ค้นว่าอยู่เล่มใด แล้วกด [ctrl]+f หรือใช้คำสั่งของเครื่องหาตำแหน่งในเล่มอีกทีนะครับ



จัดรูปหน้าใหม่
เพื่อความสะดวก และสวยงาม
(เฉพาะหน้าจอใหญ่ เช่น คอมพิวเตอร์)
กรุณาคลิก จัดรูปหน้าใหม่
เพื่อให้กรอบ
ค้นข้อความ ปรากฎที่ด้านซ้ายของหน้า

พระไตรปิฎกภาษาไทย
ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ๔๕ เล่ม (ปกสีฟ้า)
ทั้งออนไลน์และออฟไลน์
ที่มาของข้อมูล : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับ มจร.
MCUTRAI Version 1.0

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๒ สุตตันตปิฎกที่ ๑๔ อังคุตตรนิกาย ปัญจก ฉักกนิบาต

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]
๑. เสขพลวรรค ๑.สังขิตตสูตร

พระสุตตันตปิฎก
อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต
_____________
ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

๑. ปฐมปัณณาสก์
๑. เสขพลวรรค
หมวดว่าด้วยเสขพละ๑
๑. สังขิตตสูตร
ว่าด้วยเสขพละโดยย่อ

[๑] ข้าพเจ้า๒ได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิก-
เศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคได้รับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมา
ตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึง
ได้ตรัสเรื่องนี้ว่า


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]
๑. เสขพลวรรค ๒. วิตถตสูตร

ภิกษุทั้งหลาย เสขพละ ๕ ประการ
เสขพละ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ

๑. สัทธาพละ (กำลังคือศรัทธา)
๒. หิริพละ (กำลังคือหิริ)
๓. โอตตัปปพละ (กำลังคือโอตตัปปะ)
๔. วิริยพละ (กำลังคือวิริยะ)
๕. ปัญญาพละ (กำลังคือปัญญา)

ภิกษุทั้งหลาย เสขพละ ๕ ประการนี้แล
เพราะเหตุนั้นแล เธอทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า ‘เราทั้งหลายจักเป็นผู้
ประกอบด้วยสัทธาพละ หิริพละ โอตตัปปพละ วิริยพละ และปัญญาพละ อันเป็น
เสขพละ’ ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้แล
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้ ภิกษุเหล่านั้นมีใจยินดีต่างชื่นชมภาษิตของ
พระผู้มีพระภาค

สังขิตตสูตรที่ ๑ จบ

๒. วิตถตสูตร
ว่าด้วยเสขพละโดยพิสดาร

[๒] ภิกษุทั้งหลาย เสขพละ ๕ ประการนี้
เสขพละ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ

๑. สัทธาพละ ๒. หิริพละ
๓. โอตตัปปพละ ๔. วิริยพละ
๕. ปัญญาพละ

สัทธาพละ เป็นอย่างไร
คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้เป็นผู้มีศรัทธา คือเชื่อปัญญาเครื่องตรัสรู้ของ
ตถาคตว่า ‘แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๒ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]
๑. เสขพลวรรค ๒. วิตถตสูตร

ด้วยพระองค์เองโดยชอบ เพียบพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดี รู้แจ้งโลก
เป็นสารถีฝึกผู้ที่ควรฝึกได้อย่างยอดเยี่ยม เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
เป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระผู้มีพระภาค๑’ นี้เรียกว่า สัทธาพละ


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]
๑. เสขพลวรรค ๒. วิตถตสูตร

หิริพละ เป็นอย่างไร
คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้เป็นผู้มีหิริ คือละอายต่อกายทุจริต วจีทุจริต
มโนทุจริต ละอายต่อการประกอบบาปอกุศลธรรมทั้งหลาย นี้เรียกว่า หิริพละ

โอตตัปปพละ เป็นอย่างไร
คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้เป็นผู้มีโอตตัปปะ คือสะดุ้งกลัวต่อกายทุจริต
วจีทุจริต มโนทุจริต สะดุ้งกลัวต่อการประกอบบาปอกุศลธรรมทั้งหลาย นี้เรียกว่า
โอตตัปปพละ

วิริยพละ เป็นอย่างไร
คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้อยู่ปรารภความเพียร๑ เพื่อละอกุศลธรรม เพื่อให้
กุศลธรรมเกิด มีความเข้มแข็ง๒ มีความบากบั่นมั่นคง ไม่ทอดธุระในกุศลธรรมทั้ง
หลายอยู่ นี้เรียกว่า วิริยพละ

ปัญญาพละ เป็นอย่างไร
คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้เป็นผู้มีปัญญา คือประกอบด้วยปัญญาเป็นเครื่อง
พิจารณาเห็นทั้งความเกิดและความดับอันเป็นอริยะ๓ ชำแรกกิเลสให้ถึงความสิ้นทุกข์
โดยชอบ นี้เรียกว่า ปัญญาพละ


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]
๑. เสขพลวรรค ๓. ทุกขสูตร

ภิกษุทั้งหลาย เสขพละ ๕ ประการนี้แล
ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล เธอทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า ‘เรา
ทั้งหลายจักเป็นผู้ประกอบด้วยสัทธาพละ หิริพละ โอตตัปปพละ วิริยพละ และ
ปัญญาพละ อันเป็นเสขพละ’
ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้แล

วิตถตสูตรที่ ๒ จบ

๓. ทุกขสูตร
ว่าด้วยธรรมที่เป็นเหตุให้อยู่เป็นทุกข์

[๓] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อมอยู่เป็นทุกข์
เดือดร้อน๑ คับแค้นใจ เร่าร้อน๒ในภพนี้แล หลังจากตายแล้วพึงหวังได้ทุคติ๓
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้

๑. เป็นผู้ไม่มีศรัทธา ๒. เป็นผู้ไม่มีหิริ
๓. เป็นผู้ไม่มีโอตตัปปะ ๔. เป็นผู้เกียจคร้าน
๕. เป็นผู้มีปัญญาทราม

ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมอยู่เป็นทุกข์ เดือดร้อน คับแค้นใจ
เร่าร้อนในภพนี้แล หลังจากตายแล้วพึงหวังได้ทุคติ
ส่วนภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อมอยู่เป็นสุข ไม่เดือดร้อน ไม่คับ
แค้นใจ ไม่เร่าร้อนในภพนี้แล หลังจากตายแล้วพึงหวังได้สุคติ


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]
๑. เสขพลวรรค ๔.ยถาถตสูตร

ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้

๑. เป็นผู้มีศรัทธา ๒. เป็นผู้มีหิริ
๓. เป็นผู้มีโอตตัปปะ ๔. เป็นผู้ปรารภความเพียร
๕. เป็นผู้มีปัญญา

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมอยู่เป็นสุข ไม่
เดือดร้อน ไม่คับแค้นใจ ไม่เร่าร้อนในภพนี้แล หลังจากตายแล้วพึงหวังได้สุคติ

ทุกขสูตรที่ ๓ จบ

๔. ยถาภตสูตร
ว่าด้วยธรรมที่เป็นเหตุให้เกิดในนรกเหมือนถูกนำไปฝังไว้

[๔] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อมดำรงอยู่ในนรก
เหมือนถูกนำไปฝังไว้
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้

๑. เป็นผู้ไม่มีศรัทธา ๒. เป็นผู้ไม่มีหิริ
๓. เป็นผู้ไม่มีโอตตัปปะ ๔. เป็นผู้เกียจคร้าน
๕. เป็นผู้มีปัญญาทราม

ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมดำรงอยู่ในนรกเหมือนถูกนำ
ไปฝังไว้
ส่วนภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อมดำรงอยู่ในสวรรค์เหมือนได้รับ
อัญเชิญไปประดิษฐานไว้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๖ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]
๑. เสขพลวรรค ๕. สิกขาสูตร

ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้

๑. เป็นผู้มีศรัทธา ๒. เป็นผู้มีหิริ
๓. เป็นผู้มีโอตตัปปะ ๔. เป็นผู้ปรารภความเพียร
๕. เป็นผู้มีปัญญา

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมดำรงอยู่ในสวรรค์
เหมือนได้รับอัญเชิญไปประดิษฐานไว้

ยถาภตสูตรที่ ๔ จบ

๕. สิกขาสูตร
ว่าด้วยการลาสิกขาที่เป็นเหตุให้ได้รับฐานะที่น่าติเตียน

[๕] ภิกษุทั้งหลาย ฐานะ๑ ๕ ประการ พร้อมทั้งเหตุคล้อยตามวาทะไม่ชอบ
ธรรมที่น่าติเตียนในปัจจุบัน ย่อมมาถึงภิกษุหรือภิกษุณีบางรูปผู้บอกคืนสิกขา กลับมา
เป็นคฤหัสถ์
ฐานะ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ

๑. ไม่มีศรัทธาในกุศลธรรม ๒. ไม่มีหิริในกุศลธรรม
๓. ไม่มีโอตตัปปะในกุศลธรรม ๔. ไม่มีวิริยะในกุศลธรรม
๕. ไม่มีปัญญาในกุศลธรรม

ภิกษุทั้งหลาย ฐานะ ๕ ประการ พร้อมทั้งเหตุคล้อยตามวาทะไม่ชอบธรรม
ที่น่าติเตียนในปัจจุบัน ย่อมมาถึงภิกษุหรือภิกษุณีบางรูปผู้บอกคืนสิกขากลับมาเป็น
คฤหัสถ์
ฐานะ ๕ ประการ พร้อมทั้งเหตุที่น่าสรรเสริญในปัจจุบัน ย่อมมาถึงภิกษุหรือ
ภิกษุณีบางรูป แม้มีทุกข์(ความทุกข์กาย) แม้มีโทมนัส(ความทุกข์ใจ) ร้องไห้น้ำตา
นองหน้าอยู่ ก็ยังประพฤติพรหมจรรย์ให้บริสุทธิ์บริบูรณ์ได้


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]
๑. เสขพลวรรค ๖. สมาปัตติสูตร

ฐานะ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ

๑. มีศรัทธาในกุศลธรรม ๒. มีหิริในกุศลธรรม
๓. มีโอตตัปปะในกุศลธรรม ๔. มีวิริยะในกุศลธรรม
๕. มีปัญญาในกุศลธรรม

ภิกษุทั้งหลาย ฐานะ ๕ ประการ พร้อมทั้งเหตุที่น่าสรรเสริญในปัจจุบัน
ย่อมมาถึงภิกษุหรือภิกษุณีบางรูป แม้มีทุกข์ แม้มีโทมนัส ร้องไห้น้ำตานองหน้าอยู่
ก็ยังประพฤติพรหมจรรย์ให้บริสุทธิ์บริบูรณ์ได้

สิกขาสูตรที่ ๕ จบ

๖. สมาปัตติสูตร
ว่าด้วยธรรมที่เป็นเหตุให้อกุศลธรรมเข้ามาได้

[๖] ภิกษุทั้งหลาย
๑. อกุศลธรรมเข้ามาไม่ได้ตลอดเวลาที่ศรัทธาในกุศลธรรมทั้งหลาย
ยังตั้งมั่นอยู่ แต่เมื่อใด ศรัทธาเสื่อมหายไป ความไม่มีศรัทธา
กลุ้มรุมอยู่ เมื่อนั้น อกุศลธรรมก็เข้ามาได้
๒. อกุศลธรรมเข้ามาไม่ได้ตลอดเวลาที่หิริในกุศลธรรมทั้งหลายยังตั้ง
มั่นอยู่ แต่เมื่อใด หิริเสื่อมหายไป ความไม่มีหิริกลุ้มรุมอยู่ เมื่อนั้น
อกุศลธรรมก็เข้ามาได้
๓. อกุศลธรรมเข้ามาไม่ได้ตลอดเวลาที่โอตตัปปะในกุศลธรรมทั้งหลายยัง
ตั้งมั่นอยู่ แต่เมื่อใด โอตตัปปะเสื่อมหายไป ความไม่มีโอตตัปปะ
กลุ้มรุมอยู่ เมื่อนั้น อกุศลธรรมก็เข้ามาได้
๔. อกุศลธรรมเข้ามาไม่ได้ตลอดเวลาที่วิริยะในกุศลธรรมทั้งหลายยัง
ตั้งมั่นอยู่ แต่เมื่อใด วิริยะเสื่อมหายไป ความเกียจคร้านกลุ้มรุมอยู่
เมื่อนั้น อกุศลธรรมก็เข้ามาได้
๕. อกุศลธรรมเข้ามาไม่ได้ตลอดเวลาที่ปัญญาในกุศลธรรมทั้งหลาย
ยังตั้งมั่นอยู่ แต่เมื่อใด ปัญญาเสื่อมหายไป ความไม่มีปัญญา
กลุ้มรุมอยู่ เมื่อนั้น อกุศลธรรมก็เข้ามาได้

สมาปัตติสูตรที่ ๖ จบ


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]
๑. เสขพลวรรค ๗. กามสูตร

๗. กามสูตร
ว่าด้วยกาม

[๗] ภิกษุทั้งหลาย โดยมาก สัตว์ทั้งหลายหมกมุ่นอยู่ในกาม๑ กุลบุตรผู้ละ
เคียวและคานหาบหญ้าออกบวชเป็นบรรพชิต ควรเรียกว่า ‘กุลบุตรผู้มีศรัทธา
ออกบวช’ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะเขาควรได้กามด้วยความเป็นหนุ่ม และกาม
เหล่านั้นก็มีระดับ คือ กามเลว กามปานกลาง และกามประณีต๒ แต่กามทั้งหมดก็
นับว่า ‘กาม’ ทั้งนั้น

เปรียบเหมือนเด็กอ่อนนอนหงาย เอาชิ้นไม้หรือชิ้นกระเบื้องใส่เข้าไปในปาก
เพราะความพลั้งเผลอของพี่เลี้ยง พี่เลี้ยงพึงใส่ใจในเด็กนั้นทันที รีบนำชิ้นไม้หรือ
ชิ้นกระเบื้องออกโดยเร็ว ถ้าไม่สามารถนำออกโดยเร็วได้ ก็เอามือซ้ายจับโดยเร็ว
งอนิ้วมือข้างขวาแล้วแยงเข้าไปนำออกมาทั้งที่ยังมีโลหิต ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะ
ความลำบากนั้นจะมีแก่เด็ก เราไม่กล่าวว่า ‘ไม่มีความลำบาก’ และพี่เลี้ยงผู้หวัง
ประโยชน์เกื้อกูลอนุเคราะห์ พึงทำอย่างนั้นด้วยความอนุเคราะห์ แต่เมื่อใด เด็กนั้น
เจริญวัย มีปัญญาสามารถ เมื่อนั้น พี่เลี้ยงก็วางใจในเด็กนั้นว่า ‘บัดนี้ เด็กมีความ
สามารถรักษาตนเองได้ ไม่ประมาท’ ฉันใด
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมเป็นผู้ที่เราต้องรักษาตลอดเวลา
ที่เธอยัง


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]
๑. เสขพลวรรค ๘. จวนสูตร

๑. ไม่ทำสิ่งที่ควรทำในกุศลธรรมด้วยศรัทธา
๒. ไม่ทำสิ่งที่ควรทำในกุศลธรรมด้วยหิริ
๓. ไม่ทำสิ่งที่ควรทำในกุศลธรรมด้วยโอตตัปปะ
๔. ไม่ทำสิ่งที่ควรทำในกุศลธรรมด้วยวิริยะ
๕. ไม่ทำสิ่งที่ควรทำในกุศลธรรมด้วยปัญญา

แต่เมื่อใด ภิกษุ

๑. ทำสิ่งที่ควรทำในกุศลธรรมด้วยศรัทธา
๒. ทำสิ่งที่ควรทำในกุศลธรรมด้วยหิริ
๓. ทำสิ่งที่ควรทำในกุศลธรรมด้วยโอตัปปะ
๔. ทำสิ่งที่ควรทำในกุศลธรรมด้วยวิริยะ
๕. ทำสิ่งที่ควรทำในกุศลธรรมด้วยปัญญา

เมื่อนั้น เราก็วางใจในภิกษุนั้นได้ว่า ‘บัดนี้ ภิกษุมีความสามารถรักษาตนได้
ไม่ประมาท’

กามสูตรที่ ๗ จบ

๘. จวนสูตร
ว่าด้วยธรรมที่เป็นเหตุให้เคลื่อนจากพระศาสนา

[๘] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อมเคลื่อน๑ ไม่ตั้งมั่น
ในสัทธรรม๒
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ

๑. ภิกษุผู้ไม่มีศรัทธา ย่อมเคลื่อน ไม่ตั้งมั่นในสัทธรรม
๒. ภิกษุผู้ไม่มีหิริ ย่อมเคลื่อน ไม่ตั้งมั่นในสัทธรรม
๓. ภิกษุผู้ไม่มีโอตตัปปะ ย่อมเคลื่อน ไม่ตั้งมั่นในสัทธรรม


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]
๑. เสขพลวรรค ๙. ปฐมอคารวสูตร

๔. ภิกษุผู้เกียจคร้าน ย่อมเคลื่อน ไม่ตั้งมั่นในสัทธรรม
๕. ภิกษุผู้มีปัญญาทราม ย่อมเคลื่อน ไม่ตั้งมั่นในสัทธรรม

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมเคลื่อน ไม่ตั้งมั่น
ในสัทธรรม

ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อมไม่เคลื่อน ตั้งมั่นในสัทธรรม
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ

๑. ภิกษุผู้มีศรัทธา ย่อมไม่เคลื่อน ตั้งมั่นในสัทธรรม
๒. ภิกษุผู้มีหิริ ย่อมไม่เคลื่อน ตั้งมั่นในสัทธรรม
๓. ภิกษุผู้มีโอตตัปปะ ย่อมไม่เคลื่อน ตั้งมั่นในสัทธรรม
๔. ภิกษุผู้ปรารภความเพียร ย่อมไม่เคลื่อน ตั้งมั่นในสัทธรรม
๕. ภิกษุผู้มีปัญญา ย่อมไม่เคลื่อน ตั้งมั่นในสัทธรรม

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมไม่เคลื่อน ตั้งมั่น
ในสัทธรรม

จวนสูตรที่ ๘ จบ

๙. ปฐมอคารวสูตร
ว่าด้วยธรรมที่เป็นเหตุให้ไม่เคารพ สูตรที่ ๑

[๙] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ เป็นผู้ไม่มีความ
เคารพ ไม่มีความยำเกรง ย่อมเคลื่อน ไม่ตั้งมั่นในสัทธรรม
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ

๑. ภิกษุผู้ไม่มีศรัทธา เป็นผู้ไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรง
ย่อมเคลื่อน ไม่ตั้งมั่นในสัทธรรม
๒. ภิกษุผู้ไม่มีหิริ เป็นผู้ไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรง ย่อมเคลื่อน
ไม่ตั้งมั่นในสัทธรรม

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๑๑ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]
๑. เสขพลวรรค ๙. ปฐมอคารวสูตร

๓. ภิกษุผู้ไม่มีโอตตัปปะ เป็นผู้ไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรง
ย่อมเคลื่อน ไม่ตั้งมั่นในสัทธรรม
๔. ภิกษุผู้เกียจคร้าน เป็นผู้ไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรง
ย่อมเคลื่อน ไม่ตั้งมั่นในสัทธรรม
๕. ภิกษุผู้มีปัญญาทราม เป็นผู้ไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรง
ย่อมเคลื่อน ไม่ตั้งมั่นในสัทธรรม

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล เป็นผู้ไม่มีความเคารพ
ไม่มีความยำเกรง ย่อมเคลื่อน ไม่ตั้งมั่นในสัทธรรม

ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ เป็นผู้มีความเคารพ มีความยำเกรง
ย่อมไม่เคลื่อน ตั้งมั่นในสัทธรรม
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ

๑. ภิกษุผู้มีศรัทธา เป็นผู้มีความเคารพ มีความยำเกรง ย่อมไม่
เคลื่อน ตั้งมั่นในสัทธรรม
๒. ภิกษุผู้มีหิริ เป็นผู้มีความเคารพ มีความยำเกรง ย่อมไม่เคลื่อน
ตั้งมั่นในสัทธรรม
๓. ภิกษุผู้มีโอตตัปปะ เป็นผู้มีความเคารพ มีความยำเกรง ย่อมไม่
เคลื่อน ตั้งมั่นในสัทธรรม
๔. ภิกษุผู้ปรารภความเพียร เป็นผู้มีความเคารพ มีความยำเกรง
ย่อมไม่เคลื่อน ตั้งมั่นในสัทธรรม
๕. ภิกษุผู้มีปัญญา เป็นผู้มีความเคารพ มีความยำเกรง ย่อมไม่
เคลื่อน ตั้งมั่นในสัทธรรม

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล เป็นผู้มีความเคารพ
มีความยำเกรง ย่อมไม่เคลื่อน ตั้งมั่นในสัทธรรม

ปฐมอคารวสูตรที่ ๙ จบ


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]
๑. เสขพลวรรค ๑๐. ทุติยอคารวสูตร

๑๐. ทุติยอคารวสูตร
ว่าด้วยธรรมที่เป็นเหตุให้ไม่เคารพ สูตรที่ ๒

[๑๐] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ เป็นผู้ไม่มีความ
เคารพ ไม่มีความยำเกรง ไม่อาจถึงความเจริญ งอกงาม ไพบูลย์ในธรรมวินัยนี้
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ

๑. ภิกษุผู้ไม่มีศรัทธา เป็นผู้ไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรง ไม่อาจ
ถึงความเจริญ งอกงาม ไพบูลย์ในธรรมวินัยนี้
๒. ภิกษุผู้ไม่มีหิริ ...
๓. ภิกษุผู้ไม่มีโอตตัปปะ ...
๔. ภิกษุผู้เกียจคร้าน ...
๕. ภิกษุผู้มีปัญญาทราม เป็นผู้ไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรง
ไม่อาจถึงความเจริญ งอกงาม ไพบูลย์ในธรรมวินัยนี้

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล เป็นผู้ไม่มีความ
เคารพ ไม่มีความยำเกรง ไม่อาจถึงความเจริญ งอกงาม ไพบูลย์ในธรรมวินัยนี้

ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ เป็นผู้มีความเคารพ มีความยำเกรง
อาจถึงความเจริญ งอกงาม ไพบูลย์ในธรรมวินัยนี้
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ

๑. ภิกษุผู้มีศรัทธา เป็นผู้มีความเคารพ มีความยำเกรง อาจถึง
ความเจริญ งอกงาม ไพบูลย์ในธรรมวินัยนี้
๒. ภิกษุผู้มีหิริ ...
๓. ภิกษุผู้มีโอตตัปปะ ...

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๑๓ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]
๑. เสขพลวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

๔. ภิกษุผู้ปรารภความเพียร ...
๕. ภิกษุผู้มีปัญญา เป็นผู้มีความเคารพ มีความยำเกรง อาจถึง
ความเจริญ งอกงาม ไพบูลย์ในธรรมวินัยนี้

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล เป็นผู้มีความเคารพ
มีความยำเกรง อาจถึงความเจริญ งอกงาม ไพบูลย์ในธรรมวินัยนี้

ทุติยอคารวสูตรที่ ๑๐ จบ
เสขพลวรรคที่ ๑ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. สังขิตตสูตร ๒. วิตถตสูตร
๓. ทุกขสูตร ๔. ยถาภตสูตร
๕. สิกขาสูตร ๖. สมาปัตติสูตร
๗. กามสูตร ๘. จวนสูตร
๙. ปฐมอคารวสูตร ๑๐. ทุติยอคารวสูตร


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]
๒. พลวรรค ๑. อนนุสสุตสูตร

๒. พลวรรค
หมวดว่าด้วยพละ
๑. อนนุสสุตสูตร
ว่าด้วยธรรมที่ไม่เคยสดับมาก่อน

[๑๑] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย เราได้บรรลุถึงบารมีอันเป็น
ที่สุดด้วยปัญญาอันยิ่งในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยสดับมาก่อน๑ จึงปฏิญญาได้ กำลัง
ของตถาคต ๕ ประการนี้ ที่ตถาคตมีแล้วเป็นเหตุให้ปฏิญญาฐานะที่องอาจ๒ บันลือ
สีหนาท๓ ประกาศพรหมจักร๔ ในบริษัท๕
กำลังของตถาคต ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ

๑. สัทธาพละ (กำลังคือศรัทธา)
๒. หิริพละ (กำลังคือหิริ)


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๒. พลวรรค ๒. กูฏสูตร

๓. โอตตัปปพละ (กำลังคือโอตตัปปะ)
๔. วิริยพละ (กำลังคือวิริยะ)
๕. ปัญญาพละ (กำลังคือปัญญา)

ภิกษุทั้งหลาย กำลังของตถาคต ๕ ประการนี้แล ที่ตถาคตมีแล้วเป็นเหตุให้
ปฏิญญาฐานะที่องอาจ บันลือสีหนาท ประกาศพรหมจักรในบริษัท

อนนุสสุตสูตรที่ ๑ จบ

๒. กูฏสูตร
ว่าด้วยธรรมที่เป็นยอดเหมือนยอดเรือน

[๑๒] ภิกษุทั้งหลาย เสขพละ๑ ๕ ประการนี้
เสขพละ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ

๑. สัทธาพละ ๒. หิริพละ
๓. โอตตัปปพละ ๔. วิริยพละ
๕. ปัญญาพละ

ภิกษุทั้งหลาย เสขพละ ๕ ประการนี้แล พละที่เป็นเลิศ เป็นที่รวม เป็นศูนย์
รวมแห่งเสขพละ ๕ ประการนี้ คือ ปัญญาพละ
ภิกษุทั้งหลาย สิ่งที่เป็นเลิศ เป็นที่รวม เป็นศูนย์รวมแห่งเรือนยอด คือยอด
เรือน แม้ฉันใด พละที่เป็นเลิศ เป็นที่รวม เป็นศูนย์รวมแห่งเสขพละ ๕ ประการนี้
คือปัญญาพละ ฉันนั้นเหมือนกันแล
เพราะเหตุนั้นแล เธอทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า ‘เราทั้งหลายจักเป็น
ผู้ประกอบด้วยสัทธาพละ... หิริพละ ... โอตตัปปพละ ... วิริยพละ ... ปัญญาพละ
อันเป็นเสขพละ’ ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้แล

กูฏสูตรที่ ๒ จบ


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๒. พลวรรค ๔. วิตถตสูตร

๓. สังขิตตสูตร
ว่าด้วยพละโดยย่อ

[๑๓] ภิกษุทั้งหลาย พละ ๕ ประการนี้
พละ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ

๑. สัทธาพละ ๒. วิริยพละ
๓. สติพละ (กำลังคือสติ) ๔. สมาธิพละ (กำลังคือสมาธิ)
๕. ปัญญาพละ

ภิกษุทั้งหลาย พละ ๕ ประการนี้แล

สังขิตตสูตรที่ ๓ จบ

๔. วิตถตสูตร
ว่าด้วยพละโดยพิสดาร

[๑๔] ภิกษุทั้งหลาย พละ ๕ ประการนี้
พละ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ

๑. สัทธาพละ ๒. วิริยพละ
๓. สติพละ ๔. สมาธิพละ
๕. ปัญญาพละ

สัทธาพละ เป็นอย่างไร
คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้เป็นผู้มีศรัทธา คือเชื่อปัญญาเครื่องตรัสรู้ของ
ตถาคตว่า ‘แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้
ด้วยพระองค์เองโดยชอบ เพียบพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดี รู้แจ้งโลก เป็น
สารถีฝึกผู้ที่ควรฝึกได้อย่างยอดเยี่ยม เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
เป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระผู้มีพระภาค’ นี้เรียกว่า สัทธาพละ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๑๗ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๒. พลวรรค ๔. วิตถตสูตร

วิริยพละ เป็นอย่างไร
คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้เป็นผู้ปรารภความเพียร เพื่อละอกุศลธรรม เพื่อ
ให้กุศลธรรมเกิด มีความเข้มแข็ง มีความบากบั่นมั่นคง ไม่ทอดธุระในกุศลธรรมทั้ง
หลายอยู่ นี้เรียกว่า วิริยพละ

สติพละ เป็นอย่างไร
คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้เป็นผู้มีสติ คือประกอบด้วยสติปัญญาเป็นเครื่อง
รักษาตนอย่างยิ่ง ระลึกถึงสิ่งที่ทำคำที่พูดแม้นานได้ นี้เรียกว่า สติพละ

สมาธิพละ เป็นอย่างไร
คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้สงัดจากกาม และอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว
บรรลุปฐมฌานที่มีวิตกวิจาร มีปีติและสุขอันเกิดจากวิเวกอยู่ เพราะวิตกวิจารสงบ
ระงับไป บรรลุทุติยฌานมีความผ่องใสในภายใน มีภาวะที่จิตเป็นหนึ่งผุดขึ้น๑ไม่มีวิตก
ไม่มีวิจาร มีแต่ปีติและสุขเกิดจากสมาธิอยู่ เพราะปีติจางคลายไป เป็นผู้มีอุเบกขา
มีสติ สัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย บรรลุตติยฌานที่พระอริยะทั้งหลายสรรเสริญ
ว่า ‘ผู้มีอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข’ เพราะละสุขและทุกข์ได้ เพราะโสมนัสโทมนัสดับ
ไปก่อนแล้ว บรรลุจตุตถฌานที่ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขาอยู่ นี้เรียก
ว่า สมาธิพละ

ปัญญาพละ เป็นอย่างไร
คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้เป็นผู้มีปัญญา คือประกอบด้วยปัญญาเป็นเครื่อง
พิจารณาเห็นทั้งความเกิดและความดับอันเป็นอริยะ ชำแรกกิเลสให้ถึงความสิ้นทุกข์
โดยชอบ นี้เรียกว่า ปัญญาพละ

ภิกษุทั้งหลาย พละ ๕ ประการนี้แล

วิตถตสูตรที่ ๔ จบ


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]
๒. พลวรรค ๕. ทัฏฐัพพสูตร

๕. ทัฏฐัพพสูตร
ว่าด้วยธรรมที่พึงเห็น

[๑๕] ภิกษุทั้งหลาย พละ ๕ ประการนี้
พละ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ

๑. สัทธาพละ ๒. วิริยพละ
๓. สติพละ ๔. สมาธิพละ
๕. ปัญญาพละ

ภิกษุทั้งหลาย พึงเห็นสัทธาพละได้ที่ไหน
พึงเห็นได้ในโสตาปัตติยังคะ๑ พึงเห็นสัทธาพละได้ที่นี้
พึงเห็นวิริยพละได้ที่ไหน
พึงเห็นได้ในสัมมัปปธาน ๔๒ พึงเห็นวิริยพละได้ที่นี้
พึงเห็นสติพละได้ที่ไหน
พึงเห็นได้ในสติปัฏฐาน ๔๓ พึงเห็นสติพละได้ที่นี้
พึงเห็นสมาธิพละได้ที่ไหน


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]
๒. พลวรรค ๖. ปุนกูฏสูตร

พึงเห็นได้ในฌาน ๔๑ พึงเห็นสมาธิพละได้ที่นี้
พึงเห็นปัญญาพละได้ที่ไหน
พึงเห็นได้ในอริยสัจ ๔๒ พึงเห็นปัญญาพละได้ที่นี้
ภิกษุทั้งหลาย พละ ๕ ประการนี้แล

ทัฏฐัพพสูตรที่ ๕ จบ

๖. ปุนกูฏสูตร
ว่าด้วยกำลังที่เป็นยอด

[๑๖] ภิกษุทั้งหลาย พละ ๕ ประการนี้
พละ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ

๑. สัทธาพละ ๒. วิริยพละ
๓. สติพละ ๔. สมาธิพละ
๕. ปัญญาพละ

ภิกษุทั้งหลาย พละ ๕ ประการนี้แล พละที่เป็นเลิศ เป็นที่รวม เป็นศูนย์รวม
แห่งพละ ๕ ประการนี้ คือปัญญาพละ
ภิกษุทั้งหลาย สิ่งที่เป็นเลิศ เป็นที่รวม เป็นศูนย์รวมแห่งเรือนยอด คือยอด
เรือน แม้ฉันใด พละที่เป็นเลิศ เป็นที่รวม เป็นศูนย์รวมแห่งเสขพละ ๕ ประการนี้
คือปัญญาพละ ฉันนั้นเหมือนกันแล

ปุนกูฏสูตรที่ ๒ จบ


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]
๒. พลวรรค ๘. ทุติยหิตสูตร

๗. ปฐมหิตสูตร
ว่าด้วยภิกษุผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูล สูตรที่ ๑

[๑๗] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ชื่อว่าปฏิบัติเพื่อ
เกื้อกูลตน ไม่ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลผู้อื่น
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้

๑. ตนเองเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีล แต่ไม่ชักชวนผู้อื่นให้ถึงพร้อมด้วยศีล
๒. ตนเองเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยสมาธิ แต่ไม่ชักชวนผู้อื่นให้ถึงพร้อมด้วย
สมาธิ
๓. ตนเองเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยปัญญา แต่ไม่ชักชวนผู้อื่นให้ถึงพร้อม
ด้วยปัญญา
๔. ตนเองเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิมุตติ แต่ไม่ชักชวนผู้อื่นให้ถึงพร้อมด้วย
วิมุตติ
๕. ตนเองเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิมุตติญาณทัสสนะ (ความรู้ความเห็นใน
วิมุตติ) แต่ไม่ชักชวนผู้อื่นให้ถึงพร้อมด้วยวิมุตติญาณทัสสนะ

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ชื่อว่าปฏิบัติเพื่อ
เกื้อกูลตน ไม่ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลผู้อื่น

ปฐมหิตสูตรที่ ๗ จบ

๘. ทุติยหิตสูตร
ว่าด้วยภิกษุผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูล สูตรที่ ๒

[๑๘] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ชื่อว่าปฏิบัติเพื่อ
เกื้อกูลผู้อื่น ไม่ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตน
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้

๑. ตนเองไม่เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีล แต่ชักชวนผู้อื่นให้ถึงพร้อมด้วยศีล
๒. ตนเองไม่เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยสมาธิ แต่ชักชวนผู้อื่นให้ถึงพร้อมด้วย
สมาธิ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๒๑ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]
๒. พลวรรค ๙. ตติยหิตสูตร

๓. ตนเองไม่เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยปัญญา แต่ชักชวนผู้อื่นให้ถึงพร้อม
ด้วยปัญญา
๔. ตนเองไม่เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิมุตติ แต่ชักชวนผู้อื่นให้ถึงพร้อมด้วย
วิมุตติ
๕. ตนเองไม่เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิมุตติญาณทัสสนะ แต่ชักชวนผู้อื่นให้
ถึงพร้อมด้วยวิมุตติญาณทัสสนะ

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ชื่อว่าปฏิบัติเพื่อ
เกื้อกูลผู้อื่น ไม่ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตน

ทุติยหิตสูตรที่ ๘ จบ

๙. ตติยหิตสูตร
ว่าด้วยภิกษุผู้ไม่ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูล สูตรที่ ๓

[๑๙] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ชื่อว่าไม่ปฏิบัติเพื่อ
เกื้อกูลตน ไม่ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลผู้อื่น
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้

๑. ตนเองไม่เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีล และไม่ชักชวนผู้อื่นให้ถึงพร้อมด้วยศีล
๒. ตนเองไม่เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยสมาธิ และไม่ชักชวนผู้อื่นให้ถึงพร้อม
ด้วยสมาธิ
๓. ตนเองไม่เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยปัญญา และไม่ชักชวนผู้อื่นให้ถึง
พร้อมด้วยปัญญา
๔. ตนเองไม่เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิมุตติ และไม่ชักชวนผู้อื่นให้ถึงพร้อม
ด้วยวิมุตติ
๕. ตนเองไม่เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิมุตติญาณทัสสนะ และไม่ชักชวนผู้อื่น
ให้ถึงพร้อมด้วยวิมุตติญาณทัสสนะ

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ชื่อว่าไม่ปฏิบัติเพื่อ
เกื้อกูลตน ไม่ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลผู้อื่น

ตติยหิตสูตรที่ ๙ จบ


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]
๒. พลวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

๑๐. จตุตถหิตสูตร
ว่าด้วยภิกษุผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูล สูตรที่ ๔

[๒๐] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ชื่อว่าปฏิบัติ
เพื่อเกื้อกูลตน และปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลผู้อื่น
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้

๑. ตนเองเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีล และชักชวนผู้อื่นให้ถึงพร้อมด้วยศีล
๒. ตนเองเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยสมาธิ และชักชวนผู้อื่นให้ถึงพร้อมด้วย
สมาธิ
๓. ตนเองเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยปัญญา และชักชวนผู้อื่นให้ถึงพร้อมด้วย
ปัญญา
๔. ตนเองเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิมุตติ และชักชวนผู้อื่นให้ถึงพร้อมด้วยวิมุตติ
๕. ตนเองเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิมุตติญาณทัสสนะ และชักชวนผู้อื่นให้
ถึงพร้อมด้วยวิมุตติญาณทัสสนะ

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ชื่อว่าปฏิบัติเพื่อ
เกื้อกูลตน และปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลผู้อื่น

จตุตถหิตสูตรที่ ๑๐ จบ
พลวรรคที่ ๒ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. อนนุสสุตสูตร ๒. กูฏสูตร
๓. สังขิตตสูตร ๔. วิตถตสูตร
๕. ทัฏฐัพพสูตร ๖. ปุนกูฏสูตร
๗. ปฐมหิตสูตร ๘. ทุติยหิตสูตร
๙. ตติยหิตสูตร ๑๐. จตุตถหิตสูตร


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]
๓. ปัญจังคิกวรรค ๑. ปฐมอคารวสูตร

๓. ปัญจังคิกวรรค
หมวดว่าด้วยการเจริญสัมมาสมาธิที่ประกอบด้วยองค์ ๕

๑. ปฐมอคารวสูตร
ว่าด้วยความไม่เคารพ สูตรที่ ๑

[๒๑] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย

๑. เป็นไปไม่ได้เลยที่ภิกษุไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรง ไม่มี
ความประพฤติเสมอภาคในเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย จักบำเพ็ญ
อภิสมาจาริกธรรม๑ให้บริบูรณ์ได้
๒. เป็นไปไม่ได้เลยที่ภิกษุไม่บำเพ็ญอภิสมาจาริกธรรมให้บริบูรณ์แล้ว
จักบำเพ็ญเสขธรรม๒ให้บริบูรณ์ได้
๓. เป็นไปไม่ได้เลยที่ภิกษุไม่บำเพ็ญเสขธรรมให้บริบูรณ์แล้ว จักบำเพ็ญ
ศีลทั้งหลาย๓ให้บริบูรณ์ได้
๔. เป็นไปไม่ได้เลยที่ภิกษุไม่บำเพ็ญศีลทั้งหลายให้บริบูรณ์แล้ว จัก
บำเพ็ญสัมมาทิฏฐิ๔ให้บริบูรณ์ได้


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]
๓. ปัญจังคิกวรรค ๒. ทุติยอคารวสูตร

๕. เป็นไปไม่ได้เลยที่ภิกษุไม่บำเพ็ญสัมมาทิฏฐิให้บริบูรณ์แล้ว จักบำเพ็ญ
สัมมาสมาธิ๑ให้บริบูรณ์ได้

ภิกษุทั้งหลาย

๑. เป็นไปได้ที่ภิกษุมีความเคารพ มีความยำเกรง มีความประพฤติ
เสมอภาคในเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย จักบำเพ็ญอภิสมาจาริกธรรม
ให้บริบูรณ์ได้
๒. เป็นไปได้ที่ภิกษุบำเพ็ญอภิสมาจาริกธรรมให้บริบูรณ์แล้ว จักบำเพ็ญ
เสขธรรมให้บริบูรณ์ได้
๓. เป็นไปได้ที่ภิกษุบำเพ็ญเสขธรรมให้บริบูรณ์แล้ว จักบำเพ็ญศีล
ทั้งหลาย ให้บริบูรณ์ได้
๔. เป็นไปได้ที่ภิกษุบำเพ็ญศีลทั้งหลายให้บริบูรณ์แล้ว จักบำเพ็ญสัมมา-
ทิฏฐิให้บริบูรณ์ได้
๕. เป็นไปได้ที่ภิกษุบำเพ็ญสัมมาทิฏฐิให้บริบูรณ์แล้ว จักบำเพ็ญ
สัมมาสมาธิ ให้บริบูรณ์ได้

ปฐมอคารวสูตรที่ ๑ จบ

๒. ทุติยอคารวสูตร
ว่าด้วยความไม่เคารพ สูตรที่ ๒

[๒๒] ภิกษุทั้งหลาย

๑. เป็นไปไม่ได้เลยที่ภิกษุผู้ไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรง ไม่มี
ความประพฤติเสมอภาคในเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย จักบำเพ็ญ
อภิสมาจาริกธรรมให้บริบูรณ์ได้


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]
๓. ปัญจังคิกวรรค ๒. ทุติยอคารวสูตร

๒. เป็นไปไม่ได้เลยที่ภิกษุไม่บำเพ็ญอภิสมาจาริกธรรมให้บริบูรณ์แล้ว
จักบำเพ็ญเสขธรรมให้บริบูรณ์ได้
๓. เป็นไปไม่ได้เลยที่ภิกษุไม่บำเพ็ญเสขธรรมให้บริบูรณ์แล้ว จักบำเพ็ญ
สีลขันธ์ให้บริบูรณ์ได้
๔. เป็นไปไม่ได้เลยที่ภิกษุไม่บำเพ็ญสีลขันธ์ให้บริบูรณ์แล้ว จักบำเพ็ญ
สมาธิขันธ์ให้บริบูรณ์ได้
๕. เป็นไปไม่ได้เลยที่ภิกษุไม่บำเพ็ญสมาธิขันธ์ให้บริบูรณ์แล้ว จักบำเพ็ญ
ปัญญาขันธ์ให้บริบูรณ์ได้

ภิกษุทั้งหลาย

๑. เป็นไปได้ที่ภิกษุผู้มีความเคารพ มีความยำเกรง มีความประพฤติ
เสมอภาคในเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย จักบำเพ็ญอภิสมาจาริกธรรม
ให้บริบูรณ์ได้
๒. เป็นไปได้ที่ภิกษุบำเพ็ญอภิสมาจาริกธรรมให้บริบูรณ์แล้ว จักบำเพ็ญ
เสขธรรมให้บริบูรณ์ได้
๓. เป็นไปได้ที่ภิกษุบำเพ็ญเสขธรรมให้บริบูรณ์แล้ว จักบำเพ็ญสีลขันธ์
ให้บริบูรณ์ได้
๔. เป็นไปได้ที่ภิกษุบำเพ็ญสีลขันธ์ให้บริบูรณ์แล้ว จักบำเพ็ญสมาธิขันธ์
ให้บริบูรณ์ได้
๕. เป็นไปได้ที่ภิกษุบำเพ็ญสมาธิขันธ์ให้บริบูรณ์แล้ว จักบำเพ็ญ
ปัญญาขันธ์ให้บริบูรณ์ได้

ทุติยอคารวสูตรที่ ๒ จบ


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]
๓. ปัญจังคิกวรรค ๓. อุปกิเลสสูตร

๓. อุปกิเลสสูตร
ว่าด้วยความเศร้าหมอง

[๒๓] ภิกษุทั้งหลาย สิ่งเศร้าหมองแห่งทอง ๕ ประการ เป็นเหตุให้ทอง
เศร้าหมอง ไม่อ่อน ใช้การไม่ได้ ไม่ผุดผ่อง แตกง่าย ใช้งานไม่ได้ดี
สิ่งเศร้าหมองแห่งทอง ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ

๑. เหล็ก ๒. โลหะ
๓. ดีบุก ๔. ตะกั่ว
๕. เงิน

ภิกษุทั้งหลาย สิ่งเศร้าหมองแห่งทอง ๕ ประการนี้แล เป็นเหตุให้ทอง
เศร้าหมอง ไม่อ่อน ใช้การไม่ได้ ไม่ผุดผ่อง แตกง่าย ใช้งานไม่ได้ดี
แต่เมื่อใด ทองพ้นจากสิ่งเศร้าหมอง ๕ ประการนี้แล้ว เมื่อนั้น ทองนั้น
ย่อมอ่อน ใช้การได้ ผุดผ่อง ไม่แตกง่าย ใช้งานได้ดี และช่างทองมุ่งหมายจะทำ
เครื่องประดับชนิดใด ๆ คือ แหวน ต่างหู สร้อยคอ หรือมาลัยทอง เครื่องประดับ
ชนิดนั้นย่อมอำนวยประโยชน์ให้เขาได้ ฉันใด
ความเศร้าหมองแห่งจิต ๕ ประการ เป็นเหตุให้จิตเศร้าหมอง ไม่อ่อน
ไม่เหมาะแก่การใช้งาน ไม่ผุดผ่อง ฟุ้งซ่าน ไม่ตั้งมั่นดีเพื่อความสิ้นอาสวะ ฉันนั้น
เหมือนกัน
ความเศร้าหมองแห่งจิต ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ

๑. กามฉันทะ (ความพอใจในกาม)
๒. พยาบาท (ความคิดร้าย)
๓. ถีนมิทธะ (ความหดหู่และเซื่องซึม)
๔. อุทธัจจกุกกุจจะ (ความฟุ้งซ่านและร้อนใจ)
๕. วิจิกิจฉา (ความลังเลสงสัย)

ความเศร้าหมองแห่งจิต ๕ ประการนี้แล เป็นเหตุให้จิตเศร้าหมอง ไม่อ่อน
ไม่เหมาะแก่การใช้งาน ไม่ผุดผ่อง ฟุ้งซ่าน ไม่ตั้งมั่นดีเพื่อความสิ้นอาสวะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๒๗ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]
๓. ปัญจังคิกวรรค ๓. อุปกิเลสสูตร

แต่เมื่อใด จิตพ้นจากความเศร้าหมอง ๕ ประการนี้แล้ว เมื่อนั้น จิตนั้น
ย่อมอ่อน เหมาะแก่การใช้งาน ผุดผ่อง ไม่ฟุ้งซ่าน ตั้งมั่นดีเพื่อความสิ้นอาสวะ
และภิกษุจะน้อมจิตไปเพื่อทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งซึ่งธรรมที่ควรทำให้แจ้งด้วย
ปัญญาอันยิ่งใด ๆ เมื่อมีเหตุ๑ เธอย่อมบรรลุความเป็นผู้เหมาะสมที่จะประจักษ์ชัดใน
ธรรมนั้น ๆ
ถ้าภิกษุนั้นหวังว่า ‘เราพึงแสดงฤทธิ์ได้หลายอย่าง คือ คนเดียวแสดงเป็น
หลายคนก็ได้ หลายคนแสดงเป็นคนเดียวก็ได้ แสดงให้ปรากฏ หรือให้หายไปก็ได้
ทะลุฝา กำแพง และภูเขาไปได้ไม่ติดขัดเหมือนไปในที่ว่างก็ได้ ผุดขึ้นหรือดำลงใน
แผ่นดินเหมือนไปในน้ำก็ได้ เดินบนน้ำโดยที่น้ำไม่แยกเหมือนเดินบนแผ่นดินก็ได้
นั่งขัดสมาธิเหาะไปในอากาศเหมือนนกบินไปก็ได้ ใช้ฝ่ามือลูบคลำดวงจันทร์ และ
ดวงอาทิตย์ อันมีฤทธิ์มากมีอานุภาพมากก็ได้ ใช้อำนาจทางกายไปจนถึงพรหมโลก
ก็ได้’ เมื่อมีเหตุ เธอย่อมบรรลุความเป็นผู้เหมาะสมที่จะประจักษชัดในธรรมนั้น ๆ
ถ้าภิกษุนั้นหวังว่า ‘เราพึงได้ยินเสียง ๒ ชนิด คือ เสียงทิพย์และเสียงมนุษย์
ทั้งที่อยู่ไกลและอยู่ใกล้ ด้วยหูทิพย์อันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์’ เมื่อมีเหตุ เธอย่อม
บรรลุความเป็นผู้เหมาะสมที่จะประจักษ์ชัดในธรรมนั้น ๆ
ถ้าภิกษุนั้นหวังว่า ‘เราพึงกำหนดรู้จิตของสัตว์และบุคคลอื่นได้ด้วยจิตของตน
คือ จิตมีราคะก็รู้ว่ามีราคะ หรือปราศจากราคะก็รู้ว่าปราศจากราคะ จิตมีโทสะ
ก็รู้ว่ามีโทสะ หรือปราศจากโทสะก็รู้ว่าปราศจากโทสะ จิตมีโมหะก็รู้ว่ามีโมหะ หรือ
ปราศจากโมหะก็รู้ว่าปราศจากโมหะ จิตหดหู่ก็รู้ว่าหดหู่ หรือฟุ้งซ่านก็รู้ว่าฟุ้งซ่าน
จิตเป็นมหัคคตะ๒ก็รู้ว่าเป็นมหัคคตะ หรือไม่เป็นมหัคคตะก็รู้ว่าไม่เป็นมหัคคตะ


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]
๓. ปัญจังคิกวรรค ๓. อุปกิเลสสูตร

จิตมีจิตอื่นยิ่งกว่าก็รู้ว่ามีจิตอื่นยิ่งกว่า หรือไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่าก็รู้ว่าไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า
จิตเป็นสมาธิก็รู้ว่าเป็นสมาธิ หรือไม่เป็นสมาธิก็รู้ว่าไม่เป็นสมาธิ จิตหลุดพ้นก็รู้ว่า
หลุดพ้น หรือไม่หลุดพ้นก็รู้ว่าไม่หลุดพ้น’ เมื่อมีเหตุ เธอย่อมบรรลุความเป็นผู้
เหมาะสมที่จะประจักษ์ชัดในธรรมนั้น ๆ
ถ้าภิกษุนั้นหวังว่า ‘เราพึงระลึกชาติก่อนได้หลายชาติ คือ ๑ ชาติบ้าง
๒ ชาติบ้าง ๓ ชาติบ้าง ๔ ชาติบ้าง ๕ ชาติบ้าง ๑๐ ชาติบ้าง ๒๐ ชาติบ้าง
๓๐ ชาติบ้าง ๔๐ ชาติบ้าง ๕๐ ชาติบ้าง ๑๐๐ ชาติบ้าง ๑,๐๐๐ ชาติบ้าง
๑๐๐,๐๐๐ ชาติบ้าง ตลอดสังวัฏกัปเป็นอันมากบ้าง ตลอดวิวัฏฏกัป๑เป็นอัน มาก
บ้าง ตลอดสังวัฏฏกัปและวิวัฏฏกัปเป็นอันมากบ้างว่า ในภพโน้น เรามีชื่ออย่างนั้น
มีตระกูล มีวรรณะ มีอาหาร เสวยสุขทุกข์ และมีอายุอย่างนั้น ๆ จุติจากภพนั้น
ก็ไปเกิดในภพโน้น แม้ในภพนั้น เราก็มีชื่ออย่างนั้น มีตระกูล มีวรรณะ มีอาหาร
เสวยสุขทุกข์ และมีอายุอย่างนั้น ๆ จุติจากภพนั้นจึงมาเกิดในภพนี้ เราพึงระลึกชาติ
ก่อนได้หลายชาติ พร้อมทั้งลักษณะทั่วไปและชีวประวัติอย่างนี้’ เมื่อมีเหตุ เธอย่อม
บรรลุความเป็นผู้เหมาะสมที่จะประจักษ์ชัดในธรรมนั้น ๆ
ถ้าภิกษุนั้นหวังว่า ‘เราพึงเห็นหมู่สัตว์ผู้กำลังจุติ กำลังเกิดทั้งชั้นต่ำและชั้นสูง
งามและไม่งาม เกิดดีและเกิดไม่ดีด้วยตาทิพย์อันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์ พึงรู้ชัดถึง
หมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรมว่า ‘หมู่สัตว์ที่ประกอบกายทุจริต วจีทุจริต และมโนทุจริต
กล่าวร้ายพระอริยะ มีความเห็นผิด ชักชวนผู้อื่นให้ทำกรรมตามความเห็นผิด พวกเขา
หลังจากตายแล้วจะไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก แต่หมู่สัตว์ที่ประกอบ
กายสุจริต วจีสุจริต และมโนสุจริต ไม่ว่าร้ายพระอริยะ มีความเห็นชอบ ชักชวน
ผู้อื่นให้ทำกรรมตามความเห็นชอบ พวกเขาหลังจากตายแล้วจะไปเกิดในสุคติโลก
สวรรค์ เราพึงเห็นหมู่สัตว์ผู้กำลังจุติ กำลังเกิดทั้งชั้นต่ำและชั้นสูง งามและไม่งาม


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]
๓. ปัญจังคิกวรรค ๔. ทุสสีลสูตร

เกิดดีและเกิดไม่ดีด้วยตาทิพย์อันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์ พึงรู้ชัดถึงหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตาม
กรรมอย่างนี้แล’ เมื่อมีเหตุ เธอย่อมบรรลุความเป็นผู้เหมาะสมที่จะประจักษ์ชัดใน
ธรรมนั้น ๆ
ถ้าภิกษุนั้นหวังว่า ‘เราพึงทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันไม่มีอาสวะ
เพราะอาสวะสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน’ เมื่อมีเหตุ เธอย่อม
บรรลุความเป็นผู้เหมาะสมที่จะประจักษ์ชัดในธรรมนั้น ๆ

อุปกิเลสสูตรที่ ๓ จบ

๔. ทุสสีลสูตร
ว่าด้วยโทษแห่งความทุศีลและคุณแห่งความมีศีล

[๒๔] ภิกษุทั้งหลาย สัมมาสมาธิของบุคคลผู้ทุศีล มีศีลวิบัติชื่อว่ามีเหตุถูก
ขจัดแล้ว เมื่อสัมมาสมาธิไม่มียถาภูตญาณทัสสนะ๑ ของบุคคลผู้มีสัมมาสมาธิวิบัติ
ชื่อว่ามีเหตุถูกขจัดแล้ว เมื่อยถาภูตญาณทัสสนะไม่มี นิพพิทา๒และวิราคะ๓ของ
บุคคลผู้มียถาภูตญาณทัสสนะวิบัติชื่อว่ามีเหตุถูกขจัดแล้ว เมื่อนิพพิทาและวิราคะไม่
มี วิมุตติญาณทัสสนะ๔ ของบุคคลผู้มีนิพพิทาและวิราคะวิบัติชื่อว่ามีเหตุถูกขจัดแล้ว
สัมมาสมาธิของบุคคลผู้ทุศีล มีศีลวิบัติชื่อว่ามีเหตุถูกขจัดแล้ว เมื่อสัมมา-
สมาธิไม่มี ยถาภูตญาณทัสสนะของบุคคลผู้มีสัมมาสมาธิวิบัติชื่อว่ามีเหตุถูกขจัดแล้ว
เมื่อยถาภูตญาณทัสสนะไม่มี นิพพิทาและวิราคะของบุคคลผู้มียถาภูตญาณทัสสนะ


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]
๓. ปัญจังคิกวรรค ๕. อนุคคหิตสูตร

วิบัติชื่อว่ามีเหตุถูกขจัดแล้ว เมื่อนิพพิทาและวิราคะไม่มี วิมุตติญาณทัสสนะของ
บุคคลผู้มีนิพพิทาและวิราคะวิบัติชื่อว่ามีเหตุถูกขจัดแล้ว เปรียบเหมือนต้นไม้ที่มีกิ่ง
และใบวิบัติ สะเก็ด เปลือก กระพี้ แม้แก่นของต้นไม้นั้น ย่อมไม่ถึงความบริบูรณ์
ภิกษุทั้งหลาย สัมมาสมาธิของบุคคลผู้มีศีล สมบูรณ์ด้วยศีล ชื่อว่ามีเหตุ
สมบูรณ์ เมื่อสัมมาสมาธิมี ยถาภูตญาณทัสสนะของบุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยสัมมา-
สมาธิ ชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์ เมื่อยถาภูตญาณทัสสนะมี นิพพิทาและวิราคะของ
บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยยถาภูตญาณทัสสนะ ชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์ เมื่อนิพพิทาและ
วิราคะมี วิมุตติญาณทัสสนะของบุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยนิพพิทาและวิราคะ ชื่อว่า
มีเหตุสมบูรณ์
สัมมาสมาธิของบุคคลผู้มีศีล สมบูรณ์ด้วยศีล ชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์ เมื่อ
สัมมาสมาธิมี ยถาภูตญาณทัสสนะของบุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยสัมมาสมาธิ ชื่อว่า
มีเหตุสมบูรณ์ เมื่อยถาภูตญาณทัสสนะมี นิพพิทาและวิราคะของบุคคลผู้
สมบูรณ์ด้วยยถาภูตญาณทัสสนะ ชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์ เมื่อนิพพิทาและวิราคะมี
วิมุตติญาณทัสสนะของบุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยนิพพิทาและวิราคะ ชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์
เปรียบเหมือนต้นไม้ที่มีกิ่งและใบสมบูรณ์ สะเก็ด เปลือก กระพี้ แม้แก่นของต้นไม้นั้น
ย่อมถึงความบริบูรณ์

ทุสสีลสูตรที่ ๔ จบ

๕. อนุคคหิตสูตร
ว่าด้วยธรรมสนับสนุนสัมมาทิฏฐิ

[๒๕] ภิกษุทั้งหลาย สัมมาทิฏฐิ๑อันองค์ ๕ สนับสนุนแล้ว ย่อมมีเจโต-
วิมุตติเป็นผล มีเจโตวิมุตติ๒เป็นผลานิสงส์ และมีปัญญาวิมุตติ๓เป็นผล มีปัญญา-
วิมุตติเป็นผลานิสงส์


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]
๓. ปัญจังคิกวรรค ๖. วิมุตตายตนสูตร

องค์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ

๑. ศีล๑ ๒. สุตะ๒
๓. สากัจฉา๓ ๔. สมถะ๔
๕. วิปัสสนา๕

ภิกษุทั้งหลาย สัมมาทิฏฐิอันองค์ ๕ นี้แล สนับสนุนแล้ว ย่อมมีเจโตวิมุตติ
เป็นผล มีเจโตวิมุตติเป็นผลานิสงส์ และมีปัญญาวิมุตติเป็นผล มีปัญญาวิมุตติเป็น
ผลานิสงส์

อนุคคหิตสูตรที่ ๕ จบ

๖. วิมุตตายตนสูตร
ว่าด้วยเหตุแห่งวิมุตติ

[๒๖] ภิกษุทั้งหลาย เหตุแห่งวิมุตติ ๕ ประการนี้ ซึ่งเป็นเหตุให้จิตของภิกษุ
ผู้ไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่ ที่ยังไม่หลุดพ้น ย่อมหลุดพ้น อาสวะ
ที่ยังไม่สิ้นไป ย่อมถึงความสิ้นไป หรือเธอย่อมบรรลุธรรมอันเป็นแดนเกษมจาก
โยคะอันยอดเยี่ยมที่ยังไม่ได้บรรลุ


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]
๓. ปัญจังคิกวรรค ๖. วิมุตตายตนสูตร

เหตุแห่งวิมุตติ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ

๑. ศาสดาหรือเพื่อนพรหมจารีผู้ตั้งอยู่ในฐานะครูบางรูปแสดงธรรม๑
แก่ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เธอรู้แจ้งอรรถ๒ รู้แจ้งธรรมในธรรม๓นั้น
ตามที่ศาสดาหรือเพื่อนพรหมจารีผู้ตั้งอยู่ในฐานะครูบางรูปแสดง
แก่เธอ เมื่อเธอรู้แจ้งอรรถรู้แจ้งธรรม ย่อมเกิดปราโมทย์ เมื่อมี
ปราโมทย์ ย่อมเกิดปีติ เมื่อใจมีปีติ กายย่อมสงบ เธอมีกายสงบ
ย่อมได้รับสุข เมื่อมีสุข จิตย่อมตั้งมั่น นี้เป็นเหตุแห่งวิมุตติประการ
ที่ ๑ ซึ่งเป็นเหตุให้จิตของภิกษุผู้ไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศ
กายและใจอยู่ ที่ยังไม่หลุดพ้น ย่อมหลุดพ้น อาสวะที่ยังไม่สิ้นไป
ย่อมถึงความสิ้นไป หรือเธอย่อมบรรลุธรรมอันเป็นแดนเกษมจาก
โยคะอันยอดเยี่ยมที่ยังไม่ได้บรรลุ

๒. ศาสดาหรือเพื่อนพรหมจารีผู้ตั้งอยู่ในฐานะครูบางรูปไม่ได้แสดงธรรม
แก่ภิกษุ แต่ภิกษุแสดงธรรมตามที่ตนได้สดับมาตามที่ตนได้เรียน
มาแก่ผู้อื่นโดยพิสดาร เธอรู้แจ้งอรรถรู้แจ้งธรรมในธรรมนั้นตาม
ที่ภิกษุแสดงธรรมตามที่ตนได้สดับมาตามที่ตนได้เรียนมาแก่ผู้อื่นโดย
พิสดาร เมื่อเธอรู้แจ้งอรรถรู้แจ้งธรรม ย่อมเกิดปราโมทย์ เมื่อมี
ปราโมทย์ ย่อมเกิดปีติ เมื่อใจมีปีติ กายย่อมสงบ เธอมีกายสงบ
ย่อมได้รับสุข เมื่อมีสุข จิตย่อมตั้งมั่น นี้เป็นเหตุแห่งวิมุตติประการ
ที่ ๒ ซึ่งเป็นเหตุให้จิตของภิกษุผู้ไม่ประมาท ฯลฯ หรือเธอย่อม
บรรลุธรรมอันเป็นแดนเกษมจากโยคะอันยอดเยี่ยมที่ยังไม่ได้บรรลุ

๓. ศาสดาหรือเพื่อนพรหมจารีผู้ตั้งอยู่ในฐานะครูบางรูปไม่ได้แสดงธรรม
แก่ภิกษุ แม้ภิกษุก็ไม่ได้แสดงธรรมตามที่ตนได้สดับมาตาม
ที่ตนได้เรียนมา แก่ผู้อื่นโดยพิสดาร แต่ภิกษุสาธยายธรรมตามที่ตนได้


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]
๓. ปัญจังคิกวรรค ๖. วิมุตตายตนสูตร

สดับมาตามที่ตนได้เรียนมาโดยพิสดาร เธอรู้แจ้งอรรถรู้แจ้งธรรม
ในธรรมนั้น ตามที่ภิกษุสาธยายธรรมตามที่ตนได้สดับมาตามที่ตน
ได้เรียนมาโดยพิสดาร เมื่อเธอรู้แจ้งอรรถรู้แจ้งธรรม ย่อมเกิด
ปราโมทย์ เมื่อมีปราโมทย์ ย่อมเกิดปีติ เมื่อใจมีปีติ กายย่อมสงบ
เธอมีกายสงบ ย่อมได้รับสุข เมื่อมีสุข จิตย่อมตั้งมั่น นี้เป็นเหตุแห่ง
วิมุตติประการที่ ๓ ซึ่งเป็นเหตุให้จิตของภิกษุผู้ไม่ประมาท มีความ
เพียร ฯลฯ หรือเธอย่อมบรรลุธรรมอันเป็นแดนเกษมจากโยคะอัน
ยอดเยี่ยมที่ยังไม่ได้บรรลุ

๔. ศาสดาหรือเพื่อนพรหมจารีผู้ตั้งอยู่ในฐานะครูบางรูปไม่ได้แสดงธรรม
แก่ภิกษุ แม้ภิกษุก็ไม่ได้แสดงธรรมตามที่ตนได้สดับมาตามที่ตนได้
เรียนมาแก่ผู้อื่นโดยพิสดาร ไม่ได้สาธยายธรรมตามที่ตนได้สดับมา
ตามที่ตนได้เรียนมาโดยพิสดาร แต่ภิกษุตรึกตามตรองตามเพ่ง
ตามด้วยใจซึ่งธรรมตามที่ตนได้สดับมาตามที่ตนได้เรียนมา เธอรู้
แจ้งอรรถรู้แจ้งธรรมในธรรมนั้นตามที่ภิกษุตรึกตามตรองตามเพ่ง
ตามด้วยใจซึ่งธรรมตามที่ตนได้สดับมาตามที่ตนได้เรียนมา เมื่อเธอ
รู้แจ้งอรรถรู้แจ้งธรรม ย่อมเกิดปราโมทย์ เมื่อมีปราโมทย์ ย่อม
เกิดปีติ เมื่อใจมีปีติ กายย่อมสงบ เธอมีกายสงบ ย่อมได้รับสุข
เมื่อมีสุข จิตย่อมตั้งมั่น นี้เป็นเหตุแห่งวิมุตติประการที่ ๔ ซึ่งเป็น
เหตุให้จิตของภิกษุผู้ไม่ประมาท ฯลฯ หรือเธอย่อมบรรลุธรรม
อันเป็นแดนเกษมจากโยคะอันยอดเยี่ยมที่ยังไม่ได้บรรลุ

๕. ศาสดาหรือเพื่อนพรหมจารีผู้ตั้งอยู่ในฐานะครูบางรูปไม่ได้แสดงธรรม
แก่ภิกษุ แม้ภิกษุก็ไม่ได้แสดงธรรมตามที่ตนได้สดับมาตามที่ตน
ได้เรียนมาแก่ผู้อื่นโดยพิสดาร ไม่ได้สาธยายธรรมตามที่ตนได้สดับ
มาตามที่ตนได้เรียนมาโดยพิสดาร และไม่ได้ตรึกตามตรองตามเพ่ง
ตามด้วยใจซึ่งธรรมตามที่ตนได้สดับมาตามที่ตนได้เรียนมา แต่เธอ
เรียนสมาธินิมิตอย่างใดอย่างหนึ่งมาดี มนสิการดี ทรงจำไว้ดี
แทงตลอดดีด้วยปัญญา เธอรู้แจ้งอรรถรู้แจ้งธรรมในธรรมนั้นตามที่
เธอได้เรียนสมาธินิมิตอย่างใดอย่างหนึ่งมาดี มนสิการดี ทรงจำไว้ดี
แทงตลอดดีด้วยปัญญา เมื่อเธอรู้แจ้งอรรถรู้แจ้งธรรม ย่อมเกิด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๓๔ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]
๓. ปัญจังคิกวรรค ๗. สมาธิสูตร

ปราโมทย์ เมื่อมีปราโมทย์ ย่อมเกิดปีติ เมื่อใจเกิดปีติ กายย่อมสงบ
เธอมีกายสงบ ย่อมได้รับสุข เมื่อมีสุข จิตย่อมตั้งมั่น นี้เป็นเหตุ
แห่งวิมุตติประการที่ ๕ ซึ่งเป็นเหตุให้จิตของภิกษุผู้ไม่ประมาท ฯลฯ
หรือเธอย่อมบรรลุธรรมอันเป็นแดนเกษมจากโยคะอันยอดเยี่ยมที่
ยังไม่ได้บรรลุ

ภิกษุทั้งหลาย เหตุแห่งวิมุตติ ๕ ประการนี้แล ซึ่งเป็นเหตุให้จิตของภิกษุผู้ไม่
ประมาท มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่ ที่ยังไม่หลุดพ้น ย่อมหลุดพ้น อาสวะ
ที่ยังไม่สิ้นไป ย่อมถึงความสิ้นไป หรือเธอย่อมบรรลุธรรมอันเป็นแดนเกษมจาก
โยคะอันยอดเยี่ยมที่ยังไม่ได้บรรลุ

วิมุตตายตนสูตรที่ ๖ จบ

๗. สมาธิสูตร
ว่าด้วยการเจริญสมาธิเพื่อให้ญาณเกิดขึ้น

[๒๗] ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงมีปัญญาเครื่องรักษาตน มีสติ เจริญ
อัปปมาณสมาธิ๑เถิด เมื่อเธอมีปัญญาเครื่องรักษาตน มีสติ เจริญอัปปมาณสมาธิอยู่
ญาณ๒ ๕ ประการ ย่อมเกิดขึ้นเฉพาะตน
ญาณ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ

๑. ญาณย่อมเกิดขึ้นเฉพาะตนว่า ‘สมาธิ๓นี้มีสุขในปัจจุบัน และมีสุข
เป็นวิบากต่อไป’
๒. ญาณย่อมเกิดขึ้นเฉพาะตนว่า ‘สมาธินี้เป็นอริยะ ปราศจากอามิส๔’
๓. ญาณย่อมเกิดขึ้นเฉพาะตนว่า ‘สมาธินี้อันคนเลวเสพไม่ได้’


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]
๓. ปัญจังคิกวรรค ๘. ปัญจังคิกสูตร

๔. ญาณย่อมเกิดขึ้นเฉพาะตนว่า ‘สมาธินี้สงบ ประณีต ได้ด้วยความ
สงบระงับ บรรลุได้ด้วยภาวะที่จิตเป็นหนึ่งผุดขึ้น และมิใช่บรรลุได้
ด้วยการข่มธรรมที่เป็นข้าศึก ห้ามกิเลสด้วยสสังขารจิต๑’
๕. ญาณย่อมเกิดขึ้นเฉพาะตนว่า ‘เรามีสติเข้าสมาธินี้ได้ มีสติออก
จากสมาธินี้ได้’

ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงมีปัญญาเครื่องรักษาตน มีสติ เจริญอัปปมาณ-
สมาธิเถิด เมื่อเธอทั้งหลายมีปัญญาเครื่องรักษาตน มีสติ เจริญอัปปมาณสมาธิอยู่
ญาณ ๕ ประการนี้แล ย่อมเกิดขึ้นเฉพาะตน

สมาธิสูตรที่ ๗ จบ

๘. ปัญจังคิกสูตร
ว่าด้วยการเจริญสัมมาสมาธิที่ประกอบด้วยองค์ ๕

[๒๘] ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงการเจริญสัมมาสมาธิที่ประกอบด้วยองค์ ๕
อันเป็นอริยะ๒ เธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจได้ดี เราจักกล่าว ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนอง
พระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า
การเจริญสัมมาสมาธิที่ประกอบด้วยองค์ ๕ อันเป็นอริยะ อะไรบ้าง คือ

๑. ภิกษุในธรรมวินัยนี้สงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลาย บรรลุ
ปฐมฌาณที่มีวิตกวิจาร มีปีติและสุขอันเกิดจากวิเวกอยู่ เธอทำกาย
นี้แลให้ชุ่มชื่นอิ่มเอิบ ซาบซ่านด้วยปีติและสุขอันเกิดจากวิเวก ไม่มี
ส่วนไหน ๆ แห่งกาย ของเธอทั่วทั้งตัวที่ปีติและสุขอันเกิดจากวิเวก
จะไม่ถูกต้อง เปรียบเหมือนพนักงานสรงสนานหรือลูกมือพนักงาน
สรงสนานผู้ฉลาด จะพึงใส่ผงสีตัวลงในภาชนะสำริดแล้วพรมด้วย
น้ำหมักไว้ ตกเวลาเย็นผงสีตัวจับตัวติดเป็นก้อน ไม่กระจายออก


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]
๓. ปัญจังคิกวรรค ๘. ปัญจังคิกสูตร

ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกันแล ทำกายนี้แลให้ชุ่มชื่นอิ่มเอิบ
ซาบซ่านด้วยปีติและสุขอันเกิดจากวิเวก ไม่มีส่วนไหน ๆ แห่ง
กายของเธอทั่วทั้งตัวที่ปีติและสุขอันเกิดจากวิเวกจะไม่ถูกต้อง นี้
คือการเจริญสัมมาสมาธิที่ประกอบด้วยองค์ ๕ อันเป็นอริยะ
ประการที่ ๑

๒. ภิกษุบรรลุทุติยฌาณที่มีความผ่องใสภายใน มีภาวะที่จิตเป็นหนึ่ง
ผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร เพราะวิตกวิจารสงบระงับไป มีแต่ปีติ
และสุขอันเกิดจากสมาธิอยู่ เธอทำกายนี้ให้ชุ่มชื่นอิ่มเอิบซาบซ่าน
ด้วยปีติและสุขอันเกิดจากสมาธิ ไม่มีส่วนไหน ๆ แห่งกายของเธอ
ทั่วทั้งตัวที่ปีติและสุขอันเกิดจากสมาธิจะไม่ถูกต้อง เปรียบเหมือน
ห้วงน้ำลึกที่มีน้ำปั่นป่วน ไม่มีทางไหลมาได้ทั้งในทิศตะวันออก ทิศใต้
ทิศตะวันตก ทิศเหนือ และฝนก็ไม่ตกเพิ่มตามฤดูกาล แต่สายน้ำ
เย็นพุขึ้นจากห้วงน้ำนั้นแล้ว จะพึงทำห้วงน้ำนั้นแลให้ชุ่มชื่นอิ่มเอิบ
ซึมซาบด้วยน้ำเย็น ไม่มีส่วนไหน ๆ แห่งห้วงน้ำนั้นทั้งหมดที่น้ำ
เย็นจะไม่ถูกต้อง ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกันแล ย่อมทำกายนี้ให้
ชุ่มชื่นอิ่มเอิบซาบซ่านด้วยปีติและสุขอันเกิดจากสมาธิ ไม่มีส่วน
ไหน ๆ แห่งกายของเธอทั่วทั้งตัวที่ปีติและสุขอันเกิดจากสมาธิจะ
ไม่ถูกต้อง นี้คือการเจริญสัมมาสมาธิที่ประกอบด้วยองค์ ๕ อันเป็น
อริยะ ประการที่ ๒

๓. ภิกษุมีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย เพราะปีติ
จางคลายไป บรรลุตติยฌาณที่พระอริยะทั้งหลายสรรเสริญว่า ‘ผู้มี
อุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข’ เธอทำกายนี้แลให้ชุ่มชื่นอิ่มเอิบซาบซ่าน
ด้วยสุขอันปราศจากปีติ ไม่มีส่วนไหน ๆ แห่งกายของเธอทั่วทั้งตัว
ที่สุขอันปราศจากปีติจะไม่ถูกต้อง เปรียบเหมือนกออุบล กอบัว
หลวง หรือกอบัวขาวบางเหล่าซึ่งเกิดในน้ำ ยังไม่พ้นน้ำ จมอยู่ในน้ำ
ถูกน้ำหล่อเลี้ยงไว้ ดอกบัวเหล่านั้นชุ่มชื่นอิ่มเอิบซึมซาบด้วยน้ำเย็น
ตลอดยอด ตลอดเหง้า ไม่มีส่วนไหน ๆ แห่งดอกอุบล ดอกบัวหลวง
หรือดอกบัวขาวทั่วทุกส่วนที่น้ำเย็นจะไม่ถูกต้อง ฉันใด ภิกษุก็ฉัน
นั้น เหมือนกันแล ย่อมทำกายนี้แลให้ชุ่มชื่นอิ่มเอิบซาบซ่านด้วยสุข
อันปราศจากปีติ ไม่มีส่วนไหน ๆ แห่งกายของเธอทั่วทั้งตัวที่สุขอัน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๓๗ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]
๓. ปัญจังคิกวรรค ๘. ปัญจังคิกสูตร

ปราศจากปีติจะไม่ถูกต้อง นี้คือการเจริญสัมมาสมาธิที่ประกอบ
ด้วยองค์ ๕ อันเป็นอริยะ ประการที่ ๓

๔. ภิกษุบรรลุจตุตถฌาณที่ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข มีสติบริสุทธิ์เพราะ
อุเบกขาอยู่ เพราะละสุขและทุกข์ได้ เพราะโสมนัสและโทมนัสดับไป
ก่อนแล้ว เธอนั่งแผ่ไปทั่วกายนี้แลด้วยใจอันบริสุทธิ์ผุดผ่อง ไม่มี
ส่วนไหน ๆ แห่งกายของเธอทั่วทั้งตัวที่ใจอันบริสุทธิ์ผุดผ่องจะไม่
ถูกต้อง เปรียบเหมือนบุรุษพึงเอาผ้าขาว นั่งคลุมตัวตลอดศีรษะ
ก็ไม่มีส่วนไหน ๆ แห่งกายทุกส่วนของเขา ที่ผ้าขาวจะไม่ถูกต้อง
ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกันแล เธอนั่งแผ่ไปทั่วกายนี้แล ด้วยใจ
อันบริสุทธิ์ผุดผ่องไม่มีส่วนไหน ๆ แห่งกายของเธอทั่วทั้งตัวที่ใจอัน
บริสุทธิ์ผุดผ่องจะไม่ถูกต้อง นี้คือการเจริญสัมมาสมาธิที่
ประกอบด้วยองค์ ๕ อันเป็นอริยะ ประการที่ ๔

๕. ภิกษุเรียนปัจจเวกขณนิมิต๑ มาดี มนสิการดี ทรงจำไว้ดี แทง
ตลอดดีด้วยปัญญา เปรียบเหมือนคนหนึ่งพึงพิจารณาเห็นคนหนึ่ง
คนยืนพึงพิจารณาเห็นคนนั่ง หรือคนนั่งพึงพิจารณาเห็นคนนอน
ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกันแล เธอเรียนปัจจเวกขณนิมิตมาดี
มนสิการดี ทรงจำไว้ดี แทงตลอดดีด้วยปัญญา นี้คือการเจริญ
สัมมาสมาธิที่ประกอบด้วยองค์ ๕ อันเป็นอริยะ ประการที่ ๕
ภิกษุทั้งหลาย เมื่อสัมมาสมาธิที่ประกอบด้วยองค์ ๕ อันเป็นอริยะ ที่ภิกษุ
เจริญ ทำให้มากแล้วอย่างนี้ เธอน้อมจิตไปเพื่อทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งซึ่งธรรม
ใด ๆ ที่ควรทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่ง เมื่อมีเหตุ๒ เธอย่อมบรรลุความเป็นผู้
เหมาะสม ที่จะประจักษ์ชัดในธรรมนั้น ๆ เปรียบเหมือนหม้อน้ำตั้งอยู่บนเชิงรอง
เต็มด้วยน้ำเสมอขอบปากพอที่กาจะดื่มได้ บุรุษผู้มีกำลังพึงเอียงหม้อน้ำนั้นไปรอบ ๆ
น้ำจะกระฉอกออกมาได้ไหม”


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]
๓. ปัญจังคิกวรรค ๘. ปัญจังคิกสูตร

“ได้ พระพุทธเจ้าข้า”

“ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน เมื่อสัมมาสมาธิอันประกอบด้วยองค์ ๕ อันเป็น
อริยะที่ภิกษุเจริญทำให้มากแล้วอย่างนี้ เธอน้อมจิตไปเพื่อทำให้แจ้งด้วยปัญญาอัน
ยิ่งซึ่งธรรมใด ๆ ที่ควรทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่ง เมื่อมีเหตุ เธอย่อมบรรลุ
ความเป็นผู้เหมาะสมที่จะประจักษ์ชัดในธรรมนั้น ๆ เปรียบเหมือนสระน้ำมีลักษณะ
สี่เหลี่ยมในพื้นที่ราบ กั้นด้วยทำนบ เต็มด้วยน้ำเสมอขอบปากพอที่กาจะดื่มได้
บุรุษผู้มีกำลังพึงเปิดทำนบสระน้ำทุก ๆ ด้าน น้ำจะไหลออกมาได้ไหม”

“ได้ พระพุทธเจ้าข้า”

“ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน เมื่อสัมมาสมาธิอันประกอบด้วยองค์ ๕ อันเป็น
อริยะที่ภิกษุเจริญ ทำให้มากแล้วอย่างนี้ เธอน้อมจิตไปเพื่อทำให้แจ้งด้วยปัญญา
อันยิ่งซึ่งธรรมใด ๆ ที่ควรทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่ง เมื่อมีเหตุ เธอย่อมบรรลุความ
เป็นผู้เหมาะสมที่จะประจักษ์ชัดในธรรมนั้น ๆ
เปรียบเหมือนรถม้าที่เทียมแล้วจอดอยู่ที่ทางใหญ่สี่แพร่ง มีพื้นราบเรียบมีปฏัก
วางไว้ข้างบน คนฝึกม้าผู้ขยันชำนาญในการฝึกขึ้นรถนั้นแล้ว ถือเชือกด้วยมือซ้าย
ถือปฏักด้วยมือขวา พึงขับรถให้เดินหน้าบ้าง ให้ถอยหลังบ้างได้ตามต้องการ ฉันใด
ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน เมื่อสัมมาสมาธิอันประกอบด้วยองค์ ๕ อันเป็นอริยะที่
ภิกษุเจริญทำให้มากแล้วอย่างนี้ เธอน้อมจิตไปเพื่อทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งซึ่ง
ธรรมใดที่ควรทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่ง เมื่อมีเหตุ เธอย่อมบรรลุความเป็นผู้เหมาะสม
ที่จะประจักษ์ชัดในธรรมนั้น ๆ

ถ้าภิกษุนั้นหวังว่า ‘เราพึงแสดงฤทธิ์ได้หลายอย่าง คือ คนเดียวแสดงเป็น
หลายคนก็ได้ ฯลฯ๑ ใช้อำนาจทางกายไปจนถึงพรหมโลกก็ได้’ เมื่อมีเหตุ เธอย่อม
บรรลุความเป็นผู้เหมาะสมที่จะประจักษ์ชัดในธรรมนั้น ๆ
ถ้าภิกษุนั้นหวังว่า ‘เราพึงได้ยินเสียง ๒ ชนิด คือเสียงทิพย์และเสียงมนุษย์
ทั้งที่อยู่ไกลและอยู่ใกล้ ด้วยหูทิพย์อันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์’ เมื่อมีเหตุ เธอย่อม
บรรลุความเป็นผู้เหมาะสมที่จะประจักษ์ชัดในธรรมนั้น ๆ


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]
๓. ปัญจังคิกวรรค ๘. ปัญจังคิกสูตร

ถ้าภิกษุนั้นหวังว่า ‘เราพึงกำหนดรู้จิตของสัตว์และบุคคลอื่นได้ด้วยจิตของตน
คือ จิตมีราคะก็รู้ว่ามีราคะ หรือปราศจากราคะก็รู้ว่าปราศจากราคะ จิตมีโทสะก็รู้ว่า
มีโทสะ หรือปราศจากโทสะก็รู้ว่าปราศจากโทสะ จิตมีโมหะก็รู้ว่ามีโมหะ หรือปราศ
จากโมหะก็รู้ว่าปราศจากโมหะ จิตหดหู่ก็รู้ว่าหดหู่ หรือฟุ้งซ่านก็รู้ว่าฟุ้งซ่าน จิตเป็น
มหัคคตะก็รู้ว่าเป็นมหัคคตะ หรือไม่เป็นมหัคคตะก็รู้ว่าไม่เป็นมหัคคตะ จิตมีจิตอื่น
ยิ่งกว่าก็รู้ว่ามีจิตอื่นยิ่งกว่า หรือไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่าก็รู้ว่าไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า จิตเป็น
สมาธิก็รู้ว่าเป็นสมาธิ หรือไม่เป็นสมาธิก็รู้ว่าไม่เป็นสมาธิ จิตหลุดพ้นก็รู้ว่าหลุดพ้น
หรือไม่หลุดพ้นก็รู้ว่าไม่หลุดพ้น’ เมื่อมีเหตุ เธอย่อมบรรลุความเป็นผู้เหมาะสมที่จะ
ประจักษ์ชัดในธรรมนั้น ๆ

ถ้าภิกษุนั้นหวังว่า ‘เราพึงระลึกชาติก่อนได้หลายชาติ คือ ๑ ชาติบ้าง
๒ ชาติบ้าง ฯลฯ เราพึงระลึกถึงชาติก่อนได้หลายชาติ พร้อมทั้งลักษณะทั่วไปและ
ชีวประวัติอย่างนี้’ เมื่อมีเหตุ เธอย่อมบรรลุความเป็นผู้เหมาะสมที่จะประจักษ์ชัดใน
ธรรมนั้น ๆ

ถ้าภิกษุนั้นหวังว่า ‘เราพึงเห็นหมู่สัตว์ผู้กำลังจุติ กำลังเกิด ทั้งชั้นต่ำและชั้นสูง
งามและไม่งาม เกิดดีและเกิดไม่ดีด้วยตาทิพย์อันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์ พึงรู้ชัดถึงหมู่
สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรมว่า ฯลฯ’ เมื่อมีเหตุ เธอย่อมบรรลุความเป็นผู้เหมาะสมที่จะ
ประจักษ์ชัดในธรรมนั้น ๆ

ถ้าภิกษุนั้นหวังว่า ‘เราพึงทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันไม่มีอาสวะ
เพราะอาสวะสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง เข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน’ เมื่อมีเหตุ เธอย่อม
บรรลุความเป็นผู้เหมาะสมที่จะประจักษ์ชัดในธรรมนั้น ๆ’

ปัญจังคิกสูตรที่ ๘ จบ


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]
๓. ปัญจังคิกวรรค ๑๐. นาคิตสูตร

๙. จังกมสูตร
ว่าด้วยการเดินจงกรม

[๒๙] ภิกษุทั้งหลาย อานิสงส์แห่งการเดินจงกรม ๕ ประการนี้
อานิสงส์แห่งการเดินจงกรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ

๑. เป็นผู้มีความอดทนต่อการเดินทางไกล
๒. เป็นผู้มีความอดทนต่อการบำเพ็ญเพียร
๓. เป็นผู้มีอาพาธน้อย
๔. อาหารที่กิน ดื่ม เคี้ยว ลิ้มแล้วย่อยได้ง่าย
๕. สมาธิที่ได้เพราะการเดินจงกรมตั้งอยู่ได้นาน

ภิกษุทั้งหลาย อานิสงส์แห่งการเดินจงกรม ๕ ประการนี้แล

จังกมสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. นาคิตสูตร
ว่าด้วยพระนาคิตะ

[๓๐] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเสด็จจาริกไปในแคว้นโกศล พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์
หมู่ใหญ่ เสด็จถึงหมู่บ้านพราหมณ์แคว้นโกศลชื่ออิจฉานังคละ เล่ากันว่า
คราวนั้น พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่ราวป่าชื่ออิจฉานังคละใกล้หมู่บ้านพราหมณ์
ชื่ออิจฉานังคละ
พวกพราหมณ์และคหบดีชาวบ้านอิจฉานังคละได้ทราบข่าวว่า “ท่านผู้เจริญ
ข่าวว่า พระสมณโคดมศากยบุตร ทรงพระผนวชจากศากยตระกูล เสด็จถึงบ้าน
อิจฉานังคละ ประทับอยู่ที่ราวป่าชื่ออิจฉานังคละใกล้หมู่บ้านพราหมณ์ชื่ออิจฉานังคละ
ท่านพระสมณโคดมพระองค์นั้นมีกิตติศัพท์อันงามขจรไปอย่างนี้ว่า ‘แม้เพราะเหตุนี้
พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้ด้วยพระองค์เองโดยชอบ
เพียบพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดี รู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกผู้ที่ควรฝึกได้อย่าง
ยอดเยี่ยม เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระผู้มี
พระภาค’ พระองค์ทรงรู้แจ้งโลกนี้พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก และหมู่สัตว์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๔๑ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]
๓. ปัญจังคิกวรรค ๑๐. นาคิตสูตร

พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ด้วยพระองค์เองแล้ว จึงประกาศให้ผู้อื่น
รู้ตาม ทรงแสดงธรรมมีความงามในเบื้องต้น๑ มีความงามในท่ามกลาง มีความงาม
ในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์๒ พร้อมทั้งอรรถและพยัญชนะ บริสุทธิ์บริบูรณ์ครบถ้วน
การได้พบพระอรหันต์เช่นนี้เป็นความดีอย่างแท้จริง”
ครั้นคืนนั้นผ่านไป พราหมณ์และคหบดีชาวบ้านอิจฉานังคละ จึงพากันถือเอา
ของเคี้ยวของฉันเป็นอันมากเข้าไปถึงราวป่าชื่ออิจฉานังคละ ได้ยืนชุมนุมกันส่งเสียง
อื้ออึงที่ซุ้มประตูด้านนอก
สมัยนั้นแล ท่านพระนาคิตะเป็นอุปัฏฐากของพระผู้มีพระภาค พระผู้มี
พระภาครับสั่งเรียกท่านพระนาคิตะมาตรัสถามว่า “นาคิตะ คนพวกไหนส่งเสียง
อื้ออึงอยู่นั้น คล้ายพวกชาวประมงแย่งปลากัน”
ท่านพระนาคิตะกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พราหมณ์และคหบดีชาว
บ้านอิจฉานังคละเหล่านั้นพากันถือของเคี้ยวของฉันเป็นอันมากมายืนชุมนุมกันอยู่ที่
ซุ้มประตูด้านนอก เพื่อถวายพระผู้มีพระภาค และภิกษุสงฆ์”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “นาคิตะ เราไม่ติดยศ และยศก็ไม่ติดเรา ผู้ใดแลไม่ได้
ตามความปรารถนา ไม่ได้โดยไม่ยาก ไม่ได้โดยไม่ลำบากซึ่งเนกขัมมสุข๓ ปวิเวกสุข
อุปสมสุข สัมโพธสุขที่เราได้ตามความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ได้โดยไม่ลำบากนี้
ผู้นั้นชื่อว่ายินดีสุขที่ไม่สะอาด สุขในการนอนหลับ และสุขที่อิงอาศัยลาภสักการะและ
การสรรเสริญ”


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]
๓. ปัญจังคิกวรรค ๑๐. นาคิตสูตร

ท่านพระนาคิตะกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บัดนี้ ขอพระผู้มีพระภาค
ผู้สุคตจงทรงรับ บัดนี้ เป็นเวลาที่พระผู้มีพระภาคจะทรงรับ พระองค์จักเสด็จไป
ทางใด ๆ พราหมณ์คหบดีชาวนิคมและชาวชนบทก็จักหลั่งไหลไปทางนั้น ๆ เปรียบ
เหมือนเมื่อฝนเม็ดใหญ่ตกลงมา น้ำย่อมไหลไปตามที่ลุ่ม ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะ
พระผู้มีพระภาคทรงมีศีลและปัญญา”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “นาคิตะ เราไม่ติดยศ และยศก็ไม่ติดเรา ผู้ใดแลไม่ได้
ตามความปรารถนา ไม่ได้โดยไม่ยาก ไม่ได้โดยไม่ลำบากซึ่งเนกขัมมสุข ปวิเวกสุข
อุปสมสุข สัมโพธสุขที่เราได้ตามความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ได้โดยไม่ลำบากนี้
ผู้นั้นชื่อว่ายินดีสุขที่ไม่สะอาด สุขในการนอนหลับ และสุขที่อิงอาศัยลาภสักการะและ
การสรรเสริญ
นาคิตะ อาหารที่กิน ดื่ม เคี้ยว และลิ้มย่อมกลายเป็นอุจจาระและปัสสาวะ
นี้เป็นผลแห่งอาหารนั้น ปิยชนเกิดมีโสกะ(ความโศก) ปริเทวะ(ความร่ำไร) ทุกข์
(ความทุกข์กาย) โทมนัส(ความทุกข์ใจ) และอุปายาส(ความแค้นใจ) เพราะสิ่งที่รัก
แปรเป็นอื่นไป นี้เป็นผลแห่งความรักนั้น ความเป็นของปฏิกูลในอสุภนิมิต๑ ย่อมตั้ง
อยู่แก่ภิกษุผู้ขวนขวายการประกอบตามอสุภนิมิต นี้เป็นผลแห่งการประกอบตาม
อสุภนิมิตนั้น ความเป็นของปฏิกูลในผัสสะ ย่อมตั้งอยู่แก่ภิกษุผู้พิจารณาเห็นความ
ไม่เที่ยงในผัสสายตนะ๒ ๖ อยู่ นี้เป็นผลแห่งการพิจารณาเห็นความไม่เที่ยงใน


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]
๓. ปัญจังคิกวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

ผัสสายตนะนั้น ความเป็นของปฏิกูลในอุปาทาน ย่อมตั้งอยู่แก่ภิกษุผู้พิจารณาเห็น
ความเกิดและความดับในอุปาทานขันธ์๑ ๕ นี้เป็นผลแห่งการพิจารณาเห็นความเกิด
และความดับในอุปาทานขันธ์นั้น”

นาคิตสูตรที่ ๑๐ จบ
ปัญจังคิกวรรคที่ ๓ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. ปฐมอคารวสูตร ๒. ทุติยอคารวสูตร
๓. อุปกิเลสสูตร ๔. ทุสสีลสูตร
๕. อนุคคหิตสูตร ๖. วิมุตตายตนสูตร
๗. สมาธิสูตร ๘. ปัญจังคิกสูตร
๙. จังกมสูตร ๑๐. นาคิตสูตร


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]
๔. สุมนวรรค ๑. สุมนสูตร

๔. สุมนวรรค
หมวดว่าด้วยสุมนาราชกุมารี๑

๑. สุมนสูตร
ว่าด้วยสุมนาราชกุมารี

[๓๑] สมัยหนึ่ง ฯลฯ อารามของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี
ครั้งนั้น สุมนาราชกุมารีมีรถ ๕๐๐ คัน และกุมารี ๕๐๐ คนแวดล้อม เข้าไปเฝ้า
พระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร๒ ได้กราบทูล
พระผู้มีพระภาค ดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานวโรกาส สาวกของพระผู้มีพระภาค ๒ คน
มีศรัทธาเสมอกัน มีศีลเสมอกัน มีปัญญาเสมอกัน คนหนึ่งเป็นทายก๓ คนหนึ่งไม่ใช่
ทายก คนทั้งสองนั้น หลังจากตายแล้ว ไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์ ท่านทั้งสองผู้เป็น
เทวดานั้น พึงมีความพิเศษ มีเหตุแตกต่างกันหรือไม่”


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]
๔. สุมนวรรค ๑. สุมนสูตร

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “มี สุมนา คือเทวดาผู้เคยเป็นทายก ย่อมข่มเทวดา
ผู้ไม่เคยเป็นทายกด้วยฐานะ ๕ ประการ คือ

๑. อายุที่เป็นทิพย์ ๒. วรรณะที่เป็นทิพย์
๓. สุขที่เป็นทิพย์ ๔. ยศที่เป็นทิพย์
๕. อธิปไตยที่เป็นทิพย์

เทวดาผู้เคยเป็นทายก ย่อมข่มเทวดาผู้ไม่เคยเป็นทายกด้วยฐานะ ๕
ประการนี้”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถ้าเทวดาทั้งสองนั้น จุติจากเทวโลกนั้นแล้วมาสู่ความ
เป็นมนุษย์นี้ ท่านทั้งสองผู้เป็นมนุษย์นั้น พึงมีความพิเศษ มีเหตุแตกต่างกันหรือไม่”
“มี สุมนา คือมนุษย์ผู้เคยเป็นทายก ย่อมข่มมนุษย์ผู้ไม่เคยเป็นทายกด้วย
ฐานะ ๕ ประการ คือ

๑. อายุที่เป็นของมนุษย์ ๒. วรรณะที่เป็นของมนุษย์
๓. สุขที่เป็นของมนุษย์ ๔. ยศที่เป็นของมนุษย์
๕. อธิปไตยที่เป็นของมนุษย์

มนุษย์ผู้เคยเป็นทายก ย่อมข่มมนุษย์ผู้ไม่เคยเป็นทายกด้วยฐานะ ๕
ประการนี้”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถ้าคนทั้งสองนั้นออกบวชเป็นบรรพชิต ท่านทั้งสองผู้
เป็นบรรพชิตนั้น พึงมีความพิเศษ มีเหตุแตกต่างกันหรือไม่”
“มี สุมนา บรรพชิตผู้เคยเป็นทายก ย่อมข่มบรรพชิตผู้ไม่เคยเป็นทายกด้วย
ฐานะ ๕ ประการ คือ

๑. เมื่อเขาขอร้องจึงใช้สอยจีวรมาก เมื่อเขาไม่ขอร้องจึงใช้สอยน้อย
๒. เมื่อเขาขอร้องจึงฉันบิณฑบาตมาก เมื่อเขาไม่ขอร้องจึงฉันน้อย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๔๖ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]
๔. สุมนวรรค ๑. สุมนสูตร

๓. เมื่อเขาขอร้องจึงใช้สอยเสนาสนะมาก เมื่อเขาไม่ขอร้องจึงใช้สอยน้อย
๔. เมื่อเขาขอร้องจึงใช้สอยคิลานปัจจัยเภสัชชบริขารมาก เมื่อเขาไม่
ขอร้องจึงใช้สอยน้อย
๕. อยู่ร่วมกับเพื่อนพรหมจารีเหล่าใด เพื่อนพรหมจารีเหล่านั้นก็
ประพฤติต่อเธอด้วยกายกรรม วจีกรรม และมโนกรรมเป็นที่พอใจ
เป็นส่วนมาก ที่ไม่พอใจเป็นส่วนน้อย นำสิ่งเป็นที่พอใจมาเป็น
ส่วนมาก ที่ไม่พอใจเป็นส่วนน้อย

บรรพชิตผู้เคยเป็นทายก ย่อมข่มบรรพชิตผู้ไม่เคยเป็นทายกด้วยฐานะ ๕
ประการนี้”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถ้าคนทั้งสองนั้นบรรลุอรหัตตผล ท่านทั้งสองผู้บรรลุ
อรหัตตผล พึงมีความพิเศษ มีเหตุแตกต่างกันหรือไม่”
“สุมนา เราไม่กล่าวว่าแตกต่างกันเลยในระหว่างวิมุตติกับวิมุตติ๑”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคยปรากฏ ข้อนี้กำหนดได้ว่า
ควรให้ทาน ควรทำบุญ เพราะบุญเป็นอุปการะแม้แก่เทวดา แม้แก่มนุษย์ แม้แก่
บรรพชิต”
“อย่างนั้น สุมนา ควรให้ทาน ควรทำบุญ เพราะบุญเป็นอุปการะแม้แก่เทวดา
แม้แก่มนุษย์ แม้แก่บรรพชิต”

พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดา ครั้นตรัสเวยยากรณ์ภาษิตนี้แล้ว จึงได้ตรัส
คาถาประพันธ์ต่อไปอีกว่า


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]
๔. สุมนวรรค ๒. จุนทีสูตร

ดวงจันทร์ปราศจากมลทิน โคจรไปในอากาสธาตุ
ย่อมสว่างกว่าหมู่ดาวทั้งสิ้นในโลกด้วยรัศมี ฉันใด๑
บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยศีล มีศรัทธา ก็ฉันนั้นเหมือนกัน
ย่อมรุ่งเรืองกว่าผู้ตระหนี่ทั้งหมดในโลกด้วยจาคะ
เมฆที่ลอยไปตามอากาศ มีสายฟ้าแลบแปลบปลาบ
มียอดตั้งร้อย ให้ฝนตกรดแผ่นดินเต็มที่ดอนและที่ลุ่ม ฉันใด
สาวกของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้สมบูรณ์ด้วยทัสสนะ๒
เป็นบัณฑิต ก็ฉันนั้นเหมือนกัน
ย่อมข่มผู้ตระหนี่ได้ด้วยเหตุ ๕ ประการ
คือ อายุ วรรณะ สุข ยศ และโภคทรัพย์
เขาตายไปแล้วย่อมบันเทิงในสวรรค์

สุมนสูตรที่ ๑ จบ

๒. จุนทีสูตร
ว่าด้วยจุนทีราชกุมารี๓

[๓๒] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับยู่ ณ พระเวฬุวัน กลันทกนิวาปสถาน๔
เขตกรุงราชคฤห์ ครั้งนั้น จุนทีราชกุมารีมีรถ ๕๐๐ คัน และกุมารี ๕๐๐ คน
แวดล้อม เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร
ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาค ดังนี้ว่า


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]
๔. สุมนวรรค ๒. จุนทีสูตร

“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ราชกุมารพระนามว่าจุนทะ พระภาดาของหม่อมฉัน
กล่าวอย่างนี้ว่า ‘หญิงหรือชายก็ตาม ถึงพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์ว่า
เป็นสรณะ เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ เว้นขาดจากการลักทรัพย์ เว้นขาดจากการ
ประพฤติผิดในกาม เว้นขาดจากการพูดเท็จ และเว้นขาดจากการเสพของมึนเมาคือ
สุราและเมรัย๑อันเป็นเหตุแห่งความประมาท ผู้นั้นหลังจากตายแล้วย่อมไปเกิดใน
สุคติอย่างเดียว ไม่เกิดในทุคติ’ หม่อมฉันจึงขอทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ‘ผู้เลื่อม
ใสในศาสดาเช่นไร หลังจากตายแล้วจึงไปเกิดในสุคติอย่างเดียว ไม่เกิดในทุคติ
ผู้เลื่อมใสในธรรมเช่นไร หลังจากตายแล้วจึงไปเกิดในสุคติอย่างเดียว ไม่เกิดในทุคติ
ผู้เลื่อมใสในสงฆ์เช่นไร หลังจากตายแล้วจึงไปเกิดในสุคติอย่างเดียว ไม่เกิดในทุคติ
ผู้ที่ทำให้ศีลเช่นไรบริบูรณ์ หลังจากตายแล้วจึงไปเกิดในสุคติอย่างเดียว ไม่เกิดใน
ทุคติ’

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “จุนที สัตว์ทั้งหลายที่ไม่มีเท้า มีสองเท้า มีสี่เท้า
หรือมีเท้ามากก็ตาม มีรูปหรือไม่มีรูปก็ตาม มีสัญญา ไม่มีสัญญา หรือมีสัญญา
ก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่ก็ตาม มีประมาณเท่าใด ตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
บัณฑิตกล่าวว่าเลิศกว่าสัตว์มีประมาณเท่านั้น ผู้ที่เลื่อมใสในพระพุทธเจ้า ชื่อว่า
เลื่อมใสในสิ่งที่เลิศ และวิบากที่เลิศย่อมมีแก่บุคคลผู้เลื่อมใสในสิ่งที่เลิศ


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]
๔. สุมนวรรค ๒. จุนทีสูตร

ธรรมที่ปัจจัยปรุงแต่ง หรือธรรมที่ปัจจัยไม่ปรุงแต่ง มีประมาณเท่าใด วิราคะ
(ความคลายกำหนัด) คือความสร่างความเมา ความดับความกระหาย ความถอนอาลัย
ความตัดวัฏฏะ ความสิ้นตัณหา ความคลายกำหนัด ความดับทุกข์คือนิพพาน
บัณฑิตกล่าวว่าเลิศกว่าธรรมเหล่านั้น บุคคลผู้เลื่อมใสในวิราคธรรม ชื่อว่าเลื่อมใส
ในสิ่งที่เลิศ และวิบากที่เลิศย่อมมีแก่บุคคลผู้เลื่อมใสในสิ่งที่เลิศ
หมู่ก็ดี คณะก็ดี มีประมาณเท่าใด สงฆ์สาวกของตถาคต ได้แก่ อริยบุคคล
๔ คู่คือ ๘ บุคคล สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคนี้ เป็นผู้ควรแก่ของที่เขานำมา
ถวาย ควรแก่ของต้อนรับ ควรแก่ทักษิณา ควรแก่การทำอัญชลี เป็นนาบุญอัน
ยอดเยี่ยมของโลก บัณฑิตกล่าวว่าเลิศกว่าหมู่หรือคณะเหล่านั้น บุคคลผู้เลื่อมใส
ในสงฆ์ ชื่อว่าเลื่อมใสในสิ่งที่เลิศ และวิบากที่เลิศย่อมมีแก่บุคคลผู้เลื่อมใสในสิ่งที่เลิศ
ศีลทั้งหลายมีประมาณเท่าใด ศีลที่พระอริยะใคร่๑ ไม่ขาด ไม่ทะลุ ไม่ด่าง
ไม่พร้อย เป็นไท ท่านผู้รู้สรรเสริญ ไม่ถูกตัณหาและทิฏฐิครอบงำ เป็นไปเพื่อสมาธิ
บัณฑิตกล่าวว่าเลิศกว่าศีลเหล่านั้น บุคคลผู้ทำศีลที่พระอริยะใคร่ให้บริบูรณ์ ชื่อว่า
ทำสิ่งที่เลิศให้บริบูรณ์ และวิบากที่เลิศย่อมมีแก่บุคคลผู้ทำสิ่งที่เลิศให้บริบูรณ์

พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดา ครั้นตรัสเวยยากรณ์ภาษิตนี้แล้ว จึงได้ตรัส
คาถาประพันธ์ต่อไปอีกว่า
บุญที่เลิศ คืออายุ วรรณะ เกียรติยศ สุข และพละ
ย่อมเจริญแก่บุคคลผู้เลื่อมใส
ผู้รู้ธรรมที่เลิศโดยความเป็นธรรมที่เลิศ
ผู้เลื่อมใสในพระพุทธเจ้าผู้เลิศ
ซึ่งเป็นทักขิไณยบุคคลชั้นเยี่ยม


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]
๔. สุมนวรรค ๓. อุคคหสูตร

ผู้เลื่อมใสในพระธรรมที่เลิศอันเป็นที่คลายความกำหนัด
เป็นที่สงบระงับ นำสุขมาให้
ผู้เลื่อมใสในพระสงฆ์ผู้เลิศซึ่งเป็นนาบุญอันยอดเยี่ยม
ให้ทานในท่านผู้เลิศ
นักปราชญ์ผู้ตั้งมั่นในธรรมที่เลิศ
ให้ทานแก่ท่านผู้เลิศ
เกิดเป็นเทวดา หรือมนุษย์ก็ตาม
ถึงความเป็นผู้เลิศ๑บันเทิงอยู่๒

จุนทีสูตรที่ ๒ จบ

๓. อุคคหสูตร
ว่าด้วยอุคคหเศรษฐี

[๓๓] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ชาติยาวัน เขตเมืองภัททิยะ
ครั้งนั้น อุคคหเศรษฐีผู้เป็นหลานของเมณฑกเศรษฐี ได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค
ถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคพร้อมด้วยภิกษุ ๓ รูป จงรับภัตตาหาร
ของข้าพระองค์ในวันพรุ่งนี้” พระผู้มีพระภาคทรงรับด้วยพระอาการดุษณีแล้ว
อุคคหเศรษฐีทราบว่าพระผู้มีพระภาคทรงรับนิมนต์แล้ว จึงลุกจากอาสนะ ถวาย
อภิวาท ทำประทักษิณแล้วหลีกไป
ครั้นคืนนั้นผ่านไป เวลาเช้า พระผู้มีพระภาคทรงครองอันตรวาสก ถือบาตร
จีวร เสด็จเข้าไปยังนิเวศน์ของอุคคหเศรษฐี ประทับนั่งบนพุทธอาสน์ที่ปูลาดไว้


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๔. สุมนวรรค ๓. อุคคหสูตร
ลำดับนั้น อุคคหเศรษฐีได้ถวายอาหารภิกษุสงฆ์มีพระผู้มีพระภาคเป็น
ประธานให้อิ่มหนำด้วยของเคี้ยวของฉันที่ประณีตด้วยมือตนเอง เมื่อพระผู้มีพระภาค
เสวยเสร็จ ทรงวางพระหัตถ์ จึงนั่ง ณ ที่สมควร กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ลูกสาวของข้าพระองค์เหล่านี้ จักไปสู่ตระกูลสามี ขอพระผู้มี
พระภาคทรงกล่าวสอนพร่ำสอนเด็กเหล่านี้ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อพวกเขาตลอดกาล
นานเถิด”
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคได้ตรัสสอนกุมารีเหล่านั้นว่า กุมารีทั้งหลาย
๑. เพราะเหตุนั้นแล เธอทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า ‘มารดาบิดา
ผู้ปรารถนาประโยชน์ หวังเกื้อกูลอนุเคราะห์ด้วยความเอ็นดู ยกให้
สามีใด เราทั้งหลายจักตื่นก่อน นอนทีหลังสามีนั้น คอยรับใช้
ปฏิบัติให้เป็นที่พอใจเขา พูดคำไพเราะต่อเขา’ เธอทั้งหลายพึง
สำเหนียกอย่างนี้แล
๒. เพราะเหตุนั้นแล เธอทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า ‘ชนเหล่าใด
เป็นที่เคารพของสามี คือ บิดา มารดา หรือสมณพราหมณ์
เราทั้งหลายจักสักการะ เคารพ นับถือบูชาชนเหล่านั้น และต้อนรับ
ท่านเหล่านั้น ผู้มาถึงแล้วด้วยอาสนะและน้ำ’ เธอทั้งหลายพึง
สำเหนียกอย่างนี้แล
๓. เพราะเหตุนั้นแล เธอทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า ‘การงาน
เหล่าใดเป็นการงานในบ้านของสามี คือ การทำผ้าขนสัตว์ หรือ
ผ้าฝ้าย เราทั้งหลายจักขยัน ไม่เกียจคร้านในการงานเหล่านั้น
จักประกอบด้วยปัญญาเป็นเครื่องพิจารณาอันเป็นอุบายในการงาน
เหล่านั้น สามารถทำได้ สามารถจัดได้’ เธอทั้งหลายพึงสำเหนียก
อย่างนี้แล
๔. เพราะเหตุนั้นแล เธอทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า ‘เราทั้งหลาย
จักรู้การงานที่คนในปกครองภายในบ้านสามี คือ ทาส คนใช้ หรือ
กรรมกรว่าทำแล้ว หรือยังไม่ได้ทำ จักรู้อาการของคนเหล่านั้นที่
เป็นไข้ว่าดีขึ้นหรือทรุดลง และจักแบ่งปันของกินของใช้ให้ตามส่วน
ที่ควร’ เธอทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้แล

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๕๒ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๔. สุมนวรรค ๓. อุคคหสูตร
๕. เพราะเหตุนั้นแล เธอทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า ‘เราทั้ง
หลายจักรักษาคุ้มครองสิ่งที่สามีหามาได้ จะเป็นทรัพย์ ข้าว เงิน
หรือทองก็ตาม จักไม่เป็นนักเลงการพนัน ไม่เป็นขโมย ไม่เป็นนักเลง
สุรา ไม่ล้างผลาญทรัพย์สมบัติ’ เธอทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้
แล
กุมารีทั้งหลาย มาตุคามประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล หลังจากตายแล้ว
จะเข้าถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับเทวดาเหล่ามนาปกายิกา๑
(พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดา ครั้นตรัสเวยยากรณ์ภาษิตนี้แล้ว จึงได้ตรัส
คาถาประพันธ์ต่อไปอีกว่า)
สตรีผู้เป็นบัณฑิต ย่อมไม่ดูหมิ่นสามี
ผู้มีความเพียร ขวนขวายเป็นนิตย์
เลี้ยงตนเองทุกเมื่อ ผู้ให้สิ่งที่ต้องการได้ทุกอย่าง
ไม่ทำให้สามีขุ่นเคืองด้วยการแสดงความหึงหวง
ยกย่องทุกคนที่สามีเคารพ เป็นคนขยัน
ไม่เกียจคร้าน สงเคราะห์คนข้างเคียงของสามี
ปฏิบัติถูกใจสามี รักษาทรัพย์ที่สามีหามาได้
สตรีผู้ประพฤติตามใจสามีอย่างนี้
จะเข้าถึงความเป็นเทวดาเหล่ามนาปกายิกา
อุคคหสูตรที่ ๓ จบ

เชิงอรรถ :
๑ เทวดาเหล่ามนาปกายิกา หมายถึงเทวดาชั้นนิมมานรดี เทวดาเหล่านี้เรียกว่า เทพนิมมานรดี และเทพ
มนาปา เพราะเนรมิตรูปตามที่ตนปรารถนาได้ และชื่นชมรูปที่เนรมิตนั้น (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๓๓/๒๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๕๓ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๔. สุมนวรรค ๔. สีหเสนาปติสูตร
๔. สีหเสนาปติสูตร
ว่าด้วยสีหเสนาบดี
[๓๔] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ กูฏาคารศาลา ป่ามหาวัน
เขตกรุงเวสาลี ครั้งนั้นแล สีหเสนาบดีเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวาย
อภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า “พระพุทธเจ้าข้า พระผู้มี
พระภาคทรงบัญญัติผลแห่งทานที่จะพึงเห็นเองได้ไหม”
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสตอบว่า “ได้ สีหะ” แล้วได้ตรัสต่อไปว่า สีหะ
๑. ทายก ทานบดี๑ย่อมเป็นที่รักที่พอใจของคนหมู่มาก แม้ข้อนี้ ก็
เป็นผลแห่งทานที่จะพึงเห็นเอง
๒. สัตบุรุษผู้สงบย่อมคบหาทายก ทานบดี แม้ข้อนี้ก็เป็นผลแห่งทาน
ที่จะพึงเห็นเอง
๓. กิตติศัพท์อันงามของทายก ทานบดีย่อมขจรไป แม้ข้อนี้ก็เป็นผล
แห่งทานที่จะพึงเห็นเอง
๔. ทายก ทานบดีจะเข้าไปสู่บริษัทใด ๆ จะเป็นขัตติยบริษัทก็ตาม
พราหมณบริษัทก็ตาม คหบดีบริษัทก็ตาม สมณบริษัทก็ตาม
ก็เป็นผู้แกล้วกล้า ไม่เก้อเขินเข้าไป แม้ข้อนี้ก็เป็นผลแห่งทานที่
จะพึงเห็นเอง
๕. ทายก ทานบดี หลังจากตายแล้วจะไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์ แม้
ข้อนี้ก็เป็นผลแห่งทานที่จะพึงเห็นเองในภพหน้า”
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว สีหเสนาบดีจึงกราบทูลว่า “ข้าแต่
พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ไม่เพียงเชื่อต่อพระผู้มีพระภาค ในเรื่องผลแห่งทาน ๔
ประการ ที่พระผู้มีพระภาคตรัสบอกแล้วนี้เท่านั้น แต่ยังทราบอีกด้วย คือ ข้าพระองค์

เชิงอรรถ :
๑ ทายก ในที่นี้หมายถึงผู้แกล้วกล้าในการให้ทาน คือ ไม่ใช่มีเพียงศรัทธาเท่านั้น แต่กล้าที่จะบริจาคได้ด้วย
ทานบดี หมายถึงผู้เป็นใหญ่ในทาน คือให้ของที่ดีกว่าของที่ตนบริโภค (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๓๔/๒๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๕๔ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๔. สุมนวรรค ๔. สีหเสนาปติสูตร
เป็นทายก เป็นทานบดี ย่อมเป็นที่รักที่พอใจของคนหมู่มาก สัตบุรุษผู้สงบย่อม
คบหาข้าพระองค์ผู้เป็นทายกเป็นทานบดี กิตติศัพท์อันงามของข้าพระองค์ผู้เป็น
ทายกเป็นทานบดี ย่อมขจรไปว่า ‘สีหเสนาบดีเป็นทายก เป็นผู้รับใช้ เป็นผู้บำรุง
พระสงฆ์’ ข้าพระองค์ผู้เป็นทายก เป็นทานบดี จะเข้าไปสู่บริษัทใด ๆ จะเป็น
ขัตติยบริษัทก็ตาม พราหมณบริษัทก็ตาม คหบดีบริษัทก็ตาม สมณบริษัทก็ตาม
ก็เป็นผู้แกล้วกล้า ไม่เก้อเขินเข้าไป ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ไม่เพียงเชื่อ
ต่อพระผู้มีพระภาคในเรื่องผลแห่งทาน ๔ ประการที่พระผู้มีพระภาคตรัสบอกแล้วนี้
เท่านั้น แต่ยังทราบอีกด้วย ส่วนผลแห่งทานที่จะพึงเห็นเองประการที่ ๕ ที่พระผู้มี
พระภาคตรัสบอกข้าพระองค์อย่างนี้ว่า ‘ทายก ทานบดี หลังจากตายแล้วจะไปเกิด
ในสุคติโลกสวรรค์’ นั้นข้าพระองค์ยังไม่ทราบ แต่ข้าพระองค์ก็เชื่อต่อพระผู้มีพระภาค
ในเรื่องนี้”
พระผู้มีพระภาคตรัสย้ำว่า “ข้อนั้นเป็นอย่างนั้น สีหะ ข้อนั้นเป็นอย่างนั้น
สีหะ คือ ทายก ทานบดี หลังจากตายแล้วจะไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์”
นรชนผู้ไม่ตระหนี่ ให้ทานอยู่
ย่อมเป็นที่รักของคนหมู่มาก
คนหมู่มากย่อมคบหานรชนนั้น
เขาย่อมได้รับเกียรติ เจริญด้วยยศ
เป็นผู้ไม่เก้อเขิน แกล้วกล้าเข้าสู่บริษัท
เพราะเหตุนั้นแล บัณฑิตทั้งหลายผู้หวังสุข
จงขจัดความตระหนี่อันเป็นมลทินแล้วให้ทาน
บัณฑิตเหล่านั้น ย่อมดำรงในไตรทิพย์
ถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับเทวดา
รื่นเริงอยู่ตลอดกาลนาน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๕๕ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๔. สุมนวรรค ๕. ทานานิสังสสูตร
บัณฑิตเหล่านั้นได้โอกาสบำเพ็ญกุศลแล้ว
ละโลกนี้ไป ย่อมมีรัศมีเปล่งปลั่ง
เที่ยวชมไปในอุทยานชื่อนันทวัน
เพียบพร้อมด้วยกามคุณ ๕
เพลิดเพลิน รื่นเริง บันเทิงอยู่ในนันทวันนั้น
สาวกทั้งปวงของพระสุคตผู้ไม่มีกิเลส ผู้คงที่
ทำตามพระดำรัสของพระองค์แล้ว
ย่อมรื่นเริงในสวรรค์
สีหเสนาปติสูตรที่ ๔ จบ

๕. ทานานิสังสสูตร
ว่าด้วยอานิสงส์การให้ทาน
[๓๕] ภิกษุทั้งหลาย อานิสงส์การให้ทาน ๕ ประการนี้
อานิสงส์การให้ทาน ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ผู้ให้ทานย่อมเป็นที่รักที่พอใจของคนหมู่มาก
๒. สัตบุรุษผู้สงบย่อมคบหาผู้ให้ทาน
๓. กิตติศัพท์อันงามของผู้ให้ทานย่อมขจรไป
๔. ผู้ให้ทานย่อมไม่ห่างเหินจากธรรมของคฤหัสถ์
๕. ผู้ให้ทานหลังจากตายแล้วย่อมเกิดในสุคติโลกสวรรค์
ภิกษุทั้งหลาย อานิสงส์การให้ทาน ๕ ประการนี้แล
ผู้ให้ทานย่อมเป็นที่รักของคนหมู่มาก
ชื่อว่าดำเนินตามธรรมของสัตบุรุษ
สัตบุรุษทั้งหลายผู้สงบ ผู้สำรวมอินทรีย์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๕๖ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๔. สุมนวรรค ๖. กาลทานสูตร
ประพฤติพรหมจรรย์
ย่อมคบหาผู้ให้ทานทุกเมื่อ
สัตบุรุษเหล่านั้นย่อมแสดงธรรม
เป็นเครื่องบรรเทาทุกข์ทั้งปวงแก่เขา
เขารู้ชัดธรรมนั้นแล้ว
เป็นผู้ไม่มีอาสวะ ปรินิพพานในโลกนี้
ทานานิสังสสูตรที่ ๕ จบ

๖. กาลทานสูตร
ว่าด้วยกาลทา๑
[๓๖] ภิกษุทั้งหลาย กาลทาน ๕ ประการนี้
กาลทาน ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ให้ทานแก่ผู้มาสู่ถิ่นของตน
๒. ให้ทานแก่ผู้เตรียมจะไป
๓. ให้ทานแก่ผู้เป็นไข้
๔. ให้ทานในสมัยมีภิกษาหาได้ยาก
๕. ให้ข้าวอย่างดี และผลไม้ใหม่แก่ผู้มีศีล
ภิกษุทั้งหลาย กาลทาน ๕ ประการนี้แล
ผู้มีปัญญารู้ความประสงค์ของผู้ขอ๒
เป็นผู้ปราศจากความตระหนี่
ย่อมให้ทานในกาลที่ควรให้

เชิงอรรถ :
๑ กาลทาน หมายถึงยุตตทาน คือ การให้ที่เหมาะสม (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๓๖/๒๒)
๒ รู้ความประสงค์ของผู้ขอ ในที่นี้หมายถึงคฤหัสถ์เมื่อเห็นภิกษุเที่ยวบิณฑบาตยืนที่ประตูเรือนของตนเป็น
ผู้นิ่งไม่ออกปากขอ ก็รู้ความหมายได้ว่า ‘ท่านกำลังขอ ซึ่งเป็นการขออย่างพระอริยะ’ เมื่อรู้แล้วก็คิดว่า
‘พวกเราหุงต้มได้ แต่ภิกษุเหล่านี้หุงต้มไม่ได้ แล้วท่านจะหาภัตรได้ที่ไหน‘จึงจัดแจงไทยธรรมถวายท่าน
(องฺ.ปญฺจก.ฏีกา ๓/๓๖-๓๗/๒๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๕๗ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๔. สุมนวรรค ๗. โภชนทานสูตร
ทานที่ให้ในพระอริยะผู้ซื่อตรง ผู้คงที่
ย่อมเป็นทักษิณาที่ไพบูลย์
ทำให้เขามีใจผ่องใส
ชนเหล่าใดอนุโมทนาหรือขวนขวายในทักษิณานั้น
เพราะการอนุโมทนาหรือขวนขวายของชนเหล่านั้น
ทักษิณาย่อมมีผลไม่พร่อง
แม้พวกเขาก็เป็นผู้มีส่วนแห่งบุญ
เพราะฉะนั้น ผู้มีจิตไม่ท้อถอย
จึงควรให้ทานในเขตที่มีผลมาก
เพราะบุญเป็นที่พึ่งของสัตว์ทั้งหลายในโลกหน้า
กาลทานสูตรที่ ๖ จบ

๗. โภชนทานสูตร
ว่าด้วยการให้โภชนะ
[๓๗] ภิกษุทั้งหลาย ทายกผู้ให้โภชนะ ชื่อว่าให้ฐานะ ๕ ประการแก่ปฏิคาหก
ฐานะ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. อายุ ๒. วรรณะ
๓. สุข ๔. พละ
๕. ปฏิภาณ๑
ครั้นให้อายุแล้ว ย่อมมีส่วนได้อายุอันเป็นทิพย์ หรือเป็นของมนุษย์ ครั้นให้
วรรณะแล้ว ย่อมมีส่วนได้วรรณะอันเป็นทิพย์หรือเป็นของมนุษย์ ครั้นให้สุขแล้ว
ย่อมมีส่วนได้สุขอันเป็นทิพย์ หรือเป็นของมนุษย์ ครั้นให้พละแล้ว ย่อมมีส่วนได้
พละอันเป็นทิพย์ หรือเป็นของมนุษย์ ครั้นให้ปฏิภาณแล้ว ย่อมมีส่วนได้ปฏิภาณอัน
เป็นทิพย์ หรือเป็นของมนุษย์
ภิกษุทั้งหลาย ทายกผู้ให้โภชนะ ชื่อว่าให้ฐานะ ๕ ประการนี้แล

เชิงอรรถ :
๑ ปฏิภาณ ในที่นี้หมายถึงยุตตปฏิภาณ คือ ตอบปัญหาได้ถูกต้องตามเนื้อหาสาระและเหตุต่าง ๆ แต่ตอบ
ช้าไม่ตอบเร็ว และมุตตปฏิภาณ คือ ตอบปัญหาได้รวดเร็วในขณะที่ถามทีเดียว (องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๑๓๒/๓๘๐)
และดู องฺ.จตุกฺก. (แปล) ๒๑/๑๓๒/๒๐๑-๒๐๒, อภิ.ปุ. (แปล) ๓๖/๑๕๒-๑๕๕/๑๘๗

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๕๘ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๔. สุมนวรรค ๘. สัทธสูตร
นักปราชญ์ผู้มีปัญญา ให้อายุ ย่อมได้อายุ
ให้พละ ย่อมได้พละ ให้วรรณะ ย่อมได้วรรณะ
ให้ปฏิภาณ ย่อมได้ปฏิภาณ ให้สุข ย่อมได้สุข
ครั้นให้อายุ พละ วรรณะ สุขะ และปฏิภาณแล้ว
จะเกิดในที่ใด ๆ ย่อมเป็นผู้มีอายุยืน มียศในที่นั้น ๆ
โภชนสูตรที่ ๗ จบ

๘. สัทธสูตร
ว่าด้วยอานิสงส์แห่งศรัทธา
[๓๘] ภิกษุทั้งหลาย กุลบุตรผู้มีศรัทธา ย่อมได้อานิสงส์ ๕ ประการ
อานิสงส์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
สัตบุรุษทั้งหลายผู้สงบในโลก
๑. เมื่อจะอนุเคราะห์ ย่อมอนุเคราะห์ผู้มีศรัทธาก่อน ไม่อนุเคราะห์
ผู้ไม่มีศรัทธาก่อน
๒. เมื่อจะเข้าไปหา ย่อมเข้าไปหาผู้มีศรัทธาก่อน ไม่เข้าไปหาผู้ไม่มีศรัทธา
ก่อน
๓. เมื่อจะต้อนรับ ย่อมต้อนรับผู้มีศรัทธาก่อน ไม่ต้อนรับผู้ไม่มี
ศรัทธาก่อน
๔. เมื่อจะแสดงธรรม ย่อมแสดงธรรมแก่ผู้มีศรัทธาก่อน ไม่แสดง
ธรรมแก่ผู้ไม่มีศรัทธาก่อน
๕. กุลบุตรผู้มีศรัทธา หลังจากตายแล้วย่อมเกิดในสุคติโลกสวรรค์
ภิกษุทั้งหลาย กุลบุตรผู้มีศรัทธา ย่อมได้อานิสงส์ ๕ ประการนี้แล
เปรียบเหมือนต้นไทรใหญ่ที่ทางใหญ่สี่แพร่ง มีพื้นราบเรียบ ย่อมเป็นที่พึ่งของ
หมู่นกโดยรอบ ฉันใด กุลบุตรผู้มีศรัทธาก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมเป็นที่พึ่งของคน
หมู่มาก คือ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๕๙ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๔. สุมนวรรค ๙. ปุตตสูตร
ต้นไม้ใหญ่ มีกิ่ง ใบ และผล
มีลำต้นแข็งแรง มีรากมั่นคง สมบูรณ์ด้วยผล
ย่อมเป็นที่พึ่งของนกทั้งหลาย
ฝูงนกย่อมอาศัยต้นไม้นั้นซึ่งเป็นที่รื่นรมย์ใจ ให้เกิดสุข
ผู้ต้องการความร่มเย็น ย่อมเข้าไปอาศัยร่มเงา
ผู้ต้องการผล ย่อมบริโภคผลได้ ฉันใด
ท่านผู้ปราศจากราคะ ปราศจากโทสะ
ปราศจากโมหะ ไม่มีอาสวะ เป็นนาบุญของโลก
ย่อมคบหาบุคคลผู้มีศรัทธาซึ่งสมบูรณ์ด้วยศีล
ประพฤติถ่อมตน ไม่กระด้าง๑ สุภาพ
น่าชื่นชม อ่อนโยน มั่นคง ฉันนั้น
ท่านเหล่านั้นย่อมแสดงธรรม
เป็นเครื่องบรรเทาทุกข์ทั้งปวงแก่เขา
เขารู้ชัดธรรมนั้นแล้ว
เป็นผู้ไม่มีอาสวะ ปรินิพพานในโลกนี้
สัทธสูตรที่ ๘ จบ

๙. ปุตตสูตร
ว่าด้วยบุตร
[๓๙] ภิกษุทั้งหลาย มารดาบิดา เมื่อเห็นฐานะ ๕ ประการนี้ จึงปรารถนา
บุตรผู้เกิดในตระกูล
ฐานะ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. บุตรที่เราเลี้ยงมาแล้วจักเลี้ยงเรา
๒. บุตรจักช่วยทำกิจของเรา

เชิงอรรถ :
๑ ไม่กระด้าง หมายถึงปราศจากความกระด้าง คือ โกธะ (ความโกรธ) และมานะ (ความถือตัว) (องฺ.ปญฺจก.อ.
๓/๓๘/๒๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๖๐ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๔. สุมนวรรค ๙. ปุตตสูตร
๓. วงศ์ตระกูลจักดำรงอยู่ได้นาน
๔. บุตรจักปฏิบัติตนให้สมควรรับทรัพย์มรดกไว้
๕. เมื่อเราทั้งสองตายไป บุตรจักทำบุญอุทิศให้
ภิกษุทั้งหลาย มารดาบิดาเมื่อเห็นฐานะ ๕ ประการนี้แล จึงปรารถนาบุตรผู้
เกิดในตระกูล
มารดาบิดาผู้ฉลาด
เมื่อเห็นฐานะ ๕ ประการ จึงปรารถนาบุตร
ด้วยหวังว่า ‘บุตรที่เราเลี้ยงแล้วจักเลี้ยงเรา
จักช่วยทำกิจของเรา
วงศ์ตระกูลจักดำรงอยู่ได้นาน
จักปฏิบัติตนให้สมควรแก่การรับทรัพย์มรดก
และเมื่อเราทั้งสองตายแล้วจักทำบุญอุทิศให้’
มารดาบิดาผู้ฉลาด
เมื่อเห็นฐานะเหล่านี้ จึงปรารถนาบุตร
เพราะฉะนั้น บุตรผู้เป็นสัตบุรุษ ผู้สงบ
เป็นกตัญญูกตเวทีบุคคล
เมื่อระลึกถึงคุณท่านที่ทำไว้ต่อเราก่อน
จึงเลี้ยงมารดาบิดา ช่วยทำกิจของท่าน
เชื่อฟังโอวาท ตอบสนองพระคุณท่าน
ดำรงวงศ์ตระกูลสมกับที่ท่านเป็นบุพการี
บุตรผู้มีศรัทธา สมบูรณ์ด้วยศีล
ย่อมเป็นที่สรรเสริญ
ปุตตสูตรที่ ๙ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๖๑ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๔. สุมนวรรค ๑๐. มหาสาลปุตตสูตร
๑๐. มหาสาลปุตตสูตร
ว่าด้วยต้นสาละใหญ่กับกุลบุตร
[๔๐] ภิกษุทั้งหลาย ไม้สาละใหญ่อาศัยขุนเขาหิมพานต์ ย่อมงอกงามด้วย
ความเจริญ ๕ ประการ
ความเจริญ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. กิ่ง ใบแก่ และใบอ่อน ๒. เปลือก
๓. สะเก็ด ๔. กระพี้
๕. แก่น
ภิกษุทั้งหลาย ไม้สาละใหญ่อาศัยขุนเขาหิมพานต์ ย่อมงอกงามด้วยความ
เจริญ ๕ ประการนี้ ฉันใด
ชนภายใน๑อาศัยกุลบุตรผู้มีศรัทธา ย่อมงอกงามด้วยความเจริญ ๕ ประการ
ฉันนั้นเหมือนกัน
ความเจริญ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ศรัทธา(ความเชื่อ)
๒. ศีล (การรักษากายวาจาให้เรียบร้อย)
๓. สุตะ(การสดับฟังหาความรู้)
๔. จาคะ (การเสียสละ)
๕. ปัญญา (ความรอบรู้)
ภิกษุทั้งหลาย ชนภายในอาศัยกุลบุตรผู้มีศรัทธา ย่อมงอกงามด้วยความ
เจริญ ๕ ประการนี้
ภูเขาหินมีอยู่ในป่าใหญ่
หมู่ไม้เหล่านั้นอาศัยภูเขานั้น
เจริญงอกงามเติบโตในป่า แม้ฉันใด

เชิงอรรถ :
๑ ชนภายใน ในที่นี้หมายถึงภรรยา บุตร ธิดา (องฺ.ติก.อ. ๒/๑๔/๘๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๖๒ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๔. สุมนวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค
บุตร ภรรยา พวกพ้อง อำมาตย์๑ หมู่ญาติ
และชนผู้อาศัยเขาเลี้ยงชีพ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน
อาศัยกุลบุตรผู้มีศรัทธา สมบูรณ์ด้วยศีล
ย่อมงอกงามในโลกนี้
ชนผู้มีปัญญาเห็นแจ้ง เห็นศีล
จาคะ และสุจริต (ความประพฤติดี)
ของกุลบุตรผู้มีศรัทธานั้นแล้วย่อมทำตาม
บุคคลประพฤติธรรมซึ่งเป็นทางนำสัตว์ไปสู่สุคติ
ย่อมเพลิดเพลินในโลกนี้สมปรารถนา
ย่อมบันเทิงในเทวโลก๒
มหาสาลปุตตสูตรที่ ๑๐ จบ
สุมนวรรคที่ ๔ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. สุมนสูตร ๒. จุนทีสูตร
๓. อุคคหสูตร ๔. สีหเสนาปติสูตร
๕. ทานานิสังสสูตร ๖. กาลทานสูตร
๗. โภชนทานสูตร ๘. สัทธสูตร
๙. ปุตตสูตร ๑๐. มหาสาลปุตตสูตร


เชิงอรรถ :
๑ อำมาตย์ ในที่นี้หมายถึงบุคคลที่ทำกิจการงานร่วมกัน ชี้แนะกันได้ ปรึกษาหารือกันได้ทุกเรื่อง ทุกอิริยาบถ
(สํ.สฬา.อ. ๓/๑๐๑๒/๓๖๗, สํ.ฏีกา ๒/๑๐๑๒/๖๒๙)
๒ ดู องฺ.ติก. (แปล) ๒๐/๔๙/๒๑๐

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๖๓ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๕. มุณฑราชวรรค ๑. อาทิยสูตร
๕. มุณฑราชวรรค
หมวดว่าด้วยพระเจ้ามุณฑราช

๑. อาทิยสูตร
ว่าด้วยประโยชน์ที่ควรถือเอาจากโภคทรัพย์
[๔๑] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของ
อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้นแล อนาถบิณฑิกเศรษฐีเข้าไปเฝ้า
พระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร พระผู้มีพระภาค
จึงได้ตรัสดังนี้ว่า คหบดี ประโยชน์ที่จะพึงถือเอาจากโภคทรัพย์ ๕ ประการนี้
ประโยชน์ ๕ ประการนี้ อะไรบ้าง คือ
๑. อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ย่อมบำรุงตนเอง บำรุงมารดาบิดา บำรุง
บุตร ภรรยา ทาส กรรมกร และคนใช้ให้เป็นสุข บริหารให้เป็นสุข
โดยชอบด้วยโภคทรัพย์ที่หามาได้ด้วยความขยันหมั่นเพียร เก็บ
รวบรวมด้วยน้ำพักน้ำแรง อาบเหงื่อต่างน้ำ ประกอบด้วยธรรม
ได้มาโดยธรรม๑ นี้เป็นประโยชน์ที่ควรถือเอาจากโภคทรัพย์ประการ
ที่ ๑
๒. อริยสาวกย่อมบำรุงตนเองบำรุงมิตรและอำมาตย์ให้เป็นสุข บริหาร
ให้เป็นสุขโดยชอบด้วยโภคทรัพย์ที่หามาได้ด้วยความขยันหมั่นเพียร
เก็บรวบรวมด้วยน้ำพักน้ำแรง อาบเหงื่อต่างน้ำ ประกอบด้วย
ธรรม ได้มาโดยธรรม นี้เป็นประโยชน์ที่ควรถือเอาจากโภคทรัพย์
ประการที่ ๒

เชิงอรรถ :
๑ ได้มาโดยธรรม ในที่นี้หมายถึงได้มาโดยไม่ล่วงละเมิดกุศลกรรมบถ ๑๐ ประการ (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๔๑/๒๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๖๔ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๕. มุณฑราชวรรค ๑. อาทิยสูตร
๓. อริยสาวกย่อมป้องกันอันตรายที่เกิดจากไฟ น้ำ พระราชา โจร คน
ที่ไม่ชอบกัน หรือจากทายาท ทำตนให้ปลอดภัย นี้เป็นประโยชน์
ที่ควรถือเอาจากโภคทรัพย์ประการที่ ๓
๔. อริยสาวกย่อมทำพลี๑ ๕ อย่าง คือ (๑) ญาติพลี (๒) อติถิพลี
(๓) ปุพพเปตพลี (๔) ราชพลี (๕) เทวตาพลี นี้เป็นประโยชน์ที่
ควรถือเอาจากโภคทรัพย์ประการที่ ๔
๕. อริยสาวกย่อมตั้งทักษิณาที่มีผลสูงขึ้นไป เป็นไปเพื่อให้ได้อารมณ์ดี
มีสุขเป็นผล ให้เกิดในสวรรค์ในสมณพราหมณ์ผู้เว้นขาดจากความ
มัวเมาและความประมาท ดำรงมั่นอยู่ในขันติ (ความอดทน) และ
โสรัจจะ (ความเสงี่ยม) ฝึกอบรมตน ทำตนให้สงบ ทำตนให้
ดับเย็นสนิท ด้วยโภคทรัพย์ที่หามาได้ด้วยความขยันหมั่นเพียร
เก็บรวบรวมด้วยน้ำพักน้ำแรง อาบเหงื่อต่างน้ำ ประกอบด้วย
ธรรม ได้มาโดยธรรม นี้เป็นประโยชน์ที่ควรถือเอาจากโภคทรัพย์
ประการที่ ๕
คหบดี ประโยชน์ที่ควรถือเอาจากโภคทรัพย์ ๕ ประการนี้แล
ถ้าเมื่ออริยสาวกนั้นถือเอาประโยชน์จากโภคทรัพย์ ๕ ประการนี้ โภคทรัพย์
หมดสิ้นไป อริยสาวกนั้นย่อมมีความคิดอย่างนี้ว่า ‘เราได้ถือเอาประโยชน์จาก
โภคทรัพย์นั้นแล้ว และโภคทรัพย์ของเราก็หมดสิ้นไป’ ด้วยเหตุนี้ อริยสาวกนั้น
จึงไม่มีวิปปฏิสาร (ความร้อนใจ) ถ้าเมื่ออริยสาวกนั้นถือเอาประโยชน์จากโภคทรัพย์
๕ ประการนี้ โภคทรัพย์เพิ่มพูนขึ้น อริยสาวกนั้นย่อมมีความคิดอย่างนี้ว่า ‘เราถือ

เชิงอรรถ :
๑ พลี (พะลี) หมายถึงการสงเคราะห์ บวงสรวง น้อมให้ หรือส่วย มี ๕ อย่าง คือ (๑) ญาติพลี สงเคราะห์ญาติ
(๒) อติถิพลี ต้อนรับแขก (๓) ปุพพเปตพลี ทำบุญอุทิศให้ผู้ตาย (๔) ราชพลี ถวายเป็นของหลวงมีเสีย
ภาษีอากรเป็นต้น (๕) เทวตาพลี ทำบุญอุทิศให้เทวดา (องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๖๑/๓๕๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๖๕ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๕. มุณฑราชวรรค ๒. สัปปุริสสูตร
เอาประโยชน์จากโภคทรัพย์นี้แล้ว และโภคทรัพย์ของเราก็เพิ่มพูนขึ้น’ อริยสาวก
นั้นย่อมไม่มีวิปปฏิสารด้วยเหตุทั้ง ๒ ประการนี้เลย
นรชนผู้จะต้องตายเมื่อคำนึงถึงเหตุนี้ว่า
‘โภคทรัพย์ เราได้บริโภคแล้ว
คนที่ควรเลี้ยง เราได้เลี้ยงแล้ว
อันตรายทั้งหลาย เราได้ข้ามพ้นแล้ว
ทักษิณาที่มีผลสูงขึ้นไป เราได้ให้แล้ว
และพลี ๕ อย่าง เราได้ทำแล้ว
ท่านผู้มีศีลสำรวมระวัง ประพฤติพรหมจรรย์ เราได้บำรุงแล้ว
ประโยชน์ที่บัณฑิตผู้อยู่ครองเรือนปรารถนา เราก็ได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
กรรมที่ไม่ก่อความเดือดร้อนในภายหลัง เราก็ได้ทำแล้ว’
ชื่อว่า เป็นผู้ตั้งอยู่ในอริยธรรม
บัณฑิตทั้งหลายย่อมสรรเสริญเขาในโลกนี้
เขาตายไปแล้ว ย่อมบันเทิงในสวรรค์
อาทิยสูตรที่ ๑ จบ

๒. สัปปุริสสูตร
ว่าด้วยสัตบุรุษ
[๔๒] ภิกษุทั้งหลาย สัตบุรุษเมื่อเกิดในตระกูล ชื่อว่าเกิดเพื่อประโยชน์ เพื่อ
เกื้อกูล เพื่อสุขแก่คนหมู่มาก คือ มารดา บิดา บุตร ภรรยา ทาส กรรมกร คนใช้
มิตร อำมาตย์๑ และสมณพราหมณ์
สัตบุรุษเมื่อเกิดในตระกูล ชื่อว่าเกิดเพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขแก่คน
หมู่มาก คือ แก่มารดา บิดา บุตร ภรรยา ทาส กรรมกร คนใช้ มิตร อำมาตย์

เชิงอรรถ :
๑ ดูเชิงอรรถที่ ๑ ข้อ ๔๐ (มหาสาลปุตตสูตร) หน้า ๖๓ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๖๖ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๕. มุณฑราชวรรค ๓. อิฏฐสูตร
และสมณพราหมณ์ เปรียบเหมือนมหาเมฆทำข้าวกล้าทั้งปวงให้งอกงาม ชื่อว่ามี
เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขแก่คนหมู่มาก
สัตบุรุษครอบครองโภคทรัพย์
เป็นผู้เกื้อกูลแก่คนหมู่มาก
เทวดาย่อมรักษาเขาผู้มีธรรมคุ้มครองแล้ว
เป็นพหูสูต สมบูรณ์ด้วยศีลและวัตร
เกียรติย่อมไม่ละเขาผู้ตั้งอยู่ในธรรม
ใครเล่าจะสามารถติเตียนเขาผู้ตั้งอยู่ในธรรม
สมบูรณ์ด้วยศีล มีวาจาสัตย์
มีหิริ(ความละอายต่อบาป)ในใจ
ดุจแท่งทองชมพูนุท
แม้เทวดาก็ชม ถึงพรหมก็สรรเสริญเขา
สัปปุริสสูตรที่ ๒ จบ

๓. อิฏฐสูตร
ว่าด้วยธรรมที่น่าปรารถนา
[๔๓] ครั้งนั้น อนาถบิณฑิกคหบดีเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสกับอนาถบิณฑิกคหบดี
ดังนี้ว่า
คหบดี ธรรม ๕ ประการนี้ ที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ หาได้ยากในโลก
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. อายุที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ หาได้ยากในโลก
๒. วรรณะที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ หาได้ยากในโลก
๓. สุขที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ หาได้ยากในโลก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๖๗ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๕. มุณฑราชวรรค ๓. อิฏฐสูตร
๔. ยศที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ หาได้ยากในโลก
๕. สวรรค์ที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ หาได้ยากในโลก
คหบดี ธรรม ๕ ประการนี้แล ที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ หาได้ยากในโลก
ธรรม ๕ ประการนี้ ที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ หาได้ยากในโลก เรามิได้
กล่าวว่า จะพึงได้เพราะความอ้อนวอน หรือเพราะความปรารถนา ถ้าธรรม ๕
ประการนี้ ที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ หาได้ยากในโลก จักได้เพราะการ
อ้อนวอน หรือเพราะความปรารถนาในโลกนี้แล้ว ใครเล่าจะพึงเสื่อมจากอะไรได้
อริยสาวกผู้ต้องการอายุ ไม่ควรอ้อนวอนหรือเพลิดเพลินอายุ หรือปฏิบัติ
ปฏิปทาอันเป็นไปเพื่ออายุเพราะอายุเป็นเหตุ แท้จริงปฏิปทาอันเป็นไปเพื่ออายุที่
อริยสาวกนั้นปฏิบัติแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อให้ได้อายุ อริยสาวกนั้นย่อมได้อายุอัน
เป็นทิพย์ หรือเป็นของมนุษย์
อริยสาวกผู้ต้องการวรรณะ ไม่ควรอ้อนวอนหรือเพลิดเพลินวรรณะ หรือ
ปฏิบัติปฏิปทาอันเป็นไปเพื่อวรรณะเพราะวรรณะเป็นเหตุ แท้จริง ปฏิปทาอันเป็น
ไปเพื่อวรรณะที่อริยสาวกนั้นปฏิบัติแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อให้ได้วรรณะ อริยสาวกนั้น
ย่อมได้วรรณะอันเป็นทิพย์ หรือเป็นของมนุษย์
อริยสาวกผู้ต้องการสุข ไม่ควรอ้อนวอนหรือเพลิดเพลินสุข หรือปฏิบัติ
ปฏิปทาอันเป็นไปเพื่อสุขเพราะสุขเป็นเหตุ แท้จริง ปฏิปทาอันเป็นไปเพื่อสุขที่อริย-
สาวกนั้นปฏิบัติแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อให้ได้สุข อริยสาวกนั้นย่อมได้สุขอันเป็นทิพย์
หรือเป็นของมนุษย์
อริยสาวกผู้ต้องการยศ ไม่ควรอ้อนวอนหรือเพลิดเพลินยศ หรือปฏิบัติ
ปฏิปทาอันเป็นไปเพื่อยศเพราะยศเป็นเหตุ แท้จริง ปฏิปทาอันเป็นไปเพื่อยศที่อริย-
สาวกนั้นปฏิบัติแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อให้ได้ยศ อริยสาวกนั้นย่อมได้ยศอันเป็นทิพย์
หรือเป็นของมนุษย์
คหบดี อริยสาวกผู้ต้องการสวรรค์ ไม่ควรอ้อนวอนหรือเพลิดเพลินสวรรค์
หรือปฏิบัติปฏิปทาอันเป็นไปเพื่อสวรรค์เพราะสวรรค์เป็นเหตุ แท้จริง ปฏิปทาอัน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๖๘ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๕. มุณฑราชวรรค ๔. มนาปทายีสูตร
เป็นไปเพื่อสวรรค์อันอริยสาวกนั้นปฏิบัติแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อให้ได้สวรรค์ อริยสาวก
นั้นย่อมได้สวรรค์
ชนผู้ปรารถนาอายุ วรรณะ เกียรติยศ
สวรรค์ การเกิดในตระกูลสูง และความเพลินใจ
พึงทำความไม่ประมาทให้มากยิ่งขึ้น
บัณฑิตทั้งหลายสรรเสริญความไม่ประมาทในการทำบุญ
บัณฑิตผู้ไม่ประมาทแล้ว ย่อมยึดประโยชน์ทั้งสองไว้ได้
คือประโยชน์ในภพนี้ และประโยชน์ในภพหน้า
ผู้มีปัญญา ท่านเรียกว่า บัณฑิต
เพราะบรรลุถึงประโยชน์ทั้งสองนั้นแล้ว
อิฏฐสูตรที่ ๓ จบ

๔. มนาปทายีสูตร
ว่าด้วยผู้ให้สิ่งที่น่าพอใจ
[๔๔] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ กูฏาคารศาลา ป่ามหาวัน
เขตกรุงเวสาลี ครั้งนั้น เวลาเช้า พระผู้มีพระภาคทรงครองอันตรวาสก ถือบาตร
และจีวรเสด็จเข้าไปสู่นิเวศน์ของอุคคคหบดีชาวกรุงเวสาลี ประทับนั่งบนพุทธอาสน์ที่
ปูลาดไว้ ลำดับนั้น อุคคคหบดีได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาท
แล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ได้สดับรับมาเฉพาะพระพักตร์พระผู้มี
พระภาคว่า ‘ผู้ให้ของที่น่าพอใจ ย่อมได้ของที่น่าพอใจ’ ก็ของเคี้ยวชื่อสาลปุปผกะ๑
เป็นที่น่าพอใจของข้าพระองค์ ขอพระผู้มีพระภาคทรงอาศัยความอนุเคราะห์รับ
ขาทนียาหารของข้าพระองค์นั้นด้วยเถิด”

เชิงอรรถ :
๑ ของเคี้ยวชื่อสาลปุปผกะ หมายถึงของเคี้ยวที่ทำด้วยแป้งข้าวสาลี ปรุงด้วยของอร่อย ๔ ชนิด คือ เนยใส
น้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อย (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๔๔/๒๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๖๙ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๕. มุณฑราชวรรค ๔. มนาปทายีสูตร
พระผู้มีพระภาคทรงอาศัยความอนุเคราะห์รับแล้ว
อุคคคหบดีได้กราบทูลอีกว่า “ข้าพระองค์ได้สดับรับมาเฉพาะพระพักตร์พระ
ผู้มีพระภาคว่า ‘ผู้ให้ของที่น่าพอใจย่อมได้ของที่น่าพอใจ’ ก็เนื้อสุกรอย่างดี๑ เป็นที่
น่าพอใจของข้าพระองค์ ขอพระผู้มีพระภาคทรงอาศัยความอนุเคราะห์รับเนื้อสุกร
อย่างดีของข้าพระองค์นั้นด้วยเถิด”
พระผู้มีพระภาคทรงอาศัยความอนุเคราะห์รับแล้ว
อุคคคหบดีได้กราบทูลอีกว่า “ข้าพระองค์ได้สดับรับมาเฉพาะพระพักตร์พระ
ผู้มีพระภาคว่า ‘ผู้ให้ของที่น่าพอใจย่อมได้ของที่น่าพอใจ’ ก็นาลิยสากะ๒ ซึ่งทอด
ด้วยน้ำมันเป็นที่น่าพอใจของข้าพระองค์ ขอพระผู้มีพระภาคทรงอาศัยความอนุเคราะห์
รับนาลิยสากขาทนียาหารของข้าพระองค์นั้นด้วยเถิด”
พระผู้มีพระภาคทรงอาศัยความอนุเคราะห์รับแล้ว
อุคคคหบดีได้กราบทูลอีกว่า “ข้าพระองค์ได้สดับรับมาเฉพาะพระพักตร์พระ
ผู้มีพระภาคว่า ‘ผู้ให้ของที่น่าพอใจย่อมได้ของที่น่าพอใจ’ ก็ข้าวสุกแห่งข้าวสาลีที่
ขาวสะอาด มีแกงและกับมากเป็นที่น่าพอใจของข้าพระองค์ ขอพระผู้มีพระภาคทรง
อาศัยความอนุเคราะห์รับข้าวสุกแห่งข้าวสาลีของข้าพระองค์นั้นด้วยเถิด”
พระผู้มีพระภาคทรงอาศัยความอนุเคราะห์รับแล้ว
อุคคคหบดีได้กราบทูลอีกว่า “ข้าพระองค์ได้สดับรับมาเฉพาะพระพักตร์พระ
ผู้มีพระภาคว่า ‘ผู้ให้ของที่น่าพอใจย่อมได้ของที่น่าพอใจ’ ก็ผ้าที่ทอในแคว้นกาสี
เป็นที่น่าพอใจของข้าพระองค์ ขอพระผู้มีพระภาคทรงอาศัยความอนุเคราะห์รับผ้า
ของข้าพระองค์นั้นด้วยเถิด”
พระผู้มีพระภาคทรงอาศัยความอนุเคราะห์รับแล้ว

เชิงอรรถ :
๑ เนื้อสุกรอย่างดี หมายถึงเนื้อสุกรที่มีอายุ ๑ ปี ที่ปรุงให้สุกด้วยเครื่องปรุงมีเมล็ดยี่หร่าเป็นต้นผสมกับ
พุทรารสอร่อย (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๔๔/๒๕)
๒ นาลิยสากะ หมายถึงของเคี้ยวที่ใช้ผักประมาณ ๑ ทะนาน ขยำกับแป้งข้าวสาลีแล้วเคี่ยวในเนยใสที่ผสม
เมล็ดยี้หร่าเป็นต้น ผสมกับของอร่อย ๔ ชนิด อบให้สุก (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๔๔/๒๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๗๐ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๕. มุณฑราชวรรค ๔. มนาปทายีสูตร
อุคคคหบดีได้กราบทูลอีกว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ได้สดับรับมา
เฉพาะพระพักตร์พระผู้มีพระภาคว่า ‘ผู้ให้ของที่น่าพอใจย่อมได้ของที่น่าพอใจ’
ก็บัลลังก์๑ที่ลาดด้วยผ้าโกเชาว์๒ ลาดด้วยผ้าขนแกะสีขาว ลาดด้วยเครื่องลาดมี
สัณฐานเป็นช่อดอกไม้ ลาดด้วยเครื่องลาดอย่างดีทำด้วยหนังชะมด มีเพดานข้างบน
มีหมอนสีแดงทั้ง ๒ ข้าง๓ เป็นที่น่าพอใจของข้าพระองค์ และข้าพระองค์ก็ทราบ
ดีว่า สิ่งเหล่านี้ไม่ควรแก่พระผู้มีพระภาค เตียงไม้จันทน์ของข้าพระองค์นี้ราคาเกิน
กว่า ๑๐๐,๐๐๐ กหาปณะ ขอพระผู้มีพระภาคทรงอาศัยความอนุเคราะห์รับเตียง
ของข้าพระองค์นั้นด้วยเถิด”
พระผู้มีพระภาคทรงอาศัยความอนุเคราะห์รับแล้ว
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงอนุโมทนาอุคคคหบดีชาวกรุงเวสาลี ด้วย
อนุโมทนียกถานี้ว่า
ผู้ให้ของที่น่าพอใจ ย่อมได้ของที่น่าพอใจ
ผู้ใดให้เครื่องนุ่งห่ม ที่นอน ข้าว น้ำ
และปัจจัยมีประการต่าง ๆ
แก่ท่านผู้ประพฤติตรง ด้วยความพอใจ
สิ่งของที่ให้ไปแล้วนั้น เป็นของที่บริจาคแล้ว
สละแล้ว ไม่คิดเอาคืน
ผู้นั้นชื่อว่าเป็นสัตบุรุษรู้ชัดว่า
พระอรหันต์เปรียบด้วยนาบุญ
บริจาคสิ่งที่บริจาคได้ยาก
ให้ของที่น่าพอใจ ย่อมได้ของที่น่าพอใจ

เชิงอรรถ :
๑ บัลลังก์ ในที่นี้หมายถึงเตียงมีเท้าทำเป็นรูปสัตว์ (วิ.อ. ๓/๒๕๔/๑๖๙)
๒ ผ้าโกเชาว์ หมายถึงผ้าที่ทำด้วยขนแพะหรือแกะ ผืนใหญ่มีขนาดยาวเกิน ๔ นิ้ว (วิ.อ. ๓/๒๕๔/๑๖๙)
๓ หมอนสีแดงทั้ง ๒ ข้างนี้ใช้สำหรับหนุนศีรษะ ๑ ใบ ใช้หนุนเท้า ๑ ใบ วางไว้ส่วนศีรษะและส่วนเท้า
(วิ.อ. ๓/๒๕๔/๑๖๙-๑๗๐)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๗๑ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๕. มุณฑราชวรรค ๔. มนาปทายีสูตร
ที่นั้น พระผู้มีพระภาคครั้นทรงอนุโมทนาอุคคคหบดีชาวกรุงเวสาลีด้วย
อนุโมทนียกถาแล้ว จึงเสด็จลุกจากพุทธอาสน์หลีกไป
ต่อมาไม่นาน อุคคคหบดีชาวกรุงเวสาลีได้ถึงแก่กรรม เข้าถึงชั้นกายมโนมัย๑
ชั้นใดชั้นหนึ่ง สมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น เมื่อราตรี๒ผ่านไป อุคคเทพบุตรมี
มีวรรณะงดงามยิ่งนัก เปล่งรัศมีให้สว่างทั่วพระเชตวัน เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค
ถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วยืนอยู่ ณ ที่สมควร พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสถามว่า
“อุคคะ สำเร็จตามที่ท่านประสงค์แล้วหรือ” อุคคเทพบุตรกราบทูลว่า “ข้าแต่
พระองค์ผู้เจริญ สำเร็จตามที่ข้าพระองค์ประสงค์แล้ว พระพุทธเจ้าข้า”
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกับอุคคเทพบุตรด้วยพระคาถาว่า
ผู้ให้ของที่น่าพอใจ ย่อมได้ของที่น่าพอใจ
ผู้ให้ของที่เลิศ ย่อมได้ของที่เลิศ
ผู้ให้ของที่ดี ย่อมได้ของที่ดี
และผู้ให้ของที่ประเสริฐ ย่อมเข้าถึงสถานที่ประเสริฐ
นรชนใดให้ของที่เลิศ ให้ของที่ดี
และให้ของที่ประเสริฐ
นรชนนั้น จะเกิดในที่ใด ๆ
ย่อมเป็นผู้มีอายุยืน มียศในที่นั้น ๆ
มนาปทายีสูตรที่ ๔ จบ

เชิงอรรถ :
๑ กายมโนมัย ในที่นี้หมายถึงเทพกายหรือพรหมกายของผู้บำเพ็ญฌานสมาบัติแล้วบังเกิดในพรหมโลก
ชั้นสุทธาวาสด้วยอำนาจฌาน (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๔๔/๒๖, ๑๖๖/๖๔)
๒ ราตรี ในที่นี้หมายถึงปฐมยามแห่งราตรีผ่านไป มัชฌิมยามย่างเข้ามา (องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๒๑-๒๒/๑๐๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๗๒ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๕. มุณฑราชวรรค ๕. ปุญญาภิสันทสูตร
๕. ปุญญาภิสันทสูตร๑
ว่าด้วยห้วงบุญกุศล
[๔๕] ภิกษุทั้งหลาย ห้วงบุญกุศล๒ ๕ ประการนี้ นำสุขมาให้ เป็นไปเพื่อ
ให้ได้อารมณ์ดี๓ มีสุขเป็นผล ให้เกิดในสวรรค์ เป็นไปเพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขที่น่า
ปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ
ห้วงบุญกุศล ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ภิกษุใช้สอยจีวรของทายกใด บรรลุเจโตสมาธิที่ประมาณไม่ได้อยู่๔
ห้วงบุญกุศลของทายกนั้นประมาณไม่ได้ นำสุขมาให้ เป็นไปเพื่อ
ให้ได้อารมณ์ดี มีสุขเป็นผล ให้เกิดในสวรรค์ เป็นไปเพื่อเกื้อกูล
เพื่อสุขที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ
๒. ภิกษุฉันบิณฑบาตของทายกใด ...
๓. ภิกษุใช้สอยวิหารของทายกใด ...
๔. ภิกษุใช้สอยเตียงตั่งของทายกใด ...
๕. ภิกษุใช้สอยคิลานปัจจัยเภสัชชบริขารของทายกใด บรรลุเจโต-
สมาธิที่ประมาณไม่ได้อยู่ ห้วงบุญกุศลของทายกนั้นประมาณไม่ได้
นำสุขมาให้ เป็นไปเพื่อให้ได้อารมณ์ดี มีสุขเป็นผล ให้เกิดในสวรรค์
เป็นไปเพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ
ห้วงบุญกุศล ๕ ประการนี้แล นำสุขมาให้ เป็นไปเพื่อให้ได้อารมณ์ดี มีสุข
เป็นผล ให้เกิดในสวรรค์ เป็นไปเพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ

เชิงอรรถ :
๑ ดู องฺ.จตุกฺก. (แปล) ๒๑/๕๑/๘๔
๒ ห้วงบุญกุศล ในที่นี้หมายถึงผลบุญกุศลที่หลั่งไหลนำความสุขมาสู่ผู้บำเพ็ญอย่างต่อเนื่องไม่ขาดสาย
(องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๕๑/๓๔๘,องฺ.จตุกฺก.ฏีกา ๒/๕๑/๓๘๒)
๓ อารมณ์ดี ในที่นี้หมายถึงอารมณ์ คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฎฐัพพะ ที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ
(องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๕๑/๓๔๘)
๔ เจโตสมาธิที่ประมาณไม่ได้ ในที่นี้หมายถึงอรหัตตผลสมาธิ (สมาธิในขั้นอรหัตตผล) (องฺ.จตุกฺก.อ.
๒/๕๑/๓๔๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๗๓ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๕. มุณฑราชวรรค ๕. ปุญญาภิสันทสูตร
การกำหนดประมาณบุญของอริยสาวกผู้เพียบพร้อมด้วยห้วงบุญกุศล ๕ ประการ
นี้ว่า ‘ห้วงบุญกุศลมีประมาณเท่านี้ นำสุขมาให้ เป็นไปเพื่อให้ได้อารมณ์ดี มีสุข
เป็นผล ให้เกิดในสวรรค์ เป็นไปเพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขที่น่าปรารถนา น่าใคร น่าพอใจ’
มิใช่จะทำได้ง่าย แท้จริง ห้วงบุญกุศลนั้นย่อมถึงการนับว่า ‘เป็นกองบุญใหญ่ที่นับ
ไม่ได้ ประมาณไม่ได้เลย’
การกำหนดปริมาณของน้ำในมหาสมุทรว่า ‘น้ำมีปริมาณเท่านี้อาฬหกะ๑ น้ำมี
ปริมาณเท่านี้ ๑๐๐ อาฬหกะ น้ำมีปริมาณเท่านี้ ๑,๐๐๐ อาฬหกะ หรือน้ำมีปริมาณ
เท่านี้ ๑๐๐,๐๐๐ อาฬหกะ’ มิใช่จะทำได้ง่าย แท้จริง ปริมาณของน้ำในมหาสมุทรนั้น
ย่อมถึงการนับว่า ‘เป็นห้วงน้ำใหญ่ที่นับไม่ได้ ประมาณไม่ได้เลย’ ฉันใด
ภิกษุทั้งหลาย การกำหนดประมาณของอริยสาวกผู้เพียบพร้อมด้วยห้วงบุญ
กุศล ๕ ประการนี้ว่า ‘ห้วงบุญกุศลมีประมาณเท่านี้ นำสุขมาให้ เป็นไปเพื่อให้ได้
อารมณ์ดี มีสุขเป็นผลให้เกิดในสวรรค์ เป็นไปเพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขที่น่าปรารถนา
น่าใคร่ น่าพอใจ’ มิใช่จะทำได้ง่าย แท้จริง ห้วงบุญกุศลนั้นย่อมถึงการนับว่า
‘เป็นกองบุญใหญ่ที่นับไม่ได้ ประมาณไม่ได้เลย’ ฉันนั้น
แม่น้ำหลายสายคับคั่งไปด้วยหมู่ปลา
ไหลบ่าไปยังมหาสมุทร

เชิงอรรถ :
๑ อาฬหกะ เป็นชื่อมาตราตวงชนิดหนึ่งของอินเดียโบราณ มีลำดับมาตราดังนี้
๔ กุฑวะ หรือ ปสตะ (ฟายมือ) เป็น ๑ ปัตถะ (กอบ)
๔ ปัตถวะ เป็น ๑ อาฬหกะ
๔ อาฬหกะ เป็น ๑ โทณะ
๔ โทณะ เป็น ๑ มาณิกา
๔ มาณิกา เป็น ๑ ขารี
๒๐ ขารี เป็น ๑ วาหะ (เกวียน)
๒๐ วาหะ เป็น ๑ ธารณะ
๒๐ ธารณะ เป็น ๑ ปละ
๑๐๐ ปละ เป็น ๑๒ ตุลา
๒๐ ตุลา เป็น ๑ ภาระ
(ดู อภิธา.ฏีกา คาถา ๔๘๐-๔๙๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๗๔ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๕. มุณฑราชวรรค ๖. สัมปทาสูตร
อันเป็นที่ขังน้ำขนาดใหญ่ประมาณไม่ได้
มีสิ่งที่น่ากลัวมาก เป็นแหล่งรัตนะชั้นเยี่ยม ฉันใด
สายธารแห่งบุญ ย่อมหลั่งไหลไปสู่นรชน
ผู้เป็นบัณฑิต ผู้ให้ข้าว น้ำ ผ้า
ที่นอน ที่นั่ง และเครื่องปูลาด
เปรียบเหมือนแม่น้ำคือห้วงน้ำไหลไปยังมหาสมุทร ฉันนั้น
ปุญญาภิสันทสูตรที่ ๕ จบ

๖. สัมปทาสูตร
ว่าด้วยสัมปทา
[๔๖] ภิกษุทั้งหลาย สัมปทา (ความถึงพร้อม) ๕ ประการนี้
สัมปทา ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สัทธาสัมปทา (ความถึงพร้อมด้วยศรัทธา)
๒. สีลสัมปทา (ความถึงพร้อมด้วยศีล)
๓. สุตสัมปทา (ความถึงพร้อมด้วยสุตะ)
๔. จาคสัมปทา (ความถึงพร้อมด้วยจาคะ)
๕. ปัญญาสัมปทา (ความถึงพร้อมด้วยปัญญา)
ภิกษุทั้งหลาย สัมปทา ๕ ประการนี้แล
สัมปทาสูตรที่ ๖ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๗๕ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๕. มุณฑราชวรรค ๗. ธนสูตร
๗. ธนสูตร
ว่าด้วยทรัพย์
[๔๗] ภิกษุทั้งหลาย ธนะ(ทรัพย์) ๕ ประการนี้
ธนะ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สัทธาธนะ (ทรัพย์คือศรัทธา)
๒. สีลธนะ (ทรัพย์คือศีล)
๓. สุตธนะ (ทรัพย์คือสุตะ)
๔. จาคธนะ (ทรัพย์คือจาคะ)
๕. ปัญญาธนะ (ทรัพย์คือปัญญา)
สัทธาธนะ เป็นอย่างไร
คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้เป็นผู้มีศรัทธา เชื่อปัญญาเครื่องตรัสรู้ของตถาคต
ว่า ‘แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ฯลฯ๑ เป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระ
ผู้มีพระภาค’ นี้เรียกว่า สัทธาธนะ
สีลธนะ เป็นอย่างไร
คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้เป็นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ ฯลฯ๒ เว้นขาด
จากการเสพของมึนเมาคือสุราและเมรัย๓อันเป็นเหตุแห่งความประมาท นี้เรียกว่า
สีลธนะ
สุตธนะ เป็นอย่างไร
คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้เป็นพหูสูต ฯลฯ๔ แทงตลอดดีด้วยทิฏฐิ นี้เรียกว่า
สุตธนะ

เชิงอรรถ :
๑ ดูความเต็มในข้อ ๒ (วิตถตสูตร) หน้า ๒-๓ ในเล่มนี้
๒ ดูความเต็มในข้อ ๓๒ (จุนทีสูตร) หน้า ๔๙ ในเล่มนี้
๓ ดูเชิงอรรถที่ ๑ ข้อ ๓๒ หน้า ๔๙ ในเล่มนี้
๔ ดูความเต็มในข้อ ๘๗ (สีลวันตสูตร) หน้า ๑๕๕ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๗๖ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๕. มุณฑราชวรรค ๗. ธนสูตร
จาคธนะ เป็นอย่างไร
คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้เป็นผู้มีใจปราศจากความตระหนี่อันเป็นมลทิน
มีจาคะอันสละแล้ว มีฝ่ามือชุ่ม๑ ยินดีในการสละ ควรแก่การขอ ยินดีในการ
แจกทาน นี้เรียกว่า จาคธนะ
ปัญญาธนะ เป็นอย่างไร
คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้เป็นผู้มีปัญญา คือ ประกอบด้วยปัญญาเป็น
เครื่องพิจารณาเห็นทั้งความเกิดและความดับอันเป็นอริยะ ชำแรกกิเลสให้ถึงความ
สิ้นทุกข์โดยชอบ นี้เรียกว่า ปัญญาธนะ
ภิกษุทั้งหลาย ทรัพย์ ๕ ประการนี้แล
ผู้ใดมีศรัทธาตั้งมั่นไม่หวั่นไหวในตถาคต
มีศีลงาม เป็นศีลที่พระอริยใคร่ (และ)สรรเสริญ
มีความเลื่อมใสในสงฆ์ และมีความเห็นตรง
บัณฑิตทั้งหลายเรียกผู้นั้นว่า ‘เป็นคนไม่ขัดสน
ชีวิตของเขาไม่สูญเปล่า’
เพราะฉะนั้น ผู้มีปัญญา
เมื่อระลึกถึงคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย
ควรประกอบศรัทธา ศีล ความเลื่อมใส
และการเห็นธรรม๒
ธนสูตรที่ ๗ จบ

เชิงอรรถ :
๑ มีฝ่ามือชุ่ม อรรถกถาอธิบายว่า ถ้าคนไม่มีศรัทธา แม้จะล้างมือถึง ๗ ครั้ง ก็ชื่อว่ามีมือยังไม่ล้าง มีมือสกปรก
แต่คนมีศรัทธา แม้มีมือสกปรก ก็ชื่อว่าได้ล้างมือสะอาดแล้ว (องฺ.ติก.อ. ๒/๔๒/๑๔๘)
๒ การเห็นธรรม ในที่นี้หมายถึงเห็นอริยสัจ ๔ คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค (องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๕๒/๓๔๙)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๗๗ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๕. มุณฑราชวรรค ๘. ฐานสูตร
๘. ฐานสูตร
ว่าด้วยฐานะที่ใคร ๆ ไม่พึงได้
[๔๘] ภิกษุทั้งหลาย ฐานะ๑ ๕ ประการนี้ อันสมณะ พราหมณ์ เทวดา มาร
พรหม หรือใคร ๆ ในโลกนี้ไม่พึงได้
ฐานะ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ขอสิ่งที่มีความแก่เป็นธรรมดา๒ อย่าแก่
๒. ขอสิ่งที่มีความเจ็บไข้เป็นธรรมดา อย่าเจ็บไข้
๓. ขอสิ่งที่มีความตายเป็นธรรมดา อย่าตาย
๔. ขอสิ่งที่มีความสิ้นไปเป็นธรรมดา อย่าสิ้นไป
๕. ขอสิ่งที่มีความฉิบหายเป็นธรรมดา อย่าฉิบหาย
สิ่งที่มีความแก่เป็นธรรมดาของปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ย่อมแก่ไป เมื่อสิ่งที่มีความ
แก่เป็นธรรมดา แก่ไปแล้ว เขาไม่พิจารณาเห็นดังนี้ว่า ‘ไม่ใช่สิ่งที่มีความแก่เป็น
ธรรมดาของเราคนเดียวเท่านั้นที่แก่ไป แท้จริง สิ่งที่มีความแก่เป็นธรรมดาของสัตว์
ทั้งปวงที่มีการมา การไป การจุติ และการอุบัติ ก็แก่ไปทั้งสิ้น เมื่อสิ่งที่มีความแก่
เป็นธรรมดา แก่ไปแล้ว ถ้าเราจะพึงเศร้าโศก ลำบาก ร่ำไร ทุบอก คร่ำครวญ
หลงงมงาย อาหารเราก็จะไม่อยากรับประทาน กายก็จะเศร้าหมอง การงานก็จะ
หยุดชะงัก พวกศัตรูก็จะดีใจ และพวกมิตรก็จะเสียใจ’ เมื่อสิ่งที่มีความแก่เป็น
ธรรมดา แก่ไปแล้ว เขาย่อมเศร้าโศก ลำบาก ร่ำไร ทุบอก คร่ำครวญ หลงงมงาย
นี้เรียกว่า ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ถูกลูกศรคือความโศกที่มีพิษทิ่มแทงแล้ว ย่อมทำตน
นั่นเองให้เดือดร้อน
สิ่งที่มีความเจ็บไข้เป็นธรรมดาของปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ย่อมเจ็บไข้ ... สิ่งที่มี
ความตายเป็นธรรมดาของปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ย่อมตายไป ... สิ่งที่มีความสิ้นไปเป็น
ธรรมดาของปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ย่อมสิ้นไป ... สิ่งที่มีความฉิบหายเป็นธรรมดาของ

เชิงอรรถ :
๑ ฐานะ ในที่นี้หมายถึงเหตุ (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๔๘/๒๖)
๒ ธรรมดา ในที่นี้หมายถึงสภาวธรรมที่เกิดเอง คำนี้มุ่งแสดงกฎแห่งเหตุผล (องฺ.ทสก.อ. ๓/๒/๓๑๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๗๘ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๕. มุณฑราชวรรค ๘. ฐานสูตร
ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ย่อมฉิบหายไป เมื่อสิ่งที่มีความฉิบหายเป็นธรรมดา ฉิบหาย
ไปแล้ว เขาไม่พิจารณาเห็นดังนี้ว่า ‘ไม่ใช่สิ่งที่มีความฉิบหายเป็นธรรมดาของเราคน
เดียวเท่านั้นที่ฉิบหายไป แท้จริง สิ่งที่มีความฉิบหายเป็นธรรมดาของสัตว์ทั้งปวงที่มี
การมา การไป การจุติ การอุบัติ ก็ฉิบหายไปทั้งสิ้น เมื่อสิ่งที่มีความฉิบหายไปเป็น
ธรรมดา ฉิบหายไปแล้ว ถ้าเราจะพึงเศร้าโศก ลำบาก ร่ำไร ทุบอก คร่ำครวญ
หลงงมงาย อาหารเราก็จะไม่อยากรับประทาน กายก็จะเศร้าหมอง การงานก็จะ
หยุดชะงัก พวกศัตรูก็จะดีใจ และพวกมิตรก็จะเสียใจ’ เมื่อสิ่งที่มีความฉิบหาย
เป็นธรรมดา ฉิบหายไปแล้ว เขาย่อมเศร้าโศก ลำบาก ร่ำไร ทุบอก คร่ำครวญ
หลงงมงาย นี้เรียกว่า ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ถูกลูกศรคือความโศกที่มีพิษทิ่มแทงแล้ว
ย่อมทำตนนั่นเองให้เดือดร้อน
ส่วนสิ่งที่มีความแก่เป็นธรรมดาของอริยสาวกผู้ได้สดับ ย่อมแก่ไป เมื่อสิ่งที่
มีความแก่เป็นธรรมดาแก่ไปแล้ว อริยสาวกนั้นพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ‘ไม่ใช่สิ่งที่มี
ความแก่เป็นธรรมดาของเราคนเดียวเท่านั้นที่แก่ไป แท้จริง สิ่งที่มีความแก่เป็น
ธรรมดาของสัตว์ทั้งปวงที่มีการมา การไป การจุติ การอุบัติ ก็แก่ไปทั้งสิ้น
เมื่อสิ่งที่มีความแก่เป็นธรรมดาแก่ไปแล้ว ถ้าเราจะพึงเศร้าโศก ลำบาก ร่ำไร ทุบอก
คร่ำครวญ หลงงมงาย อาหารเราก็จะไม่อยากรับประทาน กายก็จะเศร้าหมอง
การงานก็จะหยุดชะงัก พวกศัตรูก็จะดีใจ และพวกมิตรก็จะเสียใจ’ เมื่อสิ่งที่มีความ
แก่เป็นธรรมดาแก่ไปแล้ว อริยสาวกนั้นย่อมไม่เศร้าโศก ไม่ลำบาก ไม่ร่ำไร ไม่ทุบอก
ไม่คร่ำครวญ ไม่หลงงมงาย นี้เรียกว่า อริยสาวกผู้ได้สดับ ถอนลูกศรคือความ
โศกที่มีพิษทิ่มแทงปุถุชนผู้ไม่ได้สดับทำตนนั่นเองให้เดือดร้อน อริยสาวกผู้ไม่มีความโศก
ปราศจากลูกศร ย่อมดับทุกข์ได้ด้วยตนเอง
สิ่งที่มีความเจ็บไข้เป็นธรรมดาของอริยสาวกผู้ได้สดับ ย่อมเจ็บไข้ ... สิ่งที่มี
ความตายเป็นธรรมดา ของอริยสาวกผู้ได้สดับ ย่อมตายไป ... สิ่งที่มีความสิ้นไป
เป็นธรรมดาของอริยสาวกผู้ได้สดับ ย่อมสิ้นไป ... สิ่งที่มีความฉิบหายไปเป็น
ธรรมดาของอริยสาวกผู้ได้สดับ ย่อมฉิบหายไป เมื่อสิ่งที่มีความฉิบหายไปเป็น
ธรรมดาฉิบหายไปแล้ว อริยสาวกนั้นพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ‘ไม่ใช่สิ่งที่มีความฉิบหาย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๗๙ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๕. มุณฑราชวรรค ๘. ฐานสูตร
ไปเป็นธรรมดาของเราคนเดียวเท่านั้นที่ฉิบหายไป แท้จริง สิ่งที่มีความฉิบหายไปเป็น
ธรรมดาของสัตว์ทั้งปวงที่มีการมา การไป การจุติ การอุบัติ ก็ฉิบหายไปทั้งสิ้น
เมื่อสิ่งที่มีความฉิบหายไปเป็นธรรมดา ฉิบหายไปแล้ว ถ้าเราจะพึงเศร้าโศก
ลำบาก ร่ำไร ทุบอก คร่ำครวญ หลงงมงาย อาหารเราก็จะไม่อยากรับประทาน
กายก็จะเศร้าหมอง การงานก็จะหยุดชะงัก พวกศัตรูก็จะดีใจ และพวกมิตรก็จะ
เสียใจ’ เมื่อสิ่งที่มีความฉิบหายไปเป็นธรรมดา ฉิบหายไปแล้ว อริยสาวกนั้นย่อม
ไม่เศร้าโศก ไม่ลำบาก ไม่ร่ำไร ไม่ทุบอก ไม่คร่ำครวญ ไม่หลงงมงาย นี้เรียกว่า
อริยสาวกผู้ได้สดับ ถอนลูกศรคือความโศกที่มีพิษทิ่มแทงปุถุชนผู้ไม่ได้สดับทำตน
นั่นเองให้เดือดร้อน อริยสาวกผู้ไม่มีความโศก ปราศจากลูกศร ย่อมดับทุกข์
ได้ด้วยตนเอง
ภิกษุทั้งหลาย ฐานะ ๕ ประการนี้แล อันสมณะ พราหมณ์ เทวดา มาร
พรหม หรือใคร ๆ ในโลกนี้ไม่พึงได้
ประโยชน์๑แม้เล็กน้อยในโลกนี้
ใคร ๆ ย่อมไม่ได้ด้วยความเศร้าโศก
ย่อมไม่ได้ด้วยความคร่ำครวญ
พวกศัตรูทราบว่า เขาเศร้าโศก เป็นทุกข์
ย่อมดีใจ
แต่ในกาลใด บัณฑิตฉลาดในการวินิจฉัยเหตุผล
ไม่หวั่นไหวในอันตรายทั้งหลาย
ในกาลนั้น พวกศัตรูเห็นหน้าซึ่งไม่ผิดปกติ
ของบัณฑิตนั้น ผู้ยังยิ้มแย้มตามเคย
ย่อมเป็นทุกข์
บัณฑิตพึงได้ประโยชน์ในที่ใด ๆ ด้วยวิธีใด ๆ
คือด้วยการสรรเสริญ ด้วยการร่ายมนตร์

เชิงอรรถ :
๑ ประโยชน์ ในที่นี้หมายถึงสภาวะที่มีความแก่เป็นต้นกลับกลายเป็นสภาวะที่ไม่แก่ (องฺ.ปญฺจก.อ.
๓/๔๘/๒๖)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๘๐ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๕. มุณฑราชวรรค ๙. โกสลสูตร
ด้วยการกล่าวคำสุภาษิต ด้วยการให้
หรือด้วยการอ้างประเพณี
ก็พึงบากบั่นในที่นั้น ๆ ด้วยวิธีนั้น ๆ
ถ้าทราบว่า ‘ประโยชน์นี้ เราหรือคนอื่นไม่พึงได้’
เธอผู้ไม่เศร้าโศก ควรอดทนโดยพิจารณาว่า
‘เราได้ทำงานอย่างมุ่งมั่นแล้ว
บัดนี้ เราจะทำอย่างไร’
ฐานสูตรที่ ๘ จบ

๙. โกสลสูตร
ว่าด้วยพระเจ้าปเสนทิโกศล
[๔๙] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของ
อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พระเจ้าปเสนทิโกศลเสด็จเข้าไปเฝ้า
พระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วประทับนั่ง ณ ที่สมควร
สมัยนั้น พระนางมัลลิกาเทวีได้สวรรคตแล้ว ลำดับนั้น มหาดเล็กคนหนึ่ง
เข้าไปเฝ้าพระเจ้าปเสนทิโกศลแล้วกราบทูลกระซิบที่ใกล้พระกรรณว่า ‘ขอเดชะ
พระนางมัลลิกาเทวีวรรคตแล้ว’ เมื่อมหาดเล็กกราบทูลอย่างนี้แล้ว พระเจ้า
ปเสนทิโกศลก็ทรงมีทุกข์ เสียพระทัย ประทับนั่งพระศอตกก้มพระพักตร์ ทรง
ครุ่นคิด ทรงอ้ำอึ้งอยู่
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทราบแล้ว จึงตรัสกับพระเจ้าปเสนทิโกศลว่า
มหาบพิตร ฐานะ ๕ ประการนี้ อันสมณะ พราหมณ์ เทวดา มาร พรหม
หรือใคร ๆ ในโลกไม่พึงได้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๘๑ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๕. มุณฑราชวรรค ๑๐. นารทสูตร
ฐานะ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ขอสิ่งที่มีความแก่เป็นธรรมดา อย่าแก่
ฯลฯ๑
ประโยชน์แม้เล็กน้อยในโลกนี้
ใคร ๆ ย่อมไม่ได้ด้วยความเศร้าโศก
ย่อมไม่ได้ด้วยความคร่ำครวญ
ฯลฯ๒
เธอผู้ไม่เศร้าโศกควรอดทนโดยพิจารณาว่า
‘เราได้ทำงานอย่างมุ่งมั่นแล้ว
บัดนี้ เราจะทำอย่างไร’
โกสลสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. นารทสูตร
ว่าด้วยพระนารทะ
[๕๐] สมัยหนึ่ง ท่านพระนารทะอยู่ที่กุกกุฏาราม เขตกรุงปาตลีบุตร
ก็สมัยนั้น พระนางภัททาราชเทวีผู้เป็นที่รัก เป็นที่พอพระทัยของพระเจ้ามุณฑะ
สวรรคตแล้ว เมื่อพระนางภัททาราชเทวีสวรรคตแล้ว พระองค์ก็ไม่สรงสนาน ไม่แต่ง
พระองค์ ไม่เสวยพระกระยาหาร ไม่ทรงประกอบพระราชกรณียกิจ ซบอยู่ที่
พระศพของพระนางตลอดคืนตลอดวัน ลำดับนั้น พระเจ้ามุณฑะได้รับสั่งเรียก
มหาอำมาตย์ชื่อว่าโสการักขะผู้เป็นที่รักมาตรัสว่า “ท่านโสการักขะ ผู้เป็นที่รัก
ท่านจงยกพระศพพระนางภัททาราชเทวีใส่ไว้ในรางเหล็กที่เต็มด้วยน้ำมันแล้วเอา
รางเหล็กอื่นปิดไว้ เพื่อเราจะได้เห็นศพพระนางให้นาน ๆ”
โสการักขะมหาอำมาตย์ทูลรับสนองพระบรมราชโองการแล้ว จึงจัดการยก
พระศพพระนางใส่ไว้ในรางเหล็กที่เต็มไปด้วยน้ำมันแล้วเอารางเหล็กอื่นปิดไว้

เชิงอรรถ :
๑,๒ ดูความเต็มในข้อ ๔๘ (ฐานสูตร) หน้า ๗๘-๘๑ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๘๒ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๕. มุณฑราชวรรค ๑๐. นารทสูตร
ครั้งนั้น โสการักขะมหาอำมาตย์ได้มีความคิดว่า “พระนางภัททาราชเทวี ผู้เป็น
ที่รัก เป็นที่พอพระทัยของพระเจ้ามุณฑะนี้ได้สวรรคตแล้ว เมื่อพระนางสวรรคต
พระราชาก็ไม่สรงสนาน ไม่แต่งพระองค์ ไม่เสวยพระกระยาหาร ไม่ทรงประกอบ
พระราชกรณียกิจ ทรงซบอยู่ที่พระศพของพระนางตลอดคืนตลอดวัน พระองค์พึง
เสด็จเข้าไปหาสมณะหรือพราหมณ์รูปไหนหนอ ทรงสดับธรรมแล้ว จะพึงละลูกศร
คือความโศกได้”
ลำดับนั้น โสการักขะมหาอำมาตย์ได้คิดต่อไปว่า “ท่านพระนารทะรูปนี้
อยู่ที่กุกกุฏาราม เขตกรุงปาตลีบุตร กิตติศัพท์อันงามของท่านขจรไปแล้วอย่างนี้ว่า
‘เป็นบัณฑิต เป็นผู้ฉลาด เป็นนักปราชญ์ เป็นพหูสูต กล่าวถ้อยคำไพเราะ
มีปฏิภาณดี เป็นพระผู้ใหญ่ และเป็นพระอรหันต์’ จึงควรที่พระเจ้ามุณฑะจะเสด็จ
เข้าไปหาท่าน เพื่อบางทีได้ทรงสดับธรรมของท่านแล้ว จะทรงละลูกศรคือความโศก
ได้บ้าง”
ต่อมา โสการักขะมหาอำมาตย์ ได้เข้าไปเฝ้าพระเจ้ามุณฑะแล้วกราบทูลว่า
“ขอเดชะ ท่านพระนารทะรูปนี้อยู่ที่กุกกุฏาราม เขตกรุงปาตลีบุตร กิตติศัพท์
อันงามของท่านพระนารทะขจรไปแล้วอย่างนี้ว่า ‘เป็นบัณฑิต เป็นผู้ฉลาด เป็น
นักปราชญ์ เป็นพหูสูต กล่าวถ้อยคำไพเราะ มีปฏิภาณดี เป็นพระผู้ใหญ่ และเป็น
พระอรหันต์’ จึงควรที่พระองค์จะเสด็จเข้าไปหาท่าน เพื่อบางทีพระองค์ได้ทรงสดับ
ธรรมของท่านแล้วจะทรงละลูกศรคือความโศกได้บ้าง”
พระเจ้ามุณฑะจึงรับสั่งว่า “ท่านอำมาตย์ ถ้าเช่นนั้น ท่านจงไปกราบเรียน
ท่านพระนารทะให้ทราบก่อน เพราะกษัตริย์เช่นเราพึงเข้าใจว่า สมณะหรือพราหมณ์
ที่อยู่ในราชอาณาจักร ยังไม่ได้แจ้งให้ทราบก่อนจะพึงเข้าไปหาได้อย่างไร”
มหาอำมาตย์ทูลรับสนองพระบรมราชโองการแล้ว ได้เข้าไปพบท่านพระ
นารทะถึงที่อยู่ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบเรียนว่า “ข้าแต่
ท่านผู้เจริญ พระนางภัททาราชเทวีผู้เป็นที่รัก เป็นที่พอพระทัยของพระเจ้ามุณฑะนี้
ได้สวรรคตแล้ว เมื่อพระนางสวรรคต พระราชาก็ไม่สรงสนาน ไม่แต่งพระองค์
ไม่เสวยพระยาหาร ไม่ทรงประกอบพระราชกรณียกิจ ทรงซบอยู่ที่พระศพของ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๘๓ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๕. มุณฑราชวรรค ๑๐. นารทสูตร
พระนางภัททาราชเทวีตลอดคืนตลอดวัน ขอท่านพระนารทะโปรดแสดงธรรมแก่
พระราชา โดยที่พระองค์ได้สดับธรรมของท่านแล้วจะทรงละลูกศรคือความโศกได้”
ท่านพระนารทะจึงกล่าวว่า “มหาอำมาตย์ บัดนี้ ขอให้พระราชาทรงทราบ
เวลาที่สมควร’
ลำดับนั้น โสการักขะมหาอำมาตย์ ลุกจากที่นั่ง ถวายอภิวาทท่านพระนารทะ
ทำประทักษิณแล้ว ได้ไปเฝ้าพระเจ้ามุณฑะกราบทูลว่า “ขอเดชะ ท่านพระนารทะได้
เปิดโอกาสให้เสด็จไปแล้ว บัดนี้ ขอพระองค์ทรงทราบเวลาที่สมควรเถิด พระเจ้าข้า”
พระเจ้ามุณฑะรับสั่งว่า “ท่านอำมาตย์ ถ้าเช่นนั้น ท่านจงให้พนักงานตระ
เตรียมพาหนะอย่างดีไว้”
มหาอำมาตย์ทูลรับสนองพระบรมราชโองการแล้ว ให้พนักงานตระเตรียม
พระราชพาหนะอย่างดีไว้เสร็จแล้วจึงกราบทูลว่า “ขอเดชะ ข้าพระพุทธเจ้าได้ให้
พนักงานตระเตรียมพระราชพาหนะอย่างดีไว้เสร็จแล้ว บัดนี้ ขอพระองค์ทรงทราบ
เวลาที่สมควรเถิด พระเจ้าข้า”
ลำดับนั้น พระเจ้ามุณฑะเสด็จพระราชดำเนินไปสู่กุกกุฏารามเพื่อพบท่าน
พระนารทะ ด้วยราชานุภาพอันยิ่งใหญ่ เสด็จไปเท่าที่พระราชพาหนะจะไปได้ เมื่อ
เสด็จถึงแล้ว ก็ได้เสด็จพระราชดำเนินเข้าไปยังอาราม ทรงเข้าไปพบท่านพระนารทะ
ทรงถวายอภิวาทแล้วประทับนั่ง ณ ที่สมควร ท่านพระนารทะจึงได้ถวายพระพร
ท้าวเธอว่า
ขอถวายพระพร มหาบพิตร ฐานะ ๕ ประการนี้ อันสมณะ พราหมณ์
เทวดา มาร พรหม หรือใคร ๆ ในโลกนี้ไม่พึงได้
ฐานะ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ขอสิ่งที่มีความแก่เป็นธรรมดา อย่าแก่
๒. ขอสิ่งที่มีความเจ็บไข้เป็นธรรมดา อย่าเจ็บไข้
๓. ขอสิ่งที่มีความตายเป็นธรรมดา อย่าตาย
๔. ขอสิ่งที่มีความสิ้นไปเป็นธรรมดา อย่าสิ้นไป
๕. ขอสิ่งที่มีความฉิบหายเป็นธรรมดา อย่าฉิบหาย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๘๔ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๕. มุณฑราชวรรค ๑๐. นารทสูตร
สิ่งที่มีความแก่เป็นธรรมดาของปุถุชนผู้ไม่ได้สดับย่อมแก่ไป เมื่อสิ่งที่มีความ
แก่เป็นธรรมดาแก่ไปแล้ว เขาไม่พิจารณาเห็นดังนี้ว่า ‘ไม่ใช่สิ่งที่มีความแก่เป็น
ธรรมดาของเราคนเดียวเท่านั้นที่แก่ไป แท้จริง สิ่งที่มีความแก่เป็นธรรมดาของสัตว์
ทั้งปวงที่มีการมา การไป การจุติ การอุบัติ ก็แก่ไปทั้งสิ้น เมื่อสิ่งที่มีความแก่
เป็นธรรมดา แก่ไปแล้ว ถ้าเราจะพึงเศร้าโศก ลำบาก ร่ำไร ทุบอก คร่ำครวญ
หลงงมงาย อาหารเราก็จะไม่อยากรับประทาน กายก็จะเศร้าหมอง การงานก็
จะหยุดชะงัก พวกศัตรูก็จะดีใจ และพวกมิตรก็จะเสียใจ’ เมื่อสิ่งที่มีความแก่เป็น
ธรรมดาแก่ไปแล้ว เขาย่อมเศร้าโศก ลำบาก ร่ำไร ทุบอก คร่ำครวญ หลงงมงาย
นี้เรียกว่า ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ถูกลูกศรคือความโศกที่มีพิษทิ่มแทงแล้ว ย่อมทำตน
นั่นเองให้เดือดร้อน
สิ่งที่มีความเจ็บไข้เป็นธรรมดาของปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ย่อมเจ็บไข้ ... สิ่งที่มี
ความตายเป็นธรรมดาของปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ย่อมตายไป ... สิ่งที่มีความสิ้นไปเป็น
ธรรมดาของปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ย่อมสิ้นไป ... สิ่งที่มีความฉิบหายเป็นธรรมดาของ
ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ย่อมฉิบหายไป เมื่อสิ่งที่มีความฉิบหายเป็นธรรมดา ฉิบหาย
ไปแล้ว เขาไม่พิจารณาเห็นดังนี้ว่า ‘ไม่ใช่สิ่งที่มีความฉิบหายเป็นธรรมดาของเรา
คนเดียวเท่านั้นที่ฉิบหายไป แท้จริง สิ่งที่มีความฉิบหายไปเป็นธรรมดาของสัตว์
ทั้งปวงที่มีการมา การไป การจุติ การอุบัติ ก็ฉิบหายไปทั้งสิ้น เมื่อสิ่งที่มีความ
ฉิบหายไปเป็นธรรมดา ฉิบหายไปแล้ว ถ้าเราจะพึงเศร้าโศก ลำบาก ร่ำไร ทุบอก
คร่ำครวญ หลงงมงาย อาหารเราก็จะไม่อยากรับประทาน กายก็จะเศร้าหมอง
การงานก็จะหยุดชะงัก พวกศัตรูก็จะดีใจ และพวกมิตรก็จะเสียใจ’ เมื่อสิ่งที่มีความ
ฉิบหายเป็นธรรมดา ฉิบหายไปแล้ว เขาย่อมเศร้าโศก ลำบาก ร่ำไร ทุบอก
คร่ำครวญ หลงงมงาย นี้เรียกว่า ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ถูกลูกศรคือความโศกที่มีพิษ
ทิ่มแทงแล้ว ย่อมทำตนนั่นเองให้เดือดร้อน
ส่วนสิ่งที่มีความแก่เป็นธรรมดาของอริยสาวกผู้ได้สดับ ย่อมแก่ไป เมื่อสิ่งที่มี
ความแก่ไปเป็นธรรมดาแก่ไปแล้ว อริยสาวกนั้นพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ‘ไม่ใช่สิ่งที่มี
ความแก่เป็นธรรมดาของเราคนเดียวเท่านั้นที่แก่ไป แท้จริง สิ่งที่มีความแก่เป็นธรรมดา


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๘๕ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๕. มุณฑราชวรรค ๑๐. นารทสูตร
ของสัตว์ทั้งปวงที่มีการมา การไป การจุติ การอุบัติ ก็แก่ไปทั้งสิ้น เมื่อสิ่งที่มี
ความแก่เป็นธรรมดา แก่ไปแล้ว ถ้าเราจะพึงเศร้าโศก ลำบาก ร่ำไร ทุบอก
คร่ำครวญ หลงงมงาย อาหารเราก็จะไม่อยากรับประทาน กายก็จะเศร้าหมอง
การงานก็จะหยุดชะงัก พวกศัตรูก็จะดีใจ และพวกมิตรก็จะเสียใจ’ เมื่อสิ่งที่มี
ความแก่เป็นธรรมดาแก่ไปแล้ว อริยสาวกนั้นย่อมไม่เศร้าโศก ไม่ลำบาก ไม่ร่ำไร
ไม่ทุบอก ไม่คร่ำครวญ ไม่หลงงมงาย นี้เรียกว่า อริยสาวกผู้ได้สดับ ถอนลูกศร
คือความโศกที่มีพิษทิ่มแทงปุถุชนผู้ไม่ได้สดับทำตนนั่นเองให้เดือดร้อน อริยสาวก
ผู้ไม่มีความโศก ปราศจากลูกศร ย่อมดับทุกข์ได้ด้วยตนเอง
สิ่งที่มีความเจ็บไข้เป็นธรรมดาของอริยสาวกผู้ได้สดับ ย่อมเจ็บไข้ ... สิ่งที่มี
ความตายเป็นธรรมดาของอริยสาวกผู้ได้สดับ ย่อมตายไป ... สิ่งที่มีความสิ้นไปเป็น
ธรรมดาของอริยสาวกผู้ได้สดับ ย่อมสิ้นไป ... สิ่งที่มีความฉิบหายไปเป็นธรรมดา
ของอริยสาวกผู้ได้สดับ ย่อมฉิบหายไป เมื่อสิ่งที่มีความฉิบหายไปเป็นธรรมดาฉิบ
หายไปแล้ว อริยสาวกนั้นพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ‘ไม่ใช่สิ่งที่มีความฉิบหายไปเป็นธรรมดา
ของเราคนเดียวเท่านั้นที่ฉิบหายไป แท้จริง สิ่งที่มีความฉิบหายไปเป็นธรรมดาของ
สัตว์ทั้งปวงที่มีการมา การไป การจุติ การอุบัติ ก็ฉิบหายไปทั้งสิ้น เมื่อสิ่งที่มี
ความฉิบหายเป็นธรรมดา ฉิบหายไปแล้ว ถ้าเราจะพึงเศร้าโศก ลำบาก ร่ำไร ทุบอก
คร่ำครวญ หลงงมงาย อาหารเราก็จะไม่อยากรับประทาน กายก็จะเศร้าหมอง
การงานก็จะหยุดชะงัก พวกศัตรูก็จะดีใจ และพวกมิตรก็จะเสียใจ’ เมื่อสิ่งที่มี
ความฉิบหายเป็นธรรมดา ฉิบหายไปแล้ว อริยสาวกนั้นย่อมไม่เศร้าโศก ไม่ลำบาก
ไม่ร่ำไร ไม่ทุบอก ไม่คร่ำครวญ ไม่หลงงมงาย นี้เรียกว่า อริยสาวกผู้ได้สดับ
ถอนลูกศรคือความโศกที่มีพิษทิ่มแทงปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ทำตนเองให้เดือดร้อน
อริยสาวกผู้ไม่มีความโศก ปราศจากลูกศร ย่อมดับทุกข์ได้ด้วยตนเอง
ขอถวายพระพร มหาบพิตร ฐานะ ๕ ประการนี้แล อันสมณะ พราหมณ์
เทวดา มาร พรหม หรือ ใคร ๆ ในโลกนี้ไม่พึงได้
ท่านพระนารทะ ครั้นกล่าวเวยยากรณ์ภาษิตนี้แล้ว จึงได้กล่าวคาถาประพันธ์
ต่อไปอีกว่า


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๘๖ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๕. มุณฑราชวรรค ๑๐. นารทสูตร
ประโยชน์แม้เล็กน้อยในโลกนี้
ใคร ๆ ย่อมไม่ได้ด้วยความเศร้าโศก
ย่อมไม่ได้ด้วยความคร่ำครวญ
พวกศัตรูทราบว่า เขาเศร้าโศก เป็นทุกข์
ย่อมดีใจ
แต่ในกาลใด บัณฑิตฉลาดในการวินิจฉัยเหตุผล
ไม่หวั่นไหวในอันตรายทั้งหลาย
ในกาลนั้น พวกศัตรูเห็นหน้าซึ่งไม่ผิดปกติ
ของบัณฑิตนั้น ผู้ยังยิ้มแย้มตามเคย
ย่อมเป็นทุกข์
บัณฑิตพึงได้ประโยชน์ในที่ใด ๆ ด้วยวิธีใด ๆ
คือด้วยการสรรเสริญ ด้วยการร่ายมนตร์
ด้วยการกล่าวคำสุภาษิต ด้วยการให้
หรือด้วยการอ้างประเพณี
ก็พึงบากบั่นในที่นั้น ๆ ด้วยวิธีนั้น ๆ
ถ้าทราบว่า ‘ประโยชน์นี้ เราหรือคนอื่นไม่พึงได้’
เธอผู้ไม่เศร้าโศก ควรอดทนโดยพิจารณาว่า
‘เราได้ทำงานอย่างมุ่งมั่นแล้ว
บัดนี้ เราจะทำอย่างไร’
เมื่อท่านพระนารทะกล่าวอย่างนี้แล้ว พระเจ้ามุณฑะได้ตรัสถามว่า “ธรรม
บรรยายนี้ชื่ออะไร” ท่านพระนารทะถวายพระพรว่า “ขอถวายพระพร ธรรม
บรรยายนี้ชื่อเหตุถอนลูกศรคือความโศก”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๘๗ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๕. มุณฑราชวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค
พระเจ้ามุณฑะตรัสชมว่า “ท่านผู้เจริญ ธรรมบรรยายนี้เป็นเหตุถอนลูกศรคือ
ความโศกได้อย่างแท้จริง ท่านผู้เจริญ ธรรมบรรยายนี้เป็นเหตุถอนลูกศรคือความ
โศกได้อย่างแท้จริง เพราะได้ฟังธรรมบรรยายนี้ ข้าพเจ้าจึงละลูกศรคือความโศกได้”
ลำดับนั้น พระเจ้ามุณฑะได้รับสั่งโสการักขะมหาอำมาตย์ว่า “ท่านจงถวาย
พระเพลิงพระศพของพระนางภัททาราชเทวีแล้วทำเป็นสถูปไว้ ตั้งแต่วันนี้ไป เราจัก
อาบน้ำแต่งตัว บริโภคอาหาร และประกอบการงาน”
นารทสูตรที่ ๑๐ จบ
มุณฑราชวรรคที่ ๕ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. อาทิยสูตร ๒. สัปปุริสสูตร
๓. อิฏฐสูตร ๔. มนาปทายีสูตร
๕. ปุญญาภิสันทสูตร ๖. สัมปทาสูตร
๗. ธนสูตร ๘. ฐานสูตร
๙. โกสลสูตร ๑๐. นารทสูตร

ปฐมปัณณาสก์ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๘๘ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๑. นีวรณวรรค ๑. อาวรณสูตร
๒. ทุติยปัณณาสก์
๑. นีวรณวรรค
หมวดว่าด้วยนิวรณ์
๑. อาวรณสูตร
ว่าด้วยนิวรณ์เครื่องกางกั้น
[๕๑] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิก-
เศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคได้รับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมา
ตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึง
ได้ตรัสเรื่องนี้ว่า
ภิกษุทั้งหลาย นิวรณ์เครื่องกางกั้น ๕ ประการนี้ ครอบงำจิตแล้ว ทอนกำลัง
ปัญญา๑
นิวรณ์เครื่องกางกั้น ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. กามฉันทะ (ความพอใจในกาม)
๒. พยาบาท (ความคิดร้าย)
๓. ถีนมิทธะ (ความหดหู่และเซื่องซึม)
๔. อุทธัจจกุกกุจจะ (ความฟุ้งซ่านและร้อนใจ)
๕. วิจิกิจฉา (ความลังเลสงสัย)
ภิกษุทั้งหลาย นิวรณ์เครื่องกางกั้น ๕ ประการนี้แล ครอบงำจิตแล้ว ทอนกำลัง
ปัญญา

เชิงอรรถ :
๑ ปัญญา ในที่นี้หมายถึงวิปัสสนาปัญญา และมัคคปัญญา (องฺ.ปญฺจ.อ. ๓/๕๑/๒๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๘๙ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๑. นีวรณวรรค ๑. อาวรณสูตร
ภิกษุทั้งหลาย เป็นไปไม่ได้เลยที่ภิกษุนั้นยังละนิวรณ์เครื่องกางกั้น ๕ ประการ
นี้ที่ครอบงำจิต ทอนกำลังปัญญาไม่ได้แล้วจักรู้ประโยชน์ตน รู้ประโยชน์ผู้อื่น รู้
ประโยชน์ทั้งสอง หรือจักทำให้แจ้งซึ่งญาณทัสสนะที่ประเสริฐอันสามารถ๑อันวิเศษ
ยิ่งกว่าธรรมของมนุษย์๒ด้วยปัญญาที่ไม่มีกำลังที่อ่อนกำลังได้
เปรียบเหมือนแม่น้ำที่ไหลลงจากภูเขาไปสู่ที่ไกล มีกระแสเชี่ยว พัดสิ่งที่จะพัด
ไปได้ บุรุษพึงเปิดปากเหมืองทั้ง ๒ ข้างแห่งแม่น้ำนั้น เมื่อเปิดปากเหมืองแล้ว
อย่างนี้ กระแสน้ำในท่ามกลางแม่น้ำนั้นก็ซัดส่ายไหลผิดทาง ไหลไปสู่ที่ไกลไม่ได้
ไม่มีกระแสเชี่ยว และไม่พัดสิ่งที่พอจะพัดไปได้ ฉันใด
เป็นไปไม่ได้เลยที่ภิกษุนั้นยังละนิวรณ์เครื่องกางกั้น ๕ ประการนี้ที่ครอบงำจิต
ทอนกำลังปัญญาไม่ได้แล้วจักรู้ประโยชน์ตน รู้ประโยชน์ผู้อื่น รู้ประโยชน์ทั้งสอง
หรือจักทำให้แจ้งซึ่งญาณทัสสนะที่ประเสริฐอันสามารถอันวิเศษยิ่งกว่าธรรมของมนุษย์
ด้วยปัญญาที่ไม่มีกำลังที่อ่อนกำลังได้ ฉันนั้น
ภิกษุทั้งหลาย เป็นไปได้ที่ภิกษุนั้นละนิวรณ์เครื่องกางกั้น ๕ ประการนี้ที่
ครอบงำจิต ทอนกำลังปัญญาได้แล้วจักรู้ประโยชน์ตน รู้ประโยชน์ผู้อื่น รู้ประโยชน์
ทั้งสอง หรือจักทำให้แจ้งซึ่งญาณทัสสนะที่ประเสริฐอันสามารถอันวิเศษยิ่งกว่าธรรม
ของมนุษย์ด้วยปัญญาที่มีกำลังได้
เปรียบเหมือนแม่น้ำที่ไหลลงจากภูเขาไปสู่ที่ไกล มีกระแสเชี่ยว พัดสิ่งที่พอ
จะพัดไปได้ บุรุษพึงปิดปากเหมืองทั้ง ๒ ข้างแห่งแม่น้ำนั้น เมื่อปิดปากเหมืองแล้ว
อย่างนี้ กระแสน้ำในท่ามกลางแม่น้ำนั้นก็ไม่ซัดส่ายไม่ไหลผิดทาง ไหลไปสู่ที่ไกลได้
มีกระแสเชี่ยว และพัดสิ่งที่พอจะพัดไปได้ ฉันใด

เชิงอรรถ :
๑ ญาณทัสสนะที่ประเสริฐอันสามารถ หมายถึงมหัคคตโลกุตตรปัญญาอันประเสริฐบริสุทธิ์สูงสุด สามารถ
กำจัดกิเลสได้ (องฺ.ทสก.อ. ๓/๔๘/๓๕๐)
๒ ธรรมของมนุษย์ ในที่นี้หมายถึงกุศลกรรมบถ ๑๐ ประการ (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๕๑/๒๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๙๐ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๑. นีวรณวรรค ๒. อกุสลราสิสูตร
เป็นไปได้ที่ภิกษุนั้นละนิวรณ์เครื่องกางกั้น ๕ ประการนี้ที่ครอบงำจิต ทอนกำลัง
ปัญญาได้แล้วจักรู้ประโยชน์ตน รู้ประโยชน์ผู้อื่น รู้ประโยชน์ทั้งสอง หรือจักทำ
ให้แจ้งซึ่งญาณทัสสนะที่ประเสริฐอันสามารถอันวิเศษยิ่งกว่าธรรมของมนุษย์ ด้วย
ปัญญาที่มีกำลังได้ ฉันนั้น
อาวรณสูตรที่ ๑ จบ

๒. อกุสลราสิสูตร
ว่าด้วยกองอกุศล
[๕๒] ภิกษุทั้งหลาย บุคคลเมื่อจะกล่าวถึงกองอกุศล เมื่อจะกล่าวให้ถูก
พึงกล่าวถึงนิวรณ์(ธรรมที่กั้นจิตไม่ให้บรรลุความดี) ๕ ประการ เพราะกองอกุศล
ทั้งสิ้น คือ นิวรณ์ ๕ ประการ
นิวรณ์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. กามฉันทะ ๒. พยาบาท
๓. ถีนมิทธะ ๔. อุทธัจจกุกกุจจะ
๕. วิจิกิจฉา
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลเมื่อจะกล่าวถึงกองอกุศล เมื่อจะกล่าวให้ถูก พึงกล่าวถึง
นิวรณ์ ๕ ประการนี้ เพราะกองอกุศลทั้งสิ้น คือ นิวรณ์ ๕ ประการ
อกุสลราสิสูตรที่ ๒ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๙๑ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๑. นีวรณวรรค ๓. ปธานิยังสูตร
๓. ปธานิยังคสูตร
ว่าด้วยองค์ของภิกษุผู้บำเพ็ญเพียร
[๕๓] ภิกษุทั้งหลาย องค์ของภิกษุผู้บำเพ็ญเพียร ๕ ประการนี้
องค์ของภิกษุผู้บำเพ็ญเพียร ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เป็นผู้มีศรัทธา เชื่อพระปัญญาเครื่องตรัสรู้๑ของพระตถาคตว่า
‘แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น เป็นพระอรหันต์
ตรัสรู้ด้วยพระองค์เองโดยชอบ เพียบพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ
เสด็จไปดี รู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกผู้ที่ควรฝึกได้อย่างยอดเยี่ยม
เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า เป็น
พระผู้มีพระภาค’
๒. เป็นผู้มีอาพาธน้อย มีโรคเบาบาง ประกอบด้วยไฟธาตุสำหรับย่อย
อาหารสม่ำเสมอ ไม่เย็นนัก ไม่ร้อนนัก ปานกลาง เหมาะแก่การ
บำเพ็ญเพียร
๓. เป็นผู้ไม่โอ้อวด ไม่มีมารยา ทำตนให้เปิดเผยตามความเป็นจริงใน
ศาสดา หรือในเพื่อนพรหมจารีผู้รู้ทั้งหลาย
๔. เป็นผู้ปรารภความเพียร เพื่อละอกุศลธรรม เพื่อให้กุศลธรรมเกิด
มีความเข้มแข็ง มีความบากบั่นมั่นคง ไม่ทอดธุระในกุศลธรรม
ทั้งหลายอยู่
๕. เป็นผู้มีปัญญา คือ ประกอบด้วยปัญญาเป็นเครื่องพิจารณาเห็น
ทั้งความเกิดและความดับอันเป็นอริยะ ชำแรกกิเลส ให้ถึงความสิ้น
ทุกข์โดยชอบ๒
ภิกษุทั้งหลาย องค์ของภิกษุผู้บำเพ็ญเพียร ๕ ประการนี้แล
ปธานิยังคสูตรที่ ๓ จบ

เชิงอรรถ :
๑ ปัญญาเครื่องตรัสรู้ (โพธิ) หมายถึงมัคคญาณ (ญาณในอริยมรรค คือ ความหยั่งรู้ที่ให้สำเร็จภาวะอริย-
บุคคล แต่ละชั้น) ๔ ประการ (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๕๓/๒๙)
๒ ดู เสนาสนสูตร ใน องฺ.ทสก. (แปล) ๒๔/๑๑/๑๗

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๙๒ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๑. นีวรณวรรค ๔. สมยสูตร
๔. สมยสูตร
ว่าด้วยสมัยที่ควรบำเพ็ญเพียร
[๕๔] ภิกษุทั้งหลาย สมัยที่ไม่ควรบำเพ็ญเพียร ๕ ประการนี้
สมัยที่ไม่ควรบำเพ็ญเพียร ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นคนแก่ ถูกชราครอบงำ นี้เป็นสมัยที่ไม่ควร
บำเพ็ญเพียรประการที่ ๑
๒. ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นผู้อาพาธ ถูกพยาธิครอบงำ นี้เป็นสมัยที่ไม่
ควรบำเพ็ญเพียรประการที่ ๒
๓. สมัยที่มีภิกษาหาได้ยาก ข้าวกล้าเสียหาย บิณฑบาตได้ยาก จึงไม่
สะดวกแก่การแสวงหาเลี้ยงชีพ นี้เป็นสมัยที่ไม่ควรบำเพ็ญเพียร
ประการที่ ๓
๔. สมัยที่มีภัย มีการปล้นสะดมในดง ชาวชนบทพากันขึ้นยานพาหนะ
อพยพไป นี้เป็นสมัยที่ไม่ควรบำเพ็ญเพียรประการที่ ๔
๕. สมัยที่สงฆ์แตกแยกกัน เมื่อสงฆ์แตกแยกกัน จึงมีการด่ากัน
มีการบริภาษกัน มีการใส่ร้ายกัน มีการทอดทิ้งกัน หมู่คนที่ยังไม่
เลื่อมใสในสงฆ์นั้นก็ไม่เลื่อมใส และหมู่คนที่เลื่อมใสแล้วก็กลาย
เป็นอื่นไป นี้เป็นสมัยที่ไม่ควรบำเพ็ญเพียรประการที่ ๕
ภิกษุทั้งหลาย สมัยที่ไม่ควรบำเพ็ญเพียร ๕ ประการ นี้แล
ภิกษุทั้งหลาย สมัยที่ควรบำเพ็ญเพียร ๕ ประการนี้
สมัยที่ควรบำเพ็ญเพียร ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ภิกษุในธรรมวินัยนี้ยังเป็นคนหนุ่มแน่น มีผมดำสนิท ประกอบ
ด้วยความเป็นหนุ่มกำลังเจริญ ดำรงอยู่ในปฐมวัย นี้เป็นสมัยที่
ควรบำเพ็ญเพียรประการที่ ๑
๒. ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นผู้มีอาพาธน้อย มีโรคเบาบาง ประกอบด้วยไฟธาตุ
สำหรับย่อยอาหารสม่ำเสมอ ไม่เย็นนัก ไม่ร้อนนัก ปานกลาง
เหมาะแก่การบำเพ็ญเพียร นี้เป็นสมัยที่ควรบำเพ็ญเพียรประการที่ ๒

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๙๓ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๑. นีวรณวรรค ๕. มาตาปุตตสูตร
๓. สมัยที่มีภิกษาหาได้ง่าย ข้าวกล้าดี บิณฑบาตได้ง่าย สะดวกแก่
การแสวงหาเลี้ยงชีพ นี้เป็นสมัยที่ควรบำเพ็ญเพียรประการที่ ๓
๔. สมัยที่คนทั้งหลายพร้อมเพรียงกัน ชื่นชมกัน ไม่วิวาทกัน เป็นเหมือน
น้ำนมกับน้ำ มองกันด้วยนัยน์ตาที่เปี่ยมด้วยความรักอยู่ นี้เป็นสมัยที่
ควรบำเพ็ญเพียรประการที่ ๔
๕. สมัยที่สงฆ์พร้อมเพรียงกัน ชื่นชมกัน ไม่วิวาทกัน มีอุทเทสที่
สวดร่วมกัน๑ อยู่ผาสุก เมื่อสงฆ์พร้อมเพรียงกัน จึงไม่มีการด่ากัน
ไม่มีการบริภาษกัน ไม่มีการใส่ร้ายกัน ไม่มีการทอดทิ้งกัน หมู่คน
ที่ยังไม่เลื่อมใสในสงฆ์นั้นก็เลื่อมใส และหมู่คนที่เลื่อมใสแล้วก็
เลื่อมใสยิ่งขึ้น นี้เป็นสมัยที่ควรบำเพ็ญเพียรประการที่ ๕
ภิกษุทั้งหลาย สมัยที่ควรบำเพ็ญเพียร ๕ ประการนี้แล
สมยสูตรที่ ๔ จบ

๕. มาตาปุตตสูตร
ว่าด้วยมารดากับบุตร
[๕๕] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของ
อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี สมัยนั้นแล คนทั้งสอง คือภิกษุและภิกษุณี
ผู้เป็นมารดาเป็นบุตรกัน เข้าจำพรรษาในกรุงสาวัตถี คนทั้งสองนั้นใคร่จะเห็นกัน
เนือง ๆ แม้มารดาก็ใคร่จะเห็นบุตรเนือง ๆ แม้บุตรก็ใคร่จะเห็นมารดาเนือง ๆ เพราะ
การเห็นกันเนือง ๆ ของคนทั้งสองนั้น จึงมีความคลุกคลีกัน เมื่อมีความคลุกคลีกัน

เชิงอรรถ :
๑ มีอุทเทสที่สวดร่วมกัน ในที่นี้หมายถึงมีการยกปาติโมกขุทเทส ๕ ประการ (๑) นิทานุทเทส (๒) ปาราชิ-
กุทเทส (๓) สังฆาทิเสสุทเทส (๔) อนิยตุทเทส (๕) วิตถารุทเทส เฉพาะอุทเทสที่ ๕ นั้น รวมเอานิสสัคคิ-
ยุทเทส ปาจิตยุทเทส ปาฏิเทสนิยุทเทส เสขิยุทเทส และสมถุทเทสเข้าไว้ด้วย) ขึ้นสวดร่วมกัน (วิ.อ. ๑/๕๕/
๒๗๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๙๔ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๑. นีวรณวรรค ๕. มาตาปุตตสูตร
จึงมีความคุ้นเคยกัน เมื่อมีความคุ้นเคยกันจึงมีช่อง คนทั้งสองนั้นมีจิตได้ช่อง ไม่บอก
คืนสิกขา ไม่เปิดเผยความท้อแท้๑ เสพเมถุนธรรม๒แล้ว
ครั้งนั้น ภิกษุจำนวนมากเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาท
แล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
คนทั้งสองคือภิกษุและภิกษุณีผู้เป็นมารดาเป็นบุตรกัน เข้าจำพรรษาในกรุง
สาวัตถีนี้ คนทั้งสองนั้นใคร่จะเห็นกันเนือง ๆ แม้มารดาก็ใคร่จะเห็นบุตรเนือง ๆ
แม้บุตรก็ใคร่จะเห็นมารดาเนือง ๆ เพราะการเห็นกันเนือง ๆ ของคนทั้งสองนั้น
จึงมีความคลุกคลีกัน เมื่อมีความคลุกคลีกัน จึงมีความคุ้นเคยกัน เมื่อมีความ
คุ้นเคยกันจึงมีช่อง คนทั้งสองนั้นมีจิตได้ช่อง ไม่บอกคืนสิกขา ไม่เปิดเผยความ
ท้อแท้ เสพเมถุนธรรมแล้ว”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย โมฆบุรุษนั้นย่อมสำคัญหรือหนอว่า
‘มารดาย่อมไม่กำหนัดในบุตร หรือบุตรย่อมไม่กำหนัดในมารดา’
๑. เราไม่เห็นรูปอื่นแม้อย่างหนึ่ง ซึ่งเป็นที่เกิดความกำหนัด เกิดความใคร่
เกิดความมัวเมา เกิดความผูกพัน เกิดความหมกมุ่น ทำอันตราย
แก่การบรรลุธรรมที่เป็นแดนเกษมจากโยคะอันยอดเยี่ยม เหมือน
รูปสตรีนี้เลย สัตว์ทั้งหลายกำหนัด ยินดี ติดใจ หมกมุ่น พัวพันอยู่
ในรูปสตรี ตกอยู่ใต้อำนาจรูปสตรี จึงเศร้าโศกตลอดกาลนาน
๒. เราไม่เห็นเสียงอื่นแม้อย่างหนึ่ง ...
๓. เราไม่เห็นกลิ่นอื่นแม้อย่างหนึ่ง ...
๔. เราไม่เห็นรสอื่นแม้อย่างหนึ่ง ...
๕. เราไม่เห็นโผฏฐัพพะอื่นแม้อย่างหนึ่ง ซึ่งเป็นที่เกิดความกำหนัด
เกิดความใคร่ เกิดความมัวเมา เกิดความผูกพัน เกิดความหมกมุ่น

เชิงอรรถ :
๑ ไม่เปิดเผยความท้อแท้ (ทุพฺพลฺยํ อนาวิกตฺวา) หมายถึงไม่ประกาศความท้อแท้เบื่อหน่ายในการประพฤติ
พรหมจรรย์ ดู วิ.มหา. (แปล) ๑/๔๕-๕๔/๓๓-๔๒
๒ เมถุนธรรม หมายถึงการร่วมประเวณี การร่วมสังวาส กล่าวคือการเสพอสัทธรรมอันเป็นประเวณีของชาว
บ้าน มีน้ำเป็นที่สุด เป็นกิจที่ทำในที่ลับ ต้องทำกันสองต่อสอง ดู วิ.มหา. (แปล) ๑/๕๕/๔๒

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๙๕ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๑. นีวรณวรรค ๕. มาตาปุตตสูตร
ทำอันตรายแก่การบรรลุธรรมที่เป็นแดนเกษมจากโยคะอันยอดเยี่ยม
เหมือนโผฏฐัพพะสตรีนี้เลย สัตว์ทั้งหลายกำหนัด ยินดี ติดใจ
หมกมุ่น พัวพันอยู่ในโผฏฐัพพะสตรี ตกอยู่ในโผฏฐัพพะสตรี
จึงเศร้าโศกตลอดกาลนาน
สตรีแม้เดินอยู่ก็ครอบงำจิตของบุรุษได้ แม้ยืนอยู่ ... แม้นั่งอยู่ แม้นอนอยู่ ...
แม้หลับอยู่ ... แม้หัวเราะอยู่ ... แม้พูดอยู่ ... แม้ขับร้องอยู่ ... แม้ร้องไห้อยู่ ...
แม้พองขึ้น ... แม้ตายแล้วก็ครอบงำจิตของบุรุษได้
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลเมื่อจะกล่าวถึงสิ่งหนึ่งสิ่งใดว่า ‘เป็นบ่วงรวบรัดแห่งมาร’
เมื่อจะกล่าวให้ถูกก็พึงกล่าวถึงมาตุคาม๑นั่นแลว่า ‘เป็นบ่วงรวบรัดแห่งมาร’
บุคคลสนทนากับเพชฌฆาตก็ดี
สนทนากับปีศาจก็ดี
ถูกต้องอสรพิษที่กัดแล้วตายก็ดี
ก็ยังไม่ร้ายแรงเท่าการสนทนาสองต่อสองกับมาตุคามเลย
สตรีทั้งหลายย่อมผูกพันบุรุษผู้ลุ่มหลง
ด้วยการมองดู การหัวเราะ
การนุ่งห่มไม่เรียบร้อย และการพูดอ่อนหวาน
มาตุคามนี้มิใช่จะผูกพันเพียงแค่นี้
แม้ตายไปแล้วพองขึ้น ก็ยังผูกพันได้
กามคุณ ๕ นี้ คือ รูป เสียง กลิ่น รส และโผฏฐัพพะ
ซึ่งน่ารื่นรมย์ใจ ย่อมปรากฏในรูปสตรี
เหล่าชนผู้ถูกกาโมฆะ(ห้วงน้ำคือกาม) พัด
ไม่กำหนดรู้กาม ย่อมมีกาล (แห่งวัฏฏะ) คติ
และภพน้อยภพใหญ่ในวัฏฏสงสารเป็นเบื้องหน้า

เชิงอรรถ :
๑ มาตุคาม หมายถึงหญิงมนุษย์ ไม่ใช่นางยักษ์ ไม่ใช่นางเปรต ไม่ใช่สัตว์ดิรัจฉานตัวเมีย (วิ.มหา. (แปล)
๑/๒๗๑/๒๙๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๙๖ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๑. นีวรณวรรค ๖. อุปัชฌายสูตร
ส่วนชนเหล่าใด กำหนดรู้กาม๑
เป็นผู้ไม่มีภัยแต่ที่ไหน ๆ เที่ยวไป
ชนเหล่านั้นผู้บรรลุความสิ้นไปแห่งอาสวะ
เป็นผู้ถึงฝั่ง๒ในโลก
มาตาปุตตสูตรที่ ๕ จบ

๖. อุปัชฌายสูตร
ว่าด้วยอุปัชฌาย์๓
[๕๖] ครั้งนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปหาพระอุปัชฌาย์ของตนถึงที่อยู่ ได้กล่าว
ดังนี้ว่า “ข้าแต่ท่านผู้เจริญ เดี๋ยวนี้ กายของผมหนักขึ้น ทิศทั้งหลายไม่ปรากฏแก่ผม
ธรรมทั้งหลาย๔ก็ไม่แจ่มแจ้งแก่ผม ผมถูกถีนมิทธะครอบงำจิต ไม่ยินดีประพฤติ
พรหมจรรย์ และมีความสงสัยในธรรมทั้งหลาย”
ต่อมา ภิกษุนั้นพาภิกษุสัทธิวิหาริก เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระพระภาคว่า “ข้าแต่
พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุนี้กล่าวอย่างนี้ว่า ‘เดี๋ยวนี้ กายของผมหนักขึ้น ทิศทั้งหลาย
ไม่ปรากฏแก่ผม ธรรมทั้งหลายก็ไม่แจ่มแจ้งแก่ผม ผมถูกถีนมิทธะครอบงำจิต
ไม่ยินดีประพฤติพรหมจรรย์ และมีความสงสัยในธรรมทั้งหลาย”

เชิงอรรถ :
๑ กำหนดรู้กาม ในที่นี้หมายถึงกำหนดรู้กามทั้งสอง คือ วัตถุกาม และกิเลสกาม ด้วยปริญญา ๓ คือ
(๑) ญาตปริญญา กำหนดรู้ด้วยให้เป็นสิ่งอันรู้แล้ว (๒) ตีรณปริญญา กำหนดรู้ด้วยการพิจารณา
(๓) ปหานปริญญา กำหนดรู้ด้วยการละ (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๕๕/๓๐)
๒ เป็นผู้ถึงฝั่ง ในที่นี้หมายถึงเป็นผู้บรรลุพระนิพพาน (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๕๕/๓๐)
๓ อุปัชฌาย์ หมายถึงครูผู้คอยเพ่งโทษน้อยใหญ่ ได้แก่ ผู้รับรองกุลบุตรเข้ารับการอุปสมบทในท่ามกลางภิกษุสงฆ์
และเป็นผู้คอยดูแลผิดและชอบ อบรมให้การศึกษา (วชฺชาวชฺชํ อุปนิชฺฌายตีติ อุปชฺฌาโย) (วิ.อ. ๓/๖๔-๖๕/
๓๒, สารตฺถ.ฏีกา ๓/๖๔/๒๘๑)
๔ ธรรมทั้งหลาย ในที่นี้หมายถึงสมถะ(การฝึกจิตให้สงบเป็นสมาธิ) และวิปัสสนา(ความเห็นแจ้ง) (องฺ.ปญฺจก.อ.
๓/๕๕/๓๐)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๙๗ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๑. นีวรณวรรค ๖. อุปัชฌายสูตร
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุ การที่กายของเธอหนักขึ้น ทิศทั้งหลายไม่
ปรากฏแก่เธอ ธรรมทั้งหลายไม่แจ่มแจ้งแก่เธอ เธอถูกถีนมิทธะครอบงำจิต ไม่ยินดี
ประพฤติพรหมจรรย์ และมีความสงสัยในธรรมทั้งหลายนี้ ย่อมมีแก่ภิกษุผู้ไม่
คุ้มครองทวารในอินทรีย์ ไม่รู้จักประมาณในการบริโภค ไม่ประกอบความเพียร
เป็นเครื่องตื่นอยู่ ไม่เห็นแจ้งกุศลธรรมทั้งหลาย ไม่ประกอบการเจริญโพธิปักขิย-
ธรรมทั้งหลายทุกวันทุกคืน เพราะเหตุนั้นแล เธอพึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า ‘เราจัก
คุ้มครองทวารในอินทรีย์ รู้จักประมาณในการบริโภค ประกอบความเพียรเป็นเครื่อง
ตื่นอยู่ เห็นแจ้งกุศลธรรมทั้งหลาย ประกอบการเจริญโพธิปักขิยธรรมทั้งหลายทุกวัน
ทุกคืน’ ภิกษุ เธอพึงสำเหนียกอย่างนี้แล”
ครั้งนั้น ภิกษุนั้นอันพระผู้มีพระภาคตรัสสอนด้วยพระโอวาทนี้แล้วก็ลุกจาก
อาสนะ ถวายอภิวาท ทำประทักษิณแล้วหลีกไป ลำดับนั้น ภิกษุนั้นหลีกออกไปอยู่
ผู้เดียว ไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่ ไม่นานนักได้ทำให้แจ้ง
ซึ่งประโยชน์ยอดเยี่ยม๑อันเป็นที่สุดแห่งพรหมจรรย์ที่กุลบุตรออกจากเรือนบวชเป็น
บรรพชิตโดยชอบต้องการ ด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน ได้รู้ชัดว่า
‘ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำ๒เสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความ
เป็นอย่างนี้อีกต่อไป๓’ ก็ภิกษุนั้นได้เป็นพระอรหันต์รูปหนึ่งในจำนวนพระอรหันต์
ทั้งหลาย
ครั้นภิกษุนั้นได้บรรลุความเป็นพระอรหันต์แล้ว จึงเข้าไปหาพระอุปัชฌาย์
ของตนถึงที่อยู่แล้วกล่าวว่า “ข้าแต่ท่านผู้เจริญ เดี๋ยวนี้ กายของผมไม่หนักขึ้น
ทิศทั้งหลายปรากฏแก่ผม ธรรมทั้งหลายแจ่มแจ้งแก่ผม ผมไม่ถูกถีนมิทธะ
ครอบงำจิต ยินดีประพฤติพรหมจรรย์ และไม่มีความสงสัยในธรรมทั้งหลาย”

เชิงอรรถ :
๑ ประโยชน์ยอดเยี่ยม ในที่นี้หมายถึงอรหัตตผล หรืออริยผลอันเป็นที่สุดแห่งมัคคพรหมจรรย์ (องฺ.ทุก.อ.
๒/๕/๗, ม.ม.อ.๒/๘๒/๘๐)
๒ กิจที่ควรทำ ในที่นี้หมายถึงกิจ ๔ อย่าง คือ ปริญญากิจ (หน้าที่กำหนดรู้ทุกข์) ปหานกิจ (หน้าที่ละเหตุ
เกิดทุกข์) สัจฉิกิริยากิจ (หน้าที่ทำให้แจ้งความดับทุกข์) และภาวนากิจ (หน้าที่อบรมมรรคมีองค์ ๘ ให้เจริญ)
เป็นกิจในอริยสัจ ๔ (องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๔๙/๑๒๘, องฺ.ฉกฺก.ฏีกา ๓/๔๙/๑๔๑, ที.สี.อ. ๒๔๘/๒๐๓)
๓ ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป ในที่นี้หมายถึงไม่มีหน้าที่ในการบำเพ็ญมัคคญาณ (ญาณในขั้น
อริยมรรค)เพื่อความสิ้นกิเลสอีกต่อไป เพราะพระพุทธศาสนาถือว่าการบรรลุพระอรหัตตผลเป็นจุดหมาย
สูงสุดแล้ว (ที.สี.อ. ๒๔๘/๒๐๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๙๘ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๑. นีวรณวรรค ๗. ฐานสูตร
ลำดับนั้น ภิกษุนั้นพาภิกษุสัทธิวิหาริกนั้นเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุ
นี้กล่าวอย่างนี้ว่า “ข้าแต่ท่านผู้เจริญ เดี๋ยวนี้ กายของผมไม่หนักขึ้น ทิศทั้งหลาย
ปรากฏแก่ผม ธรรมทั้งหลายแจ่มแจ้งแก่ผม ผมไม่ถูกถีนมิทธะครอบงำจิต ยินดี
ประพฤติพรหมจรรย์ และไม่มีความสงสัยในธรรมทั้งหลาย”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุ การที่กายของเธอไม่หนักขึ้น ทิศทั้งหลาย
ปรากฏแก่เธอ ธรรมทั้งหลายแจ่มแจ้งแก่เธอ ถีนมิทธะไม่ครอบงำจิต ยินดีประพฤติ
พรหมจรรย์ และไม่มีความสงสัยในธรรมทั้งหลายนี้ ย่อมมีแก่ภิกษุผู้คุ้มครองทวาร
ในอินทรีย์ รู้จักประมาณในการบริโภค ประกอบความเพียรเครื่องตื่นอยู่ เห็นแจ้ง
กุศลธรรม ประกอบการเจริญโพธิปักขิยธรรมทั้งหลายทุกวันทุกคืน เพราะเหตุ
นั้นแล เธอทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า ‘เราจักคุ้มครองทวารในอินทรีย์ รู้จัก
ประมาณในการบริโภค ประกอบความเพียรเครื่องตื่นอยู่ เห็นแจ้งกุศลธรรม ประกอบ
การเจริญโพธิปักขิยธรรมทุกวันทุกคืน’
ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้แล”
อุปัชฌายสูตรที่ ๖ จบ

๗. ฐานสูตร
ว่าด้วยฐานะที่ควรพิจารณาเนือง ๆ
[๕๗] ภิกษุทั้งหลาย ฐานะ ๕ ประการนี้ ที่สตรี บุรุษ คฤหัสถ์ หรือบรรพชิต
ต้องพิจารณาเนือง ๆ
ฐานะ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
สตรี บุรุษ คฤหัสถ์ หรือบรรพชิตควรพิจารณา เนือง ๆ ว่า
๑. เรามีความแก่เป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความแก่ไปได้
๒. เรามีความเจ็บไข้เป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความเจ็บไข้ไปได้
๓. เรามีความตายเป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความตายไปได้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๙๙ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๑. นีวรณวรรค ๗. ฐานสูตร
๔. เราจะต้องพลัดพรากจากของรักของชอบใจทั้งสิ้น
๕. เรามีกรรมเป็นของตน เป็นผู้รับผลของกรรม มีกรรมเป็นกำเนิด
มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ มีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัย เราทำกรรมใดไว้จะเป็น
กรรมดีหรือกรรมชั่วก็ตาม ย่อมเป็นผู้รับผลของกรรมนั้น
สตรี บุรุษ คฤหัสถ์ หรือบรรพชิตควรพิจารณาเนือง ๆ ว่า ‘เรามีความแก่
เป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความแก่ไปได้’ เพราะอาศัยอำนาจประโยชน์อะไร
เพราะอาศัยอำนาจประโยชน์นี้แลว่า ‘สัตว์ทั้งหลายมีความมัวเมาในความเป็น
หนุ่มสาวซึ่งเป็นเหตุให้ประพฤติชั่วด้วยกาย ประพฤติชั่วด้วยวาจา ประพฤติชั่วด้วยใจ
เมื่อเขาพิจารณาฐานะนั้นอยู่เนือง ๆ ย่อมละความมัวเมาในความเป็นหนุ่มสาวนั้นได้
โดยสิ้นเชิง หรือทำให้เบาบางลงได้’
สตรี บุรุษ คฤหัสถ์ หรือบรรพชิตจึงควรพิจารณาเนือง ๆ ว่า ‘เรามีความแก่
เป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความแก่ไปได้’
สตรี บุรุษ คฤหัสถ์ หรือบรรพชิตควรพิจารณาเนือง ๆ ว่า ‘เรามีความ
เจ็บไข้เป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความเจ็บไข้ไปได้’ เพราะอาศัยอำนาจประโยชน์อะไร
เพราะอาศัยอำนาจประโยชน์นี้แลว่า ‘สัตว์ทั้งหลายมีความมัวเมาในความไม่
มีโรคซึ่งเป็นเหตุให้สัตว์ประพฤติชั่วด้วยกาย ประพฤติชั่วด้วยวาจา ประพฤติชั่ว
ด้วยใจ เมื่อเขาพิจารณาฐานะนั้นอยู่เนือง ๆ ย่อมละความมัวเมาในความไม่มีโรคนั้น
ได้โดยสิ้นเชิง หรือทำให้เบาบางลงได้’
สตรี บุรุษ คฤหัสถ์ หรือบรรพชิตจึงควรพิจารณาเนือง ๆ ว่า ‘เรามีความ
เจ็บไข้เป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความเจ็บไข้ไปได้’
สตรี บุรุษ คฤหัสถ์ หรือบรรพชิตควรพิจารณาเนือง ๆ ว่า ‘เรามีความตาย
เป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความตายไปได้‘ เพราะอาศัยอำนาจประโยชน์อะไร
เพราะอาศัยอำนาจประโยชน์นี้แลว่า ‘สัตว์ทั้งหลายมีความมัวเมาในชีวิตซึ่ง
เป็นเหตุให้ประพฤติชั่วด้วยกาย ประพฤติชั่วด้วยวาจา ประพฤติชั่วด้วยใจ เมื่อเขา
พิจารณาฐานะนั้นอยู่เนืองๆ ย่อมละความมัวเมาในชีวิตนั้นได้โดยสิ้นเชิง หรือทำให้
เบาบางลงได้’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๑๐๐ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๑. นีวรณวรรค ๗. ฐานสูตร
สตรี บุรุษ คฤหัสถ์ หรือบรรพชิตจึงควรพิจารณาเนือง ๆ ว่า ‘เรามีความตาย
เป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความตายไปได้’
สตรี บุรุษ คฤหัสถ์ หรือบรรพชิตควรพิจารณาเนือง ๆ ว่า ‘เราจะต้องพลัด
พรากจากของรักของชอบใจทั้งสิ้น‘ เพราะอาศัยอำนาจประโยชน์อะไร
เพราะอาศัยอำนาจประโยชน์นี้แลว่า ‘สัตว์ทั้งหลายมีความกำหนัดด้วยอำนาจ
ความพอใจในของรักของชอบใจซึ่งเป็นเหตุให้ประพฤติชั่วด้วยกาย ประพฤติชั่วด้วย
วาจา ประพฤติชั่วด้วยใจ เมื่อเขาพิจารณาฐานะนั้นอยู่เนือง ๆ ย่อมละความ
กำหนัดด้วยอำนาจความพอใจในของรักของชอบใจนั้นได้โดยสิ้นเชิง หรือทำให้เบา
บางลงได้’
สตรี บุรุษ คฤหัสถ์ หรือบรรพชิตจึงควรพิจารณาเนือง ๆ ว่า ‘เราจะต้อง
พลัดพรากจากของรักของชอบใจทั้งสิ้น’
สตรี บุรุษ คฤหัสถ์ หรือบรรพชิตควรพิจารณาเนือง ๆ ว่า ‘เรามีกรรม
เป็นของตน เป็นผู้รับผลของกรรม มีกรรมเป็นกำเนิด มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์
มีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัย เราทำกรรมใดไว้ จะเป็นกรรมดีหรือกรรมชั่วก็ตาม ย่อม
เป็นผู้รับผลของกรรมนั้น’ เพราะอาศัยอำนาจประโยชน์อะไร
เพราะอาศัยอำนาจประโยชน์นี้แลว่า ‘สัตว์ทั้งหลายมีกายทุจริต วจีทุจริต
มโนทุจริต เมื่อเขาพิจารณาฐานะนั้นอยู่เนือง ๆ ย่อมละทุจริตได้โดยสิ้นเชิง หรือทำ
ให้เบาบางลงได้’
สตรี บุรุษ คฤหัสถ์ หรือบรรพชิตจึงควรพิจารณาเนือง ๆ ว่า ‘เรามีกรรม
เป็นของตน เป็นผู้รับผลของกรรม มีกรรมเป็นกำเนิด มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ มีกรรม
เป็นที่พึ่งอาศัย เราทำกรรมใดไว้ จะเป็นกรรมดีหรือกรรมชั่วก็ตาม ย่อมเป็นผู้รับผล
ของกรรมนั้น’
ผลแห่งการพิจารณาฐานะ ๕ ประการ
ภิกษุทั้งหลาย
๑. อริยสาวกนั้นพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ‘ไม่ใช่เราคนเดียวเท่านั้น ที่มี
ความแก่เป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความแก่ไปได้ แท้จริง สัตว์ทั้งปวง
ที่มีการมา การไป การจุติ การอุบัติ ล้วนมีความแก่เป็นธรรมดา ไม่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๑๐๑ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๑. นีวรณวรรค ๗. ฐานสูตร
ล่วงพ้นความแก่ไปได้’ เมื่ออริยสาวกนั้นพิจารณาฐานะนั้นอยู่เนือง ๆ
มรรค๑ย่อมเกิดขึ้น อริยสาวกนั้นย่อมเสพ๒ เจริญ ทำให้มากซึ่ง
มรรคนั้น เมื่อเสพ เจริญ ทำให้มากอยู่ ย่อมละสังโยชน์๓ได้
อนุสัย๔ย่อมสิ้นไป
๒. อริยสาวกนั้นพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ‘ไม่ใช่เราคนเดียวเท่านั้นที่มี
ความเจ็บไข้เป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความเจ็บไข้ไปได้ แท้จริง สัตว์
ทั้งปวงที่มีการมา การไป การจุติ การอุบัติ ก็ล้วนมีความเจ็บไข้
เป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความเจ็บไข้ไปได้’ เมื่ออริยสาวกนั้นพิจารณา
ฐานะนั้นอยู่เนือง ๆ มรรคย่อมเกิดขึ้น อริยสาวกนั้นย่อมเสพ เจริญ
ทำให้มากซึ่งมรรคนั้น เมื่อเสพ เจริญ ทำให้มากอยู่ ย่อมละ
สังโยชน์ได้ อนุสัยย่อมสิ้นไป

เชิงอรรถ :
๑ มรรค ในที่นี้หมายถึงโลกุตตรมรรค ได้แก่ อริยมรรค ๔ คือ โสตาปัตติมรรค สกทาคามิมรรค อนาคามิมรรค
และอรหัตตมรรค (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๕๗/๓๑)
๒ เสพในที่นี้หมายถึงการนึกหน่วง การรู้ การเห็น การพิจารณา การอธิษฐานจิต การน้อมใจเชื่อ ประคอง
ความเพียร ตั้งสติไว้ ตั้งจิตไว้ กำหนดรู้ด้วยปัญญา รู้ยิ่งธรรมที่ควรรู้ยิ่ง กำหนดรู้ธรรมที่ควรกำหนดรู้ ละ
ธรรมที่ควรละ เจริญธรรมที่ควรเจริญ ทำให้แจ้งธรรมที่ควรทำให้แจ้ง (องฺ.เอกก.อ.๑/๕๓/๖๓)
เจริญ หมายถึงบำเพ็ญสิ่งที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น ให้เจริญขึ้น และตามรักษาสิ่งที่เกิดขึ้นแล้วให้มีอยู่ตลอดไป
(องฺ.เอกก.อ. ๑/๕๔-๕๕/๖๓, ๔๑๘/๔๔๘, ๔๕๓/๔๖๙)
ทำให้มาก หมายถึงทำบ่อย ๆ (องฺ.เอกก.อ. ๑/๖๐๐-๖๑๑/๔๘๐)
๓ สังโยชน์ หมายถึงกิเลสที่ผูกมัดใจสัตว์ หรือธรรมที่มัดใจสัตว์ไว้กับทุกข์ มี ๑๐ ประการ คือ สักกายทิฏฐิ,
วิจิกิจฉา, สีลัพพตปรามาส, กามฉันทะหรือกามราคะ, พยาบาทหรือปฏิฆะ, รูปราคะ, อรูปราคะ, มานะ,
อุทธัจจะ, อวิชชา (สํ.ม.๑๙/๑๘๐-๑๘๑/๕๖-๕๗, องฺ.ทสก. (แปล) ๒๔/๑๓/๒๑, อภิ.วิ. (แปล) ๓๕/๙๔๐/
๕๙๒)
๔ อนุสัย หมายถึงกิเลสที่นอนเนื่องอยู่ในสันดานมี ๗ ประการ คือ (๑) กามราคะ (ความกำหนัดในกาม)
(๒) ปฏิฆะ (ความขัดใจ) (๓) ทิฏฐิ (ความเห็นผิด) (๔) วิจิกิจฉา (ความลังเลสงสัย) (๕) มานะ (ความถือตัว)
(๖) ภวราคะ (ความกำหนัดในภพ) (๗) อวิชชา (ความไม่รู้แจ้ง) (สํ.สฬา.อ. ๓/๕๓-๖๒/๑๔, องฺ.ปญฺจก.อ.
๓/๕๗/๓๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๑๐๒ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๑. นีวรณวรรค ๗. ฐานสูตร
๓. อริยสาวกนั้นพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ‘ไม่ใช่เราคนเดียวเท่านั้นที่มีความ
ตายเป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความตายไปได้ แท้จริง สัตว์ทั้งปวง
ที่มีการมา การไป การจุติ การอุบัติ ก็ล้วนมีความตายเป็นธรรมดา
ไม่ล่วงพ้นความตายไปได้’ เมื่ออริยสาวกนั้นพิจารณาฐานะนั้นอยู่
เนือง ๆ มรรคย่อมเกิดขึ้น อริยสาวกนั้นย่อมเสพ เจริญ ทำให้
มากซึ่งมรรคนั้น เมื่อเสพ เจริญ ทำให้มากอยู่ ย่อมละสังโยชน์ได้
อนุสัยย่อมสิ้นไป
๔. อริยสาวกนั้นพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ‘ไม่ใช่เราคนเดียวเท่านั้น ที่จะ
ต้องพลัดพรากจากของรักของชอบใจทั้งสิ้น แท้จริง สัตว์ทั้งปวงที่มี
การมา การไป การจุติ การอุบัติ ก็ล้วนจะต้องพลัดพรากจากของ
รักของชอบใจทั้งสิ้น’ เมื่ออริยสาวกนั้นพิจารณาฐานะนั้นอยู่เนือง ๆ
มรรคย่อมเกิดขึ้น อริยสาวกนั้นย่อมเสพ เจริญ ทำให้มากซึ่ง
มรรคนั้น เมื่อเสพ เจริญ ทำให้มากอยู่ ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัย
ย่อมสิ้นไป
๕. อริยสาวกนั้นพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ‘ไม่ใช่เราคนเดียวเท่านั้นที่มีกรรม
เป็นของตน เป็นผู้รับผลของกรรม มีกรรมเป็นกำเนิด มีกรรมเป็น
เผ่าพันธุ์ มีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัย เราทำกรรมใดไว้ จะเป็นกรรมดีหรือ
กรรมชั่วก็ตาม ย่อมเป็นผู้รับผลของกรรมนั้น แท้จริง สัตว์ทั้งปวงที่
มีการมา การไป การจุติ การอุบัติ ล้วนมีกรรมเป็นของตน เป็นผู้
รับผลของกรรม มีกรรมเป็นกำเนิด มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ มีกรรม
เป็นที่พึ่งอาศัย ทำกรรมใดไว้ จะเป็นกรรมดีหรือกรรมชั่วก็ตาม
ย่อมเป็นผู้รับผลของกรรมนั้น’ เมื่ออริยสาวกนั้นพิจารณาฐานะนั้นอยู่
เนือง ๆ มรรคย่อมเกิดขึ้น อริยสาวกนั้น ย่อมเสพ เจริญ ทำให้
มากซึ่งมรรคนั้น เมื่อเสพ เจริญ ทำให้มากอยู่ ย่อมละสังโยชน์ได้
อนุสัยย่อมสิ้นไป
สัตว์ทั้งหลาย มีความแก่ มีความเจ็บ
และมีความตายเป็นธรรมดา
ย่อมเป็นไปตามธรรม
พวกปุถุชนย่อมเกลียด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๑๐๓ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๑. นีวรณวรรค ๘. ลิจฉวิกุมารกสูตร
ถ้าเราพึงเกลียดธรรมนั้น
ในสัตว์ทั้งหลายผู้มีธรรมอย่างนั้น
ข้อนั้นไม่สมควรแก่เรา ผู้เป็นอยู่อย่างนี้
เรานั้นดำรงอยู่อย่างนี้ รู้ธรรมที่ไม่มีอุปธิกิเลส๑
เห็นเนกขัมมะ๒ว่า เป็นธรรมเกษม
ครอบงำความมัวเมาทั้งปวงในความไม่มีโรค
ในความเป็นหนุ่ม สาว และในชีวิต
ความอุตสาหะได้มีแล้วแก่เราผู้เห็นแจ้งนิพพาน
บัดนี้ เราไม่ควรเสพกาม
จักประพฤติไม่ถอยหลัง๓
มุ่งประพฤติพรหมจรรย์๔
ฐานสูตรที่ ๗ จบ

๘. ลิจฉวิกุมารกสูตร
ว่าด้วยเจ้าลิจฉวีกุมาร
[๕๘] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่กูฏาคารศาลา ป่ามหาวัน
เขตกรุงเวสาลี ครั้งนั้นแล เวลาเช้า พระผู้มีพระภาคทรงครองอันตรวาสก ถือบาตร
และจีวร เสด็จเข้าไปยังกรุงเวสาลีเพื่อบิณฑบาต เสด็จกลับจากบิณฑบาตหลังจาก
เสวยพระกระยาหารเสร็จแล้ว จึงเสด็จเข้าไปยังป่ามหาวัน ประทับนั่งพักผ่อน
กลางวัน ณ โคนไม้ต้นหนึ่ง

เชิงอรรถ :
๑ ธรรมที่ไม่มีอุปธิกิเลส ในที่นี้หมายถึงอรหัตตผล (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๕๗/๓๑)
๒ เนกขัมมะ ในที่นี้หมายถึงบรรพชา (การบวช) (องฺ.ปญฺจก.อ.๓/๕๗/๓๑)
๓ ประพฤติไม่ถอยหลัง ในที่นี้หมายถึงไม่ถอยหลังจากบรรพชา จากการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ และจาก
พระสัพพัญญุตญาณ (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๕๗/๓๑)
๔ พรหมจรรย์ ในที่นี้หมายถึงมรรคพรหมจรรย์ คือ อริยมรรคมีองค์ ๘ อันเป็นโลกุตตระ (องฺ.ปญฺจก.อ.
๓/๕๗/๓๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๑๐๔ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๑. นีวรณวรรค ๘. ลิจฉวิกุมารกสูตร
สมัยนั้น เจ้าลิจฉวีกุมารหลายพระองค์ถือธนูที่ขึ้นสาย มีฝูงสุนัขแวดล้อมเดิน
เที่ยวไปในป่ามหาวัน ได้เห็นพระผู้มีพระภาคประทับนั่งอยู่ที่โคนไม้ต้นหนึ่ง จึงวาง
ธนูที่ขึ้นสายไว้แล้ว ปล่อยฝูงสุนัขไป ณ ที่สมควร พากันเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค
ถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้ว ต่างนั่งนิ่งประคองอัญชลีอยู่ใกล้พระผู้มีพระภาค
สมัยนั้น เจ้าลิจฉวีนามว่ามหานามะเดินพักผ่อนอยู่ในป่ามหาวัน ได้เห็นเจ้า
ลิจฉวีกุมารเหล่านั้นผู้ต่างนั่งนิ่งประคองอัญชลีอยู่ใกล้พระผู้มีพระภาค จึงเข้าไปเฝ้า
พระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้เปล่งอุทานว่า
“เจ้าวัชชีจักเจริญ เจ้าวัชชีจักเจริญ”
พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า มหานามะ เพราะเหตุไร เธอจึงกล่าวอย่างนี้ว่า
“เจ้าวัชชีจักเจริญ เจ้าวัชชีจักเจริญ”
เจ้ามหานามะกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เจ้าลิจฉวีกุมารเหล่านี้ เป็นผู้
ดุร้าย หยาบคาย กระด้าง ของขวัญต่าง ๆ คือ อ้อย พุทรา ขนม ขนมต้ม หรือ
ขนมแดกงาที่เขาส่งไปในตระกูลทั้งหลาย เจ้าลิจฉวีกุมารเหล่านี้ก็แย่งชิงเอาไปกิน
ถีบหลังกุลสตรีบ้าง กุลกุมารีบ้าง แต่บัดนี้ เจ้าลิจฉวีกุมารเหล่านี้ต่างนั่งนิ่งประคอง
อัญชลีอยู่ใกล้พระผู้มีพระภาค”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “มหานามะ กุลบุตรคนใด เป็นกษัตราธิราชผู้ได้รับ
มูรธาภิเษก๑แล้วก็ตาม เป็นผู้ปกครองรัฐซึ่งรับมรดกจากบิดาก็ตาม เป็นอัคร-
เสนาบดีก็ตาม เป็นผู้ใหญ่บ้านก็ตาม เป็นหัวหน้าคณะก็ตาม เป็นใหญ่เฉพาะตระกูล
ก็ตาม มีธรรม ๕ ประการนี้ กุลบุตรนั้นพึงหวังได้ความเจริญอย่างเดียว ไม่มีความ
เสื่อมเลย
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. กุลบุตรในโลกนี้สักการะ เคารพ นับถือ บูชามารดาบิดาด้วย
โภคทรัพย์ที่หามาได้ด้วยความขยันหมั่นเพียร เก็บรวบรวมด้วย
น้ำพักน้ำแรง อาบเหงื่อต่างน้ำ ประกอบด้วยธรรม ได้มาโดยธรรม

เชิงอรรถ :
๑ มูรธาภิเษก หมายถึงน้ำรดพระเศียรในงานราชาภิเษก หรือพระราชพิธีอื่น ๆ (พจนานุกรม ฉบับ
ราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๒๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๑๐๕ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๑. นีวรณวรรค ๘. ลิจฉวิกุมารกสูตร
มารดาบิดาผู้ได้รับสักการะ เคารพ นับถือ บูชาแล้ว ย่อมอนุเคราะห์
กุลบุตรนั้นด้วยน้ำใจอันงามว่า ‘ขอเจ้าจงมีชีวิตยืนนาน มีอายุยืนนาน’
กุลบุตรผู้อันมารดาบิดาอนุเคราะห์แล้ว พึงหวังได้ความเจริญอย่าง
เดียว ไม่มีความเสื่อมเลย
๒. กุลบุตรในโลกนี้สักการะ เคารพ นับถือ บูชาบุตร ภรรยา ทาส
กรรมกร และคนใช้ด้วยโภคทรัพย์ที่หามาได้ด้วยความขยัน
หมั่นเพียร เก็บรวบรวมด้วยน้ำพักน้ำแรง อาบเหงื่อต่างน้ำ
ประกอบด้วยธรรม ได้มาโดยธรรม บุตร ภรรยา ทาส กรรมกร
และคนใช้ผู้ได้รับสักการะ เคารพ นับถือ บูชาแล้ว ย่อม
อนุเคราะห์กุลบุตรนั้นด้วยน้ำใจอันงามว่า ‘ขอท่านจงมีชีวิตยืนนาน
มีอายุยืนนาน’ กุลบุตรผู้อันบุตร ภรรยา ทาส กรรมกร และคน
ใช้อนุเคราะห์แล้ว พึงหวังได้ความเจริญอย่างเดียว ไม่มีความ
เสื่อมเลย
๓. กุลบุตรในโลกนี้สักการะ เคารพ นับถือ บูชาเพื่อนชาวนา และ
เพื่อนร่วมงานด้วยโภคทรัพย์ที่หามาได้ด้วยความขยันหมั่นเพียร
เก็บรวบรวมด้วยน้ำพักน้ำแรง อาบเหงื่อต่างน้ำ ประกอบด้วยธรรม
ได้มาโดยธรรม เพื่อนชาวนา และเพื่อนร่วมงานผู้ได้รับสักการะ
เคารพ นับถือ บูชาแล้ว ย่อมอนุเคราะห์กุลบุตรนั้นด้วยน้ำใจอันงาม
ว่า ‘ขอเพื่อนจงมีชีวิตยืนนาน มีอายุยืนนาน’ กุลบุตรผู้อันเพื่อน
ชาวนา และเพื่อนร่วมงานอนุเคราะห์แล้ว พึงหวังได้ความเจริญ
อย่างเดียว ไม่มีความเสื่อมเลย
๔. กุลบุตรในโลกนี้สักการะ เคารพ นับถือ บูชาเทวดาผู้รับพลีกรรม
ด้วยโภคทรัพย์ที่หามาได้ด้วยความขยันหมั่นเพียร เก็บรวบรวม
ด้วยน้ำพักน้ำแรง อาบเหงื่อต่างน้ำ ประกอบด้วยธรรม ได้มาโดย
ธรรม เทวดาผู้รับพลีกรรม ได้รับสักการะ เคารพ นับถือ บูชาแล้ว
ย่อมอนุเคราะห์กุลบุตรนั้นด้วยน้ำใจอันงามว่า ‘ขอท่านจงมีชีวิต
ยืนนาน มีอายุยืนนาน’ กุลบุตรผู้อันเทวดาอนุเคราะห์แล้ว พึงหวัง
ได้ความเจริญอย่างเดียว ไม่มีความเสื่อมเลย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๑๐๖ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๑. นีวรณวรรค ๘. ลิจฉวิกุมารกสูตร
๕. กุลบุตรในโลกนี้สักการะ เคารพ นับถือ บูชาสมณพราหมณ์ด้วย
โภคทรัพย์ที่หามาได้ด้วยความขยันหมั่นเพียร เก็บรวบรวมด้วย
น้ำพักน้ำแรง อาบเหงื่อต่างน้ำ ประกอบด้วยธรรม ได้มาโดยธรรม
สมณพราหมณ์ผู้ได้รับสักการะ เคารพ นับถือ บูชาแล้ว ย่อม
อนุเคราะห์กุลบุตรนั้นด้วยน้ำใจอันงามว่า ‘ขอท่านจงมีชีวิตยืนนาน
มีอายุยืนนาน ‘กุลบุตรผู้อันสมณพราหมณ์อนุเคราะห์แล้ว พึงหวัง
ได้ความเจริญอย่างเดียว ไม่มีความเสื่อมเลย
มหานามะ กุลบุตรคนใด เป็นกษัตราธิราชผู้ได้รับมูรธาภิเษกแล้วก็ตาม เป็นผู้
ปกครองรัฐซึ่งรับมรดกจากบิดาก็ตาม เป็นอัครเสนาบดีก็ตาม เป็นผู้ใหญ่บ้านก็ตาม
เป็นหัวหน้าคณะก็ตาม เป็นใหญ่เฉพาะตระกูลก็ตาม มีธรรม ๕ ประการนี้ พึงหวัง
ได้ความเจริญอย่างเดียว ไม่มีความเสื่อมเลย
กุลบุตรผู้มีศีล รู้ความประสงค์ของผู้ขอ๑
ช่วยทำกิจของมารดาบิดา เกื้อกูลบุตร ภรรยา
ปฏิบัติเพื่อประโยชน์แก่คนทั้ง ๒ ฝ่าย
คือ ชนภายในและชนผู้อาศัยบุคคลนั้นอยู่
กุลบุตรผู้เป็นบัณฑิตเมื่ออยู่ครองเรือนโดยธรรม
ทำความยินดีให้เกิดขึ้นแก่ญาติทั้งที่ล่วงลับไปแล้ว
และที่ยังมีชีวิตอยู่ในปัจจุบัน
ยังความยินดีให้เกิดขึ้นแก่สมณพราหมณ์และเทวดา
กุลบุตรนั้น ครั้นบำเพ็ญกัลยาณธรรมแล้ว
เป็นผู้ควรบูชา เป็นผู้ควรสรรเสริญ
บัณฑิตทั้งหลายย่อมสรรเสริญเขาในโลกนี้
เขาตายไปแล้ว ย่อมบันเทิงในสวรรค์”
ลิจฉวิกุมารกสูตรที่ ๘ จบ

เชิงอรรถ :
๑ ดูเชิงอรรถที่ ๒ ข้อ ๓๖ (กาลทานสูตร) หน้า ๕๗ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๑๐๗ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๑. นีวรณวรรค ๙. ปฐมวุฑฒปัพพชิตสูตร
๙. ปฐมวุฑฒปัพพชิตสูตร
ว่าด้วยภิกษุผู้บวชเมื่อแก่ สูตรที่ ๑
[๕๙] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้บวชเมื่อแก่ ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ
หาได้ยาก
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุผู้บวชเมื่อแก่
๑. เป็นผู้ละเอียด หาได้ยาก
๒. เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยมารยาท๑หาได้ยาก
๓. เป็นพหูสูต หาได้ยาก
๔. เป็นธรรมกถึก๒ หาได้ยาก
๕. เป็นวินัยธร๓หาได้ยาก
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้บวชเมื่อแก่ ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล หาได้ยาก
ปฐมวุฑฒปัพพชิตสูตรที่ ๙ จบ

เชิงอรรถ :
๑ มารยาท (อากัปปะ) ในที่นี้หมายถึงมารยาทของสมณะ (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๕๙-๖๐/๓๒)
๒ ธรรมกถึก หมายถึงผู้แสดงธรรม (องฺ.เอกก.อ. ๑/๒๓๙/๓๑๘-๓๒๐, ๒๕๐/๓๓๙-๓๔๑)
๓ วินัยธร หมายถึงเป็นผู้ทรงจำพระวินัยปิฎก (องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๕๑/๑๓๐)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๑๐๘ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๑. นีวรณวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค
๑๐. ทุติยวุฑฒปัพพชิตสูตร
ว่าด้วยภิกษุผู้บวชเมื่อแก่ สูตรที่ ๒
[๖๐] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้บวชเมื่อแก่ ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ
หาได้ยาก
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุผู้บวชเมื่อแก่
๑. เป็นผู้ว่าง่าย หาได้ยาก
๒. เป็นผู้คงแก่เรียน หาได้ยาก
๓. เป็นผู้รับคำพร่ำสอนโดยเคารพ หาได้ยาก
๔. เป็นธรรมกถึก หาได้ยาก
๕. เป็นวินัยธร หาได้ยาก
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้บวชเมื่อแก่ ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล หาได้ยาก
ทุติยวุฑฒปัพพชิตสูตรที่ ๑๐ จบ
นีวรณวรรคที่ ๑ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. อาวรณสูตร ๒. อกุสลราสิสูตร
๓. ปธานิยังคสูตร ๔. สมยสูตร
๕. มาตาปุตตสูตร ๖. อุปัชฌายสูตร
๗. ฐานสูตร ๘. ลิจฉวิกุมารกสูตร
๙. ปฐมวุฑฒปัพพชิตสูตร ๑๐. ทุติยวุฑฒปัพพชิตสูตร


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๑๐๙ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๒. สัญญาวรรค ๑. ปฐมสัญญาสูตร
๒. สัญญาวรรค
หมวดว่าด้วยสัญญา
๑. ปฐมสัญญาสูตร๑
ว่าด้วยสัญญา สูตรที่ ๑
[๖๑] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย สัญญา ๕ ประการนี้ ที่บุคคล
เจริญทำให้มากแล้วย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่อมตะ๒ มีอมตะเป็นที่สุด
สัญญา ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. อนิจจสัญญา (กำหนดหมายความไม่เที่ยงแห่งสังขาร)
๒. อนัตตสัญญา (กำหนดหมายความเป็นอนัตตาแห่งธรรมทั้งปวง)
๓. มรณสัญญา (กำหนดหมายความตายที่จะต้องมาถึงเป็นธรรมดา)
๔. อาหาเร ปฏิกูลสัญญา (กำหนดหมายความปฏิกูลในอาหาร)
๕. สัพพโลเก อนภิรติสัญญา (กำหนดหมายความไม่น่าเพลิดเพลินใน
โลกทั้งปวง)
ภิกษุทั้งหลาย สัญญา ๕ ประการนี้แล ที่บุคคลเจริญทำให้มากแล้ว ย่อมมี
ผลมาก มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นที่สุด
ปฐมสัญญาสูตรที่ ๑ จบ

เชิงอรรถ :
๑ ดู องฺ.ทสก. (แปล) ๒๔/๕๗/๑๒๔
๒ อมตะ หมายถึงพระนิพพาน (องฺปญฺจก.อ. ๓/๖๑-๖๒/๓๓, องฺ.สตฺตก.อ. ๓/๔๘-๔๙/๑๘๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๑๑๐ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๒. สัญญาวรรค ๓. ปฐมวัฑฒิสูตร
๒. ทุติยสัญญาสูตร
ว่าด้วยสัญญา สูตรที่ ๒
[๖๒] ภิกษุทั้งหลาย สัญญา ๕ ประการนี้ ที่บุคคลเจริญทำให้มากแล้ว
ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นที่สุด
สัญญา ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. อนิจจสัญญา
๒. อนัตตสัญญา
๓. มรณสัญญา
๔. อาหาเร ปฏิกูลสัญญา
๕. สัพพโลเก อนภิรติสัญญา
ภิกษุทั้งหลาย สัญญา ๕ ประการนี้แล ที่บุคคลเจริญทำให้มากแล้ว ย่อมมี
ผลมาก มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นที่สุด
ทุติยสัญญาสูตรที่ ๒ จบ

๓. ปฐมวัฑฒิสูตร
ว่าด้วยธรรมเป็นเหตุเจริญ สูตรที่ ๑
[๖๓] ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกเมื่อเจริญด้วยธรรมเป็นเหตุเจริญ ๕ ประการ
ชื่อว่าย่อมเจริญด้วยธรรมเป็นเหตุเจริญอย่างประเสริฐ ชื่อว่าเป็นผู้ถือเอาสิ่งที่เป็น
สาระ และถือเอาสิ่งที่ประเสริฐแห่งกาย
ธรรมเป็นเหตุเจริญ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ศรัทธา (ความเชื่อ)
๒. ศีล (การรักษากาย วาจา ให้เรียบร้อย)
๓. สุตะ (การสดับฟังหาความรู้)
๔. จาคะ (การเสียสละ)
๕. ปัญญา (ความรอบรู้)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๑๑๑ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๒. สัญญาวรรค ๔. ทุติยวัฑฒิสูตร
ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกเมื่อเจริญด้วยธรรมเป็นเหตุเจริญ ๕ ประการนี้แล
ชื่อว่าย่อมเจริญด้วยธรรมเป็นเหตุเจริญอย่างประเสริฐ ชื่อว่าเป็นผู้ถือเอาแต่สิ่งที่เป็น
สาระ และถือเอาสิ่งที่ประเสริฐแห่งกาย
อริยสาวกใด เจริญด้วยศรัทธา
ศีล สุตะ จาคะ และปัญญา
อริยสาวกนั้น เป็นสัตบุรุษ
มีปัญญาเห็นประจักษ์
ชื่อว่าถือเอาแต่สิ่งที่เป็นสาระสำหรับตนไว้ได้
ในโลกนี้ทีเดียว
ปฐมวัฑฒิสูตรที่ ๓ จบ

๔. ทุติยวัฑฒิสูตร
ว่าด้วยธรรมเป็นเหตุเจริญ สูตรที่ ๒
[๖๔] ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวิกาเมื่อเจริญด้วยธรรมเป็นเหตุเจริญ ๕ ประการ
ชื่อว่าย่อมเจริญด้วยธรรมเป็นเหตุเจริญอย่างประเสริฐ ชื่อว่าเป็นผู้ถือเอาสิ่งที่เป็นสาระ
และถือเอาสิ่งที่ประเสริฐแห่งกาย
ธรรมเป็นเหตุเจริญ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ศรัทธา ๒. ศีล
๓. สุตะ ๔. จาคะ
๕. ปัญญา
ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวิกาเมื่อเจริญด้วยธรรมเป็นเหตุเจริญ ๕ ประการนี้แล
ชื่อว่าย่อมเจริญด้วยธรรมเป็นเหตุเจริญอย่างประเสริฐ ชื่อว่าเป็นผู้ถือเอาสิ่งที่เป็น
สาระ และถือเอาสิ่งที่ประเสริฐแห่งกาย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๑๑๒ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๒. สัญญาวรรค ๕. สากัจฉสูตร
อริยสาวิกาใด เจริญด้วยศรัทธา
ศีล สุตะ จาคะ และปัญญา
อริยสาวิกานั้น เป็นผู้มีศีล เป็นอุบาสิกา
ชื่อว่าถือเอาสิ่งที่เป็นสาระสำหรับตนไว้ได้
ในโลกนี้ทีเดียว
ทุติยวัฑฒิสูตรที่ ๔ จบ

๕. สากัจฉสูตร
ว่าด้วยภิกษุผู้ควรสนทนาด้วย
[๖๕] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ เป็นผู้สมควร
ที่เพื่อนพรหมจารีทั้งหลายจะสนทนาด้วย
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. ตนเองเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีล และตอบปัญหาที่มาในเรื่องสีลสัมปทาได้
๒. ตนเองเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยสมาธิ และตอบปัญหาที่มาในเรื่องสมาธิ-
สัมปทาได้
๓. ตนเองเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยปัญญา และตอบปัญหาที่มาในเรื่องปัญญา-
สัมปทาได้
๔. ตนเองเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิมุตติ และตอบปัญหาที่มาในเรื่องวิมุตติ-
สัมปทาได้
๕. ตนเองเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิมุตติญาณทัสสนะ และตอบปัญหาที่มา
ในเรื่องวิมุตติญาณทัสสนสัมปทาได้
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล เป็นผู้สมควรที่
เพื่อนพรหมจารีทั้งหลายจะสนทนาด้วย
สากัจฉสูตรที่ ๕ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๑๑๓ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๒. สัญญาวรรค ๖. สาชีวสูตร
๖. สาชีวสูตร
ว่าด้วยภิกษุผู้ควรแก่สาชีพ๑
[๖๖] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ เป็นผู้ควรแก่
สาชีพของเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. ตนเองเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีล และตอบปัญหาที่ตั้งขึ้นถามในเรื่อง
สีลสัมปทาได้
๒. ตนเองเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยสมาธิ และตอบปัญหาที่ตั้งขึ้นถามในเรื่อง
สมาธิสัมปทาได้
๓. ตนเองเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยปัญญา และตอบปัญหาที่ตั้งขึ้นถามในเรื่อง
ปัญญาสัมปทาได้
๔. ตนเองเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิมุตติ และตอบปัญหาที่ตั้งขึ้นถามใน
เรื่องวิมุตติสัมปทาได้
๕. ตนเองเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิมุตติญาณทัสสนะ และตอบปัญหาที่ตั้ง
ขึ้นถามในเรื่องวิมุตติญาณทัสสนสัมปทาได้
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล เป็นผู้ควรแก่สาชีพ
ของเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย
สาชีวสูตรที่ ๖ จบ

เชิงอรรถ :
๑ สาชีพ ในที่นี้หมายถึงการถามปัญหา และการตอบปัญหา เพราะเพื่อนพรหมจารีทั้งหลายจะอยู่ร่วมกันได้
ก็ด้วยอาศัยความเอื้อเฟื้อเกื้อกูลกันมีข้อสงสัยก็ถามกัน แก้ปัญหาให้กัน (องฺ.ปญฺจก.อ.๓/๖๖/๓๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๑๑๔ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๒. สัญญาวรรค ๗. ปฐมอิทธิปาทสูตร
๗. ปฐมอิทธิปาทสูตร
ว่าด้วยอิทธิบาท สูตรที่ ๑
[๖๗] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุหรือภิกษุณีรูปใดรูปหนึ่งเจริญทำให้มากซึ่งธรรม
๕ ประการ ภิกษุหรือภิกษุณีรูปนั้นพึงหวังได้ผลอย่าง ๑ ใน ๒ อย่าง คือ อรหัตตผล
ในปัจจุบัน หรือเมื่อยังมีอุปาทานเหลืออยู่ ก็จักเป็นอนาคามี
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญ
๑. อิทธิบาทที่ประกอบด้วยฉันทสมาธิและปธานสังขาร๑
๒. อิทธิบาทที่ประกอบด้วยวิริยสมาธิและปธานสังขาร
๓. อิทธิบาทที่ประกอบด้วยจิตตสมาธิและปธานสังขาร
๔. อิทธิบาทที่ประกอบด้วยวีมังสาสมาธิและปธานสังขาร
๕. ความขะมักเขม้น๒
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุหรือภิกษุณีรูปใดรูปหนึ่งเจริญทำให้มากซึ่งธรรม ๕ ประการ
นี้แล ภิกษุหรือภิกษุณีรูปนั้นพึงหวังได้ผลอย่าง ๑ ใน ๒ อย่าง คือ อรหัตตผลใน
ปัจจุบัน หรือเมื่อยังมีอุปาทานเหลืออยู่ ก็จักเป็นอนาคามี
ปฐมอิทธิปาทสูตรที่ ๗ จบ

เชิงอรรถ :
๑ ฉันทสมาธิ หมายถึงสมาธิที่เกิดจากฉันทะ
ปธานสังขาร หมายถึงความเพียรที่มุ่งมั่น วิริยสมาธิ จิตตสมาธิและวีมังสาสมาธิ ก็มีอรรถาธิบายเช่นเดียวกัน
เป็นทั้งโลกิยะและโลกุตตระ (องฺ.เอกก.อ. ๑/๓๘๙-๔๐๑/๔๔๕)
๒ ความขะมักเขม้น (อุสฺโสฬฺหิ) หมายถึงอธิมัตตวิริยะ (ความเพียรชั้นสูง) (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๖๗-๗๐/๓๓)
และดู องฺ.จตุกฺก. (แปล) ๒๑/๙๓/๑๔๑

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๑๑๕ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๒. สัญญาวรรค ๘. ทุติยอิทธิปาทสูตร
๘. ทุติยอิทธิปาทสูตร
ว่าด้วยอิทธิบาท สูตรที่ ๒
[๖๘] ภิกษุทั้งหลาย ก่อนจะตรัสรู้ เราเป็นพระโพธิสัตว์ ยังไม่ได้ตรัสรู้
ได้เจริญทำให้มากซึ่งธรรม ๕ ประการ
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
เราได้เจริญ
๑. อิทธิบาทที่ประกอบด้วยฉันทสมาธิและปธานสังขาร
๒. อิทธิบาทที่ประกอบด้วยวิริยสมาธิและปธานสังขาร
๓. อิทธิบาทที่ประกอบด้วยจิตตสมาธิและปธานสังขาร
๔. อิทธิบาทที่ประกอบด้วยวีมังสาสมาธิและปธานสังขาร
๕. ความขะมักเขม้น
ภิกษุทั้งหลาย เพราะได้เจริญทำให้มากซึ่งธรรมมีความขะมักเขม้นเป็นที่ ๕ นี้
เราจึงได้น้อมจิตไปเพื่อทำให้แจ้งธรรมที่จะพึงทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งใดๆเมื่อมีเหตุ๑
เราจึงบรรลุความเป็นผู้เหมาะสมที่จะประจักษ์ชัดในธรรมนั้น ๆ
ถ้าเรานั้นพึงหวังว่า ‘เราพึงแสดงฤทธิ์ได้หลายอย่าง คือ คนเดียวแสดงเป็น
หลายคนก็ได้ ฯลฯ๒ ใช้อำนาจทางกายไปจนถึงพรหมโลกก็ได้’ เมื่อมีเหตุ เราจึง
บรรลุความเป็นผู้เหมาะสมที่จะประจักษ์ชัดในธรรมนั้น ๆ
ถ้าเรานั้นพึงหวังว่า ฯลฯ เราพึงทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันไม่มี
อาสวะ เพราะอาสวะสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน เมื่อมีเหตุ เรา
จึงบรรลุความเป็นผู้เหมาะสมที่จะประจักษ์ชัดในธรรมนั้น ๆ๓
ทุติยอิทธิปาทสูตรที่ ๘ จบ

เชิงอรรถ :
๑ ดูเชิงอรรถที่ ๑ ข้อ ๒๓ (อุปกิเลสสูตร) หน้า ๒๘ ในเล่มนี้
๒ “ฯลฯ” ที่ปรากฏในสูตรนี้ ดูความเต็มในข้อ ๒๓ (อุปกิเลสสูตร) หน้า ๒๘-๓๐ ในเล่มนี้
๓ ในสูตรนี้นอกจากพระองค์จะทรงแสดงอิทธิบาทที่เป็นเหตุให้พระองค์บรรลุปฏิเวธที่ควงไม้โพธิ์แล้ว ยังได้
ทรงแสดงอภิญญา ๔ ประการที่พระองค์บรรลุ เพิ่มเติมอีกด้วย (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๖๗-๗๐/๓๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๑๑๖ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๒. สัญญาวรรค ๙. นิพพิทาสูตร
๙. นิพพิทาสูตร๑
ว่าด้วยความเบื่อหน่าย
[๖๙] ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการนี้ ที่บุคคลเจริญทำให้มากแล้ว
ย่อมเป็นไปเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับ เพื่อสงบระงับ เพื่อรู้ยิ่ง
เพื่อตรัสรู้ เพื่อนิพพาน โดยส่วนเดียว
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. พิจารณาเห็นความไม่งามในกายอยู่
๒. กำหนดหมายความปฏิกูลในอาหาร
๓. กำหนดหมายความไม่น่าเพลิดเพลินในโลกทั้งปวง
๔. พิจารณาเห็นความไม่เที่ยงในสังขารทั้งปวง
๕. เข้าไปตั้งมรณสัญญาไว้ในภายใน
ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการนี้แล ที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็น
ไปเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับ เพื่อสงบระงับ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้
เพื่อนิพพาน โดยส่วนเดียว
นิพพิทาสูตรที่ ๙ จบ

เชิงอรรถ :
๑ นิพพิทาสูตร และอาสวักขยสูตร นี้ พระผู้มีพระภาคตรัสมุ่งถึงวิปัสสนากัมมัฏฐาน (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๖๗-
๗๐/๓๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๑๑๗ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๒. สัญญาวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค
๑๐. อาสวักขยสูตร
ว่าด้วยธรรมที่ทำให้สิ้นอาสวะ
[๗๐] ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการนี้ ที่บุคคลเจริญทำให้มากแล้ว
ย่อมเป็นไปเพื่อความสิ้นอาสวะทั้งหลาย
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. พิจารณาเห็นความไม่งามในกายอยู่
๒. กำหนดหมายความปฏิกูลในอาหาร
๓. กำหนดความไม่น่าเพลิดเพลินในโลกทั้งปวง
๔. พิจารณาเห็นความไม่เที่ยงในสังขารทั้งปวง
๕. เข้าไปตั้งมรณสัญญาไว้ในภายใน
ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการนี้แล ที่บุคคลเจริญทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไป
เพื่อความสิ้นอาสวะทั้งหลาย
อาสวักขยสูตรที่ ๑๐ จบ
สัญญาวรรคที่ ๒ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. ปฐมสัญญาสูตร ๒. ทุติยสัญญาสูตร
๓. ปฐมวัฑฒิสูตร ๔. ทุติยวัฑฒิสูตร
๕. สากัจฉสูตร ๖. สาชีวสูตร
๗. ปฐมอิทธิปาทสูตร ๘. ทุติยอิทธิปาทสูตร
๙. นิพพิทาสูตร ๑๐. อาสวักขยสูตร


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๑๑๘ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๓. โยธาชีวรรค ๑. ปฐมเจโตวิมุตติผลสูตร
๓. โยธาชีววรรค
หมวดว่าด้วยนักรบอาชีพ

๑. ปฐมเจโตวิมุตติผลสูตร
ว่าด้วยธรรมมีเจโตวิมุตติเป็นผล สูตรที่ ๑
[๗๑] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการนี้ ที่บุคคล
เจริญทำให้มากแล้ว ย่อมมีเจโตวิมุตติเป็นผล มีเจโตวิมุตติเป็นผลานิสงส์ ย่อมมี
ปัญญาวิมุตติเป็นผล มีปัญญาวิมุตติเป็นผลานิสงส์
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. พิจารณาเห็นความไม่งามในกายอยู่
๒. กำหนดหมายความปฏิกูลในอาหาร
๓. กำหนดความไม่น่าเพลิดเพลินในโลกทั้งปวง
๔. พิจารณาเห็นความไม่เที่ยงในสังขารทั้งปวง
๕. เข้าไปตั้งมรณสัญญาไว้ในภายใน
ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการนี้แล ที่บุคคลเจริญทำให้มากแล้ว ย่อมมี
เจโตวิมุตติเป็นผล มีเจโตวิมุตติเป็นผลานิสงส์ ย่อมมีปัญญาวิมุตติเป็นผล
มีปัญญาวิมุตติเป็นผลานิสงส์
เมื่อใด ภิกษุมีเจโตวิมุตติ และปัญญาวิมุตติ เมื่อนั้น ภิกษุนี้เราเรียกว่า
‘เป็นผู้ถอนลิ่มสลักขึ้นได้’ บ้าง ว่า ‘เป็นผู้รื้อเครื่องแวดล้อมได้’ บ้าง ว่า ‘เป็นผู้ถอน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๑๑๙ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๓. โยธาชีวรรค ๑. ปฐมเจโตวิมุตติผลสูตร
เสาระเนียดขึ้นได้’ บ้าง ว่า ‘เป็นผู้ถอดกลอนออกได้’ บ้าง ว่า ‘เป็นผู้ไกลจากข้าศึก
ปลดธงลงได้ ปลงภาระลงได้๑ ไม่ประกอบด้วยวัฏฏะ’ บ้าง
ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้ถอนลิ่มสลักขึ้นได้ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นผู้ละอวิชชาได้หมดสิ้น ตัดรากถอนโคน เหมือน
ต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้วเหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ ภิกษุ
ชื่อว่าเป็นผู้ถอนลิ่มสลักขึ้นได้ เป็นอย่างนี้แล
ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้รื้อเครื่องแวดล้อมได้ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นผู้ละชาติสงสารซึ่งเป็นเหตุให้เกิดในภพใหม่ได้หมดสิ้น
ตัดรากถอนโคน เหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้วเหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี
เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้รื้อเครื่องแวดล้อมได้ เป็นอย่างนี้แล
ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้ถอนเสาระเนียดขึ้นได้ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นผู้ละตัณหาได้หมดสิ้น ตัดรากถอนโคน เหมือน
ต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้วเหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ ภิกษุ
ชื่อว่าเป็นผู้ถอนเสาระเนียดขึ้นได้ เป็นอย่างนี้แล
ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้ถอดกลอนออกได้ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นผู้ละโอรัมภาคิยสังโยชน์ (สังโยชน์เบื้องต่ำ) ๕
ประการได้หมดสิ้น ตัดรากถอนโคน เหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว
เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้ถอดกลอนออกได้
เป็นอย่างนี้แล

เชิงอรรถ :
๑ ธง ในที่นี้หมายถึงมานะ(ความถือตัว) ภาระ ในที่นี้หมายถึงขันธมาร(มารคือขันธ์ ๕) อภิสังขารมาร(มารคือ
อภิสังขาร = เครื่องปรุงแต่งกรรม) และกิเลสมาร(มารคือกิเลส) (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๗๑/๓๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๑๒๐ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๓. โยธาชีวรรค ๒. ทุติยเจโตวิมุตติผลสูตร
ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้ไกลจากข้าศึก ปลดธงลงได้ ปลงภาระลงได้ ไม่ประกอบ
ด้วยวัฏฏะ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นผู้ละอัสมิมานะ๑ได้หมดสิ้น ตัดรากถอนโคน
เหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้วเหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไป
ไม่ได้ ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้ไกลจากข้าศึก ปลดธงลงได้ ปลงภาระลงได้
ไม่ประกอบด้วยวัฏฏะ เป็นอย่างนี้แล
ปฐมเจโตวิมุตติผลสูตรที่ ๑ จบ

๒. ทุติยเจโตวิมุตติผลสูตร
ว่าด้วยธรรมมีเจโตวิมุตติเป็นผล สูตรที่ ๒
[๗๒] ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการนี้ ที่บุคคลเจริญทำให้มากแล้ว
ย่อมมีเจโตวิมุตติเป็นผล มีเจโตวิมุตติเป็นผลานิสงส์ ย่อมมีปัญญาวิมุตติเป็นผล
มีปัญญาวิมุตติเป็นผลานิสงส์
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. อนิจจสัญญา (กำหนดหมายความไม่เที่ยงแห่งสังขาร)
๒. อนิจเจ ทุกขสัญญา (กำหนดหมายความเป็นทุกข์ในความไม่เที่ยง
แห่งสังขาร)
๓. ทุกเข อนัตตสัญญา (กำหนดหมายความเป็นอนัตตาในความเป็นทุกข์)

เชิงอรรถ :
๑ อัสมิมานะ หมายถึงความถือตัวว่าเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ มี ๙ ประการ คือ (๑) เป็นผู้เลิศกว่าเขาถือตัวว่า
เลิศกว่าเขา (๒) เป็นผู้เลิศกว่าเขาถือตัวว่าเสมอเขา (๓) เป็นผู้เลิศว่าเขาถือตัวว่าด้อยกว่าเขา (๔) เป็นผู้
เสมอเขาถือตัวว่าเลิศกว่าเขา (๕) เป็นผู้เสมอเขาถือตัวว่าเสมอเขา (๖) เป็นผู้เสมอเขาถือตัวว่าด้อยกว่าเขา
(๗) เป็นผู้ด้อยกว่าเขาถือตัวว่าเลิศกว่าเขา (๘) เป็นผู้ด้อยกว่าเขาถือตัวว่าเสมอเขา (๙) เป็นผู้ด้อยกว่า
เขาถือตัวว่าด้อยกว่าเขา (ตามนัย องฺ.เอกก.อ. ๑/๕๗๔/๔๗๓) และดู ขุ.ม. (แปล) ๒๙/๑๗๘/๕๐๘, อภิ.วิ.
(แปล) ๓๕/๙๖๒/๖๑๖-๖๑๗
แต่ในที่นี้หมายถึงความสำคัญ ความพอใจ ความเข้าใจว่า รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ
เป็น ‘เรา’ (องฺ.ปญฺจก.ฏีกา ๓/๗๑-๗๒/๓๔) และดู อภิ.วิ. (แปล) ๓๕/๘๘๓/๕๕๙

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๑๒๑ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๓. โยธาชีวรรค ๒. ทุติยเจโตวิมูตติผลสูตร
๔. ปหานสัญญา(กำหนดหมายเพื่อละอกุศลวิตกและบาปธรรมทั้งหลาย)
๕. วิราคสัญญา (กำหนดหมายวิราคะว่าเป็นธรรมละเอียดประณีต)
ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการนี้แล ที่บุคคลเจริญทำให้มากแล้ว ย่อมมี
เจโตวิมุตติเป็นผล มีเจโตวิมุตติเป็นผลานิสงส์ ย่อมมีปัญญาวิมุตติเป็นผล มีปัญญา-
วิมุตติเป็นผลานิสงส์
เมื่อใด ภิกษุมีเจโตวิมุตติ และปัญญาวิมุตติ เมื่อนั้น ภิกษุนี้เราเรียกว่า ‘เป็นผู้
ถอนลิ่มสลักขึ้นได้’ บ้าง ว่า ‘เป็นผู้รื้อเครื่องแวดล้อมได้’ บ้าง ว่า ‘เป็นผู้ถอนเสาระ
เนียดขึ้นได้’ บ้าง ว่า ‘เป็นผู้ถอดกลอนออกได้’ บ้าง ว่า ‘เป็นผู้ไกลจากข้าศึก
ปลดธงลงได้ ปลงภาระลงได้ ไม่ประกอบด้วยวัฏฏะ’ บ้าง
ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้ถอนลิ่มสลักขึ้นได้ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นผู้ละอวิชชาได้หมดสิ้น ตัดรากถอนโคน เหมือน
ต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้วเหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ ภิกษุ
ชื่อว่าเป็นผู้ถอนลิ่มสลักขึ้นได้ เป็นอย่างนี้แล
ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้รื้อเครื่องแวดล้อมได้ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นผู้ละชาติสงสารซึ่งเป็นเหตุให้เกิดในภพใหม่ได้หมดสิ้น
ตัดรากถอนโคน เหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้วเหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี
เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้รื้อเครื่องแวดล้อมได้ เป็นอย่างนี้แล
ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้ถอนเสาระเนียดขึ้นได้ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นผู้ละตัณหาได้หมดสิ้น ตัดรากถอนโคน เหมือน
ต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้วเหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ ภิกษุ
ชื่อว่าเป็นผู้ถอนเสาระเนียดขึ้นได้ เป็นอย่างนี้แล
ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้ถอดกลอนออกได้ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นผู้ละโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการได้หมดสิ้น
ตัดรากถอนโคน เหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้วเหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี
เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้ถอดกลอนออกได้ เป็นอย่างนี้แล

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๑๒๒ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๓. โยธาชีวรรค ๓. ปฐมธัมมวิหารีสูตร
ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้ไกลจากข้าศึก ปลดธงลงได้ ปลงภาระลงได้ ไม่ประกอบ
ด้วยวัฏฏะ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นผู้ละอัสมิมานะได้หมดสิ้น ตัดรากถอนโคน เหมือน
ต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้วเหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ ภิกษุ
ทั้งหลาย ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้ไกลจากข้าศึก ปลดธงลงได้ ปลงภาระลงได้ ไม่ประกอบ
ด้วยวัฏฏะ เป็นอย่างนี้แล
ทุติยเจโตวิมุตติผลสูตรที่ ๒ จบ

๓. ปฐมธัมมวิหารีสูตร
ว่าด้วยบุคคลผู้อยู่ด้วยธรรม สูตรที่ ๑
[๗๓] ครั้งนั้น ภิกษุรูปหนึ่ง เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวาย
อภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระองค์ตรัสว่า ‘ผู้อยู่ด้วยธรรม ผู้อยู่ด้วยธรรม’ ภิกษุ
ชื่อว่าเป็นผู้อยู่ด้วยธรรม ด้วยเหตุเท่าไรหนอ
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
๑. ภิกษุในธรรมวินัยนี้เรียนธรรม คือ สุตตะ เคยยะ เวยยากรณะ คาถา
อุทาน อิติวุตตกะ ชาตกะ อัพภูตธรรม และเวทัลละ เธอปล่อยให้
วันคืนล่วงเลยไป ละการหลีกเร้นอยู่ ไม่ประกอบความสงบใจภายใน
เพราะการเรียนธรรมนั้น ภิกษุนี้เราเรียกว่าเป็นผู้มากด้วยการเรียน
ธรรม ไม่เรียกว่าเป็นผู้อยู่ด้วยธรรม
๒. ภิกษุในธรรมวินัยนี้แสดงธรรมตามที่ตนได้สดับมา ตามที่ตนได้
เรียนมาแก่ผู้อื่นโดยพิสดาร เธอปล่อยให้วันคืนล่วงเลยไป ละการ
หลีกเร้นอยู่ ไม่ประกอบความสงบใจภายใน เพราะการแสดงธรรมนั้น
ภิกษุนี้เราเรียกว่าเป็นผู้มากด้วยการแสดงธรรม ไม่เรียกว่าเป็นผู้อยู่
ด้วยธรรม

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๑๒๓ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๓. โยธาชีวรรค ๓. ปฐมธัมมวิหารีสูตร
๓. ภิกษุในธรรมวินัยนี้สาธยายธรรมตามที่ตนได้สดับมา ตามที่ตนได้
เรียนมา แก่ผู้อื่นโดยพิสดาร เธอปล่อยให้วันคืนล่วงเลยไป ละการ
หลีกเร้นอยู่ ไม่ประกอบความสงบใจภายใน เพราะการสาธยายธรรมนั้น
ภิกษุนี้เราเรียกว่าเป็นผู้มากด้วยการสาธยายธรรม ไม่เรียกว่าเป็นผู้
อยู่ด้วยธรรม
๔. ภิกษุในธรรมวินัยนี้ตรึกตาม ตรองตาม เพ่งตามด้วยใจซึ่งธรรม
ตามที่ตนได้สดับมา ตามที่ตนได้เรียนมา เธอปล่อยให้วันคืนล่วง
เลยไป ละการหลีกเร้นอยู่ ไม่ประกอบความสงบใจภายใน เพราะ
การตรึกตามธรรมนั้น ภิกษุนี้เราเรียกว่าเป็นผู้มากด้วยการตรึกธรรม
ไม่เรียกว่าเป็นผู้อยู่ด้วยธรรม
๕. ภิกษุในธรรมวินัยนี้เรียนธรรม คือ สุตตะ เคยยะ เวยยากรณะ คาถา
อุทาน อิติวุตตกะ ชาตกะ อัพภูตธรรม และเวทัลละ เธอไม่ปล่อย
ให้วันคืนล่วงเลยไป ไม่ละการหลีกเร้นอยู่ ตามประกอบความสงบใจ
ภายใน เพราะการเรียนธรรมนั้น ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้อยู่ด้วยธรรม
อย่างนี้แล
เราแสดงภิกษุผู้มากด้วยการเรียนธรรม ผู้มากด้วยการแสดงธรรม ผู้มากด้วย
การสาธยายธรรม ผู้มากด้วยการตรึกธรรม ผู้อยู่ด้วยธรรม ด้วยประการฉะนี้แล ภิกษุ
กิจใดที่ศาสดาผู้หวังประโยชน์เกื้อกูล อนุเคราะห์ อาศัยความเอ็นดู พึงทำแก่สาวก
ทั้งหลาย กิจนั้น เราได้ทำแล้วแก่เธอทั้งหลาย ภิกษุ นั่นโคนไม้ นั่นเรือนว่าง๑ เธอจง
เพ่ง๒ อย่าประมาท อย่าเป็นผู้มีวิปปฏิสาร(ความร้อนใจ)ในภายหลังเลย นี้เป็น
อนุสาสนีของเราเพื่อเธอทั้งหลาย
ปฐมธัมมวิหารีสูตรที่ ๓ จบ

เชิงอรรถ :
๑ คำว่า นั่นโคนไม้ นั่นเรือนว่าง นี้ พระผู้มีพระภาคตรัสมอบมรดก คือเสนาสนะ หรือสถานที่ที่สงัด
ปราศจากคน เหมาะแก่การบำเพ็ญความเพียรแก่ภิกษุ (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๗๓/๓๖)
๒ เพ่ง ในที่นี้หมายถึงเจริญสมถกัมมัฏฐานโดยเพ่งอารมณ์กัมมัฏฐาน ๓๘ ประการ และเจริญวิปัสสนากัมมัฏฐาน
โดยเพ่งขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ เป็นต้น ว่าเป็นสภาวะไม่เที่ยง เป็นต้น (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๗๓/๓๖)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๑๒๔ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๓. โยธาชีวรรค ๔. ปฐมธัมมวิหารีสูตร
๔. ทุติยธัมมวิหารีสูตร
ว่าด้วยบุคคลผู้อยู่ด้วยธรรม สูตรที่ ๒
[๗๔] ครั้งนั้น ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวาย
อภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระองค์ตรัสว่า ‘ผู้อยู่ด้วยธรรม ผู้อยู่ด้วยธรรม’ ภิกษุ
ชื่อว่าเป็นผู้อยู่ด้วยธรรม ด้วยเหตุเท่าไรหนอ
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
๑. ภิกษุในธรรมวินัยนี้เรียนธรรม คือ สุตตะ เคยยะ เวยยากรณะ คาถา
อุทาน อิติวุตตกะ ชาตกะ อัพภูตธรรม และเวทัลละ เธอย่อมไม่
ทราบเนื้อความของธรรมนั้นที่ยิ่งขึ้นไปด้วยปัญญา ภิกษุนี้เราเรียก
ว่าเป็นผู้มากด้วยการเรียนธรรม ไม่เรียกว่าเป็นผู้อยู่ด้วยธรรม
ฯลฯ๑
๕. ภิกษุในธรรมวินัยนี้เรียนธรรม คือ สุตตะ เคยยะ เวยยากรณะ คาถา
อุทาน อิติวุตตกะ ชาตกะ อัพภูตธรรม และเวทัลละ เธอทราบ
เนื้อความของธรรมนั้นที่ยิ่งขึ้นไปด้วยปัญญา ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้อยู่
ด้วยธรรม อย่างนี้แล
ภิกษุ ฯลฯ นี้เป็นอนุสาสนีของเราเพื่อเธอทั้งหลาย
ทุติยธัมมวิหารีสูตรที่ ๔ จบ

เชิงอรรถ :
๑ ดูความเต็มในข้อ ๗๓ (ปฐมธัมมวิหารีสูตร)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๑๒๕ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๓. โยธาชีวรรค ๕. ปฐมโยธาชีวสูตร
๕. ปฐมโยธาชีวสูตร
ว่าด้วยนักรบอาชีพ สูตรที่ ๑
[๗๕] ภิกษุทั้งหลาย นักรบอาชีพ ๕ จำพวกนี้ มีปรากฏอยู่ในโลก
นักรบอาชีพ ๕ จำพวกไหนบ้าง คือ
๑. นักรบอาชีพบางคนในโลกนี้ พอเห็นฝุ่นฟุ้งขึ้นเท่านั้น ก็หยุดนิ่ง
หวั่นไหว ไม่สามารถเข้าสู่สมรภูมิได้ นักรบอาชีพบางคนแม้เช่นนี้
ก็มีอยู่ในโลกนี้ นี้คือนักรบอาชีพจำพวกที่ ๑ ซึ่งมีปรากฏอยู่ในโลก
๒. นักรบอาชีพบางคนในโลกนี้ แม้เห็นฝุ่นฟุ้งขึ้นก็อดทนได้ แต่พอ
เห็นยอดธงของข้าศึกเท่านั้นก็หยุดนิ่ง หวั่นไหว ไม่สามารถเข้าสู่
สมรภูมิได้ นักรบอาชีพบางคนแม้เช่นนี้ก็มีอยู่ในโลกนี้ นี้คือนัก
รบอาชีพจำพวกที่ ๒ ซึ่งมีปรากฏอยู่ในโลก
๓. นักรบอาชีพบางคนในโลกนี้ แม้เห็นฝุ่นฟุ้งขึ้นก็อดทนได้ แม้เห็น
ยอดธงของข้าศึกก็อดทนได้ แต่พอได้ยินเสียงกึกก้องของข้าศึก
เท่านั้น ก็หยุดนิ่ง หวั่นไหว ไม่สามารถเข้าสู่สมรภูมิได้ นักรบ
อาชีพบางคนแม้เช่นนี้ก็มีอยู่ในโลกนี้ นี้คือนักรบอาชีพจำพวกที่ ๓
ซึ่งมีปรากฏอยู่ในโลก
๔. นักรบอาชีพบางคนในโลกนี้ แม้เห็นฝุ่นฟุ้งขึ้นก็อดทนได้ แม้
เห็นยอดธงของข้าศึกก็อดทนได้ แม้ได้ยินเสียงกึกก้องของข้าศึกก็
อดทนได้ แต่หวาดสะดุ้งต่อการประหารของข้าศึก นักรบอาชีพ
บางคน แม้เช่นนี้ ก็มีอยู่ในโลกนี้ นี้คือนักรบอาชีพจำพวกที่ ๔
ซึ่งมีปรากฏอยู่ในโลก
๕. นักรบอาชีพบางคนในโลกนี้ แม้เห็นฝุ่นฟุ้งขึ้นก็อดทนได้ แม้เห็นยอด
ธงของข้าศึกก็อดทนได้ แม้ได้ยินเสียงกึกก้องของข้าศึกก็อดทนได้
อดทนต่อการประหารของข้าศึกได้ เขาชนะสงครามนั้นแล้ว เป็นผู้
พิชิตสงคราม ยึดครองค่ายสงครามนั้นไว้ได้ นักรบอาชีพบางคน
แม้เช่นนี้ก็มีอยู่ในโลกนี้ นี้คือนักรบอาชีพจำพวกที่ ๕ ซึ่งมีปรากฏ
อยู่ในโลก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๑๒๖ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๓. โยธาชีวรรค ๕. ปฐมโยธาชีวสูตร
ภิกษุทั้งหลาย นักรบอาชีพ ๕ จำพวกนี้แล มีปรากฏอยู่ในโลก ฉันใด
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้เปรียบด้วยนักรบอาชีพ ๕ จำพวกนี้ มีปรากฏอยู่ใน
ภิกษุทั้งหลายก็ฉันนั้นเหมือนกัน
บุคคลผู้เปรียบด้วยนักรบอาชีพ ๕ จำพวกไหนบ้าง คือ
๑. ภิกษุในธรรมวินัยนี้พอเห็นฝุ่นฟุ้งขึ้นเท่านั้น ก็หยุดนิ่ง๑ หวั่นไหว
ไม่สามารถสืบต่อพรหมจรรย์ได้ เปิดเผยความท้อแท้ในสิกขา
บอกคืนสิกขากลับมาเป็นคฤหัสถ์ อะไรชื่อว่าฝุ่นฟุ้งขึ้นสำหรับเธอ
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ได้ฟังว่า ในบ้านหรือนิคมโน้น มีหญิงหรือ
หญิงสาวรูปงาม น่าดู น่าเลื่อมใส มีฉวีวรรณผุดผ่องยิ่งนัก เธอได้
ฟังดังนั้นแล้ว ก็หยุดนิ่ง หวั่นไหว ไม่สามารถสืบต่อพรหมจรรย์ได้
เปิดเผยความท้อแท้ในสิกขา บอกคืนสิกขากลับมาเป็นคฤหัสถ์
นี้ชื่อว่าฝุ่นฟุ้งขึ้นสำหรับเธอ
เรากล่าวว่า ภิกษุนี้เปรียบเหมือนนักรบอาชีพที่พอเห็นฝุ่นฟุ้งขึ้นเท่านั้น ก็หยุดนิ่ง
หวั่นไหว ไม่สามารถเข้าสู่สมรภูมิได้ บุคคลบางคนแม้เช่นนี้ก็มีอยู่ในธรรมวินัยนี้ นี้คือ
บุคคลผู้เปรียบด้วยนักรบอาชีพจำพวกที่ ๑ ซึ่งมีปรากฏอยู่ในภิกษุทั้งหลาย
๒. ภิกษุในธรรมวินัยนี้แม้เห็นฝุ่นฟุ้งขึ้นก็อดทนได้ แต่พอเห็นยอดธง
ของข้าศึกเท่านั้น ก็หยุดนิ่ง หวั่นไหว ไม่สามารถสืบต่อพรหมจรรย์ได้
เปิดเผยความท้อแท้ในสิกขา บอกคืนสิกขากลับมาเป็นคฤหัสถ์
อะไรชื่อว่ายอดธงของข้าศึกสำหรับเธอ คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
ไม่ได้ฟังว่า ในบ้านหรือนิคมชื่อโน้น มีหญิงหรือหญิงสาวรูปงาม
น่าดู น่าเลื่อมใส มีฉวีวรรณผุดผ่องยิ่งนัก แต่เธอได้เห็นด้วยตนเอง
ครั้นเห็นแล้ว ก็หยุดนิ่ง หวั่นไหว ไม่สามารถสืบต่อพรหมจรรย์ได้
เปิดเผยความท้อแท้ในสิกขา บอกคืนสิกขากลับมาเป็นคฤหัสถ์
นี้ชื่อว่ายอดธงข้าศึกสำหรับเธอ

เชิงอรรถ :
๑ หยุดนิ่ง ในที่นี้หมายถึงจมดิ่งในมิจฉาวิตก(ความตรึกผิด) (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๗๕/๓๗) และดู องฺ.ติก. (แปล)
๒๐/๑๒๕/๓๗๒

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๑๒๗ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๓. โยธาชีวรรค ๕. ปฐมโยธาชีวสูตร
เรากล่าวว่าภิกษุนี้เปรียบเหมือนนักรบอาชีพที่เห็นฝุ่นฟุ้งขึ้นก็อดทนได้ แต่พอ
เห็นยอดธงของข้าศึกเท่านั้น ก็หยุดนิ่ง หวั่นไหว ไม่สามารถเข้าสู่สมรภูมิได้ บุคคล
บางคนแม้เช่นนี้ก็มีอยู่ในธรรมวินัยนี้ นี้คือบุคคลผู้เปรียบด้วยนักรบอาชีพจำพวก
ที่ ๒ ซึ่งมีปรากฏอยู่ในภิกษุทั้งหลาย
๓. ภิกษุในธรรมวินัยนี้แม้เห็นฝุ่นฟุ้งขึ้นก็อดทนได้ แม้เห็นยอดธงของ
ข้าศึกก็อดทนได้ แต่พอได้ยินเสียงกึกก้องของข้าศึกเท่านั้น ก็หยุดนิ่ง
หวั่นไหว ไม่สามารถสืบต่อพรหมจรรย์ได้ เปิดเผยความท้อแท้ใน
สิกขา บอกคืนสิกขากลับมาเป็นคฤหัสถ์ อะไรชื่อว่าเสียงกึกก้อง
ของข้าศึกสำหรับเธอ คือ มาตุคามเข้าไปหาภิกษุในธรรมวินัยนี้
ผู้ไปสู่ป่า ไปสู่โคนไม้ หรือไปสู่เรือนว่าง แล้วยิ้มแย้ม ปราศรัย
กระซิกกระซี้ ยั่วยวน เธอถูกมาตุคามยิ้มแย้ม ปราศรัย กระซิก-
กระซี้ ยั่วยวนอยู่ ก็หยุดนิ่ง หวั่นไหว ไม่สามารถสืบต่อพรหมจรรย์ได้
เปิดเผยความท้อแท้ในสิกขา บอกคืนสิกขากลับมาเป็นคฤหัสถ์ นี้
ชื่อว่าเสียงกึกก้องของข้าศึกสำหรับเธอ
เรากล่าวว่าภิกษุนี้เปรียบเหมือนนักรบอาชีพที่แม้เห็นฝุ่นฟุ้งขึ้นก็อดทนได้ แม้เห็น
ยอดธงของข้าศึกก็อดทนได้ แต่พอได้ยินเสียงกึกก้องของข้าศึกเท่านั้น ก็หยุดนิ่ง
หวั่นไหว ไม่สามารถเข้าสู่สมรภูมิได้ บุคคลบางคนแม้เช่นนี้ก็มีอยู่ในธรมวินัยนี้
นี้คือบุคคลผู้เปรียบด้วยนักรบอาชีพจำพวกที่ ๓ ซึ่งมีปรากฏอยู่ในภิกษุทั้งหลาย
๔. ภิกษุในธรรมวินัยนี้แม้เห็นฝุ่นฟุ้งขึ้นก็อดทนได้ แม้เห็นยอดธงของ
ข้าศึกก็อดทนได้ แม้ได้ยินเสียงกึกก้องของข้าศึกก็อดทนได้ แต่
หวาดสะดุ้งต่อการประหารของข้าศึก อะไรชื่อว่าการประหารสำหรับ
ข้าศึกของเธอ คือ มาตุคามเข้าไปหาภิกษุในธรรมวินัยนี้ผู้ไปสู่ป่า
ไปสู่โคนไม้ หรือไปสู่เรือนว่าง แล้วนั่งทับ๑ นอนทับ ข่มขืน เธอถูก
มาตุคามนั่งทับ นอนทับ ข่มขืนอยู่ ไม่บอกคืนสิกขา ไม่เปิดเผย

เชิงอรรถ :
๑ นั่งทับ ในที่นี้หมายถึงใช้ทวารหนักและทวารเบานั่งทับองคชาตของภิกษุ อรรถกถาอธิบายว่า อิตฺถิยา
วจฺจมคฺเคน ตสฺส ภิกฺขุโน องฺคชาตํ อภินิสีเทนฺติ แปลว่า ให้องคชาตของภิกษุนั้นสอดเข้าไปทางทวารหนัก
ของหญิง (วิ.อ.๑/๕๘/๒๘๐) และดู วิ.มหา. (แปล) ๑/๕๘-๕๙/๔๕-๔๗

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๑๒๘ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๓. โยธาชีวรรค ๕. ปฐมโยธาชีวสูตร
ความท้อแท้๑ เสพเมถุนธรรม๒ นี้ชื่อว่าการประหารของข้าศึก
สำหรับเธอ
เรากล่าวว่าภิกษุนี้เปรียบเหมือนนักรบอาชีพที่แม้เห็นฝุ่นฟุ้งขึ้นก็อดทนได้ แม้
เห็นยอดธงของข้าศึกก็อดทนได้ แม้ได้ยินเสียงกึกก้องของข้าศึกก็อดทนได้ แต่หวาด
สะดุ้งต่อการประหารของข้าศึก บุคคลบางคนแม้เช่นนี้ก็มีอยู่ในธรรมวินัยนี้ นี้คือ
บุคคลผู้เปรียบด้วยนักรบอาชีพจำพวกที่ ๔ ซึ่งมีปรากฏอยู่ในภิกษุทั้งหลาย
๕. ภิกษุในธรรมวินัยนี้แม้เห็นฝุ่นฟุ้งขึ้นก็อดทนได้ แม้เห็นยอดธงของ
ข้าศึกก็อดทนได้ แม้ได้ยินเสียงกึกก้องของข้าศึกก็อดทนได้ อดทน
ต่อการประหารของข้าศึกได้ ชนะสงครามแล้ว เป็นผู้พิชิตสงคราม
ยึดค่ายสงครามนั้นไว้ได้ อะไรชื่อว่าชัยชนะในสงครามสำหรับเธอ
คือ มาตุคามเข้าไปหาภิกษุในธรรมวินัยนี้ผู้ไปสู่ป่า ไปสู่โคนไม้ หรือ
ไปสู่เรือนว่าง แล้วนั่งทับ นอนทับ ข่มขืน เธอถูกมาตุคามนั่งทับ
นอนทับ ข่มขืนอยู่ ไม่พัวพัน แต่ปลดเปลื้อง หลีกออกได้ แล้วหลีก
ไปตามความประสงค์ เธอพักอยู่ ณ เสนาสนะอันเงียบสงัด คือ ป่า
โคนไม้ ภูเขา ซอกเขา ถ้ำ ป่าช้า ป่าทึบ๓ ที่แจ้ง ลอมฟาง เธอไปสู่ป่า
ไปสู่โคนไม้ หรือไปสู่เรือนว่าง นั่งคู้บัลลังก์๔ ตั้งกายตรง ดำรง
สติไว้เฉพาะหน้า๕ ละอภิชฌา(ความเพ่งเล็งอยากได้ของเขา)ในโลก๖
มีใจปราศจากอภิชฌาอยู่ ชำระจิตให้บริสุทธิ์จากอภิชฌา ละความ
มุ่งร้ายคือพยาบาท มีจิตไม่พยาบาท มุ่งประโยชน์เกื้อกูลสรรพสัตว์
อยู่ ชำระจิตให้บริสุทธิ์จากความมุ่งร้ายคือพยาบาท ละถีนมิทธะ
(ความหดหู่และความเซื่องซึม) ปราศจากถีนมิทธะ กำหนด

เชิงอรรถ :
๑ ดูเชิงอรรถที่ ๑ ข้อ ๕๕ (มาตาปุตตสูตร) หน้า ๙๕ ในเล่มนี้
๒ ดูเชิงอรรถที่ ๒ ข้อ ๕๕ (มาตาปุตตสูตร) หน้า ๙๕ ในเล่มนี้
๓ ป่าทึบ หมายถึงป่าที่ไม่มีผู้คนอยู่อาศัย เลยเขตหมู่บ้านไป (องฺ.ทุก.อ. ๒/๓๑/๓๐)
๔ นั่งคู้บัลลังก์ หมายถึงนั่งพับขาเข้าหากันทั้ง ๒ ข้าง เรียกว่า นั่งขัดสมาธิ (วิ.อ. ๑/๑๖๕/๔๔๕)
๕ ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า หมายถึงตั้งสติกำหนดอารมณ์กัมมัฏฐาน (วิ.อ. ๑/๑๖๕/๔๔๕)
๖ โลก ในที่นี้หมายถึงสภาวะที่ต้องแตกสลาย กล่าวคือ อุปาทานขันธ์ ๕ ได้แก่ ความถือมั่นรูป เวทนา
สัญญา สังขาร และวิญญาณ ว่าเป็นอัตตาอันเป็นเหตุให้เกิดทุกข์ (ที.สี.อ. ๒๑๗/๑๙๐)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๑๒๙ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๓. โยธาชีวรรค ๕. ปฐมโยธาชีวสูตร
แสงสว่าง มีสติสัมปชัญญะอยู่ ชำระจิตให้บริสุทธิ์จากถีนมิทธะ
ละอุทธัจจกุกกุจจะ(ความฟุ้งซ่านและรำคาญใจ) เป็นผู้ไม่ฟุ้งซ่าน
มีจิตสงบภายใน ชำระจิตให้บริสุทธิ์จากอุทธัจจกุกกุจจะ ละวิจิกิจฉา
(ความลังเลสงสัย) ข้ามพ้นวิจิกิจฉาได้แล้ว ไม่มีวิจิกิจฉาในกุศลธรรมอยู่
ชำระจิตให้บริสุทธิ์จากวิจิกิจฉา เธอละนิวรณ์ ๕ ประการนี้ ซึ่งเป็น
เครื่องเศร้าหมองใจ ทอนกำลังปัญญาแล้ว สงัดจากกาม ฯลฯ
บรรลุจตุตถฌานที่ไม่มีทุกข์ไม่มีสุขมีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขาอยู่
เมื่อจิตเป็นสมาธิบริสุทธิ์ผุดผ่อง ไม่มีกิเลสเพียงดังเนิน๑ปราศจาก
ความเศร้าหมอง อ่อน เหมาะแก่การใช้งาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว
อย่างนี้ เธอน้อมจิตไปเพื่ออาสวักขยญาณ รู้ชัดตามความเป็นจริง
ว่า ‘นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา’
เมื่อเธอรู้ เห็นอยู่อย่างนี้ จิตย่อมหลุดพ้นจากกามาสวะ ภวาสวะ
และอวิชชาสวะ เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว ก็รู้ว่า ‘หลุดพ้นแล้ว’ รู้ชัดว่า
‘ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว๒ ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว
ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป’ นี้ชื่อว่าชัยชนะในสงคราม
สำหรับเธอ
เรากล่าวว่าภิกษุนี้เปรียบเหมือนนักรบอาชีพที่แม้เห็นฝุ่นฟุ้งขึ้นก็อดทนได้ แม้เห็น
ยอดธงของข้าศึกก็อดทนได้ แม้ได้ยินเสียงกึกก้องของข้าศึกก็อดทนได้ อดทนต่อการ
ประหารของข้าศึกได้ เขาชนะสงครามนั้นแล้ว เป็นผู้พิชิตสงคราม ยึดค่ายสงคราม
นั้นไว้ได้ บุคคลบางคนแม้เช่นนี้ก็มีอยู่ในธรรมวินัยนี้ นี้คือบุคคลผู้เปรียบด้วยนักรบ
อาชีพจำพวกที่ ๕ ซึ่งมีปรากฏอยู่ในภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้เปรียบด้วยนักรบอาชีพ ๕ จำพวกนี้แล มีปรากฏอยู่ใน
ภิกษุทั้งหลาย
ปฐมโยธาชีวสูตรที่ ๕ จบ

เชิงอรรถ :
๑ กิเลส คือ ราคะ โทสะ และโมหะ ท่านเรียกว่ากิเลสเพียงดังเนิน (อังคณะ) เพราะยังจิตให้ลาดต่ำโน้มเอียง
ไปสู่ที่ต่ำเช่น ต้องย้อนกลับไปสู่จตุตถฌานอีกเป็นต้น ดู อภิ.วิ. (แปล) ๓๕/๙๒๔/๕๗๘
๒ อยู่จบพรหมจรรย์ หมายถึงกิจแห่งการปฏิบัติเพื่อทำลายอาสวกิเลสจบสิ้นสมบูรณ์แล้ว ไม่มีกิจที่จะต้องทำ
เพื่อตนเอง แต่ยังมีหน้าที่เพื่อผู้อื่นอยู่ ผู้บรรลุถึงขั้นนี้ ได้ชื่อว่า อเสขบุคคล (เทียบ ที.สี.อ. ๒๔๘/๒๐๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๑๓๐ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๓. โยธาชีวรรค ๖. ทุติยโยธาชีวสูตร
๖. ทุติยโยธาชีวสูตร
ว่าด้วยนักรบอาชีพ สูตรที่ ๒
[๗๖] ภิกษุทั้งหลาย นักรบอาชีพ ๕ จำพวกนี้ มีปรากฏอยู่ในโลก
นักรบอาชีพ ๕ จำพวกไหนบ้าง คือ
๑. นักรบอาชีพบางคนในโลกนี้ถือดาบและโล่ ผูกสอดธนูและแล่งแล้ว
เข้าสู่สมรภูมิ เขาขะมักเขม้นพยายามรบในสมรภูมินั้น พวกข้าศึก
ฆ่าเขาตายทำลายเขาได้ นักรบอาชีพบางคนแม้เช่นนี้ ก็มีอยู่ใน
โลกนี้ นี้คือนักรบอาชีพจำพวกที่ ๑ ซึ่งมีปรากฏอยู่ในโลก
๒. นักรบอาชีพบางคนในโลกนี้ถือดาบและโล่ ผูกสอดธนูและแล่งแล้ว
เข้าสู่สมรภูมิ เขาขะมักเขม้นพยายามรบในสมรภูมินั้น พวกข้าศึก
ทำร้ายเขาให้บาดเจ็บ พวกของเขานำเขาออกมาส่งให้ถึงหมู่ญาติ
เขากำลังถูกนำไปอยู่ ยังไม่ทันถึงหมู่ญาติ ก็เสียชีวิตในระหว่างทาง
นักรบอาชีพบางคนแม้เช่นนี้ก็มีอยู่ในโลกนี้ นี้คือนักรบอาชีพจำพวก
ที่ ๒ ซึ่งมีปรากฏอยู่ในโลก
๓. นักรบอาชีพบางคนในโลกนี้ถือดาบและโล่ ผูกสอดธนูและแล่งแล้ว
เข้าสู่สมรภูมิ เขาขะมักเขม้นพยายามรบในสมรภูมินั้น พวกข้าศึก
ทำร้ายเขาให้บาดเจ็บ พวกของเขานำเขาออกมาส่งให้ถึงหมู่ญาติ
หมู่ญาติย่อมพยาบาลรักษา เขาอันหมู่ญาติพยาบาลรักษาอยู่
แต่เสียชีวิตด้วยอาการบาดเจ็บนั้นนั่นเอง นักรบอาชีพบางคนแม้
เช่นนี้ก็มีอยู่ในโลกนี้ นี้เป็นนักรบอาชีพจำพวกที่ ๓ ซึ่งมีปรากฏ
อยู่ในโลก
๔. นักรบอาชีพบางคนในโลกนี้ถือดาบและโล่ ผูกสอดธนูและแล่งแล้ว
เข้าสู่สมรภูมิ เขาขะมักเขม้นพยายามรบในสมรภูมินั้น พวกข้าศึก
ทำร้ายเขาให้บาดเจ็บ พวกของเขานำเขาออกมาส่งให้ถึงหมู่ญาติ
หมู่ญาติพยาบาลรักษา เขาอันหมู่ญาติพยาบาลรักษาอยู่ก็หายจาก
อาการบาดเจ็บนั้น นักรบอาชีพบางคนแม้เช่นนี้ ก็มีอยู่ในโลกนี้ นี้เป็น
นักรบอาชีพจำพวกที่ ๔ ซึ่งมีปรากฏอยู่ในโลก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๑๓๑ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๓. โยธาชีวรรค ๖. ทุติยโยธาชีวสูตร
๕. นักรบอาชีพบางคนในโลกนี้ถือดาบและโล่ ผูกสอดธนูและแล่งแล้ว
เข้าสู่สมรภูมิ เขาชนะสงครามนั้นแล้ว เป็นผู้พิชิตสงคราม ยึดค่าย
สงครามนั้นไว้ได้ นักรบอาชีพบางคนแม้เช่นนี้ก็มีอยู่ในโลกนี้ นี้เป็น
นักรบอาชีพจำพวกที่ ๕ ซึ่งมีปรากฏอยู่ในโลก
ภิกษุทั้งหลาย นักรบอาชีพ ๕ จำพวกนี้แล มีปรากฏอยู่ในโลก ฉันใด
บุคคลผู้เปรียบด้วยนักรบอาชีพ ๕ จำพวกนี้ มีปรากฏอยู่ในภิกษุทั้งหลาย
ฉันนั้นเหมือนกัน
บุคคลผู้เปรียบด้วยนักรบอาชีพ ๕ จำพวกไหนบ้าง คือ
๑. ภิกษุในธรรมวินัยนี้เข้าไปอาศัยหมู่บ้านหรือนิคมบางแห่งอยู่ เวลา
เช้า เธอครองอันตรวาสก ถือบาตรและจีวร เข้าไปยังหมู่บ้านหรือ
นิคมนั้นเพื่อบิณฑบาต ไม่รักษากาย ไม่รักษาวาจา ไม่รักษาจิต
มีสติไม่ตั้งมั่น ไม่สำรวมอินทรีย์ เธอได้เห็นมาตุคามนุ่งห่มไม่
เรียบร้อยในหมู่บ้านหรือในนิคมนั้น เพราะเห็นมาตุคามนุ่งห่มไม่
เรียบร้อยนั้น ราคะ(ความกำหนัด) จึงรบกวนจิตของเธอ เธอถูก
ราคะรบกวนจิตแล้ว ไม่บอกคืนสิกขา ไม่เปิดเผยความท้อแท้ เสพ
เมถุนธรรม
เรากล่าวว่าภิกษุนี้เปรียบเหมือนนักรบอาชีพนั้นถือดาบและโล่ ผูกสอดธนูและ
แล่งแล้วเข้าสู่สมรภูมิ เขาขะมักเขม้นพยายามรบในสมรภูมินั้น พวกข้าศึกฆ่าเขาตาย
ทำลายเขาได้ บุคคลบางคนแม้เช่นนี้ก็มีปรากฏอยู่ในธรรมวินัยนี้ นี้คือบุคคลผู้
เปรียบด้วยนักรบอาชีพจำพวกที่ ๑ ซึ่งมีปรากฏอยู่ในภิกษุทั้งหลาย
๒. ภิกษุในธรรมวินัยนี้เข้าไปอาศัยหมู่บ้านหรือนิคมบางแห่งอยู่ เวลาเช้า
เธอครองอันตรวาสก ถือบาตรและจีวรเข้าไปยังหมู่บ้านหรือนิคมนั้น
เพื่อบิณฑบาต ไม่รักษากาย ไม่รักษาวาจา ไม่รักษาจิต มีสติไม่
ตั้งมั่น ไม่สำรวมอินทรีย์ เธอได้เห็นมาตุคามนุ่งห่มไม่เรียบร้อย ใน
หมู่บ้านหรือในนิคมนั้น เพราะเห็นมาตุคามนุ่งห่มไม่เรียบร้อยนั้น
ราคะจึงรบกวนจิตของเธอ เธอถูกราคะรบกวนจิตแล้วจึงมีกายเร่าร้อน
มีใจเร่าร้อน มีความคิดอย่างนี้ว่า “ทางที่ดี เราควรจะไปอาราม

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๑๓๒ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๓. โยธาชีวรรค ๖. ทุติยโยธาชีวสูตร
บอกพวกภิกษุว่า ‘ผู้มีอายุ ผมถูกราคะกลุ้มรุม ถูกราคะครอบงำแล้ว
ไม่สามารถสืบต่อพรหมจรรย์ได้ จักเปิดเผยความท้อแท้ในสิกขา
บอกคืนสิกขากลับมาเป็นคฤหัสถ์” เธอกำลังเดินไปยังอาราม ยัง
ไม่ทันถึงอาราม ก็เปิดเผยความท้อแท้ในสิกขา บอกคืนสิกขากลับ
มาเป็นคฤหัสถ์ในระหว่างทาง
เรากล่าวว่าภิกษุนี้เปรียบเหมือนนักรบอาชีพนั้นถือดาบและโล่ ผูกสอดธนู
และแล่งแล้วเข้าสู่สมรภูมิ เขาขะมักเขม้นพยายามรบในสมรภูมินั้น พวกข้าศึก
ทำร้ายเขาให้บาดเจ็บ พวกของเขานำเขาออกมาส่งให้ถึงหมู่ญาติ เขากำลังถูกนำ
ไปอยู่ ยังไม่ทันถึงหมู่ญาติ ก็เสียชีวิตในระหว่างทาง บุคคลบางคนแม้เช่นนี้ก็มี
ปรากฏอยู่ในธรรมวินัยนี้ นี้คือบุคคลผู้เปรียบด้วยนักรบอาชีพจำพวกที่ ๒ ซึ่งมี
ปรากฏอยู่ในภิกษุทั้งหลาย
๓. ภิกษุในธรรมวินัยนี้เข้าไปอาศัยหมู่บ้านหรือนิคมบางแห่งอยู่ เวลา
เช้า เธอครองอันตรวาสก ถือบาตรและจีวรเข้าไปยังหมู่บ้านหรือ
นิคมนั้นเพื่อบิณฑบาต ไม่รักษากาย ไม่รักษาวาจา ไม่รักษาจิต
มีสติไม่ตั้งมั่น ไม่สำรวมอินทรีย์ เธอได้เห็นมาตุคามนุ่งห่มไม่
เรียบร้อยในหมู่บ้านหรือในนิคมนั้น เพราะเห็นมาตุคามนุ่งห่มไม่
เรียบร้อยนั้น ราคะจึงรบกวนจิตของเธอ เธอถูกราคะรบกวนจิตแล้ว
จึงมีกายเร่าร้อน มีใจเร่าร้อน มีความคิดอย่างนี้ว่า “ทางที่ดี
เราควรจะไปยังอารามบอกพวกภิกษุว่า ‘ผู้มีอายุ ผมถูกราคะ
กลุ้มรุม ถูกราคะครอบงำแล้ว ไม่สามารถสืบต่อพรหมจรรย์ได้
จักเปิดเผยความท้อแท้ในสิกขา บอกคืนสิกขากลับมาเป็นคฤหัสถ์”
เธอจึงไปยังอารามแล้วบอกพวกภิกษุว่า “ผู้มีอายุ ผมถูกราคะ
กลุ้มรุม ถูกราคะครอบงำแล้ว ไม่สามารถสืบต่อพรหมจรรย์ได้
จักเปิดเผยความท้อแท้ในสิกขา บอกคืนสิกขากลับมาเป็นคฤหัสถ์”
เพื่อนพรหมจารีทั้งหลายจึงกล่าวสอนพร่ำสอนเธอว่า “ผู้มีอายุ
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๑๓๓ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๓. โยธาชีวรรค ๖. ทุติยโยธาชีวสูตร
กามทั้งหลาย๑มีความยินดีน้อย มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก
มีโทษยิ่งใหญ่
กามทั้งหลายเปรียบเหมือนร่างโครงกระดูก มีทุกข์มาก มีความ
คับแค้นมาก มีโทษยิ่งใหญ่
กามทั้งหลายเปรียบเหมือนชิ้นเนื้อ มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก
มีโทษยิ่งใหญ่
กามทั้งหลายเปรียบเหมือนคบเพลิงหญ้า มีทุกข์มาก มีความ
คับแค้นมาก มีโทษยิ่งใหญ่
กามทั้งหลายเปรียบเหมือนหลุมถ่านเพลิง มีทุกข์มาก มีความ
คับแค้นมาก มีโทษยิ่งใหญ่
กามทั้งหลายเปรียบเหมือนความฝัน มีทุกข์มาก มีความคับ
แค้นมาก มีโทษยิ่งใหญ่
กามทั้งหลายเปรียบเหมือนของที่ขอยืมมา มีทุกข์มาก มีความ
คับแค้นมาก มีโทษยิ่งใหญ่
กามทั้งหลายเปรียบเหมือนผลไม้คาต้น มีทุกข์มาก มีความคับ
แค้นมาก มีโทษยิ่งใหญ่
กามทั้งหลายเปรียบเหมือนเขียงหั่นเนื้อ มีทุกข์มาก มีความ
คับแค้นมาก มีโทษยิ่งใหญ่
กามทั้งหลายเปรียบเหมือนหอกหลาว มีทุกข์มาก มีความคับ
แค้นมาก มีโทษยิ่งใหญ่
กามทั้งหลายเปรียบเหมือนหัวงู มีความยินดีน้อย มีทุกข์มาก
มีความคับแค้นมาก มีโทษยิ่งใหญ่
ขอผู้มีอายุจงยินดีในพรหมจรรย์ อย่าเปิดเผยความท้อแท้ในสิกขา
บอกคืนสิกขากลับมาป็นคฤหัสถ์เลย"
เธออันเพื่อนพรหมจารีทั้งหลายกล่าวสอนพร่ำสอนอยู่อย่างนี้
จึงกล่าวอย่างนี้ว่า “ผู้มีอายุทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคตรัสว่า

เชิงอรรถ :
๑ ดู วิ.มหา. (แปล) ๒/๔๑๗/๓๐๖-๓๐๗, ขุ.ม. (แปล) ๒๙/๓/๗-๘, ขุ.จู.(แปล) ๓๐/๑๔๗/๔๖๙-๔๗๐

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๑๓๔ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๓. โยธาชีวรรค ๖. ทุติยโยธาชีวสูตร
กามทั้งหลาย มีความยินดีน้อย มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก
มีโทษยิ่งใหญ่ก็จริง ถึงกระนั้น ผมไม่สามารถสืบต่อพรหมจรรย์ได้
จักเปิดเผยความท้อแท้ในสิกขา บอกคืนสิกขากลับมาเป็นคฤหัสถ์”
เธอจึงเปิดเผยความท้อแท้ในสิกขา บอกคืนสิกขากลับมาเป็นคฤหัสถ์
เรากล่าวว่าภิกษุนี้เปรียบเหมือนนักรบอาชีพนั้นถือดาบและโล่ ผูกสอดธนูและ
แล่งแล้วเข้าสู่สมรภูมิ เขาขะมักเขม้นพยายามรบในสมรภูมินั้น พวกข้าศึกทำร้ายเขา
ให้บาดเจ็บ พวกของเขานำเขามาส่งให้ถึงหมู่ญาติ หมู่ญาติย่อมพยาบาลรักษาเขา
เขาอันหมู่ญาติพยาบาลรักษาอยู่ ก็เสียชีวิตด้วยอาการบาดเจ็บนั้นนั่นเอง บุคคล
บางคนแม้เช่นนี้ก็มีอยู่ในธรรมวินัยนี้ นี้คือบุคคลผู้เปรียบด้วยนักรบอาชีพจำพวกที่ ๓
ซึ่งมีปรากฏอยู่ในภิกษุทั้งหลาย
๔. ภิกษุในธรรมวินัยนี้เข้าไปอาศัยหมู่บ้านหรือนิคมบางแห่งอยู่ เวลา
เช้า เธอครองอันตรวาสก ถือบาตรและจีวรเข้าไปยังหมู่บ้านหรือ
นิคมนั้นเพื่อบิณฑบาต ไม่รักษากาย ไม่รักษาวาจา ไม่รักษาจิต
มีสติไม่ตั้งมั่น ไม่สำรวมอินทรีย์ เธอได้เห็นมาตุคามนุ่งห่มไม่
เรียบร้อย ในหมู่บ้านหรือในนิคมนั้น เพราะเห็นมาตุคามนุ่งห่มไม่
เรียบร้อยนั้น ราคะจึงรบกวนจิตของเธอ เธอถูกราคะรบกวนจิตแล้ว
จึงมีกายเร่าร้อน มีใจเร่าร้อน มีความคิดอย่างนี้ว่า “ทางที่ดี
เราควรจะไปยังอารามบอกพวกภิกษุว่า ‘ผู้มีอายุ ผมถูกราคะ
กลุ้มรุมแล้ว ถูกราคะครอบงำแล้ว ไม่สามารถสืบต่อพรหมจรรย์ได้
จักเปิดเผยความท้อแท้ในสิกขา บอกคืนสิกขากลับมาเป็นคฤหัสถ์”
เธอจึงไปยังอารามแล้ว บอกพวกภิกษุว่า “ผู้มีอายุ ผมถูกราคะ
กลุ้มรุม ถูกราคะครอบงำแล้ว ไม่สามารถสืบต่อพรหมจรรย์ได้
จักเปิดเผยความท้อแท้ในสิกขา บอกคืนสิกขากลับมาเป็นคฤหัสถ์”
เพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย จึงกล่าวสอน พร่ำสอนเธอว่า “ผู้มี
อายุ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
กามทั้งหลายมีความยินดีน้อย มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก
มีโทษยิ่งใหญ่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๑๓๕ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๓. โยธาชีวรรค ๖. ทุติยโยธาชีวสูตร
กามทั้งหลายเปรียบเหมือนร่างโครงกระดูก มีทุกข์มาก มีความ
คับแค้นมาก มีโทษยิ่งใหญ่
กามทั้งหลายเปรียบเหมือนชิ้นเนื้อ ฯลฯ
กามทั้งหลายเปรียบเหมือนคบเพลิงหญ้า ฯลฯ
กามทั้งหลายเปรียบเหมือนหลุมถ่านเพลิง ฯลฯ
กามทั้งหลายเปรียบเหมือนความฝัน ฯลฯ
กามทั้งหลายเปรียบเหมือนของที่ขอยืมมา ฯลฯ
กามทั้งหลายเปรียบเหมือนผลไม้คาต้น ฯลฯ
กามทั้งหลายเปรียบเหมือนเขียงหั่นเนื้อ ฯลฯ
กามทั้งหลายเปรียบเหมือนหอกหลาว ฯลฯ
กามทั้งหลายเปรียบเหมือนหัวงู มีความยินดีน้อย มีทุกข์มาก
มีความคับแค้นมาก มีโทษยิ่งใหญ่
ขอผู้มีอายุจงยินดีในพรหมจรรย์เถิด อย่าเปิดเผยความท้อแท้
ในสิกขา บอกคืนสิกขากลับมาเป็นคฤหัสถ์เลย” เธออันเพื่อน
พรหมจารีทั้งหลายกล่าวสอนพร่ำสอนอยู่อย่างนี้ จึงกล่าวอย่างนี้
ว่า “ผู้มีอายุทั้งหลาย ผมจักขะมักเขม้นเพียรพยายามอย่างดียิ่ง
จักไม่เปิดเผยความท้อแท้ในสิกขา ไม่บอกคืนสิกขากลับมาเป็น
คฤหัสถ์อีก”
เรากล่าวว่าภิกษุนี้เปรียบเหมือนนักรบอาชีพนั้นถือดาบและโล่ ผูกสอดธนูและ
แล่งแล้วเข้าสู่สมรภูมิ เขาขะมักเขม้นพยายามรบในสมรภูมินั้น พวกข้าศึกทำร้าย
เขาให้บาดเจ็บ พวกของเขานำเขามาส่งให้ถึงหมู่ญาติ หมู่ญาติพยาบาลรักษาเขา
เขาอันหมู่ญาติพยาบาลรักษาอยู่ก็หายจากอาการบาดเจ็บนั้น บุคคลบางคนแม้
เช่นนี้ก็มีอยู่ในธรรมวินัยนี้ นี้คือบุคคลผู้เปรียบด้วยนักรบอาชีพจำพวกที่ ๔ ซึ่งมี
ปรากฏอยู่ในภิกษุทั้งหลาย
๕. ภิกษุในธรรมวินัยนี้เข้าไปอาศัยหมู่บ้านหรือนิคมบางแห่งอยู่ เวลา
เช้า เธอครองอันตรวาสก ถือบาตรและจีวรเข้าไปยังหมู่บ้านหรือ
นิคมนั้นเพื่อบิณฑบาต รักษากาย รักษาวาจา รักษาจิต มีสติตั้งมั่น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๑๓๖ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๓. โยธาชีวรรค ๖. ทุติยโยธาชีวสูตร
สำรวมอินทรีย์ เธอเห็นรูปทางตาแล้วไม่รวบถือไม่แยกถือปฏิบัติ
เพื่อสำรวมในจักขุนทรีย์ ซึ่งเมื่อไม่สำรวมแล้วก็จะเป็นเหตุให้บาป
อกุศลธรรมคืออภิชฌาและโทมนัสครอบงำได้ จึงรักษาจักขุนทรีย์
ถึงความสำรวมในจักขุนทรีย์ ฟังเสียงทางหู ฯลฯ ดมกลิ่นทาง
จมูก ฯลฯ ลิ้มรสทางลิ้น ฯลฯ ถูกต้องโผฏฐัพพะทางกาย ฯลฯ
รู้แจ้งธรรมารมณ์ทางใจแล้ว ไม่รวบถือ ไม่แยกถือ ปฏิบัติเพื่อ
สำรวมในมนินทรีย์ ซึ่งเมื่อไม่สำรวมแล้วก็จะเป็นเหตุให้บาปอกุศล
ธรรม คืออภิชฌาและโทมนัสครอบงำได้ จึงรักษามนินทรีย์
ถึงความสำรวมในมนินทรีย์ เธอกลับจากบิณฑบาต หลังจากฉัน
อาหารเสร็จแล้ว พักอยู่ ณ เสนาสนะอันเงียบสงัด คือ ป่า โคนไม้
ภูเขา ซอกเขา ถ้ำ ป่าช้า ป่าทึบ ที่แจ้ง ลอมฟาง เธอไปสู่ป่า ไปสู่
โคนไม้ หรือไปสู่เรือนว่าง นั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง ดำรงสติไว้
เฉพาะหน้า เธอละอภิชฌาในโลกได้แล้ว ฯลฯ ละนิวรณ์ ๕
ประการนี้ ซึ่งเป็นเครื่องเศร้าหมองใจ ทอนกำลังปัญญาแล้ว
สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุจตุตถฌานที่ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข มีสติ
บริสุทธิ์เพราะอุเบกขาอยู่
เมื่อจิตเป็นสมาธิบริสุทธิ์ผุดผ่อง ไม่มีกิเลสเพียงดังเนิน
ปราศจากความเศร้าหมอง อ่อน เหมาะแก่การใช้งาน ตั้งมั่น
ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ เธอน้อมจิตไปเพื่ออาสวักขยญาณ รู้ชัด
ตามความเป็นจริงว่า ‘นี้ทุกข์ ฯลฯ๑ ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้
อีกต่อไป”
เรากล่าวว่าภิกษุนี้เปรียบเหมือนนักรบอาชีพนั้นถือดาบและโล่
ผูกสอดธนูและแล่งแล้วเข้าสู่สมรภูมิ เขาชนะสงครามนั้นแล้ว เป็น

เชิงอรรถ :
๑ ดูความเต็มในข้อ ๗๕ (ปฐมโยธาชีวสูตร) หน้า ๑๓๐ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๑๓๗ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๓. โยธาชีวรรค ๗. ปฐมอนาคตภยสูตร
ผู้พิชิตสงคราม ยึดค่ายสงครามนั้นไว้ได้ บุคคลบางคนแม้เช่นนี้ก็มี
อยู่ในธรรมวินัยนี้ นี้คือบุคคลผู้เปรียบด้วยนักรบอาชีพจำพวกที่ ๕
ซึ่งมีปรากฏอยู่ในภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้เปรียบด้วยนักรบอาชีพ ๕ จำพวกนี้ มีปรากฏอยู่ใน
ภิกษุทั้งหลาย
ทุติยโยธาชีวสูตรที่ ๖ จบ

๗. ปฐมอนาคตภยสูตร
ว่าด้วยภัยในอนาคต สูตรที่ ๑
[๗๗] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้อยู่ป่า เมื่อพิจารณาเห็นภัยในอนาคต ๕
ประการนี้ ไม่ควรเป็นผู้ประมาท มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่ เพื่อถึงธรรม
ที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ได้ทำให้แจ้ง
ภัยในอนาคต ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ภิกษุในธรรมวินัยนี้อยู่ป่าพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ‘บัดนี้ เราอยู่ในป่า
ผู้เดียว งูพึงกัดเราก็ได้ แมงป่องพึงต่อยเราก็ได้ หรือตะขาบพึงกัด
เราก็ได้ เพราะเหตุนั้น เราพึงตาย เราพึงมีอันตราย๑นั้น เอาเถอะ
เราจะปรารภความเพียร เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่
ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ได้ทำให้แจ้ง’
ภิกษุผู้อยู่ป่า เมื่อพิจารณาเห็นภัยในอนาคตประการที่ ๑ นี้ ควรเป็นผู้ไม่
ประมาท มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่ เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรม
ที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ได้ทำให้แจ้ง
๒. ภิกษุในธรรมวินัยนี้อยู่ป่าพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ‘บัดนี้ เราอยู่ในป่า
ผู้เดียว เราเมื่ออยู่ในป่าผู้เดียว พึงพลาดหกล้มก็ได้ ภัตตาหารที่เรา

เชิงอรรถ :
๑ อันตราย ในที่นี้หมายถึงอันตรายต่อชีวิตและอันตรายต่อการประพฤติพรหมจรรย์ แต่สำหรับผู้เป็นปุถุชน
เมื่อสิ้นชีวิตไปพึงมีอันตรายต่อสวรรค์ หรืออันตรายต่อมรรค (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๗๗/๓๙)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๑๓๘ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๓. โยธาชีวรรค ๗. ปฐมอนาคตภยสูตร
ฉันแล้วไม่พึงย่อยก็ได้ ดีของเราพึงกำเริบก็ได้ เสมหะของเรา
พึงกำเริบก็ได้ หรือลมมีพิษดังศัสตราของเราพึงกำเริบก็ได้ เพราะ
เหตุนั้น เราพึงตาย เราพึงมีอันตรายนั้น เอาเถอะ เราจะปรารภ
ความเพียร เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ
เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ได้ทำให้แจ้ง’
ภิกษุผู้อยู่ป่า เมื่อพิจารณาเห็นภัยในอนาคตประการที่ ๒ นี้ ควรเป็นผู้ไม่
ประมาท มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่ เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรม
ที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ได้ทำให้แจ้ง
๓. ภิกษุในธรรมวินัยนี้อยู่ป่าพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ‘บัดนี้ เราอยู่ในป่า
ผู้เดียว เมื่อเราอยู่ในป่าผู้เดียว พึงพบสัตว์ร้ายคือราชสีห์ เสือโคร่ง
เสือเหลือง หมี หรือเสือดาวก็ได้ สัตว์เหล่านั้นพึงทำร้ายเราถึง
ตายก็ได้ เพราะเหตุนั้น เราพึงตาย เราพึงมีอันตรายนั้น เอาเถอะ
เราจะปรารภความเพียรเพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยัง
ไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ได้ทำให้แจ้ง’
ภิกษุผู้อยู่ป่า เมื่อพิจารณาเห็นภัยในอนาคตประการที่ ๓ นี้ ควรเป็นผู้ไม่
ประมาท มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่ เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรม
ที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ได้ทำให้แจ้ง
๔. ภิกษุในธรรมวินัยนี้อยู่ป่าพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ‘บัดนี้ เราอยู่ในป่า
ผู้เดียว เมื่อเราอยู่ในป่าผู้เดียว เราพึงพบคนร้ายผู้ก่อคดีแล้วหรือ
ยังไม่ได้ก่อคดีก็ได้ พวกคนร้ายนั้นพึงปลิดชีวิตเราเสียก็ได้ เพราะ
เหตุนั้น เราพึงตาย เราพึงมีอันตรายนั้น เอาเถอะ เราจะปรารภ
ความเพียร เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ
เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ได้ทำให้แจ้ง’
ภิกษุผู้อยู่ป่า เมื่อพิจารณาเห็นภัยในอนาคตประการที่ ๔ นี้ ควรเป็นผู้ไม่
ประมาท มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่ เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรม
ที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ได้ทำให้แจ้ง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๑๓๙ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๓. โยธาชีวรรค ๘. ทุติยอนาคตภยสูตร
๕. ภิกษุในธรรมวินัยนี้อยู่ป่าพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ‘บัดนี้ เราอยู่ในป่า
ผู้เดียว ก็ในป่ามีพวกอมนุษย์๑ ดุร้าย พวกอมนุษย์นั้นพึงปลิดชีวิต
เราก็ได้ เพราะเหตุนั้น เราพึงตาย เราพึงมีอันตรายนั้น เอาเถอะ
เราจะปรารภความเพียร เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่
ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ได้ทำให้แจ้ง’
ภิกษุผู้อยู่ป่า เมื่อพิจารณาเห็นภัยในอนาคตประการที่ ๕ นี้ ควรเป็นผู้ไม่
ประมาท มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่ เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรม
ที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ได้ทำให้แจ้ง
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้อยู่ป่าเมื่อเห็นภัยในอนาคต ๕ ประการนี้แล ควรเป็นผู้
ไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่ เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรม
ที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ได้ทำให้แจ้ง
ปฐมอนาคตภยสูตรที่ ๗ จบ

๘. ทุติยอนาคตภยสูตร
ว่าด้วยภัยในอนาคต สูตรที่ ๒
[๗๘] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อพิจารณาเห็นภัยในอนาคต ๕ ประการนี้ ควร
เป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อ
บรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ได้ทำให้แจ้ง
ภัยในอนาคต ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ภิกษุในธรรมวินัยนี้พิจารณาเห็นดังนี้ว่า ‘บัดนี้ เรายังเป็นคนหนุ่มแน่น
มีผมดำสนิท ประกอบด้วยความเป็นหนุ่มกำลังเจริญ ดำรงอยู่ใน
ปฐมวัยก็จริง ถึงกระนั้น ก็ยังมีสมัยที่ชราจะถูกต้องกายนี้ได้ การ
ที่บุคคลผู้แก่ถูกชราครอบงำแล้วจะมนสิการถึงคำสั่งสอนของ
พระพุทธเจ้า มิใช่ทำได้ง่าย ทั้งจะอาศัยเสนาสนะอันเงียบสงัด คือ

เชิงอรรถ :
๑ อมนุษย์ หมายถึงยักษ์เป็นต้น (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๗๗/๓๙)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๑๔๐ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๓. โยธาชีวรรค ๘. ทุติยอนาคตภยสูตร
ป่าโปร่ง๑ และป่าทึบ๒ ก็มิใช่ทำได้ง่าย ก่อนที่ธรรมซึ่งไม่น่าปรารถนา
ไม่น่าใคร่ ไม่น่าพอใจนั้นจะมาถึงเรา เราจะรีบปรารภความเพียร
เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้
แจ้งธรรมที่ยังไม่ได้ทำให้แจ้งเสียก่อนทีเดียว ซึ่งเมื่อเรามีแล้ว แม้แก่
ก็จักอยู่สบาย’
ภิกษุเมื่อพิจารณาเห็นภัยในอนาคตประการที่ ๑ นี้ ควรเป็นผู้ไม่ประมาท
มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่ เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ
เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ได้ทำให้แจ้ง
๒. ภิกษุในธรรมวินัยนี้พิจารณาเห็นดังนี้ว่า ‘บัดนี้ เรามีอาพาธน้อย
มีโรคเบาบาง ประกอบด้วยไฟธาตุสำหรับย่อยอาหารสม่ำเสมอ
ไม่เย็นนัก ไม่ร้อนนัก ปานกลาง เหมาะแก่การบำเพ็ญเพียรก็จริง
ถึงกระนั้น ก็ยังมีสมัยที่พยาธิจะถูกต้องกายนี้ได้ การที่บุคคลผู้
เจ็บไข้ถูกพยาธิครอบงำแล้วจะมนสิการถึงคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า
มิใช่ทำได้ง่าย ทั้งจะอาศัยเสนาสนะอันเงียบสงัด คือ ป่าโปร่ง และ
ป่าทึบ ก็มิใช่ทำได้ง่าย ก่อนที่ธรรมซึ่งไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่
ไม่น่าพอใจนั้นจะมาถึงเรา เราจะรีบปรารภความเพียร เพื่อถึงธรรม
ที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยัง
ไม่ได้ทำให้แจ้งเสียก่อนทีเดียว ซึ่งเมื่อเรามีแล้ว แม้อาพาธก็จัก
อยู่สบาย’
ภิกษุเมื่อพิจารณาเห็นภัยในอนาคตประการที่ ๒ นี้ ควรเป็นผู้ไม่ประมาท
มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่ เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่
บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ได้ทำให้แจ้ง
๓. ภิกษุในธรรมวินัยนี้พิจารณาเห็นดังนี้ว่า ‘บัดนี้ มีภิกษาหาได้ง่าย
ข้าวกล้าดี บิณฑบาตได้ง่าย สะดวกแก่การแสวงหาเลี้ยงชีพก็จริง

เชิงอรรถ :
๑ ป่าโปร่ง หมายถึงป่าอยู่นอกเสาเขตเมืองออกไปอย่างน้อยชั่ว ๕๐๐ ลูกธนู (องฺ.ทุก.อ. ๒/๓๑/๓๐)
๒ ดูเชิงอรรถที่ ๓ ข้อ ๗๕ (ปฐมโยธาชีวสูตร) หน้า ๑๒๙ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๑๔๑ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๓. โยธาชีวรรค ๘. ทุติยอนาคตภยสูตร
ถึงกระนั้นก็ยังมีสมัยที่ภิกษาหาได้ยาก ข้าวกล้าเสียหาย บิณฑบาต
ได้ยาก จึงไม่สะดวกแก่การแสวงหาเลี้ยงชีพ เมื่อภิกษาหาได้ยาก
คนทั้งหลายจึงอพยพไปในที่มีอาหารดี ที่นั้นย่อมมีการอยู่คลุกคลี
ด้วยหมู่คณะ อยู่กันอย่างพลุกพล่าน เมื่อมีการอยู่คลุกคลีด้วย
หมู่คณะ อยู่กันอย่างพลุกพล่าน การที่จะมนสิการถึงคำสั่งสอน
ของพระพุทธเจ้า มิใช่ทำได้ง่าย ทั้งจะอาศัยเสนาสนะอันเงียบสงัด
คือป่าโปร่ง และป่าทึบ ก็มิใช่ทำได้ง่าย ก่อนที่ธรรมซึ่งไม่น่าปรารถนา
ไม่น่าใคร่ ไม่น่าพอใจนั้นจะมาถึงเรา เอาเถอะ เราจะรีบปรารภ
ความเพียรเพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ เพื่อ
ทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ได้ทำให้แจ้งเสียก่อนทีเดียว ซึ่งเมื่อเรามีแล้ว
แม้ในสมัยที่มีภิกษาหาได้ยากก็จักอยู่สบาย’
ภิกษุเมื่อพิจารณาเห็นภัยในอนาคตประการที่ ๓ นี้ ควรเป็นผู้ไม่ประมาท
มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ
เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ได้ทำให้แจ้ง
๔. ภิกษุในธรรมวินัยนี้พิจารณาเห็นดังนี้ว่า ‘บัดนี้ คนทั้งหลายพร้อม
เพรียงกัน ชื่นชมกัน ไม่วิวาทกัน เป็นเหมือนน้ำนมกับน้ำ มองกัน
ด้วยนัยน์ตาที่เปี่ยมด้วยความรักอยู่ก็จริง ถึงกระนั้น ก็ยังมีสมัยที่
มีภัย มีความปั่นป่วนในดง ประชาชนวุ่นวาย เมื่อมีภัย คนทั้งหลาย
จึงอพยพไปในที่ปลอดภัย ที่นั้นย่อมมีการคลุกคลีด้วยหมู่คณะ
อยู่กันอย่างพลุกพล่าน เมื่อมีการอยู่คลุกคลีด้วยหมู่คณะ อยู่กัน
อย่างพลุกพล่าน การที่จะมนสิการถึงคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า
มิใช่ทำได้ง่าย ทั้งจะอาศัยเสนาสนะอันเงียบสงัด คือป่าโปร่ง และ
ป่าทึบ ก็มิใช่ทำได้ง่าย ก่อนที่ธรรมซึ่งไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่
ไม่น่าพอใจนั้นจะมาถึงเรา เอาเถอะ เราจะรีบปรารภความเพียร
เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้
แจ้งธรรมที่ยังไม่ได้ทำให้แจ้งเสียก่อนทีเดียว ซึ่งเมื่อเรามีแล้ว แม้ใน
สมัยที่มีภัยก็จักอยู่สบาย’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๑๔๒ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๓. โยธาชีวรรค ๘. ทุติยอนาคตภยสูตร
ภิกษุเมื่อพิจารณาเห็นภัยในอนาคตประการที่ ๔ นี้ ควรเป็นผู้ไม่ประมาท
มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ
เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ได้ทำให้แจ้ง
๕. ภิกษุในธรรมวินัยนี้พิจารณาเห็นดังนี้ว่า ‘บัดนี้ สงฆ์พร้อมเพรียงกัน
ชื่นชมกัน ไม่วิวาทกัน มีอุทเทสที่สวดร่วมกัน๑ อยู่ผาสุกก็จริง
ถึงกระนั้น ก็ยังมีสมัยที่สงฆ์แตกแยกกัน เมื่อสงฆ์แตกแยกกันแล้ว
การที่จะมนสิการถึงคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า มิใช่ทำได้ง่าย
ทั้งจะอาศัยเสนาสนะอันเงียบสงัด คือป่าโปร่ง และป่าทึบ ก็มิใช่
ทำได้ง่าย ก่อนที่ธรรมซึ่งไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่น่าพอใจนั้น
จะมาถึงเรา เอาเถอะ เราจะรีบปรารภความเพียรเพื่อถึงธรรมที่ยัง
ไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ได้
ทำให้แจ้งเสียก่อนทีเดียว ซึ่งเมื่อเรามีแล้ว แม้ในเมื่อสงฆ์แตกแยก
กันก็จักอยู่สบาย’
ภิกษุเมื่อพิจารณาเห็นภัยในอนาคตประการที่ ๕ นี้ ควรเป็นผู้ไม่ประมาท
มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ
เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ได้ทำให้แจ้ง
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อพิจารณาเห็นภัยในอนาคต ๕ ประการนี้แล ควรเป็นผู้
ไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรม
ที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ได้ทำให้แจ้ง
ทุติยอนาคตภยสูตรที่ ๘ จบ

เชิงอรรถ :
๑ ดูเชิงอรรถที่ ๑ ข้อ ๕๔ (สมยสูตร) หน้า ๙๔ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๑๔๓ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๓. โยธาชีวรรค ๙. ตติยอนาคตภยสูตร
๙. ตติยอนาคตภยสูตร
ว่าด้วยภัยในอนาคต สูตรที่ ๓
[๗๙] ภิกษุทั้งหลาย ภัยในอนาคต ๕ ประการนี้ ยังไม่เกิดขึ้นในปัจจุบัน
แต่จักเกิดขึ้นในกาลต่อไป ภัยเหล่านั้น เธอทั้งหลายพึงรับรู้ไว้ และพึงพยายามเพื่อ
ละภัยเหล่านั้นเสีย
ภัยในอนาคต ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ในอนาคต หมู่ภิกษุจักไม่เจริญกาย ไม่เจริญศีล ไม่เจริญจิต ไม่
เจริญปัญญา เมื่อไม่เจริญกาย ไม่เจริญศีล ไม่เจริญจิต ไม่เจริญ
ปัญญา ให้กุลบุตรเหล่าอื่นอุปสมบท ก็จักไม่สามารถแนะนำ
กุลบุตรเหล่านั้นในอธิศีล อธิจิต และอธิปัญญาได้ แม้กุลบุตร
เหล่านั้นก็จักไม่เจริญกาย ไม่เจริญศีล ไม่เจริญจิต ไม่เจริญ
ปัญญา เมื่อไม่เจริญกาย ไม่เจริญศีล ไม่เจริญจิต ไม่เจริญปัญญา
ให้กุลบุตรเหล่าอื่นอุปสมบทอีก ก็จักไม่สามารถแนะนำกุลบุตร
เหล่านั้นในอธิศีล อธิจิต และอธิปัญญาได้ ถึงกุลบุตรเหล่านั้นก็
จักไม่เจริญกาย ไม่เจริญศีล ไม่เจริญจิต ไม่เจริญปัญญา โดยนัย
นี้แล เพราะธรรมเลอะเลือน วินัยจึงเลอะเลือน เพราะวินัย
เลอะเลือน ธรรมจึงเลอะเลือน
ภัยในอนาคตประการที่ ๑ นี้ ซึ่งยังไม่เกิดขึ้นในบัดนี้ แต่จักเกิดขึ้นในกาลต่อไป
ภัยนั้น เธอทั้งหลายพึงรับรู้ไว้ และพึงพยายามเพื่อละภัยนั้นเสีย
๒. ในอนาคต หมู่ภิกษุจักไม่เจริญกาย ไม่เจริญศีล ไม่เจริญจิต ไม่
เจริญปัญญา เมื่อไม่เจริญกาย ไม่เจริญศีล ไม่เจริญจิต ไม่เจริญ
ปัญญา ให้นิสสัยแก่กุลบุตรเหล่าอื่นก็จักไม่สามารถแนะนำ
กุลบุตรเหล่านั้นในอธิศีล อธิจิต และอธิปัญญาได้ กุลบุตรเหล่านั้น
ก็จักไม่เจริญกาย ไม่เจริญศีล ไม่เจริญจิต ไม่เจริญปัญญา เมื่อ
ไม่เจริญกาย ไม่เจริญศีล ไม่เจริญจิต ไม่เจริญปัญญา ให้นิสสัย
แก่กุลบุตรเหล่าอื่นอีก ก็จักไม่สามารถแนะนำกุลบุตรเหล่านั้น
ในอธิศีล อธิจิต และอธิปัญญาได้ ถึงกุลบุตรเหล่านั้นก็จักไม่
เจริญกาย ไม่เจริญศีล ไม่เจริญจิต ไม่เจริญปัญญา โดยนัยนี้แล

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๑๔๔ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๓. โยธาชีวรรค ๙. ตติยอนาคตภยสูตร
เพราะธรรมเลอะเลือน วินัยจึงเลอะเลือน เพราะวินัยเลอะเลือน
ธรรมจึงเลอะเลือน
ภัยในอนาคตประการที่ ๒ นี้ ซึ่งยังไม่เกิดขึ้นในบัดนี้ แต่จักเกิดขึ้นในกาลต่อไป
ภัยนั้น เธอทั้งหลายพึงรับรู้ไว้ และพึงพยายามเพื่อละภัยนั้นเสีย
๓. ในอนาคต หมู่ภิกษุจักไม่เจริญกาย ไม่เจริญศีล ไม่เจริญจิต ไม่เจริญ
ปัญญา เมื่อไม่เจริญกาย ไม่เจริญศีล ไม่เจริญจิต ไม่เจริญปัญญา
แสดงอภิธัมมกถา๑ เวทัลลกถา๒ ถลำลงสู่ธรรมดำก็จักไม่รู้ตัว
โดยนัยนี้แล เพราะธรรมเลอะเลือน วินัยจึงเลอะเลือน เพราะวินัย
เลอะเลือน ธรรมจึงเลอะเลือน
ภัยในอนาคตประการที่ ๓ นี้ ซึ่งยังไม่เกิดขึ้นในบัดนี้ แต่จักเกิดขึ้นในกาลต่อไป
ภัยนั้น เธอทั้งหลายพึงรับรู้ไว้ และพึงพยายามเพื่อละภัยนั้นเสีย
๔. ในอนาคต หมู่ภิกษุจักไม่เจริญกาย ไม่เจริญศีล ไม่เจริญจิต ไม่
เจริญปัญญา เมื่อผู้อื่นกล่าวสูตรที่ตถาคตตรัสไว้ ล้ำลึก มีเนื้อความ
ลึกซึ้ง เป็นโลกุตตรธรรม ประกอบด้วยความว่าง ภิกษุเหล่านั้นไม่
ตั้งใจฟังด้วยดี ไม่เงี่ยโสตสดับ ไม่ตั้งใจใฝ่รู้ และไม่ให้ความสำคัญ
ธรรมว่าควรเรียนควรท่องจำให้ขึ้นใจ แต่เมื่อผู้อื่นกล่าวสูตรที่ท่าน
ผู้เชี่ยวชาญได้รจนาไว้เป็นบทกวีมีอักษรวิจิตร มีพยัญชนะวิจิตร
อยู่ภายนอก เป็นสาวกภาษิต๓ ภิกษุเหล่านั้นกลับตั้งใจฟังด้วยดี
เงี่ยโสตสดับ ตั้งใจใฝ่รู้ และให้ความสำคัญธรรมว่าควรเรียน
ควรท่องจำให้ขึ้นใจ โดยนัยนี้แล เพราะธรรมเลอะเลือน วินัยจึง
เลอะเลือน เพราะวินัยเลอะเลือน ธรรมจึงเลอะเลือน
ภัยในอนาคตประการที่ ๔ นี้ ซึ่งยังไม่เกิดขึ้นในบัดนี้ แต่จักเกิดขึ้นในกาลต่อไป
ภัยนั้น เธอทั้งหลายพึงรับรู้ไว้ และพึงพยายามเพื่อละภัยนั้นเสีย

เชิงอรรถ :
๑ อภิธัมมกถา หมายถึงกถาว่าด้วยธรรมอันยอดเยี่ยมเช่นกถาว่าด้วยศีล (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๗๙/๔๐)
๒ เวทัลลกถา หมายถึงกถาที่เจือด้วยญาณประกอบด้วยเวท คือปีติและโสมนัสที่เกิดจากความเข้าใจธรรม
เทศนา ถึงกับแสดงความชื่นชม แล้วถามปัญหาต่อไปอีก (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๗๙/๔๐, วิ.อ. ๑/๒๖, สารตฺถ.
ฏีกา ๑/๑๒๗) และดูสัมมาทิฏฐิสูตร (ม.มู. ๑๒/๙/๖๓) สักกปัญหสูตร (ที.ม. ๑๐/๘/๒๒๖) มหาเวทัลลสูตร
(ม.มู. ๑๒/๓/๔๐๑) จูฬเวทัลลสูตร (ม.มู. ๑๒/๔/๔๑๐) มหาปุณณมสูตร (ม.อุ. ๑๔/๘๕-๙๐/๖๗-๗๑)
๓ อยู่ภายนอก หมายถึงนอกพระพุทธศาสนา (องฺ.ทุก.อ.๒/๔๘/๕๕) เป็นสาวกภาษิต หมายถึงเป็นภาษิต
ของเหล่าสาวกของเจ้าลัทธินอกพุทธศาสนา (องฺ.ทุก.อ. ๒/๔๘/๕๕, องฺ.ทุก.ฏีกา ๒/๔๘/๕๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๑๔๕ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๓. โยธาชีวรรค ๑๐. จตุตถอนาคตภยสูตร
๕. ในอนาคต หมู่ภิกษุจักไม่เจริญกาย ไม่เจริญศีล ไม่เจริญจิต ไม่
เจริญปัญญา เมื่อไม่เจริญกาย ไม่เจริญศีล ไม่เจริญจิต ไม่เจริญ
ปัญญา ภิกษุผู้เถระก็จักเป็นผู้มักมาก เป็นผู้ย่อหย่อน เป็นผู้นำ
ในโอกกมนธรรม๑ ทอดธุระในปวิเวก๒ จักไม่ปรารภความเพียรเพื่อ
ถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งธรรม
ที่ยังไม่ได้ทำให้แจ้ง หมู่คนรุ่นหลังก็จักพากันตามอย่างพวกภิกษุเถระ
เหล่านั้น แม้หมู่คนรุ่นหลังนั้น ก็จักเป็นผู้มักมาก เป็นผู้ย่อหย่อน
เป็นผู้นำในโอกกมนธรรม ทอดธุระในปวิเวก จักไม่ปรารภความเพียร
เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้ง
ธรรมที่ยังไม่ได้ทำให้แจ้ง โดยนัยนี้แล เพราะธรรมเลอะเลือน วินัย
จึงเลอะเลือน เพราะวินัยเลอะเลือน ธรรมจึงเลอะเลือน
ภัยในอนาคตประการที่ ๕ นี้ ซึ่งยังไม่เกิดขึ้นในบัดนี้ แต่จักเกิดขึ้นในกาลต่อไป
ภัยนั้น เธอทั้งหลายพึงรับรู้ไว้ และพึงพยายามเพื่อละภัยนั้นเสีย
ภิกษุทั้งหลาย ภัยในอนาคต ๕ ประการนี้แล ซึ่งยังไม่เกิดขึ้นในบัดนี้ แต่จัก
เกิดขึ้นในกาลต่อไป ภัยเหล่านั้น เธอทั้งหลายพึงรับรู้ไว้ และพึงพยายามเพื่อละภัย
เหล่านั้นเสีย
ตติยอนาคตภยสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. จตุตถอนาคตภยสูตร
ว่าด้วยภัยในอนาคต สูตรที่ ๔
[๘๐] ภิกษุทั้งหลาย ภัยในอนาคต ๕ ประการนี้ ยังไม่เกิดขึ้นในบัดนี้
แต่จักเกิดขึ้นในกาลต่อไป ภัยเหล่านั้น เธอทั้งหลายพึงรับรู้ไว้ และพึงพยายามเพื่อ
ละภัยเหล่านั้นเสีย

เชิงอรรถ :
๑ โอกกมนธรรม หมายถึงนิวรณ์ ๕ ประการ (องฺ.ทุก.อ. ๒/๔๕/๕๓)
๒ ปวิเวก ในที่นี้หมายถึงพระนิพพาน (องฺ.ทุก.อ. ๒/๔๕/๕๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๑๔๖ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๓. โยธาชีวรรค ๑๐. จตุตถอนาคตภยสูตร
ภัยในอนาคต ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ในอนาคต หมู่ภิกษุจักเป็นผู้ชอบที่จีวรสวยงาม เมื่อชอบจีวรที่
สวยงาม ก็จักละความเป็นผู้ทรงผ้าบังสุกุลเป็นวัตร จักละเสนาสนะ
อันเงียบสงัด คือป่าโปร่ง และป่าทึบ ไปรวมกันอยู่ที่หมู่บ้าน นิคม
และเมืองหลวง และจักถึงการแสวงหาที่ไม่สมควร ไม่เหมาะสม
หลายอย่าง เพราะจีวรเป็นเหตุ
ภัยในอนาคตประการที่ ๑ นี้ ยังไม่เกิดขึ้นในบัดนี้ แต่จักเกิดขึ้นในกาลต่อไป
ภัยนั้น เธอทั้งหลายพึงรับรู้ไว้ และพึงพยายามเพื่อละภัยนั้นเสีย
๒. ในอนาคต หมู่ภิกษุจักเป็นผู้ชอบบิณฑบาตที่มีรสอร่อย เมื่อชอบ
บิณฑบาตที่มีรสอร่อย ก็จักละความเป็นผู้ถือเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร
จักละเสนาสนะอันเงียบสงัด คือป่าโปร่ง และป่าทึบ ไปรวมกันอยู่ที่
หมู่บ้าน นิคม และเมืองหลวง แสวงหาบิณฑบาตที่มีรสเลิศอร่อย
และจักถึงการแสวงหาที่ไม่สมควร ไม่เหมาะสมหลายอย่าง เพราะ
บิณฑบาตเป็นเหตุ
ภัยในอนาคตประการที่ ๒ นี้ ยังไม่เกิดขึ้นในบัดนี้ แต่จักเกิดขึ้นในกาลต่อไป
ภัยนั้น เธอทั้งหลายพึงรับรู้ไว้ และพึงพยายามเพื่อละภัยนั้นเสีย
๓. ในอนาคต หมู่ภิกษุจักเป็นผู้ชอบเสนาสนะที่สวยงาม เมื่อชอบ
เสนาสนะที่สวยงาม ก็จักละการอยู่ป่าเป็นวัตร จักละเสนาสนะอัน
เงียบสงัด คือป่าโปร่ง และป่าทึบ ไปรวมกันอยู่ที่หมู่บ้าน นิคม
และเมืองหลวง และจักถึงการแสวงหาที่ไม่สมควร ไม่เหมาะสม
หลายอย่าง เพราะเสนาสนะเป็นเหตุ
ภัยในอนาคตประการที่ ๓ นี้ ยังไม่เกิดขึ้นในบัดนี้ แต่จักเกิดขึ้นในกาลต่อไป
ภัยนั้น เธอทั้งหลายพึงรับรู้ไว้ และพึงพยายามเพื่อละภัยนั้นเสีย
๔. ในอนาคต หมู่ภิกษุจักอยู่คลุกคลีกับภิกษุณี นางสิกขมานา๑ และ
เหล่าสามเณร เมื่ออยู่คลุกคลีกับภิกษุณี นางสิกขมานา และเหล่า

เชิงอรรถ :
๑ นางสิกขมานา หมายถึงสามเณรีผู้มีอายุ ๑๘ ปีแล้วอีก ๒ ปีจะครบบวชเป็นภิกษุณี ภิกษุณีสงฆ์สวดให้
สิกขาสมมติ คือตกลงให้สมาทานสิกขาบท ๖ ประการ ตั้งแต่ ปาณาติปาตา เวรมณี ถึง วิกาลโภชนา
เวรมณี ให้รักษาอย่างเคร่งครัดไม่ขาดเลยตลอดเวลา ๒ ปีเต็ม (ถ้าล่วงละเมิดข้อใดข้อหนึ่ง ต้องสมาทาน
ตั้งต้นไปใหม่อีก ๒ ปี) ในระหว่างที่สมาทานสิกขาบท ๖ ประการนี้ เรียกว่า นางสิกขมานา (วิ.ภิกฺขุนี.
(แปล) ๓/๑๐๗๘-๑๐๗๙/๒๙๗-๒๙๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๑๔๗ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๓. โยธาชีวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค
สามเณร ก็พึงหวังข้อนี้ได้ว่า ‘เธอเหล่านั้นจักไม่ยินดีประพฤติ
พรหมจรรย์ จักต้องอาบัติเศร้าหมองบางอย่าง หรือจักบอกคืน
สิกขากลับมาเป็นคฤหัสถ์’
ภัยในอนาคตประการที่ ๔ นี้ ยังไม่เกิดขึ้นในบัดนี้ แต่จักเกิดขึ้นในกาลต่อไป
ภัยนั้น เธอทั้งหลายพึงรับรู้ไว้ และพึงพยายามเพื่อละภัยนั้นเสีย
๕. ในอนาคต หมู่ภิกษุจักอยู่คลุกคลีกับพวกคนวัดและเหล่าสามเณร
เมื่ออยู่คลุกคลีกับพวกคนวัดและเหล่าสามเณร ก็พึงหวังข้อนี้ได้ว่า
‘เธอเหล่านั้นจักบริโภคของที่สะสมไว้หลายอย่าง จักทำนิมิตอย่าง
หยาบไว้ที่แผ่นดินบ้าง ที่ปลายของเขียวบ้าง๑’
ภัยในอนาคตประการที่ ๕ นี้ ยังไม่เกิดขึ้นในบัดนี้ แต่จักเกิดขึ้นในกาลต่อไป
ภัยนั้น เธอทั้งหลายพึงรับรู้ไว้ และพึงพยายามเพื่อละภัยนั้นเสีย
ภิกษุทั้งหลาย ภัยในอนาคต ๕ ประการนี้ ยังไม่เกิดขึ้นในปัจจุบัน แต่จัก
เกิดขึ้นในกาลต่อไป ภัยเหล่านั้น เธอทั้งหลายพึงรับรู้ไว้ และพึงพยายามเพื่อละภัย
เหล่านั้นเสีย
จตุตถอนาคตภยสูตรที่ ๑๐ จบ
โยธาชีววรรคที่ ๓ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. ปฐมเจโตวิมุตติผลสูตร ๒. ทุติยเจโตวิมุตติผลสูตร
๓. ปฐมธัมมวิหารีสูตร ๔. ทุติยธัมมวิหารีสูตร
๕. ปฐมโยธาชีวสูตร ๖. ทุติยโยธาชีวสูตร
๗. อนาคตภยสูตร ๘. ทุติยอนาคตภยสูตร
๙. ตติยอนาคตภยสูตร ๑๐. จตุตถอนาคตภยสูตร


เชิงอรรถ :
๑ หมายถึงการสั่งให้ขุดดิน ให้ตัดต้นไม้ กิ่งไม้ และใบหญ้า ซึ่งจะเป็นเหตุให้ต้องอาบัติ (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๘๐/
๔๐-๔๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๑๔๘ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๔. เถรวรรค ๑. รชนียสูตร
๔. เถรวรรค
หมวดว่าด้วยธรรมของพระเถระ

๑. รชนียสูตร
ว่าด้วยธรรมที่เป็นเหตุให้กำหนัด
[๘๑] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้เถระประกอบด้วยธรรม
๕ ประการ ย่อมไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่พอใจ ไม่เป็นที่เคารพ และไม่เป็นที่ยกย่องของ
เพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. กำหนัดในสิ่ง๑ที่เป็นเหตุให้กำหนัด
๒. ขัดเคืองในสิ่งที่เป็นเหตุให้ขัดเคือง
๓. หลงในสิ่งที่เป็นเหตุให้หลง
๔. โกรธในสิ่งที่เป็นเหตุให้โกรธ
๕. มัวเมาในสิ่งที่เป็นเหตุให้มัวเมา
ภิกษุผู้เถระประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่
พอใจ ไม่เป็นที่เคารพ และไม่เป็นที่ยกย่องของเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย
ภิกษุผู้เถระประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อมเป็นที่รัก เป็นที่พอใจ เป็นที่
เคารพ และเป็นที่ยกย่องของเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ไม่กำหนัดในสิ่งที่เป็นเหตุให้กำหนัด
๒. ไม่ขัดเคืองในสิ่งที่เป็นเหตุให้ขัดเคือง
๓. ไม่หลงในสิ่งที่เป็นเหตุให้หลง

เชิงอรรถ :
๑ สิ่ง ในที่นี้หมายถึงอารมณ์ทั้งหลายที่เป็นปัจจัยให้เกิดกำหนัด ขัดเคือง หลง โกรธ และมัวเมา (องฺ.ปญฺจก.อ.
๓/๘๑/๔๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๑๔๙ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๔. เถรวรรค ๒. วีตราคสูตร
๔. ไม่โกรธในสิ่งที่เป็นเหตุให้โกรธ
๕. ไม่มัวเมาในสิ่งที่เป็นเหตุให้มัวเมา
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้เถระประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมเป็นที่รัก
เป็นที่พอใจ เป็นที่เคารพ และเป็นที่ยกย่องของเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย
รชนียสูตรที่ ๑ จบ

๒. วีตราคสูตร
ว่าด้วยธรรมของผู้ปราศจากราคะ
[๘๒] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้เถระประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อมไม่
เป็นที่รัก ไม่เป็นที่พอใจ ไม่เป็นที่เคารพ และไม่เป็นที่ยกย่องของเพื่อนพรหมจารี
ทั้งหลาย
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. เป็นผู้ไม่ปราศจากราคะ
๒. เป็นผู้ไม่ปราศจากโทสะ
๓. เป็นผู้ไม่ปราศจากโมหะ
๔. เป็นผู้ลบหลู่คุณท่าน
๕. เป็นผู้ตีเสมอ
ภิกษุผู้เถระประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่
พอใจ ไม่เป็นที่เคารพ และไม่เป็นที่ยกย่องของเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย
ภิกษุผู้เถระประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อมเป็นที่รัก เป็นที่พอใจ เป็นที่
เคารพ และเป็นที่ยกย่องของเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. เป็นผู้ปราศจากราคะ
๒. เป็นผู้ปราศจากโทสะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๑๕๐ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๔. เถรวรรค ๓. กุหกสูตร
๓. เป็นผู้ปราศจากโมหะ
๔. เป็นผู้ไม่ลบหลู่คุณท่าน
๕. เป็นผู้ไม่ตีเสมอ
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้เถระประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมเป็นที่รัก
เป็นที่พอใจ เป็นที่เคารพ และเป็นที่ยกย่องของเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย
วีตราคสูตรที่ ๒ จบ

๓. กุหกสูตร
ว่าด้วยผู้หลอกลวง
[๘๓] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้เถระประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อมไม่
เป็นที่รัก ไม่เป็นที่พอใจ ไม่เป็นที่เคารพ และไม่เป็นที่ยกย่องของเพื่อนพรหมจารี
ทั้งหลาย
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. เป็นผู้หลอกลวง๑
๒. เป็นผู้พูดป้อยอ๒
๓. เป็นผู้ทำนิมิต๓
๔. เป็นผู้พูดบีบบังคับ๔
๕. เป็นผู้แสวงหาลาภด้วยลาภ๕

เชิงอรรถ :
๑ หลอกลวง หมายถึงหลอกลวงด้วยอาการ ๓ คือ (๑) พูดเลียบเคียง (๒) แสร้งแสดงอิริยาบถคือยืน เดิน
นั่ง นอนให้น่าเลื่อมใส (๓) แสร้งปฏิเสธปัจจัย (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๘๓/๘๓/๔๑, องฺ.ปญฺจก.ฏีกา ๓/๘๓/๔๓,
วิสุทธิ. ๑/๑๖/๒๔) และดู อภิ.วิ. (แปล) ๓๕/๘๖๑/๕๕๓
๒ พูดป้อยอ หมายถึงพูดป้อยอมุ่งหวังลาภสักการะ และชื่อเสียง (องฺ.ปญฺจ.อ. ๓/๘๓/๔๑, วิสุทธิ. ๑/๑๖/๒๔)
ดู อภิ.วิ. (แปล) ๓๕/๘๖๒/๕๕๓ ประกอบ
๓ ทำนิมิต หมายถึงการกระทำทางกายวาจาเพื่อให้คนอื่นให้ทาน เช่นการพูดเป็นเลศนัย พูดเลียบเคียง
(อภิ.วิ.อ.๘๖๓/๕๒๓,วิสุทฺธิ. ๑/๑๖/๒๔)
๔ พูดบีบบังคับ หมายถึงการด่า การพูดข่ม พูดนินทาตำหนิโทษ พูดเหยียดหยาม และการนำเรื่องไป
ประจาน ตลอดถึงการพูดสรรเสริญต่อหน้า นินทาลับหลัง (ปุรโต มธุรํ ภณิตฺวา ปรมฺมุเข อวณฺณภาสิตา)
(อภิ.วิ.อ.๘๖๔/๕๒๔, วิสุทธิ. ๑/๑๖/๒๔-๒๕)
๕ แสวงหาลาภด้วยลาภ หมายถึงได้อะไรเอามาฝากเขา ทำให้เขาเกรงใจ ต้องให้ตอบแทน (วิสุทฺธิ. ๑/๑๖/๒๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๑๕๑ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๔. เถรวรรค ๔. อัสสัทธสูตร
ภิกษุผู้เถระประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่
พอใจ ไม่เป็นที่เคารพ และไม่เป็นที่ยกย่องของเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย
ภิกษุผู้เถระประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อมเป็นที่รัก เป็นที่พอใจ เป็นที่
เคารพ และเป็นที่ยกย่องของเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. เป็นผู้ไม่หลอกลวง
๒. เป็นผู้ไม่พูดป้อยอ
๓. เป็นผู้ไม่ทำนิมิต
๔. เป็นผู้ไม่พูดบีบบังคับ
๕. เป็นผู้ไม่แสวงหาลาภด้วยลาภ
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้เถระประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมเป็นที่รัก
เป็นที่พอใจ เป็นที่เคารพ และเป็นที่ยกย่องของเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย
กุหกสูตรที่ ๓ จบ

๔. อัสสัทธสูตร
ว่าด้วยภิกษุผู้ไม่มีศรัทธา
[๘๔] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้เถระประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อมไม่
เป็นที่รัก ไม่เป็นที่พอใจ ไม่เป็นที่เคารพ และไม่เป็นที่ยกย่องของเพื่อนพรหมจารี
ทั้งหลาย
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. เป็นผู้ไม่มีศรัทธา
๒. เป็นผู้ไม่มีหิริ
๓. เป็นผู้ไม่มีโอตตัปปะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๑๕๒ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๔. เถรวรรค ๕. อักขมสูตร
๔. เป็นผู้เกียจคร้าน
๕. เป็นผู้มีปัญญาทราม
ภิกษุผู้เถระประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่
พอใจ ไม่เป็นที่เคารพ และไม่เป็นที่ยกย่องของเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย
ภิกษุผู้เถระประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อมเป็นที่รัก เป็นที่พอใจ เป็นที่
เคารพ และเป็นที่ยกย่องของเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. เป็นผู้มีศรัทธา
๒. เป็นผู้มีหิริ
๓. เป็นผู้มีโอตตัปปะ
๔. เป็นผู้ปรารภความเพียร
๕. เป็นผู้มีปัญญา
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้เถระประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมเป็นที่รัก
เป็นที่พอใจ เป็นที่เคารพ และเป็นที่ยกย่องของเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย
อัสสัทธสูตรที่ ๔ จบ

๕. อักขมสูตร
ว่าด้วยภิกษุผู้ไม่อดทน
[๘๕] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้เถระประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อมไม่
เป็นที่รัก ไม่เป็นที่พอใจ ไม่เป็นที่เคารพ และไม่เป็นที่ยกย่องของเพื่อนพรหมจารี
ทั้งหลาย
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. เป็นผู้ไม่อดทนต่อรูป
๒. เป็นผู้ไม่อดทนต่อเสียง
๓. เป็นผู้ไม่อดทนต่อกลิ่น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๑๕๓ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๔. เถรวรรค ๖. ปฏิสัมภิทาปัตตสูตร
๔. เป็นผู้ไม่อดทนต่อรส
๕. เป็นผู้ไม่อดทนต่อโผฏฐัพพะ
ภิกษุผู้เถระประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่
พอใจ ไม่เป็นที่เคารพ และไม่เป็นที่ยกย่องของเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย
ภิกษุผู้เถระประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อมเป็นที่รัก เป็นที่พอใจ เป็นที่
เคารพ และเป็นที่ยกย่องของเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. เป็นผู้อดทนต่อรูป
๒. เป็นผู้อดทนต่อเสียง
๓. เป็นผู้อดทนต่อกลิ่น
๔. เป็นผู้อดทนต่อรส
๕. เป็นผู้อดทนต่อโผฏฐัพพะ
ภิกษุผู้เถระประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมเป็นที่รัก เป็นที่พอใจ
เป็นที่เคารพ และเป็นที่ยกย่องของเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย
อักขมสูตรที่ ๕ จบ

๖. ปฏิสัมภิทาปัตตสูตร๑
ว่าด้วยภิกษุผู้บรรลุปฏิสัมภิทา
[๘๖] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้เถระประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อมเป็น
ที่รัก เป็นที่พอใจ เป็นที่เคารพ และเป็นที่ยกย่องของเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. เป็นผู้บรรลุอัตถปฏิสัมภิทา (ปัญญาแตกฉานในอรรถ)
๒. เป็นผู้บรรลุธัมมปฏิสัมภิทา (ปัญญาแตกฉานในธรรม)

เชิงอรรถ :
๑ ดู อภิ.วิ. (แปล) ๓๕/๗๑๘-๗๕๐/๔๕๙-๔๘๐

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๑๕๔ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๔. เถรวรรค ๗. สีลวันตสูตร
๓. เป็นผู้บรรลุนิรุตติปฏิสัมภิทา (ปัญญาแตกฉานในนิรุตติ)
๔. เป็นผู้บรรลุปฏิภาณปฏิสัมภิทา (ปัญญาแตกฉานในปฏิภาณ)
๕. เป็นผู้ขยัน ไม่เกียจคร้านในการงานที่จะต้องช่วยกันทำ ทั้งงานสูง
และงานต่ำ๑ของเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย ประกอบด้วยปัญญา
เป็นเครื่องพิจารณาอันเป็นอุบายในการงานที่จะต้องช่วยกันทำนั้น
สามารถทำได้ สามารถจัดได้
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้เถระประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมเป็นที่รัก
เป็นที่พอใจ เป็นที่เคารพ และเป็นที่ยกย่องของเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย
ปฏิสัมภิทาปัตตสูตรที่ ๖ จบ

๗. สีลวันตสูตร
ว่าด้วยภิกษุผู้มีศีล
[๘๗] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้เถระประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อมเป็น
ที่รัก เป็นที่พอใจ เป็นที่เคารพ และเป็นที่ยกย่องของเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. เป็นผู้มีศีล สำรวมด้วยการสังวรในปาติโมกข์ เพียบพร้อมด้วย
อาจาระ(มารยาท)และโคจร(การเที่ยวไป) มีปกติเห็นภัยในโทษแม้เล็กน้อย
สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย
๒. เป็นพหูสูต ทรงสุตะ สั่งสมสุตะ เป็นผู้ได้ฟังมากซึ่งธรรมทั้งหลาย
ที่มีความงามในเบื้องต้น มีความงามในท่ามกลาง มีความงามใน
ที่สุด ประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถและพยัญชนะ บริสุทธิ์
บริบูรณ์ครบถ้วน แล้วทรงจำไว้ได้ คล่องปาก ขึ้นใจ แทงตลอดดี
ด้วยทิฏฐิ

เชิงอรรถ :
๑ งานสูง หมายถึงงานย้อมจีวร หรืองานโบกทาพระเจดีย์ ตลอดถึงงานที่จะต้องช่วยกันทำที่โรงอุโบสถ
เรือนพระเจดีย์ เรือนต้นโพธิ์เป็นต้น (องฺ.ทสก.อ. ๓/๑๗/๓๒๒)
งานต่ำ หมายถึงงานเล็กน้อยมีล้างเท้า และนวดเท้าเป็นต้น (องฺ.ทสก.อ. ๓/๑๗/๓๒๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๑๕๕ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๔. เถรวรรค ๘. เถรสูตร
๓. เป็นผู้มีวาจางาม เจรจาถ้อยคำไพเราะ ประกอบด้วยวาจาชาวเมือง
ที่สละสลวย ไม่หยาบคาย ให้รู้ความหมายได้
๔. เป็นผู้ได้ฌาน ๔ อันมีในจิตยิ่ง ซึ่งเป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน
ตามความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ได้โดยไม่ลำบาก
๕. ทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันไม่มีอาสวะ เพราะอาสวะ
สิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้เถระประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมเป็นที่รัก
เป็นที่พอใจ เป็นที่เคารพ และเป็นที่ยกย่องของเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย
สีลวันตสูตรที่ ๗ จบ

๘. เถรสูตร
ว่าด้วยธรรมของพระเถระ
[๘๘] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้เถระประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อมเป็น
ผู้ปฏิบัติเพื่อไม่เกื้อกูลแก่คนหมู่มาก เพื่อไม่ใช่สุขแก่คนหมู่มาก เพื่อไม่ใช่ประโยชน์
แก่คนหมู่มาก เพื่อไม่เกื้อกูล เพื่อทุกข์แก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. เป็นรัตตัญญู๑ บวชมานาน
๒. เป็นผู้มีชื่อเสียง มียศ มีบริวารมาก ปรากฏแก่พวกคฤหัสถ์และ
บรรพชิต
๓. เป็นผู้ได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชชบริขาร

เชิงอรรถ :
๑ รัตตัญญู เป็นตำแหน่งเอตทัคคะที่พระอัญญาโกณฑัญญะได้รับยกย่องจากพระพุทธเจ้า มีความหมายว่ารู้
ราตรีนาน คือบวช รู้แจ้งธรรม และเป็นพระขีณาสพก่อนพระสาวกทั้งหลาย (องฺ.เอกก.อ. ๑/๑๘๘/๑๒๒)
แต่ในที่นี้หมายถึงเป็นผู้ผ่านมาหลายราตรี (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๘๘/๔๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๑๕๖ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๔. เถรวรรค ๘. เถรสูตร
๔. เป็นพหูสูต ทรงสุตะ๑ สั่งสมสุตะ เป็นผู้ได้ฟังมากซึ่งธรรมทั้งหลาย
ที่มีความงามในเบื้องต้น มีความงามในท่ามกลาง มีความงามใน
ที่สุด ประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถและพยัญชนะ บริสุทธิ์
บริบูรณ์ครบถ้วน แล้วทรงจำไว้ได้ คล่องปาก ขึ้นใจ แทงตลอดดี
ด้วยทิฏฐิ
๕. เป็นมิจฉาทิฏฐิ มีความเห็นวิปริต บุคคลนั้นทำให้คนหมู่มากออก
จากสัทธรรมให้ตั้งอยู่ในอสัทธรรม๒ คนหมู่มากพากันตามอย่างเธอ
ด้วยคิดว่า ‘เป็นภิกษุเถระ เป็นรัตตัญญู บวชมานาน’ บ้าง ‘เป็น
ภิกษุเถระ มีชื่อเสียง มียศ มีบริวารมาก ปรากฏแก่พวกคฤหัสถ์
และบรรพชิต’ บ้าง ‘เป็นภิกษุเถระ ได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ
และคิลานปัจจัยเภสัชชบริขาร’ บ้าง ‘เป็นภิกษุเถระ เป็นพหูสูต
ทรงสุตะ สั่งสมสุตะ’ บ้าง
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้เถระประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมเป็นผู้
ปฏิบัติเพื่อไม่เกื้อกูลประโยชน์แก่คนหมู่มาก เพื่อไม่ใช่สุขแก่คนหมู่มาก เพื่อไม่ใช่
ประโยชน์แก่คนหมู่มาก เพื่อไม่เกื้อกูล เพื่อทุกข์แก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้เถระประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมเป็นผู้
ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลแก่คนหมู่มาก เพื่อสุขแก่คนหมู่มาก เพื่อประโยชน์แก่คนหมู่มาก
เพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย

เชิงอรรถ :
๑ สุตะ ในที่นี้หมายถึงนวังคสัตถุศาสน์ (คำสอนของพระศาสดามีองค์ ๙) คือ (๑) สุตตะ (พระสูตรทั้งหลาย
รวมทั้งพระวินัยปิฎกและนิทเทส) (๒) เคยยะ (ข้อความร้อยแก้วผสมร้อยกรอง ได้แก่พระสูตรที่มีคาถา
ทั้งหมด) (๓) เวยยากรณะ (ความร้อยแก้ว) (๔) คาถา (ข้อความร้อยกรอง) (๕) อุทาน (พระคาถาพุทธอุทาน)
(๖) อิติวุตตกะ (พระสูตรที่ตรัสอ้างอิง) (๗) ชาตกะ (ชาดก ๕๕๐ เรื่อง) (๘) อัพภูตธรรม (เรื่องอัศจรรย์)
(๙) เวทัลละ (พระสูตรแบบถาม-ตอบ) (องฺ.จตุกฺก. (แปล) ๒๑/๖/๙-๑๑)
๒ สัทธรรม ในที่นี้หมายถึงกุศลกรรมบถ ๑๐ ประการ
อสัทธรรม ในที่นี้หมายถึงอกุศลกรรมบถ ๑๐ ประการ (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๘๘/๔๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๑๕๗ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๔. เถรวรรค ๘. เถรสูตร
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. เป็นรัตตัญญู บวชมานาน
๒. เป็นผู้มีชื่อเสียง มียศ มีบริวารมาก ปรากฏแก่พวกคฤหัสถ์และบรรพชิต
๓. เป็นผู้ได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชชบริขาร
๔. เป็นพหูสูต ทรงสุตะ สั่งสมสุตะ เป็นผู้ได้ฟังมากซึ่งธรรมทั้งหลาย
ที่มีความงามในเบื้องต้น มีความงามในท่ามกลาง มีความงามใน
ที่สุด ประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถและพยัญชนะ บริสุทธิ์
บริบูรณ์ครบถ้วนแล้ว ทรงจำไว้ได้ คล่องปาก ขึ้นใจ แทงตลอดดี
ด้วยทิฏฐิ
๕. เป็นสัมมาทิฏฐิ มีความเห็นไม่วิปริต บุคคลนั้นทำให้คนหมู่มาก
ออกจากอสัทธรรม ให้ตั้งอยู่ในสัทธรรม คนหมู่มากพากันตาม
อย่างเธอด้วยคิดว่า ‘เป็นภิกษุเถระ เป็นรัตตัญญู บวชมานาน’ บ้าง
‘เป็นภิกษุเถระ มีชื่อเสียง มียศ มีบริวารมาก ปรากฏแก่พวก
คฤหัสถ์และบรรพชิต’ บ้าง ‘เป็นภิกษุเถระ ได้จีวร บิณฑบาต
เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชชบริขาร’ บ้าง ‘เป็นภิกษุเถระ
เป็นพหูสูต ทรงสุตะ สั่งสมสุตะ’ บ้าง
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้เถระประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมเป็นผู้
ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลแก่คนหมู่มาก เพื่อสุขแก่คนหมู่มาก เพื่อประโยชน์แก่คนหมู่มาก
เพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
เถรสูตรที่ ๘ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๑๕๘ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๔. เถรวรรค ๙. ปฐมเสขสูตร
๙. ปฐมเสขสูตร
ว่าด้วยธรรมของพระเสขะ๑ สูตรที่ ๑
[๘๙] ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความเสื่อมแก่
ภิกษุผู้เป็นเสขะ
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ความเป็นผู้ชอบการงาน๒
๒. ความเป็นผู้ชอบการพูดคุย
๓. ความเป็นผู้ชอบการนอนหลับ
๔. ความเป็นผู้ชอบการคลุกคลีด้วยหมู่
๕. ไม่พิจารณาจิตตามที่หลุดพ้นแล้ว๓
ธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อความเสื่อมแก่ภิกษุผู้เป็นเสขะ
ธรรม ๕ ประการนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความไม่เสื่อมแก่ภิกษุผู้เป็นเสขะ
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ความเป็นผู้ไม่ชอบการงาน
๒. ความเป็นผู้ไม่ชอบการพูดคุย
๓. ความเป็นผู้ไม่ชอบการนอนหลับ
๔. ความเป็นผู้ไม่ชอบการคลุกคลีด้วยหมู่
๕. พิจารณาจิตตามที่หลุดพ้นแล้ว
ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อความไม่เสื่อมแก่ภิกษุ
ผู้เป็นเสขะ
ปฐมเสขสูตรที่ ๙ จบ

เชิงอรรถ :
๑ ดูเชิงอรรถที่ ๑ ข้อ ๑ หน้า ๑ ในเล่มนี้
๒ การงาน ในที่นี้หมายถึงการกะจีวร ทำจีวร เย็บปะจีวร ทำถลกบาตร อังสะ ประคตเอว ผ้ากรองน้ำ
ทำเชิงรองบาตร ผ้าเช็ดเท้า ไม้กวาด เป็นต้นตลอดวัน (องฺ.ปญฺจก.ฏีกา ๓/๘๙/๔๔)
๓ ไม่พิจารณาจิตตามที่หลุดพ้นแล้ว หมายถึงไม่พิจารณาโทษที่ตนละ และคุณที่ตนได้ ตามที่จิตหลุด
พ้นแล้ว พยายามเพื่อให้ได้คุณเบื้องสูงขึ้นไป (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๘๙/๔๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๑๕๙ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๔. เถรวรรค ๑๐. ทุติยเสขสูตร
๑๐. ทุติยเสขสูตร
ว่าด้วยธรรมของพระเสขะ สูตรที่ ๒
[๙๐] ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความเสื่อมแก่
ภิกษุผู้เป็นเสขะ
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ภิกษุผู้เป็นเสขะในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีกิจมาก มีกรณียกิจมาก ไม่
ฉลาดในกิจน้อยใหญ่ ละการหลีกเร้น ไม่ตามประกอบความสงบใจ๑
ภายใน นี้เป็นธรรมประการที่ ๑ เป็นไปเพื่อความเสื่อมแก่ภิกษุ
ผู้เป็นเสขะ
๒. ภิกษุผู้เป็นเสขะให้วันเวลาล่วงไปเพราะการงานเล็กน้อย ละการ
หลีกเร้น ไม่ประกอบความสงบใจภายใน นี้เป็นธรรมประการที่ ๒
เป็นไปเพื่อความเสื่อมแก่ภิกษุผู้เป็นเสขะ
๓. ภิกษุผู้เป็นเสขะคลุกคลีกับพวกคฤหัสถ์และบรรพชิต ด้วยการ
คลุกคลีอย่างคฤหัสถ์ที่ไม่สมควร ละการหลีกเร้น ไม่ประกอบ
ความสงบใจภายใน นี้เป็นธรรมประการที่ ๓ เป็นไปเพื่อความ
เสื่อมแก่ภิกษุผู้เป็นเสขะ
๔. ภิกษุผู้เป็นเสขะเข้าไปยังหมู่บ้านในเวลาเช้านัก กลับมาในเวลาสายนัก
ละการหลีกเร้น ไม่ประกอบความสงบใจภายใน นี้เป็นธรรมประการ
ที่ ๔ เป็นไปเพื่อความเสื่อมแก่ภิกษุผู้เป็นเสขะ
๕. ภิกษุผู้เป็นเสขะไม่ได้กถาเป็นเครื่องขัดเกลา เป็นสัปปายะแห่งความ
เป็นไปของจิต๒ คืออัปปิจฉกถา (เรื่องความมักน้อย) สันตุฏฐิกถา
(เรื่องความสันโดษ) ปวิเวกกถา (เรื่องความสงัด) อสังสัคคกถา

เชิงอรรถ :
๑ ความสงบใจ (เจโตสมถะ) ในที่นี้หมายถึงสมาธิกัมมัฏฐาน (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๙๐/๔๓)
๒ เป็นสัปปายะแห่งความเป็นไปของจิต หมายถึงเป็นที่สบายและเป็นอุปการะแก่การชักนำจิตเข้าสู่สมถะ
และวิปัสสนา คือความปลอดโปร่งแห่งจิต (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๙๐/๔๓, องฺ.นวก.อ.๓/๑/๒๘๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๑๖๐ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๔. เถรวรรค ๑๐. ทุติยเสขสูตร
(เรื่องความไม่คลุกคลี) วีริยารัมภกถา (เรื่องการปรารภความเพียร)
สีลกถา (เรื่องศีล) สมาธิกถา (เรื่องสมาธิ) ปัญญากถา (เรื่องปัญญา)
วิมุตติกถา (เรื่องวิมุตติ) วิมุตติญาณทัสสนกถา (เรื่องความรู้
ความเห็นในวิมุตติ) ตามความปรารถนา ได้โดยยาก ได้โดยลำบาก
ละการหลีกเร้น ไม่ประกอบความสงบใจภายใน นี้เป็นธรรมประการ
ที่ ๕ เป็นไปเพื่อความเสื่อมแก่ภิกษุผู้เป็นเสขะ
ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการต่อไปนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความไม่เสื่อมแก่
ภิกษุผู้เป็นเสขะ
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ภิกษุผู้เป็นเสขะในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ไม่มีกิจมาก ไม่มีกรณียกิจมาก
ฉลาดในกิจน้อยใหญ่ ไม่ละการหลีกเร้น ตามประกอบความสงบใจ
ภายใน นี้เป็นธรรมประการที่ ๑ เป็นไปเพื่อความไม่เสื่อมแก่ภิกษุ
ผู้เป็นเสขะ
๒. ภิกษุผู้เป็นเสขะไม่ให้วันเวลาล่วงไป เพราะการงานเล็กน้อย ไม่ละ
การหลีกเร้น ประกอบความสงบใจภายใน นี้เป็นธรรมประการที่ ๒
เป็นไปเพื่อความไม่เสื่อมแก่ภิกษุผู้เป็นเสขะ
๓. ภิกษุผู้เป็นเสขะไม่คลุกคลีกับพวกคฤหัสถ์และบรรพชิต ด้วยการ
คลุกคลีกับคฤหัสถ์ที่ไม่สมควร ไม่ละการหลีกเร้น ประกอบความ
สงบใจภายใน นี้เป็นธรรมประการที่ ๓ เป็นไปเพื่อความไม่เสื่อมแก่
ภิกษุผู้เป็นเสขะ
๔. ภิกษุผู้เป็นเสขะไม่เข้าไปยังหมู่บ้านในเวลาเช้านัก ไม่กลับในเวลาสายนัก
ไม่ละการหลีกเร้น ประกอบความสงบใจภายใน นี้เป็นธรรมประการ
ที่ ๔ เป็นไปเพื่อความไม่เสื่อมแก่ภิกษุผู้เป็นเสขะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๑๖๑ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๔. เถรวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค
๕. ภิกษุผู้เป็นเสขะได้กถาเป็นเครื่องขัดเกลาอย่างยิ่ง เป็นสัปปายะแห่ง
ความเป็นไปของจิต คือ อัปปิจฉกถา สันตุฏฐิกถา ปวิเวกกถา
อสังสัคคกถา วีริยารัมภกถา สีลกถา สมาธิกถา ปัญญากถา
วิมุตติกถา วิมุตติญาณทัสสนกถา ตามความปรารถนา ได้โดย
ไม่ยาก ได้ไม่ลำบาก ไม่ละการหลีกเร้น ประกอบความสงบใจ
ภายใน นี้เป็นธรรมประการที่ ๕ เป็นไปเพื่อความไม่เสื่อมแก่ภิกษุ
ผู้เป็นเสขะ
ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อความไม่เสื่อมแก่ภิกษุ
ผู้เป็นเสขะ
ทุติยเสขสูตรที่ ๑๐ จบ
เถรวรรคที่ ๔ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. รชนียสูตร ๒. วีตราคสูตร
๓. กุหกสูตร ๔. อัสสัทธสูตร
๕. อักขมสูตร ๖. ปฏิสัมภิทาปัตตสูตร
๗. สีลวันตสูตร ๘. เถรสูตร
๙. ปฐมเสขสูตร ๑๐. ทุติยเสขสูตร


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๑๖๒ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๕. กกุธวรรค ๒. ทุติยสัมปทาสูตร
๕. กกุธวรรค
หมวดว่าด้วยกกุธเทพบุตร
๑. ปฐมสัมปทาสูตร
ว่าด้วยสัมปทา สูตรที่ ๑
[๙๑] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย สัมปทา(ความถึงพร้อม)
๕ ประการนี้
สัมปทา ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สัทธาสัมปทา (ความถึงพร้อมด้วยศรัทธา)
๒. สีลสัมปทา (ความถึงพร้อมด้วยศีล)
๓. สุตสัมปทา (ความถึงพร้อมด้วยสุตะ)
๔. จาคสัมปทา (ความถึงพร้อมด้วยจาคะ)
๕. ปัญญาสัมปทา (ความถึงพร้อมด้วยปัญญา)
ภิกษุทั้งหลาย สัมปทา ๕ ประการนี้แล
ปฐมสัมปทาสูตรที่ ๑ จบ

๒. ทุติยสัมปทาสูตร
ว่าด้วยสัมปทา สูตรที่ ๒
[๙๒] ภิกษุทั้งหลาย สัมปทา ๕ ประการนี้
สัมปทา ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สีลสัมปทา (ความถึงพร้อมด้วยศีล)
๒. สมาธิสัมปทา (ความถึงพร้อมด้วยสมาธิ)
๓. ปัญญาสัมปทา (ความถึงพร้อมด้วยปัญญา)
๔. วิมุตติสัมปทา (ความถึงพร้อมด้วยวิมุตติ)
๕. วิมุตติญาณทัสสนสัมปทา (ความถึงพร้อมด้วยวิมุตติญาณทัสสนะ)
ภิกษุทั้งหลาย สัมปทา ๕ ประการนี้แล
ทุติยสัมปทาสูตรที่ ๒ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๑๖๓ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๕. กกุธวรรค ๔. ผาสุวิหารสูตร
๓. พยากรณสูตร
ว่าด้วยการพยากรณ์อรหัตตผล
[๙๓] ภิกษุทั้งหลาย การพยากรณ์อรหัตตผล๑ ๕ ประการนี้
การพยากรณ์อรหัตตผล ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. พยากรณ์อรหัตตผล เพราะโง่เขลา เพราะหลงงมงาย
๒. มีความปรารถนาชั่ว ถูกความปรารถนาครอบงำ จึงพยากรณ์
อรหัตตผล
๓. พยากรณ์อรหัตตผล เพราะความบ้า เพราะจิตฟุ้งซ่าน
๔. พยากรณ์อรหัตตผล เพราะสำคัญว่าได้บรรลุ
๕. พยากรณ์อรหัตตผลโดยถูกต้อง
ภิกษุทั้งหลาย การพยากรณ์อรหัตตผล ๕ ประการนี้แล
พยากรณสูตรที่ ๓ จบ

๔. ผาสุวิหารสูตร
ว่าด้วยผาสุวิหารธรรม๒
[๙๔] ภิกษุทั้งหลาย ผาสุวิหารธรรม ๕ ประการนี้
ผาสุวิหารธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. สงัดจากกาม และอกุศลธรรมทั้งหลาย บรรลุปฐมฌาน ฯลฯ๓ อยู่
๒. เพราะวิตกวิจารสงบระงับไปบรรลุทุติยฌาน ฯลฯ อยู่
๓. เพราะปีติจางคลายไปมีอุเบกขามีสติสัมปชัญญะเสวยสุขด้วยนาม
กายบรรลุตติยฌาน ฯลฯ อยู่

เชิงอรรถ :
๑ พยากรณ์อรหัตตผล ในที่นี้หมายถึงการกล่าวอ้างว่าตนได้บรรลุอรหัตตผล (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๙๓/๔๔)
๒ ผาสุวิหารธรรม หมายถึงธรรมเครื่องอยู่เป็นสุข (สุขวิหาระ) (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๙๔-๙๕/๔๔)
๓ ฯลฯ ที่ปรากฏในสูตรนี้ ดูความเต็มในข้อ ๒๘ (ปัญจังคิกสูตร) หน้า ๓๖-๓๘ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๑๖๔ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๕. กกุธวรรค ๕. อกุปปสูตร
๔. เพราะละสุขและทุกข์ได้ เพราะโสมนัสและโทมนัสดับไปก่อนแล้ว
บรรลุจตุตถฌาน ฯลฯ อยู่
๕. ทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันไม่มีอาสวะเพราะอาสวะสิ้น
ไปด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ ในปัจจุบัน
ภิกษุทั้งหลาย ผาสุวิหารธรรม ๕ ประการนี้แล
ผาสุวิหารสูตรที่ ๔ จบ

๕. อกุปปสูตร
ว่าด้วยอกุปปธรรม๑
[๙๕] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ไม่นานนักก็จะ
บรรลุอกุปปธรรม
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เป็นผู้บรรลุอัตถปฏิสัมภิทา (ปัญญาแตกฉานในอรรถ)
๒. เป็นผู้บรรลุธัมมปฏิสัมภิทา (ปัญญาแตกฉานในธรรม)
๓. เป็นผู้บรรลุนิรุตติปฏิสัมภิทา (ปัญญาแตกฉานในนิรุตติ)
๔. เป็นผู้บรรลุปฏิภาณปฏิสัมภิทา๒ (ปัญญาแตกฉานในปฏิภาณ)
๕. พิจารณาจิตตามที่หลุดพ้นแล้ว
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ไม่นานนักก็จะบรรลุ
อกุปปธรรม
อกุปปสูตรที่ ๕ จบ

เชิงอรรถ :
๑ อกุปปธรรม หมายถึงพระอรหัตตผล (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๙๔-๙๕/๔๔)
๒ ดู องฺ.จตุกฺก. (แปล) ๒๑/๑๗๒/๒๔๒-๒๔๓, ขุ.ป. ๓๑/๑๑๐/๑๒๓, ๓๐/๓๕๘, อภิ.วิ. (แปล) ๓๕/๗๑๘/๔๕๙

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๑๖๕ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๕. กกุธวรรค ๖. สุตธรสูตร
๖. สุตธรสูตร
ว่าด้วยภิกษุผู้ทรงสุตะ
[๙๖] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ เสพ๑อานาปาน-
สติกัมมัฏฐานอยู่ ไม่นานนัก ย่อมบรรลุอกุปปธรรม
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เป็นผู้มีธุระน้อย มีกิจน้อย เลี้ยงง่าย สันโดษในบริขารแห่งชีวิต
๒. เป็นผู้มีอาหารน้อย หมั่นประกอบความไม่เห็นแก่ปากแก่ท้อง
๓. เป็นผู้มีการหลับน้อย หมั่นประกอบความเพียรเครื่องตื่นอยู่
๔. เป็นพหูสูต ทรงสุตะ สั่งสมสุตะ เป็นผู้ได้ฟังมากซึ่งธรรมทั้งหลาย
ที่มีความงามในเบื้องต้น มีความงามในท่ามกลาง มีความงามใน
ที่สุด ประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถและพยัญชนะ บริสุทธิ์ บริบูรณ์
ครบถ้วน แล้วทรงจำไว้ได้ คล่องปาก ขึ้นใจ แทงตลอดดี
ด้วยทิฏฐิ
๕. พิจารณาจิตตามที่หลุดพ้นแล้ว
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล เสพอานาปานสติ-
กัมมัฏฐานอยู่ ไม่นานนัก ย่อมบรรลุอกุปปธรรม
สุตธรสูตรที่ ๖ จบ

เชิงอรรถ :
๑ ดูเชิงอรรถที่ ๒ ข้อ ๕๗ (ฐานสูตร) หน้า ๑๐๒ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๑๖๖ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๕. กกุธวรรค ๗. กถาสูตร
๗. กถาสูตร
ว่าด้วยกถาเครื่องขัดเกลากิเลส
[๙๗] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ เจริญอานาปาน-
สติกัมมัฏฐานอยู่ ไม่นานนัก ย่อมบรรลุอกุปปธรรม
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เป็นผู้มีธุระน้อย มีกิจน้อย เลี้ยงง่าย สันโดษในบริขารแห่งชีวิต
๒. เป็นผู้มีอาหารน้อย หมั่นประกอบความไม่เห็นแก่ปากแก่ท้อง
๓. เป็นผู้มีการหลับน้อย หมั่นประกอบความเพียรเครื่องตื่นอยู่
๔. เป็นผู้ได้กถาเป็นเครื่องขัดเกลาอย่างยิ่ง เป็นสัปปายะแห่งความเป็น
ไปของจิต คือ อัปปิจฉกถา สันตุฏฐิกถา ปวิเวกกถา อสังสัคคกถา
วีริยารัมภกถา สีลกถา สมาธิกถา ปัญญากถา วิมุตติกถา วิมุตติ-
ญาณทัสสนกถา ตามความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ได้ไม่ลำบาก
๕. พิจารณาจิตตามที่หลุดพ้นแล้ว
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล เจริญอานาปานสติ-
กัมมัฏฐานอยู่ ไม่นานนัก ย่อมบรรลุอกุปปธรรม
กถาสูตรที่ ๗ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๑๖๗ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๕. กกุธวรรค ๙. สีหสูตร
๘. อารัญญกสูตร
ว่าด้วยภิกษุผู้อยู่ป่าเป็นวัตร
[๙๘] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ทำอานาปานสติ-
กัมมัฏฐานให้มากอยู่ ไม่นานนัก ย่อมบรรลุอกุปปธรรม
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เป็นผู้มีธุระน้อย มีกิจน้อย เลี้ยงง่าย สันโดษในบริขารแห่งชีวิต
๒. เป็นผู้มีอาหารน้อย หมั่นประกอบความไม่เห็นแก่ปากแก่ท้อง
๓. เป็นผู้มีการหลับน้อย หมั่นประกอบความเพียรเครื่องตื่นอยู่
๔. ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร อยู่ในเสนาสนะอันเงียบสงัด
๕. พิจารณาจิตตามที่หลุดพ้นแล้ว
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ทำอานาปานสติ-
กัมมัฏฐานให้มากอยู่ ไม่นานนัก ย่อมบรรลุอกุปปธรรม
อารัญญกสูตรที่ ๘ จบ

๙. สีหสูตร
ว่าด้วยพญาราชสีห์
[๙๙] ภิกษุทั้งหลาย ในเวลาเย็น พญาราชสีห์ออกจากที่อาศัยแล้วบิดกาย
ชำเลืองดูรอบ ๆ ทั้ง ๔ ทิศ บรรลือสีหนาท ๓ ครั้ง แล้วก็หลีกไปหากิน พญา-
ราชสีห์นั้น ถ้าแม้จะจับช้าง ก็จับได้แม่นยำ ไม่พลาด แม้จะจับกระบือ ก็จับได้
แม่นยำ ไม่พลาด แม้จะจับโค ก็จับได้แม่นยำ ไม่พลาด แม้จะจับเสือเหลือง ก็จับได้
แม่นยำ ไม่พลาด แม้จะจับพวกสัตว์เล็กๆ โดยที่สุดแม้กระต่ายและแมว ก็จับได้
แม่นยำ ไม่พลาดทีเดียว ข้อนั้น เพราะเหตุไร เพราะพญาราชสีห์นั้นคิดว่า “ช่องทาง
หากินของเราอย่าเสียไป”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๑๖๘ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๕. กกุธวรรค ๙. สีหสูตร
ภิกษุทั้งหลาย คำว่า สีหะ นี้เป็นชื่อของตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
อาการที่ตถาคตแสดงธรรมแก่บริษัท เป็นสีหนาท๑ของตถาคตแท้ คือ ตถาคต
๑. แม้จะแสดงธรรมแก่ภิกษุทั้งหลาย ก็แสดงโดยเคารพ๒ ไม่แสดง
โดยไม่เคารพ
๒. แม้จะแสดงธรรมแก่ภิกษุณีทั้งหลาย ก็แสดงโดยเคารพ ไม่แสดง
โดยไม่เคารพ
๓. แม้จะแสดงธรรมแก่อุบาสกทั้งหลาย ก็แสดงโดยเคารพ ไม่แสดง
โดยไม่เคารพ
๔. แม้จะแสดงธรรมแก่อุบาสิกาทั้งหลาย ก็แสดงโดยเคารพ ไม่แสดง
โดยไม่เคารพ
๕. แม้จะแสดงธรรมแก่ปุถุชนทั้งหลาย ก็แสดงโดยเคารพ ไม่แสดงโดย
ไม่เคารพ โดยที่สุดแม้จะแสดงแก่คนขอทานและพรานนก๓ ก็แสดง
โดยเคารพ ไม่แสดงโดยไม่เคารพ
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
ภิกษุทั้งหลาย เพราะตถาคตเป็นผู้หนักในธรรม เคารพธรรม
สีหสูตรที่ ๙ จบ

เชิงอรรถ :
๑ สีหนาท หมายถึงคำพูดที่ตรัสด้วยท่าทีองอาจดังพญาราชสีห์ ไม่ทรงหวั่นเกรงผู้ใด เพราะทรงมั่นพระทัย
ในศีล สมาธิ และปัญญาของพระองค์ (ที.สี.ฏีกา ๔๐๓/๔๓๒)
๒ คำว่า โดยเคารพ แปลจากคำว่า “สกฺกจฺจํ” ในที่นี้หมายถึงความตั้งใจจริง เอาจริงเอาจังถือเป็นเรื่องสำคัญ
ดุจในประโยคว่า “วจฺฉกํ สกฺกจฺจํ อุปนิชฺฌายติ” แปลว่า “จ้องดูลูกวัวอย่างสนใจจริงจัง” (วิ.ม. ๕/๒๕๕/๑๙)
และเทียบ ที.ปา.อ. ๒๖๗/๑๔๗, องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๑๕๔/๕๙
๓ ตามนัย องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๙๙/๔๕

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๑๖๙ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๕. กกุธวรรค ๑๐. กกุธเถรสูตร
๑๐. กกุธเถรสูตร
ว่าด้วยกกุธเทพบุตรกับพระมหาโมคคัลลานะ
[๑๐๐] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ โฆสิตาราม เขตกรุงโกสัมพี
สมัยนั้นแล บุตรเจ้าโกลิยะนามว่ากกุธะเป็นอุปัฏฐากของท่านพระมหาโมคคัลลานะ
สิ้นชีพิตักษัยได้ไม่นาน เข้าถึงชั้นกายมโนมัย๑ชั้นใดชั้นหนึ่ง เป็นผู้ได้อัตภาพใหญ่
เหมือนคามเขตในแคว้นมคธสองสามหมู่ เพราะการได้อัตภาพนั้น เขาจึงไม่ทำตนให้
เดือดร้อน ไม่ทำให้ผู้อื่นเดือดร้อน
ครั้งนั้น กกุธเทพบุตรได้เข้าไปหาท่านพระมหาโมคคัลลานะถึงที่อยู่ ไหว้แล้ว
ยืนอยู่ ณ ที่สมควร ครั้นแล้ว ได้กล่าวอย่างนี้ว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ พระเทวทัต
เกิดความปรารถนาอย่างนี้ว่า ‘เราจักปกครองภิกษุสงฆ์ และพระเทวทัตได้เสื่อมจาก
ฤทธิ์นั้นพร้อมกับจิตตุปบาท’ กกุธเทพบุตรครั้นกล่าวดังนี้แล้ว ได้ไหว้ท่านพระมหา-
โมคคัลลานะทำประทักษิณแล้วหายไป ณ ที่นั้น นั่นเอง
ลำดับนั้น ท่านพระมหาโมคคัลลานะ ได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
ถวายอภิวาทแล้ว นั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บุตรของเจ้าโกลิยะนามว่ากกุธะเป็นอุปัฏฐากของ
ข้าพระองค์ สิ้นชีพิตักษัยได้ไม่นาน เข้าถึงชั้นกายมโนมัยชั้นใดชั้นหนึ่ง เป็นผู้
ได้อัตภาพใหญ่เหมือนคามเขตในแคว้นมคธสองสามหมู่ เพราะการได้อัตภาพนั้น
เขาจึงไม่ทำตนให้เดือดร้อน ไม่ทำให้ผู้อื่นเดือดร้อน ต่อมากกุธเทพบุตรได้เข้าไป
หาข้าพระองค์ถึงที่อยู่ ไหว้แล้ว ยืนอยู่ ณ ที่สมควร ได้กล่าวกับข้าพระองค์
ดังนี้ว่า ‘ข้าแต่ท่านผู้เจริญ พระเทวทัตเกิดความปรารถนาอย่างนี้ว่า เราจักปกครอง


เชิงอรรถ :
๑ ดูเชิงอรรถที่ ๑ ข้อ ๔๔ (มนาปทายีสูตร) หน้า ๗๒ ในเล่มนี้


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๑๗๐ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๕. กกุธวรรค ๑๐. กกุธเถรสูตร
ภิกษุสงฆ์ และพระเทวทัตได้เสื่อมจากฤทธิ์นั้นพร้อมกับจิตตุปบาท’ กกุธเทพบุตร
ครั้นกล่าวดังนี้แล้ว ได้ไหว้ข้าพระองค์ทำประทักษิณแล้วหายไป ณ ที่นั้นนั่นเอง”
พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “โมคคัลลานะ เธอกำหนดรู้กกุธเพพบุตรด้วย
ใจดีแล้วหรือว่า ‘กกุธเทพบุตรกล่าวสิ่งหนึ่งสิ่งใด สิ่งนั้นทั้งหมดย่อมเป็นอย่างนั้น
ทีเดียว ไม่เป็นอย่างอื่น”
ท่านพระมหาโมคคัลลานะกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์
กำหนดรู้กกุธเทพบุตรด้วยใจดีแล้วว่า ‘กกุธเทพบุตรกล่าวสิ่งหนึ่งสิ่งใด สิ่งนั้น
ทั้งหมดย่อมเป็นอย่างนั้นทีเดียว ไม่เป็นอย่างอื่น”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า โมคคัลลานะ เธอจงรักษาวาจานั้น โมคคัลลานะ
เธอจงรักษาวาจานั้น บัดนี้ โมฆบุรุษ๑นั้นจักทำตนให้ปรากฏด้วยตนเอง โมคคัลลานะ
ศาสดา ๕ จำพวกนี้ มีปรากฏอยู่ในโลก
ศาสดา ๕ จำพวกไหนบ้าง คือ
๑. ศาสดาบางท่านในโลกนี้เป็นผู้มีศีลไม่บริสุทธิ์แต่ปฏิญญาว่า “เรา
เป็นผู้มีศีลบริสุทธิ์ ศีลของเราบริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ไม่เศร้าหมอง”
พวกสาวกรู้จักเขาอย่างนี้ว่า “ศาสดาท่านนี้เป็นผู้มีศีลไม่บริสุทธิ์
แต่ปฏิญญาว่า ‘เราเป็นผู้มีศีลบริสุทธิ์ ศีลของเราบริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว
ไม่เศร้าหมอง’ แต่ถ้าพวกเราจักบอกแก่พวกคฤหัสถ์ ก็จะไม่เป็นที่
พอใจของท่าน พวกเราจะกล่าวถ้อยคำที่ท่านไม่พอใจได้อย่างไร
อนึ่ง มหาชนก็ยกย่องท่านด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และ
คิลานปัจจัยเภสัชชบริขารด้วยคิดว่า ‘ศาสดาท่านนี้จักทำกรรมใด
เขาเองก็จักปรากฏด้วยกรรมนั้น” พวกสาวกรักษาศาสดาเช่นนี้
โดยศีล และศาสดาเช่นนี้ก็หวังการรักษาจากพวกสาวกโดยศีล

เชิงอรรถ :
๑ โมฆบุรุษ (บุรุษเปล่า) เป็นคำที่พระพุทธเจ้าตรัสเรียกภิกษุที่เป็นมิจฉาทิฏฐิ (ตุจฺฉปุริโส) (องฺ.ปญฺจก.อ.
๓/๑๐๐/๔๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๑๗๑ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๕. กกุธวรรค ๑๐. กกุธเถรสูตร
๒. ศาสดาบางท่านในโลกนี้เป็นผู้มีอาชีพไม่บริสุทธิ์แต่ปฏิญญาว่า
“เราเป็นผู้มีอาชีพบริสุทธิ์ อาชีพของเราบริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ไม่เศร้า
หมอง” พวกสาวกรู้จักเขาอย่างนี้ว่า “ศาสดาท่านนี้มีอาชีพไม่
บริสุทธิ์แต่ปฏิญญาว่า ‘เราเป็นผู้มีอาชีพบริสุทธิ์ อาชีพของเรา
บริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ไม่เศร้าหมอง’ แต่ถ้าพวกเราพึงบอกแก่พวก
คฤหัสถ์ ก็จะไม่เป็นที่พอใจของท่าน พวกเราจะกล่าวถ้อยคำที่ท่าน
ไม่พอใจได้อย่างไร อนึ่ง มหาชนก็ยกย่องท่านด้วยจีวร บิณฑบาต
เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชชบริขารด้วยคิดว่า ‘ศาสดาท่านนี้
จักทำกรรมใด เขาเองก็จักปรากฏด้วยกรรมนั้น” พวกสาวกรักษา
ศาสดาเช่นนี้โดยอาชีพ และศาสดาเช่นนี้ก็หวังการรักษาจากพวก
สาวกโดยอาชีพ
๓. ศาสดาบางท่านในโลกนี้เป็นผู้มีธรรมเทศนาไม่บริสุทธิ์ แต่ปฏิญญา
ว่า “เราเป็นผู้มีธรรมเทศนาบริสุทธิ์ ธรรมเทศนาของเราบริสุทธิ์
ผ่องแผ้ว ไม่เศร้าหมอง” พวกสาวกรู้จักเขาอย่างนี้ว่า “ศาสดา
ท่านนี้เป็นผู้มีธรรมเทศนาไม่บริสุทธิ์แต่ปฏิญญาว่า ‘เราเป็นผู้มี
ธรรมเทศนาบริสุทธิ์ ธรรมเทศนาของเราบริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ไม่เศร้า
หมอง’ แต่ถ้าพวกเราพึงบอกแก่พวกคฤหัสถ์ ก็จะไม่เป็นที่พอใจ
ของท่าน พวกเราจะกล่าวถ้อยคำที่ท่านไม่พอใจได้อย่างไร อนึ่ง
มหาชนก็ยกย่องท่านด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลาน-
ปัจจัยเภสัชชบริขารด้วยคิดว่า ‘ศาสดาท่านนี้จักทำกรรมใด เขาเอง
ก็จักปรากฏด้วยกรรมนั้น” พวกสาวกรักษาศาสดาเช่นนี้โดยธรรม
เทศนา และศาสดาเช่นนี้ก็หวังการรักษาจากพวกสาวกโดยธรรม-
เทศนา
๔. ศาสดาบางท่านในโลกนี้เป็นผู้มีเวยยากรณะไม่บริสุทธิ์แต่ปฏิญญา
ว่า “เราเป็นผู้มีเวยยากรณะบริสุทธิ์ เวยยากรณะของเราบริสุทธิ์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๑๗๒ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๕. กกุธวรรค ๑๐. กกุธเถรสูตร
ผ่องแผ้ว ไม่เศร้าหมอง” พวกสาวกรู้จักเขาอย่างนี้ว่า “ศาสดา
ท่านนี้เป็นผู้มีเวยยากรณะไม่บริสุทธิ์แต่ปฏิญณาว่า ‘เราเป็นผู้มี
เวยยากรณะบริสุทธิ์ เวยยากรณะของเราบริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ไม่เศร้า
หมอง’ แต่ถ้าพวกเราพึงบอกแก่พวกคฤหัสถ์ ก็จะไม่เป็นที่พอใจ
ของท่าน พวกเราจะกล่าวถ้อยคำที่ท่านไม่พอใจได้อย่างไร อนึ่ง
มหาชนก็ยกย่องท่านด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะและคิลานปัจจัย
เภสัชชบริขารด้วยคิดว่า ‘ศาสดาท่านนี้จักทำกรรมใด เขาเองก็จัก
ปรากฏด้วยกรรมนั้น” พวกสาวกรักษาศาสดาเช่นนี้โดยเวยยากรณะ
และศาสดาเช่นนี้ก็หวังการรักษาจากพวกสาวกโดยเวยยากรณะ
๕. ศาสดาบางท่านในโลกนี้เป็นผู้มีญาณทัสสนะไม่บริสุทธิ์แต่ปฏิญญา
ว่า “เราเป็นผู้มีญาณทัสสนะบริสุทธิ์ ญาณทัสสนะของเราบริสุทธิ์
ผ่องแผ้ว ไม่เศร้าหมอง” พวกสาวกย่อมรู้จักเขาอย่างนี้ว่า “ศาสดา
ท่านนี้เป็นผู้มีญาณทัสสนะไม่บริสุทธิ์แต่ปฏิญญาว่า ‘เราเป็นผู้
มีญาณทัสสนะบริสุทธิ์ ญาณทัสสนะของเราบริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว
ไม่เศร้าหมอง’ แต่ถ้าพวกเราพึงบอกแก่พวกคฤหัสถ์ ก็จะไม่เป็น
ที่พอใจของท่าน พวกเราจะกล่าวถ้อยคำที่ท่านไม่พอใจได้อย่างไร
อนึ่ง มหาชนก็ยกย่องท่านด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และ
คิลานปัจจัยเภสัชบริขารด้วยคิดว่า ‘ศาสดาท่านนี้จักทำกรรมใด
เขาเองก็จักปรากฏด้วยกรรมนั้น” พวกสาวกรักษาศาสดาเช่นนี้โดย
ญาณทัสสนะ และศาสดาเช่นนี้ก็หวังการรักษาจากพวกสาวกโดย
ญาณทัสสนะ
โมคคัลลานะ ศาสดา ๕ จำพวกนี้แล มีปรากฏอยู่ในโลก
โมคคัลลานะ เรามีศีลบริสุทธิ์จึงปฏิญญาว่า“เราเป็นผู้มีศีลบริสุทธิ์ ศีลของเรา
บริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ไม่เศร้าหมอง” พวกสาวกไม่รักษาเราโดยศีล และเราก็ไม่หวังการ
รักษาจากพวกสาวกโดยศีล เรามีอาชีพบริสุทธิ์จึงปฏิญญาว่า “เราเป็นผู้มีอาชีพ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๑๗๓ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๕. กกุธวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค
บริสุทธิ์ อาชีพของเราบริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ไม่เศร้าหมอง” พวกสาวกไม่รักษาเราโดย
อาชีพ และเราก็ไม่หวังการรักษาจากพวกสาวกโดยอาชีพ เรามีธรรมเทศนาบริสุทธิ์
จึงปฏิญญาว่า “เราเป็นผู้มีธรรมเทศนาบริสุทธิ์ ธรรมเทศนาของเราบริสุทธิ์
ผ่องแผ้ว ไม่เศร้าหมอง” พวกสาวกไม่รักษาเราโดยธรรมเทศนา และเราก็ไม่หวัง
การรักษาจากพวกสาวกโดยธรรมเทศนา เรามีเวยยากรณะบริสุทธิ์จึงปฏิญญาว่า
“เราเป็นผู้มีเวยยากรณะบริสุทธิ์ เวยยากรณะของเราบริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ไม่เศร้า
หมอง” พวกสาวกไม่รักษาเราโดยเวยยากรณะ และเราก็ไม่หวังการรักษาจากพวก
สาวกโดยเวยยากรณะ เรามีญาณทัสสนะบริสุทธิ์จึงปฏิญาณว่า “เราเป็นผู้มีญาณ-
ทัสสนะบริสุทธิ์ ญาณทัสสนะของเราบริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ไม่เศร้าหมอง” พวก
สาวกไม่รักษาเราโดยญาณทัสสนะ และเราก็ไม่หวังการรักษาจากพวกสาวกโดย
ญาณทัสสนะ
กกุธเถรสูตรที่ ๑๐ จบ
กกุธวรรคที่ ๕ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. ปฐมสัมปทาสูตร ๒. ทุติยสัมปทาสูตร
๓. พยากรณสูตร ๔. ผาสุวิหารสูตร
๕. อกุปปสูตร ๖. สุตธรสูตร
๗. กถาสูตร ๘. อารัญญกสูตร
๙. สีหสูตร ๑๐. กกุธเถรสูตร

ทุติยปัณณาสก์ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๑๗๔ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์] ๑. ผาสุวิหารวรรค ๑. สารัชชสูตร
๓. ตติยปัณณาสก์
๑. ผาสุวิหารวรรค
หมวดว่าด้วยผาสุวิหารธรรม
๑. สารัชชสูตร
ว่าด้วยความแกล้วกล้าและความครั่นคร้าม๑
[๑๐๑] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย ธรรมเครื่องทำความแกล้วกล้า
สำหรับภิกษุผู้เป็นเสขะ ๕ ประการนี้
ธรรมเครื่องทำความแกล้วกล้าสำหรับภิกษุผู้เป็นเสขะ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เป็นผู้มีศรัทธา
๒. เป็นผู้มีศีล
๓. เป็นพหูสูต
๔. เป็นผู้ปรารภความเพียร
๕. เป็นผู้มีปัญญา
ผู้ไม่มีศรัทธามีความครั่นคร้ามใด แต่ผู้มีศรัทธาหามีความครั่นคร้ามนั้นไม่ ฉะนั้น
ธรรมนี้จึงชื่อว่าเครื่องทำความแกล้วกล้าสำหรับภิกษุผู้เป็นเสขะ
ผู้ทุศีลมีความครั่นคร้ามใด แต่ผู้มีศีลหามีความครั่นคร้ามนั้นไม่ ฉะนั้น ธรรมนี้
จึงชื่อว่าเครื่องทำความแกล้วกล้าสำหรับภิกษุผู้เป็นเสขะ

เชิงอรรถ :
๑ ความครั่นคร้าม ในที่นี้หมายถึงโทมนัส(ความทุกข์ใจ) (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๑๐๑/๔๖)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๑๗๕ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์] ๑. ผาสุวิหารวรรค ๒. อุสสังกิตสูตร
ผู้มีสุตะน้อยมีความครั่นคร้ามใด แต่ผู้เป็นพหูสูตหามีความครั่นคร้ามนั้นไม่ ฉะนั้น
ธรรมนี้จึงชื่อว่าเครื่องทำความแกล้วกล้าสำหรับภิกษุผู้เป็นเสขะ
ผู้เกียจคร้านมีความครั่นคร้ามใด แต่ผู้ปรารภความเพียรหามีความครั่นคร้าม
นั้นไม่ ฉะนั้น ธรรมนี้จึงชื่อว่าเครื่องทำความแกล้วกล้าสำหรับภิกษุผู้เป็นเสขะ
ผู้มีปัญญาทรามมีความครั่นคร้ามใด แต่ผู้มีปัญญาหามีความครั่นคร้ามนั้นไม่
ฉะนั้น ธรรมนี้จึงชื่อว่าเครื่องทำความแกล้วกล้าสำหรับภิกษุผู้เป็นเสขะ
ภิกษุทั้งหลาย ธรรมเครื่องทำความแกล้วกล้าสำหรับภิกษุผู้เป็นเสขะ ๕ ประการ
นี้แล
สารัชชสูตรที่ ๑ จบ

๒. อุสสังกิตสูตร
ว่าด้วยธรรมที่ทำให้น่ารังเกียจ
[๑๐๒] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อมเป็นที่
รังเกียจสงสัยว่า ‘เป็นภิกษุชั่ว’ แม้จะเป็นผู้มีอกุปปธรรม๑ก็ตาม
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เป็นผู้มีหญิงแพศยา๒เป็นโคจร๓
๒. เป็นผู้มีหญิงหม้ายเป็นโคจร

เชิงอรรถ :
๑ ผู้มีอกุปปธรรม ในที่นี้หมายถึงพระขีณาสพ (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๑๐๒/๔๖)
๒ หญิงแพศยา หมายถึงหญิงที่เลี้ยงชีพด้วยอาศัยเรือนร่างของตน (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๑๐๒/๔๖)
๓ โคจร ในที่นี้หมายถึงการไปมาหาสู่บ่อย ๆ (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๑๐๓/๔๖) อีกนัยหยึ่ง หมายถึงสถานที่
สำหรับเข้าไปเพื่อบิณฑบาต หรือเข้าไปเพื่อสร้างความคุ้นเคยฉันมิตร หญิงเหล่านี้ ภิกษุไม่ควรเข้าไปหา
เพื่อสร้างความคุ้นเคยฉันมิตร เพราะจะเป็นเหตุก่ออันตรายแก่สมณภาวะและก่อคำติเตียนแก่ภิกษุผู้บริสุทธิ์ได้
(องฺ.ปญฺจก.ฏีกา ๓/๑๐๑-๑๐๔/๔๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๑๗๖ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์] ๑. ผาสุวิหารวรรค ๓. มหาโจรสูตร
๓. เป็นผู้มีสาวเทื้อ๑เป็นโคจร
๔. เป็นผู้มีบัณเฑาะก์๒เป็นโคจร
๕. เป็นผู้มีภิกษุณีเป็นโคจร
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมเป็นที่รังเกียจ
สงสัยว่า ‘เป็นภิกษุชั่ว’ แม้จะเป็นผู้มีอกุปปธรรมก็ตาม
อุสสังกิตสูตรที่ ๒ จบ

๓. มหาโจรสูตร
ว่าด้วยองค์ประกอบของมหาโจร๓
[๑๐๓] ภิกษุทั้งหลาย มหาโจรประกอบด้วยองค์ ๕ ประการ ย่อมงัดแงะบ้าง
ทำการปล้นบ้าง ล้อมปล้นเรือนหลังเดียวบ้าง ดักปล้นในทางเปลี่ยวบ้าง
องค์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
มหาโจรในโลกนี้
๑. อาศัยที่ขรุขระ ๒. อาศัยป่ารก
๓. อาศัยผู้มีอิทธิพล ๔. แจกจ่ายโภคทรัพย์
๕. เที่ยวไปคนเดียว
มหาโจรอาศัยที่ขรุขระ เป็นอย่างไร
คือ มหาโจรในโลกนี้อาศัยเกาะแก่งแห่งแม่น้ำ หรือที่ขรุขระแห่งภูเขา มหาโจร
อาศัยที่ขรุขระเป็นอย่างนี้แล

เชิงอรรถ :
๑ สาวเทื้อ หมายถึงสาวแก่ (มหลฺลิกกุมารี) (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๑๐๒/๔๖)
๒ บัณเฑาะก์ หมายถึงขันที ชายที่ถูกตอน พจนานุกรมบาลีสันกฤต แปลว่า กระเทย มี ๓ จำพวก คือ
บัณเฑาะก์ที่เป็นมนุษย์ บัณเฑาะก์ที่เป็นอมนุษย์ บัณเฑาะก์ที่เป็นสัตว์ดิรัจฉาน ดู วิ.มหา. (แปล) ๑/๕๖/๔๓
๓ ดู องฺ.ติก. (แปล) ๒๐/๕๑/๒๑๑

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๑๗๗ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์] ๑. ผาสุวิหารวรรค ๓. มหาโจรสูตร
มหาโจรอาศัยป่ารก เป็นอย่างไร
คือ มหาโจรในโลกนี้อาศัยป่ารกด้วยหญ้าบ้าง ป่ารกด้วยต้นไม้บ้าง ป่าที่มี
แนวป้องกันบ้าง แนวป่าใหญ่บ้าง มหาโจรอาศัยป่ารก เป็นอย่างนี้แล
มหาโจรอาศัยผู้มีอิทธิพล เป็นอย่างไร
คือ มหาโจรในโลกนี้อาศัยพระราชาหรือมหาอำมาตย์ของพระราชา เขาคิด
อย่างนี้ว่า ‘ถ้าใครจักกล่าวหาอะไรเรา พระราชาหรือมหาอำมาตย์ของพระราชา
เหล่านี้ ก็จักว่าคดีความช่วยปกป้องเรา’ ถ้าใครกล่าวหาอะไรมหาโจรนั้น พระราชา
หรือมหาอำมาตย์ของพระราชานั้น ต่างก็ว่าคดีความช่วยปกป้องเขา มหาโจรอาศัย
ผู้มีอิทธิพล เป็นอย่างนี้แล
มหาโจรแจกจ่ายโภคทรัพย์ เป็นอย่างไร
คือ มหาโจรในโลกนี้เป็นผู้มั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีสมบัติมาก เขาคิดอย่างนี้ว่า
‘ถ้าใครจักกล่าวหาอะไรเรา เราก็จักจ่ายโภคทรัพย์กลบเกลื่อนเรื่องนั้น’ ถ้าใคร
กล่าวหาอะไรมหาโจรนั้น เขาก็จ่ายโภคทรัพย์กลบเกลื่อนเรื่องนั้น มหาโจรแจกจ่าย
โภคทรัพย์ เป็นอย่างนี้แล
มหาโจรเที่ยวไปคนเดียว เป็นอย่างไร
คือ มหาโจรในโลกนี้เป็นผู้ทำโจรกรรมคนเดียว ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะเขา
ย่อมปรารถนาว่า ‘เรื่องลับของเราอย่าได้แพร่งพรายออกไปภายนอก’ มหาโจรเที่ยว
ไปคนเดียว เป็นอย่างนี้แล
มหาโจรประกอบด้วยองค์ ๕ ประการนี้แล ย่อมงัดแงะบ้าง ทำการปล้นบ้าง
ล้อมปล้นเรือนหลังเดียวบ้าง ดักปล้นในทางเปลี่ยวบ้าง ฉันใด
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุชั่วประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน
ย่อมบริหารตนให้ถูกกำจัด ถูกทำลาย มีความเสียหาย ถูกผู้รู้ติเตียน และประสพ๑
สิ่งที่ไม่ใช่บุญเป็นอันมาก

เชิงอรรถ :
๑ ประสพ (ปสวติ) ในที่นี้หมายถึงได้ผลสะท้อนหรือผลย้อนกลับ(ปฏิลภติ) (องฺ.ติก.อ. ๒/๔๑/๑๔๘, องฺ.จตุกฺก.
อ. ๒/๔/๒๘๑ )

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๑๗๘ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์] ๑. ผาสุวิหารวรรค ๓. มหาโจรสูตร
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุชั่วในธรรมวินัยนี้
๑. อาศัยกรรมที่ไม่ตรงไปตรงมา ๒. อาศัยที่เร้นลับ
๓. อาศัยผู้มีอิทธิพล ๔. แจกจ่ายโภคทรัพย์
๕. เที่ยวไปรูปเดียว
ภิกษุชั่วอาศัยกรรมที่ไม่ตรงไปตรงมา เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุชั่วในธรรมวินัยนี้ประกอบกายกรรม วจีกรรม มโนกรรม ที่ไม่ตรงไป
ตรงมา ภิกษุชั่วอาศัยกรรมที่ไม่ตรงไปตรงมา เป็นอย่างนี้แล
ภิกษุชั่วอาศัยกรรมที่เร้นลับ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุชั่วในธรรมวินัยนี้เป็นมิจฉาทิฏฐิ ประกอบด้วยอันตคาหิกทิฏฐิ๑ ภิกษุ
ชั่วอาศัยกรรมที่เร้นลับ เป็นอย่างนี้แล
ภิกษุชั่วอาศัยผู้มีอิทธิพล เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุชั่วในธรรมวินัยนี้อาศัยพระราชาหรือมหาอำมาตย์ของพระราชา
ภิกษุนั้นคิดอย่างนี้ว่า ‘ถ้าใครจักกล่าวหาอะไรเรา พระราชาหรือมหาอำมาตย์ของ
พระราชาเหล่านี้ ก็จักว่าคดีความช่วยปกป้องเรา’ ถ้าใครว่ากล่าวอะไรภิกษุนั้น
พระราชาหรือมหาอำมาตย์ของพระราชานั้น ต่างก็ว่าคดีความช่วยปกป้องเธอ ภิกษุ
ชั่วอาศัยผู้มีอิทธิพล เป็นอย่างนี้แล

เชิงอรรถ :
๑ อันตคาหิกทิฏฐิ หมายถึงความเห็นผิดแล่นไปสุดโต่งข้างใดข้างหนึ่ง มี ๑๐ ประการ คือ เห็นว่า (๑) โลก
เที่ยง (๒) โลกไม่เที่ยง (๓) โลกมีที่สุด (๔) โลกไม่มีที่สุด (๕) ชีวะกับสรีระเป็นอย่างเดียวกัน (๖) ชีวะ
กับสรีระเป็นคนละอย่างกัน (๗) หลังจากตายแล้ว ตถาคตเกิดอีก (๘) หลังจากตายแล้ว ตถาคตไม่เกิดอีก
(๙) หลังจากตายแล้ว ตถาคตเกิดอีกก็มี ไม่เกิดอีกก็มี (๑๐) หลังจากตายแล้ว ตถาคตเกิดอีกก็ไม่ใช่
ไม่เกิดอีกก็ไม่ใช่ (องฺ.ทสก. (แปล) ๒๔/๙๓/๒๑๗, อภิ.วิ. (แปล) ๓๕/๙๗๒/๖๒๑, องฺ.ติก.อ. ๒/๕๑/๑๕๖)
ชีวะ ในที่นี้หมายถึงวิญญาณอมตะ หรือ อาตมัน (Soul) (ตามนัย อภิ.ปญฺจ.อ. ๑/๑/๑๒๙)
ตถาคต ในที่นี้ เป็นคำที่ลัทธิอื่น ๆ ใชักันมาก่อนพุทธกาล หมายถึงอัตตา (อาตมัน) ไม่ได้หมายถึง
พระพุทธเจ้า อรรถกถาอธิบายว่าหมายถึงสัตว์ (ที.สี.อ. ๖๕/๑๐๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๑๗๙ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์] ๑. ผาสุวิหารวรรค ๔. สมณสุขุมาลสูตร
ภิกษุชั่วแจกจ่ายโภคทรัพย์ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุชั่วในธรรมวินัยนี้ได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัย-
เภสัชชบริขาร เธอคิดอย่างนี้ว่า ‘ถ้าใครจักกล่าวหาอะไรเรา เราจักแจกจ่ายลาภ
กลบเกลื่อนเรื่องนั้น’ ถ้าใครกล่าวหาอะไรเธอ เธอก็แจกจ่ายลาภกลบเกลื่อนเรื่องนั้น
ภิกษุชั่วแจกจ่ายโภคทรัพย์ เป็นอย่างนี้แล
ภิกษุชั่วเที่ยวไปรูปเดียว เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุชั่วในธรรมวินัยนี้อยู่ที่ชนบทชายแดนรูปเดียว เธอเข้าไปสู่ตระกูลใน
ชนบทนั้นย่อมได้ลาภ ภิกษุชั่วเที่ยวไปรูปเดียวเป็นอย่างนี้แล
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุชั่วประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมบริหารตน
ให้ถูกกำจัด ถูกทำลาย มีความเสียหาย ถูกผู้รู้ติเตียน และประสพสิ่งที่ไม่ใช่บุญ
เป็นอันมาก
มหาโจรสูตรที่ ๓ จบ

๔. สมณสุขุมาลสูตร
ว่าด้วยธรรมของสมณะผู้ละเอียดอ่อน
[๑๐๔] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ชื่อว่าเป็นสมณะ
ผู้ละเอียดอ่อนในหมู่สมณะ
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เมื่อเขาขอร้องจึงใช้สอยจีวรมาก เมื่อเขาไม่
ขอร้องจึงใช้สอยน้อย เมื่อเขาขอร้องจึงฉันบิณฑบาตมาก เมื่อเขา
ไม่ขอร้องจึงฉันน้อย เมื่อเขาขอร้องจึงใช้สอยเสนาสนะมาก เมื่อ
เขาไม่ขอร้องจึงใช้สอยน้อย เมื่อเขาขอร้องจึงใช้สอยคิลานปัจจัย
เภสัชชบริขารมาก เมื่อเขาไม่ขอร้องจึงใช้สอยน้อย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๑๘๐ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์] ๑. ผาสุวิหารวรรค ๔. สมณสุขุมาลสูตร
๒. เธออยู่ร่วมกับเพื่อนพรหมจารีเหล่าใด เพื่อนพรหมจารีเหล่านั้น ก็
ประพฤติต่อเธอด้วยกายกรรมเป็นที่พอใจเป็นส่วนมาก ที่ไม่พอใจ
เป็นส่วนน้อย ประพฤติต่อเธอด้วยวจีกรรมเป็นที่พอใจเป็นส่วนมาก
ที่ไม่พอใจเป็นส่วนน้อย ประพฤติต่อเธอด้วยมโนกรรมเป็นที่พอใจ
เป็นส่วนมาก ที่ไม่พอใจเป็นส่วนน้อย นำสิ่งเป็นที่พอใจมาเป็น
ส่วนมาก ที่ไม่พอใจเป็นส่วนน้อย
๓. เวทนาที่เกิดจากดี เวทนาที่เกิดจากเสมหะ เวทนาที่เกิดจากลม
เวทนาที่เกิดจากไข้สันนิบาต เวทนาที่เกิดจากการเปลี่ยนฤดูกาล
เวทนาที่เกิดจากการผลัดเปลี่ยนอิริยาบถไม่ได้ส่วนกัน เวทนาที่
เกิดจากการพากเพียรเกินกำลัง เวทนาที่เกิดจากผลกรรม ส่วน
มากไม่เกิดแก่เธอ เธอจึงมีความเจ็บไข้น้อย
๔. เธอเป็นผู้ได้ฌาน ๔ อันมีในจิตยิ่ง๑ ซึ่งเป็นเครื่องอยู่เป็นสุขใน
ปัจจุบัน ตามความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ได้โดยไม่ลำบาก
๕. เธอทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันไม่มีอาสวะ เพราะอาสวะ
สิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง เข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ชื่อว่าเป็นสมณะผู้
ละเอียดอ่อนในหมู่สมณะ
บุคคลเมื่อจะกล่าวให้ถูกต้อง พึงกล่าวถึงผู้ใดว่า ‘เป็นสมณะผู้ละเอียดอ่อนใน
หมู่สมณะ’ บุคคลนั้นคือเรานั่นเอง ที่บุคคลเมื่อจะกล่าวให้ถูกต้อง พึงกล่าวว่า ‘เป็น
สมณะผู้ละเอียดอ่อนในหมู่สมณะ’ เพราะเราเมื่อเขาขอร้องจึงใช้สอยจีวรมาก เมื่อ
เขาไม่ขอร้องจึงใช้สอยน้อย เมื่อเขาขอร้องจึงฉันบิณฑบาตมาก เมื่อเขาไม่ขอร้องจึง
ฉันน้อย เมื่อเขาขอร้องจึงใช้สอยเสนาสนะมาก เมื่อเขาไม่ขอร้องจึงใช้สอยน้อย เมื่อ
เขาขอร้องจึงใช้สอยคิลานปัจจัยเภสัชชบริขารมาก เมื่อเขาไม่ของร้องจึงใช้สอยน้อย

เชิงอรรถ :
๑ อันมีในจิตยิ่ง (อภิเจตสิก) ในที่นี้หมายถึงอุปจารสมาธิ (ม.มู.อ. ๑/๖๖/๑๗๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๑๘๑ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์] ๑. ผาสุวิหารวรรค ๕. ผาสุวิหารสูตร
และเราอยู่ร่วมกับภิกษุเหล่าใด ภิกษุเหล่านั้นประพฤติต่อเราด้วยกายกรรม
เป็นที่พอใจเป็นส่วนมาก ที่ไม่พอใจเป็นส่วนน้อย ประพฤติต่อเราด้วยวจีกรรม เป็น
ที่พอใจเป็นส่วนมาก ที่ไม่พอใจเป็นส่วนน้อย ประพฤติต่อเราด้วยมโนกรรมเป็นที่พอใจ
เป็นส่วนมาก ที่ไม่พอใจเป็นส่วนน้อย นำสิ่งเป็นที่พอใจมาเป็นส่วนมาก ที่ไม่พอใจ
เป็นส่วนน้อย และเวทนาที่เกิดจากดี เวทนาที่เกิดจากเสมหะ เวทนาที่เกิดจากลม
เวทนาที่เกิดจากไข้สันนิบาต เวทนาที่เกิดจากการเปลี่ยนฤดูกาล เวทนาที่เกิดจาก
การผลัดเปลี่ยนอิริยาบถไม่ได้ส่วนกัน เวทนาที่เกิดจากการพากเพียรเกินกำลัง และ
เวทนาที่เกิดจากผลกรรม ส่วนมากไม่เกิดแก่เรา เราจึงมีความเจ็บไข้น้อย เราเป็น
ผู้ได้ฌาน ๔ อันมีในจิตยิ่งซึ่งเป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน ตามความปรารถนา
ได้โดยไม่ยาก ได้โดยไม่ลำบาก ทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันไม่มีอาสวะ
เพราะอาสวะสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง เข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลเมื่อจะกล่าวให้ถูกต้อง พึงกล่าวถึงผู้ใดว่า ‘เป็นสมณะผู้
ละเอียดอ่อนในหมู่สมณะ’ บุคคลนั้นคือเรานั่นเอง ที่บุคคลเมื่อจะกล่าวให้ถูกต้อง
พึงกล่าวว่า ‘เป็นสมณะผู้ละเอียดอ่อนในหมู่สมณะ’
สมณสุขุมาลสูตรที่ ๔ จบ

๕. ผาสุวิหารสูตร
ว่าด้วยผาสุวิหารธรรม๑
[๑๐๕] ภิกษุทั้งหลาย ผาสุวิหารธรรม ๕ ประการนี้
ผาสุวิหารธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. ตั้งมั่นกายกรรมประกอบด้วยเมตตาในเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย
ทั้งต่อหน้าและลับหลัง
๒. ตั้งมั่นวจีกรรมประกอบด้วยเมตตาในเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย
ทั้งต่อหน้าและลับหลัง

เชิงอรรถ :
๑ ดูเชิงอรรถที่ ๒ ข้อ ๙๔ (ผาสุวิหารสูตร) หน้า ๑๖๔ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๑๘๒ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์] ๑. ผาสุวิหารวรรค ๖. อานันทสูตร
๓. ตั้งมั่นมโนกรรมประกอบด้วยเมตตาในเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย
ทั้งต่อหน้าและลับหลัง
๔. มีศีล๑ที่ไม่ขาด ไม่ทะลุ ไม่ด่าง ไม่พร้อย เป็นไท ท่านผู้รู้สรรเสริญ
ไม่ถูกตัณหาและทิฏฐิครอบงำ เป็นไปเพื่อสมาธิ เสมอกันกับเพื่อน
พรหมจารีทั้งหลายทั้งต่อหน้าและลับหลัง
๕. มีอริยทิฏฐิ๒ อันเป็นธรรมเครื่องนำออกเพื่อความสิ้นทุกข์โดยชอบ
แก่ผู้ทำตามเสมอกันกับเพื่อนพรหมจารีทั้งหลายทั้งต่อหน้าและ
ลับหลัง
ภิกษุทั้งหลาย ผาสุวิหารธรรม ๕ ประการนี้แล
ผาสุวิหารสูตรที่ ๕ จบ

๖. อานันทสูตร
ว่าด้วยพระอานนท์
[๑๐๖] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ โฆสิตาราม เขตกรุง
โกสัมพี ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาท
แล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
๑. “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุผู้อยู่ในสงฆ์พึงอยู่ผาสุกด้วยเหตุเท่าไรหนอ”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “อานนท์ ภิกษุ ตนเองเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีล
และไม่ติเตียนผู้อื่นเพราะอธิศีล แม้ด้วยเหตุเท่านี้ ภิกษุผู้อยู่ในสงฆ์ก็พึงอยู่ผาสุกได้”
๒. “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แม้เหตุอื่นที่ภิกษุผู้อยู่ในสงฆ์พึงอยู่ผาสุกก็มี
อยู่หรือ”
“มี อานนท์ ภิกษุ ตนเองเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีล ไม่ติเตียนผู้อื่นเพราะอธิศีล
และเป็นผู้ใส่ใจตนเอง ไม่ใส่ใจผู้อื่น แม้ด้วยเหตุเท่านี้ ภิกษุผู้อยู่ในสงฆ์ก็พึงอยู่
ผาสุกได้”

เชิงอรรถ :
๑ ศีล ในที่นี้หมายถึงปาริสุทธิศีล ๔ (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๑๐๕/๔๗)
๒ อริยทิฏฐิ ในที่หมายถึงวิปัสสนาสัมมาทิฏฐิ (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๑๐๕/๔๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๑๘๓ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์] ๑. ผาสุวิหารวรรค ๖. อานันทสูตร
๓. “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แม้เหตุอื่นที่ภิกษุผู้อยู่ในสงฆ์พึงอยู่ผาสุกก็มี
อยู่หรือ”
“มี อานนท์ ภิกษุ ตนเองเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีล ไม่ติเตียนผู้อื่นเพราะอธิศีล
เป็นผู้ใส่ใจตนเอง ไม่ใส่ใจผู้อื่น และเป็นผู้ไม่มีชื่อเสียง ไม่สะดุ้งเพราะความไม่มี
ชื่อเสียงนั้น แม้ด้วยเหตุเท่านี้ ภิกษุผู้อยู่ในสงฆ์ก็พึงอยู่ผาสุกได้”
๔. “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แม้เหตุอื่นที่ภิกษุผู้อยู่ในสงฆ์พึงอยู่ผาสุกก็มี
อยู่หรือ”
“มี อานนท์ ภิกษุ ตนเองเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีล ไม่ติเตียนผู้อื่นเพราะอธิศีล
เป็นผู้ใส่ใจตนเอง ไม่ใส่ใจผู้อื่น แม้เป็นผู้ไม่มีชื่อเสียงก็ไม่สะดุ้งเพราะความไม่มี
ชื่อเสียงนั้น และเป็นผู้ได้ฌาน ๔ อันมีในจิตยิ่งซึ่งเป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน
ตามความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ได้โดยไม่ลำบาก แม้ด้วยเหตุเท่านี้ ภิกษุผู้อยู่
ในสงฆ์ก็พึงอยู่ผาสุกได้”
๕. “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แม้เหตุอื่นที่ภิกษุผู้อยู่ในสงฆ์พึงอยู่ผาสุก ก็มี
อยู่หรือ”
“มี อานนท์ ภิกษุ ตนเองเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีล ไม่ติเตียนผู้อื่นเพราะอธิศีล
เป็นผู้ใส่ใจตนเอง ไม่ใส่ใจผู้อื่น แม้เป็นผู้ไม่มีชื่อเสียงก็ไม่สะดุ้งเพราะความไม่มี
ชื่อเสียงนั้น เป็นผู้ได้ฌาน ๔ อันมีในจิตยิ่งซึ่งเป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน ตาม
ความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ได้โดยไม่ลำบาก และทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญา-
วิมุตติ อันไม่มีอาสวะ เพราะอาสวะสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง เข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน
แม้ด้วยเหตุเท่านี้ ภิกษุผู้อยู่ในสงฆ์ก็พึงอยู่ผาสุกได้’
อานนท์ เรากล่าวว่า ‘ผาสุวิหารธรรมอื่นที่ดีกว่า ประณีตกว่าผาสุวิหารธรรมนี้
ย่อมไม่มี”
อานันทสูตรที่ ๖ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๑๘๔ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์] ๑. ผาสุวิหารวรรค ๘. อเสขสูตร
๗. สีลสูตร
ว่าด้วยศีลที่เป็นองค์ประกอบของภิกษุ
[๑๐๗] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อมเป็นผู้
ควรแก่ของที่เขานำมาถวาย ควรแก่ของต้อนรับ ควรแก่ทักษิณา ควรแก่การทำ
อัญชลี เป็นนาบุญอันยอดเยี่ยมของโลก
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีล
๒. เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยสมาธิ
๓. เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยปัญญา
๔. เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิมุตติ
๕. เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิมุตติญาณทัสสนะ
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมเป็นผู้ควร
แก่ของที่เขานำมาถวาย ควรแก่ของต้อนรับ ควรแก่ทักษิณา ควรแก่การทำอัญชลี
เป็นนาบุญอันยอดเยี่ยมของโลก
สีลสูตรที่ ๗ จบ

๘. อเสขสูตร
ว่าด้วยธรรมของพระอเสขะ
[๑๐๘] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อมเป็นผู้
ควรแก่ของที่เขานำมาถวาย ฯลฯ เป็นนาบุญอันยอดเยี่ยมของโลก
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เป็นผู้ประกอบด้วยอริยสีลขันธ์อันเป็นของพระอเสขะ
๒. เป็นผู้ประกอบด้วยสมาธิขันธ์อันเป็นของพระอเสขะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๑๘๕ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์] ๑. ผาสุวิหารวรรค ๙. จาตุททิสสูตร
๓. เป็นผู้ประกอบด้วยปัญญาขันธ์อันเป็นของพระอเสขะ
๔. เป็นผู้ประกอบด้วยวิมุตติขันธ์อันเป็นของพระอเสขะ
๕. เป็นผู้ประกอบด้วยวิมุตติญาณทัสสนขันธ์อันเป็นของพระอเสขะ
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมเป็นผู้ควรแก่ของ
ที่เขานำมาถวาย ฯลฯ เป็นนาบุญอันยอดเยี่ยมของโลก
อเสขสูตรที่ ๘ จบ

๙. จาตุททิสสูตร
ว่าด้วยธรรมของภิกษุผู้เที่ยวไปในทิศทั้งสี่๑
[๑๐๙] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ เป็นผู้เที่ยวไป
ในทิศทั้งสี่
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เป็นผู้มีศีล สำรวมด้วยการสังวรในปาติโมกข์ เพียบพร้อมด้วย
อาจาระและโคจร มีปกติเห็นภัยในโทษแม้เล็กน้อย สมาทานศึกษาอยู่
ในสิกขาบททั้งหลาย
๒. เป็นพหูสูต ทรงสุตะ สั่งสมสุตะ เป็นผู้ได้ฟังมากซึ่งธรรมทั้งหลาย
ที่มีความงามในเบื้องต้น มีความงามในท่ามกลาง มีความงาม
ในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถและพยัญชนะบริสุทธิ์
บริบูรณ์ ครบถ้วน แล้วทรงจำไว้ได้ คล่องปาก ขึ้นใจ แทงตลอดดี
ด้วยทิฏฐิ
๓. เป็นผู้สันโดษด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัย-
เภสัชชบริขารตามแต่จะได้

เชิงอรรถ :
๑ ผู้เที่ยวไปในทิศทั้งสี่ ในที่นี้หมายถึงพระขีณาสพ (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๑๐๙-๑๑๐/๔๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๑๘๖ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์] ๑. ผาสุวิหารวรรค ๑๐. อรัญญสูตร
๔. เป็นผู้ได้ฌาน ๔ อันมีในจิตยิ่งซึ่งเป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน
ตามความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ได้โดยไม่ลำบาก
๕. ทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันไม่มีอาสวะ เพราะอาสวะสิ้นไป
ด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล เป็นผู้เที่ยวไปใน
ทิศทั้งสี่
จาตุททิสสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. อรัญญสูตร
ว่าด้วยคุณสมบัติของภิกษุผู้ควรอยู่ในป่า
[๑๑๐] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ เป็นผู้ควรอาศัย
เสนาสนะอันเงียบสงัด คือ ป่าโปร่ง และป่าทึบ๑
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เป็นผู้มีศีล สำรวมด้วยการสังวรในพระปาติโมกข์ เพียบพร้อมด้วย
อาจาระและโคจร มีปกติเห็นภัยในโทษแม้เล็กน้อย สมาทานศึกษา
อยู่ในสิกขาบททั้งหลาย
๒. เป็นพหูสูต ฯลฯ แทงตลอดดีด้วยทิฏฐิ
๓. เป็นผู้ปรารภความเพียร มีความเข้มแข็ง มีความบากบั่นมั่นคง
ไม่ทอดธุระในกุศลธรรมทั้งหลาย

เชิงอรรถ :
๑ ผู้ควรอาศัยเสนาสนะอันเงียบสงัดคือป่าโปร่งและป่าทึบ ในที่นี้หมายถึงพระขีณาสพ (องฺ.ปญฺจก.อ.
๓/๑๐๙-๑๑๐/๔๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๑๘๗ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์] ๑. ผาสุวิหารวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค
๔. เป็นผู้ได้ฌาน ๔ อันมีในจิตยิ่ง ซึ่งเป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน
ตามความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ได้โดยไม่ลำบาก
๕. ทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันไม่มีอาสวะ เพราะอาสวะ
สิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล เป็นผู้ควรอาศัย
เสนาสนะอันเงียบสงัด คือ ป่าโปร่ง และป่าทึบ
อรัญญสูตรที่ ๑๐ จบ
ผาสุวิหารวรรคที่ ๑ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. สารัชชสูตร ๒. อุสสังกิตสูตร
๓. มหาโจรสูตร ๔. สมณสุขุมาลสูตร
๕. ผาสุวิหารสูตร ๖. อานันทสูตร
๗. สีลสูตร ๘. อเสขสูตร
๙. จาตุททิสสูตร ๑๐. อรัญญสูตร


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๑๘๘ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์] ๒. อันธกวินทวรรค ๑. กุลูปกสูตร
๒. อันธกวินทวรรค
หมวดว่าด้วยหมู่บ้านอันธกวินทะ

๑. กุลูปกสูตร
ว่าด้วยธรรมของภิกษุผู้เข้าไปสู่ตระกูล
[๑๑๑] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้เข้าไปสู่ตระกูลประกอบ
ด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อมไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่พอใจ ไม่เป็นที่เคารพ และไม่เป็น
ที่ยกย่องในตระกูลทั้งหลาย
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ทำความคุ้นเคยกับผู้ไม่คุ้นเคย ๒. สั่งการทั้งที่ตนไม่ได้เป็นใหญ่
๓. คบหาตระกูลที่แตกแยกกัน ๔. พูดกระซิบที่หู
๕. ขอมากเกินไป
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้เข้าไปสู่ตระกูลประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อม
ไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่พอใจ ไม่เป็นที่เคารพ และไม่เป็นที่ยกย่องในตระกูลทั้งหลาย
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้เข้าไปสู่ตระกูลประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อม
เป็นที่รัก เป็นที่พอใจ เป็นที่เคารพ และเป็นที่ยกย่องในตระกูลทั้งหลาย
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ไม่ทำความคุ้นเคยกับผู้ไม่คุ้นเคย ๒. ไม่สั่งการทั้งที่ตนไม่ได้เป็นใหญ่
๓. ไม่คบตระกูลที่แตกแยกกัน ๔. ไม่พูดกระซิบที่หู
๕. ไม่ขอมากเกินไป
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้เข้าไปสู่ตระกูลประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อม
เป็นที่รัก เป็นที่พอใจ เป็นที่เคารพ และเป็นที่ยกย่องในตระกูลทั้งหลาย
กุลูปกสูตรที่ ๑ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๑๘๙ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์] ๒. อันธกวินทวรรค ๒. ปัจฉาสมณสูตร
๒. ปัจฉาสมณสูตร
ว่าด้วยธรรมของภิกษุผู้เป็นปัจฉาสมณะ๑
[๑๑๒] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ไม่ควรพาไป
เป็นปัจฉาสมณะ
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. เดินห่างนัก หรือใกล้นัก
๒. ไม่รับบาตรหรือของในบาตร๒
๓. เมื่อพระอุปัชฌาย์พูดใกล้อาบัติก็ไม่ห้าม๓
๔. เมื่อพระอุปัชฌาย์กำลังพูดอยู่ก็พูดแทรกขึ้น
๕. มีปัญญาทราม โง่เขลา เป็นคนเซอะ๔
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ไม่ควรพาไปเป็น
ปัจฉาสมณะ
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ จึงควรพาไปเป็น
ปัจฉาสมณะ

เชิงอรรถ :
๑ ปัจฉาสมณะ หมายถึงพระผู้ติดตาม เช่น พระอานนท์เป็นปัจฉาสมณะของพระพุทธเจ้า ดู วิ.มหา. (แปล)
๒/๒๒๖/๓๙๓
๒ หมายถึงเมื่ออุปัชฌาย์บิณฑบาตกลับมา ก็ไม่ให้บาตรเปล่าของตนแล้วรับบาตรของท่าน หรือไม่รับสิ่งของ
ที่ท่านให้จากบาตรนั้น (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๑๑๒/๔๘)
๓ หมายถึงไม่รู้ว่า คำพูดนี้ทำให้ต้องอาบัติ หรือแม้รู้ก็ไม่ห้ามว่า ไม่ควรพูดอย่างนี้ (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/
๑๑๒/๔๘)
๔ เป็นคนเซอะ แปลจากบาลีว่า ‘เอฬมูโค’ อรรถกถาอธิบายว่า ‘ปคฺฆริตเขฬมูโค’ แปลว่าเป็นใบ้มีน้ำลายไหล
(องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๑๑๒/๔๘) แต่ในฎีกาอภิธานัปปทีปิกา อธิบายว่า หมายถึงผู้ไม่ฉลาดพูดและไม่ฉลาดฟัง
(วตฺตุํ โสตุญฺจ อกุสโล, วจเน สวเน จ อกุสโล) และแยกอธิบายอีกว่า เอโฬ หมายถึง พธิโร (คนหูหนวก)
มูโค หมายถึง อวจโน (พูดไม่ได้) หรือหมายถึงคนโอ้อวด (สเ�ปิ เอฬมูโค) (อภิธา.ฏีกา คาถา ๗๓๔)
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉบับ “PALI TEXT SOCIETY” ให้ความหมายว่า idiot (โง่, บ้า,
จิตทราม) หรือ lack-wit (ขาดสติ) (The Book of the Gradual Sayings, VOL.III, PP. 106,132)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๑๙๐ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์] ๒. อันธกวินทวรรค ๓. สัมมาสมาธิสูตร
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. เดินไม่ห่างนัก ไม่ใกล้นัก
๒. รับบาตรหรือของในบาตร
๓. เมื่อพระอุปัชฌาย์พูดใกล้อาบัติก็ห้ามเสีย
๔. เมื่อพระอุปัชฌาย์กำลังพูดอยู่ก็ไม่พูดแทรกขึ้น
๕. มีปัญญา ไม่โง่เขลา ไม่เป็นคนเซอะ
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล จึงควรพาไปเป็น
ปัจฉาสมณะ
ปัจฉาสมณสูตรที่ ๒ จบ

๓. สัมมาสมาธิสูตร
ว่าด้วยสัมมาสมาธิ
[๑๑๓] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ เป็นผู้ไม่อาจ
บรรลุสัมมาสมาธิอยู่ได้
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เป็นผู้ไม่อดทนต่อรูป
๒. เป็นผู้ไม่อดทนต่อเสียง
๓. เป็นผู้ไม่อดทนต่อกลิ่น
๔. เป็นผู้ไม่อดทนต่อรส
๕. เป็นผู้ไม่อดทนต่อโผฏฐัพพะ
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้ เป็นผู้ไม่อาจบรรลุ
สัมมาสมาธิอยู่ได้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๑๙๑ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์] ๒. อันธกวินทวรรค ๔. อันธกวินทสูตร
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ เป็นผู้อาจบรรลุสัมมา-
สมาธิอยู่ได้
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เป็นผู้อดทนต่อรูป
๒. เป็นผู้อดทนต่อเสียง
๓. เป็นผู้อดทนต่อกลิ่น
๔. เป็นผู้อดทนต่อรส
๕. เป็นผู้อดทนต่อโผฏฐัพพะ
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล เป็นผู้อาจบรรลุ
สัมมาสมาธิอยู่ได้
สัมมาสมาธิสูตรที่ ๓ จบ

๔. อันธกวินทสูตร
ว่าด้วยหมู่บ้านอันธกวินทะ
[๑๑๔] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่หมู่บ้านอันธกวินทะ แคว้น
มคธ ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาท
แล้วนั่ง ณ ที่สมควร พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า
อานนท์ เธอทั้งหลายพึงยังพวกภิกษุใหม่ บวชได้ไม่นาน เพิ่งมาสู่ธรรมวินัยให้
สมาทาน ให้ตั้งมั่น ให้ดำรงอยู่ในธรรม ๕ ประการ
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. เธอทั้งหลายพึงยังภิกษุเหล่านั้นให้สมาทาน ให้ตั้งมั่น ให้ดำรงอยู่
ในปาติโมกขสังวรศีลว่า ‘ผู้มีอายุทั้งหลาย มาเถิด ขอท่านทั้งหลาย
จงเป็นผู้มีศีล สำรวมด้วยการสังวรในพระปาติโมกข์ เพียบพร้อม
ด้วยอาจาระและโคจร มีปกติเห็นภัยในโทษแม้เล็กน้อย สมาทาน
ศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๑๙๒ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์] ๒. อันธกวินทวรรค ๔. อันธกวินทสูตร
๒. เธอทั้งหลายพึงยังภิกษุเหล่านั้นให้สมาทาน ให้ตั้งมั่น ให้ดำรงอยู่
ในอินทรีย์สังวรศีลว่า ‘ผู้มีอายุทั้งหลาย มาเถิด ขอท่านทั้งหลาย
จงเป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย มีสติเป็นเครื่องรักษา๑
มีสติปัญญาเป็นเครื่องรักษาตน๒ มีใจรักษาดีแล้ว ประกอบด้วยจิต
ที่มีสติเป็นเครื่องรักษาอยู่’
๓. เธอทั้งหลายพึงยังภิกษุเหล่านั้นให้สมาทาน ให้ตั้งมั่น ให้ดำรงอยู่ใน
การพูดมีที่จบว่า ‘ผู้มีอายุทั้งหลาย มาเถิด ขอท่านทั้งหลายจงเป็น
ผู้พูดน้อย พูดให้มีที่จบ’
๔. เธอทั้งหลายพึงยังภิกษุเหล่านั้นให้สมาทาน ให้ตั้งมั่น ให้ดำรงอยู่
ในความสงบกายว่า ‘ผู้มีอายุทั้งหลาย มาเถิด ขอท่านทั้งหลาย
จงอยู่ป่าเป็นวัตร จงอาศัยเสนาสนะอันเงียบสงัด คือป่าโปร่งและ
ป่าทึบ’
๕. เธอทั้งหลายพึงยังภิกษุเหล่านั้นให้สมาทาน ให้ตั้งมั่น ให้ดำรงอยู่ใน
สัมมาทัสสนะ(ความเห็นชอบ)ว่า ‘ผู้มีอายุทั้งหลาย มาเถิด ขอท่าน
ทั้งหลายจงเป็นผู้มีสัมมาทิฏฐิ๓ ประกอบด้วยสัมมาทัสสนะ’
อานนท์ เธอทั้งหลายพึงยังพวกภิกษุใหม่ บวชได้ไม่นาน เพิ่งมาสู่ธรรมวินัย
นี้ให้สมาทาน ให้ตั้งมั่น ให้ดำรงอยู่ในธรรม ๕ ประการนี้แล
อันธกวินทสูตรที่ ๔ จบ

เชิงอรรถ :
๑ สติเป็นเครื่องรักษา หมายถึงสติเป็นเครื่องรักษาทวาร (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๑๑๔/๔๘)
๒ สติปัญญาเป็นเครื่องรักษาตน ในที่นี้หมายถึงสติที่ประกอบด้วยญาณเป็นเครื่องคุ้มครองทวาร (องฺ.ปญฺจก.อ.
๓/๑๑๔/๔๘)
๓ สัมมาทิฏฐิ ในที่นี้หมายถึงมีสัมมาทิฏฐิ ๕ ประการ คือ (๑) กัมมัสสกตสัมมาทิฏฐิ (เห็นชอบว่าสัตว์มี
กรรมเป็นของตน) (๒) ฌานสัมมาทิฏฐิ (เห็นชอบในขั้นฌาน) (๓) วิปัสสนาสัมมาทิฏฐิ (เห็นชอบในขั้น
วิปัสสนา) (๔) มัคคสัมมาทิฏฐิ (เห็นชอบในขั้นอริยมรรค) (๕) ผลสัมมาทิฏฐิ (เห็นชอบในขั้นอริยผล)
(องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๑๑๔/๔๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๑๙๓ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์] ๒. อันธกวินทวรรค ๕. มัจฉรินีสูตร
๕. มัจฉรินีสูตร
ว่าด้วยภิกษุณีผู้ตระหนี่
[๑๑๕] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อมดำรง
อยู่ในนรก เหมือนถูกนำไปฝังไว้
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ตระหนี่ที่อยู่
๒. ตระหนี่ตระกูล
๓. ตระหนี่ลาภ
๔. ตระหนี่วรรณะ
๕. ตระหนี่ธรรม
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมดำรงอยู่
ในนรก เหมือนถูกนำไปฝังไว้
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อมดำรงอยู่ในสวรรค์
เหมือนได้รับอัญเชิญไปประดิษฐานไว้
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ไม่ตระหนี่ที่อยู่
๒. ไม่ตระหนี่ตระกูล
๓. ไม่ตระหนี่ลาภ
๔. ไม่ตระหนี่วรรณะ
๕. ไม่ตระหนี่ธรรม
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมดำรงอยู่ใน
สวรรค์ เหมือนได้รับอัญเชิญไปประดิษฐานไว้
มัจฉรินีสูตรที่ ๕ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๑๙๔ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์] ๒. อันธกวินทวรรค ๖. วัณณนาสูตร
๖. วัณณนาสูตร
ว่าด้วยภิกษุณีผู้สรรเสริญ
[๑๑๖] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อมดำรง
อยู่ในนรก เหมือนถูกนำไปฝังไว้
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ไม่พิจารณา ไม่ไตร่ตรอง สรรเสริญคนที่ควรติเตียน
๒. ไม่พิจารณา ไม่ไตร่ตรอง ติเตียนคนที่ควรสรรเสริญ
๓. ไม่พิจารณา ไม่ไตร่ตรอง แสดงความเลื่อมใสในฐานะไม่เป็นที่ตั้งแห่ง
ความเลื่อมใส
๔. ไม่พิจารณา ไม่ไตร่ตรอง แสดงความไม่เลื่อมใสในฐานะเป็นที่ตั้งแห่ง
ความเลื่อมใส
๕. ทำศรัทธาไทยให้ตกไป๑
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมดำรงอยู่
ในนรกเหมือนถูกนำไปฝังไว้
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อมดำรงอยู่ในสวรรค์
เหมือนได้รับอัญเชิญไปประดิษฐานไว้
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. พิจารณา ไตร่ตรองแล้ว ติเตียนคนที่ควรติเตียน
๒. พิจารณา ไตร่ตรองแล้ว สรรเสริญคนที่ควรสรรเสริญ
๓. พิจารณา ไตร่ตรองแล้ว แสดงความไม่เลื่อมใสในฐานะไม่เป็นที่ตั้ง
แห่งความเลื่อมใส

เชิงอรรถ :
๑ ทำศรัทธาไทยให้ตกไป หมายถึงการที่ภิกษุไม่ถือเอาส่วนเลิศจากบิณฑบาตที่คนเหล่าอื่นถวายด้วยศรัทธา
เสียก่อนแล้วจึงให้แก่คนอื่นในภายหลัง (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๑๑๖-๑๑๗/๔๙)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๑๙๕ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์] ๒. อันธกวินทวรรค ๗. อิสสุกินีสูตร
๔. พิจารณา ไตร่ตรองแล้ว แสดงความเลื่อมใสในฐานะเป็นที่ตั้งแห่ง
ความเลื่อมใส
๕. ไม่ทำศรัทธาไทยให้ตกไป
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมดำรงอยู่ใน
สวรรค์ เหมือนได้รับอัญเชิญไปประดิษฐานไว้
วัณณนาสูตรที่ ๖ จบ

๗. อิสสุกินีสูตร
ว่าด้วยภิกษุณีผู้มีความริษยา
[๑๑๗] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อมดำรง
อยู่ในนรก เหมือนถูกนำไปฝังไว้
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ไม่พิจารณา ไม่ไตร่ตรอง สรรเสริญคนที่ควรติเตียน
๒. ไม่พิจารณา ไม่ไตร่ตรอง ติเตียนคนที่ควรสรรเสริญ
๓. มีความริษยา
๔. มีความตระหนี่
๕. ทำศรัทธาไทยให้ตกไป
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมดำรงอยู่
ในนรก เหมือนถูกนำไปฝังไว้
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อมดำรงอยู่ในสวรรค์
เหมือนได้รับอัญเชิญไปประดิษฐานไว้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๑๙๖ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์] ๒. อันธกวินทวรรค ๘. มิจฉาทิฏฐิกสูตร
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. พิจารณา ไตร่ตรองแล้ว ติเตียนคนที่ควรติเตียน
๒. พิจารณา ไตร่ตรองแล้ว สรรเสริญคนที่ควรสรรเสริญ
๓. ไม่มีความริษยา
๔. ไม่มีความตระหนี่
๕. ไม่ทำศรัทธาไทยให้ตกไป
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมดำรงอยู่
ในสวรรค์ เหมือนได้รับอัญเชิญไปประดิษฐานไว้
อิสสุกินีสูตรที่ ๗ จบ

๘. มิจฉาทิฏฐิกสูตร
ว่าด้วยภิกษุณีผู้มีความเห็นผิด
[๑๑๘] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อมดำรงอยู่
ในนรก เหมือนถูกนำไปฝังไว้
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ไม่พิจารณา ไม่ไตร่ตรอง สรรเสริญคนที่ควรติเตียน
๒. ไม่พิจารณา ไม่ไตร่ตรอง ติเตียนคนที่ควรสรรเสริญ
๓. มีความเห็นผิด
๔. มีความดำริผิด
๕. ทำศรัทธาไทยให้ตกไป
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมดำรงอยู่ในนรก
เหมือนถูกนำไปฝังไว้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๑๙๗ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์] ๒. อันธกวินทวรรค ๙. มิจฉาวาจาสูตร
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อมดำรงอยู่ในสวรรค์
เหมือนได้รับอัญเชิญไปประดิษฐานไว้
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. พิจารณา ไตร่ตรองแล้ว ติเตียนคนที่ควรติเตียน
๒. พิจารณา ไตร่ตรองแล้ว สรรเสริญคนที่ควรสรรเสริญ
๓. มีความเห็นชอบ
๔. มีความดำริชอบ
๕. ไม่ทำศรัทธาไทยให้ตกไป
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมดำรงอยู่
ในสวรรค์ เหมือนได้รับอัญเชิญไปประดิษฐานไว้
มิจฉาทิฏฐิกสูตรที่ ๘ จบ

๙. มิจฉาวาจาสูตร
ว่าด้วยภิกษุณีผู้มีการเจรจาผิด
[๑๑๙] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อมดำรงอยู่
ในนรก เหมือนถูกนำไปฝังไว้
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ไม่พิจารณา ไม่ไตร่ตรอง สรรเสริญคนที่ควรติเตียน
๒. ไม่พิจารณา ไม่ไตร่ตรอง ติเตียนคนที่ควรสรรเสริญ
๓. มีการเจรจาผิด
๔. มีการกระทำผิด
๕. ทำศรัทธาไทยให้ตกไป
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมดำรงอยู่
ในนรก เหมือนถูกนำไปฝังไว้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๑๙๘ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์] ๒. อันธกวินทวรรค ๑๐. มิจฉาวายามสูตร
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อมดำรงอยู่ในสวรรค์
เหมือนได้รับอัญเชิญไปประดิษฐานไว้
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. พิจารณา ไตร่ตรองแล้ว ติเตียนคนที่ควรติเตียน
๒. พิจารณา ไตร่ตรองแล้ว สรรเสริญคนที่ควรสรรเสริญ
๓. มีการเจรจาชอบ
๔. มีการกระทำชอบ
๕. ไม่ทำศรัทธาไทยให้ตกไป
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมดำรงอยู่
ในสวรรค์ เหมือนได้รับอัญเชิญไปประดิษฐานไว้
มิจฉาวาจาสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. มิจฉาวายามสูตร
ว่าด้วยภิกษุณีผู้มีความพยายามผิด
[๑๒๐] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อมดำรง
อยู่ในนรก เหมือนถูกนำไปฝังไว้
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ไม่พิจารณา ไม่ไตร่ตรอง สรรเสริญคนที่ควรติเตียน
๒. ไม่พิจารณา ไม่ไตร่ตรอง ติเตียนคนที่ควรสรรเสริญ
๓. มีความพยายามผิด
๔. มีความระลึกผิด
๕. ทำศรัทธาไทยให้ตกไป
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมดำรงอยู่
ในนรก เหมือนถูกนำไปฝังไว้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๑๙๙ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์] ๒. อันธกวินทวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อมดำรงอยู่ในสวรรค์
เหมือนได้รับอัญเชิญไปประดิษฐานไว้
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. พิจารณา ไตร่ตรองแล้ว ติเตียนคนที่ควรติเตียน
๒. พิจารณา ไตร่ตรองแล้ว สรรเสริญคนที่ควรสรรเสริญ
๓. มีความพยายามชอบ
๔. มีความระลึกชอบ
๕. ไม่ทำศรัทธาไทยให้ตกไป
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมดำรงอยู่
ในสวรรค์ เหมือนได้รับอัญเชิญไปประดิษฐานไว้
มิจฉาวายามสูตรที่ ๑๐ จบ
อันธกวินทวรรคที่ ๒ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. กุลูปกสูตร ๒. ปัจฉาสมณสูตร
๓. สัมมาสมาธิสูตร ๔. อันธกวินทสูตร
๕. มัจฉรินีสูตร ๖. วัณณนาสูตร
๗. อิสสุกินีสูตร ๘. มิจฉาทิฏฐิกสูตร
๙. มิจฉาวาจาสูตร ๑๐. มิจฉาวายามสูตร


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๒๐๐ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์] ๑. คิลานวรรค ๑. คิลานสูตร
๑. คิลานวรรค
หมวดว่าด้วยธรรมสำหรับภิกษุไข้
๑. คิลานสูตร
ว่าด้วยธรรมสำหรับภิกษุไข้
[๑๒๑] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่กูฏาคารศาลา๑ป่ามหาวัน
เขตกรุงเวสาลี๒ ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเสด็จออกจากที่หลีกเร้นในเวลาเย็น เสด็จ
เข้าไปที่ศาลาบำรุงภิกษุไข้ ได้ทรงเห็นภิกษุรูปหนึ่งผู้ทุพพลภาพ เป็นไข้ แล้วประทับ
นั่งบนพุทธอาสน์ที่ปูลาดไว้ ได้รับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า
ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการ ย่อมไม่ละภิกษุบางรูปผู้ทุพพลภาพ เป็นไข้
เธอพึงหวังได้ผลนี้คือ ‘ไม่นานนักจักทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันไม่มี
อาสวะเพราะอาสวะสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง เข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน’
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. พิจารณาเห็นความไม่งามในกายอยู่
๒. กำหนดหมายความปฏิกูลในอาหาร
๓. กำหนดหมายความไม่น่าเพลิดเพลินในโลกทั้งปวง

เชิงอรรถ :
๑ กูฏาคารศาลา (ศาลาเรือนยอด) หมายถึงพระคันธกุฎีของพระผู้มีพระภาคที่พรั่งพร้อมด้วยศิลปะ ถูกสร้าง
หลังคาทรงกลมงามสง่าคล้ายหงส์ มีเรือนยอดกล่าวคือเรือนที่มีหลังคาทรงสูงอยู่ภายในอีกชั้นหนึ่ง (วิ.อ.
๑/๑๖๒/๔๓๐, องฺ.ติก.อ. ๒/๓๕/๑๓๑)
๒ ที่ชื่อว่า เวสาลี เพราะเป็นเมืองที่กว้างใหญ่ไพศาล มีการสร้างกำแพงรอบเมืองถึง ๓ ชั้น เมืองนี้เจริญ
รุ่งเรืองมากในสมัยที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงบรรลุพระสัพพัญญุตญาณ (วิ.อ. ๑/๑๖๒/๔๓๐)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๒๐๑ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์] ๑. คิลานวรรค ๒. สติสุปัฏฐิตสูตร
๔. พิจารณาเห็นความไม่เที่ยงในสังขารทั้งปวง
๕. เข้าไปตั้งมรณสัญญา(กำหนดหมายความตาย)ไว้ในภายใน
ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการนี้ ย่อมไม่ละภิกษุบางรูปผู้ทุพพลภาพ เป็นไข้
เธอพึงหวังได้ผลนี้คือ ‘ไม่นานนักจักทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันไม่มี
อาสวะเพราะอาสวะสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง เข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน’
คิลานสูตรที่ ๑ จบ

๒. สติสุปัฏฐิตสูตร
ว่าด้วยผู้มีสติตั้งไว้ดี
[๑๒๒] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุหรือภิกษุณีรูปใดรูปหนึ่ง เจริญ ทำให้มากซึ่ง
ธรรม ๕ ประการ เธอพึงหวังได้ผลอย่าง ๑ ใน ๒ อย่าง คือ อรหัตตผลในปัจจุบัน
หรือเมื่อยังมีอุปาทานเหลืออยู่ ก็จักเป็นอนาคามี
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เข้าไปตั้งสติไว้ในภายใน
๒. พิจารณาเห็นกายว่าเป็นของไม่งาม ด้วยปัญญาเป็นเครื่องพิจารณา
เห็นทั้งความเกิดและความดับแห่งธรรมทั้งหลาย
๓. กำหนดหมายความปฏิกูลในอาหาร
๔. กำหนดหมายความไม่น่าเพลิดเพลินในโลกทั้งปวง
๕. พิจารณาเห็นความไม่เที่ยงในสังขารทั้งปวง
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุหรือภิกษุณีรูปใดรูปหนึ่ง เจริญ ทำให้มากซึ่งธรรม ๕
ประการนี้ เธอพึงหวังได้ผลอย่าง ๑ ใน ๒ อย่าง คือ อรหัตตผลในปัจจุบัน หรือ
เมื่อยังมีอุปาทานเหลืออยู่ ก็จักเป็นอนาคามี
สติสุปัฏฐิตสูตรที่ ๒ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๒๐๒ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์] ๑. คิลานวรรค ๓. ปฐมอุปัฏฐากสูตร
๓. ปฐมอุปัฏฐากสูตร
ว่าด้วยภิกษุไข้ที่พยาบาลได้ยากและง่าย สูตรที่ ๑
[๑๒๓] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไข้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ เป็นผู้
พยาบาลได้ยาก
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ไม่ทำสิ่งที่เป็นสัปปายะ
๒. ไม่รู้จักประมาณในสิ่งที่เป็นสัปปายะ
๓. ไม่ฉันยา
๔. ไม่บอกอาพาธที่มีอยู่ตามความเป็นจริงแก่ผู้พยาบาลที่ปรารถนา
ประโยชน์ เช่น ไม่บอกอาพาธที่กำเริบว่า ‘กำเริบ’ ไม่บอกอาพาธ
ที่ทุเลาว่า ‘ทุเลา’ ไม่บอกอาพาธที่ยังทรงอยู่ว่า ‘ทรงอยู่’
๕. ไม่อดกลั้นต่อเวทนาทั้งหลายอันมีในร่างกายที่เกิดขึ้นแล้วเป็นทุกข์
กล้าแข็ง เจ็บปวด เผ็ดร้อน ไม่น่ายินดี ไม่น่าพอใจ พรากชีวิต
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไข้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล เป็นผู้พยาบาลได้ยาก
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไข้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ เป็นผู้พยาบาลได้ง่าย
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ทำสิ่งที่เป็นสัปปายะ
๒. รู้จักประมาณในสิ่งที่เป็นสัปปายะ
๓. ฉันยา
๔. บอกอาพาธที่มีอยู่ตามความเป็นจริงแก่ผู้พยาบาลที่ปรารถนา
ประโยชน์ เช่น บอกอาพาธที่กำเริบว่า ‘กำเริบ’ บอกอาพาธที่
ทุเลาว่า ‘ทุเลา’ บอกอาพาธที่ยังทรงอยู่ว่า ‘ทรงอยู่’
๕. เป็นผู้อดกลั้นต่อเวทนาทั้งหลายอันมีในร่างกายที่เกิดขึ้นแล้วเป็นทุกข์
กล้าแข็ง เจ็บปวด เผ็ดร้อน ไม่น่ายินดี ไม่น่าพอใจ พรากชีวิต
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไข้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล เป็นผู้พยาบาล
ได้ง่าย
ปฐมอุปัฏฐากสูตรที่ ๓ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๒๐๓ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์] ๑. คิลานวรรค ๔. ทุติยอุปัฏฐากสูตร
๔. ทุติยอุปัฏฐากสูตร
ว่าด้วยภิกษุผู้ควรและไม่ควรพยาบาลภิกษุไข้ สูตรที่ ๒
[๑๒๔] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้พยาบาลภิกษุไข้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ
ไม่ควรพยาบาลภิกษุไข้
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ไม่สามารถ๑จัดยา
๒. ไม่ทราบสิ่งที่เป็นสัปปายะและสิ่งที่ไม่เป็นสัปปายะ นำสิ่งที่ไม่เป็น
สัปปายะเข้ามา นำสิ่งที่เป็นสัปปายะออกไป
๓. เห็นแก่อามิส๒พยาบาล ไม่มีจิตเมตตาพยาบาล
๔. รังเกียจที่จะนำอุจจาระ ปัสสาวะ อาเจียน หรือน้ำลายออกไปทิ้ง
๕. ไม่สามารถชี้แจงให้ภิกษุไข้เห็นชัด ชวนใจให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจ
ให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริงด้วยธรรมีกถา
ตามกาลอันควร
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้พยาบาลภิกษุไข้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล
ไม่ควรพยาบาลภิกษุไข้
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้พยาบาลภิกษุไข้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ควร
พยาบาลภิกษุไข้
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สามารถจัดยา
๒. ทราบสิ่งที่เป็นสัปปายะ และสิ่งที่ไม่เป็นสัปปายะ นำสิ่งที่ไม่เป็น
สัปปายะออกไป นำสิ่งที่เป็นสัปปายะเข้ามา

เชิงอรรถ :
๑ ไม่สามารถ ในที่นี้หมายถึงไม่มีกำลังกายที่จะปรุงยา และไม่มีความรู้ที่จะจัดยา (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๑๒๔/๔๙)
๒ เห็นแก่อามิส หมายถึงหวังลาภสักการะมีจีวรเป็นต้น (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๑๒๔/๔๙)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๒๐๔ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์] ๑. คิลานวรรค ๕. ปฐมอนายุสสาสูตร
๓. มีจิตเมตตาพยาบาล ไม่เห็นแก่อามิสพยาบาล
๔. ไม่รังเกียจที่จะนำอุจจาระ ปัสสาวะ อาเจียน หรือน้ำลายออกไปทิ้ง
๕. สามารถชี้แจงให้ภิกษุไข้เห็นชัด ชวนใจให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจ
ให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริงด้วยธรรมีกถา
ตามกาลอันควร
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้พยาบาลภิกษุไข้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล
ควรพยาบาลภิกษุไข้
ทุติยอุปัฏฐากสูตรที่ ๔ จบ

๕. ปฐมอนายุสสาสูตร
ว่าด้วยธรรมที่เป็นเหตุให้อายุสั้นและอายุยืน สูตรที่ ๑
[๑๒๕] ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการนี้ เป็นเหตุให้อายุสั้น
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ไม่ทำสิ่งที่เป็นสัปปายะ ๒. ไม่รู้จักประมาณในสิ่งที่เป็นสัปปายะ
๓. บริโภคสิ่งที่ย่อยยาก ๔. เที่ยวในเวลาไม่สมควร
๕. ไม่ประพฤติพรหมจรรย์
ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการนี้แล เป็นเหตุให้อายุสั้น
ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการนี้ เป็นเหตุให้อายุยืน
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ทำสิ่งที่เป็นสัปปายะ ๒. รู้จักประมาณในสิ่งที่เป็นสัปปายะ
๓. บริโภคสิ่งที่ย่อยง่าย ๔. เที่ยวในเวลาที่สมควร
๕. ประพฤติพรหมจรรย์
ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการนี้แล เป็นเหตุให้อายุยืน
ปฐมอนายุสสาสูตรที่ ๕ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๒๐๕ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์] ๑. คิลานวรรค ๖. ทุติยอนายุสสาสูตร
๖. ทุติยอนายุสสาสูตร
ว่าด้วยธรรมที่เป็นเหตุให้อายุสั้นและอายุยืน สูตรที่ ๒
[๑๒๖] ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการนี้ เป็นเหตุให้อายุสั้น
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ไม่ทำสิ่งที่เป็นสัปปายะ
๒. ไม่รู้จักประมาณในสิ่งที่เป็นสัปปายะ
๓. บริโภคสิ่งที่ย่อยยาก
๔. ทุศีล
๕. มีปาปมิตร(มิตรชั่ว)
ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการนี้แล เป็นเหตุให้อายุสั้น
ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการนี้ เป็นเหตุให้อายุยืน
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ทำสิ่งที่เป็นสัปปายะ
๒. รู้จักประมาณในสิ่งที่เป็นสัปปายะ
๓. บริโภคสิ่งที่ย่อยง่าย
๔. มีศีล
๕. มีกัลยาณมิตร(มิตรดี)
ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการนี้แล เป็นเหตุให้อายุยืน
ทุติยอนายุสสาสูตรที่ ๖ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๒๐๖ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์] ๑. คิลานวรรค ๗. วปกาสสูตร
๗. วปกาสสูตร
ว่าด้วยภิกษุผู้ควรหลีกออกจากหมู่
[๑๒๗] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ไม่ควรหลีกออก
จากหมู่อยู่ผู้เดียว
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. ไม่สันโดษด้วยจีวรตามแต่จะได้
๒. ไม่สันโดษด้วยบิณฑบาตตามแต่จะได้
๓. ไม่สันโดษด้วยเสนาสนะตามแต่จะได้
๔. ไม่สันโดษด้วยคิลานปัจจัยเภสัชชบริขารตามแต่จะได้
๕. มากด้วยความดำริในกาม
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบธรรม ๕ ประการนี้แล ไม่ควรหลีกออกจากหมู่
อยู่ผู้เดียว
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ควรหลีกออกจากหมู่
อยู่ผู้เดียว
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. สันโดษด้วยจีวรตามแต่จะได้
๒. สันโดษด้วยบิณฑบาตตามแต่จะได้
๓. สันโดษด้วยเสนาสนะตามแต่จะได้
๔. สันโดษด้วยคิลานปัจจัยเภสัชชบริขารตามแต่จะได้
๕. มากด้วยความดำริในการออกจากกาม
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบธรรม ๕ ประการนี้แล ควรหลีกออกจากหมู่
อยู่ผู้ดียว
วปกาสสูตรที่ ๗ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๒๐๗ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์] ๑. คิลานวรรค ๘. สมณสุขสูตร
๘. สมณสุขสูตร
ว่าด้วยสุขของสมณะ
[๑๒๘] ภิกษุทั้งหลาย ทุกข์ของสมณะ ๕ ประการ
ทุกข์ของสมณะ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. ไม่สันโดษด้วยจีวรตามแต่จะได้
๒. ไม่สันโดษด้วยบิณฑบาตตามแต่จะได้
๓. ไม่สันโดษด้วยเสนาสนะตามแต่จะได้
๔. ไม่สันโดษด้วยคิลานปัจจัยเภสัชชบริขารตามแต่จะได้
๕. ไม่ยินดีประพฤติพรหมจรรย์
ภิกษุทั้งหลาย ทุกข์ของสมณะ ๕ ประการนี้แล
ภิกษุทั้งหลาย สุขของสมณะ ๕ ประการ
สุขของสมณะ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. สันโดษด้วยจีวรตามแต่จะได้
๒. สันโดษด้วยบิณฑบาตตามแต่จะได้
๓. สันโดษด้วยเสนาสนะตามแต่จะได้
๔. สันโดษด้วยคิลานปัจจัยเภสัชชบริขารตามแต่จะได้
๕. ยินดีประพฤติพรหมจรรย์
ภิกษุทั้งหลาย สุขของสมณะ ๕ ประการนี้แล
สมณสุขสูตรที่ ๘ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๒๐๘ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์] ๑. คิลานวรรค ๑๐. พยสนสูตร
๙. ปริกุปปสูตร
ว่าด้วยบุคคลที่ต้องเดือดร้อน
[๑๒๙] ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๕ จำพวกนี้เป็นผู้ไปอบาย เป็นผู้ไปนรก เป็น
ผู้เดือดร้อน เป็นผู้แก้ไขไม่ได้
บุคคล ๕ จำพวกไหนบ้าง คือ
๑. บุคคลผู้ฆ่ามารดา
๒. บุคคลผู้ฆ่าบิดา
๓. บุคคลผู้ฆ่าพระอรหันต์
๔. บุคคลผู้มีจิตคิดประทุษร้ายทำพระโลหิตของตถาคตให้ห้อขึ้น
๕. บุคคลผู้ทำลายสงฆ์ให้แตกกัน
ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๕ จำพวกนี้แล เป็นผู้ไปอบาย เป็นผู้ไปนรก เป็นผู้
เดือดร้อน เป็นผู้แก้ไขไม่ได้
ปริกุปปสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. พยสนสูตร
ว่าด้วยความวิบัติ
[๑๓๐] ภิกษุทั้งหลาย วิบัติ ๕ ประการนี้
วิบัติ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. วิบัติแห่งญาติ
๒. วิบัติแห่งโภคะ
๓. วิบัติเพราะโรค
๔. วิบัติแห่งศีล
๕. วิบัติแห่งทิฏฐิ
ภิกษุทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลายหลังจากตายแล้ว จะไม่ไปเกิดในอบาย ทุคติ
วินิบาต นรก เพราะความวิบัติแห่งญาติเป็นเหตุ เพราะความวิบัติแห่งโภคะเป็นเหตุ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๒๐๙ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์] ๑. คิลานวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค
เพราะความวิบัติเพราะโรคเป็นเหตุ แต่สัตว์ทั้งหลายหลังจากตายแล้ว จะไปเกิดใน
อบาย ทุคติ วินิบาต นรก เพราะความวิบัติแห่งศีลเป็นเหตุ หรือเพราะความวิบัติ
แห่งทิฏฐิเป็นเหตุ
ภิกษุทั้งหลาย วิบัติ ๕ ประการนี้แล
ภิกษุทั้งหลาย สมบัติ ๕ ประการนี้
สมบัติ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สมบัติคือญาติ
๒. สมบัติคือโภคะ
๓. สมบัติคือความไม่มีโรค
๔. สมบัติคือศีล
๕. สมบัติคือทิฏฐิ
ภิกษุทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลายหลังจากตายแล้ว จะไม่ไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์
เพราะสมบัติคือญาติเป็นเหตุ เพราะสมบัติคือโภคะเป็นเหตุ เพราะสมบัติคือความไม่
มีโรคเป็นเหตุ แต่สัตว์ทั้งหลายหลังจากตายแล้ว จะไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์ เพราะ
สมบัติคือศีลเป็นเหตุ หรือเพราะสมบัติคือทิฏฐิเป็นเหตุ
ภิกษุทั้งหลาย สมบัติ ๕ ประการนี้แล
พยสนสูตรที่ ๑๐ จบ
คิลานวรรคที่ ๓ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. คิลานสูตร ๒. สติสุปัฏฐิตสูตร
๓. ปฐมอุปัฏฐากสูตร ๔. ทุติยอุปัฏฐากสูตร
๕. ปฐมอนายุสสาสูตร ๖. ทุติยอนายุสสาสูตร
๗. วปกาสสูตร ๘. สมณสุขสูตร
๙. ปริกุปปสูตร ๑๐. พยสนสูตร


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๒๑๐ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์] ๔. ราชวรรค ๑. ปฐมจักกานุวัตตนสูตร
๔. ราชวรรค
หมวดว่าด้วยพระราชา
๑. ปฐมจักกานุวัตตนสูตร
ว่าด้วยการให้จักรหมุนไป สูตรที่ ๑
[๑๓๑] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย พระเจ้าจักรพรรดิประกอบ
ด้วยองค์ ๕ ประการ จึงทรงให้จักรหมุนไปโดยธรรม๑เท่านั้น จักรนั้นอันใคร ๆ ที่เป็น
มนุษย์ เป็นข้าศึก และเป็นสัตว์มีชีวิตให้หมุนกลับไม่ได้
องค์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
พระเจ้าจักรพรรดิในโลกนี้
๑. เป็นผู้รู้ประโยชน์๒
๒. เป็นผู้รู้ธรรม๓
๓. เป็นผู้รู้ประมาณ๔
๔. เป็นผู้รู้กาล๕
๕. เป็นผู้รู้บริษัท๖

เชิงอรรถ :
๑ ทรงให้จักรหมุนไปโดยธรรม หมายถึงอาณาจักรที่พระเจ้าจักรพรรดิทรงปกครองด้วยกุศลกรรมบถ ๑๐
ประการ อันใคร ๆ จะให้หมุนกลับเป็นอื่นไปไม่ได้ (องฺ.ติก.อ. ๒/๑๔/๘๘, องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๑๓๑/๕๐)
๒ เป็นผู้รู้ประโยชน์ หมายถึงทรงครองราชย์ด้วยการทรงบำเพ็ญประโยชน์ (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๑๓๑/๕๐,
องฺ.ปญฺจก.ฏีกา ๓/๑๓๑/๕๓)
๓ เป็นผู้รู้ธรรม หมายถึงทรงรู้ขนบธรรมเนียมประเพณี (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๑๓๑/๕๐)
๔ เป็นผู้รู้ประมาณ หมายถึงทรงรู้จักประมาณในการลงอาชญาตามสมควรแก่ความผิด หรือในการทำพลีกรรม
(องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๑๓๑/๕๐, องฺ.ปญฺจก.ฏีกา ๓/๑๓๑/๕๓)
๕ เป็นผู้รู้กาล หมายถึงทรงรู้กาลที่จะเสวยความสุขในราชสมบัติ กาลเป็นที่วินิจฉัย และกาลที่เสด็จไปยัง
ชนบท (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๑๓๑/๕๐)
๖ เป็นผู้รู้บริษัท คือทรงรู้ว่า “นี้คือขัตติยบริษัท นี้คือพราหมณบริษัท นี้คือเวสสบริษัท นี้คือศุทรบริษัท
และนี้คือสมณบริษัท” (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๑๓๑/๕๐)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๒๑๑ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์] ๔. ราชวรรค ๑. ปฐมจักกานุวัตตนสูตร
ภิกษุทั้งหลาย พระเจ้าจักรพรรดิประกอบด้วยองค์ ๕ ประการนี้แล จึงทรงให้
จักรหมุนไปโดยธรรมเท่านั้น จักรนั้นอันใคร ๆ ที่เป็นมนุษย์ เป็นข้าศึก และเป็นสัตว์
มีชีวิตให้หมุนกลับไม่ได้
ภิกษุทั้งหลาย พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ประกอบด้วยธรรม ๕
ประการ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน จึงทรงให้ธรรมจักรอันยอดเยี่ยมหมุนไปโดยธรรม
เท่านั้น จักรนั้นอันสมณะ พราหมณ์ เทวดา มาร พรหม หรือใคร ๆ ในโลก ให้หมุน
กลับไม่ได้
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าในโลกนี้
๑. เป็นผู้รู้ประโยชน์๑
๒. เป็นผู้รู้ธรรม๒
๓. เป็นผู้รู้ประมาณ๓
๔. เป็นผู้รู้กาล๔
๕. เป็นผู้รู้บริษัท
ภิกษุทั้งหลาย พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ประกอบด้วยธรรม ๕
ประการนี้แล จึงทรงให้ธรรมจักรอันยอดเยี่ยมหมุนไปโดยธรรมเท่านั้น จักรนั้นอัน
สมณะ พราหมณ์ เทวดา มาร พรหม หรือใคร ๆ ในโลก ให้หมุนกลับไม่ได้
ปฐมจักกานุวัตตนสูตรที่ ๑ จบ

เชิงอรรถ :
๑ เป็นผู้รู้ประโยชน์ ในที่นี้หมายถึงทรงรู้ประโยชน์ ๕ ประการ คือ (๑) ประโยชน์ตน (๒) ประโยชน์ผู้อื่น
(๓) ประโยชน์ตนและประโยชน์ผู้อื่น (๔) ประโยชน์ในภพนี้ (๕) ประโยชน์ในภพหน้า (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๑๓๑/
๕๑, องฺ.ปญฺจก.ฏีกา ๓/๑๓๑/๕๓)
๒ เป็นผู้รู้ธรรม ในที่นี้หมายถึงทรงรู้ธรรม คือ อริยสัจ ๔ หรือธรรม ๔ ประการ คือ กามาวจรธรรม
รูปาวจรธรรม อรูปาวจรธรรม และโลกุตตรธรรม (องฺ.ปญฺจ.อ. ๓/๑๓๑/๕๑, องฺ.ปญฺจ.ฏีกา ๓/๑๓๑/๕๓)
๓ เป็นผู้รู้ประมาณ ในที่นี้หมายถึงทรงรู้ประมาณในการรับปัจจัย ๔ การบริโภคปัจจัย ๔ การแสวงหาปัจจัย
๔ และการสละปัจจัย ๔ (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๑๓๑/๕๑, องฺ.ปญฺจก.ฏีกา ๓/๑๓๑/๕๓)
๔ รู้กาล หมายถึงทรงรู้ว่า “นี้เป็นเวลาหลีกเร้น นี้เป็นเวลาเข้าสมาบัติ นี้เป็นเวเลาแสดงธรรม และนี้เป็น
เวลาเที่ยวจาริกในชนบท” (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๑๓๑/๕๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๒๑๒ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์] ๔. ราชวรรค ๒. ทุติยจักกานุวัตตนสูตร
๒. ทุติยจักกานุวัตตนสูตร
ว่าด้วยการให้จักรหมุนไป สูตรที่ ๒
[๑๓๒] ภิกษุทั้งหลาย พระราชโอรสองค์ใหญ่ของพระเจ้าจักรพรรดิ ประกอบ
ด้วยองค์ ๕ ประการ จึงทรงให้จักรที่พระราชบิดาให้หมุนไปแล้ว ให้หมุนไปโดย
ธรรมเท่านั้น จักรนั้นอันใคร ๆ ที่เป็นมนุษย์ เป็นข้าศึก และเป็นสัตว์มีชีวิตให้หมุน
กลับไม่ได้
องค์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
พระราชโอรสองค์ใหญ่ของพระเจ้าจักรพรรดิในโลกนี้
๑. เป็นผู้รู้ประโยชน์
๒. เป็นผู้รู้ธรรม
๓. เป็นผู้รู้ประมาณ
๔. เป็นผู้รู้กาล
๕. เป็นผู้รู้บริษัท
ภิกษุทั้งหลาย พระราชโอรสองค์ใหญ่ของพระเจ้าจักรพรรดิ ประกอบด้วย
องค์ ๕ ประการนี้แล จึงทรงให้จักรที่พระราชบิดาให้หมุนไปแล้ว ให้หมุนไปโดยธรรม
เท่านั้น จักรนั้นอันใคร ๆ ที่เป็นมนุษย์ เป็นข้าศึก และเป็นสัตว์มีชีวิตให้หมุนกลับ
ไม่ได้
ภิกษุทั้งหลาย สารีบุตรประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน
จึงให้ธรรมจักรอันยอดเยี่ยมที่ตถาคตให้หมุนไปแล้ว ให้หมุนไปโดยธรรมเท่านั้น
จักรนั้นอันสมณะ พราหมณ์ เทวดา มาร พรหม หรือใคร ๆ ในโลก ให้หมุนกลับไม่ได้
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
สารีบุตรในธรรมวินัยนี้
๑. เป็นผู้รู้ประโยชน์
๒. เป็นผู้รู้ธรรม

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๒๑๓ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์] ๔. ราชวรรค ๓. ธัมมราชาสูตร
๓. เป็นผู้รู้ประมาณ
๔. เป็นผู้รู้กาล
๕. เป็นผู้รู้บริษัท
ภิกษุทั้งหลาย สารีบุตรประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล จึงให้ธรรมจักร
อันยอดเยี่ยมที่ตถาคตให้หมุนไปแล้ว ให้หมุนไปโดยธรรมเท่านั้น จักรนั้นอันสมณะ
พราหมณ์ เทวดา มาร พรหม หรือใคร ๆ ในโลก ให้หมุนกลับไม่ได้
ทุติยจักกานุวัตตนสูตรที่ ๒ จบ

๓. ธัมมราชาสูตร
ว่าด้วยธรรมราชา
[๑๓๓] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย พระเจ้าจักรพรรดิผู้ทรงธรรม
เป็นธรรมราชา ย่อมไม่ทรงให้จักรที่มิใช่ของพระราชาหมุนไป”
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ภิกษุรูปหนึ่งได้ทูลถามพระผู้มีพระภาค
ดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อะไร เป็นราชาของพระเจ้าจักรพรรดิผู้ทรงธรรม
เป็นธรรมราชา”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ธรรม๑ เป็นราชาของพระเจ้าจักรพรรดิผู้
ทรงธรรม เป็นธรรมราชา” แล้วตรัสต่อไปว่า “พระเจ้าจักรพรรดิผู้ทรงธรรม เป็น
ธรรมราชาในโลกนี้ ทรงอาศัยธรรมเท่านั้น สักการะธรรม เคารพธรรม นอบน้อม
ธรรม เชิดชูธรรม ยกย่องธรรม มีธรรมเป็นใหญ่ ทรงจัดการรักษา ป้องกันและ
คุ้มครองชนภายใน๒โดยธรรม
อีกประการหนึ่ง พระเจ้าจักรพรรดิผู้ทรงธรรม เป็นธรรมราชา ฯลฯ มีธรรม
เป็นใหญ่ ทรงจัดการรักษา ป้องกัน และคุ้มครองพวกกษัตริย์ผู้ตามเสด็จ กำลังพล

เชิงอรรถ :
๑ ธรรม ในที่นี้หมายถึงกุศลกรรมบถ ๑๐ ประการ จัดเป็นราชาของพระเจ้าจักรพรรดิ (องฺ.ติก.อ. ๒/๑๔/๘๗)
๒ ชนภายใน หมายถึงมเหสี พระราชโอรส และพระราชธิดา (องฺ.ติก.อ. ๒/๑๔/๘๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๒๑๔ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์] ๔. ราชวรรค ๓. ธัมมราชาสูตร
พราหมณ์คหบดี ชาวนิคม ชาวชนบท สมณพราหมณ์ สัตว์จำพวกเนื้อและนก
โดยธรรม พระเจ้าจักรพรรดินั้นแลผู้ทรงธรรม เป็นธรรมราชา ฯลฯ มีธรรมเป็นใหญ่
ครั้นทรงจัดการรักษา ป้องกัน และคุ้มครองโดยธรรมแล้ว จึงให้จักรหมุนไปโดย
ธรรมเท่านั้น จักรนั้นอันใคร ๆ ที่เป็นมนุษย์ เป็นข้าศึก และเป็นสัตว์มีชีวิตให้หมุน
กลับไม่ได้
พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เป็นผู้ทรงธรรม
เป็นธรรมราชา๑ ทรงอาศัยธรรมเท่านั้น สักการะธรรม เคารพธรรม นอบน้อมธรรม
เชิดชูธรรม ยกย่องธรรม มีธรรมเป็นใหญ่ ทรงจัดการรักษา ป้องกัน และคุ้มครอง
ภิกษุทั้งหลายโดยธรรมว่า
๑. กายกรรมเช่นนี้ควรประพฤติ กายกรรมเช่นนี้ไม่ควรประพฤติ
๒. วจีกรรมเช่นนี้ควรประพฤติ วจีกรรมเช่นนี้ไม่ควรประพฤติ
๓. มโนกรรมเช่นนี้ควรประพฤติ มโนกรรมเช่นนี้ไม่ควรประพฤติ
๔. อาชีพเช่นนี้ควรประกอบ อาชีพเช่นนี้ไม่ควรประกอบ
๕. บ้านและนิคมเช่นนี้ควรอยู่อาศัย บ้านและนิคมเช่นนี้ไม่ควรอยู่อาศัย
อีกประการหนึ่ง ตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้ทรงธรรม เป็นธรรม
ราชา ฯลฯ มีธรรมเป็นใหญ่ ทรงจัดการรักษา ป้องกัน และคุ้มครองภิกษุณีทั้งหลาย
โดยธรรม ... อุบาสกทั้งหลาย ... อุบาสิกาทั้งหลายโดยธรรมว่า
๑. กายกรรมเช่นนี้ควรประพฤติ กายกรรมเช่นนี้ไม่ควรประพฤติ
ฯลฯ
๕. บ้านและนิคมเช่นนี้ควรอยู่อาศัย บ้านและนิคมเช่นนี้ไม่ควรอยู่อาศัย

เชิงอรรถ :
๑ ธรรมราชา เป็นพระนามของพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า หมายถึงพระผู้ทรงให้มหาชนยินดีด้วย
โลกุตตรธรรม ๙ ประการ (มรรค ๔ ผล ๔ และนิพพาน ๑) (องฺ.ติก.อ. ๒/๑๔/๘๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๒๑๕ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์] ๔. ราชวรรค ๔. ยัสสังทิสังสูตร
ภิกษุ ตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น เป็นผู้ทรงธรรม เป็น
ธรรมราชา ฯลฯ มีธรรมเป็นใหญ่ ครั้นทรงจัดการรักษา ป้องกัน และคุ้มครอง
ภิกษุทั้งหลายโดยธรรม ภิกษุณีทั้งหลาย ... อุบาสกทั้งหลาย ... อุบาสิกาทั้งหลาย
โดยธรรมแล้ว จึงทรงให้ธรรมจักรอันยอดเยี่ยมหมุนไปโดยธรรมเท่านั้น จักร๑นั้นอัน
สมณะ พราหมณ์ เทวดา มาร พรหม หรือใคร ๆ ในโลก ให้หมุนกลับไม่ได้”
ธัมมราชาสูตรที่ ๓ จบ

๔. ยัสสังทิสังสูตร
ว่าด้วยทิศที่กษัตริย์ใช้ประทับ
[๑๓๔] ภิกษุทั้งหลาย กษัตราธิราชผู้ได้รับมูรธาภิเษกแล้ว๒ ทรงประกอบ
ด้วยองค์ ๕ ประการ จะประทับอยู่ ณ ทิศใด ๆ ก็เหมือนกับประทับอยู่ในแคว้น
ของพระองค์เอง
องค์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
กษัตราธิราชในโลกนี้
๑. ได้รับมูรธาภิเษกแล้ว ทรงมีชาติกำเนิดดีทั้งฝ่ายพระมารดาและฝ่าย
พระบิดา ถือปฏิสนธิบริสุทธิ์ดีตลอดเจ็ดชั่วบรรพบุรุษ๓ ไม่มีใคร
จะคัดค้านตำหนิได้เพราะอ้างถึงชาติตระกูล
๒. ทรงเป็นผู้มั่งคั่ง มีพระราชทรัพย์มาก มีพระราชสมบัติมาก มี
พระฉางและพระคลัง๔บริบูรณ์

เชิงอรรถ :
๑ จักร ในที่นี้หมายถึงธรรมจักรอันยอดเยี่ยมที่พระพุทธองค์ทรงให้หมุนไปด้วยนวโลกุตตรธรรม ๙ ประการ
อันใคร ๆ ไม่สามารถให้หมุนกลับได้ (องฺ.ติก.อ. ๒/๑๔/๘๙)
๒ มูรธาภิเษก หมายถึงน้ำรดพระเศียรในงานราชาภิเษกหรือพระราชพิธีอื่น ๆ (พจนานุกรม ฉบับ
ราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๒๕)
๓ เจ็ดชั่วบรรพบุรุษ หมายถึงวิธีนับลำดับบรรพบุรุษแบบหนึ่ง เพื่อแสดงความบริสุทธิ์ของวงศ์ตระกูลโดย
นับจากปัจจุบันขึ้นไป ๗ ชั้น (ที.สี.อ. ๓๐๓/๒๕๒-๒๕๓)
๔ พระฉาง (โกสะ) ในที่นี้หมายถึงกองกำลัง ๔ เหล่า คือ พลช้าง พลม้า พลรถ พลคนเดินเท้า (องฺ.ปญฺจก.อ.
๓/๑๓๔/๕๒, องฺ.ปญฺจก.ฏีกา ๓/๑๓๔/๕๖)
พระคลัง (โกฏฐาคาร) หมายถึงพระคลัง ๓ ชนิด คือ พระคลังเก็บทรัพย์ พระคลังเก็บข้าวเปลือก และ
พระคลังเก็บผ้า (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๑๓๔/๕๒, องฺ.ปญฺจก.ฏีกา ๓/๑๓๔/๕๖)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๒๑๖ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์] ๔. ราชวรรค ๔. ยัสสังทิสังสูตร
๓. ทรงมีกำลังพล ประกอบด้วยกองทัพทั้ง ๔ เหล่า เชื่อฟังและ
ทำตามที่ทรงรับสั่ง
๔. ทรงเป็นปริณายก เป็นบัณฑิต ฉลาด มีปัญญา สามารถคิด
เหตุการณ์ได้ทั้งอดีต อนาคต และปัจจุบัน
๕. ทรงประกอบด้วยยศที่มีธรรม ๔ ประการ นี้ทำให้เจริญ
กษัตราธิราชพระองค์นั้นจะประทับอยู่ ณ ทิศใด ๆ ก็เหมือนกับประทับอยู่ใน
แคว้นของพระองค์เอง ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะพระองค์ทรงชนะได้เด็ดขาดแล้ว
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการก็ฉันนั้นเหมือนกัน จะอยู่
ณ ทิศใด ๆ ก็เป็นผู้มีจิตหลุดพ้นอยู่
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เป็นผู้มีศีล ฯลฯ สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย เหมือน
กษัตราธิราชผู้ได้รับมูรธาภิเษกแล้ว ทรงสมบูรณ์ด้วยชาติ
๒. เป็นพหูสูต ฯลฯ แทงตลอดดีด้วยทิฏฐิ เหมือนกษัตราธิราชผู้ได้รับ
มูรธาภิเษกแล้วทรงมั่งคั่ง มีพระราชทรัพย์มาก มีพระราชสมบัติ
มาก มีพระฉางและพระคลังบริบูรณ์
๓. เป็นผู้ปรารภความเพียร เพื่อละอกุศลธรรม เพื่อให้กุศลธรรมเกิด
มีความเข้มแข็ง มีความบากบั่นมั่นคง ไม่ทอดธุระในกุศลธรรม
ทั้งหลายอยู่ เหมือนกษัตราธิราชผู้ได้รับมูรธาภิเษกแล้ว ทรงสมบูรณ์
ด้วยกำลัง
๔. เป็นผู้มีปัญญา คือ ประกอบด้วยปัญญาเป็นเครื่องพิจารณาเห็นทั้ง
ความเกิดและความดับอันเป็นอริยะ ชำแรกกิเลส ให้ถึงความ
สิ้นทุกข์โดยชอบ เหมือนกษัตราธิราชผู้ได้รับมูรธาภิเษกแล้ว ทรงเป็น
ปริณายก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๒๑๗ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์] ๔. ราชวรรค ๕. ปฐมปัตถนาสูตร
๕. ประกอบด้วยวิมุตติที่มีธรรม ๔ ประการนี้ทำให้เจริญ เธอจะอยู่
ณ ทิศใด ๆ ก็เป็นผู้มีจิตหลุดพ้นอยู่ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะ
เธอมีจิตหลุดพ้นแล้วอย่างนั้น
ยัสสังทิสังสูตรที่ ๔ จบ

๕. ปฐมปัตถนาสูตร
ว่าด้วยความปรารถนา สูตรที่ ๑
[๑๓๕] ภิกษุทั้งหลาย พระราชโอรสองค์ใหญ่ของกษัตราธิราชผู้ได้รับมูรธา-
ภิเษกแล้ว ทรงประกอบด้วยองค์ ๕ ประการ ย่อมปรารถนาราชสมบัติ
องค์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
พระราชโอรสองค์ใหญ่ของกษัตราธิราชผู้ได้รับมูรธาภิเษกแล้วในโลกนี้
๑. เป็นผู้มีชาติกำเนิดดีทั้งฝ่ายพระมารดาและฝ่ายพระบิดา ถือปฏิสนธิ
บริสุทธิ์ดีตลอดเจ็ดชั่วบรรพบุรุษ ไม่มีใครจะคัดค้านตำหนิได้เพราะ
อ้างถึงชาติตระกูล
๒. เป็นผู้มีรูปงาม น่าดู น่าเลื่อมใส มีฉวีวรรณผุดผ่องยิ่งนัก๑
๓. เป็นที่รัก เป็นที่พอพระทัยของพระมารดาและพระบิดา
๔. เป็นที่รัก เป็นที่พอใจของชาวนิคมและชาวชนบท
๕. เป็นผู้ได้ศึกษาสำเร็จดีในศิลปศาสตร์แห่งกษัตราธิราชผู้ได้รับมูรธา-
ภิเษกแล้ว เช่น ศิลปศาสตร์เรื่องช้าง ม้า รถ ธนู หรือดาบ
พระราชโอรสองค์ใหญ่นั้น ทรงมีพระดำริอย่างนี้ว่า ‘เรามีชาติกำเนิดดีทั้งฝ่าย
พระมารดาและฝ่ายพระบิดา ถือปฏิสนธิบริสุทธิ์ดีตลอดเจ็ดชั่วบรรพบุรุษ ไม่มีใคร

เชิงอรรถ :
๑ ฉวีวรรณผุดผ่อง หมายถึงมีผิวพรรณดีและมีทรวดทรงดี (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๗๕/๓๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๒๑๘ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์] ๔. ราชวรรค ๕. ปฐมปัตถนาสูตร
จะคัดค้านตำหนิได้เพราะอ้างถึงชาติตระกูล ไฉนเราจะไม่ปรารถนาราชสมบัติเล่า
เราเป็นผู้มีรูปงาม น่าดู น่าเลื่อมใส มีฉวีวรรณผุดผ่องยิ่งนัก ไฉนเราจะไม่ปรารถนา
ราชสมบัติเล่า เราเป็นที่รัก เป็นที่พอพระทัยของพระมารดาและพระบิดา ไฉนเราจะ
ไม่ปรารถนาราชสมบัติเล่า เราเป็นที่รักเป็นที่พอใจของชาวนิคมและชาวชนบท ไฉน
เราจะไม่ปรารถนาราชสมบัติเล่า เราเป็นผู้ได้ศึกษาสำเร็จดีในศิลปศาสตร์ของ
กษัตราธิราชผู้ได้รับมูรธาภิเษกแล้ว เช่นศิลปศาสตร์เรื่องช้าง ม้า รถ ธนู หรือดาบ
ไฉนเราจะไม่ปรารถนาราชสมบัติเล่า’
พระราชโอรสองค์ใหญ่ของกษัตราธิราชผู้ได้รับมูรธาภิเษกแล้ว ประกอบด้วย
องค์ ๕ ประการนี้แล ย่อมปรารถนาราชสมบัติ ฉันใด
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ก็ปรารถนาความสิ้น
อาสวะ ฉันนั้น เหมือนกัน
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เป็นผู้มีศรัทธา เชื่อพระปัญญาเครื่องตรัสรู้ของตถาคตว่า ‘แม้เพราะ
เหตุนี้ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ฯลฯ เป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระ
ผู้มีพระภาค’
๒. เป็นผู้มีอาพาธน้อย มีโรคเบาบาง ประกอบด้วยไฟธาตุสำหรับย่อย
อาหารสม่ำเสมอ ไม่เย็นนัก ไม่ร้อนนัก ปานกลาง เหมาะแก่การ
บำเพ็ญเพียร
๓. เป็นผู้ไม่โอ้อวด ไม่มีมารยา ทำตนให้เปิดเผยตามความเป็นจริงใน
ศาสดา หรือในเพื่อนพรหมจารีผู้รู้ทั้งหลาย
๔. เป็นผู้ปรารภความเพียร เพื่อละอกุศลธรรม เพื่อให้กุศลธรรมเกิด
มีความเข้มแข็ง มีความบากบั่นมั่นคง ไม่ทอดธุระในกุศลธรรมทั้ง
หลายอยู่
๕. เป็นผู้มีปัญญา คือ ประกอบด้วยปัญญาเป็นเครื่องพิจารณาเห็น
ทั้งความเกิดและความดับอันเป็นอริยะ ชำแรกกิเลส ให้ถึงความ
สิ้นทุกข์โดยชอบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๒๑๙ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์] ๔. ราชวรรค ๖. ทุติยปัตถนาสูตร
เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า ‘เราเป็นผู้มีศรัทธา เชื่อพระปัญญาเครื่องตรัสรู้ของ
พระตถาคตว่า แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ฯลฯ เป็นพระพุทธเจ้า
เป็นพระผู้มีพระภาค ไฉนเราจะไม่ปรารถนาความสิ้นอาสวะเล่า เราเป็นผู้มีอาพาธ
น้อย มีโรคเบาบาง ประกอบด้วยไฟธาตุสำหรับย่อยอาหารสม่ำเสมอ ไม่เย็นนัก
ไม่ร้อนนัก ปานกลาง เหมาะแก่การบำเพ็ญเพียร ไฉนเราจะไม่ปรารถนาความสิ้น
อาสวะเล่า เราเป็นผู้ไม่โอ้อวด ไม่มีมารยา ทำตนให้เปิดเผยตามความเป็นจริงใน
ศาสดา หรือในเพื่อนพรหมจารีผู้รู้ทั้งหลาย ไฉนเราจะไม่ปรารถนาความสิ้นอาสวะ
เล่า เราเป็นผู้ปรารภความเพียรเพื่อละอกุศลธรรม เพื่อให้กุศลธรรมเกิด มีความ
เข้มแข็ง มีความบากบั่นมั่นคง ไม่ทอดธุระในกุศลธรรมทั้งหลายอยู่ ไฉนเราจะไม่
ปรารถนาความสิ้นอาสวะเล่า เราเป็นผู้มีปัญญา คือประกอบด้วยปัญญาเป็นเครื่อง
พิจารณาเห็นทั้งความเกิดและความดับ อันเป็นอริยะ ชำแรกกิเลส ให้ถึงความสิ้น
ทุกข์โดยชอบ ไฉนเราจะไม่ปรารถนาความสิ้นอาสวะเล่า’
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมปรารถนาความ
สิ้นอาสวะ
ปฐมปัตถนาสูตรที่ ๕ จบ

๖. ทุติยปัตถนาสูตร
ว่าด้วยความปรารถนา สูตรที่ ๒
[๑๓๖] ภิกษุทั้งหลาย พระราชโอรสองค์ใหญ่ของกษัตราธิราชผู้ได้รับ
มูรธาภิเษกแล้ว ทรงประกอบด้วย องค์ ๕ ประการ ย่อมปรารถนาความเป็นอุปราช
องค์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
พระราชโอรสองค์ใหญ่ของกษัตราธิราชผู้ได้รับมูรธาภิเษกแล้วในโลกนี้
๑. เป็นผู้มีชาติกำเนิดดีทั้งฝ่ายพระมารดาและฝ่ายพระบิดา ถือปฏิสนธิ
บริสุทธิ์ดีตลอดเจ็ดชั่วบรรพบุรุษ ไม่มีใครจะคัดค้านตำหนิได้เพราะ
อ้างถึงชาติตระกูล
๒. เป็นผู้มีรูปงาม น่าดู น่าเลื่อมใส มีฉวีวรรณผุดผ่องยิ่งนัก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๒๒๐ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์] ๔. ราชวรรค ๖. ทุติยปัตถนาสูตร
๓. เป็นที่รัก เป็นที่พอพระทัยของพระมารดาและพระบิดา
๔. เป็นที่รัก เป็นที่พอใจของกองทัพ
๕. เป็นบัณฑิต ฉลาด มีปัญญาสามารถคิดเหตุการณ์ทั้งอดีต อนาคต
และปัจจุบันได้
พระราชโอรสพระองค์นั้น มีดำริอย่างนี้ว่า ‘เราเป็นผู้มีชาติดีทั้งฝ่ายพระมารดา
และฝ่ายพระบิดา ถือปฏิสนธิบริสุทธิ์ดีตลอดเจ็ดชั่วบรรพบุรุษ ไม่มีใครจะคัดค้าน
ตำหนิได้เพราะอ้างถึงชาติตระกูล ไฉนเราจะไม่ปรารถนาเป็นอุปราชเล่า เราเป็นผู้มี
รูปงาม น่าดู น่าเลื่อมใส มีฉวีวรรณผุดผ่องยิ่งนัก ไฉนเราจะไม่ปรารถนาเป็น
อุปราชเล่า เราเป็นที่รัก เป็นที่พอพระทัยของพระมารดาและพระบิดา ไฉนเราจะ
ไม่ปรารถนาเป็นอุปราชเล่า เราเป็นที่รักเป็นที่พอใจแห่งกองทัพ ไฉนเราจะไม่
ปรารถนาเป็นอุปราชเล่า เราเป็นบัณฑิต ฉลาด มีปัญญา สามารถคิดเหตุการณ์
ทั้งอดีต อนาคต และปัจจุบันได้ ไฉนเราจะไม่ปรารถนาความเป็นอุปราชเล่า’
ภิกษุทั้งหลาย พระราชโอรสองค์ใหญ่ของกษัตราธิราชผู้ได้รับมูรธาภิเษกแล้ว
ประกอบด้วยองค์ ๕ ประการนี้แล ย่อมปรารถนาความเป็นอุปราช ฉันใด
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ก็ปรารถนาความสิ้น
อาสวะ ฉันนั้นเหมือนกัน
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เป็นผู้มีศีล ฯลฯ สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย
๒. เป็นพหูสูต ฯลฯ แทงตลอดดีด้วยทิฏฐิ
๓. เป็นผู้มีจิตตั้งมั่นดีในสติปัฏฐาน ๔๑
๔. เป็นผู้ปรารภความเพียร เพื่อละอกุศลธรรม ฯลฯ ไม่ทอดธุระใน
กุศลธรรมทั้งหลายอยู่
๕. เป็นผู้มีปัญญา คือ ประกอบด้วยปัญญาเป็นเครื่องพิจารณาเห็นทั้ง
ความเกิดและความดับอันเป็นอริยะ ชำแรกกิเลส ให้ถึงความสิ้น
ทุกข์โดยชอบ

เชิงอรรถ :
๑ ดู ที.ม. ๑๐/๓๗๒-๓๗๔/๒๔๘

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๒๒๑ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์] ๔. ราชวรรค ๗. อัปปังสุปติสูตร
เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า ‘เราเป็นผู้มีศีล ฯลฯ สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบท
ทั้งหลาย ไฉนเราจะไม่ปรารถนาความสิ้นอาสวะเล่า เราเป็นพหูสูต ทรงสุตะ สั่งสม
สุตะ ฯลฯ แทงตลอดดีด้วยทิฏฐิ ไฉนเราจะไม่ปรารถนาความสิ้นอาสวะเล่า เราเป็น
ผู้มีจิตตั้งมั่นดีแล้วในสติปัฏฐาน ๔ ไฉนเราจะไม่ปรารถนาความสิ้นอาสวะเล่า เรา
เป็นผู้ปรารภความเพียรเพื่อละอกุศลธรรม ฯลฯ ไม่ทอดธุระในกุศลธรรมทั้งหลายอยู่
ไฉนเราจะไม่ปรารถนาความสิ้นอาสวะเล่า เราเป็นผู้มีปัญญา ฯลฯ ให้ถึงความสิ้น
ทุกข์โดยชอบ ไฉนเราจะไม่ปรารถนาความสิ้นอาสวะเล่า’
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมปรารถนาความ
สิ้นอาสวะ
ทุติยปัตถนาสูตรที่ ๖ จบ

๗. อัปปังสุปติสูตร
ว่าด้วยคนหลับน้อย ตื่นมาก
[๑๓๗] ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๕ จำพวกนี้ หลับน้อย ตื่นมากในราตรี
บุคคล ๕ จำพวกไหนบ้าง คือ
๑. สตรีหลับน้อยตื่นมากเพราะประสงค์บุรุษ
๒. บุรุษหลับน้อยตื่นมากเพราะประสงค์สตรี
๓. โจรหลับน้อยตื่นมากเพราะประสงค์จะลักทรัพย์
๔. พระราชาผู้ทรงบำเพ็ญพระราชกรณียกิจทรงหลับน้อยตื่นมาก
๕. ภิกษุผู้มุ่งถึงธรรมที่ปราศจากสังโยชน์๑หลับน้อยตื่นมาก
ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๕ จำพวกนี้แล หลับน้อย ตื่นมากในราตรี
อัปปังสุปติสูตรที่ ๗ จบ

เชิงอรรถ :
๑ ธรรมที่ปราศจากสังโยชน์ หมายถึงนิพพาน (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๑๓๗/๕๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๒๒๒ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์] ๔. ราชวรรค ๘. ภัตตาทกสูตร
๘. ภัตตาทกสูตร
ว่าด้วยองค์ประกอบของช้างต้นกินจุ
[๑๓๘] ภิกษุทั้งหลาย ช้างของพระราชาประกอบด้วยองค์ ๕ ประการ
เป็นช้างกินจุ ขวางที่ ขี้เรี่ยราด พอถือเป็นเครื่องหมายได้ว่าช้าง นับว่าเป็นช้างต้น
องค์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
ช้างของพระราชาในโลกนี้
๑. เป็นสัตว์ไม่อดทนต่อรูป
๒. เป็นสัตว์ไม่อดทนต่อเสียง
๓. เป็นสัตว์ไม่อดทนต่อกลิ่น
๔. เป็นสัตว์ไม่อดทนต่อรส
๕. เป็นสัตว์ไม่อดทนต่อโผฏฐัพพะ
ภิกษุทั้งหลาย ช้างของพระราชาประกอบด้วยองค์ ๕ ประการนี้แล เป็นช้าง
กินจุ ขวางที่ ขี้เรี่ยราด พอถือเป็นเครื่องหมายได้ว่าช้าง นับว่าเป็นช้างต้น
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เป็นผู้
ฉันจุ ขวางที่ ย่ำยีเตียงตั่ง๑ พอถือเป็นเครื่องหมายได้ว่าภิกษุ นับว่าเป็นภิกษุ
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เป็นผู้ไม่อดทนต่อรูป
๒. เป็นผู้ไม่อดทนต่อเสียง
๓. เป็นผู้ไม่อดทนต่อกลิ่น
๔. เป็นผู้ไม่อดทนต่อรส
๕. เป็นผู้ไม่อดทนต่อโผฏฐัพพะ
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล เป็นผู้ฉันจุ ขวางที่
ย่ำยีเตียงตั่ง พอถือเป็นเครื่องหมายได้ว่าภิกษุ นับว่าเป็นภิกษุ
ภัตตาทกสูตรที่ ๘ จบ

เชิงอรรถ :
๑ ย่ำยีเตียงตั่ง ในที่นี้หมายถึงนั่งมาก นอนมาก (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๑๓๘/๕๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๒๒๓ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์] ๔. ราชวรรค ๙. อักขมสูตร
๙. อักขมสูตร
ว่าด้วยองค์ประกอบของช้างต้นที่ไม่อดทน
[๑๓๙] ภิกษุทั้งหลาย ช้างของพระราชาประกอบด้วยองค์ ๕ ประการ
เป็นช้างไม่ควรแก่พระราชา ไม่ควรเป็นช้างต้น ไม่นับว่าเป็นราชพาหนะโดยแท้
องค์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
ช้างของพระราชา
๑. เป็นสัตว์ไม่อดทนต่อรูป
๒. เป็นสัตว์ไม่อดทนต่อเสียง
๓. เป็นสัตว์ไม่อดทนต่อกลิ่น
๔. เป็นสัตว์ไม่อดทนต่อรส
๕. เป็นสัตว์ไม่อดทนต่อโผฏฐัพพะ
ช้างของพระราชาเป็นสัตว์ไม่อดทนต่อรูป เป็นอย่างไร
คือ ช้างของพระราชาในโลกนี้ เข้าสู่สมรภูมิแล้ว เห็นกองทัพช้าง กองทัพม้า
กองทัพรถ หรือกองทัพพลเดินเท้า ก็หยุดนิ่ง หวั่นไหว ไม่สามารถเข้าสู่สมรภูมิได้
ช้างของพระราชาเป็นสัตว์ไม่อดทนต่อรูป เป็นอย่างนี้แล (๑)
ช้างของพระราชาเป็นสัตว์ไม่อดทนต่อเสียง เป็นอย่างไร
คือ ช้างของพระราชาในโลกนี้ เข้าสู่สมรภูมิแล้ว ได้ยินเสียงกองทัพช้าง
กองทัพม้า กองทัพรถ กองทัพพลเดินเท้า หรือเสียงกลอง บัณเฑาะว์๑ สังข์
มโหระทึก๒ที่กระหึ่ม ก็หยุดนิ่ง หวั่นไหว ไม่สามารถเข้าสู่สมรภูมิได้ ช้างของพระ
ราชาเป็นสัตว์ไม่อดทนต่อเสียง เป็นอย่างนี้ (๒)

เชิงอรรถ :
๑ บัณเฑาะว์ หมายถึงกลองสองหน้าขนาดเล็กชนิดหนึ่ง มีหลักอยู่ตอนบน ผูกตุ้มห้อยลงมาทางหน้ากลอง
ใช้ให้ตุ้มแกว่งกระทบหน้ากลองทั้ง ๒ ข้าง (พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๒๕)
๒ มโหระทึก หมายถึงกลองโลหะชนิดหนึ่งของชนชาติที่อยู่ตอนใต้ประเทศจีน ใช้ตีเป็นสัญญาณ และประโคม
(พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๒๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๒๒๔ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์] ๔. ราชวรรค ๙. อักขมสูตร
ช้างของพระราชาเป็นสัตว์ไม่อดทนต่อกลิ่น เป็นอย่างไร
คือ ช้างของพระราชาในโลกนี้เข้าสู่สมรภูมิแล้ว ได้กลิ่นมูตรและคูถของช้าง
พระราชา(ฝ่ายข้าศึก)ที่ใหญ่กว่าซึ่งเข้ามาสู่สมรภูมิ ก็หยุดนิ่ง หวั่นไหว ไม่สามารถ
เข้าสู่สมรภูมิได้ ช้างของพระราชาเป็นสัตว์ไม่อดทนต่อกลิ่น เป็นอย่างนี้แล (๓)
ช้างของพระราชาเป็นสัตว์ไม่อดทนต่อรส เป็นอย่างไร
คือ ช้างของพระราชาในโลกนี้เข้าสู่สมรภูมิแล้ว ไม่ได้กินอาหารเพียง ๑ คืน
๒ คืน ๓ คืน ๔ คืน หรือ ๕ คืน ก็หยุดนิ่ง หวั่นไหว ไม่สามารถเข้าสู่สมรภูมิได้
ช้างของพระราชาเป็นสัตว์ไม่อดทนต่อรส เป็นอย่างนี้แล (๔)
ช้างของพระราชาเป็นสัตว์ไม่อดทนต่อโผฏฐัพพะ เป็นอย่างไร
คือ ช้างของพระราชาในโลกนี้เข้าสู่สมรภูมิแล้ว ถูกเขายิงด้วยลูกศร ๑ ครั้ง
๒ ครั้ง ๓ ครั้ง ๔ ครั้ง หรือ ๕ ครั้งแล้ว ก็หยุดนิ่ง หวั่นไหว ไม่สามารถเข้าสู่
สมรภูมิได้ ช้างของพระราชาเป็นสัตว์ไม่อดทนต่อโผฏฐัพพะ เป็นอย่างนี้แล (๕)
ภิกษุทั้งหลาย ช้างของพระราชาประกอบด้วยองค์ ๕ ประการนี้ เป็นช้าง
ไม่ควรแก่พระราชา ไม่ควรเป็นช้างต้น ไม่นับว่าเป็นราชพาหนะโดยแท้ ฉันใด
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เป็นผู้
ไม่ควรแก่ของที่เขานำมาถวาย ไม่ควรแก่ของต้อนรับ ไม่ควรแก่ทักษิณา ไม่ควรแก่
การทำอัญชลี ไม่เป็นนาบุญอันยอดเยี่ยมของโลก
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เป็นผู้ไม่อดทนต่อรูป
๒. เป็นผู้ไม่อดทนต่อเสียง
๓. เป็นผู้ไม่อดทนต่อกลิ่น
๔. เป็นผู้ไม่อดทนต่อรส
๕. เป็นผู้ไม่อดทนต่อโผฏฐัพพะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๒๒๕ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์] ๔. ราชวรรค ๙. อักขมสูตร
ภิกษุเป็นผู้ไม่อดทนต่อรูป เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เห็นรูปทางตาแล้ว กำหนัดในรูปที่เป็นเหตุให้กำหนัด
ไม่สามารถตั้งจิตไว้โดยชอบได้ ภิกษุเป็นผู้ไม่อดทนต่อรูป เป็นอย่างนี้แล (๑)
ภิกษุเป็นผู้ไม่อดทนต่อเสียง เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ฟังเสียงทางหูแล้ว กำหนัดในเสียงที่เป็นเหตุให้กำหนัด
ไม่สามารถตั้งจิตไว้โดยชอบได้ ภิกษุเป็นผู้ไม่อดทนต่อเสียง เป็นอย่างนี้แล (๒)
ภิกษุเป็นผู้ไม่อดทนต่อกลิ่น เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ดมกลิ่นทางจมูกแล้ว กำหนัดในกลิ่นที่เป็นเหตุให้
กำหนัด ไม่สามารถตั้งจิตไว้โดยชอบได้ ภิกษุเป็นผู้ไม่อดทนต่อกลิ่น เป็นอย่าง
นี้แล (๓)
ภิกษุเป็นผู้ไม่อดทนต่อรส เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ลิ้มรสทางลิ้นแล้ว กำหนัดในรสที่เป็นเหตุให้กำหนัด
ไม่สามารถตั้งจิตไว้โดยชอบได้ ภิกษุเป็นผู้ไม่อดทนต่อรส เป็นอย่างนี้แล (๔)
ภิกษุเป็นผู้ไม่อดทนต่อโผฏฐัพพะ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ถูกต้องโผฏฐัพพะทางกายแล้ว กำหนัดในโผฏฐัพพะที่
เป็นเหตุให้กำหนัด ไม่สามารถตั้งจิตไว้โดยชอบได้ ภิกษุเป็นผู้ไม่อดทนต่อโผฏฐัพพะ
เป็นอย่างนี้แล (๕)
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล เป็นผู้ไม่ควรแก่ของ
ที่เขานำมาถวาย ไม่ควรแก่ของต้อนรับ ไม่ควรแก่ทักษิณา ไม่ควรแก่การทำอัญชลี
ไม่เป็นนาบุญอันยอดเยี่ยมของโลก
ภิกษุทั้งหลาย ช้างของพระราชาประกอบด้วยองค์ ๕ ประการ เป็นช้าง
ควรแก่พระราชา ควรเป็นช้างต้น นับว่าเป็นราชพาหนะโดยแท้


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๒๒๖ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์] ๔. ราชวรรค ๙. อักขมสูตร
องค์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
ช้างของพระราชา
๑. เป็นสัตว์อดทนต่อรูป
๒. เป็นสัตว์อดทนต่อเสียง
๓. เป็นสัตว์อดทนต่อกลิ่น
๔. เป็นสัตว์อดทนต่อรส
๕. เป็นสัตว์อดทนต่อโผฏฐัพพะ
ช้างของพระราชาเป็นสัตว์อดทนต่อรูป เป็นอย่างไร
คือ ช้างของพระราชาในโลกนี้เข้าสู่สมรภูมิแล้ว เห็นกองทัพช้าง กองทัพม้า
กองทัพรถ หรือกองทัพพลเดินเท้า ก็ไม่หยุดนิ่ง ไม่หวั่นไหว สามารถเข้าสู่สมรภูมิได้
ช้างของพระราชาเป็นสัตว์อดทนต่อรูป เป็นอย่างนี้แล (๑)
ช้างของพระราชาเป็นสัตว์อดทนต่อเสียง เป็นอย่างไร
คือ ช้างของพระราชาในโลกนี้เข้าสู่สมรภูมิแล้ว ได้ยินเสียงกองทัพช้าง กอง
ทัพม้า กองทัพรถ กองทัพพลเดินเท้า หรือเสียงกลอง บัณเฑาะว์ สังข์ มโหระทึก
ที่กระหึ่ม ก็ไม่หยุดนิ่ง ไม่หวั่นไหว สามารถเข้าสู่สมรภูมิได้ ช้างของพระราชาเป็น
สัตว์อดทนต่อเสียง เป็นอย่างนี้แล (๒)
ช้างของพระราชาเป็นสัตว์อดทนต่อกลิ่น เป็นอย่างไร
คือ ช้างของพระราชาในโลกนี้เข้าสู่สมรภูมิแล้ว ได้กลิ่นมูตรและคูถของช้าง
พระราชา (ฝ่ายข้าศึก) ที่ใหญ่กว่าซึ่งเข้ามาสู่สมรภูมิ ก็ไม่หยุดนิ่ง ไม่หวั่นไหว
สามารถเข้าสู่สมรภูมิได้ ช้างของพระราชาเป็นสัตว์อดทนต่อกลิ่น เป็นอย่างนี้แล (๓)
ช้างของพระราชาเป็นสัตว์อดทนต่อรส เป็นอย่างไร
คือ ช้างของพระราชาในโลกนี้เข้าสู่สมรภูมิแล้ว ไม่ได้กินอาหารแม้เพียง
๑ คืน ๒ คืน ๓ คืน ๔ คืน หรือ ๕ คืน ก็ไม่หยุดนิ่ง ไม่หวั่นไหว สามารถเข้า
สู่สมรภูมิได้ ช้างของพระราชาเป็นสัตว์อดทนต่อรส เป็นอย่างนี้แล (๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๒๒๗ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์] ๔. ราชวรรค ๙. อักขมสูตร
ช้างของพระราชาเป็นสัตว์อดทนต่อโผฏฐัพพะ เป็นอย่างไร
คือ ช้างของพระราชาในโลกนี้เข้าสู่สมรภูมิแล้ว ถูกเขายิงด้วยลูกศร ๑ ครั้ง
๒ ครั้ง ๓ ครั้ง ๔ ครั้ง หรือ ๕ ครั้ง ก็ไม่หยุดนิ่ง ไม่หวั่นไหว สามารถเข้าสู่สมรภูมิได้
ช้างของพระราชาเป็นสัตว์อดทนต่อโผฏฐัพพะ เป็นอย่างนี้แล (๕)
ช้างของพระราชาประกอบด้วยองค์ ๕ ประการนี้แล เป็นช้างควรแก่พระราชา
ควรเป็นช้างต้น นับว่าเป็นราชพาหนะโดยแท้ ฉันใด
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เป็นผู้
ควรแก่ของที่เขานำมาถวาย ควรแก่ของต้อนรับ ควรแก่ทักษิณา ควรแก่การทำ
อัญชลี เป็นนาบุญอันยอดเยี่ยมของโลก
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เป็นผู้อดทนต่อรูป
๒. เป็นผู้อดทนต่อเสียง
๓. เป็นผู้อดทนต่อกลิ่น
๔. เป็นผู้อดทนต่อรส
๕. เป็นผู้อดทนต่อโผฏฐัพพะ
ภิกษุเป็นผู้อดทนต่อรูป เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เห็นรูปทางตาแล้ว ไม่กำหนัดในรูปที่เป็นเหตุให้กำหนัด
สามารถตั้งจิตไว้โดยชอบได้ ภิกษุเป็นผู้อดทนต่อรูป เป็นอย่างนี้แล (๑)
ภิกษุเป็นผู้อดทนต่อเสียง เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ฟังเสียงทางหูแล้ว ไม่กำหนัดในเสียงที่เป็นเหตุให้
กำหนัด สามารถตั้งจิตไว้โดยชอบได้ ภิกษุเป็นผู้อดทนต่อเสียง เป็นอย่างนี้แล (๒)
ภิกษุเป็นผู้อดทนต่อกลิ่น เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ดมกลิ่นทางจมูกแล้ว ไม่กำหนัดในกลิ่นที่เป็นเหตุให้
กำหนัด สามารถตั้งจิตไว้โดยชอบได้ ภิกษุเป็นผู้อดทนต่อกลิ่น เป็นอย่างนี้แล (๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๒๒๘ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์] ๔. ราชวรรค ๑๐. โสตสูตร
ภิกษุเป็นผู้อดทนต่อรส เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ลิ้มรสทางลิ้นแล้ว ไม่กำหนัดในรสที่เป็นเหตุให้กำหนัด
สามารถตั้งจิตไว้โดยชอบได้ ภิกษุเป็นผู้อดทนต่อรส เป็นอย่างนี้แล (๔)
ภิกษุเป็นผู้อดทนต่อโผฏฐัพพะ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ถูกต้องโผฏฐัพพะทางกายแล้ว ไม่กำหนัดในโผฏฐัพพะ
ที่เป็นเหตุให้กำหนัด สามารถตั้งจิตไว้โดยชอบได้ ภิกษุเป็นผู้อดทนต่อโผฏฐัพพะ
เป็นอย่างนี้แล (๕)
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมเป็นผู้ควรแก่
ของที่เขานำมาถวาย ควรแก่ของต้อนรับ ควรแก่ทักษิณา ควรแก่การทำอัญชลี
เป็นนาบุญอันยอดเยี่ยมของโลก
อักขมสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. โสตสูตร
ว่าด้วยองค์ประกอบของช้างต้นที่เชื่อฟัง
[๑๔๐] ภิกษุทั้งหลาย ช้างของพระราชาประกอบด้วยองค์ ๕ ประการ
เป็นช้างควรแก่พระราชา ควรเป็นช้างต้น นับว่าเป็นราชพาหนะโดยแท้
องค์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
ช้างของพระราชาในโลกนี้
๑. เป็นสัตว์เชื่อฟัง
๒. เป็นสัตว์ฆ่าได้
๓. เป็นสัตว์รักษาได้
๔. เป็นสัตว์อดทนได้
๕. เป็นสัตว์ไปได้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๒๒๙ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์] ๔. ราชวรรค ๑๐. โสตสูตร
ช้างของพระราชาเป็นสัตว์เชื่อฟัง เป็นอย่างไร
คือ ช้างของพระราชาในโลกนี้ตั้งใจ ใฝ่ใจ สำรวมใจ เงี่ยหูฟังเหตุการณ์ที่
ควาญช้างให้ทำ คือเหตุการณ์ที่เคยทำหรือไม่เคยทำ ช้างของพระราชาเป็นสัตว์
เชื่อฟัง เป็นอย่างนี้แล (๑)
ช้างของพระราชาเป็นสัตว์ฆ่าได้ เป็นอย่างไร
คือ ช้างของพระราชาในโลกนี้เข้าสู่สมรภูมิแล้ว ฆ่าช้างบ้าง ฆ่าควาญช้างบ้าง ฆ่าม้าบ้าง
ฆ่าคนขี่ม้าบ้าง ทำลายรถบ้าง ฆ่าพลรถบ้าง ฆ่าพลเดินเท้าบ้าง ช้างของ
พระราชาเป็นสัตว์ฆ่าได้ เป็นอย่างนี้แล (๒)
ช้างของพระราชาเป็นสัตว์รักษาได้ เป็นอย่างไร
คือ ช้างของพระราชาในโลกนี้เข้าสู่สมรภูมิแล้ว รักษากายส่วนหน้า รักษากาย
ส่วนหลัง รักษาเท้าหน้า รักษาเท้าหลัง รักษาศีรษะ รักษาหู รักษางา รักษางวง
รักษาหาง รักษาควาญช้าง ช้างของพระราชาเป็นสัตว์รักษาได้ เป็นอย่างนี้แล (๓)
ช้างของพระราชาเป็นสัตว์อดทนได้ เป็นอย่างไร
คือ ช้างของพระราชาในโลกนี้เข้าสู่สมรภูมิแล้ว อดทนต่อการประหาร
ด้วยหอก ดาบ ลูกศร ง้าว เสียงกลอง บัณเฑาะว์ สังข์ และมโหระทึกที่กระหึ่ม
ช้างของพระราชาเป็นสัตว์อดทนได้ เป็นอย่างนี้แล (๔)
ช้างของพระราชาเป็นสัตว์ไปได้ เป็นอย่างไร
คือ ช้างของพระราชาในโลกนี้ไปสู่ทิศที่ควาญช้างไสไป คือทิศที่เคยไป หรือ
ทิศที่ยังไม่เคยไปได้โดยเร็วพลัน ช้างของพระราชาเป็นสัตว์ไปได้ เป็นอย่างนี้แล (๕)
ภิกษุทั้งหลาย ช้างของพระราชาประกอบด้วยองค์ ๕ ประการนี้แล เป็นช้างควร
แก่พระราชา ควรเป็นช้างต้น นับว่าเป็นราชพาหนะโดยแท้ ฉันใด
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เป็นผู้
ควรแก่ของที่เขานำมาถวาย ควรแก่ของต้อนรับ ควรแก่ทักษิณา ควรแก่การทำ
อัญชลี เป็นนาบุญอันยอดเยี่ยมของโลก


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๒๓๐ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์] ๔. ราชวรรค ๑๐. โสตสูตร
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เป็นผู้เชื่อฟัง
๒. เป็นผู้ฆ่าได้
๓. เป็นผู้รักษาได้
๔. เป็นผู้อดทนได้
๕. เป็นผู้ไปได้
ภิกษุเป็นผู้เชื่อฟัง เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ตั้งใจ ใฝ่ใจ สำรวมใจ เงี่ยโสตสดับธรรมในเมื่อผู้อื่น
แสดงธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศแล้ว ภิกษุเป็นผู้เชื่อฟัง เป็นอย่างนี้แล (๑)
ภิกษุเป็นผู้ฆ่าได้ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ไม่รับกามวิตกที่เกิดขึ้น ละ บรรเทา ทำให้สิ้นสุด
ทำให้ถึงความเกิดขึ้นไม่ได้อีกต่อไป ฯลฯ ไม่รับพยาบาทวิตกที่เกิดขึ้น ฯลฯ ไม่รับ
วิหึงสาวิตกที่เกิดขึ้น ฯลฯ ไม่รับบาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้วเกิดขึ้นอีก ละ บรรเทา
ทำให้สิ้นสุด ทำให้ถึงความเกิดขึ้นไม่ได้อีกต่อไป๑ ภิกษุเป็นผู้ฆ่าได้ เป็นอย่างนี้แล (๒)
ภิกษุเป็นผู้รักษาได้ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เห็นรูปทางตาแล้ว ไม่รวบถือ ไม่แยกถือ ปฏิบัติเพื่อ
ความสำรวมในจักขุนทรีย์ ซึ่งเมื่อไม่สำรวมแล้ว ก็จะเป็นเหตุให้ถูกบาปอกุศลธรรม
คืออภิชฌาและโทมนัสครอบงำได้ จึงรักษาจักขุนทรีย์ ถึงความสำรวมในจักขุนทรีย์
ฟังเสียงทางหู ฯลฯ ดมกลิ่นทางจมูก ฯลฯ ลิ้มรสทางลิ้น ฯลฯ ถูกต้องโผฏฐัพพะ
ทางกาย ฯลฯ รู้ธรรมารมณ์ทางใจแล้ว ไม่รวบถือ ไม่แยกถือ ปฏิบัติเพื่อสำรวมใน
มนินทรีย์ ซึ่งเมื่อไม่สำรวมแล้วก็จะเป็นเหตุให้ถูกบาปอกุศลธรรม คืออภิชฌาและ
โทมนัสครอบงำได้ จึงรักษามนินทรีย์ ถึงความสำรวมในมนินทรีย์ ภิกษุเป็นผู้รักษาได้
เป็นอย่างนี้แล (๓)

เชิงอรรถ :
๑ ดู องฺ.เอกาทสก. (แปล) ๒๔/๑๗/๔๓๖

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๒๓๑ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์] ๔. ราชวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค
ภิกษุเป็นผู้อดทนได้ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นผู้อดทนต่อความหนาว ความร้อน ความหิว
กระหาย อดทนต่อการถูกเหลือบ ยุง ลม แดด และสัตว์เลื้อยคลานทั้งหลายรบกวน
อดทนต่อถ้อยคำหยาบคายร้ายแรงต่าง ๆ เป็นผู้อดกลั้นเวทนาทั้งหลายอันมีในร่าง
กายที่เกิดขึ้นแล้ว เป็นทุกข์ กล้าแข็ง เจ็บปวด เผ็ดร้อน ไม่น่ายินดี ไม่น่าพอใจ
พรากชีวิต ภิกษุเป็นผู้อดทนได้ เป็นอย่างนี้แล (๔)
ภิกษุเป็นผู้ไปได้ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ย่อมไปสู่ทิศที่ไม่เคยไปตลอดระยะเวลาอันยาวนานนี้
คือ ความระงับสังขารทั้งปวง ความสละคืนอุปธิกิเลสทั้งปวง ความสิ้นไปแห่งตัณหา
ความคลายกำหนัด ความดับ นิพพาน ภิกษุเป็นผู้ไปได้ เป็นอย่างนี้แล (๕)
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล เป็นผู้ควรแก่ของ
ที่เขานำมาถวาย ควรแก่ของต้อนรับ ควรแก่ทักษิณา ควรแก่การทำอัญชลี เป็น
นาบุญอันยอดเยี่ยมของโลก
โสตสูตรที่ ๑๐ จบ
ราชวรรคที่ ๔ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. ปฐมจักกานุวัตตนสูตร ๒. ทุติยจักกานุวัตตนสูตร
๓. ธัมมราชาสูตร ๔. ยัสสังทิสังสูตร
๕. ปฐมปัตถนาสูตร ๖. ทุติยปัตถนาสูตร
๗. อัปปังสุปติสูตร ๘. ภัตตาทกสูตร
๙. อักขมสูตร ๑๐. โสตสูตร


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๒๓๒ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์] ๕. ติกัณฑกีวรรค ๑. อวชนาติสูตร
๕. ติกัณฑกีวรรค
หมวดว่าด้วยป่าติกัณฑกี
๑. อวชานาติสูตร
ว่าด้วยบุคคลผู้ให้แล้วดูหมิ่น
[๑๔๑] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๕ จำพวกนี้ มีปรากฏ
อยู่ในโลก
บุคคล ๕ จำพวกไหนบ้าง คือ
๑. บุคคลให้แล้วดูหมิ่น
๒. บุคคลดูหมิ่น เพราะอยู่ร่วมกัน
๓. บุคคลผู้เชื่อง่าย
๔. บุคคลผู้โลเล
๕. บุคคลผู้เขลา หลงงมงาย
บุคคลให้แล้วดูหมิ่น เป็นอย่างไร
คือ บุคคลในโลกนี้ให้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชช-
บริขารแก่บุคคลใด เขาคิดอย่างนี้ว่า ‘เราให้ ผู้นี้รับ’ ให้แล้ว ดูหมิ่นบุคคลนั้น บุคคล
ให้แล้วดูหมิ่น เป็นอย่างนี้แล
บุคคลดูหมิ่น เพราะอยู่ร่วมกัน เป็นอย่างไร
คือ บุคคลในโลกนี้อยู่ร่วมกับบุคคลเป็นเวลา ๒ ปี หรือ ๓ ปี ดูหมิ่นผู้นั้น
เพราะอยู่ร่วมกัน บุคคลดูหมิ่นเพราะอยู่ร่วมกัน เป็นอย่างนี้แล
บุคคลผู้เชื่อง่าย เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้เมื่อเขากล่าวคุณหรือโทษของผู้อื่นอยู่ ก็น้อมใจเชื่อ
โดยพลันทีเดียว บุคคลผู้เชื่อง่าย เป็นอย่างนี้แล
บุคคลผู้โลเล เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้มีศรัทธาน้อย มีความภักดีน้อย มีความรัก
น้อย มีความเลื่อมใสน้อย บุคคลผู้โลเล เป็นอย่างนี้แล

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๒๓๓ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์] ๕. ติกัณฑกีวรรค ๒. อารภติสูตร
บุคคลผู้เขลา หลงงมงาย เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ ไม่รู้กุศลธรรมและอกุศลธรรม ไม่รู้ธรรมที่มีโทษ
และธรรมที่ไม่มีโทษ ไม่รู้ธรรมที่เลวและธรรมที่ประณีต ไม่รู้ธรรมดำและธรรมขาว๑
บุคคลผู้เขลาหลงงมงาย เป็นอย่างนี้แล
ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๕ จำพวกนี้แล มีปรากฏอยู่ในโลก
อวชานาติสูตรที่ ๑ จบ

๒. อารภติสูตร
ว่าด้วยบุคคลผู้ต้องอาบัติ
[๑๔๒] ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๕ จำพวกนี้ มีปรากฏอยู่ในโลก
บุคคล ๕ จำพวกไหนบ้าง คือ
๑. บุคคลบางคนในธรรมวินัยนี้ต้องอาบัติ๒ มีวิปปฏิสาร (ความร้อนใจ)
และไม่รู้ชัดเจโตวิมุตติ๓ ปัญญาวิมุตติอันเป็นที่ดับไม่เหลือแห่งบาป
อกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้วตามความเป็นจริง

เชิงอรรถ :
๑ ธรรมดำ หมายถึงกายทุจริตเป็นต้น ธรรมขาว หมายถึงกายสุจริตเป็นต้น (สํ.ม.อ. ๓/๓๑-๓๔/๑๙๖,
ขุ.ธ.อ. ๔/๔๕-๔๗)
๒ ต้องอาบัติ (อารภติ) ฎีกาอธิบายว่า อารมฺภ ศัพท์ มีความหมายหลายนัยดังนี้ คือ (๑) มีความหมายว่า
กรรม เช่น ประโยคว่า “ยํ กิญฺจิ ทุกฺขํ สมฺโภติ สพฺพํ อารมฺภปจฺจยา” แปลว่า “ทุกข์อย่างใดอย่างหนึ่ง
เกิดขึ้น ทุกข์นั้นทั้งหมดย่อมเกิดขึ้นเพราะกรรมเป็นปัจจัย” (ขุ.สุ. ๒๕/๗๕๐/๔๘๑) (๒) มีความหมายว่า
กิริยา เช่น ประโยคว่า “มหารมฺภา มหายญฺญา น เต โหนฺติ มหปฺผลา” แปลว่า “มหายัญที่มีกิริยา
มากเหล่านั้น ย่อมไม่มีผลมาก” (สํ.ส. ๑๕/๑๒๐/๙๒, องฺ.จตุกฺก. (แปล) ๒๑/๓๙/๖๔) (๓) มีความหมายว่า
เบียดเบียน เช่น ประโยคว่า “สมณํ โคตมํ อุทฺทิสฺส ปาณํ อารภนฺติ” แปลว่า “ย่อมเบียดเบียนสัตว์อุทิศ
พระสมณโคดม” (ม.ม. ๑๓/๕๒/๓๔) (๔) มีความหมายว่า เพียร เช่น ประโยคว่า “อารมฺภถ นิกฺขมถ, ยุญฺชถ
พุทฺธสาสเน” แปลว่า “ท่านทั้งหลายจงเพียร จงออก จงประกอบในพระพุทธศาสนา” (สํ.ส. ๑๕/๑๘๕/๑๘๘)
(๕) มีความหมายว่า พราก เช่น ประโยคว่า “พีชคามภูตคามสมารมฺภา ปฏิวิรโต โหติ” แปลว่า “เว้นขาด
จากการพรากพืชคาม และภูตคาม” (ที.สี. (แปล) ๙/๑๐/๔, ม.มู. ๑๒/๒๙๓/๒๕๗) (๖) มีความหมายว่า
ต้องอาบัติ เช่น ประโยคว่า “อารภติ จ วิปฺปฏิสารี จ โหติ” แปลว่า “บุคคลต้องอาบัติและมีวิปปฏิสาร”
(องฺ.ปญฺจก. (แปล) ๒๒/๑๔๒/๒๓๔, อภิ.ปุ. (แปล) ๓๖/๑๙๑/๒๑๘)
เพราะฉะนั้นในที่นี้ จึงแปลว่า ต้องอาบัติ (องฺ.ปญฺจก.ฏีกา ๓/๑๔๒-๑๔๓/๕๙)
๓ เจโตวิมุตติ หมายถึงอรหัตตสมาธิ ปัญญาวิมุตติ หมายถึงอรหัตตผลญาณ (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๑๔๒/๕๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๒๓๔ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์] ๕. ติกัณฑกีวรรค ๒. อารภติสูตร
๒. บุคคลบางคนในธรรมวินัยนี้ต้องอาบัติ แต่ไม่มีวิปปฏิสาร ไม่รู้ชัด
เจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันเป็นที่ดับไม่เหลือแห่งบาปอกุศลธรรม
ที่เกิดขึ้นแล้วตามความเป็นจริง
๓. บุคคลบางคนในธรรมวินัยนี้ไม่ต้องอาบัติ แต่มีวิปปฏิสาร และไม่รู้
ชัดเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันเป็นที่ดับไม่เหลือแห่งบาปอกุศลธรรม
ที่เกิดขึ้นแล้วตามความเป็นจริง
๔. บุคคลบางคนในธรรมวินัยนี้ไม่ต้องอาบัติ และไม่มีวิปปฏิสาร แต่ไม่
รู้ชัดเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันเป็นที่ดับไม่เหลือแห่งบาปอกุศลธรรม
ที่เกิดขึ้นแล้วตามความเป็นจริง
๕. บุคคลบางคนในธรรมวินัยนี้ไม่ต้องอาบัติ ไม่มีวิปปฏิสาร และรู้ชัด
เจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันเป็นที่ดับไม่เหลือแห่งบาปอกุศลธรรม
ที่เกิดขึ้นแล้วตามความเป็นจริง
ภิกษุทั้งหลาย บรรดาบุคคล ๕ จำพวกนั้น๑ บุคคลใดต้องอาบัติ มีวิปปฏิสาร
และไม่รู้ชัดเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันเป็นที่ดับไม่เหลือแห่งบาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้น
แล้วตามความเป็นจริง บุคคลนั้นพึงเป็นผู้ควรถูกกล่าวตักเตือนอย่างนี้ว่า ‘อาสวะที่
เกิดเพราะความการต้องอาบัติของท่านยังมีอยู่ อาสวะที่เกิดเพราะวิปปฏิสารของท่าน
ยังเจริญอยู่ ขอท่านจงละอาสวะที่เกิดเพราะการต้องอาบัติ๒ จงบรรเทาอาสวะที่เกิด
เพราะวิปปฏิสารแล้วจึงเจริญจิตและปัญญา๓ เพราะการเจริญ อย่างนี้ ท่านก็จักเป็น
ผู้ทัดเทียมกับบุคคลจำพวกที่ ๕๔ โน้น’ (๑)

เชิงอรรถ :
๑ ดู อภิ.ปุ. (แปล) ๓๖/๑๙๑/๒๑๘
๒ ละอาสวะที่เกิดเพราะการต้องอาบัติ หมายถึงละอาสวะทั้งหลายที่เกิดเพราะการล่วงละเมิดสิกขาบทที่
ทรงบัญญัติไว้ ด้วยการแสดงอาบัติเบา (เทสนาวิธี) หรือวิธีปฏิบัติเพื่อเปลื้องตนจากอาบัติหนักขั้นสังฆาทิเสส
(วุฏฐานวิธี) (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๑๔๒/๕๖)
๓ เจริญจิตและปัญญา หมายถึงเพิ่มพูนวิปัสสนาจิต และเพิ่มพูนปัญญาที่ประกอบด้วยวิปัสสนาจิต (องฺ.
ปญฺจก.อ. ๓/๑๔๒/๕๖)
๔ บุคคลจำพวกที่ ๕ ในที่นี้หมายถึงพระขีณาสพ (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๑๔๒/๕๖)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๒๓๕ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์] ๕. ติกัณฑกีวรรค ๒. อารภติสูตร
บุคคลใดต้องอาบัติ แต่ไม่มีวิปปฏิสาร ไม่รู้ชัดเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันเป็น
ที่ดับไม่เหลือแห่งบาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้วตามความเป็นจริง บุคคลนั้นพึงเป็นผู้
ควรถูกกล่าวตักเตือนอย่างนี้ว่า ‘อาสวะที่เกิดเพราะการต้องอาบัติของท่านยังมีอยู่
อาสวะที่เกิดเพราะวิปปฏิสารของท่านไม่เจริญ ขอท่านจงละอาสวะที่เกิดเพราะการ
ต้องอาบัติแล้วจึงเจริญจิตและปัญญา เพราะการเจริญอย่างนี้ ท่านก็จักเป็นผู้
ทัดเทียมกับบุคคลจำพวกที่ ๕ โน้น’ (๒)
บุคคลใดไม่ต้องอาบัติ แต่มีวิปปฏิสาร และไม่รู้ชัดเจโตวุมิตติ ปัญญาวิมุตติอัน
เป็นที่ดับไม่เหลือแห่งบาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้วตามความเป็นจริง บุคคลนั้นพึง
เป็นผู้ควรถูกกล่าวตักเตือนอย่างนี้ว่า ‘อาสวะที่เกิดเพราะการต้องอาบัติของท่านไม่มี
แต่อาสวะที่เกิดเพราะวิปปฏิสารของท่านยังเจริญอยู่ ขอท่านจงบรรเทาอาสวะที่เกิด
เพราะวิปปฏิสารแล้วจึงเจริญจิตและปัญญา เพราะการเจริญอย่างนี้ ท่านก็จักเป็นผู้
ทัดเทียมกับบุคคลจำพวกที่ ๕ โน้น’ (๓)
บุคคลใดไม่ต้องอาบัติ และไม่มีวิปปฏิสาร แต่ไม่รู้ชัดเจโตวิมุตติ ปัญญา-
วิมุตติอันเป็นที่ดับไม่เหลือแห่งบาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้วตามความเป็นจริง
บุคคลนั้นพึงเป็นผู้ควรถูกกล่าวตักเตือนอย่างนี้ว่า ‘อาสวะที่เกิดเพราะการต้องอาบัติ
ของท่านไม่มี อาสวะที่เกิดเพราะวิปปฏิสารของท่านก็ไม่เจริญ ขอท่านจงเจริญจิต
และปัญญา เพราะการเจริญอย่างนี้ ท่านก็จักเป็นผู้ทัดเทียมกับบุคคลจำพวกที่ ๕
โน้น’ (๔)
ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกนี้แล ถูกตักเตือนพร่ำสอนโดยเทียบกับบุคคล
จำพวกที่ ๕ โน้น อย่างนี้ ย่อมบรรลุความสิ้นอาสวะโดยลำดับ
อารภติสูตรที่ ๒ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๒๓๖ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์] ๕. ติกัณฑกีวรรค ๓. สารันททสูตร
๓. สารันททสูตร
ว่าด้วยพระธรรมเทศนาที่สารันททเจดีย์
[๑๔๓] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ กูฏาคารศาลา ป่ามหาวัน
เขตกรุงเวสาลี ครั้งนั้น เวลาเช้า พระผู้มีพระภาคทรงครองอันตรวาสก ถือบาตรและ
จีวร เสด็จเข้าไปบิณฑบาตยังกรุงเวสาลี สมัยนั้นเจ้าลิจฉวีประมาณ ๕๐๐ พระองค์
นั่งประชุมกันอยู่ที่สารันททเจดีย์ ได้สนทนากันว่า
ความปรากฏแห่งแก้ว ๕ ประการ หาได้ยากในโลก
ความปรากฏแห่งแก้ว ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ความปรากฏแห่งช้างแก้ว หาได้ยากในโลก
๒. ความปรากฏแห่งม้าแก้ว หาได้ยากในโลก
๓. ความปรากฏแห่งมณีแก้ว หาได้ยากในโลก
๔. ความปรากฏแห่งนางแก้ว หาได้ยากในโลก
๕. ความปรากฏแห่งคหบดีแก้ว หาได้ยากในโลก
ความปรากฏแห่งแก้ว ๕ ประการนี้ หาได้ยากในโลก
ครั้งนั้น เจ้าลิจฉวีเหล่านั้นได้ส่งคนไปคอยดักทางโดยรับสั่งว่า “พ่อผู้เจริญ
เมื่อท่านเห็นพระผู้มีพระภาคเสด็จมา พึงมาบอกแก่พวกเรา”
บุรุษนั้นได้เห็นพระผู้มีพระภาคเสด็จมาแต่ไกล จึงเข้าไปหาเจ้าลิจฉวีเหล่านั้น
ถึงที่อยู่ แล้วทูลว่า “ขอเดชะ พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
กำลังเสด็จมา พระเจ้าข้า ขอพระองค์จงทราบกำหนดเวลาที่สมควร ณ บัดนี้เถิด”
ลำดับนั้น เจ้าลิจฉวีเหล่านั้นได้พากันเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
ถวายอภิวาทแล้ว ประทับยืนอยู่ ณ ที่สมควร ได้กราบทูลว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานวโรกาส ขอพระผู้มีพระภาคทรงพระกรุณา
เสด็จเข้าไปยังสารันททเจดีย์เถิด”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๒๓๗ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์] ๕. ติกัณฑกีวรรค ๓. สารันททสูตร
พระผู้มีพระภาคทรงรับอาราธนาโดยดุษณีภาพแล้วได้เสด็จเข้าไปยังสารันททเจดีย์
ประทับนั่งบนพุทธอาสน์ที่ปูลาดไว้ ได้ตรัสถามเจ้าลิจฉวีเหล่านั้นว่า
“เจ้าลิจฉวีทั้งหลาย เวลานี้ พวกท่านนั่งสนทนากันด้วยเรื่องอะไร พูดเรื่อง
อะไรค้างไว้”
เจ้าลิจฉวีเหล่านั้นกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อข้าพระองค์ทั้งหลาย
นั่งประชุมกันอยู่ ณ ที่นี้ ได้สนทนากันว่า ‘ความปรากฏแห่งแก้ว ๕ ประการ หาได้
ยากในโลก
ความปรากฏแห่งแก้ว ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ความปรากฏแห่งช้างแก้ว หาได้ยากในโลก
๒. ความปรากฏแห่งม้าแก้ว หาได้ยากในโลก
๓. ความปรากฏแห่งมณีแก้ว หาได้ยากในโลก
๔. ความปรากฏแห่งนางแก้ว หาได้ยากในโลก
๕. ความปรากฏแห่งคหบดีแก้ว หาได้ยากในโลก
ความปรากฏแห่งแก้ว ๕ ประการนี้ หาได้ยากในโลก”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “เจ้าลิจฉวีทั้งหลายเป็นผู้มุ่งกาม๑จริงหนอ สนทนากัน
แต่เรื่องกาม เจ้าลิจฉวีทั้งหลาย ความปรากฏแห่งแก้ว ๕ ประการ หาได้ยากในโลก
ความปรากฏแห่งแก้ว ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ความปรากฏแห่งตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า หาได้ยากในโลก
๒. บุคคลผู้แสดงธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศไว้ หาได้ยากในโลก
๓. บุคคลผู้รู้แจ้งธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศไว้ซึ่งผู้อื่นแสดงแล้ว หาได้
ยากในโลก

เชิงอรรถ :
๑ กาม ในทีนี้หมายถึงวัตถุกามและกิเลสกาม (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๑๔๓/๕๖)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๒๓๘ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์] ๕. ติกัณฑกีวรรค ๔. ติกัณฑกีสูตร
๔. บุคคลผู้รู้แจ้งธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศไว้ซึ่งผู้อื่นแสดงแล้ว เป็นผู้
ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม๑หาได้ยากในโลก
๕. กตัญญูกตเวทีบุคคล๒หาได้ยากในโลก
เจ้าลิจฉวีทั้งหลาย ความปรากฏแห่งแก้ว ๕ ประการนี้แล หาได้ยากในโลก
สารันททสูตรที่ ๓ จบ

๔. ติกัณฑกีสูตร
ว่าด้วยพระธรรมเทศนาที่ป่าติกัณฑกีวัน
[๑๔๔] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่ป่าติกัณฑกีวัน เขตเมือง
สาเกต ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคได้รับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า ภิกษุ
ทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า
ภิกษุทั้งหลาย
๑. ภิกษุพึงมีสัญญาว่าปฏิกูลในสิ่งไม่ปฏิกูล๓ตามกาลอันควร
๒. ภิกษุพึงมีสัญญาว่าไม่ปฏิกูลในสิ่งปฏิกูล๔ตามกาลอันควร
๓. ภิกษุพึงมีสัญญาว่าปฏิกูลในสิ่งไม่ปฏิกูลและสิ่งปฏิกูล ตามกาลอันควร
๔. ภิกษุพึงมีสัญญาว่าไม่ปฏิกูลในสิ่งปฏิกูลและสิ่งไม่ปฏิกูล ตามกาล
อันควร

เชิงอรรถ :
๑ ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม หมายถึงปฏิบัติข้อปฏิบัติเบื้องต้นพร้อมทั้งศีล เพื่อบรรลุโลกุตตรธรรม ๙
ประการ คือ มรรค ๔ ผล ๔ นิพพาน ๑ (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๑๔๓/๕๖)
๒ กตัญญูกตเวทีบุคคล หมายถึงบุคคลที่รู้อุปการคุณที่ผู้อื่นกระทำแก่ตนแล้วกระทำปฏิการคุณตอบแทน
พร้อมทั้งประกาศเกียรติคุณให้ปรากฏ (องฺ.ติก.อ. ๒/๑๑๕/๒๖๑)
๓ มีสัญญาว่าปฏิกูลในสิ่งไม่ปฏิกูล หมายถึงมีความกำหนดหมายในอารมณ์ที่น่าปรารถนาว่าเป็นสิ่งไม่งาม
หรือพิจารณาเห็นว่าเป็นสิ่งไม่เที่ยง (ตามนัย องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๑๔๔/๕๖)
๔ มีสัญญาว่าไม่ปฏิกูลในสิ่งปฏิกูล หมายถึงมีความกำหนดหมายในอารมณ์ที่ไม่น่าปรารถนาว่าเป็นสิ่งที่
ควรแผ่เมตตา และพิจารณาเห็นว่าเป็นเพียงธาตุ (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๑๔๔/๕๖)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๒๓๙ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์] ๕. ติกัณฑกีวรรค ๔. ติกัณฑกีสูตร
๕. ภิกษุพึงเว้นสิ่งทั้งสองนั้น คือสิ่งไม่ปฏิกูลและสิ่งปฏิกูลแล้ว เป็นผู้มี
อุเบกขา๑ มีสติสัมปชัญญะอยู่ตามกาลอันควร
ภิกษุพึงมีสัญญาว่าปฏิกูลในสิ่งไม่ปฏิกูลอยู่ เพราะอาศัยอำนาจประโยชน์อะไร
ภิกษุพึงมีสัญญาว่าปฏิกูลในสิ่งไม่ปฏิกูลอยู่ เพราะอาศัยอำนาจประโยชน์นี้ว่า
“ความกำหนัดในธรรมที่เป็นเหตุให้กำหนัด อย่าเกิดขึ้นแก่เรา”
ภิกษุพึงมีสัญญาว่าไม่ปฏิกูลในสิ่งปฏิกูลอยู่ เพราะอาศัยอำนาจประโยชน์อะไร
ภิกษุพึงมีสัญญาว่าไม่ปฏิกูลในสิ่งปฏิกูลอยู่ เพราะอาศัยอำนาจประโยชน์นี้ว่า
“ความขัดเคืองในธรรมที่เป็นเหตุให้ขัดเคือง อย่าเกิดขึ้นแก่เรา”
ภิกษุพึงมีสัญญาว่าปฏิกูลในสิ่งไม่ปฏิกูลและสิ่งปฏิกูลอยู่ เพราะอาศัยอำนาจ
ประโยชน์อะไร
ภิกษุพึงมีสัญญาว่าไม่ปฏิกูลในสิ่งไม่ปฏิกูลและสิ่งปฏิกูลอยู่ เพราะอาศัยอำนาจ
ประโยชน์นี้ว่า “ความกำหนัดในธรรมที่เป็นเหตุให้กำหนัดอย่าเกิดขึ้นแก่เรา ความ
ขัดเคืองในธรรมที่เป็นเหตุให้ขัดเคือง อย่าเกิดขึ้นแก่เรา”
ภิกษุพึงมีสัญญาว่าไม่ปฏิกูลในสิ่งปฏิกูลและสิ่งไม่ปฏิกูลอยู่ เพราะอาศัยอำนาจ
ประโยชน์อะไร
ภิกษุพึงมีสัญญาว่าไม่ปฏิกูลในสิ่งปฏิกูลและสิ่งไม่ปฏิกูลอยู่ เพราะอาศัยอำนาจ
ประโยชน์นี้ว่า “ความขัดเคืองในธรรมที่เป็นเหตุให้ขัดเคือง อย่าเกิดขึ้นแก่เรา
ความกำหนัดในธรรมเป็นเหตุให้กำหนัด อย่าเกิดขึ้นแก่เรา”

เชิงอรรถ :
๑ เป็นผู้มีอุเบกขา ในที่นี้หมายถึงดำรงอยู่ในสภาวะที่เป็นกลาง กล่าวคือมีปกติภาวะที่บริสุทธิ์ไม่ดีใจไม่เสีย
ใจในอารมณ์ทั้ง ๖ คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ และธรรมารมณ์ทั้งที่เป็นอิฏฐารมณ์ (อารมณ์ที่
น่าปรารถนา) และที่เป็นอนิฏฐารมณ์ (อารมณ์ที่ไม่น่าปรารถนา) อุเบกขานี้เรียกว่า ฉฬังคุเบกขา เป็น
เหมือนอุเบกขาของพระขีณาสพ แต่มิใช่อุเบกขาของพระขีณาสพ (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๑๔๔/๕๖, องฺ.ปญฺจก.ฏีกา
๓/๑๔๔-๖/๖๑, วิสุทธิ. ๑/๘๔/๑๗๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๒๔๐ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์] ๕. ติกัณฑกีวรรค ๕. นิรยสูตร
ภิกษุพึงเว้นสิ่งทั้งสองนั้น คือ สิ่งไม่ปฏิกูลและสิ่งปฏิกูลแล้ว เป็นผู้มีอุเบกขา
มีสติสัมปชัญญะอยู่ เพราะอาศัยอำนาจประโยชน์อะไร
ภิกษุพึงเว้นสิ่งทั้งสองนั้น คือสิ่งไม่ปฏิกูลและสิ่งปฏิกูลแล้ว เป็นผู้มีอุเบกขา
มีสติสัมปชัญญะอยู่ เพราะอาศัยอำนาจประโยชน์นี้ว่า “ความกำหนัดในธรรมที่เป็น
เหตุให้กำหนัดในอารมณ์ไหน ๆ ในส่วนไหน ๆ แม้มีประมาณน้อย อย่าเกิดขึ้นแก่เรา
ความขัดเคืองในธรรมที่เป็นเหตุให้ขัดเคือง ในอารมณ์ไหน ๆ ในส่วนไหน ๆ แม้มี
ประมาณน้อย อย่าเกิดขึ้นแก่เรา ความหลงในธรรมที่เป็นเหตุให้หลง ในอารมณ์ไหน ๆ
ในส่วนไหน ๆ แม้มีประมาณน้อย อย่าเกิดขึ้นแก่เรา”
ติกัณฑกีสูตรที่ ๔ จบ

๕. นิรยสูตร
ว่าด้วยธรรมที่เป็นเหตุให้ตกนรก
[๑๔๕] ภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อมดำรงอยู่ใน
นรก เหมือนถูกนำไปฝังไว้
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. เป็นผู้ฆ่าสัตว์
๒. เป็นผู้ลักทรัพย์
๓. เป็นผู้ประพฤติผิดในกาม
๔. เป็นผู้พูดเท็จ
๕. เป็นผู้เสพของมึนเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นเหตุแห่งความประมาท
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมดำรงอยู่ในนรก
เหมือนถูกนำไปฝังไว้
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อมดำรงอยู่ในสวรรค์
เหมือนได้รับอัญเชิญไปประดิษฐานไว้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๒๔๑ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์] ๕. ติกัณฑกีวรรค ๖. มิตตสูตร
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. เป็นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์
๒. เป็นผู้เว้นขาดจากการลักทรัพย์
๓. เป็นผู้เว้นขาดจากการประพฤติผิดในกาม
๔. เป็นผู้เว้นขาดจากการพูดเท็จ
๕. เป็นผู้เว้นขาดจากการเสพของมึนเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นเหตุแห่ง
ความประมาท
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมดำรงอยู่ในสวรรค์
เหมือนได้รับอัญเชิญไปประดิษฐานไว้
นิรยสูตรที่ ๕ จบ

๖. มิตตสูตร
ว่าด้วยภิกษุผู้ควรคบเป็นมิตร
[๑๔๖] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ไม่ควรคบ
เป็นมิตร
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ใช้ให้ทำการงาน๑
๒. ก่ออธิกรณ์๒
๓. โกรธต่อภิกษุผู้เป็นประธาน

เชิงอรรถ :
๑ การงาน ในที่นี้หมายถึงการทำนาเป็นต้น (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๑๔๖/๕๗)
๒ อธิกรณ์ ในที่นี้หมายถึงเรื่องที่เกิดขึ้นแล้วจะต้องจัดต้องทำ เรื่องที่สงฆ์ต้องดำเนินการมี ๔ อย่าง คือ
(๑) วิวาทาธิกรณ์ การเถียงกันเกี่ยวกับธรรมวินัย (๒) อนุวาทาธิกรณ์ การโจทหรือการกล่าวหากัน
ด้วยอาบัติ (๓) อาปัตตาธิกรณ์ การต้องอาบัติ การปรับอาบัติ และการแก้ไขตัวให้พ้นจากอาบัติ
(๔) กิจจาธิกรณ์ กิจธุระต่าง ๆ ที่สงฆ์จะต้องทำ เช่น ให้อุปสมบท ให้ผ้ากฐิน (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๑๔๖/๕๗)
และดู วิ.จู. ๖/๒๑๙-๒๒๗/๒๕๐-๒๕๔

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๒๔๒ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์] ๕. ติกัณฑกีวรรค ๗. อสัปปุริสทานสูตร
๔. เที่ยวจาริกไปในสถานที่ไม่สมควรตลอดกาลนาน
๕. ไม่สามารถชี้แจงให้ภิกษุเห็นชัด ชวนใจให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ
เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริงด้วย
ธรรมีกถาตามกาลอันควร
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ไม่ควรคบเป็นมิตร
ภิกษุทั้งหลาย ส่วนภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ควรคบเป็นมิตร
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ไม่ใช้ให้ทำการงาน
๒. ไม่ก่ออธิกรณ์
๓. ไม่โกรธต่อภิกษุผู้เป็นประธาน
๔. ไม่เที่ยวจาริกไปในสถานที่ไม่สมควรตลอดกาลนาน
๕. สามารถชี้แจงให้ภิกษุเห็นชัด ชวนใจให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ
เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริงด้วย
ธรรมีกถาตามกาลอันควร
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ควรคบเป็นมิตร
มิตตสูตรที่ ๖ จบ

๗. อสัปปุริสทานสูตร
ว่าด้วยอสัปปุริสทาน
[๑๔๗] ภิกษุทั้งหลาย อสัปปุริสทาน (ทานของอสัตบุรุษ) ๕ ประการนี้
อสัปปุริสทาน ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ให้โดยไม่เคารพ๑
๒. ให้โดยความไม่อ่อนน้อม๒

เชิงอรรถ :
๑ ให้โดยไม่เคารพ หมายถึงให้ทานโดยมิได้ทำเครื่องไทยธรรมให้สะอาดเสียก่อน (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๑๔๗/๕๗)
๒ ให้โดยความไม่อ่อนน้อม หมายถึงให้ทานด้วยความไม่เคารพ ไม่ยำเกรง (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๑๔๗/๕๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๒๔๓ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์] ๕. ติกัณฑกีวรรค ๘. สัปปุริสทานสูตร
๓. ไม่ให้ด้วยมือตนเอง
๔. ให้ของที่เป็นเดน
๕. ไม่เห็นผลที่จะพึงมาถึงก็ให้
ภิกษุทั้งหลาย อสัปปุริสทาน ๕ ประการนี้แล
ภิกษุทั้งหลาย สัปปุริสทาน(ทานของสัตบุรุษ) ๕ ประการนี้
สัปปุริสทาน ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ให้โดยเคารพ๑
๒. ให้โดยความอ่อนน้อม
๓. ให้ด้วยมือตนเอง
๔. ให้ของที่ไม่เป็นเดน
๕. เห็นผลที่จะพึงมาถึงจึงให้๒
ภิกษุทั้งหลาย สัปปุริสทาน ๕ ประการนี้แล
อสัปปุริสทานสูตรที่ ๗ จบ

๘. สัปปุริสทานสูตร
ว่าด้วยสัปปุริสทาน
[๑๔๘] ภิกษุทั้งหลาย สัปปุริสทาน ๕ ประการนี้
สัปปุริสทาน ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ให้ทานด้วยศรัทธา
๒. ให้ทานโดยเคารพ

เชิงอรรถ :
๑ ให้โดยเคารพ หมายถึงให้โดยเคารพทั้งในไทยธรรมและในพระทักขิไณยบุคคล (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๑๔๗/๕๗)
๒ เห็นผลที่จะพึงมาถึงจึงให้ หมายถึงเชื่อกรรมและผลของกรรมแล้วให้ทานด้วยคิดว่า “ทานนี้จักเป็นปัจจัย
แห่งความมีในอนาคต” (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๑๔๗/๕๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๒๔๔ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์] ๕. ติกัณฑกีวรรค ๘. สัปปุริสทานสูตร
๓. ให้ทานตามกาลอันควร
๔. เป็นผู้มีจิตอนุเคราะห์ให้ทาน
๕. ให้ทานไม่กระทบตนและผู้อื่น๑
ภิกษุทั้งหลาย สัตบุรุษครั้นให้ทานด้วยศรัทธาแล้ว ย่อมเป็นผู้มั่งคั่ง มีทรัพย์
มาก มีโภคะมาก และเป็นผู้มีรูปงาม น่าดู น่าเลื่อมใส มีฉวีวรรณผุดผ่องยิ่งนักในที่
ที่ทานนั้นเผล็ดผล
ครั้นให้ทานโดยเคารพแล้ว ย่อมเป็นผู้มั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีโภคะมาก และ
เป็นผู้ที่บุตร ภรรยา ทาส คนใช้ และกรรมกรตั้งใจฟังด้วยดี เงี่ยโสตสดับ ตั้งใจใฝ่รู้
ครั้นให้ทานตามกาลอันควรแล้ว ย่อมเป็นผู้มั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีโภคะมาก
และเป็นผู้มีความปรารถนาที่เกิดขึ้นตามกาลบริบูรณ์ในที่ที่ทานนั้นเผล็ดผล
ครั้นเป็นผู้มีจิตอนุเคราะห์ให้ทานแล้ว ย่อมเป็นผู้มั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีโภคะ
มาก และเป็นผู้มีจิตน้อมไปเพื่อบริโภคกามคุณ ๕ สูงยิ่งขึ้นในที่ที่ทานนั้นเผล็ดผล
ครั้นให้ทานไม่กระทบตนและผู้อื่นแล้ว ย่อมเป็นผู้มั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีโภคะ
มาก และเป็นผู้มีโภคทรัพย์ ไม่มีภยันตรายมาแต่ที่ไหน ๆ คือ จากไฟ จากน้ำ
จากพระราชา จากโจร จากคนไม่เป็นที่รัก หรือจากทายาทในที่ที่ทานนั้นเผล็ดผล
ภิกษุทั้งหลาย สัปปุริสทาน ๕ ประการนี้แล
สัปปุริสทานสูตรที่ ๘ จบ

เชิงอรรถ :
๑ ให้ทานไม่กระทบตนและผู้อื่น หมายถึงให้ทานโดยไม่ลบหลู่คุณของตนและผู้อื่น (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๑๔๘/
๕๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๒๔๕ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์] ๕. ติกัณฑกีวรรค ๙. ปฐมสมยวิมุตตสูตร
๙. ปฐมสมยวิมุตตสูตร
ว่าด้วยภิกษุผู้เป็นสมยวิมุต๑ สูตรที่ ๑
[๑๔๙] ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความเสื่อมแก่ภิกษุ
ผู้เป็นสมยวิมุต
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ความเป็นผู้ชอบการงาน๒
๒. ความเป็นผู้ชอบการพูดคุย
๓. ความเป็นผู้ชอบการนอนหลับ
๔. ความเป็นผู้ชอบการคลุกคลีด้วยหมู่
๕. ไม่พิจารณาจิตตามที่หลุดพ้นแล้ว
ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อความเสื่อมแก่ภิกษุผู้เป็น
สมยวิมุต
ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความไม่เสื่อมแก่ภิกษุผู้เป็น
สมยวิมุต
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ความเป็นผู้ไม่ชอบการงาน
๒. ความเป็นผู้ไม่ชอบการพูดคุย

เชิงอรรถ :
๑ ภิกษุผู้เป็นสมยวิมุต หมายถึงภิกษุผู้มีจิตหลุดพ้นด้วยสมยวิมุตติ (ความหลุดพ้นชั่วคราว) ซึ่งหมายถึง
สมาบัติ ๘ เป็นโลกิยวิมุตติ เพราะหลุดพ้นจากกิเลสทั้งหลายที่ข่มได้ในขณะที่จิตแน่วแน่เป็นครั้งคราวตรง
ข้ามกับภิกษุผู้เป็นอสมยวิมุตคือ ภิกษุขีณาสพผู้หลุดพ้นด้วยอสมยวิมุตติ (ความหลุดพ้นที่ไม่ขึ้นต่อสมัย
คือยั่งยืนเรื่อยไป) (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๑๔๙/๕๘) และดู ม.มู. ๑๒/๓๑๑/๒๗๘-๒๘๐, องฺ.เอกาทสก. (แปล)
๒๔/๑๓/๔๒๐
๒ การงาน ในที่นี้หมายถึงงานนวกรรม คือ การก่อสร้างต่าง ๆ เช่น การก่อสร้างวิหารเป็นต้น ความเป็นผู้
ยินดีแต่การก่อสร้างที่ถือว่าเป็นความเสื่อมเพราะทำให้ละเลยต่อการบำเพ็ญคันถธุระ และวิปัสสนาธุระ
(องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๑๔/๑๐๕, องฺ.ฉกฺก.ฏีกา ๓/๑๔-๑๕/๑๑๘) และดู อภิ.ก. ๓๗/๒๖๗/๘๘

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๒๔๖ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์] ๕. ติกัณฑกีวรรค ๑๐. ทุติยสมยวิมุตตสูตร
๓. ความเป็นผู้ไม่ชอบการนอนหลับ
๔. ความเป็นผู้ไม่ชอบการคลุกคลีด้วยหมู่
๕. พิจารณาจิตตามที่หลุดพ้นแล้ว
ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อความเสื่อมแก่ภิกษุผู้เป็น
สมยวิมุต
ปฐมสมยวิมุตตสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. ทุติยสมยวิมุตตสูตร
ว่าด้วยภิกษุผู้เป็นสมยวิมุต สูตรที่ ๒
[๑๕๐] ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความเสื่อมแก่ภิกษุ
ผู้เป็นสมยวิมุต
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ความเป็นผู้ชอบการงาน
๒. ความเป็นผู้ชอบการพูดคุย
๓. ความเป็นผู้ชอบการนอนหลับ
๔. ความเป็นผู้ไม่คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย
๕. ความเป็นผู้ไม่รู้จักประมาณในการบริโภค
ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อความเสื่อมแก่ภิกษุผู้เป็น
สมยวิมุต
ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความไม่เสื่อมแก่ภิกษุผู้เป็น
สมยวิมุต

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๒๔๗ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์] ๕. ติกัณฑกีวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ความเป็นผู้ไม่ชอบการงาน
๒. ความเป็นผู้ไม่ชอบการพูดคุย
๓. ความเป็นผู้ไม่ชอบการนอนหลับ
๔. ความเป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย
๕. ความเป็นผู้รู้จักประมาณในการบริโภค
ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อความเสื่อมแก่ภิกษุผู้เป็น
สมยวิมุต
ทุติยสมยวิมุตตสูตรที่ ๑๐ จบ
ติกัณฑกีวรรคที่ ๕ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. อวชานาติสูตร ๒. อารภติสูตร
๓. สารันททสูตร ๔. ติกัณฑกีสูตร
๕. นิรยสูตร ๖. มิตตสูตร
๗. อสัปปุริสทานสูตร ๘. สัปปุริสทานสูตร
๙. ปฐมสมยวิมุตตสูตร ๑๐. ทุติยสมยวิมุตตสูตร

ตติยปัณณาสก์ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๒๔๘ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์] ๑. สัทธัมมวรรค ๑. ปฐมสัมมัตตนิยามสูตร
๔. จตุตถปัณณาสก์
๑. สัทธัมมวรรค
หมวดว่าด้วยพระสัทธรรม
๑. ปฐมสัมมัตตนิยามสูตร
ว่าด้วยสัมมัตตนิยาม๑ สูตรที่ ๑
[๑๕๑] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๕
ประการ แม้ฟังสัทธรรมอยู่ ก็ไม่อาจหยั่งลงสู่สัมมัตตนิยามในกุศลธรรมทั้งหลาย
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. วิพากษ์วิจารณ์คำพูด๒
๒. วิพากษ์วิจารณ์ผู้พูด๓
๓. วิพากษ์วิจารณ์ตน๔
๔. เป็นผู้มีจิตฟุ้งซ่าน คือมีจิตไม่แน่วแน่ฟังธรรม
๕. มนสิการโดยไม่แยบคาย
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล แม้ฟังสัทธรรมอยู่
ก็ไม่อาจหยั่งลงสู่สัมมัตตนิยามในกุศลธรรมทั้งหลาย
ภิกษุทั้งหลาย ส่วนบุคคลประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ฟังสัทธรรมอยู่
เป็นผู้อาจหยั่งลงสู่สัมมัตตนิยามในกุศลธรรมทั้งหลาย

เชิงอรรถ :
๑ สัมมัตตนิยาม ในที่นี้หมายถึงอริยมรรคมีองค์ ๘ (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๑๕๑/๕๙, สํ.ข.อ. ๒/๓๐๒-๓๑๑/๓๗๘)
และดู สํ.ข. ๑๗/๓๐๒-๓๑๑/๑๘๗-๑๙๑ ประกอบ
๒ วิพากษ์วิจารณ์คำพูด หมายถึงพูดว่า “นั่นเรื่องอะไร” (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๑๕๑/๕๙)
๓ วิพากษ์วิจารณ์ผู้พูด หมายถึงพูดว่า “ผู้นั้นพูดเรื่องอะไร ผู้นี้จะรู้อะไร” (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๑๕๑/๕๙)
๔ วิพากษ์วิจารณ์ตน หมายถึงพูดว่า “เรารู้หรือว่า คำพูดนั้นของเรามีน้ำหนักที่น่าเชื่อถือได้แค่ไหนกัน”
(องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๑๕๑/๕๙)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๒๔๙ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์] ๑. สัทธัมมวรรค ๒. ทุติยสัมมัตตนิยามสูตร
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ไม่วิพากษ์วิจารณ์คำพูด
๒. ไม่วิพากษ์วิจารณ์ผู้พูด
๓. ไม่วิพากษ์วิจารณ์ตน
๔. เป็นผู้มีจิตไม่ฟุ้งซ่าน คือมีจิตแน่วแน่ฟังธรรม
๕. มนสิการโดยแยบคาย
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ฟังสัทธรรมอยู่
เป็นผู้อาจหยั่งลงสู่สัมมัตตนิยามในกุศลธรรมทั้งหลาย
ปฐมสัมมัตตนิยามสูตรที่ ๑ จบ

๒. ทุติยสัมมัตตนิยามสูตร
ว่าด้วยสัมมัตตนิยาม สูตรที่ ๒
[๑๕๒] ภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ แม้ฟัง
สัทธรรมอยู่ ก็ไม่อาจหยั่งลงสู่สัมมัตตนิยามในกุศลธรรมทั้งหลาย
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. วิพากษ์วิจารณ์คำพูด
๒. วิพากษ์วิจารณ์ผู้พูด
๓. วิพากษ์วิจารณ์ตน
๔. มีปัญญาทราม โง่เขลา เป็นคนเซอะ๑
๕. ถือตัวว่ารู้ในสิ่งที่ตนยังไม่รู้
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล แม้ฟังสัทธรรมอยู่
ก็ไม่อาจหยั่งลงสู่สัมมัตตนิยามในกุศลธรรมทั้งหลาย
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ฟังสัทธรรมอยู่ เป็นผู้
อาจหยั่งลงสู่สัมมัตตนิยามในกุศลธรรมทั้งหลาย

เชิงอรรถ :
๑ ดูเชิงอรรถที่ ๔ ข้อ ๑๑๒ (ปัจฉาสมณสูตร) หน้า ๑๙๐ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๒๕๐ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์] ๑. สัทธัมมวรรค ๓. ตติยสัมมัตตนิยามสูตร
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ไม่วิพากษ์วิจารณ์คำพูด
๒. ไม่วิพากษ์วิจารณ์ผู้พูด
๓. ไม่วิพากษ์วิจารณ์ตน
๔. มีปัญญา ไม่โง่เขลา ไม่เป็นคนเซอะ
๕. ไม่ถือตัวว่ารู้ในสิ่งที่ตนยังไม่รู้
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ฟังสัทธรรมอยู่
เป็นผู้อาจหยั่งลงสู่สัมมัตตนิยามในกุศลธรรมทั้งหลาย
ทุติยสัมมัตตนิยามสูตรที่ ๒ จบ

๓. ตติยสัมมัตตนิยามสูตร
ว่าด้วยสัมมัตตนิยาม สูตรที่ ๓
[๑๕๓] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๕
ประการ แม้ฟังสัทธรรมอยู่ ก็ไม่อาจหยั่งลงสู่สัมมัตตนิยามในกุศลธรรมทั้งหลาย
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ลบหลู่คุณท่านฟังธรรม ถูกความลบหลู่คุณท่านกลุ้มรุมฟังธรรม
๒. มีจิตแข่งดี คอยจับผิดฟังธรรม
๓. มีจิตกระทบ มีจิตกระด้างในผู้แสดงธรรม
๔. มีปัญญาทราม โง่เขลา เป็นคนเซอะ
๕. ถือตัวว่ารู้ในสิ่งที่ตนยังไม่รู้
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล แม้ฟังธรรมอยู่ก็ไม่
อาจหยั่งลงสู่สัมมัตตนิยามในกุศลธรรมทั้งหลาย
ภิกษุทั้งหลาย ส่วนบุคคลประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ฟังสัทธรรมอยู่
เป็นผู้อาจหยั่งลงสู่สัมมัตตนิยามในกุศลธรรมทั้งหลาย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๒๕๑ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์] ๑. สัทธัมมวรรค ๔. ปฐมสัทธัมมสัมโมสสูตร
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ไม่ลบหลู่คุณท่าน ไม่ถูกความลบหลู่คุณท่านกลุ้มรุมฟังธรรม
๒. ไม่มีจิตแข่งดี ไม่คอยจับผิดฟังธรรม
๓. ไม่มีจิตกระทบ ไม่มีจิตกระด้างในผู้ฟังธรรม
๔. มีปัญญา ไม่โง่เขลา ไม่เป็นคนเซอะ
๕. ไม่ถือตัวว่ารู้ในสิ่งที่ตนยังไม่รู้
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ฟังธรรมอยู่ เป็นผู้
อาจหยั่งลงสู่สัมมัตตนิยามในกุศลธรรมทั้งหลาย
ตติยสัมมัตตนิยามสูตรที่ ๓ จบ

๔. ปฐมสัทธัมมสัมโมสสูตร
ว่าด้วยเหตุเสื่อมแห่งพระสัทธรรม สูตรที่ ๑
[๑๕๔] ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความเสื่อมสูญ
หายไปแห่งสัทธรรม
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. ไม่ฟังธรรมโดยเคารพ
๒. ไม่เรียนธรรมโดยเคารพ
๓. ไม่ทรงจำธรรมโดยเคารพ
๔. ไม่ใคร่ครวญอรรถแห่งธรรมที่ทรงจำไว้แล้วโดยเคารพ
๕. รู้อรรถรู้ธรรมแล้วไม่ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรมโดยเคารพ
ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อความเสื่อมสูญหายไป
แห่งสัทธรรม
ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความดำรงมั่น ไม่เสื่อมสูญ
ไม่หายไปแห่งสัทธรรม

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๒๕๒ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์] ๑. สัทธัมมวรรค ๕. ทุติยสัมธัมมสัมโมสสูตร
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. ฟังธรรมโดยเคารพ
๒. เรียนธรรมโดยเคารพ
๓. ทรงจำธรรมโดยเคารพ
๔. ใคร่ครวญอรรถแห่งธรรมที่ทรงจำไว้แล้วโดยเคารพ
๕. รู้อรรถรู้ธรรมแล้วปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรมโดยเคารพ
ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อความดำรงมั่น ไม่เสื่อมสูญ
ไม่หายไปแห่งสัทธรรม
ปฐมสัทธัมมสัมโมสสูตรที่ ๔ จบ

๕. ทุติยสัทธัมมสัมโมสสูตร
ว่าด้วยเหตุเสื่อมแห่งพระสัทธรรม สูตรที่ ๒
[๑๕๕] ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความเสื่อมสูญ
หายไปแห่งสัทธรรม
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. ไม่เรียนธรรม คือ สุตตะ เคยยะ เวยยากรณะ คาถา อุทาน
อิติวุตตกะ ชาตกะ อัพภูตธรรม และเวทัลละ นี้เป็นธรรมประการ
ที่ ๑ ย่อมเป็นไปเพื่อความเสื่อสูญหายไปแห่งสัทธรรม
๒. ไม่แสดงธรรมตามที่ตนได้สดับมา ตามที่ตนได้เรียนมาแก่ผู้อื่นโดย
พิสดาร นี้เป็นธรรมประการที่ ๒ ย่อมเป็นไปเพื่อความเสื่อมสูญ
หายไปแห่งสัทธรรม
๓. ไม่บอกธรรมตามที่ตนได้สดับมา ตามที่ตนได้เรียนมาแก่ผู้อื่นโดย
พิสดาร นี้เป็นธรรมประการที่ ๓ ย่อมเป็นไปเพื่อความเสื่อมสูญ
หายไปแห่งสัทธรรม

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๒๕๓ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์] ๑. สัทธัมมวรรค ๕. ทุติยสัทธัมมสัมโมสสูตร
๔. ไม่ทำการสาธยายธรรมตามที่ตนได้สดับมา ตามที่ตนได้เรียนมาโดย
พิสดาร นี้เป็นธรรมประการที่ ๔ ย่อมเป็นไปเพื่อความเสื่อมสูญ
หายไปแห่งสัทธรรม
๕. ไม่ตรึกตาม ตรองตาม เพ่งตามด้วยใจซึ่งธรรมตามที่ตนได้สดับมา
ตามที่ตนได้เรียนมา นี้เป็นธรรมประการที่ ๕ ย่อมเป็นไปเพื่อความ
เสื่อมสูญหายไปแห่งสัทธรรม
ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อความเสื่อมสูญหายไป
แห่งสัทธรรม
ธรรม ๕ ประการนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความดำรงมั่น ไม่เสื่อมสูญ ไม่หายไปแห่ง
สัทธรรม
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เรียนธรรม คือ สุตตะ เคยยะ เวยยากรณะ คาถา อุทาน อิติวุตตกะ
ชาตกะ อัพภูตธรรม และเวทัลละ นี้เป็นธรรมประการที่ ๑ ย่อม
เป็นไปเพื่อความดำรงมั่น ไม่เสื่อมสูญ ไม่หายไปแห่งสัทธรรม
๒. แสดงธรรมตามที่ตนได้สดับมา ตามที่ตนได้เรียนมาแก่ผู้อื่นโดย
พิสดาร นี้เป็นธรรมประการที่ ๒ ย่อมเป็นไปเพื่อความดำรงมั่น
ไม่เสื่อมสูญ ไม่หายไปแห่งสัทธรรม
๓. บอกธรรมตามที่ตนได้สดับมา ตามที่ตนได้เรียนมาแก่ผู้อื่นโดยพิสดาร
นี้เป็นธรรมประการที่ ๓ ย่อมเป็นไปเพื่อความดำรงมั่น ไม่เสื่อมสูญ
ไม่หายไปแห่งสัทธรรม
๔. ทำการสาธยายธรรมตามที่ตนได้สดับมา ตามที่ตนได้เรียนมาโดย
พิสดาร นี้เป็นธรรมประการที่ ๔ ย่อมเป็นไปเพื่อความดำรงมั่น
ไม่เสื่อมสูญ ไม่หายไปแห่งสัทธรรม

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๒๕๔ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์] ๑. สัทธัมมวรรค ๖. ตติยสัมธัมมสัมโมสสูตร
๕. ตรึกตาม ตรองตาม เพ่งตามด้วยใจซึ่งธรรมตามที่ตนได้สดับมา
ตามที่ตนได้เรียนมา นี้เป็นธรรมประการที่ ๕ ย่อมเป็นไปเพื่อความ
ดำรงมั่น ไม่เสื่อมสูญ ไม่หายไปแห่งสัทธรรม
ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อความดำรงมั่น
ไม่เสื่อมสูญ ไม่หายไปแห่งสัทธรรม
ทุติยสัทธัมมสัมโมสสูตรที่ ๕ จบ

๖. ตติยสัทธัมมสัมโมสสูตร
ว่าด้วยเหตุเสื่อมแห่งพระสัทธรรม สูตรที่ ๓
[๑๕๖] ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความเสื่อมสูญ
หายไปแห่งสัทธรรม
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ภิกษุในธรรมวินัยนี้เล่าเรียนพระสูตรที่เล่าเรียนกันมาไม่ดี ด้วยบท
พยัญชนะที่สืบทอดกันมาไม่ดี๑ แม้อรรถ๒แห่งบทพยัญชนะที่สืบ
ทอดกันมาไม่ดีก็ชื่อว่าเป็นการสืบทอดขยายความไม่ดี นี้เป็นธรรม
ประการที่ ๑ ย่อมเป็นไปเพื่อความเสื่อมสูญหายไปแห่งสัทธรรม
๒. ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นผู้ว่ายาก ประกอบด้วยธรรมเป็นเครื่องทำให้
เป็นผู้ว่ายาก ไม่อดทนรับฟังคำพร่ำสอนโดยเคารพ นี้เป็นธรรม
ประการที่ ๒ ย่อมเป็นไปเพื่อความเสื่อมสูญหายไปแห่งสัทธรรม

เชิงอรรถ :
๑ บทพยัญชนะที่สืบทอดกันมาไม่ดี หมายถึงบทบาลีที่สืบทอดกันมาผิดระเบียบ (องฺ.ทุก.อ. ๒/๒๐/๒๘)
และดู องฺ.ทุก. (แปล) ๒๐/๒๐/๗๒
๒ อรรถ ในที่นี้หมายถึงอรรถกถาที่สวดสืบทอดกันมาผิดระเบียบ (องฺ.ทุก.อ. ๒/๒๐/๒๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๒๕๕ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์] ๑. สัทธัมมวรรค ๖. ตติยสัมธัมมสัมโมสสูตร
๓. ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นพหูสูต เรียนจบคัมภีร์ ทรงธรรม ทรงวินัย
ทรงมาติกา๑ ไม่ถ่ายทอดสูตรแก่ผู้อื่นโดยเคารพ เมื่อภิกษุเหล่านั้น
ล่วงลับไป สูตรก็ขาดรากฐาน ไม่มีที่พึ่งอาศัย นี้เป็นธรรมประการ
ที่ ๓ ย่อมเป็นไปเพื่อความเสื่อมสูญหายไปแห่งสัทธรรม
๔. ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นเถระ ผู้มักมาก ย่อหย่อน๒ เป็นผู้นำใน
โอกกมนธรรม๓ ทอดธุระในปวิเวก๔ ไม่ปรารภความเพียรเพื่อถึง
ธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่
ยังไม่ได้ทำให้แจ้ง หมู่คนรุ่นหลังพากันตามอย่างภิกษุเถระเหล่านั้น
แม้หมู่คนรุ่นหลังนั้นก็เป็นผู้มักมาก เป็นผู้ย่อหย่อน เป็นผู้นำใน
โอกกมนธรรมทอดธุระในปวิเวก ไม่ปรารภความเพียรเพื่อถึงธรรม
ที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่
ได้ทำให้แจ้ง นี้เป็นธรรมประการที่ ๔ ย่อมเป็นไปเพื่อความเสื่อม
สูญหายไปแห่ง สัทธรรม

เชิงอรรถ :
๑ เป็นพหูสูต หมายถึงได้สดับพระพุทธพจน์ หรือได้เล่าเรียนนวังคสัตถุศาสน์(คำสอนของพระศาสดามีองค์ ๙)
เรียนจบคัมภีร์ หมายถึงเรียนจบพระพุทธพจน์คือ พระไตรปิฎก ๕ นิกาย ได้แก่ ทีฆนิกาย มัชฌิมนิกาย
สังยุตตนิกาย อังคุตตรนิกาย และขุททกนิกาย
ทรงธรรม หมายถึงทรงจำพระสุตตันตปิฎก
ทรงวินัย หมายถึงทรงจำพระวินัยปิฎก
ทรงมาติกา หมายถึงทรงจำพระปาติโมกข์ทั้งสอง คือ ภิกขุปาติโมกข์ และภิกขุณีปาติโมกข์ (องฺ.ติก.อ.
๒/๒๐/๙๗-๙๘)
๒ ย่อหย่อน ในที่นี้หมายถึงยึดถือปฏิบัติตามคำสั่งสอนโดยไม่เคร่งครัด (องฺ.ทุก.อ. ๒/๔๕/๕๓)
๓ โอกกมนธรรม หมายถึงนิวรณ์ ๕ คือ (๑) กามฉันทะ (ความพอใจในกาม) (๒) พยาบาท (ความคิดร้าย)
(๓) ถีนมิทธะ (ความหดหู่และเซื่องซึม) (๔) อุทธัจจกุกกุจจะ (ความฟุ้งซ่านและร้อนใจ) (๕) วิจิกิจฉา
(ความลังเลสงสัย) (องฺ.ทุก.อ. ๒/๔๕/๕๓)
๔ ปวิเวก หมายถึงอุปธิวิเวก คือความสงัดจากอุปธิ (สภาวะอันเป็นที่ตั้งที่ทรงไว้ซึ่งทุกข์ ได้แก่ กาม กิเลส
เบญจขันธ์ และอภิสังขาร) อีกนัยหนึ่ง หมายถึงนิพพาน (องฺ.ทุก.อ. ๒/๔๕/๕๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๒๕๖ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์] ๑. สัทธัมมวรรค ๖. ตติยสัมธัมมสัมโมสสูตร
๕. สงฆ์แตกแยกกัน เมื่อสงฆ์แตกแยกกัน จึงมีการด่ากัน มีการ
บริภาษกัน มีการใส่ร้ายกัน มีการทอดทิ้งกัน หมู่คนที่ยังไม่เลื่อมใส
ในสงฆ์นั้น ก็ไม่เลื่อมใส และหมู่คนที่เลื่อมใสแล้วก็กลายเป็นอื่นไป นี้
เป็นธรรมประการที่ ๕ ย่อมเป็นไปเพื่อความเสื่อมสูญหายไปแห่ง
สัทธรรม
ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อความเสื่อมสูญหายไป
แห่งสัทธรรม
ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความดำรงมั่น ไม่เสื่อมสูญ
ไม่หายไปแห่งสัทธรรม
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ภิกษุเล่าเรียนพระสูตรที่เล่าเรียนมาดี ด้วยบทพยัญชนะที่สืบทอด
กันมาดี แม้อรรถแห่งบทพยัญชนะที่สืบทอดกันมาดี ก็ชื่อว่า
เป็นการสืบทอดขยายความดี นี้เป็นธรรมประการที่ ๑ ย่อมเป็น
ไปเพื่อความดำรงมั่น ไม่เสื่อมสูญ ไม่หายไปแห่งสัทธรรม
๒. ภิกษุเป็นผู้ว่าง่าย ประกอบด้วยธรรมเป็นเครื่องทำให้เป็นผู้ว่าง่าย
อดทนรับฟังคำพร่ำสอนโดยเคารพ นี้เป็นธรรมประการที่ ๒ ย่อม
เป็นไปเพื่อความดำรงมั่น ไม่เสื่อมสูญ ไม่หายไปแห่งสัทธรรม
๓. ภิกษุเป็นพหูสูต เรียนจบคัมภีร์ ทรงธรรม ทรงวินัย ทรงมาติกา
ถ่ายทอดสูตรแก่ผู้อื่นโดยเคารพ เมื่อภิกษุเหล่านั้นล่วงลับไป สูตร
ไม่ขาดรากฐาน มีที่พึ่งอาศัย นี้เป็นธรรมประการที่ ๓ ย่อมเป็น
ไปเพื่อความดำรงมั่น ไม่เสื่อมสูญ ไม่หายไปแห่งสัทธรรม
๔. ภิกษุเป็นเถระ ไม่มักมาก ไม่ย่อหย่อน หมดธุระในโอกกมนธรรม
เป็นผู้นำในปวิเวก ปรารภความเพียรเพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อ
บรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ได้ทำให้แจ้ง
หมู่คนรุ่นหลังพากันตามอย่างภิกษุเถระเหล่านั้น แม้หมู่คนรุ่นหลัง
นั้นก็ไม่มักมาก ไม่ย่อหย่อน หมดธุระในโอกกมนธรรม เป็นผู้นำ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๒๕๗ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์] ๑. สัทธัมมวรรค ๗. ทุกกถาสูตร
ในปวิเวก ปรารภความเพียรเพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่
ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ได้ทำให้แจ้ง นี้เป็นธรรม
ประการที่ ๔ ย่อมเป็นไปเพื่อความดำรงมั่น ไม่เสื่อมสูญ ไม่หาย
ไปแห่งสัทธรรม
๕. สงฆ์พร้อมเพรียงกัน ชื่นชมกัน ไม่วิวาทกัน มีอุทเทสที่สวด
ร่วมกัน๑อยู่ผาสุก เมื่อสงฆ์พร้อมเพรียงกัน จึงไม่มีการด่ากัน
ไม่มีการบริภาษกัน ไม่มีการใส้ร้ายกัน ไม่มีการทอดทิ้งกัน
หมู่คนที่ยังไม่เลื่อมใสในสงฆ์นั้นก็เลื่อมใส และหมู่คนที่เลื่อมใสแล้ว
ก็เลื่อมใสยิ่งขึ้น นี้เป็นธรรมประการที่ ๕ ย่อมเป็นไปเพื่อความ
ดำรงมั่น ไม่เสื่อมสูญ ไม่หายไปแห่งสัทธรรม
ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อความดำรงมั่น ไม่
เสื่อมสูญ ไม่หายไปแห่งสัทธรรม
ตติยสัทธัมมสัมโมสสูตรที่ ๖ จบ

๗. ทุกกถาสูตร
ว่าด้วยการพูดเป็นเรื่องไม่ดีและเรื่องดีสำหรับผู้อื่น
[๑๕๗] ภิกษุทั้งหลาย การพูด เป็นเรื่องไม่ดีสำหรับบุคคล ๕ จำพวก เมื่อ
เทียบบุคคลกับบุคคล
การพูด เป็นเรื่องไม่ดีสำหรับบุคคล ๕ จำพวกไหนบ้าง คือ
๑. การพูดเรื่องศรัทธา เป็นเรื่องไม่ดีสำหรับบุคคลผู้ไม่มีศรัทธา
๒. การพูดเรื่องศีล เป็นเรื่องไม่ดีสำหรับบุคคลผู้ทุศีล

เชิงอรรถ :
๑ ดูเชิงอรรถที่ ๑ ข้อ ๕๔ (สมยสูตร) หน้า ๙๔ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๒๕๘ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์] ๑. สัทธัมมวรรค ๗. ทุกกถาสูตร
๓. การพูดเรื่องพาหุสัจจะ๑ เป็นเรื่องไม่ดีสำหรับบุคคลผู้มีสุตะ๒น้อย
๔. การพูดเรื่องจาคะ เป็นเรื่องไม่ดีสำหรับบุคคลผู้ตระหนี่
๕. การพูดเรื่องปัญญา เป็นเรื่องไม่ดีสำหรับบุคคลผู้มีปัญญาทราม
การพูดเรื่องศรัทธา เป็นเรื่องไม่ดีสำหรับบุคคลผู้ไม่มีศรัทธา เพราะเหตุไร
เพราะบุคคลผู้ไม่มีศรัทธา เมื่อพูดเรื่องศรัทธา ก็ขัดใจ โกรธเคือง พยาบาท
ขึ้งเคียด แสดงอาการโกรธ ขัดเคือง และไม่พอใจ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะบุคคล
ผู้ไม่มีศรัทธานั้น ไม่พิจารณาเห็นสัทธาสัมปทา(ความถึงพร้อมด้วยศรัทธา)ในตน
และไม่ได้ปีติปราโมทย์ที่มีสัทธาสัมปทานั้นเป็นเหตุ ฉะนั้น การพูดเรื่องศรัทธา จึงเป็น
เรื่องไม่ดีสำหรับบุคคลผู้ไม่มีศรัทธา
การพูดเรื่องศีล เป็นเรื่องไม่ดีสำหรับบุคคลผู้ทุศีล เพราะเหตุไร
เพราะบุคคลผู้ทุศีล เมื่อพูดเรื่องศีล ก็ขัดใจ โกรธเคือง พยาบาท ขึ้งเคียด
แสดงอาการโกรธ ขัดเคือง และไม่พอใจ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะผู้ทุศีลนั้น ไม่เห็น
สีลสัมปทา(ความถึงพร้อมด้วยศีล)ในตน และไม่ได้ปีติปราโมทย์ที่มีสีลสัมปทานั้น
เป็นเหตุ ฉะนั้น การพูดเรื่องศีลจึงเป็นเรื่องไม่ดีสำหรับบุคคลผู้ทุศีล
การพูดเรื่องพาหุสัจจะ เป็นเรื่องไม่ดีสำหรับบุคคลผู้มีสุตะน้อย เพราะเหตุไร
เพราะบุคคลผู้มีสุตะน้อย เมื่อพูดเรื่องพาหุสัจจะ ก็ขัดใจ โกรธเคือง พยาบาท
ขึ้งเคียด แสดงอาการโกรธ ขัดเคือง และไม่พอใจ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะบุคคลผู้
มีสุตะน้อยนั้น ไม่พิจารณาเห็นสุตสัมปทา(ความถึงพร้อมด้วยสุตะ)ในตน และไม่ได้
ปีติปราโมทย์ที่มีสุตสัมปทานั้นเป็นเหตุ ฉะนั้น การพูดเรื่องพาหุสัจจะ จึงเป็นเรื่อง
ไม่ดีสำหรับบุคคลผู้มีสุตะน้อย

เชิงอรรถ :
๑ ดูความหมายของพหูสูตในเชิงอรรถที่ ๑ ข้อ ๑๕๖ หน้า ๒๕๖ ในเล่มนี้
๒ สุตะ ในที่นี้หมายถึงนวังคสัตถุศาสน์ (คำสอนของพระศาสดามีองค์ ๙) คือ (๑) สุตตะ (พระสูตรทั้งหลาย
รวมทั้งพระวินัยปิฎกและนิทเทส) (๒) เคยยะ (ข้อความร้อยแก้วผสมร้อยกรอง ได้แก่พระสูตรที่มีคาถา
ทั้งหมด) (๓) เวยยากรณะ (ข้อความร้อยแก้ว) (๔) คาถา (ข้อความร้อยกรอง) (๕) อุทาน (พระคาถา
พุทธอุทาน) (๖) อิติวุตตกะ (พระสูตรที่ตรัสอ้างอิง) (๗) ชาตกะ (ชาดก ๕๕๐ เรื่อง) (๘) อัพภูตธรรม
(เรื่องอัศจรรย์) (๙) เวทัลละ (พระสูตรแบบถาม-ตอบ) (องฺ.จตุกฺก. (แปล) ๒๑/๖/๑๐)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๒๕๙ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์] ๑. สัทธัมมวรรค ๗. ทุกกถาสูตร
การพูดเรื่องจาคะ เป็นเรื่องไม่ดีสำหรับบุคคลผู้ตระหนี่ เพราะเหตุไร
เพราะบุคคลผู้ตระหนี่ เมื่อพูดเรื่องจาคะ ก็ขัดใจ โกรธเคือง พยาบาท ขึ้งเคียด
แสดงอาการโกรธ ขัดเคือง และไม่พอใจ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะบุคคลผู้ตระหนี่นั้น
ไม่พิจารณาเห็นจาคสัมปทา(ความถึงพร้อมด้วยจาคะ)ในตน และไม่ได้ปีติปราโมทย์
ที่มีจาคสัมปทานั้นเป็นเหตุ ฉะนั้น การพูดเรื่องจาคะจึงเป็นเรื่องไม่ดีสำหรับบุคคลผู้
ตระหนี่
การพูดเรื่องปัญญา เป็นเรื่องไม่ดีสำหรับบุคคลผู้มีปัญญาทราม เพราะเหตุไร
เพราะบุคคลผู้มีปัญญาทราม เมื่อพูดเรื่องปัญญา ก็ขัดใจ โกรธเคือง พยาบาท
ขึ้งเคียด แสดงอาการโกรธ ขัดเคือง และไม่พอใจ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะบุคคลผู้
มีปัญญาทรามนั้นไม่พิจารณาเห็นปัญญาสัมปทา(ความถึงพร้อมด้วยปัญญา)ในตน
และไม่ได้ปีติปราโมทย์ที่มีปัญญาสัมปทานั้นเป็นเหตุ ฉะนั้น การพูดเรื่องปัญญา จึง
เป็นเรื่องไม่ดีสำหรับบุคคลผู้มีปัญญาทราม
ภิกษุทั้งหลาย การพูด เป็นเรื่องไม่ดีสำหรับบุคคล ๕ จำพวกนี้แล เมื่อเทียบ
บุคคลกับบุคคล
ภิกษุทั้งหลาย การพูด เป็นเรื่องดีสำหรับบุคคล ๕ จำพวก เมื่อเทียบบุคคล
กับบุคคล
การพูด เป็นเรื่องดีสำหรับบุคคล ๕ จำพวกไหนบ้าง คือ
๑. การพูดเรื่องศรัทธา เป็นเรื่องดีสำหรับบุคคลผู้มีศรัทธา
๒. การพูดเรื่องศีล เป็นเรื่องดีสำหรับบุคคลผู้มีศีล
๓. การพูดเรื่องพาหุสัจจะ เป็นเรื่องดีสำหรับบุคคลผู้เป็นพหูสูต
๔. การพูดเรื่องจาคะ เป็นเรื่องดีสำหรับบุคคลผู้มีจาคะ
๕. การพูดเรื่องปัญญา เป็นเรื่องดีสำหรับบุคคลผู้มีปัญญา
การพูดเรื่องศรัทธา เป็นเรื่องดีสำหรับบุคคลผู้มีศรัทธา เพราะเหตุไร
เพราะบุคคลผู้มีศรัทธา เมื่อพูดเรื่องศรัทธา ก็ไม่ขัดใจ ไม่โกรธเคือง ไม่พยาบาท
ไม่ขึ้งเคียด ไม่แสดงอาการโกรธ ขัดเคือง และไม่พอใจ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๒๖๐ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์] ๑. สัทธัมมวรรค ๗. ทุกกถาสูตร
บุคคลผู้มีศรัทธานั้น พิจารณาเห็นสัทธาสัมปทาในตน และได้ปีติปราโมทย์ที่มีสัทธา-
สัมปทานั้นเป็นเหตุ ฉะนั้น การพูดเรื่องศรัทธา จึงเป็นเรื่องดีสำหรับบุคคลผู้มีศรัทธา
การพูดเรื่องศีล เป็นเรื่องดีสำหรับบุคคลผู้มีศีล เพราะเหตุไร
เพราะบุคคลผู้มีศีล เมื่อพูดเรื่องศีล ก็ไม่ขัดใจ ไม่โกรธเคือง ไม่พยาบาท
ไม่ขึ้งเคียด ไม่แสดงอาการโกรธ ขัดเคือง และไม่พอใจ ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะบุคคลผู้มีศีลนั้นพิจารณาเห็นสีลสัมปทาในตน และได้ปีติปราโมทย์ที่มี
สีลสัมปทานั้นเป็นเหตุ ฉะนั้น การพูดเรื่องศีล จึงเป็นเรื่องดีสำหรับบุคคลผู้มีศีล
การพูดเรื่องพาหุสัจจะ เป็นเรื่องดีสำหรับบุคคลผู้เป็นพหูสูต เพราะเหตุไร
เพราะบุคคลผู้เป็นพหูสูต เมื่อพูดเรื่องพาหุสัจจะ ก็ไม่ขัดใจ ไม่โกรธเคือง
ไม่พยาบาท ไม่ขึ้งเคียด ไม่แสดงอาการโกรธ ขัดเคือง และไม่พอใจ ข้อนั้นเพราะ
เหตุไร เพราะบุคคลผู้เป็นพหูสูตนั้น พิจารณาเห็นสุตสัมปทาในตน และได้ปีติ-
ปราโมทย์ที่มีสุตสัมปทานั้นเป็นเหตุ ฉะนั้น การพูดเรื่องพาหุสัจจะ จึงเป็นเรื่องดี
สำหรับบุคคลผู้เป็นพหูสูต
การพูดเรื่องจาคะ เป็นเรื่องดีสำหรับบุคคลผู้มีจาคะ เพราะเหตุไร
เพราะบุคคลผู้มีจาคะ เมื่อพูดเรื่องจาคะ ก็ไม่ขัดใจ ไม่โกรธเคือง ไม่พยาบาท
ไม่ขึ้งเคียด ไม่แสดงอาการโกรธ ขัดเคือง และไม่พอใจ ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะบุคคลผู้มีจาคะนั้นพิจารณาเห็นจาคสัมปทาในตน และได้ปีติปราโมทย์ที่มี
จาคสัมปทานั้นเป็นเหตุ ฉะนั้น การพูดเรื่องจาคะ จึงเป็นเรื่องดีสำหรับบุคคลผู้มีจาคะ
การพูดเรื่องปัญญา เป็นเรื่องดีสำหรับบุคคลผู้มีปัญญา เพราะเหตุไร
เพราะบุคคลผู้มีปัญญา เมื่อพูดเรื่องปัญญา ก็ไม่ขัดใจ ไม่โกรธเคือง ไม่พยาบาท
ไม่ขึ้งเคียด ไม่แสดงอาการโกรธ ขัดเคือง และไม่พอใจ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะ
บุคคลผู้มีปัญญานั้นพิจารณาเห็นปัญญาสัมปทาในตน และได้ปีติปราโมทย์ที่มี
ปัญญาสัมปทานั้นเป็นเหตุ ฉะนั้น การพูดเรื่องปัญญา จึงเป็นเรื่องดีสำหรับบุคคลผู้มี
ปัญญา
ภิกษุทั้งหลาย การพูด เป็นเรื่องดีสำหรับบุคคล ๕ จำพวกนี้แล เมื่อเทียบ
บุคคลกับบุคคล
ทุกกถาสูตรที่ ๗ จบ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๒๖๑ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์] ๑. สัทธัมมวรรค ๘. สารัชชสูตร
๘. สารัชชสูตร
ว่าด้วยความครั่นคร้ามและความแกล้วกล้า
[๑๕๘] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อมถึงความ
ครั่นคร้าม
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เป็นผู้ไม่มีศรัทธา
๒. เป็นผู้ทุศีล
๓. เป็นผู้มีสุตะน้อย
๔. เป็นผู้เกียจคร้าน
๕. เป็นผู้มีปัญญาทราม
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมถึงความ
ครั่นคร้าม
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้ ย่อมเป็นผู้แกล้วกล้า
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เป็นผู้มีศรัทธา
๒. เป็นผู้มีศีล
๓. เป็นพหูสูต
๔. เป็นผู้ปรารภความเพียร
๕. เป็นผู้มีปัญญา
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมเป็นผู้แกล้วกล้า
สารัชชสูตรที่ ๘ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๒๖๒ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์] ๑. สัทธัมมวรรค ๙. อุทายีสูตร
๙. อุทายีสูตร
ว่าด้วยพระอุทายี
[๑๕๙] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ โฆสิตาราม เขตกรุงโกสัมพี
สมัยนั้นแล ท่านพระอุทายีมีคฤหัสถ์บริษัทหมู่ใหญ่แวดล้อมนั่งแสดงธรรมอยู่ ท่าน
พระอานนท์ได้เห็นท่านพระอุทายีมีคฤหัสถ์บริษัทหมู่ใหญ่แวดล้อมนั่งแสดงธรรมอยู่
จึงได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร๑
ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ท่านพระอุทายีมีคฤหัสถ์
บริษัทหมู่ใหญ่แวดล้อมนั่งแสดงธรรมอยู่”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า อานนท์ การแสดงธรรมแก่ผู้อื่นมิใช่ทำได้ง่าย ภิกษุ
เมื่อจะแสดงธรรมแก่ผู้อื่น พึงตั้งธรรม ๕ ประการไว้ในตนแล้วจึงแสดงธรรมแก่ผู้อื่น
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุพึงตั้งใจว่า
๑. เราจักแสดงธรรมไปตามลำดับ๒
๒. เราจักแสดงอ้างเหตุ
๓. เราจักแสดงธรรมอาศัยความเอ็นดู๓
๔. เราจักเป็นผู้ไม่เพ่งอามิส๔แสดงธรรม
๕. เราจักไม่แสดงธรรมกระทบตนและผู้อื่น๕
อานนท์ การแสดงธรรมแก่ผู้อื่นไม่ใช่ทำได้ง่าย ภิกษุเมื่อจะแสดงธรรมแก่
คนอื่น พึงตั้งธรรม ๕ ประการนี้ไว้ในตนแล้วจึงแสดงธรรมแก่ผู้อื่น
อุทายีสูตรที่ ๙ จบ

เชิงอรรถ :
๑ ดูเชิงอรรถที่ ๒ ข้อ ๓๑ (สุมนสูตร) หน้า ๔๕ ในเล่มนี้
๒ แสดงธรรมไปตามลำดับ หมายถึงแสดงธรรมให้มีลำดับ ไม่ตัดลัดให้ขาดความ เช่น แสดงเรื่องทานเป็น
ลำดับที่ ๑ แสดงเรื่องศีลเป็นลำดับที่ ๒ แสดงเรื่องสวรรค์เป็นลำดับที่ ๓
อีกนัยหนึ่ง หมายถึงแสดงธรรมให้ครอบคลุมเนื้อหาสาระตามที่ตั้งสุตตบท หรือคาถาบทไว้ (องฺ.ปญฺจก.อ.
๓/๑๕๙/๖๐)
๓ อาศัยความเอ็นดู หมายถึงการอนุเคราะห์ด้วยคิดว่า “จักเปลื้องเหล่าสัตว์ผู้มีความคับแค้นมากให้พ้น
จากความคับแค้น” (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๑๕๙/๖๐)
๔ ไม่เพ่งอามิส หมายถึงไม่มุ่งหวังลาภคือปัจจัย ๔ เพื่อตน (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๑๕๙/๖๐)
๕ ไม่แสดงธรรมกระทบตนและผู้อื่น หมายถึงไม่แสดงธรรมยกตนข่มท่าน (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๑๕๙/๖๐)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๒๖๓ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์] ๑. สัทธัมมวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค
๑๐. ทุปปฏิวิโนทยสูตร
ว่าด้วยธรรมที่บรรเทาได้ยาก
[๑๖๐] ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการนี้ ที่เกิดขึ้นแล้ว บรรเทาได้ยาก
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ราคะที่เกิดขึ้นแล้ว บรรเทาได้ยาก
๒. โทสะที่เกิดขึ้นแล้ว บรรเทาได้ยาก
๓. โมหะที่เกิดขึ้นแล้ว บรรเทาได้ยาก
๔. ปฏิภาณ๑ที่เกิดขึ้นแล้ว บรรเทาได้ยาก
๕. จิตคิดจะไปที่เกิดขึ้นแล้ว บรรเทาได้ยาก
ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการนี้แล ที่เกิดขึ้นแล้ว บรรเทาได้ยาก
ทุปปฏิวิโนทยสูตรที่ ๑๐ จบ
สัทธัมมวรรคที่ ๑ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. ปฐมสัมมัตตนิยามสูตร ๒. ทุติยสัมมัตตนิยามสูตร
๓. ตติยสัมมัตตนิยามสูตร ๔. ปฐมสัทธัมมสัมโมสสูตร
๕. ทุติยสัทธัมมสัมโมสสูตร ๖. ตติยสัทธัมมสัมโมสสูตร
๗. ทุกกถาสูตร ๘. สารัชชสูตร
๙. อุทายีสูตร ๑๐. ทุปปฏิวิโนทยสูตร


เชิงอรรถ :
๑ ปฏิภาณ ในที่นี้หมายถึงความมุ่งหวังที่จะพูด (กเถตุกามตา) (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๑๖๐/๖๐)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๒๖๔ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์] ๒. อาฆาตวรรค ๑. ปฐมอาฆาตปฏิวินยสูตร
๒. อาฆาตวรรค
หมวดว่าด้วยอาฆาต๑
๑. ปฐมอาฆาตปฏิวินยสูตร
ว่าด้วยอุบายกำจัดอาฆาต สูตรที่ ๑
[๑๖๑] ภิกษุทั้งหลาย อุบายกำจัดอาฆาต ๕ ประการนี้ เป็นเครื่องกำจัด
อาฆาตที่เกิดขึ้นแก่ภิกษุได้อย่างสิ้นเชิง
อุบายกำจัดอาฆาต ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ภิกษุพึงเจริญเมตตาในบุคคลผู้ที่ตนเกิดอาฆาต๒ ภิกษุพึงกำจัดอาฆาต
ในบุคคลนั้นอย่างนี้
๒. ภิกษุพึงเจริญกรุณาในบุคคลผู้ที่ตนเกิดอาฆาต ภิกษุพึงกำจัดอาฆาต
ในบุคคลนั้นอย่างนี้
๓. ภิกษุพึงเจริญอุเบกขาในบุคคลผู้ที่ตนเกิดอาฆาต ภิกษุพึงกำจัดอาฆาต
ในบุคคลนั้นอย่างนี้
๔. ภิกษุไม่พึงระลึกถึง ไม่พึงมนสิการถึงบุคคลผู้ที่ตนเกิดอาฆาต ภิกษุ
พึงกำจัดอาฆาตในบุคคลนั้นอย่างนี้
๕. ภิกษุพึงนึกถึงความเป็นผู้มีกรรมเป็นของตนให้มั่นในบุคคลผู้ที่ตน
เกิดอาฆาตนั้น ดังนี้ว่า ‘ท่านผู้นี้เป็นผู้มีกรรมเป็นของตน เป็นผู้รับ
ผลของกรรม มีกรรมเป็นกำเนิด มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ มีกรรม

เชิงอรรถ :
๑ อาฆาต หมายถึงความโกรธเคือง (องฺ.นวก.อ. ๓/๒๙/๓๐๗)
๒ เมตตาและกรุณา ต้องเจริญด้วยฌานที่ ๓ และฌานที่ ๔ ส่วนอุเบกขา ต้องเจริญด้วยฌานที่ ๔ และฌานที่ ๕
(องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๑๖๑/๖๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๒๖๕ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์] ๒. อาฆาตวรรค ๒. ทุติยอาฆาตปฏิวินยสูตร
เป็นที่พึ่งอาศัย ทำกรรมใดไว้ จะเป็นกรรมดีหรือกรรมชั่วก็ตาม
ย่อมเป็นผู้รับผลของกรรมนั้น’ ภิกษุพึงกำจัดอาฆาตในบุคคลนั้น
อย่างนี้
ภิกษุทั้งหลาย อุบายกำจัดอาฆาต ๕ ประการนี้แล เป็นเครื่องกำจัดอาฆาต
ที่เกิดขึ้นแก่ภิกษุได้อย่างสิ้นเชิง
ปฐมอาฆาตปฏิวินยสูตรที่ ๑ จบ

๒. ทุติยอาฆาตปฏิวินยสูตร
ว่าด้วยอุบายกำจัดอาฆาต สูตรที่ ๒
[๑๖๒] ณ ที่นั้นแล ท่านพระสารีบุตรได้เรียกภิกษุทั้งหลายมากล่าวว่า ผู้มี
อายุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นรับคำของท่านพระสารีบุตรแล้ว ท่านพระสารีบุตรจึงได้
กล่าวเรื่องนี้ว่า
ผู้มีอายุทั้งหลาย อุบายกำจัดอาฆาต ๕ ประการนี้ เป็นเครื่องกำจัดอาฆาตที่
เกิดขึ้นแก่ภิกษุได้อย่างสิ้นเชิง
อุบายกำจัดอาฆาต ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ภิกษุพึงกำจัดอาฆาตในบุคคลผู้มีความประพฤติทางกายไม่บริสุทธิ์
แต่มีความประพฤติทางวาจาบริสุทธิ์
๒. ภิกษุพึงกำจัดอาฆาตในบุคคลผู้มีความประพฤติทางวาจาไม่บริสุทธิ์
แต่มีความประพฤติทางกายบริสุทธิ์
๓. ภิกษุพึงกำจัดอาฆาตในบุคคลผู้มีความประพฤติทางกายไม่บริสุทธิ์
มีความประพฤติทางวาจาไม่บริสุทธิ์ แต่ได้ช่องแห่งใจ๑ได้ความ
เลื่อมใสทางใจตามกาลอันควร


เชิงอรรถ :
๑ ได้ช่องแห่งใจ หมายถึงได้โอกาสให้วิปัสสนาจิตเกิดขึ้น (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๑๖๒/๖๑)


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๒๖๖ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์] ๒. อาฆาตวรรค ๒. ทุติยอาฆาตปฏิวินยสูตร
๔. ภิกษุพึงกำจัดอาฆาตในบุคคลผู้มีความประพฤติทางกายไม่บริสุทธิ์
มีความประพฤติทางวาจาไม่บริสุทธิ์ และไม่ได้ช่องแห่งใจ ไม่ได้
ความเลื่อมใสทางใจตามกาลอันควร
๕. ภิกษุพึงกำจัดอาฆาตในบุคคลผู้มีความประพฤติทางกายบริสุทธิ์ มี
ความประพฤติทางวาจาบริสุทธิ์ และได้ช่องแห่งใจ ได้ความเลื่อมใส
ทางใจตามกาลอันควร
บรรดาบุคคล ๕ จำพวกนั้น
ภิกษุพึงกำจัดอาฆาตในบุคคลผู้มีความประพฤติทางกายไม่บริสุทธิ์ แต่มี
ความประพฤติทางวาจาบริสุทธิ์ อย่างไร
คือ บุคคลใดมีความประพฤติทางกายไม่บริสุทธิ์ แต่มีความประพฤติทาง
วาจาบริสุทธิ์ ความประพฤติทางกายที่ไม่บริสุทธิ์ของเขาส่วนใด ภิกษุไม่พึงใส่ใจ
ส่วนนั้นในเวลานั้น ส่วนความประพฤติทางวาจาที่บริสุทธิ์ของเขาส่วนใด ภิกษุก็พึง
ใส่ใจแต่ส่วนนั้นในเวลานั้น เปรียบเหมือนภิกษุผู้ถือผ้าบังสุกุลเป็นวัตร พบผ้าเก่า
ที่ถนน เหยียบให้มั่นด้วยเท้าซ้าย เขี่ยออกดูด้วยเท้าขวา ส่วนใดยังใช้ได้ก็เลือกถือ
เอาส่วนนั้นแล้วจากไป
ภิกษุพึงกำจัดอาฆาตในบุคคลนั้นอย่างนี้
ภิกษุพึงกำจัดอาฆาตในบุคคลผู้มีความประพฤติทางวาจาไม่บริสุทธิ์ แต่มี
ความประพฤติทางกายบริสุทธิ์ อย่างไร
คือ บุคคลใดมีความประพฤติทางวาจาไม่บริสุทธิ์ แต่มีความประพฤติทางกาย
บริสุทธิ์ ความประพฤติทางวาจาที่ไม่บริสุทธิ์ของเขาส่วนใด ภิกษุไม่พึงใส่ใจส่วนนั้น
ในเวลานั้น ส่วนความประพฤติทางกายที่บริสุทธิ์ของเขาส่วนใด ภิกษุก็พึงใส่ใจแต่
ส่วนนั้นในเวลานั้น เปรียบเหมือนสระน้ำที่ถูกสาหร่ายและแหนคลุมไว้ คนเดินทาง
มาถูกความร้อนกระทบ ร้อนอบอ้าว เหนื่อยอ่อน กระหายน้ำ เขาจึงลงสระน้ำนั้น
แหวกสาหร่ายและแหนด้วยมือทั้งสองแล้วกอบน้ำขึ้นดื่มแล้วจึงจากไป
ภิกษุพึงกำจัดอาฆาตในบุคคลนั้นอย่างนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๒๖๗ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์] ๒. อาฆาตวรรค ๒. ทุติยอาฆาตปฏิวินยสูตร
ภิกษุพึงกำจัดอาฆาตในบุคคลผู้มีความประพฤติทางกายไม่บริสุทธิ์ มีความ
ประพฤติทางวาจาก็ไม่บริสุทธิ์ แต่ได้ช่องแห่งใจ ได้ความเลื่อมใสทางใจตาม
กาลอันควร อย่างไร
คือ บุคคลใดมีความประพฤติทางกายไม่บริสุทธิ์ มีความประพฤติทางวาจาไม่
บริสุทธิ์ แต่ได้ช่องแห่งใจ ได้ความเลื่อมใสทางใจตามกาลอันควร ความประพฤติ
ทางกายที่ไม่บริสุทธิ์ของเขาส่วนใด ภิกษุไม่พึงใส่ใจส่วนนั้นในเวลานั้น แม้ความ
ประพฤติทางวาจาที่ไม่บริสุทธิ์ของเขาส่วนใด ภิกษุก็ไม่พึงใส่ใจส่วนนั้นในเวลานั้น
แต่การได้ช่องแห่งใจ ได้ความเลื่อมใสทางใจตามกาลอันควรของเขาส่วนใด ภิกษุพึง
ใส่ใจแต่ส่วนนั้นในเวลานั้น เปรียบเหมือนน้ำเล็กน้อยในรอยเท้าโค คนเดินทางมา
ถูกความร้อนกระทบ ร้อนอบอ้าว เหนื่อยอ่อน กระหายน้ำ เขาเกิดความคิด
อย่างนี้ว่า “น้ำเล็กน้อยมีอยู่ในรอยเท้าโคนี้ ถ้าเราจักกอบขึ้นดื่ม หรือใช้ภาชนะ
ตักดื่ม ก็จักทำน้ำนั้นให้ไหวบ้าง ให้ขุ่นบ้าง ให้ไม่ควรดื่มบ้าง ทางที่ดี เราควรจะ
คุกเข่าก้มลงดื่มอย่างโคแล้วจึงค่อยไปเถิด” เขาจึงคุกเข่าก้มลงดื่มอย่างโคแล้วจึงจากไป
ภิกษุพึงกำจัดอาฆาตในบุคคลนั้นอย่างนี้
ภิกษุพึงกำจัดอาฆาตในบุคคลผู้มีความประพฤติทางกายไม่บริสุทธิ์ มีความ
ประพฤติทางวาจาไม่บริสุทธิ์ และไม่ได้ช่องแห่งใจ ไม่ได้ความเลื่อมใสทางใจ
ตามกาลอันควร อย่างไร
คือ บุคคลใดมีความประพฤติทางกายไม่บริสุทธิ์ มีความประพฤติทางวาจา
ไม่บริสุทธิ์ และไม่ได้ช่องแห่งใจ ไม่ได้ความเลื่อมใสทางใจตามกาลอันควร ภิกษุพึง
เข้าไปตั้งความกรุณา ความเอ็นดู ความอนุเคราะห์ในบุคคลแม้เช่นนี้ว่า “โอ ท่านผู้นี้
พึงละกายทุจริตแล้วเจริญกายสุจริต พึงละวจีทุจริตแล้วเจริญวจีสุจริต พึงละ
มโนทุจริตแล้วเจริญมโนสุจริต” ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะท่านผู้นี้หลังจากตายแล้ว
อย่าไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก” เปรียบเหมือนคนเจ็บป่วย มีทุกข์ เป็นไข้หนัก
เดินทางไกล แม้ข้างหน้าเขาก็มีบ้านอยู่ห่างไกล แม้ข้างหลังเขาก็มีบ้านอยู่ห่างไกล
เขาไม่ได้อาหารที่เป็นสัปปายะ ยาที่ตรงกับโรค คนพยาบาลที่เหมาะสม และผู้ที่จะ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๒๖๘ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์] ๒. อาฆาตวรรค ๒. ทุติยอาฆาตปฏิวินยสูตร
นำทางไปสู่บ้าน คนบางคนที่เดินทางไกลพึงเห็นเขา จึงเข้าไปตั้งความกรุณา ความ
เอ็นดู ความอนุเคราะห์ในเขาว่า “โอ ท่านผู้นี้ควรจะได้อาหารที่เป็นสัปปายะ ยาที่ตรง
กับโรค คนพยาบาลที่เหมาะสม และผู้นำทางไปสู่บ้าน ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะว่า
ท่านผู้นี้อย่าถึงความพินาศเสียหาย ณ ที่นี้เลย”
ภิกษุพึงกำจัดอาฆาตในบุคคลนั้นอย่างนี้
ภิกษุพึงกำจัดอาฆาตในบุคคลผู้มีความประพฤติทางกายบริสุทธิ์ มีความ
ประพฤติทางวาจาบริสุทธิ์ และได้ช่องแห่งใจ ได้ความเลื่อมใสทางใจตามกาล
อันควร อย่างไร
คือ บุคคลใดมีความประพฤติทางกายบริสุทธิ์ มีความประพฤติทางวาจา
บริสุทธิ์ ได้ช่องแห่งใจและได้ความเลื่อมใสทางใจตามกาลอันควร แม้ความประพฤติ
ทางกายที่บริสุทธิ์ของเขาส่วนใด ภิกษุพึงใสใจส่วนนั้นในเวลานั้น แม้ความ
ประพฤติทางวาจาที่บริสุทธิ์ของเขาส่วนใด ภิกษุก็พึงใส่ใจส่วนนั้นในเวลานั้น แม้การ
ได้ช่องแห่งใจ ได้ความเลื่อมใสทางใจตามกาลอันควรของเขาส่วนใด ภิกษุก็พึงใส่ใจ
ส่วนนั้นในเวลานั้น เปรียบเหมือนสระน้ำที่ใส จืดสนิท เย็น สะอาด มีท่าเทียบ
น่ารื่นรมย์ ดาดาษไปด้วยต้นไม้นานาพันธุ์ คนเดินทางมา ถูกความร้อนกระทบ
ร้อนอบอ้าว เหนื่อยอ่อน กระหายน้ำ เขาพึงลงสระน้ำนั้น อาบบ้าง ดื่มบ้าง
แล้วขึ้นมา นั่งบ้าง นอนบ้าง ที่ร่มไม้ใกล้สระน้ำนั้น
ภิกษุพึงกำจัดอาฆาตในบุคคลนั้นอย่างนี้
ผู้มีอายุทั้งหลาย เพราะอาศัยบุคคลที่น่าเลื่อมใส จิตจึงเลื่อมใส
อุบายกำจัดอาฆาต ๕ ประการนี้แล เป็นเครื่องกำจัดอาฆาตที่เกิดขึ้นแก่ภิกษุ
ได้อย่างสิ้นเชิง
ทุติยอาฆาตปฏิวินยสูตรที่ ๒ จบ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๒๖๙ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์] ๒. อาฆาตวรรค ๓. สากัจฉสูตร
๓. สากัจฉสูตร
ว่าด้วยภิกษุผู้ควรสนทนาด้วย
[๑๖๓] ณ ที่นั้น ท่านพระสารีบุตรเรียกภิกษุทั้งหลายมากล่าวว่า ฯลฯ๑ จึงได้
กล่าวเรื่องนี้ว่า
ผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ เป็นผู้ควรสนทนากับ
เพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. ตนเองเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีลและตอบปัญหาที่มาในเรื่องสีลสัมปทาได้
๒. ตนเองเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยสมาธิและตอบปัญหาที่มาในเรื่องสมาธิ-
สัมปทาได้
๓. ตนเองเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยปัญญาและตอบปัญหาที่มาในเรื่องปัญญา-
สัมปทาได้
๔. ตนเองเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิมุตติและตอบปัญหาที่มาในเรื่องวิมุตติ-
สัมปทาได้
๕. ตนเองเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิมุตติญาณทัสสนะและตอบปัญหาที่มา
ในเรื่องวิมุตติญาณทัสสนสัมปทาได้
ผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล เป็นผู้ควรสนทนา
กับเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย
สากัจฉสูตรที่ ๓ จบ

เชิงอรรถ :
๑ ฯลฯ ที่ปรากฏในข้อ ๑๖๓-๑๖๖ ดูความเต็มในข้อ ๑๖๒

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๒๗๐ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์] ๒. อาฆาตวรรค ๔. อาชีวสูตร
๔. อาชีวสูตร
ว่าด้วยภิกษุผู้ควรแก่สาชีพ๑
[๑๖๔] ณ ที่นั้น ท่านพระสารีบุตรเรียกภิกษุทั้งหลายมากล่าวว่า ฯลฯ จึงได้
กล่าวเรื่องนี้ว่า
ผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ เป็นผู้ควรแก่สาชีพของ
เพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. ตนเองเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีล และตอบปัญหาที่มาในเรื่องสีลสัมปทาได้
๒. ตนเองเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยสมาธิ และตอบปัญหาที่มาในเรื่องสมาธิ-
สัมปทาได้
๓. ตนเองเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยปัญญา และตอบปัญหาที่มาในเรื่องปัญญา-
สัมปทาได้
๔. ตนเองเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิมุตติ และตอบปัญหาที่มาในเรื่องวิมุตติ-
สัมปทาได้
๕. ตนเองเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิมุตติญาณทัสสนะ และตอบปัญหาที่มา
ในเรื่องวิมุตติญาณทัสสนสัมปทาได้
ผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล เป็นผู้ควรแก่สาชีพ
ของเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย
อาชีวสูตรที่ ๔ จบ

เชิงอรรถ :
๑ ดูเชิงอรรถที่ ๑ ข้อ ๖๖ (สาชีวสูตร) หน้า ๑๑๔ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๒๗๑ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์] ๒. อาฆาตวรรค ๕. ปัญหาปุจฉาสูตร
๕. ปัญหาปุจฉาสูตร
ว่าด้วยการถามปัญหา
[๑๖๕] ณ ที่นั้น ท่านพระสารีบุตรเรียกภิกษุทั้งหลายมากล่าวว่า ฯลฯ จึงได้
กล่าวเรื่องนี้ว่า
ผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุบางรูปย่อมถามปัญหากับภิกษุอื่นด้วยเหตุ ๕ ประการ
ทั้งหมด หรือเหตุใดเหตุหนึ่ง
เหตุ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ภิกษุบางรูปถามปัญหากับภิกษุอื่น เพราะโง่เขลา เพราะหลงงมงาย
๒. ภิกษุบางรูปมีความปรารถนาชั่ว ถูกความปรารถนาครอบงำ จึงถาม
ปัญหากับภิกษุอื่น
๓. ภิกษุบางรูปดูหมิ่น จึงถามปัญหากับภิกษุอื่น
๔. ภิกษุบางรูปประสงค์จะรู้จึงถามปัญหากับภิกษุอื่น
๕. ภิกษุบางรูปคิดอย่างนี้ว่า ‘ภิกษุอื่นถ้าถูกเราถามปัญหาก็จักตอบให้
ชัดเจน นั่นเป็นการดี แต่ถ้าตอบไม่ชัดเจน เราเองจักตอบให้ชัดเจน
แก่เธอ’ จึงถามปัญหากับภิกษุอื่น
ผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุบางรูปย่อมถามปัญหากับภิกษุอื่นด้วยเหตุ ๕ ประการ
ทั้งหมด หรือเหตุใดเหตุหนึ่ง
ส่วนข้าพเจ้าคิดอย่างนี้ว่า ‘ถ้าภิกษุอื่นถูกเราถามปัญหาก็จักตอบให้ชัดเจน
นั่นเป็นการดี แต่ถ้าตอบไม่ชัดเจน เราเองจักตอบให้ชัดเจนแก่ภิกษุนั้น’ จึงถาม
ปัญหากับภิกษุอื่น
ปัญหาปุจฉาสูตรที่ ๕ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๒๗๒ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์] ๒. อาฆาตวรรค ๖. นิโรธสูตร
๖. นิโรธสูตร
ว่าด้วยนิโรธ
[๑๖๖] ณ ที่นั้น ท่านพระสารีบุตรเรียกภิกษุทั้งหลายมากล่าวว่า ผู้มีอายุ
ทั้งหลาย ฯลฯ จึงได้กล่าวเรื่องนี้ว่า
“ผู้มีอายุทั้งหลาย เป็นไปได้ที่ภิกษุในธรรมวินัยนี้ผู้ถึงพร้อมด้วยศีล ถึงพร้อม
ด้วยสมาธิ ถึงพร้อมด้วยปัญญา เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธบ้าง ออกจากสัญญา-
เวทยิตนิโรธบ้าง หากเธอไม่บรรลุอรหัตตผลในปัจจุบัน ก็เป็นไปได้ที่เธอจะล่วงความ
เป็นผู้อยู่ร่วมกับเหล่าเทวดาผู้มีคำข้าวเป็นภักษา๑ แล้วเข้าถึงกายมโนมัย๒ชั้นใดชั้นหนึ่ง
เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ๓บ้าง ออกจากสัญญาเวทยิตนิโรธบ้าง”
เมื่อท่านพระสารีบุตรกล่าวอย่างนี้แล้ว ท่านพระอุทายีจึงกล่าวกับท่านพระ
สารีบุตรดังนี้ว่า “ท่านสารีบุตร เป็นไปไม่ได้เลยที่ภิกษุจะล่วงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับ
เหล่าเทวดาผู้มีคำข้าวเป็นภักษา แล้วเข้าถึงกายมโนมัยชั้นใดชั้นหนึ่ง เข้าสัญญา
เวทยิตนิโรธบ้าง ออกจากสัญญาเวทยิตนิโรธบ้าง เป็นไปไม่ได้แน่นอน”
แม้ครั้งที่ ๒ ฯลฯ
แม้ครั้งที่ ๓ ท่านพระสารีบุตรได้เรียกภิกษุทั้งหลายมากล่าวว่า “ผู้มีอายุ
ทั้งหลาย เป็นไปได้ที่ภิกษุในธรรมวินัยนี้ผู้ถึงพร้อมด้วยศีล ถึงพร้อมด้วยสมาธิ
ถึงพร้อมด้วยปัญญา เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธบ้าง ออกจากสัญญาเวทยิตนิโรธบ้าง
หากเธอไม่บรรลุอรหัตตผลในปัจจุบัน ก็เป็นไปได้ที่เธอจะล่วงความเป็นผู้อยู่ร่วม
กับเหล่าเทวดาผู้มีคำข้าวเป็นภักษา แล้วเข้าถึงกายมโนมัยชั้นใดชั้นหนึ่ง เข้าสัญญา-
เวทยิตนิโรธบ้าง ออกจากสัญญาเวทยิตนิโรธบ้าง”

เชิงอรรถ :
๑ เหล่าเทวดาผู้มีคำข้าวเป็นภักษา ในที่นี้หมายถึงเทวดาชั้นกามาวจร (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๑๖๖/๖๔)
๒ ดู เชิงอรรถที่ ๑ ข้อ ๔๔ (มนาปทายีสูตร) หน้า ๗๒ ในเล่มนี้
๓ สัญญาเวทยิตนิโรธ หมายถึงการดับสัญญาและเวทนา เรียกสั้น ๆ ว่า นิโรธสมาบัติ เป็นสมาบัติข้อที่ ๙
ในอนุปุพพวิหาร ๙ ดู ที.ปา. ๑๑/๓๔๓/๒๓๔, องฺ.นวก. ๒๓/๓๒/๓๓๖

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๒๗๓ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์] ๒. อาฆาตวรรค ๖. นิโรธสูตร
แม้ครั้งที่ ๓ ท่านพระอุทายีก็ได้กล่าวกับท่านพระสารีบุตรดังนี้ว่า “ท่าน
สารีบุตร เป็นไปไม่ได้เลยที่ภิกษุจะล่วงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับเหล่าเทวดาผู้มีคำข้าว
เป็นภักษาแล้วเข้าถึงกายมโนมัยชั้นใดชั้นหนึ่ง เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธบ้าง ออกจาก
สัญญาเวทยิตนิโรธบ้าง เป็นไปไม่ได้แน่นอน”
ลำดับนั้น ท่านพระสารีบุตรได้มีความคิดว่า “ท่านอุทายีคัดค้านเราถึง ๓ ครั้ง
และภิกษุบางรูปก็ไม่อนุโมทนาเรา ทางที่ดี เราควรจะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่
ประทับ” ครั้นแล้ว จึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง
ณ ที่สมควร เรียกภิกษุทั้งหลายมากล่าวว่า “ผู้มีอายุทั้งหลาย เป็นไปได้ที่ภิกษุใน
ธรรมวินัยนี้ผู้ถึงพร้อมด้วยศีล ถึงพร้อมด้วยสมาธิ ถึงพร้อมด้วยปัญญา เข้า
สัญญาเวทยิตนิโรธบ้าง ออกจากสัญญาเวทยิตนิโรธบ้าง หากเธอไม่บรรลุอรหัตตผล
ในปัจจุบัน ก็เป็นไปได้ที่เธอจะล่วงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับเหล่าเทวดาผู้มีคำข้าวเป็น
ภักษา แล้วเข้าถึงกายมโนมัยชั้นใดชั้นหนึ่ง เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธบ้าง ออกจาก
สัญญาเวทยิตนิโรธบ้าง”
เมื่อท่านพระสารีบุตรกล่าวอย่างนี้แล้ว ท่านพระอุทายีได้กล่าวกับท่านพระ
สารีบุตรดังนี้ว่า “ท่านสารีบุตร เป็นไปไม่ได้เลยที่ภิกษุจะล่วงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับ
เหล่าเทวดาผู้มีคำข้าวเป็นภักษา แล้วเข้าถึงกายมโนมัยชั้นใดชั้นหนึ่ง เข้าสัญญา-
เวทยิตนิโรธบ้าง ออกจากสัญญาเวทยิตนิโรธบ้าง เป็นไปไม่ได้แน่นอน”
แม้ครั้งที่ ๒ ฯลฯ
แม้ครั้งที่ ๓ ท่านพระสารีบุตรได้เรียกภิกษุทั้งหลายมากล่าวว่า “ผู้มีอายุ
ทั้งหลาย เป็นไปได้ที่ภิกษุในธรรมวินัยนี้ผู้ถึงพร้อมด้วยศีล ถึงพร้อมด้วยสมาธิ
ถึงพร้อมด้วยปัญญา เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธบ้าง ออกจากสัญญาเวทยิตนิโรธบ้าง
หากเธอไม่บรรลุอรหัตตผลในปัจจุบัน ก็เป็นไปได้ที่เธอจะล่วงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับ
เหล่าเทวดาผู้มีคำข้าวเป็นภักษา แล้วเข้าถึงกายมโนมัยชั้นใดชั้นหนึ่ง เข้าสัญญา-
เวทยิตนิโรธบ้าง ออกจากสัญญาเวทยิตนิโรธบ้าง”


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๒๗๔ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์] ๒. อาฆาตวรรค ๖. นิโรธสูตร
แม้ครั้งที่ ๓ ท่านพระอุทายีได้กล่าวกับท่านพระสารีบุตรดังนี้ว่า “ท่านสารีบุตร
เป็นไปไม่ได้เลยที่ภิกษุจะล่วงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับเหล่าเทวดาผู้มีคำข้าวเป็นภักษา
แล้วเข้าถึงกายมโนมัยชั้นใดชั้นหนึ่ง เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธบ้าง ออกจากสัญญา-
เวทยิตนิโรธบ้าง เป็นไปไม่ได้แน่นอน”
ลำดับนั้น ท่านพระสารีบุตรได้มีความคิดว่า “ท่านอุทายี คัดค้านเราถึง
๓ ครั้งต่อพระพักตร์ของพระผู้มีพระภาค และภิกษุบางรูปก็ไม่อนุโมทนาเรา ทางที่ดี
เราพึงนิ่งเสีย” จึงได้นิ่งอยู่
จากนั้น พระผู้มีพระภาคได้ตรัสถามท่านอุทายีว่า “อุทายี เธอหมายถึงกาย-
มโนมัยอย่างไหน”
ท่านพระอุทายีกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์หมายถึงเหล่า
เทพชั้นอรูปพรหมที่สำเร็จด้วยสัญญา”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อุทายี การพูดของเธอผู้เขลา ไม่ฉลาด จะมี
ประโยชน์อะไร เธอเข้าใจถึงสิ่งที่เธอพูดหรือ”
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกท่านพระอานนท์มาตรัสว่า “อานนท์
เป็นไปได้หรือที่เธอทั้งหลายเพิกเฉยต่อภิกษุเถระผู้กำลังถูกเบียดเบียนอยู่ เธอ
ทั้งหลายคงจะไม่มีความกรุณาในภิกษุเถระผู้ฉลาดซึ่งกำลังถูกเบียดเบียนอยู่๑”
พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย เป็นไปได้
ที่ภิกษุในธรรมวินัยนี้ผู้ถึงพร้อมด้วยศีล ถึงพร้อมด้วยสมาธิ ถึงพร้อมด้วยปัญญา
เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธบ้าง ออกจากสัญญาเวทยิตนิโรธบ้าง หากเธอไม่บรรลุ
อรหัตตผลในปัจจุบัน ก็เป็นไปได้ที่เธอจะล่วงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับเหล่าเทวดาผู้มี
คำข้าวเป็นภักษา แล้วเข้าถึงกายมโนมัยชั้นใดชั้นหนึ่ง เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธบ้าง
ออกจากสัญญาเวทยิตนิโรธบ้าง” พระผู้มีพระภาคผู้สุคตครั้นตรัสดังนี้แล้วก็เสด็จ
ลุกขึ้นจากพุทธอาสน์ เสด็จเข้าไปยังพระวิหาร๒

เชิงอรรถ :
๑ เหตุที่พระผู้มีพระภาคตรัสในเชิงตำหนิท่านพระอานนท์อย่างนี้ ก็เพราะท่านพระอานนท์เป็นสหายรักของ
ท่านพระสารีบุตรเถระและท่านเป็นธัมมภัณฑาคาริก (ขุนคลังพระธรรม) การห้ามปรามภิกษุผู้รุกรานภิกษุ
เถระอย่างนี้ เป็นหน้าที่ของภิกษุผู้เป็นธัมมภัณฑาคาริก (ตามนัย องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๑๖๖/๖๔)
๒ พระวิหาร ในที่นี้หมายถึงพระคันธกุฎี (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๑๖๖/๖๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๒๗๕ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์] ๒. อาฆาตวรรค ๖. นิโรธสูตร
ครั้นพระผู้มีพระภาคเสด็จหลีกไปไม่นาน ท่านพระอานนท์ ได้เข้าไปหาท่าน
พระอุปวานะถึงที่อยู่แล้วกล่าวดังนี้ว่า “ท่านอุปวานะ ภิกษุเหล่าอื่นในศาสนานี้
เบียดเบียนพระเถระ พวกเราจะไม่ถามหาภิกษุเหล่านั้น การที่พระผู้มีพระภาคเสด็จ
ออกจากที่หลีกเร้นในเวลาเย็น จะปรารภเหตุนั้นนั่นแลแล้วยกขึ้นแสดงเหมือนที่จะ
พึงตรัสกับท่านอุปวานะโดยเฉพาะในเหตุนั้น นั้นไม่น่าอัศจรรย์ บัดนี้ ความน้อยใจ
ได้เกิดขึ้นแก่พวกเรา”
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเสด็จออกจากที่หลีกเร้นในเวลาเย็นแล้วเสด็จเข้าไป
ประทับนั่งที่อุปัฏฐานศาลา ได้ตรัสถามท่านอุปวานะว่า
“อุปวานะ ภิกษุเถระประกอบด้วยธรรมเท่าไรจึงเป็นที่รัก เป็นที่พอใจ เป็นที่
เคารพ และเป็นที่ยกย่องของเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย”
ท่านอุปวานะกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุเถระประกอบด้วย
ธรรม ๕ ประการ จึงเป็นที่รัก เป็นที่พอใจ เป็นที่เคารพ และเป็นที่ยกย่องของ
เพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุเถระในธรรมวินัยนี้
๑. เป็นผู้มีศีล ฯลฯ ศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย
๒. เป็นพหูสูต ฯลฯ แทงตลอดดีด้วยทิฏฐิ
๓. มีวาจางาม เจรจาถ้อยคำไพเราะ ประกอบด้วยวาจาชาวเมืองที่
สละสลวย ไม่หยาบคาย ให้รู้ความหมายได้
๔. เป็นผู้ได้ฌาน ๔ อันมีในจิตยิ่ง๑ ซึ่งเป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน
ตามความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ได้โดยไม่ลำบาก
๕. ทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ๒อันไม่มีอาสวะ เพราะอาสวะ
สิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน

เชิงอรรถ :
๑ ดูเชิงอรรถที่ ๑ ข้อ ๑๐๔ (สมณสุขุมาลสูตร) หน้า ๑๘๑ ในเล่มนี้
๒ ดูเชิงอรรถที่ ๒,๓ ข้อ ๒๕ (อนุคคหิตสูตร) หน้า ๓๑ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๒๗๖ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์] ๒. อาฆาตวรรค ๗. โจทนาสูตร
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุเถระประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมเป็น
ที่รัก เป็นที่พอใจ เป็นที่เคารพ และเป็นที่ยกย่องของเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ดีละ ดีละ อุปวานะ ภิกษุเถระประกอบด้วยธรรม ๕
ประการนี้แล ย่อมเป็นที่รัก เป็นที่พอใจ เป็นที่เคารพ และเป็นที่ยกย่องของเพื่อน
พรหมจารีทั้งหลาย หากภิกษุเถระไม่มีธรรม ๕ ประการนี้ เพื่อนพรหมจารี
ทั้งหลายจะสักการะ เคารพ นับถือ บูชาเธอเพราะความเป็นผู้มีฟันหัก มีผมหงอก
มีหนังย่น เพื่ออะไร แต่เพราะภิกษุเถระมีธรรม ๕ ประการนี้ เพื่อนพรหมจารี
ทั้งหลายจึงสักการะ เคารพ นับถือ บูชาเธอ”
นิโรธสูตรที่ ๖ จบ

๗. โจทนาสูตร
ว่าด้วยคุณสมบัติของภิกษุผู้เป็นโจทก์๑
[๑๖๗] ณ ที่นั้น ท่านพระสารีบุตรเรียกภิกษุทั้งหลายมากล่าวว่า ผู้มีอายุ
ทั้งหลาย ภิกษุผู้เป็นโจทก์ประสงค์จะโจทผู้อื่น พึงตั้งมั่นธรรม ๕ ประการไว้ในตน
แล้วจึงโจทผู้อื่น
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. เราจักกล่าวในกาลอันควร จักไม่กล่าวในกาลอันไม่ควร
๒. เราจักกล่าวถ้อยคำจริง จักไม่กล่าวถ้อยคำไม่จริง
๓. เราจักกล่าวถ้อยคำอ่อนหวาน จักไม่กล่าวถ้อยคำหยาบ
๔. เราจักกล่าวถ้อยคำอันประกอบด้วยประโยชน์ จักไม่กล่าวถ้อยคำ
อันไม่ประกอบด้วยประโยชน์
๕. เราจักมีเมตตาจิตกล่าว จักไม่เพ่งโทษกล่าว

เชิงอรรถ :
๑ ผู้เป็นโจทก์ ในที่นี้หมายถึงผู้โจทก์ด้วยเรื่องสำหรับโจท ๔ อย่าง คือ (๑) วัตถุสันทัสสนา แสดงเรื่องที่ต้องอาบัติ
(๒) อาปัตติสันทัสสนา แสดงอาบัติที่ล่วงละเมิด (๓) สังวาสัปปฏิกเขปะ ห้ามสังวาสคือไม่ร่วมสังฆกรรม
มีอุโบสถกรรมและปวารณากรรมเป็นต้น (๔) สามีจิปฏิกเขปะ ไม่ทำสามีจิกรรมมีการกราบไหว้เป็นต้น
(องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๑๖๗/๖๕, องฺ.ปญฺจก.ฏีกา ๓/๑๖๗-๙-๖/๖๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๒๗๗ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์] ๒. อาฆาตวรรค ๗. โจทนาสูตร
ผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุผู้โจทก์ประสงค์จะโจทผู้อื่น พึงตั้งมั่นธรรม ๕ ประการนี้
ไว้ในตนแล้วจึงโจทผู้อื่น
ผู้มีอายุทั้งหลาย ข้าพเจ้าเห็นบุคคลบางคนในธรรมวินัยนี้ถูกผู้อื่นโจทในกาล
อันไม่ควร ไม่ถูกโจทในกาลอันควร ก็โกรธ ถูกผู้อื่นโจทด้วยถ้อยคำไม่จริง ไม่ถูก
โจทด้วยถ้อยคำจริง ก็โกรธ ถูกผู้อื่นโจทด้วยถ้อยคำหยาบ ไม่ถูกโจทด้วยถ้อยคำ
อ่อนหวาน ก็โกรธ ถูกผู้อื่นโจทด้วยถ้อยคำอันไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ไม่ถูกโจท
ด้วยถ้อยคำอันประกอบด้วยประโยชน์ ก็โกรธ ถูกผู้อื่นโจทด้วยการเพ่งโทษ ไม่ถูก
โจทด้วยเมตตาจิต ก็โกรธ
ภิกษุพึงให้อวิปปฏิสาร (ความไม่ร้อนใจ) เกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้ถูกโจทโดยไม่เป็น
ธรรม โดยอาการ ๕ คือ
๑. ท่านถูกโจทในกาลอันไม่ควร ไม่ถูกโจทในกาลอันควร ท่านจึงควร
มีอวิปปฏิสาร
๒. ท่านถูกโจทด้วยถ้อยคำไม่จริง ไม่ถูกโจทด้วยถ้อยคำจริง ท่านจึง
ควรมีอวิปปฏิสาร
๓. ท่านถูกโจทด้วยถ้อยคำหยาบ ไม่ถูกโจทด้วยถ้อยคำอ่อนหวาน
ท่านจึงควรมีอวิปปฏิสาร
๔. ท่านถูกโจทด้วยถ้อยคำอันไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ไม่ถูกโจทด้วย
ถ้อยคำอันประกอบด้วยประโยชน์ ท่านจึงควรมีอวิปปฏิสาร
๕. ท่านถูกโจทด้วยการเพ่งโทษ ไม่ถูกโจทด้วยเมตตาจิต ท่านจึงควรมี
อวิปปฏิสาร
ผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุพึงให้มีอวิปปฏิสารเกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้ถูกโจทโดยไม่เป็น
ธรรม โดยอาการ ๕ นี้
ภิกษุพึงให้วิปปฏิสาร(ความร้อนใจ)เกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้เป็นโจทก์โดยไม่เป็นธรรม
โดยอาการ ๕ คือ
๑. ท่านโจทในกาลอันไม่ควร ไม่โจทในกาลอันควร ท่านจึงควรมีวิปปฏิสาร
๒. ท่านโจทด้วยถ้อยคำไม่จริง ไม่โจทด้วยถ้อยคำจริง ท่านจึงควรมี
วิปปฏิสาร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๒๗๘ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์] ๒. อาฆาตวรรค ๗. โจทนาสูตร
๓. ท่านโจทด้วยถ้อยคำหยาบ ไม่โจทด้วยถ้อยคำอ่อนหวาน ท่านจึง
ควรมีวิปปฏิสาร
๔. ท่านโจทด้วยถ้อยคำอันไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ไม่โจทด้วยถ้อยคำ
อันประกอบด้วยประโยชน์ ท่านจึงควรมีวิปปฏิสาร
๕. ท่านโจทด้วยการเพ่งโทษ ไม่โจทด้วยเมตตาจิต ท่านจึงควรมี
วิปปฏิสาร
ผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุพึงให้วิปปฏิสารเกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้เป็นโจทก์โดยไม่เป็นธรรม
โดยอาการ ๕ นี้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะภิกษุแม้รูปอื่น ไม่พึงเข้าใจว่า ควรโจท
ด้วยถ้อยคำไม่จริง
ข้าพเจ้าเห็นบุคคลบางคนในธรรมวินัยนี้ ถูกโจทในกาลอันควร ไม่ถูกโจทใน
กาลอันไม่ควร ก็โกรธ ถูกโจทด้วยถ้อยคำจริง ไม่ถูกโจทด้วยถ้อยคำไม่จริง ก็โกรธ
ถูกโจทด้วยถ้อยคำอ่อนหวาน ไม่ถูกโจทด้วยถ้อยคำหยาบ ก็โกรธ ถูกโจทด้วยถ้อย
คำอันประกอบด้วยประโยชน์ ไม่ถูกโจทด้วยถ้อยคำอันไม่ประกอบด้วยประโยชน์
ก็โกรธ ถูกโจทด้วยเมตตาจิต ไม่ถูกโจทด้วยการเพ่งโทษ ก็โกรธ
ภิกษุพึงให้วิปปฏิสารเกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้ถูกโจทโดยธรรม โดยอาการ ๕ คือ
๑. ท่านถูกโจทในกาลอันควร ไม่ถูกโจทในกาลอันไม่ควร ท่านจึงควรมี
วิปปฏิสาร
๒. ท่านถูกโจทด้วยถ้อยคำจริง ไม่ถูกโจทด้วยถ้อยคำไม่จริง ท่านจึง
ควรมีวิปปฏิสาร
๓. ท่านถูกโจทด้วยถ้อยคำอ่อนหวาน ไม่ถูกโจทด้วยถ้อยคำหยาบ
ท่านจึงควรมีวิปปฏิสาร
๔. ท่านถูกโจทด้วยถ้อยคำอันประกอบด้วยประโยชน์ ไม่ถูกโจทด้วย
ถ้อยคำอันไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ท่านจึงควรมีวิปปฏิสาร
๕. ท่านถูกโจทด้วยเมตตาจิต ไม่ถูกโจทด้วยการเพ่งโทษ ท่านจึงควรมี
วิปปฏิสาร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๒๗๙ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์] ๒. อาฆาตวรรค ๗. โจทนาสูตร
ผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุพึงให้วิปปฏิสารเกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้ถูกโจทโดยธรรม โดย
อาการ ๕ นี้
ภิกษุพึงให้อวิปปฏิสารเกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้เป็นโจทก์โดยธรรม โดยอาการ ๕ คือ
๑. ท่านโจทในกาลอันควร ไม่โจทในกาลอันไม่ควร ท่านจึงควรมี
อวิปปฏิสาร
๒. ท่านโจทด้วยถ้อยคำจริง ไม่โจทด้วยถ้อยคำไม่จริง ท่านจึงควรมี
อวิปปฏิสาร
๓. ท่านโจทด้วยถ้อยคำอ่อนหวาน ไม่โจทด้วยถ้อยคำหยาบ ท่านจึง
ควรมีอวิปปฏิสาร
๔. ท่านโจทด้วยถ้อยคำอันประกอบด้วยประโยชน์ ไม่โจทด้วยถ้อยคำ
อันไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ท่านจึงควรมีอวิปปฏิสาร
๕. ท่านโจทด้วยเมตตาจิต ไม่โจทด้วยการเพ่งโทษ ท่านจึงควรมี
อวิปปฏิสาร
ผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุพึงให้อวิปปฏิสารเกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้เป็นโจทก์โดยธรรม
โดยอาการ ๕ นี้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะภิกษุแม้รูปอื่นพึงเข้าใจว่าควรโจทด้วย
ถ้อยคำจริง
บุคคลผู้ถูกโจทพึงตั้งมั่นในธรรม ๒ ประการ คือ ความจริง และความไม่
โกรธว่า ‘ถ้าผู้อื่นพึงโจทเรา ด้วยธรรม ๕ ประการ คือ
๑. พึงโจทในกาลอันควรหรือในกาลอันไม่ควร
๒. พึงโจทด้วยถ้อยคำจริงหรือด้วยถ้อยคำไม่จริง
๓. พึงโจทด้วยถ้อยคำอ่อนหวานหรือด้วยถ้อยคำหยาบ
๔. พึงโจทด้วยถ้อยคำอันประกอบด้วยประโยชน์หรือด้วยถ้อยคำอันไม่
ประกอบด้วยประโยชน์
๕. พึงโจทด้วยเมตตาจิตหรือด้วยการเพ่งโทษ
แม้เราก็จะตั้งอยู่ในธรรม ๒ ประการ คือ ความจริงและความไม่โกรธ ถ้าเรา
พึงทราบว่าธรรมนั้นมีในเรา ก็จะพึงกล่าวว่า ‘มีอยู่’ และว่า ‘ปรากฏในเรา’ ถ้าพึง
ทราบว่า ธรรมนั้นไม่มีในเรา ก็จะพึงกล่าวว่า ‘ไม่มี’ และกล่าวว่า ‘ไม่ปรากฏในเรา’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๒๘๐ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์] ๒. อาฆาตวรรค ๗. โจทนาสูตร
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “สารีบุตร เรื่องพึงเป็นอย่างนั้น แต่โมฆบุรุษบางพวก
ในธรรมวินัยนี้ เมื่อถูกกล่าวสอน ย่อมไม่รับฟังคำพร่ำสอนโดยเคารพ”
ท่านพระสารีบุตรกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บุคคลเหล่าใดไม่มี
ศรัทธา ต้องการเลี้ยงชีวิต มิใช่มีศรัทธาออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต เป็นผู้
โอ้อวด มีมารยา เกเร ฟุ้งซ่าน ถือตัว โลเล ปากกล้า พูดพร่ำเพรื่อ ไม่คุ้มครอง
ทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย ไม่รู้จักประมาณในการบริโภค ไม่ประกอบความเพียร
เครื่องตื่นอยู่ ไม่มุ่งหวังความเป็นสมณะ ไม่มีความเคารพอย่างแรงกล้าในสิกขา เป็น
ผู้มักมาก เป็นผู้ย่อหย่อน เป็นผู้นำในโอกกมนธรรม๑ ทอดธุระในปวิเวก เกียจคร้าน
มีความเพียรต่ำ หลงลืมสติ ไม่มีสัมปชัญญะ มีจิตไม่ตั้งมั่น มีจิตกวัดแกว่ง มีปัญญา
ทราม เป็นคนเซอะ๒ คนเหล่านั้น เมื่อถูกข้าพระองค์กล่าวสอนอย่างนี้ ย่อมไม่
รับฟังโอวาทโดยเคารพ
ส่วนกุลบุตรเหล่าใดมีศรัทธาออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต ไม่โอ้อวด ไม่มี
มารยา ไม่เกเร ไม่ฟุ้งซ่าน ไม่ถือตัว ไม่โลเล ไม่ปากกล้า ไม่พูดพร่ำเพรื่อ
คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย รู้จักประมาณในการบริโภค ประกอบความเพียร
เครื่องตื่นอยู่ มุ่งหวังความเป็นสมณะ มีความเคารพอย่างแรงกล้าในสิกขา
ไม่มักมาก ไม่ย่อหย่อน หมดธุระในโอกกมนธรรม เป็นผู้นำในปวิเวก ปรารภ
ความเพียร อุทิศกายและใจ มีสติตั้งมั่น มีสัมปชัญญะ มีจิตตั้งมั่น มีจิตแน่วแน่
มีปัญญา ไม่เป็นคนเซอะ กุลบุตรเหล่านั้น เมื่อถูกข้าพระองค์กล่าวสอนอย่างนี้
ย่อมรับฟังโอวาทโดยเคารพ”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “สารีบุตร บุคคลเหล่าใด ไม่มีศรัทธา ต้องการ
เลี้ยงชีวิต ไม่มีศรัทธาออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต เป็นผู้โอ้อวด มีมารยา เกเร
ฟุ้งซ่าน ถือตัว โลเล ปากกล้า พูดพร่ำเพรื่อ ไม่คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย
ไม่รู้จักประมาณในการบริโภค ไม่ประกอบความเพียรเครื่องตื่นอยู่ ไม่มุ่งหวังความ

เชิงอรรถ :
๑ โอกกมนธรรม ในที่นี้หมายถึงนิวรณ์ ๕ คือ (๑) กามฉันทะ (ความพอใจในกาม) (๒) พยาบาท (ความคิดร้าย)
(๓) ถีนมิทธะ (ความหดหู่และเซื่องซึม) (๔) อุทธัจจกุกกุจจะ (ความฟุ้งซ่านและร้อนใจ) (๕) วิจิกิจฉา
(ความลังเลสังสัย) (องฺ.ทุก.อ. ๒/๔๕/๕๓)
๒ ดูเชิงอรรถที่ ๔ ข้อ ๑๑๒ (ปัจฉาสมณสูตร) หน้า ๑๙๐ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๒๘๑ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์] ๒. อาฆาตวรรค ๘. สีลสูตร
เป็นสมณะ ไม่มีความเคารพอย่างแรงกล้าในสิกขา เป็นผู้มักมาก เป็นผู้ย่อหย่อน
เป็นผู้นำในโอกกมนธรรม ทอดธุระในปวิเวก เกียจคร้าน มีความเพียรต่ำ หลงลืมสติ
ไม่มีสัมปชัญญะ มีจิตไม่ตั้งมั่น มีจิตกวัดแกว่ง มีปัญญาทราม เป็นคนเซอะ บุคคล
เหล่านั้น จงยกไว้
สารีบุตร ส่วนกุลบุตรเหล่าใดมีศรัทธาออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต ไม่โอ้อวด
ไม่มีมารยา ไม่เกเร ไม่ฟุ้งซ้าน ไม่ถือตัว ไม่โลเล ไม่ปากกล้า ไม่พูดพร่ำเพรื่อ
คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย รู้จักประมาณในการบริโภค ประกอบความเพียร
เครื่องตื่นอยู่ มุ่งหวังความเป็นสมณะ มีความเคารพอย่างแรงกล้าในสิกขา ไม่มักมาก
ไม่ย่อหย่อน หมดธุระในโอกกมนธรรม เป็นผู้นำในปวิเวก ปรารภความเพียร อุทิศ
กายและใจ มีสติตั้งมั่น มีสัมปชัญญะ มีจิตตั้งมั่น มีจิตแน่วแน่ มีปัญญา ไม่เป็น
คนเซอะ สารีบุตร เธอพึงว่ากล่าวกุลบุตรเหล่านั้น จงกล่าวสอนเพื่อนพรหมจารี
ทั้งหลาย จงพร่ำสอนเพื่อนพรหมจารีทั้งหลายด้วยหวังว่า ‘เราจักยกเพื่อนพรหมจารี
ทั้งหลายขึ้นจากอสัทธรรม ให้ตั้งอยู่ในสัทธรรม’
สารีบุตร เธอพึงสำเหนียกอย่างนี้แล”
โจทนาสูตรที่ ๗ จบ

๘. สีลสูตร
ว่าด้วยโทษแห่งความทุศีลและคุณแห่งความมีศีล
[๑๖๘] ณ ที่นั้น ท่านพระสารีบุตรเรียกภิกษุทั้งหลายมากล่าวว่า “ผู้มีอายุ
ทั้งหลาย สัมมาสมาธิของบุคคลผู้ทุศีล มีศีลวิบัติ ชื่อว่ามีเหตุถูกขจัดแล้ว เมื่อ
สัมมาสมาธิไม่มี ยถาภูตญาณทัสสนะของบุคคลผู้มีสัมมาสมาธิวิบัติ ชื่อว่ามีเหตุถูก
ขจัดแล้ว เมื่อยถาภูตญาณทัสสนะไม่มี นิพพิทาและวิราคะของบุคคลผู้มียถาภูต-
ญาณทัสสนะวิบัติ ชื่อว่ามีเหตุถูกขจัดแล้ว เมื่อนิพพิทาและวิราคะไม่มี วิมุตติญาณ-
ทัสสนะของบุคคลผู้มีนิพพิทาและวิราคะวิบัติ ชื่อว่ามีเหตุถูกขจัดแล้ว
สัมมาสมาธิของบุคคลผู้ทุศีล มีศีลวิบัติ ชื่อว่ามีเหตุถูกขจัดแล้ว เมื่อสัมมา-
สมาธิไม่มี ยถาภูตญาณทัสสนะของบุคคลผู้มีสัมมาสมาธิวิบัติ ชื่อว่ามีเหตุถูก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๒๘๒ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์] ๒. อาฆาตวรรค ๙. ขิปปนิสันติสูตร
ขจัดแล้ว เมื่อยถาภูตญาณทัสสนะไม่มี นิพพิทาและวิราคะของบุคคลผู้มียถาภูต-
ญาณทัสสนะวิบัติ ชื่อว่ามีเหตุถูกขจัดแล้ว เมื่อนิพพิทาและวิราคะไม่มี วิมุตติญาณ-
ทัสสนะของบุคคลผู้มีนิพพิทาและวิราคะวิบัติ ชื่อว่ามีเหตุถูกขจัดแล้ว เปรียบ
เหมือนต้นไม้ที่มีกิ่งและใบวิบัติแล้ว สะเก็ด เปลือก กระพี้ แม้แก่นของต้นไม้นั้น
ย่อมไม่ถึงความบริบูรณ์ ฉะนั้น
สัมมาสมาธิของบุคคลผู้มีศีล สมบูรณ์ด้วยศีล ชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์ เมื่อสัมมา-
สมาธิมี ยถาภูตญาณทัสสนะของบุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยสัมมาสมาธิ ชื่อว่ามีเหตุ
สมบูรณ์ เมื่อยถาภูตญาณทัสสนะมี นิพพิทาและวิราคะของบุคคลผู้สมบูรณ์ด้วย
ยถาภูตญาณทัสสนะ ชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์ เมื่อนิพพิทาและวิราคะมี วิมุตติญาณ-
ทัสสนะของบุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยนิพพิทาและวิราคะ ชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์
ผู้มีอายุทั้งหลาย สัมมาสมาธิของบุคคลผู้มีศีล สมบูรณ์ด้วยศีล ชื่อว่ามีเหตุ
สมบูรณ์ เมื่อสัมมาสมาธิมี ยถาภูตญาณทัสสนะของบุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยสัมมา-
สมาธิ ชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์ เมื่อยถาภูตญาณทัสสนะมี นิพพิทาและวิราคะของ
บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยด้วยยถาภูตญาณทัสสนะ ชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์ เมื่อนิพพิทา
และวิราคะมี วิมุตติญาณทัสสนะของบุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยนิพพิทาและวิราคะ ชื่อว่า
มีเหตุสมบูรณ์ เปรียบเหมือนต้นไม้ที่มีกิ่งและใบสมบูรณ์ สะเก็ด เปลือก กระพี้
แม้แก่นของต้นไม้นั้น ย่อมถึงความบริบูรณ์ ฉะนั้น
สีลสูตรที่ ๘ จบ

๙. ขิปปนิสันติสูตร
ว่าด้วยเหตุให้ใคร่ครวญได้เร็ว
[๑๖๙] ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์เข้าไปหาท่านพระสารีบุตรถึงที่อยู่ ได้สนทนา
ปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้วจึงนั่ง ณ ที่สมควร ได้ถาม
ท่านพระสารีบุตรดังนี้ว่า
“ท่านสารีบุตร ด้วยเหตุเพียงเท่าไร ภิกษุจึงเป็นผู้ใคร่ครวญได้เร็ว เรียนได้เร็ว
เรียนได้มากในกุศลธรรมทั้งหลาย และสิ่งที่เธอเรียนแล้วจะไม่เลือนหายไป”


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๒๘๓ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์] ๒. อาฆาตวรรค ๙. ขิปปนิสันติสูตร
ท่านพระสารีบุตรตอบว่า “ท่านอานนท์เป็นพหูสูต เฉพาะท่านอานนท์เท่านั้น
ที่จะสามารถอธิบายเนื้อความนี้ให้แจ่มแจ้งได้๑”
พระอานนท์กล่าวว่า “ท่านสารีบุตร ถ้าเช่นนั้น ท่านจงฟัง จงใส่ใจให้ดี
ผมจักกล่าว” ท่านพระสารีบุตรรับคำแล้ว ท่านพระอานนท์จึงได้กล่าวเรื่องนี้ว่า
“ท่านสารีบุตร ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เป็นผู้ฉลาดในอรรถ
๒. เป็นผู้ฉลาดในธรรม
๓. เป็นผู้ฉลาดในพยัญชนะ
๔. เป็นผู้ฉลาดในนิรุตติ
๕. เป็นผู้ฉลาดในเบื้องต้นและเบื้องปลาย๒
ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล ภิกษุจึงเป็นผู้ใคร่ครวญได้เร็ว เรียนได้ดี เรียนได้มาก
ในกุศลธรรมทั้งหลาย และสิ่งที่เธอเรียนแล้วย่อมไม่เลือนหายไป”
พระสารีบุตรกล่าวว่า “ผู้มีอายุ น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคยปรากฏตามที่ท่าน
อานนท์กล่าวไว้ดีแล้วนี้ เราทั้งหลายขอทรงจำไว้ว่า ท่านอานนท์มีธรรม ๕ ประการนี้
ท่านอานนท์เป็นผู้ฉลาดในอรรถ ฉลาดในธรรม ฉลาดในพยัญชนะ ฉลาดในนิรุตติ
และฉลาดในเบื้องต้นและเบื้องปลาย”
ขิปปนิสันติสูตรที่ ๙ จบ

เชิงอรรถ :
๑ แปลจากบาลีว่า “ปฏิภาตุ อายสฺมนฺตญฺเ�ว อานนฺทํ” มีข้อสังเกตว่า โครงสร้างประโยคเช่นนี้ เป็นประโยค
ธรรมเนียมการให้โอกาส การเชิญ หรือการมอบหมายให้แสดงธรรมตาม ‘ความถนัดส่วนบุคคล’ มีปรากฏ
ในพระไตรปิฎกหลายเล่ม เช่น
ปรากฏใน ที.สี. ๙/๓๑๘/๑๒๔, ม.มู. ๑๒/๔๗๓/๔๒๒, องฺ.ติก. ๒๐/๖๙/๑๙๔ ว่า “สาธุ วต ภนฺเต
ภควนฺตํเยว โคตมํ ปฏิภาตุ เอตสฺส ภาสิตสฺส อตฺโถ”
ปรากฏใน ม.มู. ๑๒/๖๓/๔๑ ว่า “อุปมา มํ อาวุโส สารีปุตฺต ปฏิภาติ, ปฏิภาตุ ตํ อาวุโส
โมคคลฺลาน” และปรากฏใน องฺ.ทสก. ๒๔/๖๗/๙๗ ว่า “ปฏิภาตุ ตํ สารีปุตฺต ภิกฺขูนํ ธมฺมีกถา”
๒ ฉลาดในอรรถ หมายถึงฉลาดในอรรถกถา ฉลาดในธรรม หมายถึงฉลาดในพระบาลี ฉลาดในพยัญชนะ
หมายถึงฉลาดในด้านอักษรศาสตร์ ฉลาดในนิรุตติ หมายถึงฉลาดในภาษาศาสตร์ (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๑๖๙/
๖๕) ฉลาดในเบื้องต้นและเบื้องปลาย ในที่นี้หมายถึงฉลาดในเบื้องต้นเบื้องปลาย ๕ ประการ คือ
(๑) เบื้องต้นและเบื้องปลายแห่งอรรถ (๒) เบื้องต้นและเบื้องปลายแห่งธรรม (๓) เบื้องต้นและเบื้องปลาย
แห่งบท (๔) เบื้องต้นและเบื้องปลายแห่งอักขระ (๕) เบื้องต้นและเบื้องปลายแห่งอนุสนธิ (องฺ.ปญฺจก.อ.
๓/๑๖๙/๖๕-๖๖)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๒๘๔ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์] ๒. อาฆาตวรรค ๑๐. ภัททชิสูตร
๑๐. ภัททชิสูตร
ว่าด้วยท่านพระภัททชิ
[๑๗๐] สมัยหนึ่ง ท่านพระอานนท์อยู่ ณ โฆสิตาราม เขตกรุงโกสัมพี
ครั้งนั้นแล ท่านพระภัททชิได้เข้าไปหาท่านพระอานนท์ถึงที่อยู่ ได้สนทนาปราศรัย
พอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้วจึงนั่ง ณ ที่สมควร ได้ถามท่านพระ
ภัททชิดังนี้ว่า
“ท่านภัททชิ บรรดาการเห็นทั้งหลาย การเห็นชนิดไหนเป็นเลิศ บรรดาการได้
ยินทั้งหลาย การได้ยินชนิดไหนเป็นเลิศ บรรดาสุขทั้งหลาย สุขชนิดไหนเป็นเลิศ
บรรดาสัญญาทั้งหลาย สัญญาชนิดไหนเป็นเลิศ บรรดาภพทั้งหลาย ภพชนิดไหน
เป็นเลิศ”
ท่านภัททชิตอบว่า “ผู้มีอายุ มีพรหมผู้ยิ่งใหญ่ ไม่มีใครครอบงำได้ เห็นทุกสิ่ง
มีอำนาจเหนือผู้อื่น ผู้ใดเห็นพรหมนั้น การเห็นของผู้นั้นนี้เลิศกว่าการเห็นทั้งหลาย
มีเทวดาเหล่าอาภัสสระ ผู้เพียบพร้อมด้วยความสุข เทวดาเหล่านั้นเปล่งอุทานบาง
ครั้งบางแห่งว่า “สุขหนอ ๆ” ผู้ใดได้ยินเสียงนั้น การได้ยินของผู้นั้นนี้เลิศกว่า
การได้ยินทั้งหลาย มีเทวดาเหล่าสุภกิณหะ เทวดาเหล่านั้นยินดีเฉพาะสิ่งที่มี เสวย
สุขอยู่ การเสวยสุขนี้เลิศกว่าความสุขทั้งหลาย มีเหล่าเทวดาผู้เข้าถึงอากิญจัญญา-
ยตนภพ การเข้าถึงนี้เลิศกว่าสัญญาทั้งหลาย มีเหล่าเทวดาผู้เข้าถึงเนวสัญญานา-
สัญญายตนภพ การเข้าถึงนี้เลิศกว่าภพทั้งหลาย
พระอานนท์กล่าวว่า “คำพูดของท่านภัททชิ ก็เหมือนกับคนจำนวนมาก”
พระภัททชิกล่าวว่า “ท่านอานนท์เป็นพหูสูต เฉพาะท่านอานนท์เท่านั้นที่จะ
สามารถอธิบายเนื้อความนี้ให้แจ่มแจ้งได้”
พระอานนท์กล่าวว่า “ท่านภัททชิ ถ้าเช่นนั้นท่านจงฟัง จงใส่ใจให้ดี ผมจัก
กล่าว” ท่านพระภัททชิรับคำแล้ว ท่านพระอานนท์จึงได้กล่าวเรื่องนี้ว่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๒๘๕ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์] ๒. อาฆาตวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค
“ผู้มีอายุ ความสิ้นอาสวะย่อมมีในลำดับแแก่บุคคลผู้เห็นตามความเป็นจริง
การเห็นนี้เลิศกว่าการเห็นทั้งหลาย ความสิ้นอาสวะย่อมมีในลำดับแก่บุคคลผู้ได้ยิน
ตามความเป็นจริง การได้ยินนี้เลิศกว่าการได้ยินทั้งหลาย ความสิ้นอาสวะย่อมมี
ในลำดับแก่บุคคลผู้ได้รับความสุขตามความเป็นจริง ความสุขนี้เลิศกว่าความสุข
ทั้งหลาย ความสิ้นอาสวะย่อมมีในลำดับแก่บุคคลผู้มีสัญญาตามความเป็นจริง
สัญญานี้เลิศกว่าสัญญาทั้งหลาย ความสิ้นอาสวะย่อมมีในลำดับแก่บุคคลผู้เป็นอยู่
ตามความเป็นจริง ความเป็นอยู่นี้เลิศกว่าภพทั้งหลาย”
ภัททชิสูตรที่ ๑๐ จบ
อาฆาตวรรคที่ ๒ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. ปฐมอาฆาตปฏิวินยสูตร ๒. ทุติยอาฆาตปฏิวินยสูตร
๓. สากัจฉสูตร ๔. อาชีวสูตร
๕. ปัญหาปุจฉาสูตร ๖. นิโรธสูตร
๗. โจทนาสูตร ๘. สีลสูตร
๙. ขิปปนิสันติสูตร ๑๐. ภัททชิสูตร


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๒๘๖ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์] ๓. อุปาสกวรรค ๑. สารัชชสูตร
๓. อุปาสกวรรค
หมวดว่าด้วยอุบาสก๑
๑. สารัชชสูตร
ว่าด้วยธรรมที่เป็นเหตุให้ครั่นคร้าม
[๑๗๑] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถ-
บิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคได้รับสั่งเรียกภิกษุ
ทั้งหลายมาตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มี
พระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า
ภิกษุทั้งหลาย อุบาสกประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อมถึงความครั่นคร้าม
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. เป็นผู้ฆ่าสัตว์
๒. เป็นผู้ลักทรัพย์
๓. เป็นผู้ประพฤติผิดในกาม
๔. เป็นผู้พูดเท็จ
๕. เป็นผู้เสพของมึนเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นเหตุแห่งความประมาท
ภิกษุทั้งหลาย อุบาสกประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมถึงความ
ครั่นคร้าม
ภิกษุทั้งหลาย อุบาสกประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อมเป็นผู้แกล้วกล้า
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. เป็นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์
๒. เป็นผู้เว้นขาดจากการลักทรัพย์

เชิงอรรถ :
๑ อุบาสก หมายถึงผู้เข้าถึงพระรัตนตรัย คือพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ เป็นที่พึ่ง (องฺ.ทุก.อ. ๒/๑๖/๒๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๒๘๗ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์] ๓. อุปาสกวรรค ๒. วิสารทสูตร
๓. เป็นผู้เว้นขาดจากการประพฤติผิดในกาม
๔. เป็นผู้เว้นขาดจากการพูดเท็จ
๕. เป็นผู้เว้นขาดจากการเสพของมึนเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นเหตุ
แห่งความประมาท
ภิกษุทั้งหลาย อุบาสกประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมเป็นผู้
แกล้วกล้า
สารัชชสูตรที่ ๑ จบ

๒. วิสารทสูตร
ว่าด้วยธรรมที่เป็นเหตุให้แกล้วกล้า
[๑๗๒] ภิกษุทั้งหลาย อุบาสกประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ เป็นผู้ไม่
แกล้วกล้าอยู่ครองเรือน
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. เป็นผู้ฆ่าสัตว์
ฯลฯ๑
๕. เป็นผู้เสพของมึนเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นเหตุแห่งความประมาท
ภิกษุทั้งหลาย อุบาสกประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล เป็นผู้ไม่แกล้วกล้า
อยู่ครองเรือน
ภิกษุทั้งหลาย อุบาสกประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ เป็นผู้แกล้วกล้าอยู่
ครองเรือน

เชิงอรรถ :
๑ ฯลฯ ที่ปรากฏในข้อ ๑๗๑,๑๗๒ ดูความเต็มในสารัชชสูตร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๒๘๘ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์] ๓. อุปาสกวรรค ๓. นิรยสูตร
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. เป็นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์
ฯลฯ
๕. เป็นผู้เว้นขาดจากการเสพของมึนเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นเหตุ
แห่งความประมาท
ภิกษุทั้งหลาย อุบาสกประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล เป็นผู้แกล้วกล้า
อยู่ครองเรือน
วิสารทสูตรที่ ๒ จบ

๓. นิรยสูตร
ว่าด้วยธรรมที่เป็นเหตุให้ตกนรก
[๑๗๓] อุบาสกประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อมดำรงอยู่ในนรก เหมือน
ถูกนำไปฝังไว้
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. เป็นผู้ฆ่าสัตว์
ฯลฯ
๕. เป็นผู้เสพของมึนเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นเหตุแห่งความประมาท
ภิกษุทั้งหลาย อุบาสกประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมดำรงอยู่
ในนรก เหมือนถูกนำไปฝังไว้
ภิกษุทั้งหลาย อุบาสกประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อมดำรงอยู่ใน
สวรรค์ เหมือนได้รับอัญเชิญไปประดิษฐานไว้
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. เป็นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์
ฯลฯ
๕. เป็นผู้เว้นขาดจากการเสพของมึนเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นเหตุ
แห่งความประมาท
ภิกษุทั้งหลาย อุบาสกประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมดำรงอยู่ใน
สวรรค์ เหมือนได้รับอัญเชิญไปประดิษฐานไว้
นิรยสูตรที่ ๓ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๒๘๙ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์] ๓. อุปาสกวรรค ๔. เวรสูตร
๔. เวรสูตร
ว่าด้วยภัยเวร
[๑๗๔] ครั้งนั้น อนาถบิณฑิกคหบดีเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกับอนาถบิณฑิกคหบดี
ดังนี้ว่า
คหบดี อุบาสกละภัย๑เวร๒ ๕ ประการไม่ได้ เราเรียกว่า ‘ผู้ทุศีล’ และเขาย่อม
ไปเกิดในนรก
ภัยเวร ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. การฆ่าสัตว์
๒. การลักทรัพย์
๓. การประพฤติผิดในกาม
๔. การพูดเท็จ
๕. การเสพของมึนเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นเหตุแห่งความประมาท
คหบดี อุบาสกละภัยเวร ๕ ประการนี้แลไม่ได้ เราเรียกว่า ‘ผู้ทุศีล’ และเขา
ย่อมไปเกิดในนรก
อุบาสกละภัยเวร ๕ ประการได้แล้ว เราเรียกว่า ‘ผู้มีศีล’ และเขาย่อมไปเกิด
ในสุคติ
ภัยเวร ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. การฆ่าสัตว์
๒. การลักทรัพย์
๓. การประพฤติผิดในกาม
๔. การพูดเท็จ
๕. การเสพของมึนเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นเหตุแห่งความประมาท

เชิงอรรถ :
๑ ภัย หมายถึงสิ่งที่ทำให้จิตสะดุ้ง (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๑๗๔/๖๗)
๒ เวร หมายถึงอกุศลกรรม และบุคคลผู้ก่อเวร (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๑๗๔/๖๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๒๙๐ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์] ๓. อุปาสกวรรค ๔. เวรสูตร
คหบดี อุบาสกละภัยเวร ๕ ประการนี้แลได้แล้ว เราเรียกว่า ‘ผู้มีศีล’ และเขา
ย่อมไปเกิดในสุคติ
คหบดี อุบาสกผู้ฆ่าสัตว์ย่อมประสพภัยเวรใดทั้งในภพนี้และภพหน้า เสวย
ทุกขโทมนัส๑ทางใจใดเพราะมีการฆ่าสัตว์เป็นปัจจัย อุบาสกผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์
ย่อมไม่ประสพภัยเวรนั้นทั้งในภพนี้และภพหน้า ย่อมไม่เสวยทุกขโทมนัสทางใจนั้น
ภัยเวรนั้นของอุบาสกผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ ย่อมสงบระงับไปด้วยประการฉะนี้
อุบาสกผู้ลักทรัพย์ ฯลฯ
อุบาสกผู้ประพฤติผิดในกาม ฯลฯ
อุบาสกผู้พูดเท็จ ฯลฯ
อุบาสกผู้เสพของมึนเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นเหตุแห่งความประมาท ย่อม
ประสพภัยเวรใดทั้งในภพนี้และภพหน้า เสวยทุกขโทมนัสทางใจใดเพราะมีการ
เสพของมึนเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นเหตุแห่งความประมาทเป็นปัจจัย อุบาสกผู้
เว้นขาดจากการเสพของมึนเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นเหตุแห่งความประมาท ย่อม
ไม่ประสพภัยเวรนั้นทั้งในภพนี้และภพหน้า ย่อมไม่เสวยทุกขโทมนัสที่เป็นไป
ทางใจนั้น ภัยเวรนั้นของอุบาสกผู้เว้นขาดจากการเสพของมึนเมาคือสุราและเมรัย
อันเป็นเหตุแห่งความประมาท ย่อมสงบระงับไปด้วยประการฉะนี้
นรชนใดในโลกฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์
คบชู้กับภรรยาของผู้อื่น พูดเท็จ
และหมกมุ่นในการดื่มสุราและเมรัย๒
นรชนนั้นละเวร ๕ ประการไม่ได้
เราเรียกว่า ‘ผู้ทุศีล’
เขาผู้มีปัญญาทราม ตายไปแล้วย่อมไปเกิดในนรก

เชิงอรรถ :
๑ ทุกข์ คือทุกข์ที่มีกายประสาทเป็นที่ตั้ง หมายถึงความไม่สบายกายหรือทุกข์ทางกาย
โทมนัส คือ โทมนัสเวทนา หมายถึงความไม่สบายใจหรือทุกข์ใจ (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๑๗๔/๖๗)
๒ ดู ขุ.ธ. ๒๕/๒๔๖/๕๙

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๒๙๑ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์] ๓. อุปาสกวรรค ๕. จัณฑาลสูตร
นรชนใดในโลกไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ลักทรัพย์
ไม่คบชู้กับภรรยาของผู้อื่น ไม่พูดเท็จ
และไม่หมกมุ่นในการดื่มสุราและเมรัย
นรชนนั้นละเวร ๕ ประการได้
เราเรียกว่า ‘ผู้มีศีล’
เขาผู้มีปัญญา ตายไปแล้วย่อมไปเกิดในสุคติ
เวรสูตรที่ ๔ จบ

๕. จัณฑาลสูตร
ว่าด้วยอุบาสกจัณฑาล
[๑๗๕] ภิกษุทั้งหลาย อุบาสกประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ เป็นอุบาสก
จัณฑาล เป็นอุบาสกเศร้าหมอง และเป็นอุบาสกน่ารังเกียจ๑
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. เป็นผู้ไม่มีศรัทธา
๒. เป็นผู้ทุศีล
๓. เป็นผู้ถือมงคลตื่นข่าว๒เชื่อมงคล ไม่เชื่อกรรม
๔. แสวงหาผู้รับทักษิณานอกศาสนานี้
๕. ทำอุปการะ๓นอกศาสนาก่อน
ภิกษุทั้งหลาย อุบาสกประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล เป็นอุบาสกจัณฑาล
เป็นอุบาสกเศร้าหมอง และเป็นอุบาสกน่ารังเกียจ

เชิงอรรถ :
๑ อุบาสกน่ารังเกียจ ในที่นี้หมายถึงอุบาสกชั้นเลว (อุปาสกปัจฉิมกะ) (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๑๗๕/๖๗)
๒ ผู้ถือมงคลตื่นข่าว หมายถึงบุคคลผู้ประกอบด้วย (๑) ทิฏฐมงคล (เชื่อว่ารูปเป็นมงคล) (๒) สุตมงคล
(เชื่อว่าเสียงเป็นมงคล) (๓) มุตมงคล (เชื่อว่ากลิ่น รส โผฏฐัพพะเป็นมงคล) กล่าวคือต่างก็มีความเชื่อที่
แตกต่างกันไปว่า “สิ่งนี้ ๆ เป็นมงคล อะไร ๆ จักสำเร็จได้ด้วยสิ่งนี้ ๆ” (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๑๗๕/๖๗)
๓ ทำอุปการะ ในที่นี้หมายถึงทำกิจที่เป็นกุศลมีการให้ทานเป็นต้น (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๑๗๕/๖๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๒๙๒ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์] ๓. อุปาสกวรรค ๖. ปีติสูตร
ภิกษุทั้งหลาย อุบาสกประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ เป็นอุบาสกแก้ว เป็น
อุบาสกปทุม และเป็นอุบาสกบุณฑริก
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. เป็นผู้มีศรัทธา
๒. เป็นผู้มีศีล
๓. เป็นผู้ไม่ถือมงคลตื่นข่าว เชื่อกรรม ไม่เชื่อมงคล
๔. ไม่แสวงหาผู้รับทักษิณานอกศาสนานี้
๕. ทำอุปการะในศาสนานี้ก่อน
ภิกษุทั้งหลาย อุบาสกประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล เป็นอุบาสกแก้ว
เป็นอุบาสกปทุม และเป็นอุบาสกบุณฑริก
จัณฑาลสูตรที่ ๕ จบ

๖. ปีติสูตร
ว่าด้วยปีติ
[๑๗๖] ครั้งนั้น อนาถบิณฑิกคหบดี มีอุบาสกประมาณ ๕๐๐ คนแวดล้อม
เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร พระผู้มี
พระภาคได้ตรัสเรื่องนี้ว่า
คหบดี ท่านทั้งหลายได้บำรุงภิกษุสงฆ์ด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และ
คิลานปัจจัยเภสัชชบริขาร ท่านทั้งหลายไม่ควรทำความยินดีด้วยเหตุเพียงเท่านี้ว่า
‘เราได้บำรุงภิกษุสงฆ์ด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชชบริขาร’
เพราะเหตุนั้นแล ท่านทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า ‘พวกเราพึงบรรลุปีติที่เกิด
จากวิเวก๑อยู่ตามกาลอันควรด้วยอุบายอย่างไร’ ท่านทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่าง
นี้แล

เชิงอรรถ :
๑ ปีติที่เกิดจากวิเวก ในที่นี้หมายถึงปีติที่เกิดขึ้นเพราะอาศัยปฐมฌานและทุติยฌาน (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๑๗๖/
๖๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๒๙๓ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์] ๓. อุปาสกวรรค ๖. ปีติสูตร
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ท่านพระสารีบุตรได้กราบทูลว่า “ข้าแต่
พระองค์ผู้เจริญ น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคยปรากฏ ตามที่พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระ
ดำรัสนี้ว่า ‘คหบดี ท่านทั้งหลายได้บำรุงภิกษุสงฆ์ด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ
และคิลานปัจจัยเภสัชชบริขาร เพราะเหตุนั้นแล ท่านทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่าง
นี้ว่า ‘พวกเราพึงบรรลุปีติที่เกิดจากวิเวกอยู่ตามกาลอันควร ด้วยอุบายอย่างไร
ท่านทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้แล’ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สมัยใดอริยสาวกบรรลุ
ปีติที่เกิดจากวิเวกอยู่ สมัยนั้น อริยสาวกนั้นย่อมไม่มีฐานะ ๕ ประการ คือ
๑. ไม่มีทุกขโทมนัสอันประกอบด้วยกาม๑
๒. ไม่มีสุขโสมนัสอันประกอบด้วยกาม
๓. ไม่มีทุกขโทมนัสอันประกอบด้วยอกุศล๒
๔. ไม่มีสุขโสมนัสอันประกอบด้วยอกุศล
๕. ไม่มีทุกขโทมนัสอันประกอบด้วยกุศล
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สมัยใด อริยสาวกบรรลุปีติที่เกิดจากวิเวกอยู่ สมัยนั้น
อริยสาวกนั้นย่อมไม่มีฐานะ ๕ ประการนี้”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ดีละ ดีละ สารีบุตร สมัยใด อริยสาวกบรรลุปีติที่เกิด
จากวิเวกอยู่ สมัยนั้น อริยสาวกนั้นย่อมไม่มีฐานะ ๕ ประการ คือ
๑. ไม่มีทุกขโทมนัสอันประกอบด้วยกาม
๒. ไม่มีสุขโสมนัสอันประกอบด้วยกาม
๓. ไม่มีทุกขโทมนัสอันประกอบด้วยอกุศล

เชิงอรรถ :
๑ ทุกขโทมนัสอันประกอบด้วยกาม หมายถึงทุกขโทมนัสที่เกิดขึ้นเพราะกาม ๒ ประเภท คือวัตถุกาม และ
กิเลสกาม (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๑๗๖/๖๘)
๒ ทุกขโทมนัสอันประกอบด้วยอกุศล หมายถึงเมื่อบุคคลทำอกุศลกรรมเช่นยิงลูกศรไปด้วยคิดว่าจะฆ่าเนื้อ
และสุกร แต่เมื่อลูกศรผิดเป้าหมายไปก็เกิดทุกขโทมนัสขึ้นว่า ‘เรายิงพลาด’ (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๑๗๖/๖๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๒๙๔ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์] ๓. อุปาสกวรรค ๗. วณิชชาสูตร
๔. ไม่มีสุขโสมนัสอันประกอบด้วยอกุศล
๕. ไม่มีทุกขโทมนัสอันประกอบด้วยกุศล
สารีบุตร สมัยใด อริยสาวกบรรลุปีติที่เกิดแต่วิเวกอยู่ สมัยนั้น อริยสาวกนั้น
ย่อมไม่มีฐานะ ๕ ประการนี้”
ปีติสูตรที่ ๖ จบ

๗. วณิชชาสูตร
ว่าด้วยการค้าขายที่อุบาสกไม่ควรประกอบ
[๑๗๗] ภิกษุทั้งหลาย อุบาสกไม่ควรทำการค้าขาย ๕ ประการนี้
การค้าขาย ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. การค้าขายศัสตราวุธ๑
๒. การค้าขายสัตว์๒
๓. การค้าขายเนื้อ๓
๔. การค้าขายของมึนเมา๔
๕. การค้าขายยาพิษ๕
ภิกษุทั้งหลาย อุบาสกไม่ควรทำการค้าขาย ๕ ประการนี้แล
วณิชชาสูตรที่ ๗ จบ

เชิงอรรถ :
๑ การค้าขายศัสตราวุธ หมายถึงการให้สร้างอาวุธแล้วขายอาวุธนั้น (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๑๗๗/๖๘) ที่ห้าม
ค้าขาย ก็เพราะการค้าขายอาวุธ เป็นเหตุให้ทำความผิดก่อโทษแก่ผู้อื่นได้ (องฺ.ปญฺจก.ฏีกา ๓/๑๗๗-๘/๖๖)
๒ การค้าขายสัตว์ ในที่นี้หมายถึงการค้าขายมนุษย์ ที่ห้ามค้าขาย ก็เพราะการค้าขายมนุษย์ทำให้มนุษย์
หมดอิสรภาพ (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๑๗๗/๖๘, องฺ.ปญฺจก.ฏีกา. ๓/๑๗๗-๘/๖๖)
๓ การค้าขายเนื้อ หมายถึงการเลี้ยงสัตว์มีสุกรเป็นต้นไว้ขาย หรือการขายเนื้อสัตว์ ที่ห้ามค้าขาย ก็เพราะ
การค้าขายเนื้อเป็นเหตุให้ต้องฆ่าสัตว์ (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๑๗๗/๖๘, องฺ.ปญฺจก.ฏีกา. ๓/๑๗๗-๘/๖๖)
๔ การค้าขายของมึนเมา หมายถึงการให้ปรุงของมึนเมาชนิดใดชนิดหนึ่งแล้วขาย ที่ห้ามค้าขาย ก็เพราะ
การค้าขายของมึนเมาเป็นเหตุให้มีการดื่มแล้วเกิดความประมาท (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๑๗๗/๖๘, องฺ.ปญฺจก.ฏีกา
๓/๑๗๗-๘/๖๖)
๕ การค้าขายยาพิษ หมายถึงการให้ทำยาพิษแล้วค้าขายยาพิษนั้น
การค้าขาย ๕ ประการนี้ อุบาสกไม่ควรทำทั้งด้วยตนเองและไม่ควรชักชวนบุคคลอื่นให้ทำด้วย
(องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๑๗๗/๖๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๒๙๕ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์] ๓. อุปาสกวรรค ๘. ราชสูตร
๘. ราชสูตร
ว่าด้วยพระราชา
[๑๗๘] “ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายเข้าใจเรื่องนั้นอย่างไร คือ เธอทั้งหลาย
เคยได้เห็นเคยได้ฟังมาบ้างหรือไม่ว่า ‘คนผู้นี้เป็นผู้ละเว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ พระ
ราชาจับเขาแล้วประหาร จองจำ เนรเทศ หรือทำตามพระราชประสงค์ เพราะการ
งดเว้นจากการฆ่าสัตว์เป็นเหตุ”
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า “ไม่เคยได้เห็น ไม่เคยได้ฟังมาอย่างนั้นเลย พระ
พุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ดีละ ภิกษุทั้งหลาย แม้เราก็ไม่เคยได้เห็น ไม่เคยได้
ฟังมาอย่างนั้นเลยว่า ‘คนผู้นี้เป็นผู้ละเว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ พระราชาจับเขาแล้ว
ประหาร จองจำ เนรเทศ หรือทำตามพระราชประสงค์ เพราะการงดเว้นจากการฆ่า
สัตว์เป็นเหตุ’ แต่ถ้าบาปกรรมของเขานั้นเองปรากฏให้รู้ว่า ‘คนผู้นี้ฆ่าบุรุษหรือสตรี
ต่อมาพระราชาจับเขาแล้วประหาร จองจำ เนรเทศ หรือทำตามพระราชประสงค์
เพราะการงดเว้นจากการฆ่าสัตว์เป็นเหตุ’ เธอทั้งหลายเคยได้เห็น เคยได้ฟัง
บาปกรรมเช่นนี้บ้างหรือไม่”
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า “ข้าพระองค์ทั้งหลายเคยได้เห็นมาแล้ว เคยได้ฟัง
มาแล้ว และจักได้ฟังต่อไป พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายเข้าใจเรื่องนั้นอย่างไร คือ
เธอทั้งหลายเคยได้เห็นเคยได้ฟังมาบ้างหรือไม่ว่า ‘คนผู้นี้เป็นผู้ละเว้นขาดจากการ
ลักทรัพย์ พระราชาจับเขาแล้วประหาร จองจำ เนรเทศ หรือทำตามพระราช
ประสงค์ เพราะการงดเว้นจากการลักทรัพย์เป็นเหตุ”
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า “ไม่เคยได้เห็นไม่เคยได้ฟังมาอย่างนั้นเลย พระ
พุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ดีละ ภิกษุทั้งหลาย แม้เราก็ไม่เคยได้เห็น ไม่เคยได้
ฟังมาอย่างนั้นเลยว่า ‘คนผู้นี้เป็นผู้ละเว้นขาดจากการลักทรัพย์ พระราชาจับเขาแล้ว

 


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๒๙๖ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์] ๓. อุปาสกวรรค ๘. ราชสูตร
ประหาร จองจำ เนรเทศ หรือทำตามพระราชประสงค์ เพราะการงดเว้นจากการ
ลักทรัพย์เป็นเหตุ’ แต่ถ้าบาปกรรมของเขานั่นเอง ปรากฏให้รู้ว่า ‘คนผู้นี้ลักทรัพย์
เขามาจากบ้านหรือจากป่า พระราชาจับเขาแล้วประหาร จองจำ เนรเทศ หรือทำ
ตามพระราชประสงค์ เพราะการลักทรัพย์เป็นเหตุ เธอทั้งหลายเคยได้เห็น เคยได้ฟัง
บาปกรรมเช่นนี้บ้างหรือไม่”
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า “ข้าพระองค์ทั้งหลายเคยได้เห็นมาแล้ว เคยได้ฟัง
มาแล้ว และจักได้ฟังต่อไป พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายเข้าใจเรื่องนั้นอย่างไร คือ
เธอทั้งหลายเคยได้เห็น เคยได้ฟังมาบ้างหรือไม่ว่า ‘คนผู้นี้เป็นผู้ละเว้นขาดจากการ
ประพฤติผิดในกาม พระราชาจับเขาแล้วประหาร จองจำ เนรเทศ หรือทำตามพระ
ราชประสงค์ เพราะการงดเว้นจากการประพฤติผิดในกามเป็นเหตุ”
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า “ไม่เคยได้เห็น ไม่เคยได้ฟังมาอย่างนั้นเลย พระ
พุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ดีละ ภิกษุทั้งหลาย แม้เราก็ไม่เคยได้เห็น ไม่เคยได้
ฟังมาอย่างนั้นเลยว่า ‘คนผู้นี้เป็นผู้ละเว้นขาดจากการประพฤติผิดในกาม พระราชา
จับเขาแล้วประหาร จองจำ เนรเทศ หรือทำตามพระราชประสงค์ เพราะการงดเว้น
จากการประพฤติผิดในกามเป็นเหตุ’ แต่ถ้าบาปกรรมของเขานั่นเองปรากฏให้รู้ว่า
‘คนผู้นี้ประพฤติล่วงในหญิงหรือลูกสาวของผู้อื่น พระราชาจับเขาแล้วประหาร จองจำ
เนรเทศ หรือทำตามพระราชประสงค์ เพราะการประพฤติผิดในกามเป็นเหตุ
เธอทั้งหลายเคยได้เห็น เคยได้ฟังบาปกรรมเช่นนี้บ้างหรือไม่”
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า “ข้าพระองค์ทั้งหลายเคยได้เห็นมาแล้ว เคยได้ฟัง
มาแล้ว และจักได้ฟังต่อไป พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายเข้าใจเรื่องนั้นอย่างไร
คือ เธอทั้งหลายเคยได้เห็น เคยได้ฟังมาบ้างหรือไม่ว่า ‘คนผู้นี้เป็นผู้ละเว้นขาด
จากการพูดเท็จ พระราชาจับเขาแล้วประหาร จองจำ เนรเทศ หรือทำตามพระราช
ประสงค์ เพราะการงดเว้นจากการพูดเท็จเป็นเหตุ”


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๒๙๗ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์] ๓. อุปาสกวรรค ๘. ราชสูตร
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า “ไม่เคยได้เห็น ไม่เคยได้ฟังมาอย่างนั้นเลย พระ
พุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ดีละ ภิกษุทั้งหลาย แม้เราก็ไม่เคยได้เห็น ไม่เคยได้
ฟังมาอย่างนั้นเลยว่า ‘คนผู้นี้เป็นผู้ละเว้นขาดจากการพูดเท็จ พระราชาจับเขาแล้ว
ประหาร จองจำ เนรเทศ หรือทำตามพระราชประสงค์ เพราะการงดเว้นจากการพูด
เท็จเป็นเหตุ’ แต่ถ้าบาปกรรมของเขานั่นเองปรากฏให้รู้ว่า ‘คนผู้นี้ทำลายประโยชน์
ของคหบดี หรือบุตรของคหบดีด้วยการพูดเท็จ พระราชาจับเขาแล้วประหาร จองจำ
เนรเทศ หรือทำตามพระราชประสงค์ เพราะการพูดเท็จเป็นเหตุ เธอทั้งหลายเคย
ได้เห็น เคยได้ฟังบาปกรรมเช่นนี้บ้างหรือไม่”
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า “ข้าพระองค์ทั้งหลายเคยได้เห็นมาแล้ว เคยได้ฟัง
มาแล้ว และจักได้ฟังต่อไป พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายเข้าใจเรื่องนั้นอย่างไร คือ
เธอทั้งหลายเคยได้เห็น เคยได้ฟังมาบ้างหรือไม่ว่า ‘คนผู้นี้เป็นผู้ละเว้นขาดจากการ
เสพของมึนเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นเหตุแห่งความประมาท พระราชาจับเขาแล้ว
ประหาร จองจำ เนรเทศ หรือทำตามพระราชประสงค์ เพราะการงดเว้นจากการเสพ
ของมึนเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นเหตุแห่งความประมาทเป็นเหตุ”
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า “ไม่เคยได้เห็นไม่เคยได้ฟังมาอย่างนั้นเลย พระ
พุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ดีละ ภิกษุทั้งหลาย แม้เราก็ไม่เคยได้เห็น ไม่เคยได้
ฟังมาอย่างนั้นเลยว่า ‘คนผู้นี้เป็นผู้ละเว้นขาดจากการเสพของมึนเมาคือสุราและเมรัย
อันเป็นเหตุแห่งความประมาท พระราชาจับเขาแล้วประหาร จองจำ เนรเทศ หรือ
ทำตามพระราชประสงค์ เพราะการงดเว้นจากการเสพของมึนเมาคือสุราและเมรัย
อันเป็นเหตุแห่งความประมาทเป็นเหตุ’ แต่ถ้าบาปกรรมของเขานั่นเองปรากฏให้รู้ว่า
‘คนผู้นี้หมกมุ่นการเสพของมึนเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นเหตุแห่งความประมาท
แล้วฆ่าหญิงหรือชาย คนผู้นี้หมกมุ่นการเสพของมึนเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นเหตุ
แห่งความประมาทแล้วลักทรัพย์จากบ้านหรือป่า คนผู้นี้หมกมุ่นการเสพของมึนเมา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๒๙๘ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์] ๓. อุปาสกวรรค ๙. คิหิสูตร
คือสุราและเมรัยอันเป็นเหตุแห่งความประมาทแล้วประพฤติล่วงในหญิงหรือลูกสาว
ของผู้อื่น คนผู้นี้หมกมุ่นการเสพของมึนเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นเหตุแห่งความ
ประมาทแล้วทำลายประโยชน์ของคหบดีหรือบุตรของคหบดีด้วยการพูดเท็จ พระ
ราชาจับเขาแล้วประหาร จองจำ เนรเทศ หรือทำตามพระราชประสงค์ เพราะการ
เสพของมึนเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นเหตุแห่งความประมาทเป็นเหตุ เธอทั้งหลาย
เคยได้เห็น เคยได้ฟังบาปกรรมเช่นนี้บ้างหรือไม่”
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า “ข้าพระองค์ทั้งหลายเคยได้เห็นมาแล้ว เคยได้ฟัง
มาแล้ว และจักได้ฟังต่อไป พระพุทธเจ้าข้า”
ราชสูตรที่ ๘ จบ

๙. คิหิสูตร
ว่าด้วยคฤหัสถ์
[๑๗๙] ครั้งนั้น อนาถบิณฑิกคหบดี มีอุบาสกประมาณ ๕๐๐ คนแวดล้อม
เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ลำดับนั้น
พระผู้มีพระภาคได้รับสั่งเรียกท่านพระสารีบุตรมาตรัสว่า สารีบุตร เธอทั้งหลายพึง
รู้จักคฤหัสถ์คนหนึ่งผู้นุ่งห่มผ้าขาว มีการงานสำรวมดีในสิกขาบท ๕ ประการ
และเป็นผู้ได้ธรรมเป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน๑ อันมีในจิตยิ่ง๒ ๔ ประการ
ตามความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ได้โดยไม่ลำบาก และคฤหัสถ์นั้นเมื่อหวังอยู่ก็พึง
พยากรณ์ตนด้วยตนเองได้ว่า ‘เราเป็นผู้มีนรกสิ้นแล้ว มีกำเนิดสัตว์ดิรัจฉานสิ้นแล้ว

เชิงอรรถ :
๑ ธรรมเป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน เป็นชื่อของรูปาวจรฌาน และรูปาวจรฌานนี้เอง ที่เรียกว่าเป็น
ธรรมเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน เพราะเป็นเหตุให้ท่านผู้บำเพ็ญฌานได้ประสพเนกขัมมสุขที่ไม่เศร้าหมอง
ในอัตภาพปัจจุบัน (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๑๗๙/๖๖)
๒ จิตยิ่ง (อภิเจตสิก) ในที่นี้หมายถึงจิตที่ยอดเยี่ยม(อุตตมจิต) ได้แก่จิตที่บริสุทธิ์(วิสุทธจิต) (องฺ.ปญฺจก.อ.
๓/๑๗๙/๖๘-๖๙, องฺ.ปญฺจก.ฏีกา ๓/๑๗๙/๖๖)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๒๙๙ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์] ๓. อุปาสกวรรค ๙. คิหิสูตร
มีเปตวิสัยสิ้นแล้ว มีอบายสิ้นแล้ว มีทุคติสิ้นแล้ว มีวินิบาตสิ้นแล้ว เป็นโสดาบัน
ไม่มีทางตกต่ำ มีความแน่นอนที่จะสำเร็จสัมโพธิ๑ในวันข้างหน้า’
คฤหัสถ์เป็นผู้มีการงานสำรวมดีในสิกขาบท ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
อริยสาวกในธรรมวินัยนี้
๑. เป็นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์
๒. เป็นผู้เว้นขาดจากการลักทรัพย์
๓. เป็นผู้เว้นขาดจากการประพฤติผิดในกาม
๔. เป็นผู้เว้นขาดจากการพูดเท็จ
๕. เป็นผู้เว้นขาดจากการเสพของมึนเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นเหตุแห่ง
ความประมาท
คฤหัสถ์เป็นผู้มีการงานสำรวมดีในสิกขาบท ๕ ประการนี้
คฤหัสถ์เป็นผู้ได้ธรรมเป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบันอันมีในจิตยิ่ง ๔ ประการ
ตามความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ได้โดยไม่ลำบาก อะไรบ้าง คือ
อริยสาวกในธรรมวินัยนี้
๑. เป็นผู้ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้าว่า
‘แม้เพราะเหตุนี้พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้
ด้วยพระองค์เองโดยชอบ เพียบพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จ
ไปดี รู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกผู้ที่ควรฝึกได้อย่างยอดเยี่ยม เป็น
ศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระผู้
มีพระภาค’ นี้เป็นธรรมเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบันอันมีในจิตยิ่ง
ประการที่ ๑ อันอริยสาวกนั้นได้ถึงแล้ว เพื่อความหมดจดแห่งจิตที่
ยังไม่หมดจด เพื่อความผ่องแผ้วแห่งจิตที่ยังไม่ผ่องแผ้ว

เชิงอรรถ :
๑ สัมโพธิ ในที่นี้หมายถึงมรรค ๓ เบื้องสูง คือสกทาคามิมรรค อนาคามิมรรค และอรหัตตมรรค (องฺ.ติก.อ.
๒/๘๗/๒๔๒, ที.สี.อ. ๓๗๓/๒๘๑, องฺ.ติก.ฏีกา ๒/๘๗/๒๓๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๓๐๐ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์] ๓. อุปาสกวรรค ๙. คิหิสูตร
๒. เป็นผู้ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรมว่า
‘พระธรรมเป็นธรรมที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ดีแล้ว ผู้ปฏิบัติจะพึง
เห็นชัดด้วยตนเอง ไม่ประกอบด้วยกาล ควรเรียกให้มาดู ควรน้อม
เข้ามาในตน๑ อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน นี้เป็นธรรมเครื่องอยู่เป็น
สุขในปัจจุบัน อันมีในจิตยิ่งประการที่ ๒ อันอริยสาวกนั้นได้ถึงแล้ว
เพื่อความหมดจดแห่งจิตที่ยังไม่หมดจด เพื่อความผ่องแผ้วแห่งจิต
ที่ยังไม่ผ่องแผ้ว
๓. เป็นผู้ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์ว่า
‘พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาค เป็นผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติตรง
ปฏิบัติถูกทาง ปฏิบัติสมควร ได้แก่อริยบุคคล ๔ คู่ คือ ๘ บุคคล
พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคนี้ เป็นผู้ควรแก่ของที่เขานำมาถวาย
ควรแก่ของต้อนรับ ควรแก่ทักษิณา ควรแก่การทำอัญชลี เป็น
นาบุญอันยอดเยี่ยมของโลก’ นี้เป็นธรรมเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน
อันมีในจิตยิ่งประการที่ ๓ อันอริยสาวกนั้นได้ถึงแล้ว เพื่อความ
หมดจดแห่งจิตที่ยังไม่หมดจด เพื่อความผ่องแผ้วแห่งจิตที่ยังไม่
ผ่องแผ้ว
๔. เป็นผู้ประกอบด้วยศีลที่พระอริยะใคร่๒ ไม่ขาด ไม่ทะลุ ไม่ด่าง
ไม่พร้อย เป็นไท ท่านผู้รู้สรรเสริญ ไม่ถูกตัณหาและทิฏฐิครอบงำ
เป็นไปเพื่อสมาธิ นี้เป็นธรรมเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน อันมีในจิต
ยิ่งประการที่ ๔ อันอริยสาวกนั้นได้ถึงแล้ว เพื่อความหมดจดแห่ง
จิตที่ยังไม่หมดจด เพื่อความผ่องแผ้วแห่งจิตที่ยังไม่ผ่องแผ้ว
คฤหัสถ์ผู้ได้ธรรมเป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบันอันมีในจิตยิ่ง ๔ ประการนี้
ตามความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ได้โดยไม่ลำบาก

เชิงอรรถ :
๑ ควรน้อมเข้ามาในตน หมายถึงควรน้อมเข้ามาสู่จิตของตนหรือควรน้อมเข้ามาเพื่อการปฏิบัติ (องฺ.ติก.อ.
๒/๕๔/๑๕๘)
๒ ศีลที่พระอริยะใคร่ ในที่นี้หมายถึงศีลในอริยมรรค ศีลในอริยผล (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๑๗๙/๖๙)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๓๐๑ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์] ๓. อุปาสกวรรค ๙. คิหิสูตร
สารีบุตร พวกเธอพึงรู้จักคฤหัสถ์คนใดคนหนึ่งผู้นุ่งห่มผ้าขาว มีการงาน
สำรวมดีในสิกขาบท ๕ ประการ และเป็นผู้ได้ธรรมเป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน
อันมีในจิตยิ่ง ๔ ประการนี้ ตามความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ได้โดยไม่ลำบาก
และคฤหัสถ์นั้นเมื่อหวังอยู่ ก็พึงพยากรณ์ตนด้วยตนเองได้ว่า ‘เราเป็นผู้มีนรก
สิ้นแล้ว มีกำเนิดสัตว์ดิรัจฉานสิ้นแล้ว มีเปตวิสัยสิ้นแล้ว มีอบายสิ้นแล้ว มีทุคติ
สิ้นแล้ว และมีวินิบาตสิ้นแล้ว เป็นโสดาบัน ไม่มีทางตกต่ำ มีความแน่นอนที่จะ
สำเร็จสัมโพธิในวันข้างหน้า’
บัณฑิตเห็นภัยในนรกแล้ว พึงเว้นบาปเสีย
สมาทานอริยธรรม๑แล้ว พึงเว้นบาปเสีย
ก็ในเมื่อมีความพยายามอยู่
ไม่พึงเบียดเบียนสัตว์ทั้งหลาย
ไม่พึงกล่าวเท็จทั้งที่รู้
ไม่พึงหยิบฉวยสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้
พึงยินดีภริยาของตน ไม่พึงยินดีภริยาผู้อื่น
ไม่พึงดื่มสุราเมรัย๒เครื่องยังจิตให้หลงไหล
พึงระลึกถึงพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และพึงตรึกถึงพระธรรม๓
พึงเจริญจิตอันปราศจากพยาบาท๔เพื่อเกื้อกูลแก่เทวโลก
ทักษิณาที่ผู้ต้องการบุญแสวงหาบุญอยู่ให้แล้วในสัตบุรุษ๕เป็นอัน
ดับแรก

เชิงอรรถ :
๑ อริยธรรม ในที่นี้หมายถึงศีล ๕ (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๑๗๙/๖๙)
๒ ดูเชิงอรรถที่ ๑ ข้อ ๓๒ (จุนทีสูตร) หน้า ๔๙ ในเล่มนี้
๓ ตรึกถึงพระธรรม ในที่นี้หมายถึงระลึกถึงโลกุตตรธรรม ๙ ประการ คือ มรรค ๔ ผล ๔ นิพพาน ๑
(องฺ.ปญฺจก.อ.๓/๑๗๙/๖๙)
๔ จิตอันปราศจากพยาบาท ในที่นี้หมายถึงพรหมวิหารจิตมีเมตตาจิตเป็นต้น ที่ไม่มีทุกข์ (องฺ.ปญฺจก.อ.
๓/๑๗๙/๖๙)
๕ สัตบุรุษ ในที่นี้หมายถึงพระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า และพระสาวกของพระพุทธเจ้า (องฺ.ปญฺจก.อ.
๓/๑๗๙/๖๙)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๓๐๒ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์] ๓. อุปาสกวรรค ๙. คิหิสูตร
ในเมื่อไทยธรรมมีอยู่พร้อม ย่อมมีผลไพบูลย์
สารีบุตร เราจักบอกสัตบุรุษให้ จงฟังคำของเรา
โคผู้ที่ฝึกแล้วเป็นโคใช้งานที่สมบูรณ์ด้วยกำลัง
มีเชาวน์ดี และเป็นสัตว์ที่ซื่อตรง
จะเกิดในสีสันใด ๆ คือ สีดำ สีขาว สีแดง
สีเขียว สีด่าง สีตามธรรมชาติของตน
สีเหมือนโคธรรมดา หรือสีเหมือนนกพิราบก็ตาม
ชนทั้งหลายเทียมมันเข้าในแอก
ไม่คำนึงถึงสีสันของมัน ฉันใด
ผู้ที่ฝึกตนดีแล้ว มีความประพฤติดีงาม
ตั้งอยู่ในธรรม สมบูรณ์ด้วยศีล พูดคำสัตย์
มีใจประกอบด้วยหิริ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน
จะเกิดในหมู่มนุษยชาติใด ๆ คือ กษัตริย์
พราหมณ์ แพศย์ ศูทร คนจัณฑาล และคนเทขยะก็ตาม
ก็ละความเกิดและความตายได้
มีพรหมจรรย์บริบูรณ์ ปลงภาระได้แล้ว
ไม่ประกอบด้วยกิเลส ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว
ไม่มีอาสวะ รู้จบธรรมทุกอย่าง๑
ดับสนิทเพราะไม่ถือมั่น
ในเขตที่ปราศจากธุลี๒เช่นนั้นแล
ทักษิณาย่อมมีผลมาก

เชิงอรรถ :
๑ ธรรมทุกอย่าง ในที่นี้หมายถึงขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ ธาตุ ๑๘ (องฺ.ติก.อ. ๒/๕๘/๑๖๑)
๒ ปราศจากธุลี หมายถึงไม่มีธุลี คือ ราคะ โทสะ และโมหะ (องฺ.ติก.อ. ๒/๕๘/๑๖๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๓๐๓ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์] ๓. อุปาสกวรรค ๑๐. ภเวสีสูตร
คนพาลไม่รู้แจ้ง๑ ไม่มีปัญญา ไม่ได้สดับรับฟัง
ย่อมให้ทานภายนอก๒ ไม่เข้าไปหาสัตบุรุษ
ส่วนเหล่าชนผู้มีศรัทธาหยั่งลงตั้งมั่นในพระสุคต
ย่อมเข้าไปหาสัตบุรุษผู้มีปัญญา
ที่เขายกย่องกันว่าเป็นนักปราชญ์
ท่านเหล่านั้นผู้เป็นบัณฑิต ย่อมไปสู่เทวโลก
หรือไม่ก็เกิดในตระกูลดีในโลกนี้
และบรรลุนิพพานได้โดยลำดับ
คิหิสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. ภเวสีสูตร
ว่าด้วยภเวสีอุบาสก
[๑๘๐] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาค เสด็จจาริกไปในแคว้นโกศล พร้อมด้วย
ภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ ขณะที่เสด็จพระดำเนินไปตามหนทางไกล ได้ทอดพระเนตรเห็น
ป่าสาละใหญ่ ณ สถานที่แห่งหนึ่ง จึงทรงแวะลงจากทางเสด็จเข้าไปสู่ป่าสาละนั้น
ครั้นเสด็จถึงแล้วจึงได้ทรงแสดงการแย้ม๓ ณ สถานที่แห่งหนึ่ง
ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์ได้คิดว่า “อะไรเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้พระผู้มีพระภาค
ทรงแสดงอาการแย้ม พระตถาคตย่อมไม่ทรงแสดงอาการแย้มให้ปรากฏโดยไม่มีเหตุ”
จึงได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อะไรเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้
พระผู้มีพระภาคทรงแสดงอาการแย้ม พระตถาคตย่อมไม่ทรงแสดงอาการแย้มโดย
ไม่มีเหตุ”

เชิงอรรถ :
๑ ไม่รู้แจ้ง ในที่นี้หมายถึงไม่รู้จักนาบุญ หรือเขตบุญ (องฺ.ติก.อ. ๒/๕๘/๑๖๑)
๒ ภายนอก ในที่นี้หมายถึงนอกพุทธศาสนา (องฺ.ติก.อ. ๒/๕๘/๑๖๑)
๓ แสดงอาการแย้ม หมายถึงการยิ้มน้อย ๆ เพียงเห็นไรฟัน (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๑๗๙/๖๙)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๓๐๔ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์] ๓. อุปาสกวรรค ๑๐. ภเวสีสูตร
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อานนท์ เรื่องเคยมีมาแล้ว ณ สถานที่นี้ ได้มีเมือง
มั่งคั่ง กว้างขวาง มีประชาชนมากมาย มีมนุษย์หนาแน่น พระผู้มีพระภาคพระนาม
ว่ากัสสปอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงอาศัยอยู่ในพระนครนั้น อุบาสกชื่อว่าภเวสี
ของพระผู้มีพระภาคพระนามว่ากัสสปอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นผู้มีปกติไม่ทำ
ศีลให้บริบูรณ์๑ อุบาสก ๕๐๐ คน เป็นผู้อันภเวสีอุบาสกชี้แจงชักชวน เป็นผู้มี
ปกติไม่ทำศีลให้บริบูรณ์ ต่อมา ภเวสีอุบาสกมีความคิดว่า “เราเป็นผู้มีอุปการะมาก
เป็นหัวหน้า เป็นผู้ชักชวนอุบาสก ๕๐๐ คนเหล่านี้ ทั้งเราและอุบาสก ๕๐๐ คน
เหล่านี้ต่างก็เป็นผู้มีปกติไม่ทำศีลให้บริบูรณ์ ต่างคนต่างก็เท่า ๆ กัน ไม่ยิ่งหย่อนไป
กว่ากัน เอาเถอะ เราควรปฏิบัติให้ยิ่งกว่า
ต่อมา ภเวสีอุบาสกได้เข้าไปหาอุบาสก ๕๐๐ คนเหล่านั้นแล้วกล่าวดังนี้ว่า
‘ท่านทั้งหลาย ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ขอพวกท่านจงจำข้าพเจ้าไว้ว่าเป็นผู้มีปกติทำ
ศีลให้บริบูรณ์’
ครั้งนั้น อุบาสก ๕๐๐ คนเหล่านั้นมีความคิดว่า ‘ภเวสีอุบาสกผู้เป็นนายมี
อุปการะมาก เป็นหัวหน้า เป็นผู้ชักชวนพวกเรา ก็ภเวสีอุบาสกผู้เป็นนายจักเป็นผู้มี
ปกติทำศีลให้บริบูรณ์ ไฉนพวกเราจะเป็นเช่นนั้นบ้างไม่ได้เล่า’ จึงพากันเข้าไปหา
ภเวสีอุบาสกแล้วกล่าวว่า ‘ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ขอภเวสีอุบาสกผู้เป็นนายจงจำ
อุบาสก ๕๐๐ คนแม้เหล่านี้ว่าเป็นผู้มีปกติทำศีลให้บริบูรณ์’
ครั้นต่อมา ภเวสีอุบาสกมีความคิดว่า ‘เราแลเป็นผู้มีอุปการะมาก เป็น
หัวหน้า เป็นผู้ชักชวนอุบาสกประมาณ ๕๐๐ คนเหล่านี้ ทั้งเราและอุบาสก ๕๐๐ คน
เหล่านี้ ต่างก็เป็นผู้มีปกติทำศีลให้บริบูรณ์ ต่างคนต่างก็เท่า ๆ กัน ไม่ยิ่งหย่อนไป
กว่ากัน เอาเถอะ เราควรปฏิบัติให้ยิ่งกว่า’ จึงได้เข้าไปหาอุบาสก ๕๐๐ คนเหล่านั้น
แล้วกล่าวว่า ‘ท่านทั้งหลาย ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ขอพวกท่านจงจำข้าพเจ้าไว้ว่า
เป็นผู้ประพฤติพรหมจรรย์ เว้นห่างไกลจากเมถุนธรรมอันเป็นกิจของชาวบ้าน’


เชิงอรรถ :
๑ มีปกติไม่ทำศีลให้บริบูรณ์ หมายถึงไม่รักษาศีลห้าให้สม่ำเสมอ (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๑๘๐/๗๐)


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๓๐๕ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์] ๓. อุปาสกวรรค ๑๐. ภเวสีสูตร
อุบาสก ๕๐๐ คนเหล่านั้นมีความคิดว่า ‘ภเวสีอุบาสกผู้เป็นนายมีอุปการะมาก
เป็นหัวหน้า เป็นผู้ชักชวนพวกเรา ภเวสีอุบาสกผู้เป็นนายจักประพฤติพรหมจรรย์
เว้นห่างไกลจากเมถุนธรรมอันเป็นกิจของชาวบ้าน ไฉนพวกเราจะเป็นเช่นนั้นบ้าง
ไม่ได้เล่า’ จึงได้เข้าไปหาภเวสีอุบาสกแล้วกล่าวดังนี้ว่า ‘ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป
ขอภเวสีอุบาสกผู้เป็นนาย จงจำอุบาสก ๕๐๐ คนแม้เหล่านี้ว่าเป็นผู้ประพฤติ
พรหมจรรย์ เว้นห่างไกลจากเมถุนธรรมอันเป็นกิจของชาวบ้าน’
ครั้นต่อมา ภเวสีอุบาสกมีความคิดว่า ‘เราเองเป็นผู้มีอุปการะมาก เป็นหัวหน้า
เป็นผู้ชักชวนอุบาสก ๕๐๐ คนเหล่านี้ ทั้งเราและอุบาสก ๕๐๐ คนเหล่านี้ต่างก็เป็นผู้มี
ปกติทำศีลให้บริบูรณ์ เป็นผู้ประพฤติพรหมจรรย์ เว้นห่างไกลจากเมถุนธรรมอัน
เป็นกิจของชาวบ้าน ต่างคนต่างก็เท่า ๆ กัน ไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน เอาเถอะ เรา
ควรปฏิบัติให้ยิ่งกว่า’ จึงได้เข้าไปหาอุบาสก ๕๐๐ คนเหล่านั้นแล้วกล่าวดังนี้ว่า
‘ท่านทั้งหลาย ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ขอพวกท่านจงจำข้าพเจ้าไว้ว่าเป็นผู้บริโภค
มื้อเดียว ไม่บริโภคตอนกลางคืน งดเว้นจากการบริโภคในเวลาวิกาล’
อุบาสก ๕๐๐ คนเหล่านั้นมีความคิดว่า ‘ภเวสีอุบาสกเป็นนายผู้มีอุปการะมาก
เป็นหัวหน้า เป็นผู้ชักชวนพวกเรา ภเวสีอุบาสกผู้เป็นนายจักเป็นผู้บริโภคมื้อเดียว
ไม่บริโภคตอนกลางคืน งดเว้นจากการบริโภคในเวลาวิกาล ไฉนพวกเราจะเป็นเช่น
นั้นบ้างไม่ได้เล่า’ จึงได้เข้าไปหาภเวสีอุบาสกแล้วกล่าวดังนี้ว่า ‘ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป
ขอภเวสีอุบาสกผู้เป็นนายจงจำอุบาสก ๕๐๐ คนแม้เหล่านี้ว่าเป็นผู้บริโภคมื้อเดียว
ไม่บริโภคตอนกลางคืน งดเว้นจากการบริโภคในเวลาวิกาล’
ครั้นต่อมา ภเวสีอุบาสกมีความคิดว่า ‘เราแลเป็นผู้มีอุปการะมาก เป็นหัวหน้า
เป็นผู้ชักชวนอุบาสก ๕๐๐ คนเหล่านี้ ทั้งเราและอุบาสก ๕๐๐ คนเหล่านี้ ต่างก็
เป็นผู้มีปกติทำศีลให้บริบูรณ์ เป็นผู้ประพฤติพรหมจรรย์ เว้นห่างไกลจากเมถุนธรรม
อันเป็นกิจของชาวบ้าน เป็นผู้บริโภคมื้อเดียว ไม่บริโภคตอนกลางคืน งดเว้นจาก
การบริโภคในเวลาวิกาล ต่างคนต่างก็เท่า ๆ กัน ไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน เอาเถอะ
เราควรปฏิบัติให้ยิ่งกว่า’ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคพระนามว่ากัสสปอรหันตสัมมา-
สัมพุทธเจ้าถึงที่ประทับ แล้วได้กราบทูลดังนี้ว่า ‘ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์
พึงได้บรรพชาพึงได้อุปสมบทในสำนักของพระผู้มีพระภาค’


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๓๐๖ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์] ๓. อุปาสกวรรค ๑๐. ภเวสีสูตร
ภเวสีอุบาสกได้บรรพชาได้อุปสมบทในสำนักของพระผู้มีพระภาคพระนามว่า
กัสสปอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้วแล ครั้นอุปสมบทแล้วไม่นาน จึงหลีกไปอยู่ผู้เดียว
ไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่ ไม่นานนัก ก็ทำให้แจ้งซึ่งประโยชน์
ยอดเยี่ยม๑อันเป็นที่สุดแห่งพรหมจรรย์ ที่กุลบุตรออกจากเรือนบวชเป็นบรรชิต
โดยชอบ ต้องการด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน ได้รู้ชัดว่า ‘ชาติสิ้นแล้ว
อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้
อีกต่อไป’
อานนท์ ภเวสีภิกษุได้เป็นพระอรหันต์องค์หนึ่งในบรรดาพระอรหันต์ทั้งหลาย
อานนท์ คราวนั้น อุบาสก ๕๐๐ คนเหล่านั้น ได้มีความคิดดังนี้ว่า ‘ภเวสี
อุบาสกผู้เป็นนายมีอุปการะมาก เป็นหัวหน้า เป็นผู้ชักชวนพวกเรา ภเวสีอุบาสกผู้
เป็นนาย จักโกนผมและหนวดนุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต
ไฉนพวกเราจักเป็นเช่นนั้นบ้างไม่ได้’ จึงได้พากันเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคพระนามว่า
กัสสปอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าถึงที่ประทับแล้วกราบทูลว่า ‘ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
ข้าพระองค์ทั้งหลายพึงได้บรรพชาพึงได้อุปสมบทในสำนักพระผู้มีพระภาค’
อุบาสก ๕๐๐ คนเหล่านั้นได้บรรพชาได้อุปสมบทในสำนักพระผู้มีพระภาค
พระนามว่ากัสสปอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้วแล
ต่อมา ภเวสีภิกษุได้มีความคิดดังนี้ว่า ‘เราเองเป็นผู้ได้วิมุตติสุขอันยอดเยี่ยมนี้
ตามความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ได้โดยไม่ลำบาก โอหนอ ภิกษุประมาณ ๕๐๐ รูป
แม้เหล่านี้ ก็พึงเป็นผู้ได้วิมุตติสุขอันยอดเยี่ยมนี้ ตามความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก
ได้โดยไม่ลำบาก’
คราวนั้นภิกษุ ๕๐๐ รูปเหล่านั้น ต่างเป็นผู้หลีกไปอยู่ผู้เดียว ไม่ประมาท
มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่ ไม่นานนัก ก็ทำให้แจ้งซึ่งประโยชน์ยอดเยี่ยม

เชิงอรรถ :
๑ ประโยชน์ยอดเยี่ยม ในที่นี้หมายถึงอรหัตตผล หรืออริยผลอันเป็นที่สุดแห่งมรรคพรหมจรรย์ (องฺ.ทุก.อ.
๒/๕/๗, ม.ม.อ. ๒/๘๒/๘๐)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๓๐๗ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์] ๓. อุปาสกวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค
อันเป็นที่สุดแห่งพรหมจรรย์ ที่กุลบุตรออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบ
ต้องการด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน ได้รู้ชัดว่า ‘ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบ
พรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป’
ภิกษุ ๕๐๐ รูปเหล่านั้นมีภเวสีภิกษุเป็นประมุข พยายามบำเพ็ญธรรมที่สูง ๆ
ขึ้นไป ประณีตขึ้นไป ได้ทำให้แจ้งซึ่งวิมุตติอันยอดเยี่ยม ด้วยประการฉะนี้
อานนท์ เพราะเหตุนั้นแล เธอทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า ‘เราทั้งหลาย
เมื่อพยายามบำเพ็ญธรรมที่สูง ๆ ขึ้นไป ประณีตขึ้นไป ก็จักทำให้แจ้งซึ่งวิมุตติอัน
ยอดเยี่ยม’ เธอทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้แล”
ภเวสีสูตรที่ ๑๐ จบ
อุปาสกวรรคที่ ๓ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. สารัชชสูตร ๒. วิสารทสูตร
๓. นิรยสูตร ๔. เวรสูตร
๕. จัณฑาลสูตร ๖. ปีติสูตร
๗. วณิชชาสูตร ๘. ราชสูตร
๙. คิหิสูตร ๑๐. ภเวสีสูตร


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๓๐๘ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์] ๔. อรัญญวรรค ๑. อารัญญิกสูตร
๔. อรัญญวรรค
หมวดว่าด้วยป่า
๑. อารัญญิกสูตร
ว่าด้วยภิกษุผู้อยู่ป่าเป็นวัตร
[๑๘๑] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้อยู่ป่าเป็นวัตร ๕
จำพวกนี้
ภิกษุผู้อยู่ป่าเป็นวัตร ๕ จำพวกไหนบ้าง คือ
๑. ภิกษุผู้อยู่ป่าเป็นวัตรเพราะโง่เขลา เพราะหลงงมงาย๑
๒. ภิกษุผู้มีความปรารถนาชั่ว ถูกความปรารถนาครอบงำ๒ จึงอยู่ป่า
เป็นวัตร
๓. ภิกษุผู้อยู่ป่าเป็นวัตรเพราะเป็นบ้า เพราะมีจิตฟุ้งซ่าน
๔. ภิกษุผู้อยู่ป่าเป็นวัตร เพราะรู้ว่า ‘เป็นวัตรที่พระพุทธเจ้าและสาวก
ของพระพุทธเจ้าทั้งหลายสรรเสริญ’
๕. ภิกษุผู้อยู่ป่าเป็นวัตร เพราะอาศัยความมักน้อย ความสันโดษ
ความขัดเกลา ความสงัด ความต้องการด้วยข้อปฏิบัติอันงามเช่นนี้
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้อยู่ป่าเป็นวัตร ๕ จำพวกนี้แล
ภิกษุทั้งหลาย บรรดาภิกษุผู้อยู่ป่าเป็นวัตร ๕ จำพวกนี้ ภิกษุผู้อยู่ป่า
เป็นวัตร เพราะอาศัยความมักน้อย ความสันโดษ ความขัดเกลา ความสงัด
ความต้องการด้วยข้อปฏิบัติอันงามเช่นนี้ เป็นผู้เลิศ เป็นผู้ประเสริฐ เป็นประธาน
เป็นผู้สูงสุด และเป็นผู้ประเสริฐสุด

เชิงอรรถ :
๑ เพราะโง่เขลา เพราะหลงงมงาย หมายถึงไม่รู้วิธีปฏิบัติสมาทาน และไม่รู้อานิสงส์แห่งการปฏิบัติ-
สมาทาน (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๑๘๑/๗๑)
๒ มีความปรารถนาชั่ว ถูกความปรารถนาครอบงำ หมายถึงมีความปรารถนาว่า เมื่อเราอยู่ป่า คนทั้งหลาย
ก็จักสักการะเราด้วยปัจจัย ๔ ด้วยคิดว่า ‘ภิกษุรูปนี้อยู่ป่าเป็นวัตร’ ทั้งจักยกย่องเราว่า ‘ภิกษุนี้เป็นลัชชี
ภิกษุนี้ชอบสงัด’ จึงอยู่ป่า (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๑๘๑/๗๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๓๐๙ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์] ๔. อรัญญวรรค ๒. จีวรสูตร
เปรียบเหมือนนมสดเกิดจากแม่โค นมส้มเกิดจากนมสด เนยข้นเกิดจาก
นมส้ม เนยใสเกิดจากเนยข้น หัวเนยใสเกิดจากเนยใส บรรดาโครส ๕ ชนิดนั้น
หัวเนยใส ชาวโลกกล่าวว่าเลิศ แม้ฉันใด
บรรดาภิกษุผู้อยู่ป่าเป็นวัตร ๕ จำพวกนี้ ภิกษุผู้อยู่ป่าเป็นวัตร เพราะอาศัย
ความมักน้อย ความสันโดษ ความขัดเกลา ความสงัด ความต้องการด้วยข้อ
ปฏิบัติอันงามเช่นนี้ เป็นผู้เลิศ เป็นผู้ประเสริฐ เป็นประธาน เป็นผู้สูงสุด และเป็นผู้
ประเสริฐสุด ฉันนั้นเหมือนกัน
อารัญญิกสูตรที่ ๑ จบ

๒. จีวรสูตร
ว่าด้วยภิกษุผู้ทรงผ้าบังสุกุลเป็นวัตร
[๑๘๒] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ทรงผ้าบังสุกุลเป็นวัตร ๕ จำพวกนี้
ภิกษุผู้ทรงผ้าบังสุกุลเป็นวัตร ๕ จำพวกไหนบ้าง คือ
๑. ภิกษุผู้ทรงผ้าบังสุกุลเป็นวัตร เพราะโง่เขลา เพราะหลงงมงาย
ฯลฯ๑
๕. ภิกษุผู้ทรงผ้าบังสุกุลเป็นวัตร เพราะอาศัยความมักน้อย ความ
สันโดษ ความขัดเกลา ความสงัด ความต้องการด้วยข้อปฏิบัติอัน
งามเช่นนี้
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ทรงผ้าบังสุกุลเป็นวัตร ๕ จำพวกนี้แล
จีวรสูตรที่ ๒ จบ

เชิงอรรถ :
๑ “ฯลฯ” ที่ปรากฏในสูตรที่ ๒-๙ ของวรรคนี้ มีความเต็มเหมือนสูตรที่ ๑ และสูตรที่ ๑๐

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๓๑๐ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์] ๔. อรัญญวรรค ๔. โสสานิกสูตร
๓. รุกขมูลิกสูตร
ว่าด้วยภิกษุผู้อยู่โคนไม้เป็นวัตร
[๑๘๓] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้อยู่โคนไม้เป็นวัตร ๕ จำพวกนี้
ภิกษุผู้อยู่โคนไม้เป็นวัตร ๕ จำพวกไหนบ้าง คือ
๑. ภิกษุผู้อยู่โคนไม้เป็นวัตร เพราะโง่เขลา เพราะหลงงมงาย
ฯลฯ
๕. ภิกษุผู้อยู่โคนไม้เป็นวัตร เพราะอาศัยความมักน้อย ความสันโดษ
ความขัดเกลา ความสงัด ความต้องการด้วยข้อปฏิบัติอันงามเช่นนี้
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้อยู่โคนไม้เป็นวัตร ๕ จำพวกนี้แล
รุกขมูลิกสูตรที่ ๓ จบ

๔. โสสานิกสูตร
ว่าด้วยภิกษุผู้อยู่ป่าช้าเป็นวัตร
[๑๘๔] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้อยู่ป่าช้าเป็นวัตร ๕ จำพวกนี้
ภิกษุผู้อยู่ป่าช้าเป็นวัตร ๕ จำพวกไหนบ้าง คือ
๑. ภิกษุผู้อยู่ป่าช้าเป็นวัตร เพราะโง่เขลา เพราะหลงงมงาย
ฯลฯ
๕. ภิกษุผู้อยู่ป่าช้าเป็นวัตร เพราะอาศัยความมักน้อย ความสันโดษ
ความขัดเกลา ความสงัด ความต้องการด้วยข้อปฏิบัติอันงามเช่นนี้
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้อยู่ป่าช้าเป็นวัตร ๕ จำพวกนี้แล
โสสานิกสูตรที่ ๔ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๓๑๑ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์] ๔. อรัญญวรรค ๘. เอกาสนิกสูตร
๕. อัพโภกาสิกสูตร
ว่าด้วยภิกษุผู้อยู่กลางแจ้งเป็นวัตร
[๑๘๕] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้อยู่กลางแจ้งเป็นวัตร ๕ จำพวกนี้
ฯลฯ
อัพโภกาสิกสูตรที่ ๕ จบ

๖. เนสัชชิกสูตร
ว่าด้วยภิกษุผู้นั่งเป็นวัตร
[๑๘๖] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้นั่งเป็นวัตร ๕ จำพวกนี้
ฯลฯ
เนสัชชิกสูตรที่ ๖ จบ

๗. ยถาสันถติกสูตร
ว่าด้วยภิกษุผู้อยู่ในเสนาสนะตามที่จัดไว้เป็นวัตร
[๑๘๗] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้อยู่ในเสนาสนะตามที่จัดไว้เป็นวัตร ๕ จำพวกนี้
ฯลฯ
ยถาสันถติกสูตรที่ ๗ จบ

๘. เอกาสนิกสูตร
ว่าด้วยภิกษุผู้นั่งฉันอาสนะเดียวเป็นวัตร
[๑๘๘] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้นั่งฉันอาสนะเดียวเป็นวัตร ๕ จำพวกนี้
ฯลฯ
เอกาสนิกสูตรที่ ๘ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๓๑๒ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์] ๔. อรัญญวรรค ๑๐. ปัตตปิณฑิกสูตร
๙. ขลุปัจฉาภัตติกสูตร
ว่าด้วยภิกษุผู้ห้ามภัตที่เขานำมาถวายภายหลังเป็นวัตร
[๑๘๙] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ห้ามภัตที่เขานำมาถวายภายหลังเป็นวัตร ๕
จำพวกนี้
ฯลฯ
ขลุปัจฉาภัตติกสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. ปัตตปิณฑิกสูตร
ว่าด้วยภิกษุผู้ฉันในบาตรเป็นวัตร
[๑๙๐] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ฉันในบาตรเป็นวัตร ๕ จำพวกนี้
ภิกษุผู้ฉันในบาตรเป็นวัตร ๕ จำพวกไหนบ้าง คือ
๑. ภิกษุผู้ฉันในบาตรเป็นวัตร เพราะโง่เขลา เพราะหลงงมงาย
๒. ภิกษุผู้มีความปรารถนาชั่ว ถูกความปรารถนาครอบงำ จึงเป็นผู้ฉัน
ในบาตรเป็นวัตร
๓. ภิกษุผู้ฉันในบาตรเป็นวัตร เพราะเป็นบ้า เพราะมีจิตฟุ้งซ่าน
๔. ภิกษุผู้ฉันในบาตรเป็นวัตร เพราะรู้ว่า ‘เป็นวัตรที่พระพุทธเจ้าและ
สาวกของพระพุทธเจ้าทั้งหลายสรรเสริญ’
๕. ภิกษุฉันในบาตรเป็นวัตร เพราะอาศัยความมักน้อย ความสันโดษ
ความขัดเกลา ความสงัด ความต้องการด้วยข้อปฏิบัติอันงามเช่นนี้
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ฉันในบาตรเป็นวัตร ๕ จำพวกนี้แล
ภิกษุทั้งหลาย บรรดาภิกษุผู้ฉันในบาตรเป็นวัตร ๕ จำพวกนี้ ภิกษุผู้ฉันใน
บาตรเป็นวัตร เพราะอาศัยความมักน้อย ความสันโดษ ความขัดเกลา ความสงัด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๓๑๓ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์] ๔. อรัญญวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค
ความต้องการด้วยข้อปฏิบัติอันงามเช่นนี้ เป็นผู้เลิศ เป็นผู้ประเสริฐ เป็นประธาน
เป็นผู้สูงสุด และเป็นผู้ประเสริฐสุด
เปรียบเหมือนนมสดเกิดจากแม่โค นมส้มเกิดจากนมสด เนยข้นเกิดจากนมส้ม
เนยใสเกิดจากเนยข้น หัวเนยใสเกิดจากเนยใส บรรดาโครส ๕ ชนิดนั้น หัวเนยใส
ชาวโลกกล่าวว่าเลิศ แม้ฉันใด
บรรดาภิกษุผู้ฉันในบาตรเป็นวัตร ๕ จำพวกนี้ ภิกษุผู้ฉันในบาตรเป็นวัตร
เพราะอาศัยความมักน้อย ความสันโดษ ความขัดเกลา ความสงัด ความต้องการ
ด้วยข้อปฏิบัติอันงามเช่นนี้ เป็นผู้เลิศ เป็นผู้ประเสริฐ เป็นประธาน เป็นผู้สูงสุด
และเป็นผู้ประเสริฐสุด
ปัตตปิณฑิกสูตรที่ ๑๐ จบ
อรัญญวรรคที่ ๔ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. อารัญญิกสูตร ๒. จีวรสูตร
๓. รุกขมูลิกสูตร ๔. โสสานิกสูตร
๕. อัพโภกาสิกสูตร ๖. เนสัชชิกสูตร
๗. ยถาสันถติกสูตร ๘. เอกาสนิกสูตร
๙. ขลุปัจฉาภัตติกสูตร ๑๐. ปัตตปิณฑิกสูตร


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๓๑๔ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์] ๕. พราหมณวรรค ๑. โสณสูตร
๕. พราหมณวรรค
หมวดว่าดัวยพราหมณ์
๑. โสณสูตร
ว่าด้วยธรรมของพราหมณ์เปรียบเทียบกับสุนัข
[๑๙๑] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย ธรรมของพราหมณ์ที่เก่าแก่
๕ ประการนี้ บัดนี้ ปรากฏในพวกสุนัข ไม่ปรากฏในพวกพราหมณ์
ธรรมของพราหมณ์ที่เก่าแก่ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ทราบว่า เมื่อก่อน พวกพราหมณ์สมสู่กับพราหมณีเท่านั้น ไม่สมสู่
กับหญิงที่ไม่ใช่พราหมณี แต่บัดนี้ พวกพราหมณ์สมสู่กับพราหมณี
บ้าง สมสู่กับหญิงที่ไม่ใช่พราหมณีบ้าง บัดนี้ พวกสุนัขสมสู่กับสุนัข
ตัวเมียเท่านั้น ไม่สมสู่กับสัตว์ตัวเมียที่ไม่ใช่สุนัข นี้เป็นธรรมของ
พราหมณ์ที่เก่าแก่ประการที่ ๑ บัดนี้ ปรากฏในพวกสุนัข ไม่ปรากฏ
ในพวกพราหมณ์
๒. ทราบว่า เมื่อก่อน พวกพราหมณ์สมสู่กับพราหมณีที่มีระดูเท่านั้น
ไม่สมสู่กับพราหมณีที่ไม่มีระดู แต่บัดนี้ พวกพราหมณ์สมสู่กับ
พราหมณีที่มีระดูบ้าง สมสู่กับพราหมณีที่ไม่มีระดูบ้าง บัดนี้
พวกสุนัขสมสู่กับสุนัขตัวเมียที่มีระดูเท่านั้น ไม่สมสู่กับสุนัขตัวเมีย
ที่ไม่มีระดู นี้เป็นธรรมของพราหมณ์ที่เก่าแก่ประการที่ ๒ บัดนี้
ปรากฏในพวกสุนัข ไม่ปรากฏในพวกพราหมณ์
๓. ทราบว่า เมื่อก่อน พวกพราหมณ์ไม่ซื้อไม่ขายพราหมณี ยังการอยู่
ร่วมกันให้เป็นไปด้วยความรักด้วยความผูกพัน แต่บัดนี้ พวก
พราหมณ์ซื้อบ้าง ขายบ้างซึ่งพราหมณี ยังการอยู่ร่วมกันให้เป็นไป
ด้วยความรักด้วยความผูกพัน บัดนี้ พวกสุนัขไม่ซื้อ ไม่ขายสุนัข
ตัวเมีย ยังการอยู่ร่วมกันให้เป็นไปด้วยความรักด้วยความผูกพัน
นี้เป็นธรรมของพราหมณ์ที่เก่าแก่ประการที่ ๓ บัดนี้ ปรากฏใน
พวกสุนัข ไม่ปรากฏในพวกพราหมณ์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๓๑๕ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์] ๕. พราหมณวรรค ๒. โทณพราหมณสูตร
๔. ทราบว่า เมื่อก่อน พวกพราหมณ์ไม่ทำการสะสมทรัพย์บ้าง
ข้าวเปลือกบ้าง เงินบ้าง ทองบ้าง แต่บัดนี้ พวกพราหมณ์ทำการ
สะสมทรัพย์บ้าง ข้าวเปลือกบ้าง เงินบ้าง ทองบ้าง บัดนี้ พวกสุนัข
ไม่ทำการสะสมทรัพย์บ้าง ข้าวเปลือกบ้าง เงินบ้าง ทองบ้าง นี้เป็น
ธรรมของพราหมณ์ที่เก่าแก่ประการที่ ๔ บัดนี้ ปรากฏในพวกสุนัข
ไม่ปรากฏในพวกพราหมณ์
๕. ทราบว่า เมื่อก่อน พวกพราหมณ์แสวงหาอาหารเย็น เพื่อกินใน
เวลาเย็น อาหารเช้าเพื่อกินในเวลาเช้า แต่บัดนี้ พวกพราหมณ์
บริโภคอาหารตามความต้องการจนอิ่มท้องแล้ว ถือเอาส่วนที่เหลือ
ไป บัดนี้ พวกสุนัขก็แสวงหาอาหารเย็น เพื่อกินในเวลาเย็น อาหาร
เช้าเพื่อกินในเวลาเช้า นี้เป็นธรรมของพราหมณ์ที่เก่าแก่ประการที่ ๕
บัดนี้ ปรากฏในพวกสุนัข ไม่ปรากฏในพวกพราหมณ์
ภิกษุทั้งหลาย ธรรมของพราหมณ์ที่เก่าแก่ ๕ ประการนี้แล บัดนี้ ปรากฏใน
พวกสุนัข ไม่ปรากฏในพวกพราหมณ์
โสณสูตรที่ ๑ จบ

๒. โทณพราหมณสูตร
ว่าด้วยโทณพราหมณ์
[๑๙๒] ครั้งนั้นแล โทณพราหมณ์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
ได้สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้วจึงนั่ง ณ ที่สมควร
ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ข้าแต่ท่านพระโคดม ข้าพระองค์ได้สดับมาดังนี้ว่า ‘พระสมณโคดม ไม่ไหว้
ไม่ลุกรับ หรือไม่เชื้อเชิญพราหมณ์ผู้แก่เฒ่า ผู้เป็นใหญ่ ล่วงกาลผ่านวัยมาแล้วตาม
ลำดับด้วยอาสนะ พระโคดมผู้เจริญ ข้อนี้เห็นจะเป็นอย่างนั้น เพราะท่านพระโคดม
ไม่ไหว้ ไม่ลุกรับ หรือไม่เชื้อเชิญพราหมณ์ผู้แก่เฒ่า เป็นผู้ใหญ่ ล่วงกาลผ่านวัยมา
แล้วตามลำดับด้วยอาสนะ ข้อนี้ไม่ดีเลย’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๓๑๖ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์] ๕. พราหมณวรรค ๒. โทณพราหมณสูตร
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “โทณะ แม้ท่านก็ปฏิญญาว่า เป็นพราหมณ์มิใช่หรือ”
โทณพราหมณ์กราบทูลว่า “ข้าแต่ท่านพระโคดม ผู้ใดเมื่อจะกล่าวให้ถูกต้อง
พึงกล่าวว่าเป็นพราหมณ์ ผู้มีชาติกำเนิดดีทั้งฝ่ายมารดาและฝ่ายบิดา ถือปฏิสนธิ
บริสุทธิ์ดีตลอดเจ็ดชั่วบรรพบุรุษ๑ ไม่มีใครจะคัดค้านตำหนิได้เพราะอ้างถึงชาติตระกูล
เป็นผู้คงแก่เรียน ทรงจำมนตร์ รู้จบไตรเพท๒ พร้อมทั้งนิฆัณฑุศาสตร์๓ เกฏุภศาสตร์๔
อักษรศาสตร์๕ และประวัติศาสตร์๖ เข้าใจตัวบทและไวยากรณ์ ชำนาญโลกายต-
ศาสตร์๗ และลักษณะมหาบุรุษ๘ ผู้นั้นเมื่อจะกล่าวให้ถูกต้อง พึงหมายถึงข้าพระองค์
ทีเดียว เพราะข้าพระองค์เป็นพราหมณ์ เป็นผู้มีชาติกำเนิดดีทั้งฝ่ายมารดาและฝ่าย
บิดา ถือปฏิสนธิบริสุทธิ์ดีตลอดเจ็ดชั่วบรรพบุรุษ ไม่มีใครจะคัดค้านตำหนิได้เพราะ

เชิงอรรถ :
๑ ดู เชิงอรรถที่ ๓ ข้อ ๑๓๔ (ยัสสังทิสังสูตร) หน้า ๒๑๖ ในเล่มนี้
๒ ไตรเภท หมายถึงคัมภีร์ คือ ฤคเวท (อิรุเวท) ยชุรเวท และสามเวท (องฺ.ติก.อ. ๒/๕๙/๑๖๓)
๓ นิฆัณฑุศาสตร์ หมายถึงวิชาว่าด้วยชื่อสิ่งของมีต้นไม้เป็นต้น (องฺ.ติก.อ. ๒/๕๙/๑๖๓) อีกนัยหนึ่งหมายถึง
คัมภีร์ประเภทศัพทมูลวิทยา (Etymology) คลังศัพท์ (Lexicon) หรืออภิธานศัพท์ (Glossary) ที่รวบรวม
คำศัพท์ในพระเวทซึ่งเป็นคำยาก หรือคำที่เลิกใช้แล้ว นำมาอธิบายความหมายเป็นส่วนหนึ่งของนิรุตติซึ่ง
เป็นหนึ่งในเวทางคศาสตร์ ๖ ของศาสนาพราหมณ์ ภาษาสันสกฤต เรียกว่า นิฆัณฏุ
๔ เกฏุภศาสตร์ หมายถึงตำราว่าด้วยวิชาการกวี การแต่งฉันท์ (องฺ.ติก.อ. ๒/๕๙/๑๖๓) อีกนัยหนึ่ง หมายถึง
คัมภีร์ว่าด้วยกฎเกณฑ์การใช้ถ้อยคำให้เหมาะสมแก่การประกอบพิธีกรรมต่าง ๆ เป็นส่วนหนึ่งของกัลปะ
ซึ่งเป็น ๑ ในบรรดาเวทางคศาสตร์ ๖ ของศาสนาพราหมณ์ ภาษาสันสกฤต เรียกว่า ไกฏภ
๕ อักษรศาสตร์ หมายถึงคัมภีร์ว่าด้วยสิกขา (การเปล่งเสียง, การออกเสียง) และนิรุตติ (การอธิบายคำศัพท์
โดยอาศัยประวัติและกำเนิดของคำ)
๖ ประวัติศาสตร์ หมายถึงพงศาวดารเล่าเรื่องเก่า ๆ มักจะมีคำว่า สิ่งนี้เป็นมาอย่างนี้ (ที.สี.อ. ๒๕๖/๒๒๒
และดู Dawson, John. A classical Dictionary of Hindu Mythology (London: Routledge and Kegen
Paul. 1957) P.222
๗ โลกายตศาสตร์ ในที่นี้หมายถึงวิตัณฑวาทศาสตร์ คือ ศิลปะแห่งการเอาชนะผู้อื่นในเชิงวาทศิลป์ โดยการ
อ้างทฤษฎี และประเพณีทางสังคมมาหักล้างสัจธรรม มุ่งแสดงให้เห็นว่าตนฉลาดกว่า มิได้มุ่งสัจธรรมแต่
อย่างใด (ที.สี.อ. ๒๕๖/๒๒๒)
๘ ลักษณะมหาบุรุษ หมายถึงศาสตร์ว่าด้วยลักษณะของบุคคลสำคัญมีพระพุทธเจ้าเป็นต้น อันมีอยู่ใน
คัมภีร์พราหมณ์ซึ่งเรียกว่า มนตร์ เฉพาะส่วนที่ว่าด้วยผู้เป็นพระพุทธเจ้า เรียกว่าพุทธมนตร์มีอยู่ ๑๖,๐๐๐
คาถา (ที.สี.อ. ๒๕๖/๒๒๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๓๑๗ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์] ๕. พราหมณวรรค ๒. โทณพราหมณสูตร
อ้างถึงชาติตระกูล เป็นผู้คงแก่เรียน ทรงจำมนตร์ รู้จบไตรเพท พร้อมทั้งนิฆัณฑุ-
ศาสตร์ เกฏุภศาสตร์ อักษรศาสตร์ และประวัติศาสตร์ เข้าใจตัวบทและไวยากรณ์
ชำนาญโลกายตศาสตร์ และลักษณะมหาบุรุษ”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “โทณะ บรรดาฤๅษีผู้เป็นบุรพาจารย์ของพวกพราหมณ์
คือ ฤๅษีอัฏฐกะ ฤๅษีวามกะ ฤๅษีวามเทวะ ฤๅษีเวสสามิตตะ ฤๅษียมทัคคิ
ฤๅษีอังคีรส ฤๅษีภารทวาชะ ฤๅษีวาเสฏฐะ ฤๅษีกัสสปะ ฤๅษีภคุ ซึ่งเป็นผู้ผูกมนตร์
บอกมนตร์ พวกพราหมณ์ในปัจจุบันนี้ขับตาม กล่าวตามซึ่งบทมนตร์ที่เก่าแก่นี้ที่
ท่านขับแล้ว บอกแล้ว รวบรวมไว้แล้ว กล่าวได้ถูกต้อง สาธยายได้ถูกต้อง บอกได้
ถูกต้อง ฤๅษีเหล่านั้นบัญญัติพราหมณ์ ๕ จำพวกนี้ไว้ คือ
๑. พราหมณ์ผู้เสมอด้วยพรหม
๒. พราหมณ์ผู้เสมอด้วยเทวดา
๓. พราหมณ์ผู้ประพฤติดี
๔. พราหมณ์ผู้ประพฤติทั้งดีและชั่ว
๕. พราหมณ์ผู้เป็นจัณฑาล
โทณะ ท่านเป็นพราหมณ์จำพวกไหน ใน ๕ จำพวกนั้น”
โทณพราหมณ์กราบทูลว่า “ข้าแต่ท่านพระโคดม ข้าพระองค์ไม่รู้จักพราหมณ์
๕ จำพวกนี้ รู้แต่ว่าเป็นพราหมณ์เท่านั้น ขอท่านพระโคดมโปรดแสดงธรรมแก่
ข้าพระองค์ โดยวิธีที่ข้าพระองค์จะพึงรู้จักพราหมณ์ ๕ จำพวกนี้ได้”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “โทณะ ถ้าเช่นนั้น ท่านจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจัก
กล่าว” โทณพราหมณ์ทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า
พราหมณ์ผู้เสมอด้วยพรหม เป็นอย่างไร
คือ พราหมณ์ในโลกนี้เป็นผู้มีชาติกำเนิดดีทั้งฝ่ายมารดาและฝ่ายบิดา ถือปฏิสนธิ
บริสุทธิ์ดีตลอดเจ็ดชั่วบรรพบุรุษ ไม่มีใครจะคัดค้านตำหนิได้เพราะอ้างถึงชาติตระกูล

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๓๑๘ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์] ๕. พราหมณวรรค ๒. โทณพราหมณสูตร
เขาประพฤติโกมารพรหมจรรย์๑เรียนมนตร์อยู่ตลอด ๔๘ ปี แสวงหาทรัพย์สำหรับ
บูชาอาจารย์เพื่ออาจารย์โดยชอบธรรมเท่านั้น ไม่แสวงหาโดยไม่ชอบธรรม
ความชอบธรรมในการแสวงหานั้น เป็นอย่างไร
คือ เขาไม่แสวงหาด้วยกสิกรรม ไม่แสวงหาด้วยพาณิชยกรรม(การค้าขาย)
ไม่แสวงหาด้วยโครักขกรรม(การเลี้ยงโค) ไม่แสวงหาด้วยการเป็นนักรบ ไม่แสวงหา
ด้วยการรับราชการ ไม่แสวงหาด้วยศิลปะอย่างใดอย่างหนึ่ง เขาถือกระเบื้องเที่ยว
ขอทานอย่างเดียว มอบทรัพย์สำหรับบูชาอาจารย์เพื่ออาจารย์แล้ว โกนผมและ
หนวด นุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์แล้วออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต เมื่อบวชแล้วอย่างนี้
มีเมตตาจิตแผ่ไปตลอดทิศที่ ๑ ทิศที่ ๒ ทิศที่ ๓ ทิศที่ ๔ ทิศเบื้องบน๒ ทิศเบื้องล่าง๓
ทิศเฉียง แผ่ไปตลอดโลกทั่วทุกหมู่เหล่า ในที่ทุกสถาน ด้วยเมตตาจิตอันไพบูลย์ เป็น
มหัคคตะ ไม่มีขอบเขต ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนอยู่ มีกรุณาจิต ฯลฯ
มีมุทิตาจิต ฯลฯ มีอุเบกขาจิตแผ่ไปตลอดทิศที่ ๑ ทิศที่ ๒ ทิศที่ ๓ ทิศที่ ๔ ทิศ
เบื้องบน ทิศเบื้องล่าง ทิศเฉียง แผ่ไปตลอดโลกทั่วทุกหมู่เหล่า ในที่ทุกสถาน ด้วย
อุเบกขาจิตอันไพบูลย์ เป็นมหัคคตะ ไม่มีขอบเขต ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนอยู่
เธอเจริญพรหมวิหาร ๔ ประการนี้แล หลังจากตายแล้วจึงไปเกิดในสุคติพรหมโลก
พราหมณ์ผู้เสมอด้วยพรหม เป็นอย่างนี้แล (๑)
พราหมณ์ผู้เสมอด้วยเทวดา เป็นอย่างไร
คือ พราหมณ์ในโลกนี้เป็นผู้มีชาติกำเนิดดีทั้งฝ่ายมารดาและฝ่ายบิดา ถือปฏิสนธิ
บริสุทธิ์ดีตลอดเจ็ดชั่วบรรพบุรุษ ไม่มีใครจะคัดค้านตำหนิได้เพราะอ้างถึงชาติตระกูล
เขาประพฤติโกมารพรหมจรรย์ เรียนมนตร์อยู่ตลอด ๔๘ ปี แสวงหาทรัพย์สำหรับ
บูชาอาจารย์เพื่ออาจารย์โดยชอบธรรมเท่านั้น ไม่แสวงหาโดยไม่ชอบธรรม

เชิงอรรถ :
๑ โกมารพรหมจรรย์ หมายถึงพรหมจรรย์ที่ประพฤติสืบต่อมาตั้งแต่ยังเป็นเด็ก (องฺ.ปญฺจก.ฏีกา ๓/๑๙๒/
๗๑)
๒ ทิศเบื้องบน หมายถึงเทวโลก (วิสุทธิ. มหาฏีกา ๑/๒๕๔/๔๓๕)
๓ ทิศเบื้องล่าง หมายถึงสัตว์นรก และนาค (วิสุทธิ.มหาฏีกา ๑/๒๕๔/๔๓๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๓๑๙ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์] ๕. พราหมณวรรค ๒. โทณพราหมณสูตร
ความชอบธรรมในการแสวงหานั้น เป็นอย่างไร
คือ เขาไม่แสวงหาด้วยกสิกรรม ไม่แสวงหาด้วยพาณิชยกรรม ไม่แสวงหา
ด้วยโครักขกรรม ไม่แสวงหาด้วยการเป็นนักรบ ไม่แสวงหาด้วยการรับราชการ
และไม่แสวงหาด้วยศิลปะอย่างใดอย่างหนึ่ง เขาถือกระเบื้องเที่ยวภิกขาจารอย่างเดียว
มอบทรัพย์สำหรับบูชาอาจารย์เพื่ออาจารย์แล้ว แสวงหาภรรยาโดยชอบธรรม ไม่
แสวงหาโดยไม่ชอบธรรม
ความชอบธรรมในการแสวงหานั้น เป็นอย่างไร
คือ เขาไม่แสวงหาด้วยการซื้อ ไม่แสวงหาด้วยการขาย แต่แสวงหาเฉพาะ
พราหมณีที่เขายกให้ด้วยการหลั่งน้ำ เขาสมสู่เฉพาะพราหมณี ไม่สมสู่กับสตรีชั้น
กษัตริย์ แพศย์ ศูทร จัณฑาล นายพราน ช่างสาน ช่างรถ คนขนขยะ สตรีมีครรภ์
สตรีมีลูกอ่อน สตรีหมดระดู เพราะเหตุไร พราหมณ์จึงไม่สมสู่กับสตรีมีครรภ์
เพราะถ้าพราหมณ์สมสู่กับสตรีมีครรภ์ มาณพหรือมาณวิกา ชื่อว่าเป็นผู้เกิดแต่กอง
อุจจาระ ฉะนั้น พราหมณ์จึงไม่สมสู่กับสตรีมีครรภ์ เพราะเหตุไร พราหมณ์จึง
ไม่สมสู่กับสตรีมีลูกอ่อน เพราะถ้าพราหมณ์สมสู่กับสตรีมีลูกอ่อน มาณพหรือ
มาณวิกาชื่อว่าเป็นผู้ดื่มของไม่สะอาด ฉะนั้น พราหมณ์จึงไม่สมสู่กับสตรีมีลูกอ่อน
พราหมณีนั้นเป็นพราหมณีของพราหมณ์ มิใช่เพราะต้องการความใคร่ มิใช่
เพราะต้องการความสนุก มิใช่เพราะต้องการความยินดี แต่เป็นพราหมณีของ
พราหมณ์ เพราะต้องการบุตรเท่านั้น พราหมณ์นั้นมีบุตรหรือธิดาแล้ว จึงปลงผม
และหนวด นุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์แล้วออกบวชเป็นบรรพชิต เขาบวชแล้วอย่างนี้
ก็สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุจตุตถฌานที่ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข มีสติบริสุทธิ์เพราะ
อุเบกขาอยู่ เธอเจริญฌานทั้ง ๔ ประการนี้แล หลังจากตายแล้วจะไปเกิดในสุคติ
โลกสวรรค์
พราหมณ์ผู้เสมอด้วยเทวดา เป็นอย่างนี้แล (๒)


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๓๒๐ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์] ๕. พราหมณวรรค ๒. โทณพราหมณสูตร
พราหมณ์ผู้มีความประพฤติดี เป็นอย่างไร
คือ พราหมณ์ในโลกนี้เป็นผู้มีชาติกำเนิดดีทั้งฝ่ายมารดาและฝ่ายบิดา ถือปฏิสนธิ
บริสุทธิ์ดีตลอดเจ็ดชั่วบรรพบุรุษ ไม่มีใครจะคัดค้านตำหนิได้เพราะอ้างถึงชาติตระกูล
เขาประพฤติโกมารพรหมจรรย์ เรียนมนตร์อยู่ ๔๘ ปี แสวงหาทรัพย์สำหรับบูชา
อาจารย์เพื่ออาจารย์โดยชอบธรรมเท่านั้น ไม่แสวงหาโดยไม่ชอบธรรม
ความชอบธรรมในการแสวงหานั้น เป็นอย่างไร
คือ เขาไม่แสวงหาด้วยกสิกรรม ไม่แสวงหาด้วยพาณิชยกรรม ไม่แสวงหา
ด้วยโครักขกรรม ไม่แสวงหาด้วยการเป็นนักรบ ไม่แสวงหาด้วยการรับราชการ
และไม่แสวงหาด้วยศิลปะอย่างใดอย่างหนึ่ง เขาถือกระเบื้องเที่ยวภิกขาจารอย่างเดียว
มอบทรัพย์สำหรับบูชาอาจารย์เพื่ออาจารย์แล้ว แสวงหาภรรยาโดยชอบธรรม
เท่านั้น ไม่แสวงหาโดยไม่ชอบธรรม
ความชอบธรรมในการแสวงหานั้น เป็นอย่างไร
คือ เขาไม่แสวงหาด้วยการซื้อ ไม่แสวงหาด้วยการขาย แต่แสวงหาเฉพาะ
พราหมณีที่เขายกให้ด้วยการหลั่งน้ำ เขาสมสู่เฉพาะพราหมณี ไม่สมสู่กับสตรีชั้น
กษัตริย์ แพศย์ ศูทร จัณฑาล นายพราน ช่างสาน ช่างรถ คนขนขยะ สตรีมีครรภ์
สตรีมีลูกอ่อน สตรีหมดระดู เพราะเหตุไร พราหมณ์จึงไม่สมสู่กับสตรีมีครรภ์
เพราะถ้าพราหมณ์สมสู่กับสตรีมีครรภ์ มาณพหรือมาณวิกาชื่อว่าเป็นผู้เกิดแต่กอง
อุจจาระ ฉะนั้น พราหมณ์จึงไม่สมสู่กับสตรีมีครรภ์ เพราะเหตุไร พราหมณ์จึงไม่
สมสู่กับสตรีมีลูกอ่อน เพราะถ้าพราหมณ์สมสู่กับสตรีมีลูกอ่อน มาณพหรือ
มาณวิกาชื่อว่าเป็นผู้ดื่มของไม่สะอาด ฉะนั้น พราหมณ์จึงไม่สมสู่กับสตรีมีลูกอ่อน
พราหมณีนั้นเป็นพราหมณีของพราหมณ์ มิใช่เพราะต้องการความใคร่ มิใช่
เพราะต้องการความสนุก มิใช่เพราะต้องการความยินดี แต่เป็นพราหมณีของ
พราหมณ์นั้น เพราะต้องการบุตรเท่านั้น พราหมณ์นั้นมีบุตรหรือธิดาแล้ว ปรารถนา
ความยินดีในบุตรหรือธิดานั้นแล ครอบครองทรัพย์สมบัติ ไม่ออกจากเรือนบวชเป็น
บรรพชิต ดำรงอยู่ในความประพฤติดีของพราหมณ์แต่ปางก่อน ไม่ล่วงละเมิดความ
ประพฤติดีนั้น เพราะเหตุดังนี้แล ชาวโลกจึงเรียกว่า พราหมณ์ผู้มีความประพฤติดี
พราหมณ์ผู้มีความประพฤติดี เป็นอย่างนี้แล (๓)


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๓๒๑ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์] ๕. พราหมณวรรค ๒. โทณพราหมณสูตร
พราหมณ์ผู้ประพฤติทั้งดีและชั่ว เป็นอย่างไร
คือ พราหมณ์ในโลกนี้เป็นผู้มีชาติกำเนิดดีทั้งฝ่ายมารดาและฝ่ายบิดา ถือปฏิสนธิ
บริสุทธิ์ดีตลอดเจ็ดชั่วบรรพบุรุษ ไม่มีใครคัดค้านตำหนิได้เพราะอ้างถึงชาติตระกูล
เขาประพฤติโกมารพรหมจรรย์ เรียนมนตร์อยู่ตลอด ๔๘ ปี แสวงหาทรัพย์สำหรับ
บูชาอาจารย์เพื่ออาจารย์โดยชอบธรรมเท่านั้น ไม่แสวงหาโดยไม่ชอบธรรม
ความชอบธรรมในการแสวงหานั้น เป็นอย่างไร
คือ เขาไม่แสวงหาด้วยกสิกรรม ไม่แสวงหาด้วยพาณิชยกรรม ไม่แสวงหา
ด้วยโครักขกรรม ไม่แสวงหาด้วยการเป็นนักรบ ไม่แสวงหาด้วยการรับราชการ
ไม่แสวงหาด้วยศิลปะอย่างใดอย่างหนึ่ง เขาถือกระเบื้องเที่ยวภิกขาจารอย่างเดียว
มอบทรัพย์สำหรับบูชาอาจารย์เพื่ออาจารย์แล้ว แสวงหาภรรยาโดยชอบธรรมบ้าง
ไม่ชอบธรรมบ้าง แสวงหาด้วยการซื้อบ้าง แสวงหาด้วยการขายบ้าง แสวงหา
พราหมณีที่เขายกให้ด้วยการหลั่งน้ำบ้าง สมสู่กับพราหมณีบ้าง สตรีชั้นกษัตริย์บ้าง
แพศย์บ้าง ศูทรบ้าง จัณฑาลบ้าง นายพรานบ้าง ช่างสานบ้าง ช่างรถบ้าง
คนขนขยะบ้าง สตรีมีครรภ์บ้าง สตรีมีลูกอ่อนบ้าง สตรีมีระดูบ้าง สตรีหมด
ระดูบ้าง พราหมณีนั้นเป็นพราหมณีของพราหมณ์เพราะต้องการความใคร่บ้าง
เพราะต้องการความสนุกบ้าง เพราะต้องการความยินดีบ้าง เพราะต้องการบุตร
บ้าง พราหมณ์ไม่ดำรงอยู่ในความประพฤติดีของพราหมณ์แต่ปางก่อน ล่วงละเมิด
ความประพฤตินั้น เพราะเหตุดังนี้แล ชาวโลกจึงเรียกว่า พราหมณ์ผู้มีความประพฤติ
ทั้งดีและชั่ว
พราหมณ์ผู้ประพฤติทั้งดีและชั่ว เป็นอย่างนี้แล (๔)
พราหมณ์ผู้เป็นจัณฑาล เป็นอย่างไร
คือ พราหมณ์ในโลกนี้เป็นผู้มีชาติกำเนิดดีทั้งฝ่ายมารดาและฝ่ายบิดา ถือปฏิสนธิ
บริสุทธิ์ดีตลอดเจ็ดชั่วบรรพบุรุษ ไม่มีใครจะคัดค้านตำหนิได้เพราะอ้างถึงชาติตระกูล
เขาประพฤติโกมารพรหมจรรย์ เรียนมนตร์อยู่ ๔๘ ปี แสวงหาทรัพย์สำหรับบูชา


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๓๒๒ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์] ๕. พราหมณวรรค ๒. โทณพราหมณสูตร
อาจารย์เพื่ออาจารย์โดยชอบธรรมบ้าง ไม่ชอบธรรมบ้าง แสวงหาด้วยกสิกรรมบ้าง
แสวงหาด้วยพาณิชยกรรมบ้าง แสวงหาด้วยโครักขกรรมบ้าง แสวงหาด้วยการเป็น
นักรบบ้าง แสวงหาด้วยการรับราชการบ้าง แสวงหาด้วยศิลปะอย่างใดอย่างหนึ่งบ้าง
ถือกระเบื้องเที่ยวภิกขาจารบ้าง เขามอบทรัพย์สำหรับบูชาอาจารย์เพื่ออาจารย์แล้ว
แสวงหาภรรยาโดยชอบธรรมบ้าง ไม่ชอบธรรมบ้าง แสวงหาด้วยการซื้อบ้าง
แสวงหาด้วยการขายบ้าง แสวงหาพราหมณีที่เขายกให้ด้วยการหลั่งน้ำบ้าง สมสู่
กับพราหมณีบ้าง สตรีชั้นกษัตริย์บ้าง แพศย์บ้าง ศูทรบ้าง จัณฑาลบ้าง นายพราน
บ้าง ช่างสานบ้าง ช่างรถบ้าง คนขนขยะบ้าง สตรีมีครรภ์บ้าง สตรีมีลูกอ่อนบ้าง
สตรีมีระดูบ้าง สตรีหมดระดูบ้าง พราหมณีนั้นเป็นพราหมณีของพราหมณ์เพราะ
ต้องการความใคร่บ้าง เพราะต้องการความสนุกบ้าง เพราะต้องการความยินดีบ้าง
เพราะต้องการบุตรบ้าง เขาเลี้ยงชีพด้วยการงานทุกอย่าง พวกพราหมณ์ได้กล่าวกับ
เขาอย่างนี้ว่า ‘ท่านปฏิญญาว่าเป็นพราหมณ์ ผู้เจริญ เพราะเหตุไร จึงเลี้ยงชีพด้วย
การงานทุกอย่าง’ เขาตอบอย่างนี้ว่า ‘ท่านผู้เจริญ เปรียบเสมือนไฟไหม้ของสะอาด
บ้าง ไม่สะอาดบ้าง แต่ไฟไม่ยึดติดกับสิ่งนั้น แม้ฉันใด ถึงแม้พราหมณ์เลี้ยงชีพด้วย
การงานทุกอย่างก็จริง แต่พราหมณ์ก็ไม่ยึดติดกับการงานนั้น ฉันนั้นเหมือนกัน
พราหมณ์จึงเลี้ยงชีพด้วยการงานทุกอย่าง’ เพราะเหตุดังนี้แล ชาวโลกจึงเรียกว่า
พราหมณ์ผู้เป็นจัณฑาล
พราหมณ์ผู้เป็นจัณฑาล เป็นอย่างนี้แล (๕)
โทณะ บรรดาฤๅษีผู้เป็นบุรพาจารย์ของพวกพราหมณ์ คือ ฤๅษีอัฏฐกะ ฤๅษี
วามกะ ฤๅษีวามเทวะ ฤๅษีเวสสามิตตะ ฤๅษียมทัคคิ ฤๅษีอังคีรส ฤๅษีภารทวาชะ
ฤๅษีวาเสฏฐะ ฤๅษีกัสสปะ ฤๅษีภคุ ซึ่งเป็นผู้ผูกมนตร์ บอกมนตร์ พวกพราหมณ์ใน
ปัจุบันนี้ขับตาม กล่าวตามซึ่งบทมนตร์ที่เก่าแก่นี้ ที่ท่านขับแล้ว บอกแล้ว รวบรวม
ไว้แล้ว กล่าวได้ถูกต้อง สาธยายได้ถูกต้อง บอกได้ถูกต้อง ฤๅษีเหล่านั้นบัญญัติ
พราหมณ์ ๕ จำพวกนี้ไว้ คือ
๑. พราหมณ์ผู้เสมอด้วยพรหม
๒. พราหมณ์ผู้เสมอด้วยเทวดา
๓. พราหมณ์ผู้ประพฤติดี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๓๒๓ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์] ๕. พราหมณวรรค ๓. สังคารวสูตร
๔. พราหมณ์ผู้ประพฤติทั้งดีและชั่ว
๕. พราหมณ์ผู้เป็นจัณฑาล
โทณะ บรรดาพราหมณ์ ๕ จำพวกนั้น ท่านเป็นพราหมณ์จำพวกไหน”
โทณพราหมณ์กราบทูลว่า “ข้าแต่ท่านพระโคดม เมื่อเป็นเช่นนี้ แม้แต่พราหมณ์
ผู้เป็นจัณฑาล ข้าพระองค์ยังให้บริบูรณ์ไม่ได้เลย ข้าแต่ท่านพระโคดม ภาษิตของ
ท่านพระโคดมชัดเจนไพเราะยิ่งนัก ฯลฯ ขอท่านพระโคดมจงทรงจำข้าพระองค์ว่า
เป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะ ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปจนตลอดชีวิตเถิด”
โทณพราหมณสูตรที่ ๒ จบ

๓. สังคารวสูตร
ว่าด้วยสังคารวพราหมณ์
[๑๙๓] ครั้งนั้นแล สังคารวพราหมณ์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
ได้สนทนาปราศัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้วจึงนั่ง ณ ที่สมควร
ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า “ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ อะไรหนอเป็นเหตุปัจจัย
ให้มนตร์แม้ที่สาธยายมาเป็นเวลานาน ก็ไม่แจ่มแจ้งได้ในกาลบางคราว ไม่จำเป็น
ต้องพูดถึงมนตร์ที่ไม่ได้สาธยายเลย และอะไรเป็นเหตุปัจจัยให้มนตร์แม้ที่ไม่ได้
สาธยายมาเป็นเวลานาน ก็แจ่มแจ้งได้ในกาลบางคราว ไม่จำเป็นต้องพูดถึงมนตร์
ที่ได้สาธยายเลย”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
๑. สมัยใด บุคคลมีใจถูกกามราคะกลุ้มรุม ถูกกามราคะครอบงำอยู่
และไม่รู้ชัดตามความเป็นจริงซึ่งธรรมที่สลัด๑กามราคะที่เกิดขึ้นแล้ว

เชิงอรรถ :
๑ ธรรมที่สลัด มี ๓ ประการ คือ (๑) ธรรมที่สลัดด้วยการข่มไว้ หมายถึงปฐมฌานที่มีอสุภกัมมัฏฐานเป็น
อารมณ์ (๒) ธรรมที่สลัดด้วยองค์นั้น หมายถึงวิปัสสนากัมมัฏฐาน (๓) ธรรมที่สลัดด้วยการถอนขึ้น
หมายถึงอรหัตตมรรค (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๑๙๓/๗๓-๗๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๓๒๔ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์] ๕. พราหมณวรรค ๓. สังคารวสูตร
สมัยนั้น บุคคลย่อมไม่รู้ ย่อมไม่เห็นตามความเป็นจริงซึ่งประโยชน์
ตน๑ ประโยชน์ผู้อื่น และประโยชน์ทั้ง ๒ ฝ่าย มนตร์แม้ที่สาธยาย
มาเป็นเวลานาน ก็ไม่แจ่มแจ้งได้ ไม่จำเป็นต้องพูดถึงมนตร์ที่ไม่
ได้สาธยายเลย
เปรียบเหมือนภาชนะที่เต็มด้วยน้ำซึ่งระคนด้วยครั่ง ขมิ้น สี
เขียว หรือสีเหลืองอ่อน คนมีตาดีมองดูเงาหน้าของตนในภาชนะ
ที่เต็มด้วยน้ำนั้น ไม่พึงรู้ ไม่พึงเห็นตามความเป็นจริง แม้ฉันใด
สมัยใด บุคคลมีจิตถูกกามราคะกลุ้มรุม ถูกกามราคะครอบงำ
อยู่ และไม่รู้ชัดตามความเป็นจริงซึ่งธรรมที่สลัดกามราคะที่เกิดขึ้นแล้ว
สมัยนั้น บุคคลย่อมไม่รู้ย่อมไม่เห็นตามความเป็นจริงแม้ซึ่ง
ประโยชน์ตน ประโยชน์ผู้อื่น และประโยชน์ทั้ง ๒ ฝ่าย มนตร์แม้ที่
สาธยายมาเป็นเวลานาน ก็ไม่แจ่มแจ้งได้ ไม่จำเป็นต้องพูดถึง
มนตร์ที่ไม่ได้สาธยายเลย ฉันนั้นเหมือนกัน
๒. สมัยใด บุคคลมีจิตถูกพยาบาทกลุ้มรุม ถูกพยาบาทครอบงำอยู่
และไม่รู้ชัดตามความเป็นจริงซึ่งธรรมที่สลัดพยาบาทที่เกิดขึ้นแล้ว
ฯลฯ มนตร์แม้ที่สาธยายมาเป็นเวลานาน ก็ไม่แจ่มแจ้งได้ ไม่จำเป็น
ต้องพูดถึงมนตร์ที่ไม่ได้สาธยายเลย
เปรียบเหมือนภาชนะที่เต็มด้วยน้ำร้อนเพราะไฟ เดือดพล่าน
เป็นไอ คนมีตาดี มองดูเงาหน้าของตนในภาชนะที่เต็มด้วยน้ำนั้น
ไม่พึงรู้ไม่พึงเห็นตามความเป็นจริง แม้ฉันใด
สมัยใด บุคคลมีจิตถูกพยาบาทกลุ้มรุม ถูกพยาบาทครอบงำอยู่
และไม่รู้ชัดตามความเป็นจริงซึ่งธรรมที่สลัดพยาบาทที่เกิดขึ้นแล้ว
ฯลฯ มนตร์แม้ที่สาธยายมาเป็นเวลานาน ก็ไม่แจ่มแจ้งได้ ไม่จำเป็น
ต้องพูดถึงมนตร์ที่ไม่ได้สาธยายเลย ฉันนั้นเหมือนกัน

เชิงอรรถ :
๑ ประโยชน์ตน ในที่นี้หมายถึงอรหัตตผล (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๑๙๓/๗๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๓๒๕ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์] ๕. พราหมณวรรค ๓. สังคารวสูตร
๓. สมัยใด บุคคลมีจิตถูกถีนมิทธะกลุ้มรุม ถูกถีนมิทธะครอบงำอยู่
และไม่รู้ชัดตามความเป็นจริงซึ่งธรรมที่สลัดถีนมิทธะที่เกิดขึ้นแล้วฯลฯ
มนตร์แม้ที่สาธยายมาเป็นเวลานาน ก็ไม่แจ่มแจ้งได้ ไม่จำเป็นต้อง
พูดถึงมนตร์ที่ไม่ได้สาธยายเลย
เปรียบเหมือนภาชนะที่เต็มด้วยน้ำถูกสาหร่ายและแหนปกคลุม
ไว้แล้ว คนมีตาดีมองดูเงาหน้าของตนในภาชนะที่เต็มด้วยน้ำนั้น
ไม่พึงรู้ ไม่พึงเห็นตามความเป็นจริง แม้ฉันใด
สมัยใด บุคคลมีจิตถูกถีนมิทธะกลุ้มรุม ถูกถีนมิทธะครอบงำ
อยู่ และไม่รู้ชัดตามความเป็นจริงซึ่งธรรมที่สลัดถีนมิทธะที่เกิดขึ้นแล้ว
ฯลฯ มนตร์แม้ที่สาธยายมาเป็นเวลานานก็ไม่แจ่มแจ้งได้ ไม่จำเป็น
ต้องพูดถึงมนตร์ที่ไม่ได้สาธยายเลย ฉันนั้นเหมือนกัน
๔. สมัยใด บุคคลมีจิตถูกอุทธัจจกุกกุจจะกลุ้มรุม ถูกอุทธัจจกุกกุจจะ
ครอบงำอยู่ และไม่รู้ชัดตามความเป็นจริงซึ่งธรรมที่สลัดอุทธัจจ-
กุกกุจจะที่เกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ มนตร์แม้ที่สาธยายมาเป็นเวลานานก็
ไม่แจ่มแจ้งได้ ไม่จำเป็นต้องพูดถึงมนตร์ที่ไม่ได้สาธยายเลย
เปรียบเหมือนภาชนะที่เต็มด้วยน้ำ ถูกลมพัด ไหววนเป็นคลื่น
คนมีตาดีมองดูเงาหน้าของตนในภาชนะที่เต็มด้วยน้ำนั้น ไม่พึงรู้
ไม่พึงเห็นตามความเป็นจริง แม้ฉันใด
สมัยใด บุคคลมีใจถูกอุทธัจจกุกกุจจะกลุ้มรุม ถูกอุทธัจจ-
กุกกุจจะครอบงำอยู่ และไม่รู้ชัดตามความเป็นจริงซึ่งธรรมที่สลัด
อุทธัจจกุกกุจจะที่เกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ มนตร์แม้ที่สาธยายมาเป็นเวลา
นานก็ไม่แจ่มแจ้งได้ ไม่จำเป็นต้องพูดถึงมนตร์ต์ที่ไม่ได้ สาธยายเลย
ฉันนั้นเหมือนกัน
๕. สมัยใด บุคคลมีจิตถูกวิจิกิจฉากลุ้มรุม ถูกวิจิกิจฉาครอบงำอยู่
และไม่รู้ชัดตามความเป็นจริงซึ่งธรรมที่สลัดวิจิกิจฉาที่เกิดขึ้นแล้ว
ฯลฯ มนตร์แม้ที่สาธยายมาเป็นเวลานาน ก็ไม่แจ่มแจ้งได้ ไม่จำ
เป็นต้องพูดถึงมนตร์ที่ไม่ได้สาธยายเลย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๓๒๖ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์] ๕. พราหมณวรรค ๓. สังคารวสูตร
เปรียบเหมือนภาชนะที่เต็มด้วยน้ำขุ่นมัว เป็นตม ที่เขาวางไว้
ในที่มืด คนมีตาดี มองดูเงาหน้าของตนในภาชนะที่เต็มด้วยน้ำนั้น
ไม่พึงรู้ ไม่พึงเห็นตามความเป็นจริง แม้ฉันใด
สมัยใด บุคคลมีจิตถูกวิจิกิจฉากลุ้มรุม ถูกวิจิกิจฉาครอบงำ
อยู่ และไม่รู้ชัดตามเป็นจริงซึ่งธรรมที่สลัดวิจิกิจฉาที่เกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ
มนตร์แม้ที่สาธยายมาเป็นเวลานาน ก็ไม่แจ่มแจ้งได้ ไม่จำเป็นต้อง
พูดถึงมนตร์ที่ไม่สาธยายเลย ฉันนั้นเหมือนกัน
พราหมณ์ แต่
๑. สมัยใด บุคคลมีจิตไม่ถูกกามราคะกลุ้มรุม ไม่ถูกกามราคะครอบงำ
อยู่ และรู้ชัดตามความเป็นจริงซึ่งธรรมที่สลัดกามราคะที่เกิดขึ้นแล้ว
สมัยนั้น บุคคลย่อมรู้ ย่อมเห็นตามความเป็นจริงแม้ซึ่งประโยชน์ตน
ประโยชน์ผู้อื่น และประโยชน์ทั้ง ๒ ฝ่าย มนตร์แม้ที่ไม่สาธยายมา
เป็นเวลานานก็แจ่มแจ้งได้ ไม่จำเป็นต้องพูดถึงมนตร์ที่สาธยายเลย
เปรียบเหมือนภาชนะที่เต็มด้วยน้ำซึ่งไม่ระคนด้วยครั่ง ขมิ้น
สีเขียวหรือสีเหลืองอ่อน คนมีตาดีมองดูเงาหน้าของตนในภาชนะ
ที่เต็มด้วยน้ำนั้น พึงรู้พึงเห็นตามความเป็นจริง แม้ฉันใด
สมัยใด บุคคลมีจิตไม่ถูกกามราคะกลุ้มรุม ไม่ถูกกามราคะ
ครอบงำอยู่ และรู้ชัดตามความเป็นจริงซึ่งธรรมที่สลัดกามราคะที่
เกิดขึ้นแล้ว สมัยนั้น บุคคลย่อมรู้ ย่อมเห็นตามความเป็นจริง
แม้ซึ่งประโยชน์ตน ประโยชน์ผู้อื่นและประโยชน์ทั้ง ๒ ฝ่าย มนตร์
แม้ที่ไม่สาธยายมาเป็นเวลานาน ก็แจ่มแจ้งได้ ไม่จำเป็นต้อง พูดถึง
มนตร์ที่สาธยายเลย ฉันนั้นเหมือนกัน
๒. สมัยใด บุคคลมีจิตไม่ถูกพยาบาทกลุ้มรุม ไม่ถูกพยาบาทครอบงำ
อยู่ และรู้ชัดตามความเป็นจริงซึ่งธรรมที่สลัดพยาบาทที่เกิดขึ้นแล้ว
ฯลฯ มนตร์แม้ที่ไม่สาธยายมาเป็นเวลานาน ก็แจ่มแจ้งได้ ไม่
จำเป็นต้องพูดถึงมนตร์ที่สาธยายเลย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๓๒๗ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์] ๕. พราหมณวรรค ๓. สังคารวสูตร
เปรียบเหมือนภาชนะที่เต็มด้วยน้ำ ไม่ร้อนเพราะไฟ ไม่เดือด
พล่าน ไม่เป็นไอ คนผู้มีตาดีมองดูเงาหน้าของตนในภาชนะที่เต็ม
ด้วยน้ำนั้น พึงรู้ พึงเห็นตามความเป็นจริง แม้ฉันใด
สมัยใด บุคคลมีจิตไม่ถูกพยาบาทกลุ้มรุม ไม่ถูกพยาบาท
ครอบงำอยู่ และรู้ชัดตามความเป็นจริงซึ่งธรรมที่สลัดพยาบาทที่เกิด
ขึ้นแล้ว ฯลฯ มนตร์แม้ที่ไม่สาธยายมาเป็นเวลานานก็แจ่มแจ้งได้
ไม่จำเป็นต้องพูดถึงมนตร์ที่สาธยายเลย ฉันนั้น เหมือนกัน
๓. สมัยใด บุคคลมีจิตไม่ถูกถีนมิทธะกลุ้มรุม ไม่ถูกถีนมิทธะครอบงำ
อยู่ และรู้ชัดตามความเป็นจริงซึ่งธรรมที่สลัดถีนมิทธะที่เกิดขึ้นแล้ว
ฯลฯ มนตร์แม้ที่ไม่สาธยายมาเป็นเวลานานก็แจ่มแจ้งได้ ไม่จำเป็น
ต้องพูดถึงมนตร์ที่สาธยายเลย
เปรียบเหมือนภาชนะที่เต็มด้วยน้ำ ไม่ถูกสาหร่ายและแหน
ปกคลุมแล้ว คนผู้มีตาดีมองดูเงาหน้าของตนในภาชนะที่เต็มด้วย
น้ำนั้น พึงรู้ พึงเห็นตามความเป็นจริง แม้ฉันใด
สมัยใด บุคคลมีจิตไม่ถูกถีนมิทธะกลุ้มรุม ไม่ถูกถีนมิทธะ
ครอบงำอยู่ และรู้ชัดตามความเป็นจริงซึ่งธรรมที่สลัดถีนมิทธะ
ที่เกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ มนตร์แม้ที่ไม่สาธยายมาเป็นเวลานาน
ก็แจ่มแจ้งได้ ไม่จำเป็นต้องพูดถึงมนตร์ที่สาธยายเลย ฉันนั้น
เหมือนกัน
๔. สมัยใด บุคคลมีจิตไม่ถูกอุทธัจจกุกกุจจะกลุ้มรุม ไม่ถูกอุทธัจจ-
กุกกุจจะครอบงำอยู่ และรู้ชัดตามความเป็นจริงซึ่งธรรมที่สลัด
อุทธัจจกุกกุจจะที่เกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ มนตร์แม้ที่ไม่สาธยายมาเป็น
เวลานานก็แจ่มแจ้งได้ ไม่จำเป็นต้องพูดถึงมนตร์ที่สาธยายเลย
เปรียบเหมือนภาชนะที่เต็มด้วยน้ำ ไม่ถูกลมพัด ก็ไม่ไหว
ไม่วน ไม่เป็นคลื่น คนผู้มีตาดีมองดูเงาหน้าของตนในภาชนะที่
เต็มด้วยน้ำนั้น พึงรู้ พึงเห็นตามความเป็นจริง แม้ฉันใด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๓๒๘ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์] ๕. พราหมณวรรค ๓. สังคารวสูตร
สมัยใด บุคคลมีจิตไม่ถูกอุทธัจจกุกกุจจะกลุ้มรุม ไม่ถูก
อุทธัจจกุกกุจจะครอบงำอยู่ และรู้ชัดตามความเป็นจริงซึ่งธรรมที่
สลัดอุทธัจจกุกกุจจะที่เกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ มนตร์แม้ที่ไม่สาธยายมา
เป็นเวลานานก็แจ่มแจ้งได้ ไม่จำเป็นต้องพูดถึงมนตร์ที่สาธยายเลย
ฉันนั้นเหมือนกัน
๕. สมัยใด บุคคลมีจิตไม่ถูกวิจิกิจฉากลุ้มรุม ไม่ถูกวิจิกิจฉาครอบงำอยู่
และรู้ชัดตามความเป็นจริงซึ่งธรรมที่สลัดวิจิกิจฉาที่เกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ
มนตร์แม้ที่ไม่สาธยายมาเป็นเวลานาน ก็แจ่มแจ้งได้ ไม่จำเป็นต้องพูด
ถึงมนตร์ที่สาธยายเลย
เปรียบเหมือนภาชนะที่เต็มด้วยน้ำใส ไม่ขุ่นมัว ที่เขาวางไว้ใน
ที่แจ้ง คนผู้มีตาดีมองดูเงาหน้าของตนในภาชนะที่เต็มด้วยน้ำนั้น
พึงรู้ พึงเห็นตามความเป็นจริง แม้ฉันใด
สมัยใด บุคคลมีจิตไม่ถูกวิจิกิจฉากลุ้มรุม ไม่ถูกวิจิกิจฉา
ครอบงำอยู่ และรู้ชัดตามความเป็นจริงซึ่งธรรมที่สลัดวิจิกิจฉาที่เกิด
ขึ้นแล้ว ฯลฯ มนตร์แม้ที่ไม่สาธยายมาเป็นเวลานาน ก็แจ่มแจ้งได้
ไม่จำเป็นต้องพูดถึงมนตร์ที่สาธยายเลย ฉันนั้น เหมือนกัน
พราหมณ์ นี้แลเป็นเหตุปัจจัยให้มนตร์แม้ที่สาธยายมาเป็นเวลานาน ก็ไม่แจ่ม
แจ้งได้ในกาลบางคราว ไม่จำเป็นต้องพูดถึงมนตร์ที่ไม่ได้สาธยายเลย และนี้แลเป็น
เหตุปัจจัยให้มนตร์แม้ที่ไม่ได้สาธยายมาเป็นเวลานาน ก็แจ่มแจ้งได้ในกาลบางคราว
ไม่จำเป็นต้องพูดถึงมนตร์ที่ได้สาธยายเลย
สังคารวพราหมณ์กราบทูลว่า “ข้าแต่ท่านพระโคดม ภาษิตของท่านพระโคดม
ชัดเจน ไพเราะยิ่งนัก ขอท่านพระโคดมจงทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะ
ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปจนตลอดชีวิตเถิด”
สังคารวสูตรที่ ๓ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๓๒๙ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์] ๕. พราหมณวรรค ๔. การณปาลีสูตร
๔. การณปาลีบุตร
ว่าด้วยพราหมณ์ชื่อการณปาลี
[๑๙๔] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ กูฏาคารศาลา ป่ามหาวัน
เขตกรุงเวสาลี สมัยนั้น การณปาลีพราหมณ์ใช้คนให้ทำการงาน๑ของเจ้าลิจฉวีอยู่
ได้เห็นปิงคิยานีพราหมณ์๒เดินมาแต่ไกล จึงถามว่า “ท่านปิงคิยานีพราหมณ์มา
จากไหนแต่ยังวัน๓”
ปิงคิยานีพราหมณ์ตอบว่า “ข้าพเจ้ามาจากสำนักพระสมณโคดม”
การณปาลีพราหมณ์ถามว่า “ท่านปิงคิยานีเข้าใจเรื่องนั้นอย่างไร คือ เข้าใจ
ความแจ่มชัดแห่งปัญญาของพระสมณโคดมว่า ‘เป็นบัณฑิต’ ได้หรือไม่”
ปิงคิยานีพราหมณ์ตอบว่า “ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าเป็นใคร จักรู้ความแจ่มชัด
แห่งปัญญาของพระสมณโคดมเพราะเหตุไร ผู้ที่เป็นเช่นเดียวกับพระสมณโคดม
เท่านั้นจึงจะรู้ความแจ่มชัดแห่งปัญญาของพระสมณโคดม”
การณปาลีกล่าวว่า “ท่านปิงคิยานีช่างสรรเสริญพระสมณโคดมยิ่งนัก”
ปิงคิยานีพราหมณ์กล่าวว่า “ข้าพเจ้าเป็นใคร และจักสรรเสริญพระสมณโคดม
เพราะหตุไร และท่านพระสมณโคดมพระองค์นั้นเป็นผู้อันชาวโลกสรรเสริญ เป็นผู้
ประเสริฐที่สุดกว่าเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย”
การณปาลีพราหมณ์ถามว่า “ท่านปิงคิยานีเห็นอำนาจประโยชน์อะไร จึง
เลื่อมใสยิ่งนักในพระสมณโคดมอย่างนี้”

เชิงอรรถ :
๑ ให้ทำการงาน หมายถึงให้สร้างประตู ป้อม และกำแพงที่ยังไม่ได้สร้าง และหมายถึงให้ซ่อมแซมประตู ป้อม
และกำแพงที่เก่าคร่ำคร่า (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๑๙๔/๗๕)
๒ ปิงคิยานีพราหมณ์ คือพราหมณ์ผู้เป็นอริยสาวก ผู้บรรลุอนาคามิผล เล่ากันว่า พราหมณ์ผู้นี้ทำกิจวัตร
ประจำวันโดยการนำของหอม ระเบียบ ดอกไม้ไปบูชาพระศาสดาเป็นประจำ (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๑๙๔/๗๕)
๓ แต่ยังวัน (ทิวา ทิวสฺส) หมายถึงในเวลาเที่ยงวัน (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๑๙๔/๗๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๓๓๐ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์] ๕. พราหมณวรรค ๔. การณปาลีสูตร
ปิงคิยานีพราหมณ์ตอบว่า
ท่านผู้เจริญ
๑. บุคคลฟังธรรมของท่านพระสมณโคดมพระองค์นั้น โดยลักษณะใด ๆ
คือ โดยสุตตะ เคยยะ เวยยากรณะ หรืออัพภูตธรรมย่อมไม่ปรารถนา
ปวาทะ๑ของสมณะเป็นอันมากเหล่าอื่นโดยลักษณะนั้น ๆ เปรียบ
เหมือนบุรุษผู้อิ่มในรสอันเลิศแล้ว ไม่ปรารถนารสที่เลวเหล่าอื่น”
๒. บุคคลฟังธรรมของท่านพระสมณโคดมพระองค์นั้นโดยลักษณะใด ๆ
คือ โดยสุตตะ เคยยะ เวยยากรณะ หรืออัพภูตธรรม ย่อมได้ความ
พอใจ ความเลื่อมใสแห่งใจโดยลักษณะนั้น ๆ เปรียบเหมือนบุรุษผู้
ถูกความหิวและความอ่อนเพลียครอบงำ ได้รวงผึ้ง เขาพึงได้ลิ้มรส
จากส่วนใด ๆ ย่อมได้รสดีอันไม่มีสิ่งเจือปนจากส่วนนั้น ๆ
๓. บุคคลฟังธรรมของท่านพระสมณโคดมพระองค์นั้นโดยลักษณะใด ๆ
คือ โดยสุตตะ เคยยะ เวยยากรณะหรืออัพภูตธรรม ย่อมได้ความ
ปราโมทย์ โสมนัสโดยลักษณะนั้น ๆ เปรียบเหมือนบุรุษได้ไม้จันทน์
จะเป็นจันทน์เหลือง หรือจันทน์แดงก็ตาม พึงสูดกลิ่นจากส่วนใด ๆ
เช่น จากราก จากลำต้น หรือจากยอด ย่อมได้กลิ่นหอมดี กลิ่นแท้
จากส่วนนั้น ๆ
๔. บุคคลฟังธรรมของท่านพระสมณโคดมพระองค์นั้นโดยลักษณะใด ๆ
คือ โดยสุตตะ เคยยะ เวยยากรณะ หรืออัพภูตธรรม โสกะ (ความ
โศก) ปริเทวะ (ความคร่ำครวญ) ทุกข์ (ความทุกข์กาย) โทมนัส
(ความทุกข์ใจ) อุปายาส (ความคับแค้นใจ)ของเขา ย่อมหมดไป
โดยลักษณะนั้น ๆ เปรียบเหมือนบุรุษผู้อาพาธ มีทุกข์ เป็นไข้หนัก
นายแพทย์ผู้ฉลาดพึงบำบัดอาพาธของเขาโดยเร็ว
๕. บุคคลฟังธรรมของท่านพระสมณโคดมพระองค์นั้นโดยลักษณะใด ๆ
คือ โดยสุตตะ เคยยะ เวยยากรณะ หรืออัพภูตธรรม ความ

เชิงอรรถ :
๑ ปวาทะ ในที่นี้หมายถึงลัทธิ (ความเชื่อถือ) ของสมณพราหมณ์เหล่าอื่น (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๑๙๔/๗๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๓๓๑ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์] ๕. พราหมณวรรค ๔. การณปาลีสูตร
กระวนกระวาย ความเหน็ดเหนื่อย และความเร่าร้อนทั้งปวงของเขา
ย่อมระงับไปโดยลักษณะนั้น ๆ เปรียบเหมือนสระน้ำที่มีน้ำใส จืด
สนิท สะอาด มีท่าเทียบ น่ารื่นรมย์ บุรุษถูกความร้อนแผดเผา
ถูกความร้อนกระทบ เหน็ดเหนื่อย หิว กระหาย เดินมาถึง เขาลง
ไปในสระนั้น อาบ และดื่ม พึงระงับความกระวนกระวาย ความ
เหน็ดเหนื่อย และความเร่าร้อนทั้งปวง
เมื่อปิงคิยานีพราหมณ์กล่าวอย่างนี้แล้ว การณปาลีพราหมณ์ลุกจากที่นั่ง ห่ม
ผ้าเฉวียงบ่าข้างหนึ่ง คุกเข่าข้างขวาลงบนแผ่นดิน ประคองอัญชลีไปทางที่พระผู้มี
พระภาคประทับอยู่เปล่งอุทาน๑ ๓ ครั้งว่า
“ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น”
แล้วกล่าวต่อไปว่า “ท่านปิงคิยานี ภาษิตของท่านปิงคิยานีชัดเจนไพเราะยิ่งนัก
ท่านปิงคิยานี ภาษิตของท่านปิงคิยานีชัดเจนไพเราะยิ่งนัก ท่านปิงคิยานีประกาศ
ธรรมแจ่มแจ้งโดยประการต่าง ๆ เปรียบเหมือนบุคคลหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด
บอกทางแก่ผู้หลงทาง หรือตามประทีปในที่มืดโดยตั้งใจว่า ‘คนมีตาดีจักเห็นรูปได้’
ข้าพเจ้านี้ขอถึงท่านพระสมณโคดมพระองค์นั้น พร้อมทั้งพระธรรมและพระสงฆ์เป็น
สรณะ ขอท่านปิงคิยานีจงจำข้าพเจ้าว่าเป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะ ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป
จนตลอดชีวิต”
การณปาลีสูตรที่ ๔ จบ

เชิงอรรถ :
๑ อุทาน หมายถึงคำที่เกิดจากปีติที่ไม่สามารถเก็บไว้ในใจได้ จึงเปล่งออกมาภายนอก (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/
๑๙๒/๗๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๓๓๒ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์] ๕. พราหมณวรรค ๕. ปิงคิยานีสูตร
๕. ปิงคิยานีสูตร
ว่าด้วยปิงคิยานีพราหมณ์
[๑๙๕] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่กูฏาคารศาลา ป่ามหาวัน
เขตกรุงเวสาลี สมัยนั้น เจ้าลิจฉวีประมาณ ๕๐๐ คน เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค
เจ้าลิจฉวีบางพวกมีตัวเขียว๑ มีฉวีวรรณเขียว มีผ้าเขียว มีเครื่องประดับเขียว๒
บางพวกมีตัวเหลือง มีฉวีวรรณเหลือง มีผ้าเหลือง มีเครื่องประดับเหลือง บางพวก
มีตัวแดง มีฉวีวรรณแดง มีผ้าแดง มีเครื่องประดับแดง บางพวกมีตัวขาว มีฉวีวรรณ
ขาว มีผ้าขาว มีเครื่องประดับขาว พระผู้มีพระภาคทรงรุ่งเรืองกว่าเจ้าลิจฉวีเหล่านั้น
โดยพระฉวีวรรณและพระยศ
ครั้งนั้น ปิงคิยานีพราหมณ์ลุกจากที่นั่ง ห่มผ้าเฉวียงบ่าข้างหนึ่ง ประคอง
อัญชลีไปทางที่พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ แล้วกราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า
“ข้าแต่พระผู้มีพระภาค เนื้อความแจ่มแจ้งแก่ข้าพระองค์ ข้าแต่พระสุคต
เนื้อความแจ่มแจ้งแก่ข้าพระองค์”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ปิงคิยานี เนื้อความจงแจ่มแจ้งแก่เธอเถิด”
ลำดับนั้น ปิงคิยานีพราหมณ์ได้ชมเชยพระผู้มีพระภาคต่อพระพักตร์ด้วย
คาถาโดยย่อว่า
“เชิญท่านดูพระอังคีรส๓ผู้ทรงรุ่งโรจน์อยู่
เหมือนดอกบัวชื่อโกกนุท มีกลิ่นหอม

เชิงอรรถ :
๑ มีตัวเขียว หมายถึงเขียวเพราะการลูบไล้ (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๑๙๕/๗๗)
๒ มีเครื่องประดับเขียว หมายถึงประดับด้วยแก้วสีเขียวและดอกไม้สีเขียว แม้เครื่องประดับช้าง เครื่องประดับ
ม้า เครื่องประดับรถ ผ้าม่าน เพดาน และเกราะของเจ้าลิจฉวีเหล่านั้นก็เป็นสีเขียวทั้งหมด(องฺ.ปญฺจก.อ.
๓/๑๙๕/๗๗)
๓ พระอังคีรส หมายถึงพระรัศมีทั้งหลายที่เปล่งออกจากพระวรกายของพระผู้มีพระภาค (องฺ.ปญฺจก.อ
๓/๑๙๕/๗๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๓๓๓ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์] ๕. พราหมณวรรค ๕. ปิงคิยานีสูตร
ไม่ปราศจากกลิ่น บานอยู่ในเวลาเช้า
และเหมือนพระอาทิตย์เปล่งรัศมีอยู่บนท้องฟ้า ฉะนั้น”
ครั้งนั้น เจ้าลิจฉวีเหล่านั้นได้ให้ปิงคิยานีพราหมณ์ห่มผ้าอุตตราสงค์ ๕๐๐ ผืน
ปิงคิยานีได้ทูลถวายให้พระผู้มีพระภาคครองผ้าอุตตราสงค์ ๕๐๐ ผืนเหล่านั้น
พระผู้มีพระภาคตรัสกับเจ้าลิจฉวีเหล่านั้นว่า
“เจ้าลิจฉวีทั้งหลาย ความปรากฏแห่งแก้ว ๕ ประการ หาได้ยากในโลก
ความปรากฏแห่งแก้ว ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ความปรากฏแห่งตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า หาได้ยากในโลก
๒. บุคคลผู้แสดงธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศไว้ หาได้ยากในโลก
๓. บุคคลผู้รู้แจ้งธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศไว้ซึ่งผู้อื่นแสดงแล้ว หาได้
ยากในโลก
๔. บุคคลผู้รู้แจ้งธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศไว้ ซึ่งผู้อื่นแสดงแล้ว เป็น
ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม หาได้ยากในโลก
๕. กตัญญูกตเวทีบุคคล๑ หาได้ยากในโลก
เจ้าลิจฉวีทั้งหลาย ความปรากฏแห่งแก้ว ๕ ประการนี้แล หาได้ยากในโลก”
ปิงคิยานีสูตรที่ ๕ จบ

เชิงอรรถ :
๑ ดูเชิงอรรถที่ ๒ ข้อ ๑๔๓ (สารันททสูตร) หน้า ๒๓๙ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๓๓๔ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์] ๕. พราหมณวรรค ๖. มหาสุปินสูตร
๖. มหาสุปินสูตร
ว่าด้วยมหาสุบิน
[๑๙๖] ภิกษุทั้งหลาย มหาสุบิน๑ ๕ ประการ ปรากฏแก่ตถาคตอรหันต-
สัมมาสัมพุทธเจ้า ก่อนจะตรัสรู้ ยังไม่ได้ตรัสรู้ ยังเป็นพระโพธิสัตว์อยู่
มหาสุบิน ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. แผ่นดินใหญ่นี้ เป็นที่นอนใหญ่ ขุนเขาหิมวันต์เป็นเขนย(หมอน)
มือซ้ายหย่อนลงในสมุทรด้านทิศตะวันออก มือขวาหย่อนลงในสมุทร
ด้านทิศตะวันตก เท้าทั้งสองหย่อนลงในสมุทรด้านทิศใต้ นี้เป็น
มหาสุบินประการที่ ๑ ปรากฏแก่ตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
ก่อนจะตรัสรู้ ยังไม่ได้ตรัสรู้ ยังเป็นพระโพธิสัตว์อยู่
๒. หญ้าแพรกได้งอกขึ้นจากนาภีของตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
ก่อนจะตรัสรู้ ยังไม่ได้ตรัสรู้ ยังเป็นพระโพธิสัตว์อยู่ ตั้งจรดท้องฟ้า
นี้เป็นมหาสุบินประการที่ ๒ ปรากฏแก่ตถาคตอรหันตสัมมาสัม-
พุทธเจ้า ก่อนจะตรัสรู้ ยังไม่ได้ตรัสรู้ ยังเป็นพระโพธิสัตว์อยู่
๓. หมู่หนอนสีขาว มีหัวดำ ได้ไต่ขึ้นมาจากเท้าของตถาคตอรหันต-
สัมมาสัมพุทธเจ้า ก่อนจะตรัสรู้ ยังไม่ได้ตรัสรู้ ยังเป็นพระ
โพธิสัตว์อยู่ ปกปิดตั้งแต่ปลายเล็บจนถึงบริเวณพระชาณุ นี้เป็น
มหาสุบินประการที่ ๓ ปรากฏแก่ตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
ก่อนจะตรัสรู้ ยังไม่ได้ตรัสรู้ ยังเป็นพระโพธิสัตว์อยู่
๔. นก ๔ เหล่ามีสีต่าง ๆ กัน๒ บินมาจากทิศทั้ง ๔ ตกลงแทบเท้า
ของตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ก่อนจะตรัสรู้ ยังไม่ได้ตรัสรู้

เชิงอรรถ :
๑ มหาสุบิน หมายถึงความฝันที่สำคัญ ซึ่งมีเหตุ ๔ อย่าง คือ (๑) ธาตุกำเริบเป็นต้น (๒) อารมณ์ที่เคย
รับรู้มาก่อน (๓) เทวดาดลใจ (๔) ปุพพนิมิต (ลางบอกเหตุดีเหตุร้าย) ในความฝัน ๔ อย่างนี้ ความฝัน ๒
อย่างแรก ไม่เป็นจริง ความฝันอย่างที่ ๓ เป็นจริงก็มี ไม่เป็นจริงก็มี ที่เป็นอย่างนี้ เพราะเทวดาบางเหล่า
โกรธประสงค์ร้าย บางเหล่าประสงค์ดี ความฝันอย่างที่ ๔ เป็นจริงแน่นอน (ตามนัย องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๑๙๖/
๗๘-๗๙, อภิ.วิ.อ. ๓๖๖/๔๓๖)
๒ มีสีต่าง ๆ กัน หมายถึงมีสีเขียว สีเหลือง สีแดง และสีขาว (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๑๙๖/๘๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๓๓๕ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์] ๕. พราหมณวรรค ๖. มหาสุปินสูตร
ยังเป็นพระโพธิสัตว์อยู่ แล้วกลับกลายเป็นสีขาวทุกตัว นี้เป็น
มหาสุบินประการที่ ๔ ปรากฏแก่ตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
ก่อนจะตรัสรู้ ยังไม่ได้ตรัสรู้ ยังเป็นพระโพธิสัตว์อยู่
๕. ตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ก่อนจะตรัสรู้ ยังไม่ได้ตรัสรู้ ยัง
เป็นพระโพธิสัตว์อยู่ เดินไปมาบนภูเขาคูถลูกใหญ่๑ (แต่) ไม่แปดเปื้อน
ด้วยคูถ นี้เป็นมหาสุบินประการที่ ๕ ปรากฏแก่ตถาคตอรหันต-
สัมมาสัมพุทธเจ้า ก่อนจะตรัสรู้ ยังไม่ได้ตรัสรู้ ยังเป็นพระ
โพธิสัตว์อยู่
ภิกษุทั้งหลาย การที่แผ่นดินใหญ่นี้เป็นที่นอนใหญ่ของตถาคตอรหันตสัมมา-
สัมพุทธเจ้า ก่อนจะตรัสรู้ ยังไม่ได้ตรัสรู้ ยังเป็นพระโพธิสัตว์อยู่ ขุนเขาหิมวันต์
เป็นเขนย มือซ้ายหย่อนลงในสมุทรด้านทิศตะวันออก มือขวาหย่อนลงในสมุทรด้าน
ทิศตะวันตก เท้าทั้งสองหย่อนลงในสมุทรด้านทิศใต้ นี้เป็นมหาสุบินประการที่ ๑
ปรากฏเป็นนิมิตให้ทราบว่า ตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้ตรัสรู้พระสัมโพธิญาณ
อันยอดเยี่ยม
การที่หญ้าแพรกได้งอกขึ้นจากนาภีของตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ก่อน
จะตรัสรู้ ยังไม่ได้ตรัสรู้ ยังเป็นพระโพธิสัตว์อยู่ ตั้งจรดท้องฟ้า นี้เป็นมหาสุบิน
ประการที่ ๒ ปรากฏเป็นนิมิตให้ทราบว่า ตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัสรู้
อริยมรรคมีองค์ ๘ ประกาศดีแล้ว จนถึงเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
การที่หมู่หนอนสีขาว มีหัวดำ ได้ไต่ขึ้นจากเท้าของตถาคตอรหันต์สัมมา-
สัมพุทธเจ้า ก่อนจะตรัสรู้ ยังไม่ได้ตรัสรู้ ยังเป็นพระโพธิสัตว์อยู่ ปกปิดตลอดถึง
บริเวณพระชาณุ นี้เป็นมหาสุบินประการที่ ๓ ปรากฏเป็นนิมิตให้ทราบว่า คฤหัสถ์
ผู้นุ่งห่มผ้าขาวจำนวนมากได้ถึงตถาคตเป็นสรณะตลอดชีวิต
การที่นก ๔ เหล่ามีสีต่าง ๆ กันบินมาจากทิศทั้ง ๔ ตกลงแทบเท้าของ
ตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ก่อนจะตรัสรู้ ยังไม่ได้ตรัสรู้ ยังเป็นพระโพธิสัตว์
อยู่ แล้วกลับกลายเป็นสีขาวทุกตัว นี้เป็นมหาสุบินประการที่ ๔ ปรากฏเป็นนิมิตให้

เชิงอรรถ :
๑ ภูเขาคูถที่มีความสูงถึง ๓ โยชน์ (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๑๙๖/๘๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๓๓๖ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์] ๕. พราหมณวรรค ๗. วัสสสูตร
ทราบว่า วรรณะทั้ง ๔ นี้ คือ กษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทร ออกจากเรือนบวช
เป็นบรรพชิตในธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศแล้ว ทำให้แจ้งซึ่งวิมุตติอันยอดเยี่ยม
การที่ตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ก่อนจะตรัสรู้ ยังไม่ได้ตรัสรู้ ยังเป็น
พระโพธิสัตว์อยู่ เดินไปมาบนภูเขาคูถลูกใหญ่ (แต่) ไม่แปดเปื้อนอุจจาระ นี้เป็น
มหาสุบินประการที่ ๕ ปรากฏเป็นนิมิตให้ทราบว่า ตถาคตได้จีวร บิณฑบาต
เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชชบริขาร แล้วไม่ลุ่มหลง ไม่หมกหมุ่น ไม่พัวพัน
มีปกติเห็นโทษ มีปัญญาเป็นเครื่องสลัดออก บริโภคอยู่
ภิกษุทั้งหลาย มหาสุบิน ๕ ประการนี้ ปรากฏแก่ตถาคตอรหันตสัมมา-
สัมพุทธเจ้า ก่อนจะตรัสรู้ ยังไม่ได้ตรัสรู้ ยังเป็นพระโพธิสัตว์อยู่
มหาสุปินสูตรที่ ๖ จบ

๗. วัสสสูตร
ว่าด้วยอันตรายของฝน
[๑๙๗] ภิกษุทั้งหลาย อันตรายของฝน ๕ ประการนี้ ซึ่งพวกหมอดูรู้ไม่ได้
สายตาของพวกหมอดูหยั่งไม่ถึง
อันตราย ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. เตโชธาตุ๑กำเริบบนอากาศ เมฆที่เกิดขึ้นย่อมกระจายไป เพราะ
เตโชธาตุที่กำเริบนั้น นี้เป็นอันตรายของฝนประการที่ ๑ ซึ่งพวก
หมอดูรู้ไม่ได้ สายตาของพวกหมอดูหยั่งไม่ถึง
๒. วาโยธาตุกำเริบบนอากาศ เมฆที่เกิดขึ้นย่อมกระจายไป เพราะ
วาโยธาตุที่กำเริบนั้น นี้เป็นอันตรายของฝนประการที่ ๒ ซึ่งพวก
หมอดูรู้ไม่ได้ สายตาของพวกหมอดูหยั่งไม่ถึง
๓. อสุรินทราหูใช้ฝ่ามือรับน้ำแล้วทิ้งลงในมหาสมุทร นี้เป็นอันตราย
ของฝนประการที่ ๓ ซึ่งพวกหมอดูรู้ไม่ได้ สายตาของพวกหมอดู
หยั่งไม่ถึง

เชิงอรรถ :
๑ เตโชธาตุ ในที่นี้หมายถึงกองไฟใหญ่ (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๑๙๗/๘๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๓๓๗ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์] ๕. พราหมณวรรค ๘. วาจาสูตร
๔. วัสสวลาหกเทพบุตรเป็นผู้ประมาท๑ นี้เป็นอันตรายของฝนประการ
ที่ ๔ ซึ่งพวกหมอดูรู้ไม่ได้ สายตาของพวกหมอดูหยั่งไม่ถึง
๕. พวกมนุษย์เป็นผู้ไม่ดำรงอยู่ในธรรม นี้เป็นอันตรายของฝนประการ
ที่ ๕ ซึ่งพวกหมอดูรู้ไม่ได้ สายตาของพวกหมอดูหยั่งไม่ถึง
ภิกษุทั้งหลาย อันตรายของฝน ๕ ประการนี้แล ซึ่งพวกหมอดูรู้ไม่ได้ สายตา
ของพวกหมอดูหยั่งไม่ถึง
วัสสสูตรที่ ๗ จบ

๘. วาจาสูตร
ว่าด้วยองค์แห่งวาจาสุภาษิต
[๑๙๘] ภิกษุทั้งหลาย วาจาประกอบด้วยองค์ ๕ ประการ เป็นวาจาสุภาษิต
ไม่เป็นวาจาทุพภาษิต เป็นวาจาไม่มีโทษ และท่านผู้รู้ไม่ติเตียน
วาจาประกอบด้วยองค์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. พูดถูกกาล
๒. พูดคำจริง
๓. พูดคำอ่อนหวาน
๔. พูดคำประกอบด้วยประโยชน์
๕. พูดด้วยเมตตาจิต
ภิกษุทั้งหลาย วาจาประกอบด้วยองค์ ๕ ประการนี้แล เป็นวาจาสุภาษิต
ไม่เป็นวาจาทุพภาษิต เป็นวาจาไม่มีโทษ และท่านผู้รู้ไม่ติเตียน
วาจาสูตรที่ ๘ จบ

เชิงอรรถ :
๑ เพราะวัสสวลาหกเทพบุตรมัวเล่นกีฬาอยู่ จึงไม่ให้ฝนตกในฤดูกาล ถือเป็นอันตรายของฝน (องฺ.ปญฺจก.อ.
๓/๑๙๗/๘๑-๘๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๓๓๘ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์] ๕. พราหมณวรรค ๙. กุลสูตร
๙. กุลสูตร
ว่าด้วยเหตุให้ตระกูลประสพบุญ
[๑๙๙] ภิกษุทั้งหลาย บรรพชิตผู้มีศีลทั้งหลาย เข้าไปยังตระกูลใด พวก
มนุษย์ในตระกูลนั้นย่อมประสพบุญเป็นอันมากโดยฐานะ ๕ ประการ
ฐานะ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สมัยใด เมื่อบรรพชิตผู้มีศีลเข้าไปยังตระกูล พวกมนุษย์เห็นแล้วมี
จิตเลื่อมใส สมัยนั้น ตระกูลนั้นชื่อว่าปฏิบัติปฏิปทาที่ยังสัตว์ให้เป็น
ไปเพื่อเกิดในสวรรค์
๒. สมัยใด เมื่อบรรพชิตผู้มีศีลเข้าไปยังตระกูล พวกมนุษย์ลุกรับ
อภิวาท ถวายอาสนะ สมัยนั้น ตระกูลนั้นชื่อว่าปฏิบัติปฏิปทา
ที่ยังสัตว์ให้เป็นไปเพื่อเกิดในตระกูลสูง
๓. สมัยใด เมื่อบรรพชิตผู้มีศีลเข้าไปยังตระกูล พวกมนุษย์กำจัดมลทิน
คือความตระหนี่ได้ สมัยนั้น ตระกูลนั้นชื่อว่าปฏิบัติปฏิปทาที่ยังสัตว์
ให้เป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีศักดิ์ใหญ่
๔. สมัยใด เมื่อบรรพชิตผู้มีศีลเข้าไปยังตระกูล พวกมนุษย์จัดของถวาย
ตามความสามารถ ตามกำลัง สมัยนั้น ตระกูลนั้นชื่อว่าปฏิบัติ
ปฏิปทาที่ยังสัตว์ให้เป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีโภคทรัพย์มาก
๕. สมัยใด เมื่อบรรพชิตผู้มีศีลเข้าไปยังตระกูล พวกมนุษย์ไต่ถาม
สอบถามฟังธรรม สมัยนั้น ตระกูลนั้นชื่อว่าปฏิบัติปฏิปทาที่ยังสัตว์
ให้เป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญามาก
ภิกษุทั้งหลาย บรรพชิตผู้มีศีลเข้าไปยังตระกูลใด พวกมนุษย์ในตระกูลนั้น
ย่อมประสพบุญเป็นอันมากโดยฐานะ ๕ ประการนี้แล
กุลสูตรที่ ๙ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๓๓๙ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์] ๕. พราหมณวรรค ๑๐. นิสสารณียสูตร
๑๐. นิสสารณียสูตร
ว่าด้วยธาตุที่สลัด
[๒๐๐] ภิกษุทั้งหลาย ธาตุ๑ที่สลัด ๕ ประการนี้
ธาตุที่สลัด ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เมื่อมนสิการกามทั้งหลาย๒ จิตของเธอย่อมไม่
แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งอยู่ ไม่น้อมไปในกามทั้งหลาย แต่เมื่อเธอ
มนสิการเนกขัมมะ๓ จิตของเธอจึงแล่นไป เลื่อมใส ตั้งอยู่ น้อมไป
ในเนกขัมมะ จิต๔นั้นของเธอชื่อว่าเป็นจิตดำเนินไปดีแล้ว เจริญดี
แล้ว ตั้งอยู่ดีแล้ว หลุดพ้นดีแล้ว พรากออกดีแล้วจากกามทั้งหลาย
เธอหลุดพ้นแล้วจากอาสวะ๕ และความเร่าร้อนที่ก่อความคับแค้น๖
ซึ่งเกิดขึ้นเพราะกามเป็นปัจจัย เธอย่อมไม่เสวยเวทนานั้น นี้เรา
กล่าวว่าธาตุที่สลัดกามทั้งหลาย
๒. ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เมื่อมนสิการพยาบาท จิตของเธอย่อมไม่
แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งอยู่ ไม่น้อมไปในพยาบาท แต่เมื่อเธอ
มนสิการความไม่พยาบาท จิตของเธอจึงแล่นไป เลื่อมใส ตั้งอยู่
น้อมไปในความไม่พยาบาท จิตนั้นของเธอชื่อว่าเป็นจิตดำเนินไปดี

เชิงอรรถ :
๑ ธาตุ หมายถึงสภาวะที่ว่างจากอัตตา (อัตตสุญญสภาวะ) (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๒๐๐/๘๒) หรือสภาวะที่
ปราศจากชีวะ ในที่นี้หมายถึงธัมมธาตุและมโนวิญญาณธาตุขั้นพิเศษ (องฺ.ปญฺจก.ฏีกา ๓/๒๐๐/๙๑)
๒ มนสิการถึงกามทั้งหลาย ในที่นี้หมายถึงเมื่อออกจากอสุภฌาน(เพ่งความไม่งาม)แล้วส่งจิตคิดถึงกามคุณ
เพื่อตรวจดูจิตว่า ‘บัดนี้ จิตเราแน่วแน่ต่อเนกขัมมะหรือไม่ กามวิตกยังเกิดขึ้นอยู่หรือไม่’ เหมือนคนจับงู
พิษเพื่อทดลองดูว่างูมีพิษหรือไม่ (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๒๐๐/๘๒, องฺ.ปญฺจก.ฏีกา ๓/๒๐๐/๙๑)
๓ เนกขัมมะ ในที่นี้หมายถึงปฐมฌานในอสุภะทั้งหลาย (องฺ.ปญฺจ.อ. ๓/๒๐๐/๘๒)
๔ จิต ในทีนี้หมายถึงอสุภฌานจิต (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๒๐๐/๘๒)
๕ อาสวะ ในที่นี้หมายถึงอาสวะ ๔ คือ กามาสวะ อาสวะคือกาม ภวาสวะ อาสวะคือภพ ทิฏฐาสวะ อาสวะ
คือทิฏฐิ อวิชชาสวะ อาสวะคืออวิชชา (สํ.สฬา.อ. ๓/๕๓-๖๒/๑๔, องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๕๘/๑๔๐, องฺ.ฉกฺก.ฏีกา
๓/๕๘/๑๕๔-๑๖๒)
๖ ความเร่าร้อนที่ก่อความคับแค้น หมายถึงความเร่าร้อนเพราะกิเลสหรือความเร่าร้อนเพราะวิบากกรรมที่
ก่อความคับแค้นใจ หรือให้เกิดทุกข์ทางกายและทุกข์ทางใจอันเป็นผลมาจากอาสวะ (องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๕๘/๑๔๐,
องฺ.ฉกฺก.ฏีกา ๓/๕๘/๑๕๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๓๔๐ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์] ๕. พราหมณวรรค ๑๐. นิสสารณียสูตร
แล้ว เจริญดีแล้ว ตั้งอยู่ดีแล้ว หลุดพ้นดีแล้ว พรากออกดีแล้ว
จากพยาบาท เธอหลุดพ้นแล้วจากอาสวะ และความเร่าร้อนที่ก่อ
ความคับแค้นซึ่งเกิดขึ้นเพราะพยาบาทเป็นปัจจัย เธอย่อมไม่เสวย
เวทนานั้น นี้เรากล่าวว่าธาตุที่สลัดพยาบาท
๓. ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เมื่อมนสิการวิหิงสา จิตของเธอย่อมไม่แล่นไป
ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งอยู่ ไม่น้อมไปในวิหิงสา แต่เมื่อเธอมนสิการ
อวิหิงสา จิตของเธอจึงแล่นไป เลื่อมใส ตั้งอยู่ น้อมไปในอวิหิงสา
จิตนั้นของเธอชื่อว่าเป็นจิตดำเนินไปดีแล้ว เจริญดีแล้ว ตั้งอยู่ดีแล้ว
หลุดพ้นดีแล้ว พรากออกดีแล้วจากวิหิงสา เธอหลุดพ้นแล้วจาก
อาสวะ และความเร่าร้อนที่ก่อความคับแค้นซึ่งเกิดขึ้นเพราะวิหิงสา
เป็นปัจจัย เธอย่อมไม่เสวยเวทนานั้น นี้เรากล่าวว่าธาตุที่สลัด
วิหิงสา
๔. ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เมื่อมนสิการรูปทั้งหลาย จิตของเธอย่อมไม่
แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งอยู่ ไม่น้อมไปในรูปทั้งหลาย แต่เมื่อเธอ
มนสิการอรูป จิตของเธอจึงแล่นไป เลื่อมใส ตั้งอยู่ น้อมไปในอรูป
จิตนั้นของเธอชื่อว่าเป็นจิตดำเนินไปดีแล้ว เจริญดีแล้ว ตั้งอยู่ดีแล้ว
หลุดพ้นดีแล้ว พรากออกดีแล้วจากรูปทั้งหลาย เธอหลุดพ้นแล้ว
จากอาสวะ และความเร่าร้อนที่ก่อความคับแค้นซึ่งเกิดขึ้นเพราะรูป
เป็นปัจจัย เธอย่อมไม่เสวยเวทนานั้น นี้เรากล่าวว่าธาตุที่สลัดรูป
ทั้งหลาย
๕. ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เมื่อมนสิการสักกายะ๑ จิตของเธอย่อมไม่แล่นไป
ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งอยู่ ไม่น้อมไปในสักกายะ แต่เมื่อมนสิการถึง
สักกายนิโรธ(ความดับสักกายะ) จิตของเธอจึงแล่นไป เลื่อมใส ตั้งอยู่

เชิงอรรถ :
๑ มนสิการสักกายะ หมายถึงวิธีการที่พระอรหันต์สุกขวิปัสสกะ(ผู้บำเพ็ญวิปัสสนาล้วน ๆ)ผู้เห็นนิพพานด้วย
อรหัตตมรรคและอรหัตตผลออกจากผลสมาบัติแล้ว ส่งจิตในอรหัตตผลสมาบัติไปยังอุปาทานขันธ์ ๕ คือ
รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณเพื่อจะทดสอบดูว่า ‘ความยึดมั่นรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
ว่าเป็นอัตตา ยังมีอยู่หรือไม่’ (ตามนัย องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๒๐๐/๘๓)
อนึ่ง ๔ วิธีแรก เป็นวิธีของท่านผู้เป็นสมถยานิก (ผู้บำเพ็ญสมถกัมมัฏฐาน) แต่วิธีที่ ๕ เป็นวิธีของ
ท่านผู้เป็นวิปัสสนายานิก (ผู้บำเพ็ญวิปัสสนาล้วน) (องฺ.ปญฺจก.ฏีกา ๓/๒๐๐/๙๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๓๔๑ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์] ๕. พราหมณวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค
น้อมไปในสักกายนิโรธ จิตนั้นของเธอชื่อว่าเป็นจิตดำเนินไปดีแล้ว
เจริญดีแล้ว ตั้งอยู่ดีแล้ว หลุดพ้นดีแล้ว พรากออกดีแล้วจาก
สักกายะ เธอหลุดพ้นแล้วจากอาสวะ และความเร่าร้อนที่ก่อ
ความคับแค้นซึ่งเกิดขึ้นเพราะสักกายะเป็นปัจจัย เธอย่อมไม่เสวย
เวทนานั้น นี้เรากล่าวว่าธาตุที่สลัดสักกายะ
ความเพลิดเพลินในกามย่อมไม่เกิดแก่เธอ ความเพลิดเพลินในพยาบาทก็
ไม่เกิด ความเพลิดเพลินในวิหิงสาก็ไม่เกิด ความเพลิดเพลินในรูปก็ไม่เกิด ความ
เพลิดเพลินในสักกายะก็ไม่เกิด
เพราะความเพลิดเพลินในกามไม่เกิด เพราะความเพลิดเพลินในพยาบาทไม่เกิด
เพราะความเพลิดเพลินในวิหิงสาไม่เกิด เพราะความเพลิดเพลินในรูปไม่เกิด และ
เพราะความเพลิดเพลินในสักกายะไม่เกิดแก่เธอ ภิกษุนี้เราจึงเรียกว่า เป็นผู้ไม่มี
อาลัย๑ ตัดตัณหาได้แล้ว คลายสังโยชน์ได้แล้ว ทำที่สุดทุกข์ได้แล้ว เพราะละมานะ
ได้โดยชอบ
ภิกษุทั้งหลาย ธาตุที่สลัด ๕ ประการนี้แล
นิสสารณียสูตรที่ ๑๐ จบ
พราหมณวรรคที่ ๕ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. โสณสูตร ๒. โทณพราหมณสูตร
๓. สังคารวสูตร ๔. การณปาลีสูตร
๕. ปิงคิยานีสูตร ๖. มหาสุปินสูตร
๗. วัสสสูตร ๘. วาจาสูตร
๙. กุลสูตร ๑๐. นิสสารณียสูตร

จตุตถปัณณาสก์ จบ

เชิงอรรถ :
๑ อาลัย ในที่นี้หมายถึงกามคุณ ๕ (รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ) หรือหมายถึงวัฏฏะ (กิเลสวัฏฏะ,
กัมมวัฏฏะ, วิปากวัฏฏะ) (องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๑๒๘/๓๗๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๓๔๒ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๕. ปัญจมปัณณาสก์] ๑. กิมพิลวรรค ๑. กิมพิลวรรค
๕. ปัญจมปัณณาสก์
๑. กิมพิลวรรค
หมวดว่าด้วยพระกิมพิละ
๑. กิมพิลสูตร
ว่าด้วยท่านพระกิมพิละ
[๒๐๑] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ป่าไผ่ เขตเมืองกิมิลา ครั้งนั้น
ท่านพระกิมพิละได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ
ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อะไรหนอเป็น
เหตุปัจจัยให้พระสัทธรรมไม่ดำรงอยู่ได้นาน ในเมื่อพระตถาคตปรินิพพานแล้ว”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “กิมพิละ เมื่อตถาคตปรินิพพานแล้ว ภิกษุ ภิกษุณี
อุบาสก อุบาสิกาในธรรมวินัยนี้
๑. อยู่อย่างไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรงในศาสดา๑
๒. อยู่อย่างไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรงในธรรม๒
๓. อยู่อย่างไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรงในสงฆ์๓
๔. อยู่อย่างไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรงในสิกขา๔
๕. อยู่อย่างไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรงกันและกัน๕

เชิงอรรถ :
๑ หมายถึงเมื่อขึ้นสู่ลานเจดีย์เป็นต้น ก็ไม่หุบร่ม ไม่ถอดรองเท้า และกล่าวคำหยาบเป็นต้น ซึ่งแสดงถึง
ความไม่เคารพ (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๒๐๑/๘๔)
๒ หมายถึงนั่งหลับและคุยกันในขณะฟังธรรม (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๒๐๑/๘๔)
๓ หมายถึงอยู่ท่ามกลางสงฆ์ก็ไม่สำรวมกายวาจาให้เรียบร้อย และไม่มีความเคารพในพระเถระ ได้แก่ พระผู้มี
ระดับอายุ คุณธรรม ความรู้ที่นับว่าเป็นพระผู้ใหญ่ คือมีพรรษาตั้งแต่ ๑๐ ขึ้นไป ในพระมัชฌิมะ ได้แก่
พระระดับกลาง มีพรรษาตั้งแต่ครบ ๕ แต่ยังไม่ถึง ๑๐ ในพระนวกะ ได้แก่ พระใหม่มีระดับอายุ คุณธรรม
ความรู้ที่นับว่ายังใหม่ มีพรรษาต่ำกว่า ๕ ที่ยังต้องถือนิสสัย) (วิ.อ. ๑/๔๕/๒๕๓, องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๒๐๑/๘๔)
๔ หมายถึงไม่บำเพ็ญไตรสิกขา คือ ศีล สมาธิ และปัญญา ให้บริบูรณ์ (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๒๐๑/๘๔)
๕ หมายถึงก่อการทะเลาะวิวาทกันเป็นต้น (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๒๐๑/๘๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๓๔๓ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๕. ปัญจมปัณณาสก์] ๑. กิมพิลวรรค ๒. ธัมมัสสวนสูตร
กิมพิละ นี้แลเหตุปัจจัยให้สัทธรรมไม่ดำรงอยู่ได้นาน ในเมื่อตถาคต
ปรินิพพานแล้ว” พระกิมพิละทูลถามว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อะไรเป็นเหตุปัจจัย
ให้พระสัทธรรมดำรงอยู่ได้นาน ในเมื่อพระตถาคตปรินิพพานแล้ว” พระผู้มีพระภาค
ตรัสว่า “กิมพิละ เมื่อตถาคตปรินิพพานแล้ว ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกาใน
ธรรมวินัยนี้
๑. อยู่อย่างมีความเคารพ มีความยำเกรงในศาสดา
๒. อยู่อย่างมีความเคารพ มีความยำเกรงในธรรม
๓. อยู่อย่างมีความเคารพ มีความยำเกรงในสงฆ์
๔. อยู่อย่างมีความเคารพ มีความยำเกรงในสิกขา
๕. อยู่อย่างมีความเคารพ มีความยำเกรงกันและกัน
กิมพิละ นี้แลเป็นเหตุปัจจัยให้สัทธรรมดำรงอยู่ได้นาน ในเมื่อตถาคต
ปรินิพพานแล้ว”
กิมพิลสูตรที่ ๑ จบ

๒. ธัมมัสสวนสูตร
ว่าด้วยการฟังธรรม
[๒๐๒] ภิกษุทั้งหลาย การฟังธรรมมีอานิสงส์ ๕ ประการนี้
อานิสงส์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ได้ฟังสิ่งที่ยังไม่เคยฟัง
๒. เข้าใจชัดสิ่งที่ได้ฟังแล้ว
๓. บรรเทาความสงสัยเสียได้
๔. ทำความเห็นได้ตรง
๕. จิตของผู้ฟังธรรมย่อมเลื่อมใส
ภิกษุทั้งหลาย การฟังธรรมมีอานิสงส์ ๕ ประการนี้แล
ธัมมัสสวนสูตรที่ ๒ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๓๔๔ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๕. ปัญจมปัณณาสก์] ๑. กิมพิลวรรค ๓. อัสสาชานียสูตร
๓. อัสสาชานียสูตร
ว่าด้วยองค์ประกอบของม้าอาชาไนย๑
[๒๐๓] ภิกษุทั้งหลาย ม้าอาชาไนยพันธุ์ดีของพระราชา ประกอบด้วยองค์
๕ ประการ ย่อมเป็นม้าควรแก่พระราชา ควรเป็นม้าต้น นับว่าเป็นราชพาหนะ
โดยแท้
องค์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ความตรง
๒. ความมีเชาว์
๓. ความอ่อน
๔. ความอดทน
๕. ความเสงี่ยม
ม้าอาชาไนยพันธุ์ดีของพระราชาประกอบด้วยองค์ ๕ ประการนี้แล ย่อมเป็น
ม้าควรแก่พระราชา ควรเป็นม้าต้น นับว่าเป็นราชพาหนะโดยแท้ ฉันใด
ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกันแล ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อมเป็นผู้ควรแก่
ของที่เขานำมาถวาย ควรแก่ของต้อนรับ ควรแก่ทักษิณา ควรแก่การทำอัญชลี
เป็นนาบุญอันยอดเยี่ยมของโลก
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ความตรง๒
๒. ความมีเชาว์๓
๓. ความอ่อน๔

เชิงอรรถ :
๑ ม้าอาชาไนย หมายถึงม้าที่เกิดในตระกูลม้าสินธพ หรือในตระกูลพญาม้าวลาหก (ขุ.ธ.อ. ๑๕๔/๑๐๕)
หรือหมายถึงม้าที่รู้เหตุที่ควรและไม่ควร (องฺ.ติก.อ. ๒/๑๔๓/๒๗๓)และดู องฺ.ติก. (แปล) ๒๐/๙๗/๓๓๐
๒ ความตรงของม้า หมายถึงความไปได้ตรง ไปไม่คด ความตรงของพระ หมายถึงความมีญาณดำเนินไปตรง
(�าณสฺส อชุกคมนํ) (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๒๐๓-๒๐๔/๘๕)
๓ ความมีเชาว์ของม้า หมายถึงมีฝีเท้าเร็ว (ปทชวะ) ความมีเชาว์ของพระ หมายถึงความมีญาณที่แกล้วกล้า
ดำเนินไป (สูรสฺส หุตฺวา �าณสฺส คมนภาโว) (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๒๐๓-๒๐๔/๘๕)
๔ ความอ่อนของม้า หมายถึงร่างกายอ่อนนุ่ม (สรีรมุทุตา) ความอ่อนของพระ หมายถึงความอ่อนเพราะศีล
(สีลมัททวะ) (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๒๐๓-๒๐๔/๘๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๓๔๕ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๕. ปัญจมปัณณาสก์] ๑. กิมพิลวรรค ๔. พลสูตร
๔. ความอดทน๑
๕. ความเสงี่ยม๒
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมเป็นผู้ควรแก่
ของที่เขานำมาถวาย ควรแก่ของต้อนรับ ควรแก่ทักษิณา ควรแก่การทำอัญชลี
เป็นนาบุญอันยอดเยี่ยมของโลก
อัสสาชานียสูตรที่ ๓ จบ

๔. พลสูตร
ว่าด้วยพละ
[๒๐๔] ภิกษุทั้งหลาย พละ ๕ ประการนี้
พละ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สัทธาพละ (กำลังคือศรัทธา)
๒. หิริพละ (กำลังคือหิริ)
๓. โอตตัปปพละ (กำลังคือโอตตับปะ)
๔. วิริยพละ (กำลังคือวิริยะ)
๕. ปัญญาพละ (กำลังคือปัญญา)
ภิกษุทั้งหลาย พละ ๕ ประการนี้แล
พลสูตรที่ ๔ จบ

เชิงอรรถ :
๑ หมายถึงอธิวาสนขันติ (ความอดทนคือความอดกลั้น) (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๒๐๓-๒๐๔/๘๕)
๒ หมายถึงความมีศีลสะอาด บริสุทธิ์ (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๒๐๓-๒๐๔/๘๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๓๔๖ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๕. ปัญจมปัณณาสก์] ๑. กิมพิลวรรค ๕. เจโตขิลสูตร
๕. เจโตขิลสูตร๑
ว่าด้วยกิเลสเครื่องตรึงจิตดุจตะปู
[๒๐๕] ภิกษุทั้งหลาย กิเลสเครื่องตรึงจิตดุจตะปู๒ ๕ ประการนี้
กิเลสเครื่องตรึงจิตดุจตะปู ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เคลือบแคลงสงสัย ไม่น้อมใจเชื่อ ไม่เลื่อมใสในศาสดา๓ จิตของภิกษุ
ผู้เคลือบแคลงสงสัย ไม่น้อมใจเชื่อ ไม่เลื่อมใสในศาสดานั้น ย่อม
ไม่น้อมไปเพื่อความเพียร เพื่อประกอบเนือง ๆ เพื่อกระทำต่อเนื่อง
เพื่อบำเพ็ญเพียร นี้เป็นกิเลสเครื่องตรึงจิตดุจตะปูประการที่ ๑ ของ
ภิกษุผู้มีจิตไม่น้อมไปเพื่อความเพียร เพื่อประกอบเนือง ๆ เพื่อ
กระทำต่อเนื่อง เพื่อบำเพ็ญเพียร
๒. เคลือบแคลงสงสัย ไม่น้อมใจเชื่อ ไม่เลื่อมใสในธรรม๔ ฯลฯ
๓. เคลือบแคลงสงสัย ไม่น้อมใจเชื่อ ไม่เลื่อมใสในสงฆ์๕ ฯลฯ

เชิงอรรถ :
๑ ดู ม.มู. ๑๒/๑๘๕-๑๘๙/๑๕๖-๑๖๑,องฺ.นวก. ๒๓/๗๑-๗๒/๓๘๐-๓๘๑, องฺ.ทสก. (แปล) ๒๔/๑๔/๒๒-๒๓,
อภิ.วิ. (แปล) ๓๕/๙๔๑/๕๙๔)
๒ กิเลสเครื่องตรึงจิตดุจตะปู (เจโตขิลา) หมายถึงสภาวะที่จิตแข็งกระด้าง เป็นดุจหยากเยื่อ เป็นดุจตอ ได้แก่
วิจิกิจฉา (ความลังเลสงสัย) และโกธะ (ความโกรธ) เมื่อกิเลส ๒ ตัวนี้ เกิดขึ้นในจิตของผู้ใด จิตของผู้นั้น
ย่อมแข็งกระด้าง (องฺ.ปญฺจ.อ. ๓/๒๐๕/๘๕, องฺ.ปญฺจก.ฏีกา ๓/๒๐๕/๙๓)
๓ ไม่เลื่อมใสในศาสดา หมายถึงไม่เชื่อว่าพระสรีระของพระพุทธเจ้าประกอบด้วยมหาปุริสลักษณะ ๓๒
ประการ และไม่เชื่อว่าพระพุทธเจ้าจะทรงพระสัพพัญญุตญาณที่สามารถรู้อดีต ปัจจุบัน และอนาคตได้
(องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๒๐๕/๘๕)
๔ ไม่เลื่อมใสในธรรม หมายถึงไม่เชื่อในปริยัติธรรมว่าพระพุทธพจน์คือพระไตรปิฎกมี ๘๔,๐๐๐ พระธรรม
ขันธ์ และไม่เชื่อในปฏิเวธธรรมว่า มรรคเกิดจากวิปัสสนา ผลเกิดจากมรรค และนิพพานคือธรรมเป็นที่
สละคืนสังขารทั้งปวง จะมีอยู่จริงหรือไม่ (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๒๐๕/๘๕)
๕ ไม่เลื่อมใสในสงฆ์ หมายถึงไม่เชื่อในพระอริยบุคคล ๘ จำพวก ว่าเป็นผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติตรง และเป็นผู้
ดำรงอยู่ในมรรค (ทางเข้าถึงความเป็นอริยบุคคล ๔ ประการ คือ (๑) โสตาปัตติมรรค (๒) สกทาคามิมรรค
(๓) อนาคามิมรรค (๔) อรหัตตมรรค และดำรงอยู่ในผล ๔ (ผลที่เกิดสืบเนื่องจากการละกิเลสได้ด้วยมรรค)
คือ (๑) โสดาปัตติผล (๒) สกทาคามิผล (๓) อนาคามิผล (๔) อรหัตตผล (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๒๐๕/๘๕) และดู
อภิ.วิ. (แปล) ๓๕/๘๐๗/๕๑๙

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๓๔๗ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๕. ปัญจมปัณณาสก์] ๑. กิมพิลวรรค ๖. วินิพันธสูตร
๔. เคลือบแคลงสงสัย ไม่น้อมใจเชื่อ ไม่เลื่อมใสในสิกขา ฯลฯ
๕. เป็นผู้โกรธ ไม่พอใจ มีจิตถูกโทสะ(ความคิดประทุษร้าย)กระทบ มี
จิตแข็งกระด้างในเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย จิตของภิกษุผู้โกรธ ไม่พอใจ
มีจิตถูกโทสะกระทบ มีจิตแข็งกระด้างในเพื่อนพรหมจารีทั้งหลายนั้น
ย่อมไม่น้อมไปเพื่อความเพียร เพื่อประกอบเนือง ๆ เพื่อกระทำต่อ
เนื่อง เพื่อบำเพ็ญเพียร นี้เป็นกิเลสเครื่องตรึงจิตดุจตะปูประการที่ ๕
ของภิกษุผู้มีจิตไม่น้อมไปเพื่อความเพียร เพื่อประกอบเนือง ๆ
เพื่อกระทำต่อเนื่อง เพื่อบำเพ็ญเพียร
ภิกษุทั้งหลาย กิเลสเครื่องตรึงจิตดุจตะปู ๕ ประการนี้แล
เจโตขิลสูตรที่ ๕ จบ

๖. วินิพันธสูตร
ว่าด้วยกิเลสเครื่องผูกใจ๑
[๒๐๖] ภิกษุทั้งหลาย กิเลสเครื่องผูกใจ ๕ ประการนี้
กิเลสเครื่องผูกใจ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เป็นผู้ยังไม่ปราศจากความกำหนัด ไม่ปราศจากความพอใจ ไม่
ปราศจากความรัก ไม่ปราศจากความกระหาย ไม่ปราศจากความ
เร่าร้อน ไม่ปราศจากความอยากในกามทั้งหลาย๒ จิตของภิกษุผู้ยัง

เชิงอรรถ :
๑ ดู องฺ.ทสก. (แปล) ๒๔/๑๔/๒๓-๒๔, อภิ.วิ. (แปล) ๓๕/๙๔๑/๕๙๔)
๒ กามทั้งหลาย ในที่นี้หมายถึงวัตถุกามและกิเลสกาม (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๒๐๖/๘๖)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๓๔๘ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๕. ปัญจมปัณณาสก์] ๑. กิมพิลวรรค ๖. วินิพันธสูตร
ไม่ปราศจากความกำหนัด ไม่ปราศจากความพอใจ ไม่ปราศจาก
ความรัก ไม่ปราศจากความกระหาย ไม่ปราศจากความเร่าร้อน
ไม่ปราศจากความอยากในกามทั้งหลายนั้น ย่อมไม่น้อมไปเพื่อ
ความเพียร เพื่อประกอบเนือง ๆ เพื่อกระทำต่อเนื่อง เพื่อบำเพ็ญ
เพียร นี้เป็นกิเลสเครื่องผูกใจประการที่ ๑ ของภิกษุผู้มีจิตไม่น้อม
ไปเพื่อความเพียร เพื่อประกอบเนือง ๆ เพื่อกระทำต่อเนื่อง เพื่อ
บำเพ็ญเพียร
๒. เป็นผู้ยังไม่ปราศจากความกำหนัดในกาย๑ ฯลฯ
๓. เป็นผู้ยังไม่ปราศจากความกำหนัดในรูป๒ ฯลฯ
๔. ฉันอาหารตามความต้องการจนอิ่มเกินไป ประกอบความสุขในการ
นอนความสุขในการเอกเขนก ความสุขในการหลับอยู่ ฯลฯ
๕. ประพฤติพรหมจรรย์ด้วยความปรารถนาเป็นเทพนิกายหมู่ใดหมู่หนึ่ง
ว่า ‘ด้วยศีล วัตร ตบะ หรือพรหมจรรย์๓นี้ เราจักเป็นเทพเจ้า๔
หรือเทพตนใดตนหนึ่ง’ จิตของภิกษุผู้ประพฤติพรหมจรรย์ด้วย

เชิงอรรถ :
๑ กาย ในที่นี้หมายถึงนามกายของตน หรืออัตภาพของตน (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๒๐๖/๘๖, องฺ.ปญฺจก.ฏีกา
๓/๒๐๖-๘/๙๔)
๒ รูป ในที่นี้หมายถึงร่างกายของผู้อื่น และรูปที่ไม่เกี่ยวเนื่องกับอินทรีย์ (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๒๐๖/๘๖)
๓ ศีล หมายถึงปาริสุทธิศีล ๔ ประการ (คือ (๑) ปาติโมกขสังวรศีล ศีลคือความสำรวมในพระปาติโมกข์
เว้นจากข้อห้าม ทำตามข้ออนุญาต ประพฤติเคร่งครัดในสิกขาบททั้งหลาย (๒) อินทรียสังวรศีล ศีลคือ
ความสำรวมอินทรีย์ ระวังไม่ให้บาปอกุศลครอบงำ เมื่อรับรู้อารมณ์ด้วยอินทรีย์ทั้ง ๖ (๓) อาชีวปาริสุทธิศีล
ศีลคือความบริสุทธิ์แห่งอาชีวะ เลี้ยงชีวิตโดยทางที่ชอบ ไม่ประกอบอเนสนามีหลอกลวงเขาเลี้ยงชีพเป็นต้น
(๔) ปัจจัยสันนิสิตศีล ศีลที่เกี่ยวกับปัจจัย ๔ ได้แก่ ปัจจัยปัจจเวกขณะ คือพิจารณาใช้สอยปัจจัย ๔ ให้
เป็นไปตามความหมายและประโยชน์ของสิ่งนั้น ไม่บริโภคด้วยตัณหา (วิสุทธิ. ๑/๑๔-๑๘/๑๗-๓๖)
วัตร หมายถึงวัตตสมาทาน การประพฤติข้อปฏิบัติ
ตบะ หมายถึงตปจรณะ (การประพฤติตบะ)
พรหมจรรย์ หมายถึงเมถุนวิรัติ (การงดเว้นจากการร่วมประเวณี) (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๒๐๖/๘๖)
๔ เทพเจ้า ในที่นี้หมายถึงเป็นเทวดาผู้มีศักดิ์หรือมีอำนาจมาก เทพตนใดตนหนึ่ง หมายถึงเทวดาผู้มีศักดิ์หรือ
มีอำนาจน้อย (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๒๐๖/๘๖)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๓๔๙ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๕. ปัญจมปัณณาสก์] ๑. กิมพิลวรรค ๗. ยาคุสูตร
ความปรารถนาเป็นเทพนิกายหมู่ใดหมู่หนึ่งว่า ‘ด้วยศีล วัตร ตบะ
หรือพรหมจรรย์นี้ เราจักเป็นเทพเจ้า หรือเทพตนใดตนหนึ่ง’ นั้น
ย่อมไม่น้อมไปเพื่อความเพียร เพื่อประกอบเนือง ๆ เพื่อกระทำ
ต่อเนื่อง เพื่อบำเพ็ญเพียร นี้เป็นกิเลสเครื่องผูกใจประการที่ ๕
ของภิกษุผู้มีจิตไม่น้อมไปเพื่อความเพียร เพื่อประกอบเนือง ๆ
เพื่อกระทำต่อเนื่อง เพื่อบำเพ็ญเพียร
ภิกษุทั้งหลาย กิเลสเครื่องผูกใจ ๕ ประการนี้แล
วินิพันธสูตรที่ ๖ จบ

๗. ยาคุสูตร
ว่าด้วยอานิสงส์ของยาคู
[๒๐๗] ภิกษุทั้งหลาย อานิสงส์ของยาคู (ข้าวต้ม) ๕ ประการนี้
อานิสงส์ของยาคู ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. บรรเทาความหิว
๒. ระงับความกระหาย
๓. ให้ลมเดินคล่อง
๔. ชำระลำไส้
๕. เผาอาหารที่ยังไม่ย่อยให้ย่อย
ภิกษุทั้งหลาย อานิสงส์ของยาคู ๕ ประการนี้แล
ยาคุสูตรที่ ๗ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๓๕๐ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๕. ปัญจมปัณณาสก์] ๑. กิมพิลวรรค ๘. ทันตกัฏฐสูตร
๘. ทันตกัฏฐสูตร
ว่าด้วยไม้สีฟัน
[๒๐๘] ภิกษุทั้งหลาย โทษของการไม่เคี้ยวไม้สีฟัน ๕ ประการนี้
โทษ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ตาฝ้าฟาง
๒. ปากเหม็น
๓. ประสาทที่นำรสอาหาร ไม่หมดจดดี
๔. ดีและเสมหะหุ้มห่ออาหาร
๕. อาหารไม่อร่อยแก่เขา
ภิกษุทั้งหลาย โทษของการไม่เคี้ยวไม้สีฟัน ๕ ประการนี้แล
ภิกษุทั้งหลาย อานิสงส์ของการเคี้ยวไม้สีฟัน ๕ ประการนี้
อานิสงส์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ตาสว่าง
๒. ปากไม่เหม็น
๓. ประสาทที่นำรสอาหาร หมดจดดี
๔. ดีและเสมหะไม่หุ้มห่ออาหาร
๕. อาหารอร่อยแก่เขา
ภิกษุทั้งหลาย อานิสงส์ของการเคี้ยวไม้สีฟัน ๕ ประการนี้แล
ทันตกัฏฐสูตรที่ ๘ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๓๕๑ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๕. ปัญจมปัณณาสก์] ๑. กิมพิลวรรค ๑๐. มุฏฐัสสติสูตร
๙. คีตัสสรสูตร
ว่าด้วยโทษของการแสดงธรรมด้วยเสียงขับยาว
[๒๐๙] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้กล่าวธรรมด้วยเสียงขับยาว๑ มีโทษ ๕ ประการนี้
โทษ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. แม้ตนเองก็กำหนัดในเสียงนั้น
๒. แม้ผู้อื่นก็กำหนัดในเสียงนั้น
๓. แม้พวกคหบดีก็ตำหนิว่า ‘พวกสมณศากยบุตรเหล่านี้ ย่อมขับ
เหมือนพวกเรา’
๔. เมื่อภิกษุพอใจการทำเสียง ความเสื่อมแห่งสมาธิ๒ย่อมมี
๕. หมู่คนรุ่นหลังพากันตามอย่าง
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้กล่าวธรรมด้วยเสียงขับยาวมีโทษ ๕ ประการนี้แล
คีตัสสรสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. มุฏฐัสสติสูตร
ว่าด้วยภิกษุผู้หลงลืมสติ
[๒๑๐] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้หลงลืมสติ ไม่มีสัมปชัญญะนอนหลับ มีโทษ
๕ ประการนี้
โทษ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. หลับเป็นทุกข์ ๒. ตื่นเป็นทุกข์
๓. ฝันลามก ๔. เทวดาไม่รักษา
๕. น้ำอสุจิเคลื่อน

เชิงอรรถ :
๑ เสียงขับยาว หมายถึงการขับทำนองที่ทำให้อักขระเพี้ยนไปจนเป็นเหตุทำลายวัตร (ข้อปฏิบัติ) ที่ปรากฏ
ในพระสูตร ปรากฏในคาถาให้สูญหายไป (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๒๐๙/๘๗, องฺ.ปญฺจก.ฏีกา ๓/๒๐๙-๒๑๐/๙๕)
๒ หมายถึงจิตในระดับสมถกัมมัฏฐาน และวิปัสสนากัมมัฏฐานต้องมีอันเสื่อมไป (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๒๐๙/๘๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๓๕๒ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๕. ปัญจมปัณณาสก์] ๑. กิมพิลวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้หลงลืมสติ ไม่มีสัมปชัญญะนอนหลับ มีโทษ ๕ ประการ
นี้แล
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้มีสติตั้งมั่น มีสัมปชัญญะนอนหลับ มีอานิสงส์ ๕
ประการนี้
อานิสงส์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. หลับเป็นสุข ๒. ตื่นเป็นสุข
๓. ไม่ฝันลามก ๔. เทวดารักษา
๕. น้ำอสุจิไม่เคลื่อน
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้มีสติตั้งมั่น มีสัมปชัญญะนอนหลับ มีอานิสงส์ ๕
ประการนี้แล
มุฏฐัสสติสูตรที่ ๑๐ จบ
กิมพิลวรรคที่ ๑ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. กิมพิลสูตร ๒. ธัมมัสสวนสูตร
๓. อัสสาชานียสูตร ๔. พลสูตร
๕. เจโตขิลสูตร ๖. วินิพันธสูตร
๗. ยาคุสูตร ๘. ทันตกัฏฐสูตร
๙. คีตัสสรสูตร ๑๐. มุฏฐัสสติสูตร


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๓๕๓ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๕. ปัญจมปัณณาสก์] ๒. อักโกสกวรรค ๒. ภัณฑนการกสูตร
๒. อักโกสกวรรค
หมวดว่าด้วยโทษของการด่า
๑. อักโกสกสูตร
ว่าด้วยโทษของการด่า
[๒๑๑] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ด่าบริภาษเพื่อน
พรหมจารี ว่าร้ายพระอริยะ พึงหวังได้โทษ ๕ ประการ
โทษ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ต้องอาบัติปาราชิก หรือตัดธรรมเป็นเครื่องปิดกั้น๑
๒. ต้องอาบัติเศร้าหมองกองใดกองหนึ่ง
๓. เป็นโรคร้ายแรง
๔. หลงลืมสติมรณภาพ
๕. หลังจากมรณภาพแล้ว ย่อมไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ด่าบริภาษเพื่อนพรหมจารี ว่าร้ายพระอริยะ พึงหวัง
ได้โทษ ๕ ประการนี้แล
อักโกสกสูตรที่ ๑ จบ

๒. ภัณฑนการกสูตร
ว่าด้วยโทษแห่งการทำความบาดหมาง
[๒๑๒] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ทำความบาดหมาง ทะเลาะ วิวาท ทำความ
อื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์ พึงหวังได้โทษ ๕ ประการ
โทษ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ไม่บรรลุธรรม๒ที่ยังไม่ได้บรรลุ
๒. เสื่อมจากธรรมที่ได้บรรลุแล้ว

เชิงอรรถ :
๑ ธรรมเป็นเครื่องปิดกั้น ในที่นี้หมายถึงโลกุตตรธรรมที่เป็นเครื่องปิดกั้นทางไปอบาย (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๒๑๑/
๘๗, อง.ปญฺจก.ฏีกา ๓/๒๑๑-๒/๙๖)
๒ ธรรม ในที่นี้หมายถึงคุณวิเศษ (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๒๑๒/๘๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๓๕๔ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๕. ปัญจมปัณณาสก์] ๒. อักโกสกวรรค ๓. สีลสูตร
๓. กิตติศัพท์อันชั่วย่อมกระฉ่อนไป
๔. หลงลืมสติมรณภาพ
๕. หลังจากมรณภาพแล้ว ย่อมไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ทำความบาดหมาง ทะเลาะ วิวาท ทำความอื้อฉาว
ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์ พึงหวังได้โทษ ๕ ประการนี้แล
ภัณฑนการกสูตรที่ ๒ จบ

๓. สีลสูตร
ว่าด้วยศีล
[๒๑๓] ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ทุศีลเพราะศีลวิบัติ มีโทษ ๕ ประการนี้
โทษ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. บุคคลผู้ทุศีล มีศีลวิบัติในธรรมวินัยนี้ ย่อมถึงความเสื่อมโภคทรัพย์
เป็นอันมาก ซึ่งมีความประมาทเป็นเหตุ นี้เป็นโทษประการที่ ๑ ของ
บุคคลผู้ทุศีลเพราะศีลวิบัติ
๒. กิตติศัพท์อันชั่วของบุคคลผู้ทุศีลย่อมกระฉ่อนไป นี้เป็นโทษประการ
ที่ ๒ ของบุคคลผู้ทุศีลเพราะศีลวิบัติ
๓. บุคคลผู้ทุศีล มีศีลวิบัติจะเข้าไปยังบริษัทใด ๆ จะเป็นขัตติยบริษัท
ก็ตาม พราหมณบริษัทก็ตาม คหบดีบริษัทก็ตาม สมณบริษัทก็ตาม
ย่อมไม่แกล้วกล้า เก้อเขินเข้าไป นี้เป็นโทษประการที่ ๓ ของบุคคล
ผู้ทุศีลเพราะศีลวิบัติ
๔. บุคคลผู้ทุศีล มีศีลวิบัติ ย่อมหลงลืมสติตาย นี้เป็นโทษประการที่ ๔
ของบุคคลผู้ทุศีลเพราะศีลวิบัติ
๕. บุคคลผู้ทุศีล มีศีลวิบัติ หลังจากตายแล้วย่อมไปเกิดในอบาย ทุคติ
วินิบาต นรก นี้เป็นโทษประการที่ ๕ ของบุคคลผู้ทุศีลเพราะศีลวิบัติ
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ทุศีลเพราะศีลวิบัติ มีโทษ ๕ ประการนี้แล

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๓๕๕ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๕. ปัญจมปัณณาสก์] ๒. อักโกสกวรรค ๓. สีลสูตร
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้มีศีลเพราะสมบูรณ์ด้วยศีล มีอานิสงส์ ๕ ประการนี้
อานิสงส์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. บุคคลผู้มีศีล สมบูรณ์ด้วยศีลในธรรมวินัยนี้ ย่อมมีโภคทรัพย์เป็น
อันมาก ซึ่งมีความไม่ประมาทเป็นเหตุ นี้เป็นอานิสงส์ประการที่ ๑
ของบุคคลผู้มีศีลเพราะสมบูรณ์ด้วยศีล
๒. กิตติศัพท์อันงามของบุคคลผู้มีศีล สมบูรณ์ด้วยศีลย่อมขจรไป
นี้เป็นอานิสงส์ประการที่ ๒ ของบุคคลผู้มีศีลเพราะสมบูรณ์ด้วยศีล
๓. บุคคลผู้มีศีล สมบูรณ์ด้วยศีล จะเข้าไปยังบริษัทใด ๆ จะเป็นขัตติย-
บริษัทก็ตาม พราหมณบริษัทก็ตาม คหบดีบริษัทก็ตาม สมณบริษัท
ก็ตาม ย่อมแกล้วกล้า ไม่เก้อเขินเข้าไป นี้เป็นอานิสงส์ประการที่ ๓
ของบุคคลผู้มีศีลเพราะสมบูรณ์ด้วยศีล
๔. บุคคลผู้มีศีล สมบูรณ์ด้วยศีล ย่อมไม่หลงลืมสติตาย นี้เป็น
อานิสงส์ประการที่ ๔ ของบุคคลผู้มีศีลเพราะสมบูรณ์ด้วยศีล
๕. บุคคลผู้มีศีล สมบูรณ์ด้วยศีล หลังจากตายแล้ว ย่อมไปเกิดในสุคติ
โลกสวรรค์ นี้เป็นอานิสงส์ประการที่ ๕ ของบุคคลผู้มีศีลเพราะ
สมบูรณ์ด้วยศีล
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้มีศีลเพราะสมบูรณ์ด้วยศีลมีอานิสงส์ ๕ ประการนี้แล
สีลสูตรที่ ๓ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๓๕๖ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๕. ปัญจมปัณณาสก์] ๒. อักโกสกวรรค ๕. ปฐมอักขันติสูตร
๔. พหุภาณิสูตร
ว่าด้วยบุคคลผู้พูดมาก
[๒๑๔] ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้พูดมาก๑ มีโทษ ๕ ประการนี้
โทษ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. พูดเท็จ ๒. พูดส่อเสียด
๓. พูดคำหยาบ ๔. พูดเพ้อเจ้อ
๕. หลังจากตายแล้ว ย่อมไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้พูดมาก มีโทษ ๕ ประการนี้แล
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้พูดด้วยมันตา๒ มีอานิสงส์ ๕ ประการนี้
อานิสงส์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ไม่พูดเท็จ ๒. ไม่พูดส่อเสียด
๓. ไม่พูดคำหยาบ ๔. ไม่พูดเพ้อเจ้อ
๕. หลังจากตายแล้ว ย่อมไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้พูดด้วยมันตา มีอานิสงส์ ๕ ประการนี้แล
พหุภาณิสูตรที่ ๔ จบ

๕. ปฐมอักขันติสูตร
ว่าด้วยความไม่อดทน สูตรที่ ๑
[๒๑๕] ภิกษุทั้งหลาย ความไม่อดทนมีโทษ ๕ ประการนี้
โทษ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่พอใจของคนหมู่มาก
๒. เป็นผู้มากด้วยเวร๓

เชิงอรรถ :
๑ พูดมาก หมายถึงพูดไม่ประกอบด้วยปัญญา (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๒๑๔/๘๙)
๒ มันตา เป็นชื่อเรียกแทนปัญญา (องฺ.ปญฺจ.อ. ๓/๒๑๔/๘๙)
๓ มากด้วยเวร หมายถึงมีบุคคลผู้เป็นเวรต่อกันมาก มีการประพฤติอกุศลกรรมมาก (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๒๑๕/๘๙)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๓๕๗ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๕. ปัญจมปัณณาสก์] ๒. อักโกสกวรรค ๖. ทุติยอักขันติสูตร
๓. เป็นผู้มากด้วยโทษ
๔. เป็นผู้หลงลืมสติตาย
๕. หลังจากตายแล้ว ย่อมไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก
ภิกษุทั้งหลาย ความไม่อดทนมีโทษ ๕ ประการนี้แล
ภิกษุทั้งหลาย ความอดทนมีอานิสงส์ ๕ ประการนี้
อานิสงส์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. เป็นที่รักเป็นที่พอใจของคนหมู่มาก
๒. เป็นผู้ไม่มากด้วยเวร
๓. เป็นผู้ไม่มากด้วยโทษ
๔. เป็นผู้ไม่หลงลืมสติตาย
๕. หลังจากตายแล้ว ย่อมไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์
ภิกษุทั้งหลาย ความอดทนมีอานิสงส์ ๕ ประการนี้แล
ปฐมอักขันติสูตรที่ ๕ จบ

๖. ทุติยอักขันติสูตร
ว่าด้วยความไม่อดทน สูตรที่ ๒
[๒๑๖] ภิกษุทั้งหลาย ความไม่อดทนมีโทษ ๕ ประการนี้
โทษ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ไม่เป็นที่รักเป็นที่พอใจของคนหมู่มาก
๒. เป็นผู้ดุร้าย
๓. เป็นผู้มีวิปปฏิสาร
๔. เป็นผู้หลงลืมสติตาย
๕. หลังจากตายแล้ว ย่อมไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก
ภิกษุทั้งหลาย ความไม่อดทนมีโทษ ๕ ประการนี้แล

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๓๕๘ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๕. ปัญจมปัณณาสก์] ๒. อักโกสกวรรค ๗. ปฐมอปาสาทิกสูตร
ภิกษุทั้งหลาย ความอดทนมีอานิสงส์ ๕ ประการนี้
อานิสงส์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. เป็นที่รักเป็นที่พอใจของคนหมู่มาก
๒. เป็นผู้ไม่ดุร้าย
๓. เป็นผู้ไม่มีวิปปฏิสาร
๔. เป็นผู้ไม่หลงลืมสติตาย
๕. หลังจากตายแล้ว ย่อมไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์
ภิกษุทั้งหลาย ความอดทนมีอานิสงส์ ๕ ประการนี้แล
ทุติยอักขันติสูตรที่ ๖ จบ

๗. ปฐมอปาสาทิกสูตร
ว่าด้วยบุคคลผู้ไม่น่าเลื่อมใส๑ สูตรที่ ๑
[๒๑๗] ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ไม่น่าเลื่อมใส มีโทษ ๕ ประการนี้
โทษ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. แม้ตนก็ติเตียนตนเองได้
๒. ผู้รู้ใคร่ครวญแล้วย่อมติเตียนได้
๓. กิตติศัพท์อันชั่วย่อมกระฉ่อนไป
๔. หลงลืมสติตาย
๕. หลังจากตายแล้ว ย่อมไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ไม่น่าเลื่อมใส มีโทษ ๕ ประการนี้แล
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้น่าเลื่อมใส๒ มีอานิสงส์ ๕ ประการนี้

เชิงอรรถ :
๑ ผู้ไม่น่าเลื่อมใส หมายถึงผู้ประกอบด้วยกายทุจริต วจีทุจริต และมโนทุจริตที่ไม่น่าเลื่อมใส (องฺ.ปญฺจก.อ.
๓/๒๑๗/๘๙) และดู องฺ.ทุก. (แปล) ๒๐/๑๘/๗๑
๒ ผู้น่าเลื่อมใส หมายถึงผู้มีความประพฤติอันบริสุทธิ์ กล่าวคือประกอบกายสุจริต วจีสุจริต และมโนสุจริต
อันนำมาซึ่งความเลื่อมใส (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๒๑๗/๘๙) และดู องฺ.ทุก. (แปล) ๒๐/๑๘/๗๑

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๓๕๙ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๕. ปัญจมปัณณาสก์] ๒. อักโกสกวรรค ๘. ทุติยอปาสาทิกสูตร
อานิสงส์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. แม้ตนก็ติเตียนตนเองไม่ได้
๒. ผู้รู้ใคร่ครวญแล้วย่อมสรรเสริญ
๓. กิตติศัพท์อันงามย่อมขจรไป
๔. ไม่หลงลืมสติตาย
๕. หลังจากตายแล้ว ย่อมไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้น่าเลื่อมใส มีอานิสงส์ ๕ ประการนี้แล
ปฐมอปาสาทิกสูตรที่ ๗ จบ

๘. ทุติยอปาสาทิกสูตร
ว่าด้วยบุคคลผู้ไม่น่าเลื่อมใส สูตรที่ ๒
[๒๑๘] ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ไม่น่าเลื่อมใส มีโทษ ๕ ประการนี้
โทษ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. คนที่ยังไม่เลื่อมใส ย่อมไม่เลื่อมใส
๒. คนที่เลื่อมใสแล้วย่อมกลายเป็นอื่น
๓. ไม่ปฏิบัติตนตามคำสอนของศาสดา
๔. หมู่คนรุ่นหลัง๑พากันตามอย่าง
๕. จิตของเธอย่อมไม่เลื่อมใส๒
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ไม่น่าเลื่อมใส มีโทษ ๕ ประการนี้แล
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้น่าเลื่อมใส มีอานิสงส์ ๕ ประการนี้

เชิงอรรถ :
๑ หมู่คนรุ่นหลัง หมายถึงสัทธิวิหาริก(ผู้อยู่ด้วย) เป็นคำเรียกผู้ได้รับอุปสมบทจากพระอุปัชฌาย์และ
อันเตวาสิก(ผู้อยู่ในสำนัก) มี ๔ ประเภท คือ (๑) ปัพพัชชันเตวาสิก (อันเตวาสิกในบรรพชา)
(๒) อุปสัมปทันเตวาสิก (อันเตวาสิกในอุปสมบท) (๓) นิสสยันเตวาสิก (อันเตวาสิกผู้ถือนิสสัย)
(๔) ธัมมันเตวาสิก (อันเตวาสิกผู้เรียนธรรม) (องฺ.ทุก.อ. ๒/๔๕/๕๓)
๒ พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉบับ “PALI TEXT SOCIETY” แปลว่า จิตของเขาไม่บรรลุความสุขสงบ
(One‘s heart wins not to peace) (The Book of the Gradual Sayings, VOL. III, P. 187)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๓๖๐ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๕. ปัญจมปัณณาสก์] ๒. อักโกสกวรรค ๙. อัคคิสูตร
อานิสงส์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. คนที่ยังไม่เลื่อมใส ย่อมเลื่อมใส
๒. คนที่เลื่อมใสแล้ว ย่อมเลื่อมใสยิ่งขึ้น
๓. ปฏิบัติตนตามคำสอนของศาสดา
๔. หมู่คนรุ่นหลังพากันตามอย่าง
๕. จิตของเธอย่อมเลื่อมใส
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้น่าเลื่อมใส มีอานิสงส์ ๕ ประการนี้แล
ทุติยอปาสาทิกสูตรที่ ๘ จบ

๙. อัคคิสูตร
ว่าด้วยโทษของไฟ
[๒๑๙] ภิกษุทั้งหลาย ไฟมีโทษ ๕ ประการ
โทษ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ทำให้ตาฝ้าฟาง
๒. ทำให้ผิวหยาบกร้าน
๓. ทำให้อ่อนกำลัง
๔. เพิ่มพูนการคลุกคลีด้วยหมู่
๕. เป็นเหตุให้สนทนาติรัจฉานกถา๑
ภิกษุทั้งหลาย ไฟมีโทษ ๕ ประการนี้แล
อัคคิสูตรที่ ๙ จบ

เชิงอรรถ :
๑ ติรัจฉานกถา หมายถึงถ้อยคำอันขวางทางไปสู่สวรรค์หรือนิพพาน ได้แก่ เรื่องราวที่ภิกษุไม่ควรนำมาเป็น
ข้อถกเถียงสนทนากัน เพราะทำให้เกิดฟุ้งซ่าน และหลงเพลินเสียเวลา (ที.สี.อ. ๑๗/๘๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๓๖๑ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๕. ปัญจมปัณณาสก์] ๒. อักโกสกวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค
๑๐. มธุราสูตร
ว่าด้วยนครมธุรา๑
[๒๒๐] ภิกษุทั้งหลาย นครมธุรา มีโทษ ๕ ประการนี้
โทษ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. มีพื้นดินไม่ราบเรียบ
๒. มีฝุ่นละอองมาก
๓. มีสุนัขดุ
๔. มียักษ์ร้าย
๕. หาอาหารได้ยาก
ภิกษุทั้งหลาย นครมธุรา มีโทษ ๕ ประการนี้แล
มธุราสูตรที่ ๑๐ จบ
อักโกสกวรรคที่ ๒ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. อักโกสกสูตร ๒. ภัณฑนการกสูตร
๓. สีลสูตร ๔. พหุภาณิสูตร
๕. ปฐมอักขันติสูตร ๖. ทุติยอักขันติสูตร
๗. ปฐมอปาสาทิกสูตร ๘. ทุติยอปาสาทิกสูตร
๙. อัคคิสูตร ๑๐. มธุราสูตร


เชิงอรรถ :
๑ นครมธุรา (Madhura) นี้เป็นเมืองหลวงของแคว้นสุรเสนะ ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำยมุนา มีกษัตริย์ปกครองพระ
นามว่า อวันตีบุตร บางทีเมืองนี้ เรียกอีกชื่อว่า อุตตรมธุรา (มธุราเหนือ) เพื่อให้ต่างจากเมืองมธุราตอน
ใต้ของอินเดียที่มีชื่อว่าทักขิณมธุรา เมืองอุตตรมธุรานี้ ปัจจุบันเรียกว่า มถุรา หรือมุตตระ ตั้งอยู่ตอน
เหนือห่างจากที่ตั้งเดิมระยะทาง ๕ ไมล์ และที่ตั้งเดิมกลายเป็นเมืองใหม่ชื่อมโหลี (G.P. MALALASERA,
Dictionary of Pali Proper Names, London : Luzac Company Ltd, 46 Russell Street 1960.)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๓๖๒ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๕. ปัญจมปัณณาสก์] ๓. ทีฆจาริกวรรค ๑. ปฐมทีฆจาริกสูตร
๓. ทีฆจาริกวรรค
หมวดว่าด้วยการจาริกไปนาน
๑. ปฐมทีฆจาริกสูตร
ว่าด้วยการจาริกไปนาน สูตรที่ ๑
[๒๒๑] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้จาริกไปนาน จาริกไป
ไม่มีกำหนด มีโทษ ๕ ประการ
โทษ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ไม่ได้ฟังสิ่งที่ยังไม่เคยฟัง
๒. ไม่เข้าใจชัดสิ่งที่ได้ฟังแล้ว
๓. ไม่แกล้วกล้าในเรื่องที่ได้ฟังแล้ว๑
๔. เป็นโรคร้ายแรง
๕. เป็นผู้ไม่มีมิตร
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้จาริกไปนาน จาริกไปไม่มีกำหนด มีโทษ ๕ ประการนี้แล
ภิกษุทั้งหลาย การจาริกไปมีกำหนดพอดี มีอานิสงส์ ๕ ประการนี้
อานิสงส์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ได้ฟังสิ่งที่ยังไม่เคยฟัง
๒. เข้าใจชัดสิ่งที่ได้ฟังแล้ว
๓. แกล้วกล้าในเรื่องที่ได้ฟังแล้ว
๔. ไม่เป็นโรคร้ายแรง
๕. เป็นผู้มีมิตร
ภิกษุทั้งหลาย การจาริกไปมีกำหนดพอดี มีอานิสงส์ ๕ ประการนี้แล
ปฐมทีฆจาริกสูตรที่ ๑ จบ

เชิงอรรถ :
๑ ไม่แกล้วกล้าในเรื่องที่ได้ฟังแล้ว หมายถึงไม่เกิดโสมนัสด้วยญาณที่มีอยู่ (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๒๒๑/๙๐)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๓๖๓ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๕. ปัญจมปัณณาสก์] ๓. ทีฆจาริกวรรค ๒. ทุติยทีฆจาริกสูตร
๒. ทุติยทีฆจาริกสูตร
ว่าด้วยการจาริกไปนาน สูตรที่ ๒
[๒๒๒] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้จาริกไปนาน จาริกไปไม่มีกำหนด มีโทษ ๕
ประการนี้
โทษ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ไม่บรรลุธรรมที่ยังไม่ได้บรรลุ
๒. เสื่อมจากธรรมที่ได้บรรลุแล้ว
๓. ไม่แกล้วกล้าในธรรมที่ได้บรรลุแล้ว
๔. เป็นโรคร้ายแรง
๕. เป็นผู้ไม่มีมิตร
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้จาริกไปนาน จาริกไปไม่มีกำหนด มีโทษ ๕ ประการนี้แล
ภิกษุทั้งหลาย การจาริกไปมีกำหนดพอดี มีอานิสงส์ ๕ ประการนี้
อานิสงส์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ได้บรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ
๒. ไม่เสื่อมจากธรรมที่ได้บรรลุแล้ว
๓. แกล้วกล้าในธรรมที่ได้บรรลุแล้ว
๔. ไม่เป็นโรคร้ายแรง
๕. เป็นผู้มีมิตร
ภิกษุทั้งหลาย การจาริกไปมีกำหนดพอดี มีอานิสงส์ ๕ ประการนี้แล
ทุติยทีฆจาริกสูตรที่ ๒ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๓๖๔ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๕. ปัญจมปัณณาสก์] ๓. ทีฆจาริกวรรค ๓. อตินิวาสสูตร
๓. อตินิวาสสูตร
ว่าด้วยการอยู่ประจำที่นาน
[๒๒๓] ภิกษุทั้งหลาย การอยู่ประจำที่นาน มีโทษ ๕ ประการนี้
โทษ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. มีสิ่งของมาก สะสมสิ่งของมาก
๒. มีเภสัชมาก สะสมเภสัชมาก
๓. มีกิจมาก มีหน้าที่ที่จะต้องทำมาก ยึดติดในการงานที่จะพึงทำ
๔. อยู่คลุกคลีกับคฤหัสถ์และบรรพชิตด้วยการคลุกคลีอย่างคฤหัสถ์อัน
ไม่สมควร
๕. เมื่อจากอาวาสนั้นไป ก็จากไปทั้งที่ยังมีความห่วงใย
ภิกษุทั้งหลาย การอยู่ประจำที่นาน มีโทษ ๕ ประการนี้แล
ภิกษุทั้งหลาย การอยู่มีกำหนดพอดี มีอานิสงส์ ๕ ประการนี้
อานิสงส์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ไม่มีสิ่งของมาก ไม่สะสมสิ่งของมาก
๒. ไม่มีเภสัชมาก ไม่สะสมเภสัชมาก
๓. ไม่มีกิจมาก ไม่มีหน้าที่ที่จะต้องทำมาก ไม่ยึดติดในการงานที่จะ
พึงทำ
๔. ไม่อยู่คลุกคลีกับคฤหัสถ์และบรรพชิตด้วยการคลุกคลีอย่างคฤหัสถ์
อันไม่สมควร
๕. เมื่อจากอาวาสนั้นไป ก็จากไปโดยไม่มีความห่วงใย
ภิกษุทั้งหลาย การอยู่มีกำหนดพอดี มีอานิสงส์ ๕ ประการนี้แล
อตินิวาสสูตรที่ ๓ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๓๖๕ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๕. ปัญจมปัณณาสก์] ๓. ทีฆจาริกวรรค ๔. มัจฉรีสูตร
๔. มัจฉรีสูตร
ว่าด้วยความตระหนี่
[๒๒๔] ภิกษุทั้งหลาย การอยู่ประจำที่นาน มีโทษ ๕ ประการนี้
โทษ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. เป็นผู้ตระหนี่อาวาส
๒. เป็นผู้ตระหนี่ตระกูล
๓. เป็นผู้ตระหนี่ลาภ
๔. เป็นผู้ตระหนี่วรรณะ๑
๕. เป็นผู้ตระหนี่ธรรม๒
ภิกษุทั้งหลาย การอยู่ประจำที่นาน มีโทษ ๕ ประการนี้แล
ภิกษุทั้งหลาย การอยู่มีกำหนดพอดี มีอานิสงส์ ๕ ประการนี้
อานิสงส์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. เป็นผู้ไม่ตระหนี่อาวาส
๒. เป็นผู้ไม่ตระหนี่ตระกูล
๓. เป็นผู้ไม่ตระหนี่ลาภ
๔. เป็นผู้ไม่ตระหนี่วรรณะ
๕. เป็นผู้ไม่ตระหนี่ธรรม
ภิกษุทั้งหลาย การอยู่มีกำหนดพอดี มีอานิสงส์ ๕ ประการนี้แล
มัจฉรีสูตรที่ ๔ จบ

เชิงอรรถ :
๑ ตระหนี่วรรณะ ในที่นี้หมายถึงตระหนี่คุณความดี (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๒๒๓-๒๒๔/๙๐)
๒ ตระหนี่ธรรม ในที่นี้หมายถึงตระหนี่ปริยัติ (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๒๒๓-๒๒๔/๙๐)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๓๖๖ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๕. ปัญจมปัณณาสก์] ๓. ทีฆจาริกวรรค ๕. ปฐมกุลุปกสูตร
๕. ปฐมกุลุปกสูตร
ว่าด้วยภิกษุผู้เข้าไปสู่ตระกูล สูตรที่ ๑
[๒๒๕] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้เข้าไปสู่ตระกูล มีโทษ ๕ ประการนี้
โทษ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ต้องอาบัติเพราะเที่ยวไปไม่บอกลา๑
๒. ต้องอาบัติเพราะนั่งในที่ลับ๒
๓. ต้องอาบัติเพราะนั่งบนอาสนะที่กำบัง๓
๔. ต้องอาบัติเพราะแสดงธรรมแก่มาตุคามเกินกว่า ๕-๖ คำ๔
๕. เป็นผู้มากไปด้วยความดำริในกามอยู่
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้เข้าไปสู่ตระกูล มีโทษ ๕ ประการนี้แล
ปฐมกุลุปกสูตรที่ ๕ จบ

เชิงอรรถ :
๑ ต้องอาบัติเพราะเที่ยวไปไม่บอกลา หมายถึงต้องอาบัติตามสิกขาบทที่บัญญัติไว้ว่า“ภิกษุใดรับนิมนต์ไว้แล้ว
มีภัตตาหารอยู่แล้ว(ที่ทายกจัดเตรียมไว้ถวาย)เที่ยวสัญจรไปในตระกูลทั้งหลายก่อนเวลาฉันภัตตาหาร
(ภิกษุนั้น)ต้องอาบัติปาจิตตีย์” (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๒๒๕-๒๒๖/๙๐) และดู วิ.มหา. (แปล) ๒/๒๙๔-๒๙๗/
๔๓๗-๔๔๐
๒ ต้องอาบัติเพราะนั่งในที่ลับ ในที่นี้หมายถึงต้องอาบัติตามสิกขาบทที่บัญญัติไว้ว่า “ภิกษุใดนั่งในที่ลับกับ
มาตุคามสองต่อสอง(ภิกษุนั้น)ต้องอาบัติปาจิตตีย์” (องฺ.ปญฺจก.ฏีกา ๓/๒๒๑-๒๓๐/๙๗) และดู วิ.มหา.
(แปล) ๒/๒๘๙-๒๙๑/๔๓๔-๔๓๕
๓ ต้องอาบัติเพราะนั่งบนอาสนะที่กำบัง หมายถึงต้องอาบัติตามสิกขาบทที่บัญญัติไว้ว่า “ภิกษุใดนั่งบน
อาสนะที่กำบังกับมาตุคาม (ภิกษุนั้น) ต้องอาบัติปาจิตตีย์” (องฺ.ปญฺจก.ฏีกา. ๓/๒๒๑-๒๓๐/๙๗) และดู
วิ.มหา. (แปล) ๑/๔๔๔-๔๔๘/๔๗๔-๔๗๗
๔ ต้องอาบัติเพราะแสดงธรรมแก่มาตุคามเกินกว่า ๕-๖ คำ หมายถึงต้องอาบัติตามสิกขาบทที่บัญญัติไว้
ว่า “ภิกษุใดแสดงธรรมแก่มาตุคามเกิน ๕-๖ คำ (ภิกษุนั้น) ต้องอาบัติปาจิตตีย์ เว้นไว้แต่มีบุรุษรู้เดียงสา
อยู่ด้วย” (องฺ.ปญฺจก.ฏีกา ๓/๒๒๑-๒๓๐/๙๗-๙๘) และดู วิ.มหา. (แปล) ๒/๖๐-๖๕/๒๔๖-๒๕๐

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๓๖๗ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๕. ปัญจมปัณณาสก์] ๓. ทีฆจาริกวรรค ๗. โภคสูตร
๖. ทุติยกุลุปกสูตร
ว่าด้วยภิกษุผู้เข้าไปสู่ตระกูล สูตรที่ ๒
[๒๒๖] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้เข้าไปสู่ตระกูล อยู่คลุกคลีในตระกูลนานเกิน
เวลา มีโทษ ๕ ประการนี้
โทษ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ทำให้เห็นมาตุคามเป็นประจำ
๒. เมื่อมีการเห็น ย่อมมีการคลุกคลี
๓. เมื่อมีการคลุกคลี ย่อมมีความคุ้นเคย
๔. เมื่อมีความคุ้นเคย ย่อมมีจิตจดจ่อ
๕. เมื่อมีจิตจดจ่อ พึงหวังได้ว่า เธอจักไม่ยินดีประพฤติพรหมจรรย์
จักต้อง อาบัติเศร้าหมองกองใดกองหนึ่ง หรือจักบอกคืนสิกขา กลับมา
เป็นคฤหัสถ์
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้เข้าไปสู่ตระกูล อยู่คลุกคลีในตระกูลนานเกินเวลา มีโทษ
๕ ประการนี้แล
ทุติยกุลุปกสูตรที่ ๖ จบ

๗. โภคสูตร
ว่าด้วยโภคทรัพย์
[๒๒๗] ภิกษุทั้งหลาย โภคทรัพย์มีโทษ ๕ ประการนี้
โทษ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. โภคทรัพย์เป็นสิ่งทั่วไปแก่ไฟ
๒. โภคทรัพย์เป็นสิ่งทั่วไปแก่น้ำ
๓. โภคทรัพย์เป็นสิ่งทั่วไปแก่พระราชา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๓๖๘ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๕. ปัญจมปัณณาสก์] ๓. ทีฆจาริกวรรค ๘. อุสสูรภัตตสูตร
๔. โภคทรัพย์เป็นสิ่งทั่วไปแก่โจร
๕. โภคทรัพย์เป็นสิ่งทั่วไปแก่ทายาทผู้ไม่เป็นที่รัก
ภิกษุทั้งหลาย โภคทรัพย์มีโทษ ๕ ประการนี้แล
ภิกษุทั้งหลาย โภคทรัพย์มีอานิสงส์ ๕ ประการนี้
อานิสงส์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. บุคคลอาศัยโภคทรัพย์จึงบำรุงตน บริหารให้เป็นสุขโดยชอบ
๒. บุคคลอาศัยโภคทรัพย์จึงบำรุงบิดามารดา บริหารให้เป็นสุขโดยชอบ
๓. บุคคลอาศัยโภคทรัพย์จึงบำรุงบุตร ภรรยา ทาส กรรมกร และ
คนใช้ บริหารให้เป็นสุขโดยชอบ
๔. บุคคลอาศัยโภคทรัพย์จึงบำรุงมิตรอำมาตย์๑ บริหารให้เป็นสุข
โดยชอบ
๕. บุคคลอาศัยโภคทรัพย์จึงบำเพ็ญทักษิณาในสมณพราหมณ์ซึ่งมีผล
มากเป็นไปเพื่อให้ได้อารมณ์ดี มีสุขเป็นผลให้เกิดในสวรรค์
ภิกษุทั้งหลาย โภคทรัพย์มีอานิสงส์ ๕ ประการนี้แล
โภคสูตรที่ ๗ จบ

๘. อุสสูรภัตตสูตร
ว่าด้วยภัตรหุงต้มในเวลาสาย
[๒๒๘] ภิกษุทั้งหลาย ตระกูลมีภัตรที่หุงต้มในเวลาสาย มีโทษ ๕ ประการนี้
โทษ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ไม่ได้ต้อนรับแขกที่ควรต้อนรับตามเวลา
๒. ไม่ได้เซ่นไหว้เทวดาผู้รับพลีกรรมตามเวลา
๓. ไม่ได้ถวายสมณพราหมณ์ผู้ฉันมื้อเดียว ไม่ฉันตอนกลางคืน งดเว้น
การฉันในเวลาวิกาลตามเวลา

เชิงอรรถ :
๑ ดูเชิงอรรถที่ ๒ ข้อ ๔๐ (มหาสาลปุตตสูตร) หน้า ๖๓ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๓๖๙ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๕. ปัญจมปัณณาสก์] ๓. ทีฆจาริกวรรค ๙. ปฐมกัณหสัปปสูตร
๔. ทาส กรรมกร และคนใช้ หลบหน้าทำการงาน
๕. อาหารที่บริโภคในเวลาไม่ควรเช่นนั้นไม่มีโอชา
ภิกษุทั้งหลาย ตระกูลมีภัตรที่หุงต้มในเวลาสาย มีโทษ ๕ ประการนี้แล
ภิกษุทั้งหลาย ตระกูลมีภัตรที่หุงต้มตามเวลา มีอานิสงส์ ๕ ประการนี้
อานิสงส์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ได้ต้อนรับแขกที่ควรต้อนรับตามเวลา
๒. ได้เซ่นไหว้เทวดาผู้รับพลีกรรมตามเวลา
๓. ได้ถวายสมณพราหมณ์ผู้ฉันมื้อเดียว ไม่ฉันตอนกลางคืน งดเว้น
การฉันในเวลาวิกาลตามเวลา
๔. ทาส กรรมกร และคนใช้ ไม่หลบหน้าทำการงาน
๕. อาหารที่บริโภคในเวลาที่ควรเช่นนั้นมีโอชา
ภิกษุทั้งหลาย ตระกูลมีภัตรที่หุงต้มตามเวลา มีอานิสงส์ ๕ ประการนี้แล
อุสสูรภัตตสูตรที่ ๘ จบ

๙. ปฐมกัณหสัปปสูตร
ว่าด้วยงูเห่า สูตรที่ ๑
[๒๒๙] ภิกษุทั้งหลาย งูเห่ามีโทษ ๕ ประการนี้
โทษ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. เป็นสัตว์ไม่สะอาด
๒. เป็นสัตว์มีกลิ่นเหม็น
๓. เป็นสัตว์น่ากลัว
๔. เป็นสัตว์มีภัย
๕. เป็นสัตว์มักทำร้ายมิตร
ภิกษุทั้งหลาย งูเห่ามีโทษ ๕ ประการนี้แล

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๓๗๐ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๕. ปัญจมปัณณาสก์] ๓. ทีฆจาริกวรรค ๑๐. ทุติยกัณหสัปปสูตร
ภิกษุทั้งหลาย ในทำนองเดียวกัน มาตุคามมีโทษ ๕ ประการนี้
โทษ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. เป็นผู้ไม่สะอาด
๒. เป็นผู้มีกลิ่นเหม็น
๓. เป็นผู้น่ากลัวมาก
๔. เป็นผู้มีภัย
๕. เป็นผู้มักทำร้ายมิตร๑
ภิกษุทั้งหลาย มาตุคามมีโทษ ๕ ประการนี้แล
ปฐมกัณหสัปปสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. ทุติยกัณหสัปปสูตร
ว่าด้วยงูเห่า สูตรที่ ๒
[๒๓๐] ภิกษุทั้งหลาย งูเห่ามีโทษ ๕ ประการนี้
โทษ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. เป็นสัตว์มักโกรธ
๒. เป็นสัตว์มักผูกโกรธ
๓. เป็นสัตว์มีพิษร้าย
๔. เป็นสัตว์มีลิ้นสองแฉก
๕. เป็นสัตว์มักทำร้ายมิตร
ภิกษุทั้งหลาย งูเห่ามีโทษ ๕ ประการนี้แล
ภิกษุทั้งหลาย ในทำนองเดียวกัน มาตุคามมีโทษ ๕ ประการนี้
โทษ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. เป็นผู้มักโกรธ
๒. เป็นผู้มักผูกโกรธ

เชิงอรรถ :
๑ ประทุษร้าย เบียดเบียนแม้มิตรผู้ให้น้ำและโภชนาหารแก่ตน (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๒๒๙/๙๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๓๗๑ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๕. ปัญจมปัณณาสก์] ๓. ทีฆจาริกวรร รวมพระสูตรที่มีในวรรค
๓. เป็นผู้มีพิษร้าย
๔. เป็นผู้มีลิ้นสองแฉก
๕. เป็นผู้มักทำร้ายมิตร
ภิกษุทั้งหลาย บรรดาโทษ ๕ ประการนั้น การที่มาตุคามมีพิษร้าย หมายถึง
ส่วนมากมาตุคามมีราคะจัด การที่มาตุคามมีลิ้นสองแฉก หมายถึงส่วนมาก
มาตุคามมักพูดส่อเสียด การที่มาตุคามมักทำร้ายมิตร หมายถึงส่วนมากมาตุคาม
มักนอกใจ
ภิกษุทั้งหลาย มาตุคามมีโทษ ๕ ประการนี้แล
ทุติยกัณหสัปปสูตรที่ ๑๐ จบ
ทีฆจาริกวรรคที่ ๓ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. ปฐมทีฆจาริกสูตร ๒. ทุติยทีฆจาริกสูตร
๓. อตินิวาสสูตร ๔. มัจฉรีสูตร
๕. ปฐมกุลุปกสูตร ๖. ทุติยกุลุปกสูตร
๗. โภคสูตร ๘. อุสสูรภัตตสูตร
๙. ปฐมกัณหสัปปสูตร ๑๐. ทุติยกัณหสัปปสูตร


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๓๗๒ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๕. ปัญจมปัณณาสก์] ๔. อาวาสิกวรรค ๑. อาวาสิกสูตร
๔. อาวาสิกวรรค
หมวดว่าด้วยภิกษุผู้เป็นเจ้าอาวาส
๑. อาวาสิกสูตร
ว่าด้วยธรรมของเจ้าอาวาส
[๒๓๑] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเจ้าอาวาสประกอบด้วย
ธรรม ๕ ประการ เป็นผู้ไม่ควรยกย่อง
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุเจ้าอาวาส
๑. เป็นผู้ไม่เพียบพร้อมด้วยมรรยาท๑ ไม่เพียบพร้อมด้วยวัตร
๒. ไม่เป็นพหูสูต ไม่ทรงสุตะ
๓. เป็นผู้ไม่ประพฤติขัดเกลา ไม่ยินดีการหลีกเร้น
๔. เป็นผู้ไม่ยินดีในกัลยาณธรรม ไม่มีวาจางาม ไม่เจรจาถ้อยคำไพเราะ
๕. มีปัญญาทราม โง่เขลา เป็นคนเซอะ
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเจ้าอาวาสประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล เป็นผู้ไม่ควร
ยกย่อง
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเจ้าอาวาสประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ เป็นผู้ควรยกย่อง
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุเจ้าอาวาส
๑. เป็นผู้เพียบพร้อมด้วยมรรยาท เพียบพร้อมด้วยวัตร
๒. เป็นพหูสูต ทรงสุตะ

เชิงอรรถ :
๑ ไม่เพียบพร้อมด้วยมรรยาท (อากัปปะ) หมายถึงมรรยาทของความเป็นสมณะ (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๒๓๑/๙๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๓๗๓ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๕. ปัญจมปัณณาสก์] ๔. อาวาสิกวรรค ๒. ปิยสูตร
๓. เป็นผู้ประพฤติขัดเกลา ยินดีในการหลีกเร้น
๔. เป็นผู้ยินดีในกัลยาณธรรม มีวาจางาม เจรจาถ้อยคำไพเราะ
๕. มีปัญญา ไม่โง่เขลา ไม่เป็นคนเซอะ
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเจ้าอาวาสประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล เป็นผู้ควร
ยกย่อง
อาวาสิกสูตรที่ ๑ จบ

๒. ปิยสูตร
ว่าด้วยธรรมที่เป็นเหตุให้เป็นที่รัก
[๒๓๒] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเจ้าอาวาสประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อม
เป็นที่รัก เป็นที่พอใจ เป็นที่เคารพ และเป็นที่ยกย่องของเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุเจ้าอาวาส
๑. เป็นผู้มีศีล สำรวมด้วยการสังวรในปาติโมกข์ เพียบพร้อมด้วย
อาจาระและโคจร มีปกติเห็นภัยในโทษแม้เล็กน้อย สมาทานศึกษา
อยู่ในสิกขาบททั้งหลาย
๒. เป็นพหูสูต ทรงสุตะ สั่งสมสุตะ เป็นผู้ได้ฟังธรรมทั้งหลายที่มีความ
งามในเบื้องต้น มีความงามในท่ามกลาง มีความงามในที่สุด ประกาศ
พรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถและพยัญชนะ บริสุทธิ์ บริบูรณ์ครบถ้วน
แล้วทรงจำไว้ได้ คล่องปาก ขึ้นใจ แทงตลอดดีด้วยทิฏฐิ
๓. เป็นผู้มีวาจางาม เจรจาถ้อยคำไพเราะอันประกอบด้วยวาจาชาวเมือง
ที่สละสลวย ไม่หยาบคาย ให้รู้ความหมายได้
๔. เป็นผู้ได้ฌาน ๔ อันมีในจิตยิ่ง ซึ่งเป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน
ตามความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ได้โดยไม่ลำบาก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๓๗๔ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๕. ปัญจมปัณณาสก์] ๔. อาวาสิกวรรค ๓. โสภณสูตร
๕. ทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันไม่มีอาสวะ เพราะอาสวะสิ้นไป
ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง เข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเจ้าอาวาสประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมเป็น
ที่รัก เป็นที่พอใจ เป็นที่เคารพ และเป็นที่ยกย่องของเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย
ปิยสูตรที่ ๒ จบ

๓. โสภณสูตร
ว่าด้วยธรรมที่เป็นเหตุให้อาวาสงดงาม
[๒๓๓] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเจ้าอาวาสประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อม
ทำอาวาสให้งดงาม
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุเจ้าอาวาส
๑. เป็นผู้มีศีล สำรวม ฯลฯ๑ ศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย
๒. เป็นพหูสูต ฯลฯ แทงตลอดดีด้วยทิฏฐิ
๓. เป็นผู้มีวาจางาม เจรจาถ้อยคำไพเราะอันประกอบด้วยวาจาชาวเมือง
ที่สละสลวย ไม่หยาบคาย ให้รู้ความหมายได้
๔. เป็นผู้สามารถชี้แจงบุคคลผู้เข้าไปหาให้เห็นชัด ชวนใจให้อยากรับ
เอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริง
ด้วยธรรมีกถา
๕. เป็นผู้ได้ฌาน ๔ อันมีในจิตยิ่ง ซึ่งเป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน
ตามความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ได้โดยไม่ลำบาก
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเจ้าอาวาสประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมทำ
อาวาสให้งดงาม
โสภณสูตรที่ ๓ จบ

เชิงอรรถ :
๑ ฯลฯ ที่ปรากฏในข้อ ๒๓๓-๒๓๔ ดูความเต็มในข้อ ๒๓๒

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๓๗๕ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๕. ปัญจมปัณณาสก์] ๔. อาวาสิกวรรค ๔. พหูปการสูตร
๔. พหูปการสูตร
ว่าด้วยธรรมที่เป็นเหตุให้มีอุปการะมากแก่อาวาส
[๒๓๔] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเจ้าอาวาสประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้
ย่อมเป็นผู้มีอุปการะมากแก่อาวาส
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุเจ้าอาวาส
๑. เป็นผู้มีศีล ฯลฯ สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย
๒. เป็นพหูสูต ฯลฯ แทงตลอดดีด้วยทิฏฐิ
๓. ปฏิสังขรณ์เสนาสนะที่ปรักหักพัง
๔. เมื่อภิกษุสงฆ์จำนวนมากเข้ามาถึง หรือภิกษุจากต่างแคว้นเข้ามาถึง
เธอเข้าไปบอก๑พวกคฤหัสถ์ว่า ‘ผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุสงฆ์จำนวน
มากเข้ามาถึงแล้ว ภิกษุจากต่างแคว้นเข้ามาถึงแล้ว ขอเชิญพวก
ท่านทำบุญเถิด นี้เป็นกาลสมัยที่จะทำบุญ’
๕. เป็นผู้ได้ฌาน ๔ อันมีในจิตยิ่ง ซึ่งเป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน
ตามความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ได้โดยไม่ลำบาก
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเจ้าอาวาสประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมเป็น
ผู้มีอุปการะมากแก่อาวาส
พหูปการสูตรที่ ๔ จบ

เชิงอรรถ :
๑ บอก ในที่นี้หมายถึงบอกแก่คนในตระกูลที่ได้ปวารณาไว้ (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๒๓๔/๙๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๓๗๖ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๕. ปัญจมปัณณาสก์] ๔. อาวาสิกวรรค ๕. อนุกัมปสูตร
๕. อนุกัมปสูตร
ว่าด้วยธรรมที่เป็นเหตุอนุเคราะห์คฤหัสถ์
[๒๓๕] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเจ้าอาวาสประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อม
อนุเคราะห์คฤหัสถ์ได้
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุเจ้าอาวาส
๑. ให้คฤหัสถ์สมาทานอธิศีล๑
๒. ให้คฤหัสถ์ตั้งอยู่ในการเห็นธรรม๒
๓. เข้าไปหาคฤหัสถ์ผู้เป็นไข้ให้สติว่า ‘ท่านทั้งหลายจงตั้งสติไว้ต่อพระ
รัตนตรัยที่ควรแก่สักการะ’ และเมื่อภิกษุสงฆ์จำนวนมากเข้ามาถึง
หรือภิกษุจากต่างแคว้นเข้ามาถึง เธอเข้าไปบอกพวกคฤหัสถ์ว่า
‘ผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุสงฆ์จำนวนมากเข้ามาถึงแล้ว ภิกษุจากต่าง
แคว้นเข้ามาถึงแล้ว ขอเชิญพวกท่านทำบุญเถิด นี้เป็นกาลสมัยที่
จะทำบุญ’
๔. ฉันโภชนะที่พวกคฤหัสถ์นำมาถวาย จะเลวหรือประณีตก็ตาม
ด้วยตนเอง
๕. ไม่ทำศรัทธาไทยให้ตกไป
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเจ้าอาวาสประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อม
อนุเคราะห์คฤหัสถ์ได้
อนุกัมปสูตรที่ ๕ จบ

เชิงอรรถ :
๑ อธิศีล ในที่นี้หมายถึงศีล ๕ ประการ (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๒๓๕/๙๒)
๒ ธรรม ในที่นี้หมายถึงอริยสัจ ๔ (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๒๓๕/๙๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๓๗๗ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๕. ปัญจมปัณณาสก์] ๔. อาวาสิกวรรค ๖. ปฐมอวัณณารหสูตร
๖. ปฐมอวัณณารหสูตร
ว่าด้วยคนที่ควรติเตียน สูตรที่ ๑
[๒๓๖] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเจ้าอาวาสประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อม
ดำรงอยู่ในนรก เหมือนถูกนำไปฝังไว้
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุเจ้าอาวาส
๑. ไม่พิจารณา ไม่ไตร่ตรอง สรรเสริญคนที่ควรติเตียน
๒. ไม่พิจารณา ไม่ไตร่ตรอง ติเตียนคนที่ควรสรรเสริญ
๓. ไม่พิจารณา ไม่ไตร่ตรอง ปลูกความเลื่อมใสในฐานะที่ไม่ควรเลื่อมใส
๔. ไม่พิจารณา ไม่ไตร่ตรอง ปลูกความไม่เลื่อมใสในฐานะที่ควรเลื่อมใส
๕. ทำศรัทธาไทยให้ตกไป
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเจ้าอาวาสประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมดำรง
อยู่ในนรก เหมือนถูกนำไปฝังไว้
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเจ้าอาวาสประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อมดำรงอยู่
ในสวรรค์ เหมือนได้รับอัญเชิญไปประดิษฐานไว้
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุเจ้าอาวาส
๑. พิจารณา ไตร่ตรองแล้ว ติเตียนคนที่ควรติเตียน
๒. พิจารณา ไตร่ตรองแล้ว สรรเสริญคนที่ควรสรรเสริญ
๓. พิจารณา ไตร่ตรองแล้ว ปลูกความไม่เลื่อมใสในฐานะที่ไม่ควรเลื่อมใส
๔. พิจารณา ไตร่ตรองแล้ว ปลูกความเลื่อมใสในฐานะที่ควรเลื่อมใส
๕. ไม่ทำศรัทธาไทยให้ตกไป
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเจ้าอาวาสประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมดำรง
อยู่ในสวรรค์ เหมือนได้รับอัญเชิญไปประดิษฐานไว้
ปฐมอวัณณารหสูตรที่ ๖ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๓๗๘ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๕. ปัญจมปัณณาสก์] ๔. อาวาสิกวรรค ๗. ทุติยอวัณณารหสูตร
๗. ทุติยอวัณณารหสูตร
ว่าด้วยคนที่ควรติเตียน สูตรที่ ๒
[๒๓๗] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเจ้าอาวาสประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อม
ดำรงอยู่ในนรก เหมือนถูกนำไปฝังไว้
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุเจ้าอาวาส
๑. ไม่พิจารณา ไม่ไตร่ตรอง สรรเสริญคนที่ควรติเตียน
๒. ไม่พิจารณา ไม่ไตร่ตรอง ติเตียนคนที่ควรสรรเสริญ
๓. เป็นผู้ตระหนี่อาวาส หวงแหนอาวาส
๔. เป็นผู้ตระหนี่ตระกูล หวงแหนตระกูล
๕. ทำศรัทธาไทยให้ตกไป
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเจ้าอาวาสประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมดำรง
อยู่ในนรก เหมือนถูกนำไปฝังไว้
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเจ้าอาวาสประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อมดำรงอยู่
ในสวรรค์ เหมือนได้รับอัญเชิญไปประดิษฐานไว้
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุเจ้าอาวาส
๑. พิจารณา ไตร่ตรองแล้ว ติเตียนคนที่ควรติเตียน
๒. พิจารณา ไตร่ตรองแล้ว สรรเสริญคนที่ควรสรรเสริญ
๓. เป็นผู้ไม่ตระหนี่อาวาส ไม่หวงแหนอาวาส
๔. เป็นผู้ไม่ตระหนี่ตระกูล ไม่หวงแหนตระกูล
๕. ไม่ทำศรัทธาไทยให้ตกไป
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเจ้าอาวาสประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมดำรง
อยู่ในสวรรค์ เหมือนได้รับอัญเชิญไปประดิษฐานไว้
ทุติยอวัณณารหสูตรที่ ๗ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๓๗๙ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๕. ปัญจมปัณณาสก์] ๔. อาวาสิกวรรค ๘. ตติยอวัณณารหสูตร
๘. ตติยอวัณณารหสูตร
ว่าด้วยคนที่ควรติเตียน สูตรที่ ๓
[๒๓๘] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเจ้าอาวาสประกอบด้วย
ธรรม ๕ ประการ ย่อมดำรงอยู่ในนรก เหมือนถูกนำไปฝังไว้
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุเจ้าอาวาส
๑. ไม่พิจารณา ไม่ไตร่ตรอง สรรเสริญคนที่ควรติเตียน
๒. ไม่พิจารณา ไม่ไตร่ตรอง ติเตียนคนที่ควรสรรเสริญ
๓. เป็นผู้ตระหนี่อาวาส
๔. เป็นผู้ตระหนี่ตระกูล
๕. เป็นผู้ตระหนี่ลาภ
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเจ้าอาวาสประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมดำรง
อยู่ในนรก เหมือนถูกนำไปฝังไว้
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเจ้าอาวาสประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อมดำรงอยู่
ในสวรรค์ เหมือนได้รับอัญเชิญไปประดิษฐานไว้
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุเจ้าอาวาส
๑. พิจารณา ไตร่ตรองแล้ว ติเตียนคนที่ควรติเตียน
๒. พิจารณา ไตร่ตรองแล้ว สรรเสริญคนที่ควรสรรเสริญ
๓. เป็นผู้ไม่ตระหนี่อาวาส
๔. เป็นผู้ไม่ตระหนี่ตระกูล
๕. เป็นผู้ไม่ตระหนี่ลาภ
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเจ้าอาวาสประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมดำรง
อยู่ในสวรรค์ เหมือนได้รับอัญเชิญไปประดิษฐานไว้
ตติยอวัณณารหสูตรที่ ๘ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๓๘๐ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๕. ปัญจมปัณณาสก์] ๔. อาวาสิกวรรค ๙. ปฐมมัจฉริยสูตร
๙. ปฐมมัจฉริยสูตร
ว่าด้วยความตระหนี่ สูตรที่ ๑
[๒๓๙] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเจ้าอาวาสประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อม
ดำรงอยู่ในนรก เหมือนถูกนำไปฝังไว้
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุเจ้าอาวาส
๑. เป็นผู้ตระหนี่อาวาส
๒. เป็นผู้ตระหนี่ตระกูล
๓. เป็นผู้ตระหนี่ลาภ
๔. เป็นผู้ตระหนี่วรรณะ
๕. ทำศรัทธาไทยให้ตกไป
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเจ้าอาวาสประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมดำรง
อยู่ในนรก เหมือนถูกนำไปฝังไว้
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเจ้าอาวาสประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อมดำรงอยู่
ในสวรรค์ เหมือนได้รับอัญเชิญไปประดิษฐานไว้
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุเจ้าอาวาส
๑. เป็นผู้ไม่ตระหนี่อาวาส
๒. เป็นผู้ไม่ตระหนี่ตระกูล
๓. เป็นผู้ไม่ตระหนี่ลาภ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๓๘๑ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๕. ปัญจมปัณณาสก์] ๔. อาวาสิกวรรค ๑๐. ทุติยมัจฉริยสูตร
๔. เป็นผู้ไม่ตระหนี่วรรณะ
๕. ไม่ทำศรัทธาไทยให้ตกไป
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเจ้าอาวาสประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมดำรง
อยู่ในสวรรค์ เหมือนได้รับอัญเชิญไปประดิษฐานไว้
ปฐมมัจฉริยสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. ทุติยมัจฉริยสูตร
ว่าด้วยความตระหนี่ สูตรที่ ๒
[๒๔๐] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเจ้าอาวาสประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อม
ดำรงอยู่ในนรก เหมือนถูกนำไปฝังไว้
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุเจ้าอาวาส
๑. เป็นผู้ตระหนี่อาวาส
๒. เป็นผู้ตระหนี่ตระกูล
๓. เป็นผู้ตระหนี่ลาภ
๔. เป็นผู้ตระหนี่วรรณะ
๕. เป็นผู้ตระหนี่ธรรม
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเจ้าอาวาสประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมดำรง
อยู่ในนรก เหมือนถูกนำไปฝังไว้
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเจ้าอาวาสประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อมดำรงอยู่
ในสวรรค์ เหมือนได้รับอัญเชิญไปประดิษฐานไว้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๓๘๒ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๕. ปัญจมปัณณาสก์] ๔. อาวาสิกวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุเจ้าอาวาส
๑. เป็นผู้ไม่ตระหนี่อาวาส
๒. เป็นผู้ไม่ตระหนี่ตระกูล
๓. เป็นผู้ไม่ตระหนี่ลาภ
๔. เป็นผู้ไม่ตระหนี่วรรณะ
๕. เป็นผู้ไม่ตระหนี่ธรรม
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเจ้าอาวาสประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมดำรง
อยู่ในสวรรค์ เหมือนได้รับอัญเชิญไปประดิษฐานไว้
ทุติยมัจฉริยสูตรที่ ๑๐ จบ
อาวาสิกวรรคที่ ๔ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. อาวาสิกสูตร ๒. ปิยสูตร
๓. โสภณสูตร ๔. พหูปการสูตร
๕. อนุกัมปสูตร ๖. ปฐมอวัณณารหสูตร
๗. ทุติยอวัณณารหสูตร ๘. ตติยอวัณณารหสูตร
๙. ปฐมมัจฉริยสูตร ๑๐. ทุติยมัจฉริยสูตร


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๓๘๓ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๕. ปัญจมปัณณาสก์] ๕. ทุจจริตวรรค ๑. ปฐมทุจจริตสูตร
๕. ทุจจริตวรรค
หมวดว่าด้วยทุจริต
๑. ปฐมทุจจริตสูตร
ว่าด้วยทุจริต สูตรที่ ๑
[๒๔๑] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย ทุจริตมีโทษ ๕ ประการนี้
โทษ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. แม้ตนก็ติเตียนตนเองได้
๒. ผู้รู้ใคร่ครวญแล้วย่อมติเตียนได้
๓. กิตติศัพท์อันชั่วย่อมกระฉ่อนไป
๔. หลงลืมสติตาย
๕. หลังจากตายแล้ว ย่อมไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก
ภิกษุทั้งหลาย ทุจริตมีโทษ ๕ ประการนี้แล
ภิกษุทั้งหลาย สุจริตมีอานิสงส์ ๕ ประการนี้
อานิสงส์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. แม้ตนก็ติเตียนตนเองไม่ได้
๒. ผู้รู้ใคร่ครวญแล้วย่อมสรรเสริญ
๓. กิตติศัพท์อันงามย่อมขจรไป
๔. ไม่หลงลืมสติตาย
๕. หลังจากตายแล้ว ย่อมไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์
ภิกษุทั้งหลาย สุจริตมีอานิสงส์ ๕ ประการนี้แล
ปฐมทุจจริตสูตรที่ ๑ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๓๘๔ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๕. ปัญจมปัณณาสก์] ๕. ทุจจริตวรรค ๔. ปฐมมโนทุจจริตสูตร
๒. ปฐมกายทุจจริตสูตร
ว่าด้วยกายทุจริต สูตรที่ ๑
[๒๔๒] ภิกษุทั้งหลาย กายทุจริตมีโทษ ๕ ประการนี้
ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย กายสุจริตมีอานิสงส์ ๕ ประการนี้
ฯลฯ
ปฐมกายทุจจริตที่ ๒ จบ
๓. ปฐมวจีทุจจริตสูตร
ว่าด้วยวจีทุจริต สูตรที่ ๑
[๒๔๓] ภิกษุทั้งหลาย วจีทุจริต มีโทษ ๕ ประการนี้
ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย วจีสุจริตมีอานิสงส์ ๕ ประการนี้
ฯลฯ
ปฐมวจีทุจจริตที่ ๓ จบ
๔. ปฐมมโนทุจจริตสูตร
ว่าด้วยมโนทุจริต สูตรที่ ๑
[๒๔๔] ภิกษุทั้งหลาย มโนทุจริตมีโทษ ๕ ประการนี้
โทษ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. แม้ตนก็ติเตียนตนเองได้
๒. ผู้รู้ใคร่ครวญแล้วย่อมติเตียน
๓. กิตติศัพท์อันชั่วย่อมกระฉ่อนไป

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๓๘๕ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๕. ปัญจมปัณณาสก์] ๕. ทุจจริตวรรค ๕. ทุติยทุจจริตสูตร
๔. หลงลืมสติตาย
๕. หลังจากตายแล้ว ย่อมไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก
ภิกษุทั้งหลาย มโนทุจริตมีโทษ ๕ ประการนี้แล
ภิกษุทั้งหลาย มโนสุจริตมีอานิสงส์ ๕ ประการนี้
อานิสงส์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. แม้ตนก็ติเตียนตนเองไม่ได้
๒. ผู้รู้ใคร่ครวญแล้วย่อมสรรเสริญ
๓. กิตติศัพท์อันงามย่อมขจรไป
๔. ไม่หลงลืมสติตาย
๕. หลังจากตายแล้วย่อมไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก
ภิกษุทั้งหลาย มโนสุจริตมีอานิสงส์ ๕ ประการนี้แล
ปฐมมโนทุจจริตสูตรที่ ๔ จบ

๕. ทุติยทุจจริตสูตร
ว่าด้วยทุจริต สูตรที่ ๒
[๒๔๕] ภิกษุทั้งหลาย ทุจริตมีโทษ ๕ ประการนี้
โทษ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. แม้ตนก็ติเตียนตนเองได้
๒. ผู้รู้ใคร่ครวญแล้วย่อมติเตียน
๓. กิตติศัพท์อันชั่วย่อมกระฉ่อนไป
๔. เสื่อมจากสัทธรรม
๕. ตั้งอยู่ในอสัทธรรม๑
ภิกษุทั้งหลาย ทุจริตมีโทษ ๕ ประการนี้แล
ภิกษุทั้งหลาย สุจริตมีอานิสงส์ ๕ ประการนี้

เชิงอรรถ :
๑ สัทธรรม หมายถึงกุศลกรรมบถ ๑๐ ประการ
อสัทธรรม หมายถึง อกุศลกรรมบถ ๑๐ ประการ (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๒๔๑-๒๔๘/๙๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๓๘๖ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๕. ปัญจมปัณณาสก์] ๕. ทุจจริตวรรค ๗. ทุติยวจีทุจจริตสูตร
อานิสงส์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. แม้ตนก็ติเตียนตนเองไม่ได้
๒. ผู้รู้ใคร่ครวญแล้วย่อมสรรเสริญ
๓. กิตติศัพท์อันงามย่อมขจรไป
๔. เสื่อมจากอสัทธรรม
๕. ตั้งอยู่ในสัทธรรม
ภิกษุทั้งหลาย สุจริตมีอานิสงส์ ๕ ประการนี้แล
ทุติยทุจจริตสูตรที่ ๕ จบ

๖. ทุติยกายทุจจริตสูตร
ว่าด้วยกายทุจริต สูตรที่ ๒
[๒๔๖] ภิกษุทั้งหลาย กายทุจริตมีโทษ ๕ ประการนี้
ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย กายสุจริตมีอานิสงส์ ๕ ประการนี้
ฯลฯ
ทุติยกายทุจจริตสูตรที่ ๖ จบ

๗. ทุติยวจีทุจจริตสูตร
ว่าด้วยวจีทุจริต สูตรที่ ๒
[๒๔๗] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย วจีทุจริตมีโทษ ๕ ประการนี้
ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย วจีสุจริตมีอานิสงส์ ๕ ประการนี้
ฯลฯ
ทุติยวจีทุจจริตสูตรที่ ๗ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๓๘๗ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๕. ปัญจมปัณณาสก์] ๕. ทุจจริตวรรค ๘. ทุติยมโนทุจจริตสูตร
๘. ทุติยมโนทุจจริตสูตร
ว่าด้วยมโนทุจริต สูตรที่ ๒
[๒๔๘] ภิกษุทั้งหลาย มโนทุจริตมีโทษ ๕ ประการนี้
โทษ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. แม้ตนก็ติเตียนตนเองได้
๒. ผู้รู้ใคร่ครวญแล้วย่อมติเตียน
๓. กิตติศัพท์อันชั่วย่อมกระฉ่อนไป
๔. เสื่อมจากสัทธรรม
๕. ตั้งอยู่ในอสัทธรรม
ภิกษุทั้งหลาย มโนทุจริตมีโทษ ๕ ประการนี้แล
ภิกษุทั้งหลาย มโนสุจริตมีอานิสงส์ ๕ ประการนี้
อานิสงส์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. แม้ตนก็ติเตียนตนเองไม่ได้
๒. ผู้รู้ใคร่ครวญแล้วย่อมสรรเสริญ
๓. กิตติศัพท์อันงามย่อมขจรไป
๔. เสื่อมจากอสัทธรรม
๕. ตั้งอยู่ในสัทธรรม
ภิกษุทั้งหลาย มโนสุจริตมีอานิสงส์ ๕ ประการนี้แล
ทุติยมโนทุจจริตสูตรที่ ๘ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๓๘๘ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๕. ปัญจมปัณณาสก์] ๕. ทุจจริตวรรค ๙. สีวถิกสูตร
๙. สีวถิกสูตร
ว่าด้วยป่าช้า
[๒๔๙] ภิกษุทั้งหลาย ป่าช้ามีโทษ ๕ ประการ
โทษ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ไม่สะอาด
๒. มีกลิ่นเหม็น
๓. มีภัย
๔. เป็นที่อยู่ของอมนุษย์ดุร้าย
๕. เป็นที่คร่ำครวญของคนจำนวนมาก
ภิกษุทั้งหลาย ป่าช้ามีโทษ ๕ ประการนี้แล ฉันใด
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้เปรียบด้วยป่าช้าก็มีโทษ ๕ ประการนี้ ฉันนั้นเหมือนกัน
โทษ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. บุคคลบางคนในโลกนี้ประกอบกายกรรมที่ไม่สะอาด ประกอบวจีกรรม
ที่ไม่สะอาด ประกอบมโนกรรมที่ไม่สะอาด เรากล่าวอย่างนี้เพราะ
เขาเป็นคนไม่สะอาด เรากล่าวว่าบุคคลนี้เป็นเหมือนป่าช้าที่ไม่สะอาด
๒. กิตติศัพท์อันชั่วของเขาผู้ประกอบกายกรรมที่ไม่สะอาด ประกอบ
วจีกรรมที่ไม่สะอาด ประกอบมโนกรรมที่ไม่สะอาด ย่อมกระฉ่อนไป
เรากล่าวอย่างนี้เพราะเขาเป็นคนมีกลิ่นเหม็น เรากล่าวว่าบุคคลนี้
เป็นเหมือนป่าช้าที่มีกลิ่นเหม็น
๓. เพื่อนพรหมจารีทั้งหลายผู้มีศีลเป็นที่รักย่อมเว้นห่างไกลบุคคลผู้
ประกอบกายกรรมที่ไม่สะอาด ประกอบวจีกรรมที่ไม่สะอาด ประกอบ
มโนกรรมที่ไม่สะอาด เรากล่าวอย่างนี้เพราะเขามีภัย เรากล่าวว่า
บุคคลนี้เป็นเหมือนป่าช้าที่มีภัย
๔. เขาประกอบกายกรรมที่ไม่สะอาด ประกอบวจีกรรมที่ไม่สะอาด
ประกอบมโนกรรมที่ไม่สะอาด ย่อมอยู่ร่วมกันกับบุคคลที่เหมือนกัน
เรากล่าวอย่างนี้เพราะเขาเป็นที่อยู่ที่ดุร้าย เรากล่าวว่าบุคคลนี้เป็น
เหมือนที่อยู่ของอมนุษย์ดุร้าย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๓๘๙ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๕. ปัญจมปัณณาสก์] ๕. ทุจจริตวรรค ๑๐. ปุคคลัปปสาทสูตร
๕. เพื่อนพรหมจารีทั้งหลายผู้มีศีลเป็นที่รักเห็นเขาประกอบกายกรรม
ที่ไม่สะอาด ประกอบวจีกรรมที่ไม่สะอาด ประกอบมโนกรรมที่ไม่
สะอาดแล้ว ย่อมถึงกับหมดอาลัยเป็นธรรมดาว่า ‘โอ เป็นทุกข์จริง
หนอสำหรับเราผู้จำต้องอยู่ร่วมกับบุคคลเช่นนี้’ เรากล่าวอย่างนี้
เพราะเขาเป็นที่คร่ำครวญ เรากล่าวว่าบุคคลนี้เป็นหมือนป่าช้าเป็น
ที่คร่ำครวญของคนจำนวนมาก
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้เปรียบด้วยป่าช้ามีโทษ ๕ ประการนี้แล
สีวถิกสูตรที่ ๙ จบ
๑๐. ปุคคลัปปสาทสูตร
ว่าด้วยความเลื่อมใสเฉพาะบุคคล
[๒๕๐] ภิกษุทั้งหลาย ความเลื่อมใสที่เกิดขึ้นเฉพาะบุคคล มีโทษ ๕ ประการนี้
โทษ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. บุคคลผู้เลื่อมใสในบุคคลที่ต้องอาบัติเป็นเหตุให้สงฆ์ยกวัตร มีความ
คิดอย่างนี้ว่า ‘บุคคลผู้เป็นที่รัก เป็นที่พอใจของเรานี้ถูกสงฆ์ยกวัตร
เสียแล้ว’ จึงไม่เลื่อมใสในภิกษุทั้งหลาย เมื่อไม่เลื่อมใสในภิกษุ
ทั้งหลาย จึงไม่คบภิกษุเหล่าอื่น เมื่อไม่คบภิกษุเหล่าอื่น จึงไม่ฟัง
สัทธรรม เมื่อไม่ฟังสัทธรรม จึงเสื่อมจากสัทธรรม นี้เป็นโทษของ
ความเลื่อมใสที่เกิดขึ้นเฉพาะบุคคลประการที่ ๑
๒. บุคคลผู้เลื่อมใสในบุคคลที่ต้องอาบัติเป็นเหตุให้สงฆ์สั่งให้เขานั่งท้าย๑
มีความคิดอย่างนี้ว่า ‘บุคคลผู้เป็นที่รัก เป็นที่พอใจของเรานี้ถูกสงฆ์
สั่งให้นั่งท้ายเสียแล้ว‘จึงไม่เลื่อมใสในภิกษุทั้งหลาย เมื่อไม่เลื่อมใส
ในภิกษุทั้งหลาย จึงไม่คบภิกษุเหล่าอื่น เมื่อไม่คบภิกษุเหล่าอื่น
จึงไม่ฟังสัทธรรม เมื่อไม่ฟังสัทธรรม จึงเสื่อมจากสัทธรรม นี้เป็น
โทษของความเลื่อมใสที่เกิดขึ้นเฉพาะบุคคลประการที่ ๒

เชิงอรรถ :
๑ ท้าย หมายถึงอาสนะสุดท้ายของสงฆ์ (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๒๕๐/๙๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๓๙๐ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๕. ปัญจมปัณณาสก์] ๕. ทุจจริตวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค
๓. บุคคลผู้เลื่อมใสในบุคคลที่หลีกไปสู่ทิศ มีความคิดอย่างนี้ว่า ‘บุคคล
ผู้เป็นที่รัก เป็นที่พอใจของเรานี้หลีกไปสู่ทิศเสียแล้ว’ จึงไม่คบภิกษุ
เหล่าอื่น เมื่อไม่คบภิกษุเหล่าอื่น จึงไม่ฟังสัทธรรม เมื่อไม่ฟัง
สัทธรรม จึงเสื่อมจากสัทธรรม นี้เป็นโทษของความเลื่อมใสที่เกิด
ขึ้นเฉพาะบุคคลประการที่ ๓
๔. บุคคลผู้เลื่อมใสในบุคคลที่ลาสิกขา มีความคิดอย่างนี้ว่า ‘บุคคลผู้
เป็นที่รัก เป็นที่พอใจของเรานี้ได้ลาสิกขาไปแล้ว’ จึงไม่คบภิกษุ
เหล่าอื่น เมื่อไม่คบภิกษุเหล่าอื่น จึงไม่ฟังสัทธรรม เมื่อไม่ฟัง
สัทธรรม จึงเสื่อมจากสัทธรรม นี้เป็นโทษของความเลื่อมใสที่เกิด
ขึ้นเฉพาะบุคคลประการที่ ๔
๕. บุคคลผู้เลื่อมใสในบุคคลที่ตายแล้ว มีความคิดอย่างนี้ว่า ‘บุคคลผู้
เป็นที่รัก เป็นที่พอใจของเรานี้ได้ตายเสียแล้ว’ จึงไม่คบภิกษุเหล่าอื่น
เมื่อไม่คบภิกษุเหล่าอื่น จึงไม่ฟังสัทธรรม เมื่อไม่ฟังสัทธรรม
จึงเสื่อมจากสัทธรรม นี้เป็นโทษของความเลื่อมใสที่เกิดขึ้นเฉพาะ
บุคคลประการที่ ๕
ภิกษุทั้งหลาย ความเลื่อมใสที่เกิดขึ้นเฉพาะบุคคล มีโทษ ๕ ประการนี้แล
ปุคคลัปปสาทสูตรที่ ๑๐ จบ
ทุจจริตวรรคที่ ๕ จบ
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. ปฐมทุจจริตสูตร ๒. ปฐมกายทุจจริตสูตร
๓. ปฐมวจีทุจจริตสูตร ๔. ปฐมมโนทุจจริตสูตร
๕. ทุติยทุจจริตสูตร ๖. ทุติยกายทุจจริตสูตร
๗. ทุติยวจีทุจจริตสูตร ๘. ทุติยมโนทุจจริตสูตร
๙. สีวถิกสูตร ๑๐. ปุคคลัปปสาทสูตร

ปัญจมปัณณาสก์ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๓๙๑ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต ๖. อุปสัมปทาวรรค ๑. อุปสัมปาเทตัพพสูตร
๖. อุปสัมปทาวรรค
หมวดว่าด้วยการอุปสมบท
๑. อุปสัมปาเทตัพพสูตร๑
ว่าด้วยคุณสมบัติของภิกษุผู้ให้อุปสมบท
[๒๕๑] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕
ประการ พึงให้กุลบุตรอุปสมบทได้
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เป็นผู้ประกอบด้วยสีลขันธ์ที่เป็นอเสขะ๒
๒. เป็นผู้ประกอบด้วยสมาธิขันธ์ที่เป็นอเสขะ
๓. เป็นผู้ประกอบด้วยปัญญาขันธ์ที่เป็นอเสขะ
๔. เป็นผู้ประกอบด้วยวิมุตติขันธ์ที่เป็นอเสขะ
๕. เป็นผู้ประกอบด้วยวิมุตติญาณทัสสนขันธ์๓ที่เป็นอเสขะ
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล พึงให้กุลบุตร
อุปสมบทได้
อุปสัมปาเทตัพพสูตรที่ ๑ จบ

เชิงอรรถ :
๑ ข้อ ๒๕๑-๒๕๓ ดู วิ.ม. (แปล) ๔/๘๔/๑๒๓
๒ อเสขะ ในที่นี้หมายถึงธรรมระดับโลกุตตระของพระอเสขะ ได้แก่ พระอรหันต์ (วิ.อ. ๓/๘๔/๔๘, องฺ.ทสก.อ.
๓/๑๒/๓๒๐)
๓ วิมุตติญาณทัสสนขันธ์ หมายถึงกองแห่งวิมุตติญาณทัสสนะเป็นความรู้ขั้นสุดท้าย แยกอธิบายได้ว่า
วิมุตติ หมายถึงอรหัตตผล ญาณทัสสนะ หมายถึงปัจจเวกขณญาณ คือ ญาณที่เกิดขึ้นถัดจากการบรรลุ
มรรคผลด้วยมรรคญาณและผลญาณ เพื่อพิจารณามรรคผล พิจารณากิเลสที่ละได้และเหลืออยู่รวมทั้ง
พิจารณานิพพาน จัดเป็นโลกิยะ ส่วนสีลขันธ์เป็นต้นนอกนี้จัดเป็นโลกุตตระ (วิ.อ. ๓/๘๔/๔๘, องฺ.ติก.อ.
๒/๕๘/๑๖๐, องฺ.ทสก.อ. ๓/๑/๓๑๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๓๙๒ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต ๖. อุปสัมปทาวรรค ๓. สามเณรสูตร
๒. นิสสยสูตร
ว่าด้วยคุณสมบัติของภิกษุผู้ให้นิสสัย
[๒๕๒] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ พึงให้นิสสัยได้
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เป็นผู้ประกอบด้วยสีลขันธ์ที่เป็นอเสขะ
ฯลฯ
๕. เป็นผู้ประกอบด้วยวิมุตติญาณทัสสนขันธ์ที่เป็นอเสขะ
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล พึงให้นิสสัยได้
นิสสยสูตรที่ ๒ จบ

๓. สามเณรสูตร
ว่าด้วยคุณสมบัติของภิกษุผู้ให้สามเณรอุปัฏฐาก
[๒๕๓] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เป็นผู้ประกอบด้วยสีลขันธ์ที่เป็นอเสขะ
ฯลฯ
๕. เป็นผู้ประกอบด้วยวิมุตติญาณทัสสนขันธ์ที่เป็นอเสขะ
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล พึงให้สามเณรอุปัฏฐากได้
สามเณรสูตรที่ ๓ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๓๙๓ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต ๖. อุปสัมปทาวรรค ๕. มัจฉริยปหานสูตร
๔. ปัญจมัจฉริยสูตร
ว่าด้วยความตระหนี่ ๕ ประการ
[๒๕๔] ภิกษุทั้งหลาย ความตระหนี่ ๕ ประการนี้
ความตระหนี่ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ความตระหนี่อาวาส
๒. ความตระหนี่ตระกูล
๓. ความตระหนี่ลาภ
๔. ความตระหนี่วรรณะ
๕. ความตระหนี่ธรรม
ภิกษุทั้งหลาย ความตระหนี่ ๕ ประการนี้แล บรรดาความตระหนี่ ๕
ประการนี้ ความตระหนี่ธรรมน่าเกลียดที่สุด
ปัญจมัจฉริยสูตรที่ ๔ จบ
๕. มัจฉริยปหานสูตร
ว่าด้วยการละความตระหนี่
[๒๕๕] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุอยู่ประพฤติพรหมจรรย์เพื่อละ เพื่อตัดขาดซึ่ง
ความตระหนี่ ๕ ประการ
ความตระหนี่ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ความตระหนี่อาวาส
๒. ความตระหนี่ตระกูล
๓. ความตระหนี่ลาภ
๔. ความตระหนี่วรรณะ
๕. ความตระหนี่ธรรม
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุอยู่ประพฤติพรหมจรรย์เพื่อละ เพื่อตัดขาดซึ่งความตระหนี่
๕ ประการนี้แล
มัจฉริยปหานสูตรที่ ๕ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๓๙๔ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต ๖. อุปสัมปทาวรรค ๖. ปฐมฌานสูตร
๖. ปฐมฌานสูตร
ว่าด้วยปฐมฌาน
[๒๕๖] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุยังละธรรม ๕ ประการไม่ได้ ก็ไม่อาจบรรลุ
ปฐมฌานอยู่ได้
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ความตระหนี่อาวาส
๒. ความตระหนี่ตระกูล
๓. ความตระหนี่ลาภ
๔. ความตระหนี่วรรณะ
๕. ความตระหนี่ธรรม
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุยังละธรรม ๕ ประการนี้แลไม่ได้ ก็ไม่อาจบรรลุปฐมฌาน
อยู่ได้
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุละธรรม ๕ ประการได้แล้ว จึงอาจบรรลุปฐมฌานอยู่ได้
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ความตระหนี่อาวาส
๒. ความตระหนี่ตระกูล
๓. ความตระหนี่ลาภ
๔. ความตระหนี่วรรณะ
๕. ความตระหนี่ธรรม
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุละธรรม ๕ ประการนี้แลได้แล้ว จึงอาจบรรลุปฐมฌาน
อยู่ได้
ปฐมฌานสูตรที่ ๖ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๓๙๕ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต ๖. อุปสัมปทาวรรค ๗-๑๓. ทุติยฌานสุตตาทิสัตตกะ
๗-๑๓. ทุติยฌานสุตตาทิสัตตกะ
ว่าด้วยสูตร ๗ สูตร มีทุติยฌานสูตรเป็นต้น
[๒๕๗ - ๒๖๓] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุยังละธรรม ๕ ประการไม่ได้ ก็ไม่อาจ
บรรลุทุติยฌานอยู่ได้ ฯลฯ ตติยฌาน ฯลฯ จตุตถฌาน ฯลฯ ก็ไม่อาจทำให้แจ้ง
โสดาปัตติผลได้ ฯลฯ สกทาคามิผล ฯลฯ อนาคามิผล ฯลฯ ก็ไม่อาจทำให้แจ้ง
อรหัตตผลได้
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ความตระหนี่อาวาส ๒. ความตระหนี่ตระกูล
๓. ความตระหนี่ลาภ ๔. ความตระหนี่วรรณะ
๕. ความตระหนี่ธรรม
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุยังละธรรม ๕ ประการไม่ได้ ก็ไม่อาจทำให้แจ้งอรหัตตผลได้
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุละธรรม ๕ ประการนี้ได้แล้ว จึงอาจบรรลุทุติยฌาน
อยู่ได้ ฯลฯ ตติยฌาน ฯลฯ จตุตถฌาน ฯลฯ จึงอาจทำให้แจ้งโสดาปัตติผล ฯลฯ
สกทาคามิผล ฯลฯ อนาคามิผล ฯลฯ จึงอาจทำให้แจ้งอรหัตตผลได้
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ความตระหนี่อาวาส ๒. ความตระหนี่ตระกูล
๓. ความตระหนี่ลาภ ๔. ความตระหนี่วรรณะ
๕. ความตระหนี่ธรรม
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุละธรรม ๕ ประการนี้แลได้แล้ว จึงอาจทำให้แจ้งอรหัตต-
ผลได้
ทุติยฌานสุตตาทิสัตตกที่ ๗-๑๓ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๓๙๖ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต ๖. อุปสัมปทาวรรค ๑๕-๒๑. อปรทุติยฌานสุตตาทิ
๑๔. อปรปฐมฌานสูตร
ว่าด้วยปฐมฌาน อีกนัยหนึ่ง
[๒๖๔] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุยังละธรรม ๕ ประการไม่ได้ ก็ไม่อาจบรรลุ
ปฐมฌานอยู่ได้
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ความตระหนี่อาวาส ๒. ความตระหนี่ตระกูล
๓. ความตระหนี่ลาภ ๔. ความตระหนี่วรรณะ
๕. ความอกตัญญู ความอกตเวที
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุยังละธรรม ๕ ประการนี้แลไม่ได้ ก็ไม่อาจบรรลุปฐมฌาน
อยู่ได้
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุละธรรม ๕ ประการได้แล้ว จึงอาจบรรลุปฐมฌานอยู่ได้
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ความตระหนี่อาวาส ๒. ความตระหนี่ตระกูล
๓. ความตระหนี่ลาภ ๔. ความตระหนี่วรรณะ
๕. ความอกตัญญู ความอกตเวที
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุละธรรม ๕ ประการนี้แลได้แล้ว จึงอาจบรรลุปฐมฌาน
อยู่ได้
อปรปฐมฌานสูตรที่ ๑๔ จบ
๑๕-๒๑. อปรทุติยฌานสุตตาทิ
ว่าด้วยทุติยฌานสูตรเป็นต้น อีกนัยหนึ่ง
[๒๖๕ - ๒๗๑] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุยังละธรรม ๕
ประการไม่ได้ ก็ไม่อาจบรรลุทุติยฌานอยู่ได้ ฯลฯ ตติยฌาน ฯลฯ จตุตถฌาน ฯลฯ
ก็ไม่อาจทำให้รู้แจ้งโสดาปัตติผลได้ ฯลฯ สกทาคามิผล ฯลฯ อนาคามิผล ฯลฯ
ก็ไม่อาจทำให้แจ้งอรหัตตผลได้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๓๙๗ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต ๖. อุปสัมปทาวรรค ๑๕-๒๑. อปรทุติยฌานสุตตาทิ
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ความตระหนี่อาวาส ๒. ความตระหนี่ตระกูล
๓. ความตระหนี่ลาภ ๔. ความตระหนี่วรรณะ
๕. ความอกตัญญู ความอกตเวที
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุละธรรม ๕ ประการนี้แลไม่ได้ ก็ไม่อาจบรรลุปฐมฌาน
อยู่ได้
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุละธรรม ๕ ประการได้แล้ว จึงอาจบรรลุทุติยฌานอยู่ได้
ฯลฯ จึงอาจทำให้แจ้งอรหัตตผลได้
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ความตระหนี่อาวาส ๒. ความตระหนี่ตระกูล
๓. ความตระหนี่ลาภ ๔. ความตระหนี่วรรณะ
๕. ความอกตัญญู ความอกตเวที
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุละธรรม ๕ ประการนี้แลได้แล้ว จึงอาจทำให้แจ้ง
อรหัตตผลได้
อปรทุติยฌานสุตตาทิที่ ๑๕-๒๑ จบ
อุปสัมปทาวรรคที่ ๖ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๓๙๘ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต ๑. สัมมุติเปยยาล ๑. ภัตตุทเทสกสูตร
๑. สัมมุติเปยยาล
๑. ภัตตุทเทสกสูตร
ว่าด้วยภิกษุภัตตุทเทสกะ๑
[๒๗๒] พระผู้มีพระภาตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕
ประการ สงฆ์ไม่พึงแต่งตั้งให้เป็นภัตตุทเทสกะ
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ลำเอียงเพราะชอบ
๒. ลำเอียงเพราะชัง
๓. ลำเอียงเพราะหลง
๔. ลำเอียงเพราะกลัว
๕. ไม่รู้จักภัตตาหารที่แจกแล้วและภัตตาหารที่ยังมิได้แจก๒
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล สงฆ์ไม่พึงแต่งตั้งให้
เป็นภัตตุทเทสกะ
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ สงฆ์พึงแต่งตั้งให้เป็น
ภัตตุทเทสกะ
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ไม่ลำเอียงเพราะชอบ ๒. ไม่ลำเอียงเพราะชัง
๓. ไม่ลำเอียงเพราะหลง ๔. ไม่ลำเอียงเพราะกลัว
๕. รู้จักภัตตาหารที่แจกแล้วและภัตตาหารที่ยังมิได้แจก

เชิงอรรถ :
๑ ภัตตุทเทสกะ แปลว่า ผู้แจกภัตตาหาร หมายถึงภิกษุผู้ได้รับการแต่งตั้งจากสงฆ์ให้มีหน้าที่จัดพระรับ
ภัตตาหาร ดูเทียบในวิ.มหา. (แปล) ๑/๓๘๐-๓๘๓/๔๑๒-๔๑๕, วิ.จู. ๖/๑๘๙-๑๙๒/๒๒๒-๒๒๕, องฺ.จตุกฺก.
(แปล) ๒๑/๒๐/๓๑-๓๒, วิ.อ. ๓/๓๒๕/๓๕๗-๓๖๗ ประกอบ
๒ ดู วิ.ม. (แปล) ๕/๓๔๒/๒๐๓ ประกอบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๓๙๙ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต ๑. สัมมุติเปยยาล ๑. ภัตตุทเทสกสูตร
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล สงฆ์พึงแต่งตั้งให้เป็น
ภัตตุทเทสกะ
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ สงฆ์ไม่พึงแต่งตั้งให้เป็น
ภัตตุทเทสกะ ถึงแต่งตั้งแล้ว ก็ไม่พึงส่งไป๑ ฯลฯ สงฆ์แต่งตั้งแล้ว พึงส่งไป ฯลฯ
พึงทราบว่าเป็นพาล ฯลฯ พึงทราบว่าเป็นบัณฑิต ฯลฯ บริหารตนให้ถูกกำจัด
ถูกทำลาย ฯลฯ บริหารตนไม่ให้ถูกกำจัด ไม่ให้ถูกทำลาย ฯลฯ ย่อมดำรงอยู่
ในนรก เหมือนถูกนำไปฝังไว้ ฯลฯ ย่อมดำรงอยู่ในสวรรค์ เหมือนได้รับอัญเชิญไป
ประดิษฐานไว้
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ไม่ลำเอียงเพราะชอบ ๒. ไม่ลำเอียงเพราะชัง
๓. ไม่ลำเอียงเพราะหลง ๔. ไม่ลำเอียงเพราะกลัว
๕. รู้จักภัตตาหารที่แจกแล้วและภัตตาหารที่ยังมิได้แจก
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้เป็นภัตตุทเทสกะประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล
ย่อมดำรงอยู่ในสวรรค์ เหมือนได้รับอัญเชิญไปประดิษฐานไว้
ภัตตุทเทสกสูตรที่ ๑ จบ

เชิงอรรถ :
๑ ไม่พึงส่งไป ในที่นี้หมายถึงไม่พึงให้จัดการเรื่องกิจนิมนต์ (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๒๗๒/๙๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๔๐๐ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต ๑. สัมมุติเปยยาล ๒-๑๔. เสนาสนปัญญาปกสุตตาทิ
๒-๑๔. เสนาสนปัญญาปกสุตตาทิ
ว่าด้วยภิกษุเสนาสนปัญญาปกะ๑เป็นต้น
[๒๗๓ - ๒๘๕] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ สงฆ์ไม่พึง
แต่งตั้งให้เป็นเสนาสนปัญญาปกะ ฯลฯ ไม่รู้จักเสนาสนะที่จัดแจงแล้วและเสนาสนะ
ที่ยังมิได้จัดแจง ฯลฯ สงฆ์พึงแต่งตั้งให้เป็นเสนาสนปัญญาปกะ ฯลฯ รู้จักเสนาสนะ
ที่จัดแจงแล้วและเสนาสนะที่ยังมิได้จัดแจง ฯลฯ
สงฆ์ไม่พึงแต่งตั้งให้เป็นเสนาสนคาหาปกะ๒ ฯลฯ ไม่รู้จักเสนาสนะที่จัดแจงแล้ว
และเสนาสนะที่ยังมิได้จัดแจง ฯลฯ สงฆ์พึงแต่งตั้งให้เป็นเสนาสนคาหาปกะ ฯลฯ
รู้จักเสนาสนะที่จัดแจงแล้วและเสนาสนะที่ยังมิได้จัดแจง ฯลฯ
สงฆ์ไม่พึงแต่งตั้งให้เป็นภัณฑาคาริกะ๓ ฯลฯ ไม่รู้จักภัณฑะที่เก็บแล้วและภัณฑะ
ที่ยังมิได้เก็บ ฯลฯ สงฆ์พึงแต่งตั้งให้เป็นภัณฑาคาริกะ ฯลฯ รู้จักภัณฑะที่เก็บแล้ว
และภัณฑะที่ยังมิได้เก็บ ฯลฯ
สงฆ์ไม่พึงแต่งตั้งให้เป็นจีวรปฏิคคาหกะ๔ ฯลฯ ไม่รู้จักจีวรที่รับไว้แล้วและจีวร
ที่ยังมิได้รับไว้ ฯลฯ สงฆ์พึงแต่งตั้งให้เป็นจีวรปฏิคคาหกะ ฯลฯ รู้จักจีวรที่ได้รับแล้ว
และจีวรที่ยังมิได้รับ ฯลฯ
สงฆ์ไม่พึงแต่งตั้งให้เป็นจีวรภาชกะ๕ ฯลฯ ไม่รู้จักจีวรที่แจกแล้วและจีวรที่ยัง
มิได้แจก ฯลฯ สงฆ์พึงแต่งตั้งให้เป็นจีวรภาชกะ ฯลฯ รู้จักจีวรที่แจกแล้วและจีวรที่
ยังไม่ได้แจก ฯลฯ

เชิงอรรถ :
๑ เสนาสนปัญญาปกะ หมายถึงภิกษุผู้ได้รับแต่งตั้งจากสงฆ์ให้เป็นเจ้าหน้าที่จัดแจงเสนาสนะ ดู วิ.จู. ๖/๑๘๙-
๑๙๒/๒๒๒-๒๒๕ ประกอบ
๒ เสนาสนคาหาปกะ หมายถึงภิกษุผู้ได้รับแต่งตั้งจากสงฆ์ให้เป็นเจ้าหน้าที่จัดเสนาสนะ(ตามนัย วิ.อ. ๓/
๓๑๘/๒๒๘-๓๔๑)
๓ ภัณฑาคาริกะ หมายถึงภิกษุผู้ได้รับแต่งตั้งจากสงฆ์ให้เป็นเจ้าหน้าที่รักษาเรือนคลัง ดู วิ.ม. ๕/๓๔๓/๑๔๔
๔ จีวรปฏิคคาหกะ หมายถึงภิกษุผู้ได้รับแต่งตั้งจากสงฆ์ให้เป็นเจ้าหน้าที่รับจีวร ดู วิ.ม. ๕/๓๔๒/๑๔๓
๕ จีวรภาชกะ หมายถึงภิกษุผู้ได้รับแต่งตั้งจากสงฆ์ให้เป็นเจ้าหน้าที่แจกจีวร ดู วิ.ม. ๕/๓๔๓/๑๔๕

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๔๐๑ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต ๑. สัมมุติเปยยาล ๒-๑๔. เสนาสนปัญญาปกสุตตาทิ
สงฆ์ไม่พึงแต่งตั้งให้เป็นยาคุภาชกะ(ผู้แจกข้าวต้ม) ฯลฯ สงฆ์พึงแต่งตั้งให้เป็น
ยาคุภาชกะ ฯลฯ
สงฆ์ไม่พึงแต่งตั้งให้เป็นผลภาชกะ (ผู้แจกผลไม้) ฯลฯ สงฆ์พึงแต่งตั้งให้เป็น
ผลภาชกะ ฯลฯ
สงฆ์ไม่พึงแต่งตั้งให้เป็นขัชชกภาชกะ (ผู้แจกของขบฉัน) ฯลฯ ไม่รู้จักของขบฉัน
ที่แจกแล้วและของขบฉันที่ยังมิได้แจก ฯลฯ สงฆ์พึงแต่งตั้งให้เป็นขัชชกภาชกะ ฯลฯ
รู้จักของขบฉันที่แจกแล้วและของขบฉันที่ยังมิได้แจก ฯลฯ
สงฆ์ไม่พึงแต่งตั้งให้เป็นอัปปมัตตกวิสัชชกะ (ผู้แจกของเล็กน้อย) ฯลฯ ไม่รู้จัก
ของเล็กน้อยที่แจกแล้วและของเล็กน้อยที่ยังมิได้แจก ฯลฯ สงฆ์พึงแต่งตั้งให้เป็น
อัปปมัตตกวิสัชชกะ ฯลฯ รู้จักของเล็กน้อยที่แจกแล้วและของเล็กน้อยที่ยังมิได้แจก
ฯลฯ
สงฆ์ไม่พึงแต่งตั้งให้เป็นสาฏิยคาหาปกะ (ผู้ให้รับผ้าสาฎก) ฯลฯ ไม่รู้จักผ้า
สาฎกที่รับแล้วและผ้าสาฎกที่ยังมิได้รับ ฯลฯ สงฆ์พึงแต่งตั้งให้เป็นสาฏิยคาหาปกะ
ฯลฯ รู้จักผ้าสาฎกที่รับแล้วและผ้าสาฎกที่ยังมิได้รับ ฯลฯ
สงฆ์ไม่พึงแต่งตั้งให้เป็นปัตตคาหาปกะ (ผู้ให้รับบาตร) ฯลฯ ไม่รู้จักบาตรที่รับ
แล้วและบาตรที่ยังมิได้รับ ฯลฯ สงฆ์พึงแต่งตั้งให้เป็นปัตตคาหาปกะ ฯลฯ รู้จักบาตร
ที่รับแล้วและบาตรที่ยังมิได้รับ ฯลฯ
สงฆ์ไม่พึงแต่งตั้งให้เป็นอารามเปสกะ (ผู้ใช้คนวัด) ฯลฯ ไม่รู้จักคนวัดที่ใช้แล้ว
และคนวัดที่ยังมิได้ใช้ ฯลฯ สงฆ์พึงแต่งตั้งให้เป็นอารามเปสกะ ฯลฯ รู้จักคนวัดที่ใช้
แล้วและคนวัดที่ยังมิได้ใช้ ฯลฯ
สงฆ์ไม่พึงแต่งตั้งให้เป็นสามเณรเปสกะ (ผู้ใช้สามเณร) ฯลฯ สงฆ์พึงแต่งตั้ง
ให้เป็นสามเณรเปสกะ ฯลฯ ถึงแต่งตั้งแล้วก็ไม่พึงส่งไป ฯลฯ สงฆ์แต่งตั้งแล้วพึง
ส่งไป พึงทราบว่าเป็นพาล ฯลฯ พึงทราบว่าเป็นบัณฑิต ฯลฯ บริหารตนให้ถูกกำจัด
ถูกทำลาย ฯลฯ บริหารตนไม่ให้ถูกกำจัด ไม่ให้ถูกทำลาย ฯลฯ ย่อมดำรงอยู่ในนรก
เหมือนถูกนำไปฝังไว้ ฯลฯ ไม่รู้จักสามเณรที่ใช้แล้วและสามเณรที่ยังมิได้ใช้ ฯลฯ
ย่อมดำรงอยู่ในสวรรค์ เหมือนได้รับอัญเชิญไปประดิษฐานไว้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๔๐๒ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต ๒. สิกขาปทเปยยาล ๑. ภิกขุสูตร
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ไม่ลำเอียงเพราะชอบ ๒. ไม่ลำเอียงเพราะชัง
๓. ไม่ลำเอียงเพราะกลัว ๔. ไม่ลำเอียงเพราะหลง
๕. รู้จักสามเณรที่ใช้แล้วและสามเณรที่ยังมิได้ใช้
ภิกษุผู้เป็นสามเณรเปสกะประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมดำรงอยู่
ในสวรรค์ เหมือนได้รับอัญเชิญไปประดิษฐานไว้
เสนาสนปัญญาปกสุตตาทิที่ ๒-๑๔ จบ
สัมมุติเปยยาล จบ
๒. สิกขาปทเปยยาล
๑. ภิกขุสูตร
ว่าด้วยภิกษุ
[๒๘๖] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕
ประการ ย่อมดำรงอยู่ในนรก เหมือนถูกนำไปฝังไว้
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. เป็นผู้ฆ่าสัตว์
๒. เป็นผู้ลักทรัพย์
๓. เป็นผู้ประพฤติผิดพรหมจรรย์
๔. เป็นผู้พูดเท็จ
๕. เป็นผู้เสพของมึนเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นเหตุแห่งความประมาท
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมดำรงอยู่ในนรก
เหมือนถูกนำไปฝังไว้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๔๐๓ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต ๒. สิกขาปทเปยยาล ๒-๗. ภิกขุนีสุตตาทิ
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อมดำรงอยู่ในสวรรค์
เหมือนได้รับอัญเชิญไปประดิษฐานไว้
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. เป็นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์
๒. เป็นผู้เว้นขาดจากการลักทรัพย์
๓. เป็นผู้เว้นขาดจากการประพฤติผิดพรหมจรรย์
๔. เป็นผู้เว้นขาดจากการพูดเท็จ
๕. เป็นผู้เว้นขาดจากการเสพของมึนเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นเหตุแห่ง
ความประมาท
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมดำรงอยู่ในสวรรค์
เหมือนได้รับอัญเชิญไปประดิษฐานไว้
ภิกขุสูตรที่ ๑ จบ
๒-๗. ภิกขุนีสุตตาทิ
ว่าด้วยภิกษุณีเป็นต้น
[๒๘๗ - ๒๙๒] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ฯลฯ
สิกขมานา ฯลฯ สามเณร ฯลฯ สามเณรี ฯลฯ อุบาสก ฯลฯ อุบาสิกาประกอบ
ด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อมดำรงอยู่ในนรก เหมือนถูกนำไปฝังไว้
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. เป็นผู้ฆ่าสัตว์
๒. เป็นผู้ลักทรัพย์
๓. เป็นผู้ประพฤติผิดในกาม
๔. เป็นผู้พูดเท็จ
๕. เป็นผู้เสพของมึนเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นเหตุแห่งความประมาท
ภิกษุทั้งหลาย อุบาสิกาประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมดำรงอยู่
ในนรก เหมือนถูกนำไปฝังไว้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๔๐๔ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต ๒. สิกขาปทเปยยาล ๘. อาชีวกสูตร
ภิกษุทั้งหลาย อุบาสิกาประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อมดำรงอยู่ใน
สวรรค์ เหมือนได้รับอัญเชิญไปประดิษฐานไว้
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. เป็นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์
๒. เป็นผู้เว้นขาดจากการลักทรัพย์
๓. เป็นผู้เว้นขาดจากการประพฤติผิดในกาม
๔. เป็นผู้เว้นขาดจากการพูดเท็จ
๕. เป็นผู้เว้นขาดจากการเสพของมึนเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นเหตุแห่ง
ความประมาท
ภิกษุทั้งหลาย อุบาสิกาประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมดำรงอยู่ใน
สวรรค์ เหมือนได้รับอัญเชิญไปประดิษฐานไว้
ภิกขุนีสุตตาทิที่ ๒-๗ จบ
๘. อาชีวกสูตร
ว่าด้วยอาชีวก
[๒๙๓] ภิกษุทั้งหลาย อาชีวก๑ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อมดำรง
อยู่ในนรก เหมือนถูกนำไปฝังไว้
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. เป็นผู้ฆ่าสัตว์
๒. เป็นผู้ลักทรัพย์
๓. เป็นผู้ประพฤติผิดพรหมจรรย์
๔. เป็นผู้พูดเท็จ
๕. เป็นผู้เสพของมึนเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นเหตุแห่งความประมาท
ภิกษุทั้งหลาย อาชีวกประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมดำรงอยู่ในนรก
เหมือนถูกนำไปฝั่งไว้
อาชีวกสูตรที่ ๘ จบ

เชิงอรรถ :
๑ หมายถึงนักบวชเปลือย (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๒๙๓-๓๐๒/๙๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๔๐๕ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต ๒. สิกขาปทเปยยาล ๙-๑๗. นิคัณฐสุตตาทิ
๙-๑๗. นิคัณฐสุตตาทิ
ว่าด้วยนิครนถ์เป็นต้น
[๒๙๔ - ๓๐๒] ภิกษุทั้งหลาย นิครนถ์๑ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ฯลฯ
มุณฑสาวก๒ ฯลฯ ชฏิลกะ๓ ฯลฯ ปริพาชก๔ ฯลฯ มาคัณฑิกะ๕ ฯลฯ เตคัณฑิกะ ฯลฯ
อารุทธกะ ฯลฯ โคตมกะ ฯลฯ เทวธัมมิกะ ฯลฯ ย่อมดำรงอยู่ในนรก เหมือนถูก
นำไปฝังไว้
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. เป็นผู้ฆ่าสัตว์
๒. เป็นผู้ลักทรัพย์
๓. เป็นผู้ประพฤติผิดพรหมจรรย์
๔. เป็นผู้พูดเท็จ
๕. เป็นผู้เสพของมึนเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นเหตุแห่งความประมาท
ภิกษุทั้งหลาย เทวธัมมิกะประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมดำรงอยู่
ในนรกเหมือนถูกนำไปฝังไว้
นิคัณฐสุตตาทิที่ ๙-๑๗ จบ
สิกขาปทเปยยาล จบ

เชิงอรรถ :
๑ นิครนถ์ หมายถึงปริพาชกผู้นุ่งผ้าปกปิดเฉพาะอวัยวะส่วนหน้า (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๒๙๓-๓๐๒/๙๔)
๒ มุณฑสาวก หมายถึงสาวกของพวกนิครนถ์ (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๒๙๓-๓๐๒/๙๔)
๓ ชฏิลกะ หมายถึงดาบส (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๒๙๓-๓๐๒/๙๔)
๔ ปริพาชก หมายถึงนักบวชผู้นุ่งผ้า (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๒๙๓-๓๐๒/๙๔)
๕ มาคัณฑิกะ เตคัณฑิกะ อารุทธกะ โคตมกะ เทวธัมมิกะ หมายถึงพวกเดียรถีย์ คือนักบวชผู้ถือลัทธิ
นอกพระพุทธศาสนา (วิ.อ. ๓/๑๓๒/๑๐๕, องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๒๙๓-๓๐๒/๙๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๔๐๖ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต ๓. ราคเปยยาล
๓. ราคเปยยาล
[๓๐๓] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย บุคคลควรเจริญธรรม ๕
ประการ เพื่อรู้ยิ่งราคะ (ความกำหนัด)
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. อสุภสัญญา ๒. มรณสัญญา
๓. อาทีนวสัญญา ๔. อาหาเร ปฏิกูลสัญญา
๕. สัพพโลเก อนภิรตสัญญา
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลควรเจริญธรรม ๕ ประการนี้ เพื่อรู้ยิ่งราคะ
[๓๐๔] ภิกษุทั้งหลาย บุคคลควรเจริญธรรม ๕ ประการ เพื่อรู้ยิ่งราคะ
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. อนิจจสัญญา ๒. อนัตตสัญญา
๓. มรณสัญญา ๔. อาหาเร ปฏิกูลสัญญา
๕. สัพพโลเก อนภิรตสัญญา
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลควรเจริญธรรม ๕ ประการนี้ เพื่อรู้ยิ่งราคะ
[๓๐๕] ภิกษุทั้งหลาย บุคคลควรเจริญธรรม ๕ ประการ เพื่อรู้ยิ่งราคะ
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. อนิจจสัญญา ๒. อนิจเจ ทุกขสัญญา
๓. ทุกเข อนัตตสัญญา ๔. ปหานสัญญา
๕. วิราคสัญญา
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลควรเจริญธรรม ๕ ประการนี้ เพื่อรู้ยิ่งราคะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๔๐๗ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต ๓. ราคเปยยาล
[๓๐๖] ภิกษุทั้งหลาย บุคคลควรเจริญธรรม ๕ ประการ เพื่อรู้ยิ่งราคะ
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สัทธินทรีย์ ๒. วิริยินทรีย์
๓. สตินทรีย์ ๔. สมาธินทรีย์
๕. ปัญญินทรีย์
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลควรเจริญธรรม ๕ ประการนี้ เพื่อรู้ยิ่งราคะ
[๓๐๗] ภิกษุทั้งหลาย บุคคลควรเจริญธรรม ๕ ประการ เพื่อรู้ยิ่งราคะ
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สัทธาพละ ๒. วิริยพละ
๓. สติพละ ๔. สมาธิพละ
๕. ปัญญาพละ
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลควรเจริญธรรม ๕ ประการนี้ เพื่อรู้ยิ่งราคะ
[๓๐๘ - ๑๑๕๑] ภิกษุทั้งหลาย บุคคลควรเจริญธรรม ๕ ประการนี้ เพื่อ
กำหนดรู้ราคะ
... เพื่อความสิ้นราคะ
... เพื่อละราคะ
... เพื่อความสิ้นไปแห่งราคะ
... เพื่อความเสื่อมไปแห่งราคะ
... เพื่อความคลายไปแห่งราคะ
... เพื่อความดับไปแห่งราคะ
... เพื่อความสละราคะ
... เพื่อความสละคืนราคะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๔๐๘ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต ๓. ราคเปยยาล รวมธรรมที่มีในเปยยาลนี้
... โทสะ (ความคิดประทุษร้าย) ... โมหะ (ความหลง) ... โกธะ (ความโกรธ) ...
อุปนาหะ (ความผูกโกรธ) ... มักขะ (ความลบหลู่คุณท่าน) ... ปฬาสะ (ความตีเสมอ)
... อิสสา (ความริษยา) ... มัจฉริยะ (ความตระหนี่) ... มายา (มารยา) ... สาเถยยะ
(ความโอ้อวด) ... ถัมภะ (ความหัวดื้อ) สารัมภะ (ความแข่งดี) ... มานะ (ความถือตัว)
... อติมานะ (ความดูหมิ่น) ... มทะ (ความมัวเมา) ... ปมาทะ (ความประมาท) ...
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สัทธาพละ ๒. วีริยพละ
๓. สติพละ ๔. สมาธิพละ
๕. ปัญญาพละ
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลควรเจริญธรรม ๕ ประการนี้ เพื่อความสละคืนปมาทะ
ราคเปยยาล จบ

รวมธรรมที่มีในเปยยาลนี้ คือ
ธรรม ๑๐ ประการนี้ คือ

๑. อภิญญา (ความรู้ยิ่ง) ๒. ปริญญา (การกำหนดรู้)
๓. ปริกขยา (ความสิ้น) ๔. ปหานะ (การละ)
๕. ขยะ (ความสิ้นไป) ๖. วยะ (ความเสื่อมไป)
๗. วิราคะ (ความคลายไป) ๘. นิโรธะ (ความดับไป)
๙. จาคะ (ความสละ) ๑๐. ปฏินิสสัคคะ (ความสละคืน)

ปัญจกนิบาต จบบริบูรณ์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๔๐๙ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต ๓. ราคเปยยาล รวมวรรคที่มีในปัญจกนิบาต
รวมวรรคที่มีในปัญจกนิบาตนี้ คือ

๑. เสขพลวรรค ๒. พลวรรค
๓. ปัญจังคิกวรรค ๔. สุมนวรรค
๕. มุณฑราชวรรค ๖. นีวรณวรรค
๗. สัญญาวรรค ๘. โยธาชีววรรค
๙. เถรวรรค ๑๐. กกุธวรรค
๑๑. ผาสุวิหารวรรค ๑๒. อันธกวินทวรรค
๑๓. คิลานวรรค ๑๔. ราชวรรค
๑๕. ติกัณฑกีวรรค ๑๖. สัทธัมมวรรค
๑๗. อาฆาตวรรค ๑๘. อุปาสกวรรค
๑๙. อรัญญวรรค ๒๐. พราหมณวรรค
๒๑. กิมพิลวรรค ๒๒. อักโกสกวรรค
๒๓. ทีฆจาริกวรรค ๒๔. อาวาสิกวรรค
๒๕. ทุจริตวรรค ๒๖. อุปสัมปทาวรรค


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๔๑๐ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๑. อาหุเนยยวรรค ๑. ปฐมอาหุเนยยสูตร
พระสุตตันตปิฎก
อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต
__________
ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
๑. ปฐมปัณณาสก์
๑. อาหุเนยยวรรค
หมวดว่าด้วยพระอาหุไนยบุคคล
๑. ปฐมอาหุเนยยสูตร
ว่าด้วยพระอาหุไนยบุคคล สูตรที่ ๑
[๑] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิก-
เศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคได้รับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมา
ตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึง
ได้ตรัสเรื่องนี้ว่า
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๖ ประการ เป็นผู้ควรแก่ของที่เขานำ
มาถวาย ควรแก่ของต้อนรับ ควรแก่ทักษิณา ควรแก่การทำอัญชลี เป็นนาบุญอัน
ยอดเยี่ยมของโลก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๔๑๑ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๑. อาหุเนยยวรรค ๒. ทุติยอาหุเนยยสูตร
ธรรม ๖ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เห็นรูปทางตาแล้ว ไม่ดีใจ ไม่เสียใจ๑ มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะอยู่
๒. ฟังเสียงทางหู ฯลฯ
๓. ดมกลิ่นทางจมูก ฯลฯ
๔. ลิ้มรสทางลิ้น ฯลฯ
๕. ถูกต้องโผฏฐัพพะทางกาย ฯลฯ
๖. รู้แจ้งธรรมารมณ์ทางใจแล้ว ไม่ดีใจ ไม่เสียใจ มีอุเบกขา มีสติ-
สัมปชัญญะอยู่
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๖ ประการนี้ เป็นผู้ควรแก่ของที่เขานำ
มาถวาย ควรแก่ของต้อนรับ ควรแก่ทักษิณา ควรแก่การทำอัญชลี เป็นนาบุญอัน
ยอดเยี่ยมของโลก
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้ ภิกษุเหล่านั้นมีใจยินดีต่างชื่นชมภาษิตของ
พระผู้มีพระภาค
ปฐมอาหุเนยยสูตรที่ ๑ จบ

๒. ทุติยอาหุเนยยสูตร๒
ว่าด้วยพระอาหุไนยบุคคล สูตรที่ ๒
[๒] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๖ ประการ เป็นผู้ควรแก่ของ
ที่เขานำมาถวาย ฯลฯ เป็นนาบุญอันยอดเยี่ยมของโลก
ธรรม ๖ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. แสดงฤทธิ์ได้หลายอย่าง คือ คนเดียวแสดงเป็นหลายคนก็ได้
หลายคนแสดงเป็นคนเดียวก็ได้ แสดงให้ปรากฏหรือให้หายไปก็ได้

เชิงอรรถ :
๑ ไม่ดีใจ หมายถึงไม่กำหนัดยินดีในอิฏฐารมณ์(อารมณ์ที่น่าปรารถนา)
ไม่เสียใจ หมายถึงไม่ขัดเคืองในอนิฏฐารมณ์(อารมณ์ที่ไม่น่าปรารถนา) สูตรนี้ทรงตรัสถึงธรรมที่เป็น
คุณสมบัติของพระขีณาสพ (องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๑/๙๓)
๒ ดู ที.ปา. ๑๑/๓๕๖/๒๕๖

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๔๑๒ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๑. อาหุเนยยวรรค ๒. ทุติยอาหุเนยยสูตร
ทะลุฝากำแพง และภูเขาไปได้ไม่ติดขัดเหมือนไปในที่ว่างก็ได้ ผุดขึ้น
หรือดำลงในแผ่นดินเหมือนไปในน้ำก็ได้ เดินบนน้ำโดยที่น้ำไม่แยก
เหมือนเดินบนแผ่นดินก็ได้ นั่งขัดสมาธิเหาะไปในอากาศเหมือนนก
บินไปก็ได้ ใช้ฝ่ามือลูบคลำดวงจันทร์และดวงอาทิตย์อันมีฤทธิ์มาก
มีอานุภาพมากก็ได้ ใช้อำนาจทางกายไปจนถึงพรหมโลกก็ได้
๒. ได้ยินเสียง ๒ ชนิด คือ เสียงทิพย์ และเสียงมนุษย์ ทั้งที่อยู่ไกล
และอยู่ใกล้ด้วยหูทิพย์อันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์
๓. กำหนดรู้จิตของสัตว์และบุคคลอื่นได้ด้วยจิตของตน คือ จิตมีราคะก็
รู้ว่ามีราคะ หรือปราศจากราคะก็รู้ว่าปราศจากราคะ จิตมีโทสะก็รู้
ว่ามีโทสะ หรือปราศจากโทสะก็รู้ว่าปราศจากโทสะ จิตมีโมหะก็รู้ว่า
มีโมหะ หรือปราศจากโมหะก็รู้ว่าปราศจากโมหะ จิตหดหู่ก็รู้ว่า
หดหู่ หรือฟุ้งซ่านก็รู้ว่าฟุ้งซ่าน จิตเป็นมหัคคตะ๑ก็รู้ว่าเป็นมหัคคตะ
หรือไม่เป็นมหัคคตะก็รู้ว่าไม่เป็นมหัคคตะ จิตมีจิตอื่นยิ่งกว่าก็รู้ว่ามี
จิตอื่นยิ่งกว่า หรือไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่าก็รู้ว่าไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า จิตเป็น
สมาธิก็รู้ว่าเป็นสมาธิ หรือไม่เป็นสมาธิก็รู้ว่าไม่เป็นสมาธิ จิตหลุด
พ้นก็รู้ว่าหลุดพ้น หรือไม่หลุดพ้นก็รู้ว่าไม่หลุดพ้น
๔. ระลึกชาติก่อนได้หลายชาติ คือ ๑ ชาติบ้าง ๒ ชาติบ้าง ๓ ชาติบ้าง
๔ ชาติบ้าง ๕ ชาติบ้าง ๑๐ ชาติบ้าง ๒๐ ชาติบ้าง ๓๐ ชาติบ้าง
๔๐ ชาติบ้าง ๕๐ ชาติบ้าง ๑๐๐ ชาติบ้าง ๑,๐๐๐ ชาติบ้าง
๑๐๐,๐๐๐ ชาติบ้าง ตลอดสังวัฏฏกัปเป็นอันมากบ้าง ตลอด
วิวัฏฏกัปเป็นอันมากบ้าง ตลอดสังวัฏฏกัปและวิวัฏฏกัปเป็นอันมาก
บ้างว่า ‘ในภพโน้น เรามีชื่ออย่างนั้น มีตระกูล มีวรรณะ มีอาหาร
เสวยสุขทุกข์ และมีอายุอย่างนั้น ๆ จุติจากภพนั้นก็ไปเกิดในภพโน้น
แม้ในภพนั้นเราก็มีชื่ออย่างนั้น มีตระกูล มีวรรณะ มีอาหาร เสวย

เชิงอรรถ :
๑ ดูเชิงอรรถที่ ๒ ข้อ ๒๓ (อุปกิเลสสูตร) หน้า ๒๘ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๔๑๓ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๑. อาหุเนยยวรรค ๒. ทุติยอาหุเนยยสูตร
สุขทุกข์ และมีอายุอย่างนั้น ๆ จุติจากภพนั้นจึงมาเกิดในภพนี้’
ระลึกชาติก่อนได้หลายชาติ พร้อมทั้งลักษณะทั่วไปและชีวประวัติ
อย่างนี้
๕. เห็นหมู่สัตว์ผู้กำลังจุติ กำลังเกิด ทั้งชั้นต่ำและชั้นสูง งามและ
ไม่งาม๑ เกิดดีและเกิดไม่ดีด้วยตาทิพย์อันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์ รู้ชัด
ถึงหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรมว่า ‘หมู่สัตว์ที่ประกอบกายทุจริต
วจีทุจริต และมโนทุจริต กล่าวร้ายพระอริยะ มีความเห็นผิด ชักชวน
ผู้อื่นให้ทำกรรมตามความเห็นผิด พวกเขาหลังจากตายแล้วจะไปเกิด
ในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก แต่หมู่สัตว์ที่ประกอบกายสุจริต
วจีสุจริต และมโนสุจริต ไม่ว่าร้ายพระอริยะ มีความเห็นชอบ
ชักชวนผู้อื่นให้ทำกรรมตามความเห็นชอบ พวกเขาหลังจากตายแล้ว
จะไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์’ เธอเห็นหมู่สัตว์ผู้กำลังจุติ กำลังเกิด
ทั้งชั้นต่ำและชั้นสูง งามและไม่งาม เกิดดีและเกิดไม่ดีด้วยตาทิพย์
อันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์ รู้ชัดถึงหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรมอย่างนี้แล
๖. ทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันไม่มีอาสวะ เพราะอาสวะ
สิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๖ ประการนี้แล เป็นผู้ควรแก่ของ
ที่เขานำมาถวาย ฯลฯ เป็นนาบุญอันยอดเยี่ยมของโลก
ทุติยอาหุเนยยสูตรที่ ๒ จบ

เชิงอรรถ :
๑ งาม ในที่นี้หมายถึงมีผิวพรรณที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ เป็นผลแห่งความไม่มีโทสะ
ไม่งาม ในที่นี้หมายถึงมีผิวพรรณไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่น่าพอใจ เป็นผลแห่งโทสะ (วิ.อ. ๑/๑๓/ ๑๖๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๔๑๔ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๑. อาหุเนยยวรรค ๔. พลสูตร
๓. อินทริยสูตร
ว่าด้วยอินทรีย์
[๓] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๖ ประการ เป็นผู้ควรแก่ของ
ที่เขานำมาถวาย ฯลฯ เป็นนาบุญอันยอดเยี่ยมของโลก
ธรรม ๖ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สัทธินทรีย์ (อินทรีย์คือศรัทธา)
๒. วิริยินทรีย์ (อินทรีย์คือวิริยะ)
๓. สตินทรีย์ (อินทรีย์คือสติ)
๔. สมาธินทรีย์ (อินทรีย์คือสมาธิ)
๕. ปัญญินทรีย์ (อินทรีย์คือปัญญา)
๖. ทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันไม่มีอาสวะ เพราะอาสวะ
สิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๖ ประการนี้ เป็นผู้ควรแก่ของที่เขา
นำมาถวาย ควรแก่ของต้อนรับ ควรแก่ทักษิณา ควรแก่การทำอัญชลี เป็นนาบุญ
อันยอดเยี่ยมของโลก
อินทริยสูตรที่ ๓ จบ
๔. พลสูตร
ว่าด้วยพละ
[๔] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๖ ประการ เป็นผู้ควรแก่ของ
ที่เขานำมาถวาย ฯลฯ เป็นนาบุญอันยอดเยี่ยมของโลก
ธรรม ๖ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สัทธาพละ (กำลังคือศรัทธา)
๒. วิริยพละ (กำลังคือวิริยะ)
๓. สติพละ (กำลังคือสติ)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๔๑๕ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๑. อาหุเนยยวรรค ๕. ปฐมอาชานียสูตร
๔. สมาธิพละ (กำลังคือสมาธิ)
๕. ปัญญาพละ (กำลังคือปัญญา)
๖. ทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันไม่มีอาสวะ เพราะอาสวะสิ้นไป
ด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๖ ประการนี้ เป็นผู้ควรแก่ของที่เขา
นำมาถวาย ฯลฯ เป็นนาบุญอันยอดเยี่ยมของโลก
พลสูตรที่ ๔ จบ
๕. ปฐมอาชานียสูตร
ว่าด้วยองค์ประกอบของม้าอาชาไนย สูตรที่ ๑
[๕] ภิกษุทั้งหลาย ม้าอาชาไนยพันธุ์ดีของพระราชา ประกอบด้วยองค์๑ ๖
ประการ เป็นม้าควรแก่พระราชา ควรเป็นม้าต้น นับว่าเป็นราชพาหนะโดยแท้
องค์ ๖ ประการ อะไรบ้าง คือ
ม้าอาชาไนยพันธุ์ดีของพระราชาในโลกนี้
๑. เป็นสัตว์อดทนต่อรูป
๒. เป็นสัตว์อดทนต่อเสียง
๓. เป็นสัตว์อดทนต่อกลิ่น
๔. เป็นสัตว์อดทนต่อรส
๕. เป็นสัตว์อดทนต่อโผฏฐัพพะ
๖. เป็นสัตว์สมบูรณ์ด้วยสี
ภิกษุทั้งหลาย ม้าอาชาไนยพันธุ์ดีของพระราชา ประกอบด้วยองค์ ๖ ประการ
นี้แล เป็นม้าควรแก่พระราชา ควรเป็นม้าต้น นับว่าเป็นราชพาหนะโดยแท้
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๖ ประการนี้ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน
เป็นผู้ควรแก่ของที่เขานำมาถวาย ฯลฯ เป็นนาบุญอันยอดเยี่ยมของโลก

เชิงอรรถ :
๑ องค์ ในที่นี้หมายถึงคุณสมบัติ (องฺ.ฉกฺก.อ.๓/๕-๗/๙๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๔๑๖ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๑. อาหุเนยยวรรค ๖. ทุติยอาชานียสูตร
ธรรม ๖ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เป็นผู้อดทนต่อรูป
๒. เป็นผู้อดทนต่อเสียง
๓. เป็นผู้อดทนต่อกลิ่น
๔. เป็นผู้อดทนต่อรส
๕. เป็นผู้อดทนต่อโผฏฐัพพะ
๖. เป็นผู้อดทนต่อธรรมารมณ์
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๖ ประการนี้แล เป็นผู้ควรแก่ของที่
เขานำมาถวาย ฯลฯ เป็นนาบุญอันยอดเยี่ยมของโลก
ปฐมอาชานียสูตรที่ ๕ จบ
๖. ทุติยอาชานียสูตร
ว่าด้วยองค์ประกอบของม้าอาชาไนย สูตรที่ ๒
[๖] ภิกษุทั้งหลาย ม้าอาชาไนยพันธุ์ดีของพระราชา ประกอบด้วยองค์ ๖
ประการ เป็นม้าควรแก่พระราชา ควรเป็นม้าต้น นับว่าเป็นราชพาหนะโดยแท้
องค์ ๖ ประการ อะไรบ้าง คือ
ม้าอาชาไนยพันธุ์ดีของพระราชาในโลกนี้
๑. เป็นสัตว์อดทนต่อรูป
๒. เป็นสัตว์อดทนต่อเสียง
๓. เป็นสัตว์อดทนต่อกลิ่น
๔. เป็นสัตว์อดทนต่อรส
๕. เป็นสัตว์อดทนต่อโผฏฐัพพะ
๖. เป็นสัตว์สมบูรณ์ด้วยกำลัง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๔๑๗ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๑. อาหุเนยยวรรค ๗. ตติยอาชานียสูตร
ภิกษุทั้งหลาย ม้าอาชาไนยพันธุ์ดีของพระราชา ประกอบด้วยองค์ ๖ ประการ
นี้แล เป็นม้าควรแก่พระราชา ควรเป็นม้าต้น นับว่าเป็นราชพาหนะโดยแท้
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๖ ประการนี้ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน
เป็นผู้ควรแก่ของที่เขานำมาถวาย ฯลฯ เป็นนาบุญอันยอดเยี่ยมของโลก
ธรรม ๖ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เป็นผู้อดทนต่อรูป
๒. เป็นผู้อดทนต่อเสียง
๓. เป็นผู้อดทนต่อกลิ่น
๔. เป็นผู้อดทนต่อรส
๕. เป็นผู้อดทนต่อโผฏฐัพพะ
๖. เป็นผู้อดทนต่อธรรมารมณ์
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๖ ประการนี้ เป็นผู้ควรแก่ของที่เขา
นำมาถวาย ฯลฯ เป็นนาบุญอันยอดเยี่ยมของโลก
ทุติยอาชานียสูตรที่ ๖ จบ
๗. ตติยอาชานียสูตร
ว่าด้วยองค์ประกอบของม้าอาชาไนย สูตรที่ ๓
[๗] ภิกษุทั้งหลาย ม้าอาชาไนยพันธุ์ดีของพระราชา ประกอบด้วยองค์ ๖
ประการ เป็นม้าควรแก่พระราชา ควรเป็นม้าต้น นับว่าเป็นราชพาหนะโดยแท้
องค์ ๖ ประการ อะไรบ้าง คือ
ม้าอาชาไนยพันธุ์ดีของพระราชาในโลกนี้
๑. เป็นสัตว์อดทนต่อรูป
๒. เป็นสัตว์อดทนต่อเสียง
๓. เป็นสัตว์อดทนต่อกลิ่น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๔๑๘ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๑. อาหุเนยยวรรค ๘. อนุตตริยสูตร
๔. เป็นสัตว์อดทนต่อรส
๕. เป็นสัตว์อดทนต่อโผฏฐัพพะ
๖. เป็นสัตว์สมบูรณ์ด้วยเชาว์(ฝีเท้าเร็ว)
ภิกษุทั้งหลาย ม้าอาชาไนยพันธุ์ดีของพระราชาประกอบด้วยองค์ ๖ ประการนี้
เป็นม้าควรแก่พระราชา ควรเป็นม้าต้น นับว่าเป็นราชพาหนะโดยแท้
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๖ ประการนี้ เป็นผู้ควรแก่ของที่เขา
นำมาถวาย ฯลฯ เป็นนาบุญอันยอดเยี่ยมของโลก
ธรรม ๖ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เป็นผู้อดทนต่อรูป
ฯลฯ
๖. เป็นผู้อดทนต่อธรรมารมณ์
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๖ ประการนี้ เป็นผู้ควรแก่ของที่เขา
นำมาถวาย ฯลฯ เป็นนาบุญอันยอดเยี่ยมของโลก
ตติยอาชานียสูตรที่ ๗ จบ
๘. อนุตตริยสูตร
ว่าด้วยอนุตตริยะ๑
[๘] ภิกษุทั้งหลาย อนุตตริยะ(ภาวะอันยอดเยี่ยม) ๖ ประการนี้
อนุตตริยะ ๖ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ทัสสนานุตตริยะ (การเห็นอันยอดเยี่ยม)
๒. สวนานุตตริยะ (การฟังอันยอดเยี่ยม)

เชิงอรรถ :
๑ อนุตตริยะ หมายถึงภาวะที่ไม่มีสิ่งอื่นยอดเยี่ยมกว่าหรือวิเศษกว่า หรือเรียกสั้น ๆ ว่า ภาวะอันยอดเยี่ยม
นำผลอันวิเศษมาให้ (องฺ.ฉกฺก.อ.๓/๘-๙/๙๔, องฺ.ฉกฺก.ฏีกา ๓/๘/๑๐๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๔๑๙ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๑. อาหุเนยยวรรค ๙. อนุสสติฎฐานสูตร
๓. ลาภานุตตริยะ (การได้อันยอดเยี่ยม)
๔. สิกขานุตตริยะ (การศึกษาอันยอดเยี่ยม)
๕. ปาริจริยานุตตริยะ (การบำรุงอันยอดเยี่ยม)
๖. อนุสสตานุตตริยะ๑ (การระลึกอันยอดเยี่ยม)
ภิกษุทั้งหลาย อนุตตริยะ ๖ ประการนี้แล
อนุตตริยสูตรที่ ๘ จบ
๙. อนุสสติฏฐานสูตร
ว่าด้วยอนุสสติฏฐาน๒
[๙] ภิกษุทั้งหลาย อนุสสติฏฐาน ๖ ประการนี้
อนุสสติฏฐาน ๖ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. พุทธานุสสติ (การระลึกถึงพระพุทธเจ้า)
๒. ธัมมานุสสติ (การระลึกถึงพระธรรม)

เชิงอรรถ :
๑ การเห็นรูป เช่น เห็นพระทศพล และพระภิกษุสงฆ์ด้วยศรัทธาด้วยความรักที่ตั้งมั่น หรือเห็นอารมณ์
กัมมัฏฐานมีกสิณและอสุภนิมิตเป็นต้นอย่างใดอย่างหนึ่งซึ่งก่อให้เกิดความเจริญใจ จัดเป็นทัสสนานุตตริยะ
ส่วนการเห็นสิ่งที่มีค่าอื่น ๆ มีช้างแก้ว ม้าแก้ว เป็นต้น หาใช่ทัสสนานุตตริยะไม่
การได้ฟังการพรรณาคุณพระรัตนตรัยด้วยศรัทธา ด้วยความรักที่ตั้งมั่น หรือการได้ฟังพระพุทธพจน์คือ
พระไตรปิฎกจัดเป็น สวนานุตตริยะ ส่วนการฟังการพรรณนาคุณของบุคคอื่นหาใช่สวนานุตตริยะไม่
การได้อริยทรัพย์ ๗ อย่าง จัดเป็น ลาภานุตตริยะ ส่วนการได้แก้วมณีเป็นต้น หาใช่ลาภานุตตริยะไม่
การบำเพ็ญไตรสิกขา (สีล,สมาธิ,ปัญญา) จัดเป็น สิกขานุตตริยะ ส่วนการศึกษาศิลปะอย่างอื่น เช่น
ศิลปะการฝึกช้าง หาใช่สิกขานุตตริยะไม่
การบำรุงพระรัตนตรัย จัดเป็น ปาริจริยานุตตริยะ ส่วนการบำรุงบุคคลอื่น หาใช่ปาริจริยานุตตริยะไม่
การระลึกถึงคุณพระรัตนตรัยจัดเป็น อนุสสตานุตตริยะ ส่วนการระลึกถึงคุณบุคคลอื่น หาใช่อนุสสตา-
นุตตริยะไม่ ดูรายละเอียดในฉักกนิบาตข้อ ๓๐
อนุตตริยะ ๖ ประการนี้ เป็นทั้งโลกิยะ และโลกุตตระ (องฺ.ฉกฺก.อ.๓/๘-๙/๙๖,องฺ.ฉกฺก.ฏีกา ๓/๘/๑๐๗)
๒ อนุสสติฏฐาน แปลว่า ‘ฐานคืออนุสสติ’ หมายถึงเหตุคืออนุสสติ กล่าวคือฌาน ๓ (องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๒๕/
๑๑๐,๒๙/๑๑๒)
อนุสสติ ที่เรียกว่า ‘ฐาน’ เพราะเป็นเหตุให้ได้รับประโยชน์เกื้อกูล และความสุขทั้งในภพนี้และภพหน้า
เช่น พุทธานุสสติ (การระลึกถึงพระพุทธคุณ)ย่อมเป็นเหตุให้บรรลุคุณวิเศษ เพราะเมื่อบุคคลระลึกถึงพุทธ
คุณอยู่ ปีติ(ความอิ่มใจ)ย่อมเกิด จากนั้นจึงพิจารณาปีติให้เห็นความสิ้นไปเสื่อมไปจนได้บรรลุ
อรหัตตผล
อนุสสติฏฐานนี้ จัดเป็นอุปจารกัมมัฏฐาน แม้คฤหัสถ์ก็สามารถบำเพ็ญได้ (ขุ.ป.อ. ๑/๒๕/๑๓๗,
องฺ.ฉกฺก.ฏีกา ๓/๙/๑๐๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๔๒๐ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๑. อาหุเนยยวรรค ๑๐. มหานามสูตร
๓. สังฆานุสสติ (การระลึกถึงพระสงฆ์)
๔. สีลานุสสติ (การระลึกถึงศีล)
๕. จาคานุสสติ (การระลึกถึงการบริจาค)
๖. เทวตานุสสติ (ระลึกถึงเทวดา)
ภิกษุทั้งหลาย อนุสสติฏฐาน ๖ ประการนี้แล
อนุสสติฏฐานสูตรที่ ๙ จบ
๑๐. มหานามสูตร
ว่าด้วยเจ้าศากยะมหานามะ
[๑๐] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ นิโครธาราม เขตกรุงกบิลพัสดุ์
แคว้นสักกะ ครั้งนั้นแล เจ้าศากยะพระนามว่ามหานามะ๑ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค
ถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อริยสาวกผู้ได้บรรลุผลแล้ว๒ รู้ชัดศาสนาแล้ว๓ ส่วน
มากย่อมอยู่ด้วยวิหารธรรมชนิดไหน พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “มหานามะ อริยสาวกผู้ได้บรรลุผลแล้ว รู้ชัดศาสนา
แล้ว ส่วนมากย่อมอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้ คือ
๑. อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ระลึกถึงตถาคตว่า ‘แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มี
พระภาคพระองค์นั้นเป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้ด้วยพระองค์เองโดยชอบ
เพียบพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดี รู้แจ้งโลก เป็นสารถี
ฝึกผู้ที่ควรฝึกได้อย่างยอดเยี่ยม เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์
ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระผู้มีพระภาค’ มหานามะ

เชิงอรรถ :
๑ หมายถึงเจ้าศากยะราชโอรสของพระเจ้าอาว์ของพระผู้มีพระภาค (องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๑๐/๙๖)
๒ ผล ในที่นี้หมายถึงอริยผล (องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๑๐/๙๖)
๓ รู้ชัดศาสนาแล้ว หมายถึงรู้แจ้งไตรสิกขา คือ อธิสีลสิกขา อธิจิตตสิกขา และอธิปัญญาสิกขา (องฺ.ฉกฺก.อ.
๓/๑๐/๙๖)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๔๒๑ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๑. อาหุเนยยวรรค ๑๐. มหานามสูตร
สมัยใด อริยสาวกระลึกถึงตถาคต สมัยนั้น จิตของอริยสาวกนั้น
ย่อมไม่ถูกราคะกลุ้มรุม ไม่ถูกโทสะกลุ้มรุม ไม่ถูกโมหะกลุ้มรุม
สมัยนั้น จิตของอริยสาวกนั้นย่อมปรารภตถาคตดำเนินไปตรง
ทีเดียว มหานามะ ก็อริยสาวกผู้มีจิตดำเนินไปตรงแล้ว ย่อมได้
ความปลาบปลื้มอิงอรรถ ย่อมได้ความปลาบปลื้มอิงธรรม ย่อมได้
ปราโมทย์ที่ประกอบด้วยธรรม เมื่อมีปราโมทย์ ย่อมเกิดปีติ เมื่อใจ
มีปีติกายย่อมสงบ เธอมีกายสงบย่อมได้รับสุข เมื่อมีสุขจิตย่อม
ตั้งมั่น มหานามะ ตถาคตกล่าวว่า อริยสาวกนี้เป็นผู้ถึงความสงบ
อยู่ในหมู่สัตว์ผู้ถึงความไม่สงบ เป็นผู้ไม่มีพยาบาทอยู่ในหมู่สัตว์ผู้มี
พยาบาท เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยกระแสธรรม เจริญพุทธานุสสติอยู่
๒. อริยสาวกระลึกถึงธรรมว่า ‘พระธรรมเป็นธรรมที่พระผู้มีพระภาค
ตรัสไว้ดีแล้ว ผู้ปฏิบัติจะพึงเห็นชัดด้วยตนเอง ไม่ประกอบด้วยกาล๑
ควรเรียกให้มาดู ควรน้อมเข้ามาในตน อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน’
มหานามะ สมัยใด อริยสาวกระลึกถึงธรรม สมัยนั้น จิตของ
อริยสาวกนั้นย่อมไม่ถูกราคะกลุ้มรุม ไม่ถูกโทสะกลุ้มรุม ไม่ถูกโมหะ
กลุ้มรุม สมัยนั้น จิตของอริยสาวกนั้นย่อมปรารภธรรมดำเนินไป
ตรงทีเดียว มหานามะ ก็อริยสาวกผู้มีจิตดำเนินไปตรงแล้ว ย่อมได้
ความปลาบปลื้มอิงอรรถ ย่อมได้ความปลาบปลื้มอิงธรรม ย่อมได้
ปราโมทย์ที่ประกอบด้วยธรรม เมื่อมีปราโมทย์ ย่อมเกิดปีติ เมื่อใจ
มีปีติกายย่อมสงบ เธอมีกายสงบย่อมได้รับสุข เมื่อมีสุขจิตย่อม
ตั้งมั่น มหานามะ ตถาคตกล่าวว่า อริยสาวกนี้เป็นผู้ถึงความสงบ
อยู่ในหมู่สัตว์ผู้ถึงความไม่สงบ เป็นผู้ไม่มีพยาบาทอยู่ในหมู่สัตว์ผู้มี
พยาบาท เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยกระแสธรรม เจริญธัมมานุสสติอยู่
๓. อริยสาวกระลึกถึงพระสงฆ์ว่า ‘พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาค
เป็นผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติตรง ปฏิบัติถูกทาง ปฏิบัติสมควร ได้แก่

เชิงอรรถ :
๑ ไม่ประกอบด้วยกาล หมายถึงให้ผลไม่จำกัดกาล คือไม่ขึ้นกับกาลเวลา ให้ผลแก่ผู้ปฏิบัติทุกเวลา ทุกโอกาส
บรรลุเมื่อใดก็ได้รับผลเมื่อนั้น (องฺ.ติก.อ. ๒/๕๔/๑๕๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๔๒๒ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๑. อาหุเนยยวรรค ๑๐. มหานามสูตร
อริยบุคคล ๔ คู่คือ ๘ บุคคล๑ พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคนี้
เป็นผู้ควรแก่ของที่เขานำมาถวาย ควรแก่ของต้อนรับ ควรแก่ทักษิณา
ควรแก่การทำอัญชลี เป็นนาบุญอันยอดเยี่ยมของโลก’ มหานามะ
สมัยใด อริยสาวกระลึกถึงพระสงฆ์ สมัยนั้น จิตของอริยสาวกนั้น
ย่อมไม่ถูกราคะกลุ้มรุม ไม่ถูกโทสะกลุ้มรุม ไม่ถูกโมหะกลุ้มรุม
สมัยนั้น จิตของอริยสาวกนั้นย่อมปรารภพระสงฆ์ดำเนินไปตรง
ทีเดียว มหานามะ ก็อริยสาวกผู้มีจิตดำเนินไปตรงแล้ว ย่อมได้
ความปลาบปลื้มอิงอรรถ ย่อมได้ความปลาบปลื้มอิงธรรม ย่อมได้
ปราโมทย์ที่ประกอบด้วยธรรม เมื่อมีปราโมทย์ ย่อมเกิดปีติ เมื่อใจ
มีปีติกายย่อมสงบ เธอมีกายสงบย่อมได้รับสุข เมื่อมีสุขจิตย่อม
ตั้งมั่น มหานามะ ตถาคตกล่าวว่า อริยสาวกนี้เป็นผู้ถึงความสงบ
อยู่ในหมู่สัตว์ผู้ถึงความไม่สงบ เป็นผู้ไม่มีพยาบาทอยู่ในหมู่สัตว์ผู้มี
พยาบาท เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยกระแสธรรม เจริญสังฆานุสสติอยู่
๔. อริยสาวกระลึกถึงศีลของตน ที่ไม่ขาด ไม่ทะลุ ไม่ด่าง ไม่พร้อย
เป็นไท ท่านผู้รู้สรรเสริญ ไม่ถูกตัณหาและทิฏฐิครอบงำ เป็นไปเพื่อ
สมาธิ สมัยใด อริยสาวกระลึกถึงศีล สมัยนั้น จิตของอริยสาวกนั้น
ย่อมไม่ถูกราคะกลุ้มรุม ไม่ถูกโทสะกลุ้มรุม ไม่ถูกโมหะกลุ้มรุม
สมัยนั้นจิตของอริยสาวกนั้นย่อมปรารภศีลดำเนินไปตรงทีเดียว
มหานามะ ก็อริยสาวกผู้มีจิตดำเนินไปตรงแล้ว ย่อมได้ความ
ปลาบปลื้มอิงอรรถ ย่อมได้ความปลาบปลื้มอิงธรรม ย่อมได้
ปราโมทย์ที่ประกอบด้วยธรรม เมื่อมีปราโมทย์ ย่อมเกิดปีติ เมื่อใจ
มีปีติกายย่อมสงบ เธอมีกายสงบย่อมได้รับสุข เมื่อมีสุขจิตย่อม
ตั้งมั่น มหานามะ ตถาคตกล่าวว่า อริยสาวกนี้เป็นผู้ถึงความสงบ
อยู่ในหมู่สัตว์ผู้ถึงความไม่สงบ เป็นผู้ไม่มีพยาบาทอยู่ในหมู่สัตว์ผู้มี
พยาบาท เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยกระแสธรรม เจริญสีลานุสสติอยู่

เชิงอรรถ :
๑ อริยบุคคล ๔ คู่ คือ ๘ บุคคล ได้แก่ (๑) พระผู้บรรลุโสดาปัตติผล (๒) พระผู้ดำรงอยู่ในโสดาปัตติมรรค
(๓) พระผู้บรรลุสกทาคามิผล (๔) พระผู้ดำรงอยู่ในสกทาคามิมรรค (๕) พระผู้บรรลุอนาคามิผล
(๖) พระผู้ดำรงอยู่ในอนาคามิมรรค (๗) พระผู้บรรลุอรหัตตผล (๘) พระผู้ดำรงอยู่ในอรหัตตมรรค
(อภิ.ปุ. (แปล) ๓๖/๒๐๗/๒๒๙)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๔๒๓ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๑. อาหุเนยยวรรค ๑๐. มหานามสูตร
๕. อริยสาวกระลึกถึงจาคะ(การสละ) ของตนว่า ‘เป็นลาภของเราหนอ
เราได้ดีแล้วหนอ เมื่อหมู่สัตว์ถูกความตระหนี่อันเป็นมลทินกลุ้มรุม
เรามีใจปราศจากความตระหนี่อันเป็นมลทิน มีจาคะอันสละแล้ว
มีฝ่ามือชุ่ม ยินดีในการสละ ควรแก่การขอ ยินดีในการแจกทาน
อยู่ครองเรือน’ มหานามะ สมัยใด อริยสาวกระลึกถึงจาคะ สมัยนั้น
จิตของอริยสาวกนั้นย่อมไม่ถูกราคะกลุ้มรุม ไม่ถูกโทสะกลุ้มรุม
ไม่ถูกโมหะกลุ้มรุม สมัยนั้น จิตของอริยสาวกนั้นย่อมปรารภจาคะ
ดำเนินไปตรงที่เดียว มหานามะ ก็อริยสาวกผู้มีจิตดำเนินไปตรงแล้ว
ย่อมได้ความปลาบปลื้มอิงอรรถ ย่อมได้ความปลาบปลื้มอิงธรรม
ย่อมได้ปราโมทย์ที่ประกอบด้วยธรรม เมื่อมีปราโมทย์ ย่อมเกิดปีติ
เมื่อใจมีปีติกายย่อมสงบ เธอมีกายสงบย่อมได้รับสุข เมื่อมีสุขจิต
ย่อมตั้งมั่น มหานามะ ตถาคตกล่าวว่า อริยสาวกนี้เป็นผู้ถึง
ความสงบอยู่ในหมู่สัตว์ผู้ถึงความไม่สงบ เป็นผู้ไม่มีพยาบาทอยู่
ในหมู่สัตว์ผู้มีพยาบาท เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยกระแสธรรม เจริญ
จาคานุสสติอยู่
๖. อริยสาวกเจริญเทวตานุสสติว่า ‘มีเทวดาชั้นจาตุมหาราช เทวดา
ชั้นดาวดึงส์ เทวดาชั้นยามา เทวดาชั้นดุสิต เทวดาชั้นนิมมานรดี
เทวดาชั้นปรนิมมิตวสวัตดี เทวดาชั้นพรหมกาย เทวดาชั้นสูงขึ้นไป
กว่านั้น เทวดาเหล่านั้นประกอบด้วยศรัทธาเช่นใด จุติจากโลกนี้
แล้วไปเกิดในเทวโลกนั้น แม้เราเองก็มีศรัทธาเช่นนั้น เทวดา
เหล่านั้นประกอบด้วยศีลเช่นใด จุติจากโลกนี้แล้วไปเกิดในเทว-
โลกนั้น แม้เราเองก็มีศีลเช่นนั้น เทวดาเหล่านั้นประกอบด้วยสุตะ
เช่นใด จุติจากโลกนี้แล้วไปเกิดในเทวโลกนั้น แม้เราเองก็มีสุตะ
เช่นนั้น เทวดาเหล่านั้นประกอบด้วยจาคะเช่นใด จุติจากโลกนี้แล้ว
ไปเกิดในเทวโลกนั้น แม้เราเองก็มีจาคะเช่นนั้น เทวดาเหล่านั้น
ประกอบด้วยปัญญาเช่นใด จุติจากโลกนี้แล้วไปเกิดในเทวโลกนั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๔๒๔ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๑. อาหุเนยยวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค
แม้เราเองก็มีปัญญาเช่นนั้น’ มหานามะ สมัยใด อริยสาวกระลึกถึง
ศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ และปัญญาของตนและของเทวดาเหล่านั้น
สมัยนั้น จิตของอริยสาวกนั้นย่อมไม่ถูกราคะกลุ้มรุม ไม่ถูกโทสะกลุ้มรุม
ไม่ถูกโมหะกลุ้มรุม สมัยนั้นจิตของอริยสาวกนั้นย่อมปรารภเทวดา
ทั้งหลายดำเนินไปตรงทีเดียว มหานามะ ก็อริยสาวกผู้มีจิตดำเนิน
ไปตรงแล้ว ย่อมได้ความปลาบปลื้มอิงอรรถ ย่อมได้ความปลาบปลื้ม
อิงธรรม ย่อมได้ปราโมทย์ที่ประกอบด้วยธรรม เมื่อมีปราโมทย์
ย่อมเกิดปีติ เมื่อใจมีปีติกายย่อมสงบ เธอมีกายสงบย่อมได้รับสุข
เมื่อมีสุขจิตย่อมตั้งมั่น มหานามะ ตถาคตกล่าวว่า อริยสาวกนี้
เป็นผู้ถึงความสงบอยู่ในหมู่สัตว์ผู้ถึงความไม่สงบ เป็นผู้ไม่มีพยาบาท
อยู่ในหมู่สัตว์ผู้มีพยาบาท เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยกระแสธรรม เจริญ
เทวตานุสสติอยู่
มหานามะ อริยสาวกผู้ได้บรรลุผลแล้ว รู้ชัดศาสนาแล้ว ส่วนมากย่อมอยู่ด้วย
วิหารธรรมนี้
มหานามสูตรที่ ๑๐ จบ
อาหุเนยยวรรคที่ ๑ จบ
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. ปฐมอาหุเนยยสูตร ๒. ทุติยอาหุเนยยสูตร
๓. อินทริยสูตร ๔. พลสูตร
๕. ปฐมอาชานียสูตร ๖. ทุติยอาชานียสูตร
๗. ตติยอาชานียสูตร ๘. อนุตตริยสูตร
๙. อนุสสติฏฐานสูตร ๑๐. มหานามสูตร


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๔๒๕ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๒. สารณียวรรค ๑. ปฐมสารณียสูตร
๒. สารณียวรรค
หมวดว่าด้วยสารณียธรรม
๑. ปฐมสารณียสูตร
ว่าด้วยสารณียธรรม สูตรที่๑
[๑๑] ภิกษุทั้งหลาย สารณียธรรม(ธรรมเป็นเหตุให้ระลึกถึงกัน) ๖ ประการนี้
สารณียธรรม ๖ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. ตั้งมั่นเมตตากายกรรม๑ ในเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย ทั้งต่อหน้า
และลับหลัง แม้นี้ก็เป็นสารณียธรรม
๒. ตั้งมั่นเมตตาวจีกรรมในเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย ทั้งต่อหน้าและ
ลับหลัง แม้นี้ก็เป็นสารณียธรรม
๓. ตั้งมั่นเมตตามโนกรรมในเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย ทั้งต่อหน้าและ
ลับหลัง แม้นี้ก็เป็นสารณียธรรม
๔. บริโภคโดยไม่แบ่งแยก๒ลาภทั้งหลายที่ประกอบด้วยธรรม ได้มา
โดยธรรม โดยที่สุดแม้เพียงบิณฑบาต บริโภคร่วมกับเพื่อนพรหม-
จารีทั้งหลายผู้มีศีล แม้นี้ก็เป็นสารณียธรรม
๕. มีศีลที่ไม่ขาด ไม่ทะลุ ไม่ด่าง ไม่พร้อย เป็นไท ท่านผู้รู้สรรเสริญ
ไม่ถูกตัณหาและทิฏฐิครอบงำ เป็นไปเพื่อสมาธิเสมอกันกับเพื่อน
พรหมจารีทั้งหลาย ทั้งต่อหน้าและลับหลัง แม้นี้ก็เป็นสารณียธรรม

เชิงอรรถ :
๑ เมตตากายกรรม หมายถึงกายกรรมที่พึงทำด้วยจิตประกอบด้วยเมตตา และเมตตาวจีกรรม เมตตามโน-
กรรมก็มีอรรถาธิบายเช่นเดียวกันนี้ (องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๑๑/๙๗)
๒ ไม่แบ่งแยก หมายถึงไม่แบ่งแยกอามิสโดยคิดว่า “จะให้เท่านี้ ๆ” และไม่แบ่งแยกบุคคลโดยคิดว่า
“จะให้แก่คนนั้น ไม่ให้แก่คนนี้” (องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๑๑/๙๙, องฺ.ฉกฺก.ฏีกา ๓/๑๑/๑๑๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๔๒๖ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๒. สารณียวรรค ๒. ทุติยสารณียสูตร
๖. มีอริยทิฏฐิ๑ อันเป็นธรรมเครื่องนำออก๒เพื่อความสิ้นทุกข์โดยชอบ
แก่ผู้ทำตาม เสมอกันกับเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย ทั้งต่อหน้าและ
ลับหลัง แม้นี้ก็เป็นสารณียธรรม
ภิกษุทั้งหลาย สารณียธรรม ๖ ประการนี้แล
ปฐมสารณียสูตรที่ ๑ จบ
๒. ทุติยสารณียสูตร
ว่าด้วยสารณียธรรม สูตรที่ ๒
[๑๒] ภิกษุทั้งหลาย สารณียธรรม ๖ ประการนี้ ทำให้เป็นที่รัก ทำให้เป็นที่
เคารพ เป็นไปเพื่อความสงเคราะห์กัน เพื่อความไม่วิวาทกัน เพื่อความสามัคคีกัน
เพื่อความเป็นอันเดียวกัน สารณียธรรม ๖ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. ตั้งมั่นเมตตากายกรรมในเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย ทั้งต่อหน้าและ
ลับหลัง แม้นี้ก็เป็นสารณียธรรมที่ทำให้เป็นที่รัก ทำให้เป็นที่
เคารพ เป็นไปเพื่อความสงเคราะห์กัน เพื่อความไม่วิวาทกัน เพื่อ
ความสามัคคีกัน เพื่อความเป็นอันเดียวกัน
๒. ตั้งมั่นเมตตาวจีกรรม ฯลฯ
๓. ตั้งมั่นเมตตามโนกรรมในเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย ทั้งต่อหน้าและ
ลับหลัง แม้นี้ก็เป็นสารณียธรรมที่ทำให้เป็นที่รัก ทำให้เป็นที่เคารพ
เป็นไปเพื่อความสงเคราะห์กัน เพื่อความไม่วิวาทกัน เพื่อความ
สามัคคีกัน เพื่อความเป็นอันเดียวกัน
๔. บริโภคโดยไม่แบ่งแยกลาภทั้งหลายที่ประกอบด้วยธรรม ได้มาโดย
ธรรม โดยที่สุดแม้เพียงบิณฑบาต บริโภคร่วมกับเพื่อนพรหมจารี

เชิงอรรถ :
๑ อริยทิฏฐิ ในที่นี้หมายถึงอริยมัคคสัมมาทิฏฐิ (องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๑๑/๑๐๓)
๒ อันเป็นธรรมเครื่องนำออก หมายถึงมรรค ๔ (โสดาปัตติมรรค สกทาคามิมรรค อนาคามิมรรค และ
อรหัตตมรรค) ที่ตัดมูลเหตุแห่งวัฏฏะ ทำนิพพานให้เป็นอารมณ์ แล้วออกจากวัฏฏะได้ (อภิ.สงฺ. (แปล) ๓๔/
๑๒๙๕/๓๒๗, อภิ.สงฺ.อ. ๘๓-๑๐๐/๙๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๔๒๗ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๒. สารณียวรรค ๒. ทุติยสารณียสูตร
ทั้งหลายผู้มีศีล แม้นี้ก็เป็นสารณียธรรมที่ทำให้เป็นที่รัก ทำให้เป็น
ที่เคารพ เป็นไปเพื่อความสงเคราะห์กัน เพื่อความไม่วิวาทกัน เพื่อ
ความสามัคคีกัน เพื่อความเป็นอันเดียวกัน
๕. มีศีลที่ไม่ขาด ไม่ทะลุ ไม่ด่าง ไม่พร้อย เป็นไท ท่านผู้รู้สรรเสริญ
ไม่ถูกตัณหาและทิฏฐิครอบงำ เป็นไปเพื่อสมาธิเสมอกันกับเพื่อน
พรหมจารีทั้งหลาย ทั้งต่อหน้าและลับหลัง แม้นี้ก็เป็นสารณียธรรม
ที่ทำให้เป็นที่รัก ทำให้เป็นที่เคารพ เป็นไปเพื่อความสงเคราะห์กัน
เพื่อความไม่วิวาทกัน เพื่อความสามัคคีกัน เพื่อความเป็นอัน
เดียวกัน
๖. มีอริยทิฏฐิ อันเป็นธรรมเครื่องนำออกเพื่อความสิ้นทุกข์โดยชอบ
แก่ผู้ทำตาม เสมอกันกับเพื่อนพรหมจารีทั้งหลายทั้งต่อหน้าและ
ลับหลัง แม้นี้ก็เป็นสารณียธรรมที่ทำให้เป็นที่รัก เป็นที่เคารพ เป็น
ไปเพื่อความสังเคราะห์กัน เพื่อความไม่วิวาทกัน เพื่อความสามัคคีกัน
เพื่อความเป็นอันเดียวกัน
ภิกษุทั้งหลาย สารณียธรรม ๖ ประการนี้แล ทำให้เป็นที่รัก ทำให้เป็นที่
เคารพ เป็นไปเพื่อความสงเคราะห์กัน เพื่อความไม่วิวาทกัน เพื่อความสามัคคีกัน
เพื่อความเป็นอันเดียวกัน
ทุติยสารณียสูตรที่ ๒ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๔๒๘ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๒. สารณียวรรค ๓. นิสสารณียสูตร
๓. นิสสารณียสูตร
ว่าด้วยธาตุที่สลัด
[๑๓] ภิกษุทั้งหลาย ธาตุที่สลัด ๖ ประการนี้
ธาตุ๑ที่สลัด ๖ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ภิกษุในธรรมวินัยนี้พึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ข้าพเจ้าได้เจริญเมตตา
เจโตวิมุตติแล้ว๒ ทำให้มากแล้ว ทำให้เป็นดุจยานแล้ว ทำให้เป็นที่
ตั้งแล้ว ให้ตั้งมั่นแล้ว สั่งสมแล้ว ปรารภดีแล้ว แต่พยาบาทก็ยัง
ครอบงำจิตของข้าพเจ้าอยู่’ ภิกษุทั้งหลายพึงกล่าวตักเตือนเธอว่า
‘อย่าได้กล่าวอย่างนี้เลย ผู้มีอายุ ท่านอย่าได้กล่าวอย่างนี้ อย่าได้
กล่าวตู่พระผู้มีพระภาค เพราะการกล่าวตู่พระผู้มีพระภาคไม่ดีเลย
พระผู้มีพระภาคไม่ตรัสอย่างนี้เลย ผู้มีอายุ เป็นไปไม่ได้เลยที่ภิกษุ
ได้เจริญเมตตาโจโตวิมุตติแล้ว ทำให้มากแล้ว ทำให้เป็นดุจยานแล้ว
ทำให้เป็นที่ตั้งแล้ว ให้ตั้งมั่นแล้ว สั่งสมแล้ว ปรารภดีแล้ว แต่
พยาบาทก็ยังครอบงำจิตของภิกษุนั้นอยู่’ ข้อนั้นเป็นไปไม่ได้เลย
เพราะเมตตาเจโตวิมุตตินี้เป็นธาตุที่สลัดพยาบาท
๒. ภิกษุในธรรมวินัยนี้พึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ข้าพเจ้าได้เจริญกรุณาเจโต-
วิมุตติ ทำให้มากแล้ว ทำให้เป็นดุจยานแล้ว ทำให้เป็นที่ตั้งแล้ว
ให้ตั้งมั่นแล้ว สั่งสมแล้ว ปรารภดีแล้ว แต่วิหิงสา (ความเบียดเบียน)
ก็ยังครอบงำจิตของข้าพเจ้าอยู่’ ภิกษุทั้งหลายพึงกล่าวตักเตือน
เธอว่า ‘อย่าได้กล่าวอย่างนี้เลย ผู้มีอายุ ท่านอย่าได้กล่าวอย่างนี้
อย่าได้กล่าวตู่พระผู้มีพระภาค เพราะการกล่าวตู่พระผู้มีพระภาค
ไม่ดีเลย พระผู้มีพระภาคไม่ตรัสอย่างนี้เลย ผู้มีอายุ เป็นไปไม่ได้
เลยที่ภิกษุได้เจริญกรุณาเจโตวิมุตติแล้ว ทำให้มากแล้ว ทำให้เป็น
ดุจยานแล้ว ทำให้เป็นที่ตั้งแล้ว ให้ตั้งมั่นแล้ว สั่งสมแล้ว ปรารภ
ดีแล้ว แต่วิหิงสาก็ยังครอบงำจิตของภิกษุนั้นอยู่’ ข้อนั้นเป็นไปไม่
ได้เลย เพราะกรุณาเจโตวิมุตตินี้เป็นธาตุที่สลัดวิหิงสา

เชิงอรรถ :
๑ ธาตุ หมายถึงสภาวะที่ว่างจากอัตตา (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๒๐๐/๘๒) หรือหมายถึงสภาวะที่ปราศจากชีวะ ใน
ที่นี้หมายถึงธัมมธาตุขั้นพิเศษ (องฺ.ปญฺจก.ฏีกา ๓/๒๐๐/๙๑)
๒ เมตตาเจโตวิมุตติ หมายถึงเมตตาที่เกิดจากตติยฌาน และจตุตถฌาน เพราะพ้นจากปัจจนีธรรม (ธรรมที่
เป็นข้าศึก) กล่าวคือนิวรณ์ ๕ ประการ ได้แก่ กามฉันทะ พยาบาท ถีนมิทธะ อุทธัจจกุกกุจจะ วิจิกิจฉา
(องฺ.เอกก.อ.๑/๑๗/๔๒,องฺ.ฉกฺก.อ.๓/๑๓/๑๐๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๔๒๙ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๒. สารณียวรรค ๓. นิสสารณียสูตร
๓. ภิกษุในธรรมวินัยนี้พึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ข้าพเจ้าได้เจริญมุทิตาเจโต-
วิมุตติแล้ว ทำให้มากแล้ว ทำให้เป็นดุจยานแล้ว ทำให้เป็นที่
ตั้งแล้ว ให้ตั้งมั่นแล้ว สั่งสมแล้ว ปรารภดีแล้ว แต่อรติ(ความไม่
ยินดี) ก็ยังครอบงำจิตของข้าพเจ้าอยู่’ ภิกษุทั้งหลายพึงกล่าว
ตักเตือนเธอว่า ‘อย่าได้กล่าวอย่างนี้เลย ผู้มีอายุ อย่าได้กล่าว
อย่างนี้ อย่าได้กล่าวตู่พระผู้มีพระภาค เพราะการกล่าวตู่พระผู้มี
พระภาคไม่ดีเลย พระผู้มีพระภาคไม่ตรัสอย่างนี้เลย ผู้มีอายุ เป็น
ไปไม่ได้เลยที่ภิกษุได้เจริญมุทิตาเจโตวิมุตติแล้ว ทำให้มากแล้ว
ทำให้เป็นดุจยานแล้ว ทำให้เป็นที่ตั้งแล้ว ให้ตั้งมั่นแล้ว สั่งสมแล้ว
ปรารภดีแล้ว แต่อรติก็ยังครอบงำจิตของภิกษุนั้นอยู่’ ข้อนั้นเป็น
ไปไม่ได้เลย เพราะมุทิตาเจโตวิมุตตินี้เป็นธาตุที่สลัดอรติ
๔. ภิกษุในธรรมวินัยนี้พึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ข้าพเจ้าได้เจริญอุเบกขา-
เจโตวิมุตติแล้ว ทำให้มากแล้ว ทำให้เป็นดุจยานแล้ว ทำให้เป็น
ที่ตั้งแล้ว ให้ตั้งมั่นแล้ว สั่งสมแล้ว ปรารภดีแล้ว แต่ราคะก็ยัง
ครอบงำจิตของข้าพเจ้าอยู่’ ภิกษุทั้งหลายพึงกล่าวตักเตือนเธอว่า
‘อย่าได้กล่าวอย่างนี้เลย ผู้มีอายุ ท่านอย่าได้กล่าวอย่างนี้ อย่าได้
กล่าวตู่พระผู้มีพระภาค เพราะการกล่าวตู่พระผู้มีพระภาคไม่ดีเลย
พระผู้มีพระภาคไม่ตรัสอย่างนี้เลย ผู้มีอายุ เป็นไปไม่ได้เลยที่ภิกษุ
ได้เจริญอุเบกขาเจโตวิมุตติแล้ว ทำให้มากแล้ว ทำให้เป็นดุจยานแล้ว
ทำให้เป็นที่ตั้งแล้ว ให้ตั้งมั่นแล้ว สั่งสมแล้ว ปรารภดีแล้ว แต่ราคะ
ก็ยังครอบงำจิตของภิกษุนั้นอยู่’ ข้อนั้นเป็นไปไม่ได้เลย เพราะ
อุเบกขาเจโตวิมุตตินี้เป็นธาตุที่สลัดราคะ
๕. ภิกษุในธรรมวินัยนี้พึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ข้าพเจ้าเจริญอนิมิตตาเจโต-
วิมุตติ๑แล้ว ทำให้มากแล้ว ทำให้เป็นดุจยานแล้ว ทำให้เป็นที่

เชิงอรรถ :
๑ อนิมิตตาเจโตวิมุตติ อรรถกถาอธิบายว่า หมายถึงพลววิปัสสนา(วิปัสสนาที่มีพลัง) กล่าวคืออรหัตตผล
สมาบัติ ที่ชื่อว่า อนิมิต (ไม่มีเครื่องหมาย) เพราะไม่มีราคนิมิต (นิมิตคือราคะ) ไม่มีโทสนิมิต (นิมิตคือ
โทสะ) ไม่มีโมหนิมิต (นิมิตคือโมหะ) ไม่มีรูปนิมิต (นิมิตคือรูป) ไม่มีนิจจนิมิต (นิมิตคือความเห็นว่าเที่ยง)
(องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๑๓/๑๐๔)
อีกนัยหนึ่ง อนิมิตตาเจโตวิมุตติ เป็นชื่อของญาณ ๔ คือ (๑) ภยตุปัฏฐานญาณ (ความรู้ความปรากฏแห่ง
ความเป็นของน่ากลัว) (๒) อาทีนวานุปัสสนาญาณ (ความรู้ในการพิจารณาเห็นโทษ) (๓) มุจจิตุกัมยตา-
ญาณ (ความรู้ความเป็นผู้ใคร่จะพ้น) (๔) ภังคญาณ (ความรู้ความดับไป) (องฺ.ฉกฺก.ฏีกา ๓/๑๓/๑๑๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๔๓๐ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๒. สารณียวรรค ๓. นิสสารณียสูตร
ตั้งแล้ว ให้ตั้งมั่นแล้ว สั่งสมแล้ว ปรารภดีแล้ว แต่วิญญาณของ
ข้าพเจ้าก็ยังแส่หานิมิตอยู่’ ภิกษุทั้งหลายพึงกล่าวตักเตือนเธอว่า
‘อย่าได้กล่าวอย่างนี้เลย ผู้มีอายุ ท่านอย่าได้กล่าวอย่างนี้ อย่าได้
กล่าวตู่พระผู้มีพระภาค เพราะการกล่าวตู่พระผู้มีพระภาคไม่ดีเลย
พระผู้มีพระภาคไม่ตรัสอย่างนี้เลย ผู้มีอายุ เป็นไปไม่ได้เลยที่
ภิกษุได้เจริญอนิมิตตาเจโตวิมุตติแล้ว ทำให้มากแล้ว ทำให้เป็นดุจ
ยานแล้ว ทำให้เป็นที่ตั้งแล้ว ให้ตั้งมั่นแล้ว สั่งสมแล้ว ปรารภดีแล้ว
แต่วิญญาณของภิกษุนั้นก็ยังแส่หานิมิตอยู่’ ข้อนั้นเป็นไปไม่ได้เลย
เพราะอนิมิตตาเจโตวิมุตตินี้เป็นธาตุที่สลัดนิมิตทั้งปวง
๖. ภิกษุในธรรมวินัยนี้พึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ข้าพเจ้าปราศจากอัสมิ-
มานะ๑ และไม่พิจารณาเห็นว่า ‘เราเป็นนี้‘๒ แต่ลูกศรคือความ
เคลือบแคลงสงสัยก็ยังครอบงำจิตของข้าพเจ้าอยู่’ ภิกษุทั้งหลาย
พึงกล่าวตักเตือนเธอว่า ‘อย่าได้กล่าวอย่างนี้เลย ผู้มีอายุ ท่าน
อย่าได้กล่าวอย่างนี้ อย่าได้กล่าวตู่พระผู้มีพระภาค เพราะการ
กล่าวตู่พระผู้มีพระภาคไม่ดีเลย พระผู้มีพระภาคไม่ตรัสอย่างนี้เลย
ผู้มีอายุ เป็นไปไม่ได้เลยที่ภิกษุปราศจากอัสมิมานะแล้ว และไม่
พิจารณาเห็นว่า ‘เราเป็นนี้’ แต่ลูกศรคือความเคลือบแคลงสงสัย
ก็ยังครอบงำจิตของภิกษุนั้นอยู่’ ข้อนั้นเป็นไปไม่ได้เลย เพราะสภาวะ
ที่ถอนอัสมิมานะ๓นี้เป็นธาตุที่สลัดลูกศรคือความเคลือบแคลงสงสัย’
ภิกษุทั้งหลาย ธาตุที่สลัด ๖ ประการนี้แล
นิสสารณียสูตรที่ ๓ จบ

เชิงอรรถ :
๑ ดูเชิงอรรถที่ ๑ ปัญจกนิบาต ข้อ ๗๑ หน้า ๑๒๑ ในเล่มนี้
๒ ไม่พิจารณาเห็นว่า ‘เราเป็นนี้‘ เป็นคำกล่าวพยากรณ์อรหัตตผลว่า ‘ไม่เห็นว่าเป็นเรา ในเบญจขันธ์’
กล่าวคือไม่พิจารณาเห็นว่าเราเป็นรูป เป็นเวทนา เป็นสัญญา เป็นสังขาร เป็นวิญญาณ (องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๑๓/
๑๐๕) ดู อภิ.วิ. (แปล) ๓๕/๘๘๓/๕๕๙
๓ สภาวะที่ถอนอัสมิมานะ หมายถึงอรหัตตมรรค ที่เรียกว่า สภาวะที่ถอนอัสมิมานะ เพราะเมื่อเห็นนิพพาน
ด้วยอำนาจผลที่เกิดจากอรหัตตมรรค อัสมีมานะย่อมไม่มี (องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๑๓/๑๐๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๔๓๑ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๒. สารณียวรรค ๔. ภัททกสูตร
๔. ภัททกสูตร
ว่าด้วยการอยู่อย่างมีความตายที่เจริญ
[๑๔] ณ ที่นั้นแล ท่านพระสารีบุตรเรียกภิกษุทั้งหลายมากล่าวว่า ผู้มีอายุ
ทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นรับคำแล้ว ท่านพระสารีบุตรจึงได้กล่าวเรื่องนี้ว่า
ผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุสำเร็จการอยู่อย่างมีความตายที่ไม่เจริญ๑ มีกาลกิริยา
ที่ไม่เจริญ
ภิกษุสำเร็จการอยู่อย่างมีความตายที่ไม่เจริญ มีกาลกิริยาที่ไม่เจริญ เป็น
อย่างไร
คือ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้
๑. เป็นผู้ชอบการงาน๒ ยินดีในการงาน หมั่นประกอบความเป็นผู้ชอบ
การงาน
๒. เป็นผู้ชอบการพูดคุย๓ ยินดีในการพูดคุย หมั่นประกอบความเป็น
ผู้ชอบการพูดคุย
๓. เป็นผู้ชอบการนอนหลับ ยินดีในการนอนหลับ หมั่นประกอบความ
เป็นผู้ชอบการนอนหลับ
๔. เป็นผู้ชอบการคลุกคลีด้วยหมู่ ยินดีในการคลุกคลีด้วยหมู่ หมั่น
ประกอบความเป็นผู้ชอบการคลุกคลีด้วยหมู่
๕. เป็นผู้ชอบคลุกคลีกับคฤหัสถ์ ยินดีในการคลุกคลีกับคฤหัสถ์ หมั่น
ประกอบความเป็นผู้ชอบการคลุกคลีกับคฤหัสถ์
๖. เป็นผู้ชอบธรรมที่เป็นเหตุให้เนิ่นช้า ยินดีในธรรมที่เป็นเหตุให้เนิ่นช้า
หมั่นประกอบความเป็นผู้ชอบธรรมที่เป็นเหตุให้เนิ่นช้า

เชิงอรรถ :
๑ ความตายที่ไม่เจริญ หมายถึงความตายของผู้มีความหวาดกลัว
กาลกิริยาที่ไม่เจริญ หมายถึงการถือปฏิสนธิในอบายภูมิ (องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๑๔/๑๐๕)
๒ การงาน ในที่นี้หมายถึงงานนวกรรม คือการก่อสร้างต่าง ๆ เช่น การก่อสร้างวิหารเป็นต้น ความเป็นผู้ยินดี
แต่การก่อสร้างที่ถือว่าเป็นความเสื่อมในพระธรรมวินัย เพราะทำให้ละเลยต่อการบำเพ็ญคันถธุระและ
วิปัสสนาธุระ (องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๑๔/๑๐๕,องฺ.ฉกฺก.ฏีกา ๓/๑๔-๑๕/๑๑๘)
๓ พูดคุย ในที่นี้หมายถึงการพูดเกี่ยวกับเรื่องผิวพรรณของสตรีและผิวพรรณของบุรุษเป็นต้น (องฺ.ฉกฺก.ฏีกา
๓/๑๔-๑๕/๑๙๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๔๓๒ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๒. สารณียวรรค ๔. ภัททกสูตร
ภิกษุสำเร็จการอยู่อย่างมีความตายที่ไม่เจริญ มีกาลกิริยาที่ไม่เจริญ เป็นอย่าง
นี้แล
ภิกษุนี้เรียกว่า ผู้ยินดียิ่งในสักกายะ๑ ไม่ละสักกายะเพื่อทำที่สุดทุกข์โดยชอบ
ผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุสำเร็จการอยู่อย่างมีความตายที่เจริญ มีกาลกิริยาที่เจริญ
ภิกษุสำเร็จการอยู่อย่างมีความตายที่เจริญ มีกาลกิริยาที่เจริญ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้
๑. เป็นผู้ไม่ชอบการงาน ไม่ยินดีในการงาน ไม่หมั่นประกอบความ
เป็นผู้ชอบการงาน
๒. เป็นผู้ไม่ชอบการพูดคุย ไม่ยินดีในการพูดคุย ไม่หมั่นประกอบ
ความเป็นผู้ชอบการพูดคุย
๓. เป็นผู้ไม่ชอบการนอนหลับ ไม่ยินดีในการนอนหลับ ไม่หมั่นประกอบ
ความเป็นผู้ชอบการนอนหลับ
๔. เป็นผู้ไม่ชอบการคลุกคลีด้วยหมู่ ไม่ยินดีการคลุกคลีด้วยหมู่ ไม่
หมั่นประกอบความเป็นผู้คลุกคลีด้วยหมู่
๕. เป็นผู้ไม่ชอบการคลุกคลีกับคฤหัสถ์ ไม่ยินดีในการคลุกคลีกับ
คฤหัสถ์ ไม่หมั่นประกอบความเป็นผู้ชอบการคลุกคลีกับคฤหัสถ์
๖. เป็นผู้ไม่ชอบธรรมที่เป็นเหตุให้เนิ่นช้า ไม่ยินดีธรรมที่เป็นเหตุให้เนิ่นช้า
ไม่หมั่นประกอบความเป็นผู้ชอบธรรมที่เป็นเหตุให้เนิ่นช้า
ภิกษุสำเร็จการอยู่อย่างมีความตายที่เจริญ มีกาลกิริยาที่เจริญ เป็นอย่างนี้แล
ภิกษุนี้เรียกว่า ผู้ยินดีในนิพพาน ละสักกายะเพื่อทำที่สุดทุกข์โดยชอบ
ท่านพระสารีบุตรได้กล่าวเวยยากรณ์ภาษิตนี้แล้ว จึงได้กล่าวคาถาประพันธ์
ต่อไปอีกว่า

เชิงอรรถ :
๑ สักกายะ ในที่นี้หมายถึงวัฏฏะที่เกี่ยวข้องอยู่ในภูมิ ๓ คือ กามภูมิ รูปภูมิ และอรูปภูมิ (ดู อภิ.สงฺ. (แปล)
๓๔/๑๒๙๓/๓๒๖ ประกอบ) คำว่าวัฏฏะมี ๓ ประการ คือ (๑) กิเลสวัฏฏะ วงจรกิเลส ประกอบด้วยอวิชชา
ตัณหา อุปาทาน (๒) กัมมวัฏฏะ วงจรกรรมประกอบด้วยสังขาร และกรรมภพ (๓) วิปากวัฏฏะ วงจรวิบาก
ประกอบด้วยวิญญาณ นามรูป สฬายตนะ ผัสสะ เวทนา ซึ่งแสดงออกในรูปอุปปัติภพ ชาติ ชรา มรณะ
เป็นต้น (องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๑๔/๑๐๕,๖๑/๑๔๗, องฺ.ทสก.อ. ๓/๑๑๗-๑๑๘/๓๗๕ สารตฺถ.ฏีกา ๓/๕๔/๒๕๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๔๓๓ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๒. สารณียวรรค ๕. อนุตัปปิยสูตร
ผู้ใดหมั่นประกอบธรรมที่เป็นเหตุให้เนิ่นช้า
ยินดีธรรมที่เป็นเหตุให้เนิ่นช้า ผู้เป็นเช่นกับเนื้อ
ผู้นั้นไม่ได้ชมนิพพานอันเป็นแดนเกษมจากโยคะอันยอดเยี่ยม
ส่วนผู้ใดละธรรมที่เป็นเหตุให้เนิ่นช้าได้แล้ว
ยินดีในบทคือธรรมที่ไม่เป็นเหตุให้เนิ่นช้า
ผู้นั้นได้ชมนิพพานอันเป็นแดนเกษมจากโยคะอันยอดเยี่ยม
ภัททกสูตรที่ ๔ จบ
๕. อนุตัปปิยสูตร
ว่าด้วยการอยู่อย่างมีกาลกิริยาที่เดือดร้อน
[๑๕] ณ ที่นั้นแล ท่านพระสารีบุตรได้เรียกภิกษุทั้งหลายมากล่าวว่า ผู้มีอายุ
ทั้งหลาย ภิกษุสำเร็จการอยู่อย่างมีกาลกิริยาที่เดือดร้อน
ภิกษุสำเร็จการอยู่อย่างมีกาลกิริยาที่เดือดร้อน เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้
๑. เป็นผู้ชอบการงาน ยินดีในการงาน หมั่นประกอบความเป็นผู้ชอบ
การงาน
๒. เป็นผู้ชอบการพูดคุย ...
๓. เป็นผู้ชอบการนอนหลับ ...
๔. เป็นผู้ชอบการคลุกคลีด้วยหมู่ ...
๕. เป็นผู้ชอบการคลุกคลีกับคฤหัสถ์ ...
๖. เป็นผู้ชอบธรรมที่เป็นเหตุให้เนิ่นช้า ยินดีธรรมที่เป็นเหตุให้เนิ่นช้า
หมั่นประกอบความเป็นผู้ชอบธรรมที่เป็นเหตุให้เนิ่นช้า
ภิกษุสำเร็จการอยู่อย่างมีกาลกิริยาที่เดือดร้อน เป็นอย่างนี้แล
ภิกษุนี้เรียกว่า ผู้ยินดีในสักกายะ ไม่ละสักกายะเพื่อทำที่สุดทุกข์โดยชอบ
ผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุสำเร็จการอยู่อย่างมีกาลกิริยาที่ไม่เดือดร้อน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๔๓๔ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๒. สารณียวรรค ๕. อนุตัปปิยสูตร
ภิกษุสำเร็จการอยู่อย่างมีกาลกิริยาที่ไม่เดือดร้อน เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้
๑. เป็นผู้ไม่ชอบการงาน ไม่ยินดีในการงาน ไม่หมั่นประกอบความ
เป็นผู้ชอบการงาน
๒. เป็นผู้ไม่ชอบการพูดคุย ...
๓. เป็นผู้ไม่ชอบการนอนหลับ ...
๔. เป็นผู้ไม่ชอบการคลุกคลีด้วยหมู่ ...
๕. เป็นผู้ไม่ชอบการคลุกคลีกับคฤหัสถ์ ...
๖. เป็นผู้ไม่ชอบธรรมที่เป็นเหตุให้เนิ่นช้า ไม่ยินดีธรรมที่เป็นเหตุให้
เนิ่นช้า ไม่หมั่นประกอบความเป็นผู้ชอบธรรมที่เป็นเหตุให้เนิ่นช้า
ภิกษุสำเร็จการอยู่อย่างมีกาลกิริยาที่ไม่เดือดร้อน เป็นอย่างนี้แล
ภิกษุนี้เรียกว่า ผู้ยินดีในนิพพาน ละสักกายะเพื่อทำที่สุดทุกข์โดยชอบ
ท่านพระสารีบุตรได้กล่าวเวยยากรณ์ภาษิตนี้แล้ว จึงได้กล่าวคาถาประพันธ์
ต่อไปอีกว่า
ผู้ใดหมั่นประกอบธรรมที่เป็นเหตุให้เนิ่นช้า
ยินดีธรรมที่เป็นเหตุให้เนิ่นช้า ผู้เป็นเช่นกับเนื้อ
ผู้นั้นไม่ได้ชมนิพพานอันเป็นแดนเกษมจากโยคะอันยอดเยี่ยม
ส่วนผู้ใดละธรรมที่เป็นเหตุให้เนิ่นช้าได้แล้ว
ยินดีในบทคือธรรมที่ไม่เป็นเหตุให้เนิ่นช้า
ผู้นั้นได้ชมนิพพานอันเป็นแดนเกษมจากโยคะอันยอดเยี่ยม
อนุตัปปิยสูตรที่ ๕ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๔๓๕ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๒. สารณียวรรค ๖. นกุลปิตุสูตร
๖. นกุลปิตุสูตร
ว่าด้วยนกุลปิตาคหบดี
[๑๖] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ป่าเภสกฬามิคทายวัน
นครสุงสุมารคีระ แคว้นภัคคะ สมัยนั้น นกุลปิตาคหบดีมีความเจ็บไข้ ได้รับทุกข์
เป็นไข้หนัก ครั้งนั้น นกุลมาตาคหปตานีได้กล่าวเตือนนกุลปิตาคหบดีว่า
คหบดี ท่านอย่าได้ตายทั้งที่ยังมีความห่วงใย๑เลย เพราะการตายของผู้ที่ยังมี
ความห่วงใย เป็นทุกข์ และพระผู้มีพระภาคก็ทรงติเตียน
๑. ท่านมีความห่วงใยอย่างนี้หรือว่า ‘เมื่อเราตายไปแล้ว นกุลมาตา-
คหปตานีจักไม่สามารถเลี้ยงทารก และครองเรือนอยู่ได้’ ท่านไม่
ควรคิดเห็นอย่างนี้ เพราะดิฉันเป็นคนฉลาดปั่นฝ้าย ทำขนสัตว์
เมื่อท่านตายไปแล้ว ดิฉันสามารถเลี้ยงดูทารก และครองเรือนอยู่ได้
เพราะฉะนั้นแล ท่านอย่าได้ตายทั้งที่ยังมีความห่วงใยเลย เพราะ
การตายของผู้ที่ยังมีความห่วงใย เป็นทุกข์ และพระผู้มีพระภาคก็
ทรงติเตียน
๒. ท่านมีความห่วงใยอย่างนี้หรือว่า ‘เมื่อเราตายไปแล้ว นกุลมาตา-
คหปตานีจักได้ชายอื่นเป็นสามี’ ท่านไม่ควรคิดเห็นอย่างนี้ ทั้งท่าน
และดิฉันย่อมรู้ว่าได้อยู่ร่วมกันประพฤติเคร่งครัดต่อระเบียบประเพณี
ของผู้ครองเรือนตลอด ๑๖ ปี เพราะฉะนั้นแล ท่านอย่าได้ตายทั้ง
ที่ยังมีความห่วงใยเลย เพราะการตายของผู้ที่ยังมีความห่วงใย
เป็นทุกข์ และพระผู้มีพระภาคก็ทรงติเตียน
๓. ท่านมีความห่วงใยอย่างนี้หรือว่า ‘เมื่อเราตายไปแล้ว นกุลมาตา-
คหปตานีจักไม่ต้องการเห็นพระผู้มีพระภาค ไม่ต้องการเห็นภิกษุสงฆ์’
ท่านไม่ควรคิดเห็นอย่างนี้ เพราะดิฉันต้องการเห็นพระผู้มีพระภาค
อย่างยิ่ง ต้องการเห็นภิกษุสงฆ์อย่างยิ่ง เพราะฉะนั้นแล ท่านอย่า

เชิงอรรถ :
๑ ความห่วงใย ในที่นี้หมายถึงตัณหา (องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๑๖/๑๐๖)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๔๓๖ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๒. สารณียวรรค ๖. นกุลปิตุสูตร
ได้ตายทั้งที่ยังมีความห่วงใยเลย เพราะการตายของผู้ที่ยังมีความ
ห่วงใย เป็นทุกข์ และพระผู้มีพระภาคก็ทรงติเตียน
๔. ท่านมีความห่วงใยอย่างนี้หรือว่า ‘เมื่อเราตายไปแล้ว นกุลมาตา-
คหปตานีจักไม่ทำศีลให้บริบูรณ์’ ท่านไม่ควรคิดเห็นอย่างนี้ เพราะ
สาวิกาทั้งหลายของพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ที่ยังเป็นคฤหัสถ์
นุ่งห่มผ้าขาว บำเพ็ญศีลให้บริบูรณ์ มีจำนวนเท่าใด ดิฉันก็เป็น
คนหนึ่งในจำนวนสาวิกาเหล่านั้น ก็ผู้ใดพึงมีความสงสัยหรือ
เคลือบแคลง ผู้นั้นจงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมา-
สัมพุทธเจ้าผู้กำลังประทับอยู่ ณ ป่าเภสกฬามิคทายวัน นคร
สุงสุมารคีระ แคว้นภัคคะแล้วทูลถามเถิด เพราะฉะนั้นแล ท่านอย่า
ได้ตายทั้งที่ยังมีความห่วงใยเลย เพราะการตายของผู้ที่ยังมีความ
ห่วงใย เป็นทุกข์ และพระผู้มีพระภาคก็ทรงติเตียน
๕. ท่านมีความห่วงใยอย่างนี้หรือว่า ‘นกุลมาตาคหปตานีจักไม่ได้
ความสงบใจในภายใน’ ท่านไม่ควรคิดเห็นอย่างนี้ เพราะสาวิกา
ทั้งหลายของพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ที่ยังเป็นคฤหัสถ์นุ่งห่ม
ผ้าขาว ได้ความสงบใจในภายใน มีจำนวนเท่าใด ดิฉันก็เป็นคน
หนึ่งในจำนวนสาวิกาเหล่านั้น ก็ผู้ใดมีความสงสัยหรือเคลือบแคลง
ผู้นั้นจงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้กำลัง
ประทับอยู่ ณ ป่าเภสกฬามิคทายวัน นครสุงสุมารคีระ แคว้น
ภัคคะ แล้วทูลถามเถิด เพราะฉะนั้นแล ท่านอย่าได้ตายทั้งที่ยังมี
ความห่วงใยเลย เพราะการตายของผู้ที่ยังมีความห่วงใย เป็นทุกข์
และพระผู้มีพระภาคก็ทรงติเตียน
๖. ท่านมีความห่วงใยอย่างนี้หรือว่า ‘นกุลมาตาคหปตานียังไม่ถึงการ
หยั่งลง ยังไม่ถึงที่พึ่ง ยังไม่ถึงความเบาใจ ยังไม่ข้ามพ้นความ
สงสัย ยังไม่ปราศจากความเคลือบแคลง ยังไม่ถึงความแกล้วกล้า
ยังไม่ปราศจากความมีผู้อื่นเป็นปัจจัย๑ ในพระธรรมวินัยนี้ อยู่ใน
ศาสนาของพระศาสดา’ ท่านไม่ควรคิดเห็นอย่างนี้ เพราะสาวิกา

เชิงอรรถ :
๑ ความมีผู้อื่นเป็นปัจจัย ในที่นี้หมายถึงอาศัยผู้อื่นสนับสนุน (องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๑๖/๑๐๖)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๔๓๗ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๒. สารณียวรรค ๖. นกุลปิตุสูตร
ทั้งหลายของพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ที่ยังเป็นคฤหัสถ์นุ่งห่ม
ผ้าขาว ถึงการหยั่งลง ถึงที่พึ่ง ถึงความเบาใจ ข้ามพ้นความสงสัย
ปราศจากความเคลือบแคลง ถึงความแกล้วกล้า ปราศจากความมี
ผู้อื่นเป็นปัจจัย ในพระธรรมวินัยนี้ อยู่ในศาสนาของพระศาสดามี
จำนวนเท่าใด ดิฉันก็เป็นคนหนึ่งในจำนวนสาวิกาเหล่านั้น ก็ผู้ใด
พึงมีความสงสัยหรือเคลือบแคลง ผู้นั้นจงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระ
ภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้กำลังประทับอยู่ ณ ป่าเภสกฬา-
มิคทายวัน นครสุงสุมารคีระ แคว้นภัคคะแล้วทูลถามเถิด เพราะ
ฉะนั้นแล ท่านอย่าได้ตายทั้งที่ยังมีความห่วงใยเลย เพราะการตาย
ของผู้ที่ยังมีความห่วงใย เป็นทุกข์ และพระผู้มีพระภาคก็ทรงติเตียน
ครั้งนั้น เมื่อนกุลมาตาคหปตานีกล่าวเตือนนกุลปิตาคหบดีด้วยคำเตือนนี้
ความเจ็บไข้นั้นได้สงบระงับโดยพลัน ท่านนกุลปิตาคหบดีได้หายจากความเจ็บไข้นั้น
และนกุลปิตาคหบดีละความเจ็บไข้นั้น ละได้โดยอาการอย่างนั้น
ครั้งนั้นแล นกุลปิตาคหบดี พอหายจากความเจ็บไข้เท่านั้น ยังฟื้นจากไข้
ไม่นาน ก็ถือไม้เท้าเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ
ที่สมควร พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกับนกุลปิตาคหบดี ดังนี้ว่า
“คหบดี เป็นลาภของท่านหนอ ท่านได้ดีแล้วหนอ ที่นกุลมาตาคหปตานี
เป็นผู้อนุเคราะห์ หวังประโยชน์กล่าวตักเตือนพร่ำสอนท่าน คหบดี สาวิกาทั้งหลาย
ของเราที่ยังเป็นคฤหัสถ์นุ่งห่มผ้าขาว ทำศีลให้บริบูรณ์ มีจำนวนเท่าใด นกุลมาตา-
คหปตานีก็เป็นคนหนึ่งในจำนวนสาวิกาเหล่านั้น คหบดี สาวิกาทั้งหลายของเราที่ยัง
เป็นคฤหัสถ์นุ่งห่มผ้าขาว ได้ความสงบใจในภายใน มีจำนวนเท่าใด นกุลมาตา-
คหปตานี ก็เป็นคนหนึ่งในจำนวนสาวิกาเหล่านั้น คหบดี สาวิกาทั้งหลายของเราที่ยัง
เป็นคฤหัสถ์นุ่งห่มผ้าขาว ถึงการหยั่งลง ถึงที่พึ่ง ถึงความเบาใจ ข้ามพ้นความสงสัย
ปราศจากความเคลือบแคลง ถึงความแกล้วกล้า ปราศจากความมีผู้อื่นเป็นปัจจัยใน
ธรรมวินัยนี้ อยู่ในศาสนาของศาสดา มีจำนวนเท่าใด นกุลมาตาคหปตานีก็เป็นคน
หนึ่งในจำนวนสาวิกาเหล่านั้น คหบดี เป็นลาภของท่านหนอ ท่านได้ดีแล้วหนอ
ที่นกุลมาตาคหปตานีเป็นผู้อนุเคราะห์ หวังประโยชน์ กล่าวตักเตือนพร่ำสอนท่าน”
นกุลปิตุสูตรที่ ๖ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๔๓๘ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๒. สารณียวรรค ๗. โสปปสูตร
๗. โสปปสูตร
ว่าด้วยการนอนหลับ
[๑๗] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถ-
บิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเสด็จออกจากที่หลีกเร้น๑ใน
เวลาเย็น เสด็จเข้าไปยังหอฉัน ประทับนั่งบนพุทธอาสน์ที่ปูลาดไว้ แม้ท่านพระ
สารีบุตรก็ออกจากที่หลีกเร้นในเวลาเย็นแล้วเข้าไปยังหอฉัน ถวายอภิวาทพระผู้มี
พระภาค แล้วนั่ง ณ ที่สมควร แม้ท่านพระโมคคัลลานะ แม้ท่านพระมหากัสสปะ
แม้ท่านพระมหากัจจานะ แม้ท่านพระมหาโกฏฐิกะ แม้ท่านพระมหาจุนทะ แม้ท่าน
พระมหากัปปินะ แม้ท่านพระอนุรุทธะ แม้ท่านพระเรวตะ แม้ท่านพระอานนท์ก็
ออกจากที่หลีกเร้นในเวลาเย็น แล้วเข้าไปยังหอฉัน ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาค
แล้วนั่ง ณ ที่สมควร ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคทรงให้ราตรีผ่านไปนานด้วยการ
ประทับนั่ง แล้วเสด็จลุกจากพุทธอาสน์เข้าไปสู่วิหาร เมื่อพระผู้มีพระภาคเสด็จ
หลีกไปไม่นาน แม้พระเถระเหล่านั้น ต่างก็ลุกจากอาสนะเข้าไปยังที่อยู่ของตน
ส่วนพวกภิกษุใหม่ บวชไม่นาน เพิ่งมาสู่พระธรรมวินัยนี้ ต่างก็เข้าไปสู่ที่อยู่ของตน
นอนหลับกรนอยู่จนพระอาทิตย์ขึ้น พระผู้มีพระภาคได้ทอดพระเนตรเห็นภิกษุ
เหล่านั้นผู้นอนหลับกรนอยู่ ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์ แล้วเสด็จเข้าไป
ยังหอฉัน ประทับนั่งบนพุทธอาสน์ที่ปูลาดไว้ ได้เรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสถามว่า
“ภิกษุทั้งหลาย สารีบุตรไปไหน โมคคัลลานะไปไหน มหากัสสปะไปไหน
มหากัจจายนะไปไหน มหาโกฏฐิกะไปไหน มหาจุนทะไปไหน มหากัปปินะไปไหน
อนุรุทธะไปไหน เรวตะไปไหน อานนท์ไปไหน สาวกชั้นเถระเหล่านั้นไปไหน”
ภิกษุเหล่านั้นกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อพระผู้มีพระภาคเสด็จ
หลีกไปไม่นาน พระเถระเหล่านั้นต่างก็ลุกจากอาสนะเข้าไปยังที่อยู่ของตน”

เชิงอรรถ :
๑ ที่หลีกเร้น หมายถึงการอยู่ผู้เดียว การอยู่โดยเพ่งพินิจธรรม หรือการอยู่ด้วยผลสมาบัติ (สํ.สฬา.อ.
๓/๘๗/๒๐, องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๑๗/๑๐๖-๑๐๗) อีกนัยหนึ่ง หมายถึงการทำนิพพานที่สงบให้เป็นอารมณ์ เข้า
ผลสมาบัติในเวลาเช้า (ตามนัย วิ.อ. ๑/๒๒/๒๐๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๔๓๙ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๒. สารณียวรรค ๗. โสปปสูตร
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายเป็นเถระหรือหนอ
เธอทั้งหลายเป็นภิกษุใหม่นอนหลับกรนอยู่จนพระอาทิตย์ขึ้น เธอทั้งหลายเข้าใจ
เรื่องนั้นอย่างไร เธอทั้งหลายเคยได้เห็นหรือเคยได้ยินบ้างไหมว่า ‘กษัตราธิราชได้รับ
มูรธาภิเษกแล้ว ทรงประกอบความสุขในการบรรทม๑ ความสุขในการเอกเขนก๒
ความสุขในการหลับอยู่ตามพระประสงค์ ครองราชย์จนตลอดพระชนมชีพ ย่อมเป็น
ที่รัก เป็นที่พอใจของชาวชนบท”
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า “ไม่เป็นอย่างนั้นเลย พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ดีละ ภิกษุทั้งหลาย ข้อนั้นแม้เราก็ไม่เคยได้เห็น
ไม่เคยได้ยินมาเลยว่า ‘กษัตราธิราชได้รับมูรธาภิเษกแล้ว ทรงประกอบความสุขใน
การบรรทม ความสุขในการเอกเขนก ความสุขในการหลับอยู่ตามพระประสงค์
ครองราชย์จนตลอดพระชนมชีพ ย่อมเป็นที่รัก เป็นที่พอใจของชาวชนบท
ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายเข้าใจเรื่องนั้นอย่างไร เธอทั้งหลายเคยได้เห็นหรือ
เคยได้ยินมาบ้างไหมว่า “ท่านผู้ครองรัฐ ฯลฯ ท่านผู้เป็นทายาทของตระกูล ฯลฯ
ท่านผู้เป็นเสนาบดี ฯลฯ ท่านผู้ครองหมู่บ้าน ฯลฯ ท่านผู้เป็นหัวหน้าคณะ
ประกอบความสุขในการนอน ความสุขในการเอกเขนก ความสุขในการหลับอยู่ตาม
ความประสงค์ ปกครองหมู่คณะจนตลอดชีวิต ย่อมเป็นที่รัก เป็นที่พอใจของหมู่คณะ”
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า “ไม่เป็นอย่างนั้นเลย พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ดีละ ภิกษุทั้งหลาย ข้อนั้นแม้เราก็ไม่เคยได้เห็น
ไม่เคยได้ยินมาเลยว่า ‘ท่านผู้เป็นหัวหน้าคณะประกอบความสุขในการนอน ความสุข
ในการเอกเขนก ความสุขในการหลับอยู่ตามความประสงค์ ปกครองหมู่คณะจน
ตลอดชีวิต ย่อมเป็นที่รัก เป็นที่พอใจของหมู่คณะ’

เชิงอรรถ :
๑ ความสุขในการบรรทม หมายถึงความสุขที่เกิดจากการนอนบนพระแท่นบรรทม หรือการแปรพระราช
ฐานพักผ่อนตามฤดู (องฺ.ปญฺจ.อ. ๓/๒๐๖/๘๖)
๒ ความสุขในการเอกเขนก หมายถึงความสุขในการบรรทมพลิกกลับไปมา (องฺ.ปญฺจ.อ. ๓/๒๐๖/๘๖)
๓ โพธิปักขิยธรรม หมายถึงธรรมอันเป็นฝักฝ่ายแห่งการตรัสรู้ มี ๓๗ ประการ คือ (๑) สติปัฏฐาน ๔
(๒) สัมมัปปธาน ๔ (๓) อิทธิบาท ๔ (๔) อินทรีย์ ๕ (๕) พละ ๕ (๖) โพชฌงค์ ๗ (๗) มรรคมีองค์ ๘
ดู ขุ.ม. (แปล) ๒๙/๕๐/๑๗๔, อภิ.วิ. (แปล) ๓๕/๕๒๒/๓๙๒

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๔๔๐ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๒. สารณียวรรค ๗. โสปปสูตร
ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายเข้าใจเรื่องนั้นว่าอย่างไร เธอทั้งหลายเคยได้เห็นหรือ
เคยได้ยินมาบ้างไหมว่า สมณะหรือพราหมณ์ประกอบความสุขในการนอน ความสุข
ในการเอกเขนก ความสุขในการหลับอยู่ตามความประสงค์ ไม่คุ้มครองทวาร
ในอินทรีย์ทั้งหลาย ไม่รู้จักประมาณในการบริโภค ไม่หมั่นประกอบความเพียรเป็น
เครื่องตื่นอยู่ ไม่เห็นแจ้งกุศลธรรมทั้งหลาย ไม่หมั่นประกอบความเพียรในการ
เจริญโพธิปักขิยธรรม ทั้งเบื้องต้นและเบื้องปลายแห่งราตรีแล้วทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ
ปัญญาวิมุตติอันไม่มีอาสวะ เพราะอาสวะสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเอง เข้าถึงอยู่ใน
ปัจจุบัน”
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า “ไม่เป็นอย่างนั้นเลย พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ดีละ ภิกษุทั้งหลาย ข้อนั้นแม้เราก็ไม่เคยได้เห็น
ไม่เคยได้ยินมาเลยว่า ‘สมณะหรือพราหมณ์ประกอบความสุขในการนอน ความสุข
ในการเอกเขนก ความสุขในการหลับอยู่ตามความประสงค์ ไม่คุ้มครองทวารใน
อินทรีย์ทั้งหลาย ไม่รู้จักประมาณในการบริโภค ไม่หมั่นประกอบความเพียรเครื่อง
ตื่นอยู่ ไม่เห็นแจ้งกุศลธรรมทั้งหลาย ไม่หมั่นประกอบความเพียรในการเจริญ
โพธิปักขิยธรรม ทั้งเบื้องต้นและเบื้องปลายแห่งราตรี ทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญา-
วิมุตติอันไม่มีอาสวะ เพราะอาสวะสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเอง เข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน’
เพราะเหตุนั้นแล เธอทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า ‘เราทั้งหลายจักคุ้มครอง
ทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย จักเป็นผู้รู้จักประมาณในการบริโภค จักเป็นผู้หมั่น
ประกอบความเพียรเครื่องตื่นอยู่ จักเป็นผู้เห็นแจ้งกุศลธรรมทั้งหลาย จักเป็นผู้
หมั่นประกอบความเพียรในการเจริญโพธิปักขิยธรรม ทั้งเบื้องต้นและเบื้องปลายแห่ง
ราตรีอยู่’
ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้แล”
โสปปสูตรที่ ๗ จบ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๔๔๑ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๒. สารณียวรรค ๘. มัจฉพันธสูตร
๘. มัจฉพันธสูตร
ว่าด้วยชาวประมงจับปลา
[๑๘] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเสด็จจาริกไปในแคว้นโกศลพร้อมด้วยภิกษุ
สงฆ์หมู่ใหญ่ พระผู้มีพระภาคทรงดำเนินทางไกล ได้ทอดพระเนตรเห็นชาวประมง
จับปลา ฆ่าแล้วขายอยู่ ในท้องถิ่นแห่งหนึ่ง ได้เสด็จแวะริมทาง ประทับนั่งบน
พุทธอาสน์ที่ปูลาดไว้ที่โคนไม้แห่งหนึ่ง แล้วได้ตรัสถามภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุ
ทั้งหลาย เธอทั้งหลายเห็นชาวประมงโน้นผู้จับปลา ฆ่าแล้วขายอยู่หรือไม่”
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า “เห็น พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายเข้าใจเรื่องนั้นอย่างไร
เธอทั้งหลายเคยได้เห็นหรือเคยได้ยินมาบ้างไหมว่า ‘ชาวประมงจับปลาฆ่าแล้ว
ขายอยู่ ได้เป็นผู้ขี่ช้าง ขี่ม้า ขี่รถ ขี่ยาน เป็นเจ้าของโภคทรัพย์ หรือครอบครอง
กองโภคทรัพย์เป็นอันมาก เพราะกรรมนั้น เพราะอาชีพนั้น”
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า “ไม่เป็นอย่างนั้นเลย พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ดีละ ภิกษุทั้งหลาย ข้อนั้นแม้เราก็ไม่เคยได้เห็น
ไม่เคยได้ยินมาเลยว่า ‘ชาวประมงจับปลาฆ่าแล้วขายอยู่ ได้เป็นผู้ขี่ช้าง ขี่ม้า ขี่รถ
ขี่ยาน เป็นเจ้าของโภคทรัพย์ หรือครอบครองกองโภคทรัพย์เป็นอันมาก เพราะ
กรรมนั้น เพราะอาชีพนั้น’ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะเขาเพ่งดูปลาเหล่านั้นที่เขา
พึงฆ่า ที่พึงนำมาเพื่อฆ่าด้วยใจที่เป็นบาป ฉะนั้น เขาจึงไม่ได้ขี่ช้าง ไม่ได้ขี่ม้า
ไม่ได้ขี่รถ ไม่ได้ขี่ยาน ไม่ได้เป็นเจ้าของโภคทรัพย์ ไม่ได้ครอบครองกองโภคทรัพย์
เป็นอันมาก
ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายเข้าใจเรื่องนั้นอย่างไร เธอทั้งหลายเคยได้เห็น
หรือเคยได้ยินมาบ้างไหมว่า ‘คนฆ่าโคฆ่าโคแล้วขายอยู่ ได้เป็นผู้ขี่ช้าง ขี่ม้า ขี่รถ
ขี่ยาน เป็นเจ้าของโภคทรัพย์ หรือครอบครองกองโภคทรัพย์เป็นอันมาก เพราะ
กรรมนั้น เพราะอาชีพนั้น”
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า “ไม่เป็นอย่างนั้นเลย พระพุทธเจ้าข้า”


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๔๔๒ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๒. สารณียวรรค ๘. มัจฉพันธสูตร
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ดีละ ภิกษุทั้งหลาย ข้อนั้นแม้เราก็ไม่เคยได้เห็น
ไม่เคยได้ยินมาเลยว่า ‘คนฆ่าโคฆ่าโคแล้วขายอยู่ ได้เป็นผู้ขี่ช้าง ขี่ม้า ขี่รถ ขี่ยาน
เป็นเจ้าของโภคทรัพย์ หรือครอบครองกองโภคทรัพย์เป็นอันมากเพราะกรรมนั้น
เพราะอาชีพนั้น’ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะเขาเพ่งดูโคเหล่านั้น ที่เขาพึงฆ่า ที่พึงนำ
มาเพื่อฆ่าด้วยใจที่เป็นบาป ฉะนั้น เขาจึงไม่ได้ขี่ช้าง ไม่ได้ขี่ม้า ไม่ได้ขี่รถ ไม่ได้ขี่ยาน
ไม่ได้เป็นเจ้าของโภคทรัพย์ ไม่ได้ครอบครองกองโภคทรัพย์เป็นอันมาก
ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายเข้าใจเรื่องนั้นอย่างไร เธอทั้งหลายเคยได้เห็นหรือ
เคยได้ยินมาบ้างไหมว่า ‘คนฆ่าแกะ ฯลฯ คนฆ่าสุกร ฯลฯ พรานนก ฯลฯ พรานเนื้อ
ฆ่าเนื้อแล้วขายอยู่ ได้เป็นผู้ขี่ช้าง ขี่ม้า ขี่รถ ขี่ยาน เป็นเจ้าของโภคทรัพย์ หรือครอบ
ครองกองโภคทรัพย์เป็นอันมาก เพราะกรรมนั้น เพราะอาชีพนั้น”
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า “ไม่เป็นอย่างนั้นเลย พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ดีละ ภิกษุทั้งหลาย ข้อนั้นแม้เราก็ไม่เคยได้เห็น
ไม่เคยได้ยินมาเลยว่า ‘พรานเนื้อ ฆ่าเนื้อแล้วขายอยู่ ได้เป็นผู้ขี่ช้าง ขี่ม้า ขี่รถ
ขี่ยาน เป็นเจ้าของโภคทรัพย์ หรือครอบครองกองโภคทรัพย์เป็นอันมาก เพราะ
กรรมนั้น เพราะอาชีพนั้น’ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะเขาเพ่งดูเนื้อที่เขาพึงฆ่า ที่นำ
มาเพื่อฆ่าด้วยใจที่เป็นบาป ฉะนั้น เขาจึงไม่ได้ขี่ช้าง ไม่ได้ขี่ม้า ไม่ได้ขี่รถ ไม่ได้ขี่ยาน
ไม่ได้เป็นเจ้าของโภคทรัพย์ ไม่ได้ครอบครองกองโภคทรัพย์เป็นอันมาก
ภิกษุทั้งหลาย เพราะเพ่งดูสัตว์ดิรัจฉานเหล่านั้นที่เขาพึงฆ่า ที่พึงนำมาเพื่อฆ่า
ด้วยใจที่เป็นบาป ฉะนั้น เขาจึงไม่ได้ขี่ช้าง ไม่ได้ขี่ม้า ไม่ได้ขี่รถ ไม่ได้ขี่ยาน ไม่ได้เป็น
เจ้าของโภคทรัพย์ ไม่ได้ครอบครองกองโภคทรัพย์เป็นอันมาก ไม่จำเป็นต้องพูดถึงผู้
เพ่งดูมนุษย์ที่เขาพึงฆ่า ที่พึงนำมาเพื่อฆ่าด้วยใจที่เป็นบาป เพราะผลของกรรมนั้น
ย่อมเป็นไปเพื่อไม่เกื้อกูล เพื่อทุกข์แก่เขาตลอดกาลนาน หลังจากตายแล้ว เขาจะไป
เกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก”
มัจฉพันธสูตรที่ ๘ จบ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๔๔๓ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๒. สารณียวรรค ๙. ปฐมมรณัสสติสูตร
๙. ปฐมมรณัสสติสูตร
ว่าด้วยการเจริญมรณัสสติ สูตรที่ ๑
[๑๙] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ คิญชกาวสถาราม๑ ใน
นาทิกคาม ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคได้รับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัส
เรื่องนี้ว่า
“ภิกษุทั้งหลาย มรณัสสติที่บุคคลเจริญทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก
มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่อมตะ๒ มีอมตะเป็นที่สุด ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลาย
ยังเจริญมรณัสสติอยู่หรือไม่”
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสถามอย่างนี้แล้ว ภิกษุรูปหนึ่งได้กราบทูลพระผู้มีพระ
ภาคว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แม้ข้าพระองค์ก็ยังเจริญมรณัสสติอยู่”
พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “ภิกษุ เธอเจริญมรณัสสติอย่างไร”
ภิกษุกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ในเรื่องนี้ ข้าพระองค์มีความคิด
อย่างนี้ว่า ‘โอหนอ เราพึงเป็นอยู่ได้ตลอดคืนหนึ่งและวันหนึ่ง เราพึงมนสิการ
ถึงคำสอนของพระผู้มีพระภาค เราพึงทำกิจให้มากหนอ’ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
ข้าพระองค์เจริญมรณัสสติอย่างนี้”
ภิกษุอีกรูปหนึ่งกราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แม้ข้า
พระองค์ก็ยังเจริญมรณัสสติอยู่”
พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “ภิกษุ เธอเจริญมรณัสสติอย่างไร”
ภิกษุกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์คิดอย่างนี้ว่า ‘โอหนอ
เราพึงเป็นอยู่ได้ตลอดวันหนึ่ง เราพึงมนสิการถึงคำสอนของพระผู้มีพระภาค เราพึง
ทำกิจให้มากหนอ’ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์เจริญมรณัสสติอย่างนี้

เชิงอรรถ :
๑ คิญชกาวสถาราม หมายถึงปราสาทที่สร้างด้วยอิฐ (องฺ.ฉกฺก.อ. ๓//๑๙/๑๐๗)
๒ ดูเชิงอรรถที่ ๒ ปัญจกนิบาต ข้อ ๖๑ หน้า ๑๑๐ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๔๔๔ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๒. สารณียวรรค ๙. ปฐมมรณัสสติสูตร
ภิกษุอีกรูปหนึ่งกราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แม้ข้า
พระองค์ก็ยังเจริญมรณัสสติอยู่”
พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “ภิกษุ เธอเจริญมรณัสสติอย่างไร”
ภิกษุกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ในเรื่องนี้ ข้าพระองค์มีความคิด
อย่างนี้ว่า ‘โอหนอ เราพึงเป็นอยู่ได้เพียงชั่วขณะฉันบิณฑบาตมื้อหนึ่ง เราพึง
มนสิการถึงคำสอนของพระผู้มีพระภาค เราพึงทำกิจให้มากหนอ’ ข้าแต่พระองค์
ผู้เจริญ ข้าพระองค์เจริญมรณัสสติอย่างนี้”
ภิกษุอีกรูปหนึ่งกราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แม้ข้า
พระองค์ก็ยังเจริญมรณัสสติอยู่”
พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “ภิกษุ เธอเจริญมรณัสสติอย่างไร”
ภิกษุกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์มีความคิดอย่างนี้ว่า
‘โอหนอ เราพึงเป็นอยู่ได้เพียงชั่วขณะเคี้ยวกินคำข้าว ๔-๕ คำ เราพึงมนสิการ
ถึงคำสอนของพระผู้มีพระภาค เราพึงทำกิจให้มากหนอ’ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
ข้าพระองค์เจริญมรณัสสติอย่างนี้”
ภิกษุอีกรูปหนึ่งได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แม้ข้า
พระองค์ก็ยังเจริญมรณัสสติอยู่”
พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “ภิกษุ เธอเจริญมรณัสสติอย่างไร”
ภิกษุกราบทูลว่า ‘ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ในเรื่องนี้ ข้าพระองค์มีความคิด
อย่างนี้ว่า ‘โอหนอ เราพึงเป็นอยู่ได้เพียงชั่วขณะเคี้ยวกินคำข้าว ๑ คำ เราพึง
มนสิการถึงคำสอนของพระผู้มีพระภาค เราพึงทำกิจให้มากหนอ’ ข้าแต่พระองค์
ผู้เจริญ ข้าพระองค์เจริญมรณัสสติอย่างนี้”
ภิกษุอีกรูปหนึ่งได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แม้ข้า
พระองค์ก็ยังเจริญมรณัสสติอยู่”
พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “ภิกษุ เธอเจริญมรณัสสติอย่างไร”


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๔๔๕ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๒. สารณียวรรค ๙. ปฐมมรณัสสติสูตร
ภิกษุกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ในเรื่องนี้ ข้าพระองค์มีความคิด
อย่างนี้ว่า ‘โอหนอ เราพึงเป็นอยู่ได้เพียงชั่วขณะลมหายใจเข้าหายใจออก หรือหาย
ใจออกหายใจเข้า เราพึงมนสิการคำสอนของพระผู้มีพระภาค เราพึงทำกิจให้
มากหนอ’ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์เจริญมรณัสสติอย่างนี้”
เมื่อภิกษุเหล่านั้นกราบทูลอย่างนี้แล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสว่า
“ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุรูปใดเจริญมรณัสสติว่า ‘โอหนอ เราพึงเป็นอยู่ได้ตลอด
คืนหนึ่งและวันหนึ่ง เราพึงมนสิการถึงคำสอนของพระผู้มีพระภาค เราพึงทำกิจให้
มากหนอ’
ภิกษุรูปใดเจริญมรณัสสติอย่างนี้ว่า ‘โอหนอ เราพึงเป็นอยู่ได้ตลอดวันหนึ่ง
เราพึงมนสิการถึงคำสอนของพระผู้มีพระภาค เราพึงทำกิจให้มากหนอ’
ภิกษุรูปใดเจริญมรณัสสติอย่างนี้ว่า ‘โอหนอ เราพึงเป็นอยู่ได้เพียงชั่วขณะฉัน
บิณฑบาตมื้อหนึ่ง เราพึงมนสิการถึงคำสอนของพระผู้มีพระภาค เราพึงทำกิจให้
มากหนอ’
ภิกษุรูปใดเจริญมรณัสสติอย่างนี้ว่า ‘โอหนอ เราพึงเป็นอยู่ได้เพียงชั่วขณะ
เคี้ยวกินคำข้าว ๔-๕ คำ เราพึงมนสิการถึงคำสอนของพระผู้มีพระภาค เราพึง
ทำกิจให้มากหนอ’
เรากล่าวว่า ภิกษุเหล่านี้ยังเป็นผู้ประมาทอยู่ ยังเจริญมรณัสสติอย่างเพลาเพื่อ
ความสิ้นอาสวะทั้งหลาย
ส่วนภิกษุรูปใดเจริญมรณัสสติอย่างนี้ว่า ‘โอหนอ เราพึงเป็นอยู่ได้เพียงชั่ว
ขณะเคี้ยวกินคำข้าว ๑ คำ เราพึงมนสิการถึงคำสอนของพระผู้มีพระภาค เราพึง
ทำกิจให้มากหนอ’
และภิกษุรูปใดเจริญมรณัสสติอย่างนี้ว่า ‘โอหนอ เราพึงเป็นอยู่ได้เพียงชั่วขณะ
ลมหายใจเข้าหายใจออก หรือหายใจออกหายใจเข้า เราพึงมนสิการถึงคำสอนของ
พระผู้มีพระภาค เราพึงทำกิจให้มากหนอ’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๔๔๖ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๒. สารณียวรรค ๑๐. ทุติยมรณัสสติสูตร
ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวว่า ภิกษุเหล่านี้เป็นผู้ไม่ประมาทอยู่ เจริญมรณัสสติ
อย่างแรงกล้าเพื่อความสิ้นอาสวะทั้งหลาย
เพราะเหตุนั้นแล เธอทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า ‘เราทั้งหลายจักเป็นผู้ไม่
ประมาทอยู่ จักเจริญมรณัสสติอย่างแรงกล้าเพื่อความสิ้นอาสวะทั้งหลาย’
ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้แล”
ปฐมมรณัสสติสูตรที่ ๙ จบ
๑๐. ทุติยมรณัสสติสูตร
ว่าด้วยการเจริญมรณัสสติ สูตรที่ ๒
[๒๐] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ คิญชกาวสถาราม ใน
นาทิกคาม ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคได้รับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า
“ภิกษุทั้งหลาย มรณัสสติที่บุคคลเจริญทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก
มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นที่สุด
มรณัสสติที่บุคคลเจริญทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก หยั่งลง
สู่อมตะ มีอมตะเป็นที่สุด เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เมื่อกลางวันผ่านไป กลางคืนย่างเข้ามา พิจารณา
เห็นดังนี้ว่า ‘ปัจจัยแห่งความตายของเรามีมากแท้ คือ งูพึงกัดเราก็ได้ แมงป่อง
พึงต่อยเราก็ได้ หรือตะขาบพึงกัดเราก็ได้ เพราะเหตุนั้น เราพึงตาย เราพึงมี
อันตราย๑นั้น เราพึงพลาดหกล้มก็ได้ ภัตตาหารที่เราฉันแล้วไม่พึงย่อยก็ได้ ดีของ
เราพึงกำเริบก็ได้ เสมหะของเราพึงกำเริบก็ได้ หรือลมมีพิษดังศัสตราของเราพึง
กำเริบก็ได้ เพราะเหตุนั้น เราพึงตาย เราพึงมีอันตรายนั้น’ ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้น
พึงพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ‘บาปอกุศลธรรมที่เรายังละไม่ได้ ซึ่งจะพึงเป็นอันตรายแก่
เราผู้จะตายในเวลากลางคืนมีอยู่หรือไม่’

เชิงอรรถ :
๑ อันตราย ในที่นี้หมายถึงอันตราย ๓ อย่าง คือ (๑) อันตรายต่อชีวิต (๒) อันตรายต่อสมณธรรม (๓) อันตราย
ต่อสวรรค์และอันตรายต่อมรรคสำหรับผู้ที่ตายอย่างปุถุชน (องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๒๐/๑๐๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๔๔๗ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๒. สารณียวรรค ๑๐. ทุติยมรณัสสติสูตร
ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า ‘บาปอกุศลธรรมที่เรายังละไม่ได้ ซึ่งจะพึง
เป็นอันตรายแก่เราผู้จะตายในเวลากลางคืนยังมีอยู่’ ภิกษุนั้นควรทำความพอใจ
ความพยายาม ความอุตสาหะ ความขะมักเขม้น ความไม่ท้อถอย สติและ
สัมปชัญญะให้มีประมาณยิ่ง เพื่อละบาปอกุศลธรรมเหล่านั้น
ภิกษุนั้นควรทำความพอใจ ความพยายาม ความอุตสาหะ ความขะมักเขม้น
ความไม่ท้อถอย สติและสัมปชัญญะให้มีประมาณยิ่ง เพื่อละบาปอกุศลธรรม
เหล่านั้น เปรียบเหมือนบุคคลผู้มีผ้าที่ถูกไฟไหม้ หรือมีศีรษะถูกไฟไหม้ ควรทำ
ความพอใจ ความพยายาม ความอุตสาหะ ความขะมักเขม้น ความไม่ท้อถอย
สติและสัมปชัญญะให้มีประมาณยิ่ง เพื่อดับไฟที่ไหม้ผ้าหรือไฟที่ไหม้ศีรษะนั้น
ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า ‘บาปอกุศลธรรมที่เรายังละไม่ได้ ซึ่งจะพึง
เป็นอันตรายแก่เราผู้จะตายในเวลากลางคืนไม่มี’ ภิกษุนั้นพึงเป็นผู้มีปีติและปราโมทย์
นั้นแล ตามสำเหนียกในกุศลธรรมทั้งหลายทั้งกลางวันและกลางคืนอยู่เถิด
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เมื่อกลางคืนผ่านไป กลางวันย่างเข้ามา พิจารณาเห็น
ดังนี้ว่า ‘ปัจจัยแห่งความตายของเรามีมากแท้ คือ งูพึงกัดเราก็ได้ แมงป่องพึงต่อย
เราก็ได้ หรือตะขาบพึงกัดเราก็ได้ เพราะเหตุนั้น เราพึงตาย เราพึงมีอันตรายนั้น
เราพึงพลาดหกล้มก็ได้ ภัตตาหารที่เราฉันแล้วไม่พึงย่อยก็ได้ ดีของเราพึงกำเริบก็ได้
เสมหะของเราพึงกำเริบก็ได้ หรือลมมีพิษดังศัสตราของเราพึงกำเริบ เพราะเหตุนั้น
เราพึงตาย เราพึงมีอันตรายนั้น’ ภิกษุนั้นพึงพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ‘บาปอกุศลธรรมที่
เรายังละไม่ได้ ซึ่งจะพึงเป็นอันตรายแก่เราผู้จะตายในเวลากลางวันมีอยู่หรือไม่’
ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า ‘บาปอกุศลธรรมที่เรายังละไม่ได้ ซึ่งจะพึง
เป็นอันตรายแก่เราผู้จะตายในเวลากลางวันยังมีอยู่’ ภิกษุนั้นควรทำความพอใจ ความ
พยายาม ความอุตสาหะ ความขะมักเขม้น ความไม่ท้อถอย สติและสัมปชัญญะ
ให้มีประมาณยิ่ง เพื่อละบาปอกุศลธรรมเหล่านั้น
ภิกษุนั้นควรทำความพอใจ ความพยายาม ความอุตสาหะ ความขะมักเขม้น
ความไม่ท้อถอย สติและสัมปชัญญะให้มีประมาณยิ่ง เพื่อละบาปอกุศลธรรม


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๔๔๘ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๒. สารณียวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค
เหล่านั้น เปรียบเหมือนบุคคลผู้มีผ้าที่ถูกไฟไหม้ หรือมีศีรษะถูกไฟไหม้ พึงทำความ
พอใจ ความพยายาม ความอุตสาหะ ความขะมักเขม้น ความไม่ท้อถอย สติและ
สัมปชัญญะให้มีประมาณยิ่ง เพื่อดับไฟที่ไหม้ผ้าหรือไฟที่ไหม้ศีรษะนั้น
ภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า ‘บาปอกุศลธรรมที่เรายังละไม่ได้
ซึ่งจะพึงเป็นอันตรายแก่เราผู้จะตายในเวลากลางวันไม่มี ภิกษุนั้น พึงเป็นผู้มีปีติและ
ปราโมทย์นั้นแล ตามสำเหนียกในกุศลธรรมทั้งหลาย ทั้งกลางวันกลางคืนอยู่เถิด
ภิกษุทั้งหลาย มรณัสสติที่บุคคลเจริญทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก
มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นที่สุด เป็นอย่างนี้แล”
ทุติยมรณัสสติสูตรที่ ๑๐ จบ
สารณียวรรคที่ ๒ จบ
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. ปฐมสารณียสูตร ๒. ทุติยสารณียสูตร
๓. นิสสารณียสูตร ๔. ภัททกสูตร
๕. อนุตัปปิยสูตร ๖. นกุลปิตุสูตร
๗. โสปปสูตร ๘. มัจฉพันธสูตร
๙. ปฐมมรณัสสติสูตร ๑๐. ทุติยมรณัสสติสูตร


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๔๔๙ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๓. อนุตตริยวรรค ๑. สามกสูตร
๓. อนุตตริยวรรค
หมวดว่าด้วยอนุตตริยะ๑
๑. สามกสูตร
ว่าด้วยหมู่บ้านสามะ
[๒๑] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่วิหารชื่อโปกขรณีย์ ใกล้หมู่บ้าน
สามะ แคว้นสักกะ ครั้งนั้น เมื่อราตรีผ่านไป๒ เทวดาตนหนึ่งมีวรรณะงดงามยิ่งนัก
เปล่งรัศมีให้สว่างทั่วโปกขรณีย์วิหาร เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวาย
อภิวาทแล้วยืนอยู่ ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรม ๓ ประการนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความเสื่อมแก่ภิกษุ
ธรรม ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ความเป็นผู้ชอบการงาน๓
๒. ความเป็นผู้ชอบการพูดคุย๔
๓. ความเป็นผู้ชอบการนอนหลับ๕
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรม ๓ ประการนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความเสื่อมแก่ภิกษุ”
เมื่อเทวดานั้นได้กราบทูลดังนี้แล้ว พระศาสดาทรงพอพระทัย ครั้นเทวดานั้น
รู้ว่า ‘พระศาสดาทรงพอพระทัยเรา’ จึงถวายอภิวาททำประทักษิณแล้วหายไป ณ
ที่นั้นแล

เชิงอรรถ :
๑ ดูเชิงอรรถที่ ๑ ฉักกนิบาต ข้อ ๘ หน้า ๔๑๙ ในเล่มนี้
๒ เมื่อราตรีผ่านไป หมายถึงเมื่อปฐมยามผ่านไป มัชฌิมยามย่างเข้ามา (องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๒๑-๒๒/๑๐๘)
๓ ดูเชิงอรรถที่ ๑ ปัญจกนิบาต ข้อ ๘๙ (ปฐมเสขสูตร) หน้า ๑๕๙ ในเล่มนี้
๔ ชอบการพูดคุย ในที่นี้หมายถึงชอบสนทนาเกี่ยวกับบุรุษและสตรีเป็นต้น ให้วันและคืนผ่านไปโดยเปล่า
ประโยชน์ (องฺ.สตฺตก.อ. ๓/๒๔/๑๗๗)
๕ ชอบการนอนหลับ ในที่นี้หมายถึงภิกษุแม้จะยืนก็ตาม เดินก็ตาม นั่งก็ตาม ก็ถูกถีนมิทธะ (ความหดหู่และ
เซื่องซึม) ครอบงำ เอาแต่หลับถ่ายเดียว (องฺ.สตฺตก.อ. ๓/๒๔/๑๗๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๔๕๐ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๓. อนุตตริยวรรค ๑. สามกสูตร
ครั้นคืนนั้นผ่านไป พระผู้มีพระภาคได้รับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า “ภิกษุ
ทั้งหลาย เมื่อคืนนี้ เมื่อราตรีผ่านไป เทวดาตนหนึ่งมีวรรรณะงดงามยิ่งนัก เปล่ง
รัศมีให้สว่างทั่วโปกขรณีย์วิหาร เข้ามาหาเราถึงที่อยู่ ไหว้แล้วยืนอยู่ ณ ที่สมควร
ได้กล่าวกับเราดังนี้ว่า
‘ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรม ๓ ประการนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความเสื่อมแก่ภิกษุ
ธรรม ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ความเป็นผู้ชอบการงาน
๒. ความเป็นผู้ชอบการพูดคุย
๓. ความเป็นผู้ชอบการนอนหลับ
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรม ๓ ประการนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความเสื่อมแก่ภิกษุ’
เทวดานั้นครั้นได้กล่าวดังนี้แล้ว จึงไหว้เราทำประทักษิณแล้วหายไป ณ ที่นั้นแล
ภิกษุทั้งหลาย ไม่ใช่ลาภของเธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายได้ชั่วแล้วหนอ ที่เธอทั้งหลาย
เสื่อมจากกุศลธรรม แม้พวกเทวดาก็รู้
ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงปริหานิยธรรม (ธรรมที่เป็นเหตุแห่งความเสื่อม)
๓ ประการข้ออื่นอีก เธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว
ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า
ภิกษุทั้งหลาย ปริหานิยธรรม ๓ ประการ
ปริหานิยธรรม ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ความเป็นผู้ชอบการคลุกคลีด้วยหมู่๑
๒. ความเป็นผู้ว่ายาก
๓. ความเป็นผู้มีปาปมิตร(มิตรชั่ว)
ภิกษุทั้งหลาย ปริหานิยธรรม ๓ ประการนี้แล

เชิงอรรถ :
๑ ชอบการคลุกคลีด้วยหมู่ ในที่นี้หมายถึงชอบอยู่คลุกคลีกับเพื่อน ๑ คนบ้าง ๒ คนบ้าง ๓ คนบ้าง เมื่ออยู่
คนเดียวก็หาความสบายใจไม่ได้ (องฺ.สตฺตก.อ. ๓/๒๔/๑๗๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๔๕๑ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๓. อนุตตริยวรรค ๒. อปริหานิยสูตร
ภิกษุทั้งหลาย ชนทั้งหลายบางพวกในอดีตเสื่อมแล้วจากกุศลธรรมทั้งหลาย
ชนเหล่านั้นทั้งหมดก็เสื่อมเพราะธรรม ๖ ประการนี้แล
ชนทั้งหลายบางพวกในอนาคตจักเสื่อมจากกุศลธรรมทั้งหลาย ชนเหล่านั้น
ทั้งหมดก็จักเสื่อมเพราะธรรม ๖ ประการนี้แล
ชนทั้งหลายบางพวกในปัจจุบันกำลังเสื่อมจากกุศลธรรมทั้งหลาย ชนเหล่านั้น
ทั้งหมดก็เสื่อมเพราะธรรม ๖ ประการนี้แล
สามกสูตรที่ ๑ จบ
๒. อปริหานิยสูตร
ว่าด้วยอปริหานิยธรรม
[๒๒] ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงอปริหานิยธรรม(ธรรมที่ไม่เป็นเหตุแห่ง
ความเสื่อม) ๖ ประการนี้ เธอทั้งหลายจงฟัง ฯลฯ
อปริหานิยธรรม ๖ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ความเป็นผู้ไม่ชอบการงาน๑
๒. ความเป็นผู้ไม่ชอบการพูดคุย๒
๓. ความเป็นผู้ไม่ชอบการนอนหลับ๓

เชิงอรรถ :
๑ ไม่ชอบการงาน ในที่นี้หมายถึงเมื่อพวกภิกษุทำกิจมีการทำจีวร ประคตเอว ผ้ากรองน้ำ ไม้กวาด และ
ผ้าเช็ดเท้าเป็นต้น ภิกษุปฏิเสธกิจเหล่านั้นเสียด้วยศรัทธา อนึ่ง หมายถึงทำกิจเหล่านั้นร่วมกับภิกษุทั้งหลาย
แล้วเรียนอุทเทสในเวลาเรียนอุทเทส สาธยายในเวลาสาธยาย กวาดลานพระเจดีย์ในเวลากวาดลานพระเจดีย์
มนสิการในเวลามนสิการ (องฺ.สตฺตก.อ. ๓/๒๔/๑๗๖-๑๗๗)
๒ ไม่ชอบการพูดคุย ในที่นี้หมายถึงไม่สนทนาเรื่องเกี่ยวกับบุรุษและสตรีเป็นต้น แต่สนทนาเฉพาะเรื่อง
เกี่ยวกับธรรมในเวลากลางวันกลางคืนให้เป็นประโยชน์ ตอบปัญหาธรรมตลอดวันและคืน พูดน้อย พูดมีที่
จบ เพราะพุทธพจน์ว่า “ภิกษุผู้นั่งประชุมกันมีหน้าที่ ๒ อย่าง คือ สนทนาธรรม และเป็นผู้นิ่งอย่างพระ
อริยะ” (องฺ.สตฺตก.อ. ๓/๒๔/๑๗๗) และดู ม.มู. ๑๒/๒๗๓/๒๓๕ (ปาสราสิสูตร)
๓ ไม่ชอบการนอนหลับ ในที่นี้หมายถึงจะยืนก็ตาม จะเดินก็ตาม จะนั่งก็ตาม มีจิตตกภวังค์ เพราะกรช-
กายมีความเจ็บป่วยก็ตาม ก็ไม่ถูกถีนมิทธะครอบงำ เพราะฉะนั้นจึงมีพุทธพจน์ว่า “เรากลับจากบิณฑบาต
หลังจากฉันอาหารเสร็จแล้ว ปูลาดสังฆาฏิ ๔ ชั้น มีสติสัมปชัญญะ หยั่งลงสู่การนอนหลับโดยพระปรัศว์
เบื้องขวารู้ชัดอยู่” (องฺ.สตฺตก.อ. ๓/๒๔/๑๗๗) และดู ม.มู. ๑๒/๓๘๗/๓๔๕ (มหาสัจจกสูตร)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๔๕๒ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๓. อนุตตริยวรรค ๓. ภยสูตร
๔. ความเป็นผู้ไม่ชอบการคลุกคลีด้วยหมู่
๕. ความเป็นผู้ว่าง่าย
๖. ความเป็นผู้มีกัลยาณมิตร (มิตรดี)
ภิกษุทั้งหลาย อปริหานิยธรรม ๖ ประการนี้แล
ภิกษุทั้งหลาย ชนทั้งหลายบางพวกในอดีตไม่เสื่อมจากกุศลธรรมทั้งหลาย
ชนเหล่านั้นทั้งหมดก็ไม่เสื่อมเพราะธรรม ๖ ประการนี้แล
ชนทั้งหลายบางพวกในอนาคตจักไม่เสื่อมจากกุศลธรรมทั้งหลาย ชนเหล่านั้น
ทั้งหมดก็จักไม่เสื่อมเพราะธรรม ๖ ประการนี้แล
ชนทั้งหลายบางพวกในปัจจุบันไม่เสื่อมจากกุศลธรรมทั้งหลาย ชนเหล่านั้น
ทั้งหมดก็ไม่เสื่อมเพราะธรรม ๖ ประการนี้แล
อปริหานิยสูตรที่ ๒ จบ
๓. ภยสูตร
ว่าด้วยภัยเป็นชื่อของกาม
[๒๓] ภิกษุทั้งหลาย
๑. คำว่า ‘ภัย’ นี้เป็นชื่อของกาม
๒. คำว่า ‘ทุกข์’ นี้เป็นชื่อของกาม
๓. คำว่า ‘โรค’ นี้เป็นชื่อของกาม
๔. คำว่า ‘ฝี’ นี้เป็นชื่อของกาม
๕. คำว่า ‘เครื่องข้อง’ นี้เป็นชื่อของกาม
๖. คำว่า ‘เปือกตม’ นี้เป็นชื่อของกาม
คำว่า ‘ภัย’ นี้เป็นชื่อของกาม เพราะเหตุไร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๔๕๓ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๓. อนุตตริยวรรค ๓. ภยสูตร
เพราะสัตว์โลกผู้ยินดีด้วยกามราคะ ถูกฉันทราคะ๑เกี่ยวพันไว้ ย่อมไม่พ้นจาก
ภัยทั้งที่มีในภพนี้ ทั้งที่มีในภพหน้า ฉะนั้น คำว่า ‘ภัย’ นี้จึงเป็นชื่อของกาม
คำว่า ‘ทุกข์’ ฯลฯ คำว่า ‘โรค’ ฯลฯ คำว่า ‘ฝี’ ฯลฯ คำว่า ‘เครื่องข้อง’ ฯลฯ
คำว่า ‘เปือกตม’ นี้เป็นชื่อของกาม เพราะเหตุไร
เพราะสัตว์โลกผู้ยินดีด้วยกามราคะ ถูกฉันทราคะเกี่ยวพันไว้ ย่อมไม่พ้นจาก
เปือกตมทั้งที่มีในภพนี้ ทั้งที่มีในภพหน้า ฉะนั้น คำว่า ‘เปือกตม’ นี้จึงเป็นชื่อ
ของกาม
พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดาครั้นตรัสเวยยากรณ์ภาษิตนี้แล้ว จึงได้ตรัสคาถา
ประพันธ์ต่อไปอีกว่า
ภัย ทุกข์ โรค (ฝี) เครื่องข้องและเปือกตม
เหล่านี้เราเรียกว่ากามที่ข้องของปุถุชน
ชนทั้งหลายเห็นภัยในอุปาทาน๒
อันเป็นแดนเกิดแห่งชาติและมรณะ

เชิงอรรถ :
๑ ฉันทราคะ หมายถึงความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจกล่าวคือตัณหา (องฺ.ติก.อ. ๒/๑๑๓/๒๖๐)
ทั้ง กามราคะ และ ฉันทราคะ เป็นชื่อเรียกกิเลสกามในจำนวนชื่อเรียก ๑๘ ชื่อ คือ (๑) ฉันทะ (ความพอใจ)
(๒) ราคะ (ความกำหนัด) (๓) ฉันทราคะ (ความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจ) (๔) สังกัปปะ (ความดำริ)
(๕) ราคะ (ความกำหนัด) (๖) สังกัปปราคะ (ความกำหนัดอำนาจความดำริ) (๗) กามฉันทะ (ความพอใจ
ด้วยอำนาจความใคร่) (๘) กามราคะ (ความกำหนัดด้วยอำนาจความใคร่) (๙) กามนันทะ (ความเพลิด
เพลินด้วยอำนาจความใคร่) (๑๐) กามตัณหา (ความทะยานอยากด้วยอำนาจความใคร่) (๑๑) กามเสนหะ
(ความเยื่อใยด้วยอำนาจความใคร่) (๑๒) กามปริฬาหะ (ความเร่าร้อนด้วยอำนาจความใคร่) (๑๓) กามมุจฉา
(ความสยบด้วยอำนาจความใคร่) (๑๔) กามัชโฌสานะ (ความติดใจด้วยอำนาจความใคร่) (๑๕) กาโมฆะ
(ห้วงน้ำคือความใคร่) (๑๖) กามโยคะ (กิเลสเครื่องประกอบคือความใคร่) (๑๗) กามุปาทานะ (กิเลส
เครื่องยึดมั่นคือความใคร่) (๑๘) กามัจฉันทนีวรณะ (กิเลสเครื่องกั้นจิตคือความพอใจด้วยอำนาจความใคร่)
(ขุ.ม. (แปล) ๒๙/๑/๒)
๒ อุปาทาน (ความยึดมั่น) ๔ คือ (๑) กามุปาทาน ความยึดมั่นในกาม (๒) ทิฏฐุปาทาน ความยึดมั่นในทิฏฐิ
(๓) สีลัพพตุปาทาน ความยึดมั่นในศีลและวัตร (๔) อัตตวาทุปาทาน ความยึดมั่นในวาทะว่าตัวตน (ที.ปา.
๑๑/๓๑๒/๒๐๕, ม.มู. ๑๒/๑๔๓/๑๐๑, อภิ.วิ. (แปล) ๓๕/๙๓๘/๕๘๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๔๕๔ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๓. อนุตตริยวรรค ๔. หิมวันตสูตร
ย่อมหลุดพ้นในธรรมเป็นที่สิ้นไปแห่งชาติและมรณะ๑
เพราะไม่ถือมั่น
ชนเหล่านั้นถึงธรรมเป็นแดนเกษม
มีความสุข ดับสนิทในปัจจุบัน
ล่วงทุกข์ทั้งหมดไปได้ พ้นเวรทั้งปวง
ภยสูตรที่ ๓ จบ
๔. หิมวันตสูตร
ว่าด้วยขุนเขาหิมพานต์
[๒๔] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๖ ประการ พึงทำลายขุนเขา
หิมพานต์ได้ ไม่จำเป็นต้องพูดถึงอวิชชาอันเลวทรามเลย
ธรรม ๖ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เป็นผู้ฉลาดในการเข้าสมาธิ๒
๒. เป็นผู้ฉลาดในการให้สมาธิตั้งอยู่ได้๓
๓. เป็นผู้ฉลาดในการออกจากสมาธิ๔

เชิงอรรถ :
๑ ธรรมเป็นที่สิ้นไปแห่งชาติ และมรณะ ในที่นี้หมายถึงนิพพาน (องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๒๔/๑๐๙)
๒ ฉลาดในการเข้าสมาธิ หมายถึงฉลาดเลือกอาหารและฤดูที่เหมาะแก่การเจริญสมาธิ (องฺ.ฉกฺก.อ.
๓/๒๔/๑๐๙)
๓ ฉลาดในการให้สมาธิตั้งอยู่ได้ หมายถึงสามารถรักษาสมาธิให้ดำรงอยู่ได้นาน (องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๒๔/๑๐๙)
๔ ฉลาดในการออกจากสมาธิ ในที่นี้หมายถึงกำหนดเวลาที่จะออกจากสมาธิได้ (องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๒๔/๑๐๙)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๔๕๕ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๓. อนุตตริยวรรค ๕. อนุสสติฏฐานสูตร
๔. เป็นผู้ฉลาดในความพร้อมแห่งสมาธิ๑
๕. เป็นผู้ฉลาดในอารมณ์แห่งสมาธิ๒
๖. เป็นผู้ฉลาดในอภินิหารแห่งสมาธิ๓
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๖ ประการนี้แล พึงทำลายขุนเขา
หิมพานต์ได้ ไม่จำเป็นต้องพูดถึงอวิชชาที่เลวทรามเลย
หิมวันตสูตรที่ ๔ จบ
๕. อนุสสติฏฐานสูตร
ว่าด้วยอนุสสติฏฐาน๔
[๒๕] ภิกษุทั้งหลาย อนุสสติฏฐาน ๖ ประการนี้
อนุสสติฏฐาน ๖ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ระลึกถึงตถาคตว่า ‘แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มี
พระภาคพระองค์นั้น ฯลฯ เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์
ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระผู้มีพระภาค’ สมัยใด อริยสาวก
ระลึกถึงตถาคตแล้ว สมัยนั้น จิตของเธอย่อมไม่ถูกราคะกลุ้มรุม
ไม่ถูกโทสะกลุ้มรุม ไม่ถูกโมหะกลุ้มรุม เป็นจิตดำเนินไปตรงทีเดียว
เป็นจิตออกไป พ้นไป หลุดไปจากความกำหนัด คำว่า ‘กำหนัด’
นี้เป็นชื่อของกามคุณ ๕

เชิงอรรถ :
๑ ฉลาดในความพร้อมแห่งสมาธิ หมายถึงสามารถทำสมาธิจิตให้มีความร่าเริงได้(องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๒๔/๑๐๙)
๒ ฉลาดในอารมณ์แห่งสมาธิ หมายถึงฉลาดในการเว้นธรรมที่ไม่เป็นอุปการะแก่สมาธิแล้วเลือกเจริญแต่
ธรรมที่เป็นสัปปายะและเป็นอุปการะโดยรู้ว่า “นี้คืออารมณ์ที่เป็นนิมิต (เครื่องหมาย) สำหรับให้จิตกำหนด
นี้คืออารมณ์ที่เป็นไตรลักษณ์” (องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๒๔/๑๐๙)
๓ ฉลาดในอภินิหารแห่งสมาธิ หมายถึงฉลาดในการเจริญสมาธิในชั้นปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน และ
จตุตถฌาน ตามลำดับจนเกิดความชำนาญแล้วเข้าสมาธิชั้นสูงขึ้นไป (องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๒๔/๑๑๐)
๔ ดูเชิงอรรถที่ ๒ ข้อ ๙ (อนุสสติฏฐานสูตร) หน้า ๔๒๐ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๔๕๖ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๓. อนุตตริยวรรค ๕. อนุสสติฏฐานสูตร
ภิกษุทั้งหลาย สัตว์บางพวกในโลกนี้ทำพุทธานุสสตินี้ให้เป็นอารมณ์ ย่อม
บริสุทธิ์๑ได้อย่างนี้แล
๒. อริยสาวกระลึกถึงธรรมว่า ‘พระธรรมเป็นธรรมที่พระผู้มีพระภาค
ตรัสไว้ดีแล้ว ฯลฯ อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน’ สมัยใด อริยสาวก
ระลึกถึงธรรม สมัยนั้น จิตของเธอย่อมไม่ถูกราคะกลุ้มรุม ไม่ถูก
โทสะกลุ้มรุม ไม่ถูกโมหะกลุ้มรุม เป็นจิตดำเนินไปตรงทีเดียว เป็น
จิตออกไป พ้นไป หลุดไปจากความกำหนัด คำว่า ‘กำหนัด’ นี้เป็น
ชื่อของกามคุณ ๕
ภิกษุทั้งหลาย สัตว์บางพวกในโลกนี้ทำธัมมานุสสตินี้ให้เป็นอารมณ์ ย่อม
บริสุทธิ์ได้อย่างนี้แล
๓. อริยสาวกระลึกถึงสงฆ์ว่า ‘พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเป็นผู้
ปฏิบัติดี ฯลฯ เป็นนาบุญอันยอดเยี่ยมของโลก’ สมัยใด อริยสาวก
ระลึกถึงสงฆ์ สมัยนั้น จิตของเธอย่อมไม่ถูกราคะกลุ้มรุม ไม่ถูก
โทสะกลุ้มรุม ไม่ถูกโมหะกลุ้มรุม เป็นจิตดำเนินไปตรงทีเดียว เป็น
จิตออกไป พ้นไป หลุดไปจากความกำหนัด คำว่า ‘กำหนัด’ นี้เป็น
ชื่อของกามคุณ ๕
ภิกษุทั้งหลาย สัตว์บางพวกในโลกนี้ทำสังฆานุสสตินี้ให้เป็นอารมณ์ ย่อม
บริสุทธิ์ได้อย่างนี้แล
๔. อริยสาวกระลึกถึงศีลของตนที่ไม่ขาด ฯลฯ เป็นไปเพื่อสมาธิ สมัยใด
อริยสาวกระลึกถึงศีล สมัยนั้น จิตของเธอย่อมไม่ถูกราคะกลุ้มรุม
ไม่ถูกโทสะกลุ้มรุม ไม่ถูกโมหะกลุ้มรุม เป็นจิตดำเนินไปตรงทีเดียว
เป็นจิตออกไป พ้นไป หลุดไปจากความกำหนัด คำว่า ‘กำหนัด’
นี้เป็นชื่อของกามคุณ ๕
ภิกษุทั้งหลาย สัตว์บางพวกในโลกนี้ทำสีลานุสสตินี้ให้เป็นอารมณ์ ย่อมบริสุทธิ์
ได้อย่างนี้แล

เชิงอรรถ :
๑ บริสุทธิ์ ในที่นี้หมายถึงบรรลุนิพพานที่บริสุทธิ์อย่างยิ่ง (องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๒๕/๑๑๐)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๔๕๗ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๓. อนุตตริยวรรค ๕. อนุสสติฏฐานสูตร
๕. อริยสาวกระลึกถึงจาคะของตนว่า ‘เป็นลาภของเราหนอ เราได้ดี
แล้วหนอ ฯลฯ ควรแก่การขอ ยินดีในการแจกทานอยู่ครองเรือน’
สมัยใด อริยสาวกระลึกถึงจาคะ สมัยนั้น จิตของเธอย่อมไม่ถูก
ราคะกลุ้มรุม ไม่ถูกโทสะกลุ้มรุม ไม่ถูกโมหะกลุ้มรุม เป็นจิตดำเนิน
ไปตรงทีเดียว เป็นจิตออกไป พ้นไป หลุดไปจากความกำหนัด
คำว่า ‘กำหนัด’ นี้เป็นชื่อของกามคุณ ๕
ภิกษุทั้งหลาย สัตว์บางพวกในโลกนี้ทำจาคานุสสตินี้ให้เป็นอารมณ์ ย่อม
บริสุทธิ์ได้อย่างนี้แล
๖. อริยสาวกระลึกถึงเทวดาทั้งหลายว่า ‘มีเทวดาชั้นจาตุมหาราช
เทวดาชั้นดาวดึงส์ เทวดาชั้นยามา เทวดาชั้นดุสิต เทวดาชั้น
นิมมานรดี เทวดาชั้นปรนิมมิตวสวัตดี เทวดาชั้นพรหมกาย เทวดา
ชั้นสูงขึ้นไปกว่านั้น เทวดาเหล่านั้นประกอบด้วยศรัทธาเช่นใด จุติ
จากโลกนี้แล้วไปเกิดในเทวโลกนั้น แม้เราเองก็มีศรัทธาเช่นนั้น
เทวดาเหล่านั้นประกอบด้วยศีลเช่นใด ... สุตะ ... จาคะ ... ปัญญา
เช่นใด จุติจากโลกนี้แล้วไปเกิดในเทวโลกนั้น แม้เราเองก็มีปัญญา
เช่นนั้น’ สมัยใด อริยสาวกระลึกถึงศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ และ
ปัญญาของตน และของเทวดาเหล่านั้น สมัยนั้น จิตของเธอย่อม
ไม่ถูกราคะกลุ้มรุม ไม่ถูกโทสะกลุ้มรุม ไม่ถูกโมหะกลุ้มรุม เป็นจิต
ดำเนินไปตรงทีเดียว เป็นจิตออกไป พ้นไป หลุดไปจากความกำหนัด
คำว่า ‘กำหนัด’ นี้เป็นชื่อของกามคุณ ๕
ภิกษุทั้งหลาย สัตว์บางพวกในโลกนี้ทำอนุสสติทั้ง ๖ นี้ให้เป็นอารมณ์ ย่อม
บริสุทธิ์ได้อย่างนี้แล
ภิกษุทั้งหลาย อนุสสติฏฐาน ๖ ประการนี้แล
อนุสสติฏฐานสูตรที่ ๕ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๔๕๘ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๓. อนุตตริยวรรค ๖. มหากัจจานสูตร
๖. มหากัจจานสูตร
ว่าด้วยพระมหากัจจานะ๑
[๒๖] ณ ที่นั้นแล ท่านพระมหากัจจานะ เรียกภิกษุทั้งหลายมากล่าวว่า
ผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นรับคำแล้ว ท่านพระมหากัจจานะจึงได้กล่าวดังนี้ว่า
ผู้มีอายุทั้งหลาย น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคยปรากฏ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น
ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้ด้วยพระองค์เองโดยชอบ ได้ตรัสรู้วิธี
บรรลุช่องว่างในที่คับแคบ๒คืออนุสสติฏฐาน ๖ ประการ เพื่อความบริสุทธิ์ของสัตว์
ทั้งหลาย เพื่อก้าวล่วงโสกะ(ความเศร้าโศก)และปริเทวะ(ความร่ำไร) เพื่อดับทุกข์
(ความทุกข์กาย)และโทมนัส(ความทุกข์ใจ) เพื่อบรรลุญายธรรม๓ เพื่อทำให้แจ้ง
นิพพาน
อนุสสติฏฐาน ๖ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. อริยสาวกในพระธรรมวินัยนี้ระลึกถึงพระตถาคตว่า ‘แม้เพราะเหตุนี้
พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ฯลฯ เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์
ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระผู้มีพระภาค’ สมัยใด อริยสาวก
ระลึกถึงพระตถาคต สมัยนั้น จิตของอริยสาวกนั้นย่อมไม่ถูกราคะ
กลุ้มรุม ไม่ถูกโทสะกลุ้มรุม ไม่ถูกโมหะกลุ้มรุม เป็นจิตดำเนินไป
ตรงทีเดียว เป็นจิตออกไป พ้นไป หลุดไปจากความกำหนัด คำว่า
‘กำหนัด’ นี้ เป็นชื่อของกามคุณ ๕ อริยสาวกนั้นแล มีจิตเสมอ
อากาศ อันไพบูลย์ เป็นมหัคคตะ ไม่มีขอบเขต ไม่มีเวร ไม่มีความ
เบียดเบียน๔อยู่โดยประการทั้งปวง

เชิงอรรถ :
๑ คัมภีร์บางแห่งใช้ว่า มหากัจจายนะ
๒ ช่องว่างในที่คับแคบ หมายถึงทางหลุดพ้นจากกามคุณ ๕ (รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ) ทางหลุดพ้น
นั้นคืออนุสสติฏฐาน ๖ ประการ (องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๒๖/๑๑๐)
๓ ญายธรรม หมายถึงอริยมัคคธรรม (สํ.ม. ๑๙/๒๔/๑๕, สํ.ม.อ. ๓/๒๑-๓๐/๑๙๕)
๔ จิตเสมออากาศ หมายถึงจิตที่ไม่ต้องเกี่ยวข้อง ไม่ต้องผูกพัน
ไพบูลย์ หมายถึงจิตไม่ใช่นิดหน่อย
มหัคคตะ หมายถึงจิตที่ยิ่งใหญ่ หรือเป็นจิตที่พระอริยสาวกจำนวนมากปฏิบัติมา
ไม่มีขอบเขต หมายถึงประมาณไม่ได้
ไม่มีเวร หมายถึงปราศจากอกุศลเวรและบุคคลผู้เป็นเวรกัน
ไม่มีความเบียดเบียน หมายถึงปราศจากความโกรธและความทุกข์ (องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๒๖/๑๑๐)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๔๕๙ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๓. อนุตตริยวรรค ๖. มหากัจจานสูตร
ผู้มีอายุทั้งหลาย สัตว์บางพวกในโลกนี้ทำพุทธานุสสตินี้ให้เป็นอารมณ์ ย่อม
เป็นผู้มีความบริสุทธิ์เป็นธรรมดาอย่างนี้แล
๒. อริยสาวกระลึกถึงพระธรรมว่า ‘พระธรรมเป็นธรรมที่พระผู้มีพระ
ภาคตรัสไว้ดีแล้ว ฯลฯ อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน’ สมัยใด อริยสาวก
ระลึกถึงพระธรรม สมัยนั้น จิตของอริยสาวกนั้นย่อมไม่ถูกราคะ
กลุ้มรุม ไม่ถูกโทสะกลุ้มรุม ไม่ถูกโมหะกลุ้มรุม ย่อมเป็นจิตดำเนิน
ไปตรงทีเดียว เป็นจิตออกไป พ้นไป หลุดไปจากความกำหนัด คำว่า
‘กำหนัด’ นี้เป็นชื่อของกามคุณ ๕ อริยสาวกนั้นแล มีจิตเสมอ
อากาศ อันไพบูลย์ เป็นมหัคคตะ ไม่มีขอบเขต ไม่มีเวร ไม่มีความ
เบียดเบียนอยู่ โดยประการทั้งปวง
ผู้มีอายุทั้งหลาย สัตว์บางพวกในโลกนี้ทำธัมมานุสสตินี้ให้เป็นอารมณ์ ย่อม
เป็นผู้มีความบริสุทธิ์เป็นธรรมดาอย่างนี้แล
๓. อริยสาวกระลึกถึงพระสงฆ์ว่า ‘พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาค
เป็นผู้ปฏิบัติดี ฯลฯ เป็นนาบุญอันยอดเยี่ยมของโลก’ สมัยใด
อริยสาวกระลึกถึงพระสงฆ์ สมัยนั้น จิตของอริยสาวกนั้นย่อมไม่
ถูกราคะกลุ้มรุม ไม่ถูกโทสะกลุ้มรุม ไม่ถูกโมหะกลุ้มรุม ย่อมเป็น
จิตดำเนินไปตรงทีเดียว เป็นจิตออกไป พ้นไป หลุดไปจากความ
กำหนัด คำว่า ‘กำหนัด’ นี้เป็นชื่อของกามคุณ ๕ อริยสาวกนั้นแล
มีจิตเสมออากาศ อันไพบูลย์ เป็นมหัคคตะ ไม่มีขอบเขต ไม่มีเวร
ไม่มีความเบียดเบียนอยู่โดยประการทั้งปวง
ผู้มีอายุทั้งหลาย สัตว์บางพวกในโลกนี้ทำสังฆานุสสตินี้ให้เป็นอารมณ์ ย่อม
เป็นผู้มีความบริสุทธิ์เป็นธรรมดาอย่างนี้แล
๔. อริยสาวกระลึกถึงศีลของตน ที่ไม่ขาด ฯลฯ เป็นไปเพื่อสมาธิ
สมัยใด อริยสาวกระลึกถึงศีลของตน สมัยนั้น จิตของอริยสาวก
นั้นย่อมไม่ถูกราคะกลุ้มรุม ไม่ถูกโทสะกลุ้มรุม ไม่ถูกโมหะกลุ้มรุม
ย่อมเป็นจิตดำเนินไปตรงทีเดียว เป็นจิตออกไป พ้นไป หลุดไปจาก
ความกำหนัด คำว่า ‘กำหนัด’ นี้เป็นชื่อของกามคุณ ๕ อริยสาวก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๔๖๐ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๓. อนุตตริยวรรค ๖. มหากัจจานสูตร
นั้นแล มีจิตเสมออากาศ อันไพบูลย์ เป็นมหัคคตะ ไม่มีขอบเขต
ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนอยู่ โดยประการทั้งปวง
ผู้มีอายุทั้งหลาย สัตว์บางพวกในโลกนี้ทำสีลานุสสตินี้ให้เป็นอารมณ์ ย่อม
เป็นผู้มีความบริสุทธิ์เป็นธรรมดาอย่างนี้แล
๕. อริยสาวกระลึกถึงจาคะของตนว่า ‘เป็นลาภของเราหนอ เราได้ดี
แล้วหนอ ฯลฯ ควรแก่การขอ ยินดีในการแจกทานอยู่ครองเรือน’
สมัยใด อริยสาวกระลึกถึงจาคะของตน สมัยนั้น จิตของอริยสาวก
นั้นย่อมไม่ถูกราคะกลุ้มรุม ไม่ถูกโทสะกลุ้มรุม ไม่ถูกโมหะกลุ้มรุม
เป็นจิตดำเนินไปตรงทีเดียว เป็นจิตออกไป พ้นไป หลุดไปจาก
ความกำหนัด คำว่า ‘กำหนัด’ นี้ เป็นชื่อของกามคุณ ๕ อริยสาวก
นั้นแลมีจิตเสมออากาศ อันไพบูลย์ เป็นมหัคคตะ ไม่มีขอบเขต
ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนอยู่ โดยประการทั้งปวง
ผู้มีอายุทั้งหลาย สัตว์บางพวกในโลกนี้ทำจาคานุสสตินี้ให้เป็นอารมณ์ ย่อม
เป็นผู้มีความบริสุทธิ์เป็นธรรมดาอย่างนี้แล
๖. อริยสาวกระลึกถึงเทวดาว่า ‘มีเทวดาชั้นจาตุมหาราช ฯลฯ เทวดา
ชั้นสูงขึ้นไปกว่านั้น เทวดาเหล่านั้นประกอบด้วยศรัทธาเช่นใด จุติ
จากโลกนี้แล้วไปเกิดในเทวโลกนั้น แม้เราเองก็มีศรัทธาเช่นนั้น
เทวดาเหล่านั้นประกอบด้วยศีลเช่นใด... สุตะ... จาคะ... ปัญญาเช่นใด
แม้เราเองก็มีปัญญาเช่นนั้น สมัยใด อริยสาวกระลึกถึงศรัทธา
ศีล สุตะ จาคะ และปัญญาของตน และของเทวดาเหล่านั้น
สมัยนั้น จิตของอริยสาวกนั้นย่อมไม่ถูกราคะกลุ้มรุม ไม่ถูกโทสะ
กลุ้มรุม ไม่ถูกโมหะกลุ้มรุม เป็นจิตดำเนินไปตรงทีเดียว เป็นจิต
ออกไป พ้นไป หลุดไปจากความกำหนัด คำว่า ‘กำหนัด’ นี้เป็นชื่อ
ของกามคุณ ๕ อริยสาวกนั้นแลมีจิตเสมอด้วยอากาศ อันไพบูลย์
เป็นมหัคคตะ ไม่มีขอบเขต ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนอยู่โดย
ประการทั้งปวง
ผู้มีอายุทั้งหลาย สัตว์บางพวกในโลกนี้ทำเทวตานุสสตินี้ให้เป็นอารมณ์ ย่อม
เป็นผู้มีความบริสุทธิ์เป็นธรรมดาอย่างนี้แล

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๔๖๑ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๓. อนุตตริยวรรค ๗. ปฐมสมยสูตร
ผู้มีอายุทั้งหลาย น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคยปรากฏ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น
ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้ด้วยพระองค์เองโดยชอบ ได้ตรัสรู้วิธีบรรลุ
ช่องว่างในที่คับแคบ คือ อนุสสติฏฐาน ๖ ประการนี้ เพื่อความบริสุทธิ์ของสัตว์
ทั้งหลาย เพื่อก้าวล่วงโสกะ และปริเทวะ เพื่อดับทุกข์ และโทมนัส เพื่อบรรลุ
ญายธรรม เพื่อทำให้แจ้งนิพพาน
มหากัจจานสูตรที่ ๖ จบ
๗. ปฐมสมยสูตร
ว่าด้วยสมัยที่ควรพบผู้เจริญภาวนา สูตรที่ ๑
[๒๗] ครั้งนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวาย
อภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สมัยที่ควรเข้าไปพบภิกษุผู้เจริญภาวนาทางใจ มีเท่าไร
หนอแล”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุ สมัยที่ควรเข้าไปพบภิกษุผู้เจริญภาวนาทางใจ
๖ ประการนี้
สมัยที่ควรเข้าไปพบภิกษุผู้เจริญภาวนาทางใจ ๖ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สมัยใด ภิกษุในธรรมวินัยนี้มีจิตถูกกามราคะ๑กลุ้มรุม ถูกกามราคะ
ครอบงำอยู่ และเธอไม่ทราบชัดซึ่งอุบายเครื่องสลัดกามราคะที่เกิด
ขึ้นตามความเป็นจริง สมัยนั้น ภิกษุนั้นพึงเข้าไปพบภิกษุผู้เจริญ
ภาวนาทางใจแล้วถามอย่างนี้ว่า ‘ผู้มีอายุ ผมมีจิตถูกกามราคะ
กลุ้มรุม ถูกกามราคะครอบงำอยู่ และผมก็ไม่ทราบชัดซึ่งอุบาย
เครื่องสลัดกามราคะที่เกิดขึ้นตามความเป็นจริง ขอผู้มีอายุโปรด
แสดงธรรมเพื่อละกามราคะแก่ผมเถิด’ ภิกษุผู้เจริญภาวนาทางใจ
ย่อมแสดงธรรม๒เพื่อละกามราคะแก่เธอ นี้เป็นสมัยที่ ๑ ที่ควร
เข้าไปพบภิกษุผู้เจริญภาวนาทางใจ

เชิงอรรถ :
๑ ดูเชิงอรรถที่ ๑ ฉักกนิบาต ข้อ ๒๓ หน้า ๔๕๔ ในเล่มนี้
๒ หมายถึงแสดงอสุภกัมมัฏฐาน (องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๒๗/๑๑๑) สาระในสูตรนี้ ดู องฺ.เอกก. (แปล) ๒๐/๑๑-๒๐/
๒-๔

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๔๖๒ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๓. อนุตตริยวรรค ๗. ปฐมสมยสูตร
๒. สมัยใด ภิกษุมีจิตถูกพยาบาท(ความคิดร้าย)กลุ้มรุม ถูกพยาบาท
ครอบงำอยู่ และเธอไม่ทราบชัดซึ่งอุบายเครื่องสลัดพยาบาทที่เกิด
ขึ้นตามความเป็นจริง สมัยนั้น ภิกษุนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุผู้เจริญ
ภาวนาทางใจแล้วกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ผู้มีอายุ ผมมีจิตถูกพยาบาท
กลุ้มรุม ถูกพยาบาทครอบงำอยู่ และผมก็ไม่ทราบชัดซึ่งอุบาย
เครื่องสลัดพยาบาทที่เกิดขึ้นตามความเป็นจริง ขอผู้มีอายุโปรด
แสดงธรรมเพื่อละพยาบาทแก่ผมเถิด’ ภิกษุผู้เจริญภาวนาทางใจ
ย่อมแสดงธรรม๑เพื่อละพยาบาทแก่เธอ นี้เป็นสมัยที่ ๒ ที่ควร
เข้าไปพบภิกษุผู้เจริญภาวนาทางใจ
๓. สมัยใด ภิกษุมีจิตถูกถีนมิทธะ(ความหดหู่และเซื่องซึม)กลุ้มรุม
ถูกถีนมิทธะครอบงำอยู่ และเธอไม่ทราบชัดซึ่งอุบายเครื่องสลัด
ถีนมิทธะที่เกิดขึ้นตามความเป็นจริง สมัยนั้น ภิกษุนั้นพึงเข้าไปหา
ภิกษุผู้เจริญภาวนาทางใจแล้วกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ผู้มีอายุ ผมมีจิตถูก
ถีนมิทธะกลุ้มรุม ถูกถีนมิทธะครอบงำอยู่ และผมก็ไม่ทราบชัดซึ่ง
อุบายเครื่องสลัดถีนมิทธะที่เกิดขึ้นตามความเป็นจริง ขอผู้มีอายุได้
โปรดแสดงธรรมเพื่อละถีนมิทธะแก่ผมเถิด’ ภิกษุผู้เจริญภาวนา
ทางใจ ย่อมแสดงธรรม๒เพื่อละถีนมิทธะแก่เธอ นี้เป็นสมัยที่ ๓ ที่
ควรเข้าไปพบภิกษุผู้เจริญภาวนาทางใจ
๔. สมัยใด ภิกษุมีจิตถูกอุทธัจจกุกกุจจะ(ความฟุ้งซ่านและร้อนใจ)
กลุ้มรุม ถูกอุทธัจจกุกกุจจะครอบงำอยู่ และเธอไม่ทราบชัดซึ่งอุบาย
เครื่องสลัดอุทธัจจกุกกุจจะที่เกิดขึ้นแล้วออกไปตามความเป็นจริง
สมัยนั้น ภิกษุนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุผู้เจริญภาวนาทางใจแล้วกล่าว
อย่างนี้ว่า ‘ผู้มีอายุ ผมมีจิตถูกอุทธัจจกุกกุจจะกลุ้มรุม ถูก
อุทธัจจกุกกุจจะครอบงำอยู่ และผมก็ไม่ทราบชัดซึ่งอุบายเครื่องสลัด
อุทธัจจกุกกุจจะที่เกิดขึ้นตามความเป็นจริง ขอผู้มีอายุโปรดแสดง

เชิงอรรถ :
๑ หมายถึงแสดงเมตตากัมมัฏฐาน (องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๒๗/๑๑๑)
๒ หมายถึงแสดงอาโลกสัญญา หรือเหตุปรารภความเพียรบางอย่าง (องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๒๗/๑๑๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๔๖๓ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๓. อนุตตริยวรรค ๗. ปฐมสมยสูตร
ธรรมเพื่อละอุทธัจจกุกกุจจะแก่ผมเถิด’ ภิกษุผู้เจริญภาวนาทางใจ
ย่อมแสดงธรรม๑เพื่อละอุทธัจจกุกกุจจะแก่เธอ นี้เป็นสมัยที่ ๔ ที่
ควรเข้าไปพบภิกษุผู้เจริญภาวนาทางใจ
๕. สมัยใด ภิกษุมีจิตถูกวิจิกิจฉา(ความลังเลสงสัย)กลุ้มรุม ถูกวิจิกิจฉา
ครอบงำอยู่ และเธอไม่ทราบชัดซึ่งอุบายเครื่องสลัดวิจิกิจฉาที่เกิด
ขึ้นตามความเป็นจริง สมัยนั้น ภิกษุนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุผู้เจริญ
ภาวนาทางใจแล้วกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ผู้มีอายุ ผมมีจิตถูกวิจิกิจฉา
กลุ้มรุม ถูกวิจิกิจฉาครอบงำอยู่ และผมก็ไม่ทราบชัดซึ่งอุบายเครื่อง
สลัดวิจิกิจฉาที่เกิดขึ้นตามความเป็นจริง ขอผู้มีอายุโปรดแสดง
ธรรมเพื่อละวิจิกิจฉาแก่ผมเถิด’ ภิกษุผู้เจริญภาวนาทางใจย่อมแสดง
ธรรม๒เพื่อละวิจิกิจฉาแก่เธอ นี้เป็นสมัยที่ ๕ ที่ควรเข้าไปพบภิกษุ
ผู้เจริญภาวนาทางใจ
๖. สมัยใด ภิกษุไม่รู้ไม่เห็นนิมิตซึ่งเป็นที่สิ้นอาสวะโดยลำดับสำหรับผู้
อาศัยมนสิการอยู่ สมัยนั้น ภิกษุนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุผู้เจริญภาวนา
ทางใจแล้วกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ผู้มีอายุ ผมไม่รู้ไม่เห็นนิมิตซึ่งเป็นที่สิ้น
อาสวะโดยลำดับสำหรับผู้อาศัยมนสิการอยู่ ขอผู้มีอายุโปรดแสดง
ธรรมเพื่อความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลายแก่ผมเถิด’ ภิกษุผู้เจริญ
ภาวนาทางใจย่อมแสดงธรรมเพื่อความสิ้นไปแห่งอาสวะแก่เธอ นี้
เป็นสมัยที่ ๖ ที่ควรเข้าไปพบภิกษุผู้เจริญภาวนาทางใจ
ภิกษุ สมัยที่ควรเข้าไปพบภิกษุผู้เจริญภาวนาทางใจ ๖ ประการนี้แล”
ปฐมสมยสูตรที่ ๗ จบ

เชิงอรรถ :
๑ หมายถึงแสดงสมถกัมมัฏฐาน (องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๒๗/๑๑๑)
๒ หมายถึงแสดงคุณพระรัตนตรัย (องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๒๗/๑๑๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๔๖๔ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๓. อนุตตริยวรรค ๘. ทุติยสมยสูตร
๘. ทุติยสมยสูตร
ว่าด้วยสมัยที่ควรพบผู้เจริญภาวนา สูตรที่ ๒
[๒๘] สมัยหนึ่ง ภิกษุเถระจำนวนมาก อยู่ ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน
เขตกรุงพาราณสี ครั้งนั้น เมื่อภิกษุเถระเหล่านั้นกลับจากบิณฑบาต ภายหลังฉัน
อาหารเสร็จแล้ว นั่งประชุมกันในโรงฉัน๑ ได้เกิดการสนทนากันขึ้นในระหว่างว่า
“ผู้มีอายุทั้งหลาย สมัยไหนเป็นสมัยที่ควรเข้าไปพบภิกษุผู้เจริญภาวนาทางใจ”
เมื่อกล่าวถามกันอย่างนี้แล้ว ภิกษุรูปหนึ่งได้กล่าวกับภิกษุเถระดังนี้ว่า “ผู้มี
อายุ สมัยใด ภิกษุผู้เจริญภาวนาทางใจกลับจากบิณฑบาตภายหลังฉันอาหารเสร็จ
ล้างเท้าแล้ว นั่งคู้บัลลังก์ตั้งกายตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า๒ สมัยนั้น เป็นสมัยที่ควร
เข้าไปพบภิกษุผู้เจริญภาวนาทางใจ”
เมื่อภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว ภิกษุอีกรูปหนึ่งได้กล่าวกับภิกษุนั้นดังนี้ว่า
“ผู้มีอายุ สมัยนั้น ไม่ใช่สมัยที่ควรเข้าไปพบภิกษุผู้เจริญภาวนาทางใจ เพราะ
สมัยใด ภิกษุผู้เจริญภาวนาทางใจ กลับจากบิณฑบาตภายหลังฉันอาหารเสร็จ
ล้างเท้าแล้ว นั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า สมัยนั้น ความ
เหน็ดเหนื่อยเพราะการเที่ยวบิณฑบาตของภิกษุผู้เจริญภาวนาทางใจนั้นยังไม่สงบระงับ
และความเหน็ดเหนื่อยเพราะการฉันอาหารของภิกษุผู้เจริญภาวนาทางใจนั้นก็ยังไม่
สงบระงับ ฉะนั้น สมัยนั้นจึงไม่ใช่สมัยที่ควรเข้าไปพบภิกษุผู้เจริญภาวนาทางใจนั้น
แต่สมัยใด ภิกษุผู้เจริญภาวนาทางใจ ออกจากที่หลีกเร้นในเวลาเย็น นั่งคู้
บัลลังก์ ตั้งกายตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้าที่ร่มเงาวิหาร สมัยนั้น ควรเข้าไปพบภิกษุ
ผู้เจริญภาวนาทางใจ”
เมื่อภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว ภิกษุอีกรูปหนึ่งได้กล่าวกับภิกษุนั้นดังนี้ว่า

เชิงอรรถ :
๑ โรงฉัน แปลจากภาษาบาลีว่า ‘มณฺฑลมาเฬ’ หมายถึง(โภชนสาลา)โรงฉันที่สร้างเป็นปะรำมีลักษณะกลม
(องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๒๘/๑๑๑, องฺ.ฉกฺก.ฏีกา ๓/๒๘/๑๒๖)
๒ ดูเชิงอรรถที่ ๕ ปัญจกนิบาต ข้อ ๗๕ หน้า ๑๒๙ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๔๖๕ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๓. อนุตตริยวรรค ๘. ทุติยสมยสูตร
“ผู้มีอายุ สมัยนั้น ไม่ใช่สมัยที่ควรเข้าไปพบภิกษุผู้เจริญภาวนาทางใจ เพราะ
สมัยใด ภิกษุผู้เจริญภาวนาทางใจ ออกจากที่หลีกเร้นในเวลาเย็น นั่งคู้บัลลังก์
ตั้งกายตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้าที่ร่มเงาวิหาร สมัยนั้น สมาธินิมิตที่ท่านมนสิการ
ในเวลากลางวัน ก็ยังฟุ้งซ่านอยู่ ฉะนั้น สมัยนั้นจึงไม่ใช่สมัยที่ควรเข้าไปพบภิกษุ
ผู้เจริญภาวนาทางใจ แต่สมัยใด ภิกษุผู้เจริญภาวนาทางใจ ลุกขึ้นแต่เช้าตรู่ นั่งคู้
บัลลังก์ ตั้งกายตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า สมัยนั้น เป็นสมัยที่ควรเข้าไปพบภิกษุผู้
เจริญภาวนาทางใจ”
เมื่อภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว ภิกษุอีกรูปหนึ่ง จึงกล่าวกับภิกษุนั้นดังนี้ว่า
“ผู้มีอายุ สมัยนั้น ก็ไม่ใช่สมัยที่ควรเข้าไปพบภิกษุผู้เจริญภาวนาทางใจ
แต่สมัยใด ภิกษุผู้เจริญภาวนาทางใจลุกขึ้นแต่เช้าตรู่ นั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง ดำรง
สติไว้เฉพาะหน้า สมัยนั้น กายของท่านตั้งอยู่ในโอชารส ความสบายย่อมมีแก่ท่าน
เพื่อมนสิการถึงคำสอนของพระพุทธเจ้า ฉะนั้น สมัยนั้น จึงเป็นสมัยที่ควรเข้าไปพบ
ภิกษุผู้เจริญภาวนาทางใจ”
เมื่อภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว ท่านพระมหากัจจานะจึงได้กล่าวกับภิกษุเถระ
ทั้งหลายดังนี้ว่า “ผู้มีอายุทั้งหลาย ข้อนั้นผมได้สดับรับมาเฉพาะพระพักตร์พระผู้มี
พระภาคว่า ‘ภิกษุ สมัยที่ควรเข้าไปพบภิกษุผู้เจริญภาวนาทางใจ ๖ ประการนี้
สมัยที่ควรเข้าไปพบภิกษุผู้เจริญภาวนาทางใจ ๖ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สมัยใด ภิกษุในธรรมวินัยนี้มีจิตถูกกามราคะกลุ้มรุม ถูกกามราคะ
ครอบงำอยู่ และเธอก็ไม่ทราบชัดซึ่งอุบายเครื่องสลัดกามราคะที่
เกิดขึ้นตามความเป็นจริง สมัยนั้น ภิกษุนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุผู้
เจริญภาวนาทางใจแล้วกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ผู้มีอายุ ผมมีจิตถูก
กามราคะกลุ้มรุม ถูกกามราคะครอบงำอยู่ และผมก็ไม่ทราบชัดซึ่ง
อุบายเครื่องสลัดกามราคะที่เกิดขึ้นตามความเป็นจริง ขอผู้มีอายุ
โปรดแสดงธรรมเพื่อละกามราคะแก่ผมเถิด’ ภิกษุผู้เจริญภาวนา
ทางใจย่อมแสดงธรรมเพื่อละกามราคะแก่เธอ นี้เป็นสมัยที่ ๑ ที่
ควรไปพบภิกษุผู้เจริญภาวนาทางใจ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๔๖๖ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๓. อนุตตริยวรรค ๙. อุทายีสูตร
๒. สมัยใด ภิกษุมีจิตถูกพยาบาทกลุ้มรุม ฯลฯ๑
๓. สมัยใด ภิกษุมีจิตถูกถีนมิทธะกลุ้มรุม ฯลฯ
๔. สมัยใด ภิกษุมีจิตถูกอุทธัจจกุกกุจจะกลุ้มรุม ฯลฯ
๕. สมัยใด ภิกษุมีจิตถูกวิจิกิจฉากลุ้มรุม ฯลฯ
๖. สมัยใด ภิกษุไม่รู้ไม่เห็นนิมิตซึ่งเป็นที่สิ้นอาสวะโดยลำดับสำหรับผู้
อาศัยมนสิการอยู่ สมัยนั้น ภิกษุนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุผู้เจริญภาวนา
ทางใจแล้วกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ผู้มีอายุ ผมไม่รู้ไม่เห็นนิมิตซึ่งเป็นที่สิ้น
อาสวะโดยลำดับสำหรับผู้อาศัยมนสิการอยู่ ขอผู้มีอายุโปรดแสดง
ธรรมเพื่อความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลายแก่ผมเถิด’ ภิกษุผู้เจริญ
ภาวนาทางใจย่อมแสดงธรรมเพื่อความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย
แก่เธอ นี้เป็นสมัยที่ ๖ ที่ควรเข้าไปพบภิกษุผู้เจริญภาวนาทางใจ
ผู้มีอายุทั้งหลาย ข้อนั้นผมได้สดับรับมาเฉพาะพระพักตร์พระผู้มีพระภาคว่า
‘ภิกษุ สมัยที่ควรเข้าไปพบภิกษุผู้เจริญภาวนาทางใจ ๖ ประการนี้แล”
ทุติยสมยสูตรที่ ๘ จบ
๙. อุทายีสูตร
ว่าด้วยท่านพระอุทายี
[๒๙] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกท่านพระอุทายีมาตรัสถามว่า
“อุทายี อนุสสติฏฐาน๒ มีเท่าไรหนอ” เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสถามอย่างนี้ ท่านพระ
อุทายีได้นิ่งอยู่
แม้ครั้งที่ ๒ พระผู้มีพระภาคก็รับสั่งเรียกท่านพระอุทายีมาตรัสถามว่า “อุทายี
อนุสสติฏฐาน มีเท่าไรหนอ” เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสถามแล้วอย่างนี้ แม้ครั้งที่ ๒
ท่านพระอุทายีก็นิ่งอยู่

เชิงอรรถ :
๑ ดูความเต็มในปฐมสมยสูตร
๒ ดูเชิงอรรถที่ ๒ ข้อ ๙ (อนุสสติฏฐานสูตร) หน้า ๔๒๐ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๔๖๗ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๓. อนุตตริยวรรค ๙. อุทายีสูตร
แม้ครั้งที่ ๓ พระผู้มีพระภาคก็รับสั่งเรียกท่านพระอุทายีมาตรัสถามว่า “อุทายี
อนุสสติฏฐาน มีเท่าไรหนอ” แม้ครั้งที่ ๓ ท่านพระอุทายีก็นิ่งอยู่
ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์ได้กล่าวกับท่านพระอุทายีว่า “ท่านอุทายี พระศาสดา
ตรัสถามท่าน”
ท่านพระอุทายีตอบว่า “ท่านอานนท์ ผมได้ยินพระดำรัสของพระผู้มี
พระภาคอยู่” และได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคต่อไปอีกว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ระลึกชาติก่อนได้หลายชาติ คือ ๑ ชาติบ้าง ๒ ชาติบ้าง ฯลฯ
ระลึกชาติก่อนได้หลายชาติ พร้อมทั้งลักษณะทั่วไปและชีวประวัติอย่างนี้ ข้าแต่
พระองค์ผู้เจริญ นี้เป็นอนุสสติฏฐาน”
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคได้รับสั่งเรียกท่านพระอานนท์มาตรัสว่า “อานนท์
เรารู้แล้ว อุทายีนี้เป็นโมฆบุรุษ ไม่ประกอบอธิจิต๑อยู่” แล้วตรัสถามท่านพระ
อานนท์ต่อไปว่า “อานนท์ อนุสสติฏฐาน มีเท่าไร”
ท่านพระอานนท์กราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อนุสสติฏฐาน มี ๕
ประการ
อนุสสติฏฐาน ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ภิกษุในธรรมวินัยนี้สงัดจากกามและอกุศลธรรมแล้วบรรลุปฐมฌาน
ที่มีวิตกวิจาร ปีติและสุขเกิดจากวิเวกอยู่ เพราะวิตกวิจารสงบระงับ
ไปภิกษุบรรลุทุติยฌานมีความผ่องใสภายใน มีภาวะที่จิตเป็นหนึ่ง
ผุดขึ้น ไม่มีวิตกไม่มีวิจาร มีแต่ปีติและสุขเกิดจากสมาธิอยู่ เพราะ
ปีติจางคลายไปภิกษุมีอุเบกขามีสติมีสัมปชัญญะเสวยสุขด้วยนาม
กายบรรลุตติยฌานที่พระอริยะทั้งหลายสรรเสริญว่า ‘ผู้มีอุเบกขา
มีสติอยู่เป็นสุข’ อยู่ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ นี้เป็นอนุสสติฏฐาน
ที่ภิกษุเจริญทำให้มากแล้วอย่างนี้ ย่อมเป็นไปเพื่ออยู่เป็นสุขใน
ปัจจุบัน

เชิงอรรถ :
๑ อธิจิต หมายถึงสมาธิจิตและวิปัสสนาจิต (องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๒๙/๑๑๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๔๖๘ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๓. อนุตตริยวรรค ๙. อุทายีสูตร
๒. ภิกษุมนสิการอาโลกสัญญา ตั้งสัญญาไว้ว่าเป็นกลางวันอยู่ มนสิการ
อาโลกสัญญาว่ากลางวันอย่างไร กลางคืนก็อย่างนั้น กลางคืน
อย่างไร กลางวันก็อย่างนั้น ภิกษุนั้นมีจิตปลอดโปร่งไม่ถูกนิวรณ์
พัวพัน ย่อมเจริญจิตที่มีความสว่าง๑ด้วยประการอย่างนี้ นี้เป็น
อนุสสติฏฐาน ที่ภิกษุเจริญทำให้มากแล้วอย่างนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อได้
ญาณทัสสนะ๒
๓. ภิกษุพิจารณาเห็นกายนี้เท่านั้น ตั้งแต่พื้นเท้าขึ้นไป ตั้งแต่ปลายผม
ลงมา มีหนังหุ้มอยู่โดยรอบ เต็มไปด้วยของไม่สะอาดประการต่าง ๆ
ว่า ‘ในกายนี้มี ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อใน
กระดูก ไต๓ หัวใจ ตับ พังผืด ม้าม๔ ปอด ไส้ใหญ่ ไส้น้อย อาหารใหม่
อาหารเก่า ดี เสลด หนอง เลือด เหงื่อ มันข้น น้ำตา เปลวมัน
น้ำลาย น้ำมูก ไขข้อ มูตร๕’ นี้เป็นอนุสสติฏฐาน ที่ภิกษุเจริญทำให้
มากแล้วอย่างนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อละกามราคะ
๔. ภิกษุเห็นสรีระที่ถูกทิ้งไว้ในป่าช้า ตายแล้ววันหนึ่ง สองวัน หรือ
สามวัน พองขึ้น มีสีเขียวคล้ำ มีหนองไหลออกอย่างไร ก็น้อม

เชิงอรรถ :
๑ เจริญจิตที่มีความสว่าง หมายถึงเจริญพอกพูนจิตที่มีโอภาสเพื่อบรรลุทิพพจักขุญาณซึ่งต่างจากการ
มนสิการอาโลกสัญญาที่มุ่งบรรเทาถีนมิทธะ (องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๒๙/๑๑๒)
๒ ญาณทัสสนะ ในที่นี้หมายถึงทิพพจักขุญาณ (องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๒๙/๑๑๒)
๓ ไต แปลจากคำว่า ‘วกฺก’ (โบราณแปลว่า ม้าม) ได้แก่ ก้อนเนื้อ ๒ ก้อนมีขั้วเดียวกัน รูปร่างคล้ายลูก
สะบ้าของเด็ก ๆ หรือคล้ายผลมะม่วง ๒ ผลที่ติดอยู่ในขั้วเดียวกัน มีเอ็นใหญ่รึงรัดจากลำคอลงไปถึงหัว
ใจแล้วแยกออกห้อยอยู่ทั้ง ๒ ข้าง (ขุ.ขุ.อ. ๓/๔๓); พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๒๕ ให้บท
นิยามของคำว่า “ไต” ว่า อวัยวะคู่หนึ่งของคนและสัตว์ อยู่ในช่องท้องใกล้กระดูกสันหลัง ทำหน้าที่ขับของ
เสียออกมากับน้ำปัสสาวะ; Buddhadatta Mahathera, A. Concise Pali-English Dictionary, 1985,
(224) และ Rhys Davids, T.W. Pali-English Dictionary, 1921-1925,(591) ให้ความหมายของคำว่า
“วกฺก” ตรงกับคำว่า “ไต” (Kidney)
๔ ม้าม แปลจากคำว่า ‘ปิหก’ ตาม (ขุ.ขุ.อ. ๓/๔๕) (โบราณแปลว่าไต); พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน
พ.ศ. ๒๕๒๕ ให้บทนิยามไว้ว่า “อวัยวะภายในร่างกาย ริมกระเพาะอาหารข้างซ้าย มีหน้าที่ทำลายเม็ด
เลือดแดง สร้างเม็ดเลือดเหลืองและสร้างภูมิคุ้มกันแก่ร่างกาย”
๕ มูตร หมายถึงน้ำปัสสาวะ ซึ่งมีที่อยู่คือกระเพาะปัสสาวะนั่นเอง (วิสุทฺธิ. ๑/๒๑๓/๒๘๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๔๖๙ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๓. อนุตตริยวรรค ๙. อุทายีสูตร
กายนี้แล เข้าไปเปรียบอย่างนั้นว่า ‘แม้กายนี้ก็เป็นธรรมดาอย่างนี้
มีภาวะอย่างนี้ ไม่ล่วงพ้นอย่างนี้ไปได้‘๑
ภิกษุนั้นเห็นสรีระที่ถูกทิ้งไว้ในป่าช้า ถูกฝูงกา นกเหยี่ยว นกแร้ง สุนัข สุนัข
จิ้งจอกหรือสัตว์มีชีวิตชนิดต่าง ๆ กำลังกัดกินอย่างไร ก็น้อมกายนี้แลเข้าไปเปรียบ
อย่างนั้นว่า ‘แม้กายนี้ก็เป็นธรรมดาอย่างนี้ มีภาวะอย่างนี้ ไม่ล่วงพ้นอย่างนี้ไปได้’
ภิกษุนั้นเห็นสรีระที่ถูกทิ้งไว้ในป่าช้า มีโครงกระดูก มีเนื้อและเลือด มีเอ็น
รึงรัดไว้ ฯลฯ มีแต่โครงกระดูก ไม่มีเนื้อและเลือด มีเอ็นรึงรัดไว้ ฯลฯ มีแต่โครง
กระดูก ปราศจากเนื้อและเลือด ยังมีเอ็นรึงรัดไว้ ฯลฯ มีแต่ท่อนกระดูกปราศจาก
เครื่องผูก กระจัดกระจายไปคนละทิศละทาง คือ กระดูกมือไปทางหนึ่ง กระดูกเท้า
ไปทางหนึ่ง กระดูกแข้งไปทางหนึ่ง กระดูกขาไปทางหนึ่ง กระดูกสะเอวไปทางหนึ่ง
กระดูกสันหลังไปทางหนึ่ง กระโหลกศีรษะไปทางหนึ่งอย่างไร ก็น้อมกายนี้แลเข้าไป
เปรียบอย่างนั้นว่า ‘แม้กายนี้ ก็เป็นธรรมดาอย่างนี้ มีภาวะอย่างนี้ ไม่ล่วงพ้น
อย่างนี้ไปได้’
หรือภิกษุนั้นเห็นสรีระที่ถูกทิ้งไว้ในป่าช้า เป็นกระดูกมีสีขาวเหมือนสีสังข์ เป็น
กระดูกที่สัตว์ทำให้เป็นกอง ๆ เกินหนึ่งปี เป็นกระดูกผุแตกเป็นชิ้นเล็กๆ อย่างไร
ก็น้อมกายนี้แลเข้าไปเปรียบอย่างนั้นว่า ‘แม้กายนี้ ก็เป็นธรรมดาอย่างนี้ มีภาวะ
อย่างนี้ ไม่ล่วงพ้นอย่างนี้ไปได้’ นี้เป็นอนุสสติฏฐานที่ภิกษุเจริญทำให้มากแล้วอย่างนี้
ย่อมเป็นไปเพื่อถอนอัสมิมานะ๒ได้
๕. ภิกษุ เพราะละสุขและทุกข์ได้ เพราะโสมนัสและโทมนัสดับไปก่อน
จึงบรรลุจตุตถฌานที่ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขา

เชิงอรรถ :
๑ เป็นธรรมดาอย่างนี้ หมายถึงสิ่ง ๓ สิ่ง คือ อายุ ไออุ่น และวิญญาณ เป็นปัจจัยที่ทำให้กายนี้อดทนต่อ
อิริยาบถมีการยืนและการเดินเป็นต้นได้ แต่เมื่อสิ่ง ๓ สิ่งนี้ขาดไป กายนี้จึงมีความเน่าเปื่อยเป็นธรรมดา
มีภาวะอย่างนี้ หมายถึงจักมีการพองขึ้นเป็นต้นอย่างนี้ทีเดียว
ไม่ล่วงพ้นอย่างนี้ไปได้ หมายถึงไม่ล่วงพ้นจากการพองขึ้นเป็นต้นไปได้ (องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๒๙/๑๑๓)
๒ ดูเชิงอรรถที่ ๑ ปัญจกนิบาต ข้อ ๗๑ หน้า ๑๒๑ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๔๗๐ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๓. อนุตตริยวรรค ๑๐. อนุตตริยสูตร
อยู่ นี้เป็นอนุสสติฏฐานที่ภิกษุเจริญทำให้มากแล้วอย่างนี้ ย่อมเป็น
ไปเพื่อการรู้แจ้งธาตุหลายชนิด๑
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญอนุสสติฏฐาน ๕ ประการนี้แล”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ดีละ ดีละ อานนท์ ถ้าอย่างนั้น เธอจงทรงจำ
อนุสสติฏฐาน ข้อที่ ๖ นี้ คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ มีสติก้าวไป มีสติถอยกลับ๒ มีสติ
ยืนอยู่ มีสตินั่งอยู่ มีสตินอนอยู่ มีสติประกอบการงานอยู่
อานนท์ นี้เป็นอนุสสติฏฐาน ที่ภิกษุเจริญทำให้มากแล้วอย่างนี้ ย่อมเป็นไป
เพื่อสติสัมปชัญญะ”
อุทายีสูตรที่ ๙ จบ
๑๐. อนุตตริยสูตร
ว่าด้วยอนุตตริยะ๓
[๓๐] ภิกษุทั้งหลาย อนุตตริยะ (ภาวะอันยอดเยี่ยม) ๖ ประการนี้
อนุตตริยะ ๖ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ทัสสนานุตตริยะ (การเห็นอันยอดเยี่ยม)
๒. สวนานุตตริยะ (การฟังอันยอดเยี่ยม)
๓. ลาภานุตตริยะ (การได้อันยอดเยี่ยม)
๔. สิกขานุตตริยะ (การศึกษาอันยอดเยี่ยม)
๕. ปาริจริยานุตตริยะ (การบำรุงอันยอดเยี่ยม)
๖. อนุสสตานุตตริยะ (การระลึกอันยอดเยี่ยม)

เชิงอรรถ :
๑ ธาตุหลายชนิด หมายถึง ธาตุ ๑๘ มีจักขุธาตุเป็นต้น (องฺ.เอกก.อ. ๑/๕๗๗/๔๗๓) และดู อภิ.วิ. (แปล)
๓๕/๑๘๓/๑๔๒)
๒ มีสติก้าวไป หมายถึงเมื่อเดินก็เดินไปอย่างมีสติและปัญญา (องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๒๙/๑๑๓)
มีสติถอยกลับ หมายถึงแม้เมื่อจะกลับ ก็กลับอย่างมีสติและปัญญา (องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๒๙/๑๑๓)
๓ ดูเชิงอรรถที่ ๑ ฉักกนิบาต ข้อ ๘ หน้า ๔๑๙ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๔๗๑ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๓. อนุตตริยวรรค ๑๐. อนุตตริยสูตร
ทัสสนานุตตริยะ เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ไปเพื่อเห็นช้างแก้วบ้าง ไปเพื่อเห็นม้าแก้วบ้าง
ไปเพื่อเห็นแก้วมณีบ้าง ไปเพื่อเห็นของสูงของต่ำบ้าง หรือไปเพื่อเห็นสมณะหรือ
พราหมณ์ผู้เห็นผิดปฏิบัติผิดบ้าง ภิกษุทั้งหลาย การเห็นนี้มีอยู่ เราไม่กล่าวว่า
ไม่มี แต่ว่าการเห็นนี้ยังเป็นการเห็นที่เลว เป็นของชาวบ้าน เป็นของปุถุชน ไม่ใช่
อริยะ๑ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์๒ ไม่เป็นไปเพื่อความเบื่อหน่าย ไม่เป็นไปเพื่อ
คลายกำหนัด ไม่เป็นไปเพื่อดับ ไม่เป็นไปเพื่อสงบระงับ ไม่เป็นไปเพื่อรู้ยิ่ง ไม่เป็นไป
เพื่อตรัสรู้ ไม่เป็นไปเพื่อนิพพาน
ส่วนบุคคลใดมีศรัทธาตั้งมั่น มีความรักตั้งมั่น บรรลุที่สุด๓ มีความเลื่อมใส
อย่างยิ่ง ไปเพื่อเห็นตถาคตหรือสาวกของตถาคต ภิกษุทั้งหลาย การเห็นนี้ของ
บุคคลนั้น เป็นการเห็นที่ยอดเยี่ยมกว่าการเห็นทั้งหลาย เป็นไปเพื่อความบริสุทธิ์
ของสัตว์ทั้งหลาย เพื่อก้าวล่วงโสกะและปริเทวะ เพื่อดับทุกข์และโทมนัส เพื่อบรรลุ
ญายธรรม เพื่อทำให้แจ้งนิพพาน
การที่บุคคลผู้มีศรัทธาตั้งมั่น มีความรักตั่งมั่น บรรลุที่สุด มีความเลื่อมใส
อย่างยิ่ง ไปเพื่อเห็นตถาคตหรือสาวกของพระตถาคต นี้เรียกว่า ทัสสนานุตตริยะ
ทัสสนานุตตริยะ เป็นอย่างนี้
สวนานุตตริยะ เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ไปเพื่อฟังเสียงกลองบ้าง ไปเพื่อฟังเสียงพิณบ้าง
ไปเพื่อฟังเสียงเพลงขับบ้าง ไปเพื่อฟังเสียงสูงเสียงต่ำบ้าง หรือไปเพื่อฟังธรรมของ

เชิงอรรถ :
๑ ไม่ใช่อริยะ ในที่นี้หมายถึง ไม่ประเสริฐ ไม่สูงสุด ไม่บริสุทธิ์ อันพระอริยะทั้งหลายไม่เสพ (องฺ.ฉกฺก.อ.
๓/๓๐/๑๑๔, องฺ.ฉกฺก.ฏีกา. ๓/๓๐/๑๒๘)
๒ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ หมายถึงไม่ประกอบด้วยประโยชน์ที่ไพบูลย์ต่าง ๆ เช่นทิฏฐธัมมิกัตถประโยชน์
(ประโยชน์ภพนี้) และสัมปรายิกัตถประโยชน์ (ประโยชน์ในภพหน้า) (องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๓๐/๑๑๔,องฺ.ฉกฺก.ฏีกา.
๓/๓๐/๑๒๘)
๓ บรรลุที่สุด ในที่นี้หมายถึงถึงความไม่หวั่นไหว (องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๓๐/๑๑๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๔๗๒ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๓. อนุตตริยวรรค ๑๐. อนุตตริยสูตร
สมณะหรือพราหมณ์ผู้เห็นผิดปฏิบัติผิดบ้าง ภิกษุทั้งหลาย การฟังนี้มีอยู่ เราไม่
กล่าวว่า ไม่มี แต่ว่าการฟังนี้ ยังเป็นการฟังที่เลว เป็นของชาวบ้าน เป็นของปุถุชน
ไม่ใช่อริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ไม่เป็นไปเพื่อความเบื่อหน่าย ไม่เป็นไปเพื่อ
คลายกำหนัด ไม่เป็นไปเพื่อดับ ไม่เป็นไปเพื่อสงบระงับ ไม่เป็นไปเพื่อรู้ยิ่ง ไม่เป็นไป
เพื่อตรัสรู้ ไม่เป็นไปเพื่อนิพพาน
ส่วนบุคคลใดมีศรัทธาตั้งมั่น มีความรักตั้งมั่น บรรลุที่สุด มีความเลื่อมใส
อย่างยิ่ง ไปเพื่อฟังธรรมของตถาคตหรือสาวกของตถาคต ภิกษุทั้งหลาย การฟังนี้
ของบุคคลนั้น เป็นการฟังที่ยอดเยี่ยมกว่าการฟังทั้งหลาย เป็นไปเพื่อความบริสุทธิ์
ของสัตว์ทั้งหลาย เพื่อก้าวล่วงโสกะและปริเทวะ เพื่อดับทุกข์และโทมนัส เพื่อบรรลุ
ญายธรรม เพื่อทำให้แจ้งนิพพาน
การที่บุคคลผู้มีศรัทธาตั้งมั่น มีความรักตั้งมั่น บรรลุที่สุด มีความเลื่อมใส
อย่างยิ่ง ไปเพื่อฟังธรรมของตถาคต หรือสาวกของพระตถาคต นี้เรียกว่า
สวนานุตตริยะ
ทัสสนานุตตริยะ สวนานุตตริยะ เป็นอย่างนี้
ลาภานุตตริยะ เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ได้บุตรบ้าง ได้ภรรยาบ้าง ได้ทรัพย์บ้าง ได้ของสูง
ของต่ำบ้างหรือได้ศรัทธาในสมณะหรือพราหมณ์ผู้เห็นผิดปฏิบัติผิดบ้าง ภิกษุ
ทั้งหลาย การได้นั้นมีอยู่ เราไม่กล่าวว่า ไม่มี แต่ว่าการได้นี้ยังเป็นการได้ที่เลว
เป็นของชาวบ้าน เป็นของปุถุชน ไม่ใช่อริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ไม่เป็นไปเพื่อ
ความเบื่อหน่าย ไม่เป็นไปเพื่อคลายกำหนัด ไม่เป็นไปเพื่อดับ ไม่เป็นไปเพื่อสงบระงับ
ไม่เป็นไปเพื่อรู้ยิ่ง ไม่เป็นไปเพื่อตรัสรู้ ไม่เป็นไปเพื่อนิพพาน
ส่วนบุคคลใดมีศรัทธาตั้งมั่น มีความรักตั้งมั่น บรรลุที่สุด มีความเลื่อมใส
อย่างยิ่ง ได้ศรัทธาในตถาคต หรือสาวกของตถาคต ภิกษุทั้งหลาย การได้นี้ของ
บุคคลนั้นเป็นการได้ที่ยอดเยี่ยมกว่าการได้ทั้งหลาย เป็นไปเพื่อความบริสุทธิ์ของสัตว์
ทั้งหลาย เพื่อก้าวล่วงโสกะและปริเทวะ เพื่อดับทุกข์และโทมนัส เพื่อบรรลุญายธรรม
เพื่อทำให้แจ้งนิพพาน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๔๗๓ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๓. อนุตตริยวรรค ๑๐. อนุตตริยสูตร
การที่บุคคลมีศรัทธาตั้งมั่น มีความรักตั้งมั่น บรรลุที่สุด มีความเลื่อมใส
อย่างยิ่ง ได้ศรัทธาในตถาคต หรือสาวกของตถาคต นี้เรียกว่า ลาภานุตตริยะ
ทัสสนานุตตริยะ สวนานุตตริยะ ลาภานุตตริยะ เป็นอย่างนี้
สิกขานุตตริยะ เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ศึกษาศิลปะเกี่ยวกับช้างบ้าง ศึกษาศิลปะเกี่ยวกับ
ม้าบ้าง ศึกษาศิลปะเกี่ยวกับรถบ้าง ศึกษาศิลปะเกี่ยวกับธนูบ้าง ศึกษาศิลปะ
เกี่ยวกับดาบบ้าง ศึกษาศิลปะชั้นสูงชั้นต่ำบ้าง หรือศึกษาศิลปะจากสมณะหรือ
พราหมณ์ผู้เห็นผิดปฏิบัติผิดบ้าง ภิกษุทั้งหลาย การศึกษานั้นมีอยู่ เราไม่กล่าวว่า
ไม่มี แต่ว่าการศึกษานี้ยังเป็นการศึกษาที่เลว เป็นของชาวบ้าน เป็นของปุถุชน
ไม่ใช่อริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ไม่เป็นไปเพื่อความเบื่อหน่าย ไม่เป็นไปเพื่อ
คลายกำหนัด ไม่เป็นไปเพื่อดับ ไม่เป็นไปเพื่อสงบระงับ ไม่เป็นไปเพื่อรู้ยิ่ง ไม่เป็นไป
เพื่อตรัสรู้ ไม่เป็นไปเพื่อนิพพาน
ส่วนบุคคลใดมีศรัทธาตั้งมั่น มีความรักตั้งมั่น บรรลุที่สุด มีความเลื่อมใส
อย่างยิ่ง ศึกษาอธิศีลบ้าง ศึกษาอธิจิตบ้าง ศึกษาอธิปัญญาบ้าง ในธรรมวินัยที่
ตถาคตประกาศไว้ การศึกษานี้ของบุคคลนั้นเป็นการศึกษาที่ยอดเยี่ยมกว่าการศึกษา
ทั้งหลาย เป็นไปเพื่อความบริสุทธิ์ของสัตว์ทั้งหลาย เพื่อก้าวล่วงโสกะและปริเทวะ
เพื่อดับทุกข์และโทมนัส เพื่อบรรลุญายธรรม เพื่อทำให้แจ้งนิพพาน
การที่บุคคลมีศรัทธาตั้งมั่น มีความรักตั้งมั่น บรรลุที่สุด มีความเลื่อมใส
อย่างยิ่ง ศึกษาอธิศีลบ้าง ศึกษาอธิจิตบ้าง ศึกษาอธิปัญญาบ้าง ในธรรมวินัยที่
ตถาคตประกาศไว้ นี้เรียกว่า สิกขานุตตริยะ
ทัสสนานุตตริยะ สวนานุตตริยะ ลาภานุตตริยะ สิกขานุตตริยะ เป็นอย่างนี้
ปาริจริยานุตตริยะ เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้บำรุงกษัตริย์บ้าง บำรุงพราหมณ์บ้าง บำรุงคหบดีบ้าง
บำรุงคนชั้นสูงชั้นต่ำบ้าง หรือบำรุงสมณะหรือพราหมณ์ผู้เห็นผิดปฏิบัติผิดบ้าง ภิกษุ
ทั้งหลาย การบำรุงนั้นมีอยู่ เราไม่กล่าวว่า ไม่มี แต่ว่าการบำรุงนี้ยังเป็นการบำรุง
ที่เลว เป็นของชาวบ้าน เป็นของปุถุชน ไม่ใช่อริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๔๗๔ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๓. อนุตตริยวรรค ๑๐. อนุตตริยสูตร
ไม่เป็นไปเพื่อความเบื่อหน่าย ไม่เป็นไปเพื่อคลายกำหนัด ไม่เป็นไปเพื่อดับ ไม่เป็น
ไปเพื่อสงบระงับ ไม่เป็นไปเพื่อรู้ยิ่ง ไม่เป็นไปเพื่อตรัสรู้ ไม่เป็นไปเพื่อนิพพาน
ส่วนบุคคลใดมีศรัทธาตั้งมั่น มีความรักตั้งมั่น บรรลุที่สุด มีความเลื่อมใส
อย่างยิ่ง บำรุงตถาคตหรือสาวกของตถาคต การบำรุงนี้ของบุคคลนั้นเป็นการบำรุงที่
ยอดเยี่ยมกว่าการบำรุงทั้งหลาย เป็นไปเพื่อความบริสุทธิ์ของสัตว์ทั้งหลาย เพื่อก้าว
ล่วงโสกะและปริเทวะ เพื่อดับทุกข์และโทมนัส เพื่อบรรลุญายธรรม เพื่อทำให้แจ้ง
นิพพาน
การที่บุคคลมีศรัทธาตั้งมั่น มีความรักตั้งมั่น บรรลุที่สุด มีความเลื่อมใส
อย่างยิ่ง บำรุงตถาคตหรือสาวกของตถาคต นี้เรียกว่า ปาริจริยานุตตริยะ
ทัสสนานุตตริยะ สวนานุตตริยะ ลาภานุตตริยะ สิกขานุตตริยะ ปาริจริยา-
นุตตริยะ เป็นอย่างนี้
อนุสสตานุตตริยะ เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ระลึกถึงการได้บุตรบ้าง ระลึกถึงการได้ภรรยาบ้าง
ระลึกถึงการได้ทรัพย์บ้าง ระลึกถึงการได้ของสูงของต่ำบ้าง หรือระลึกถึงสมณะ
หรือพราหมณ์ผู้เห็นผิดปฏิบัติผิดบ้าง ภิกษุทั้งหลาย การระลึกนั้นมีอยู่ เราไม่
กล่าวว่า ไม่มี แต่ว่าการระลึกนี้ยังเป็นการระลึกที่เลว เป็นของชาวบ้าน เป็นของ
ปุถุชน ไม่ใช่อริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ไม่เป็นไปความเบื่อหน่าย ไม่เป็นไป
เพื่อคลายกำหนัด ไม่เป็นไปเพื่อดับ ไม่เป็นไปเพื่อสงบระงับ ไม่เป็นไปเพื่อรู้ยิ่ง
ไม่เป็นไปเพื่อตรัสรู้ ไม่เป็นไปเพื่อนิพพาน
ส่วนบุคคลใดมีศรัทธาตั้งมั่น มีความรักตั้งมั่น บรรลุที่สุด มีความเลื่อมใส
อย่างยิ่ง ระลึกถึงตถาคตหรือสาวกของตถาคต ภิกษุทั้งหลาย การระลึกถึงนี้ของ
บุคคลนั้น เป็นการระลึกถึงที่ยอดเยี่ยมกว่าการระลึกถึงทั้งหลาย เป็นไปเพื่อความ
บริสุทธิ์ของสัตว์ทั้งหลาย เพื่อก้าวล่วงโสกะและปริเทวะ เพื่อดับทุกข์และโทมนัส
เพื่อบรรลุญายธรรม เพื่อทำให้แจ้งนิพพาน
การที่บุคคลมีศรัทธาตั้งมั่น มีความรักตั้งมั่น บรรลุที่สุด มีความเลื่อมใส
อย่างยิ่ง นี้เรียกว่า อนุสสตานุตตริยะ
ภิกษุทั้งหลาย อนุตตริยะ ๖ ประการนี้แล


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๔๗๕ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๓. อนุตตริยวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค
ภิกษุเหล่าใดได้ทัสสนานุตตริยะ
สวนานุตตริยะ ลาภานุตตริยะ
ยินดีในสิกขานุตตริยะ ตั้งมั่นปาริจริยานุตตริยะ
เจริญอนุสสตานุตตริยะอันประกอบด้วยวิเวก๑
อันเกษม ให้ถึงอมตธรรม
เป็นผู้ยินดีในความไม่ประมาท
มีปัญญาเครื่องรักษาตน สำรวมในศีล
ภิกษุเหล่านั้นแล ย่อมรู้ที่เป็นที่ดับแห่งทุกข์ตามกาลอันควร
อนุตตริยสูตรที่ ๑๐ จบ
อนุตตริยวรรคที่ ๓ จบ
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. สามกสูตร ๒. อปริหานิยสูตร
๓. ภยสูตร ๔. หิมวันตสูตร
๕. อนุสสติฏฐานสูตร ๖. มหากัจจานสูตร
๗. ปฐมสมยสูตร ๘. ทุติยสมยสูตร
๙. อุทายีสูตร ๑๐. อนุตตริยสูตร


เชิงอรรถ :
๑ ทั้ง ๓ คำ คือ วิเวก อมตธรรม และ ที่เป็นที่ดับแห่งทุกข์ ในคาถานี้หมายถึงนิพพาน (องฺ.ฉกฺก.อ.
๓/๓๐/๑๑๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๔๗๖ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๔. เทวตาวรรค ๑. เสขสูตร
๔. เทวตาวรรค
หมวดว่าด้วยเทวดา
๑. เสขสูตร
ว่าด้วยธรรมของพระเสขะ๑
[๓๑] ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๖ ประการนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความเสื่อมแก่
ภิกษุผู้เป็นเสขะ
ธรรม ๖ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ความเป็นผู้ชอบการงาน
๒. ความเป็นผู้ชอบการพูดคุย
๓. ความเป็นผู้ชอบการนอนหลับ
๔. ความเป็นผู้ชอบการคลุกคลีด้วยหมู่
๕. ความเป็นผู้ไม่คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย๒
๖. ความเป็นผู้ไม่รู้จักประมาณในการบริโภค
ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๖ ประการนี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อความเสื่อมแก่ภิกษุผู้เป็นเสขะ
ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๖ ประการนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความไม่เสื่อมแก่ภิกษุผู้เป็นเสขะ
ธรรม ๖ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ความเป็นผู้ไม่ชอบการงาน
๒. ความเป็นผู้ไม่ชอบการพูดคุย
๓. ความเป็นผู้ไม่ชอบการนอนหลับ
๔. ความเป็นผู้ไม่ชอบการคลุกคลีด้วยหมู่
๕. ความเป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย
๖. ความเป็นผู้รู้จักประมาณในการบริโภค
ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๖ ประการนี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อความไม่เสื่อมแก่ภิกษุผู้เป็นเสขะ
เสขสูตรที่ ๑ จบ

เชิงอรรถ :
๑ ดูเชิงอรรถที่ ๑ ข้อ ๑ หน้า ๑ ในเล่มนี้
๒ คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย ในที่นี้หมายถึง สำรวมระวังอายตนะภายใน ๖ คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย
และใจ (ที.ปา. ๑๑/๓๒๓/๒๑๕, ม.อุ. ๑๔/๓๐๕/๒๗๙, อภิ.วิ. (แปล) ๓๕/๒๒๙/๒๒๐)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๔๗๗ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๔. เทวตาวรรค ๒. ปฐมอปริหานสูตร
๒. ปฐมอปริหานสูตร
ว่าด้วยอปริหานิยธรรม สูตรที่ ๑
[๓๒] ครั้งนั้น เมื่อราตรีผ่านไป๑ เทวดาตนหนึ่งมีวรรณะงดงามยิ่งนัก เปล่ง
รัศมีให้สว่างทั่วพระเชตวัน เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้ว
ยืนอยู่ ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรม ๖ ประการนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความไม่เสื่อมแก่ภิกษุ
ธรรม ๖ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ความเป็นผู้มีความเคารพในพระศาสดา
๒. ความเป็นผู้มีความเคารพในพระธรรม
๓. ความเป็นผู้มีความเคารพในพระสงฆ์
๔. ความเป็นผู้มีความเคารพในสิกขา
๕. ความเป็นผู้มีความเคารพในความไม่ประมาท
๖. ความเป็นผู้มีความเคารพในปฏิสันถาร๒
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรม ๖ ประการนี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อความไม่เสื่อมแก่
ภิกษุ
เมื่อเทวดานั้นได้กราบทูลดังนี้แล้ว พระศาสดาทรงพอพระทัย ครั้นเทวดานั้น
รู้ว่า ‘พระศาสดาทรงพอพระทัยเรา’ จึงถวายอภิวาท ทำประทักษิณ๓แล้วหายไป
ณ ที่นั้นแล

เชิงอรรถ :
๑ ดูเชิงอรรถที่ ๑ ข้อ ๒๑ ฉักกนิบาต (สามกสูตร) หน้า ๔๕๐ ในเล่มนี้
๒ ปฏิสันถาร ในทีนี้หมายถึงการต้อนรับมี ๒ อย่าง คือ (๑) อามิสปฏิสันถาร (การต้อนรับด้วยอามิส)
(๒) ธัมมปฏิสันถาร (การต้อนรับด้วยธรรม) ดู องฺ.ทุก. (แปล) ๒๐/๑๕๓/๑๒๓
๓ ทำประทักษิณ หมายถึงเดินเวียนขวาโดยการประนมมือเวียนไปทางขวาตามเข็มนาฬิกา ๓ รอบ มีผู้ที่ตน
เคารพอยู่ทางขวา เสร็จแล้วหันหน้าไปทางผู้ที่ตนเคารพ เดินถอยหลังจนสุดสายตา จนมองไม่เห็นผู้ที่
ตนเคารพแล้วคุกเข่าลงกราบด้วยเบญจางคประดิษฐ์ (การกราบด้วยตั้งอวัยวะทั้ง ๕ อย่างลงกับพื้นคือ
กราบเอาเข่าทั้งสอง มือทั้งสอง และศรีษะ (หน้าผาก) จรดลงกับพื้น)แล้วลุกขึ้นเดินจากไป (วิ.อ. ๑/๑๕/
๑๗๖-๑๗๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๔๗๘ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๔. เทวตาวรรค ๒. ปฐมอปริหานสูตร
ครั้นคืนนั้นผ่านไป พระผู้มีพระภาคได้รับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า “ภิกษุ
ทั้งหลาย เมื่อคืนนี้ เมื่อราตรีผ่านไป เทวดาตนหนึ่งมีวรรณะงดงามยิ่งนัก เปล่ง
รัศมีให้สว่างทั่วพระเชตวัน เข้ามาหาเราถึงที่อยู่ ไหว้แล้วยืนอยู่ ณ ที่สมควร ได้
กล่าวกับเราดังนี้ว่า
‘ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรม ๖ ประการนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความไม่เสื่อมแก่
ภิกษุ
ธรรม ๖ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ความเป็นผู้มีความเคารพในพระศาสดา
๒. ความเป็นผู้มีความเคารพในพระธรรม
๓. ความเป็นผู้มีความเคารพในพระสงฆ์
๔. ความเป็นผู้มีความเคารพในสิกขา
๕. ความเป็นผู้มีความเคารพในความไม่ประมาท
๖. ความเป็นผู้มีความเคารพในปฏิสันถาร
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรม ๖ ประการนี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อความไม่เสื่อมแก่ภิกษุ’
ภิกษุทั้งหลาย เทวดานั้นครั้นได้กล่าวดังนี้แล้ว จึงไหว้เราทำประทักษิณแล้ว
หายไป ณ ที่นั้นแล
ภิกษุมีความเคารพในศาสดา
มีความเคารพในธรรม
มีความเคารพอย่างแรงกล้าในสงฆ์
มีความเคารพในความไม่ประมาท
มีความเคารพในปฏิสันถาร
เป็นผู้ไม่ควรเสื่อม ดำรงอยู่ใกล้นิพพานทีเดียว๑”
ปฐมอปริหานสูตรที่ ๒ จบ

เชิงอรรถ :
๑ องฺ.สตฺตก. ๒๓/๓๒/๒๖

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๔๗๙ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๔. เทวตาวรรค ๓. ทุติยอปริหานสูตร
๓. ทุติยอปริหานสูตร
ว่าด้วยอปริหานิยธรรม สูตรที่ ๒
[๓๓] ภิกษุทั้งหลาย เมื่อคืนนี้ เมื่อราตรีผ่านไป เทวดาตนหนึ่งมีวรรณะ
งดงามยิ่งนัก เปล่งรัศมีให้สว่างทั่วพระเชตวัน เข้ามาหาเราถึงที่อยู่ ไหว้แล้วยืนอยู่
ณ ที่สมควร ได้กล่าวกับเราดังนี้ว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรม ๖ ประการนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความไม่เสื่อมแก่ภิกษุ
ธรรม ๖ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ความเป็นผู้มีความเคารพในพระศาสดา
๒. ความเป็นผู้มีความเคารพในพระธรรม
๓. ความเป็นผู้มีความเคารพในพระสงฆ์
๔. ความเป็นผู้มีความเคารพในสิกขา
๕. ความเป็นผู้มีความเคารพในหิริ (ความอายบาป)
๖. ความเป็นผู้มีความเคารพในโอตตัปปะ (ความกลัวบาป)
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรม ๖ ประการนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความไม่เสื่อมแก่ภิกษุ
ภิกษุทั้งหลาย เทวดานั้นครั้นได้กล่าวดังนี้แล้ว จึงไหว้เราทำประทักษิณแล้ว
หายไป ณ ที่นั้นแล
ภิกษุมีความเคารพในศาสดา
มีความเคารพในธรรม
มีความเคารพอย่างแรงกล้าในสงฆ์
ถึงพร้อมด้วยหิริและโอตตัปปะ
มีความยำเกรง มีความเคารพ
เป็นผู้ไม่ควรเสื่อม ดำรงอยู่ใกล้นิพพานทีเดียว
ทุติยอปริหานสูตรที่ ๓ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๔๘๐ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๔. เทวตาวรรค ๔. มหาโมคคัลลานสูตร
๔. มหาโมคคัลลานสูตร
ว่าด้วยพระมหาโมคคัลลานะ
[๓๔] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของ
อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น ท่านพระโมคคัลลานะหลีกเร้นอยู่ใน
ที่สงัด เกิดความคิดคำนึงขึ้นในจิตว่า “เทวดาเหล่าไหนมีญาณอย่างนี้ว่า ‘เราเป็น
โสดาบัน ไม่มีทางตกต่ำ มีความแน่นอนที่จะสำเร็จสัมโพธิ๑ในวันข้างหน้า”
สมัยนั้นแล ภิกษุชื่อว่าติสสะมรณภาพไม่นาน ได้บังเกิดในพรหมโลกชั้นหนึ่ง
ณ พรหมโลกชั้นนั้น เทวดาทั้งหลายก็รู้จักพรหมนั้นว่า “ติสสพรหมมีฤทธิ์มาก
มีอานุภาพมาก”
ครั้งนั้น ท่านพระมหาโมคคัลลานะได้หายไปจากพระเชตวันมาปรากฏใน
พรหมโลกนั้น เหมือนบุรุษผู้มีกำลังเหยียดแขนออกหรือคู้แขนเข้า ติสสพรหมได้เห็น
ท่านพระมหาโมคคัลลานะมาแต่ไกลทีเดียว จึงได้กล่าวกับท่านพระโมคคัลลานะว่า
“ท่านพระโมคคัลลานะผู้ไม่มีทุกข์ ขอท่านจงมาเถิด ท่านมาดีแล้ว ท่านจัดลำดับใน
การมาในที่นี้นานจริงหนอ ขอนิมนต์นั่งเถิด นี้อาสนะที่ปูลาดไว้”
ท่านพระมหาโมคคัลลานะนั่งบนอาสนะที่เขาปูลาดไว้แล้ว ฝ่ายติสสพรหม
ไหว้ท่านพระมหาโมคคัลลานะแล้วจึงนั่ง ณ ที่สมควร ท่านพระมหาโมคคัลลานะได้
ถามติสสพรหมดังนี้ว่า
“ติสสพรหม เทวดาชั้นไหนหนอ มีญาณอย่างนี้ว่า ‘เราเป็นโสดาบัน ไม่มีทาง
ตกต่ำ มีความแน่นอนที่จะสำเร็จสัมโพธิในวันข้างหน้า”
ติสสพรหมตอบว่า “ท่านพระโมคคัลลานะผู้ไม่มีทุกข์ เทวดาชั้นจาตุมหาราชมี
ญาณอย่างนี้ว่า ‘เราเป็นโสดาบัน ไม่มีทางตกต่ำ มีความแน่นอนที่จะสำเร็จสัมโพธิ
ในวันข้างหน้า”
ท่านพระโมคคัลลานะถามว่า “ติสสพรหม เทวดาชั้นจาตุมหาราชทั้งหมดเลย
หรือ ที่มีญาณอย่างนี้ว่า ‘เราเป็นโสดาบัน ไม่มีทางตกต่ำ มีความแน่นอนที่จะสำเร็จ
สัมโพธิในวันข้างหน้า”


เชิงอรรถ :
๑ ดูเชิงอรรถที่ ๑ ปัญจกนิบาต ข้อ ๑๗๙ หน้า ๓๐๐ ในเล่มนี้


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๔๘๑ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๔. เทวตาวรรค ๔. มหาโมคคัลลานสูตร
ติสสพรหมตอบว่า “ท่านพระโมคคัลลานะผู้ไม่มีทุกข์ ไม่ใช่เทวดาชั้น
จาตุมหาราชทั้งหมดที่มีญาณอย่างนี้ว่า ‘เราเป็นโสดาบัน ไม่มีทางตกต่ำ มีความแน่
นอนที่จะสำเร็จสัมโพธิในวันข้างหน้า’ ท่านพระมหาโมคคัลลานะผู้ไม่มีทุกข์ เทวดา
ชั้นจาตุมหาราชเหล่าใด ไม่มีความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้า ไม่มีความ
เลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรม ไม่มีความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์ ไม่มี
ศีลที่พระอริยะใคร่ เทวดาชั้นจาตุมหาราชเหล่านั้นก็ไม่มีญาณอย่างนี้ว่า ‘เราเป็น
โสดาบัน ไม่มีทางตกต่ำ มีความแน่นอนที่จะสำเร็จสัมโพธิในวันข้างหน้า’ ท่านพระ
มหาโมคคัลลานะผู้ไม่มีทุกข์ ส่วนเทวดาชั้นจาตุมหาราชเหล่าใด มีความ เลื่อมใส
อันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้า มีความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรม มีความ
เลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์ มีศีลที่พระอริยะใคร่ เทวดาชั้นจาตุมหาราช
เหล่านั้นจึงมีญาณอย่างนี้ว่า ‘เราเป็นโสดาบัน ไม่มีทางตกต่ำ มีความแน่นอน
ที่จะสำเร็จสัมโพธิในวันข้างหน้า”
ท่านพระโมคคัลลานะถามว่า “ติสสพรหม เทวดาชั้นจาตุมหาราชเท่านั้นหรือ
ที่มีญาณอย่างนี้ว่า ‘เราเป็นโสดาบัน ไม่มีทางตกต่ำ มีความแน่นอนที่จะสำเร็จ
สัมโพธิในวันข้างหน้า’ หรือว่าแม้เทวดาชั้นดาวดึงส์ ฯลฯ แม้เทวดาชั้นยามา ฯลฯ
แม้เทวดาชั้นดุสิต ฯลฯ แม้เทวดาชั้นนิมมานรดี ฯลฯ แม้เทวดาชั้นปรนิมมิตวสวัตดี
ก็มีญาณอย่างนี้ว่า ‘เราเป็นโสดาบัน ไม่มีทางตกต่ำ มีความแน่นอนที่จะสำเร็จ
สัมโพธิในวันข้างหน้า”
ติสสพรหมตอบว่า “ท่านพระโมคคัลลานะผู้ไม่มีทุกข์ เทวดาชั้นปรนิมมิตว-
สวัตดีมีญาณอย่างนี้ว่า ‘เราเป็นโสดาบัน ไม่มีทางตกต่ำ มีความแน่นอนที่จะสำเร็จ
สัมโพธิในวันข้างหน้า”
ท่านพระโมคคัลลานะถามว่า “ติสสพรหม เทวดาชั้นปรนิมมิตวสวัตดีทั้งหมด
เลยหรือที่มีญาณอย่างนี้ว่า ‘เราเป็นโสดาบัน ไม่มีทางตกต่ำ มีความแน่นอนที่จะ
สำเร็จสัมโพธิในวันข้างหน้า”
ติสสพรหมตอบว่า “ท่านพระโมคคัลลานะผู้ไม่มีทุกข์ ไม่ใช่เทวดาชั้น
ปรนิมมิตวสวัตดีทั้งหมดที่มีญาณอย่างนี้ว่า ‘เราเป็นโสดาบัน ไม่มีทางตกต่ำ
มีความแน่นอนที่จะสำเร็จสัมโพธิในวันข้างหน้า’ ท่านพระโมคคัลลานะผู้ไม่มีทุกข์
เทวดาชั้นปรนิมมิตวสวัตดีเหล่าใด ไม่มีความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๔๘๒ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๔. เทวตาวรรค ๕. วิชชาภาคิยสูตร
ไม่มีความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรม ไม่มีความเลื่อมใสในอันไม่หวั่นไหวใน
พระสงฆ์ ไม่มีศีลที่พระอริยะใคร่เทวดาชั้นปรนิมมิตวสวัตดีเหล่านั้นไม่มีญาณอย่าง
นี้ว่า ‘เราเป็นโสดาบัน ไม่มีทางตกต่ำ มีความแน่นอนที่จะสำเร็จสัมโพธิในวัน
ข้างหน้า’ ท่านพระโมคคัลลานะผู้ไม่มีทุกข์ ส่วนเทวดาชั้นปรนิมมิตวสวัตดีเหล่าใด
มีความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้า มีความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรม
มีความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์ มีศีลที่พระอริยะใคร่ เทวดาชั้นปรนิม-
มิตวสวัตดีเหล่านั้นจึงมีญาณอย่างนี้ว่า ‘เราเป็นโสดาบัน ไม่มีทางตกต่ำ มีความแน่
นอนที่จะสำเร็จสัมโพธิในวันข้างหน้า”
ลำดับนั้น ท่านพระโมคคัลลานะชื่นชมอนุโมทนาภาษิตของติสสพรหมแล้ว
หายไปจากพรหมโลกมาปรากฏ ณ พระเชตวัน เหมือนบุรุษผู้มีกำลังเหยียดแขนออก
หรือคู้แขนเข้า
มหาโมคคัลลานสูตรที่ ๔ จบ
๕. วิชชาภาคิยสูตร
ว่าด้วยธรรมที่เป็นส่วนแห่งวิชชา
[๓๕] ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๖ ประการนี้ เป็นส่วนแห่งวิชชา
ธรรม๑ ๖ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. อนิจจสัญญา
๒. อนิจเจ ทุกขสัญญา
๓. ทุกเข อนัตตสัญญา

เชิงอรรถ :
๑ อนิจจสัญญา หมายถึงสัญญาที่เกิดขึ้นในญาณที่พิจารณาเห็นความไม่เที่ยง
อนิจเจ ทุกขสัญญา หมายถึงสัญญาที่เกิดขึ้นในญาณที่พิจารณาเห็นความเป็นทุกข์ในความไม่เที่ยง
ทุกเข อนัตตสัญญา หมายถึงสัญญาที่เกิดขึ้นในญาณที่พิจารณาเห็นความเป็นอนัตตาในความเป็นทุกข์
ปหานสัญญา หมายถึงสัญญาที่เกิดขึ้นในญาณที่พิจารณาเห็นการละกิเลส
วิราคสัญญา หมายถึงสัญญาที่เกิดขึ้นในญาณที่พิจารณาเห็นวิราคะ (ความคลายกำหนัด)
นิโรธสัญญา หมายถึงสัญญาที่เกิดขึ้นในญาณที่พิจารณาเห็นนิโรธ (ความดับแห่งกิเลส) (องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๓๕/
๑๑๖) และดู องฺ.สตฺตก. ๒๓/๔๘-๔๙/๔๐-๔๖, องฺ.ทสก. (แปล) ๒๔/๕๖/๑๒๓

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๔๘๓ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๔. เทวตาวรรค ๖. วิวาทมูลสูตร
๔. ปหานสัญญา
๕. วิราคสัญญา
๖. นิโรธสัญญา
ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๖ ประการนี้ ย่อมเป็นส่วนแห่งวิชชา
วิชชาภาคิยสูตรที่ ๕ จบ
๖. วิวาทมูลสูตร
ว่าด้วยมูลเหตุแห่งวิวาท
[๓๖] ภิกษุทั้งหลาย มูลเหตุแห่งวิวาท ๖ ประการนี้
มูลเหตุแห่งวิวาท ๖ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เป็นผู้มักโกรธ ผูกโกรธไว้ ภิกษุใดเป็นผู้มักโกรธ ผูกโกรธไว้ ภิกษุ
นั้นไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรงในศาสดา ไม่มีความเคารพ
ไม่มีความยำเกรงในธรรม ไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรงในสงฆ์
และไม่ทำสิกขาให้บริบูรณ์ ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ไม่มีความเคารพ
ไม่มีความยำเกรงในศาสดา ไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรง
ในธรรม ไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรงในสงฆ์ และไม่ทำสิกขา
ให้บริบูรณ์ ย่อมก่อวิวาทให้เกิดขึ้นในสงฆ์ ซึ่งเป็นไปเพื่อไม่เกื้อกูล
แก่คนหมู่มาก เพื่อไม่ใช่สุขแก่คนหมู่มาก เพื่อไม่ใช่ประโยชน์แก่คน
หมู่มาก เพื่อไม่เกื้อกูล เพื่อทุกข์แก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
ภิกษุทั้งหลาย ถ้าเธอทั้งหลายพิจารณาเห็นมูลเหตุแห่งวิวาทเช่นนี้
ภายในหรือภายนอก เธอทั้งหลายพึงพยายามเพื่อละมูลเหตุแห่ง
วิวาทที่เป็นบาปภายในหรือภายนอกนั้นแล ถ้าเธอทั้งหลายไม่
พิจารณาเห็นมูลเหตุแห่งวิวาทเช่นนี้ภายในหรือภายนอก เธอทั้งหลาย
พึงปฏิบัติเพื่อให้มูลเหตุแห่งวิวาทที่เป็นบาปนั้นแลไม่ยืดเยื้อต่อไป
การละมูลเหตุแห่งวิวาทที่เป็นบาปนั้นย่อมมีได้ และมูลเหตุแห่งวิวาท
ที่เป็นบาปนั้น ย่อมไม่ยืดเยื้อต่อไป

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๔๘๔ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๔. เทวตาวรรค ๖. วิวาทมูลสูตร
๒. เป็นผู้ลบหลู่ ตีเสมอ ฯลฯ
๓. เป็นผู้ริษยา มีความตระหนี่ ฯลฯ
๔. เป็นผู้โอ้อวด มีมายา ฯลฯ
๕. เป็นผู้มีความปรารถนาชั่วเป็นมิจฉาทิฏฐิ๑ ฯลฯ
๖. เป็นผู้ยึดมั่นทิฏฐิของตน มีความถือรั้น สละสิ่งที่ตนยึดมั่นได้ยาก
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุใด เป็นผู้ยึดมั่นทิฏฐิของตน มีความถือรั้น
สละสิ่งที่ตนยึดมั่นได้ยาก ภิกษุนั้นย่อมไม่มีความเคารพ ไม่มีความ
ยำเกรงแม้ในศาสดา ไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรงแม้
ในธรรม ไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรงแม้ในพระสงฆ์ และไม่
ทำสิกขาให้บริบูรณ์ ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ไม่มีความเคารพ ไม่มี
ความยำเกรงในศาสดา ฯลฯ และไม่ทำสิกขาให้บริบูรณ์ ย่อมก่อการ
วิวาทให้เกิดขึ้นในสงฆ์ ซึ่งเป็นไปเพื่อไม่เกื้อกูลแก่คนหมู่มาก เพื่อ
ไม่ใช่สุขแก่คนหมู่มาก เพื่อไม่ใช่ประโยชน์แก่คนหมู่มาก เพื่อไม่
เกื้อกูล เพื่อทุกข์แก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ภิกษุทั้งหลาย
ถ้าเธอทั้งหลายพิจารณาเห็นมูลเหตุแห่งวิวาทเช่นนี้ ทั้งภายในหรือ
ภายนอก เธอทั้งหลายพึงพยายามเพื่อละมูลเหตุแห่งวิวาทที่เป็น
บาปนั้นแลทั้งภายในหรือภายนอกนั้น ถ้าเธอทั้งหลายไม่พิจารณา
เห็นมูลเหตุแห่งวิวาทเช่นนี้ ทั้งภายในหรือภายนอก เธอทั้งหลาย
พึงปฏิบัติเพื่อให้มูลเหตุแห่งวิวาทที่เป็นบาปนั้นแลไม่ยืดเยื้อต่อไป
การละมูลเหตุแห่งวิวาทที่เป็นบาปนั้นแลย่อมมีได้ และมูลเหตุแห่ง
วิวาทที่เป็นบาปนั้น ย่อมไม่ยืดเยื้อต่อไป
ภิกษุทั้งหลาย มูลเหตุแห่งวิวาท ๖ ประการ นี้แล
วิวาทมูลสูตรที่ ๖ จบ

เชิงอรรถ :
๑ เป็นมิจฉาทิฏฐิ หมายถึงเป็นมิจฉาทิฏฐิบุคคลประเภทนัตถิกวาทะ (ลัทธิที่ถือว่าทานที่บุคคลให้แล้วไม่มีผล)
อเหตุกวาทะ (ลัทธิที่ถือว่าไม่มีเหตุปัจจัยเพื่อความบริสุทธิ์แห่งสัตว์ทั้งหลาย) และอกิริยวาทะ (ลัทธิที่ถือว่า
การกระทำทุกอย่างไม่มีผล ทำดีก็ไม่ได้ดี ทำชั่วก็ไม่ได้ชั่ว เป็นความเห็นที่ปฏิเสธกฎแห่งกรรม) (องฺ.ฉกฺก.อ.
๓/๓๖/๑๑๗) และดู ที.สี. (แปล) ๙/๑๖๕/๕๓, ๑๖๗/๕๔,๑๗๓/๕๗

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๔๘๕ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๔. เทวตาวรรค ๗. ทานสูตร
๗. ทานสูตร
ว่าด้วยองค์แห่งทักษิณาทาน
[๓๗] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของ
อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี สมัยนั้น อุบาสิกาชื่อนันทมาตา ชาวเมือง
เวฬุกัณฑกะ ถวายทักษิณาอันประกอบด้วยองค์ ๖ ในหมู่ภิกษุมีพระสารีบุตรและ
พระโมคคัลลานะเป็นประธาน พระผู้มีพระภาคได้ทรงเห็นอุบาสิกาชื่อนันทมาตา
ชาวเมืองเวฬุกัณฑกะนั้นแล้ว จึงรับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย
อุบาสิกาชื่อนันทมาตาชาวเมืองเวฬุกัณฑกะนั้น ถวายทานอันประกอบด้วยองค์ ๖
ในหมู่ภิกษุมีสารีบุตรและโมคคัลลานะเป็นประธาน
ทักษิณาอันประกอบด้วยองค์ ๖ เป็นอย่างไร
คือ ฝ่ายทายก(ผู้ให้)มีองค์ ๓ ประการ ฝ่ายปฏิคาหก (ผู้รับ) มีองค์ ๓ ประการ
องค์ ๓ ประการ ของทายก อะไรบ้าง คือ
ทายกในธรรมวินัยนี้
๑. ก่อนให้ก็มีใจดี
๒. กำลังให้ก็ทำจิตให้เลื่อมใส
๓. ครั้นให้แล้วก็มีใจเบิกบาน
นี้คือองค์ ๓ ประการ ของทายก
องค์ ๓ ประการ ของปฏิคาหก อะไรบ้าง คือ
ปฏิคาหกในธรรมวินัยนี้
๑. เป็นผู้ปราศจากราคะ หรือปฏิบัติเพื่อกำจัดราคะ
๒. เป็นผู้ปราศจากโทสะ หรือปฏิบัติเพื่อกำจัดโทสะ
๓. เป็นผู้ปราศจากโมหะ หรือปฏิบัติเพื่อกำจัดโมหะ
นี้คือองค์ ๓ ประการ ของปฏิคาหก
องค์ ๓ ประการ ของทายก องค์ ๓ ประการ ของปฏิคาหก มีด้วยประการฉะนี้
ภิกษุทั้งหลาย ทักษิณาอันประกอบด้วยองค์ ๖ เป็นอย่างนี้แล

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๔๘๖ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๔. เทวตาวรรค ๗. ทานสูตร
ภิกษุทั้งหลาย การกำหนดประมาณบุญแห่งทักษิณาอันประกอบด้วยองค์ ๖
อย่างนี้ว่า ‘ห้วงบุญ ห้วงกุศลมีประมาณเท่านี้ นำความสุขมาให้ มีอารมณ์ดีเลิศ๑
มีวิบากเป็นสุข เป็นไปเพื่อสวรรค์ เป็นไปเพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขที่น่าปรารถนา น่าใคร่
น่าพอใจ’ มิใช่ทำได้ง่าย แท้จริง ห้วงบุญ ห้วงกุศลแห่งทักษิณานั้นถึงการนับว่า
‘เป็นกองบุญใหญ่ที่นับไม่ได้ ประมาณไม่ได้’
เปรียบเหมือนการกำหนดปริมาณของน้ำในมหาสมุทรว่า ‘น้ำมีปริมาณเท่านี้
อาฬหกะ น้ำมีปริมาณเท่านี้ ๑๐๐ อาฬหกะ น้ำมีปริมาณเท่านี้ ๑,๐๐๐ อาฬหกะ
หรือน้ำมีปริมาณเท่านี้ ๑๐๐,๐๐๐ อาฬหกะ’ มิใช่ทำได้ง่าย แท้จริง น้ำในมหาสมุทร
นั้นถึงการนับว่า ‘เป็นห้วงน้ำใหญ่ที่นับไม่ได้ ประมาณไม่ได้’ ฉันใด
ภิกษุทั้งหลาย การกำหนดประมาณบุญแห่งทักษิณาอันประกอบด้วยองค์ ๖
อย่างนี้ว่า ‘ห้วงบุญ ห้วงกุศลมีประมาณเท่านี้ นำความสุขมาให้ มีอารมณ์ดีเลิศ
มีวิบากเป็นสุข เป็นไปเพื่อสวรรค์ เป็นไปเพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขที่น่าปรารถนา น่าใคร่
น่าพอใจ’ มิใช่ทำได้ง่าย แท้จริง ห้วงบุญ ห้วงกุศลของทักษิณานั้น ถึงการนับว่า
‘เป็นกองบุญใหญ่ที่นับไม่ได้ ประมาณไม่ได้’ ฉันนั้น
ทายก ก่อนให้ก็มีใจดี
เมื่อกำลังให้ก็ทำจิตให้เลื่อมใส
ครั้นให้แล้วก็มีใจเบิกบาน
นี้เป็นความถึงพร้อมแห่งยัญ๒
ปฏิคาหกผู้สำรวมประพฤติพรหมจรรย์ทั้งหลาย
คือ ท่านผู้ปราศจากราคะ ปราศจากโทสะ
ปราศจากโมหะ ไม่มีอาสวะ
ย่อมเป็นเขตที่สมบูรณ์แห่งการให้

เชิงอรรถ :
๑ มีอารมณ์ดีเลิศ ในที่นี้หมายถึงให้กามคุณ ๕ ประการ มีรูปเป็นต้นที่เลิศ (องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๕๑/๓๔๘)
๒ ยัญ ในที่นี้หมายถึงทาน หรือเครื่องไทยธรรม (องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๔๐/๓๔๑, องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๓๗/๑๑๘) และดู
ขุ.เปต. (แปล) ๒๖/๓๐๕/๒๑๖

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๔๘๗ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๔. เทวตาวรรค ๘. อัตตการีสูตร
ทายกต้อนรับปฏิคาหกด้วยตนเอง
ถวายทานด้วยมือตนเอง
ยัญนั้นย่อมมีผลมาก
เพราะตน (ทายกผู้ให้ทาน) และเพราะผู้อื่น (ปฏิคาหก)
เป็นบัณฑิตผู้เป็นนักปราชญ์ มีศรัทธา
มีใจพ้นแล้ว๑บูชายัญอย่างนี้
ย่อมเข้าถึงโลกที่ปราศจากความเบียดเบียนเป็นสุข
ทานสูตรที่ ๗ จบ
๘. อัตตการีสูตร
ว่าด้วยอัตตการ
[๓๘] ครั้งนั้นแล พราหมณ์คนหนึ่ง เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
ได้สนทนาปราศรัย พอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้วนั่ง ณ ที่สมควร
ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
‘ข้าแต่ท่านพระโคดม ข้าพระองค์มีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘ไม่มีอัตตการ
(มีตนเป็นตัวการ) ไม่มีปรการ๒(มีสิ่งอื่นเป็นตัวการ)’
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “พราหมณ์ เราไม่เคยได้เห็นไม่เคยได้ฟังคำของบุคคล
ผู้มีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้เลย ก็บุคคลเมื่อก้าวไปข้างหน้าเองได้ ถอยกลับ
เองได้ ไฉนจึงจักกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ไม่มีอัตตการ ไม่มีปรการ’ พราหมณ์
ท่านเข้าใจเรื่องนั้นอย่างไร อารัพภธาตุ๓มีอยู่หรือไม่”

เชิงอรรถ :
๑ มีใจพ้นแล้ว หมายถึงมีใจพ้นจากความตระหนี่ลาภเป็นต้น (องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๓๗/๑๑๘)
๒ พราหมณ์พูดตามลัทธิมักขลิโคศาลที่ถือว่าสัตว์ทั้งหลายบริสุทธิ์ หรือเศร้าหมองเอง ไม่ใช่ตัวเองเป็นตัวการ
และไม่ใช่เพราะสิ่งอื่นเป็นตัวการ ดู ที.สี. (แปล) ๙/๑๖๘/๕๔-๕๖, ที.สี.อ. ๑๖๘/๑๔๖ คำว่า อัตตการ
และปรการนี้ บางทีใช้ในความหมายเดียวกับสยังกตา ปรังกตา ดู สํ.นิ. ๑๖/๑๗/๑๙, สํ.นิ.อ. ๒/๑๗/๔๐
๓ อารัพภธาตุ หมายถึงความเพียรริเริ่มในการทำความดี เป็นธรรมเครื่องป้องกันถีนมิทธะ(ความหดหู่และ
เซื่องซึม)มิให้เกิดขึ้นและกำจัดถีนมิทธะที่เกิดขึ้นแล้ว (องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๓๘/๑๑๘, องฺ.ฉกฺก.ฏีกา ๓/๓๘-๔๑/
๑๓๓) และดู ที.ปา. ๑๑/๓๓๕/๒๒๕, องฺ.เอกก. (แปล) ๒๐/๑๘/๔ ประกอบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๔๘๘ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๔. เทวตาวรรค ๘. อัตตการีสูตร
พราหมณ์กราบทูลว่า “มี ท่านพระโคดม”
“เมื่อมีอารัพภธาตุ สัตว์ทั้งหลายผู้มีความเพียรริเริ่มยังมีปรากฏอยู่หรือไม่”
“ยังมีปรากฏ ท่านพระโคดม”
“พราหมณ์ การที่เมื่อมีอารัพภธาตุ สัตว์ทั้งหลายผู้มีความเพียรริเริ่มยังมี
ปรากฏอยู่ นี้แลคืออัตตการ นี้แลคือปรการของสัตว์ทั้งหลาย’
พราหมณ์ ท่านเข้าใจเรื่องนั้นอย่างไร นิกกมธาตุมีอยู่หรือไม่ ฯลฯ ปรักกมธาตุ
มีอยู่หรือไม่ ฯลฯ ถามธาตุมีอยู่หรือไม่ ฯลฯ ธิติธาตุมีอยู่หรือไม่ ฯลฯ อุปักกมธาตุ๑
มีอยู่หรือไม่ ฯลฯ”
“มี ท่านพระโคดม”
“พราหมณ์ เมื่อมีอุปักกมธาตุ สัตว์ทั้งหลายผู้มีความพยายามยังมีปรากฏอยู่
หรือไม่”
“ยังมีปรากฏ ท่านพระโคดม”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “พราหมณ์ การที่เมื่อมีอุปักกมธาตุ สัตว์ทั้งหลายผู้มี
ความพยายามยังมีปรากฏอยู่ นี้แลคืออัตตการ นี้แลคือปรการของสัตว์ทั้งหลาย
พราหมณ์ เราไม่เคยได้เห็นไม่เคยได้ฟังคำของบุคคลผู้มีวาทะอย่างนี้ ผู้มีทิฏฐิ
อย่างนี้เลย ก็บุคคลเมื่อก้าวไปข้างหน้าเองได้ ถอยกลับเองได้ ไฉนจึงจักกล่าว
อย่างนี้ว่า ‘ไม่มีอัตตการ ไม่มีปรการ”
พราหมณ์กราบทูลว่า ‘ท่านพระโคดม ภาษิตของท่านพระโคดมชัดเจนไพเราะ
ยิ่งนัก ฯลฯ ข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะ ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปจนตลอดชีวิต”
อัตตการีสูตรที่ ๘ จบ

เชิงอรรถ :
๑ นิกกมธาตุ หมายถึงสภาวะที่พากเพียรออกจากความเกียจคร้าน
ปรักกมธาตุ หมายถึงสภาวะที่บากบั่นรุดไปข้างหน้าไม่หยุดหย่อน
ถามธาตุ หมายถึงสภาวะที่มีพลังเข้มแข็ง
ธิติธาตุ หมายถึงสภาวะที่ตั้งมั่นไม่หวั่นไหว
อุปักกมธาตุ หมายถึงสภาวะที่มีความพยายาม
ธาตุทั้งหมดนี้เป็นชื่อของ วิริยะ ที่มีอาการต่างกัน (องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๓๘/๑๑๘, องฺ.ฉกฺก.ฏีกา ๓/๓๘-
๔๑/๑๓๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๔๘๙ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๔. เทวตาวรรค ๙. นิทานสูตร
๙. นิทานสูตร
ว่าด้วยเหตุให้เกิดกรรม
[๓๙] ภิกษุทั้งหลาย เหตุให้เกิดกรรม(ชั่ว) ๓ ประการนี้
เหตุให้เกิดกรรม ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. โลภะ(ความอยากได้)เป็นเหตุให้เกิดกรรม
๒. โทสะ(ความคิดประทุษร้าย)เป็นเหตุให้เกิดกรรม
๓. โมหะ(ความหลง)เป็นเหตุให้เกิดกรรม
ภิกษุทั้งหลาย อโลภะไม่เกิดขึ้นเพราะโลภะ แท้จริง โลภะเท่านั้นเกิดขึ้นเพราะ
โลภะ
อโทสะไม่เกิดขึ้นเพราะโทสะ แท้จริง โทสะเท่านั้นเกิดขึ้นเพราะโทสะ
อโมหะไม่เกิดขึ้นเพราะโมหะ แท้จริง โมหะเท่านั้นเกิดขึ้นเพราะโมหะ
เทวดา มนุษย์ หรือแม้สุคติอย่างใดอย่างหนึ่ง ไม่ปรากฏเพราะกรรมที่เกิดจาก
โลภะ เพราะกรรมที่เกิดจากโทสะ และเพราะกรรมที่เกิดจากโมหะ
แท้จริงนรก กำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน แดนเปรต หรือแม้ทุคติอย่างใดอย่างหนึ่ง
ย่อมปรากฏเพราะกรรมที่เกิดจากโลภะ เพราะกรรมที่เกิดจากโทสะ และเพราะกรรม
ที่เกิดจากโมหะ
ภิกษุทั้งหลาย เหตุให้เกิดกรรม ๓ ประการนี้แล
ภิกษุทั้งหลาย เหตุให้เกิดกรรม (ดี) ๓ ประการนี้
เหตุให้เกิดกรรม ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. อโลภะ(ความไม่อยากได้)เป็นเหตุให้เกิดกรรม
๒. อโทสะ(ความไม่คิดประทุษร้าย)เป็นเหตุให้เกิดกรรม
๓. อโมหะ(ความไม่หลง)เป็นเหตุให้เกิดกรรม
ภิกษุทั้งหลาย โลภะไม่เกิดขึ้นเพราะอโลภะ แท้จริง อโลภะเท่านั้นเกิดขึ้นเพราะ
อโลภะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๔๙๐ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๔. เทวตาวรรค ๑๐. กิมมิลสูตร
โทสะไม่เกิดขึ้นเพราะอโทสะ แท้จริง อโทสะเท่านั้นเกิดขึ้นเพราะอโทสะ
โมหะไม่เกิดขึ้นเพราะอโมหะ แท้จริง อโมหะเท่านั้นเกิดขึ้นเพราะอโมหะ
นรก กำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน แดนเปรต หรือแม้ทุคติอย่างใดอย่างหนึ่งไม่ปรากฏ
เพราะกรรมที่เกิดจากอโลภะ เพราะกรรมที่เกิดจากอโทสะ และเพราะกรรมที่เกิด
จากอโมหะ
แท้จริง เทวดา มนุษย์ทั้งหลาย หรือแม้สุคติอย่างใดอย่างหนึ่ง ย่อมปรากฏ
เพราะกรรมที่เกิดจากอโลภะ เพราะกรรมที่เกิดจากอโทสะ และเพราะกรรมที่เกิด
จากอโมหะ
ภิกษุทั้งหลาย เหตุให้เกิดกรรม ๓ ประการนี้แล
นิทานสูตรที่ ๙ จบ
๑๐. กิมมิลสูตร
ว่าด้วยท่านพระกิมมิละ
[๔๐] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ป่าไผ่ เขตเมืองกิมมิลา ครั้งนั้น
ท่านพระกิมมิละเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่
สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อะไรหนอ
เป็นเหตุปัจจัยให้พระสัทธรรมไม่ดำรงอยู่ได้นาน ในเมื่อพระตถาคตปรินิพพานแล้ว”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “กิมมิละ เมื่อตถาคตปรินิพพานแล้ว ภิกษุ ภิกษุณี
อุบาสก อุบาสิกาในธรรมวินัยนี้
๑. อยู่อย่างไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรงในศาสดา
๒. อยู่อย่างไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรงในธรรม

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๔๙๑ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๔. เทวตาวรรค ๑๐. กิมมิลสูตร
๓. อยู่อย่างไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรงในสงฆ์
๔. อยู่อย่างไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรงในสิกขา
๕. อยู่อย่างไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรงในความไม่ประมาท
๖. อยู่อย่างไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรงในปฏิสันถาร
กิมมิละ นี้แล เป็นเหตุปัจจัยให้สัทธรรมไม่ดำรงอยู่ได้นาน ในเมื่อตถาคต
ปรินิพพานแล้ว”
ท่านกิมมิละทูลถามว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อะไรหนอเป็นเหตุปัจจัยให้
พระสัทธรรมดำรงอยู่ได้นาน ในเมื่อพระตถาคตปรินิพพานแล้ว”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “กิมมิละ เมื่อตถาคตปรินิพพานแล้ว ภิกษุ ภิกษุณี
อุบาสก อุบาสิกาในธรรมวินัยนี้
๑. อยู่อย่างมีความเคารพ มีความยำเกรงในศาสดา
๒. อยู่อย่างมีความเคารพ มีความยำเกรงในธรรม
๓. อยู่อย่างมีความเคารพ มีความยำเกรงในสงฆ์
๔. อยู่อย่างมีความเคารพ มีความยำเกรงในสิกขา
๕. อยู่อย่างมีความเคารพ มีความยำเกรงในความไม่ประมาท
๖. อยู่อย่างมีความเคารพ มีความยำเกรงในปฏิสันถาร
กิมมิละ นี้แล เป็นเหตุปัจจัยให้สัทธรรมดำรงอยู่ได้นาน ในเมื่อตถาคต
ปรินิพพานแล้ว”
กิมมิลสูตรที่ ๑๐ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๔๙๒ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๔. เทวตาวรรค ๑๑. ทารุกขันธสูตร
๑๑. ทารุกขันธสูตร
ว่าด้วยกองฟืน
[๔๑] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ภูเขาคิชฌกูฏ๑ เขตกรุงราชคฤห์
ครั้งนั้น เวลาเช้า ท่านพระสารีบุตรครองอันตรวาสกถือบาตรและจีวรลงจากภูเขา
คิชฌกูฏ พร้อมด้วยภิกษุจำนวนมาก ได้เห็นกองฟืนใหญ่ในที่แห่งหนึ่ง จึงถามภิกษุ
ทั้งหลายว่า “ผู้มีอายุทั้งหลาย ท่านทั้งหลายเห็นกองฟืนใหญ่โน้นหรือไม่”
ภิกษุเหล่านั้นตอบว่า “เห็น ผู้มีอายุ”
ท่านพระสารีบุตรจึงกล่าวว่า ผู้มีอายุทั้งหลาย
๑. ภิกษุผู้มีฤทธิ์ บรรลุความชำนาญทางใจ เมื่อต้องการ พึงน้อมจิตถึง
กองฟืนโน้นว่า ‘ดิน’ ก็ได้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะที่กองฟืนโน้นมี
ปฐวีธาตุ(ธาตุดิน)อยู่ ซึ่งภิกษุผู้มีฤทธิ์ บรรลุความชำนาญทางใจ
จะพึงอาศัยน้อมจิตถึงกองฟืนโน้นว่า ‘ดิน’
๒. ภิกษุผู้มีฤทธิ์ บรรลุความชำนาญทางใจ เมื่อต้องการ พึงน้อมจิต
ถึงกองฟืนโน้นว่า ‘น้ำ’ ฯลฯ
๓. ภิกษุผู้มีฤทธิ์ บรรลุความชำนาญทางใจ เมื่อต้องการ พึงน้อมจิต
ถึงกองฟืนโน้นว่า ‘ไฟ’ ฯลฯ
๔. ภิกษุผู้มีฤทธิ์ บรรลุความชำนาญทางใจ เมื่อต้องการ พึงน้อมจิต
ถึงกองฟืนโน้นว่า ‘ลม’ ฯลฯ

เชิงอรรถ :
๑ คิชฌกูฏ มี ๒ ความหมาย คือ (๑) มีความหมายว่า ยอดแร้ง เพราะเป็นที่อยู่อาศัยของฝูงแร้ง
(๒) มีความหมายว่า ยอดคล้ายแร้ง เพราะมียอดคล้ายศีรษะของแร้ง (วิ.อ. ๑/๘๔/๓๐๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๔๙๓ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๔. เทวตาวรรค ๑๒. นาคิตสูตร
๕. ภิกษุผู้มีฤทธิ์ บรรลุความชำนาญทางใจ เมื่อต้องการพึงน้อมจิตถึง
กองฟืนโน้นว่า ‘งาม’ ฯลฯ
๖. ภิกษุผู้มีฤทธิ์ บรรลุความชำนาญทางใจ เมื่อต้องการ พึงน้อมจิต
ถึงกองฟืนโน้นว่า ‘ไม่งาม’ ก็ได้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะที่
กองฟืนโน้นมีอสุภธาตุ๑อยู่ ซึ่งภิกษุผู้มีฤทธิ์ บรรลุความชำนาญ
ทางใจ จะพึงอาศัยน้อมจิตถึงกองฟืนโน้นว่า ‘ไม่งาม’
ทารุกขันธสูตรที่ ๑๑ จบ
๑๒. นาคิตสูตร๒
ว่าด้วยท่านพระนาคิตะ
[๔๒] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเสด็จจาริกไปในแคว้นโกศลพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์
หมู่ใหญ่ เสด็จถึงหมู่บ้านพราหมณ์แคว้นโกศลชื่ออิจฉานังคละ เล่ากันว่าคราวนั้น
พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่ราวป่าชื่ออิจฉานังคละ ใกล้หมู่บ้านพราหมณ์ชื่อ
อิจฉานังคละ
พวกพราหมณ์และคหบดีชาวบ้านอิจฉานังคละได้ทราบข่าวว่า “ท่านผู้เจริญ
ข่าวว่าพระสมณโคดมศากยบุตรทรงออกผนวชจากศากยตระกูล เสด็จถึงบ้าน
อิจฉานังคละ ประทับอยู่ที่ราวป่าชื่ออิจฉานังคละ ใกล้หมู่บ้านพราหมณ์ชื่อ
อิจฉานังคละ ท่านพระสมณโคดมพระองค์นั้นมีกิตติศัพท์อันงามขจรไปอย่างนี้ว่า
‘แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้ด้วยพระองค์
เองโดยชอบ เพียบพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ ฯลฯ เป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระผู้มี
พระภาค’ พระองค์ทรงรู้แจ้งโลกนี้พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก ฯลฯ การได้พบพระ
อรหันต์เช่นนี้ เป็นความดีอย่างแท้จริง”

เชิงอรรถ :
๑ อสุภธาตุ หมายถึงสภาวะที่ผุพัง มีสีไม่น่ายินดี (องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๔๑/๑๑๙)
๒ ดู ปัญจกนิบาต ข้อ ๓๐ หน้า ๔๑ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๔๙๔ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๔. เทวตาวรรค ๑๒. นาคิตสูตร
ครั้นคืนนั้นผ่านไป พราหมณ์และคหบดีชาวบ้านอิจฉานังคละ จึงพากันถือเอา
ของเคี้ยวของฉันเป็นอันมากเข้าไปถึงราวป่าชื่ออิจฉานังคละ ได้ยืนชุมนุมกันส่งเสียง
อื้ออึงที่ซุ้มประตูด้านนอก
สมัยนั้นแล ท่านพระนาคิตะเป็นอุปัฏฐากของพระผู้มีพระภาค พระผู้มี
พระภาคได้รับสั่งเรียกท่านพระนาคิตะมาตรัสถามว่า “นาคิตะ คนพวกไหนส่งเสียง
อื้ออึงอยู่นั้น คล้ายพวกชาวประมงแย่งปลากัน”
ท่านพระนาคิตะกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พราหมณ์และคหบดี
ชาวบ้านอิจฉานังคละเหล่านั้นพากันถือเอาของเคี้ยวของฉันเป็นอันมากมายืนชุมนุม
กันอยู่ที่ซุ้มประตูด้านนอกเพื่อถวายพระผู้มีพระภาคและภิกษุสงฆ์”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “นาคิตะ เราไม่ติดยศ และยศก็ไม่ติดเรา ผู้ใดแลไม่ได้
ตามความปรารถนา ไม่ได้โดยไม่ยาก ไม่ได้โดยไม่ลำบากซึ่งเนกขัมมสุข ปวิเวกสุข
อุปสมสุข สัมโพธสุขที่เราได้ตามความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ได้โดยไม่ลำบากนี้
ผู้นั้นชื่อว่ายินดีสุขที่ไม่สะอาด สุขในการนอนหลับ และสุขที่อิงอาศัยลาภสักการะ
และการสรรเสริญ”
ท่านพระนาคิตะกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บัดนี้ ขอพระผู้มีพระภาค
ผู้สุคตจงทรงรับ บัดนี้เป็นเวลาที่พระผู้มีพระภาคจะทรงรับ พระองค์จักเสด็จไป
ทางใด ๆ พราหมณ์ คหบดีชาวนิคม และชาวชนบทก็จักหลั่งไหลไปทางนั้น ๆ เปรียบ
เหมือนเมื่อฝนเม็ดใหญ่ตกลงมา น้ำย่อมไหลไปตามที่ลุ่ม ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะ
พระผู้มีพระภาคทรงมีศีลและปัญญา”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “นาคิตะ เราไม่ติดยศ และยศก็ไม่ติดเรา ผู้ใดแลไม่ได้
ตามความปรารถนา ไม่ได้โดยไม่ยาก ไม่ได้โดยไม่ลำบากซึ่งเนกขัมมสุข ปวิเวกสุข
อุปสมสุข สัมโพธสุขที่เราได้ตามความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ได้โดยไม่ลำบากนี้
ผู้นั้นชื่อว่ายินดีสุขที่ไม่สะอาด สุขในการนอนหลับ และสุขที่อิงอาศัยลาภสักการะ
และการสรรเสริญ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๔๙๕ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๔. เทวตาวรรค ๑๒. นาคิตสูตร
นาคิตะ
๑. เราเห็นภิกษุในธรรมวินัยนี้ผู้อยู่ในเสนาสนะใกล้หมู่บ้าน มีสมาธิ
นั่งอยู่ เรามีความคิดอย่างนี้ว่า ‘บัดนี้ คนวัดจักรบกวนท่านผู้นี้
หรือสมณุทเทส๑จักทำให้ท่านเคลื่อนจากสมาธิ’ เพราะเหตุนั้น เรา
จึงไม่ยินดีการอยู่ในเสนาสนะใกล้บ้านของภิกษุนั้น
๒. เราเห็นภิกษุในธรรมวินัยนี้ผู้อยู่ป่าเป็นวัตร นั่งโงกง่วงอยู่ในป่า เรา
มีความคิดอย่างนี้ว่า ‘บัดนี้ ท่านผู้นี้จักบรรเทาความลำบากคือการ
หลับนี้ แล้วมนสิการความกำหนดหมายว่าป่าเป็นเอกัคคตารมณ์’
เพราะเหตุนั้น เราจึงยินดีการอยู่ในป่าของภิกษุนั้น
๓. เราเห็นภิกษุในธรรมวินัยนี้ผู้อยู่ป่าเป็นวัตร ไม่มีสมาธินั่งอยู่ในป่า
เรามีความคิดอย่างนี้ว่า ‘บัดนี้ ท่านผู้นี้จักตั้งจิตที่ไม่เป็นสมาธิ
ให้เป็นสมาธิ หรือจักตามรักษาจิตที่เป็นสมาธิไว้’ เพราะเหตุนั้น
เราจึงยินดีการอยู่ในป่าของภิกษุนั้น
๔. เราเห็นภิกษุในธรรมวินัยนี้ผู้อยู่ป่าเป็นวัตร มีสมาธินั่งอยู่ในป่า
เรามีความคิดอย่างนี้ว่า ‘บัดนี้ ท่านผู้นี้จักเปลื้องจิตที่ยังไม่หลุดพ้น
ให้หลุดพ้น๒ หรือว่าจักตามรักษาจิตที่หลุดพ้นแล้วไว้ได้’ เพราะ
เหตุนั้น เราจึงยินดีการอยู่ในป่าของภิกษุนั้น
๕. เราเห็นภิกษุในธรรมวินัยนี้ผู้อยู่ในเสนาสนะใกล้บ้าน ได้จีวร บิณฑบาต
เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชชบริขาร เธอพอใจลาภสักการะและ
การสรรเสริญนั้น ละทิ้งการหลีกเร้น ละทิ้งเสนาสนะอันเงียบสงัด
คือป่าโปร่งและป่าทึบ หรือเข้ามารวมกันอยู่ยังหมู่บ้าน ตำบล และ

เชิงอรรถ :
๑ สมณุทเทส หมายถึงสามเณร (วิ.มหา. (แปล) ๒/๔๓๐/๕๔๐)
๒ หมายถึงให้หลุดพ้นด้วยวิมุตติ ๕ ประการ มีตทังควิมุตติ เป็นต้น (องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๔๒/๑๑๙, องฺ.ฉกฺก.ฏีกา
๓/๔๒/๑๓๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๔๙๖ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๔. เทวตาวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค
เมืองหลวง’ เพราะเหตุนั้น เราจึงไม่ยินดีการอยู่ในเสนาสนะใกล้หมู่
บ้านของภิกษุนั้น
๖. เราเห็นภิกษุในธรรมวินัยนี้ผู้อยู่ป่าเป็นวัตร ได้จีวร บิณฑบาต
เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชชบริขาร เธอสลัดลาภสักการะ
และการสรรเสริญนั้น ไม่ละทิ้งการหลีกเร้น ไม่ละทิ้งเสนาสนะ
อันเงียบสงัดคือป่าโปร่งและป่าทึบ’ เพราะเหตุนั้น เราจึงยินดีการ
อยู่ในป่าของภิกษุนั้น
อนึ่ง สมัยใด เราเดินทางไกล ไม่เห็นใครข้างหน้าหรือข้างหลัง สมัยนั้น เราย่อม
มีความผาสุก โดยที่สุด แม้ด้วยการถ่ายอุจจาระและปัสสาวะ”
นาคิตสูตรที่ ๑๒ จบ
เทวตาวรรคที่ ๔ จบ
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. เสขสูตร ๒. ปฐมอปริหานสูตร
๓. ทุติยอปริหานสูตร ๔. มหาโมคคัลลานสูตร
๕. วิชชาภาคิยสูตร ๖. วิวาทมูลสูตร
๗. ทานสูตร ๘. อัตตการีสูตร
๙. นิทานสูตร ๑๐. กิมมิลสูตร
๑๑. ทารุกขันธสูตร ๑๒. นาคิตสูตร


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๔๙๗ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๕. ธัมมิกวรรค ๑. นาคสูตร
๕. ธัมมิกวรรค
หมวดว่าด้วยพระธัมมิกะ
๑. นาคสูตร
ว่าด้วยนาค๑
[๔๓] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของ
อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น เวลาเช้า พระผู้มีพระภาคทรงครอง
อันตรวาสกถือบาตรและจีวรเสด็จเข้าไปบิณฑบาตยังกรุงสาวัตถี ครั้นเสด็จกลับจาก
บิณฑบาตภายหลังเสวยพระกระยาหารเสร็จแล้ว ได้รับสั่งเรียกท่านพระอานนท์
มาตรัสว่า “มาเถิด อานนท์ เราจักเข้าไปยังปราสาทมิคารมาตา ณ บุพพารามวิหาร
เพื่อพักกลางวัน” ท่านพระอานนท์ทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคพร้อมกับท่านพระอานนท์ได้เสด็จเข้าไปยังปราสาท
ของมิคารมาตา ณ บุพพารามวิหาร ต่อมาในเวลาเย็น พระผู้มีพระภาคเสด็จออก
จากที่หลีกเร้น ได้รับสั่งเรียกท่านพระอานนท์มาตรัสว่า “มาเถิด อานนท์ เราจัก
เข้าไปยังท่าน้ำปุพพโกฏฐกะเพื่อสรงน้ำ” ท่านพระอานนท์ทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคพร้อมกับท่านพระอานนท์ ได้เสด็จเข้าไปยังท่าน้ำ
ปุพพโกฏฐกะเพื่อสรงน้ำ ครั้นแล้ว เสด็จขึ้นมามีจีวรผืนเดียวผึ่งพระวรกายอยู่
สมัยนั้น พระเศวตกุญชร๒ของพระเจ้าปเสนทิโกศล ขึ้นจากท่าน้ำปุพพโกฏฐกะ
เพราะเสียงดนตรีใหญ่ที่เขาตีประโคม เหล่าชนเห็นช้างนั้นแล้วจึงกล่าวชมอย่างนี้ว่า
“นาคของพระราชาช่างงามยิ่งนัก นาคของพระราชาช่างน่าดู นาคของพระราชา
ช่างน่าเลื่อมใส นาคของพระราชามีอวัยวะสมบูรณ์”

เชิงอรรถ :
๑ คำว่า ‘นาค’ มีความหมาย ๓ นัย คือ (๑) หมายถึงผู้ไม่ทำความชั่วทางกาย วาจา และใจที่เป็นเหตุแห่ง
ความเศร้าหมองมีทุกข์เป็นวิบาก (๒) หมายถึงผู้ไม่ถึงอคติ ๔ ไม่ดำเนินไปด้วยอำนาจราคะ โทสะ โมหะ
มานะ ทิฏฐิ อุทธัจจ วิจิกิจฉา และอนุสัย (๓) หมายถึงไม่หวนกลับมาหากิเลสที่ละได้แล้ว (องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๔๓/
๑๒๑) และดู ขุ.ม. (แปล) ๒๙/๘๐/๒๓๘, ขุ.จู. (แปล) ๓๐/๒๗/๑๔๕-๑๔๖,๑๐๒/๓๔๘,๑๓๙/๔๔๘
๒ หมายถึงช้างเผือก แปลจากคำว่า “นาโค” ในจำนวนศัพท์ที่เป็นชื่อของช้าง ๑๐ ศัพท์ คือ กุญฺชโร วารโณ
หตฺถี มาตงฺโค ทฺวิรโท คโช นาโค ทฺวิโป อิโภ ทนฺตี (อภิธา.คาถาที่ ๓๖๐)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๔๙๘ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๕. ธัมมิกวรรค ๑. นาคสูตร
เมื่อมหาชนกล่าวชมอย่างนี้แล้ว ท่านพระอุทายี๑ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ คนทั้งหลายเห็นช้างเชือกใหญ่ สูง มีอวัยวะสมบูรณ์เท่านั้น
หรือ จึงได้กล่าวอย่างนี้ว่า ‘นาค น่าอัศจรรย์จริง ท่านผู้เจริญ นาค น่าอัศจรรย์จริง’
หรือว่าเห็นสัตว์ชนิดอื่นที่ใหญ่ สูง มีอวัยวะสมบูรณ์จึงได้กล่าวอย่างนี้ว่า ‘นาค
น่าอัศจรรย์จริง ท่านผู้เจริญ นาค น่าอัศจรรย์จริง’
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “อุทายี คนทั้งหลายเห็นช้างเชือกใหญ่ สูง
มีอวัยวะสมบูรณ์ จึงได้กล่าวอย่างนี้ว่า ‘นาค น่าอัศจรรย์จริง ท่านผู้เจริญ นาค
น่าอัศจรรย์จริง’ บ้าง เห็นม้าตัวใหญ่ สูง ฯลฯ เห็นโคตัวใหญ่ สูง ฯลฯ เห็นงูตัวใหญ่
ยาว ฯลฯ เห็นต้นไม้ใหญ่ สูง ฯลฯ เห็นมนุษย์ผู้มีร่างกายใหญ่ สูง มีอวัยวะสมบูรณ์
จึงได้กล่าวอย่างนี้ว่า ‘นาค น่าอัศจรรย์จริง ท่านผู้เจริญ นาค น่าอัศจรรย์จริง’ บ้าง
อุทายี แต่เราเรียกบุคคลผู้ไม่ทำความชั่วทางกาย ทางวาจา ทางใจ ในโลกนี้
พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก และหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์เทวดา
และมนุษย์นั้นว่า ‘นาค”
ท่านพระอุทายีกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคย
ปรากฏ พระดำรัสที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า ‘อุทายี เราเรียกบุคคลผู้ไม่ทำความชั่ว
ทางกาย ทางวาจา ทางใจ ในโลกนี้พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก และหมู่
สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดา และมนุษย์ว่า ‘นาค”
ท่านพระอุทายีได้กราบทูลต่อไปว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์
ขออนุโมทนาภาษิตที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ดีแล้วนี้ด้วยคาถาเหล่านี้ว่า
ข้าพระองค์ได้สดับมาจากพระองค์ผู้เป็นพระอรหันต์ว่า
มนุษย์ทั้งหลายนอบน้อมพระสัมพุทธเจ้า ผู้เป็นมนุษย์
ทรงฝึกพระองค์แล้ว๒ มีพระทัยตั้งมั่นแล้ว
ผู้ทรงดำเนินไปในทางประเสริฐ

เชิงอรรถ :
๑ หมายถึงพระกาฬุทายีเถระผู้บรรลุปฏิสัมภิทา (องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๔๓/๑๒๑)
๒ ทรงฝึกพระองค์แล้ว หมายถึงทรงฝึกฝนพระองค์ในฐานะ ๖ ประการ คือ ทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น
ทางกาย ทางใจ (องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๔๓/๑๒๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๔๙๙ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๕. ธัมมิกวรรค ๑. นาคสูตร
ผู้ทรงยินดีในความสงบแห่งจิต๑
ผู้ทรงถึงฝั่งแห่งธรรมทั้งปวง๒
แม้เทวดาทั้งหลายก็นอบน้อมพระสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
ผู้ทรงก้าวล่วงสังโยชน์ทั้งปวงได้
ทรงบรรลุนิพพานซึ่งเป็นทางออกจากป่าคือกิเลส
ผู้ทรงยินดีในเนกขัมมะ๓
ผู้หลุดพ้นแล้ว เหมือนทองคำที่พ้นจากหิน
พระองค์ผู้ทรงพระนามว่านาค รุ่งเรืองล่วงสรรพสัตว์
เหมือนภูเขาหิมพานต์ที่สูงกว่าภูเขาลูกอื่น ๆ
พระองค์ผู้ทรงพระนามว่านาคอันเป็นพระนามจริง
ที่ยอดเยี่ยมกว่าเทวดาผู้มีนามว่านาคทุกจำพวก
ข้าพระองค์จักประกาศพระองค์ผู้ทรงพระนามว่านาค
เพราะพระองค์ไม่ทรงทำความชั่ว
พระองค์ผู้ทรงพระนามว่านาค
ทรงมีโสรัจจะและอวิหิงสาเป็นเท้าหน้าทั้งสอง
ทรงมีตบะและพรหมจรรย์ เป็นเท้าหลังทั้งสอง
ทรงเป็นดุจช้างตัวประเสริฐ
ทรงมีศรัทธาเป็นงวง มีอุเบกขาเป็นงาขาว
มีสติเป็นคอ มีปัญญาเป็นเศียร
มีการสอดส่องธรรมเป็นปลายงวง
มีธรรมเครื่องเผากิเลสเป็นท้อง มีวิเวกเป็นหาง

เชิงอรรถ :
๑ ยินดีในความสงบแห่งจิต หมายถึงยินดีในความสงบแห่งจิตที่ระงับนิวรณ์ ๕ ได้ด้วยปฐมฌาน ระงับ
วิตกวิจารได้ด้วยทุติยฌาน ระงับปีติได้ด้วยตติยฌาน ระงับสุขและทุกข์ได้ด้วยจตุตถฌาน (องฺ.ฉกฺก.อ.
๓/๔๓/๑๒๒)
๒ ถึงฝั่งแห่งธรรมทั้งปวง หมายถึงรู้ยิ่ง กำหนดรู้ ละ เจริญ ทำให้แจ้ง และเข้าถึงธรรมทั้งปวง คือ ขันธ์ ๕
อายตนะ ๑๒ ธาตุ ๑๘ (องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๔๓/๑๒๒)
๓ เนกขัมมะ หมายถึงบรรพชา สมาบัติ และอริยมรรค เพราะเป็นเครื่องออกจากกาม ๒ ประเภท คือกิเลสกาม
และวัตถุกาม (องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๔๓/๑๒๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๕๐๐ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๕. ธัมมิกวรรค ๑. นาคสูตร
พระองค์ผู้ทรงมีฌาน ทรงยินดีลมอัสสาสะปัสสาสะ๑
ทรงมีจิตตั้งมั่นดีภายใน
ดำเนินไปก็ทรงมีจิตตั้งมั่น ประทับยืนก็ทรงมีจิตตั้งมั่น
บรรทมก็ทรงมีจิตตั้งมั่น ประทับนั่งก็ทรงมีจิตตั้งมั่น
ทรงสำรวมแล้วในทวารทั้งปวง
นี้เป็นสมบัติของพระองค์ผู้ทรงพระนามว่านาค
พระองค์ผู้ทรงพระนามว่านาค
เสวยแต่สิ่งที่ไม่มีโทษ ไม่เสวยสิ่งที่มีโทษ
ได้อาหารและเครื่องนุ่งห่มแล้ว
ทรงเว้นการสะสม
ทรงตัดสังโยชน์เครื่องผูกพันน้อยใหญ่ทั้งปวงได้
จะเสด็จไป ณ ที่ใด ๆ ก็ไม่มีความห่วงใยเสด็จไปในที่นั้น ๆ
ดอกบัวขาว มีกลิ่นหอม
น่ารื่นรมย์ใจ เกิดในน้ำ
เจริญในน้ำ ไม่แปดเปื้อนด้วยน้ำ ฉันใด
พระองค์ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน
ทรงอุบัติดีแล้วในโลก เป็นพระพุทธเจ้าในโลก
แต่ไม่ติดอยู่กับโลก
เหมือนดอกบัวหลวงไม่เปียกน้ำ ฉะนั้น
ไฟกองใหญ่ลุกโชนโชติช่วง
ย่อมดับเพราะหมดเชื้อ ฉันใด
พระองค์ก็ฉันนั้นเหมือนกัน
เมื่อสังขารทั้งหลายสงบระงับไปแล้ว
ชาวโลกก็เรียกกันว่าทรงนิพพานแล้ว
ข้ออุปมาที่ให้รู้เนื้อความชัดแจ้งนี้

เชิงอรรถ :
๑ ลมอัสสาสะปัสสาสะ ในที่นี้หมายถึงผลสมาบัติ (องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๔๓/๑๒๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๕๐๑ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๕. ธัมมิกวรรค ๒. มิคสาลาสูตร
อันวิญญูชนทั้งหลายแสดงไว้แล้ว
พระอรหันต์ทั้งหลายผู้เป็นมหานาค
จักรู้แจ้งพระองค์ผู้ทรงพระนามว่านาค
ที่ท่านผู้เป็นนาคแสดงไว้แล้ว
พระองค์ผู้ทรงพระนามว่านาค
ทรงปราศจากราคะ ปราศจากโทสะ
ปราศจากโมหะ ไม่มีอาสวะ
เมื่อทรงละสรีระ จักเป็นผู้ไม่มีอาสวะ ปรินิพพาน”
นาคสูตรที่ ๑ จบ

๒. มิคสาลาสูตร๑
ว่าด้วยอุบาสิกาชื่อมิคสาลา
[๔๔] ครั้งนั้นในเวลาเช้า ท่านพระอานนท์ครองอันตรวาสกถือบาตรและจีวร๒
แล้วเข้าไปยังที่อยู่ของมิคสาลาอุบาสิกา นั่งบนอาสนะที่ปูลาดไว้ ลำดับนั้นแล
มิคสาลาอุบาสิกาได้เข้าไปหาท่านพระอานนท์อภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้เรียน
ถามท่านดังนี้ว่า
“ท่านอานนท์ ธรรมนี้ที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงว่า ‘คน ๒ คน คือ คนหนึ่ง
ประพฤติพรหมจรรย์ อีกคนหนึ่งไม่ประพฤติพรหมจรรย์ เป็นผู้มีคติเสมอเหมือนกัน
ในสัมปรายภพ’ จะพึงรู้ได้อย่างไร ท่านผู้เจริญ บิดาของดิฉันชื่อว่าปุราณะ เป็นผู้
ประพฤติพรหมจรรย์ ประพฤติห่างไกล งดเว้นจากเมถุน๓ซึ่งเป็นธรรมของชาวบ้าน

เชิงอรรถ :
๑ ดู องฺ.ทสก. (แปล) ๒๔/๗๕/๑๖๗
๒ คำว่า ครองอันตรวาสกถือบาตรและจีวร นี้มิใช่ว่าก่อนหน้านี้ พระอานนท์มิได้นุ่งสบง มิใช่ว่าพระอานนท์
ถือบาตรและจีวรไปโดยเปลือยกายส่วนบน แต่คำว่า ครองอันตรวาสก หมายถึงท่านผลัดเปลี่ยนสบงหรือ
ขยับสบงที่นุ่งอยู่ให้กระชับ คำว่า ถือบาตรและจีวร หมายถึงถือบาตรด้วยมือถือจีวรด้วยกาย คือห่มจีวร
แล้วอุ้มบาตรนั่นเอง (วิ.อ. ๑/๑๖/๑๘๐, ที.ม.อ. ๑๕๓/๑๔๓, ม.มู.อ. ๑/๖๓/๑๖๓,ขุ.อุ.อ. ๖/๖๕)
๓ เมถุน หมายถึงอสัทธรรมซึ่งเป็นประเวณีของชาวบ้าน มารยาทของคนชั้นต่ำ กิริยาชั่วหยาบ มีน้ำเป็นที่สุด
เป็นกิจที่ต้องทำในที่ลับ ต้องทำกันสองต่อสอง ดู วิ.มหา. (แปล) ๑/๕๕/๔๒

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๕๐๒ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๕. ธัมมิกวรรค ๒. มิคสาลาสูตร
ท่านถึงแก่กรรมแล้ว พระผู้มีพระภาคทรงพยากรณ์ว่าเป็นสกทาคามีบุคคลเกิดใน
หมู่เทพชั้นดุสิต
เพื่อนรักของบิดาดิฉัน ชื่อว่าอิสิทัตตะ ถึงไม่ประพฤติพรหมจรรย์ แต่ถือ
สทารสันโดษ(ยินดีด้วยภรรยาของตน) แม้เขาถึงแก่กรรมแล้ว พระผู้มีพระภาคก็ทรง
พยากรณ์ว่าเป็นสกทาคามีบุคคลเกิดในหมู่เทพชั้นดุสิต ท่านอานนท์ ธรรมนี้ที่
พระผู้มีพระภาคทรงแสดงว่า ‘คน ๒ คน คือ คนหนึ่งประพฤติพรหมจรรย์ อีกคน
หนึ่งไม่ประพฤติพรหมจรรย์ เป็นผู้มีคติเสมอเหมือนกันในสัมปรายภพ’ จะพึงรู้ได้
อย่างไร”
ท่านพระอานนท์ตอบว่า “น้องหญิง ข้อนี้พระผู้มีพระภาคได้ทรงพยากรณ์ไว้
แล้วอย่างนี้เหมือนกัน”
ครั้งนั้นแล ท่านพระอานนท์รับบิณฑบาต ณ ที่อยู่ของมิคสาลาอุบาสิกาแล้ว
ลุกจากอาสนะหลีกไป ครั้นในเวลาหลังภัตตาหาร ท่านพระอานนท์กลับจาก
บิณฑบาตแล้ว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่
สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานวโรกาส เวลาเช้า ข้าพระองค์ครอง
อันตรวาสก ถือบาตรและจีวรเข้าไปยังที่อยู่ของมิคสาลาอุบาสิกา นั่งบนอาสนะที่
ปูลาดไว้ ลำดับนั้นแล นางได้เข้าไปหาข้าพระองค์ อภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร
ได้ถามข้าพระองค์ว่า
‘ท่านอานนท์ ธรรมนี้ที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงว่า ‘คน ๒ คน คือ คนหนึ่ง
ประพฤติพรหมจรรย์ อีกคนหนึ่งไม่ประพฤติพรหมจรรย์ เป็นผู้มีคติเสมอเหมือนกัน
ในสัมปรายภพ’ จะพึงรู้ได้อย่างไร ท่านผู้เจริญ บิดาของดิฉันชื่อปุราณะ เป็นผู้
ประพฤติพรหมจรรย์ ประพฤติห่างไกล งดเว้นจากเมถุนซึ่งเป็นธรรมของชาวบ้าน
ท่านถึงแก่กรรมแล้ว พระผู้มีพระภาคทรงพยากรณ์ว่าเป็นสกทาคามีบุคคลเกิดใน
หมู่เทพชั้นดุสิต
เพื่อนรักของบิดาดิฉัน ชื่อว่าอิสิทัตตะ ถึงไม่ประพฤติพรหมจรรย์ แต่ถือ
สทารสันโดษ แม้เขาถึงแก่กรรมแล้ว พระผู้มีพระภาคก็ทรงพยากรณ์ว่าเป็น
สกทาคามีบุคคลเกิดในหมู่เทพชั้นดุสิต


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๕๐๓ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๕. ธัมมิกวรรค ๒. มิคสาลาสูตร
ท่านอานนท์ ธรรมนี้ที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงว่า ‘คน ๒ คน คือคนหนึ่ง
ประพฤติพรหมจรรย์ อีกคนหนึ่งไม่ประพฤติพรหมจรรย์ เป็นผู้มีคติเสมอ
เหมือนกันในสัมปรายภพ’ จะพึงรู้ได้อย่างไร’ เมื่อมิคสาลาอุบาสิกากล่าวอย่างนี้แล้ว
ข้าพระองค์จึงตอบว่า ‘น้องหญิง ข้อนี้พระผู้มีพระภาคได้ทรงพยากรณ์ไว้แล้วอย่างนี้
เหมือนกัน”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อานนท์ ในเรื่องญาณเป็นเครื่องกำหนดรู้อินทรีย์
แก่กล้าและอินทรีย์อ่อนของบุคคล ใครกันเล่าคือ มิคสาลาอุบาสิกาผู้เขลา ไม่ฉลาด
ไม่หลักแหลม มีปัญญาทึบ และใครกันเล่า คือ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้มีวิสัยที่ไม่มี
อะไรขัดขวางได้๑
อานนท์ บุคคล ๖ จำพวกนี้ มีปรากฏอยู่ในโลก คือ
๑. บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้งดเว้นจากบาป มีการอยู่ร่วมเป็นสุข
เพื่อนพรหมจารีทั้งหลายย่อมยินดียิ่งด้วยการอยู่ร่วมกัน บุคคลนั้น
ไม่ทำกิจด้วยการฟัง ไม่ทำกิจด้วยความเป็นพหูสูต และไม่ได้แทง
ตลอดดีด้วยทิฏฐิ ไม่ได้วิมุตติตามเวลาอันควร๒ หลังจากตายแล้ว
เขาย่อมไปทางเสื่อม ไม่ไปทางเจริญ ย่อมถึงความเสื่อมอย่างเดียว
ไม่ถึงความเจริญ
๒. บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้งดเว้นจากบาป มีการอยู่ร่วมเป็นสุข
เพื่อนพรหมจารีทั้งหลายย่อมยินดียิ่งด้วยการอยู่ร่วมกัน บุคคลนั้น
ทำกิจด้วยการฟัง ทำกิจด้วยความเป็นพหูสูต แทงตลอดดีด้วยทิฏฐิ
และได้วิมุตติตามเวลาอันควร หลังจากตายแล้วเขาย่อมไปทางเจริญ
ไม่ไปทางเสื่อม ย่อมถึงความเจริญอย่างเดียว ไม่ถึงความเสื่อม

เชิงอรรถ :
๑ เนื้อความพระดำรัสนี้ พระพุทธเจ้ามีพระประสงค์จะแสดงให้เห็นว่าการที่จะเปรียบเทียบตัดสินหรือวัด
คุณสมบัติของบุคคลด้านการกำหนดรู้อินทรีย์แก่กล้าหรืออ่อนนั้น มิใช่วิสัยของมิคสาลาอุบาสิกา หรือ
สามัญชนผู้ปราศจากญาณทั่วไป แต่เป็นวิสัยของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้มีญาณวิสัยที่ไม่มีอะไรขัดขวางได้เท่านั้น
(องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๔๔/๑๒๕)
๒ ไม่ได้วิมุตติตามเวลาอันควร หมายถึงไม่ได้ปีติและปราโมทย์ที่เกิดจากการฟังธรรมตามกาลอันควร
(องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๔๔/๑๒๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๕๐๔ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๕. ธัมมิกวรรค ๒. มิคสาลาสูตร
บุคคลผู้ถือประมาณ๑ย่อมถือประมาณข้อนั้นว่า ‘ธรรมแม้ของบุคคลนี้ก็คือ
ธรรมของอีกคนหนึ่งนั่นแล บรรดาบุคคล ๒ คนนั้น เพราะเหตุไร คนหนึ่งจึงเลว
คนหนึ่งจึงดี’ แท้จริง การถือประมาณของผู้ถือประมาณเหล่านั้น เป็นไปเพื่อมิใช่
ประโยชน์เกื้อกูล เพื่อทุกข์ตลอดกาลนาน
บรรดาบุคคล ๒ คนนั้น บุคคลใดเป็นผู้งดเว้นจากบาป มีการอยู่ร่วมเป็นสุข
เพื่อนพรหมจารีทั้งหลายย่อมยินดียิ่งด้วยการอยู่ร่วมกัน บุคคลนั้นทำกิจด้วยการฟัง
ทำกิจด้วยความเป็นพหูสูต แทงตลอดดีด้วยทิฏฐิ และได้วิมุตติตามเวลาอันควร
บุคคลนี้ดีกว่า และประณีตกว่าบุคคลที่กล่าวข้างต้นโน้น ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะ
บุคคลนี้หยั่งลงสู่อริยภูมิ ใครเล่าจะพึงรู้เหตุนั้นได้นอกจากตถาคต เพราะเหตุนั้นแล
เธอทั้งหลายอย่าได้เป็นผู้ชอบถือประมาณในบุคคล และอย่าถือประมาณในบุคคล
เพราะบุคคลผู้ถือประมาณในบุคคล ย่อมทำลายคุณวิเศษของตน ส่วนเราหรือผู้
เหมือนเราพึงถือประมาณในบุคคลได้
๓. บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้มักโกรธและถือตัว และบางครั้งบางคราว
โลภธรรมย่อมเกิดขึ้นแก่เขา บุคคลนั้นไม่ทำกิจด้วยการฟัง ไม่ทำ
กิจด้วยความเป็นพหูสูต ไม่แทงตลอดดีด้วยทิฏฐิ และไม่ได้วิมุตติ
ตามเวลาอันควร หลังจากตายแล้วเขาย่อมไปทางเสื่อม ไม่ไป
ทางเจริญ ย่อมถึงความเสื่อมอย่างเดียว ไม่ถึงความเจริญ
๔. บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้มักโกรธและถือตัว และบางครั้งบางคราว
โลภธรรมย่อมเกิดขึ้นแก่เขา บุคคลนั้นทำกิจด้วยการฟัง ทำกิจ
ด้วยความเป็นพหูสูต แทงตลอดดีด้วยทิฏฐิและได้วิมุตติตามเวลา
อันควร หลังจากตายแล้วเขาย่อมไปทางเจริญ ไม่ไปทางเสื่อม
ย่อมถึงความเจริญอย่างเดียว ไม่ถึงความเสื่อม
บุคคลผู้ถือประมาณ ย่อมถือประมาณในข้อนั้นว่า ฯลฯ ส่วนเราหรือผู้เหมือน
เราพึงถือประมาณในบุคคลได้

เชิงอรรถ :
๑ ถือประมาณ ในที่นี้หมายถึงเปรียบเทียบตัดสินหรือจัดคุณสมบัติ หรือคุณธรรมด้านเดียวกันระหว่างบุคคล
หนึ่งกับอีกบุคคลหนึ่งว่า ใครมีคุณน้อย ใครมีคุณมากที่สุด (เทียบ องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๔๔/๑๒๕, องฺ.ทสก.อ.
๓/๗๕/๓๖๐)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๕๐๕ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๕. ธัมมิกวรรค ๒. มิคสาลาสูตร
๕. บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้มักโกรธและถือตัว และบางครั้งบางคราว
วจีสังขาร๑ย่อมเกิดขึ้นแก่เขา บุคคลนั้นไม่ทำกิจด้วยการฟัง ไม่ทำ
กิจด้วยความเป็นพหูสูต ไม่แทงตลอดดีด้วยทิฏฐิ และไม่ได้วิมุตติ
ตามเวลาอันควร หลังจากตายแล้วเขาย่อมไปทางเสื่อม ไม่ไปทางเจริญ
ย่อมถึงความเสื่อมอย่างเดียว ไม่ถึงความเจริญ
๖. บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้มักโกรธและถือตัว และบางครั้งบางคราว
วจีสังขารย่อมเกิดขึ้นแก่เขา บุคคลนั้นทำกิจด้วยการฟัง ทำกิจด้วย
ความเป็นพหูสูต แทงตลอดดีด้วยทิฏฐิ และได้วิมุตติตามเวลา
อันควร หลังจากตายแล้วเขาย่อมไปทางเจริญ ไม่ไปทางเสื่อม
ย่อมถึงความเจริญอย่างเดียว ไม่ถึงความเสื่อม
อานนท์ บุคคลผู้ถือประมาณย่อมถือประมาณในข้อนั้นว่า ‘ธรรมแม้ของบุคคล
นี้ก็คือธรรมของอีกคนหนึ่งนั่นแล บรรดาบุคคล ๒ คนนั้น เพราะเหตุไร คนหนึ่ง
จึงเลว คนหนึ่งจึงดี’ แท้จริงการถือประมาณของผู้ถือประมาณเหล่านั้น เป็นไปเพื่อ
มิใช่ประโยชน์เกื้อกูล เพื่อทุกข์ตลอดกาลนาน
บรรดาบุคคล ๒ คนนั้น บุคคลใดเป็นผู้มักโกรธและถือตัว บางครั้งบางคราว
วจีสังขารย่อมเกิดขึ้นแก่เขา บุคคลนั้นทำกิจด้วยการฟัง ทำกิจด้วยความเป็นพหูสูต
แทงตลอดดีด้วยทิฏฐิ และได้วิมุตติตามเวลาอันควร บุคคลนี้ดีกว่าและประณีตกว่า
บุคคลที่กล่าวข้างต้นโน้น ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะบุคคลนี้หยั่งลงสู่อริยภูมิ ใครเล่า
จะพึงรู้เหตุนั้นได้ นอกจากตถาคต เพราะเหตุนั้นแล เธอทั้งหลายอย่าได้เป็นผู้ชอบ
ถือประมาณในบุคคล และอย่าถือประมาณในบุคคล เพราะบุคคลผู้ถือประมาณใน
บุคคล ย่อมทำลายคุณวิเศษของตน ส่วนเราหรือผู้เหมือนเราพึงถือประมาณใน
บุคคลได้
ในเรื่องญาณเป็นเครื่องกำหนดรู้อินทรีย์แก่กล้า และอินทรีย์อ่อนของบุคคล
ใครกันเล่า คือมิคสาลาอุบาสิกาผู้เขลา ไม่ฉลาด ไม่หลักแหลม มีปัญญาทึบ และ
ใครกันเล่า คือ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้มีวิสัยที่ไม่มีอะไรขัดขวางได้

เชิงอรรถ :
๑ วจีสังขาร หมายถึงการสนทนาปราศรัย (องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๔๔/๑๒๖)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๕๐๖ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๕. ธัมมิกวรรค ๓. อิณสูตร
อานนท์ บุคคล ๖ จำพวกนี้แล มีปรากฏอยู่ในโลก
บุรุษชื่อว่าปุราณะเป็นผู้ประกอบด้วยศีลเช่นใด บุรุษชื่อว่าอิสิทัตตะก็เป็นผู้
ประกอบด้วยศีลเช่นนั้น บุรุษชื่อว่าปุราณะจะได้รู้แม้คติของบุรุษชื่อว่าอิสิทัตตะ
ในโลกนี้ ก็หามิได้ บุรุษชื่อว่าอิสิทัตตะเป็นผู้ประกอบด้วยปัญญาเช่นใด บุรุษชื่อว่า
ปุราณะก็เป็นผู้ประกอบด้วยปัญญาเช่นนั้น บุรุษชื่อว่าอิสิทัตตะจะได้รู้แม้คติของบุรุษ
ชื่อว่าปุราณะในโลกนี้ก็หามิได้
อานนท์ บุคคล ๒ คนนี้แล เป็นผู้ต่ำกว่ากันด้วยองค์คุณคนละอย่าง อย่างนี้แล
มิคสาลาสูตรที่ ๒ จบ
๓. อิณสูตร
ว่าด้วยความเป็นหนี้
[๔๕] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย ความยากจนเป็นทุกข์ของ
กามโภคีบุคคล๑ในโลก”
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า “อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย คนจนเข็ญใจยากไร้ ย่อมกู้หนี้
แม้การกู้หนี้ก็เป็นทุกข์ของกามโภคีบุคคลในโลก”
“อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
“ภิกษุทั้งหลาย คนจนเข็ญใจยากไร้ ครั้นกู้หนี้แล้ว ย่อมใช้ดอกเบี้ย แม้การใช้
ดอกเบี้ยก็เป็นทุกข์ของกามโภคีบุคคลในโลก”
“อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
“ภิกษุทั้งหลาย คนจนเข็ญใจยากไร้ ครั้นใช้ดอกเบี้ยแล้ว ไม่ให้ดอกเบี้ยตาม
กำหนดเวลา พวกเจ้าหนี้ย่อมตามทวงเขา แม้การตามทวงก็เป็นทุกข์ของกามโภคี-
บุคคลในโลก”

เชิงอรรถ :
๑ กามโภคีบุคคล หมายถึงผู้บริโภคกามคุณ คือ คฤหัสถ์ผู้ครองเรือน (องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๑๕/๒๙๓, องฺ.ฉกฺก.อ.
๓/๔๕/๑๒๖)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๕๐๗ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๕. ธัมมิกวรรค ๓. อิณสูตร
“อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
“ภิกษุทั้งหลาย คนจนเข็ญใจยากไร้ เมื่อถูกเจ้าหนี้ทวง ยังไม่ให้ พวกเจ้าหนี้
ย่อมติดตาม แม้การถูกติดตามก็เป็นทุกข์ของกามโภคีบุคคลในโลก”
“อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
“ภิกษุทั้งหลาย คนจนเข็ญใจยากไร้ ถูกเจ้าหนี้ติดตามทัน ยังไม่ทันให้
พวกเจ้าหนี้ย่อมจองจำเขา แม้การถูกจองจำก็เป็นทุกข์ของกามโภคีบุคคลในโลก”
“อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย แม้ความยากจนก็เป็นทุกข์ของ
กามโภคีบุคคลในโลก แม้การกู้หนี้ก็เป็นทุกข์ของกามโภคีบุคคลในโลก แม้การใช้
ดอกเบี้ยก็เป็นทุกข์ของกามโภคีบุคคลในโลก แม้การถูกทวงก็เป็นทุกข์ของกามโภคี-
บุคคลในโลก แม้การถูกติตตามก็เป็นทุกข์ของกามโภคีบุคคลในโลก แม้การถูกจอง
จำก็เป็นทุกข์ของกามโภคีบุคคลในโลก ด้วยประการฉะนี้ ฉันใด
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคน ก็ฉันนั้นเหมือนกันแล ไม่มีศรัทธาในกุศลธรรม
ไม่มีหิริในกุศลธรรม ไม่มีโอตตัปปะในกุศลธรรม ไม่มีวิริยะในกุศลธรรม ไม่มีปัญญา
ในกุศลธรรม บุคคลนี้เราก็เรียกว่า เป็นคนจนเข็ญใจยากไร้ในอริยวินัย
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลนั้นนั่นแลผู้เป็นคนจนเข็ญใจยากไร้ เมื่อไม่มีศรัทธาใน
กุศลธรรม เมื่อไม่มีหิริในกุศลธรรม เมื่อไม่มีโอตตัปปะในกุศลธรรม เมื่อไม่มีวิริยะ
ในกุศลธรรม เมื่อไม่มีปัญญาในกุศลธรรม ย่อมประพฤติกายทุจริต ประพฤติ
วจีทุจริต ประพฤติมโนทุจริต
เรากล่าวว่าการประพฤติทุจริตเช่นนี้ของเขา เป็นการกู้หนี้
เพราะการปกปิดกายทุจริตเป็นเหตุ เขาจึงตั้งความปรารถนาอันชั่วว่า ‘ขอชน
เหล่าอื่นอย่ารู้เราเลย’ ดำริว่า ‘ขอชนเหล่าอื่นอย่ารู้เราเลย’ พูดว่า ‘ขอชนเหล่าอื่น
อย่ารู้เราเลย’ พยายามด้วยกายว่า ‘ขอชนเหล่าอื่นอย่ารู้เราเลย’
เพราะการปกปิดวจีทุจริตเป็นเหตุ เขาจึงตั้งความปรารถนาอันชั่ว ฯลฯ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๕๐๘ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๕. ธัมมิกวรรค ๓. อิณสูตร
เพราะการปกปิดมโนทุจริตเป็นเหตุ เขาจึงตั้งความปรารถนาชั่วว่า ‘ขอชนเหล่า
อื่นอย่ารู้เราเลย’ ดำริว่า “ขอชนเหล่าอื่นอย่ารู้เราเลย’ พูดว่า ‘ขอชนเหล่าอื่นอย่ารู้
เราเลย’ พยายามด้วยกายว่า ‘ขอชนเหล่าอื่นอย่ารู้เราเลย’
เรากล่าวว่าการปกปิดทุจริตเป็นเหตุนั้น เป็นการใช้ดอกเบี้ย
เพื่อนพรหมจารีผู้มีศีลเป็นที่รักได้กล่าวกับบุคคลนั้นอย่างนี้ว่า ‘ผู้มีอายุนี้เป็นผู้
ทำอย่างนี้ เป็นผู้ประพฤติอย่างนี้’
เรากล่าวว่าการถูกว่ากล่าวเช่นนี้ของเขา เป็นการทวงหนี้
บาปอกุศลวิตกที่ประกอบด้วยวิปปฏิสาร(ความร้อนใจ) ย่อมครอบงำบุคคล
นั้นผู้ไปสู่ป่า ไปสู่โคนไม้ หรือไปสู่เรือนว่าง
เรากล่าวว่าการถูกบาปอกุศลวิตกครอบงำเช่นนี้ของเขา เป็นการถูกติดตาม
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลนั้นนั่นแล เป็นคนจนเข็ญใจยากไร้ ครั้นประพฤติ
กายทุจริต ประพฤติวจีทุจริต และประพฤติมโนทุจริต หลังจากตายแล้วย่อมถูก
จองจำในเรือนจำคือนรก หรือในเรือนจำคือกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน
ภิกษุทั้งหลาย เราไม่เห็นเรือนจำอื่นแม้อย่างหนึ่ง ที่ร้ายกาจอย่างนี้ เป็นทุกข์
อย่างนี้ และทำอันตรายแก่การบรรลุนิพพานซึ่งเป็นแดนเกษมจากโยคะอันยอดเยี่ยม
อย่างนี้ เหมือนเรือนจำคือนรก หรือเรือนจำคือกำเนิดสัตว์ดิรัจฉานนี้เลย
ความยากจน และการกู้หนี้
เราเรียกว่าเป็นทุกข์ในโลก
คนจนเมื่อกู้หนี้ใช้สอยอยู่ ย่อมเดือดร้อน
เพราะการไม่ใช้คืนนั้น พวกเจ้าหนี้จึงติดตามเขา
เขาย่อมเข้าถึงการถูกจองจำ
การถูกจองจำนั้นแลเป็นทุกข์ของหมู่ชนผู้ปรารถนากาม
ในอริยวินัย ก็เช่นเดียวกัน
ผู้ใดไม่มีศรัทธา ไม่มีหิริ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๕๐๙ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๕. ธัมมิกวรรค ๓. อิณสูตร
ไม่มีโอตตัปปะ พอกพูนบาปกรรม
ทำกายทุจริต วจีทุจริต และมโนทุจริต
ปรารถนาว่า ‘ชนทั้งหลายอย่ารู้จักเรา’
ผู้นั้นย่อมดิ้นรนพอกพูนบาปกรรม
ทั้งทางกาย ทางวาจา และทางใจ ในที่นั้นๆ บ่อยๆ
เขาผู้มีบาปกรรม มีปัญญาทราม
รู้การทำชั่วของตนอยู่ เป็นคนจน
กู้หนี้ใช้สอยอยู่ ย่อมเดือดร้อน
ลำดับนั้น ความดำริเกิดแต่วิปปฏิสารก่อทุกข์ทางใจ
ย่อมติตตามเขาทั้งในบ้านหรือในป่า
เขาผู้มีบาปกรรม มีปัญญาทราม รู้การทำชั่วของตนอยู่
ย่อมไปสู่กำเนิดสัตว์ดิรัจฉานหรือถูกจองจำในนรก
ส่วนนักปราชญ์ผู้ทำจิตให้เลื่อมใส
ให้ทานด้วยโภคทรัพย์ทั้งหลายที่ได้มาโดยชอบธรรม
ย่อมพ้นจากการจองจำที่เป็นทุกข์นั้น
เขาเป็นผู้ถือชัยชนะในประโยชน์ทั้งสอง
ของผู้มีศรัทธาอยู่ครองเรือน
คือ ประโยชน์เกื้อกูลในภพนี้ และสุขในภพหน้า
บุญคือการบริจาคของคฤหัสถ์นั้น ย่อมเพิ่มพูน
อนึ่ง ผู้ใดมีศรัทธาตั้งมั่นในอริยวินัย
มีจิตประกอบด้วยหิริ มีโอตตัปปะ
มีปัญญา และสำรวมในศีล
เราเรียกผู้นั้นแลว่า ‘ผู้มีชีวิตเป็นสุขในอริยวินัย’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๕๑๐ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๕. ธัมมิกวรรค ๓. อิณสูตร
เขาได้สุขที่ไม่อิงอามิส๑
อุเบกขา๒ตั้งมั่น ละนิวรณ์ ๕ ประการได้
ปรารภความเพียรเป็นนิตย์
บรรลุฌานทั้งหลายมีเอกัคคตาจิตปรากฏ
มีปัญญารักษาตน มีสติ รู้ชัดเหตุนั้นตามความเป็นจริง
ในธรรมเป็นที่สิ้นไปแห่งสังโยชน์ทั้งปวง๓
จิตย่อมหลุดพ้นโดยชอบ เพราะไม่ถือมั่นโดยสิ้นเชิง
หากว่าเขามีจิตหลุดพ้นโดยชอบ
เป็นผู้คงที่ในธรรมเป็นที่สิ้นไปแห่งภวสังโยชน์
มีญาณหยั่งรู้ว่า ‘วิมุตติของเราไม่กำเริบ๔’
ญาณนั่นแลป็นญาณชั้นเยี่ยม
ญาณนั่นแลเป็นสุขอันยอดเยี่ยม
ญาณนั้นไม่มีความโศก ปราศจากธุลี
มีความเกษมสูงสุดกว่าความไม่มีหนี้
อิณสูตรที่ ๓ จบ

เชิงอรรถ :
๑ สุขที่ไม่อิงอามิส หมายถึงสุขในปฐมฌาน ทุติยฌาน และตติยฌาน (องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๔๕/๑๒๗)
๒ อุเบกขา ในที่นี้หมายถึงอุเบกขาในจตุตถฌาน (องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๔๕/๑๒๗)
๓ ธรรมเป็นที่สิ้นไปแห่งสังโยชน์ทั้งปวง หมายถึงพระนิพพาน สังโยชน์ทั้งปวง ได้แก่ (๑) กามราคะ
(ความกำหนัดในกาม) (๒) ปฏิฆะ(ความขัดใจ) (๓) มานะ(ความถือตัว) (๔) ทิฏฐิ(ความเห็นผิด) (๕) วิจิกิจฉา
(ความลังเลสงสัย) (๖) สีลัพพตปรามาส(ความถือมั่นศีลพรต) (๗) ภวราคะ(ความติดใจปรารถนาในภพ)
(๘) อิสสา(ความริษยา) (๙) มัจฉริยะ(ความตระหนี่) (๑๐) อวิชชา(ความไม่รู้แจ้ง) (องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๔๕/๑๒๗,
องฺ.ฉกฺก.ฏีกา ๓/๔๕-๔๘/๑๔๑)
๔ หมายถึงมีปัจจเวกขณญาณหยั่งรู้ว่ามัคควิมุตติ หรือผลวิมุตติไม่กำเริบ เพราะไม่มีกิเลสที่ก่อความกำเริบ
คือราคะเป็นต้น (องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๔๕/๑๒๗,องฺ.ฉกฺก.ฏีกา ๓/๔๕-๔๘/๑๔๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๕๑๑ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๕. ธัมมิกวรรค ๔. มหาจุนทสูตร
๔. มหาจุนทสูตร
ว่าด้วยพระมหาจุนทะ๑
[๔๖] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง ท่านพระมหาจุนทะอยู่ ณ นิคมชื่อว่าสัญชาติ ในแคว้นเจตี สมัย
นั้นแล ท่านพระมหาจุนทะเรียกภิกษุทั้งหลายมากล่าวว่า ผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุ
เหล่านั้นรับคำแล้ว ท่านพระมหาจุนทะจึงได้กล่าวเรื่องนี้ว่า
ผู้มีอายุทั้งหลาย ในพระธรรมวินัยนี้ พวกภิกษุผู้ประกอบธรรม๒รุกรานพวก
ภิกษุผู้เพ่งฌานว่า “ภิกษุเหล่านี้ เพ่ง พินิจ ยึด หน่วงฌานอยู่ว่า ‘พวกเราเป็น
ผู้เพ่งฌาน พวกเราเป็นผู้เพ่งฌาน’ ภิกษุเหล่านี้เพ่งฌานทำไม เพ่งฌานเพื่ออะไร
เพ่งฌานเพราะเหตุไร”
พวกภิกษุผู้ประกอบธรรม ไม่เลื่อมใสในพวกภิกษุผู้เพ่งฌานนั้น และพวกภิกษุ
ผู้เพ่งฌานก็ไม่เลื่อมใสในพวกภิกษุผู้ประกอบธรรมนั้น ทั้งไม่ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลแก่
คนหมู่มาก เพื่อสุขแก่คนหมู่มาก เพื่อประโยชน์แก่คนหมู่มาก เพื่อเกื้อกูล เพื่อสุข
แก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
ผู้มีอายุทั้งหลาย พวกภิกษุผู้เพ่งฌานรุกรานพวกภิกษุผู้ประกอบธรรมว่า
“ภิกษุเหล่านี้คิดว่า ‘พวกเราเป็นผู้ประกอบธรรม พวกเราเป็นผู้ประกอบธรรม’ เป็น
ผู้ฟุ้งซ่าน ถือตัว โลเล ปากกล้า พูดพร่ำเพรื่อ หลงลืมสติ ไม่มีสัมปชัญญะ มีจิต
ไม่ตั้งมั่น มีจิตกวัดแกว่ง ไม่สำรวมอินทรีย์ ภิกษุเหล่านี้ประกอบธรรมทำไม
ประกอบธรรมเพื่ออะไร ประกอบธรรมเพราะเหตุไร”
พวกภิกษุผู้เพ่งฌานไม่เลื่อมใสในพวกภิกษุผู้ประกอบธรรมนั้น และพวกภิกษุ
ผู้ประกอบธรรมก็ไม่เลื่อมใสในพวกภิกษุผู้เพ่งฌานนั้น ทั้งไม่ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลแก่คน


เชิงอรรถ :
๑ หมายถึงพระมหาจุนทะผู้เป็นน้องชายของพระธรรมเสนาบดี (องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๔๖/๑๒๘)
๒ ภิกษุผู้ประกอบธรรม ในที่นี้หมายถึงพระธรรมกถึก (องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๔๖/๑๒๘)


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๕๑๒ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๕. ธัมมิกวรรค ๔. มหาจุนทสูตร
หมู่มาก เพื่อสุขแก่คนหมู่มาก เพื่อประโยชน์แก่คนหมู่มาก เพื่อเกื้อกูล เพื่อสุข แก่
เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
พวกภิกษุผู้ประกอบธรรมสรรเสริญพวกภิกษุผู้ประกอบธรรมเท่านั้น ไม่สรรเสริญ
พวกภิกษุผู้เพ่งฌาน พวกภิกษุผู้ประกอบธรรมไม่เลื่อมใสในพวกภิกษุผู้เพ่งฌานนั้น
และพวกภิกษุผู้เพ่งฌานก็ไม่เลื่อมใสในพวกภิกษุผู้ประกอบธรรมนั้น ทั้งไม่ปฏิบัติเพื่อ
เกื้อกูลแก่คนหมู่มาก เพื่อสุขแก่คนหมู่มาก เพื่อประโยชน์แก่คนหมู่มาก เพื่อเกื้อกูล
เพื่อสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
พวกภิกษุผู้เพ่งฌานสรรเสริญพวกภิกษุผู้เพ่งฌานเท่านั้น ไม่สรรเสริญพวกภิกษุ
ผู้ประกอบธรรม และพวกภิกษุผู้เพ่งฌานไม่เลื่อมใสในพวกภิกษุผู้ประกอบธรรมนั้น
และพวกภิกษุผู้ประกอบธรรมก็ไม่เลื่อมใสในพวกภิกษุผู้เพ่งฌานนั้น ทั้งไม่ปฏิบัติเพื่อ
เกื้อกูลแก่คนหมู่มาก เพื่อสุขแก่คนหมู่มาก เพื่อประโยชน์แก่คน หมู่มาก เพื่อเกื้อกูล
เพื่อสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
ผู้มีอายุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล ท่านทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า
‘พวกเราทั้งหลายเมื่อเป็นผู้ประกอบธรรม จักสรรเสริญพวกภิกษุผู้เพ่งฌาน’ ท่าน
ทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้แล ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะบุคคลผู้ถูกต้องอมตธาตุ
ด้วยกาย เป็นอัจฉริยบุคคล หาได้ยากในโลก
เพราะเหตุนั้นแล ท่านทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า ‘เราทั้งหลายเมื่อเป็น
ผู้เพ่งฌาน จักสรรเสริญพวกภิกษุผู้ประกอบธรรม’ ท่านทั้งหลายพึงสำเหนียก
อย่างนี้แล ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะบุคคลผู้รู้แจ้ง เห็นอัตถบทอันลึกซึ้ง๑ด้วย
ปัญญานั้น เป็นอัจฉริยบุคคล หาได้ยากในโลก
มหาจุนทสูตรที่ ๔ จบ


เชิงอรรถ :
๑ อัตถบทอันลึกซึ้ง หมายถึงข้อความที่มีขันธ์ ธาตุ และอายตนะ เป็นต้น (องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๔๖/๑๒๘)


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๕๑๓ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๕. ธัมมิกวรรค ๕. ปฐมสันทิฏฐิกสูตร
๕. ปฐมสันทิฏฐิกสูตร
ว่าด้วยธรรมที่ผู้ปฏิบัติพึงเห็นชัดด้วยตนเอง สูตรที่ ๑
[๔๗] ครั้งนั้น โมฬิยสีวกปริพาชกเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
ได้สนทนาปราศัย พอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้วนั่ง ณ ที่สมควร
ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระองค์ตรัสว่า ‘ธรรมอันผู้ปฏิบัติพึงเห็นชัดด้วย
ตนเอง ธรรมอันผู้ปฏิบัติพึงเห็นชัดด้วยตนเอง’ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมอันผู้
ปฏิบัติพึงเห็นชัดด้วยตนเอง ไม่ประกอบด้วยกาล๑ควรเรียกให้มาดู ควรน้อมเข้ามา
ในตน อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน ย่อมมีด้วยเหตุเพียงไรหนอ”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “สีวกะ ถ้าอย่างนั้น เราจักย้อนถามท่านในเรื่องนี้
ท่านพึงพยากรณ์เรื่องนั้นตามสมควรแก่ท่าน สีวกะ ท่านเข้าใจเรื่องนั้นอย่างไร
ท่านรู้ชัดโลภะที่มีอยู่ภายในว่า ‘โลภะมีอยู่ภายในเรา’ รู้ชัดโลภะที่ไม่มีอยู่ภายในว่า
‘โลภะไม่มีอยู่ภายในเรา’ หรือไม่”
สีวกปริพาชกกราบทูลว่า “รู้ชัด พระพุทธเจ้าข้า”
“สีวกะ การที่ท่านรู้ชัดโลภะที่มีอยู่ภายในว่า ‘โลภะมีอยู่ภายในเรา’ รู้ชัดโลภะที่
ไม่มีอยู่ภายในว่า ‘โลภะไม่มีอยู่ภายในเรา’ อย่างนี้แลคือธรรมอันผู้ปฏิบัติพึงเห็นชัด
ด้วยตนเอง ฯลฯ
สีวกะ ท่านเข้าใจเรื่องนั้นอย่างไร ท่านรู้ชัดโทสะที่มีอยู่ภายใน ฯลฯ โมหะ
ที่มีอยู่ภายใน ฯลฯ ธรรมที่ประกอบด้วยโลภะที่มีอยู่ภายใน ฯลฯ ธรรมที่ประกอบ
ด้วยโทสะที่มีอยู่ภายใน ฯลฯ รู้ชัดธรรมที่ประกอบด้วยโมหะที่มีอยู่ในภายในว่า
‘ธรรมที่ประกอบด้วยโมหะที่มีอยู่ภายในเรา’ รู้ชัดธรรมที่ประกอบด้วยโมหะที่ไม่มีอยู่
ภายในว่า ‘ธรรมที่ประกอบด้วยโมหะไม่มีอยู่ภายในเรา’ หรือไม่”
สีวกปริพาชกกราบทูลว่า “รู้ชัด พระพุทธเจ้าข้า”

เชิงอรรถ :
๑ ดูเชิงอรรถที่ ๑ ฉักกนิบาต ข้อ ๑๐ หน้า ๔๒๒ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๕๑๔ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๕. ธัมมิกวรรค ๖. ทุติยสันทิฏฐิกสูตร
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “สีวกะ การที่ท่านรู้ชัดธรรมที่ประกอบด้วยโมหะที่มี
อยู่ภายในว่า ‘ธรรมที่ประกอบด้วยโมหะมีอยู่ภายในเรา’ รู้ชัดธรรมที่ประกอบด้วย
โมหะที่ไม่มีอยู่ภายในว่า ‘ธรรมที่ประกอบด้วยโมหะไม่มีอยู่ภายในเรา’ อย่างนี้แล
คือธรรมอันผู้ปฏิบัติพึงเห็นชัดด้วยตนเอง ไม่ประกอบด้วยกาล ควรเรียกให้มาดู
ควรน้อมเข้ามาในตน อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน”
สีวกปริพาชกกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภาษิตของพระผู้มีพระภาค
ชัดเจนไพเราะยิ่งนัก ฯลฯ ขอพระผู้มีพระภาคจงทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสกผู้
ถึงสรณะ ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปจนตลอดชีวิต”
ปฐมสันทิฏฐิกสูตรที่ ๕ จบ
๖. ทุติยสันทิฏฐิกสูตร
ว่าด้วยธรรมที่ผู้ปฏิบัติพึงเห็นชัดด้วยตนเอง สูตรที่ ๒
[๔๘] ครั้งนั้น พราหมณ์คนหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
ได้สนทนาปราศัย พอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้วนั่ง ณ ที่สมควร
ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ข้าแต่ท่านพระโคดม พระองค์ตรัสว่า ‘ธรรมอันผู้ปฏิบัตพึงเห็นชัดด้วยตนเอง
ธรรมอันผู้ปฏิบัติพึงเห็นชัดด้วยตนเอง’ ข้าแต่ท่านพระโคดม ธรรมอันผู้ปฏิบัติพึง
เห็นชัดด้วยตนเอง ไม่ประกอบด้วยกาล ควรเรียกให้มาดู ควรน้อมเข้ามาในตน
อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน ย่อมมีด้วยเหตุเพียงไรหนอ”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “พราหมณ์ ถ้าอย่างนั้น เราจักย้อนถามท่านในเรื่องนี้
ท่านพึงพยากรณ์เรื่องนั้นตามสมควรแก่ท่าน พราหมณ์ ท่านเข้าใจเรื่องนั้นอย่างไร
ท่านรู้ชัดราคะที่มีอยู่ภายในว่า ‘ราคะมีอยู่ภายในเรา’ รู้ชัดราคะที่ไม่มีอยู่ภายในว่า
‘ราคะไม่มีอยู่ภายในเรา’ หรือไม่”
พราหมณ์กราบทูลว่า “รู้ชัด พระพุทธเจ้าข้า”
“พราหมณ์ การที่ท่านรู้ชัดราคะที่มีอยู่ภายในว่า ‘ราคะมีอยู่ภายในเรา’ รู้ชัด
ราคะที่ไม่มีอยู่ภายในว่า ‘ราคะไม่มีอยู่ภายในเรา’ อย่างนี้แลคือ ธรรมอันผู้ปฏิบัติ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๕๑๕ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๕. ธัมมิกวรรค ๗. เขมสูตร
พึงเห็นชัดด้วยตนเอง ฯลฯ พราหมณ์ ท่านเข้าใจเรื่องนั้นอย่างไร ท่านรู้ชัดโทสะที่มี
อยู่ภายใน ฯลฯ โมหะที่มีอยู่ภายใน ฯลฯ เหตุเครื่องประทุษร้ายทางกายที่มีอยู่
ภายใน ฯลฯ เหตุเครื่องประทุษร้ายทางวาจาที่มีอยู่ภายใน ฯลฯ รู้ชัดเหตุเครื่อง
ประทุษร้ายทางใจที่มีอยู่ภายในว่า ‘เหตุเครื่องประทุษร้ายทางใจมีอยู่ภายในเรา’
รู้ชัดเหตุเครื่องประทุษร้ายทางใจที่ไม่มีอยู่ภายในว่า ‘เหตุเครื่องประทุษร้ายทางใจ
ไม่มีอยู่ภายในเรา’ หรือไม่”
พราหมณ์กราบทูลว่า “รู้ชัด พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “พราหมณ์ การที่ท่านรู้ชัดเหตุเครื่องประทุษร้าย
ทางใจที่มีอยู่ภายในว่า ‘เหตุเครื่องประทุษร้ายทางใจมีอยู่ภายในเรา’ รู้ชัดเหตุเครื่อง
ประทุษร้ายทางใจที่ไม่มีอยู่ภายในว่า ‘เหตุเครื่องประทุษร้ายทางใจไม่มีอยู่ภายในเรา’
อย่างนี้แลคือ ธรรมอันผู้ปฏิบัติพึงเห็นชัดด้วยตนเอง ไม่ประกอบด้วยกาล ควรเรียก
ให้มาดู ควรน้อมเข้ามาในตน อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน”
พราหมณ์กราบทูลว่า “ข้าแต่ท่านพระโคดม ภาษิตของท่านพระโคดมชัดเจน
ไพเราะยิ่งนัก ฯลฯ ขอท่านพระโคดมจงทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะ
ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปจนตลอดชีวิต”
ทุติยสันทิฏฐิกสูตรที่ ๖ จบ
๗. เขมสูตร
ว่าด้วยพระเขมะ
[๔๙] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของ
อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี สมัยนั้นแล ท่านพระเขมะและท่านพระสุมนะ
อยู่ที่ป่าอันธวัน เขตกรุงสาวัตถี ได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวาย
อภิวาทแล้วนั่งลง ณ ที่สมควร ท่านพระเขมะได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๕๑๖ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๕. ธัมมิกวรรค ๗. เขมสูตร
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุใดเป็นพระอรหันตขีณาสพ อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว
ทำกิจที่ควรทำ๑เสร็จแล้ว ปลงภาระ๒ได้แล้ว บรรลุประโยชน์ตน๓โดยลำดับแล้ว
สิ้นภวสังโยชน์แล้ว หลุดพ้นเพราะรู้โดยชอบ๔ ภิกษุนั้นไม่มีความคิดอย่างนี้ว่า ‘ผู้ที่
ประเสริฐกว่าเรามีอยู่’ ว่า ‘ผู้ที่เสมอกับเรามีอยู่’ หรือว่า ‘ผู้ที่ด้อยกว่าเรามีอยู่”
เมื่อท่านพระเขมะกราบทูลแล้วอย่างนี้ พระศาสดาทรงพอพระทัย ลำดับนั้น
ท่านพระเขมะรู้ว่า ‘พระศาสดาทรงพอพระทัยเรา’ จึงลุกจากอาสนะ ถวายอภิวาท
พระผู้มีพระภาค ทำประทักษิณแล้วหลีกไป
ครั้งนั้นแล เมื่อท่านพระเขมะหลีกไปไม่นาน ท่านพระสุมนะได้กราบทูลพระผู้มี
พระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุใดเป็นพระอรหันตขีณาสพ อยู่จบ
พรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ปลงภาระได้แล้ว บรรลุประโยชน์ตน
โดยลำดับแล้ว สิ้นภวสังโยชน์แล้ว หลุดพ้นเพราะรู้โดยชอบ ภิกษุนั้นไม่มีความคิด
อย่างนี้ว่า ‘ผู้ที่ประเสริฐกว่าเราไม่มี’ ว่า ‘ผู้ที่เสมอกับเราไม่มี’ หรือว่า ‘ผู้ที่ด้อย
กว่าเราไม่มี”
เมื่อท่านพระสุมนะกราบทูลอย่างนี้แล้ว พระศาสดาทรงพอพระทัย ลำดับนั้น
ท่านพระสุมนะรู้ว่า ‘พระศาสดาทรงพอพระทัยเรา’ จึงลุกจากอาสนะถวายอภิวาท
พระผู้มีพระภาค ทำประทักษิณแล้วหลีกไป
ครั้งนั้นแล เมื่อท่านพระเขมะและท่านพระสุมนะหลีกไปไม่นาน พระผู้มี
พระภาคได้รับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย กุลบุตรทั้งหลาย
พยากรณ์อรหัตตผลอย่างนี้ กล่าวแต่เนื้อความ และไม่น้อมตนเข้าไปหา ส่วน

เชิงอรรถ :
๑ ดูเชิงอรรถที่ ๒ ปัญจกนิบาต ข้อ ๕๖ (อุปัชฌายสูตร) หน้า ๙๘ ในเล่มนี้
๒ ภาระ ในที่นี้หมายถึงภาระคือขันธ์ ภาระคือกิเลส และภาระคืออภิสังขาร (องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๔๙/๑๒๘)
๓ ประโยชน์ตน ในที่นี้หมายถึงพระอรหัตตผล ที่เรียกว่า ประโยชน์ตน เพราะมีนัย ๓ ประการ คือ (๑) เพราะ
เกี่ยวข้องกับโยนิโสมนสิการของตน (๒) เพราะไม่ละตนโดยนับเนื่องในสันดานของตน (๓) เพราะเป็นประโยชน์
สูงสุดสำหรับตน (องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๔๙/๑๒๘)
๔ รู้โดยชอบ หมายถึงรู้อริยสัจ ๔ มีทุกข์เป็นต้นตามความเป็นจริง ด้วยมัคคปัญญา (องฺ.ฉกฺก.ฏีกา ๓/๔๙/
๑๔๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๕๑๗ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๕. ธัมมิกวรรค ๘. อินทริยสังวรสูตร
โมฆบุรุษ บางพวกในธรรมวินัยนี้ เหมือนจะร่าเริงกล่าวพยากรณ์อรหัตตผลอยู่ เขา
เหล่านั้นย่อมถึงความคับแค้นในภายหลัง
พระขีณาสพทั้งหลาย
ไม่น้อมตนเข้าไปเปรียบเทียบกับบุคคลที่ดีกว่า
ไม่น้อมตนเข้าไปเปรียบเทียบกับบุคคลที่ด้อยกว่า
ไม่น้อมตนเข้าไปเปรียบเทียบกับบุคคลที่เสมอกัน
มีชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว
เป็นผู้หลุดพ้นจากสังโยชน์ทั้งปวงเที่ยวไปอยู่
เขมสูตรที่ ๗ จบ
๘. อินทริยสังวรสูตร
ว่าด้วยอินทรียสังวร๑
[๕๐] ภิกษุทั้งหลาย เมื่ออินทรียสังวรไม่มี ศีลของบุคคลผู้มีอินทรียสังวร-
วิบัติ ชื่อว่ามีเหตุถูกขจัดแล้ว เมื่อศีลไม่มี สัมมาสมาธิของบุคคลผู้มีศีลวิบัติ ชื่อว่า
มีเหตุถูกขจัดแล้ว เมื่อสัมมาสมาธิไม่มี ยถาภูตญาณทัสสนะ๒ของบุคคลผู้มีสัมมา-
สมาธิวิบัติ ชื่อว่ามีเหตุถูกขจัดแล้ว เมื่อยถาภูตญาณทัสสนะไม่มี นิพพิทาและ
วิราคะ๓ของบุคคลผู้มียถาภูตญาณทัสสนะวิบัติ ชื่อว่ามีเหตุถูกขจัดแล้ว เมื่อนิพพิทา
และวิราคะไม่มี วิมุตติญาณทัสสนะ๔ของบุคคลผู้มีนิพพิทาและวิราคะวิบัติ ชื่อว่ามี
เหตุถูกขจัดแล้ว

เชิงอรรถ :
๑ หมายถึงการปิดกั้น การคุ้มครอง สำรวมระวังทวารทั้ง ๖ (ที.ม.อ. ๓๖๕/๓๕๑)
๒ ยถาภูตญาณทัสสนะ หมายถึงตรุณวิปัสสนาญาณ คือ วิปัสสนาที่ยังอ่อนกำลัง เป็นความรู้ขั้วต่อที่ตัดแยก
ระหว่างความเป็นปุถุชนกับความเป็นอริยบุคคล ยังไม่ใช่ความรู้ขั้นสูดท้าย (องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๕๐/๑๒๙)
๓ นิพพิทา หมายถึงพลววิปัสสนา วิราคะ หมายถึงอริยมรรค (องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๕๐/๑๒๙)
๔ วิมุตติญาณทัสสนะ เป็นความรู้ขั้นสุดท้าย แยกอธิบายว่า วิมุตติ หมายถึงอรหัตตผลหรือพระสัพพัญญุต-
ญาณ ญาณทัสสนะ หมายถึงปัจจเวกขณญาณ คือญาณหยั่งรู้ด้วยการพิจารณาทบทวนมรรคผล กิเลสที่
ละได้และนิพพาน (องฺ.ติก.อ. ๒/๗๕/๒๒๖, ๑๐๔/๒๕๗, องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๕๐/๑๒๙)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๕๑๘ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๕. ธัมมิกวรรค ๙. อานันทสูตร
เมื่ออินทรียสังวรไม่มี ศีลของบุคคลผู้มีอินทรียสังวรวิบัติ ชื่อว่ามีเหตุถูก
ขจัดแล้ว ฯลฯ วิมุตติญาณทัสนะของบุคคลผู้มีนิพพิทาและวิราคะวิบัติ ชื่อว่ามีเหตุถูก
ขจัดแล้ว เปรียบเหมือนต้นไม้ที่มีกิ่งและใบวิบัติแล้ว สะเก็ด เปลือก กระพี้ แม้แก่นของ
ต้นไม้นั้น ย่อมไม่ถึงความบริบูรณ์ ฉันนั้น
เมื่ออินทรียสังวรมี ศีลของบุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยอินทรียสังวร ชื่อว่ามีเหตุ
สมบูรณ์ เมื่อศีลมี สัมมาสมาธิของบุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยศีล ชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์
เมื่อสัมมาสมาธิมี ยถาภูตญาณทัสสนะของบุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยสัมมาสมาธิ ชื่อว่า
มีเหตุสมบูรณ์ เมื่อยถาภูตญาณทัสสนะมี นิพพิทาและวิราคะของบุคคลผู้สมบูรณ์
ด้วยยถาภูตญาณทัสสนะ ชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์ เมื่อนิพพิทาและวิราคะมี วิมุตติ-
ญาณทัสสนะของบุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยนิพพิทาและวิราคะ ชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์
ภิกษุทั้งหลาย เมื่ออินทรียสังวรมี ศีลของบุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยอินทรียสังวร
ชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์ ฯลฯ วิมุตติญาณทัสสนะของบุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยนิพพิทาและ
วิราคะ ชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์ เปรียบเหมือนต้นไม้ที่มีกิ่งและใบสมบูรณ์ สะเก็ด เปลือก
กระพี้ แม้แก่นของต้นไม้นั้นย่อมถึงความสมบูรณ์
อินทริยสังวรสูตรที่ ๘ จบ
๙. อานันทสูตร
ว่าด้วยคุณธรรมของพระอานนท์
[๕๑] ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์เข้าไปหาท่านพระสารีบุตรถึงที่อยู่ ได้สนทนา
ปราศัย พอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้เรียนถาม
ท่านพระสารีบุตรดังนี้ว่า
“ท่านสารีบุตร ภิกษุได้ฟังธรรมที่ยังไม่เคยฟัง ธรรมที่ภิกษุนั้นเคยฟังแล้วไม่ถึง
ความเลอะเลือน ธรรมที่ภิกษุนั้นเคยสัมผัสด้วยใจมาก่อน ปรากฏแก่เธอ และภิกษุ
นั้นย่อมรู้ธรรมที่ยังไม่เคยรู้ด้วยเหตุเท่าไรหนอ”
ท่านพระสารีบุตรกล่าวว่า “ท่านอานนท์ เป็นพหูสูต เฉพาะท่านอานนท์เท่านั้น
ที่จะอธิบายเนื้อความแห่งภาษิตนั้นให้แจ่มแจ้งได้”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๕๑๙ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๕. ธัมมิกวรรค ๙. อานันทสูตร
ท่านพระอานนท์กล่าวว่า “ท่านสารีบุตร ถ้าเช่นนั้น ท่านจงฟัง จงใส่ใจให้ดี
ผมจักกล่าว” ท่านพระสารีบุตรรับคำแล้ว ท่านพระอานนท์จึงได้กล่าวเรื่องนี้ว่า
“ท่านสารีบุตร ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้เรียนธรรมคือ สุตตะ เคยยะ เวยยา-
กรณะ คาถา อุทาน อิติวุตตกะ ชาตกะ อัพภูตธรรม เวทัลละ เธอแสดงธรรม
ตามที่ตนได้สดับมา ตามที่ตนได้เรียนมาแก่ผู้อื่นโดยพิสดาร บอกธรรมตามที่ตนได้
สดับมา ตามที่ตนได้เรียนมาแก่ผู้อื่นโดยพิสดาร สาธยายธรรมตามที่ตนได้สดับมา
ตามที่ตนได้เรียนมาโดยพิสดาร ตรึกตาม ตรองตาม เพ่งตามด้วยใจซึ่งธรรมตามที่
ตนได้สดับมา ตามที่ตนได้เรียนมา อยู่จำพรรษาในอาวาสที่มีภิกษุเถระผู้เป็นพหูสูต
เรียนจบคัมภีร์ ทรงธรรม ทรงวินัย ทรงมาติกาอยู่ เข้าไปหาภิกษุเถระเหล่านั้นใน
เวลาที่สมควร แล้วสอบถาม ไต่ถามว่า ‘พระพุทธพจน์นี้เป็นอย่างไร เนื้อความ
แห่งพระพุทธพจน์นี้เป็นอย่างไร’ ภิกษุผู้เถระเหล่านั้นย่อมเปิดเผยข้อที่ยังไม่เปิดเผย
ทำข้อที่เข้าใจยากให้เข้าใจง่าย และบรรเทาความสงสัยในธรรมที่น่าสงสัยหลาย
อย่างแก่ภิกษุนั้น ท่านสารีบุตร ภิกษุได้ฟังธรรมที่ยังไม่เคยฟัง ธรรมที่ภิกษุนั้นเคย
ฟังแล้ว ย่อมไม่ถึงความเลอะเลือน ธรรมที่ภิกษุนั้นเคยสัมผัสด้วยใจมาก่อน ปรากฏ
แก่เธอ และภิกษุนั้นรู้ธรรมที่ยังไม่เคยรู้ชัดด้วยเหตุเท่านี้แล”
ท่านพระสารีบุตรกล่าวว่า “ผู้มีอายุ น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคยปรากฏ ท่าน
อานนท์ ได้กล่าวไว้ดีแล้ว พวกผมจะทรงจำท่านอานนท์ว่าเป็นผู้ประกอบด้วยธรรม
๖ ประการนี้ เพราะท่านอานนท์
๑. เรียนธรรม คือ สุตตะ เคยยะ เวยยากรณะ คาถา อุทาน อิติวุตตกะ
ชาตกะ อัพภูตธรรม เวทัลละ
๒. แสดงธรรมตามที่ตนได้สดับมา ตามที่ตนได้เรียนมาแก่ผู้อื่นโดย
พิสดาร
๓. บอกธรรมตามที่ตนได้สดับมา ตามที่ตนได้เรียนมาแก่ผู้อื่นโดยพิสดาร
๔. สาธยายธรรมตามที่ตนได้สดับมา ตามที่ตนได้เรียนมาโดยพิสดาร
๕. ตรึกตาม ตรองตาม เพ่งตามด้วยใจซึ่งธรรมตามที่ตนได้สดับมา
ตามที่ตนได้เรียนมา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๕๒๐ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๕. ธัมมิกวรรค ๑๐. ขัตติยสูตร
๖. อยู่จำพรรษาในอาวาสที่มีภิกษุเถระผู้เป็นพหูสูต เรียนจบคัมภีร์
ทรงธรรม ทรงวินัย ทรงมาติกา เข้าไปหาภิกษุเถระเหล่านั้นตาม
กาลอันควร แล้วสอบถามไต่ถามว่า ‘พระพุทธพจน์นี้เป็นอย่างไร
เนื้อความแห่งพระพุทธพจน์นี้เป็นอย่างไร’ ภิกษุเหล่านั้น ย่อมเปิด
เผยข้อที่ยังไม่เปิดเผย ทำข้อที่เข้าใจยากให้เข้าโดยง่าย และบรรเทา
ความสงสัยในธรรมที่น่าสงสัยหลายอย่างแก่ภิกษุนั้น”
อานันทสูตรที่ ๙ จบ
๑๐. ขัตติยสูตร
ว่าด้วยความประสงค์ของกษัตริย์
[๕๒] ครั้งนั้น ชาณุสโสณิพราหมณ์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
ได้สนทนาปราศรัย พอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้วนั่ง ณ ที่สมควร
ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ข้าแต่ท่านพระโคดม กษัตริย์ทั้งหลายมีความประสงค์อะไร นิยมอะไร มั่นใจ
อะไร ต้องการอะไร มีอะไรเป็นที่สุด”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “กษัตริย์ทั้งหลายมีความประสงค์โภคทรัพย์ นิยม
ปัญญา มั่นใจในกำลังทหาร ต้องการได้เป็นเจ้าแผ่นดิน มีความเป็นใหญ่เป็นที่สุด”
ชาณุสโสณิพราหมณ์ทูลถามว่า “ข้าแต่ท่านพระโคดม พราหมณ์ทั้งหลายมี
ความประสงค์อะไร นิยมอะไร มั่นใจอะไร ต้องการอะไร มีอะไรเป็นที่สุด”
“พราหมณ์ทั้งหลายมีความประสงค์โภคทรัพย์ นิยมปัญญา มั่นใจในมนตร์
ต้องการบูชายัญ มีพรหมโลกเป็นที่สุด”
“ข้าแต่ท่านพระโคดม คหบดีทั้งหลายมีความประสงค์อะไร นิยมอะไร มั่นใจ
อะไร ต้องการอะไร มีอะไรเป็นที่สุด”
“คหบดีทั้งหลายมีความประสงค์โภคทรัพย์ นิยมปัญญา มั่นใจในศิลปะ
ต้องการการงาน มีการงานที่ทำเสร็จแล้วเป็นที่สุด”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๕๒๑ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๕. ธัมมิกวรรค ๑๐. ขัตติยสูตร
“ข้าแต่ท่านพระโคดม สตรีทั้งหลายมีความประสงค์อะไร นิยมอะไร มั่นใจ
อะไร ต้องการอะไร มีอะไรเป็นที่สุด”
“สตรีทั้งหลายมีความประสงค์บุรุษ นิยมเครื่องประดับ มั่นใจในบุตร ไม่ต้องการ
หญิงอื่นร่วมสามี มีความเป็นใหญ่ในบ้านเป็นที่สุด”
“ข้าท่านแต่พระโคดม โจรทั้งหลายมีความประสงค์อะไร นิยมอะไร มั่นใจอะไร
ต้องการอะไร มีอะไรเป็นที่สุด”
“พราหมณ์ โจรทั้งหลายมีความประสงค์การลักทรัพย์ผู้อื่น นิยมที่เร้นลับ มั่นใจ
ในศัสตรา ต้องการที่มืด มีผู้อื่นไม่เห็นเป็นที่สุด”
“ข้าแต่ท่านพระโคดม สมณะทั้งหลายมีความประสงค์อะไร นิยมอะไร มั่นใจ
อะไร ต้องการอะไร มีอะไรเป็นที่สุด”
“สมณะทั้งหลายมีความประสงค์ขันติและโสรัจจะ นิยมปัญญา มั่นใจในศีล
ต้องการความไม่มีกิเลสเครื่องกังวล มีนิพพานเป็นที่สุด”
ชาณุสโสณิพราหมณ์กราบทูลว่า “ข้าแต่ท่านพระโคดม น่าอัศจรรย์จริง
ไม่เคยปรากฏ ท่านพระโคดมทรงทราบความประสงค์ ความนิยม ความมั่นใจ
ความต้องการ และสิ่งอันเป็นที่สุด แม้แห่งกษัตริย์ทั้งหลาย ฯลฯ แม้แห่งพราหมณ์
ทั้งหลาย ฯลฯ แม้แห่งคหบดีทั้งหลาย ฯลฯ แม้แห่งสตรีทั้งหลาย ฯลฯ แม้แห่งโจร
ทั้งหลาย ฯลฯ ท่านพระโคดมทรงทราบความประสงค์ ความนิยม ความมั่นใจ
ความต้องการและสิ่งอันเป็นที่สุด แม้แห่งสมณะทั้งหลาย ข้าแต่ท่านพระโคดม
ภาษิตของท่านพระโคดม ชัดเจนไพเราะยิ่งนัก ฯลฯ ขอท่านพระโคดมจงทรงจำ
ข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะ ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปจนตลอดชีวิต”
ขัตติยสูตรที่ ๑๐ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๕๒๒ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๕. ธัมมิกวรรค ๑๑. อัปปมาทสูตร
๑๑. อัปปมาทสูตร
ว่าด้วยความไม่ประมาท
[๕๓] ครั้งนั้น พราหมณ์คนหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
ได้สนทนาปราศัย พอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้วนั่ง ณ ที่สมควร
ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ข้าแต่ท่านพระโคดม ธรรมอย่างหนึ่งที่บุคคลเจริญทำให้มากแล้ว ย่อมยึดถือ
ไว้ได้ซึ่งประโยชน์ทั้งสอง คือ ประโยชน์ในภพนี้ และประโยชน์ในภพหน้า มีอยู่หรือ”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “พราหมณ์ ธรรมอย่างหนึ่งที่บุคคลเจริญทำให้
มากแล้ว ย่อมยึดถือไว้ได้ซึ่งประโยชน์ทั้งสอง คือ ประโยชน์ในภพนี้ และประโยชน์ใน
ภพหน้า มีอยู่”
พราหมณ์ทูลถามว่า “ข้าแต่ท่านพระโคดม ก็ธรรมอย่างหนึ่งที่บุคคลเจริญ
ทำให้มากแล้ว ย่อมยึดถือไว้ได้ซึ่งประโยชน์ทั้งสอง คือ ประโยชน์ในภพนี้ และ
ประโยชน์ในภพหน้าเป็นอย่างไร”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “พราหมณ์ ธรรมอย่างหนึ่งคือความไม่ประมาท
ที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมยึดถือไว้ได้ซึ่งประโยชน์ทั้งสอง คือ ประโยชน์ใน
ภพนี้ และประโยชน์ในภพหน้า
เปรียบเหมือนรอยเท้าชนิดใดของสัตว์ทั้งหลายผู้สัญจรไปบนแผ่นดิน รอยเท้า
เหล่านั้นทั้งหมดย่อมถึงความรวมลงในร้อยเท้าช้าง รอยเท้าช้าง ชาวโลกกล่าวว่า
เป็นเลิศกว่ารอยเท้าเหล่านั้น เพราะรอยเท้าช้างเป็นรอยเท้าใหญ่ ฉันใด
ธรรมอย่างหนึ่งคือความไม่ประมาทที่บุคคลเจริญทำให้มากแล้ว ย่อมยึดถือไว้
ได้ซึ่งประโยชน์ทั้งสอง คือ ประโยชน์ในภพนี้ และประโยชน์ในภพหน้า ก็ฉันนั้น
เหมือนกัน
เปรียบเหมือนกลอนชนิดใดชนิดหนึ่งแห่งเรือนยอด กลอนเหล่านั้นทั้งหมด
ย่อมโน้มน้อมรวมเข้าหายอดเรือน ยอดเรือน ชาวโลกกล่าวว่าเป็นเลิศกว่ากลอน
เหล่านั้น ฉันใด


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๕๒๓ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๕. ธัมมิกวรรค ๑๑. อัปปมาทสูตร
ธรรมอย่างหนึ่งคือความไม่ประมาทที่บุคคลเจริญทำให้มากแล้ว ฯลฯ ก็ฉันนั้น
เหมือนกัน
เปรียบเหมือนบุคคลผู้เกี่ยวหญ้า เกี่ยวหญ้าแล้วก็จับที่ยอดสลัดลงฟาดไป
เคาะไป ฉันใด ธรรมอย่างหนึ่งคือความไม่ประมาทที่บุคคลเจริญทำให้มากแล้ว ฯลฯ
ก็ฉันนั้นเหมือนกัน
เปรียบเหมือนเมื่อพวงผลมะม่วงถูกตัดที่ขั้ว ผลมะม่วงลูกใดลูกหนึ่งที่ติดอยู่
กับขั้ว ผลมะม่วงเหล่านั้นทั้งหมดย่อมเป็นของติดไปกับขั้ว ฉันใด
ธรรมอย่างหนึ่งคือความไม่ประมาทที่บุคคลเจริญทำให้มากแล้ว ฯลฯ ก็ฉันนั้น
เหมือนกัน
เปรียบเหมือนพระราชาผู้ปกครองประเทศเล็ก ๆ พระองค์ใดพระองค์หนึ่ง
พระราชาเหล่านั้นทั้งหมด ย่อมเป็นผู้ขึ้นตรงต่อพระเจ้าจักรพรรดิ พระเจ้าจักรพรรดิ
ชาวโลกกล่าวว่าเป็นเลิศกว่าพระราชาเหล่านั้น ฉันใด
ธรรมอย่างหนึ่งคือความไม่ประมาท ที่บุคคลเจริญทำให้มากแล้ว ฯลฯ ก็ฉันนั้น
เหมือนกัน
เปรียบเหมือนแสงสว่างชนิดใดชนิดหนึ่งแห่งดวงดาว แสงสว่างเหล่านั้นทั้งหมด
ไม่ถึงส่วนที่สิบหกแห่งแสงสว่างของดวงจันทร์ แสงสว่างของดวงจันทร์ ชาวโลก
กล่าวว่าเป็นเลิศกว่าแสงสว่างแห่งดวงดาวเหล่านั้น ฉันใด
ธรรมอย่างหนึ่ง คือ ความไม่ประมาทที่บุคคลเจริญทำให้มากแล้ว ย่อมยึดถือ
ไว้ได้ซึ่งประโยชน์ทั้งสอง คือ ประโยชน์ในภพนี้ และประโยชน์ในภพหน้า ก็ฉันนั้น
เหมือนกัน
พราหมณ์ ธรรมอย่างหนึ่งคือความไม่ประมาทที่บุคคลเจริญทำให้มากแล้ว
ย่อมยึดถือไว้ได้ซึ่งประโยชน์ทั้งสองคือ ประโยชน์ในภพนี้ และประโยชน์ในภพหน้า”
พราหมณ์กราบทูลว่า “ข้าแต่ท่านพระโคดม ภาษิตของท่านพระโคดม ชัดเจน
ไพเราะยิ่งนัก ข้าแต่ท่านพระโคดม ภาษิตของท่านพระโคดม ชัดเจนไพเราะยิ่งนัก ฯลฯ
ขอท่านพระโคดมจงทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะ ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป
จนตลอดชีวิต”
อัปปมาทสูตรที่ ๑๑ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๕๒๔ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๕. ธัมมิกวรรค ๑๒. ธัมมิกสูตร
๑๒. ธัมมิกสูตร
ว่าด้วยท่านพระธัมมิกะ
[๕๔] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่ภูเขาคิชฌกูฏ๑ เขตกรุงราชคฤห์
สมัยนั้น ท่านพระธัมมิกะเป็นเจ้าอาวาส อยู่ในอาวาส ๗ แห่ง ในชาติภูมิชนบท
ทั้งหมด ทราบว่า ท่านพระธัมมิกะด่า บริภาษ เบียดเบียน ทิ่มแทง เสียดสีพวกภิกษุ
อาคันตุกะด้วยวาจา และภิกษุอาคันตุกะเหล่านั้นเมื่อถูกท่านพระธัมมิกะด่า บริภาษ
เบียดเบียน ทิ่มแทง เสียดสีด้วยวาจา จึงหลีกไป ไม่อยู่ ละทิ้งอาวาส
ครั้งนั้น พวกอุบาสกและอุบาสิกาชาวชาติภูมิชนบทมีความคิดดังนี้ว่า “พวกเรา
ได้บำรุงภิกษุสงฆ์ด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชชบริขาร
แต่พวกภิกษุอาคันตุกะก็หลีกไป ไม่อยู่ ละทิ้งอาวาส อะไรหนอเป็นเหตุปัจจัยให้
พวกภิกษุอาคันตุกะหลีกไป ไม่อยู่ ละทิ้งอาวาส”
ต่อมา พวกอุบาสกและอุบาสิกาชาวชาติภูมิชนบทคิดกันว่า “ท่านพระธัมมิกะ
นี้เอง ด่า บริภาษ เบียดเบียน ทิ่มแทง เสียดสีภิกษุอาคันตุกะด้วยวาจา และภิกษุ
อาคันตุกะเหล่านั้นเมื่อถูกท่านพระธัมมิกะด่า บริภาษ เบียดเบียน ทิ่มแทง เสียดสี
ด้วยวาจา จึงหลีกไป ไม่อยู่ ละทิ้งอาวาส ทางที่ดีพวกเราพึงช่วยกันขับไล่ท่าน
พระธัมมิกะให้หนีไป” จึงเข้าไปหาท่านพระธัมมิกะถึงที่อยู่ ได้กล่าวกับท่านพระ
ธัมมิกะดังนี้ว่า “ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ขอท่านพระธัมมิกะจงหลีกไปจากอาวาสนี้ ท่าน
ไม่ควรอยู่ในอาวาสนี้”
ภายหลังต่อมา ท่านพระธัมมิกะได้จากอาวาสนั้นไปสู่อาวาสอื่น ทราบว่า แม้ที่
อาวาสนั้น ท่านพระธัมมิกะก็ด่า บริภาษ เบียดเบียน ทิ่มแทง เสียดสีพวกภิกษุ
อาคันตุกะด้วยวาจา และภิกษุอาคันตุกะเหล่านั้นเมื่อถูกท่านพระธัมมิกะด่า บริภาษ
เบียดเบียน ทิ่มแทง เสียดสีด้วยวาจา หลีกไป ไม่อยู่ ละทิ้งอาวาส
ครั้งนั้น พวกอุบาสกและอุบาสิกาชาวชาติภูมิชนบทมีความคิดดังนี้ว่า “พวกเรา
ได้บำรุงภิกษุสงฆ์ด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชชบริขาร


เชิงอรรถ :
๑ ดูเชิงอรรถที่ ๑ ฉักกนิบาต ข้อ ๔๑ (ทารุกขันธสูตร) หน้า ๔๙๓ ในเล่มนี้


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๕๒๕ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๕. ธัมมิกวรรค ๑๒. ธัมมิกสูตร
แต่พวกภิกษุอาคันตุกะก็หลีกไป ไม่อยู่ ละทิ้งอาวาส อะไรหนอเป็นเหตุปัจจัยให้พวก
ภิกษุอาคันตุกะหลีกไป ไม่อยู่ ละทิ้งอาวาส”
พวกอุบาสกและอุบาสิกาชาวชาติภูมิชนบทคิดกันว่า “ท่านพระธัมมิกะนี้เอง
ด่า บริภาษ เบียดเบียน ทิ่มแทง เสียดสีพวกภิกษุอาคันตุกะด้วยวาจา และภิกษุ
อาคันตุกะเหล่านั้นเมื่อถูกท่านพระธัมมิกะด่า บริภาษ เบียดเบียน ทิ่มแทง เสียดสี
ด้วยวาจา จึงหลีกไป ไม่อยู่ ละทิ้งอาวาส ทางที่ดี พวกเราพึงช่วยกันขับไล่ท่าน
พระธัมมิกะให้หนีไป” จึงเข้าไปหาท่านพระธัมมิกะถึงที่อยู่ แล้วได้กล่าวกับท่านพระ
ธัมมิกะดังนี้ว่า “ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ขอท่านพระธัมมิกะจงหลีกไปจากอาวาสนี้ ท่าน
ไม่ควรอยู่ในอาวาสนี้”
ภายหลังต่อมา ท่านพระธัมมิกะได้จากอาวาสแม้นั้นไปสู่อาวาสอื่น ทราบว่า
แม้ที่อาวาสนั้น ท่านพระธัมมิกะก็ด่า บริภาษ เบียดเบียน ทิ่มแทง เสียดสีพวกภิกษุ
อาคันตุกะด้วยวาจา และภิกษุอาคันตุกะเหล่านั้น เมื่อถูกท่านพระธัมมิกะด่า บริภาษ
เบียดเบียน ทิ่มแทง เสียดสีด้วยวาจา ก็หลีกไป ไม่อยู่ ละทิ้งอาวาส
ครั้งนั้น พวกอุบาสกและอุบาสิกาชาวชาติภูมิชนบทมีความคิดดังนี้ว่า “พวกเรา
ได้บำรุงภิกษุสงฆ์ด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชชบริขาร
แต่พวกภิกษุอาคันตุกะหลีกไป ไม่อยู่ ละทิ้งอาวาส อะไรหนอเป็นเหตุปัจจัยให้พวก
ภิกษุอาคันตุกะหลีกไป ไม่อยู่ ละทิ้งอาวาส”
ต่อมา พวกอุบาสกและอุบาสิกาชาวชาติภูมิชนบทคิดกันว่า “ฯลฯ ทางที่ดี
พวกเราพึงช่วยกันขับไล่ท่านพระธัมมิกะให้หลีกไปจากอาวาสทั้ง ๗ แห่ง ในชาติภูมิ
ชนบททั้งหมด” จึงเข้าไปหาพระธัมมิกะถึงที่อยู่แล้วได้กล่าวกับท่านพระธัมมิกะดังนี้
ว่า “ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ขอท่านพระธัมมิกะจงหลีกไปจากอาวาสทั้ง ๗ แห่ง ในชาติ-
ภูมิทั้งหมด”
ครั้งนั้น ท่านพระธัมมิกะได้มีความคิดดังนี้ว่า “เราถูกพวกอุบาสกและอุบาสิกา
ชาวชาติภูมิชนบทขับไล่ออกจากอาวาสทั้ง ๗ แห่งในชาติภูมิชนบททั้งหมด บัดนี้เรา
จักไปที่ไหนหนอ” ครั้งนั้น ท่านพระธัมมิกะได้มีความคิดว่า “ทางที่ดี เราควรจะ
เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๕๒๖ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๕. ธัมมิกวรรค ๑๒. ธัมมิกสูตร
ลำดับนั้น ท่านพระธัมมิกะถือบาตรและจีวรหลีกไปทางกรุงราชคฤห์ ไปถึงกรุง
ราชคฤห์และภูเขาคิชฌกูฏโดยลำดับ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวาย
อภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร พระผู้มีพระภาคได้ตรัสดังนี้ว่า “พราหมณ์ธัมมิกะ
เชิญเถิด ท่านมาจากไหนหรือ”
ท่านพระธัมมิกะกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ถูกพวกอุบาสก
และอุบาสิกาชาวชาติภูมิชนบทขับไล่ออกจากอาวาสทั้ง ๗ แห่ง ในชาติภูมิชนบท
ทั้งหมด”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “พราหมณ์ธัมมิกะ จะมีประโยชน์อะไรแก่เธอด้วยการ
อยู่ในชาติภูมิชนบทนี้ ควรแล้วที่เธอถูกขับไล่ให้ออกจากอาวาสนั้น ๆ แล้วมาใน
สำนักของเรา เรื่องเคยมีมาแล้ว พวกพ่อค้าทางทะเล จับนกที่ค้นหาฝั่งแล้ว ออกเรือ
เดินทางไปยังสมุทร เมื่อเดินเรือไปไม่เห็นฝั่ง พวกเขาก็ปล่อยนกค้นหาฝั่ง มันบินไป
ทางทิศตะวันออก บินไปทางทิศตะวันตก บินไปทางทิศเหนือ บินไปทางทิศใต้
บินขึ้นสูง บินไปทางทิศเฉียง ถ้ามันเห็นฝั่งอยู่ใกล้ ก็บินเข้าไปหาฝั่งทีเดียว แต่ถ้า
มันไม่เห็นฝั่งอยู่ใกล้ มันก็จะกลับมายังเรือนั้น ฉันใด พราหมณ์ธัมมิกะ เธอถูกขับไล่
ให้ออกจากอาวาสนั้น ๆ แล้วมายังสำนักของเราก็ฉันนั้นเหมือนกัน
เรื่องเคยมีมาแล้ว ต้นไทรใหญ่ชื่อสุปติฏฐะของพระเจ้าโกรัพยะมี ๕ กิ่ง มีร่ม
เงาเย็น น่ารื่นรมย์ใจ ก็ต้นไทรใหญ่ชื่อสุปติฏฐะ มีกิ่งก้านแผ่ไปถึง ๑๒ โยชน์ มีราก
แผ่ไปได้ ๕ โยชน์ มีผลใหญ่เหมือนกระทะหุงข้าวสารได้อาฬหกะหนึ่ง มีผลอร่อย
เหมือนรวงผึ้งเล็ก ซึ่งไม่มีโทษ พระราชาเสวยผลไทรใหญ่ชื่อสุปติฏฐะกิ่งหนึ่งพร้อม
กับนางสนม หมู่ทหารบริโภคกิ่งหนึ่ง ชาวนิคมและชาวชนบทบริโภคกิ่งหนึ่ง สมณ-
พราหมณ์บริโภคกิ่งหนึ่ง เนื้อและนกกินกิ่งหนึ่ง ไม่มีใครหวงแหนผลของต้นไทรใหญ่
ชื่อสุปติฏฐะไว้ และไม่มีใคร ๆ แย่งชิงผลของกันและกัน ต่อมาบุรุษคนหนึ่งบริโภคผล
ของต้นไทรใหญ่ชื่อสุปติฏฐะพอแก่ความต้องการแล้วหักกิ่งหลีกไป
ครั้งนั้น เทวดาผู้สิงสถิตอยู่ที่ต้นไทรใหญ่ชื่อสุปติฏฐะมีความคิดดังนี้ว่า “ท่าน
ผู้เจริญ น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคยปรากฏหนอ คนชั่วนี้บริโภคผลของต้นไทรใหญ่ชื่อ
สุปติฏฐะจนพอแก่ความต้องการแล้วหักกิ่งหลีกไป ทำอย่างไร ต้นไทรใหญ่ชื่อสุปติฏฐะ
จะไม่พึงออกผลต่อไป” หลังจากนั้น ต้นไทรใหญ่ชื่อสุปติฏฐะไม่ได้ออกผลอีกต่อไป


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๕๒๗ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๕. ธัมมิกวรรค ๑๒. ธัมมิกสูตร
ครั้นต่อมา พระเจ้าโกรัพยะเสด็จเข้าไปหาท้าวสักกะจอมเทพถึงที่ประทับได้ทูล
ท้าวสักกะว่า “ขอเดชะ ท่านผู้นิรทุกข์ พระองค์พึงทราบเถิดว่า ต้นไทรใหญ่ชื่อ
สุปติฏฐะไม่ออกผล” ทีนั้นท้าวสักกะจอมเทพทรงบันดาลให้มีลมฝนอย่างแรงพัด
โค่นต้นไทรใหญ่ชื่อสุปติฏฐะล้มลง ทำให้มีรากขึ้นเบื้องบนด้วยฤทธิ์ ลำดับนั้น เทวดา
ผู้สิงสถิตอยู่ที่ต้นไทรใหญ่ชื่อสุปติฏฐะเป็นทุกข์ เสียใจ ได้ยืนร้องไห้น้ำตานองหน้าอยู่
ณ ที่สมควร
ภายหลัง ท้าวสักกะจอมเทพเข้าไปหาเทวดาผู้สิงสถิตอยู่ที่ต้นไทรใหญ่ชื่อสุปติฏฐะ
ถึงที่อยู่แล้วถามว่า “เทวดา ทำไมหนอเธอจึงเป็นทุกข์ เสียใจ ยืนร้องไห้น้ำตานอง
หน้าอยู่ ณ ที่สมควร”
เทวดานั้นทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ เพราะลมฝนอย่างแรงพัดโค่นที่อยู่
ของข้าพระองค์ล้มลง ทำให้มีรากขึ้นเบื้องบน พระเจ้าข้า”
“เทวดา ก็เมื่อเธอดำรงอยู่ในรุกขธรรม (ธรรมที่เทวดาผู้สิงสถิตอยู่ที่ต้นไม้พึง
ประพฤติ) แล้ว ลมฝนอย่างแรงได้พัดมาโค่นที่อยู่ของเธอล้มลง ทำให้มีรากขึ้นเบื้อง
บนได้อย่างไร”
เทวดาทูลถามว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ เทวดาผู้สิงสถิตอยู่ที่ต้นไม้ ดำรง
อยู่ในรุกขธรรมเป็นอย่างไร”
“เทวดา หมู่คนในโลกนี้ ผู้ต้องการรากย่อมนำรากของต้นไม้ไป ผู้ต้องการ
เปลือกย่อมนำเปลือกไป ผู้ต้องการใบย่อมนำใบไป ผู้ต้องการดอกย่อมนำดอกไป
ผู้ต้องการผลย่อมนำผลไป แต่เทวดาไม่พึงดีใจหรือเสียใจเพราะการกระทำนั้น ๆ
เทวดาผู้สิงสถิตอยู่ที่ต้นไม้ดำรงอยู่ในรุกขธรรมเป็นอย่างนี้แล”
“ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ ข้าพระองค์ไม่ดำรงอยู่ในรุกขธรรมเป็นแน่ ลมฝน
อย่างแรงจึงได้พัดโค่นที่อยู่ของข้าพระองค์ให้ล้มลง ทำให้มีรากขึ้นเบื้องบน”
“เทวดา ถ้าเธอพึงดำรงอยู่ในรุกขธรรม ที่อยู่ของเธอก็จะพึงมีเหมือนกาลก่อน”
“ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ ข้าพระองค์จะดำรงอยู่ในรุกขธรรม ขอให้ที่อยู่ของข้า
พระองค์จงมีเหมือนกาลก่อนเถิด”


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๕๒๘ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๕. ธัมมิกวรรค ๑๒. ธัมมิกสูตร
ลำดับนั้น ท้าวสักกะจอมเทพได้ทรงบันดาลให้มีลมฝนอย่างแรงพัดต้นไทรใหญ่
ชื่อสุปติฏฐะให้กลับตั้งขึ้นดังเดิมด้วยฤทธิ์ ต้นไทรใหญ่ชื่อสุปติฏฐะได้มีเปลือกมีราก
ตั้งอยู่ดังเดิม ฉันใด
พราหมณ์ธัมมิกะ อุบาสกอุบาสิกาชาวชาติภูมิชนบททั้งหลาย ได้ขับไล่เธอ
ผู้ตั้งอยู่ในสมณธรรมให้ออกจากอาวาสทั้ง ๗ แห่งในชาติภูมิชนบททั้งหมดฉันนั้น
เหมือนกัน”
ท่านพระธัมมิกะทูลถามว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สมณะดำรงอยู่ในสมณธรรม
เป็นอย่างไร”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “พราหมณ์ธัมมิกะ สมณะในธรรมวินัยนี้ไม่ด่า
ตอบบุคคลผู้ด่าอยู่ ไม่เสียดสีตอบบุคคลผู้เสียดสีอยู่ ไม่ประหารตอบบุคคลผู้ประหาร
อยู่ พราหมณ์ธัมมิกะ สมณะดำรงอยู่ในสมณธรรมเป็นอย่างนี้แล”
ท่านพระธัมมิกะทูลถามว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พวกอุบาสกชาวชาติภูมิ
ชนบท ได้ขับไล่ข้าพระองค์ผู้ไม่ดำรงอยู่ในสมณธรรมให้ออกจากอาวาสทั้ง ๗ แห่ง
ในชาติภูมิชนบททั้งหมด พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “พราหมณ์ธัมมิกะ เรื่องเคยมีมาแล้ว มีครูชื่อสุเนตตะ
เป็นเจ้าลัทธิผู้ปราศจากความกำหนัดในกามทั้งหลาย มีสาวกหลายร้อยคน ได้แสดง
ธรรมแก่สาวกทั้งหลายเพื่อความเป็นผู้เกิดในพรหมโลก สาวกเหล่าใดเมื่อครูสุเนตตะ
แสดงธรรมเพื่อความเป็นผู้เกิดในพรหมโลกอยู่ ไม่ทำจิตให้เลื่อมใส สาวกเหล่านั้น
หลังจากตายแล้วได้ไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ส่วนสาวกเหล่าใด เมื่อครู
สุเนตตะแสดงธรรมเพื่อความเป็นผู้เกิดในพรหมโลกอยู่ ได้ทำจิตให้เลื่อมใส สาวก
เหล่านั้นหลังจากตายแล้วได้ไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์
เรื่องเคยมีมาแล้ว มีครูชื่อมูคปักขะ ฯลฯ มีครูชื่ออรเนมิ ฯลฯ มีครูชื่อ
กุททาลกะ ฯลฯ มีครูชื่อหัตถิปาละ ฯลฯ มีครูชื่อโชติปาละ เป็นเจ้าลัทธิผู้
ปราศจากความกำหนัดในกามทั้งหลาย มีสาวกหลายร้อยคน ได้แสดงธรรมเพื่อ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๕๒๙ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๕. ธัมมิกวรรค ๑๒. ธัมมิกสูตร
ความเป็นผู้เกิดในพรหมโลก สาวกเหล่าใด เมื่อครูโชติปาละแสดงธรรมเพื่อความ
เป็นผู้เกิดในพรหมโลกอยู่ ไม่ทำจิตให้เลื่อมใส สาวกเหล่านั้นหลังจากตายแล้วได้
ไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ส่วนสาวกเหล่าใด เมื่อครูโชติปาละแสดงธรรม
เพื่อความเป็นผู้เกิดในพรหมโลกอยู่ ได้ทำจิตให้เลื่อมใส สาวกเหล่านั้นหลังจากตายแล้ว
ได้ไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์
พราหมณ์ธัมมิกะ เธอเข้าใจเรื่องนั้นอย่างไร ผู้ใดมีจิตถูกโทสะประทุษร้าย
พึงด่า บริภาษ ครูทั้ง ๖ นี้ ผู้เป็นเจ้าลัทธิ ผู้ปราศจากความกำหนัดในกามทั้งหลาย
มีบริวารหลายร้อยคน พร้อมทั้งหมู่สาวก ผู้นั้นพึงประสพสิ่งที่มิใช่บุญเป็นอันมาก
หรือไม่”
ท่านพระธรรมิกกราบทูลว่า “พึงประสพ พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “พราหมณ์ธัมมิกะ ผู้ใดมีจิตถูกโทสะประทุษร้าย
พึงด่า พึงบริภาษครูทั้ง ๖ นี้ ผู้เป็นเจ้าลัทธิ ผู้ปราศจากความกำหนัดในกาม
ทั้งหลาย มีบริวารหลายร้อยคน พร้อมทั้งหมู่สาวก ผู้นั้นพึงประสพสิ่งที่มิใช่บุญ
เป็นอันมาก ผู้ใดมีจิตถูกโทสะประทุษร้าย พึงด่า บริภาษบุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ๑
คนเดียว ผู้นั้นย่อมประสพสิ่งที่มิใช่บุญมากกว่าบุคคลผู้ด่า บริภาษครูทั้ง ๖ นั้น
ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะเราไม่กล่าวว่าการขุดโค่นคุณความดีของตนเช่นนี้ จะมี
ภายนอกศาสนานี้ เหมือนการด่า การบริภาษเพื่อนพรหมจารี
พราหมณ์ธัมมิกะ เพราะเหตุนั้นแล เธอพึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า ‘จิตของเรา
จักไม่ประทุษร้ายในเพื่อนพรหมจารีผู้เสมอตน’
พราหมณ์ธัมมิกะ เธอพึงสำเหนียกอย่างนี้แล”
ครูทั้ง ๖ ผู้มียศ ได้รับยกย่องว่าเป็นเจ้าลัทธิในอดีต
คือครูสุเนตตะ ครูมูคปักขะ ครูอรเนมิ

เชิงอรรถ :
๑ ผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ ในที่นี้หมายถึงพระอริยบุคคลชั้นโสดาบันซึ่งมีชื่อว่า ‘ผู้ถึงพร้อมด้วยทัสสนะ’ บ้าง
‘ผู้มาสู่พระสัทธรรม’ บ้าง ‘ผู้ประกอบด้วยญาณของพระเสขะ’ บ้าง ‘ผู้ประกอบด้วยวิชชาของพระเสขะ’ บ้าง
‘ผู้เข้าถึงกระแสธรรม’ บ้าง ‘ผู้มีปัญญาแทงตลอด’ บ้าง ‘ผู้ยืนจรดประตูอมตะ’ บ้าง (องฺ.เอกก.อ. ๑/๒๖๘/
๔๐๒, องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๕๔/๑๓๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๕๓๐ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๕. ธัมมิกวรรค ๑๒. ธัมมิกสูตร
ครูกุททาลกะ ครูหัตถิปาลมาณพ
และครูโชติปาละผู้เป็นพราหมณ์ปุโรหิต
ของพระราชา ๗ พระองค์ เป็นเจ้าของโค
ท่านเหล่านั้น เป็นผู้หมดกลิ่นสาบ๑
มุ่งมั่นในกรุณา ล่วงพ้นกามสังโยชน์
คลายกามราคะเสียได้
เป็นผู้เข้าถึงพรหมโลกแล้ว
แม้สาวกหลายร้อยคนของครูเหล่านั้น
ก็เป็นผู้หมดกลิ่นสาบ มุ่งมั่นในกรุณา
ล่วงพ้นกามสังโยชน์ คลายกามราคะเสียได้
เป็นผู้เข้าถึงพรหมโลกแล้ว
นรชนใด มีความดำริทางใจถูกโทสะประทุษร้ายแล้ว
บริภาษท่านผู้เป็นฤๅษีทั้งหลายภายนอกศาสนา
ผู้ปราศจากความกำหนัด มีจิตตั้งมั่นแล้ว
นรชนนั้นย่อมประสพสิ่งที่ไม่ใช่บุญเป็นอันมาก
ส่วนนรชนใดมีความดำริทางใจถูกโทสะประทุษร้ายแล้ว
บริภาษภิกษุผู้เป็นพุทธสาวกมีทิฏฐิสมบูรณ์รูปเดียว
นรชนนี้ย่อมประสพสิ่งที่ไม่ใช่บุญ
มากกว่าผู้บริภาษครูเหล่านั้น
นรชนไม่พึงเสียดสีท่านผู้มีความดี ผู้ละทิฏฐิ๒ได้แล้ว
เราเรียกบุคคลผู้มีอินทรีย์ ๕ ที่ยังอ่อน

เชิงอรรถ :
๑ กลิ่นสาบ ในที่นี้หมายถึงความโกรธ (องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๕๔/๑๓๔)
๒ ทิฏฐิ ในที่นี้หมายถึงทิฏฐิ ๖๒ ประการ (องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๕๔/๑๓๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๕๓๑ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๕. ธัมมิกวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค
คือ ศรัทธา สติ วิริยะ สมถะ และวิปัสสนา
ยังไม่ปราศจากความกำหนัดในกามทั้งหลาย
ว่าเป็นบุคคลที่ ๗๑ แห่งอริยสงฆ์
นรชนใดเบียดเบียนทำร้ายบุคคลเช่นนั้น
ผู้เป็นภิกษุในกาลก่อน
นรชนนั้นชื่อว่าทำร้ายตนเอง
บั่นรอนอรหัตตผลในภายหลัง
ส่วนนรชนใดรักษาตน
นรชนนั้นชื่อว่าเป็นผู้รักษาตนในภายนอก
เพราะเหตุนั้น บัณฑิตไม่พึงขุดโค่นคุณความดีของตน
พึงรักษาตนทุกเมื่อเถิด
ธัมมิกสูตรที่ ๑๒ จบ
ธัมมิกวรรคที่ ๕ จบ
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. นาคสูตร ๒. มิคสาลาสูตร
๓. อิณสูตร ๔. มหาจุนทสูตร
๕. ปฐมสันทิฏฐิกสูตร ๖. ทุติยสันทิฏฐิกสูตร
๗. เขมสูตร ๘. อินทริยสังวรสูตร
๙. อานันทสูตร ๑๐. ขัตติยสูตร
๑๑. อัปปมาทสูตร ๑๒. ธัมมิกสูตร

ปฐมปัณณาสก์ จบ

เชิงอรรถ :
๑ บุคคลที่ ๗ หมายถึงพระสกทาคามี โดยนับจากพระอรหันต์ลงมา (องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๕๔/๑๓๔, องฺ.ฉกฺก.ฏีกา
๓/๕๔/๑๔๖)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๕๓๒ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๖. มหาวรรค ๑. โสณสูตร
๒. ทุติยปัณณาสก์
๖. มหาวรรค
หมวดว่าด้วยเรื่องใหญ่
๑. โสณสูตร
ว่าด้วยพระโสณะ
[๕๕] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ภูเขาคิชฌกูฏ เขตกรุงราชคฤห์
สมัยนั้น ท่านพระโสณะอยู่ที่ป่าสีตวัน เขตกรุงราชคฤห์ ครั้งนั้น ท่านพระโสณะ
หลีกเร้นอยู่ในที่สงัดเกิดความคิดคำนึงในจิตดังนี้ว่า “ในบรรดาพระสาวกของพระผู้มี
พระภาคที่ปรารภความเพียร เราก็เป็นรูปหนึ่ง แต่ไฉนจิตของเราจึงยังไม่หลุดพ้น
จากอาสวะโดยไม่ยึดมั่นถือมั่นเล่า ทรัพย์สมบัติในตระกูลของเรามีอยู่ เราอาจใช้
สอยทรัพย์สมบัติและบำเพ็ญบุญได้ ทางที่ดี เราควรบอกคืนสิกขากลับมาเป็นคฤหัสถ์
ใช้สอยทรัพย์สมบัติ และบำเพ็ญบุญ๑”
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทราบด้วยพระทัยถึงความคิดคำนึงในจิตของ
ท่านพระโสณะ จึงทรงหายไปจากภูเขาคิชฌกูฏ มาปรากฏพระองค์ที่ป่าสีตวัน
เหมือนบุรุษผู้มีกำลังเหยียดแขนออกหรือคู้แขนเข้า ประทับนั่งบนพุทธอาสน์ที่ปูลาดไว้๒

เชิงอรรถ :
๑ ท่านพระโสณะปรารภความเพียรหนักเกินไปโดยเดินจงกรมจนฝ่าเท้าแตก และเมื่อเปลี่ยนมาใช้วิธีคลาน
จงกรม เข่าและฝ่ามือก็แตกเป็นแผลอีก จึงมีจิตฟุ้งซ่านท้อแท้ว่า “ถ้าเราเป็นบุคคลประเภทอุคฆฏิตัญญู
(ผู้รู้เข้าใจได้ฉับพลัน) วิปจิตัญญู (ผู้รู้เมื่อขยายความ) เนยยะ (ผู้ที่พอจะแนะนำได้) จิตของเราพึงหลุดพ้น
จากกิเลสได้เป็นแน่ แต่เราคงเป็นบุคคลประเภทปทปรมะ (ผู้มีบทเป็นอย่างยิ่ง) จิตของเราจึงไม่หลุดพ้น”
(องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๕๕/๑๓๕) และดู วิ.ม. ๕/๒๔๓/๔
๒ พุทธอาสน์ที่ปูลาดไว้ หมายถึงตั่ง เตียง แผ่นกระดาน แผ่นหิน หรือกองทรายที่ภิกษุผู้บำเพ็ญเพียรปูลาด
ไว้เพื่อเป็นที่ประทับของพระผู้มีพระภาคที่จะเสด็จมาให้โอวาท แก้อารมณ์กัมมัฏฐานถึงที่อยู่ของตน ถ้าหา
อาสนะนั้นไม่ได้ จะใช้ใบไม้เก่า ๆ ปูลาดก็ได้ โดยลาดสังฆาฏิไว้บน นี้เป็นธรรมเนียมปฏิบัติสำหรับภิกษุ
นักปฏิบัติ ในที่นี้จึงหมายถึงพุทธอาสน์นั้น (องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๕๕/๑๓๕,อ.ฉกฺก.ฏีกา ๓/๕๕/๑๔๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๕๓๓ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๖. มหาวรรค ๑. โสณสูตร
แม้ท่านพระโสณะก็ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคแล้วนั่ง ณ ที่สมควร พระผู้มี
พระภาคได้ตรัสกับท่านพระโสณะดังนี้ว่า
“โสณะ เธอหลีกเร้นอยู่ในที่สงัด มีความคิดคำนึงในจิตดังนี้ว่า ‘ในบรรดา
พระสาวกของพระผู้มีพระภาคที่ปรารภความเพียร เราก็เป็นรูปหนึ่ง แต่ไฉนจิต
ของเราจึงยังไม่หลุดพ้นจากอาสวะโดยไม่ยึดมั่นถือมั่นเล่า ทรัพย์สมบัติในตระกูล
ของเรามีอยู่ เราอาจใช้สอยทรัพย์สมบัติและบำเพ็ญบุญได้ ทางที่ดี เราควรบอกคืน
สิกขากลับมาเป็นคฤหัสถ์ใช้สอยทรัพย์สมบัติและบำเพ็ญบุญ’ มิใช่หรือ”
ท่านพระโสณะทูลรับว่า “อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “โสณะ เธอเข้าใจเรื่องนั้นอย่างไร เมื่อครั้งที่เธอ
อยู่ครองเรือนนั้น เธอเป็นผู้เชี่ยวชาญในการดีดพิณมิใช่หรือ”
ท่านพระโสณะทูลรับว่า “อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “โสณะ เธอเข้าใจเรื่องนั้นอย่างไร เวลาสายพิณ
ของเธอตึงเกินไป พิณของเธอมีเสียงใช้การได้หรือ”
ท่านพระโสณะกราบทูลว่า “ใช้การไม่ได้ พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “โสณะ เธอเข้าใจเรื่องนั้นอย่างไร เวลาสายพิณ
ของเธอหย่อนเกินไป พิณของเธอมีเสียงใช้การได้หรือ”
ท่านพระโสณะกราบทูลว่า “ใช้การไม่ได้ พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “โสณะ เธอเข้าใจเรื่องนั้นอย่างไร เวลาสายพิณ
ของเธอไม่ตึง ไม่หย่อนเกินไป ขึงอยู่ในระดับที่พอเหมาะ พิณของเธอมีเสียงใช้
การได้หรือ”
ท่านพระโสณะทูลรับว่า “ใช้การได้ พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “โสณะ เช่นเดียวกัน ความเพียรที่ปรารภเกินไป
ย่อมเป็นไปเพื่อความฟุ้งซ่าน ความเพียรที่ย่อหย่อนเกินไป ย่อมเป็นไปเพื่อความ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๕๓๔ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๖. มหาวรรค ๑. โสณสูตร
เกียจคร้าน ฉะนั้น เธอจงตั้งความเพียรให้พอดี จงปรับอินทรีย์ให้เสมอกัน๑ และจง
ถือเอานิมิต๒ในความเสมอกันนั้น”
ท่านพระโสณะทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงสอนท่านพระโสณะด้วยพระโอวาทข้อนี้แล้ว
ทรงหายไปจากป่าสีตวันต่อหน้าท่านพระโสณะมาปรากฏพระองค์ที่ภูเขาคิชฌกูฏ
เหมือนบุรุษผู้มีกำลังเหยียดแขนออกหรือคู้แขนเข้า ฉะนั้น
ครั้นต่อมา ท่านพระโสณะได้ตั้งความเพียรให้พอดี ปรับอินทรีย์ให้เสมอกัน
และถือเอานิมิตในความเสมอกันนั้น ได้หลีกไปอยู่ผู้เดียว ไม่ประมาท มีความเพียร
อุทิศกายและใจอยู่ ไม่นานนัก ก็ได้ทำให้แจ้งประโยชน์ยอดเยี่ยมอันเป็นที่สุดแห่ง
พรหมจรรย์ที่เหล่ากุลบุตรผู้ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบต้องการด้วยปัญญา
อันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบันแท้ รู้ชัดว่า “ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว
ทำกิจที่ควรทำ๓เสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป๔” ท่านพระโสณะ
ได้เป็นพระอรหันต์รูปหนึ่งในจำนวนพระอรหันต์ทั้งหลาย

เชิงอรรถ :
๑ คำว่า อินทรีย์ ในคำว่า ปรับอินทรีย์ให้เสมอกัน นั้น หมายถึงอินทรีย์ ๕ คือ ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ
และปัญญา ที่พระผู้บำเพ็ญกัมมัฏฐานต้องปรับให้เสมอกัน กล่าวคือ (๑) ปรับศรัทธากับปัญญาให้
เสมอกัน เพราะถ้าศรัทธามากกว่าปัญญาบุคคลก็จะเลื่อมใสจนเกินไป หรือเลื่อมใสในเหตุที่ไม่น่าเลื่อมใส
ถ้าปัญญามากกว่าศรัทธา บุคคลก็จะหนักไปข้างอวดดีเป็นเหมือนโรคดื้อยารักษาให้หายยาก ถ้าธรรมทั้งสอง
เสมอกัน บุคคลจะเลื่อมใสในเหตุที่น่าเลื่อมใส (๒) ปรับสมาธิกับวิริยะให้เสมอกัน เพราะถ้าสมาธิมากกว่า
วิริยะ ความเกียจคร้านจะครอบงำ เนื่องจากสมาธิเป็นฝ่ายเดียวกันกับความเกียจคร้าน ถ้าวิริยะมากกว่า
สมาธิ ความฟุ้งซ่านจะครอบงำ เนื่องจากวิริยะเป็นฝ่ายเดียวกันกับความกันฟุ้งซ่าน ดังนั้น สมาธิที่ประกอบ
ควบคู่กับวิริยะ จิตจะไม่ตกไปในฝ่ายความเกียจคร้าน วิริยะที่ประกอบควบคู่กับสมาธิ จิตจะไม่ตกไป
ในฝ่ายความฟุ้งซ่าน
แต่สำหรับ สติ นั้น พระผู้บำเพ็ญกัมมัฏฐานควรบำเพ็ญให้มีพลังทุกที่ทุกเวลา ดุจเกลือ จำต้องมีใน
กับข้าวทุกอย่าง ดุจอำมาตย์ผู้ชำนาญการ จำต้องปรารถนาในราชการทุกอย่าง (เทียบ วิ.อ. ๓/๒๔๓/๑๖๔,
องฺ. ฉกฺก.อ. ๓/๕๕/๑๓๖, วิสุทธิ. ๑/๖๒/๑๔๐-๑๔๑, สารตฺถ.ฏีกา ๓/๒๔๓/๓๕๓)
๒ ถือเอานิมิต ในที่นี้หมายถึงเพิ่มพูนให้สมถนิมิต วิปัสสนานิมิต มัคคนิมิต และผลนิมิตเกิดขึ้น (องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/
๕๕/๑๓๖, สารัตถ.ฏีกา ๓/๒๔๓/๓๕๓)
๓ ดูเชิงอรรถที่ ๒ ปัญจกนิบาต ข้อ ๕๖ (อุปัชฌายสูตร) หน้า ๙๘ ในเล่มนี้
๔ ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป หมายถึงไม่มีหน้าที่ในการบำเพ็ญมัคคญาณเพื่อความสิ้น
กิเลสอีกต่อไป เพราะพระพุทธศาสนาถือว่า การบรรลุอรหัตตผลเป็นจุดหมายสูงสุด (ที.สี.อ. ๒๔๓/๒๐๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๕๓๕ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๖. มหาวรรค ๑. โสณสูตร
ครั้งนั้น ท่านพระโสณะผู้ได้บรรลุอรหัตตผลแล้ว ได้มีความคิดดังนี้ว่า “ทาง
ที่ดี เราควรเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ แล้วพยากรณ์อรหัตตผลในสำนัก
พระผู้มีพระภาคเถิด” จึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง
ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุเป็นพระอรหันตขีณาสพ อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว
ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ปลงภาระได้แล้ว บรรลุประโยชน์ตนแล้ว สิ้นภวสังโยชน์แล้ว
หลุดพ้นเพราะรู้โดยชอบ ย่อมน้อมไป๑ในฐานะ ๖ ประการ๒ คือ
๑. น้อมไปในเนกขัมมะ
๒. น้อมไปในปวิเวก
๓. น้อมไปในความไม่เบียดเบียน
๔. น้อมไปในความสิ้นตัณหา
๕. น้อมไปในความสิ้นอุปาทาน
๖. น้อมไปในความไม่ลุ่มหลง
บางทีจะมีบางท่านในพระธรรมวินัยนี้สำคัญไปว่า ‘ท่านรูปนี้อาศัยคุณเพียง
ศรัทธาอย่างเดียวเป็นแน่ จึงน้อมไปในเนกขัมมะ’ แต่ข้อนี้ไม่พึงเห็นอย่างนั้น
เพราะพระขีณาสพผู้อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่เห็นว่าตน
ยังจะต้องทำกิจอะไรอีก หรือต้องไปสั่งสมกิจที่ทำแล้ว๓ ย่อมน้อมไปในเนกขัมมะ
เพราะสิ้นราคะ เพราะปราศจากราคะ ย่อมน้อมไปในเนกขัมมะเพราะสิ้นโทสะ เพราะ
ปราศจากโทสะ ย่อมน้อมไปในเนกขัมมะเพราะสิ้นโมหะ เพราะปราศจากโมหะ

เชิงอรรถ :
๑ คำว่า น้อมไป แปลจากบาลีว่า ‘อธิมุตฺโต’ หมายถึง ‘ปฏิวิชฺฌิตฺวา ปจฺจกฺขํ กตฺวา _โต’ แปลว่า “แทงตลอด
แล้ว ทำให้ประจักษ์ชัดแล้ว ดำรงอยู่” (องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๕๕/๑๓๗)
๒ ฐานะ ในที่นี้หมายถึงเหตุ ๖ ประการเป็นคำใช้แทนอรหัตตผล ที่มีชื่อเรียกว่า เนกขัมมะ เพราะออกไป
จากกิเลสทั้งปวงได้ ที่มีชื่อเรียกว่า ปวิเวก เพราะสงัดจากกิเลสทั้งหลาย ที่มีชื่อเรียกว่า ความไม่เบียด
เบียนกัน (อัพยาบาท) เพราะไม่มีความเบียดเบียน ที่มีชื่อเรียกว่า ความสิ้นตัณหา (ตัณหักขยะ) เพราะ
เกิดขึ้นในที่สุดแห่งการสิ้นตัณหา ที่มีชื่อเรียกว่า ความสิ้นอุปาทาน (อุปาทานักขยะ) เพราะเกิดขึ้น
ในที่สุดแห่งการสิ้นอุปาทาน ที่มีชื่อเรียกว่า ความไม่ลุ่มหลง (อสัมโมหะ) เพราะปราศจากความลุ่มหลง
(องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๕๕/๑๓๗)
๓ หมายถึงไม่เห็นว่าจะต้องทำกิจ ๔ อย่าง มีปริญญากิจ (หน้าที่กำหนดรู้ทุกข์) เป็นต้น (ดูรายละเอียดในเชิง
อรรถข้อ ๕๖ หน้า ๙๘) และไม่เห็นว่าจะต้องเพิ่มพูนกุศลธรรมและอกุศลธรรมที่เคยทำมาก่อนอีก (องฺ.ฉกฺก.อ.
๓/๕๕/๑๓๗, ขุ.เถร.อ. ๖๔๔/๒๖๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๕๓๖ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๖. มหาวรรค ๑. โสณสูตร
บางทีจะมีบางท่านในพระธรรมวินัยนี้สำคัญไปว่า ‘ท่านรูปนี้ต้องการลาภ
สักการะและการสรรเสริญเป็นแน่ จึงน้อมไปในปวิเวก๑’ ‘แต่ข้อนี้ก็ไม่พึงเห็นอย่างนั้น
เพราะพระขีณาสพผู้อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่เห็นว่าตน
ยังจะต้องทำกิจอะไรอีก หรือต้องไปสั่งสมกิจที่ทำแล้ว ย่อมน้อมไปในปวิเวกเพราะสิ้น
ราคะ เพราะปราศจากราคะ ย่อมน้อมไปในปวิเวก เพราะสิ้นโทสะ เพราะปราศจาก
โทสะ ย่อมน้อมไปในปวิเวกเพราะสิ้นโมหะ เพราะปราศจากโมหะ
บางทีจะมีบางท่านในพระธรรมวินัยนี้สำคัญไปว่า ‘ท่านรูปนี้ถือสีลัพพต-
ปรามาส๒เป็นสาระเป็นแน่ จึงน้อมไปในความไม่เบียดเบียน’ แต่ข้อนี้ก็ไม่พึงเห็น
อย่างนั้น เพราะพระขีณาสพผู้อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว
ไม่เห็นว่าตนยังจะต้องทำกิจอะไรอีก หรือต้องไปสั่งสมกิจที่ทำแล้ว ย่อมน้อมไปใน
ความไม่เบียดเบียนเพราะสิ้นราคะ เพราะปราศจากราคะ ย่อมน้อมไปในความไม่
เบียดเบียนเพราะสิ้นโทสะ เพราะปราศจากโทสะ ย่อมน้อมความไม่เบียดเบียน
เพราะสิ้นโมหะ เพราะปราศจากโมหะ
บางทีจะมีบางท่านในพระธรรมวินัยนี้ ฯลฯ ย่อมน้อมไปในความสิ้นตัณหา
เพราะสิ้นราคะ เพราะปราศจากราคะ ย่อมน้อมไปในความสิ้นตัณหา เพราะสิ้น
โทสะ เพราะปราศจากโทสะ ย่อมน้อมไปในความสิ้นตัณหา เพราะสิ้นโมหะ เพราะ
ปราศจากโมหะ
บางทีจะมีบางท่านในพระธรรมวินัยนี้ ฯลฯ ย่อมน้อมไปในความสิ้นอุปาทาน
เพราะสิ้นราคะ เพราะปราศจากราคะ ย่อมน้อมไปความสิ้นอุปาทานเพราะสิ้น
โทสะ เพราะปราศจากโทสะ ย่อมน้อมไปในความสิ้นอุปาทาน เพราะสิ้นโมหะ
เพราะปราศจากโมหะ
บางทีจะมีบางท่านในพระธรรมวินัยนี้ ฯลฯ ย่อมน้อมไปในความไม่ลุ่มหลง
เพราะสิ้นราคะ เพราะปราศจากราคะ ย่อมน้อมไปในความไม่ลุ่มหลงเพราะสิ้น

เชิงอรรถ :
๑ ข้อความว่า “ท่านรูปนี้ต้องการลาภสักการะและการสรรเสริญเป็นแน่ จึงน้อมไปในวิเวก” นี้ อรรถกถา
อธิบายขยายความว่า “ท่านรูปนี้ต้องการลาภสักการะและการสรรเสริญเป็นแน่ จึงพยากรณ์พระอรหัตต-
ผลอย่างนี้ว่า ‘เราน้อมไปในปวิเวก” (องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๕๕/๑๓๗)
๒ สีลัพพตปรามาส คือความยึดถือว่าบุคคลบริสุทธิ์หลุดพ้นได้ด้วยศีล และวัตร (วิ.อ. ๓/๒๔๓/๑๖๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๕๓๗ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๖. มหาวรรค ๑. โสณสูตร
โทสะ เพราะปราศจากโทสะ ย่อมน้อมไปในความไม่ลุ่มหลง เพราะสิ้นโมหะ เพราะ
ปราศจากโมหะ
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถ้ารูปารมณ์ที่รุนแรงที่จะพึงรู้แจ้งทางตา มาปรากฏ
ทางตาของภิกษุผู้มีจิตหลุดพ้นแล้วโดยชอบอย่างนี้ รูปารมณ์เหล่านั้นย่อมไม่ครอบงำ
จิตของภิกษุนั้นได้เลย จิตของภิกษุนั้นไม่ถูกอารมณ์ครอบงำ เป็นธรรมชาติมั่นคง
หนักแน่น และภิกษุนั้นก็พิจารณาเห็นความเกิดดับของจิตนั้น
ถ้าสัททารมณ์ที่รุนแรงที่จะพึงรู้แจ้งทางหู ฯลฯ
ถ้าคันธารมณ์ที่รุนแรงที่จะพึงรู้แจ้งทางจมูก ฯลฯ
ถ้ารสารมณ์ที่รุนแรงที่จะพึงรู้แจ้งทางลิ้น ฯลฯ
ถ้าโผฏฐัพพารมณ์ที่รุนแรงที่จะพึงรู้แจ้งทางกาย ฯลฯ
แม้ถ้าธรรมารมณ์ที่รุนแรงที่จะพึงรู้แจ้งทางใจ มาปรากฏทางใจของภิกษุผู้มีจิต
หลุดพ้นแล้วโดยชอบอย่างนี้ ธรรมารมณ์เหล่านั้นย่อมไม่ครอบงำจิตของภิกษุนั้น
ได้เลย จิตของภิกษุนั้นไม่ถูกอารมณ์ครอบงำ เป็นธรรมชาติมั่นคงหนักแน่น
และภิกษุนั้นก็พิจารณาเห็นความเกิดดับของจิตนั้น
จิตของพระขีณาสพผู้น้อมไปในเนกขัมมะ
น้อมไปในปวิเวก น้อมไปในความไม่เบียดเบียน
น้อมไปในความสิ้นอุปาทาน
น้อมไปในความสิ้นตัณหา และน้อมไปในความไม่ลุ่มหลง
ย่อมหลุดพ้นโดยชอบเพราะเห็นความเกิดแห่งอายตนะ๑
ภิกษุผู้มีจิตสงบระงับหลุดพ้นโดยชอบ
ย่อมไม่มีการสั่งสมกิจที่ทำแล้ว
ทั้งไม่มีกิจที่จะต้องทำอีก
ภูเขาหินแท่งทึบย่อมไม่สะเทือนเพราะลม ฉันใด
รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ และธรรมารมณ์ทั้งมวล

เชิงอรรถ :
๑ รวมถึงความดับแห่งอายตนะด้วย (วิ.อ. ๓/๒๔๓-๒๔๔/๑๖๕, สารตฺถ.ฏีกา ๓/๒๔๔/๓๕๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๕๓๘ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๖. มหาวรรค ๒. ผัคคุณสูตร
ทั้งที่เป็นอิฏฐารมณ์ และอนิฏฐารมณ์
ย่อมทำจิตของผู้คงที่ให้หวั่นไหวไม่ได้ ฉันนั้น
จิตของผู้คงที่นั้นเป็นจิตตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว
ไม่เกาะเกี่ยวด้วยอารมณ์อะไร
เพราะท่านผู้คงที่พิจารณาเห็นความเกิดดับของจิตนั้น๑
โสณสูตรที่ ๑ จบ
๒. ผัคคุณสูตร
ว่าด้วยพระผัคคุณะอาพาธ
[๕๖] สมัยนั้นแล ท่านพระผัคคุณะ อาพาธ ได้รับทุกข์ เป็นไข้หนัก ครั้งนั้น
ท่านพระอานนท์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่
สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ท่านพระผัคคุณะ
อาพาธ มีทุกข์ เป็นไข้หนัก ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานวโรกาส ขอพระผู้มี
พระภาคทรงอาศัยความอนุเคราะห์ เสด็จเข้าไปเยี่ยมท่านพระผัคคุณะถึงที่อยู่เถิด
พระผู้มีพระภาคทรงรับด้วยพระอาการดุษณี
ครั้นเวลาเย็น พระผู้มีพระภาคเสด็จออกจากที่หลีกเร้น๒เสด็จเข้าไปหาท่าน
พระผัคคุณะถึงที่อยู่ ท่านพระผัคคุณะได้เห็นพระผู้มีพระภาคกำลังเสด็จมาแต่ไกล
จึงลุกขึ้นจากเตียง ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกับท่านพระผัคคุณะว่า “อย่าเลย
ผัคคุณะ เธออย่าลุกจากเตียงเลย อาสนะที่ภิกษุอื่นปูลาดไว้ยังมีอยู่ เราจักนั่งบน
อาสนะนั้น” พระผู้มีพระภาคประทับนั่งบนพุทธอาสน์ที่ปูลาดไว้ ได้ตรัสถามท่าน
พระผัคคุณะดังนี้ว่า

เชิงอรรถ :
๑ คำว่า “ความเกิดดับของจิตนั้น” แปลตามนัย องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๕๕/๑๓๘ แต่ใน ขุททกนิกาย แปลว่า
“ความเสื่อมไปแห่งอารมณ์นั้น” ตามนัย ขุ.เถร.อ. ๒/๖๔๔/๒๖๓ ดู วิ.ม. ๕/๒๔๓/๔-๕, ขุ.เถร. (แปล)
๒๖/๖๔๐-๖๔๔/๔๕๐
๒ ดูเชิงอรรถที่ ๑ ข้อ ๑๗ (โสปปสูตร) หน้า ๔๓๙ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๕๓๙ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๖. มหาวรรค ๒. ผัคคุณสูตร
“ผัคคุณะ เธอยังสบายดีหรือ ยังพอเป็นอยู่ได้หรือ ทุกขเวทนาทุเลา ไม่กำเริบ
หรืออาการทุเลาปรากฏ อาการกำเริบไม่ปรากฏหรือ๑”
ท่านพระผัคคุณะกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ไม่สบาย
จะเป็นอยู่ไม่ได้ ทุกขเวทนาของข้าพระองค์มีแต่กำเริบหนักขึ้น ไม่ทุเลาลงเลย อาการ
กำเริบปรากฏ อาการทุเลาไม่ปรากฏ
เปรียบเหมือนคนที่แข็งแรงใช้เหล็กแหลมที่คมแทงศีรษะ ฉันใด ลมอันแรงกล้า
ก็เสียดแทงศีรษะของข้าพระองค์ ฉันนั้นเหมือนกัน ข้าพระองค์ไม่สบาย จะเป็นอยู่
ไม่ได้ ทุกขเวทนาของข้าพระองค์มีแต่กำเริบหนักขึ้น ไม่ทุเลาลงเลย อาการกำเริบ
ปรากฏ อาการทุเลาไม่ปรากฏ
เปรียบเหมือนคนที่แข็งแรง พึงใช้เชือกหนังที่เหนียวรัดที่ศีรษะ ฉันใด ความ
เจ็บปวดในศีรษะของข้าพระองค์ก็มีประมาณยิ่งฉันนั้นเหมือนกัน ข้าพระองค์ไม่สบาย
จะเป็นอยู่ไม่ได้ ทุกขเวทนาของข้าพระองค์มีแต่กำเริบหนักขึ้น ไม่ทุเลาลงเลย อาการ
กำเริบปรากฏ อาการทุเลาไม่ปรากฏ
เปรียบเหมือนคนฆ่าโคหรือลูกมือของคนฆ่าโคผู้ชำนาญพึงใช้มีดแล่เนื้อที่คม
กรีดท้อง ฉันใด ลมอันแรงกล้าก็เสียดแทงท้องของข้าพระองค์ ฉันนั้นเหมือนกัน
ข้าพระองค์ไม่สบาย จะเป็นอยู่ไม่ได้ ทุกขเวทนาของข้าพระองค์มีแต่กำเริบหนักขึ้น
ไม่ทุเลาลงเลย อาการกำเริบปรากฏ อาการทุเลาไม่ปรากฏ
เปรียบเหมือนคนที่แข็งแรง ๒ คนพึงจับแขนคนที่อ่อนแอกว่าคนละข้าง ย่างให้
ร้อนบนหลุมถ่านเพลิง ฉันใด ความเร่าร้อนในกายของข้าพระองค์ก็มีมากยิ่งฉันนั้น
เหมือนกัน ข้าพระองค์ไม่สบาย จะเป็นอยู่ไม่ได้ ทุกขเวทนาของข้าพระองค์มีแต่
กำเริบหนักขึ้น ไม่ทุเลาลงเลย อาการกำเริบปรากฏ อาการทุเลาไม่ปรากฏ๒
ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคได้ทรงชี้แจงให้ท่านพระผัคคุณะเห็นชัด ชวนใจ
ให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริง
ด้วยธรรมีกถาแล้ว เสด็จลุกจากพุทธอาสน์จากไป

เชิงอรรถ :
๑ ดู สํ.สฬา. ๑๘/๗๔/๖๖
๒ ดู ม.มู. ๑๒/๓๗๘/๓๓๙-๓๔๐, สํ.สฬา. (แปล) ๑๘/๘๗/๘๑

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๕๔๐ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๖. มหาวรรค ๒. ผัคคุณสูตร
ครั้งนั้น เมื่อพระผู้มีพระภาคเสด็จหลีกไปไม่นาน ท่านพระผัคคุณะได้มรณภาพ
แล้ว ในเวลามรณภาพ อินทรีย์๑ของท่านผ่องใสยิ่งนัก ต่อมา ท่านพระอานนท์เข้าไป
เฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระ
ผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อพระผู้มีพระภาคเสด็จหลีกไปไม่นาน
ท่านพระผัคคุณะได้มรณภาพแล้ว และในเวลามรณภาพอินทรีย์ของท่านผ่องใสยิ่งนัก”
อานิสงส์การฟังธรรม
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อานนท์ อินทรีย์ของผัคคุณภิกษุจักไม่ผ่องใสได้
อย่างไร แรกทีเดียวจิตของผัคคุณภิกษุยังไม่หลุดพ้นจากโอรัมภาคิยสังโยชน์
(สังโยชน์เบื้องต่ำ) ๕ ประการ แต่เพราะได้ฟังธรรมเทศนานั้น จิตของผัคคุณภิกษุ
จึงหลุดพ้นจากโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการ
อานนท์ การฟังธรรมตามกาล การพิจารณาเนื้อความตามกาลมีอานิสงส์ ๖
ประการนี้
อานิสงส์ ๖ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ภิกษุในธรรมวินัยนี้มีจิตยังไม่หลุดพ้นจากโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕
ประการ ในเวลาใกล้ตาย ในเวลานั้น เธอได้เห็นตถาคต ตถาคต
แสดงธรรมที่มีความงามในเบื้องต้น มีความงามในท่ามกลาง มี
ความงามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถและพยัญชนะ
บริสุทธิ์บริบูรณ์ครบถ้วนแก่เธอ เพราะได้ฟังธรรมเทศนานั้น จิตของ
เธอจึงหลุดพ้นจากโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการ นี้เป็นอานิสงส์
ประการที่ ๑ ในการฟังธรรมตามกาล
๒. ภิกษุในธรรมวินัยนี้มีจิตยังไม่หลุดพ้นจากโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕
ประการ ในเวลาใกล้ตาย ในเวลานั้น เธอไม่ได้เห็นตถาคตเลย แต่ได้
เห็นสาวกของตถาคต สาวกของตถาคตแสดงธรรมที่มีความงามใน

เชิงอรรถ :
๑ อินทรีย์ ในที่นี้หมายถึงอินทรีย์ ๖ คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ (องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๕๖/๑๓๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๕๔๑ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๖. มหาวรรค ๒. ผัคคุณสูตร
เบื้องต้น มีความงามในท่านกลาง มีความงามในที่สุด ประกาศ
พรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถและพยัญชนะ บริสุทธิ์ บริบูรณ์ครบถ้วน
แก่เธอ เพราะได้ฟังธรรมเทศนานั้น จิตของเธอจึงหลุดพ้นจาก
โอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการ นี้เป็นอานิสงส์ประการที่ ๒ ในการ
ฟังธรรมตามกาล
๓. ภิกษุในธรรมวินัยนี้มีจิตยังไม่หลุดพ้นจากโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕
ประการ ในเวลาใกล้ตาย ในเวลานั้น เธอไม่ได้เห็นตถาคต ทั้งไม่ได้
เห็นสาวกของตถาคต แต่ตรึกตาม ตรองตาม เพ่งตามด้วยใจ
ซึ่งธรรม ตามที่ตนได้สดับมา ตามที่ตนได้เรียนมา เมื่อเธอตรึก
ตามตรองตามเพ่งตามด้วยใจซึ่งธรรมตามที่ตนได้สดับมา ตามที่ได้
เรียนมา จิตของเธอจึงหลุดพ้นจากโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการ
นี้เป็นอานิสงส์ประการที่ ๓ ในการพิจารณาเนื้อความตามกาล
๔. ภิกษุในธรรมวินัยนี้มีจิตหลุดพ้นแล้วจากโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕
ประการ แต่จิตของเธอยังไม่น้อมไปในธรรมเป็นที่สิ้นไปแห่งอุปธิ-
กิเลสอันยอดเยี่ยม๑ ในเวลาใกล้ตาย ในเวลานั้น เธอได้เห็นตถาคต
ตถาคตย่อมแสดงธรรมที่มีความงามในเบื้องต้น มีความงามใน
ท่ามกลาง ฯลฯ ประกาศพรหมจรรย์บริสุทธิ์ บริบูรณ์ครบถ้วน
แก่เธอ เพราะได้ฟังธรรมเทศนานั้น จิตของเธอจึงน้อมไปในธรรม
เป็นที่สิ้นไปแห่งอุปธิกิเลสอันยอดเยี่ยม นี้เป็นอานิสงส์ประการที่ ๔
ในการฟังธรรมตามกาล
๕. ภิกษุในธรรมวินัยนี้มีจิตหลุดพ้นแล้วจากโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕
ประการ แต่จิตของเธอไม่น้อมไปในธรรมเป็นที่สิ้นไปแห่งอุปธิกิเลส
อันยอดเยี่ยม ในเวลาใกล้ตาย ในเวลานั้น เธอไม่ได้เห็นตถาคต
แต่เธอได้เห็นสาวกของตถาคต สาวกของตถาคตแสดงธรรมที่มี
ความงามในเบื้องต้น ฯลฯ ประกาศพรหมจรรย์บริสุทธิ์ บริบูรณ์
ครบถ้วนแก่เธอ เพราะได้ฟังธรรมเทศนานั้น จิตของเธอจึงน้อมไป

เชิงอรรถ :
๑ ธรรมเป็นที่สิ้นไปแห่งอุปธิกิเลสอันยอดเยี่ยม ในที่นี้หมายถึงนิพพาน (องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๕๖/๑๓๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๕๔๒ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๖. มหาวรรค ๓. ฉฬภิชาติสูตร
ในธรรมเป็นที่สิ้นไปแห่งอุปธิกิเลสอันยอดเยี่ยม นี้เป็นอานิสงส์
ประการที่ ๕ ในการฟังธรรมตามกาล
๖. ภิกษุในธรรมวินัยนี้มีจิตหลุดพ้นแล้วจากโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕
ประการ แต่จิตของเธอไม่น้อมไปในธรรมเป็นที่สิ้นไปแห่งอุปธิกิเลส
อันยอดเยี่ยม ในเวลาใกล้ตาย ในเวลานั้น เธอไม่ได้เห็นทั้งตถาคต
ทั้งไม่ได้เห็นสาวกของตถาคต แต่เธอตรึกตาม ตรองตาม เพ่งตาม
ด้วยใจซึ่งธรรมตามที่ตนได้สดับมา ตามที่ตนได้เรียนมา เมื่อเธอ
ตรึกตาม ตรองตาม เพ่งตามด้วยใจซึ่งธรรมตามที่ตนได้สดับมา
ตามที่ตนได้เรียนมา จิตของเธอจึงน้อมไปในธรรมเป็นที่สิ้นไปแห่ง
อุปธิกิเลสอันยอดเยี่ยม นี้เป็นอานิสงส์ประการที่ ๖ ในการพิจารณา
เนื้อความตามกาล
อานนท์ การพิจารณาเนื้อความตามกาลมีอานิสงส์ ๖ ประการนี้แล
ผัคคุณสูตรที่ ๒ จบ
๓. ฉฬภิชาติสูตร
ว่าด้วยอภิชาติ๑ ๖ จำพวก
[๕๗] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ภูเขาคิชฌกูฏ เขตกรุง
ราชคฤห์ ครั้งนั้นแล ท่านพระอานนท์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวาย
อภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ปูรณะ กัสสปะบัญญัติอภิชาติ ๖ จำพวก คือ
๑. บัญญัติกัณหาภิชาติ (ชาติดำ)
๒. บัญญัตินีลาภิชาติ (ชาติเขียว)
๓. บัญญัติโลหิตาภิชาติ (ชาติแดง)

เชิงอรรถ :
๑ อภิชาติ ในที่นี้หมายถึงการกำหนดหมายชนเป็นชั้น เป็นกลุ่ม เช่นหมู่คนที่ประพฤติอย่างนี้ ๆ กำหนดเรียก
อย่างนี้ ๆ (ที.สี.อ. ๑๖๘/๑๔๗) หรือหมายถึงชาติกำเนิด (องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๕๗/๑๓๙, องฺ.ฉกฺก.ฏีกา ๓/๕๗/
๑๕๐) และดู ที.สี. (แปล) ๙/๑๖๘/๕๕

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๕๔๓ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๖. มหาวรรค ๓. ฉฬภิชาติสูตร
๔. บัญญัติหลิททาภิชาติ (ชาติเหลือง)
๕. บัญญัติสุกกาภิชาติ (ชาติขาว)
๖. บัญญัติปรมสุกกาภิชาติ (ชาติขาวยิ่ง)
ปูรณะ กัสสปะบัญญัติคนฆ่าแพะ คนฆ่าสุกร พรานนก พรานเนื้อ ชาวประมง
โจร เพชฌฆาต เจ้าหน้าที่เรือนจำ หรือคนทำงานที่โหดร้ายอื่น ๆ ว่าเป็นกัณหาภิชาติ
บัญญัติพวกภิกษุผู้โน้มเอียงไปในฝ่ายดำ หรือพวกกัมมวาทะ กิริยวาทะอื่น ๆ
ว่าเป็นนีลาภิชาติ
บัญญัตินิครนถ์ผู้ใช้ผ้าผืนเดียวว่าเป็นโลหิตาภิชาติ
บัญญัติคฤหัสถ์ผู้นุ่งผ้าขาว หรือสาวกของอเจลก๑ว่าเป็นหลิททาภิชาติ
บัญญัติอาชีวกหรืออาชีวิกาว่าเป็นสุกกาภิชาติ
บัญญัติเจ้าลัทธิชื่อว่า นันทวัจฉโคตร เจ้าลัทธิชื่อกิสสังกิจจโคตร เจ้าลัทธิ
ชื่อมักขลิโคสาลว่าเป็นปรมสุกกาภิชาติ
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ปูรณะ กัสสปะบัญญัติอภิชาติ ๖ ประการนี้ไว้”
พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “อานนท์ การที่ปูรณะ กัสสปะบัญญัติอภิชาติ ๖
ประการนี้ไว้ ชาวโลกทั้งปวงเห็นคล้อยตามด้วยหรือ”
พระอานนท์กราบทูลว่า “ไม่เป็นอย่างนั้นเลย พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อานนท์ คนทั้งหลายบังคับบุรุษยากจน ขัดสน
เข็ญใจ ผู้ไม่ปรารถนาส่วนเนื้อว่า ‘แน่ะบุรุษผู้เจริญ ท่านพึงกินเนื้อนี้ และต้องให้
ค่าเนื้อ’ ฉันใด ปูรณะ กัสสปะก็ฉันนั้นเหมือนกัน บัญญัติอภิชาติ ๖ ประการนี้
สำหรับสมณพราหมณ์เหล่านั้นไว้ โดยที่ชาวโลกทั้งปวงก็ไม่ยอมรับ เหมือนคนพาล
ไม่เฉียบแหลม ไม่รู้หลักการบัญญัติ ไม่ฉลาด
อานนท์ เราก็บัญญัติอภิชาติ ๖ ประการไว้ ขอเธอจงฟัง จงใส่ใจให้ดี
เราจักกล่าว”

เชิงอรรถ :
๑ สาวกของอเจลก หมายถึงสาวกของอาชีวก (นักบวชเปลือย) ซึ่งถือตัวว่าตนมีจิตขาวสะอาดบริสุทธิ์กว่า
พวกนิครนถ์และยกย่องผู้ที่ให้ปัจจัยแก่ตนว่าประเสริฐกว่าพวกนิครนถ์เช่นกัน (องฺ.ฉกฺก.ฏีกา ๓/๕๗/๑๕๐)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๕๔๔ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๖. มหาวรรค ๓. ฉฬภิชาติสูตร
ท่านพระอานนท์ทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า
อานนท์ อภิชาติ ๖ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นกัณหาภิชาติ ประพฤติธรรมดำ
๒. บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นกัณหาภิชาติ ประพฤติธรรมขาว
๓. บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นกัณหาภิชาติ บรรลุนิพพานที่ไม่ดำไม่ขาว
๔. บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นสุกกาภิชาติ ประพฤติธรรมดำ
๕. บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นสุกกาภิชาติ ประพฤติธรรมขาว
๖. บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นสุกกาภิชาติ บรรลุนิพพานที่ไม่ดำไม่ขาว
บุคคลเป็นกัณหาภิชาติ ประพฤติธรรมดำ เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้เกิดในตระกูลต่ำ คือ ตระกูลจัณฑาล ตระกูล
นายพราน ตระกูลช่างสาน ตระกูลช่างรถ หรือตระกูลคนขนขยะ ซึ่งเป็นตระกูล
ยากจน มีข้าวน้ำและสิ่งของเครื่องใช้น้อย เป็นไปอย่างฝืดเคือง เป็นแหล่งที่หาของ
กินและเครื่องนุ่งห่มได้ยาก และเขามีผิวพรรณหม่นหมอง ไม่น่าดู ต่ำเตี้ย มีความ
เจ็บป่วยมาก ตาบอด เป็นง่อย เป็นคนกระจอกหรือเป็นโรคอัมพาต มักไม่ได้ข้าว
น้ำ ผ้า ยาน ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่พัก และเครื่องประทีป
และเขายังประพฤติกายทุจริต วจีทุจริต และมโนทุจริต หลังจากตายแล้วจึงไปเกิดใน
อบาย ทุคติ วินิบาต๑ นรก
บุคคลเป็นกัณหาภิชาติ ประพฤติธรรมดำ เป็นอย่างนี้แล
บุคคลเป็นกัณหาภิชาติ ประพฤติธรรมขาว เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้เกิดในตระกูลต่ำ คือ ตระกูลจัณฑาล ฯลฯ
มักไม่ได้ข้าว น้ำ ผ้า ยาน ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่พัก และเครื่อง
ประทีป แต่เขาประพฤติกายสุจริต วจีสุจริต และมโนสุจริต หลังจากตายแล้วจึงไป
เกิดในสุคติโลกสวรรค์
บุคคลเป็นกัณหาภิชาติ ประพฤติธรรมขาว เป็นอย่างนี้แล

เชิงอรรถ :
๑ อบาย ทุคติ วินิบาต ทั้ง ๓ คำนี้เป็นไวพจน์ของนรก (องฺ.เอกก.อ. ๑/๔๓/๕๐)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๕๔๕ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๖. มหาวรรค ๓. ฉฬภิชาติสูตร
บุคคลเป็นกัณหาภิชาติ บรรลุนิพพานที่ไม่ดำไม่ขาว เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้เกิดในตระกูลต่ำ คือ ตระกูลจัณฑาล ฯลฯ
และเขามีผิวพรรณหม่นหมอง ไม่น่าดู ต่ำเตี้ย เขาโกนผมและหนวด นุ่งห่มผ้า
กาสาวพัสตร์ ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต เขาผู้บวชแล้วอย่างนี้ ละนิวรณ์ ๕
ประการอันเป็นเครื่องเศร้าหมองใจ ทอนกำลังปัญญา มีจิตตั้งมั่นดีในสติปัฏฐาน ๔
ประการ๑ เจริญโพชฌงค์ ๗ ประการ๒ ตามความเป็นจริงแล้ว บรรลุนิพพานที่ไม่ดำ
ไม่ขาว
บุคคลเป็นกัณหาภิชาติ บรรลุนิพพานที่ไม่ดำไม่ขาว เป็นอย่างนี้แล
บุคคลเป็นสุกกาภิชาติ ประพฤติธรรมดำ เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้เกิดในตระกูลสูง คือ ตระกูลขัตติยมหาศาล
ตระกูลพราหมณมหาสาล ตระกูลคหบดีมหาศาล ซึ่งเป็นตระกูลมั่งคั่ง มีทรัพย์
มาก มีโภคะมาก มีทองและเงินมาก มีเครื่องใช้ที่น่าปลื้มใจมาก มีทรัพย์และข้าว
เปลือกมาก๓ และเขามีรูปงาม น่าดู น่าเลื่อมใส มีฉวีวรรณผุดผ่องยิ่งนัก มักได้ข้าว
น้ำ ผ้า ยาน ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่พัก และเครื่องประทีป แต่เขา
ประพฤติกายทุจริต วจีทุจริต และมโนทุจริต หลังจากตายแล้วจึงไปเกิดในอบาย
ทุคติ วินิบาต นรก
บุคคลเป็นสุกกาภิชาติ ประพฤติธรรมดำ เป็นอย่างนี้แล
บุคคลเป็นสุกกาภิชาติ ประพฤติธรรมขาว เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้เกิดในตระกูลสูง คือ ตระกูลขัตติยมหาศาล ฯลฯ
มักได้ข้าว น้ำ ผ้า ยาน ดอกไม้ของหอม และเครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่พัก และเครื่อง

เชิงอรรถ :
๑ ดู ที.ม. ๑๐/๓๗๒-๓๗๔/๒๔๘-๒๔๙, อภิ.วิ. (แปล) ๓๕/๓๕๕/๓๐๖, ๓๗๔/๓๑๙
๒ ดู ที.ปา. ๑๑/๓๓๐/๒๒๑, องฺ.ติก. (แปล) ๒๐/๑๕๗-๑๖๓/๔๐๔, อภิ.วิ. (แปล) ๓๕/๔๖๖-๔๗๑/๓๕๘-๓๖๑
๓ มีทรัพย์และข้าวเปลือกมาก ในที่นี้หมายถึงมีทรัพย์คือโคเป็นต้น และมีปุพพัณณชาติ ได้แก่ ธัญญชาติ
๗ ชนิด คือ (๑) ข้าวเปลือก (๒) ข้าวเจ้า (๓) หญ้ากับแก้ (๔) ข้าวละมาน (๕) ลูกเดือย (๖) ข้าวเหนียว
(๗) ข้าวละมาน ตลอดถึงมีอปรัณณชาติ ได้แก่ ถั่วเขียว ถั่วราชมาส งา พืชผักที่กินหลังอาหารมากมาย
(วิ.อ. ๑/๑๐๔/๓๖๘, สารตฺถ.ฏีกา ๒/๑๐๔/๑๗๖, สํ.สฬา.อ. ๑/๑๑๔/๑๓๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๕๔๖ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๖. มหาวรรค ๔. อาสวสูตร
ประทีป และเขายังประพฤติกายสุจริต วจีสุจริต และมโนสุจริต หลังจากตายแล้ว
จึงไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์
บุคคลเป็นสุกกาภิชาติ ประพฤติธรรมขาว เป็นอย่างนี้แล
บุคคลเป็นสุกกาภิชาติ บรรลุนิพพานที่ไม่ดำไม่ขาว เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้เกิดในตระกูลสูง คือตระกูลขัตติยมหาศาล
ตระกูลพราหมณมหาศาล ตระกูลคหบดีมหาศาล ซึ่งเป็นตระกูลมั่งคั่ง มีทรัพย์
มาก มีโภคะมาก มีทองและเงินมาก มีเครื่องใช้ที่น่าปลื้มใจมาก มีทรัพย์และข้าว
เปลือกมาก และเขามีรูปงาม น่าดู น่าเลื่อมใส มีฉวีวรรณผุดผ่องยิ่งนัก เขาโกน
ผมและหนวด นุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์ ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต เขาผู้บวช
แล้วอย่างนี้ ละนิวรณ์ ๕ ประการ อันเป็นเครื่องเศร้าหมองใจ ทอนกำลังปัญญา
มีจิตตั้งมั่นดีในสติปัฏฐาน ๔ ประการ เจริญโพชฌงค์ ๗ ประการ ตามความ
เป็นจริงแล้ว บรรลุนิพพานที่ไม่ดำไม่ขาวอย่างนี้
บุคคลเป็นสุกกาภิชาติ บรรลุนิพพานที่ไม่ดำไม่ขาว เป็นอย่างนี้แล
อานนท์ อภิชาติ ๖ ประการนี้แล
ฉฬภิชาติสูตรที่ ๓ จบ
๔. อาสวสูตร
ว่าด้วยอาสวธรรม๑
[๕๘] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๖ ประการ เป็นผู้ควรแก่
ของที่เขานำมาถวาย ควรแก่ของต้อนรับ ควรแก่ทักษิณา ควรแก่การทำอัญชลี
เป็นนาบุญอันยอดเยี่ยมของโลก
ธรรม ๖ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. ละอาสวะที่จะพึงละได้ด้วยการสังวร๒
๒. ละอาสวะที่จะพึงละได้ด้วยการใช้สอย

เชิงอรรถ :
๑ ดู ที.ม. ๑๐/๑๔๒/๗๓, สํ.สฬา. (แปล) ๑๘/๓๒๑/๓๔๐, อภิ.วิ. (แปล) ๓๕/๙๓๗/๕๘๖-๕๘๗
๒ สังวร เป็นชื่อของสติ หมายถึงการระวัง การปิด การกั้น (องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๕๘/๑๓๙)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๕๔๗ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๖. มหาวรรค ๔. อาสวสูตร
๓. ละอาสวะที่จะพึงละได้ด้วยความอดกลั้น
๔. ละอาสวะที่จะพึงละได้ด้วยการเว้น
๕. ละอาสวะที่จะพึงละได้ด้วยการบรรเทา๑
๖. ละอาสวะที่จะพึงละได้ด้วยการเจริญ
ภิกษุละอาสวะที่จะพึงละได้ด้วยการสังวร เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ พิจารณาโดยแยบคายแล้ว๒ เป็นผู้สำรวมด้วยการสังวร
ในจักขุนทรีย์อยู่ ซึ่งเมื่อเธอไม่สำรวมอยู่ อาสวะ๓และความเร่าร้อนที่ก่อความคับแค้น
ก็จะพึงเกิดขึ้น เมื่อเธอสำรวมอยู่ อาสวะและความเร่าร้อนที่ก่อความคับแค้นย่อม
ไม่มีแก่เธอ ด้วยอาการอย่างนี้ ภิกษุพิจารณาโดยแยบคายแล้วเป็นผู้สำรวมด้วยการ
สังวรในโสตินทรีย์ ... ฆานินทรีย์ ... ชิวหินทรีย์ ... กายินทรีย์ ... เป็นผู้สำรวมด้วย
การสังวรในมนินทรีย์อยู่ ซึ่งเมื่อเธอไม่สำรวมอยู่ อาสวะและความเร่าร้อนที่ก่อ
ความคับแค้นก็จะพึงเกิดขึ้น เมื่อเธอสำรวมอยู่ อาสวะและความเร่าร้อนที่ก่อความ
คับแค้นย่อมไม่มีแก่เธอ ด้วยอาการอย่างนี้
ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ภิกษุละอาสวะที่จะพึงละได้ด้วยการสังวร
ภิกษุละอาสวะที่จะพึงละได้ด้วยการใช้สอย เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้พิจารณาโดยแยบคายแล้วใช้สอยจีวรเพียงเพื่อป้องกัน
ความหนาว ความร้อน เหลือบยุง ลม แดด และสัมผัสแห่งสัตว์เลื้อยคลาน

เชิงอรรถ :
๑ ดู อปัสเสนธรรม ๔ ประการ ใน องฺ.ทสก. (แปล) ๒๔/๒๐/๔๐, ที.ปา ๑๑/๓๐๘/๒๐๐, ที.ปา.อ. ๓๐๘/๒๐๔
๒ โดยแยบคาย ในที่นี้หมายถึงโดยอุบายหรือแนวทาง ได้แก่ พิจารณาเห็นโทษของการไม่สำรวมจักขุนทรีย์
เป็นต้น เช่น พิจารณาเปรียบเทียบว่าการถูกทิ่มแทงด้วยหลาวเหล็กแดงอันร้อนลุกโชน ยังดีกว่าการไม่
พิจารณาแล้วเกิดอิฏฐารมณ์หรืออนิฏฐารมณ์ในรูปเป็นต้น (องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๕๘/๑๓๙)
๓ ดูเชิงอรรถที่ ๕ ปัญจกนิบาต ข้อ ๒๐๐ (นิสสารณียสูตร) หน้า ๓๔๐ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๕๔๘ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๖. มหาวรรค ๔. อาสวสูตร
เพื่อปกปิดอวัยวะที่น่าละอาย พิจารณาโดยแยบคายแล้วฉันบิณฑบาต ไม่ใช่เพื่อ
เล่น ไม่ใช่เพื่อความมัวเมา๑ ไม่ใช่เพื่อประดับ๒ ไม่ใช่เพื่อตกแต่ง๓ แต่เพื่อกายนี้ดำรง
อยู่ได้ เพื่อให้ชีวิตินทรีย์เป็นไป เพื่อบำบัดความหิว เพื่ออนุเคราะห์พรหมจรรย์
ด้วยคิดเห็นว่า ‘โดยอุบายนี้เราจักกำจัดเวทนาเก่าเสียได้ และจักไม่ให้เวทนาใหม่
เกิดขึ้น ความดำรงอยู่แห่งชีวิต ความไม่มีโทษ และการอยู่โดยผาสุกจักมีแก่เรา’
พิจารณาโดยแยบคายแล้วใช้สอยเสนาสนะเพื่อป้องกันความหนาว ความร้อน
เหลือบ ยุง ลม แดด และสัมผัสแห่งสัตว์เลื้อยคลาน เพื่อบรรเทาอันตรายที่เกิด
จากฤดู และยินดีในการหลีกเร้น พิจารณาโดยแยบคายแล้วใช้สอยคิลานปัจจัย-
เภสัชชบริขาร๔ เพื่อบรรเทาเวทนาที่เกิดจากอาพาธต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นแล้ว เพื่อไม่มี
ความเบียดเบียนเป็นที่สุด๕ ซึ่งเมื่อเธอไม่ใช้สอยอยู่ อาสวะและความเร่าร้อนที่ก่อ
ความคับแค้นก็จะพึงเกิดขึ้น เมื่อเธอใชัสอยอยู่ อาสวะและความเร่าร้อนที่ก่อความ
คับแค้น ย่อมไม่มีแก่เธอ ด้วยอาการอย่างนี้
ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ภิกษุละอาสวะที่จะพึงละได้ด้วยการใช้สอย
ภิกษุละอาสวะที่จะพึงละได้ด้วยความอดกลั้น เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้พิจารณาโดยแยบคายแล้วเป็นผู้อดทนต่อความหนาว
ความร้อน ความหิว กระหาย เหลือบ ยุง ลม แดด และสัมผัสแห่งสัตว์เลื้อยคลาน

เชิงอรรถ :
๑ เพื่อความมัวเมา หมายถึงความถือตัว ความลำพองตน ความทะนงตน ความเห่อเหิม ในที่นี้หมายถึง
ความถือตัวว่ามีกำลังเหมือนนักมวยปล้ำ ความถือตัวเพราะมานะ และความถือตัวว่าเป็นชาย (องฺ.ฉกฺก.ฏีกา
๓/๕๘/๑๕๕) และดู อภิ.วิ. (แปล) ๓๕/๘๔๕/๕๕๐
๒ เพื่อประดับ ในที่นี้หมายถึงเพื่อให้ร่างกายอ้วนพีอวบอิ่มเหมือนหญิงแพศยา (องฺ.ฉกฺก.ฏีกา. ๓/๕๘/๑๕๕,
วิสุทธิ. ๑/๑๘/๓๓)
๓ เพื่อตกแต่ง ในที่นี้หมายถึงเพื่อประเทืองผิวให้งดงามเหมือนหญิงนักฟ้อน (องฺ.ฉกฺก.ฏีกา. ๓/๕๘/๑๕๕,
วิสุทธิ. ๑/๑๘/๓๓)
๔ คำว่า คิลานปัจจัยเภสัชชบริขาร แยกอธิบายความหมายดังนี้ ยาที่ชื่อว่า คิลานปัจจัย เพราะเป็นเครื่อง
ปราบโรค ที่ชื่อว่า เภสัช เพราะเป็นวัตถุที่หมออนุญาตให้ใช้ได้ และที่ชื่อว่า บริขาร เพราะเป็นสัมภาระ
เครื่องนำชีวิตให้ดำรงอยู่ได้ (องฺ.ฉกฺก.ฏีกา ๓/๕๘/๑๕๗, วิสุทฺธิ ๑/๑๘/๓๖)
๕ เพื่อไม่มีความเบียดเบียนเป็นที่สุด หมายถึงเพื่อไม่ให้มีความทุกข์ทั้งหลายทั้งปวง (องฺ.ฉกฺก.ฏีกา ๓/๕๘/
๑๕๗, วิสุทธิ. ๑/๑๘/๓๖)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๕๔๙ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๖. มหาวรรค ๔. อาสวสูตร
เป็นผู้อดกลั้นต่อคำหยาบ คำส่อเสียด ต่อเวทนาทั้งหลายอันมีในร่างกายเป็นทุกข์
กล้าแข็ง เผ็ดร้อน ไม่น่ายินดี ไม่น่าพอใจ พรากชีวิตได้ ซึ่งเมื่อเธอไม่อดกลั้นอยู่
อาสวะและความเร่าร้อนที่ก่อความคับแค้นก็จะพึงเกิดขึ้น เมื่อเธออดกลั้นอยู่ อาสวะ
และความเร่าร้อนที่ก่อความคับแค้นย่อมไม่มีแก่เธอ ด้วยอาการอย่างนี้
ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ภิกษุละอาสวะที่จะพึงละได้ด้วยความอดกลั้น
ภิกษุละอาสวะที่จะพึงละได้ด้วยการเว้น เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้พิจารณาโดยแยบคายแล้วเว้นช้างดุร้าย เว้นม้าดุร้าย
เว้นโคดุร้าย เว้นสุนัขดุร้าย เว้นงู หลัก ตอ สถานที่มีหนาม หลุม เหว บ่อน้ำครำ
บ่อโสโครก และพิจารณาโดยแยบคายแล้วเว้นสถานที่ไม่ควรนั่ง สถานที่ไม่ควร
เที่ยวไป และมิตรชั่ว ที่เพื่อนพรหมจารีผู้รู้ทั้งหลายลงความเห็นว่าเป็นฐานะที่เป็น
บาปเสีย ซึ่งเมื่อเธอไม่เว้นอยู่ อาสวะและความเร่าร้อนที่ก่อความคับแค้นก็จะพึง
เกิดขึ้น เมื่อเธอเว้นอยู่ อาสวะและความเร่าร้อนที่ก่อความคับแค้นย่อมไม่มีแก่เธอ
ด้วยอาการอย่างนี้
ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ภิกษุละอาสวะที่จะพึงละได้ด้วยการเว้น
ภิกษุละอาสวะที่จะพึงละได้ด้วยการบรรเทา เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้พิจารณาโดยแยบคายแล้วไม่รับกามวิตกที่เกิดขึ้น ละ
บรรเทา ทำให้สิ้นสุด ทำให้ถึงความเกิดขึ้นไม่ได้อีกต่อไป พิจารณาโดยแยบคายแล้ว
ไม่รับพยาบาทวิตกที่เกิดขึ้น ฯลฯ ไม่รับวิหิงสาวิตกที่เกิดขึ้น ฯลฯ ไม่รับบาป
อกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้วเกิดขึ้นอีก ละ บรรเทา ทำให้สิ้นสุด ทำให้ถึงความเกิดขึ้น
ไม่ได้อีกต่อไป ซึ่งเมื่อเธอไม่บรรเทาอยู่ อาสวะและความเร่าร้อนที่ก่อความคับแค้น
ก็จะพึงเกิดขึ้น เมื่อเธอบรรเทาอยู่ อาสวะและความเร่าร้อนที่ก่อความคับแค้นย่อม
ไม่มีแก่เธอ ด้วยอาการอย่างนี้
ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ภิกษุละอาสวะที่จะพึงละได้ด้วยการบรรเทา


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๕๕๐ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๖. มหาวรรค ๔. อาสวสูตร
ภิกษุละอาสวะที่จะพึงละได้ด้วยการเจริญ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้พิจารณาโดยแยบคายแล้วเจริญสติสัมโพชฌงค์ที่อาศัย
วิเวก๑ อาศัยวิราคะ (ความคลายกำหนัด) อาศัยนิโรธ (ความดับ) น้อมไปในการสละ
พิจารณาโดยแยบคายแล้วเจริญธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ ฯลฯ เจริญวิริยสัมโพชฌงค์
ฯลฯ เจริญปีติสัมโพชฌงค์ ฯลฯ เจริญปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ ฯลฯ เจริญสมาธิ-
สัมโพชฌงค์ ฯลฯ เจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ที่อาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ
น้อมไปในการสละ ซึ่งเมื่อเธอไม่เจริญอยู่ อาสวะและความเร่าร้อนที่ก่อความคับแค้น
ก็จะพึงเกิดขึ้น เมื่อเธอเจริญอยู่ อาสวะและความเร่าร้อนที่ก่อความคับแค้นย่อมไม่มี
แก่เธอ ด้วยอาการอย่างนี้
ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ภิกษุละอาสวะที่จะพึงละได้ด้วยการเจริญ
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๖ ประการนี้แล เป็นผู้ควรแก่ของที่เขา
นำมาถวาย ควรแก่ของต้อนรับ ควรแก่ทักษิณา ควรแก่การทำอัญชลี เป็นนาบุญ
อันยอดเยี่ยมของโลก
อาสวสูตรที่ ๔ จบ


เชิงอรรถ :
๑ วิเวก ในที่นี้หมายถึงวิเวก (ความสงัด) ๕ ประการ คือ (๑) วิกขัมภนวิเวก (สงัดด้วยการข่มไว้ คือการสงัด
จากกิเลสของท่านผู้บำเพ็ญฌาน ย่อมข่มนิวรณ์ไว้ได้ตลอดเวลาที่อยู่ในฌานนั้น) (๒) ตทังควิเวก (สงัด
ด้วยองค์นั้น ๆ คือ สงัดจากกิเลสด้วยธรรมที่เป้นคู่ปรับหรือธรรมที่ตรงกันข้าม เช่น สงัดจากสักกายทิฏฐิ
ด้วยความรู้ที่กำหนดแยกนามรูปออกได้ เป็นการสงัดชั่วคราวในกรณีนั้น ๆ) (๓) สมุจเฉทวิเวก (สงัดด้วย
การตัดขาดคือสงัดจากกิเลสได้เด็ดขาดด้วยโลกุตตรมรรค ในขณะแห่งมรรคนั้น ๆ) (๔) ปัสสัทธิวิเวก (สงัด
ด้วยการสงบระงับ คืออาศัยโลกุตตรมรรค สงัดจากกิเลสได้เด็ดขาดบรรลุโลุกตตรผล กิเลสเป็นอันสงบ
ระงับไปหมดแล้วไม่ต้องขวนขวายเพื่อสงัดอีกในขณะแห่งผลนั้น ๆ) (๕) นิสสรณวิเวก (สงัดด้วยการสลัด
ออกได้ คือสงัดจากกิเลสได้หมดสิ้น ดำรงอยู่ในภาวะที่กิเลสสงัดแล้วยั่งยืนตลอดไป) ได้แก่ อมตธาตุคือ
นิพพาน (องฺ.ทุก.อ. ๒/๑๒/๑๐)


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๕๕๑ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๖. มหาวรรค ๕. ทารุกัมมิกสูตร
๕. ทารุกัมมิกสูตร
ว่าด้วยคหบดีชื่อทารุกัมมิกะ
[๕๙] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ คิญชกาวสถาราม ครั้งนั้น คหบดี
ชื่อว่าทารุกัมมิกะ๑ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง
ณ ที่สมควร พระผู้มีพระภาคได้ตรัสถามดังนี้ว่า
“คหบดี ทานประจำตระกูลท่านยังให้อยู่หรือ”
คหบดีกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ทานประจำตระกูลข้าพระองค์ยัง
ให้อยู่ ทั้งทานนั้นข้าพระองค์ให้ในภิกษุผู้เป็นพระอรหันต์ หรือผู้บรรลุอรหัตตมรรค
ผู้อยู่ป่าเป็นวัตร ผู้เที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร ผู้ทรงผ้าบังสุกุลเป็นวัตร”
พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “คหบดี ท่านผู้เป็นคฤหัสถ์ เป็นกามโภคี
อยู่ครองเรือน นอนเบียดเสียดบุตร ใช้สอยผงแก่นจันทน์จากแคว้นกาสี ทัดทรง
ดอกไม้ ของหอม และเครื่องลูบไล้ ยินดีทองและเงินอยู่ พึงรู้ข้อนี้ได้ยากว่า
‘เหล่านี้คือพระอรหันต์ เหล่านี้คือท่านผู้บรรลุอรหัตตมรรค’
คหบดี
๑. ถ้าภิกษุผู้อยู่ป่าเป็นวัตร เป็นผู้ฟุ้งซ่าน ถือตัว โลเล ปากกล้า
พูดพร่ำเพรื่อ หลงลืมสติ ไม่มีสัมปชัญญะ มีจิตไม่ตั้งมั่น มีจิต
กวัดแกว่ง ไม่สำรวมอินทรีย์ เมื่อเป็นอย่างนี้ ภิกษุนั้นพึงถูกติเตียน
ด้วยเหตุนั้น ถ้าภิกษุผู้อยู่ป่าเป็นวัตร เป็นผู้ไม่ฟุ้งซ่าน ไม่ถือตัว
ไม่โลเล ไม่ปากกล้า ไม่พูดพร่ำเพรื่อ มีสติมั่นคง มีสัมปชัญญะ
มีจิตตั้งมั่น มีจิตแน่วแน่ สำรวมอินทรีย์ เมื่อเป็นอย่างนี้ ภิกษุนั้น
พึงได้รับการสรรเสริญด้วยเหตุนั้น

เชิงอรรถ :
๑ ทารุกัมมิกะ หมายถึงอุบาสกผู้ประกอบอาชีพขายฟืน (องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๕๙/๑๔๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๕๕๒ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๖. มหาวรรค ๕. ทารุกัมมิกสูตร
๒. ถ้าภิกษุผู้อยู่ใกล้บ้าน เป็นผู้ฟุ้งซ่าน ฯลฯ เมื่อเป็นอย่างนี้ ภิกษุนั้น
พึงถูกติเตียนด้วยเหตุนั้น ถ้าภิกษุผู้อยู่ใกล้บ้าน เป็นผู้ไม่ฟุ้งซ่าน
ฯลฯ เมื่อเป็นอย่างนี้ ภิกษุนั้นพึงได้รับการสรรเสริญด้วยเหตุนั้น
๓. ถ้าภิกษุผู้เที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร เป็นผู้ฟุ้งซ่าน ฯลฯ เมื่อเป็น
อย่างนี้ ภิกษุนั้นพึงถูกติเตียนด้วยเหตุนั้น ถ้าภิกษุผู้เที่ยวบิณฑบาต
เป็นวัตร เป็นผู้ไม่ฟุ้งซ่าน ฯลฯ เมื่อเป็นอย่างนี้ ภิกษุนั้นพึงได้รับ
การสรรเสริญด้วยเหตุนั้น
๔. ถ้าภิกษุผู้รับนิมนต์ เป็นผู้ฟุ้งซ่าน ฯลฯ เมื่อเป็นอย่างนี้ ภิกษุนั้น
พึงถูกติเตียนด้วยเหตุนั้น ถ้าภิกษุรับนิมนต์ เป็นผู้ไม่ฟุ้งซ่าน ฯลฯ
เมื่อเป็นอย่างนี้ ภิกษุนั้นพึงได้รับการสรรเสริญด้วยเหตุนั้น
๕. ถ้าภิกษุผู้ทรงผ้าบังสุกุลเป็นวัตร เป็นผู้ฟุ้งซ่าน ฯลฯ เมื่อเป็น
อย่างนี้ ภิกษุนั้นพึงถูกติเตียนด้วยเหตุนั้น ถ้าภิกษุผู้ทรงผ้าบังสุกุล
เป็นวัตร เป็นผู้ไม่ฟุ้งซ่าน ฯลฯ เมื่อเป็นอย่างนี้ ภิกษุนั้นพึงได้รับ
การสรรเสริญด้วยเหตุนั้น
๖. ถ้าภิกษุผู้ทรงคหบดีจีวร เป็นผู้ฟุ้งซ่าน ถือตัว โลเล ปากกล้า
พูดพร่ำเพรื่อ หลงลืมสติ ไม่มีสัมปชัญญะ มีจิตไม่ตั้งมั่น มีจิต
กวัดแกว่ง ไม่สำรวมอินทรีย์ เมื่อเป็นอย่างนี้ ภิกษุนั้นพึงถูกติเตียน
ด้วยเหตุนั้น ถ้าแม้ภิกษุผู้ทรงคหบดีจีวร เป็นผู้ไม่ฟุ้งซ่าน ไม่ถือตัว
ไม่โลเล ไม่ปากกล้า ไม่พูดพร่ำเพรื่อ มีสติมั่นคง มีสัมปชัญญะ
มีจิตตั้งมั่น มีจิตแน่วแน่ สำรวมอินทรีย์ เมื่อเป็นอย่างนี้ ภิกษุนั้น
พึงได้รับการสรรเสริญด้วยเหตุนั้น
คหบดี เชิญท่านถวายสังฆทานเถิด เมื่อท่านถวายสังฆทานอยู่ จิตจักเลื่อมใส
หลังจากตายแล้วท่านจะไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์”
คหบดีกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์จักถวายสังฆทานตั้งแต่
วันนี้เป็นต้นไป”
ทารุกัมมิกสูตรที่ ๕ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๕๕๓ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๖. มหาวรรค ๖. หัตถิสารีปุตตสูตร
๖. หัตถิสารีปุตตสูตร
ว่าด้วยท่านพระจิตตหัตถิสารีบุตร
[๖๐] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน เขตกรุง
พาราณสี สมัยนั้นแล ภิกษุเถระจำนวนมากกลับจากบิณฑบาตภายหลังฉันอาหาร
เสร็จแล้ว นั่งประชุมสนทนาอภิธัมมกถาอยู่ในโรงฉัน๑ทราบว่า ในที่ประชุมนั้น
เมื่อภิกษุผู้เป็นเถระกำลังสนทนาอภิธัมมกถากันอยู่ ท่านพระจิตตหัตถิสารีบุตรก็พูด
สอดขึ้นในระหว่าง
ลำดับนั้น ท่านพระมหาโกฏฐิกะได้กล่าวกับท่านพระจิตตหัตถิสารีบุตรว่า
“เมื่อภิกษุผู้เป็นเถระกำลังสนทนาอภิธัมมกถากันอยู่ ท่านจิตตหัตถิสารีบุตรพูดสอด
ขึ้นในระหว่าง ขอให้ท่านจิตตหัตถิสารีบุตรรอคอยจนกว่าภิกษุผู้เป็นเถระจะสนทนา
กันจบ”
เมื่อท่านพระมหาโกฏฐิกะกล่าวอย่างนี้แล้ว พวกภิกษุผู้เป็นสหายของท่าน
พระจิตตหัตถิสารีบุตรได้กล่าวกับท่านมหาโกฏฐิกะว่า “แม้ท่านพระมหาโกฏฐิกะก็
อย่ารุกรานท่านจิตตหัตถิสารีบุตร เพราะท่านจิตตหัตถิสาริบุตรเป็นบัณฑิต และ
ท่านสามารถกล่าวอภิธัมมกถากับภิกษุผู้เป็นเถระได้”
ท่านพระมหาโกฏฐิกะได้กล่าวว่า “ผู้มีอายุทั้งหลาย บุคคลผู้ไม่ทราบวาระจิต
ของผู้อื่นพึงรู้ข้อนี้ได้ยาก คือ
๑. บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้สงบเสงี่ยม อ่อนน้อม เรียบร้อย ตลอด
เวลาที่ยังอาศัยพระศาสดาหรือเพื่อนพรหมจารีผู้ดำรงอยู่ในฐานะ
เป็นครูรูปใดรูปหนึ่งอยู่ แต่เมื่อใด เขาหลีกไปจากพระศาสดา
หลีกไปจากเพื่อนพรหมจารีซึ่งดำรงอยู่ในฐานะเป็นครู เมื่อนั้น

เชิงอรรถ :
๑ ดูเชิงอรรถที่ ๑ ฉักกนิบาต ข้อ ๒๘ (ทุติยสมยสูตร) หน้า ๔๖๕ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๕๕๔ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๖. มหาวรรค ๖. หัตถิสารีปุตตสูตร
เขาคลุกคลี๑อยู่กับเหล่าภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา พระราชา
มหาอำมาตย์ของพระราชา เดียรถีย์ และสาวกของเดียรถีย์ เมื่อ
เขาคลุกคลีอยู่ ปล่อยจิต ไม่สำรวมอินทรีย์ ชอบโอ้อวด ราคะจึง
รบกวนจิตเขา เขาถูกราคะรบกวนจิตแล้ว ย่อมบอกคืนสิกขากลับ
มาเป็นคฤหัสถ์ ผู้มีอายุทั้งหลาย เปรียบเหมือนโคที่เคยกินข้าวกล้า
ถูกเขาผูกไว้ด้วยเชือกหรือขังไว้ในคอก ผู้ใดพึงกล่าวอย่างนี้ว่า
‘บัดนี้ โคตัวที่เคยกินข้าวกล้านี้จักไม่ลงกินข้าวกล้าอีก’ ผู้นั้นชื่อว่า
กล่าวถูกต้องหรือ ผู้มีอายุทั้งหลาย ข้อนี้ไม่เป็นเช่นนั้น แต่เป็นไปได้
ที่โคที่เคยกินข้าวกล้าตัวนั้นพึงดึงเชือกขาดหรือแหกคอกแล้วลงไป
กินข้าวกล้าอีก ฉันใด ผู้มีอายุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้
ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เป็นผู้สงบเสงี่ยม อ่อนน้อม เรียบร้อย ตลอด
เวลาที่ยังอาศัยพระศาสดาหรือเพื่อนพรหมจารีผู้ดำรงอยู่ในฐานะ
เป็นครูรูปใดรูปหนึ่งอยู่ แต่เมื่อใด เขาหลีกไปจากพระศาสดา
หลีกไปจากเพื่อนพรหมจารีซึ่งดำรงอยู่ในฐานะเป็นครู เมื่อนั้น
เขาคลุกคลีอยู่กับเหล่าภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา พระราชา
มหาอำมาตย์ของพระราชา เดียรถีย์ และสาวกของเดียรถีย์ เมื่อ
เขาคลุกคลีอยู่ ปล่อยจิต ไม่สำรวมอินทรีย์ ชอบโอ้อวด ราคะจึง
รบกวนจิตเขา เขาถูกราคะรบกวนจิตแล้ว ย่อมบอกคืนสิกขากลับ
มาเป็นคฤหัสถ์
๒. บุคคลบางคนในโลกนี้สงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลาย บรรลุ
ปฐมฌานที่มีวิตก วิจาร มีปีติและสุขอันเกิดจากวิเวกอยู่ เขา
กล่าวว่า ‘เราได้ปฐมฌาน’ แต่ยังคลุกคลีอยู่กับพวกภิกษุ ฯลฯ
ย่อมบอกคืนสิกขากลับมาเป็นคฤหัสถ์ ผู้มีอายุทั้งหลาย เปรียบ
เหมือนฝนลูกเห็บ ตกที่ทางใหญ่สี่แพร่ง พึงทำฝุ่นให้หายไป

เชิงอรรถ :
๑ คลุกคลี ในที่นี้หมายถึงคลุกคลี ๕ อย่าง คือ (๑) คลุกคลีด้วยการฟัง (๒) คลุกคลีด้วยการพบเห็น
(๓) คลุกคลีด้วยการสนทนาปราศรัย (๔) คลุกคลีด้วยการใช้สอยรวมกัน (๕) คลุกคลีทางกาย (องฺ.ฉกฺก.
อ. ๓/๖๐/๑๔๔, องฺ.ฉกฺก.ฏีกา ๓/๖๐/๑๖๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๕๕๕ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๖. มหาวรรค ๖. หัตถิสารีปุตตสูตร
ปรากฏเป็นทางลื่น ผู้ใดพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘บัดนี้ ฝุ่นจักไม่ปรากฏที่
ทางใหญ่สี่แพร่งโน้นอีก’ ผู้นั้นชื่อว่ากล่าวถูกต้องหรือ ผู้มีอายุ
ทั้งหลาย ข้อนี้ไม่เป็นเช่นนั้น แต่เป็นไปได้ที่มนุษย์ โค หรือสัตว์เลี้ยง
พึงเหยียบน้ำที่ทางใหญ่สี่แพร่งโน้น หรือลมและแดดพึงแผดเผา
ให้แห้ง เมื่อเป็นเช่นนั้นฝุ่นก็พึงปรากฏอีกได้ ฉันใด ผู้มีอายุทั้งหลาย
บุคคลบางคนในโลกนี้ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน สงัดจากกามและ
อกุสลธรรมทั้งหลาย บรรลุปฐมฌานที่มีวิตกวิจาร มีปีติและสุข
อันเกิดจากวิเวกอยู่ เขากล่าวว่า ‘เราได้ปฐมฌาน’ แต่ยังคลุกคลีอยู่
กับพวกภิกษุ ฯลฯ ย่อมบอกคืนสิกขากลับมาเป็นคฤหัสถ์
๓. บุคคลบางคนในโลกนี้ เพราะวิตกวิจารสงบระงับไป บรรลุทุติยฌาน
มีความผ่องใสในภายใน มีภาวะที่จิตเป็นหนึ่งผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มี
วิจาร มีแต่ปีติและสุขอันเกิดจากสมาธิอยู่ เขากล่าวว่า ‘เราได้
ทุติยฌาน’ แต่ยังคลุกคลีอยู่กับพวกภิกษุ ฯลฯ ย่อมบอกคืน
สิกขากลับมาเป็นคฤหัสถ์ ผู้มีอายุทั้งหลาย เปรียบเหมือนฝนลูก
เห็บตกลงที่บึงใหญ่ไม่ไกลบ้านหรือนิคม พึงยังหอยโข่ง หอยกาบ
ก้อนกรวด และกระเบื้องถ้วยให้หมดไป ผู้ใดพึงกล่าวอย่างนี้ว่า
‘บัดนี้ หอยโข่ง หอยกาบ ก้อนกรวด และกระเบื้องถ้วย จักไม่
ปรากฏในบึงโน้นอีก’ ผู้นั้นชื่อว่ากล่าวถูกต้องหรือ ผู้มีอายุทั้งหลาย
ข้อนี้ไม่เป็นเช่นนั้น แต่เป็นไปได้ที่มนุษย์ โค และสัตว์เลี้ยงพึง
ดื่มน้ำในบึงโน้น หรือลมแดดพึงแผดเผาให้แห้งไป เมื่อเป็นเช่นนั้น
หอยโข่ง หอยกาบ ก้อนกรวด และกระเบื้องถ้วยก็พึงปรากฏได้อีก
ฉันใด ผู้มีอายุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน
เพราะวิตกวิจารสงบระงับไป บรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสใน
ภายใน มีภาวะที่จิตเป็นหนึ่งผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีแต่ปีติ
และสุขอันเกิดจากสมาธิอยู่ เขากล่าวว่า ‘เราได้ทุติยฌาน’ แต่ยัง
คลุกคลีอยู่กับพวกภิกษุ ฯลฯ ย่อมบอกคืนสิกขากลับมาเป็น
คฤหัสถ์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๕๕๖ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๖. มหาวรรค ๖. หัตถิสารีปุตตสูตร
๔. บุคคลบางคนในโลกนี้ เพราะปีติจางคลายไป มีอุเบกขา มีสติ-
สัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย บรรลุตติยฌานที่พระอริยะ
ทั้งหลายสรรเสริญว่า ‘ผู้มีอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข’ เขากล่าวว่า
‘เราได้ตติยฌาน’ แต่ยังคลุกคลีอยู่กับพวกภิกษุ ฯลฯ ย่อมบอก
คืนสิกขากลับมาเป็นคฤหัสถ์ ผู้มีอายุทั้งหลาย เปรียบเหมือน
อาหารที่ค้างคืน ไม่พึงยังบุรุษผู้ชอบบริโภคอาหารที่ประณีตให้ยินดีได้
ผู้ใดพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘บัดนี้ บุรุษโน้นจักไม่ชอบใจอาหารอีกแน่
‘ผู้นั้นชื่อว่ากล่าวถูกต้องหรือ ผู้มีอายุทั้งหลาย ข้อนี้ไม่เป็นเช่นนั้น
แต่เป็นไปได้ที่อาหารอื่นจักไม่ยังบุรุษโน้นผู้ชอบบริโภคอาหารที่ประณีต
ให้ยินดีได้ตลอดเวลาที่รสอาหารนั้นจักดำรงอยู่ในร่างกายของเขา
แต่เมื่อใด รสอาหารนั้นจักหมดไป เมื่อนั้น อาหารนั้นก็พึงยังเขาให้
ยินดีอีกได้ ฉันใด ผู้มีอายุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ก็ฉันนั้น
เหมือนกัน เพราะปีติจางคลายไป มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ
เสวยสุขด้วยนามกาย บรรลุตติยฌาน ที่พระอริยะทั้งหลายสรรเสริญ
ว่า ‘ผู้มีอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข’ เขากล่าวว่า ‘เราได้ตติยฌาน’
แต่คลุกคลีอยู่กับพวกภิกษุ ฯลฯ ย่อมบอกคืนสิกขากลับมาเป็น
คฤหัสถ์
๕. บุคคลบางคนในโลกนี้ เพราะละสุขและทุกข์ได้ เพราะโสมนัสและ
โทมนัสดับไปก่อนแล้ว บรรลุจตุตถฌานที่ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข มีสติ
บริสุทธิ์เพราะอุเบกขาอยู่ เขากล่าวว่า ‘เราได้จตุตถฌาน’ แต่ยัง
คลุกคลีอยู่กับพวกภิกษุ ฯลฯ ย่อมบอกคืนสิกขากลับมาเป็น
คฤหัสถ์ ผู้มีอายุ เปรียบเหมือนห้วงน้ำใกล้ภูเขาไม่มีลม ปราศจาก
คลื่น ผู้ใดพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘บัดนี้ คลื่นจักไม่ปรากฏที่ห้วงน้ำ
โน้นอีก’ ผู้นั้นชื่อว่ากล่าวถูกต้องหรือ ผู้มีอายุทั้งหลาย ข้อนี้ไม่เป็น
เช่นนั้น แต่เป็นไปได้ที่ลมฝนอันแรงกล้าพึงพัดมาจากทิศตะวันออก
ทำให้เกิดคลื่นที่ห้วงน้ำนั้น ลมฝนที่พัดมาจากทิศตะวันตก ฯลฯ
ทิศเหนือ ฯลฯ ทิศใต้ ก็พึงทำให้เกิดคลื่นที่ห้วงน้ำนั้นได้ ฉันใด
ผู้มีอายุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เพราะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๕๕๗ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๖. มหาวรรค ๖. หัตถิสารีปุตตสูตร
ละสุขและทุกข์ได้ เพราะโสมนัสและโทมนัสดับไปก่อนแล้ว บรรลุ
จตุตถฌานที่ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขาอยู่ เขา
กล่าวว่า ‘เราได้จตุตถฌาน’ แต่ยังคลุกคลีอยู่กับพวกภิกษุ ย่อม
บอกคืนสิกขากลับมาเป็นคฤหัสถ์
๖. บุคคลบางคนในโลกนี้ เพราะไม่มนสิการถึงนิมิตทั้งปวง จึงบรรลุ
เจโตสมาธิที่ไม่มีนิมิตอยู่ เขากล่าวว่า ‘เราได้เจโตสมาธิที่ไม่มีนิมิต’
แต่ยังคลุกคลีอยู่กับพวกภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา พระราชา
มหาอำมาตย์ของพระราชา พวกเดียรถีย์ สาวกของเดียรถีย์ เมื่อ
เขาคลุกคลีอยู่ ปล่อยจิต ไม่สำรวมอินทรีย์ ชอบพูดคุย ราคะจึง
รบกวนจิตเขา เขาถูกราคะรบกวนจิตแล้วย่อมบอกคืนสิกขากลับ
มาเป็นคฤหัสถ์ ผู้มีอายุทั้งหลาย เปรียบเหมือนพระราชา หรือ
มหาอำมาตย์ของพระราชา ยกกองทัพ ๔ เหล่า เดินทางไกลไป
พักแรมอยู่ที่แนวป่าแห่งหนึ่ง ในแนวป่านั้น เสียงจักจั่นเรไรพึงเงียบ
ไปเพราะเสียงช้าง เสียงม้า เสียงรถ เสียงพลเดินเท้า เสียงกึกก้อง
แห่งกลอง บัณเฑาะว์ สังข์ และพิณ ผู้ใดพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘บัดนี้
เสียงจักจั่นเรไรจักไม่ปรากฏที่แนวป่าโน้นอีก’ ผู้นั้นชื่อว่ากล่าวถูกต้อง
หรือผู้มีอายุทั้งหลาย ข้อนี้ไม่เป็นเช่นนั้น แต่เป็นไปได้ที่ เมื่อใด
พระราชา มหาอำมาตย์ของพระราชา เสด็จหลีกไปจากแนวป่านั้น
เมื่อนั้น เสียงจักจั่นเรไร ก็พึงปรากฏได้อีก ฉันใด ผู้มีอายุทั้งหลาย
บุคคลบางคนในโลกนี้ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เพราะไม่มนสิการ
ถึงนิมิตทั้งปวง บรรลุเจโตสมาธิอยู่ เขากล่าวว่า ‘เราได้เจโตสมาธิ
อันไม่มีนิมิต’ แต่ยังคลุกคลีอยู่กับพวกภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก
อุบาสิกา พระราชา มหาอำมาตย์ของพระราชา พวกเดียรถีย์
สาวกของเดียรถีย์ เมื่อเขาคลุกคลีอยู่ ปล่อยจิต ไม่สำรวมอินทรีย์
ชอบพูดคุย ราคะจึงรบกวนจิตเขา เขาถูกราคะรบกวนจิตแล้ว
ย่อมบอกคืนสิกขากลับมาเป็นคฤหัสถ์”
ต่อมา ท่านพระจิตตหัตถิสารีบุตร บอกคืนสิกขากลับมาเป็นคฤหัสถ์ พวกภิกษุ
ผู้เป็นสหายของจิตตหัตถิสารีบุตรได้เข้าไปหาท่านพระมหาโกฏฐิกะถึงที่อยู่แล้วถามว่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๕๕๘ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๖. มหาวรรค ๖. หัตถิสารีปุตตสูตร
“ท่านพระมหาโกฏฐิกะกำหนดรู้ใจบุรุษชื่อจิตตหัตถิสารีบุตรด้วยใจว่า ‘บุรุษชื่อจิตต-
หัตถิสารีบุตรเป็นผู้ได้วิหารสมาบัติเหล่านี้ ๆ และจักบอกคืนสิกขากลับมาเป็น
คฤหัสถ์’ หรือเทวดาทั้งหลายแจ้งเนื้อความนี้ว่า ‘ข้าแต่ท่านผู้เจริญ บุรุษชื่อว่า
จิตตหัตถิสารีบุตร เป็นผู้ได้วิหารสมาบัติเหล่านี้ ๆ และจักบอกคืนสิกขากลับมาเป็น
คฤหัสถ์”
ท่านพระมหาโกฏฐิกะกล่าวว่า “ผู้มีอายุทั้งหลาย ข้าพเจ้าได้กำหนดรู้ใจบุรุษ
ชื่อว่าจิตตหัตถิสารีบุตรด้วยใจว่า ‘เป็นผู้ได้วิหารสมาบัติเหล่านี้ ๆ และจักบอกคืน
สิกขากลับมาเป็นคฤหัสถ์’ แม้เทวดาก็บอกเนื้อความนี้แก่ข้าพเจ้า”
ลำดับนั้น พวกภิกษุผู้เป็นสหายของบุรุษชื่อจิตตหัตถิสารีบุตรได้พากันเข้าไป
เฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูล
พระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บุรุษชื่อจิตตหัตถิสารีบุตรเป็นผู้ได้วิหารสมาบัติเหล่านี้ ๆ
และได้บอกคืนสิกขากลับมาเป็นคฤหัสถ์”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย ไม่นานนัก บุรุษชื่อจิตตหัตถิสารีบุตร
จักระลึกถึงคุณแห่งเนกขัมมะได้”
ต่อมา ไม่นานนัก จิตตหัตถิสารีบุตรโกนผมและหนวดนุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์
ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต เมื่อจิตตหัตถิสารีบุตรได้บรรพชาอุปสมบทแล้ว
ไม่นาน หลีกไปอยู่ผู้เดียว ไม่ประมาท๑ มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่ ไม่นานนัก
ได้ทำให้แจ้งซึ่งประโยชน์ยอดเยี่ยม๒อันเป็นที่สุดแห่งพรหมจรรย์ที่กุลบุตรทั้งหลาย

เชิงอรรถ :
๑ ไม่ประมาท ในที่นี้หมายถึงไม่ละสติในกัมมัฏฐาน (ม.ม.อ. ๒/๘๒/๘๐)
๒ ประโยชน์ยอดเยี่ยม ในที่นี้หมายถึงอรหัตตผล หรืออริยผลอันเป็นที่สุดแห่งมรรคพรหมจรรย์ (องฺ.ทุก.อ.
๒/๕/๗, ม.มู.อ. ๒/๘๒/๘๐)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๕๕๙ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๖. มหาวรรค ๗. มัชเฌสูตร
ผู้ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบต้องการด้วยปัญญาอันยิ่งเอง เข้าถึงอยู่ใน
ปัจจุบัน รู้ชัดว่า “ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว
ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป’
ท่านพระจิตตหัตถิสารีบุตร ได้เป็นพระอรหันต์องค์หนึ่งในบรรดาพระอรหันต์
ทั้งหลาย
หัตถิสารีปุตตสูตรที่ ๖ จบ
๗. มัชเฌสูตร
ว่าด้วยส่วนท่ามกลาง
[๖๑] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน เขตกรุง
พาราณสี สมัยนั้นแล เมื่อภิกษุเถระจำนวนมากกลับจากบิณฑบาต ภายหลังฉัน
อาหารเสร็จแล้ว นั่งประชุมกันที่โรงฉัน ได้สนทนากันขึ้นในระหว่างว่า ผู้มีอายุ
ทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคได้ตรัสไว้ในติสสเมตเตยยปัญหานิทเทส๑ปารายนวรรคว่า
ผู้ใดรู้ชัดซึ่งส่วนสุดทั้ง ๒ ด้านแล้ว
ไม่ยึดติดในท่ามกลางด้วยมันตา๒
เราเรียกผู้นั้นว่า เป็นมหาบุรุษ
ผู้นั้นชื่อว่าล่วงพ้นเครื่องร้อยรัด๓ในโลกนี้ได้
เมื่อภิกษุทั้งหลายถามกันอย่างนี้ว่า “ผู้มีอายุทั้งหลาย ส่วนสุดด้านหนึ่ง คือ
อะไร ส่วนสุดอีกด้านหนึ่ง คืออะไร ท่ามกลาง คืออะไร เครื่องร้อยรัด คืออะไร”

เชิงอรรถ :
๑ ดู ขุ.สุ. ๒๕/๑๐๔๗/๕๓๒,๑๐๔๙/๕๓๓, ขุ.จู. (แปล) ๓๐/๙/๗๓,๑๑/๗๙
๒ มันตา หมายถึงปัญญา ได้แก่ ความรู้ทั่ว กิริยาที่รู้ชัด ความไม่หลงงมงาย (องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๖๑/๑๔๕) และดู
ขุ.จู. (แปล) ๓๐/๙/๗๓,๑๑/๗๙ ประกอบ
๓ เครื่องร้อยรัด ในที่นี้หมายถึงตัณหา (องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๖๑/๑๔๕) และดู ขุ.จู. (แปล) ๓๐/๑๑/๘๒ ประกอบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๕๖๐ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๖. มหาวรรค ๗. มัชเฌสูตร
ภิกษุรูปหนึ่งได้กล่าวกับภิกษุผู้เถระทั้งหลายว่า “ผู้มีอายุทั้งหลาย ผัสสะ๑เป็น
ส่วนสุดด้านหนึ่ง เหตุเกิดผัสสะ๒เป็นส่วนสุดอีกด้านหนึ่ง ความดับผัสสะ๓อยู่ท่ามกลาง
ตัณหาจัดเป็นเครื่องร้อยรัด เพราะตัณหาย่อมร้อยรัดผัสสะและเหตุเกิดผัสสะนั้นไว้
เพราะเป็นที่เกิดขึ้นแห่งภพนั้น ๆ ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ ภิกษุชื่อว่ารู้ยิ่งในธรรมที่ควร
รู้ยิ่ง กำหนดรู้ธรรมที่ควรกำหนดรู้ เมื่อรู้ยิ่งธรรมที่ควรรู้ยิ่ง กำหนดรู้ธรรมที่ควร
กำหนดรู้ ย่อมทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ในปัจจุบัน”
เมื่อภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว ภิกษุรูปหนึ่งได้กล่าวกับภิกษุเถระทั้งหลายว่า
“ผู้มีอายุทั้งหลาย อดีตเป็นส่วนสุดด้านหนึ่ง อนาคตเป็นส่วนสุดอีกด้านหนึ่ง
ปัจจุบันอยู่ท่ามกลาง ตัณหาจัดเป็นเครื่องร้อยรัด เพราะตัณหาย่อมร้อยรัดอดีต
อนาคต และปัจจุบันนั้นไว้ เพราะเป็นที่เกิดขึ้นแห่งภพนั้น ๆ ด้วยเหตุเพียงเท่านี้
ภิกษุชื่อว่ารู้ยิ่งในธรรมที่ควรรู้ยิ่ง กำหนดรู้ธรรมที่ควรกำหนดรู้ เมื่อรู้ยิ่งธรรมที่ควร
รู้ยิ่ง กำหนดรู้ธรรมที่ควรกำหนดรู้ ย่อมทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ในปัจจุบัน”
เมื่อภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว ภิกษุรูปหนึ่งได้กล่าวกับภิกษุเถระทั้งหลายว่า
“ผู้มีอายุทั้งหลาย สุขเวทนาเป็นส่วนสุดด้านหนึ่ง ทุกขเวทนาเป็นส่วนสุดอีก
ด้านหนึ่ง อทุกขมสุขเวทนาอยู่ท่ามกลาง ตัณหาจัดเป็นเครื่องร้อยรัด เพราะตัณหา
ย่อมร้อยรัดสุขเวทนา ทุกขเวทนา และอทุกขมสุขเวทนานั้นไว้ เพราะเป็นที่เกิดขึ้น
แห่งภพนั้น ๆ ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ ภิกษุชื่อว่ารู้ยิ่งธรรมที่ควรรู้ยิ่ง กำหนดรู้ธรรมที่
ควรกำหนดรู้ เมื่อรู้ยิ่งธรรมที่ควรรู้ยิ่ง กำหนดรู้ธรรมที่ควรกำหนดรู้ ย่อมทำที่สุด
แห่งทุกข์ได้ในปัจจุบัน”

เชิงอรรถ :
๑ ผัสสะ หมายถึงอัตภาพนี้ (อัตภาพปัจจุบัน) เพราะเกิดขึ้นด้วยอำนาจผัสสะ (องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๖๑/๑๔๕)
๒ เหตุเกิดผัสสะ หมายถึงอัตภาพในอนาคตที่เกิดขึ้นเพราะปัจจัยคือกรรมที่เคยทำไว้ในอัตภาพปัจจุบัน
(องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๖๑/๑๔๕)
๓ ความดับผัสสะ หมายถึงนิพพาน ที่ชื่อว่าอยู่ท่ามกลางระหว่างอัตภาพปัจจุบันกับอัตภาพอนาคต เพราะ
เป็นธรรมที่ตัดตัณหาอันเป็นเครื่องร้อยรัดอัตภาพทั้งสองนั้นได้ และเป็นธรรมที่แยกอัตภาพทั้งสองนั้นให้
อยู่คนละส่วนกัน (องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๖๑/๑๔๖)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๕๖๑ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๖. มหาวรรค ๗. มัชเฌสูตร
เมื่อภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว ภิกษุรูปหนึ่งได้กล่าวกับภิกษุเถระทั้งหลายว่า
“ผู้มีอายุทั้งหลาย นามเป็นส่วนสุดด้านหนึ่ง รูปเป็นส่วนสุดอีกด้านหนึ่ง วิญญาณ๑
อยู่ท่ามกลาง ตัณหาจัดเป็นเครื่องร้อยรัด เพราะตัณหาย่อมร้อยรัดนาม รูป และ
วิญญาณนั้นไว้ เพราะเป็นที่เกิดขึ้นแห่งภพนั้น ๆ ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ ภิกษุชื่อว่ารู้ยิ่ง
ธรรมที่ควรรู้ยิ่ง กำหนดรู้ธรรมที่ควรกำหนดรู้ เมื่อรู้ยิ่งธรรมที่ควรรู้ยิ่ง กำหนดรู้
ธรรมที่ควรกำหนดรู้ ย่อมทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ในปัจจุบัน”
เมื่อภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว ภิกษุรูปหนึ่งได้กล่าวกับภิกษุเถระทั้งหลายว่า
“ผู้มีอายุทั้งหลาย อายตนะภายใน ๖ เป็นส่วนสุดด้านหนึ่ง อายตนะภายนอก ๖
เป็นส่วนสุดอีกด้านหนึ่ง วิญญาณอยู่ท่ามกลาง ตัณหาจัดเป็นเครื่องร้อยรัด เพราะ
ตัณหาย่อมร้อยรัดอายตนะภายใน ๖ อายตนะภายนอก ๖ และวิญญาณนั้นไว้
เพราะเป็นที่เกิดขึ้นแห่งภพนั้น ๆ ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ ภิกษุชื่อว่ารู้ยิ่งธรรมที่ควรรู้ยิ่ง
กำหนดรู้ธรรมที่ควรกำหนดรู้ เมื่อรู้ยิ่งธรรมที่ควรรู้ยิ่ง กำหนดรู้ธรรมที่ควรกำหนดรู้
ย่อมทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ในปัจจุบัน”
เมื่อภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว ภิกษุรูปหนึ่งได้กล่าวกับภิกษุเถระทั้งหลายว่า
“ผู้มีอายุทั้งหลาย สักกายะ๒เป็นส่วนสุดด้านหนึ่ง เหตุเกิดสักกายะเป็นส่วนสุดอีก
ด้านหนึ่ง ความดับสักกายะอยู่ท่ามกลาง ตัณหาจัดเป็นเครื่องร้อยรัด เพราะตัณหา
ย่อมร้อยรัดสักกายะ เหตุเกิดสักกายะ และความดับสักกายะนั้นไว้ เพราะเป็นที่เกิด
ขึ้นแห่งภพนั้น ๆ ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ ภิกษุชื่อว่ารู้ยิ่งธรรมที่ควรรู้ยิ่ง กำหนดรู้ธรรม
ที่ควรกำหนดรู้ เมื่อรู้ยิ่งธรรมที่ควรรู้ยิ่ง กำหนดรู้ธรรมที่ควรกำหนดรู้ ย่อมทำที่สุด
แห่งทุกข์ได้ในปัจจุบัน”

เชิงอรรถ :
๑ วิญญาณ ในที่นี้หมายถึงปฏิสนธิวิญญาณ ที่ชื่อว่าอยู่ท่ามกลางระหว่างนามกับรูปนั้น เพราะวิญญาณเป็น
ตัวก่อปัจจัยให้เกิดรูปกับนาม (องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๖๑/๑๔๗)
๒ สักกายะ ในที่นี้หมายถึงวัฏฏะ ๓ คือ กิเลส กรรม วิบาก ที่เกี่ยวข้องในกามภูมิ รูปภูมิ อรูปภูมิ หรือ
หมายถึงอุปาทานขันธ์ (ดูรายละเอียดในเชิงอรรถที่ ๑ ข้อ ๑๔ หน้า ๔๓๓)
เหตุเกิดสักกายะ หมายถึงสมุทัยสัจ ได้แก่ ตัณหา
ความดับสักกายะ หมายถึงนิโรธสัจ ได้แก่ นิพพาน (ที.ปา.อ. ๓๐๕/๑๘๖, องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๖๑/๑๔๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๕๖๒ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๖. มหาวรรค ๗. มัชเฌสูตร
เมื่อภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว ภิกษุรูปหนึ่งได้กล่าวกับภิกษุเถระทั้งหลายว่า
“ผู้มีอายุทั้งหลาย พวกเราเที่ยวพยากรณ์ตามปฏิภาณของตน มาเถิด พวกเรา
จักพากันไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค แล้วกราบทูลเนื้อความนี้ให้ทรงทราบ พระผู้มี
พระภาคจักทรงพยากรณ์แก่พวกเรา พวกเราก็จักทรงจำไว้ตามที่พระผู้มีพระภาค
ทรงพยากรณ์นั้น
ภิกษุเถระทั้งหลายรับคำของภิกษุนั้นแล้ว ลำดับนั้น ภิกษุเถระทั้งหลายได้
พากันเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร
ได้กราบทูลคำสนทนาทั้งหมดแด่พระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
คำของใครหนอกล่าวได้ไพเราะ”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหมดกล่าวดีแล้วตามเหตุนั้น ๆ
แต่ข้อความที่เรามุ่งกล่าวไว้ในติสสเมตเตยยปัญหานิทเทส ปารายนวรรคว่า
ผู้ใดรู้ชัดซึ่งส่วนสุดทั้ง ๒ ด้านแล้ว
ไม่ยึดติดในท่ามกลางด้วยมันตา
เราเรียกผู้นั้นว่า เป็นมหาบุรุษ
ผู้นั้นชื่อว่าล่วงพ้นเครื่องร้อยรัดในโลกนี้ได้
เธอทั้งหลาย จงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว” ภิกษุเหล่านั้น ทูลรับสนอง
พระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า
“ภิกษุทั้งหลาย ผัสสะเป็นส่วนสุดด้านหนึ่ง เหตุเกิดผัสสะเป็นส่วนสุดอีก
ด้านหนึ่ง ความดับผัสสะอยู่ท่ามกลาง ตัณหาจัดเป็นเครื่องร้อยรัด เพราะตัณหา
ย่อมร้อยรัดผัสสะ และเหตุเกิดผัสสะนั้นไว้ เพราะเป็นที่เกิดขึ้นแห่งภพนั้น ๆ ด้วยเหตุ
เพียงเท่านี้ ภิกษุชื่อว่ารู้ยิ่งธรรมที่ควรรู้ยิ่ง กำหนดรู้ธรรมที่ควรกำหนดรู้ เมื่อรู้ยิ่ง
ธรรมที่ควรรู้ยิ่ง กำหนดรู้ธรรมที่ควรกำหนดรู้ ย่อมทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ในปัจจุบัน”
มัชเฌสูตรที่ ๗ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๕๖๓ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๖. มหาวรรค ๘. ปุริสินทริยญาณสูตร
๘. ปุริสินทริยญาณสูตร
ว่าด้วยญาณเป็นเครื่องรู้อินทรีย์ของบุคคล
[๖๒] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเสด็จจาริกไปในแคว้นโกศล พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์
หมู่ใหญ่ เสด็จถึงนิคมของแคว้นโกศลชื่อทัณฑกัปปกะ ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคได้
ทรงแวะลงจากหนทาง ประทับนั่งบนพุทธอาสน์ที่ปูลาดไว้แล้ว ณ โคนไม้ต้นหนึ่ง
และภิกษุเหล่านั้นได้พากันเข้าไปสู่นิคมชื่อทัณฑกัปปกะ เพื่อแสวงหาที่พัก
ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์พร้อมด้วยภิกษุจำนวนมาก ได้ไปยังแม่น้ำอจิรวดี
เพื่อสรงน้ำ ครั้นสรงน้ำเสร็จแล้ว ได้ขึ้นมานุ่งผ้าผืนเดียวยืนผึ่งตัวอยู่ ลำดับนั้น
ภิกษุรูปหนึ่งได้เข้าไปหาท่านพระอานนท์แล้วถามว่า “ท่านอานนท์ พระผู้มีพระภาค
ทรงกำหนดรู้เหตุทั้งหมดด้วยพระทัยแล้วหรือ จึงทรงพยากรณ์พระเทวทัตว่า ‘เทวทัต
จะต้องเกิดในอบาย ตกนรก ดำรงอยู่ตลอดกัป แก้ไขไม่ได้’ หรือว่าพระผู้มีพระภาค
ทรงกำหนดรู้เหตุบางอย่างเท่านั้น จึงได้ทรงพยากรณ์พระเทวทัตเช่นนี้”
ท่านพระอานนท์ตอบว่า “ผู้มีอายุ ข้อนี้พระผู้มีพระภาคได้พยากรณ์ไว้
อย่างนี้แล”
ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาท
แล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
ขอประทานวโรกาส ข้าพระองค์พร้อมด้วยภิกษุจำนวนมากได้ไปยังแม่น้ำอจิรวดี
เพื่อสรงน้ำ ครั้นสรงน้ำเสร็จแล้ว ได้ขึ้นมานุ่งผ้าผืนเดียวยืนผึ่งตัวอยู่ ลำดับนั้น
ภิกษุรูปหนึ่งได้เข้ามาหาข้าพระองค์แล้วถามว่า ท่านอานนท์ พระผู้มีพระภาคทรง
กำหนดรู้เหตุทั้งหมดด้วยพระทัยแล้วหรือ จึงทรงพยากรณ์พระเทวทัตว่า ‘เทวทัตจะ
ต้องเกิดในอบาย ตกนรก ดำรงอยู่ตลอดกัป แก้ไขไม่ได้ หรือว่าพระผู้มีพระภาค
ทรงกำหนดรู้เหตุบางอย่างเท่านั้น จึงได้ทรงพยากรณ์พระเทวทัตเช่นนี้’ เมื่อภิกษุนั้น
กล่าวอย่างนี้แล้ว ข้าพระองค์ได้กล่าวกับภิกษุรูปนั้นว่า ‘ผู้มีอายุ ข้อนี้พระผู้มี
พระภาคได้ทรงพยากรณ์ไว้อย่างนี้แล”


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๕๖๔ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๖. มหาวรรค ๘. ปุริสินทริยญาณสูตร
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อานนท์ ภิกษุรูปนั้นคงเป็นภิกษุใหม่ บวชได้ไม่นาน
หรือว่าเป็นภิกษุเถระ แต่โง่เขลา ไม่เฉียบแหลม เพราะข้อที่เราพยากรณ์ว่าเป็นหนึ่ง
จักเป็นสองได้อย่างไร อานนท์ เราไม่เห็นบุคคลอื่นแม้คนหนึ่ง ซึ่งเรากำหนดรู้เหตุ
ทั้งหมดด้วยใจแล้ว จึงพยากรณ์อย่างนี้เหมือนเทวทัตเลย ตราบใดเราเห็นธรรมฝ่าย
ขาวของเทวทัตแม้เท่ารอยเจาะแห่งปลายขนทราย ตราบนั้นเราก็ไม่พยากรณ์เทวทัตว่า
‘เทวทัตจะต้องเกิดในอบาย ตกนรก ดำรงอยู่ตลอดกัป แก้ไขไม่ได้’ แต่เมื่อเราไม่เห็น
ธรรมฝ่ายขาวของเทวทัตแม้เท่ารอยเจาะแห่งปลายขนทราย เมื่อนั้นเราจึงพยากรณ์
เทวทัตนั้นว่า ‘เทวทัตจะต้องเกิดในอบาย ตกนรก ดำรงอยู่ตลอดกัป แก้ไขไม่ได้’
อานนท์ เปรียบเหมือนหลุมคูถ ลึกชั่วคน เต็มด้วยคูถเสมอขอบปากหลุม
บุรุษพึงตกลงไปที่หลุมคูถนั้นจมมิดศีรษะ บุรุษบางคนหวังประโยชน์ หวังเกื้อกูล
หวังความปลอดภัย ใคร่จะยกเขาขึ้นจากหลุมคูถนั้น จึงเข้ามาหา เขาเดินรอบหลุม
คูถนั้นอยู่ ก็ไม่เห็นอวัยวะที่ไม่เปื้อนคูถ แม้เท่ารอยเจาะแห่งปลายขนทรายซึ่งพอจะ
จับยกขึ้นมาได้ ฉันใด เราก็ฉันนั้นเหมือนกัน เมื่อใดไม่ได้เห็นธรรมฝ่ายขาวของ
เทวทัตแม้เท่ารอยเจาะแห่งปลายขนทรายเลย เมื่อนั้น เราจึงพยากรณ์เทวทัตว่า
‘เทวทัตจะต้องเกิดในอบาย ตกนรก ดำรงอยู่ตลอดกัป แก้ไขไม่ได้’ ถ้าเธอทั้งหลาย
พึงฟังตถาคต เราจักจำแนกญาณเป็นเครื่องรู้อินทรีย์ของบุคคล”
ท่านพระอานนท์กราบทูลว่า “ข้าแต่พระผู้มีพระภาค บัดนี้เป็นกาลที่สมควร
ข้าแต่พระสุคต บัดนี้เป็นกาลที่สมควรที่พระผู้มีพระภาคจะทรงจำแนกญาณเป็นเครื่อง
รู้อินทรีย์ของบุคคล ภิกษุทั้งหลายได้สดับจากพระผู้มีพระภาคแล้ว จักทรงจำไว้”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อานนท์ ถ้าเช่นนั้น เธอจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว”
ท่านพระอานนท์ทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า
อานนท์
๑. เรากำหนดใจด้วยใจจึงรู้บุคคลบางคนในโลกนี้อย่างนี้ว่า ‘กุศลธรรม
ก็ดี อกุศลธรรมก็ดี ของบุคคลนี้แลมีอยู่’ สมัยต่อมา เรากำหนดใจ
ด้วยใจจึงรู้บุคคลนั้นอย่างนี้ว่า ‘กุศลธรรมของบุคคลนี้แลหายไป
อกุศลธรรมเกิดขึ้นมาแทน แต่กุศลมูลที่เขายังตัดไม่ขาดมีอยู่ เพราะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๕๖๕ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๖. มหาวรรค ๘. ปุริสินทริยญาณสูตร
กุศลมูลนั้น กุศลธรรมของเขาจักปรากฏ บุคคลนี้จักเป็นผู้ไม่เสื่อม
ต่อไปเป็นธรรมดาด้วยประการฉะนี้’ เปรียบเหมือนเมล็ดพืชที่ไม่หัก
ไม่เน่า ไม่ถูกลมแดดแผดเผา ที่คัดพันธุ์ไว้๑ เก็บไว้อย่างดี ซึ่งบุคคล
ปลูกไว้ในที่ดินอันพรวนดีแล้วในนาดี เธอทราบไหมว่า ‘เมล็ดพืช
เหล่านี้จักเจริญงอกงามไพบูลย์”
ท่านพระอานนท์ทูลรับว่า “ทราบ พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อานนท์ เช่นเดียวกัน เรากำหนดใจด้วยใจจึงรู้บุคคล
บางคนในโลกนี้อย่างนี้ว่า ‘กุศลธรรมก็ดี อกุศลธรรมก็ดีของบุคคลนี้แล มีอยู่’
สมัยต่อมา เรากำหนดใจด้วยใจจึงรู้บุคคลนั้นอย่างนี้ว่า ‘กุศลธรรมของบุคคลนี้แล
หายไป อกุศลธรรมเกิดขึ้นมาแทน แต่กุศลมูลที่เขายังตัดไม่ขาดมีอยู่ เพราะ
กุศลมูลนั้น กุศลธรรมของเขาจักปรากฏ บุคคลนี้จักเป็นผู้ไม่เสื่อมต่อไปเป็นธรรมดา
ด้วยประการฉะนี้’ ตถาคตกำหนดใจด้วยใจจึงรู้บุคคลอย่างนี้แล กำหนดใจด้วยใจจึง
รู้ญาณเป็นเครื่องรู้อินทรีย์ของบุคคลอย่างนี้แล กำหนดใจด้วยใจจึงรู้ธรรมที่อาศัยกัน
เกิดขึ้นต่อไป อย่างนี้แล
๒. เรากำหนดใจด้วยใจจึงรู้บุคคลบางคนในโลกนี้อย่างนี้ว่า ‘กุศลธรรม
ก็ดี อกุศลธรรมก็ดีของบุคคลนี้แลมีอยู่’ สมัยต่อมา เรากำหนดใจ
ด้วยใจจึงรู้บุคคลนั้นอย่างนี้ว่า ‘อกุศลธรรมของบุคคลนี้แลหายไป
กุศลธรรมเกิดขึ้นมาแทน แต่อกุศลมูลที่เขายังตัดไม่ขาดมีอยู่ เพราะ
อกุศลมูลนั้น อกุศลมูลของเขาจักปรากฏ บุคคลนี้จักเป็นผู้ไม่เสื่อม***
ต่อไปเป็นธรรมดา ด้วยประการฉะนี้’ เปรียบเหมือนเมล็ดพืชที่
ไม่หัก ไม่เน่า ไม่ถูกลมและแดดแผดเผา ที่คัดพันธุ์ไว้ เก็บไว้อย่างดี
ซึ่งบุคคลปลูกไว้บนศิลาแท่งทึบ เธอทราบไหมว่า ‘เมล็ดพืชเหล่านี้
จักไม่เจริญงอกงามไพบูลย์”

เชิงอรรถ :

๑ คัดพันธุ์ไว้ หมายถึงพืชที่เขาเก็บเมล็ดพันธุ์ที่สมบูรณ์ไว้ อีกนัยหนึ่ง หมายถึงพืชที่เกิดในเดือนสารทะ
คือ ฤดูใบไม้ร่วง (สาราทานีติ สรทมาเส วา นิพฺพตฺตานิ) (องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๖๒/๑๔๘, องฺ.ฉกฺก. ฏีกา
๓/๖๒/๑๖๕-๑๖๖)

*** ตรวจสอบกับฉบับจริงที่เป็นเล่มหนังสือแล้ว ข้อความส่วนนี้ในเว็บธัมมโชติตรงกับฉบับมหาจุฬาฯ (ปกสีฟ้า) ที่เป็นหนังสือทุกตัวอักษร

แต่ในฉบับมหามกุฏฯ (ปกสีน้ำตาล) เป็น "จักเป็นผู้เสื่อม" ซึ่งต่างจากฉบับของมหาจุฬาฯ ที่เป็น "จักเป็นผู้ไม่เสื่อม"

ถ้าจะวิเคราะห์ว่าข้อความในฉบับไหนน่าจะเหมาะสมกว่ากัน ถ้าดูในส่วนเปรียบเทียบตอนท้ายที่ว่า "เมล็ดพืชเหล่านี้ จักไม่เจริญงอกงามไพบูลย์" ก็จะเห็นว่าความหมายตรงกับ "จักเป็นผู้เสื่อม" ในฉบับมหามกุฏฯ

และถ้าดูในตอนท้ายของข้อเดียวกันในหน้าถัดไปของฉบับมหาจุฬาฯ เอง ที่ว่า "แต่อกุศลมูลที่เขายังตัดไม่ขาดมีอยู่ เพราะอกุศลมูลนั้น อกุศลธรรมของเขาจักปรากฏ บุคคลนี้จักเป็นผู้เสื่อมต่อไปเป็นธรรมดา" ก็จะเห็นชัดเจนว่าข้อความที่ถูกต้องควรเป็น "จักเป็นผู้เสื่อม" ตามฉบับของมหามกุฎฯ - หมายเหตุโดยธัมมโชติ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๕๖๖ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๖. มหาวรรค ๘. ปุริสินทริยญาณสูตร
ท่านพระอานนท์ทูลรับว่า “ทราบ พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อานนท์ เช่นเดียวกัน เรากำหนดใจด้วยใจจึงรู้บุคคล
บางคนในโลกนี้อย่างนี้ว่า ‘กุศลธรรมก็ดี อกุศลธรรมก็ดีของบุคคลนี้แลมีอยู่” สมัย
ต่อมา เรากำหนดใจด้วยใจจึงรู้บุคคลนั้นอย่างนี้ว่า ‘อกุศลธรรมของบุคคลนี้แลหาย
ไปแล้ว กุศลธรรมเกิดขึ้นมาแทน แต่อกุศลมูลที่เขายังตัดไม่ขาดมีอยู่ เพราะ
อกุศลมูลนั้น อกุศลธรรมของเขาจักปรากฏ บุคคลนี้จักเป็นผู้เสื่อมต่อไปเป็นธรรมดา
ด้วยประการอย่างนี้’ ตถาคตกำหนดใจด้วยใจจึงรู้บุคคลอย่างนี้แล กำหนดใจด้วยใจ
จึงรู้ญาณเป็นเครื่องรู้อินทรีย์ของบุคคลอย่างนี้แล กำหนดใจด้วยใจจึงรู้ธรรมที่อาศัย
กันเกิดขึ้นต่อไปอย่างนี้แล
๓. เรากำหนดใจด้วยใจจึงรู้บุคคลบางคนในโลกนี้อย่างนี้ว่า ‘กุศลธรรม
ก็ดี อกุศลธรรมก็ดีของบุคคลนี้แลมีอยู่’ สมัยต่อมา เรากำหนดใจ
ด้วยใจจึงรู้บุคคลนั้นอย่างนี้ว่า ‘ธรรมขาวแม้เท่ารอยเจาะแห่งปลาย
ขนทรายของบุคคลนี้ก็ไม่มี บุคคลนี้ประกอบด้วยอกุศลธรรมฝ่ายดำ
อย่างเดียว หลังจากตายแล้ว จักไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก’
เปรียบเหมือนเมล็ดพืชที่หัก เน่า ถูกลมและแดดแผดเผา ซึ่งบุคคล
ปลูกไว้ในดินซึ่งพรวนดีแล้วในนาดี เธอทราบไหมว่า ‘เมล็ดพืช
เหล่านี้จักไม่เจริญงอกงามไพบูลย์”
ท่านพระอานนท์ทูลรับว่า “ทราบ พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อานนท์ เช่นเดียวกัน เรากำหนดใจด้วยใจจึงรู้บุคคล
บางคนในโลกนี้อย่างนี้ว่า ‘กุศลธรรมก็ดี อกุศลธรรมก็ดีของบุคคลนี้แลมีอยู่’ สมัย
ต่อมา เรากำหนดใจด้วยใจจึงรู้บุคคลนั้นอย่างนี้ว่า ‘ธรรมขาวแม้เท่ารอยเจาะแห่ง
ปลายขนทรายของบุคคลนี้ก็ไม่มี บุคคลนี้ประกอบด้วยอกุศลธรรมฝ่ายดำอย่างเดียว
หลังจากตายแล้วจักไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก’ ตถาคตกำหนดใจด้วยใจจึง
รู้บุคคลอย่างนี้แล กำหนดใจด้วยใจจึงรู้ญาณเป็นเครื่องรู้อินทรีย์ของบุคคลอย่างนี้แล
กำหนดใจด้วยใจจึงรู้ธรรมที่อาศัยกันเกิดขึ้นต่อไปอย่างนี้แล”
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ท่านพระอานนท์ทูลถามพระผู้มีพระภาค
ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระองค์สามารถที่จะบัญญัติบุคคลอีก ๓ จำพวกที่มีส่วน
เหมือนกับบุคคล ๓ จำพวกนี้หรือหนอ”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๕๖๗ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๖. มหาวรรค ๘. ปุริสินทริยญาณสูตร
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “อานนท์ เราสามารถ
๔. เรากำหนดใจด้วยใจจึงรู้บุคคลบางคนในโลกนี้อย่างนี้ว่า ‘กุศลธรรม
ก็ดี อกุศลธรรมก็ดีของบุคคลนี้แลมีอยู่’ สมัยต่อมา เรากำหนดใจ
ด้วยใจจึงรู้บุคคลนั้นอย่างนี้ว่า ‘กุศลธรรมของบุคคลนี้หายไปแล้ว
อกุศลธรรมเกิดขึ้นมาแทน กุศลมูลที่เขายังตัดไม่ขาดมีอยู่ แม้กุศล-
มูลนั้นก็ถึงความถอนขึ้นทั้งหมด บุคคลนี้จักเป็นผู้เสื่อมต่อไปเป็น
ธรรมดา ด้วยประการฉะนี้’ เปรียบเหมือนถ่านไฟที่ลุกโพลงรุ่งโรจน์
โชติช่วง ซึ่งบุคคลวางไว้บนศิลาก้อนใหญ่ เธอทราบไหมว่า ‘ถ่านไฟ
เหล่านี้จักไม่ลุกลาม ขยายกว้างออกไป”
ท่านพระอานนท์ทูลรับว่า “ทราบ พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อานนท์ เปรียบเหมือนเมื่อพระอาทิตย์ตกไปในเวลา
เย็น เธอทราบไหมว่า ‘ความสว่างหายไป ความมืดปรากฏขึ้น”
ท่านพระอานนท์ทูลรับว่า “ทราบ พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อานนท์ อีกนัยหนึ่ง เปรียบเหมือนในเวลารับ
ประทานอาหารในเวลาเที่ยงคืน เธอทราบไหมว่า ‘ความสว่างหายไป ความมืด
ปรากฏขึ้น”
ท่านพระอานนท์ทูลรับว่า “ทราบ พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อานนท์ เช่นเดียวกัน เรากำหนดใจด้วยใจจึงรู้บุคคล
บางคนในโลกนี้อย่างนี้ว่า ‘กุศลธรรมก็ดี อกุศลธรรมก็ดีของบุคคลนี้แลมีอยู่’ สมัย
ต่อมา เรากำหนดใจด้วยใจจึงรู้บุคคลนั้นอย่างนี้ว่า ‘กุศลธรรมของบุคคลนี้หายไปแล้ว
อกุศลธรรมปรากฏขึ้น แต่กุศลมูลที่เขายังตัดไม่ขาดมีอยู่ แม้กุศลมูลนั้นก็ถึงความ
ถอนขึ้นทั้งหมด บุคคลคนนี้จักเป็นผู้เสื่อมต่อไปเป็นธรรมดา ด้วยประการฉะนี้’
ตถาคตกำหนดใจด้วยใจจึงรู้บุคคลอย่างนี้แล กำหนดใจด้วยใจจึงรู้ญาณเป็นเครื่องรู้
อินทรีย์ของบุคคลอย่างนี้แล กำหนดใจด้วยใจจึงรู้ธรรมที่อาศัยกันเกิดขึ้นต่อไป
อย่างนี้แล
๕. เรากำหนดใจด้วยใจจึงรู้บุคคลบางคนในโลกนี้อย่างนี้ว่า ‘กุศลธรรม
ก็ดี อกุศลธรรมก็ดีของบุคคลนี้แลมีอยู่’ สมัยต่อมา เรากำหนดใจ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๕๖๘ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๖. มหาวรรค ๘. ปุริสินทริยญาณสูตร
ด้วยใจจึงรู้บุคคลนั้นอย่างนี้ว่า ‘อกุศลธรรมของบุคคลนี้หายไปแล้ว
กุศลธรรมปรากฏขึ้น แต่อกุศลมูลที่เขายังตัดไม่ขาดมีอยู่ แม้
อกุศลมูลนั้นก็ถึงความถอนขึ้นทั้งหมด บุคคลนี้ก็จักเป็นผู้ไม่เสื่อม
ต่อไปเป็นธรรมดา ด้วยประการฉะนี้’ เปรียบเหมือนถ่านไฟที่
ลุกโพลง รุ่งโรจน์ โชติช่วง ซึ่งบุคคลวางไว้บนกองหญ้าแห้ง หรือบน
กองไม้แห้ง เธอทราบไหมว่า ‘ถ่านไฟเหล่านี้จักลุกลามขยายกว้าง
ออกไป”
ท่านพระอานนท์ทูลรับว่า “ทราบ พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อานนท์ เปรียบเหมือนเมื่อพระอาทิตย์กำลังขึ้นมาใน
เวลารุ่งอรุณ เธอทราบไหมว่า ‘ความมืดหายไป ความสว่างปรากฏขึ้น”
ท่านพระอานนท์ทูลรับว่า “ทราบ พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อานนท์ อีกนัยหนึ่ง เปรียบเหมือนในเวลารับ
ประทานอาหารในเวลาเที่ยงวัน เธอทราบไหมว่า ‘ความมืดหายไป ความสว่าง
ปรากฏขึ้น”
ท่านพระอานนท์ทูลรับว่า “ทราบ พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อานนท์ เช่นเดียวกัน เรากำหนดใจด้วยใจจึงรู้บุคคล
บางคนในโลกนี้อย่างนี้ว่า ‘กุศลธรรมก็ดี อกุศลธรรมก็ดีของบุคคลนี้แลมีอยู่’ สมัย
ต่อมา เรากำหนดใจด้วยใจจึงรู้บุคคลนั้นอย่างนี้ว่า ‘อกุศลธรรมของบุคคลนี้หาย
ไปแล้ว กุศลธรรมปรากฏขึ้น แต่อกุศลมูลที่เขายังตัดไม่ขาดมีอยู่ แม้อกุศลมูลนั้น
ก็ถึงความถอนขึ้นทั้งหมด บุคคลนี้จักเป็นผู้ไม่เสื่อมต่อไปเป็นธรรมดา ด้วยประการ
อย่างนี้’ ตถาคตกำหนดใจด้วยใจจึงรู้บุคคลอย่างนี้แล กำหนดใจด้วยใจจึงรู้ญาณ
เป็นเครื่องรู้อินทรีย์ของบุคคลอย่างนี้แล กำหนดใจด้วยใจจึงรู้ธรรมที่อาศัยกันเกิดขึ้น
ต่อไปอย่างนี้แล

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๕๖๙ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๖. มหาวรรค ๘. ปุริสินทริยญาณสูตร
๖. เรากำหนดใจด้วยใจจึงรู้บุคคลบางคนในโลกนี้แม้อย่างนี้ว่า ‘กุศลธรรม
ก็ดี อกุศลธรรมก็ดีของบุคคลนี้แลมีอยู่’ สมัยต่อมา เรากำหนดใจ
ด้วยใจจึงรู้บุคคลนั้นอย่างนี้ว่า ‘อกุศลธรรมแม้เท่ารอยเจาะแห่ง
ปลายขนทรายของบุคคลนี้ก็ไม่มี บุคคลนี้ประกอบด้วยธรรมที่ไม่
มีโทษ เป็นธรรมฝ่ายขาวอย่างเดียว จักปริพพานในปัจจุบัน
แน่นอน’ เปรียบเหมือนถ่านไฟที่เย็น ดับแล้ว ซึ่งบุคคลวางไว้บน
กองหญ้าแห้ง หรือบนกองไม้แห้ง เธอทราบไหมว่า ‘ถ่านไฟนี้จักไม่
ลุกลามขยายกว้างออกไป”
ท่านพระอานนท์ทูลรับว่า “ทราบ พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อานนท์ เช่นเดียวกัน เรากำหนดใจด้วยใจจึงรู้บุคคล
บางคนในโลกนี้อย่างนี้ว่า ‘กุศลธรรมก็ดี อกุศลธรรมก็ดีของบุคคลนี้แลมีอยู่’ สมัย
ต่อมา เรากำหนดใจด้วยใจจึงรู้บุคคลนั้นอย่างนี้ว่า ‘อกุศลธรรมแม้เท่ารอยเจาะแห่ง
ปลายขนทรายของบุคคลนี้ก็ไม่มี บุคคลนี้ประกอบด้วยธรรมที่ไม่มีโทษ เป็นธรรม
ฝ่ายขาวอย่างเดียว จักปรินิพพานในปัจจุบันแน่นอน กำหนดใจด้วยใจจึงรู้บุคคล
อย่างนี้แล กำหนดใจด้วยใจจึงรู้ญาณเป็นเครื่องรู้อินทรีย์ของบุคคลอย่างนี้แล กำหนด
ใจด้วยใจจึงรู้ธรรมที่อาศัยกันเกิดขึ้นต่อไปอย่างนี้แล
อานนท์ บรรดาบุคคล ๖ จำพวกนั้น บุคคล ๓ จำพวกแรก คือ คนหนึ่งเป็น
ผู้ไม่เสื่อมเป็นธรรมดา คนหนึ่งเป็นผู้เสื่อมเป็นธรรมดา อีกคนหนึ่งเกิดในอบาย
และตกนรก บรรดาบุคคล ๖ จำพวกนั้น บุคคล ๓ จำพวกหลัง คือ คนหนึ่งเป็น
ผู้เสื่อมเป็นธรรมดา คนหนึ่งเป็นผู้ไม่เสื่อมเป็นธรรมดา อีกคนหนึ่งจักปรินิพพาน
เป็นธรรมดา”
ปุริสินทริยญาณสูตรที่ ๘ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๕๗๐ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๖. มหาวรรค ๙. นิพเพธิกสูตร
๙. นิพเพธิกสูตร
ว่าด้วยธรรมบรรยาย๑ชำแรกกิเลส
[๖๓] ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมบรรยายเป็นเหตุชำแรกกิเลสแก่เธอ
ทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนอง
พระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า
ภิกษุทั้งหลาย ธรรมบรรยายที่เป็นเหตุชำแรกกิเลสนั้น อะไรบ้าง คือ
๑. เธอทั้งหลายพึงทราบกาม เหตุเกิดแห่งกาม ความต่างกันแห่งกาม
วิบากแห่งกาม ความดับแห่งกาม ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับแห่งกาม
๒. เธอทั้งหลายพึงทราบเวทนา เหตุเกิดแห่งเวทนา ความต่างกันแห่ง
เวทนา วิบากแห่งเวทนา ความดับแห่งเวทนา ข้อปฏิบัติให้ถึงความ
ดับแห่งเวทนา
๓. เธอทั้งหลายพึงทราบสัญญา เหตุเกิดแห่งสัญญา ความต่างกันแห่ง
สัญญา วิบากแห่งสัญญา ความดับแห่งสัญญา ข้อปฏิบัติให้ถึง
ความดับแห่งสัญญา
๔. เธอทั้งหลายพึงทราบอาสวะ เหตุเกิดแห่งอาสวะ ความต่างกันแห่ง
อาสวะ วิบากแห่งอาสวะ ความดับแห่งอาสวะ ข้อปฏิบัติให้ถึง
ความดับแห่งอาสวะ
๕. เธอทั้งหลายพึงทราบกรรม เหตุเกิดแห่งกรรม ความต่างกันแห่ง
กรรม วิบากแห่งกรรม ความดับแห่งกรรม ข้อปฏิบัติให้ถึงความ
ดับแห่งกรรม
๖. เธอทั้งหลายพึงทราบทุกข์ เหตุเกิดแห่งทุกข์ ความต่างกันแห่ง
ทุกข์ วิบากแห่งทุกข์ ความดับแห่งทุกข์ ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับ
แห่งทุกข์
ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวไว้เช่นนี้แลว่า ‘เธอทั้งหลายพึงทราบกาม เหตุเกิด
แห่งกาม ความต่างกันแห่งกาม วิบากแห่งกาม ความดับแห่งกาม ข้อปฏิบัติให้
ถึงความดับแห่งกาม’ เพราะอาศัยเหตุอะไรเราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น

เชิงอรรถ :
๑ บรรยาย แปลจาก ปริยาย ศัพท์ มีความหมาย ๓ นัย คือ (๑) หมายถึงเทศนา - ดู ม.มู. ๑๒/๒๐๕/๑๗๕
(๒) หมายถึงวาระ - ดู ม.อุ. ๑๔/๓๙๘/๓๔๔ (๓) หมายถึงเหตุ - ดู วิ.มหา. (แปล) ๑/๑๖๔/๑๓๖ (วิ.อ.
๑/๓/๑๒๖)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๕๗๑ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๖. มหาวรรค ๙. นิพเพธิกสูตร
ภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัยเหตุนี้ว่า กามคุณ ๕ ประการนี้ คือ
๑. รูปที่พึงรู้แจ้งทางตา ที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก
ชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัด
๒. เสียงที่พึงรู้แจ้งทางหู ฯลฯ
๓. กลิ่นที่พึงรู้แจ้งทางจมูก ฯลฯ
๔. รสที่พึงรู้แจ้งทางลิ้น ฯลฯ
๕. โผฏฐัพพะที่พึงรู้แจ้งทางกาย ที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ
ชวนให้รัก ชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัด
ภิกษุทั้งหลาย แต่สิ่งเหล่านี้ ไม่เรียกว่ากาม สิ่งเหล่านี้ เรียกว่ากามคุณ๑
ในอริยวินัย
[พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดา ได้ตรัสเวยยากรณ์ภาษิตนี้แล้ว จึงได้ตรัสคาถา
ประพันธ์นี้ต่อไปอีกว่า]
สังกัปปราคะ๒ของบุรุษชื่อว่ากาม
อารมณ์ที่วิจิตรทั้งหลายในโลกไม่ชื่อว่ากาม
สังกัปปราคะของบุรุษชื่อว่ากาม
อารมณ์ที่วิจิตรทั้งหลายในโลก
ตั้งอยู่ตามสภาพของตนเท่านั้น
แต่ธีรชนทั้งหลายย่อมกำจัดความพอใจ
ในอารมณ์ที่วิจิตรเหล่านั้นได้๓

เชิงอรรถ :
๑ กามคุณ แยกอธิบายว่า ที่ชื่อว่า กาม เพราะมีความหมายว่าเป็นสิ่งที่บุคคลพึงใคร่ ที่ชื่อว่า คุณ เพราะมี
ความหมายว่า ผูกพันไว้ ร้อยรัดไว้ ดุจคำว่า “อนฺตํ อนฺตคุณํ” (ไส้ใหญ่ ไส้เล็ก - ที.ม.๑๐/๓๗๗/๒๕๑,ม.มู.
๑๒/๑๑๐/๗๙, ขุ.ขุ.๒๕/๓/๒ และดุจคำว่า “กยิรา มาลาคุเณ พหู” (ช่างดอกไม้พึงร้อยพวงมาลัยไว้เป็น
จำนวนมาก - ขุ.ธ.๒๕/๕๓/๒๖ (องฺ.ฉกฺก.อ.๓/๖๓/๑๔๘)
๒ สังกัปปราคะ หมายถึงความกำหนัดที่เกิดขึ้นด้วยอำนาจความดำริในวัตถุมีรูปที่งดงามเป็นต้น (องฺ.ฉกฺก.อ.
๓/๖๓/๑๔๘, องฺ.ฉกฺก.ฏีกา ๓/๖๓/๗๐) สังกัปปราคะ นี้เป็นชื่อเรียกกิเลสกามอีกชื่อหนึ่งในจำนวนชื่อเรียก
กาม ๑๘ ชื่อ ดู ขุ.ชา.๒๗/๓๙/๑๘๘, ขุ.ม. (แปล) ๒๙/๑/๒, ขุ.จู. (แปล) ๓๐/๘/๖๖-๖๗
๓ สํ.สํ. ๑๕/๓๔/๒๖, อภิ.ก. ๓๗/๕๑๓/๓๑๑

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๕๗๒ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๖. มหาวรรค ๙. นิพเพธิกสูตร
เหตุเกิดแห่งกาม เป็นอย่างไร
คือ ผัสสะเป็นเหตุเกิดแห่งกาม
ความต่างกันแห่งกาม เป็นอย่างไร
คือ กามในรูปเป็นอย่างหนึ่ง กามในเสียงเป็นอย่างหนึ่ง กามในกลิ่นเป็น
อย่างหนึ่ง กามในรสเป็นอย่างหนึ่ง กามในโผฏฐัพพะเป็นอย่างหนึ่ง นี้เรียกว่า
ความต่างกันแห่งกาม
วิบากแห่งกาม เป็นอย่างไร
คือ การที่บุคคลผู้ใคร่อยู่ ทำอัตภาพที่เกิดจากความใคร่นั้น ๆ ให้เกิดขึ้น
จะเป็นส่วนแห่งบุญหรือไม่เป็นส่วนแห่งบุญก็ตาม นี้เรียกว่า วิบากแห่งกาม
ความดับแห่งกาม เป็นอย่างไร
คือ เพราะผัสสะดับ กามจึงดับ
ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับแห่งกาม ได้แก่ อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้ คือ

๑. สัมมาทิฏฐิ (เห็นชอบ) ๒. สัมมาสังกัปปะ (ดำริชอบ)
๓. สัมมาวาจา (เจรจาชอบ) ๔. สัมมากัมมันตะ (กระทำชอบ)
๕. สัมมาอาชีวะ (เลี้ยงชีพชอบ) ๖. สัมมาวายามะ (พยายามชอบ)
๗. สัมมาสติ (ระลึกชอบ) ๘. สัมมาสมาธิ (ตั้งจิตมั่นชอบ)

ภิกษุทั้งหลาย เพราะอริยสาวกรู้ชัดกามอย่างนี้ รู้ชัดเหตุเกิดแห่งกามอย่างนี้
รู้ชัดความต่างกันแห่งกามอย่างนี้ รู้ชัดวิบากแห่งกามอย่างนี้ รู้ชัดความดับแห่งกาม
อย่างนี้ รู้ชัดข้อปฏิบัติให้ถึงความดับแห่งกามอย่างนี้ เธอจึงรู้ชัดพรหมจรรย์ที่เป็น
เหตุชำแรกกิเลส เป็นที่ดับแห่งกามนี้
เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้นว่า ‘เธอทั้งหลายพึงทราบกาม ฯลฯ ข้อปฏิบัติให้ถึง
ความดับแห่งกาม’
เรากล่าวไว้เช่นนี้แลว่า ‘เธอทั้งหลายพึงทราบเวทนา ฯลฯ ข้อปฏิบัติให้ถึง
ความดับแห่งเวทนา’ เพราะอาศัยเหตุอะไรเราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๕๗๓ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๖. มหาวรรค ๙. นิพเพธิกสูตร
ภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัยเหตุนี้ว่า เวทนา๑ ๓ ประการนี้ คือ
๑. สุขเวทนา (ความรู้สึกสุข)
๒. ทุกขเวทนา (ความรู้สึกทุกข์)
๓. อทุกขสุขมเวทนา (ความรู้สึกเฉย ๆ)
เหตุเกิดแห่งเวทนา เป็นอย่างไร
คือ ผัสสะเป็นเหตุเกิดแห่งเวทนา
ความต่างกันแห่งเวทนา เป็นอย่างไร
คือ สุขเวทนาที่เจืออามิสก็มี สุขเวทนาที่ไม่เจืออามิสก็มี ทุกขเวทนาที่เจือ
อามิสก็มี ทุกขเวทนาที่ไม่เจืออามิสก็มี อทุกขสุขเวทนาที่เจืออามิสก็มี อทุกขสุข-
เวทนาที่ไม่เจืออามิสก็มี นี้เรียกว่า ความต่างกันแห่งเวทนา
วิบากแห่งเวทนา เป็นอย่างไร
คือ การที่บุคคลผู้รู้สึกอยู่ ทำอัตภาพที่เกิดจากเวทนานั้น ๆ ให้เกิดขึ้น จะเป็น
ส่วนแห่งบุญหรือไม่เป็นส่วนแห่งบุญก็ตาม นี้เรียกว่า วิบากแห่งเวทนา
ความดับแห่งเวทนา เป็นอย่างไร
คือ เพราะผัสสะดับ เวทนาจึงดับ
ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับแห่งเวทนา ได้แก่ อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้ คือ
๑. สัมมาทิฏฐิ
ฯลฯ
๘. สัมมาสมาธิ
ภิกษุทั้งหลาย เพราะอริยสาวกรู้ชัดเวทนาอย่างนี้ รู้ชัดเหตุเกิดแห่งเวทนา
อย่างนี้ รู้ชัดความต่างกันแห่งเวทนาอย่างนี้ รู้ชัดวิบากแห่งเวทนาอย่างนี้ รู้ชัด
ความดับแห่งเวทนาอย่างนี้ รู้ชัดข้อปฏิบัติให้ถึงความดับแห่งเวทนาอย่างนี้ เธอจึง
รู้ชัพรหมจรรย์ที่เป็นเหตุชำแรกกิเลส เป็นที่ดับแห่งเวทนานี้
เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้นว่า ‘เธอทั้งหลายพึงทราบเวทนา ฯลฯ ข้อปฏิบัติให้ถึง
ความดับแห่งเวทนา’
เรากล่าวไว้เช่นนี้แลว่า ‘เธอทั้งหลายพึงทราบสัญญา ฯลฯ ข้อปฏิบัติให้ถึง
ความดับแห่งสัญญา’ เพราะอาศัยเหตุอะไรเราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น

เชิงอรรถ :
๑ ดู ที.ปา.๑๑/๓๐๕/๑๙๔,๓๕๓/๒๔๔, สํ.สฬา. (แปล) ๑๘/๒๗๐/๓๐๓

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๕๗๔ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๖. มหาวรรค ๙. นิพเพธิกสูตร
ภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัยเหตุนี้ว่า สัญญา๑ ๖ ประการนี้ คือ
๑. รูปสัญญา (กำหนดหมายรูป)
๒. สัททสัญญา (กำหนดหมายเสียง)
๓. คันธสัญญา (กำหนดหมายกลิ่น)
๔. รสสัญญา (กำหนดหมายรส)
๕. โผฏฐัพพสัญญา (กำหนดหมายโผฏฐัพพะ)
๖. ธัมมสัญญา (กำหนดหมายธรรมารมณ์)
เหตุเกิดแห่งสัญญา เป็นอย่างไร
คือ ผัสสะเป็นเหตุเกิดแห่งสัญญา
ความต่างกันแห่งสัญญา เป็นอย่างไร
คือ สัญญาในรูปเป็นอย่างหนึ่ง สัญญาในเสียงเป็นอย่างหนึ่ง สัญญาในกลิ่น
เป็นอย่างหนึ่ง สัญญาในรสเป็นอย่างหนึ่ง สัญญาในโผฏฐัพพะเป็นอย่างหนึ่ง
สัญญาในธรรมเป็นอย่างหนึ่ง นี้เรียกว่า ความต่างกันแห่งสัญญา
วิบากแห่งสัญญา เป็นอย่างไร
คือ เรากล่าวว่าสัญญา ‘มีคำพูดเป็นผล (เพราะว่า) บุคคลกำหนดหมายอย่างใด
ก็พูดไปอย่างนั้นว่า ‘เรามีสัญญาอย่างนี้’ นี้เรียกว่า วิบากแห่งสัญญา
ความดับแห่งสัญญา เป็นอย่างไร
คือ เพราะผัสสะดับ สัญญาจึงดับ
ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับแห่งสัญญาได้แก่ อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้ คือ
๑. สัมมาทิฏฐิ
ฯลฯ
๘. สัมมาสมาธิ
ภิกษุทั้งหลาย เพราะอริยสาวกรู้ชัดสัญญาอย่างนี้ รู้ชัดเหตุเกิดแห่งสัญญา
อย่างนี้ รู้ชัดความต่างกันแห่งสัญญาอย่างนี้ รู้ชัดวิบากแห่งสัญญาอย่างนี้ รู้ชัด
ความดับแห่งสัญญาอย่างนี้ รู้ชัดข้อปฏิบัติให้ถึงความดับแห่งสัญญาอย่างนี้ เธอจึง
รู้ชัดพรหมจรรย์ที่เป็นเหตุชำแรกกิเลส เป็นที่ดับแห่งสัญญานี้

เชิงอรรถ :
๑ ดู ที.ปา.๑๑/๓๒๓/๒๑๕, ม.อุ.๑๔/๓๐๕/๒๗๙, อภิ.วิ.(แปล) ๓๕/๑๕๔/๑๑๒

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๕๗๕ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๖. มหาวรรค ๙. นิพเพธิกสูตร
เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้นว่า ‘เธอทั้งหลายพึงทราบสัญญา ฯลฯ ข้อปฏิบัติให้ถึง
ความดับแห่งสัญญา’
เรากล่าวไว้เช่นนี้แลว่า ‘เธอทั้งหลายพึงทราบอาสวะ ฯลฯ ข้อปฏิบัติให้ถึง
ความดับแห่งอาสวะ’ เพราะอาศัยเหตุอะไรเราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น
ภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัยเหตุนี้ว่า อาสวะ๑ ๓ ประการนี้ คือ
๑. กามาสวะ (อาสวะคือกาม)
๒. ภวาสวะ (อาสวะคือภพ)
๓. อวิชชาสวะ (อาสวะคืออวิชชา)
เหตุเกิดแห่งอาสวะ เป็นอย่างไร
คือ อวิชชาเป็นเหตุเกิดแห่งอาสวะ
ความต่างกันแห่งอาสวะ เป็นอย่างไร
คือ อาสวะที่เป็นเหตุให้ไปสู่นรกก็มี อาสวะที่เป็นเหตุให้ไปสู่กำเนิดสัตว์
ดิรัจฉานก็มี อาสวะที่เป็นเหตุให้ไปสู่แดนเปรตก็มี อาสวะที่เป็นเหตุให้ไปสู่มนุษยโลก
ก็มี อาสวะที่เป็นเหตุให้ไปสู่เทวโลกก็มี นี้เรียกว่า ความต่างกันแห่งอาสวะ
วิบากแห่งอาสวะ เป็นอย่างไร
คือ การที่บุคคลมีอวิชชา ย่อมยังอัตภาพที่เกิดจากอวิชชานั้น ๆ ให้เกิดขึ้น จะ
เป็นส่วนแห่งบุญหรือไม่เป็นส่วนแห่งบุญก็ตาม นี้เรียกว่า วิบากแห่งอาสวะ
ความดับแห่งอาสวะ เป็นอย่างไร
คือ เพราะอวิชชาดับ อาสวะจึงดับ
ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับแห่งอาสวะ ได้แก่ อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้ คือ
๑. สัมมาทิฏฐิ
ฯลฯ
๒. สัมมาสมาธิ
ภิกษุทั้งหลาย เพราะอริยสาวกรู้ชัดอาสวะอย่างนี้ รู้ชัดเหตุเกิดแห่งอาสวะ
อย่างนี้ รู้ชัดความต่างกันแห่งอาสวะอย่างนี้ รู้ชัดวิบากแห่งอาสวะอย่างนี้ รู้ชัด

เชิงอรรถ :
๑ ดู ที.ม.๑๐/๑๔๒/๗๓, สํ.สฬา. (แปล) ๑๘/๓๒๑/๓๔๐, อภิ.วิ. (แปล) ๓๕/๙๓๗/๕๘๖-๕๘๗

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๕๗๖ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๖. มหาวรรค ๙. นิพเพธิกสูตร
ความดับแห่งอาสวะอย่างนี้ รู้ชัดข้อปฏิบัติให้ถึงความดับแห่งอาสวะอย่างนี้ เธอ
จึงรู้ชัดพรหมจรรย์ที่เป็นเหตุชำแรกกิเลส เป็นที่ดับอาสวะนี้
เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้นว่า ‘เธอทั้งหลายพึงทราบอาสวะ ฯลฯ ข้อปฏิบัติให้ถึง
ความดับแห่งอาสวะ’
เรากล่าวไว้เช่นนี้แลว่า ‘เธอทั้งหลายพึงทราบกรรม ฯลฯ ข้อปฏิบัติให้ถึง
ความดับแห่งกรรม’ เพราะอาศัยเหตุอะไรเราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น
ภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัยเหตุนี้ว่า เรากล่าวเจตนาว่าเป็นตัวกรรม บุคคล
คิดแล้ว จึงกระทำกรรมด้วยกาย วาจา ใจ
เหตุเกิดแห่งกรรม เป็นอย่างไร
คือ ผัสสะเป็นเหตุเกิดแห่งกรรม
ความต่างกันแห่งกรรม เป็นอย่างไร
คือ กรรมที่พึงเสวยในนรกก็มี กรรมที่พึงเสวยในกำเนิดสัตว์ดิรัจฉานก็มี
กรรมที่พึงเสวยในแดนเปรตก็มี กรรมที่พึงเสวยในมนุษยโลกก็มี กรรมที่พึงเสวยใน
เทวโลกก็มี นี้เรียกว่า ความต่างกันแห่งกรรม
วิบากแห่งกรรม เป็นอย่างไร
คือ เรากล่าววิบากแห่งกรรมว่ามี ๓ ประการ คือ
๑. กรรมที่พึงเสวยในปัจจุบัน
๒. กรรมที่พึงเสวยในอัตภาพถัดไป
๓. กรรมที่พึงเสวยในอัตภาพต่อ ๆ ไป๑
นี้เรียกว่า วิบากแห่งกรรม
ความดับแห่งกรรม เป็นอย่างไร
คือ เพราะผัสสะดับ กรรมจึงดับ

เชิงอรรถ :
๑ กรรมที่พึงเสวยในปัจจุบัน เรียกว่า ทิฏฐเวทนียกรรม กรรมที่พึงเสวยในอัตภาพถัดไปเรียกว่า อุปปัชช-
เวทนียกรรม กรรมที่พึงเสวยในอัตภาพต่อ ๆ ไป เรียกว่า อปราปริยเวทนียกรรม (องฺ.เอกาทสก. (แปล)
๒๔/๒๑๗/๓๕๗, อภิ.ก.๓๗/๖๓๕/๓๘๕, ๘๙๐-๘๙๑/๕๐๖-๕๐๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๕๗๗ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๖. มหาวรรค ๙. นิพเพธิกสูตร
ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับแห่งกรรมได้แก่ อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้ คือ
๑. สัมมาทิฏฐิ
ฯลฯ
๘. สัมมาสมาธิ
ภิกษุทั้งหลาย เพราะอริยสาวกรู้ชัดกรรมอย่างนี้ รู้ชัดเหตุเกิดแห่งกรรมอย่างนี้
รู้ชัดความต่างกันแห่งกรรมอย่างนี้ รู้ชัดวิบากแห่งกรรมอย่างนี้ รู้ชัดความดับแห่ง
กรรมอย่างนี้ รู้ชัดข้อปฏิบัติให้ถึงความดับแห่งกรรมอย่างนี้ เธอจึงรู้ชัดพรหมจรรย์
ที่เป็นเหตุชำแรกกิเลส เป็นที่ดับกรรมนี้
เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้นว่า ‘เธอทั้งหลายพึงทราบกรรม ฯลฯ ข้อปฏิบัติให้ถึง
ความดับแห่งกรรม’ เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น
เรากล่าวไว้เช่นนี้แลว่า ‘เธอทั้งหลายพึงทราบทุกข์ เหตุเกิดแห่งทุกข์ ความ
ต่างกันแห่งทุกข์ วิบากแห่งทุกข์ ความดับแห่งทุกข์ ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับ
แห่งทุกข์’ เพราะอาศัยเหตุอะไรเราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น
เพราะอาศัยเหตุนี้ว่า แม้ชาติ (ความเกิด) ก็เป็นทุกข์ แม้ชรา (ความแก่) ก็เป็น
ทุกข์ แม้มรณะ (ความตาย) ก็เป็นทุกข์ แม้โสกะ (ความโศก) ปริเทวะ (ความคร่ำครวญ)
ทุกข์ (ความทุกข์กาย) โทมนัส (ความทุกข์ใจ) อุปายาส (ความคับแค้นใจ) ก็เป็นทุกข์
ปรารถนาสิ่งใดไม่ได้สิ่งนั้น ก็เป็นทุกข์ ว่าโดยย่อ อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์
เหตุเกิดแห่งทุกข์ เป็นอย่างไร
คือ ตัณหาเป็นเหตุเกิดแห่งทุกข์
ความต่างกันแห่งทุกข์ เป็นอย่างไร
คือ ทุกข์มากก็มี ทุกข์น้อยก็มี ทุกข์ที่คลายช้าก็มี ทุกข์ที่คลายเร็วก็มี นี้เรียกว่า
ความต่างกันแห่งทุกข์
วิบากแห่งทุกข์ เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ถูกทุกข์ใดครอบงำ มีจิตถูกทุกข์ใดกลุ้มรุม ย่อม
เศร้าโศก ลำบากใจ ร่ำไร ทุบอก คร่ำครวญ ถึงความเลอะเลือน หรือบุคคลถูกทุกข์
ใดครอบงำ มีจิตถูกทุกข์ใดกลุ้มรุมแล้วย่อมหาเหตุเปลื้องทุกข์ในภายนอกว่า ‘ใครจะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๕๗๘ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๖. มหาวรรค ๑๐. สีหนาทสูตร
รู้บทเดียวหรือสองบทเพื่อดับทุกข์นี้ได้’ เรากล่าวว่าทุกข์นั้นมีความหลงเป็นผล หรือ
มีการแสวงหาเปลื้องทุกข์ภายนอกเป็นผล นี้เรียกว่า วิบากแห่งทุกข์
ความดับแห่งทุกข์ เป็นอย่างไร
คือ เพราะตัณหาดับ ทุกข์จึงดับ
ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับแห่งทุกข์ อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้ คือ
๑. สัมมาทิฏฐิ
ฯลฯ
๘. สัมมาสมาธิ
ภิกษุทั้งหลาย เพราะอริยสาวกรู้ชัดทุกข์อย่างนี้ รู้ชัดเหตุเกิดแห่งทุกข์อย่างนี้
รู้ชัดความต่างกันแห่งทุกข์อย่างนี้ รู้ชัดวิบากแห่งทุกข์อย่างนี้ รู้ชัดความดับแห่งทุกข์
อย่างนี้ รู้ชัดข้อปฏิบัติให้ถึงความดับแห่งทุกข์อย่างนี้ เธอจึงรู้ชัดพรหมจรรย์ที่เป็น
เหตุชำแรกกิเลส เป็นที่ดับทุกข์นี้
เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้นว่า ‘เธอทั้งหลายพึงทราบทุกข์ เหตุเกิดแห่งทุกข์ ความ
ต่างกันแห่งทุกข์ วิบากแห่งทุกข์ ความดับแห่งทุกข์ ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับแห่งทุกข์’
ภิกษุทั้งหลาย ธรรมบรรยายที่เป็นเหตุชำแรกกิเลสนี้นั้น เป็นอย่างนี้แล
นิพเพธิกสูตรที่ ๙ จบ
๑๐. สีหนาทสูตร๑
ว่าด้วยการบันลือสีหนาท
[๖๔] ภิกษุทั้งหลาย กำลังของตถาคต ๖ ประการนี้ ที่ตถาคตมีแล้วเป็น
เหตุให้ปฏิญญาฐานะที่องอาจ บันลือสีหนาท ประกาศพรหมจักรในบริษัท๒

เชิงอรรถ :
๑ ดูมหาสีหนาทสูตร (ม.มู. ๑๒/๑๔๘/๑๐๗-๑๑๐, องฺ.ทสก. (แปล) ๒๔/๒๑/๔๓)
๒ ดูเชิงอรรถที่ ๒-๕ ปัญจกนิบาต ข้อ ๑๑ (อนุสสุตสูตร) หน้า ๑๕ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๕๗๙ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๖. มหาวรรค ๑๐. สีหนาทสูตร
กำลังของตถาคต ๖ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ตถาคตรู้ชัดฐานะโดยเป็นฐานะ และอฐานะโดยเป็นอฐานะในโลกนี้
ตามความเป็นจริง การที่ตถาคตรู้ชัดฐานะโดยเป็นฐานะ และอฐานะ
โดยเป็นอฐานะตามความเป็นจริง นี้เป็นกำลังของตถาคตที่ตถาคต
อาศัยแล้วปฏิญญาฐานะที่องอาจ บันลือสีหนาท ประกาศพรหมจักร
ในบริษัท
๒. ตถาคตรู้ชัดวิบากแห่งการยึดถือกรรมที่เป็นทั้งอดีต อนาคต และ
ปัจจุบัน โดยฐานะ โดยเหตุตามความเป็นจริง การที่ตถาคตรู้ชัด
วิบากแห่งการยึดถือกรรมที่เป็นทั้งอดีต อนาคต และปัจจุบันโดย
ฐานะโดยเหตุตามความเป็นจริง นี้เป็นกำลังของตถาคตที่ตถาคต
อาศัยแล้วปฏิญญาฐานะที่องอาจ บันลือสีหนาท ประกาศพรหมจักร
ในบริษัท
๓. ตถาคตรู้ชัดความเศร้าหมอง๑ ความผ่องแผ้ว๒ แห่งฌาน วิโมกข์
สมาธิ และสมาบัติ๓ และการออกจากฌาน วิโมกข์ สมาธิ และ
สมาบัติตามความเป็นจริง การที่ตถาคตรู้ชัดความเศร้าหมอง
ความผ่องแผ้วแห่งฌาน วิโมกข์ สมาธิ และสมาบัติ และการ
ออกจากฌาน วิโมกข์ สมาธิ และสมาบัติตามความเป็นจริง นี้เป็น

เชิงอรรถ :
๑ ความเศร้าหมอง ในที่นี้หมายถึงธรรมฝ่ายเสื่อมได้แก่กาม วิตก วิจาร และปีติ เป็นต้น ที่เป็นอุปสรรค
ต่อการเจริญฌานตามลำดับขั้นของผู้ที่มีฌานยังไม่คล่องแคล่ว (องฺ.ทสก.อ. ๓/๒๑/๓๒๙, องฺ.ทสก.ฏีกา
๓/๒๑/๓๙๒) และดู องฺ.นวก. ๒๓/๔๑/๓๖๒-๓๖๙
๒ ความผ่องแผ้ว ในที่นี้หมายถึงธรรมฝ่ายเจริญ ได้แก่ การสงัดจากกาม การระงับวิตกวิจาร การจางคลาย
ไปแห่งปีติ เป็นต้น ซึ่งเป็นคุณต่อการเจริญฌานให้ยิ่งขึ้นไปของผู้ที่มีฌานคล่องแคล่ว (องฺ.ทสก.อ. ๓/๒๑/
๓๒๙, องฺ.ทสก.ฏีกา ๓/๒๑/๓๙๒) และดู องฺ.นวก. ๒๓/๔๑/๓๖๒-๓๖๙
๓ ในคำว่า “ฌาน วิโมกข์ สมาธิ และสมาบัติ” นี้ ฌาน หมายถึงฌาน ๔ (ปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน
จตุตถฌาน) (องฺ.ทสก.อ. ๓/๒๑/๓๒๙) วิโมกข์ หมายถึงวิโมกข์ ๘ มีข้อว่า ‘ผู้มีรูป มองเห็นรูปทั้งหลาย’
เป็นต้น (องฺ.ทสก.อ. ๓/๒๑/๓๒๙) และดู ที.ปา. ๑๑/๓๓๙/๒๓๑, องฺ.อฏฺ_ก. ๒๓/๑๑๙/๒๘๙ สมาธิ หมายถึง
สมาธิ ๓ คือ สวิตักกสวิจารสมาธิ (สมาธิที่มีทั้งวิตกและวิจาร) อวิตักกวิจารมัตตสมาธิ (สมาธิที่ไม่มี
วิตกมีเพียงวิจาร) อวิตักกาวิจารสมาธิ (สมาธิที่มีทั้งวิตกและวิจาร) (องฺ.ทสก.อ. ๓/๒๑/๓๒๙) และดู ขุ.ป.
๓๑/๔๓/๕๐ สมาบัติ หมายถึงอนุปุพพสมาบัติ ๙ คือ รูปฌาน ๔ อรูปฌาน ๔ และสัญญาเวทยิตนิโรธ ๑
(องฺ.ทสก.อ. ๓/๒๑/๓๒๙) และดู องฺ.นวก. ๒๓/๓๒/๓๓๖, อภิ.วิ. (แปล) ๓๕/๘๒๘/๕๓๑

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๕๘๐ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๖. มหาวรรค ๑๐. สีหนาทสูตร
กำลังของตถาคตที่ตถาคตอาศัยแล้วปฏิญญาฐานะที่องอาจ บันลือ
สีหนาท ประกาศพรหมจักรในบริษัท
๔. ตถาคตระลึกชาติก่อนได้หลายชาติ คือ ๑ ชาติบ้าง ๒ ชาติบ้าง
ฯลฯ ตถาคตระลึกชาติก่อนได้หลายชาติ พร้อมทั้งลักษณะทั่วไป
และชีวประวัติ อย่างนี้ การที่ตถาคตระลึกชาติก่อนได้หลายชาติ คือ
๑ ชาติบ้าง ๒ ชาติบ้าง ฯลฯ ตถาคตระลึกชาติก่อนได้หลายชาติ
พร้อมทั้งลักษณะทั่วไปและชีวประวัติอย่างนี้ นี้เป็นกำลังของตถาคต
ที่ตถาคต อาศัยแล้วปฏิญญาฐานะที่องอาจ บันลือสีหนาท
ประกาศพรหมจักร ในบริษัท
๕. ตถาคตเห็นหมู่สัตว์ที่กำลังจุติ กำลังเกิด ฯลฯ ด้วยตาทิพย์อัน
บริสุทธิ์เหนือมนุษย์ รู้ชัดถึงหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรมว่า ฯลฯ นี้เป็น
กำลังของตถาคตที่ตถาคตอาศัยแล้วปฏิญญาฐานะที่องอาจ บันลือสี
หนาทประกาศพรหมจักรในบริษัท
๖. ตถาคตทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันไม่มีอาสวะ เพราะ
อาสวะสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน การที่ตถาคต
ทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันไม่มีอาสวะ เพราะอาสวะ
สิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน นี้เป็นกำลังของ
ตถาคตที่ตถาคตอาศัยแล้วปฏิญญาฐานะที่องอาจ บันลือสีหนาท
ประกาศพรหมจักรในบริษัท
ภิกษุทั้งหลาย กำลังของตถาคต ๖ ประการนี้แล ที่ตถาคตมีแล้วเป็นเหตุให้
ปฏิญญาฐานะที่องอาจ บันลือสีหนาท ประกาศพรหมจักรในบริษัท
ภิกษุทั้งหลาย บรรดากำลังของตถาคต ๖ ประการนั้น
หากชนเหล่าอื่นเข้ามาหาตถาคตถามปัญหาถึงญาณรู้ชัดฐานะโดยเป็นฐานะ
และอฐานะโดยเป็นอฐานะตามความเป็นจริง ตถาคตเมื่อถูกถามย่อมพยากรณ์ญาณ
รู้ชัดฐานะโดยเป็นฐานะ และอฐานะโดยเป็นอฐานะตามความเป็นจริงแก่ชนเหล่านั้น
ตามที่ตถาคตรู้แจ้งญาณรู้ชัดฐานะโดยเป็นฐานะและอฐานะโดยเป็นอฐานะตามความ
เป็นจริง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๕๘๑ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๖. มหาวรรค ๑๐. สีหนาทสูตร
หากชนเหล่าอื่นเข้ามาหาตถาคตถามปัญหาถึงญาณรู้ชัดวิบากแห่งการยึดถือ
กรรมที่เป็นทั้งอดีต อนาคต และปัจจุบันโดยฐานะโดยเหตุ ตามความเป็นจริง
ตถาคตเมื่อถูกถามย่อมพยากรณ์ญาณรู้ชัดวิบากแห่งการยึดถือกรรมที่เป็นทั้งอดีต
อนาคต และปัจจุบันโดยฐานะโดยเหตุตามความเป็นจริงแก่ชนเหล่านั้นตามที่ตถาคต
รู้แจ้งญาณรู้ชัดวิบากแห่งการยึดกรรมที่เป็นทั้งอดีต อนาคตและปัจจุบันโดยฐานะ
โดยเหตุตามความเป็นจริง
หากชนเหล่าอื่นเข้ามาหาตถาคตถามปัญหาถึงญาณรู้ชัดความเศร้าหมอง
ความผ่องแผ้วแห่งฌาน วิโมกข์ สมาธิ และสมาบัติ และการออกจากฌาน วิโมกข์
สมาธิ และสมาบัติตามความเป็นจริง ตถาคตเมื่อถูกถามย่อมพยากรณ์ญาณรู้ชัด
ความเศร้าหมอง ความผ่องแผ้วแห่งฌาน วิโมกข์ สมาธิ และสมาบัติ และการ
ออกจากฌาน วิโมกข์ สมาธิ และสมาบัติ ตามความเป็นจริงแก่ชนเหล่านั้นตามที่
ตถาคตรู้แจ้งญาณรู้ชัดความเศร้าหมอง ความผ่องแผ้วแห่งฌาน วิโมกข์ สมาธิและ
สมาบัติ และการออกจากฌาน วิโมกข์ สมาธิ และสมาบัติตามความเป็นจริง
หากชนเหล่าอื่นเข้ามาหาตถาคตถามปัญหาถึงญาณรู้ชัดความระลึกชาติก่อนได้
ตามความเป็นจริง ตถาคตเมื่อถูกถามย่อมพยากรณ์ญาณรู้ชัดความระลึกชาติก่อน
ได้ตามความเป็นจริงแก่ชนเหล่านั้นตามที่ตถาคตรู้แจ้งญาณรู้ชัดความระลึกชาติก่อน
ได้ตามความเป็นจริง
หากชนเหล่าอื่นเข้ามาหาตถาคตถามปัญหาถึงญาณรู้ชัดการจุติและการเกิดของ
หมู่สัตว์ตามความเป็นจริง ตถาคตเมื่อถูกถามย่อมพยากรณ์ญาณรู้ชัดการจุติและ
การเกิดของหมู่สัตว์ตามความเป็นจริงแก่ชนเหล่านั้นตามที่ตถาคตรู้แจ้งญาณรู้ชัด
การจุติและการเกิดของหมู่สัตว์ตามความเป็นจริง
หากชนเหล่าอื่นเข้ามาหาตถาคตถามปัญหาถึงญาณรู้ชัดความสิ้นอาสวะทั้งหลาย
ตามความเป็นจริง ตถาคตเมื่อถูกถามย่อมพยากรณ์ญาณรู้ชัดความสิ้นอาสวะตาม
ความเป็นจริงแก่ชนเหล่านั้นตามที่ตถาคตรู้แจ้งญาณรู้ชัดความสิ้นอาสวะตาม
ความเป็นจริง
เรากล่าวว่า ญาณรู้ชัดฐานะโดยเป็นฐานะ และอฐานะโดยเป็นอฐานะตามความ
เป็นจริงนั้น เป็นของบุคคลผู้มีจิตเป็นสมาธิ ไม่กล่าวว่า เป็นของบุคคลผู้มีจิตไม่เป็น
สมาธิ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๕๘๒ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๖. มหาวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค
เรากล่าวว่า ญาณรู้ชัดวิบากแห่งการยึดถือกรรมที่เป็นทั้งอดีต อนาคต และ
ปัจจุบันโดยฐานะโดยเหตุตามความเป็นจริงนั้น เป็นของบุคคลผู้มีจิตเป็นสมาธิ
ไม่กล่าวว่า เป็นของบุคคลผู้มีจิตไม่เป็นสมาธิ
เรากล่าวว่า ญาณรู้ชัดความเศร้าหมอง ความผ่องแผ้วแห่งฌาน วิโมกข์ สมาธิ
และสมาบัติ และการออกจากฌาน วิโมกข์ สมาธิ และสมาบัตินั้น เป็นของบุคคล
ผู้มีจิตเป็นสมาธิ ไม่กล่าวว่า เป็นของบุคคลผู้มีจิตไม่เป็นสมาธิ
เรากล่าวว่า ญาณรู้ชัดความระลึกชาติก่อนได้ตามความเป็นจริงนั้น เป็นของ
บุคคลผู้มีจิตเป็นสมาธิ ไม่กล่าวว่า เป็นของบุคคลผู้มีจิตไม่เป็นสมาธิ
เรากล่าวว่า ญาณรู้ชัดจุติและการเกิดของหมู่สัตว์ตามความเป็นจริงนั้น เป็น
ของบุคคลผู้มีจิตเป็นสมาธิ ไม่กล่าวว่า เป็นของบุคคลผู้มีจิตไม่เป็นสมาธิ
เรากล่าวว่า ญาณรู้ชัดความสิ้นอาสวะทั้งหลายตามความเป็นจริงนั้น เป็นของ
บุคคลผู้มีจิตเป็นสมาธิ ไม่กล่าวว่า เป็นของบุคคลผู้มีจิตไม่เป็นสมาธิ
ภิกษุทั้งหลาย สมาธิเป็นมรรค๑ อสมาธิเป็นกุมมรรค๒ ด้วยประการฉะนี้แล
สีหนาทสูตรที่ ๑๐ จบ
มหาวรรคที่ ๖ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. โสณสูตร ๒. ผัคคุณสูตร
๓. ฉฬภิชาติสูตร ๔. อาสวสูตร
๕. ทารุกัมมิกสูตร ๖. หัตถิสารีปุตตสูตร
๗. มัชเฌสูตร ๘. ปุริสินทริยญาณสูตร
๙. นิพเพธิกสูตร ๑๐. สีหนาทสูตร


เชิงอรรถ :
๑ มรรค ในที่นี้หมายถึงอุบายแห่งการบรรลุญาณทั้งหลาย ได้แก่ มรรคมีองค์ ๘ (องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๖๔/๑๕๐-
๑๕๑) และดู อภิ.วิ.(แปล) ๓๕/๒๐๖/๑๗๔,๔๘๖/๓๗๑
๒ กุมมรรค ในที่นี้หมายถึงมิจฉามรรคกล่าวคือทางผิดจากการบรรลุญาณทั้งหลาย ได้แก่ มิจฉาทิฏฐิ (เห็น
ผิด) มิจฉาสังกัปปะ (ดำริผิด) มิจฉาวาจา (เจรจาผิด) มิจฉากัมมันตะ (กระทำผิด) มิจฉาอาชีวะ (เลี้ยงชีพผิด)
มิจฉาวายามะ (พยายามผิด) มิจฉาสติ (ระลึกผิด) มิจฉาสมาธิ (ตั้งจิตมั่นผิด) (องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๖๔/๑๕๐-
๑๕๑) และดู อภิ.วิ.(แปล) ๓๕/๙๓๖/๕๘๖,๙๕๖/๖๑๒-๖๑๓

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๕๘๓ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๗. เทวตาวรรค ๑. อนาคามิผลสูตร
๗. เทวตาวรรค
หมวดว่าด้วยเทวดา

๑. อนาคามิผลสูตร
ว่าด้วยอนาคามิผล
[๖๕] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุยังละธรรม ๖ ประการไม่ได้ ก็ไม่อาจทำให้แจ้ง
อนาคามิผลได้ ธรรม๑ ๖ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ความไม่มีศรัทธา ๒. ความไม่มีหิริ
๓. ความไม่มีโอตตัปปะ ๔. ความเกียจคร้าน
๕. ความหลงลืมสติ ๖. ความมีปัญญาทราม
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุยังละธรรม ๖ ประการนี้แลไม่ได้ ก็ไม่อาจทำให้แจ้ง
อนาคามิผลได้
ภิกษุละธรรม ๖ ประการได้แล้ว จึงอาจทำให้แจ้งอนาคามิผลได้
ธรรม ๖ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ความไม่มีศรัทธา ๒. ความไม่มีหิริ
๓. ความไม่มีโอตตัปปะ ๔. ความเกียจคร้าน
๕. ความหลงลืมสติ ๖. ความมีปัญญาทราม
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุละธรรม ๖ ประการนี้แลได้แล้ว จึงอาจทำให้แจ้ง
อนาคามิผลได้
อนาคามิผลสูตรที่ ๑ จบ

เชิงอรรถ :
๑ ดู อภิ.สงฺ. (แปล) ๓๔/๑๓๒๘,๑๓๒๙/๓๓๒, อภิ.วิ. (แปล) ๓๕/๙๐๐/๕๖๓, ๙๖๐/๕๖๕,๙๒๘/๕๘๑,๙๓๐/
๕๘๒,๙๓๒/๕๘๔,๙๓๕/๕๘๕

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๕๘๔ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๗. เทวตาวรรค ๒. อรหัตตสูตร
๒. อรหัตตสูตร
ว่าด้วยอรหัตตผล
[๖๖] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุยังละธรรม ๖ ประการไม่ได้ ก็ไม่อาจทำให้แจ้ง
อรหัตตผลได้
ธรรม ๖ ประการ อะไรบ้าง คือ

๑. ถีนะ (ความหดหู่) ๒. มิทธะ (ความเซื่องซึม)
๓. อุทธัจจะ (ความฟุ้งซ่าน) ๔. กุกกุจจะ (ความร้อนใจ)
๕. อัสสัทธิยะ (ความไม่มีศรัทธา) ๖. ปมาทะ (ความประมาท)

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุยังละธรรม ๖ ประการนี้แลไม่ได้ ก็ไม่อาจทำให้แจ้ง
อรหัตตผลได้
ภิกษุละธรรม ๖ ประการได้แล้ว จึงอาจทำให้แจ้งอรหัตตผลได้
ธรรม ๖ ประการ อะไรบ้าง คือ

๑. ถีนะ ๒. มิทธะ
๓. อุทธัจจะ ๔. กุกกุจจะ
๕. อัสสัทธิยะ ๖. ปมาทะ

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุละธรรม ๖ ประการนี้แลได้แล้ว จึงอาจทำให้แจ้ง
อรหัตตผลได้
อรหัตตสูตรที่ ๒ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๕๘๕ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๗. เทวตาวรรค ๓. มิตตสูตร
๓. มิตตสูตร
ว่าด้วยมิตร
[๖๗] ภิกษุทั้งหลาย
เป็นไปไม่ได้เลยที่ภิกษุผู้มีมิตรชั่ว มีสหายชั่ว มีเพื่อนชั่ว เสพ คบ เข้าไปนั่ง
ใกล้มิตรชั่ว และประพฤติตามมิตรชั่วเหล่านั้นอยู่ จักบำเพ็ญอภิสามาจาริกธรรม๑ให้
บริบูรณ์ได้
เป็นไปไม่ได้เลยที่ภิกษุไม่บำเพ็ญอภิสมาจาริกธรรมให้บริบูรณ์แล้ว จักบำเพ็ญ
เสขธรรม๒ให้บริบูรณ์ได้
เป็นไปไม่ได้เลยที่ภิกษุไม่บำเพ็ญเสขธรรมให้บริบูรณ์แล้ว จักบำเพ็ญศีล
ทั้งหลาย๓ให้บริบูรณ์ได้
เป็นไปไม่ได้เลยที่ภิกษุไม่บำเพ็ญศีลทั้งหลายให้บริบูรณ์แล้ว จักละกามราคะ
รูปราคะ หรืออรูปราคะได้
ภิกษุทั้งหลาย
เป็นไปได้ที่ภิกษุผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีเพื่อนดี เสพ คบ เข้าไปนั่งใกล้มิตรดี
และประพฤติตามมิตรดีเหล่านั้นอยู่ จักบำเพ็ญอภิสมาจาริกธรรมให้บริบูรณ์ได้
เป็นไปได้ที่ภิกษุบำเพ็ญอภิสมาจาริกธรรมให้บริบูรณ์แล้ว จักบำเพ็ญเสขธรรม
ให้บริบูรณ์ได้
เป็นไปได้ที่ภิกษุบำเพ็ญเสขธรรมให้บริบูรณ์แล้ว จักบำเพ็ญศีลทั้งหลายให้
บริบูรณ์ได้
เป็นไปได้ที่ภิกษุบำเพ็ญศีลทั้งหลายให้บริบูรณ์แล้ว จักละกามราคะ รูปราคะ
หรืออรูปราคะได้
มิตตสูตรที่ ๓ จบ

เชิงอรรถ :
๑,๒,๓ ดูเชิงอรรถที่ ๑,๒,๓ ปัญจกนิบาต ข้อ ๒๑ หน้า ๒๔ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๕๘๖ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๗. เทวตาวรรค ๔. สังคณิการามสูตร
๔. สังคณิการามสูตร
ว่าด้วยภิกษุผู้ชอบคลุกคลีด้วยหมู่คณะ
[๖๘] ภิกษุทั้งหลาย
๑. เป็นไปไม่ได้เลยที่ภิกษุผู้ชอบการคลุกคลีด้วยหมู่๑ ยินดีการคลุกคลี
ด้วยหมู่ ประกอบความชอบการคลุกคลีด้วยหมู่ เป็นผู้ชอบคณะ๒
ยินดีในคณะ ประกอบความยินดีในคณะ จักยินดีในปวิเวก๓ตาม
ลำพังได้
๒. เป็นไปไม่ได้เลยที่ภิกษุผู้ไม่ยินดีในปวิเวกตามลำพังจักถือเอานิมิต
แห่งจิต๔ได้
๓. เป็นไปไม่ได้เลยที่ภิกษุผู้ไม่ถือเอานิมิตแห่งจิต จักบำเพ็ญสัมมาทิฏฐิ๕
ให้บริบูรณ์ได้
๔. เป็นไปไม่ได้เลยที่ภิกษุผู้ไม่บำเพ็ญสัมมาทิฏฐิให้บริบูรณ์แล้ว จักบำเพ็ญ
สัมมาสมาธิให้บริบูรณ์ได้
๕. เป็นไปไม่ได้เลยที่ภิกษุผู้ไม่บำเพ็ญสัมมาสมาธิ๖ให้บริบูรณ์แล้ว จักละ
สังโยชน์ได้
๖. เป็นไปไม่ได้เลยที่ภิกษุผู้ยังละสังโยชน์ไม่ได้แล้ว จักทำให้แจ้งนิพพานได้
ภิกษุทั้งหลาย
๑. เป็นไปได้ที่ภิกษุผู้ไม่ชอบการคลุกคลีด้วยหมู่ ไม่ยินดีการคลุกคลี
ด้วยหมู่ ไม่ประกอบความชอบการคลุกคลีด้วยหมู่ ไม่ชอบคณะ

เชิงอรรถ :
๑ คลุกคลีด้วยหมู่ หมายถึงคลุกคลีด้วยหมู่คณะของตน (องฺ.ฉกฺก.ฏีกา ๓/๖๘-๖๙/๑๗๔)
๒ ชอบคณะ (คณาราโม) หมายถึงชอบคลุกคลีกับคนทั่วไป (องฺ.ฉกฺก.ฏีกา ๓/๖๘-๖๙/๑๗๔)
๓ ปวิเวก ในที่นี้หมายถึงกายวิเวก (ความสงัดทางกาย) (องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๖๘/๑๕๑)
๔ นิมิตแห่งจิต หมายถึงอาการซึ่งเป็นนิมิตแห่งสมาธิและวิปัสสนา (องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๖๘/๑๕๑)
๕ ดูเชิงอรรถที่ ๔ ปัญจกนิบาต ข้อ ๒๑ หน้า ๒๔ ในเล่มนี้
๖ ดูเชิงอรรถที่ ๑ ปัญจกนิบาต ข้อ ๒๑ หน้า ๒๕ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๕๘๗ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๗. เทวตาวรรค ๕. เทวตาสูตร
ไม่ยินดีในคณะ ไม่ประกอบความยินดีในคณะ จักยินดีในปวิเวก
ตามลำพังได้
๒. เป็นไปได้ที่ภิกษุผู้ยินดีในปวิเวกตามลำพัง จักถือเอานิมิตแห่งจิตได้
๓. เป็นไปได้ที่ภิกษุผู้ถือเอานิมิตแห่งจิต จักบำเพ็ญสัมมาทิฏฐิให้บริบูรณ์
ได้
๔. เป็นไปได้ที่ภิกษุผู้บำเพ็ญสัมมาทิฏฐิให้บริบูรณ์แล้ว จักบำเพ็ญ
สัมมาสมาธิให้บริบูรณ์ได้
๕. เป็นไปได้ที่ภิกษุผู้บำเพ็ญสัมมาสมาธิให้บริบูรณ์แล้ว จักละสังโยชน์ได้
๖. เป็นไปได้ที่ภิกษุผู้ละสังโยชน์ได้แล้ว จักทำให้แจ้งนิพพานได้
สังคณิการามสูตรที่ ๔ จบ
๕. เทวตาสูตร
ว่าด้วยเทวดาแสดงธรรม
[๖๙] ครั้งนั้น เมื่อราตรีผ่านไป เทวดาตนหนึ่งมีวรรณะงดงามยิ่งนัก เปล่ง
รัศมีให้สว่างทั่วพระเชตวัน เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้ว
ยืนอยู่ ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรม ๖ ประการนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความไม่เสื่อม
แก่ภิกษุ
ธรรม ๖ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ความเป็นผู้มีความเคารพในพระศาสดา
๒. ความเป็นผู้มีความเคารพในพระธรรม
๓. ความเป็นผู้มีความเคารพในพระสงฆ์
๔. ความเป็นผู้มีความเคารพในสิกขา
๕. ความเป็นผู้ว่าง่าย
๖. ความเป็นผู้มีกัลยาณมิตร(มิตรดี)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๕๘๘ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๗. เทวตาวรรค ๕. เทวตาสูตร
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรม ๖ ประการนี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อความไม่เสื่อมแก่ภิกษุ
เมื่อเทวดานั้นได้กราบทูลดังนี้แล้ว พระศาสดาทรงพอพระทัย ครั้นเทวดานั้น
ทราบว่า ‘พระศาสดาทรงพอพระทัยเรา’ จึงถวายอภิวาท ทำประทักษิณแล้วหายไป
ณ ที่นั้นแล
ครั้นคืนนั้นผ่านไป พระผู้มีพระภาคได้รับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า “ภิกษุ
ทั้งหลาย เมื่อคืนนี้ เมื่อราตรีผ่านไป เทวดาตนหนึ่งมีวรรณะงดงามยิ่งนัก เปล่งรัศมี
ให้สว่างทั่วพระเชตวัน เข้ามาหาเราถึงที่อยู่ ไหว้เราแล้วยืนอยู่ ณ ที่สมควร ได้กล่าว
กับเราดังนี้ว่า
‘ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรม ๖ ประการนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความไม่เสื่อมแก่
ภิกษุ
ธรรม ๖ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ความเป็นผู้มีความเคารพในพระศาสดา
๒. ความเป็นผู้มีความเคารพในพระธรรม
๓. ความเป็นผู้มีความเคารพในพระสงฆ์
๔. ความเป็นผู้มีความเคารพในสิกขา
๕. ความเป็นผู้ว่าง่าย
๖. ความเป็นผู้มีกัลยาณมิตร
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรม ๖ ประการนี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อความไม่เสื่อม
แก่ภิกษุ’
ภิกษุทั้งหลาย เทวดานั้นครั้นกล่าวดังนี้แล้ว จึงไหว้เราทำประทักษิณแล้ว
หายไป ณ ที่นั้นแล”
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ท่านพระสารีบุตรจึงถวายอภิวาทพระผู้มี
พระภาคแล้วกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ทราบชัดเนื้อความแห่ง
พระดำรัสที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้โดยย่อ ได้โดยพิสดารอย่างนี้ว่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๕๘๙ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๗. เทวตาวรรค ๕. เทวตาสูตร
ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้
๑. ตนเองเป็นผู้มีความเคารพในพระศาสดา สรรเสริญความเป็นผู้มี
ความเคารพในพระศาสดา ชักชวนภิกษุเหล่าอื่นผู้ไม่มีความเคารพ
ในศาสดาให้มีความเคารพในพระศาสดา ทั้งประกาศคุณที่มีอยู่จริง
ของภิกษุเหล่าอื่นผู้มีความเคารพในศาสดาตามกาลอันควร
๒. ตนเองเป็นผู้มีความมีเคารพในพระธรรม ฯลฯ
๓. ตนเองเป็นผู้มีความเคารพในพระสงฆ์ ฯลฯ
๔. ตนเองเป็นผู้มีความเคารพในสิกขา ฯลฯ
๕. ตนเองเป็นผู้ว่าง่าย ฯลฯ
๖. ตนเองเป็นผู้มีกัลยาณมิตร สรรเสริญความเป็นผู้มีกัลยาณมิตร
ชักชวนภิกษุเหล่าอื่นผู้ไม่มีกัลยาณมิตรให้เป็นผู้มีกัลยาณมิตร
ทั้งประกาศคุณที่มีอยู่จริงของภิกษุเหล่าอื่นผู้มีกัลยาณมิตรตามกาล
อันควร
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ทราบชัดเนื้อความแห่งพระดำรัสที่พระผู้มี
พระภาคตรัสไว้โดยย่อ ได้โดยพิสดารอย่างนี้แล”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “สารีบุตร ดีละ ดีละ เป็นการดีที่เธอรู้เนื้อความแห่ง
คำที่เรากล่าวไว้โดยย่อนี้ได้โดยพิสดารอย่างนี้
สารีบุตร ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. ตนเองเป็นผู้มีความเคารพในศาสดา สรรเสริญความเป็นผู้มีความ
เคารพในศาสดา ชักชวนภิกษุเหล่าอื่นผู้ไม่มีความเคารพในพระ
ศาสดาให้มีความเคารพในศาสดา ทั้งประกาศคุณที่มีจริงของภิกษุ
เหล่าอื่นผู้มีความเคารพในพระศาสดาตามกาลอันควร
๒. ตนเองเป็นผู้มีความเคารพในธรรม ฯลฯ
๓. ตนเองเป็นผู้มีความเคารพในสงฆ์ ฯลฯ
๔. ตนเองเป็นผู้มีความเคารพในสิกขา ฯลฯ
๕. ตนเองเป็นผู้ว่าง่าย ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๕๙๐ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๗. เทวตาวรรค ๖. สมาธิสูตร
๖. ตนเองเป็นผู้มีกัลยาณมิตร สรรเสริญความเป็นผู้มีกัลยาณมิตร
ชักชวนภิกษุเหล่าอื่นผู้ไม่มีกัลยาณมิตรให้เป็นผู้มีกัลยาณมิตร
ทั้งประกาศคุณที่มีจริงของภิกษุเหล่าอื่นผู้มีกัลยาณมิตร ตามกาล
อันควร
สารีบุตร บัณฑิตพึงทราบเนื้อความแห่งคำที่เรากล่าวไว้โดยย่อนี้ได้โดยพิสดาร
อย่างนี้แล”
เทวตาสูตรที่ ๕ จบ
๖. สมาธิสูตร
ว่าด้วยสมาธิ
[๗๐] ภิกษุทั้งหลาย
๑. เป็นไปไม่ได้เลยที่ภิกษุนั้นมีสมาธิที่ไม่สงบ๑ มีสมาธิที่ไม่ประณีต
มีสมาธิที่ไม่ได้ด้วยความสงบระงับ มีสมาธิที่ไม่มีภาวะเป็นหนึ่ง
ผุดขึ้น๒ จักแสดงฤทธิ์ได้หลายอย่าง คือ คนเดียวแสดงเป็นหลาย
คนก็ได้ หลายคนแสดงเป็นคนเดียวก็ได้ ฯลฯ๓ ใช้อำนาจทางกายไป
จนถึงพรหมโลกได้
๒. เป็นไปไม่ได้เลยที่ภิกษุนั้นจักได้ยินเสียง ๒ ชนิด คือ เสียงทิพย์
และเสียงมนุษย์ ทั้งที่อยู่ไกลและอยู่ใกล้ด้วยหูทิพย์อันบริสุทธิ์เหนือ
มนุษย์ได้
๓. เป็นไปไม่ได้เลยที่ภิกษุนั้นจักกำหนดรู้จิตของสัตว์และบุคคลอื่นได้ด้วย
จิตของตน คือ จิตมีราคะก็รู้ว่าจิตมีราคะ ฯลฯ หรือจิตไม่หลุดพ้น
ก็รู้ว่าจิตไม่หลุดพ้นได้

เชิงอรรถ :
๑ สมาธิที่ไม่สงบ หมายถึงสมาธิที่ไม่สงบจากกิเลสที่เป็นข้าศึกทั้งหลาย (องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๗๐/๑๕๒)
๒ สมาธิที่ไม่มีภาวะเป็นหนึ่งผุดขึ้น หมายถึงสมาธิที่ไม่ชื่อว่า เอโกทิ อันเป็นสมาธิระดับทุติยฌานซึ่ง
ปราศจากวิตก วิจาร มีแต่ปีติและสุขเกิดจากสมาธิ (เทียบ วิ.อ. ๑/๑๑/๑๔๓-๑๔๔)
๓ ฯลฯ ที่ปรากฏในสูตรนี้ ดูความเต็มใน ปัญจกนิบาต ข้อ ๒๘ หน้า ๓๙-๔๐ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๕๙๑ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๗. เทวตาวรรค ๖. สักขิภัพพสูตร
๔. เป็นไปไม่ได้เลยที่ภิกษุนั้นจักระลึกชาติก่อนได้หลายชาติ คือ ๑ ชาติ
บ้าง ๒ ชาติบ้าง ฯลฯ ระลึกชาติก่อนได้หลายชาติพร้อมทั้งลักษณะ
ทั่วไปและชีวประวัติอย่างนี้ได้
๕. เป็นไปไม่ได้เลยที่ภิกษุนั้นจักเห็นหมู่สัตว์ผู้กำลังจุติ กำลังเกิด ฯลฯ
ด้วยตาทิพย์อันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์ รู้ชัดหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรมได้
๖. เป็นไปไม่ได้เลยที่ภิกษุนั้นจักทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอัน
ไม่มีอาสวะ เพราะอาสวะสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ใน
ปัจจุบันได้
ภิกษุทั้งหลาย
๑. เป็นไปได้ที่ภิกษุนั้นมีสมาธิที่สงบ มีสมาธิที่ประณีต มีสมาธิที่ได้ด้วย
ความสงบระงับ มีสมาธิที่มีภาวะที่เป็นหนึ่งผุดขึ้น จักแสดงฤทธิ์ได้
หลายอย่าง คือ คนเดียวแสดงเป็นหลายคนก็ได้ หลายคนแสดง
เป็นคนเดียวก็ได้ ฯลฯ ใช้อำนาจทางกายไปจนถึงพรหมโลกได้
๒. เป็นไปได้ที่ภิกษุนั้นจักได้ยินเสียง ๒ ชนิด คือ เสียงทิพย์และเสียง
มนุษย์ทั้งที่อยู่ไกลและอยู่ใกล้ด้วยหูทิพย์อันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์ได้
๓. เป็นไปได้ที่ภิกษุนั้นจักกำหนดรู้จิตของสัตว์และบุคคลอื่นได้ด้วยจิต
ของตน คือ จิตมีราคะก็รู้ว่าจิตมีราคะ ฯลฯ หรือจิตไม่หลุดพ้นก็รู้
ว่าจิตไม่หลุดพ้นได้
๔. เป็นไปได้ที่ภิกษุนั้นจักระลึกชาติก่อนได้หลายชาติ คือ ๑ ชาติบ้าง
๒ ชาติบ้าง ฯลฯ ระลึกชาติก่อนได้หลายชาติพร้อมทั้งลักษณะทั่วไป
และชีวประวัติอย่างนี้ได้
๕. เป็นไปได้ที่ภิกษุนั้นจักเห็นหมู่สัตว์ผู้กำลังจุติ กำลังเกิด ทั้งชั้นต่ำ
และชั้นสูง งามและไม่งาม เกิดดีและเกิดไม่ดี ด้วยตาทิพย์อันบริสุทธิ์
เหนือมนุษย์ รู้ชัดถึงหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรมได้
๖. เป็นไปได้ที่ภิกษุนั้นจักทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันไม่มีอาสวะ
เพราะอาสวะสิ้นไปด้วยปัญญายิ่งเอง เข้าถึงอยู่ในปัจจุบันได้
สมาธิสูตรที่ ๖ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๕๙๒ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๗. เทวตาวรรค ๗. สักขิภัพพสูตร
๗. สักขิภัพพสูตร
ว่าด้วยความเป็นผู้เหมาะสมที่จะประจักษ์ชัด
[๗๑] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๖ ประการ เป็นผู้ไม่อาจ
บรรลุความเป็นผู้เหมาะสมที่จะประจักษ์ชัดในธรรมนั้น ๆ ในเมื่อมีเหตุ๑
ธรรม ๖ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. ไม่รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า ‘เหล่านี้คือธรรมฝ่ายเสื่อม’
๒. ไม่รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า ‘เหล่านี้คือธรรมฝ่ายคงที่’
๓. ไม่รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า ‘เหล่านี้คือธรรมฝ่ายคุณวิเศษ’
๔. ไม่รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า ‘เหล่านี้คือธรรมฝ่ายชำแรกกิเลส๒’
๕. เป็นผู้ไม่ทำความเคารพ๓
๖. เป็นผู้ไม่ทำสิ่งที่เป็นสัปปายะ๔
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๖ ประการนี้แล เป็นผู้ไม่อาจบรรลุ
ความเป็นผู้เหมาะสมที่จะประจักษ์ชัดในธรรมนั้น ๆ ในเมื่อมีเหตุ

เชิงอรรถ :
๑ ดูเชิงอรรถที่ ๑ ปัญจกนิบาต ข้อ ๒๓ (อุปกิเลสสูตร) หน้า ๒๘ ในเล่มนี้
๒ ธรรมฝ่ายเสื่อม หมายถึงสมาธิที่ยังมีนิวรณ์ ๕ เกิดขึ้นในปฐมฌาน หรือยังมีสัญญามนสิการที่ประกอบ
ด้วยกามเกิดขึ้นอยู่
ธรรมฝ่ายคงที่ หมายถึงสมาธิของบุคคลผู้มีมิจฉาสติ คือความยินดี พอใจ ติดใจ หยุดอยู่เพียงแค่ปฐม-
ฌานนั้น ไม่เสื่อม ไม่เจริญ เพราะเข้าใจว่าปฐมฌานละเอียดแล้ว ประณีตแล้ว
ธรรมฝ่ายคุณวิเศษ หมายถึงสมาธิที่คล่องแคล่วเกิดขึ้นในปฐมฌาน แต่มีมนสิการถึงทุติยฌานว่าไม่มีวิตก
มีสัญญามนสิการคอยตักเตือนเพื่อให้บรรลุทุติยฌาน จึงออกจากปฐมฌาน
ธรรมฝ่ายชำแรกกิเลส หมายถึงสมาธิที่มีสัญญามนสิการประกอบด้วยวิปัสสนาญาณ ตักเตือนเพื่อทำให้
แจ้งนิพพาน (องฺ.ฉกฺก.ฏีกา ๓/๗๑-๗๔/๑๗๕-๑๗๖, วิสุทธิ. ๑/๓๙/๙๔-๙๖) และดู อภิ.วิ. (แปล) ๓๕/๗๙๙/
๕๑๑-๕๑๒
๓ ไม่ทำความเคารพ ในที่นี้หมายถึงไม่ทำให้ดี กล่าวคือ ไม่เอื้อเฟื้อเอาใจใส่ (องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๗๑/๑๕๒)
๔ ไม่ทำสิ่งที่เป็นสัปปายะ หมายถึงไม่ประพฤติธรรมที่เป็นอุปการะ (องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๗๑/๑๕๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๕๙๓ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๗. เทวตาวรรค ๘. พลสูตร
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๖ ประการ เป็นผู้อาจบรรลุความ
เป็นผู้เหมาะสมที่จะประจักษ์ชัดในธรรมนั้น ๆ ในเมื่อมีเหตุ
ธรรม ๖ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า ‘เหล่านี้คือธรรมฝ่ายเสื่อม’
๒. รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า ‘เหล่านี้คือธรรมฝ่ายคงที่’
๓. รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า ‘เหล่านี้คือธรรมฝ่ายคุณวิเศษ’
๔. รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า ‘เหล่านี้คือธรรมฝ่ายชำแรกกิเลส’
๕. เป็นผู้ทำความเคารพ
๖. เป็นผู้ทำสิ่งที่เป็นสัปปายะ
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๖ ประการนี้แล เป็นผู้อาจบรรลุความ
เป็นผู้เหมาะสมที่จะประจักษ์ชัดในธรรมนั้น ๆ ในเมื่อมีเหตุ
สักขิภัพพสูตรที่ ๗ จบ
๘. พลสูตร
ว่าด้วยความมีกำลังในสมาธิ
[๗๒] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๖ ประการ เป็นผู้ไม่อาจ
บรรลุความมีกำลังในสมาธิได้
ธรรม ๖ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เป็นผู้ไม่ฉลาดในการเข้าสมาธิ๑
๒. เป็นผู้ไม่ฉลาดในการให้สมาธิตั้งอยู่ได้
๓. เป็นผู้ไม่ฉลาดในการออกจากสมาธิ
๔. เป็นผู้ไม่ทำความเคารพ

เชิงอรรถ :
๑ ดูเชิงอรรถที่ ๒,๓,๔ ฉักกนิบาต ข้อ ๒๔ (หิมวันตสูต) หน้า ๔๕๕ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๕๙๔ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๗. เทวตาวรรค ๙. ปฐมตัชฌานสูตร
๕. เป็นผู้ไม่ทำให้ติดต่อ
๖. เป็นผู้ไม่ทำสิ่งที่เป็นสัปปายะ
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๖ ประการนี้แล เป็นผู้ไม่อาจบรรลุ
ความมีกำลังในสมาธิได้
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๖ ประการ เป็นผู้อาจบรรลุความมี
กำลังในสมาธิได้
ธรรม ๖ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เป็นผู้ฉลาดในการเข้าสมาธิ
๒. เป็นผู้ฉลาดในการให้สมาธิตั้งอยู่ได้
๓. เป็นผู้ฉลาดในการออกจากสมาธิ
๔. เป็นผู้ทำความเคารพ
๕. เป็นผู้ทำให้ติดต่อ
๖. เป็นผู้ทำสิ่งที่เป็นสัปปายะ
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๖ ประการนี้แล เป็นผู้อาจบรรลุความ
มีกำลังในสมาธิได้
พลสูตรที่ ๘ จบ
๙. ปฐมตัชฌานสูตร
ว่าด้วยการบรรลุปฐมฌาน สูตรที่ ๑
[๗๓] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุยังละธรรม ๖ ประการไม่ได้ ก็ไม่อาจบรรลุปฐม-
ฌานอยู่ได้
ธรรม ๖ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. กามฉันทะ (ความพอใจในกาม)
๒. พยาบาท (ความคิดร้าย)
๓. ถีนมิทธะ (ความหดหู่และเซื่องซึม)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๕๙๕ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๗. เทวตาวรรค ๑๐. ทุติยตัชฌานสูตร
๔. อุทธัจจกุกกุจจะ (ความฟุ้งซ่านและร้อนใจ)
๕. วิจิกิจฉา (ความลังเลสงสัย)
๖. ไม่เห็นโทษในกามทั้งหลายด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริง
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุยังละธรรม ๖ ประการนี้แลไม่ได้ ก็ไม่อาจบรรลุปฐมฌาน
อยู่ได้
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุละธรรม ๖ ประการได้แล้ว จึงอาจบรรลุปฐมฌานอยู่ได้
ธรรม ๖ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. กามฉันทะ
๒. พยาบาท
๓. ถีนมิทธะ
๔. อุทธัจจกุกกุจจะ
๕. วิจิกิจฉา
๖. เห็นโทษในกามทั้งหลายด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริง
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุละธรรม ๖ ประการนี้แลได้แล้ว จึงอาจบรรลุปฐมฌาน
อยู่ได้
ปฐมตัชฌานสูตรที่ ๙ จบ
๑๐. ทุติยตัชฌานสูตร
ว่าด้วยการบรรลุปฐมฌาน สูตรที่ ๒
[๗๔] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุยังละธรรม ๖ ประการไม่ได้ ก็ไม่อาจบรรลุ
ปฐมฌานอยู่ได้
ธรรม ๖ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. กามวิตก (ความตรึกในทางกาม)
๒. พยาบาทวิตก (ความตรึกในทางพยาบาท)
๓. วิหิงสาวิตก (ความตรึกในทางเบียดเบียน)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๕๙๖ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๗. เทวตาวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค
๔. กามสัญญา (ความกำหนดหมายในทางกาม)
๕. พยาบาทสัญญา (ความกำหนดหมายในทางพยาบาท)
๖. วิหิงสาสัญญา (ความกำหนดหมายในทางเบียดเบียน)
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุยังละธรรม ๖ ประการนี้แลไม่ได้ ก็ไม่อาจบรรลุปฐม
ฌานอยู่ได้
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุละธรรม ๖ ประการได้แล้ว จึงอาจบรรลุปฐมฌานอยู่ได้
ธรรม ๖ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. กามวิตก ๒. พยาบาทวิตก
๓. วิหิงสาวิตก ๔. กามสัญญา
๕. พยาบาทสัญญา ๖. วิหิงสาสัญญา
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุละธรรม ๖ ประการนี้แลได้แล้ว จึงอาจบรรลุปฐมฌาน
อยู่ได้
ทุติยตัชฌานสูตรที่ ๑๐ จบ
เทวตาวรรคที่ ๗ จบ
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. อนาคามิผลสูตร ๒. อรหัตตสูตร
๓. มิตตสูตร ๔. สังคณิการามสูตร
๕. เทวตาสูตร ๖. สมาธิสูตร
๗. สักขิภัพพสูตร ๘. พลสูตร
๙. ปฐมตัชฌานสูตร ๑๐. ทุติยตัชฌานสูตร


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๕๙๗ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๘. อรหัตตวรรค ๑. ทุกขสูตร
๘. อรหัตตวรรค
หมวดว่าด้วยอรหัตตผล
๑. ทุกขสูตร
ว่าด้วยธรรมที่เป็นเหตุให้อยู่เป็นทุกข์
[๗๕] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๖
ประการ ย่อมอยู่เป็นทุกข์ เดือดร้อน๑ คับแค้นใจ เร่าร้อน๒ในภพนี้แล หลังจาก
ตายแล้ว พึงหวังได้ทุคติ๓
ธรรม ๖ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. กามวิตก ๒. พยาบาทวิตก
๓. วิหิงสาวิตก ๔. กามสัญญา
๕. พยาบาทสัญญา ๖. วิหิงสาสัญญา
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๖ ประการนี้แล ย่อมอยู่เป็นทุกข์
เดือดร้อน คับแค้นใจ เร่าร้อนในภพนี้แล หลังจากตายแล้ว พึงหวังได้ทุคติ
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๖ ประการ ย่อมอยู่เป็นสุข ไม่เดือดร้อน
ไม่คับแค้นใจ ไม่เร่าร้อนในภพนี้แล หลังจากตายแล้ว พึงหวังได้สุคติ
ธรรม ๖ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. เนกขัมมวิตก (ความตรึกปลอดจากกาม)
๒. อพยาบาทวิตก (ความตรึกปลอดจากพยาบาท)
๓. อวิหิงสาวิตก (ความตรึกปลอดจากการเบียดเบียน)
๔. เนกขัมมสัญญา (ความกำหนดหมายปลอดจากกาม)

เชิงอรรถ :
๑,๒,๓ ดูเชิงอรรถที่ ๑,๒,๓ ปัญจกนิบาต ข้อ ๓ (ทุกขสูตร) หน้า ๕ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๕๙๘ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๘. อรหัตตวรรค ๒. อรหัตตสูตร
๕. อพยาบาทสัญญา (ความกำหนดหมายปลอดจากพยาบาท)
๖. อวิหิงสาสัญญา (ความกำหนดหมายปลอดจากการเบียดเบียน)
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๖ ประการนี้แล ย่อมอยู่เป็นสุข
ไม่เดือดร้อน ไม่คับแค้นใจ ไม่เร่าร้อนในภพนี้แล หลังจากตายแล้ว พึงหวังได้สุคติ
ทุกขสูตรที่ ๑ จบ
๒. อรหัตตสูตร
ว่าด้วยอรหัตตผล
[๗๖] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุยังละธรรม ๖ ประการไม่ได้ ก็ไม่อาจทำให้แจ้ง
อรหัตตผลได้
ธรรม ๖ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. มานะ (ความถือตัว)
๒. โอมานะ (ความถือตัวว่าด้อยกว่าเขา)
๓. อติมานะ (ความดูหมิ่นเขา)
๔. อธิมานะ (ความเข้าใจผิด)
๕. ถัมภะ (ความหัวดื้อ)
๖. อตินิปาตะ (ความดูหมิ่นตนเองว่าเป็นคนเลว)
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุยังละธรรม ๖ ประการนี้แลไม่ได้ ก็ไม่อาจทำให้แจ้ง
อรหัตตผลได้
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุละธรรม ๖ ประการได้แล้ว จึงอาจทำให้แจ้งอรหัตตผลได้
ธรรม ๖ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. มานะ ๒. โอมานะ
๓. อติมานะ ๔. อธิมานะ
๕. ถัมภะ ๖. อตินิปาตะ
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุละธรรม ๖ ประการนี้แลได้แล้ว จึงอาจทำให้แจ้ง
อรหัตตผลได้
อรหัตตสูตรที่ ๒ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๕๙๙ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๘. อรหัตตวรรค ๓. อุตตริมนุสสธัมมสูตร
๓. อุตตริมนุสสธัมมสูตร
ว่าด้วยญาณทัสสนะที่ยิ่งกว่าธรรมของมนุษย์
[๗๗] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุยังละธรรม ๖ ประการไม่ได้ ก็ไม่อาจทำให้แจ้ง
ญาณทัสสนะที่ประเสริฐอันสามารถ๑ อันวิเศษยิ่งกว่าธรรมของมนุษย์๒ได้
ธรรม ๖ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ความหลงลืมสติ
๒. ความไม่มีสัมปชัญญะ
๓. ความไม่คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย
๔. ความไม่รู้จักประมาณในการบริโภค
๕. การหลอกลวง๓
๖. การพูดป้อยอ๔
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุยังละธรรม ๖ ประการนี้แลไม่ได้ ก็ไม่อาจทำให้แจ้งญาณ-
ทัสสนะที่ประเสริฐอันสามารถ อันวิเศษยิ่งกว่าธรรมของมนุษย์ได้
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุละธรรม ๖ ประการได้แล้ว จึงอาจทำให้แจ้งญาณทัสสนะ
ที่ประเสริฐอันสามารถ อันวิเศษยิ่งกว่าธรรมของมนุษย์ได้
ธรรม ๖ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ความหลงลืมสติ
๒. ความไม่มีสัมปชัญญะ

เชิงอรรถ :
๑ ญาณทัสสนะที่ประเสริฐอันสามารถ หมายถึงมหัคคตโลกุตตรปัญญา (ปัญญาชั้นโลกุตตระที่ถึงความ
เป็นใหญ่) อันประเสริฐ บริสุทธิ์ สูงสุด สามารถกำจัดกิเลสได้ (องฺ.ทสก.อ. ๓/๔๘/๓๕๐) อีกนัยหนึ่ง
หมายถึงญาณทัสสนะที่วิเศษสามารถที่จะทำความเป็นอริยะ ได้แก่ มรรค ๔ ผล ๔ (อริยภาวํ กาตุํ สมตฺถํ
�าณทสฺสนวิเสสํ, จตฺตาโร มคฺเค จตฺตาริ ผลานิ) (องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๗๗/๑๕๓)
๒ ธรรมของมุนษย์ ในที่นี้หมายถึงกุศลกรรมบถ ๑๐ ประการ (องฺ.เอกก.อ. ๑/๔๕/๕๑)
๓ ดูเชิงอรรถที่ ๑ ปัญจกนิบาต ข้อ ๘๓ (กุหกสูตร) หน้า ๑๕๑ ในเล่มนี้
๔ การพูดป้อยอ ในที่นี้หมายถึงการพูดป้อยอมุ่งหวังลาภสักการะและชื่อเสียง (องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๗๗/๑๕๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๖๐๐ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๘. อรหัตตวรรค ๔. สุขโสมนัสสสูตร
๓. ความไม่คุ้มครองทวารในอินทรีย์
๔. ความไม่รู้จักประมาณในการบริโภค
๕. การหลอกลวง
๖. การพูดป้อยอ
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุละธรรม ๖ ประการนี้แลได้แล้ว จึงอาจทำให้แจ้งญาณ-
ทัสสนะที่ประเสริฐอันสามารถ อันวิเศษยิ่งกว่าธรรมของมนุษย์ได้
อุตตริมนุสสธัมมสูตรที่ ๓ จบ
๔. สุขโสมนัสสสูตร
ว่าด้วยธรรมที่เป็นเหตุให้มีสุขโสมนัส
[๗๘] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๖ ประการ เป็นผู้มากด้วย
สุขโสมนัสอยู่ในปัจจุบันทีเดียว และเป็นผู้ปรารภเหตุแห่งความสิ้นอาสวะทั้งหลาย
ธรรม ๖ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เป็นผู้ยินดีในธรรม
๒. เป็นผู้ยินดีในภาวนา
๓. เป็นผู้ยินดีในการละ
๔. เป็นผู้ยินดีในปวิเวก
๕. เป็นผู้ยินดีในความไม่พยาบาท
๖. เป็นผู้ยินดีในธรรมที่ไม่เป็นเครื่องเนิ่นช้า๑
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๖ ประการนี้แล เป็นผู้มากด้วย
สุขโสมนัสอยู่ในปัจจุบันทีเดียว และเป็นผู้ปรารภเหตุแห่งความสิ้นอาสวะทั้งหลาย
สุขโสมนัสสสูตรที่ ๔ จบ

เชิงอรรถ :
๑ ธรรมที่ไม่เป็นเครื่องเนิ่นช้า ในที่นี้หมายถึงนิพพาน (องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๗๘/๑๕๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๖๐๑ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๘. อรหัตตวรรค ๕. อธิคมสูตร
๕. อธิคมสูตร
ว่าด้วยการบรรลุกุศลธรรม
[๗๙] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๖ ประการ เป็นผู้ไม่อาจ
บรรลุกุศลธรรมที่ยังไม่ได้บรรลุ หรือทำกุศลธรรมที่ได้บรรลุแล้วให้เจริญได้
ธรรม ๖ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เป็นผู้ไม่ฉลาดในความเจริญ๑
๒. เป็นผู้ไม่ฉลาดในความเสื่อม๒
๓. เป็นผู้ไม่ฉลาดในอุบาย๓
๔. ไม่สร้างฉันทะ๔เพื่อบรรลุกุศลธรรมที่ยังไม่ได้บรรลุ
๕. ไม่รักษากุศลธรรมที่ได้บรรลุแล้ว
๖. ไม่ทำกุศลธรรมให้ถึงพร้อมด้วยการทำติดต่อ
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๖ ประการนี้แล เป็นผู้ไม่อาจบรรลุ
กุศลธรรมที่ยังไม่ได้บรรลุ หรือทำกุศลธรรมที่ได้บรรลุแล้วให้เจริญได้
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๖ ประการ เป็นผู้อาจบรรลุกุศลธรรม
ที่ยังไม่ได้บรรลุ หรือทำกุศลธรรมที่ได้บรรลุแล้วให้เจริญได้

เชิงอรรถ :
๑ ไม่ฉลาดในความเจริญ ในที่นี้หมายถึงไม่ฉลาดในเหตุให้เกิดกุศลธรรมและอกุศลธรรม กล่าวคือ ไม่รู้ว่า
‘เมื่อมนสิการถึงธรรมทั้งหลายอย่างนี้ กุศลธรรมย่อมเจริญ หรือเมื่อมนสิการถึงธรรมทั้งหลายอย่างนี้
อกุศลธรรมย่อมเจริญ’ (องฺ.ฉกฺก.ฏีกา ๓/๗๙/๑๗๗-๑๗๘)
๒ ไม่ฉลาดในความเสื่อม ในที่นี้หมายถึงไม่ฉลาดในเหตุเสื่อมแห่งกุศลและอกุศล (องฺ.ฉกฺก.ฏีกา ๓/๗๙/๑๗๘)
๓ ไม่ฉลาดในอุบาย ในที่นี้หมายถึงไม่มีปัญญาหยั่งรู้เหตุที่เกิดขึ้น ในเมื่อมีกิจรีบด่วนหรือภัยเกิดขึ้น ก็ไม่มี
ปัญญาที่จะแก้ไขได้ (เทียบ องฺ.ฉกฺก.ฏีกา ๓/๗๙/๑๗๘)
๔ ฉันทะ ในที่นี้หมายถึงกัตตุกัมยตาฉันทะ(ความพอใจคือความเป็นผู้ใคร่จะทำ) (องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๗๙/๑๕๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๖๐๒ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๘. อรหัตตวรรค ๖. มหัตตสูตร
ธรรม ๖ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เป็นผู้ฉลาดในความเจริญ
๒. เป็นผู้ฉลาดในความเสื่อม
๓. เป็นผู้ฉลาดในอุบาย
๔. สร้างฉันทะเพื่อบรรลุกุศลธรรมที่ยังไม่ได้บรรลุ
๕. รักษากุศลธรรมที่ได้บรรลุแล้ว
๖. ทำกุศลธรรมให้ถึงพร้อมด้วยการทำติดต่อ
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๖ ประการนี้แล เป็นผู้อาจบรรลุ
กุศลธรรมที่ยังไม่ได้บรรลุ หรือทำกุศลธรรมที่ได้บรรลุแล้วให้เจริญได้
อธิคมสูตรที่ ๕ จบ
๖. มหัตตสูตร
ว่าด้วยการบรรลุความเป็นใหญ่
[๘๐] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๖ ประการ ไม่นานนัก ย่อม
บรรลุความเป็นใหญ่ ความไพบูลย์ในธรรมทั้งหลาย
ธรรม ๖ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เป็นผู้มากด้วยแสงสว่าง๑
๒. เป็นผู้มากด้วยความเพียร
๓. เป็นผู้มากด้วยความปลาบปลื้ม๒

เชิงอรรถ :
๑ แสงสว่าง ในที่นี้หมายถึงญาณ(ความรู้) (องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๘๐/๑๕๔)
๒ ความปลาบปลื้ม ในที่นี้หมายถึงปีติและปราโมทย์ (องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๘๐/๑๕๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๖๐๓ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๘. อรหัตตวรรค ๗. ปฐมนิรยสูตร
๔. เป็นผู้มากด้วยความไม่สันโดษ๑
๕. เป็นผู้ไม่ทอดธุระ
๖. ทำความเพียรให้ยิ่งขึ้นในกุศลธรรมทั้งหลาย
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๖ ประการนี้แล ไม่นานนัก ย่อมบรรลุ
ความเป็นใหญ่ ความไพบูลย์ในธรรมทั้งหลาย
มหัตตสูตรที่ ๖ จบ
๗. ปฐมนิรยสูตร
ว่าด้วยธรรมที่เป็นเหตุให้เกิดในนรก สูตรที่ ๑
[๘๑] ภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๖ ประการ ย่อมดำรงอยู่ใน
นรกเหมือนถูกนำไปฝังไว้
ธรรม ๖ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. เป็นผู้ฆ่าสัตว์ ๒. เป็นผู้ลักทรัพย์
๓. เป็นผู้ประพฤติผิดในกาม ๔. เป็นผู้พูดเท็จ
๕. เป็นผู้มีความปรารถนาชั่ว ๖. เป็นมิจฉาทิฏฐิ
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๖ ประการนี้แล ย่อมดำรงอยู่ในนรก
เหมือนถูกนำไปฝังไว้
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๖ ประการ ย่อมดำรงอยู่ในสวรรค์
เหมือนได้รับอัญเชิญไปประดิษฐานไว้
ธรรม ๖ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. เป็นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์
๒. เป็นผู้เว้นขาดจากการลักทรัพย์
๓. เป็นผู้เว้นขาดจากการประพฤติผิดในกาม

เชิงอรรถ :
๑ ไม่สันโดษ ในที่นี้หมายถึงไม่สันโดษพอใจหยุดอยู่เพียงแค่ในกุศลธรรมทั้งหลายที่มีอยู่แล้ว แต่ยังทำ
ความเพียรยิ่งขึ้นในกุศลธรรมทั้งหลาย (องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๘๐/๑๕๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๖๐๔ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๘. อรหัตตวรรค ๘. ทุติยนิรยสูตร
๔. เป็นผู้เว้นขาดจากการพูดเท็จ
๕. เป็นผู้ไม่มีความปรารถนาชั่ว
๖. เป็นสัมมาทิฏฐิ
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๖ ประการนี้แล ย่อมดำรงอยู่ใน
สวรรค์ เหมือนได้รับอัญเชิญไปประดิษฐานไว้
ปฐมนิรยสูตรที่ ๗ จบ
๘. ทุติยนิรยสูตร
ว่าด้วยธรรมที่เป็นเหตุให้เกิดในนรก สูตรที่ ๒
[๘๒] ภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๖ ประการ ย่อมดำรงอยู่
ในนรกเหมือนถูกนำไปฝังไว้
ธรรม ๖ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. เป็นผู้พูดเท็จ ๒. เป็นผู้พูดส่อเสียด
๓. เป็นผู้พูดคำหยาบ ๔. เป็นผู้พูดเพ้อเจ้อ
๕. เป็นผู้มักโลภ ๖. เป็นผู้มีความคะนอง
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๖ ประการนี้แล ย่อมดำรงอยู่ในนรก
เหมือนถูกนำไปฝังไว้
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๖ ประการ ย่อมดำรงอยู่ในสวรรค์
เหมือนได้รับอัญเชิญไปประดิษฐานไว้
ธรรม ๖ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. เป็นผู้เว้นขาดจากการพูดเท็จ
๒. เป็นผู้เว้นขาดจากการพูดส่อเสียด
๓. เป็นผู้เว้นขาดจากการพูดคำหยาบ
๔. เป็นผู้เว้นขาดจากการพูดเพ้อเจ้อ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๖๐๕ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๘. อรหัตตวรรค ๙. อัคคธัมมสูตร
๕. เป็นผู้ไม่มักโลภ
๖. เป็นผู้ไม่มีความคะนอง
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๖ ประการนี้แล ย่อมดำรงอยู่ใน
สวรรค์ เหมือนได้รับอัญเชิญไปประดิษฐานไว้
ทุติยนิรยสูตรที่ ๘ จบ
๙. อัคคธัมมสูตร
ว่าด้วยธรรมชั้นเลิศ
[๘๓] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๖ ประการ เป็นผู้ไม่อาจทำ
ให้แจ้งอรหัตตผลอันเป็นธรรมชั้นเลิศได้
ธรรม ๖ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เป็นผู้ไม่มีศรัทธา ๒. เป็นผู้ไม่มีหิริ
๓. เป็นผู้ไม่มีโอตตัปปะ ๔. เป็นผู้เกียจคร้าน
๕. เป็นผู้มีปัญญาทราม ๖. เป็นผู้ห่วงใยกายและชีวิต
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๖ ประการนี้แล เป็นผู้ไม่อาจทำให้
แจ้งอรหัตตผลอันเป็นธรรมชั้นเลิศได้
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๖ ประการ เป็นผู้อาจทำให้แจ้ง
อรหัตตผลอันเป็นธรรมชั้นเลิศได้
ธรรม ๖ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เป็นผู้มีศรัทธา ๒. เป็นผู้มีหิริ
๓. เป็นผู้มีโอตตัปปะ ๔. เป็นผู้ปรารภความเพียร
๕. เป็นผู้มีปัญญา ๖. เป็นผู้ไม่ห่วงใยกายและชีวิต
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๖ ประการนี้แล เป็นผู้อาจทำให้แจ้ง
อรหัตตผลอันเป็นธรรมชั้นเลิศได้
อัคคธัมมสูตรที่ ๙ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๖๐๖ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๘. อรหัตตวรรค ๑๐. รัตติทิวสสูตร
๑๐. รัตติทิวสสูตร
ว่าด้วยวันและคืน
[๘๔] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๖ ประการ เมื่อกลางวันหรือ
กลางคืนผ่านไป พึงหวังได้แต่ความเสื่อมอย่างเดียวในกุศลธรรมทั้งหลาย ไม่มีความ
เจริญเลย
ธรรม ๖ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เป็นผู้มักมาก มีความคับแค้นใจ ไม่สันโดษด้วยจีวร บิณฑบาต
เสนาสนะ และคิลานปัจจยเภสัชชบริขารตามแต่จะได้
๒. เป็นผู้ไม่มีศรัทธา
๓. เป็นผู้ทุศีล
๔. เป็นผู้เกียจคร้าน
๕. เป็นผู้หลงลืมสติ
๖. เป็นผู้มีปัญญาทราม
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๖ ประการนี้แล เมื่อกลางวันหรือ
กลางคืนผ่านไป พึงหวังได้แต่ความเสื่อมอย่างเดียวในกุศลธรรมทั้งหลาย ไม่มี
ความเจริญเลย
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๖ ประการ เมื่อกลางวันหรือกลางคืน
ผ่านไป พึงหวังได้แต่ความเจริญอย่างเดียวในกุศลธรรมทั้งหลาย ไม่มีความเสื่อมเลย
ธรรม ๖ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เป็นผู้ไม่มักมาก ไม่มีความคับแค้นใจ สันโดษด้วยจีวร บิณฑบาต
เสนาสนะ และคิลานปัจจยเภสัชชบริขารตามแต่จะได้
๒. เป็นผู้มีศรัทธา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๖๐๗ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๘. อรหัตตวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค
๓. เป็นผู้มีศีล
๔. เป็นผู้ปรารภความเพียร
๕. เป็นผู้มีสติ
๖. เป็นผู้มีปัญญา
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๖ ประการนี้แล เมื่อกลางวันหรือ
กลางคืนผ่านไป พึงหวังได้แต่ความเจริญอย่างเดียวในกุศลธรรมทั้งหลาย ไม่มีความ
เสื่อมเลย
รัตติทิวสสูตรที่ ๑๐ จบ
อรหัตตวรรคที่ ๘ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. ทุกขสูตร ๒. อรหัตตสูตร
๓. อุตตริมนุสสธัมมสูตร ๔. สุขโสมนัสสสูตร
๕. อธิคมสูตร ๖. มหัตตสูตร
๗. ปฐมนิรยสูตร ๘. ทุติยนิรยสูตร
๙. อัคคธัมมสูตร ๑๐. รัตติทิวสสูตร


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๖๐๘ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๙. สีติวรรค ๑. สีติภาวสูตร
๙. สีติวรรค
หมวดว่าด้วยสีติภาวะ๑
๑. สีติภาวสูตร
ว่าด้วยสีติภาวะ
[๘๕] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๖
ประการ เป็นผู้ไม่อาจทำให้แจ้งสีติภาวะ(สภาวะที่เย็น)อันยอดเยี่ยม
ธรรม ๖ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. ไม่ข่มจิตในสมัยที่ควรข่ม๒
๒. ไม่ประคองจิตในสมัยที่ควรประคอง๓
๓. ไม่ทำจิตให้ร่าเริงในสมัยที่ควรให้ร่าเริง๔
๔. ไม่วางจิตในสมัยที่ควรวาง๕
๕. น้อมไปในธรรมที่เลว
๖. ยินดียิ่งในสักกายทิฏฐิ๖

เชิงอรรถ :
๑ สีติภาวะ ในที่นี้หมายถึงนิพพาน หรือธรรมเครื่องระงับกิเลส (องฺ.ฉกฺก.ฏีกา ๓/๘๕/๑๗๙)
๒ สมัยที่ควรข่ม หมายถึงขณะที่จิตมีฟุ้งซ่านเพราะบำเพ็ญเพียรมากเกินไป เป็นต้น (องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๘๕/๑๕๔)
๓ สมัยที่ควรประคอง หมายถึงขณะที่จิตตกอยู่ในความเกียจคร้าน เพราะมีความเพียรย่อหย่อน เป็นต้น
(องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๘๕/๑๕๔)
๔ สมัยที่ควรให้ร่าเริง หมายถึงขณะที่จิตดำเนินสม่ำเสมอ ขณะที่จิตปราศจากความยินดีไม่ดำเนินไปในภาวนา
เพราะมีความพยายามด้วยปัญญาน้อย หรือขณะที่จิตไม่บรรลุสุขคือความสงบ
อนึ่ง เมื่อทำจิตให้ร่าเริง ภิกษุต้องพิจารณาสังเวควัตถุมีชาติเป็นต้น (องฺ.ฉกฺก.ฏีกา ๓/๘๕/๑๗๙)
๕ สมัยที่ควรวาง หมายถึงขณะที่จิตดำเนินดี คือหยั่งลงสู่ภาวนาวิธีที่ถูกต้อง (องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๘๕/๑๕๕)
๖ ดูรายละเอียดในเชิงอรรถที่ ๒ ข้อ ๑๑๒ หน้า ๖๓๓ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๖๐๙ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๙. สีติวรรค ๒. อาวรณตาสูตร
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๖ ประการนี้แล เป็นผู้ไม่อาจทำให้แจ้ง
สีติภาวะอันยอดเยี่ยม
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๖ ประการ เป็นผู้อาจทำให้แจ้ง
สีติภาวะอันยอดเยี่ยม
ธรรม ๖ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. ข่มจิตในสมัยที่ควรข่ม
๒. ประคองจิตในสมัยที่ควรประคอง
๓. ทำจิตให้ร่าเริงในสมัยที่ควรให้ร่าเริง
๔. วางจิตในสมัยที่ควรวาง
๕. น้อมไปในธรรมที่ประณีต
๖. ยินดียิ่งในนิพพาน
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๖ ประการนี้แล เป็นผู้อาจทำให้แจ้ง
สีติภาวะอันยอดเยี่ยม
สีติภาวสูตรที่ ๑ จบ
๒. อาวรณตาสูตร
ว่าด้วยธรรมเป็นเครื่องกั้น
[๘๖] ภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๖ ประการ แม้ฟังสัทธรรมอยู่
ก็ไม่อาจก้าวลงสู่สัมมัตตนิยาม๑ในกุศลธรรมทั้งหลายได้

เชิงอรรถ :
๑ ดูเชิงอรรถที่ ๑ ปัญจกนิบาต ข้อ ๑๕๑ หน้า ๒๔๙ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๖๑๐ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๙. สีติวรรค ๒. อาวรณตาสูตร
ธรรม ๖ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. เป็นผู้ประกอบด้วยความเป็นผู้มีกรรมเป็นเครื่องกั้น๑
๒. เป็นผู้ประกอบด้วยความเป็นผู้มีกิเลสเป็นเครื่องกั้น๒
๓. เป็นผู้ประกอบด้วยความเป็นผู้มีวิบากเป็นเครื่องกั้น๓
๔. เป็นผู้ไม่มีศรัทธา
๕. เป็นผู้ไม่มีฉันทะ
๖. เป็นผู้มีปัญญาทราม
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๖ ประการนี้แล แม้ฟังสัทธรรมอยู่
ก็ไม่อาจก้าวลงสู่สัมมัตตนิยามในกุศลธรรมทั้งหลายได้
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๖ ประการ ฟังสัทธรรมอยู่ อาจก้าว
ลงสู่สัมมัตตนิยามในกุศลธรรมทั้งหลายได้
ธรรม ๖ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. เป็นผู้ไม่ประกอบด้วยความเป็นผู้มีกรรมเป็นเครื่องกั้น
๒. เป็นผู้ไม่ประกอบด้วยความเป็นผู้มีกิเลสเป็นเครื่องกั้น
๓. เป็นผู้ไม่ประกอบด้วยความเป็นผู้มีวิบากเป็นเครื่องกั้น
๔. เป็นผู้มีศรัทธา
๕. เป็นผู้มีฉันทะ
๖. เป็นผู้มีปัญญา
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๖ ประการนี้แล ฟังสัทธรรมอยู่ อาจ
ก้าวลงสู่สัมมัตตนิยามในกุศลธรรมทั้งหลายได้
อาวรณตาสูตรที่ ๒ จบ

เชิงอรรถ :
๑ กรรมเป็นเครื่องกั้น ในที่นี้หมายถึงอนันตริยกรรม ๕ คือ (๑) มาตุฆาต (ฆ่ามารดา) (๒) ปิตุฆาต (ฆ่า
บิดา) (๓) อรหันตฆาต(ฆ่าพระอรหันต์) (๔) โลหิตุปบาท(ทำร้ายพระพุทธเจ้าจนถึงให้พระโลหิตห้อขึ้นไป)
(๕) สังฆเภท (ทำลายสงฆ์ให้แตกกัน) (อง.ฉกฺก.อ. ๓/๘๖/๑๕๕)
๒ กิเลสเป็นเครื่องกั้น ในทีนี้หมายถึงนิยตมิจฉาทิฏฐิ (ได้แก่ลัทธิที่มีความเชื่อว่าสัตว์ วิญญาณ หรือชีวาตมัน
มีความเที่ยงแท้ไม่ดับสลาย) (องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๘๖/๑๕๕)
๓ วิบากเป็นเครื่องกั้น ในที่นี้หมายถึงอกุสลวิปากปฏิสนธิ (การถือปฏิสนธิเพราะผลแห่งอกุศลกรรม) หรือ
อเหตุกปฏิสนธิ (การถือปฏิสนธิโดยปราศจากเหตุ) ในกุศลวิบากอยู่ (องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๘๖/๑๕๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๖๑๑ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๙. สีติวรรค ๓. โวโรปิตสูตร
๓. โวโรปิตสูตร
ว่าด้วยผู้ฆ่า
[๘๗] ภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๖ ประการ แม้ฟังสัทธรรมอยู่
ก็ไม่อาจก้าวลงสู่สัมมัตตนิยามในกุศลธรรมทั้งหลายได้
ธรรม ๖ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. เป็นผู้ฆ่ามารดา
๒. เป็นผู้ฆ่าบิดา
๓. เป็นผู้ฆ่าพระอรหันต์
๔. เป็นผู้มีจิตคิดประทุษร้ายทำพระโลหิตของตถาคตให้ห้อขึ้น
๕. เป็นผู้ทำลายสงฆ์ให้แตกกัน
๖. เป็นผู้มีปัญญาทราม โง่เขลา เป็นคนเซอะ
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๖ ประการ แม้ฟังสัทธรรมอยู่ ก็ไม่
อาจก้าวลงสู่สัมมัตตนิยามในกุศลธรรมทั้งหลายได้
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๖ ประการ ฟังสัทธรรมอยู่ อาจก้าว
ลงสู่สัมมัตตนิยามในกุศลธรรมทั้งหลายได้
ธรรม ๖ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. เป็นผู้ไม่ฆ่ามารดา
๒. เป็นผู้ไม่ฆ่าบิดา
๓. เป็นผู้ไม่ฆ่าพระอรหันต์
๔. เป็นผู้ไม่มีจิตคิดประทุษร้ายทำพระโลหิตของตถาคตให้ห้อขึ้น
๕. เป็นผู้ไม่ทำลายสงฆ์ให้แตกกัน
๖. เป็นผู้มีปัญญา ไม่โง่เขลา ไม่เป็นคนเซอะ
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๖ ประการนี้แล ฟังสัทธรรมอยู่
อาจก้าวลงสู่สัมมัตตนิยามในกุศลธรรมทั้งหลายได้
โวโรปิตสูตรที่ ๓ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๖๑๒ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๙. สีติวรรค ๔. สุสสูสติสูตร
๔. สุสสูสติสูตร
ว่าด้วยการฟังด้วยดี
[๘๘] ภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๖ ประการ แม้ฟังสัทธรรมอยู่
ก็ไม่อาจก้าวลงสู่สัมมัตตนิยามในกุศลธรรมทั้งหลายได้
ธรรม ๖ ประการ อะไรบ้าง คือ
เมื่อบุคคลอื่นแสดงธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศไว้
๑. ไม่ตั้งใจฟังด้วยดี
๒. ไม่เงี่ยโสตสดับ
๓. ไม่ตั้งใจใฝ่รู้
๔. ถือเอาแต่สิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์
๕. ทิ้งสิ่งที่เป็นประโยชน์
๖. ประกอบด้วยอนนุโลมิกขันติ
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๖ ประการนี้แล แม้ฟังสัทธรรมอยู่
ก็ไม่อาจก้าวลงสู่สัมมัตตนิยามในกุศลธรรมทั้งหลายได้
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๖ ประการ ฟังสัทธรรมอยู่ อาจเพื่อ
ก้าวลงสู่สัมมัตตนิยามในกุศลธรรมทั้งหลายได้
ธรรม ๖ ประการ อะไรบ้าง คือ
เมื่อบุคคลอื่นแสดงธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศไว้
๑. ตั้งใจฟังด้วยดี
๒. เงี่ยโสตสดับ
๓. ตั้งใจใฝ่รู้
๔. ถือเอาแต่สิ่งที่เป็นประโยชน์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๖๑๓ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๙. สีติวรรค ๕. อัปปหายสูตร
๕. ทิ้งสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์
๖. ประกอบด้วยอนุโลมิกขันติ๑
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๖ ประการนี้แล ฟังสัทธรรมอยู่
อาจก้าวลงสู่สัมมัตตนิยามในกุศลธรรมทั้งหลายได้
สุสสูสติสูตรที่ ๔ จบ
๕. อัปปหายสูตร
ว่าด้วยธรรมที่บุคคลยังละไม่ได้
[๘๙] ภิกษุทั้งหลาย บุคคลยังละธรรม ๖ ประการไม่ได้ ก็ไม่อาจทำให้แจ้ง
ทิฏฐิสัมปทา๒ได้
ธรรม ๖ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สักกายทิฏฐิ (ความเห็นว่าเป็นอัตตา)
๒. วิจิกิจฉา (ความลังเลสงสัย)
๓. สีลัพพตปรามาส (ความถือมั่นศีลพรต)
๔. ราคะเป็นเหตุไปสู่อบาย
๕. โทสะเป็นเหตุไปสู่อบาย
๖. โมหะเป็นเหตุไปสู่อบาย
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลยังละธรรม ๖ ประการนี้แลไม่ได้ ก็ไม่อาจทำให้แจ้ง
ทิฏฐิสัมปทาได้
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลละธรรม ๖ ประการได้แล้ว จึงอาจทำให้แจ้งทิฏฐิ-
สัมปทาได้

เชิงอรรถ :
๑ อนุโลมิกขันติ ในที่นี้หมายถึงข้อพินิจที่เกื้อกูลแก่การบรรลุอริยสัจ ๔ หรือเหมาะแก่คำสอน (องฺ.ฉกฺก.อ.
๓/๘๘-๘๙/๑๕๕) ขันติ ในที่นี้หมายถึงปัญญา หรือวิปัสสนาญาณ มิใช่หมายถึงความอดทน (เทียบ ขุ.ป.
๓๑/๓๖/๔๔๔,อภิ.วิ.อ. ๗๖๘/๔๔๐)
๒ ทิฏฐิสัมปทา ในที่นี้หมายถึงโสดาปัตติมรรค (องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๘๘-๘๙/๑๕๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๖๑๔ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๙. สีติวรรค ๖. ปหีนสูตร
ธรรม ๖ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สักกายทิฏฐิ
๒. วิจิกิจฉา
๓. สีลัพพตปรามาส
๔. ราคะที่เป็นเหตุไปสู่อบาย
๕. โทสะที่เป็นเหตุไปสู่อบาย
๖. โมหะที่เป็นเหตุไปสู่อบาย
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลละธรรม ๖ ประการนี้ได้แล้ว จึงอาจทำให้แจ้งทิฏฐิ-
สัมปทาได้
อัปปหายสูตรที่ ๕ จบ
๖. ปหีนสูตร
ว่าด้วยธรรมที่บุคคลละได้
[๙๐] ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๖ ประการนี้ ที่บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ๑ละ
ได้แล้ว
ธรรม ๖ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สักกายทิฏฐิ
๒. วิจิกิจฉา
๓. สีลัพพตปรามาส
๔. ราคะที่เป็นเหตุไปสู่อบาย
๕. โทสะที่เป็นเหตุไปสู่อบาย
๖. โมหะที่เป็นเหตุไปสู่อบาย
ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๖ ประการนี้แล ที่บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิละได้แล้ว
ปหีนสูตรที่ ๖ จบ

เชิงอรรถ :
๑ คำว่า “บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ” ในสูตรที่ ๖-๑๑ ดูเชิงอรรถที่ ๑ ฉักกนิบาต ข้อ ๕๔ (ธัมมิกสูตร) หน้า
๕๓๐ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๖๑๕ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๙. สีติวรรค ๘. ปฐมอภัพพัฏฐานสูตร
๗. อภัพพสูตร
ว่าด้วยผู้ไม่อาจให้ธรรมเกิดขึ้น
[๙๑] ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ เป็นผู้ไม่อาจให้ธรรม ๖
ประการเกิดขึ้นได้
ธรรม ๖ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สักกายทิฏฐิ
๒. วิจิกิจฉา
๓. สีลัพพตปรามาส
๔. ราคะที่เป็นเหตุไปสู่อบาย
๕. โทสะที่เป็นเหตุไปสู่อบาย
๖. โมหะที่เป็นเหตุไปสู่อบาย
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ เป็นผู้ไม่อาจให้ธรรม ๖ ประการนี้
แลเกิดขึ้นได้
อภัพพสูตรที่ ๗ จบ
๘. ปฐมอภัพพัฏฐานสูตร
ว่าด้วยฐานะที่ไม่อาจเป็นได้ สูตรที่ ๑
[๙๒] ภิกษุทั้งหลาย ฐานะที่ไม่อาจเป็นได้ ๖ ประการนี้
ฐานะที่ไม่อาจเป็นได้ ๖ ประการ อะไรบ้าง คือ
บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ
๑. เป็นผู้ไม่อาจอยู่อย่างไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรงในศาสดา
๒. เป็นผู้ไม่อาจอยู่อย่างไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรงในธรรม
๓. เป็นผู้ไม่อาจอยู่อย่างไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรงในสงฆ์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๖๑๖ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๙. สีติวรรค ๙. ทุติยอภัพพัฏฐานสูตร
๔. เป็นผู้ไม่อาจอยู่อย่างไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรงในสิกขา
๕. เป็นผู้ไม่อาจกลับมาสู่เหตุที่ไม่ควรเข้าถึง๑
๖. เป็นผู้ไม่อาจให้ภพที่ ๘๒ เกิดขึ้นได้
ภิกษุทั้งหลาย ฐานะที่ไม่อาจเป็นได้ ๖ ประการนี้แล
ปฐมอภัพพัฏฐานสูตรที่ ๘ จบ
๙. ทุติยอภัพพัฏฐานสูตร
ว่าด้วยฐานะที่ไม่อาจเป็นได้ สูตรที่ ๒
[๙๓] ภิกษุทั้งหลาย ฐานะที่ไม่อาจเป็นได้ ๖ ประการนี้
ฐานะที่ไม่อาจเป็นได้ ๖ ประการ อะไรบ้าง คือ
บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ
๑. เป็นผู้ไม่อาจยึดถือสังขารว่าเป็นของเที่ยง
๒. เป็นผู้ไม่อาจยึดถือสังขารว่าเป็นสุข
๓. เป็นผู้ไม่อาจยึดถือธรรมว่าเป็นอัตตา
๔. เป็นผู้ไม่อาจทำอนันตริยกรรม๓
๕. เป็นผู้ไม่อาจเชื่อความบริสุทธิ์โดยถือมงคลตื่นข่าว๔
๖. เป็นผู้ไม่อาจแสวงหาเขตบุญนอกศาสนานี้
ภิกษุทั้งหลาย ฐานะที่ไม่อาจเป็นได้ ๖ ประการนี้แล
ทุติยอภัพพัฏฐานสูตรที่ ๙ จบ

เชิงอรรถ :
๑ เหตุที่ไม่ควรเข้าถึง ในที่นี้หมายถึงเวร ๕ ได้แก่ (ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม พูดเท็จ เสพของ
มึนเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นเหตุแห่งความประมาท) และทิฏฐิ ๖๒ ประการ (องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๙๒-๙๕/
๑๕๕) ดู ที.สี. (แปล) ๙/๒๘-๑๔๖/๑๑-๔๖ ประกอบ
๒ ภพที่ ๘ หมายถึงปฏิสนธิที่ ๘ ในชั้นกามาวจร (ผู้ได้โสดาบันจะถือปฏิสนธิไม่เกิน ๗ ครั้ง) (องฺ.ฉกฺก.อ.
๓/๙๒-๙๕/๑๕๕)
๓ ดู อภิ.วิ. (แปล) ๓๕/๙๔๑/๕๙๕, องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๘๖/๑๕๕
๔ ถือมงคลตื่นข่าว หมายถึงถือว่ารูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ เป็นมงคล (องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๙๒-๙๕/๑๕๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๖๑๗ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๙. สีติวรรค ๑๑. จตุตถอภัพพัฏฐานสูตร
๑๐. ตติยอภัพพัฏฐานสูตร
ว่าด้วยฐานะที่ไม่อาจเป็นได้ สูตรที่ ๓
[๙๔] ภิกษุทั้งหลาย ฐานะที่ไม่อาจเป็นได้ ๖ ประการนี้
ฐานะที่ไม่อาจเป็นได้ ๖ ประการ อะไรบ้าง คือ
บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ
๑. เป็นผู้ไม่อาจฆ่ามารดา
๒. เป็นผู้ไม่อาจฆ่าบิดา
๓. เป็นผู้ไม่อาจฆ่าพระอรหันต์
๔. เป็นผู้ไม่อาจมีจิตคิดประทุษร้ายทำพระโลหิตของตถาคตให้ห้อขึ้น
๕. เป็นผู้ไม่อาจทำลายสงฆ์ให้แตกกัน
๖. เป็นผู้ไม่อาจนับถือศาสดาอื่น
ภิกษุทั้งหลาย ฐานะที่ไม่อาจเป็นได้ ๖ ประการนี้แล
ตติยอภัพพัฏฐานสูตรที่ ๑๐ จบ
๑๑. จตุตถอภัพพัฏฐานสูตร
ว่าด้วยฐานะที่ไม่อาจเป็นได้ สูตรที่ ๔
[๙๕] ภิกษุทั้งหลาย ฐานะที่ไม่อาจเป็นได้ ๖ ประการนี้
ฐานะที่ไม่อาจเป็นได้ ๖ ประการ อะไรบ้าง คือ
บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ
๑. เป็นผู้ไม่อาจยึดถือสุขและทุกข์ที่ตนเองทำไว้๑
๒. เป็นผู้ไม่อาจยึดถือสุขและทุกข์ที่ผู้อื่นทำไว้
๓. เป็นผู้ไม่อาจยึดถือสุขและทุกข์ที่ตนเองและผู้อื่นทำไว้

เชิงอรรถ :
๑ หมายถึงไม่อาจยึดถือสุขและทุกข์ตามอำนาจทิฏฐิของตนได้ (องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๙๕/๑๕๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๖๑๘ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๙. สีติวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค
๔. เป็นผู้ไม่อาจยึดถือสุขและทุกข์ที่เกิดขึ้นเองและตนเองไม่ได้ทำไว้
๕. เป็นผู้ไม่อาจยึดถือสุขและทุกข์ที่เกิดขึ้นเอง และผู้อื่นไม่ได้ทำไว้
๖. เป็นผู้ไม่อาจยึดถือสุขและทุกข์ที่เกิดขึ้นเอง ที่ตนเอง และผู้อื่นไม่ได้
ทำไว้
ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะว่าเหตุและธรรมทั้งหลายที่เกิดขึ้นจากเหตุอันบุคคลผู้
ถึงพร้อมด้วยทิฏฐินั้นเห็นได้ดี
ภิกษุทั้งหลาย ฐานะที่ไม่อาจเป็นได้ ๖ ประการนี้แล
จตุตถอภัพพัฏฐานสูตรที่ ๑๑ จบ
สีติวรรคที่ ๙ จบ
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. สีติภาวสูตร ๒. อาวรณตาสูตร
๓. โวโรปิตสูตร ๔. สุสสูสติสูตร
๕. อัปปหายสูตร ๖. ปหีนสูตร
๗. อภัพพสูตร ๘. ปฐมอภัพพัฏฐานสูตร
๙. ทุติยอภัพพัฏฐานสูตร ๑๐. ตติยอภัพพัฏฐานสูตร
๑๑. จตุตถอภัพพัฏฐานสูตร


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๖๑๙ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๑๐. อานิสังสวรรค ๒. อานิสังสสูตร
๑๐. อานิสังสวรรค
หมวดว่าด้วยอานิสงส์
๑. ปาตุภาวสูตร
ว่าด้วยเหตุปรากฏ
[๙๖] ภิกษุทั้งหลาย เหตุปรากฏ ๖ ประการ หาได้ยากในโลก
เหตุปรากฏ ๖ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ความปรากฏแห่งตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า หาได้ยากในโลก
๒. บุคคลผู้แสดงธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศไว้ หาได้ยากในโลก
๓. บุคคลผู้เกิดขึ้นในถิ่นอริยะ๑ หาได้ยากในโลก
๔. ความมีอินทรีย์ไม่บกพร่อง หาได้ยากในโลก
๕. ความไม่โง่เขลา ความไม่เป็นคนเซอะ หาได้ยากในโลก
๖. ความพอใจในกุศลธรรม หาได้ยากในโลก
ภิกษุทั้งหลาย เหตุปรากฏ ๖ ประการนี้แล หาได้ยากในโลก
ปาตุภาวสูตรที่ ๑ จบ
๒. อานิสังสสูตร
ว่าด้วยอานิสงส์แห่งโสดาปัตติผล
[๙๗] ภิกษุทั้งหลาย อานิสงส์แห่งการทำให้แจ้งโสดาปัตติผล ๖ ประการนี้
อานิสงส์ ๖ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. มีความแน่นอนในสัทธรรม๒
๒. มีความไม่เสื่อมเป็นธรรมดา
๓. ทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ ไม่มีความทุกข์

เชิงอรรถ :
๑ ถิ่นอริยะ หมายถึงมัชฌิมประเทศ (องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๙๖-๙๗/๑๕๖)
๒ สัทธรรม ในที่นี้หมายถึงศาสนา (องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๙๖-๙๗/๑๕๖)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๖๒๐ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๑๐. อานิสังสวรรค ๓. อนิจจสูตร
๔. ประกอบด้วยอสาธารณญาณ๑
๕. เห็นเหตุได้ดี
๖. เห็นธรรมที่เกิดขึ้นจากเหตุได้ดี
ภิกษุทั้งหลาย อานิสงส์แห่งการทำให้แจ้งโสดาปัตติผล ๖ ประการนี้แล
อานิสังสสูตรที่ ๒ จบ
๓. อนิจจสูตร
ว่าด้วยความเป็นของไม่เที่ยง
[๙๘] ภิกษุทั้งหลาย
๑. เป็นไปไม่ได้เลยที่ภิกษุผู้พิจารณาเห็นสังขารว่าเป็นของเที่ยง จัก
ประกอบด้วยอนุโลมิกขันติ๒ได้
๒. เป็นไปไม่ได้เลยที่ภิกษุผู้ไม่ประกอบด้วยอนุโลมิกขันติ จักก้าวลงสู่
สัมมัตตนิยาม๓ได้
๓. เป็นไปไม่ได้เลยที่ภิกษุผู้ไม่ก้าวลงสู่สัมมัตตนิยาม จักทำให้แจ้งโสดา-
ปัตติผล สกทาคามิผล อนาคามิผล หรืออรหัตตผลได้
ภิกษุทั้งหลาย
๑. เป็นไปได้ที่ภิกษุผู้พิจารณาเห็นสังขารทั้งปวงว่าเป็นของไม่เที่ยง จัก
ประกอบด้วยอนุโลมิกขันติได้

เชิงอรรถ :
๑ อสาธารณญาณ หมายถึงญาณที่ไม่ทั่วไปสำหรับปุถุชน (องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๙๖-๙๗/๑๕๖)
๒ ดูเชิงอรรถที่ ๑ ข้อ ๘๘ (สุสสูสติสูตร) หน้า ๖๑๔ ในเล่มนี้
๓ ดูเชิงอรรถที่ ๑ ปัญจกนิบาต ข้อ ๑๕๑ หน้า ๒๔๙ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๖๒๑ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๑๐. อานิสังสวรรค ๕. อนัตตสูตร
๒. เป็นไปได้ที่ภิกษุผู้ประกอบด้วยอนุโลมิกขันติ จักก้าวลงสู่สัมมัตต-
นิยามได้
๓. เป็นไปได้ที่ภิกษุผู้ก้าวลงสู่สัมมัตตนิยาม จักทำให้แจ้งโสดาปัตติผล
สกทาคามิผล อนาคามิผล หรืออรหัตตผลได้
อนิจจสูตรที่ ๓ จบ
๔. ทุกขสูตร
ว่าด้วยความเป็นทุกข์
[๙๙] ภิกษุทั้งหลาย
๑. เป็นไปไม่ได้เลยที่ภิกษุผู้พิจารณาเห็นสังขารว่าเป็นสุข
ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย
๑. เป็นไปได้ที่ภิกษุผู้พิจารณาเห็นสังขารทั้งปวงว่าเป็นทุกข์
ฯลฯ
ทุกขสูตรที่ ๔ จบ
๕. อนัตตสูตร
ว่าด้วยความเป็นอนัตตา
[๑๐๐] ภิกษุทั้งหลาย
๑. เป็นไปไม่ได้เลยที่ภิกษุผู้พิจารณาเห็นธรรมว่าเป็นอัตตา
ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย
๑. เป็นไปได้ที่ภิกษุผู้พิจารณาเห็นธรรมทั้งปวงว่าเป็นอนัตตา
ฯลฯ
อนัตตสูตรที่ ๕ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๖๒๒ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๑๐. อานิสังสวรรค ๖. นิพพานสูตร
๖. นิพพานสูตร
ว่าด้วยนิพพาน
[๑๐๑] ภิกษุทั้งหลาย
๑. เป็นไปไม่ได้เลยที่ภิกษุผู้พิจารณาเห็นนิพพานว่าเป็นทุกข์ จัก
ประกอบด้วยอนุโลมิกขันติได้
๒. เป็นไปไม่ได้เลยที่ภิกษุผู้ไม่ประกอบด้วยอนุโลมิกขันติ จักก้าวลงสู่
สัมมัตตนิยามได้
๓. เป็นไปไม่ได้เลยที่ภิกษุผู้ไม่ก้าวลงสู่สมัตตนิยาม จักทำให้แจ้งโสดา-
ปัตติผล สกทาคามิผล อนาคามิผล หรืออรหัตตผลได้
ภิกษุทั้งหลาย
๑. เป็นไปได้ที่ภิกษุผู้พิจารณาเห็นนิพพานว่าเป็นสุข จักประกอบด้วย
อนุโลมิกขันติได้
๒. เป็นไปได้ที่ภิกษุผู้ประกอบด้วยอนุโลมิกขันติ จักก้าวลงสู่สัมมัตต-
นิยามได้
๓. เป็นไปได้ที่ภิกษุผู้ก้าวลงสู่สัมมัตตนิยาม จักทำให้แจ้งโสดาปัตติผล
สกทาคามิผล อนาคามิผล หรืออรหัตตผลได้
นิพพานสูตรที่ ๖ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๖๒๓ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๑๐. อานิสังสวรรค ๘. อุกขิตตาสิกสูตร
๗. อนวัฏฐิตสูตร
ว่าด้วยความไม่มั่นคง
[๑๐๒] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้พิจารณาเห็นอานิสงส์ ๖ ประการ สามารถ
ทำเขตไม่จำกัด๑ในสังขารทั้งปวงแล้วทำอนิจจสัญญาให้ปรากฏได้
อานิสงส์ ๖ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุพิจารณาเห็นว่า
๑. สังขารทั้งปวงจักปรากฏว่าเป็นของไม่มั่นคง
๒. ใจของเราจักไม่ยินดีในโลกทั้งปวง
๓. ใจของเราจักออกไปจากโลกทั้งปวง
๔. ใจของเราจักน้อมไปสู่นิพพาน
๕. สังโยชน์ทั้งหลายของเราจักถึงการละได้
๖. เราจักเป็นผู้ประกอบด้วยสามัญญะ๒ อันยอดเยี่ยม
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้พิจารณาเห็นอานิสงส์ ๖ ประการนี้แล สามารถทำเขต
ไม่จำกัดในสังขารทั้งปวงแล้วทำอนิจจสัญญาให้ปรากฏได้
อนวัฏฐิตสูตรที่ ๗ จบ
๘. อุกขิตตาสิกสูตร
ว่าด้วยนิพพิทาสัญญาเหมือนเพชฌฆาตผู้เงื้อดาบขึ้น
[๑๐๓] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้พิจารณาเห็นอานิสงส์ ๖ ประการ สามารถ
ทำเขตไม่จำกัดในสังขารทั้งปวงแล้วทำทุกขสัญญาให้ปรากฏได้
อานิสงส์ ๖ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุพิจารณาเห็นว่า
๑. นิพพิทาสัญญา(ความกำหนดหมายความเบื่อหน่าย)ในสังขารทั้งปวง
จักปรากฏแก่เราเหมือนเพชฌฆาตผู้เงื้อดาบขึ้น

เชิงอรรถ :
๑ ทำเขตไม่จำกัด หมายถึงทำเขตไม่จำกัดอย่างนี้ว่า “สังขารประมาณเท่านี้ ไม่เที่ยง นอกนี้จะชื่อว่าไม่เที่ยง
ก็หามิได้” (องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๑๐๒/๑๕๖)
๒ สามัญญะ ในทีนี้หมายถึงความเป็นสมณะ ได้แก่ อริยมรรค (องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๑๐๒/๑๕๖)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๖๒๔ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๑๐. อานิสังสวรรค ๙. อตัมมยสูตร
๒. ใจของเราจักออกไปจากโลกทั้งปวง
๓. เราจักมีปกติเห็นสันติในนิพพาน
๔. อนุสัยของเราจักถึงการเพิกถอน
๕. เราจักทำตามหน้าที่
๖. เราจักมีเมตตาบำรุงพระศาสดา๑
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้พิจารณาเห็นอานิสงส์ ๖ ประการนี้แล สามารถทำเขต
ไม่จำกัดในสังขารทั้งปวงแล้วทำทุกขสัญญาให้ปรากฏได้
อุกขิตตาสิกสูตรที่ ๘ จบ
๙. อตัมมยสูตร
ว่าด้วยอตัมมยะ๒
[๑๐๔] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้พิจารณาเห็นอานิสงส์ ๖ ประการ สามารถ
ทำเขตไม่จำกัดในธรรมทั้งปวงแล้วทำอนัตตสัญญาให้ปรากฏได้
อานิสงส์ ๖ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุพิจารณาเห็นว่า
๑. เราจักเป็นอตัมมยะ
๒. อหังการ๓ของเราจักดับไป

เชิงอรรถ :
๑ พระเสขบุคคล ๗ จำพวก ย่อมบำรุงรับใช้พระตถาคตด้วยเมตตา ส่วนพระขีณาสพได้ผ่านการบำรุงรับใช้
พระศาสดาแล้ว (องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๑๐๓/๑๕๖)
๒ อตัมมยะ (ไม่มีตัมมยะ) ในที่นี้หมายถึงไม่มีตัณหาและทิฏฐิ คำว่า ตัมมยะ เป็นชื่อเรียกตัณหาและทิฏฐิ
(องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๑๐๔/๑๕๖)
๓ อหังการ หมายถึงทิฏฐิที่มีความยึดถือว่าเป็นเรา (องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๑๐๔/๑๕๖)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๖๒๕ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๑๐. อานิสังสวรรค ๑๐. ภวสูตร
๓. มมังการ๑ของเราจักดับไป
๔. เราจักเป็นผู้ประกอบด้วยอสาธารณญาณ๒
๕. เราจักเป็นผู้เห็นเหตุได้ดี
๖. เราจักเป็นผู้เห็นธรรมที่เกิดขึ้นจากเหตุได้ดี
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้พิจารณาเห็นอานิสงส์ ๖ ประการนี้แล สามารถทำเขต
ไม่จำกัดในธรรมทั้งปวงแล้วทำอนัตตสัญญาให้ปรากฏได้
อตัมมยสูตรที่ ๙ จบ
๑๐ ภวสูตร
ว่าด้วยภพและสิกขา
[๑๐๕] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุควรละภพ ๓ ประการนี้ ควรศึกษาในสิกขา
๓ ประการ
ภพ ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. กามภพ (ภพที่เป็นกามาวจร)
๒. รูปภพ (ภพที่เป็นรูปาวจร)
๓. อรูปภพ (ภพที่เป็นอรูปาวจร)
นี้คือภพ ๓ ประการที่ภิกษุควรละ
สิกขา ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. อธิสีลสิกขา (สิกขาคือศีลอันยิ่ง)
๒. อธิจิตตสิกขา (สิกขาคือจิตอันยิ่ง)

เชิงอรรถ :
๑ มมังการ หมายถึงตัณหา คือความทะยานอยากว่าเป็นของเรา (องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๑๐๔/๑๕๖)
๒ ดูเชิงอรรถที่ ๑ ข้อ ๙๗ (อานิสังสสูตร) หน้า ๖๒๑ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๖๒๖ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๑๐. อานิสังสวรรค ๑๑. ตัณหาสูตร
๓. อธิปัญญาสิกขา (สิกขาคือปัญญาอันยิ่ง)
นี้คือสิกขา ๓ ประการที่ภิกษุควรศึกษา
ภิกษุทั้งหลาย เพราะภิกษุละภพ ๓ ประการนี้ได้ และศึกษาสิกขา ๓ ประการ
นี้ได้ เราจึงเรียกภิกษุนี้ว่า ‘ตัดตัณหาได้แล้ว ถอนสังโยชน์ได้แล้ว ทำที่สุดแห่งทุกข์ได้
แล้วเพราะละมานะได้โดยชอบ๑’
ภวสูตรที่ ๑๐ จบ
๑๑. ตัณหาสูตร
ว่าด้วยตัณหาและมานะ
[๑๐๖] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุควรละตัณหา ๓ ประการ และควรละมานะ ๓
ประการ
ตัณหา๒ ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. กามตัณหา (ความทะยานอยากในกามธาตุ)
๒. รูปตัณหา (ความทะยานอยากในรูปธาตุ)
๓. อรูปตัณหา (ความทะยานอยากในอรูปธาตุ)
นี้คือตัณหา ๓ ประการที่ภิกษุควรละ
มานะ๓ ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. มานะ (ความถือตัวว่าเสมอเขา)
๒. โอมานะ (ความถือตัวว่าด้อยกว่าเขา)

เชิงอรรถ :
๑ หมายถึงตัดตัณหาได้เด็ดขาดด้วยโลกุตตรมรรค ถอนสังโยชน์ ๑๐ ประการได้ ทำให้วัฏฏทุกข์หยุดการ
หมุนได้ (องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๑๗๗/๓๙๘) และดู องฺ.จตุกฺก. (แปล) ๒๑/๑๗๗/๒๕๘,๒๕๗/๓๘๗ ประกอบ
๒ ดู อภิ.วิ. (แปล) ๓๕/๙๑๗/๕๗๓
๓ ดู อภิ.วิ. (แปล) ๓๕/๘๗๘-๘๘๑/๕๕๗-๕๕๘

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๖๒๗ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๑๐. อานิสังสวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค
๓. อติมานะ (ความถือตัวว่าดีกว่าเขา)
นี้คือมานะ ๓ ประการที่ภิกษุควรละ
ภิกษุทั้งหลาย เพราะภิกษุละตัณหา ๓ ประการนี้ได้ และละมานะ ๓ ประการ
นี้ได้ เราจึงเรียกภิกษุนี้ว่า ‘ตัดตัณหาได้แล้ว ถอนสังโยชน์ได้แล้ว ทำที่สุดแห่งทุกข์ได้
แล้วเพราะละมานะได้โดยชอบ’
ตัณหาสูตรที่ ๑๑ จบ
อานิสังสวรรคที่ ๑๐ จบ
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. ปาตุภาวสูตร ๒. อานิสังสสูตร
๓. อนิจจสูตร ๔. ทุกขสูตร
๕. อนัตตสูตร ๖. นิพพานสูตร
๗. อนวัฏฐิตสูตร ๘. อุกขิตตาสิกสูตร
๙. อตัมมยสูตร ๑๐. ภวสูตร
๑๑. ตัณหาสูตร

ทุติยปัณณาสก์ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๖๒๘ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต ๑๑. ติกวรรค ๑. ราคสูตร
๑๑. ติกวรรค
หมวดว่าด้วยธรรมหมวดละ ๓
๑. ราคสูตร
ว่าด้วยราคะ
[๑๐๗] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๓ ประการนี้
ธรรม ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ราคะ (ความกำหนัด)
๒. โทสะ (ความคิดประทุษร้าย)
๓. โมหะ (ความหลง)
ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๓ ประการนี้แล
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุควรเจริญธรรม ๓ ประการ เพื่อละธรรม ๓ ประการนี้
ธรรม ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ภิกษุควรเจริญอสุภะ๑เพื่อละราคะ
๒. ภิกษุควรเจริญเมตตา๒เพื่อละโทสะ
๓. ภิกษุควรเจริญปัญญา๓เพื่อละโมหะ
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุควรเจริญธรรม ๓ ประการนี้ เพื่อละธรรม ๓ ประการนี้แล
ราคสูตรที่ ๑ จบ

เชิงอรรถ :
๑ อสุภะ หมายถึงอสุภกัมมัฏฐาน คืออารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งการงานของใจที่พิจารณาร่างกายของตนและผู้อื่น
ให้เห็นสภาวะที่ไม่งาม มี ๑๐ ประการ (องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๑๐๗/๑๕๗) และดูรายละเอียดประกอบใน วิสุทฺธิ.
๑/๑๐๒-๑๒๒/๑๙๔-๒๑๔
๒ เมตตา หมายถึงเมตตากัมมัฏฐาน อารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งการงานของใจที่ปรารถนาให้เขามีความสุข (องฺ.ฉกฺก.
อ. ๓/๑๐๗/๑๕๗)
๓ ปัญญา หมายถึงมัคคปัญญาพร้อมทั้งวิปัสสนา (องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๑๐๗/๑๕๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๖๒๙ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต ๑๑. ติกวรรค ๓. วิตักกสูตร
๒. ทุจจริตสูตร
ว่าด้วยทุจริต
[๑๐๘] ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๓ ประการนี้
ธรรม ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. กายทุจริต (ความประพฤติชั่วด้วยกาย)
๒. วจีทุจริต (ความประพฤติชั่วด้วยวาจา)
๓. มโนทุจริต (ความประพฤติชั่วด้วยใจ)
ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๓ ประการนี้แล
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุควรเจริญธรรม ๓ ประการ เพื่อละธรรม ๓ ประการนี้
ธรรม ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ภิกษุควรเจริญกายสุจริต(ความประพฤติชอบด้วยกาย)เพื่อละกาย
ทุจริต
๒. ภิกษุควรเจริญวจีสุจริต(ความประพฤติชอบด้วยวาจา)เพื่อละวจีทุจริต
๓. ภิกษุควรเจริญมโนสุจริต(ความประพฤติชอบด้วยใจ)เพื่อละมโนทุจริต
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุควรเจริญธรรม ๓ ประการนี้ เพื่อละธรรม ๓ ประการนี้แล
ทุจจริตสูตรที่ ๒ จบ
๓. วิตักกสูตร
ว่าด้วยวิตก
[๑๐๙] ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๓ ประการนี้
ธรรม ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. กามวิตก (ความตรึกในทางกาม)
๒. พยาบาทวิตก (ความตรึกในทางพยาบาท)
๓. วิหิงสาวิตก (ความตรึกในทางเบียดเบียน)
ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๓ ประการนี้แล

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๖๓๐ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต ๑๑. ติกวรรค ๔. สัญญาสูตร
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุควรเจริญธรรม ๓ ประการ เพื่อละธรรม ๓ ประการนี้
ธรรม ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ภิกษุควรเจริญเนกขัมมวิตก(ความตรึกปลอดจากกาม)เพื่อละกามวิตก
๒. ภิกษุควรเจริญอพยาบาทวิตก(ความตรึกปลอดจากพยาบาท)เพื่อ
ละพยาบาทวิตก
๓. ภิกษุควรเจริญอวิหิงสาวิตก(ความตรึกปลอดจากการเบียดเบียน)
เพื่อละวิหิงสาวิตก
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุควรเจริญธรรม ๓ ประการนี้ เพื่อละธรรม ๓ ประการนี้แล
วิตักกสูตรที่ ๓ จบ
๔. สัญญาสูตร
ว่าด้วยสัญญา
[๑๑๐] ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๓ ประการนี้
ธรรม ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. กามสัญญา (ความกำหนดหมายในทางกาม)
๒. พยาปาทสัญญา (ความกำหนดหมายในทางพยาบาท)
๓. วิหิงสาสัญญา (ความกำหนดหมายในทางเบียดเบียน)
ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๓ ประการนี้แล
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุควรเจริญธรรม ๓ ประการ เพื่อละธรรม ๓ ประการนี้
ธรรม ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ภิกษุควรเจริญเนกขัมมสัญญา(ความกำหนดหมายปลอดจากกาม)
เพื่อละกามสัญญา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๖๓๑ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต ๑๑. ติกวรรค ๕. ธาตุสูตร
๒. ภิกษุควรเจริญอพยาปาทสัญญา(ความกำหนดหมายปลอดจาก
พยาบาท)เพื่อละพยาปาทสัญญา
๓. ภิกษุควรเจริญอวิหิงสาสัญญา(ความกำหนดหมายปลอดจากการ
เบียดเบียน)เพื่อละวิหิงสาสัญญา
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุควรเจริญธรรม ๓ ประการนี้ เพื่อละธรรม ๓ ประการนี้แล
สัญญาสูตรที่ ๔ จบ
๕. ธาตุสูตร
ว่าด้วยธาตุ
[๑๑๑] ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๓ ประการนี้
ธรรม ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. กามธาตุ (ธาตุคือกาม)
๒. พยาปาทธาตุ (ธาตุคือพยาบาท)
๓. วิหิงสาธาตุ (ธาตุคือความเบียดเบียน)
ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๓ ประการนี้แล
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุควรเจริญธรรม ๓ ประการ เพื่อละธรรม ๓ ประการนี้
ธรรม ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ภิกษุควรเจริญเนกขัมมธาตุ(ธาตุคือความปลอดจากกาม)เพื่อละ
กามธาตุ
๒. ภิกษุควรเจริญอพยาปาทธาตุ(ธาตุคือความปลอดจากพยาบาท)
เพื่อละพยาปาทธาตุ
๓. ภิกษุควรเจริญอวิหิงสาธาตุ(ธาตุคือความปลอดจากการเบียดเบียน)
เพื่อละวิหิงสาธาตุ
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุควรเจริญธรรม ๓ ประการนี้ เพื่อละธรรม ๓ ประการนี้แล
ธาตุสูตรที่ ๕ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๖๓๒ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต ๑๑. ติกวรรค ๖. อัสสาทสูตร
๖. อัสสาทสูตร
ว่าด้วยอัสสาททิฏฐิ๑
[๑๑๒] ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๓ ประการนี้
ธรรม ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. อัสสาททิฏฐิ
๒. อัตตานุทิฏฐิ๒
๓. มิจฉาทิฏฐิ๓
ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๓ ประการนี้แล
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุควรเจริญธรรม ๓ ประการ เพื่อละธรรม ๓ ประการนี้
ธรรม ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ภิกษุควรเจริญอนิจจสัญญา (ความกำหนดหมายความไม่เที่ยงแห่ง
สังขาร) เพื่อละอัสสาททิฏฐิ
๒. ภิกษุควรเจริญอนัตตสัญญา (ความกำหนดหมายรู้ความเป็นอนัตตา
แห่งธรรมทั้งปวง) เพื่อละอัตตานุทิฏฐิ
๓. ภิกษุควรเจริญสัมมาทิฏฐิ(ความเห็นชอบ)เพื่อละมิจฉาทิฏฐิ
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุควรเจริญธรรม ๓ ประการนี้ เพื่อละธรรม ๓ ประการนี้แล
อัสสาทสูตรที่ ๖ จบ

เชิงอรรถ :
๑ หมายถึงสัสสตทิฏฐิ ความเห็นว่าเที่ยง (คือเห็นว่า อัตตา(ชีวาตมัน)และโลก เป็นสิ่งเที่ยงแท้ ยั่งยืน คงอยู่
ตลอดไป เช่นเห็นว่า คน และสัตว์ตายไปแล้ว ร่างกายเท่านั้นทรุดโทรมไป ส่วนดวงชีพหรือมนัส เป็น
ธรรมชาติไม่สูญ ย่อมถือปฏิสนธิในกำเนิดอื่นต่อไป จัดเป็นมิจฉาทิฏฐิอย่างหนึ่ง) (องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๑๑๒/๑๕๗)
๒ หมายถึงสักกายทิฏฐิที่มีวัตถุ ๒๐ ประการ (๑) เห็นรูปเป็นอัตตา (๒) เห็นอัตตามีรูป (๓) เห็นรูปในอัตตา
(๔) เห็นรูปในรูป (๕) เห็นเวทนาเป็นอัตตา (๖) เห็นอัตตามีเวทนา (๗) เห็นเวทนาในอัตตา (๘) เห็นอัตตา
ในเวทนา (๙) เห็นสัญญาเป็นอัตตา (๑๐) เห็นอัตตามีสัญญา (๑๑) เห็นสัญญาในอัตตา (๑๒) เห็นอัตตา
ในสัญญา (๑๓) เห็นสังขารเป็นอัตตา (๑๔) เห็นอัตตามีสังขาร (๑๕) เห็นสังขารในอัตตา (๑๖) เห็นอัตตา
ในสังขาร (๑๗) เห็นวิญญาณเป็นอัตตา (๑๘)เห็นอัตตามีวิญญาณ (๑๙) เห็นวิญญาณในอัตตา (๒๐) เห็น
อัตตาในวิญญาณ (องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๑๑๒/๑๕๗) และดู สํ.ข.๑๗/๑๕๕/๑๔๙, ขุ.ม.อ.๑๒/๑๕๘
๓ หมายถึงทิฏฐิ ๖๒ ประการ (องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๑๑๒/๑๕๗) และดู ที.สี. (แปล) ๙/๒๘-๑๔๖/๑๑-๔๖

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๖๓๓ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต ๑๑. ติกวรรค ๗. อรติสูตร
๗. อรติสูตร
ว่าด้วยอรติ
[๑๑๓] ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๓ ประการนี้
ธรรม ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. อรติ (ความไม่ยินดี)
๒. วิหิงสา (ความเบียดเบียน)
๓. อธัมมจริยา๑ (การประพฤติอธรรม)
ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๓ ประการนี้แล
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุควรเจริญธรรม ๓ ประการ เพื่อละธรรม ๓ ประการนี้
ธรรม ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ภิกษุควรเจริญมุทิตา(ความยินดี)เพื่อละอรติ
๒. ภิกษุควรเจริญอวิหิงสา(ความไม่เบียดเบียน)เพื่อละวิหิงสา
๓. ภิกษุควรเจริญธัมมจริยา(ความประพฤติธรรม)เพื่อละอธัมมจริยา
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุควรเจริญธรรม ๓ ประการนี้ เพื่อละธรรม ๓ ประการนี้แล
อรติสูตรที่ ๗ จบ

เชิงอรรถ :
๑ อธัมมจริยา ในทีนี้หมายถึงการประพฤติอกุศลกรรมบถ ๑๐ ประการ คือ (๑) ปาณาติบาต (ฆ่าสัตว์)
(๒) อทินนาทาน (ลักทรัพย์) (๓) กาเมสุมิจฉาจาร (ประพฤติผิดในกาม) (๔) มุสาวาท (พูดเท็จ)
(๕) ปิสุณวาจา (พูดส่อเสียด) (๖) ผรุสวาจา (พูดคำหยาบ) (๗) สัมผัปปลาปะ (พูดเพ้อเจ้อ) (๘) อภิชฌา
(เพ่งเล็งอยากได้ของเขา) (๙) พยาบาท (คิดร้าย) (๑๐) มิจฉาทิฏฐิ (เห็นผิด) (องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๑๑๓/๑๕๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๖๓๔ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต ๑๑. ติกวรรค ๙. โทวจัสสตาสูตร
๘. สันตุฏฐิตาสูตร
ว่าด้วยสันตุฏฐิตา
[๑๑๔] ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๓ ประการนี้
ธรรม ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. อสันตุฏฐิตา (ความไม่สันโดษ)
๒. อสัมปัชชัญญะ (ความไม่มีสัมปชัญญะ)
๓. มหิจฉตา (ความปรารถนามาก)
ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๓ ประการนี้แล
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุควรเจริญธรรม ๓ ประการ เพื่อละธรรม ๓ ประการนี้
ธรรม ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ภิกษุควรเจริญสันตุฏฐิตา(ความสันโดษ)เพื่อละอสันตุฏฐิตา
๒. ภิกษุควรเจริญสัมปชัญญะ(ความมีสัมปชัญญะ)เพื่อละอสัมปชัญญะ
๓. ภิกษุควรเจริญอัปปิจฉตา(ความปรารถนาน้อย)เพื่อละมหิจฉตา
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุควรเจริญธรรม ๓ ประการนี้ เพื่อละธรรม ๓ ประการนี้แล
สันตุฏฐิตาสูตรที่ ๘ จบ
๙. โทวจัสสตาสูตร
ว่าด้วยความเป็นผู้ว่ายาก
[๑๑๕] ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๓ ประการนี้
ธรรม ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ความเป็นผู้ว่ายาก
๒. ความเป็นผู้มีปาปมิตร (มิตรชั่ว)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๖๓๕ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต ๑๑. ติกวรรค ๑๐. อุทธัจจสูตร
๓. ความฟุ้งซ่านแห่งจิต
ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๓ ประการนี้แล
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุควรเจริญธรรม ๓ ประการ เพื่อละธรรม ๓ ประการนี้
ธรรม ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ภิกษุควรเจริญความเป็นผู้ว่าง่ายเพื่อละความเป็นผู้ว่ายาก
๒. ภิกษุควรเจริญความเป็นผู้มีกัลยาณมิตร(มิตรดี)เพื่อละความเป็นผู้
มีปาปมิตร
๓. ภิกษุควรเจริญอานาปานสติ(สติกำหนดลมหายใจเข้าออก)เพื่อละ
ความฟุ้งซ่านแห่งจิต
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุควรเจริญธรรม ๓ ประการนี้ เพื่อละธรรม ๓ ประการนี้แล
โทวจัสสตาสูตรที่ ๙ จบ
๑๐. อุทธัจจสูตร
ว่าด้วยอุทธัจจะ
[๑๑๖] ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๓ ประการนี้
ธรรม ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. อุทธัจจะ (ความฟุ้งซ่าน)
๒. อสังวร (ความไม่สำรวม)
๓. ปมาทะ (ความประมาท)
ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๓ ประการนี้แล
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุควรเจริญธรรม ๓ ประการ เพื่อละธรรม ๓ ประการนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๖๓๖ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต ๑๑. ติกวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค
ธรรม ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ภิกษุควรเจริญสมถะ(ความสงบแห่งจิต)เพื่อละอุทธัจจะ
๒. ภิกษุควรเจริญสังวร(ความสำรวม)เพื่อละอสังวร
๓. ภิกษุควรเจริญอัปปมาทะ(ความไม่ประมาท)เพื่อละปมาทะ
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุควรเจริญธรรม ๓ ประการนี้ เพื่อละธรรม ๓ ประการนี้แล
อุทธัจจสูตรที่ ๑๐ จบ
ติกวรรคที่ ๑๑ จบ
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. ราคสูตร ๒. ทุจจริตสูตร
๓. วิตักกสูตร ๔. สัญญาสูตร
๕. ธาตุสูตร ๖. อัสสาทสูตร
๗. อรติสูตร ๘. สันตุฏฐิตาสูตร
๙. โทวจัสสตาสูตร ๑๐. อุทธัจจสูตร


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๖๓๗ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต ๑๒. สามัญวรรค ๑. กายานุปัสสีสูตร
๑๒. สามัญญวรรค
หมวดว่าด้วยธรรมทั่วไป
๑. กายานุปัสสีสูตร
ว่าด้วยผู้ควรเจริญกายานุปัสสนา
[๑๑๗] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุยังละธรรม ๖ ประการ
ไม่ได้ ก็ไม่อาจพิจารณาเห็นกายในกายอยู่
ธรรม ๖ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ความเป็นผู้ชอบการงาน๑
๒. ความเป็นผู้ชอบการพูดคุย
๓. ความเป็นผู้ชอบการนอนหลับ
๔. ความเป็นผู้ชอบการคลุกคลีด้วยหมู่
๕. ความเป็นผู้ไม่คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย
๖. ความเป็นผู้ไม่รู้จักประมาณในการบริโภค
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุยังละธรรม ๖ ประการนี้แลไม่ได้ ก็ไม่อาจพิจารณาเห็นกาย
ในกายอยู่
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุละธรรม ๖ ประการได้แล้ว จึงอาจพิจารณาเห็นกายใน
กายอยู่
ธรรม ๖ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ความเป็นผู้ชอบการงาน
๒. ความเป็นผู้ชอบการพูดคุย

เชิงอรรถ :
๑ การงาน หมายถึงการทำจีวร เย็บปะจีวร ทำถลกบาตร อังสะ ประคตเอว ผ้ากรองน้ำ การทำเชิงบาตร
ผ้าเช็ดเท้า ไม้กวาด เป็นต้น (องฺ.ปญฺจก.ฏีกา ๓/๘๙/๔๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๖๓๘ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต ๑๒. สามัญวรรค ๒. ธัมมานุปัสสีสูตร
๓. ความเป็นผู้ชอบการนอนหลับ
๔. ความเป็นชอบการคลุกคลีด้วยหมู่
๕. ความเป็นผู้ไม่คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย
๖. ความเป็นผู้ไม่รู้จักประมาณในการบริโภค
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุละธรรม ๖ ประการนี้แลได้แล้ว จึงอาจพิจารณาเห็นกาย
ในกายอยู่
กายานุปัสสีสูตรที่ ๑ จบ
๒. ธัมมานุปัสสีสูตร
ว่าด้วยผู้ควรเจริญธรรมานุปัสสนา
[๑๑๘] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุยังละธรรม ๖ ประการไม่ได้ ก็ไม่อาจพิจารณา
เห็นกายในกายอันเป็นภายในอยู่ ฯลฯ พิจารณาเห็นกายในกายอันเป็นภายนอกอยู่ ฯลฯ
พิจารณาเห็นกายในกายอันเป็นทั้งภายในและภายนอกอยู่ ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุยังละธรรม ๖ ประการไม่ได้ ก็ไม่อาจพิจารณาเห็นเวทนา
ในเวทนาทั้งหลายอยู่ ฯลฯ พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายอันเป็นภายในอยู่ ฯลฯ
พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายอันเป็นภายนอกอยู่ ฯลฯ พิจารณาเห็นเวทนา
ในเวทนาทั้งหลายอันเป็นทั้งภายในและภายนอกอยู่ ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุยังละธรรม ๖ ประการไม่ได้ ก็ไม่อาจพิจารณาเห็นจิตใน
จิตอยู่ ฯลฯ พิจารณาเห็นจิตในจิตอันเป็นภายในอยู่ ฯลฯ พิจารณาเห็นจิตในจิตอัน
เป็นภายนอกอยู่ ฯลฯ พิจารณาเห็นจิตในจิตอันเป็นทั้งภายในและภายนอกอยู่ ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุยังละธรรม ๖ ประการไม่ได้ ก็ไม่อาจพิจารณาเห็นธรรมใน
ธรรมทั้งหลายอยู่ ฯลฯ พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอันเป็นภายในอยู่ ฯลฯ
พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอันเป็นภายนอกอยู่ ฯลฯ พิจารณาเห็นธรรมใน
ธรรมทั้งหลายอันเป็นทั้งภายในและภายนอกอยู่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๖๓๙ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต ๑๒. สามัญวรรค ๒. ธัมมานุปัสสีสูตร
ธรรม ๖ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ความเป็นผู้ชอบการงาน
๒. ความเป็นผู้ชอบการพูดคุย
๓. ความเป็นผู้ชอบการนอนหลับ
๔. ความเป็นผู้ชอบการคลุกคลีด้วยหมู่
๕. ความเป็นผู้ไม่คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย
๖. ความเป็นผู้ไม่รู้จักประมาณในการบริโภค
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุยังละธรรม ๖ ประการนี้แลไม่ได้ ก็ไม่อาจพิจารณาเห็น
ธรรมในธรรมทั้งหลายอันเป็นทั้งภายในและภายนอกอยู่
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุละธรรม ๖ ประการได้แล้ว จึงอาจพิจารณาเห็นธรรมใน
ธรรมทั้งหลายอันเป็นทั้งภายในและภายนอกอยู่
ธรรม ๖ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ความเป็นผู้ชอบการงาน
ฯลฯ
๖. ความเป็นผู้ไม่รู้จักประมาณในการบริโภค
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุละธรรม ๖ ประการนี้แลได้แล้ว จึงอาจพิจารณาเห็น
ธรรมในธรรมทั้งหลายอันเป็นทั้งภายในและภายนอกอยู่
ธัมมานุปัสสีสูตรที่ ๒ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๖๔๐ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต ๑๒. สามัญวรรค ๔-๒๓. ภัลลิกาทิสูตร
๓. ตปุสสสูตร
ว่าด้วยตปุสสคหบดี
[๑๑๙] ภิกษุทั้งหลาย ตปุสสคหบดีประกอบด้วยธรรม ๖ ประการ เป็นผู้
เชื่อมั่นในตถาคต๑ เห็นอมตธรรม ทำให้แจ้งอมตธรรมอยู่
ธรรม ๖ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพุทธเจ้า
๒. ความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในธรรม
๓. ความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในสงฆ์
๔. อริยศีล
๕. อริยญาณ
๖. อริยวิมุตติ
ภิกษุทั้งหลาย ตปุสสคหบดีประกอบด้วยธรรม ๖ ประการนี้แล เป็นผู้เชื่อมั่น
ในตถาคต เห็นอมตธรรม ทำให้แจ้งอมตธรรมอยู่
ตปุสสสูตรที่ ๓ จบ

๔-๒๓. ภัลลิกาทิสูตร
ว่าด้วยภัลลิกคหบดีเป็นต้น
[๑๒๐-๑๓๙] ภิกษุทั้งหลาย ภัลลิกคหบดี ประกอบด้วยธรรม ๖ ประการ
ฯลฯ สุทัตตอนาถบิณฑิกคหบดี ฯลฯ จิตตคหบดีชาวเมืองมัจฉิกาสัณฑ์ ฯลฯ
หัตถกคหบดีชาวเมืองอาฬวี ฯลฯ เจ้าศากยะพระนามว่ามหานามะ ฯลฯ อุคค-
คหบดีชาวเมืองเวสาลี ฯลฯ อุคคตคหบดี ฯลฯ สูรอัมพัฏฐคหบดี ฯลฯ หมอชีวก
โกมารภัจจ์ ฯลฯ นกุลปิตาคหบดี ฯลฯ ตวกัณณิกคหบดี ฯลฯ ปูรณคหบดี ฯลฯ

เชิงอรรถ :
๑ เป็นผู้เชื่อมั่นในตถาคต หมายถึงมีจิตตั้งมั่นดีหมดความสงสัยในพระคุณของพระพุทธเจ้า (องฺ.ฉกฺก.อ.
๓/๑๑๙-๑๒๑/๑๕๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๖๔๑ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต ราคเปยยาล
อิสิทัตตคหบดี ฯลฯ สันธานคหบดี ฯลฯ วิชัยคหบดี ฯลฯ วัชชิยมหิตคหบดี ฯลฯ
เมณฑกคหบดี ฯลฯ วาเสฏฐอุบาสก ฯลฯ อริฏฐอุบาสก ฯลฯ สาทัตตอุบาสก
ประกอบด้วยธรรม ๖ ประการ เป็นผู้เชื่อมั่นในตถาคต เห็นอมตธรรม ทำให้แจ้ง
อมตธรรมอยู่
ธรรม ๖ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพุทธเจ้า
๒. ความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในธรรม
๓. ความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในสงฆ์
๔. อริยศีล
๕. อริยญาณ
๖. อริยวิมุตติ
ภิกษุทั้งหลาย สาทัตตอุบาสกประกอบด้วยธรรม ๖ ประการนี้แล เป็นผู้
เชื่อมั่นในตถาคต เห็นอมตธรรม ทำให้แจ้งอมตธรรมอยู่
ภัลลิกาทิสูตรที่ ๔-๒๓ จบ

ราคเปยยาล
[๑๔๐] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุควรเจริญธรรม ๖
ประการ เพื่อรู้ยิ่งราคะ
ธรรม ๖ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ทัสสนานุตตริยะ(การเห็นอันยอดเยี่ยม)
๒. สวนานุตตริยะ(การฟังอันยอดเยี่ยม)
๓. ลาภานุตตริยะ(การได้อันยอดเยี่ยม)
๔. สิกขานุตตริยะ(การศึกษาอันยอดเยี่ยม)
๕. ปาริจริยานุตตริยะ(การบำรุงอันยอดเยี่ยม)
๖. อนุสสตานุตตริยะ(การระลึกอันยอดเยี่ยม)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๖๔๒ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต ราคเปยยาล
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุควรเจริญธรรม ๖ ประการนี้แล เพื่อรู้ยิ่งราคะ (๑)
[๑๔๑] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุควรเจริญธรรม ๖ ประการ เพื่อรู้ยิ่งราคะ
ธรรม ๖ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. พุทธานุสสติ(การระลึกถึงพระพุทธเจ้า)
๒. ธัมมานุสสติ(การระลึกถึงพระธรรม)
๓. สังฆานุสสติ(การระลึกถึงพระสงฆ์)
๔. สีลานุสสติ(การระลึกถึงศีล)
๕. จาคานุสสติ(การระลึกถึงการบริจาค)
๖. เทวตานุสสติ(การระลึกถึงเทวดา)
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุควรเจริญธรรม ๖ ประการนี้แล เพื่อรู้ยิ่งราคะ (๒)
[๑๔๒] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุควรเจริญธรรม ๖ ประการ เพื่อรู้ยิ่งราคะ
ธรรม ๖ ประการ๑ อะไรบ้าง คือ
๑. อนิจจสัญญา
๒. อนิจเจ ทุกขสัญญา
๓. ทุกเข อนัตตสัญญา
๔. ปหานสัญญา
๕. วิราคสัญญา
๖. นิโรธสัญญา
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุควรเจริญธรรม ๖ ประการนี้แล เพื่อรู้ยิ่งราคะ (๓)
[๑๔๓ - ๑๖๙] ภิกษุทั้งหลาย บุคคลควรเจริญธรรม ๖ ประการ เพื่อกำหนด
รู้ราคะ
... เพื่อความสิ้นราคะ
... เพื่อละราคะ
... เพื่อความสิ้นไปแห่งราคะ

เชิงอรรถ :
๑ ดูเชิงอรรถที่ ๑ ฉักกนิบาต ข้อ ๓๕ (วิชชาภาคิยสูตร) หน้า ๔๘๓ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๖๔๓ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต ราคเปยยาล
... เพื่อความเสื่อมไปแห่งราคะ
... เพื่อความคลายไปแห่งราคะ
... เพื่อความดับไปแห่งราคะ
... เพื่อความสละราคะ
... เพื่อความสละคืนราคะ
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลเจริญธรรม ๖ ประการนี้แล เพื่อความสละคืนราคะ
(๔-๑๐)
[๑๗๐ - ๖๔๙] ภิกษุทั้งหลาย บุคคลควรเจริญธรรม ๖ ประการ เพื่อรู้ยิ่ง
โทสะ (ความคิดประทุษร้าย)
... เพื่อกำหนดรู้โทสะ
... เพื่อความสิ้นโทสะ
... เพื่อละโทสะ
... เพื่อความสิ้นไปแห่งโทสะ
... เพื่อความเสื่อมไปแห่งโทสะ
... เพื่อความคลายไปแห่งโทสะ
... เพื่อความดับไปแห่งโทสะ
... เพื่อความสละโทสะ
... เพื่อความสละคืนโทสะ ... โมหะ (ความหลง) ... โกธะ(ความโกรธ) ...
อุปนาหะ (ความผูกโกรธ) ... มักขะ(ความลบหลู่คุณท่าน) ปฬาสะ(ความตีเสมอ) ...
อิสสา(ความริษยา) ... มัจฉริยะ (ความตระหนี่) ... มายา(มารยา) ...
สาเถยยะ(ความโอ้อวด )... ถัมภะ(ความหัวดื้อ) ... สารัมภะ (ความแข่งดี) ... มานะ
(ความถือตัว) ... อติมานะ(ความดูหมิ่นเขา) ... มทะ(ความมัวเมา) ... ปมาทะ(ความ
ประมาท) ...
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลควรเจริญธรรม ๖ ประการนี้แล เพื่อความสละคืนปมาทะ
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้ ภิกษุเหล่านั้นมีใจยินดีต่างชื่นชมภาษิตของ
พระผู้มีพระภาคแล (๔๑-๕๐๑)
ราคเปยยาล จบ
ฉักกนิบาต จบบริบูรณ์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๖๔๔ }


พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๒ สุตตันตปิฎกที่ ๑๔ อังคุตตรนิกาย ปัญจก ฉักกนิบาต จบ





eXTReMe Tracker