย
เห็นชัด ชวนใจให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจ
ให้สดชื่นร่าเริงด้วยธรรมีกถาในหอฉัน
ครั้นเวลาเย็น พระผู้มีพระภาคเสด็จออกจากที่หลีกเร้น เข้าไปยังหอฉัน
ได้ประทับยืนรอที่ซุ้มประตูด้านนอกจนจบกถา ทรงทราบว่าจบกถาแล้ว ทรงกระแอม
แล้วเคาะที่บานประตู ภิกษุเหล่านั้นเปิดประตูถวายพระผู้มีพระภาคแล้ว
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเสด็จเข้าไปยังหอฉัน ประทับนั่งบนพุทธอาสน์ที่ปูลาดไว้
ตรัสกับท่านพระนันทกะดังนี้ว่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๔๓๔ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๑.สัมโพธิวรรค ๔.นันทกสูตร
“นันทกะ ธรรมบรรยาย๑ที่เธอแสดงแก่ภิกษุทั้งหลายนี้ยาวจริงนะ แม้เราคอย
ฟังอยู่ที่ซุ้มประตูด้านนอกจนจบกถา ก็ยังรู้สึกเมื่อยหลัง”
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ท่านพระนันทกะรู้สึกกระดากใจ ได้กราบทูล
พระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ไม่ทราบเลยว่า ‘พระผู้มี
พระภาคประทับยืนรอที่ซุ้มประตูด้านนอก ถ้าข้าพระองค์รู้ ก็จะแสดงไม่ได้ถึงเพียงนี้”
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทราบว่าท่านพระนันทกะกำลังกระดากใจ จึง
ตรัสกับท่านดังนี้ว่า “ดีละ ดีละ นันทกะ การที่เธอทั้งหลายผู้เป็นกุลบุตรออกจาก
เรือนบวชเป็นบรรพชิตด้วยศรัทธา นั่งประชุมกันทำกิจ ๒ อย่าง คือ ธรรมีกถา
หรือความเป็นผู้นิ่งอย่างพระอริยะ นันทกะ ภิกษุเป็นผู้มีศรัทธา แต่ไม่มีศีล เธอชื่อ
ว่าเป็นผู้ไม่บริบูรณ์ด้วยองค์นั้นอย่างนี้ เธอพึงบำเพ็ญองค์นั้นให้บริบูรณ์ด้วยคิดว่า
‘ทางที่ดี เราควรเป็นผู้มีศรัทธา มีศีล’ เมื่อใด ภิกษุเป็นผู้มีศรัทธาและมีศีล
เมื่อนั้น เธอจึงชื่อว่าเป็นผู้บริบูรณ์ด้วยองค์นั้นอย่างนี้
ภิกษุเป็นผู้มีศรัทธาและมีศีล แต่ไม่ได้เจโตสมาธิภายใน เธอชื่อว่าเป็นผู้ไม่
บริบูรณ์ด้วยองค์นั้นอย่างนี้ เธอพึงบำเพ็ญองค์นั้นให้บริบูรณ์ด้วยคิดว่า ‘ทางที่ดี
เราควรเป็นผู้มีศรัทธา มีศีล และได้เจโตสมาธิภายใน’ เมื่อใด ภิกษุเป็นผู้มีศรัทธา
มีศีล และได้เจโตสมาธิภายใน เมื่อนั้น เธอจึงชื่อว่าเป็นผู้บริบูรณ์ด้วยองค์นั้นอย่างนี้
ภิกษุเป็นผู้มีศรัทธา มีศีล และได้เจโตสมาธิภายใน แต่ไม่ได้ความเห็นแจ้งธรรม
ด้วยปัญญาอันยิ่ง เธอชื่อว่าเป็นผู้ไม่บริบูรณ์ด้วยองค์นั้น อย่างนี้ นันทกะ สัตว์สี่เท้า
แต่เท้าข้างหนึ่งของมันบกพร่องพิการ มันชื่อว่าเป็นผู้ไม่บริบูรณ์ด้วยองค์นั้น อย่างนี้
แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน เป็นผู้มีศรัทธา มีศีล และได้เจโตสมาธิภายใน
แต่ไม่ได้ความเห็นแจ้งธรรมด้วยปัญญาอันยิ่ง เธอชื่อว่าเป็นผู้ไม่บริบูรณ์ด้วยองค์นั้น
อย่างนี้ เธอพึงบำเพ็ญองค์นั้นให้บริบูรณ์ด้วยคิดว่า ‘ทางที่ดี เราควรเป็นผู้มีศรัทธา
มีศีล ได้เจโตสมาธิภายใน และได้ความเห็นแจ้งธรรมด้วยปัญญาอันยิ่ง’ เมื่อใด
ภิกษุเป็นผู้มีศรัทธา มีศีล ได้เจโตสมาธิภายใน และได้ความเห็นแจ้งธรรมด้วย
ปัญญาอันยิ่ง เมื่อนั้น เธอจึงชื่อว่าเป็นผู้บริบูรณ์ด้วยองค์นั้นอย่างนี้”



เชิงอรรถ :
๑ ดูเชิงอรรถที่ ๑ สัตตกนิบาตข้อ ๕๑ หน้า ๘๕ ในเล่มนี้


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๔๓๕ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๑.สัมโพธิวรรค ๔.นันทกสูตร
พระผู้มีพระภาคผู้สุคตครั้นตรัสเวยยากรณภาษิตนี้แล้ว จึงเสด็จลุกจากอาสนะ
เข้าไปยังพระวิหาร
ครั้งนั้นแล เมื่อพระผู้มีพระภาคเสด็จหลีกไปแล้วไม่นาน ท่านพระนันทกะ
จึงเรียกภิกษุทั้งหลายมากล่าวว่า “ผู้มีอายุทั้งหลาย บัดนี้ พระผู้มีพระภาคทรง
ประกาศพรหมจรรย์๑ที่บริสุทธิ์บริบูรณ์ครบถ้วนด้วยบท ๔ ประการแล้ว เสด็จลุก
จากอาสนะเข้าไปยังพระวิหาร พระองค์ตรัสว่า
‘นันทกะ ภิกษุเป็นผู้มีศรัทธา แต่ไม่มีศีล เธอชื่อว่าเป็นผู้ไม่บริบูรณ์ด้วยองค์นั้น
อย่างนี้ เธอพึงบำเพ็ญองค์นั้นให้บริบูรณ์ด้วยคิดว่า ‘ทางที่ดี เราควรเป็นผู้มีศรัทธา
มีศีล’ เมื่อใด ภิกษุเป็นผู้มีศรัทธาและมีศีล เมื่อนั้น เธอจึงชื่อว่าเป็นผู้บริบูรณ์ด้วย
องค์นั้นอย่างนี้
ภิกษุเป็นผู้มีศรัทธาและมีศีล แต่ไม่ได้เจโตสมาธิภายใน ฯลฯ ได้เจโตสมาธิ
ภายใน แต่ไม่ได้ความเห็นแจ้งธรรมด้วยปัญญาอันยิ่ง เธอชื่อว่าเป็นผู้ไม่บริบูรณ์ด้วย
องค์นั้นอย่างนี้ นันทกะ สัตว์สี่เท้าแต่เท้าข้างหนึ่งของมันบกพร่องพิการ มันชื่อว่า
เป็นผู้ไม่บริบูรณ์ด้วยองค์นั้น อย่างนี้ แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน เป็นผู้มี
ศรัทธา มีศีล และได้เจโตสมาธิภายใน แต่ไม่ได้ความเห็นแจ้งธรรมด้วยปัญญา
อันยิ่ง เธอชื่อว่าเป็นผู้ไม่บริบูรณ์ด้วยองค์นั้น อย่างนี้ เธอพึงบำเพ็ญองค์นั้นให้
บริบูรณ์ด้วยคิดว่า ‘ทางที่ดี เราควรเป็นผู้มีศรัทธา มีศีล ได้เจโตสมาธิภายใน
และได้ความเห็นแจ้งธรรมด้วยปัญญาอันยิ่ง’ เมื่อใด ภิกษุเป็นผู้มีศรัทธา มีศีล
ได้เจโตสมาธิภายใน และได้ความเห็นแจ้งธรรมด้วยปัญญาอันยิ่ง เมื่อนั้น เธอจึง
ชื่อว่าเป็นผู้บริบูรณ์ด้วยองค์นั้นอย่างนี้’
ผู้มีอายุทั้งหลาย อานิสงส์ในการฟังธรรมตามกาลและการสนทนาธรรม
ตามกาล ๕ ประการนี้


เชิงอรรถ :
๑ ดูเชิงอรรถที่ ๒ สัตตกนิบาตข้อ ๖ หน้า ๑๑ ในเล่มนี้


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๔๓๖ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๑.สัมโพธิวรรค ๔.นันทกสูตร
อานิสงส์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ภิกษุในธรรมวินัยนี้แสดงธรรมมีความงามในเบื้องต้น มีความงาม
ในท่ามกลาง และมีความงามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์พร้อม
ทั้งอรรถและพยัญชนะ บริสุทธิ์ บริบูรณ์ครบถ้วนแก่ภิกษุทั้งหลาย
ผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุแสดงธรรมมีความงามในเบื้องต้น มีความ
งามในท่ามกลาง และมีความงามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์
พร้อมทั้งอรรถและพยัญชนะ บริสุทธิ์ บริบูรณ์ครบถ้วนแก่ภิกษุ
ทั้งหลายโดยวิธีใด ๆ ภิกษุนั้นย่อมเป็นที่รัก เป็นที่พอใจ เป็นที่
เคารพ และเป็นที่ยกย่องของพระศาสดาโดยวิธีนั้น ๆ นี้เป็นอานิสงส์
ประการที่ ๑ ในการฟังธรรมตามกาลและการสนทนาธรรมตามกาล
๒. ภิกษุในธรรมวินัยนี้แสดงธรรมมีความงามในเบื้องต้น มีความงาม
ในท่ามกลาง และมีความงามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้ง
อรรถและพยัญชนะ บริสุทธิ์ บริบูรณ์ครบถ้วนแก่ภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุแสดงธรรมมีความงามในเบื้องต้น ฯลฯ ประกาศพรหมจรรย์ ฯลฯ
แก่ภิกษุทั้งหลายโดยวิธีใด ๆ ภิกษุนั้นย่อมเป็นผู้รู้อรรถและรู้ธรรม
ในธรรมนั้นโดยวิธีนั้น ๆ นี้เป็นอานิสงส์ประการที่ ๒ ในการฟัง
ธรรมตามกาลและการสนทนาธรรมตามกาล
๓. ภิกษุในธรรมวินัยนี้แสดงธรรมมีความงามในเบื้องต้น มีความงาม
ในท่ามกลาง และมีความงามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้ง
อรรถและพยัญชนะ บริสุทธิ์ บริบูรณ์ครบถ้วนแก่ภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุแสดงธรรมมีความงามในเบื้องต้น ฯลฯ ประกาศพรหมจรรย์
ฯลฯ แก่ภิกษุทั้งหลายโดยวิธีใด ๆ ภิกษุนั้นย่อมเห็นแจ้งบทที่ลึกซึ้ง
ในธรรมนั้นด้วยปัญญา๑ นี้เป็นอานิสงส์ประการที่ ๓ ในการฟังธรรม
ตามกาลและการสนทนาธรรมตามกาล

เชิงอรรถ :
๑ ปัญญา ในที่นี้หมายถึงมัคคปัญญาพร้อมทั้งวิปัสสนา ปัญญาเกี่ยวกับการพิจารณาและการรู้แจ้ง หรือ
ปัญญาที่เกี่ยวกับการเรียนและการสอบถาม (องฺ.นวก.อ. ๓/๔/๒๘๙)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๔๓๗ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๑.สัมโพธิวรรค ๕.พลสูตร
๔. ภิกษุในธรรมวินัยนี้แสดงธรรมมีความงามในเบื้องต้น มีความงาม
ในท่ามกลาง และมีความงามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้ง
อรรถและพยัญชนะ บริสุทธิ์ บริบูรณ์ครบถ้วนแก่ภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุแสดงธรรมมีความงามในเบื้องต้น ฯลฯ ประกาศพรหมจรรย์
ฯลฯ แก่ภิกษุทั้งหลายโดยวิธีใด ๆ เพื่อนพรหมจารีทั้งหลายย่อม
ยกย่องเธออย่างยิ่งว่า ‘ท่านผู้นี้ได้บรรลุแล้ว หรือกำลังบรรลุแน่แท้’
นี้เป็นอานิสงส์ประการที่ ๔ ในการฟังธรรมตามกาลและการสนทนา
ธรรมตามกาล
๕. ภิกษุในธรรมวินัยนี้แสดงธรรมมีความงามในเบื้องต้น มีความงาม
ในท่ามกลาง และมีความงามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์พร้อม
ทั้งอรรถและพยัญชนะ บริสุทธิ์ บริบูรณ์ครบถ้วนแก่ภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุแสดงธรรมมีความงามในเบื้องต้น มีความงามในท่ามกลาง
และมีความงามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถและ
พยัญชนะ บริสุทธิ์ บริบูรณ์ครบถ้วนแก่ภิกษุทั้งหลายโดยวิธีใด ๆ
บรรดาภิกษุเหล่านั้น ภิกษุเหล่าใดเป็นเสขะ มีใจยังไม่บรรลุ๑
ปรารถนาธรรมอันเป็นแดนเกษมจากโยคะอันยอดเยี่ยมอยู่ ภิกษุ
เหล่านั้นฟังธรรมนั้นแล้ว ปรารภความเพียรเพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง
เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ได้ทำให้แจ้ง
โดยวิธีนั้น ๆ ส่วนภิกษุเหล่าใดเป็นพระอรหันตขีณาสพ อยู่จบ
พรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ปลงภาระได้แล้ว๒ บรรลุ
ประโยชน์ตน๓โดยลำดับแล้ว สิ้นภวสังโยชน์แล้ว๔ หลุดพ้นแล้ว

เชิงอรรถ :
๑ ไม่บรรลุ ในที่นี้หมายถึงไม่บรรลุอรหัตตผล (องฺ.นวก.อ. ๓/๔/๒๘๙)
๒ ปลงภาระได้แล้ว ในที่นี้หมายถึงละขันธภาระ กิเลสภาระ และอภิสังขารภาระได้ (องฺ.ติก.อ. ๒/๓๘/๑๓๙)
๓ บรรลุประโยชน์ตน ในที่นี้หมายถึงบรรลุอรหัตตผล (องฺ.ติก.อ. ๒/๓๘/๑๓๙)
๔ สิ้นภวสังโยชน์แล้ว ในที่นี้หมายถึงสิ้นกิเลสที่เป็นเครื่องผูกสัตว์ คร่าสัตว์มาไว้ในภพทั้งหลาย (องฺ.ติก.อ.
๒/๓๘/๑๓๙)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๔๓๘ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๑.สัมโพธิวรรค ๕.พลสูตร
เพราะรู้โดยชอบ ภิกษุเหล่านั้นฟังธรรมนั้นแล้ว ประกอบธรรมเป็น
เครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน๑อยู่เนือง ๆ นี้เป็นอานิสงส์ประการที่ ๕
ในการฟังธรรมตามกาลและการสนทนาธรรมตามกาล
ผู้มีอายุทั้งหลาย อานิสงส์ในการฟังธรรมตามกาลและการสนทนาธรรมตาม
กาล ๕ ประการนี้แล”
นันทกสูตรที่ ๔ จบ

๕. พลสูตร
ว่าด้วยพละ
[๕] ภิกษุทั้งหลาย พละ ๔ ประการนี้
พละ ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ปัญญาพละ (กำลังคือปัญญา)
๒. วิริยพละ (กำลังคือความเพียร)
๓. อนวัชชพละ (กำลังคือกรรมที่ไม่มีโทษ)
๔. สังคหพละ (กำลังคือการสงเคราะห์)
ปัญญาพละ เป็นอย่างไร
คือ ธรรมเหล่าใดเป็นกุศล นับว่าเป็นกุศล ธรรมเหล่าใดเป็นอกุศล นับว่าเป็น
อกุศล ธรรมเหล่าใดเป็นธรรมมีโทษ นับว่าเป็นธรรมมีโทษ ธรรมเหล่าใดเป็นธรรม
ไม่มีโทษ นับว่าเป็นธรรมไม่มีโทษ ธรรมเหล่าใดเป็นธรรมดำ นับว่าเป็นธรรมดำ
ธรรมเหล่าใดเป็นธรรมขาว นับว่าเป็นธรรมขาว ธรรมเหล่าใดเป็นธรรมที่ควรเสพ
นับว่าเป็นธรรมที่ควรเสพ ธรรมเหล่าใดเป็นธรรมที่ไม่ควรเสพ นับว่าเป็นธรรมที่
ไม่ควรเสพ ธรรมเหล่าใดเป็นธรรมที่ไม่สามารถทำความเป็นอริยะ นับว่าเป็นธรรม
ที่ไม่สามารถทำความเป็นอริยะ ธรรมเหล่าใดเป็นธรรมสามารถทำความเป็นอริยะ
นับว่าเป็นธรรมสามารถทำความเป็นอริยะ ธรรมเหล่านั้นแลเป็นธรรมที่บุคคลเห็น
ได้ด้วยดี พิจารณาแล้วด้วยปัญญา นี้เรียกว่า ปัญญาพละ

เชิงอรรถ :
๑ ธรรมที่เป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน หมายถึงธรรมเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบันทั้งที่เป็นโลกิยะ และ
เป็นโลกุตตระ (องฺ.นวก.อ. ๓/๔/๒๘๙)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๔๓๙ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๑.สัมโพธิวรรค ๕.พลสูตร
วิริยพละ เป็นอย่างไร
คือ ธรรมเหล่าใดเป็นอกุศล นับว่าเป็นอกุศล ธรรมเหล่าใดเป็นธรรมมีโทษ
นับว่าเป็นธรรมมีโทษ ธรรมเหล่าใดเป็นธรรมดำ นับว่าเป็นธรรมดำ ธรรมเหล่าใด
เป็นธรรมที่ไม่ควรเสพ นับว่าเป็นธรรมที่ไม่ควรเสพ ธรรมเหล่าใดเป็นธรรมที่ไม่
สามารถทำความเป็นอริยะ นับว่าเป็นธรรมที่ไม่สามารถทำความเป็นอริยะ บุคคล
สร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่น เพื่อละธรรมเหล่านั้น
ธรรมเหล่าใดเป็นกุศล นับว่าเป็นกุศล ธรรมเหล่าใดเป็นธรรมไม่มีโทษ นับว่าเป็น
ธรรมไม่มีโทษ ธรรมเหล่าใดเป็นธรรมขาว นับว่าเป็นธรรมขาว ธรรมเหล่าใดเป็น
ธรรมที่ควรเสพ นับว่าเป็นธรรมที่ควรเสพ ธรรมเหล่าใดเป็นธรรมที่สามารถทำ
ความเป็นอริยะ นับว่าเป็นธรรมที่สามารถทำความเป็นอริยะ บุคคลสร้างฉันทะ
พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่น เพื่อได้ธรรมเหล่านั้น นี้เรียกว่า
วิริยพละ
อนวัชชพละ เป็นอย่างไร
คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้เป็นผู้ประกอบด้วยกายกรรมที่ไม่มีโทษ ประกอบ
ด้วยวจีกรรมที่ไม่มีโทษ ประกอบด้วยมโนกรรมที่ไม่มีโทษ นี้เรียกว่า อนวัชชพละ
สังคหพละ เป็นอย่างไร
คือ สังคหวัตถุ(ธรรมเครื่องยึดเหนี่ยว) ๔ ประการนี้๑ ได้แก่ (๑) ทาน (การให้)
(๒) เปยยวัชชะ (วาจาเป็นที่รัก) (๓) อัตถจริยา (การประพฤติประโยชน์) (๔) สมานัตตตา
(การวางตนสม่ำเสมอ) ภิกษุทั้งหลาย การให้ธรรมเลิศกว่าการให้ทั้งหลาย การแสดง
ธรรมบ่อย ๆ แก่บุคคลผู้ต้องการจะฟัง เงี่ยโสตลงสดับเลิศกว่าวาจาเป็นที่รัก
ทั้งหลาย การชักชวนคนที่ไม่มีศรัทธาให้ตั้งมั่น ดำรงมั่นในสัทธาสัมปทา ชักชวน
คนที่ไม่มีศีลให้ตั้งมั่น ดำรงมั่นในสีลสัมปทา ชักชวนคนที่มีความตระหนี่ให้ตั้งมั่น
ดำรงมั่นในจาคสัมปทา ชักชวนคนที่มีปัญญาทรามให้ตั้งมั่น ดำรงมั่นในปัญญา-
สัมปทา เลิศกว่าการประพฤติประโยชน์ทั้งหลาย การที่พระโสดาบันมีตนเสมอกับ


เชิงอรรถ :
๑ ดู ที.ปา. ๑๑/๓๑๓/๒๐๖, องฺ.จตุกฺก. (แปล) ๒๑/๓๒/๕๑, ๒๕๖/๓๗๓


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๔๔๐ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๑.สัมโพธิวรรค ๕.พลสูตร
พระโสดาบัน พระสกทาคามีมีตนเสมอกับพระสกทาคามี พระอนาคามีมีตนเสมอ
กับพระอนาคามี พระอรหันต์มีตนเสมอกับพระอรหันต์ เลิศกว่าความมีตนเสมอ
ทั้งหลาย นี้เรียกว่า สังคหพละ
ภิกษุทั้งหลาย พละ ๔ ประการนี้แล
ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกประกอบด้วยพละ ๔ ประการนี้ ย่อมข้ามพ้นภัย
๕ ประการได้
ภัย ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. อาชีวิกภัย (ภัยเนื่องด้วยการเลี้ยงชีพ)
๒. อสิโลกภัย (ภัยคือความเสื่อมเสียชื่อเสียง)
๓. ปริสสารัชชภัย (ภัยคือความครั่นคร้ามในบริษัท)
๔. มรณภัย (ภัยคือความตาย)
๕. ทุคคติภัย (ภัยคือทุคติ)
ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ‘เราไม่กลัวอาชีวิกภัย เราจัก
กลัวอาชีวิกภัยไปทำไม เรามีพละ ๔ ประการ คือ (๑) ปัญญาพละ (๒) วิริยพละ
(๓) อนวัชชพละ (๔) สังคหพละ คนมีปัญญาทรามพึงกลัวอาชีวิกภัย คนเกียจคร้าน
พึงกลัวอาชีวิกภัย คนมีการงานทางกายที่มีโทษ มีการงานทางวาจาที่มีโทษ และมี
การงานทางใจที่มีโทษพึงกลัวอาชีวิกภัย คนผู้ไม่สงเคราะห์ใคร ๆ พึงกลัวอาชีวิกภัย
เราไม่กลัวอสิโลกภัย ฯลฯ
เราไม่กลัวปริสสารัชชภัย ฯลฯ
เราไม่กลัวมรณภัย ฯลฯ
เราไม่กลัวทุคคติภัย เราจักกลัวทุคคติภัยไปทำไม เรามีพละ ๔ ประการ คือ
(๑) ปัญญาพละ (๒) วิริยพละ (๓) อนวัชชพละ (๔) สังคหพละ คนมีปัญญาทราม
พึงกลัวทุคคติภัย คนเกียจคร้านพึงกลัวทุคคติภัย คนมีการงานทางกายที่มีโทษ
มีการงานทางวาจาที่มีโทษ และมีการงานทางใจที่มีโทษพึงกลัวทุคคติภัย คนผู้ไม่
สงเคราะห์ใคร ๆ พึงกลัวทุคคติภัย’
ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกประกอบด้วยพละ ๔ ประการนี้แล ย่อมข้ามพ้นภัย
๕ ประการนี้ได้
พลสูตรที่ ๕ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๔๔๑ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๑.สัมโพธิวรรค ๖.เสวนาสูตร
๖. เสวนาสูตร
ว่าด้วยสิ่งที่ควรเสพและไม่ควรเสพ๑
[๖] ณ ที่นั้นแล ท่านพระสารีบุตรเรียกภิกษุทั้งหลายมากล่าวว่า ฯลฯ
ท่านพระสารีบุตรได้กล่าวดังนี้ว่า
“ผู้มีอายุทั้งหลาย แม้บุคคลก็พึงทราบว่ามี ๒ ประเภท คือ บุคคลที่ควรคบ
และบุคคลที่ไม่ควรคบ แม้จีวรก็พึงทราบว่ามี ๒ อย่าง คือ จีวรที่ควรใช้สอย และจีวร
ที่ไม่ควรใช้สอย แม้บิณฑบาตก็พึงทราบว่ามี ๒ อย่าง คือ บิณฑบาตที่ควรฉัน และ
บิณฑบาตที่ไม่ควรฉัน แม้เสนาสนะก็พึงทราบว่ามี ๒ อย่าง คือเสนาสนะที่ควรอยู่
อาศัย และเสนาสนะที่ไม่ควรอยู่อาศัย แม้บ้านและนิคมก็พึงทราบว่ามี ๒ อย่าง คือ
บ้านและนิคมที่ควรอยู่อาศัย และบ้านและนิคมที่ไม่ควรอยู่อาศัย แม้ชนบทและ
ประเทศก็พึงทราบว่ามี ๒ อย่าง คือ ชนบทและประเทศที่ควรอยู่อาศัย และชนบท
และประเทศที่ไม่ควรอยู่อาศัย
เรากล่าวไว้เช่นนี้แล๒ว่า ‘แม้บุคคลก็พึงทราบว่ามี ๒ ประเภท คือ บุคคล
ที่ควรคบ และบุคคลที่ไม่ควรคบ’ เพราะอาศัยเหตุอะไร เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น
เพราะอาศัยเหตุนี้ว่า บรรดาบุคคล ๒ ประเภทนั้น บุคคลใดภิกษุรู้ว่า ‘เมื่อเรา
คบบุคคลนี้แล อกุศลธรรมทั้งหลายเจริญยิ่งขึ้น กุศลธรรมทั้งหลายเสื่อมไป บริขาร
สำหรับชีวิตเหล่าใด คือ จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชชบริขาร
ที่เราผู้เป็นบรรพชิตควรเตรียมไว้ให้พร้อม บริขารสำหรับชีวิตเหล่านั้นย่อมเกิดขึ้น
ได้โดยยาก และประโยชน์คือความเป็นสมณะที่เราออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต
ต้องการ ก็ยังไม่ถึงความเจริญเต็มที่’ ภิกษุแม้รู้บุคคลนั้นในเวลากลางคืนหรือกลางวัน
ก็ตาม ก็ไม่ต้องบอกลา จากไปได้ ไม่ควรติดตามบุคคลนั้นไป
บุคคลใดภิกษุรู้ว่า ‘เมื่อเราคบบุคคลนี้แล อกุศลธรรมทั้งหลายเจริญยิ่งขึ้น
กุศลธรรมทั้งหลายเสื่อมไป บริขารสำหรับชีวิตเหล่าใด คือ จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ----------------------------------------

--
๑ ดู องฺ.ทสก. (แปล) ๒๔/๕๔/๑๑๖-๑๑๙
๒ ดู องฺ.ฉกฺก. (แปล) ๒๒/๖๓/๕๗๑-๕๗๙

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๔๔๒ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๑.สัมโพธิวรรค ๖.เสวนาสูตร
และคิลานปัจจัยเภสัชชบริขาร ที่เราผู้เป็นบรรพชิตควรเตรียมไว้ให้พร้อม บริขาร
สำหรับชีวิตเหล่านั้นย่อมเกิดขึ้นได้โดยยาก และประโยชน์คือความเป็นสมณะที่เรา
ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตต้องการ ก็ยังไม่ถึงความเจริญเต็มที่’ ภิกษุแม้รู้
บุคคลนั้น ก็ไม่ต้องบอกลา จากไปได้ ไม่ควรติดตามบุคคลนั้นไป
บุคคลใดภิกษุรู้ว่า ‘เมื่อเราคบบุคคลนี้แล อกุศลธรรมทั้งหลายเสื่อมไป
กุศลธรรมทั้งหลายเจริญยิ่งขึ้น บริขารสำหรับชีวิตเหล่าใด คือ จีวร บิณฑบาต
เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชชบริขาร ที่เราผู้เป็นบรรพชิตควรเตรียมไว้ให้พร้อม
บริขารสำหรับชีวิตเหล่านั้นย่อมเกิดขึ้นได้โดยยาก และประโยชน์คือความเป็นสมณะ
ที่เราออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตต้องการ ก็ยังไม่ถึงความเจริญเต็มที่’ ภิกษุรู้
บุคคลนั้นแล้วควรติดตามบุคคลนั้นไป ไม่ควรจากไป
บุคคลใดภิกษุรู้ว่า ‘เมื่อเราคบบุคคลนี้แล อกุศลธรรมทั้งหลายเสื่อมไป
กุศลธรรมทั้งหลายเจริญยิ่งขึ้น และบริขารสำหรับชีวิตเหล่าใด คือ จีวร บิณฑบาต
เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชชบริขาร ที่เราผู้เป็นบรรพชิตควรเตรียมไว้ให้พร้อม
บริขารสำหรับชีวิตเหล่านั้นย่อมเกิดขึ้นได้โดยยาก และประโยชน์คือความเป็นสมณะ
ที่เราออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตต้องการ ก็ยังไม่ถึงความเจริญเต็มที่’ ภิกษุควร
ติดตามบุคคลนั้นไปจนตลอดชีวิต ไม่พึงจากไป แม้จะถูกขับไล่ก็ตาม
เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้นว่า ‘แม้บุคคลก็พึงทราบว่ามี ๒ ประเภท คือ บุคคลที่
ควรคบ และบุคคลที่ไม่ควรคบ’
เรากล่าวไว้แล้วเช่นนี้แลว่า ‘แม้จีวรก็พึงทราบว่ามี ๒ อย่าง คือ จีวรที่ควร
ใช้สอย และจีวรที่ไม่ควรใช้สอย’ เพราะอาศัยเหตุอะไร เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น
เพราะอาศัยเหตุนี้ว่า บรรดาจีวร ๒ อย่างนั้น จีวรใดภิกษุรู้ว่า ‘เมื่อเราใช้สอย
จีวรนี้แล อกุศลธรรมทั้งหลายเจริญยิ่งขึ้น กุศลธรรมทั้งหลายเสื่อมไป’ จีวรนี้ไม่ควร
ใช้สอย จีวรใดภิกษุรู้ว่า ‘เมื่อเราใช้สอยจีวรนี้แล อกุศลธรรมทั้งหลายเสื่อมไป
กุศลธรรมทั้งหลายเจริญยิ่งขึ้น’ จีวรนี้ควรใช้สอย
เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้นว่า ‘แม้จีวรก็พึงทราบว่ามี ๒ อย่าง คือ จีวรที่ใช้ควรสอย
และจีวรที่ไม่ควรใช้สอย’


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๔๔๓ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๑.สัมโพธิวรรค ๖.เสวนาสูตร
เรากล่าวไว้เช่นนี้แลว่า ‘แม้บิณฑบาตก็พึงทราบว่ามี ๒ อย่าง คือ บิณฑบาต
ที่ควรฉัน และบิณฑบาตที่ไม่ควรฉัน’ เพราะอาศัยเหตุอะไร เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น
เพราะอาศัยเหตุนี้ว่า บรรดาบิณฑบาต ๒ อย่างนั้น บิณฑบาตใดภิกษุรู้ว่า
‘เมื่อเราฉันบิณฑบาตนี้แล อกุศลธรรมทั้งหลายเจริญยิ่งขึ้น กุศลธรรมทั้งหลาย
เสื่อมไป บิณฑบาตนี้ไม่ควรฉัน บิณฑบาตใดภิกษุรู้ว่า ‘เมื่อเราฉันบิณฑบาตนี้แล
อกุศลธรรมทั้งหลายเสื่อมไป กุศลธรรมทั้งหลายเจริญยิ่งขึ้น’ บิณฑบาตนี้ควรฉัน
เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้นว่า ‘แม้บิณฑบาตก็พึงทราบว่ามี ๒ อย่าง คือ บิณฑบาต
ที่ควรฉัน และบิณฑบาตที่ไม่ควรฉัน’
เรากล่าวไว้เช่นนี้แลว่า ‘แม้เสนาสนะก็พึงทราบว่ามี ๒ อย่าง คือ เสนาสนะ
ที่ควรอยู่อาศัย และเสนาสนะที่ไม่ควรอยู่อาศัย’ เพราะอาศัยเหตุอะไร เราจึงกล่าว
ไว้เช่นนั้น
เพราะอาศัยเหตุนี้ว่า บรรดาเสนาสนะ ๒ อย่างนั้น เสนาสนะใดภิกษุรู้ว่า
‘เมื่อเราอยู่อาศัยเสนาสนะนี้แล อกุศลธรรมทั้งหลายเจริญยิ่งขึ้น กุศลธรรมทั้งหลาย
เสื่อมไป’ เสนาสนะนี้ไม่ควรอยู่อาศัย เสนาสนะใดภิกษุรู้ว่า ‘เมื่อเราอยู่อาศัย
เสนาสนะนี้แล อกุศลธรรมทั้งหลายเสื่อมไป กุศลธรรมทั้งหลายเจริญยิ่งขึ้น’
เสนาสนะนี้ควรใช้สอย
เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้นว่า ‘แม้เสนาสนะก็พึงทราบว่ามี ๒ อย่าง คือ เสนาสนะ
ที่ควรอยู่อาศัย และเสนาสนะที่ไม่ควรอยู่อาศัย’
เรากล่าวไว้เช่นนี้แลว่า ‘แม้บ้านและนิคมก็พึงทราบว่ามี ๒ อย่าง คือ บ้าน
และนิคมที่ควรอยู่อาศัย และบ้านและนิคมที่ไม่ควรอยู่อาศัย’ เพราะอาศัยเหตุอะไร
เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น
เพราะอาศัยเหตุนี้ว่า บรรดาบ้านและนิคม ๒ อย่างนั้น บ้านและนิคมใด
ภิกษุรู้ว่า ‘เมื่อเราอยู่อาศัยบ้านและนิคมนี้แล อกุศลธรรมทั้งหลายเจริญยิ่งขึ้น
กุศลธรรมทั้งหลายเสื่อมไป’ บ้านและนิคมนี้ไม่ควรอยู่อาศัย บ้านและนิคมใดภิกษุ
รู้ว่า ‘เมื่อเราอยู่อาศัยบ้านและนิคมนี้แล อกุศลธรรมทั้งหลายเสื่อมไป กุศลธรรม
ทั้งหลายเจริญยิ่งขึ้น’ บ้านและนิคมนี้ควรอยู่อาศัย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๔๔๔ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๑.สัมโพธิวรรค ๗.สุตวาสูตร
เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้นว่า ‘แม้บ้านและนิคมก็พึงทราบว่ามี ๒ อย่าง คือ บ้าน
และนิคมที่ควรอยู่อาศัย และบ้านและนิคมที่ไม่ควรอยู่อาศัย’
เรากล่าวไว้แล้วเช่นนี้แลว่า ‘แม้ชนบทและประเทศก็พึงทราบว่ามี ๒ อย่าง
คือ ชนบทและประเทศที่ควรอยู่อาศัย และชนบทและประเทศที่ไม่ควรอยู่อาศัย’
เพราะอาศัยเหตุอะไร เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น
เพราะอาศัยเหตุนั้นว่า บรรดาชนบทและประเทศ ๒ อย่างนั้น ชนบทและ
ประเทศใดภิกษุรู้ว่า ‘เมื่อเราอยู่อาศัยชนบทและประเทศนี้ อกุศลธรรมทั้งหลาย
เจริญยิ่งขึ้น กุศลธรรมทั้งหลายเสื่อมไป’ ชนบทและประเทศนี้ไม่ควรอยู่อาศัย
ชนบทและประเทศใดภิกษุรู้ว่า ‘เมื่อเราอยู่อาศัยชนบทและประเทศนี้แล อกุศลธรรม
ทั้งหลายเสื่อมไป กุศลธรรมทั้งหลายเจริญยิ่งขึ้น’ ชนบทและประเทศนี้ควรอยู่อาศัย
เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้นว่า ‘แม้ชนบทและประเทศก็พึงทราบว่ามี ๒ อย่าง คือ
ชนบทและประเทศที่ควรอยู่อาศัย และชนบทและประเทศที่ไม่ควรอยู่อาศัย’
เสวนาสูตรที่ ๖ จบ

๗. สุตวาสูตร
ว่าด้วยปริพาชกชื่อสุตวา
[๗] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ภูเขาคิชฌกูฏ เขตกรุงราชคฤห์
ครั้งนั้น ปริพาชกชื่อสุตวาเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ สนทนาปราศรัยกับ
พระผู้มีพระภาค พอเป็นที่บันเทิงใจพอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้
กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระผู้มีพระภาคผู้เจริญ สมัยหนึ่ง ข้าพระองค์อยู่ในกรุงราชคฤห์
อันมีชื่อว่าคิริพพชะนี้แล ณ ที่นั้นแล ข้าพระองค์ได้สดับรับมาเฉพาะพระพักตร์
พระผู้มีพระภาคว่า ‘สุตวา ภิกษุใดเป็นอรหันตขีณาสพ อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว
ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ปลงภาระได้แล้ว บรรลุประโยชน์ตนโดยลำดับแล้ว


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๔๔๕ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๑.สัมโพธิวรรค ๗.สุตวาสูตร
สิ้นภวสังโยชน์แล้ว หลุดพ้นแล้วเพราะรู้โดยชอบ ภิกษุนั้นไม่อาจล่วงละเมิดฐานะ
๕ ประการ๑ได้ คือ
๑. ไม่อาจจงใจปลงชีวิตสัตว์
๒. ไม่อาจถือเอาสิ่งของที่เจ้าของเขามิได้ให้อันเป็นส่วนแห่งความเป็นขโมย
๓. ไม่อาจเสพเมถุนธรรม
๔. ไม่อาจพูดเท็จทั้งที่รู้
๕. ไม่อาจสะสมบริโภคกามเหมือนที่เคยเป็นคฤหัสถ์มาก่อน
คำนี้ข้าพระองค์ได้สดับรับมาจากพระผู้มีพระภาค ใส่ใจทรงจำไว้ได้ถูกต้องดีแล้ว
ไช่ไหม พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “สุตวา จริง คำนี้ท่านได้สดับรับมาใส่ใจทรงจำไว้ได้
ถูกต้องดีแล้ว สุตวา คราวก่อนและคราวนี้ เราก็ยังกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ภิกษุใดเป็น
อรหันตขีณาสพ อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ปลงภาระได้แล้ว
บรรลุประโยชน์ตนโดยลำดับแล้ว สิ้นภวสังโยชน์แล้ว หลุดพ้นแล้วเพราะรู้โดยชอบ
ภิกษุนั้นไม่อาจล่วงละเมิดฐานะ ๙ ประการ คือ
๑. ไม่อาจจงใจปลงชีวิตสัตว์
๒. ไม่อาจถือเอาสิ่งของที่เจ้าของเขามิได้ให้อันเป็นส่วนแห่งความเป็นขโมย
๓. ไม่อาจเสพเมถุนธรรม
๔. ไม่อาจพูดเท็จทั้งที่รู้
๕. ไม่อาจสะสมบริโภคกามเหมือนที่เคยเป็นคฤหัสถ์มาก่อน
๖. ไม่อาจลำเอียงเพราะชอบ
๗. ไม่อาจลำเอียงเพราะชัง
๘. ไม่อาจลำเอียงเพราะหลง
๙. ไม่อาจลำเอียงเพราะกลัว’

เชิงอรรถ :
๑ ดู ที.ปา. ๑๑/๓๑๖/๒๐๙, ม.ม. ๑๓/๒๓๔/๒๑๐

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๔๔๖ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๑.สัมโพธิวรรค ๘.สัชฌาสูตร
สุตวา คราวก่อนและคราวนี้ เราก็ยังกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ภิกษุใดเป็นอรหันต-
ขีณาสพ อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ปลงภาระได้แล้ว บรรลุ
ประโยชน์ตนโดยลำดับแล้ว สิ้นภวสังโยชน์แล้ว หลุดพ้นแล้วเพราะรู้โดยชอบ ภิกษุ
นั้นไม่อาจล่วงละเมิดฐานะ ๙ ประการนี้แล”
สุตวาสูตรที่ ๗ จบ

๘. สัชฌสูตร
ว่าด้วยปริพาชกชื่อสัชฌะ
[๘] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ภูเขาคิชฌกูฏ เขตกรุงราชคฤห์
ครั้งนั้น ปริพาชกชื่อสัชฌะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ สนทนาปราศรัย
กับพระผู้มีพระภาค พอเป็นที่บันเทิงใจพอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้วนั่ง ณ ที่สมควร
ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระผู้มีพระภาคผู้เจริญ สมัยหนึ่ง ข้าพระองค์อยู่ในกรุงราชคฤห์
อันมีชื่อว่าคิริพพชะนี้แล ณ ที่นั้นแล ข้าพระองค์ได้สดับรับมาเฉพาะพระพักตร์
พระผู้มีพระภาคว่า ‘สัชฌะ ภิกษุใดเป็นอรหันตขีณาสพ อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว
ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ปลงภาระได้แล้ว บรรลุประโยชน์ตนโดยลำดับแล้ว
สิ้นภวสังโยชน์แล้ว หลุดพ้นแล้วเพราะรู้โดยชอบ ภิกษุนั้นไม่อาจล่วงละเมิดฐานะ
๕ ประการ คือ
๑. ไม่อาจจงใจปลงชีวิตสัตว์
๒. ไม่อาจถือเอาสิ่งของที่เจ้าของเขามิได้ให้อันเป็นส่วนแห่งความเป็นขโมย
๓. ไม่อาจเสพเมถุนธรรม
๔. ไม่อาจพูดเท็จทั้งที่รู้
๕. ไม่อาจสะสมบริโภคกามเหมือนที่เคยเป็นคฤหัสถ์มาก่อน
คำนี้ข้าพระองค์ได้สดับรับมาจากพระผู้มีพระภาคใส่ใจทรงจำไว้ได้ถูกต้องดีแล้ว
ใช่ไหม พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “สัชฌะ จริง คำนี้ท่านได้สดับรับมาใส่ใจทรงจำไว้ได้
ถูกต้องดีแล้ว สัชฌะ คราวก่อนและคราวนี้ เราก็ยังกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ภิกษุใดเป็นอรหันต-

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๔๔๗ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๑.สัมโพธิวรรค ๙.ปุคคลสูตร
ขีณาสพ อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ปลงภาระได้แล้ว บรรลุ
ประโยชน์ตนโดยลำดับแล้ว สิ้นภวสังโยชน์แล้ว หลุดพ้นแล้วเพราะรู้โดยชอบ ภิกษุนั้น
ไม่อาจล่วงละเมิดฐานะ ๙ ประการ คือ
๑. ไม่อาจจงใจปลงชีวิตสัตว์
ฯลฯ
๕. ไม่อาจสะสมบริโภคกามเหมือนที่เคยเป็นคฤหัสถ์มาก่อน
๖. ไม่อาจบอกคืนพระพุทธเจ้า๑
๗. ไม่อาจบอกคืนพระธรรม
๘. ไม่อาจบอกคืนพระสงฆ์
๙. ไม่อาจบอกคืนสิกขา’
สัชฌะ คราวก่อนและคราวนี้ เราก็ยังกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ภิกษุใดเป็นอรหันต-
ขีณาสพ อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ปลงภาระได้แล้ว บรรลุ
ประโยชน์ตนโดยลำดับแล้ว สิ้นภวสังโยชน์แล้ว หลุดพ้นแล้วเพราะรู้โดยชอบ ภิกษุ
นั้นไม่อาจล่วงละเมิดฐานะ ๙ ประการนี้แล”
สัชฌสูตรที่ ๘ จบ

๙. ปุคคลสูตร
ว่าด้วยบุคคล ๙ จำพวก
[๙] ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๙ จำพวกนี้ มีปรากฏอยู่ในโลก
บุคคล ๙ จำพวกไหนบ้าง คือ
๑. พระอรหันต์
๒. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่ออรหัตตผล
๓. พระอนาคามี

เชิงอรรถ :
๑ บอกคืนพระพุทธเจ้า ในที่นี้หมายถึงปฏิเสธว่ามิใช่พระพุทธเจ้า ในข้อต่อมา คือ บอกคืนพระธรรม บอกคืน
พระสงฆ์ และบอกคืนสิกขาก็มีนัยเดียวกันนี้ (องฺ.นวก.อ. ๓/๗/๒๙๐)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๔๔๘ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๑.สัมโพธิวรรค ๑๐.อาหุเนยยสูตร
๔. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอนาคามิผล
๕. พระสกทาคามี
๖. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งสกทาคามิผล
๗. พระโสดาบัน
๘. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งโสดาปัตติผล
๙. ปุถุชน
ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๙ จำพวกนี้แล มีปรากฏอยู่ในโลก
ปุคคลสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. อาหุเนยยสูตร
ว่าด้วยบุคคลผู้ควรแก่ของที่เขานำมาถวาย
[๑๐] ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๙ จำพวกนี้ เป็นผู้ควรแก่ของที่เขานำมาถวาย
ควรแก่ของต้อนรับ ควรแก่ทักษิณา ควรแก่การทำอัญชลี เป็นนาบุญอันยอดเยี่ยม
ของโลก
บุคคล ๙ จำพวกไหนบ้าง คือ
๑. พระอรหันต์
๒. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่ออรหัตตผล
๓. พระอนาคามี
๔. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอนาคามิผล
๕. พระสกทาคามี
๖. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งสกทาคามิผล
๗. พระโสดาบัน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๔๔๙ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๑.สัมโพธิวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค
๘. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งโสดาปัตติผล
๙. โคตรภูบุคคล๑
ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๙ จำพวกนี้ เป็นผู้ควรแก่ของที่เขานำมาถวาย ฯลฯ
เป็นนาบุญอันยอดเยี่ยมของโลก
อาหุเนยยสูตรที่ ๑๐ จบ
สัมโพธิวรรคที่ ๑ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. สัมโพธิสูตร ๒. นิสสยสูตร
๓. เมฆิยสูตร ๔. นันทกสูตร
๕. พลสูตร ๖. เสวนาสูตร
๗. สุตวาสูตร ๘. สัชฌสูตร
๙. ปุคคลสูตร ๑๐. อาหุเนยยสูตร


เชิงอรรถ :
๑ โคตรภูบุคคล หมายถึงท่านผู้เจริญวิปัสสนามีกำลังสูงสุด จิตอยู่ในหัวเลี้ยวหัวต่อระหว่างปุถุชนกับโสดา-
ปัตติมรรค (องฺ.นวก.อ. ๓/๘-๑๐/๒๙๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๔๕๐ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๒.สีหนาทวรรค ๑.สีหนาทสูตร
๒. สีหนาทวรรค
หมวดว่าด้วยการบันลือสีหนาท
๑. สีหนาทสูตร
ว่าด้วยการบันลือสีหนาท
[๑๑] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของ
อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้นแล ท่านพระสารีบุตรเข้าไปเฝ้าพระ
ผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มี
พระภาคดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์จำพรรษาอยู่ในกรุงสาวัตถีแล้ว ปรารถนา
จะจาริกไปในชนบท”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “สารีบุตร เธอจงกำหนดเวลาที่สมควร ณ บัดนี้เถิด”
ลำดับนั้น ท่านพระสารีบุตรลุกจากที่นั่ง ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาค
ทำประทักษิณแล้วจากไป
ครั้งนั้นแล เมื่อท่านพระสารีบุตรจากไปแล้วไม่นาน ภิกษุรูปหนึ่งได้กราบทูล
พระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ท่านพระสารีบุตรกระทบข้าพระองค์
แล้ว ไม่ขอโทษ ก็จาริกไป”
ต่อมา พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกภิกษุรูปหนึ่งมาตรัสว่า “ภิกษุ เธอจงมา
จงไปเรียกสารีบุตรตามคำของเราว่า ‘ท่านสารีบุตร พระศาสดาเรียกท่าน” ภิกษุนั้น
ทูลสนองรับพระดำรัสพระผู้มีพระภาคแล้วเข้าไปหาท่านพระสารีบุตรถึงที่อยู่ ได้กล่าว
กับท่านพระสารีบุตรดังนี้ว่า “ท่านสารีบุตร พระศาสดารับสั่งเรียกท่าน” ท่านพระ
สารีบุตรรับคำแล้ว
สมัยนั้น ท่านพระมหาโมคคัลลานะและท่านพระอานนท์ถือลูกกุญแจเที่ยว
ประกาศไปในวิหารว่า “ออกไปเถิด ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ออกไปเถิด ท่านผู้มีอายุ
ทั้งหลาย บัดนี้ ท่านพระสารีบุตรจักบันลือสีหนาทต่อพระพักตร์พระผู้มีพระภาค”


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๔๕๑ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๒.สีหนาทวรรค ๑.สีหนาทสูตร
ครั้นท่านพระสารีบุตรเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาท
แล้วนั่ง ณ ที่สมควร พระผู้มีพระภาคจึงตรัสกับท่านพระสารีบุตรว่า “สารีบุตร
เพื่อนพรหมจารีรูปหนึ่งในธรรมวินัยนี้กล่าวหาเธอว่า ‘ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ท่านพระ
สารีบุตรกระทบข้าพระองค์แล้ว ไม่ขอโทษ ก็จาริกไป”
ท่านพระสารีบุตรกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุใดไม่ตั้งมั่นกาย-
คตาสติ(สติไปในกาย)ไว้ในกาย ภิกษุนั้นกระทบเพื่อนพรหมจารีรูปใดรูปหนึ่งใน
ธรรมวินัยนี้แล้ว ไม่ขอโทษ ก็พึงจาริกไป
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
๑. ชนทั้งหลายย่อมทิ้งของสะอาดบ้าง ทิ้งของไม่สะอาดบ้าง ทิ้งคูถบ้าง
ทิ้งมูตรบ้าง ทิ้งน้ำลายบ้าง ทิ้งหนองบ้าง ทิ้งเลือดบ้าง ลงบน
แผ่นดิน แต่แผ่นดินก็ไม่อึดอัด ระอา หรือรังเกียจสิ่งนั้น
แม้ฉันใด ข้าพระองค์ก็ฉันนั้นเหมือนกัน มีใจเสมอด้วยแผ่นดิน
ไพบูลย์ เป็นมหัคคตะ๑ ไม่มีขอบเขต ไม่มีเวร ไม่มีความ
เบียดเบียนอยู่ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุใดไม่ตั้งมั่นกายคตาสติ
ไว้ในกาย ภิกษุนั้นกระทบเพื่อนพรหมจารีรูปใดรูปหนึ่งในพระธรรม-
วินัยนี้แล้ว ไม่ขอโทษ พึงจาริกไป
๒. ชนทั้งหลายย่อมล้างของสะอาดบ้าง ล้างของไม่สะอาดบ้าง ล้างคูถ
บ้าง ล้างมูตรบ้าง ล้างน้ำลายบ้าง ล้างหนองบ้าง ล้างเลือดบ้าง
ในน้ำ แต่น้ำก็ไม่อึดอัด ระอา หรือรังเกียจสิ่งนั้น แม้ฉันใด
ข้าพระองค์ก็ฉันนั้นเหมือนกัน มีใจเสมอด้วยน้ำ ไพบูลย์ เป็นมหัคคตะ
ไม่มีขอบเขต ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนอยู่ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
ภิกษุใดไม่ตั้งมั่นกายคตาสติไว้ในกาย ภิกษุนั้นกระทบเพื่อนพรหมจารี
รูปใดรูปหนึ่งในพระธรรมวินัยนี้แล้ว ไม่ขอโทษ พึงจาริกไป
๓. ไฟย่อมไหม้ของสะอาดบ้าง ไหม้ของไม่สะอาดบ้าง ไหม้คูถบ้าง
ไหม้มูตรบ้าง ไหม้น้ำลายบ้าง ไหม้หนองบ้าง ไหม้เลือดบ้าง แต่ไฟก็

เชิงอรรถ :
๑ มหัคคตะ แปลว่าถึงความเป็นใหญ่ กล่าวคือเป็นรูปาวจรกุศลและอรูปาวจรกุศล เพราะสามารถข่มกิเลสได้
หรือดำเนินไปด้วยฉันทะ วิริยะ จิตตะและปัญญาที่กว้างขวาง (ขุ.ป.อ. ๑/๑๐๔/๓๖๖, อภิ.สงฺ.อ. ๑๒/๙๒)
และดู อภิ.สงฺ. (แปล) ๓๔/๑๖๐-๒๖๘/๕๗-๘๕

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๔๕๒ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๒.สีหนาทวรรค ๑.สีหนาทสูตร
ไม่อึดอัด ระอา หรือรังเกียจสิ่งนั้น แม้ฉันใด ข้าพระองค์ก็ฉันนั้น
เหมือนกัน มีใจเสมอด้วยไฟ ไพบูลย์ เป็นมหัคคตะ ไม่มีขอบเขต
ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนอยู่ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุใด
ไม่ตั้งมั่นกายคตาสติไว้ในกาย ภิกษุนั้นกระทบเพื่อนพรหมจารีรูปใด
รูปหนึ่งในพระธรรมวินัยนี้แล้ว ไม่ขอโทษ พึงจาริกไป
๔. ลมย่อมพัดของสะอาดบ้าง พัดของไม่สะอาดบ้าง พัดคูถบ้าง พัด
มูตรบ้าง พัดน้ำลายบ้าง พัดหนองบ้าง พัดเลือดบ้าง แต่ลมก็ไม่
อึดอัด ระอา หรือรังเกียจสิ่งนั้น แม้ฉันใด ข้าพระองค์ก็ฉันนั้น
เหมือนกัน มีใจเสมอด้วยลม ไพบูลย์ เป็นมหัคคตะ ไม่มีขอบเขต
ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนอยู่ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุใดไม่
ตั้งมั่นกายคตาสติไว้ในกาย ภิกษุนั้นกระทบเพื่อนพรหมจารีรูปใด
รูปหนึ่งในพระธรรมวินัยนี้แล้ว ไม่ขอโทษ พึงจาริกไป
๕. ผ้าเช็ดธุลีย่อมเช็ดของสะอาดบ้าง เช็ดของไม่สะอาดบ้าง เช็ดคูถบ้าง
เช็ดมูตรบ้าง เช็ดน้ำลายบ้าง เช็ดหนองบ้าง เช็ดเลือดบ้าง แต่
ผ้าเช็ดธุลีก็ไม่อึดอัด ระอา หรือรังเกียจสิ่งนั้น แม้ฉันใด ข้าพระองค์
ก็ฉันนั้นเหมือนกัน มีใจเสมอด้วยผ้าเช็ดธุลี ไพบูลย์ เป็นมหัคคตะ
ไม่มีขอบเขต ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนอยู่ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
ภิกษุใดไม่ตั้งมั่นกายคตาสติไว้ในกาย ภิกษุนั้นกระทบเพื่อนพรหมจารี
รูปใดรูปหนึ่งในพระธรรมวินัยนี้แล้ว ไม่ขอโทษ พึงจาริกไป
๖. เด็กจัณฑาลผู้ชายหรือเด็กจัณฑาลผู้หญิง หิ้วตะกร้า นุ่งผ้าชายขาด
เมื่อเข้าไปสู่บ้านหรือนิคม ย่อมตั้งจิตนอบน้อมเท่านั้นเข้าไป แม้
ฉันใด ข้าพระองค์ก็ฉันนั้นเหมือนกัน มีใจเสมอด้วยเด็กจัณฑาล
ผู้ชายหรือเด็กจัณฑาลผู้หญิง ไพบูลย์ เป็นมหัคคตะ ไม่มีขอบเขต
ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนอยู่ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุใดไม่
ตั้งมั่นกายคตาสติไว้ในกาย ภิกษุนั้นกระทบเพื่อนพรหมจารีรูปใด
รูปหนึ่งในพระธรรมวินัยนี้แล้ว ไม่ขอโทษ พึงจาริกไป

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๔๕๓ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๒.สีหนาทวรรค ๑.สีหนาทสูตร
๗. โคผู้เขาหัก สงบเสงี่ยม ได้รับการฝึกมาดี ได้รับการแนะนำมาดี
ให้สำเหนียกดี เดินไปตามถนนหนทาง ตามทางแยกน้อยใหญ่ ไม่ดีด
หรือขวิดใคร ๆ แม้ฉันใด ข้าพระองค์ก็ฉันนั้นเหมือนกัน มีใจเสมอ
ด้วยโคผู้เขาหัก ไพบูลย์ เป็นมหัคคตะ ไม่มีขอบเขต ไม่มีเวร
ไม่มีความเบียดเบียนอยู่ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุใดไม่ตั้งมั่น
กายคตาสติไว้ในกาย ภิกษุนั้นกระทบเพื่อนพรหมจารีรูปใดรูปหนึ่ง
ในพระธรรมวินัยนี้แล้ว ไม่ขอโทษ พึงจาริกไป
๘. สตรีหรือบุรุษที่ยังหนุ่มสาว มีปกติชอบแต่งตัว สรงน้ำดำหัวแล้ว
พึงอึดอัด ระอา หรือรังเกียจซากงู ซากสุนัข หรือซากมนุษย์ที่
คล้องคอไว้ แม้ฉันใด ข้าพระองค์ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมอึดอัด
ระอา รังเกียจกายอันเปื่อยเน่านี้ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุใด
ไม่ตั้งมั่นกายคตาสติไว้ในกาย ภิกษุนั้นกระทบเพื่อนพรหมจารีรูปใด
รูปหนึ่งในพระธรรมวินัยนี้แล้ว ไม่ขอโทษ พึงจาริกไป
๙. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บุรุษประคองถาดมันข้นที่มีช่องน้อยใหญ่
น้ำไหลออกได้ข้างบน ไหลออกได้ข้างล่าง แม้ฉันใด ข้าพระองค์ก็
ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมบริหารกายนี้ที่มีช่องน้อยช่องใหญ่๑ ไหลเข้า
ไหลออกอยู่ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุใดไม่ตั้งมั่นกายคตาสติไว้
ในกาย ภิกษุนั้นกระทบเพื่อนพรหมจารีรูปใดรูปหนึ่งในพระธรรมวินัย
นี้แล้ว ไม่ขอโทษ พึงจาริกไป
ลำดับนั้น ภิกษุรูปนั้นลุกจากอาสนะ ห่มจีวรเฉวียงบ่า หมอบลงแทบพระบาท
ของพระผู้มีพระภาคด้วยเศียรเกล้าแล้ว กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่
พระองค์ผู้เจริญ โทษได้มาถึงข้าพระองค์ผู้เป็นคนพาล เป็นคนหลง เป็นคนไม่ฉลาด
ที่ได้กล่าวตู่ท่านพระสารีบุตรด้วยคำที่ไม่มีอยู่ เปล่าประโยชน์ เป็นเรื่องเท็จ ไม่เป็นจริง
ขอพระผู้มีพระภาคโปรดอดโทษแก่ข้าพระองค์เพื่อความสำรวมต่อไปเถิด”

เชิงอรรถ :
๑ ช่องน้อยช่องใหญ่ ในที่นี้หมายถึงปากแผลทั้ง ๙ (ทวาร ๙ คือ ช่องตาทั้งสอง ช่องหูทั้งสอง ช่องจมูก
ทั้งสอง ช่องปาก ทวารหนัก ทวารเบา) (องฺ.นวก.อ. ๓/๑๑/๒๙๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๔๕๔ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๒.สีหนาทวรรค ๒.สอุปาทิเสสสูตร
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “โทษได้มาถึงเธอผู้เป็นคนพาล เป็นคนหลง เป็นคน
ไม่ฉลาด ที่เธอได้กล่าวตู่สารีบุตรด้วยคำที่ไม่มีอยู่ เปล่าประโยชน์ เป็นเรื่องเท็จ
ไม่เป็นจริง แต่เพราะเธอเห็นโทษโดยความเป็นโทษแล้วทำคืนตามธรรม เราย่อม
อดโทษนั้นแก่เธอ ข้อที่ภิกษุเห็นโทษโดยความเป็นโทษแล้วทำคืนตามธรรม ถึงความ
สำรวมต่อไป นี้เป็นความเจริญในอริยวินัย”
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสกับท่านพระสารีบุตรดังนี้ว่า “สารีบุตร เธอจง
อดโทษให้แก่โมฆบุรุษผู้นี้เถิด ก่อนที่ศีรษะของเขาจะแตกเป็น ๗ เสี่ยง เพราะโทษ
นั้นนั่นเอง”
ท่านพระสารีบุตรกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์จะอดโทษ
แก่ท่านรูปนั้น ถ้าท่านรูปนั้นได้กล่าวกับข้าพระองค์อย่างนี้ว่า ‘ขอท่านผู้มีอายุนั้น
จงอดโทษแก่ข้าพเจ้าด้วยเถิด”
สีหนาทสูตรที่ ๑ จบ

๒. สอุปาทิเสสสูตร
ว่าด้วยสอุปาทิเสสบุคคล
[๑๒] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของ
อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้นเวลาเช้า ท่านพระสารีบุตร ครองอันตรวาสก
ถือบาตรและจีวร เข้าไปยังกรุงสาวัตถี เพื่อบิณฑบาต ต่อมา ท่านพระสารีบุตร
ได้มีความคิดดังนี้ว่า “การเที่ยวไปบิณฑบาตในกรุงสาวัตถียังเช้านัก ทางที่ดี เราควร
เข้าไปยังอารามของพวกอัญเดียรถีย์ปริพาชก” ครั้นแล้ว ท่านพระสารีบุตรจึงเข้าไป
ยังอารามของพวกอัญเดียรถีย์ปริพาชก ได้สนทนาปราศรัยกับอัญเดียรถีย์ปริพาชก
เหล่านั้น พอเป็นที่บันเทิงใจพอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้วนั่ง ณ ที่สมควร
สมัยนั้นเอง อัญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้น กำลังนั่งประชุมสนทนากันดังนี้ว่า
“ผู้มีอายุทั้งหลาย บุคคลใดบุคคลหนึ่งเป็นสอุปาทิเสส๑(ยังมีอุปาทิเหลือ) เมื่อตายไป
ล้วนไม่พ้นจากนรก ไม่พ้นจากกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ไม่พ้นจากเปรตวิสัย ไม่พ้นจาก
อบาย ทุคติ และวินิบาต


เชิงอรรถ :
๑สอุปาทิเสส ในที่นี้หมายถึงมีอุปาทานเหลืออยู่ (องฺ.นวก.อ. ๓/๑๒/๒๙๓)


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๔๕๕ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๒.สีหนาทวรรค ๒.สอุปาทิเสสสูตร
ครั้งนั้นแล ท่านพระสารีบุตรไม่ยินดีไม่คัดค้านภาษิตของอัญเดียรถีย์ปริพาชก
เหล่านั้น ลุกจากอาสนะจากไปด้วยคิดว่า “เราจักรู้ชัดเนื้อความแห่งภาษิตนี้ในสำนัก
ของพระผู้มีพระภาค”
ครั้นท่านพระสารีบุตรเที่ยวไปบิณฑบาตในกรุงสาวัตถี กลับจากบิณฑบาต
หลังจากฉันอาหารเสร็จแล้ว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาท
แล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานวโรกาส เมื่อเช้านี้ ข้าพระองค์ครอง
อันตรวาสก ถือบาตรและจีวร เข้าไปยังกรุงสาวัตถีเพื่อบิณฑบาต ได้มีความคิด
ดังนี้ว่า ‘การเที่ยวไปบิณฑบาตในกรุงสาวัตถี ยังเช้านัก ทางที่ดี เราควรเข้าไปยัง
อารามของพวกอัญเดียรถีย์ปริพาชก’ ครั้นแล้ว ข้าพระองค์จึงเข้าไปยังอารามของ
พวกอัญเดียรถีย์ปริพาชก ได้สนทนาปราศรัยกับอัญเดียรถีย์เหล่านั้น พอเป็นที่
บันเทิงใจพอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้วนั่ง ณ ที่สมควร
สมัยนั้น อัญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้น กำลังนั่งประชุมกันสนทนากันดังนี้ว่า
‘ผู้มีอายุทั้งหลาย บุคคลใดบุคคลหนึ่งเป็นสอุปาทิเสส เมื่อตายไป ล้วนไม่พ้น
จากนรก ไม่พ้นจากกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ไม่พ้นจากเปรตวิสัย ไม่พ้นจากอบาย
ทุคติ และวินิบาต’ ข้าพระองค์ไม่ยินดีไม่คัดค้านภาษิตของอัญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้น
ลุกจากอาสนะจากมาด้วยคิดว่า ‘เราจักรู้ชัดเนื้อความแห่งภาษิตนี้ในสำนักของพระ
ผู้มีพระภาค”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “สารีบุตร อัญเดียรถีย์ปริพาชกผู้เขลาไม่เฉียบแหลม
เป็นพวกไหน และพวกไหนจักรู้จักบุคคลผู้เป็นสอุปาทิเสสว่าเป็นสอุปาทิเสส หรือ
จักรู้จักบุคคลผู้เป็นอนุปาทิเสส๑ว่าเป็นอนุปาทิเสส
สารีบุตร บุคคล ๙ จำพวกนี้ เป็นสอุปาทิเสส เมื่อตายไป ก็พ้นจากนรกได้
พ้นจากกำเนิดสัตว์ดิรัจฉานได้ พ้นจากเปรตวิสัยได้ พ้นจากอบาย ทุคติ และวินิบาตได้


เชิงอรรถ :
๑อนุปาทิเสส หมายถึงไม่มีอุปาทานเหลืออยู่ ได้แก่ ปราศจากความถือมั่น(นิคคหณะ) (องฺ.นวก.อ. ๓/๑๒/
๒๙๓)


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๔๕๖ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๒.สีหนาทวรรค ๒.สอุปาทิเสสสูตร
บุคคล ๙ จำพวกไหนบ้าง คือ
๑. บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้มีปกติทำศีลให้บริบูรณ์ มีปกติทำสมาธิ
ให้บริบูรณ์ มีปกติทำปัญญาพอประมาณ เพราะสังโยชน์เบื้องต่ำ
๕ ประการสิ้นไป เขาจึงเป็นอันตราปรินิพพายี นี้เป็นบุคคลจำพวก
ที่ ๑ ผู้เป็นสอุปาทิเสส เมื่อตายไป ก็พ้นจากนรกได้ พ้นจากกำเนิด
สัตว์ดิรัจฉานได้ พ้นจากเปรตวิสัยได้ พ้นจากอบาย ทุคติ และ
วินิบาตได้
๒. บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้มีปกติทำศีลให้บริบูรณ์ มีปกติทำสมาธิ
ให้บริบูรณ์ มีปกติทำปัญญาพอประมาณ เพราะสังโยชน์เบื้องต่ำ
๕ ประการสิ้นไป เขาจึงเป็นอุปหัจจปรินิพพายี ฯลฯ
๓. บุคคลบางคนในโลกนี้ ฯลฯ จึงเป็นอสังขารปรินิพพายี ฯลฯ
๔. บุคคลบางคนในโลกนี้ ฯลฯ จึงเป็นสสังขารปรินิพพายี ฯลฯ
๕. บุคคลบางคนในโลกนี้ ฯลฯ จึงเป็นอุทธังโสตอกนิฏฐคามี ฯลฯ
๖. บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้มีปกติทำศีลให้บริบูรณ์ มีปกติทำสมาธิ
พอประมาณ มีปกติทำปัญญาพอประมาณ เพราะสังโยชน์ ๓
ประการสิ้นไป และเพราะราคะ โทสะ และโมหะเบาบาง เขาจึงเป็น
สกทาคามี มาสู่โลกนี้อีกครั้งเดียว ก็จะทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ นี้เป็น
บุคคลจำพวกที่ ๖ ผู้เป็นสอุปาทิเสส เมื่อตายไป ก็พ้นจากนรกได้
ฯลฯ พ้นจากอบาย ทุคติ และวินิบาตได้
๗. บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้มีปกติทำศีลให้บริบูรณ์ มีปกติทำสมาธิ
พอประมาณ มีปกติทำปัญญาพอประมาณ เพราะสังโยชน์ ๓
ประการสิ้นไป เขาจึงเป็นเอกพีชี เกิดเป็นมนุษย์อีกเพียงครั้งเดียว
ก็จะทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ นี้เป็นบุคคลจำพวกที่ ๗ ผู้เป็นสอุปาทิเสส
เมื่อตายไป ก็พ้นจากนรกได้ ฯลฯ พ้นจากอบาย ทุคติ และ
วินิบาตได้
๘. บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้มีปกติทำศีลให้บริบูรณ์ มีปกติทำสมาธิ
พอประมาณ มีปกติทำปัญญาพอประมาณ เพราะสังโยชน์ ๓

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๔๕๗ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๒.สีหนาทวรรค ๒.สอุปาทิเสสสูตร
ประการสิ้นไป เขาจึงเป็นโกลังโกละ ท่องเที่ยวไปสู่ตระกูล ๒ หรือ
๓ ตระกูล ก็จะทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ นี้เป็นบุคคลจำพวกที่ ๘ ผู้เป็น
สอุปาทิเสส เมื่อตายไป ก็พ้นจากนรกได้ ฯลฯ พ้นจากอบาย ทุคติ
และวินิบาตได้
๙. บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้มีปกติทำศีลให้บริบูรณ์ มีปกติทำสมาธิ
พอประมาณ มีปกติทำปัญญาพอประมาณ เพราะสังโยชน์ ๓
ประการสิ้นไป เขาจึงเป็นสัตตักขัตตุปรมะ ท่องเที่ยวไปในเทวดา
และมนุษย์อย่างมาก ๗ ครั้ง ก็จะทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ นี้เป็นบุคคล
จำพวกที่ ๙ ผู้เป็นสอุปาทิเสส เมื่อตายไป ก็พ้นจากนรกได้ พ้นจาก
กำเนิดสัตว์ดิรัจฉานได้ พ้นจากอบาย ทุคติ และวินิบาตได้
สารีบุตร พวกอัญเดียรถีย์ปริพาชกผู้เขลา ไม่เฉียบแหลม เป็นพวกไหน และ
พวกไหนจักรู้จักบุคคลผู้เป็นสอุปาทิเสสว่าเป็นสอุปาทิเสส หรือจักรู้จักบุคคลผู้เป็น
อนุปาทิเสสว่าเป็นอนุปาทิเสส สารีบุตร บุคคล ๙ จำพวกนี้แล เป็นสอุปาทิเสส
เมื่อตายไป ก็พ้นจากนรกได้ พ้นจากกำเนิดสัตว์ดิรัจฉานได้ พ้นจากเปรตวิสัยได้
พ้นจากอบาย ทุคติ และวินิบาตได้
สารีบุตร ธรรมบรรยายนี้ยังไม่แจ่มแจ้งแก่ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา
ก่อน ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะประสงค์ว่า ชนทั้งหลายฟังธรรมบรรยายนี้แล้ว
อย่านำมาซึ่งความประมาท อีกอย่างหนึ่ง เรากล่าวธรรมบรรยายนี้โดยมุ่งถึงปัญหา”

สอุปาทิเสสสูตรที่ ๒ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๔๕๘ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๒.สีหนาทวรรค ๓.โกฏฐิตสูตร
๓. โกฏฐิตสูตร
ว่าด้วยพระมหาโกฏฐิตะ
[๑๓] ครั้งนั้นแล ท่านพระมหาโกฏฐิตะเข้าไปหาท่านพระสารีบุตรถึงที่อยู่
สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้ถาม
ท่านพระสารีบุตรดังนี้ว่า
“ท่านสารีบุตร บุคคลอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาคเพื่อประโยชน์
นี้ว่า ‘กรรมใดให้ผลในปัจจุบัน๑ ขอกรรมนั้นจงให้ผลในอนาคตแก่เราเถิด’ ได้ไหม”
ท่านพระสารีบุตรกล่าวว่า “ผู้มีอายุ ข้อนี้ไม่ได้เลย”
“ท่านสารีบุตร บุคคลอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาคเพื่อประโยชน์
นี้ว่า ‘กรรมใดให้ผลในอนาคต ขอกรรมนั้นจงให้ผลในปัจจุบันแก่เราเถิด’ ได้ไหม”
“ผู้มีอายุ ข้อนี้ไม่ได้เลย”
“ท่านสารีบุตร บุคคลอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาคเพื่อประโยชน์
นี้ว่า ‘กรรมใดให้ผลเป็นสุข ขอกรรมนั้นจงให้ผลเป็นทุกข์แก่เราเถิด’ ได้ไหม”
“ผู้มีอายุ ข้อนี้ไม่ได้เลย”
“ท่านสารีบุตร บุคคลอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาคเพื่อประโยชน์
นี้ว่า ‘กรรมใดให้ผลเป็นทุกข์ ขอกรรมนั้นจงให้ผลเป็นสุขแก่เราเถิด’ ได้ไหม”
“ผู้มีอายุ ข้อนี้ไม่ได้เลย”
“ท่านสารีบุตร บุคคลอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาคเพื่อประโยชน์
นี้ว่า ‘กรรมใดให้ผลสำเร็จแล้ว ขอกรรมนั้นจงไม่ให้ผลสำเร็จแก่เราเถิด’ ได้ไหม”
“ผู้มีอายุ ข้อนี้ไม่ได้เลย”
“ท่านสารีบุตร บุคคลอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาคเพื่อประโยชน์
นี้ว่า ‘กรรมใดยังไม่ให้ผลสำเร็จ ขอกรรมนั้นจงให้ผลสำเร็จแก่เราเถิด’ ได้ไหม”

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ องฺ.ฉกฺก. (แปล) ๒๒/๖๓/๕๗๗, องฺ.ทสก. (แปล) ๒๔/๒๑๗/๓๕๗, อภิ.ก. ๓๗/๖๓๕/๓๘๕,๘๙๐-
๘๙๑/๕๐๖-๕๐๗

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๔๕๙ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๒.สีหนาทวรรค ๓.โกฏฐิตสูตร
“ผู้มีอายุ ข้อนี้ไม่ได้เลย”
“ท่านสารีบุตร บุคคลอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาคเพื่อประโยชน์
นี้ว่า ‘กรรมใดให้ผลมาก ขอกรรมนั้นจงให้ผลน้อยแก่เราเถิด’ ได้ไหม”
“ผู้มีอายุ ข้อนี้ไม่ได้เลย”
“ท่านสารีบุตร บุคคลอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาคเพื่อประโยชน์
นี้ว่า ‘กรรมใดให้ผลน้อย ขอกรรมนั้นจงให้ผลมากแก่เราเถิด’ ได้ไหม”
“ผู้มีอายุ ข้อนี้ไม่ได้เลย”
“ท่านสารีบุตร บุคคลอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาคเพื่อประโยชน์
นี้ว่า ‘กรรมใดให้ผล ขอกรรมนั้นจงไม่ให้ผลแก่เราเถิด’ ได้ไหม”
“ผู้มีอายุ ข้อนี้ไม่ได้เลย”
“ท่านสารีบุตร บุคคลอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาคเพื่อประโยชน์
นี้ว่า ‘กรรมใดไม่ให้ผล ขอกรรมนั้นจงให้ผลแก่เราเถิด’ ได้ไหม”
“ผู้มีอายุ ข้อนี้ไม่ได้เลย”
“ท่านสารีบุตร เมื่อผมถามท่านว่า ‘ท่านสารีบุตร บุคคลอยู่ประพฤติพรหม-
จรรย์ในพระผู้มีพระภาค เพื่อประโยชน์นี้ว่า กรรมใดให้ผลในปัจจุบัน ขอกรรม
นั้นจงให้ผลในอนาคตแก่เราเถิด ได้ไหม’ ท่านก็ตอบว่า ‘ผู้มีอายุ ข้อนี้ไม่ได้เลย’
เมื่อผมถามท่านว่า ‘ท่านสารีบุตร บุคคลอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มี
พระภาคเพื่อประโยชน์นี้ว่า กรรมใดให้ผลในอนาคต ขอกรรมนั้นจงให้ผลใน
ปัจจุบันแก่เราเถิด ได้ไหม’ ท่านก็ตอบว่า ‘ผู้มีอายุ ข้อนี้ไม่ได้เลย’
เมื่อผมถามท่านว่า ‘ท่านสารีบุตร บุคคลอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มี
พระภาคเพื่อประโยชน์นี้ว่า กรรมใดให้ผลเป็นสุข ขอกรรมนั้นจงให้ผลเป็นทุกข์แก่
เราเถิด ได้ไหม’ ท่านก็ตอบว่า ‘ผู้มีอายุ ข้อนี้ไม่ได้เลย’
เมื่อผมถามท่านว่า ‘ท่านสารีบุตร บุคคลอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มี
พระภาคเพื่อประโยชน์นี้ว่า กรรมใดให้ผลเป็นทุกข์ ขอกรรมนั้นจงให้ผลเป็นสุขแก่
เราเถิด ได้ไหม’ ท่านก็ตอบว่า ‘ผู้มีอายุ ข้อนี้ไม่ได้เลย’
เมื่อผมถามท่านว่า ‘ท่านสารีบุตร บุคคลอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มี
พระภาคเพื่อประโยชน์นี้ว่า กรรมใดให้ผลสำเร็จแล้ว ขอกรรมนั้นจงไม่ให้ผลสำเร็จ
แก่เราเถิด ได้ไหม’ ท่านก็ตอบว่า ‘ผู้มีอายุ ข้อนี้ไม่ได้เลย’


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๔๖๐ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๒.สีหนาทวรรค ๓.โกฏฐิตสูตร
เมื่อผมถามท่านว่า ‘ท่านสารีบุตร บุคคลอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มี
พระภาคเพื่อประโยชน์นี้ว่า กรรมใดยังไม่ให้ผลสำเร็จ ขอกรรมนั้นจงให้ผลสำเร็จแก่
เราเถิด ได้ไหม’ ท่านก็ตอบว่า ‘ผู้มีอายุ ข้อนี้ไม่ได้เลย’
เมื่อผมถามท่านว่า ‘ท่านสารีบุตร บุคคลอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มี
พระภาคเพื่อประโยชน์นี้ว่า กรรมใดให้ผลมาก ขอกรรมนั้นจงให้ผลน้อยแก่เราเถิด
ได้ไหม’ ท่านก็ตอบว่า ‘ผู้มีอายุ ข้อนี้ไม่ได้เลย’
เมื่อผมถามท่านว่า ‘ท่านสารีบุตร บุคคลอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มี
พระภาคเพื่อประโยชน์นี้ว่า กรรมใดให้ผลน้อย ขอกรรมนั้นจงให้ผลมากแก่เราเถิด
ได้ไหม’ ท่านก็ตอบว่า ‘ผู้มีอายุ ข้อนี้ไม่ได้เลย’
เมื่อผมถามท่านว่า ‘ท่านสารีบุตร บุคคลอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มี
พระภาคเพื่อประโยชน์นี้ว่า กรรมใดให้ผล ขอกรรมนั้นจงไม่ให้ผลแก่เราเถิด ได้ไหม’
ท่านก็ตอบว่า ‘ผู้มีอายุ ข้อนี้ไม่ได้เลย’
เมื่อผมถามท่านว่า ‘ท่านสารีบุตร บุคคลอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มี
พระภาคเพื่อประโยชน์นี้ว่า กรรมใดไม่ให้ผล ขอกรรมนั้นจงให้ผลแก่เราเถิด ได้ไหม’
ท่านก็ตอบว่า ‘ผู้มีอายุ ข้อนี้ไม่ได้เลย’ เมื่อเป็นเช่นนั้น บุคคลจะอยู่ประพฤติพรหมจรรย์
ในพระผู้มีพระภาคเพื่อประโยชน์อะไร”
ท่านพระสารีบุตรกล่าวว่า “ผู้มีอายุ บุคคลอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้
มีพระภาคเพื่อเห็นสิ่งที่ยังไม่เห็น เพื่อบรรลุสิ่งที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งสิ่งที่ยัง
ไม่ทำให้แจ้ง เพื่อตรัสรู้สิ่งที่ยังไม่ตรัสรู้
คือ บุคคลอยู่ประพฤติพรมหจรรย์ในพระผู้มีพระภาคเพื่อรู้สิ่งที่ยังไม่รู้ เพื่อเห็น
สิ่งที่ยังไม่เห็น เพื่อบรรลุสิ่งที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งสิ่งที่ยังไม่ทำให้แจ้ง เพื่อตรัสรู้
สิ่งที่ยังไม่ตรัสรู้ว่า ‘นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิทา’
ผู้มีอายุ บุคคลอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาคก็เพื่อรู้สิ่งที่ยังไม่รู้
เพื่อเห็นสิ่งที่ยังไม่เห็น เพื่อบรรลุสิ่งที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งสิ่งที่ยังไม่ทำให้แจ้ง
เพื่อตรัสรู้สิ่งที่ยังไม่ตรัสรู้นี้แล”
โกฏฐิตสูตรที่ ๓ จบ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๔๖๑ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๒.สีหนาทวรรค ๔.สมิทธิสูตร
๔. สมิทธิสูตร
ว่าด้วยเรื่องวิตก
[๑๔] ครั้งนั้นแล ท่านพระสมิทธิเข้าไปหาท่านพระสารีบุตรถึงที่อยู่ ไหว้แล้ว
นั่ง ณ ที่สมควร ท่านพระสารีบุตรได้กล่าวกับท่านพระสมิทธิดังนี้ว่า
“ท่านสมิทธิ สังกัปปวิตก(วิตกอันเป็นความดำริ) ของบุรุษมีอะไรเป็นอารมณ์
เกิดขึ้น”
“มีนามรูปเป็นอารมณ์ ขอรับ”
“ท่านสมิทธิ สังกัปปวิตกเหล่านั้นต่างกันที่ไหน”
“ที่ธาตุ ขอรับ”
“ท่านสมิทธิ สังกัปปวิตกเหล่านั้นมีอะไรเป็นเหตุเกิด”
“มีผัสสะเป็นเหตุเกิด ขอรับ”
“ท่านสมิทธิ สังกัปปวิตกเหล่านั้นมีอะไรเป็นที่ประชุม”
“มีเวทนาเป็นที่ประชุม ขอรับ”
“ท่านสมิทธิ สังกัปปวิตกเหล่านั้นมีอะไรเป็นประมุข”
“มีสมาธิเป็นประมุข ขอรับ”
“ท่านสมิทธิ สังกัปปวิตกเหล่านั้นมีอะไรเป็นใหญ่”
“มีสติเป็นใหญ่ ขอรับ”
“ท่านสมิทธิ สังกัปปวิตกเหล่านั้นมีอะไรเป็นยิ่ง”
“มีปัญญาเป็นยิ่ง ขอรับ”
“ท่านสมิทธิ สังกัปปวิตกเหล่านั้นมีอะไรเป็นแก่น”
“มีวิมุตติเป็นแก่น ขอรับ”
“ท่านสมิทธิ สังกัปปวิตกเหล่านั้นมีอะไรเป็นที่หยั่งลง”
“มีนิพพานเป็นที่หยั่งลง ขอรับ”


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๔๖๒ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๒.สีหนาทวรรค ๔.สมิทธิสูตร
ท่านพระสารีบุตรกล่าวว่า “ท่านสมิทธิ เมื่อเราถามท่านว่า ‘ท่านสมิทธิ
สังกัปปวิตกเหล่านั้นมีอะไรเป็นอารมณ์เกิดขึ้น’ ท่านก็ตอบว่า ‘มีนามรูปเป็นอารมณ์
ขอรับ’
เมื่อเราถามท่านว่า ‘ท่านสมิทธิ สังกัปปวิตกเหล่านั้นต่างกันที่ไหน’ ท่านก็
ตอบว่า ‘ที่ธาตุ ขอรับ’
เมื่อเราถามท่านว่า ‘ท่านสมิทธิ สังกัปปวิตกเหล่านั้นมีอะไรเป็นเหตุเกิด’ ท่านก็
ตอบว่า ‘มีผัสสะเป็นเหตุเกิด ขอรับ’
เมื่อเราถามท่านว่า ‘ท่านสมิทธิ สังกัปปวิตกเหล่านั้นมีอะไรเป็นที่ประชุม’
ท่านก็ตอบว่า ‘มีเวทนาเป็นที่ประชุม ขอรับ’
เมื่อเราถามท่านว่า ‘ท่านสมิทธิ สังกัปปวิตกเหล่านั้นมีอะไรเป็นประมุข’ ท่านก็
ตอบว่า ‘มีสมาธิเป็นประมุข ขอรับ’
เมื่อเราถามท่านว่า ‘ท่านสมิทธิ สังกัปปวิตกเหล่านั้นมีอะไรเป็นใหญ่’ ท่านก็
ตอบว่า ‘มีสติเป็นใหญ่ ขอรับ’
เมื่อเราถามท่านว่า ‘ท่านสมิทธิ สังกัปปวิตกเหล่านั้นมีอะไรเป็นยิ่ง’ ท่านก็
ตอบว่า ‘มีปัญญาเป็นยิ่ง ขอรับ’
เมื่อเราถามท่านว่า ‘ท่านสมิทธิ สังกัปปวิตกเหล่านั้นมีอะไรเป็นแก่น’
ท่านก็ตอบว่า ‘มีวิมุตติเป็นแก่น ขอรับ’
เมื่อเราถามท่านว่า ‘ท่านสมิทธิ สังกัปปวิตกเหล่านั้นมีอะไรเป็นที่หยั่งลง’
ท่านก็ตอบว่า ‘มีนิพพานเป็นที่หยั่งลง ขอรับ’
ดีละ ดีละ ท่านสมิทธิ ดีจริง ท่านสมิทธิ ท่านถูกเราถามปัญหาแล้วก็แก้ได้
แต่ท่านอย่าทะนงตนด้วยการแก้ปัญหานั้น”
สมิทธิสูตรที่ ๔ จบ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๔๖๓ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๒.สีหนาทวรรค ๖.สัญญาสูตร
๕. คัณฑสูตร
ว่าด้วยฝีมีปากแผล ๙ แห่ง
[๑๕] ภิกษุทั้งหลาย ฝีที่เกิดมาได้หลายปี มีปากแผลที่ไม่แตก ๙ แผล
เป็นแดนไหลออกแห่งทุกสิ่ง ไหลออกแต่สิ่งที่ไม่สะอาด ไหลออกแต่สิ่งที่มีกลิ่นเหม็น
ไหลออกแต่สิ่งที่น่ารังเกียจ เป็นแดนไหลเข้าแห่งทุกสิ่ง ไหลเข้าแต่สิ่งที่ไม่สะอาด
ไหลเข้าแต่สิ่งที่มีกลิ่นเหม็น ไหลเข้าแต่สิ่งที่น่ารังเกียจ แม้ฉันใด
ภิกษุทั้งหลาย คำว่า ‘ฝี’ นี้เป็นชื่อของกายที่สำเร็จมาจากมหาภูตรูป ๔ นี้
ที่มีมารดาบิดาเป็นแดนเกิด เติบโตมาด้วยข้าวสุกและขนม มีความไม่เที่ยง มีการ
ไล้ทาบีบนวดแตกสลายและกระจัดกระจายไปเป็นธรรมดา กายนั้นมีปากแผลที่
ไม่แตก ๙ แผล เป็นแดนไหลออกแห่งทุกสิ่ง ไหลออกแต่สิ่งที่ไม่สะอาด ไหลออก
แต่สิ่งที่มีกลิ่นเหม็น ไหลออกแต่สิ่งที่น่ารังเกียจ เป็นแดนไหลเข้าแห่งทุกสิ่ง ไหลเข้า
แต่สิ่งที่ไม่สะอาด ไหลเข้าแต่สิ่งที่มีกลิ่นเหม็น ไหลเข้าแต่สิ่งที่น่ารังเกียจ ฉันนั้น
ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล เธอทั้งหลายควรเบื่อหน่ายในกายนี้
คัณฑสูตรที่ ๕ จบ

๖. สัญญาสูตร๑
ว่าด้วยสัญญา
[๑๖] ภิกษุทั้งหลาย สัญญา ๙ ประการนี้ ที่บุคคลเจริญทำให้มากแล้ว
ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่อมตะ๒ มีอมตะเป็นที่สุด
สัญญา ๙ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. อสุภสัญญา (กำหนดหมายความไม่งามแห่งกาย)
๒. มรณสัญญา (กำหนดหมายความตายที่จะต้องมาถึงเป็นธรรมดา)

เชิงอรรถ :
๑ ดู องฺ.ทสก. (แปล) ๒๔/๕๖/๑๒๓
๒ อมตะ ในที่นี้หมายถึงนิพพาน (องฺ.สตฺตก.อ. ๓/๔๘-๔๙/๑๘๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๔๖๔ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๒.สีหนาทวรรค ๗.กุลสูตร
๓. อาหาเร ปฏิกูลสัญญา (กำหนดหมายความปฏิกูลในอาหาร)
๔. สัพพโลเก อนภิรตสัญญา (กำหนดหมายความไม่น่าเพลิดเพลินใน
โลกทั้งปวง)
๕. อนิจจสัญญา (กำหนดหมายความไม่เที่ยงแห่งสังขาร)
๖. อนิจเจ ทุกขสัญญา (กำหนดหมายความเป็นทุกข์ในความไม่เที่ยง
แห่งสังขาร)
๗. ทุกเข อนัตตสัญญา (กำหนดหมายความเป็นอนัตตาในความเป็นทุกข์)
๘. ปหานสัญญา (กำหนดหมายเพื่อละอกุศลวิตกและบาปธรรมทั้งหลาย)
๙. วิราคสัญญา (กำหนดหมายวิราคะว่าเป็นธรรมละเอียดประณีต)
ภิกษุทั้งหลาย สัญญา ๙ ประการนี้แล ที่บุคคลเจริญทำให้มากแล้ว ย่อมมี
ผลมาก มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นที่สุด
สัญญาสูตรที่ ๖ จบ

๗. กุลสูตร๑
ว่าด้วยตระกูล
[๑๗] ภิกษุทั้งหลาย ตระกูลที่ประกอบด้วยองค์ ๙ ประการ ภิกษุยังไม่
เคยเข้าไปหา ก็ไม่ควรเข้าไปหา หรือเข้าไปหาแล้ว ก็ไม่ควรนั่งใกล้
องค์ ๙ ประการ อะไรบ้าง คือ
ตระกูล
๑. ต้อนรับด้วยความไม่เต็มใจ
๒. ไหว้ด้วยความไม่เต็มใจ
๓. ให้อาสนะด้วยความไม่เต็มใจ
๔. ปกปิดของที่มีอยู่

เชิงอรรถ :
๑ ดู สัตตกนิบาต ข้อ ๑๓ (กุลสูตร) หน้า ๑๙-๒๐ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๔๖๕ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๒.สีหนาทวรรค ๗.กุลสูตร
๕. มีของมาก แต่ถวายน้อย
๖. มีของประณีต แต่ถวายของเศร้าหมอง
๗. ถวายโดยไม่เคารพ ไม่ถวายโดยเคารพ
๘. ไม่นั่งใกล้เพื่อฟังธรรม
๙. ไม่ยินดีภาษิตของภิกษุนั้น
ภิกษุทั้งหลาย ตระกูลที่ประกอบด้วยองค์ ๙ ประการนี้แล ภิกษุยังไม่เคยเข้า
ไปหา ก็ไม่ควรเข้าไปหา หรือเข้าไปหาแล้ว ก็ไม่ควรนั่งใกล้
ภิกษุทั้งหลาย ตระกูลที่ประกอบด้วยองค์ ๙ ประการ ภิกษุยังไม่เคยเข้าไปหา
ควรเข้าไปหา หรือเข้าไปหาแล้ว ควรนั่งใกล้
องค์ ๙ ประการ อะไรบ้าง คือ
ตระกูล
๑. ต้อนรับด้วยความเต็มใจ
๒. ไหว้ด้วยความเต็มใจ
๓. ให้อาสนะด้วยความเต็มใจ
๔. ไม่ปกปิดของที่มีอยู่
๕. มีของมาก ก็ถวายมาก
๖. มีของประณีต ก็ถวายของประณีต
๗. ถวายโดยความเคารพ ไม่ถวายโดยไม่เคารพ
๘. นั่งใกล้เพื่อฟังธรรม
๙. ยินดีภาษิตของภิกษุนั้น
ภิกษุทั้งหลาย ตระกูลที่ประกอบด้วยองค์ ๙ ประการนี้แล ภิกษุยังไม่เคย
เข้าไปหา ควรเข้าไปหา หรือเข้าไปหาแล้ว ควรนั่งใกล้
กุลสูตรที่ ๗ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๔๖๖ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๒.สีหนาทวรรค ๘.นวังคุโปสถสูตร
๘. นวังคุโปสถสูตร
ว่าด้วยการรักษาอุโบสถที่มีองค์ ๙
[๑๘] ภิกษุทั้งหลาย อุโบสถประกอบด้วยองค์ ๙ ประการ ที่บุคคลอยู่จำแล้ว
ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก มีความรุ่งเรืองมาก แผ่ไพศาลมาก
อุโบสถประกอบด้วยองค์ ๙ ประการ ที่บุคคลอยู่จำแล้ว ย่อมมีผลมาก
มีอานิสงส์มาก มีความรุ่งเรืองมาก แผ่ไพศาลมาก เป็นอย่างไร
คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้เห็นประจักษ์ดังนี้ว่า
๑. พระอรหันต์ทั้งหลายละเว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ คือ วางทัณฑาวุธ
และศัสตราวุธ มีความละอาย มีความเอ็นดู มุ่งประโยชน์เกื้อกูล
ต่อสรรพสัตว์อยู่ตลอดชีวิต แม้เราก็ละเว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ คือ
วางทัณฑาวุธและศัสตราวุธ มีความละอาย มีความเอ็นดู
มุ่งประโยชน์เกื้อกูลต่อสรรพสัตว์อยู่ตลอดวันหนึ่งและคืนหนึ่งนี้ในวันนี้
เพราะองค์แม้นี้ เราชื่อว่าทำตามพระอรหันต์ทั้งหลายและอยู่จำ
อุโบสถ อุโบสถเป็นอันประกอบด้วยองค์ที่ ๑ นี้
ฯลฯ๑
๘. พระอรหันต์ทั้งหลายละเว้นขาดจากที่นอนสูงและที่นอนใหญ่ นอน
บนที่นอนต่ำ คือ บนเตียงหรือบนที่นอนที่ปูลาดด้วยหญ้าอยู่ตลอด
ชีวิต แม้เราก็ละเว้นขาดจากที่นอนสูงและที่นอนใหญ่ นอนบนที่
นอนต่ำ คือ บนเตียงหรือบนที่นอนที่ปูลาดด้วยหญ้าอยู่ตลอดวัน
หนึ่งและคืนหนึ่งนี้ในวันนี้ เพราะองค์แม้นี้ เราชื่อว่าทำตามพระ
อรหันต์ทั้งหลายและอยู่จำอุโบสถ อุโบสถเป็นอันประกอบด้วย
องค์ที่ ๘ นี้

เชิงอรรถ :
๑ ดูความเต็มในสัตตกนิบาต ข้อ ๔๑ (สังขิตตุโปสถสูตร) หน้า ๓๐๓-๓๐๕ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๔๖๗ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๒.สีหนาทวรรค ๙.เทวตาสูตร
๙. บุคคลมีเมตตาจิต แผ่ไปตลอดทิศที่ ๑ ทิศที่ ๒ ... ทิศที่ ๓ ...
ทิศที่ ๔ ... ทิศเบื้องบน๑ ทิศเบื้องล่าง๒ ทิศเฉียง๓ แผ่ไปตลอดโลกทั่ว
ทุกหมู่เหล่า ในที่ทุกสถาน ด้วยเมตตาจิตอันไพบูลย์ เป็นมหัคคตะ๔
ไม่มีขอบเขต ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนอยู่ อุโบสถเป็นอัน
ประกอบด้วยองค์ ๙ นี้
ภิกษุทั้งหลาย อุโบสถประกอบด้วยองค์ ๙ ที่บุคคลอยู่จำแล้ว ย่อมมีผลมาก
มีอานิสงส์มาก มีความรุ่งเรืองมาก แผ่ไพศาลมาก เป็นอย่างนี้
นวังคุโปสถสูตรที่ ๘ จบ

๙. เทวตาสูตร
ว่าด้วยผลแห่งการต้อนรับของเทวดา
[๑๙] ภิกษุทั้งหลาย เมื่อคืนนี้ เมื่อราตรีผ่านไป๕ เทวดาจำนวนมาก มี
วรรณะงดงามยิ่งนัก เปล่งรัศมีให้สว่างไปทั่วพระเชตวัน เข้ามาหาเราถึงที่อยู่ ไหว้เรา
แล้วยืนอยู่ ณ ที่สมควร ได้กล่าวกับเราดังนี้ว่า ‘ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บรรพชิต
ทั้งหลายเข้ามายังเรือนของข้าพระองค์ทั้งหลายผู้เคยเป็นมนุษย์ ข้าพระองค์เหล่านั้น
ได้ลุกรับ แต่ไม่กราบไหว้ ข้าพระองค์เหล่านั้นทำหน้าที่ยังไม่บริบูรณ์ มีความร้อนใจ
เดือดร้อนใจในภายหลัง จึงเกิดในหมู่เทพชั้นต่ำ’
เทวดาจำนวนมากอีกพวกหนึ่งเข้ามาหาเราแล้วกล่าวดังนี้ว่า ‘ข้าแต่พระองค์
ผู้เจริญ บรรพชิตทั้งหลายเข้ามายังเรือนของข้าพระองค์ทั้งหลายผู้เคยเป็นมนุษย์
ข้าพระองค์เหล่านั้นได้ลุกรับ กราบไหว้ แต่ไม่ให้อาสนะแก่บรรพชิตเหล่านั้น ข้าพระองค์---------------------------------------

---
๑ ทิศเบื้องบน หมายถึงเทวโลก (วิสุทธิ.มหาฏีกา ๑/๒๕๔/๔๓๕)
๒ ทิศเบื้องล่าง หมายถึงนรกและนาค (วิสุทธิ.มหาฏีกา ๑/๒๕๔/๔๓๕)
๓ ทิศเฉียง หมายถึงทิศย่อยของทิศใหญ่ หรือทิศรอง (วิสุทธิ.มหาฏีกา ๑/๒๕๔/๔๓๕)
๔ ดูเชิงอรรถที่ ๑ นวกนิบาต ข้อ ๑๑ หน้า ๔๕๒ ในเล่มนี้
๕ ดูเชิงอรรถที่ ๑ สัตตกนิบาต ข้อ ๓๒ หน้า ๔๙ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๔๖๘ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๒.สีหนาทวรรค ๙.เทวตาสูตร
เหล่านั้นทำหน้าที่ยังไม่บริบูรณ์ มีความร้อนใจ เดือดร้อนใจในภายหลัง จึงเกิดใน
หมู่เทพชั้นต่ำ’
เทวดาจำนวนมากอีกพวกหนึ่งเข้ามาหาเราแล้วกล่าวดังนี้ว่า ‘ข้าแต่พระองค์
ผู้เจริญ บรรพชิตทั้งหลายเข้ามายังเรือนของข้าพระองค์ทั้งหลายผู้เคยเป็นมนุษย์
ข้าพระองค์เหล่านั้นได้ลุกรับ กราบไหว้ และให้อาสนะ แต่ไม่ได้แบ่งปันของให้ตาม
ความสามารถ ตามกำลัง ฯลฯ แบ่งปันของให้ตามความสามารถ ตามกำลัง แต่ไม่
นั่งใกล้เพื่อฟังธรรม ฯลฯ นั่งใกล้เพื่อฟังธรรม แต่ไม่เงี่ยโสตฟังธรรม ฯลฯ เงี่ยโสต
ฟังธรรม แต่ฟังแล้วก็ไม่ทรงจำธรรมไว้ได้ ฯลฯ ฟังแล้วทรงจำธรรมไว้ได้ แต่ไม่
พิจารณาเนื้อความแห่งธรรมที่ทรงจำไว้ ฯลฯ พิจารณาเนื้อความแห่งธรรมที่ทรงจำ
ไว้ได้ แต่หารู้อรรถรู้ธรรมแล้วปฏิบัติธรรม สมควรแก่ธรรมไม่ ข้าพระองค์เหล่านั้น
ทำหน้าที่ยังไม่บริบูรณ์ มีความร้อนใจ เดือดร้อนใจในภายหลัง จึงเกิดในหมู่เทพชั้นต่ำ’
เทวดาจำนวนมากอีกพวกหนึ่งเข้ามาหาเราแล้วกล่าวดังนี้ว่า ‘ข้าแต่พระองค์
ผู้เจริญ บรรพชิตทั้งหลายเข้ามายังเรือนของข้าพระองค์ทั้งหลายผู้เคยเป็นมนุษย์
ข้าพระองค์เหล่านั้นได้ลุกรับ กราบไหว้ ให้อาสนะ แบ่งปันของให้ตามความสามารถ
ตามกำลัง นั่งใกล้เพื่อฟังธรรม เงี่ยโสตฟังธรรม ฟังแล้วทรงจำธรรมไว้ได้ พิจารณา
เนื้อความแห่งธรรมที่ทรงจำไว้ได้ และรู้อรรถรู้ธรรมแล้วปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม’
ข้าพระองค์เหล่านั้นทำหน้าที่บริบูรณ์แล้ว ไม่มีความร้อนใจ ไม่เดือดร้อนใจใน
ภายหลัง จึงเกิดในหมู่เทพชั้นประณีต’
ภิกษุทั้งหลาย นั่นโคนไม้ นั่นเรือนว่าง๑ เธอทั้งหลายจงเพ่ง อย่าประมาท
อย่าเป็นผู้มีวิปปฏิสาร(ความร้อนใจ) ในภายหลังเหมือนเทวดาพวกแรก ๆ เหล่านั้นเลย

เทวตาสูตรที่ ๙ จบ


เชิงอรรถ :
๑ ดูเชิงอรรถที่ ๑,๒ สัตตกนิบาต ข้อ ๗๔ หน้า ๑๗๐ ในเล่มนี้


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๔๖๙ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๒.สีหนาทวรรค ๑๐.เวลามสูตร
๑๐. เวลามสูตร
ว่าด้วยเวลามพราหมณ์
[๒๐] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของ
อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้นแล อนาถบิณฑิกเศรษฐีเข้าไปเฝ้า
พระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร พระผู้มีพระภาค
ได้ตรัสกับท่านดังนี้ว่า “ท่านคหบดี ในตระกูลของท่านยังให้ทานอยู่หรือ”
อนาถบิณฑิกคหบดีกราบทูลว่า “ในตระกูลของข้าพระองค์ยังให้ทานอยู่
พระพุทธเจ้าข้า แต่ทานนั้นแลเป็นของเศร้าหมอง เป็นปลายข้าวกับน้ำผักดอง”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “คหบดี บุคคลให้ทานเศร้าหมอง หรือประณีตก็ตาม
ถ้าให้ทานนั้นโดยไม่เคารพ ไม่ทำความนอบน้อมให้ทาน ไม่ให้ด้วยมือของตนเอง
ให้ทานเหมือนจะทิ้ง๑ เป็นผู้ไม่เห็นผลที่จะตามมาให้ทาน๒ ในตระกูลที่ทานนั้น ๆ
บังเกิดผล เขาไม่น้อมจิตไปเพื่อบริโภคอาหารอย่างดี ไม่น้อมจิตไปเพื่อนุ่งห่มผ้า
อย่างดี ไม่น้อมจิตไปเพื่อใช้ยานอย่างดี และไม่น้อมจิตไปเพื่อบริโภคกามคุณ๓ ๕
อย่างดี แม้แต่บริวารของผู้ให้ทานนั้น คือ บุตร ภรรยา ทาส คนใช้ หรือกรรมกร
ก็ไม่ตั้งใจฟังด้วยดี ไม่เงี่ยโสตสดับ ไม่ตั้งใจใฝ่รู้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะผลกรรม
ที่ตนได้กระทำโดยไม่เคารพ

เชิงอรรถ :
๑ ให้ทานเหมือนจะทิ้ง ในที่นี้หมายถึงไม่ให้ทานอย่างต่อเนื่อง ให้ทานเหมือนต้องการจะทิ้ง (องฺ.นวก.อ.
๓/๒๐/๒๙๗)
๒ ไม่เห็นผลที่จะตามมาให้ทานในที่นี้หมายถึงไม่เชื่อกรรมและผลกรรมแต่ก็ให้ทาน (องฺ.นวก.อ. ๓/๒๐/๒๙๗)
๓ กามคุณ แยกอธิบายว่า ที่ชื่อว่า กาม เพราะมีความหมายว่าเป็นสิ่งที่บุคคลพึงใคร่ ที่ชื่อว่า คุณ เพราะมี
ความหมายว่าผูกพันไว้ ร้อยรัดไว้ ดุจคำว่า “อนฺตํ อนฺตคุณํ” แปลว่า “ไส้ใหญ่ ไส้เล็ก” ดู ที.ม. ๑๐/๓๗๗/
๒๕๑, ม.มู. ๑๒/๑๑๐/๗๙, ขุ.ขุ. ๒๕/๓/๒, และดุจคำว่า “กยิรา มาลาคุเณ พหู” แปลว่า “ช่างดอกไม้พึง
ร้อยพวงมาลัยไว้เป็นจำนวนมาก” ดู ขุ.ธ. ๒๕/๕๓/๒๖ (องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๖๓/๑๔๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๔๗๐ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๒.สีหนาทวรรค ๑๐.เวลามสูตร
คหบดี บุคคลให้ทานเศร้าหมอง หรือประณีตก็ตาม ถ้าให้ทานนั้นโดยเคารพ
ทำความนอบน้อมให้ทาน ให้ทานด้วยมือของตนเอง ให้ทานไม่เหมือนจะทิ้ง เป็นผู้
เห็นผลที่จะตามมาให้ทานในตระกูลที่ทานนั้น ๆ บังเกิดผล เขาน้อมจิตไปเพื่อ
บริโภคอาหารอย่างดี น้อมจิตไปเพื่อนุ่งห่มผ้าอย่างดี น้อมจิตไปเพื่อใช้ยานอย่างดี
และน้อมจิตไปเพื่อบริโภคกามคุณ ๕ อย่างดี แม้แต่บริวารของผู้ให้ทานนั้น คือ
บุตร ภรรยา ทาส คนใช้ หรือกรรมกรก็ตั้งใจฟังด้วยดี เงี่ยโสตสดับ ตั้งใจใฝ่รู้
ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะผลกรรมที่ตนได้กระทำไว้โดยเคารพ
คหบดี เรื่องเคยมีมาแล้ว มีพราหมณ์ชื่อเวลามะ๑ เขาให้ทานเป็นมหาทาน
อย่างนี้ คือ ได้ให้ถาดทองคำเต็มด้วยรูปิยะ ๘๔,๐๐๐ ถาด ถาดรูปิยะเต็มด้วย
ทองคำ ๘๔,๐๐๐ ถาด ถาดสำริดเต็มด้วยเงิน ๘๔,๐๐๐ ถาด ให้ช้าง ๘๔,๐๐๐ เชือก
มีเครื่องประดับทองคำ มีธงทองคำ คลุมด้วยข่ายทองคำ ให้รถ ๘๔,๐๐๐ คัน
หุ้มด้วยหนังราชสีห์ หุ้มด้วยหนังเสือโคร่ง หุ้มด้วยหนังเสือเหลือง หุ้มด้วยผ้ากัมพล
เหลือง มีเครื่องประดับทองคำ มีธงทองคำ คลุมด้วยข่ายทองคำ ให้แม่โคนม
๘๔,๐๐๐ ตัว มีน้ำนมที่รีดและไหลสะดวก มีภาชนะสำริดสำหรับรองรับ ให้หญิงสาว
๘๔,๐๐๐ คนสวมแก้วมณีและแก้วกุณฑล ให้บัลลังก์๒ ๘๔,๐๐๐ ที่ลาดด้วยผ้าโกเชาว์๓
ลาดด้วยเครื่องลาดทำด้วยขนแกะสีขาว ลาดด้วยเครื่องลาด ทำด้วยขนแกะลาย
ดอกไม้ ลาดด้วยเครื่องลาดอย่างดีทำด้วยหนังชมด ข้างบนมีเพดาน มีหมอนสี
แดงวางไว้ทั้ง ๒ ข้าง๔ ให้ผ้า ๘๔,๐๐๐ พับ เป็นผ้าเปลือกไม้เนื้อละเอียด ผ้าไหม

เชิงอรรถ :
๑ ที่มีชื่อว่า เวลามะ เพราะมีคุณสมบัติมากมาย ไร้ขอบเขต เช่น เพียบพร้อมด้วยชาติ โคตร รูปร่างลักษณะ
โภคสมบัติ ศรัทธา และปัญญา (เวลาโมติ เอตฺถ มา-สทฺโธ ปฏิเสธวจโน, ชาติโคตฺตรูปโภคาทิคุณานํ
เวลา มริยาทา นตฺถิ เอตสฺมินฺติ เวลาโม) ดู องฺ.อฏฺฐก.ฏีกา ๓/๒๐/๓๕๔
๒ บัลลังก์ ในที่นี้หมายถึงเตียงที่มีเท้าแกะสลักเป็นรูปสัตว์ร้าย (วิ.อ. ๓/๒๕๔/๑๖๙)
๓ ผ้าโกเชาว์ หมายถึงผ้าที่ทำด้วยขนแพะหรือขนแกะผืนใหญ่ มีขนยาวเกิน ๔ นิ้ว (วิ.อ. ๓/๒๕๔/๑๖๙)
๔ หมอนสีแดงวางไว้ทั้ง ๒ ข้าง หมายถึงหมอนที่ใช้สำหรับหนุนศีรษะ ๑ ใบ และใช้หนุนเท้า ๑ ใบ วางไว้
ส่วนศีรษะและส่วนเท้า (วิ.อ. ๓/๒๕๔/๑๖๙-๑๗๐) และดู องฺ.ติก. (แปล) ๒๐/๓๕/๑๙๐

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๔๗๑ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๒.สีหนาทวรรค ๑๐.เวลามสูตร
เนื้อละเอียด ผ้ากัมพลเนื้อละเอียด ผ้าฝ้ายเนื้อละเอียด ไม่จำต้องกล่าวถึงข้าว น้ำ
ของเคี้ยว ของบริโภค ของลิ้ม ของดื่ม ไหลออกไปเหมือนแม่น้ำ
คหบดี ท่านอาจจะมีความคิดอย่างนี้ว่า ‘สมัยนั้น เวลามพราหมณ์ผู้ให้ทาน
เป็นมหาทาน เป็นคนอื่นแน่แท้ แต่ท่านไม่พึงเห็นอย่างนั้น เพราะเวลามพราหมณ์
ผู้ให้ทานเป็นมหาทาน ในสมัยนั้น ก็คือเรานั่นเอง แต่ในทานนั้น ไม่มีใครเป็น
พระทักขิไณยบุคคล ใคร ๆ ก็ชำระทักษิณานั้นให้หมดจดไม่ได้๑
คหบดี การที่บุคคลเชื้อเชิญบุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิผู้เดียวให้บริโภค มีผล
มากกว่าการที่เวลามพราหมณ์ได้ให้ทานเป็นมหาทาน
การที่บุคคลเชื้อเชิญบุคคลผู้เป็นสกทาคามีผู้เดียวให้บริโภค มีผลมากกว่า
การที่บุคคลเชื้อเชิญบุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิตั้งร้อยให้บริโภค
การที่บุคคลเชื้อเชิญบุคคลผู้เป็นอนาคามีผู้เดียวให้บริโภค มีผลมากกว่าการ
ที่บุคคลเชื้อเชิญบุคคลผู้เป็นสกทาคามีตั้งร้อยให้บริโภค
การที่บุคคลเชื้อเชิญบุคคลผู้เป็นอรหันต์ผู้เดียวให้บริโภค มีผลมากกว่าการ
ที่บุคคลเชื้อเชิญบุคคลผู้เป็นอนาคามีตั้งร้อยให้บริโภค
การที่บุคคลเชื้อเชิญพระปัจเจกพุทธเจ้าองค์เดียวให้บริโภค มีผลมากกว่าการที่
บุคคลเชื้อเชิญบุคคลผู้เป็นอรหันต์ตั้งร้อยให้บริโภค
การที่บุคคลเชื้อเชิญตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าให้บริโภค มีผลมากกว่า
การที่บุคคลเชื้อเชิญพระปัจเจกพุทธเจ้าตั้งร้อยให้บริโภค

เชิงอรรถ :
๑ ข้อความพระดำรัสนี้ หมายความว่า ในมหาทานนั้น ไม่มีสมณะ พราหมณ์ เทวดา มาร หรือเมื่อว่า
โดยบุคคลชั้นยอดไม่มีพระพุทธเจ้า ไม่มีสาวกเช่นพระสารีบุตรนั้นเลยที่จะเป็นปฏิคาหกสามารถทำให้
ทักษิณามีผลเลิศได้ (องฺ.นวก.อ. ๓/๒๐/๓๐๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๔๗๒ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๒.สีหนาทวรรค ๑๐.เวลามสูตร
การที่บุคคลเชื้อเชิญภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประธานให้บริโภค มีผลมาก
กว่าการที่บุคคลเชื้อเชิญตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าให้บริโภค
การที่บุคคลสร้างวิหารอุทิศถวายสงฆ์ผู้มาจากทิศทั้ง ๔ มีผลมากกว่าการที่
บุคคลเชื้อเชิญภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประธานให้บริโภค
การที่บุคคลมีจิตเลื่อมใสถึงพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์เป็นสรณะ
มีผลมากกว่าการที่บุคคลสร้างวิหารอุทิศถวายสงฆ์ผู้มาจากทิศทั้ง ๔
การที่บุคคลมีจิตเลื่อมใส สมาทานสิกขาบท คือ การงดเว้นจากการฆ่าสัตว์
การงดเว้นจากการลักทรัพย์ การงดเว้นจากการประพฤติผิดในกาม การงดเว้นจาก
การพูดเท็จ การงดเว้นจากการเสพของมึนเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นเหตุแห่งความ
ประมาท มีผลมากกว่าการที่บุคคลมีจิตเลื่อมใสถึงพระพุทธเจ้า พระธรรม และ
พระสงฆ์เป็นสรณะ
การที่บุคคลเจริญเมตตาจิตอย่างน้อยชั่วสูดดมกลิ่นหอม มีผลมากกว่าการที่
บุคคลมีจิตเลื่อมใสสมาทานสิกขาบท คือ การงดเว้นจากการฆ่าสัตว์ เป็นต้นนั้น
คหบดี การที่บุคคลเจริญอนิจจสัญญาชั่วลัดนิ้วมือเดียว มีผลมากกว่าการที่
เวลามพราหมณ์ได้ให้ทานเป็นมหาทาน มากกว่าการที่บุคคลเชื้อเชิญบุคคลผู้ถึงพร้อม
ด้วยทิฏฐิให้บริโภค มากกว่าการที่บุคคลเชื้อเชิญบุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิตั้งร้อย
ให้บริโภค มากกว่าการที่บุคคลเชื้อเชิญบุคคลผู้เป็นสกทาคามีผู้เดียวให้บริโภค มากกว่า
การที่บุคคลเชื้อเชิญบุคคลผู้เป็นสกทาคามีตั้งร้อยให้บริโภค มากกว่าการที่บุคคล
เชื้อเชิญบุคคลผู้เป็นอนาคามีผู้เดียวให้บริโภค มากกว่าการที่บุคคลเชื้อเชิญบุคคล
ผู้เป็นอนาคามีตั้งร้อยให้บริโภค มากกว่าการที่บุคคลเชื้อเชิญบุคคลผู้เป็นอรหันต์
ผู้เดียวให้บริโภค มากกว่าการที่บุคคลเชื้อเชิญบุคคลผู้เป็นอรหันต์ตั้งร้อยให้บริโภค
มากกว่าการที่บุคคลเชื้อเชิญพระปัจเจกพุทธเจ้าองค์เดียวให้บริโภค มากกว่าการที่บุคคล


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๔๗๓ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๒.สีหนาทวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค
เชื้อเชิญพระอรหันต์ตั้งร้อยให้บริโภค มากกว่าการที่บุคคลเชื้อเชิญตถาคตอรหันต-
สัมมาสัมพุทธเจ้าให้บริโภค มากกว่าการที่บุคคลเชื้อเชิญภิกษุสงฆ์ มีพระพุทธเจ้า
เป็นประธานให้บริโภค มากกว่าการที่บุคคลสร้างวิหารอุทิศถวายสงฆ์ผู้มาจากทิศ
ทั้ง ๔ มากกว่าการที่บุคคลมีจิตเลื่อมใสถึงพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์
เป็นสรณะ มากกว่าการที่บุคคลมีจิตเลื่อมใสสมาทานสิกขาบท คือ การงดเว้นจาก
การฆ่าสัตว์ ฯลฯ การงดเว้นจากการเสพของมึนเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นเหตุ
แห่งความประมาท และมากกว่าการที่บุคคลเจริญเมตตาจิตอย่างน้อยชั่วสูดดม
กลิ่นหอมนั้น”
เวลามสูตรที่ ๑๐ จบ
สีหนาทวรรคที่ ๒ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. สีหนาทสูตร ๒. สอุปาทิเสสสูตร
๓. โกฏฐิตสูตร ๔. สมิทธิสูตร
๕. คัณฑสูตร ๖. สัญญาสูตร
๗. กุลสูตร ๘. นวังคุโปสถสูตร
๙. เทวตาสูตร ๑๐. เวลามสูตร


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๔๗๔ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๓.สัตตาวาสวรรค ๑.ติฐานสูตร
๓. สัตตาวาสวรรค
หมวดว่าด้วยสัตตาวาส
๑. ติฐานสูตร
ว่าด้วยฐานะ ๓ ประการ
[๒๑] ภิกษุทั้งหลาย มนุษย์ชาวอุตตรกุรุทวีปเหนือกว่าเทวดาชั้นดาวดึงส์
และมนุษย์ชาวชมพูทวีป ด้วยฐานะ ๓ ประการ
ฐานะ ๓ ประการ๑ อะไรบ้าง คือ
๑. ไม่มีความเห็นแก่ตัว ๒. ไม่มีความหวงแหน
๓. มีอายุแน่นอน
ภิกษุทั้งหลาย มนุษย์ชาวอุตตรกุรุทวีปเหนือกว่าเทวดาชั้นดาวดึงส์และมนุษย์
ชาวชมพูทวีป ด้วยฐานะ ๓ ประการนี้แล
ภิกษุทั้งหลาย เทวดาชั้นดาวดึงส์เหนือกว่ามนุษย์ชาวอุตตรกุรุทวีปและมนุษย์
ชาวชมพูทวีป ด้วยฐานะ ๓ ประการ
ฐาน ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. อายุอันเป็นทิพย์ ๒. วรรณะอันเป็นทิพย์
๓. สุขอันเป็นทิพย์
ภิกษุทั้งหลาย เทวดาชั้นดาวดึงส์เหนือกว่ามนุษย์ชาวอุตตรกุรุทวีปและมนุษย์
ชาวชมพูทวีป ด้วยฐานะ ๓ ประการนี้แล

เชิงอรรถ :
๑ ไม่มีความเห็นแก่ตัว หมายถึงไม่มีตัณหา อีกนัยหนึ่ง หมายถึงไม่มีความทุกข์ ไม่มีความหวงแหน หมาย
ถึงไม่หวงแหนว่า “สิ่งนี้เป็นของเรา” มีอายุแน่นอน หมายถึงมีอายุ ๑,๐๐๐ ปี และมีคติที่แน่นอนคือ เมื่อ
จุติจากอุตตรกุรุทวีปแล้วต้องไปเกิดในสวรรค์เท่านั้น (องฺ.นวก.อ. ๓/๒๑/๓๐๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๔๗๕ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๓.สัตตาวาสวรรค ๒.อัสสขฬุงกสูตร
ภิกษุทั้งหลาย มนุษย์ชาวชมพูทวีปเหนือกว่ามนุษย์ชาวอุตตรกุรุทวีปและ
เทวดาชั้นดาวดึงส์ ด้วยฐานะ ๓ ประการ
ฐานะ ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. เป็นผู้แกล้วกล้า
๒. เป็นผู้มีสติ๑
๓. เป็นผู้อยู่ประพฤติพรหมจรรย์ในชมพูทวีปนี้๒
ภิกษุทั้งหลาย มนุษย์ชาวชมพูทวีปเหนือกว่ามนุษย์ชาวอุตตรกุรุทวีปและ
เทวดาชั้นดาวดึงส์ ด้วยฐานะ ๓ ประการนี้แล
ติฐานสูตรที่ ๑ จบ

๒. อัสสขฬุงกสูตร๓
ว่าด้วยม้ากระจอกและคนกระจอก
[๒๒] ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงม้ากระจอก ๓ จำพวก คนกระจอก ๓
จำพวก ม้าดี ๓ จำพวก และคนดี ๓ จำพวก ม้าอาชาไนย๔พันธุ์ดี ๓ จำพวก
และบุรุษอาชาไนยผู้เจริญ ๓ จำพวก เธอทั้งหลายจงฟังเรื่องนั้น
ม้ากระจอก ๓ จำพวกไหนบ้าง คือ
๑. ม้ากระจอกบางตัวในโลกนี้สมบูรณ์ด้วยเชาว์ แต่ไม่สมบูรณ์ด้วยวรรณะ
ไม่สมบูรณ์ด้วยความสูงและความใหญ่

เชิงอรรถ :
๑ มีสติ ในที่นี้หมายถึงมีสติมั่นคง เพราะมนุษย์มีทั้งสุขและทุกข์คละเคล้ากัน ซึ่งต่างจากเทวดาและสัตว์นรก
ที่มีสติไม่มั่นคง เพราะเทวดามีแต่สุขอย่างเดียว และสัตว์นรกมีแต่ทุกข์อย่างเดียว (องฺ.นวก.อ. ๓/๒๑/๓๐๓)
๒ เพราะพระพุทธเจ้าและพระปัจเจกพุทธเจ้าอุบัติในชมพูทวีป จึงมีการประพฤติพรหมจรรย์คืออริยมรรค
มีองค์ ๘ (องฺ.นวก.อ. ๓/๒๑/๓๐๓) และดู อภิ.ก. ๓๗/๒๗๑/๙๕
๓ ดู องฺ.ติก. (แปล) ๒๐/๑๔๑-๑๔๓/๓๘๗-๓๙๒ (อัสสขฬุงกสูตร อัสสสทัสสสูตร)
๔ ม้าอาชาไนย ในที่นี้หมายถึงม้าที่เกิดในตระกูลม้าสินธพ หรือในตระกูลพญาม้าวลาหก (ขุ.ธ.อ. ๑๕๔/๑๐๕)
หรือ หมายถึงม้าที่รู้เหตุที่ควรและไม่ควร (องฺ.ติก.อ. ๒/๑๔๓/๒๗๓) และดู องฺ.ติก. (แปล) ๒๐/๙๗/๓๓๐

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๔๗๖ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๓.สัตตาวาสวรรค ๒.อัสสขฬุงกสูตร
๒. ม้ากระจอกบางตัวในโลกนี้สมบูรณ์ด้วยเชาว์ และสมบูรณ์ด้วยวรรณะ
แต่ไม่สมบูรณ์ด้วยความสูงและความใหญ่
๓. ม้ากระจอกบางตัวในโลกนี้สมบูรณ์ด้วยเชาว์ สมบูรณ์ด้วยวรรณะ
และสมบูรณ์ด้วยความสูงและความใหญ่
ภิกษุทั้งหลาย ม้ากระจอก ๓ จำพวกนี้แล
ภิกษุทั้งหลาย คนกระจอก ๓ จำพวกไหนบ้าง คือ
๑. คนกระจอกบางคนในโลกนี้สมบูรณ์ด้วยเชาว์๑ แต่ไม่สมบูรณ์ด้วย
วรรณะ๒ ไม่สมบูรณ์ด้วยความสูงและความใหญ่
๒. คนกระจอกบางคนในโลกนี้สมบูรณ์ด้วยเชาว์ และสมบูรณ์ด้วยวรรณะ
แต่ไม่สมบูรณ์ด้วยความสูงและความใหญ่
๓. คนกระจอกบางคนในโลกนี้สมบูรณ์ด้วยเชาว์ สมบูรณ์ด้วยวรรณะ
และสมบูรณ์ด้วยความสูงและความใหญ่
คนกระจอกสมบูรณ์ด้วยเชาว์ แต่ไม่สมบูรณ์ด้วยวรรณะ ไม่สมบูรณ์ด้วย
ความสูงและความใหญ่ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า ‘นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย
นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา’ เรากล่าวว่า นี้เป็นเชาว์ของเขา แต่เขาถูก
ถามปัญหาในอภิธรรมและอภิวินัย ก็จนปัญญา ตอบไม่ได้ เรากล่าวว่า นี้ไม่ใช่
วรรณะของเขา และเขาไม่ได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัย-
เภสัชชบริขาร เรากล่าวว่า นี้ไม่ใช่ความสูงและความใหญ่ของเขา
ภิกษุทั้งหลาย คนกระจอกสมบูรณ์ด้วยเชาว์ แต่ไม่สมบูรณ์ด้วยวรรณะ
ไม่สมบูรณ์ด้วยความสูงและความใหญ่ เป็นอย่างนี้แล

เชิงอรรถ :
๑ เชาว์ของม้า หมายถึงกำลังวิ่งหรือความมีฝีเท้าเร็ว (ปทชวะ) เชาว์ของคน หมายถึงกำลังวิ่งหรือหมายถึง
ญาณคือความหยั่งรู้อริยสัจ ๔ เป็นต้น (องฺ.ติก.อ. ๒/๑๔๑/๒๗๓, องฺ.นวก.อ. ๓/๒๒/๓๐๔)
๒ วรรณะของม้า หมายถึงสีสันแห่งสรีระ วรรณะของคน หมายถึงคุณ คือความมีปฏิภาณในการโต้ตอบแก้
ปัญหาในเรื่องอภิธรรม อภิวินัย ไม่จนปัญญา (องฺ.ติก.อ. ๒/๑๔๑/๒๗๓, องฺ.นวก.อ. ๓/๒๒/๓๐๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๔๗๗ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๓.สัตตาวาสวรรค ๒.อัสสขฬุงกสูตร
คนกระจอกสมบูรณ์ด้วยเชาว์ และสมบูรณ์ด้วยวรรณะ แต่ไม่สมบูรณ์ด้วย
ความสูงและความใหญ่ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า ‘นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธ-
คามินีปฏิปทา’ เรากล่าวว่า นี้เป็นเชาว์ของเขา เขาถูกถามปัญหาในอภิธรรมและ
อภิวินัยก็ตอบได้ ไม่จนปัญญา เรากล่าวว่า นี้เป็นวรรณะของเขา แต่เขาไม่ได้จีวร
บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชชบริขาร เรากล่าวว่า นี้ไม่ใช่ความสูง
และความใหญ่ของเขา
ภิกษุทั้งหลาย คนกระจอกสมบูรณ์ด้วยเชาว์ และสมบูรณ์ด้วยวรรณะ แต่ไม่
สมบูรณ์ด้วยความสูงและความใหญ่ เป็นอย่างนี้แล
คนกระจอกสมบูรณ์ด้วยเชาว์ สมบูรณ์ด้วยวรรณะ และสมบูรณ์ด้วยความ
สูงและความใหญ่ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า ‘นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธ-
คามินีปฏิปทา’ เรากล่าวว่า นี้เป็นเชาว์ของเขา เขาถูกถามปัญหาในอภิธรรมและ
อภิวินัย ก็ตอบได้ ไม่จนปัญญา เรากล่าวว่า นี้เป็นวรรณะของเขา และเขาได้จีวร
บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชชบริขาร เรากล่าวว่า นี้เป็นความสูง
และความใหญ่ของเขา
ภิกษุทั้งหลาย คนกระจอกสมบูรณ์ด้วยเชาว์ สมบูรณ์ด้วยวรรณะ และสมบูรณ์
ด้วยความสูงและความใหญ่ เป็นอย่างนี้แล
ภิกษุทั้งหลาย คนกระจอก ๓ จำพวกนี้แล
ภิกษุทั้งหลาย ม้าดี ๓ จำพวกไหนบ้าง คือ
๑. ม้าดีบางตัวในโลกนี้ ฯลฯ
๒. ม้าดีบางตัวในโลกนี้ ฯลฯ
๓. ม้าดีบางตัวในโลกนี้สมบูรณ์ด้วยเชาว์ สมบูรณ์ด้วยวรรณะ และ
สมบูรณ์ด้วยความสูงและความใหญ่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๔๗๘ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๓.สัตตาวาสวรรค ๒.อัสสขฬุงกสูตร
ภิกษุทั้งหลาย ม้าดี ๓ จำพวกนี้แล
ภิกษุทั้งหลาย คนดี ๓ จำพวกไหนบ้าง คือ
๑. คนดีบางคนในโลกนี้ ฯลฯ
๒. คนดีบางคนในโลกนี้ ฯลฯ
๓. คนดีบางคนในโลกนี้สมบูรณ์ด้วยเชาว์ สมบูรณ์ด้วยวรรณะ และ
สมบูรณ์ด้วยความสูงและความใหญ่
ฯลฯ
คนดีสมบูรณ์ด้วยเชาว์ สมบูรณ์ด้วยวรรณะ และสมบูรณ์ด้วยความสูงและ
ความใหญ่ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เพราะสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ ประการสิ้นไป จักเป็น
โอปปาติกะ๑ ปรินิพพานในภพนั้น ไม่หวนกลับมาจากโลกนั้นแน่นอน เรากล่าวว่า
นี้เป็นเชาว์ของเขา เขาถูกถามปัญหาในอภิธรรมและอภิวินัย ก็ตอบได้ ไม่จนปัญญา
เรากล่าวว่า นี้เป็นวรรณะของเขา และเขาได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และ
คิลานปัจจัยเภสัชชบริขาร เรากล่าวว่า นี้เป็นความสูงและความใหญ่ของเขา
ภิกษุทั้งหลาย คนดีสมบูรณ์ด้วยเชาว์ สมบูรณ์ด้วยวรรณะ และสมบูรณ์ด้วย
ความสูงและความใหญ่ เป็นอย่างนี้แล
ภิกษุทั้งหลาย คนดี ๓ จำพวกนี้แล
ภิกษุทั้งหลาย ม้าอาชาไนยพันธุ์ดี ๓ จำพวกไหนบ้าง คือ
๑. ม้าอาชาไนยพันธุ์ดีบางตัวในโลกนี้ ฯลฯ
๒. ม้าอาชาไนยพันธุ์ดีบางตัวในโลกนี้ ฯลฯ
๓. ม้าอาชาไนยพันธุ์ดีบางตัวในโลกนี้สมบูรณ์ด้วยเชาว์ สมบูรณ์ด้วย
วรรณะ และสมบูรณ์ด้วยความสูงและความใหญ่
ภิกษุทั้งหลาย ม้าอาชาไนยพันธุ์ดี ๓ จำพวกนี้แล

เชิงอรรถ :
๑ โอปปาติกะ หมายถึงสัตว์ที่เกิดและเติบโตเต็มที่ทันที และเมื่อจุติ (ตาย) ก็หายวับไป ไม่ทิ้งซากศพไว้ เช่น
เทวดาและสัตว์นรกเป็นต้น (เทียบ ที.สี.อ. ๑/๑๗๑/๑๔๙) แต่ในที่นี้หมายถึงพระอนาคามีที่เกิดในสุทธาวาส
(ที่อยู่ของท่านผู้บริสุทธิ์) ๕ ชั้น มีชั้นอวิหา เป็นต้น แล้วดำรงภาวะอยู่ในชั้นนั้น ๆ ปรินิพพานสิ้นกิเลสใน
สุทธาวาสนั่นเอง ไม่กลับมาเกิดเป็นมนุษย์อีก (องฺ.ติก.อ. ๒/๘๗-๘๘/๒๔๒-๒๔๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๔๗๙ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๓.สัตตาวาสวรรค ๓.ตัณหามูลกสูตร
ภิกษุทั้งหลาย บุรุษอาชาไนยผู้เจริญ ๓ จำพวกไหนบ้าง คือ
๑. บุรุษอาชาไนยผู้เจริญบางคนในโลกนี้ ฯลฯ
๒. บุรุษอาชาไนยผู้เจริญบางคนในโลกนี้ ฯลฯ
๓. บุรุษอาชาไนยผู้เจริญบางคนในโลกนี้สมบูรณ์ด้วยเชาว์ สมบูรณ์
ด้วยวรรณะ และสมบูรณ์ด้วยความสูงและความใหญ่
ฯลฯ
บุรุษอาชาไนยผู้เจริญสมบูรณ์ด้วยเชาว์ สมบูรณ์ด้วยวรรณะ และสมบูรณ์
ด้วยความสูงและความใหญ่ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันไม่มีอาสวะ เพราะ
อาสวะสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน เรากล่าวว่า นี้เป็นเชาว์ของเขา
เขาถูกถามปัญหาในอภิธรรมและอภิวินัย ก็ตอบได้ ไม่จนปัญญา เรากล่าวว่า นี้เป็น
วรรณะของเขา และเขาได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชชบริขาร
เรากล่าวว่า นี้เป็นความสูงและความใหญ่ของเขา
ภิกษุทั้งหลาย บุรุษอาชาไนยผู้เจริญสมบูรณ์ด้วยเชาว์ สมบูรณ์ด้วยวรรณะ
และสมบูรณ์ด้วยความสูงและความใหญ่ เป็นอย่างนี้แล
ภิกษุทั้งหลาย บุรุษอาชาไนยผู้เจริญ ๓ จำพวกนี้แล
อัสสขฬุงกสูตรที่ ๒ จบ

๓. ตัณหามูลกสูตร
ว่าด้วยตัณหามูลธรรม๑
[๒๓] ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมมีตัณหาเป็นมูลเหตุ ๙ ประการ
พวกเธอจงฟังธรรมนั้น
ธรรมมีตัณหาเป็นมูลเหตุ ๙ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. เพราะอาศัยตัณหา การแสวงหาจึงเกิดขึ้น
๒. เพราะอาศัยการแสวงหา การได้จึงเกิดขึ้น

เชิงอรรถ :
๑ ดู ที.ปา ๑๑/๓๕๙/๒๗๓, อภิ.วิ. (แปล) ๓๕/๙๖๓/๖๑๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๔๘๐ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๓.สัตตาวาสวรรค ๔.สัตตาวาสสูตร
๓. เพราะอาศัยการได้ การวินิจฉัยจึงเกิดขึ้น
๔. เพราะอาศัยการวินิจฉัย๑ ฉันทราคะ๒ จึงเกิดขึ้น
๕. เพราะอาศัยฉันทราคะ ความหลงใหลจึงเกิดขึ้น
๖. เพราะอาศัยความหลงใหล ความหวงแหนจึงเกิดขึ้น
๗. เพราะอาศัยความหวงแหน ความตระหนี่จึงเกิดขึ้น
๘. เพราะอาศัยความตระหนี่ การรักษาจึงเกิดขึ้น
๙. เพราะอาศัยการรักษา บาปอกุศลธรรมหลายประการ คือ การถือ
ท่อนไม้ การถือศัสตรา การทะเลาะ การแก่งแย่ง การวิวาท
การพูดขึ้นมึง กู การพูดส่อเสียด การพูดเท็จ จึงเกิดขึ้น
ภิกษุทั้งหลาย ธรรมมีตัณหาเป็นมูลเหตุ ๙ ประการนี้แล
ตัณหามูลกสูตรที่ ๓ จบ

๔. สัตตาวาสสูตร
ว่าด้วยสัตตาวาส๓
[๒๔] ภิกษุทั้งหลาย สัตตาวาส (ภพเป็นที่อยู่แห่งสัตว์) ๙ ประการนี้
สัตตาวาส ๙ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. มีสัตว์ผู้มีกายต่างกัน มีสัญญาต่างกัน คือ มนุษย์บางพวก เทวดา
บางพวก และวินิปาติกะบางพวก นี้เป็นสัตตาวาสประการที่ ๑

เชิงอรรถ :
๑ วินิจฉัย หมายถึงวินิจฉัย ๔ ประการ คือ (๑) ญาณวินิจฉัย ได้แก่ รู้การตกลงใจว่าเป็นสุขหมั่นประกอบ
ความสุขภายใน (๒) ตัณหาวินิจฉัย ได้แก่ ตัณหาวินิจฉัย ๑๐๘ (๓) ทิฏฐิวินิจฉัย ได้แก่ ทิฏฐิ ๖๒
(๔) วิตักกวินิจฉัย ได้แก่ ฉันทะที่เป็นเหตุเกิดแห่งวิตก และในที่นี้หมายถึงวิตักกวินิจฉัยเท่านั้น เพราะแม้
ได้ลาภ ก็วินิจฉัยถึงสิ่งที่น่าปรารถนาและสิ่งที่ไม่น่าปรารถนา วินิจฉัยถึงสิ่งที่ดีและไม่ดีด้วยวิตกทั้งนั้นว่า
สิ่งนี้มีแก่เรา สิ่งนี้มีแก่ผู้อื่น เราใช้สิ่งนี้ เรางดเว้นสิ่งนี้” (องฺ.นวก.อ. ๓/๒๓/๓๐๔)
๒ ฉันทราคะ ในที่นี้หมายถึงราคะที่มีกำลังอ่อน ไม่ใช่ราคะที่มีกำลังกล้า เกิดขึ้นเมื่อถูกอกุศลวิตกครอบงำ
(องฺ.นวก.อ. ๒/๒๓/๓๐๕)
๓ ดูสัตตกนิบาตข้อ ๔๔ (สัตตวิญญาณัฏฐิติสูตร) หน้า ๖๗-๖๘ ในเล่มนี้ และดู ที.ม. ๑๐/๑๒๗/๖๑-๖๒,
ที.ปา. ๑๑/๓๕๗/๒๕๘, ขุ.จู. (แปล) ๓๐/๘๓/๒๘๙

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๔๘๑ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๓.สัตตาวาสวรรค ๔.สัตตาวาสสูตร
๒. มีสัตว์ผู้มีกายต่างกัน แต่มีสัญญาอย่างเดียวกัน คือ เทวดาชั้น
พรหมกายิกา (เทวดาผู้นับเนื่องในหมู่พรหม) เกิดในปฐมฌานที่ ๑
นี้เป็นสัตตาวาสประการที่ ๒
๓. มีสัตว์ผู้มีกายอย่างเดียวกัน แต่มีสัญญาต่างกัน คือ เทวดาชั้น
อาภัสสระ นี้เป็นสัตตาวาสประการที่ ๓
๔. มีสัตว์ผู้มีกายอย่างเดียวกัน มีสัญญาอย่างเดียวกัน คือ เทวดา
ชั้นสุภกิณหะ (เทวดาผู้เต็มไปด้วยความงาม) นี้เป็นสัตตาวาสประการ
ที่ ๔
๕. มีสัตว์ผู้ไม่มีสัญญา ไม่เสวยเวทนา คือ เทวดาชั้นอสัญญีสัตตพรหม
นี้เป็นสัตตาวาสประการที่ ๕
๖. มีสัตว์ผู้บรรลุอากาสานัญจายตนฌานอยู่โดยกำหนดว่า ‘อากาศ
หาที่สุดมิได้’ อยู่ เพราะล่วงรูปสัญญา ดับปฏิฆสัญญา ไม่กำหนด
นานัตตสัญญาโดยประการทั้งปวง นี้เป็นสัตตาวาสประการที่ ๖
๗. มีสัตว์ผู้ล่วงอากาสานัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุ
วิญญาณัญจายตนฌานอยู่โดยกำหนดว่า ‘วิญญาณหาที่สุดมิได้’
นี้เป็นสัตตาวาสประการที่ ๗
๘. มีสัตว์ผู้ล่วงวิญญาณัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุ
อากิญจัญญายตนฌานอยู่โดยกำหนดว่า ‘ไม่มีอะไร’ นี้เป็นสัตตาวาส
ประการที่ ๘
๙. มีสัตว์ผู้ล่วงอากิญจัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุ
เนวสัญญานาสัญญายตนฌานอยู่ นี้เป็นสัตตาวาสประการที่ ๙
ภิกษุทั้งหลาย สัตตาวาส ๙ ประการนี้แล

สัตตาวาสสูตรที่ ๔ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๔๘๒ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๓.สัตตาวาสวรรค ๕.ปัญญาสูตร
๕. ปัญญาสูตร
ว่าด้วยภิกษุผู้อบรมจิตดีด้วยปัญญา
[๒๕] ภิกษุทั้งหลาย เมื่อใด ภิกษุอบรมจิตดีด้วยปัญญา เมื่อนั้น ภิกษุนั้น
ควรกล่าวดังนี้ว่า ‘เรารู้ชัดว่า ‘ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำ
เสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป’
ภิกษุอบรมจิตดีด้วยปัญญา เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุอบรมจิตดีด้วยปัญญาว่า
๑. จิตของเราปราศจากราคะแล้ว
๒. จิตของเราปราศจากโทสะแล้ว
๓. จิตของเราปราศจากโมหะแล้ว
๔. จิตของเราไม่มีราคะเป็นธรรมดา
๕. จิตของเราไม่มีโทสะเป็นธรรมดา
๖. จิตของเราไม่มีโมหะเป็นธรรมดา
๗. จิตของเราไม่กลับมาในกามภพเป็นธรรมดา
๘. จิตของเราไม่กลับมาในรูปภพเป็นธรรมดา
๙. จิตของเราไม่กลับมาในอรูปภพเป็นธรรมดา
ภิกษุทั้งหลาย เมื่อใด ภิกษุอบรมจิตดีด้วยปัญญา เมื่อนั้น ภิกษุนั้นควรกล่าว
ดังนี้ว่า ‘เรารู้ชัดว่า ‘ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว
ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป’

ปัญญาสูตรที่ ๕ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๔๘๓ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๓.สัตตาวาสวรรค ๖.สิลายูปสูตร
๖. สิลายูปสูตร
ว่าด้วยจิตเปรียบด้วยเสาหิน
[๒๖] สมัยหนึ่ง ท่านพระสารีบุตร และท่านพระจันทิกาบุตร อยู่ ณ
พระเวฬุวัน กลันทกนิวาปสถาน๑ เขตกรุงราชคฤห์ ณ ที่นั้นแล ท่านพระจันทิกาบุตร
กล่าวกับภิกษุทั้งหลายว่า “ผู้มีอายุทั้งหลาย พระเทวทัตแสดงธรรมแก่ภิกษุ
ทั้งหลายอย่างนี้ว่า ‘ผู้มีอายุทั้งหลาย เมื่อใด ภิกษุอบรมจิตด้วยจิต เมื่อนั้น ภิกษุนั้น
ควรพยากรณ์ดังนี้ว่า ‘เรารู้ชัดว่า ‘ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควร
ทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป”
เมื่อท่านพระจันทิกาบุตรกล่าวอย่างนี้แล้ว ท่านพระสารีบุตรได้กล่าวกับท่าน
พระจันทิกาบุตรดังนี้ว่า “ท่านจันทิกาบุตร พระเทวทัตไม่แสดงธรรมแก่ภิกษุ
ทั้งหลายอย่างนี้ว่า ‘เมื่อใด ภิกษุอบรมจิตด้วยจิต เมื่อนั้น ภิกษุนั้นควรพยากรณ์
ดังนี้ว่า ‘เรารู้ชัดว่า ‘ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว
ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป’ แต่พระเทวทัตแสดงธรรมแก่ภิกษุ
ทั้งหลายอย่างนี้ว่า ‘ผู้มีอายุทั้งหลาย เมื่อใด ภิกษุอบรมจิตดีด้วยจิต เมื่อนั้น
ภิกษุนั้นควรพยากรณ์ดังนี้ว่า ‘เรารู้ชัดว่า ‘ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว
ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป’
แม้ครั้งที่ ๒ ฯลฯ
แม้ครั้งที่ ๓ ท่านพระจันทิกาบุตรก็กล่าวกับภิกษุทั้งหลายว่า “ผู้มีอายุ
ทั้งหลาย พระเทวทัตแสดงธรรมแก่ภิกษุทั้งหลายอย่างนี้ว่า ‘ผู้มีอายุทั้งหลาย เมื่อใด
ภิกษุอบรมจิตด้วยจิต เมื่อนั้น ภิกษุนั้นควรพยากรณ์ดังนี้ว่า ‘เรารู้ชัดว่า ‘ชาติ
สิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความ
เป็นอย่างนี้อีกต่อไป”

เชิงอรรถ :
๑ กลันทกนิวาปสถาน หมายถึงสถานที่สำหรับพระราชทานเหยื่อแก่กระแต (ดูรายละเอียดใน ม.มู.อ.
๒/๒๕๒/๔๑-๔๒, G.P. MALALAKERA, Dictionary of Pali : Proper Names, London, Luzac
Company Ltd. 46 Great Russell Street, 1960.)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๔๘๔ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๓.สัตตาวาสวรรค ๖.สิลายูปสูตร
แม้ครั้งที่ ๓ ท่านพระสารีบุตรก็ได้กล่าวกับท่านพระจันทิกาบุตรดังนี้ว่า “ท่าน
จันทิกาบุตร พระเทวทัตไม่แสดงธรรมแก่ภิกษุทั้งหลายอย่างนี้ว่า ‘เมื่อใด ภิกษุ
อบรมจิตด้วยจิต เมื่อนั้น ภิกษุนั้นควรพยากรณ์ดังนี้ว่า ‘เรารู้ชัดว่า ‘ชาติสิ้นแล้ว
อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีก
ต่อไป’ แต่พระเทวทัตแสดงธรรมแก่ภิกษุทั้งหลายอย่างนี้ว่า ‘ผู้มีอายุทั้งหลาย
เมื่อใด ภิกษุอบรมจิตดีด้วยจิต เมื่อนั้น ภิกษุนั้นควรพยากรณ์ดังนี้ว่า ‘เรารู้ชัดว่า
‘ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อ
ความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป’
ภิกษุอบรมจิตดีด้วยจิต เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุอบรมจิตดีด้วยจิตว่า
๑. จิตของเราปราศจากราคะแล้ว
๒. จิตของเราปราศจากโทสะแล้ว
๓. จิตของเราปราศจากโมหะแล้ว
๔. จิตของเราไม่มีราคะเป็นธรรมดา
๕. จิตของเราไม่มีโทสะเป็นธรรมดา
๖. จิตของเราไม่มีโมหะเป็นธรรมดา
๗. จิตของเราไม่กลับมาในกามภพเป็นธรรมดา
๘. จิตของเราไม่กลับมาในรูปภพเป็นธรรมดา
๙. จิตของเราไม่กลับมาในอรูปภพเป็นธรรมดา
ผู้มีอายุ แม้หากรูปอย่างหยาบที่พึงรู้แจ้งทางตา ผ่านมาทางคลองจักษุของ
ภิกษุผู้มีจิตหลุดพ้นโดยชอบแล้วอย่างนี้ รูปเหล่านั้นก็ครอบงำจิตของเธอไม่ได้
จิตของเธอไม่ระคนกับรูปเหล่านั้นเลย เป็นจิตตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว และเธอย่อม
พิจารณาเห็นความเสื่อมแห่งรูปนั้น
ผู้มีอายุ เสาหินยาว ๑๖ ศอกหยั่งลงไปในหลุม ๘ ศอก อยู่บนหลุม ๘ ศอก
แม้ลมพายุอย่างแรงพัดมาทางทิศบูรพาก็ไม่พึงทำให้เสาหินนั้นสั่นคลอน สะเทือน
หวั่นไหวได้ แม้ลมพายุอย่างแรงพัดมาทางทิศตะวันตก ฯลฯ ทางทิศเหนือ ฯลฯ ทางทิศใต้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๔๘๕ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๓.สัตตาวาสวรรค ๗.ปฐมเวรสูตร
ก็ไม่พึงทำให้เสาหินนั้นสั่นคลอน สะเทือน หวั่นไหวได้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะ
หลุมลึกและเสาหินฝังไว้ดี ฉันใด
แม้หากรูปอย่างหยาบที่พึงรู้แจ้งทางตา ผ่านมาทางคลองจักษุของภิกษุผู้มีจิต
หลุดพ้นโดยชอบแล้วอย่างนี้ รูปเหล่านั้นก็ครอบงำจิตของเธอไม่ได้ จิตของเธอ
ไม่ระคนกับรูปเหล่านั้นเลย เป็นจิตตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว และเธอย่อมพิจารณาเห็น
ความเสื่อมแห่งรูปนั้น ฉันนั้นเหมือนกัน
แม้หากเสียงอย่างหยาบที่พึงรู้แจ้งทางหู ฯลฯ
แม้หากกลิ่นอย่างหยาบที่พึงรู้แจ้งทางจมูก ฯลฯ
แม้หากรสอย่างหยาบที่พึงรู้แจ้งทางลิ้น ฯลฯ
แม้หากโผฏฐัพพะอย่างหยาบที่พึงรู้แจ้งทางกาย ฯลฯ
แม้หากธรรมารมณ์อย่างหยาบที่พึงรู้แจ้งทางใจ ผ่านมาทางคลองใจของภิกษุ
ผู้มีจิตหลุดพ้นโดยชอบแล้วอย่างนี้ ธรรมารมณ์เหล่านั้นก็ครอบงำจิตของเธอไม่ได้
จิตของเธอไม่ระคนกับธรรมารมณ์เหล่านั้นเลย เป็นจิตตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว และเธอ
ย่อมพิจารณาเห็นความเสื่อมแห่งธรรมารมณ์นั้น ฉันนั้นเหมือนกัน”
สิลายูปสูตรที่ ๖ จบ

๗. ปฐมเวรสูตร
ว่าด้วยภัยเวร๑ สูตรที่ ๑
[๒๗] ครั้งนั้นแล อนาถบิณฑิกคหบดีเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสกับอนาถบิณฑิกคหบดี
ดังนี้ว่า “คหบดี เมื่อใด อริยสาวกระงับภัยเวร ๕ ประการได้แล้ว และประกอบด้วย
องค์เครื่องบรรลุโสดา๒ ๔ ประการ เมื่อนั้น อริยสาวกนั้นเมื่อหวังอยู่ พึงพยากรณ์
ตนเองว่า ‘เรามีนรกสิ้นแล้ว มีกำเนิดสัตว์ดิรัจฉานสิ้นแล้ว มีภูมิแห่งเปรตสิ้นแล้ว

เชิงอรรถ :
๑ ดู องฺ.ทสก. (แปล) ๒๔/๙๒/๒๑๒-๒๑๔
๒ องค์เครื่องบรรลุโสดา ในที่นี้หมายถึงคุณสมบัติของพระโสดาบัน (สํ.ม.อ. ๓/๔๗๘/๓๐๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๔๘๖ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๓.สัตตาวาสวรรค ๗.ปฐมเวรสูตร
มีอบาย ทุคติ และวินิบาต๑สิ้นแล้ว เป็นโสดาบัน๒ ไม่มีทางตกต่ำ มีความแน่นอนที่
จะสำเร็จสัมโพธิ๓ในวันข้างหน้า’
อริยสาวกระงับภัยเวร ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. บุคคลผู้ฆ่าสัตว์ เพราะการฆ่าสัตว์เป็นปัจจัย จึงประสพภัยเวรที่
เป็นไปในปัจจุบันบ้าง ในสัมปรายภพบ้าง ต้องเสวยทุกขโทมนัส
ทางใจบ้าง บุคคลผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ ย่อมไม่ประสพภัยเวรที่
เป็นไปในปัจจุบัน ที่เป็นไปในสัมปรายภพ ทั้งไม่ต้องเสวยทุกข-
โทมนัสทางใจ บุคคลผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์แล้ว ย่อมระงับภัยเวร
นั้นได้ อย่างนี้
๒. บุคคลผู้ลักทรัพย์ ...
๓. บุคคลผู้ประพฤติผิดในกาม ...
๔. บุคคลผู้พูดเท็จ ...
๕. บุคคลผู้เสพของมึนเมาคือสุราและเมรัย๔อันเป็นเหตุแห่งความ
ประมาท เพราะการเสพของมึนเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นเหตุแห่ง
ความประมาทเป็นปัจจัย จึงประสพภัยเวรที่เป็นไปในปัจจุบันบ้าง
ในสัมปรายภพบ้าง ต้องเสวยทุกขโทมนัสทางใจบ้าง บุคคลผู้เว้น
ขาดจากการเสพของมึนเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นเหตุแห่งความ
ประมาท ย่อมไม่ประสพภัยเวรที่เป็นไปในปัจจุบัน ที่เป็นไปใน
สัมปรายภพ ทั้งไม่ต้องเสวยทุกขโทมนัสทางใจ บุคคลผู้เว้นขาด
จากการเสพของมึนเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นเหตุแห่งความประมาท
แล้วย่อมระงับภัยเวรนั้นได้ อย่างนี้
อริยสาวกระงับภัยเวร ๕ ประการ เป็นอย่างนี้แล

เชิงอรรถ :
๑ อบาย ทุคติ วินิบาต ทั้ง ๓ คำนี้เป็นไวพจน์ของนรก (องฺ.เอกก.อ. ๑/๔๓/๕๐)
๒ โสดาบัน หมายถึงผู้ประกอบด้วยอริยมรรคมีองค์ ๘ เพราะคำว่า โสตะ เป็นชื่อของอริยมรรคมีองค์ ๘
(อภิ.ปญฺจ.อ. ๓๑/๕๓๐)
๓ ดูเชิงอรรถที่ ๑ สัตตกนิบาต ข้อ ๑๕ หน้า ๒๓ ในเล่มนี้
๔ ดูเชิงอรรถที่ ๒ สัตตกนิบาต ข้อ ๖ หน้า ๑๐ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๔๘๗ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๓.สัตตาวาสวรรค ๗.ปฐมเวรสูตร
อริยสาวกประกอบด้วยองค์เครื่องบรรลุโสดา ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
อริยสาวกในธรรมวินัยนี้
๑. ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้าว่า ‘แม้
เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้
ด้วยพระองค์เองโดยชอบ เพียบพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดี
รู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกผู้ที่ควรฝึกได้อย่างยอดเยี่ยม เป็นศาสดา
ของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระผู้มี
พระภาค’
๒. ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรมว่า ‘พระธรรม
เป็นธรรมที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ดีแล้ว ผู้ปฏิบัติจะพึงเห็นชัดด้วย
ตนเอง ไม่ประกอบด้วยกาล ควรเรียกให้มาดู ควรน้อมเข้ามาในตน
อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน’
๓. ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์ว่า ‘พระสงฆ์
สาวกของพระผู้มีพระภาคเป็นผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติตรง ปฏิบัติถูกทาง
ปฏิบัติสมควร ได้แก่ อริยบุคคล ๔ คู่ คือ ๘ บุคคล พระสงฆ์สาวก
ของพระผู้มีพระภาคนี้ เป็นผู้ควรแก่ของที่เขานำมาถวาย ควรแก่
ของต้อนรับ ควรแก่ทักษิณา เป็นนาบุญอันยอดเยี่ยมของโลก’
๔. เป็นผู้ประกอบด้วยศีลที่พระอริยะใคร่ ไม่ขาด ไม่ทะลุ ไม่ด่าง
ไม่พร้อย เป็นไท ท่านผู้รู้สรรเสริญ ไม่ถูกตัณหาและทิฏฐิครอบงำ
เป็นไปเพื่อสมาธิ
อริยสาวกประกอบด้วยองค์เครื่องบรรลุโสดา ๔ ประการ เป็นอย่างนี้แล
คหบดี เมื่อใด อริยสาวกระงับภัยเวร ๕ ประการนี้ได้แล้ว และประกอบด้วย
องค์เครื่องบรรลุโสดา ๔ ประการนี้ เมื่อนั้น อริยสาวกนั้นเมื่อหวังอยู่ พึงพยากรณ์
ตนเองว่า ‘เรามีนรกสิ้นแล้ว มีกำเนิดสัตว์ดิรัจฉานสิ้นแล้ว มีภูมิแห่งเปรตสิ้นแล้ว
มีอบาย ทุคติ และวินิบาตสิ้นแล้ว เป็นโสดาบัน ไม่มีทางตกต่ำ มีความแน่นอนที่
จะสำเร็จสัมโพธิในวันข้างหน้า”
ปฐมเวรสูตรที่ ๗ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๔๘๘ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๓.สัตตาวาสวรรค ๘.ทุติยเวรสูตร
๘. ทุติยเวรสูตร
ว่าด้วยภัยเวร สูตรที่ ๒
[๒๘] ภิกษุทั้งหลาย เมื่อใด อริยสาวกระงับภัยเวร ๕ ประการได้แล้ว
และประกอบด้วยองค์เครื่องบรรลุโสดา ๔ ประการ เมื่อนั้น อริยสาวกนั้นเมื่อ
หวังอยู่ พึงพยากรณ์ตนเองว่า ‘เรามีนรกสิ้นแล้ว มีกำเนิดสัตว์ดิรัจฉานสิ้นแล้ว
มีภูมิแห่งเปรตสิ้นแล้ว มีอบาย ทุคติ และวินิบาตสิ้นแล้ว เป็นโสดาบัน ไม่มีทาง
ตกต่ำ มีความแน่นอนที่จะสำเร็จสัมโพธิในวันข้างหน้า’
อริยสาวกระงับภัยเวร ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. บุคคลผู้ฆ่าสัตว์ เพราะการฆ่าสัตว์เป็นปัจจัย จึงประสพภัยเวรที่
เป็นไปในปัจจุบันบ้าง ในสัมปรายภพบ้าง ต้องเสวยทุกขโทมนัส
ทางใจบ้าง บุคคลผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ ย่อมไม่ประสพภัยเวรที่
เป็นไปในปัจจุบัน ที่เป็นไปในสัมปรายภพ ทั้งไม่ต้องเสวยทุกข-
โทมนัสทางใจ บุคคลผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์แล้ว ย่อมระงับ
ภัยเวรนั้นได้ อย่างนี้
๒. บุคคลผู้ลักทรัพย์ ...
๓. บุคคลผู้ประพฤติผิดในกาม ...
๔. บุคคลผู้พูดเท็จ ...
๕. บุคคลผู้เสพของมึนเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นเหตุแห่งความประมาท
เพราะการเสพของมึนเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นเหตุแห่งความ
ประมาทเป็นปัจจัย จึงประสพภัยเวรที่เป็นไปในปัจจุบันบ้าง ใน
สัมปรายภพบ้าง ต้องเสวยทุกขโทมนัสทางใจบ้าง บุคคลผู้เว้นขาด
จากการเสพของมึนเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นเหตุแห่งความประมาท
ย่อมไม่ประสพภัยเวรที่เป็นไปในปัจจุบัน ที่เป็นไปในสัมปรายภพ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๔๘๙ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๓.สัตตาวาสวรรค ๘.ทุติยเวรสูตร
ทั้งไม่ต้องเสวยทุกขโทมนัสทางใจ บุคคลผู้เว้นขาดจากการเสพของ
มึนเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นเหตุแห่งความประมาทแล้วย่อมระงับ
ภัยเวรนั้นได้ อย่างนี้
อริยสาวกระงับภัยเวร ๕ ประการนี้ เป็นอย่างนี้แล
อริยสาวกประกอบด้วยองค์เครื่องบรรลุโสดา ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
อริยสาวกในธรรมวินัยนี้
๑. ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้าว่า ‘แม้
เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ฯลฯ เป็นศาสดาของ
เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระผู้มีพระภาค’
๒. ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรม ฯลฯ
๓. ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์ ฯลฯ
๔. ประกอบด้วยศีลที่พระอริยะใคร่ ไม่ขาด ไม่ทะลุ ไม่ด่าง ไม่พร้อย
เป็นไท ท่านผู้รู้สรรเสริญ ไม่ถูกตัณหาและทิฏฐิครอบงำ เป็นไปเพื่อ
สมาธิ
อริยสาวกประกอบด้วยองค์เครื่องบรรลุโสดา ๔ ประการ เป็นอย่างนี้แล
ภิกษุทั้งหลาย เมื่อใด อริยสาวกระงับภัยเวร ๕ ประการนี้ได้แล้ว และ
ประกอบด้วยองค์เครื่องบรรลุโสดา ๔ ประการนี้ เมื่อนั้น อริยสาวกนั้นเมื่อหวังอยู่
พึงพยากรณ์ตนเองว่า ‘เรามีนรกสิ้นแล้ว มีกำเนิดสัตว์ดิรัจฉานสิ้นแล้ว มีภูมิแห่ง
เปรตสิ้นแล้ว มีอบาย ทุคติ และวินิบาตสิ้นแล้ว เป็นโสดาบัน ไม่มีทางตกต่ำ
มีความแน่นอนที่จะสำเร็จสัมโพธิในวันข้างหน้า’

ทุติยเวรสูตรที่ ๘ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๔๙๐ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๓.สัตตาวาสวรรค ๙.อาฆาตวัตถุสูตร
๙. อาฆาตวัตถุสูตร
ว่าด้วยอาฆาตวัตถุ๑
[๒๙] ภิกษุทั้งหลาย อาฆาตวัตถุ (เหตุผูกอาฆาต) ๙ ประการนี้
อาฆาตวัตถุ ๙ ประการ อะไรบ้าง คือ
บุคคลย่อมผูกอาฆาตว่า
๑. ผู้นี้ได้ทำสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์๒แก่เรา
๒. ผู้นี้กำลังทำสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่เรา
๓. ผู้นี้จักทำสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่เรา
๔. ผู้นี้ได้ทำสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่คนผู้เป็นที่รักที่ชอบพอของเรา
๕. ผู้นี้กำลังทำสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่คนผู้เป็นที่รักที่ชอบพอของเรา
๖. ผู้นี้จักทำสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่คนผู้เป็นที่รักที่ชอบพอของเรา
๗. ผู้นี้ได้ทำสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่คนผู้ไม่เป็นที่รักไม่เป็นที่ชอบพอของเรา
๘. ผู้นี้กำลังทำสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่คนผู้ไม่เป็นที่รักไม่เป็นที่ชอบพอ
ของเรา
๙. ผู้นี้จักทำสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่คนผู้ไม่เป็นที่รักไม่เป็นที่ชอบพอของเรา
ภิกษุทั้งหลาย อาฆาตวัตถุ ๙ ประการนี้แล
อาฆาตวัตถุสูตรที่ ๙ จบ

เชิงอรรถ :
๑ ดู องฺ.ทสก. (แปล) ๒๔/๗๙/๑๗๗, อภิ.วิ (แปล) ๓๕/๙๖๗/๖๑๙
๒ สิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ ในที่นี้หมายถึงความพินาศ เสียหาย ไม่เจริญ (องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๘๘-๘๙/๑๕๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๔๙๑ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๓.สัตตาวาสวรรค ๑๐.อาฆาตปฏิวินยสูตร
๑๐. อาฆาตปฏิวินยสูตร
ว่าด้วยอุบายกำจัดอาฆาต
[๓๐] ภิกษุทั้งหลาย อุบายเป็นเครื่องกำจัดอาฆาต๑ ๙ ประการนี้
อุบายเป็นเครื่องกำจัดอาฆาต ๙ ประการ อะไรบ้าง คือ
บุคคลย่อมกำจัดอาฆาตว่า
๑. ผู้นี้ได้ทำสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่เรา การทำสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์
แก่เรานั้น จะหาได้ในผู้นี้แต่ที่ไหน
๒. ผู้นี้กำลังทำสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่เรา การทำสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์
แก่เรานั้น จะหาได้ในผู้นี้แต่ที่ไหน
๓. ผู้นี้จักทำสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่เรา การทำสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์
แก่เรานั้น จะหาได้ในผู้นี้แต่ที่ไหน
๔. ผู้นี้ได้ทำสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่คนผู้เป็นที่รักที่ชอบพอของเรา
การทำสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่คนผู้เป็นที่รักที่ชอบพอของเรานั้น
จะหาได้ในผู้นี้แต่ที่ไหน
๕. ผู้นี้กำลังทำสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่คนผู้เป็นที่รักที่ชอบพอของเรา
การทำสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่คนผู้เป็นที่รักที่ชอบพอของเรานั้น
จะหาได้ในผู้นี้แต่ที่ไหน
๖. ผู้นี้จักทำสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่คนผู้เป็นที่รักที่ชอบพอของเรา
การทำสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่คนผู้เป็นที่รักที่ชอบพอของเรานั้น
จะหาได้ในผู้นี้แต่ที่ไหน
๗. ผู้นี้ได้ทำสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่คนผู้ไม่เป็นที่รักไม่เป็นที่ชอบพอของเรา
การทำสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่คนผู้ไม่เป็นที่รักไม่เป็นที่ชอบพอของเรานั้น
จะหาได้ในผู้นี้แต่ที่ไหน

เชิงอรรถ :
๑ ดู องฺ.ทสก. (แปล) ๒๔/๘๐/๑๗๘-๑๗๙, ที.ปา. ๑๑/๓๓๙/๒๓๒ ประกอบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๔๙๒ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๓.สัตตาวาสวรรค ๑๑.อนุปุพพนิโรธสูตร
๘. ผู้นี้กำลังทำสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่คนผู้ไม่เป็นที่รักไม่เป็นที่ชอบพอ
ของเรา การทำสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่คนผู้ไม่เป็นที่รักไม่เป็นที่ชอบ
พอของเรานั้น จะหาได้ในผู้นี้แต่ที่ไหน
๙. ผู้นี้จักทำสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่คนผู้ไม่เป็นที่รักไม่เป็นที่ชอบพอของเรา
การทำสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่คนผู้ไม่เป็นที่รักไม่เป็นที่ชอบพอของเรานั้น
จะหาได้ในผู้นี้แต่ที่ไหน
ภิกษุทั้งหลาย อุบายเป็นเครื่องกำจัดอาฆาต ๙ ประการนี้แล
อาฆาตปฏิวินยสูตรที่ ๑๐ จบ

๑๑. อนุปุพพนิโรธสูตร
ว่าด้วยอนุปุพพนิโรธ
[๓๑] ภิกษุทั้งหลาย อนุปุพพนิโรธ๑ (ความดับไปตามลำดับ) ๙ ประการนี้
อนุปุพพนิโรธ ๙ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. กามสัญญาของผู้เข้าปฐมฌานดับไป
๒. วิตกวิจารของผู้เข้าทุติยฌานดับไป
๓. ปีติของผู้เข้าตติยฌานดับไป
๔. ลมหายใจเข้าลมหายใจออกของผู้เข้าจตุตถฌานดับไป
๕. รูปสัญญาของผู้เข้าอากาสานัญจายตนฌานดับไป
๖. อากาสานัญจายตนสัญญาของผู้เข้าวิญญาณัญจายนตฌานดับไป
๗. วิญญาณัญจายตนสัญญาของผู้เข้าอากิญจัญญายตนฌานดับไป

เชิงอรรถ :
๑ ดู ที.ปา. ๑๑/๓๔๔/๒๓๕

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๔๙๓ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๓.สัตตาวาสวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค
๘. อากิญจัญญายตนสัญญาของผู้เข้าเนวสัญญานาสัญญายตนฌานดับไป
๙. สัญญาและเวทนาของผู้เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ๑ ดับไป
ภิกษุทั้งหลาย อนุปุพพนิโรธ ๙ ประการนี้แล
อนุปุพพนิโรธสูตรที่ ๑๑ จบ
สัตตาวาสวรรคที่ ๓ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. ติฐานสูตร ๒. อัสสขฬุงกสูตร
๓. ตัณหาสูตร ๔. สัตตาวาสสูตร
๕. ปัญญาสูตร ๖. สิลายูปสูตร
๗. ปฐมเวรสูตร ๘. ทุติยเวรสูตร
๙. อาฆาตวัตถุสูตร ๑๐. อาฆาตปฏิวินยสูตร
๑๑. อนุปุพพนิโรธสูตร


เชิงอรรถ :
๑ สัญญาเวทยิตนิโรธ หมายถึงสมาบัติที่ดับสัญญา และเวทนา มี ๒ คือ อสัญญาสมาบัติ และนิโรธสมาบัติ
ที่เป็นอสัญญาสมาบัติมีแก่ปุถุชน ที่เป็นนิโรธสมาบัติ เฉพาะพระอนาคามีและพระอรหันต์ผู้ชำนาญใน
สมาบัติ ๘ แล้วเท่านั้นจึงจะเข้าได้ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๗๓๕/๒๘๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๔๙๔ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๔.มหาวรรค ๒.อนุปุพพวิหารสมาปัตติสูตร
๔. มหาวรรค
หมวดว่าด้วยเรื่องใหญ่
๑. อนุปุพพวิหารสูตร
ว่าด้วยอนุปุพพวิหารธรรม
[๓๒] ภิกษุทั้งหลาย อนุปุพพวิหารธรรม๑ ๙ ประการนี้
อนุปุพพวิหารธรรม ๙ ประการ อะไรบ้าง คือ

๑. ปฐมฌาน ๒. ทุติยฌาน
๓. ตติยฌาน ๔. จตุตถฌาน
๕. อากาสานัญจายตนฌาน ๖. วิญญาณัญจายตนฌาน
๗. อากิญจัญญายตนฌาน ๘. เนวสัญญานาสัญญายตนฌาน
๙. สัญญาเวทยิตนิโรธ

ภิกษุทั้งหลาย อนุปุพพวิหารธรรม ๙ ประการนี้แล
อนุปุพพวิหารสูตรที่ ๑ จบ

๒. อนุปุพพวิหารสมาปัตติสูตร
ว่าด้วยอนุปุพพวิหารสมาบัติ
[๓๓] ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงอนุปุพพวิหารสมาบัติ ๙ ประการนี้ เธอ
ทั้งหลายจงฟังธรรมนั้น ฯลฯ
อนุปุพพวิหารสมาบัติ ๙ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. เรากล่าวว่า กามทั้งหลายย่อมดับในที่ใด และท่านเหล่าใดดับกาม
ทั้งหลายได้สนิทอยู่ ท่านเหล่านั้นไม่มีความอยาก ดับสนิทแล้ว

เชิงอรรถ :
๑ อนุปุพพวิหารธรรม หมายถึงธรรมเครื่องอยู่ที่ต้องเข้าสมาบัติตามลำดับ (องฺ.นวก.อ. ๓/๓๒-๓๓/๓๐๗) และ
ดู อภิ.วิ. (แปล) ๓๕/๘๒๘/๕๓๑

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๔๙๕ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๔.มหาวรรค ๒.อนุปุพพวิหารสมาปัตติสูตร
ข้ามได้แล้ว ถึงฝั่งแล้วด้วยองค์ฌานนั้นในที่นั้นเป็นแน่ ผู้ใดพึง
กล่าวอย่างนี้ว่า ‘กามทั้งหลายดับที่ไหน และคนเหล่าไหนเล่าดับ
กามได้สนิทอยู่ เราไม่รู้ผู้นี้ เราไม่เห็นผู้นี้’ เธอทั้งหลายพึงตอบผู้นั้น
อย่างนี้ว่า ‘ผู้มีอายุ ภิกษุในธรรมวินัยนี้สงัดจากกามและอกุศลธรรม
ทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌานที่มีวิตก วิจาร ปีติ และสุขอันเกิดจาก
วิเวกอยู่ กามทั้งหลายย่อมดับในปฐมฌานนี้ และท่านเหล่านั้นก็ดับ
กามได้สนิทอยู่’ ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ไม่โอ้อวด ไม่มีมายา พึง
ชื่นชม ยินดีภาษิตว่า ‘ดีแล้ว’ ครั้นแล้ว พึงนมัสการ ประคองอัญชลี
เข้าไปนั่งใกล้เป็นแน่
๒. เรากล่าวว่า วิตกและวิจารย่อมดับในที่ใด และท่านเหล่าใดดับ
วิตกและวิจารได้สนิทอยู่ ท่านเหล่านั้นไม่มีความอยาก ดับสนิทแล้ว
ข้ามได้แล้ว ถึงฝั่งแล้วด้วยองค์ฌานนั้นในที่นั้นเป็นแน่ ผู้ใดพึง
กล่าวอย่างนี้ว่า ‘วิตกและวิจารดับในที่ไหน และคนเหล่าไหนเล่าดับ
วิตกและวิจารได้สนิทอยู่ เราไม่รู้ผู้นี้ เราไม่เห็นผู้นี้’ เธอทั้งหลาย
พึงตอบผู้นั้นอย่างนี้ว่า ‘ผู้มีอายุ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เพราะวิตก-
วิจารสงบระงับไป บรรลุทุติยฌาน ฯลฯ วิตกและวิจารย่อมดับใน
ทุติยฌานนี้ และท่านเหล่านั้นดับวิตกและวิจารได้สนิทอยู่’ ภิกษุ
ทั้งหลาย บุคคลผู้ไม่โอ้อวด ไม่มีมายา พึงชื่นชมยินดีภาษิตว่า
‘ดีแล้ว’ ครั้นแล้ว พึงนมัสการ ประคองอัญชลีเข้าไปนั่งใกล้เป็นแน่
๓. เรากล่าวว่า ปีติย่อมดับในที่ใด และท่านเหล่าใดดับปีติได้สนิทอยู่
ท่านเหล่านั้นไม่มีความอยาก ดับสนิทแล้ว ข้ามได้แล้ว ถึงฝั่งแล้ว
ด้วยองค์ฌานนั้นในที่นั้นเป็นแน่ ผู้ใดพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ปีติย่อมดับ
ในที่ไหน และคนเหล่าไหนเล่าดับปีติได้สนิทอยู่ เราไม่รู้ผู้นี้ เรา
ไม่เห็นผู้นี้’ เธอทั้งหลายพึงตอบผู้นั้นอย่างนี้ว่า ‘ผู้มีอายุ ภิกษุใน
ธรรมวินัยนี้ เพราะปีติจางคลายไป ฯลฯ บรรลุตติยฌาน ฯลฯ
ปีติย่อมดับในตติยฌานนี้ และท่านเหล่านั้นดับปีติได้สนิทอยู่’ ภิกษุ
ทั้งหลาย บุคคลผู้ไม่โอ้อวด ไม่มีมายา พึงชื่นชมยินดีภาษิตว่า
‘ดีแล้ว’ ครั้นแล้ว พึงนมัสการ ประคองอัญชลีเข้าไปนั่งใกล้เป็นแน่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๔๙๖ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๔.มหาวรรค ๒.อนุปุพพวิหารสมาปัตติสูตร
๔. เรากล่าวว่า อุเบกขาและสุขย่อมดับในที่ใด และท่านเหล่าใดดับ
อุเบกขาและสุขได้สนิทอยู่ ท่านเหล่านั้นไม่มีความอยาก ดับสนิท
แล้ว ข้ามได้แล้ว ถึงฝั่งแล้วด้วยองค์ฌานนั้นในที่นั้นเป็นแน่ ผู้ใด
พึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘อุเบกขาและสุขย่อมดับในที่ไหน และคน
เหล่าไหนเล่าดับอุเบกขาและสุขได้สนิทอยู่ เราไม่รู้ผู้นี้ เราไม่เห็นผู้นี้’
เธอทั้งหลายพึงตอบผู้นั้นอย่างนี้ว่า ‘ผู้มีอายุ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
เพราะละสุขและทุกข์ได้ ฯลฯ บรรลุจตุตถฌาน ฯลฯ อุเบกขาและ
สุขย่อมดับในจตุตถฌานนี้ และท่านเหล่านั้นดับอุเบกขาและสุขได้
สนิทอยู่’ ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ไม่โอ้อวด ไม่มีมายา พึงชื่นชม
ยินดีภาษิตว่า ‘ดีแล้ว’ ครั้นแล้ว พึงนมัสการ ประคองอัญชลีเข้าไป
นั่งใกล้เป็นแน่
๕. เรากล่าวว่า รูปสัญญาย่อมดับในที่ใด และท่านเหล่าใดดับรูปสัญญา
ได้สนิทอยู่ ท่านเหล่านั้นไม่มีความอยาก ดับสนิทแล้ว ข้ามได้แล้ว
ถึงฝั่งแล้วด้วยองค์ฌานนั้นในที่นั้นเป็นแน่ ผู้ใดพึงกล่าวอย่างนี้ว่า
‘รูปสัญญาย่อมดับในที่ไหน และคนเหล่าไหนเล่าดับรูปสัญญาได้
สนิทอยู่ เราไม่รู้ผู้นี้ เราไม่เห็นผู้นี้’ เธอทั้งหลายพึงตอบผู้นั้น
อย่างนี้ว่า ‘ผู้มีอายุ ภิกษุในธรรมวินัยนี้บรรลุอากาสานัญจายตนฌาน
โดยกำหนดว่า ‘อากาศหาที่สุดมิได้’ อยู่ เพราะล่วงรูปสัญญา
ดับปฏิฆสัญญา ไม่กำหนดนานัตตสัญญา โดยประการทั้งปวง
รูปสัญญาย่อมดับในอากาสานัญจายตนฌานนี้ และท่านเหล่านั้น
ดับรูปสัญญาได้สนิทอยู่’ ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ไม่โอ้อวด ไม่มี
มายา พึงชื่นชมยินดีภาษิตว่า ‘ดีแล้ว’ ครั้นแล้ว พึงนมัสการ
ประคองอัญชลีเข้าไปนั่งใกล้เป็นแน่
๖. เรากล่าวว่า อากาสานัญจายตนสัญญาย่อมดับในที่ใด และท่าน
เหล่าใดดับอากาสานัญจายตนสัญญาได้สนิทอยู่ ท่านเหล่านั้นไม่มี
ความอยาก ดับสนิทแล้ว ข้ามได้แล้ว ถึงฝั่งแล้วด้วยองค์ฌานนั้น
ในที่นั้นเป็นแน่ ผู้ใดพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘อากาสานัญจายตนสัญญา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๔๙๗ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๔.มหาวรรค ๒.อนุปุพพวิหารสมาปัตติสูตร
ย่อมดับในที่ไหน และคนเหล่าไหนเล่าดับอากาสานัญจายตนสัญญา
ได้สนิทอยู่ เราไม่รู้ผู้นี้ เราไม่เห็นผู้นี้’ เธอทั้งหลายพึงตอบผู้นั้น
อย่างนี้ว่า ‘ผู้มีอายุ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ล่วงอากาสานัญจายตนฌาน
โดยประการทั้งปวง บรรลุวิญญาณัญจายตนฌานโดยกำหนดว่า
‘วิญญาณหาที่สุดมิได้’ อยู่ อากาสานัญจายตนสัญญาย่อมดับใน
วิญญาณัญจายตนฌานนี้ และท่านเหล่านั้นดับอากาสานัญจายตน-
สัญญาได้สนิทอยู่’ ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ไม่โอ้อวด ไม่มีมายา
พึงชื่นชมยินดีภาษิตว่า ‘ดีแล้ว’ ครั้นแล้ว พึงนมัสการ ประคอง
อัญชลีเข้าไปนั่งใกล้เป็นแน่
๗. เรากล่าวว่า วิญญาณัญจายตนสัญญาย่อมดับในที่ใด และท่าน
เหล่าใดดับวิญญาณัญจายตนสัญญาได้สนิทอยู่ ท่านเหล่านั้นไม่มี
ความอยาก ดับสนิทแล้ว ข้ามได้แล้ว ถึงฝั่งแล้วด้วยองค์ฌานนั้น
ในที่นั้นเป็นแน่ ผู้ใดพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘วิญญาณัญจายตนสัญญา
ย่อมดับในที่ไหน และคนเหล่าไหนเล่าดับวิญญาณัญจายตนสัญญา
ได้สนิทอยู่ เราไม่รู้ผู้นี้ เราไม่เห็นผู้นี้’ เธอทั้งหลายพึงตอบผู้นั้น
อย่างนี้ว่า ‘ผู้มีอายุ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ล่วงวิญญาณัญจายตนฌาน
โดยประการทั้งปวง บรรลุอากิญจัญญายตนฌานโดยกำหนดว่า
‘ไม่มีอะไร’ อยู่ วิญญาณัญจายตนสัญญาย่อมดับในอากิญจัญญายตน-
ฌานนี้ และท่านเหล่านั้นดับวิญญาณัญจายตนสัญญาได้สนิทอยู่’
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ไม่โอ้อวด ไม่มีมายา พึงชื่นชมยินดีภาษิตว่า
‘ดีแล้ว’ ครั้นแล้ว พึงนมัสการ ประคองอัญชลีเข้าไปนั่งใกล้เป็นแน่
๘. เรากล่าวว่า อากิญจัญญายตนสัญญาย่อมดับในที่ใด และท่าน
เหล่าใดดับอากิญจัญญายตนสัญญาได้สนิทอยู่ ท่านเหล่านั้นไม่มี
ความอยาก ดับสนิทแล้ว ข้ามได้แล้ว ถึงฝั่งแล้วด้วยองค์ฌานนั้น
ในที่นั้นเป็นแน่ ผู้ใดพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘อากิญจัญญายตนสัญญา
ย่อมดับในที่ไหน และคนเหล่าไหนเล่าดับอากิญจัญญายตนสัญญา
ได้สนิทอยู่ เราไม่รู้ผู้นี้ เราไม่เห็นผู้นี้’ เธอทั้งหลายพึงตอบผู้นั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๔๙๘ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๔.มหาวรรค ๒.อนุปุพพวิหารสมาปัตติสูตร
อย่างนี้ว่า ‘ผู้มีอายุ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ล่วงอากิญจัญญายตนฌาน
โดยประการทั้งปวง บรรลุเนวสัญญานาสัญญายตนฌานอยู่
อากิญจัญญายตนสัญญาย่อมดับในเนวสัญญานาสัญญายตนฌานนี้
และท่านเหล่านั้นดับอากิญจัญญายตนสัญญาได้สนิทอยู่’ ภิกษุ
ทั้งหลาย บุคคลผู้ไม่โอ้อวด ไม่มีมายา พึงชื่นชมยินดีภาษิตว่า
‘ดีแล้ว’ ครั้นแล้ว พึงนมัสการ ประคองอัญชลีเข้าไปนั่งใกล้เป็นแน่
๙. เรากล่าวว่า เนวสัญญานาสัญญายตนสัญญาย่อมดับในที่ใด และ
ท่านเหล่าใดดับเนวสัญญานาสัญญายตนสัญญาได้สนิทอยู่ ท่าน
เหล่านั้นไม่มีความอยาก ดับสนิทแล้ว ข้ามได้แล้ว ถึงฝั่งแล้ว
ด้วยองค์ฌานนั้นในที่นั้นเป็นแน่ ผู้ใดพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘เนวสัญญา-
นาสัญญายตนสัญญาย่อมดับในที่ไหน และคนเหล่าไหนเล่าดับ
เนวสัญญานาสัญญายตนสัญญาได้สนิทอยู่ เราไม่รู้ผู้นี้ เราไม่เห็น
ผู้นี้’ เธอทั้งหลายพึงตอบผู้นั้นอย่างนี้ว่า ‘ผู้มีอายุ ภิกษุในธรรมวินัย
นี้ล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุ
สัญญาเวทยิตนิโรธอยู่ เนวสัญญานาสัญญายตนสัญญาย่อมดับใน
สัญญาเวทยิตนิโรธนี้ และท่านเหล่านั้นดับเนวสัญญานาสัญญายตน-
สัญญาได้สนิทอยู่’ ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ไม่โอ้อวด ไม่มีมายา พึง
ชื่นชมยินดีภาษิตว่า ‘ดีแล้ว’ ครั้นแล้ว พึงนมัสการ ประคอง
อัญชลีเข้าไปนั่งใกล้เป็นแน่
ภิกษุทั้งหลาย อนุปุพพวิหารสมาบัติ ๙ ประการนี้แล
อนุปุพพวิหารสมาปัตติสูตรที่ ๒ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๔๙๙ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๔.มหาวรรค ๓.นิพพานสุขสูตร
๓. นิพพานสุขสูตร
ว่าด้วยนิพพานเป็นสุข๑
[๓๔] สมัยหนึ่ง ท่านพระสารีบุตรอยู่ ณ พระเวฬุวัน กลันทกนิวาปสถาน๒
เขตกรุงราชคฤห์ ณ ที่นั้นแล ท่านพระสารีบุตรกล่าวกับภิกษุทั้งหลายว่า “ผู้มีอายุ
ทั้งหลาย นิพพานนี้เป็นสุข นิพพานนี้เป็นสุข”
เมื่อท่านพระสารีบุตรกล่าวอย่างนี้แล้ว ท่านพระอุทายีได้กล่าวกับท่านพระ
สารีบุตรดังนี้ว่า “ท่านสารีบุตร ก็นิพพานนี้ไม่มีเวทนา จะเป็นสุขได้อย่างไร”
ท่านพระสารีบุตรกล่าวว่า ผู้มีอายุ นิพพานที่ไม่มีเวทนานั่นแลเป็นสุข
กามคุณ ๕ ประการนี้
กามคุณ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. รูปที่พึงรู้แจ้งทางตา อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก
ชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัด
๒. เสียงที่พึงรู้แจ้งทางหู ฯลฯ
๓. กลิ่นที่พึงรู้แจ้งทางจมูก ฯลฯ
๔. รสที่พึงรู้แจ้งทางลิ้น ฯลฯ
๕. โผฏฐัพพะที่พึงรู้แจ้งทางกาย อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก
ชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัด
ผู้มีอายุ กามคุณ ๕ ประการนี้แล
ผู้มีอายุ สุขโสมนัสที่อาศัยกามคุณ ๕ ประการเกิดขึ้น เรียกว่า กามสุข

เชิงอรรถ :
๑ ดูข้อ ๔๒ (สัมพาธสูตร) หน้า ๕๓๓ ในเล่มนี้
๒ ดูเชิงอรรถที่ ๑ ข้อ ๒๖ (สิลายูปสูตร) หน้า ๔๘๔ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๕๐๐ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๔.มหาวรรค ๓.นิพพานสุขสูตร
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน ฯลฯ ถ้าเมื่อภิกษุนั้น
อยู่ด้วยวิหารธรรมนี้ สัญญามนสิการที่ประกอบด้วยกามยังฟุ้งขึ้น ข้อนั้นเป็นความ
กดดัน๑แก่ภิกษุนั้น ทุกข์พึงเกิดขึ้นแก่คนผู้มีสุขเพียงเพื่อความกดดัน แม้ฉันใด
สัญญามนสิการที่ประกอบด้วยกามเหล่านั้น ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมฟุ้งขึ้นแก่
ภิกษุนั้น ข้อนั้นเป็นความกดดันแก่ภิกษุนั้น ความกดดัน พระผู้มีพระภาคตรัส
เรียกว่าทุกข์ โดยปริยายนี้แล พึงทราบว่า นิพพานเป็นสุขได้อย่างไร
ภิกษุบรรลุทุติยฌาน ฯลฯ ถ้าเมื่อภิกษุนั้นอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้ สัญญามนสิการ
ที่ประกอบด้วยวิตกยังฟุ้งขึ้น ข้อนั้นเป็นความกดดันแก่ภิกษุนั้น ทุกข์พึงเกิดขึ้น
แก่คนผู้มีสุขเพียงเพื่อความกดดัน แม้ฉันใด สัญญามนสิการที่ประกอบด้วยวิตก
เหล่านั้น ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมฟุ้งขึ้นแก่ภิกษุนั้น ข้อนั้นเป็นความกดดันแก่
ภิกษุนั้น ความกดดัน พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกว่าทุกข์ โดยปริยายนี้แล พึง
ทราบว่า นิพพานเป็นสุขได้อย่างไร
ภิกษุบรรลุตติยฌาน ฯลฯ ถ้าเมื่อภิกษุนั้นอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้ สัญญา-
มนสิการที่ประกอบด้วยปีติยังฟุ้งขึ้น ข้อนั้นเป็นความกดดันแก่ภิกษุนั้น ทุกข์พึงเกิด
ขึ้นแก่คนผู้มีสุข เพียงเพื่อความกดดัน แม้ฉันใด สัญญามนสิการที่ประกอบด้วย
ปีติเหล่านั้น ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมฟุ้งขึ้นแก่ภิกษุนั้น ข้อนั้นเป็นความกดดันแก่
ภิกษุนั้น ความกดดัน พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกว่าทุกข์ โดยปริยายนี้แล พึงทราบ
ว่า นิพพานเป็นสุขได้อย่างไร
ภิกษุบรรลุจตุตถฌาน ฯลฯ ถ้าเมื่อภิกษุนั้นอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้ สัญญามนสิการ
ที่ประกอบด้วยอุเบกขายังฟุ้งขึ้น ข้อนั้นเป็นความกดดันแก่ภิกษุนั้น ทุกข์พึงเกิดขึ้น
แก่คนผู้มีสุขเพียงเพื่อความกดดัน แม้ฉันใด สัญญามนสิการที่ประกอบด้วยอุเบกขา
เหล่านั้น ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมฟุ้งขึ้นแก่ภิกษุนั้น ข้อนั้นเป็นความกดดันแก่
ภิกษุนั้น ความกดดัน พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกว่าทุกข์ โดยปริยายนี้แล พึงทราบ
ว่า นิพพานเป็นสุขได้อย่างไร


เชิงอรรถ :
๑ความกดดัน (อาพาธ) หมายถึงความบีบคั้น (ปีฬนะ) (องฺ.นวก.อ. ๓/๓๔/๓๐๘)


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๕๐๑ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๔.มหาวรรค ๓.นิพพานสุขสูตร
ภิกษุบรรลุอากาสานัญจายตนฌาน โดยกำหนดว่า ‘อากาสหาที่สุดมิได้’ อยู่
เพราะล่วงรูปสัญญา ดับปฏิฆสัญญา ไม่กำหนดนานัตตสัญญาโดยประการทั้งปวง
ถ้าเมื่อภิกษุนั้นอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้ สัญญามนสิการที่ประกอบด้วยรูปยังฟุ้งขึ้น
ข้อนั้นเป็นความกดดันแก่ภิกษุนั้น ทุกข์พึงเกิดขึ้นแก่คนผู้มีสุขเพียงเพื่อความกดดัน
แม้ฉันใด สัญญามนสิการที่ประกอบด้วยรูปเหล่านั้น ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมฟุ้ง
ขึ้นแก่ภิกษุนั้น ข้อนั้นเป็นความกดดันแก่ภิกษุนั้น ความกดดัน พระผู้มีพระภาค
ตรัสเรียกว่าทุกข์ โดยปริยายนี้แล พึงทราบว่า นิพพานเป็นสุขได้อย่างไร
ภิกษุล่วงอากาสานัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุวิญญาณัญจายตน-
ฌาน โดยกำหนดว่า ‘วิญญาณหาที่สุดมิได้’ อยู่ ถ้าเมื่อภิกษุนั้นอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้
สัญญามนสิการที่ประกอบด้วยอากาสานัญจายตนฌานเหล่านั้นยังฟุ้งขึ้น ข้อนั้น
เป็นความกดดันแก่ภิกษุนั้น ทุกข์พึงเกิดขึ้นแก่คนผู้มีสุขเพียงเพื่อความกดดัน แม้ฉัน
ใด สัญญามนสิการที่ประกอบด้วยอากาสานัญจายตนฌานเหล่านั้น ก็ฉันนั้นเหมือนกัน
ย่อมฟุ้งขึ้นแก่ภิกษุนั้น ข้อนั้นเป็นความกดดันแก่ภิกษุนั้น ความกดดัน พระผู้มีพระ
ภาคตรัสเรียกว่าทุกข์ โดยปริยายนี้แล พึงทราบว่า นิพพานเป็นสุขได้อย่างไร
ภิกษุล่วงวิญญาณัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุอากิญจัญญายตนฌาน
โดยกำหนดว่า ‘ไม่มีอะไร’ อยู่ ถ้าเมื่อภิกษุนั้นอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้ สัญญามนสิการ
ที่ประกอบด้วยวิญญาณัญจายตนฌานยังฟุ้งขึ้น ข้อนั้นเป็นความกดดันแก่ภิกษุนั้น
ทุกข์พึงเกิดขึ้นแก่คนผู้มีสุขเพียงเพื่อความกดดัน แม้ฉันใด สัญญามนสิการที่
ประกอบด้วยวิญญาณัญจายตนฌานเหล่านั้น ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมฟุ้งขึ้นแก่
ภิกษุนั้น ข้อนั้นเป็นความกดดันแก่ภิกษุนั้น ความกดดัน พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกว่า
ทุกข์ โดยปริยายนี้แล พึงทราบว่า นิพพานเป็นสุขได้อย่างไร
ภิกษุล่วงอากิญจัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุเนวสัญญานา-
สัญญายตนฌานอยู่ ถ้าเมื่อภิกษุนั้นอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้ สัญญามนสิการที่ประกอบ
ด้วยอากิญจัญญายตนฌานยังฟุ้งขึ้น ข้อนั้นเป็นความกดดันแก่ภิกษุนั้น ทุกข์พึง
เกิดขึ้นแก่คนผู้มีสุขเพียงเพื่อความกดดัน แม้ฉันใด สัญญามนสิการที่ประกอบด้วย
อากิญจัญญายตนฌานเหล่านั้น ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมฟุ้งขึ้นแก่ภิกษุนั้น ข้อนั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๕๐๒ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๔.มหาวรรค ๔.คาวีอุปมาสูตร
เป็นความกดดันแก่ภิกษุนั้น ความกดดันพระผู้มีพระภาคตรัสเรียกว่าทุกข์ โดยปริยาย
นี้แล พึงทราบว่า นิพพานเป็นสุขได้อย่างไร
ภิกษุล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุสัญญา-
เวทยิตนิโรธอยู่ และอาสวะทั้งหลายของเธอหมดสิ้นไปแล้ว เพราะเห็นด้วยปัญญา
โดยปริยายนี้แล พึงทราบว่า นิพพานเป็นสุขได้อย่างไร”
นิพพานสุขสูตรที่ ๓ จบ

๔. คาวีอุปมาสูตร
ว่าด้วยการอุปมาด้วยแม่โค
[๓๕] ภิกษุทั้งหลาย แม่โคที่เที่ยวไปตามภูเขา โง่ ไม่เฉียบแหลม ไม่รู้จักเขต
ไม่ฉลาดที่จะเที่ยวไปบนภูเขาที่ขรุขระ มันพึงมีความคิดอย่างนี้ว่า ‘ทางที่ดี เราควร
ไปยังทิศที่ยังไม่เคยไป กินหญ้าที่ยังไม่เคยกิน และดื่มน้ำที่ยังไม่เคยดื่ม’ มันยัน
เท้าหน้าไม่สนิทดีแล้วยกเท้าหลังขึ้น จะไปสู่ทิศทางที่ยังไม่เคยไปไม่ได้ กินหญ้าที่ยัง
ไม่เคยกินไม่ได้ และดื่มน้ำที่ยังไม่เคยดื่มก็ไม่ได้
เมื่อมันยืนอยู่ ณ ที่ใด พึงมีความคิดอย่างนี้ว่า ‘ทางที่ดี เราควรไปยังทิศที่ยัง
ไม่เคยไป กินหญ้าที่ยังไม่เคยกิน และดื่มน้ำที่ยังไม่เคยดื่ม’ พึงกลับมายังถิ่นนั้น
โดยสวัสดีไม่ได้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะแม่โคนั้นเป็นสัตว์ที่เที่ยวไปตามภูเขา โง่
ไม่เฉียบแหลม ไม่รู้จักเขต ไม่ฉลาดที่จะเที่ยวไปบนภูเขาที่ขรุขระ ฉันใด
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เป็นผู้เขลา
ไม่เฉียบแหลม ไม่รู้จักเขต ไม่ฉลาดที่จะสงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว
บรรลุปฐมฌานที่มีวิตกและวิจาร ปีติและสุขอันเกิดจากวิเวกอยู่ เธอไม่เสพ ไม่เจริญ
ไม่ทำให้มากซึ่งนิมิต๑นั้น ไม่อธิษฐานนิมิตนั้นให้ดี


เชิงอรรถ :
๑นิมิต ในที่นี้หมายถึงปฐมฌาน (องฺ.นวก.อ. ๓/๓๕/๓๐๘)


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๕๐๓ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๔.มหาวรรค ๔.คาวีอุปมาสูตร
เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า ‘ทางที่ดี เราควรบรรลุทุติยฌานที่มีความผ่องใส
ภายใน มีภาวะที่จิตเป็นหนึ่งผุดขึ้น ไม่มีวิตกไม่มีวิจาร เพราะวิตกและวิจารสงบ
ระงับไป มีแต่ปีติและสุขอันเกิดจากสมาธิอยู่’ เธอไม่อาจบรรลุทุติยฌาน ฯลฯ
เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า ‘ทางที่ดี เราควรสงัดจากกามและอกุศลธรรมแล้ว
บรรลุปฐมฌานที่มีวิตกและวิจาร ปีติและสุขอันเกิดจากวิเวกอยู่’ เธอไม่อาจสงัด
จากกามและอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ฯลฯ ภิกษุนี้เราเรียกว่า
เป็นผู้พลาด เป็นผู้เสื่อมจากผลทั้ง ๒ ฝ่าย เปรียบเหมือนแม่โคที่เที่ยวไปบนภูเขา
โง่ ไม่เฉียบแหลม ไม่รู้จักเขต ไม่ฉลาดที่จะเที่ยวไปบนภูเขาที่ขรุขระ ฉะนั้น
ภิกษุทั้งหลาย แม่โคที่เที่ยวไปตามภูเขา ฉลาด เฉียบแหลม รู้จักเขต ฉลาดที่
จะเที่ยวไปบนภูเขาที่ขรุขระ มันพึงมีความคิดอย่างนี้ว่า ‘ทางที่ดี เราควรไปยังทิศที่
ยังไม่เคยไป กินหญ้าที่ยังไม่เคยกิน และดื่มน้ำที่ยังไม่เคยดื่ม’ มันยันเท้าหน้าไว้ดีแล้ว
ยกเท้าหลังขึ้น พึงไปยังทิศที่ยังไม่เคยไป กินหญ้าที่ยังไม่เคยกิน และดื่มน้ำที่ยัง
ไม่เคยดื่มได้ เมื่อมันยืนอยู่ ณ ที่ใด พึงมีความคิดอย่างนี้ว่า ‘ทางที่ดี เราควรไปยัง
ทิศที่ยังไม่เคยไป กินหญ้าที่ยังไม่เคยกิน และดื่มน้ำที่ยังไม่เคยดื่ม’ พึงกลับมายัง
ถิ่นนั้นโดยสวัสดีได้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะแม่โคนั้นเป็นสัตว์ที่เที่ยวไปตามภูเขา
ฉลาด เฉียบแหลม รู้จักเขต ฉลาดที่จะเที่ยวไปบนภูเขาที่ขรุขระ ฉันใด
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ฉลาด เฉียบแหลม
รู้จักเขต ฉลาดที่จะสงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌานที่มี
วิตกและวิจาร ปีติและสุขอันเกิดจากวิเวกอยู่ เธอเสพ เจริญ ทำให้มากซึ่งนิมิตนั้น
อธิษฐานนิมิตนั้นให้ดี
เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า ‘ทางที่ดี เราควรบรรลุทุติยฌานที่มีความผ่องใส
ภายใน มีภาวะที่จิตเป็นหนึ่งผุดขึ้น ไม่มีวิตกไม่มีวิจาร เพราะวิตกและวิจารสงบ
ระงับไป มีปีติและสุขอันเกิดจากสมาธิอยู่’ เธอไม่ติดใจทุติยฌาน บรรลุทุติยฌาน
ฯลฯ เธอเสพ เจริญ ทำให้มากซึ่งนิมิตนั้น อธิษฐานนิมิตนั้นให้ดี
เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า ‘ทางที่ดี เราควรเป็นผู้มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ
เสวยสุขด้วยนามกาย เพราะปีติจางคลายไป บรรลุตติยฌานที่พระอริยะทั้งหลาย


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๕๐๔ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๔.มหาวรรค ๔.คาวีอุปมาสูตร
กล่าวสรรเสริญว่า ‘ผู้มีอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข’ เธอไม่ติดใจตติยฌาน บรรลุ
ตติยฌาน ฯลฯ เธอเสพ เจริญ ทำให้มากซึ่งนิมิตนั้น อธิษฐานนิมิตนั้นให้ดี
เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า ‘ทางที่ดี เพราะละสุขและทุกข์ได้ เพราะโสมนัสและ
โทมนัสดับไปก่อนแล้ว เราควรบรรลุจตุตถฌานที่ไม่มีทุกข์และไม่มีสุข มีสติบริสุทธิ์
เพราะอุเบกขาอยู่’ เธอไม่ติดใจจตุตถฌาน บรรลุจตุตถฌาน ฯลฯ เธอเสพ เจริญ
ทำให้มากซึ่งนิมิตนั้น อธิษฐานนิมิตนั้นให้ดี
เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า ‘ทางที่ดี เราควรบรรลุอากาสานัญจายตนฌาน
โดยกำหนดว่า ‘อากาศหาที่สุดมิได้’ อยู่’ เพราะล่วงรูปสัญญา ดับปฏิฆสัญญา
ไม่กำหนดนานัตตสัญญาโดยประการทั้งปวง เธอไม่ติดใจอากาสานัญจายตนฌาน
บรรลุอากาสานัญจายตนฌาน ฯลฯ เธอเสพ เจริญ ทำให้มากซึ่งนิมิตนั้น
อธิษฐานนิมิตนั้นให้ดี
เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า ‘ทางที่ดี เราควรล่วงอากาสานัญจายตนฌานโดย
ประการทั้งปวง บรรลุวิญญาณัญจายตนฌาน โดยกำหนดว่า ‘วิญญาณหาที่สุดมิได้’
อยู่” เธอไม่ติดใจวิญญาณัญจายตนฌาน ล่วงอากาสานัญจายตนฌานโดยประการ
ทั้งปวง บรรลุวิญญาณัญจายตนฌาน โดยกำหนดว่า ‘วิญญาณหาที่สุดมิได้’ อยู่
เธอเสพ เจริญ ทำให้มากซึ่งนิมิตนั้น อธิษฐานนิมิตนั้นให้ดี
เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า ‘ทางที่ดี เราควรล่วงวิญญาณัญจายตนฌานโดย
ประการทั้งปวง บรรลุอากิญจัญญายตนฌาน โดยกำหนดว่า ‘ไม่มีอะไร’ อยู่’
เธอไม่ติดใจอากิญจัญญายตนฌาน ล่วงวิญญาณัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง
บรรลุอากิญจัญญายตนฌาน โดยกำหนดว่า ‘ไม่มีอะไร’ อยู่ เธอเสพ เจริญ ทำให้
มากซึ่งนิมิตนั้น อธิษฐานนิมิตนั้นให้ดี
เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า ‘ทางที่ดี เราควรล่วงอากิญจัญญายตนฌานโดย
ประการทั้งปวง บรรลุเนวสัญญานาสัญญายตนฌานอยู่’ เธอไม่ติดใจเนวสัญญานา-
สัญญายตนฌาน ล่วงอากิญจัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุเนวสัญญานา-
สัญญายตนฌานอยู่ เธอเสพ เจริญ ทำให้มากซึ่งนิมิตนั้น อธิษฐานนิมิตนั้นให้ดี


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๕๐๕ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๔.มหาวรรค ๔.คาวีอุปมาสูตร
เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า ‘ทางที่ดี เราควรล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน
โดยประการทั้งปวง บรรลุสัญญาเวทยิตนิโรธอยู่’ เธอไม่ติดใจสัญญาเวทยิตนิโรธ
ล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุสัญญาเวทยิตนิโรธอยู่
ภิกษุทั้งหลาย เมื่อใด สมาบัตินั้น ๆ แล ภิกษุเข้าก็ได้ ออกก็ได้ เมื่อนั้น
จิตของเธอย่อมอ่อน เหมาะแก่การใช้งาน๑ ด้วยจิตที่อ่อน เหมาะแก่การใช้งาน
เธอจึงเจริญอัปปมาณสมาธิ๒ ด้วยอัปปมาณสมาธิที่เจริญดีแล้ว เธอจึงน้อมจิตไป
เพื่อทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเองซึ่งธรรมที่ควรทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งใดๆ
เมื่อมีเหตุ๓ เธอย่อมบรรลุความเป็นผู้เหมาะสมที่จะประจักษ์ชัดในธรรมนั้น ๆ
ถ้าภิกษุนั้นหวังว่า ‘เราพึงแสดงฤทธิ์ได้หลายอย่าง คือ คนเดียวแสดงเป็น
หลายคนก็ได้ หลายคนแสดงเป็นคนเดียวก็ได้ ฯลฯ ใช้อำนาจทางกายไปจนถึง
พรหมโลกก็ได้’ เมื่อมีเหตุ เธอย่อมบรรลุความเป็นผู้เหมาะสมที่จะประจักษ์ชัดใน
ธรรมนั้น ๆ
ถ้าภิกษุนั้นหวังว่า ‘เราพึงได้ยินเสียง ๒ ชนิด คือ เสียงทิพย์และเสียงมนุษย์
ทั้งที่อยู่ไกลและอยู่ใกล้ ด้วยหูทิพย์อันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์’ เมื่อมีเหตุ เธอย่อม
บรรลุความเป็นผู้เหมาะสมที่จะประจักษ์ชัดในธรรมนั้น ๆ
ถ้าภิกษุนั้นหวังว่า ‘เราพึงกำหนดรู้จิตของสัตว์และบุคคลอื่นได้ด้วยจิตของตน
คือ จิตมีราคะ ก็รู้ว่า มีราคะ หรือปราศจากราคะ ก็รู้ว่า ปราศจากราคะ จิตมีโทสะ
ก็รู้ว่า มีโทสะ หรือปราศจากโทสะ ก็รู้ว่า ปราศจากโทสะ จิตมีโมหะ ก็รู้ว่า มีโมหะ

เชิงอรรถ :
๑ เหมาะแก่การใช้งาน ในที่นี้หมายถึงจิตอยู่ในระดับฌานที่ ๔ ที่เป็นบาทแห่งอภิญญา (องฺ.นวก.อ. ๓/๓๕/๓๐๘)
๒ อัปปมาณสมาธิ หมายถึงสมาธิในพรหมวิหาร ๔ บ้าง หมายถึงมัคคสมาธิและผลสมาธิบ้าง แต่ในที่นี้
หมายถึงสมาธิที่ชำนาญคล่องแคล่วในอารมณ์สมถกัมมัฏฐานที่ได้ขยายให้กว้างใหญ่ไพบูลย์ (องฺ.นวก.อ.
๓/๓๕/๓๐๘, องฺ.อฏฺฐก.ฏีกา ๓/๖๑-๖๕/๓๐๔)
๓ เมื่อมีเหตุ แปลจากบาลีว่า สติ อายตเน (เมื่อมีเหตุแห่งสติ) หมายถึงฌานที่เป็นบาท (เครื่องบรรลุ) กล่าว
คือบุพเหตุแห่งอภิญญาบ้าง หมายถึงอรหัตตผลที่เป็นเหตุแห่งอภิญญา ๖ ประการบ้าง หมายถึง
วิปัสสนาที่เป็นเหตุแห่งอรหัตตผลบ้าง แต่ในที่นี้หมายถึงเหตุคืออุปนิสสัยแห่งการบรรลุคุณวิเศษนั้น ๆ
(องฺ.ติก.อ. ๒/๑๐๒/๒๕๕, องฺ.ฉกฺก.ฏีกา ๓/๗๑-๗๔/๑๗๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๕๐๖ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๔.มหาวรรค ๔.คาวีอุปมาสูตร
หรือปราศจากโมหะ ก็รู้ว่า ปราศจากโมหะ จิตหดหู่ก็รู้ว่า หดหู่ หรือฟุ้งซ่าน ก็รู้ว่า
ฟุ้งซ่าน จิตเป็นมหัคคตะ๑ ก็รู้ว่า เป็นมหัคคตะ หรือไม่เป็นมหัคคตะ ก็รู้ว่า ไม่เป็น
มหัคคตะ จิตมีจิตอื่นยิ่งกว่า ก็รู้ว่า มีจิตอื่นยิ่งกว่า หรือไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า ก็รู้ว่า ไม่มี
จิตอื่นยิ่งกว่า จิตเป็นสมาธิ ก็รู้ว่า เป็นสมาธิ หรือไม่เป็นสมาธิ ก็รู้ว่า ไม่เป็นสมาธิ
จิตหลุดพ้น ก็รู้ว่า หลุดพ้น หรือไม่หลุดพ้น ก็รู้ว่า ไม่หลุดพ้น’ เมื่อมีเหตุ เธอย่อม
บรรลุความเป็นผู้เหมาะสมที่จะประจักษ์ชัดในธรรมนั้น ๆ
ถ้าภิกษุนั้นหวังว่า ‘เราพึงระลึกชาติก่อนได้หลายชาติ คือ ๑ ชาติบ้าง
๒ ชาติบ้าง ฯลฯ๒ พร้อมทั้งลักษณะทั่วไปและชีวประวัติอย่างนี้’ เมื่อมีเหตุ เธอ
ย่อมบรรลุความเป็นผู้เหมาะสมที่จะประจักษ์ชัดในธรรมนั้น ๆ
ถ้าภิกษุนั้นหวังอยู่ว่า ‘เราพึงเห็นหมู่สัตว์ ฯลฯ๓ ด้วยตาทิพย์อันบริสุทธิ์เหนือ
มนุษย์ ฯลฯ พึงรู้ชัดหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรมอย่างนี้แล’ เมื่อมีเหตุ เธอย่อมบรรลุ
ความเป็นผู้เหมาะสมที่จะประจักษ์ชัดในธรรมนั้น ๆ
ถ้าภิกษุนั้นหวังว่า ‘เราพึงทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันไม่มีอาสวะ
เพราะอาสวะสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน’ เมื่อมีเหตุ เธอย่อม
บรรลุความเป็นผู้เหมาะสมที่จะประจักษ์ชัดในธรรมนั้น ๆ

คาวีอุปมาสูตรที่ ๔ จบ

เชิงอรรถ :
๑ จิตเป็นมหัคคตะ แปลว่าจิตที่ถึงความเป็นใหญ่ หมายถึงรูปาวจรกุศลจิตและอรูปาวจรกุศลจิต ที่ชื่อว่าถึง
ความเป็นใหญ่ เพราะสามารถข่มกิเลสได้ มีผลไพบูลย์และมีการสืบต่อยาวนาน หรือหมายถึงจิตที่ดำเนิน
ไปด้วยฉันทะ วิริยะ จิตตะ และปัญญาที่กว้างขวาง (ขุ.ป.อ. ๑/๑๐๔/๓๖๖, ๓๖๖, อภิ.สงฺ.อ. ๑๒/๙๒) และดู
องฺ.ปญฺจก. (แปล) ๒๒/๒๓/๒๘/-๓๐, อภิ.สงฺ. (แปล) ๓๔/๑๖๐-๒๖๘/๕๗-๘๕
๒ ดูความเต็มในอัฏฐกนิบาต ข้อ ๑๑ (เวรัญชสูตร) หน้า ๒๒๓ ในเล่มนี้
๓ ดูความเต็มในอัฏฐกนิบาต ข้อ ๑๑ (เวรัญชสูตร) หน้า ๒๒๔ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๕๐๗ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๔.มหาวรรค ๕.ฌานสูตร
๕. ฌานสูตร
ว่าด้วยฌาน
[๓๖] ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวว่า
๑. อาสวะทั้งหลายสิ้นไปได้๑ เพราะอาศัยปฐมฌาน
๒. อาสวะทั้งหลายสิ้นไปได้ เพราะอาศัยทุติยฌาน
๓. อาสวะทั้งหลายสิ้นไปได้ เพราะอาศัยตติยฌาน
๔. อาสวะทั้งหลายสิ้นไปได้ เพราะอาศัยจตุตถฌาน
๕. อาสวะทั้งหลายสิ้นไปได้ เพราะอาศัยอากาสานัญจายตนฌาน
๖. อาสวะทั้งหลายสิ้นไปได้ เพราะอาศัยวิญญาณัญจายตนฌาน
๗. อาสวะทั้งหลายสิ้นไปได้ เพราะอาศัยอากิญจัญญายตนฌาน
๘. อาสวะทั้งหลายสิ้นไปได้ เพราะอาศัยเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน
๙. อาสวะทั้งหลายสิ้นไปได้ เพราะอาศัยสัญญาเวทยิตนิโรธ
เรากล่าวไว้เช่นนี้แลว่า ‘อาสวะทั้งหลายสิ้นไปได้ เพราะอาศัยปฐมฌาน’
เพราะอาศัยเหตุอะไร เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น
เพราะอาศัยเหตุนี้ว่า ภิกษุในธรรมวินัยนี้สงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลาย
บรรลุปฐมฌาน ฯลฯ เธอย่อมพิจารณาเห็น๒ธรรมทั้งหลาย คือ รูป เวทนา สัญญา
สังขาร วิญญาณที่มีอยู่ในปฐมฌานนั้น โดยเป็นสภาวะไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นดังโรค
เป็นดังหัวฝี เป็นดังลูกศร เป็นสิ่งคอยก่อความเดือดร้อน เป็นที่ทำให้ขัดข้อง เป็น
ดังคนฝ่ายอื่น เป็นสิ่งที่ต้องแตกสลาย เป็นของว่างเปล่า เป็นอนัตตา เธอย่อม
ทำจิตให้กลับจากธรรมเหล่านั้น๓ ครั้นแล้ว จึงน้อมจิตไปเพื่ออมตธาตุ๔ว่า ‘ภาวะ

เชิงอรรถ :
๑ อาสวะทั้งหลายสิ้นไปได้ ในที่นี้หมายถึงสภาวะที่เรียกว่า “อรหัต” (องฺ.นวก.อ. ๓/๓๖/๓๐๙)
๒ พิจารณาเห็น ในที่นี้หมายถึงเห็นด้วยวิปัสสนาอันแรงกล้า (องฺ.นวก.อ. ๓/๓๖/๓๐๙)
๓ ธรรมเหล่านั้น ในที่นี้หมายถึงขันธ์ ๕ (องฺ.นวก.อ. ๓/๓๖/๓๐๙)
๔ อมตธาตุ หมายถึงนิพพาน (องฺ.นวก.อ. ๓/๓๖/๓๐๙)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๕๐๘ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๔.มหาวรรค ๕.ฌานสูตร
ที่สงบ ประณีต คือ ความระงับสังขารทั้งปวง ความสละคืนอุปธิกิเลสทั้งปวง
ความสิ้นไปแห่งตัณหา ความคลายกำหนัด ความดับ นิพพาน‘๑ เธอดำรงอยู่ใน
ปฐมฌานนั้น ย่อมบรรลุความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย๒ หากยังไม่บรรลุความ
สิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ก็จะเป็นโอปปาติกะ เพราะสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ ประการ
สิ้นไป ด้วยความยินดีเพลิดเพลินในธรรมนั้น จักปรินิพพานในภพนั้น ไม่หวนกลับ
มาจากโลกนั้นอีก๓
ภิกษุทั้งหลาย นายขมังธนู หรือลูกมือของนายขมังธนู พยายามยิงลูกศรไป
ที่หุ่นหญ้า หรือกองดิน สมัยต่อมา เขาเป็นผู้ยิงลูกศรได้ไกล ยิงไม่พลาด และทำลาย
กายขนาดใหญ่ได้ แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน สงัดจากกาม และอกุศลธรรม
ทั้งหลาย บรรลุปฐมฌาน ฯลฯ เธอย่อมพิจารณาเห็นธรรมทั้งหลาย คือ รูป เวทนา
สัญญา สังขาร วิญญาณที่มีอยู่ในปฐมฌานนั้น โดยเป็นสภาวะไม่เที่ยง เป็นทุกข์
เป็นดังโรค เป็นดังหัวฝี เป็นดังลูกศร เป็นสิ่งคอยก่อความเดือดร้อน เป็นที่ทำให้
ขัดข้อง เป็นดังคนฝ่ายอื่น เป็นสิ่งที่ต้องแตกสลาย เป็นของว่างเปล่า เป็นอนัตตา
เธอย่อมทำจิตให้กลับจากธรรมเหล่านั้น ครั้นแล้ว จึงน้อมจิตไปเพื่ออมตธาตุว่า
‘ภาวะที่สงบ ประณีต คือ ความระงับสังขารทั้งปวง ความสละคืนอุปธิกิเลสทั้งปวง
ความสิ้นไปแห่งตัณหา ความคลายกำหนัด ความดับ นิพพาน’ เธอดำรงอยู่ใน
ปฐมฌานนั้น ย่อมบรรลุความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย หากยังไม่บรรลุความสิ้นไป
แห่งอาสวะทั้งหลาย ก็จะเป็นโอปปาติกะ เพราะสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ ประการสิ้นไป
ด้วยความยินดีเพลิดเพลินในธรรมนั้น จักปรินิพพานในภพนั้น ไม่หวนกลับมาจาก
โลกนั้นอีก
เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้นว่า ‘อาสวะทั้งหลายสิ้นไปได้ เพราะอาศัยปฐมฌาน’
เรากล่าวไว้เช่นนี้แลว่า ‘อาสวะทั้งหลายสิ้นไปได้ เพราะอาศัยทุติยฌาน’
เพราะอาศัยเหตุอะไร เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น ฯลฯ
เรากล่าวไว้เช่นนี้แลว่า ‘อาสวะทั้งหลายสิ้นไปได้ เพราะอาศัยตติยฌาน’
เพราะอาศัยเหตุอะไร เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น ฯลฯ

เชิงอรรถ :
๑ ดู ม.ม. ๑๓/๑๓๓/๑๐๘, ขุ.ม. (แปล) ๒๙/๑๕๐/๔๐๕-๔๑๑, ขุ.จู. (แปล) ๓๐/๖๕/๒๔๕-๒๔๘
๒ หมายถึงดำรงอยู่ในปฐมฌานเจริญวิปัสสนาอันแรงกล้าแล้วบรรลุอรหัตตผล (องฺ.นวก.อ. ๓/๓๖/๓๐๙)
๓ ดู องฺ.ทสก. (แปล) ๒๔/๑๖/๔๒๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๕๐๙ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๔.มหาวรรค ๕.ฌานสูตร
เรากล่าวไว้เช่นนี้แลว่า ‘อาสวะทั้งหลายสิ้นไปได้ เพราะอาศัยจตุตถฌาน‘
เพราะอาศัยเหตุอะไร เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น
เพราะอาศัยเหตุนี้ว่า ภิกษุในธรรมวินัยนี้บรรลุจตุตถฌานที่ไม่มีทุกข์และไม่มีสุข
มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขาอยู่ เพราะละสุขและทุกข์ได้ เพราะโสมนัสและโทมนัสดับ
ไปก่อนแล้ว เธอย่อมพิจารณาเห็นธรรมทั้งหลาย คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร
วิญญาณที่มีอยู่ในจตุตถฌานนั้น โดยเป็นสภาวะไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นดังโรค
เป็นดังหัวฝี เป็นดังลูกศร เป็นสิ่งคอยก่อความเดือดร้อน เป็นที่ทำให้ขัดข้อง เป็นดัง
คนฝ่ายอื่น เป็นสิ่งที่ต้องแตกสลาย เป็นของว่างเปล่า เป็นอนัตตา เธอย่อมทำจิตให้
กลับจากธรรมเหล่านั้น ครั้นแล้ว จึงน้อมจิตไปเพื่ออมตธาตุว่า ‘ภาวะที่สงบ ประณีต
คือ ความระงับสังขารทั้งปวง ความสละคืนอุปธิกิเลสทั้งปวง ความสิ้นไปแห่งตัณหา
ความคลายกำหนัด ความดับ นิพพาน’ เธอดำรงอยู่ในจตุตถฌานนั้น ย่อมบรรลุ
ความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย หากยังไม่บรรลุความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ก็จะ
เป็นโอปปาติกะ เพราะสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ ประการสิ้นไป ด้วยความยินดีเพลิดเพลิน
ในธรรมนั้น จักปรินิพพานในภพนั้น ไม่หวนกลับมาจากโลกนั้นอีก
ภิกษุทั้งหลาย นายขมังธนู หรือลูกมือของนายขมังธนู พยายามยิงลูกศรไปที่
หุ่นหญ้า หรือกองดิน สมัยต่อมา เขาเป็นผู้ยิงลูกศรได้ไกล ยิงไม่พลาด และทำลาย
กายขนาดใหญ่ได้ แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน บรรลุจตุตถฌาน ฯลฯ เธอย่อม
พิจารณาเห็นธรรมทั้งหลาย คือ รูป เวทนา ฯลฯ ที่มีอยู่ในจตุตถฌานนั้น ฯลฯ
เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้นว่า ‘อาสวะทั้งหลายสิ้นไปได้ เพราะอาศัยจตุตถฌาน’
เรากล่าวไว้เช่นนี้แลว่า ‘อาสวะทั้งหลายสิ้นไปได้ เพราะอาศัยอากาสานัญจายตน-
ฌาน‘ เพราะอาศัยเหตุอะไร เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น
เพราะอาศัยเหตุนี้ว่า ภิกษุในธรรมวินัยนี้บรรลุอากาสานัญจายตนฌานโดย
กำหนดว่า ‘อากาศหาที่สุดมิได้’ อยู่ เพราะล่วงรูปสัญญา ดับปฏิฆสัญญา ไม่กำหนด
นานัตตสัญญา เธอย่อมพิจารณาเห็นธรรมทั้งหลาย คือ เวทนา สัญญา สังขาร


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๕๑๐ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๔.มหาวรรค ๕.ฌานสูตร
วิญญาณที่มีอยู่ในอากาสานัญจายตนฌานนั้น โดยเป็นสภาวะไม่เที่ยง เป็นทุกข์
เป็นดังโรค เป็นดังหัวฝี เป็นดังลูกศร เป็นสิ่งคอยก่อความเดือดร้อน เป็นที่ทำให้
ขัดข้อง เป็นดังคนฝ่ายอื่น เป็นสิ่งที่ต้องแตกสลาย เป็นของว่างเปล่า เป็นอนัตตา
เธอย่อมทำจิตให้กลับจากธรรมเหล่านั้น ครั้นแล้ว จึงน้อมจิตไปเพื่ออมตธาตุว่า
‘ภาวะที่สงบ ประณีต คือ ความระงับสังขารทั้งปวง ความสละคืนอุปธิกิเลสทั้งปวง
ความสิ้นไปแห่งตัณหา ความคลายกำหนัด ความดับ นิพพาน’ เธอดำรงอยู่ใน
อากาสานัญจายตนฌานนั้น ย่อมบรรลุความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย หากยังไม่
บรรลุความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ก็จะเป็นโอปปาติกะ เพราะสังโยชน์เบื้องต่ำ
๕ ประการสิ้นไป ด้วยความยินดีเพลิดเพลินในธรรมนั้น จักปรินิพพานในภพนั้น
ไม่หวนกลับมาจากโลกนั้นอีก
ภิกษุทั้งหลาย นายขมังธนู หรือลูกมือของนายขมังธนู พยายามยิงลูกศรไปที่
หุ่นหญ้า หรือกองดิน สมัยต่อมา เขาเป็นผู้ยิงลูกศรได้ไกล ยิงไม่พลาด และทำลาย
กายขนาดใหญ่ได้ แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน บรรลุอากาสานัญจายตนฌาน
โดยกำหนดว่า ‘อากาศหาที่สุดมิได้’ อยู่ เพราะล่วงรูปสัญญา ดับปฏิฆสัญญา
ไม่กำหนดนานัตตสัญญา เธอย่อมพิจารณาเห็นธรรมทั้งหลาย คือ รูป เวทนา ฯลฯ
ที่มีอยู่ในอากาสานัญจายตนฌานนั้น ฯลฯ
เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้นว่า ‘อาสวะทั้งหลายสิ้นไปได้ เพราะอาศัยอากาสานัญจายตน-
ฌาน’
เรากล่าวไว้เช่นนี้แลว่า ’ อาสวะทั้งหลายสิ้นไปได้ เพราะอาศัยวิญญาณัญจายตน-
ฌาน‘ เพราะอาศัยเหตุอะไร เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น ฯลฯ
เรากล่าวไว้เช่นนี้แลว่า ‘อาสวะทั้งหลายสิ้นไปได้ เพราะอาศัยอากิญจัญญายตน-
ฌาน‘ เพราะอาศัยเหตุอะไร เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น
เพราะอาศัยเหตุนี้ว่า ภิกษุในธรรมวินัยนี้ล่วงวิญญาณัญจายตนฌานโดยประการ
ทั้งปวง บรรลุอากิญจัญญายตนฌานโดยกำหนดว่า ‘ไม่มีอะไร’ อยู่ เธอย่อม


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๕๑๑ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๔.มหาวรรค ๕.ฌานสูตร
พิจารณาเห็นธรรมทั้งหลาย คือ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณที่มีอยู่ใน
อากิญจัญญายตนฌานนั้น โดยเป็นสภาวะไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นดังโรค เป็นดัง
หัวฝี เป็นดังลูกศร เป็นสิ่งคอยก่อความเดือดร้อน เป็นที่ทำให้ขัดข้อง เป็นดังคน
ฝ่ายอื่น เป็นสิ่งที่ต้องแตกสลาย เป็นของว่างเปล่า เป็นอนัตตา เธอย่อมทำจิตให้
กลับจากธรรมเหล่านั้น ครั้นแล้ว จึงน้อมจิตไปเพื่ออมตธาตุว่า ‘ภาวะที่สงบ ประณีต
คือ ความระงับสังขารทั้งปวง ความสละคืนอุปธิกิเลสทั้งปวง ความสิ้นไปแห่งตัณหา
ความคลายกำหนัด ความดับ นิพพาน’ เธอดำรงอยู่ในอากิญจัญญายตนฌานนั้น
ย่อมบรรลุความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย หากยังไม่บรรลุความสิ้นไปแห่งอาสวะ
ทั้งหลาย ก็จะเป็นโอปปาติกะ เพราะสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ ประการสิ้นไป ด้วยความ
ยินดีเพลิดเพลินในธรรมนั้น จักปรินิพพานในภพนั้น ไม่หวนกลับมาจากโลกนั้นอีก
ภิกษุทั้งหลาย นายขมังธนู หรือลูกมือของนายขมังธนู พยายามยิงลูกศรไปที่
หุ่นหญ้า หรือกองดิน สมัยต่อมา เขาเป็นผู้ยิงลูกศรได้ไกล ยิงไม่พลาด และทำลาย
กายขนาดใหญ่ได้ แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน ล่วงวิญญาณัญจายตนฌานโดย
ประการทั้งปวง บรรลุอากิญจัญญายตนฌานโดยกำหนดว่า ‘ไม่มีอะไร’ อยู่ เธอ
ย่อมพิจารณาเห็นธรรมทั้งหลาย คือ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณที่มีอยู่ใน
อากิญจัญญายตนฌานนั้นโดยเป็นสภาวะไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นดังโรค เป็นดัง
หัวฝี เป็นดังลูกศร เป็นสิ่งคอยก่อความเดือดร้อน เป็นที่ทำให้ขัดข้อง เป็นดัง
คนฝ่ายอื่น เป็นสิ่งที่ต้องแตกสลาย เป็นของว่างเปล่า เป็นอนัตตา เธอย่อมทำจิตให้
กลับจากธรรมเหล่านั้น ครั้นแล้ว จึงน้อมจิตไปเพื่ออมตธาตุว่า ‘ภาวะที่สงบ ประณีต
คือ ความระงับสังขารทั้งปวง ความสละคืนอุปธิกิเลสทั้งปวง ความสิ้นไปแห่งตัณหา
ความคลายกำหนัด ความดับ นิพพาน’ เธอดำรงอยู่ในอากิญจัญญายตนฌานนั้น
ย่อมบรรลุความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย หากยังไม่บรรลุความสิ้นไปแห่งอาสวะ
ทั้งหลาย ก็จะเป็นโอปปาติกะ เพราะสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ ประการสิ้นไป ด้วยความ
ยินดีเพลิดเพลินในธรรมนั้น จักปรินิพพานในภพนั้น ไม่หวนกลับมาจากโลกนั้นอีก
เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้นว่า ‘อาสวะทั้งหลายสิ้นไปได้ เพราะอาศัยอากิญจัญญายตน-
ฌาน”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๕๑๒ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๔.มหาวรรค ๖.อานันทสูตร
ภิกษุทั้งหลาย ดังพรรณนามานี้แล สัญญาสมาบัติ มีอยู่เท่าใด สัญญาปฏิเวธ
ก็มีอยู่เท่านั้น ภิกษุทั้งหลาย อายตนะ ๒ ประการนี้ คือ เนวสัญญานาสัญญายตน-
สมาบัติ และสัญญาเวทยิตนิโรธ ต่างก็อาศัยกันและกัน เรากล่าวว่า ภิกษุผู้ได้ฌาน
ฉลาดในการเข้าสมาบัติ ฉลาดในการออกจากสมาบัติ เข้าออกแล้ว พึงกล่าว
อายตนะ ๒ ประการนี้ไว้โดยชอบ
ฌานสูตรที่ ๕ จบ

๖. อานันทสูตร
ว่าด้วยพระอานนท์
[๓๗] สมัยหนึ่ง ท่านพระอานนท์อยู่ ณ โฆสิตาราม เขตกรุงโกสัมพี ณ
ที่นั้นแล ท่านพระอานนท์เรียกภิกษุทั้งหลายมากล่าวว่า “ผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุ
เหล่านั้นรับคำแล้ว ท่านพระอานนท์จึงได้กล่าวดังนี้ว่า
“ผู้มีอายุทั้งหลาย น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคยปรากฏ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น
ผู้ทรงรู้ทรงเห็น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้ด้วยพระองค์เองโดยชอบ ได้ตรัสรู้วิธีบรรลุ
ช่องว่างในที่คับแคบ๑ เพื่อความบริสุทธิ์แห่งสัตว์ทั้งหลาย เพื่อก้าวล่วงโสกะ(ความ
เศร้าโศก) และปริเทวะ(ความร่ำไร) เพื่อดับทุกข์(ความทุกข์กาย) โทมนัส(ความ
ทุกข์ใจ) เพื่อบรรลุญายธรรม๒ เพื่อทำให้แจ้งนิพพาน
คือ จักษุ (ตา) ชื่อว่าจักเป็นจักษุนั้นนั่นเอง คือ รูปเหล่านั้นก็จักไม่รับรู้
อายตนะนั้น และอายตนะนั้นก็จักไม่รับรู้รูปเหล่านั้น

เชิงอรรถ :
๑ วิธีบรรลุช่องว่างในที่คับแคบ มีความหมายดังนี้ คำว่า ที่คับแคบ มีความหมาย ๒ นัย คือ นัยที่ ๑
หมายถึงที่คับแคบสำหรับปุถุชนผู้ครองเรือน ได้แก่ กามคุณ ๕ นัยที่ ๒ หมายถึงที่คับแคบสำหรับผู้
บำเพ็ญฌาน ได้แก่ นิวรณ์ ๕ เป็นต้น คำว่า วิธีบรรลุช่องว่าง หมายถึงภาวะที่ปลอดจากกิเลสต่าง ๆ
ได้แก่ รูปฌาน ๔ อรูปฌาน ๔ สัญญาเวทยิตนิโรธ ๑ และอรหัตตมรรค แต่ละภาวะก็ปลอดจากกิเลสต่างกัน
เช่น ปฐมฌานปลอดจากนิวรณ์ ๕ จตุตถฌานปลอดจากสุขและทุกข์ ดู ที.ม. ๑๐/๒๘๘/๑๘๓, ที.ม.อ.
๒/๒๘๘/๒๕๕, องฺ.นวก.ฏีกา ๓/๓๗/๓๖๙ ประกอบ
๒ ญายธรรม หมายถึงอริยมัคคธรรม (สํ.ม. ๑๙/๒๔/๑๕, สํ.ม.อ. ๓/๒๑-๓๐/๑๙๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๕๑๓ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๔.มหาวรรค ๖.อานันทสูตร
โสตะ (หู) ชื่อว่าจักเป็นโสตะนั้นนั่นเอง คือ เสียงเหล่านั้นจักไม่รับรู้อายตนะนั้น
และอายตนะนั้นก็จักไม่รับรู้เสียงเหล่านั้น
ฆานะ (จมูก) ชื่อว่าจักเป็นฆานะนั้นนั่นเอง คือ กลิ่นเหล่านั้นจักไม่รับรู้อายตนะนั้น
และอายตนะนั้นก็จักไม่รับรู้กลิ่นเหล่านั้น
ชิวหา (ลิ้น) ชื่อว่าจักเป็นชิวหานั้นนั่นเอง คือ รสเหล่านั้นจักไม่รับรู้อายตนะนั้น
และอายตนะนั้นก็จักไม่รับรสเหล่านั้น
กาย ชื่อว่าจักเป็นกายนั้นนั่นเอง คือ โผฏฐัพพะเหล่านั้นจักไม่รับรู้อายตนะนั้น
และอายตนะนั้นก็จักไม่รับรู้โผฏฐัพพะเหล่านั้น”
เมื่อท่านพระอานนท์กล่าวอย่างนี้แล้ว ท่านพระอุทายี๑ได้ถามท่านพระ
อานนท์ดังนี้ว่า “ท่านอานนท์ คนผู้มีสัญญาเท่านั้น หรือว่าคนไม่มีสัญญา ไม่รับรู้
อายตนะนั้น”
ท่านพระอานนท์ตอบว่า “ผู้มีอายุ คนมีสัญญานั้นก็ไม่รับรู้อายตนะได้ หรือ
คนไม่มีสัญญาก็ไม่รับรู้อายตนะนั้นได้”
ท่านพระอุทายีถามว่า “ผู้มีอายุ คนผู้มีสัญญาอย่างไร จึงไม่รับรู้อายตนะนั้น”
ท่านพระอานนท์ตอบว่า “ผู้มีอายุ ภิกษุในธรรมวินัยนี้บรรลุอากาสานัญจายตน-
ฌานโดยกำหนดว่า ‘อากาศหาที่สุดมิได้’ อยู่ เพราะล่วงรูปสัญญา ดับปฏิฆสัญญา
ไม่กำหนดนานัตตสัญญา ภิกษุผู้มีสัญญาอย่างนี้แล ย่อมไม่รับรู้อายตนะนั้น
ภิกษุล่วงอากาสานัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุวิญญาณัญจายตน-
ฌาน โดยกำหนดว่า ‘วิญญาณหาที่สุดมิได้’ อยู่ ภิกษุผู้มีสัญญาอย่างนี้แล ย่อมไม่
รับรู้อายตนะนั้น
ภิกษุล่วงวิญญาณัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุอากิญจัญญายตนฌาน
โดยกำหนดว่า ‘ไม่มีอะไร’ อยู่ ภิกษุผู้มีสัญญาอย่างนี้แล ย่อมไม่รับรู้อายตนะนั้น

เชิงอรรถ :
๑ พระอุทายี ในที่นี้คือพระกาฬุทายีเถระ (องฺ.นวก.อ. ๓/๓๗/๓๑๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๕๑๔ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๔.มหาวรรค ๗.โลกายติกสูตร
ผู้มีอายุ ครั้งหนึ่ง ผมพักอยู่ ณ อัญชนมิคทายวัน เมืองสาเกต ครั้งนั้นแล
ภิกษุณีชื่อชฏิลภาคิกาเข้าไปหาผมจนถึงที่อยู่ ไหว้แล้วยืนอยู่ ณ ที่สมควร ครั้นแล้ว
ได้กล่าวกับผมดังนี้ว่า ‘ท่านอานนท์ผู้เจริญ สมาธิใดอันกิเลสน้อมไปไม่ได้๑ นำไป
ไม่ได้๒ ไม่มีการข่มห้ามกิเลสด้วยธรรมเครื่องปรุงแต่ง ชื่อว่าตั้งมั่นแล้วเพราะ
หลุดพ้น ชื่อว่ายินดีเพราะตั้งมั่น ชื่อว่าไม่สะดุ้งเพราะยินดี สมาธินี้พระผู้มีพระภาค
ตรัสว่า มีอะไรเป็นผล’ เมื่อชฏิลภาคิกาภิกษุณีกล่าวอย่างนี้แล้ว ผมได้กล่าวกับ
ภิกษุณีนั้นว่า ‘น้องหญิง สมาธิใดอันกิเลสน้อมไปไม่ได้ นำไปไม่ได้ ไม่มีการข่ม
ห้ามกิเลสด้วยธรรมเครื่องปรุงแต่ง ชื่อว่าตั้งมั่นแล้วเพราะหลุดพ้น ชื่อว่ายินดี
เพราะตั้งมั่น ชื่อว่าไม่สะดุ้งเพราะยินดี สมาธินี้พระผู้มีพระภาคตรัสว่า มีอรหัต
เป็นผล’ ผู้มีอายุ ภิกษุผู้มีสัญญาอย่างนี้ ย่อมไม่รับรู้อายตนะนั้น”
อานันทสูตรที่ ๖ จบ

๗. โลกายติกสูตร
ว่าด้วยพราหมณ์ผู้ชำนาญคัมภีร์โลกายัต๓
[๓๘] ครั้งนั้น พราหมณ์ผู้ชำนาญในคัมภีร์โลกายัต ๒ คน เข้าไปเฝ้าพระ
ผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ สนทนาปราศรัยกับพระผู้มีพระภาคพอเป็นที่บันเทิงใจ
พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ข้าแต่ท่านพระโคดม ท่านปูรณะ กัสสปะ เป็นสัพพัญญู เห็นสิ่งทั้งปวง
ปฏิญญาญาณทัสสนะอย่างเบ็ดเสร็จว่า ‘เมื่อเราเดิน ยืน หลับ และตื่นอยู่
ญาณทัสสนะได้ปรากฏต่อเนื่องตลอดไป’ เธอกล่าวอย่างนี้ว่า ‘เรารู้เห็นโลกอันไม่มี
ที่สุดด้วยญาณอันไม่มีที่สุด’ ท่านพระโคดม แม้แต่ท่านนิครนถ นาฎบุตรนี้ก็เป็น
สัพพัญญู เห็นสิ่งทั้งปวง ปฏิญญาญาณทัสสนะอย่างเบ็ดเสร็จว่า ‘เมื่อเราเดิน
ยืน หลับ และตื่นอยู่ ญาณทัสสนะได้ปรากฏต่อเนื่องตลอดไป’ เธอกล่าวอย่างนี้ว่า

เชิงอรรถ :
๑ น้อมไปไม่ได้ ในที่นี้หมายถึงไม่น้อมไปตามอำนาจราคะ (องฺ.นวก.อ. ๓/๓๗/๓๑๑)
๒ นำไปไม่ได้ ในที่นี้หมายถึงไม่ถูกชักนำไปตามอำนาจโทสะ (องฺ.นวก.อ. ๓/๓๗/๓๑๑)
๓ โลกายัต หมายถึงวิตัณฑวาทศาสตร์ คือ ศิลปะแห่งการเอาชนะผู้อื่นในเชิงวาทศิลป์ โดยการอ้างทฤษฎีและ
ประเพณีทางสังคมมาหักล้างสัจธรรม มุ่งแสดงให้เห็นว่าตนฉลาดกว่า มิได้มุ่งสัจธรรมแต่อย่างใด (ที.สี.อ.
๑/๒๕๖/๒๒๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๕๑๕ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๔.มหาวรรค ๗.โลกายติกสูตร
‘เรารู้เห็นโลกอันไม่มีที่สุดด้วยญาณอันไม่มีที่สุด’ ท่านพระโคดม ทั้ง ๒ คนนี้ต่างพูด
อวดความรู้กัน ต่างพูดขัดแย้งกัน ใครพูดจริง ใครพูดเท็จ”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อย่าเลย พราหมณ์ เรื่องที่คนทั้ง ๒ คนนี้ต่างพูดอวด
ความรู้กัน ต่างพูดขัดแย้งกัน ใครพูดจริง ใครพูดเท็จนี้จงพักไว้ก่อน เราจักแสดง
ธรรมแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว” พราหมณ์
เหล่านั้นทูลรับสนองพระพุทธดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสดังนี้ว่า
“พราหมณ์ เปรียบเหมือนบุรุษ ๔ คน ยืนอยู่ ๔ ทิศ ต่างมีฝีเท้าวิ่งได้เร็ว
และก้าวได้เร็ว พวกเขาต่างมีฝีเท้าเร็วเช่นนี้ เปรียบเหมือนนายขมังธนูถือธนูไว้มั่น
ศึกษามาเจนจบ ฝีมือช่ำชอง ผ่านการประลองฝีมือมาแล้ว พึงใช้ลูกธนูชนิดเบา ๆ
ยิงเงาตาลด้านขวางให้ผ่านไปได้โดยไม่ยาก และยิงได้รวดเร็วกว่าการก้าวเท้าดังที่
กล่าวมา เปรียบเหมือนจากมหาสมุทรในทิศตะวันออกถึงมหาสมุทรในทิศตะวันตก
ถ้าบุรุษผู้ยืนอยู่ทางทิศตะวันออก พึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘เราจะเดินไปถึงที่สุดโลก’
เขางดกิน ดื่ม เคี้ยว และลิ้ม งดถ่ายอุจจาระและปัสสาวะ งดหลับและพักผ่อน
เขามีอายุ ๑๐๐ ปี มีชีวิตอยู่ ๑๐๐ ปี เดินไปได้ตลอด ๑๐๐ ปี ยังไปไม่ถึงที่สุดโลกเลย
จะพึงตายเสียก่อนในระหว่าง ถ้าบุรุษผู้ยืนอยู่ทางทิศตะวันตก ฯลฯ ทางทิศเหนือ ฯลฯ
ถ้าบุรุษผู้ยืนอยู่ทางทิศใต้พึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘เราจะเดินไปถึงที่สุดของโลก’ เขางดกิน
ดื่ม เคี้ยว และลิ้ม งดถ่ายอุจจาระและปัสสาวะ งดหลับและพักผ่อน เขามีอายุ
๑๐๐ ปี มีชีวิตอยู่ ๑๐๐ ปี เดินไปได้ตลอด ๑๐๐ ปี ยังไปไม่ถึงที่สุดโลกเลย ก็จะพึง
ตายเสียก่อนในระหว่าง ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะเราจะไม่กล่าวว่า ‘บุคคลพึงรู้
พึงเห็น พึงถึงที่สุดโลกได้ด้วยการวิ่งไปเช่นนี้’ แต่เราก็ไม่กล่าวว่า ‘บุคคลยังไม่ถึง
ที่สุดโลกจะทำที่สุดทุกข์ได้’
พราหมณ์ กามคุณ ๕ ประการนี้ เรียกว่า ‘โลก’ ในอริยวินัย
กามคุณ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. รูปที่พึงรู้แจ้งทางตา อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก
ชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๕๑๖ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๔.มหาวรรค ๗.โลกายติกสูตร
๒. เสียงที่พึงรู้แจ้งทางหู ฯลฯ
๓. กลิ่นที่พึงรู้แจ้งทางจมูก ฯลฯ
๔. รสที่พึงรู้แจ้งทางลิ้น ฯลฯ
๕. โผฏฐัพพะที่พึงรู้แจ้งทางกาย อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ
ชวนให้รัก ชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัด
พราหมณ์ กามคุณ ๕ ประการนี้แล เรียกว่า ‘โลก’ ในอริยวินัย
ภิกษุในธรรมวินัยนี้สงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน
ที่มีวิตกวิจาร ปีติและสุขอันเกิดจากวิเวกอยู่ เราเรียกว่า ภิกษุนี้ถึงที่สุดโลกแล้ว
อยู่ในที่สุดโลก คนพวกอื่นกล่าวถึงภิกษุนั้นอย่างนี้ว่า ‘แม้ภิกษุนี้ก็เกี่ยวข้องกับโลก
สลัดตนออกจากโลกไม่ได้’ แม้เราเองก็กล่าวอย่างนี้ว่า ‘แม้ภิกษุนี้ก็เกี่ยวข้องกับโลก
สลัดตนออกจากโลกไม่ได้’
ภิกษุบรรลุทุติยฌาน ฯลฯ ตติยฌาน ฯลฯ จตุตถฌาน ฯลฯ เราก็เรียกว่า
ภิกษุนี้ถึงที่สุดโลกแล้ว อยู่ในที่สุดโลก คนพวกอื่นกล่าวถึงภิกษุนั้นอย่างนี้ว่า
‘แม้ภิกษุนี้ก็เกี่ยวข้องกับโลก สลัดตนออกจากโลกไม่ได้’ แม้เราเองก็กล่าวอย่างนี้ว่า
‘แม้ภิกษุนี้ก็เกี่ยวข้องกับโลก สลัดตนออกจากโลกไม่ได้’
ภิกษุบรรลุอากาสานัญจายตนฌานโดยกำหนดว่า ‘อากาศหาที่สุดมิได้’ อยู่
เพราะล่วงรูปสัญญา ดับปฏิฆสัญญา ไม่กำหนดนานัตตสัญญา เราก็เรียกว่า
ภิกษุนี้ถึงที่สุดโลกแล้ว อยู่ในที่สุดโลก คนพวกอื่นกล่าวถึงภิกษุนั้นอย่างนี้ว่า
‘แม้ภิกษุนี้ก็เกี่ยวข้องกับโลก สลัดตนออกจากโลกไม่ได้’ แม้เราก็กล่าวอย่างนี้ว่า
‘แม้ภิกษุนี้ก็เกี่ยวข้องกับโลก สลัดตนออกจากโลกไม่ได้’
ภิกษุล่วงอากาสานัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุวิญญาณัญจายตน-
ฌาน โดยกำหนดว่า ‘วิญญาณหาที่สุดมิได้’ อยู่ ฯลฯ ภิกษุล่วงวิญญาณัญจายตนฌาน
โดยประการทั้งปวง บรรลุอากิญจัญญายตนฌานโดยกำหนดว่า ‘ไม่มีอะไร’ อยู่ ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๕๑๗ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๔.มหาวรรค ๘.เทวาสุรสังคามสูตร
ภิกษุล่วงอากิญจัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุเนวสัญญานาสัญญายตน-
ฌานอยู่ เราก็เรียกว่า ภิกษุนี้ถึงที่สุดโลกแล้ว อยู่ในที่สุดโลก คนพวกอื่นกล่าวถึง
ภิกษุนั้นอย่างนี้ว่า ‘แม้ภิกษุนี้ก็เกี่ยวข้องกับโลก สลัดตนออกจากโลกไม่ได้’ แม้เราก็
กล่าวอย่างนี้ว่า ‘แม้ภิกษุนี้ก็เกี่ยวข้องกับโลก สลัดตนออกจากโลกไม่ได้’
ภิกษุล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุสัญญาเวทยิต-
นิโรธอยู่ อาสวะทั้งหลายของเธอหมดสิ้นแล้ว เพราะเห็นด้วยปัญญา เราเรียกว่า
ภิกษุนี้ถึงที่สุดโลกแล้ว อยู่ในที่สุดโลก ข้ามพ้นตัณหาเครื่องข้องในโลกได้”
โลกายติกสูตรที่ ๗ จบ

๘. เทวาสุรสังคามสูตร
ว่าด้วยสงครามระหว่างเทวดากับอสูร
[๓๙] ภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว สงครามระหว่างเทวดากับอสูรได้
ประจัญหน้ากันแล้ว ในสงครามครั้งนั้น พวกอสูรชนะ พวกเทวดาแพ้ พวกเทวดาที่
แพ้ได้พากันหลบหนีมุ่งหน้าไปทางทิศเหนือ พวกอสูรได้ไล่ตามไป ครั้งนั้นแล
พวกเทวดาได้มีความคิดดังนี้ว่า ‘พวกอสูรกำลังไล่ตามมา ทางที่ดี เราควรรบกับ
พวกอสูรเป็นครั้งที่ ๒’ พวกเทวดาได้รบกับพวกอสูรเป็นครั้งที่ ๒ แล้ว แม้ครั้งที่ ๒
พวกอสูรก็ชนะอีก พวกเทวดาแพ้ และพวกเทวดาที่แพ้ได้พากันหลบหนีมุ่งหน้าไป
ทางทิศเหนือ พวกอสูรได้ไล่ตามไป
ภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล พวกเทวดาได้มีความคิดดังนี้ว่า ‘พวกอสูรกำลังไล่
ตามมา ทางที่ดี เราควรรบกับพวกอสูรเป็นครั้งที่ ๓’ พวกเทวดาได้รบกับพวกอสูร
เป็นครั้งที่ ๓ แล้ว แม้ครั้งที่ ๓ พวกอสูรก็ชนะอีก พวกเทวดาแพ้ พวกเทวดาที่แพ้
ต่างก็กลัวพากันเข้าไปยังเทพบุรี ก็แลพวกเทวดาที่อยู่ในเทพบุรีได้มีความคิดดังนี้ว่า
‘บัดนี้ พวกเราได้เครื่องป้องกันตนจากความขลาดกลัวอยู่ พวกอสูรจะทำอะไรเรา
ไม่ได้’ แม้พวกอสูรก็ได้มีความคิดดังนี้ว่า ‘บัดนี้ พวกเทวดาได้มีเครื่องป้องกันตน
จากความขลาดกลัวอยู่ พวกเราจะทำอะไรพวกเทวดาไม่ได้’


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๕๑๘ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๔.มหาวรรค ๘.เทวาสุรสังคามสูตร
ภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว สงครามระหว่างเทวดากับอสูรได้
ประจัญหน้ากันแล้ว ในสงครามครั้งนั้น พวกเทวดาชนะ พวกอสูรแพ้ พวกอสูรที่
แพ้ได้พากันหลบหนีมุ่งหน้าไปทางทิศใต้ พวกเทวดาได้ไล่ตามไป ครั้งนั้นแล พวกอสูร
ได้มีความคิดดังนี้ว่า ‘พวกเทวดากำลังไล่ตามมา ทางที่ดี เราควรรบกับพวกเทวดา
เป็นครั้งที่ ๒’ พวกอสูรได้รบกับพวกเทวดาเป็นครั้งที่ ๒ แล้ว แม้ครั้งที่ ๒ เทวดาก็
ชนะอีก พวกอสูรแพ้ พวกอสูรที่แพ้ได้พากันหลบหนีมุ่งหน้าไปทางทิศใต้ พวกเทวดา
ได้ไล่ตามไป
ภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล พวกอสูรได้มีความคิดดังนี้ว่า ‘พวกเทวดากำลังไล่
ตามมา ทางที่ดี เราควรรบกับพวกเทวดาเป็นครั้งที่ ๓’ พวกอสูรได้รบกับพวกเทวดา
เป็นครั้งที่ ๓ แล้ว แม้ครั้งที่ ๓ พวกเทวดาก็ชนะอีก พวกอสูรแพ้ พวกอสูรที่แพ้
ต่างก็กลัวพากันเข้าไปยังอสูรบุรี ก็แลพวกอสูรที่อยู่ในอสูรบุรีได้มีความคิดดังนี้ว่า
‘บัดนี้ เราได้เครื่องป้องกันตนจากความขลาดกลัวอยู่ พวกเทวดาทำอะไรเราไม่ได้’
แม้พวกเทวดาก็ได้มีความคิดดังนี้ว่า ‘บัดนี้ พวกอสูรได้เครื่องป้องกันตนจากความ
ขลาดกลัวอยู่ พวกเราจะทำอะไรพวกอสูรไม่ได้’
ภิกษุทั้งหลาย ในทำนองเดียวกัน สมัยใด ภิกษุสงัดจากกามและอกุศลธรรม
ทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌานที่มีวิตก วิจาร ปีติและสุขอันเกิดจากวิเวกอยู่ สมัยนั้น
ภิกษุมีความคิดอย่างนี้ว่า ‘บัดนี้ เราได้เครื่องป้องกันตนจากความขลาดกลัวอยู่
มารจะทำอะไรเราไม่ได้’ แม้มารผู้มีบาปก็ได้มีความคิดอย่างนี้ว่า ‘บัดนี้ ภิกษุได้
เครื่องป้องกันตนจากความขลาดกลัวอยู่ เราจะทำอะไรภิกษุไม่ได้’
ภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ภิกษุบรรลุทุติยฌาน ฯลฯ บรรลุตติยฌาน ฯลฯ
บรรลุจตุตถฌาน ฯลฯ สมัยนั้น ภิกษุได้มีความคิดอย่างนี้ว่า ‘บัดนี้ เราได้
เครื่องป้องกันตนจากความขลาดกลัวอยู่ มารจะทำอะไรเราไม่ได้’ แม้มารผู้มีบาป
ก็ได้มีความคิดอย่างนี้ว่า ‘บัดนี้ ภิกษุได้เครื่องป้องกันตนจากความขลาดกลัวอยู่
เราจะทำอะไรภิกษุไม่ได้’
ภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ภิกษุบรรลุอากาสานัญจายตนฌานโดยกำหนดว่า
‘อากาศหาที่สุดมิได’ อยู่ เพราะล่วงรูปสัญญา ดับปฏิฆสัญญา ไม่กำหนดนานัตต-
สัญญา ภิกษุนี้เราเรียกว่า ทำให้มารสิ้นสุด ไร้ร่องรอย ปิดตามารผู้มีบาปจนมอง
ไม่เห็น ข้ามพ้นตัณหาเครื่องข้องในโลกได้แล้ว


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๕๑๙ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๔.มหาวรรค ๙.นาคสูตร
ภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ภิกษุล่วงอากาสานัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง
บรรลุวิญญาณัญจายตนฌาน โดยกำหนดว่า ‘วิญญาณหาที่สุดมิได้’ อยู่ ฯลฯ
ล่วงวิญญาณัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุอากิญจัญญายตนฌาน โดย
กำหนดว่า ‘ไม่มีอะไร’ อยู่ ฯลฯ ล่วงอากิญจัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวง
บรรลุเนวสัญญานาสัญญายตนฌานอยู่ ฯลฯ ล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน
โดยประการทั้งปวง บรรลุสัญญาเวทยิตนิโรธอยู่ อาสวะทั้งหลายของเธอหมด
สิ้นแล้ว เพราะเห็นด้วยปัญญา เราเรียกว่า ภิกษุนี้ทำให้มารสิ้นสุด ไร้ร่องรอย
ปิดตามารผู้มีบาปจนมองไม่เห็น ข้ามพ้นตัณหาเครื่องข้องในโลกได้แล้ว
เทวาสุรสังคามสูตรที่ ๘ จบ

๙. นาคสูตร
ว่าด้วยการหาความสงบของพญาช้าง
[๔๐] ภิกษุทั้งหลาย สมัยใด เมื่อพญาช้างที่อยู่ในป่าขวนขวายเที่ยวหากินอยู่
เหล่าช้างพลาย ช้างพัง ลูกช้างใหญ่ และลูกช้างเล็ก เดินไปข้างหน้าๆ ทำลาย
ยอดหญ้า พญาช้างที่อยู่ในป่าย่อมอึดอัด ระอา รังเกียจ เพราะการกระทำนั้น
ภิกษุทั้งหลาย สมัยใด เมื่อพญาช้างที่อยู่ในป่า ขวนขวายเที่ยวหากินอยู่ เหล่า
ช้างพลาย ช้างพัง ลูกช้างใหญ่ และลูกช้างเล็กต่างก็พากันกินกิ่งไม้ที่หักลงมา
พญาช้างที่อยู่ในป่าย่อมอึดอัด ระอา รังเกียจ เพราะการกระทำนั้น ภิกษุทั้งหลาย
สมัยใด เมื่อพญาช้างที่อยู่ในป่าลงสู่ท่าน้ำ เหล่าช้างพลาย ช้างพัง ลูกช้างใหญ่
และลูกช้างเล็กต่างก็เดินไปข้างหน้าๆ ใช้งวงกวนน้ำให้ขุ่น พญาช้างที่อยู่ในป่า ย่อม
อึดอัด ระอา รังเกียจ เพราะการกระทำนั้น ภิกษุทั้งหลาย สมัยใด เมื่อพญาช้าง
ที่อยู่ในป่า ขึ้นจากท่าน้ำแล้ว ช้างพังย่อมเดินเสียดสีกายไป พญาช้างที่อยู่ในป่า
ย่อมอึดอัด ระอา รังเกียจ เพราะการกระทำนั้น
ภิกษุทั้งหลาย สมัยนั้น พญาช้างที่อยู่ในป่าได้มีความคิดอย่างนี้ว่า ‘บัดนี้
เราอยู่พลุกพล่านไปด้วยช้างพลาย ช้างพัง ลูกช้างใหญ่ และลูกช้างเล็ก กินหญ้า


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๕๒๐ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๔.มหาวรรค ๙.นาคสูตร
ยอดด้วน ถูกช้างเหล่านั้นแย่งกินกิ่งไม้ที่เราหักลงมา ดื่มน้ำที่ขุ่น และเมื่อเรา
ขึ้นจากท่าน้ำ ช้างพังก็เดินเสียดสีกายไป ทางที่ดี เราควรหลีกออกจากโขลงไปอยู่
ผู้เดียว‘๑ ต่อมา พญาช้างนั้นได้หลีกออกจากโขลงไปอยู่ผู้เดียว กินหญ้ายอดไม่ด้วน
ไม่ถูกช้างเหล่านั้นแย่งกินกิ่งไม้ที่ตนหักลงมา ดื่มน้ำที่ไม่ขุ่น และเมื่อพญาช้างนั้นขึ้น
จากท่าน้ำก็ไม่ถูกช้างพังเดินเสียดสีกายไป
ภิกษุทั้งหลาย สมัยนั้น พญาช้างที่อยู่ในป่ามีความคิดอย่างนี้ว่า ‘เมื่อก่อน
เราอยู่พลุกพล่านไปด้วยช้างพลาย ช้างพัง ลูกช้างใหญ่ และลูกช้างเล็ก กินหญ้า
ยอดด้วน ถูกช้างเหล่านั้นแย่งกินกิ่งไม้ที่เราหักลงมา ดื่มน้ำที่ขุ่น และเมื่อเราขึ้น
จากท่าน้ำ ก็ถูกช้างพังเดินเสียดสีกายไป บัดนี้ เรานั้นได้หลีกออกจากโขลงมาอยู่
ผู้เดียว กินหญ้ายอดไม่ด้วน ไม่ถูกช้างเหล่านั้นแย่งกินกิ่งไม้ที่เราหักลงมา ดื่มน้ำที่
ไม่ขุ่น และเมื่อเราขึ้นจากท่าน้ำก็ไม่ถูกช้างพังเดินเสียดสีกายไป’ พญาช้างนั้นใช้งวง
หักกิ่งไม้ ใช้กิ่งไม้ปัดกาย มีใจเบิกบาน บำบัดโรคคัน
ภิกษุทั้งหลาย ในทำนองเดียวกัน สมัยใด ภิกษุอยู่พลุกพล่านไปด้วยภิกษุ
ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา พระราชา มหาอำมาตย์ของพระราชา เดียรถีย์ และพวก
สาวกของเดียรถีย์ สมัยนั้น ภิกษุมีความคิดอย่างนี้ว่า ‘บัดนี้ เราแลอยู่พลุกพล่าน
ไปด้วยภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา พระราชา มหาอำมาตย์ของพระราชา
เดียรถีย์ และพวกสาวกของเดียรถีย์ ทางที่ดี เราควรหลีกออกจากหมู่ไปอยู่ผู้เดียว’
เธอใช้สอยเสนาสนะอันสงัด คือ ป่า โคนไม้ ภูเขา ซอกเขา ถ้ำ ป่าช้า ป่าทึบ
ที่กลางแจ้ง ลอมฟาง’ เธอไปสู่ป่าก็ดี ไปสู่โคนไม้ก็ดี หรือไปสู่เรือนว่างก็ดี ย่อมนั่งคู้
บัลลังก์๒ ตั้งกายตรงดำรงสติไว้เฉพาะหน้า๓

เชิงอรรถ :
๑ ดู ขุ.อุ. ๒๕/๓๕/๑๔๘
๒ นั่งคู้บัลลังก์ หมายถึงนั่งพับขาเข้าหากันทั้งสองข้าง เรียกว่านั่งสมาธิ (วิ.อ. ๑/๑๖๕/๔๔๕)
๓ ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า หมายถึงตั้งสติกำหนดอารมณ์กัมมัฏฐาน (วิ.อ. ๑/๑๖๕/๔๔๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๕๒๑ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๔.มหาวรรค ๙.นาคสูตร
เธอละอภิชฌาในโลกได้ มีใจปราศจากอภิชฌาอยู่ ชำระจิตให้บริสุทธิ์จาก
อภิชฌา ละความมุ่งร้ายคือพยาบาทได้แล้ว มีจิตไม่พยาบาท มุ่งประโยชน์เกื้อกูล
ต่อสรรพสัตว์อยู่ ชำระจิตให้บริสุทธิ์จากความมุ่งร้ายคือพยาบาท ละถีนมิทธะ
ปราศจากถีนมิทธะ มีอาโลกสัญญา(กำหนดหมายแสงสว่าง) มีสติสัมปชัญญะอยู่
ชำระจิตให้บริสุทธิ์จากถีนมิทธะ ละอุทธัจจกุกกุจจะ เป็นผู้ไม่ฟุ้งซ่าน มีจิตสงบ
ภายในอยู่ ชำระจิตให้บริสุทธิ์จากอุทธัจจกุกกุจจะ ละวิจิกิจฉา ข้ามวิจิกิจฉาได้แล้ว
ไม่มีวิจิกิจฉาในกุศลธรรมทั้งหลายอยู่ ชำระจิตให้บริสุทธิ์จากวิจิกิจฉา เธอละนิวรณ์
๕ ประการนี้ที่เป็นเครื่องเศร้าหมองใจ ทอนกำลังปัญญา สงัดจากกามและอกุศล
ธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌานที่มีวิตก วิจาร ปีติและสุขอันเกิดจากวิเวกอยู่
เธอมีใจเบิกบาน บำบัดกิเลสดังโรคคันได้ บรรลุทุติยฌาน ฯลฯ ตติยฌาน ฯลฯ
จตุตถฌาน ฯลฯ เธอมีใจเบิกบานบำบัดกิเลสดังโรคคันได้
ภิกษุบรรลุอากาสานัญจายตนฌาน โดยกำหนดว่า ‘อากาศหาที่สุดมิได้’ อยู่
เพราะล่วงรูปสัญญา ดับปฏิฆสัญญา ไม่กำหนดนานัตตสัญญา เธอมีใจเบิกบาน
บำบัดกิเลสดังโรคคันได้ ภิกษุล่วงอากาสานัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุ
วิญญาณัญจายตนฌาน โดยกำหนดว่า ‘วิญญาณหาที่สุดมิได้’ อยู่ ฯลฯ ภิกษุล่วง
วิญญาณัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุอากิญจัญญายตนฌาน โดยกำหนด
ว่า ‘ไม่มีอะไร’ อยู่ ฯลฯ ภิกษุล่วงอากิญจัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุ
เนวสัญญานาสัญญายตนฌานอยู่๑ ฯลฯ ภิกษุล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน
โดยประการทั้งปวง บรรลุสัญญาเวทยิตนิโรธอยู่ อาสวะทั้งหลายของเธอหมดสิ้นแล้ว
เพราะเห็นด้วยปัญญา เธอเป็นผู้มีใจเบิกบานบำบัดกิเลสดังโรคคันได้
นาคสูตรที่ ๙ จบ

เชิงอรรถ :
๑ ดู ที.ปา. ๑๑/๓๔๓/๒๓๕

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๕๒๒ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๔.มหาวรรค ๑๐.ตปุสสสูตร
๑๐. ตปุสสสูตร
ว่าด้วยตปุสสคหบดี
[๔๑] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ นิคมของชาวมัลละ ชื่อว่า
อุรุเวลกัปปะ แคว้นมัลละ ครั้นเวลาเช้า พระผู้มีพระภาคทรงครองอันตรวาสก
ทรงถือบาตรและจีวรเสด็จเข้าไปยังนิคมชื่ออุรุเวลกัปปะเพื่อบิณฑบาต ครั้นแล้ว
เสด็จกลับจากบิณฑบาต หลังจากเสวยพระกระยาหารเสร็จแล้ว รับสั่งเรียกท่าน
พระอานนท์มาตรัสว่า “อานนท์ เธอจงรออยู่ที่นี้ก่อน จนกว่าเราจะไปถึงป่ามหาวัน
เพื่อพักผ่อนกลางวัน” ท่านพระอานนท์ทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเสด็จดำเนินไปถึงป่ามหาวันแล้ว จึงประทับนั่งพัก
ผ่อนกลางวันที่โคนไม้แห่งหนึ่ง
ลำดับนั้นแล ตปุสสคหบดีเข้าไปหาท่านพระอานนท์ถึงที่อยู่ อภิวาทท่านพระ
อานนท์แล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กล่าวกับท่านพระอานนท์ดังนี้ว่า “ท่านพระอานนท์
ผู้เจริญ พวกกระผมเป็นคฤหัสถ์ เป็นกามโภคี มีกามเป็นที่ยินดี รื่นรมย์ในกาม
บันเทิงในกาม เนกขัมมะ๑จึงปรากฏดุจเหวแก่พวกกระผมผู้เป็นคฤหัสถ์ เป็นกามโภคี
มีกามเป็นที่ยินดี รื่นรมย์ในกาม บันเทิงในกาม ท่านพระอานนท์ผู้เจริญ กระผมได้
ทราบมาดังนี้ว่า ‘จิตของภิกษุหนุ่ม ๆ ในพระธรรมวินัยนี้ ย่อมแล่นไป เลื่อมใส ตั้งมั่น
ในเนกขัมมะ หลุดพ้น๒ เมื่อพิจารณาเห็นว่า ‘เนกขัมมะนั่นสงบ’ ท่านผู้เจริญ ภิกษุ
ในพระธรรมวินัยนี้มีส่วนต่างกับคนส่วนมาก คือ เนกขัมมะหรือ”
ท่านพระอานนท์กล่าวว่า “คหบดี มีเหตุแห่งถ้อยคำที่จะเฝ้าพระผู้มีพระภาคได้
มาเถิด คหบดี เราจะไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ครั้นแล้ว จักกราบทูล


เชิงอรรถ :
๑เนกขัมมะ ในที่นี้หมายถึงการบรรพชา (องฺ.นวก.อ. ๓/๔๑/๓๑๔)
๒หลุดพ้น ในที่นี้หมายถึงหลุดพ้นจากธรรมที่เป็นข้าศึก (องฺ.นวก.อ. ๓/๔๑/๓๑๔)


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๕๒๓ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๔.มหาวรรค ๑๐.ตปุสสสูตร
เนื้อความนี้แด่พระผู้มีพระภาค จักทรงจำเนื้อความตามที่พระผู้มีพระภาคจะทรงตอบ
แก่พวกเรา” ตปุสสคหบดีรับคำท่านพระอานนท์แล้ว
ลำดับนั้น ท่านพระอานนท์พร้อมด้วยตปุสสคหบดีเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค
ถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ตปุสสคหบดีนี้ได้กล่าวอย่างนี้ว่า ‘ท่านพระอานนท์ผู้เจริญ
พวกกระผมผู้เป็นคฤหัสถ์เป็นกามโภคี มีกามเป็นที่ยินดี รื่นรมย์ในกาม บันเทิง
ในกาม เนกขัมมะจึงปรากฏดุจเหวแก่พวกกระผมผู้เป็นคฤหัสถ์ เป็นกามโภคี มีกาม
เป็นที่ยินดี รื่นรมย์ในกาม บันเทิงในกาม ท่านพระอานนท์ผู้เจริญ กระผมได้ทราบ
มาดังนี้ว่า ‘จิตของภิกษุหนุ่ม ๆ ในพระธรรมวินัยนี้ ย่อมแล่นไป เลื่อมใส ตั้งมั่นใน
เนกขัมมะ หลุดพ้น เมื่อพิจารณาเห็นว่า ‘เนกขัมมะนั่นสงบ’ ท่านผู้เจริญ ภิกษุใน
พระธรรมวินัยนี้มีส่วนต่างกับคนส่วนมาก คือ เนกขัมมะหรือ”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ข้อนี้เป็นอย่างนั้น อานนท์ ข้อนี้เป็นอย่างนั้น อานนท์
แม้เราเองก่อนจะตรัสรู้ ยังมิได้ตรัสรู้ ยังเป็นโพธิสัตว์อยู่นั่นแล ได้มีความดำริดังนี้ว่า
‘เนกขัมมะเป็นความดี ความสงบเป็นความดี’ จิตของเรานั้น ไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส
ไม่ตั้งมั่นในเนกขัมมะ ไม่หลุดพ้น เมื่อพิจารณาเห็นว่า ‘เนกขัมมะนั่นสงบ’ เรานั้นจึง
มีความดำริดังนี้ว่า ‘อะไรหนอแลเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้จิตของเราไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส
ไม่ตั้งมั่นในเนกขัมมะ ไม่หลุดพ้น’ เมื่อพิจารณาเห็นว่า ‘เนกขัมมะนั่นสงบ’ เราจึงมี
ความดำริดังนี้ว่า ‘โทษในกามทั้งหลายเรายังไม่ได้เห็นและไม่ได้ทำให้มาก และอานิสงส์
ในเนกขัมมะเรายังไม่ได้บรรลุและไม่ได้เสพ เพราะเหตุนั้น จิตของเราจึงไม่แล่นไป
ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งมั่นในเนกขัมมะ ไม่หลุดพ้น’ เมื่อพิจารณาเห็นว่า ‘เนกขัมมะ
นั่นสงบ’ เราจึงมีความดำริดังนี้ว่า ‘ถ้าเราเห็นโทษในกามทั้งหลายแล้วทำให้มาก
ได้บรรลุอานิสงส์ในเนกขัมมะแล้วเสพอานิสงส์นั้น เป็นไปได้ที่จิตของเราจะพึงแล่นไป
เลื่อมใส ตั้งมั่นในเนกขัมมะ หลุดพ้น’ เมื่อพิจารณาเห็นว่า ‘เนกขัมมะนั่นสงบ’ ต่อมา
เราได้เห็นโทษในกามทั้งหลายแล้วทำให้มาก ได้บรรลุอานิสงส์ในเนกขัมมะแล้วเสพ
อานิสงส์นั้น จิตของเราจึงแล่นไป เลื่อมใส ตั้งมั่นในเนกขัมมะ หลุดพ้น เมื่อพิจารณา


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๕๒๔ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๔.มหาวรรค ๑๐.ตปุสสสูตร
เห็นว่า ‘เนกขัมมะนั่นสงบ’ อานนท์ เราสงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว
บรรลุปฐมฌานที่มีวิตก วิจาร ปีติและสุขอันเกิดจากวิเวกอยู่ เมื่อเราอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้
สัญญามนสิการที่ประกอบด้วยกามยังฟุ้งขึ้น ข้อนั้นเป็นความกดดันแก่เรา ทุกข์พึง
เกิดขึ้นแก่คนผู้มีสุขก็เพียงเพื่อความกดดัน๑ ฉันใด สัญญาและมนสิการที่ประกอบ
ด้วยกามย่อมฟุ้งขึ้น ข้อนั้นเป็นความกดดันแก่เรา ฉันนั้น
อานนท์ เราจึงมีความดำริดังนี้ว่า ทางที่ดี เราควรบรรลุทุติยฌาน ฯลฯ
จิตของเรานั้นไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งมั่นในทุติยฌานที่ไม่มีวิตก ไม่หลุดพ้น’
เมื่อพิจารณาเห็นว่า ‘ทุติยฌานนั่นสงบ’ เรานั้นจึงมีความดำริดังนี้ว่า ‘อะไรหนอแล
เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้จิตของเราไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งมั่นในทุติยฌานที่ไม่มีวิตก
ไม่หลุดพ้น’ เมื่อพิจารณาเห็นว่า ‘ทุติยฌานนั่นสงบ’ เราจึงมีความดำริดังนี้ว่า ‘โทษใน
วิตกเรายังไม่ได้เห็นและไม่ได้ทำให้มาก อานิสงส์ในทุติยฌานที่ไม่มีวิตกเรายังไม่ได้
บรรลุและไม่ได้เสพ เพราะเหตุนั้น จิตของเราจึงไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งมั่นใน
ทุติยฌานที่ไม่มีวิตก ไม่หลุดพ้น’ เมื่อพิจารณาเห็นว่า ‘ทุติยฌานนั่นสงบ’ เราจึงมี
ความคิดดังนี้ว่า ‘ถ้าเราเห็นโทษในวิตกแล้วทำให้มาก ได้บรรลุอานิสงส์ในทุติยฌาน
ที่ไม่มีวิตกแล้วเสพอานิสงส์นั้น เป็นไปได้ที่จิตของเราจะพึงแล่นไป เลื่อมใส ตั้งมั่น
ในทุติยฌานที่ไม่มีวิตก หลุดพ้น’ เมื่อพิจารณาเห็นว่า ‘ทุติยฌานนั่นสงบ’ ต่อมา
เราได้เห็นโทษในวิตกแล้วทำให้มาก ได้บรรลุอานิสงส์ในทุติยฌานที่ไม่มีวิตกแล้ว
เสพอานิสงส์นั้น จิตของเราจึงแล่นไป เลื่อมใส ตั้งมั่นในทุติยฌานที่ไม่มีวิตก หลุดพ้น
เมื่อพิจารณาเห็นว่า ‘ทุติยฌานนั่นสงบ’ อานนท์ เราบรรลุทุติยฌาน ฯลฯ เมื่อเรา
อยู่ด้วยวิหารธรรมนี้ สัญญามนสิการที่ประกอบด้วยวิตกยังฟุ้งขึ้น ข้อนั้นเป็นความ
กดดันแก่เรา ทุกข์พึงเกิดขึ้นแก่คนผู้มีสุข เพียงเพื่อความกดดัน ฉันใด สัญญา-
มนสิการที่ประกอบด้วยวิตกย่อมฟุ้งขึ้น ข้อนั้นเป็นความกดดันแก่เรา ฉันนั้น


เชิงอรรถ :
๑ ดูความหมายในเชิงอรรถที่ ๑ นวกนิบาต ข้อ ๓๔ (นิพพานสูตร) หน้า ๕๐๑ ในเล่มนี้


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๕๒๕ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๔.มหาวรรค ๑๐.ตปุสสสูตร
อานนท์ เราจึงมีความดำริดังนี้ว่า ‘ทางที่ดี เราควรเป็นผู้มีอุเบกขา มีสติสัม-
ปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย เพราะปีติจางคลายไป บรรลุตติยฌานที่พระอริยะ
ทั้งหลายสรรเสริญว่า ‘ผู้มีอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข’ จิตของเราไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส
ไม่ตั้งมั่นในตติยฌานที่ไม่มีปีติ ไม่หลุดพ้น’ เมื่อพิจารณาเห็นว่า ‘ตติยฌานนั่นสงบ’
เราจึงมีความดำริดังนี้ว่า ‘อะไรหนอแลเป็นเหตุเป็นปัจจัย ให้จิตของเราไม่แล่นไป
ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งมั่นในตติยฌานที่ไม่มีปีติ ไม่หลุดพ้น’ เมื่อพิจารณาเห็นว่า
‘ติยฌานนั่นสงบ’ เรามีความดำริดังนี้ว่า ‘โทษในปีติเรายังไม่ได้เห็นและไม่ได้ทำ
ให้มาก อานิสงส์ในตติยฌานที่ไม่มีปีติ เรายังไม่ได้บรรลุและไม่ได้เสพ เพราะเหตุนั้น
จิตของเรา จึงไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งมั่นในตติยฌานที่ไม่มีปีติ ไม่หลุดพ้น’
เมื่อพิจารณาเห็นว่า ‘ตติยฌานนั่นสงบ’ เราจึงมีความดำริดังนี้ว่า ‘ถ้าเราเห็นโทษในปีติแล้ว
ทำให้มาก ได้บรรลุอานิสงส์ในตติยฌานที่ไม่มีปีติแล้วเสพอานิสงส์นั้น เป็นไปได้
ที่จิตของเราจะพึงแล่นไป เลื่อมใส ตั้งมั่นในตติยฌานที่ไม่มีปีติ หลุดพ้น’ เมื่อพิจารณา
เห็นว่า ‘ตติยฌานนั่นสงบ’ ต่อมาเราได้เห็นโทษในปีติแล้วทำให้มาก ได้บรรลุอานิสงส์
ในตติยฌานที่ไม่มีปีติแล้วเสพอานิสงส์นั้น จิตของเราจึงแล่นไป เลื่อมใส ตั้งมั่นใน
ตติยฌานที่ไม่มีปีติ หลุดพ้น เมื่อพิจารณาเห็นว่า ‘ตติยฌานนั่นสงบ’ อานนท์
เพราะปีติจางคลายไป เราจึงบรรลุตติยฌาน ฯลฯ เมื่อเราอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้
สัญญามนสิการที่ประกอบด้วยปีติยังฟุ้งขึ้น ข้อนั้นเป็นความกดดันแก่เรา ทุกข์พึง
เกิดขึ้นแก่คนผู้มีสุขเพียงเพื่อความกดดัน ฉันใด สัญญามนสิการที่ประกอบด้วยปีติ
ย่อมฟุ้งขึ้น ข้อนั้นเป็นความกดดันแก่เรา ฉันนั้น
อานนท์ เราจึงมีความดำริดังนี้ว่า ‘ทางที่ดี เราควรบรรลุจตุตถฌานที่ไม่มีทุกข์
และไม่มีสุข เพราะละสุขและทุกข์ได้ เพราะโสมนัสและโทมนัสดับไปก่อนแล้ว มีสติ
บริสุทธิ์เพราะอุเบกขาอยู่ จิตของเราไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งมั่นในจตุตถฌาน
ที่ไม่มีทุกข์และไม่มีสุข ไม่หลุดพ้น เมื่อพิจารณาเห็นว่า ‘จตุตถฌานนั่นสงบ’ เราจึง
มีความคิดดังนี้ว่า ‘อะไรหนอแลเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้จิตของเราไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๕๒๖ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๔.มหาวรรค ๑๐.ตปุสสสูตร
ไม่ตั้งมั่นในจตุตถฌานที่ไม่มีทุกข์และไม่มีสุข ไม่หลุดพ้น’ เมื่อพิจารณาเห็นว่า
‘จตุตถฌานนั่นสงบ’ เรามีความดำริดังนี้ว่า ‘โทษในอุเบกขาและสุข เรายังไม่ได้เห็น
และไม่ได้ทำให้มาก อานิสงส์ในจตุตถฌานที่ไม่มีทุกข์และไม่มีสุข เรายังไม่ได้บรรลุ
และไม่ได้เสพ เพราะเหตุนั้น จิตของเราจึงไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งมั่นใน
จตุตถฌานที่ไม่มีทุกข์และไม่มีสุข ไม่หลุดพ้น’ เมื่อพิจารณาเห็นว่า ‘จตุตถฌาน
นั่นสงบ’ เราจึงมีความดำริดังนี้ว่า ‘ถ้าเราเห็นโทษในอุเบกขาและสุขแล้วทำให้มาก
ได้บรรลุอานิสงส์ในจตุตถฌานที่ไม่มีทุกข์และไม่มีสุขแล้วเสพอานิสงส์นั้น เป็นไปได้
ที่จิตของเราพึงแล่นไป เลื่อมใส ตั้งมั่นในจตุตถฌานที่ไม่มีทุกข์และไม่มีสุข หลุดพ้น’
เมื่อพิจารณาเห็นว่า ‘จตุตถฌานนั่นสงบ’ ต่อมาเราได้เห็นโทษในอุเบกขาและสุขแล้ว
ทำให้มาก ได้บรรลุอานิสงส์ในจตุตถฌานที่ไม่มีทุกข์และไม่มีสุขแล้วเสพอานิสงส์นั้น
จิตของเราจึงแล่นไป เลื่อมใส ตั้งมั่นในจตุตถฌานที่ไม่มีทุกข์และไม่มีสุข หลุดพ้น
เมื่อพิจารณาเห็นว่า ‘จตุตถฌานนั่นสงบ’ อานนท์ เราบรรลจตุตถฌานที่ไม่มีทุกข์
และไม่มีสุข เพราะละสุขและทุกข์ได้ ฯลฯ เมื่อเราอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้ สัญญา-
มนสิการที่ประกอบด้วยอุเบกขาย่อมฟุ้งขึ้น ข้อนั้นเป็นความกดดันแก่เรา ทุกข์พึง
เกิดขึ้นแก่คนผู้มีสุขเพียงเพื่อความกดดัน ฉันใด สัญญามนสิการที่ประกอบด้วย
อุเบกขาย่อมฟุ้งขึ้น ข้อนั้นเป็นความกดดันแก่เรา ฉันนั้น
อานนท์ เราจึงมีความดำริดังนี้ว่า ‘ทางที่ดี เราควรบรรลุอากาสานัญจายตนฌาน
โดยกำหนดว่า ‘อากาศหาที่สุดมิได้’ อยู่ เพราะล่วงรูปสัญญา ดับปฏิฆสัญญา ไม่กำหนด
นานัตตสัญญา จิตของเราไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งมั่นในอากาสานัญจายตนฌาน
ไม่หลุดพ้น’ เมื่อพิจารณาเห็นว่า ‘อากาสานัญจายตนฌานนั่นสงบ’ เราจึงมีความ
ดำริดังนี้ว่า ‘อะไรหนอแลเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้จิตของเราไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งมั่น
ในอากาสานัญจายตนฌาน ไม่หลุดพ้น’ เมื่อพิจารณาเห็นว่า ‘อากาสานัญจายตน-
ฌานนั่นสงบ’ เรามีความดำริดังนี้ว่า ‘โทษในรูปทั้งหลายเรายังไม่ได้เห็นและไม่ได้
ทำให้มาก อานิสงส์ในอากาสานัญจายตนฌาน เรายังไม่ได้บรรลุและไม่ได้เสพ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๕๒๗ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๔.มหาวรรค ๑๐.ตปุสสสูตร
เพราะเหตุนั้น จิตของเราจึงไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งมั่นในอากาสานัญจายตนฌาน
ไม่หลุดพ้น เมื่อพิจารณาเห็นว่า ‘อากาสานัญจายตนฌานนั่นสงบ’ เราจึงมี
ความดำริดังนี้ว่า ถ้าเราได้เห็นโทษในรูปทั้งหลายแล้วทำให้มาก ได้บรรลุอานิสงส์ใน
อากาสานัญจายตนฌานแล้วเสพอานิสงส์นั้น เป็นไปได้ที่จิตของเราจะพึงแล่นไป เลื่อมใส
ตั้งมั่นในอากาสานัญจายตนฌาน หลุดพ้น เมื่อพิจารณาเห็นว่า ‘อากาสานัญจายตน-
ฌานนั่นสงบ’ ต่อมาเราได้เห็นโทษในรูปทั้งหลายแล้วทำให้มาก ได้บรรลุอานิสงส์ใน
อากาสานัญจายตนฌานแล้วเสพอานิสงส์นั้น จิตของเราจึงแล่นไป เลื่อมใส ตั้งมั่น
ในอากาสานัญจายตนฌาน หลุดพ้น เมื่อพิจารณาเห็นว่า ‘อากาสานัญจายตนฌาน
นั่นสงบ’ อานนท์ เราบรรลุอากาสานัญจายตนฌานโดยกำหนดว่า ‘อากาศหาที่สุด
มิได้’ อยู่ เพราะล่วงรูปสัญญา ดับปฏิฆสัญญา ไม่กำหนดนานัตตสัญญา เมื่อเราอยู่
ด้วยวิหารธรรมนี้ สัญญามนสิการที่ประกอบด้วยรูปยังฟุ้งขึ้น ข้อนั้นเป็นความกด
ดันแก่เรา ทุกข์พึงเกิดขึ้นแก่คนผู้มีสุขเพียงเพื่อความกดดัน ฉันใด สัญญามนสิการ
ที่ประกอบด้วยรูป ย่อมฟุ้งขึ้น ข้อนั้นเป็นความกดดันแก่เรา ฉันนั้น
อานนท์ เราจึงมีความดำริดังนี้ว่า ‘ทางที่ดี เราควรล่วงอากาสานัญจายตน-
ฌาน โดยประการทั้งปวง บรรลุวิญญาณัญจายตนฌาน โดยกำหนดว่า ‘วิญญาณ
หาที่สุดมิได้’ อยู่ จิตของเราไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งมั่นในวิญญาณัญจายตนฌาน
ไม่หลุดพ้น’ เมื่อพิจารณาเห็นว่า ‘วิญญาณัญจายตนฌานนั่นสงบ’ เราจึงมีความดำริ
ดังนี้ว่า ‘อะไรหนอแลเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้จิตของเราไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งมั่น
ในวิญญาณัญจายตนฌาน ไม่หลุดพ้น’ เมื่อพิจารณาเห็นว่า ‘วิญญาณัญจายตนฌาน
นั่นสงบ’ เรามีความดำริดังนี้ว่า ‘โทษในอากาสานัญจายตนฌานเรายังไม่ได้เห็นและ
ไม่ได้ทำให้มาก อานิสงส์ในวิญญาณัญจายตนฌานเรายังไม่ได้บรรลุ และไม่ได้เสพ
เพราะเหตุนั้น จิตของเราจึงไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งมั่น ในวิญญาณัญจายตนฌาน
ไม่หลุดพ้น’ เมื่อพิจารณาเห็นว่า ‘วิญญาณัญจายตนฌานนั่นสงบ’ เราจึงมีความดำริ
ดังนี้ว่า ‘ถ้าเราเห็นโทษในอากาสานัญจายตนฌานแล้วทำให้มาก ได้บรรลุอานิสงส์


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๕๒๘ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๔.มหาวรรค ๑๐.ตปุสสสูตร
ในวิญญาณัญจายตนฌานแล้วเสพอานิสงส์นั้น เป็นไปได้ที่จิตของเราจะพึงแล่นไป
เลื่อมใส ตั้งมั่นในวิญญาณัญจายตนฌาน หลุดพ้น’ เมื่อพิจารณาเห็นว่า
‘วิญญาณัญจายตนฌานนั่นสงบ’ ต่อมาเราได้เห็นโทษในอากาสานัญจายตนฌาน
แล้วทำให้มาก ได้บรรลุอานิสงส์ในวิญญาณัญจายตนฌานแล้วเสพอานิสงส์นั้น
จิตของเราจึงแล่นไป เลื่อมใส ตั้งมั่นในวิญญาณัญจายตนฌาน หลุดพ้น เมื่อ
พิจารณาเห็นว่า ‘วิญญาณัญจายตนฌานนั่นสงบ’ อานนท์ เราล่วงอากาสานัญจายตน-
ฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุวิญญาณัญจายตนฌาน โดยกำหนดว่า ‘วิญญาณ
หาที่สุดมิได้’ อยู่ เมื่อเราอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้ สัญญามนสิการที่ประกอบด้วย
อากาสานัญจายตนฌานยังฟุ้งขึ้น ข้อนั้นเป็นความกดดันแก่เรา ทุกข์พึงเกิดขึ้น
แก่คนผู้มีสุขเพียงเพื่อความกดดัน ฉันใด สัญญามนสิการที่ประกอบด้วย
อากาสานัญจายตนฌานย่อมฟุ้งขึ้น ข้อนั้นเป็นความกดดันแก่เรา ฉันนั้น
อานนท์ เราจึงมีความดำริดังนี้ว่า ‘ทางที่ดี เราควรล่วงวิญญาณัญจายตนฌาน
โดยประการทั้งปวง บรรลุอากิญจัญญายตนฌาน โดยกำหนดว่า ‘ไม่มีอะไร’ อยู่
จิตของเราไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งมั่นในอากิญจัญญายตนฌาน ไม่หลุดพ้น’
เมื่อพิจารณาเห็นว่า ‘อากิญจัญญายตนฌานนั่นสงบ’ เราจึงมีความดำริดังนี้ว่า
‘อะไรหนอแลเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้จิตของเราไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งมั่นใน
อากิญจัญญายตนฌาน ไม่หลุดพ้น’ เมื่อพิจารณาเห็นว่า ‘อากิญจัญญายตนฌาน
นั่นสงบ’ เรามีความดำริดังนี้ว่า ‘โทษในวิญญาณัญจายตนฌาน เรายังไม่ได้เห็นและ
ไม่ได้ทำให้มาก อานิสงส์ในอากิญจัญญายตนฌาน เรายังไม่ได้บรรลุและไม่ได้เสพ
เพราะเหตุนั้น จิตของเราจึงไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งมั่นในอากิญจัญญายตนฌาน
ไม่หลุดพ้น’ เมื่อพิจารณาเห็นว่า ‘อากิญจัญญายตนฌานนั่นสงบ’ เราจึงมีความดำริ
ดังนี้ว่า ‘ถ้าเราเห็นโทษในวิญญาณัญจายตนฌานแล้วทำให้มาก ได้บรรลุอานิสงส์ใน
อากิญจัญญายตนฌานแล้วเสพอานิสงส์นั้น เป็นไปได้ที่จิตของเราจะพึงแล่นไป เลื่อมใส
ตั้งมั่นในอากิญจัญญายตนฌาน หลุดพ้น’ เมื่อพิจารณาเห็นว่า ‘อากิญจัญญายตน-


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๕๒๙ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๔.มหาวรรค ๑๐.ตปุสสสูตร
ฌานนั่นสงบ’ ต่อมาเราได้เห็นโทษในวิญญาณัญจายตนฌานแล้วทำให้มาก ได้บรรลุ
อานิสงส์ในอากิญจัญญายตนฌานแล้วเสพอานิสงส์นั้น จิตของเราจึงแล่นไป เลื่อมใส
ตั้งมั่นในอากิญจัญญายตนฌาน หลุดพ้น เมื่อพิจารณาเห็นว่า ‘อากิญจัญญายตน-
ฌานนั่นสงบ’ อานนท์ เราล่วงวิญญาณัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุ
อากิญจัญญายตนฌาน โดยกำหนดว่า ‘ไม่มีอะไร’ อยู่ เมื่อเราอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้
สัญญามนสิการที่ประกอบด้วยวิญญาณัญจายตนฌานยังฟุ้งขึ้น ข้อนั้นเป็นความกด
ดันแก่เรา ทุกข์พึงเกิดขึ้นแก่คนผู้มีสุขเพียงเพื่อความกดดัน ฉันใด สัญญามนสิการที่
ประกอบด้วยวิญญาณัญจายตนฌานย่อมฟุ้งขึ้น ข้อนั้นเป็นความกดดันแก่เรา ฉันนั้น
อานนท์ เราจึงมีความดำริดังนี้ว่า ‘ทางที่ดี เราควรล่วงอากิญจัญญายตนฌาน
โดยประการทั้งปวง บรรลุเนวสัญญานาสัญญายตนฌานอยู่ จิตของเราไม่แล่นไป
ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งมั่นในเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน ไม่หลุดพ้น’ เมื่อพิจารณา
เห็นว่า ‘เนวสัญญานาสัญญายตนฌานนั่นสงบ’ เราจึงมีความดำริดังนี้ว่า ‘อะไร
หนอแล เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้จิตของเราไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งมั่นในเนวสัญญานา-
สัญญายตนฌาน ไม่หลุดพ้น’ เมื่อพิจารณาเห็นว่า ‘เนวสัญญานาสัญญายตนฌาน
นั่นสงบ’ เรามีความดำริดังนี้ว่า ‘โทษในอากิญจัญญายตนฌาน เรายังไม่ได้เห็นและ
ไม่ได้ทำให้มาก อานิสงส์ในเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน เรายังไม่ได้บรรลุและไม่ได้
เสพ เพราะเหตุนั้น จิตของเราจึงไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งมั่นในเนวสัญญานา-
สัญญายตนฌาน ไม่หลุดพ้น’ เมื่อพิจารณาเห็นว่า ‘เนวสัญญานาสัญญายตนฌาน
นั่นสงบ’ เราจึงมีความดำริดังนี้ว่า ‘ถ้าเราเห็นโทษในอากิญจัญญายตนฌานแล้วทำ
ให้มาก ได้บรรลุอานิสงส์ในเนวสัญญานาสัญญายตนฌานแล้วเสพอานิสงส์นั้น เป็น
ไปได้ที่จิตของเราพึงแล่นไป เลื่อมใส ตั้งมั่นในเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน หลุดพ้น’
เมื่อพิจารณาเห็นว่า ‘เนวสัญญานาสัญญายตนฌานนั่นสงบ’ ต่อมาเราได้เห็นโทษใน
อากิญจัญญายตนฌานแล้วทำให้มาก ได้บรรลุอานิสงส์ในเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน
แล้วเสพอานิสงส์นั้น จิตของเราจึงแล่นไป เลื่อมใส ตั้งมั่นในเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๕๓๐ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๔.มหาวรรค ๑๐.ตปุสสสูตร
หลุดพ้น เมื่อพิจารณาเห็นว่า ‘เนวสัญญานาสัญญายตนฌานนั่นสงบ’ อานนท์
เราล่วงอากิญจัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน
อยู่ เมื่อเราอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้ สัญญามนสิการที่ประกอบด้วยอากิญจัญญายตนฌาน
ยังฟุ้งขึ้น ข้อนั้นเป็นความกดดันแก่เรา ทุกข์พึงเกิดขึ้นแก่คนผู้มีสุขเพียงเพื่อความ
กดดัน ฉันใด สัญญามนสิการที่ประกอบด้วยอากิญจัญญายตนฌานย่อมฟุ้งขึ้น ข้อ
นั้นเป็นความกดดันแก่เรา ฉันนั้น
อานนท์ เราจึงมีความดำริดังนี้ว่า ‘ทางที่ดี เราควรล่วงเนวสัญญานาสัญญายตน-
ฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุสัญญาเวทยิตนิโรธอยู่ จิตของเราไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส
ไม่ตั้งมั่นในสัญญาเวทยิตนิโรธ ไม่หลุดพ้น’ เมื่อพิจารณาเห็นว่า ‘สัญญาเวทยิตนิโรธ
นั่นสงบ’ เราจึงมีความดำริดังนี้ว่า ‘อะไรหนอแลเป็นเหตุ เป็นปัจจัยให้จิตของเรา
ไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งมั่นในสัญญาเวทยิตนิโรธ ไม่หลุดพ้น’ เมื่อพิจารณา
เห็นว่า ‘สัญญาเวทยิตนิโรธนั่นสงบ’ เราจึงมีความดำริดังนี้ว่า ‘โทษในเนวสัญญานา-
สัญญายตนฌานเรายังไม่ได้เห็นและไม่ได้ทำให้มาก อานิสงส์ในสัญญาเวทยิตนิโรธ
เรายังไม่ได้บรรลุและไม่ได้เสพ เพราะเหตุนั้น จิตของเราจึงไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส
ไม่ตั้งมั่นในสัญญาเวทยิตนิโรธ ไม่หลุดพ้น’ เมื่อพิจารณาเห็นว่า ‘สัญญาเวทยิตนิโรธ
นั่นสงบ’ เราจึงมีความดำริดังนี้ว่า ‘ถ้าเราเห็นโทษในเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน
แล้วทำให้มาก ได้บรรลุอานิสงส์ในสัญญาเวทยิตนิโรธ แล้วเสพอานิสงส์นั้น เป็นไป
ได้ที่จิตของเราจะพึงแล่นไป เลื่อมใส ตั้งมั่นในสัญญาเวทยิตนิโรธ หลุดพ้น เมื่อ
พิจารณาเห็นว่า ‘สัญญาเวทยิตนิโรธนั่นสงบ’ ต่อมาเราได้เห็นโทษในเนวสัญญานา-
สัญญายตนฌานแล้วทำให้มาก ได้บรรลุอานิสงส์ในสัญญาเวทยิตนิโรธแล้วเสพ
อานิสงส์นั้น จิตของเราจึงแล่นไป เลื่อมใส ตั้งมั่นในสัญญาเวทยิตนิโรธ หลุดพ้น
เมื่อพิจารณาเห็นว่า ‘สัญญาเวทยิตนิโรธนั่นสงบ’ อานนท์ เราล่วงเนวสัญญานา-
สัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุสัญญาเวทยิตนิโรธอยู่ อาสวะทั้งหลาย
ของเราได้ถึงความหมดสิ้นแล้ว เพราะเห็นด้วยปัญญา


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๕๓๑ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๔.มหาวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค
อานนท์ เมื่อใด อนุปุพพวิหารสมาบัติ ๙ ประการนี้ เรายังเข้าไม่ได้ ออกไม่ได้
ทั้งโดยอนุโลมและปฏิโลมอย่างนี้ เมื่อนั้น เราก็ยังไม่ยืนยันว่า เป็นผู้ตรัสรู้สัมมา-
สัมโพธิญาณอันยอดเยี่ยมในโลกพร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์
พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์
แต่เมื่อใด อนุปุพพวิหารสมาบัติ ๙ ประการนี้ เราเข้าก็ได้ ออกก็ได้ ทั้งโดย
อนุโลมและปฏิโลมอย่างนี้ เมื่อนั้น เราจึงยืนยันได้ว่า เป็นผู้ตรัสรู้สัมมาสัมโพธิญาณ
อันยอดเยี่ยมในโลกพร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์พร้อมทั้ง
สมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ ก็แลญาณทัสสนะได้เกิดขึ้นแก่เราว่า ‘เจโตวิมุตติ
ของเราไม่กำเริบ ชาตินี้เป็นชาติสุดท้าย บัดนี้ ภพใหม่ไม่มีอีก”
ตปุสสสูตรที่ ๑๐ จบ
มหาวรรคที่ ๔ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. อนุปุพพวิหารสูตร ๒. อนุปุพพวิหารสมาปัตติสูตร
๓. นิพพานสุขสูตร ๔. คาวีอุปมาสูตร
๕. ฌานสูตร ๖. อานันทสูตร
๗. โลกายติกสูตร ๘. เทวาสุรสังคามสูตร
๙. นาคสูตร ๑๐. ตปุสสสูตร


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๕๓๒ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๕.สามัญญวรรค ๑.สัมพาธสูตร
๕. สามัญญวรรค
หมวดว่าด้วยสามัญญธรรม
๑. สัมพาธสูตร
ว่าด้วยวิธีบรรลุช่องว่างในที่คับแคบ๑
[๔๒] สมัยหนึ่ง ท่านพระอานนท์อยู่ ณ โฆสิตาราม เขตกรุงโกสัมพี
ครั้งนั้นแล ท่านพระอุทายีเข้าไปหาท่านพระอานนท์ถึงที่อยู่ สนทนาปราศรัยกับ
ท่านพอเป็นที่บันเทิงใจพอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กล่าวกับท่าน
พระอานนท์ดังนี้ว่า “ผู้มีอายุ ปัญจาลจัณฑเทพบุตรได้กล่าวไว้ดังนี้ว่า
‘พระพุทธเจ้าพระองค์ใด ผู้ทรงหลีกเร้นอยู่
ทรงเป็นพระมุนีผู้ประเสริฐ ได้ตรัสรู้ฌานแล้ว
พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น มีพระปัญญากว้างขวาง
ได้ทรงรู้วิธีบรรลุช่องว่างในที่คับแคบ’
ผู้มีอายุ ที่คับแคบ เป็นอย่างไร วิธีบรรลุช่องว่างในที่คับแคบ พระผู้มีพระภาค
ตรัสไว้อย่างไร”
ท่านพระอานนท์กล่าวว่า “ผู้มีอายุ กามคุณ ๕ ประการนี้ พระผู้มีพระภาค
ตรัสว่า ที่คับแคบ
กามคุณ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. รูปที่พึงรู้แจ้งทางตา อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก
ชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัด
๒. เสียงที่พึงรู้แจ้งทางหู ฯลฯ

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบข้อ ๓๔ (นิพพานสุขสูตร) หน้า ๕๐๐ และดูเชิงอรรถที่ ๑ ข้อ ๓๗ หน้า ๕๑๓ ในเล่มนี้ และดู ที.ม.
๑๐/๒๘๘/๑๘๓, ที.ม.อ. ๒/๒๘๘/๒๕๕

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๕๓๓ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๕.สามัญญวรรค ๑.สัมพาธสูตร
๓. กลิ่นที่พึงรู้แจ้งทางจมูก ฯลฯ
๔. รสที่พึงรู้แจ้งทางลิ้น ฯลฯ
๕. โผฏฐัพพะที่พึงรู้แจ้งทางกาย อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก
ชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัด
ผู้มีอายุ กามคุณ ๕ ประการนี้แล พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ที่คับแคบ
ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้สงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน
ฯลฯ อยู่ พระผู้มีพระภาคตรัสวิธีบรรลุช่องว่างในที่คับแคบโดยปริยาย๑หนึ่งด้วยเหตุ
เพียงเท่านี้ แม้ในปฐมฌานนั้นก็ยังมีที่คับแคบ อะไรชื่อว่าที่คับแคบในปฐมฌานนั้น
วิตกและวิจารที่ยังไม่ดับในปฐมฌานนั้น ชื่อว่าที่คับแคบในปฐมฌานนี้
ภิกษุ เพราะวิตกวิจารสงบระงับไป บรรลุทุติยฌาน ฯลฯ อยู่ พระผู้มีพระภาค
ตรัสวิธีบรรลุช่องว่างในที่คับแคบโดยปริยายหนึ่ง ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ แม้ในทุติยฌาน
นั้น ก็ยังมีที่คับแคบ อะไรชื่อว่าที่คับแคบในทุติยฌานนั้น ปีติที่ยังไม่ดับในทุติยฌานนั้น
ชื่อว่าที่คับแคบในทุติยฌานนี้
ภิกษุ เพราะปีติจางคลายไป เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วย
นามกาย บรรลุตติยฌาน ฯลฯ พระผู้มีพระภาคตรัสวิธีบรรลุช่องว่างในที่คับแคบ
โดยปริยายหนึ่ง ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ แม้ในตติยฌานนั้นก็ยังมีที่คับแคบ อะไรชื่อว่า
ที่คับแคบในตติยฌานนั้น อุเบกขาและสุขที่ยังไม่ดับในตติยฌานนั้น ชื่อว่าที่คับแคบ
ในตติยฌานนี้
ภิกษุ เพราะละสุขและทุกข์ได้ เพราะโสมนัสโทมนัสดับไปก่อนแล้ว บรรลุ
จตุตถฌาน ฯลฯ อยู่ พระผู้มีพระภาคตรัสวิธีบรรลุถึงช่องว่างในที่คับแคบโดยปริยายหนึ่ง
ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ แม้ในจตุตถฌานนั้นก็ยังมีที่คับแคบ อะไรชื่อว่าที่คับแคบใน
จตุตถฌานนั้น รูปสัญญาที่ยังไม่ดับในจตุตถฌานนั้น ชื่อว่าที่คับแคบในจตุตถฌานนี้

เชิงอรรถ :
๑ ปริยาย ในที่นี้หมายถึงเหตุหนึ่ง ๆ หรือวิธีหนึ่ง ๆ กล่าวคือทรงแสดงว่าวิธีแต่ละอย่าง ต่างก็เป็น “ช่องว่าง”
ในที่คับแคบแต่ละอย่าง เช่น ปฐมฌาน เป็นช่องว่างในที่คับแคบคือกามคุณ ๕ และนิวรณ์ ๕ ทุติยฌาน
เป็นช่องว่างในที่คับแคบคือวิตกและวิจาร (องฺ.นวก.อ. ๓/๔๒/๓๑๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๕๓๔ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๕.สามัญญวรรค ๑.สัมพาธสูตร
ภิกษุบรรลุอากาสานัญจายตนฌานโดยกำหนดว่า ‘อากาศหาที่สุดมิได้’ อยู่
เพราะล่วงรูปสัญญา ดับปฏิฆสัญญา ไม่กำหนดนานัตตสัญญา พระผู้มีพระภาค
ตรัสวิธีบรรลุช่องว่างในที่คับแคบโดยปริยายหนึ่ง ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ แม้ใน
อากาสานัญจายตนฌานนั้นก็ยังมีที่คับแคบ อะไรชื่อว่าที่คับแคบในอากาสานัญจายตน-
ฌานนั้น อากาสานัญจายตนสัญญาที่ยังไม่ดับในอากาสานัญจายตนฌานนั้น ชื่อว่า
ที่คับแคบในอากาสานัญจายตนฌานนี้
ภิกษุล่วงอากาสานัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุวิญญาณัญจายตน-
ฌาน โดยกำหนดว่า ‘วิญญาณหาที่สุดมิได้’ อยู่ พระผู้มีพระภาคตรัสวิธีบรรลุช่องว่าง
ในที่คับแคบโดยปริยายหนึ่ง ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ แม้ในวิญญาณัญจายตนฌานก็ยังมี
ที่คับแคบ อะไรชื่อว่าที่คับแคบในวิญญาณัญจายตนฌานนั้น วิญญาณัญจายตนสัญญา
ที่ยังไม่ดับในวิญญาณัญจายตนฌานนั้น ชื่อว่าที่คับแคบในวิญญาณัญจายตนฌานนี้
ภิกษุล่วงวิญญาณัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุอากิญจัญญายตนฌาน
โดยกำหนดว่า ‘ไม่มีอะไร’ อยู่ พระผู้มีพระภาคตรัสวิธีบรรลุช่องว่างในที่คับแคบโดย
ปริยายหนึ่ง ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ แม้ในอากิญจัญญายตนฌานก็ยังมีที่คับแคบ อะไร
ชื่อว่าที่คับแคบในอากิญจัญญายตนฌานนั้น อากิญจัญญายตนสัญญาที่ยังไม่ดับใน
อากิญจัญญายตนฌานนั้น ชื่อว่าที่คับแคบในอากิญจัญญายตนฌานนี้
ภิกษุล่วงอากิญจัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุเนวสัญญานา-
สัญญายตนฌานอยู่ พระผู้มีพระภาคตรัสวิธีบรรลุช่องว่างในที่คับแคบโดยปริยายหนึ่ง
ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ แม้ในเนวสัญญานาสัญญายตนฌานก็ยังมีที่คับแคบ อะไรชื่อว่า
ที่คับแคบในเนวสัญญานาสัญญายตนฌานนั้น เนวสัญญานาสัญญายตนสัญญา
ที่ยังไม่ดับในเนวสัญญานาสัญญายตนฌานนั้น ชื่อว่าที่คับแคบในเนวสัญญานา-
สัญญายตนฌานนี้


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๕๓๕ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๕.สามัญญวรรค ๒.กายสักขีสูตร
ภิกษุล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุสัญญา-
เวทยิตนิโรธอยู่ อาสวะทั้งหลายของเธอหมดสิ้นแล้ว เพราะเห็นด้วยปัญญา ผู้มีอายุ
พระผู้มีพระภาคตรัสวิธีบรรลุช่องว่างในที่คับแคบโดยนิปปริยาย๑แล้ว ด้วยเหตุเพียง
เท่านี้
สัมพาธสูตรที่ ๑ จบ

๒. กายสักขีสูตร
ว่าด้วยบุคคลผู้เป็นกายสักขี
[๔๓] ท่านพระอุทายีถามว่า “ผู้มีอายุ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ‘กายสักขี
กายสักขี’ ผู้มีอายุ ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอ พระผู้มีพระภาคจึงตรัสเรียกบุคคล
ว่า กายสักขี”๒
ท่านพระอานนท์ตอบว่า “ผู้มีอายุ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้สงัดจากกาม ฯลฯ
บรรลุปฐมฌาน ฯลฯ และอายตนะคือปฐมฌานนั้นมีอยู่โดยประการใด ๆ เธอสัมผัส
อายตนะคือปฐมฌานนั้นด้วยกาย๓ โดยประการนั้น ๆ อยู่ ด้วยเหตุเพียงเท่านี้
พระผู้มีพระภาคจึงตรัสเรียกบุคคลว่า ‘กายสักขี’ โดยปริยายแล้ว (๑)
ภิกษุบรรลุทุติยฌาน ฯลฯ บรรลุตติยฌาน ฯลฯ บรรลุจตุตถฌาน ฯลฯ
และอายตนะคือจตุตถฌานนั้นมีอยู่โดยประการใด ๆ เธอสัมผัสอายตนะคือจตุตถฌาน
นั้นด้วยกายโดยประการนั้น ๆ อยู่ ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ พระผู้มีพระภาคจึงตรัสเรียก
บุคคลว่า ‘กายสักขี’ โดยปริยายแล้ว (๒-๔)

เชิงอรรถ :
๑ นิปปริยาย วิธีนี้เป็นวิธีบรรลุช่องว่างคือการสิ้นอาสวะได้อย่างดีเยี่ยม เพราะเป็นวิธีที่ละที่คับแคบได้อย่าง
สิ้นเชิง (องฺ.นวก.อ. ๓/๔๒/๓๑๕)
๒ ดูเชิงอรรถที่ ๔ สัตตกนิบาต ข้อ ๑๔ (ปุคคลสูตร) หน้า ๒๐ ในเล่มนี้
๓ กาย ในที่นี้หมายถึงนามกาย (องฺ.นวก.อ. ๓/๔๓/๓๑๖)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๕๓๖ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๕.สามัญญวรรค ๓.ปัญญาวิมุตตสูตร
ภิกษุบรรลุอากาสานัญจายตนฌานโดยกำหนดว่า ‘อากาศหาที่สุดมิได้’ อยู่
เพราะล่วงรูปสัญญา ดับปฏิฆสัญญา ไม่กำหนดนานัตตสัญญา และอายตนะคือ
อากาสานัญจายตนฌานนั้นมีอยู่โดยประการใด ๆ เธอสัมผัสอายตนะคือ
อากาสานัญจายตนฌานนั้นด้วยกายโดยประการนั้น ๆ อยู่ ด้วยเหตุเพียงเท่านี้
พระผู้มีพระภาคจึงตรัสเรียกบุคคลว่า ‘กายสักขี’ โดยปริยายแล้ว (๕-๘)
ภิกษุล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุสัญญา-
เวทยิตนิโรธอยู่ อาสวะทั้งหลายของเธอหมดสิ้นแล้ว เพราะเห็นด้วยปัญญา และ
อายตนะคือสัญญาเวทยิตนิโรธนั้นมีอยู่ โดยประการใด ๆ เธอสัมผัสอายตนะคือ
สัญญาเวทยิตนิโรธนั้นด้วยกายโดยประการนั้น ๆ ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ พระผู้มี
พระภาคจึงตรัสเรียกบุคคลว่า ‘กายสักขี’ โดยนิปปริยายแล้ว” (๙)
กายสักขีสูตรที่ ๒ จบ

๓. ปัญญาวิมุตตสูตร
ว่าด้วยบุคคลผู้เป็นปัญญาวิมุต
[๔๔] ท่านพระอุทายีถามว่า “ผู้มีอายุ พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกบุคคลว่า
‘ปัญญาวิมุต ปัญญาวิมุต’ ผู้มีอายุ ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอ พระผู้มีพระภาคจึงตรัส
เรียกบุคคลว่า ปัญญาวิมุต”๑
ท่านพระอานนท์ตอบว่า “ผู้มีอายุ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้สงัดจากกาม ฯลฯ
บรรลุปฐมฌาน ฯลฯ และเธอย่อมรู้ชัดปฐมฌานนั้นด้วยปัญญา ด้วยเหตุเพียงเท่านี้
พระผู้มีพระภาคจึงตรัสเรียกบุคคลว่า ‘ปัญญาวิมุต’ โดยปริยายแล้ว
ฯลฯ๒

เชิงอรรถ :
๑ ดูเชิงอรรถที่ ๓ สัตตกนิบาต ข้อ ๑๔ (ปุคคลสูตร) หน้า ๒๐ ในเล่มนี้
๒ ดูความเต็มเทียบกับข้อ ๔๓ (กายสักขีสูตร) ในวรรคเดียวกันนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๕๓๗ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๕.สามัญญวรรค ๔.อุภโตภาควิมุตตสูตร
ภิกษุล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุสัญญา-
เวทยิตนิโรธอยู่ อาสวะทั้งหลายของเธอหมดสิ้นแล้ว เพราะเห็นด้วยปัญญา และเธอ
ย่อมรู้ชัดสัญญาเวทยิตนิโรธนั้นด้วยปัญญา ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ พระผู้มีพระภาค
จึงตรัสเรียกบุคคลว่า ‘ปัญญาวิมุต’ โดยนิปปริยายแล้ว”
ปัญญาวิมุตตสูตรที่ ๓ จบ

๔. อุภโตภาควิมุตตสูตร
ว่าด้วยบุคคลผู้เป็นอุภโตภาควิมุต
[๔๕] ท่านพระอุทายีถามว่า “ผู้มีอายุ พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกบุคคลว่า
‘อุภโตภาควิมุต อุภโตภาควิมุต’ “ผู้มีอายุ ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอ พระผู้มีพระภาค
จึงตรัสเรียกบุคคลว่า ‘อุภโตภาควิมุต”๑
ท่านพระอานนท์ตอบว่า “ผู้มีอายุ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้สงัดจากกาม ฯลฯ
บรรลุปฐมฌาน ฯลฯ และอายตนะคือปฐมฌานนั้นมีอยู่โดยประการใดๆ เธอสัมผัส
อายตนะคือปฐมฌานนั้นด้วยกายโดยประการนั้นๆ อยู่ และเธอรู้ชัดอายตนะคือ
ปฐมฌานนั้นด้วยปัญญา ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ พระผู้มีพระภาคจึงตรัสเรียกบุคคลว่า
‘อุภโตภาควิมุต’ โดยปริยายแล้ว
ฯลฯ๒
ภิกษุล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุสัญญา-
เวทยิตนิโรธอยู่ อาสวะทั้งหลายของเธอหมดสิ้นแล้ว เพราะเห็นด้วยปัญญา อายตนะ

เชิงอรรถ :
๑ ดูเชิงอรรถที่ ๒ ข้อ ๑๔ (ปุคคลสูตร) หน้า ๒๐ ในเล่มนี้
๒ ดูความเต็มเทียบกับข้อ ๔๓ (กายสักขีสูตร) ในวรรคเดียวกันนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๕๓๘ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๕.สามัญญวรรค ๕.สันทิฏฐิกธัมมสูตร
คือสัญญาเวทยิตนิโรธนั้นมีอยู่โดยประการใดๆ เธอสัมผัสอายตนะคือสัญญา-
เวทยิตนิโรธนั้นด้วยกายโดยประการนั้นๆ อยู่ และเธอรู้ชัดอายตนะคือสัญญา-
เวทยิตนิโรธนั้นด้วยปัญญา ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ พระผู้มีพระภาคจึงตรัสเรียกบุคคล
ว่า ‘อุภโตภาควิมุต’ โดยนิปปริยายแล้ว”
อุภโตภาควิมุตตสูตรที่ ๔ จบ

๕. สันทิฏฐิกธัมมสูตร
ว่าด้วยสันทิฏฐิกธรรม
[๔๖] ท่านพระอุทายีถามว่า “ผู้มีอายุ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ‘สันทิฏฐิก-
ธรรม๑ สันทิฏฐิกธรรม’ ผู้มีอายุ ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอ พระผู้มีพระภาคจึงตรัส
สันทิฏฐิกธรรม”
ท่านพระอานนท์ตอบว่า “ผู้มีอายุ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้สงัดจากกาม ฯลฯ
บรรลุปฐมฌาน ฯลฯ ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ พระผู้มีพระภาคได้ตรัสสันทิฏฐิกธรรม
โดยปริยายแล้ว
ฯลฯ๒
ภิกษุล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนโดยประการทั้งปวง บรรลุสัญญาเวทยิตนิโรธ
อยู่ อาสวะทั้งหลายของเธอหมดสิ้นแล้วเพราะเห็นด้วยปัญญา ด้วยเหตุเพียงเท่านี้
พระผู้มีพระภาคจึงตรัสสันทิฏฐิกธรรม โดยนิปปริยายแล้ว”
สันทิฏฐิกธัมมสูตรที่ ๕ จบ

เชิงอรรถ :
๑ สันทิฏฐิกธรรม หมายถึงธรรมที่ผู้ปฏิบัติจะพึงเห็นเอง (องฺ.นวก.อ. ๓/๔๖-๕๑/๓๑๖)
๒ ดูความเต็มเทียบกับข้อ ๔๓ (กายสักขีสูตร) ในวรรคเดียวกันนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๕๓๙ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๕.สามัญญวรรค ๗.นิพพานสูตร
๖. สันทิฏฐิกนิพพานสูตร
ว่าด้วยสันทิฏฐิกนิพพาน
[๔๗] ท่านพระอุทายีถามว่า “ผู้มีอายุ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ‘สันทิฏฐิก-
นิพพาน สันทิฏฐิกนิพพาน’ ท่านผู้มีอายุ ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอ พระผู้มีพระภาค
จึงตรัสสันทิฏฐิกนิพพาน”๑
ท่านพระอานนท์ตอบว่า “ผู้มีอายุ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้สงัดจากกาม ฯลฯ
บรรลุปฐมฌาน ฯลฯ ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ พระผู้มีพระภาคจึงตรัสสันทิฏฐิกนิพพาน
โดยปริยายแล้ว
ฯลฯ
ภิกษุล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุสัญญา-
เวทยิตนิโรธอยู่ อาสวะทั้งหลายของเธอหมดสิ้นแล้วเพราะเห็นด้วยปัญญา ด้วยเหตุ
เพียงเท่านี้ พระผู้มีพระภาคจึงตรัสสันทิฏฐิกนิพพาน โดยนิปปริยายแล้ว”
สันทิฏฐิกนิพพานสูตรที่ ๖ จบ

๗. นิพพานสูตร
ว่าด้วยนิพพาน
[๔๘] ท่านพระอุทายีถามว่า “ผู้มีอายุ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ‘นิพพาน
นิพพาน’
ฯลฯ
นิพพานสูตรที่ ๗ จบ

เชิงอรรถ :
๑ สันทิฏฐิกนิพพาน หมายถึงนิพพานที่ผู้ปฏิบัติจะพึงเห็นเอง นิพพาน ในที่นี้หมายถึงความดับกิเลส (องฺ.
นวก.อ. ๓/๔๖-๕๑/๓๑๖)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๕๔๐ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๕.สามัญญวรรค ๑๐.ทิฏฐธัมมนิพพานสูตร
๘. ปรินิพพานสูตร
ว่าด้วยปรินิพพาน
[๔๙] ท่านพระอุทายีถามว่า ผู้มีอายุ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ‘ปรินิพพาน ปรินิพพาน’
ฯลฯ
ปรินิพพานสูตรที่ ๘ จบ

๙. ตทังคนิพพานสูตร
ว่าด้วยตทังคนิพพาน
[๕๐] ท่านพระอุทายีถามว่า ผู้มีอายุ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ‘ตทังคนิพพาน๑
ตทังคนิพพาน’
ฯลฯ
ตทังคนิพพานสูตรที่ ๙ จบ

๑๐ . ทิฏฐธัมมนิพพานสูตร
ว่าด้วยทิฏฐธัมมนิพพาน
[๕๑] ท่านพระอุทายีถามว่า “ผู้มีอายุ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ‘ทิฏฐ-
ธัมมนิพพาน๒ ทิฏฐธัมมนิพพาน’ ผู้มีอายุ ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอ พระผู้มี
พระภาคจึงตรัสทิฏฐธัมมนิพพาน

เชิงอรรถ :
๑ ตทังคนิพพาน หมายถึงความดับกิเลสด้วยองค์นั้น ๆ คือดับกิเลสด้วยฌานนั้น ๆ มีปฐมฌานเป็นต้น
(องฺ.นวก.อ. ๓/๔๖-๕๑/๓๑๖)
๒ ทิฏฐธัมมนิพพาน หมายถึงนิพพานในปัจจุบัน (องฺ.นวก.อ. ๓/๔๖-๕๑/๓๑๖)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๕๔๑ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๕.สามัญญวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค
พระอานนท์ตอบว่า “ผู้มีอายุ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้สงัดจากกาม และ
กุศลธรรมทั้งหลาย บรรลุปฐมฌาน ฯลฯ ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ พระผู้มีพระภาค
จึงตรัสทิฏฐธัมมนิพพาน โดยปริยายแล้ว
ฯลฯ
ภิกษุล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุสัญญา-
เวทยิตนิโรธอยู่ อาสวะทั้งหลายของเธอหมดสิ้นแล้ว เพราะเห็นด้วยปัญญา ด้วยเหตุ
เพียงเท่านี้ พระผู้มีพระภาคจึงตรัสทิฏฐธัมมนิพพาน โดยนิปปริยายแล้ว”
ทิฏฐธัมมนิพพานสูตรที่ ๑๐ จบ
สามัญญวรรคที่ ๕ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. สัมพาธสูตร ๒. กายสักขีสูตร
๓. ปัญญาวิมุตตสูตร ๔. อุภโตภาควิมุตตสูตร
๕. สันทิฏฐิกธัมมสูตร ๖. สันทิฏฐิกนิพพานสูตร
๗. นิพพานสูตร ๘. ปรินิพพานสูตร
๙. ตทังคนิพพานสูตร ๑๐. ทิฏฐธัมมนิพพานสูตร

ปฐมปัณณาสก์ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๕๔๒ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๒.ทุติยปัณณาสก์] ๑.เขมวรรค ๒. เขมัปปัตตสูตร
๒. ทุติยปัณณาสก์
๑. เขมวรรค
หมวดว่าด้วยเหตุให้ตรัสเรียกว่า เขมะ
๑. เขมสูตร
ว่าด้วยเหตุให้ตรัสเรียกว่า เขมะ
[๕๒] ท่านพระอุทายีถามว่า “ผู้มีอายุ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ‘เขมะ๑ เขมะ’
ผู้มีอายุ ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอ พระผู้มีพระภาคจึงตรัสเขมะ”
พระอานนท์ตอบว่า “ผู้มีอายุ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม ฯลฯ
บรรลุปฐมฌาน ฯลฯ ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ พระผู้มีพระภาคจึงตรัสเขมะ โดยปริยายแล้ว
ฯลฯ๒
ภิกษุล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุสัญญา-
เวทยิตนิโรธอยู่ อาสวะทั้งหลายของเธอหมดสิ้นแล้ว เพราะเห็นด้วยปัญญา ด้วยเหตุ
เพียงเท่านี้ พระผู้มีพระภาคจึงตรัสเขมะ โดยนิปปริยายแล้ว”
เขมสูตรที่ ๑ จบ

๒. เขมัปปัตตสูตร
ว่าด้วยเหตุให้ตรัสเรียกว่า เขมปัตตะ
[๕๓] ท่านพระอุทายีถามว่า “ผู้มีอายุ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ‘เขมปัตตะ
เขมปัตตะ’
ฯลฯ
เขมัปปัตตสูตรที่ ๒ จบ

เชิงอรรถ :
๑ เขมะ ในที่นี้หมายถึงไม่มีอุปัททวะ (องฺ.นวก.อ. ๓/๕๒/๓๑๗)
๒ ดูความเต็มเทียบกับนวกนิบาต ข้อ ๔๓ (กายสักขีสูตร) ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๕๔๓ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๒.ทุติยปัณณาสก์] ๑.เขมวรรค ๖. อภยัปปัตตสูตร
๓. อมตสูตร
ว่าด้วยเหตุให้ตรัสเรียกว่า อมตะ
[๕๔] ท่านพระอุทายีถามว่า “ผู้มีอายุ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ‘อมตะ อมตะ’
ฯลฯ
อมตสูตรที่ ๓ จบ

๔. อมตัปปัตตสูตร
ว่าด้วยเหตุให้ตรัสเรียกว่า อมตปัตตะ
[๕๕] ท่านพระอุทายีถามว่า “ผู้มีอายุ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ‘อมตปัตตะ
อมตปัตตะ’
ฯลฯ
อมตัปปัตตสูตรที่ ๔ จบ

๕. อภยสูตร
ว่าด้วยเหตุให้ตรัสเรียกว่า อภยะ
[๕๖] ท่านพระอุทายีถามว่า “ผู้มีอายุ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ‘อภยะ อภยะ’
ฯลฯ
อภยสูตรที่ ๕ จบ

๖. อภยัปปัตตสูตร
ว่าด้วยเหตุให้ตรัสเรียกว่า อภยปัตตะ
[๕๗] ท่านพระอุทายีถามว่า “ผู้มีอายุ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ‘อภยปัตตะ
อภยปัตตะ’
ฯลฯ
อภยัปปัตตสูตรที่ ๖ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๕๔๔ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๒.ทุติยปัณณาสก์] ๑.เขมวรรค ๑๐.อนุปุพพนิโรธสูตร
๗. ปัสสัทธิสูตร
ว่าด้วยเหตุให้ตรัสเรียกว่า ปัสสัทธิ
[๕๘] ท่านพระอุทายีถามว่า “ผู้มีอายุ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ‘ปัสสัทธิ
ปัสสัทธิ’
ฯลฯ
ปัสสัทธิสูตรที่ ๗ จบ

๘. อนุปุพพปัสสัทธิสูตร
ว่าด้วยเหตุให้ตรัสเรียกว่า อนุปุพพปัสสัทธิ
[๕๙] ท่านพระอุทายีถามว่า “ผู้มีอายุ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ‘อนุปุพพ-
ปัสสัทธิ อนุปุพพปัสสัทธิ’
ฯลฯ
อนุปุพพปัสสิทธิสูตรที่ ๘ จบ

๙. นิโรธสูตร
ว่าด้วยเหตุให้ตรัสเรียกว่า นิโรธ
[๖๐] ท่านพระอุทายีถามว่า “ผู้มีอายุ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ‘นิโรธ นิโรธ’
ฯลฯ
นิโรธสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. อนุปุพพนิโรธสูตร
ว่าด้วยเหตุให้ตรัสเรียกว่า อนุปุพพนิโรธ
[๖๑] ท่านพระอุทายีถามว่า “ผู้มีอายุ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ‘อนุปุพพ-
นิโรธ อนุปุพพนิโรธ’ ผู้มีอายุ ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอ พระผู้มีพระภาคจึงตรัส
อนุปุพพนิโรธ”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๕๔๕ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๒.ทุติยปัณณาสก์] ๑.เขมวรรค ๑๑.อภัพพสูตร
ท่านพระอานนท์ตอบว่า “ผู้มีอายุ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้สงัดจากกาม ฯลฯ
บรรลุปฐมฌาน ฯลฯ ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ พระผู้มีพระภาคจึงตรัสอนุปุพพนิโรธ
โดยปริยายแล้ว
ฯลฯ๑
ภิกษุล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุสัญญา-
เวทยิตนิโรธอยู่ อาสวะทั้งหลายของเธอหมดสิ้นแล้ว เพราะเห็นด้วยปัญญา ด้วยเหตุ
เพียงเท่านี้ พระผู้มีพระภาคจึงตรัสอนุปุพพนิโรธ โดยนิปปริยายแล้ว”
อนุปุพพนิโรธสูตรที่ ๑๐ จบ

๑๑. อภัพพสูตร
ว่าด้วยผู้อาจและไม่อาจเพื่อทำให้แจ้งอรหัตตผล
[๖๒] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุละธรรม ๙ ประการไม่ได้ ก็ไม่อาจทำให้แจ้ง
อรหัตตผลได้
ธรรม ๙ ประการ อะไรบ้าง คือ

๑. ราคะ (ความกำหนัด) ๒. โทสะ (ความคิดประทุษร้าย)
๓. โมหะ (ความหลง) ๔. โกธะ (ความโกรธ)
๕. อุปนาหะ (ความผูกโกรธ) ๖. มักขะ (ความลบหลู่คุณท่าน)
๗. ปลาสะ (ความตีเสมอ) ๘. อิสสา (ความริษยา)
๙. มัจฉริยะ (ความตระหนี่)

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุละธรรม ๙ ประการนี้ไม่ได้ ก็ไม่อาจทำให้แจ้งอรหัตตผลได้
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุละธรรม ๙ ประการได้แล้ว อาจทำให้แจ้งอรหัตตผลได้

เชิงอรรถ :
๑ ดูความเต็มเทียบกับนวกนิบาต ข้อ ๔๓ (กายสักขีสูตร) ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๕๔๖ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๒.ทุติยปัณณาสก์] ๑.เขมวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค
ธรรม ๙ ประการ อะไรบ้าง คือ

๑. ราคะ ๒. โทสะ
๓. โมหะ ๔. โกธะ
๕. อุปนาหะ ๖. มักขะ
๗. ปลาสะ ๘. อิสสา
๙. มัจฉริยะ

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุละธรรม ๙ ประการนี้ได้แล้ว อาจทำให้แจ้งอรหัตตผลได้
อภัพพสูตรที่ ๑๑ จบ
เขมวรรคที่ ๑ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. เขมสูตร ๒. เขมัปปัตตสูตร
๓. อมตสูตร ๔. อมตัปปัตตสูตร
๕. อภยสูตร ๖. อภยัปปัตตสูตร
๗. ปัสสัทธิสูตร ๘. อนุปุพพปัสสัทธิสูตร
๙. นิโรธสูตร ๑๐. อนุปุพพนิโรธสูตร
๑๑. อภัพพสูตร


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๕๔๗ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๒.ทุติยปัณณาสก์] ๒.สติปัฏฐานวรรค ๑.สิกขาทุพพัลยสูตร
๒. สติปัฏฐานวรรค
หมวดว่าด้วยสติปัฏฐาน
๑. สิกขาทุพพัลยสูตร
ว่าด้วยเหตุท้อแท้ในสิกขา๑
[๖๓] ภิกษุทั้งหลาย เหตุท้อแท้ในสิกขา ๕ ประการนี้
เหตุท้อแท้ในสิกขา ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. การฆ่าสัตว์ ๒. การลักทรัพย์
๓. การประพฤติผิดในกาม ๔. การพูดเท็จ
๕. การเสพของมึนเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นเหตุแห่งความประมาท
ภิกษุทั้งหลาย เหตุท้อแท้ในสิกขา ๕ ประการนี้แล
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ ประการ เพื่อละเหตุท้อแท้ในสิกขา
๕ ประการนี้
สติปัฏฐาน ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. พิจารณาเห็นกายในกาย มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัด
อภิชฌาและโทมนัสในโลกได้

เชิงอรรถ :
๑ คำว่า เหตุท้อแท้ในสิกขา แยกอธิบายได้ดังนี้ คือ (๑) เหตุท้อแท้ หมายถึงเหตุให้เบื่อหน่ายในการ
ประพฤติพรหมจรรย์ ได้แก่ การล่วงละเมิดศีล ๕ (๒) สิกขา หมายถึงสิกขา ๓ ประการ คือ อธิสีลสิกขา
อธิจิตตสิกขา และอธิปัญญาสิกขา และในสิกขา ๓ นั้น ในที่นี้ท่านประสงค์เอาอธิสีลสิกขา (เทียบ วิ.มหา.
(แปล) ๑/๔๕-๕๔/๓๓-๔๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๕๔๘ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๒.ทุติยปัณณาสก์] ๒.สติปัฏฐานวรรค ๒.นีวรณสูตร
๒. พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนา ฯลฯ
๓. พิจารณาเห็นจิตในจิต ฯลฯ
๔. พิจารณาเห็นธรรมในธรรม มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัด
อภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ ประการนี้ เพื่อละเหตุท้อแท้ใน
สิกขา ๕ ประการนี้แล
สิกขาทุพพัลยสูตรที่ ๑ จบ

๒. นีวรณสูตร
ว่าด้วยนิวรณ์
[๖๔] ภิกษุทั้งหลาย นิวรณ์ (ธรรมที่กั้นจิตไม่ให้บรรลุความดี) ๕ ประการนี้
นิวรณ์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. กามฉันทนิวรณ์ (นิวรณ์คือความพอใจในกาม)
๒. พยาปาทนิวรณ์ (นิวรณ์คือความคิดร้าย)
๓. ถีนมิทธนิวรณ์ (นิวรณ์คือความหดหู่และเซื่องซึม)
๔. อุทธัจจกุกกุจจนิวรณ์ (นิวรณ์คือความฟุ้งซ่านและร้อนใจ)
๕. วิจิกิจฉานิวรณ์ (นิวรณ์คือความลังเลสงสัย)
ภิกษุทั้งหลาย นิวรณ์ ๕ ประการนี้แล
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ ประการ เพื่อละนิวรณ์ ๕ ประการนี้แล
สติปัฏฐาน ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. พิจารณาเห็นกายในกาย มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัด
อภิชฌาและโทมนัสในโลกได้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๕๔๙ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๒.ทุติยปัณณาสก์] ๒.สติปัฏฐานวรรค ๓.กามคุณสูตร
๒. พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนา ฯลฯ
๓. พิจารณาเห็นจิตในจิต ฯลฯ
๔. พิจารณาเห็นธรรมในธรรม มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัด
อภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ ประการนี้ เพื่อละนิวรณ์ ๕ ประการ นี้แล
นีวรณสูตรที่ ๒ จบ

๓. กามคุณสูตร
ว่าด้วยกามคุณ
[๖๕] ภิกษุทั้งหลาย กามคุณ๑ ๕ ประการนี้
กามคุณ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. รูปที่พึงรู้แจ้งทางตา อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก
ชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัด
๒. เสียงที่พึงรู้แจ้งทางหู ฯลฯ
๓. กลิ่นที่พึงรู้แจ้งทางจมูก ฯลฯ
๔. รสที่พึงรู้แจ้งทางลิ้น ฯลฯ
๕. โผฏฐัพพะที่พึงรู้แจ้งทางกาย อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ
ชวนให้รัก ชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัด
ภิกษุทั้งหลาย กามคุณ ๕ ประการนี้แล
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ ประการ เพื่อละกามคุณ ๕ ประการ
นี้แล
ฯลฯ
กามคุณสูตรที่ ๓ จบ

เชิงอรรถ :
๑ ดูเชิงอรรถที่ ๓ นวกนิบาต ข้อ ๒๐ หน้า ๔๗๐ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๕๕๐ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๒.ทุติยปัณณาสก์] ๒.สติปัฏฐานวรรค ๔.อุปาทานักขันธสูตร
๔. อุปาทานักขันธสูตร
ว่าด้วยอุปาทานขันธ์
[๖๖] ภิกษุทั้งหลาย อุปาทานขันธ์๑ (ขันธ์อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่น) ๕
ประการนี้
อุปาทานขันธ์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. รูปูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือรูป)
๒. เวทนูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือเวทนา)
๓. สัญญูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือสัญญา)
๔. สังขารูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือสังขาร)
๕. วิญญาณูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือวิญญาณ)
ภิกษุทั้งหลาย อุปาทานขันธ์ ๕ ประการนี้แล
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ ประการนี้ เพื่อละอุปาทานขันธ์
๕ ประการนี้แล
ฯลฯ

อุปาทานักขันธสูตรที่ ๔ จบ

เชิงอรรถ :
๑ ดูเชิงอรรถที่ ๒ สัตตกนิบาต ข้อ ๕๖ (ติสสพรหมสูตร) หน้า ๑๐๔ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๕๕๑ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๒.ทุติยปัณณาสก์] ๒.สติปัฏฐานวรรค ๕. โอรัมภาคิยสูตร
๕. โอรัมภาคิยสูตร
ว่าด้วยโอรัมภาคิยสังโยชน์
[๖๗] ภิกษุทั้งหลาย โอรัมภาคิยสังโยชน์ (สังโยชน์เบื้องต่ำ) ๕ ประการนี้
โอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สักกายทิฏฐิ (ความเห็นว่าเป็นอัตตาของตน)
๒. วิจิกิจฉา (ความลังเลสงสัย)
๓. สีลัพพตปรามาส (ความยึดมั่นศีลพรต)
๔. กามฉันทะ (ความพอใจในกาม)
๕. พยาบาท (ความคิดร้าย)
ภิกษุทั้งหลาย โอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการนี้แล
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ ประการนี้ เพื่อละโอรัมภาคิย-
สังโยชน์ ๕ ประการนี้แล
ฯลฯ

โอรัมภาคิยสูตรที่ ๕ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๕๕๒ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๒.ทุติยปัณณาสก์] ๒.สติปัฏฐานวรรค ๗.มัจฉริยสูตร
๖. คติสูตร
ว่าด้วยคติ
[๖๘] ภิกษุทั้งหลาย คติ ๕ ประการนี้
คติ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ

๑. นิรยะ (นรก) ๒. ติรัจฉานโยนิ (กำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน)
๓. เปตติวิสัย (แดนเปรต) ๔. มนุษย์
๕. เทวดา

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ ประการนี้ เพื่อละคติ ๕ ประการ
นี้แล
ฯลฯ
คติสูตรที่ ๖ จบ

๗. มัจฉริยสูตร
ว่าด้วยมัจฉริยะ
[๖๙] ภิกษุทั้งหลาย มัจฉริยะ (ความตระหนี่) ๕ ประการนี้
มัจฉริยะ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ

๑. อาวาสมัจฉริยะ (ตระหนี่ที่อยู่) ๒. กุลมัจฉริยะ (ตระหนี่ตระกูล)
๓. ลาภมัจฉริยะ (ตระหนี่ลาภ) ๔. วัณณมัจฉริยะ (ตระหนี่วรรณะ)
๕. ธัมมมัจฉริยะ (ตระหนี่ธรรม)

ภิกษุทั้งหลาย มัจฉริยะ ๕ ประการนี้แล
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ ประการนี้ เพื่อละมัจฉริยะ ๕
ประการนี้แล
ฯลฯ
มัจฉริยสูตรที่ ๗ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๕๕๓ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๒.ทุติยปัณณาสก์] ๒.สติปัฏฐานวรรค ๘.อุทธัมภาคิยสูตร
๘. อุทธัมภาคิยสูตร
ว่าด้วยอุทธัมภาคิยสังโยชน์๑
[๗๐] ภิกษุทั้งหลาย อุทธัมภาคิยสังโยชน์ (สังโยชน์เบื้องสูง) ๕ ประการนี้
อุทธัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. รูปราคะ (ความติดใจในอารมณ์แห่งรูปฌาน)
๒. อรูปราคะ (ความติดใจในอารมณ์แห่งอรูปฌาน)
๓. มานะ (ความถือตัว)
๔. อุทธัจจะ (ความฟุ้งซ่าน)
๕. อวิชชา (ความไม่รู้แจ้ง)
ภิกษุทั้งหลาย อุทธัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการนี้แล
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ ประการนี้ เพื่อละอุทธัมภาคิย-
สังโยชน์ ๕ ประการนี้แล
ฯลฯ

อุทธัมภาคิยสูตรที่ ๘ จบ

เชิงอรรถ :
๑ ดู ที.ปา. ๑๑/๓๑๕/๒๐๘, สํ.ม. ๑๙/๑๘๐/๕๖, องฺ.ทสก. (แปล) ๒๔/๑๓/๒๑

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๕๕๔ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๒.ทุติยปัณณาสก์] ๒.สติปัฏฐานวรรค ๙.เจโตขีลสูตร
๙. เจโตขีลสูตร๑
ว่าด้วยกิเลสเครื่องตรึงจิตดุจตะปู
[๗๑] ภิกษุทั้งหลาย กิเลสเครื่องตรึงจิตดุจตะปู ๕ ประการนี้
กิเลสเครื่องตรึงจิตดุจตะปู ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เคลือบแคลงสงสัย ไม่น้อมใจเชื่อ ไม่เลื่อมใสในศาสดา๒ จิตของ
ภิกษุผู้เคลือบแคลง สงสัย ไม่น้อมใจเชื่อ ไม่เลื่อมใสในศาสดานั้น
ย่อมไม่น้อมไปเพื่อความเพียร เพื่อประกอบเนือง ๆ เพื่อกระทำ
ต่อเนื่อง เพื่อบำเพ็ญเพียร นี้เป็นกิเลสเครื่องตรึงจิตดุจตะปูประการ
ที่ ๑ ของภิกษุผู้มีจิตไม่น้อมไปเพื่อความเพียร เพื่อประกอบเนืองๆ
เพื่อกระทำต่อเนื่อง เพื่อบำเพ็ญเพียร
๒. เคลือบแคลงสงสัย ไม่น้อมใจเชื่อ ไม่เลื่อมใสในธรรม ฯลฯ
๓. เคลือบแคลงสงสัย ไม่น้อมใจเชื่อ ไม่เลื่อมใสในสงฆ์ ฯลฯ
๔. เคลือบแคลงสงสัย ไม่น้อมใจเชื่อ ไม่เลื่อมใสในสิกขา (ข้อที่จะต้อง
ศึกษา) ฯลฯ
๕. เป็นผู้โกรธ ไม่พอใจ มีจิตถูกโทสะ (ความคิดประทุษร้าย) กระทบ
มีจิตแข็งกระด้างในเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย จิตของภิกษุผู้โกรธ
ไม่พอใจ มีจิตถูกโทสะกระทบ มีจิตแข็งกระด้างในเพื่อนพรหมจารี

เชิงอรรถ :
๑ ดู ที.ปา. ๑๑/๓๑๙/๒๑๑, ม.มู. ๑๒/๑๘๕-๑๘๙/๑๕๖-๑๖๑, องฺ.ปญฺจก. (แปล) ๒๒/๒๐๕/๓๔๗, องฺ.ทสก.
(แปล) ๒๔/๑๔/๒๒-๒๓, อภิ.วิ. (แปล) ๓๕/๙๔๑/๕๙๓-๕๙๔
๒ ไม่เลื่อมใสในศาสดา ในที่นี้หมายถึงไม่เชื่อว่าพระสรีระของพระพุทธเจ้าประดับด้วยมหาปุริสลักษณะ ๓๒
ประการ ไม่เชื่อว่าพระสัพพัญญุตญาณของพระพุทธเจ้าสามารถรู้อดีต อนาคต และปัจจุบัน (องฺ.ปญฺจก.อ.
๓/๒๐๕/๘๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๕๕๕ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๒.ทุติยปัณณาสก์] ๒.สติปัฏฐานวรรค ๑๐.เจตโสวินิพันธสูตร
ทั้งหลายนั้น ย่อมไม่น้อมไปเพื่อความเพียร เพื่อประกอบเนืองๆ
เพื่อกระทำต่อเนื่อง เพื่อบำเพ็ญเพียร นี้เป็นกิเลสเครื่องตรึงจิตดุจ
ตะปูประการที่ ๕ ของภิกษุผู้มีจิตไม่น้อมไปเพื่อความเพียร เพื่อ
ประกอบเนือง ๆ เพื่อกระทำต่อเนื่อง เพื่อบำเพ็ญเพียร
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ ประการนี้ เพื่อละกิเลสเครื่องตรึง
จิตดุจตะปู ๕ ประการนี้แล ฯลฯ
เจโตขีลสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. เจตโสวินิพันธสูตร๑
ว่าด้วยกิเลสเครื่องผูกใจ
[๗๒] ภิกษุทั้งหลาย กิเลสเครื่องผูกใจ ๕ ประการนี้
กิเลสเครื่องผูกใจ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เป็นผู้ยังไม่ปราศจากความกำหนัด ไม่ปราศจากความพอใจ ไม่
ปราศจากความรัก ไม่ปราศจากความกระหาย ไม่ปราศจากความ
เร่าร้อน ไม่ปราศจากความอยากในกามทั้งหลาย จิตของภิกษุผู้ยัง
ไม่ปราศจากความกำหนัด ไม่ปราศจากความพอใจ ไม่ปราศจาก
ความรัก ไม่ปราศจากความกระหาย ไม่ปราศจากความเร่าร้อน
ไม่ปราศจากความอยากในกามทั้งหลายนั้น ย่อมไม่น้อมไปเพื่อ
ความเพียร เพื่อประกอบเนืองๆ เพื่อกระทำต่อเนื่อง เพื่อบำเพ็ญ
เพียร นี้เป็นกิเลสเครื่องผูกใจประการที่ ๑ ของภิกษุผู้มีจิตไม่น้อมไป

เชิงอรรถ :
๑ ที.ปา. ๑๑/๓๒๐/๒๑๑-๒๑๒, องฺ.ปญฺจก. (แปล) ๒๒/๒๐๖/๓๔๘, องฺ.ทสก. (แปล) ๒๔/๑๔/๒๓-๒๔, อภิ.วิ.
(แปล) ๓๕/๙๔๑/๕๙๔

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๕๕๖ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๒.ทุติยปัณณาสก์] ๒.สติปัฏฐานวรรค ๑๐.เจตโสวินิพันธสูตร
เพื่อความเพียร เพื่อประกอบเนือง ๆ เพื่อกระทำต่อเนื่อง เพื่อบำเพ็ญ
เพียร
๒. เป็นผู้ยังไม่ปราศจากความกำหนัดในกาย ฯลฯ
๓. เป็นผู้ยังไม่ปราศจากความกำหนัดในรูป ฯลฯ
๔. ฉันอาหารตามต้องการจนอิ่มเกินไป ประกอบความสุขในการนอน
ความสุขในการเอกเขนก ความสุขในการหลับอยู่ ฯลฯ
๕. ประพฤติพรหมจรรย์ด้วยความปรารถนาเป็นเทพนิกายหมู่ใดหมู่
หนึ่งว่า ‘ด้วยศีล วัตร ตบะ หรือพรหมจรรย์นี้๑ เราจักเป็นเทพเจ้า
หรือเทพองค์ใดองค์หนึ่ง’ จิตของภิกษุผู้ประพฤติพรหมจรรย์ด้วย
ความปรารถนาเป็นเทพนิกายหมู่ใดหมู่หนึ่งว่า ‘ด้วยศีล วัตร ตบะ
หรือพรหมจรรย์นี้ เราจักเป็นเทพเจ้า หรือเทพองค์ใดองค์หนึ่ง’
ย่อมไม่น้อมไปเพื่อความเพียร เพื่อประกอบเนือง ๆ เพื่อกระทำ
ต่อเนื่อง เพื่อบำเพ็ญเพียร นี้เป็นกิเลสเครื่องผูกใจประการที่ ๕ ของ
ผู้มีจิตไม่น้อมไปเพื่อความเพียร เพื่อประกอบเนือง ๆ เพื่อกระทำ
ต่อเนื่อง เพื่อบำเพ็ญเพียร
ภิกษุทั้งหลาย กิเลสเครื่องผูกใจ ๕ ประการนี้แล
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ ประการ เพื่อละกิเลสเครื่องผูกใจ
๕ ประการนี้แล

เชิงอรรถ :
๑ ศีล หมายถึงปาริสุทธิศีล ๔ ประการ คือ (๑) ปาติโมกขสังวรศีล ศีลคือความสำรวมในพระปาติโมกข์
เว้นจากข้อห้ามทำตามข้ออนุญาต ประพฤติเคร่งครัดในสิกขาบททั้งหลาย (๒) อินทรียสังวรศีล คือ ความ
สำรวมอินทรีย์ระวังไม่ให้บาปอกุศลครอบงำ เมื่อรับรู้อารมณ์ด้วยอินทรีย์ทั้ง ๖ (๓) อาชีวปาริสุทธิศีล ศีล
คือความบริสุทธิ์แห่งอาชีวะ เลี้ยงชีวิตโดยทางที่ชอบไม่ประกอบอเนสนา(การแสวงหาอันไม่สมควร) มีหลอกลวง
เขาเลี้ยงชีพเป็นต้น (๔) ปัจจยสันนิสิตศีล ศีลที่เกี่ยวกับปัจจัย ๔ ได้แก่ ปัจจัยปัจจเวกขณะ คือ พิจารณา
ใช้สอยปัจจัย ๔ ให้เป็นไปตามความหมายและประโยชน์ของสิ่งนั้น ไม่บริโภคด้วยตัณหา (วิสุทธิ. ๑/๑๔-
๑๘/๑๗-๓๖)
วัตร หมายถึงวัตตสมาทาน (การประพฤติข้อปฏิบัติ)
ตบะ หมายถึงตปจรณะ (การประพฤติตบะ)
พรหมจรรย์ หมายถึงเมถุนวิรัติ (การงดเว้นจากการร่วมประเวณี) (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๒๐๖/๘๖)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๕๕๗ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๒.ทุติยปัณณาสก์] ๒.สติปัฏฐานวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค
สติปัฏฐาน ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในธรรมวินัย
๑. พิจารณาเห็นกายในกาย มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัด
อภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
๒. พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนา ฯลฯ
๓. พิจารณาเห็นจิตในจิต ฯลฯ
๔. พิจารณาเห็นธรรมในธรรม มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัด
อภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ ประการนี้ เพื่อละกิเลสเครื่องผูกใจ
๕ ประการนี้แล
เจตโสวินิพันธสูตรที่ ๑๐ จบ
สติปัฏฐานวรรคที่ ๒ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. สิกขาทุพพัลยสูตร ๒. นีวรณสูตร
๓. กามคุณสูตร ๔. อุปาทานักขันธสูตร
๕. โอรัมภาคิยสูตร ๖. คติสูตร
๗. มัจฉริยสูตร ๘. อุทธัมภาคิยสูตร
๙. เจโตขีลสูตร ๑๐. เจตโสวินิพันธสูตร


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๕๕๘ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๒.ทุติยปัณณาสก์] ๓.สัมมัปปธานวรรค ๑.สิกขาสูตร
๓. สัมมัปปธานวรรค
หมวดว่าด้วยสัมมัปปธาน
๑. สิกขาสูตร
ว่าด้วยเหตุท้อแท้ในสิกขา
[๗๓] ภิกษุทั้งหลาย เหตุท้อแท้ในสิกขา ๕ ประการนี้
เหตุท้อแท้ในสิกขา ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. การฆ่าสัตว์
ฯลฯ๑
๕. การเสพของมึนเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นเหตุแห่งความประมาท
ภิกษุทั้งหลาย เหตุท้อแท้ในสิกขา ๕ ประการนี้แล
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเจริญสัมมัปปธาน (ความเพียรชอบ) ๔ ประการ เพื่อ
ละเหตุท้อแท้ในสิกขา ๕ ประการนี้แล
สัมมัปปธาน ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. สร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่น เพื่อ
ป้องกันบาปอกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดมิให้เกิดขึ้น
๒. สร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่น เพื่อ
ละบาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว
๓. สร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่น เพื่อ
ทำกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น
๔. สร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่น เพื่อ
ความดำรงอยู่ ไม่เลือนหาย ภิญโญภาพ ไพบูลย์ เจริญเต็มที่แห่ง
กุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเจริญสัมมัปปธาน ๔ ประการนี้ เพื่อละเหตุท้อแท้ใน
สิกขา ๕ ประการนี้แล
สิกขาสูตรที่ ๑ จบ

เชิงอรรถ :
๑ ดูความเต็มในนวกนิบาต ข้อ ๖๓ (สิกขาทุพพัลยสูตร) หน้า ๕๔๘ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๕๕๙ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๒.ทุติยปัณณาสก์] ๓.สัมมัปปธานวรรค ๑๐. เจตโสวินิพันธสูตร
[๗๔-๘๑] (พึงขยายหมวดธรรมว่าด้วยสัมมัปปธานเหมือนในสติปัฏฐานวรรค)

๑๐. เจตโสวินิพันธสูตร
ว่าด้วยกิเลสเครื่องผูกใจ
[๘๒] ภิกษุทั้งหลาย กิเลสเครื่องผูกใจ ๕ ประการนี้
กิเลสเครื่องผูกใจ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เป็นผู้ยังไม่ปราศจากความกำหนัด
ฯลฯ๑
ภิกษุทั้งหลาย กิเลสเครื่องผูกใจ ๕ ประการนี้แล
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเจริญสัมมัปปธาน ๔ ประการ เพื่อละกิเลสเครื่องผูกใจ
๕ ประการนี้แล
สัมมัปปธาน ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. สร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่น เพื่อ
ป้องกันบาปอกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดมิให้เกิดขึ้น
๒. สร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่น เพื่อ
ละบาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว
๓. สร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่น เพื่อ
ทำกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น
๔. สร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่น เพื่อ
ความดำรงอยู่ ไม่เลือนหาย ภิญโญภาพ ไพบูลย์ เจริญเต็มที่แห่ง
กุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเจริญสัมมัปปธาน ๔ ประการนี้ เพื่อละกิเลสเครื่องผูกใจ
๕ ประการนี้แล
เจตโสวินิพันธสูตรที่ ๑๐ จบ
สัมมัปปธานวรรคที่ ๓ จบ

เชิงอรรถ :
๑ ดูความเต็มในนวกนิบาต ข้อ ๗๒ (เจตโสวินิพันธสูตร) หน้า ๕๕๖-๕๕๗ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๕๖๐ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๒.ทุติยปัณณาสก์] ๔.อิทธิปาทวรรค ๑.สิกขาสูตร
๔. อิทธิปาทวรรค
หมวดว่าอิทธิบาท
๑. สิกขาสูตร
ว่าด้วยเหตุท้อแท้ในสิกขา
[๘๓] ภิกษุทั้งหลาย เหตุท้อแท้ในสิกขา ๕ ประการนี้
เหตุท้อแท้ในสิกขา ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. การฆ่าสัตว์
ฯลฯ๑
๕. การเสพของมึนเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นเหตุแห่งความประมาท
ภิกษุทั้งหลาย เหตุท้อแท้ในสิกขา ๕ ประการนี้แล
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเจริญอิทธิบาท ๔ ประการนี้ เพื่อละเหตุท้อแท้ใน
สิกขา ๕ ประการนี้แล
อิทธิบาท ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่น เพื่อ
ป้องกันบาปอกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดมิให้เกิดขึ้น
๒. สร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่น เพื่อ
ละบาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว
๓. สร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่น เพื่อ
ทำกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น
๔. สร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่น เพื่อ
ความดำรงอยู่ ไม่เลือนหาย ภิญโญภาพ ไพบูลย์ เจริญเต็มที่แห่ง
กุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเจริญอิทธิบาท ๔ ประการนี้ เพื่อละเหตุท้อแท้ในสิกขา ๕
ประการนี้แล
สิกขาสูตรที่ ๑ จบ
[๘๔-๙๑] (พึงขยายหมวดธรรมว่าด้วยอิทธิบาทเหมือนในสติปัฏฐานวรรค)

เชิงอรรถ :
๑ ดูความเต็มในนวกนิบาต ข้อ ๖๓ (สิกขาทุพพัลยสูตร) หน้า ๕๔๘ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๕๖๑ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๒.ทุติยปัณณาสก์] ๔.อิทธิปาทวรรค ๑๐.เจตโสวินิพันธสูตร
๑๐. เจตโสวินิพันธสูตร
ว่าด้วยกิเลสเครื่องผูกใจ
[๙๒] ภิกษุทั้งหลาย กิเลสเครื่องผูกใจ ๕ ประการนี้
กิเลสเครื่องผูกใจ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เป็นผู้ยังไม่ปราศจากความกำหนัด
ฯลฯ๑
ภิกษุทั้งหลาย กิเลสเครื่องผูกใจ ๕ ประการนี้
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเจริญอิทธิบาท ๔ ประการนี้ เพื่อละกิเลสเครื่อง
ผูกใจ ๕ ประการนี้แล
อิทธิบาท ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยฉันทสมาธิปธานสังขาร๒(สมาธิที่เกิด
จากฉันทะและความเพียรสร้างสรรค์)
๒. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยวิริยสมาธิปธานสังขาร(สมาธิที่เกิดจาก
วิริยะและความเพียรสร้างสรรค์)
๓. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยจิตตสมาธิปธานสังขาร(สมาธิที่เกิดจาก
จิตตะและความเพียรสร้างสรรค์)
๔. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยวีมังสาสมาธิปธานสังขาร(สมาธิที่เกิด
จากวีมังสาและความเพียรสร้างสรรค์)
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเจริญอิทธิบาท ๔ ประการนี้ เพื่อละกิเลสเครื่องผูกใจ
๕ ประการนี้แล
เจตโสวินิพันธสูตรที่ ๑๐ จบ
อิทธิปาทวรรคที่ ๔ จบ
(ผู้ศึกษาพึงประกอบสัมมัปปธาน ๔ และอิทธิบาท ๔ เหมือนสติปัฏฐาน ๔)

เชิงอรรถ :
๑ ดูความเต็มในข้อ ๗๒ (เจตโสวินิพันธสูตร) หน้า ๕๕๖ ในเล่มนี้
๒ ฉันทสมาธิ หมายถึงสมาธิที่เกิดจากฉันทะ ปธานสังขาร หมายถึงความเพียรที่มุ่งมั่น (ปธาน) คำว่า ฉันท-
สมาธิปธานสังขาร หมายถึงสมาธิที่เกิดจากฉันทะ และความเพียรที่มุ่งมั่น วิริยสมาธิ จิตตสมาธิ และ
วีมังสาสมาธิ ก็มีอรรถาธิบายเช่นเดียวกัน (องฺ.เอกก.อ. ๑/๓๙๘/๔๔๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๕๖๒ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๒.ทุติยปัณณาสก์] ราคเปยยาล
ราคเปยยาล
[๙๓] ภิกษุทั้งหลาย บุคคลควรเจริญธรรม ๙ ประการ เพื่อรู้ยิ่งราคะ
ธรรม ๙ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. อสุภสัญญา (กำหนดหมายความไม่งามแห่งกาย)
๒. มรณสัญญา (กำหนดหมายความตายที่จะต้องมาถึงเป็นธรรมดา)
๓. อาหาเร ปฏิกูลสัญญา (กำหนดหมายความปฏิกูลในอาหาร)
๔. สัพพโลเก อนภิรตสัญญา (กำหนดหมายความไม่น่าเพลิดเพลินใน
โลกทั้งปวง)
๕. อนิจจสัญญา (กำหนดหมายความไม่เที่ยงแห่งสังขาร)
๖. อนิจเจ ทุกขสัญญา (กำหนดหมายความเป็นทุกข์ในความไม่เที่ยง
แห่งสังขาร)
๗. ทุกเข อนัตตสัญญา (กำหนดหมายความเป็นอนัตตาในความเป็นทุกข์)
๘. ปหานสัญญา (กำหนดหมายเพื่อละอกุศลวิตกและบาปธรรมทั้งหลาย)
๙. วิราคสัญญา (กำหนดหมายวิราคะว่าเป็นธรรมละเอียดประณีต)
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลควรเจริญธรรม ๙ ประการนี้ เพื่อรู้ยิ่งราคะ (๑)
[๙๔] ภิกษุทั้งหลาย บุคคลควรเจริญธรรม ๙ ประการ เพื่อรู้ยิ่งราคะ
ธรรม ๙ ประการ อะไรบ้าง คือ

๑. ปฐมฌาน ๒. ทุติยฌาน
๓. ตติยฌาน ๔. จตุตถฌาน
๕. อากาสานัญจายตฌาน ๖. วิญญาณัญจายตนฌาน
๗. อากิญจัญญายตนฌาน ๘. เนวสัญญานาสัญญายตนฌาน
๙. สัญญาเวทยิตนิโรธ

ภิกษุทั้งหลาย บุคคลควรเจริญธรรม ๙ ประการนี้ เพื่อรู้ยิ่งราคะ (๒)
[๙๕-๑๑๒] ภิกษุทั้งหลาย บุคคลควรเจริญธรรม ๙ ประการนี้ เพื่อกำหนดรู้ราคะ
... เพื่อความสิ้นราคะ
... เพื่อละราคะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๕๖๓ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๒.ทุติยปัณณาสก์] ราคเปยยาล
... เพื่อความสิ้นไปแห่งราคะ
... เพื่อความเสื่อมไปแห่งราคะ
... เพื่อความคลายไปแห่งราคะ
... เพื่อความดับไปแห่งราคะ
... เพื่อความสละราคะ
... เพื่อความสละคืนราคะ (๓-๒๐)
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลควรเจริญธรรม ๙ ประการนี้ เพื่อความสละคืนราคะ
[๑๑๓-๔๓๒] ภิกษุทั้งหลาย บุคคลควรเจริญธรรม ๙ ประการนี้ เพื่อรู้ยิ่งโทสะ
... เพื่อกำหนดรู้โทสะ
... เพื่อความสิ้นโทสะ
... เพื่อละโทสะ
... เพื่อความสิ้นไปแห่งโทสะ
... เพื่อความเสื่อมไปแห่งโทสะ
... เพื่อความคลายไปแห่งโทสะ
... เพื่อความดับไปแห่งโทสะ
... เพื่อความสละโทสะ
... เพื่อความสละคืนโทสะ ... โมหะ(ความหลง) ... โกธะ(ความโกรธ) ...
อุปนาหะ(ความผูกโกรธ) ... มักขะ(ความลบหลู่คุณท่าน) ... ปลาสะ(ความตีตัวเสมอ)
... อิสสา(ความริษยา) ... มัจฉริยะ(ความตระหนี่) ... มายา(มายา) ... สาเถยยะ
(ความโอ้อวด) ... ถัมภะ(ความหัวดื้อ) ... สารัมภะ(ความแข่งดี) ... มานะ(ความถือตัว)
... อติมานะ(ความดูหมิ่นเขา) ... มทะ(ความมัวเมา) ... ปมาทะ(ความประมาท) ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเจริญธรรม ๙ ประการนี้ เพื่อความสละคืนปมาทะ
(๒๑-๓๔๐)
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้ ภิกษุเหล่านั้นมีใจยินดีต่างชื่นชมพระภาษิต
ของพระผู้มีพระภาคแล
ราคเปยยาล จบ
นวกนิบาต จบบริบูรณ์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๕๖๔ }


พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๓ สุตตันตปิฎกที่ ๑๕ อังคุตตรนิกาย สัตตก อัฏฐก นวกนิบาต จบ





eXTReMe Tracker