ค้นว่าอยู่เล่มใด แล้วกด [ctrl]+f หรือใช้คำสั่งของเครื่องหาตำแหน่งในเล่มอีกทีนะครับ



จัดรูปหน้าใหม่
เพื่อความสะดวก และสวยงาม
(เฉพาะหน้าจอใหญ่ เช่น คอมพิวเตอร์)
กรุณาคลิก จัดรูปหน้าใหม่
เพื่อให้กรอบ
ค้นข้อความ ปรากฎที่ด้านซ้ายของหน้า

พระไตรปิฎกภาษาไทย
ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ๔๕ เล่ม (ปกสีฟ้า)
ทั้งออนไลน์และออฟไลน์
ที่มาของข้อมูล : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับ มจร.
MCUTRAI Version 1.0

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๓-๒ สุตตันตปิฎกที่ ๑๕ อังคุตตรนิกาย สัตตก อัฏฐก นวกนิบาต

พระสุตตันตปิฎก
อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต
_____________
ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๗.มหาวรรค ๓.นคโรปมสูตร
๓. อริยสาวก เพราะปีติคลายไป บรรลุตติยฌาน ฯลฯ๑ เพื่อความอุ่นใจ
เพื่อความไม่สะดุ้งกลัว เพื่อความอยู่ผาสุกของตน เพื่อก้าวลงสู่นิพพาน
เปรียบเหมือนปัจจันตนครของพระราชา มีการสะสมอปรัณณชาติ
คือ งา ถั่วเขียว ถั่วทอง ไว้มากเพื่อความอุ่นใจ เพื่อความไม่
สะดุ้งกลัว เพื่อความอยู่ผาสุกของประชาชนภายใน และป้องกัน
อันตรายภายนอก
๔. อริยสาวก เพราะละสุขและทุกข์ได้ เพราะโสมนัสและโทมนัสดับ
ไปก่อนแล้ว บรรลุจตุตถฌาน ฯลฯ๒ เพื่อความอุ่นใจ เพื่อความไม่
สะดุ้งกลัว เพื่อความอยู่ผาสุกของตน เพื่อก้าวลงสู่นิพพาน เปรียบ
เหมือนปัจจันตนครของพระราชา มีการสะสมเภสัช คือ เนยใส
เนยข้น น้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อย เกลือ ไว้มาก เพื่อความอุ่นใจ เพื่อ
ความไม่สะดุ้งกลัว เพื่อความอยู่ผาสุกของประชาชนภายในและ
ป้องกันอันตรายภายนอก
ฌาน ๔ ประการนี้อันมีในจิตยิ่งซึ่งเป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบันที่อริยสาวก
ได้ตามความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ได้โดยไม่ลำบาก
ภิกษุทั้งหลาย ในกาลใดแล อริยสาวกประกอบด้วยสัทธรรม ๗ ประการนี้
และได้ฌาน ๔ ประการ อันมีในจิตยิ่งซึ่งเป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบันนี้ตามความ
ปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ได้โดยไม่ลำบาก ภิกษุทั้งหลาย ในกาลนั้น เราจึงเรียก
อริยสาวกนี้ว่า มารมีบาปก็ทำอะไรไม่ได้
นคโรปมสูตรที่ ๓ จบ

เชิงอรรถ :
๑ ดูความเต็มในอัฏฐกนิบาต ข้อ ๑๑ หน้า ๒๒๒ ในเล่มนี้
๒ ดูความเต็มในอัฏฐกนิบาต ข้อ ๑๑ หน้า ๒๒๓ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๑๔๒ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๗.มหาวรรค ๔.ธัมมัญญูสูตร
๔. ธัมมัญญูสูตร
ว่าด้วยบุคคลผู้รู้ธรรม
[๖๘] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๗ ประการ๑นี้ เป็นผู้ควรแก่
ของที่เขานำมาถวาย ฯลฯ เป็นนาบุญอันยอดเยี่ยมของโลก
ธรรม ๗ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้

๑. เป็นธัมมัญญู ๒. เป็นอัตถัญญู
๓. เป็นอัตตัญญู ๔. เป็นมัตตัญญู
๕. เป็นกาลัญญู ๖. เป็นปริสัญญู
๗. เป็นปุคคลปโรปรัญญู๒

ภิกษุเป็นธัมมัญญู อย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้รู้ธรรมคือ สุตตะ เคยยะ เวยยากรณะ คาถา อุทาน
อิติวุตตกะ ชาตกะ อัพภูตธรรม เวทัลละ หากภิกษุไม่รู้ธรรมคือ สุตตะ ฯลฯ
เวทัลละเลย เราไม่พึงเรียกเธอว่าเป็นธัมมัญญูในที่นี้ แต่เพราะภิกษุรู้ธรรมคือ
สุตตะ ฯลฯ เวทัลละ ฉะนั้น เราจึงเรียกเธอว่าเป็นธัมมัญญู ภิกษุชื่อว่าเป็นธัมมัญญู
ด้วยประการฉะนี้
ภิกษุเป็นอัตถัญญู อย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้รู้ความหมายแห่งภาษิตนั้นๆ นั่นแลว่า ‘นี้เป็นความหมาย
แห่งภาษิตนี้ นี้เป็นความหมายแห่งภาษิตนี้’ หากภิกษุไม่รู้เนื้อความแห่งภาษิตนั้น ๆ
เลยว่า ‘นี้เป็นความหมายแห่งภาษิตนี้ นี้เป็นความหมายแห่งภาษิตนี้’ เราไม่พึง

เชิงอรรถ :
๑ ดู ที.ปา. ๑๑/๓๓๐/๒๒๒
๒ ปุคคลปโรปรัญญู หมายถึงรู้จักเลือกคน กล่าวคือรู้ว่า เมื่อคบหาคนใดอกุศลธรรมเสื่อมไปกุศลธรรมเจริญ
ขึ้น จึงเลือกคบคนนั้น เมื่อคบคนใดอกุศลธรรมเจริญขึ้น กุศลธรรมเสื่อมไป ก็ไม่คบคนนั้น (องฺ.สตฺตก.ฏีกา
๓/๖๘/๒๓๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๑๔๓ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๗.มหาวรรค ๔.ธัมมัญญูสูตร
เรียกเธอว่า ‘เป็นอัตถัญญู‘ในที่นี้ แต่เพราะภิกษุรู้ความหมายแห่งภาษิตนั้น ๆ ว่า
‘นี้เป็นความหมายแห่งภาษิตนี้ นี้เป็นความหมายแห่งภาษิตนี้’ ฉะนั้น เราจึงเรียก
เธอว่า เป็นอัตถัญญู ภิกษุชื่อว่าเป็นธัมมัญญู อัตถัญญู ด้วยประการฉะนี้
ภิกษุเป็นอัตตัญญู อย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้รู้จักตนว่า ‘ว่าโดยศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ ปัญญา
ปฏิภาณ เรามีอยู่ประมาณเท่านี้’ หากภิกษุไม่รู้จักตนว่า ‘ว่าโดยศรัทธา ศีล สุตะ
จาคะ ปัญญา ปฏิภาณ เรามีอยู่ประมาณเท่านี้’ เราไม่พึงเรียกเธอว่าเป็นอัตตัญญู
ในที่นี้ แต่เพราะภิกษุรู้จักตนว่า ‘ว่าโดยศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ ปัญญา
ปฏิภาณ เรามีอยู่ประมาณเท่านี้’ ฉะนั้น เราจึงเรียกเธอว่า เป็นอัตตัญญู ภิกษุ
ชื่อว่าเป็นธัมมัญญู อัตถัญญู อัตตัญญู ด้วยประการฉะนี้
ภิกษุเป็นมัตตัญญู อย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้รู้จักประมาณในการรับจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ
และคิลานปัจจัยเภสัชชบริขาร๑ หากภิกษุไม่รู้จักประมาณในการรับจีวร บิณฑบาต
เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชชบริขาร เราไม่พึงเรียกเธอว่าเป็นมัตตัญญูในที่นี้
แต่เพราะภิกษุรู้จักประมาณในการรับจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัย-
เภสัชชบริขาร ฉะนั้น เราจึงเรียกเธอว่าเป็นมัตตัญญู ภิกษุชื่อว่าเป็นธัมมัญญู
อัตถัญญู อัตตัญญู มัตตัญญู ด้วยประการฉะนี้
ภิกษุเป็นกาลัญญู อย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้รู้จักกาลว่า ‘นี้เป็นกาลแห่งอุทเทส๒ นี้เป็นกาลแห่ง
ปริปุจฉา๓ นี้เป็นกาลบำเพ็ญเพียร นี้เป็นกาลหลีกเร้น’ หากภิกษุไม่รู้จักกาลว่า ‘นี้เป็น

เชิงอรรถ :
๑ คิลานปัจจัยเภสัชชบริขาร คือเภสัชทั้ง ๕ ได้แก่ เนยใส เนยข้น น้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อย (วิ.อ. ๒/๒๙๐,
สารตฺถ.ฏีกา ๒/๒๙๐/๓๙๓) เป็นสิ่งสัปปายะสำหรับภิกษุเจ็บไข้ จัดว่าเป็นบริขาร คือ บริวารของชีวิต
ดุจกำแพงล้อมพระนครเพราะคอยป้องกันรักษาไม่ให้อาพาธที่จะบั่นรอนชีวิตได้ช่องเกิดขึ้น และเป็น
สัมภาระของชีวิตคอยประคับประคองชีวิตให้ดำรงอยู่ได้นาน (วิ.อ. ๒/๒๙๐/๔๐-๔๑, ม.มู.อ. ๑/๑๙๑/๓๙๗,
ม.มู.ฏีกา ๑/๒๓/๒๑๓) เป็นเครื่องป้องกันโรคบำบัดโรคที่ให้เกิดทุกขเวทนาเนื่องจากธาตุกำเริบให้หายไป
(สารตฺถ.ฏีกา ๒/๒๙๐/๓๙๓)
๒ อุทเทส หมายถึงการเรียนพระพุทธพจน์ (องฺ.สตฺตก.อ. ๓/๖๘/๒๐๓)
๓ ปริปุจฉา หมายถึงการสอบถามเหตุผล (องฺ.สตฺตก.อ. ๓/๖๘/๒๐๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๑๔๔ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๗.มหาวรรค ๔.ธัมมัญญูสูตร
กาลแห่งอุทเทศ นี้เป็นกาลแห่งปริปุจฉา นี้เป็นกาลบำเพ็ญเพียร นี้เป็นกาลหลีกเร้น’
เราไม่เรียกเธอว่าเป็นกาลัญญูในที่นี้ แต่เพราะภิกษุรู้จักกาลว่า ‘นี้เป็นกาลแห่งอุทเทศ
นี้เป็นกาลแห่งปริปุจฉา นี้เป็นกาลบำเพ็ญเพียร นี้เป็นกาลหลีกเร้น’ ฉะนั้น เราจึง
เรียกเธอว่าเป็นกาลัญญู ภิกษุชื่อว่าเป็นธัมมัญญู อัตถัญญู อัตตัญญู มัตตัญญู
กาลัญญู ด้วยประการฉะนี้
ภิกษุเป็นปริสัญญู อย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้รู้จักบริษัทว่า ‘นี้ขัตติยบริษัท นี้พราหมณบริษัท นี้
คหบดีบริษัท นี้สมณบริษัท ในบริษัทนั้นเราควรเข้าไปหาอย่างนี้ ควรยืนอย่างนี้
ควรทำอย่างนี้ ควรนั่งอย่างนี้ ควรกล่าวอย่างนี้ ควรสงบนิ่งอย่างนี้’ หากภิกษุ
ไม่รู้จักบริษัทว่า ‘นี้ขัตติยบริษัท ฯลฯ ควรสงบนิ่งอย่างนี้’ เราไม่เรียกเธอว่าเป็น
ปริสัญญู ในที่นี้ แต่เพราะภิกษุรู้จักบริษัทว่า ‘นี้ขัตติยบริษัท ฯลฯ ควรสงบนิ่ง
อย่างนี้’ ฉะนั้น เราจึงเรียกเธอว่าเป็นปริสัญญู ภิกษุชื่อว่าเป็นธัมมัญญู อัตถัญญู
อัตตัญญู มัตตัญญู กาลัญญู ปริสัญญู ด้วยประการฉะนี้
ภิกษุเป็นปุคคลปโรปรัญญู อย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้รู้จักบุคคล ๒ จำพวก บุคคล ๒ จำพวก คือ พวกหนึ่ง
ต้องการเห็นพระอริยะ อีกพวกหนึ่งไม่ต้องการเห็นพระอริยะ บุคคลพวกที่ไม่ต้องการ
เห็นพระอริยะ ก็ถูกติเตียนด้วยเหตุนั้น อย่างนี้ บุคคลพวกที่ต้องการเห็นพระอริยะ
ก็ได้รับการสรรเสริญด้วยเหตุนั้น อย่างนี้
บุคคลผู้ต้องการเห็นพระอริยะก็มี ๒ จำพวก คือ พวกหนึ่งต้องการฟังสัทธรรม
อีกพวกหนึ่งไม่ต้องการฟังสัทธรรม บุคคลพวกที่ไม่ต้องการฟังสัทธรรม ก็ถูกติเตียน
ด้วยเหตุนั้น อย่างนี้ บุคคลพวกที่ต้องการฟังสัทธรรม ก็ได้รับการสรรเสริญด้วย
เหตุนั้น อย่างนี้
บุคคลผู้ต้องการฟังสัทธรรมก็มี ๒ จำพวก คือ พวกหนึ่งเงี่ยโสตฟังธรรม อีกพวก
หนึ่งไม่เงี่ยโสตฟังธรรม บุคคลพวกที่ไม่เงี่ยโสตฟังธรรม ก็ถูกติเตียนด้วยเหตุนั้น
อย่างนี้ บุคคลพวกที่เงี่ยโสตฟังธรรม ก็ได้รับการสรรเสริญด้วยเหตุนั้น อย่างนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๑๔๕ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สันตตกนิบาต ๗.มหาวรรค ๕.ปาริฉัตตกสูตร
บุคคลเงี่ยโสตฟังสัทธรรมก็มี ๒ จำพวก คือ พวกหนึ่งฟังแล้วทรงจำธรรมไว้ได้
อีกพวกหนึ่งฟังแล้วทรงจำธรรมไม่ได้ บุคคลพวกที่ฟังแล้วทรงจำธรรมไม่ได้ ก็ถูก
ติเตียนด้วยเหตุนั้น อย่างนี้ บุคคลพวกที่ฟังแล้วทรงจำธรรมไว้ได้ ก็ได้รับการสรรเสริญ
ด้วยเหตุนั้น อย่างนี้
บุคคลฟังแล้วทรงจำธรรมไว้ได้ก็มี ๒ จำพวก คือ พวกหนึ่งพิจารณาเนื้อความ
แห่งธรรมที่ทรงจำไว้ อีกพวกหนึ่งไม่พิจารณาเนื้อความแห่งธรรมที่ทรงจำไว้ บุคคลพวก
ที่ไม่พิจารณาเนื้อความแห่งธรรมที่ทรงจำไว้ ก็ถูกติเตียนด้วยเหตุนั้น อย่างนี้ บุคคล
พวกที่พิจารณาเนื้อความแห่งธรรมที่ทรงจำไว้ ก็ได้รับการสรรเสริญด้วยเหตุนั้น อย่างนี้
บุคคลพิจารณาเนื้อความแห่งธรรมที่ทรงจำไว้ก็มี ๒ จำพวก คือ พวกหนึ่ง
รู้อรรถรู้ธรรมแล้วปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม อีกพวกหนึ่งรู้อรรถรู้ธรรมแล้วไม่ปฏิบัติ
ธรรมสมควรแก่ธรรม บุคคลพวกที่รู้อรรถรู้ธรรมแล้วไม่ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม
ก็ถูกติเตียนด้วยเหตุนั้น อย่างนี้ บุคคลพวกที่รู้อรรถรู้ธรรมแล้วปฏิบัติธรรมสมควร
แก่ธรรม ก็ได้รับการสรรเสริญด้วยเหตุนั้น อย่างนี้
บุคคลรู้อรรถรู้ธรรมแล้วปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรมก็มี ๒ จำพวก คือ
พวกหนึ่งปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตนเอง แต่ไม่ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลผู้อื่น อีกพวกหนึ่งปฏิบัติ
เพื่อเกื้อกูลตนเองและปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลผู้อื่น บุคคลพวกที่ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตนเอง
แต่ไม่ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลผู้อื่น ก็ถูกติเตียนด้วยเหตุนั้น อย่างนี้ พวกที่ปฏิบัติเพื่อ
เกื้อกูลตนเองและปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลผู้อื่น ก็ได้รับการสรรเสริญด้วยเหตุนั้น อย่างนี้
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้รู้จักบุคคล ๒ ฝ่ายด้วยประการฉะนี้แล ภิกษุชื่อว่า
เป็นปุคคลปโรปรัญญูอย่างนี้
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๗ ประการนี้แล จึงเป็นผู้ควรแก่ของที่
เขานำมาถวาย ฯลฯ๑ เป็นนาบุญอันยอดเยี่ยมของโลก
ธัมมัญญูสูตรที่ ๔ จบ


เชิงอรรถ :
๑ ดูความเต็มในสัตตกนิบาต ข้อ ๑๔ หน้า ๒๐ ในเล่มนี้


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๑๔๖ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สันตตกนิบาต ๗.มหาวรรค ๕.ปาริฉัตตกสูตร
๕. ปาริฉัตตกสูตร
ว่าด้วยอริยสาวกเปรียบได้กับต้นปาริฉัตร
[๖๙] ภิกษุทั้งหลาย
๑. สมัยใด ต้นไม้สวรรค์ชื่อปาริฉัตรของเทวดาชั้นดาวดึงส์มีใบเหลือง
สมัยนั้น เทวดาชั้นดาวดึงส์ต่างก็ดีใจกันว่า ‘บัดนี้ ต้นไม้สวรรค์ชื่อ
ปาริฉัตรมีใบเหลือง ไม่นานนัก เดี๋ยวใบก็จักร่วงหล่น’
๒. สมัยใด ต้นไม้สวรรค์ชื่อปาริฉัตรของเทวดาชั้นดาวดึงส์ผลัดใบ สมัยนั้น
เทวดาชั้นดาวดึงส์ต่างก็ดีใจว่า ‘บัดนี้ ต้นไม้สวรรค์ชื่อปาริฉัตรผลัดใบแล้ว
ไม่นานนัก เดี๋ยวก็จักผลิดอกออกใบ’
๓. สมัยใด ต้นไม้สวรรค์ชื่อปาริฉัตรของเทวดาชั้นดาวดึงส์ผลิดอก
ออกใบ สมัยนั้น เทวดาชั้นดาวดึงส์ต่างก็ดีใจว่า ‘บัดนี้ ต้นไม้
สวรรค์ชื่อปาริฉัตรผลิดอกออกใบแล้ว ไม่นานนัก เดี๋ยวก็จักเป็น
ช่อใบช่อดอก’
๔. สมัยใด ต้นไม้สวรรค์ชื่อปาริฉัตรของเทวดาชั้นดาวดึงส์เป็นช่อใบ
ช่อดอกแล้ว สมัยนั้น เทวดาชั้นดาวดึงส์ต่างก็ดีใจว่า ‘บัดนี้ ต้นไม้
สวรรค์ชื่อปาริฉัตรเป็นช่อใบช่อดอกแล้ว ไม่นานนัก เดี๋ยวก็จักมี
ดอกตูม’
๕. สมัยใด ต้นไม้สวรรค์ชื่อปาริฉัตรของเทวดาชั้นดาวดึงส์มีดอกตูมแล้ว
สมัยนั้น เทวดาชั้นดาวดึงส์ต่างก็ดีใจว่า ‘บัดนี้ ต้นไม้สวรรค์ชื่อ
ปาริฉัตรมีดอกตูมแล้ว ไม่นานนัก เดี๋ยวก็จักแย้ม’
๖. สมัยใด ต้นไม้สวรรค์ชื่อปาริฉัตรของเทวดาชั้นดาวดึงส์มีดอกแย้มแล้ว
สมัยนั้น เทวดาชั้นดาวดึงส์ต่างก็ดีใจว่า ‘บัดนี้ ต้นไม้สวรรค์ชื่อ
ปาริฉัตรมีดอกแย้มแล้ว ไม่นานนัก เดี๋ยวก็จักบานสะพรั่ง’
๗. สมัยใด ต้นไม้สวรรค์ชื่อปาริฉัตรของเทวดาชั้นดาวดึงส์ออกดอก
บานสะพรั่งแล้ว สมัยนั้น เทวดาชั้นดาวดึงส์ต่างก็ดีใจ เอิบอิ่ม
พรั่งพร้อมด้วยกามคุณ ๕ บำเรอตนอยู่ตลอด ๔ เดือนทิพย์ ณ
โคนต้นไม้สวรรค์ชื่อปาริฉัตร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๑๔๗ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๗.มหาวรรค ๕.ปาริฉัตตกสูตร
เมื่อต้นไม้สวรรค์ชื่อปาริฉัตรออกดอกบานสะพรั่งแล้ว แผ่รัศมีไปได้ ๕๐ โยชน์
ในบริเวณรอบ ๆ ส่งกลิ่นโชยไปตามลมได้ ๑๐๐ โยชน์ นี้เป็นอานุภาพของต้นไม้สวรรค์
ชื่อปาริฉัตร
ภิกษุทั้งหลาย ในทำนองเดียวกัน
๑. สมัยใด อริยสาวกคิดออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต สมัยนั้น
อริยสาวกจึงเปรียบเหมือนต้นปาริฉัตรของเทวดาชั้นดาวดึงส์ที่มีใบ
เหลือง
๒. สมัยใด อริยสาวกโกนผมและหนวด นุ่งห่มกาสาวพัสตร์ออกจาก
เรือนบวชเป็นบรรพชิต สมัยนั้น อริยสาวกจึงเปรียบเหมือนต้นไม้
สวรรค์ชื่อปาริฉัตรของเทวดาชั้นดาวดึงส์ที่ผลัดใบแล้ว
๓. สมัยใด อริยสาวกสงัดจากกามและอกุศลทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน
ฯลฯ๑ สมัยนั้น อริยสาวกจึงเปรียบเหมือนต้นไม้สวรรค์ชื่อปาริฉัตร
ของเทวดาชั้นดาวดึงส์ที่ผลิดอกออกใบแล้ว
๔. สมัยใด อริยสาวก เพราะวิตกวิจารสงบระงับไป บรรลุทุติยฌาน
ฯลฯ สมัยนั้น อริยสาวกจึงเปรียบเหมือนต้นไม้สวรรค์ชื่อปาริฉัตร
ของเทวดาชั้นดาวดึงส์ที่เป็นช่อใบช่อดอกแล้ว
๕. สมัยใด อริยสาวก เพราะปีติจางคลายไป มีอุเบกขา มีสติ สัมปชัญญะ
เสวยสุขด้วยนามกาย บรรลุตติยฌาน ฯลฯ สมัยนั้น อริยสาวก
จึงเปรียบเหมือนต้นไม้สวรรค์ชื่อปาริฉัตรของเทวดาชั้นดาวดึงส์ที่มี
ดอกตูมแล้ว
๖. สมัยใด อริยสาวก เพราะละสุขและทุกข์ได้ เพราะโสมนัสและโทมนัส
ดับไปก่อนแล้ว บรรลุจตุตถฌาน ฯลฯ สมัยนั้น อริยสาวกจึง
เปรียบเหมือนต้นปาริฉัตรของเทวดาชั้นดาวดึงส์ที่มีดอกแย้มแล้ว

เชิงอรรถ :
๑ ความเต็มขององค์ฌานในสูตรนี้ ดูอัฏฐกนิบาต ข้อ ๑๑ หน้า ๒๒๒-๒๒๓ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๑๔๘ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๗.มหาวรรค ๕.ปาริฉัตตกสูตร
๗. สมัยใด อริยสาวกทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันไม่มีอาสวะ
เพราะอาสวะสิ้นไป ฯลฯ สมัยนั้น อริยสาวกจึงเปรียบเหมือนต้นไม้
สวรรค์ชื่อปาริฉัตรของเทวดาชั้นดาวดึงส์ที่ออกดอกบานสะพรั่งแล้ว
ภิกษุทั้งหลาย สมัยนั้น ภุมมเทวดากระจายข่าวว่า ‘ท่านรูปนี้มีชื่ออย่างนี้
เป็นสัทธิวิหาริกของท่านผู้มีชื่อนี้ ได้ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต จากบ้านหรือ
นิคมชื่อโน้น ได้ทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันไม่มีอาสวะ เพราะอาสวะสิ้นไป
ด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบันแน่แท้’
เทวดาชั้นจาตุมหาราชสดับเสียงของภุมมเทวดาแล้ว ได้กระจายข่าวต่อไป ฯลฯ
เทวดาชั้นดาวดึงส์ ฯลฯ
เทวดาชั้นชั้นยามา ฯลฯ
เทวดาชั้นดุสิต ฯลฯ
เทวดาชั้นนิมมานรดี ฯลฯ
เทวดาชั้นปรนิมมิตวสวัตดี ฯลฯ
เทวดาชั้นพรหมกายิกา สดับเสียงของเทวดาชั้นปรนิมมิตวสวัตดีแล้ว ก็กระจาย
ข่าวว่า ‘ท่านรูปนี้มีชื่ออย่างนี้ เป็นสัทธิวิหาริกของท่านผู้มีชื่อนี้ ได้ออกจากเรือน
บวชเป็นบรรพชิต จากบ้านหรือนิคมชื่อโน้น ได้ทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ
อันไม่มีอาสวะ เพราะอาสวะสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน’
เพียงครู่เดียวเท่านั้น เสียงป่าวประกาศได้กระจายขึ้นไปถึงพรหมโลก ด้วยประการ
ฉะนี้ นี้เป็นอานุภาพของภิกษุผู้เป็นขีณาสพ
ปาริฉัตตกสูตรที่ ๕ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๑๔๙ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๗.มหาวรรค ๖.สักกัจจสูตร
๖. สักกัจจสูตร
ว่าด้วยความเคารพ
[๗๐] ครั้งนั้น ท่านพระสารีบุตรหลีกเร้นอยู่ในที่สงัด ได้เกิดความคิดคำนึงขึ้น
อย่างนี้ว่า “ภิกษุสักการะ เคารพ อาศัยอะไรหนอแลอยู่ จึงละอกุศล เจริญกุศลได้”
ลำดับนั้นแล ท่านพระสารีบุตรจึงมีความคิดดังนี้ว่า
๑. ภิกษุสักการะ เคารพ อาศัยพระศาสดาอยู่ จึงละอกุศล เจริญกุศลได้
๒. ภิกษุสักการะ เคารพ อาศัยพระธรรม ฯลฯ
๓. ภิกษุสักการะ เคารพ อาศัยพระสงฆ์ ฯลฯ
๔. ภิกษุสักการะ เคารพ อาศัยสิกขา ฯลฯ
๕. ภิกษุสักการะ เคารพ อาศัยสมาธิ ฯลฯ
๖. ภิกษุสักการะ เคารพ อาศัยความไม่ประมาท ฯลฯ
๗. ภิกษุสักการะ เคารพ อาศัยปฏิสันถารอยู่ จึงละอกุศล เจริญกุศลได้
ต่อมา ท่านพระสารีบุตรได้มีความคิดดังนี้ว่า “ธรรมของเราเหล่านี้ บริสุทธิ์
ผุดผ่อง ทางที่ดี เราควรจะไปกราบทูลธรรมเหล่านี้แด่พระผู้มีพระภาค ธรรมของเรา
เหล่านี้จักบริสุทธิ์ และนับว่าบริสุทธิ์ยิ่งขึ้น ด้วยอาการอย่างนี้ เปรียบเหมือนบุรุษได้
ทองคำแท่งอันบริสุทธิ์ผุดผ่อง เขามีความคิดอย่างนี้ว่า ‘ทองคำแท่งของเรานี้บริสุทธิ์
ผุดผ่อง ทางที่ดี เราควรจะไปเสนอทองคำแท่งนี้แก่ช่างทอง ทองคำแท่งของเรา
นี้ไปถึงช่างทองแล้วจักบริสุทธิ์ และนับว่าบริสุทธิ์ยิ่งขึ้นด้วยอาการอย่างนี้ แม้ฉันใด
ธรรมของเราเหล่านี้ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน จักบริสุทธิ์ผุดผ่อง ทางที่ดี เราควรจะไป
กราบทูลธรรมเหล่านี้แด่พระผู้มีพระภาค ธรรมของเราเหล่านี้ก็จักบริสุทธิ์ และนับว่า
บริสุทธิ์ยิ่งขึ้น ด้วยอาการอย่างนี้”
ครั้นในเวลาเย็น ท่านพระสารีบุตรได้ออกจากที่หลีกเร้น๑ เข้าไปเฝ้าพระผู้มี
พระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาค
ดังนี้ว่า

เชิงอรรถ :
๑ ที่หลีกเร้นในที่นี้หมายถึงการอยู่ผู้เดียวด้วยผลสมาบัติ (องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๑๗/๑๐๖, องฺ.สตฺตก.อ. ๓/๖๘/๒๐๓)
หรือทำนิพพานที่สงบสุขให้เป็นอารมณ์เข้าผลสมาบัติในเวลาเช้า (ตามนัย วิ.อ. ๑/๒๒/๒๐๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๑๕๐ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๗.มหาวรรค ๖.สักกัจจสูตร
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานวโรกาส ข้าพระองค์หลีกเร้นอยู่ในที่สงัด
เกิดความคิดคำนึงขึ้นอย่างนี้ว่า ‘ภิกษุสักการะ เคารพ อาศัยอะไรหนอแลอยู่ จึงละ
อกุศล เจริญกุศลได้’ ลำดับนั้นแลข้าพระองค์จึงเกิดความคิดดังนี้ว่า
๑. ภิกษุสักการะ เคารพ อาศัยพระศาสดาอยู่ จึงละอกุศล เจริญกุศลได้
๒. ภิกษุสักการะ เคารพ อาศัยพระธรรม ฯลฯ
๓. ภิกษุสักการะ เคารพ อาศัยพระสงฆ์ ฯลฯ
๔. ภิกษุสักการะ เคารพ อาศัยสิกขา ฯลฯ
๕. ภิกษุสักการะ เคารพ อาศัยสมาธิ ฯลฯ
๖. ภิกษุสักการะ เคารพ อาศัยความไม่ประมาท ฯลฯ
๗. ภิกษุสักการะ เคารพ อาศัยปฏิสันถารอยู่ จึงละอกุศล เจริญกุศลได้
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ต่อมา ข้าพระองค์ได้มีความคิดดังนี้ว่า ‘ธรรมของเรา
เหล่านี้บริสุทธิ์ผุดผ่อง ทางที่ดี เราควรจะไปกราบทูลธรรมเหล่านี้แด่พระผู้มีพระภาค
ธรรมของเราเหล่านี้จักบริสุทธิ์ และนับว่าบริสุทธิ์ยิ่งขึ้นด้วยอาการอย่างนี้ เปรียบ
เหมือนบุรุษได้ทองคำแท่งที่บริสุทธิ์ผุดผ่อง เขามีความคิดอย่างนี้ว่า ‘ทองคำแท่ง
ของเรานี้บริสุทธิ์ผุดผ่อง ทางที่ดีเราควรจะไปเสนอทองคำแท่งนี้แก่ช่างทอง ทองคำ
แท่งของเรานี้ไปถึงช่างทองแล้วจักบริสุทธิ์ และนับว่าบริสุทธิ์ยิ่งขึ้น ด้วยอาการอย่างนี้
แม้ฉันใด ธรรมของเราเหล่านี้ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน จักบริสุทธิ์ผุดผ่อง ทางที่ดี
เราควรจะไปกราบทูลธรรมเหล่านี้แด่พระผู้มีพระภาค ธรรมของเราเหล่านี้ก็จักบริสุทธิ์
และนับว่าบริสุทธิ์ยิ่งขึ้น ด้วยอาการอย่างนี้”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ดีละ ดีละ สารีบุตร ภิกษุสักการะ เคารพ อาศัย
ศาสดาอยู่ จึงละอกุศล เจริญกุศลได้ ฯลฯ อาศัยธรรม ฯลฯ อาศัยสงฆ์ ฯลฯ อาศัย
สิกขา ฯลฯ อาศัยสมาธิ ฯลฯ อาศัยความไม่ประมาท ฯลฯ สารีบุตร ภิกษุ
สักการะ เคารพ อาศัยปฏิสันถารอยู่ จึงละอกุศล เจริญกุศลได้”
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ท่านพระสารีบุตรได้กราบทูลพระผู้มีพระ
ภาคดังนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ย่อมรู้ชัดเนื้อความแห่งพระภาษิตที่
พระผู้มีพระภาคตรัสไว้โดยย่อนี้ได้โดยพิสดารอย่างนี้ว่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๑๕๑ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๗.มหาวรรค ๖.สักกัจจสูตร
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
๑-๒. เป็นไปไม่ได้เลยที่ภิกษุผู้ไม่มีความเคารพในพระศาสดา จักมีความ
เคารพในพระธรรม ภิกษุผู้ไม่มีความเคารพในพระศาสดา ก็ชื่อว่า
ไม่มีความเคารพในพระธรรมด้วย พระพุทธเจ้าข้า
๓. เป็นไปไม่ได้เลยที่ภิกษุผู้ไม่มีความเคารพในพระศาสดา ไม่มีความ
เคารพในพระธรรม จักมีความเคารพในพระสงฆ์ ภิกษุผู้ไม่มีความ
เคารพในพระศาสดา ไม่มีความเคารพในพระธรรม ก็ชื่อว่าไม่มี
ความเคารพในพระสงฆ์ด้วย พระพุทธเจ้าข้า
๔. เป็นไปไม่ได้เลยที่ภิกษุผู้ไม่มีความเคารพในพระศาสดา ไม่มีความ
เคารพในพระธรรม ไม่มีความเคารพในพระสงฆ์ จักมีความเคารพ
ในสิกขา ภิกษุผู้ไม่มีความเคารพในพระศาสดา ไม่มีความเคารพใน
พระธรรม ไม่มีความเคารพในพระสงฆ์ ก็ชื่อว่าไม่มีความเคารพใน
สิกขาด้วย พระพุทธเจ้าข้า
๕. เป็นไปไม่ได้เลยที่ภิกษุผู้ไม่มีความเคารพในพระศาสดา ไม่มีความ
เคารพในพระธรรม ไม่มีความเคารพในพระสงฆ์ ไม่มีความเคารพ
ในสิกขา จักมีความเคารพในสมาธิ ภิกษุผู้ไม่มีความเคารพใน
พระศาสดา ไม่มีความเคารพในพระธรรม ไม่มีความเคารพใน
พระสงฆ์ ไม่มีความเคารพในสิกขา ก็ชื่อว่าไม่มีความเคารพใน
สมาธิด้วย พระพุทธเจ้าข้า
๖. เป็นไปไม่ได้เลยที่ภิกษุผู้ไม่มีความเคารพในพระศาสดา ไม่มีความ
เคารพในพระธรรม ไม่มีความเคารพในพระสงฆ์ ไม่มีความเคารพ
ในสิกขา ไม่มีความเคารพในสมาธิ จักมีความเคารพในความไม่
ประมาท ภิกษุผู้ไม่มีความเคารพในพระศาสดา ไม่มีความเคารพ
ในพระธรรม ไม่มีความเคารพในพระสงฆ์ ไม่มีความเคารพในสิกขา
ไม่มีความเคารพในสมาธิ ก็ชื่อว่าไม่มีความเคารพในความไม่
ประมาทด้วย พระพุทธเจ้าข้า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๑๕๒ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๗.มหาวรรค ๖.สักกัจจสูตร
๗. เป็นไปไม่ได้เลยที่ภิกษุผู้ไม่มีความเคารพในพระศาสดา ไม่มีความ
เคารพในพระธรรม ไม่มีความเคารพในพระสงฆ์ ไม่มีความเคารพ
ในสิกขา ไม่มีความเคารพในสมาธิ ไม่มีความเคารพในความไม่
ประมาท จักมีความเคารพในปฏิสันถาร ภิกษุผู้ไม่มีความเคารพ
ในพระศาสดา ไม่มีความเคารพในพระธรรม ไม่มีความเคารพ
ในพระสงฆ์ ไม่มีความเคารพในสิกขา ไม่มีความเคารพในสมาธิ
ไม่มีความเคารพในความไม่ประมาท ก็ชื่อว่าไม่มีความเคารพใน
ปฏิสันถารด้วย พระพุทธเจ้าข้า
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
๑-๒. เป็นไปไม่ได้เลยที่ภิกษุผู้มีความเคารพในพระศาสดา จักไม่มีความ
เคารพในพระธรรม ภิกษุผู้มีความเคารพในพระศาสดา ก็ชื่อว่ามี
ความเคารพในพระธรรมด้วย พระพุทธเจ้าข้า
๓. เป็นไปไม่ได้เลยที่ภิกษุผู้มีเคารพในพระศาสดา มีความเคารพใน
พระธรรม จักไม่มีความเคารพในพระสงฆ์ ภิกษุผู้มีความเคารพ
ในพระศาสดา มีความเคารพในพระธรรม ก็ชื่อว่ามีความเคารพ
ในพระสงฆ์ด้วย พระพุทธเจ้าข้า
๔. เป็นไปไม่ได้เลยที่ภิกษุผู้มีความเคารพในพระศาสดา มีความเคารพ
ในพระธรรม มีความเคารพในพระสงฆ์ จักไม่มีความเคารพในสิกขา
ภิกษุผู้มีความเคารพในพระศาสดา มีความเคารพในพระธรรม
มีความเคารพในพระสงฆ์ ก็ชื่อว่ามีความเคารพในสิกขาด้วย
พระพุทธเจ้าข้า
๕. เป็นไปไม่ได้เลยที่ภิกษุผู้มีความเคารพในพระศาสดา มีความเคารพ
ในพระธรรม มีความเคารพในพระสงฆ์ มีความเคารพในสิกขา
จักไม่มีความเคารพในสมาธิ ภิกษุผู้มีความเคารพในพระศาสดา
มีความเคารพในพระธรรม มีความเคารพในพระสงฆ์ มีความ
เคารพในสิกขา ก็ชื่อว่ามีความเคารพในสมาธิด้วย พระพุทธเจ้าข้า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๑๕๓ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๗.มหาวรรค ๖.สักกัจจสูตร
๖. เป็นไปไม่ได้เลยที่ภิกษุผู้มีความเคารพในพระศาสดา มีความเคารพ
ในพระธรรม มีความเคารพในพระสงฆ์ มีความเคารพในสิกขา
มีความเคารพในสมาธิ จักไม่มีความเคารพในความไม่ประมาท
ภิกษุผู้มีความเคารพในพระศาสดา มีความเคารพในพระธรรม
มีความเคารพในพระสงฆ์ มีความเคารพในสิกขา มีความเคารพใน
สมาธิ ก็ชื่อว่ามีความเคารพในความไม่ประมาทด้วย พระพุทธเจ้าข้า
๗. เป็นไปไม่ได้เลยที่ภิกษุผู้มีความเคารพในพระศาสดา มีความเคารพ
ในพระธรรม มีความเคารพในพระสงฆ์ มีความเคารพในสิกขา
มีความเคารพในสมาธิ มีความเคารพในความไม่ประมาท จักไม่มี
ความเคารพในปฏิสันถาร ภิกษุผู้มีความเคารพในพระศาสดา
มีความเคารพในพระธรรม มีความเคารพในพระสงฆ์ มีความ
เคารพในสิกขา มีความเคารพในสมาธิ มีความเคารพในความไม่
ประมาท ก็ชื่อว่ามีความเคารพในปฏิสันถารด้วย พระพุทธเจ้าข้า
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
๑-๖. เป็นไปได้ที่ภิกษุผู้มีความเคารพในพระศาสดา จักมีความเคารพใน
พระธรรมด้วย ภิกษุผู้มีความเคารพในพระศาสดา ก็ชื่อว่ามีความ
เคารพในพระธรรมด้วย พระพุทธเจ้าข้า ฯลฯ
๗. เป็นไปได้ที่ภิกษุผู้มีความเคารพในพระศาสดา ฯลฯ มีความเคารพ
ในความไม่ประมาท จักมีความเคารพในปฏิสันถารด้วย ภิกษุผู้มี
ความเคารพในพระศาสดา มีความเคารพในพระธรรม มีความ
เคารพในพระสงฆ์ มีความเคารพในสิกขา มีความเคารพในสมาธิ
มีความเคารพในความไม่ประมาท ก็ชื่อว่ามีความเคารพในปฏิสันถารด้วย
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ย่อมรู้ชัดเนื้อความแห่งพระภาษิตที่พระผู้มี
พระภาคตรัสไว้โดยย่อนี้ได้โดยพิสดารอย่างนี้”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ดีละ ดีละ สารีบุตร ดีจริง สารีบุตร เธอรู้ชัดเนื้อความ
แห่งภาษิตที่เรากล่าวไว้โดยย่อนี้ได้โดยพิสดารอย่างนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๑๕๔ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๗.มหาวรรค ๖.สักกัจจสูตร
สารีบุตร
๑-๖. เป็นไปไม่ได้เลยที่ภิกษุผู้ไม่มีความเคารพในศาสดา จักมีความเคารพ
ในธรรม ภิกษุผู้ไม่มีความเคารพในศาสดา ก็ชื่อว่าไม่มีความเคารพ
ในธรรมด้วย ฯลฯ ภิกษุผู้ไม่มีความเคารพในศาสดา ไม่มีความ
เคารพในธรรม ไม่มีความเคารพในสงฆ์ ไม่มีความเคารพในสิกขา
ไม่มีความเคารพในสมาธิ ก็ชื่อว่าไม่มีความเคารพในความไม่
ประมาทด้วย
๗. เป็นไปไม่ได้เลยที่ภิกษุผู้ไม่มีความเคารพในศาสดา ไม่มีความ
เคารพในธรรม ไม่มีความเคารพในสงฆ์ ไม่มีความเคารพในสิกขา
ไม่มีความเคารพในสมาธิ ไม่มีความเคารพในความไม่ประมาท
จักมีความเคารพในปฏิสันถาร ภิกษุผู้ไม่มีความเคารพในศาสดา
ไม่มีความเคารพในธรรม ไม่มีความเคารพในสงฆ์ ไม่มีความ
เคารพในสิกขา ไม่มีความเคารพในสมาธิ ไม่มีความเคารพใน
ความไม่ประมาท ก็ชื่อว่าไม่มีความเคารพในปฏิสันถารด้วย
สารีบุตร
๑-๖. เป็นไปไม่ได้เลยที่ภิกษุผู้มีความเคารพในศาสดา จักไม่มีความ
เคารพในธรรม ภิกษุผู้มีความเคารพในศาสดา ก็ชื่อว่ามีความ
เคารพในธรรมด้วย ฯลฯ
๗. เป็นไปไม่ได้เลยที่ภิกษุผู้มีความเคารพในศาสดา มีความเคารพ
ในธรรม มีความเคารพในสงฆ์ มีความเคารพในสิกขา มีความ
เคารพในสมาธิ มีความเคารพในความไม่ประมาท จักไม่มีความ
เคารพในปฏิสันถาร ภิกษุผู้มีความเคารพในศาสดา มีความ
เคารพในธรรม มีความเคารพในสงฆ์ มีความเคารพในสิกขา
มีความเคารพในสมาธิ มีความเคารพในความไม่ประมาท ก็ชื่อว่า
มีความเคารพในปฏิสันถารด้วย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๑๕๕ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๗.มหาวรรค ๗.ภาวนาสูตร
สารีบุตร
๑-๖. เป็นไปได้ที่ภิกษุผู้มีความเคารพในศาสดา จักมีความเคารพใน
ธรรมด้วย ภิกษุผู้มีความเคารพในศาสดา ก็ชื่อว่ามีความเคารพใน
ธรรมด้วย ฯลฯ
๗. เป็นไปได้ที่ภิกษุผู้มีความเคารพในศาสดา ฯลฯ มีความเคารพใน
ความไม่ประมาท จักมีความเคารพในปฏิสันถารด้วย ภิกษุผู้มี
ความเคารพในศาสดา ฯลฯ มีความเคารพในความไม่ประมาท
ก็ชื่อว่ามีความเคารพในปฏิสันถารด้วย
สารีบุตร เธอพึงทราบเนื้อความแห่งภาษิตที่เรากล่าวไว้โดยย่อนี้แล โดยพิสดาร
อย่างนี้”
สักกัจจสูตรที่ ๖ จบ

๗. ภาวนาสูตร
ว่าด้วยภาวนา
[๗๑] ภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุไม่หมั่นประกอบภาวนาอยู่ แม้จะเกิดความ
ปรารถนาอย่างนี้ว่า ‘ทำอย่างไรหนอ จิตของเราจึงจะหลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลาย
เพราะไม่ถือมั่น’ ก็จริง แต่จิตของภิกษุนั้นก็ยังไม่หลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลาย เพราะ
ไม่ถือมั่นได้เลย ข้อนั้นเพราะเหตุไร ควรกล่าวว่า เพราะไม่ได้เจริญ เพราะไม่ได้เจริญ
อะไร เพราะไม่ได้เจริญสติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕
พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ อริยมรรคมีองค์ ๘
เปรียบเหมือนไข่ ๘ ฟอง ๑๐ ฟอง หรือ ๑๒ ฟอง ที่แม่ไก่กกไม่ดี ให้ความ
อบอุ่นไม่ดี ฟักไม่ดี แม้แม่ไก่นั้นจะเกิดความปรารถนาอย่างนี้ว่า ‘ทำอย่างไรหนอ
ลูกของเราจะไช้ปลายเล็บเท้า หรือจะงอยปากทำลายกระเปาะไข่ออกมาได้โดย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๑๕๖ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๗.มหาวรรค ๗.ภาวนาสูตร
สวัสดี ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะไข่เหล่านั้น แม่ไก่กกไม่ดี ให้ความอบอุ่นไม่ดี
ฟักไม่ดี แม้ฉันใด
ภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุไม่หมั่นประกอบภาวนาอยู่ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน
แม้จะเกิดความปรารถนาอย่างนี้ว่า ‘ทำอย่างไรหนอ จิตของเราจึงจะหลุดพ้นจาก
อาสวะทั้งหลาย เพราะไม่ถือมั่น’ ก็จริง แต่จิตของภิกษุนั้นก็ไม่หลุดพ้นจากอาสวะ
ทั้งหลาย เพราะไม่ถือมั่นได้เลย ข้อนั้นเพราะเหตุไร ควรกล่าวว่า เพราะไม่ได้เจริญ
เพราะไม่ได้เจริญอะไร เพราะไม่ได้เจริญสติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔
อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ อริยมรรคมีองค์ ๘
ภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุหมั่นประกอบภาวนาอยู่ แม้จะไม่เกิดความปรารถนา
อย่างนี้ว่า ‘ทำอย่างไรหนอ จิตของเราพึงหลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลาย เพราะไม่
ถือมั่น’ ก็จริง แต่จิตของภิกษุนั้นก็หลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลาย เพราะไม่ถือมั่นได้
ข้อนั้นเพราะเหตุไร ควรกล่าวว่า เพราะได้เจริญ เพราะได้เจริญอะไร เพราะได้เจริญ
สติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗
อริยมรรคมีองค์ ๘
เปรียบเหมือนไข่ ๘ ฟอง ๑๐ ฟอง หรือ ๑๒ ฟอง ที่แม่ไก่กกดีแล้ว ให้ความ
อบอุ่นดีแล้ว ฟักดีแล้ว แม้แม่ไก่นั้นจะไม่เกิดความปรารถนาอย่างนี้ว่า ‘ทำอย่างไร
หนอ ลูกของเราจะใช้ปลายเล็บเท้า หรือจะงอยปากทำลายกระเปาะไข่ออกมาได้โดย
สวัสดี’ ก็จริง แต่ลูกไก่เหล่านั้นก็สามารถใช้ปลายเล็บเท้า หรือจะงอยปากทำลาย
กระเปาะไข่ออกมาได้โดยสวัสดี ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะไข่เหล่านั้น แม่ไก่กกดี
แล้ว ให้ความอบอุ่นดีแล้ว ฟักดีแล้ว แม้ฉันใด
ภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุหมั่นประกอบภาวนาอยู่ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน แม้จะ
ไม่เกิดความปรารถนาอย่างนี้ว่า ‘ทำอย่างไรหนอ จิตของเราพึงหลุดพ้นจากอาสวะ
ทั้งหลาย เพราะไม่ถือมั่น’ ก็จริง แต่จิตของภิกษุนั้นก็หลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลาย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๑๕๗ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๗.มหาวรรค ๘.อัคคิกขันโธปมสูตร
เพราะไม่ถือมั่นได้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร ควรกล่าวว่า เพราะได้เจริญ เพราะได้เจริญ
อะไร เพราะได้เจริญสติปัฏฐาน ๔ ฯลฯ อริยมรรคมีองค์ ๘
ภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนรอยนิ้วมือ หรือรอยนิ้วหัวแม่มือที่ด้ามมีด
ปรากฏแก่ช่างไม้ หรือลูกมือช่างไม้ แต่เขาไม่รู้อย่างนี้ว่า ‘วันนี้ ด้ามมีดของเรา
กร่อนไปเท่านี้ เมื่อวานนี้เท่านี้ เมื่อวานซืนเท่านี้’ ก็จริง แต่เมื่อด้ามมีดกร่อนไป
เขาก็รู้ว่า กร่อนไปแล้วนั่นเอง แม้ฉันใด
ภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุหมั่นประกอบภาวนาอยู่ก็ฉันนั้นเหมือนกัน แม้จะไม่
รู้อย่างนี้ว่า ‘วันนี้ อาสวะของเราสิ้นไปแล้วเท่านี้ เมื่อวานนี้เท่านี้ เมื่อวานซืนเท่านี้’
ก็จริง แต่เมื่ออาสวะสิ้นไปแล้ว เธอก็รู้ว่า ‘สิ้นไปแล้ว’ นั่นเอง
ภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนเรือเดินสมุทรที่เขาผูกด้วยหวาย และขันชะเนาะแล้ว
แล่นไปในน้ำตลอด ๖ เดือน พอถึงฤดูหนาว ก็ถูกเข็นขึ้นบก เครื่องผูกเรือตากลม
และแดดไว้ เครื่องผูกเหล่านั้นถูกฝนตกชะ ย่อมชำรุดเสียหายไปโดยไม่ยาก ฉันใด
ภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุหมั่นประกอบภาวนาอยู่ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน สังโยชน์
ทั้งหลายย่อมระงับ ดับไปโดยไม่ยาก
ภาวนาสูตรที่ ๗ จบ

๘. อัคคิกขันโธปมสูตร
ว่าด้วยข้ออุปมาด้วยกองไฟ
[๗๒] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเสด็จจาริกไปในแคว้นโกศล พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์
หมู่ใหญ่เสด็จดำเนินทางไกล ได้ทอดพระเนตรเห็นกองไฟใหญ่ ที่กำลังลุกโชนโชติช่วง
อยู่ ณ สถานที่แห่งหนึ่ง ครั้นแล้วจึงเสด็จแวะลงข้างทาง ประทับนั่งบนพุทธอาสน์
ที่ปูลาดไว้ ณ โคนไม้ต้นหนึ่ง จึงตรัสถามภิกษุทั้งหลายว่า
“ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายเห็นกองไฟใหญ่โน้นที่กำลังลุกโชนโชติช่วงอยู่หรือไม่”
ภิกษุเหล่านั้นทูลรับว่า “เห็น พระพุทธเจ้าข้า”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๑๕๘ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๗.มหาวรรค ๘.อัคคิกขันโธปมสูตร
๑. “ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายเข้าใจเรื่องนั้นอย่างไร ระหว่างการเข้าไปนั่ง
กอดหรือนอนกอดกองไฟใหญ่โน้นที่กำลังลุกโชนโชติช่วงอยู่ กับการเข้าไปนั่งกอดหรือ
นอนกอดธิดากษัตริย์ ลูกสาวพราหมณ์ หรือลูกสาวคหบดีที่มีมือและเท้าอ่อนนุ่ม อย่าง
ไหนประเสริฐกว่ากัน”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ การที่บุคคลเข้าไปนั่งกอดหรือนอนกอดธิดากษัตริย์
ลูกสาวพราหมณ์ หรือลูกสาวคหบดีที่มีมือและเท้าอ่อนนุ่มนี้ประเสริฐกว่า ส่วนการ
ที่บุคคลเข้าไปนั่งกอดหรือนอนกอดกองไฟใหญ่โน้นที่กำลังลุกโชนโชติช่วงอยู่นี้ เป็นทุกข์
พระพุทธเจ้าข้า”
“ภิกษุทั้งหลาย เราขอบอกเธอทั้งหลาย เราขอเตือนเธอทั้งหลาย การที่บุคคล
ผู้ทุศีล มีธรรมเลวทราม ไม่สะอาด มีความประพฤติที่น่ารังเกียจ มีการงานปกปิด
ไม่ใช่สมณะแต่ปฏิญญาว่าเป็นสมณะ ไม่ใช่พรหมจารีแต่ปฏิญญาว่าเป็นพรหมจารี๑
เน่าภายใน ชุ่มด้วยราคะ เป็นเหมือนหยากเยื่อ เข้าไปนั่งกอดหรือนอนกอดธิดา
กษัตริย์ ลูกสาวพราหมณ์ หรือลูกสาวคหบดี จะประเสริฐอะไร การเข้าไปนั่งกอด
หรือนอนกอดกองไฟใหญ่โน้นที่กำลังลุกโชนโชติช่วงนี้ประเสริฐกว่า ข้อนั้นเพราะ
เหตุไร เพราะเขาจะพึงเข้าถึงความตายหรือทุกข์ปางตาย อันมีการเข้าไปนั่งกอด
หรือนอนกอดกองไฟใหญ่นั้นเป็นเหตุ แต่เขาหลังจากตายแล้ว ก็จะไม่ไปเกิดในอบาย
ทุคติ วินิบาต นรก เพราะการเข้าไปนั่งกอดหรือนอนกอดกองไฟนั้นเป็นปัจจัย
ภิกษุทั้งหลาย ส่วนการที่บุคคลผู้ทุศีล มีธรรมเลวทราม ไม่สะอาด มีความ
ประพฤติที่น่ารังเกียจ มีการงานปกปิด ไม่ใช่สมณะแต่ปฏิญญาว่าเป็นสมณะ ไม่ใช่
พรหมจารีแต่ปฏิญญาว่าเป็นพรหมจารี เน่าภายใน ชุ่มด้วยราคะ เป็นเหมือน
หยากเยื่อ เข้าไปนั่งกอดหรือนอนกอดธิดากษัตริย์ ลูกสาวพราหมณ์ หรือลูกสาว
คหบดีนั้น ย่อมเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์เกื้อกูล เพื่อทุกข์ตลอดกาลนานแก่บุคคล
ผู้ทุศีลนั้น และหลังจากตายแล้ว เขาย่อมไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก

เชิงอรรถ :
๑ ไม่ใช่พรหมจารี แต่ปฏิญญาว่าเป็นพรหมจารี หมายถึงตนเองไม่มีศีล หมดสภาพความเป็นภิกษุ แต่ยัง
เรียกตนว่า ‘เป็นภิกษุ‘แล้วร่วมอยู่ร่วมฉันกับภิกษุอื่นผู้มีศีล ใช้สิทธิ์ถือเอาลาภที่เกิดขึ้นในสงฆ์ (องฺ.ติก.อ.
๒/๑๓/๘๖) และดู องฺ.ติก. (แปล) ๒๐/๑๓/๑๕๒-๑๕๓

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๑๕๙ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๗.มหาวรรค ๘.อัคคิกขันโธปมสูตร
๒. ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายเข้าใจเรื่องนั้นอย่างไร ระหว่างการที่บุรุษผู้มี
กำลังใช้เชือกหนังที่เหนียวพันแข้งทั้ง ๒ ข้างแล้วดึงถูไปมา เชือกหนังนั้นพึงบาดผิว
ครั้นบาดผิวแล้วพึงบาดหนัง ครั้นบาดหนังแล้วพึงบาดเนื้อ ครั้นบาดเนื้อแล้ว
พึงตัดเส้นเอ็น ครั้นตัดเส้นเอ็นแล้วพึงตัดกระดูก ครั้นตัดกระดูกแล้วพึงจรด
เยื่อกระดูก กับการยินดีการกราบไหว้ของขัตติยมหาศาล พราหมณมหาศาล
หรือคหบดีมหาศาล อย่างไหนประเสริฐกว่ากัน”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ การยินดีการกราบไหว้ของขัตติยมหาศาล พราหมณ-
มหาศาล หรือคหบดีมหาศาลนี้ประเสริฐกว่า การที่บุรุษผู้มีกำลังใช้เชือกหนังที่
เหนียวพันแข้งทั้ง ๒ ข้างแล้วดึงถูไปมา เชือกหนังนั้นพึงบาดผิวแล้ว ฯลฯ พึงจรด
เยื่อกระดูกนี้ เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า”
“ภิกษุทั้งหลาย เราขอบอกเธอทั้งหลาย เราขอเตือนเธอทั้งหลาย การที่บุคคล
ผู้ทุศีลนั้น ฯลฯ เป็นเหมือนหยากเยื่อ ยินดีการกราบไหว้ของขัตติยมหาศาล
พราหมณมหาศาล หรือคหบดีมหาศาล จะประเสริฐอะไร การที่บุรุษผู้มีกำลังใช้
เชือกหนังที่เหนียวพันแข้งทั้ง ๒ ข้างแล้วดึงถูไปมา เชือกหนังนั้นพึงบาดผิว ฯลฯ
พึงจรดเยื่อกระดูกนี้เท่านั้นประเสริฐกว่า ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะเขาพึงเข้าถึงความตาย
หรือทุกข์ปางตายอันมีการบาดผิวเป็นต้นนั้นเป็นเหตุ แต่หลังจากตายแล้ว เขาจะไม่
ไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก เพราะเชือกหนังบาดผิวเป็นต้นนั้นเป็นปัจจัย
ภิกษุทั้งหลาย ส่วนการที่บุคคลผู้ทุศีล ฯลฯ เป็นเหมือนหยากเยื่อ ยินดีการ
กราบไหว้ของขัตติยมหาศาล พราหมณมหาศาล หรือคหบดีมหาศาล ย่อมเป็นไป
เพื่อมิใช่ประโยชน์เกื้อกูล เพื่อทุกข์ตลอดกาลนานแก่บุคคลผู้ทุศีลนั้น และหลังจาก
ตายแล้ว เขาย่อมไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก
๓. ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายเข้าใจเรื่องนั้นอย่างไร ระหว่างการที่บุรุษผู้มี
กำลังใช้หอกที่คมชะโลมด้วยน้ำมันพุ่งใส่กลางอก กับการยินดีการไหว้ของขัตติยมหาศาล
พราหมณมหาศาล หรือคหบดีมหาศาล อย่างไหนประเสริฐกว่ากัน”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๑๖๐ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๗.มหาวรรค ๘.อัคคิกขันโธปมสูตร
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ การยินดีการไหว้ของขัตติยมหาศาล พราหมณมหาศาล
หรือคหบดีมหาศาล ประเสริฐกว่า ส่วนการที่บุรุษผู้มีกำลังใช้หอกที่คมชะโลมด้วย
น้ำมัน พุ่งใส่กลางอกนี้เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า”
“ภิกษุทั้งหลาย เราขอบอกเธอทั้งหลาย เราขอเตือนเธอทั้งหลาย การที่บุคคล
ผู้ทุศีล ฯลฯ เป็นเหมือนหยากเยื่อ ยินดีการไหว้ของขัตติยมหาศาล พราหมณ-
มหาศาล หรือคหบดีมหาศาล จะประเสริฐอะไร การที่บุรุษผู้มีกำลังใช้หอกที่คม
ชะโลมด้วยน้ำมันพุ่งใส่กลางอกนี้เท่านั้น ประเสริฐกว่า ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะ
เขาจะพึงเข้าถึงความตาย หรือทุกข์ปางตายอันมีหอกที่คมชะโลมด้วยน้ำมันพุ่งใส่
กลางอกเป็นเหตุ แต่หลังจากตายแล้ว เขาจะไม่ไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก
เพราะการถูกหอกแทงนั้นเป็นปัจจัย
ภิกษุทั้งหลาย ส่วนการที่บุคคลผู้ทุศีล ฯลฯ เป็นเหมือนหยากเยื่อ ยินดีการ
ไหว้ของขัตติยมหาศาล พราหมณมหาศาล หรือคหบดีมหาศาล ย่อมเป็นไปเพื่อ
มิใช่ประโยชน์เกื้อกูล เพื่อทุกข์ตลอดกาลนานแก่บุคคลผู้ทุศีลนั้น และหลังจาก
ตายแล้ว เขาย่อมไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก
๔. ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายเข้าใจเรื่องนั้นอย่างไร ระหว่างการที่บุรุษผู้มี
กำลังใช้แผ่นเหล็กร้อนที่เผาไฟลุกโชนโชติช่วงนาบกายกับการใช้สอยจีวรที่เขาถวาย
ด้วยศรัทธาของขัตติยมหาศาล พราหมณมหาศาล หรือคหบดีมหาศาล อย่างไหน
จะประเสริฐกว่ากัน”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ การที่บุคคลผู้ทุศีลใช้สอยจีวรที่เขาถวายด้วยศรัทธา
ของขัตติยมหาศาล พราหมณมหาศาล หรือคหบดีมหาศาลนี้เท่านั้น ประเสริฐกว่า
ส่วนการที่บุรุษผู้มีกำลังใช้แผ่นเหล็กร้อนที่เผาไฟลุกโชนโชติช่วงนาบกายตัวเองนี้เป็นทุกข์
พระพุทธเจ้าข้า”
“ภิกษุทั้งหลาย เราขอบอกเธอทั้งหลาย เราขอเตือนเธอทั้งหลาย การที่บุคคล
ผู้ทุศีล ฯลฯ เป็นเหมือนหยากเยื่อ ใช้สอยจีวรที่เขาถวายด้วยศรัทธา ของขัตติย-
มหาศาล พราหมณมหาศาล หรือคหบดีมหาศาล จะประเสริฐอะไร การที่บุรุษผู้
มีกำลังใช้แผ่นเหล็กร้อน ที่เผาไฟลุกโชนโชติช่วงนาบกายนี้เท่านั้น ประเสริฐกว่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๑๖๑ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๗.มหาวรรค ๘.อัคคิกขันโธปมสูตร
ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะเขาพึงเข้าถึงความตาย หรือทุกข์ปางตาย อันมีการถูก
นาบกายด้วยแผ่นเหล็กร้อนนั้นเป็นเหตุ แต่หลังจากตายแล้ว เขาจะไม่ไปเกิดใน
อบาย ทุคติ วินิบาต นรก เพราะการถูกนาบกายด้วยแผ่นเหล็กร้อนนั้นเป็นปัจจัย
ภิกษุทั้งหลาย ส่วนการที่บุคคลผู้ทุศีล ฯลฯ เป็นเหมือนหยากเยื่อ ใช้สอยจีวร
ที่เขาถวายด้วยศรัทธาของขัตติยมหาศาล พราหมณมหาศาล หรือคหบดีมหาศาล
ย่อมเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์เกื้อกูล เพื่อทุกข์ตลอดกาลนานแก่บุคคลผู้ทุศีลนั้น และ
หลังจากตายแล้ว เขาย่อมไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก
๕. ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายเข้าใจเรื่องนั้นอย่างไร ระหว่างการที่บุรุษ
ผู้มีกำลังใช้ตะขอเหล็กร้อนที่เผาไฟลุกโชนโชติช่วงง้างปากแล้ว ใส่ก้อนเหล็กร้อน
ที่เผาไฟลุกโชนโชติช่วงเข้าไปในปาก ก้อนเหล็กร้อนนั้นพึงไหม้ริมฝีปากบ้าง ไหม้
ปากบ้าง ไหม้ลิ้นบ้าง ไหม้คอบ้าง ไหม้อกบ้าง พาไส้ใหญ่บ้าง ไส้น้อยบ้าง
ออกทางทวารเบื้องล่างของคนนั้น กับการฉันบิณฑบาตที่เขาถวายด้วยศรัทธาของ
ขัตติยมหาศาล พราหมณมหาศาล หรือคหบดีมหาศาล อย่างไหนประเสริฐ
กว่ากัน”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ การฉันบิณฑบาตที่เขาถวายด้วยศรัทธาของขัตติยมหาศาล
พราหมณมหาศาล หรือคหบดีมหาศาลนี้เท่านั้น ประเสริฐกว่า การที่บุรุษผู้มีกำลัง
ใช้ตะขอเหล็กร้อน ที่เผาไฟลุกโชนโชติช่วงง้างปากแล้ว ใส่ก้อนเหล็กร้อน ที่เผาไฟ
ลุกโชนโชติช่วงเข้าไปในปาก ก้อนเหล็กร้อนนั้นพึงไหม้ริมฝีปากบ้าง ไหม้ปากบ้าง
ไหม้ลิ้นบ้าง ไหม้คอบ้าง ไหม้อกบ้าง พาไส้ใหญ่บ้าง ไส้น้อยบ้าง ออกทางทวาร
เบื้องล่างของคนนั้นนี้เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า”
“ภิกษุทั้งหลาย เราขอบอกเธอทั้งหลาย เราขอเตือนเธอทั้งหลาย การที่บุคคล
ผู้ทุศีล ฯลฯ เป็นเหมือนหยากเยื่อ ฉันบิณฑบาตที่เขาถวายด้วยศรัทธาของขัตติย-
มหาศาล พราหมณมหาศาล หรือคหบดีมหาศาล จะประเสริฐอะไร การที่บุรุษ
ผู้มีกำลังใช้ตะขอเหล็กร้อนที่เผาไฟลุกโชนโชติช่วงง้างปากแล้ว ใส่ก้อนเหล็กร้อน
ที่เผาไฟลุกโชนโชติช่วงเข้าไปในปาก ก้อนเหล็กร้อนนั้นพึงไหม้ริมฝีปากบ้าง ไหม้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๑๖๒ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๗.มหาวรรค ๘.อัคคิกขันโธปมสูตร
ปากบ้าง ไหม้ลิ้นบ้าง ไหม้คอบ้าง ไหม้อกบ้าง พาไส้ใหญ่บ้าง ไส้น้อยบ้าง ออกทาง
ทวารเบื้องล่างของคนนั้นนี้เท่านั้น ประเสริฐกว่า ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะเขาพึง
เข้าถึงความตายหรือทุกข์ปางตาย อันมีการใส่ก้อนเหล็กร้อนนั้นเป็นเหตุ แต่หลัง
จากตายแล้ว เขาจะไม่ไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก เพราะการใส่ก้อนเหล็ก
ร้อนนั้นเป็นปัจจัย
ภิกษุทั้งหลาย ส่วนการที่บุคคลผู้ทุศีล ฯลฯ เป็นเหมือนหยากเยื่อ ฉันบิณฑบาต
ที่เขาถวายด้วยศรัทธาของขัตติยมหาศาล พราหมณมหาศาล หรือคหบดีมหาศาล
ย่อมเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์เกื้อกูล เพื่อทุกข์ตลอดกาลนานแก่บุคคลผู้ทุศีลนั้น
และหลังจากตายแล้ว เขาย่อมไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก
๖. ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายเข้าใจเรื่องนั้นอย่างไร ระหว่างการที่บุรุษผู้มี
กำลังจับศีรษะหรือคอแล้วให้นั่งทับ หรือนอนทับเตียงเหล็กร้อน ที่เผาไฟลุกโชน
โชติช่วง กับการใช้สอยเตียงตั่งที่เขาถวายด้วยศรัทธาของขัตติยมหาศาล พราหมณ-
มหาศาล หรือคหบดีมหาศาล อย่างไหนประเสริฐกว่ากัน”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ การใช้สอยเตียงตั่งที่เขาถวายด้วยศรัทธาของขัตติย-
มหาศาล พราหมณมหาศาล หรือคหบดีมหาศาลเท่านั้น ประเสริฐกว่า การที่บุรุษ
ผู้มีกำลังจับศีรษะ หรือคอแล้วให้นั่งทับ หรือนอนทับเตียงเหล็กร้อน ที่เผาไฟลุกโชน
โชติช่วงนี้เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า”
“ภิกษุทั้งหลาย เราขอบอกเธอทั้งหลาย เราขอเตือนเธอทั้งหลาย การที่บุคคล
ผู้ทุศีล ฯลฯ เป็นเหมือนหยากเยื่อ การใช้สอยเตียงตั่งที่เขาถวายด้วยศรัทธาของ
ขัตติยมหาศาล พราหมณมหาศาล หรือคหบดีมหาศาล จะประเสริฐอะไร การที่
บุรุษผู้มีกำลังจับศีรษะหรือคอแล้ว ให้นั่งทับหรือนอนทับเตียงเหล็กร้อน ที่เผาไฟลุก
โชนโชติช่วงนี้เท่านั้น ประเสริฐกว่า ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะเขาจะพึงเข้าถึง
ความตาย หรือทุกข์ปางตายอันมีการนั่งหรือนอนทับเตียงตั่งเหล็กร้อนนั้นเป็นเหตุ
แต่หลังจากตายแล้ว เขาจะไม่ไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก เพราะการ
นั่งหรือนอนทับเตียงตั่งเหล็กร้อนนั้นเป็นปัจจัย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๑๖๓ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๗.มหาวรรค ๘.อัคคิกขันโธปมสูตร
ภิกษุทั้งหลาย ส่วนการที่บุคคลผู้ทุศีล ฯลฯ เป็นเหมือนหยากเยื่อ การใช้สอย
เตียงตั่งที่เขาถวายด้วยศรัทธาของขัตติยมหาศาล พราหมณมหาศาล หรือคหบดี
มหาศาล ย่อมเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์เกื้อกูล เพื่อทุกข์ตลอดกาลนานแก่บุคคลผู้
ทุศีลนั้น และหลังจากตายแล้ว เขาย่อมไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก
๗. ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายเข้าใจเรื่องนั้นอย่างไร ระหว่างการที่บุรุษ
ผู้มีกำลังจับคนชูเท้าขึ้น ห้อยศีรษะลงแล้วโยนลงในหม้อเหล็กร้อนที่เผาไฟลุกโชน
โชติช่วง เขาถูกไฟลวกเดือดโผล่ขึ้นเป็นฟองในหม้อเหล็กร้อนนั้น บางครั้งก็ลอยขึ้น
บางครั้งก็จมลง บางครั้งก็ลอยขวาง กับการใช้สอยวิหารที่เขาถวายด้วยศรัทธา
ของขัตติยมหาศาล พราหมณมหาศาล หรือคหบดีมหาศาล อย่างไหนประเสริฐ
กว่ากัน”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ การใช้สอยวิหารที่เขาถวายด้วยศรัทธาของขัตติยมหาศาล
พราหมณมหาศาล หรือคหบดีมหาศาลเท่านั้น ประเสริฐกว่า การที่บุรุษผู้มีกำลัง
จับคนชูเท้าขึ้น ห้อยศีรษะลงแล้วโยนลงในหม้อเหล็กร้อนที่เผาไฟลุกโชนโชติช่วง
เขาถูกไฟลวกเดือดโผล่ขึ้นเป็นฟองในหม้อเหล็กร้อนนั้น บางครั้งก็ลอยขึ้น บางครั้ง
ก็จมลง บางครั้งก็ลอยขวางนี้เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า”
“ภิกษุทั้งหลาย เราขอบอกเธอทั้งหลาย เราขอเตือนเธอทั้งหลาย การที่บุคคล
ทุศีล ฯลฯ เป็นเหมือนหยากเยื่อ การใช้สอยวิหารที่เขาถวายด้วยศรัทธาของขัตติย-
มหาศาล พราหมณมหาศาล หรือคหบดีมหาศาล จะประเสริฐอะไร การที่บุรุษผู้มี
กำลังจับคนชูเท้าขึ้น ห้อยศีรษะลงแล้วโยนลงในหม้อเหล็กร้อนที่เผาไฟลุกโชนโชติช่วง
เขาถูกไฟลวกเดือดโผล่ขึ้นเป็นฟองในหม้อเหล็กร้อนนั้น บางครั้งก็ลอยขึ้น บางครั้ง
ก็จมลง บางครั้งก็ลอยขวางนี้เท่านั้น ประเสริฐกว่า ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะเขา
พึงเข้าถึงความตาย หรือทุกข์ปางตายอันมีการถูกโยนลงในหม้อเหล็กร้อนนั้นเป็นเหตุ
แต่หลังจากตายแล้ว เขาจะไม่ไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก เพราะการถูก
โยนลงในหม้อเหล็กร้อนนั้นเป็นปัจจัย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๑๖๔ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๗.มหาวรรค ๘.อัคคิกขันโธปมสูตร
ภิกษุทั้งหลาย ส่วนการที่บุคคลผู้ทุศีล ฯลฯ เป็นดุจหยากเยื่อ การใช้สอย
วิหารที่เขาถวายด้วยศรัทธาของขัตติยมหาศาล พราหมณมหาศาล หรือคหบดี-
มหาศาล ย่อมเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์เกื้อกูล เพื่อทุกข์ตลอดกาลนานแก่บุคคลผู้
ทุศีลนั้น และหลังจากตายแล้ว เขาย่อมไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก
ภิกษุทั้งหลาย เพราะฉะนั้น เธอทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า ‘เราทั้งหลาย
ใช้สอยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชชบริขารของชนเหล่าใด
สักการะเหล่านั้นของชนเหล่านั้นจักมีผลมาก มีอานิสงส์มาก และการบรรพชาของ
เราทั้งหลาย จักไม่เป็นหมัน มีผล มีกำไร’ ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงสำเหนียก
อย่างนี้แล
อีกประการหนึ่ง เธอทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า ‘ภิกษุเมื่อพิจารณาเห็น
ประโยชน์ตน ก็ควรที่จะทำประโยชน์ตนนั้นให้สำเร็จด้วยความไม่ประมาทโดยแท้
เมื่อพิจารณาเห็นประโยชน์ของผู้อื่น ก็ควรทำประโยชน์ของผู้อื่นนั้นให้สำเร็จด้วย
ความไม่ประมาทโดยแท้ หรือเมื่อพิจารณาเห็นประโยชน์ทั้ง ๒ อย่าง ก็ควรทำ
ประโยชน์ทั้ง ๒ อย่างนั้นให้สำเร็จด้วยความไม่ประมาท”
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสเวยยากรณภาษิตนี้แล้ว และเมื่อพระองค์กำลังตรัส
เวยยากรณภาษิตนี้อยู่ ภิกษุประมาณ ๖๐ รูปได้กระอักเลือดอุ่นๆ ออกมา ภิกษุ
ประมาณ ๖๐ รูป ได้บอกคืนสิกขากลับมาเป็นคฤหัสถ์ด้วยกราบทูลว่า “ข้าแต่
พระผู้มีพระภาค การประพฤติพรหมจรรย์ ทำได้ยากแสนยาก ข้าแต่พระผู้มี
พระภาค การประพฤติพรหมจรรย์ ทำได้ยากแสนยาก” ภิกษุอีกประมาณ ๖๐ รูป
มีจิตหลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลาย เพราะไม่ถือมั่น ฉะนี้แล

อัคคิกขันโธปมสูตรที่ ๘ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๑๖๕ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๗.มหาวรรค ๙.สุเนตตสูตร
๙. สุเนตตสูตร
ว่าด้วยครูชื่อสุเนตตะ๑
[๗๓] ภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว มีครูชื่อสุเนตตะ เป็นเจ้าลัทธิผู้
ปราศจากความกำหนัดในกามทั้งหลาย มีสาวกหลายร้อยคน ได้แสดงธรรมแก่
สาวกทั้งหลาย เพื่อความเป็นผู้เกิดในพรหมโลก สาวกเหล่าใด เมื่อครูสุเนตตะ
แสดงธรรมเพื่อความเป็นผู้เกิดในพรหมโลกอยู่ ไม่ทำจิตให้เลื่อมใส สาวกเหล่านั้น
หลังจากตายแล้ว ได้ไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ส่วนสาวกเหล่าใด เมื่อครู
สุเนตตะแสดงธรรม เพื่อความเป็นผู้เกิดในพรหมโลกอยู่ ได้ทำจิตให้เลื่อมใส สาวก
เหล่านั้นหลังจากตายแล้ว ได้ไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์
เรื่องเคยมีมาแล้ว มีครูชื่อมูคปักขะ ฯลฯ เรื่องเคยมีมาแล้ว มีครูชื่อ
อรเนมิ ฯลฯ เรื่องเคยมีมาแล้ว มีครูชื่อกุททาละ ฯลฯ เรื่องเคยมีมาแล้ว มีครู
ชื่อหัตถิปาละ ฯลฯ เรื่องเคยมีมาแล้ว มีครูชื่อโชติปาละ ฯลฯ เรื่องเคยมีมาแล้ว
มีครูชื่ออรกะเป็นเจ้าลัทธิผู้ปราศจากความกำหนัดในกามทั้งหลาย มีสาวกหลาย
ร้อยคน ได้แสดงธรรมแก่สาวกทั้งหลายเพื่อความเป็นผู้เกิดในพรหมโลก สาวกเหล่าใด
เมื่อครูอรกะแสดงธรรม เพื่อความเป็นผู้เกิดในพรหมโลกอยู่ ไม่ทำจิตให้เลื่อมใส
สาวกเหล่านั้นหลังจากตายแล้ว ได้ไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ส่วนสาวก
เหล่าใด เมื่อครูชื่ออรกะแสดงธรรมเพื่อความเป็นผู้เกิดในพรหมโลกอยู่ ได้ทำจิตให้
เลื่อมใส สาวกเหล่านั้นหลังจากตายแล้ว ได้ไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์
ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายเข้าใจเรื่องนั้นอย่างไร ผู้ใดถูกโทสะประทุษร้าย
พึงด่าบริภาษครูทั้ง ๗ นี้ ผู้เป็นเจ้าลัทธิผู้ปราศจากความกำหนัดในกามทั้งหลาย
มีบริวารหลายร้อยคน พร้อมทั้งหมู่สาวก ผู้นั้นจะพึงประสพสิ่งที่มิใช่บุญเป็นอันมาก
หรือไม่

เชิงอรรถ :
๑ ดู องฺ.ฉกฺก. (แปล) ๒๒/๕๔/๕๒๙

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๑๖๖ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๗.มหาวรรค ๑๐.อรกสูตร
“พึงประสพ พระพุทธเจ้าข้า”
“ภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดมีจิตถูกโทสะประทุษร้าย พึงด่าพึงบริภาษครูทั้ง ๗ นี้
ผู้เป็นเจ้าลัทธิ ผู้ปราศจากความกำหนัดในกามทั้งหลาย มีบริวารหลายร้อยคน
พร้อมทั้งหมู่สาวก ผู้นั้นพึงประสพสิ่งที่มิใช่บุญเป็นอันมาก ส่วนผู้ใดมีจิตถูกโทสะ
ประทุษร้าย พึงด่าบริภาษบุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ๑คนเดียว ผู้นั้นย่อมประสพ
สิ่งที่มิใช่บุญมากกว่าบุคคลผู้ด่าบริภาษครูทั้ง ๗ นั้น ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะเรา
ไม่กล่าวว่าการขุดโค่นคุณความดีของตนเช่นนี้ จะมีภายนอกศาสนานี้ เหมือนการ
ด่าการบริภาษเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย
ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล เธอทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า ‘จิตของเรา
ทั้งหลายจักไม่คิดประทุษร้ายในเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย’ เธอทั้งหลายพึงสำเหนียก
อย่างนี้แล”
สุเนตตสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. อรกสูตร
ว่าด้วยครูชื่ออรกะ
[๗๔] ภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว มีครูชื่ออรกะ เป็นเจ้าลัทธิผู้ปราศจาก
ความกำหนัดในกามทั้งหลาย มีสาวกหลายร้อยคน ได้แสดงธรรมแก่สาวกอย่างนี้ว่า
“พราหมณ์ ชีวิตของมนุษย์ทั้งหลายมีประมาณน้อย เล็กน้อย รวดเร็ว มีทุกข์มาก
มีความคับแค้นมาก บุคคลพึงรู้ด้วยปัญญา พึงทำกุศล พึงประพฤติพรหมจรรย์
ไม่มีหรอก สัตว์ที่เกิดมาแล้วจะไม่ตาย

เชิงอรรถ :
๑ ผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ ในที่นี้หมายถึงพระอริยบุคคลชั้นโสดาบันซึ่งมีชื่อว่า “ผู้ถึงพร้อมด้วยทัสสนะ” บ้าง
“ผู้มาสู่พระสัทธรรม” บ้าง “ผู้ประกอบด้วยฌานของพระเสขะ” บ้าง “ผู้ประกอบด้วยวิชชาของพระเสขะ”
บ้าง “ผู้เข้าถึงกระแสธรรม” บ้าง “ผู้มีปัญญาแทงตลอด” บ้าง “ผู้ยืนจรดประตูอมตะ” บ้าง (องฺ.เอกก.อ.
๑/๒๖๘/๔๐๒, องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๕๔/๑๓๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๑๖๗ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๗.มหาวรรค ๑๐.อรกสูตร
พราหมณ์ หยาดน้ำค้างที่ยอดหญ้า เมื่อดวงอาทิตย์ขึ้น ก็เหือดแห้งไปอย่าง
รวดเร็ว อยู่ได้ไม่นาน แม้ฉันใด ชีวิตของมนุษย์ทั้งหลายที่เปรียบด้วยหยาดน้ำค้าง
ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เป็นของเล็กน้อย รวดเร็ว มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก
บุคคลพึงรู้ด้วยปัญญา พึงทำกุศล พึงประพฤติพรหมจรรย์ ไม่มีหรอก สัตว์ที่เกิดมา
แล้วจะไม่ตาย
พราหมณ์ เมื่อฝนเม็ดใหญ่ตก ฟองน้ำย่อมแตกหายไปอย่างรวดเร็ว คงอยู่ได้
ไม่นาน แม้ฉันใด ชีวิตของมนุษย์ทั้งหลายที่เปรียบด้วยฟองน้ำ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน
เป็นของเล็กน้อย รวดเร็ว มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก บุคคลพึงรู้ด้วยปัญญา
พึงทำกุศล พึงประพฤติพรหมจรรย์ ไม่มีหรอก สัตว์ที่เกิดมาแล้วจะไม่ตาย
พราหมณ์ รอยขีดในน้ำย่อมขาดหายไปอย่างรวดเร็ว คงอยู่ได้ไม่นาน
แม้ฉันใด ชีวิตของมนุษย์ทั้งหลายที่เปรียบด้วยรอยขีดในน้ำ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน
เป็นของเล็กน้อย รวดเร็ว ฯลฯ ไม่มีหรอก สัตว์ที่เกิดมาแล้วจะไม่ตาย
พราหมณ์ แม่น้ำที่ไหลมาจากภูเขา มาจากที่ไกล มีกระแสเชี่ยว พัดสิ่งที่
พาไปได้ ไม่มีขณะ เวลา หรือชั่วครู่ที่มันจะหยุด โดยที่แท้ แม่น้ำนั้นย่อมไหลบ่า
เรื่อยไป แม้ฉันใด ชีวิตของมนุษย์ทั้งหลายที่เปรียบด้วยแม่น้ำที่ไหลมาจากภูเขา
ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เป็นของเล็กน้อย รวดเร็ว ฯลฯ ไม่มีหรอก สัตว์ที่เกิดมาแล้ว
จะไม่ตาย
พราหมณ์ บุรุษผู้มีกำลังอมก้อนเขฬะไว้ที่ปลายลิ้นแล้ว พึงถ่มทิ้งไปโดยไม่
ยากนัก แม้ฉันใด ชีวิตของมนุษย์ทั้งหลายที่เปรียบด้วยก้อนเขฬะ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน
เป็นของเล็กน้อย รวดเร็ว ฯลฯ ไม่มีหรอก สัตว์ที่เกิดมาแล้วจะไม่ตาย
พราหมณ์ ชิ้นเนื้อที่เขาใส่ไว้ในกระทะเหล็กที่ถูกเผาไฟตลอดทั้งวัน ย่อมหดหาย
ไปอย่างรวดเร็ว คงอยู่ได้ไม่นาน แม้ฉันใด ชีวิตของมนุษย์ทั้งหลายที่เปรียบด้วย
ชิ้นเนื้อ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เป็นของเล็กน้อย รวดเร็ว ฯลฯ ไม่มีหรอก สัตว์ที่เกิดมา
แล้วจะไม่ตาย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๑๖๘ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๗.มหาวรรค ๑๐.อรกสูตร
พราหมณ์ แม่โคที่จะถูกฆ่า ถูกเขานำไปสู่ที่ฆ่า ยกเท้าขึ้นคราวใด ก็ยิ่งใกล้
ถูกฆ่า ใกล้ตายเข้าไปคราวนั้น แม้ฉันใด ชีวิตของมนุษย์ทั้งหลายที่เปรียบด้วยแม่โค
ที่จะถูกฆ่า ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เป็นของเล็กน้อย รวดเร็ว ฯลฯ ไม่มีหรอก สัตว์ที่เกิด
มาแล้วจะไม่ตาย
ภิกษุทั้งหลาย สมัยนั้น มนุษย์ทั้งหลายได้มีอายุประมาณ ๖๐,๐๐๐ ปี เด็ก
หญิงมีอายุ ๕๐๐ ปี จึงมีสามีได้ สมัยนั้น มนุษย์ทั้งหลายมีอาพาธเพียง ๖ อย่าง
เท่านั้น คือ หนาว ร้อน หิว กระหาย ปวดอุจจาระ ปวดปัสสาวะ ภิกษุทั้งหลาย
เมื่อมนุษย์ทั้งหลายมีอายุยืนอย่างนี้ ดำรงอยู่ได้นานอย่างนี้ และมีอาพาธน้อย
อย่างนี้ ไฉนครูอรกะนั้นยังแสดงธรรมแก่สาวกทั้งหลายอย่างนี้ว่า “พราหมณ์ ชีวิต
ของมนุษย์ มีประมาณน้อย เล็กน้อย รวดเร็ว มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก
บุคคลพึงรู้ด้วยปัญญา พึงทำกุศล พึงประพฤติพรหมจรรย์ ไม่มีหรอก สัตว์ที่เกิดมา
แล้วจะไม่ตาย”
ภิกษุทั้งหลาย ปัจจุบันนี้ เมื่อจะกล่าวถึงชีวิตนั้นให้ถูกต้อง พึงกล่าวว่า “ชีวิต
ของมนุษย์ทั้งหลายมีประมาณน้อย เล็กน้อย รวดเร็ว มีทุกข์มาก มีความ
คับแค้นมาก บุคคลพึงรู้ด้วยปัญญา พึงทำกุศล พึงประพฤติพรหมจรรย์ ไม่มีหรอก
สัตว์ที่เกิดมาแล้วจะไม่ตาย”
ภิกษุทั้งหลาย ปัจจุบันนี้ ผู้มีอายุยืนจะอยู่ได้ ๑๐๐ ปี น้อยกว่านั้นก็มี
มากกว่านั้นก็มี ส่วนคนที่อยู่ได้ถึง ๑๐๐ ปี จะอยู่ได้ ๓๐๐ ฤดูเท่านั้น คือ
ฤดูหนาว ๑๐๐ ฤดูร้อน ๑๐๐ ฤดูฝน ๑๐๐ คนที่อยู่ได้ถึง ๓๐๐ ฤดู จะอยู่ได้ถึง
๑,๒๐๐ เดือน คือ ฤดูหนาว ๔๐๐ ฤดูร้อน ๔๐๐ ฤดูฝน ๔๐๐ คนที่อยู่ได้ถึง
๑,๒๐๐ เดือน จะอยู่ได้ถึง ๒,๔๐๐ กึ่งเดือน คือ ฤดูหนาว ๘๐๐ กึ่งเดือน ฤดูร้อน
๘๐๐ กึ่งเดือน ฤดูฝน ๘๐๐ กึ่งเดือน คนที่อยู่ได้ถึง ๒,๔๐๐ กึ่งเดือน จะอยู่ได้ถึง
๓๖,๐๐๐ ราตรี คือ ฤดูหนาว ๑๒,๐๐๐ ราตรี ฤดูร้อน ๑๒,๐๐๐ ราตรี ฤดูฝน
๑๒,๐๐๐ ราตรี คนที่อยู่ได้ถึง ๓๖,๐๐๐ ราตรี จะบริโภคอาหารได้ ๗๒,๐๐๐ มื้อ
คือ ฤดูหนาว ๒๔,๐๐๐ มื้อ ฤดูร้อน ๒๔,๐๐๐ มื้อ ฤดูฝน ๒๔,๐๐๐ มื้อ นับรวม
ถึงการดื่มนมมารดาและเหตุที่ทำให้ไม่ได้บริโภคอาหาร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๑๖๙ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๗.มหาวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค
ในข้อนั้น เหตุที่ทำให้ไม่ได้บริโภคอาหารมีดังนี้ คนโกรธก็ไม่บริโภคอาหาร
คนมีทุกข์ก็ไม่บริโภคอาหาร คนเจ็บไข้ก็ไม่บริโภคอาหาร คนรักษาอุโบสถก็ไม่
บริโภคอาหาร และคนหาอาหารไม่ได้ก็ไม่บริโภคอาหาร
ภิกษุทั้งหลาย เราได้กำหนดอายุ กำหนดประมาณอายุ กำหนดฤดู กำหนดปี
กำหนดเดือน กำหนดกึ่งเดือน กำหนดราตรี กำหนดวัน กำหนดอาหาร และ
กำหนดอันตรายแห่งการบริโภคอาหารของมนุษย์ผู้มีอายุ ๑๐๐ ปี ด้วยประการ
ฉะนี้แล
ภิกษุทั้งหลาย กิจใด ที่ศาสดาผู้แสวงหาประโยชน์เกื้อกูล ผู้อนุเคราะห์ อาศัย
ความอนุเคราะห์พึงทำแก่สาวกทั้งหลาย กิจนั้น เราได้ทำแล้วแก่เธอทั้งหลาย ภิกษุ
ทั้งหลาย นั่นโคนไม้ นั่นเรือนว่าง๑ เธอทั้งหลายจงเพ่ง๒ อย่าประมาท อย่าเป็นผู้มี
วิปปฏิสาร (ความร้อนใจ) ในภายหลังเลย นี้เป็นอนุสาสนีของเราเพื่อเธอทั้งหลาย
อรกสูตรที่ ๑๐ จบ
มหาวรรคที่ ๑๐ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. หิริโอตตัปปสูตร ๒. สัตตสุริยสูตร
๓. นคโรปมสูตร ๔. ธัมมัญญูสูตร
๕. ปาริฉัตตกสูตร ๖. สักกัจจสูตร
๗. ภาวนาสูตร ๘. อัคคิกขันโธปมสูตร
๙. สุเนตตสูตร ๑๐. อรกสูตร


เชิงอรรถ :
๑ คำว่า นั่นโคนไม้ นั่นเรือนว่าง นี้ พระผู้มีพระภาคตรัสบอกเสนาสนะ หรือสถานที่ที่สงัดปราศจากคน
เหมาะแก่การบำเพ็ญความเพียรแก่ภิกษุ ประหนึ่งว่า ทรงมอบมรดก (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๗๓/๓๖)
๒ เพ่ง ในที่นี้หมายถึงเจริญสมถกัมมัฏฐานโดยเพ่งอารมณ์กัมมัฏฐาน ๓๘ ประการ และเจริญวิปัสสนา-
กัมมัฏฐานโดยเพ่งขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ เป็นต้นว่าเป็นสภาวะไม่เที่ยง (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๗๓/๓๖)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๑๗๐ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๘.วินยวรรค ๑.ปฐมวินยธรสูตร
๘. วินยวรรค
หมวดว่าด้วยวินัย๑
๑. ปฐมวินยธรสูตร
ว่าด้วยคุณสมบัติของพระวินัยธร สูตรที่ ๑
[๗๕] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๗ ประการ
เป็นพระวินัยธรได้
ธรรม ๗ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. รู้จักอาบัติ
๒. รู้จักอนาบัติ
๓. รู้จักลหุกาบัติ
๔. รู้จักครุกาบัติ๒
๕. มีศีล สำรวมด้วยการสังวรในปาติโมกข์๓ เพียบพร้อมด้วยอาจาระ

เชิงอรรถ :
๑ พระสูตรที่ ๑-๘ ในวรรคนี้ ดูเปรียบเทียบกับคัมภีร์บริวาร (วิ.ป. ๘/๓๒๗/๒๘๘-๒๙๑)
๒ รู้จักอาบัติ หมายถึงรู้อาบัติที่ท่านแสดงไว้ในสิกขาบทและสิกขาบทวิภังค์ (อธิบายสิกขาบท)
รู้จักอนาบัติ หมายถึงสามารถวินิจฉัยเรื่องที่เกิดขึ้นเกี่ยวกับอาบัติแต่ไม่ถึงกับต้องอาบัติ เช่น นางภิกษุณี
อุบลวรรณาถูกข่มขืน ท่านไม่ยินดี จึงไม่ต้องอาบัติ ดู วิ.มหา (แปล) ๑/๖๘/๕๖-๕๗
รู้จักลหุกาบัติ หมายถึงรู้ว่าอาบัติ ๕ อย่าง คือ ถุลลัจจัย ปาจิตตีย์ ปาฏิเทสนียะ ทุกกฏ ทุพภาสิต จะพ้น
ได้ด้วยวินัยกรรมเบาคือการแสดงอาบัติ(เทสนาวิธี)
รู้จักครุกาบัติ หมายถึงรู้ว่าสังฆาทิเสสจะพ้นได้ด้วยวินัยกรรมหนักคือวุฏฐานวิธี (ระเบียบเครื่องออกจาก
อาบัติ ๔ อย่าง คือ ปริวาส มานัต อัพภาน และปฏิกัสสนา) และรู้ว่าปาราชิกไม่สามารถจะพ้นได้ด้วยวินัย
กรรมอะไร ๆ (วิ.อ. ๓/๓๒๑/๔๔๒)
๓ สังวรในปาติโมกข์ มีอรรถาธิบายแต่ละคำดังนี้ สังวร หมายถึงการไม่ล่วงละเมิดทางกาย ทางวาจา
ปาติโมกข์ หมายถึงศีลสิกขาบทที่เป็นเหตุให้ผู้รักษาหลุดพ้นจากทุกข์ (ปาติ = รักษา + โมกขะ = ความ
หลุดพ้น) (วิสุทฺธิ. ๑/๑๔/๑๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๑๗๑ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๘.วินยวรรค ๓.ตติยวินยธรสูตร
และโคจร๑ มีปกติเห็นภัยในโทษแม้เล็กน้อย สมาทานศึกษาอยู่ใน
สิกขาบททั้งหลาย
๖. ได้ฌาน ๔ อันมีในจิตยิ่ง ซึ่งเป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบันตาม
ความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ได้โดยไม่ลำบาก
๗. ทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันไม่มีอาสวะ เพราะอาสวะ
สิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๗ ประการนี้แล เป็นพระวินัยธรได้
ปฐมวินยธรสูตรที่ ๑ จบ

๒. ทุติยวินยธรสูตร
ว่าด้วยคุณสมบัติของพระวินัยธร สูตรที่ ๒
[๗๖] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๗ ประการ เป็นพระวินัยธรได้
ธรรม ๗ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. รู้จักอาบัติ
๒. รู้จักอนาบัติ

เชิงอรรถ :
๑ อาจาระ หมายถึงการไม่ล่วงละเมิดทางกาย การไม่ล่วงละเมิดทางวาจา การไม่ล่วงละเมิดทางกายและทาง
วาจา หรือการสำรวมศีลทั้งหมด คือ การไม่เลี้ยงชีพด้วยอาชีพที่ผิดที่พระพุทธเจ้าทรงรังเกียจ เช่น ไม่
เลี้ยงชีพด้วยการให้ไม้ไผ่ ให้ใบไม้ ดอกไม้ ผลไม้ เครื่องสาน ไม้สีฟัน ไม่เลี้ยงชีพด้วยการทำตนต่ำกว่า
คฤหัสถ์ ด้วยการพูดเล่นเป็นแกงถั่ว(จริงบ้างไม่จริงบ้าง) ไม่เลี้ยงชีพด้วยการเลี้ยงเด็ก และการรับส่งข่าว
(วิสุทฺธิ. ๑/๑๔/๑๘)
โคจร หมายถึงสถานที่เที่ยวไปของภิกษุซึ่งไม่มีหญิงแพศยา(โสเภณี) ไม่มีหญิงหม้าย ไม่มีสาวเทื้อ (สาวแก่)
ไม่มีบัณเฑาะก์ ไม่มีภิกษุณี ไม่มีร้านสุรา ไม่เป็นสถานที่ต้องคลุกคลีกับพระราชา มหาอำมาตย์ และพวก
เดียรถีย์ ตรงกันข้าม ต้องเป็นสถานที่ของตระกูลที่มีศรัทธาเลื่อมใส เป็นดุจบ่อน้ำ รุ่งเรืองด้วยผ้ากาสาวะ
อบอวลด้วยกลิ่นฤาษี มุ่งหวังความผาสุกแก่ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา เป็นสถานที่ที่ภิกษุสำรวม
อินทรีย์ ๖ งดเว้นการขวนขวายในการดูการละเล่นที่เป็นข้าศึกต่อกุศล เช่น การฟ้อน ขับร้อง ประโคมดนตรี
อนึ่ง คำว่า โคจร นี้หมายถึงธรรมที่เป็นอารมณ์ของวิปัสสนากัมมัฏฐาน คือ สติปัฏฐาน ๔ (ขุ.ม. (แปล)
๒๙/๑๙๖/๕๗๑-๕๗๒, วิสุทฺธิ ๑/๑๔/๑๗-๑๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๑๗๒ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๘.วินยวรรค ๓.ตติยวินยธรสูตร
๓. รู้จักลหุกาบัติ
๔. รู้จักครุกาบัติ
๕. ทรงจำปาติโมกข์ทั้งสอง๑ได้ดี จำแนกได้ดี ให้เป็นไปได้ดีโดยพิสดาร
วินิจฉัยได้ดีโดยสูตร โดยอนุพยัญชนะ๒
๖. ได้ฌาน ๔ อันมีในจิตยิ่งซึ่งเป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน ตาม
ความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ได้โดยไม่ลำบาก
๗. ทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันไม่มีอาสวะ เพราะอาสวะ
สิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๗ ประการนี้แล เป็นพระวินัยธรได้
ทุติยวินยธรสูตรที่ ๒ จบ

๓. ตติยวินยธรสูตร
ว่าด้วยคุณสมบัติของพระวินัยธร สูตรที่ ๓
[๗๗] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๗ ประการ เป็นพระวินัยธรได้
ธรรม ๗ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. รู้จักอาบัติ
๒. รู้จักอนาบัติ

เชิงอรรถ :
๑ ปาติโมกข์ทั้งสอง ในที่นี้หมายถึงวิภังค์ ๒ คือ ภิกขุวิภังค์ ว่าด้วยภิกขุปาติโมกข์ กล่าวคือสิกขาบทใน
ปาติโมกข์ฝ่ายภิกษุ ๒๒๗ ข้อ และภิกขุนีวิภังค์ ว่าด้วยภิกขุนีปาติโมกข์ กล่าวคือสิกขาบทฝ่ายภิกษุณี
๓๑๑ ข้อ (วิ.อ.๒/๑๔๕-๑๔๗/๓๑๙)
๒ วินิจฉัยได้ดีโดยสูตร ในที่นี้หมายถึงวินิจฉัยได้ดีด้วยคัมภีร์ขันธกะและปริวารแห่งพระวินัยปิฎก วินิจฉัยได้
ดีโดยอนุพยัญชนะ หมายถึงวินิจฉัยบทอักษรให้สมบูรณ์ ไม่ตกหล่น (วิ.อ. ๒/๑๔๕-๑๔๗/๓๑๙)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๑๗๓ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๘.วินยวรรค ๔.จตุตถวินยธรสูตร
๓. รู้จักลหุกาบัติ
๔. รู้จักครุกาบัติ
๕. เป็นผู้ตั้งมั่น ไม่ง่อนแง่นในวินัย๑
๖. ได้ฌาน ๔ อันมีในจิตยิ่งซึ่งเป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน ตาม
ความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ได้โดยไม่ลำบาก
๗. ทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันไม่มีอาสวะ เพราะอาสวะ
สิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๗ ประการนี้แล เป็นพระวินัยธรได้
ตติยวินยธรสูตรที่ ๓ จบ

๔. จตุตถวินยธรสูตร
ว่าด้วยคุณสมบัติของพระวินัยธร สูตรที่ ๔
[๗๘] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๗ ประการ เป็นพระวินัยธรได้
ธรรม ๗ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. รู้จักอาบัติ
๒. รู้จักอนาบัติ
๓. รู้จักลหุกาบัติ

เชิงอรรถ :
๑ ตั้งมั่นไม่ง่อนแง่น หมายถึงหนักแน่นมั่นคงและมั่นใจในเรื่องที่ตนวินิจฉัยไว้ดีแล้ว ไม่กวัดแกว่งโอนเอียง
คล้อยตามความคิดของผู้อื่น เมื่อถูกถามในเรื่องบาลี อรรถกถาตอนต้น ตอนปลาย ตามลำดับบท ก็ไม่
หวั่นไหวสะทกสะท้าน สามารถยืนยันได้ด้วยว่า ‘ข้าพเจ้าพูดอย่างนี้ อาจารย์ของข้าพเจ้าพูดอย่างนี้’ แยก
ตอบเป็นประเด็นได้ชัดเจน ดุจการใช้แหนบถอนขนที่ละเส้น (องฺ.สตฺตก.ฏีกา ๓/๗๕-๘๒/๒๔๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๑๗๔ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๘.วินยวรรค ๕.ปฐมวินยธรโสภณสูตร
๔. รู้จักครุกาบัติ
๕. ระลึกชาติก่อนได้หลายชาติ คือ ๑ ชาติบ้าง ๒ ชาติบ้าง ฯลฯ๑
ระลึกชาติก่อนได้หลายชาติ พร้อมทั้งลักษณะทั่วไปและชีวประวัติ
อย่างนี้
๖. เห็นหมู่สัตว์ผู้กำลังจุติ กำลังเกิด ทั้งชั้นต่ำและชั้นสูง งามและ
ไม่งาม เกิดดีและเกิดไม่ดี ด้วยตาทิพย์อันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์ ฯลฯ๒
รู้ชัดถึงหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรมอย่างนี้
๗. ทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันไม่มีอาสวะ เพราะอาสวะสิ้นไป
ด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๗ ประการนี้แล เป็นพระวินัยธรได้
จตุตถวินยธรสูตรที่ ๔ จบ

๕. ปฐมวินยธรโสภณสูตร
ว่าด้วยเหตุให้พระวินัยธรสง่างาม สูตรที่ ๑
[๗๙] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๗ ประการ เป็นพระวินัยธร
ย่อมสง่างาม
ธรรม ๗ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. รู้จักอาบัติ
๒. รู้จักอนาบัติ

เชิงอรรถ :
๑ ดูความเต็มในอัฏฐกนิบาต ข้อ ๑๑ หน้า ๒๒๓ ในเล่มนี้
๒ ดูความเต็มในอัฏฐกนิบาต ข้อ ๑๑ หน้า ๒๒๔ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๑๗๕ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๘.วินยวรรค ๖.ทุติยวินยธรโสภณสูตร
๓. รู้จักลหุกาบัติ
๔. รู้จักครุกาบัติ
๕. มีศีล ฯลฯ๑ สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย
๖. ได้ฌาน ๔ ฯลฯ ได้โดยไม่ลำบาก
๗. ทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ฯลฯ เข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๗ ประการนี้แล เป็นพระวินัยธร ย่อม
สง่างาม
ปฐมวินยธรโสภณสูตรที่ ๕ จบ

๖. ทุติยวินยธรโสภณสูตร
ว่าด้วยเหตุให้พระวินัยธรสง่างาม สูตรที่ ๒
[๘๐] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๗ ประการ เป็นพระวินัยธร
ย่อมสง่างาม
ธรรม ๗ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. รู้จักอาบัติ
๒. รู้จักอนาบัติ
๓. รู้จักลหุกาบัติ
๔. รู้จักครุกาบัติ
๕. ทรงจำปาติโมกข์ทั้งสองได้ดี จำแนกได้ดี ให้เป็นไปได้ดีโดยพิสดาร
วินิจฉัยได้ดีโดยสูตร โดยอนุพยัญชนะ

เชิงอรรถ :
๑ ดูความเต็มในสัตตกนิบาต ข้อ ๗๕ (ปฐมวินยธรสูตร) หน้า ๑๗๑ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๑๗๖ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๘.วินยวรรค ๗.ตติยวินยธรโสภณสูตร
๖. ได้ฌาน ๔ ฯลฯ ได้โดยไม่ลำบาก
๗. ทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ฯลฯ เข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๗ ประการนี้แล เป็นพระวินัยธร
ย่อมสง่างาม
ทุติยวินยธรโสภณสูตรที่ ๖ จบ

๗. ตติยวินยธรโสภณสูตร
ว่าด้วยเหตุให้พระวินัยธรสง่างาม สูตรที่ ๓
[๘๑] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๗ ประการ เป็นพระวินัยธร
ย่อมสง่างาม
ธรรม ๗ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. รู้จักอาบัติ
๒. รู้จักอนาบัติ
๓. รู้จักลหุกาบัติ
๔. รู้จักครุกาบัติ
๕. เป็นผู้ตั้งมั่น ไม่ง่อนแง่นในวินัย
๖. ได้ฌาน ๔ ฯลฯ ได้โดยไม่ลำบาก
๗. ทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ฯลฯ เข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๗ ประการนี้แล เป็นพระวินัยธร ย่อม
สง่างาม
ตติยวินยธรโสภณสูตรที่ ๗ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๑๗๗ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๘.วินยวรรค ๙.สัตถุสาสนสูตร
๘. จตุตถวินยธรโสภณสูตร
ว่าด้วยเหตุให้พระวินัยธรสง่างาม สูตรที่ ๔
[๘๒] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๗ ประการ เป็นพระวินัยธร
ย่อมสง่างาม
ธรรม ๗ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. รู้จักอาบัติ
๒. รู้จักอนาบัติ
๓. รู้จักลหุกาบัติ
๔. รู้จักครุกาบัติ
๕. ระลึกชาติก่อนได้หลายชาติ คือ ๑ ชาติบ้าง ๒ ชาติบ้าง ฯลฯ
ระลึกชาติก่อนได้หลายชาติ พร้อมทั้งลักษณะทั่วไปและชีวประวัติ
อย่างนี้
๖. เห็นหมู่สัตว์ผู้กำลังจุติ กำลังเกิด ทั้งชั้นต่ำและชั้นสูง งามและไม่งาม
เกิดดีและเกิดไม่ดี ด้วยตาทิพย์อันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์ ฯลฯ รู้ชัดถึง
หมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรมอย่างนี้
๗. ทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ฯลฯ เข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๗ ประการนี้แล เป็นพระวินัยธร
ย่อมสง่างาม
จตุตถวินยธรโสภณสูตรที่ ๘ จบ

๙. สัตถุสาสนสูตร
ว่าด้วยสัตถุศาสน์
[๘๓] ครั้งนั้นแล ท่านพระอุบาลีเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวาย
อภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานวโรกาส ขอพระผู้มีพระภาคโปรดแสดงธรรม
โดยย่อแก่ข้าพระองค์ซึ่งข้าพระองค์ได้ฟังแล้วจะพึงหลีกออกไปอยู่ผู้เดียว ไม่ประมาท
มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่เถิด”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๑๗๘ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๘.วินยวรรค ๑๐.อธิกรณสมถสูตร
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อุบาลี เธอรู้ธรรมเหล่าใดว่า ‘ธรรมเหล่านี้ไม่เป็นไป
เพื่อความเบื่อหน่ายอย่างที่สุด เพื่อคลายกำหนัด เพื่อความดับ เพื่อสงบระงับ
เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ เพื่อนิพพาน’ เธอพึงทรงจำธรรมเหล่านั้นไว้ให้ดีว่า ‘นี้ไม่ใช่ธรรม
นี้ไม่ใช่วินัย นี้ไม่ใช่สัตถุศาสน์ (คำสอนของพระศาสดา)’ แต่เธอรู้ธรรมเหล่าใดว่า
‘ธรรมเหล่านี้เป็นไปเพื่อความเบื่อหน่ายอย่างที่สุด เพื่อคลายกำหนัด เพื่อความดับ
เพื่อสงบระงับ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ เพื่อนิพพาน’ เธอพึงทรงจำธรรมเหล่านั้นไว้ให้ดีว่า
‘นี้เป็นธรรม นี้เป็นวินัย นี้เป็นสัตถุศาสน์”
สัตถุสาสนสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. อธิกรณสมถสูตร
ว่าด้วยอธิกรณสมถธรรม
[๘๔] ภิกษุทั้งหลาย อธิกรณสมถธรรม(ธรรมเครื่องระงับอธิกรณ์) ๗ ประการนี้
เพื่อระงับ เพื่อดับอธิกรณ์๑ที่เกิดขึ้นแล้ว ๆ
ธรรม ๗ ประการ๒ อะไรบ้าง คือ
๑. สงฆ์พึงให้สัมมุขาวินัย ๒. สงฆ์พึงให้สติวินัย
๓. สงฆ์พึงให้อมูฬหวินัย ๔. สงฆ์พึงให้ปฏิญญาตกรณะ

เชิงอรรถ :
๑ อธิกรณ์ ในที่นี้หมายถึงเรื่องที่สงฆ์ต้องดำเนินการมี ๔ อย่าง คือ (๑) วิวาทาธิกรณ์ การถกเถียงกันเกี่ยว
กับพระธรรมวินัย (๒)อนุวาทาธิกรณ์ การโจทหรือกล่าวหากันด้วยอาบัติ (๓)อาปัตตาธิกรณ์ การต้อง
อาบัติ การปรับอาบัติ และการแก้ไขตัวเองให้พ้นจากอาบัติ (๔) กิจจาธิกรณ์ กิจธุระต่าง ๆ ที่สงฆ์จะต้องทำ
เช่น การให้อุปสมบท การให้ผ้ากฐิน เป็นต้น (องฺ.ทุก.อ. ๒/๑๕/๑๓) และดู วิ.จู. ๖/๒๑๕/๒๔๕-๒๔๖
๒ สัมมุขาวินัย หมายถึงวิธีระงับอธิกรณ์ในที่พร้อมหน้าคือต้องพร้อมทั้ง ๔ พร้อมดังนี้ (๑) พร้อมหน้าสงฆ์
ได้แก่ ภิกษุเข้าร่วมประชุมครบองค์ประชุมตามที่กำหนดไว้ในแต่ละกรณี (๒) พร้อมหน้าบุคคล ได้แก่ คู่กรณี
หรือบุคคลที่เกี่ยวข้องในเรื่องนั้นอยู่พร้อมหน้า (๓) พร้อมหน้าวัตถุได้แก่ ยกเรื่องที่เกิดขึ้นนั้นมาวินิจฉัย
(๔) พร้อมหน้าธรรม ได้แก่ วินิจฉัยถูกต้องตามธรรมวินัย
สติวินัย หมายถึงวิธีระงับอธิกรณ์โดยประกาศสมมติให้ว่าพระอรหันต์เป็นพระอริยะผู้มีสติสมบูรณ์ เป็นวิธี
ระงับโดยเอาสติเป็นหลักในกรณีที่มีผู้โจทพระอรหันตขีณาสพ เป็นการบอกให้รู้ว่าใครจะโจทพระอรหันต์ไม่ได้
อมูฬหวินัย หมายถึงวิธีระงับอธิกรณ์โดยยกประโยชน์แก่ภิกษุที่หายเป็นบ้าแล้วในกรณีที่มีผู้โจทภิกษุนั้น
ด้วยอาบัติที่ต้องในขณะเป็นบ้า สงฆ์จะสวดประกาศสมมติเพื่อไม่ให้ใคร ๆ โจทเธอด้วยอาบัติ
ปฏิญญาตกรณะ หมายถึงวิธีระงับอธิกรณ์โดยปรับอาบัติตามคำรับสารภาพของภิกษุผู้ต้องอาบัติ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๑๗๙ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๘.วินยวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค
๕. สงฆ์พึงให้เยภุยยสิกา ๖. สงฆ์พึงให้ตัสสปาปิยสิกา
๗. สงฆ์พึงให้ติณวัตถารกะ
ภิกษุทั้งหลาย อธิกรณสมถธรรม ๗ ประการนี้แล เพื่อระงับเพื่อดับอธิกรณ์
ที่เกิดขึ้นแล้ว ๆ
อธิกรณสมถสูตรที่ ๑๐ จบ
วินยวรรคที่ ๘ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. ปฐมวินยธรสูตร ๒. ทุติยวินยธรสูตร
๓. ตติยวินยธรสูตร ๔. จตุตถวินยธรสูตร
๕. ปฐมวินยธรโสภณสูตร ๖. ทุติยวินยธรโสภณสูตร
๗. ตติยวินยธรโสภณสูตร ๘. จตุตถวินยธรโสภณสูตร
๙. สัตถุสาสนสูตร ๑๐. อธิกรณสมถสูตร


เชิงอรรถ :
เยภุยยสิกา หมายถึงวิธีระงับอธิกรณ์โดยตัดสินตามเสียงข้างมาก สงฆ์จะใช้วิธีการนี้ในกรณีที่บุคคลหลาย
ฝ่ายมีความเห็นไม่ตรงกัน
ตัสสปาปิยสิกา หมายถึงวิธีระงับอธิกรณ์โดยตัดสินลงโทษแก่ผู้กระทำผิด เมื่อสงฆ์พิจารณาตามหลักฐาน
พยานแล้วเห็นว่ามีความผิดจริง แม้เธอจะไม่รับสารภาพก็ตาม
ติณวัตถารกะ หมายถึงวิธีระงับอธิกรณ์โดยให้ทั้ง ๒ ฝ่ายประนีประนอมกัน เปรียบเหมือนเอาหญ้ากลบไว้
ไม่ต้องชำระสะสางความ วิธีนี้ใช้ระงับอธิกรณ์ที่ยุ่งยาก เช่น กรณีพิพาทกันของภิกษุชาวกรุงโกสัมพี ดู
กงฺขา.ฏีกา ๔๗๐ (วิ.อ. ๓/๑๙๕/๒๙๒-๒๙๓, ๒๐๒/๒๙๓, ๒๐๗/๒๙๔, ๒๑๒/๒๙๔-๒๙๕, ๓๔๐/๔๘๗,
๔๘๓/๕๔๘) และดู วิ.จู. ๖/๑๘๕-๒๑๒/๒๑๘-๒๔๓, วิ.ป. ๘/๒๗๕/๒๑๐

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๑๘๐ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๙.สมณวรรค ๓.พราหมณสูตร
๙. สมณวรรค
หมวดว่าด้วยสมณะ
๑. ภิกขุสูตร
ว่าด้วยเหตุให้ได้ชื่อว่าภิกษุ
[๘๕] ภิกษุทั้งหลาย บุคคลชื่อว่าภิกษุ เพราะทำลายธรรม ๗ ประการได้
ธรรม ๗ ประการ อะไรบ้าง คือ

๑. สักกายทิฏฐิ ๒. วิจิกิจฉา
๓. สีลัพพตปรามาส ๔. ราคะ
๕. โทสะ ๖. โมหะ
๗. มานะ

ภิกษุทั้งหลาย บุคคลชื่อว่าภิกษุ เพราะทำลายธรรม ๗ ประการนี้แลได้
ภิกขุสูตรที่ ๑ จบ

๒. สมณสูตร
ว่าด้วยเหตุให้ได้ชื่อว่าสมณะ
[๘๖] ภิกษุทั้งหลาย บุคคลชื่อว่าสมณะ เพราะระงับธรรม ๗ ประการได้
ฯลฯ
สมณสูตรที่ ๒ จบ

๓. พราหมณสูตร
ว่าด้วยเหตุให้ได้ชื่อว่าพราหมณ์
[๘๗] ภิกษุทั้งหลาย บุคคลชื่อว่าพราหมณ์ เพราะลอยธรรม ๗ ประการได้
ฯลฯ
พราหมณสูตรที่ ๓ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๑๘๑ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๙.สมณวรรค ๗.อริโยสูตร
๔. โสตติกสูตร
ว่าด้วยเหตุให้ได้ชื่อว่าโสตติกะ
[๘๘] ภิกษุทั้งหลาย บุคคลชื่อว่าโสตติกะ เพราะธรรม ๗ ประการร้อยรัด
ไม่ได้
ฯลฯ
โสตติกสูตรที่ ๔ จบ

๕. นหาตกสูตร
ว่าด้วยเหตุให้ได้ชื่อว่านหาตกะ
[๘๙] ภิกษุทั้งหลาย บุคคลชื่อว่านหาตกะ เพราะล้างธรรม ๗ ประการได้
ฯลฯ
นหาตกสูตรที่ ๕ จบ

๖. เวทคูสูตร
ว่าด้วยเหตุให้ได้ชื่อว่าเวทคู
[๙๐] ภิกษุทั้งหลาย บุคคลชื่อว่าเวทคู เพราะรู้ธรรม ๗ ประการ
ฯลฯ
เวทคูสูตรที่ ๖ จบ

๗. อริโยสูตร
ว่าด้วยเหตุให้ได้ชื่อว่าอริยะ
[๙๑] ภิกษุทั้งหลาย บุคคลชื่อว่าอริยะ เพราะกำจัดธรรม ๗ ประการได้
ฯลฯ
อริโยสูตรที่ ๗ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๑๘๒ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๙.สมณวรรค ๙.อสัทธัมมสูตร
๘. อรหาสูตร
ว่าด้วยเหตุให้ได้ชื่อว่าอรหันต์
[๙๒] ภิกษุทั้งหลาย บุคคลชื่อว่าอรหันต์ เพราะเป็นผู้ห่างไกลจากธรรม ๗
ประการได้
ธรรม ๗ ประการ อะไรบ้าง คือ

๑. สักกายทิฏฐิ ๒. วิจิกิจฉา
๓. สีลัพพตปรามาส ๔. ราคะ
๕. โทสะ ๖. โมหะ
๗. มานะ

ภิกษุทั้งหลาย บุคคลชื่อว่าอรหันต์ เพราะเป็นผู้ห่างไกลจากธรรม ๗ ประการ
นี้แล
อรหาสูตรที่ ๘ จบ

๙. อสัทธัมมสูตร
ว่าด้วยอสัทธรรม๑
[๙๓] ภิกษุทั้งหลาย อสัทธรรม ๗ ประการนี้
อสัทธรรม ๗ ประการ อะไรบ้าง คือ

๑. เป็นผู้ไม่มีศรัทธา ๒. เป็นผู้ไม่มีหิริ
๓. เป็นผู้ไม่มีโอตตัปปะ ๔. เป็นผู้มีสุตะน้อย
๕. เป็นผู้เกียจคร้าน ๖. เป็นผู้หลงลืมสติ
๗. เป็นผู้มีปัญญาทราม

ภิกษุทั้งหลาย อสัทธรรม ๗ ประการนี้แล
อสัทธัมมสูตรที่ ๙ จบ

เชิงอรรถ :
๑ ดู ที.ปา. ๑๑/๓๓๐/๒๒๒, อภิ.วิ. (แปล) ๓๕/๙๕๐/๖๐๗

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๑๘๓ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๙.สมณวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค
๑๐. สัทธัมมสูตร
ว่าด้วยสัทธรรม๑
[๙๔] ภิกษุทั้งหลาย สัทธรรม ๗ ประการนี้
สัทธรรม ๗ ประการ อะไรบ้าง คือ

๑. เป็นผู้มีศรัทธา ๒. เป็นผู้มีหิริ
๓. เป็นผู้มีโอตตัปปะ ๔. เป็นพหูสูต
๕. เป็นผู้ปรารภความเพียร ๖. เป็นผู้มีสติ
๗. เป็นผู้มีปัญญา

ภิกษุทั้งหลาย สัทธรรม ๗ ประการนี้แล
สัทธัมมสูตรที่ ๑๐ จบ
สมณวรรคที่ ๙ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. ภิกขุสูตร ๒. สมณสูตร
๓. พราหมณสูตร ๔. โสตติกสูตร
๕. นหาตกสูตร ๖. เวทคูสูตร
๗. อริโยสูตร ๘. อรหาสูตร
๙. อสัทธัมมสูตร ๑๐. สัทธัมมสูตร


เชิงอรรถ :
๑ ดู วิ.ป. ๘/๓๒๗/๒๙๑, ที.ปา. ๑๑/๓๓๐/๒๒๒

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๑๘๔ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สันตตกนิบาต ๑๐.อาหุเนยยวรรค
๑๐. อาหุเนยยวรรค
หมวดว่าด้วยอาหุไนยบุคคล
[๙๕] ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๗ จำพวกนี้ เป็นผู้ควรแก่ของที่เขานำมาถวาย
ควรแก่ของต้อนรับ ควรแก่ทักษิณา ควรแก่การทำอัญชลี เป็นนาบุญอันยอดเยี่ยม
ของโลก
บุคคล ๗ จำพวกไหนบ้าง คือ
๑. บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้พิจารณาเห็นความไม่เที่ยง มีสัญญาว่า
ไม่เที่ยง รู้ว่าเป็นสภาวะไม่เที่ยงในจักษุอยู่ ตั้งใจมั่นเนืองๆ สม่ำเสมอ
ไม่ขาดระยะ มีปัญญาหยั่งรู้ เขาทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ
อันไม่มีอาสวะ เพราะอาสวะสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง เข้าถึงอยู่
ในปัจจุบัน ภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นบุคคลจำพวกที่ ๑ ผู้ควรแก่ของที่
เขานำมาถวาย ควรแก่ของต้อนรับ ควรแก่ทักษิณา ควรแก่การทำ
อัญชลี เป็นนาบุญอันยอดเยี่ยมของโลก
๒. บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้พิจารณาเห็นความไม่เที่ยง มีสัญญาว่า
ไม่เที่ยง รู้ว่าเป็นสภาวะไม่เที่ยงในจักษุอยู่ ตั้งใจมั่นเนืองๆ สม่ำเสมอ
ไม่ขาดระยะ มีปัญญาหยั่งรู้ เขามีปัญญาหยั่งรู้ความสิ้นอาสวะและ
ความสิ้นชีวิต ไม่ก่อนไม่หลังกัน ภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นบุคคลจำพวก
ที่ ๒ ผู้ควรแก่ของที่เขานำมาถวาย ควรแก่ของต้อนรับ ควรแก่
ทักษิณา ควรแก่การทำอัญชลี เป็นนาบุญอันยอดเยี่ยมของโลก
๓. บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้พิจารณาเห็นความไม่เที่ยง มีสัญญาว่า
ไม่เที่ยง รู้ว่าเป็นสภาวะไม่เที่ยงในจักษุอยู่ ตั้งใจมั่นเนืองๆ สม่ำเสมอ
ไม่ขาดระยะ มีปัญญาหยั่งรู้ เพราะสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ ประการสิ้นไป

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๑๘๕ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สันตตกนิบาต ๑๐.อาหุเนยยวรรค
เขาจึงเป็นอันตราปรินิพพายี ภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นบุคคลจำพวกที่ ๓
ผู้ควรแก่ของที่เขานำมาถวาย ควรแก่ของต้อนรับ ควรแก่ทักษิณา
ควรแก่การทำอัญชลี เป็นนาบุญอันยอดเยี่ยมของโลก ฯลฯ
๔. บุคคลบางคนในโลกนี้ ฯลฯ เป็นอุปหัจจปรินิพพายี ฯลฯ
๕. บุคคลบางคนในโลกนี้ ฯลฯ เป็นอสังขารปรินิพพายี ฯลฯ
๖. บุคคลบางคนในโลกนี้ ฯลฯ เป็นสสังขารปรินิพพายี ฯลฯ
๗. บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้พิจารณาเห็นความไม่เที่ยง มีสัญญาว่า
ไม่เที่ยง รู้ว่าเป็นสภาวะไม่เที่ยงในจักษุอยู่ ตั้งใจมั่นเนืองๆ สม่ำเสมอ
ไม่ขาดระยะ มีปัญญาหยั่งรู้ เพราะสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ ประการสิ้นไป
เขาจึงเป็นอุทธังโสตอกนิฏฐคามี ภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นบุคคลจำพวก
ที่ ๗ ผู้ควรแก่ของที่เขานำมาถวาย ควรแก่ของต้อนรับ ควรแก่
ทักษิณา ควรแก่การทำอัญชลี เป็นนาบุญอันยอดเยี่ยมของโลก
ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๗ จำพวกนี้แล เป็นผู้ควรแก่ของที่เขานำมาถวาย
ควรแก่ของต้อนรับ ควรแก่ทักษิณา ควรแก่การทำอัญชลี เป็นนาบุญอันยอดเยี่ยม
ของโลก (๑)
[๙๖-๖๒๒] ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๗ จำพวกนี้ เป็นผู้ควรแก่ของที่เขานำ
มาถวาย ฯลฯ เป็นนาบุญอันยอดเยี่ยมของโลก
บุคคล ๗ จำพวกไหนบ้าง คือ
บุคคลบางคนในโลกนี้พิจารณาเห็นความเป็นทุกข์ ฯลฯ ในจักษุอยู่
... พิจารณาเห็นความเป็นอนัตตา ฯลฯ ในจักษุอยู่
... พิจารณาเห็นความสิ้นไป ฯลฯ ในจักษุอยู่
... พิจารณาเห็นความเสื่อมไป ฯลฯ ในจักษุอยู่
... พิจารณาเห็นความคลายไป ฯลฯ ในจักษุอยู่
... พิจารณาเห็นความดับไป ฯลฯ ในจักษุอยู่
... พิจารณาเห็นความสละคืน ฯลฯ ในจักษุอยู่ ฯลฯ (๒-๘)


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๑๘๖ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๑๐.อาหุเนยยวรรค
ในโสตะอยู่ ฯลฯ ในฆานะอยู่ ... ในชิวหาอยู่ ... ในกายอยู่ ... ในใจอยู่ ฯลฯ
(๙-๔๘)
ในรูปอยู่ ฯลฯ ในเสียงอยู่ ... ในกลิ่นอยู่ ... ในรสอยู่ ... ในโผฏฐัพพะอยู่ ...
ในธรรมารมณ์อยู่ ฯลฯ (๔๙-๙๖)
ในจักขุวิญญาณอยู่ ฯลฯ ในโสตวิญญาณอยู่ ... ในฆานวิญญาณอยู่ ...
ในชิวหาวิญญาณอยู่ ... ในกายวิญญาณอยู่ ... ในมโนวิญญาณอยู่ ฯลฯ (๙๗-๑๔๔)
ในจักขุสัมผัสอยู่ ฯลฯ ในโสตสัมผัสอยู่ ... ในฆานสัมผัสอยู่ ... ในชิวหาสัมผัสอยู่
... ในกายสัมผัสอยู่ ... ในมโนสัมผัสอยู่ ฯลฯ (๑๔๕-๑๙๒)
ในเวทนาที่เกิดจากจักขุสัมผัสอยู่ ฯลฯ ในเวทนาที่เกิดจากโสตสัมผัสอยู่ ...
ในเวทนาที่เกิดจากฆานสัมผัสอยู่ ... ในเวทนาที่เกิดจากชิวหาสัมผัสอยู่ ... ในเวทนา
ที่เกิดจากกายสัมผัสอยู่ ... ในเวทนาที่เกิดจากมโนสัมผัสอยู่ ฯลฯ (๑๙๓-๒๔๐)
ในรูปสัญญาอยู่ ฯลฯ ในสัททสัญญาอยู่ ... ในคันธสัญญาอยู่ ... ในรสสัญญาอยู่
... ในโผฏฐัพพสัญญาอยู่ ... ในธัมมสัญญาอยู่ ฯลฯ (๒๔๑-๒๘๘)
ในรูปสัญเจตนาอยู่ ฯลฯ ในสัททสัญเจตนาอยู่ ... ในคันธสัญเจตนาอยู่ ... ใน
รสสัญเจตนาอยู่ ... ในโผฏฐัพพสัญเจตนาอยู่ ... ในธัมมสัญเจตนาอยู่ ฯลฯ (๒๘๙-
๓๓๖)
ในรูปตัณหาอยู่ ฯลฯ ในสัททตัณหาอยู่ ... ในคันธตัณหาอยู่ ... ในรสตัณหาอยู่
... ในโผฏฐัพพตัณหาอยู่ ... ในธัมมตัณหาอยู่ ฯลฯ (๓๓๗-๓๘๔)
ในรูปวิตกอยู่ ฯลฯ ในสัททวิตกอยู่ ... ในคันธวิตกอยู่ ... ในรสวิตกอยู่ ... ใน
โผฏฐัพพวิตกอยู่ ... ในธัมมวิตกอยู่ ฯลฯ (๓๘๕-๔๓๒)
ในรูปวิจารอยู่ ฯลฯ ในสัททวิจารอยู่ ... ในคันธวิจารอยู่ ... ในรสวิจารอยู่ ...
ในโผฏฐัพพวิจารอยู่ ... ในธัมมวิจารอยู่ ฯลฯ (๔๓๓-๔๘๐)
... พิจารณาเห็นความไม่เที่ยง ... ในรูปขันธ์อยู่
... พิจารณาเห็นความเป็นทุกข์ ...

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๑๘๗ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๑๐.อาหุเนยยวรรค
... พิจารณาเห็นความเป็นอนัตตา ...
... พิจารณาเห็นความสิ้นไป ...
... พิจารณาเห็นความเสื่อมไป ...
... พิจารณาเห็นความคลายไป ...
... พิจารณาเห็นความดับไป ...
... พิจารณาเห็นความสละคืน ...
ในเวทนาขันธ์อยู่ ... ในสัญญาขันธ์อยู่ ... ในสังขารขันธ์อยู่ ... ในวิญญาณขันธ์อยู่
ฯลฯ (๔๘๑-๕๒๐)
ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๗ จำพวกนี้แล เป็นผู้ควรแก่ของที่เขานำมาถวาย ฯลฯ
เป็นนาบุญอันยอดเยี่ยมของโลก
ในอาหุเนยยวรรคนี้ มีหมวดธรรมดังนี้ คือ
ทวาร ๖ อารมณ์ ๖ วิญญาณ ๖ ผัสสะ ๖ เวทนา ๖
สัญญา ๖ สัญเจตนา ๖ ตัณหา ๖ วิตก ๖ วิจาร ๖ และขันธ์ ๕
แต่ละประการในธรรมแต่ละหมวดมีพระสูตร ๘ สูตร
มีสภาวธรรม ๘ ประการ คือ
ความไม่เที่ยง ความเป็นทุกข์ ความเป็นอนัตตา
ความสิ้นไป ความเสื่อมไป ความคลายกำหนัด
ความดับ และความสละคืน
จัดเป็นพระสูตรเบื้องต้น ๑๖ สูตร๑
โดยประกอบการพิจารณาไปตามลำดับ ประการละ ๘ สูตร
เมื่อรวมกันทั้งหมด ได้พระสูตร ๕๒๘ สูตร
อาหุเนยยวรรคที่ ๑๐ จบ

เชิงอรรถ :
๑ พระสูตรเบื้องต้น ๑๖ สูตร คือ ในธรรมประการที่ ๑ คือจักษุแห่งหมวดทวาร ๖ จัดพระสูตรได้ ๘ สูตร
และในธรรมประการที่ ๑ คือรูปแห่งหมวดอารมณ์ ๖ จัดพระสูตรได้ ๘ สูตรซึ่งเป็นหัวข้อธรรมตัวอย่าง
ให้หัวข้อธรรมอื่น ๆ ดำเนินไปในลักษณะเดียวกัน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๑๘๘ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ราคเปยยาล
ราคเปยยาล๑
[๖๒๓] ภิกษุทั้งหลาย บุคคลควรเจริญธรรม ๗ ประการ เพื่อรู้ยิ่ง
ราคะ(ความกำหนัด)
ธรรม ๗ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สติสัมโพชฌงค์ (ธรรมที่เป็นองค์แห่งการตรัสรู้คือ ความระลึกได้)
ฯลฯ๒
๗. อุเบกขาสัมโพชฌงค์ (ธรรมที่เป็นองค์แห่งการตรัสรู้คือความวางใจ
เป็นกลาง)
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลควรเจริญธรรม ๗ ประการนี้ เพื่อรู้ยิ่งราคะ (๑)
[๖๒๔] ภิกษุทั้งหลาย บุคคลควรเจริญธรรม ๗ ประการ เพื่อรู้ยิ่งราคะ
ธรรม ๗ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. อนิจจสัญญา (กำหนดหมายความไม่เที่ยงแห่งสังขาร)
๒. อนัตตสัญญา (กำหนดหมายความเป็นอนัตตาแห่งธรรมทั้งปวง)
๓. อสุภสัญญา (กำหนดหมายความไม่งามแห่งกาย)

เชิงอรรถ :
๑ ราคเปยยาล หมายถึงหมวดธรรมที่ทรงแสดงโดยย่อมีราคะเป็นต้น หมายความว่านอกจากราคะแล้วยังมี
อกุศลธรรมอีก ๑๖ ประการ รวมเป็น ๑๗ ประการ แต่ละประการมีเป้าหมาย ๑๐ เป้าหมาย (๑๐ เพื่อ เช่น
เพื่อรู้ยิ่ง) มีการคำนวณพระสูตรด้วยเป้าหมายละ ๑ สูตร จึงเป็น ๑๗๐ สูตร (๑๐ เป้าหมาย x อกุศลธรรม
๑๗ ประการ) นี้เป็นการคำนวณพระสูตรจากการเจริญหมวดธรรมเพียง ๑ หมวด แต่ในราคเปยยาลของ
สัตตกนิบาตนี้มีหมวดธรรมที่ต้องเจริญ ๓ หมวด จึงรวมเป็น ๕๑๐ สูตร (๑๗๐ สูตร x ๓ หมวดธรรม)
๒ ดูความเต็มในสัตตกนิบาต ข้อ ๒๖ (โพชฌังคสูตร) หน้า ๔๐-๔๑ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๑๘๙ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สันตตกนิบาต ราคเปยยาล
๔. อาทีนวสัญญา (กำหนดหมายโทษทุกข์ของกายอันมีความเจ็บไข้ต่างๆ)
๕. ปหานสัญญา (กำหนดหมายเพื่อละอกุศลวิตกและบาปธรรมทั้งหลาย)
๖. วิราคสัญญา (กำหนดหมายวิราคะว่าเป็นธรรมละเอียดประณีต)
๗. นิโรธสัญญา (กำหนดหมายนิโรธว่าเป็นธรรมละเอียดประณีต)
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลควรเจริญธรรม ๗ ประการนี้ เพื่อรู้ยิ่งราคะ (๒)
[๖๒๕] ภิกษุทั้งหลาย บุคคลควรเจริญธรรม ๗ ประการ เพื่อรู้ยิ่งราคะ
ธรรม ๗ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. อสุภสัญญา (กำหนดหมายความไม่งามแห่งกาย)
๒. มรณสัญญา (กำหนดหมายความตายที่จะต้องมาถึงเป็นธรรมดา)
๓. อาหาเร ปฏิกูลสัญญา (กำหนดหมายความปฏิกูลในอาหาร)
๔. สัพพโลเก อนภิรตสัญญา (กำหนดหมายความไม่น่าเพลิดเพลินใน
โลกทั้งปวง)
๕. อนิจจสัญญา (กำหนดหมายความไม่เที่ยงแห่งสังขาร)
๖. อนิจเจ ทุกขสัญญา (กำหนดหมายความเป็นทุกข์ในความไม่เที่ยง
แห่งสังขาร)
๗. ทุกเข อนัตตสัญญา (กำหนดหมายความเป็นอนัตตาในความเป็นทุกข์)
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลควรเจริญธรรม ๗ ประการนี้ เพื่อรู้ยิ่งราคะ (๓)
[๖๒๖-๖๕๒] ภิกษุทั้งหลาย บุคคลควรเจริญธรรม ๗ ประการ เพื่อกำหนด
รู้ราคะ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๑๙๐ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ราคเปยยาล
... เพื่อความสิ้นราคะ
... เพื่อละราคะ
... เพื่อความสิ้นไปแห่งราคะ
... เพื่อความเสื่อมไปแห่งราคะ
... เพื่อความคลายไปแห่งราคะ
... เพื่อความดับไปแห่งราคะ
... เพื่อความสละราคะ
... เพื่อความสละคืนราคะ...
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลควรเจริญธรรม ๗ ประการนี้ เพื่อความสละคืนราคะ
(๔-๓๐)
[๖๕๓-๑๑๓๒] ภิกษุทั้งหลาย บุคคลควรเจริญธรรม ๔ ประการ เพื่อรู้ยิ่ง
โทสะ(ความคิดประทุษร้าย)
... เพื่อกำหนดรู้โทสะ
... เพื่อความสิ้นโทสะ
... เพื่อละโทสะ
... เพื่อความสิ้นไปแห่งโทสะ
... เพื่อความเสื่อมไปแห่งโทสะ
... เพื่อความคลายไปแห่งโทสะ
... เพื่อความดับไปแห่งโทสะ
... เพื่อความสละโทสะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๑๙๑ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ราคเปยยาล
... เพื่อความสละคืนโทสะ ... โมหะ(ความหลง) ... โกธะ(ความโกรธ). ..
อุปนาหะ(ความผูกโกรธ) ... มักขะ(ความลบหลู่คุณท่าน) ... ปลาสะ(ความตีเสมอ) ...
อิสสา(ความริษยา) ... มัจฉริยะ(ความตระหนี่) ... มายา(มารยา) ... สาเถยยะ(ความ
โอ้อวด) ... ถัมภะ(ความหัวดื้อ) ... สารัมภะ(ความแข่งดี) ... มานะ(ความถือตัว) ...
อติมานะ(ความดูหมิ่นเขา) ... มทะ(ความมัวเมา) ... ปมาทะ(ความประมาท) ...
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลควรเจริญธรรม ๖ ประการนี้แล เพื่อความสละคืนปมาทะ
(๓๑-๕๑๐)
พระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้ ภิกษุเหล่านั้นมีใจยินดีต่างชื่นชมพระภาษิตของ
พระผู้มีพระภาคแล

ราคเปยยาล จบ

สัตตกนิบาต จบบริบูรณ์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๑๙๒ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๑.เมตตาวรรค ๑.เมตตาสูตร
พระสุตตันตปิฎก
อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต

_____________

ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

๑. ปฐมปัณณาสก์
๑. เมตตาวรรค
หมวดว่าด้วยเมตตา
๑. เมตตาสูตร๑
ว่าด้วยอานิสงส์แห่งเมตตาเจโตวิมุตติ
[๑] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิก-
เศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมา
ตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึง
ได้ตรัสดังนี้ว่า
ภิกษุทั้งหลาย เมตตาเจโตวิมุตติ๒ที่บุคคลเสพ เจริญ ทำให้มากแล้ว ทำให้
เป็นดุจยานแล้ว ทำให้เป็นที่ตั้งแล้ว ให้ตั้งมั่นแล้ว สั่งสมแล้ว ปรารภดีแล้ว พึงหวังได้
อานิสงส์ ๘ ประการ

เชิงอรรถ :
๑ ดู องฺ.เอกาทสก. (แปล) ๒๔/๑๕/๔๒๕-๔๒๖ และเทียบ ขุ.ป. (แปล) ๓๑/๒๒/๔๖๗
๒ เมตตาเจโตวิมุตติ หมายถึงเมตตาที่เกิดจากตติยฌานและจตุตถฌาน พ้นจากปัจจนีกธรรม (ธรรมที่เป็น
ข้าศึก) กล่าวคือนิวรณ์ ๕ ประการ ได้แก่ กามฉันทะ พยาบาท ถีนมิทธะ อุทธัจจกุกกุจจะ วิจิกิจฉา
(องฺ.เอกก.อ. ๑/๑๗/๔๒, องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๑๓/๑๐๔) และดู องฺ.ฉกฺก. (แปล) ๒๒/๑๓/๔๒๙

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๑๙๓ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๑.เมตตาวรรค ๑.เมตตาสูตร
อานิสงส์ ๘ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. หลับเป็นสุข
๒. ตื่นเป็นสุข
๓. ไม่ฝันร้าย
๔. เป็นที่รักของมนุษย์ทั้งหลาย
๕. เป็นที่รักของอมนุษย์ทั้งหลาย
๖. เทวดาทั้งหลายรักษา
๗. ไฟ ยาพิษ หรือศัสตรากล้ำกรายไม่ได้
๘. เมื่อยังไม่แทงตลอดคุณวิเศษ๑ย่อมเข้าถึงพรหมโลก
ภิกษุทั้งหลาย เมตตาเจโตวิมุตติที่บุคคลเสพ เจริญ ทำให้มากแล้ว ทำให้เป็น
ดุจยานแล้ว ทำให้เป็นที่ตั้งแล้ว ให้ตั้งมั่นแล้ว สั่งสมแล้ว ปรารภดีแล้ว พึงหวังได้
อานิสงส์ ๘ ประการนี้
ผู้มีสติตั้งมั่น เจริญเมตตาแผ่ไปไม่มีประมาณ
พิจารณาเห็นธรรมเป็นที่สิ้นอุปธิ๒
ย่อมมีสังโยชน์เบาบาง
หากบุคคลมีจิตไม่คิดประทุษร้ายสัตว์แม้ชีวิตเดียว
เจริญเมตตาเป็นประจำอยู่
ก็เป็นผู้ชื่อว่าฉลาดเพราะการเจริญเมตตานั้น
แต่พระอริยบุคคลผู้มีใจอนุเคราะห์หมู่สัตว์ทุกหมู่เหล่า
ชื่อว่าสั่งสมบุญไว้เป็นอันมาก
พระราชาผู้ทรงธรรมเช่นกับฤาษี
ทรงชนะใจหมู่สัตว์ทั่วแผ่นดินด้วยราชธรรม

เชิงอรรถ :
๑ คุณวิเศษ ในที่นี้หมายถึงอรหัตตผล (องฺ.เอกาทสก.อ. ๓/๑๕/๓๘๕)
๒ พิจารณาเห็นธรรมเป็นที่สิ้นอุปธิ หมายถึงบรรลุอรหัตตผลอันเป็นที่สิ้นกิเลสตามแนวทางการเจริญวิปัสสนา
ที่มีเมตตาเป็นพื้นฐาน (องฺ.อฏฺฐก.อ. ๓/๑/๒๑๒, องฺ.อฏฺฐก.ฏีกา ๓/๑/๒๕๐)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๑๙๔ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๑.เมตตาวรรค ๑.เมตตาสูตร
ทรงบูชายัญ คือ สัสสเมธะ ปุริสเมธะ
สัมมาปาสะ วาชเปยยะ และนิรัคคฬะ๑ เสด็จเที่ยวไป
ยัญเหล่านั้น ยังไม่ถึงเสี้ยวที่ ๑๖
แห่งเมตตาเจโตวิมุตติที่บุคคลเจริญดีแล้ว
เหมือนแสงหมู่ดวงดาวไม่ถึงเสี้ยวที่ ๑๖ แห่งแสงจันทร์ ฉะนั้น
ผู้มีเมตตาในสัตว์ทุกหมู่เหล่า
จะไม่ฆ่าเอง ไม่ใช้ให้ผู้อื่นฆ่า ไม่ชนะเอง๒ไม่ใช้ให้ผู้อื่นชนะ๓
ย่อมไม่มีเวร๔กับใครๆ
เมตตาสูตรที่ ๑ จบ

เชิงอรรถ :
๑ ยัญทั้ง ๕ นี้มีความหมายตรงกันข้ามกับมหายัญ ๕ ประการของพราหมณ์ โดย ๔ ยัญแรก (สัสสเมธะ
ปุริสเมธะ สัมมาปาสะ วาชเปยยะ) หมายถึงหลักสงเคราะห์ที่ดีงามของพระราชา (ราชสังคหวัตถุ) จัดเป็น
ส่วนเหตุ ยัญที่ ๕ (นิรัคคฬะ) จัดเป็นส่วนผล ยัญทั้ง ๕ นั้น มีความหมายดังนี้ (๑) สัสสเมธะ หมายถึง
ความฉลาดในการสงเคราะห์พสกนิกรด้วยการบำรุงพืชพันธุ์ธัญญาหาร ส่งเสริมการเกษตร มีความหมาย
ตรงกันข้ามกับอัศวเมธะ(การฆ่าม้าบูชายัญ) ของพราหมณ์ (๒) ปุริสเมธะ หมายถึงความฉลาดในการ
บำรุงข้าราชการ รู้จักส่งเสริมคนดีมีความสามารถ มีความหมายตรงกันข้ามกับปุริสเมธะ (การฆ่าคนบูชายัญ)
ของพราหมณ์ (๓) สัมมาปาสะ หมายถึงความมีอัธยาศัยดุจบ่วงคล้องใจประชาชนด้วยการส่งเสริมอาชีพ
เช่น ให้คนกู้ยืมทุนไปสร้างตัวไม่เก็บภาษีเป็นเวลา ๓ ปี เป็นต้น มีความหมายตรงกันข้ามกับสัมมาปาสะ
(การทำบ่วงแล้วขว้างไม้ลอดบ่วง ไม้ตกที่ไหนทำพิธีบูชายัญที่นั้น)ของพราหมณ์(๔) วาชเปยยะ หมายถึง
ความมีปิยวาจาเป็นที่ดูดดื่มใจคน เช่น เรียกว่า ‘พ่อ’ ‘ลุง’ (๕) นิรัคคฬะ หมายถึงบ้านเมืองสงบสุขปราศจาก
โจรผู้ร้าย ไม่ต้องระแวงภัย บ้านเรือนไม่ต้องลงกลอน เป็นผลที่เกิดจาก ๔ ประการแรก มีความหมายตรง
กันข้ามกับนิรัคคฬะของพราหมณ์ซึ่งหมายถึงการฆ่าครบทุกอย่างบูชายัญไม่จำกัด (องฺ.อฏฺฐก.อ. ๓/๑/๒๑๓,
ขุ.อิติ.อ. ๒๗/๑๐๖-๑๐๘, องฺ.อฏฺฐก.ฏีกา ๓/๑/๒๔๙-๒๕๒, องฺ.จตุกฺก.ฏีกา ๒/๓๙/๓๗๑-๓๗๒) และดู
เทียบใน สํ.ส. ๑๕/๑๒๐/๙๑, องฺ.จตุกฺก. (แปล) ๒๑/๓๙/๖๔-๖๖, ขุ.อิติ. ๒๕/๒๗/๒๕๐-๒๕๑, ขุ.สุ. ๒๕/
๒๘๗-๓๑๘/๓๘๙-๓๙๓
๒ ไม่ชนะเอง ในที่นี้หมายถึงไม่ทำความเสื่อมต่อผู้อื่นด้วยตนเอง (องฺ.อฏฺฐก.อ. ๓/๑/๒๑๔)
๓ ไม่ใช้ให้ผู้อื่นชนะ ในที่นี้หมายถึงไม่ใช้ให้ผู้อื่นทำความเสื่อมต่อผู้อื่น (องฺ.อฏฺฐก.อ. ๓/๑/๒๑๔)
๔ ไม่มีเวร ในที่นี้หมายถึงไม่มีอกุศลเวรและบุคคลเวร (องฺ.อฏฺฐก.อ. ๓/๑/๒๑๔) และดู ขุ.อิติ. ๒๕/๒๗/๒๕๑

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๑๙๕ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๑.เมตตาวรรค ๒.ปัญญาสูตร
๒. ปัญญาสูตร
ว่าด้วยเหตุปัจจัยที่ให้ได้ปัญญา
[๒] ภิกษุทั้งหลาย เหตุปัจจัย ๘ ประการนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อได้ปัญญา๑ อันเป็น
เบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์ที่ยังไม่ได้ เพื่อภิญโญภาพ ไพบูลย์ เจริญเต็มที่แห่งปัญญา
ที่ได้แล้ว
เหตุปัจจัย ๘ ประการ๒ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. อาศัยพระศาสดา หรือเพื่อนพรหมจารีรูปใดรูปหนึ่ง ผู้ตั้งอยู่ใน
ฐานะเป็นครู เป็นที่เข้าไปตั้งหิริโอตตัปปะ ความรัก และความ
เคารพอย่างแรงกล้า นี้เป็นเหตุปัจจัยที่ ๑ ที่เป็นไปเพื่อได้ปัญญา
อันเป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์ที่ยังไม่ได้ เพื่อภิญโญภาพ ไพบูลย์
เจริญเต็มที่แห่งปัญญาที่ได้แล้ว
๒. อาศัยพระศาสดา หรือเพื่อนพรหมจารีรูปใดรูปหนึ่ง ผู้ตั้งอยู่ใน
ฐานะเป็นครู เป็นที่เข้าไปตั้งหิริโอตตัปปะ ความรักและความเคารพ
อย่างแรงกล้า เธอเข้าไปหาแล้วสอบสวน ไต่ถามท่านเหล่านั้น
ตามเวลาอันสมควรว่า ‘ท่านผู้เจริญ พระพุทธพจน์นี้เป็นอย่างไร
เนื้อความแห่งพระพุทธพจน์นี้เป็นอย่างไร’ ท่านเหล่านั้นย่อมเปิด
เผยธรรมที่ยังไม่ได้เปิดเผย ทำให้ง่ายซึ่งธรรมที่ยังไม่ได้ทำให้ง่าย
และบรรเทาความสงสัยในธรรมที่น่าสงสัยหลายอย่าง นี้เป็นเหตุ
ปัจจัยที่ ๒ ที่เป็นไปเพื่อได้ปัญญาอันเป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์ที่
ยังไม่ได้ เพื่อภิญโญภาพ ไพบูลย์ เจริญเต็มที่แห่งปัญญาที่ได้แล้ว
๓. ได้ฟังธรรมนั้นแล้ว ย่อมทำความสงบ ๒ อย่าง คือ ความสงบกาย
และความสงบใจให้ถึงพร้อม นี้เป็นเหตุปัจจัยที่ ๓ ที่เป็นไปเพื่อได้

เชิงอรรถ :
๑ ปัญญา ในที่นี้หมายถึงวิปัสสนา (องฺ.อฏฺฐก.อ. ๓/๒/๒๑๔)
๒ ดู ที.ปา. ๑๑/๓๕๘/๒๖๑-๒๖๔

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๑๙๖ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๑.เมตตาวรรค ๒.ปัญญาสูตร
ปัญญาอันเป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์ที่ยังไม่ได้ เพื่อภิญโญภาพ
ไพบูลย์ เจริญเต็มที่แห่งปัญญาที่ได้แล้ว
๔. เป็นผู้มีศีล สำรวมด้วยการสังวรในปาติโมกข์ เพียบพร้อมด้วยอาจาระ
และโคจร๑ มีปกติเห็นภัยในโทษแม้เล็กน้อย สมาทานศึกษาอยู่ใน
สิกขาบททั้งหลาย นี้เป็นเหตุปัจจัยที่ ๔ ที่เป็นไปเพื่อได้ปัญญาอัน
เป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์ที่ยังไม่ได้ เพื่อภิญโญภาพ ไพบูลย์
เจริญเต็มที่แห่งปัญาที่ได้แล้ว
๕. เป็นพหูสูต ทรงสุตะ๒ สั่งสมสุตะ เป็นผู้ได้ฟังมากซึ่งธรรมทั้งหลาย
ที่มีความงามในเบื้องต้น มีความงามในท่ามกลาง และมีความงาม
ในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถและพยัญชนะ บริสุทธิ์
บริบูรณ์ครบถ้วน ทรงจำไว้ได้ คล่องปาก ขึ้นใจ แทงตลอดดีด้วย
ทิฏฐิ นี้เป็นเหตุปัจจัยที่ ๕ ที่เป็นไปเพื่อได้ปัญญาอันเป็นเบื้องต้น
แห่งพรหมจรรย์ที่ยังไม่ได้ เพื่อภิญโญภาพ ไพบูลย์ เจริญเต็มที่แห่ง
ปัญญาที่ได้แล้ว
๖. เป็นผู้ปรารภความเพียรเพื่อละอกุศลธรรม เพื่อให้กุศลธรรมเกิด
มีความเข้มแข็ง มีความบากบั่นมั่นคง ไม่ทอดธุระในกุศลธรรม
ทั้งหลายอยู่ นี้เป็นเหตุปัจจัยที่ ๖ ที่เป็นไปเพื่อได้ปัญญาอันเป็น
เบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์ที่ยังไม่ได้ เพื่อภิญโญภาพ ไพบูลย์ เจริญ
เต็มที่แห่งปัญญาที่ได้แล้ว
๗. อยู่ในที่ประชุมสงฆ์ ไม่พูดเรื่องราวต่างๆ ไม่พูดติรัจฉานกถา๓ กล่าว
ธรรมเอง เชื้อเชิญผู้อื่นให้กล่าว และไม่ดูหมิ่นการนิ่งอย่างพระอริยะ
นี้เป็นเหตุปัจจัยที่ ๗ ที่เป็นไปเพื่อได้ปัญญาอันเป็นเบื้องต้นแห่ง

เชิงอรรถ :
๑ ดูเชิงอรรถที่ ๑ สัตตกนิบาต ข้อ ๗๕ หน้า ๑๗๒ ในเล่มนี้
๒ ดูเชิงอรรถที่ ๓ สัตตกนิบาต ข้อ ๖ หน้า ๑๐ ในเล่มนี้
๓ ติรัจฉานกถา คือถ้อยคำอันขวางทางไปสู่สวรรค์หรือนิพพาน หมายถึงเรื่องราวที่ภิกษุไม่ควรนำมาเป็นข้อ
ถกเถียงสนทนากัน เพราะทำให้เกิดฟุ้งซ่าน และหลงเพลินเสียเวลา (วิ.อ. ๒/๑๔๔/๓๑๕, สารตฺถ.ฏีกา
๓/๑๔๔/๔๓, ที.สี.อ. ๑/๑๗/๘๔) มี ๒๘ อย่าง ดูรายละเอียดใน วิ.มหา. (แปล) ๒/๕๐๘/๕๙๙, วิ.ม. (แปล)
๕/๒๕๐/๑๙-๒๐, ที.สี. (แปล) ๙/๑๗/๗, ที.ปา. ๑๑/๕๐/๓๐, ม.ม. ๑๓/๒๒๓/๑๙๗, สํ.ม. ๑๙/๑๐๘๐/๓๖๙,
องฺ.ทสก. (แปล) ๒๔/๖๙/๑๕๐-๑๕๑, ขุ.ม. (แปล) ๒๙/๑๕๗/๔๓๙-๔๔๐

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๑๙๗ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๑.เมตตาวรรค ๒.ปัญญาสูตร
พรหมจรรย์ที่ยังไม่ได้ เพื่อภิญโญภาพ ไพบูลย์ เจริญเต็มที่แห่ง
ปัญญาที่ได้แล้ว
๘. เป็นผู้มีปกติเห็นความเกิดขึ้นและความเสื่อมไปในอุปาทานขันธ์ ๕
อยู่ว่า ‘รูปเป็นอย่างนี้ ความเกิดขึ้นแห่งรูปเป็นอย่างนี้ ความดับ
แห่งรูปเป็นอย่างนี้ เวทนาเป็นอย่างนี้ ฯลฯ สัญญาเป็นอย่างนี้ ฯลฯ
สังขารเป็นอย่างนี้ ฯลฯ วิญญาณเป็นอย่างนี้ ความเกิดขึ้นแห่ง
วิญญาณเป็นอย่างนี้ ความดับแห่งวิญญาณเป็นอย่างนี้’ นี้เป็นเหตุ
ปัจจัยที่ ๘ ที่เป็นไปเพื่อได้ปัญญาอันเป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์ที่
ยังไม่ได้ เพื่อภิญโญภาพ ไพบูลย์ เจริญเต็มที่แห่งปัญญาที่ได้แล้ว
เพื่อนพรหมจารีย่อมสรรเสริญภิกษุนั้นอย่างนี้ว่า
๑. ท่านผู้มีอายุนี้อาศัยพระศาสดา หรือเพื่อนพรหมจารีรูปใดรูปหนึ่ง
ผู้ตั้งอยู่ในฐานะเป็นครู เป็นที่เข้าไปตั้งหิริโอตตัปปะ ความรัก และ
ความเคารพอย่างแรงกล้า ท่านผู้นี้ย่อมรู้สิ่งที่ควรรู้ เห็นสิ่งที่ควร
เห็นเป็นแน่แท้ นี้เป็นธรรมที่เป็นไปเพื่อความเป็นที่รัก เพื่อความ
เป็นที่เคารพ เพื่อความยกย่อง เพื่อความเป็นสมณะ๑ เพื่อความ
เป็นอันเดียวกัน
๒. ท่านผู้นี้อาศัยพระศาสดาหรือเพื่อนพรหมจารีรูปใดรูปหนึ่ง ผู้ตั้งอยู่
ในฐานะเป็นครู เป็นที่เข้าไปตั้งหิริโอตตัปปะ ความรัก และความ
เคารพอย่างแรงกล้า เข้าไปหาแล้วสอบสวน ไต่ถามท่านเหล่านั้น
ตามเวลาอันสมควรว่า ‘ท่านผู้เจริญ พระพุทธพจน์นี้เป็นอย่างไร
เนื้อความแห่งพระพุทธพจน์นี้เป็นอย่างไร’ ท่านเหล่านั้นย่อมเปิด
เผยธรรมที่ยังไม่ได้เปิดเผย ทำให้ง่ายซึ่งธรรมที่ยังไม่ได้ทำให้ง่าย และ
บรรเทาความสงสัยในธรรมที่น่าสงสัยหลายอย่าง ท่านผู้นี้ย่อมรู้
สิ่งที่ควรรู้ เห็นสิ่งที่ควรเห็นเป็นแน่แท้ นี้เป็นธรรมที่เป็นไปเพื่อ

เชิงอรรถ :
๑ ความเป็นสมณะ ในที่นี้หมายถึงสมณธรรม (องฺ.อฏฺฐก.อ. ๓/๒/๒๑๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๑๙๘ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๑.เมตตาวรรค ๒.ปัญญาสูตร
ความเป็นที่รัก เพื่อความเป็นที่เคารพ เพื่อความยกย่อง เพื่อความ
เป็นสมณะ เพื่อความเป็นอันเดียวกัน
๓. ท่านผู้นี้ได้ฟังธรรมนั้นแล้ว ย่อมทำความสงบ ๒ อย่าง คือ ความสงบ
กายและความสงบใจให้ถึงพร้อม ท่านผู้นี้ย่อมรู้สิ่งที่ควรรู้ เห็นสิ่งที่
ควรเห็นเป็นแน่แท้ นี้เป็นธรรมที่เป็นไปเพื่อความเป็นที่รัก เพื่อความ
เป็นที่เคารพ เพื่อความยกย่อง เพื่อความเป็นสมณะ เพื่อความเป็น
อันเดียวกัน
๔. ท่านผู้นี้เป็นผู้มีศีล สำรวมด้วยการสังวรในปาติโมกข์ เพียบพร้อมด้วย
อาจาระและโคจร มีปกติเห็นภัยในโทษแม้เล็กน้อย สมาทานศึกษา
อยู่ในสิกขาบททั้งหลาย ท่านผู้นี้ย่อมรู้สิ่งที่ควรรู้ เห็นสิ่งที่ควรเห็น
เป็นแน่แท้ นี้เป็นธรรมที่เป็นไปเพื่อความเป็นที่รัก เพื่อความเป็น
ที่เคารพ เพื่อความยกย่อง เพื่อความเป็นสมณะ เพื่อความเป็น
อันเดียวกัน
๕. ท่านผู้นี้เป็นพหูสูต ทรงสุตะ สั่งสมสุตะ เป็นผู้ได้ฟังมากซึ่งธรรม
ทั้งหลายที่มีความงามในเบื้องต้น มีความงามในท่ามกลาง และมี
ความงามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถและพยัญชนะ
บริสุทธิ์ บริบูรณ์ครบถ้วน ทรงจำไว้ได้ คล่องปาก ขึ้นใจ แทงตลอดดี
ด้วยทิฏฐิ ท่านผู้นี้ย่อมรู้สิ่งที่ควรรู้ เห็นสิ่งที่ควรเห็นเป็นแน่แท้
นี้เป็นธรรมที่เป็นไปเพื่อความเป็นที่รัก เพื่อความเป็นที่เคารพ เพื่อ
ความยกย่อง เพื่อความเป็นสมณะ เพื่อความเป็นอันเดียวกัน
๖. ท่านผู้นี้เป็นผู้ปรารภความเพียร เพื่อละอกุศลธรรม เพื่อให้กุศลธรรม
เกิด มีความเข้มแข็ง มีความบากบั่นมั่นคง ไม่ทอดธุระในกุศลธรรม
ทั้งหลายอยู่ ท่านผู้นี้ย่อมรู้สิ่งที่ควรรู้ เห็นสิ่งที่ควรเห็นเป็นแน่แท้
นี้เป็นธรรมที่เป็นไปเพื่อความเป็นที่รัก เพื่อความเป็นที่เคารพ
เพื่อความยกย่อง เพื่อความเป็นสมณะ เพื่อความเป็นอันเดียวกัน
๗. ท่านผู้นี้อยู่ในที่ประชุมสงฆ์ ไม่พูดเรื่องราวต่าง ๆ ไม่พูดติรัจฉานกถา
กล่าวธรรมเอง เชื้อเชิญผู้อื่นให้กล่าว และไม่ดูหมิ่นการนิ่งอย่าง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๑๙๙ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๑.เมตตาวรรค ๓.ปฐมอัปปิยสูตร
พระอริยะ ท่านผู้นี้ย่อมรู้สิ่งที่ควรรู้ เห็นสิ่งที่ควรเห็นเป็นแน่แท้
นี้เป็นธรรมที่เป็นไปเพื่อความเป็นที่รัก เพื่อความเป็นที่เคารพ เพื่อ
ความยกย่อง เพื่อความเป็นสมณะ เพื่อความเป็นอันเดียวกัน
๘. ท่านผู้นี้เป็นผู้มีปกติเห็นความเกิดขึ้นและความเสื่อมไปในอุปาทานขันธ์
๕ อยู่ว่า ‘รูปเป็นอย่างนี้ ความเกิดขึ้นแห่งรูปเป็นอย่างนี้ ความดับ
แห่งรูปเป็นอย่างนี้ เวทนาเป็นอย่างนี้ ฯลฯ สัญญาเป็นอย่างนี้ ฯลฯ
สังขารเป็นอย่างนี้ ฯลฯ วิญญาณเป็นอย่างนี้ ความเกิดขึ้นแห่ง
วิญญาณเป็นอย่างนี้ ความดับแห่งวิญญาณเป็นอย่างนี้’ ท่านผู้นี้
ย่อมรู้สิ่งที่ควรรู้ เห็นสิ่งที่ควรเห็นเป็นแน่แท้ นี้เป็นธรรมที่เป็นไป
เพื่อความเป็นที่รัก เพื่อความเป็นที่เคารพ เพื่อความยกย่อง
เพื่อความเป็นสมณะ เพื่อความเป็นอันเดียวกัน
ภิกษุทั้งหลาย เหตุปัจจัย ๘ ประการนี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อได้ปัญญาอันเป็น
เบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์ที่ยังไม่ได้ เพื่อภิญโญภาพ ไพบูลย์ เจริญเต็มที่แห่งปัญญา
ที่ได้แล้ว
ปัญญาสูตรที่ ๒ จบ

๓. ปฐมอัปปิยสูตร
ว่าด้วยธรรมที่เป็นเหตุให้เป็นที่รักและไม่เป็นที่รัก สูตรที่ ๑
[๓] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๘ ประการ ย่อมไม่เป็นที่รัก
ไม่เป็นที่พอใจ ไม่เป็นที่เคารพ และไม่เป็นที่ยกย่องของเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย
ธรรม ๘ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้

๑. สรรเสริญผู้ไม่เป็นที่รัก ๒. ติเตียนผู้เป็นที่รัก
๓. มุ่งลาภ ๔. มุ่งสักการะ
๕. ไม่มีหิริ ๖. ไม่มีโอตตัปปะ
๗. มีความปรารถนาชั่ว ๘. เป็นมิจฉาทิฏฐิ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๒๐๐ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๑.เมตตาวรรค ๔.ทุติยอัปปิยสูตร
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๘ ประการนี้แล ย่อมไม่เป็นที่รัก
ไม่เป็นที่พอใจ ไม่เป็นที่เคารพ และไม่เป็นที่ยกย่องของเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๘ ประการ ย่อมเป็นที่รัก เป็นที่พอใจ
เป็นที่เคารพ และเป็นที่ยกย่องของเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย
ธรรม ๘ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้

๑. ไม่สรรเสริญผู้ไม่เป็นที่รัก ๒. ไม่ติเตียนผู้เป็นที่รัก
๓. ไม่มุ่งลาภ ๔. ไม่มุ่งสักการะ
๕. มีหิริ ๖. มีโอตตัปปะ
๗. มีความมักน้อย ๘. เป็นสัมมาทิฏฐิ

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๘ ประการนี้แล ย่อมเป็นที่รัก เป็นที่
พอใจ เป็นที่เคารพ และเป็นที่ยกย่องของเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย
ปฐมอัปปิยสูตรที่ ๓ จบ

๔. ทุติยอัปปิยสูตร
ว่าด้วยธรรมที่เป็นเหตุให้เป็นที่รักและไม่เป็นที่รัก สูตรที่ ๒
[๔] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๘ ประการ ย่อมไม่เป็นที่รัก
ไม่เป็นที่พอใจ ไม่เป็นที่เคารพ และไม่เป็นที่ยกย่องของเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย
ธรรม ๘ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้

๑. มุ่งลาภ ๒. มุ่งสักการะ
๓. มุ่งชื่อเสียง ๔. ไม่รู้จักกาล
๕. ไม่รู้จักประมาณ ๖. ไม่สะอาด๑
๗. พูดมาก ๘. ด่าบริภาษเพื่อนพรหมจารี


เชิงอรรถ :
๑ ไม่สะอาด ในที่นี้หมายถึงมีกายกรรมที่ไม่สะอาดเป็นต้น (องฺ.อฏฺฐก.อ. ๓/๓-๔/๒๑๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๒๐๑ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๑.เมตตาวรรค ๕.ปฐมโลกธัมมสูตร
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๘ ประการนี้แล ย่อมไม่เป็นที่รัก
ไม่เป็นที่พอใจ ไม่เป็นที่เคารพ และไม่เป็นที่ยกย่องของเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๘ ประการ ย่อมเป็นที่รัก เป็นที่พอใจ
เป็นที่เคารพ และเป็นที่ยกย่องของเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย
ธรรม ๘ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้

๑. ไม่มุ่งลาภ ๒. ไม่มุ่งสักการะ
๓. ไม่มุ่งชื่อเสียง ๔. รู้จักกาล
๕. รู้จักประมาณ ๖. สะอาด
๗. ไม่พูดมาก ๘. เป็นผู้ไม่ด่าบริภาษเพื่อนพรหมจารี

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๘ ประการนี้แล ย่อมเป็นที่รัก เป็นที่
พอใจ เป็นที่เคารพ และเป็นที่ยกย่องของเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย
ทุติยอัปปิยสูตรที่ ๔ จบ

๕. ปฐมโลกธัมมสูตร
ว่าด้วยโลกธรรม สูตรที่ ๑
[๕] ภิกษุทั้งหลาย โลกธรรม๑ ๘ ประการนี้ ย่อมหมุนไปตามโลก และโลกก็
หมุนไปตามโลกธรรม ๘ ประการ
โลกธรรม ๘ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ลาภ ๒. เสื่อมลาภ
๓. ยศ ๔. เสื่อมยศ

เชิงอรรถ :
๑ โลกธรรม หมายถึงสิ่งที่มีความแน่นอนสำหรับสัตว์โลก(องฺ.อฏฺฐก. ฏีกา ๓/๕/๒๕๓) และดู ที.ปา.๑๑/๓๓๗/
ผ๒๒๙

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๒๐๒ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๑.เมตตาวรรค ๕.ปฐมโลกธัมมสูตร

๕. นินทา ๖. สรรเสริญ
๗. สุข ๘. ทุกข์

ภิกษุทั้งหลาย โลกธรรม ๘ ประการนี้แล ย่อมหมุนไปตามโลก และโลกก็หมุน
ไปตามโลกธรรม ๘ ประการนี้
ลาภ เสื่อมลาภ ยศ เสื่อมยศ
นินทา สรรเสริญ สุข และทุกข์
ธรรมเหล่านี้ในหมู่มนุษย์ ล้วนไม่เที่ยง
ไม่มั่นคง มีความแปรผันเป็นธรรมดา๑
แต่ท่านผู้มีปัญญาดี มีสติ รู้ธรรมเหล่านี้แล้ว
ย่อมพิจารณาเห็นว่า มีความแปรผันเป็นธรรมดา
อิฏฐารมณ์(อารมณ์ที่น่าปรารถนา)จึงย่ำยีจิตของท่านไม่ได้
ท่านย่อมไม่ยินร้ายต่ออนิฏฐารมณ์(อารมณ์ที่ไม่น่าปรารถนา)
ความยินดีหรือความยินร้าย
ท่านขจัดปัดเป่า จนไม่มีอยู่
ท่านรู้ทางที่ปราศจากธุลี๒ ไม่มีความเศร้าโศก
เป็นผู้ถึงฝั่งแห่งภพ ย่อมรู้แจ้งชัดโดยถูกต้อง

ปฐมโลกธัมมสูตรที่ ๕ จบ

เชิงอรรถ :
๑ ดู ขุ.ม. (แปล) ๒๙/๑๗๒/๔๙๐
๒ ทางที่ปราศจากธุลี ในที่นี้หมายถึงนิพพาน (องฺ.อฏฺฐก.อ. ๓/๕/๒๑๕))

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๒๐๓ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๑.เมตตาวรรค ๖.ทุติยโลกธัมมสูตร
๖. ทุติยโลกธัมมสูตร
ว่าด้วยโลกธรรม สูตรที่ ๒
[๖] ภิกษุทั้งหลาย โลกธรรม ๘ ประการนี้ ย่อมหมุนไปตามโลก และโลกก็
หมุนไปตามโลกธรรม ๘ ประการ
โลกธรรม ๘ ประการ อะไรบ้าง คือ

๑. ลาภ ๒. เสื่อมลาภ
๓. ยศ ๔. เสื่อมยศ
๕. นินทา ๖. สรรเสริญ
๗. สุข ๘. ทุกข์

ภิกษุทั้งหลาย โลกธรรม ๘ ประการนี้แล ย่อมหมุนไปตามโลก และโลกก็หมุน
ไปตามโลกธรรม ๘ ประการนี้
ลาภ เสื่อมลาภ ยศ เสื่อมยศ นินทา สรรเสริญ สุข และทุกข์ย่อมเกิดขึ้น
แก่ปุถุชนผู้ยังไม่ได้สดับ
ลาภ เสื่อมลาภ ยศ เสื่อมยศ นินทา สรรเสริญ สุข และทุกข์ย่อมเกิดขึ้น
แก่อริยสาวกผู้ได้สดับ
ภิกษุทั้งหลาย ในข้อนั้นมีความแปลกกันอย่างไร มีความแตกต่างกันอย่างไร๑
มีเหตุทำให้ต่างกันอย่างไร ระหว่างอริยสาวกผู้ได้สดับกับปุถุชนผู้ยังไม่ได้สดับ
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมของข้าพระองค์
ทั้งหลายมีพระผู้มีพระภาคเป็นหลัก มีพระผู้มีพระภาคเป็นผู้นำ มีพระผู้มีพระภาค
เป็นที่พึ่ง ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานวโรกาส เฉพาะพระผู้มีพระภาคเท่านั้น
ที่จะทรงอธิบายเนื้อความแห่งพระภาษิตนั้นให้แจ่มแจ้งได้ ภิกษุทั้งหลายฟังต่อจาก
พระผู้มีพระภาคแล้ว จักทรงจำไว้”

เชิงอรรถ :
๑ คำว่า “มีความแปลกกันอย่างไร มีความแตกต่างกันอย่างไร” นี้หมายถึงมีความเพียรที่ยิ่ง กล่าวคือมี
กิริยาที่พึงกระทำให้วิเศษแตกต่างกันอย่างไร (องฺ.อฏฺฐก.อ. ๓/๖/๒๑๕, องฺ.อฏฺฐก.ฏีกา ๓/๖-๘/๒๕๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๒๐๔ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๑.เมตตาวรรค ๖.ทุติยโลกธัมมสูตร
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย ถ้าเช่นนั้น เธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจ
ให้ดี เราจักกล่าว” ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้
ตรัสเรื่องนี้ว่า
“ภิกษุทั้งหลาย ลาภเกิดขึ้นแก่ปุถุชนผู้ยังไม่ได้สดับ แต่เขาไม่เห็นประจักษ์
ไม่รู้ชัดตามความเป็นจริงดังนี้ว่า ‘ลาภนี้เกิดขึ้นแก่เราแล้ว แต่ลาภนั้นแล เป็นของ
ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา’ ความเสื่อมลาภ ฯลฯ ยศ ฯลฯ
ความเสื่อมยศ ฯลฯ นินทา ฯลฯ สรรเสริญ ฯลฯ สุข ฯลฯ ทุกข์เกิดขึ้นแก่ปุถุชน
ผู้ยังไม่ได้สดับ แต่เขาไม่เห็นประจักษ์ ไม่รู้ชัดตามความเป็นจริงดังนี้ว่า ‘ทุกข์นี้เกิดขึ้น
แก่เราแล้ว แต่ทุกข์นั้นแล เป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา’
ลาภย่อมครอบงำจิตของเขาได้ ความเสื่อมลาภย่อมครอบงำจิตของเขาได้ ยศย่อม
ครอบงำจิตของเขาได้ ความเสื่อมยศย่อมครอบงำจิตของเขาได้ นินทาย่อมครอบงำ
จิตของเขาได้ สรรเสริญย่อมครอบงำจิตของเขาได้ สุขย่อมครอบงำจิตของเขาได้
ทุกข์ย่อมครอบงำจิตของเขาได้ เขาย่อมยินร้ายในความเสื่อมลาภ ยินดีในยศที่
เกิดขึ้น ยินร้ายในความเสื่อมยศ ยินดีในความสรรเสริญที่เกิดขึ้น ยินร้ายในนินทา
ยินดีในสุขที่เกิดขึ้น ยินร้ายในทุกข์ เขาประกอบด้วยความยินดีและความยินร้าย
อย่างนี้ ย่อมไม่พ้นจากชาติ (ความเกิด) ชรา (ความแก่) มรณะ (ความตาย) โสกะ
(ความโศก) ปริเทวะ (ความคร่ำคราญ) ทุกข์ (ความทุกข์กาย) โทมนัส (ความทุกข์ใจ)
อุปายาส (ความคับ แค้นใจ) เรากล่าวว่า ไม่หลุดพ้นจากทุกข์
ภิกษุทั้งหลาย ลาภเกิดขึ้นแก่อริยสาวกผู้ได้สดับ เขาเห็นประจักษ์ รู้ชัดตาม
ความเป็นจริงดังนี้ว่า ‘ลาภนี้เกิดขึ้นแก่เราแล้ว แต่ลาภนั้นแล เป็นของไม่เที่ยง
เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา’ ความเสื่อมลาภ ฯลฯ ยศ ฯลฯ ความ
เสื่อมยศ ฯลฯ นินทา ฯลฯ สรรเสริญ ฯลฯ สุข ฯลฯ ทุกข์เกิดขึ้นแก่อริยสาวก
ผู้ได้สดับ แต่เขาเห็นประจักษ์ รู้ชัดตามความเป็นจริงดังนี้ว่า ‘ทุกข์นี้เกิดขึ้นแก่เราแล้ว
แต่ทุกข์นั้นแล เป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา’ ลาภย่อม
ครอบงำจิตของเขาไม่ได้ ความเสื่อมลาภย่อมครอบงำจิตของเขาไม่ได้ ยศย่อมครอบงำ
จิตของเขาไม่ได้ ความเสื่อมยศย่อมครอบงำจิตของเขาไม่ได้ นินทาย่อมครอบงำจิตของ
เขาไม่ได้ สรรเสริญย่อมครอบงำจิตของเขาไม่ได้ สุขย่อมครอบงำจิตของเขาไม่ได้


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๒๐๕ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๑.เมตตาวรรค ๖.ทุติยโลกธัมมสูตร
ทุกข์ย่อมครอบงำจิตของเขาไม่ได้ เขาไม่ยินดีในลาภที่เกิดขึ้น ไม่ยินร้ายในความ
เสื่อมลาภ ไม่ยินดีในยศที่เกิดขึ้น ไม่ยินร้ายในความเสื่อมยศ ไม่ยินดีในสรรเสริญที่
เกิดขึ้น ไม่ยินร้ายในนินทา ไม่ยินดีในสุขที่เกิดขึ้น ไม่ยินร้ายในทุกข์ เขาละ
ความยินดีและความยินร้ายได้อย่างนี้ จึงพ้นจากชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ
ทุกข์ โทมนัส อุปายาส เรากล่าวว่า หลุดพ้นจากทุกข์ได้
ภิกษุทั้งหลาย นี้แลคือความแปลกกัน นี้คือความแตกต่างกัน นี้คือเหตุ
ทำให้ต่างกัน ระหว่างอริยสาวกผู้ได้สดับกับปุถุชนผู้ยังไม่ได้สดับ”
ลาภ เสื่อมลาภ ยศ เสื่อมยศ
นินทา สรรเสริญ สุข และทุกข์
ธรรมเหล่านี้ในหมู่มนุษย์ ล้วนไม่เที่ยง
ไม่มั่นคง มีความแปรผันเป็นธรรมดา๑
แต่ท่านผู้มีปัญญาดี มีสติ รู้ธรรมเหล่านี้แล้ว
ย่อมพิจารณาเห็นว่า มีความแปรผันเป็นธรรมดา
อิฏฐารมณ์จึงย่ำยีจิตของท่านไม่ได้
ท่านย่อมไม่ยินร้ายต่ออนิฏฐารมณ์
ความยินดีหรือความยินร้าย
ท่านขจัดปัดเป่า จนไม่มีอยู่
ท่านรู้ทางที่ปราศจากธุลี ไม่มีความเศร้าโศก
เป็นผู้ถึงฝั่งแห่งภพ ย่อมรู้แจ้งชัดโดยชอบ
ทุติยโลกธัมมสูตรที่ ๖ จบ

เชิงอรรถ :
๑ ดู ขุ.ม. (แปล) ๒๙/๑๗๒/๔๙๐

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๒๐๖ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๑.เมตตาวรรค ๗.เทวทัตตวิปัตติสูตร
๗. เทวทัตตวิปัตติสูตร
ว่าด้วยวิบัติของพระเทวทัต๑
[๗] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ภูเขาคิชฌกูฏ เขตกรุงราชคฤห์
เมื่อพระเทวทัตจากไปไม่นาน ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคทรงปรารภพระเทวทัต
รับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า
“ภิกษุทั้งหลาย ทางที่ดี ภิกษุพึงพิจารณาเห็นวิบัติของตนตามกาลอันควร
ทางที่ดี ภิกษุพึงพิจารณาเห็นวิบัติของผู้อื่นตามกาลอันควร ทางที่ดี ภิกษุพึง
พิจารณาเห็นสมบัติของตนตามกาลอันควร ทางที่ดี ภิกษุพึงพิจารณาเห็นสมบัติ
ของผู้อื่นตามกาลอันควร
ภิกษุทั้งหลาย เทวทัตถูกอสัทธรรม ๘ ประการครอบงำย่ำยีจิต ต้องไปเกิด
ในอบาย ต้องไปเกิดในนรก ดำรงอยู่ชั่วกัป แก้ไขไม่ได้
อสัทธรรม ๘ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. เทวทัตถูกลาภครอบงำย่ำยีจิต ต้องไปเกิดในอบาย ต้องไปเกิด
ในนรก ดำรงอยู่ชั่วกัป แก้ไขไม่ได้
๒. เทวทัตถูกความเสื่อมลาภครอบงำย่ำยีจิต ฯลฯ
๓. เทวทัตถูกยศครอบงำย่ำยีจิต ฯลฯ
๔. เทวทัตถูกความเสื่อมยศครอบงำย่ำยีจิต ฯลฯ
๕. เทวทัตถูกสักการะครอบงำย่ำยีจิต ฯลฯ
๖. เทวทัตถูกความเสื่อมสักการะครอบงำย่ำยีจิต ฯลฯ
๗. เทวทัตถูกความปรารถนาชั่วครอบงำย่ำยีจิต ฯลฯ
๘. เทวทัตถูกความมีมิตรชั่วครอบงำย่ำยีจิต ต้องไปเกิดในอบาย ต้องไป
เกิดในนรก ดำรงอยู่ชั่วกัป แก้ไขไม่ได้
ภิกษุทั้งหลาย เทวทัตถูกอสัทธรรม ๘ ประการนี้แลครอบงำย่ำยีจิต ต้องไป
เกิดในอบาย ต้องไปเกิดในนรก ดำรงอยู่ชั่วกัป แก้ไขไม่ได้

เชิงอรรถ :
๑ วิ.จู. (แปล) ๗/๓๔๘-๓๔๙/๒๐๙-๒๑๐

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๒๐๗ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๑.เมตตาวรรค ๗.เทวทัตตวิปัตติสูตร
ภิกษุทั้งหลาย ทางที่ดี ภิกษุพึงครอบงำลาภที่เกิดขึ้นอยู่ พึงครอบงำความ
เสื่อมลาภที่เกิดขึ้นอยู่ ... ยศที่เกิดขึ้น ... ความเสื่อมยศที่เกิดขึ้น ... สักการะที่
เกิดขึ้น ... ความเสื่อมสักการะที่เกิดขึ้น ... ความปรารถนาชั่วที่เกิดขึ้น ... ความมี
มิตรชั่วที่เกิดขึ้นอยู่
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุอาศัยอำนาจประโยชน์อะไร จึงพึงครอบงำลาภที่เกิดขึ้นอยู่
... พึงครอบงำความมีมิตรชั่วที่เกิดขึ้นอยู่
ภิกษุทั้งหลาย เพราะเมื่อภิกษุไม่ครอบงำลาภที่เกิดขึ้นอยู่ อาสวะ๑และความ
เร่าร้อนที่ก่อความคับแค้น๒ พึงเกิดขึ้น แต่เมื่อเธอครอบงำลาภที่เกิดขึ้นอยู่ อาสวะ
และความเร่าร้อนที่ก่อความคับแค้นย่อมไม่มีแก่เธอ
เพราะเมื่อภิกษุไม่ครอบงำความเสื่อมลาภที่เกิดขึ้นอยู่ ... ยศที่เกิดขึ้น ... ความ
เสื่อมยศที่เกิดขึ้น ... สักการะที่เกิดขึ้น ... ความเสื่อมสักการะที่เกิดขึ้น ... ความ
ปรารถนาชั่วที่เกิดขึ้น ... ความมีมิตรชั่วที่เกิดขึ้นอยู่ อาสวะและความเร่าร้อนที่
ก่อความคับแค้นพึงเกิดขึ้น แต่เมื่อเธอครอบงำความมีมิตรชั่วที่เกิดขึ้นอยู่ อาสวะ
และความเร่าร้อนที่ก่อความคับแค้นย่อมไม่มีแก่เธอ
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุอาศัยอำนาจประโยชน์นี้แล จึงพึงครอบงำลาภที่เกิดขึ้นอยู่
... ความเสื่อมลาภที่เกิดขึ้น ... ยศที่เกิดขึ้น ... ความเสื่อมยศที่เกิดขึ้น ... สักการะที่
เกิดขึ้น ... ความเสื่อมสักการะที่เกิดขึ้น ... ความปรารถนาชั่วที่เกิดขึ้น ... ความมี
มิตรชั่วที่เกิดขึ้นอยู่

เชิงอรรถ :
๑ อาสวะ ในที่นี้หมายถึงอาสวะ ๔ คือ กามาสวะ อาสวะคือกาม ภวาสวะ อาสวะคือภพ ทิฏฐาสวะ อาสวะ
คือทิฏฐิ อวิชชาสวะ อาสวะคืออวิชชา (สํ.สฬา.อ. ๓/๕๓-๖๒/๑๔, องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๕๘/๑๔๐, องฺ.ฉกฺก.ฏีกา
๓/๕๘/๑๕๔-๑๖๒)
๒ ความเร่าร้อนที่ก่อความคับแค้น หมายถึงความเร่าร้อนคือกิเลสหรือความเร่าร้อนคือวิบากเหล่าอื่นที่
ก่อความทุกข์ทางกายและทุกข์ทางใจอันเป็นผลที่เกิดจากอาสวะ (องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๕๘/๑๔๐, องฺ.ฉกฺก.ฏีกา
๓/๕๘/๑๕๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๒๐๘ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๑.เมตตาวรรค ๘.อุตตรวิปัตติสูตร
ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล เธอทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า ‘เราทั้งหลาย
จักครอบงำลาภที่เกิดขึ้นอยู่ ... ความเสื่อมลาภที่เกิดขึ้น ... ยศที่เกิดขึ้น ... ความ
เสื่อมยศที่เกิดขึ้น ... สักการะที่เกิดขึ้น ... ความเสื่อมสักการะที่เกิดขึ้น ... ความ
ปรารถนาชั่วที่เกิดขึ้น ... ความมีมิตรชั่วที่เกิดขึ้นอยู่’ ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลาย
พึงสำเหนียกอย่างนี้แล”
เทวทัตตวิปัตติสูตรที่ ๗ จบ

๘. อุตตรวิปัตติสูตร
ว่าด้วยพระอุตตระแสดงธรรมเรื่องวิบัติ
[๘] สมัยหนึ่ง ท่านพระอุตตระอยู่ที่วฏชาลิกาวิหาร๑ ใกล้ภูเขาสังเขยยกะ
มหิสวัตถุชนบท ณ ที่นั้นแล ท่านพระอุตตระเรียกภิกษุทั้งหลายมากล่าวว่า
“ผู้มีอายุทั้งหลาย ทางที่ดี ภิกษุพึงพิจารณาเห็นวิบัติของตนตามกาลอันควร
ทางที่ดี ภิกษุพึงพิจารณาเห็นวิบัติของผู้อื่นตามกาลอันควร ทางที่ดี ภิกษุพึง
พิจารณาเห็นสมบัติของตนตามกาลอันควร ทางที่ดี ภิกษุพึงพิจารณาเห็นสมบัติ
ของผู้อื่นตามกาลอันควร”
สมัยนั้น ท้าวเวสวัณมหาราชมีกรณียกิจบางอย่างเสด็จจากทิศเหนือไปยังทิศใต้
ได้สดับเสียงของท่านพระอุตตระผู้กำลังแสดงธรรมแก่ภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้ว่า
“ผู้มีอายุทั้งหลาย ทางที่ดี ภิกษุพึงพิจารณาเห็นวิบัติของตนตามกาลอันควร ทางที่ดี
ภิกษุพึงพิจารณาเห็นวิบัติของผู้อื่นตามกาลอันควร ทางที่ดี ภิกษุพึงพิจารณาเห็น
สมบัติของตนตามกาลอันควร ทางที่ดี ภิกษุพึงพิจารณาเห็นสมบัติของผู้อื่นตาม
กาลอันควร”
ครั้งนั้นแล ท้าวเวสวัณมหาราชได้หายจากวฏชาลิกาวิหาร ใกล้ภูเขาสังเขยยกะ
มหิสวัตถุชนบท ไปปรากฏในเทวโลกชั้นดาวดึงส์ เหมือนบุรุษมีกำลังเหยียดแขนออก


เชิงอรรถ :
๑วฏชาลิกาวิหาร หมายถึงวิหารที่ตั้งอยู่ในป่าไทรย้อย (องฺ.อฏฺฐก.อ. ๓/๘/๒๑๖)


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๒๐๙ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๑.เมตตาวรรค ๘.อุตตรวิปัตติสูตร
หรือคู้แขนเข้าฉะนั้น ลำดับนั้น ท้าวเวสวัณมหาราชเข้าไปเฝ้าท้าวสักกะจอมเทพถึง
ที่ประทับ แล้วได้กราบทูลท้าวสักกะจอมเทพดังนี้ว่า “ขอเดชะท่านผู้นิรทุกข์ พระองค์
โปรดทรงทราบว่า ‘ท่านอุตตระนี้แสดงธรรมแก่ภิกษุทั้งหลาย ในวฏชาลิกาวิหาร
ใกล้ภูเขาสังเขยยกะ มหิสวัตถุชนบท อย่างนี้ว่า ‘ผู้มีอายุทั้งหลาย ทางที่ดี ภิกษุพึง
พิจารณาเห็นความวิบัติของตนตามกาลอันควร ฯลฯ ทางที่ดี ภิกษุพึงพิจารณา
เห็นสมบัติของผู้อื่นตามกาลอันควร”
ครั้งนั้นแล ท้าวสักกะจอมเทพได้ทรงหายจากเทวโลกชั้นดาวดึงส์ ไปปรากฏ
ต่อหน้าท่านพระอุตตระ ที่วฏชาลิกาวิหาร ใกล้ภูเขาสังเขยยกะ มหิสวัตถุชนบท
เหมือนบุรุษมีกำลังเหยียดแขนออกหรือคู้แขนเข้า ฉะนั้น ครั้นแล้วจึงเสด็จเข้าไปหา
ท่านพระอุตตระถึงที่อยู่ ทรงไหว้แล้วประทับยืน ณ ที่สมควร ตรัสถามท่านพระ
อุตตระดังนี้ว่า “จริงหรือ ท่านผู้เจริญ ทราบว่า ท่านพระอุตตระแสดงธรรมแก่ภิกษุ
ทั้งหลายอย่างนี้ว่า ‘ผู้มีอายุทั้งหลาย ทางที่ดี ภิกษุพึงพิจารณาเห็นความวิบัติของ
ตนตามกาลอันควร ฯลฯ ทางที่ดี ภิกษุพึงพิจารณาเห็นสมบัติของผู้อื่นตามกาล
อันควร”
ท่านพระอุตตระได้ถวายพระพรว่า “อย่างนั้น ท่านจอมเทพ”
“ท่านผู้เจริญ ข้อความนี้เป็นปฏิภาณส่วนตัวของท่านพระอุตตระเอง หรือว่า
เป็นพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น”
“ท่านจอมเทพ ถ้าเช่นนั้น อาตมภาพจักยกข้ออุปมาให้พระองค์สดับ วิญญูชน
บางพวกในโลกนี้จะรู้อรรถแห่งภาษิตได้ ท่านจอมเทพ มีข้าวเปลือกกองใหญ่อยู่ใน
ที่ไม่ไกลจากบ้าน หรือนิคม หมู่ชนเป็นอันมากพึงขนข้าวเปลือก จากข้าวเปลือก
กองใหญ่นั้นด้วยหาบบ้าง ด้วยตะกร้าบ้าง ด้วยห่อพกบ้าง กอบด้วยมือบ้าง
ท่านจอมเทพ หากมีบุคคลเข้าไปถามหมู่ชนเป็นอันมากนั้นอย่างนี้ว่า ‘พวกท่านขน
ข้าวเปลือกนี้มาจากไหน’ ท่านจอมเทพ หมู่ชนเป็นอันมากนั้นจะตอบอย่างไร จึงจะ
ชื่อว่าตอบได้อย่างถูกต้อง”
“ท่านผู้เจริญ หมู่ชนเป็นอันมากนั้น เมื่อจะตอบให้ถูกต้องควรตอบว่า ‘พวกเรา
ขนมาจากข้าวเปลือกกองใหญ่โน้น”


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๒๑๐ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๑.เมตตาวรรค ๘.อุตตรวิปัตติสูตร
“ท่านจอมเทพ ทำนองเดียวกันนั่นแล พระดำรัสที่เป็นสุภาษิตทั้งหมด เป็น
พระดำรัสของพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น อาตมภาพและ
สาวกเหล่าอื่นย่อมกล่าวโดยถือเอาจากสุภาษิตทั้งหมดนั้น”
“ท่านผู้เจริญ น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคยปรากฏ ท่านพระอุตตระกล่าวเรื่องนี้ไว้ดี
ยิ่งนักว่า ‘พระดำรัสที่เป็นสุภาษิตทั้งหมด เป็นพระดำรัสของพระผู้มีพระภาค
อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น อาตมภาพและสาวกเหล่าอื่นย่อมกล่าวโดย
ถือเอาจากสุภาษิตทั้งหมดนั้น’
ท่านอุตตระผู้เจริญ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ภูเขาคิชฌกูฏ
เขตกรุงราชคฤห์ เมื่อพระเทวทัตจากไปไม่นาน ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคทรง
ปรารภพระเทวทัต รับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า
‘ภิกษุทั้งหลาย ทางที่ดี ภิกษุพึงพิจารณาเห็นวิบัติของตนตามกาลอันควร
ทางที่ดี ภิกษุพึงพิจารณาเห็นวิบัติของผู้อื่นตามกาลอันควร ทางที่ดี ภิกษุ
พึงพิจารณาเห็นสมบัติของตนตามกาลอันควร ทางที่ดี ภิกษุพึงพิจารณาเห็นสมบัติ
ของผู้อื่นตามกาลอันควร
ภิกษุทั้งหลาย เทวทัตถูกอสัทธรรม ๘ ประการครอบงำย่ำยีจิต ต้องไปเกิด
ในอบาย ต้องไปเกิดในนรก ดำรงอยู่ชั่วกัป แก้ไขไม่ได้
อสัทธรรม ๘ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. เทวทัตถูกลาภครอบงำย่ำยีจิต ต้องไปเกิดในอบาย ต้องไปเกิดใน
นรก ดำรงอยู่ชั่วกัป แก้ไขไม่ได้
๒. เทวทัตถูกความเสื่อมลาภครอบงำย่ำยีจิต ฯลฯ
๓. เทวทัตถูกยศครอบงำย่ำยีจิต ฯลฯ
๔. เทวทัตถูกความเสื่อมยศครอบงำย่ำยีจิต ฯลฯ
๕. เทวทัตถูกสักการะครอบงำย่ำยีจิต ฯลฯ
๖. เทวทัตถูกความเสื่อมสักการะครอบงำย่ำยีจิต ฯลฯ
๗. เทวทัตถูกความปรารถนาชั่วครอบงำย่ำยีจิต ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๒๑๑ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๑.เมตตาวรรค ๘.อุตตรวิปัตติสูตร
๘. เทวทัตถูกความมีมิตรชั่วครอบงำย่ำยีจิต ต้องไปเกิดในอบาย ต้อง
ไปเกิดในนรก ดำรงอยู่ชั่วกัป แก้ไขไม่ได้
ภิกษุทั้งหลาย เทวทัตถูกอสัทธรรม ๘ ประการนี้แล ครอบงำย่ำยีจิต ต้องไป
เกิดในอบาย ต้องไปเกิดในนรก ดำรงอยู่ชั่วกัป แก้ไขไม่ได้
ภิกษุทั้งหลาย ทางที่ดี ภิกษุพึงครอบงำลาภที่เกิดขึ้นอยู่ ทางที่ดี ภิกษุพึง
ครอบงำความเสื่อมลาภที่เกิดขึ้นอยู่ ... ยศที่เกิดขึ้น ... ความเสื่อมยศที่เกิดขึ้น ...
สักการะที่เกิดขึ้น ... ความเสื่อมสักการะที่เกิดขึ้น ... ความปรารถนาชั่วที่เกิดขึ้น ...
ความมีมิตรชั่วที่เกิดขึ้นอยู่
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุอาศัยอำนาจประโยชน์อะไร จึงพึงครอบงำลาภที่เกิดขึ้นอยู่
... พึงครอบงำความมีมิตรชั่วที่เกิดขึ้นอยู่
ภิกษุทั้งหลาย เพราะเมื่อภิกษุไม่ครอบงำลาภที่เกิดขึ้นอยู่ อาสวะและความ
เร่าร้อนที่ก่อความคับแค้นพึงเกิดขึ้น แต่เมื่อเธอครอบงำลาภที่เกิดขึ้นอยู่ อาสวะ
และความเร่าร้อนที่ก่อความคับแค้นย่อมไม่มีแก่เธอ
เพราะเมื่อภิกษุไม่ครอบงำความเสื่อมลาภที่เกิดขึ้นอยู่ ... ยศที่เกิดขึ้น ... ความ
เสื่อมยศที่เกิดขึ้น ... สักการะที่เกิดขึ้น ... ความเสื่อมสักการะที่เกิดขึ้น ... ความ
ปรารถนาชั่วที่เกิดขึ้น ... ความมีมิตรชั่วที่เกิดขึ้นอยู่ อาสวะและความเร่าร้อนที่ก่อ
ความคับแค้นพึงเกิดขึ้น แต่เมื่อเธอครอบงำความมีมิตรชั่วที่เกิดขึ้นอยู่ อาสวะและ
ความเร่าร้อนที่ก่อความคับแค้นย่อมไม่มีแก่เธอ
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุอาศัยอำนาจประโยชน์นี้แล จึงพึงครอบงำลาภที่เกิดขึ้นอยู่
... ความเสื่อมลาภที่เกิดขึ้น ... ยศที่เกิดขึ้น ... ความเสื่อมยศที่เกิดขึ้น ... สักการะที่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๒๑๒ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๑.เมตตาวรรค ๙.นันทสูตร
เกิดขึ้น ... ความเสื่อมสักการะที่เกิดขึ้น ... ความปรารถนาชั่วที่เกิดขึ้น ... ความมี
มิตรชั่วที่เกิดขึ้นอยู่
ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล เธอทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า ‘เราทั้งหลาย
จักครอบงำลาภที่เกิดขึ้นอยู่ ... ความเสื่อมลาภที่เกิดขึ้น ... ยศที่เกิดขึ้น ... ความเสื่อม
ยศที่เกิดขึ้น ... สักการะที่เกิดขึ้น ... ความเสื่อมสักการะที่เกิดขึ้น ... ความปรารถนา
ชั่วที่เกิดขึ้น ... ความมีมิตรชั่วที่เกิดขึ้นอยู่’ ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลาย พึงสำเหนียก
อย่างนี้แล’
ท่านอุตตระผู้เจริญ ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ ในหมู่มนุษย์ บริษัท ๔ คือ ภิกษุ
ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ธรรมบรรยาย๑นี้หาได้ตั้งมั่นอยู่ในบริษัทหมู่ไหนไม่
ขอท่านอุตตระโปรดเรียนธรรมบรรยายนี้ โปรดจดจำธรรมบรรยายนี้ โปรดทรง
จำธรรมบรรยายนี้ไว้เถิด เพราะธรรมบรรยายนี้ประกอบด้วยประโยชน์ เป็นเบื้องต้น
แห่งพรหมจรรย์๒”
อุตตรวิปัตติสูตรที่ ๘ จบ

๙. นันทสูตร
ว่าด้วยพระนันทะ
[๙] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อจะเรียกนันทะให้ถูกต้อง ควรเรียกว่า ‘กุลบุตร’
เมื่อจะเรียกนันทะให้ถูกต้อง ควรเรียกว่า ‘ผู้มีกำลัง’ เมื่อจะเรียกนันทะให้ถูกต้อง
ควรเรียกว่า ‘ผู้น่ารัก‘๓ เมื่อจะเรียกนันทะให้ถูกต้อง ควรเรียกว่า ‘ผู้มีราคะจัด‘๔

เชิงอรรถ :
๑ ดูเชิงอรรถที่ ๑ สัตตกนิบาต ข้อ ๕๑ หน้า ๘๕ ในเล่มนี้
๒ เบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์ ในที่นี้หมายถึงพรหมจรรย์ทั้งสิ้นที่รวมลงในสิกขา ๓ (ศีล สมาธิ ปัญญา)
(องฺ.อฏฺฐก.อ.๓/๘/ ๒๑๖)
๓ ผู้น่ารัก ในที่นี้หมายถึงผู้ถึงพร้อมด้วยรูปสมบัติ (องฺ.อฏฺฐก.อ.๓/๙/๒๑๖)
๔ ผู้มีราคะจัด ในที่นี้หมายถึงมีราคะมาก (องฺ.อฏฺฐก.อ.๓/๙/๒๑๖)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๒๑๓ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๑.เมตตาวรรค ๙.นันทสูตร
ภิกษุทั้งหลาย เว้นแต่ว่า นันทะจะเป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย รู้จัก
ประมาณในการบริโภค ประกอบความเพียรเครื่องตื่นอยู่เนือง ๆ ประกอบด้วยสติ
และสัมปชัญญะ นันทะจึงจะสามารถประพฤติพรหมจรรย์ให้บริสุทธิ์บริบูรณ์ได้
ภิกษุทั้งหลาย ในข้อนั้น วิธีคุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลายสำหรับนันทะ
ดังนี้ คือ หากนันทะจำเป็นต้องมองดูทิศตะวันออก นันทะต้องสำรวมจิตทั้งหมด
มองดูทิศตะวันออกด้วยคิดว่า ‘เมื่อเรามองดูทิศตะวันออกอยู่อย่างนี้ บาปอกุศลธรรม
คืออภิชฌาและโทมนัสจักครอบงำจิตของเราไม่ได้’ นันทะต้องเป็นผู้มีสัมปชัญญะใน
การมองดูนั้นอย่างนี้
หากนันทะจำเป็นต้องมองดูทิศตะวันตก ฯลฯ จำเป็นต้องมองดูทิศเหนือ ฯลฯ
จำเป็นต้องมองดูทิศใต้ ฯลฯ จำเป็นต้องมองดูทิศเบื้องบน ฯลฯ จำเป็นต้องมองดู
ทิศเบื้องล่าง ฯลฯ จำเป็นต้องมองดูทิศเฉียง นันทะต้องสำรวมจิตทั้งหมดมองดู
ทิศเฉียง ด้วยคิดว่า ‘เมื่อเรามองดูทิศเฉียงอยู่อย่างนี้ บาปอกุศลธรรมคืออภิชฌา
และโทมนัสจักครอบงำจิตของเราไม่ได้’ นันทะต้องเป็นผู้มีสัมปชัญญะในการมองดูนั้น
อย่างนี้
ภิกษุทั้งหลาย นี้แล คือวิธีคุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลายสำหรับนันทะ
วิธีรู้จักประมาณในการบริโภคสำหรับนันทะ ดังนี้ คือ นันทะต้องพิจารณาโดย
แยบคายแล้วฉันอาหาร ไม่ใช่เพื่อเล่น ไม่ใช่เพื่อความมัวเมา๑ ไม่ใช่เพื่อประดับ๒
ไม่ใช่เพื่อตกแต่ง๓ แต่เพื่อให้กายนี้ดำรงอยู่ได้ เพื่อให้ชีวิตินทรีย์เป็นไป เพื่อบำบัด
ความหิว เพื่ออนุเคราะห์พรหมจรรย์ ด้วยคิดเห็นว่า ‘โดยอุบายนี้เราจักกำจัดเวทนา
เก่าเสียได้ และจักไม่ให้เวทนาใหม่เกิดขึ้น ความดำรงอยู่แห่งชีวิต ความไม่มีโทษ
และการอยู่โดยผาสุกจักมีแก่เรา’
ภิกษุทั้งหลาย นี้แล คือวิธีรู้จักประมาณในการบริโภคสำหรับนันทะ

เชิงอรรถ :
๑ เพื่อความมัวเมา หมายถึงความถือตัว ความลำพองตน ความทะนงตน ความเห่อเหิม ในที่นี้หมายถึง
ความถือตัวว่ามีกำลังเหมือนนักมวยปล้ำ ความถือตัวเพราะมานะ และความถือตัวว่าเป็นชาย (องฺ.ฉกฺก.
ฏีกา ๓/๕๘/๑๕๕) และดู องฺ.ติก. (แปล) ๒๐/๑๖/๑๕๙-๑๖๐, องฺ.ฉกฺก. (แปล) ๒๒/๕๘/๕๔๙, อภิ.วิ. (แปล)
๓๕/๘๔๕/๕๕๐
๒ เพื่อประดับ ในที่นี้หมายถึงเพื่อให้ร่างกายอ้วนพีอวบอิ่มเหมือนหญิงแพศยา (องฺ.ฉกฺก.ฏีกา ๓/๕๘/๑๕๕,
วิสุทธิ. ๑/๑๘/๓๓)
๓ เพื่อตกแต่ง ในที่นี้หมายถึงเพื่อประเทืองผิวให้งดงามเหมือนหญิงนักฟ้อน (องฺ.ฉกฺก.ฏีกา ๓/๕๘/๑๕๕,
วิสุทธิ. ๑/๑๘/๓๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๒๑๔ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๑.เมตตาวรรค ๑๐.การัณฑวสูตร
วิธีประกอบความเพียรเครื่องตื่นอยู่เนือง ๆ สำหรับนันทะ ดังนี้ คือ นันทะ
ต้องชำระจิตให้บริสุทธิ์จากธรรมเครื่องกางกั้น๑ด้วยการจงกรม ด้วยการนั่งตลอดวัน
ชำระจิตให้บริสุทธิ์จากธรรมเครื่องกางกั้นด้วยการจงกรม ด้วยการนั่งตลอด
ปฐมยามแห่งราตรี สำเร็จสีหไสยาโดยตะแคงข้างขวา ซ้อนเท้าเหลื่อมเท้า มีสติ-
สัมปชัญญะ ทำอุฏฐานสัญญา(ความหมายใจว่าจะลุกขึ้น)ไว้ในใจในมัชฌิมยามแห่ง
ราตรี ลุกขึ้นชำระจิตให้บริสุทธิ์จากธรรมเครื่องกางกั้นด้วยการจงกรม ด้วยการนั่ง
ตลอดปัจฉิมยามแห่งราตรี
ภิกษุทั้งหลาย นี้แล คือวิธีประกอบความเพียรเครื่องตื่นอยู่เนือง ๆ สำหรับ
นันทะ
วิธีมีสติสัมปชัญญะสำหรับนันทะ ดังนี้ คือ เวทนาปรากฏเกิดขึ้น ปรากฏ
ตั้งอยู่ และปรากฏดับไปแก่นันทะ สัญญาปรากฏเกิดขึ้น ปรากฏตั้งอยู่ และปรากฏ
ดับไปแก่นันทะ วิตกปรากฏเกิดขึ้น ปรากฏตั้งอยู่ และปรากฏดับไปแก่นันทะ
ภิกษุทั้งหลาย นี้แล คือ วิธีมีสติสัมปชัญญะสำหรับนันทะ
ภิกษุทั้งหลาย เว้นแต่ว่า นันทะจะเป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย รู้จัก
ประมาณในการบริโภค ประกอบความเพียรเครื่องตื่นอยู่เนืองๆ ประกอบด้วยสติ
และสัมปชัญญะ นันทะจึงจะสามารถประพฤติพรหมจรรย์ให้บริสุทธิ์บริบูรณ์ได้
อย่างนี้แล
นันทสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. การัณฑวสูตร
ว่าด้วยสมณะหยากเยื่อ
[๑๐] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ริมฝั่งสระคัคคราโบกขรณี
เขตกรุงจัมปา สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายโจทภิกษุด้วยอาบัติ ภิกษุรูปที่ถูกพวกภิกษุโจท
ด้วยอาบัตินั้น พูดกลบเกลื่อน พูดนอกเรื่อง แสดงอาการโกรธ ขัดเคือง และไม่พอใจ

เชิงอรรถ :
๑ ธรรมเครื่องกางกั้นในที่นี้หมายถึงนิวรณ์ ๕ ประการ คือ (๑) กามฉันทะ (ความพอใจในกาม) (๒) พยาบาท
(ความคิดร้าย) (๓) ถีนมิทธะ (ความหดหู่และเซื่องซึม) (๔) อุทธัจจกุกกุจจะ (ความฟุ้งซ่านและร้อนใจ)
(๕) วิจิกิจฉา (ความลังเลสงสัย) (องฺ.ปญฺจก. (แปล) ๒๒/๕๑/๘๙)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๒๑๕ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๑.เมตตาวรรค ๑๐.การัณฑวสูตร
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลาย
จงกำจัดบุคคลนี้ออกไป จงกำจัดบุคคลนี้ออกไป คนชนิดนี้ต้องขับออก เป็นบุตร
นอกคอก กวนใจเสียจริง ภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในธรรมวินัยนี้ มีการก้าวไป
การถอยกลับ การแลดู การเหลียวดู การคู้เข้า การเหยียดออก การครองสังฆาฏิ
บาตรและจีวรเหมือนภิกษุผู้เจริญอื่น ๆ ตราบเท่าที่ภิกษุทั้งหลายยังไม่เห็นอาบัติ
ของเขา แต่เมื่อใด ภิกษุทั้งหลายเห็นอาบัติของเขา เมื่อนั้น ภิกษุทั้งหลายย่อมรู้จัก
เขาอย่างนี้ว่า ‘ผู้นี้เป็นผู้ประทุษร้ายสมณะ เป็นสมณะแกลบ เป็นสมณะหยากเยื่อ’
ครั้นรู้จักเขาอย่างนี้แล้ว จึงนาสนะ๑เขาออกไป ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะคิดว่า
‘ภิกษุนี้อย่าได้ประทุษร้ายภิกษุที่ดีอื่น ๆ’
ภิกษุทั้งหลาย หญ้าที่ทำลายต้นข้าว มีเมล็ดเหมือนข้าวลีบ มีเมล็ดเหมือน
ข้าวตายนึ่ง พึงเกิดขึ้นในนาข้าวที่สมบูรณ์ รากของมันก็เป็นเช่นเดียวกับข้าวที่ดีอื่นๆ
ก้านของมันก็เป็นเช่นเดียวกับข้าวที่ดีอื่นๆ ใบของมันก็เป็นเช่นเดียวกับข้าวที่ดีอื่นๆ
ตราบเท่าที่มันยังไม่ออกรวง แต่เมื่อใด มันออกรวง เมื่อนั้น ชาวนาย่อมรู้จักมัน
อย่างนี้ว่า ‘หญ้านี้ทำลายต้นข้าว มีเมล็ดเหมือนข้าวลีบ มีเมล็ดเหมือนข้าวตายนึ่ง’
ครั้นรู้จักมันอย่างนี้แล้ว ชาวนาจึงถอนมันขึ้นพร้อมทั้งราก แล้วทิ้งให้พ้นจากที่นา
ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะคิดว่า ‘หญ้าชนิดนี้อย่าได้ทำลายข้าวที่ดีอื่น ๆ’ แม้ฉันใด
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในธรรมวินัยนี้ ก็ฉันนั้นเหมือนกันแล มีการก้าวไป
การถอยกลับ การแลดู การเหลียวดู การคู้เข้า การเหยียดออก การครองสังฆาฏิ
บาตรและจีวรเหมือนภิกษุผู้เจริญอื่น ๆ ตราบเท่าที่ภิกษุทั้งหลายยังไม่เห็นอาบัติ
ของเขา แต่เมื่อใด ภิกษุทั้งหลายเห็นอาบัติของเขา เมื่อนั้น ภิกษุทั้งหลายย่อมรู้จัก
เขาอย่างนี้ว่า ‘ผู้นี้เป็นผู้ประทุษร้ายสมณะ เป็นสมณะแกลบ เป็นสมณะหยากเยื่อ’
ครั้นรู้จักเขาอย่างนี้แล้ว จึงนาสนะเขาออกไป ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะคิดว่า ‘ภิกษุ
นี้อย่าได้ประทุษร้ายภิกษุที่ดีอื่น ๆ’
ภิกษุทั้งหลาย เมื่อบุคคลฝัดข้าวเปลือกกองใหญ่ ข้าวเปลือกที่เป็นตัวแกร่ง
ในข้าวเปลือกกองใหญ่นั้น ก็เป็นกองอยู่ส่วนหนึ่ง ส่วนข้าวเปลือกที่ลีบ ก็ถูกลมพัดไป

เชิงอรรถ :
๑ นาสนะ หมายถึงวิธีลงโทษพระ มี ๓ วิธี คือ (๑) ลิงคนาสนะ(ให้ฉิบหายจากเพศบรรพชิต) (๒) ทัณฑ-
กัมมนาสนะ(ให้ฉิบหายด้วยการลงโทษ) (๓) สังวาสนาสนะ(ให้ฉิบหายจากสังวาส) (วิ.อ. ๓/๓๒๑/๔๔๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๒๑๖ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๑.เมตตาวรรค ๑๐.การัณฑวสูตร
อยู่อีกส่วนหนึ่ง เจ้าของใช้ไม้กวาดกวาดข้าวที่ลีบนั้นออกไปโดยมาก ข้อนั้นเพราะ
เหตุไร เพราะคิดว่า ‘มันอย่าได้ทำลายข้าวเปลือกที่ดีอื่น ๆ’ แม้ฉันใด
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในธรรมวินัยนี้ ก็ฉันนั้นเหมือนกันแล มีการก้าวไป
การถอยกลับ การแลดู การเหลียวดู การคู้เข้า การเหยียดออก การครองสังฆาฏิ
บาตรและจีวร เหมือนภิกษุผู้เจริญอื่น ๆ ตราบเท่าที่ภิกษุทั้งหลายยังไม่เห็นอาบัติ
ของเขา แต่เมื่อใด ภิกษุทั้งหลายเห็นอาบัติของเขา เมื่อนั้น ภิกษุทั้งหลายย่อมรู้จัก
เขาอย่างนี้ว่า ‘ผู้นี้เป็นผู้ประทุษร้ายสมณะ เป็นสมณะแกลบ เป็นสมณะหยากเยื่อ’
ครั้นรู้จักเขาอย่างนี้แล้ว จึงนาสนะเขาออกไป ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะคิดว่า ‘ภิกษุ
นี้อย่าได้ประทุษร้ายภิกษุที่ดีอื่น ๆ’
ภิกษุทั้งหลาย บุรุษผู้ต้องการกระบอกตักน้ำดื่ม ถือขวานอันคมเข้าไปในป่า
เขาใช้สันขวานเคาะต้นไม้ใด ๆ บรรดาต้นไม้นั้น ๆ ต้นไม้ที่แข็งมีแก่น ซึ่งถูกเคาะ
ด้วยสันขวาน มีเสียงแน่น ส่วนต้นไม้ที่เสีย(เป็นโพลง)ข้างใน เปียกชื้น เกิดผุยุ่ย
ถูกเคาะด้วยสันขวาน มีเสียงก้อง เขาจึงตัดต้นไม้ที่เสียข้างในนั้นที่โคน ครั้นตัด
ที่โคนแล้ว จึงตัดปลาย ครั้นตัดปลายแล้ว จึงคว้านข้างในให้สะอาดดี ครั้นคว้าน
ข้างในให้สะอาดดีแล้ว จึงทำเป็นกระบอกตักน้ำดื่ม แม้ฉันใด
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในธรรมวินัยนี้ ก็ฉันนั้นเหมือนกันแล มีการก้าวไป
การถอยกลับ การแลดู การเหลียวดู การคู้เข้า การเหยียดออก การครองสังฆาฏิ
บาตรและจีวร เหมือนภิกษุผู้เจริญอื่น ๆ ตราบเท่าที่ภิกษุทั้งหลายยังไม่เห็นอาบัติ
ของเขา แต่เมื่อใด ภิกษุทั้งหลายเห็นอาบัติของเขา เมื่อนั้น ภิกษุทั้งหลายย่อมรู้จัก
เขาอย่างนี้ว่า ‘ผู้นี้เป็นผู้ประทุษร้ายสมณะ เป็นสมณะแกลบ เป็นสมณะหยากเยื่อ’
ครั้นรู้จักเขาอย่างนี้แล้ว จึงนาสนะเขาออกไป ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะคิดว่า ‘ภิกษุ
นี้อย่าได้ประทุษร้ายภิกษุที่ดีอื่น ๆ”
เพราะการอยู่ร่วมกัน บุคคลจึงรู้ได้ว่า
ผู้นี้เป็นผู้มีความปรารถนาชั่ว มักโกรธ
ลบหลู่คุณท่าน หัวดื้อ ตีเสมอ ริษยา ตระหนี่ โอ้อวด
บุคคลบางคนอยู่ในชุมชน พูดไพเราะ พูดดังสมณะ
ปิดบังกรรมชั่ว มีความเห็นชั่ว ไม่เอื้อเฟื้อ
พูดเลอะเทอะ พูดเท็จ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๒๑๗ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๑.เมตตาวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค
เธอทั้งหลายทราบบุคคลนั้นว่า เป็นอย่างไรแล้ว
จงพร้อมเพรียงกันขับบุคคลนั้นเสีย
จงกำจัดบุคคลผู้เป็นดังแกลบ
จงถอนบุคคลผู้เป็นดังหยากเยื่อออกไป
จงนำบุคคลผู้เป็นดังแกลบ
ผู้มิใช่สมณะ แต่ยังถือตัวว่าเป็นสมณะออกไปเสีย
ครั้นกำจัดบุคคลผู้ปรารถนาชั่ว
มีอาจาระและโคจร๑ชั่วออกแล้ว
จงเป็นผู้มีสติอยู่ร่วมกับบุคคลผู้บริสุทธิ์และบุคคลผู้ไม่บริสุทธิ์
จากนั้น เธอทั้งหลายเป็นผู้พร้อมเพรียงกัน
มีปัญญาเป็นเครื่องรักษาตน
จักทำที่สุดแห่งทุกข์ได้
การัณฑวสูตรที่ ๑๐ จบ
เมตตาวรรคที่ ๑ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. เมตตาสูตร ๒. ปัญญาสูตร
๓. ปฐมอัปปิยสูตร ๔. ทุติยอัปปิยสูตร
๕. ปฐมโลกธัมมสูตร ๖. ทุติยโลกธัมมสูตร
๗. เทวทัตตวิปัตติสูตร ๘. อุตตรวิปัตติสูตร
๙. นันทสูตร ๑๐. การัณฑวสูตร


เชิงอรรถ :
๑ ดูเชิงอรรถที่ ๑ สัตตกนิบาต ข้อ ๗๕ หน้า ๑๗๒ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๒๑๘ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๒.มหาวรรค ๑.เวรัญชสูตร
๒. มหาวรรค
หมวดว่าด้วยเรื่องใหญ่
๑. เวรัญชสูตร
ว่าด้วยพระพุทธเจ้าทรงแก้ข้อสงสัยของเวรัญชพราหมณ์
[๑๑] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ควงต้นสะเดาอันเป็นที่อยู่ของ
นเฬรุยักษ์ เขตเมืองเวรัญชา ครั้งนั้น๑ เวรัญชพราหมณ์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึง
ที่ประทับ ได้สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้วนั่ง ณ
ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ท่านพระโคดม ข้าพเจ้าได้ทราบมาว่า พระสมณโคดมไม่ไหว้ ไม่ลุกรับพวก
พราหมณ์ผู้แก่ ผู้เฒ่า ผู้ใหญ่ ผู้ล่วงกาลผ่านวัยมาโดยลำดับ หรือไม่เชื้อเชิญให้นั่ง
เรื่องที่ข้าพเจ้าได้ทราบมานั้นจริงทีเดียว เพราะท่านพระโคดมไม่ไหว้ ไม่ลุกรับ
พราหมณ์ผู้แก่ ผู้เฒ่า ผู้ใหญ่ ผู้ล่วงกาลผ่านวัยมาโดยลำดับ หรือไม่เชื้อเชิญให้นั่ง
การที่ท่านพระโคดมทำเช่นนั้นไม่สมควรเลย”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “พราหมณ์ ในโลกพร้อมทั้งเทวโลก มารโลก
พรหมโลก ในหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดา และมนุษย์ เรายังไม่เห็นผู้ที่
เราควรจะไหว้ ลุกรับ หรือเชื้อเชิญให้นั่ง เพราะตถาคตไหว้ ลุกรับ หรือเชื้อเชิญผู้ใด
ให้นั่ง ศีรษะของผู้นั้นจะต้องขาดตกไป”
๑. พราหมณ์กราบทูลต่อไปว่า “ท่านพระโคดมเป็นคนไม่มีรส”๒

เชิงอรรถ :
๑ ดู วิ.มหา. (แปล) ๑/๒-๑๕/๒-๘
๒ ข้อที่พราหมณ์ตำหนิพระผู้มีพระภาคว่า เป็นคนไม่มีรส ในที่นี้พราหมณ์มุ่งถึงความเป็นคนไม่มีสัมมา-
คารวะ เช่น การกราบไหว้ การต้อนรับ พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า พระองค์ละรสได้แล้ว หมายถึง
พระองค์ทรงละอัสสาทะ ความพอใจในรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัสได้แล้ว จึงเป็นคนไม่มีรส คือ ไม่ยินดี
ในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ (วิ.อ. ๑/๓/๑๒๕-๑๒๖)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๒๑๙ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๒.มหาวรรค ๑.เวรัญชสูตร
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “พราหมณ์ ข้อที่บุคคลกล่าวหาเราว่า ‘พระสมณ-
โคดมเป็นคนไม่มีรส’ นั้นมีมูลอยู่ เพราะตถาคตละรสคือรูป เสียง กลิ่น รส และ
โผฏฐัพพะได้หมดสิ้น ตัดรากถอนโคน เหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว
เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ ข้อที่บุคคลกล่าวหาเราว่า ‘พระ
สมณโคดมเป็นคนไม่มีรส’ นี้แลมีมูลอยู่ แต่ไม่ใช่ที่ท่านกล่าวถึง”
๒. พราหมณ์กราบทูลต่อไปว่า “ท่านพระโคดมเป็นคนไม่มีสมบัติ”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “พราหมณ์ ข้อที่บุคคลกล่าวหาเราว่า ‘พระ
สมณโคดมเป็นคนไม่มีสมบัติ’ นั้นมีมูลอยู่ เพราะตถาคตละสมบัติคือรูป เสียง กลิ่น
รส และโผฏฐัพพะได้หมดสิ้น ตัดรากถอนโคน เหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคน
ไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ ข้อที่บุคคลกล่าวหาเราว่า
‘พระสมณโคดมเป็นคนไม่มีสมบัติ’ นี้แลมีมูลอยู่ แต่ไม่ใช่ที่ท่านกล่าวถึง”
๓. พราหมณ์กราบทูลต่อไปว่า “ท่านพระโคดมสอนไม่ให้ทำ”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “พราหมณ์ ข้อที่บุคคลกล่าวหาเราว่า ‘พระ
สมณโคดมสอนไม่ให้ทำ’ นั้นมีมูลอยู่ เพราะเราสอนไม่ให้ทำกายทุจริต วจีทุจริต
และมโนทุจริต ตลอดถึงการไม่ให้ทำบาปอกุศลธรรมต่าง ๆ ข้อที่บุคคลกล่าวหา
เราว่า ‘พระสมณโคดมสอนไม่ให้ทำ’ นี้แลมีมูลอยู่ แต่ไม่ใช่ที่ท่านกล่าวถึง”
๔. พราหมณ์กราบทูลต่อไปว่า “ท่านพระโคดมสอนให้ทำลาย”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “พราหมณ์ ข้อที่บุคคลกล่าวหาเราว่า ‘พระ
สมณโคดมสอนให้ทำลาย’ นั้นมีมูลอยู่ เพราะเราสอนให้ทำลายราคะ โทสะ และ
โมหะ ตลอดถึงให้ทำลายบาปอกุศลธรรมต่างๆ ข้อที่บุคคลกล่าวหาเราว่า ‘พระ
สมณโคดมสอนให้ทำลาย’ นี้แลมีมูลอยู่ แต่ไม่ใช่ที่ท่านกล่าวถึง”
๕. พราหมณ์กราบทูลต่อไปว่า “ท่านพระโคดมเป็นคนช่างรังเกียจ”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “พราหมณ์ ข้อที่บุคคลกล่าวหาเราว่า ‘พระ
สมณโคดมเป็นคนช่างรังเกียจ’ นั้นมีมูลอยู่ เพราะเราช่างรังเกียจกายทุจริต


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๒๒๐ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๒.มหาวรรค ๑.เวรัญชสูตร
วจีทุจริต และมโนทุจริต ตลอดถึงรังเกียจบาปอกุศลธรรมต่าง ๆ ข้อที่บุคคล
กล่าวหาเราว่า ‘พระสมณโคดมเป็นคนช่างรังเกียจ’ นี้แลมีมูลอยู่ แต่ไม่ใช่ที่ท่าน
กล่าวถึง”
๖. พราหมณ์กราบทูลต่อไปว่า “ท่านพระโคดมเป็นคนช่างกำจัด”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “พราหมณ์ ข้อที่บุคคลกล่าวหาเราว่า ‘พระ
สมณโคดมเป็นคนช่างกำจัด’ นั้นมีมูลอยู่ เพราะเราแสดงธรรมเพื่อกำจัดราคะ
โทสะ และโมหะ ตลอดถึงแสดงธรรมเพื่อกำจัดบาปอกุศลธรรมต่าง ๆ ข้อที่บุคคล
กล่าวหาเราว่า ‘พระสมณโคดมเป็นคนช่างกำจัด’ นี้แลมีมูลอยู่ แต่ไม่ใช่ที่ท่าน
กล่าวถึง”
๗. พราหมณ์กราบทูลต่อไปว่า “ท่านพระโคดมเป็นคนช่างเผาผลาญ”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “พราหมณ์ ข้อที่บุคคลกล่าวหาเราว่า ‘พระ
สมณโคดมเป็นคนช่างเผาผลาญ’ นั้นมีมูลอยู่ เพราะเรากล่าวถึงบาปอกุศลธรรม
ทั้งหลาย คือ กายทุจริต วจีทุจริต และมโนทุจริตว่าเป็นสิ่งที่ควรเผาผลาญ เราเรียก
คนที่ละบาปอกุศลธรรมทั้งหลายที่ควรเผาผลาญได้หมดสิ้น ตัดรากถอนโคน เหมือน
ต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ว่า
‘เป็นคนช่างเผาผลาญ’ ตถาคตละบาปอกุศลธรรมที่ควรเผาผลาญได้หมดสิ้น ตัดราก
ถอนโคน เหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้น
ต่อไปไม่ได้ ข้อที่บุคคลกล่าวหาเราว่า ‘พระสมณโคดมเป็นคนช่างเผาผลาญ’ นี้แล
มีมูลอยู่ แต่ไม่ใช่ที่ท่านกล่าวถึง”
๘. พราหมณ์กราบทูลต่อไปว่า “ท่านพระโคดมเป็นคนไม่ผุดไม่เกิด”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “พราหมณ์ ข้อที่บุคคลกล่าวหาเราว่า ‘พระ
สมณโคดมเป็นคนไม่ผุดไม่เกิด’ นั้นมีมูลอยู่ เพราะเราเรียกคนที่ละการอยู่ในครรภ์
และการเกิดใหม่ได้หมดสิ้น ตัดรากถอนโคน เหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคน
ไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ว่า ‘เป็นคนไม่ผุดไม่เกิด’ ตถาคต


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๒๒๑ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๒.มหาวรรค ๑.เวรัญชสูตร
ละการอยู่ในครรภ์และการเกิดใหม่ได้หมดสิ้น ตัดรากถอนโคน เหมือนต้นตาลที่ถูก
ตัดรากถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ ข้อที่บุคคลกล่าว
หาเราว่า ‘พระสมณโคดมเป็นคนไม่ผุดไม่เกิด’ นี้แลมีมูลอยู่ แต่ไม่ใช่ที่ท่านกล่าวถึง
พราหมณ์ ไข่ ๘ ฟอง ๑๐ ฟอง หรือ ๑๒ ฟอง ที่แม่ไก่กกดีแล้ว ให้ความ
อบอุ่นดีแล้ว ฟักดีแล้ว บรรดาลูกไก่เหล่านั้น ลูกไก่ตัวที่ใช้เล็บหรือจะงอยปากทำลาย
กระเปาะ๑ไข่ออกมาได้โดยสวัสดีก่อน ควรเรียกมันว่า ‘เป็นตัวพี่หรือตัวน้อง”
พราหมณ์กราบทูลว่า “ท่านพระโคดม ควรเรียกว่า ‘พี่’ เพราะมันแก่กว่าเขา”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “เช่นเดียวกันนั่นแหละ พราหมณ์ ในขณะที่หมู่
สัตว์ถูกกระเปาะไข่คืออวิชชาห่อหุ้มอยู่ เราได้ทำลายกระเปาะไข่คืออวิชชา ผู้เดียว
เท่านั้นสำเร็จอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณอันยอดเยี่ยม จึงเป็นพี่ใหญ่ผู้ประเสริฐที่สุด
ของโลก
พราหมณ์ เราปรารภความเพียร ไม่ย่อหย่อน มีสติตั้งมั่น ไม่หลงลืม มีกายสงบ
ไม่กระสับกระส่าย มีจิตแน่วแน่เป็นสมาธิ
พราหมณ์ เรานั้นสงัดจากกาม และอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน
ที่มีวิตก วิจาร ปีติ และสุขอันเกิดจากวิเวกอยู่
เพราะวิตกวิจารสงบระงับไป เราบรรลุทุติยฌานที่มีความผ่องใสภายใน มีภาวะ
ที่จิตเป็นหนึ่งผุดขึ้น๒ ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีแต่ปีติและสุขอันเกิดจากสมาธิอยู่
เพราะปีติจางคลายไป เรามีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย
บรรลุตติยฌานที่พระอริยะทั้งหลายสรรเสริญว่า ‘ผู้มีอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข’

เชิงอรรถ :
๑ กระเปาะ คือ เปลือกไข่ส่วนที่เป็นสัณฐานนูนกลม คำว่า ‘กระเปาะ‘คือ รูปนูนกลม สิ่งต่างๆ ที่มีสัณฐาน
คล้ายคลึงเช่นนั้น เรียกว่า กระเปาะ เช่น กระเปาะไข่ กระเปาะดอกไม้ (พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน
พ.ศ.๒๕๒๕)
๒ เจตโส เอโกทิภาวํ ภาวะที่จิตเป็นหนึ่งผุดขึ้น คำว่า ‘เอโกทิ’ เป็นชื่อของสมาธิ ทุติยฌานชื่อว่าเอโกทิภาวะ
เพราะทำสมาธิที่ชื่อว่าเอโกทินี้ให้เกิดเจริญขึ้น พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ‘มีภาวะที่จิตเป็นหนึ่งผุดขึ้น’ เพราะ
สมาธิชื่อว่าเอโกทินี้ มีแก่จิตเท่านั้น ไม่มีแก่สัตว์ ไม่มีแก่ชีวะ (วิ.อ. ๑/๑๑/๑๔๓-๑๔๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๒๒๒ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๒.มหาวรรค ๑.เวรัญชสูตร
เพราะละสุขและทุกข์ได้ เพราะโสมนัสและโทมนัสดับไปก่อนแล้ว เราบรรลุ
จตุตถฌานที่ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขาอยู่
เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ผุดผ่อง ไม่มีกิเลสเพียงดังเนิน๑ ปราศจากความ
เศร้าหมอง อ่อน เหมาะแก่การใช้งาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ เรานั้นได้น้อม
จิตไปเพื่อปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ระลึกชาติก่อนได้หลายชาติ คือ ๑ ชาติบ้าง
๒ ชาติบ้าง ๓ ชาติบ้าง ๔ ชาติบ้าง ๕ ชาติบ้าง ๑๐ ชาติบ้าง ๒๐ ชาติบ้าง
๓๐ ชาติบ้าง ๔๐ ชาติบ้าง ๕๐ ชาติบ้าง ๑๐๐ ชาติบ้าง ๑,๐๐๐ ชาติบ้าง
๑๐๐,๐๐๐ ชาติบ้าง ตลอดสังวัฏฏกัปเป็นอันมากบ้าง ตลอดวิวัฏฏกัปเป็นอัน
มากบ้าง ตลอดสังวัฏฏกัปและวิวัฏฏกัปเป็นอันมากบ้างว่า ‘ในภพโน้น เรามีชื่อ
อย่างนั้น มีตระกูล มีวรรณะ มีอาหาร เสวยสุขทุกข์และมีอายุอย่างนั้นๆ จุติจากภพ
นั้นก็ไปเกิดในภพโน้น แม้ในภพนั้นเราก็มีชื่ออย่างนั้น มีตระกูล มีวรรณะ มีอาหาร
เสวยสุขทุกข์ และมีอายุอย่างนั้นๆ จุติจากภพนั้นแล้ว จึงมาเกิดในภพนี้ เราระลึก
ชาติก่อนได้หลายชาติพร้อมทั้งลักษณะทั่วไปและชีวประวัติอย่างนี้
พราหมณ์ เราได้บรรลุวิชชาที่ ๑ นี้แล ในยามที่ ๑ แห่งราตรี ความมืดมิด
คืออวิชชาเรากำจัดได้แล้ว แสงสว่างคือวิชชาได้เกิดขึ้นแก่เรา เปรียบเหมือน
แสงสว่างเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้ไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศกายและใจ
พราหมณ์ นี้คือการเจาะกระเปาะไข่คืออวิชชาออกมาครั้งที่ ๑ ของเรา
เหมือนการเจาะกระเปาะไข่ออกมาของลูกไก่

เชิงอรรถ :
๑ ไม่มีกิเลสเพียงดังเนินในที่หมายถึงไม่มีกิเลสมีราคะเป็นต้น เพราะขจัดปัจจัยมีสุขเป็นต้นได้ ราคะเป็นต้น
ท่านเรียกว่ากิเลสเพียงดังเนิน (อังคณะ) เพราะยังจิตให้ลาดต่ำโน้มเอียงไปสู่ที่ต่ำ เช่น ต้องย้อนกลับไปสู่
จตุตถฌานอีก เป็นต้น (วิ.อ. ๑/๑๒/๑๕๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๒๒๓ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๒.มหาวรรค ๑.เวรัญชสูตร
เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ ผุดผ่อง ไม่มีกิเลสเพียงดังเนิน ปราศจากความ
เศร้าหมอง อ่อน เหมาะแก่การใช้งาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ เรานั้นได้น้อมจิตไป
เพื่อจุตูปปาตญาณ เห็นหมู่สัตว์ผู้กำลังจุติและกำลังเกิด ทั้งชั้นต่ำและชั้นสูง งามและ
ไม่งาม เกิดดีและเกิดไม่ดีด้วยตาทิพย์อันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์ รู้ชัดถึงหมู่สัตว์ผู้เป็น
ไปตามกรรมว่า ‘หมู่สัตว์ที่ประกอบกายทุจริต วจีทุจริต และมโนทุจริต กล่าวร้าย
พระอริยะ มีความเห็นผิด และชักชวนผู้อื่นให้ทำกรรมตามความเห็นผิด พวกเขา
หลังจากตายแล้ว จะไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก แต่หมู่สัตว์ที่ประกอบ
กายสุจริต วจีสุจริต และมโนสุจริต ไม่กล่าวร้ายพระอริยะ มีความเห็นชอบ และ
ชักชวนผู้อื่นให้ทำกรรมตามความเห็นชอบ พวกเขาหลังจากตายแล้ว จะไปเกิดใน
สุคติโลกสวรรค์’
เราเห็นหมู่สัตว์ผู้กำลังจุติและกำลังเกิด ทั้งชั้นต่ำและชั้นสูง งามและไม่งาม
เกิดดีและเกิดไม่ดีด้วยตาทิพยอันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์ เรารู้ชัดถึงหมู่สัตว์ผู้เป็นไป
ตามกรรม ด้วยประการฉะนี้
พราหมณ์ เราได้บรรลุวิชชาที่ ๒ นี้แล ในยามที่ ๒ แห่งราตรี ความมืดมิด
คืออวิชชาเรากำจัดได้แล้ว แสงสว่างคือวิชชาได้เกิดขึ้นแก่เรา เปรียบเหมือนแสงสว่าง
เกิดขึ้นแก่บุคคลผู้ไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศกายและใจ
พราหมณ์ นี้คือการเจาะกระเปาะไข่คืออวิชชาออกมาครั้งที่ ๒ ของเรา เหมือน
การเจาะกระเปาะไข่ออกมาของลูกไก่
เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ ผุดผ่อง ไม่มีกิเลสเพียงดังเนิน ปราศจากความ
เศร้าหมอง อ่อน เหมาะแก่การใช้งาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ เรานั้นได้
น้อมจิตไปเพื่ออาสวักขยญาณ รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า ‘นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย
นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา นี้อาสวะ นี้อาสวสมุทัย นี้อาสวนิโรธ
นี้อาสวนิโรธคามินีปฏิปทา’ เมื่อเรารู้เห็นอยู่อย่างนี้ จิตย่อมหลุดพ้นจากกามาสวะ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๒๒๔ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๒.มหาวรรค ๑.เวรัญชสูตร
ภวาสวะ อวิชชาสวะ เมื่อจิตหลุดพ้นแล้วก็รู้ว่า ‘หลุดพ้นแล้ว’ รู้ชัดว่า ‘ชาติสิ้นแล้ว
อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำ๑เสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้
อีกต่อไป‘๒
พราหมณ์ เราได้บรรลุวิชชาที่ ๓ นี้แล ในยามที่ ๓ แห่งราตรี ความมืดมิด
คืออวิชชาเรากำจัดได้แล้ว แสงสว่างคือวิชชาได้เกิดขึ้นแก่เรา เปรียบเหมือนแสงสว่าง
เกิดขึ้นแก่บุคคลผู้ไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศกายและใจ
พราหมณ์ นี้คือการเจาะกระเปาะไข่คืออวิชชาออกมาครั้งที่ ๓ ของเรา เหมือน
การเจาะกระเปาะไข่ออกมาของลูกไก่”

เวรัญชพราหมณ์แสดงตนเป็นอุบาสก
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว เวรัญชพราหมณ์ได้กราบทูลพระผู้มี
พระภาคดังนี้ว่า “ท่านพระโคดมเป็นพี่ใหญ่ เป็นผู้ประเสริฐที่สุด ข้าแต่ท่านพระโคดม
ภาษิตของท่านพระโคดมชัดเจนไพเราะยิ่งนัก ข้าแต่ท่านพระโคดม ภาษิตของท่าน
พระโคดมชัดเจนไพเราะยิ่งนัก ท่านพระโคดมทรงประกาศธรรมแจ่มแจ้งโดยประการ
ต่างๆ เปรียบเหมือนบุคคลหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางแก่ผู้หลงทาง
หรือตามประทีปในที่มืด ด้วยตั้งใจว่า ‘คนมีตาดีจักเห็นรูปได้’ ข้าพระองค์นี้ขอถึง
ท่านพระโคดมพร้อมทั้งพระธรรมและพระสงฆ์เป็นสรณะ ขอท่านพระโคดมโปรดทรง
จำข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปจนตลอดชีวิต”
เวรัญชสูตรที่ ๑ จบ

เชิงอรรถ :
๑ กิจที่ควรทำ ในที่นี้หมายถึงกิจในอริยสัจ ๔ คือ การกำหนดรู้ทุกข์, การละเหตุเกิดแห่งทุกข์, การทำให้
แจ้งซึ่งความดับทุกข์ และการอบรมมรรคมีองค์ ๘ ให้เจริญ (ที.สี.อ. ๑/๒๔๘/๒๐๓)
๒ ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป ในที่นี้หมายถึงไม่มีหน้าที่ในการบำเพ็ญมรรคญาณเพื่อความ
สิ้นไปแห่งกิเลสอีกต่อไป เพราะพุทธศาสนาถือว่าการบรรลุพระอรหัตตผลเป็นจุดหมายสูงสุด (ที.สี.อ.
๑/๒๔๘/๒๐๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๒๒๕ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๒.มหาวรรค ๒.สีหสูตร
๒. สีหสูตร
ว่าด้วยสีหเสนาบดี๑
[๑๒] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ กูฏาคารศาลา ป่ามหาวัน
เขตกรุงเวสาลี สมัยนั้นแล เจ้าลิจฉวีผู้มีชื่อเสียงเป็นจำนวนมาก นั่งประชุมกันใน
สันถาคาร๒ กล่าวสรรเสริญพระพุทธเจ้า กล่าวสรรเสริญพระธรรม กล่าวสรรเสริญ
พระสงฆ์โดยประการต่าง ๆ
สมัยนั้น สีหเสนาบดีสาวกของนิครนถ์ นั่งอยู่ในที่ประชุมนั้นด้วย ลำดับนั้น
สีหเสนาบดีได้มีความคิดดังนี้ว่า “พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นต้องเป็นพระอรหันต-
สัมมาสัมพุทธเจ้าแน่ เพราะเจ้าลิจฉวีผู้มีชื่อเสียงจำนวนมากเหล่านี้นั่งประชุมกันใน
สันถาคาร ต่างก็กล่าวสรรเสริญพระพุทธเจ้า กล่าวสรรเสริญพระธรรม กล่าว
สรรเสริญพระสงฆ์โดยประการต่าง ๆ ทางที่ดี เราควรจะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค
อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น”
ต่อมา สีหเสนาบดีได้เข้าไปหานิครนถ์ นาฏบุตรถึงที่อยู่ ได้กล่าวกับนิครนถ์
นาฏบุตรดังนี้ว่า “ข้าพเจ้าปรารถนาจะไปเฝ้าพระสมณโคดม เจ้าข้า”
นิครนถ์ นาฏบุตรกล่าวว่า “สีหะ ท่านเป็นผู้สอนให้ทำ ไฉนจึงจะไปเฝ้า
พระสมณโคดมผู้สอนไม่ให้ทำเล่า เพราะพระสมณโคดมเป็นผู้สอนไม่ให้ทำ ย่อม
แสดงธรรมเพื่อการไม่ให้ทำ ทั้งแนะนำสาวกตามแนวนั้น”
ครั้งนั้นแล สีหเสนาบดีได้ล้มเลิกความตั้งใจที่จะไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค

เชิงอรรถ :
๑ สีหเสนาบดี หมายถึงสีหราชกุมาร ที่ได้นามว่า เสนาบดี เพราะได้รับเลือกให้เป็นผู้บัญชาการเหล่าทัพ เป็น
๑ ใน ๓ คนที่เป็นสาวกชั้นแนวหน้าของนิครนถ์ นาฏบุตร คือ อุบาลีคหบดีในเมืองนาลันทา เจ้าวัปปะ
ศากยะในกรุงกบิลพัสดุ์ และสีหเสนาบดีในกรุงเวสาลี (องฺ.อฏฺฐก.อ.๓/๑๒/๒๓๑) และดู วิ.ม. (แปล) ๕/๒๙๐-
๒๙๔/๑๐๘-๑๑๖
๒ สันถาคาร มีความหมาย ๒ นัย คือ นัยที่ ๑ หมายถึงอาคารที่สร้างขึ้นเพื่อเป็นที่พักผ่อนสำหรับมหาชน
อาคารนี้ถูกสร้างขึ้นที่ใจกลางเมือง คนที่อยู่รอบ ๆ ทั้ง ๔ ทิศสามารถมองเห็นได้ คนที่มาจาก ๔ ทิศ จะพัก
ที่อาคารนี้ก่อนที่จะเข้าไปพักในที่สะดวกสำหรับตน นัยที่ ๒ หมายถึงอาคารที่สร้างขึ้นเพื่อประชุมพิจารณา
ราชกิจสำหรับราชตระกูล ในที่นี้หมายถึงนัยที่ ๒ (องฺ.อฏฺฐก.อ.๓/๑๒/๒๒๙-๒๓๐)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๒๒๖ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๒.มหาวรรค ๒.สีหสูตร
แม้ครั้งที่ ๒ เจ้าลิจฉวีผู้มีชื่อเสียงเป็นจำนวนมาก ก็ได้นั่งประชุมกันใน
สันถาคาร กล่าวสรรเสริญพระพุทธเจ้า กล่าวสรรเสริญพระธรรม กล่าวสรรเสริญ
พระสงฆ์โดยประการต่าง ๆ
แม้ครั้งที่ ๒ สีหเสนาบดีก็มีความคิดดังนี้ว่า “พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น
ต้องเป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าแน่ เพราะเจ้าลิจฉวีผู้มีชื่อเสียงจำนวนมาก
เหล่านี้นั่งประชุมกันในสันถาคาร ต่างก็กล่าวสรรเสริญพระพุทธเจ้า กล่าวสรรเสริญ
พระธรรม กล่าวสรรเสริญพระสงฆ์โดยประการต่าง ๆ ทางที่ดี เราควรจะเข้าไปเฝ้า
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น”
ต่อมา สีหเสนาบดีได้เข้าไปหานิครนถ์ นาฏบุตรถึงที่อยู่ ได้กล่าวกับนิครนถ์
นาฏบุตรว่า “ข้าพเจ้าปรารถนาจะไปเฝ้าพระสมณโคดม เจ้าข้า”
นิครนถ์ นาฏบุตรกล่าวว่า “สีหะ ท่านเป็นผู้สอนให้ทำ ไฉนจึงจะไปเฝ้าพระ
สมณโคดมผู้สอนไม่ให้ทำเล่า เพราะพระสมณโคดมเป็นผู้สอนไม่ให้ทำ ย่อมแสดง
ธรรมเพื่อการไม่ให้ทำ ทั้งแนะนำพวกสาวกตามแนวนั้น”
แม้ครั้งที่ ๒ สีหเสนาบดีก็ล้มเลิกความตั้งใจที่จะไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค
แม้ครั้งที่ ๓ เจ้าลิจฉวีผู้มีชื่อเสียงเป็นจำนวนมาก ก็ได้นั่งประชุมกันในสันถาคาร
กล่าวสรรเสริญพระพุทธเจ้า กล่าวสรรเสริญพระธรรม กล่าวสรรเสริญพระสงฆ์โดย
ประการต่าง ๆ
แม้ครั้งที่ ๓ สีหเสนาบดีก็มีความคิดดังนี้ว่า “พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น
ต้องเป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าแน่ เพราะเจ้าลิจฉวีผู้มีชื่อเสียงจำนวนมาก
เหล่านี้ นั่งประชุมกันในสันถาคาร ต่างก็กล่าวสรรเสริญพระพุทธเจ้า กล่าวสรรเสริญ
พระธรรม กล่าวสรรเสริญพระสงฆ์โดยประการต่างๆ ก็พวกนิครนถ์เหล่านี้ เราจะ
บอกหรือไม่ ก็ไม่มีประโยชน์อะไร ทางที่ดี เราจะไม่บอกพวกนิครนถ์แล้วเข้าไปเฝ้า
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น”
ครั้งนั้น สีหเสนาบดีเดินทางออกจากกรุงเวสาลีแต่หัววัน พร้อมด้วยรถ
๕๐๐ คัน เดินทางไปด้วยยานพาหนะตลอดพื้นที่ที่ยานพาหนะจะไปได้ แล้วลงเดิน
เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูล
พระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๒๒๗ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๒.มหาวรรค ๒.สีหสูตร
“พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ได้ฟังมาดังนี้ว่า ‘พระสมณโคดมเป็นผู้สอนไม่ให้ทำ
แสดงธรรมเพื่อการไม่ให้ทำ ทั้งแนะนำพวกสาวกตามแนวนั้น’ พระพุทธเจ้าข้า
คนเหล่าใดกล่าวอย่างนี้ว่า ‘พระสมณโคดมเป็นผู้สอนไม่ให้ทำ แสดงธรรมเพื่อการ
ไม่ให้ทำ ทั้งแนะนำพวกสาวกตามแนวนั้น’ พระพุทธเจ้าข้า คนเหล่านั้นจะชื่อว่า
พูดตรงตามที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ ไม่ชื่อว่ากล่าวตู่พระผู้มีพระภาคด้วยคำเท็จหรือ
ชื่อว่ากล่าวแก้อย่างสมเหตุสมผลหรือ ไม่มีบ้างหรือที่คำกล่าวเช่นนั้นและคำที่กล่าว
ต่อ ๆ กันมา จะเป็นเหตุให้ถูกตำหนิได้๑ เพราะข้าพระองค์ไม่ประสงค์จะกล่าวตู่พระผู้มี
พระภาคเลย”

ข้อกล่าวหา ๘ ประการ
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า สีหะ
๑. ข้อที่บุคคลกล่าวหาเราว่า ‘พระสมณโคดมเป็นผู้สอนไม่ให้ทำ แสดงธรรม
เพื่อการไม่ให้ทำ ทั้งแนะนำพวกสาวกตามแนวนั้น’ นั้นมีมูลอยู่
๒. ข้อที่บุคคลกล่าวหาเราว่า ‘พระสมณโคดมเป็นผู้สอนให้ทำ แสดงธรรม
เพื่อการให้ทำ ทั้งแนะนำสาวกตามแนวนั้น’ นั้นมีมูลอยู่
๓. ข้อที่บุคคลกล่าวหาเราว่า ‘พระสมณโคดมเป็นผู้สอนให้ทำลาย แสดงธรรม
เพื่อความให้ทำลาย ทั้งแนะนำพวกสาวกตามแนวนั้น’ นั้นมีมูลอยู่
๔. ข้อที่บุคคลกล่าวหาเราว่า ‘พระสมณโคดมเป็นคนช่างรังเกียจ แสดงธรรม
เพื่อความรังเกียจ ทั้งแนะนำพวกสาวกตามแนวนั้น’ มีมูลอยู่
๕. ข้อที่บุคคลกล่าวหาเราว่า ‘พระสมณโคดมเป็นคนช่างกำจัด แสดงธรรม
เพื่อการกำจัด ทั้งแนะนำพวกสาวกตามแนวนั้น’ นั้นมีมูลอยู่
๖. ข้อที่บุคคลกล่าวหาเราว่า ‘พระสมณโคดมเป็นคนช่างเผาผลาญ แสดง
ธรรมเพื่อความเผาผลาญ ทั้งแนะนำพวกสาวกตามแนวนั้น’ นั้นมีมูลอยู่

เชิงอรรถ :
๑ ดู วิ.ม. (แปล) ๕/๒๙๐/๑๐๘, ที.สี. (แปล) ๙/๓๘๒/๑๖๑, สํ.สฬา. (แปล) ๑๘/๘๑/๗๔, องฺ.ติก. (แปล) ๒๐/
๕๘/๒๒๒

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๒๒๘ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๒.มหาวรรค ๒.สีหสูตร
๗. ข้อที่บุคคลกล่าวหาเราว่า ‘พระสมณโคดมเป็นคนไม่ผุดไม่เกิด แสดงธรรม
เพื่อความไม่ผุดไม่เกิด ทั้งแนะนำพวกสาวกตามแนวนั้น’ นั้นมีมูลอยู่
๘. ข้อที่บุคคลกล่าวหาเราว่า ‘พระสมณโคดมเป็นคนเบาใจ แสดงธรรมเพื่อ
ความเบาใจ ทั้งแนะนำพวกสาวกตามแนวนั้น’ นั้นมีมูลอยู่

พระดำรัสแก้ข้อกล่าวหา
ข้อที่บุคคลกล่าวหาเราว่า ‘พระสมณโคดมเป็นผู้สอนไม่ให้ทำ แสดงธรรม
เพื่อการไม่ให้ทำ ทั้งแนะนำพวกสาวกตามแนวนั้น’ นั้นมีมูลอยู่ เป็นอย่างไร
คือ เพราะเราสอนไม่ให้ทำกายทุจริต วจีทุจริต และมโนทุจริต ตลอดถึงการไม่
ให้ทำบาปอกุศลธรรมต่าง ๆ ข้อที่บุคคลกล่าวหาเราว่า ‘พระสมณโคดมเป็นผู้สอนไม่
ให้ทำ แสดงธรรมเพื่อการไม่ให้ทำ ทั้งแนะนำพวกสาวกตามแนวนั้น’ นี้แลมีมูลอยู่
ข้อที่บุคคลกล่าวหาเราว่า ‘พระสมณโคดมเป็นผู้สอนให้ทำ แสดงธรรม
เพื่อการให้ทำ ทั้งแนะนำพวกสาวกตามแนวนั้น’ นั้นมีมูลอยู่ เป็นอย่างไร
คือ เพราะเราสอนให้ทำกายสุจริต วจีสุจริต และมโนสุจริต ตลอดถึงการให้
ทำกุศลธรรมต่างๆ ข้อที่บุคคลกล่าวหาเราว่า ‘พระสมณโคดมเป็นผู้สอนให้ทำ
แสดงธรรมเพื่อการให้ทำ ทั้งแนะนำพวกสาวกตามแนวนั้น’ นี้แลมีมูลอยู่
ข้อที่บุคคลกล่าวหาเราว่า ‘พระสมณโคดมเป็นผู้สอนให้ทำลาย แสดงธรรม
เพื่อความให้ทำลาย ทั้งแนะนำพวกสาวกตามแนวนั้น’ นั้นมีมูลอยู่ เป็นอย่างไร
คือ เพราะเราสอนให้ทำลายราคะ โทสะ และโมหะ ตลอดถึงให้ทำลายบาป
อกุศลธรรมต่างๆ ข้อที่บุคคลกล่าวหาเราว่า ‘พระสมณโคดมเป็นผู้สอนให้ทำลาย
แสดงธรรมเพื่อการให้ทำลาย ทั้งแนะนำพวกสาวกตามแนวนั้น’ นี้แลมีมูลอยู่
ข้อที่บุคคลกล่าวหาเราว่า ‘พระสมณโคดมเป็นคนช่างรังเกียจ แสดงธรรม
เพื่อความรังเกียจ ทั้งแนะนำพวกสาวกตามแนวนั้น’ นั้นมีมูลอยู่ เป็นอย่างไร
คือ เพราะเราช่างรังเกียจกายทุจริต วจีทุจริต และมโนทุจริต ตลอดถึงรังเกียจ
การประกอบบาปอกุศลธรรมต่าง ๆ ข้อที่บุคคลกล่าวหาเราว่า ‘พระสมณโคดมเป็น


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๒๒๙ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๒.มหาวรรค ๒.สีหสูตร
คนช่างรังเกียจ แสดงธรรมเพื่อความรังเกียจ ทั้งแนะนำพวกสาวกตามแนวนั้น’ นี้แล
มีมูลอยู่
ข้อที่บุคคลกล่าวหาเราว่า ‘พระสมณโคดมเป็นคนช่างกำจัด แสดงธรรม
เพื่อความกำจัด ทั้งแนะนำพวกสาวกตามแนวนั้น’ นั้นมีมูลอยู่ เป็นอย่างไร
คือ เพราะเราแสดงธรรมเพื่อกำจัดราคะ โทสะ และโมหะ ตลอดถึงแสดงธรรม
เพื่อกำจัดบาปอกุศลธรรมต่าง ๆ ข้อที่บุคคลกล่าวหาเราว่า ‘พระสมณโคดมเป็น
คนช่างกำจัด แสดงธรรมเพื่อการกำจัด ทั้งแนะนำพวกสาวกตามแนวนั้น’ นี้แลมี
มูลอยู่
ข้อที่บุคคลกล่าวหาเราว่า ‘พระสมณโคดมเป็นคนช่างเผาผลาญ แสดงธรรม
เพื่อความเผาผลาญ ทั้งแนะนำพวกสาวกตามแนวนั้น’ นั้นมีมูลอยู่ เป็นอย่างไร
คือ เพราะเรากล่าวถึงบาปอกุศลธรรมทั้งหลาย คือ กายทุจริต วจีทุจริต และ
มโนทุจริตว่าเป็นสิ่งที่ควรเผาผลาญ เราเรียกคนที่ละบาปอกุศลธรรมที่ควรเผาผลาญ
ได้หมดสิ้น ตัดรากถอนโคนเหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่
ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ว่า ‘เป็นคนช่างเผาผลาญ’ ตถาคตละบาปอกุศลธรรมที่
ควรเผาผลาญได้หมดสิ้น ตัดรากถอนโคนเหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว
เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ ข้อที่บุคคลกล่าวหาเราว่า ‘พระสมณ
โคดมเป็นคนช่างเผาผลาญ แสดงธรรมเพื่อการเผาผลาญ ทั้งแนะนำพวกสาวกตาม
แนวนั้น’ นี้แลมีมูลอยู่
ข้อที่บุคคลกล่าวหาเราว่า ‘พระสมณโคดมเป็นคนไม่ผุดไม่เกิด แสดง
ธรรมเพื่อความไม่ผุดไม่เกิด ทั้งแนะนำพวกสาวกตามแนวนั้น’ นั้นมีมูลอยู่
เป็นอย่างไร
คือ เพราะเราเรียกคนที่ละการอยู่ในครรภ์และการเกิดใหม่ได้หมดสิ้น ตัดราก
ถอนโคน เหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี
เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ว่า ‘เป็นคนไม่ผุดไม่เกิด’ ตถาคตละการอยู่ในครรภ์และการเกิดใหม่
ได้หมดสิ้น ตัดรากถอนโคน เหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๒๓๐ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๒.มหาวรรค ๒.สีหสูตร
พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ ข้อที่บุคคลกล่าวหาเราว่า ‘พระสมณโคดมเป็น
คนไม่ผุดไม่เกิด แสดงธรรมเพื่อการไม่ผุดไม่เกิด ทั้งแนะนำพวกสาวกตามแนวนั้น’
นี้แลมีมูลอยู่
ข้อที่บุคคลกล่าวหาเราว่า ‘พระสมณโคดมเป็นคนเบาใจ แสดงธรรมเพื่อ
ความเบาใจ ทั้งแนะนำพวกสาวกตามแนวนั้น’ นั้นมีมูลอยู่ เป็นอย่างไร
คือ เพราะเราเป็นคนเบาใจด้วยความเบาใจอย่างยิ่ง แสดงธรรมเพื่อความ
เบาใจ และแนะนำเหล่าสาวกตามแนวนั้น ข้อที่บุคคลกล่าวหาเราว่า ‘พระสมณโคดม
เป็นคนเบาใจ แสดงธรรมเพื่อความเบาใจ ทั้งแนะนำพวกสาวกตามแนวนั้น’ นี้แล
มีมูลอยู่”
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสตอบอย่างนี้แล้ว สีหเสนาบดีได้กราบทูลพระผู้มีพระ
ภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์ชัดเจนไพเราะยิ่งนัก ข้าแต่
พระองค์ผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์ชัดเจนไพเราะยิ่งนัก ฯลฯ๑ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
ขอพระผู้มีพระภาคโปรดทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะตั้งแต่วันนี้เป็นต้น
ไปจนตลอดชีวิต”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “สีหะ ท่านใคร่ครวญก่อนแล้วจึงตัดสินใจเถิด คนที่
มีชื่อเสียงเช่นท่าน ต้องใคร่ครวญให้รอบคอบก่อนจึงเป็นการดี”
สีหเสนาบดีกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ปลาบปลื้มชื่นใจ
อย่างยิ่ง เพราะพระดำรัสที่พระองค์ตรัสว่า ‘สีหะ ท่านใคร่ครวญก่อนแล้วจึงตัดสินใจเถิด
คนที่มีชื่อเสียงเช่นท่าน ต้องใคร่ครวญให้รอบคอบก่อนจึงเป็นการดี’ เพราะพวก
อัญเดียรถีย์ได้ข้าพระองค์เป็นสาวกแล้ว ก็ป่าวประกาศไปทั่วกรุงเวสาลีว่า ‘สีห-
เสนาบดีเป็นสาวกของพวกเรา’ แต่พระองค์กลับตรัสว่า ‘ท่านใคร่ครวญก่อนแล้ว
จึงตัดสินใจเถิด คนที่มีชื่อเสียงเช่นท่าน ต้องใคร่ครวญให้รอบคอบก่อนจึงเป็น การดี’
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แม้ครั้งที่ ๒ ข้าพระองค์นี้ขอถึงพระผู้มีพระภาคพร้อมทั้ง
พระธรรมและพระสงฆ์เป็นสรณะ ขอพระผู้มีพระภาคโปรดทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็น
อุบาสกผู้ถึงสรณะตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปจนตลอดชีวิตเถิด”


เชิงอรรถ :
๑ ดูความเต็มในข้อ ๑๑ (เวรัญชสูตร) หน้า ๒๒๕ ในเล่มนี้


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๒๓๑ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๒.มหาวรรค ๒.สีหสูตร
ทรงสนับสนุนให้อุปถัมภ์ลัทธิที่เคยนับถือมาก่อน
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “สีหะ ตระกูลของท่านเคยเป็นที่ต้อนรับพวกนิครนถ์
มานาน ดังนั้น ท่านพึงใส่ใจว่าควรให้บิณฑบาตแก่พวกนิครนถ์ผู้เข้าไปตระกูล
ต่อไปเถิด”
สีหเสนาบดีกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ปลาบปลื้มชื่นใจ
อย่างยิ่งเพราะพระดำรัสที่พระองค์ตรัสว่า ‘สีหะ ตระกูลของท่านเคยเป็นที่ต้อนรับ
พวกนิครนถ์มานาน ดังนั้น ท่านพึงใส่ใจว่าควรให้บิณฑบาตแก่พวกนิครนถ์ผู้เข้าไป
ตระกูลต่อไปเถิด’ ข้าพระองค์ได้ฟังมาดังนี้ว่า พระสมณโคดมตรัสอย่างนี้ว่า ‘ควรให้
ทานแก่เราเท่านั้น ไม่ควรให้ทานแก่ศาสดาอื่น ควรให้ทานแก่สาวกของเราเท่านั้น
ไม่ควรให้ทานแก่สาวกของศาสดาอื่น ทานที่ให้แก่เราเท่านั้นมีผลมาก ทานที่ให้แก่
ศาสดาอื่นไม่มีผลมาก ทานที่ให้แก่สาวกของเราเท่านั้นมีผลมาก ทานที่ให้แก่สาวก
ของศาสดาอื่นไม่มีผลมาก’ แต่พระผู้มีพระภาคกลับทรงชักชวนให้ข้าพระองค์ให้ทาน
แก่พวกนิครนถ์ ข้าพระองค์จะรู้เวลาในเรื่องนี้เอง ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แม้ครั้งที่ ๓
ข้าพระองค์นี้ขอถึงพระผู้มีพระภาคพร้อมทั้งพระธรรมและพระสงฆ์เป็นสรณะ
ขอพระผู้มีพระภาคโปรดทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะตั้งแต่วันนี้
เป็นต้นไปจนตลอดชีวิต”
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคได้ตรัสอนุปุพพีกถาแก่สีหเสนาบดี คือ ทรงประกาศ
๑. ทานกถา (เรื่องทาน)
๒. สีลกถา (เรื่องศีล)
๓. สัคคกถา (เรื่องสวรรค์)
๔. กามาทีนวกถา (เรื่องโทษ ความต่ำทราม ความเศร้าหมองแห่งกาม)๑
๕. เนกขัมมานิสังสกถา (เรื่องอานิสงส์แห่งการออกจากกาม)

เชิงอรรถ :
๑ แปลมาจากคำว่า กามานํ อาทีนวํ โอการํ สงฺกิเลสํ (องฺ.อฏฺฐก. ๒๓/๑๒/๑๕๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๒๓๒ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๒.มหาวรรค ๒.สีหสูตร
เมื่อทรงทราบว่า สีหเสนาบดีมีจิตควรบรรลุธรรมสงบ อ่อน ปราศจาก
นิวรณ์ เบิกบาน ผ่องใส จึงทรงประกาศสามุกกังสิกเทศนา๑ของพระพุทธเจ้า
ทั้งหลาย คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค ธรรมจักษุอันปราศจากธุลี ปราศจาก
มลทิน ได้เกิดแก่สีหเสนาบดีนั้นบนที่นั่งนั่นเองว่า ‘สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็น
ธรรมดา สิ่งนั้นทั้งปวงมีความดับไปเป็นธรรมดา’ เปรียบเหมือนผ้าขาวสะอาด
ปราศจากมลทิน ควรรับน้ำย้อมได้เป็นอย่างดี
ครั้งนั้นแล สีหเสนาบดีได้เห็นธรรม บรรลุธรรม รู้ธรรม หยั่งลงสู่ธรรม
ข้ามพ้นความสงสัย๒ ปราศจากความเคลือบแคลง ถึงความแกล้วกล้า ปราศจาก
ความมีผู้อื่นเป็นปัจจัย๓ในศาสนาของพระศาสดา จึงกราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคพร้อมด้วยพระภิกษุสงฆ์โปรดรับภัตตาหาร
ในวันพรุ่งนี้เถิด”
พระผู้มีพระภาคทรงรับนิมนต์โดยดุษณีภาพ
สีหเสนาบดีนั้นทราบอาการที่พระผู้มีพระภาคทรงรับนิมนต์แล้วจึงลุกจากอาสนะ
ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาค ทำประทักษิณแล้วจากไป
ลำดับนั้น สีหเสนาบดีใช้มหาดเล็กผู้หนึ่งว่า “เธอไปหาซื้อเนื้อสดที่มีขายมา”
เมื่อคืนนั้นผ่านไป ได้สั่งให้จัดเตรียมของเคี้ยวของฉันอันประณีตไว้ในนิเวศน์

เชิงอรรถ :
๑ สามุกกังสิกเทศนา หมายถึงพระธรรมเทศนาที่พระพุทธเจ้าทั้งหลายตรัสรู้ด้วยพระองค์เอง ทรงเห็นด้วย
สยัมภูญาณ ไม่ทั่วไปแก่ผู้อื่น คือ มิได้รับการแนะนำจากผู้อื่น ตรัสรู้ลำพังพระองค์เองก่อนใครในโลก (วิ.อ.
๓/๒๙๓/๑๘๑, สารตฺถ.ฏีกา ๓/๒๖/๒๓๗)
หรืออีกนัยหนึ่ง หมายถึงพระธรรมเทศนาที่พระพุทธองค์ทรงยกขึ้นแสดงเองโดยไม่มีผู้ทูลอาราธนา หรือ
ทูลถาม (ที.สี.อ. ๑/๒๙๘/๒๕๐) และดู วิ.ม. (แปล) ๔/๒๕/๓๒-๓๓, ที.สี. (แปล) ๙/๒๙๘/๑๐๙, ๓๕๕/๑๔๙
๒ ความสงสัย ในที่นี้หมายถึงความสงสัย (วิจิกิจฉา) ๘ ประการ เป็นองค์ธรรมในสังโยชน์ ๑๐ ประการ
ดูรายละเอียดใน อภิ.สงฺ. (แปล) ๓๔/๑๐๐๘/๒๖๑ และความสงสัย ๑๖ ประการ ดู รายละเอียดใน ม.มู.
๑๒/๑๘/๑๑, สํ.นิ. ๑๖/๒๐/๒๗
๓ ปราศจากความมีผู้อื่นเป็นปัจจัย ในที่นี้หมายถึงไม่ต้องเชื่อผู้อื่น หรือไม่ต้องอาศัยผู้อื่นคอยสนับสนุน
ให้เชื่อ เพราะเห็นประจักษ์ชัดด้วยตนเอง (ที.สี.อ. ๑/๒๙๙/๒๕๐, องฺ.ฉกฺก.อ.๓/๑๖/๑๐๖, องฺ.ฉกฺก.ฏีกา
๓/๑๖/๑๑๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๒๓๓ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๒.มหาวรรค ๒.สีหสูตร
ของตนแล้ว จึงให้ไปกราบทูลภัตกาลว่า “ถึงเวลาแล้ว พระพุทธเจ้าข้า ภัตตาหาร
เสร็จแล้ว”
ครั้นเวลาเช้า พระผู้มีพระภาคทรงครองอันตรวาสก ทรงถือบาตรและจีวร
เสด็จเข้าไปยังนิเวศน์ของสีหเสนาบดีพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ ประทับนั่งบนพุทธอาสน์
ที่ปูลาดไว้
สมัยนั้น พวกนิครนถ์จำนวนมากพากันกอดแขนคร่ำครวญไปตามถนนสี่แยก
สามแยก ทั่วกรุงเวสาลีว่า “วันนี้ สีหเสนาบดีฆ่าสัตว์เลี้ยงตัวอ้วน ๆ ทำอาหารเลี้ยง
พระสมณโคดม พระสมณโคดมทั้งที่รู้อยู่ก็ยังฉันเนื้อที่เขาทำเจาะจงตนเอง”
ครั้งนั้นแล มหาดเล็กผู้หนึ่งเข้าไปหาสีหเสนาบดีแล้วกระซิบบอกว่า “ท่านครับ
ได้โปรดทราบ พวกนิครนถ์จำนวนมากพากันกอดแขนคร่ำครวญไปตามถนนสี่แยก
สามแยก ทั่วกรุงเวสาลีว่า ‘วันนี้ สีหเสนาบดีฆ่าสัตว์เลี้ยงตัวอ้วน ๆ ทำอาหาร
เลี้ยงพระสมณโคดม พระสมณโคดมทั้งที่รู้อยู่ก็ยังฉันเนื้อที่เขาทำเจาะจงตนเอง”
สีหเสนาบดีตอบว่า “ช่างเถิด ท่านเหล่านั้นประสงค์จะตำหนิพระพุทธเจ้า
ประสงค์จะตำหนิพระธรรม ประสงค์จะตำหนิพระสงฆ์มานานแล้ว และท่านเหล่านั้น
ก็กล่าวตู่พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นด้วยเรื่องที่ไม่มีอยู่ เปล่าประโยชน์ เป็นเรื่องเท็จ
ไม่เป็นจริง ส่วนพวกเราไม่จงใจฆ่าสัตว์แม้เพราะเหตุแห่งชีวิต”
จากนั้น สีหเสนาบดีได้นำของขบฉันอันประณีตประเคนภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้า
เป็นประธานให้ทรงอิ่มหนำด้วยตนเอง เมื่อพระผู้มีพระภาคเสวยเสร็จทรงวางพระหัตถ์
จากบาตร สีหเสนาบดีจึงเลือกที่นั่ง ณ ที่สมควรที่ใดที่หนึ่งซึ่งต่ำกว่า พระผู้มี
พระภาคทรงชี้แจงให้สีหเสนาบดีเห็นชัด ชวนใจให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจ
ให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริงด้วยธรรมีกถา แล้วทรงลุกจาก
อาสนะเสด็จจากไป
สีหสูตรที่ ๒ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๒๓๔ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๒.มหาวรรค ๓.อัสสาชานิยสูตร
๓. อัสสาชานิยสูตร
ว่าด้วยม้าอาชาไนย
[๑๓] ภิกษุทั้งหลาย ม้าอาชาไนย๑พันธุ์ดีของพระราชา ประกอบด้วยองค์
๘ ประการ ย่อมเป็นม้าควรแก่พระราชา ควรเป็นม้าต้น นับว่าเป็นราชพาหนะ
โดยแท้
องค์ ๘ ประการ อะไรบ้าง คือ
ม้าอาชาไนยพันธุ์ดีของพระราชาในโลกนี้
๑. เป็นสัตว์มีกำเนิดดีทั้งฝ่ายแม่ม้าและพ่อม้า เกิดในทิศที่ม้าอาชาไนย
พันธุ์ดีอื่น ๆ เกิด
๒. กินหญ้าสดหรือหญ้าแห้งที่เขาให้อย่างเรียบร้อยไม่เรี่ยราด
๓. รังเกียจที่จะหมอบทับหรือนอนทับอุจจาระหรือปัสสาวะ
๔. เป็นสัตว์สงบเสงี่ยม อยู่ร่วมกันเป็นสุข ไม่รบกวนม้าอื่น ๆ
๕. เป็นสัตว์เปิดเผยความโอ้อวด ความพยศคดโกงแก่นายสารถีตาม
ความเป็นจริง
๖. นายสารถีพยายามปราบความโอ้อวด ความพยศคดโกงเหล่านั้นของมันได้
๗. เป็นสัตว์ลากภาระไปได้ คือ มีความคิดว่า ‘ม้าอื่น ๆ จะลากภาระ
ไปได้หรือไม่ก็ตาม เราจักลากภาระนี้ไปได้’ และเมื่อเดินไปก็เดินไป
ตามทางตรงเท่านั้น
๘. เป็นสัตว์มีกำลัง คือทรงกำลังไว้ได้จนถึงวาระสุดท้ายแห่งชีวิต
ภิกษุทั้งหลาย ม้าอาชาไนยพันธุ์ดีของพระราชา ประกอบด้วยองค์ ๘ ประการ
นี้แล ย่อมเป็นม้าควรแก่พระราชา ควรเป็นม้าต้น นับว่าเป็นราชพาหนะโดยแท้
ฉันใด

เชิงอรรถ :
๑ ม้าอาชาไนย หมายถึงม้าที่เกิดในตระกูลม้าสินธพ หรือในตระกูลพญาม้าวลาหก (ธ.อ. ๖/๑๑๒) หรือม้า
รู้เหตุที่ควรและไม่ควร (องฺ.ติก.อ. ๒/๑๔๓/๒๗๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๒๓๕ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๒.มหาวรรค ๓.อัสสาชานิยสูตร
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๘ ประการ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน
ย่อมเป็นผู้ควรแก่ของที่เขานำมาถวาย ฯลฯ เป็นนาบุญอันยอดเยี่ยมของโลก
ธรรม ๘ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เป็นผู้มีศีล สำรวมด้วยการสังวรในปาติโมกข์ เพียบพร้อมด้วย
อาจาระและโคจร มีปกติเห็นภัยในโทษแม้เล็กน้อย สมาทานศึกษา
อยู่ในสิกขาบททั้งหลาย
๒. ฉันโภชนะที่เขาถวาย จะเศร้าหมองหรือประณีตก็ตาม โดยเคารพ
ไม่รังเกียจ
๓. รังเกียจกายทุจริต วจีทุจริต และมโนทุจริต ตลอดถึงรังเกียจการ
ประกอบบาปอกุศลธรรมต่าง ๆ
๔. เป็นผู้สงบเสงี่ยม อยู่ร่วมกันเป็นสุข ไม่รบกวนภิกษุอื่น ๆ
๕. เป็นผู้เปิดเผยความโอ้อวด ความพยศคดโกงแก่พระศาสดา หรือ
เพื่อนพรหมจารีทั้งหลายผู้เป็นวิญญูชน ตามความเป็นจริง
๖. พระศาสดา หรือเพื่อนพรหมจารีทั้งหลายผู้เป็นวิญญูชน พยายาม
ช่วยกันกำจัดความโอ้อวด ความพยศคดโกงเหล่านั้นของเธอได้
๗. เป็นผู้ศึกษา คือ ใฝ่ใจอยู่ว่า ‘ภิกษุอื่น ๆ จะศึกษาหรือไม่ก็ตาม
เฉพาะข้อนี้เราจักศึกษาได้’ เมื่อดำเนินไปก็ดำเนินไปตามทางตรงเท่านั้น
คือ สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ
๘. เป็นผู้ปรารภความเพียรอยู่ว่า จะเหลืออยู่แต่หนัง เอ็น กระดูก
ก็ตามที เนื้อและเลือดในสรีระจงเหือดแห้งไปเถิด เรายังไม่บรรลุผล
ที่จะพึงบรรลุ ด้วยเรี่ยวแรงของบุรุษ ด้วยความเพียรของบุรุษ
ด้วยความบากบั่นของบุรุษแล้ว จักไม่หยุดความเพียร
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๘ ประการนี้แล ย่อมเป็นผู้ควรแก่
ของที่เขานำมาถวาย ฯลฯ เป็นนาบุญอันยอดเยี่ยมของโลก
อัสสาชานิยสูตรที่ ๓ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๒๓๖ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๒.มหาวรรค ๔.อัสสขฬุงกสูตร
๔. อัสสขฬุงกสูตร
ว่าด้วยม้ากระจอกและคนกระจอก
[๑๔] ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงม้ากระจอก ๘ จำพวก และโทษของม้า
กระจอก ๘ ประการ คนกระจอก ๘ จำพวก และโทษของคนกระจอก ๘ ประการ
เธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว
พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า
ม้ากระจอก ๘ จำพวก และโทษของม้ากระจอก ๘ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ม้ากระจอกบางตัวในโลกนี้ที่นายสารถีสั่งว่า ‘เดินไป’ ถูกแทงด้วย
ประตัก๑เตือนอยู่ ย่อมถอยหลัง ดันรถให้กลับหลัง ม้ากระจอก
บางตัวในโลกนี้เป็นอย่างนี้ก็มี นี้เป็นโทษของม้ากระจอกประการที่ ๑
๒. ม้ากระจอกบางตัวในโลกนี้ที่นายสารถีสั่งว่า ‘เดินไป’ ถูกแทงด้วย
ประตักเตือนอยู่ ย่อมหกหลัง ดัดทูบให้หัก ม้ากระจอกบางตัวใน
โลกนี้เป็นอย่างนี้ก็มี นี้เป็นโทษของม้ากระจอกประการที่ ๒
๓. ม้ากระจอกบางตัวในโลกนี้ที่นายสารถีสั่งว่า ‘เดินไป’ ถูกแทงด้วย
ประตักเตือนอยู่ ย่อมยกขาขึ้นตะกุยงอนรถ ถีบงอนรถ ม้ากระจอก
บางตัวในโลกนี้เป็นเช่นนี้ก็มี นี้เป็นโทษของม้ากระจอกประการที่ ๓
๔. ม้ากระจอกบางตัวในโลกนี้ที่นายสารถีสั่งว่า ‘เดินไป’ ถูกแทงด้วย
ประตักเตือนอยู่ ย่อมเดินผิดทาง๒ ทำให้รถไปผิดทาง ม้ากระจอก
บางตัวในโลกนี้เป็นอย่างนี้ก็มี นี้เป็นโทษของม้ากระจอกประการที่ ๔
๕. ม้ากระจอกบางตัวในโลกนี้ที่นายสารถีสั่งว่า ‘เดินไป’ ถูกแทงด้วย
ประตักเตือนอยู่ ย่อมเชิดกายส่วนหน้า เผ่นขึ้นไป ม้ากระจอกบาง
ตัวในโลกนี้เป็นอย่างนี้ก็มี นี้เป็นโทษของม้ากระจอกประการที่ ๕

เชิงอรรถ :
๑ ประตัก หมายถึงไม้ที่ฝังเหล็กแหลมข้างปลาย ใช้แทงสัตว์พาหนะ เช่น วัว (พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน
พ.ศ.๒๕๒๕)
๒ ทำให้รถไปผิดทาง หมายถึงลากรถขึ้นเนิน หรือเข้าพงหนาม (องฺ.อฏฺฐก.อ. ๓/๑๔/๒๓๙)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๒๓๗ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๒.มหาวรรค ๔.อัสสขฬุงกสูตร
๖. ม้ากระจอกบางตัวในโลกนี้ที่นายสารถีสั่งว่า ‘เดินไป’ ถูกแทงด้วย
ประตักเตือนอยู่ (ไม่คำนึงถึงนายสารถี) ไม่คำนึงถึงประตัก กัด
บังเหียน๑ หลีกไปตามความประสงค์ ม้ากระจอกบางตัวในโลกนี้
เป็นอย่างนี้ก็มี นี้เป็นโทษของม้ากระจอกประการที่ ๖
๗. ม้ากระจอกบางตัวในโลกนี้ที่นายสารถีสั่งว่า ‘เดินไป’ ถูกแทงด้วย
ประตักเตือนอยู่ ไม่ก้าวไป ไม่ถอยหลัง ยืนทื่ออยู่เหมือนเสาเขื่อน
ณ ที่ตรงนั้นนั่นเอง ม้ากระจอกบางตัวในโลกนี้เป็นอย่างนี้ก็มี นี้เป็น
โทษของม้ากระจอกประการที่ ๗
๘. ม้ากระจอกบางตัวในโลกนี้ที่นายสารถีสั่งว่า ‘เดินไป’ ถูกแทงด้วย
ประตักเตือนอยู่ คุกเท้าหน้าและเท้าหลังลงหมอบทับเท้าทั้ง ๔ อยู่
ที่ตรงนั้นนั่นเอง ม้ากระจอกบางตัวในโลกนี้เป็นอย่างนี้ก็มี นี้เป็น
โทษของม้ากระจอกประการที่ ๘
ภิกษุทั้งหลาย ม้ากระจอก ๘ จำพวก และโทษของม้ากระจอก ๘ ประการนี้แล
ภิกษุทั้งหลาย คนกระจอก ๘ จำพวก และโทษของคนกระจอก ๘ ประการ
อะไรบ้าง คือ
๑. ภิกษุทั้งหลายในธรรมวินัยนี้โจทภิกษุด้วยอาบัติ ภิกษุรูปที่ถูกพวก
ภิกษุโจทด้วยอาบัตินั้น ย่อมอำพรางอาบัติไว้ เพราะระลึกไม่ได้ว่า
‘ผมระลึกไม่ได้ ผมระลึกไม่ได้’ เรากล่าวเปรียบบุคคลประเภทนี้ว่า
เหมือนม้ากระจอกที่นายสารถีสั่งว่า ‘เดินไป’ ถูกแทงด้วยประตัก
เตือนอยู่ ก็ถอยหลัง ดันรถให้กลับหลัง ฉะนั้น คนกระจอกบางคน
ในธรรมวินัยนี้เป็นอย่างนี้ก็มี นี้เป็นโทษของคนกระจอกประการที่ ๑
๒. ภิกษุทั้งหลายโจทภิกษุด้วยอาบัติ ภิกษุรูปที่ถูกพวกภิกษุโจทด้วย
อาบัตินั้น โต้ตอบภิกษุผู้เป็นโจทก์ว่า ‘การกล่าวของท่านผู้เป็น
คนพาล ไม่เฉียบแหลม จะมีประโยชน์อะไรเล่า ท่านเองย่อมเข้าใจ

เชิงอรรถ :
๑ บังเหียน หมายถึงเครื่องบังคับม้าทำด้วยเหล็ก หรือไม้ใส่ผ่าปากม้า (องฺ.อฏฺฐก.อ. ๓/๑๔/๒๓๙)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๒๓๘ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๒.มหาวรรค ๔.อัสสขฬุงกสูตร
สิ่งที่ควรพูด’ เรากล่าวเปรียบบุคคลประเภทนี้ว่าเหมือนม้ากระจอก
ที่นายสารถีสั่งว่า ‘เดินไป’ ถูกแทงด้วยประตักเตือนอยู่ ก็หกหลัง
ดัดทูบให้หัก ฉะนั้น คนกระจอกบางคนในธรรมวินัยนี้เป็นอย่างนี้ก็มี
นี้เป็นโทษของคนกระจอกประการที่ ๒
๓. ภิกษุทั้งหลายโจทภิกษุด้วยอาบัติ ภิกษุรูปที่ถูกพวกภิกษุโจทด้วย
อาบัตินั้น กลับยกอาบัติขึ้นปรับภิกษุผู้เป็นโจทก์ว่า ‘ท่านเองก็ต้อง
อาบัติชื่อนี้ ท่านจงทำคืนเสียก่อน’ เรากล่าวเปรียบบุคคลประเภทนี้
ว่าเหมือนม้ากระจอกที่นายสารถีสั่งว่า ‘เดินไป’ ถูกแทงด้วยประตัก
เตือนอยู่ ก็ยกขาขึ้นตะกุยงอนรถ ถีบงอนรถ ฉะนั้น คนกระจอก
บางคนในธรรมวินัยนี้เป็นอย่างนี้ก็มี นี้เป็นโทษของคนกระจอก
ประการที่ ๓
๔. ภิกษุทั้งหลายโจทภิกษุด้วยอาบัติ ภิกษุรูปที่ถูกพวกภิกษุโจทด้วย
อาบัตินั้น พูดกลบเกลื่อน พูดนอกเรื่อง แสดงอาการโกรธ ขัดเคือง
และไม่พอใจ เรากล่าวเปรียบบุคคลประเภทนี้ว่าเหมือนม้ากระจอก
ที่นายสารถีสั่งว่า ‘เดินไป’ ถูกแทงด้วยประตักเตือนอยู่ ก็เดิน
ผิดทาง ทำให้รถไปผิดทาง ฉะนั้น คนกระจอกบางคนในธรรมวินัย
นี้เป็นอย่างนี้ก็มี นี้เป็นโทษของคนกระจอกประการที่ ๔
๕. ภิกษุทั้งหลายโจทภิกษุด้วยอาบัติ ภิกษุรูปที่ถูกพวกภิกษุโจทด้วย
อาบัตินั้น กลับแกว่งแขนในท่ามกลางสงฆ์ เรากล่าวเปรียบบุคคล
ประเภทนี้ว่าเหมือนม้ากระจอกที่นายสารถีสั่งว่า ‘เดินไป’ ถูกแทง
ด้วยประตักเตือนอยู่ เชิดกายด้านหน้า เผ่นขึ้นไป ฉะนั้น คนกระจอก
บางคนในธรรมวินัยนี้เป็นอย่างนี้ก็มี นี้เป็นโทษของคนกระจอก
ประการที่ ๕
๖. ภิกษุทั้งหลายโจทภิกษุด้วยอาบัติ ภิกษุรูปที่ถูกพวกภิกษุโจท
ด้วยอาบัตินั้น ไม่เอื้อเฟื้อสงฆ์ ไม่เอื้อเฟื้อภิกษุผู้เป็นโจทก์ ทั้งที่มี
อาบัติติดตัวอยู่ ก็หลีกไปตามความประสงค์ เรากล่าวเปรียบบุคคล
ประเภทนี้ว่าเหมือนม้ากระจอกที่นายสารถีสั่งว่า ‘เดินไป’ ถูกแทง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๒๓๙ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๒.มหาวรรค ๔.อัสสขฬุงกสูตร
ด้วยประตักเตือนอยู่ ก็ไม่คำนึงถึงนายสารถี ไม่คำนึงถึงประตัก
กัดบังเหียน หลีกไปตามประสงค์ ฉะนั้น คนกระจอกบางคนใน
ธรรมวินัยนี้เป็นอย่างนี้ก็มี นี้เป็นโทษของคนกระจอกประการที่ ๖
๗. ภิกษุทั้งหลายโจทภิกษุด้วยอาบัติ ภิกษุรูปที่ถูกพวกภิกษุโจทด้วย
อาบัตินั้น กล่าวอย่างนี้ว่า ‘ผมไม่ได้ต้องอาบัติเลย ผมไม่ได้ต้อง
อาบัติเลย’ เธอใช้ความนิ่งทำให้สงฆ์ลำบาก เรากล่าวเปรียบบุคคล
ประเภทนี้ว่าเหมือนม้ากระจอกที่นายสารถีสั่งว่า ‘เดินไป’ ถูกแทง
ด้วยประตักเตือนอยู่ ก็ไม่ก้าวไป ไม่ถอยกลับ ยืนทื่ออยู่เหมือน
เสาเขื่อน ณ ที่ตรงนั้นนั่นเอง ฉะนั้น คนกระจอกบางคนในธรรม
วินัยนี้เป็นอย่างนี้ก็มี นี้เป็นโทษของคนกระจอกประการที่ ๗
๘. ภิกษุทั้งหลายโจทภิกษุด้วยอาบัติ ภิกษุรูปที่ถูกพวกภิกษุโจทด้วย
อาบัตินั้น กล่าวอย่างนี้ว่า ‘ทำไมหนอ ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย
จึงพยายามกล่าวหาผมนัก เอาละ ผมจักบอกคืนสิกขากลับมาเป็น
คฤหัสถ์’ เธอบอกคืนสิกขากลับมาเป็นคฤหัสถ์แล้วจึงกล่าวอย่างนี้ว่า
‘บัดนี้ ขอท่านผู้มีอายุทั้งหลายโปรดเบาใจเถิด’ เรากล่าวเปรียบ
บุคคลประเภทนี้ว่าเหมือนม้ากระจอกที่นายสารถีสั่งว่า ‘เดินไป’
ถูกแทงด้วยประตักเตือนอยู่ คุกเท้าหน้าและเท้าหลังลงหมอบทับเท้า
ทั้ง ๔ อยู่ที่ตรงนั้นนั่นเอง ฉะนั้น คนกระจอกบางคนในธรรมวินัยนี้
เป็นอย่างนี้ก็มี นี้เป็นโทษของคนกระจอกประการที่ ๘
ภิกษุทั้งหลาย คนกระจอก ๘ จำพวก และโทษของคนกระจอก ๘ ประการนี้แล
อัสสขฬุงกสูตรที่ ๔ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๒๔๐ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๒.มหาวรรค ๕.มลสูตร
๕. มลสูตร
ว่าด้วยมลทิน
[๑๕] ภิกษุทั้งหลาย มลทิน (ความมัวหมอง) ๘ ประการนี้
มลทิน ๘ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. มนตร์มีการไม่ท่องบ่นเป็นมลทิน
๒. เรือน๑มีความไม่ขยันหมั่นเพียรเป็นมลทิน
๓. ผิวพรรณมีความเกียจคร้านเป็นมลทิน
๔. ผู้รักษามีความประมาทเป็นมลทิน
๕. สตรีมีความประพฤติชั่ว๒ เป็นมลทิน
๖. ผู้ให้มีความตระหนี่เป็นมลทิน
๗. บาปอกุศลธรรมเป็นมลทินทั้งในโลกนี้และโลกหน้า
๘. มลทินที่ยิ่งกว่ามลทินนั้นคืออวิชชา
ภิกษุทั้งหลาย มลทิน ๘ ประการนี้แล
มนตร์มีการไม่ท่องบ่นเป็นมลทิน
เรือนมีความไม่ขยันหมั่นเพียรเป็นมลทิน
ผิวพรรณมีความเกียจคร้านเป็นมลทิน
ผู้รักษามีความประมาทเป็นมลทิน
สตรีมีความประพฤติชั่วเป็นมลทิน

เชิงอรรถ :
๑ เรือน หมายถึงบุคคลผู้อยู่ครองเรือน (องฺ.อฏฐก. ฏีกา ๓/๑๕-๑๘/๒๗๙)
๒ ประพฤติชั่ว หมายถึงประพฤตินอกใจ (องฺ.อฏฺฐก. ฏีกา ๓/๑๕-๑๘/๒๗๙)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๒๔๑ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๒.มหาวรรค ๖.ทูเตยยสูตร
ผู้ให้มีความตระหนี่เป็นมลทิน
บาปธรรมเป็นมลทินทั้งในโลกนี้และโลกหน้า
มลทินที่ยิ่งกว่ามลทินนั้นคืออวิชชา
มลสูตรที่ ๕ จบ

๖. ทูเตยยสูตร
ว่าด้วยคุณสมบัติของทูต๑
[๑๖] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๘ ประการ ควรทำหน้าที่ทูตได้
ธรรม ๘ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. รู้จักฟัง
๒. สามารถพูดให้ผู้อื่นฟังได้
๓. ใฝ่ศึกษา
๔. ทรงจำได้ดี
๕. เป็นผู้รู้ได้เข้าใจชัด๒
๖. สามารถพูดให้ผู้อื่นเข้าใจได้
๗. ฉลาดในสิ่งที่เป็นประโยชน์และไม่เป็นประโยชน์
๘. ไม่ก่อความทะเลาะวิวาท
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๘ ประการนี้แล ควรทำหน้าที่ทูตได้
ภิกษุทั้งหลาย สารีบุตรประกอบด้วยธรรม ๘ ประการ ควรทำหน้าที่ทูตได้

เชิงอรรถ :
๑ ดู วิ.จู. (แปล) ๗/๓๔๗/๒๐๘-๒๐๙, ขุ.ธ. ๒๕/๒๔๑-๒๔๓/๕๙
๒ เป็นผู้รู้ได้เข้าใจชัด หมายถึงเป็นผู้รู้ความหมายของสิ่งที่เป็นประโยชน์และไม่เป็นประโยชน์ (องฺ.อฏฺฐก.อ.
๓/๑๖/๒๓๙)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๒๔๒ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๒.มหาวรรค ๖.ทูเตยยสูตร
ธรรม ๘ ประการ อะไรบ้าง คือ
ในธรรมวินัยนี้ สารีบุตร
๑. รู้จักฟัง
๒. สามารถพูดให้ผู้อื่นฟังได้
๓. ใฝ่ศึกษา
๔. ทรงจำได้ดี
๕. เป็นผู้รู้ได้เข้าใจชัด
๖. สามารถพูดให้ผู้อื่นเข้าใจได้
๗. ฉลาดในสิ่งที่เป็นประโยชน์และไม่เป็นประโยชน์
๘. ไม่ก่อความทะเลาะวิวาท
ภิกษุทั้งหลาย สารีบุตรประกอบด้วยธรรม ๘ ประการนี้แล ควรทำหน้าที่
ทูตได้
ภิกษุผู้เข้าสู่ชุมชนที่โต้เถียงกันอย่างรุนแรง
ก็ไม่สะทกสะท้าน ไม่ทำคำพูดให้เสียหาย
ไม่ปกปิดข่าวสาส์น ชี้แจงอย่างไม่มีข้อสงสัย
ถูกย้อนถาม ก็ไม่โกรธ
ภิกษุผู้มีลักษณะเช่นนั้นแล ควรทำหน้าที่ทูตได้
ทูเตยยสูตรที่ ๖ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๒๔๓ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๒.มหาวรรค ๗.ปฐมพันธนสูตร
๗. ปฐมพันธนสูตร
ว่าด้วยอาการที่เป็นเครื่องผูกใจ สูตรที่ ๑
[๑๗] ภิกษุทั้งหลาย สตรีย่อมผูกบุรุษไว้ได้ด้วยอาการ ๘ อย่าง
อาการ ๘ อย่าง อะไรบ้าง คือ
๑. สตรีย่อมผูกบุรุษไว้ได้ด้วยรูป
๒. สตรีย่อมผูกบุรุษไว้ได้ด้วยรอยยิ้ม
๓. สตรีย่อมผูกบุรุษไว้ได้ด้วยวาจา
๔. สตรีย่อมผูกบุรุษไว้ได้ด้วยมารยาท๑
๕. สตรีย่อมผูกบุรุษไว้ได้ด้วยดอกไม้หรือผลไม้ที่หักมาจากป่า
๖. สตรีย่อมผูกบุรุษไว้ได้ด้วยกลิ่น
๗. สตรีย่อมผูกบุรุษไว้ได้ด้วยรส
๘. สตรีย่อมผูกบุรุษไว้ได้ด้วยผัสสะ
ภิกษุทั้งหลาย สตรีย่อมผูกบุรุษไว้ได้ด้วยอาการ ๘ อย่างนี้แล สัตว์ที่ถูกผัสสะ
ผูกไว้ ชื่อว่าถูกผูกไว้ด้วยดี

ปฐมพันธนสูตรที่ ๗ จบ

เชิงอรรถ :
๑ มารยาท ในที่นี้หมายถึงธรรมเนียมเกี่ยวกับการนุ่งและการห่มเป็นต้น (องฺ.อฏฺฐก.อ. ๓/๑๗/๒๔๐)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๒๔๔ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๒.มหาวรรค ๘.ทุติยพันธนสูตร
๘. ทุติยพันธนสูตร
ว่าด้วยอาการที่เป็นเครื่องผูกใจ สูตรที่ ๒
[๑๘] ภิกษุทั้งหลาย บุรุษย่อมผูกสตรีไว้ได้ด้วยอาการ ๘ อย่าง
อาการ ๘ อย่าง อะไรบ้าง คือ
๑. บุรุษย่อมผูกสตรีไว้ได้ด้วยรูป
๒. บุรุษย่อมผูกสตรีไว้ได้ด้วยรอยยิ้ม
๓. บุรุษย่อมผูกสตรีไว้ได้ด้วยวาจา
๔. บุรุษย่อมผูกสตรีไว้ได้ด้วยมารยาท
๕. บุรุษย่อมผูกสตรีไว้ได้ด้วยดอกไม้หรือผลไม้ที่หักมาจากป่า
๖. บุรุษย่อมผูกสตรีไว้ได้ด้วยกลิ่น
๗. บุรุษย่อมผูกสตรีไว้ได้ด้วยรส
๘. บุรุษย่อมผูกสตรีไว้ได้ด้วยผัสสะ
ภิกษุทั้งหลาย บุรุษย่อมผูกสตรีไว้ได้ด้วยอาการ ๘ อย่างนี้แล สัตว์ที่ถูกผัสสะ
ผูกไว้ ชื่อว่าถูกผูกไว้ด้วยดี

ทุติยพันธนสูตรที่ ๘ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๒๔๕ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๒.มหาวรรค ๙.ปหาราทสูตร
๙. ปหาราทสูตร
ว่าด้วยท้าวปหาราทะจอมอสูร
[๑๙] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ควงต้นสะเดาอันเป็นที่อยู่
ของนเฬรุยักษ์ เขตเมืองเวรัญชา ครั้งนั้น ท้าวปหาราทะจอมอสูร๑ เข้าไปเฝ้าพระ
ผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้ว ยืนอยู่ ณ ที่สมควร พระผู้มีพระภาคได้
ตรัสกับท้าวปหาราทะจอมอสูรดังนี้ว่า
“ปหาราทะ พวกอสูรต่างพากันยินดีในมหาสมุทรบ้างไหม”
ท้าวปหาราทะจอมอสูรกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พวกอสูรต่างพากัน
ยินดีในมหาสมุทร”
พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “ปหาราทะ ในมหาสมุทร มีสิ่งที่น่าอัศจรรย์
ไม่เคยปรากฏเท่าไร ที่พวกอสูรพบเห็นแล้วต่างพากันยินดีในมหาสมุทร”
ท้าวปหาราทะจอมอสูรกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ในมหาสมุทร มีสิ่ง
ที่น่าอัศจรรย์ ไม่เคยปรากฏ ๘ ประการ ที่พวกอสูรพบเห็นแล้วต่างพากันยินดี
สิ่งที่น่าอัศจรรย์ ไม่เคยปรากฏ ๘ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. มหาสมุทรต่ำไปโดยลำดับ ลาดไปโดยลำดับ ลึกลงไปโดยลำดับ
ไม่ลึกชันดิ่งไปทันที การที่มหาสมุทรต่ำไปโดยลำดับ ลาดไป
โดยลำดับ ลึกลงไปโดยลำดับ ไม่ลึกชันดิ่งไปทันที นี้เป็นสิ่งที่น่า
อัศจรรย์ ไม่เคยปรากฏประการที่ ๑ ในมหาสมุทรที่พวกอสูรพบ
เห็นแล้วต่างพากันยินดีในมหาสมุทร
๒. มหาสมุทรมีปกติคงที่ ไม่ล้นฝั่ง การที่มหาสมุทรมีปกติคงที่ ไม่ล้นฝั่ง
นี้เป็นสิ่งที่น่าอัศจรรย์ ไม่เคยปรากฏประการที่ ๒ ในมหาสมุทรที่
พวกอสูรพบเห็นแล้วต่างพากันยินดีในมหาสมุทร

เชิงอรรถ :
๑ จอมอสูร ในที่นี้หมายถึงผู้เป็นใหญ่แห่งเหล่าอสูร จอมอสูรมี ๓ ตน คือ จอมอสูรเวปจิตติ จอมอสูรราหู
และจอมอสูรปหาราทะ (องฺ.อฏฺฐก.อ. ๓/๑๙/๒๔๐)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๒๔๖ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๒.มหาวรรค ๙.ปหาราทสูตร
๓. มหาสมุทรไม่อยู่ร่วมกับซากศพ ย่อมซัดซากศพขึ้นฝั่งจนถึงบนบก
ทันที การที่มหาสมุทรไม่อยู่ร่วมกับซากศพ ย่อมซัดซากศพขึ้นฝั่ง
จนถึงบนบกทันที นี้เป็นสิ่งที่น่าอัศจรรย์ ไม่เคยปรากฏประการที่ ๓
ในมหาสมุทร ที่พวกอสูรพบเห็นแล้วต่างพากันยินดีในมหาสมุทร
๔. มหานทีทุกสาย คือ คงคา ยมุนา อจิรวดี สรภู มหี ไหลลงสู่มหาสมุทร
แล้วย่อมละชื่อและโคตรเดิมของตน รวมเรียกว่า ‘มหาสมุทร’
ทั้งสิ้น การที่มหานทีทุกสาย คือ คงคา ยมุนา อจิรวดี สรภู มหี
ไหลลงสู่มหาสมุทรแล้วย่อมละชื่อและโคตรเดิมของตน รวมเรียกว่า
‘มหาสมุทร’ ทั้งสิ้น นี้เป็นสิ่งที่น่าอัศจรรย์ ไม่เคยปรากฏประการ
ที่ ๔ ในมหาสมุทรที่พวกอสูรพบเห็นแล้วต่างพากันยินดีในมหาสมุทร
๕. แม่น้ำสายใดสายหนึ่งในโลก ที่ไหลรวมลงสู่มหาสมุทร และสายฝน
ตกลงจากฟากฟ้า ก็ไม่ทำให้มหาสมุทรพร่อง หรือเต็มได้ การที่
แม่น้ำสายใดสายหนึ่งในโลก ที่ไหลรวมลงสู่มหาสมุทร และสายฝน
ตกลงจากฟากฟ้า ก็ไม่ทำให้มหาสมุทรพร่องหรือเต็มได้ นี้เป็นสิ่งที่
น่าอัศจรรย์ ไม่เคยปรากฏประการที่ ๕ ในมหาสมุทรที่พวกอสูรพบ
เห็นแล้วต่างพากันยินดีในมหาสมุทร
๖. มหาสมุทรมีรสเดียว คือ รสเค็ม การที่มหาสมุทรมีรสเดียว คือ
รสเค็ม นี้เป็นสิ่งที่น่าอัศจรรย์ ไม่เคยปรากฏประการที่ ๖ ใน
มหาสมุทรที่พวกอสูรพบเห็นแล้วต่างพากันยินดีในมหาสมุทร
๗. มหาสมุทรมีรัตนะมาก มีรัตนะหลายชนิด คือ แก้วมุกดา แก้วมณี
แก้วไพฑูรย์ สังข์ ศิลา แก้วประพาฬ เงิน ทอง ทับทิม แก้วตาแมว
การที่มหาสมุทรมีรัตนะมาก มีรัตนะหลายชนิด คือ แก้วมุกดา
แก้วมณี แก้วไพฑูรย์ สังข์ ศิลา แก้วประพาฬ เงิน ทอง ทับทิม
แก้วตาแมว นี้เป็นสิ่งที่น่าอัศจรรย์ ไม่เคยปรากฏประการที่ ๗ ใน
มหาสมุทรที่พวกอสูรพบเห็นแล้วต่างพากันยินดีในมหาสมุทร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๒๔๗ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๒.มหาวรรค ๙.ปหาราทสูตร
๘. มหาสมุทรเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ขนาดใหญ่ คือ ปลาติมิติมิงคละ
ปลาติมิรมิงคละ อสูร นาค คนธรรพ์ มีลำตัว ๑๐๐ โยชน์ก็มี
มีลำตัว ๒๐๐ โยชน์ก็มี มีลำตัว ๓๐๐ โยชน์ก็มี มีลำตัว
๔๐๐ โยชน์ก็มี มีลำตัว ๕๐๐ โยชน์ก็มี การที่มหาสมุทรเป็นที่อยู่
อาศัยของสัตว์ขนาดใหญ่ คือ ปลาติมิติมิงคละ ปลาติมิรมิงคละ
อสูร นาค คนธรรพ์ มีลำตัว ๑๐๐ โยชน์ก็มี ฯลฯ มีลำตัว
๓๐๐ โยชน์ก็มี มีลำตัว ๔๐๐ โยชน์ก็มี มีลำตัว ๕๐๐ โยชน์ก็มี
นี้เป็นสิ่งที่น่าอัศจรรย์ ไม่เคยปรากฏประการที่ ๘ ในมหาสมุทรที่
พวกอสูรพบเห็นแล้วต่างพากันยินดีในมหาสมุทร
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ในมหาสมุทรมีสิ่งที่น่าอัศจรรย์ ไม่เคยปรากฏ ๘
ประการนี้แล ที่พวกอสูรพบเห็นแล้วต่างพากันยินดีในมหาสมุทร
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุทั้งหลายต่างพากันยินดีในธรรมวินัยนี้บ้างไหม”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ปหาราทะ ภิกษุทั้งหลายต่างพากันยินดีใน
ธรรมวินัยนี้”
ท้าวปหาราทะจอมอสูรทูลถามว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ในธรรมวินัยนี้มี
ธรรมที่น่าอัศจรรย์ ไม่เคยปรากฏเท่าไร ที่ภิกษุทั้งหลายพบเห็นแล้วต่างพากัน
ยินดีในธรรมวินัย”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ปหาราทะ ในธรรมวินัยนี้ มีธรรมที่น่าอัศจรรย์
ไม่เคยปรากฏ ๘ ประการ ที่ภิกษุทั้งหลายพบเห็นแล้วต่างพากันยินดีในธรรมวินัย
ธรรมที่น่าอัศจรรย์ ไม่เคยปรากฏ ๘ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ธรรมวินัยนี้มีการศึกษาไปตามลำดับ๑ มีการบำเพ็ญไปตามลำดับ๒
มีการปฏิบัติไปตามลำดับ๓ ไม่ใช่มีการบรรลุอรหัตตผลโดยทันที

เชิงอรรถ :
๑ การศึกษาไปตามลำดับในที่นี้หมายถึงการศึกษาสิกขา ๓ คือ ศีล สมาธิ และปัญญา (องฺ.อฏฺฐก.อ. ๓/๑๙/
๒๔๔)
๒ การบำเพ็ญไปตามลำดับ ในที่นี้หมายถึงการบำเพ็ญธุดงค์ ๑๓ (องฺ.อฏฺฐก.อ. ๓/๑๙/๒๔๔)
๓ การปฏิบัติไปตามลำดับ ในที่นี้หมายถึง อนุปัสสนา ๙ มหาวิปัสสนา ๑๘ อารัมมณวิภัตติ ๓๘ และ
โพธิปักขิยธรรม ๓๗ (องฺ.อฏฺฐก.อ. ๓/๑๙/๒๔๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๒๔๘ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๒.มหาวรรค ๙.ปหาราทสูตร
เหมือนมหาสมุทรต่ำไปโดยลำดับ ลาดไปโดยลำดับ ลึกลงไปโดย
ลำดับ ไม่ลึกชันดิ่งไปทันที การที่ธรรมวินัยนี้มีการศึกษาไปตาม
ลำดับ มีการบำเพ็ญไปตามลำดับ มีการปฏิบัติไปตามลำดับ ไม่ใช่
มีการบรรลุอรหัตตผลโดยทันที นี้เป็นธรรมที่น่าอัศจรรย์ ไม่เคย
ปรากฏประการที่ ๑ ในธรรมวินัยนี้ที่ภิกษุทั้งหลายพบเห็นแล้วต่าง
พากันยินดีในธรรมวินัยนี้
๒. สาวกทั้งหลายของเราย่อมไม่ละเมิดสิกขาบทที่เราบัญญัติไว้ แม้เพราะ
เหตุแห่งชีวิต เหมือนมหาสมุทรที่มีปกติคงที่ ไม่ล้นฝั่ง การที่สาวก
ทั้งหลายของเราไม่ละเมิดสิกขาบทที่เราบัญญัติไว้ แม้เพราะเหตุแห่ง
ชีวิต นี้เป็นธรรมที่น่าอัศจรรย์ ไม่เคยปรากฏประการที่ ๒ ใน
ธรรมวินัยนี้ที่ภิกษุทั้งหลายพบเห็นแล้วต่างพากันยินดีในธรรมวินัยนี้
๓. บุคคลใดผู้ทุศีล มีธรรมเลวทราม ไม่สะอาด มีความประพฤติที่
น่ารังเกียจ มีการงานปกปิด ไม่ใช่สมณะ แต่ปฏิญญาว่าเป็นสมณะ
ไม่ใช่พรหมจารี๑ แต่ปฏิญญาว่าเป็นพรหมจารี เน่าภายใน ชุ่มด้วย
ราคะ เป็นเหมือนหยากเยื่อ สงฆ์ก็ไม่อยู่ร่วมกับบุคคลนั้น ย่อม
ประชุมกันนำเธอออกไปทันที แม้เธอจะนั่งอยู่ในท่ามกลางภิกษุสงฆ์
ก็ยังห่างไกลจากสงฆ์ และสงฆ์ก็ห่างไกลจากเธอ เหมือนมหาสมุทร
ไม่อยู่ร่วมกับซากศพ ย่อมซัดซากศพขึ้นฝั่งจนถึงบนบกทันที การที่
บุคคลใดผู้ทุศีล มีธรรมเลวทราม ไม่สะอาด มีความประพฤติที่
น่ารังเกียจ มีการงานปกปิด ไม่ใช่สมณะ แต่ปฏิญญาว่าเป็น
สมณะ ไม่ใช่พรหมจารี แต่ปฏิญญาว่าเป็นพรหมจารี เน่าภายใน
ชุ่มด้วยราคะ เป็นเหมือนหยากเยื่อ สงฆ์ไม่อยู่ร่วมกับบุคคลนั้น
ย่อมประชุมกันนำเธอออกไปทันที แม้เธอจะนั่งอยู่ในท่ามกลาง
ภิกษุสงฆ์ ก็ยังห่างไกลจากสงฆ์ และสงฆ์ก็ห่างไกลจากเธอ นี้เป็น

เชิงอรรถ :
๑ ดูเชิงอรรถที่ ๑ สัตตกนิบาต ข้อ ๗๒ หน้า ๑๕๙ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๒๔๙ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๒.มหาวรรค ๙.ปหาราทสูตร
ธรรมที่น่าอัศจรรย์ ไม่เคยปรากฏประการที่ ๓ ในธรรมวินัยนี้ที่
ภิกษุทั้งหลายพบเห็นแล้วต่างพากันยินดีในธรรมวินัยนี้
๔. วรรณะ ๔ เหล่านี้ คือ กษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทร ออกจาก
เรือนบวชเป็นบรรพชิตในธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศแล้ว ย่อมละ
ชื่อและโคตรเดิมของตน รวมเรียกว่า ‘สมณศากยบุตร’ ทั้งสิ้น
เหมือนมหานทีทุกสาย คือ คงคา ยมุนา อจิรวดี สรภู มหี
ไหลลงสู่มหาสมุทรแล้ว ย่อมละชื่อและโคตรเดิมของตน รวม
เรียกว่า ‘มหาสมุทร’ ทั้งสิ้น การที่วรรณะ ๔ เหล่านี้ คือ กษัตริย์
พราหมณ์ แพศย์ ศูทร ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตในธรรมวินัย
ที่ตถาคตประกาศแล้ว ย่อมละชื่อและโคตรเดิมของตน รวมเรียกว่า
‘สมณศากยบุตร’ ทั้งสิ้น นี้เป็นธรรมที่น่าอัศจรรย์ ไม่เคยปรากฏ
ประการที่ ๔ ในธรรมวินัยนี้ที่ภิกษุทั้งหลายพบเห็นแล้วต่างพากัน
ยินดีในธรรมวินัยนี้
๕. แม้หากภิกษุจำนวนมากปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ
ก็ไม่ทำให้นิพพานพร่องหรือเต็มได้ เหมือนแม่น้ำสายใดสายหนึ่งในโลก
ที่ไหลรวมลงสู่มหาสมุทร และสายฝนตกลงจากฟากฟ้า ก็ไม่ทำ
ให้มหาสมุทรพร่องหรือเต็มได้ การที่แม้หากภิกษุจำนวนมาก
ปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ ก็ไม่ทำให้นิพพานพร่องหรือ
เต็มได้ นี้เป็นธรรมที่น่าอัศจรรย์ ไม่เคยปรากฏประการที่ ๕ ใน
ธรรมวินัยนี้ที่ภิกษุทั้งหลายเห็นแล้วต่างพากันยินดีในธรรมวินัยนี้
๖. ธรรมวินัยนี้มีรสเดียว คือ วิมุตติรส เหมือนมหาสมุทรมีรสเดียวคือ
รสเค็ม การที่ธรรมวินัยนี้มีรสเดียว คือ วิมุตติรส นี้เป็นธรรมที่
น่าอัศจรรย์ ไม่เคยปรากฏประการที่ ๖ ในธรรมวินัยนี้ที่ภิกษุ
ทั้งหลายพบเห็นแล้วต่างพากันยินดีในธรรมวินัยนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๒๕๐ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๒.มหาวรรค ๙.ปหาราทสูตร
๗. ธรรมวินัยนี้มีรัตนะมาก มีรัตนะหลายชนิด คือ สติปัฏฐาน ๔
สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗
อริยมรรคมีองค์ ๘ เหมือนมหาสมุทรที่มีรัตนะมาก มีรัตนะ
หลายชนิด คือ แก้วมุกดา แก้วมณี แก้วไพฑูรย์ สังข์ ศิลา
แก้วประพาฬ เงิน ทอง ทับทิม แก้วตาแมว การที่ธรรมวินัยนี้
มีรัตนะมาก มีรัตนะหลายชนิด คือ สติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔
อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้
เป็นธรรมที่น่าอัศจรรย์ ไม่เคยปรากฏประการที่ ๗ ในธรรมวินัยนี้
ที่ภิกษุทั้งหลายพบเห็นแล้วต่างพากันยินดีในธรรมวินัยนี้
๘. ธรรมวินัยนี้เป็นที่อยู่ของผู้ใหญ่ คือ พระโสดาบัน บุคคลผู้ปฏิบัติ
เพื่อทำให้แจ้งโสดาปัตติผล พระสกทาคามี บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำ
ให้แจ้งสกทาคามิผล พระอนาคามี บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้ง
อนาคามิผล พระอรหันต์ บุคคคลผู้ปฏิบัติเพื่ออรหัตตผล เหมือน
มหาสมุทรเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ขนาดใหญ่ คือ ปลาติมิติมิงคละ
ปลาติมิรมิงคละ อสูร นาค คนธรรพ์ มีลำตัว ๑๐๐ โยชน์ก็มี
มีลำตัว ๒๐๐ โยชน์ก็มี มีลำตัว ๓๐๐ โยชน์ก็มี มีลำตัว
๔๐๐ โยชน์ก็มี มีลำตัว ๕๐๐ โยชน์ก็มี การที่ธรรมวินัยนี้เป็น
ที่อยู่ของผู้ใหญ่ คือ พระโสดาบัน บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้ง
โสดาปัตติผล พระสกทาคามี บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้ง
สกทาคามิผล พระอนาคามี บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้ง
อนาคามิผล พระอรหันต์ บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่ออรหัตตผล๑ นี้เป็น
ธรรมที่น่าอัศจรรย์ ไม่เคยปรากฏ ประการที่ ๘ ในธรรมวินัยนี้
ที่ภิกษุทั้งหลายพบเห็นแล้วต่างพากันยินดีในธรรมวินัยนี้
ปหาราทะ ในธรรมวินัยนี้ มีธรรมที่น่าอัศจรรย์ ไม่เคยปรากฏ ๘ ประการนี้แล
ที่ภิกษุทั้งหลายพบเห็นแล้วต่างพากันยินดีในธรรมวินัยนี้

ปหาราทสูตรที่ ๙ จบ

เชิงอรรถ :
๑ ดู ที.ปา. ๑๑/๓๓๓/๒๒๔, อภิ.ปุ. (แปล) ๓๖/๒๐๗/๒๒๙

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๒๕๑ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๒.มหาวรรค ๑๐.อุโปสถสูตร
อุโปสถสูตร๑
ว่าด้วยเหตุที่พระพุทธเจ้าไม่ทรงแสดงปาติโมกข์
[๒๐] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ บุพพาราม ปราสาทของ
นางวิสาขามิคารมาตา เขตกรุงสาวัตถี สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคมีภิกษุสงฆ์
แวดล้อม ประทับนั่ง ในวันอุโบสถ เมื่อราตรีผ่านไป๒แล้ว ปฐมยามผ่านไปแล้ว
ท่านพระอานนท์ลุกจากอาสนะ ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่า ประนมมือไปทางที่พระผู้มี
พระภาคประทับอยู่ ได้กราบทูลดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ราตรีผ่านไปแล้ว ปฐมยามผ่านไปแล้ว ภิกษุสงฆ์
นั่งรออยู่นานแล้ว ขอพระผู้มีพระภาคทรงโปรดยกพระปาติโมกข์ขึ้นแสดงแก่ภิกษุ
ทั้งหลายเถิด พระพุทธเจ้าข้า”
เมื่อท่านพระอานนท์กราบทูลอย่างนี้แล้ว พระผู้มีพระภาคทรงนิ่ง๓
แม้ครั้งที่ ๒ เมื่อราตรีผ่านไปแล้ว มัชฌิมยามผ่านไปแล้ว ท่านพระอานนท์
ลุกจากอาสนะ ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่า ประนมมือไปทางที่พระผู้มีพระภาคประทับอยู่
ได้กราบทูลดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ราตรีผ่านไปแล้ว มัชฌิมยามผ่านไปแล้ว ภิกษุสงฆ์
นั่งรออยู่นานแล้ว ขอพระผู้มีพระภาคทรงโปรดยกพระปาติโมกข์ขึ้นแสดงแก่ภิกษุ
ทั้งหลายเถิด พระพุทธเจ้าข้า”
แม้ครั้งที่ ๒ พระผู้มีพระภาคก็ทรงนิ่ง

เชิงอรรถ :
๑ ดู วิ.จู. (แปล) ๗/๓๘๓-๓๘๕/๒๗๗-๒๘๔, ขุ.อุ.๒๕/๔๕/๑๖๓-๑๗๐, อภิ.ก.๓๗/๓๔๖/๑๘๘
๒ ดูเชิงอรรถที่ ๑ สัตตกนิบาต ข้อ ๓๒ หน้า ๔๙ ในเล่มนี้
๓ เหตุที่ทรงนิ่ง ไม่ทรงยกปาติโมกข์ขึ้นแสดง เพราะพระองค์ทรงมุ่งอนุเคราะห์ภิกษุผู้ทุศีลที่มีอยู่ในบริษัท
หากพระองค์ทรงยกปาติโมกข์ขึ้นแสดง ศีรษะของภิกษุผู้ทุศีลนั้นก็จักแตก ๗ เสี่ยง จึงทรงนิ่งเสีย (องฺ.อฏฺฐก.อ.
๓/๒๐/๒๔๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๒๕๒ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๒.มหาวรรค ๑๐.อุโปสถสูตร
แม้ครั้งที่ ๓ เมื่อราตรีผ่านไปแล้ว ปัจฉิมยามผ่านไปแล้ว ยามรุ่งอรุณ เริ่มสว่าง
ท่านพระอานนท์ลุกจากอาสนะ ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่า ประนมมือไปทางที่พระผู้มี
พระภาคประทับอยู่ ได้กราบทูลดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ราตรีผ่านไปแล้ว ปัจฉิมยามผ่านไปแล้ว ยามรุ่งอรุณ
เริ่มสว่าง ภิกษุสงฆ์นั่งรออยู่นานแล้ว ขอพระผู้มีพระภาคทรงโปรดยกพระปาติโมกข์
ขึ้นแสดงแก่ภิกษุทั้งหลายเถิด พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อานนท์ บริษัทไม่บริสุทธิ์”
ลำดับนั้น ท่านพระมหาโมคคัลลานะได้มีความคิดดังนี้ว่า “พระผู้มีพระภาค
ตรัสอย่างนี้ว่า ‘อานนท์ บริษัทไม่บริสุทธิ์’ ทรงหมายถึงใครกัน แล้วจึงกำหนดจิต
(ของภิกษุ)ด้วยจิต(ของตน)แล้วตรวจดูภิกษุสงฆ์ทุกรูป จึงได้เห็นบุคคลผู้ทุศีล
มีธรรมเลวทราม ไม่สะอาด มีความประพฤติที่น่ารังเกียจ มีการงานปกปิด ไม่ใช่
สมณะแต่ปฏิญญาว่าเป็นสมณะ ไม่ใช่พรหมจารี แต่ปฏิญญาว่าเป็นพรหมจารี
เน่าภายใน ชุ่มด้วยราคะ เป็นเหมือนหยากเยื่อ นั่งอยู่ในท่ามกลางสงฆ์นั้น
ครั้นเห็นแล้ว จึงลุกจากอาสนะเข้าไปหาบุคคลนั้น ได้กล่าวกับบุคคลนั้นว่า “ท่าน
จงลุกขึ้น พระผู้มีพระภาคทรงเห็นท่านแล้ว ท่านไม่มีสังวาส๑กับภิกษุทั้งหลาย”
เมื่อพระมหาโมคคัลลานะกล่าวอย่างนี้แล้ว บุคคลนั้นก็ยังนิ่งอยู่
แม้ครั้งที่ ๒ ท่านพระมหาโมคคัลลานะก็ได้กล่าวกับบุคคลนั้นว่า “ท่านจง
ลุกขึ้น พระผู้มีพระภาคทรงเห็นท่านแล้ว ท่านไม่มีสังวาสกับภิกษุทั้งหลาย”
แม้ครั้งที่ ๒ บุคคลนั้นก็ยังนิ่งอยู่
แม้ครั้งที่ ๓ ท่านพระมหาโมคคัลลานะก็ได้กล่าวกับบุคคลนั้นว่า “ท่านจง
ลุกขึ้น พระผู้มีพระภาคทรงเห็นท่านแล้ว ท่านไม่มีสังวาสกับภิกษุทั้งหลาย”
แม้ครั้งที่ ๓ บุคคลนั้นก็ยังนิ่งอยู่
ครั้นแล้ว ท่านพระมหาโมคคัลลานะจึงจับแขนเขาฉุดให้ออกไปภายนอกซุ้มประตู
ใส่กลอนแล้ว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาค

เชิงอรรถ :
๑ สังวาส ในที่นี้หมายถึงกรรมที่ทำร่วมกัน อุทเทส(ปาติโมกข์ที่ยกขึ้นแสดง)ที่สวดร่วมกัน ความมีสิกขา
เสมอกัน (วิ.มหา. (แปล) ๑/๕๕/๔๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๒๕๓ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๒.มหาวรรค ๑๐.อุโปสถสูตร
ดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ให้บุคคลนั้นออกไปพ้นแล้ว บริษัทบริสุทธิ์
แล้ว ขอพระผู้มีพระภาคทรงโปรดยกพระปาติโมกข์ขึ้นแสดงแก่ภิกษุทั้งหลายเถิด
พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคยปรากฏ โมคคัลลานะ โมฆบุรุษ
นี้ดื้ออยู่จนต้องฉุดแขนไล่ออกไป”
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย
ตั้งแต่บัดนี้ไป เธอทั้งหลายพึงทำอุโบสถ พึงยกปาติโมกข์ขึ้นแสดง ภิกษุทั้งหลาย
ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป เราจักไม่ทำอุโบสถ จักไม่ยกปาติโมกข์ขึ้นแสดง ภิกษุทั้งหลาย
เป็นไปไม่ได้ที่ตถาคตจะยกปาติโมกข์ขึ้นแสดงในเมื่อบริษัทไม่บริสุทธิ์๑
ภิกษุทั้งหลาย ในมหาสมุทรมีสิ่งที่น่าอัศจรรย์ ไม่เคยปรากฏ ๘ ประการที่
พวกอสูรพบเห็นแล้วต่างพากันยินดีในมหาสมุทร
สิ่งที่น่าอัศจรรย์ ไม่เคยปรากฏ ๘ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. มหาสมุทรต่ำไปโดยลำดับ ลาดไปโดยลำดับ ลึกลงไปโดยลำดับ
ไม่ลึกชันดิ่งไปทันที การที่มหาสมุทรต่ำไปโดยลำดับ ลาดไปโดย
ลำดับ ลึกลงไปโดยลำดับ ไม่ลึกชันดิ่งไปทันที นี้เป็นสิ่งที่น่าอัศจรรย์

เชิงอรรถ :
๑ ข้อความพระดำรัสนี้ เป็นพระดำรัสที่ตรัสมอบหมายให้ภิกษุสาวกยกอาณาปาติโมกข์ (ปาติโมกข์เกี่ยวกับ
ศีลบัญญัติ) ขึ้นแสดง (ดู วิ.ม. (แปล) ๔/๑๓๓/๒๐๙,๑๕๐/๒๒๘) หลังจากที่พระองค์ได้ทรงยกโอวาท-
ปาติโมกข์ (ปาติโมกข์คือพระโอวาท) ขึ้นแสดงทุกกึ่งเดือนมาเป็นเวลา ๒๐ ปีบริบูรณ์ (ดู ที.ม. ๑๐/๙๐/๔๓,
ขุ.ธ. ๒๕/๑๘๓-๑๘๕/๔๙-๕๐)
อนึ่ง เหตุที่ทรงงดแสดงเอง เพราะทรงประสงค์รักษาพุทธประเพณีว่า เมื่อทรงเห็นว่าบริษัท
ไม่บริสุทธิ์แล้ว พระพุทธเจ้าทุกพระองค์จะไม่ทรงทำอุโบสถ ไม่ทรงยกปาติโมกข์ขึ้นแสดง แต่เพื่อป้องกัน
ไม่ให้อุโบสถกรรมของภิกษุสงฆ์ขาดไป จึงทรงอนุญาตให้สงฆ์ยกอาณาปาติโมกข์ขึ้นแสดงแทน (อง.อฏฐก.
ฏีกา ๓/๒๐/๒๘๖-๒๘๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๒๕๔ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๒.มหาวรรค ๑๐.อุโปสถสูตร
ไม่เคยปรากฏ ประการที่ ๑ ในมหาสมุทรที่พวกอสูรพบเห็นแล้ว
ต่างพากันยินดีในมหาสมุทร
ฯลฯ๑
๘. มหาสมุทรเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ขนาดใหญ่ คือ ปลาติมิติมิงคละ
ปลาติมิรมิงคละ อสูร นาค คนธรรพ์ มีลำตัว ๑๐๐ โยชน์ก็มี ฯลฯ
มีลำตัว ๕๐๐ โยชน์ก็มี การที่มหาสมุทรเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์
ขนาดใหญ่ คือ ปลาติมิติมิงคละ ปลาติมิรมิงคละ อสูร นาค
คนธรรพ์ มีลำตัว ๑๐๐ โยชน์ก็มี ฯลฯ มีลำตัว ๕๐๐ โยชน์ก็มี
นี้เป็นสิ่งที่น่าอัศจรรย์ ไม่เคยปรากฏประการที่ ๘ ในมหาสมุทรที่
พวกอสูรพบเห็นแล้วต่างพากันยินดีในมหาสมุทร
ภิกษุทั้งหลาย ในมหาสมุทรมีสิ่งที่น่าอัศจรรย์ ไม่เคยปรากฏ ๘ ประการนี้แล
ที่พวกอสูรพบเห็นแล้วต่างพากันยินดีในมหาสมุทร
ภิกษุทั้งหลาย ในทำนองเดียวกัน ในธรรมวินัยนี้ มีธรรมที่น่าอัศจรรย์ ไม่เคย
ปรากฏ ๘ ประการ ที่ภิกษุทั้งหลายพบเห็นแล้วต่างพากันยินดีในธรรมวินัยนี้
ธรรมที่น่าอัศจรรย์ ไม่เคยปรากฏ ๘ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ธรรมวินัยนี้มีการศึกษาไปตามลำดับ มีการบำเพ็ญไปตามลำดับ
มีการปฏิบัติไปตามลำดับ ไม่ใช่มีการบรรลุอรหัตตผลโดยทันที
เหมือนมหาสมุทรที่ต่ำไปโดยลำดับ ลาดไปโดยลำดับ ลึกลงไป
โดยลำดับ ไม่ลึกชันดิ่งไปทันที การที่ธรรมวินัยนี้มีการศึกษาไปตาม
ลำดับ มีการบำเพ็ญไปตามลำดับ มีการปฏิบัติไปตามลำดับ ไม่ใช่
มีการบรรลุอรหัตตผลโดยทันที นี้เป็นธรรมที่น่าอัศจรรย์ ไม่เคย
ปรากฏประการที่ ๑ ในธรรมวินัยนี้ที่ภิกษุทั้งหลายพบเห็นแล้วต่าง
พากันยินดีในธรรมวินัยนี้
ฯลฯ

เชิงอรรถ :
๑ เครื่องหมาย ฯลฯ ที่ปรากฏในสูตรนี้ ดูความเต็มในอัฏฐกนิบาต ข้อ ๑๙ (ปหาราทสูตร) หน้า ๒๔๖-๒๕๑
ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๒๕๕ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๒.มหาวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค
๘. ธรรมวินัยนี้เป็นที่อยู่ของผู้ใหญ่ คือ พระโสดาบัน บุคคลผู้ปฏิบัติ
เพื่อทำให้แจ้งโสดาปัตติผล ฯลฯ บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่ออรหัตตผล
เหมือนมหาสมุทรเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ขนาดใหญ่ คือ ปลา
ติมิติมิงคละ ปลาติมิรมิงคละ อสูร นาค คนธรรพ์ มีลำตัว ๑๐๐
โยชน์ก็มี ฯลฯ มีลำตัว ๕๐๐ โยชน์ก็มี การที่ธรรมวินัยนี้เป็นที่อยู่
ของผู้ใหญ่ คือ พระโสดาบัน บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้ง
โสดาปัตติผล ฯลฯ บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่ออรหัตตผล นี้เป็นธรรม
ที่น่าอัศจรรย์ ไม่เคยปรากฏประการที่ ๘ ในธรรมวินัยนี้ที่ภิกษุ
ทั้งหลาย พบเห็นแล้วต่างพากันยินดีในธรรมวินัยนี้
ภิกษุทั้งหลาย ในธรรมวินัยนี้มีธรรมที่น่าอัศจรรย์ ไม่เคยปรากฏ ๘ ประการ
ที่ภิกษุทั้งหลายพบเห็นแล้วต่างพากันยินดีในธรรมวินัยนี้”
อุโปสถสูตรที่ ๑๐ จบ
มหาวรรคที่ ๒ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. เวรัญชสูตร ๒. สีหสูตร
๓. อัสสาชานียสูตร ๔. อัสสขฬุงกสูตร
๕. มลสูตร ๖. ทูเตยยสูตร
๗. ปฐมพันธนสูตร ๘. ทุติยพันธนสูตร
๙. ปหาราทสูตร ๑๐. อุโปสถสูตร


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๒๕๖ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๓.คหปติวรรค ๑.ปฐมอุคคสูตร
๓. คหปติวรรค
หมวดว่าด้วยคหบดี
๑. ปฐมอุคคสูตร
ว่าด้วยธรรมที่น่าอัศจรรย์ของอุคคคหบดี สูตรที่ ๑
[๒๑] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ กูฏาคารศาลา ป่ามหาวัน
เขตกรุงเวสาลี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคได้รับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า
“ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงทรงจำอุคคคหบดีชาวเมืองเวสาลีว่าเป็นผู้ประกอบ
ด้วยธรรมที่น่าอัศจรรย์ ไม่เคยปรากฏ ๘ ประการ” พระผู้มีพระภาคผู้สุคตได้ตรัส
เวยยากรณภาษิตนี้แล้ว เสด็จลุกจากพุทธอาสน์เข้าไปสู่พระวิหาร
ครั้นในเวลาเช้า ภิกษุรูปหนึ่งครองอันตรวาสก ถือบาตรและจีวรเข้าไปยังนิเวศน์
ของอุคคคหบดีชาวเมืองเวสาลีแล้วนั่งบนอาสนะที่ปูลาดไว้ ลำดับนั้น อุคคคหบดี
ชาวเมืองเวสาลีเข้าไปหาภิกษุนั้นถึงที่อยู่ อภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ภิกษุนั้นได้
ถามอุคคคหบดีนั้นดังนี้ว่า
“ท่านอุคคคหบดี พระผู้มีพระภาคทรงพยากรณ์ว่า ท่านเป็นผู้ประกอบด้วย
ธรรมที่น่าอัศจรรย์ ไม่เคยปรากฏ ๘ ประการ ธรรมที่น่าอัศจรรย์ ไม่เคยปรากฏ
๘ ประการ ที่เป็นเหตุให้ท่านได้รับพยากรณ์จากพระผู้มีพระภาค เป็นอย่างไร”
อุคคคหบดีกล่าวว่า “ท่านผู้เจริญ โยมไม่ทราบเลยว่า พระผู้มีพระภาคทรง
พยากรณ์ว่าโยมเป็นผู้ประกอบด้วยธรรมที่น่าอัศจรรย์ ไม่เคยปรากฏ ๘ ประการ
เหล่าไหน แต่ขอท่านโปรดฟังธรรมที่น่าอัศจรรย์ ไม่เคยปรากฏ ๘ ประการที่โยมมี
อยู่เถิด โปรดใส่ใจให้ดี โยมจักกล่าว ภิกษุนั้นรับคำแล้ว อุคคคหบดีชาวเมืองเวสาลี
จึงได้กล่าวเรื่องนี้ว่า
๑. “เมื่อโยมได้เห็นพระผู้มีพระภาคแต่ที่ไกลเป็นครั้งแรก พร้อมกับ
การเห็นนั่นเอง โยมก็มีจิตเลื่อมใสต่อพระผู้มีพระภาค นี้แลเป็น
ธรรมที่น่าอัศจรรย์ ไม่เคยปรากฏประการที่ ๑ ที่โยมมีอยู่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๒๕๗ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๓.คหปติวรรค ๑.ปฐมอุคคสูตร
๒. โยมมีจิตเลื่อมใสแล้ว เข้าไปนั่งใกล้พระผู้มีพระภาค พระองค์ได้ทรง
แสดงอนุปุพพีกถาแก่โยม คือ ทรงประกาศทานกถา(เรื่องทาน)
สีลกถา(เรื่องศีล) สัคคกถา(เรื่องสวรรค์) กามาทีนวกถา(เรื่องโทษ
ความต่ำทราม ความเศร้าหมองแห่งกาม) เนกขัมมานิสังสกถา
(เรื่องอานิสงส์แห่งการออกจากกาม)
เมื่อพระผู้มีพระภาคทรงทราบว่า โยมเป็นผู้มีจิตควร อ่อน
ปราศจากนิวรณ์ เบิกบาน ผ่องใส จึงทรงประกาศสามุกกังสิกเทศนา๑
คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค ธรรมจักษุอันปราศจากธุลี ปราศจาก
มลทิน ได้เกิดแก่โยมบนที่นั่งนั้นเองว่า ‘สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้น
เป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งปวงมีความดับไปเป็นธรรมดา’ เปรียบเหมือน
ผ้าขาวสะอาด ปราศจากมลทิน ควรรับน้ำย้อมได้เป็นอย่างดี ท่าน
ผู้เจริญ โยมนั้นได้เห็นธรรม บรรลุธรรม รู้ธรรม หยั่งลงสู่ธรรม
ข้ามพ้นความสงสัย ปราศจากความเคลือบแคลง ถึงความแกล้วกล้า
ปราศจากความมีผู้อื่นเป็นปัจจัยในศาสนาของพระศาสดา ได้ถึง
พระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์เป็นสรณะแล้ว และได้สมาทาน
สิกขาบทที่มีพรหมจรรย์เป็นที่ ๕ บนที่นั่งนั่นเอง นี้แลเป็นธรรม
ที่น่าอัศจรรย์ ไม่เคยปรากฏประการที่ ๒ ที่โยมมีอยู่
๓. โยมนั้นมีภรรยาที่เป็นสาวรุ่น ๔ คน โยมเข้าไปหาภรรยาเหล่านั้น
ถึงที่อยู่แล้วกล่าวกับพวกเธอว่า ‘น้องหญิงทั้งหลาย ฉันได้สมาทาน
สิกขาบทที่มีพรหมจรรย์เป็นที่ ๕ แล้ว หญิงใดปรารถนา หญิงนั้น
จงใช้จ่ายโภคทรัพย์เหล่านี้ และจงทำบุญ หรือกลับไปยังตระกูลญาติ
ของตนเถิด หรือมีความประสงค์ชาย ฉันก็จะมอบพวกเธอให้แก่เขา’
เมื่อโยมกล่าวอย่างนี้แล้ว ภรรยาหลวงได้กล่าวกับโยมว่า ‘ขอท่าน
โปรดมอบดิฉันให้แก่ชายผู้มีชื่อนี้เถิด’ ลำดับนั้น โยมได้เรียกชาย
คนนั้นมา ใช้มือซ้ายจับภรรยา มือขวาจับเต้าน้ำหลั่งน้ำมอบให้
ชายคนนั้นไป เมื่อบริจาคภรรยาสาวรุ่นให้เป็นทาน โยมไม่รู้สึก
ว่าจิตแปรไป นี้แลเป็นธรรมที่น่าอัศจรรย์ ไม่เคยปรากฏประการ
ที่ ๓ ที่โยมมีอยู่

เชิงอรรถ :
๑ ดูเชิงอรรถที่ ๑ อัฏฐกนิบาต ข้อ ๑๒ หน้า ๒๓๓ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๒๕๘ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๓.คหปติวรรค ๑.ปฐมอุคคสูตร
๔. ตระกูลของโยมมีโภคทรัพย์อยู่พร้อม และโภคทรัพย์เหล่านั้น โยม
ได้จำแนกแจกจ่ายกับผู้มีศีล มีกัลยาณธรรม นี้แลเป็นธรรมที่น่า
อัศจรรย์ ไม่เคยปรากฏประการที่ ๔ ที่โยมมีอยู่
๕. โยมเข้าไปนั่งใกล้ภิกษุใด ก็เข้าไปนั่งใกล้โดยเคารพเท่านั้น มิใช่เข้าไป
นั่งใกล้โดยไม่เคารพ นี้แลเป็นธรรมที่น่าอัศจรรย์ ไม่เคยปรากฏ
ประการที่ ๕ ที่โยมมีอยู่
๖. หากท่านผู้มีอายุนั้นจะแสดงธรรมแก่โยม โยมจะฟังโดยเคารพ
เท่านั้น มิใช่ฟังโดยไม่เคารพ หากท่านผู้มีอายุนั้นจะไม่แสดงธรรม
แก่โยม โยมก็จะแสดงธรรมแก่ท่าน นี้แลเป็นธรรมที่น่าอัศจรรย์
ไม่เคยปรากฏประการที่ ๖ ที่โยมมีอยู่
๗. ไม่น่าอัศจรรย์เลย ที่พวกเทวดาเข้ามาหาโยมแล้วบอกว่า ‘ท่าน
คหบดี ธรรมอันพระผู้มีพระภาคตรัสไว้ดีแล้ว’ เมื่อพวกเทวดากล่าว
อย่างนี้แล้ว โยมได้กล่าวกับเทวดาเหล่านั้นอย่างนี้ว่า ‘เทวดา
พวกท่านจะบอกอย่างนี้ หรือไม่บอกอย่างนี้ก็ตาม แท้จริง ธรรมก็
เป็นธรรมอันพระผู้มีพระภาคตรัสไว้ดีแล้ว’ โยมไม่รู้สึกฟูใจเพราะ
เหตุนั้นเลยว่า ‘พวกเทวดาเข้ามาหาโยม หรือโยมสนทนากับพวก
เทวดา’ นี้แลป็นธรรมที่น่าอัศจรรย์ ไม่เคยปรากฏประการที่ ๗
ที่โยมมีอยู่
๘. สังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ ประการ ที่พระผู้มีพระภาคได้ทรงแสดงไว้ โยม
ไม่เห็นสังโยชน์อะไรในตนที่ยังละไม่ได้ นี้แลป็นธรรมที่น่าอัศจรรย์
ไม่เคยปรากฏประการที่ ๘ ที่โยมมีอยู่
ท่านผู้เจริญ ธรรมที่น่าอัศจรรย์ ไม่เคยปรากฏ ๘ ประการนี้แล ที่โยมมีอยู่
แต่โยมไม่ทราบเลยว่า พระผู้มีพระภาคได้ทรงพยากรณ์ว่าโยมเป็นผู้ประกอบด้วยธรรม
ที่น่าอัศจรรย์ ไม่เคยปรากฏ ๘ ประการเหล่าไหน”
ลำดับนั้น ภิกษุนั้นรับบิณฑบาตในนิเวศน์ของอุคคคหบดีชาวเมืองเวสาลีแล้ว
ลุกจากอาสนะจากไป ท่านกลับจากบิณฑบาต หลังจากฉันอาหารเสร็จแล้ว เข้าไป
เฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลเรื่อง
ที่สนทนาปราศรัยกับอุคคคหบดีชาวเมืองเวสาลีทั้งหมดให้พระผู้มีพระภาคทรงทราบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๒๕๙ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๓.คหปติวรรค ๒.ทุตติยอุคคสูตร
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ดีละ ดีละ ภิกษุ อุคคคหบดีชาวเมืองเวสาลี เมื่อจะ
พยากรณ์ให้ถูกต้อง พึงพยากรณ์ไปตามนั้น ภิกษุ เราพยากรณ์ว่าอุคคคหบดีชาว
เมืองเวสาลีเป็นผู้ประกอบด้วยธรรมที่น่าอัศจรรย์ ไม่เคยปรากฏ ๘ ประการนี้แล
และเธอจงทรงจำอุคคคหบดีชาวเมืองเวสาลีว่าเป็นผู้ประกอบด้วยธรรมที่น่าอัศจรรย์
ไม่เคยปรากฏ ๘ ประการนี้”
ปฐมอุคคสูตรที่ ๑ จบ

๒. ทุติยอุคคสูตร
ว่าด้วยธรรมที่น่าอัศจรรย์ของอุคคคหบดี สูตรที่ ๒
[๒๒] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ บ้านหัตถิคาม แคว้นวัชชี
ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย
เธอทั้งหลายจงทรงจำอุคคคหบดีชาวบ้านหัตถิคามว่าเป็นผู้ประกอบด้วยธรรมที่
น่าอัศจรรย์ ไม่เคยปรากฏ ๘ ประการ” พระผู้มีพระภาคผู้สุคตได้ตรัสเวยยากรณ-
ภาษิตนี้แล้ว เสด็จลุกจากพุทธอาสน์เข้าไปสู่พระวิหาร
ครั้นเวลาเช้า ภิกษุรูปหนึ่งครองอันตรวาสก ถือบาตรและจีวรเข้าไปยังนิเวศน์
ของอุคคคหบดีชาวบ้านหัตถิคาม แล้วนั่งบนอาสนะที่ปูลาดไว้ ต่อมา อุคคคหบดี
ชาวบ้านหัตถิคามเข้าไปหาภิกษุนั้นถึงที่อยู่ อภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ภิกษุนั้นได้
กล่าวกับอุคคคหบดีชาวบ้านหัตถิคามดังนี้ว่า
“ท่านอุคคคหบดี พระผู้มีพระภาคทรงพยากรณ์ว่า ท่านเป็นผู้ประกอบด้วย
ธรรมที่น่าอัศจรรย์ ไม่เคยปรากฏ ๘ ประการ ท่านอุคคคหบดี ธรรมที่น่าอัศจรรย์
ไม่เคยปรากฏ ๘ ประการ อะไรบ้าง”
อุคคคหบดีกล่าวว่า “ท่านผู้เจริญ โยมไม่ทราบเลยว่า ‘พระผู้มีพระภาคได้ทรง
พยากรณ์ว่าโยมเป็นผู้ประกอบด้วยธรรมที่น่าอัศจรรย์ ไม่เคยปรากฏ ๘ ประการ
เหล่าไหน’ แต่ขอท่านโปรดฟังธรรมที่น่าอัศจรรย์ ไม่เคยปรากฏ ๘ ประการที่โยม
มีอยู่เถิด โปรดใส่ใจให้ดี โยมจักกล่าว” ภิกษุนั้นรับคำแล้ว อุคคคหบดีชาวบ้าน
หัตถิคามจึงได้กล่าวเรื่องนี้ว่า


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๒๖๐ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๓.คหปติวรรค ๒.ทุตติยอุคคสูตร
๑. เมื่อโยมกำลังเที่ยวชมอยู่ในสวนนาควัน ได้เห็นพระผู้มีพระภาคแต่
ที่ไกลเป็นครั้งแรก พร้อมกับการเห็นนั่นเอง โยมก็มีจิตเลื่อมใสต่อ
พระผู้มีพระภาค และส่างจากเมาสุรา นี้แลเป็นธรรมที่น่าอัศจรรย์
ไม่เคยปรากฏประการที่ ๑ ที่โยมมีอยู่
๒. โยมมีจิตเลื่อมใสแล้ว เข้าไปนั่งใกล้พระผู้มีพระภาค พระผู้มี
พระภาคทรงแสดงอนุปุพพีกถาแก่โยม คือ ทรงประกาศทานกถา
สีลกถา สัคคกถา กามาทีนวกถา เนกขัมมานิสังสกถา
เมื่อพระผู้มีพระภาคทรงทราบว่าโยมมีจิตควร อ่อน ปราศจาก
นิวรณ์ เบิกบาน ผ่องใส จึงทรงประกาศสามุกกังสิกเทศนา คือ
ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค ธรรมจักษุอันปราศจากธุลี ปราศจาก
มลทิน ได้เกิดแก่โยมบนที่นั่งนั้นเองว่า ‘สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้น
เป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งปวงมีความดับไปเป็นธรรมดา’ เปรียบเหมือน
ผ้าขาวสะอาด ปราศจากมลทิน ควรรับน้ำย้อมได้เป็นอย่างดี
ท่านผู้เจริญ โยมนั้นได้เห็นธรรม บรรลุธรรม รู้ธรรม หยั่งลงสู่ธรรม
ข้ามพ้นความสงสัย ปราศจากความเคลือบแคลง ถึงความแกล้วกล้า
ปราศจากความมีผู้อื่นเป็นปัจจัยในศาสนาของพระศาสดา ได้ถึง
พระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์เป็นสรณะแล้ว และได้
สมาทานสิกขาบทที่มีพรหมจรรย์เป็นที่ ๕ บนที่นั่งนั่นเอง นี้แล
เป็นธรรมที่น่าอัศจรรย์ ไม่เคยปรากฏประการที่ ๒ ที่โยมมีอยู่
๓. โยมนั้นมีภรรยาที่เป็นสาวรุ่น ๔ คน โยมเข้าไปหาภรรยาเหล่านั้น
ถึงที่อยู่แล้วกล่าวกับพวกเธอว่า ‘น้องหญิงทั้งหลาย ฉันได้สมาทาน
สิกขาบทที่มีพรหมจรรย์เป็นที่ ๕ แล้ว หญิงใดปรารถนา หญิงนั้น
จงใช้จ่ายโภคทรัพย์เหล่านี้ และจงทำบุญ หรือกลับไปยังตระกูล
ญาติของตนเถิด หรือมีความประสงค์ชาย ฉันก็จะมอบพวกเธอให้
แก่เขา’ เมื่อโยมกล่าวอย่างนี้แล้ว ภรรยาหลวงได้กล่าวกับโยมว่า
‘ขอท่านโปรดมอบดิฉันให้แก่ชายผู้มีชื่อนี้เถิด’ ลำดับนั้น โยมได้
เรียกชายคนนั้นมาใช้มือซ้ายจับภรรยา มือขวาจับเต้าน้ำหลั่งน้ำ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๒๖๑ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๓.คหปติวรรค ๒.ทุตติยอุคคสูตร
มอบให้ชายคนนั้นไป เมื่อบริจาคภรรยาสาวรุ่นให้เป็นทาน โยมไม่
รู้สึกว่าจิตแปรไป นี้แลเป็นธรรมที่น่าอัศจรรย์ ไม่เคยปรากฏประการ
ที่ ๓ ที่โยมมีอยู่
๔. ตระกูลของโยมมีโภคทรัพย์อยู่พร้อม และโภคทรัพย์เหล่านั้น โยม
ได้จำแนกแจกจ่ายกับผู้มีศีล มีกัลยาณธรรม นี้แลป็นธรรมที่น่า
อัศจรรย์ ไม่เคยปรากฏประการที่ ๔ ที่โยมมีอยู่
๕. โยมเข้าไปนั่งใกล้ภิกษุใด ก็เข้าไปนั่งใกล้โดยเคารพเท่านั้น มิใช่
เข้าไปนั่งใกล้โดยไม่เคารพ หากท่านผู้มีอายุนั้นจะแสดงธรรมแก่โยม
โยมจะฟังโดยเคารพเท่านั้น มิใช่ฟังโดยไม่เคารพ หากท่านผู้มี
อายุนั้นจะไม่แสดงธรรมแก่โยม โยมก็จะแสดงธรรมแก่ท่าน นี้แล
เป็นธรรมที่น่าอัศจรรย์ ไม่เคยปรากฏประการที่ ๕ ที่โยมมีอยู่
๖. ไม่น่าอัศจรรย์เลย ที่เมื่อโยมนิมนต์พระสงฆ์มาแล้ว พวกเทวดาเข้า
มาหาโยม แล้วบอกว่า ‘ท่านคหบดี ภิกษุรูปโน้นเป็นอุภโต-
ภาควิมุต๑ รูปโน้นเป็นปัญญาวิมุต รูปโน้นเป็นกายสักขี รูปโน้น
เป็นทิฏฐิปัตตะ รูปโน้นเป็นสัทธาวิมุต รูปโน้นเป็นธัมมานุสารี
รูปโน้นเป็นสัทธานุสารี รูปโน้นเป็นผู้มีศีล มีกัลยาณธรรม รูปโน้น
เป็นผู้ทุศีล มีบาปธรรม’ ท่านผู้เจริญ เมื่ออังคาสพระสงฆ์ โยมไม่
รู้สึกให้เกิดความคิดอย่างนี้ว่า ‘จะถวายแก่ท่านรูปนี้น้อย หรือจะ
ถวายแก่ท่านรูปนี้มาก’ แท้จริงโยมวางจิตสม่ำเสมอถวาย นี้แลป็น
ธรรมที่น่าอัศจรรย์ ไม่เคยปรากฏประการที่ ๖ ที่โยมมีอยู่
๗. ไม่น่าอัศจรรย์เลย ที่พวกเทวดาเข้ามาหาโยมแล้วบอกว่า ‘ท่าน
คหบดี ธรรมอันพระผู้มีพระภาคตรัสไว้ดีแล้ว’ เมื่อพวกเทวดา
กล่าวอย่างนี้แล้ว โยมได้กล่าวกับเทวดาเหล่านั้นอย่างนี้ว่า ‘เทวดา
พวกท่านจะบอกอย่างนี้ หรือไม่บอกอย่างนี้ก็ตาม แท้จริง ธรรมก็

เชิงอรรถ :
๑ ดูความหมายของบุคคล ๗ จำพวก ตั้งแต่อุภโตภาควิมุตจนถึงสัทธานุสารี ในเชิงอรรถที่ ๒-๕ หน้า ๒๐
และเชิงอรรถที่ ๑-๓ หน้า ๒๑ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๒๖๒ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๓.คหปติวรรค ๒.ทุตติยอุคคสูตร
เป็นธรรมอันพระผู้มีพระภาคตรัสไว้ดีแล้ว’ โยมไม่รู้สึกฟูใจเพราะเหตุ
นั้นเลยว่า ‘พวกเทวดาเข้ามาหาโยม หรือโยมสนทนากับพวกเทวดา’
นี้แลป็นธรรมที่น่าอัศจรรย์ ไม่เคยปรากฏประการที่ ๗ ที่โยมมีอยู่
๘. หากโยมจะสิ้นชีวิตก่อนพระผู้มีพระภาค ก็ไม่น่าอัศจรรย์เลยที่พระ
ผู้มีพระภาคจะทรงพยากรณ์อย่างนี้ว่า สังโยชน์ที่เป็นเหตุให้อุคค-
คหบดี ชาวบ้านหัตถิคามกลับมาสู่โลกนี้อีกไม่มี นี้แลเป็นธรรมที่
น่าอัศจรรย์ ไม่เคยปรากฏประการที่ ๘ ที่โยมมีอยู่
ท่านผู้เจริญ ธรรมที่น่าอัศจรรย์ ไม่เคยปรากฏ ๘ ประการนี้แล ที่โยมมีอยู่
แต่โยมไม่ทราบเลยว่า พระผู้มีพระภาคได้ทรงพยากรณ์ว่าโยมเป็นผู้ประกอบด้วย
ธรรมที่น่าอัศจรรย์ ไม่เคยปรากฏ ๘ ประการเหล่าไหน”
ลำดับนั้น ภิกษุนั้นรับบิณฑบาตในนิเวศน์ของอุคคคหบดีชาวบ้านหัตถิคามแล้ว
ลุกจากอาสนะจากไป ท่านกลับจากบิณฑบาต หลังจากฉันอาหารเสร็จแล้ว เข้าไป
เฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลเรื่อง
ที่สนทนาปราศรัยกับอุคคคหบดีชาวบ้านหัตถิคามทั้งหมดให้พระผู้มีพระภาคทรงทราบ
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ดีละ ดีละ ภิกษุ อุคคคหบดีชาวบ้านหัตถิคาม เมื่อ
จะพยากรณ์ให้ถูกต้อง พึงพยากรณ์ไปตามนั้น ภิกษุ เราได้พยากรณ์ว่าอุคคคหบดี
ชาวบ้านหัตถิคามป็นผู้ประกอบด้วยธรรมที่น่าอัศจรรย์ ไม่เคยปรากฏ ๘ ประการ
นี้แล และเธอจงทรงจำอุคคคหบดีชาวบ้านหัตถิคามว่าเป็นผู้ประกอบด้วยธรรมที่น่า
อัศจรรย์ ไม่เคยปรากฏ ๘ ประการนี้”

ทุติยอุคคสูตรที่ ๒ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๒๖๓ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๓.คหปติวรรค ๓.ปฐมหัตถกสูตร
๓. ปฐมหัตถกสูตร
ว่าด้วยธรรมที่น่าอัศจรรย์ของหัตถกอุบาสก สูตรที่ ๑
[๒๓] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ อัคคาฬวเจดีย์ กรุงอาฬวี
ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย
เธอทั้งหลายจงทรงจำหัตถกอุบาสก๑ชาวเมืองอาฬวีว่าเป็นผู้ประกอบด้วยธรรมที่น่า
อัศจรรย์ ไม่เคยปรากฏ ๗ ประการ
ธรรมที่น่าอัศจรรย์ ไม่เคยปรากฏ ๗ ประการ อะไรบ้าง คือ
หัตถกอุบาสกชาวเมืองอาฬวี

๑. เป็นผู้มีศรัทธา ๒. เป็นผู้มีศีล๒
๓. เป็นผู้มีหิริ ๔. เป็นผู้มีโอตตัปปะ
๕. เป็นพหูสูต ๖. เป็นผู้มีจาคะ
๗. เป็นผู้มีปัญญา

ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงทรงจำหัตถกอุบาสกชาวเมืองอาฬวีว่าเป็นผู้
ประกอบด้วยธรรมที่น่าอัศจรรย์ ไม่เคยปรากฏ ๗ ประการนี้แล”
พระผู้มีพระภาคผู้สุคตได้ตรัสเวยยากรณภาษิตนี้แล้ว เสด็จลุกจากพุทธ-
อาสน์เข้าไปสู่พระวิหาร
ครั้นเวลาเช้า ภิกษุรูปหนึ่งครองอันตรวาสก ถือบาตรและจีวรเข้าไปยังนิเวศน์
ของหัตถกอุบาสกชาวเมืองอาฬวีแล้วนั่งบนอาสนะที่ปูลาดไว้
ต่อมา หัตถกอุบาสกชาวเมืองอาฬวีเข้าไปหาภิกษุนั้นถึงที่อยู่ อภิวาทแล้วนั่ง
ณ ที่สมควร ภิกษุนั้นได้กล่าวกับหัตถกอุบาสกชาวเมืองอาฬวีดังนี้ว่า
“ผู้มีอายุ พระผู้มีพระภาคทรงพยากรณ์ว่า ท่านเป็นผู้ประกอบด้วยธรรมที่น่า
อัศจรรย์ ไม่เคยปรากฏ ๗ ประการ

เชิงอรรถ :
๑ หัตถกอุบาสก หมายถึงอุบาสกที่เป็นพระราชกุมารที่พระผู้มีพระภาคทรงรับจากมือของอาฬวกยักษ์ด้วย
พระหัตถ์ทั้งสอง (องฺ.อฏฺฐก.อ. ๓/๒๓/๒๔๖)
๒ ศีล ในที่นี้หมายถึงศีล ๕ และศีล ๑๐ (องฺ.อฏฺฐก.อ. ๓/๒๓/๒๔๖)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๒๖๔ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๓.คหปติวรรค ๓.ปฐมหัตถกสูตร
ธรรมที่น่าอัศจรรย์ ไม่เคยปรากฏ ๗ ประการ อะไรบ้าง คือ
หัตถกอุบาสกชาวเมืองอาฬวี

๑. เป็นผู้มีศรัทธา ๒. เป็นผู้มีศีล
๓. เป็นผู้มีหิริ ๔. เป็นผู้มีโอตตัปปะ
๕. เป็นพหูสูต ๖. เป็นผู้มีจาคะ
๗. เป็นผู้มีปัญญา

ผู้มีอายุ พระผู้มีพระภาคทรงพยากรณ์ว่า ท่านเป็นผู้ประกอบด้วยธรรมที่น่า
อัศจรรย์ ไม่เคยปรากฏ ๗ ประการนี้แล”
หัตถกอุบาสกชาวเมืองอาฬวีถามว่า “ท่านผู้เจริญ คฤหัสถ์ผู้นุ่งผ้าขาว ไม่มี
ในตำแหน่งที่พระผู้มีพระภาคทรงพยากรณ์นี้บ้างเลยหรือ”
ภิกษุนั้นกล่าวว่า “ผู้มีอายุ คฤหัสถ์ผู้นุ่งผ้าขาว ไม่มีในตำแหน่งที่พระผู้มี
พระภาคทรงพยากรณ์นี้เลย”
หัตถกอุบาสกกล่าวว่า “ท่านผู้เจริญ ดีจริง คฤหัสถ์ผู้นุ่งผ้าขาว ไม่มีใน
ตำแหน่งที่พระผู้มีพระภาคทรงพยากรณ์นี้เลย”
ลำดับนั้น ภิกษุนั้นรับบิณฑบาตในนิเวศน์ของหัตถกอุบาสกชาวเมืองอาฬวี
ลุกจากอาสนะแล้วจากไป กลับจากบิณฑบาตแล้ว หลังจากฉันภัตตาหารเสร็จแล้ว
เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูล
พระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานวโรกาส ในเวลาเช้า ข้าพระองค์ครอง
อันตรวาสก ถือบาตรและจีวรเข้าไปยังนิเวศน์ของหัตถกอุบาสกชาวเมืองอาฬวี
นั่งบนอาสนะที่ปูลาดไว้ ต่อมา หัตถกอุบาสกชาวเมืองอาฬวี ได้เข้ามาหาข้าพระองค์
อภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ได้กล่าวกับหัตถก-
อุบาสกชาวเมืองอาฬวีว่า ‘ผู้มีอายุ พระผู้มีพระภาคได้ทรงพยากรณ์ว่า ท่านเป็น
ผู้ประกอบด้วยธรรมที่น่าอัศจรรย์ ไม่เคยปรากฏ ๗ ประการ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๒๖๕ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๓.คหปติวรรค ๓.ปฐมหัตถกสูตร
ธรรมที่น่าอัศจรรย์ ไม่เคยปรากฏ ๗ ประการ อะไรบ้าง คือ
หัตถกอุบาสกชาวเมืองอาฬวี

๑. เป็นผู้มีศรัทธา ๒. เป็นผู้มีศีล
๓. เป็นผู้มีหิริ ๔. เป็นผู้มีโอตตัปปะ
๕. เป็นพหูสูต ๖. เป็นผู้มีจาคะ
๗. เป็นผู้มีปัญญา

ผู้มีอายุ พระผู้มีพระภาคได้ทรงพยากรณ์ว่า ท่านเป็นผู้ประกอบด้วยธรรมที่
น่าอัศจรรย์ ไม่เคยปรากฏ ๗ ประการนี้’
เมื่อข้าพระองค์กล่าวอย่างนี้แล้ว หัตถกอุบาสกชาวเมืองอาฬวีได้กล่าวกับ
ข้าพระองค์ดังนี้ว่า ‘ท่านผู้เจริญ คฤหัสถ์ผู้นุ่งผ้าขาว ไม่มีในตำแหน่งที่พระผู้มี
พระภาคทรงพยากรณ์นี้บ้างเลยหรือ’ ข้าพระองค์ตอบว่า ‘ผู้มีอายุ คฤหัสถ์ผู้นุ่ง
ผ้าขาว ไม่มีในตำแหน่งที่พระผู้มีพระภาคทรงพยากรณ์นี้’ เขาตอบว่า ‘ท่านผู้เจริญ
ดีจริง คฤหัสถ์ผู้นุ่งผ้าขาว ไม่มีในตำแหน่งที่พระผู้มีพระภาคทรงพยากรณ์นี้เลย”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ดีละ ดีละ ภิกษุ ภิกษุผู้เป็นกุลบุตรนั้นเป็นผู้มักน้อย
ไม่ปรารถนาให้ผู้อื่นรู้กุศลธรรมที่มีอยู่ในตน ภิกษุ ถ้าเช่นนั้น เธอจงทรงจำหัตถก-
อุบาสกชาวเมืองอาฬวีว่าเป็นผู้ประกอบด้วยธรรมที่น่าอัศจรรย์ ไม่เคยปรากฏนี้ คือ
ไม่ปรารถนาให้ผู้อื่นรู้กุศลธรรมที่มีอยู่ในตน เพราะความเป็นผู้มักนัอย”๑

ปฐมหัตถกสูตรที่ ๓

เชิงอรรถ :
๑ คำว่า “ไม่ปรารถนาให้ผู้อื่นรู้กุศลธรรมที่มีอยู่ในตน เพราะความเป็นผู้มักน้อย” นี้เป็นธรรมที่น่า
อัศจรรย์ไม่เคยปรากฏประการที่ ๘ ที่ตรัสเพิ่มเติมภายหลัง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๒๖๖ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๓.คหปติวรรค ๔.ทุติยหัตถกสูตร
๔. ทุติยหัตถกสูตร
ว่าด้วยธรรมที่น่าอัศจรรย์ของหัตถกอุบาสก สูตรที่ ๒
[๒๔] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ อัคคาฬวเจดีย์ เขตเมืองอาฬวี
ลำดับนั้น หัตถกอุบาสกชาวเมืองอาฬวี๑มีอุบาสกประมาณ ๕๐๐ คนแวดล้อม
เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร พระผู้มี
พระภาคจึงได้ตรัสกับหัตถกอุบาสกชาวเมืองอาฬวีว่า
“หัตถกะ บริษัทของท่านนี้มากนัก ท่านสงเคราะห์บริษัทจำนวนมากนี้อย่างไร”
หัตถกอุบาสกชาวเมืองอาฬวีกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์
สงเคราะห์บริษัทจำนวนมากนี้ด้วยสังคหวัตถุ ๔ ประการ ที่พระผู้มีพระภาคได้
ทรงแสดงไว้แล้ว คือ ข้าพระองค์รู้ว่า ‘ผู้นี้ควรสงเคราะห์ด้วยทาน’ ก็สงเคราะห์
ด้วยทาน รู้ว่า ‘ผู้นี้ควรสงเคราะห์ด้วยคำพูดอันไพเราะ’ ก็สงเคราะห์ด้วยคำพูดอัน
ไพเราะ รู้ว่า ‘ผู้นี้ควรสงเคราะห์ด้วยการทำประโยชน์ให้’ ก็สงเคราะห์ด้วยการ
ทำประโยชน์ให้ รู้ว่า ‘ผู้นี้ควรสงเคราะห์ด้วยการวางตัวสม่ำเสมอ’ ก็สงเคราะห์ด้วย
การวางตัวสม่ำเสมอ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ โภคทรัพย์ในตระกูลของข้าพระองค์มี
อยู่พร้อม คนทั้งหลายย่อมเข้าใจคำพูดของข้าพระองค์ว่าควรฟัง ไม่เหมือนคำพูด
ของคนจน”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ดีละ ดีละ หัตถกะ วิธีนี้ของท่านเป็นอุบายที่จะ
สงเคราะห์บริษัทจำนวนมากได้ จริงอยู่ ใครก็ตามที่สงเคราะห์บริษัทจำนวนมากได้
ในอดีตกาล ก็ล้วนแต่สงเคราะห์ด้วยสังคหวัตถุ ๔ ประการนี้แล ใครก็ตามที่จัก
สงเคราะห์บริษัทจำนวนมากในอนาคตกาล ก็ล้วนแต่จักสงเคราะห์ด้วยสังคหวัตถุ
๔ ประการนี้แล ใครก็ตามที่กำลังสงเคราะห์บริษัทจำนวนมากในปัจจุบัน ก็ล้วนแต่
สงเคราะห์ด้วยสังคหวัตถุ ๔ ประการนี้แล”
หลังจากนั้น หัตถกอุบาสกชาวเมืองอาฬวีที่พระผู้มีพระภาคทรงชี้แจงให้เห็นชัด
ชวนใจให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่น

เชิงอรรถ :
๑ อุบาสกชาวเมืองอาฬวี ในที่นี้หมายถึงอุบาสกที่เป็นอริยสาวกชั้นโสดาบัน สกทาคามี และอนาคามี
(องฺ.อฏฺฐก.อ. ๓/๒๔/๒๔๖)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๒๖๗ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๓.คหปติวรรค ๕.มหานามสูตร
ร่าเริงด้วยธรรมีกถาแล้ว ลุกจากที่นั่ง ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาค ทำประทักษิณ
แล้วจากไป
ลำดับนั้น เมื่อหัตถกอุบาสกชาวเมืองอาฬวีหลีกไปไม่นาน พระผู้มีพระภาครับ
สั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงทรงจำหัตถกอุบาสก
ชาวเมืองอาฬวีว่าเป็นผู้ประกอบด้วยธรรมที่น่าอัศจรรย์ ไม่เคยปรากฏ ๘ ประการ
ธรรมที่น่าอัศจรรย์ ไม่เคยปรากฏ ๘ ประการ อะไรบ้าง คือ
หัตถกอุบาสกชาวเมืองอาฬวี

๑. เป็นผู้มีศรัทธา ๒. เป็นผู้มีศีล
๓. เป็นผู้มีหิริ ๔. เป็นผู้มีโอตตัปปะ
๕. เป็นพหูสูต ๖. เป็นผู้มีจาคะ
๗. เป็นผู้มีปัญญา ๘. เป็นผู้มีความมักน้อย

ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงทรงจำหัตถกอุบาสกชาวเมืองอาฬวีว่าเป็นผู้
ประกอบด้วยธรรมที่น่าอัศจรรย์ ไม่เคยปรากฏ ๘ ประการนี้แล”
ทุติยหัตถกสูตรที่ ๔ จบ

๕. มหานามสูตร
ว่าด้วยเจ้าศากยะพระนามว่ามหานามะ
[๒๕] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ นิโครธาราม เขตกรุง
กบิลพัสดุ์ แคว้นสักกะ ลำดับนั้น เจ้าศากยะพระนามว่ามหานามะเสด็จเข้าไปเฝ้า
พระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคแล้วประทับนั่ง ณ ที่
สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บุคคลชื่อว่าอุบาสก ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอแล”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “มหานามะ เมื่อใดแล บุคคลเป็นผู้ถึง
พระพุทธเจ้าเป็นสรณะ เป็นผู้ถึงพระธรรมเป็นสรณะ เป็นผู้ถึงพระสงฆ์เป็นสรณะ
เมื่อนั้น บุคคลชื่อว่าอุบาสก ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๒๖๘ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๓.คหปติวรรค ๕.มหานามสูตร
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อุบาสกชื่อว่าผู้มีศีล ด้วยเหตุเพียงเท่าไร”
“มหานามะ เมื่อใดแล อุบาสกเป็นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ เป็นผู้เว้นขาด
จากการลักทรัพย์ เป็นผู้เว้นขาดจากการประพฤติผิดในกาม เป็นผู้เว้นขาดจากการ
พูดเท็จ เป็นผู้เว้นขาดจากการเสพของมึนเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นเหตุแห่งความ
ประมาท เมื่อนั้นอุบาสกชื่อว่าผู้มีศีล ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อุบาสกชื่อว่าผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตนเอง แต่ไม่ปฏิบัติ
เพื่อเกื้อกูลผู้อื่น ด้วยเหตุเพียงเท่าไร”
“มหานามะ เมื่อใดแล อุบาสก ตนเองเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศรัทธา แต่ไม่ชักชวน
ผู้อื่นให้เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศรัทธา ตนเองเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีล แต่ไม่ชักชวนผู้อื่น
ให้เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีล ตนเองเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยจาคะ แต่ไม่ชักชวนผู้อื่นให้เป็น
ผู้ถึงพร้อมด้วยจาคะ ตนเองเป็นผู้ประสงค์จะเห็นภิกษุ แต่ไม่ชักชวนผู้อื่นให้เห็นภิกษุ
ตนเองเป็นผู้ประสงค์จะฟังสัทธรรม แต่ไม่ชักชวนผู้อื่นให้ฟังสัทธรรม ตนเองเป็นผู้
ทรงจำธรรมที่ฟังแล้วไว้ได้ แต่ไม่ชักชวนผู้อื่นให้ทรงจำธรรมที่ฟังแล้วไว้ได้ ตนเองเป็น
ผู้พิจารณาเนื้อความแห่งธรรมที่ฟังแล้ว แต่ไม่ชักชวนผู้อื่นให้พิจารณาเนื้อความแห่งธรรม
ตนเองเป็นผู้รู้อรรถรู้ธรรมแล้วปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม๑ แต่ไม่ชักชวนผู้อื่นให้
ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม เมื่อนั้น อุบาสกชื่อว่าผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตนเอง
แต่ไม่ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลผู้อื่น ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อุบาสกชื่อว่าผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตนเองและเพื่อเกื้อกูล
ผู้อื่น ด้วยเหตุเพียงเท่าไร”
“มหานามะ เมื่อใดแล อุบาสก ตนเองเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศรัทธา และชักชวน
ผู้อื่นให้เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศรัทธา ตนเองเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีล และชักชวนผู้อื่น
ให้เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีล ตนเองเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยจาคะ และชักชวนผู้อื่นให้เป็น
ผู้ถึงพร้อมด้วยจาคะ ตนเองเป็นผู้ประสงค์จะเห็นภิกษุ และชักชวนผู้อื่นให้เห็นภิกษุ

เชิงอรรถ :
๑ ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม หมายถึงปฏิบัติปฏิปทาอันเป็นส่วนเบื้องต้นที่เหมาะแก่โลกุตตรธรรม ๙ ประการ
(คือ มรรค ๔ ผล ๔ นิพพาน ๑ ) (องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๙๗/๓๖๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๒๖๙ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๓.คหปติวรรค ๖.ชีวกสูตร
ตนเองเป็นผู้ประสงค์จะฟังสัทธรรม และชักชวนผู้อื่นให้ฟังสัทธรรม ตนเองเป็นผู้ทรง
จำธรรมที่ฟังแล้วไว้ได้ และชักชวนผู้อื่นให้ทรงจำธรรมที่ฟังแล้วไว้ได้ ตนเองเป็นผู้
พิจารณาเนื้อความแห่งธรรมที่ฟังแล้ว และชักชวนผู้อื่นให้พิจารณาเนื้อความแห่งธรรม
ตนเองเป็นผู้รู้อรรถรู้ธรรมแล้วปฏิบัติธรรมตามสมควรแก่ธรรม และชักชวนผู้อื่นให้
ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม เมื่อนั้น อุบาสกชื่อว่าผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตนเองและ
เพื่อเกื้อกูลผู้อื่น ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล”
มหานามสูตรที่ ๕ จบ

๖. ชีวกสูตร
ว่าด้วยหมอชีวกโกมารภัจ
[๒๖] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ชีวกัมพวัน เขตกรุงราชคฤห์
ลำดับนั้น หมอชีวกโกมารภัจเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาท
แล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บุคคลชื่อว่าอุบาสก ด้วยเพียงเหตุเท่าไรหนอแล”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ชีวก เมื่อใดแล บุคคลเป็นผู้ถึงพระพุทธเจ้า
เป็นสรณะ เป็นผู้ถึงพระธรรมเป็นสรณะ และเป็นผู้ถึงพระสงฆ์เป็นสรณะ เมื่อนั้น
บุคคลชื่อว่าอุบาสก ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อุบาสกชื่อว่าผู้มีศีล ด้วยเหตุเพียงเท่าไร”
“ชีวก เมื่อใดแล อุบาสกเป็นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ ฯลฯ๑ เป็นผู้เว้นขาดจาก
การเสพของมึนเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นเหตุแห่งความประมาท เมื่อนั้น อุบาสก
ชื่อว่าผู้มีศีล ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล”

เชิงอรรถ :
๑ ดูความเต็มในอัฏฐกนิบาต ข้อ ๒๕ (มหานามสูตร) หน้า ๒๖๙ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๒๗๐ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๓.คหปติวรรค ๖.ชีวกสูตร
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อุบาสกชื่อว่าผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตนเอง แต่ไม่ปฏิบัติ
เพื่อเกื้อกูลผู้อื่น ด้วยเหตุเพียงเท่าไร”
“ชีวก เมื่อใดแล อุบาสก ตนเองเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศรัทธา แต่ไม่ชักชวน
ผู้อื่นให้เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศรัทธา ฯลฯ๑ ตนเองเป็นผู้รู้อรรถรู้ธรรมแล้วปฏิบัติธรรม
สมควรแก่ธรรม แต่ไม่ชักชวนผู้อื่นให้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม เมื่อนั้น อุบาสก
ชื่อว่าผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตนเอง แต่ไม่ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลผู้อื่น ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อุบาสกชื่อว่าผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตนเองและเพื่อเกื้อกูล
ผู้อื่น ด้วยเหตุเพียงเท่าไร”
๊ชีวก เมื่อใดแล อุบาสก ตนเองเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศรัทธา และชักชวนผู้อื่นให้
เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศรัทธา ตนเองเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีล และชักชวนผู้อื่นให้เป็นผู้
ถึงพร้อมด้วยศีล ตนเองเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยจาคะ และชักชวนผู้อื่นให้เป็นผู้ถึงพร้อม
ด้วยจาคะ ตนเองเป็นผู้ประสงค์จะเห็นภิกษุ และชักชวนผู้อื่นให้เห็นภิกษุ ตนเองเป็น
ผู้ประสงค์จะฟังสัทธรรม และชักชวนผู้อื่นให้ฟังสัทธรรม ตนเองเป็นผู้ทรงจำธรรมที่
ฟังแล้วไว้ได้ และชักชวนผู้อื่นให้ทรงจำธรรมไว้ได้ ตนเองเป็นผู้พิจารณาเนื้อความแห่ง
ธรรมที่ฟังแล้ว และชักชวนผู้อื่นให้พิจารณาเนื้อความแห่งธรรม ตนเองเป็นผู้รู้อรรถ
รู้ธรรมแล้ว ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม และชักชวนผู้อื่นให้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม
เมื่อนั้น อุบาสกชื่อว่าผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตนเองและเพื่อเกื้อกูลผู้อื่น ด้วยเหตุเพียง
เท่านี้แล”
ชีวกสูตรที่ ๖ จบ

เชิงอรรถ :
๑ ดูข้อความเต็มในข้อ ๒๕ (มหานามสูตร) หน้า ๒๖๙

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๒๗๑ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๓.คหปติวรรค ๘.ทุติยพลสูตร
๗. ปฐมพลสูตร
ว่าด้วยกำลัง สูตรที่ ๑
[๒๗] ภิกษุทั้งหลาย กำลัง ๘ ประการนี้
กำลัง ๘ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. เด็กมีการร้องไห้เป็นกำลัง
๒. มาตุคามมีความโกรธเป็นกำลัง
๓. โจรมีอาวุธเป็นกำลัง
๔. พระราชามีอิสริยยศเป็นกำลัง
๕. คนพาลมีการเพ่งโทษผู้อื่นเป็นกำลัง
๖. บัณฑิตมีการไม่เพ่งโทษผู้อื่นเป็นกำลัง
๗. คนผู้เป็นพหูสูตมีการพิจารณาเป็นกำลัง
๘. สมณพราหมณ์มีขันติ๑เป็นกำลัง
ภิกษุทั้งหลาย กำลัง ๘ ประการนี้แล
ปฐมพลสูตรที่ ๗ จบ

๘. ทุติยพลสูตร๒
ว่าด้วยกำลัง สูตรที่ ๒
[๒๘] ครั้งนั้น ท่านพระสารีบุตรเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวาย
อภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร พระผู้มีพระภาคได้ตรัสถามท่านพระสารีบุตรดังนี้ว่า
“สารีบุตร ภิกษุขีณาสพมีกำลัง๓เท่าไร จึงปฏิญญาความสิ้นอาสวะทั้งหลายว่า
‘อาสวะของเราสิ้นแล้ว”

เชิงอรรถ :
๑ ขันติ ในที่นี้หมายถึงอธิวาสนขันติ (องฺ.อฏฺฐก.อ. ๓/๒๗/๒๔๘)
๒ ดู องฺ.ทสก. (แปล) ๒๔/๙๐/๒๐๔-๒๐๖
๓ กำลัง ในที่นี้หมายถึงญาณพละ(กำลังแห่งญาณ) (องฺ.อฏฺฐก.อ.๓/๒๘/๒๔๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๒๗๒ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๓.คหปติวรรค ๘.ทุติยพลสูตร
ท่านพระสารีบุตรกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุขีณาสพมีกำลัง
๘ ประการ จึงปฏิญญาความสิ้นอาสวะทั้งหลายว่า ‘อาสวะของเราสิ้นแล้ว’
กำลังของภิกษุขีณาสพ ๘ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สังขารทั้งปวงเป็นธรรมที่ภิกษุขีณาสพในพระธรรมวินัยนี้เห็นว่าเป็น
สภาวะไม่เที่ยงด้วยปัญญาอันชอบ๑ตามความเป็นจริง แม้ข้อที่
สังขารทั้งปวงเป็นธรรมที่ภิกษุขีณาสพเห็นว่าเป็นสภาวะไม่เที่ยงด้วย
ปัญญาอันชอบตามความเป็นจริง นี้ก็เป็นกำลังของภิกษุขีณาสพ
ที่ภิกษุขีณาสพอาศัยปฏิญญาความสิ้นอาสวะทั้งหลายว่า ‘อาสวะ
ของเราสิ้นแล้ว’
๒. กามทั้งหลายเป็นธรรมที่ภิกษุขีณาสพเห็นว่าเปรียบด้วยหลุมถ่านเพลิง
ด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริง แม้ข้อที่กามทั้งหลายเป็น
ธรรมที่ภิกษุขีณาสพเห็นว่าเปรียบด้วยหลุมถ่านเพลิงด้วยปัญญาอันชอบ
ตามความเป็นจริง นี้ก็เป็นกำลังของภิกษุขีณาสพที่ภิกษุขีณาสพ
อาศัยปฏิญญาความสิ้นอาสวะทั้งหลายว่า ‘อาสวะของเราสิ้นแล้ว’
๓. จิตของภิกษุขีณาสพเป็นธรรมชาติน้อมไป โน้มไป โอนไป ตั้งอยู่ใน
วิเวก๒ ยินดียิ่งในเนกขัมมะ๓ ปราศจากเงื่อนธรรม๔อันเป็นที่ตั้งแห่ง
อาสวะโดยประการทั้งปวง แม้ข้อที่จิตของภิกษุขีณาสพเป็นธรรมชาติ
น้อมไป โน้มไป โอนไป ตั้งอยู่ในวิเวก ยินดียิ่งในเนกขัมมะ ปราศจาก
เงื่อนธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งอาสวะโดยประการทั้งปวง นี้ก็เป็นกำลัง
ของภิกษุขีณาสพ ที่ภิกษุขีณาสพอาศัยปฏิญญาความสิ้นอาสวะ
ทั้งหลายว่า ‘อาสวะของเราสิ้นแล้ว’

เชิงอรรถ :
๑ ปัญญาอันชอบ ในที่นี้หมายถึงมัคคปัญญา (องฺ.อฏฺฐก.อ.๓/๒๘/๒๔๘)
๒ วิเวก หมายถึงนิพพาน (องฺ.อฏฺฐก.อ.๓/๒๘/๒๔๘) และดู องฺ.ทสก. (แปล) ๒๔/๙๐/๒๐๔-๒๐๖
๓ เนกขัมมะ ในที่นี้หมายถึงบรรพชา (การบวช) (องฺ.อฏฺฐก.อ. ๓/๒๘/๒๔๘)
๔ ปราศจากเงื่อนธรรม ในที่นี้หมายถึงปราศจากตัณหา ไม่มีความยึดติดหรือหมดตัณหาแล้ว (องฺ.อฏฺฐก.อ.
๓/๒๘/๒๔๘, องฺ.อฏฺฐก.ฏีกา ๓/๒๘/๒๘๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๒๗๓ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๓.คหปติวรรค ๙.อักขณสูตร
๔. สติปัฏฐาน ๔ เป็นธรรมที่ภิกษุขีณาสพเจริญอบรมดีแล้ว แม้ข้อที่
สติปัฏฐาน ๔ เป็นธรรมที่ภิกษุขีณาสพเจริญอบรมดีแล้ว นี้ก็เป็น
กำลังของภิกษุขีณาสพที่ภิกษุขีณาสพอาศัยปฏิญญาความสิ้นอาสวะ
ทั้งหลายว่า ‘อาสวะของเราสิ้นแล้ว’
๕. อิทธิบาท ๔ เป็นธรรมที่ภิกษุขีณาสพเจริญอบรมดีแล้ว ฯลฯ
๖. อินทรีย์ ๕ เป็นธรรมที่ภิกษุขีณาสพเจริญอบรมดีแล้ว ฯลฯ
๗. โพชฌงค์ ๗ เป็นธรรมที่ภิกษุขีณาสพเจริญอบรมดีแล้ว ฯลฯ
๘. อริยมรรคมีองค์ ๘ เป็นธรรมที่ภิกษุขีณาสพเจริญอบรมดีแล้ว แม้
ข้อที่อริยมรรคมีองค์ ๘ เป็นธรรมที่ภิกษุขีณาสพเจริญอบรมดีแล้ว
นี้ก็เป็นกำลังของภิกษุขีณาสพที่ภิกษุขีณาสพอาศัยปฏิญญาความ
สิ้นอาสวะทั้งหลายว่า ‘อาสวะของเราสิ้นแล้ว’
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุขีณาสพมีกำลัง ๘ ประการนี้แล จึงปฏิญญา
ความสิ้นอาสวะทั้งหลายว่า ‘อาสวะของเราสิ้นแล้ว”
ทุติยพลสูตรที่ ๘ จบ

๙. อักขณสูตร
ว่าด้วยขณะที่ไม่สมควรอยู่ประพฤติพรหมจรรย์๑
[๒๙] ภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับกล่าวว่า ‘ชาวโลกทำกิจในขณะ๒
ชาวโลกทำกิจในขณะ’ แต่เขาไม่รู้ขณะหรือมิใช่ขณะเลย ภิกษุทั้งหลาย กาลที่ไม่ใช่
ขณะไม่ใช่สมัยที่จะอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ ๘ ประการนี้
กาล ๘ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ตถาคตผู้เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้ด้วยพระองค์เองโดยชอบ เพียบพร้อม
ด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดี รู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกผู้ที่ควรฝึก

เชิงอรรถ :
๑ ดู ที.ปา. ๑๑/๓๔๒/๒๓๓-๒๓๔
๒ ทำกิจในขณะ หมายถึงทำกิจทั้งหลายในเมื่อมีโอกาส (องฺ.อฏฺฐก.อ.๓/๒๙/๒๔๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๒๗๔ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๓.คหปติวรรค ๙.อักขณสูตร
ได้อย่างยอดเยี่ยม เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็น
พระพุทธเจ้า เป็นพระผู้มีพระภาค อุบัติขึ้นแล้วในโลกนี้ และแสดง
ธรรม๑ที่นำความสงบมาให้ เป็นไปเพื่อปรินิพพาน๒ ให้ถึงการตรัสรู้
ที่พระสุคตทรงประกาศแล้ว แต่บุคคลนี้เป็นผู้เข้าถึงนรก นี้ไม่ใช่ขณะ
ไม่ใช่สมัยที่จะอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ประการที่ ๑
๒. ตถาคต ฯลฯ เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็น
พระพุทธเจ้า เป็นพระผู้มีพระภาค อุบัติขึ้นแล้วในโลก และแสดง
ธรรมที่นำความสงบมาให้ เป็นไปเพื่อปรินิพพาน ให้ถึงการตรัสรู้
ที่พระสุคตทรงประกาศแล้ว แต่บุคคลนี้เป็นผู้เข้าถึงกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน
ฯลฯ
๓. ตถาคต ฯลฯ แต่บุคคลนี้เป็นผู้เข้าถึงเปรตวิสัย ฯลฯ
๔. ตถาคต ฯลฯ แต่บุคคลนี้เป็นผู้เข้าถึงเทพนิกาย๓ที่มีอายุยืนชั้นใด
ชั้นหนึ่งแล้ว ฯลฯ
๕. ตถาคต ฯลฯ แต่บุคคลนี้เป็นผู้กลับมาเกิดในปัจจันตชนบท และอยู่
ในพวกมิลักขะที่ไม่รู้เดียงสา ที่ไม่มีภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก และ
อุบาสิกาผ่านไปมา ฯลฯ
๖. ตถาคต ฯลฯ แต่บุคคลนี้เป็นผู้กลับมาเกิดในมัชฌิมชนบท เป็น
มิจฉาทิฏฐิ มีความเห็นวิปริตว่า ‘ทานที่ให้แล้วไม่มีผล ยัญที่บูชา
แล้วไม่มีผล การเซ่นสรวงไม่มีผล ผลวิบากแห่งกรรมที่ทำดีและชั่วก็
ไม่มี โลกนี้ไม่มี โลกหน้าไม่มี มารดาไม่มีคุณ บิดาไม่มีคุณ
โอปปาติกสัตว์๔ไม่มี สมณพราหมณ์ผู้ประพฤติดีปฏิบัติชอบ ทำให้
แจ้งโลกนี้และโลกหน้าด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้วสอนผู้อื่นให้รู้แจ้ง
ก็ไม่มีในโลก ฯลฯ

เชิงอรรถ :
๑ ธรรม ในที่นี้หมายถึงสัจจะ ๔ (องฺ.อฏฺฐก.อ.๓/๒๙/๒๔๘) และดู ที.ปา.๑๑/๓๕๘/๒๖๙
๒ ปรินิพพาน ในที่นี้หมายถึงความดับกิเลส (องฺ.อฏฺฐก.อ.๓/๒๙/๒๔๘)
๓ เทพนิกาย ในที่นี้หมายถึงหมู่เทพเกิดเป็นอสัญญีสัตว์ (องฺ.อฏฺฐก.อ.๓/๒๙/๒๔๘)
๔ โอปปาติกสัตว์ คือสัตว์ที่เกิดและเติบโตเต็มที่ทันที และเมื่อจุติ (ตาย) ก็หายวับไปไม่ทิ้งซากศพไว้ เช่นเทวดา
และสัตว์นรก เป็นต้น (ที.สี.อ. ๑/๑๗๑/๑๔๙)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๒๗๕ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๓.คหปติวรรค ๙.อักขณสูตร
๗. ตถาคต ฯลฯ แต่บุคคลนี้เป็นผู้กลับมาเกิดในมัชฌิมชนบท เป็นคน
มีปัญญาทราม โง่เขลา เป็นคนเซอะ๑ ไม่สามารถจะรู้เนื้อความแห่ง
สุภาษิตและทุพภาษิตได้ นี้มิใช่ขณะมิใช่สมัยที่จะอยู่ประพฤติ
พรหมจรรย์ประการที่ ๗
๘. ตถาคตผู้เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้ด้วยพระองค์เองโดยชอบ ฯลฯ
เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า เป็น
พระผู้มีพระภาค ไม่อุบัติขึ้นแล้วในโลก และไม่แสดงธรรมที่นำ
ความสงบมาให้ เป็นไปเพื่อปรินิพพาน ให้ถึงการตรัสรู้ ที่พระสุคต
ทรงประกาศแล้ว ถึงบุคคลนี้จะกลับมาเกิดในมัชฌิมชนบท และ
เป็นผู้มีปัญญา ไม่โง่เขลา ไม่เป็นคนเซอะ สามารถรู้เนื้อความ
แห่งสุภาษิตและทุพภาษิตได้ นี้มิใช่ขณะมิใช่สมัยที่จะอยู่ประพฤติ
พรหมจรรย์ประการที่ ๘
ภิกษุทั้งหลาย กาลที่มิใช่ขณะมิใช่สมัยที่จะอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ ๘ ประการ
นี้แล
ภิกษุทั้งหลาย ขณะและสมัยที่ควรอยู่ประพฤติพรหมจรรย์มีประการเดียวเท่านั้น
ขณะและสมัยประการเดียวนั้น เป็นอย่างไร
คือ ตถาคตเป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้ด้วยพระองค์เองโดยชอบ เพียบพร้อม
ด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดี รู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกผู้ที่ควรฝึกได้อย่างยอดเยี่ยม
เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระผู้มีพระภาค

เชิงอรรถ :
๑ เป็นคนเซอะ แปลจากบาลีว่า ‘เอฬมูโค’ อรรถกถาอธิบายว่า ‘ปคฺฆริตเขฬมูโค’ แปลว่า ‘เป็นใบ้มี
น้ำลายไหล’ (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๑๑๒/๔๘) หมายถึงใช้ปากพูดได้แต่เป็นใบ้ พูดไม่ชัด (สํ.ม.อ. ๓/๒๒๕-๒๓๑/
๒๒๓ แต่ในอภิธานปฺปทีปิกาฏีกา อธิบายว่า หมายถึงผู้ไม่ฉลาดพูดและไม่ฉลาดฟัง และไม่ฉลาดในภาษา
ที่จะพูด (วตฺตุํ โสตุญฺจ อกุสโล, วจเน จ อกุสโล) และแยกอธิบายอีกว่า เอโฬ หมายถึง พธิโร (คนหูหนวก)
มูโค หมายถึง อวจโน (พูดไม่ได้) หรือหมายถึงคนโอ้อวด (สเฐปิ เอฬมูโค) (อภิธา.ฏีกา คาถา ๗๓๔)
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉบับ “PALI TEXT SOCIETY” ให้ความหมายว่า Idiot (โง่ บ้า จิตทราม)
หรือ lack-wit (ขาดสติ) (The Book of the Gradual sayings, VOL. 111 PP. 106, 132)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๒๗๖ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๓.คหปติวรรค ๙.อักขณสูตร
อุบัติขึ้นแล้วในโลกนี้ และแสดงธรรมที่จะนำความสงบมาให้ เป็นไปเพื่อปรินิพพาน
ให้ถึงการตรัสรู้ ที่พระสุคตทรงประกาศแล้ว และบุคคลนี้กลับมาเกิดในมัชฌิมชนบท
และเป็นผู้มีปัญญา ไม่โง่เขลา ไม่เป็นคนเซอะ สามารถรู้เนื้อความแห่งสุภาษิตและ
ทุพภาษิตได้ ภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นขณะและสมัยที่จะอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ประการ
เดียวเท่านั้น
พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดาได้ตรัสเวยยากรณภาษิตนี้แล้ว จึงได้ตรัสคาถา
ประพันธ์ต่อไปอีกว่า
เหล่าชนผู้ได้เกิดเป็นมนุษย์แล้ว
เมื่อพระตถาคตทรงประกาศสัทธรรมดีแล้ว
ยังไม่ได้ขณะ ชื่อว่าปล่อยขณะให้ล่วงไป
ชนหมู่มากกล่าวถึงกาลที่มิใช่ขณะว่าทำอันตรายต่อมรรค
พระตถาคตทั้งหลายทรงอุบัติขึ้นในโลกเพียงบางครั้งบางคราว
สิ่งที่มาพร้อมกันที่หาได้ยากในโลก คือ
การได้กำเนิดเป็นมนุษย์และการแสดงสัทธรรม
ชนผู้ใคร่ประโยชน์ ควรพยายามในกาลดังกล่าวมานั้น
บุคคลควรเข้าใจสัทธรรม
ขณะอย่าได้ล่วงเลยท่านทั้งหลายไปเสีย
เพราะคนผู้ล่วงเลยขณะไป
ย่อมยัดเยียดเศร้าโศกอยู่ในนรก
หากเขาปล่อยประโยชน์ให้เสียไป
ไม่บรรลุความเป็นผู้แน่นอนต่อสัทธรรมในโลกนี้ได้
จักเดือดร้อนในภายหลังสิ้นกาลนาน
เหมือนพ่อค้าผู้ปล่อยประโยชน์ให้เสียไป ฉะนั้น
คนผู้ถูกอวิชชาหุ้มห่อไว้ พรากจากสัทธรรม
จักเสวยสังสารวัฏคือชาติและมรณะสิ้นกาลนาน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๒๗๗ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๓.คหปติวรรค ๑๐.อนุรุทธมหาวิตักกสูตร
ส่วนชนเหล่าใดได้ความเป็นมนุษย์แล้ว
เมื่อพระตถาคตทรงประกาศสัทธรรมดีแล้ว
ได้ทำแล้ว จักทำ หรือกำลังทำตามพระดำรัสของพระศาสดา
ปฏิบัติตามแนวทางที่พระตถาคตทรงประกาศแล้ว
ชนเหล่านั้นชื่อว่าได้รู้แจ้งขณะ
คือพรหมจรรย์อันยอดเยี่ยมในโลก
บุคคลพึงเป็นผู้คุ้มครองสังวร๑ที่พระตถาคตผู้มีพระจักษุ
ผู้เป็นเผ่าพันธุ์แห่งพระอาทิตย์ทรงแสดงแล้ว
พึงเป็นผู้ไม่ชุ่มด้วยราคะ มีสติอยู่ทุกเมื่อ
ชนเหล่าใดตัดอนุสัยทั้งปวงที่ไปตามฝั่งคือบ่วงแห่งมาร
เป็นผู้ถึงความสิ้นอาสวะแล้ว
ชนเหล่านั้นชื่อว่าเป็นผู้ถึงฝั่ง๒ในโลก
อักขณสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. อนุรุทธมหาวิตักกสูตร
ว่าด้วยมหาปุริสวิตกของพระอนุรุทธะ
[๓๐] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ในป่าเภสกฬามิคทายวัน เขต
กรุงสุงสุมารคิระ๓ แคว้นภัคคะ สมัยนั้นแล ท่านพระอนุรุทธะอยู่ที่ปาจีนวังสทายวัน
ครั้งนั้น ท่านพระอนุรุทธหลีกเร้นอยู่ในที่สงัด เกิดความคิดอย่างนี้ว่า “นี้เป็นธรรม๔

เชิงอรรถ :
๑ สังวร ในที่นี้หมายถึงสีลสังวร (องฺ.อฏฺฐก.อ. ๓/๒๙/๒๔๙)
๒ ฝั่ง ในที่นี้หมายถึงพระนิพพาน (องฺ.อฏฺฐก.อ. ๓/๒๙/๒๔๙)
๓ สุงสุมารคิระ หมายถึงชื่อนครหลวงแห่งแคว้นภัคคะที่พระพุทธเจ้าประทับจำพรรษาที่ ๘ สุงสุมารคีรี ก็เรียก
๔ ธรรม ในที่นี้หมายถึงโลกุตตรธรรม ๙ (องฺ.อฏฺฐก.อ. ๓/๓๐/๒๕๐) และดู ที.ปา. ๑๑/๓๕๘/๒๖๙

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๒๗๘ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๓.คหปติวรรค ๑๐.อนุรุทธมหาวิตักกสูตร
ของบุคคลผู้มักน้อย๑ ไม่ใช่ธรรมของบุคคลผู้มักมาก นี้เป็นธรรมของบุคคลผู้สันโดษ
ไม่ใช่ธรรมของบุคคลผู้ไม่สันโดษ นี้เป็นธรรมของบุคคลผู้สงัด๒ ไม่ใช่ธรรมของบุคคล
ผู้ยินดีในการคลุกคลี๓ นี้เป็นธรรมของบุคคลผู้ปรารภความเพียร ไม่ใช่ธรรมของ
บุคคลผู้เกียจคร้าน นี้เป็นธรรมของบุคคลผู้มีสติตั้งมั่น ไม่ใช่ธรรมของบุคคลผู้หลง
ลืมสติ นี้เป็นธรรมของบุคคลผู้มีใจตั้งมั่น ไม่ใช่ธรรมของบุคคลผู้มีใจไม่ตั้งมั่น นี้เป็น
ธรรมของบุคคลผู้มีปัญญา ไม่ใช่ธรรมของบุคคลผู้มีปัญญาทราม”
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทราบความคิดของท่านพระอนุรุทธะด้วยพระทัยแล้ว
ทรงหายจากเภสกฬามิคทายวัน เขตกรุงสุงสุมารคิระ แคว้นภัคคะ ไปปรากฏต่อ
หน้าท่านพระอนุรุทธะที่ปาจีนวังสทายวัน แคว้นเจตี๔ เหมือนบุรุษมีกำลังเหยียดแขน
ออกหรือคู้แขนเข้า ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคประทับนั่งบนพุทธอาสน์ที่ปูลาดไว้แล้ว
ฝ่ายท่านพระอนุรุทธะถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคแล้วนั่ง ณ ที่สมควร พระผู้มี
พระภาคจึงได้ตรัสกับท่านพระอนุรุทธะดังนี้ว่า
“ดีละ ดีละ อนุรุทธะ ดีจริง อนุรุทธะ เธอตรึกมหาปุริสวิตกว่า ‘นี้เป็นธรรม
ของบุคคลผู้มักน้อย ไม่ใช่ธรรมของบุคคลผู้มักมาก นี้เป็นธรรมของบุคคลผู้สันโดษ
ไม่ใช่ธรรมของบุคคลผู้ไม่สันโดษ นี้เป็นธรรมของบุคคลผู้สงัด ไม่ใช่ธรรมของบุคคลผู้
ยินดีในการคลุกคลี นี้เป็นธรรมของบุคคลผู้ปรารภความเพียร ไม่ใช่ธรรมของบุคคล
ผู้เกียจคร้าน นี้เป็นธรรมของบุคคลผู้มีสติตั้งมั่น ไม่ใช่ธรรมของบุคคลผู้หลงลืมสติ

เชิงอรรถ :
๑ มักน้อย ในที่นี้หมายถึงความมักน้อย ๔ อย่าง คือ (๑) มักน้อยในปัจจัย กล่าวคือ เมื่อคนอื่นให้ของมาก
ก็รับน้อย เมื่อเขาให้ของน้อย ก็รับน้อยกว่า (๒) มักน้อยในการบรรลุ กล่าวคือ ไม่ให้บุคคลอื่นรู้การ
บรรลุธรรมของตน (๓) มักน้อยในปริยัตติ กล่าวคือ แม้ตนเองเป็นผู้ทรงพระไตรปิฎก ก็ไม่ให้บุคคลอื่นรู้
(๔) มักน้อยในธุดงค์ กล่าวคือ ไม่ให้บุคคลอื่นรู้การรักษาธุดงค์ของตน ดุจพระเถระผู้เป็นพี่น้องกัน ๒ รูป
(องฺ.อฏฺฐก.อ. ๓/๓๐/๒๕๐)
๒ สงัด ในที่นี้หมายถึงวิเวก ๓ คือ กายวิเวก จิตตวิเวก และอุปธิวิเวก (องฺ.อฏฺฐก.อ. ๓/๓๐/๒๕๐)
๓ ยินดีในการคลุกคลี ในที่นี้หมายถึงยินดีการคลุกคลีด้วยหมู่คณะ และความคลุกคลีด้วยกิเลส (องฺ.อฏฺฐก.อ.
๓/๓๐/๒๕๑)
๔ เจตี เป็นชื่อแคว้นหนึ่งซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยของพวกเจ้าที่มีพระนามว่าเจตี (องฺ.อฏฺฐก.อ. ๓/๓๐/๒๔๙)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๒๗๙ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๓.คหปติวรรค ๑๐.อนุรุทธมหาวิตักกสูตร
นี้เป็นธรรมของบุคคลผู้มีใจตั้งมั่น ไม่ใช่ธรรมของบุคคลผู้มีใจไม่ตั้งมั่น นี้เป็นธรรม
ของบุคคลผู้มีปัญญา ไม่ใช่ธรรมของบุคคลผู้มีปัญญาทราม’ อนุรุทธะ ถ้าอย่างนั้น
เธอจงตรึกมหาปุริสวิตกข้อที่ ๘ นี้ว่า ‘นี้เป็นธรรมของบุคคลผู้ยินดีในนิปปปัญจธรรม๑
ผู้พอใจในนิปปปัญจธรรม ไม่ใช่ธรรมของบุคคลผู้ยินดีในปปัญจธรรม๒ ผู้พอใจใน
ปปัญจธรรม’
อนุรุทธะ เมื่อใดแล เธอจักตรึกมหาปุริสวิตก ๘ ประการนี้ เมื่อนั้น เธอจัก
หวังได้ทีเดียวว่า ‘จักสงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลาย บรรลุปฐมฌานที่มีวิตก
วิจาร ปีติ และสุขอันเกิดจากวิเวกอยู่’
อนุรุทธะ เมื่อใดแล เธอจักตรึกมหาปุริสวิตก ๘ ประการนี้ เมื่อนั้น เธอจัก
หวังได้ทีเดียวว่า ‘เพราะวิตกวิจารสงบระงับไป จักบรรลุทุติยฌานที่มีความผ่องใส
ภายใน มีภาวะที่จิตเป็นหนึ่งผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีแต่ปีติและสุขอันเกิด
จากสมาธิอยู่’
อนุรุทธะ เมื่อใดแล เธอจักตรึกมหาปุริสวิตก ๘ ประการนี้ เมื่อนั้น เธอจัก
หวังได้ทีเดียวว่า ‘เพราะปีติจางคลายไป จักเป็นผู้มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ เสวยสุข
ด้วยนามกาย บรรลุตติยฌานที่พระอริยะทั้งหลายสรรเสริญว่า ‘ผู้มีอุเบกขา มีสติ
อยู่เป็นสุข’
อนุรุทธะ เมื่อใดแล เธอจักตรึกมหาปุริสวิตก ๘ ประการนี้ เมื่อนั้น เธอจัก
หวังได้ทีเดียวว่า ‘เพราะละสุขและทุกข์ได้ เพราะโสมนัสและโทมนัสดับไปก่อนแล้ว
จักบรรลุจตุตถฌานที่ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขาอยู่’
อนุรทธะ เมื่อใดแล เธอจักตรึกมหาปุริสวิตก ๘ ประการนี้ และจักได้ฌาน ๔
อันมีในจิตยิ่งซึ่งเป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบันตามความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก
ได้โดยไม่ลำบาก เมื่อนั้น ผ้าบังสุกุลจีวรจักปรากฏแก่เธอผู้สันโดษ อยู่ด้วยความ
ยินดี ด้วยความไม่สะดุ้งกลัว ด้วยความอยู่ผาสุก ด้วยการก้าวลงสู่นิพพาน เปรียบ
เหมือนหีบใส่ผ้าของคหบดี หรือบุตรคหบดีเต็มไปด้วยผ้าที่ย้อมด้วยสีต่าง ๆ ฉะนั้น

เชิงอรรถ :
๑ นิปปปัญจธรรม หมายถึงนิพพาน (องฺ.อฏฺฐก.อ. ๓/๓๐/๒๕๑)
๒ ปปัญจธรรม หมายถึงตัณหา มานะ และทิฏฐิ (องฺ.อฏฺฐก.อ. ๓/๓๐/๒๕๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๒๘๐ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๓.คหปติวรรค ๑๐.อนุรุทธมหาวิตักกสูตร
อนุรุทธะ เมื่อใดแล เธอจักตรึกมหาปุริสวิตก ๘ ประการนี้ และจักได้
ฌาน ๔ อันมีในจิตยิ่งซึ่งเป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบันตามความปรารถนา ได้โดย
ไม่ยาก ได้โดยไม่ลำบาก เมื่อนั้น อาหารคือคำข้าวที่ได้มาด้วยปลีแข้งจักปรากฏ
แก่เธอผู้สันโดษ อยู่ด้วยความยินดี ด้วยความไม่สะดุ้งกลัว ด้วยความอยู่ผาสุก
ด้วยการก้าวลงสู่นิพพาน เปรียบเหมือนข้าวสุกแห่งข้าวสาลีของคหบดีหรือบุตรคหบดี
ที่คัดกากออกแล้ว มีแกงหลายอย่าง มีกับหลายอย่าง ฉะนั้น
อนุรุทธะ เมื่อใดแล เธอจักตรึกมหาปุริสวิตก ๘ ประการนี้ และจักได้ฌาน ๔
อันมีในจิตยิ่งซึ่งเป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบันตามความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก
ได้โดยไม่ลำบาก เมื่อนั้น เสนาสนะคือโคนไม้จักปรากฏแก่เธอผู้สันโดษ อยู่ด้วย
ความยินดี ด้วยความไม่สะดุ้งกลัว ด้วยความอยู่ผาสุก ด้วยการก้าวลงสู่นิพพาน
เปรียบเหมือนเรือนยอดของคหบดีหรือบุตรคหบดีที่โบกทั้งภายในและภายนอกลมพัด
เข้าไม่ได้ มีบานประตูปิดมิดชิด หน้าต่างปิดสนิท ฉะนั้น
อนุรุทธะ เมื่อใดแล เธอจักตรึกมหาปุริสวิตก ๘ ประการนี้ และจักได้ฌาน ๔
อันมีในจิตยิ่งซึ่งเป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบันตามความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก
ได้โดยไม่ลำบาก เมื่อนั้น ที่นอนและที่นั่งที่ลาดด้วยหญ้าจักปรากฏแก่เธอผู้สันโดษ
อยู่ด้วยความยินดี ด้วยความไม่สะดุ้งกลัว ด้วยความอยู่ผาสุก ด้วยการก้าวลงสู่
นิพพาน เปรียบเหมือนบัลลังก์ของคหบดีหรือบุตรคหบดีที่ลาดด้วยผ้าโกเชาว์ ลาดด้วย
เครื่องลาดขนแกะสีขาว ลาดด้วยเครื่องลาดทำด้วยขนแกะลาย ลาดด้วยเครื่องลาด
อย่างดีทำด้วยหนังชะมด ข้างบนมีเพดาน มีหมอนสีแดงวางไว้ทั้ง ๒ ข้าง ฉะนั้น
อนุรุทธะ เมื่อใดแล เธอจักตรึกมหาปุริสวิตก ๘ ประการนี้ และจักได้ฌาน ๔
อันมีในจิตยิ่งซึ่งเป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบันตามความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก
ได้โดยไม่ลำบาก เมื่อนั้น ยาดองด้วยน้ำมูตรเน่าจักปรากฏแก่เธอผู้สันโดษ อยู่ด้วย
ความยินดี ด้วยความไม่สะดุ้งกลัว ด้วยความอยู่ผาสุก ด้วยการก้าวลงสู่นิพพาน
เปรียบเหมือนเภสัชชนิดต่าง ๆ คือ เนยใส เนยข้น น้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อยของคหบดี
หรือบุตรคหบดี
อนุรุทธะ ถ้าอย่างนั้น เธอควรอยู่จำพรรษาที่ปาจีนวังสทายวัน แคว้นเจตีนี้แล
ต่อไปเถิด”


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๒๘๑ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๓.คหปติวรรค ๑๐.อนุรุทธมหาวิตักกสูตร
ท่านพระอนุรุทธะทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสสอนท่านพระอนุรุทธะด้วยพระโอวาทนี้แล้ว
ทรงหายจากปาจีนวังสทายวัน แคว้นเจตี ไปปรากฏที่เภสกฬามิคทายวัน เขตกรุง
สุงสุมารคิระ แคว้นภัคคะ เหมือนบุรุษมีกำลังเหยียดแขนออกหรือคู้แขนเข้า ฉะนั้น
พระผู้มีพระภาคประทับนั่งบนพุทธอาสน์ที่ปูลาดไว้ แล้วรับสั่งเรียกภิกษุ
ทั้งหลายมาตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงมหาปุริสวิตก ๘ ประการแก่เธอ
ทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง ฯลฯ
มหาปุริสวิตก ๘ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. นี้เป็นธรรมของบุคคลผู้มักน้อย ไม่ใช่ธรรมของบุคคลผู้มักมาก
๒. นี้เป็นธรรมของบุคคลผู้สันโดษ ไม่ใช่ธรรมของบุคคลผู้ไม่สันโดษ
๓. นี้เป็นธรรมของบุคคลผู้สงัด ไม่ใช่ธรรมของบุคคลผู้ยินดีในการคลุกคลี
๔. นี้เป็นธรรมของบุคคลผู้ปรารภความเพียร ไม่ใช่ธรรมของบุคคลผู้
เกียจคร้าน
๕. นี้เป็นธรรมของบุคคลผู้มีสติตั้งมั่น ไม่ใช่ธรรมของบุคคลผู้หลงลืมสติ
๖. นี้เป็นธรรมของบุคคลผู้มีใจตั้งมั่น ไม่ใช่ธรรมของบุคคลผู้มีใจไม่ตั้งมั่น
๗. นี้เป็นธรรมของบุคคลผู้มีปัญญา ไม่ใช่ธรรมของบุคคลผู้มีปัญญาทราม
๘. นี้เป็นธรรมของบุคคลผู้ยินดีในนิปปปัญจธรรม ผู้พอใจในนิปปปัญจ-
ธรรม ไม่ใช่ธรรมของบุคคลผู้ยินดีในปปัญจธรรม ผู้พอใจในปปัญจธรรม
เรากล่าวไว้เช่นนี้แลว่า ‘นี้เป็นธรรมของบุคคลผู้มักน้อย ไม่ใช่ธรรมของ
บุคคลผู้มักมาก‘ เพราะอาศัยเหตุอะไร เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น
ภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัยเหตุนี้ว่า ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นผู้มักน้อย
ไม่ปรารถนาว่า คนทั้งหลายพึงรู้จักเราว่า ‘เป็นผู้มักน้อย’ เป็นผู้สันโดษ ไม่ปรารถนา
ว่า คนทั้งหลายพึงรู้จักเราว่า ‘เป็นผู้สันโดษ’ เป็นผู้สงัด ไม่ปรารถนาว่า ‘คนทั้งหลาย
พึงรู้จักเราว่า ‘เป็นผู้สงัด’ เป็นผู้ปรารภความเพียร ไม่ปรารถนาว่า คนทั้งหลายพึง
รู้จักเราว่า ‘เป็นผู้ปรารภความเพียร’ เป็นผู้มีสติตั้งมั่น ไม่ปรารถนาว่า คนทั้งหลาย
พึงรู้จักเราว่า ‘เป็นผู้มีสติตั้งมั่น’ เป็นผู้มีใจตั้งมั่น ไม่ปรารถนาว่า คนทั้งหลายพึงรู้จัก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๒๘๒ }


>>>>> หน้าต่อไป >>>>>





eXTReMe Tracker