ค้นว่าอยู่เล่มใด แล้วกด [ctrl]+f หรือใช้คำสั่งของเครื่องหาตำแหน่งในเล่มอีกทีนะครับ



จัดรูปหน้าใหม่
เพื่อความสะดวก และสวยงาม
(เฉพาะหน้าจอใหญ่ เช่น คอมพิวเตอร์)
กรุณาคลิก จัดรูปหน้าใหม่
เพื่อให้กรอบ
ค้นข้อความ ปรากฎที่ด้านซ้ายของหน้า

พระไตรปิฎกภาษาไทย
ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ๔๕ เล่ม (ปกสีฟ้า)
ทั้งออนไลน์และออฟไลน์
ที่มาของข้อมูล : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับ มจร.
MCUTRAI Version 1.0

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๑-๒ สุตตันตปิฎกที่ ๑๓ อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต

พระสุตตันตปิฎก
อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต
_____________
ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๒.ทุติยปัณณาสก์]
๔.มจลวรรค ๖.โอณโตณตสูตร

และเขาก็ประพฤติกายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต หลังจากตายแล้วจะไปเกิดใน
สุคติโลกสวรรค์ บุคคลผู้สว่างมาและสว่างไป เป็นอย่างนี้แล
ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกนี้แลมีปรากฏอยู่ในโลก

ตโมตมสูตรที่ ๕ จบ

๖. โอณโตณตสูตร
ว่าด้วยผู้ต่ำมาและต่ำไป

[๘๖] ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกนี้มีปรากฏอยู่ในโลก
บุคคล ๔ จำพวก๑ไหนบ้าง คือ
๑. บุคคลผู้ต่ำมาและต่ำไป ๒. บุคคลผู้ต่ำมาแต่สูงไป
๓. บุคคลผู้สูงมาแต่ต่ำไป ๔. บุคคลผู้สูงมาและสูงไป
บุคคลผู้ต่ำมาและต่ำไป เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้เกิดในตระกูลต่ำ คือ ตระกูลจัณฑาล ฯลฯ๒
และเขายังประพฤติกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต หลังจากตายแล้วย่อมเกิดใน
อบาย ทุคติ วินิบาต นรก บุคคลผู้ต่ำมาและต่ำไป เป็นอย่างนี้แล
บุคคลผู้ต่ำมาแต่สูงไป เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้เกิดมาในตระกูลต่ำ คือ ตระกูลจัณฑาล ฯลฯ๒
แต่เขาประพฤติกายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต หลังจากตายแล้วจะไปเกิดใน
สุคติโลก สวรรค์ บุคคลผู้ต่ำมาแต่สูงไป เป็นอย่างนี้แล
บุคคลผู้สูงมาแต่ต่ำไป เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้เกิดในตระกูลสูง คือ ตระกูลขัตติยมหาศาล ฯลฯ๒
แต่เขาประพฤติกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต หลังจากตายแล้วจะไปเกิดในอบาย
ทุคติ วินิบาต นรก บุคคลผู้สูงมาแต่ต่ำไป เป็นอย่างนี้แล


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๒.ทุติยปัณณาสก์]
๔.มจลวรรค ๗.ปุตตสูตร

บุคคลผู้สูงมาและสูงไป เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้เกิดในตระกูลสูง คือ ตระกูลขัตติยมหาศาล ฯลฯ๑
และเขาก็ประพฤติกายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต หลังจากตายแล้วจะไปเกิดในสุคติ
โลกสวรรค์ บุคคลผู้สูงมาและสูงไป เป็นอย่างนี้แล
ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกนี้แลมีปรากฏอยู่ในโลก

อณโตณตสูตรที่ ๖ จบ

๗. ปุตตสูตร
ว่าด้วยสมณะผู้ไม่หวั่นไหวเหมือนพระราชโอรสองค์พี่

[๘๗] ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกนี้มีปรากฏอยู่ในโลก
บุคคล ๔ จำพวกไหนบ้าง คือ
๑. บุคคลเป็นสมณะผู้ไม่หวั่นไหว๒
๒. บุคคลเป็นสมณะเหมือนดอกปุณฑริก๓(บัวขาว)
๓. บุคคลเป็นสมณะเหมือนดอกปทุม๔(บัวหลวง)
๔. บุคคลเป็นสมณะผู้ละเอียดอ่อนในหมู่สมณะ
บุคคลเป็นสมณะผู้ไม่หวั่นไหว เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นเสขะ ดำเนินตามข้อปฏิบัติ ปรารถนาผลที่ยอด
เยี่ยมอันเป็นแดนเกษมจากโยคะอยู่เหมือนพระราชโอรสองค์พี่ของพระราชามหา-
กษัตริย์ผู้ได้รับมูรธาภิเษกแล้ว แม้ยังไม่ได้รับการอภิเษกก็ไม่ทรงหวั่นไหว บุคคล
เป็นสมณะผู้ไม่หวั่นไหว เป็นอย่างนี้แล


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๒.ทุติยปัณณาสก์]
๔.มจลวรรค ๗.ปุตตสูตร

บุคคลเป็นสมณะเหมือนดอกปุณฑริก เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันไม่มีอาสวะเพราะ
อาสวะสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน แต่เธอไม่ได้สัมผัสวิโมกข์ ๘
ด้วยนามกายอยู่ บุคคลเป็นสมณะเหมือนดอกปุณฑริก เป็นอย่างนี้แล
บุคคลเป็นสมณะเหมือนดอกปทุม เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันไม่มีอาสวะเพราะ
อาสวะสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน และเธอได้สัมผัสวิโมกข์ ๘
ด้วยนามกายอยู่ บุคคลเป็นสมณะเหมือนดอกปทุม เป็นอย่างนี้แล
บุคคลเป็นสมณะผู้ละเอียดอ่อนในหมู่สมณะ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้มีคนขอร้องเท่านั้นจึงใช้สอยจีวรมาก ไม่มีใครขอร้อง
ย่อมใช้สอยจีวรแต่น้อย มีคนขอร้องเท่านั้นจึงฉันบิณฑบาตมาก ไม่มีใครขอร้องย่อม
ฉันบิณฑบาตแต่น้อย มีคนขอร้องเท่านั้นจึงใช้สอยเสนาสนะมาก ไม่มีใครขอร้อง
ย่อมใช้สอยเสนาสนะแต่น้อย มีคนขอร้องเท่านั้นจึงบริโภคคิลานปัจจัยเภสัชชบริขาร
มาก ไม่มีใครขอร้องย่อมบริโภคคิลานปัจจัยเภสัชชบริขารแต่น้อย และเพื่อน
พรหมจารีทั้งหลายที่อยู่ด้วยกันย่อมแสดงออกทางกาย วาจา และใจต่อเธอเป็นกิริยา
ที่น่าชอบใจเป็นส่วนมาก ที่ไม่น่าชอบใจเป็นส่วนน้อย น้อมนำเข้าไปแต่สิ่งที่น่าชอบใจ
เท่านั้น สิ่งที่ไม่น่าชอบใจมีน้อย เวทนาที่มีดีเป็นสมุฏฐานก็ดี มีเสมหะเป็นสมุฏฐาน
ก็ดี มีลมเป็นสมุฏฐานก็ดี เกิดเพราะสันนิบาตก็ดี เกิดเพราะฤดูแปรผันก็ดี เกิดเพราะ
การบริหารไม่สม่ำเสมอก็ดี เกิดเพราะความแก่ก็ดี เกิดเพราะผลกรรมก็ดี ส่วนมาก
ย่อมไม่เกิดแก่เธอ เธอมีความเจ็บไข้น้อย จึงเป็นผู้ได้ฌาน ๔๑ อันมีในจิตยิ่ง๒ ซึ่งเป็น
เครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบันตามความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ได้โดยไม่ลำบาก ทำให้แจ้ง
เจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันไม่มีอาสวะเพราะอาสวะสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึง
อยู่ในปัจจุบัน บุคคลเป็นสมณะผู้ละเอียดอ่อนในหมู่สมณะ เป็นอย่างนี้แล


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๒.ทุติยปัณณาสก์]
๔.มจลวรรค ๘.สังโยชนสูตร

บุคคลเมื่อจะกล่าวให้ถูกต้องพึงกล่าวถึงผู้ใดว่า ‘เป็นสมณะผู้ละเอียดอ่อนในหมู่
สมณะ’ บุคคลนั้นเมื่อจะกล่าวให้ถูกต้องพึงกล่าวถึงเรานั่นแลว่า ‘เป็นสมณะผู้
ละเอียดอ่อนในหมู่สมณะ’ เพราะเรามีคนขอร้องเท่านั้นจึงใช้สอยจีวรมาก ไม่มีใคร
ขอร้องย่อมใช้สอยจีวรแต่น้อย มีคนขอร้องเท่านั้นจึงฉันบิณฑบาตมาก ไม่มีใคร
ขอร้องย่อมฉันบิณฑบาตแต่น้อย มีคนขอร้องเท่านั้นจึงใช้สอยเสนาสนะมาก ไม่มี
ใครขอร้องย่อมใช้สอยเสนาสนะแต่น้อย มีคนขอร้องเท่านั้นจึงบริโภคคิลานปัจจัย-
เภสัชชบริขารมาก ไม่มีใครขอร้องย่อมบริโภคคิลานปัจจัยเภสัชชบริขารแต่น้อย
และพวกภิกษุที่อยู่ด้วยกันย่อมแสดงออกทางกาย วาจา และใจต่อเราเป็นกิริยาที่
น่าชอบใจเป็นส่วนมาก ที่ไม่น่าชอบใจเป็นส่วนน้อย น้อมนำเข้าไปแต่สิ่งที่น่าชอบใจ
เท่านั้น สิ่งที่ไม่น่าชอบใจมีน้อย เวทนาที่มีดีเป็นสมุฏฐานก็ดี มีเสมหะเป็นสมุฏฐาน
ก็ดี มีลมเป็นสมุฏฐานก็ดี เกิดเพราะสันนิบาตก็ดี เกิดเพราะฤดูแปรผันก็ดี เกิดเพราะ
การบริหารไม่สม่ำเสมอก็ดี เกิดเพราะความแก่ก็ดี เกิดเพราะผลกรรมก็ดี ส่วนมาก
ย่อมไม่เกิดแก่เรา เรามีความเจ็บไข้น้อย จึงเป็นผู้ได้ฌาน ๔ อันมีในจิตยิ่ง ซึ่งเป็น
เครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบันตามความปรารถนาได้โดยไม่ยาก ได้โดยไม่ลำบาก ทำให้
แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันไม่มีอาสวะเพราะอาสวะสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเอง
เข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน
บุคคลเมื่อจะกล่าวให้ถูกต้องพึงกล่าวถึงผู้ใดว่า ‘เป็นสมณะผู้ละเอียดอ่อนใน
หมู่สมณะ’ บุคคลนั้นเมื่อจะกล่าวให้ถูกต้องพึงกล่าวถึงเรานั้นแลว่า ‘เป็นสมณะผู้
ละเอียดอ่อนในหมู่สมณะ’
ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกนี้แลมีปรากฏอยู่ในโลก

ปุตตสูตรที่ ๗ จบ

๘. สังโยชนสูตร
ว่าด้วยผู้สิ้นสังโยชน์

[๘๘] ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกนี้มีปรากฏอยู่ในโลก
บุคคล ๔ จำพวก๑ไหนบ้าง คือ


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๒.ทุติยปัณณาสก์]
๔.มจลวรรค ๘.สังโยชนสูตร

๑. บุคคลเป็นสมณะผู้ไม่หวั่นไหว
๒. บุคคลเป็นสมณะเหมือนดอกปุณฑริก
๓. บุคคลเป็นสมณะเหมือนดอกปทุม
๔. บุคคลเป็นสมณะผู้ละเอียดอ่อนในหมู่สมณะ
บุคคลเป็นสมณะผู้ไม่หวั่นไหว เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นพระโสดาบัน เพราะสังโยชน์ ๓ ประการสิ้นไป
ไม่มีทางตกต่ำ มีความแน่นอนที่จะสำเร็จสัมโพธิ๑ในวันข้างหน้า บุคคลเป็นสมณะผู้
ไม่หวั่นไหว เป็นอย่างนี้แล
บุคคลเป็นสมณะเหมือนดอกปุณฑริก เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นพระสกทาคามี เพราะสังโยชน์ ๓ ประการสิ้นไป
เพราะราคะโทสะและโมหะเบาบาง มาสู่โลกนี้อีกเพียงครั้งเดียว ก็จะทำที่สุดแห่ง
ทุกข์ได้ บุคคลเป็นสมณะเหมือนดอกปุณฑริก เป็นอย่างนี้แล
บุคคลเป็นสมณะเหมือนดอกปทุม เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นโอปปาติกะ เพราะสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ ประการ
สิ้นไป จะปรินิพพานในภพนั้น ไม่หวนกลับมาจากโลกนั้นอีก บุคคลเป็นสมณะ
เหมือนดอกปทุม เป็นอย่างนี้แล
บุคคลเป็นสมณะผู้ละเอียดอ่อนในหมู่สมณะ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันไม่มีอาสวะเพราะ
อาสวะสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน บุคคลเป็นสมณะผู้ละเอียด
อ่อนในหมู่สมณะ เป็นอย่างนี้แล
ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกนี้แลมีปรากฏอยู่ในโลก

สังโยชนสูตรที่ ๘ จบ


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๒.ทุติยปัณณาสก์]
๔.มจลวรรค ๙. สัมมาทิฏฐิสูตร

๙. สัมมาทิฏฐิสูตร
ว่าด้วยผู้เป็นสัมมาทิฏฐิ

[๘๙] ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกนี้แลมีปรากฏอยู่ในโลก
บุคคล ๔ จำพวกไหนบ้าง คือ
๑. บุคคลเป็นสมณะผู้ไม่หวั่นไหว
๒. บุคคลเป็นสมณะเหมือนดอกปุณฑริก
๓. บุคคลเป็นสมณะเหมือนดอกปทุม
๔. บุคคลเป็นสมณะผู้ละเอียดอ่อนในหมู่สมณะ
บุคคลเป็นสมณะผู้ไม่หวั่นไหว เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นผู้มีสัมมาทิฏฐิ (เห็นชอบ) มีสัมมาสังกัปปะ (ดำริ
ชอบ) มีสัมมาวาจา (เจรจาชอบ) มีสัมมากัมมันตะ (กระทำชอบ) มีสัมมาอาชีวะ
(เลี้ยงชีพชอบ) มีสัมมาวายามะ (พยายามชอบ) มีสัมมาสติ (ระลึกชอบ) มี
สัมมาสมาธิ (ตั้งจิตมั่นชอบ) บุคคลเป็นสมณะผู้ไม่หวั่นไหว เป็นอย่างนี้แล
บุคคลเป็นสมณะเหมือนดอกปุณฑริก เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นผู้มีสัมมาทิฏฐิ มีสัมมาสังกัปปะ มีสัมมาวาจา
มีสัมมากัมมันตะ มีสัมมาอาชีวะ มีสัมมาวายามะ มีสัมมาสติ มีสัมมาสมาธิ
มีสัมมาญาณะ (รู้ชอบ) มีสัมมาวิมุตติ (หลุดพ้นชอบ) แต่เธอไม่ได้สัมผัสวิโมกข์ ๘
ด้วยนามกายอยู่ บุคคลเป็นสมณะเหมือนดอกปุณฑริก เป็นอย่างนี้แล
บุคคลเป็นสมณะเหมือนดอกปทุม เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นผู้มีสัมมาทิฏฐิ ฯลฯ มีสัมมาญาณะ มีสัมมาวิมุตติ
และเธอสัมผัสวิโมกข์ ๘ ด้วยนามกายอยู่ บุคคลเป็นสมณะเหมือนดอกปทุม เป็น
อย่างนี้แล
บุคคลเป็นสมณะผู้ละเอียดอ่อนในหมู่สมณะ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้มีคนขอร้องเท่านั้นจึงใช้สอยจีวรมาก ไม่มีใครขอร้อง
ย่อมใช้สอยจีวรแต่น้อย ฯลฯ๑


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๒.ทุติยปัณณาสก์]
๔.มจลวรรค ๑๐.ขันธสูตร

บุคคลเมื่อจะกล่าวให้ถูกต้องพึงกล่าวถึงผู้ใดว่า ‘เป็นสมณะผู้ละเอียดอ่อนใน
หมู่สมณะ’ บุคคลนั้นเมื่อจะกล่าวให้ถูกต้องพึงกล่าวถึงเรานั้นแลว่า ‘เป็นสมณะผู้
ละเอียดอ่อนในหมู่สมณะ’ (เพราะเรามีคนขอร้องเท่านั้นจึงใช้สอยจีวรมาก ไม่มีใคร
ขอร้องย่อมใช้สอยจีวรแต่น้อย ฯลฯ)
ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกนี้แลมีปรากฏอยู่ในโลก

สัมมาทิฏฐิสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. ขันธสูตร
ว่าด้วยผู้พิจารณาเห็นความเกิดและความดับในอุปาทานขันธ์

[๙๐] ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกนี้แลมีปรากฏอยู่ในโลก
บุคคล ๔ จำพวกไหนบ้าง คือ
๑. บุคคลเป็นสมณะผู้ไม่หวั่นไหว๑
๒. บุคคลเป็นสมณะเหมือนดอกปุณฑริก๒
๓. บุคคลเป็นสมณะเหมือนดอกปทุม๓
๔. บุคคลเป็นสมณะผู้ละเอียดอ่อนในหมู่สมณะ๔
บุคคลเป็นสมณะผู้ไม่หวั่นไหว เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นเสขะ ยังไม่บรรลุอรหัตตมรรค ปรารถนาผลที่
ยอดเยี่ยมอันเป็นแดนเกษมจากโยคะ บุคคลเป็นสมณะผู้ไม่หวั่นไหว เป็นอย่างนี้แล
บุคคลเป็นสมณะเหมือนดอกปุณฑริก เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้พิจารณาเห็นความเกิดและความดับในอุปาทานขันธ์ ๕
ว่า ‘รูปเป็นดังนี้ ความเกิดขึ้นแห่งรูปเป็นดังนี้ ความดับแห่งรูปเป็นดังนี้ เวทนา


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๒.ทุติยปัณณาสก์]
๔.มจลวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

เป็นดังนี้ ... สัญญาเป็นดังนี้ ... สังขารเป็นดังนี้ ... วิญญาณเป็นดังนี้ ความเกิด
ขึ้นแห่งวิญญาณเป็นดังนี้ ความดับแห่งวิญญาณเป็นดังนี้’ แต่เธอไม่ได้สัมผัสวิโมกข์
๘ ด้วยนามกายอยู่ บุคคลเป็นสมณะเหมือนดอกปุณฑริก เป็นอย่างนี้แล
บุคคลเป็นสมณะเหมือนดอกปทุม เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้พิจารณาเห็นความเกิดและความดับในอุปาทานขันธ์ ๕
ว่า ‘รูปเป็นดังนี้ ความเกิดขึ้นแห่งรูปเป็นดังนี้ ความดับแห่งรูปเป็นดังนี้ เวทนา
เป็นดังนี้ ... สัญญาเป็นดังนี้ ... สังขารเป็นดังนี้ ... วิญญาณเป็นดังนี้ ความเกิดขึ้น
แห่งวิญญาณเป็นดังนี้ ความดับแห่งวิญญาณเป็นดังนี้’ และเธอได้สัมผัสวิโมกข์ ๘
ด้วยนามกายอยู่ บุคคลเป็นสมณะเหมือนดอกปทุม เป็นอย่างนี้แล
บุคคลเป็นสมณะผู้ละเอียดอ่อนในหมู่สมณะ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้มีคนขอร้องเท่านั้นจึงใช้สอยจีวรมาก ไม่มีใครขอร้อง
ย่อมใช้สอยจีวรแต่น้อย ฯลฯ บุคคลเมื่อจะกล่าวให้ถูกต้องพึงกล่าวถึงผู้ใดว่า
‘เป็นสมณะผู้ละเอียดอ่อนในหมู่สมณะ’ บุคคลนั้นเมื่อจะกล่าวให้ถูกต้องพึงกล่าวถึง
เรานั้นแลว่า ‘เป็นสมณะผู้ละเอียดอ่อนในหมู่สมณะ’ เพราะเรามีคนขอร้องเท่านั้น
จึงใช้สอยจีวรมาก ไม่มีใครขอร้องย่อมใช้สอยจีวรแต่น้อย ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกนี้แลมีปรากฏอยู่ในโลก

ขันธสูตรที่ ๑๐ จบ
มจลวรรคที่ ๔ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. ปาณาติปาตสูตร ๒. มุสาวาทสูตร
๓. อวัณณารหสูตร ๔. โกธครุสูตร
๕. ตโมตมสูตร ๖. โอณโตณตสูตร
๗. ปุตตสูตร ๘. สังโยชนสูตร
๙. สัมมาทิฏฐิสูตร ๑๐. ขันธสูตร


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๒.ทุติยปัณณาสก์]
๕.อสุรวรรค ๑.อสุรสูตร

๕. อสุรวรรค
หมวดว่าด้วยบุคคลเหมือนอสูรและเทวดา
๑. อสุรสูตร
ว่าด้วยบุคคลเหมือนอสูรและเทวดา

[๙๑] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกนี้มีปรากฏ
อยู่ในโลก
บุคคล ๔ จำพวกไหนบ้าง คือ
๑. บุคคลเหมือนอสูร มีบริวารเหมือนอสูร
๒. บุคคลเหมือนอสูร มีบริวารเหมือนเทวดา
๓. บุคคลเหมือนเทวดา มีบริวารเหมือนอสูร
๔. บุคคลเหมือนเทวดา มีบริวารเหมือนเทวดา
บุคคลเหมือนอสูร มีบริวารเหมือนอสูร เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้ทุศีล มีธรรมเลวทราม แม้พวกพ้องของเขาก็
เป็นผู้ทุศีล มีธรรมเลวทราม บุคคลเหมือนอสูร มีบริวารเหมือนอสูร เป็นอย่างนี้แล
บุคคลเหมือนอสูร มีบริวารเหมือนเทวดา เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้ทุศีล มีธรรมเลวทราม แต่พวกพ้องของเขาเป็น
ผู้มีศีล มีกัลยาณธรรม๑ บุคคลเหมือนอสูร มีบริวารเหมือนเทวดา เป็นอย่างนี้แล
บุคคลเหมือนเทวดา มีบริวารเหมือนอสูร เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้มีศีล มีกัลยาณธรรม แต่พวกพ้องของเขา เป็น
ผู้ทุศีล มีธรรมเลวทราม บุคคลเหมือนเทวดา มีบริวารเหมือนอสูร เป็นอย่างนี้แล


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๒.ทุติยปัณณาสก์]
๕.อสุรวรรค ๒. ปฐมสมาธิสูตร

บุคคลเหมือนเทวดา มีบริวารเหมือนเทวดา เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้มีศีล มีกัลยาณธรรม แม้พวกพ้องของเขาก็
เป็นผู้มีศีล มีกัลยาณธรรม บุคคลเหมือนเทวดา มีบริวารเหมือนเทวดา เป็น
อย่างนี้แล
ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกนี้แลมีปรากฏอยู่ในโลก

อสุรสูตรที่ ๑ จบ

๒. ปฐมสมาธิสูตร
ว่าด้วยสมาธิ สูตรที่ ๑

[๙๒] ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกนี้มีปรากฏอยู่ในโลก
บุคคล ๔ จำพวก๑ไหนบ้าง คือ
๑. บุคคลบางคนในโลกนี้ได้ความสงบแห่งจิตภายใน๒ แต่ไม่ได้ความ
เห็นแจ้งธรรมด้วยปัญญาอันยิ่ง๓
๒. บุคคลบางคนในโลกนี้ได้ความเห็นแจ้งธรรมด้วยปัญญาอันยิ่ง แต่
ไม่ได้ความสงบแห่งจิตภาใน
๓. บุคคลบางคนในโลกนี้ไม่ได้ความสงบแห่งจิตภายในและไม่ได้ความเห็น
แจ้งธรรมด้วยปัญญาอันยิ่ง
๔. บุคคลบางคนในโลกนี้ได้ความสงบแห่งจิตภายในและได้ความเห็นแจ้ง
ธรรมด้วยปัญญาอันยิ่ง
ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกนี้แลมีปรากฏอยู่ในโลก

ปฐมสมาธิสูตรที่ ๒ จบ


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๒.ทุติยปัณณาสก์]
๕.อสุรวรรค ๓.ทุติยสมาธิสูตร

๓. ทุติยสมาธิสูตร
ว่าด้วยสมาธิ สูตรที่ ๒

[๙๓] ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกนี้มีปรากฏอยู่ในโลก
บุคคล ๔ จำพวกไหนบ้าง คือ
๑. บุคคลบางคนในโลกนี้ได้ความสงบแห่งจิตภายใน แต่ไม่ได้ความเห็น
แจ้งธรรมด้วยปัญญาอันยิ่ง
๒. บุคคลบางคนในโลกนี้ได้ความเห็นแจ้งธรรมด้วยปัญญาอันยิ่ง แต่
ไม่ได้ความสงบแห่งจิตภายใน
๓. บุคคลบางคนในโลกนี้ไม่ได้ความสงบแห่งจิตภายในและไม่ได้ความเห็น
แจ้งธรรมด้วยปัญญาอันยิ่ง
๔. บุคคลบางคนในโลกนี้ได้ความสงบแห่งจิตภายในและได้ความเห็นแจ้ง
ธรรมด้วยปัญญาอันยิ่ง
บรรดาบุคคลเหล่านั้น บุคคลผู้ได้ความสงบแห่งจิตภายใน แต่ไม่ได้ความ
เห็นแจ้งธรรมด้วยปัญญาอันยิ่ง ควรตั้งมั่นในความสงบแห่งจิตภายใน แล้วทำ
ความเพียรเพื่อความเห็นแจ้งธรรมด้วยปัญญาอันยิ่ง สมัยต่อมา บุคคลนั้นจึงได้
ความสงบแห่งจิตภายในและได้ความเห็นแจ้งธรรมด้วยปัญญาอันยิ่ง
บุคคลผู้ได้ความเห็นแจ้งธรรมด้วยปัญญาอันยิ่ง แต่ไม่ได้ความสงบแห่งจิตภายใน
ควรตั้งมั่นในความเห็นแจ้งธรรมด้วยปัญญาอันยิ่ง แล้วทำความเพียรเพื่อความสงบ
แห่งจิตภายใน สมัยต่อมา บุคคลนั้นจึงได้ความเห็นแจ้งธรรมด้วยปัญญาอันยิ่ง
และได้ความสงบแห่งจิตภายใน
บุคคลผู้ไม่ได้ความสงบแห่งจิตภายในและไม่ได้ความเห็นแจ้งธรรมด้วยปัญญา
อันยิ่ง ควรทำความพอใจ๑ ความพยายาม๒ ความอุตสาหะ๓ ความขะมัก


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๒.ทุติยปัณณาสก์]
๕.อสุรวรรค ๔.ตติยสมาธิสูตร

เขม้น๑ ความไม่ท้อถอย สติและสัมปชัญญะให้มีประมาณยิ่งเพื่อได้กุศลธรรมเหล่า
นั้นเถิด บุคคลนั้นทำความพอใจ ความพยายาม ความอุตสาหะ ความขะมักเขม้น
ความไม่ท้อถอย สติและสัมปชัญญะให้มีประมาณยิ่งเพื่อได้กุศลธรรมเหล่านั้น
เปรียบเหมือนบุคคลผู้มีผ้าที่ถูกไฟไหม้หรือมีศีรษะที่ถูกไฟไหม้ ทำความพอใจ
ความพยายาม ความอุตสาหะ ความขะมักเขม้น ความไม่ท้อถอยให้มีประมาณยิ่ง
สติและสัมปชัญญะให้มีประมาณยิ่งเพื่อดับไฟที่ไหม้ผ้าหรือไฟที่ไหม้ศีรษะนั้น ๆ
สมัยต่อมา บุคคลนั้นจึงได้ความสงบแห่งจิตภายในและความเห็นแจ้งธรรมด้วย
ปัญญาอันยิ่ง
บุคคลผู้ได้ความสงบแห่งจิตภายในและได้ความเห็นแจ้งธรรมด้วยปัญญาอันยิ่ง
ควรตั้งอยู่ในกุศลธรรมเหล่านั้นแล้วทำความเพียรเพื่อความสิ้นไปแห่งอาสวะให้ยิ่งขึ้นไป
ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกนี้แลมีปรากฏอยู่ในโลก

ทุติยสมาธิสูตรที่ ๓ จบ

๔. ตติยสมาธิสูตร
ว่าด้วยสมาธิ สูตรที่ ๓

[๙๔] ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกนี้มีปรากฏอยู่ในโลก
บุคคล ๔ จำพวกไหนบ้าง คือ
๑. บุคคลบางคนในโลกนี้ได้ความสงบแห่งจิตภายใน แต่ไม่ได้ความเห็น
แจ้งธรรมด้วยปัญญาอันยิ่ง
๒. บุคคลบางคนในโลกนี้ได้ความเห็นแจ้งธรรมด้วยปัญญาอันยิ่ง แต่
ไม่ได้ความสงบแห่งจิตภายใน
๓. บุคคลบางคนในโลกนี้ไม่ได้ความสงบแห่งจิตภายในและไม่ได้ความเห็น
แจ้งธรรมด้วยปัญญาอันยิ่ง


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๒.ทุติยปัณณาสก์]
๕.อสุรวรรค ๔.ตติยสมาธิสูตร

๔. บุคคลบางคนในโลกนี้ได้ความสงบแห่งจิตภายในและได้ความเห็นแจ้ง
ธรรมด้วยปัญญาอันยิ่ง
บรรดาบุคคลเหล่านั้น บุคคลผู้ได้ความสงบแห่งจิตภายใน แต่ไม่ได้ความ
เห็นแจ้งธรรมด้วยปัญญาอันยิ่ง พึงเข้าไปหาบุคคลผู้ได้ความเห็นแจ้งธรรมด้วยปัญญา
อันยิ่ง เรียนถามอย่างนี้ว่า ‘ท่านผู้มีอายุ พึงมองสังขารอย่างไร พิจารณาสังขาร
อย่างไร เห็นแจ้งสังขารอย่างไร’ บุคคลผู้ถูกถามนั้น ย่อมตอบเขาตามที่เห็นตาม
ที่รู้ว่า ‘ท่านผู้มีอายุ พึงมองสังขารอย่างนี้ พิจารณาสังขารอย่างนี้ เห็นแจ้งสังขาร
อย่างนี้’ สมัยต่อมา บุคคลนั้นจึงได้ความสงบแห่งจิตภายในและได้ความเห็นแจ้ง
ธรรมด้วยปัญญาอันยิ่ง
บุคคลผู้ได้ความเห็นแจ้งธรรมด้วยปัญญาอันยิ่ง แต่ไม่ได้ความสงบแห่งจิตภายใน
พึงเข้าไปหาบุคคลผู้ได้ความสงบแห่งจิตภายใน เรียนถามอย่างนี้ว่า ‘ท่านผู้มีอายุ
พึงตั้งจิตไว้อย่างไร น้อมจิตไปอย่างไร ทำจิตให้มีอารมณ์เป็นหนึ่งผุดขึ้นอย่างไร
ชักจูงจิตให้เป็นสมาธิได้อย่างไร’ บุคคลผู้ถูกถามนั้น ย่อมตอบเขาตามที่เห็นตามที่
รู้ว่า ‘ท่านผู้มีอายุ พึงตั้งจิตไว้อย่างนี้ น้อมจิตไปอย่างนี้ ทำจิตให้มีอารมณ์เป็น
หนึ่งผุดขึ้นอย่างนี้ ชักจูงจิตให้เป็นสมาธิอย่างนี้’ สมัยต่อมา บุคคลนั้นจึงได้ความ
เห็นแจ้งธรรมด้วยปัญญาอันยิ่งและได้ความสงบแห่งจิตภายใน
บุคคลผู้ไม่ได้ความสงบแห่งจิตภายในและไม่ได้ความเห็นแจ้งธรรมด้วยปัญญา
อันยิ่ง พึงเข้าไปหาบุคคลผู้ได้ความสงบแห่งจิตภายในและได้ความเห็นแจ้งธรรม
ด้วยปัญญาอันยิ่ง เรียนถามอย่างนี้ว่า ‘ท่านผู้มีอายุ พึงตั้งจิตไว้อย่างไร น้อมจิต
ไปอย่างไร ทำจิตให้มีอารมณ์เป็นหนึ่งผุดขึ้นอย่างไร ชักจูงจิตให้เป็นสมาธิได้อย่างไร
พึงมองสังขารอย่างไร พิจารณาสังขารอย่างไร เห็นแจ้งสังขารอย่างไร’ บุคคลผู้
ถูกถามนั้น ย่อมตอบเขาตามที่เห็นตามที่รู้ว่า ‘ท่านผู้มีอายุ พึงตั้งจิตไว้อย่างนี้
น้อมจิตไปอย่างนี้ ทำจิตให้มีอารมณ์เป็นหนึ่งผุดขึ้นอย่างนี้ ชักจูงจิตให้เป็นสมาธิ
อย่างนี้ พึงมองสังขารอย่างนี้ พิจารณาสังขารอย่างนี้ เห็นแจ้งสังขารอย่างนี้’
สมัยต่อมา บุคคลนั้นจึงได้ความสงบแห่งจิตภายในและได้ความเห็นแจ้งธรรมด้วย
ปัญญาอันยิ่ง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๑ หน้า :๑๔๓ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๒.ทุติยปัณณาสก์]
๕.อสุรวรรค ๕. ฉวาลาตสูตร

บุคคลผู้ได้ความสงบแห่งจิตภายในและได้ความเห็นแจ้งธรรมด้วยปัญญาอันยิ่ง
ควรตั้งอยู่ในกุศลธรรมเหล่านั้นแล้วทำความเพียรเพื่อความสิ้นไปแห่งอาสวะให้ยิ่งขึ้นไป
ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกนี้แลมีปรากฏอยู่ในโลก

ตติยสมาธิสูตรที่ ๔ จบ

๕. ฉวาลาตสูตร
ว่าด้วยบุคคลเปรียบเหมือนท่อนไม้ที่ถูกทิ้งไว้ในป่าช้า

[๙๕] ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกนี้มีปรากฏอยู่ในโลก
บุคคล ๔ จำพวกไหนบ้าง คือ
๑. บุคคลผู้ไม่ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตนเองและไม่ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลผู้อื่น
๒. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลผู้อื่น แต่ไม่ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตนเอง
๓. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตนเอง แต่ไม่ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลผู้อื่น
๔. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตนเองและปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลผู้อื่น
บุคคลผู้ไม่ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตนเองและไม่ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลผู้อื่น เราเรียกว่า
เป็นเหมือนท่อนไม้ที่ถูกทิ้งไว้ในป่าช้า ไฟไหม้ทั้งสองข้าง ตรงกลางเปื้อนคูถ ย่อม
ไม่อำนวยประโยชน์เป็นเครื่องเรือน๑ ทั้งไม่อำนวยประโยชน์เป็นอุปกรณ์ในป่า๒
ในบุคคล ๒ จำพวกแรกของบุคคล ๔ จำพวกเหล่านั้นข้างต้นนี้ บุคคลผู้
ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลผู้อื่น แต่ไม่ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตนเองงามกว่าและประณีตกว่า
ในบุคคล ๓ จำพวกแรก บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตนเอง แต่ไม่ปฏิบัติ
เพื่อเกื้อกูลผู้อื่นงามกว่าและประณีตกว่า
ในบุคคล ๔ จำพวก บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตนเองและปฏิบัติเพื่อเกื้อกูล
ผู้อื่น เป็นเลิศ ประเสริฐที่สุด เป็นประธาน สูงสุด ยิ่งใหญ่ที่สุด


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๒.ทุติยปัณณาสก์]
๕.อสุรวรรค ๖. ราควินยสูตร

เปรียบเหมือนนมสดจากแม่โค นมส้มจากนมสด เนยข้นจากนมส้ม เนยใส
จากเนยข้น ยอดเนยใสจากเนยใส๑ ยอดเนยใส ชาวโลกถือว่าเป็นเลิศในบรรดา
นมสดเป็นต้นนั้น ฉันใด
บรรดาบุคคล ๔ จำพวกนี้ บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตนเองและปฏิบัติเพื่อ
เกื้อกูลผู้อื่นเป็นเลิศ ประเสริฐสุด เป็นประธาน สูงสุด ยิ่งใหญ่ที่สุด ฉันนั้น
ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกนี้แลมีปรากฏอยู่ในโลก

ฉวาลาตสูตรที่ ๕ จบ

๖. ราควินยสูตร
ว่าด้วยบุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อกำจัดราคะ

[๙๖] ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกนี้แลมีปรากฏอยู่ในโลก
บุคคล ๔ จำพวกไหนบ้าง คือ
๑. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตนเอง แต่ไม่ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลผู้อื่น
๒. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลผู้อื่น แต่ไม่ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตนเอง
๓. บุคคลผู้ไม่ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตนเองและไม่ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลผู้อื่น
๔. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตนเองและปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลผู้อื่น
บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตนเอง แต่ไม่ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลผู้อื่น เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ตนเองเป็นผู้ปฏิบัติเพื่อกำจัดราคะ แต่ไม่ชักชวน
ผู้อื่นเพื่อกำจัดราคะ ตนเองเป็นผู้ปฏิบัติเพื่อกำจัดโทสะ แต่ไม่ชักชวนผู้อื่นเพื่อกำจัด
โทสะ ตนเองเป็นผู้ปฏิบัติเพื่อกำจัดโมหะ แต่ไม่ชักชวนผู้อื่นเพื่อกำจัดโมหะ
บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตนเอง แต่ไม่ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลผู้อื่น เป็นอย่างนี้แล
บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลผู้อื่น แต่ไม่ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตนเอง เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ตนเองเป็นผู้ไม่ปฏิบัติเพื่อกำจัดราคะ แต่ชักชวนผู้
อื่นเพื่อกำจัดราคะ ตนเองเป็นผู้ไม่ปฏิบัติเพื่อกำจัดโทสะ แต่ชักชวนผู้อื่นเพื่อกำจัด


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๒.ทุติยปัณณาสก์]
๕.อสุรวรรค ๗.ขิปปนิสันติสูตร

โทสะ ตนเองเป็นผู้ไม่ปฏิบัติเพื่อกำจัดโมหะ แต่ชักชวนผู้อื่นเพื่อกำจัดโมหะ
บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลผู้อื่น แต่ไม่ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตนเอง เป็นอย่างนี้แล
บุคคลผู้ไม่ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตนเองและไม่ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลผู้อื่น เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ตนเองเป็นผู้ไม่ปฏิบัติเพื่อกำจัดราคะและไม่ชักชวน
ผู้อื่นเพื่อกำจัดราคะ ตนเองเป็นผู้ไม่ปฏิบัติเพื่อกำจัดโทสะและไม่ชักชวนผู้อื่นเพื่อ
กำจัดโทสะ ตนเองเป็นผู้ไม่ปฏิบัติเพื่อกำจัดโมหะและไม่ชักชวนผู้อื่นเพื่อกำจัดโมหะ
บุคคลผู้ไม่ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตนเองและไม่ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลผู้อื่น เป็นอย่างนี้แล
บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตนเองและปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลผู้อื่น เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ตนเองเป็นผู้ปฏิบัติเพื่อกำจัดราคะและชักชวนผู้อื่น
เพื่อกำจัดราคะ ตนเองเป็นผู้ปฏิบัติเพื่อกำจัดโทสะและชักชวนผู้อื่นเพื่อกำจัดโทสะ
ตนเองเป็นผู้ปฏิบัติเพื่อกำจัดโมหะและชักชวนผู้อื่นเพื่อกำจัดโมหะ บุคคลผู้ปฏิบัติ
เพื่อเกื้อกูลตนเองและปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลผู้อื่น เป็นอย่างนี้แล
ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกนี้แลมีปรากฏอยู่ในโลก

ราควินยสูตรที่ ๖ จบ

๗. ขิปปนิสันติสูตร
ว่าด้วยบุคคลผู้รู้ได้เร็ว

[๙๗] ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกนี้มีปรากฏอยู่ในโลก
บุคคล ๔ จำพวก๑ไหนบ้าง คือ
๑. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตนเอง แต่ไม่ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลผู้อื่น
๒. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลผู้อื่น แต่ไม่ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตนเอง
๓. บุคคลผู้ไม่ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตนเองและไม่ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลผู้อื่น
๔. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตนเองและปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลผู้อื่น


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๒.ทุติยปัณณาสก์]
๕.อสุรวรรค ๗.ขิปปนิสันติสูตร

บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตนเอง แต่ไม่ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลผู้อื่น เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้สามารถรู้ได้เร็วในกุศลธรรมทั้งหลาย ทรงจำธรรม
ที่ฟังแล้วจำไว้ พิจารณาเนื้อความแห่งธรรมที่ทรงจำไว้ รู้อรรถรู้ธรรมแล้วปฏิบัติ
ธรรมสมควรแก่ธรรม๑ แต่หามีวาจางาม เจรจาถ้อยคำไพเราะ อันประกอบด้วย
วาจาชาวเมืองที่สละสลวย ไม่หยาบคาย ให้รู้ความหมายได้ไม่ ทั้งไม่ชี้แจงให้
เพื่อนพรหมจารีเห็นชัด ชวนใจให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า
ปลอบชโลมใจ ให้สดชื่นร่าเริง บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตนเอง แต่ไม่ปฏิบัติเพื่อ
เกื้อกูลผู้อื่น เป็นอย่างนี้แล
บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลผู้อื่น แต่ไม่ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตนเอง เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ไม่สามารถรู้ได้เร็วในกุศลธรรมทั้งหลาย ไม่ทรงจำ
ธรรมที่ฟังแล้วไว้ ไม่พิจารณาเนื้อความแห่งธรรมที่ทรงจำไว้ หารู้อรรถรู้ธรรมแล้ว
ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรมไม่ แต่มีวาจางาม เจรจาถ้อยคำอ่อนหวาน อัน
ประกอบด้วยวาจาชาวเมืองที่สละสลวย ไม่หยาบคาย ให้รู้ความหมายได้ ทั้ง
ชี้แจงให้เพื่อนพรหมจารีเห็นชัด ชวนใจให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญ
แกล้วกล้า ปลอบชโลมใจ ให้สดชื่นร่าเริง บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลผู้อื่น แต่ไม่
ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตนเอง เป็นอย่างนี้แล
บุคคลผู้ไม่ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตนเองและไม่ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลผู้อื่น เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ไม่สามารถรู้ได้เร็วในกุศลธรรมทั้งหลาย ไม่ทรงจำ
ธรรมที่ฟังแล้วไว้ ไม่พิจารณาเนื้อความแห่งธรรมที่ทรงจำไว้ หารู้อรรถรู้ธรรมแล้ว
ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรมไม่ และหามีวาจางาม เจรจาถ้อยคำไพเราะ อัน
ประกอบด้วยวาจาชาวเมืองที่สละสลวย ไม่หยาบคาย ให้รู้ความหมายได้ไม่ ทั้ง
ไม่ชี้แจงให้เพื่อนพรหมจารีเห็นชัด ชวนใจให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้
อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริง บุคคลผู้ไม่ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตน
เองและไม่ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลผู้อื่น เป็นอย่างนี้แล


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๒.ทุติยปัณณาสก์]
๕.อสุรวรรค ๙.สิกขาปทสูตร

บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตนเองและปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลผู้อื่น เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้สามารถรู้ได้เร็วในกุศลธรรมทั้งหลาย ทรงจำธรรม
ที่ฟังแล้วไว้ พิจารณาเนื้อความแห่งธรรมที่ทรงจำไว้ รู้อรรถรู้ธรรมแล้วปฏิบัติ
ธรรมสมควรแก่ธรรม และมีวาจางาม เจรจาถ้อยคำไพเราะ อันประกอบด้วย
วาจาชาวเมืองที่สละสลวย ไม่หยาบคาย ให้รู้ความหมายได้ ทั้งชี้แจงให้เพื่อน
พรหมจารีเห็นชัด ชวนใจให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า
ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริง บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตนเองและปฏิบัติเพื่อเกื้อกูล
ผู้อื่น เป็นอย่างนี้แล
ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกนี้แลมีปรากฏอยู่ในโลก

ขิปปนิสันติสูตรที่ ๗ จบ

๘. อัตตหิตสูตร
ว่าด้วยบุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตนเอง

[๙๘] ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกนี้มีปรากฏอยู่ในโลก
บุคคล ๔ จำพวกไหนบ้าง คือ
๑. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตนเอง แต่ไม่ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลผู้อื่น
๒. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลผู้อื่น แต่ไม่ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตนเอง
๓. บุคคลผู้ไม่ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตนเองและไม่ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลผู้อื่น
๔. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตนเองและปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลผู้อื่น
ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกนี้แลมีปรากฏอยู่ในโลก

อัตตหิตสูตรที่ ๘ จบ

๙. สิกขาปทสูตร
ว่าด้วยสิกขาบทเป็นเหตุให้เกื้อกูลและไม่เกื้อกูล

[๙๙] ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกนี้มีปรากฏอยู่ในโลก
บุคคล ๔ จำพวกไหนบ้าง คือ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๑ หน้า :๑๔๘ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๒.ทุติยปัณณาสก์]
๕.อสุรวรรค ๙.สิกขาปทสูตร

๑. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตนเอง แต่ไม่ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลผู้อื่น
๒. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลผู้อื่น แต่ไม่ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตนเอง
๓. บุคคลผู้ไม่ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตนเองและไม่ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลผู้อื่น
๔. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตนเองและปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลผู้อื่น
บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตนเอง แต่ไม่ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลผู้อื่น เป็นอย่างไร
คือ บุคคลในโลกนี้ตนเองเป็นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ แต่ไม่ชักชวนผู้อื่นให้
งดเว้นจากการฆ่าสัตว์ ตนเองเป็นผู้เว้นขาดจากการลักทรัพย์ แต่ไม่ชักชวนผู้อื่นให้
งดเว้นจากการลักทรัพย์ ตนเองเป็นผู้เว้นขาดจากการประพฤติผิดในกาม แต่ไม่
ชักชวนผู้อื่นให้งดเว้นจากการประพฤติผิดในกาม ตนเองเป็นผู้เว้นขาดจากการ
พูดเท็จ แต่ไม่ชักชวนผู้อื่นให้งดเว้นจากการพูดเท็จ ตนเองเป็นผู้เว้นขาดจากการ
เสพของมึนเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นเหตุแห่งความประมาท แต่ไม่ชักชวนผู้อื่นให้
งดเว้นจากการเสพของมึนเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นเหตุแห่งความประมาท บุคคล
ผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตนเอง แต่ไม่ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลผู้อื่น เป็นอย่างนี้แล
บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลผู้อื่น แต่ไม่ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตนเอง เป็นอย่างไร
คือ บุคคลในโลกนี้ตนเองเป็นผู้ไม่เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ แต่ชักชวนผู้อื่นให้
งดเว้นจากการฆ่าสัตว์ ฯลฯ ตนเองเป็นผู้ไม่เว้นขาดจากการเสพของมึนเมาคือสุรา
และเมรัยอันเป็นเหตุแห่งความประมาท แต่ชักชวนผู้อื่นให้งดเว้นจากการเสพของ
มึนเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นเหตุแห่งความประมาท บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูล
ผู้อื่น แต่ไม่ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตนเอง เป็นอย่างนี้แล
บุคคลผู้ไม่ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตนเองและไม่ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลผู้อื่น เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ตนเองเป็นผู้ไม่เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์และไม่ชักชวน
ผู้อื่นให้งดเว้นจากการฆ่าสัตว์ ฯลฯ ตนเองเป็นผู้ไม่เว้นขาดจากการเสพของมึนเมา
คือสุราและเมรัยอันเป็นเหตุแห่งความประมาทและไม่ชักชวนผู้อื่นให้งดเว้นจากการ
เสพของมึนเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นเหตุแห่งความประมาท บุคคลผู้ไม่ปฏิบัติ
เพื่อเกื้อกูลตนเองและไม่ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลผู้อื่น เป็นอย่างนี้แล

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๑ หน้า :๑๔๙ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๒.ทุติยปัณณาสก์]
๕.อสุรวรรค ๑๐.โปตลิยสูตร

บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตนเองและปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลผู้อื่น เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ตนเองเป็นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์และชักชวนผู้
อื่นให้งดเว้นจากการฆ่าสัตว์ ตนเองเป็นผู้เว้นขาดจากการลักทรัพย์และชักชวนผู้อื่น
ให้งดเว้นจากการลักทรัพย์ ตนเองเป็นผู้เว้นขาดจากการประพฤติผิดในกามและ
ชักชวนผู้อื่นให้งดเว้นจากการประพฤติผิดในกาม ตนเองเป็นผู้เว้นขาดจากการ
พูดเท็จและชักชวนผู้อื่นให้งดเว้นจากการพูดเท็จ ตนเองเป็นผู้เว้นขาดจากการเสพ
ของมึนเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นเหตุแห่งความประมาทและชักชวนผู้อื่นให้งดเว้น
จากการเสพของมึนเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นเหตุแห่งความประมาท บุคคลผู้
ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตนเองและปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลผู้อื่น เป็นอย่างนี้แล
ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกนี้แลมีปรากฏอยู่ในโลก

สิกขาปทสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. โปตลิยสูตร
ว่าด้วยปริพาชกชื่อโปตลิยะ

[๑๐๐] สมัยนั้นแล ปริพาชกชื่อโปตลิยะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
ได้สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้ว จึงนั่ง ณ ที่สมควร
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสเรื่องนี้กับโปตลิยปริพาชกดังนี้ว่า
“โปตลิยะ บุคคล ๔ จำพวกนี้มีปรากฏอยู่ในโลก
บุคคล ๔ จำพวก๑ไหนบ้าง คือ
๑. บุคคลบางคนในโลกนี้กล่าวติเตียนผู้ควรติเตียนตามความเป็นจริง
เหมาะแก่กาล แต่ไม่กล่าวสรรเสริญผู้ควรสรรเสริญตามความเป็นจริง
เหมาะแก่กาล
๒. บุคคลบางคนในโลกนี้กล่าวสรรเสริญผู้ควรสรรเสริญตามความเป็นจริง
เหมาะแก่กาล แต่ไม่กล่าวติเตียนผู้ควรติเตียนตามความเป็นจริง
เหมาะแก่กาล


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๒.ทุติยปัณณาสก์]
๕.อสุรวรรค ๑๐.โปตลิยสูตร

๓. บุคคลบางคนในโลกนี้ไม่กล่าวติเตียนผู้ควรติเตียนตามความเป็นจริง
เหมาะแก่กาลและไม่กล่าวสรรเสริญผู้ควรสรรเสริญตามความเป็นจริง
เหมาะแก่กาล
๔. บุคคลบางคนในโลกนี้กล่าวติเตียนผู้ควรติเตียนตามความเป็นจริง
เหมาะแก่กาลและกล่าวสรรเสริญผู้ควรสรรเสริญตามความเป็นจริง
เหมาะแก่กาล
โปตลิยะ บุคคล ๔ จำพวกนี้แลมีปรากฏอยู่ในโลก
โปตลิยะ บรรดาบุคคล ๔ จำพวกนี้ ท่านชอบใจบุคคลจำพวกไหนว่างามกว่า
และประณีตกว่า”
โปตลิยปริพาชกกราบทูลว่า “ข้าแต่ท่านพระโคดม บุคคล ๔ จำพวกนี้มี
ปรากฏอยู่ในโลก
บุคคล ๔ จำพวก๑ไหนบ้าง คือ
๑. บุคคลบางคนในโลกนี้กล่าวติเตียนผู้ควรติเตียนตามความเป็นจริง
เหมาะแก่กาล แต่ไม่กล่าวสรรเสริญผู้ควรสรรเสริญตามความเป็นจริง
เหมาะแก่กาล
๒. บุคคลบางคนในโลกนี้กล่าวสรรเสริญผู้ควรสรรเสริญตามความเป็นจริง
เหมาะแก่กาล แต่ไม่กล่าวติเตียนผู้ควรติเตียนตามความเป็นจริง
เหมาะแก่กาล
๓. บุคคลบางคนในโลกนี้ไม่กล่าวติเตียนผู้ควรติเตียนตามความเป็นจริง
เหมาะแก่กาลและไม่กล่าวสรรเสริญผู้ควรสรรเสริญตามความเป็นจริง
เหมาะแก่กาล
๔. บุคคลบางคนในโลกนี้กล่าวติเตียนผู้ควรติเตียนตามความเป็นจริง
เหมาะแก่กาลและกล่าวสรรเสริญผู้ควรสรรเสริญตามความเป็นจริง
เหมาะแก่กาล
ข้าแต่ท่านพระโคดม บุคคล ๔ จำพวกนี้แลมีปรากฏอยู่ในโลก


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๒.ทุติยปัณณาสก์]
๕.อสุรวรรค ๑๐.โปตลิยสูตร

บรรดาบุคคล ๔ จำพวกนี้ ข้าพระองค์ชอบใจบุคคลผู้ไม่กล่าวติเตียนผู้ควร
ติเตียนตามความเป็นจริง เหมาะแก่กาล ไม่กล่าวสรรเสริญผู้ควรสรรเสริญตาม
ความเป็นจริง เหมาะแก่กาลนี้ เป็นผู้งามกว่าและประณีตกว่า ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะอุเบกขานี้เป็นธรรมที่งดงามยิ่งนัก”
พระผู้มีพระภาคตรัสต่อไปว่า “โปตลิยะ บุคคล ๔ จำพวกนี้มีปรากฏอยู่ในโลก
บุคคล ๔ จำพวกไหนบ้าง ฯลฯ บุคคล ๔ จำพวกนี้แลมีปรากฏอยู่ในโลก
บรรดาบุคคล ๔ จำพวกนี้ บุคคลผู้กล่าวติเตียนผู้ควรติเตียนตามความเป็นจริง
เหมาะแก่กาลและกล่าวสรรเสริญผู้ควรสรรเสริญตามความเป็นจริง เหมาะแก่กาลนี้
เป็นผู้งามกว่าและประณีตกว่า ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะธรรมคือความเป็นผู้รู้จัก
กาลนี้งดงามยิ่งนัก”
โปตลิยปริพาชกกราบทูลว่า “ข้าแต่ท่านพระโคดม บุคคล ๔ จำพวกนี้มี
ปรากฏอยู่ในโลก
บุคคล ๔ จำพวก๑ไหนบ้าง คือ
๑. บุคคลบางคนในโลกนี้กล่าวติเตียนผู้ควรติเตียนตามความเป็นจริง
เหมาะแก่กาล แต่ไม่กล่าวสรรเสริญผู้ควรสรรเสริญตามความเป็น
จริง เหมาะแก่กาล
๒. บุคคลบางคนในโลกนี้กล่าวสรรเสริญผู้ควรสรรเสริญตามความเป็นจริง
เหมาะแก่กาล แต่ไม่กล่าวติเตียนผู้ควรติเตียนตามความเป็นจริง
เหมาะแก่กาล
๓. บุคคลบางคนในโลกนี้ไม่กล่าวติเตียนผู้ควรติเตียนตามความเป็นจริง
เหมาะแก่กาลและไม่กล่าวสรรเสริญผู้ควรสรรเสริญตามความเป็นจริง
เหมาะแก่กาล
๔. บุคคลบางคนในโลกนี้กล่าวติเตียนผู้ควรติเตียนตามความเป็นจริง
เหมาะแก่กาลและกล่าวสรรเสริญผู้ควรสรรเสริญตามความเป็นจริง
เหมาะแก่กาล
ข้าแต่ท่านพระโคดม บุคคล ๔ จำพวกนี้แลมีปรากฏอยู่ในโลก


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๒.ทุติยปัณณาสก์]
๕.อสุรวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

ข้าแต่ท่านพระโคดม บรรดาบุคคล ๔ จำพวกนี้ ข้าพระองค์ชอบใจบุคคล
ผู้กล่าวติเตียนผู้ควรติเตียนตามความเป็นจริง เหมาะแก่กาล และกล่าวสรรเสริญ
ผู้ควรสรรเสริญตามความเป็นจริง เหมาะแก่กาลนี้ เป็นผู้งามกว่าและประณีตกว่า
ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะธรรมคือความเป็นผู้รู้จักกาลนี้งดงามยิ่งนัก
ข้าแต่ท่านพระโคดม พระภาษิตของท่านพระโคดมชัดเจนไพเราะยิ่งนัก ข้าแต่
ท่านพระโคดม พระภาษิตของท่านพระโคดมชัดเจนไพเราะยิ่งนัก ท่านพระโคดม
ทรงประกาศธรรมแจ่มแจ้งโดยประการต่าง ๆ เปรียบเหมือนบุคคลหงายของที่คว่ำ
เปิดของที่ปิด บอกทางแก่ผู้หลงทาง หรือตามประทีปไว้ในที่มืดโดยตั้งใจว่า ‘คนมี
ตาดีจักเห็นรูปได้’ ข้าพระองค์นี้ขอถึงท่านพระโคดมพร้อมทั้งพระธรรมและพระสงฆ์
เป็นสรณะ ขอท่านพระโคดมจงทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะ ตั้งแต่
วันนี้เป็นต้นไปจนตลอดชีวิต”

โปตลิยสูตรที่ ๑๐ จบ
อสุรวรรคที่ ๕ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. อสุรสูตร ๒. ปฐมสมาธิสูตร
๓. ทุติยสมาธิสูตร ๔. ตติยสมาธิสูตร
๕. ฉวาลาตสูตร ๖. ราควินยสูตร
๗. ขิปปนิสันติสูตร ๘. อัตตหิตสูตร
๙. สิกขาปทสูตร ๑๐. โปตลิยสูตร

ทุติยปัณณาสก์ จบ


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๓.ตติยปัณณาสก์]
๑.วลาหกวรรค ๑. ปฐมวลาหกสูตร

๓. ตติยปัณณาสก์
๑. วลาหกวรรค
หมวดว่าด้วยบุคคลเปรียบเหมือนเมฆ
๑. ปฐมวลาหกสูตร
ว่าด้วยบุคคลเปรียบเหมือนเมฆ สูตรที่ ๑

[๑๐๑] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของ
อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียก
ภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว
พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า
ภิกษุทั้งหลาย เมฆ ๔ ชนิดนี้
เมฆ ๔ ชนิด๑ อะไรบ้าง คือ
๑. เมฆที่คำราม แต่ไม่ให้ฝนตก
๒. เมฆที่ให้ฝนตก แต่ไม่คำราม
๓. เมฆที่ไม่คำรามและไม่ให้ฝนตก
๔. เมฆที่คำรามและให้ฝนตก
ภิกษุทั้งหลาย เมฆ ๔ ชนิดนี้แล
ภิกษุทั้งหลาย ในทำนองเดียวกัน บุคคลเปรียบเหมือนเมฆ ๔ จำพวกนี้
มีปรากฏอยู่ในโลก
บุคคล ๔ จำพวก๑ไหนบ้าง คือ
๑. บุคคลเปรียบเหมือนเมฆที่คำราม แต่ไม่ให้ฝนตก
๒. บุคคลเปรียบเหมือนเมฆที่ให้ฝนตก แต่ไม่คำราม
๓. บุคคลเปรียบเหมือนเมฆที่ไม่คำรามและไม่ให้ฝนตก
๔. บุคคลเปรียบเหมือนเมฆที่คำรามและให้ฝนตก


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๓.ตติยปัณณาสก์]
๑.วลาหกวรรค ๒. ทุติยวลาหกสูตร

บุคคลเปรียบเหมือนเมฆที่คำราม แต่ไม่ให้ฝนตก เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ชอบพูด แต่ไม่ทำ บุคคลเปรียบเหมือนเมฆที่คำราม
แต่ไม่ให้ฝนตก เป็นอย่างนี้แล เรากล่าวเปรียบบุคคลประเภทนี้ว่าเหมือนเมฆที่
คำราม แต่ไม่ให้ฝนตก
บุคคลเปรียบเหมือนเมฆที่ให้ฝนตก แต่ไม่คำราม เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ชอบทำ แต่ไม่พูด บุคคลเปรียบเหมือนเมฆที่ให้
ฝนตก แต่ไม่คำราม เป็นอย่างนี้แล เรากล่าวเปรียบบุคคลประเภทนี้ว่าเหมือน
เมฆที่ให้ฝนตก แต่ไม่คำราม
บุคคลเปรียบเหมือนเมฆที่ไม่คำรามและไม่ให้ฝนตก เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ไม่พูดและไม่ทำ บุคคลเปรียบเหมือนเมฆที่ไม่คำราม
และไม่ให้ฝนตก เป็นอย่างนี้แล เรากล่าวเปรียบบุคคลประเภทนี้ว่าเหมือนเมฆที่ไม่
คำรามและไม่ให้ฝนตก
บุคคลเปรียบเหมือนเมฆที่คำรามและให้ฝนตก เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ชอบพูดและชอบทำ บุคคลเปรียบเหมือนเมฆที่
คำรามและให้ฝนตก เป็นอย่างนี้แล เรากล่าวเปรียบบุคคลประเภทนี้ว่าเหมือนเมฆ
ที่คำรามและให้ฝนตก
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลเปรียบเหมือนเมฆ ๔ จำพวกนี้แลมีปรากฏอยู่ในโลก

ปฐมวลาหกสูตรที่ ๑ จบ

๒. ทุติยวลาหกสูตร
ว่าด้วยบุคคลเปรียบเหมือนเมฆ สูตรที่ ๒

[๑๐๒] ภิกษุทั้งหลาย เมฆ ๔ ชนิดนี้
เมฆ ๔ ชนิด อะไรบ้าง คือ
๑. เมฆที่คำราม แต่ไม่ให้ฝนตก ๒. เมฆที่ให้ฝนตก แต่ไม่คำราม
๓. เมฆที่ไม่คำรามและไม่ให้ฝนตก ๔. เมฆที่คำรามและให้ฝนตก
ภิกษุทั้งหลาย เมฆ ๔ ชนิดนี้แล

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๑ หน้า :๑๕๕ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๓.ตติยปัณณาสก์]
๑.วลาหกวรรค ๒. ทุติยวลาหกสูตร

ภิกษุทั้งหลาย ในทำนองเดียวกัน บุคคลเปรียบเหมือนเมฆ ๔ จำพวกนี้
มีปรากฏอยู่ในโลก
บุคคล ๔ จำพวกไหนบ้าง คือ
๑. บุคคลเปรียบเหมือนเมฆที่คำราม แต่ไม่ให้ฝนตก
๒. บุคคลเปรียบเหมือนเมฆที่ให้ฝนตก แต่ไม่คำราม
๓. บุคคลเปรียบเหมือนเมฆที่ไม่คำรามและไม่ให้ฝนตก
๔. บุคคลเปรียบเหมือนเมฆที่คำรามและให้ฝนตก
บุคคลเปรียบเหมือนเมฆที่คำราม แต่ไม่ให้ฝนตก เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้เรียนธรรม คือ สุตตะ เคยยะ เวยยากรณะ คาถา
อุทาน อิติวุตตกะ ชาตกะ อัพภูตธรรม เวทัลละ แต่เขาไม่รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า
‘นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย (เหตุเกิดทุกข์) นี้ทุกขนิโรธ (ความดับทุกข์) นี้ทุกขนิโรธคามินี-
ปฏิปทา (ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์)’ บุคคลเปรียบเหมือนเมฆที่คำราม แต่ไม่ให้
ฝนตก เป็นอย่างนี้แล เรากล่าวเปรียบบุคคลประเภทนี้ว่าเหมือนเมฆที่คำราม แต่
ไม่ให้ฝนตก
บุคคลเปรียบเหมือนเมฆที่ให้ฝนตก แต่ไม่คำราม เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ไม่เรียนธรรม คือ สุตตะ เคยยะ เวยยากรณะ คาถา
อุทาน อิติวุตตกะ ชาตกะ อัพภูตธรรม เวทัลละ แต่เขารู้ชัดตามความเป็นจริงว่า
‘นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา’ บุคคลเปรียบ
เหมือนเมฆที่ให้ฝนตก แต่ไม่คำราม เป็นอย่างนี้แล เรากล่าวเปรียบบุคคล
ประเภทนี้ว่าเหมือนเมฆที่ให้ฝนตก แต่ไม่คำราม
บุคคลเปรียบเหมือนเมฆที่ไม่คำรามและไม่ให้ฝนตก เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ไม่เรียนธรรม คือ สุตตะ เคยยะ เวยยากรณะ
คาถา อุทาน อิติวุตตกะ ชาตกะ อัพภูตธรรม เวทัลละ และเขาไม่รู้ชัดตาม
ความเป็นจริงว่า ‘นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา’
บุคคลเปรียบเหมือนเมฆที่ไม่คำรามและไม่ให้ฝนตก เป็นอย่างนี้แล เรากล่าว
เปรียบบุคคลประเภทนี้ว่าเหมือนเมฆที่ไม่คำรามและไม่ให้ฝนตก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๑ หน้า :๑๕๖ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๓.ตติยปัณณาสก์]
๑.วลาหกวรรค ๓. กุมภสูตร

บุคคลเปรียบเหมือนเมฆที่คำรามและให้ฝนตก เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้เรียนธรรม คือ สุตตะ เคยยะ เวยยากรณะ คาถา
อุทาน อิติวุตตกะ ชาตกะ อัพภูตธรรม เวทัลละ และเขารู้ชัดตามความเป็นจริงว่า
‘นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา’ บุคคลเปรียบ
เหมือนเมฆที่คำรามและให้ฝนตก เป็นอย่างนี้แล เรากล่าวเปรียบบุคคลประเภทนี้
ว่าเหมือนเมฆที่คำรามและให้ฝนตก
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลเปรียบเหมือนเมฆ ๔ จำพวกนี้แลมีปรากฏอยู่ในโลก

ทุติยวลาหกสูตรที่ ๒ จบ

๓. กุมภสูตร
ว่าด้วยบุคคลเปรียบเหมือนหม้อ

[๑๐๓] ภิกษุทั้งหลาย หม้อ ๔ ชนิดนี้
หม้อ ๔ ชนิด๑ อะไรบ้าง คือ
๑. หม้อเปล่าแต่ปิดฝา ๒. หม้อเต็มแต่เปิดฝา
๓. หม้อเปล่าและเปิดฝา ๔. หม้อเต็มและปิดฝา
ภิกษุทั้งหลาย หม้อ ๔ ชนิดนี้แล
ภิกษุทั้งหลาย ในทำนองเดียวกัน บุคคลเปรียบเหมือนหม้อ ๔ จำพวกนี้
มีปรากฏอยู่ในโลก
บุคคล ๔ จำพวก๑ไหนบ้าง คือ
๑. บุคคลเปรียบเหมือนหม้อเปล่าแต่ปิดฝา
๒. บุคคลเปรียบเหมือนหม้อเต็มแต่เปิดฝา
๓. บุคคลเปรียบเหมือนหม้อเปล่าและเปิดฝา
๔. บุคคลเปรียบเหมือนหม้อเต็มและปิดฝา


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๓.ตติยปัณณาสก์]
๑.วลาหกวรรค ๓. กุมภสูตร

บุคคลเปรียบเหมือนหม้อเปล่าแต่ปิดฝา เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้มีการก้าวไป การถอยกลับ การแลดู การเหลียวดู
การคู้เข้า การเหยียดออก การครองสังฆาฏิ บาตร และจีวรที่น่าเลื่อมใส แต่เขา
ไม่รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า ‘นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินี-
ปฏิปทา’ บุคคลเปรียบเหมือนหม้อเปล่าแต่ปิดฝา เป็นอย่างนี้แล เรากล่าวเปรียบ
บุคคลประเภทนี้ว่าเหมือนหม้อเปล่าแต่ปิดฝา
บุคคลเปรียบเหมือนหม้อเต็มแต่เปิดฝา เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้มีการก้าวไป การถอยกลับ การแลดู การเหลียวดู
การคู้เข้า การเหยียดออก การครองสังฆาฏิ บาตร และจีวรที่ไม่น่าเลื่อมใส แต่เขา
รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า ‘นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินี-
ปฏิปทา’ บุคคลเปรียบเหมือนหม้อเต็มแต่เปิดฝา เป็นอย่างนี้แล เรากล่าวเปรียบ
บุคคลประเภทนี้ว่าเหมือนหม้อเต็มแต่เปิดฝา
บุคคลเปรียบเหมือนหม้อเปล่าและเปิดฝา เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้มีการก้าวไป การถอยกลับ การแลดู การเหลียวดู
การคู้เข้า การเหยียดออก การครองสังฆาฏิ บาตร และจีวรที่ไม่น่าเลื่อมใส และเขา
ไม่รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า ‘นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินี-
ปฏิปทา’ บุคคลเปรียบเหมือนหม้อเปล่าและเปิดฝา เป็นอย่างนี้แล เรากล่าวเปรียบ
บุคคลประเภทนี้ว่าเหมือนหม้อเปล่าและเปิดฝา
บุคคลเปรียบเหมือนหม้อเต็มและปิดฝา เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้มีการก้าวไป การถอยกลับ การแลดู การเหลียวดู
การคู้เข้า การเหยียดออก การครองสังฆาฏิ บาตร และจีวรที่น่าเลื่อมใส และเขา
รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า ‘นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินี-
ปฏิปทา’ บุคคลเปรียบเหมือนหม้อเต็มและปิดฝา เป็นอย่างนี้แล เรากล่าวเปรียบ
บุคคลประเภทนี้ว่าเหมือนหม้อเต็มและปิดฝา
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลเปรียบเหมือนหม้อ ๔ จำพวกนี้แลมีปรากฏอยู่ในโลก

กุมภสูตรที่ ๓ จบ


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์]
๑. วลาหกวรรค ๔. อุทกรหทสูตร

๔. อุทกรหทสูตร
ว่าด้วยบุคคลเปรียบเหมือนห้วงน้ำ

[๑๐๔] ภิกษุทั้งหลาย ห้วงน้ำ ๔ ชนิดนี้
ห้วงน้ำ ๔ ชนิด๑ อะไรบ้าง คือ
๑. ห้วงน้ำตื้นแต่เงาลึก ๒. ห้วงน้ำลึกแต่เงาตื้น
๓. ห้วงน้ำตื้นและเงาตื้น ๔. ห้วงน้ำลึกและเงาลึก
ภิกษุทั้งหลาย ห้วงน้ำ ๔ ชนิดนี้แล
ภิกษุทั้งหลาย ในทำนองเดียวกัน บุคคลเปรียบเหมือนห้วงน้ำ ๔ จำพวกนี้แล
มีปรากฏอยู่ในโลก
บุคคล ๔ จำพวก๑ไหนบ้าง คือ
๑. บุคคลเปรียบเหมือนห้วงน้ำตื้นแต่เงาลึก
๒. บุคคลเปรียบเหมือนห้วงน้ำลึกแต่เงาตื้น
๓. บุคคลเปรียบเหมือนห้วงน้ำตื้นและเงาตื้น
๔. บุคคลเปรียบเหมือนห้วงน้ำลึกและเงาลึก
บุคคลเปรียบเหมือนห้วงน้ำตื้นแต่เงาลึก เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้มีการก้าวไป การถอยกลับ การแลดู การเหลียวดู
การคู้เข้า การเหยียดออก การครองสังฆาฏิ บาตร และจีวรที่น่าเลื่อมใส แต่เขาไม่
รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า ‘นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินี-
ปฏิปทา’ บุคคลเปรียบเหมือนห้วงน้ำตื้นแต่เงาลึก เป็นอย่างนี้แล เรากล่าวเปรียบ
บุคคลประเภทนี้ว่าเหมือนห้วงน้ำตื้นแต่เงาลึก
บุคคลเปรียบเหมือนห้วงน้ำลึกแต่เงาตื้น เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้มีการก้าวไป การถอยกลับ การแลดู การเหลียวดู
การคู้เข้า การเหยียดออก การครองสังฆาฏิ บาตร และจีวรที่ไม่น่าเลื่อมใส แต่เขา


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์]
๑. วลาหกวรรค ๕. อัมพสูตร

รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า ‘นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินี-
ปฏิปทา’ บุคคลเปรียบเหมือนห้วงน้ำลึกแต่เงาตื้น เป็นอย่างนี้แล เรากล่าว
เปรียบบุคคลประเภทนี้ว่าเหมือนห้วงน้ำลึกแต่เงาตื้น
บุคคลเปรียบเหมือนห้วงน้ำตื้นและเงาตื้น เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้มีการก้าวไป การถอยกลับ การแลดู การเหลียวดู
การคู้เข้า การเหยียดออก การครองสังฆาฏิ บาตร และจีวรที่ไม่น่าเลื่อมใส และเขา
ไม่รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า ‘นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินี-
ปฏิปทา’ บุคคลเปรียบเหมือนห้วงน้ำตื้นและเงาตื้น เป็นอย่างนี้แล เรากล่าวเปรียบ
บุคคลประเภทนี้ว่าเหมือนห้วงน้ำตื้นและเงาตื้น
บุคคลเปรียบเหมือนห้วงน้ำลึกและเงาลึก เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้มีการก้าวไป การถอยกลับ การแลดู การเหลียวดู
การคู้เข้า การเหยียดออก การครองสังฆาฏิ บาตร และจีวรที่น่าเลื่อมใส และเขา
รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า ‘นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินี-
ปฏิปทา’ บุคคลเปรียบเหมือนห้วงน้ำลึกและเงาลึก เป็นอย่างนี้แล เรากล่าวเปรียบ
บุคคลประเภทนี้ว่าเหมือนห้วงน้ำลึกและเงาลึก
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลเปรียบเหมือนห้วงน้ำ ๔ จำพวกนี้แลมีปรากฏอยู่ในโลก

อุทกรหทสูตรที่ ๔ จบ

๕. อัมพสูตร
ว่าด้วยบุคคลเปรียบเหมือนมะม่วง

[๑๐๕] ภิกษุทั้งหลาย มะม่วง ๔ ชนิดนี้
มะม่วง ๔ ชนิด๑ อะไรบ้าง คือ
๑. มะม่วงดิบแต่ผิวสุก ๒. มะม่วงสุกแต่ผิวดิบ
๓. มะม่วงดิบและผิวดิบ ๔. มะม่วงสุกและผิวสุก
ภิกษุทั้งหลาย มะม่วง ๔ ชนิดนี้แล


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์]
๑. วลาหกวรรค ๕. อัมพสูตร

ภิกษุทั้งหลาย ในทำนองเดียวกัน บุคคลเปรียบเหมือนมะม่วง ๔ จำพวกนี้
มีปรากฏอยู่ในโลก
บุคคล ๔ จำพวก๑ไหนบ้าง คือ
๑. บุคคลเปรียบเหมือนมะม่วงดิบแต่ผิวสุก
๒. บุคคลเปรียบเหมือนมะม่วงสุกแต่ผิวดิบ
๓. บุคคลเปรียบเหมือนมะม่วงดิบและผิวดิบ
๔. บุคคลเปรียบเหมือนมะม่วงสุกและผิวสุก
บุคคลเปรียบเหมือนมะม่วงดิบแต่ผิวสุก เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้มีการก้าวไป การถอยกลับ การแลดู การเหลียวดู
การคู้เข้า การเหยียดออก การครองสังฆาฏิ บาตร และจีวรที่น่าเลื่อมใส แต่เขา
ไม่รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า ‘นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินี-
ปฏิปทา’ บุคคลเปรียบเหมือนมะม่วงดิบแต่ผิวสุก เป็นอย่างนี้แล เรากล่าวเปรียบ
บุคคลประเภทนี้ว่าเหมือนมะม่วงดิบแต่ผิวสุก
บุคคลเปรียบเหมือนมะม่วงสุกแต่ผิวดิบ เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้มีการก้าวไป การถอยกลับ การแลดู การเหลียวดู
การคู้เข้า การเหยียดออก การครองสังฆาฏิ บาตร และจีวรที่ไม่น่าเลื่อมใส แต่เขา
รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า ‘นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินี-
ปฏิปทา’ บุคคลเปรียบเหมือนมะม่วงสุกและผิวดิบ เป็นอย่างนี้แล เรากล่าวเปรียบ
บุคคลประเภทนี้ว่าเหมือนมะม่วงสุกแต่ผิวดิบ
บุคคลเปรียบเหมือนมะม่วงดิบและผิวดิบ เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้มีการก้าวไป การถอยกลับ การแลดู การเหลียวดู
การคู้เข้า การเหยียดออก การครองสังฆาฏิ บาตร และจีวรที่ไม่น่าเลื่อมใส และเขา
ไม่รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า ‘นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินี-
ปฏิปทา’ บุคคลเปรียบเหมือนมะม่วงดิบและผิวดิบ เป็นอย่างนี้แล เรากล่าวเปรียบ
บุคคลประเภทนี้ว่าเหมือนมะม่วงดิบและผิวดิบ


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์]
๑. วลาหกวรรค ๗. มูสิกสูตร

บุคคลเปรียบเหมือนมะม่วงสุกและผิวสุก เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้มีการก้าวไป การถอยกลับ การแลดู การเหลียวดู
การคู้เข้า การเหยียดออก การครองสังฆาฏิ บาตร และจีวรที่น่าเลื่อมใส และเขา
รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า ‘นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินี-
ปฏิปทา’ บุคคลเปรียบเหมือนมะม่วงสุกและผิวสุก เป็นอย่างนี้แล เรากล่าวเปรียบ
บุคคลประเภทนี้ว่าเหมือนมะม่วงสุกและผิวสุก
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลเปรียบเหมือนมะม่วง ๔ จำพวกนี้แลมีปรากฏอยู่ในโลก

อัมพสูตรที่ ๕ จบ

๖. ( )๑
๗. มูสิกสูตร
ว่าด้วยบุคคลเปรียบเหมือนหนู

[๑๐๗] ภิกษุทั้งหลาย หนู ๔ ชนิดนี้
หนู ๔ ชนิด๒ อะไรบ้าง คือ
๑. หนูขุดรูแต่ไม่อยู่ ๒. หนูอยู่แต่ไม่ขุดรู
๓. หนูไม่ขุดรูและไม่อยู่ ๔. หนูขุดรูและอยู่
ภิกษุทั้งหลาย หนู ๔ ชนิดนี้แล
ภิกษุทั้งหลาย ในทำนองเดียวกัน บุคคลเปรียบเหมือนหนู ๔ จำพวกมีปรากฏ
อยู่ในโลก
บุคคล ๔ จำพวก๒ไหนบ้าง คือ
๑. บุคคลเปรียบเหมือนหนูขุดรูแต่ไม่อยู่
๒. บุคคลเปรียบเหมือนหนูอยู่แต่ไม่ขุดรู
๓. บุคคลเปรียบเหมือนหนูไม่ขุดรูและไม่อยู่
๔. บุคคลเปรียบเหมือนหนูขุดรูและอยู่


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์]
๑. วลาหกวรรค ๗. มูสิกสูตร

บุคคลเปรียบเหมือนหนูขุดรูแต่ไม่อยู่ เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้เรียนธรรม คือ สุตตะ เคยยะ เวยยากรณะ คาถา
อุทาน อิติวุตตกะ ชาตกะ อัพภูตธรรม เวทัลละ แต่เขาไม่รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า
‘นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา’ บุคคลเปรียบเหมือน
หนูขุดรูแต่ไม่อยู่ เป็นอย่างนี้แล เรากล่าวเปรียบบุคคลประเภทนี้ว่าเหมือนหนูขุดรู
แต่ไม่อยู่
บุคคลเปรียบเหมือนหนูอยู่แต่ไม่ขุดรู เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ไม่เรียนธรรม คือ สุตตะ เคยยะ เวยยากรณะ คาถา
อุทาน อิติวุตตกะ ชาตกะ อัพภูตธรรม เวทัลละ แต่เขารู้ชัดตามความเป็นจริงว่า
‘นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา’ บุคคลเปรียบเหมือน
หนูอยู่แต่ไม่ขุดรู เป็นอย่างนี้แล เรากล่าวเปรียบบุคคลประเภทนี้ว่าเหมือนหนูอยู่
แต่ไม่ขุดรู
บุคคลเปรียบเหมือนหนูไม่ขุดรูและไม่อยู่ เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ไม่เรียนธรรม คือ สุตตะ เคยยะ เวยยากรณะ คาถา
อุทาน อิติวุตตกะ ชาตกะ อัพภูตธรรม เวทัลละ และเขาไม่รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า
‘นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา’ บุคคลเปรียบ
เหมือนหนูไม่ขุดรูและไม่อยู่ เป็นอย่างนี้แล เรากล่าวเปรียบบุคคลประเภทนี้ว่าเหมือน
หนูไม่ขุดรูและไม่อยู่
บุคคลเปรียบเหมือนหนูขุดรูและอยู่ เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้เรียนธรรม คือ สุตตะ เคยยะ เวยยากรณะ คาถา
อุทาน อิติวุตตกะ ชาตกะ อัพภูตธรรม เวทัลละ และเขารู้ชัดตามความเป็นจริงว่า
‘นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา’ บุคคลเปรียบเหมือน
หนูขุดรูและอยู่ เป็นอย่างนี้แล เรากล่าวเปรียบบุคคลประเภทนี้ว่าเหมือนหนูขุดรู
และอยู่
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลเปรียบเหมือนหนู ๔ จำพวกนี้แลมีปรากฏอยู่ในโลก

มูสิกสูตรที่ ๗ จบ


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์]
๑. วลาหกวรรค ๘. พลิวัททสูตร

๘. พลิวัททสูตร
ว่าด้วยบุคคลเปรียบเหมือนโคผู้

[๑๐๘] ภิกษุทั้งหลาย โคผู้ ๔ ชนิดนี้
โคผู้ ๔ ชนิด๑ อะไรบ้าง คือ
๑. โคผู้ที่ข่มเหงโคฝูงตน แต่ไม่ข่มเหงโคฝูงอื่น
๒. โคผู้ที่ข่มเหงโคฝูงอื่น แต่ไม่ข่มเหงโคฝูงตน
๓. โคผู้ที่ข่มเหงโคฝูงตนและข่มเหงโคฝูงอื่น
๔. โคผู้ที่ไม่ข่มเหงโคฝูงตนและไม่ข่มเหงโคฝูงอื่น
ภิกษุทั้งหลาย โคผู้ ๔ ชนิดนี้แล
ภิกษุทั้งหลาย ในทำนองเดียวกัน บุคคลเปรียบเหมือนโคผู้ ๔ จำพวก
มีปรากฏอยู่ในโลก
บุคคล ๔ จำพวก๑ไหนบ้าง คือ
๑. บุคคลเปรียบเหมือนโคผู้ที่ข่มเหงโคฝูงตน แต่ไม่ข่มเหงโคฝูงอื่น
๒. บุคคลเปรียบเหมือนโคผู้ที่ข่มเหงโคฝูงอื่น แต่ไม่ข่มเหงโคฝูงตน
๓. บุคคลเปรียบเหมือนโคผู้ที่ข่มเหงโคฝูงตนและข่มเหงโคฝูงอื่น
๔. บุคคลเปรียบเหมือนโคผู้ที่ไม่ข่มเหงโคฝูงตนและไม่ข่มเหงโคฝูงอื่น
บุคคลเปรียบเหมือนโคผู้ที่ข่มเหงโคฝูงตน แต่ไม่ข่มเหงโคฝูงอื่น เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ทำให้ชนในบริษัทของตนหวาดกลัว แต่ไม่ทำให้ชน
ในบริษัทของผู้อื่นหวาดกลัว บุคคลเปรียบเหมือนโคผู้ที่ข่มเหงโคฝูงตน แต่ไม่
ข่มเหงโคฝูงอื่น เป็นอย่างนี้แล เรากล่าวเปรียบบุคคลประเภทนี้ว่าเหมือนโคผู้ที่
ข่มเหงโคฝูงตน แต่ไม่ข่มเหงโคฝูงอื่น
บุคคลเปรียบเหมือนโคผู้ที่ข่มเหงโคฝูงอื่น แต่ไม่ข่มเหงโคฝูงตน เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ทำให้ชนในบริษัทของผู้อื่นหวาดกลัว แต่ไม่ทำให้
ชนในบริษัทของตนหวาดกลัว บุคคลเปรียบเหมือนโคผู้ที่ข่มเหงโคฝูงอื่น แต่ไม่
ข่มเหงโคฝูงตน เป็นอย่างนี้แล เรากล่าวเปรียบบุคคลประเภทนี้ว่าเหมือนโคผู้ที่
ข่มเหงโคฝูงอื่น แต่ไม่ข่มเหงโคฝูงตน


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๓.ตติยปัณณาสก์]
๑.วลาหกวรรค ๙.รุกขสูตร

บุคคลเปรียบเหมือนโคผู้ที่ข่มเหงโคฝูงตนและข่มเหงโคฝูงอื่น เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ทำให้ชนในบริษัทของตนหวาดกลัวและทำให้ชนในบริษัท
ของผู้อื่นหวาดกลัว บุคคลเปรียบเหมือนโคผู้ที่ข่มเหงโคฝูงตนและข่มเหงโคฝูงอื่น
เป็นอย่างนี้แล เรากล่าวเปรียบบุคคลประเภทนี้ว่าเหมือนโคผู้ที่ข่มเหงโคฝูงตน
และข่มเหงโคฝูงอื่น
บุคคลเปรียบเหมือนโคผู้ที่ไม่ข่มเหงโคฝูงตนและไม่ข่มเหงโคฝูงอื่น เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ไม่ทำให้ชนในบริษัทของตนหวาดกลัวและไม่ทำให้ชน
ในบริษัทของผู้อื่นหวาดกลัว บุคคลเปรียบเหมือนโคผู้ที่ไม่ข่มเหงโคฝูงตนและไม่
ข่มเหงโคฝูงอื่น เป็นอย่างนี้แล เรากล่าวเปรียบบุคคลประเภทนี้ว่าเหมือนโคผู้ที่ไม่
ข่มเหงโคฝูงตนและไม่ข่มเหงโคฝูงอื่น
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลเปรียบเหมือนโคผู้ ๔ จำพวกนี้แลมีปรากฏอยู่ในโลก

พลิวัททสูตรที่ ๘ จบ

๙. รุกขสูตร
ว่าด้วยบุคคลเปรียบเหมือนต้นไม้

[๑๐๙] ภิกษุทั้งหลาย ต้นไม้ ๔ ชนิดนี้
ต้นไม้ ๔ ชนิด๑ อะไรบ้าง คือ
๑. ต้นไม้เนื้ออ่อนและมีต้นไม้เนื้ออ่อน๒แวดล้อม
๒. ต้นไม้เนื้ออ่อน แต่มีต้นไม้เนื้อแข็งแวดล้อม
๓. ต้นไม้เนื้อแข็ง แต่มีต้นไม้เนื้ออ่อนแวดล้อม
๔. ต้นไม้เนื้อแข็งและมีต้นไม้เนื้อแข็งแวดล้อม
ภิกษุทั้งหลาย ต้นไม้ ๔ ชนิดนี้แล


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๓.ตติยปัณณาสก์]
๑.วลาหกวรรค ๙.รุกขสูตร

ภิกษุทั้งหลาย ในทำนองเดียวกัน บุคคลเปรียบเหมือนต้นไม้ ๔ จำพวก
มีปรากฏอยู่ในโลก
บุคคล ๔ จำพวก๑ไหนบ้าง คือ
๑. บุคคลเปรียบเหมือนต้นไม้เนื้ออ่อนและมีต้นไม้เนื้ออ่อนแวดล้อม
๒. บุคคลเปรียบเหมือนต้นไม้เนื้ออ่อน แต่มีต้นไม้เนื้อแข็งแวดล้อม
๓. บุคคลเปรียบเหมือนต้นไม้เนื้อแข็ง แต่มีต้นไม้เนื้ออ่อนแวดล้อม
๔. บุคคลเปรียบเหมือนต้นไม้เนื้อแข็งและมีต้นไม้เนื้อแข็งแวดล้อม
บุคคลเปรียบเหมือนต้นไม้เนื้ออ่อนและมีต้นไม้เนื้ออ่อนแวดล้อม เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้ทุศีล มีธรรมเลวทราม แม้บริษัทของเขาก็
เป็นผู้ทุศีล มีธรรมเลวทราม บุคคลเปรียบเหมือนต้นไม้เนื้ออ่อนและมีต้นไม้เนื้ออ่อน
แวดล้อม เป็นอย่างนี้แล เรากล่าวเปรียบบุคคลประเภทนี้ว่าเหมือนต้นไม้เนื้ออ่อน
และมีต้นไม้เนื้ออ่อนแวดล้อม
บุคคลเปรียบเหมือนต้นไม้เนื้ออ่อน แต่มีต้นไม้เนื้อแข็งแวดล้อม เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้ทุศีล มีธรรมเลวทราม แต่บริษัทของเขาเป็นผู้มีศีล
มีกัลยาณธรรม บุคคลเปรียบเหมือนต้นไม้เนื้ออ่อน แต่มีต้นไม้เนื้อแข็งแวดล้อม
เป็นอย่างนี้แล เรากล่าวเปรียบบุคคลประเภทนี้ว่าเหมือนต้นไม้เนื้ออ่อน แต่มีต้นไม้
เนื้อแข็งแวดล้อม
บุคคลเปรียบเหมือนต้นไม้เนื้อแข็ง แต่มีต้นไม้เนื้ออ่อนแวดล้อม เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้มีศีล มีกัลยาณธรรม แต่บริษัทของเขาเป็นผู้ทุศีล
มีธรรมเลวทราม บุคคลเปรียบเหมือนต้นไม้เนื้อแข็ง แต่มีต้นไม้เนื้ออ่อนแวดล้อม
เป็นอย่างนี้แล เรากล่าวเปรียบบุคคลประเภทนี้ว่าเหมือนต้นไม้เนื้อแข็ง แต่มีต้นไม้
เนื้ออ่อนแวดล้อม
บุคคลเปรียบเหมือนต้นไม้เนื้อแข็งและมีต้นไม้เนื้อแข็งแวดล้อม เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้มีศีล มีกัลยาณธรรม แม้บริษัทของเขาก็
เป็นผู้มีศีล มีกัลยาณธรรม บุคคลเปรียบเหมือนต้นไม้เนื้อแข็งและมีต้นไม้เนื้อแข็ง
แวดล้อม


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๓.ตติยปัณณาสก์]
๑.วลาหกวรรค ๑๐.อาสีวิสสูตร

เป็นอย่างนี้แล เรากล่าวเปรียบบุคคลประเภทนี้ว่าเหมือนต้นไม้เนื้อแข็ง
และมีต้นไม้เนื้อแข็งแวดล้อม
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลเปรียบเหมือนต้นไม้ ๔ จำพวกนี้แลมีปรากฏอยู่ในโลก

รุกขสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. อาสีวิสสูตร
ว่าด้วยบุคคลเปรียบเหมือนอสรพิษ

[๑๑๐] ภิกษุทั้งหลาย อสรพิษ ๔ จำพวกนี้
อสรพิษ ๔ จำพวก๑ อะไรบ้าง คือ
๑. อสรพิษมีพิษแล่น แต่พิษไม่ร้าย
๒. อสรพิษมีพิษร้าย แต่พิษไม่แล่น
๓. อสรพิษมีพิษแล่นและพิษร้าย
๔. อสรพิษมีพิษไม่แล่นและพิษไม่ร้าย
ภิกษุทั้งหลาย อสรพิษ ๔ จำพวกนี้แล
ในทำนองเดียวกัน บุคคลเปรียบเหมือนอสรพิษ ๔ จำพวกนี้แลมีปรากฏอยู่
ในโลก
บุคคล ๔ จำพวก๑ไหนบ้าง คือ
๑. บุคคลเปรียบเหมือนอสรพิษมีพิษแล่น แต่พิษไม่ร้าย
๒. บุคคลเปรียบเหมือนอสรพิษมีพิษร้าย แต่พิษไม่แล่น
๓. บุคคลเปรียบเหมือนอสรพิษมีพิษแล่นและพิษร้าย
๔. บุคคลเปรียบเหมือนอสรพิษมีพิษไม่แล่นและพิษไม่ร้าย
บุคคลเปรียบเหมือนอสรพิษมีพิษแล่น แต่พิษไม่ร้าย เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้โกรธอยู่บ่อย ๆ แต่ความโกรธของเขานั้นไม่คงอยู่นาน
บุคคลเปรียบเหมือนอสรพิษมีพิษแล่น แต่พิษไม่ร้าย เป็นอย่างนี้แล เรากล่าวเปรียบ
บุคคลประเภทนี้ว่าเหมือนอสรพิษมีพิษแล่น แต่พิษไม่ร้าย


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๓.ตติยปัณณาสก์]
๑.วลาหกวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

บุคคลเปรียบเหมือนอสรพิษมีพิษร้าย แต่พิษไม่แล่น เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ไม่โกรธบ่อยนัก แต่ความโกรธของเขานั้นคงอยู่นาน
บุคคลเปรียบเหมือนอสรพิษมีพิษร้าย แต่พิษไม่แล่น เป็นอย่างนี้แล เรากล่าว
เปรียบบุคคลประเภทนี้ว่าเหมือนอสรพิษมีพิษร้าย แต่พิษไม่แล่น
บุคคลเปรียบเหมือนอสรพิษมีพิษแล่นและพิษร้าย เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้โกรธอยู่บ่อย ๆ และความโกรธของเขาก็คงอยู่นาน
บุคคลเปรียบเหมือนอสรพิษมีพิษแล่นและพิษร้าย เป็นอย่างนี้แล เรากล่าวเปรียบ
บุคคลประเภทนี้ว่าเหมือนอสรพิษมีพิษแล่นและพิษร้าย
บุคคลเปรียบเหมือนอสรพิษมีพิษไม่แล่นและพิษไม่ร้าย เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ไม่โกรธบ่อยนักและความโกรธของเขานั้นก็ไม่คงอยู่
นาน บุคคลเปรียบเหมือนอสรพิษมีพิษไม่แล่นและพิษไม่ร้าย เป็นอย่างนี้แล เรา
กล่าวเปรียบบุคคลประเภทนี้ว่าเหมือนอสรพิษมีพิษไม่แล่นและพิษไม่ร้าย
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลเปรียบเหมือนอสรพิษ ๔ จำพวกนี้แลมีปรากฏอยู่
ในโลก

อาสีวิสสูตรที่ ๑๐ จบ
วลาหกวรรคที่ ๑ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. ปฐมวลาหกสูตร ๒. ทุติยวลาหกสูตร
๓. กุมภสูตร ๔. อุทกรหทสูตร
๕. อัมพสูตร ๖. (ไม่ปรากฏชื่อสูตร)
๗. มูสิกสูตร ๘. พลิวัททสูตร
๙. รุกขสูตร ๑๐. อาสีวิสสูตร


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๓.ตติยปัณณาสก์]
๒.เกสิวรรค ๑.เกสิสูตร

๒. เกสิวรรค
หมวดว่าด้วยเกสีสารถีผู้ฝึกม้า
๑. เกสิสูตร
ว่าด้วยเกสีสารถีผู้ฝึกม้า

[๑๑๑] ครั้งนั้นแล เกสีสารถีผู้ฝึกม้าเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
ถวายอภิวาทแล้ว นั่ง ณ ที่สมควร พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสถามเกสีสารถีผู้ฝึก
ม้าดังนี้ว่า
“เกสี ท่านนั่นแล เขารู้กันทั่วไปว่าเป็นสารถีผู้ฝึกม้า ก็ท่านฝึกม้าที่ควรฝึกได้
อย่างไร”
เกสีสารถีผู้ฝึกม้าทูลตอบว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ฝึกม้าที่ควรฝึก
ด้วยวิธีแบบสุภาพ๑บ้าง วิธีแบบรุนแรง๒บ้าง วิธีทั้งแบบสุภาพและแบบรุนแรงบ้าง”
พระผู้มีพระภาคตรัสถามต่อไปอีกว่า “เกสี ถ้าม้าที่ควรฝึกของท่านฝึกไม่ได้
ด้วยวิธีแบบสุภาพ วิธีแบบรุนแรง วิธีทั้งแบบสุภาพและแบบรุนแรง ท่านจะทำกับ
มันอย่างไร”
เกสีสารถีผู้ฝึกม้าทูลตอบว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถ้าม้าที่ควรฝึกของ
ข้าพระองค์ฝึกไม่ได้ด้วยวิธีแบบสุภาพ วิธีแบบรุนแรง วิธีทั้งแบบสุภาพแและแบบ
รุนแรง ข้าพระองค์จะฆ่ามันเสีย ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะข้าพระองค์คิดว่า
ความเสียหายอย่าได้มีแก่สำนักอาจารย์ของเราเลย ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็พระ
ผู้มีพระภาคเป็นสารถีฝึกผู้ที่ควรฝึกได้อย่างยอดเยี่ยม พระผู้มีพระภาคทรงฝึกบุรุษ
ที่ควรฝึกอย่างไร”


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๓.ตติยปัณณาสก์]๒.เกสิวรรค ๑.เกสิสูตร

พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “เกสี เราฝึกผู้ที่ควรฝึกได้ด้วยวิธีแบบสุภาพบ้าง
วิธีแบบรุนแรงบ้าง วิธีทั้งแบบสุภาพแและแบบรุนแรงบ้าง
บรรดาวิธี ๓ อย่างนั้น ต่อไปนี้เป็นถ้อยคำในวิธีแบบสุภาพ คือ กายสุจริตเป็น
อย่างนี้ วิบากแห่งกายสุจริตเป็นอย่างนี้ วจีสุจริตเป็นอย่างนี้ วิบากแห่งวจีสุจริต
เป็นอย่างนี้ มโนสุจริตเป็นอย่างนี้ วิบากแห่งมโนสุจริตเป็นอย่างนี้ เทวดาเป็น
อย่างนี้ มนุษย์เป็นอย่างนี้
ต่อไปนี้เป็นถ้อยคำในวิธีแบบรุนแรง คือ กายทุจริตเป็นอย่างนี้ วิบากแห่ง
กายทุจริตเป็นอย่างนี้ วจีทุจริตเป็นอย่างนี้ วิบากแห่งวจีทุจริตเป็นอย่างนี้ มโน-
ทุจริตเป็นอย่างนี้ วิบากแห่งมโนทุจริตเป็นอย่างนี้ นรกเป็นอย่างนี้ กำเนิดสัตว์
ดิรัจฉานเป็นอย่างนี้ แดนเปรตเป็นอย่างนี้
ต่อไปนี้เป็นถ้อยคำในวิธีทั้งแบบสุภาพแและแบบรุนแรง คือ กายสุจริตเป็น
อย่างนี้ วิบากแห่งกายสุจริตเป็นอย่างนี้ กายทุจริตเป็นอย่างนี้ วิบากแห่งกาย-
ทุจริตเป็นอย่างนี้ วจีสุจริตเป็นอย่างนี้ วิบากแห่งวจีสุจริตเป็นอย่างนี้ วจีทุจริต
เป็นอย่างนี้ วิบากแห่งวจีทุจริตเป็นอย่างนี้ มโนสุจริตเป็นอย่างนี้ วิบากแห่งมโน
สุจริตเป็นอย่างนี้ มโนทุจริตเป็นอย่างนี้ วิบากแห่งมโนทุจริตเป็นอย่างนี้ เทวดา
เป็นอย่างนี้ มนุษย์เป็นอย่างนี้ นรกเป็นอย่างนี้ กำเนิดสัตว์ดิรัจฉานเป็นอย่างนี้
แดนเปรตเป็นอย่างนี้”
เกสีสารถีผู้ฝึกม้าทูลถามว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถ้าบุรุษผู้ที่ควรฝึกได้
ของพระองค์ฝึกไม่ได้ด้วยวิธีแบบสุภาพ วิธีแบบรุนแรง วิธีทั้งแบบสุภาพแและแบบ
รุนแรง พระผู้มีพระภาคจะทำกับเขาอย่างไร”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “เกสี ถ้าบุรุษผู้ที่ควรฝึกได้ของเราฝึกไม่ได้ด้วย
วิธีแบบสุภาพ วิธีแบบรุนแรง วิธีทั้งแบบสุภาพแและแบบรุนแรง เราก็ฆ่าเขาเสีย”
เกสีสารถีผู้ฝึกม้าทูลถามว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ การฆ่าสัตว์ไม่สมควรแก่
พระผู้มีพระภาคเลย ไฉนพระผู้มีพระภาคจึงตรัสอย่างนี้ว่า ‘เราก็จะฆ่าเขาเสีย”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๑ หน้า :๑๗๐ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๓.ตติยปัณณาสก์] ๒.เกสิวรรค ๒.ชวสูตร

พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “เกสี ความจริงการฆ่าสัตว์ไม่สมควรแก่ตถาคต
แต่บุรุษผู้ที่ควรฝึกใด ฝึกไม่ได้ด้วยวิธีแบบสุภาพ วิธีแบบรุนแรง วิธีทั้งแบบสุภาพ
และแบบรุนแรง ตถาคตย่อมกำหนดบุรุษนั้นว่าไม่ควรว่ากล่าวสั่งสอน เพื่อน
พรหมจารีผู้รู้ต่างกำหนดว่าเขาเป็นผู้ไม่ควรว่ากล่าวสั่งสอน เกสี เพราะข้อที่ว่า
ตถาคตย่อมกำหนดบุรุษนั้นว่าไม่ควรว่ากล่าวสั่งสอน แม้เพื่อนพรหมจารีผู้รู้ต่าง
กำหนดว่าเขาเป็นผู้ไม่ควรว่ากล่าวสั่งสอน ดังนี้นั้นถือว่าเป็นการฆ่าในอริยวินัย”
เกสีสารถีผู้ฝึกม้ากราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้อที่ตถาคตกำหนดผู้นั้น
ว่าเป็นผู้ไม่ควรว่ากล่าวสั่งสอน แม้เพื่อนพรหมจารีผู้รู้ก็กำหนดว่าเขาเป็นผู้ไม่ควร
ว่ากล่าวสั่งสอน ชื่อว่าเป็นการฆ่าอย่างดีแน่นอน ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระภาษิต
ของพระผู้มีพระภาคชัดเจนไพเราะยิ่งนัก ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระภาษิตของพระ
ผู้มีพระภาคชัดเจนไพเราะยิ่งนัก พระผู้มีพระภาคทรงประกาศธรรมแจ่มแจ้งโดย
ประการต่าง ๆ เปรียบเหมือนบุคคลหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางแก่ผู้
หลงทาง หรือตามประทีปในที่มืดโดยตั้งใจว่า ‘คนมีตาดีจักเห็นรูปได้’ ข้าพระองค์ขอ
ถึงพระผู้มีพระภาคพร้อมทั้งพระธรรมและพระสงฆ์ว่าเป็นสรณะ ขอพระผู้มีพระภาค
จงทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะ ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปจนตลอดชีวิต”

เกสิสูตรที่ ๑ จบ

๒. ชวสูตร
ว่าด้วยความว่องไวของม้าต้นและของภิกษุ

[๑๑๒] ภิกษุทั้งหลาย ม้าอาชาไนยพันธุ์ดีของพระราชาที่ประกอบด้วยองค์ ๔
ประการย่อมเป็นม้าควรแก่พระราชา ควรเป็นม้าต้น นับว่าเป็นราชพาหนะโดยแท้
องค์ ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ความซื่อตรง ๒. ความว่องไว
๓. ความอดทน ๔. ความสงบเสงี่ยม
ภิกษุทั้งหลาย ม้าอาชาไนยพันธุ์ดีของพระราชาที่ประกอบด้วยองค์ ๔ ประการ
นี้แลย่อมเป็นม้าควรแก่พระราชา ควรเป็นม้าต้น นับว่าเป็นราชพาหนะโดยแท้ ฉันใด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๑ หน้า :๑๗๑ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๓.ตติยปัณณาสก์]
๒.เกสิวรรค ๓.ปโตทสูตร

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน
ย่อมเป็นผู้ควรแก่ของที่เขานำมาถวาย ควรแก่ของต้อนรับ ควรแก่ทักษิณา ควร
แก่การทำอัญชลี เป็นนาบุญอันยอดเยี่ยมของโลก
ธรรม ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ความซื่อตรง ๒. ความว่องไว
๓. ความอดทน ๔. ความสงบเสงี่ยม
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้แลย่อมเป็นผู้ควรแก่
ของที่เขานำมาถวาย ฯลฯ เป็นนาบุญอันยอดเยี่ยมของโลก

ชวสูตรที่ ๒ จบ

๓. ปโตทสูตร
ว่าด้วยปฏักของสารถี

[๑๑๓] ภิกษุทั้งหลาย ม้าอาชาไนยพันธุ์ดี ๔ ประเภทนี้มีปรากฏอยู่ในโลก
ม้าอาชาไนยพันธุ์ดี ๔ ประเภท อะไรบ้าง คือ
๑. ม้าอาชาไนยพันธุ์ดีบางตัวในโลกนี้พอเห็นเงาปฏัก๑ก็หวาดหวั่น
สำนึกว่า ‘วันนี้ สารถีผู้ฝึกม้าจักให้เราทำการอะไรหนอ เราจัก
สนองเขาอย่างไร’ ม้าอาชาไนยพันธุ์ดีบางตัวในโลกนี้ เป็นอย่าง
นี้แล ม้าอาชาไนยพันธุ์ดีประเภทที่ ๑ นี้มีปรากฏอยู่ในโลก
๒. ม้าอาชาไนยพันธุ์ดีบางตัวในโลกนี้เห็นเงาปฏักก็ไม่หวาดหวั่น ไม่
สำนึก แต่เมื่อถูกแทงด้วยปฏักที่ขุมขนจึงหวาดหวั่น สำนึกว่า
‘วันนี้ สารถีผู้ฝึกม้าจักให้เราทำการอะไรหนอ เราจะสนองเขา
อย่างไร’ ม้าอาชาไนยพันธุ์ดีบางตัวในโลกนี้ เป็นอย่างนี้แล ม้า
อาชาไนยพันธุ์ดีประเภทที่ ๒ นี้มีปรากฏอยู่ในโลก


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๓.ตติยปัณณาสก์]
๒.เกสิวรรค ๓.ปโตทสูตร

๓. ม้าอาชาไนยพันธุ์ดีบางตัวในโลกนี้เห็นเงาปฏักก็ไม่หวาดหวั่น ไม่
สำนึก แม้จะถูกแทงด้วยปฏักที่ขุมขนก็ยังไม่หวาดหวั่น ไม่
สำนึก แต่เมื่อถูกแทงด้วยปฏักถึงผิวหนังจึงหวาดหวั่น สำนึกว่า
‘วันนี้ สารถีผู้ฝึกม้าจักให้เราทำการอะไรหนอ เราจะสนองเขา
อย่างไร’ ม้าอาชาไนยพันธุ์ดีบางตัวในโลกนี้ เป็นอย่างนี้แล ม้า
อาชาไนยพันธุ์ดีประเภทที่ ๓ นี้มีปรากฏอยู่ในโลก
๔. ม้าอาชาไนยพันธุ์ดีบางตัวในโลกนี้เห็นเงาปฏักก็ไม่
หวาดหวั่น ไม่สำนึก แม้จะถูกแทงด้วยปฏักที่ขุมขนก็ไม่หวาดหวั่น ไม่สำนึก
แม้จะถูกแทงด้วยปฏักถึงผิวหนังก็ไม่หวาดหวั่น ไม่สำนึก แต่เมื่อ
ถูกแทงด้วยปฏักถึงกระดูกจึงหวาดหวั่น สำนึกว่า ‘วันนี้ สารถี
ผู้ฝึกม้าจักให้เราทำการอะไรหนอ เราจะสนองเขาอย่างไร’ ม้า
อาชาไนยพันธุ์ดีบางตัวในโลกนี้ เป็นอย่างนี้แล ม้าอาชาไนย
พันธุ์ดีประเภทที่ ๔ นี้มีปรากฏอยู่ในโลก
ภิกษุทั้งหลาย ม้าอาชาไนยพันธุ์ดี ๔ ประเภทนี้แลมีปรากฏอยู่ในโลก ฉันใด
ภิกษุทั้งหลาย บุรุษอาชาไนยผู้เจริญ ๔ จำพวกนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกันแล
มีปรากฏอยู่ในโลก
บุรุษอาชาไนย ๔ จำพวกไหนบ้าง คือ
๑. บุรุษอาชาไนยผู้เจริญบางคนในโลกนี้ฟังข่าวว่า ‘ในหมู่บ้านหรือ
ตำบลโน้น สตรีหรือบุรุษประสบทุกข์หรือตาย’ เขาสลดใจ
สำนึกตัวเพราะฟังข่าวนั้น จึงเริ่มบำเพ็ญเพียรโดยแยบคาย อุทิศ
กายและใจ ทำให้แจ้งปรมัตถสัจจะด้วยนามกาย และเห็นแจ้งทั่ว
ถึงด้วยปัญญา เรากล่าวเปรียบบุรุษอาชาไนยผู้เจริญนี้ว่าเหมือน
ม้าอาชาไนยพันธุ์ดีเห็นเงาปฏักก็หวาดหวั่น สำนึก บุรุษอาชาไนย
ผู้เจริญบางคนในโลกนี้ เป็นอย่างนี้แล บุรุษอาชาไนยผู้เจริญ
ประเภทที่ ๑ นี้มีปรากฏอยู่ในโลก
๒. บุรุษอาชาไนยผู้เจริญบางคนในโลกนี้ไม่ได้ฟังข่าวว่า ‘ในหมู่บ้าน
หรือตำบลโน้น สตรีหรือบุรุษประสบทุกข์หรือตาย’ แต่เขาเห็น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๑ หน้า :๑๗๓ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๓.ตติยปัณณาสก์]
๒.เกสิวรรค ๓.ปโตทสูตร

สตรีหรือบุรุษประสบทุกข์หรือตายด้วยตัวเองเลยทีเดียว เขาสลดใจ
สำนึกตัวเพราะเห็นเหตุการณ์นั้น จึงเริ่มบำเพ็ญเพียรโดยแยบคาย
อุทิศกายและใจ ทำให้แจ้งปรมัตถสัจจะด้วยนามกาย และเห็น
แจ้งทั่วถึงด้วยปัญญา เรากล่าวเปรียบบุรุษอาชาไนยผู้เจริญนี้ว่า
เหมือนม้าอาชาไนยพันธุ์ดีที่ถูกแทงด้วยปฏักจึงหวาดหวั่น สำนึก
บุรุษอาชาไนยผู้เจริญบางคนในโลกนี้ เป็นอย่างนี้แล บุรุษอาชาไนย
ผู้เจริญประเภทที่ ๒ นี้มีปรากฏอยู่ในโลก
๓. บุรุษอาชาไนยบางคนในโลกนี้ไม่ได้ฟังข่าวว่า ‘ในหมู่บ้านหรือ
ตำบลชื่อโน้น สตรีหรือบุรุษประสบทุกข์หรือตาย’ ไม่ได้เห็นสตรี
หรือบุรุษประสบทุกข์หรือตายด้วยตัวเอง แต่ญาติหรือสาโลหิต๑
ของเขาประสบทุกข์หรือตาย เขาสลดใจ สำนึกตัวเพราะเหตุการณ์
นั้น จึงเริ่มบำเพ็ญเพียรโดยแยบคาย อุทิศกายและใจ ทำให้แจ้ง
ปรมัตถสัจจะด้วยนามกาย และเห็นแจ้งทั่วถึงด้วยปัญญา เรา
กล่าวเปรียบบุรุษอาชาไนยผู้เจริญนี้ว่าเหมือนม้าอาชาไนยพันธุ์ดี
ที่ถูกแทงด้วยปฏักถึงผิวหนังจึงหวาดหวั่น สำนึก บุรุษอาชาไนย
ผู้เจริญบางคนในโลกนี้ เป็นอย่างนี้แล บุรุษอาชาไนยผู้เจริญ
ประเภทที่ ๓ นี้มีปรากฏอยู่ในโลก
๔. บุรุษอาชาไนยผู้เจริญบางคนในโลกนี้ไม่ได้ฟังข่าวว่า ‘ในหมู่บ้านหรือ
ตำบลโน้น สตรีหรือบุรุษประสบทุกข์หรือตาย’ ไม่ได้เห็นสตรีหรือ
บุรุษประสบทุกข์หรือตายด้วยตัวเอง ทั้งญาติหรือสาโลหิตของเขา
ก็ไม่ได้ประสบทุกข์หรือตาย แต่ตัวเขาเองประสบเวทนาทั้งหลาย
อันมีในร่างกายเป็นทุกข์ กล้าแข็ง เจ็บปวด เผ็ดร้อน ไม่น่ายินดี
ไม่น่าพอใจ พรากชีวิต เขาสลดใจ สำนึกตัวเพราะประสบทุกข์นั้น
จึงเริ่มบำเพ็ญเพียรโดยแยบคาย อุทิศกายและใจ ทำให้แจ้ง


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๓.ตติยปัณณาสก์] ๒.เกสิวรรค ๔.นาคสูตร

ปรมัตถสัจจะด้วยนามกาย และเห็นแจ้งทั่วถึงด้วยปัญญา เรา
กล่าวเปรียบบุรุษอาชาไนยผู้เจริญนี้ว่าเหมือนม้าอาชาไนยพันธุ์ดี
ที่ถูกแทงด้วยปฏักจนถึงกระดูกจึงหวาดหวั่น สำนึก บุรุษอาชาไนย
ผู้เจริญ บางคนในโลกนี้ เป็นอย่างนี้แล บุรุษอาชาไนยผู้เจริญ
ประเภทที่ ๔ นี้มีปรากฏอยู่ในโลก
ภิกษุทั้งหลาย บุรุษอาชาไนยผู้เจริญ ๔ จำพวกนี้แลมีปรากฏอยู่ในโลก

ปโตทสูตรที่ ๓ จบ

๔. นาคสูตร
ว่าด้วยองค์ของช้างต้น

[๑๑๔] ภิกษุทั้งหลาย ช้างของพระราชาที่ประกอบด้วยองค์ ๔ ประการย่อม
เป็นช้างควรแก่พระราชา ควรเป็นช้างต้น นับว่าเป็นราชพาหนะโดยแท้
องค์ ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
ช้างของพระราชาในโลกนี้
๑. เป็นสัตว์เชื่อฟัง ๒. เป็นสัตว์ฆ่าได้
๓. เป็นสัตว์อดทนได้ ๔. เป็นสัตว์ไปได้
ช้างของพระราชาเป็นสัตว์เชื่อฟัง เป็นอย่างไร
คือ ช้างของพระราชาในโลกนี้ตั้งใจ ใฝ่ใจ สำรวมใจ เงี่ยหูฟังเหตุการณ์ที่
ควาญช้างให้ทำคือเหตุการณ์ที่เคยทำหรือไม่เคยทำ ช้างของพระราชาเป็นสัตว์เชื่อฟัง
เป็นอย่างนี้แล
ช้างของพระราชาเป็นสัตว์ฆ่าได้ เป็นอย่างไร
คือ ช้างของพระราชาในโลกนี้เข้าสู่สมรภูมิแล้ว ฆ่าช้างบ้าง ฆ่าควาญช้างบ้าง
ฆ่าม้าบ้าง ฆ่าคนขี่ม้าบ้าง ทำลายรถบ้าง ฆ่าพลรถบ้าง ฆ่าพลเดินเท้าบ้าง ช้าง
ของพระราชาเป็นสัตว์ฆ่าได้ เป็นอย่างนี้แล
ช้างของพระราชาเป็นสัตว์อดทนได้ เป็นอย่างไร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๑ หน้า :๑๗๕ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๓.ตติยปัณณาสก์] ๒.เกสิวรรค ๔.นาคสูตร

คือ ช้างของพระราชาในโลกนี้เข้าสู่สมรภูมิแล้ว อดทนต่อการประหารด้วย
หอก ดาบ ลูกศร ง้าว เสียงกลอง บัณเฑาะว์ สังข์ และมโหระทึกที่กระหึ่ม ช้าง
ของพระราชาเป็นสัตว์อดทนได้ เป็นอย่างนี้แล
ช้างของพระราชาเป็นสัตว์ไปได้ เป็นอย่างไร
คือ ช้างของพระราชาในโลกนี้ไปสู่ทิศที่ควาญช้างไสไป คือ ทิศที่เคยไปหรือ
ทิศที่ไม่เคยไปได้โดยเร็วพลัน ช้างของพระราชาเป็นสัตว์ไปได้ เป็นอย่างนี้แล
ภิกษุทั้งหลาย ช้างของพระราชาที่ประกอบด้วยองค์ ๔ ประการนี้แลย่อม
เป็นช้างควรแก่พระราชา ควรเป็นช้างต้น นับว่าเป็นราชพาหนะโดยแท้ ฉันใด
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อม
เป็นผู้ควรแก่ของที่เขานำมาถวาย ควรแก่ของต้อนรับ ควรแก่ทักษิณา ควรแก่
การทำอัญชลี เป็นนาบุญอันยอดเยี่ยมของโลก
ธรรม ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เป็นผู้เชื่อฟัง ๒. เป็นผู้ฆ่าได้
๓. เป็นผู้อดทน ๔. เป็นผู้ไปได้
ภิกษุเป็นผู้เชื่อฟัง เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ตั้งใจ ใฝ่ใจ สำรวมใจ เงี่ยโสตลงฟังธรรม ในเมื่อผู้
อื่นแสดงธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศแล้ว ภิกษุเป็นผู้เชื่อฟัง เป็นอย่างนี้แล
ภิกษุเป็นผู้ฆ่าได้ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ไม่ยินดีกามวิตกที่เกิดขึ้น ละ บรรเทา ทำให้หมดสิ้นไป
ทำให้ถึงความไม่มี ไม่ยินดีพยาบาทวิตกที่เกิดขึ้น ละ บรรเทา ทำให้สิ้นไป ทำ
ให้ถึงความไม่มี ไม่ยินดีวิหิงสาวิตกที่เกิดขึ้น ละ บรรเทา ทำให้หมดสิ้นไป ทำ
ให้ถึงความไม่มี ภิกษุเป็นผู้ฆ่าได้ เป็นอย่างนี้แล
ภิกษุเป็นผู้อดทนได้ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นผู้อดทนต่อความหนาว ความร้อน ความหิว
กระหาย ต่อการถูกเหลือบยุง แดด และสัตว์เลื้อยคลานทั้งหลายรบกวน ต่อ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๑ หน้า :๑๗๖ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๓.ตติยปัณณาสก์] ๒.เกสิวรรค ๕.ฐานสูตร

ถ้อยคำหยาบคายร้ายแรงต่าง ๆ เป็นผู้อดกลั้นเวทนาทั้งหลายอันมีในร่างกายที่เกิด
ขึ้นแล้วเป็นทุกข์ กล้าแข็ง เจ็บปวด เผ็ดร้อน ไม่น่ายินดี ไม่น่าพอใจ พรากชีวิต
ภิกษุเป็นผู้อดทนได้ เป็นอย่างนี้แล
ภิกษุเป็นผู้ไปได้ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ย่อมไปสู่ทิศที่ไม่เคยไปตลอดกาลยาวนานนี้ คือ
ความระงับสังขารทั้งปวง ความสละคืนอุปธิทั้งปวง ความสิ้นไปแห่งตัณหา ความ
คลายกำหนัด ความดับทุกข์ นิพพาน ภิกษุเป็นผู้ไปได้ เป็นอย่างนี้แล
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้แลย่อมเป็นผู้ควรแก่
ของที่เขานำมาถวาย ควรแก่ของต้อนรับ ควรแก่ทักษิณา ควรแก่การทำอัญชลี
เป็นนาบุญอันยอดเยี่ยมของโลก

นาคสูตรที่ ๔ จบ

๕. ฐานสูตร
ว่าด้วยฐานะแห่งความเสื่อมและความเจริญ

[๑๑๕] ภิกษุทั้งหลาย ฐานะ๑ ๔ ประการนี้
ฐานะ ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ฐานะที่ให้ทำสิ่งที่ไม่น่าพอใจและเมื่อทำย่อมเป็นไปเพื่อความฉิบหาย
๒. ฐานะที่ให้ทำสิ่งที่ไม่น่าพอใจ แต่เมื่อทำย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์
๓. ฐานะที่ให้ทำสิ่งที่น่าพอใจ แต่เมื่อทำย่อมเป็นไปเพื่อความฉิบหาย
๔. ฐานะที่ให้ทำสิ่งที่น่าพอใจและเมื่อทำย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์
บรรดาฐานะ ๔ ประการนั้น ฐานะที่ให้ทำสิ่งที่ไม่น่าพอใจและเมื่อทำย่อมเป็น
ไปเพื่อความฉิบหาย บัณฑิตย่อมรู้ว่าฐานะนี้ไม่ควรทำทั้ง ๒ ส่วน คือ รู้ว่าไม่ควร
ทำทั้งส่วนที่เป็นฐานะที่ให้ทำสิ่งที่ไม่น่าพอใจ และรู้ว่าไม่ควรทำทั้งส่วนที่เป็นฐานะ
ที่เมื่อทำย่อมเป็นไปเพื่อความฉิบหาย บัณฑิตย่อมรู้ว่าฐานะนี้ไม่ควรทำทั้ง ๒ ส่วน


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๓.ตติยปัณณาสก์]
๒.เกสิวรรค ๖. อัปปมาทสูตร

บรรดาฐานะ ๔ ประการนั้น ฐานะที่ให้ทำสิ่งที่ไม่น่าพอใจ แต่เมื่อทำย่อม
เป็นไปเพื่อประโยชน์ พึงทราบคนพาลและบัณฑิตในเรื่องกำลังของบุรุษ ความเพียร
ของบุรุษ และความบากบั่นของบุรุษ คนพาลย่อมไม่เห็นประจักษ์ดังนี้ว่า “ฐานะนี้
ที่ให้ทำสิ่งที่ไม่น่าพอใจก็จริง แต่เมื่อทำย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์” เขาย่อมไม่ทำ
ฐานะนั้น เมื่อไม่ทำจึงเป็นไปเพื่อความฉิบหาย ส่วนบัณฑิตย่อมเห็นประจักษ์ดังนี้ว่า
“ฐานะนี้ที่ให้ทำสิ่งที่ไม่น่าพอใจก็จริง แต่เมื่อทำย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์” เขา
ย่อมทำฐานะนั้น เมื่อทำจึงเป็นไปเพื่อประโยชน์
บรรดาฐานะ ๔ ประการนั้น ฐานะที่ให้ทำสิ่งที่น่าพอใจ แต่เมื่อทำย่อมเป็นไป
เพื่อความฉิบหาย พึงทราบคนพาลและบัณฑิตในเรื่องกำลังของบุรุษ ความเพียร
ของบุรุษ และความบากบั่นของบุรุษ คนพาลย่อมไม่เห็นประจักษ์ดังนี้ว่า “ฐานะนี้
ที่ให้ทำสิ่งที่น่าพอใจก็จริง แต่เมื่อทำย่อมเป็นไปเพื่อความฉิบหาย” เขาย่อมทำฐานะ
นั้น แต่เมื่อทำจึงเป็นไปเพื่อความฉิบหาย ส่วนบัณฑิตย่อมเห็นประจักษ์ดังนี้ว่า
“ฐานะนี้ที่ให้ทำสิ่งที่น่าพอใจก็จริง แต่เมื่อทำย่อมเป็นไปเพื่อความฉิบหาย” เขาไม่
ทำฐานะนั้น เมื่อไม่ทำจึงเป็นไปเพื่อประโยชน์
บรรดาฐานะ ๔ ประการนั้น ฐานะที่ให้ทำสิ่งที่น่าพอใจ และเมื่อทำย่อม
เป็นไปเพื่อประโยชน์ บัณฑิตย่อมรู้ว่าฐานะนี้ควรทำทั้ง ๒ ส่วน คือ รู้ว่าควรทำ
ทั้งส่วนที่เป็นฐานะที่ให้ทำสิ่งที่น่าพอใจ และรู้ว่าควรทำทั้งส่วนที่เป็นฐานะที่เมื่อทำ
ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์ บัณฑิตย่อมรู้ว่าฐานะนี้ควรทำทั้ง ๒ ส่วน
ภิกษุทั้งหลาย ฐานะ ๔ ประการนี้แล

ฐานสูตรที่ ๕ จบ

๖. อัปปมาทสูตร
ว่าด้วยความไม่ประมาท

[๑๑๖] ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอควรทำความไม่ประมาทโดยฐานะ ๔ ประการ
ฐานะ ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๑ หน้า :๑๗๘ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๓.ตติยปัณณาสก์]
๒.เกสิวรรค ๗.อารักขสูตร

๑. จงละกายทุจริต บำเพ็ญกายสุจริต และอย่าประมาทในการละ
กายทุจริตบำเพ็ญกายสุจริตนั้น
๒. จงละวจีทุจริต บำเพ็ญวจีสุจริต และอย่าประมาทในการละวจี
ทุจริตบำเพ็ญวจีสุจริตนั้น
๓. จงละมโนทุจริต บำเพ็ญมโนสุจริต และอย่าประมาทในการละ
มโนทุจริตบำเพ็ญมโนสุจริตนั้น
๔. จงละมิจฉาทิฏฐิ บำเพ็ญสัมมาทิฏฐิ และอย่าประมาทในการละ
มิจฉาทิฏฐิบำเพ็ญสัมมาทิฏฐินั้น
ภิกษุทั้งหลาย เมื่อใดภิกษุละกายทุจริต บำเพ็ญกายสุจริต ละวจีทุจริต
บำเพ็ญวจีสุจริต ละมโนทุจริต บำเพ็ญมโนสุจริต ละมิจฉาทิฏฐิ บำเพ็ญสัมมาทิฏฐิ
เมื่อนั้นเธอย่อมไม่กลัวความตายที่จะมาถึงในวันข้างหน้า

อัปปมาทสูตรที่ ๖ จบ

๗. อารักขสูตร
ว่าด้วยสติเครื่องรักษา

[๑๑๗] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงทำความไม่ประมาท คือ มีสติเครื่องรักษาใจ
โดยสมควรแก่ตนในฐานะ ๔ ประการ
ฐานะ ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
พึงทำความไม่ประมาท คือ มีสติเครื่องรักษาใจโดยสมควรแก่ตนว่า
๑. จิตของเราอย่ากำหนัดในธรรมที่เป็นเหตุแห่งความกำหนัด
๒. จิตของเราอย่าขัดเคืองในธรรมที่เป็นเหตุแห่งความขัดเคือง
๓. จิตของเราอย่าหลงในธรรมที่เป็นเหตุแห่งความหลง
๔. จิตของเราอย่ามัวเมาในธรรมที่เป็นเหตุแห่งความมัวเมา
ในกาลใด จิตของภิกษุไม่กำหนัดในธรรมที่เป็นเหตุแห่งความกำหนัดเพราะ
ปราศจากความกำหนัด จิตไม่ขัดเคืองในธรรมที่เป็นเหตุแห่งความขัดเคืองเพราะ
ปราศจากความขัดเคือง จิตไม่หลงในธรรมที่เป็นเหตุแห่งความหลงเพราะปราศจาก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๑ หน้า :๑๗๙ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๓.ตติยปัณณาสก์]
๒.เกสิวรรค ๘. สังเวชนียสูตร

ความหลง จิตไม่มัวเมาในธรรมที่เป็นเหตุแห่งความมัวเมา เพราะปราศจากความ
มัวเมา ในกาลนั้น ภิกษุนั้นย่อมไม่หวาดผวา ไม่หวั่นไหว ไม่สะทกสะท้าน ไม่ถึง
ความสะดุ้ง และไม่หลงเชื่อแม้เพราะถ้อยคำของสมณะเป็นเหตุ

อารักขสูตรที่ ๗ จบ

๘. สังเวชนียสูตร๑
ว่าด้วยสังเวชนียสถาน

[๑๑๘] ภิกษุทั้งหลาย สังเวชนียสถาน๒ ๔ แห่งนี้เป็นสถานที่ที่กุลบุตรผู้มี
ศรัทธา ควรไปดู
สังเวชนียสถาน ๔ แห่ง อะไรบ้าง คือ
๑. สังเวชนียสถานที่กุลบุตรผู้มีศรัทธาควรไปดูด้วยระลึกว่า “ตถาคต
ประสูติในที่นี้”
๒. สังเวชนียสถานที่กุลบุตรผู้มีศรัทธาควรไปดูด้วยระลึกว่า “ตถาคต
ตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณในที่นี้”
๓. สังเวชนียสถานที่กุลบุตรผู้มีศรัทธาควรไปดูด้วยระลึกว่า “ตถาคต
ทรงประกาศธรรมจักรอันยอดเยี่ยมในที่นี้”
๔. สังเวชนียสถานที่กุลบุตรผู้มีศรัทธาควรไปดูด้วยระลึกว่า “ตถาคต
เสด็จดับขันธปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุในที่นี้”
ภิกษุทั้งหลาย สังเวชนียสถาน ๔ แห่งนี้แลเป็นสถานที่ที่กุลบุตรผู้มีศรัทธา
ควรไปดู

สังเวชนียสูตรที่ ๘ จบ


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๓.ตติยปัณณาสก์]
๒.เกสิวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

๙. ปฐมภยสูตร
ว่าด้วยภัยภายใน สูตรที่ ๑

[๑๑๙] ภิกษุทั้งหลาย ภัย ๔ ประการนี้
ภัย ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ชาติภัย (ภัยเกิดเพราะความเกิด)
๒. ชราภัย (ภัยเกิดเพราะความแก่)
๓. พยาธิภัย (ภัยเกิดเพราะความเจ็บไข้)
๔. มรณภัย (ภัยเกิดเพราะความตาย)
ภิกษุทั้งหลาย ภัย ๔ ประการนี้แล

ปฐมภยสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. ทุติยภยสูตร
ว่าด้วยภัยภายนอก สูตรที่ ๒

[๑๒๐] ภิกษุทั้งหลาย ภัย ๔ ประการนี้
ภัย ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. อัคคีภัย (ภัยเกิดจากไฟ) ๒. อุทกภัย (ภัยเกิดจากน้ำ)
๓. ราชภัย (ภัยเกิดจากพระราชา) ๔. โจรภัย (ภัยเกิดจากโจร)
ภิกษุทั้งหลาย ภัย ๔ ประการนี้แล

ทุติยภยสูตรที่ ๑๐ จบ
เกสิวรรคที่ ๒ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. เกสิสูตร ๒. ชวสูตร
๓. ปโตทสูตร ๔. นาคสูตร
๕. ฐานสูตร ๖. อัปปมาทสูตร
๗. อารักขสูตร ๘. สังเวชนียสูตร
๙. ปฐมภยสูตร ๑๐. ทุติยภยสูตร


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๓.ตติยปัณณาสก์]
๓.ภยวรรค ๑.อัตตานุวาทสูตร

๓. ภยวรรค
หมวดว่าด้วยภัย
๑. อัตตานุวาทสูตร
ว่าด้วยอัตตานุวาทภัย

[๑๒๑] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย ภัย ๔ ประการนี้
ภัย ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. อัตตานุวาทภัย๑ ๒. ปรานุวาทภัย๒
๓. ทัณฑภัย๓ ๔. ทุคติภัย๔
อัตตานุวาทภัย เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้เห็นประจักษ์ดังนี้ว่า “ก็ถ้าเราพึงประพฤติชั่วด้วย
กาย ประพฤติชั่วด้วยวาจา ประพฤติชั่วด้วยใจ ไฉนเราจะติเตียนตัวเราเองโดยศีล
ไม่ได้” เขากลัวภัยที่เกิดจากการติเตียนตนเอง จึงละกายทุจริต บำเพ็ญกายสุจริต
ละวจีทุจริต บำเพ็ญวจีสุจริต ละมโนทุจริต บำเพ็ญมโนสุจริต บริหารตนให้บริสุทธิ์
นี้เรียกว่า อัตตานุวาทภัย
ปรานุวาทภัย เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้เห็นประจักษ์ดังนี้ว่า “ก็ถ้าเราพึงประพฤติชั่วด้วย
กาย ประพฤติชั่วด้วยวาจา ประพฤติชั่วด้วยใจ ไฉนคนอื่นจะติเตียนเราโดยศีล
ไม่ได้” เขากลัวภัยที่เกิดจากผู้อื่นติเตียน จึงละกายทุจริต บำเพ็ญกายสุจริต ละ
วจีทุจริต บำเพ็ญวจีสุจริต ละมโนทุจริต บำเพ็ญมโนสุจริต บริหารตนให้บริสุทธิ์
นี้เรียกว่า ปรานุวาทภัย


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๓.ตติยปัณณาสก์]
๓.ภยวรรค ๑.อัตตานุวาทสูตร

ทัณฑภัย เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้เห็นพระราชารับสั่งให้จับโจรผู้มักประพฤติชั่วแล้ว
ให้ลงโทษทัณฑ์นานาชนิด คือ เฆี่ยนด้วยแส้บ้าง เฆี่ยนด้วยหวายบ้าง ตีด้วยไม้
ตะบองบ้าง ตัดมือบ้าง ตัดเท้าบ้าง ตัดทั้งมือและเท้าบ้าง ตัดหูบ้าง ตัดจมูกบ้าง
ตัดทั้งหูและจมูกบ้าง ทำให้เป็นภาชนะสำหรับรองหม้อน้ำข้าวบ้าง ทำให้เกลี้ยง
เกลาเหมือนสังข์บ้าง ทำให้มีปากเหมือนปากราหูบ้าง ทำให้มีพวงมาลัยไฟบ้าง
ทำให้มือมีไฟลุกโชติช่วงบ้าง ทำให้เป็นเกลียวหนังเนื้อทรายบ้าง ทำให้นุ่งหนังตน
เองเหมือนนุ่งผ้าขี้ริ้วบ้าง ทำให้ยืนกวางบ้าง ทำให้เหมือนเนื้อติดเบ็ดบ้าง ทำให้
เป็นชิ้นเท่ากหาปณะบ้าง ทำให้เป็นที่รับน้ำด่างบ้าง ทำให้หมุนเหมือนกลอนเหล็ก
บ้าง ทำให้เป็นตั่งที่ทำด้วยฟางบ้าง ราดด้วยน้ำมันร้อนบ้าง ให้สุนัขกัดกินบ้าง
ให้นอนหงายบนหลาวทั้งที่ยังมีชีวิตอยู่บ้าง ตัดศีรษะด้วยดาบบ้าง
เขามีความคิดอย่างนี้ว่า “เพราะกรรมชั่วเช่นใดเป็นเหตุ พระราชาจึงรับสั่งให้จับ
โจรผู้มักประพฤติชั่วแล้วให้ลงโทษทัณฑ์นานาชนิด คือ เฆี่ยนด้วยแส้บ้าง ฯลฯ ตัด
ศีรษะด้วยดาบบ้าง” ก็ถ้าเราเองพึงทำกรรมชั่วเช่นนั้น พระราชาพึงรับสั่งให้จับเรา
แล้วให้ลงโทษทัณฑ์นานาชนิดอย่างนี้ คือ เฆี่ยนด้วยแส้บ้าง ฯลฯ ตัดศีรษะด้วย
ดาบบ้าง เขากลัวทัณฑภัย ไม่เที่ยวแย่งชิงสิ่งของของคนอื่น นี้เรียกว่า ทัณฑภัย
ทุคติภัย เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้เห็นประจักษ์ดังนี้ว่า “ผลของกายทุจริตในภพหน้า
เป็นผลเลวทราม (เป็นทุกข์) ผลของวจีทุจริตในภพหน้าเป็นผลเลวทราม ผลของ
มโนทุจริตในภพหน้าเป็นผลเลวทราม ก็ถ้าเราพึงประพฤติชั่วด้วยกาย ประพฤติชั่ว
ด้วยวาจา ประพฤติชั่วด้วยใจ ความชั่วบางอย่างนั้นพึงเป็นเหตุให้เราหลังจากตาย
แล้วไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก” เขากลัวต่อทุคติภัยจึงละกายทุจริต
บำเพ็ญกายสุจริต ละวจีทุจริต บำเพ็ญวจีสุจริต ละมโนทุจริต บำเพ็ญมโนสุจริต
บริหารตนให้บริสุทธิ์ นี้เรียกว่า ทุคติภัย
ภิกษุทั้งหลาย ภัย ๔ ประการนี้แล

อัตตานุวาทสูตรที่ ๑ จบ


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๓.ตติยปัณณาสก์] ๓.ภยวรรค ๒.อูมิภยสูตร

๒. อูมิภยสูตร
ว่าด้วยภัยจากคลื่น

[๑๒๒] ภิกษุทั้งหลาย ภัย ๔ ประการนี้ที่คนลงไปในน้ำพึงประสบ
ภัย ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. อูมิภัย (ภัยจากคลื่น) ๒. กุมภีลภัย (ภัยจากจระเข้)
๓. อาวัฏฏภัย (ภัยจากน้ำวน) ๔. สุสุกาภัย (ภัยจากปลาร้าย)
ภิกษุทั้งหลาย ภัย ๔ ประการนี้แลที่คนลงไปในน้ำพึงประสบ ฉันใด
ภิกษุทั้งหลาย ภัย ๔ ประการนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกันแล ที่กุลบุตรบางคนใน
โลกนี้มีศรัทธาออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตในธรรมวินัยนี้พึงประสบ
ภัย ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. อูมิภัย ๒. กุมภีลภัย
๓. อาวัฏฏภัย ๔. สุสุกาภัย
อูมิภัย เป็นอย่างไร
คือ กุลบุตรบางคนในโลกนี้มีศรัทธาออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต คิดว่า
“เราถูกชาติ (ความเกิด) ชรา (ความแก่) มรณะ (ความตาย) โสกะ (ความ
เศร้าโศก) ปริเทวะ (ความคร่ำครวญ) ทุกข์ (ความทุกข์กาย) โทมนัส (ความทุกข์ใจ)
อุปายาส (ความคับแค้นใจ) ครอบงำ ตกอยู่ในกองทุกข์ มีทุกข์ประดังเข้ามา ไฉนหนอ
การทำกองทุกข์ทั้งหมดนี้ให้สิ้นสุดจะพึงปรากฏ” เพื่อนพรหมจารีตักเตือนพร่ำสอน
เธอผู้บวชแล้วนั้นว่า “เธอพึงก้าวไปอย่างนี้ พึงถอยกลับอย่างนี้ พึงแลดูอย่างนี้
พึงเหลียวดูอย่างนี้ พึงคู้เข้าอย่างนี้ พึงเหยียดออกอย่างนี้ พึงครองสังฆาฏิ บาตร
และจีวรอย่างนี้” เธอคิดอย่างนี้ว่า “เมื่อก่อนเราเป็นคฤหัสถ์ มีแต่ตักเตือนพร่ำสอน
ผู้อื่น ก็ภิกษุเหล่านี้มีอายุคราวลูก คราวหลานของเรายังจะมาตักเตือนพร่ำสอน”
เธอขุ่นเคืองไม่พอใจ บอกคืนสิกขากลับมาเป็นคฤหัสถ์ นี้เรียกว่า ภิกษุผู้กลัวอูมิภัย
บอกคืนสิกขากลับมาเป็นคฤหัสถ์ คำว่า อูมิภัย นี้เป็นชื่อเรียกความโกรธและ
ความคับแค้นใจ นี้เรียกว่า อูมิภัย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๑ หน้า :๑๘๔ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๓.ตติยปัณณาสก์] ๓.ภยวรรค ๒.อูมิภยสูตร

กุมภีลภัย เป็นอย่างไร
คือ กุลบุตรบางคนในโลกนี้มีศรัทธาออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต คิดว่า
“เราถูกชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาสครอบงำ ตกอยู่ใน
กองทุกข์ มีทุกข์ประดังเข้ามา ไฉนหนอการทำกองทุกข์ทั้งหมดนี้ให้สิ้นสุดจะพึง
ปรากฏ” เพื่อนพรหมจารีตักเตือนพร่ำสอนเธอผู้บวชแล้วนั้นว่า “สิ่งนี้เธอพึงฉัน
สิ่งนี้เธอไม่พึงฉัน สิ่งนี้เธอพึงบริโภค สิ่งนี้เธอไม่พึงบริโภค สิ่งนี้เธอพึงลิ้ม สิ่งนี้
เธอไม่พึงลิ้ม สิ่งนี้เธอพึงดื่ม สิ่งนี้เธอไม่พึงดื่ม สิ่งเป็นกัปปิยะ๑เธอพึงฉัน สิ่ง
เป็นอกัปปิยะ๒เธอไม่พึงฉัน สิ่งเป็นกัปปิยะเธอพึงบริโภค สิ่งเป็นอกัปปิยะเธอไม่พึง
บริโภค สิ่งเป็นกัปปิยะเธอพึงลิ้ม สิ่งเป็นอกัปปิยะเธอไม่พึงลิ้ม สิ่งเป็นกัปปิยะเธอ
พึงดื่ม สิ่งเป็นอกัปปิยะเธอไม่พึงดื่ม เธอพึงฉันในเวลา เธอไม่พึงฉันนอกเวลา
เธอพึงบริโภคในเวลา เธอไม่พึงบริโภคนอกเวลา เธอพึงลิ้มในเวลา เธอไม่พึงลิ้มนอก
เวลา เธอพึงดื่มในเวลา เธอไม่พึงดื่มนอกเวลา” เธอคิดอย่างนี้ว่า “เมื่อก่อน
เราเป็นคฤหัสถ์ เคี้ยวกินสิ่งที่เราต้องการ ไม่เคี้ยวกินสิ่งที่เราไม่ต้องการ บริโภค
สิ่งที่เราต้องการ ไม่บริโภคสิ่งที่เราไม่ต้องการ ลิ้มสิ่งที่เราต้องการ ไม่ลิ้มสิ่งที่เรา
ไม่ต้องการ ดื่มสิ่งที่เราต้องการ ไม่ดื่มสิ่งที่เราไม่ต้องการ กินทั้งสิ่งเป็นกัปปิยะ
และสิ่งเป็นอกัปปิยะ บริโภคทั้งสิ่งเป็นกัปปิยะและสิ่งเป็นอกัปปิยะ ลิ้มทั้งสิ่งเป็น
กัปปิยะและสิ่งเป็นอกัปปิยะ ดื่มทั้งสิ่งเป็นกัปปิยะและสิ่งเป็นอกัปปิยะ กินทั้งในเวลา
และนอกเวลา บริโภคทั้งในเวลาและนอกเวลา ลิ้มทั้งในเวลาและนอกเวลา ดื่มทั้ง
ในเวลาและนอกเวลา สิ่งใดที่ประณีตไม่ว่าจะเป็นของเคี้ยวหรือของบริโภคที่คหบดีผู้
มีศรัทธาถวายแก่เราทั้งในเวลาและนอกเวลา ภิกษุเหล่านี้ทำเหมือนปิดปากแม้ใน
สิ่งของเหล่านั้น” เธอขัดเคือง ไม่พอใจ บอกคืนสิกขากลับมาเป็นคฤหัสถ์ นี้เรียก
ว่า ภิกษุผู้กลัวกุมภีลภัยบอกคืนสิกขากลับมาเป็นคฤหัสถ์ คำว่า กุมภีลภัย นี้
เป็นชื่อเรียกความเป็นคนเห็นแก่ปากท้อง นี้เรียกว่า กุมภีลภัย


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๓.ตติยปัณณาสก์] ๓.ภยวรรค ๒.อูมิภยสูตร

อาวัฏฏภัย เป็นอย่างไร
คือ กุลบุตรบางคนในโลกนี้มีศรัทธาออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต คิดว่า
“เราถูกชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาสครอบงำ ตก
อยู่ในกองทุกข์ มีทุกข์ประดังเข้ามา ไฉนหนอการทำกองทุกข์ทั้งหมดนี้ให้สิ้นสุด
จะพึงปรากฏ” เธอบวชอยู่อย่างนี้ ในเวลาเช้าครองอันตรวาสกถือบาตรและจีวร
เข้าไปบิณฑบาตตามหมู่บ้านหรือตำบล ไม่รักษากาย วาจา ใจ มีสติไม่ตั้งมั่น
ไม่สำรวมอินทรีย์ เธอเห็นคหบดีหรือบุตรคหบดีในหมู่บ้านหรือตำบลนั้น เอิบอิ่ม
พรั่งพร้อม บำเรอตนอยู่ด้วยกามคุณ ๕ คิดอย่างนี้ว่า “เมื่อก่อนเราเป็นคฤหัสถ์
เอิบอิ่ม พรั่งพร้อม บำเรอตนอยู่ด้วยกามคุณ ๕ โภคทรัพย์ในตระกูลของเราก็มี
อยู่พร้อม เราสามารถที่จะใช้สอยโภคทรัพย์และทำบุญได้ ทางที่ดี เราบอกคืน
สิกขากลับมาเป็นคฤหัสถ์ ใช้สอยโภคทรัพย์และทำบุญ” เธอบอกคืนสิกขากลับมา
เป็นคฤหัสถ์ นี้เรียกว่า ภิกษุผู้กลัวอาวัฏฏภัยบอกคืนสิกขากลับมาเป็นคฤหัสถ์ คำว่า
อาวัฏฏภัย นี้เป็นชื่อเรียกกามคุณ ๕ นี้เรียกว่า อาวัฏฏภัย
สุสุกาภัย เป็นอย่างไร
คือ กุลบุตรบางคนในโลกนี้มีศรัทธาออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต คิดว่า
“เราถูกชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาสครอบงำ ตก
อยู่ในกองทุกข์ มีทุกข์ประดังเข้ามา ไฉนหนอการทำกองทุกข์ทั้งหมดนี้ให้สิ้นสุด
จะพึงปรากฏ” เธอบวชอยู่อย่างนี้ ในเวลาเช้าครองอันตรวาสกถือบาตรและจีวร
เข้าไปบิณฑบาตตามหมู่บ้านหรือตำบล ไม่รักษากาย วาจา ใจ มีสติไม่ตั้งมั่น ไม่
สำรวมอินทรีย์ เธอเห็นมาตุคาม(สตรี)ในหมู่บ้านหรือตำบลนั้นนุ่งไม่เรียบร้อย
หรือห่มไม่เรียบร้อย ราคะรบกวนจิตของเธอเพราะเห็นมาตุคามนุ่งไม่เรียบร้อยหรือ
ห่มไม่เรียบร้อย เธอมีจิตฟุ้งซ่านเพราะราคะ จึงบอกคืนสิกขากลับมาเป็นคฤหัสถ์
นี้เรียกว่า ภิกษุผู้กลัวสุสุกาภัยบอกคืนสิกขากลับมาเป็นคฤหัสถ์ คำว่า สุสุกาภัย
นี้เป็นชื่อเรียกมาตุคาม นี้เรียกว่า สุสุกาภัย
ภิกษุทั้งหลาย ภัย ๔ ประการนี้แลที่กุลบุตรบางคนในโลกนี้มีศรัทธาออกจาก
เรือนบวชเป็นบรรพชิตในธรรมวินัยนี้พึงประสบ

อูมิภยสูตรที่ ๒ จบ


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๓.ตติยปัณณาสก์]
๓.ภยวรรค ๓.ปฐมนานากรณสูตร

๓. ปฐมนานากรณสูตร
ว่าด้วยเหตุที่ทำให้บุคคลต่างกัน สูตรที่ ๑

[๑๒๓] ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกนี้มีปรากฏอยู่ในโลก
บุคคล ๔ จำพวกไหนบ้าง คือ
๑. บุคคลบางคนในโลกนี้สงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว
บรรลุปฐมฌานที่มีวิตก วิจาร ปีติ และสุขอันเกิดจากวิเวก๑อยู่
เขาชอบใจปฐมฌานนั้น ติดใจปฐมฌานนั้น และถึงความปลื้มใจ
กับปฐมฌานนั้น เขาดำรงอยู่ในปฐมฌานนั้น น้อมใจไปใน
ปฐมฌานนั้น ชอบอยู่กับปฐมฌานนั้นโดยมาก ไม่เสื่อม เมื่อ
ตายไป ย่อมเข้าถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับพวกเทวดาชั้นหมู่พรหม
พวกเทวดาชั้นหมู่พรหมมีอายุประมาณ ๑ กัป๒ คนที่เป็นปุถุชน
ดำรงอยู่ในชั้นหมู่พรหมนั้นจนสิ้นอายุ ให้ระยะเวลาที่เป็นกำหนด
อายุของเทวดาเหล่านั้นหมดไปแล้วไปสู่นรกบ้าง ไปสู่กำเนิดสัตว์
ดิรัจฉานบ้าง ไปสู่แดนเปรตบ้าง ส่วนสาวกของพระผู้มีพระภาค
ดำรงอยู่ในชั้นหมู่พรหมนั้นจนสิ้นอายุ ให้ระยะเวลาที่เป็นกำหนด
อายุของเทวดาเหล่านั้นหมดไปแล้วปรินิพพานในภพนั้นแล นี้แล
เป็นความแปลกกัน เป็นความแตกต่างกัน เป็นเหตุทำให้ต่างกัน
ระหว่างอริยสาวกผู้ได้สดับกับปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ เมื่อคติ (การตาย)
และอุบัติ(การเกิด)ยังมีอยู่
๒. บุคคลบางคนในโลกนี้ เพราะวิตกวิจารสงบระงับไป บรรลุทุติย-
ฌานมีความผ่องใสภายใน มีภาวะที่จิตเป็นหนึ่งผุดขึ้น๓ ไม่มีวิตก


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๓.ตติยปัณณาสก์]
๓.ภยวรรค ๓. ปฐมนานากรณสูตร

ไม่มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดจากสมาธิอยู่ เขาชอบใจทุติยฌานนั้น
ติดใจทุติยฌานนั้น และถึงความปลื้มใจกับทุติยฌานนั้น เขา
ดำรงอยู่ในทุติยฌานนั้น น้อมใจไปในทุติยฌานนั้น ชอบอยู่กับ
ทุติยฌานนั้นโดยมาก ไม่เสื่อม เมื่อตายไปย่อมเข้าถึงความเป็น
ผู้อยู่ร่วมกับพวกเทวดาชั้นอาภัสสระ พวกเทวดาชั้นอาภัสสระ
มีอายุประมาณ ๒ กัป คนที่เป็นปุถุชนดำรงอยู่ในชั้นอาภัสสระ
นั้นจนสิ้นอายุ ให้ระยะเวลาที่เป็นกำหนดอายุของเทวดาเหล่านั้น
หมดไปแล้วไปสู่นรกบ้าง ไปสู่กำเนิดสัตว์ดิรัจฉานบ้าง ไปสู่แดน
เปรตบ้าง ส่วนสาวกของพระผู้มีพระภาค ดำรงอยู่ในชั้นอาภัสสระ
นั้นจนสิ้นอายุ ให้ระยะเวลาที่เป็นกำหนดอายุของเทวดาเหล่านั้น
หมดไปแล้วปรินิพพานในภพนั้นแล นี้แลเป็นความแปลกกัน
เป็นความแตกต่างกัน เป็นเหตุทำให้ต่างกันระหว่างอริยสาวกผู้
ได้สดับกับปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ เมื่อคติและอุบัติยังมีอยู่
๓. บุคคลบางคนในโลกนี้ เพราะปีติจางคลายไป มีอุเบกขา มีสติ
สัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย บรรลุตติยฌานที่พระอริยะ
ทั้งหลายสรรเสริญว่า ‘ผู้มีอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข’ เขาชอบใจ
ตติยฌานนั้น ติดใจตติยฌานนั้น และถึงความปลื้มใจกับตติยฌาน
นั้น เขาดำรงอยู่ในตติยฌานนั้น น้อมใจไปในตติยฌานนั้น
ชอบอยู่กับตติยฌานนั้นโดยมาก ไม่เสื่อม เมื่อตายไปย่อมเข้าถึง
ความเป็นผู้อยู่ร่วมกับพวกเทวดาชั้นสุภกิณหะ พวกเทวดาชั้น
สุภกิณหะมีอายุประมาณ ๔ กัป คนที่เป็นปุถุชนดำรงอยู่ในชั้น
สุภกิณหะนั้นจนสิ้นอายุ ให้ระยะเวลาที่เป็นกำหนดอายุของเทวดา
เหล่านั้นหมดไปแล้วไปสู่นรกบ้าง ไปสู่กำเนิดสัตว์ดิรัจฉานบ้าง
ไปสู่แดนเปรตบ้าง ส่วนสาวกของพระผู้มีพระภาคดำรงอยู่ในชั้น
สุภกิณหะนั้นจนสิ้นอายุ ให้ระยะเวลาที่เป็นกำหนดอายุของเทวดา
เหล่านั้นหมดไปแล้วปรินิพพานในภพนั้นแล นี้แลเป็นความแปลก
กัน เป็นความแตกต่างกัน เป็นเหตุทำให้ต่างกันระหว่างอริยสาวก
ผู้ได้สดับกับปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ เมื่อคติและอุบัติยังมีอยู่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๑ หน้า :๑๘๘ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๓.ตติยปัณณาสก์]
๓.ภยวรรค ๔.ทุติยนานากรณสูตร

๔. บุคคลบางคนในโลกนี้ เพราะละสุขและทุกข์ได้ เพราะโสมนัส
และโทมนัสดับไปก่อนแล้ว บรรลุจตุตถฌานที่ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข
มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขาอยู่ เขาชอบใจจตุตถฌานนั้น ติดใจ
จตุตถฌานนั้นและถึงความปลื้มใจกับจตุตถฌานนั้น เขาดำรงอยู่
ในจตุตถฌานนั้น น้อมใจไปในจตุตถฌานนั้น ชอบอยู่กับจตุตถ-
ฌานนั้นโดยมาก ไม่เสื่อม เมื่อตายไปย่อมเข้าถึงความเป็นผู้อยู่
ร่วมกับพวกเทวดาชั้นเวหัปผละ พวกเทวดาชั้นเวหัปผละมีอายุ
ประมาณ ๕๐๐ กัป คนที่เป็นปุถุชนดำรงอยู่ในชั้นเวหัปผละนั้น
จนสิ้นอายุ ให้ระยะเวลาที่เป็นกำหนดอายุของเทวดาเหล่านั้น
หมดไปแล้วไปสู่นรกบ้าง ไปสู่กำเนิดสัตว์ดิรัจฉานบ้าง ไปสู่แดน
เปรตบ้าง ส่วนสาวกของพระผู้มีพระภาคดำรงอยู่ในชั้นเวหัปผละ
นั้นจนสิ้นอายุ ให้ระยะเวลาที่เป็นกำหนดอายุของเทวดาเหล่านั้น
หมดไปแล้วปรินิพพานในภพนั้นแล นี้แลเป็นความแปลกกัน
เป็นความแตกต่างกัน เป็นเหตุทำให้ต่างกันระหว่างอริยสาวกผู้
ได้สดับกับปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ เมื่อคติและอุบัติยังมีอยู่
ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกนี้แลมีปรากฏอยู่ในโลก

ปฐมนานากรณสูตรที่ ๓ จบ

๔. ทุติยนานากรณสูตร
ว่าด้วยเหตุที่ทำให้บุคคลต่างกัน สูตรที่ ๒

[๑๒๔] ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกนี้มีปรากฏอยู่ในโลก
บุคคล ๔ จำพวกไหนบ้าง คือ
๑. บุคคลบางคนในโลกนี้สงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว
บรรลุปฐมฌานที่มีวิตก วิจาร ปีติ และสุขอันเกิดจากวิเวกอยู่
เขาพิจารณาเห็นธรรมทั้งหลาย คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร
วิญญาณที่มีอยู่ในปฐมฌานนั้นโดยความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เสียดแทง
เป็นดังหัวฝี เป็นดังลูกศร เป็นสิ่งคับแค้น เบียดเบียน ไม่เชื่อฟัง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๑ หน้า :๑๘๙ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๓.ตติยปัณณาสก์]
๓.ภยวรรค ๕.ปฐมเมตตาสูตร

ต้องแตกสลายไป ว่างเปล่า ไม่อยู่ในอำนาจ หลังจากตายแล้ว เขา
ย่อมเข้าถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับพวกเทวดาชั้นสุทธาวาส การเข้า
ถึงนี้ไม่ใช่มีอยู่ทั่วไปกับปุถุชนทั้งหลาย
๒. บุคคลบางคนในโลกนี้ เพราะวิตกวิจารสงบระงับไป บรรลุทุติยฌาน
ฯลฯ
๓. บุคคลบางคนในโลกนี้ เพราะปีติจางคลายไป มีอุเบกขา มีสติ-
สัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย บรรลุตติยฌาน ฯลฯ
๔. บุคคลบางคนในโลกนี้ เพราะละสุขและทุกข์ได้ เพราะโสมนัสและ
โทมนัสดับไปก่อนแล้ว บรรลุจตุตถฌาน ฯลฯ อยู่ เขาพิจารณา
เห็นธรรมทั้งหลาย คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
ที่มีอยู่ในจตุตถฌานนั้นโดยความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เสียดแทง
เป็นดังหัวฝี เป็นดังลูกศร เป็นสิ่งคับแค้น เบียดเบียน ไม่เชื่อฟัง
ต้องแตกสลายไป ว่างเปล่า ไม่อยู่ในอำนาจ หลังจากตายแล้ว เขา
ย่อมเข้าถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับพวกเทวดาชั้นสุทธาวาส การเข้า
ถึงนี้ไม่ใช่มีอยู่ทั่วไปกับปุถุชนทั้งหลาย
ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกนี้แลมีปรากฏอยู่ในโลก

ทุติยนานากรณสูตรที่ ๔ จบ

๕. ปฐมเมตตาสูตร
ว่าด้วยผู้มีเมตตาจิต สูตรที่ ๑

[๑๒๕] ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกนี้มีปรากฏอยู่ในโลก
บุคคล ๔ จำพวกไหนบ้าง คือ
๑. บุคคลบางคนในโลกนี้มีเมตตาจิต แผ่ไปตลอดทิศที่ ๑ ทิศที่ ๒ ...
ทิศที่ ๓ ... ทิศที่ ๔ ... ทิศเบื้องบน๑ ทิศเบื้องล่าง๒ ทิศเฉียง๓


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๓.ตติยปัณณาสก์]
๓.ภยวรรค ๕.ปฐมเมตตาสูตร

แผ่ไปตลอดโลกทั่วทุกหมู่เหล่าในที่ทุกสถานด้วยเมตตาจิตอันไพบูลย์
เป็นมหัคคตะ๑ ไม่มีขอบเขต ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนอยู่
อย่างนี้ เขาชอบใจเมตตาฌานนั้น ติดใจเมตตาฌานนั้น และถึง
ความปลื้มใจกับเมตตาฌานนั้น เขาดำรงอยู่ในเมตตาฌานนั้น
น้อมใจไปในเมตตาฌานนั้น ชอบอยู่กับเมตตาฌานนั้นโดยมาก
ไม่เสื่อม เมื่อตายไปย่อมเข้าถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับพวกเทวดา
ชั้นหมู่พรหม พวกเทวดาชั้นหมู่พรหมมีอายุประมาณ ๑ กัป คน
ที่เป็นปุถุชนดำรงอยู่ในชั้นหมู่พรหมนั้นจนสิ้นอายุ ให้ระยะเวลา
ที่เป็นกำหนดอายุของเทวดาเหล่านั้นหมดไปแล้วไปสู่นรกบ้าง
ไปสู่กำเนิดสัตว์ดิรัจฉานบ้าง ไปสู่แดนเปรตบ้าง ส่วนสาวกของ
พระผู้มีพระภาคดำรงอยู่ในชั้นหมู่พรหมนั้นจนสิ้นอายุ ให้ระยะ
เวลาที่เป็นกำหนดอายุของเทวดาเหล่านั้นหมดไปแล้วปรินิพพาน
ในภพนั้นแล นี้แลเป็นความแปลกกัน เป็นความแตกต่างกัน
เป็นเหตุทำให้ต่างกันระหว่างอริยสาวกผู้ได้สดับกับปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ
เมื่อคติและอุบัติยังมีอยู่
๒. บุคคลบางคนในโลกนี้มีกรุณาจิต แผ่ไปตลอดทิศที่ ๑ ทิศที่ ๒ ...
ทิศที่ ๓ ... ทิศที่ ๔ ... ทิศเบื้องบน ทิศเบื้องล่าง ทิศเฉียง
แผ่ไปตลอดโลกทั่วทุกหมู่เหล่าในที่ทุกสถานด้วยกรุณาจิตอันไพบูลย์
เป็นมหัคคตะ ไม่มีขอบเขต ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนอยู่
อย่างนี้ เขาชอบใจกรุณาฌานนั้น ติดใจกรุณาฌานนั้น และถึง
ความปลื้มใจกับกรุณาฌานนั้น เขาดำรงอยู่ในกรุณาฌานนั้น
น้อมใจไปในกรุณาฌานนั้น ชอบอยู่กับกรุณาฌานนั้นโดยมาก
ไม่เสื่อม เมื่อตายไปย่อมเข้าถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับพวกเทวดา
ชั้นอาภัสสระ พวกเทวดาชั้นอาภัสสระมีอายุประมาณ ๒ กัป
คนที่เป็นปุถุชนดำรงอยู่ในชั้นอาภัสสระนั้นจนสิ้นอายุ ให้ระยะ


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๓.ตติยปัณณาสก์]
๓.ภยวรรค ๕.ปฐมเมตตาสูตร

เวลาที่เป็นกำหนดอายุของเทวดาเหล่านั้นหมดไปแล้วไปสู่นรกบ้าง
ไปสู่กำเนิดสัตว์ดิรัจฉานบ้าง ไปสู่แดนเปรตบ้าง ส่วนสาวกของ
พระผู้มีพระภาคดำรงอยู่ในชั้นอาภัสสระนั้นจนสิ้นอายุ ให้ระยะ
เวลาที่เป็นกำหนดอายุของเทวดาเหล่านั้นหมดไปแล้วปรินิพพาน
ในภพนั้นแล นี้แลเป็นความแปลกกัน เป็นความแตกต่างกัน
เป็นเหตุทำให้ต่างกันระหว่างอริยสาวกผู้ได้สดับกับปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ
เมื่อคติและอุบัติยังมีอยู่
๓. บุคคลบางคนในโลกนี้มีมุทิตาจิตแผ่ไปตลอดทิศที่ ๑ ทิศที่ ๒ ...
ทิศที่ ๓ ... ทิศที่ ๔ ... ทิศเบื้องบน ทิศเบื้องล่าง ทิศเฉียง
แผ่ไปตลอดโลกทั่วทุกหมู่เหล่าในที่ทุกสถานด้วยมุทิตาจิตอันไพบูลย์
เป็นมหัคคตะ ไม่มีขอบเขต ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนอยู่
อย่างนี้ เขาชอบใจมุทิตาฌานนั้น ติดใจมุทิตาฌานนั้น และถึง
ความปลื้มใจกับมุทิตาฌานนั้น เขาดำรงอยู่ในมุทิตาฌานนั้น
น้อมใจไปในมุทิตาฌานนั้น ชอบอยู่กับมุทิตาฌานนั้นโดยมาก
ไม่เสื่อม เมื่อตายไปย่อมเข้าถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับพวกเทวดา
ชั้นสุภกิณหะ พวกเทวดาชั้นสุภกิณหะมีอายุประมาณ ๔ กัป
คนที่เป็นปุถุชนดำรงอยู่ในชั้นสุภกิณหะนั้นจนสิ้นอายุ ให้ระยะ
เวลาที่เป็นกำหนดอายุของเทวดาเหล่านั้นหมดไปแล้วไปสู่นรกบ้าง
ไปสู่กำเนิดสัตว์ดิรัจฉานบ้าง ไปสู่แดนเปรตบ้าง ส่วนสาวกของ
พระผู้มีพระภาคดำรงอยู่ในชั้นสุภกิณหะนั้นจนสิ้นอายุ ให้ระยะ
เวลากำหนดที่เป็นอายุของเทวดาเหล่านั้นหมดไปแล้วปรินิพพาน
ในภพนั้นแล นี้แลเป็นความแปลกกัน เป็นความแตกต่างกัน
เป็นเหตุทำให้ต่างกันระหว่างอริยสาวกผู้ได้สดับกับปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ
เมื่อคติและอุบัติยังมีอยู่
๔. บุคคลบางคนในโลกนี้มีอุเบกขาจิตแผ่ไปตลอดทิศที่ ๑ ทิศที่ ๒ ...
ทิศที่ ๓ ... ทิศที่ ๔ ... ทิศเบื้องบน ทิศเบื้องล่าง ทิศเฉียง
แผ่ไปตลอดโลกทั่วทุกหมู่เหล่าในที่ทุกสถานด้วยอุเบกขาจิตอัน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๑ หน้า :๑๙๒ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๓.ตติยปัณณาสก์]
๓.ภยวรรค ๖.ทุติยเมตตาสูตร

ไพบูลย์ เป็นมหัคคตะ ไม่มีขอบเขต ไม่มีเวร ไม่มีความ
เบียดเบียนอยู่อย่างนี้ เขาชอบใจอุเบกขาฌานนั้น ติดใจ
อุเบกขาฌานนั้น และถึงความปลื้มใจกับอุเบกขาฌานนั้น เขา
ดำรงอยู่ในอุเบกขาฌานนั้น น้อมใจไปในอุเบกขาฌานนั้น ชอบ
อยู่กับอุเบกขาฌานนั้นโดยมาก ไม่เสื่อม เมื่อตายไปย่อมเข้าถึง
ความเป็นผู้อยู่ร่วมกับพวกเทวดาชั้นเวหัปผละ พวกเทวดาชั้น
เวหัปผละมีอายุประมาณ ๕๐๐ กัป คนที่เป็นปุถุชนดำรงอยู่ในชั้น
เวหัปผละนั้นจนสิ้นอายุ ให้ระยะเวลาที่เป็นกำหนดอายุของเทวดา
เหล่านั้นหมดไปแล้วไปสู่นรกบ้าง ไปสู่กำเนิดสัตว์ดิรัจฉานบ้าง
ไปสู่แดนเปรตบ้าง ส่วนสาวกของพระผู้มีพระภาคดำรงอยู่ในชั้น
เวหัปผละนั้นจนสิ้นอายุ ให้ระยะเวลาที่เป็นกำหนดอายุของเทวดา
เหล่านั้นหมดไปแล้วปรินิพพานในภพนั้นแล นี้แลเป็นความแปลก
กัน เป็นความแตกต่างกัน เป็นเหตุทำให้ต่างกันระหว่างอริยสาวก
ผู้ได้สดับกับปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ เมื่อคติและอุบัติยังมีอยู่
ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกนี้แลมีปรากฏอยู่ในโลก

ปฐมเมตตาสูตรที่ ๕ จบ

๖. ทุติยเมตตาสูตร
ว่าด้วยผู้มีเมตตาจิต สูตรที่ ๒

[๑๒๖] ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกนี้มีปรากฏอยู่ในโลก
บุคคล ๔ จำพวกไหนบ้าง คือ
๑. บุคคลบางคนในโลกนี้มีเมตตาจิตแผ่ไปตลอดทิศที่ ๑ ทิศที่ ๒ ...
ทิศที่ ๓ ... ทิศที่ ๔ ... ทิศเบื้องบน ทิศเบื้องล่าง ทิศเฉียง
แผ่ไปตลอดโลกทั่วทุกหมู่เหล่าในที่ทุกสถานด้วยเมตตาจิตอันไพบูลย์
เป็นมหัคคตะ ไม่มีขอบเขต ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนอยู่
อย่างนี้ เขาพิจารณาเห็นธรรมทั้งหลาย คือ รูป เวทนา สัญญา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๑ หน้า :๑๙๓ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๓.ตติยปัณณาสก์]
๓.ภยวรรค ๗.ปฐมตถาคตอัจฉริยสูตร

สังขาร วิญญาณที่มีอยู่ในเมตตาจิตนั้น โดยความไม่เที่ยง เป็น
ทุกข์ เสียดแทง เป็นดังหัวฝี เป็นดังลูกศร เป็นสิ่งคับแค้น
เบียดเบียน ไม่เชื่อฟัง ต้องแตกสลายไป ว่างเปล่า ไม่อยู่ใน
อำนาจ หลังจากตายแล้ว เขาย่อมเข้าถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับ
พวกเทวดาชั้นสุทธาวาส การเข้าถึงนี้ไม่ใช่มีอยู่ทั่วไปกับปุถุชน
ทั้งหลาย
๒. บุคคลบางคนในโลกนี้มีกรุณาจิต ฯลฯ
๓. บุคคลบางคนในโลกนี้มีมุทิตาจิต ฯลฯ
๔. บุคคลบางคนในโลกนี้มีอุเบกขาจิตแผ่ไปตลอดทิศที่ ๑ ทิศที่ ๒ ...
ทิศที่ ๓ ... ทิศที่ ๔ ... ทิศเบื้องบน ทิศเบื้องล่าง ทิศเฉียง แผ่
ไปตลอดโลกทั่วทุกหมู่เหล่าในที่ทุกสถานด้วยอุเบกขาจิตอันไพบูลย์
เป็นมหัคคตะ ไม่มีขอบเขต ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนอยู่
อย่างนี้ เขาพิจารณาเห็นธรรมทั้งหลาย คือ รูป เวทนา สัญญา
สังขาร วิญญาณที่มีอยู่ในอุเบกขาจิตนั้นโดยความไม่เที่ยง เป็น
ทุกข์ เสียดแทง เป็นดังหัวฝี เป็นดังลูกศร เป็นสิ่งคับแค้น
เบียดเบียน ไม่เชื่อฟัง ต้องแตกสลายไป ว่างเปล่า ไม่อยู่ในอำนาจ
หลังจากตายแล้ว เขาย่อมเข้าถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับพวกเทวดา
ชั้นสุทธาวาส การเข้าถึงนี้ไม่ใช่มีอยู่ทั่วไปกับปุถุชนทั้งหลาย
ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกนี้แลมีปรากฏอยู่ในโลก

ทุติยเมตตาสูตรที่ ๖ จบ

๗. ปฐมตถาคตอัจฉริยสูตร
ว่าด้วยเหตุอัศจรรย์ของพระตถาคต สูตรที่ ๑

[๑๒๗] ภิกษุทั้งหลาย เหตุอัศจรรย์ไม่เคยปรากฏ ๔ ประการย่อมปรากฏ
เพราะความปรากฏของตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
เหตุอัศจรรย์ไม่เคยปรากฏ ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๑ หน้า :๑๙๔ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๓.ตติยปัณณาสก์]
๓.ภยวรรค ๗.ปฐมตถาคตอัจฉริยสูตร

๑. เมื่อพระโพธิสัตว์จุติจากสวรรค์ชั้นดุสิต มีสติสัมปชัญญะ เสด็จลง
สู่พระครรภ์ของพระมารดา แสงสว่างโอฬารประมาณไม่ได้ เกิน
เลยอานุภาพของเทวดาทั้งหลายย่อมปรากฏขึ้นในโลกพร้อมทั้ง
เทวโลก มารโลก พรหมโลก และหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์
เทวดา และมนุษย์ แม้แต่โลกันตริกนรกซึ่งเปิดตลอด ไม่มีอะไร
ปิดกั้น มืดมิด มองไม่เห็นอะไร๑ ที่แสงสว่างแห่งดวงจันทร์และ
ดวงอาทิตย์อันมีฤทธิ์มากอย่างนี้ มีอานุภาพมากอย่างนี้ยังส่องไป
ไม่ถึง แต่แสงสว่างโอฬารประมาณไม่ได้ ล่วงเลยอานุภาพของ
เทวดาทั้งหลายย่อมปรากฏในโลกันตริกนรกนั้น แม้พวกสัตว์ที่
เกิดในโลกันตริกนรกนั้นจำกันและกันได้เพราะแสงสว่างนั้นว่า
“ท่านผู้เจริญ ทราบว่า สัตว์แม้เหล่าอื่นที่เกิดในที่นี้มีอยู่” นี้เป็น
เหตุอัศจรรย์ไม่เคยปรากฏประการที่ ๑ ย่อมปรากฏเพราะความ
ปรากฏของตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
๒. เมื่อพระโพธิสัตว์มีสติสัมปชัญญะ ประสูติจากพระครรภ์ของพระ
มารดา ฯลฯ นี้เป็นเหตุอัศจรรย์ไม่เคยปรากฏประการที่ ๒ ย่อม
ปรากฏเพราะความปรากฏของตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
๓. เมื่อตถาคตทรงบรรลุอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ ฯลฯ นี้เป็นเหตุ
อัศจรรย์ไม่เคยปรากฏประการที่ ๓ ย่อมปรากฏเพราะความปรากฏ
ของตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
๔. เมื่อตถาคตทรงประกาศธรรมจักรอันยอดเยี่ยม แสงสว่างโอฬาร
ประมาณไม่ได้ เกินเลยอานุภาพของเทวดาทั้งหลายย่อมปรากฏ
ในโลกพร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก และหมู่สัตว์
พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดา และมนุษย์ แม้แต่โลกันตริกนรก
ซึ่งเปิดตลอด ไม่มีอะไรปิดกั้น มืดมิด มองไม่เห็นอะไร ที่แสงสว่าง


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๓.ตติยปัณณาสก์]
๓.ภยวรรค ๘. ทุติยตถาคตอัจฉริยสูตร

แห่งดวงจันทร์และดวงอาทิตย์มีฤทธิ์มากอย่างนี้ มีอานุภาพมาก
อย่างนี้ยังส่องไปไม่ถึง แต่แสงสว่างโอฬาร ประมาณไม่ได้ ล่วง
เลยอานุภาพของเทวดาทั้งหลายย่อมปรากฏในโลกันตริกนรกนั้น
แม้พวกสัตว์ที่เกิดในโลกันตริกนรกนั้นจำกันและกันได้เพราะแสง
สว่างนั้นว่า “ท่านผู้เจริญ ทราบว่า สัตว์แม้เหล่าอื่นที่เกิดในที่นี้
มีอยู่” นี้เป็นเหตุอัศจรรย์ไม่เคยปรากฏประการที่ ๔ ย่อมปรากฏ
เพราะความปรากฏของตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
ภิกษุทั้งหลาย เหตุอัศจรรย์ไม่เคยปรากฏ ๔ ประการนี้แลย่อมปรากฏ
เพราะความปรากฏของตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า

ปฐมตถาคตอัจฉริยสูตรที่ ๗ จบ

๘. ทุติยตถาคตอัจฉริยสูตร
ว่าด้วยเหตุอัศจรรย์ของพระตถาคต สูตรที่ ๒

[๑๒๘] ภิกษุทั้งหลาย เหตุอัศจรรย์ไม่เคยปรากฏ ๔ ประการย่อมปรากฏ
เพราะความปรากฏของตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
เหตุอัศจรรย์ไม่เคยปรากฏ ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. หมู่สัตว์ผู้ยังหมกมุ่นในอาลัย ยินดีในอาลัย๑ บันเทิงในอาลัย เมื่อ
ตถาคตแสดงธรรมที่ไม่มีอาลัยก็ตั้งใจฟังด้วยดี เงี่ยโสตสดับ ตั้งใจ
ใฝ่รู้ นี้เป็นเหตุอัศจรรย์ไม่เคยปรากฏประการที่ ๑ ย่อมปรากฏ
เพราะความปรากฏของตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
๒. หมู่สัตว์ผู้ยังหมกมุ่นในความถือตัว ยินดีในความถือตัว บันเทิงใน
ความถือตัว เมื่อตถาคตแสดงธรรมที่กำจัดความถือตัวก็ตั้งใจฟัง
ด้วยดี เงี่ยโสตสดับ ตั้งใจใฝ่รู้ นี้เป็นเหตุอัศจรรย์ไม่เคยปรากฏ
ประการที่ ๒ ย่อมปรากฏเพราะความปรากฏของตถาคตอรหันต-
สัมมาสัมพุทธเจ้า


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๓.ตติยปัณณาสก์]
๓.ภยวรรค ๙.อานันทอัจฉริยสูตร

๓. หมู่สัตว์ผู้ยังหมกมุ่นในความไม่สงบ ยินดีในความไม่สงบ บันเทิง
ในความไม่สงบ เมื่อตถาคตแสดงธรรมที่เป็นไปเพื่อความสงบ
ก็ตั้งใจฟังด้วยดี เงี่ยโสตสดับ ตั้งใจใฝ่รู้ นี้เป็นเหตุอัศจรรย์ไม่เคย
ปรากฏประการที่ ๓ ย่อมปรากฏเพราะความปรากฏของตถาคต
อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
๔. หมู่สัตว์ผู้ยังตกอยู่ในอวิชชาเป็นผู้มืดบอด ถูกอวิชชาหุ้มห่อ เมื่อ
ตถาคตแสดงธรรมที่กำจัดอวิชชา ก็ตั้งใจฟังด้วยดี เงี่ยโสตสดับ
ตั้งใจใฝ่รู้ นี้เป็นเหตุอัศจรรย์ไม่เคยปรากฏประการที่ ๔ ย่อมปรากฏ
เพราะความปรากฏของตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
ภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นเหตุอัศจรรย์ไม่เคยปรากฏ ๔ ประการนี้แลย่อมปรากฏ
เพราะความปรากฏของตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า

ทุติยตถาคตอัจฉริยสูตรที่ ๘ จบ

๙. อานันทอัจฉริยสูตร
ว่าด้วยความเป็นอัจฉริยะของพระอานนท์

[๑๒๙] ภิกษุทั้งหลาย ความเป็นอัจฉริยะ๑ไม่เคยปรากฏ ๔ ประการนี้มีอยู่ใน
อานนท์
ความเป็นอัจฉริยะไม่เคยปรากฏ ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ถ้าภิกษุบริษัทเข้าพบอานนท์ แม้เพียงได้พบก็มีใจยินดี ถ้าอานนท์
แสดงธรรมในภิกษุบริษัทนั้น แม้เพียงแสดงธรรมก็มีใจยินดี
ภิกษุบริษัทยังไม่เต็มอิ่ม เมื่ออานนท์หยุดแสดง
๒. ถ้าภิกษุณีบริษัทเข้าพบอานนท์ แม้เพียงได้พบก็มีใจยินดี ถ้า
อานนท์แสดงธรรมในภิกษุณีบริษัทนั้น แม้เพียงแสดงธรรมก็มีใจ
ยินดี ภิกษุณีบริษัทยังไม่เต็มอิ่ม เมื่ออานนท์หยุดแสดง


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๓.ตติยปัณณาสก์]
๓.ภยวรรค ๑๐.จักกวัตติอัจฉริยสูตร

๓. ถ้าอุบาสกบริษัทเข้าพบอานนท์ แม้เพียงได้พบก็มีใจยินดี ถ้า
อานนท์แสดงธรรมในอุบาสกบริษัทนั้น แม้เพียงแสดงธรรมก็มี
ใจยินดี อุบาสกบริษัทยังไม่เต็มอิ่ม เมื่ออานนท์หยุดแสดง
๔. ถ้าอุบาสิกาบริษัทเข้าพบอานนท์ แม้เพียงได้พบก็มีใจยินดี ถ้า
อานนท์แสดงธรรมในอุบาสิกาบริษัทนั้น แม้เพียงแสดงธรรมก็มี
ใจยินดี อุบาสิกาบริษัทยังไม่เต็มอิ่ม เมื่ออานนท์หยุดแสดง
ภิกษุทั้งหลาย ความเป็นอัจฉริยะไม่เคยปรากฏ ๔ ประการนี้แลมีอยู่ในอานนท์

อานันทอัจฉริยสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. จักกวัตติอัจฉริยสูตร๑
ว่าด้วยความเป็นอัจฉริยะของพระเจ้าจักรพรรดิ

[๑๓๐] ภิกษุทั้งหลาย ความเป็นอัจฉริยะไม่เคยปรากฏ ๔ ประการนี้มีอยู่ใน
พระเจ้าจักรพรรดิ
ความเป็นอัจฉริยะไม่เคยปรากฏ ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ถ้าขัตติยบริษัทเข้าเฝ้าพระเจ้าจักรพรรดิ แม้เพียงได้เข้าเฝ้าก็มีใจ
ยินดี ถ้าพระเจ้าจักรพรรดิมีพระราชปฏิสันถารในขัตติยบริษัทนั้น
แม้เพียงมีพระราชปฏิสันถารก็มีใจยินดี ขัตติยบริษัทยังไม่เต็มอิ่ม
เมื่อพระเจ้าจักรพรรดิทรงนิ่ง
๒. ถ้าพราหมณบริษัทเข้าเฝ้าพระเจ้าจักรพรรดิ แม้เพียงได้เข้าเฝ้าก็
มีใจยินดี ถ้าพระเจ้าจักรพรรดิมีพระราชปฏิสันถารในพราหมณ-
บริษัทนั้น แม้เพียงมีพระราชปฏิสันถารก็มีใจยินดี พราหมณบริษัท
ยังไม่เต็มอิ่ม เมื่อพระเจ้าจักรพรรดิทรงนิ่ง
๓. ถ้าคหบดีบริษัทเข้าเฝ้าพระเจ้าจักรพรรดิ แม้เพียงได้เข้าเฝ้าก็มีใจ
ยินดี ถ้าพระเจ้าจักรพรรดิมีพระราชปฏิสันถารในคหบดีบริษัท
นั้น แม้เพียงมีพระราชปฏิสันถารก็มีใจยินดี คหบดีบริษัทยังไม่
เต็มอิ่ม เมื่อพระเจ้าจักรพรรดิทรงนิ่ง


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๓.ตติยปัณณาสก์]
๓.ภยวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

๔. ถ้าสมณบริษัทเข้าเฝ้าพระเจ้าจักรพรรดิ แม้เพียงได้เข้าเฝ้าก็มีใจ
ยินดี ถ้าพระเจ้าจักรพรรดิมีพระราชปฏิสันถารในสมณบริษัทนั้น
แม้เพียงมีพระราชปฏิสันถารก็มีใจยินดี สมณบริษัทยังไม่เต็มอิ่ม
เมื่อพระเจ้าจักรพรรดิทรงนิ่ง
ภิกษุทั้งหลาย ความเป็นอัจฉริยะไม่เคยปรากฏ ๔ ประการนี้แลมีอยู่ในพระเจ้า
จักรพรรดิ
ภิกษุทั้งหลาย ความเป็นอัจฉริยะไม่เคยปรากฏ ๔ ประการก็ฉันนั้นเหมือน
กันแลมีอยู่ในอานนท์
ความเป็นอัจฉริยะไม่เคยปรากฏ ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ถ้าภิกษุบริษัทเข้าพบอานนท์ แม้เพียงได้พบก็มีใจยินดี ถ้าอานนท์
แสดงธรรมในภิกษุบริษัทนั้น แม้เพียงแสดงธรรมก็มีใจยินดี
ภิกษุบริษัทยังไม่เต็มอิ่ม เมื่ออานนท์หยุดแสดง
๒. ถ้าภิกษุณีบริษัท ฯลฯ
๓. ถ้าอุบาสกบริษัท ฯลฯ
๔. ถ้าอุบาสิกาบริษัทเข้าพบอานนท์ แม้เพียงได้พบก็มีใจยินดี ถ้า
อานนท์แสดงธรรมในอุบาสิกาบริษัทนั้น แม้เพียงแสดงธรรมก็มี
ใจยินดี อุบาสิกาบริษัทยังไม่เต็มอิ่ม เมื่ออานนท์หยุดแสดง
ภิกษุทั้งหลาย ความเป็นอัจฉริยะไม่เคยปรากฏ ๔ ประการนี้แลมีอยู่ในอานนท์

จักกวัตติอัจฉริยสูตรที่ ๑๐ จบ
ภยวรรคที่ ๓ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. อัตตานุวาทสูตร ๒. อูมิภยสูตร
๓. ปฐมนานากรณสูตร ๔. ทุติยนานากรณสูตร
๕. ปฐมเมตตาสูตร ๖. ทุติยเมตตาสูตร
๗. ปฐมตถาคตอัจฉริยสูตร ๘. ทุติยตถาคตอัจฉริยสูตร
๙. อานันทอัจฉริยสูตร ๑๐. จักกวัตติอัจฉริยสูตร


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๓.ตติยปัณณาสก์]
๔.ปุคคลวรรค ๑. สังโยชนสูตร

๔. ปุคคลวรรค
หมวดว่าด้วยบุคคล
๑. สังโยชนสูตร
ว่าด้วยบุคคลผู้ละสังโยชน์ได้

[๑๓๑] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกนี้มีปรากฏ
อยู่ในโลก
บุคคล ๔ จำพวกไหนบ้าง คือ
๑. บุคคลบางคนในโลกนี้ยังละโอรัมภาคิยสังโยชน์๑(สังโยชน์เบื้องต่ำ)
ไม่ได้ ละสังโยชน์ที่เป็นปัจจัยแห่งการเกิดไม่ได้ และละสังโยชน์ที่
เป็นปัจจัยให้ได้ภพ๒ไม่ได้
๒. บุคคลบางคนในโลกนี้ละโอรัมภาคิยสังโยชน์ได้ แต่ยังละสังโยชน์
ที่เป็นปัจจัยแห่งการเกิดไม่ได้ และละสังโยชน์ที่เป็นปัจจัยให้ได้
ภพไม่ได้
๓. บุคคลบางคนในโลกนี้ละโอรัมภาคิยสังโยชน์ได้ และละสังโยชน์ที่
เป็นปัจจัยแห่งการเกิดได้ แต่ยังละสังโยชน์ที่เป็นปัจจัยให้ได้ภพไม่ได้
๔. บุคคลบางคนในโลกนี้ละโอรัมภาคิยสังโยชน์ได้ ละสังโยชน์ที่เป็น
ปัจจัยแห่งการเกิดได้ และละสังโยชน์ที่เป็นปัจจัยให้ได้ภพได้
บุคคลจำพวกไหนยังละโอรัมภาคิยสังโยชน์ไม่ได้ ละสังโยชน์ที่เป็นปัจจัย
แห่งการเกิดไม่ได้ และละสังโยชน์ที่เป็นปัจจัยให้ได้ภพไม่ได้
คือ พระสกทาคามี บุคคลนี้แลยังละโอรัมภาคิยสังโยชน์ไม่ได้ ละสังโยชน์ที่
เป็นปัจจัยแห่งการเกิดไม่ได้ และละสังโยชน์ที่เป็นปัจจัยให้ได้ภพไม่ได้


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๓.ตติยปัณณาสก์]
๔.ปุคคลวรรค ๒.ปฏิภาณสูตร

บุคคลจำพวกไหนละโอรัมภาคิยสังโยชน์ได้ แต่ยังละสังโยชน์ที่เป็น
ปัจจัยแห่งการเกิดไม่ได้ และละสังโยชน์ที่เป็นปัจจัยให้ได้ภพไม่ได้
คือ พระอนาคามีผู้มุ่งหน้าไปสู่อกนิฏฐภพ บุคคลนี้แลละโอรัมภาคิยสังโยชน์ได้
แต่ยังละสังโยชน์ที่เป็นปัจจัยแห่งการเกิดไม่ได้ และละสังโยชน์ที่เป็นปัจจัยให้ได้ภพไม่ได้
บุคคลจำพวกไหนละโอรัมภาคิยสังโยชน์ได้ ละสังโยชน์ที่เป็นปัจจัยแห่ง
การเกิดได้ แต่ยังละสังโยชน์ที่เป็นปัจจัยให้ได้ภพไม่ได้
คือ พระอนาคามีผู้ปรินิพพานในระหว่าง บุคคลนี้แลละโอรัมภาคิยสังโยชน์ได้
ละสังโยชน์ที่เป็นปัจจัยแห่งการเกิดได้ แต่ยังละสังโยชน์ที่เป็นปัจจัยให้ได้ภพไม่ได้
บุคคลจำพวกไหนละโอรัมภาคิยสังโยชน์ได้ ละสังโยชน์ที่เป็นปัจจัยแห่ง
การเกิดได้ และละสังโยชน์ที่เป็นปัจจัยให้ได้ภพได้
คือ พระอรหันต์ผู้หมดกิเลส บุคคลนี้แลละโอรัมภาคิยสังโยชน์ได้ ละสังโยชน์
ที่เป็นปัจจัยแห่งการเกิดได้ และละสังโยชน์ที่เป็นปัจจัยให้ได้ภพได้
ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกนี้แลมีปรากฏอยู่ในโลก

สังโยชนสูตรที่ ๑ จบ

๒. ปฏิภาณสูตร
ว่าด้วยบุคคลผู้ตอบได้ถูกต้อง

[๑๓๒] ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกนี้มีปรากฏอยู่ในโลก
บุคคล ๔ จำพวก๑ไหนบ้าง คือ
๑. บุคคลผู้ตอบได้ถูกต้อง แต่ไม่รวดเร็ว๒
๒. บุคคลผู้ตอบได้รวดเร็ว แต่ไม่ถูกต้อง๓


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๓.ตติยปัณณาสก์]
๔.ปุคคลวรรค ๓. อุคฆฏิตัญญูสูตร

๓. บุคคลผู้ตอบได้ถูกต้องและรวดเร็ว
๔. บุคคลผู้ตอบได้ไม่ถูกต้องและไม่รวดเร็ว
ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกนี้แลมีปรากฏอยู่ในโลก

ปฏิภาณสูตรที่ ๒ จบ

๓. อุคฆฏิตัญญูสูตร
ว่าด้วยบุคคลผู้เข้าใจได้ฉับพลัน

[๑๓๓] ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกนี้มีปรากฏอยู่ในโลก
บุคคล ๔ จำพวก๑ไหนบ้าง คือ
๑. อุคฆฏิตัญญู๒ (ผู้เข้าใจได้ฉับพลัน)
๒. วิปจิตัญญู๓ (ผู้เข้าใจต่อเมื่อขยายความ)
๓. เนยยะ๔ (ผู้ที่พอจะแนะนำได้)
๔. ปทปรมะ๕ (ผู้ที่สอนให้รู้ได้เพียงตัวบทคือพยัญชนะ)
ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกนี้แลมีปรากฏอยู่ในโลก

อุคฆฏิตัญญูสูตรที่ ๓ จบ


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๓.ตติยปัณณาสก์]
๔.ปุคคลวรรค ๕.สาวัชชสูตร

๔. อุฏฐานผลสูตร
ว่าด้วยผลแห่งความขยันหมั่นเพียร

[๑๓๔] ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกนี้มีปรากฏอยู่ในโลก
บุคคล ๔ จำพวก๑ไหนบ้าง คือ
๑. บุคคลผู้ดำรงชีพด้วยผลแห่งความขยันหมั่นเพียร แต่ไม่ดำรงชีพ
ด้วยผลแห่งกรรม
๒. บุคคลผู้ดำรงชีพด้วยผลแห่งกรรม แต่ไม่ดำรงชีพด้วยผลแห่ง
ความขยันหมั่นเพียร
๓. บุคคลผู้ดำรงชีพด้วยผลแห่งความขยันหมั่นเพียรและดำรงชีพด้วย
ผลแห่งกรรม
๔. บุคคลผู้ไม่ดำรงชีพด้วยผลแห่งความขยันหมั่นเพียรและไม่ดำรงชีพ
ด้วยผลแห่งกรรม๒
ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกนี้แลมีปรากฏอยู่ในโลก

อุฏฐานผลสูตรที่ ๔ จบ

๕. สาวัชชสูตร
ว่าด้วยบุคคลผู้มีแต่โทษ

[๑๓๕] ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกนี้มีปรากฏอยู่ในโลก
บุคคล ๔ จำพวก๓ ไหนบ้าง คือ


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๓.ตติยปัณณาสก์]
๔.ปุคคลวรรค ๕.สาวัชชสูตร

๑. บุคคลผู้มีแต่โทษ๑ ๒. บุคคลผู้มีโทษเป็นส่วนมาก๒
๓. บุคคลผู้มีโทษเป็นส่วนน้อย๓ ๔. บุคคลผู้ไม่มีโทษ๔
บุคคลผู้มีแต่โทษ เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ประกอบด้วยกายกรรม (การกระทำทางกาย) ที่มีโทษ
ประกอบด้วยวจีกรรม (การกระทำทางวาจา) ที่มีโทษ ประกอบด้วยมโนกรรม (การ
กระทำทางใจ) ที่มีโทษ บุคคลผู้มีแต่โทษ เป็นอย่างนี้แล
บุคคลผู้มีโทษเป็นส่วนมาก เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ประกอบด้วยกายกรรมที่มีโทษเป็นส่วนมาก ไม่มี
โทษเป็นส่วนน้อย ประกอบด้วยวจีกรรมที่มีโทษเป็นส่วนมาก ไม่มีโทษเป็นส่วนน้อย
ประกอบด้วยมโนกรรมที่มีโทษเป็นส่วนมาก ไม่มีโทษเป็นส่วนน้อย บุคคลผู้มีโทษ
เป็นส่วนมาก เป็นอย่างนี้แล
บุคคลผู้มีโทษเป็นส่วนน้อย เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ประกอบด้วยกายกรรมที่ไม่มีโทษเป็นส่วนมาก มี
โทษเป็นส่วนน้อย ประกอบด้วยวจีกรรมที่ไม่มีโทษเป็นส่วนมาก มีโทษเป็นส่วนน้อย
ประกอบด้วยมโนกรรมที่ไม่มีโทษเป็นส่วนมาก มีโทษเป็นส่วนน้อย บุคคลผู้มีโทษ
เป็นส่วนน้อย เป็นอย่างนี้แล
บุคคลผู้ไม่มีโทษ เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ประกอบด้วยกายกรรมที่ไม่มีโทษ ประกอบด้วย
วจีกรรมที่ไม่มีโทษ ประกอบด้วยมโนกรรมที่ไม่มีโทษ บุคคลผู้ไม่มีโทษ เป็นอย่าง
นี้แล
ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกนี้แลมีปรากฏอยู่ในโลก

สาวัชชสูตรที่ ๕ จบ


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๓.ตติยปัณณาสก์]
๔.ปุคคลวรรค ๗.ทุติยสีลสูตร

๖. ปฐมสีลสูตร
ว่าด้วยศีล สูตรที่ ๑

[๑๓๖] ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกนี้มีปรากฏอยู่ในโลก
บุคคล ๔ จำพวกไหนบ้าง คือ
๑. บุคคลบางคนในโลกนี้ไม่บำเพ็ญศีลให้บริบูรณ์ ไม่บำเพ็ญสมาธิ
ให้บริบูรณ์ และไม่บำเพ็ญปัญญาให้บริบูรณ์๑
๒. บุคคลบางคนในโลกนี้บำเพ็ญศีลให้บริบูรณ์ แต่ไม่บำเพ็ญสมาธิ
ให้บริบูรณ์ และไม่บำเพ็ญปัญญาให้บริบูรณ์๒
๓. บุคคลบางคนในโลกนี้บำเพ็ญศีลให้บริบูรณ์ และบำเพ็ญสมาธิ
ให้บริบูรณ์ แต่ไม่บำเพ็ญปัญญาให้บริบูรณ์๓
๔. บุคคลบางคนในโลกนี้บำเพ็ญศีลให้บริบูรณ์ บำเพ็ญสมาธิให้
บริบูรณ์และบำเพ็ญปัญญาให้บริบูรณ์๔
ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกนี้แลมีปรากฏอยู่ในโลก

ปฐมสีลสูตรที่ ๖ จบ

๗. ทุติยสีลสูตร
ว่าด้วยศีล สูตรที่ ๒

[๑๓๗] ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกนี้มีปรากฏอยู่ในโลก
บุคคล ๔ จำพวกไหนบ้าง คือ
๑. บุคคลบางคนในโลกนี้ไม่เคารพในศีล ไม่ถือศีลเป็นใหญ่ ไม่
เคารพในสมาธิ ไม่ถือสมาธิเป็นใหญ่ และไม่เคารพในปัญญา
ไม่ถือปัญญาเป็นใหญ่


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๓.ตติยปัณณาสก์]
๔.ปุคคลวรรค ๘. นิกกัฏฐสูตร

๒. บุคคลบางคนในโลกนี้เคารพในศีล ถือศีลเป็นใหญ่ แต่ไม่เคารพ
ในสมาธิ ไม่ถือสมาธิเป็นใหญ่ และไม่เคารพในปัญญา ไม่ถือ
ปัญญาเป็นใหญ่
๓. บุคคลบางคนในโลกนี้เคารพในศีล ถือศีลเป็นใหญ่ และเคารพ
ในสมาธิ ถือสมาธิเป็นใหญ่ แต่ไม่เคารพในปัญญา ไม่ถือ
ปัญญาเป็นใหญ่
๔. บุคคลบางคนในโลกนี้เคารพในศีล ถือศีลเป็นใหญ่ เคารพในสมาธิ
ถือสมาธิเป็นใหญ่ และเคารพในปัญญา ถือปัญญาเป็นใหญ่
ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกนี้แลมีปรากฏอยู่ในโลก

ทุติยสีลสูตรที่ ๗ จบ

๘. นิกกัฏฐสูตร
ว่าด้วยบุคคลผู้มีกายและจิตออก

[๑๓๘] ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกนี้มีปรากฏอยู่ในโลก
บุคคล ๔ จำพวกไหนบ้าง คือ
๑. บุคคลผู้มีกายออก แต่มีจิตยังไม่ออก๑
๒. บุคคลผู้มีกายยังไม่ออก แต่มีจิตออก
๓. บุคคลผู้มีกายยังไม่ออกและมีจิตยังไม่ออก
๔. บุคคลผู้มีกายออกและมีจิตออก
บุคคลผู้มีกายออก แต่มีจิตยังไม่ออก เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้อาศัยเสนาสนะเงียบสงัด คือ ป่าโปร่ง๒และป่าทึบ๓
เธอตรึกถึงกามวิตก(ความตรึกในทางกาม)บ้าง พยาบาทวิตก (ความตรึกในทาง
พยาบาท)บ้าง วิหิงสาวิตก (ความตรึกในทางเบียดเบียน)บ้าง บุคคลผู้มีกายออก
แต่มีจิตยังไม่ออก เป็นอย่างนี้แล


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๓.ตติยปัณณาสก์]
๔.ปุคคลวรรค ๙.ธัมมกถิกสูตร

บุคคลผู้มีกายยังไม่ออก แต่มีจิตออก เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ไม่อาศัยเสนาสนะเงียบสงัด คือ ป่าโปร่งและป่าทึบ
เลย แต่เธอตรึกถึงเนกขัมมวิตก (ความตรึกปลอดจากกาม)บ้าง อพยาบาทวิตก
(ความตรึกปลอดจากพยาบาท)บ้าง อวิหิงสาวิตก (ความตรึกปลอดจากการเบียดเบียน)
บ้าง บุคคลผู้มีกายยังไม่ออก แต่มีจิตออก เป็นอย่างนี้แล
บุคคลผู้มีกายยังไม่ออกและมีจิตยังไม่ออก เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ไม่อาศัยเสนาสนะเงียบสงัด คือ ป่าโปร่งและป่าทึบ
และเธอตรึกถึงกามวิตกบ้าง พยาบาทวิตกบ้าง วิหิงสาวิตกบ้าง บุคคลผู้มีกายยัง
ไม่ออกและมีจิตยังไม่ออก เป็นอย่างนี้แล
บุคคลผู้มีกายออกและมีจิตออก เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้อาศัยเสนาสนะเงียบสงัด คือ ป่าโปร่งและป่าทึบ
และเธอตรึกถึงเนกขัมมวิตกบ้าง อพยาบาทวิตกบ้าง อวิหิงสาวิตกบ้าง บุคคลผู้มี
กายออกและมีจิตออก เป็นอย่างนี้แล
ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกนี้แลมีปรากฏอยู่ในโลก

นิกกัฏฐสูตรที่ ๘ จบ

๙. ธัมมกถิกสูตร
ว่าด้วยธรรมกถึก

[๑๓๙] ภิกษุทั้งหลาย ธรรมกถึก ๔ จำพวกนี้
ธรรมกถึก ๔ จำพวก๑ไหนบ้าง คือ
๑. ธรรมกถึกบางรูปในธรรมวินัยนี้กล่าวธรรมน้อยและไม่มีประโยชน์
ทั้งหมู่ผู้ฟังก็ไม่ฉลาดในสิ่งที่มีประโยชน์และไม่มีประโยชน์ ธรรม-
กถึกจำพวกนี้นับว่าเป็นธรรมกถึกสำหรับหมู่ผู้ฟังประเภทนี้
๒. ธรรมกถึกบางรูปในธรรมวินัยนี้กล่าวธรรมน้อย แต่มีประโยชน์ และ
หมู่ผู้ฟังก็ฉลาดในสิ่งที่มีประโยชน์และไม่มีประโยชน์ ธรรมกถึก
จำพวกนี้นับว่าเป็นธรรมกถึกสำหรับหมู่ผู้ฟังประเภทนี้


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๓.ตติยปัณณาสก์]
๔.ปุคคลวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

๓. ธรรมกถึกบางรูปในธรรมวินัยนี้กล่าวธรรมมาก แต่ไม่มีประโยชน์ และ
หมู่ผู้ฟังก็ไม่ฉลาดในสิ่งที่มีประโยชน์และไม่มีประโยชน์ ธรรมกถึก
จำพวกนี้นับว่าเป็นธรรมกถึกสำหรับหมู่ผู้ฟังประเภทนี้
๔. ธรรมกถึกบางรูปในธรรมวินัยนี้กล่าวธรรมมากและมีประโยชน์ และ
หมู่ผู้ฟังก็ฉลาดในสิ่งที่มีประโยชน์และไม่มีประโยชน์ ธรรมกถึก
จำพวกนี้นับว่าเป็นธรรมกถึกสำหรับหมู่ผู้ฟังประเภทนี้
ภิกษุทั้งหลาย ธรรมกถึก ๔ จำพวกนี้แล

ธัมมกถิกสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. วาทีสูตร
ว่าด้วยนักพูด

[๑๔๐] ภิกษุทั้งหลาย นักพูด ๔ จำพวกนี้
นักพูด ๔ จำพวกไหนบ้าง คือ
๑. นักพูดที่จนด้านอรรถ แต่ไม่จนด้านพยัญชนะ
๒. นักพูดที่จนด้านพยัญชนะ แต่ไม่จนด้านอรรถ
๓. นักพูดที่จนทั้งด้านอรรถและด้านพยัญชนะ
๔. นักพูดที่ไม่จนทั้งด้านอรรถและด้านพยัญชนะ
นักพูด ๔ จำพวกนี้แล
ภิกษุทั้งหลาย เป็นไปไม่ได้เลยที่ภิกษุ(นักพูด)ผู้ประกอบด้วยปฏิสัมภิทา ๔ ประการ
จะพึงจนทั้งด้านอรรถหรือด้านพยัญชนะ

วาทีสูตรที่ ๑๐ จบ
ปุคคลวรรคที่ ๔ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. สังโยชนสูตร ๒. ปฏิภาณสูตร
๓. อุคฆฏิตัญญูสูตร ๔. อุฏฐานผลสูตร
๕. สาวัชชสูตร ๖. ปฐมสีลสูตร
๗. ทุติยสีลสูตร ๘. นิกกัฏฐสูตร
๙. ธัมมกถิกสูตร ๑๐. วาทีสูตร


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๓.ตติยปัณณาสก์]
๕.อาภาวรรค ๓.อาโลกสูตร

๕. อาภาวรรค
หมวดว่าด้วยแสงสว่าง
๑. อาภาสูตร
ว่าด้วยแสงสว่าง

[๑๔๑] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย แสงสว่าง ๔ ประการนี้
แสงสว่าง ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. แสงสว่างแห่งดวงจันทร์ ๒. แสงสว่างแห่งดวงอาทิตย์
๓. แสงสว่างแห่งไฟ ๔. แสงสว่างแห่งปัญญา
ภิกษุทั้งหลาย แสงสว่าง ๔ ประการนี้แล
บรรดาแสงสว่าง ๔ ประการนี้ แสงสว่างแห่งปัญญาเป็นเลิศ

อาภาสูตรที่ ๑ จบ

๒. ปภาสูตร
ว่าด้วยรัศมี

[๑๔๒] ภิกษุทั้งหลาย รัศมี ๔ ประการนี้
รัศมี ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. รัศมีแห่งดวงจันทร์ ๒. รัศมีแห่งดวงอาทิตย์
๓. รัศมีแห่งไฟ ๔. รัศมีแห่งปัญญา
ภิกษุทั้งหลาย รัศมี ๔ ประการนี้แล
บรรดารัศมี ๔ ประการนี้ รัศมีแห่งปัญญาเป็นเลิศ

ปภาสูตรที่ ๒ จบ

๓. อาโลกสูตร
ว่าด้วยความสว่าง

[๑๔๓] ภิกษุทั้งหลาย ความสว่าง ๔ ประการนี้
ความสว่าง ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๑ หน้า :๒๐๙ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๓.ตติยปัณณาสก์]
๕.อาภาวรรค ๕. ปัชโชตสูตร

๑. ความสว่างแห่งดวงจันทร์ ๒. ความสว่างแห่งดวงอาทิตย์
๓. ความสว่างแห่งไฟ ๔. ความสว่างแห่งปัญญา
ภิกษุทั้งหลาย ความสว่าง ๔ ประการนี้แล
บรรดาความสว่าง ๔ ประการนี้ ความสว่างแห่งปัญญาเป็นเลิศ

อาโลกสูตรที่ ๓ จบ

๔. โอภาสสูตร
ว่าด้วยความสว่างไสว

[๑๔๔] ภิกษุทั้งหลาย ความสว่างไสว ๔ ประการนี้
ความสว่างไสว ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ความสว่างไสวแห่งดวงจันทร์ ๒. ความสว่างไสวแห่งดวงอาทิตย์
๓. ความสว่างไสวแห่งไฟ ๔. ความสว่างไสวแห่งปัญญา
ภิกษุทั้งหลาย ความสว่างไสว ๔ ประการนี้แล
บรรดาความสว่างไสว ๔ ประการนี้ ความสว่างไสวแห่งปัญญาเป็นเลิศ

โอภาสสูตรที่ ๔ จบ

๕. ปัชโชตสูตร
ว่าด้วยความรุ่งเรือง

[๑๔๕] ภิกษุทั้งหลาย ความรุ่งเรือง ๔ ประการนี้
ความรุ่งเรือง ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ความรุ่งเรืองแห่งดวงจันทร์ ๒. ความรุ่งเรืองแห่งดวงอาทิตย์
๓. ความรุ่งเรืองแห่งไฟ ๔. ความรุ่งเรืองแห่งปัญญา
ภิกษุทั้งหลาย ความรุ่งเรือง ๔ ประการนี้แล
บรรดาความรุ่งเรือง ๔ ประการนี้ ความรุ่งเรืองแห่งปัญญาเป็นเลิศ

ปัชโชตสูตรที่ ๕ จบ


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๓.ตติยปัณณาสก์]
๕.อาภาวรรค ๗.ทุติยกาลสูตร

๖. ปฐมกาลสูตร
ว่าด้วยกาล สูตรที่ ๑

[๑๔๖] ภิกษุทั้งหลาย กาล ๔ ประการนี้
กาล ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. การฟังธรรมตามกาล๑ ๒. การสนทนาธรรม๒ตามกาล
๓. ความสงบใจตามกาล ๔. ความเห็นแจ้งตามกาล
ภิกษุทั้งหลาย กาล ๔ ประการนี้แล

ปฐมกาลสูตรที่ ๖ จบ

๗. ทุติยกาลสูตร
ว่าด้วยกาล สูตรที่ ๒

[๑๔๗] ภิกษุทั้งหลาย กาล ๔ ประการนี้ที่บุคคลบำเพ็ญโดยชอบ ให้หมุน
เวียนไปตามโดยชอบ ย่อมให้ถึงความสิ้นอาสวะตามลำดับ
กาล ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. การฟังธรรมตามกาล ๒. การสนทนาธรรมตามกาล
๓. ความสงบใจตามกาล ๔. ความเห็นแจ้งตามกาล
กาล ๔ ประการนี้แลที่บุคคลบำเพ็ญโดยชอบ ให้หมุนเวียนไปตามโดยชอบ
ย่อมให้ถึงความสิ้นอาสวะตามลำดับ
เปรียบเหมือนเมื่อฝนเม็ดใหญ่ตกลงบนยอดภูเขา น้ำไหลไปตามที่ลุ่มทำให้ซอกเขา
ลำธาร และห้วยเต็ม ซอกเขา ลำธาร และห้วยเต็มแล้วทำให้หนองเต็ม หนองเต็ม
แล้วทำให้บึงเต็ม บึงเต็มแล้วทำให้แม่น้ำน้อยเต็ม แม่น้ำน้อยเต็มแล้ว ทำให้แม่น้ำ
ใหญ่เต็ม แม่น้ำใหญ่เต็มแล้วก็ทำให้มหาสมุทรเต็ม แม้ฉันใด


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๓.ตติยปัณณาสก์]
๕.อาภาวรรค ๙. สุจริตสูตร

กาล ๔ ประการนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ที่บุคคลบำเพ็ญโดยชอบ ให้หมุนเวียน
ไปตามโดยชอบ ย่อมให้ถึงความสิ้นอาสวะตามลำดับ

ทุติยกาลสูตรที่ ๗ จบ

๘. ทุจจริตสูตร
ว่าด้วยทุจริต

[๑๔๘] ภิกษุทั้งหลาย วจีทุจริต ๔ ประการนี้
วจีทุจริต ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. มุสาวาท (พูดเท็จ) ๒. ปิสุณาวาจา (พูดส่อเสียด)
๓. ผรุสวาจา (พูดคำหยาบ) ๔. สัมผัปปลาปะ (พูดเพ้อเจ้อ)
ภิกษุทั้งหลาย วจีทุจริต ๔ ประการนี้แล

ทุจจริตสูตรที่ ๘ จบ

๙. สุจริตสูตร
ว่าด้วยสุจริต

[๑๔๙] ภิกษุทั้งหลาย วจีสุจริต ๔ ประการนี้
วจีสุจริต ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สัจจวาจา (พูดจริง) ๒. อปิสุณาวาจา (พูดไม่ส่อเสียด)
๓. สัณหวาจา (พูดอ่อนหวาน) ๔. มันตภาสา๑ (พูดด้วยปัญญา)
ภิกษุทั้งหลาย วจีสุจริต ๔ ประการนี้แล

สุจริตสูตรที่ ๙ จบ


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๓.ตติยปัณณาสก์]
๕.อาภาวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

๑๐. สารสูตร
ว่าด้วยสารธรรม

[๑๕๐] ภิกษุทั้งหลาย สารธรรม (ธรรมที่เป็นแก่นสาร) ๔ ประการนี้
สารธรรม ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สีลสารธรรม๑ (ธรรมที่เป็นแก่นสารคือศีล)
๒. สมาธิสารธรรม (ธรรมที่เป็นแก่นสารคือสมาธิ)
๓. ปัญญาสารธรรม (ธรรมที่เป็นแก่นสารคือปัญญา)
๔. วิมุตติสารธรรม (ธรรมที่เป็นแก่นสารคือวิมุตติ)
ภิกษุทั้งหลาย สารธรรม ๔ ประการนี้แล

สารสูตรที่ ๑๐ จบ
อาภาวรรคที่ ๕ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. อาภาสูตร ๒. ปภาสูตร
๓. อาโลกสูตร ๔. โอภาสสูตร
๕. ปัชโชตสูตร ๖. ปฐมกาลสูตร
๗. ทุติยกาลสูตร ๘. ทุจจริตสูตร
๙. สุจริตสูตร ๑๐. สารสูตร

ตติยปัณณาสก์ จบ


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๔.จตุตถปัณณาสก์]
๑. อินทริยวรรค ๒. สัทธาพลสูตร

๔. จตุตถปัณณาสก์
๑. อินทริยวรรค
หมวดว่าด้วยอินทรีย์
๑. อินทริยสูตร
ว่าด้วยอินทรีย์

[๑๕๑] ภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๔ ประการนี้
อินทรีย์ ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สัทธินทรีย์ (อินทรีย์คือศรัทธา)
๒. วิริยินทรีย์ (อินทรีย์คือวิริยะ)
๓. สมาธินทรีย์ (อินทรีย์คือสมาธิ)
๔. ปัญญินทรีย์ (อินทรีย์คือปัญญา)
ภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๔ ประการนี้แล

อินทริยสูตรที่ ๑ จบ

๒. สัทธาพลสูตร
ว่าด้วยสัทธาพละ

[๑๕๒] ภิกษุทั้งหลาย พละ (กำลัง) ๔ ประการนี้
พละ ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สัทธาพละ (กำลังคือศรัทธา)
๒. วิริยพละ (กำลังคือวิริยะ)
๓. สมาธิพละ (กำลังคือสมาธิ)
๔. ปัญญาพละ (กำลังคือปัญญา)
ภิกษุทั้งหลาย พละ ๔ ประการนี้แล

สัทธาพลสูตรที่ ๒ จบ


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๔.จตุตถปัณณาสก์]
๑. อินทริยวรรค ๕.ปฏิสังขานพลสูตร

๓. ปัญญาพลสูตร
ว่าด้วยปัญญาพละ

[๑๕๓] ภิกษุทั้งหลาย พละ (กำลัง) ๔ ประการนี้
พละ ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ปัญญาพละ (กำลังคือปัญญา)
๒. วิริยพละ (กำลังคือวิริยะ)
๓. อนวัชชพละ (กำลังคือกรรมที่ไม่มีโทษ)
๔. สังคหพละ (กำลังคือการสงเคราะห์)
ภิกษุทั้งหลาย พละ ๔ ประการนี้แล

ปัญญาพลสูตรที่ ๓ จบ

๔. สติพลสูตร
ว่าด้วยสติพละ

[๑๕๔] ภิกษุทั้งหลาย พละ ๔ ประการนี้
พละ ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สติพละ (กำลังคือสติ)
๒. สมาธิพละ (กำลังคือสมาธิ)
๓. อนวัชชพละ (กำลังคือกรรมที่ไม่มีโทษ)
๔. สังคหพละ (กำลังคือการสงเคราะห์)
ภิกษุทั้งหลาย พละ ๔ ประการนี้แล

สติพลสูตรที่ ๔ จบ

๕. ปฏิสังขานพลสูตร
ว่าด้วยปฏิสังขานพละ

[๑๕๕] ภิกษุทั้งหลาย พละ ๔ ประการนี้
พละ ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๑ หน้า :๒๑๕ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๔.จตุตถปัณณาสก์]
๑.อินทริยวรรค ๖. กัปปสูตร

๑. ปฏิสังขานพละ (กำลังคือการพิจารณา)
๒. ภาวนาพละ (กำลังคือการเจริญ)
๓. อนวัชชพละ (กำลังคือกรรมที่ไม่มีโทษ)
๔. สังคหพละ (กำลังคือการสงเคราะห์)
ภิกษุทั้งหลาย พละ ๔ ประการนี้แล

ปฏิสังขานพลสูตรที่ ๕ จบ

๖. กัปปสูตร
ว่าด้วยกัป

[๑๕๖] ภิกษุทั้งหลาย อสงไขยกัป ๔ ประการนี้
อสงไขยกัป ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ในเวลาที่สังวัฏฏกัป๑ดำเนินไป ไม่มีใครกำหนดนับได้ว่า จำนวนเท่านี้
หลายปี จำนวนเท่านี้ ๑๐๐ ปี จำนวนเท่านี้ ๑,๐๐๐ ปี หรือ
จำนวนเท่านี้ ๑๐๐,๐๐๐ ปี
๒. ในเวลาที่สังวัฏฏฐายีกัป๒ดำเนินไป ไม่มีใครกำหนดนับได้ว่า
จำนวนเท่านี้หลายปี จำนวนเท่านี้ ๑๐๐ ปี จำนวนเท่านี้ ๑,๐๐๐
ปี หรือจำนวนเท่านี้ ๑๐๐,๐๐๐ ปี


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๔.จตุตถปัณณาสก์]
๑.อินทริยวรรค ๗.โรคสูตร

๓. ในเวลาที่วิวัฏฏกัป๑ดำเนินไป ไม่มีใครกำหนดนับได้ว่า จำนวน
เท่านี้หลายปี จำนวนเท่านี้ ๑๐๐ ปี จำนวนเท่านี้ ๑,๐๐๐ ปี
หรือจำนวนเท่านี้ ๑๐๐,๐๐๐ ปี
๔. ในเวลาที่วิวัฏฏฐายีกัป๒ดำเนินไป ไม่มีใครกำหนดนับได้ว่า
จำนวนเท่านี้หลายปี จำนวนเท่านี้ ๑๐๐ ปี จำนวนเท่านี้ ๑,๐๐๐
ปี หรือจำนวนเท่านี้ ๑๐๐,๐๐๐ ปี
ภิกษุทั้งหลาย อสงไขยกัป ๔ ประการนี้แล

กัปปสูตรที่ ๖ จบ

๗. โรคสูตร
ว่าด้วยโรค

[๑๕๗] ภิกษุทั้งหลาย โรค ๒ อย่างนี้
โรค ๒ อย่าง อะไรบ้าง คือ
๑. โรคทางกาย ๒. โรคทางใจ
สัตว์ผู้อ้างว่า ตนเองไม่มีโรคทางกายตลอดระยะเวลา ๑ ปีบ้าง ๒ ปีบ้าง ๓ ปี
บ้าง ๔ ปีบ้าง ๕ ปีบ้าง ๑๐ ปีบ้าง ๒๐ ปีบ้าง ๓๐ ปีบ้าง ๔๐ ปีบ้าง ๕๐ ปีบ้าง
แม้ยิ่งกว่า ๑๐๐ ปีบ้าง ยังพอมีอยู่ แต่สัตว์ผู้จะกล่าวอ้างว่า ตนเองไม่มีโรคทางใจ
ตลอดระยะเวลาแม้ครู่เดียว หาได้โดยยาก ยกเว้นท่านผู้หมดกิเลสแล้ว
ภิกษุทั้งหลาย โรคของบรรพชิต ๔ อย่างนี้
โรค ๔ อย่าง อะไรบ้าง คือ
๑. ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นคนมักมาก คับแค้น ไม่สันโดษด้วยจีวร
บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชชบริขารตามแต่จะได้


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๔.จตุตถปัณณาสก์]
๑.อินทริยวรรค ๘. ปริหานิสูตร

๒. เธอเมื่อมักมาก คับแค้น ไม่สันโดษด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ
และคิลานปัจจัยเภสัชชบริขารตามแต่จะได้ ย่อมตั้งความปรารถนา
ชั่วเพื่อไม่ให้ผู้อื่นดูหมิ่น เพื่อให้ได้ลาภสักการะและชื่อเสียง
๓. เธอวิ่งเต้น ขวนขวาย พยายามเพื่อไม่ให้ผู้อื่นดูหมิ่น เพื่อให้ได้
ลาภสักการะและชื่อเสียง
๔. เธอเข้าไปหาตระกูลทั้งหลาย นั่งกล่าวธรรม กลั้นอุจจาระและ
ปัสสาวะเพื่อให้เขานับถือ
ภิกษุทั้งหลาย โรคของบรรพชิต ๔ อย่างนี้แล
เพราะเหตุนั้น เธอทั้งหลายในธรรมวินัยนี้พึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า “เราจักไม่
เป็นคนมักมาก ไม่เป็นคนมีจิตคับแค้น ไม่เป็นคนไม่สันโดษด้วยจีวร บิณฑบาต
เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชชบริขารตามแต่จะได้ เราจักไม่ตั้งความปรารถนาชั่ว
เพื่อให้คนอื่นรู้จัก เพื่อให้ได้ลาภสักการะและชื่อเสียง เราจักไม่วิ่งเต้น ไม่ขวนขวาย
ไม่พยายามเพื่อให้คนอื่นรู้จัก เพื่อให้ได้ลาภสักการะและชื่อเสียง เราจักอดทนต่อ
ความหนาว ความร้อน ความหิวกระหาย ต่อการถูกเหลือบ ยุง ลม แดด
และสัตว์เลื้อยคลานทั้งหลายรบกวน ต่อถ้อยคำหยาบคายร้ายแรงต่าง ๆจักเป็นผู้
อดกลั้นเวทนาทั้งหลายอันมีในร่างกายที่เกิดขึ้นแล้ว เป็นทุกข์ กล้าแข็ง เจ็บปวด
เผ็ดร้อน ไม่น่ายินดี ไม่น่าพอใจ พรากชีวิต”
ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอพึงสำเหนียกอย่างนี้แล

โรคสูตรที่ ๗ จบ

๘. ปริหานิสูตร
ว่าด้วยธรรมที่เป็นเหตุเสื่อม

[๑๕๘] ณ ที่นั้นแล ท่านพระสารีบุตรเรียกภิกษุทั้งหลายมากล่าวว่า ผู้มีอายุ
ทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นรับคำแล้ว ท่านพระสารีบุตรจึงได้กล่าวเรื่องนี้ว่า
ผู้มีอายุทั้งหลาย ผู้ใดจะเป็นภิกษุหรือภิกษุณีก็ตาม พิจารณาเห็นธรรม ๔
ประการอยู่ในตน พึงแน่ใจได้เลยว่า จะเสื่อมจากกุศลธรรมทั้งหลาย เพราะการมี
ธรรม ๔ ประการอยู่ในตนนี้ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า มีความเสื่อม
ธรรม ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๑ หน้า :๒๑๘ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๔.จตุตถปัณณาสก์]
๑.อินทริยวรรค ๙.ภิกขุนีสูตร

๑. ความเป็นผู้มีราคะหนา
๒. ความเป็นผู้มีโทสะหนา
๓. ความเป็นผู้มีโมหะหนา
๔. ไม่มีปัญญาจักษุ๑ในเรื่องที่ควรและไม่ควรอันลึกซึ้ง
ผู้มีอายุทั้งหลาย ผู้ใดจะเป็นภิกษุหรือภิกษุณีก็ตาม พิจารณาเห็นธรรม ๔
ประการนี้อยู่ในตน พึงแน่ใจได้ว่า จะเสื่อมจากกุศลธรรมทั้งหลาย เพราะการมี
ธรรม ๔ ประการอยู่ในตนนี้ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า มีความเสื่อม
ผู้มีอายุทั้งหลาย ผู้ใดจะเป็นภิกษุหรือภิกษุณีก็ตาม พิจารณาเห็นธรรม ๔
ประการอยู่ในตน พึงแน่ใจได้ว่า จะไม่เสื่อมจากกุศลธรรมทั้งหลาย เพราะการมีธรรม
๔ ประการอยู่ในตนนี้ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ไม่มีความเสื่อม
ธรรม ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ความเป็นผู้มีราคะเบาบาง
๒. ความเป็นผู้มีโทสะเบาบาง
๓. ความเป็นผู้มีโมหะเบาบาง
๔. มีปัญญาจักษุในเรื่องที่ควรและไม่ควรอันลึกซึ้ง
ผู้มีอายุทั้งหลาย ผู้ใดจะเป็นภิกษุหรือภิกษุณีก็ตาม พิจารณาเห็นธรรม ๔
ประการนี้อยู่ในตน พึงแน่ใจได้ว่า ไม่เสื่อมจากกุศลธรรมทั้งหลาย เพราะการมีธรรม
๔ ประการอยู่ในตนนี้ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ไม่มีความเสื่อม

ปริหานิสูตรที่ ๘ จบ

๙. ภิกขุนีสูตร
ว่าด้วยภิกษุณี

[๑๕๙] สมัยหนึ่ง ท่านพระอานนท์อยู่ ณ โฆสิตาราม เขตกรุงโกสัมพี ครั้งนั้น
ภิกษุณีรูปหนึ่ง เรียกชายคนหนึ่งมาบอกว่า “พ่อหนุ่มผู้เจริญ มานี่ ท่านจงเข้าไปหา
พระคุณเจ้าอานนท์ถึงที่อยู่ กราบเท้าท่านด้วยเศียรเกล้าตามคำของเรา เรียนว่า


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๔.จตุตถปัณณาสก์]
๑.อินทริยวรรค ๙.ภิกขุนีสูตร

‘ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ภิกษุณีชื่อนี้อาพาธ มีทุกข์ เป็นไข้หนัก นางขอกราบเท้า
พระคุณเจ้าอานนท์’ และจงเรียนอย่างนี้ว่า “ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ขอโอกาส ขอ
พระคุณเจ้าอานนท์ได้โปรดอนุเคราะห์เข้าไปหาภิกษุณีนั้นยังสำนักของภิกษุณีด้วยเถิด”
บุรุษนั้นรับคำแล้ว เข้าไปหาท่านพระอานนท์ถึงที่อยู่ ไหว้แล้ว นั่ง ณ ที่สมควร
ได้เรียนท่านพระอานนท์ว่า
“ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ภิกษุณีชื่อนี้อาพาธ มีทุกข์ เป็นไข้หนัก นางขอกราบเท้า
พระคุณเจ้าอานนท์ด้วยเศียรเกล้า” และเรียนอย่างนี้ว่า “ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ขอ
โอกาส ขอพระคุณเจ้าอานนท์ได้โปรดอนุเคราะห์ เข้าไปหาภิกษุณีนั้นยังสำนักของ
ภิกษุณีด้วยเถิด”
ท่านพระอานนท์รับโดยดุษณีภาพ
ครั้นเวลาเช้า ท่านพระอานนท์ครองอันตรวาสก ถือบาตรและจีวร๑ เข้าไปหา
ภิกษุณีนั้นยังสำนักของภิกษุณี ภิกษุณีนั้นเห็นท่านพระอานนท์มาแต่ไกล นอนคลุม
ศีรษะอยู่บนเตียง
ลำดับนั้น ในเวลาเช้า ท่านพระอานนท์เข้าไปหาภิกษุณีนั้นถึงที่อยู่ นั่งบน
อาสนะที่ปูลาดไว้ ได้กล่าวกับภิกษุณีนั้นดังนี้ว่า
“น้องหญิง กายนี้เกิดขึ้นเพราะอาหาร บุคคลอาศัยอาหาร๒แล้วพึงละอาหาร๓เสีย
กายนี้เกิดขึ้นเพราะตัณหา บุคคลอาศัยตัณหา๔แล้วพึงละตัณหา๕เสีย กายนี้เกิดขึ้น
เพราะมานะ บุคคลอาศัยมานะแล้วพึงละมานะเสีย กายนี้เกิดขึ้นเพราะเมถุนและการ
ฆ่าปัจจัยแห่งเมถุนด้วยอริยมรรค พระผู้มีพระภาคตรัสไว้แล้ว


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๔.จตุตถปัณณาสก์]
๑.อินทริยวรรค ๙.ภิกขุนีสูตร

น้องหญิง เรากล่าวไว้แล้วเช่นนี้แลว่า ‘กายนี้เกิดขึ้นเพราะอาหาร บุคคล
อาศัยอาหารแล้วพึงละอาหารเสีย‘ เพราะอาศัยเหตุอะไรเราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น
น้องหญิง ภิกษุในธรรมวินัยนี้พิจารณาโดยแยบคายแล้วจึงฉันอาหาร ไม่ใช่เพื่อเล่น
ไม่ใช่เพื่อมัวเมา ไม่ใช่เพื่อประดับ ไม่ใช่เพื่อตกแต่ง แต่ฉันเพียงเพื่อความดำรงอยู่
ได้แห่งกายนี้ เพื่อให้กายนี้เป็นไปได้ เพื่อกำจัดความเบียดเบียน เพื่ออนุเคราะห์
พรหมจรรย์โดยคิดเห็นว่า ‘เราจักกำจัดเวทนาเก่าและจักไม่ให้เวทนาใหม่เกิดขึ้น
ความดำเนินไปแห่งกาย ความไม่มีโทษ และความอยู่ผาสุกจักมีแก่เรา’ เธออาศัย
อาหารแล้วภายหลังจึงละอาหารเสียได้
น้องหญิง ข้อที่เรากล่าวว่า ‘กายนี้เกิดขึ้นเพราะอาหาร บุคคลอาศัย
อาหารแล้วพึงละอาหารเสีย‘ เรากล่าวเพราะอาศัยเหตุนี้
น้องหญิง เรากล่าวไว้แล้วเช่นนี้แลว่า ‘กายนี้เกิดขึ้นเพราะตัณหา บุคคลอาศัย
ตัณหาแล้วพึงละตัณหาเสีย‘ เพราะอาศัยเหตุอะไรเราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น น้องหญิง
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ฟังข่าวว่า ‘ภิกษุชื่อนี้ทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ๑ ปัญญาวิมุตติ๒อันไม่มี
อาสวะเพราะอาสวะสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน’ เธอมีความคิด
อย่างนี้ว่า ‘เมื่อไรหนอ แม้เราก็จักทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันไม่มี
อาสวะเพราะอาสวะสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน’ เธออาศัยตัณหา
แล้วภายหลังจึงละตัณหาเสียได้
น้องหญิง ข้อที่เรากล่าวว่า ‘กายนี้เกิดขึ้นเพราะตัณหา บุคคลอาศัย
ตัณหาแล้วพึงละตัณหาเสีย‘ เรากล่าวเพราะอาศัยเหตุนี้
น้องหญิง เรากล่าวไว้แล้วเช่นนี้แลว่า ‘กายนี้เกิดขึ้นเพราะมานะ บุคคลอาศัย
มานะแล้วพึงละมานะเสีย‘ เพราะอาศัยเหตุอะไรเราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น น้องหญิง
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ฟังข่าวว่า ‘ภิกษุชื่อนี้ทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันไม่มี
อาสวะเพราะอาสวะสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน’ เธอมีความคิด
อย่างนี้ว่า ‘ก็ท่านผู้มีอายุนั้นทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันไม่มีอาสวะ
เพราะอาสวะสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน ไฉนเราจักทำให้แจ้ง
บ้างไม่ได้’ เธออาศัยมานะแล้วภายหลังจึงละมานะเสียได้


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๔.จตุตถปัณณาสก์]
๑.อินทริยวรรค ๑๐.สุคตวินยสูตร

น้องหญิง ข้อที่เรากล่าวว่า ‘กายนี้เกิดขึ้นเพราะมานะ บุคคลอาศัยมานะ
แล้วพึงละมานะเสีย‘ เรากล่าวเพราะอาศัยเหตุนี้
น้องหญิง กายนี้เกิดขึ้นเพราะเมถุนและการฆ่าปัจจัยแห่งเมถุนด้วยอริยมรรค
พระผู้มีพระภาคตรัสไว้แล้ว”
ลำดับนั้นแล ภิกษุณีนั้นลุกจากเตียง ห่มผ้าเฉวียงบ่าข้างหนึ่ง หมอบลง
แทบเท้าของท่านพระอานนท์ด้วยเศียรเกล้า ได้เรียนท่านพระอานนท์ว่า “ข้าแต่ท่าน
ผู้เจริญ ดิฉันเป็นคนเขลา คนหลง ไม่ฉลาด ได้ล่วงเกินไปแล้ว ขอพระคุณเจ้า
อานนท์โปรดยกโทษให้ดิฉันผู้ทำอย่างนี้ เพื่อให้สำรวมระวังต่อไป”
ท่านพระอานนท์กล่าวว่า “ช่างเถอะ น้องหญิง เธอเป็นคนเขลา คนหลง
ไม่ฉลาด จึงได้ล่วงเกินไปแล้ว เมื่อเธอผู้ทำอย่างนี้ เห็นโทษโดยความเป็นโทษแล้ว
ทำคืนตามธรรม เรายกโทษให้เธอ น้องหญิง การที่บุคคลเห็นโทษแล้วทำคืนตาม
ธรรม สำรวมระวังต่อไปนี้เป็นความเจริญในอริยวินัย”

ภิกขุนีสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. สุคตวินยสูตร
ว่าด้วยพระสุคตและวินัยของพระสุคต

[๑๖๐] ภิกษุทั้งหลาย พระสุคต๑หรือวินัยของพระสุคต เมื่อดำรงอยู่ในโลก
พึงเป็นไปเพื่อเกื้อกูลแก่คนหมู่มาก๒ เพื่อสุขแก่คนหมู่มาก เพื่ออนุเคราะห์ชาวโลก
เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
พระสุคต คือใคร
คือ ตถาคตเกิดขึ้นในโลกนี้เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้ด้วยพระองค์เองโดยชอบ
เพียบพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดี รู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกผู้ที่ควรฝึกได้อย่าง


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๔.จตุตถปัณณาสก์]
๑.อินทริยวรรค ๑๐.สุคตวินยสูตร

ยอดเยี่ยม เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระ
ผู้มีพระภาค๑ ภิกษุทั้งหลาย นี้คือพระสุคต
วินัยของพระสุคต เป็นอย่างไร
คือ พระสุคตนั้นย่อมทรงแสดงธรรมที่มีความงามในเบื้องต้น มีความงามใน
ท่ามกลาง และมีความงามในที่สุด ทรงประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถและ
พยัญชนะบริสุทธิ์บริบูรณ์ครบถ้วน ภิกษุทั้งหลาย นี้คือวินัยของพระสุคต
ภิกษุทั้งหลาย พระสุคตหรือวินัยของพระสุคต เมื่อดำรงอยู่ในโลกอย่างนี้
พึงเป็นไปเพื่อเกื้อกูลคนหมู่มาก เพื่อสุขแก่คนหมู่มาก เพื่ออนุเคราะห์ชาวโลก
เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
ธรรม ๔ ประการนี้ย่อมเป็นไปเพื่อความเสื่อมสูญหายไปแห่งสัทธรรม
ธรรม ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุทั้งหลายในธรรมวินัยนี้
๑. เล่าเรียนสูตรที่เล่าเรียนกันมาผิดลำดับโดยบทพยัญชนะที่ สืบทอด
กันมาไม่ดี๒ แม้อรรถแห่งบทพยัญชนะที่สืบทอดกันมาไม่ดี ก็เป็น
การสืบทอดขยายความไม่ดี นี้เป็นธรรมประการที่ ๑ ย่อมเป็นไป
เพื่อความเสื่อมสูญหายไปแห่งสัทธรรม
๒. เป็นผู้ว่ายาก ประกอบด้วยธรรมเครื่องทำความเป็นผู้ว่ายาก ไม่
อดทน ไม่รับคำพร่ำสอนโดยเคารพ นี้เป็นธรรมประการที่ ๒
ย่อมเป็นไปเพื่อความเสื่อมสูญหายไปแห่งสัทธรรม
๓. เป็นพหูสูต เรียนจบคัมภีร์๓ ทรงธรรม ทรงวินัย ทรงมาติกา ไม่
ถ่ายทอดสูตรแก่ผู้อื่นโดยเคารพ เมื่อภิกษุเหล่านั้นล่วงลับไป สูตร
ก็ขาดรากฐาน ไม่มีที่พึ่งอาศัย นี้เป็นธรรมประการที่ ๓ ย่อมเป็น
ไปเพื่อความเสื่อมสูญหายไปแห่งสัทธรรม


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๔.จตุตถปัณณาสก์]
๑.อินทริยวรรค ๑๐.สุคตวินยสูตร

๔. เป็นเถระ เป็นผู้มักมาก เป็นผู้ย่อหย่อน เป็นผู้นำในโอกกมน-
ธรรม๑ ทอดธุระ๒ในปวิเวก๓ ไม่ปรารภความเพียร๔ เพื่อถึงธรรม
ที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยัง
ไม่ได้ทำให้แจ้ง หมู่คนรุ่นหลังพากันตามอย่างภิกษุผู้เป็นเถระ
เหล่านั้น แม้หมู่คนรุ่นหลังนั้นก็เป็นผู้มักมาก เป็นผู้ย่อหย่อน
เป็นผู้นำในโอกกมนธรรม ทอดธุระในปวิเวก ไม่ปรารภความ
เพียรเพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ เพื่อ
ทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ได้ทำให้แจ้ง นี้เป็นธรรมประการที่ ๔ ย่อม
เป็นไปเพื่อความเสื่อมสูญหายไปแห่งสัทธรรม
ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๔ ประการนี้แลย่อมเป็นไปเพื่อความเสื่อมสูญหายไป
แห่งสัทธรรม
ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๔ ประการนี้ย่อมเป็นไปเพื่อความดำรงมั่น ไม่เสื่อมสูญ
ไม่หายไปแห่งสัทธรรม
ธรรม ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุทั้งหลายในธรรมวินัยนี้
๑. เล่าเรียนสูตรที่เล่าเรียนกันมาดีโดยบทพยัญชนะที่สืบทอดกันมาดี
แม้อรรถแห่งบทพยัญชนะที่สืบทอดกันมาดีก็เป็นการสืบทอดขยาย
ความดี นี้เป็นธรรมประการที่ ๑ ย่อมเป็นไปเพื่อความดำรงมั่น
ไม่เสื่อมสูญ ไม่หายไปแห่งสัทธรรม


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๔.จตุตถปัณณาสก์]
๑.อินทริยวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

๒. เป็นคนว่าง่าย ประกอบด้วยธรรรมเครื่องทำความเป็นผู้ว่าง่าย
อดทน รับคำพร่ำสอนโดยเคารพ นี้เป็นธรรมประการที่ ๒ ย่อม
เป็นไปเพื่อความดำรงมั่น ไม่เสื่อมสูญ ไม่หายไปแห่งสัทธรรม
๓. เป็นพหูสูต เรียนจบคัมภีร์ ทรงธรรม ทรงวินัย ทรงมาติกา
ถ่ายทอดสูตรแก่ผู้อื่นโดยเคารพ เมื่อภิกษุเหล่านั้นล่วงลับไป
สูตรก็ไม่ขาดรากฐาน มีที่พึ่งอาศัย นี้เป็นธรรมประการที่ ๓ ย่อม
เป็นไปเพื่อความดำรงมั่น ไม่เสื่อมสูญ ไม่หายไปแห่งสัทธรรม
๔. เป็นเถระ เป็นผู้ไม่มักมาก เป็นผู้ไม่ย่อหย่อน หมดธุระใน
โอกกมนธรรม เป็นผู้นำในปวิเวก ปรารภความเพียรเพื่อถึงธรรม
ที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยัง
ไม่ได้ทำให้แจ้ง หมู่คนรุ่นหลังพากันตามอย่างภิกษุผู้เป็นเถระ
เหล่านั้น แม้หมู่คนรุ่นหลังนั้นก็เป็นผู้ไม่มักมาก เป็นผู้ไม่ย่อหย่อน
หมดธุระในโอกกมนธรรม เป็นผู้นำในปวิเวก ปรารภความเพียร
เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้
แจ้งธรรมที่ยังไม่ได้ทำให้แจ้ง นี้เป็นธรรมประการที่ ๔ ย่อมเป็น
ไปเพื่อความดำรงมั่น ไม่เสื่อมสูญ ไม่หายไปแห่งสัทธรรม
ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๔ ประการนี้แลย่อมเป็นไปเพื่อความดำรงมั่น ไม่
เสื่อมสูญ ไม่หายไปแห่งสัทธรรม

สุคตวินยสูตรที่ ๑๐ จบ
อินทริยวรรคที่ ๑ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. อินทริยสูตร ๒. สัทธาพลสูตร
๓. ปัญญาพลสูตร ๔. สติพลสูตร
๕. ปฏิสังขานพลสูตร ๖. กัปปสูตร
๗. โรคสูตร ๘. ปริหานิสูตร
๙. ภิกขุนีสูตร ๑๐. สุคตวินยสูตร


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๔.จตุตถปัณณาสก์]
๒.ปฏิปทาวรรค ๒.วิตถารสูตร

๒. ปฏิปทาวรรค
หมวดว่าด้วยปฏิปทา
๑. สังขิตตสูตร
ว่าด้วยปฏิปทาโดยย่อ

[๑๖๑] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย ปฏิปทา ๔๑ ประการนี้
ปฏิปทา ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ทุกขาปฏิปทา ทันธาภิญญา (ปฏิบัติลำบากและรู้ได้ช้า)
๒. ทุกขาปฏิปทา ขิปปาภิญญา (ปฏิบัติลำบาก แต่รู้ได้เร็ว)
๓. สุขาปฏิปทา ทันธาภิญญา (ปฏิบัติสะดวก แต่รู้ได้ช้า)
๔. สุขาปฏิปทา ขิปปาภิญญา (ปฏิบัติสะดวกและรู้ได้เร็ว)
ภิกษุทั้งหลาย ปฏิปทา ๔ ประการนี้แล

สังขิตตสูตรที่ ๑ จบ

๒. วิตถารสูตร
ว่าด้วยปฏิปทาโดยพิสดาร

[๑๖๒] ภิกษุทั้งหลาย ปฏิปทา ๔ ประการนี้
ปฏิปทา ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ทุกขาปฏิปทา ทันธาภิญญา ๒. ทุกขาปฏิปทา ขิปปาภิญญา
๓. สุขาปฏิปทา ทันธาภิญญา ๔. สุขาปฏิปทา ขิปปาภิญญา
ทุกขาปฏิปทา ทันธาภิญญา เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้โดยปกติเป็นคนมีราคะกล้า ย่อมเสวยทุกขโทมนัส
ที่เกิดจากราคะเป็นประจำบ้าง โดยปกติเป็นคนมีโทสะกล้า ย่อมเสวยทุกขโทมนัส
ที่เกิดจากโทสะเป็นประจำบ้าง โดยปกติเป็นคนมีโมหะกล้า ย่อมเสวยทุกขโทมนัส


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๔.จตุตถปัณณาสก์]
๒.ปฏิปทาวรรค ๒.วิตถารสูตร

ที่เกิดจากโมหะเป็นประจำบ้าง อินทรีย์ ๕ ประการนี้ของเธอ คือ สัทธินทรีย์
วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์๑ย่อมปรากฏอ่อน เพราะอินทรีย์
๕ ประการนี้ปรากฏอ่อน เธอจึงบรรลุคุณวิเศษเพื่อความสิ้นอาสวะช้า นี้เรียกว่า
ทุกขาปฏิปทา ทันธาภิญญา
ทุกขาปฏิปทา ขิปปาภิญญา เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้โดยปกติเป็นคนมีราคะกล้า ย่อมเสวยทุกขโทมนัส
ที่เกิดจากราคะเป็นประจำบ้าง โดยปกติเป็นคนมีโทสะกล้า ย่อมเสวยทุกขโทมนัส
ที่เกิดจากโทสะเป็นประจำบ้าง โดยปกติเป็นคนมีโมหะกล้า ย่อมเสวยทุกขโทมนัส
ที่เกิดจากโมหะเป็นประจำบ้าง อินทรีย์ ๕ ประการนี้ของเธอ คือ สัทธินทรีย์
วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์ ย่อมปรากฏแก่กล้า เพราะอินทรีย์
๕ ประการนี้ปรากฏแก่กล้า เธอจึงบรรลุคุณวิเศษเพื่อความสิ้นอาสวะเร็ว นี้เรียกว่า
ทุกขาปฏิปทา ขิปปาภิญญา
สุขาปฏิปทา ทันธาภิญญา เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้โดยปกติเป็นคนไม่มีราคะกล้า จึงไม่เสวยทุกขโทมนัส
ที่เกิดจากราคะเป็นประจำบ้าง โดยปกติเป็นคนไม่มีโทสะกล้า จึงไม่เสวยทุกขโทมนัส
ที่เกิดจากโทสะเป็นประจำบ้าง โดยปกติเป็นคนไม่มีโมหะกล้า จึงไม่เสวยทุกขโทมนัส
ที่เกิดจากโมหะเป็นประจำบ้าง อินทรีย์ ๕ ประการนี้ของเธอ คือ สัทธินทรีย์
วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์ ย่อมปรากฏอ่อน เพราะอินทรีย์ ๕
ประการนี้ปรากฏอ่อน เธอจึงบรรลุคุณวิเศษเพื่อความสิ้นอาสวะช้า นี้เรียกว่า
สุขาปฏิปทา ทันธาภิญญา


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๔.จตุตถปัณณาสก์]
๒.ปฏิปทาวรรค ๓.อสุภสูตร

สุขาปฏิปทา ขิปปาภิญญา เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้โดยปกติเป็นคนไม่มีราคะกล้า จึงไม่เสวยทุกขโทมนัส
ที่เกิดจากราคะเป็นประจำบ้าง โดยปกติเป็นคนไม่มีโทสะกล้า จึงไม่เสวยทุกขโทมนัส
ที่เกิดจากโทสะเป็นประจำบ้าง โดยปกติเป็นคนไม่มีโมหะกล้า จึงไม่เสวยทุกขโทมนัส
ที่เกิดจากโมหะเป็นประจำบ้าง อินทรีย์ ๕ ประการนี้ของเธอ คือ สัทธินทรีย์
วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์ ย่อมปรากฏแก่กล้าเพราะอินทรีย์
๕ ประการนี้ปรากฏแก่กล้า เธอจึงบรรลุคุณวิเศษเพื่อความสิ้นอาสวะเร็ว นี้เรียกว่า
สุขาปฏิปทา ขิปปาภิญญา
ภิกษุทั้งหลาย ปฏิปทา ๔ ประการนี้แล

วิตถารสูตรที่ ๒ จบ

๓. อสุภสูตร
ว่าด้วยการพิจารณาเห็นความไม่งามในกาย

[๑๖๓] ภิกษุทั้งหลาย ปฏิปทา ๔ ประการนี้
ปฏิปทา ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ทุกขาปฏิปทา ทันธาภิญญา ๒. ทุกขาปฏิปทา ขิปปาภิญญา
๓. สุขาปฏิปทา ทันธาภิญญา ๔. สุขาปฏิปทา ขิปปาภิญญา
ทุกขาปฏิปทา ทันธาภิญญา เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้พิจารณาเห็นความไม่งามในกาย มีสัญญา (ความจำได้
หมายรู้)ว่าปฏิกูลในอาหาร มีสัญญาว่าไม่น่าเพลิดเพลินในโลกทั้งปวง พิจารณาเห็น
ความไม่เที่ยงในสังขารทั้งปวงอยู่ เธอมีมรณสัญญาที่ตั้งมั่นดีภายใน เธอเข้าไปอาศัย
เสกขพละ ๕ ประการนี้อยู่ คือ สัทธาพละ (กำลังคือศรัทธา) หิริพละ (กำลังคือหิริ)
โอตตัปปพละ (กำลังคือโอตตัปปะ) วิริยพละ (กำลังคือวิริยะ) ปัญญาพละ (กำลัง
คือปัญญา) และอินทรีย์ ๕ ประการนี้ของเธอ คือ สัทธินทรีย์ (อินทรีย์คือศรัทธา)
วิริยินทรีย์ (อินทรีย์คือวิริยะ) สตินทรีย์ (อินทรีย์คือสติ) สมาธินทรีย์ (อินทรีย์
คือสมาธิ) ปัญญินทรีย์ (อินทรีย์คือปัญญา) ย่อมปรากฏอ่อน เพราะอินทรีย์ ๕
ประการนี้ปรากฏอ่อน เธอจึงบรรลุคุณวิเศษเพื่อความสิ้นอาสวะช้า นี้เรียกว่า
ทุกขาปฏิปทา ทันธาภิญญา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๑ หน้า :๒๒๘ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๔.จตุตถปัณณาสก์]
๒.ปฏิปทาวรรค ๓.อสุภสูตร

ทุกขาปฏิปทา ขิปปาภิญญา เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้พิจารณาเห็นความไม่งามในกาย มีสัญญาว่าปฏิกูล
ในอาหาร มีสัญญาว่าไม่น่าเพลิดเพลินในโลกทั้งปวง พิจารณาเห็นความไม่เที่ยง
ในสังขารทั้งปวงอยู่ เธอมีมรณสัญญาที่ตั้งมั่นดีภายใน เธอเข้าไปอาศัยเสกขพละ ๕
ประการนี้อยู่ คือ สัทธาพละ หิริพละ โอตตัปปพละ วิริยพละ ปัญญาพละ แต่
อินทรีย์ ๕ ประการนี้ของเธอ คือ สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์
ปัญญินทรีย์ย่อมปรากฏแก่กล้า เพราะอินทรีย์ ๕ ประการนี้ปรากฏแก่กล้า เธอ
จึงบรรลุคุณวิเศษเพื่อความสิ้นอาสวะเร็ว นี้เรียกว่า ทุกขาปฏิปทา ขิปปาภิญญา
สุขาปฏิปทา ทันธาภิญญา เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้สงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน
ที่มีวิตกวิจาร ปีติและสุขอันเกิดจากวิเวกอยู่ เพราะวิตกวิจารสงบระงับไป ภิกษุ
บรรลุทุติยฌานที่มีความผ่องใสในภายใน มีภาวะที่จิตเป็นหนึ่งผุดขึ้น ไม่มีวิตกวิจาร
มีแต่ปีติและสุขอันเกิดจากสมาธิอยู่ เพราะปีติจางคลายไป ภิกษุมีอุเบกขา มีสติ
สัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย บรรลุตติยฌานที่พระอริยะทั้งหลายสรรเสริญว่า
“ผู้มีอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข” เพราะละสุขและทุกข์ได้ เพราะโสมนัสและโทมนัส
ดับไปก่อนแล้ว ภิกษุบรรลุจตุตถฌานที่ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขา
อยู่ ภิกษุเข้าไปอาศัยเสกขพละ ๕ ประการนี้อยู่ คือ สัทธาพละ หิริพละ โอตตัปป-
พละ วิริยพละ ปัญญาพละ แต่อินทรีย์ ๕ ประการนี้ของเธอ คือ สัทธินทรีย์
วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์ ย่อมปรากฏอ่อน เพราะอินทรีย์
๕ ประการนี้ปรากฏอ่อน เธอจึงบรรลุคุณวิเศษเพื่อความสิ้นอาสวะช้า นี้เรียกว่า
สุขาปฏิปทา ทันธาภิญญา
สุขาปฏิปทา ขิปปาภิญญา เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้สงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุ
ปฐมฌาน ฯลฯ อยู่ เพราะวิตกวิจารสงบระงับไป ภิกษุบรรลุทุติยฌาน ฯลฯ อยู่
เพราะปีติจางคลายไป ภิกษุมีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย
บรรลุตติยฌาน ฯลฯ อยู่ เพราะละสุขและทุกข์ได้ เพราะโสมนัสและโทมนัสดับ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๑ หน้า :๒๒๙ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๔.จตุตถปัณณาสก์]
๒.ปฏิปทาวรรค ๔. ปฐมขมสูตร

ไปก่อนแล้ว ภิกษุบรรลุจตุตถฌาน ฯลฯ อยู่ เธอเข้าไปอาศัยเสกขพละ ๕ ประการ
นี้อยู่ คือ สัทธาพละ หิริพละ โอตตัปปพละ วิริยพละ ปัญญาพละ และอินทรีย์
๕ ประการนี้ของเธอ คือ สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์
ย่อมปรากฏแก่กล้า เพราะอินทรีย์ ๕ ประการนี้ปรากฏแก่กล้า เธอจึงบรรลุ
คุณวิเศษเพื่อความสิ้นอาสวะเร็ว นี้เรียกว่า สุขาปฏิปทา ขิปปาภิญญา
ภิกษุทั้งหลาย ปฏิปทา ๔ ประการนี้แล

อสุภสูตรที่ ๓ จบ

๔. ปฐมขมสูตร
ว่าด้วยปฏิปทาที่อดทน สูตรที่ ๑

[๑๖๔] ภิกษุทั้งหลาย ปฏิปทา ๔ ประการนี้
ปฏิปทา ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. อักขมา ปฏิปทา (ข้อปฏิบัติที่ไม่อดทน)
๒. ขมา ปฏิปทา๑ (ข้อปฏิบัติที่อดทน)
๓. ทมา ปฏิปทา๒ (ข้อปฏิบัติที่ข่มใจ)
๔. สมา ปฏิปทา๓ (ข้อปฏิบัติที่ระงับ)
อักขมา ปฏิปทา เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ด่าโต้ตอบคนที่ด่า โกรธตอบคนที่โกรธ เถียงโต้
ตอบคนที่เถียง นี้เรียกว่า อักขมา ปฏิปทา
ขมา ปฏิปทา เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ไม่ด่าโต้ตอบคนที่ด่า ไม่โกรธตอบคนที่โกรธ ไม่
เถียงโต้ตอบคนที่เถียง นี้เรียกว่า ขมา ปฏิปทา


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๔.จตุตถปัณณาสก์]
๒.ปฏิปทาวรรค ๕.ทุติยขมสูตร

ทมา ปฏิปทา เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้เห็นรูปทางตาแล้วไม่รวบถือ๑ ไม่แยกถือ๒ ย่อม
ปฏิบัติเพื่อความสำรวมจักขุนทรีย์ซึ่งเมื่อไม่สำรวมแล้วก็จะเป็นเหตุให้ถูกบาปอกุศล-
ธรรมคืออภิชฌาและโทมนัสครอบงำได้ จึงรักษาจักขุนทรีย์ ถึงความสำรวม
จักขุนทรีย์ ฟังเสียงทางหู ... ดมกลิ่นทางจมูก ... ลิ้มรสทางลิ้น ... ถูกต้องโผฏฐัพพะ
ทางกาย ... รู้ธรรมารมณ์ทางใจแล้ว ไม่รวบถือ ไม่แยกถือ ย่อมปฏิบัติเพื่อความ
สำรวมในมนินทรีย์ซึ่งเมื่อไม่สำรวมแล้วก็จะเป็นเหตุให้ถูกบาปอกุศลธรรมคืออภิชฌา
และโทมนัสครอบงำได้ จึงรักษามนินทรีย์ ถึงความสำรวมในมนินทรีย์ นี้เรียกว่า
ทมา ปฏิปทา
สมา ปฏิปทา เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ไม่ยินดีกามวิตกที่เกิดขึ้น ละ บรรเทา ทำให้สงบ
ทำให้หมดสิ้นไป ทำให้ถึงความไม่มี ไม่ยินดีพยาบาทวิตกที่เกิดขึ้น ... ไม่ยินดี
วิหิงสาวิตกที่เกิดขึ้น ... ไม่ยินดีบาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้วเกิดขึ้นอีก ละ บรรเทา
ทำให้สงบ ทำให้หมดสิ้นไป ทำให้ถึงความไม่มี นี้เรียกว่า สมา ปฏิปทา
ภิกษุทั้งหลาย ปฏิปทา ๔ ประการนี้แล

ปฐมขมสูตรที่ ๔ จบ

๕. ทุติยขมสูตร
ว่าด้วยปฏิปทาที่อดทน สูตรที่ ๒

[๑๖๕] ภิกษุทั้งหลาย ปฏิปทา ๔ ประการนี้
ปฏิปทา ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. อักขมา ปฏิปทา ๒. ขมา ปฏิปทา
๓. ทมา ปฏิปทา ๔. สมา ปฏิปทา


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๔.จตุตถปัณณาสก์]
๒.ปฏิปทาวรรค ๕.ทุติยขมสูตร

อักขมา ปฏิปทา เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้ไม่อดทนต่อความหนาว ความร้อน ความหิว
กระหาย ต่อการถูกเหลือบ ยุง ลม แดด และสัตว์เลื้อยคลานทั้งหลายรบกวน
ต่อถ้อยคำหยาบคายร้ายแรงต่าง ๆ เป็นผู้ไม่อดกลั้นเวทนาทั้งหลาย อันมีในร่างกาย
ที่เกิดขึ้นแล้ว เป็นทุกข์ กล้าแข็ง เจ็บปวด เผ็ดร้อน ไม่น่ายินดี ไม่น่าพอใจ พราก
ชีวิต นี้เรียกว่า อักขมา ปฏิปทา
ขมา ปฏิปทา เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้อดทนต่อความหนาว ความร้อน ความหิว
กระหาย ต่อการถูกเหลือบ ยุง ลม แดด และสัตว์เลื้อยคลานทั้งหลายรบกวน
ต่อถ้อยคำหยาบคายร้ายแรงต่าง ๆ เป็นผู้อดกลั้นเวทนาทั้งหลายอันมีในร่างกาย
ที่เกิดขึ้นแล้ว เป็นทุกข์ กล้าแข็ง เจ็บปวด เผ็ดร้อน ไม่น่ายินดี ไม่น่าพอใจ พราก
ชีวิต นี้เรียกว่า ขมา ปฏิปทา
ทมา ปฏิปทา เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เห็นรูปทางตาแล้วไม่รวบถือ ไม่แยกถือ ย่อมปฏิบัติ
เพื่อความสำรวมจักขุนทรีย์ ซึ่งเมื่อไม่สำรวมแล้วก็จะเป็นเหตุให้ถูกบาปอกุศลธรรม
คืออภิชฌาและโทมนัสครอบงำได้ จึงรักษาจักขุนทรีย์ ถึงความสำรวมในจักขุนทรีย์
ฟังเสียงทางหู ... ดมกลิ่นทางจมูก ... ลิ้มรสทางลิ้น ... ถูกต้องโผฏฐัพพะทางกาย ...
รู้ธรรมารมณ์ทางใจแล้ว ไม่รวบถือ ไม่แยกถือ ย่อมปฏิบัติเพื่อสำรวมมนินทรีย์
ซึ่งเมื่อไม่สำรวมแล้วก็จะเป็นเหตุให้ถูกบาปอกุศลธรรมคืออภิชฌาและโทมนัสครอบงำได้
จึงรักษามนินทรีย์ ถึงความสำรวมในมนินทรีย์ นี้เรียกว่า ทมา ปฏิปทา
สมา ปฏิปทา เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ไม่ยินดีกามวิตกที่เกิดขึ้น ละ บรรเทา ทำให้สงบ
ทำให้หมดสิ้นไป ทำให้ถึงความไม่มี ไม่ยินดีพยาบาทวิตกที่เกิดขึ้น ... ไม่ยินดี
วิหิงสาวิตกที่เกิดขึ้น ... ไม่ยินดีบาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้วเกิดขึ้นอีก ละ บรรเทา
ทำให้สงบ ทำให้หมดสิ้นไป ทำให้ถึงความไม่มี นี้เรียกว่า สมา ปฏิปทา
ภิกษุทั้งหลาย ปฏิปทา ๔ ประการนี้แล

ทุติยขมสูตรที่ ๕ จบ


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๔.จตุตถปัณณาสก์]
๒.ปฏิปทาวรรค ๗.มหาโมคคัลลานสูตร

๖. อุภยสูตร
ว่าด้วยปฏิปทาที่มีลักษณะเหมือนกันทั้ง ๒ ส่วน

[๑๖๖] ภิกษุทั้งหลาย ปฏิปทา ๔ ประการนี้
ปฏิปทา ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ทุกขาปฏิปทา ทันธาภิญญา (ปฏิบัติลำบากและรู้ได้ช้า)
๒. ทุกขาปฏิปทา ขิปปาภิญญา (ปฏิบัติลำบาก แต่รู้ได้เร็ว)
๓. สุขาปฏิปทา ทันธาภิญญา (ปฏิบัติสะดวก แต่รู้ได้ช้า)
๔. สุขาปฏิปทา ขิปปาภิญญา (ปฏิบัติสะดวกและรู้ได้เร็ว)
บรรดาปฏิปทา ๔ ประการนั้น ทุกขาปฏิปทา ทันธาภิญญา ปฏิปทานี้บัณฑิต
กล่าวว่าเป็นข้อปฏิบัติต่ำทั้ง ๒ ส่วน คือ ต่ำเพราะการปฏิบัติลำบากและต่ำเพราะรู้
ได้ช้า ปฏิปทานี้บัณฑิตกล่าวว่าเป็นข้อปฏิบัติต่ำทั้ง ๒ ส่วน
บรรดาปฏิปทา ๔ ประการนั้น ทุกขาปฏิปทา ขิปปาภิญญา ปฏิปทานี้บัณฑิต
กล่าวว่าเป็นข้อปฏิบัติต่ำเพราะปฏิบัติลำบาก
บรรดาปฏิปทา ๔ ประการนั้น สุขาปฏิปทา ทันธาภิญญา ปฏิปทานี้บัณฑิต
กล่าวว่าเป็นข้อปฏิบัติต่ำเพราะรู้ได้ช้า
บรรดาปฏิปทา ๔ ประการนั้น สุขาปฏิปทา ขิปปาภิญญา ปฏิปทานี้บัณฑิต
กล่าวว่าเป็นข้อปฏิบัติประณีตทั้ง ๒ ส่วน คือ ประณีตเพราะปฏิบัติสะดวกและ
ประณีตเพราะรู้ได้เร็ว ปฏิปทานี้บัณฑิตกล่าวว่าเป็นข้อปฏิบัติประณีตทั้ง ๒ ส่วน
ภิกษุทั้งหลาย ปฏิปทา ๔ ประการนี้แล

อุภยสูตรที่ ๖ จบ

๗. มหาโมคคัลลานสูตร
ว่าด้วยปฏิปทาที่เป็นเหตุให้จิตของพระมหาโมคคัลลานะหลุดพ้น

[๑๖๗] ครั้งนั้นแล ท่านพระสารีบุตรเข้าไปหาท่านพระมหาโมคคัลลานะถึงที่
อยู่ ได้สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้ว จึงนั่ง ณ ที่
สมควร ได้ถามท่านพระมหาโมคคัลลานะว่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๑ หน้า :๒๓๓ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๔.จตุตถปัณณาสก์]
๒.ปฏิปทาวรรค ๘. สารีปุตตสูตร

ท่านโมคคัลลานะ ปฏิปทา ๔ ประการนี้
ปฏิปทา ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ทุกขาปฏิปทา ทันธาภิญญา ๒. ทุกขาปฏิปทา ขิปปาภิญญา
๓. สุขาปฏิปทา ทันธาภิญญา ๔. สุขาปฏิปทา ขิปปาภิญญา
ผู้มีอายุ ปฏิปทา ๔ ประการนี้แล
บรรดาปฏิปทา ๔ ประการนี้ เพราะอาศัยปฏิปทาข้อไหน จิตของท่านจึง
หลุดพ้นจากอาสวะ ไม่ถือมั่นด้วยอุปาทาน
ท่านพระมหาโมคคัลลานะตอบว่า ท่านสารีบุตร ปฏิปทา ๔ ประการนี้
ปฏิปทา ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ทุกขาปฏิปทา ทันธาภิญญา ๒. ทุกขาปฏิปทา ขิปปาภิญญา
๓. สุขาปฏิปทา ทันธาภิญญา ๔. สุขาปฏิปทา ขิปปาภิญญา
ผู้มีอายุ ปฏิปทา ๔ ประการนี้แล
บรรดาปฏิปทา ๔ ประการนี้ เพราะอาศัยทุกขาปฏิปทา ขิปปาภิญญา๑ จิต
ของผมจึงหลุดพ้นจากอาสวะ ไม่ถือมั่นด้วยอุปาทาน

มหาโมคคัลลานสูตรที่ ๗ จบ

๘. สารีปุตตสูตร
ว่าด้วยปฏิปทาที่เป็นเหตุให้จิตของพระสารีบุตรหลุดพ้น

[๑๖๘] ครั้งนั้นแล ท่านพระมหาโมคคัลลานะเข้าไปหาท่านพระสารีบุตรถึง
ที่อยู่ ได้สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้ว จึงนั่ง ณ
ที่สมควร ได้ถามท่านพระสารีบุตรว่า
ท่านสารีบุตร ปฏิปทา ๔ ประการนี้
ปฏิปทา ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๔.จตุตถปัณณาสก์]
๒.ปฏิปทาวรรค ๙.สสังขารสูตร

๑. ทุกขาปฏิปทา ทันธาภิญญา ๒. ทุกขาปฏิปทา ขิปปาภิญญา
๓. สุขาปฏิปทา ทันธาภิญญา ๔. สุขาปฏิปทา ขิปปาภิญญา
ผู้มีอายุ ปฏิปทา ๔ ประการนี้แล
บรรดาปฏิปทา ๔ ประการนี้ เพราะอาศัยปฏิปทาข้อไหน จิตของท่านจึง
หลุดพ้นจากอาสวะ ไม่ถือมั่นด้วยอุปาทาน
ท่านพระสารีบุตรตอบว่า ท่านโมคคัลลานะ ปฏิปทา ๔ ประการนี้
ปฏิปทา ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ทุกขาปฏิปทา ทันธาภิญญา ๒. ทุกขาปฏิปทา ขิปปาภิญญา
๓. สุขาปฏิปทา ทันธาภิญญา ๔. สุขาปฏิปทา ขิปปาภิญญา
ผู้มีอายุ ปฏิปทา ๔ ประการนี้แล
บรรดาปฏิปทา ๔ ประการนี้ เพราะอาศัยสุขาปฏิปทา ขิปปาภิญญา๑ จิต
ของผมจึงหลุดพ้นจากอาสวะ ไม่ถือมั่นด้วยอุปาทาน

สารีปุตตสูตรที่ ๘ จบ

๙. สสังขารสูตร
ว่าด้วยผู้เป็นสสังขารปรินิพพายีในปัจจุบัน

[๑๖๙] ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกนี้ มีปรากฏอยู่ในโลก
บุคคล ๔ จำพวกไหนบ้าง คือ
๑. บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นสสังขารปรินิพพายี๒ในปัจจุบัน
๒. บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นสสังขารปรินิพพายีหลังจากตายแล้ว


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๔.จตุตถปัณณาสก์]
๒.ปฏิปทาวรรค ๙.สสังขารสูตร

๓. บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นอสังขารปรินิพพายี๑ในปัจจุบัน
๔. บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นอสังขารปรินิพพายีหลังจากตายแล้ว
บุคคลเป็นสสังขารปรินิพพายีในปัจจุบัน เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้พิจารณาเห็นความไม่งามในกาย มีสัญญา (ความจำ
ได้หมายรู้)ว่าปฏิกูลในอาหาร มีสัญญาว่าไม่น่าเพลิดเพลินในโลกทั้งปวง พิจารณา
เห็นความไม่เที่ยงในสงสารทั้งปวงอยู่ เธอมีมรณสัญญาที่ตั้งมั่นดีอยู่ภายใน เธอเข้า
ไปอาศัยเสกขพละ ๕ ประการนี้อยู่ คือ สัทธาพละ หิริพละ โอตตัปปพละ วิริยพละ
ปัญญาพละ และอินทรีย์ ๕ ประการนี้ของเธอ คือ สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์
สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์ ย่อมปรากฏแก่กล้า เพราะอินทรีย์ ๕ ประการนี้ปรากฏ
แก่กล้า เธอจึงเป็นสสังขารปรินิพพายีในปัจจุบัน บุคคลเป็นสสังขารปรินิพพายีใน
ปัจจุบัน เป็นอย่างนี้แล
บุคคลเป็นสสังขารปรินิพพายีหลังจากตายแล้ว เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้พิจารณาเห็นความไม่งามในกาย มีสัญญาว่าปฏิกูล
ในอาหาร มีสัญญาว่าไม่น่าเพลิดเพลินในโลกทั้งปวง พิจารณาเห็นความไม่เที่ยง
ในสงสารทั้งปวงอยู่ และเธอมีมรณสัญญาที่ตั้งมั่นดีภายใน เธอเข้าไปอาศัยเสกขพละ
๕ ประการนี้อยู่ คือ สัทธาพละ หิริพละ โอตตัปปพละ วิริยพละ ปัญญาพละ
แต่อินทรีย์ ๕ ประการนี้ของเธอ คือ สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์
ปัญญินทรีย์ ย่อมปรากฏอ่อน เพราะอินทรีย์ ๕ ประการนี้ปรากฏอ่อน เธอจึง
เป็นสสังขารปรินิพพายีหลังจากตายแล้ว บุคคลเป็นสสังขารปรินิพพายีหลังจากตายแล้ว
เป็นอย่างนี้แล
บุคคลเป็นอสังขารปรินิพพายีในปัจจุบัน เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้สงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุ
ปฐมฌาน ฯลฯ อยู่ เพราะวิตกวิจารสงบระงับไป ภิกษุบรรลุทุติยฌาน ฯลฯ อยู่
เพราะปีติจางคลายไป ภิกษมีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย
บรรลุตติยฌาน ฯลฯ อยู่ เพราะละสุขและทุกข์ได้ เพราะโสมนัสและโทมนัสดับไป


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๔.จตุตถปัณณาสก์]
๒.ปฏิปทาวรรค ๑๐.ยุคนัทธสูตร

ก่อนแล้ว ภิกษุบรรลุจตุตถฌาน ฯลฯ อยู่๑ เธอเข้าไปอาศัยเสกขพละ ๕ ประการนี้
อยู่ คือ สัทธาพละ หิริพละ โอตตัปปพละ วิริยพละ ปัญญาพละย่อมปรากฏแก่กล้า
เพราะอินทรีย์ ๕ ประการนี้ปรากฏแก่กล้า เธอจึงเป็นอสังขารปรินิพพายีในปัจจุบัน
บุคคลเป็นอสังขารปรินิพพายีในปัจจุบัน เป็นอย่างนี้แล
บุคคลเป็นอสังขารปรินิพพายีหลังจากตายแล้ว เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้สงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน
ฯลฯ อยู่ เพราะวิตกวิจารสงบระงับไป ภิกษุบรรลุทุติยฌาน ฯลฯ อยู่เพราะปีติจาง
คลายไป ภิกษุมีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย บรรลุตติยฌาน
ฯลฯ อยู่ เพราะละสุขและทุกข์ได้ เพราะโสมนัสและโทมนัสดับไปก่อนแล้ว ภิกษุ
บรรลุจตุตถฌาน ฯลฯ อยู่๑ เธอเข้าไปอาศัยเสกขพละ ๕ ประการ นี้อยู่ คือ
สัทธาพละ หิริพละ โอตตัปปพละ วิริยพละ ปัญญาพละ แต่อินทรีย์ ๕ ประการ
นี้ของเธอ คือ สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์ย่อม
ปรากฏอ่อน เพราะอินทรีย์ ๕ ประการนี้ปรากฏอ่อน เธอจึงเป็นอสังขารปรินิพพายี
หลังจากตายแล้ว บุคคลเป็นอสังขารปรินิพพายีหลังจากตายแล้ว เป็นอย่างนี้แล
ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกนี้แลมีปรากฏอยู่ในโลก

สสังขารสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. ยุคนัทธสูตร
ว่าด้วยการเจริญสมถะและวิปัสสนาควบคู่กันไป

[๑๗๐] สมัยหนึ่ง ท่านพระอานนท์อยู่ ณ โฆสิตาราม เขตกรุงโกสัมพี ณ
ที่นั้นแล ท่านพระอานนท์เรียกภิกษุทั้งหลายมากล่าวว่า ผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุ
เหล่านั้นรับคำแล้ว ท่านพระอานนท์จึงได้กล่าวเรื่องนี้ว่า
ผู้มีอายุทั้งหลาย ผู้ใดก็ตาม ไม่ว่าจะเป็นภิกษุหรือภิกษุณีเปิดเผยการบรรลุ
อรหัตตผล ในสำนักของเราด้วยมรรค ๔ ประการโดยประการทั้งปวง หรือมรรคใด
มรรคหนึ่งบรรดามรรค ๔ ประการนี้
ผู้ใดก็ตาม จะเป็นภิกษุหรือภิกษุณีเปิดเผยการบรรลุอรหัตตผลในสำนักของ
เราด้วยมรรค ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๔.จตุตถปัณณาสก์]
๒.ปฏิปทาวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

๑. ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญวิปัสสนาอันมีสมถะนำหน้า เมื่อเธอเจริญ
วิปัสสนาอันมีสมถะนำหน้า มรรคย่อมเกิด เธอเสพ เจริญ ทำให้
มากซึ่งมรรค เมื่อเธอเสพ เจริญ ทำให้มากซึ่งมรรคนั้นอยู่ ย่อม
ละสังโยชน์ได้ อนุสัยทั้งหลายย่อมสิ้นสุดไป
๒. ภิกษุเจริญสมถะอันมีวิปัสสนานำหน้า เมื่อเธอเจริญสมถะอันมี
วิปัสสนานำหน้า มรรคย่อมเกิด เธอเสพ เจริญ ทำให้มากซึ่ง
มรรคนั้น เมื่อเธอเสพ เจริญ ทำให้มากซึ่งมรรคนั้น ย่อมละ
สังโยชน์ได้ อนุสัยทั้งหลายย่อมสิ้นสุดไป
๓. ภิกษุเจริญสมถะและวิปัสสนาควบคู่กันไป เมื่อเธอเจริญสมถะและ
วิปัสสนาควบคู่กันไป มรรคย่อมเกิด เธอเสพ เจริญ ทำให้มาก
ซึ่งมรรคนั้น เมื่อเธอเสพ เจริญ ทำให้มากซึ่งมรรคนั้น ย่อม
ละสังโยชน์ได้ อนุสัยทั้งหลายย่อมสิ้นสุดไป
๔. ภิกษุมีใจถูกอุทธัจจะในธรรมกั้นไว้ในเวลาที่จิตตั้งมั่น สงบภายใน
มีภาวะที่จิตเป็นหนึ่งผุดขึ้น ตั้งมั่นอยู่ มรรคก็เกิดขึ้นแก่เธอ เธอ
เสพ เจริญ ทำให้มากซึ่งมรรคนั้น เมื่อเธอเสพ เจริญ ทำให้มาก
ซึ่งมรรคนั้น ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัยทั้งหลายย่อมสิ้นสุดไป
ผู้มีอายุทั้งหลาย ผู้ใดก็ตามไม่ว่าจะเป็นภิกษุหรือภิกษุณีเปิดเผยการบรรลุ
อรหัตตผลในสำนักของเราด้วยมรรค ๔ ประการโดยประการทั้งปวง หรือมรรคใด
มรรคหนึ่งบรรดามรรค ๔ ประการนี้

ยุคนัทธสูตรที่ ๑๐ จบ
ปฏิปทาวรรคที่ ๒ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. สังขิตตสูตร ๒. วิตถารสูตร
๓. อสุภสูตร ๔. ปฐมขมสูตร
๕. ทุติยขมสูตร ๖. อุภยสูตร
๗. มหาโมคคัลลานสูตร ๘. สารีปุตตสูตร
๙. สสังขารสูตร ๑๐. ยุคนัทธสูตร


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๔.จตุตถปัณณาสก์]
๓.สัญเจตนิยวรรค ๑.เจตนาสูตร

๓. สัญเจตนิยวรรค
หมวดว่าด้วยความจงใจ
๑. เจตนาสูตร
ว่าด้วยเจตนา

[๑๗๑] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย เมื่อกาย๑มีอยู่ สุขทุกข์ภายใน
ย่อมเกิดขึ้น เพราะกายสัญเจตนา๒เป็นเหตุ เมื่อวาจามีอยู่ สุขทุกข์ภายในย่อมเกิดขึ้น
เพราะวจีสัญเจตนาเป็นเหตุ หรือเมื่อใจมีอยู่ สุขทุกข์ภายในย่อมเกิดขึ้น เพราะ
มโนสัญเจตนาเป็นเหตุ คือ เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย
บุคคลปรุงแต่งกายสังขาร๓อันเป็นปัจจัยให้สุขทุกข์ภายในเกิดขึ้นด้วยตนเองบ้าง
บุคคลอื่นปรุงแต่งกายสังขารของบุคคลนั้นอันเป็นปัจจัยให้สุขทุกข์ภายในเกิดขึ้นแก่บุคคล
นั้นบ้าง บุคคลรู้สึกตัว ปรุงแต่งกายสังขารอันเป็นปัจจัยให้สุขทุกข์ภายในเกิดขึ้นบ้าง
บุคคลไม่รู้สึกตัว ปรุงแต่งกายสังขารอันเป็นปัจจัยให้สุขทุกข์ภายในเกิดขึ้นบ้าง
บุคคลปรุงแต่งวจีสังขาร๔อันเป็นปัจจัยให้สุขทุกข์ภายในเกิดขึ้นด้วยตนเองบ้าง
บุคคลอื่นปรุงแต่งวจีสังขารของบุคคลนั้นอันเป็นปัจจัยให้สุขทุกข์ภายในเกิดขึ้นแก่บุคคล
นั้นบ้าง บุคคลรู้สึกตัว ปรุงแต่งวจีสังขารอันเป็นปัจจัยให้สุขทุกข์ภายในเกิดขึ้นบ้าง
บุคคลไม่รู้สึกตัว ปรุงแต่งวจีสังขารอันเป็นปัจจัยให้สุขทุกข์ภายในเกิดขึ้นบ้าง


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๔.จตุตถปัณณาสก์]
๓.สัญเจตนิยวรรค ๑.เจตนาสูตร

บุคคลปรุงแต่งมโนสังขาร๑อันเป็นปัจจัยให้สุขทุกข์ภายในเกิดขึ้นด้วยตนเองบ้าง
บุคคลอื่นปรุงแต่งมโนสังขารของบุคคลนั้นอันเป็นปัจจัยให้สุขทุกข์ภายในเกิดขึ้นแก่บุคคล
นั้นบ้าง บุคคลรู้สึกตัว ปรุงแต่งมโนสังขารอันเป็นปัจจัยให้สุขทุกข์ภายในเกิดขึ้นบ้าง
บุคคลไม่รู้สึกตัว ปรุงแต่งมโนสังขารอันเป็นปัจจัยให้สุขทุกข์ภายในเกิดขึ้นบ้าง
อวิชชาย่อมตกไปตามธรรมเหล่านี้ แต่เพราะอวิชชาดับไปไม่เหลือด้วยวิราคะ
กายอันเป็นปัจจัยให้สุขทุกข์ภายในเกิดขึ้นแก่บุคคลนั้นจึงไม่มี วาจาอันเป็นปัจจัยให้
สุขทุกข์ภายในเกิดขึ้นแก่บุคคลนั้นจึงไม่มี ใจอันเป็นปัจจัยให้สุขทุกข์ภายในเกิดขึ้น
แก่บุคคลนั้นจึงไม่มี เขต ฯลฯ วัตถุ ฯลฯ อายตนะ ฯลฯ อธิกรณะ๒อันเป็นปัจจัย
ให้สุขทุกข์ภายในเกิดขึ้นแก่บุคคลนั้น จึงไม่มี
ภิกษุทั้งหลาย ความได้อัตภาพ ๔ ประการ๓นี้
ความได้อัตภาพ ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ความได้อัตภาพที่สัญเจตนาของตนดำเนินไป มิใช่สัญเจตนาของ
ผู้อื่นดำเนินไป
๒. ความได้อัตภาพที่สัญเจตนาของผู้อื่นดำเนินไป มิใช่สัญเจตนา
ของตนดำเนินไป
๓. ความได้อัตภาพที่สัญเจตนาของตนและสัญเจตนาของผู้อื่นดำเนินไป
๔. ความได้อัตภาพที่มิใช่สัญเจตนาของตนและมิใช่สัญเจตนาของผู้
อื่นดำเนินไป
ภิกษุทั้งหลาย ความได้อัตภาพ ๔ ประการนี้แล”
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ท่านพระสารีบุตรได้ทูลถามพระผู้มีพระภาค
ดังนี้ว่า


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๔.จตุตถปัณณาสก์]
๓.สัญเจตนิยวรรค ๑.เจตนาสูตร

“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ทราบชัดเนื้อความแห่งธรรมที่พระองค์ตรัส
ไว้โดยย่อนี้ได้โดยพิสดารอย่างนี้ว่า บรรดาความได้อัตภาพ ๔ ประการนั้น ความได้
อัตภาพที่สัญเจตนาของตนดำเนินไป มิใช่สัญเจตนาของผู้อื่นดำเนินไป นี้คือการจุติ
จากกายนั้นของสัตว์เหล่านั้น มีได้เพราะสัญเจตนาของตนเป็นเหตุ ความได้
อัตภาพที่สัญเจตนาของผู้อื่นดำเนินไป มิใช่สัญเจตนาของตนดำเนินไป นี้คือการจุติ
จากกายนั้นของสัตว์เหล่านั้น มีได้เพราะสัญเจตนาของผู้อื่นเป็นเหตุ ความได้
อัตภาพที่สัญเจตนาของตนและสัญเจตนาของผู้อื่นดำเนินไป นี้คือการจุติจากกาย
นั้นของสัตว์เหล่านั้น มีได้เพราะสัญเจตนาของตนและสัญเจตนาของผู้อื่นเป็นเหตุ
ความได้อัตภาพที่มิใช่สัญเจตนาของตนและมิใช่สัญเจตนาของผู้อื่นดำเนินไปนี้พึงเห็น
เทวดาพวกไหนที่ดำเนินไปด้วยอัตภาพนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “สารีบุตร พึงเห็นเทวดาทั้งหลายผู้เข้าถึงชั้น
เนวสัญญานาสัญญายตนะ ด้วยอัตภาพนั้น”
ท่านพระสารีบุตรทูลถามว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อะไรหนอแลเป็นเหตุ
เป็นปัจจัยให้สัตว์บางพวกในโลกนี้จุติจากกายนั้นแล้วเป็นอาคามีกลับมาสู่ความเป็น
อย่างนี้ และอะไรเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้สัตว์บางพวกในโลกนี้จุติจากกายนั้นแล้วเป็น
อนาคามีผู้ไม่กลับมาสู่ความเป็นอย่างนี้”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “สารีบุตร บุคคลบางคนในโลกนี้ยังละโอรัมภาคิย-
สังโยชน์ (สังโยชน์เบื้องต่ำ)ไม่ได้ แต่บรรลุเนวสัญญานาสัญญายตนฌานอยู่ในปัจจุบัน
เขาชอบใจเนวสัญญานาสัญญายตนฌานนั้น ติดใจเนวสัญญานาสัญญายตนฌานนั้น
และถึงความปลื้มใจกับเนวสัญญานาสัญญายตนฌานนั้น เขาดำรงอยู่ในเนวสัญญา-
นาสัญญายตนฌานนั้น น้อมใจไปในเนวสัญญานาสัญญายตนฌานนั้น ชอบอยู่กับ
เนวสัญญานาสัญญายตนฌานนั้นโดยมาก ไม่เสื่อม เมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงความ
เป็นผู้อยู่ร่วมกับพวกเทวดาชั้นเนวสัญญานาสัญญายตนภพ เขาจุติจากชั้นนั้นแล้ว
เป็นอาคามีกลับมาสู่ความเป็นอย่างนี้๑


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๔.จตุตถปัณณาสก์]
๓.สัญเจตนิยวรรค ๒.วิภัตติสูตร

บุคคลบางคนในโลกนี้ละโอรัมภาคิยสังโยชน์ได้ บรรลุเนวสัญญานาสัญญา-
ยตนฌานอยู่ในปัจจุบัน เขาชอบใจ พอใจเนวสัญญานาสัญญายตนฌานนั้นและถึง
ความปลื้มใจกับเนวสัญญานาสัญญายตนฌานนั้น เขาดำรงอยู่ในเนวสัญญา-
นาสัญญายตนฌานนั้น น้อมใจไปในเนวสัญญานาสัญญายตนฌานนั้น ชอบอยู่กับ
เนวสัญญานาสัญญายตนฌานนั้นโดยมาก ไม่เสื่อม เมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงความ
เป็นผู้อยู่ร่วมกับพวกเทวดาชั้นเนวสัญญานาสัญญายตนภพ เขาจุติจากชั้นนั้นแล้ว
เป็นอนาคามี ไม่กลับมาสู่ความเป็นอย่างนี้๑
สารีบุตร นี้แลเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้สัตว์บางพวกในโลกนี้จุติจากกายนั้นแล้ว
เป็นอาคามี กลับมาสู่ความเป็นอย่างนี้ นี้แลเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้สัตว์บางพวกใน
โลกนี้จุติจากกายนั้นแล้ว เป็นอนาคามีไม่กลับมาสู่ความเป็นอย่างนี้”

เจตนาสูตรที่ ๑ จบ

๒. วิภัตติสูตร
ว่าด้วยการจำแนกปฏิสัมภิทา

[๑๗๒] ณ ที่นั้นแล ท่านพระสารีบุตรเรียกภิกษุทั้งหลายมากล่าวว่า ท่าน
ทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นรับคำแล้ว ท่านพระสารีบุตรได้กล่าวเรื่องนี้ว่า
ท่านทั้งหลาย เราอุปสมบทได้กึ่งเดือนได้ทำให้แจ้งซึ่งอัตถปฏิสัมภิทา (ปัญญา
แตกฉานในอรรถ๒) โดยเหตุ โดยพยัญชนะ เราจะบอก๓ แสดง๔ บัญญัติ๕ กำหนด๖


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๔.จตุตถปัณณาสก์]
๓.สัญเจตนิยวรรค ๒.วิภัตติสูตร

เปิดเผย๑ จำแนก๒ ทำให้ง่าย๓ซึ่งอัตถปฏิสัมภิทานั้นโดยวิธีต่าง ๆ ผู้มีความสงสัย
หรือเคลือบแคลงพึงถาม เราพอใจที่จะตอบข้อสงสัย พระศาสดาของเราทั้งหลาย
ผู้ทรงฉลาดดีในธรรมทั้งหลาย ประทับอยู่ต่อหน้าเราทั้งหลายแล้ว
เราอุปสมบทได้กึ่งเดือนได้ทำให้แจ้ง ธัมมปฏิสัมภิทา (ปัญญาแตกฉานในธรรม)
โดยเหตุ โดยพยัญชนะ เราจะบอก แสดง บัญญัติ กำหนด เปิดเผย จำแนก
ทำให้ง่ายซึ่งธัมมปฏิสัมภิทานั้นโดยวิธีต่าง ๆ ผู้มีความสงสัยหรือเคลือบแคลงพึงถาม
เราพอใจที่จะตอบข้อสงสัย พระศาสดาของเราทั้งหลาย ผู้ทรงฉลาดดีในธรรมทั้ง
หลาย ประทับอยู่ต่อหน้าเราทั้งหลายแล้ว
เราอุปสมบทได้กึ่งเดือนได้ทำให้แจ้งนิรุตติปฏิสัมภิทา (ปัญญาแตกฉานในนิรุกติ)
โดยเหตุ โดยพยัญชนะ เราจะบอก แสดง บัญญัติ กำหนด เปิดเผย จำแนก ทำ
ให้ง่ายซึ่งนิรุตติปฏิสัมภิทานั้นโดยวิธีต่าง ๆ ผู้มีความสงสัยหรือเคลือบแคลงพึงถาม
เราพอใจที่จะตอบข้อสงสัย พระศาสดาของเราทั้งหลายผู้ทรงฉลาดดีในธรรมทั้งหลาย
ประทับอยู่ต่อหน้าเราทั้งหลายแล้ว
เราอุปสมบทได้กึ่งเดือนได้ทำให้แจ้งปฏิภาณปฏิสัมภิทา (ปัญญาแตกฉานใน
ปฏิภาณ) โดยเหตุ โดยพยัญชนะ เราจะบอก แสดง บัญญัติ กำหนด เปิดเผย
จำแนก ทำให้ง่ายซึ่งปฏิภาณปฏิสัมภิทานั้นโดยวิธีต่าง ๆ ผู้มีความสงสัยหรือ
เคลือบแคลงพึงถาม เราพอใจที่จะตอบข้อสงสัย พระศาสดาของเราทั้งหลายผู้ทรง
ฉลาดดีในธรรมทั้งหลายประทับอยู่ต่อหน้าเราทั้งหลายแล้ว

วิภัตติสูตรที่ ๒ จบ


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๔.จตุตถปัณณาสก์]
๓.สัญเจตนิยวรรค ๔.อานันทสูตร

๓. มหาโกฏฐิตสูตร
ว่าด้วยพระมหาโกฏฐิตะ

[๑๗๓] ครั้งนั้นแล ท่านพระมหาโกฏฐิตะเข้าไปหาท่านพระสารีบุตรถึงที่อยู่
ได้สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้ว จึงนั่ง ณ ที่สมควร
ได้ถามท่านพระสารีบุตรดังนี้ว่า
“ผู้มีอายุ เพราะผัสสายตนะ๑ ๖ ประการดับไปไม่เหลือด้วยวิราคะ อะไรอื่น๒
ยังมีอยู่หรือ๓”
ท่านพระสารีบุตรตอบว่า “ผู้มีอายุ อย่ากล่าวอย่างนั้น”
ท่านพระมหาโกฏฐิตะถามว่า “ผู้มีอายุ เพราะผัสสายตนะ ๖ ประการดับไป
ไม่เหลือด้วยวิราคะ อะไรอื่นไม่มีอยู่หรือ๔”
“ผู้มีอายุ อย่ากล่าวอย่างนั้น”
“ผู้มีอายุ เพราะผัสสายตนะ ๖ ประการดับไปไม่เหลือด้วยวิราคะ อะไรอื่น
ทั้งมีอยู่และไม่มีอยู่หรือ๕”
“ผู้มีอายุ อย่ากล่าวอย่างนั้น”
“ผู้มีอายุ เพราะผัสสายตนะ ๖ ประการดับไปไม่เหลือด้วยวิราคะ อะไรอื่น
มีอยู่ก็มิใช่ ไม่มีอยู่ก็มิใช่หรือ๖”
“ผู้มีอายุ อย่ากล่าวอย่างนั้น”


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๔.จตุตถปัณณาสก์]
๓.สัญเจตนิยวรรค ๔.อานันทสูตร

ท่านพระมหาโกฏฐิตะกล่าวว่า “เมื่อผมถามว่า ‘ผู้มีอายุ เพราะผัสสายตนะ ๖
ประการดับไปไม่เหลือด้วยวิราคะ อะไรอื่นยังมีอยู่หรือ’ ท่านตอบว่า ‘อย่ากล่าว
อย่างนั้น’ เมื่อผมถามว่า ‘เพราะผัสสายตนะ ๖ ประการดับไปไม่เหลือด้วยวิราคะ
อะไรอื่นไม่มีอยู่หรือ’ ท่านก็ตอบว่า ‘อย่ากล่าวอย่างนั้น’ เมื่อผมถามว่า ‘เพราะ
ผัสสายตนะ ๖ ประการดับไปไม่เหลือด้วยวิราคะ อะไรอื่นทั้งมีอยู่และไม่มีอยู่หรือ’
ท่านก็ตอบว่า ‘อย่ากล่าวอย่างนั้น’ เมื่อผมถามว่า ‘เพราะผัสสายตนะ ๖ ประการ
ดับไปไม่เหลือด้วยวิราคะ อะไรอื่นมีอยู่ก็มิใช่ไม่มีอยู่ก็มิใช่หรือ’ ท่านก็ตอบว่า อย่า
กล่าวอย่างนั้น’ ก็คำที่ท่านกล่าวแล้วนี้จะทราบความหมายได้อย่างไร”
ท่านพระสารีบุตรกล่าวตอบว่า “ผู้มีอายุ เมื่อบุคคลกล่าวว่า ‘เพราะผัสสายตนะ
๖ ประการดับไปไม่เหลือด้วยวิราคะ อะไรอื่นยังมีอยู่หรือ’ ชื่อว่าคิดปรุงแต่งสิ่งที่ไม่
ควรคิดปรุงแต่ง เมื่อบุคคลกล่าวว่า ‘เพราะผัสสายตนะ ๖ ประการดับไปไม่เหลือ
ด้วยวิราคะ อะไรอื่นไม่มีอยู่หรือ’ ชื่อว่าคิดปรุงแต่งสิ่งที่ไม่ควรคิดปรุงแต่ง เมื่อบุคคล
กล่าวว่า ‘เพราะผัสสายตนะ ๖ ประการดับไปไม่เหลือด้วยวิราคะ อะไรอื่นทั้งมีอยู่
และไม่มีอยู่หรือ ชื่อว่าคิดปรุงแต่สิ่งที่ไม่ควรคิดปรุงแต่ง เมื่อบุคคลกล่าวว่า ‘เพราะ
ผัสสายตนะ ๖ ประการ ดับไปไม่เหลือด้วยวิราคะ อะไรอื่นมีอยู่ก็มิใช่ ไม่มีอยู่ก็
มิใช่หรือ’ ชื่อว่าคิดปรุงแต่งสิ่งที่ไม่ควรคิดปรุงแต่ง ผู้มีอายุ ปปัญจธรรม๑(สิ่งที่คิด
ปรุงแต่ง) ย่อมดำเนินไปตราบเท่าที่ผัสสายตนะ ๖ ดำเนินไป ผัสสายตนะ ๖ ก็
ดำเนินไปตราบเท่าที่ปปัญจธรรมดำเนินไป ผู้มีอายุ เพราะผัสสายตนะ ๖ ประการ
ดับไปไม่เหลือด้วยวิราคะ ปปัญจธรรมจึงดับสนิท ระงับไป”

มหาโกฏฐิตสูตรที่ ๓ จบ

๔. อานันทสูตร
ว่าด้วยพระอานนท์

[๑๗๔] ครั้งนั้นแล ท่านพระอานนท์เข้าไปหาท่านพระมหาโกฏฐิตะถึงที่อยู่
ได้สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้ว จึงนั่ง ณ ที่สมควร
ได้ถามท่านพระมหาโกฏฐิตะดังนี้ว่า


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๔.จตุตถปัณณาสก์]
๓.สัญเจตนิยวรรค ๔.อานันทสูตร

“ผู้มีอายุ เพราะผัสสายตนะ ๖ ประการดับไปไม่เหลือด้วยวิราคะ อะไรอื่น
ยังมีอยู่หรือ”
ท่านพระมหาโกฏฐิตะตอบว่า “ผู้มีอายุ อย่ากล่าวอย่างนั้น”
ท่านพระอานนท์ถามว่า “เพราะผัสสายตนะ ๖ ประการดับไปไม่เหลือด้วย
วิราคะ อะไรอื่นไม่มีอยู่หรือ”
“ผู้มีอายุ อย่ากล่าวอย่างนั้น”
“ผู้มีอายุ เพราะผัสสายตนะ ๖ ประการดับไปไม่เหลือด้วยวิราคะ อะไรอื่น
ทั้งมีอยู่ และไม่มีอยู่หรือ”
“ผู้มีอายุ อย่ากล่าวอย่างนั้น”
“ผู้มีอายุ เพราะผัสสายตนะ ๖ ประการดับไปไม่เหลือด้วยวิราคะ อะไรอื่น
มีอยู่ก็มิใช่ ไม่มีอยู่ก็มิใช่หรือ”
“ผู้มีอายุ อย่ากล่าวอย่างนั้น”
ท่านพระอานนท์กล่าวว่า “เมื่อผมถามว่า ‘ผู้มีอายุ เพราะผัสสายตนะ ๖
ประการดับไปไม่เหลือด้วยวิราคะ อะไรอื่นยังมีอยู่หรือ’ ท่านตอบว่า ‘อย่ากล่าว
อย่างนั้น’ เมื่อผมถามว่า ‘เพราะผัสสายตนะ ๖ ประการดับไปไม่เหลือด้วยวิราคะ
อะไรอื่นไม่มีอยู่หรือ’ ท่านก็ตอบว่า ‘อย่ากล่าวอย่างนั้น’ เมื่อผมถามว่า ‘เพราะ
ผัสสายตนะ ๖ ประการดับไปไม่เหลือด้วยวิราคะ อะไรอื่นทั้งมีอยู่และไม่มีอยู่หรือ’
ท่านก็ตอบว่า ‘อย่ากล่าวอย่างนั้น’ เมื่อผมถามว่า ‘เพราะผัสสายตนะ ๖ ประการ
ดับไปไม่เหลือด้วยวิราคะ อะไรอื่นมีอยู่ก็มิใช่ ไม่มีอยู่ก็มิใช่หรือ’ ท่านก็ตอบว่า ‘อย่า
กล่าวอย่างนั้น’ ผู้มีอายุ ก็คำที่ท่านกล่าวแล้วนี้จะทราบความหมายได้อย่างไร”
ท่านพระมหาโกฏฐิตะกล่าวว่า “ผู้มีอายุ เมื่อบุคคลกล่าวว่า ‘เพราะผัสสายตนะ
๖ ประการดับไปไม่เหลือด้วยวิราคะ อะไรอื่นยังมีอยู่หรือ’ ชื่อว่าคิดปรุงแต่งสิ่งที่ไม่
ควรคิดปรุงแต่ง เมื่อบุคคลกล่าวว่า ‘เพราะผัสสายตนะ ๖ ประการดับไปไม่เหลือด้วย
วิราคะ อะไรอื่นไม่มีอยู่หรือ’ ชื่อว่าคิดปรุงแต่งสิ่งที่ไม่ควรคิดปรุงแต่ง เมื่อบุคคล
กล่าวว่า ‘เพราะผัสสายตนะ ๖ ประการดับไปไม่เหลือด้วยวิราคะ อะไรอื่นทั้งมีอยู่
และไม่มีอยู่หรือ’ ชื่อว่าคิดปรุงแต่งสิ่งที่ไม่ควรคิดปรุงแต่ง เมื่อบุคคลกล่าวว่า ‘เมื่อ
ผัสสายตนะ ๖ ประการดับไปไม่เหลือด้วยวิราคะ อะไรอื่นมีอยู่ก็มิใช่ไม่มีอยู่ก็มิใช่’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๑ หน้า :๒๔๖ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๔.จตุตถปัณณาสก์]
๓.สัญเจตนิยวรรค ๕.อุปวาณสูตร

ชื่อว่าคิดปรุงแต่งสิ่งที่ไม่ควรคิดปรุงแต่ง ท่านผู้มีอายุ ปปัญจธรรมย่อมดำเนินไป
ตราบเท่าที่ผัสสายตนะ ๖ ประการดำเนินไป ผัสสายตนะ ๖ ประการก็ดำเนินไป
ตราบเท่าที่ปปัญจธรรมดำเนินไป ผู้มีอายุ เพราะผัสสายตนะ ๖ ประการดับไป
ไม่เหลือด้วยวิราคะ ปปัญจธรรมจึงดับสนิท ระงับไป”

อานันทสูตรที่ ๔ จบ

๕. อุปวาณสูตร
ว่าด้วยพระอุปวาณะ

[๑๗๕] ครั้งนั้นแล ท่านพระอุปวาณะเข้าไปหาท่านพระสารีบุตรถึงที่อยู่ ได้
สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้ว จึงนั่ง ณ ที่สมควร ได้
ถามท่านพระสารีบุตรดังนี้ว่า
“ท่านสารีบุตร บุคคลทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ด้วยวิชชาหรือ”
ท่านพระสารีบุตรตอบว่า “ผู้มีอายุ ไม่ใช่อย่างนี้”
ท่านพระอุปวาณะกล่าวว่า “ท่านสารีบุตร บุคคลทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ด้วย
จรณะหรือ”
“ผู้มีอายุ ไม่ใช่อย่างนี้”
“ท่านสารีบุตร บุคคลทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ด้วยวิชชาและจรณะหรือ”
“ผู้มีอายุ ไม่ใช่อย่างนี้”
“ท่านสารีบุตร บุคคลทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ด้วยเหตุนอกจากวิชชาและจรณะหรือ”
“ผู้มีอายุ ไม่ใช่อย่างนี้”
ท่านพระอุปวาณะกล่าวว่า “เมื่อผมถามว่า ‘ท่านสารีบุตร บุคคลทำที่สุด
แห่งทุกข์ได้ด้วยวิชชาหรือ’ ท่านตอบว่า ‘ไม่ใช่อย่างนี้’ เมื่อผมถามว่า “บุคคลทำ
ที่สุดแห่งทุกข์ได้ด้วยจรณะหรือ’ ท่านก็ตอบว่า ‘ไม่ใช่อย่างนี้’ เมื่อผมถามว่า
‘บุคคลทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ด้วยวิชชาและจรณะหรือ’ ท่านก็ตอบว่า ‘ไม่ใช่อย่างนี้’
เมื่อผมถามว่า ‘บุคคลทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ด้วยเหตุนอกจากวิชชาและจรณะหรือ’
ท่านก็ตอบว่า ‘ไม่ใช่อย่างนี้’ ผู้มีอายุ ก็บุคคลทำที่สุดแห่งทุกข์ได้อย่างไร”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๑ หน้า :๒๔๗ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๔.จตุตถปัณณาสก์]
๓.สัญเจตนิยวรรค ๖. อายาจนสูตร

ท่านพระสารีบุตรตอบว่า “ถ้าบุคคลจักทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ด้วยวิชชาแล้ว ก็จัก
มีความยึดมั่นถือมั่นทำที่สุดแห่งทุกข์ ถ้าบุคคลจักทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ด้วยจรณะแล้ว
ก็จักมีความยึดมั่นถือมั่นทำที่สุดแห่งทุกข์ ถ้าบุคคลจักทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ด้วยวิชชา
และจรณะแล้ว ก็จักมีความยึดมั่นถือมั่นทำที่สุดแห่งทุกข์ ถ้าบุคคลจักทำที่สุดแห่ง
ทุกข์ด้วยเหตุนอกจากวิชชาและจรณะแล้ว ปุถุชนก็จักทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ เพราะ
ปุถุชนไม่มีวิชชาและจรณะ ผู้มีอายุ บุคคลผู้มีจรณะวิบัติย่อมไม่รู้ไม่เห็นตามความ
เป็นจริง บุคคลผู้ประกอบด้วยจรณะย่อมรู้เห็นตามความเป็นจริง เมื่อรู้เห็นตาม
ความเป็นจริงย่อมทำที่สุดแห่งทุกข์ได้”

อุปวาณสูตรที่ ๕ จบ

๖. อายาจนสูตร
ว่าด้วยความปรารถนาโดยชอบ

[๑๗๖] “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้มีศรัทธา เมื่อปรารถนาโดยชอบพึงปรารถนา
อย่างนี้ว่า ‘ขอให้เราเป็นเช่นกับพระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะเถิด’ สารีบุตร
และโมคคัลลานะนี้เป็นบรรทัดฐาน เป็นมาตรฐานของภิกษุสาวกของเรา
ภิกษุณีผู้มีศรัทธา เมื่อปรารถนาโดยชอบพึงปรารถนาอย่างนี้ว่า ‘ขอให้เราเป็น
เช่นกับภิกษุณีเขมาและภิกษุณีอุบลวรรณาเถิด’ ภิกษุณีเขมาและภิกษุณีอุบลวรรณา
นี้เป็นบรรทัดฐาน เป็นมาตรฐานแห่งภิกษุณีสาวิกาของเรา
อุบาสกผู้มีศรัทธา เมื่อปรารถนาโดยชอบพึงปรารถนาอย่างนี้ว่า ‘ขอให้เรา
เป็นเช่นกับจิตตคหบดีและหัตถกอุบาสกชาวเมืองอาฬวีเถิด’ จิตตคหบดีและหัตถก-
อุบาสกชาวเมืองอาฬวีนี้เป็นบรรทัดฐาน เป็นมาตรฐานแห่งอุบาสกสาวกของเรา
อุบาสิกาผู้มีศรัทธา เมื่อปรารถนาโดยชอบพึงปรารถนาอย่างนี้ว่า ‘ขอให้
เราเป็นเช่นกับอุบาสิกาขุชชุตตราและอุบาสิกาเวฬุกัณฏกีนันทมาตาเถิด’ อุบาสิกา
ขุชชุตตราและอุบาสิกาเวฬุกัณฏกีนันทมาตานี้เป็นบรรทัดฐาน เป็นมาตรฐานของ
อุบาสิกาสาวิกาของเรา”

อายาจนสูตรที่ ๖ จบ


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์]
๓. สัญเจตนิยวรรค ๗. ราหุลสูตร

๗. ราหุลสูตร
ว่าด้วยพระราหุล

[๑๗๗] ครั้งนั้นแล ท่านพระราหุลเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวาย
อภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า
“ราหุล ปฐวีธาตุ (ธาตุดิน) ทั้งภายในและภายนอกเป็นแต่สักว่าปฐวีธาตุเท่านั้น
พึงเห็นธรรมชาตินั้นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า “นั่นไม่ใช่ของเรา
เราไม่ได้เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’ เพราะเห็นธรรมชาตินั้นด้วยปัญญาอันชอบ
ตามความเป็นจริงอย่างนี้แล้ว จิตย่อมเบื่อหน่าย คลายกำหนัดในปฐวีธาตุ
อาโปธาตุ (ธาตุน้ำ) ทั้งภายในและภายนอกก็เป็นแต่สักว่าอาโปธาตุเท่านั้น
พึงเห็นธรรมชาตินั้นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา
เราไม่ได้เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’ เพราะเห็นธรรมชาตินั้นด้วยปัญญาอันชอบ
ตามความเป็นจริงอย่างนี้แล้ว จิตย่อมเบื่อหน่าย คลายกำหนัดในอาโปธาตุ
เตโชธาตุ (ธาตุไฟ) ทั้งภายในและภายนอกก็เป็นแต่สักว่าเตโชธาตุเท่านั้น พึง
เห็นธรรมชาตินั้นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา
เราไม่ได้เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’ เพราะเห็นธรรมชาตินั้นด้วยปัญญาอันชอบ
ตามความเป็นจริงอย่างนี้แล้ว จิตย่อมเบื่อหน่าย คลายกำหนัดในเตโชธาตุ
วาโยธาตุ (ธาตุลม) ทั้งภายในและภายนอกก็เป็นแต่สักว่าวาโยธาตุเท่านั้น
พึงเห็นธรรมชาตินั้นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา
เราไม่ได้เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’ เพราะเห็นธรรมชาตินั้นด้วยปัญญาอันชอบ
ตามความเป็นจริงอย่างนี้แล้ว จิตย่อมเบื่อหน่าย คลายกำหนัดในวาโยธาตุ
ราหุล เพราะพิจารณาเห็นว่า ในธาตุ ๔ นี้ ไม่มีอัตตา ไม่เกี่ยวกับอัตตา
ภิกษุนี้ชื่อว่าตัดตัณหาได้แล้ว ถอนสังโยชน์ได้แล้ว ทำที่สุดแห่งทุกข์ได้แล้ว เพราะ
ละมานะได้โดยชอบ”

ราหุลสูตรที่ ๗ จบ


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๔.จตุตถปัณณาสก์]
๓.สัญเจตนิยวรรค ๘.ชัมพาลีสูตร

๘. ชัมพาลีสูตร
ว่าด้วยบุคคลผู้เปรียบด้วยบ่อน้ำใหญ่

[๑๗๘] ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกนี้ มีปรากฏอยู่ในโลก
บุคคล ๔ จำพวกไหนบ้าง คือ
๑. ภิกษุในธรรมวินัยนี้บรรลุเจโตวิมุตติอันสงบอย่างใดอย่างหนึ่งอยู่
เธอมนสิการถึงสักกายนิโรธ๑ เมื่อเธอมนสิการถึงสักกายนิโรธ
จิตย่อม ไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งมั่น ไม่น้อมไปในสักกายนิโรธ
เมื่อเป็นเช่นนั้น ภิกษุนั้นไม่พึงได้รับสักกายนิโรธ ภิกษุทั้งหลาย
บุรุษใช้มือที่เปื้อนยางเหนียวจับกิ่งไม้ มือของเธอพึงเกี่ยวจับติด
กับกิ่งไม้นั้นฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน บรรลุเจโตวิมุตติอัน
สงบอย่างใดอย่างหนึ่งอยู่ เธอมนสิการถึงสักกายนิโรธ เมื่อเธอ
มนสิการถึงสักกายนิโรธ จิตย่อมไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งมั่น
ไม่น้อมไปใน สักกายนิโรธ เมื่อเป็นเช่นนั้น ภิกษุนั้นแลไม่พึงได้รับ
สักกายนิโรธ
๒. ภิกษุในธรรมวินัยนี้บรรลุเจโตวิมุตติอันสงบอย่างใดอย่างหนึ่งอยู่
เธอมนสิการถึงสักกายนิโรธ เมื่อเธอมนสิการถึงสักกายนิโรธ จิต
ย่อมแล่นไป เลื่อมใส ตั้งมั่น น้อมไปในสักกายนิโรธ เมื่อเป็น
เช่นนั้น ภิกษุนั้นพึงได้รับสักกายนิโรธ ภิกษุทั้งหลาย บุรุษใช้
มือที่สะอาดจับกิ่งไม้ มือของเธอไม่พึงเกี่ยวจับติดกิ่งไม้นั้นฉันใด
ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน บรรลุเจโตวิมุตติอันสงบอย่างใดอย่าง
หนึ่งอยู่ เธอมนสิการถึงสักกายนิโรธ เมื่อเธอมนสิการถึงสักกาย-
นิโรธ จิตย่อมแล่นไป เลื่อมใส ตั้งมั่น น้อมไปในสักกายนิโรธ
เมื่อเป็นเช่นนั้น ภิกษุนั้นแลพึงได้รับสักกายนิโรธ


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๔.จตุตถปัณณาสก์]
๓.สัญเจตนิยวรรค ๘.ชัมพาลีสูตร

๓. ภิกษุในธรรมวินัยนี้บรรลุเจโตวิมุตติอันสงบอย่างใดอย่างหนึ่งอยู่
เธอมนสิการถึงการทำลายอวิชชา เมื่อเธอมนสิการถึงการทำลาย
อวิชชา จิตย่อมไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งมั่น ไม่น้อมไปใน
การทำลายอวิชชา เมื่อเป็นเช่นนั้น ภิกษุนั้นไม่พึงได้รับการ
ทำลายอวิชชา ภิกษุทั้งหลาย บ่อน้ำใหญ่มีอายุหลายปี บุรุษ
ปิดทางไหลเข้าของบ่อน้ำนั้นเสียและเปิดทางไหลออกไว้ ทั้งฝนก็
ไม่ตกเพิ่มตามฤดูกาล เมื่อเป็นเช่นนั้น บ่อน้ำใหญ่นั้นก็ไม่พึงมี
น้ำล้นขอบออกไปได้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน บรรลุเจโต-
วิมุตติอันสงบอย่างใดอย่างหนึ่งอยู่ เธอมนสิการถึงการทำลาย
อวิชชา เมื่อเธอมนสิการถึงการทำลายอวิชชา จิตย่อมไม่แล่นไป
ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งมั่น ไม่น้อมไปในการทำลายอวิชชา เมื่อเป็น
เช่นนั้น ภิกษุนั้นแลไม่พึงได้รับการทำลายอวิชชา
๔. ภิกษุในธรรมวินัยนี้บรรลุเจโตวิมุตติอันสงบอย่างใดอย่างหนึ่งอยู่
เธอมนสิการถึงการทำลายอวิชชา เมื่อเธอมนสิการถึงการทำลาย
อวิชชา จิตย่อมแล่นไป เลื่อมใส ตั้งมั่น น้อมไปในการทำลาย
อวิชชา เมื่อเป็นเช่นนั้น ภิกษุนั้นพึงได้รับการทำลายอวิชชา
ภิกษุทั้งหลาย บ่อน้ำใหญ่มีอายุหลายปี บุรุษเปิดทางไหลเข้า
ของบ่อน้ำนั้นและปิดทางไหลออกไว้ ทั้งฝนก็ตกเพิ่มตามฤดูกาล
เมื่อเป็นเช่นนั้น บ่อน้ำใหญ่นั้นพึงมีน้ำล้นขอบออกไปได้ฉันใด
ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน บรรลุเจโตวิมุตติอันสงบอย่างใดอย่าง
หนึ่งอยู่ เธอมนสิการถึงการทำลายอวิชชา เมื่อเธอมนสิการถึง
การทำลายอวิชชา จิตย่อมแล่นไป เลื่อมใส ตั้งมั่น น้อมไปใน
การทำลายอวิชชา เมื่อเป็นเช่นนั้น ภิกษุนั้นแลพึงได้รับการทำลาย
อวิชชา
ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกนี้แลมีปรากฏอยู่ในโลก

ชัมพาลีสูตรที่ ๘ จบ


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๔.จตุตถปัณณาสก์]
๓.สัญเจตนิยวรรค ๙. นิพพานสูตร

๙. นิพพานสูตร
ว่าด้วยนิพพาน

[๑๗๙] ครั้งนั้นแล ท่านพระอานนท์เข้าไปหาท่านพระสารีบุตรถึงที่อยู่ ได้
สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้ว จึงนั่ง ณ ที่สมควร
ได้ถามท่านพระสารีบุตรดังนี้ว่า
“ท่านสารีบุตร อะไรหนอเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้สัตว์บางพวกในโลกนี้ไม่นิพพาน
ในปัจจุบัน”
ท่านพระสารีบุตรตอบว่า “ท่านอานนท์ สัตว์ทั้งหลายในโลกนี้ไม่ทราบชัด
ตามความเป็นจริงว่า ‘นี้เป็นหานภาคิยสัญญา (สัญญาฝ่ายเสื่อม)’ ไม่ทราบชัด
ตามความเป็นจริงว่า ‘นี้เป็นฐิติภาคิยสัญญา (สัญญาฝ่ายดำรง)’ ไม่ทราบชัดตาม
ความเป็นจริงว่า ‘นี้เป็นวิเสสภาคิยสัญญา (สัญญาฝ่ายวิเศษ)’ ไม่ทราบชัดตามความ
เป็นจริงว่า ‘นี้เป็นนิพเพธภาคิยสัญญา (สัญญาฝ่ายชำแรกกิเลส)’ ท่านอานนท์
นี้แลเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้สัตว์บางพวกในโลกนี้ไม่นิพพานในปัจจุบัน”
ท่านพระอานนท์ถามว่า “ท่านสารีบุตร อะไรเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้สัตว์บางพวก
ในโลกนี้นิพพานในปัจจุบัน”
พระสารีบุตรตอบว่า “ท่านอานนท์ สัตว์ทั้งหลายในโลกนี้ทราบชัดตาม
ความเป็นจริงว่า ‘นี้เป็นหานภาคิยสัญญา’ ทราบชัดตามความเป็นจริงว่า ‘นี้เป็น
ฐิติภาคิยสัญญา’ ทราบชัดตามความเป็นจริงว่า ‘นี้เป็นวิเสสภาคิยสัญญา’ ทราบ
ชัดตามความเป็นจริงว่า ‘นี้เป็นนิพเพธภาคิยสัญญา’ ท่านอานนท์ นี้แลเป็นเหตุ
เป็นปัจจัยให้สัตว์บางพวกในโลกนี้นิพพานในปัจจุบัน”

นิพพานสูตรที่ ๙ จบ


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์]
๓. สัญเจตนิยวรรค ๑๐. มหาปเทสสูตร

๑๐. มหาปเทสสูตร๑
ว่าด้วยมหาปเทส

[๑๘๐] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ อานันทเจดีย์๒ โภคนคร ณ
ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุ
เหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า
“ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงมหาปเทส๓ ๔ ประการนี้ เธอทั้งหลายจงฟัง
จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว” ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาค
จึงได้ตรัสเรื่องว่า
“ภิกษุทั้งหลาย มหาปเทส ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ภิกษุในธรรมวินัยนี้พึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ผู้มีอายุ ข้าพเจ้าได้สดับรับ
มาเฉพาะพระพักตร์พระผู้มีพระภาคว่า นี้เป็นธรรม นี้เป็นวินัย
นี้เป็นสัตถุสาสน์’ เธอทั้งหลายยังไม่พึงชื่นชม ยังไม่พึงคัดค้าน
คำกล่าวของผู้นั้น พึงเรียนบทและพยัญชนะเหล่านั้นให้ดี๔แล้ว
พึงสอบดูในสูตร เทียบดูในวินัย ถ้าบทและพยัญชนะเหล่านั้น
สอบลงในสูตรก็ไม่ได้ เทียบเข้าในวินัยก็ไม่ได้ พึงลงสันนิษฐานว่า
นี้มิใช่ดำรัสของพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์
นั้นแน่นอน และภิกษุนี้รับมาผิด’ เธอทั้งหลายพึงทิ้งคำนั้นเสีย
ภิกษุในธรรมวินัยนี้พึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ผู้มีอายุ ข้าพเจ้าได้
สดับรับมาเฉพาะพระพักตร์พระผู้มีพระภาคว่า นี้เป็นธรรม นี้เป็น
วินัย นี้เป็นสัตถุสาสน์’ เธอทั้งหลายยังไม่พึงชื่นชม ยังไม่พึง


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๔.จตุตถปัณณาสก์]
๓.สัญเจตนิยวรรค ๑๐.มหาปเทสสูตร

คัดค้านคำกล่าวของผู้นั้น พึงเรียนบทและพยัญชนะเหล่านั้นให้ดี
แล้วพึงสอบดูในสูตร เทียบดูในวินัย ถ้าบทและพยัญชนะเหล่านั้น
สอบลงในสูตรก็ได้ เทียบเข้าในวินัยก็ได้ พึงลงสันนิษฐานว่า
นี้เป็นพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
พระองค์นั้นแน่นอน และภิกษุนี้รับมาด้วยดี’ เธอทั้งหลายพึงจำ
มหาปเทสประการที่ ๑ นี้ไว้
๒. ภิกษุในธรรมวินัยนี้พึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ในอาวาสชื่อโน้นมีสงฆ์
อยู่พร้อมด้วยพระเถระ พร้อมด้วยปาโมกข์ ข้าพเจ้าได้สดับรับ
มาเฉพาะหน้าสงฆ์นั้นว่า นี้เป็นธรรม นี้เป็นวินัย นี้เป็นสัตถุสาสน์’
เธอทั้งหลายยังไม่พึงชื่นชม ยังไม่พึงคัดค้านคำกล่าวของผู้นั้น
พึงเรียนบทและพยัญชนะเหล่านั้นให้ดีแล้วพึงสอบดูในสูตร เทียบดู
ในวินัย ถ้าบทและพยัญชนะเหล่านั้นสอบลงในสูตรก็ไม่ได้ เทียบ
เข้าในวินัยก็ไม่ได้ พึงลงสันนิษฐานว่า ‘นี้มิใช่ดำรัสของพระ
ผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้นแน่นอน และ
สงฆ์นั้นรับมาผิด’ เธอทั้งหลายพึงทิ้งคำนั้นเสีย
ภิกษุในธรรมวินัยนี้พึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ในอาวาสชื่อโน้น
สงฆ์อยู่พร้อมด้วยพระเถระ พร้อมด้วยปาโมกข์ ข้าพเจ้าได้สดับ
รับมาเฉพาะหน้าสงฆ์นั้นว่า นี้เป็นธรรม นี้เป็นวินัย นี้เป็น
สัตถุสาสน์’ เธอทั้งหลายยังไม่พึงชื่นชม ยังไม่พึงคัดค้านคำ
กล่าวของผู้นั้น พึงเรียนบทและพยัญชนะเหล่านั้นให้ดีแล้ว พึง
สอบดูในสูตร เทียบดูในวินัย ถ้าบทและพยัญชนะเหล่านั้นสอบ
ลงในสูตรก็ได้ เทียบเข้าในวินัยก็ได้ พึงลงสันนิษฐานว่า ‘นี้เป็น
ดำรัสของพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
แน่นอน และสงฆ์นั้นรับมาด้วยดี’ เธอทั้งหลายพึงจำมหาปเทส
ประการที่ ๒ นี้ไว้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๑ หน้า :๒๕๔ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๔.จตุตถปัณณาสก์]
๓.สัญเจตนิยวรรค ๑๐.มหาปเทสสูตร

๓. ภิกษุในธรรมวินัยนี้พึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ในอาวาสชื่อโน้นมีภิกษุผู้
เป็นเถระอยู่จำนวนมาก เป็นพหูสูต เรียนจบคัมภีร์๑ ทรงธรรม๒
ทรงวินัย๓ ทรงมาติกา๔ ข้าพเจ้าได้สดับรับมาเฉพาะหน้าพระเถระ
เหล่านั้นว่า นี้เป็นธรรม นี้เป็นวินัย นี้เป็นสัตถุศาสน์’ เธอ
ทั้งหลายยังไม่พึงชื่นชม ยังไม่พึงคัดค้านคำกล่าวของผู้นั้น พึง
เรียนบทและพยัญชนะเหล่านั้นให้ดีแล้ว พึงสอบดูในสูตร เทียบดู
ในวินัย ถ้าบทและพยัญชนะเหล่านั้นสอบลงในสูตรก็ไม่ได้
เทียบเข้าในวินัยก็ไม่ได้ พึงลงสันนิษฐานว่า ‘นี้มิใช่ดำรัสของ
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้นแน่นอน
และพระเถระเหล่านั้นรับมาผิด’ เธอทั้งหลายพึงทิ้งคำนั้นเสีย
ภิกษุในธรรมวินัยนี้พึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ในอาวาสชื่อโน้นมี
ภิกษุผู้เป็นเถระอยู่จำนวนมาก เป็นพหูสูต เรียนจบคัมภีร์ ทรง
ธรรม ทรงวินัย ทรงมาติกา ข้าพเจ้าได้สดับรับมาเฉพาะหน้า
พระเถระเหล่านั้นว่า นี้เป็นธรรม นี้เป็นวินัย นี้เป็นสัตถุสาสน์’
เธอทั้งหลายยังไม่พึงชื่นชม ยังไม่พึงคัดค้านคำกล่าวของผู้นั้น พึง
เรียนบทและพยัญชนะเหล่านั้นให้ดีแล้วพึงสอบดูในสูตร เทียบดูใน
วินัย ถ้าบทและพยัญชนะเหล่านั้นสอบลงในสูตรก็ได้ เทียบเข้าใน
วินัยก็ได้ พึงลงสันนิษฐานว่า ‘นี้เป็นดำรัสของพระผู้มีพระภาค
อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้นแน่นอน และพระเถระเหล่านั้น
รับมาด้วยดี’ เธอทั้งหลายพึงจำมหาปเทสประการที่ ๓ นี้ไว้
๔. ภิกษุในธรรมวินัยนี้พึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ในอาวาสชื่อโน้นมีภิกษุผู้
เป็นเถระอยู่รูปหนึ่ง เป็นพหูสูต เรียนจบคมภีร์ ทรงธรรม ทรง


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๔.จตุตถปัณณาสก์]
๓.สัญเจตนิยวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

วินัย ทรงมาติกา ข้าพเจ้าได้สดับรับมาเฉพาะหน้าพระเถระรูป
นั้นว่า นี้เป็นธรรม นี้เป็นวินัย นี้เป็นสัตถุศาสน์’ เธอทั้งหลายยังไม่
พึงชื่นชม ยังไม่พึงคัดค้านคำกล่าวของผู้นั้น พึงเรียนบทและ
พยัญชนะเหล่านั้นให้ดีแล้ว พึงสอบดูในสูตร เทียบดูในวินัย
ถ้าบทและพยัญชนะเหล่านั้นสอบลงในสูตรก็ไม่ได้ เทียบเข้าใน
วินัยก็ไม่ได้ พึงลงสันนิษฐานว่า ‘นี้มิใช่ดำรัสของพระผู้มีพระภาค
อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้นแน่นอน และพระเถระรูปนั้น
รับมาผิด’ เธอทั้งหลายพึงทิ้งคำนั้นเสีย
ภิกษุในธรรมวินัยนี้พึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ในอาวาสชื่อโน้นมี
ภิกษุผู้เป็นเถระอยู่รูปหนึ่ง เป็นพหูสูต เรียนจบคัมภีร์ ทรงธรรม
ทรงวินัย ทรงมาติกา ข้าพเจ้าได้สดับรับมาเฉพาะหน้าพระเถระ
รูปนั้นว่า นี้เป็นธรรม นี้เป็นวินัย นี้เป็นสัตถุสาสน์’ เธอทั้งหลาย
ยังไม่พึงชื่นชม ยังไม่พึงคัดค้านคำกล่าวของผู้นั้น พึงเรียนบท
และพยัญชนะเหล่านั้นให้ดีแล้ว พึงสอบดูในสูตร เทียบดูในวินัย
ถ้า บทและพยัญชนะเหล่านั้น สอบลงในสูตรก็ได้ เทียบเข้าใน
วินัยก็ได้ พึงลงสันนิษฐานว่า ‘นี้เป็นดำรัสของพระผู้มีพระภาค
อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้นแน่นอน และพระเถระรูปนั้น
รับมาด้วยดี’ เธอทั้งหลายพึงจำมหาปเทสประการที่ ๔ นี้ไว้
ภิกษุทั้งหลาย มหาปเทส ๔ ประการนี้แล”

มหาปเทสสูตรที่ ๑๐ จบ
สัญเจตนิยวรรคที่ ๓ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. เจตนาสูตร ๒. วิภัตติสูตร
๓. มหาโกฏฐิตสูตร ๔. อานันทสูตร
๕. อุปวาณสูตร ๖. อายาจนสูตร
๗. ราหุลสูตร ๘. ชัมพาลีสูตร
๙. นิพพานสูตร ๑๐. มหาปเทสสูตร


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๔.จตุตถปัณณาสก์]
๔.โยธาชีววรรค ๑.โยธาชีวสูตร

๔. โยธาชีววรรค
หมวดว่าด้วยองค์ประกอบของนักรบอาชีพ
๑. โยธาชีวสูตร
ว่าด้วยองค์ประกอบของนักรบอาชีพ

[๑๘๑] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย นักรบอาชีพผู้ประกอบด้วย
องค์ ๔ ประการย่อมคู่ควรแก่พระราชา เหมาะแก่พระราชา ถึงการนับได้ว่าเป็น
ราชองครักษ์โดยแท้
องค์ ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
นักรบอาชีพในโลกนี้
๑. ฉลาดในฐานะ ๒. ยิงลูกศรได้ไกล
๓. ยิงไม่พลาด ๔. ทำลายกายขนาดใหญ่ได้
ภิกษุทั้งหลาย นักรบอาชีพผู้ประกอบด้วยองค์ ๔ ประการนี้แลย่อมคู่ควรแก่
พระราชา เหมาะแก่พระราชา ถึงการนับว่าเป็นราชองครักษ์โดยแท้ ฉันใด
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อม
เป็นผู้ควรแก่ของที่เขานำมาถวาย ควรแก่ของต้อนรับ ควรแก่ทักษิณา ควรแก่การ
ทำอัญชลี เป็นนาบุญอันยอดเยี่ยมของโลก
ธรรม ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. ฉลาดในฐานะ ๒. ยิงลูกศรได้ไกล
๓. ยิงไม่พลาด ๔. ทำลายกายขนาดใหญ่ได้
ภิกษุฉลาดในฐานะ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้มีศีล ฯลฯ๑ สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย
ภิกษุชื่อว่าฉลาดในฐานะ เป็นอย่างนี้แล


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๔.จตุตถปัณณาสก์]
๔.โยธาชีววรรค ๒. ปาฏิโภคสูตร

ภิกษุยิงลูกศรได้ไกล เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้พิจารณาเห็นรูปอย่างใดอย่างหนึ่งทั้งที่เป็นอดีต อนาคต
และปัจจุบัน ภายในหรือภายนอก หยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีต ไกลหรือ
ใกล้ก็ตาม ด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา เรา
ไม่ได้เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’ เวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง ... สัญญาอย่างใด
อย่างหนึ่ง ... สังขารอย่างใดอย่างหนึ่ง ... วิญญาณอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต
อนาคต และปัจจุบัน ภายในหรือภายนอก หยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีต
ไกลหรือใกล้ก็ตาม ด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา
เราไม่ได้เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’ ภิกษุชื่อว่ายิงลูกศรได้ไกล เป็นอย่างนี้แล๑
ภิกษุยิงไม่พลาด เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า ‘นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธ-
คามินีปฏิปทา’ ภิกษุชื่อว่ายิงไม่พลาด เป็นอย่างนี้แล
ภิกษุทำลายกายขนาดใหญ่ได้ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ทำลายกองอวิชชาใหญ่ได้ ภิกษุชื่อว่าทำลายกายขนาด
ใหญ่ได้ เป็นอย่างนี้แล
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้แลย่อมเป็นผู้ควรแก่
ของที่เขานำมาถวาย ฯลฯ เป็นนาบุญอันยอดเยี่ยมของโลก”

โยธาชีวสูตรที่ ๑ จบ

๒. ปาฏิโภคสูตร
ว่าด้วยธรรมที่ไม่มีใครประกันได้

[๑๘๒] ภิกษุทั้งหลาย ไม่มีใครเลย ไม่ว่าจะเป็นสมณะ พราหมณ์ เทวดา มาร
พรหม หรือใคร ๆ ในโลกที่จะประกันธรรม ๔ ประการ
ธรรม ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๔.จตุตถปัณณาสก์]
๔.โยธาชีววรรค ๓.สุตสูตร

๑. ไม่มีใครเลย ไม่ว่าจะเป็นสมณะ พราหมณ์ เทวดา มาร พรหม
หรือใคร ๆ ในโลกที่จะประกันสิ่งที่มีความแก่เป็นธรรมดาว่า ‘ไม่แก่’
๒. ไม่มีใครเลย ไม่ว่าจะเป็นสมณะ พราหมณ์ เทวดา มาร พรหม
หรือใคร ๆ ในโลกที่จะประกันสิ่งที่มีความเจ็บเป็นธรรมดาว่า ‘ไม่เจ็บ’
๓. ไม่มีใครเลย ไม่ว่าจะเป็นสมณะ พราหมณ์ เทวดา มาร พรหม
หรือใคร ๆ ในโลกที่จะประกันสิ่งที่มีความตายเป็นธรรมดาว่า
ไม่ตาย’
๔. ไม่มีใครเลย ไม่ว่าจะเป็นสมณะ พราหมณ์ เทวดา มาร พรหม
หรือใคร ๆ ในโลกที่จะประกันผลแห่งกรรมชั่วที่เศร้าหมอง ให้เกิด
ในภพใหม่ มีทุกข์เป็นกำไร มีทุกข์เป็นผล มีชาติ ชรา และ
มรณะต่อไปว่า ‘ไม่บังเกิด’
ภิกษุทั้งหลาย ไม่มีใครเลย ไม่ว่าจะเป็นสมณะ พราหมณ์ เทวดา มาร พรหม
หรือใคร ๆ ในโลกที่จะประกันธรรม ๔ ประการนี้แล

ปาฏิโภคสูตรที่ ๒ จบ

๓. สุตสูตร
ว่าด้วยสิ่งที่ได้ฟัง

[๑๘๓] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเวฬุวัน สถานที่ให้
เหยื่อกระแต เขตกรุงราชคฤห์ ครั้งนั้นแล วัสสการพราหมณ์ผู้เป็นมหาอำมาตย์
แห่งแคว้นมคธ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ได้สนทนาปราศรัยพอเป็นที่
บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้ว จึงนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาค
ดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระโคดม ข้าพเจ้ามีวาทะ๑อย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘ผู้ใดผู้หนึ่งกล่าว
ถึงสิ่งที่ตนเห็นว่า ‘เราได้เห็นอย่างนี้’ ย่อมไม่มีโทษเพราะการพูดนั้น ผู้ใดผู้หนึ่งกล่าว


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๔.จตุตถปัณณาสก์]
๔.โยธาชีววรรค ๓.สุตสูตร

ถึงสิ่งที่ตนได้ฟังว่า ‘เราได้ฟังอย่างนี้’ ย่อมไม่มีโทษเพราะการพูดนั้น ผู้ใดผู้หนึ่ง
กล่าวถึงสิ่งที่ตนรู้ว่า ‘เราได้รู้อย่างนี้’ ย่อมไม่มีโทษเพราะการพูดนั้น ผู้ใดผู้หนึ่ง
กล่าวถึงสิ่งที่ตนรู้แจ้งว่า ‘เราได้รู้แจ้งอย่างนี้’ ย่อมไม่มีโทษเพราะการพูดนั้น
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “พราหมณ์ เราไม่กล่าวว่า ‘ทุกสิ่งที่ได้เห็นเป็นสิ่ง
ควรกล่าว’ และไม่กล่าวว่า ‘ทุกสิ่งที่ได้เห็นเป็นสิ่งไม่ควรกล่าว’ เราไม่กล่าวว่า
‘ทุกสิ่งที่ได้ฟังเป็นสิ่งควรกล่าว’ และไม่กล่าวว่า ‘ทุกสิ่งที่ได้ฟังเป็นสิ่งไม่ควรกล่าว’
เราไม่กล่าวว่า ‘ทุกสิ่งที่ได้ทราบเป็นสิ่งควรกล่าว’ และไม่กล่าวว่า ‘ทุกสิ่งที่ได้ทราบ
เป็นสิ่งไม่ควรกล่าว’ เราไม่กล่าวว่า ‘ทุกสิ่งที่รู้แจ้งเป็นสิ่งควรกล่าว’ และไม่กล่าวว่า
‘ทุกสิ่งที่รู้แจ้งเป็นสิ่งไม่ควรกล่าว’
พราหมณ์ เมื่อบุคคลกล่าวถึงสิ่งใดที่ได้เห็น อกุศลธรรมเจริญขึ้น กุศลธรรม
เสื่อมไป เรากล่าวว่า ‘สิ่งที่ได้เห็นเช่นนี้เป็นสิ่งไม่ควรกล่าว’ แต่เมื่อบุคคลกล่าวถึง
สิ่งใดที่ได้เห็น อกุศลธรรมเสื่อมไป กุศลธรรมเจริญขึ้น เรากล่าวว่า ‘สิ่งที่ได้เห็นเช่นนี้
เป็นสิ่งควรกล่าว’
เมื่อบุคคลกล่าวถึงสิ่งใดที่ได้ฟัง อกุศลธรรมเจริญขึ้น กุศลธรรมเสื่อมไป เรา
กล่าวว่า ‘สิ่งที่ได้ฟังเช่นนี้เป็นสิ่งไม่ควรกล่าว’ แต่เมื่อบุคคลกล่าวถึงสิ่งใดที่ได้ฟัง
อกุศลธรรมเสื่อมไป กุศลธรรมเจริญขึ้น เรากล่าวว่า ‘สิ่งที่ได้ฟังเช่นนี้เป็นสิ่งควรกล่าว’
เมื่อบุคคลกล่าวถึงสิ่งใดที่ได้ทราบ อกุศลธรรมเจริญขึ้น กุศลธรรมเสื่อมไป
เรากล่าวว่า ‘สิ่งที่ได้ทราบเช่นนี้ เป็นสิ่งไม่ควรกล่าว’ แต่เมื่อบุคคลกล่าวถึงสิ่งใด
ที่ได้ทราบ อกุศลธรรมเสื่อมไป กุศลธรรมเจริญขึ้น เรากล่าวว่า ‘สิ่งที่ได้ทราบเช่นนี้
เป็นสิ่งควรกล่าว’
เมื่อบุคคลกล่าวถึงสิ่งใดที่รู้แจ้ง อกุศลธรรมเจริญขึ้น กุศลธรรมเสื่อมไป เรา
กล่าวว่า ‘สิ่งที่รู้แจ้งเช่นนี้ เป็นสิ่งไม่ควรกล่าว’ แต่เมื่อบุคคลกล่าวถึงสิ่งใดที่รู้แจ้ง
อกุศลธรรมเสื่อมไป กุศลธรรมเจริญขึ้น เรากล่าวว่า ‘สิ่งที่รู้แจ้งเช่นนี้เป็นสิ่งควรกล่าว”
ครั้งนั้นแล วัสสการพราหมณ์ผู้เป็นมหาอำมาตย์แห่งแคว้นมคธชื่นชม ยินดี
พระภาษิตของพระผู้มีพระภาคแล้วลุกจากที่นั่งจากไป

สุตสูตรที่ ๓ จบ


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๔.จตุตถปัณณาสก์]
๔.โยธาชีววรรค ๔.อภยสูตร

๔. อภยสูตร
ว่าด้วยบุคคลผู้กลัวตายและผู้ไม่กลัวความตาย

[๑๘๔] ครั้งนั้นแล ชานุสโสณิพราหมณ์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
ได้สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้ว จึงนั่ง ณ ที่สมควร
ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ข้าแต่ท่านพระโคดม ข้าพระพุทธเจ้ามีวาทะ๑อย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า สัตว์
ผู้มีความตายเป็นธรรมดาชื่อว่าไม่กลัว ไม่ถึงความสะดุ้งต่อความตายย่อมไม่มี”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “พราหมณ์ บุคคลผู้มีความตายเป็นธรรมดากลัว
ถึงความสะดุ้งต่อความตายมีอยู่ และบุคคลผู้มีความตายเป็นธรรมดา ไม่กลัว ไม่
ถึงความสะดุ้งต่อความตายก็มีอยู่
บุคคลผู้มีความตายเป็นธรรมดากลัว ถึงความสะดุ้งต่อความตาย เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้ยังไม่ปราศจากความกำหนัด ไม่ปราศจาก
ความพอใจ ไม่ปราศจากความรัก ไม่ปราศจากความกระหาย ไม่ปราศจากความ
เร่าร้อน ไม่ปราศจากความอยากในกามทั้งหลาย โรคหนักบางอย่างกระทบเขาเข้า
เมื่อเขาถูกโรคหนักบางอย่างกระทบเข้าจึงมีความคิดอย่างนี้ว่า ‘กามอันเป็นที่รัก
จักละเราไปหนอ และเราก็จักละกามอันเป็นที่รักไป’ เขาย่อมเศร้าโศก ลำบากใจ ร่ำไร
ทุบอกคร่ำครวญ ถึงความเลอะเลือน นี้แลคือบุคคลผู้มีความตายเป็นธรรมดา
กลัว ถึงความสะดุ้งต่อความตาย
ยังมีอีก บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้ยังไม่ปราศจากความกำหนัด ไม่ปราศจาก
ความพอใจ ไม่ปราศจากความรัก ไม่ปราศจากความกระหาย ไม่ปราศจากความ
เร่าร้อน ไม่ปราศจากความอยากในกามทั้งหลาย โรคหนักบางอย่างกระทบเขาเข้า
เมื่อเขาถูกโรคหนักบางอย่างกระทบเข้าจึงมีความคิดอย่างนี้ว่า ‘กายอันเป็นที่รัก
จักละเราไปหนอ และเราก็จักละกายอันเป็นที่รักไป’ เขาย่อมเศร้าโศก ลำบากใจ ร่ำไร
ทุบอกคร่ำครวญ ถึงความเลอะเลือน นี้แลคือบุคคลผู้มีความตายเป็นธรรมดากลัว
ถึงความสะดุ้งต่อความตาย


>>>>> หน้าต่อไป >>>>>





eXTReMe Tracker