ค้นว่าอยู่เล่มใด แล้วกด [ctrl]+f หรือใช้คำสั่งของเครื่องหาตำแหน่งในเล่มอีกทีนะครับ



จัดรูปหน้าใหม่
เพื่อความสะดวก และสวยงาม
(เฉพาะหน้าจอใหญ่ เช่น คอมพิวเตอร์)
กรุณาคลิก จัดรูปหน้าใหม่
เพื่อให้กรอบ
ค้นข้อความ ปรากฎที่ด้านซ้ายของหน้า

พระไตรปิฎกภาษาไทย
ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ๔๕ เล่ม (ปกสีฟ้า)
ทั้งออนไลน์และออฟไลน์
ที่มาของข้อมูล : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับ มจร.
MCUTRAI Version 1.0

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๘ สุตตันตปิฎกที่ ๑๐ สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๑. ปฐมปัณณาสก์ ๑. อนิจจวรรค ๑. อัชฌัตตานิจจสูตร

พระสุตตันตปิฎก
สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค
_____________
ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

๑. สฬายตนสังยุต
๑. ปฐมปัณณาสก์
๑. อนิจจวรรค
หมวดว่าด้วยสิ่งที่ไม่เที่ยง
๑. อัชฌัตตานิจจสูตร
ว่าด้วยอายตนะภายในไม่เที่ยง

[๑] ข้าพเจ้า๑ ได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถ-
บิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลาย
มาตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย” ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาค
จึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า
“ภิกษุทั้งหลาย จักขุ (ตา) ไม่เที่ยง สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์
สิ่งนั้นเป็นอนัตตา (ไม่ใช่อัตตา) สิ่งใดเป็นอนัตตา สิ่งนั้นเธอทั้งหลายพึงเห็นด้วย
ปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่
อัตตาของเรา’


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๑. ปฐมปัณณาสก์ ๑. อนิจจวรรค ๑. อัชฌัตตานิจจสูตร

โสตะ (หู) ไม่เที่ยง ฯลฯ
ฆานะ (จมูก) ไม่เที่ยง สิ่งใดไม่เที่ยง ฯลฯ
ชิวหา (ลิ้น) ไม่เที่ยง สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็น
อนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา สิ่งนั้นเธอทั้งหลายพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความ
เป็นจริงอย่างนี้ว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’
กายไม่เที่ยง สิ่งใดไม่เที่ยง ฯลฯ
มโน (ใจ) ไม่เที่ยง สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็น
อนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา สิ่งนั้นเธอทั้งหลายพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความ
เป็นจริงอย่างนี้ว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’
ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในจักขุ
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในโสตะ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในฆานะ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในชิวหา
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในกาย ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในมโน เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด
เพราะคลายกำหนัดจิตย่อมหลุดพ้น เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว ก็รู้ว่า ‘หลุดพ้นแล้ว’ รู้ชัด
ว่า ‘ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว๑ ทำกิจที่ควรทำ๒ เสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่น
เพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป”๓

อัชฌัตตานิจจสูตรที่ ๑ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๑. ปฐมปัณณาสก์ ๑. อนิจจวรรค ๓. อัชฌัตตานัตตสูตร

๒. อัชฌัตตทุกขสูตร
ว่าด้วยอายตนะภายในเป็นทุกข์

[๒] “ภิกษุทั้งหลาย จักขุเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา สิ่งใด
เป็นอนัตตา สิ่งนั้นเธอทั้งหลายพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้
ว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’
โสตะเป็นทุกข์ ฯลฯ
ฆานะเป็นทุกข์ ฯลฯ
ชิวหาเป็นทุกข์ ฯลฯ
กายเป็นทุกข์ ฯลฯ
มโนเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา สิ่งนั้น
เธอทั้งหลายพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา
เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’
ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ฯลฯ รู้ชัดว่า ... ไม่มีกิจอื่น
เพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป”

อัชฌัตตทุกขสูตรที่ ๒ จบ

๓. อัชฌัตตานัตตสูตร
ว่าด้วยอายตนะภายในเป็นอนัตตา

[๓] “ภิกษุทั้งหลาย จักขุเป็นอนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา สิ่งนั้นเธอทั้งหลาย
พึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็น
นั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’
โสตะเป็นอนัตตา ฯลฯ
ฆานะเป็นอนัตตา ฯลฯ
ชิวหาเป็นอนัตตา ฯลฯ
กายเป็นอนัตตา ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๓ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๑. ปฐมปัณณาสก์ ๑. อนิจจวรรค ๔. พาหิรานิจจสูตร

มโนเป็นอนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา สิ่งนั้นเธอทั้งหลายพึงเห็นด้วยปัญญาอัน
ชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตา
ของเรา’
ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ฯลฯ รู้ชัดว่า ... ไม่มีกิจอื่น
เพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป”

อัชฌัตตานัตตสูตรที่ ๓ จบ

๔. พาหิรานิจจสูตร
ว่าด้วยอายตนะภายนอกไม่เที่ยง

[๔] “ภิกษุทั้งหลาย รูปไม่เที่ยง สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์
สิ่งนั้นเป็นอนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา สิ่งนั้นเธอทั้งหลายพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบ
ตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’
สัททะ (เสียง) ฯลฯ
คันธะ (กลิ่น) ฯลฯ
รส ฯลฯ
โผฏฐัพพะ (สิ่งที่ถูกต้องกาย) ฯลฯ
ธรรมารมณ์๑ ไม่เที่ยง สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้น
เป็นอนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา สิ่งนั้นเธอทั้งหลายพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตาม
ความเป็นจริงอย่างนี้ว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’
ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในรูป ฯลฯ
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในธรรมารมณ์ เมื่อเบื่อหน่ายย่อมคลายกำหนัด เพราะคลาย
กำหนัดจิตย่อมหลุดพ้น เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว ก็รู้ว่า ‘หลุดพ้นแล้ว’ รู้ชัดว่า ‘ชาติ
สิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็น
อย่างนี้อีกต่อไป”

พาหิรานิจจสูตรที่ ๔ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๑. ปฐมปัณณาสก์ ๑. อนิจจวรรค ๖. พาหิรานัตตสูตร

๕. พาหิรทุกขสูตร
ว่าด้วยอายตนะภายนอกเป็นทุกข์

[๕] “ภิกษุทั้งหลาย รูปเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา สิ่งใดเป็น
อนัตตา สิ่งนั้นเธอทั้งหลายพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า
‘นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’
สัททะ ฯลฯ
คันธะ ฯลฯ
รส ฯลฯ
โผฏฐัพพะ ฯลฯ
ธรรมารมณ์เป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา
สิ่งนั้นเธอทั้งหลายพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า ‘นั่นไม่ใช่
ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’
ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ฯลฯ รู้ชัดว่า ... ไม่มีกิจ
อื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป”

พาหิรทุกขสูตรที่ ๕ จบ

๖. พาหิรานัตตสูตร
ว่าด้วยอายตนะภายนอกเป็นอนัตตา

[๖] “ภิกษุทั้งหลาย รูปเป็นอนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา สิ่งนั้นเธอทั้งหลาย
พึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็น
นั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’
สัททะ ฯลฯ
คันธะ ฯลฯ
รส ฯลฯ
โผฏฐัพพะ ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๕ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๑. ปฐมปัณณาสก์ ๑. อนิจจวรรค ๗. อัชฌัตตานิจจาตีตานาคตสูตร

ธรรมารมณ์เป็นอนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา สิ่งนั้นเธอทั้งหลายพึงเห็นด้วย
ปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่
อัตตาของเรา’
ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ฯลฯ รู้ชัดว่า ... ไม่มีกิจอื่น
เพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป”

พาหิรานัตตสูตรที่ ๖ จบ

๗. อัชฌัตตานิจจาตีตานาคตสูตร
ว่าด้วยอายตนะภายในทั้งที่เป็นอดีตและอนาคตไม่เที่ยง

[๗] “ภิกษุทั้งหลาย จักขุทั้งที่เป็นอดีตและอนาคตไม่เที่ยง ไม่ต้องกล่าวถึง
จักขุที่เป็นปัจจุบัน อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมไม่เยื่อใยจักขุที่เป็นอดีต
ไม่ยินดีจักขุที่เป็นอนาคต ย่อมปฏิบัติเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อ
ดับจักขุที่เป็นปัจจุบัน
โสตะ ... ไม่เที่ยง ฯลฯ
ฆานะ ... ไม่เที่ยง ฯลฯ
ชิวหาทั้งที่เป็นอดีตและอนาคตไม่เที่ยง ไม่ต้องกล่าวถึงชิวหาที่เป็นปัจจุบัน
อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมไม่เยื่อใยชิวหาที่เป็นอดีต ไม่ยินดีชิวหาที่เป็น
อนาคต ย่อมปฏิบัติเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับชิวหาที่เป็น
ปัจจุบัน
กาย ... ไม่เที่ยง ฯลฯ
มโน ... ไม่เที่ยง ไม่ต้องกล่าวถึงมโนที่เป็นปัจจุบัน
ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมไม่เยื่อใยมโนที่เป็นอดีต
ไม่ยินดีมโนที่เป็นอนาคต ย่อมปฏิบัติเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับ
มโนที่เป็นปัจจุบัน”

อัชฌัตตานิจจาตีตานาคตสูตรที่ ๗ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๑. ปฐมปัณณาสก์ ๑. อนิจจวรรค ๙. อัชฌัตตานัตตาตีตานาคตสูตร

๘. อัชฌัตตทุกขาตีตานาคตสูตร
ว่าด้วยอายตนะภายในทั้งที่เป็นอดีตและอนาคตเป็นทุกข์

[๘] “ภิกษุทั้งหลาย จักขุทั้งที่เป็นอดีตและอนาคตเป็นทุกข์ ไม่ต้องกล่าวถึง
จักขุที่เป็นปัจจุบัน อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมไม่เยื่อใยจักขุที่เป็นอดีต
ไม่ยินดีจักขุที่เป็นอนาคต ย่อมปฏิบัติเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับ
จักขุที่เป็นปัจจุบัน
โสตะ ... เป็นทุกข์ ฯลฯ
ฆานะ ... เป็นทุกข์ ฯลฯ
ชิวหาทั้งที่เป็นอดีตและอนาคตเป็นทุกข์ ไม่ต้องกล่าวถึงชิวหาที่เป็นปัจจุบัน
อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมไม่เยื่อใยชิวหาที่เป็นอดีต ไม่ยินดีชิวหาที่
เป็นอนาคต ย่อมปฏิบัติเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับชิวหาที่
เป็นปัจจุบัน
กาย ... เป็นทุกข์ ฯลฯ
มโนทั้งที่เป็นอดีตและอนาคตเป็นทุกข์ ไม่ต้องกล่าวถึงมโนที่เป็นปัจจุบัน
ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมไม่เยื่อใยมโนที่เป็นอดีต
ไม่ยินดีมโนที่เป็นอนาคต ย่อมปฏิบัติเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อ
ดับมโนที่เป็นปัจจุบัน”

อัชฌัตตทุกขาตีตานาคตสูตรที่ ๘ จบ

๙. อัชฌัตตานัตตาตีตานาคตสูตร
ว่าด้วยอายตนะภายในทั้งที่เป็นอดีตและอนาคตเป็นอนัตตา

[๙] “ภิกษุทั้งหลาย จักขุทั้งที่เป็นอดีตและอนาคตเป็นอนัตตา ไม่ต้องกล่าว
ถึงจักขุที่เป็นปัจจุบัน อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมไม่เยื่อใยจักขุที่เป็น
อดีต ไม่ยินดีจักขุที่เป็นอนาคต ย่อมปฏิบัติเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด
เพื่อดับจักขุที่เป็นปัจจุบัน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๗ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๑. ปฐมปัณณาสก์ ๑. อนิจจวรรค ๑๐. พาหิรานิจจาตีตานาคตสูตร

โสตะ ... เป็นอนัตตา ฯลฯ
ฆานะ ... เป็นอนัตตา ฯลฯ
ชิวหาทั้งที่เป็นอดีตและอนาคตเป็นอนัตตา ไม่ต้องกล่าวถึงชิวหาที่เป็นปัจจุบัน
อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมไม่เยื่อใยชิวหาที่เป็นอดีต ไม่ยินดีชิวหาที่เป็น
อนาคต ย่อมปฏิบัติเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับชิวหาที่เป็น
ปัจจุบัน
กาย ... เป็นอนัตตา ฯลฯ
มโนทั้งที่เป็นอดีตและอนาคตเป็นอนัตตา ไม่ต้องกล่าวถึงมโนที่เป็นปัจจุบัน
ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมไม่เยื่อใยมโนที่เป็น
อดีต ไม่ยินดีมโนที่เป็นอนาคต ย่อมปฏิบัติเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด
เพื่อดับมโนที่เป็นปัจจุบัน”

อัชฌัตตานัตตาตีตานาคตสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. พาหิรานิจจาตีตานาคตสูตร
ว่าด้วยอายตนะภายนอกทั้งที่เป็นอดีตและอนาคตไม่เที่ยง

[๑๐] “ภิกษุทั้งหลาย รูปทั้งที่เป็นอดีตและอนาคตไม่เที่ยง ไม่ต้องกล่าวถึงรูป
ที่เป็นปัจจุบัน อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมไม่เยื่อใยรูปที่เป็นอดีต ไม่ยินดี
รูปที่เป็นอนาคต ย่อมปฏิบัติเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับรูปที่เป็น
ปัจจุบัน
สัททะ ฯลฯ
คันธะ ฯลฯ
รส ฯลฯ
โผฏฐัพพะ ฯลฯ
ธรรมารมณ์ที่เป็นอดีตและอนาคตไม่เที่ยง ไม่ต้องกล่าวถึงธรรมารมณ์ที่เป็น
ปัจจุบัน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๘ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๑. ปฐมปัณณาสก์ ๑. อนิจจวรรค ๑๒. พาหิรานัตตาตีตานาคตสูตร

ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมไม่เยื่อใยธรรมารมณ์ที่
เป็นอดีต ไม่ยินดีธรรมารมณ์ที่เป็นอนาคต ย่อมปฏิบัติเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อ
คลายกำหนัด เพื่อดับธรรมารมณ์ที่เป็นปัจจุบัน”

พาหิรานิจจาตีตานาคตสูตรที่ ๑๐ จบ

๑๑. พาหิรทุกขาตีตานาคตสูตร
ว่าด้วยอายตนะภายนอกทั้งที่เป็นอดีตและอนาคตเป็นทุกข์

[๑๑] “ภิกษุทั้งหลาย รูปทั้งที่เป็นอดีตและอนาคตเป็นทุกข์ ไม่ต้องกล่าวถึง
รูปที่เป็นปัจจุบัน อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมไม่เยื่อใยรูปที่เป็นอดีต
ไม่ยินดีรูปที่เป็นอนาคต ย่อมปฏิบัติเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับ
รูปที่เป็นปัจจุบัน ฯลฯ

พาหิรทุกขาตีตานาคตสูตรที่ ๑๑ จบ

๑๒. พาหิรานัตตาตีตานาคตสูตร
ว่าด้วยอายตนะภายนอกทั้งที่เป็นอดีตและอนาคตเป็นอนัตตา

[๑๒] “ภิกษุทั้งหลาย รูปทั้งที่เป็นอดีตและอนาคตเป็นอนัตตา ไม่ต้องกล่าว
ถึงรูปที่เป็นปัจจุบัน อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมไม่เยื่อใยรูปที่เป็น
อดีต ไม่ยินดีรูปที่เป็นอนาคต ย่อมปฏิบัติเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด
เพื่อดับรูปที่เป็นปัจจุบัน
สัททะ ฯลฯ
คันธะ ฯลฯ
รส ฯลฯ
โผฏฐัพพะ ฯลฯ
ธรรมารมณ์ทั้งที่เป็นอดีตและอนาคตเป็นอนัตตา ไม่ต้องกล่าวถึงธรรมารมณ์
ที่เป็นปัจจุบัน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๙ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๑. ปฐมปัณณาสก์ ๑. อนิจจวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมไม่เยื่อใยธรรมารมณ์ที่
เป็นอดีต ไม่ยินดีธรรมารมณ์ที่เป็นอนาคต ย่อมปฏิบัติเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อ
คลายกำหนัด เพื่อดับธรรมารมณ์ที่เป็นปัจจุบัน”

พาหิรานัตตาตีตานาคตสูตรที่ ๑๒ จบ
อนิจจวรรคที่ ๑ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. อัชฌัตตานิจจสูตร ๒. อัชฌัตตทุกขสูตร
๓. อัชฌัตตานัตตสูตร ๔. พาหิรานิจจสูตร
๕. พาหิรทุกขสูตร ๖. พาหิรานัตตสูตร
๗. อัชฌัตตานิจจาตีตานาคตสูตร ๘. อัชฌัตตทุกขาตีตานาคตสูตร
๙. อัชฌัตตานัตตาตีตานาคตสูตร ๑๐. พาหิรานิจจาตีตานาคตสูตร
๑๑. พาหิรทุกขาตีตานาคตสูตร ๑๒. พาหิรานัตตาตีตานาคตสูตร


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๑. ปฐมปัณณาสก์ ๒. ยมกวรรค ๑. ปฐมปุพเพสัมโพธสูตร

๒. ยมกวรรค
หมวดว่าด้วยคู่
๑. ปฐมปุพเพสัมโพธสูตร
ว่าด้วยความดำริก่อนตรัสรู้ สูตรที่ ๑

[๑๓] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย เมื่อก่อนเราเป็นโพธิสัตว์ยังไม่ได้ตรัสรู้
ได้มีความคิดดังนี้ว่า ‘อะไรหนอเป็นคุณ๑ อะไรเป็นโทษ๒ของจักขุ (ตา) อะไรเป็น
เครื่องสลัดออกจากจักขุ ฯลฯ โสตะ (หู) ฯลฯ ฆานะ (จมูก) ฯลฯ ชิวหา (ลิ้น) ฯลฯ
กาย อะไรเป็นคุณ อะไรเป็นโทษของมโน (ใจ) อะไรเป็นเครื่องสลัดออกจากมโน
ภิกษุทั้งหลาย เรานั้นได้มีความคิดดังนี้ว่า ‘สภาพที่สุขโสมนัสอาศัยจักขุเกิดขึ้น
นี้เป็นคุณของจักขุ สภาพที่จักขุไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา นี้
เป็นโทษของจักขุ ธรรมเป็นที่กำจัดฉันทราคะ ธรรมเป็นที่ละฉันทราคะ๓ ในจักขุ
นี้เป็นเครื่องสลัดออกจากจักขุ
สภาพที่สุขโสมนัสอาศัยโสตะ ฯลฯ
สภาพที่สุขโสมนัสอาศัยฆานะ ฯลฯ
สภาพที่สุขโสมนัสอาศัยชิวหาเกิดขึ้น นี้เป็นคุณของชิวหา สภาพที่ชิวหาไม่
เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา นี้เป็นโทษของชิวหา ธรรมเป็นที่กำจัด
ฉันทราคะ๔ ธรรมเป็นที่ละฉันทราคะในชิวหา นี้เป็นเครื่องสลัดออกจากชิวหา


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๑. ปฐมปัณณาสก์ ๒. ยมกวรรค ๒. ทุติยปุพเพสัมโพธสูตร

สภาพที่สุขโสมนัสอาศัยกาย ฯลฯ
สภาพที่สุขโสมนัสอาศัยมโน นี้เป็นคุณของมโน สภาพที่มโนไม่เที่ยง เป็นทุกข์
มีความแปรผันเป็นธรรมดา นี้เป็นโทษของมโน ธรรมเป็นที่กำจัดฉันทราคะ ธรรม
เป็นที่ละฉันทราคะในมโน นี้เป็นเครื่องสลัดออกจากมโน’
ภิกษุทั้งหลาย ตราบใดเรายังไม่รู้คุณโดยความเป็นคุณ โทษโดยความเป็นโทษ
และเครื่องสลัดออกโดยความเป็นเครื่องสลัดออกจากอายตนะภายใน ๖ ประการนี้
ตามความเป็นจริงอย่างนี้ ตราบนั้นเราก็ยังไม่ยืนยันว่า ‘เป็นผู้ตรัสรู้สัมมาสัมโพธิ-
ญาณอันยอดเยี่ยมในโลกพร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์พร้อม
ทั้งสมณพราหมณ์ เทวดา และมนุษย์’
แต่เมื่อใดเรารู้คุณโดยความเป็นคุณ โทษโดยความเป็นโทษ เครื่องสลัดออกโดย
ความเป็นเครื่องสลัดออกจากอายตนะภายใน ๖ ประการนี้ตามความเป็นจริงอย่างนี้
เมื่อนั้นเราจึงยืนยันว่า ‘เป็นผู้ตรัสรู้สัมมาสัมโพธิญาณอันยอดเยี่ยมในโลกพร้อมทั้ง
เทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดา และมนุษย์’
อนึ่ง ญาณทัสสนะ๑ เกิดขึ้นแล้วแก่เราว่า ‘วิมุตติของเราไม่กำเริบ ชาตินี้
เป็นชาติสุดท้าย บัดนี้ภพใหม่ไม่มีอีก”

ปฐมปุพเพสัมโพธสูตรที่ ๑ จบ

๒. ทุติยปุพเพสัมโพธสูตร
ว่าด้วยความดำริก่อนตรัสรู้ สูตรที่ ๒

[๑๔] “ภิกษุทั้งหลาย เมื่อก่อนเราเป็นโพธิสัตว์ยังไม่ได้ตรัสรู้ ได้มีความคิด
ดังนี้ว่า ‘อะไรหนอเป็นคุณ อะไรเป็นโทษของรูป อะไรเป็นเครื่องสลัดออกจากรูป
อะไรเป็นคุณ อะไรเป็นโทษของสัททะ อะไรเป็นเครื่องสลัดออกจากสัททะ ฯลฯ
คันธะ ฯลฯ รส ฯลฯ โผฏฐัพพะ อะไรเป็นคุณ อะไรเป็นโทษของธรรมารมณ์
อะไรเป็นเครื่องสลัดออกจากธรรมารมณ์’


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๑. ปฐมปัณณาสก์ ๒. ยมกวรรค ๒. ทุติยปุพเพสัมโพธสูตร

ภิกษุทั้งหลาย เรานั้นได้มีความคิดดังนี้ว่า ‘สภาพที่สุขโสมนัสอาศัยรูปเกิดขึ้น
นี้เป็นคุณของรูป สภาพที่รูปไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา นี้
เป็นโทษของรูป ธรรมเป็นที่กำจัดฉันทราคะ ธรรมเป็นที่ละฉันทราคะในรูป นี้เป็น
เครื่องสลัดออกจากรูป
สภาพที่สุขโสมนัสอาศัยสัททะ ฯลฯ คันธะ ฯลฯ รส ฯลฯ โผฏฐัพพะ
ฯลฯ
สภาพที่สุขโสมนัสอาศัยธรรมารมณ์เกิดขึ้น นี้เป็นคุณของธรรมารมณ์ สภาพ
ที่ธรรมารมณ์ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา นี้เป็นโทษของ
ธรรมารมณ์ ธรรมเป็นที่กำจัดฉันทราคะ ธรรมเป็นที่ละฉันทราคะในธรรมารมณ์
นี้เป็นเครื่องสลัดออกจากธรรมารมณ์’
ภิกษุทั้งหลาย ตราบใดเรายังไม่รู้คุณโดยความเป็นคุณ โทษโดยความเป็นโทษ
และเครื่องสลัดออกโดยความเป็นเครื่องสลัดออกจากอายตนะภายนอก ๖ ประการนี้
ตามความเป็นจริงอย่างนี้ ตราบนั้นเราก็ยังไม่ยืนยันว่า ‘เป็นผู้ตรัสรู้สัมมาสัมโพธิ
ญาณอันยอดเยี่ยมในโลก พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์
พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดา และมนุษย์’
แต่เมื่อใด เรารู้คุณโดยความเป็นคุณ โทษโดยความเป็นโทษ เครื่องสลัดออก
โดยความเป็นเครื่องสลัดออกจากอายตนะภายนอก ๖ ประการนี้ตามความเป็นจริง
อย่างนี้ เมื่อนั้นเราจึงยืนยันว่า ‘เป็นผู้ตรัสรู้สัมมาสัมโพธิญาณอันยอดเยี่ยมในโลก
พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดา
และมนุษย์’
อนึ่ง ญาณทัสสนะเกิดขึ้นแล้วแก่เราว่า ‘วิมุตติของเราไม่กำเริบ ชาตินี้เป็น
ชาติสุดท้าย บัดนี้ภพใหม่ไม่มีอีก”

ทุติยปุพเพสัมโพธสูตรที่ ๒ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๑. ปฐมปัณณาสก์ ๒. ยมกวรรค ๓. ปฐมอัสสาทปริเยสนสูตร

๓. ปฐมอัสสาทปริเยสนสูตร
ว่าด้วยการแสวงหาคุณของอายตนะ สูตรที่ ๑

[๑๕] “ภิกษุทั้งหลาย เราได้เที่ยวแสวงหาคุณของจักขุ ได้พบคุณของจักขุแล้ว
คุณของจักขุมีประมาณเท่าใด เราเห็นคุณประมาณเท่านั้นดีแล้วด้วยปัญญา เราได้
เที่ยวแสวงหาโทษของจักขุ ได้พบโทษของจักขุแล้ว โทษของจักขุมีประมาณเท่าใด
เราเห็นโทษประมาณเท่านั้นดีแล้วด้วยปัญญา
เราได้เที่ยวแสวงหาเครื่องสลัดออกจากจักขุ ได้พบเครื่องสลัดออกจากจักขุแล้ว
เครื่องสลัดออกจากจักขุมีประมาณเท่าใด เราเห็นเครื่องสลัดออกประมาณเท่านั้น
ดีแล้วด้วยปัญญา
เราได้เที่ยวแสวงหาคุณของโสตะ ฯลฯ
เราได้เที่ยวแสวงหาคุณของฆานะ ฯลฯ
เราได้เที่ยวแสวงหาคุณของชิวหา ได้พบคุณของชิวหาแล้ว คุณของชิวหามี
ประมาณเท่าใด เราเห็นคุณประมาณเท่านั้นดีแล้วด้วยปัญญา
เราได้เที่ยวแสวงหาโทษของชิวหา ได้พบโทษของชิวหาแล้ว โทษของชิวหามี
ประมาณเท่าใด เราเห็นโทษประมาณเท่านั้นดีแล้วด้วยปัญญา
เราได้เที่ยวแสวงหาเครื่องสลัดออกจากชิวหา ได้พบเครื่องสลัดออกจากชิวหาแล้ว
เครื่องสลัดออกจากชิวหามีประมาณเท่าใด เราเห็นเครื่องสลัดออกประมาณเท่านั้น
ดีแล้วด้วยปัญญา ฯลฯ
เราได้เที่ยวแสวงหาคุณของมโน ได้พบคุณของมโนแล้ว คุณของมโนมี
ประมาณเท่าใด เราเห็นคุณประมาณเท่านั้นดีแล้วด้วยปัญญา
เราได้เที่ยวแสวงหาโทษของมโน ได้พบโทษของมโนแล้ว โทษของมโนมี
ประมาณเท่าใด เราเห็นโทษประมาณเท่านั้นดีแล้วด้วยปัญญา
เราได้เที่ยวแสวงหาเครื่องสลัดออกจากมโน ได้พบเครื่องสลัดออกจากมโนแล้ว
เครื่องสลัดออกจากมโนมีประมาณเท่าใด เราเห็นเครื่องสลัดออกประมาณเท่านั้น
ดีแล้วด้วยปัญญา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๑๔ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๑. ปฐมปัณณาสก์ ๒. ยมกวรรค ๔. ทุติยอัสสาทปริเยสนสูตร

ภิกษุทั้งหลาย ตราบใดเรายังไม่รู้คุณโดยความเป็นคุณ โทษโดยความเป็นโทษ
และเครื่องสลัดออกโดยความเป็นเครื่องสลัดออกจากอายตนะภายใน ๖ ประการนี้
ตามความเป็นจริง ฯลฯ รู้ ... อนึ่ง ญาณทัสสนะเกิดขึ้นแล้วแก่เราว่า ‘วิมุตติ
ของเราไม่กำเริบ ชาตินี้เป็นชาติสุดท้าย บัดนี้ภพใหม่ไม่มีอีก”

ปฐมอัสสาทปริเยสนสูตรที่ ๓ จบ

๔. ทุติยอัสสาทปริเยสนสูตร
ว่าด้วยการแสวงหาคุณของอายตนะ สูตรที่ ๒

[๑๖] “ภิกษุทั้งหลาย เราได้เที่ยวแสวงหาคุณของรูป ได้พบคุณของรูปแล้ว
คุณของรูปมีประมาณเท่าใด เราเห็นคุณประมาณเท่านั้นดีแล้วด้วยปัญญา
เราได้เที่ยวแสวงหาโทษของรูป พบโทษของรูปแล้ว โทษของรูปมีประมาณ
เท่าใด เราเห็นโทษประมาณเท่านั้นดีแล้วด้วยปัญญา
เราได้เที่ยวแสวงหาเครื่องสลัดออกจากรูป ได้พบเครื่องสลัดออกจากรูปแล้ว
เครื่องสลัดออกจากรูปมีประมาณเท่าใด เราเห็นเครื่องสลัดออกประมาณเท่านั้น
ดีแล้วด้วยปัญญา
เราได้เที่ยวแสวงหาคุณของสัททะ ฯลฯ
เราได้เที่ยวแสวงหาคุณของคันธะ ฯลฯ
เราได้เที่ยวแสวงหาคุณของรส ฯลฯ
เราได้เที่ยวแสวงหาคุณของโผฏฐัพพะ ฯลฯ
เราได้เที่ยวแสวงหาคุณของธรรมารมณ์ ได้พบคุณของธรรมารมณ์แล้ว คุณ
ของธรรมารมณ์มีประมาณเท่าใด เราเห็นคุณมีประมาณเท่านั้นดีแล้วด้วยปัญญา
เราได้เที่ยวแสวงหาโทษของธรรมารมณ์ ได้พบโทษของธรรมารมณ์แล้ว โทษ
ของธรรมารมณ์มีประมาณเท่าใด เราเห็นโทษประมาณเท่านั้นดีแล้วด้วยปัญญา
เราได้เที่ยวแสวงหาเครื่องสลัดออกจากธรรมารมณ์ ได้พบเครื่องสลัดออก
จากธรรมารมณ์แล้ว เครื่องสลัดออกจากธรรมารมณ์มีประมาณเท่าใด เราเห็น
เครื่องสลัดออกประมาณเท่านั้นดีแล้วด้วยปัญญา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๑๕ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๑. ปฐมปัณณาสก์ ๒. ยมกวรรค ๕. ปฐมโนเจอัสสาทสูตร

ภิกษุทั้งหลาย ตราบใดเรายังไม่รู้คุณโดยความเป็นคุณ โทษโดยความเป็นโทษ
เครื่องสลัดออกโดยความเป็นเครื่องสลัดออกจากอายตนะภายนอก ๖ ประการนี้
ตามความเป็นจริง ฯลฯ รู้ ... อนึ่ง ญาณทัสสนะเกิดขึ้นแล้วแก่เราว่า ‘วิมุตติของ
เราไม่กำเริบ ชาตินี้เป็นชาติสุดท้าย บัดนี้ภพใหม่ไม่มีอีก”

ทุติยอัสสาทปริเยสนสูตรที่ ๔ จบ

๕. ปฐมโนเจอัสสาทสูตร
ว่าด้วยการปฏิเสธคุณของอายตนะ สูตรที่ ๑

[๑๗] “ภิกษุทั้งหลาย ถ้าคุณของจักขุจักไม่มีแล้ว สัตว์ทั้งหลายก็ไม่พึงติดใจ
ในจักขุ แต่เพราะคุณของจักขุมีอยู่ ฉะนั้นสัตว์ทั้งหลายจึงติดใจในจักขุ
ถ้าโทษของจักขุจักไม่มีแล้ว สัตว์ทั้งหลายก็ไม่พึงเบื่อหน่ายในจักขุ แต่
เพราะโทษของจักขุมีอยู่ ฉะนั้นสัตว์ทั้งหลายจึงเบื่อหน่ายในจักขุ
ถ้าเครื่องสลัดออกจากจักขุจักไม่มีแล้ว สัตว์ทั้งหลายก็ไม่พึงสลัดออกจากจักขุ
แต่เพราะเครื่องสลัดออกจากจักขุมีอยู่ ฉะนั้นสัตว์ทั้งหลายจึงสลัดออกจากจักขุ
ถ้าคุณของโสตะจักไม่มีแล้ว ... ถ้าคุณของฆานะจักไม่มีแล้ว ... ถ้าคุณของ
ชิวหาจักไม่มีแล้ว สัตว์ทั้งหลายก็ไม่พึงติดใจในชิวหา แต่เพราะคุณของชิวหามีอยู่
ฉะนั้นสัตว์ทั้งหลายจึงติดใจในชิวหา
ถ้าโทษของชิวหาจักไม่มีแล้ว สัตว์ทั้งหลายก็ไม่พึงเบื่อหน่ายในชิวหา แต่
เพราะโทษของชิวหามีอยู่ ฉะนั้นสัตว์ทั้งหลายจึงเบื่อหน่ายในชิวหา
ถ้าเครื่องสลัดออกจากชิวหาจักไม่มีแล้ว สัตว์ทั้งหลายก็ไม่พึงสลัดออกจาก
ชิวหา แต่เพราะเครื่องสลัดออกจากชิวหามีอยู่ ฉะนั้นสัตว์ทั้งหลายจึงสลัดออกจาก
ชิวหา
ถ้าคุณของกายจักไม่มีแล้ว ... ถ้าคุณของมโนจักไม่มีแล้ว สัตว์ทั้งหลายก็ไม่
พึงติดใจในมโน แต่เพราะคุณของมโนมีอยู่ ฉะนั้นสัตว์ทั้งหลายจึงติดใจในมโน
ถ้าโทษของมโนจักไม่มีแล้ว สัตว์ทั้งหลายก็ไม่พึงเบื่อหน่ายในมโน แต่เพราะ
โทษของมโนมีอยู่ ฉะนั้นสัตว์ทั้งหลายจึงเบื่อหน่ายในมโน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๑๖ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๑. ปฐมปัณณาสก์ ๒. ยมกวรรค ๖. ทุติยโนเจอัสสาทปริเยสนสูตร

ถ้าเครื่องสลัดออกจากมโนจักไม่มีแล้ว สัตว์ทั้งหลายก็ไม่พึงสลัดออกจากมโน
แต่เพราะเครื่องสลัดออกจากมโนมีอยู่ ฉะนั้นสัตว์ทั้งหลายจึงสลัดออกจากมโน
ภิกษุทั้งหลาย ตราบใดสัตว์ทั้งหลายยังไม่รู้คุณโดยความเป็นคุณ โทษโดย
ความเป็นโทษ และเครื่องสลัดออกโดยความเป็นเครื่องสลัดออกจากอายตนะภายใน
๖ ประการนี้ตามความเป็นจริง ตราบนั้นสัตว์ทั้งหลายจะออกไป หลุดไป พ้นไป
จากโลกพร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก จากหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์
เทวดาและมนุษย์ มีใจปราศจากแดน๑ อยู่ไม่ได้เลย
แต่เมื่อใดสัตว์ทั้งหลายรู้คุณโดยความเป็นคุณ โทษโดยความเป็นโทษ และ
เครื่องสลัดออกโดยความเป็นเครื่องสลัดออกจากอายตนะภายใน ๖ ประการนี้ตาม
ความเป็นจริง เมื่อนั้นสัตว์ทั้งหลายจึงออกไป หลุดไป พ้นไป จากโลกพร้อมทั้ง
เทวโลก มารโลก พรหมโลก จากหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดา และมนุษย์
มีใจปราศจากแดนอยู่ได้”

ปฐมโนเจอัสสาทสูตรที่ ๕ จบ

๖. ทุติยโนเจอัสสาทสูตร
ว่าด้วยการปฏิเสธคุณของอายตนะ สูตรที่ ๒

[๑๘] “ภิกษุทั้งหลาย ถ้าคุณของรูปจักไม่มีแล้ว สัตว์ทั้งหลายก็ไม่พึงติดใจ
ในรูป แต่เพราะคุณของรูปมีอยู่ ฉะนั้นสัตว์ทั้งหลายจึงติดใจในรูป
ถ้าโทษของรูปจักไม่มีแล้ว สัตว์ทั้งหลายก็ไม่พึงเบื่อหน่ายในรูป แต่เพราะ
โทษของรูปมีอยู่ ฉะนั้นสัตว์ทั้งหลายจึงเบื่อหน่ายในรูป
ถ้าเครื่องสลัดออกจากรูปจักไม่มีแล้ว สัตว์ทั้งหลายก็ไม่พึงสลัดออกจากรูป
แต่เพราะเครื่องสลัดออกจากรูปมีอยู่ ฉะนั้นสัตว์ทั้งหลายจึงสลัดออกจากรูป
ถ้าคุณของสัททะ ฯลฯ ของคันธะ ฯลฯ ของรส ฯลฯ ของโผฏฐัพพะ ฯลฯ
ถ้าคุณของธรรมารมณ์จักไม่มีแล้ว สัตว์ทั้งหลายก็ไม่พึงติดใจในธรรมารมณ์
แต่เพราะคุณของธรรมารมณ์มีอยู่ ฉะนั้นสัตว์ทั้งหลายจึงติดใจในธรรมารมณ์


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๑. ปฐมปัณณาสก์ ๒. ยมกวรรค ๗. ปฐมาภินันทสูตร

ถ้าโทษของธรรมารมณ์จักไม่มีแล้ว สัตว์ทั้งหลายก็ไม่พึงเบื่อหน่ายในธรรมารมณ์
แต่เพราะโทษของธรรมารมณ์มีอยู่ ฉะนั้นสัตว์ทั้งหลายจึงเบื่อหน่ายในธรรมารมณ์
ถ้าเครื่องสลัดออกจากธรรมารมณ์จักไม่มีแล้ว สัตว์ทั้งหลายก็ไม่พึงสลัดออก
จากธรรมารมณ์ เพราะเครื่องสลัดออกจากธรรมารมณ์มีอยู่ ฉะนั้นสัตว์ทั้งหลายจึง
สลัดออกจากธรรมารมณ์
ภิกษุทั้งหลาย ตราบใดสัตว์ทั้งหลายยังไม่รู้คุณโดยความเป็นคุณ โทษโดย
ความเป็นโทษ เครื่องสลัดออกโดยความเป็นเครื่องสลัดออกจากอายตนะภายนอก ๖
ประการนี้ ตามความเป็นจริง เมื่อนั้น สัตว์ทั้งหลายจะออกไป หลุดไป พ้นไป
จากโลกพร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก จากหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์
เทวดาและมนุษย์ มีใจปราศจากแดนอยู่ไม่ได้เลย
แต่เมื่อใดสัตว์ทั้งหลายรู้คุณโดยความเป็นคุณ โทษโดยความเป็นโทษ เครื่อง
สลัดออกโดยความเป็นเครื่องสลัดออกจากอายตนะภายใน ๖ ประการนี้ ตาม
ความเป็นจริง เมื่อนั้นสัตว์ทั้งหลายจึงออกไป หลุดไป พ้นไป จากโลกพร้อมทั้ง
เทวโลก มารโลก พรหมโลก จากหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดา และ
มนุษย์ มีใจปราศจากแดนอยู่ได้”

ทุติยโนเจอัสสาทสูตรที่ ๖ จบ

๗. ปฐมาภินันทสูตร
ว่าด้วยผู้เพลิดเพลินอายตนะ สูตรที่ ๑

[๑๙] “ภิกษุทั้งหลาย ผู้ที่เพลิดเพลินจักขุ ชื่อว่าเพลิดเพลินทุกข์ ผู้ที่
เพลิดเพลินทุกข์ เรากล่าวว่า ‘พ้นจากทุกข์ไม่ได้’
ผู้ที่เพลิดเพลินโสตะ ฯลฯ
ผู้ที่เพลิดเพลินฆานะ ฯลฯ
ผู้ที่เพลิดเพลินชิวหา ชื่อว่าเพลิดเพลินทุกข์ ผู้ที่เพลิดเพลินทุกข์ เรากล่าวว่า
‘พ้นจากทุกข์ไม่ได้’
ผู้ที่เพลิดเพลินกาย ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๑๘ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๑. ปฐมปัณณาสก์ ๒. ยมกวรรค ๘. ทุติยาภินันทสูตร

ผู้ที่เพลิดเพลินมโน ชื่อว่าเพลิดเพลินทุกข์ ผู้ที่เพลิดเพลินทุกข์ เรากล่าวว่า
‘พ้นจากทุกข์ไม่ได้’
ภิกษุทั้งหลาย ผู้ที่ไม่เพลิดเพลินจักขุ ชื่อว่าไม่เพลิดเพลินทุกข์ ผู้ที่ไม่
เพลิดเพลินทุกข์ เรากล่าวว่า ‘พ้นจากทุกข์ได้’
ผู้ที่ไม่เพลิดเพลินโสตะ ฯลฯ
ผู้ที่ไม่เพลิดเพลินฆานะ ฯลฯ
ผู้ที่ไม่เพลิดเพลินชิวหา ชื่อว่าไม่เพลิดเพลินทุกข์ ผู้ที่ไม่เพลิดเพลินทุกข์ เรา
กล่าวว่า ‘พ้นจากทุกข์ได้’
ผู้ที่ไม่เพลิดเพลินกาย ฯลฯ
ผู้ที่ไม่เพลิดเพลินมโน ชื่อว่าไม่เพลิดเพลินทุกข์ ผู้ที่ไม่เพลิดเพลินทุกข์ เรา
กล่าวว่า ‘พ้นจากทุกข์ได้”

ปฐมาภินันทสูตรที่ ๗ จบ

๘. ทุติยาภินันทสูตร
ว่าด้วยผู้เพลิดเพลินอายตนะ สูตรที่ ๒

[๒๐] “ภิกษุทั้งหลาย ผู้ที่เพลิดเพลินรูป ชื่อว่าเพลิดเพลินทุกข์ ผู้ที่
เพลิดเพลินทุกข์ เรากล่าวว่า ‘พ้นจากทุกข์ไม่ได้’
ผู้ที่เพลิดเพลินสัททะ ฯลฯ คันธะ ฯลฯ รส ฯลฯ โผฏฐัพพะ ฯลฯ
ผู้ที่เพลิดเพลินธรรมารมณ์ ชื่อว่าเพลิดเพลินทุกข์ ผู้ที่เพลิดเพลินทุกข์ เรา
กล่าวว่า ‘พ้นจากทุกข์ไม่ได้’
ภิกษุทั้งหลาย ผู้ที่ไม่เพลิดเพลินรูป ชื่อว่าไม่เพลิดเพลินทุกข์ ผู้ที่ไม่เพลิดเพลิน
ทุกข์ เรากล่าวว่า ‘พ้นจากทุกข์ได้’
ผู้ที่ไม่เพลิดเพลินสัททะ ฯลฯ คันธะ ฯลฯ รส ฯลฯ โผฏฐัพพะ ฯลฯ
ผู้ที่ไม่เพลิดเพลินธรรมารมณ์ ชื่อว่าไม่เพลิดเพลินทุกข์ ผู้ที่ไม่เพลิดเพลินทุกข์
เรากล่าวว่า ‘พ้นจากทุกข์ได้”

ทุติยาภินันทสูตรที่ ๘ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๑. ปฐมปัณณาสก์ ๒. ยมกวรรค ๑๐. ทุติยทุกขุปปาทสูตร

๙. ปฐมทุกขุปปาทสูตร
ว่าด้วยความเกิดขึ้นแห่งทุกข์ สูตรที่ ๑

[๒๑] “ภิกษุทั้งหลาย ความเกิดขึ้น ความตั้งอยู่ ความบังเกิด ความ
ปรากฏแห่งจักขุ นี้เป็นความเกิดขึ้นแห่งทุกข์ เป็นความตั้งอยู่แห่งโรค เป็นความ
ปรากฏแห่งชราและมรณะ
ความเกิดขึ้น ความตั้งอยู่ ความบังเกิด ความปรากฏแห่งโสตะ ฯลฯ แห่ง
ฆานะ ฯลฯ แห่งชิวหา ฯลฯ แห่งกาย ฯลฯ
ความเกิดขึ้น ความตั้งอยู่ ความบังเกิด ความปรากฏแห่งมโน นี้เป็นความ
เกิดขึ้นแห่งทุกข์ เป็นความตั้งอยู่แห่งโรค เป็นความปรากฏแห่งชราและมรณะ
ภิกษุทั้งหลาย ส่วนความดับ ความสงบระงับ ความตั้งอยู่ไม่ได้แห่งจักขุ นี้
เป็นความดับแห่งทุกข์ เป็นความสงบระงับแห่งโรค เป็นความตั้งอยู่ไม่ได้แห่งชรา
และมรณะ
ความดับ ความสงบระงับ ความตั้งอยู่ไม่ได้แห่งโสตะ ฯลฯ แห่งฆานะ ฯลฯ
แห่งชิวหา ฯลฯ แห่งกาย ฯลฯ
ความดับ ความสงบระงับ ความตั้งอยู่ไม่ได้แห่งมโน นี้เป็นความดับแห่งทุกข์
เป็นความสงบระงับแห่งโรค เป็นความตั้งอยู่ไม่ได้แห่งชราและมรณะ”

ปฐมทุกขุปปาทสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. ทุติยทุกขุปปาทสูตร
ว่าด้วยความเกิดขึ้นแห่งทุกข์ สูตรที่ ๒

[๒๒] “ภิกษุทั้งหลาย ความเกิดขึ้น ความตั้งอยู่ ความบังเกิด ความ
ปรากฏแห่งรูป นี้เป็นความเกิดขึ้นแห่งทุกข์ เป็นความตั้งอยู่แห่งโรค เป็นความ
ปรากฏแห่งชราและมรณะ
ความเกิดขึ้น ความตั้งอยู่ ความบังเกิด ความปรากฏแห่งสัททะ ฯลฯ
แห่งคันธะ ฯลฯ แห่งรส ฯลฯ แห่งโผฏฐัพพะ ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๒๐ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๑. ปฐมปัณณาสก์ ๒. ยมกวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

ความเกิดขึ้น ความตั้งอยู่ ความบังเกิด ความปรากฏแห่งธรรมารมณ์ นี้
เป็นความเกิดขึ้นแห่งทุกข์ เป็นความตั้งอยู่แห่งโรค เป็นความปรากฏแห่งชราและ
มรณะ
ภิกษุทั้งหลาย ส่วนความดับ ความสงบระงับ ความตั้งอยู่ไม่ได้แห่งรูป นี้
เป็นความดับแห่งทุกข์ เป็นความสงบระงับแห่งโรค เป็นความตั้งอยู่ไม่ได้แห่งชรา
และมรณะ
ความดับ ความสงบระงับ ความตั้งอยู่ไม่ได้แห่งสัททะ ฯลฯ แห่งคันธะ ฯลฯ
แห่งรส ฯลฯ แห่งโผฏฐัพพะ ฯลฯ
ความดับ ความสงบระงับ ความตั้งอยู่ไม่ได้แห่งธรรมารมณ์ นี้เป็นความดับ
แห่งทุกข์ เป็นความสงบแห่งโรค เป็นความตั้งอยู่ไม่ได้แห่งชราและมรณะ”

ทุติยทุกขุปปาทสูตรที่ ๑๐ จบ
ยมกวรรคที่ ๒ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. ปฐมปุพเพสัมโพธสูตร ๒. ทุติยปุพเพสัมโพธสูตร
๓. ปฐมอัสสาทปริเยสนสูตร ๔. ทุติยอัสสาทปริเยสนสูตร
๕. ปฐมโนเจอัสสาทสูตร ๖. ทุติยโนเจอัสสาทสูตร
๗. ปฐมาภินันทสูตร ๘. ทุติยาภินันทสูตร
๙. ปฐมทุกขุปปาทสูตร ๑๐. ทุติยทุกขุปปาทสูตร


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๑. ปฐมปัณณาสก์ ๓. สัพพวรรค ๒. ปหานสูตร

๓. สัพพวรรค
หมวดว่าด้วยสิ่งทั้งปวง
๑. สัพพสูตร
ว่าด้วยสิ่งทั้งปวง

[๒๓] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงสิ่งทั้งปวงแก่เธอทั้งหลาย
เธอทั้งหลายจงฟัง
ก็อะไรเล่าชื่อว่าสิ่งทั้งปวง
คือ (๑) จักขุกับรูป (๒) โสตะกับสัททะ (๓) ฆานะกับคันธะ (๔) ชิวหากับรส
(๕) กายกับโผฏฐัพพะ (๖) มโนกับธรรมารมณ์
นี้เราเรียกว่า ‘สิ่งทั้งปวง’
ภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ข้าพเจ้าจักบอกเลิกสิ่งทั้งปวงแล้ว
บัญญัติสิ่งอื่นแทน’ คำพูดของผู้นั้นคงเป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ครั้นถูกถามเข้าก็คง
ตอบไม่ได้และถึงความลำบากอย่างยิ่ง ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะเขาถูกถามในสิ่ง
อันมิใช่วิสัย๑”

สัพพสูตรที่ ๑ จบ

๒. ปหานสูตร
ว่าด้วยธรรมเพื่อละสิ่งทั้งปวง

[๒๔] “ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรม เพื่อละสิ่งทั้งปวงแก่เธอทั้งหลาย
เธอทั้งหลายจงฟัง
ธรรมเพื่อละสิ่งทั้งปวง เป็นอย่างไร
คือ จักขุเป็นสิ่งที่ควรละ รูปเป็นสิ่งที่ควรละ จักขุวิญญาณเป็นสิ่งที่ควรละ
จักขุสัมผัสเป็นสิ่งที่ควรละ แม้ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่
ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัย ก็เป็นสิ่งที่ควรละ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๑. ปฐมปัณณาสก์ ๓. สัพพวรรค ๓. อภิญญาปริญญาปหานสูตร

โสตะเป็นสิ่งที่ควรละ ฯลฯ
ฆานะเป็นสิ่งที่ควรละ ฯลฯ
ชิวหาเป็นสิ่งที่ควรละ รสเป็นสิ่งที่ควรละ ชิวหาวิญญาณเป็นสิ่งที่ควรละ
ชิวหาสัมผัสเป็นสิ่งที่ควรละ แม้ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุข
มิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะชิวหาสัมผัสเป็นปัจจัย ก็เป็นสิ่งที่ควรละ
กายเป็นสิ่งที่ควรละ ฯลฯ
มโน๑เป็นสิ่งที่ควรละ ธรรมารมณ์เป็นสิ่งที่ควรละ มโนวิญญาณ๒เป็นสิ่งที่
ควรละ มโนสัมผัส๓เป็นสิ่งที่ควรละ แม้ความเสวยอารมณ์๔ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือ
มิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย ก็เป็นสิ่งที่ควรละ
ภิกษุทั้งหลาย ธรรมเพื่อละสิ่งทั้งปวง เป็นอย่างนี้แล”

ปหานสูตรที่ ๒ จบ

๓. อภิญญาปริญญาปหานสูตร
ว่าด้วยธรรมเพื่อรู้ยิ่งกำหนดรู้แล้วละสิ่งทั้งปวง

[๒๕] “ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมเพื่อรู้ยิ่ง กำหนดรู้แล้วละสิ่งทั้งปวงแก่
เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง
ธรรมเพื่อรู้ยิ่ง กำหนดรู้แล้วละสิ่งทั้งปวง เป็นอย่างไร
คือ จักขุเป็นสิ่งที่ควรรู้ยิ่ง กำหนดรู้แล้วละ รูปเป็นสิ่งที่ควรรู้ยิ่ง กำหนดรู้
แล้วละ จักขุวิญญาณเป็นสิ่งที่ควรรู้ยิ่ง กำหนดรู้แล้วละ จักขุสัมผัสเป็นสิ่งที่ควรรู้ยิ่ง
กำหนดรู้แล้วละ แม้ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่
เกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัย ก็เป็นสิ่งที่ควรรู้ยิ่ง กำหนดรู้แล้วละ ฯลฯ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๑. ปฐมปัณณาสก์ ๓. สัพพวรรค ๔. ปฐมอปริชานนสูตร

ชิวหาเป็นสิ่งที่ควรรู้ยิ่ง กำหนดรู้แล้วละ รสเป็นสิ่งที่ควรรู้ยิ่ง กำหนดรู้แล้วละ
ชิวหาวิญญาณเป็นสิ่งที่ควรรู้ยิ่ง กำหนดรู้แล้วละ ชิวหาสัมผัสเป็นสิ่งที่ควรรู้ยิ่ง กำหนด
รู้แล้วละ แม้ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะ
ชิวหาสัมผัสเป็นปัจจัยก็เป็นสิ่งที่ควรรู้ยิ่ง กำหนดรู้แล้วละ
กายเป็นสิ่งที่ควรรู้ยิ่ง กำหนดรู้แล้วละ ฯลฯ
มโนเป็นสิ่งที่ควรรู้ยิ่ง กำหนดรู้แล้วละ ธรรมารมณ์เป็นสิ่งที่ควรรู้ยิ่ง
กำหนดรู้แล้วละ มโนวิญญาณเป็นสิ่งที่ควรรู้ยิ่ง กำหนดรู้แล้วละ มโนสัมผัสเป็น
สิ่งที่ควรรู้ยิ่ง กำหนดรู้แล้วละ แม้ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุข
มิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย ก็เป็นสิ่งที่ควรรู้ยิ่ง กำหนดรู้แล้วละ
ภิกษุทั้งหลาย ธรรมเพื่อรู้ยิ่ง กำหนดรู้แล้วละสิ่งทั้งปวง เป็นอย่างนี้แล”

อภิญญาปริญญาปหานสูตรที่ ๓ จบ

๔. ปฐมอปริชานนสูตร
ว่าด้วยผู้ไม่กำหนดรู้สิ่งทั้งปวง สูตรที่ ๑

[๒๖] “ภิกษุทั้งหลาย บุคคลเมื่อยังไม่รู้ยิ่ง ไม่กำหนดรู้ ไม่คลายกำหนัด
ไม่ละสิ่งทั้งปวง เป็นผู้ไม่ควรเพื่อความสิ้นทุกข์
บุคคลเมื่อยังไม่รู้ยิ่ง ไม่กำหนดรู้ ไม่คลายกำหนัด ไม่ละสิ่งทั้งปวงอะไรเล่า
เป็นผู้ไม่ควรเพื่อความสิ้นทุกข์
คือ บุคคลเมื่อยังไม่รู้ยิ่ง ไม่กำหนดรู้ ไม่คลายกำหนัด ไม่ละจักขุ เป็นผู้ไม่ควร
เพื่อความสิ้นทุกข์ บุคคลเมื่อยังไม่รู้ยิ่ง ไม่กำหนดรู้ ไม่คลายกำหนัด ไม่ละรูป
เป็นผู้ไม่ควรเพื่อความสิ้นทุกข์ บุคคลเมื่อยังไม่รู้ยิ่ง ไม่กำหนดรู้ ไม่คลายกำหนัด
ไม่ละจักขุวิญญาณ เป็นผู้ไม่ควรเพื่อความสิ้นทุกข์ บุคคลเมื่อยังไม่รู้ยิ่ง ไม่กำหนดรู้
ไม่คลายกำหนัด ไม่ละจักขุสัมผัส เป็นผู้ไม่ควรเพื่อความสิ้นทุกข์ บุคคลเมื่อยังไม่รู้ยิ่ง
ไม่กำหนดรู้ ไม่คลายกำหนัด ไม่ละแม้ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิ
ใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัย ก็เป็นผู้ไม่ควรเพื่อความสิ้นทุกข์
ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๒๔ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๑. ปฐมปัณณาสก์ ๓. สัพพวรรค ๔. ปฐมอปริชานนสูตร

บุคคลเมื่อยังไม่รู้ยิ่ง ไม่กำหนดรู้ ไม่คลายกำหนัด ไม่ละชิวหา เป็นผู้ไม่ควร
เพื่อความสิ้นทุกข์ ... รส ฯลฯ ชิวหาวิญญาณ ฯลฯ ชิวหาสัมผัส ฯลฯ บุคคล
เมื่อยังไม่รู้ยิ่ง ไม่กำหนดรู้ ไม่คลายกำหนัด ไม่ละแม้ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุข
หรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะชิวหาสัมผัสเป็นปัจจัย เป็นผู้ไม่ควร
เพื่อความสิ้นทุกข์ ... กาย ฯลฯ
บุคคลเมื่อยังไม่รู้ยิ่ง ไม่กำหนดรู้ ไม่คลายกำหนัด ไม่ละมโน เป็นผู้ไม่ควร
เพื่อความสิ้นทุกข์ ... ธรรมารมณ์ ฯลฯ มโนวิญญาณ ฯลฯ มโนสัมผัส ฯลฯ
บุคคลเมื่อยังไม่รู้ยิ่ง ไม่กำหนดรู้ ไม่คลายกำหนัด ไม่ละแม้ความเสวยอารมณ์ที่
เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย ก็เป็นผู้ไม่
ควรเพื่อความสิ้นทุกข์
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลเมื่อยังไม่รู้ยิ่ง ไม่กำหนดรู้ ไม่คลายกำหนัด ไม่ละสิ่ง
ทั้งปวงนี้แล เป็นผู้ไม่ควรเพื่อความสิ้นทุกข์
ภิกษุทั้งหลาย ส่วนบุคคลเมื่อรู้ยิ่ง๑ กำหนดรู้๒ คลายกำหนัด๓ ละสิ่งทั้งปวง
ได้ เป็นผู้ควรเพื่อความสิ้นทุกข์
อนึ่ง บุคคลเมื่อรู้ยิ่ง กำหนดรู้ คลายกำหนัด ละสิ่งทั้งปวงอะไรเล่าได้
เป็นผู้ควรเพื่อความสิ้นทุกข์
คือ บุคคลเมื่อรู้ยิ่ง กำหนดรู้ คลายกำหนัด ละจักขุได้ เป็นผู้ควรเพื่อความ
สิ้นทุกข์ บุคคลเมื่อรู้ยิ่ง กำหนดรู้ คลายกำหนัด ละรูปได้ เป็นผู้ควรเพื่อความ
สิ้นทุกข์ บุคคลเมื่อรู้ยิ่ง กำหนดรู้ คลายกำหนัด ละจักขุวิญญาณได้ เป็นผู้ควร
เพื่อความสิ้นทุกข์ บุคคลเมื่อรู้ยิ่ง กำหนดรู้ คลายกำหนัด ละจักขุสัมผัสได้ เป็น
ผู้ควรเพื่อความสิ้นทุกข์ บุคคลเมื่อรู้ยิ่ง กำหนดรู้ คลายกำหนัด ละแม้ความ
เสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัยได้
ก็เป็นผู้ควรเพื่อความสิ้นทุกข์ ฯลฯ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๑. ปฐมปัณณาสก์ ๓. สัพพวรรค ๕. ทุติยอปริชานนสูตร

บุคคลเมื่อรู้ยิ่ง กำหนดรู้ คลายกำหนัด ละชิวหาได้ เป็นผู้ควรเพื่อความสิ้น
ทุกข์ ... รส ฯลฯ ชิวหาวิญญาณ ฯลฯ ชิวหาสัมผัส ฯลฯ บุคคลเมื่อรู้ยิ่ง กำหนด
รู้ คลายกำหนัด ละแม้ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่
เกิดขึ้นเพราะชิวหาสัมผัสเป็นปัจจัยได้ ก็เป็นผู้ควรเพื่อความสิ้นทุกข์ ... กาย ฯลฯ
บุคคลเมื่อรู้ยิ่ง กำหนดรู้ คลายกำหนัด ละมโนได้ เป็นผู้ควรเพื่อความสิ้นทุกข์
... ธรรมารมณ์ ฯลฯ มโนวิญญาณ ฯลฯ มโนสัมผัส ฯลฯ บุคคลเมื่อรู้ยิ่ง กำหนด
รู้ คลายกำหนัด ละแม้ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่
เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัยได้ ก็เป็นผู้ควรเพื่อความสิ้นทุกข์
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลเมื่อรู้ยิ่ง กำหนดรู้ คลายกำหนัด ละสิ่งทั้งปวงนี้แลได้
เป็นผู้ควรเพื่อความสิ้นทุกข์”

ปฐมอปริชานนสูตรที่ ๔ จบ

๕. ทุติยอปริชานนสูตร
ว่าด้วยผู้ไม่กำหนดรู้สิ่งทั้งปวง สูตรที่ ๒

[๒๗] “ภิกษุทั้งหลาย บุคคลเมื่อยังไม่รู้ยิ่ง ไม่กำหนดรู้ ไม่คลายกำหนัด
ไม่ละสิ่งทั้งปวง เป็นผู้ไม่ควรเพื่อความสิ้นทุกข์
บุคคลเมื่อยังไม่รู้ยิ่ง ไม่กำหนดรู้ ไม่คลายกำหนัด ไม่ละสิ่งทั้งปวงอะไรเล่า
เป็นผู้ไม่ควรเพื่อความสิ้นทุกข์
คือ จักขุ รูป จักขุวิญญาณ และธรรมที่พึงรู้แจ้งทางจักขุวิญญาณ ฯลฯ
ชิวหา รส ชิวหาวิญญาณ และธรรมที่พึงรู้แจ้งทางชิวหาวิญญาณ
กาย โผฏฐัพพะ กายวิญญาณ และธรรมที่พึงรู้แจ้งทางกายวิญญาณ
มโน ธรรมารมณ์ มโนวิญญาณ และธรรมที่พึงรู้แจ้งทางมโนวิญญาณ
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลเมื่อยังไม่รู้ยิ่ง ไม่กำหนดรู้ ไม่คลายกำหนัด ไม่ละสิ่ง
ทั้งปวงนี้แล เป็นผู้ไม่ควรเพื่อความสิ้นทุกข์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๒๖ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๑. ปฐมปัณณาสก์ ๓. สัพพวรรค ๖. อาทิตตสูตร

ภิกษุทั้งหลาย ส่วนบุคคลเมื่อรู้ยิ่ง กำหนดรู้ คลายกำหนัด ละสิ่งทั้งปวงได้
เป็นผู้ควรเพื่อความสิ้นทุกข์
อนึ่ง บุคคลเมื่อรู้ยิ่ง กำหนดรู้ คลายกำหนัด ละสิ่งทั้งปวงอะไรเล่าได้ เป็นผู้
ควรเพื่อความสิ้นทุกข์
คือ จักขุ รูป จักขุวิญญาณ และธรรมที่พึงรู้แจ้งทางจักขุวิญญาณ ฯลฯ
ชิวหา รส ชิวหาวิญญาณ และธรรมที่พึงรู้แจ้งทางชิวหาวิญญาณ
กาย โผฏฐัพพะ กายวิญญาณ และธรรมที่พึงรู้แจ้งทางกายวิญญาณ
มโน ธรรมารมณ์ มโนวิญญาณ และธรรมที่พึงรู้แจ้งทางมโนวิญญาณ
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลเมื่อรู้ยิ่ง กำหนดรู้ คลายกำหนัด ละสิ่งทั้งปวงนี้แลได้
เป็นผู้ควรเพื่อความสิ้นทุกข์”

ทุติยอปริชานนสูตรที่ ๕ จบ

๖. อาทิตตสูตร๑
ว่าด้วยสิ่งทั้งปวงเป็นของร้อน

[๒๘] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ตำบลคยาสีสะ ริมฝั่งแม่น้ำคยา
พร้อมกับภิกษุ ๑,๐๐๐ รูป ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลาย
มาตรัสว่า
“ภิกษุทั้งหลาย สิ่งทั้งปวงเป็นของร้อน ก็อะไรเล่าชื่อว่าสิ่งทั้งปวงเป็นของร้อน
คือ จักขุเป็นของร้อน รูปเป็นของร้อน จักขุวิญญาณเป็นของร้อน จักขุสัมผัส
เป็นของร้อน แม้ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้น
เพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัยก็เป็นของร้อน ร้อนเพราะอะไร เรากล่าวว่า ‘ร้อนเพราะ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๑. ปฐมปัณณาสก์ ๓. สัพพวรรค ๖. อทิตตสูตร

ไฟคือราคะ เพราะไฟคือโทสะ เพราะไฟคือโมหะ ร้อนเพราะชาติ (ความเกิด) เพราะ
ชรา (ความแก่) เพราะมรณะ (ความตาย) เพราะโสกะ (ความเศร้าโศก) เพราะ
ปริเทวะ (ความคร่ำครวญ) เพราะทุกข์ (ความทุกข์กาย) เพราะโทมนัส (ความ
ทุกข์ใจ) เพราะอุปายาส (ความคับแค้นใจ)’ ฯลฯ
ชิวหาเป็นของร้อน รสเป็นของร้อน ชิวหาวิญญาณเป็นของร้อน ชิวหาสัมผัส
เป็นของร้อน แม้ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้น
เพราะชิวหาสัมผัสเป็นปัจจัยก็เป็นของร้อน ร้อนเพราะอะไร เรากล่าวว่า ‘ร้อนเพราะ
ไฟคือราคะ เพราะไฟคือโทสะ เพราะไฟคือโมหะ ร้อนเพราะชาติ เพราะชรา เพราะ
มรณะ เพราะโสกะ เพราะปริเทวะ เพราะทุกข์ เพราะโทมนัส เพราะอุปายาส’ ฯลฯ
มโนเป็นของร้อน ธรรมารมณ์เป็นของร้อน มโนวิญญาณเป็นของร้อน
มโนสัมผัสเป็นของร้อน แม้ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่
ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัยก็เป็นของร้อน ร้อนเพราะอะไร เรากล่าวว่า
‘ร้อนเพราะไฟคือราคะ เพราะไฟคือโทสะ เพราะไฟคือโมหะ ร้อนเพราะชาติ เพราะชรา
เพราะมรณะ เพราะโสกะ เพราะปริเทวะ เพราะทุกข์ เพราะโทมนัส เพราะอุปายาส’
ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในจักขุ
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในรูป ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในจักขุวิญญาณ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ใน
จักขุสัมผัส ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุข
มิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัย ฯลฯ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในความ
เสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย
เมื่อเบื่อหน่ายย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด จิตย่อมหลุดพ้น เมื่อจิต
หลุดพ้นแล้ว ก็รู้ว่า ‘หลุดพ้นแล้ว’ รู้ชัดว่า ‘ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว
ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป”
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสอาทิตตสูตรนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นก็มีใจยินดี ต่างชื่นชม
พระภาษิตของพระผู้มีพระภาค เมื่อพระองค์ตรัสเวยยากรณภาษิตนี้อยู่ ภิกษุ ๑,๐๐๐
รูปนั้นก็มีจิตหลุดพ้นจากอาสวะเพราะไม่ถือมั่น

อาทิตตสูตรที่ ๖ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๑. ปฐมปัณณาสก์ ๓. สัพพวรรค ๗. อันธภูตสูตร

๗. อันธภูตสูตร
ว่าด้วยสิ่งทั้งปวงเป็นของมืดมน

[๒๙] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเวฬุวัน สถานที่ให้เหยื่อกระแต
เขตกรุงราชคฤห์ ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า
“ภิกษุทั้งหลาย สิ่งทั้งปวงเป็นของมืดมน ก็อะไรเล่าชื่อว่าสิ่งทั้งปวงเป็นของ
มืดมน
คือ จักขุเป็นของมืดมน รูปเป็นของมืดมน จักขุวิญญาณเป็นของมืดมน
จักขุสัมผัสเป็นของมืดมน แม้ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่
ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัย ก็เป็นของมืดมน มืดมนเพราะอะไร เรา
กล่าวว่า ‘มืดมนเพราะชาติ เพราะชรา เพราะมรณะ เพราะโสกะ เพราะปริเทวะ
เพราะทุกข์ เพราะโทมนัส เพราะอุปายาส’ ฯลฯ
ชิวหาเป็นของมืดมน รสเป็นของมืดมน ชิวหาวิญญาณเป็นของมืดมน
ชิวหาสัมผัสเป็นของมืดมน แม้ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่
ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะชิวหาสัมผัสเป็นปัจจัย ก็เป็นของมืดมน มืดมนเพราะอะไร
เรากล่าวว่า ‘มืดมนเพราะชาติ เพราะชรา เพราะมรณะ เพราะโสกะ เพราะปริเทวะ
เพราะทุกข์ เพราะโทมนัส เพราะอุปายาส’
กายเป็นของมืดมน ฯลฯ
มโนเป็นของมืดมน ธรรมารมณ์เป็นของมืดมน มโนวิญญาณเป็นของมืดมน
มโนสัมผัสเป็นของมืดมน แม้ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่
ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย ก็เป็นของมืดมน มืดมนเพราะอะไร เรา
กล่าวว่า ‘มืดมนเพราะชาติ เพราะชรา เพราะมรณะ เพราะโสกะ เพราะปริเทวะ
เพราะทุกข์ เพราะโทมนัส เพราะอุปายาส’
ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในจักขุ
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในรูป ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในจักขุวิญญาณ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ใน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๒๙ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๑. ปฐมปัณณาสก์ ๓. สัพพวรรค ๘. สมุคฆาตสารุปปสูตร

จักขุสัมผัส ฯลฯ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่
สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย เมื่อเบื่อหน่ายย่อมคลายกำหนัด
เพราะคลายกำหนัด จิตย่อมหลุดพ้น เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว ก็รู้ว่า ‘หลุดพ้นแล้ว’
รู้ชัดว่า ‘ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่น
เพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป”

อันธภูตสูตรที่ ๗ จบ

๘. สมุคฆาตสารุปปสูตร
ว่าด้วยปฏิปทาอันสมควรแก่การเพิกถอนความกำหนดหมาย

[๓๐] “ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงปฏิปทาอันสมควรแก่การเพิกถอนความ
กำหนดหมาย๑ ทั้งปวงแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว
ปฏิปทาอันสมควรแก่การเพิกถอนความกำหนดหมายทั้งปวง เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ไม่กำหนดหมายจักขุ ไม่กำหนดหมายในจักขุ ไม่
กำหนดหมายเพราะจักขุ ไม่กำหนดหมายว่า ‘จักขุของเรา’
ไม่กำหนดหมายรูป ไม่กำหนดหมายในรูป ไม่กำหนดหมายเพราะรูป ไม่
กำหนดหมายว่า ‘รูปของเรา’
ไม่กำหนดหมายจักขุวิญญาณ ไม่กำหนดหมายในจักขุวิญญาณ ไม่กำหนด
หมายเพราะจักขุวิญญาณ ไม่กำหนดหมายว่า ‘จักขุวิญญาณของเรา’
ไม่กำหนดหมายจักขุสัมผัส ไม่กำหนดหมายในจักขุสัมผัส ไม่กำหนดหมาย
เพราะจักขุสัมผัส ไม่กำหนดหมายว่า ‘จักขุสัมผัสของเรา’
ไม่กำหนดหมายแม้ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่
เกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัย ไม่กำหนดหมายแม้ในความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุข
หรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัย ไม่กำหนดหมาย


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๑. ปฐมปัณณาสก์ ๓. สัพพวรรค ๘. สมุคฆาตสารุปปสูตร

แม้เพราะความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะ
จักขุสัมผัสเป็นปัจจัย ไม่กำหนดหมายว่า ‘ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์
หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัยนั้นของเรา’ ฯลฯ
ไม่กำหนดหมายชิวหา ไม่กำหนดหมายในชิวหา ไม่กำหนดหมายเพราะชิวหา
ไม่กำหนดหมายว่า ‘ชิวหาของเรา’
ไม่กำหนดหมายรส ไม่กำหนดหมายในรส ไม่กำหนดหมายเพราะรส ไม่
กำหนดหมายว่า ‘รสของเรา’
ไม่กำหนดหมายชิวหาวิญญาณ ไม่กำหนดหมายในชิวหาวิญญาณ ไม่
กำหนดหมายเพราะชิวหาวิญญาณ ไม่กำหนดหมายว่า ‘ชิวหาวิญญาณของเรา’
ไม่กำหนดหมายชิวหาสัมผัส ไม่กำหนดหมายในชิวหาสัมผัส ไม่กำหนดหมาย
เพราะชิวหาสัมผัส ไม่กำหนดหมายว่า ‘ชิวหาสัมผัสของเรา’
ไม่กำหนดหมายแม้ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่
เกิดขึ้นเพราะชิวหาสัมผัสเป็นปัจจัย ไม่กำหนดหมายแม้ในความเสวยอารมณ์ที่เป็น
สุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะชิวหาสัมผัสเป็นปัจจัย ไม่กำหนดหมาย
แม้เพราะความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะ
ชิวหาสัมผัสเป็นปัจจัย ไม่กำหนดหมายว่า ‘ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์
หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะชิวหาสัมผัสเป็นปัจจัยนั้นของเรา’ ฯลฯ
ไม่กำหนดหมายมโน ไม่กำหนดหมายในมโน ไม่กำหนดหมายเพราะมโน
ไม่กำหนดหมายว่า ‘มโนของเรา’
ไม่กำหนดหมายธรรมารมณ์ ไม่กำหนดหมายในธรรมารมณ์ ไม่กำหนด
หมายเพราะธรรมารมณ์ ไม่กำหนดหมายว่า ‘ธรรมารมณ์ของเรา’
ไม่กำหนดหมายมโนวิญญาณ ไม่กำหนดหมายในมโนวิญญาณ ไม่กำหนด
หมายเพราะมโนวิญญาณ ไม่กำหนดหมายว่า ‘มโนวิญญาณของเรา’
ไม่กำหนดหมายมโนสัมผัส ไม่กำหนดหมายในมโนสัมผัส ไม่กำหนดหมาย
เพราะมโนสัมผัส ไม่กำหนดหมายว่า ‘มโนสัมผัสของเรา’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๓๑ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๑. ปฐมปัณณาสก์ ๓. สัพพวรรค ๙. ปฐมสมุคฆาตสัปปายสูตร

ไม่กำหนดหมายแม้ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่
เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย ไม่กำหนดหมายแม้ในความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุข
หรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย ไม่กำหนดหมาย
แม้เพราะความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะ
มโนสัมผัสเป็นปัจจัย ไม่กำหนดหมายว่า ‘ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์
หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัยนั้นของเรา’
ไม่กำหนดหมายสิ่งทั้งปวง ไม่กำหนดหมายในสิ่งทั้งปวง ไม่กำหนดหมาย
เพราะสิ่งทั้งปวง ไม่กำหนดหมายว่า ‘สิ่งทั้งปวงของเรา’
ภิกษุผู้ไม่กำหนดหมายอยู่อย่างนี้ย่อมไม่ถือมั่นอะไร ๆ ในโลก เมื่อไม่ถือมั่น
ย่อมไม่สะดุ้งกลัว เมื่อไม่สะดุ้งกลัว ย่อมดับเฉพาะตนเอง รู้ชัดว่า ‘ชาติสิ้นแล้ว
อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้
อีกต่อไป’
ภิกษุทั้งหลาย ปฏิปทาอันสมควรแก่การเพิกถอนความกำหนดหมายทั้งปวง
เป็นอย่างนี้แล”

สมุคฆาตสารุปปสูตรที่ ๘ จบ

๙. ปฐมสมุคฆาตสัปปายสูตร
ว่าด้วยปฏิปทาที่เป็นสัปปายะแก่การเพิกถอน
ความกำหนดหมาย สูตรที่ ๑

[๓๑] “ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงปฏิปทาอันเป็นสัปปายะ๑แก่การเพิกถอน
ความกำหนดหมายทั้งปวงแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง
ปฏิปทาที่เป็นสัปปายะแก่การเพิกถอนความกำหนดหมายทั้งปวงนั้น เป็น
อย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ไม่กำหนดหมายจักขุ ไม่กำหนดหมายในจักขุ ไม่
กำหนดหมายเพราะจักขุ ไม่กำหนดหมายว่า ‘จักขุของเรา’ ไม่กำหนดหมายรูป


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๑. ปฐมปัณณาสก์ ๓. สัพพวรรค ๙. ปฐมสมุคฆาตสัปปายสูตร

ฯลฯ ไม่กำหนดหมายจักขุวิญญาณ ... ไม่กำหนดหมายจักขุสัมผัส ... ไม่กำหนด
หมายแม้ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะ
จักขุสัมผัสเป็นปัจจัย ไม่กำหนดหมายแม้ในความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์
หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัย ไม่กำหนดหมายแม้เพราะ
ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัส
เป็นปัจจัย ไม่กำหนดหมายว่า ‘ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุข
มิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัยนั้นของเรา’
ภิกษุกำหนดหมายสิ่งใด กำหนดหมายในสิ่งใด กำหนดหมายเพราะสิ่งใด
กำหนดหมายว่า ‘สิ่งใดของเรา’ สิ่งนั้นย่อมเป็นโดยอาการอื่นจากที่กำหนดหมายนั้น
คือ สัตว์โลกข้องอยู่ในภพ มีความเปลี่ยนแปลงโดยอาการอื่น ก็ยังยินดีภพอยู่นั่นเอง
ฯลฯ
ไม่กำหนดหมายชิวหา ไม่กำหนดหมายในชิวหา ไม่กำหนดหมายเพราะชิวหา
ไม่กำหนดหมายว่า ‘ชิวหาของเรา’ ไม่กำหนดหมายรส ฯลฯ ไม่กำหนดหมาย
ชิวหาวิญญาณ ... ไม่กำหนดหมายชิวหาสัมผัส ... ไม่กำหนดหมายแม้ความเสวย
อารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะชิวหาสัมผัสเป็นปัจจัย
ไม่กำหนดหมายแม้ในความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่
เกิดขึ้นเพราะชิวหาสัมผัสเป็นปัจจัย ไม่กำหนดหมายแม้เพราะความเสวยอารมณ์ที่
เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะชิวหาสัมผัสเป็นปัจจัย ไม่
กำหนดหมายว่า ‘ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิด
ขึ้นเพราะชิวหาสัมผัสเป็นปัจจัยนั้นของเรา’
ภิกษุกำหนดหมายสิ่งใด กำหนดหมายในสิ่งใด กำหนดหมายเพราะสิ่งใด
กำหนดหมายว่า ‘สิ่งใดของเรา’ สิ่งนั้นย่อมเป็นโดยอาการอื่นจากที่กำหนดหมายนั้น
คือ สัตว์โลกข้องอยู่ในภพ มีความเปลี่ยนแปลงโดยอาการอื่น ก็ยังยินดีภพอยู่นั่นเอง
ฯลฯ
ไม่กำหนดหมายมโน ไม่กำหนดหมายในมโน ไม่กำหนดหมายเพราะมโน ไม่
กำหนดหมายว่า ‘มโนของเรา’ ไม่กำหนดหมายธรรมารมณ์ ฯลฯ ไม่กำหนดหมาย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๓๓ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๑. ปฐมปัณณาสก์ ๓. สัพพวรรค ๑๐. ทุติยสมุคฆาตสัปปายสูตร

มโนวิญญาณ ... ไม่กำหนดหมายมโนสัมผัส ... ไม่กำหนดหมายแม้ความเสวย
อารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย
ไม่กำหนดหมายแม้ในความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้น
เพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย ไม่กำหนดหมายแม้เพราะความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุข
หรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย ไม่กำหนดหมาย
ว่า ‘ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะ
มโนสัมผัสเป็นปัจจัยนั้นของเรา’
อนึ่ง ภิกษุกำหนดหมายสิ่งใด กำหนดหมายในสิ่งใด กำหนดหมายเพราะสิ่งใด
กำหนดหมายว่า ‘สิ่งใดของเรา’ สิ่งนั้นย่อมเป็นโดยอาการอื่นจากที่กำหนดหมายนั้น
คือ สัตว์โลกข้องอยู่ในภพ มีความเปลี่ยนแปลงโดยอาการอื่น ก็ยังยินดีภพอยู่นั่นเอง
ไม่กำหนดหมายแม้ขันธ์ ธาตุ และอายตนะเท่าที่มีอยู่ ไม่กำหนดหมายใน
ขันธ์ ธาตุ และอายตนะ ไม่กำหนดหมายแม้เพราะขันธ์ ธาตุ และอายตนะ ไม่
กำหนดหมายว่า ‘ขันธ์ ธาตุ และอายตนะนั้นของเรา’
ภิกษุผู้ไม่กำหนดหมายอยู่อย่างนี้ย่อมไม่ถือมั่นอะไร ๆ ในโลก เมื่อไม่ถือมั่น
ก็ไม่สะดุ้งกลัว เมื่อไม่สะดุ้งกลัว ย่อมดับเฉพาะตนเอง รู้ชัดว่า ‘ชาติสิ้นแล้ว อยู่
จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีก
ต่อไป’
ภิกษุทั้งหลาย ปฏิปทาที่เป็นสัปปายะแก่การเพิกถอนความกำหนดหมาย
ทั้งปวง เป็นอย่างนี้แล”

ปฐมสมุคฆาตสัปปายสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. ทุติยสมุคฆาตสัปปายสูตร
ว่าด้วยปฏิปทาที่เป็นสัปปายะแก่การเพิกถอน
ความกำหนดหมาย สูตรที่ ๒

[๓๒] “ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงปฏิปทาที่เป็นสัปปายะแก่การเพิกถอน
ความกำหนดหมายทั้งปวงแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๓๔ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๑. ปฐมปัณณาสก์ ๓. สัพพวรรค ๑๐. ทุติยสมุคฆาตสัปปายสูตร

ปฏิปทาที่เป็นสัปปายะแก่การเพิกถอนความกำหนดหมายทั้งปวง เป็น
อย่างไร
เธอทั้งหลายเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร จักขุเที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข”
“เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา ควรหรือที่จะ
พิจารณาเห็นสิ่งนั้นว่า ‘นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา”
“ข้อนั้นไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า”
“รูป ฯลฯ จักขุวิญญาณ ฯลฯ จักขุสัมผัส เที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า” ฯลฯ
“แม้ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะ
จักขุสัมผัสเป็นปัจจัย เที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า” ฯลฯ
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข”
“เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา ควรหรือที่จะ
พิจารณาเห็นสิ่งนั้นว่า ‘นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา”
“ข้อนั้นไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า” ฯลฯ
“ชิวหาเที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า” ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๓๕ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๑. ปฐมปัณณาสก์ ๓. สัพพวรรค ๑๐. ทุติยสมุคฆาตสัปปายสูตร

“รส ฯลฯ ชิวหาวิญญาณ ฯลฯ ชิวหาสัมผัส ฯลฯ แม้ความเสวยอารมณ์
ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะชิวหาสัมผัสเป็นปัจจัย เที่ยงหรือ
ไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า” ฯลฯ
“ธรรมารมณ์ ฯลฯ มโนวิญญาณ ฯลฯ มโนสัมผัส เที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“แม้ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะ
มโนสัมผัสเป็นปัจจัย เที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข”
“เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา ควรหรือที่จะ
พิจารณาเห็นสิ่งนั้นว่า ‘นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา”
“ข้อนั้นไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า”
ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในจักขุ
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในรูป ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในจักขุวิญญาณ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ใน
จักขุสัมผัส ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุข
มิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัย ฯลฯ
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในชิวหา ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในรส ฯลฯ ย่อมเบื่อหน่ายแม้
ในความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะชิวหา-
สัมผัสเป็นปัจจัย
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในมโน ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในธรรมารมณ์ ย่อมเบื่อหน่าย
แม้ในมโนวิญญาณ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในมโนสัมผัส ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในความ
เสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๓๖ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๑. ปฐมปัณณาสก์ ๓. สัพพวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

เมื่อเบื่อหน่ายย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด จิตย่อมหลุดพ้น เมื่อ
จิตหลุดพ้นแล้ว ก็รู้ว่า‘หลุดพ้นแล้ว’ รู้ชัดว่า ‘ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว
ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป’
ภิกษุทั้งหลาย ปฏิปทาที่เป็นสัปปายะแก่การเพิกถอนความกำหนดหมาย
ทั้งปวง เป็นอย่างนี้แล”

ทุติยสมุคฆาตสัปปายสูตรที่ ๑๐ จบ
สัพพวรรคที่ ๓ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. สัพพสูตร ๒. ปหานสูตร
๓. อภิญญาปริญญาปหานสูตร ๔. ปฐมอปริชานนสูตร
๕. ทุติยอปริชานนสูตร ๖. อาทิตตสูตร
๗. อันธภูตสูตร ๘. สมุคฆาตสารุปปสูตร
๙. ปฐมสมุคฆาตสัปปายสูตร ๑๐. ทุติยสมุคฆาตสัปปายสูตร


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๑. ปฐมปัณณาสก์ ๔. ชาติธัมมวรรค ๑-๑๐. ชาติธัมมาทิสุตตทสกะ

๔. ชาติธัมมวรรค
หมวดว่าด้วยสิ่งทั้งปวงมีความเกิดเป็นธรรมดา
๑-๑๐. ชาติธัมมาทิสุตตทสกะ
ว่าด้วยพระสูตร ๑๐ สูตร มีชาติธัมมสูตรเป็นต้น

[๓๓] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
(สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถ-
บิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี) ณ ที่นั้น ฯลฯ
“ภิกษุทั้งหลาย สิ่งทั้งปวงมีความเกิดเป็นธรรมดา
ก็อะไรเล่าชื่อว่าสิ่งทั้งปวงมีความเกิดเป็นธรรมดา
คือ จักขุมีความเกิดเป็นธรรมดา รูป ฯลฯ จักขุวิญญาณ ฯลฯ จักขุสัมผัส
มีความเกิดเป็นธรรมดา แม้ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่
ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัยก็มีความเกิดเป็นธรรมดา ฯลฯ
ชิวหา ฯลฯ รส ฯลฯ ชิวหาวิญญาณ ฯลฯ ชิวหาสัมผัสมีความเกิดเป็น
ธรรมดา แม้ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้น
เพราะชิวหาสัมผัสเป็นปัจจัยก็มีความเกิดเป็นธรรมดา
กาย ฯลฯ
มโนมีความเกิดเป็นธรรมดา ธรรมารมณ์มีความเกิดเป็นธรรมดา มโนวิญญาณ
มีความเกิดเป็นธรรมดา มโนสัมผัสมีความเกิดเป็นธรรมดา แม้ความเสวยอารมณ์
ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัยก็มีความ
เกิดเป็นธรรมดา
ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในจักขุ ...
แม้ในรูป ฯลฯ แม้ในจักขุวิญญาณ ฯลฯ แม้ในจักขุสัมผัส ฯลฯ
รู้ชัดว่า ... ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป”

สูตรที่ ๑ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๑. ปฐมปัณณาสก์ ๔. ชาติธัมมวรรค ๑-๑๐. ชาติธัมมาทิสุตตทสกะ

[๓๔] “ภิกษุทั้งหลาย สิ่งทั้งปวงมีความแก่เป็นธรรมดา ฯลฯ (ย่อ)
สูตรที่ ๒ จบ
[๓๕] “ภิกษุทั้งหลาย สิ่งทั้งปวงมีความเจ็บไข้เป็นธรรมดา ฯลฯ (ย่อ)
สูตรที่ ๓ จบ
[๓๖] “ภิกษุทั้งหลาย สิ่งทั้งปวงมีความตายเป็นธรรมดา ฯลฯ (ย่อ)
สูตรที่ ๔ จบ
[๓๗] “ภิกษุทั้งหลาย สิ่งทั้งปวงมีความเศร้าโศกเป็นธรรมดา ฯลฯ (ย่อ)
สูตรที่ ๕ จบ
[๓๘] “ภิกษุทั้งหลาย สิ่งทั้งปวงมีความเศร้าหมองเป็นธรรมดา ฯลฯ (ย่อ)
สูตรที่ ๖ จบ
[๓๙] “ภิกษุทั้งหลาย สิ่งทั้งปวงมีความสิ้นไปเป็นธรรมดา ฯลฯ (ย่อ)
สูตรที่ ๗ จบ
[๔๐] “ภิกษุทั้งหลาย สิ่งทั้งปวงมีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา ฯลฯ (ย่อ)
สูตรที่ ๘ จบ
[๔๑] “ภิกษุทั้งหลาย สิ่งทั้งปวงมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา ฯลฯ (ย่อ)
สูตรที่ ๙ จบ
[๔๒] “ภิกษุทั้งหลาย สิ่งทั้งปวงมีความดับไปเป็นธรรมดา
ก็อะไรเล่าชื่อว่าสิ่งทั้งปวงมีความดับไปเป็นธรรมดา
คือ จักขุมีความดับไปเป็นธรรมดา รูปมีความดับไปเป็นธรรมดา จักขุวิญญาณ
มีความดับไปเป็นธรรมดา จักขุสัมผัสมีความดับไปเป็นธรรมดา แม้ความเสวยอารมณ์
ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัยก็มีความ
ดับไปเป็นธรรมดา ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๓๙ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๑. ปฐมปัณณาสก์ ๔. ชาติธัมมวรรค ๑-๑๐. ชาติธัมมาทิสุตตทสกะ

ชิวหามีความดับไปเป็นธรรมดา รสมีความดับไปเป็นธรรมดา ชิวหาวิญญาณ
มีความดับไปเป็นธรรมดา ชิวหาสัมผัสมีความดับไปเป็นธรรมดา แม้ความเสวย
อารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะชิวหาสัมผัสเป็นปัจจัย
ก็มีความดับไปเป็นธรรมดา ฯลฯ
มโนมีความดับไปเป็นธรรมดา ธรรมารมณ์มีความดับไปเป็นธรรมดา มโน-
วิญญาณมีความดับไปเป็นธรรมดา แม้ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือ
มิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย ก็มีความดับไปเป็นธรรมดา
ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในจักขุ
ฯลฯ รู้ชัดว่า ... ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป”

นิโรธธัมมสูตรที่ ๑๐ จบ
ชาติธัมมวรรคที่ ๔ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. ชาติธัมมสูตร ๒. ชราธัมมสูตร
๓. พยาธิธัมมสูตร ๔. มรณธัมมสูตร
๕. โสกธัมมสูตร ๖. สังกิเลสิกธัมมสูตร
๗. ขยธัมมสูตร ๘. วยธัมมสูตร
๙. สมุทยธัมมสูตร ๑๐. นิโรธธัมมสูตร


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๑. ปฐมปัณณาสก์ ๕. สัพพอนิจจวรรค ๑-๙. อนิจจทิสุตตนวกะ

๕. สัพพอนิจจวรรค
หมวดว่าด้วยสิ่งทั้งปวงไม่เที่ยง
๑-๙. อนิจจาทิสุตตนวกะ
ว่าด้วยพระสูตร ๙ สูตร มีอนิจจสูตรเป็นต้น

[๔๓] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
(สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถ-
บิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี) ณ ที่นั้น ฯลฯ
“ภิกษุทั้งหลาย สิ่งทั้งปวงไม่เที่ยง
ก็อะไรเล่าชื่อว่าสิ่งทั้งปวงไม่เที่ยง
คือ จักขุไม่เที่ยง รูปไม่เที่ยง จักขุวิญญาณไม่เที่ยง จักขุสัมผัสไม่เที่ยง แม้
ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัส
เป็นปัจจัยก็ไม่เที่ยง ฯลฯ
ชิวหาไม่เที่ยง รสไม่เที่ยง ชิวหาวิญญาณไม่เที่ยง ชิวหาสัมผัสไม่เที่ยง แม้
ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะชิวหาสัมผัส
เป็นปัจจัยก็ไม่เที่ยง
กายไม่เที่ยง ฯลฯ
มโนไม่เที่ยง ธรรมารมณ์ไม่เที่ยง มโนวิญญาณไม่เที่ยง มโนสัมผัสไม่เที่ยง
แม้ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัส
เป็นปัจจัยก็ไม่เที่ยง
ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในจักขุ
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในรูป ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในจักขุวิญญาณ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ใน
จักขุสัมผัส ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่
ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัย ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๔๑ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๑. ปฐมปัณณาสก์ ๕. สัพพอนิจจวรรค ๑-๙. อนิจจทิสุตตนวกะ

ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในมโน ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในธรรมารมณ์ ย่อมเบื่อหน่าย
แม้ในมโนวิญญาณ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในมโนสัมผัส ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในความเสวย
อารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย
เมื่อเบื่อหน่ายย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด จิตย่อมหลุดพ้น เมื่อ
จิตหลุดพ้นแล้ว ก็รู้ว่า ‘หลุดพ้นแล้ว’ รู้ชัดว่า ... ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้
อีกต่อไป”
สูตรที่ ๑ จบ
[๔๔] “ภิกษุทั้งหลาย สิ่งทั้งปวงเป็นทุกข์ ฯลฯ
สูตรที่ ๒ จบ
[๔๕] “ภิกษุทั้งหลาย สิ่งทั้งปวงเป็นอนัตตา ฯลฯ
สูตรที่ ๓ จบ
[๔๖] “ภิกษุทั้งหลาย สิ่งทั้งปวงควรรู้ยิ่ง ฯลฯ
สูตรที่ ๔ จบ
[๔๗] “ภิกษุทั้งหลาย สิ่งทั้งปวงควรกำหนดรู้ ฯลฯ
สูตรที่ ๕ จบ
[๔๘] “ภิกษุทั้งหลาย สิ่งทั้งปวงควรละ ฯลฯ
สูตรที่ ๖ จบ
[๔๙] “ภิกษุทั้งหลาย สิ่งทั้งปวงควรทำให้แจ้ง ฯลฯ
สูตรที่ ๗ จบ
[๕๐] “ภิกษุทั้งหลาย สิ่งทั้งปวงควรรู้ยิ่งแล้วกำหนดรู้ ฯลฯ
สูตรที่ ๘ จบ
[๕๑] “ภิกษุทั้งหลาย สิ่งทั้งปวงถูกประทุษร้าย ฯลฯ
สูตรที่ ๙ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๔๒ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๑. ปฐมปัณณาสก์ ๕. สัพพอนิจจวรรค ๑๐. อุปัสสัฏฐสูตร

๑๐. อุปัสสัฏฐสูตร
ว่าด้วยสิ่งทั้งปวงถูกเบียดเบียน

[๕๒] “ภิกษุทั้งหลาย สิ่งทั้งปวงถูกเบียดเบียน
ก็อะไรเล่าชื่อว่าสิ่งทั้งปวงถูกเบียดเบียน
คือ จักขุถูกเบียดเบียน รูปถูกเบียดเบียน จักขุวิญญาณถูกเบียดเบียน
จักขุสัมผัสถูกเบียดเบียน แม้ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่
ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัย ก็ถูกเบียดเบียน ฯลฯ
ชิวหาถูกเบียดเบียน รสถูกเบียดเบียน ชิวหาวิญญาณถูกเบียดเบียน
ชิวหาสัมผัสถูกเบียดเบียน แม้ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่
ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะชิวหาสัมผัสเป็นปัจจัย ก็ถูกเบียดเบียน
กายถูกเบียดเบียน ฯลฯ
มโนถูกเบียดเบียน ธรรมารมณ์ถูกเบียดเบียน มโนวิญญาณถูกเบียดเบียน
มโนสัมผัสถูกเบียดเบียน แม้ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่
ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย ก็ถูกเบียดเบียน
ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในจักขุ
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในรูป ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในจักขุวิญญาณ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ใน
จักขุสัมผัส ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่
ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัย ฯลฯ
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในมโน ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในธรรมารมณ์ ย่อมเบื่อหน่าย
แม้ในมโนวิญญาณ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในมโนสัมผัส ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในความเสวย
อารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย
เมื่อเบื่อหน่ายย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด จิตย่อมหลุดพ้น เมื่อ
จิตหลุดพ้นแล้ว ก็รู้ว่า ‘หลุดพ้นแล้ว’ รู้ชัดว่า ... ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้
อีกต่อไป”

อุปัสสัฏฐสูตรที่ ๑๐ จบ
สัพพอนิจจวรรคที่ ๕ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๑. ปฐมปัณณาสก์ ๕. สัพพอนิจจวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. อนิจจสูตร ๒. ทุกขสูตร
๓. อนัตตาสูตร ๔. อภิญเญยยสูตร
๕. ปริญเญยยสูตร ๖. ปหาตัพพสูตร
๗. สัจฉิกาตัพพสูตร ๘. อภิญเญยยปริญเญยยสูตร
๙. อุปัททุตสูตร ๑๐. อุปัสสัฏฐสูตร

ปฐมปัณณาสก์ในสฬายตนวรรค จบบริบูรณ์

รวมวรรคที่มีในปฐมปัณณาสก์นี้ คือ

๑. อนิจจวรรค ๒. ยมกวรรค
๓. สัพพวรร ๔. ชาติธัมมวรรค
๕. สัพพอนิจจวรรค


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๒. ทุติยปัณณาสก์ ๑.อวิชชาวรรค ๑. อวิชชาปหานสูตร

๒. ทุติยปัณณาสก์
๑. อวิชชาวรรค
หมวดว่าด้วยอวิชชา
๑. อวิชชาปหานสูตร
ว่าด้วยการละอวิชชา

[๕๓] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ครั้งนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาท
แล้วนั่ง ณ ที่สมควร๑ ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
บุคคลเมื่อรู้เห็นอย่างไรจึงจะละอวิชชา๒ได้ วิชชา๓จึงจะเกิดขึ้น”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ภิกษุ บุคคลเมื่อรู้เห็นจักขุโดยความไม่เที่ยง
จึงจะละอวิชชาได้ วิชชาจึงจะเกิดขึ้น เมื่อรู้เห็นรูปโดยความไม่เที่ยงจึงจะละอวิชชาได้
วิชชาจึงจะเกิดขึ้น เมื่อรู้เห็นจักขุวิญญาณ ... จักขุสัมผัส ... เมื่อรู้เห็นแม้ความ
เสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัย
โดยความไม่เที่ยงจึงจะละอวิชชาได้ วิชชาจึงจะเกิดขึ้น
เมื่อรู้เห็นโสตะ ... ฆานะ ... ชิวหา ... กาย ... มโนโดยความไม่เที่ยงจึงจะละ
อวิชชาได้ วิชชาจึงจะเกิดขึ้น เมื่อรู้เห็นธรรมารมณ์ มโนวิญญาณ มโนสัมผัส แม้
ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัส
เป็นปัจจัยโดยความไม่เที่ยง จึงจะละอวิชชาได้ วิชชาจึงจะเกิดขึ้น
ภิกษุ บุคคลเมื่อรู้เห็นอย่างนี้แลจึงจะละอวิชชาได้ วิชชาจึงจะเกิดขึ้น”

อวิชชาปหานสูตรที่ ๑ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๒. ทุติยปัณณาสก์ ๑.อวิชชาวรรค ๓. สัญโญชนสมุคฆาตสูตร

๒. สัญโญชนปหานสูตร
ว่าด้วยการละสังโยชน์

[๕๔] ภิกษุทั้งหลายได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
บุคคลเมื่อรู้เห็นอย่างไรจึงจะละสังโยชน์๑ได้”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ภิกษุทั้งหลาย บุคคลเมื่อรู้เห็นจักขุโดยความ
ไม่เที่ยงจึงจะละสังโยชน์ได้ เมื่อรู้เห็นรูปโดยความไม่เที่ยงจึงจะละสังโยชน์ได้ เมื่อรู้
เห็นจักขุวิญญาณโดยความไม่เที่ยงจึงจะละสังโยชน์ได้ เมื่อรู้เห็นจักขุสัมผัสโดย
ความไม่เที่ยงจึงจะละสังโยชน์ได้ เมื่อรู้เห็นแม้ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์
หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัยโดยความไม่เที่ยงจึงจะละ
สังโยชน์ได้
เมื่อรู้เห็นโสตะ ... ฆานะ ... ชิวหา ... กาย ... มโน ... ธรรมารมณ์ ...
มโนวิญญาณ ... มโนสัมผัส ... แม้ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่
สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัยโดยความไม่เที่ยงจึงจะละสังโยชน์ได้
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลเมื่อรู้เห็นอย่างนี้แลจึงจะละสังโยชน์ได้”

สัญโญชนปหานสูตรที่ ๒ จบ

๓. สัญโญชนสมุคฆาตสูตร
ว่าด้วยการถอนสังโยชน์

[๕๕] ภิกษุทั้งหลายได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
บุคคลเมื่อรู้เห็นอย่างไรจึงจะถอนสังโยชน์ได้”


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๒. ทุติยปัณณาสก์ ๑.อวิชชาวรรค ๕. อาสวสมุคฆาตสูตร

พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ภิกษุทั้งหลาย บุคคลเมื่อรู้เห็นจักขุโดยความ
เป็นอนัตตาจึงจะถอนสังโยชน์ได้ เมื่อรู้เห็นรูปโดยความเป็นอนัตตา ... จักขุวิญญาณ
... จักขุสัมผัส ... เมื่อรู้เห็นแม้ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่
ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัยโดยความเป็นอนัตตาจึงจะถอนสังโยชน์ได้
เมื่อรู้เห็นโสตะ ... ฆานะ... ชิวหา ... กาย ... มโน ... ธรรมารมณ์ ... มโน-
วิญญาณ ... มโนสัมผัส ... เมื่อรู้เห็นแม้ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือ
มิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัยจึงจะถอนสังโยชน์ได้
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลเมื่อรู้เห็นอย่างนี้แลจึงจะถอนสังโยชน์ได้”

สัญโญชนสมุคฆาตสูตรที่ ๓ จบ

๔. อาสวปหานสูตร
ว่าด้วยการละอาสวะ

[๕๖] ภิกษุทั้งหลายได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
บุคคลเมื่อรู้เห็นอย่างไรจึงจะละอาสวะ๑ได้” ฯลฯ

อาสวปหานสูตรที่ ๔ จบ

๕. อาสวสมุคฆาตสูตร
ว่าด้วยการถอนอาสวะ

[๕๗] ภิกษุทั้งหลายได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
บุคคลเมื่อรู้เห็นอย่างไรจึงจะถอนอาสวะได้” ฯลฯ

อาสวสมุคฆาตสูตรที่ ๕ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๒. ทุติยปัณณาสก์ ๑.อวิชชาวรรค ๗. อนุสยสมุคฆาตสูตร

๖. อนุสยปหานสูตร
ว่าด้วยการละอนุสัย

[๕๘] ภิกษุทั้งหลายได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
บุคคลเมื่อรู้เห็นอย่างไรจึงจะละอนุสัย๑ได้” ฯลฯ

อนุสยปหานสูตรที่ ๖ จบ

๗. อนุสยสมุคฆาตสูตร
ว่าด้วยการถอนอนุสัย

[๕๙] ภิกษุทั้งหลายได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
บุคคลเมื่อรู้เห็นอย่างไรจึงจะถอนอนุสัยได้”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ภิกษุทั้งหลาย บุคคลเมื่อรู้เห็นจักขุโดยความ
เป็นอนัตตาจึงจะถอนอนุสัยได้ ฯลฯ
บุคคลเมื่อรู้เห็นโสตะ ... ฆานะ ... ชิวหา ... กาย ... มโน ... ธรรมารมณ์ ...
มโนวิญญาณ ... มโนสัมผัส ... บุคคลเมื่อรู้เห็นแม้ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือ
ทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัยโดยความเป็นอนัตตาจึง
จะถอนอนุสัยได้
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลเมื่อรู้เห็นอย่างนี้แลจึงจะถอนอนุสัยได้”

อนุสยสมุคฆาตสูตรที่ ๗ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๒. ทุติยปัณณาสก์ ๑.อวิชชาวรรค ๘. สัพพุปาทานปริญญาสูตร

๘. สัพพุปาทานปริญญาสูตร
ว่าด้วยธรรมเพื่อกำหนดรู้อุปาทานทั้งปวง

[๖๐] “ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมเพื่อกำหนดรู้อุปาทานทั้งปวง๑แก่เธอ
ทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง
ธรรมเพื่อกำหนดรู้อุปาทานทั้งปวง เป็นอย่างไร
คือ เพราะอาศัยจักขุและรูป จักขุวิญญาณจึงเกิด ความประจวบแห่งธรรม ๓
ประการเป็นผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงเกิด อริยสาวกผู้ได้สดับเห็น
อยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในจักขุ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในรูป ย่อมเบื่อหน่ายแม้
ในจักขุวิญญาณ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในจักขุสัมผัส ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในเวทนา เมื่อ
เบื่อหน่ายย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด จิตย่อมหลุดพ้น เพราะหลุดพ้น
จึงรู้ชัดว่า ‘เรากำหนดรู้อุปาทานได้แล้ว’
เพราะอาศัยโสตะและสัททะ โสตวิญญาณจึงเกิด ฯลฯ
เพราะอาศัยฆานะและคันธะ ฯลฯ
เพราะอาศัยชิวหาและรส ฯลฯ
เพราะอาศัยกายและโผฏฐัพพะ ฯลฯ
เพราะอาศัยมโนและธรรมารมณ์ มโนวิญญาณจึงเกิด ความประจวบแห่งธรรม
๓ ประการเป็นผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงเกิด อริยสาวกผู้ได้สดับ
เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในมโน ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในธรรมารมณ์ ย่อม
เบื่อหน่ายแม้ในมโนวิญญาณ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในมโนสัมผัส ย่อมเบื่อหน่ายแม้
ในเวทนา เมื่อเบื่อหน่ายย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด จิตย่อมหลุดพ้น
เพราะหลุดพ้นจึงรู้ชัดว่า ‘เรากำหนดรู้อุปาทานได้แล้ว’
ภิกษุทั้งหลาย ธรรมเพื่อกำหนดรู้อุปาทานทั้งปวงเป็นอย่างนี้แล”

สัพพุปาทานปริญญาสูตรที่ ๘ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๒. ทุติยปัณณาสก์ ๑.อวิชชาวรรค ๑๐. ทุติยสัพพุปาทานปริยาทานสูตร

๙. ปฐมสัพพุปาทานปริยาทานสูตร
ว่าด้วยธรรมเพื่อครอบงำอุปาทานทั้งปวง สูตรที่ ๑

[๖๑] “ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมเพื่อครอบงำอุปาทานทั้งปวงแก่เธอ
ทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง
ธรรมเพื่อครอบงำอุปาทานทั้งปวง เป็นอย่างไร
คือ เพราะอาศัยจักขุและรูป จักขุวิญญาณจึงเกิด ความประจวบแห่งธรรม ๓
ประการเป็นผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงเกิด อริยสาวกผู้ได้สดับเห็น
อยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในจักขุ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในรูป ย่อมเบื่อหน่ายแม้
ในจักขุวิญญาณ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในจักขุสัมผัส ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในเวทนา เมื่อ
เบื่อหน่ายย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด จิตย่อมหลุดพ้น เพราะหลุดพ้น
จึงรู้ชัดว่า ‘เราครอบงำอุปาทานได้แล้ว’ ฯลฯ
เพราะอาศัยชิวหาและรส ชิวหาวิญญาณจึงเกิด ฯลฯ เพราะอาศัยมโนและ
ธรรมารมณ์ มโนวิญญาณจึงเกิด ความประจวบแห่งธรรม ๓ ประการเป็นผัสสะ
เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงเกิด อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อม
เบื่อหน่ายแม้ในมโน ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในธรรมารมณ์ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในจักขุ-
วิญญาณ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในจักขุสัมผัส ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในเวทนา เมื่อ
เบื่อหน่ายย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด จิตย่อมหลุดพ้น เพราะหลุดพ้น
จึงรู้ชัดว่า ‘เราครอบงำอุปาทานได้แล้ว’
ภิกษุทั้งหลาย ธรรมเพื่อครอบงำอุปาทานทั้งปวงเป็นอย่างนี้แล”

ปฐมสัพพุปาทานปริยาทานสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. ทุติยสัพพุปาทานปริยาทานสูตร
ว่าด้วยธรรมเพื่อครอบงำอุปาทานทั้งปวง สูตรที่ ๒

[๖๒] “ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมเพื่อครอบงำอุปาทานทั้งปวงแก่เธอ
ทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๕๐ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๒. ทุติยปัณณาสก์ ๑.อวิชชาวรรค ๑๐. ทุติยสัพพุปาทานปริยาทานสูตร

ธรรมเพื่อครอบงำอุปาทานทั้งปวง เป็นอย่างไร
เธอทั้งหลายเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร จักขุเที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข”
“เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา ควรหรือที่จะ
พิจารณาเห็นสิ่งนั้นว่า ‘นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา”
“ข้อนั้นไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า”
“รูป ฯลฯ จักขุวิญญาณ เที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“จักขุสัมผัสเที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“แม้ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะ
จักขุสัมผัสเป็นปัจจัยเที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“โสตะ ... ฆานะ ... ชิวหา ... กาย ... มโน ... ธรรมารมณ์ ... มโนวิญญาณ
... มโนสัมผัส แม้ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้น
เพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย เที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข”
“เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา ควรหรือที่จะ
พิจารณาเห็นสิ่งนั้นว่า ‘นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา”
“ข้อนั้นไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๕๑ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๒. ทุติยปัณณาสก์ ๑.อวิชชาวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในจักขุ ย่อมเบื่อหน่าย
แม้ในรูป ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในจักขุวิญญาณ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในจักขุสัมผัส ย่อม
เบื่อหน่ายแม้ในความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้น
เพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัย ฯลฯ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในชิวหา ย่อมเบื่อหน่ายแม้ใน
รส ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในชิวหาวิญญาณ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในชิวหาสัมผัส ย่อม
เบื่อหน่ายแม้ในความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้น
เพราะชิวหาสัมผัสเป็นปัจจัย ฯลฯ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในมโน ย่อมเบื่อหน่ายแม้
ในธรรมารมณ์ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในมโนวิญญาณ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในมโนสัมผัส
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิด
ขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย เมื่อเบื่อหน่ายย่อมคลายกำหนัด เพราะคลาย
กำหนัด จิตย่อมหลุดพ้น เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว ก็รู้ว่า ‘หลุดพ้นแล้ว’ รู้ชัดว่า ...
ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป’
ภิกษุทั้งหลาย ธรรมเพื่อครอบงำอุปาทานทั้งปวง เป็นอย่างนี้แล”

ทุติยสัพพุปาทานปริยาทานสูตรที่ ๑๐ จบ
อวิชชาวรรคที่ ๑ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. อวิชชาปหานสูตร ๒. สัญโญชนปหานสูตร
๓. สัญโญชนสมุคฆาตสูตร ๔. อาสวปหานสูตร
๕. อาสวสมุคฆาตสูตร ๖. อนุสยปหานสูตร
๗. อนุสยสมุคฆาตสูตร ๘. สัพพุปาทานปริญญาสูตร
๙. ปฐมสัพพุปาทานปริยาทานสูตร ๑๐. ทุติยสัพพุปาทานปริยาทานสูตร


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๒. ทุติยปัณณาสก์ ๒. มิคชาลวรรค ๑. ปฐมมิคชาลสูตร

๒. มิคชาลวรรค
หมวดว่าด้วยพระมิคชาละ
๑. ปฐมมิคชาลสูตร
ว่าด้วยพระมิคชาละ สูตรที่ ๑

[๖๓] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ครั้งนั้น ท่านพระมิคชาละเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ฯลฯ นั่ง ณ
ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระองค์ตรัสว่า
‘มีปกติอยู่ผู้เดียว มีปกติอยู่ผู้เดียว’ ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอ ภิกษุจึงชื่อว่ามีปกติ
อยู่ผู้เดียว อนึ่ง ด้วยเหตุเพียงเท่าไรจึงชื่อว่ามีปกติอยู่กับเพื่อน”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “มิคชาละ รูปที่พึงรู้แจ้งทางตาที่น่าปรารถนา
น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก ชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัดมีอยู่ ถ้าภิกษุเพลิดเพลิน
เชยชม ยึดติดรูปนั้นอยู่ เมื่อเธอเพลิดเพลิน เชยชม ยึดติดรูปนั้น ความเพลิดเพลิน๑
ย่อมเกิดขึ้น เมื่อมีความเพลิดเพลิน ก็มีความกำหนัด เมื่อมีความกำหนัด ก็มี
ความเกี่ยวข้อง ภิกษุผู้ประกอบด้วยความเพลิดเพลินและความเกี่ยวข้อง เราเรียกว่า
‘ผู้มีปกติอยู่กับเพื่อน’ ฯลฯ
รสที่พึงรู้แจ้งทางลิ้น ฯลฯ
ธรรมารมณ์ที่พึงรู้แจ้งทางใจที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก ชักให้
ใคร่ พาใจให้กำหนัดมีอยู่ ถ้าภิกษุเพลิดเพลิน เชยชม ยึดติดธรรมารมณ์นั้นอยู่
เมื่อเธอเพลิดเพลิน เชยชม ยึดติดธรรมารมณ์นั้น ความเพลิดเพลินย่อมเกิดขึ้น
เมื่อมีความเพลิดเพลิน ก็มีความกำหนัด เมื่อมีความกำหนัด ก็มีความเกี่ยว
ข้อง ภิกษุผู้ประกอบด้วยความเพลิดเพลินและความเกี่ยวข้อง เราเรียกว่า ‘ผู้มี
ปกติอยู่กับเพื่อน’ ภิกษุผู้มีปกติอยู่อย่างนี้ ถึงจะใช้สอยเสนาสนะที่เป็นป่าโปร่ง


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๒. ทุติยปัณณาสก์ ๒. มิคชาลวรรค ๑. ปฐมมิคชาลสูตร

และป่าทึบ๑อันสงัด มีเสียงน้อย มีเสียงอึกทึกน้อย ปราศจากการสัญจรไปมาของ
ผู้คน ควรเป็นที่ทำการลับของมนุษย์ สมควรเป็นที่หลีกเร้นก็จริง ถึงอย่างนั้น เราก็
ยังเรียกว่า ‘ผู้มีปกติอยู่กับเพื่อน’ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะเขายังละตัณหาที่เป็น
เพื่อนนั้นไม่ได้ ฉะนั้นเราจึงเรียกว่า ‘ผู้มีปกติอยู่กับเพื่อน’
รูปที่พึงรู้แจ้งทางตาที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก ชักให้ใคร่
พาใจให้กำหนัดมีอยู่ ถ้าภิกษุไม่เพลิดเพลิน ไม่เชยชม ไม่ยึดติดรูปนั้นอยู่ เมื่อเธอ
ไม่เพลิดเพลิน ไม่เชยชม ไม่ยึดติดรูปนั้น ความเพลิดเพลินย่อมดับไป เมื่อไม่มี
ความเพลิดเพลิน ก็ไม่มีความกำหนัด เมื่อไม่มีความกำหนัด ก็ไม่มีความเกี่ยวข้อง
ภิกษุผู้ไม่ประกอบด้วยความเพลิดเพลินและความเกี่ยวข้อง เราเรียกว่า ‘ผู้มีปกติ
อยู่ผู้เดียว’ ฯลฯ
รสที่พึงรู้แจ้งทางลิ้น ... มีอยู่ ฯลฯ
ธรรมารมณ์ที่พึงรู้แจ้งทางใจที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก ชักให้ใคร่
พาใจให้กำหนัดมีอยู่ ถ้าภิกษุไม่เพลิดเพลิน ไม่เชยชม ไม่ยึดติดธรรมารมณ์นั้นอยู่
เมื่อเธอไม่เพลิดเพลิน ไม่เชยชม ไม่ยึดติดธรรมารมณ์นั้น ความเพลิดเพลิน
ย่อมดับไป เมื่อไม่มีความเพลิดเพลิน ก็ไม่มีความกำหนัด เมื่อไม่มีความกำหนัด
ก็ไม่มีความเกี่ยวข้อง ภิกษุผู้ไม่ประกอบด้วยความเพลิดเพลินและความเกี่ยวข้อง
เราเรียกว่า ‘ผู้มีปกติอยู่ผู้เดียว’
ภิกษุผู้มีปกติอยู่อย่างนี้ แม้จะอยู่รายล้อมไปด้วยภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก
อุบาสิกา พระราชา มหาอำมาตย์ของพระราชา พวกเดียรถีย์๒ สาวกของเดียรถีย์
ในละแวกบ้านก็จริง ถึงอย่างนั้น เราก็เรียกว่า ‘ผู้มีปกติอยู่ผู้เดียว’
(มิคชาละ ภิกษุผู้อยู่อย่างนี้ เราเรียกว่า ‘ผู้มีปกติอยู่ผู้เดียว‘) ข้อนั้นเพราะ
เหตุไร เพราะเธอละตัณหาที่เป็นเพื่อนนั้นได้แล้ว ฉะนั้นเราจึงเรียกว่า ‘ผู้มีปกติอยู่
ผู้เดียว”

ปฐมมิคชาลสูตรที่ ๑ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๒. ทุติยปัณณาสก์ ๒. มิคชาลวรรค ๒. ทุติยมิคชาลสูตร

๒. ทุติยมิคชาลสูตร
ว่าด้วยพระมิคชาละ สูตรที่ ๒

[๖๔] ครั้งนั้น ท่านพระมิคชาละเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ฯลฯ
นั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
ขอประทานวโรกาส ขอพระผู้มีพระภาคโปรดแสดงธรรมแก่ข้าพระองค์โดยย่อ ซึ่ง
ข้าพระองค์ได้ฟังแล้วจะพึงหลีกออกไปอยู่คนเดียว ไม่ประมาท๑ มีความเพียร อุทิศ
กายและใจอยู่เถิด”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “มิคชาละ รูปที่พึงรู้แจ้งทางตาที่น่าปรารถนา น่าใคร่
น่าพอใจ ชวนให้รัก ชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัดมีอยู่ ถ้าภิกษุยังเพลิดเพลิน เชยชม
ยึดติดรูปนั้นอยู่ เมื่อเธอเพลิดเพลิน เชยชม ยึดติดรูปนั้น ความเพลิดเพลิน
ย่อมเกิดขึ้น เรากล่าวว่า ‘เพราะความเพลิดเพลินเกิด ทุกข์จึงเกิด’ ฯลฯ
รสที่พึงรู้แจ้งทางลิ้นมีอยู่ ฯลฯ
ธรรมารมณ์ที่พึงรู้แจ้งทางใจที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก ชัก
ให้ใคร่ พาใจให้กำหนัดมีอยู่ ถ้าภิกษุยังเพลิดเพลิน เชยชม ยึดติดธรรมารมณ์นั้น
อยู่ เมื่อเธอเพลิดเพลิน เชยชม ยึดติดธรรมารมณ์นั้น ความเพลิดเพลินย่อม
เกิดขึ้น เรากล่าวว่า ‘เพราะความเพลิดเพลินเกิด ทุกข์จึงเกิด’
รูปที่พึงรู้แจ้งทางตาที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก ชักให้ใคร่
พาใจให้กำหนัดมีอยู่ ถ้าภิกษุไม่เพลิดเพลิน ไม่เชยชม ไม่ยึดติดรูปนั้นอยู่ เมื่อ
เธอไม่เพลิดเพลิน ไม่เชยชม ไม่ยึดติดรูปนั้น ความเพลิดเพลินย่อมดับไป เรา
กล่าวว่า ‘เพราะความเพลิดเพลินดับ ทุกข์จึงดับ’ ฯลฯ
รสที่พึงรู้แจ้งทางลิ้น ... มีอยู่ ฯลฯ
ธรรมารมณ์ที่พึงรู้แจ้งทางใจที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก ชักให้
ใคร่ พาใจให้กำหนัดมีอยู่ ถ้าภิกษุไม่เพลิดเพลิน ไม่เชยชม ไม่ยึดติดธรรมารมณ์
นั้นอยู่ เมื่อเธอไม่เพลิดเพลิน ไม่เชยชม ไม่ยึดติดธรรมารมณ์นั้น ความ
เพลิดเพลินย่อมดับไป เรากล่าวว่า ‘เพราะความเพลิดเพลินดับ ทุกข์จึงดับ”


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๒. ทุติยปัณณาสก์ ๒. มิคชาลวรรค ๓. ปฐมสมิทธิมารปัญหาสูตร

ครั้งนั้น ท่านพระมิคชาละชื่นชมยินดีพระภาษิตของพระผู้มีพระภาคแล้วลุกขึ้น
จากอาสนะ ถวายอภิวาท กระทำประทักษิณ๑แล้วจากไป ต่อมา ท่านพระมิคชาละ
หลีกออกไปอยู่คนเดียว ไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่ ไม่นานนัก
ได้ทำให้แจ้งซึ่งประโยชน์ยอดเยี่ยม๒อันเป็นที่สุดแห่งพรหมจรรย์๓ที่เหล่ากุลบุตรออก
จากเรือนบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบต้องการด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน
รู้ชัดว่า “ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่น
เพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป” อนึ่ง ท่านพระมิคชาละได้เป็นพระอรหันต์องค์หนึ่ง
ในบรรดาพระอรหันต์ทั้งหลาย

ทุติยมิคชาลสูตรที่ ๒ จบ

๓. ปฐมสมิทธิมารปัญหาสูตร
ว่าด้วยพระสมิทธิทูลถามปัญหาเรื่องมาร สูตรที่ ๑

[๖๕] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเวฬุวัน สถานที่ให้
เหยื่อกระแต เขตกรุงราชคฤห์ ครั้งนั้น ท่านพระสมิทธิเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึง
ที่ประทับ ฯลฯ ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระองค์
ตรัสว่า ‘มาร มาร‘๔ ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอจึงชื่อว่ามารหรือการบัญญัติว่ามาร”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “สมิทธิ จักขุ รูป จักขุวิญญาณ ธรรมที่พึงรู้
แจ้งทางจักขุวิญญาณมีอยู่ในที่ใด มารหรือการบัญญัติว่ามารก็มีอยู่ในที่นั้น
โสตะ สัททะ โสตวิญญาณ ธรรมที่พึงรู้แจ้งทางโสตวิญญาณมีอยู่ในที่ใด
มารหรือการบัญญัติว่ามารก็มีอยู่ในที่นั้น


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๒. ทุติยปัณณาสก์ ๒. มิคชาลวรรค ๕. สมิทธิทุกขปัญหาสูตร

ฆานะ คันธะ ฆานวิญญาณ ธรรมที่พึงรู้แจ้งทางฆานวิญญาณมีอยู่ในที่ใด
มารหรือการบัญญัติว่ามารก็มีอยู่ในที่นั้น
ชิวหา รส ชิวหาวิญญาณ ธรรมที่พึงรู้แจ้งทางชิวหาวิญญาณมีอยู่ในที่ใด
มารหรือการบัญญัติว่ามารก็มีอยู่ในที่นั้น
กาย โผฏฐัพพะ กายวิญญาณ ธรรมที่พึงรู้แจ้งทางกายวิญญาณมีอยู่ในที่ใด
มารหรือการบัญญัติว่ามารก็มีอยู่ในที่นั้น
มโน ธรรมารมณ์ มโนวิญญาณ ธรรมที่พึงรู้แจ้งทางมโนวิญญาณมีอยู่ในที่ใด
มารหรือการบัญญัติว่ามารก็มีอยู่ในที่นั้น
สมิทธิ ส่วนจักขุ รูป จักขุวิญญาณ ธรรมที่พึงรู้แจ้งทางจักขุวิญญาณไม่มี
ในที่ใดมารหรือการบัญญัติว่ามารก็ไม่มีในที่นั้น
โสตะ ฯลฯ ฆานะ ฯลฯ ชิวหา รส ชิวหาวิญญาณ ธรรมที่พึงรู้แจ้งทาง
ชิวหาวิญญาณไม่มีในที่ใด มารหรือการบัญญัติว่ามารก็ไม่มีในที่นั้น กาย ฯลฯ
มโน ธรรมารมณ์ มโนวิญญาณ ธรรมที่พึงรู้แจ้งทางมโนวิญญาณไม่มีในที่ใด
มารหรือการบัญญัติว่ามารก็ไม่มีในที่นั้น”

ปฐมสมิทธิมารปัญหาสูตรที่ ๓ จบ

๔. สมิทธิสัตตปัญหาสูตร
ด้วยพระสมิทธิทูลถามปัญหาเรื่องสัตว์

[๖๖] “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระองค์ตรัสว่า ‘สัตว์ สัตว์’ ด้วยเหตุเพียง
เท่าไรหนอจึงชื่อว่าสัตว์หรือการบัญญัติว่าสัตว์” ฯลฯ

สมิทธิสัตตปัญหาสูตรที่ ๔ จบ

๕. สมิทธิทุกขปัญหาสูตร
ว่าด้วยพระสมิทธิทูลถามปัญหาเรื่องทุกข์

[๖๗] “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระองค์ตรัสว่า ‘ทุกข์ ทุกข์’ ด้วยเหตุเพียง
เท่าไรหนอจึงชื่อว่าทุกข์หรือการบัญญัติว่าทุกข์” ฯลฯ

สมิทธิทุกขปัญหาสูตรที่ ๕ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๒. ทุติยปัณณาสก์ ๒. มิคชาลวรรค ๗. อุปเสนอาสีวิสสูตร

๖. สมิทธิโลกปัญหาสูตร
ว่าด้วยพระสมิทธิทูลถามปัญหาเรื่องโลก

[๖๘] “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระองค์ตรัสว่า ‘โลก โลก’ ด้วยเหตุเพียง
เท่าไรหนอจึงชื่อว่าโลก๑หรือการบัญญัติว่าโลก”
“สมิทธิ จักขุ รูป จักขุวิญญาณ ธรรมที่พึงรู้แจ้งทางจักขุวิญญาณมีอยู่ในที่ใด
โลกหรือการบัญญัติว่าโลกก็มีอยู่ในที่นั้น ฯลฯ
ชิวหา ฯลฯ มโน ธรรมารมณ์ มโนวิญญาณ ธรรมที่พึงรู้แจ้งทางมโนวิญญาณ
มีอยู่ในที่ใด โลกหรือการบัญญัติว่าโลกก็มีอยู่ในที่นั้น
สมิทธิ ส่วนจักขุ รูป จักขุวิญญาณ ธรรมที่พึงรู้แจ้งทางจักขุวิญญาณไม่มี
ในที่ใด โลกหรือการบัญญัติว่าโลกก็ไม่มีในที่นั้น ฯลฯ ชิวหา ฯลฯ มโน ธรรมารมณ์
มโนวิญญาณ ธรรมที่พึงรู้แจ้งทางมโนวิญญาณไม่มีในที่ใด โลกหรือการบัญญัติว่า
โลกก็ไม่มีในที่นั้น”

สมิทธิโลกปัญหาสูตรที่ ๖ จบ

๗. อุปเสนอาสีวิสสูตร
ว่าด้วยพระอุปเสนะถูกพิษงู

[๖๙] สมัยหนึ่ง ท่านพระสารีบุตรและท่านพระอุปเสนะอยู่ที่เงื้อมเขาชื่อสัปป-
โสณฑิกะ ป่าสีตวัน เขตกรุงราชคฤห์ สมัยนั้น งูตัวหนึ่งได้หล่นลงมาที่กายของท่าน
พระอุปเสนะ ครั้งนั้น ท่านเรียกภิกษุทั้งหลายมากล่าวว่า “มาเถิด ท่านทั้งหลาย
ช่วยกันยกกายของกระผมนี้ขึ้นเตียงแล้วหามออกไปข้างนอก ก่อนที่กายนี้จะเรี่ย
รายในที่นี้เหมือนกำแกลบ”
เมื่อท่านพระอุปเสนะกล่าวอย่างนี้แล้ว ท่านพระสารีบุตรก็ได้กล่าวกับท่านว่า
“พวกเรายังไม่เห็นกายของท่านอุปเสนะเป็นอย่างอื่นหรืออินทรีย์ของท่านแปรผันไปเลย
เมื่อเป็นเช่นนี้ท่านอุปเสนะยังพูดว่า ‘มาเถิด ท่านทั้งหลายช่วยกันยกกายของกระผม
นี้ขึ้นเตียงแล้วหามออกไปข้างนอก ก่อนที่กายนี้จะเรี่ยรายในที่นี้เหมือนกำแกลบ”


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๒. ทุติยปัณณาสก์ ๒. มิคชาลวรรค ๘. อุปวาณสันทิฏฐิกสูตร

ท่านพระอุปเสนะกล่าวว่า “ท่านสารีบุตร ผู้ใดพึงมีความคิดว่า ‘เราเป็นจักขุ’
หรือ ‘จักขุเป็นของเรา’ ฯลฯ ‘เราเป็นชิวหา’ หรือ ‘ชิวหาเป็นของเรา’ ฯลฯ
‘เราเป็นมโน’ หรือ ‘มโนเป็นของเรา’ ท่านสารีบุตร ความที่กายของผู้นั้นเป็นอย่าง
อื่นหรือความที่อินทรีย์ของผู้นั้นแปรผันพึงมีอย่างแน่นอน กระผมไม่มีความนึกคิด
เลยว่า ‘เราเป็นจักขุ’ หรือ ‘จักขุเป็นของเรา’ ฯลฯ ‘เราเป็นชิวหา’ หรือ ‘ชิวหา
เป็นของเรา’ ... ‘เราเป็นมโน’ หรือ ‘มโนเป็นของเรา’ ท่านสารีบุตร ความที่กาย
ของกระผมเป็นอย่างอื่นหรือความที่อินทรีย์ของกระผมแปรผัน จักมีได้อย่างไร”
จริงอย่างนั้น ท่านพระอุปเสนะได้ถอนอหังการ๑ มมังการ๒ และมานานุสัย (กิเลส
ที่นอนเนื่องคือความถือตัว) ได้เด็ดขาดนานมาแล้ว ฉะนั้นท่านพระอุปเสนะจึงไม่มี
ความคิดว่า “เราเป็นจักขุ” หรือ “จักขุเป็นของเรา” ฯลฯ “เราเป็นชิวหา” หรือ
“ชิวหาเป็นของเรา” ฯลฯ “เราเป็นมโน” หรือ “มโนเป็นของเรา”
ต่อมา ภิกษุเหล่านั้นได้ยกกายของท่านพระอุปเสนะขึ้นเตียงแล้วหามออกไปข้าง
นอก ขณะนั้น กายของท่านพระอุปเสนะก็เรี่ยรายในที่นั้นเองเหมือนกำแกลบ

อุปเสนอาสีวิสสูตรที่ ๗ จบ

๘. อุปวาณสันทิฏฐิกสูตร
ว่าด้วยพระอุปวาณะทูลถามธรรมที่พึงเห็นเอง

[๗๐] ครั้งนั้น ท่านพระอุปวาณะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ฯลฯ
นั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระองค์
ตรัสว่า ‘ธรรมเป็นธรรมที่ผู้ปฏิบัติจะพึงเห็นชัดด้วยตนเอง ธรรมเป็นธรรมที่ผู้
ปฏิบัติจะพึงเห็นชัดด้วยตนเอง’ ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอ พระธรรมจึงชื่อว่าเป็น
ธรรมที่ผู้ปฏิบัติจะพึงเห็นชัดด้วยตนเอง ไม่ประกอบด้วยกาล๓ ควรเรียกให้มาดู
ควรน้อมเข้ามาในตน อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน”


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๒. ทุติยปัณณาสก์ ๒. มิคชาลวรรค ๘. อุปวาณสันทิฏฐิกสูตร

พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “อุปวาณะ ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้เห็นรูปทางตา
แล้วเป็นผู้เสวยรูป เสวยความกำหนัดในรูป และรู้ชัดถึงความกำหนัดในรูปใน
ภายในซึ่งมีอยู่ว่า ‘ความกำหนัดในรูปในภายในของเรามีอยู่’ การที่ภิกษุเห็นรูป
ทางตาแล้วเป็นผู้เสวยรูป เสวยความกำหนัดในรูป และรู้ชัดถึงความกำหนัดในรูป
ในภายในซึ่งมีอยู่ว่า ‘ความกำหนัดในรูปในภายในของเรามีอยู่’ อย่างนี้แล อุปวาณะ
ธรรมจึงชื่อว่าเป็นธรรมที่ผู้ปฏิบัติจะพึงเห็นชัดด้วยตนเอง ไม่ประกอบด้วยกาล
ควรเรียกให้มาดู ควรน้อมเข้ามาในตน อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน ฯลฯ
อีกประการหนึ่ง ภิกษุลิ้มรสทางลิ้นแล้วเป็นผู้เสวยรส เสวยความกำหนัดใน
รส และรู้ชัดถึงความกำหนัดในรสในภายในซึ่งมีอยู่ว่า ‘ความกำหนัดในรสใน
ภายในของเรามีอยู่’ การที่ภิกษุลิ้มรสทางลิ้นแล้วเป็นผู้เสวยรส เสวยความกำหนัด
ในรส และรู้ชัดถึงความกำหนัดในรสในภายในซึ่งมีอยู่ว่า ‘ความกำหนัดในรสใน
ภายในของเรามีอยู่’ อย่างนี้แล อุปวาณะ ธรรมจึงชื่อว่าเป็นธรรมที่ผู้ปฏิบัติจะพึง
เห็นชัดด้วยตนเอง ไม่ประกอบด้วยกาล ควรเรียกให้มาดู ควรน้อมเข้ามาในตน
อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน ฯลฯ
อีกประการหนึ่ง ภิกษุรู้แจ้งธรรมารมณ์ทางใจแล้วเป็นผู้เสวยธรรมารมณ์ เสวย
ความกำหนัดในธรรมารมณ์ และรู้ชัดถึงความกำหนัดในธรรมารมณ์ในภายในซึ่งมีอยู่
ว่า ‘ความกำหนัดในธรรมารมณ์ในภายในของเรามีอยู่’ การที่ภิกษุรู้แจ้งธรรมารมณ์
ทางใจแล้วเป็นผู้เสวยธรรมารมณ์ เสวยความกำหนัดในธรรมารมณ์ และรู้ชัดถึง
ความกำหนัดในธรรมารมณ์ในภายในซึ่งมีอยู่ว่า ‘ความกำหนัดในธรรมารมณ์ใน
ภายในของเรามีอยู่’ อย่างนี้แล อุปวาณะ ธรรมจึงชื่อว่าเป็นธรรมที่ผู้ปฏิบัติจะพึง
เห็นชัดด้วยตนเอง ฯลฯ อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน ฯลฯ
ส่วนภิกษุในธรรมวินัยนี้เห็นรูปทางตาแล้วเป็นผู้เสวยรูป แต่ไม่เสวยความ
กำหนัดในรูป และรู้ชัดถึงความกำหนัดในรูปในภายในซึ่งไม่มีว่า ‘ความกำหนัดใน
รูปในภายในของเราไม่มี’ การที่ภิกษุเห็นรูปทางตาแล้วเป็นผู้เสวยรูป แต่ไม่เสวย
ความกำหนัดในรูป และรู้ชัดถึงความกำหนัดในรูปในภายในซึ่งไม่มีว่า ‘ความกำหนัด
ในรูปในภายในของเราไม่มี’ อย่างนี้แล อุปวาณะ ธรรมจึงชื่อว่าเป็นธรรมที่ผู้ปฏิบัติ
จะพึงเห็นชัดด้วยตนเอง ไม่ประกอบด้วยกาล ควรเรียกให้มาดู ควรน้อมเข้ามาในตน
อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๖๐ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๒. ทุติยปัณณาสก์ ๒. มิคชาลวรรค ๙. ปฐมฉผัสสายตนสูตร

อีกประการหนึ่ง ภิกษุลิ้มรสทางลิ้นแล้วเป็นผู้เสวยรส แต่ไม่เสวยความกำหนัด
ในรส และรู้ชัดถึงความกำหนัดในรสในภายในซึ่งไม่มีว่า ‘ความกำหนัดในรสในภายใน
ของเราไม่มี’ ฯลฯ
อีกประการหนึ่ง ภิกษุรู้แจ้งธรรมารมณ์ทางใจแล้วเป็นผู้เสวยธรรมารมณ์ แต่
ไม่เสวยความกำหนัดในธรรมารมณ์ และรู้ชัดถึงความกำหนัดในธรรมารมณ์ใน
ภายในซึ่งไม่มีว่า ‘ความกำหนัดในธรรมารมณ์ในภายในของเราไม่มี’ การที่ภิกษุ
รู้แจ้งธรรมารมณ์ทางใจแล้วเป็นผู้เสวยธรรมารมณ์ แต่ไม่เสวยความกำหนัดใน
ธรรมารมณ์ และรู้ชัดถึงความกำหนัดในธรรมารมณ์ในภายในซึ่งไม่มีว่า ‘ความ
กำหนัดในภายในของเราไม่มี’ อย่างนี้แล อุปวาณะ ธรรมจึงชื่อว่าเป็นธรรมอันผู้
ปฏิบัติจะพึงเห็นชัดด้วยตนเอง ไม่ประกอบด้วยกาล ควรเรียกให้มาดู ควรน้อม
เข้ามาในตน อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน”

อุปวาณสันทิฏฐิกสูตรที่ ๘ จบ

๙. ปฐมฉผัสสายตนสูตร
ว่าด้วยผัสสายตนะ ๖ ประการ สูตรที่ ๑

[๗๑] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุบางรูปไม่รู้ชัดถึงความ
เกิด ความดับ คุณ โทษ และเครื่องสลัดออกจากผัสสายตนะ๑ ๖ ประการตาม
ความเป็นจริง เธอชื่อว่าประพฤติพรหมจรรย์ยังไม่จบ เป็นผู้ไกลจากธรรมวินัยนี้”
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ภิกษุรูปหนึ่งได้กราบทูลพระผู้มีพระภาค
ดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์พินาศย่อยยับแล้วในศาสนานี้ เพราะ
ข้าพระองค์ไม่รู้ชัดถึงความเกิด ความดับ คุณ โทษ และเครื่องสลัดออกจาก
ผัสสายตนะ ๖ ประการตามความเป็นจริง”
“ภิกษุ เธอเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร เธอพิจารณาเห็นจักขุว่า ‘นั่นของเรา
เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเราหรือ”
“ไม่ใช่อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๒. ทุติยปัณณาสก์ ๒. มิคชาลวรรค ๑๐. ทุติยฉผัสสายตนสูตร

“ดีละ ภิกษุ ในข้อนี้จักขุที่เธอพิจารณาเห็นอย่างนี้ว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา เรา
ไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’ จักเป็นอันเธอเห็นดีแล้วด้วยปัญญาอันชอบตาม
ความเป็นจริง นี้แลคือที่สุดแห่งทุกข์ ฯลฯ เธอพิจารณาเห็นชิวหาว่า ‘นั่นของเรา
เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา‘หรือ”
“ไม่ใช่อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
“ดีละ ภิกษุ ในข้อนี้ชิวหาที่เธอพิจารณาเห็นอย่างนี้ว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา
เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’ จักเป็นอันเธอเห็นดีแล้วด้วยปัญญาอันชอบ
ตามความเป็นจริง นี้แลคือที่สุดแห่งทุกข์ ฯลฯ เธอพิจารณาเห็นมโนว่า ‘นั่นของเรา
เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา‘หรือ”
“ไม่ใช่อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
“ดีละ ภิกษุ ในข้อนี้มโนที่เธอพิจารณาเห็นอย่างนี้ว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา เรา
ไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’ จักเป็นอันเธอเห็นดีแล้วด้วยปัญญาอันชอบตาม
ความเป็นจริง นี้แลคือที่สุดแห่งทุกข์”

ปฐมฉผัสสายตนสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. ทุติยฉผัสสายตนสูตร
ว่าด้วยผัสสายตนะ ๖ ประการ สูตรที่ ๒

[๗๒] “ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุบางรูปไม่รู้ชัดถึงความเกิด ความดับ คุณ โทษ
และเครื่องสลัดออกจากผัสสายตนะ ๖ ประการตามความเป็นจริง เธอประพฤติ
พรหมจรรย์ยังไม่จบ เป็นผู้ไกลจากธรรมวินัยนี้”
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ภิกษุรูปหนึ่งได้กราบทูลพระผู้มีพระภาค
ดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์พินาศย่อยยับแล้วในศาสนานี้ เพราะ
ข้าพระองค์ไม่รู้ชัดถึงความเกิด ความดับ คุณ โทษ และเครื่องสลัดออกจาก
ผัสสายตนะ ๖ ประการตามความเป็นจริง”
“ภิกษุ เธอเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร เธอพิจารณาเห็นจักขุว่า ‘นั่นไม่ใช่
ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา‘หรือ”
“อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๖๒ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๒. ทุติยปัณณาสก์ ๒. มิคชาลวรรค ๑๑. ตติยฉผัสสายตนสูตร

“ดีละ ภิกษุ ในข้อนี้จักขุที่เธอพิจารณาเห็นอย่างนี้ว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา เรา
ไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’ จักเป็นอันเธอเห็นดีแล้วด้วยปัญญาอันชอบตาม
ความเป็นจริง ด้วยการเห็นอย่างนี้ ผัสสายตนะที่ ๑ นี้จักเป็นอันเธอละได้แล้วเพื่อ
ไม่ให้ผัสสายตนะนั้นเกิดอีกต่อไป” ฯลฯ
“เธอพิจารณาเห็นชิวหาว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตา
ของเรา‘หรือ”
“อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
“ดีละ ภิกษุ ในข้อนี้ชิวหาที่เธอพิจารณาเห็นอย่างนี้ว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา
เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’ จักเป็นอันเธอเห็นดีแล้วด้วยปัญญาอันชอบ
ตามความเป็นจริง ด้วยการเห็นอย่างนี้ ผัสสายตนะที่ ๔ นี้จักเป็นอันเธอละได้แล้ว
เพื่อไม่ให้ผัสสายตนะนั้นเกิดอีกต่อไป” ฯลฯ
“เธอพิจารณาเห็นมโนว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตา
ของเรา‘หรือ”
“อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
“ดีละ ภิกษุ ในข้อนี้มโนที่เธอพิจารณาเห็นอย่างนี้ว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา เรา
ไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’ จักเป็นอันเธอเห็นดีแล้วด้วยปัญญาอันชอบตาม
ความเป็นจริง ด้วยการเห็นอย่างนี้ ผัสสายตนะที่ ๖ นี้จักเป็นอันเธอละได้แล้วเพื่อ
ไม่ให้ผัสสายตนะนั้นเกิดอีกต่อไป”

ทุติยฉผัสสายตนสูตรที่ ๑๐ จบ

๑๑. ตติยฉผัสสายตนสูตร
ว่าด้วยผัสสายตนะ ๖ ประการ สูตรที่ ๓

[๗๓] “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุบางรูปไม่รู้ชัดถึงความเกิด ความดับ คุณ โทษ
และเครื่องสลัดออกจากผัสสายตนะ ๖ ประการตามความเป็นจริง เธอประพฤติ
พรหมจรรย์ยังไม่จบ เป็นผู้ไกลจากธรรมวินัยนี้”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๖๓ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๒. ทุติยปัณณาสก์ ๒. มิคชาลวรรค ๑๑. ตติยฉผัสสายตนสูตร

เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ภิกษุรูปหนึ่งได้กราบทูลพระผู้มีพระภาค
ดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์พินาศย่อยยับแล้วในศาสนานี้ เพราะ
ข้าพระองค์ไม่รู้ชัดถึงความเกิด ความดับ คุณ โทษ และเครื่องสลัดออกจาก
ผัสสายตนะ ๖ ประการตามความเป็นจริง”
“ภิกษุ เธอเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร จักขุเที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข”
“เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา ควรหรือที่จะพิจารณา
เห็นสิ่งนั้นว่า ‘นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา”
“ข้อนั้นไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า”
“โสตะ ... ฆานะ ... ชิวหา ... กาย ... มโนเที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข”
“เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา ควรหรือที่จะพิจารณา
เห็นสิ่งนั้นว่า ‘นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา”
“ข้อนั้นไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า”
“ภิกษุ อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในจักขุ ย่อม
เบื่อหน่ายแม้ในโสตะ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในฆานะ ฯลฯ เมื่อเบื่อหน่ายย่อมคลาย
กำหนัด เพราะคลายกำหนัด จิตย่อมหลุดพ้น เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว ก็รู้ว่า ‘หลุดพ้น
แล้ว’ รู้ชัดว่า ‘ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มี
กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป”

ตติยฉผัสสายตนสูตรที่ ๑๑ จบ
มิคชาลวรรคที่ ๒ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๒. ทุติยปัณณาสก์ ๒. มิคชาลวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. ปฐมมิคชาลสูตร ๒. ทุติยมิคชาลสูตร
๓. ปฐมสมิทธิมารปัญหาสูตร ๔. สมิทธิสัตตปัญหาสูตร
๕. สมิทธิทุกขปัญหาสูตร ๖. สมิทธิโลกปัญหาสูตร
๗. อุปเสนอาสีวิสสูตร ๘. อุปวาณสันทิฏฐิกสูตร
๙. ปฐมฉผัสสายตนสูตร ๑๐. ทุติยฉผัสสายตนสูตร
๑๑. ตติยฉผัสสายตนสูตร


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๒. ทุติยปัณณาสก์ ๓. คิลานวรรค ๑. ปฐมคิลานสูตร

๓. คิลานวรรค
หมวดว่าด้วยภิกษุผู้อาพาธ
๑. ปฐมคิลานสูตร
ว่าด้วยภิกษุผู้อาพาธ สูตรที่ ๑

[๗๔] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ครั้งนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ฯลฯ นั่ง ณ
ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ในวิหารโน้น
มีภิกษุใหม่รูปหนึ่ง ไม่มีใครรู้จัก อาพาธ ได้รับทุกข์ เป็นไข้หนัก ข้าแต่พระองค์
ผู้เจริญ ขอประทานวโรกาส ขอพระผู้มีพระภาคทรงอาศัยความอนุเคราะห์โปรด
เสด็จไปเยี่ยมภิกษุนั้นถึงที่อยู่ด้วยเถิด”
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคทรงสดับว่าภิกษุใหม่เป็นไข้ ทรงทราบว่า “เป็นภิกษุ
ที่ไม่มีใครรู้จัก” จึงเสด็จเข้าไปเยี่ยมภิกษุนั้นถึงที่อยู่ ภิกษุนั้นได้เห็นพระผู้มีพระภาค
กำลังเสด็จมาแต่ไกลจึงลุกขึ้นจากเตียง ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกับภิกษุ
นั้นดังนี้ว่า “อย่าเลยภิกษุ เธออย่าลุกจากเตียงเลย เราจักนั่งบนอาสนะที่ปูลาดไว้
นั้น” พระผู้มีพระภาคประทับนั่งบนพุทธอาสน์๑ที่ปูลาดไว้แล้ว ได้ตรัสถามภิกษุนั้น
ว่า “ภิกษุ เธอยังสบายดีหรือ ยังพอเป็นอยู่ได้หรือ ทุกขเวทนาทุเลาลง ไม่กำเริบ
ขึ้นหรืออาการทุเลาปรากฏ อาการกำเริบไม่ปรากฏหรือ”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ไม่สบาย จะเป็นอยู่ไม่ได้ ทุกขเวทนาของ
ข้าพระองค์กำเริบหนักขึ้น ไม่ทุเลาลงเลย อาการกำเริบปรากฏ อาการทุเลาไม่
ปรากฏ พระพุทธเจ้าข้า”
“ภิกษุ เธอไม่รำคาญ ทุรนทุรายบ้างหรือ”


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๒. ทุติยปัณณาสก์ ๓. คิลานวรรค ๑. ปฐมคิลานสูตร

“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ความจริง ข้าพระองค์รำคาญ ทุรนทุรายมาก
พระพุทธเจ้าข้า”
“ภิกษุ เธอติเตียนตนเองโดยศีลได้หรือไม่”
“ข้าพระองค์ติเตียนตนเองโดยศีลไม่ได้เลย พระพุทธเจ้าข้า”
“ภิกษุ ถ้าเธอติเตียนตนเองโดยศีลไม่ได้แล้ว เมื่อเป็นเช่นนั้น เธอจะรำคาญ
ทุรนทุรายไปทำไม”
“ข้าพระองค์ยังไม่รู้ทั่วถึงธรรมที่พระองค์ทรงแสดงเพื่อความหมดจดแห่งศีลเลย
พระพุทธเจ้าข้า”
“ภิกษุ ถ้าเธอยังไม่รู้ทั่วถึงธรรมที่เราแสดงเพื่อความหมดจดแห่งศีลแล้ว เมื่อ
เป็นเช่นนั้น เธอจะรู้ทั่วถึงธรรมที่เราแสดงแล้วประพฤติเพื่ออะไร”
“ข้าพระองค์จะรู้ทั่วถึงธรรมที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงแล้ว เพื่อคลายความ
กำหนัด พระพุทธเจ้าข้า”
“ดีละ ดีละ ภิกษุ ดีแล้ว ภิกษุ ที่เธอรู้ทั่วถึงธรรมที่เราแสดงแล้วเพื่อคลาย
ความกำหนัด เพราะว่าธรรมที่เราแสดงแล้วล้วนมีความมุ่งหมายเพื่อคลายความ
กำหนัด ภิกษุ เธอเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร จักขุเที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า” ฯลฯ
“โสตะ ฯลฯ ฆานะ ... ชิวหา ... กาย ... มโนเที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข”
“เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา ควรหรือที่จะพิจารณา
เห็นสิ่งนั้นว่า ‘นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา”
“ข้อนั้นไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๖๗ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๒. ทุติยปัณณาสก์ ๓. คิลานวรรค ๒. ทุติยคิลานสูตร

“ภิกษุ อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในจักขุ ฯลฯ
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในมโน เมื่อเบื่อหน่ายย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด
จิตย่อมหลุดพ้น เมื่อจิตหลุดพ้นแล้วก็รู้ว่า ‘หลุดพ้นแล้ว’ รู้ชัดว่า ‘ชาติสิ้นแล้ว
ฯลฯ ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป”
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสอย่างนี้แล้ว ภิกษุนั้นก็มีใจยินดีชื่นชมพระภาษิตของ
พระผู้มีพระภาค เมื่อพระองค์ตรัสเวยยากรณภาษิตนี้อยู่ ธรรมจักษุ๑อันปราศจากธุลี๒
ปราศจากมลทินได้เกิดแก่ภิกษุนั้นว่า “สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้น
ทั้งปวงมีความดับไปเป็นธรรมดา”

ปฐมคิลานสูตรที่ ๑ จบ

๒. ทุติยคิลานสูตร
ว่าด้วยภิกษุผู้อาพาธ สูตรที่ ๒

[๗๕] ครั้งนั้น ภิกษุรูปหนึ่ง ฯลฯ ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่
พระองค์ผู้เจริญ ในวิหารโน้นมีภิกษุใหม่รูปหนึ่ง ไม่มีใครรู้จัก อาพาธ ได้รับทุกข์
เป็นไข้หนัก ขอประทานวโรกาส ขอพระผู้มีพระภาคทรงอาศัยความอนุเคราะห์โปรด
เสด็จไปเยี่ยมภิกษุนั้นถึงที่อยู่ด้วยเถิด”
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคทรงสดับว่าภิกษุใหม่เป็นไข้ ทรงทราบว่า “เป็นภิกษุ
ที่ไม่มีใครรู้จัก” จึงเสด็จไปเยี่ยมภิกษุนั้นถึงที่อยู่ ภิกษุนั้นได้เห็นพระผู้มีพระภาค
กำลังเสด็จมาแต่ไกลจึงลุกขึ้นจากเตียง ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกับภิกษุนั้น
ดังนี้ว่า “อย่าเลยภิกษุ เธออย่าลุกจากเตียงเลย เราจักนั่งบนอาสนะที่ปูลาดไว้นั้น”
พระผู้มีพระภาคประทับนั่งบนพุทธอาสน์ที่ปูลาดไว้แล้ว ได้ตรัสถามภิกษุนั้นว่า “ภิกษุ
เธอยังสบายดีหรือ ยังพอเป็นอยู่ได้หรือ ทุกขเวทนาทุเลาลง ไม่กำเริบขึ้นหรือ
อาการทุเลาปรากฏ อาการกำเริบไม่ปรากฏหรือ”


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๒. ทุติยปัณณาสก์ ๓. คิลานวรรค ๒. ทุติยคิลานสูตร

“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ไม่สบาย จะเป็นอยู่ไม่ได้ ฯลฯ ข้าพระองค์
ติเตียนตนเองโดยศีลไม่ได้เลย พระพุทธเจ้าข้า”
“ภิกษุ ถ้าเธอติเตียนตนเองโดยศีลไม่ได้แล้ว เมื่อเป็นเช่นนั้น เธอจะรำคาญ
ทุรนทุรายไปทำไม”
“ข้าพระองค์ยังไม่รู้ทั่วถึงธรรมที่พระองค์ทรงแสดงเพื่อความหมดจดแห่งศีลเลย
พระพุทธเจ้าข้า”
“ภิกษุ ถ้าเธอยังไม่รู้ทั่วถึงธรรมที่เราแสดงเพื่อความหมดจดแห่งศีลแล้ว เมื่อ
เป็นเช่นนั้น เธอจะรู้ทั่วถึงธรรมที่เราแสดงแล้วประพฤติเพื่ออะไร”
“ข้าพระองค์จะรู้ทั่วถึงธรรมที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงแล้วเพื่อความดับสนิท
โดยไม่ยึดมั่น พระพุทธเจ้าข้า”
“ดีละ ดีละ ภิกษุ ดีแล้ว ภิกษุ ที่เธอรู้ทั่วถึงธรรมที่เราแสดงแล้วเพื่อความ
ดับสนิทโดยไม่ยึดมั่น เพราะว่าธรรมที่เราแสดงแล้วล้วนมีความมุ่งหมายเพื่อความ
ดับสนิทโดยไม่ยึดมั่น ภิกษุ เธอเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร จักขุเที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า” ฯลฯ
“โสตะ ... ฆานะ ... ชิวหา ... กาย ... มโน ... มโนวิญญาณ ... มโนสัมผัส
... แม้ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัส
เป็นปัจจัย เที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข”
“เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา ควรหรือที่จะพิจารณา
เห็นสิ่งนั้นว่า ‘นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา”
“ข้อนั้นไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๖๙ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๒. ทุติยปัณณาสก์ ๓. คิลานวรรค ๓. ราธอนิจจสูตร

“ภิกษุ อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในจักขุ ฯลฯ แม้
ในมโน ฯลฯ แม้ในมโนวิญญาณ ฯลฯ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในมโนสัมผัส ย่อม
เบื่อหน่ายแม้ในความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้น
เพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย เมื่อเบื่อหน่ายย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด
จิตย่อมหลุดพ้น เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว ก็รู้ว่า ‘หลุดพ้นแล้ว’ รู้ชัดว่า ‘ชาติสิ้นแล้ว
อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้
อีกต่อไป”
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสอย่างนี้แล้ว ภิกษุนั้นมีใจยินดีชื่นชมพระภาษิตของพระ
ผู้มีพระภาค เมื่อพระองค์ตรัสเวยยากรณภาษิตนี้อยู่ จิตของภิกษุนั้นก็หลุดพ้นจาก
อาสวะทั้งหลายเพราะไม่ถือมั่น

ทุติยคิลานสูตรที่ ๒ จบ

๓. ราธอนิจจสูตร
ว่าด้วยทรงแสดงอนิจจธรรมแก่พระราธะ

[๗๖] ครั้งนั้นแล ท่านพระราธะ ฯลฯ นั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระ
ผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานวโรกาส ขอพระผู้มีพระภาค
โปรดแสดงธรรมแก่ข้าพระองค์โดยย่อ ซึ่งข้าพระองค์ได้ฟังแล้วจะพึงหลีกออกไปอยู่
คนเดียว ไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่เถิด”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ราธะ สิ่งใดไม่เที่ยง เธอพึงละความพอใจในสิ่งนั้น
ก็อะไรเล่าชื่อว่าไม่เที่ยง เธอพึงละความพอใจในสิ่งนั้น
คือ จักขุไม่เที่ยง เธอพึงละความพอใจในจักขุนั้น รูปไม่เที่ยง เธอพึงละ
ความพอใจในรูปนั้น จักขุวิญญาณ ... จักขุสัมผัส ... แม้ความเสวยอารมณ์ที่เป็น
สุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัยก็ไม่เที่ยง เธอ
พึงละความพอใจในความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้น
เพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัยนั้น ฯลฯ ชิวหา ... กาย ... มโนไม่เที่ยง เธอพึงละ
ความพอใจในมโนนั้น ธรรมารมณ์ ... มโนวิญญาณ ... มโนสัมผัส ... แม้ความ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๗๐ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๒. ทุติยปัณณาสก์ ๓. คิลานวรรค ๕. ราธอนัตตสูตร

เสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย
ก็ไม่เที่ยง เธอพึงละความพอใจในความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุข
มิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัยนั้น
ราธะ สิ่งใดไม่เที่ยง เธอพึงละความพอใจในสิ่งนั้น”

ราธอนิจจสูตรที่ ๓ จบ

๔. ราธทุกขสูตร
ว่าด้วยทรงแสดงทุกขธรรมแก่พระราธะ

[๗๗] “ราธะ สิ่งใดเป็นทุกข์ เธอพึงละความพอใจในสิ่งนั้น
ก็อะไรเล่าชื่อว่าเป็นทุกข์ เธอพึงละความพอใจในสิ่งนั้น
คือ จักขุเป็นทุกข์ เธอพึงละความพอใจในจักขุนั้น รูปเป็นทุกข์ เธอพึงละ
ความพอใจในรูปนั้น จักขุวิญญาณ ... จักขุสัมผัส ... แม้ความเสวยอารมณ์ที่เป็น
สุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัยก็เป็นทุกข์ เธอ
พึงละความพอใจในความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้น
เพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัยนั้น ฯลฯ มโน ... ธรรมารมณ์ ... มโนวิญญาณ ...
มโนสัมผัส ... แม้ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้น
เพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัยก็เป็นทุกข์ เธอพึงละความพอใจในความเสวยอารมณ์ที่
เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัยนั้น
ราธะ สิ่งใดเป็นทุกข์ เธอพึงละความพอใจในสิ่งนั้น”

ราธทุกขสูตรที่ ๔ จบ

๕. ราธอนัตตสูตร
ว่าด้วยทรงแสดงอนัตตธรรมแก่พระราธะ

[๗๘] “ราธะ สิ่งใดเป็นอนัตตา เธอพึงละความพอใจในสิ่งนั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๗๑ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๒. ทุติยปัณณาสก์ ๓. คิลานวรรค ๖. ปฐมอวิชชาปหานสูตร

ก็อะไรเล่าชื่อว่าเป็นอนัตตา เธอพึงละความพอใจในสิ่งนั้น
คือ จักขุเป็นอนัตตา เธอพึงละความพอใจในจักขุนั้น รูปเป็นอนัตตา เธอพึง
ละความพอใจในรูปนั้น จักขุวิญญาณ ... จักขุสัมผัส ... เพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัย
ฯลฯ มโน ... ธรรมารมณ์ ... มโนวิญญาณ ... มโนสัมผัส ... แม้ความเสวย
อารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัยก็
เป็นอนัตตา เธอพึงละความพอใจในความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุข
มิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัยนั้น
ราธะ สิ่งใดเป็นอนัตตา เธอพึงละความพอใจในสิ่งนั้น”

ราธอนัตตสูตรที่ ๕ จบ

๖. ปฐมอวิชชาปหานสูตร
ว่าด้วยการละอวิชชา สูตรที่ ๑

[๗๙] ครั้งนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ฯลฯ นั่ง
ณ ที่สมควรแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุละ
อวิชชาได้ วิชชาจึงเกิดขึ้น เพราะละธรรมอย่างหนึ่งใด ธรรมอย่างหนึ่งนั้นมีอยู่หรือ”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ภิกษุ ภิกษุละอวิชชาได้ วิชชาจึงเกิดขึ้น
เพราะละธรรมอย่างหนึ่งใด ธรรมอย่างหนึ่งนั้นมีอยู่”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุละอวิชชาได้ วิชชาจึงเกิดขึ้น เพราะละธรรม
อย่างหนึ่งใด ธรรมอย่างหนึ่งนั้นคืออะไร”
“ภิกษุ ภิกษุละอวิชชาได้ วิชชาจึงเกิดขึ้น เพราะละธรรมอย่างหนึ่งใด ธรรม
อย่างหนึ่งนั้นคืออวิชชา”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุเมื่อรู้เห็นอย่างไรจึงละอวิชชาได้ วิชชาจึงเกิดขึ้น”
“ภิกษุ ภิกษุเมื่อรู้เห็นจักขุโดยความไม่เที่ยงจึงละอวิชชาได้ วิชชาจึงเกิดขึ้น
เมื่อรู้เห็นรูป ฯลฯ จักขุวิญญาณ ฯลฯ จักขุสัมผัส ... เมื่อรู้เห็นแม้ความเสวย
อารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๗๒ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๒. ทุติยปัณณาสก์ ๓. คิลานวรรค ๗. ทุติยอวิชชาปหานสูตร

โดยความไม่เที่ยงจึงละอวิชชาได้ วิชชาจึงเกิดขึ้น ฯลฯ เมื่อรู้เห็นมโนโดยความไม่
เที่ยงจึงละอวิชชาได้ วิชชาจึงเกิดขึ้น เมื่อรู้เห็นธรรม ฯลฯ มโนวิญญาณ ฯลฯ
มโนสัมผัส ... เมื่อรู้เห็นแม้ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่
ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย โดยความไม่เที่ยงจึงละอวิชชาได้ วิชชาจึง
เกิดขึ้น
ภิกษุ ภิกษุเมื่อรู้เห็นอย่างนี้แลจึงละอวิชชาได้ วิชชาจึงเกิดขึ้น”

ปฐมอวิชชาปหานสูตรที่ ๖ จบ

๗. ทุติยอวิชชาปหานสูตร
ว่าด้วยการละอวิชชา สูตรที่ ๒

[๘๐] ครั้งนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่ง ฯลฯ ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุละอวิชชาได้ วิชชาจึงเกิดขึ้น เพราะละธรรมอย่างหนึ่ง
ใด ธรรมอย่างหนึ่งนั้นมีอยู่หรือ”
“ภิกษุ ภิกษุละอวิชชาได้ วิชชาจึงเกิดขึ้น เพราะละธรรมอย่างหนึ่งใด ธรรม
อย่างหนึ่งนั้นมีอยู่”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุละอวิชชาได้ วิชชาจึงเกิดขึ้น เพราะละธรรม
อย่างหนึ่งใด ธรรมอย่างหนึ่งนั้นคืออะไร”
“ภิกษุละอวิชชาได้ วิชชาจึงเกิดขึ้น เพราะละธรรมอย่างหนึ่งใด ธรรมอย่าง
หนึ่งนั้นคืออวิชชา”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุเมื่อรู้เห็นอย่างไรจึงละอวิชชาได้ วิชชาจึงเกิดขึ้น”
“ภิกษุในธรรมวินัยนี้ได้สดับว่า ‘ธรรมทั้งปวงไม่ควรยึดมั่น’ ครั้นเธอได้สดับ
อย่างนี้ว่า ‘ธรรมทั้งปวงไม่ควรยึดมั่น’ ก็รู้ยิ่งธรรมทั้งปวง ครั้นรู้ยิ่งธรรมทั้งปวงแล้ว
ก็กำหนดรู้ธรรมทั้งปวง ครั้นกำหนดรู้ธรรมทั้งปวงแล้วก็เห็นนิมิตทั้งปวงโดยอาการ
อื่น เห็นจักขุโดยอาการอื่น เห็นรูป ฯลฯ จักขุวิญญาณ ฯลฯ จักขุสัมผัส ... เห็น
แม้ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัส

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๗๓ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๒. ทุติยปัณณาสก์ ๓. คิลานวรรค ๘. สัมพหุลภิกขุสูตร

เป็นปัจจัยโดยอาการอื่น ฯลฯ เห็นมโนโดยอาการอื่น ฯลฯ ธรรมารมณ์ ฯลฯ
มโนวิญญาณ ฯลฯ มโนสัมผัส ... เห็นแม้ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์
หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัยโดยอาการอื่น
ภิกษุ ภิกษุเมื่อรู้เห็นอย่างนี้แลจึงละอวิชชาได้ วิชชาจึงเกิดขึ้น”

ทุติยอวิชชาปหานสูตรที่ ๗ จบ

๘. สัมพหุลภิกขุสูตร
ว่าด้วยภิกษุหลายรูป

[๘๑] ครั้งนั้นแล ภิกษุหลายรูปเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ฯลฯ
นั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พวก
อัญเดียรถีย์ปริพาชกในโลกนี้ถามข้าพระองค์ทั้งหลายอย่างนี้ว่า ‘ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย
พวกท่านประพฤติพรหมจรรย์ในพระสมณโคดมเพื่อต้องการอะไร’ ข้าพระองค์ทั้งหลาย
ถูกถามอย่างนี้จึงตอบอัญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้นอย่างนี้ว่า ‘ผู้มีอายุทั้งหลาย
พวกเราประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาคเพื่อกำหนดรู้ทุกข์’
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ทั้งหลายถูกถามอย่างนี้ จึงตอบอย่างนี้ ชื่อว่า
พูดตรงตามที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ ไม่ชื่อว่ากล่าวตู่พระผู้มีพระภาคด้วยคำเท็จหรือ
ชื่อว่ากล่าวแก้อย่างสมเหตุสมผลหรือ ไม่มีบ้างหรือที่คำกล่าวเช่นนั้นและคำที่กล่าว
ต่อ ๆ กันมาจะเป็นเหตุให้ถูกตำหนิได้”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ดีละ ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายถูกถามอย่างนี้
จึงตอบอย่างนี้ ชื่อว่าพูดตรงตามคำที่เราพูดไว้ ไม่ชื่อว่ากล่าวตู่เราด้วยคำเท็จ ชื่อว่า
กล่าวแก้อย่างสมเหตุสมผล ไม่มีที่คำกล่าวเช่นนั้นและคำที่กล่าวต่อ ๆ กันมาจะ
เป็นเหตุให้ถูกตำหนิได้
ภิกษุทั้งหลาย เพราะเธอทั้งหลายประพฤติพรหมจรรย์ในเราเพื่อกำหนดรู้
ทุกข์ ถ้าพวกอัญเดียรถีย์ปริพาชกจะพึงถามเธอทั้งหลายว่า ‘ผู้มีอายุทั้งหลาย ก็ทุกข์
ที่พวกท่านประพฤติพรหมจรรย์ในพระสมณโคดมเพื่อกำหนดรู้นั้นเป็นอย่างไร’
เธอทั้งหลายถูกถามอย่างนี้ พึงตอบอัญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้นอย่างนี้ว่า
‘ผู้มีอายุ จักขุเป็นทุกข์ พวกเราประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาคเพื่อกำหนด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๗๔ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๒. ทุติยปัณณาสก์ ๓. คิลานวรรค ๙. โลกปัญหาสูตร

รู้จักขุที่เป็นทุกข์นั้น รูป ฯลฯ แม้ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุข
มิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัยก็เป็นทุกข์ พวกเราประพฤติพรหมจรรย์
ในพระผู้มีพระภาคเพื่อกำหนดรู้ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่
ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัยที่เป็นทุกข์นั้น ฯลฯ มโนเป็นทุกข์ ฯลฯ
แม้ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัส
เป็นปัจจัยก็เป็นทุกข์ พวกเราประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาคเพื่อกำหนดรู้
ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัส
เป็นปัจจัยที่เป็นทุกข์นั้น ผู้มีอายุทั้งหลาย ข้อนี้แลคือทุกข์ พวกเราประพฤติ
พรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาค เพื่อกำหนดรู้ทุกข์นั้น’
ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายถูกถามอย่างนี้ พึงตอบอัญเดียรถีย์ปริพาชก
เหล่านั้นอย่างนี้”

สัมพหุลภิกขุสูตรที่ ๘ จบ

๙. โลกปัญหาสูตร
ว่าด้วยปัญหาเรื่องโลก

[๘๒] ครั้งนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปเฝ้า พระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ฯลฯ นั่ง
ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระองค์
ตรัสว่า ‘โลก โลก’ ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอจึงตรัสว่า ‘โลก’ พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุ ที่เราเรียกว่า ‘โลก’ เพราะจะต้องแตกสลาย
ก็อะไรเล่าแตกสลาย
คือ จักขุแตกสลาย รูปแตกสลาย จักขุวิญญาณแตกสลาย จักขุสัมผัสแตก
สลาย แม้ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะ
จักขุสัมผัสเป็นปัจจัยก็แตกสลาย ฯลฯ ชิวหาแตกสลาย ฯลฯ มโนแตกสลาย ฯลฯ
ธรรมารมณ์แตกสลาย ฯลฯ มโนวิญญาณแตกสลาย ฯลฯ มโนสัมผัสแตกสลาย
แม้ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์ หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะ
มโนสัมผัสเป็นปัจจัยก็แตกสลาย
ภิกษุ ที่เราเรียกว่า ‘โลก’ เพราะจะต้องแตกสลาย”

โลกปัญหาสูตรที่ ๙ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๒. ทุติยปัณณาสก์ ๓. คิลานวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

๑๐. ผัคคุนปัญหาสูตร
ว่าด้วยพระผัคคุนะทูลถามปัญหา

[๘๓] ครั้งนั้นแล ท่านพระผัคคุนะ ฯลฯ นั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถาม
พระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บุคคลเมื่อจะบัญญัติพระพุทธเจ้า
ทั้งหลายในอดีตผู้ตัดธรรมเครื่องเนิ่นช้า๑ ผู้ตัดทาง๒ได้แล้ว ผู้ครอบงำวัฏฏะได้แล้ว
ผู้ล่วงพ้นทุกข์ทั้งปวงได้แล้ว ปรินิพพานแล้ว พึงบัญญัติด้วยจักขุใด จักขุนั้นมีอยู่หรือ
ฯลฯ บุคคลเมื่อจะบัญญัติพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ... ปรินิพพานแล้ว พึงบัญญัติด้วย
ชิวหาใด ชิวหานั้นมีอยู่หรือ ฯลฯ บุคคลเมื่อจะบัญญัติพระพุทธเจ้าทั้งหลายใน
อดีตผู้ตัดธรรมเครื่องเนิ่นช้า ผู้ตัดทางได้แล้ว ผู้ครอบงำวัฏฏะได้แล้ว ผู้ล่วงพ้น
ทุกข์ทั้งปวงได้แล้ว ปรินิพพานแล้ว พึงบัญญัติด้วยมโนใด มโนนั้นมีอยู่หรือ”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ผัคคุนะ บุคคลเมื่อจะบัญญัติพระพุทธเจ้าทั้งหลาย
ในอดีตผู้ตัดธรรมเครื่องเนิ่นช้า ผู้ตัดทางได้แล้ว ผู้ครอบงำวัฏฏะได้แล้ว ผู้ล่วงพ้น
ทุกข์ทั้งปวงได้แล้ว ปรินิพพานแล้ว พึงบัญญัติด้วยจักขุใด จักขุนั้นไม่มีเลย ฯลฯ
บุคคลเมื่อจะบัญญัติพระพุทธเจ้าทั้งหลายในอดีตผู้ตัดธรรมเครื่องเนิ่นช้า ผู้ตัดทางได้
แล้ว ผู้ครอบงำวัฏฏะได้แล้ว ผู้ล่วงพ้นทุกข์ทั้งปวงได้แล้ว ปรินิพพานแล้ว พึงบัญญัติ
ด้วยชิวหาใด ชิวหานั้นไม่มีเลย ฯลฯ บุคคลเมื่อจะบัญญัติพระพุทธเจ้าทั้งหลาย
ในอดีตผู้ตัดธรรมเครื่องเนิ่นช้า ผู้ตัดทางได้แล้ว ผู้ครอบงำวัฏฏะได้แล้ว ผู้ล่วงพ้น
ทุกข์ทั้งปวงได้แล้ว ปรินิพพานแล้ว พึงบัญญัติด้วยมโนใด มโนนั้นไม่มีเลย”

ผัคคุนปัญหาสูตรที่ ๑๐ จบ
คิลานวรรคที่ ๓ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. ปฐมคิลานสูตร ๒. ทุติยคิลานสูตร
๓. ราธอนิจจสูตร ๔. ราธทุกขสูตร
๕. ราธอนัตตสูตร ๖. ปฐมอวิชชาปหานสูตร
๗. ทุติยอวิชชาปหานสูตร ๘. สัมพหุลภิกขุสูตร
๙. โลกปัญหาสูตร ๑๐. ผัคคุนปัญหาสูตร


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๒. ทุติยปัณณาสก์ ๔. ฉันนวรรค ๑. ปโลกธัมมสูตร

๔. ฉันนวรรค
หมวดว่าด้วยพระฉันนะ
๑. ปโลกธัมมสูตร
ว่าด้วยสิ่งที่มีความแตกสลายเป็นธรรมดา

[๘๔] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ครั้งนั้นแล ท่านพระอานนท์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ฯลฯ นั่ง ณ
ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระองค์ตรัสว่า
‘โลก โลก’ ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอจึงตรัสว่า ‘โลก’ พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “อานนท์ สิ่งใดมีความแตกสลายเป็นธรรมดา
สิ่งนั้นเราเรียกว่า ‘โลก’ ในอริยวินัย
ก็อะไรเล่าชื่อว่ามีความแตกสลายเป็นธรรมดา
คือ จักขุมีความแตกสลายเป็นธรรมดา รูปมีความแตกสลายเป็นธรรมดา
จักขุวิญญาณมีความแตกสลายเป็นธรรมดา จักขุสัมผัสมีความแตกสลายเป็นธรรมดา
แม้ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัส
เป็นปัจจัยก็มีความแตกสลายเป็นธรรมดา ฯลฯ
ชิวหามีความแตกสลายเป็นธรรมดา รสมีความแตกสลายเป็นธรรมดา ชิวหา-
วิญญาณมีความแตกสลายเป็นธรรมดา ชิวหาสัมผัสมีความแตกสลายเป็นธรรมดา
แม้ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะชิวหาสัมผัส
เป็นปัจจัยก็มีความแตกสลายเป็นธรรมดา ฯลฯ
มโนมีความแตกสลายเป็นธรรมดา ธรรมารมณ์มีความแตกสลายเป็นธรรมดา
มโนวิญญาณมีความแตกสลายเป็นธรรมดา มโนสัมผัสมีความแตกสลายเป็นธรรมดา
แม้ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัส
เป็นปัจจัยก็มีความแตกสลายเป็นธรรมดา
อานนท์ สิ่งใดมีความแตกสลายเป็นธรรมดา นี้เราเรียกว่า ‘โลก’ ในอริยวินัย”

ปโลกธัมมสูตรที่ ๑ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๒. ทุติยปัณณาสก์ ๔. ฉันนวรรค ๓. สังขิตตธัมมสูตร

๒. สุญญตโลกสูตร
ว่าด้วยโลกว่าง

[๘๕] ครั้งนั้นแล ท่านพระอานนท์ ฯลฯ ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ที่พระองค์ตรัสว่า ‘โลกว่าง โลกว่าง’ ด้วยเหตุเพียงเท่าไร
หนอจึงตรัสว่า ‘โลกว่าง’ พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “อานนท์ เพราะว่างจากอัตตาหรือจากสิ่งที่เนื่อง
ด้วยอัตตา ฉะนั้นจึงเรียกว่า ‘โลกว่าง’
ก็อะไรเล่าชื่อว่าว่างจากอัตตาหรือจากสิ่งที่เนื่องด้วยอัตตา
คือ จักขุว่างจากอัตตาหรือจากสิ่งที่เนื่องด้วยอัตตา รูปว่างจากอัตตาหรือ
จากสิ่งที่เนื่องด้วยอัตตา จักขุวิญญาณว่างจากอัตตาหรือจากสิ่งที่เนื่องด้วยอัตตา
จักขุสัมผัสว่างจากอัตตาหรือจากสิ่งที่เนื่องด้วยอัตตา ฯลฯ แม้ความเสวยอารมณ์
ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัยก็ว่างจาก
อัตตาหรือจากสิ่งที่เนื่องด้วยอัตตา
อานนท์ เพราะว่างจากอัตตา หรือจากสิ่งที่เนื่องด้วยอัตตา ฉะนั้นเราจึง
เรียกว่า ‘โลกว่าง’

สุญญตโลกสูตรที่ ๒ จบ

๓. สังขิตตธัมมสูตร
ว่าด้วยธรรมโดยย่อ

[๘๖] ท่านพระอานนท์นั่ง ณ ที่สมควร แล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาค
ดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานวโรกาส ขอพระผู้มีพระภาคโปรด
แสดงธรรมแก่ข้าพระองค์โดยย่อ ซึ่งข้าพระองค์ได้ฟังแล้ว จะพึงหลีกออกไปอยู่คน
เดียว ไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่เถิด”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อานนท์ เธอเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร จักขุเที่ยง
หรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๗๘ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๒. ทุติยปัณณาสก์ ๔. ฉันนวรรค ๓. สังขิตตธัมมสูตร

“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข”
“เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา ควรหรือที่จะ
พิจารณาเห็นสิ่งนั้นว่า ‘นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา”
“ข้อนั้นไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า”
“รูปเที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“จักขุวิญญาณ ฯลฯ จักขุสัมผัส ฯลฯ แม้ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือ
ทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัย เที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข”
“เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา ควรหรือที่จะ
พิจารณาเห็นสิ่งนั้นว่า ‘นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา”
“ข้อนั้นไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า” ฯลฯ
“ชิวหาเที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า” ฯลฯ
“ชิวหาวิญญาณ ฯลฯ ชิวหาสัมผัส ฯลฯ แม้ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุข
หรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย เที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข”
“เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๗๙ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๒. ทุติยปัณณาสก์ ๔. ฉันนวรรค ๔. ฉันนสูตร

“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา ควรหรือที่จะพิจารณา
เห็นสิ่งนั้นว่า ‘นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา”
“ข้อนั้นไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า”
“อานนท์ อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในจักขุ ย่อม
เบื่อหน่ายแม้ในรูป ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในจักขุวิญญาณ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ใน
จักขุสัมผัส ฯลฯ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือ
มิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย เมื่อเบื่อหน่ายย่อมคลายกำหนัด
เพราะคลายกำหนัด จิตย่อมหลุดพ้น เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว ก็รู้ว่า ‘หลุดพ้นแล้ว’
รู้ชัดว่า ‘ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่น
เพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป”

สังขิตตธัมมสูตรที่ ๓ จบ

๔. ฉันนสูตร
ว่าด้วยพระฉันนะ๑

[๘๗] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเวฬุวัน สถานที่ให้
เหยื่อกระแต เขตกรุงราชคฤห์ สมัยนั้น ท่านพระสารีบุตร ท่านพระมหาจุนทะ
และท่านพระฉันนะอยู่ที่ภูเขาคิชฌกูฏ ครั้งนั้น ท่านพระฉันนะอาพาธ ได้รับทุกข์
เป็นไข้หนัก ต่อมาในเวลาเย็น ท่านพระสารีบุตรออกจากที่หลีกเร้น๒ แล้วเข้าไปหา
ท่านพระมหาจุนทะถึงที่อยู่ ได้กล่าวกับท่านพระมหาจุนทะดังนี้ว่า “มาเถิดท่าน
จุนทะ เราเข้าไปถามอาการอาพาธของท่านพระฉันนะกันเถิด” ท่านพระมหาจุนทะ
รับคำท่านพระสารีบุตรแล้ว
ลำดับนั้น ท่านพระสารีบุตรและท่านพระมหาจุนทะเข้าไปหาท่านพระฉันนะ
ถึงที่อยู่ นั่งบนอาสนะที่ปูลาดไว้แล้ว ท่านพระสารีบุตรได้ถามท่านพระฉันนะดังนี้ว่า


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๒. ทุติยปัณณาสก์ ๔. ฉันนวรรค ๔. ฉันนสูตร

“ท่านฉันนะ ท่านยังสบายดีหรือ ยังพอเป็นอยู่ได้หรือ ทุกขเวทนาทุเลาลง ไม่
กำเริบขึ้นหรือ อาการทุเลาปรากฏ อาการกำเริบไม่ปรากฏหรือ”๑
ท่านพระฉันนะกล่าวว่า “ท่านสารีบุตร กระผมไม่สบาย จะเป็นอยู่ไม่ได้
ทุกขเวทนาของกระผมกำเริบหนักขึ้น ไม่ทุเลาลงเลย อาการกำเริบปรากฏ อาการ
ทุเลาไม่ปรากฏ คนที่แข็งแรงใช้เหล็กที่แหลมคมทิ่มแทงศีรษะแม้ฉันใด ลมอันแรง
กล้าเสียดแทงศีรษะของกระผมก็ฉันนั้นเหมือนกัน ผู้มีอายุ กระผมไม่สบาย จะ
เป็นอยู่ไม่ได้ ฯลฯ อาการทุเลาไม่ปรากฏ คนที่แข็งแรงใช้เชือกหนังที่เหนียวขันที่
ศีรษะแม้ฉันใด ลมอันแรงกล้าเสียดแทงศีรษะของกระผมก็ฉันนั้นเหมือนกัน กระผม
ไม่สบาย จะเป็นอยู่ไม่ได้ ฯลฯ อาการทุเลาไม่ปรากฏ คนฆ่าโคหรือลูกมือคนฆ่าโค
ผู้ชำนาญใช้มีดแล่เนื้อที่คมกรีดท้องแม้ฉันใด ลมอันแรงกล้าเสียดแทงท้องของกระผม
ก็ฉันนั้นเหมือนกัน กระผมไม่สบาย จะเป็นอยู่ไม่ได้ ฯลฯ อาการทุเลาไม่ปรากฏ
คนที่แข็งแรง ๒ คนจับแขนคนที่อ่อนแอกว่าคนละข้างย่างให้ร้อนบนหลุมถ่านเพลิง
แม้ฉันใด อาการเร่าร้อนในกายของกระผมก็มีมากอย่างยิ่งฉันนั้นเหมือนกัน ผู้มีอายุ
กระผมไม่สบาย จะเป็นอยู่ไม่ได้ ทุกขเวทนากำเริบหนักขึ้น ไม่ทุเลาลงเลย อาการ
กำเริบปรากฏ อาการทุเลาไม่ปรากฏ ท่านสารีบุตร กระผม จักนำศัสตรา๒มา
กระผมไม่อยากมีชีวิตอยู่”
ท่านพระสารีบุตรกล่าวว่า “ท่านฉันนะอย่านำศัสตรามา ท่านจงรักษาตัวให้
อยู่ต่อไปเถิด พวกเราอยากให้ท่านรักษาตัวอยู่ต่อไป ถ้าท่านฉันนะไม่มีโภชนะที่
เป็นสัปปายะ ผมจักแสวงหามาให้ ถ้าท่านฉันนะไม่มีเภสัชที่เป็นสัปปายะ ผมก็
จักแสวงหามาให้ ถ้าท่านฉันนะไม่มีพวกอุปัฏฐากผู้เหมาะสม ผมจักอุปัฏฐากเอง
ท่านฉันนะอย่านำศัสตรามาเลย ขอท่านฉันนะจงรักษาตัวให้อยู่ต่อไปเถิด พวกเรา
อยากให้ท่านฉันนะรักษาตัวอยู่ต่อไป”
“ท่านสารีบุตร โภชนะที่เป็นสัปปายะของกระผมไม่ใช่ไม่มี โภชนะที่เป็น
สัปปายะของกระผมมีอยู่ เภสัชที่เป็นสัปปายะของกระผมไม่ใช่ไม่มี เภสัชที่เป็น


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๒. ทุติยปัณณาสก์ ๔. ฉันนวรรค ๔. ฉันนสูตร

สัปปายะของกระผมมีอยู่ พวกอุปัฏฐากที่เหมาะสมของกระผมไม่ใช่ไม่มี พวก
อุปัฏฐากที่เหมาะสมของกระผมมีอยู่ อีกประการหนึ่ง กระผมก็ปรนนิบัติพระ
ศาสดาด้วยความเต็มใจมาตลอดทีเดียว ไม่ใช่ปรนนิบัติด้วยความไม่เต็มใจ ขอ
ท่านสารีบุตรจงจำข้อความนี้ไว้อย่างนี้เถิดว่า ‘ข้อที่พระสาวกปรนนิบัติพระศาสดา
ด้วยความเต็มใจ ไม่ใช่ปรนนิบัติด้วยความไม่เต็มใจ นี้เป็นการสมควรแก่พระสาวก
ฉันนภิกษุจักนำศัตรามาจึงไม่ควรถูกติเตียน”
“พวกเราขอถามปัญหาบางข้อกับท่านฉันนะ ถ้าท่านฉันนะจะให้โอกาสตอบ
ปัญหา”
“ท่านสารีบุตร นิมนต์ถามเถิด ผมฟังแล้วจักบอกให้รู้”
“ท่านฉันนะ ท่านพิจารณาเห็นจักขุ จักขุวิญญาณ และธรรมที่พึงรู้แจ้ง
ทางจักขุวิญญาณว่า ‘นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา’ ฯลฯ ท่าน
พิจารณาเห็นชิวหา ชิวหาวิญญาณ และธรรมที่พึงรู้แจ้งทางชิวหาวิญญาณว่า
‘นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา’ ฯลฯ ท่านพิจารณาเห็นมโน
มโนวิญญาณ และธรรมที่พึงรู้แจ้งทางมโนวิญญาณว่า ‘นั่นของเรา เราเป็นนั่น
นั่นเป็นอัตตาของเรา’ หรือ”
“ท่านสารีบุตร กระผมพิจารณาเห็นจักขุ จักขุวิญญาณ และธรรมที่พึงรู้แจ้ง
ทางจักขุวิญญาณว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’ ฯลฯ
กระผมพิจารณาเห็นชิวหา ชิวหาวิญญาณ และธรรมที่พึงรู้แจ้งทางชิวหาวิญญาณว่า
‘นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’ ฯลฯ กระผมพิจารณาเห็นมโน
มโนวิญญาณ และธรรมที่พึงรู้แจ้งทางมโนวิญญาณว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น
นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา”
“ท่านฉันนะ ท่านพิจารณาเห็นอะไร รู้อะไรในจักขุ ในจักขุวิญญาณ และใน
ธรรมที่พึงรู้แจ้งทางจักขุวิญญาณจึงพิจารณาเห็นจักขุ จักขุวิญญาณ และธรรมที่พึง
รู้แจ้งทางจักขุวิญญาณว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’
ฯลฯ ท่านฉันนะ ท่านพิจารณาเห็นอะไร รู้อะไรในชิวหา ในชิวหาวิญญาณ
และในธรรมที่พึงรู้แจ้งทางชิวหาวิญญาณจึงพิจารณาเห็นชิวหา ชิวหาวิญญาณ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๘๒ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๒. ทุติยปัณณาสก์ ๔. ฉันนวรรค ๔. ฉันนสูตร

และธรรมที่พึงรู้แจ้งทางชิวหาวิญญาณว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่
อัตตาของเรา’ ฯลฯ ท่านฉันนะ ท่านเห็นอะไร รู้อะไรในมโน ในมโนวิญญาณ
และในธรรมที่พึงรู้แจ้งทางมโนวิญญาณจึงพิจารณาเห็นมโน มโนวิญญาณ และธรรม
ที่พึงรู้แจ้งทางมโนวิญญาณว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา”
“ท่านสารีบุตร กระผมพิจารณาเห็นความดับ รู้ความดับในจักขุ ในจักขุ-
วิญญาณ และในธรรมที่พึงรู้แจ้งทางจักขุวิญญาณจึงพิจารณาเห็นจักขุ จักขุวิญญาณ
และธรรมที่พึงรู้แจ้งทางจักขุวิญญาณว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่
อัตตาของเรา’ ฯลฯ ท่านสารีบุตร กระผมพิจารณาเห็นความดับ รู้ความดับในชิวหา
ในชิวหาวิญญาณ และในธรรมที่พึงรู้แจ้งทางชิวหาวิญญาณจึงพิจารณาเห็นชิวหา
ชิวหาวิญญาณ และธรรมที่พึงรู้แจ้งทางชิวหาวิญญาณว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่
เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’ ฯลฯ ท่านสารีบุตร กระผมพิจารณาเห็นความดับ
รู้ความดับในมโน ในมโนวิญญาณ และในธรรมที่พึงรู้แจ้งทางมโนวิญญาณจึง
พิจารณาเห็นมโน มโนวิญญาณ และธรรมที่พึงรู้แจ้งทางมโนวิญญาณว่า ‘นั่นไม่
ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา”
เมื่อท่านพระฉันนะกล่าวอย่างนี้แล้ว ท่านพระมหาจุนทะได้กล่าวกับท่านพระ
ฉันนะดังนี้ว่า “ท่านฉันนะ เพราะเหตุนี้แล แม้การเห็นนี้ ก็เป็นคำสอนของพระผู้
มีพระภาคพระองค์นั้น ท่านพึงใส่ใจให้ดีตลอดกาลเป็นนิตย์ บุคคลผู้มีตัณหา มานะ
และทิฏฐิอาศัยอยู่ ย่อมมีความหวั่นไหว บุคคลผู้ไม่มีตัณหา มานะ และทิฏฐิอาศัยอยู่
ย่อมไม่มีความหวั่นไหว เมื่อไม่มีความหวั่นไหว ก็มีความสงบ๑ เมื่อมีความสงบ ก็
ไม่มีความน้อมไป๒ เมื่อไม่มีความน้อมไป การมาและการไป๓ก็ไม่มี เมื่อไม่มีการมา
และการไป ความตายและความเกิดก็ไม่มี เมื่อไม่มีความตายและความเกิด โลกนี้


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๒. ทุติยปัณณาสก์ ๔. ฉันนวรรค ๕. ปุณณสูตร

โลกหน้าก็ไม่มี ระหว่างโลกทั้งสองก็ไม่มี นี้แลเป็นที่สุดแห่งทุกข์” ครั้นท่าน
พระสารีบุตรและท่านพระมหาจุนทะสอนท่านพระฉันนะด้วยโอวาทนี้แล้วก็ลุกขึ้น
จากอาสนะแล้วจากไป ต่อมาท่านพระฉันนะก็ได้นำศัสตรามา๑เมื่อท่านทั้งสองจาก
ไปไม่นาน
ครั้งนั้นแล ท่านพระสารีบุตรเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวาย
อภิวาทแล้ว นั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์
ผู้เจริญ ท่านฉันนะได้นำศัสตรามา ท่านมีคติเป็นอย่างไร มีอภิสัมปรายภพเป็น
อย่างไร”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “สารีบุตร ฉันนภิกษุได้บอกว่าจะไม่ถูกติเตียน
ไว้ต่อหน้าเธอแล้วมิใช่หรือ”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ มีหมู่บ้านชาววัชชีชื่อปุพพวิชชนะ ในหมู่บ้านนั้น
ตระกูลที่เป็นมิตร ตระกูลที่เป็นสหายเป็นตระกูลที่ท่านฉันนะเข้าไปอาศัยก็มีอยู่”
“สารีบุตร ตระกูลที่เป็นมิตรตระกูลที่เป็นสหายเหล่านั้น เป็นตระกูลที่
ฉันนภิกษุเข้าไปอาศัยมีอยู่ แต่เราไม่กล่าวว่า ‘ฉันนภิกษุมีตระกูลที่ตนพึงเข้าไป
อาศัยด้วยเหตุเพียงเท่านี้’ เธอจงจำข้อความนี้ไว้อย่างนี้เถิดว่า ‘เรากล่าวถึงภิกษุที่
ละกายนี้เข้าถือกายอื่น ว่ามีตระกูลที่ตนพึงเข้าไปอาศัย’ ตระกูลนั้นไม่มีสำหรับ
ฉันนภิกษุ ฉันนภิกษุนำศัสตรามาจึงไม่ควรถูกติเตียน”

ฉันนสูตรที่ ๔ จบ

๕. ปุณณสูตร
ว่าด้วยพระปุณณะ

[๘๘] ครั้งนั้น ท่านพระปุณณะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ฯลฯ
นั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอ
ประทานวโรกาส ขอพระผู้มีพระภาคโปรดแสดงธรรมแก่ข้าพระองค์โดยย่อ ซึ่งข้า
พระองค์ได้ฟังแล้ว จะพึงหลีกออกไปอยู่คนเดียว ไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศ
กายและใจอยู่เถิด”


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๒. ทุติยปัณณาสก์ ๔. ฉันนวรรค ๕. ปุณณสูตร

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ปุณณะ รูปที่พึงรู้แจ้งทางตาที่น่าปรารถนา น่าใคร่
น่าพอใจ ชวนให้รัก ชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัดมีอยู่ ถ้าภิกษุยังเพลิดเพลิน เชยชม
ยึดติดรูปนั้นอยู่ เมื่อเธอเพลิดเพลิน เชยชม ยึดติดรูปนั้น ความเพลิดเพลินย่อม
เกิดขึ้น เรากล่าวว่า ‘เพราะความเพลิดเพลินเกิด ทุกข์จึงเกิด’ ฯลฯ
รสที่พึงรู้แจ้งทางลิ้น ... มีอยู่ ฯลฯ
ธรรมารมณ์ที่พึงรู้แจ้งทางใจที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก ชัก
ให้ใคร่ พาใจให้กำหนัดมีอยู่ ถ้าภิกษุยังเพลิดเพลิน เชยชม ยึดติดธรรมารมณ์นั้น
อยู่ เมื่อเธอเพลิดเพลิน เชยชม ยึดติดธรรมารมณ์นั้น ความเพลิดเพลินย่อมเกิดขึ้น
เรากล่าวว่า ‘เพราะความเพลิดเพลินเกิด ทุกข์จึงเกิด’
รูปที่พึงรู้แจ้งทางตาที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก ชักให้ใคร่
พาใจให้กำหนัดมีอยู่ ถ้าภิกษุไม่เพลิดเพลิน ไม่เชยชม ไม่ยึดติดรูปนั้นอยู่ เมื่อ
เธอไม่เพลิดเพลิน ไม่เชยชม ไม่ยึดติดรูปนั้น ความเพลิดเพลินย่อมดับไป เรากล่าว
ว่า ‘เพราะความเพลิดเพลินดับ ทุกข์จึงดับ’ ฯลฯ
ธรรมารมณ์ที่พึงรู้แจ้งทางใจที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก ชักให้
ใคร่ พาใจให้กำหนัดมีอยู่ ถ้าภิกษุไม่เพลิดเพลิน ไม่เชยชม ไม่ยึดติดธรรมารมณ์
นั้นอยู่ เมื่อเธอไม่เพลิดเพลิน ไม่เชยชม ไม่ยึดติดธรรมารมณ์นั้น ความ
เพลิดเพลินย่อมดับ เรากล่าวว่า ‘เพราะความเพลิดเพลินดับ ทุกข์จึงดับ’
ปุณณะ เรากล่าวสอนด้วยโอวาทอย่างย่อนี้ เธอจักอยู่ในชนบทไหน”
ท่านพระปุณณะกราบทูลดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์จักอยู่
ในชนบทชื่อว่าสุนาปรันตะ”
“ปุณณะ พวกมนุษย์ชาวสุนาปรันตชนบทเป็นคนดุร้ายนัก พวกมนุษย์ชาว
สุนาปรันตชนบทเป็นคนหยาบคายนัก ถ้าพวกมนุษย์ชาวสุนาปรันตชนบทจักด่า
บริภาษเธอในที่นั้น เธอจักคิดอย่างไร”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถ้าพวกมนุษย์ชาวสุนาปรันตชนบทจักด่า บริภาษ
ข้าพระองค์ในที่นั้น ข้าพระองค์จักคิดอย่างนี้ว่า ‘มนุษย์ชาวสุนาปรันตชนบท

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๘๕ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๒. ทุติยปัณณาสก์ ๔. ฉันนวรรค ๕. ปุณณสูตร

เหล่านี้ดีหนอ มนุษย์ชาวสุนาปรันตชนบทเหล่านี้ดีจริงหนอ ที่ไม่ประหารเราด้วย
ฝ่ามือ’ ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ในเรื่องนี้ข้าพระองค์จักคิดอย่างนี้ ข้าแต่พระสุคต
ในเรื่องนี้ข้าพระองค์จักคิดอย่างนี้”
“ปุณณะ ถ้าพวกมนุษย์ชาวสุนาปรันตชนบทจักประหารเธอด้วยฝ่ามือ ใน
เรื่องนี้เธอจักคิดอย่างไร”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถ้าพวกมนุษย์ชาวสุนาปรันตชนบทจักประหาร
ข้าพระองค์ด้วยฝ่ามือ ในเรื่องนี้ข้าพระองค์จักคิดอย่างนี้ว่า ‘มนุษย์ชาวสุนาปรันต-
ชนบทเหล่านี้ดีหนอ มนุษย์ชาวสุนาปรันตชนบทเหล่านี้ดีจริงหนอ ที่ไม่ประหารเรา
ด้วยก้อนดิน’ ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ในเรื่องนี้ข้าพระองค์จักคิดอย่างนี้ ข้าแต่
พระสุคต ในเรื่องนี้ข้าพระองค์จักคิดอย่างนี้”
“ปุณณะ ถ้าพวกมนุษย์ชาวสุนาปรันตชนบทจักประหารเธอด้วยก้อนดิน ใน
เรื่องนี้เธอจักคิดอย่างไร”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถ้าพวกมนุษย์ชาวสุนาปรันตชนบทจักประหารข้าพระ
องค์ด้วยก้อนดิน ในเรื่องนี้ ข้าพระองค์จักคิดอย่างนี้ว่า ‘มนุษย์ชาวสุนาปรันต-
ชนบทเหล่านี้ดีหนอ มนุษย์ชาวสุนาปรันตชนบทเหล่านี้ดีจริงหนอ ที่ไม่ประหาร
เราด้วยท่อนไม้’ ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ในเรื่องนี้ข้าพระองค์จักคิดอย่างนี้ ข้าแต่
พระสุคต ในเรื่องนี้ข้าพระองค์จักคิดอย่างนี้”
“ปุณณะ ถ้าพวกมนุษย์ชาวสุนาปรันตชนบทจักประหารเธอด้วยท่อนไม้ ใน
เรื่องนี้เธอจักคิดอย่างไร”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถ้าพวกมนุษย์ชาวสุนาปรันตชนบทจักประหาร
ข้าพระองค์ด้วยท่อนไม้ ในเรื่องนี้ข้าพระองค์จักคิดอย่างนี้ว่า ‘มนุษย์ชาวสุนาปรันต-
ชนบทเหล่านี้ดีหนอ มนุษย์ชาวสุนาปรันตชนบทเหล่านี้ดีจริงหนอ ที่ไม่ประหาร
เราด้วยศัสตรา’ ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ในเรื่องนี้ข้าพระองค์จักคิดอย่างนี้ ข้าแต่
พระสุคต ในเรื่องนี้ข้าพระองค์จักคิดอย่างนี้”
“ปุณณะ ถ้าพวกมนุษย์ชาวสุนาปรันตชนบทจักประหารเธอด้วยศัสตรา ใน
เรื่องนี้เธอจักคิดอย่างไร”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๘๖ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๒. ทุติยปัณณาสก์ ๔. ฉันนวรรค ๕. ปุณณสูตร

“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถ้าพวกมนุษย์ชาวสุนาปรันตชนบทจักประหาร
ข้าพระองค์ด้วยศัสตรา ในเรื่องนี้ข้าพระองค์จักคิดอย่างนี้ว่า ‘มนุษย์ชาวสุนาปรันต-
ชนบทเหล่านี้ดีหนอ มนุษย์ชาวสุนาปรันตชนบทเหล่านี้ดีจริงหนอ ที่ไม่ปลงชีวิต
ของเราด้วยศัสตราที่คม’ ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ในเรื่องนี้ข้าพระองค์จักคิดอย่างนี้
ข้าแต่พระสุคต ในเรื่องนี้ข้าพระองค์จักคิดอย่างนี้”
“ปุณณะ ถ้าพวกมนุษย์ชาวสุนาปรันตชนบทจักปลงชีวิตเธอด้วยศัสตราที่คม
ในเรื่องนี้เธอจักคิดอย่างไร”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถ้าพวกมนุษย์ชาวสุนาปรันตชนบทจักปลงชีวิต
ข้าพระองค์ด้วยศัสตราที่คม ในเรื่องนี้ข้าพระองค์จักคิดอย่างนี้ว่า ‘พระสาวกทั้งหลาย
ของพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นอึดอัด ระอา รังเกียจอยู่ด้วยร่างกายและชีวิต
แสวงหาศัสตราเครื่องปลงชีวิตก็มีอยู่ เราได้ศัสตราเครื่องปลงชีวิตที่ไม่ได้แสวงหา
เลย’ ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ในเรื่องนี้ข้าพระองค์จักคิดอย่างนี้ ข้าแต่พระสุคต ใน
เรื่องนี้ข้าพระองค์จักคิดอย่างนี้”
“ดีละ ดีละ ปุณณะ เธอประกอบด้วยความข่มใจและความสงบใจ๑นี้จักสามารถ
อยู่ในสุนาปรันตชนบทได้ ปุณณะ เธอรู้เวลาอันสมควรในบัดนี้”
ครั้งนั้น ท่านพระปุณณะชื่นชมยินดีพระภาษิตของพระผู้มีพระภาคแล้วลุก
ขึ้นจากอาสนะ ถวายอภิวาท กระทำประทักษิณ เก็บงำเสนาสนะเรียบร้อยแล้ว
ถือบาตร และจีวรหลีกจาริกไปทางสุนาปรันตชนบท เมื่อจาริกไปโดยลำดับก็ถึง
สุนาปรันตชนบท ได้ยินว่า ท่านพระปุณณะอยู่ที่สุนาปรันตชนบทนั้น ครั้งนั้น
ระหว่างพรรษานั้นท่านให้ชาวสุนาปรันตชนบทแสดงตนเป็นอุบาสกประมาณ ๕๐๐
คน และอุบาสิกาประมาณ ๕๐๐ คน ระหว่างพรรษานั้นเหมือนกันท่านได้บรรลุ
วิชชา ๓ และนิพพานแล้ว
ครั้งนั้นแล ภิกษุหลายรูปเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ฯลฯ นั่ง ณ
ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ กุลบุตรชื่อ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๒. ทุติยปัณณาสก์ ๔. ฉันนวรรค ๖. พาหิยสูตร

ปุณณะที่พระองค์ทรงสั่งสอนด้วยพระโอวาทอย่างย่อนั้นตายไปแล้ว เขามีคติเป็นอย่างไร
มีอภิสัมปรายภพเป็นอย่างไร”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ภิกษุทั้งหลาย กุลบุตรชื่อปุณณะเป็นบัณฑิต
ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ทั้งไม่เบียดเบียนเราเพราะเหตุแห่งธรรม ภิกษุทั้งหลาย
กุลบุตรชื่อปุณณะปรินิพพานแล้ว”

ปุณณสูตรที่ ๕ จบ

๖. พาหิยสูตร
ว่าด้วยพระพาหิยะ

[๘๙] ครั้งนั้น ท่านพระพาหิยะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ฯลฯ นั่ง
ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทาน
วโรกาส ขอพระผู้มีพระภาคโปรดแสดงธรรมแก่ข้าพระองค์โดยย่อ ซึ่งข้าพระองค์
ได้ฟังแล้วจะพึงหลีกออกไปอยู่คนเดียว ไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศกายและใจ
อยู่เถิด”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “พาหิยะ เธอเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร จักขุ
เที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข”
“เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา ควรหรือที่จะพิจารณา
เห็นสิ่งนั้นว่า ‘นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา”
“ข้อนั้นไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า”
“รูปเที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า” ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๘๘ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๒. ทุติยปัณณาสก์ ๔. ฉันนวรรค ๖. พาหิยสูตร

“จักขุวิญญาณ ฯลฯ จักขุสัมผัส ฯลฯ แม้ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือ
ทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัยเที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข”
“เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา ควรหรือที่จะพิจารณา
เห็นสิ่งนั้นว่า ‘นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา”
“ข้อนั้นไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า”
“พาหิยะ อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในจักขุ ย่อม
เบื่อหน่ายแม้ในรูป ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในจักขุวิญญาณ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ใน
จักขุสัมผัส ฯลฯ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือ
มิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย เมื่อเบื่อหน่ายย่อมคลายกำหนัด
เพราะคลายกำหนัด จิตย่อมหลุดพ้น เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว ก็รู้ว่า ‘หลุดพ้นแล้ว’
รู้ชัดว่า ‘ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่น
เพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป”
ครั้งนั้น ท่านพระพาหิยะชื่นชมยินดีพระภาษิตของพระผู้มีพระภาคแล้ว ลุกขึ้น
จากอาสนะ ถวายอภิวาท กระทำประทักษิณแล้วจากไป ต่อมาท่านพระพาหิยะ
หลีกออกไปอยู่คนเดียว ไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่ ไม่นานนัก
ได้ทำให้แจ้งซึ่งประโยชน์ยอดเยี่ยมอันเป็นที่สุดแห่งพรหมจรรย์ที่เหล่ากุลบุตรออกจาก
เรือนบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบต้องการด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน รู้
ชัดว่า “ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่น
เพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป” อนึ่ง ท่านพระพาหิยะได้เป็นพระอรหันต์องค์หนึ่ง
ในบรรดาพระอรหันต์ทั้งหลาย

พาหิยสูตรที่ ๖ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๒. ทุติยปัณณาสก์ ๔. ฉันนวรรค ๗. ปฐมเอชาสูตร

๗. ปฐมเอชาสูตร
ว่าด้วยความหวั่นไหว สูตรที่ ๑

[๙๐] “ภิกษุทั้งหลาย ความหวั่นไหว๑เป็นโรค ความหวั่นไหวเป็นหัวฝี ความ
หวั่นไหวเป็นลูกศร เพราะเหตุนั้นแล ตถาคตจึงเป็นผู้ไม่หวั่นไหว ปราศจากลูกศรอยู่
เพราะเหตุนั้นแล ถ้าภิกษุหวังว่า ‘เราพึงเป็นผู้ไม่หวั่นไหว ปราศจากลูกศรอยู่’
เธอไม่พึงกำหนดหมายจักขุ ไม่พึงกำหนดหมายในจักขุ ไม่พึงกำหนดหมาย
เพราะจักขุ ไม่พึงกำหนดหมายว่า ‘จักขุของเรา’
ไม่พึงกำหนดหมายรูป ไม่พึงกำหนดหมายในรูป ไม่พึงกำหนดหมายเพราะรูป
ไม่พึงกำหนดหมายว่า ‘รูปของเรา’
ไม่พึงกำหนดหมายจักขุวิญญาณ ไม่พึงกำหนดหมายในจักขุวิญญาณ ไม่พึง
กำหนดหมายเพราะจักขุวิญญาณ ไม่พึงกำหนดหมายว่า ‘จักขุวิญญาณของเรา’
ไม่พึงกำหนดหมายจักขุสัมผัส ไม่พึงกำหนดหมายในจักขุสัมผัส ไม่พึง
กำหนดหมายเพราะจักขุสัมผัส ไม่พึงกำหนดหมายว่า ‘จักขุสัมผัสของเรา’
ไม่พึงกำหนดหมายแม้ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์
ที่เกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัย ไม่พึงกำหนดหมายแม้ในความเสวยอารมณ์ที่
เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัย ไม่พึง
กำหนดหมายแม้เพราะความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่
เกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัย ไม่พึงกำหนดหมายว่า ‘ความเสวยอารมณ์ที่
เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัยนั้นของเรา’
ไม่พึงกำหนดหมายโสตะ ฯลฯ
ไม่พึงกำหนดหมายฆานะ ฯลฯ
ไม่พึงกำหนดหมายชิวหา ไม่พึงกำหนดหมายในชิวหา ไม่พึงกำหนดหมาย
เพราะชิวหา ไม่พึงกำหนดหมายว่า ‘ชิวหาของเรา’
ไม่พึงกำหนดหมายรส ฯลฯ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๒. ทุติยปัณณาสก์ ๔. ฉันนวรรค ๗. ปฐมเอชาสูตร

ไม่พึงกำหนดหมายชิวหาวิญญาณ ฯลฯ
ไม่พึงกำหนดหมายชิวหาสัมผัส ฯลฯ
ไม่พึงกำหนดหมายแม้ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์
ที่เกิดขึ้นเพราะชิวหาสัมผัสเป็นปัจจัย ไม่พึงกำหนดหมายแม้ในความเสวยอารมณ์
ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะชิวหาสัมผัสเป็นปัจจัย ไม่พึง
กำหนดหมายแม้เพราะความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่
เกิดขึ้นเพราะชิวหาสัมผัสเป็นปัจจัย ไม่พึงกำหนดหมายว่า ‘ความเสวยอารมณ์ที่
เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะชิวหาสัมผัสเป็นปัจจัยนั้นของเรา’
ไม่พึงกำหนดหมายกาย ฯลฯ
ไม่พึงกำหนดหมายมโน ไม่พึงกำหนดหมายในมโน ไม่พึงกำหนดหมายเพราะมโน
ไม่พึงกำหนดหมายว่า ‘มโนของเรา’
ไม่พึงกำหนดหมายธรรมารมณ์ ฯลฯ
มโนวิญญาณ ฯลฯ
มโนสัมผัส ฯลฯ
ไม่พึงกำหนดหมายแม้ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์
ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย ไม่พึงกำหนดหมายแม้ในความเสวยอารมณ์ที่
เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย ไม่พึง
กำหนดหมายแม้เพราะความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่
เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย ไม่พึงกำหนดหมายว่า ‘ความเสวยอารมณ์ที่
เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัยนั้นของเรา’
ไม่พึงกำหนดหมายสิ่งทั้งปวง ไม่พึงกำหนดหมายในสิ่งทั้งปวง ไม่พึงกำหนด
หมายเพราะสิ่งทั้งปวง ไม่พึงกำหนดหมายว่า ‘สิ่งทั้งปวงของเรา’
ภิกษุผู้ไม่กำหนดหมายอยู่อย่างนี้ย่อมไม่ถือมั่นอะไร ๆ ในโลก เมื่อไม่ถือมั่นย่อม
ไม่สะดุ้งกลัว เมื่อไม่สะดุ้งกลัวย่อมดับเฉพาะตนเอง รู้ชัดว่า “ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบ
พรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป”

ปฐมเอชาสูตรที่ ๗ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๒. ทุติยปัณณาสก์ ๔. ฉันนวรรค ๘. ทุติยเอชาสูตร

๘. ทุติยเอชาสูตร
ว่าด้วยความหวั่นไหว สูตรที่ ๒

[๙๑] “ภิกษุทั้งหลาย ความหวั่นไหวเป็นโรค ความหวั่นไหวเป็นหัวฝี ความ
หวั่นไหวเป็นลูกศร เพราะเหตุนั้นแล ตถาคตจึงเป็นผู้ไม่หวั่นไหว ปราศจากลูกศรอยู่
เพราะเหตุนั้นแล ถ้าภิกษุหวังว่า ‘เราพึงเป็นผู้ไม่หวั่นไหว ปราศจากลูกศรอยู่’
เธอไม่พึงกำหนดหมายจักขุ ไม่พึงกำหนดหมายในจักขุ ไม่พึงกำหนดหมาย
เพราะจักขุ ไม่พึงกำหนดหมายว่า ‘จักขุของเรา’
ไม่พึงกำหนดหมายรูป ฯลฯ
จักขุวิญญาณ ฯลฯ
จักขุสัมผัส ฯลฯ
ไม่พึงกำหนดหมายแม้ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์
ที่เกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัย ไม่พึงกำหนดหมายแม้ในความเสวยอารมณ์ที่
เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัย ไม่พึง
กำหนดหมายแม้เพราะความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่
เกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัย ไม่พึงกำหนดหมายว่า ‘ความเสวยอารมณ์ที่เป็น
สุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัยนั้นของเรา’
บุคคลกำหนดหมายสิ่งใด กำหนดหมายในสิ่งใด กำหนดหมายเพราะสิ่งใด
กำหนดหมายว่า ‘สิ่งใดของเรา’ สิ่งนั้นย่อมเป็นโดยอาการอื่นจากที่กำหนดหมาย
นั้น คือ สัตว์โลกข้องอยู่ในภพ มีความเปลี่ยนแปลงโดยอาการอื่น ก็ยังยินดีภพ
อยู่นั่นเอง ฯลฯ
ไม่พึงกำหนดหมายชิวหา ไม่พึงกำหนดหมายในชิวหา ไม่พึงกำหนดหมาย
เพราะชิวหา ไม่พึงกำหนดหมายว่า ‘ชิวหาของเรา’
ไม่พึงกำหนดหมายรส ฯลฯ
ชิวหาวิญญาณ ฯลฯ
ชิวหาสัมผัส ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๙๒ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๒. ทุติยปัณณาสก์ ๔. ฉันนวรรค ๘. ทุติยเอชาสูตร

ไม่พึงกำหนดหมายแม้ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์
ที่เกิดขึ้นเพราะชิวหาสัมผัสเป็นปัจจัย ไม่พึงกำหนดหมายแม้ในความเสวยอารมณ์
ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะชิวหาสัมผัสเป็นปัจจัย ไม่พึง
กำหนดหมายแม้เพราะความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่
เกิดขึ้นเพราะชิวหาสัมผัสเป็นปัจจัย ไม่พึงกำหนดหมายว่า ‘ความเสวยอารมณ์ที่เป็น
สุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะชิวหาสัมผัสเป็นปัจจัยนั้นของเรา’
บุคคลกำหนดหมายสิ่งใด กำหนดหมายในสิ่งใด กำหนดหมายเพราะสิ่งใด
กำหนดหมายว่า ‘สิ่งใดของเรา’ สิ่งนั้นย่อมเป็นโดยอาการอื่นจากที่กำหนดหมาย
นั้น คือ สัตว์โลกข้องอยู่ในภพ มีความเปลี่ยนแปลงโดยอาการอื่น ก็ยังยินดีภพ
อยู่นั่นเอง ฯลฯ
ไม่พึงกำหนดหมายมโน ไม่พึงกำหนดหมายในมโน ไม่พึงกำหนดหมายเพราะมโน
ไม่พึงกำหนดหมายว่า ‘มโนของเรา’
ไม่พึงกำหนดหมายธรรมารมณ์ ฯลฯ
มโนวิญญาณ ฯลฯ
มโนสัมผัส ฯลฯ
ไม่พึงกำหนดหมายแม้ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์
ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย ไม่พึงกำหนดหมายแม้ในความเสวยอารมณ์ที่
เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย ไม่พึง
กำหนดหมายแม้เพราะความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่
เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย ไม่พึงกำหนดหมายว่า ‘ความเสวยอารมณ์ที่
เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัยนั้นของเรา’
บุคคลกำหนดหมายสิ่งใด กำหนดหมายในสิ่งใด กำหนดหมายเพราะสิ่งใด
กำหนดหมายว่า ‘สิ่งใดของเรา’ สิ่งนั้นย่อมเป็นโดยอาการอื่นจากที่กำหนดหมาย
นั้น คือ สัตว์โลกข้องอยู่ในภพ มีความเปลี่ยนแปลงโดยอาการอื่น ก็ยังยินดีภพ
อยู่นั่นเอง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๙๓ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๒. ทุติยปัณณาสก์ ๔. ฉันนวรรค ๑๐. ทุติยทวยสูตร

ภิกษุทั้งหลาย บุคคลไม่พึงกำหนดหมายแม้ขันธ์ ธาตุ และอายตนะเท่าที่มีอยู่
ไม่พึงกำหนดหมายในขันธ์ ธาตุ และอายตนะเท่าที่มีอยู่ ไม่พึงกำหนดหมายเพราะ
ขันธ์ ธาตุ และอายตนะเท่าที่มีอยู่ ไม่พึงกำหนดหมายว่า ‘ขันธ์ ธาตุ และ
อายตนะเท่าที่มีอยู่นั้นของเรา’
บุคคลผู้ไม่กำหนดหมายอยู่อย่างนี้ย่อมไม่ถือมั่นอะไร ๆ ในโลก เมื่อไม่ถือมั่นก็
ไม่สะดุ้งกลัว เมื่อไม่สะดุ้งกลัว ย่อมดับเฉพาะตนเอง รู้ชัดว่า ‘ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบ
พรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป”

ทุติยเอชาสูตรที่ ๘ จบ

๙. ปฐมทวยสูตร
ว่าด้วยธรรมคู่กัน สูตรที่ ๑

[๙๒] “ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมคู่กันแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลาย
จงฟัง
ก็อะไรเล่าชื่อว่าธรรมคู่กัน
คือ (๑) จักขุกับรูป (๒) โสตะกับสัททะ (๓) ฆานะกับคันธะ (๔) ชิวหากับรส
(๕) กายกับโผฏฐัพพะ (๖) มโนกับธรรมารมณ์
นี้เรียกว่าธรรมคู่กัน
ภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ข้าพเจ้าจักบอกเลิกธรรมคู่กันนั้น
แล้วบัญญัติธรรมคู่กันอย่างอื่นแทน’ คำพูดของผู้นั้นคงเป็นเพียงคำพูดเท่านั้น
ครั้นถูกถามเข้าก็คงตอบไม่ได้ และพึงถึงความลำบากอย่างยิ่ง ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะเขาถูกถามในสิ่งอันมิใช่วิสัย”

ปฐมทวยสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. ทุติยทวยสูตร
ว่าด้วยธรรมคู่กัน สูตรที่ ๒

[๙๓] “ภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัยธรรมคู่กันวิญญาณจึงเกิดขึ้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๙๔ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๒. ทุติยปัณณาสก์ ๔. ฉันนวรรค ๑๐. ทุติยทวยสูตร

เพราะอาศัยธรรมคู่กัน วิญญาณจึงเกิดขึ้น อย่างไร
คือ เพราะอาศัยจักขุและรูป จักขุวิญญาณจึงเกิดขึ้น จักขุไม่เที่ยง มีความ
แปรผัน มีภาวะโดยอาการอื่น รูปไม่เที่ยง มีความแปรผัน มีภาวะโดยอาการอื่น
ธรรมคู่กันนี้ หวั่นไหวและเสื่อม ไม่เที่ยง มีความแปรผัน มีภาวะโดยอาการอื่น
จักขุวิญญาณไม่เที่ยง มีความแปรผัน มีภาวะโดยอาการอื่น แม้เหตุปัจจัยเพื่อ
ความเกิดขึ้นแห่งจักขุวิญญาณก็ไม่เที่ยง มีความแปรผัน มีภาวะโดยอาการอื่น ก็
จักขุวิญญาณเกิดขึ้นเพราะอาศัยปัจจัยที่ไม่เที่ยง ที่ไหนจักเที่ยงเล่า
ความประจวบ ความประชุม ความพร้อมเพรียงกันแห่งธรรม ๓ ประการนี้
เรียกว่าจักขุสัมผัส แม้จักขุสัมผัสก็ไม่เที่ยง มีความแปรผัน มีภาวะโดยอาการอื่น
แม้เหตุปัจจัยเพื่อความเกิดขึ้นแห่งจักขุสัมผัสก็ไม่เที่ยง มีความแปรผัน มีภาวะโดย
อาการอื่น ก็จักขุสัมผัสเกิดขึ้นเพราะอาศัยปัจจัยที่ไม่เที่ยง ที่ไหนจักเที่ยงเล่า
บุคคลถูกผัสสะกระทบแล้วย่อมรู้สึก ถูกผัสสะกระทบแล้วย่อมคิดได้ ถูกผัสสะ
กระทบแล้วย่อมจำได้ แม้ธรรมเหล่านี้ก็หวั่นไหว และเสื่อม ไม่เที่ยง มีความแปรผัน
มีภาวะโดยอาการอื่น ฯลฯ
เพราะอาศัยชิวหาและรส ชิวหาวิญญาณจึงเกิดขึ้น ชิวหาไม่เที่ยง มีความ
แปรผัน มีภาวะโดยอาการอื่น รสไม่เที่ยง มีความแปรผัน มีภาวะโดยอาการอื่น
ธรรมคู่กันนี้ หวั่นไหวและเสื่อม ไม่เที่ยง มีความแปรผัน มีภาวะโดยอาการอื่น
ชิวหาวิญญาณก็ไม่เที่ยง มีความแปรผัน มีภาวะโดยอาการอื่น แม้เหตุปัจจัยเพื่อ
ความเกิดขึ้นแห่งชิวหาวิญญาณก็ไม่เที่ยง มีความแปรผัน มีภาวะโดยอาการอื่น ก็
ชิวหาวิญญาณเกิดขึ้นเพราะอาศัยปัจจัยที่ไม่เที่ยง ที่ไหนจักเที่ยงเล่า
ความประจวบ ความประชุม ความพร้อมเพรียงกันแห่งธรรม ๓ ประการนี้
เรียกว่าชิวหาสัมผัส แม้ชิวหาสัมผัสก็ไม่เที่ยง มีความแปรผัน มีภาวะโดยอาการอื่น
แม้เหตุปัจจัยเพื่อความเกิดขึ้นแห่งชิวหาสัมผัสก็ไม่เที่ยง มีความแปรผัน มีภาวะ
โดยอาการอื่น ก็ชิวหาสัมผัสเกิดขึ้นเพราะอาศัยปัจจัยที่ไม่เที่ยง ที่ไหนจักเที่ยงเล่า
บุคคลถูกผัสสะกระทบแล้วย่อมรู้สึก ถูกผัสสะกระทบแล้วย่อมคิดได้ ถูก
ผัสสะกระทบแล้วย่อมจำได้ แม้ธรรมเหล่านี้ก็หวั่นไหวและเสื่อม ไม่เที่ยง มีความ
แปรผัน มีภาวะโดยอาการอื่น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๙๕ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๒. ทุติยปัณณาสก์ ๔. ฉันนวรรค ๑๐. ทุติยทวยสูตร

เพราะอาศัยมโนและธรรมารมณ์ มโนวิญญาณจึงเกิดขึ้น มโนไม่เที่ยง มี
ความแปรผัน มีภาวะโดยอาการอื่น ธรรมารมณ์ไม่เที่ยง มีความแปรผัน มีภาวะ
โดยอาการอื่น ธรรมคู่กันนี้หวั่นไหวและเสื่อม ไม่เที่ยง มีความแปรผัน มีภาวะ
โดยอาการอื่น มโนวิญญาณไม่เที่ยง มีความแปรผัน มีภาวะโดยอาการอื่น แม้
เหตุปัจจัยเพื่อความเกิดขึ้นแห่งมโนวิญญาณก็ไม่เที่ยง มีความแปรผัน มีภาวะโดย
อาการอื่น ก็มโนวิญญาณที่เกิดขึ้นเพราะอาศัยปัจจัยที่ไม่เที่ยง ที่ไหนจักเที่ยงเล่า
ความประจวบ ความประชุม ความพร้อมเพรียงกันแห่งธรรม ๓ ประการนี้
เรียกว่ามโนสัมผัส แม้มโนสัมผัสก็ไม่เที่ยง มีความแปรผัน มีภาวะโดยอาการอื่น
แม้เหตุปัจจัยเพื่อความเกิดขึ้นแห่งมโนสัมผัสก็ไม่เที่ยง มีความแปรผัน มีภาวะโดย
อาการอื่น ก็มโนสัมผัสเกิดขึ้นเพราะอาศัยปัจจัยที่ไม่เที่ยง ที่ไหนจักเที่ยงเล่า
บุคคลถูกผัสสะกระทบแล้วย่อมรู้สึก ถูกผัสสะกระทบแล้วย่อมคิดได้ ถูก
ผัสสะกระทบแล้วย่อมจำได้ แม้ธรรมเหล่านี้ก็หวั่นไหวและเสื่อม ไม่เที่ยง มีความ
แปรผัน มีภาวะโดยอาการอื่น
ภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัยธรรมคู่กันนี้แล วิญญาณจึงเกิดขึ้น”

ทุติยทวยสูตรที่ ๑๐ จบ
ฉันนวรรคที่ ๔ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. ปโลกธัมมสูตร ๒. สุญญตโลกสูตร
๓. สังขิตตธัมมสูตร ๔. ฉันนสูตร
๕. ปุณณสูตร ๖. พาหิยสูตร
๗. ปฐมเอชาสูตร ๘. ทุติยเอชาสูตร
๙. ปฐมทวยสูตร ๑๐. ทุติยทวยสูตร


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๒. ทุติยปัณณาสก์ ๕. ฉฬวรรค ๑. อทันตอคุตตสูตร

๕. ฉฬวรรค
หมวดว่าด้วยอายตนะ ๖ ประการ
๑. อทันตอคุตตสูตร
ว่าด้วยการไม่ฝึกไม่คุ้มครองอายตนะ

[๙๔] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย ผัสสายตนะ ๖ ประการนี้ที่บุคคล
ไม่ฝึก ไม่คุ้มครอง ไม่รักษา ไม่สำรวมแล้ว ย่อมนำทุกข์มีประมาณยิ่งมาให้
ผัสสายตนะ ๖ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ผัสสายตนะคือจักขุที่บุคคลไม่ฝึก ไม่คุ้มครอง ไม่รักษา ไม่สำรวมแล้ว
ย่อมนำทุกข์มีประมาณยิ่งมาให้ ฯลฯ
๔. ผัสสายตนะคือชิวหาที่บุคคลไม่ฝึก ไม่คุ้มครอง ไม่รักษา ไม่สำรวมแล้ว
ย่อมนำทุกข์มีประมาณยิ่งมาให้ ฯลฯ
๖. ผัสสายตนะคือมโนที่บุคคลไม่ฝึก ไม่คุ้มครอง ไม่รักษา ไม่สำรวมแล้ว
ย่อมนำทุกข์มีประมาณยิ่งมาให้
ภิกษุทั้งหลาย ผัสสายตนะ ๖ ประการนี้แลที่บุคคลไม่ฝึก ไม่คุ้มครอง ไม่รักษา
ไม่สำรวมแล้วย่อมนำทุกข์มีประมาณยิ่งมาให้
ภิกษุทั้งหลาย ผัสสายตนะ ๖ ประการนี้ที่บุคคลฝึกดี คุ้มครองดี รักษาดี
สำรวมดีแล้วย่อมนำสุขมีประมาณยิ่งมาให้
ผัสสายตนะ ๖ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ผัสสายตนะคือจักขุที่บุคคลฝึกดี คุ้มครองดี รักษาดี สำรวมดีแล้ว
ย่อมนำสุขมีประมาณยิ่งมาให้ ฯลฯ
๔. ผัสสายตนะคือชิวหาที่บุคคลฝึกดี คุ้มครองดี รักษาดี สำรวมดีแล้ว
ย่อมนำสุขมีประมาณยิ่งมาให้ ฯลฯ
๖. ผัสสายตนะคือมโนที่บุคคลฝึกดี คุ้มครองดี รักษาดี สำรวมดีแล้ว
ย่อมนำสุขมีประมาณยิ่งมาให้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๙๗ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๒. ทุติยปัณณาสก์ ๕. ฉฬวรรค ๑. อทันตอคุตตสูตร

ภิกษุทั้งหลาย ผัสสายตนะ ๖ ประการนี้แลที่บุคคลฝึกดี คุ้มครองดี รักษาดี
สำรวมดีแล้วย่อมนำสุขยิ่งมาให้”
พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดาได้ตรัสเวยยากรณภาษิตนี้แล้วจึงได้ตรัสคาถา
ประพันธ์ต่อไปอีกว่า
“ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ไม่สำรวมผัสสายตนะ ๖ ประการ
นั่นแลในอายตนะ ๖ ประการใด ย่อมประสบทุกข์
ส่วนบุคคลเหล่าใดได้การสำรวมอายตนะ ๖ ประการนั้น
บุคคลเหล่านั้นมีศรัทธาเป็นเพื่อน เป็นผู้ไม่ชุ่มด้วยราคะอยู่
บุคคลเห็นรูปที่น่าชอบใจหรือเห็นรูปที่ไม่น่าชอบใจแล้ว
พึงบรรเทาทางของราคะในรูปที่น่าชอบใจ
และไม่พึงเสียใจว่า ‘รูปของเราไม่น่ารัก’
ได้ยินเสียงที่น่ารักและไม่น่ารักแล้ว
ไม่พึงกระหายในเสียงที่น่ารัก
และพึงบรรเทาความไม่ชอบใจในเสียงที่ไม่น่ารัก
และไม่พึงเสียใจว่า ‘เสียงของเราไม่น่ารัก’
ได้ดมกลิ่นหอมที่น่าชอบใจ
และได้ดมกลิ่นเหม็นที่ไม่น่าชอบใจแล้ว
พึงบรรเทาความหงุดหงิดในกลิ่นที่ไม่น่าชอบใจ
และไม่พึงพอใจในกลิ่นที่น่าชอบใจ
ได้ลิ้มรสที่ไม่อร่อยและอร่อย
และลิ้มรสที่ไม่อร่อยในบางคราวแล้ว
ไม่พึงติดใจลิ้มรสที่อร่อย
และไม่ควรยินร้ายในรสที่ไม่อร่อย
ถูกผัสสะที่เป็นสุขกระทบแล้วไม่พึงมัวเมา
แม้ถูกผัสสะที่เป็นทุกข์กระทบแล้วก็ไม่พึงหวั่นไหว
ควรวางเฉยผัสสะทั้งสองทั้งที่เป็นสุขและเป็นทุกข์
ไม่ควรยินดี ไม่ควรยินร้ายกับผัสสะอะไร ๆ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๙๘ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๒. ทุติยปัณณาสก์ ๕. ฉฬวรรค ๒. มาลุกยปุตตสูตร

นรชนทั้งหลายผู้ต่ำทราม
มีปปัญจสัญญา (ความหมายรู้ในกิเลสเครื่องเนิ่นช้า)
ปรุงแต่งอยู่ เป็นสัตว์ที่มีสัญญา วนเวียนอยู่
ก็บุคคลบรรเทาใจที่อาศัยเรือน๑ ๕ ทั้งปวงแล้ว
ย่อมเปลี่ยนจิตให้ประกอบด้วยเนกขัมมะ
ในกาลใดที่บุคคลอบรมใจดีแล้ว
ในอารมณ์ ๖ ประการอย่างนี้
ในกาลนั้นจิตของเขาถูกสุขสัมผัสหรือทุกขสัมผัสกระทบแล้ว
ย่อมไม่หวั่นไหวในที่ไหน ๆ
ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายครอบงำราคะและโทสะได้แล้ว
ย่อมเป็นผู้ถึงจุดจบ๒แห่งความเกิดและความตาย”

อทันตอคุตตสูตรที่ ๑ จบ

๒. มาลุกยปุตตสูตร
ว่าด้วยพระมาลุกยบุตร

[๙๕] ครั้งนั้น ท่านพระมาลุกยบุตรเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
ฯลฯ นั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
ขอประทานวโรกาส ขอพระผู้มีพระภาคโปรดแสดงธรรมแก่ข้าพระองค์โดยย่อ ซึ่งข้า
พระองค์ได้ฟังแล้ว จะพึงหลีกออกไปอยู่คนเดียว ไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศกาย
และใจอยู่เถิด”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “มาลุกยบุตร ในการขอโอวาทของเธอนี้ ในบัดนี้
เราจักบอกพวกภิกษุหนุ่มอย่างไรว่าเธอเป็นภิกษุผู้ชรา สูงอายุ เป็นผู้เฒ่า ล่วงกาล
มามาก ผ่านวัยมามาก ขอโอวาทโดยย่อ”
ท่านพระมาลุกยบุตรกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์เป็น
ผู้ชรา สูงอายุ เป็นผู้เฒ่า ล่วงกาลมามาก ผ่านวัยมามากก็จริง ถึงกระนั้น
ขอพระผู้มีพระภาคผู้สุคตโปรดแสดงธรรมแก่ข้าพระองค์โดยย่อเถิด ทำอย่างไร


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๒. ทุติยปัณณาสก์ ๕. ฉฬวรรค ๒. มาลุกยปุตตสูตร

ข้าพระองค์พึงรู้ทั่วถึงเนื้อความแห่งพระภาษิตของพระผู้มีพระภาค พึงเป็นผู้สืบต่อ
พระภาษิตของพระผู้มีพระภาค”
“มาลุกยบุตร เธอเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร รูปที่จะพึงรู้แจ้งทางตาเหล่าใด
เธอไม่ได้เห็น ไม่เคยเห็นแล้ว ย่อมไม่เห็น (ทั้งการกำหนด) ว่า ‘เราพึงเห็น’ ก็ไม่
มีแก่เธอ เธอจะมีความพอใจ กำหนัด หรือรักใคร่ในรูปเหล่านั้นหรือ”
“ไม่มีเลย พระพุทธเจ้าข้า”
“เสียงที่พึงรู้แจ้งทางหูเหล่าใด เธอไม่ได้ฟัง ไม่เคยฟังแล้ว ย่อมไม่ฟัง ทั้งการ
กำหนดว่า ‘เราพึงฟัง’ ก็ไม่มีแก่เธอ เธอจะมีความพอใจ กำหนัด หรือรักใคร่ใน
เสียงเหล่านั้นหรือ”
“ไม่มีเลย พระพุทธเจ้าข้า”
“กลิ่นที่พึงรู้แจ้งทางจมูกเหล่าใด เธอไม่ได้ดม ไม่เคยดมแล้ว ย่อมไม่ดม
ทั้งการกำหนดว่า ‘เราพึงดม’ ก็ไม่มีแก่เธอ เธอจะมีความพอใจ กำหนัด หรือ
รักใคร่ในกลิ่นเหล่านั้นหรือ”
“ไม่มีเลย พระพุทธเจ้าข้า”
“รสที่พึงรู้แจ้งทางลิ้นเหล่าใด เธอไม่ได้ลิ้ม ไม่เคยลิ้มแล้ว ย่อมไม่ลิ้ม ทั้งการ
กำหนดว่า ‘เราพึงลิ้ม’ ก็ไม่มีแก่เธอ เธอจะมีความพอใจ กำหนัด หรือรักใคร่
ในรสเหล่านั้นหรือ”
“ไม่มีเลย พระพุทธเจ้าข้า”
“โผฏฐัพพะที่พึงรู้แจ้งทางกายเหล่าใด เธอไม่ได้ถูกต้อง ไม่เคยถูกต้อง ย่อม
ไม่ถูกต้อง ทั้งการกำหนดว่า ‘เราพึงถูกต้อง’ ก็ไม่มีแก่เธอ เธอจะมีความพอใจ
กำหนัด หรือรักใคร่ในโผฏฐัพพะเหล่านั้นหรือ”
“ไม่มีเลย พระพุทธเจ้าข้า”
“ธรรมารมณ์ที่พึงรู้แจ้งทางใจเหล่าใด เธอไม่ได้รู้แจ้งไม่เคยรู้แจ้งแล้ว ย่อม

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๑๐๐ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๒. ทุติยปัณณาสก์ ๕. ฉฬวรรค ๒. มาลุกยปุตตสูตร

ไม่รู้แจ้ง ทั้งการกำหนดว่า ‘เราพึงรู้แจ้ง’ ก็ไม่มีแก่เธอ เธอจะมีความพอใจ
กำหนัด หรือรักใคร่ในธรรมารมณ์เหล่านั้นหรือ”
“ไม่มีเลย พระพุทธเจ้าข้า”
“มาลุกยบุตร บรรดาธรรมเหล่านี้ คือ รูปที่เธอเห็น เสียงที่เธอฟัง
อารมณ์ที่เธอทราบ และธรรมที่เธอพึงรู้แจ้ง ในรูปที่เห็นจักเป็นเพียงสักว่าเห็น
ในเสียงที่ฟังจักเป็นเพียงสักว่าฟัง ในอารมณ์ที่ทราบจักเป็นเพียงสักว่าทราบ ใน
ธรรมที่รู้แจ้งจักเป็นเพียงสักว่ารู้แจ้ง
เมื่อใดบรรดาธรรมทั้งหลาย คือ รูปที่เธอเห็น เสียงที่เธอฟัง อารมณ์ที่เธอ
ทราบ และธรรมที่เธอพึงรู้แจ้ง ในรูปที่เห็นจักเป็นเพียงสักว่าเห็น ในเสียงที่ฟังจัก
เป็นเพียงสักว่าฟัง ในอารมณ์ที่ทราบจักเป็นเพียงสักว่าทราบ ในธรรมที่รู้แจ้งจัก
เป็นเพียงสักว่ารู้แจ้ง เมื่อนั้นเธอจักไม่ถูกสิ่งนั้นครอบงำ
เมื่อใดเธอจักไม่ถูกสิ่งนั้นครอบงำ เมื่อนั้นเธอจักไม่พัวพันในสิ่งนั้น
เมื่อใดเธอจักไม่พัวพันในสิ่งนั้น เมื่อนั้นเธอจักไม่มีในโลกนี้ ไม่มีในโลกอื่น
ไม่มีในระหว่างโลกทั้งสอง นี้เป็นที่สุดแห่งทุกข์”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์รู้ทั่วถึงเนื้อความแห่งธรรมที่พระผู้มีพระ
ภาคทรงแสดงแล้วอย่างย่อโดยพิสดารอย่างนี้ว่า
‘เพราะเห็นรูปจึงหลงลืมสติ
เมื่อใส่ใจนิมิตที่น่ารัก
ก็มีจิตกำหนัดเสวยอารมณ์นั้น ทั้งติดใจอารมณ์นั้นอยู่
เวทนาที่เกิดจากรูปจำนวนมากก็เจริญแก่เขา
และจิตของเขาก็ถูกอภิชฌาและวิหิงสาเข้าไปกระทบ
เมื่อเขาสั่งสมทุกข์อยู่อย่างนี้
บัณฑิตกล่าวว่า ยังห่างไกลนิพพาน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๑๐๑ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๒. ทุติยปัณณาสก์ ๕. ฉฬวรรค ๒. มาลุกยปุตตสูตร

เพราะฟังเสียงจึงหลงลืมสติ
เมื่อใส่ใจนิมิตที่น่ารัก
ก็มีจิตกำหนัดเสวยอารมณ์นั้น ทั้งติดใจอารมณ์นั้นอยู่
เวทนาที่เกิดจากเสียงจำนวนมากก็เจริญแก่เขา
และจิตของเขาก็ถูกอภิชฌาและวิหิงสาเข้าไปกระทบ
เมื่อเขาสั่งสมทุกข์อยู่อย่างนี้
บัณฑิตกล่าวว่า ยังห่างไกลนิพพาน
เพราะดมกลิ่นจึงหลงลืมสติ
เมื่อใส่ใจนิมิตที่น่ารัก
ก็มีจิตกำหนัดเสวยอารมณ์นั้น ทั้งติดใจอารมณ์นั้นอยู่
เวทนาที่เกิดจากกลิ่นจำนวนมากก็เจริญแก่เขา
และจิตของเขาก็ถูกอภิชฌาและวิหิงสาเข้าไปกระทบ
เมื่อเขาสั่งสมทุกข์อยู่อย่างนี้
บัณฑิตกล่าวว่า ยังห่างไกลนิพพาน
เพราะลิ้มรสจึงหลงลืมสติ
บุคคลเมื่อใส่ใจนิมิตที่น่ารัก
ก็มีจิตกำหนัดเสวยอารมณ์นั้น ทั้งติดใจอารมณ์นั้นอยู่
เวทนาที่เกิดจากรสจำนวนมากก็เจริญแก่เขา
และจิตของเขาก็ถูกอภิชฌาและวิหิงสาเข้าไปกระทบ
เมื่อเขาสั่งสมทุกข์อยู่อย่างนี้
บัณฑิตกล่าวว่า ยังห่างไกลนิพพาน
เพราะถูกต้องโผฏฐัพพะจึงหลงลืมสติ
เมื่อใส่ใจนิมิตที่น่ารัก
ก็มีจิตกำหนัดเสวยอารมณ์นั้น ทั้งติดใจอารมณ์นั้นอยู่
เวทนาที่เกิดจากโผฏฐัพพะจำนวนมากก็เจริญแก่เขา
และจิตของเขาก็ถูกอภิชฌาและวิหิงสาเข้าไปกระทบ
เมื่อเขาสั่งสมทุกข์อยู่อย่างนี้
บัณฑิตกล่าวว่า ยังห่างไกลนิพพาน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๑๐๒ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๒. ทุติยปัณณาสก์ ๕. ฉฬวรรค ๒. มาลุกยปุตตสูตร

เพราะรู้ธรรมารมณ์จึงหลงลืมสติ
เมื่อใส่ใจนิมิตที่น่ารัก
ก็มีจิตกำหนัดเสวยอารมณ์นั้น ทั้งติดใจอารมณ์นั้นอยู่
เวทนาที่เกิดจากธรรมารมณ์จำนวนมากก็เจริญแก่เขา
และจิตของเขาก็ถูกอภิชฌาและวิหิงสาเข้าไปกระทบ
เมื่อเขาสั่งสมทุกข์อยู่อย่างนี้
บัณฑิตกล่าวว่า ยังห่างไกลนิพพาน
บุคคลนั้นเห็นรูปแล้วมีสติไม่กำหนัดในรูป
มีจิตคลายกำหนัดเสวยอารมณ์นั้น ทั้งไม่ติดใจอารมณ์นั้นอยู่
เมื่อเขาเห็นรูปและเสวยเวทนาอยู่
ทุกข์ย่อมสิ้นไปไม่ถูกสั่งสมไว้ ฉันใด
เขาก็เป็นผู้มีสติเที่ยวไป ฉันนั้น
เมื่อเขาไม่สั่งสมทุกข์อยู่อย่างนี้
บัณฑิตกล่าวว่า อยู่ใกล้นิพพาน
บุคคลนั้นฟังเสียงแล้วมีสติไม่กำหนัดในเสียง
มีจิตคลายกำหนัดเสวยอารมณ์นั้น ทั้งไม่ติดใจอารมณ์นั้นอยู่
เมื่อเขาฟังเสียงและเสวยเวทนาอยู่
ทุกข์ย่อมสิ้นไปไม่ถูกสั่งสมไว้ ฉันใด
เขาเป็นผู้มีสติเที่ยวไป ฉันนั้น
เมื่อเขาไม่สั่งสมทุกข์อยู่อย่างนี้
บัณฑิตกล่าวว่า อยู่ใกล้นิพพาน
บุคคลนั้นดมกลิ่นแล้วมีสติไม่กำหนัดในกลิ่น
มีจิตคลายกำหนัดเสวยอารมณ์นั้น ทั้งไม่ติดใจอารมณ์นั้นอยู่
เมื่อเขาดมกลิ่นและเสวยเวทนาอยู่
ทุกข์ย่อมสิ้นไปไม่ถูกสั่งสมไว้ ฉันใด
เขาเป็นผู้มีสติเที่ยวไป ฉันนั้น
เมื่อเขาไม่สั่งสมทุกข์อยู่อย่างนี้
บัณฑิตกล่าวว่า อยู่ใกล้นิพพาน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๑๐๓ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๒. ทุติยปัณณาสก์ ๕. ฉฬวรรค ๒. มาลุกยปุตตสูตร

บุคคลนั้นลิ้มรสแล้วมีสติไม่กำหนัดในรส
มีจิตคลายกำหนัดเสวยอารมณ์นั้น ทั้งไม่ติดใจอารมณ์นั้นอยู่
เมื่อเขาลิ้มรสและเสวยเวทนาอยู่ ฯลฯ
เมื่อเขาไม่สั่งสมทุกข์อยู่อย่างนี้
บัณฑิตกล่าวว่า อยู่ใกล้นิพพาน
บุคคลนั้นถูกต้องผัสสะแล้วมีสติไม่กำหนัดในผัสสะ
มีจิตคลายกำหนัดเสวยอารมณ์นั้น ทั้งไม่ติดใจอารมณ์นั้นอยู่
เมื่อเขาถูกต้องผัสสะและเสวยเวทนาอยู่ ฯลฯ
เมื่อเขาไม่สั่งสมทุกข์อยู่อย่างนี้
บัณฑิตกล่าวว่า อยู่ใกล้นิพพาน
บุคคลนั้นรู้ธรรมารมณ์แล้ว
มีสติไม่กำหนัดในธรรมารมณ์
มีจิตคลายกำหนัดเสวยอารมณ์นั้น ทั้งไม่ติดใจอารมณ์นั้นอยู่
เมื่อเขารู้ธรรมารมณ์และเสวยเวทนาอยู่
ทุกข์ย่อมสิ้นไปไม่ถูกสั่งสมไว้ ฉันใด
เขาเป็นผู้มีสติเที่ยวไป ฉันนั้น
เมื่อเขาไม่สั่งสมทุกข์อยู่อย่างนี้
บัณฑิตกล่าวว่า อยู่ใกล้นิพพาน’
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์รู้ทั่วถึงเนื้อความแห่งธรรมที่พระผู้มีพระภาค
ทรงแสดงแล้วอย่างย่อโดยพิสดารอย่างนี้”
“ดีละ ดีละ มาลุกยบุตร ดีแล้วที่เธอรู้ทั่วถึงเนื้อความแห่งธรรมที่เราแสดง
แล้วอย่างย่อโดยพิสดารอย่างนี้ว่า
‘เพราะเห็นรูปจึงหลงลืมสติ
เมื่อใส่ใจนิมิตที่น่ารัก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๑๐๔ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๒. ทุติยปัณณาสก์ ๕. ฉฬวรรค ๒. มาลุกยปุตตสูตร

ก็มีจิตกำหนัดเสวยอารมณ์นั้น ทั้งติดใจอารมณ์นั้นอยู่
เวทนาที่เกิดจากรูปจำนวนมากก็เจริญแก่เขา
และจิตของเขาก็ถูกอภิชฌาและวิหิงสาเข้าไปกระทบ
เมื่อเขาสั่งสมทุกข์อยู่อย่างนี้
เรากล่าวว่า ยังห่างไกลนิพพาน ฯลฯ
บุคคลนั้นรู้ธรรมารมณ์แล้ว
มีสติไม่กำหนัดในธรรมารมณ์
มีจิตคลายกำหนัดเสวยอารมณ์นั้น ทั้งไม่ติดใจอารมณ์นั้นอยู่
เมื่อเขารู้ธรรมารมณ์และเสวยเวทนาอยู่
ทุกข์ย่อมสิ้นไปไม่ถูกสั่งสมไว้ ฉันใด
เขาเป็นผู้มีสติเที่ยวไป ฉันนั้น
เมื่อเขาไม่สั่งสมทุกข์อยู่อย่างนี้
เรากล่าวว่า อยู่ใกล้นิพพาน’
มาลุกยบุตร เธอพึงเห็นเนื้อความแห่งธรรมที่เราแสดงแล้วอย่างย่อโดย
พิสดารอย่างนี้เถิด”
ครั้งนั้น ท่านพระมาลุกยบุตรชื่นชมยินดีพระภาษิตของพระผู้มีพระภาค ลุก
ขึ้นจากอาสนะ ถวายอภิวาท กระทำประทักษิณแล้วจากไป ต่อมา ท่านพระ
มาลุกยบุตรก็หลีกออกไปอยู่คนเดียว ไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่
ไม่นานนักได้ทำให้แจ้งซึ่งประโยชน์ยอดเยี่ยมอันเป็นที่สุดแห่งพรหมจรรย์ที่เหล่า
กุลบุตรออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบต้องการด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึง
อยู่ในปัจจุบัน รู้ชัดว่า “ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว
ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป”
อนึ่ง ท่านพระมาลุกยบุตรได้เป็นพระอรหันต์องค์หนึ่งในบรรดาพระอรหันต์
ทั้งหลาย

มาลุกยปุตตสูตรที่ ๒ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๒. ทุติยปัณณาสก์ ๕. ฉฬวรรค ๓. ปริหานธัมมสูตร

๓. ปริหานธัมมสูตร
ว่าด้วยปริหานธรรม

[๙๖] “ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงปริหานธรรม๑ อปริหานธรรม และ
อภิภายตนะ ๖ ประการแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง
ปริหานธรรม เป็นอย่างไร
คือ ธรรมที่เป็นบาปอกุศล มีความดำริซ่านไป เกื้อกูลแก่สังโยชน์ ย่อมเกิดขึ้น
แก่ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เพราะเห็นรูปทางตา ถ้าภิกษุให้กิเลสนั้นอาศัยอยู่ ไม่ละ
ไม่บรรเทา ไม่ทำให้หมดสิ้นไป ไม่ให้ถึงความไม่มีอีก ข้อนั้นภิกษุพึงทราบว่า ‘เรา
กำลังเสื่อมจากกุศลธรรม นี้พระผู้มีพระภาคตรัสว่าเป็นความเสื่อม’ ฯลฯ
อีกประการหนึ่ง ธรรมที่เป็นบาปอกุศล มีความดำริซ่านไป เกื้อกูลแก่สังโยชน์
ย่อมเกิดขึ้นแก่ภิกษุ เพราะลิ้มรสทางลิ้น ฯลฯ
อีกประการหนึ่ง ธรรมที่เป็นบาปอกุศล มีความดำริซ่านไป เกื้อกูลแก่สังโยชน์
ย่อมเกิดขึ้นแก่ภิกษุ เพราะรู้แจ้งธรรมารมณ์ทางใจ ถ้าภิกษุให้กิเลสนั้นอาศัยอยู่
ไม่ละ ไม่บรรเทา ไม่ทำให้หมดสิ้นไป ไม่ให้ถึงความไม่มีอีก ข้อนั้นภิกษุพึงทราบว่า
‘เรากำลังเสื่อมจากกุศลธรรม นี้พระผู้มีพระภาคตรัสว่าเป็นความเสื่อม’
ปริหานธรรมเป็นอย่างนี้แล
อปริหานธรรม เป็นอย่างไร
คือ ธรรมที่เป็นบาปอกุศล มีความดำริซ่านไป เกื้อกูลแก่สังโยชน์ ย่อมเกิดขึ้น
แก่ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เพราะเห็นรูปทางตา ถ้าภิกษุไม่ให้กิเลสนั้นอาศัยอยู่ ละ
บรรเทา ทำให้หมดสิ้นไป ให้ถึงความไม่มีอีก ข้อนั้นภิกษุพึงทราบว่า ‘เราไม่เสื่อม
จากกุศลธรรม นี้พระผู้มีพระภาคตรัสว่าเป็นความไม่เสื่อม’ ฯลฯ
อีกประการหนึ่ง ธรรมที่เป็นบาปอกุศล มีความดำริซ่านไป เกื้อกูลแก่สังโยชน์
ย่อมเกิดขึ้นแก่ภิกษุ เพราะลิ้มรสทางลิ้น ฯลฯ
อีกประการหนึ่ง ธรรมที่เป็นบาปอกุศล มีความดำริซ่านไป เกื้อกูลแก่สังโยชน์
ย่อมเกิดขึ้นแก่ภิกษุ เพราะรู้แจ้งธรรมารมณ์ทางใจ ถ้าภิกษุไม่ให้กิเลสนั้น อาศัยอยู่
ละ บรรเทา ทำให้หมดสิ้นไป ให้ถึงความไม่มีอีก ข้อนั้นภิกษุ พึงทราบว่า ‘เราไม่
เสื่อมจากกุศลธรรม นี้พระผู้มีพระภาคตรัสว่าเป็นความไม่เสื่อม’
อปริหานธรรมเป็นอย่างนี้แล


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๒. ทุติยปัณณาสก์ ๕. ฉฬวรรค ๔. ปมาทวิหารีสูตร

อภิภายตนะ ๖ ประการ เป็นอย่างไร
คือ ธรรมที่เป็นบาปอกุศล มีความดำริซ่านไป เกื้อกูลแก่สังโยชน์ย่อมไม่เกิดขึ้น
แก่ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เพราะเห็นรูปทางตา ภิกษุทั้งหลาย ข้อนั้นภิกษุพึงทราบว่า
‘อายตนะนี้เราครอบงำได้แล้ว นี้พระผู้มีพระภาคตรัสว่าเป็นอภิภายตนะ’ ฯลฯ
อีกประการหนึ่ง ธรรมที่เป็นบาปอกุศล มีความดำริซ่านไป เกื้อกูลแก่สังโยชน์
ย่อมไม่เกิดขึ้นแก่ภิกษุ เพราะรู้แจ้งธรรมารมณ์ทางใจ ข้อนั้นภิกษุพึงทราบว่า
‘อายตนะนี้เราครอบงำได้แล้ว นี้พระผู้มีพระภาคตรัสว่าเป็นอภิภายตนะ’
ภิกษุทั้งหลาย อายตนะเหล่านี้ เราเรียกว่า อภิภายตนะ ๖ ประการ”

ปริหานธัมมสูตรที่ ๓ จบ

๔. ปมาทวิหารีสูตร
ว่าด้วยภิกษุผู้อยู่ด้วยความประมาท

[๙๗] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงภิกษุผู้อยู่ด้วยความ
ประมาทและภิกษุผู้อยู่ด้วยความไม่ประมาทแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง
ภิกษุผู้อยู่ด้วยความประมาท เป็นอย่างไร
คือ เมื่อภิกษุไม่สำรวมจักขุนทรีย์อยู่ จิตย่อมซ่านไปในรูปทั้งหลายที่พึงรู้แจ้ง
ทางตา เมื่อเธอมีจิตซ่านไปแล้ว ปราโมทย์ (ความบันเทิงใจ) ก็ไม่มี เมื่อไม่มีปราโมทย์
ปีติ (ความอิ่มใจ) ก็ไม่มี เมื่อไม่มีปีติ ปัสสัทธิ (ความสงบกายสงบใจ) ก็ไม่มี เมื่อ
ไม่มีปัสสัทธิ ภิกษุนั้นย่อมอยู่ลำบาก จิตของเธอผู้อยู่ลำบากย่อมไม่ตั้งมั่น เมื่อจิต
ไม่ตั้งมั่น ธรรมทั้งหลาย๑ก็ไม่ปรากฏ เพราะธรรมทั้งหลายไม่ปรากฏ เธอย่อม
นับว่า ‘เป็นผู้อยู่ด้วยความประมาท’ แท้จริง ฯลฯ
เมื่อภิกษุไม่สำรวมชิวหินทรีย์อยู่ จิตย่อมซ่านไปในรสทั้งหลายที่พึงรู้แจ้งทาง
ลิ้น เมื่อเธอมีจิตซ่านไปแล้ว ฯลฯ เธอย่อมนับว่า ‘เป็นผู้อยู่ด้วยความประมาท’
แท้จริง ฯลฯ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๒. ทุติยปัณณาสก์ ๕. ฉฬวรรค ๕. สังวรสูตร

เมื่อภิกษุไม่สำรวมมนินทรีย์อยู่ จิตย่อมซ่านไปในธรรมารมณ์ที่พึงรู้แจ้ง
ทางใจ เมื่อเธอมีจิตซ่านไปแล้ว ปราโมทย์ก็ไม่มี เมื่อไม่มีปราโมทย์ ปีติก็ไม่มี
เมื่อไม่มีปีติ ปัสสัทธิก็ไม่มี เมื่อไม่มีปัสสัทธิ เธอย่อมอยู่ลำบาก จิตของภิกษุผู้
อยู่ลำบากย่อมไม่ตั้งมั่น เมื่อจิตไม่ตั้งมั่น ธรรมทั้งหลายก็ไม่ปรากฏ เพราะธรรม
ทั้งหลายไม่ปรากฏ ภิกษุนั้นย่อมนับว่า ‘เป็นผู้อยู่ด้วยความประมาท’ แท้จริง
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้อยู่ด้วยความประมาทเป็นอย่างนี้แล
ภิกษุผู้อยู่ด้วยความไม่ประมาท เป็นอย่างไร
คือ เมื่อภิกษุสำรวมจักขุนทรีย์อยู่ จิตย่อมไม่ซ่านไปในรูปทั้งหลายที่พึงรู้แจ้ง
ทางตา เมื่อเธอมีจิตไม่ซ่านไปแล้ว ปราโมทย์ก็เกิด เมื่อเกิดปราโมทย์ ปีติก็เกิด
เมื่อใจเกิดปีติ กายก็สงบ ภิกษุผู้มีกายสงบ ย่อมอยู่สบาย จิตของเธอผู้อยู่สบาย
ย่อมตั้งมั่น เมื่อจิตตั้งมั่น ธรรมทั้งหลายก็ปรากฏ เพราะธรรมทั้งหลายปรากฏ
เธอย่อมนับว่า ‘เป็นผู้อยู่ด้วยความไม่ประมาท’ แท้จริง ฯลฯ
เมื่อภิกษุสำรวมชิวหินทรีย์อยู่ จิตย่อมไม่ซ่านไป ฯลฯ เธอย่อมนับว่า
‘เป็นผู้อยู่ด้วยความไม่ประมาท’ แท้จริง ฯลฯ
เมื่อภิกษุสำรวมมนินทรีย์อยู่ จิตย่อมไม่ซ่านไปในธรรมารมณ์ที่พึงรู้แจ้งทางใจ
เมื่อเธอมีจิตไม่ซ่านไปแล้ว ปราโมทย์ก็เกิด เมื่อเกิดปราโมทย์ ปีติก็เกิด เมื่อเกิด
ปีติ กายก็สงบ ภิกษุผู้มีกายสงบย่อมอยู่สบาย จิตของเธอผู้อยู่สบายย่อมตั้งมั่น
เมื่อจิตตั้งมั่น ธรรมทั้งหลายก็ปรากฏ เพราะธรรมทั้งหลายปรากฏ เธอย่อมนับว่า
‘เป็นผู้อยู่ด้วยความไม่ประมาท’ แท้จริง
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้อยู่ด้วยความไม่ประมาทเป็นอย่างนี้แล”

ปมาทวิหารีสูตรที่ ๔ จบ

๕. สังวรสูตร
ว่าด้วยความสำรวม

[๙๘] “ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงความสำรวมและไม่สำรวมแก่เธอทั้งหลาย
เธอทั้งหลายจงฟัง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๑๐๘ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๒. ทุติยปัณณาสก์ ๕. ฉฬวรรค ๕. สังวรสูตร

ความไม่สำรวม เป็นอย่างไร
คือ รูปที่พึงรู้แจ้งทางตาที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก ชัก
ให้ใคร่ พาใจให้กำหนัดมีอยู่ ถ้าภิกษุเพลิดเพลิน เชยชม ยึดติดรูปนั้นอยู่ ข้อนี้
ภิกษุพึงทราบว่า ‘เรากำลังเสื่อมจากกุศลธรรมทั้งหลาย นี้พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
เป็นความเสื่อม’ ฯลฯ
รสที่พึงรู้แจ้งทางชิวหาวิญญาณ ... มีอยู่ ฯลฯ
ธรรมารมณ์ที่พึงรู้แจ้งทางใจที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก
ชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัดมีอยู่ ถ้าภิกษุยังเพลิดเพลิน เชยชม ยึดติด
ธรรมารมณ์นั้นอยู่ ข้อนี้ภิกษุพึงทราบว่า ‘เรากำลังเสื่อมจากกุศลธรรมทั้งหลาย
นี้พระผู้มีพระภาคตรัสว่าเป็นความเสื่อม’
ภิกษุทั้งหลาย ความไม่สำรวมเป็นอย่างนี้แล
ความสำรวม เป็นอย่างไร
คือ รูปที่พึงรู้แจ้งทางตาที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก ชักให้ใคร่
พาใจให้กำหนัดมีอยู่ ถ้าภิกษุไม่เพลิดเพลิน ไม่เชยชม ไม่ยึดติดรูปนั้นอยู่ ข้อนี้
ภิกษุพึงทราบว่า ‘เราไม่เสื่อมจากกุศลธรรมทั้งหลาย นี้พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
เป็นความไม่เสื่อม’ ฯลฯ
รสที่พึงรู้แจ้งทางลิ้น ... มีอยู่ ฯลฯ
ธรรมารมณ์ที่พึงรู้แจ้งทางใจที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก
ชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัดมีอยู่ ถ้าภิกษุไม่เพลิดเพลิน ไม่เชยชม ไม่ยึดติด
ธรรมารมณ์นั้นอยู่ ข้อนี้ภิกษุพึงทราบว่า ‘เราไม่เสื่อมจากกุศลธรรมทั้งหลาย นี้
พระผู้มีพระภาคตรัสว่าเป็นความไม่เสื่อม’
ภิกษุทั้งหลาย ความสำรวมเป็นอย่างนี้แล”

สังวรสูตรที่ ๕ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๒. ทุติยปัณณาสก์ ๕. ฉฬวรรค ๗. ปฏิสัลลานสูตร

๖. สมาธิสูตร
ว่าด้วยสมาธิ

[๙๙] “ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงเจริญสมาธิเถิด ภิกษุผู้มีจิตตั้งมั่นย่อม
รู้ชัดตามความเป็นจริง รู้ชัดอะไรเล่าตามความเป็นจริง คือ
รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า ‘จักขุไม่เที่ยง’ รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า ‘รูป
ไม่เที่ยง’ รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า ‘จักขุวิญญาณไม่เที่ยง’ รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า
‘จักขุสัมผัสไม่เที่ยง’ รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า ‘แม้ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุข
หรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัยก็ไม่เที่ยง’ ฯลฯ
รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า ‘มโนไม่เที่ยง’ ฯลฯ ธรรมารมณ์ ฯลฯ มโน-
วิญญาณ ฯลฯ มโนสัมผัส ฯลฯ รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า ‘แม้ความเสวย
อารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย
ก็ไม่เที่ยง’
ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงเจริญสมาธิเถิด ภิกษุผู้มีจิตตั้งมั่นย่อมรู้ชัด
ตามความเป็นจริง”

สมาธิสูตรที่ ๖ จบ

๗. ปฏิสัลลานสูตร
ว่าด้วยการหลีกเร้น

[๑๐๐] “ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายหลีกเร้นแล้ว จงประกอบความเพียรเถิด
ภิกษุผู้หลีกเร้นแล้วย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริง รู้ชัดอะไรเล่าตามความเป็นจริง คือ
รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า ‘จักขุไม่เที่ยง’ รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า ‘รูปไม่
เที่ยง’ รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า ‘จักขุวิญญาณไม่เที่ยง’ รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า
‘จักขุสัมผัสไม่เที่ยง’ ฯลฯ รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า ‘แม้ความเสวยอารมณ์ที่เป็น
สุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัยก็ไม่เที่ยง’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๑๑๐ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๒. ทุติยปัณณาสก์ ๕. ฉฬวรรค ๘. ปฐมนตุมหากสูตร

ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายหลีกเร้นแล้ว จงประกอบความเพียรเถิด ภิกษุผู้
หลีกเร้นแล้วย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริง”

ปฏิสัลลานสูตรที่ ๗ จบ

๘. ปฐมนตุมหากสูตร
ว่าด้วยสิ่งที่ไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย สูตรที่ ๑

[๑๐๑] “ภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงละสิ่งนั้น
สิ่งที่เธอทั้งหลายละได้แล้วนั้น จักเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูลเพื่อความสุข
ก็อะไรเล่าชื่อว่าสิ่งที่ไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย
จักขุไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงละจักขุนั้น จักขุที่เธอทั้งหลายละ
ได้แล้วนั้น จักเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูลเพื่อความสุข
รูปไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงละรูปนั้น รูปที่เธอทั้งหลายละได้แล้ว
นั้น จักเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูลเพื่อความสุข
จักขุวิญญาณไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงละจักขุวิญญาณนั้น จักขุ-
วิญญาณที่เธอทั้งหลายละได้แล้วนั้น จักเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูลเพื่อความสุข
จักขุสัมผัสไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงละจักขุสัมผัสนั้น จักขุสัมผัส
ที่เธอทั้งหลายละได้แล้วนั้น จักเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูลเพื่อความสุข
แม้ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะ
จักขุสัมผัสเป็นปัจจัยก็ไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงละความเสวยอารมณ์ที่
เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัยนั้น ความ
เสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัย
ที่เธอทั้งหลายละได้แล้วนั้น จักเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูลเพื่อความสุข ฯลฯ
ชิวหาไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงละชิวหานั้น ชิวหาที่เธอทั้งหลาย
ละได้แล้วนั้น จักเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูลเพื่อความสุข

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๑๑๑ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๒. ทุติยปัณณาสก์ ๕. ฉฬวรรค ๘. ปฐมนตุมหากสูตร

รสไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงละรสนั้น รสที่เธอทั้งหลายละได้
แล้วนั้น จักเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูลเพื่อความสุข
ชิวหาวิญญาณไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงละชิวหาวิญญาณนั้น
ชิวหาวิญญาณที่เธอทั้งหลายละได้แล้วนั้น จักเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูลเพื่อความสุข
ชิวหาสัมผัสไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงละชิวหาสัมผัสนั้น ชิวหา-
สัมผัสที่เธอทั้งหลายละได้แล้วนั้นจักเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูลเพื่อความสุข แม้
ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะชิวหาสัมผัส
เป็นปัจจัยก็ไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงละความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุข
หรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะชิวหาสัมผัสเป็นปัจจัยนั้น ความเสวย
อารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะชิวหาสัมผัสเป็นปัจจัย
ที่เธอทั้งหลายละได้แล้วนั้น จักเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูลเพื่อความสุข ฯลฯ
มโนไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงละมโนนั้น มโนที่เธอทั้งหลายละได้
แล้วนั้น จักเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูลเพื่อความสุข
ธรรมารมณ์ไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงละธรรมารมณ์นั้น
ธรรมารมณ์ที่เธอทั้งหลายละได้แล้วนั้น จักเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูลเพื่อความสุข
มโนวิญญาณไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงละมโนวิญญาณนั้น มโน-
วิญญาณที่เธอทั้งหลายละได้แล้วนั้น จักเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูลเพื่อความสุข
มโนสัมผัสไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงละมโนสัมผัสนั้น มโนสัมผัส
ที่เธอทั้งหลายละได้แล้วนั้น จักเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูลเพื่อความสุข
แม้ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะ
มโนสัมผัสเป็นปัจจัยก็ไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงละความเสวยอารมณ์ที่
เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัยนั้น ความ
เสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็น
ปัจจัยที่เธอทั้งหลายละได้แล้วนั้น จักเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูลเพื่อความสุข

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๑๑๒ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๒. ทุติยปัณณาสก์ ๕. ฉฬวรรค ๙. ทุติยนตุมหากสูตร

เปรียบเหมือนคนพึงนำหญ้า ไม้ กิ่งไม้ และใบไม้ที่มีอยู่ในเชตวันนี้ไป เผา หรือ
จัดการไปตามเรื่อง เธอทั้งหลายจะพึงมีความคิดอย่างนี้บ้างไหมว่า ‘คนนำเรา
ทั้งหลายไป เผา หรือจัดการไปตามเรื่อง”
“ไม่มีเลย พระพุทธเจ้าข้า”
“ข้อนั้นเพราะเหตุไร”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เพราะหญ้าเป็นต้นนั้นไม่ใช่อัตตาหรือสิ่งที่เนื่องด้วย
อัตตา”
“ภิกษุทั้งหลาย อุปมานี้ฉันใด อุปไมยก็ฉันนั้นเหมือนกัน จักขุไม่ใช่ของเธอ
ทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงละจักขุนั้น จักขุที่เธอทั้งหลายละได้แล้วจักเป็นไปเพื่อ
ประโยชน์เกื้อกูลเพื่อความสุข รูปไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย ฯลฯ จักขุวิญญาณ ฯลฯ
จักขุสัมผัส ฯลฯ แม้ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่
เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย ก็ไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงละ
ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัส
เป็นปัจจัยนั้น ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้น
เพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัยที่เธอทั้งหลายละได้แล้วนั้น จักเป็นไปเพื่อประโยชน์
เกื้อกูลเพื่อความสุข”

ปฐมนตุมหากสูตรที่ ๘ จบ

๙. ทุติยนตุมหากสูตร
ว่าด้วยสิ่งที่ไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย สูตรที่ ๒

[๑๐๒] “ภิกษุทั้งหลาย แม้สิ่งใดที่ไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงละ
สิ่งนั้น สิ่งที่เธอทั้งหลายละได้แล้วนั้น จักเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูลเพื่อความสุข
ก็อะไรเล่าชื่อว่าสิ่งที่ไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย
จักขุไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงละจักขุนั้น จักขุที่เธอทั้งหลายละ
ได้แล้วนั้น จักเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูลเพื่อความสุข

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๑๑๓ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๒. ทุติยปัณณาสก์ ๕. ฉฬวรรค ๑๐. อุทกสูตร

รูปไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงละรูปนั้น รูปที่เธอทั้งหลายละได้แล้วนั้น
จักเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูลเพื่อความสุข
จักขุวิญญาณไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงละจักขุวิญญาณนั้น จักขุ-
วิญญาณที่เธอทั้งหลายละได้แล้วนั้น จักเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูลเพื่อความสุข
จักขุสัมผัสไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงละจักขุสัมผัสนั้น จักขุสัมผัส
ที่เธอทั้งหลายละได้แล้วนั้น จักเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูลเพื่อความสุข ฯลฯ
แม้ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะ
มโนสัมผัสเป็นปัจจัยก็ไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงละความเสวยอารมณ์ที่
เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัยนั้น ความ
เสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย
ที่เธอทั้งหลายละได้แล้วนั้น จักเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูลเพื่อความสุข
ภิกษุทั้งหลาย แม้สิ่งใดที่ไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงละสิ่งนั้น
สิ่งที่เธอทั้งหลายละได้แล้วนั้น จักเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูลเพื่อความสุข”

ทุติยนตุมหากสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. อุทกสูตร
ว่าด้วยอุทกดาบส

[๑๐๓] “ภิกษุทั้งหลาย ได้ยินว่าอุทกดาบส รามบุตรกล่าววาจาอย่างนี้ว่า
‘เรา เป็นผู้ถึงเวทแน่นอน เราเป็นผู้ชนะวัฏฏะทั้งปวงแน่นอน รากเหง้าแห่งทุกข์ที่
ใคร ๆ ขุดไม่ได้ เราขุดได้แล้วแน่นอน’ อุทกดาบส รามบุตร ยังเป็นผู้ไม่ถึงเวท
แต่กล่าวว่า ‘เราเป็นผู้ถึงเวท’ ยังเป็นผู้ไม่ชนะวัฏฏะทั้งปวง แต่กล่าวว่า ‘เราชนะ
วัฏฏะทั้งปวง’ ยังขุดรากเหง้าแห่งทุกข์ไม่ได้ แต่กล่าวว่า ‘เราขุดรากเหง้าแห่งทุกข์
ได้แล้ว’
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เมื่อจะกล่าวเรื่องนั้นให้ถูกต้อง ควรกล่าวว่า ‘เราเป็น
ผู้ถึงเวทแน่นอน เราเป็นผู้ชนะวัฏฏะทั้งปวงแน่นอน รากเหง้าแห่งทุกข์ที่ใคร ๆ ขุด
ไม่ได้ เราขุดได้แล้วแน่นอน’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๑๑๔ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๒. ทุติยปัณณาสก์ ๕. ฉฬวรรค ๑๐. อุทกสูตร

ภิกษุเป็นผู้ถึงเวท อย่างไร
คือ ภิกษุย่อมรู้ชัดถึงความเกิด ความดับ คุณ โทษ และเครื่องสลัดออก
จากผัสสายตนะ ๖ ประการตามความเป็นจริง
ภิกษุเป็นผู้ถึงเวทอย่างนี้แล
ภิกษุเป็นผู้ชนะวัฏฏะทั้งปวง อย่างไร
คือ ภิกษุรู้ชัดถึงความเกิด ความดับ คุณ โทษ และเครื่องสลัดออกจาก
ผัสสายตนะ ๖ ประการตามความเป็นจริงแล้ว เป็นผู้หลุดพ้นเพราะไม่ถือมั่น
ภิกษุเป็นผู้ชนะวัฏฏะทั้งปวงอย่างนี้แล
รากเหง้าแห่งทุกข์ที่ใคร ๆ ขุดไม่ได้ ภิกษุขุดได้แล้ว อย่างไร
คือ คำว่า คัณฑะ นี้ เป็นชื่อของกายนี้ ซึ่งประกอบขึ้นจากมหาภูตรูป ๔
เกิดจากมารดาบิดา เจริญวัยเพราะข้าวสุกและขนมกุมมาส๑ ไม่เที่ยงแท้ ต้องอบ
ต้องนวดเฟ้น มีอันแตกกระจัดกระจายไปเป็นธรรมดา
คำว่า คัณฑมูล นี้เป็นชื่อของตัณหา ภิกษุละตัณหาได้แล้ว ตัดรากถอนโคน
เหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อ
ไปไม่ได้
รากเหง้าแห่งทุกข์ที่ใคร ๆ ขุดไม่ใด้ ภิกษุขุดได้แล้วอย่างนี้แล
ได้ยินว่าอุทกดาบส รามบุตรกล่าววาจาอย่างนี้ว่า ‘เราเป็นผู้ถึงเวทแน่นอน เรา
เป็นผู้ชนะวัฏฏะทั้งปวงแน่นอน รากเหง้าแห่งทุกข์ที่ใคร ๆ ขุดไม่ได้ เราขุดได้แล้ว
แน่นอน’ อุทกดาบส รามบุตรยังเป็นผู้ไม่ถึงเวท แต่กล่าวว่า ‘เราเป็นผู้ถึงเวท’
ยังไม่ชนะวัฏฏะทั้งปวง แต่กล่าวว่า ‘เราชนะวัฏฏะทั้งปวง’ ยังขุดรากเหง้าแห่งทุกข์
ไม่ได้ แต่กล่าวว่า ‘เราขุดรากเหง้าแห่งทุกข์ได้แล้ว’
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้เมื่อจะกล่าวเรื่องนั้นให้ถูกต้อง ควรกล่าว
ว่า ‘เราเป็นผู้ถึงเวทแน่นอน เราชนะวัฏฏะทั้งปวงแน่นอน รากเหง้าแห่งทุกข์ที่ใคร ๆ
ขุดไม่ได้ เราขุดได้แล้วแน่นอน”

อุทกสูตรที่ ๑๐ จบ
ฉฬวรรคที่ ๕ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๒. ทุติยปัณณาสก์ ๕. ฉฬวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. อทันตอคุตตสูตร ๒. มาลุกยปุตตสูตร
๓. ปริหานธัมมสูตร ๔. ปมาทวิหารีสูตร
๕. สังวรสูตร ๖. สมาธิสูตร
๗. ปฏิสัลลานสูตร ๘. ปฐมนตุมหากสูตร
๙. ทุติยนตุมหากสูตร ๑๐. อุทกสูตร

ทุติยปัณณาสก์ในสฬายตนวรรค จบบริบูรณ์

รวมวรรคที่มีในทุติยปัณณาสก์นี้ คือ

๑. อวิชชาวรรค ๒. มิคชาลวรรค
๓. คิลานวรรค ๔. ฉันนวรรค
๕. ฉฬวรรค

ทุติยปัณณาสก์ จบ
๑๐๐ สูตรแรกจบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๓. ตติยปัณณาสก์ ๑. โยคักเขมิกวรรค ๑. โยคักเขมิสูตร

๓. ตติยปัณณาสก์
๑. โยคักเขมิวรรค
หมวดว่าด้วยธรรมที่เป็นเหตุให้บุคคลมีความเกษมจากโยคะ
๑. โยคักเขมิสูตร
ว่าด้วยธรรมที่เป็นเหตุให้บุคคลมีความเกษมจากโยคะ

[๑๐๔] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมบรรยาย๑ที่เป็นเหตุ
ให้บุคคลมีความเกษมจากโยคะ๒แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง
ธรรมบรรยายที่เป็นเหตุให้บุคคลมีความเกษมจากโยคะ เป็นอย่างไร
คือ รูปที่พึงรู้แจ้งทางตาที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก ชักให้ใคร่
พาใจให้กำหนัดมีอยู่ ตถาคตละรูปเหล่านั้นได้แล้ว ตัดรากถอนโคน เหมือนต้นตาล
ที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ ตถาคต
ได้บอกความเพียรที่ควรประกอบ๓เพื่อละรูปเหล่านั้น เพราะเหตุนั้นบัณฑิตจึง
กล่าวว่า ‘ตถาคตเป็นผู้มีความเกษมจากโยคะ’ ฯลฯ
ธรรมารมณ์ที่พึงรู้แจ้งทางใจที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก ชัก
ให้ใคร่ พาใจให้กำหนัดมีอยู่ ตถาคตละธรรมารมณ์นั้นได้แล้ว ตัดรากถอนโคน
เหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อ
ไปไม่ได้ ตถาคตได้บอกความเพียรที่ควรประกอบเพื่อละธรรมารมณ์นั้น เพราะ
เหตุนั้นบัณฑิตจึงกล่าวว่า ‘ตถาคตเป็นผู้มีความเกษมจากโยคะ’
ภิกษุทั้งหลาย ธรรมบรรยายที่เป็นเหตุให้บุคคลมีความเกษมจากโยคะเป็น
อย่างนี้แล”

โยคักเขมิสูตรที่ ๑ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๓. ตติยปัณณาสก์ ๑. โยคักเขมิกวรรค ๒. อุปาทายสูตร

๒. อุปาทายสูตร
ว่าด้วยสุขทุกข์อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น

[๑๐๕] “ภิกษุทั้งหลาย เมื่อมีอะไร เพราะอาศัยอะไร สุขและทุกข์ภายใน
จึงเกิดขึ้น”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมของข้าพระองค์ทั้งหลายมีพระผู้มีพระภาคเป็นหลัก”
“เมื่อมีจักขุ เพราะอาศัยจักขุ สุขและทุกข์ภายในจึงเกิดขึ้น ฯลฯ
เมื่อมีชิวหา เพราะอาศัยชิวหา สุขและทุกข์ภายในจึงเกิดขึ้น ฯลฯ
เมื่อมีมโน เพราะอาศัยมโน สุขและทุกข์ภายในจึงเกิดขึ้น
ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร จักขุเที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข”
“เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา สุขและทุกข์ภายใน
พึงเกิดขึ้น เพราะไม่อาศัยสิ่งนั้นหรือ”
“ไม่ใช่อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า” ฯลฯ
“ชิวหาเที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข”
“เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา สุขและทุกข์ภายใน
พึงเกิดขึ้น เพราะไม่อาศัยสิ่งนั้นหรือ”
“ไม่ใช่อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า” ฯลฯ
“มโนเที่ยงหรือไม่เที่ยง”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๑๑๘ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๓. ตติยปัณณาสก์ ๑. โยคักเขมิกวรรค ๓. ทุกขสมุทยสูตร

“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข”
“เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา สุขและทุกข์ภายใน
พึงเกิดขึ้น เพราะไม่อาศัยสิ่งนั้นหรือ”
“ไม่ใช่อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
“ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในจักขุ
ฯลฯ แม้ในชิวหา ฯลฯ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในมโน เมื่อเบื่อหน่ายย่อมคลายกำหนัด
เพราะคลายกำหนัด จิตย่อมหลุดพ้น เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว ก็รู้ว่า ‘หลุดพ้นแล้ว’
รู้ชัดว่า ‘ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่น
เพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป”

อุปาทายสูตรที่ ๒ จบ

๓. ทุกขสมุทยสูตร
ว่าด้วยความเกิดแห่งทุกข์

[๑๐๖] “ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงความเกิดและความดับแห่งทุกข์๑ เธอ
ทั้งหลายจงฟัง
ความเกิดแห่งทุกข์ เป็นอย่างไร
คือ เพราะอาศัยจักขุและรูป จักขุวิญญาณจึงเกิด ความประจวบแห่งธรรม ๓
ประการเป็นผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงเกิด เพราะเวทนาเป็นปัจจัย
ตัณหาจึงเกิด
ความเกิดแห่งทุกข์เป็นอย่างนี้แล ฯลฯ
เพราะอาศัยชิวหาและรส ชิวหาวิญญาณจึงเกิด ความประจวบแห่งธรรม ๓
ประการเป็นผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงเกิด เพราะเวทนาเป็นปัจจัย
ตัณหาจึงเกิด


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๓. ตติยปัณณาสก์ ๑. โยคักเขมิกวรรค ๓. ทุกขสมุทยสูตร

ความเกิดแห่งทุกข์เป็นอย่างนี้แล ฯลฯ
เพราะอาศัยมโนและธรรมารมณ์ มโนวิญญาณจึงเกิด ความประจวบแห่ง
ธรรม ๓ ประการเป็นผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงเกิด เพราะเวทนา
เป็นปัจจัย ตัณหาจึงเกิด
ความเกิดแห่งทุกข์เป็นอย่างนี้แล
ความดับแห่งทุกข์ เป็นอย่างไร
คือ เพราะอาศัยจักขุและรูป จักขุวิญญาณจึงเกิด ความประจวบแห่งธรรม ๓
ประการเป็นผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงเกิด เพราะเวทนาเป็นปัจจัย
ตัณหาจึงเกิด เพราะตัณหานั้นแลดับไม่เหลือด้วยวิราคะ๑ อุปาทานจึงดับ เพราะ
อุปาทานดับ ภพจึงดับ เพราะภพดับ ชาติ (ความเกิด) จึงดับ เพราะชาติดับ
ชรา (ความแก่) มรณะ (ความตาย) โสกะ (ความเศร้าโศก) ปริเทวะ (ความ
คร่ำครวญ) ทุกข์ (ความทุกข์กาย) โทมนัส (ความทุกข์ใจ) และอุปายาส (ความ
คับแค้นใจ) จึงดับ ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้มีได้ด้วยประการฉะนี้
ความดับแห่งทุกข์เป็นอย่างนี้แล ฯลฯ
เพราะอาศัยชิวหาและรส ชิวหาวิญญาณจึงเกิด ความประจวบแห่งธรรม ๓
ประการเป็นผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงเกิด เพราะเวทนาเป็นปัจจัย
ตัณหาจึงเกิด เพราะตัณหานั้นแลดับไม่เหลือด้วยวิราคะ อุปาทานจึงดับ เพราะ
อุปาทานดับ ภพจึงดับ ฯลฯ
ความดับแห่งทุกข์เป็นอย่างนี้แล ฯลฯ
เพราะอาศัยมโนและธรรมารมณ์ มโนวิญญาณจึงเกิด ความประจวบแห่ง
ธรรม ๓ ประการเป็นผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงเกิด เพราะเวทนา
เป็นปัจจัย ตัณหาจึงเกิด เพราะตัณหานั้นแลดับไม่เหลือด้วยวิราคะ อุปาทานจึง
ดับ เพราะอุปาทานดับ ภพจึงดับ เพราะภพดับ ชาติจึงดับ เพราะชาติดับ ชรา
มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสจึงดับ ความดับแห่งกองทุกข์
ทั้งมวลนี้มีได้ด้วยประการฉะนี้
ภิกษุทั้งหลาย ความดับแห่งทุกข์เป็นอย่างนี้แล”

ทุกขสมุทยสูตรที่ ๓ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๓. ตติยปัณณาสก์ ๑. โยคักเขมิกวรรค ๔. โลกสมุทยสูตร

๔. โลกสมุทยสูตร
ว่าด้วยความเกิดแห่งโลก

[๑๐๗] “ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงความเกิดและความดับแห่งโลก๑ เธอ
ทั้งหลายจงฟัง
ความเกิดแห่งโลก เป็นอย่างไร
คือ เพราะอาศัยจักขุและรูป จักขุวิญญาณจึงเกิด ความประจวบแห่งธรรม ๓
ประการเป็นผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงเกิด เพราะเวทนาเป็นปัจจัย
ตัณหาจึงเกิด เพราะตัณหาเป็นปัจจัย อุปาทานจึงเกิด เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย
ภพจึงเกิด เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติจึงเกิด เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรา มรณะ โสกะ
ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสจึงเกิด
ความเกิดแห่งโลกเป็นอย่างนี้แล ฯลฯ
เพราะอาศัยชิวหาและรส ชิวหาวิญญาณจึงเกิด ฯลฯ
เพราะอาศัยมโนและธรรมารมณ์ มโนวิญญาณจึงเกิด ความประจวบแห่งธรรม
๓ ประการเป็นผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงเกิด เพราะเวทนาเป็นปัจจัย
ตัณหาจึงเกิด เพราะตัณหาเป็นปัจจัย อุปาทานจึงเกิด เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย
ภพจึงเกิด เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติจึงเกิด เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรา มรณะ โสกะ
ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสจึงเกิด
ความเกิดแห่งโลกเป็นอย่างนี้แล
ความดับแห่งโลก เป็นอย่างไร
คือ เพราะอาศัยจักขุและรูป จักขุวิญญาณจึงเกิด ความประจวบแห่งธรรม ๓
ประการเป็นผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงเกิด เพราะเวทนาเป็นปัจจัย
ตัณหาจึงเกิด เพราะตัณหานั้นแลดับไม่เหลือด้วยวิราคะ อุปาทานจึงดับ เพราะ
อุปาทานดับ ภพจึงดับ เพราะภพดับ ชาติจึงดับ เพราะชาติดับ ชรา มรณะ โสกะ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๓. ตติยปัณณาสก์ ๑. โยคักเขมิกวรรค ๕. เสยโยหมัสมิสูตร

ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสจึงดับ ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้
มีได้ด้วยประการฉะนี้
ความดับแห่งโลกเป็นอย่างนี้แล ฯลฯ
เพราะอาศัยชิวหาและรส ชิวหาวิญญาณจึงเกิด ฯลฯ
เพราะอาศัยมโนและธรรมารมณ์ มโนวิญญาณจึงเกิด ความประจวบแห่ง
ธรรม ๓ ประการเป็นผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงเกิด เพราะเวทนา
เป็นปัจจัย ตัณหาจึงเกิด เพราะตัณหานั้นแลดับไม่เหลือด้วยวิราคะ อุปาทานจึงดับ
ฯลฯ ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้มีได้ด้วยประการฉะนี้
ภิกษุทั้งหลาย ความดับแห่งโลกเป็นอย่างนี้แล”

โลกสมุทยสูตรที่ ๔ จบ

๕. เสยโยหมัสมิสูตร
ว่าด้วยความถือตัวว่าเราเลิศกว่าเขา

[๑๐๘] “ภิกษุทั้งหลาย เมื่อมีอะไร เพราะยึดมั่นอะไร เพราะถือมั่นอะไร
ความถือตัวว่า ‘เราเลิศกว่าเขา’ ความถือตัวว่า ‘เราเสมอเขา’ หรือความถือตัวว่า
‘เราด้อยกว่าเขา’ จึงมี”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมของข้าพระองค์ทั้งหลายมีพระผู้มีพระภาค
เป็นหลัก”
“เมื่อมีจักขุ เพราะยึดมั่นจักขุ เพราะถือมั่นจักขุ ความถือตัวว่า ‘เราเลิศ
กว่าเขา’ ความถือตัวว่า ‘เราเสมอเขา’ หรือความถือตัวว่า ‘เราด้อยกว่าเขา’ จึงมี
ฯลฯ
เมื่อมีชิวหา ฯลฯ เมื่อมีมโน เพราะยึดมั่นมโน เพราะถือมั่นมโน ความ
ถือตัวว่า ‘เราเลิศกว่าเขา’ ความถือตัวว่า ‘เราเสมอเขา’ หรือความถือตัวว่า
‘เราด้อยกว่าเขา’ จึงมี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๑๒๒ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๓. ตติยปัณณาสก์ ๑. โยคักเขมิกวรรค ๕. เสยโยหมัสมิสูตร

เธอทั้งหลายเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร จักขุเที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข”
“เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา เพราะไม่ยึดมั่นสิ่งนั้น
ความถือตัวว่า ‘เราเลิศกว่าเขา’ ความถือตัวว่า ‘เราเสมอเขา’ หรือความถือตัวว่า
‘เราด้อยกว่าเขา’ จะพึงมีหรือ”
“ไม่มีเลย พระพุทธเจ้าข้า” ฯลฯ
“ชิวหาเที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า” ฯลฯ
“มโนเที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข”
“เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา เพราะไม่ยึดมั่นสิ่งนั้น
ความถือตัวว่า ‘เราเลิศกว่าเขา’ ความถือตัวว่า ‘เราเสมอเขา’ หรือความถือตัวว่า
‘เราด้อยกว่าเขา’ จะพึงมีหรือ”
“ไม่มีเลย พระพุทธเจ้าข้า”
“ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในจักขุ
ฯลฯ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในชิวหา ฯลฯ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในมโน เมื่อเบื่อหน่าย
ย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด จิตย่อมหลุดพ้น เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว ก็รู้ว่า
‘หลุดพ้นแล้ว’ รู้ชัดว่า ‘ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จ
แล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป”

เสยโยหมัสมิสูตรที่ ๕ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๓. ตติยปัณณาสก์ ๑. โยคักเขมิกวรรค ๗. อุปาทานิยสูตร

๖. สัญโญชนิยสูตร
ว่าด้วยธรรมที่เกื้อกูลแก่สังโยชน์

[๑๐๙] “ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมที่เกื้อกูลแก่สังโยชน์และสังโยชน์
เธอทั้งหลายจงฟัง
ธรรมที่เกื้อกูลแก่สังโยชน์ เป็นอย่างไร และสังโยชน์ เป็นอย่างไร
คือ จักขุชื่อว่าธรรมที่เกื้อกูลแก่สังโยชน์ ฉันทราคะในจักขุนั้นชื่อว่าสังโยชน์
ฯลฯ ชิวหาชื่อว่าธรรมที่เกื้อกูลแก่สังโยชน์ ฯลฯ มโนชื่อว่าธรรมที่เกื้อกูลแก่สังโยชน์
ฉันทราคะในมโนนั้นชื่อว่าสังโยชน์
ภิกษุทั้งหลาย เหล่านี้เราเรียกว่า ธรรมที่เกื้อกูลแก่สังโยชน์
นี้เราเรียกว่า สังโยชน์”

สัญโญชนิยสูตรที่ ๖ จบ

๗. อุปาทานิยสูตร
ว่าด้วยธรรมที่เกื้อกูลแก่อุปาทาน

[๑๑๐] “ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมที่เกื้อกูลแก่อุปาทานและอุปาทาน
เธอทั้งหลายจงฟัง
ธรรมที่เกื้อกูลแก่อุปาทาน เป็นอย่างไร และอุปาทาน เป็นอย่างไร
คือ จักขุชื่อว่าธรรมที่เกื้อกูลแก่อุปาทาน ฉันทราคะในจักขุนั้นชื่อว่าอุปาทาน
ฯลฯ ชิวหาชื่อว่าธรรมที่เกื้อกูลแก่อุปาทาน ฯลฯ มโนชื่อว่าธรรมที่เกื้อกูลแก่
อุปาทาน ฉันทราคะในมโนนั้นชื่อว่าอุปาทาน
ภิกษุทั้งหลาย เหล่านี้เราเรียกว่า ธรรมที่เกื้อกูลแก่อุปาทาน
นี้เราเรียกว่า อุปาทาน”

อุปาทานิยสูตรที่ ๗ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๓. ตติยปัณณาสก์ ๑. โยคักเขมิกวรรค ๙. พาหิรายตนปริชานนสูตร

๘. อัชฌัตติกายตนปริชานนสูตร
ว่าด้วยการกำหนดรู้อายตนะภายใน

[๑๑๑] “ภิกษุทั้งหลาย บุคคลเมื่อยังไม่รู้ยิ่ง ไม่กำหนดรู้ ไม่คลายกำหนัด
ไม่ละจักขุ เป็นผู้ไม่ควรเพื่อความสิ้นทุกข์ ... โสตะ ฯลฯ ฆานะ ฯลฯ ชิวหา ฯลฯ
กาย ฯลฯ บุคคลเมื่อยังไม่รู้ยิ่ง ไม่กำหนดรู้ ไม่คลายกำหนัด ไม่ละมโน เป็นผู้
ไม่ควรเพื่อความสิ้นทุกข์
ภิกษุทั้งหลาย ส่วนบุคคลเมื่อรู้ยิ่ง กำหนดรู้ คลายกำหนัด ละจักขุได้ เป็น
ผู้ควรเพื่อความสิ้นทุกข์ ฯลฯ ชิวหา ฯลฯ กาย ฯลฯ บุคคลเมื่อรู้ยิ่ง กำหนดรู้
คลายกำหนัด ละมโนได้ เป็นผู้ควรเพื่อความสิ้นทุกข์”

อัชฌัตติกายตนปริชานนสูตรที่ ๘ จบ

๙. พาหิรายตนปริชานนสูตร
ว่าด้วยการกำหนดรู้อายตนะภายนอก

[๑๑๒] “ภิกษุทั้งหลาย บุคคลเมื่อยังไม่รู้ยิ่ง ไม่กำหนดรู้ ไม่คลายกำหนัด
ไม่ละรูป เป็นผู้ไม่ควรเพื่อความสิ้นทุกข์ ... สัททะ ฯลฯ คันธะ ... รส ... โผฏฐัพพะ
... บุคคลเมื่อยังไม่รู้ยิ่ง ไม่กำหนดรู้ ไม่คลายกำหนัด ไม่ละธรรมารมณ์ เป็นผู้
ไม่ควรเพื่อความสิ้นทุกข์
ภิกษุทั้งหลาย ส่วนบุคคลเมื่อรู้ยิ่ง กำหนดรู้ คลายกำหนัด ละรูปได้
เป็นผู้ควรเพื่อความสิ้นทุกข์ ... สัททะ ฯลฯ คันธะ ... รส ... โผฏฐัพพะ ...
บุคคลเมื่อรู้ยิ่ง กำหนดรู้ คลายกำหนัด ละธรรมารมณ์ได้ เป็นผู้ควรเพื่อความ
สิ้นทุกข์”

พาหิรายตนปริชานนสูตรที่ ๙ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๓. ตติยปัณณาสก์ ๑. โยคักเขมิกวรรค ๑๐. อุปัสสุติสูตร

๑๐. อุปัสสุติสูตร
ว่าด้วยการแอบฟังธรรม

[๑๑๓] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระตำหนักอิฐในหมู่บ้าน
ญาติกะ๑ ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคทรงหลีกเร้นอยู่ในที่สงัดได้ตรัสธรรมบรรยายนี้ว่า
“เพราะอาศัยจักขุและรูป จักขุวิญญาณจึงเกิด ความประจวบแห่งธรรม ๓
ประการเป็นผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงเกิด เพราะเวทนาเป็นปัจจัย
ตัณหาจึงเกิด เพราะตัณหาเป็นปัจจัย อุปาทานจึงเกิด เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย
ภพจึงเกิด เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติจึงเกิด เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรา มรณะ
โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสจึงเกิด ความเกิดแห่งกองทุกข์
ทั้งมวลนี้มีได้ด้วยประการฉะนี้ ฯลฯ
เพราะอาศัยชิวหาและรส ชิวหาวิญญาณจึงเกิด ฯลฯ
เพราะอาศัยมโนและธรรมารมณ์ มโนวิญญาณจึงเกิด ความประจวบแห่ง
ธรรม ๓ ประการเป็นผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงเกิด เพราะเวทนา
เป็นปัจจัย ตัณหาจึงเกิด เพราะตัณหาเป็นปัจจัย อุปาทานจึงเกิด เพราะ
อุปาทานเป็นปัจจัย ภพจึงเกิด เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติจึงเกิด เพราะชาติเป็น
ปัจจัย ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสจึงเกิด ความ
เกิดแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้มีได้ด้วยประการฉะนี้
เพราะอาศัยจักขุและรูป จักขุวิญญาณจึงเกิด ความประจวบแห่งธรรม ๓
ประการเป็นผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงเกิด เพราะเวทนาเป็นปัจจัย
ตัณหาจึงเกิด
เพราะตัณหานั้นแลดับไม่เหลือด้วยวิราคะ อุปาทานจึงดับ เพราะอุปาทานดับ
ภพจึงดับ เพราะภพดับ ชาติจึงดับ เพราะชาติดับ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ
ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสจึงดับ ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้มีได้ด้วย
ประการฉะนี้ ฯลฯ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๓. ตติยปัณณาสก์ ๑. โยคักเขมิกวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

เพราะอาศัยชิวหาและรส ชิวหาวิญญาณจึงเกิด ฯลฯ เพราะอาศัยมโนและ
ธรรมารมณ์ มโนวิญญาณจึงเกิด ความประจวบแห่งธรรม ๓ ประการเป็นผัสสะ
เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงเกิด เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ตัณหาจึงเกิด
เพราะตัณหานั้นแลดับไม่เหลือด้วยวิราคะ อุปาทานจึงดับ เพราะอุปาทานดับ
ภพจึงดับ ฯลฯ ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้มีได้ด้วยประการฉะนี้”
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งยืนแอบฟังพระผู้มีพระภาคอยู่ พระผู้มีพระภาคได้
ทอดพระเนตรเห็นภิกษุนั้นผู้ยืนแอบฟังอยู่ ได้ตรัสถามภิกษุนั้นดังนี้ว่า “ภิกษุ เธอ
ได้ฟังธรรมบรรยายนี้หรือไม่”
ภิกษุนั้นกราบทูลว่า “ได้ฟัง พระพุทธเจ้าข้า”
“ภิกษุ เธอจงศึกษาธรรมบรรยายนี้ เธอจงเล่าเรียนธรรมบรรยายนี้ เธอ
จงทรงจำธรรมบรรยายนี้ไว้เถิด เพราะว่าธรรมบรรยายนี้ ประกอบด้วยประโยชน์
เป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์”

อุปัสสุติสูตรที่ ๑๐ จบ
โยคักเขมิวรรคที่ ๑ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. โยคักเขมิสูตร ๒. อุปาทายสูตร
๓. ทุกขสมุทยสูตร ๔. โลกสมุทยสูตร
๕. เสยโยหมัสมิสูตร ๖. สัญโญชนิยสูตร
๗. อุปาทานิยสูตร ๘. อัชฌัตติกายตนปริชานนสูตร
๙. พาหิรายตนปริชานนสูตร ๑๐. อุปัสสุติสูตร


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๓. ตติยปัณณาสก์ ๒. โลกกามคุณวรรค ๑. ปฐมมารปาสสูตร

๒. โลกกามคุณวรรค
หมวดว่าด้วยโลกและกามคุณ
๑. ปฐมมารปาสสูตร
ว่าด้วยบ่วงมาร สูตรที่ ๑

[๑๑๔] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย รูปที่พึงรู้แจ้งทางตาที่น่า
ปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก ชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัดมีอยู่ ถ้า
ภิกษุยังเพลิดเพลิน เชยชม ยึดติด รูปนั้นอยู่ ภิกษุนี้เรากล่าวว่า ‘ไปสู่ที่อยู่ของ
มาร ไปสู่อำนาจของมาร ถูกบ่วงมารคล้องไว้ ถูกเครื่องผูกของมารมัดไว้ ถูกมาร
ใจบาปทำได้ตามใจปรารถนา’ ฯลฯ
รสที่พึงรู้แจ้งทางลิ้น ฯลฯ
ธรรมารมณ์ที่พึงรู้แจ้งทางใจที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก ชัก
ให้ใคร่ พาใจให้กำหนัดมีอยู่ ถ้าภิกษุยังเพลิดเพลิน เชยชม ยึดติดธรรมารมณ์
นั้นอยู่ ภิกษุนี้เรากล่าวว่า ‘ไปสู่ที่อยู่ของมาร ไปสู่อำนาจของมาร ถูกบ่วงมาร
คล้องไว้ ถูกเครื่องผูกของมารมัดไว้ ถูกมารใจบาปทำได้ตามใจปรารถนา’
รูปที่พึงรู้แจ้งทางตาที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก ชักให้ใคร่
พาใจให้กำหนัดมีอยู่ ถ้าภิกษุไม่เพลิดเพลิน ไม่เชยชม ไม่ยึดติดรูปนั้นอยู่ ภิกษุนี้
เรากล่าวว่า ‘ไม่ไปสู่ที่อยู่ของมาร ไม่ไปสู่อำนาจของมาร ไม่ถูกบ่วงมารคล้องไว้
พ้นจากเครื่องผูกของมาร ไม่ถูกมารใจบาปทำได้ตามใจปรารถนา’ ฯลฯ
รสที่พึงรู้แจ้งทางลิ้นที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก ชักให้ใคร่
พาใจให้กำหนัดมีอยู่ ถ้าภิกษุไม่เพลิดเพลิน ไม่เชยชม ไม่ยึดติดรสนั้นอยู่ ภิกษุนี้
เรากล่าวว่า ‘ไม่ไปสู่ที่อยู่ของมาร ไม่ไปสู่อำนาจของมาร ไม่ถูกบ่วงมารคล้องไว้
พ้นจากเครื่องผูกของมาร ไม่ถูกมารใจบาปทำได้ตามใจปรารถนา’ ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย ธรรมารมณ์ที่พึงรู้แจ้งทางใจที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ
ชวนให้รัก ชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัดมีอยู่ ถ้าภิกษุไม่เพลิดเพลิน ไม่เชยชม ไม่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๑๒๘ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๓. ตติยปัณณาสก์ ๒. โลกกามคุณวรรค ๒. ทุติยมารปาสสูตร

ยึดติดธรรมารมณ์นั้นอยู่ ภิกษุนี้เรากล่าวว่า ‘ไม่ไปสู่ที่อยู่ของมาร ไม่ไปสู่อำนาจ
ของมาร ไม่ถูกบ่วงมารคล้องไว้ พ้นจากเครื่องผูกของมาร ไม่ถูกมารใจบาปทำได้
ตามใจปรารถนา”

ปฐมมารปาสสูตรที่ ๑ จบ

๒. ทุติยมารปาสสูตร
ว่าด้วยบ่วงมาร สูตรที่ ๒

[๑๑๕] “ภิกษุทั้งหลาย รูปที่พึงรู้แจ้งทางตาที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ
ชวนให้รัก ชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัดมีอยู่ ถ้าภิกษุเพลิดเพลิน เชยชม ยึดติด
รูปนั้นอยู่ ภิกษุนี้เรากล่าวว่า ‘พัวพันอยู่ในรูปที่พึงรู้แจ้งทางตา ไปสู่ที่อยู่ของมาร
ไปสู่อำนาจของมาร ฯลฯ ถูกมารใจบาปทำได้ตามใจปรารถนา’ ฯลฯ
รสที่พึงรู้แจ้งทางลิ้น ฯลฯ
ธรรมารมณ์ที่พึงรู้แจ้งทางใจที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก ชัก
ให้ใคร่ พาใจให้กำหนัดมีอยู่ ถ้าภิกษุเพลิดเพลิน เชยชม ยึดติดธรรมารมณ์นั้นอยู่
ภิกษุนี้เรากล่าวว่า ‘พัวพันอยู่ในธรรมารมณ์ที่พึงรู้แจ้งทางใจ ไปสู่ที่อยู่ของมาร
ไปสู่อำนาจของมาร ฯลฯ ถูกมารใจบาปทำได้ตามใจปรารถนา’
ภิกษุทั้งหลาย รูปที่พึงรู้แจ้งทางตาที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวน
ให้รัก ชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัดมีอยู่ ถ้าภิกษุไม่เพลิดเพลิน ไม่เชยชม ไม่ยึด
ติดรูปนั้นอยู่ ภิกษุนี้เรากล่าวว่า ‘พ้นแล้วจากรูปที่พึงรู้แจ้งทางตา ไม่ไปสู่ที่อยู่ของ
มาร ไม่ไปสู่อำนาจของมาร ฯลฯ ไม่ถูกมารใจบาปทำได้ตามใจปรารถนา’ ฯลฯ
รสที่พึงรู้แจ้งทางลิ้น ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย ธรรมารมณ์ที่พึงรู้แจ้งทางใจที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ
ชวนให้รัก ชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัดมีอยู่ ถ้าภิกษุไม่เพลิดเพลิน ไม่เชยชม ไม่
ยึดติดธรรมารมณ์นั้นอยู่ ภิกษุนี้เรากล่าวว่า ‘พ้นแล้วจากธรรมารมณ์ที่พึงรู้แจ้ง
ทางใจ ไม่ไปสู่ที่อยู่ของมาร ไม่ไปสู่อำนาจของมาร ฯลฯ ไม่ถูกมารใจบาปทำได้ตาม
ใจปรารถนา”

ทุติยมารปาสสูตรที่ ๒ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๓. ตติยปัณณาสก์ ๒. โลกกามคุณวรรค ๓. โลกันตคมนสูตร

๓. โลกันตคมนสูตร
ว่าด้วยการถึงที่สุดแห่งโลก

[๑๑๖] “ภิกษุทั้งหลาย เราไม่กล่าวว่า ‘ที่สุดแห่งโลก๑บุคคลพึงรู้ พึงเห็น
พึงถึงด้วยการไป’ แต่เราก็ไม่กล่าวว่าบุคคลยังไม่ถึงที่สุดแห่งโลก๒แล้ว จะทำที่สุด
แห่งทุกข์ได้” ครั้นตรัสดังนี้แล้วก็เสด็จลุกขึ้นจากพุทธอาสน์เข้าไปยังพระวิหาร
ลำดับนั้น เมื่อพระผู้มีพระภาคเสด็จจากไปไม่นาน ภิกษุเหล่านั้นจึงได้ปรึกษากันว่า
“ผู้มีอายุทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคของเราทั้งหลายทรงแสดงอุทเทส๓ นี้โดย
ย่อว่า ‘ภิกษุทั้งหลาย เราไม่กล่าวว่า ‘ที่สุดแห่งโลก บุคคลพึงรู้ พึงเห็น พึงถึงด้วย
การไป’ แต่เราก็ไม่กล่าวว่าบุคคลยังไม่ถึงที่สุดแห่งโลกแล้ว จะทำที่สุดแห่งทุกข์ได้’
ไม่ทรงจำแนกเนื้อความไว้โดยพิสดาร เสด็จลุกขึ้นจากพุทธอาสน์เข้าไปยังพระวิหาร
ใครหนอจะพึงจำแนกเนื้อความแห่งอุทเทสที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงไว้โดยย่อ ไม่
ทรงจำแนกไว้โดยพิสดารนี้ให้พิสดารได้”
ลำดับนั้น ภิกษุเหล่านั้นมีความเห็นร่วมกันว่า “ท่านอานนท์นี้แลพระศาสดา
ทรงสรรเสริญแล้วและเพื่อนพรหมจารีผู้รู้ทั้งหลายก็ยกย่อง และท่านสามารถจะ
จำแนกเนื้อความแห่งอุทเทสที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงไว้โดยย่อ ไม่ทรงจำแนกไว้
โดยพิสดารนี้ให้พิสดารได้ ทางที่ดี พวกเราควรจะเข้าไปหาท่านอานนท์ถึงที่อยู่
แล้วเรียนถามเนื้อความนี้กับท่าน”
ครั้นแล้วภิกษุเหล่านั้นจึงเข้าไปหาท่านพระอานนท์ถึงที่อยู่ ได้สนทนาปราศรัย
พอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้เรียนว่า
“ท่านอานนท์ พระผู้มีพระภาคของเราทั้งหลายทรงแสดงอุทเทสนี้โดยย่อว่า
‘ภิกษุทั้งหลาย เราไม่กล่าวว่า ‘ที่สุดแห่งโลก บุคคลพึงรู้ พึงเห็น พึงถึงด้วยการไป’
แต่เราก็ไม่กล่าวว่าบุคคลยังไม่ถึงที่สุดแห่งโลกแล้ว จะทำที่สุดแห่งทุกข์ได้’ ไม่ทรง


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๓. ตติยปัณณาสก์ ๒. โลกกามคุณวรรค ๓. โลกันตคมนสูตร

จำแนกเนื้อความไว้โดยพิสดาร เสด็จลุกขึ้นจากพุทธอาสน์เข้าไปยังพระวิหาร เมื่อ
พระผู้มีพระภาคเสด็จจากไปไม่นาน พวกกระผมจึงได้ปรึกษากันว่า ‘ผู้มีอายุทั้งหลาย
พระผู้มีพระภาคของเราทั้งหลายทรงแสดงอุทเทสนี้โดยย่อว่า ‘ภิกษุทั้งหลาย เรา
ไม่กล่าวว่า ‘ที่สุดแห่งโลกบุคคลพึงรู้ พึงเห็น พึงถึงด้วยการไป’ แต่เราก็ไม่กล่าว
ว่าบุคคลยังไม่ถึงที่สุดแห่งโลกแล้ว จะทำที่สุดแห่งทุกข์ได้’ ไม่ทรงจำแนกเนื้อความ
ไว้โดยพิสดาร เสด็จลุกขึ้นจากพุทธอาสน์เข้าไปยังพระวิหาร ใครหนอจะพึงจำแนก
เนื้อความแห่งอุทเทสที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงไว้โดยย่อ ไม่ทรงจำแนกไว้โดย
พิสดารนี้ให้พิสดารได้
ผู้มีอายุ พวกกระผมได้มีความเห็นร่วมกันว่า ‘ท่านอานนท์นี้แลพระศาสดา
ทรงสรรเสริญแล้วและเพื่อนพรหมจารีผู้รู้ทั้งหลายก็ยกย่อง และท่านสามารถจะ
จำแนกเนื้อความแห่งอุทเทสที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงไว้โดยย่อ ไม่ทรงจำแนกไว้
โดยพิสดารนี้ให้พิสดารได้ ทางที่ดี พวกเราควรจะเข้าไปหาท่านอานนท์ถึงที่อยู่
แล้วเรียนถามเนื้อความนี้กับท่าน’ ขอท่านอานนท์จงจำแนกเถิด”
ท่านพระอานนท์กล่าวว่า “ผู้มีอายุทั้งหลาย เมื่อพระศาสดาประทับอยู่เฉพาะ
หน้าท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ท่านทั้งหลายละเลยพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นเสีย
สำคัญเนื้อความนี้ว่าควรถามผม เปรียบเหมือนบุรุษผู้ต้องการแก่นไม้ แสวงหา
แก่นไม้ เที่ยวแสวงหาแก่นไม้อยู่ เมื่อต้นไม้ใหญ่มีแก่นมีอยู่ ก็มองข้ามรากและลำต้น
ไปเสีย สำคัญกิ่งและใบว่าเป็นแก่นไม้ที่ตนแสวงหา ผู้มีอายุทั้งหลาย แท้จริง พระ
ผู้มีพระภาคพระองค์นั้นเป็นผู้มีพระจักษุ๑ มีพระญาณ มีพระธรรม๒ เป็นผู้ประเสริฐ๓


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๓. ตติยปัณณาสก์ ๒. โลกกามคุณวรรค ๓. โลกันตคมนสูตร

ตรัสบอกได้๑ ทรงให้เป็นไปได้๒ ทรงแสดงประโยชน์๓ ประทานอมตธรรม๔ เป็นเจ้าของ
ธรรม๕ เป็นพระตถาคต ทรงรู้ธรรมที่ควรรู้ ทรงเห็นธรรมที่ควรเห็น ก็เวลานี้แล
เป็นเวลาสมควรที่ท่านทั้งหลายพึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคแล้วทูลถามเนื้อความนี้
พึงทรงจำเนื้อความนั้นไว้ตามที่พระผู้มีพระภาคทรงตอบแก่ท่านทั้งหลาย”
ภิกษุเหล่านั้นเรียนว่า “ท่านอานนท์ พระผู้มีพระภาคทรงเป็นผู้มีพระจักษุ
มีพระญาณ มีพระธรรม เป็นผู้ประเสริฐ ตรัสบอกได้ ทรงให้เป็นไปได้ ทรง
แสดงประโยชน์ ประทานอมตธรรม เป็นเจ้าของธรรม เป็นพระตถาคตทรงรู้ธรรม
ที่ควรรู้ ทรงเห็นธรรมที่ควรเห็น ก็เวลานี้แลเป็นเวลาสมควรที่พวกกระผมพึงเข้า
ไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคแล้วทูลถามเนื้อความนี้ และทรงจำเนื้อความนั้นไว้ตามที่พระ
ผู้มีพระภาคทรงตอบแก่พวกกระผมอย่างแน่นอน ท่านอานนท์เองพระศาสดาทรง
สรรเสริญและเพื่อนพรหมจารีผู้รู้ทั้งหลายก็ยกย่อง และท่านสามารถจะจำแนก
เนื้อความแห่งอุทเทสที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงไว้โดยย่อ ไม่ทรงจำแนกไว้โดย
พิสดารนี้ให้พิสดารได้ ถ้าท่านอานนท์ไม่มีความหนักใจแล้ว ขอจงจำแนกเถิด”
ท่านพระอานนท์กล่าวว่า “ผู้มีอายุทั้งหลาย ถ้าเช่นนั้น ขอท่านทั้งหลายจงฟัง
จงใส่ใจให้ดี ผมจักกล่าว” ภิกษุเหล่านั้นรับคำแล้ว ท่านพระอานนท์จึงได้กล่าว
เรื่องนี้ว่า
“ผู้มีอายุทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคของท่านทั้งหลายทรงแสดงอุทเทสโดยย่อ
ว่า ‘ภิกษุทั้งหลาย เราไม่กล่าวว่า ‘ที่สุดแห่งโลกบุคคลพึงรู้ พึงเห็น พึงถึงด้วย
การไป’ แต่เราก็ไม่กล่าวว่าบุคคลยังไม่ถึงที่สุดแห่งโลกแล้วจะทำที่สุดแห่งทุกข์ได้’
ไม่ทรงจำแนกเนื้อความไว้โดยพิสดารเสด็จลุกขึ้นจากพุทธอาสน์เข้าไปยังพระวิหาร


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๓. ตติยปัณณาสก์ ๒. โลกกามคุณวรรค ๓. โลกันตคมนสูตร

ผู้มีอายุทั้งหลาย ผมย่อมรู้เนื้อความแห่งอุทเทสที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงไว้
โดยย่อไม่ทรงจำแนกไว้โดยพิสดารนี้ให้พิสดารได้ ผู้มีอายุทั้งหลาย บุคคลมีความ
หมายรู้และกำหนดหมายโลกว่าเป็นโลกด้วยธรรมใด นี้เรียกว่าโลกในอริยวินัย
บุคคลมีความหมายรู้และกำหนดหมายโลกว่าเป็นโลกด้วยธรรมอะไรเล่า
คือ บุคคลมีความหมายรู้และกำหนดหมายโลกว่าเป็นโลกด้วยจักขุ ... ด้วย
โสตะ ... ด้วยฆานะ บุคคลมีความหมายรู้และกำหนดหมายโลกว่าเป็นโลกด้วยชิวหา
... ด้วยกาย บุคคลมีความหมายรู้และกำหนดหมายในโลกว่าเป็นโลกด้วยมโน ผู้มี
อายุทั้งหลาย เหตุที่บุคคลมีความหมายรู้และกำหนดหมายโลกว่าเป็นโลก นี้เรียกว่า
โลกในอริยวินัย
ผู้มีอายุทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคของท่านทั้งหลายทรงแสดงอุทเทสโดยย่อว่า
‘ภิกษุทั้งหลาย เราไม่กล่าวว่า ‘ที่สุดแห่งโลกบุคคลพึงรู้ พึงเห็น พึงถึงด้วยการไป’
แต่เราก็ไม่กล่าวว่าบุคคลยังไม่ถึงที่สุดแห่งโลกแล้วจะทำที่สุดแห่งทุกข์ได้’ ไม่ทรง
จำแนกเนื้อความไว้โดยพิสดาร เสด็จลุกขึ้นจากพุทธอาสน์เข้าไปยังพระวิหาร
ผู้มีอายุทั้งหลาย ผมย่อมรู้เนื้อความแห่งอุทเทสที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงไว้
โดยย่อ ไม่ทรงจำแนกไว้โดยพิสดารนี้ให้พิสดารได้อย่างนี้ ก็ท่านทั้งหลายเมื่อหวัง
อยู่พึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคแล้วทูลถามเนื้อความนี้เถิด ขอท่านทั้งหลายพึง
ทรงจำเนื้อความนั้นไว้ตามที่พระผู้มีพระภาคตรัสตอบแก่ท่านทั้งหลายเถิด”
ภิกษุเหล่านั้นกล่าวรับคำท่านพระอานนท์แล้วลุกขึ้นจากอาสนะเข้าไปเฝ้าพระ
ผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มี
พระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคของข้าพระองค์ทั้งหลาย
ทรงแสดงอุทเทสโดยย่อว่า ‘ภิกษุทั้งหลาย เราไม่กล่าวว่า ‘ที่สุดแห่งโลกบุคคล
พึงรู้ พึงเห็น พึงถึงด้วยการไป’ แต่เราก็ไม่กล่าวว่าบุคคลยังไม่ถึงที่สุดแห่งโลก
แล้วจะทำที่สุดแห่งทุกข์ได้’ ไม่ทรงจำแนกเนื้อความไว้โดยพิสดารเสด็จลุกขึ้นจาก
พุทธอาสน์เข้าไปยังพระวิหาร
เมื่อพระผู้มีพระภาคทรงจากไปไม่นาน ข้าพระองค์ทั้งหลายได้ปรึกษากันว่า
‘ผู้มีอายุทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคของเราทั้งหลายทรงแสดงอุทเทสไว้โดยย่อว่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๑๓๓ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๓. ตติยปัณณาสก์ ๒. โลกกามคุณวรรค ๔. กามคุณสูตร

‘ภิกษุทั้งหลาย เราไม่กล่าวว่า ที่สุดแห่งโลกบุคคลพึงรู้ พึงเห็น พึงถึงด้วยการไป’
แต่เราก็ไม่กล่าวว่าบุคคลยังไม่ถึงที่สุดแห่งโลกแล้วจะทำที่สุดแห่งทุกข์ได้’ ไม่ทรง
จำแนกเนื้อความไว้โดยพิสดาร เสด็จลุกขึ้นจากพุทธอาสน์เข้าไปยังพระวิหาร ใคร
หนอจะพึงจำแนกเนื้อความแห่งอุทเทสที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงไว้โดยย่อ ไม่
ทรงจำแนกไว้โดยพิสดารนี้ให้พิสดารได้
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์เหล่านั้นได้มีความเห็นร่วมกันว่า ‘ท่าน
อานนท์นี้แลพระศาสดาทรงสรรเสริญและเพื่อนพรหมจารีผู้รู้ทั้งหลายก็ยกย่อง และ
ท่านสามารถจะจำแนกเนื้อความแห่งอุทเทสที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงไว้โดยย่อ
ไม่ทรงจำแนกไว้โดยพิสดารนี้ให้พิสดารได้ ทางที่ดี พวกเราควรจะเข้าไปหาท่าน
อานนท์ถึงที่อยู่แล้วเรียนถามเนื้อความนี้กับท่าน’
ครั้นแล้วข้าพระองค์ทั้งหลายจึงเข้าไปหาท่านอานนท์ถึงที่อยู่แล้วเรียนถาม
เนื้อความดังนี้ ท่านอานนท์ได้จำแนกเนื้อความอย่างชัดเจนแก่ข้าพระองค์ทั้งหลาย
ด้วยอาการเหล่านี้ ด้วยบทเหล่านี้ ด้วยพยัญชนะเหล่านี้”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย อานนท์เป็นบัณฑิต มีปัญญามาก
แม้หากเธอทั้งหลายจะพึงถามเนื้อความนี้กับเรา ถึงเราเองก็พึงตอบเนื้อความนั้น
อย่างที่อานนท์ได้ตอบแล้วนั่นเอง นี้แลเป็นเนื้อความแห่งอุทเทสนั้น และเธอ
ทั้งหลายพึงทรงจำเนื้อความนั้นไว้อย่างนั้นเถิด”

โลกันตคมนสูตรที่ ๓ จบ

๔. กามคุณสูตร
ว่าด้วยกามคุณ

[๑๑๗] “ภิกษุทั้งหลาย เมื่อก่อนเราเป็นโพธิสัตว์ยังไม่ได้ตรัสรู้ ได้มีความ
คิดดังนี้ว่า ‘กามคุณ๑ ๕ ประการที่ใจของเราเคยสัมผัส ล่วงไปแล้ว ดับไปแล้ว
แปรผันไปแล้ว จิตของเราเมื่อเกิด พึงเกิดขึ้นในกามคุณ ๕ ประการที่เป็นปัจจุบันมาก
หรือที่เป็นอนาคตน้อย’


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๓. ตติยปัณณาสก์ ๒. โลกกามคุณวรรค ๔. กามคุณสูตร

เรานั้นได้มีความคิดดังนี้ว่า ‘กามคุณ ๕ ประการที่ใจของเราเคยสัมผัส ล่วง
ไปแล้ว ดับไปแล้ว แปรผันไปแล้ว เราผู้ต้องการประโยชน์ตน พึงทำความ
ไม่ประมาทในกามคุณ ๕ นั้นและทำให้สติเป็นเครื่องรักษาจิต’
เพราะเหตุนั้นแล กามคุณ ๕ แม้ที่ใจของเธอทั้งหลายเคยสัมผัส ก็ล่วงไปแล้ว
ดับไปแล้ว แปรผันไปแล้ว จิตของเธอทั้งหลายเมื่อเกิด พึงเกิดขึ้นในกามคุณ ๕
ประการที่เป็นปัจจุบันมากหรือที่เป็นอนาคตน้อย
เพราะเหตุนั้นแล กามคุณ ๕ แม้ที่ใจของเธอทั้งหลายเคยสัมผัส ก็ล่วงไปแล้ว
ดับไปแล้ว แปรผันไปแล้ว เธอทั้งหลายผู้ต้องการประโยชน์ตน พึงทำความไม่
ประมาทในกามคุณ ๕ นั้นและทำให้สติเป็นเครื่องรักษาจิต
ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล บุคคลพึงรู้อายตนะ คือ พึงรู้อายตนะว่า
‘จักขุดับในที่ใด รูปสัญญา (ความหมายรู้ในรูป) ก็ดับในที่นั้น ฯลฯ พึงรู้อายตนะว่า
‘ชิวหาดับในที่ใด รสสัญญา (ความหมายรู้ในรส) ก็ดับในที่นั้น ฯลฯ พึงรู้อายตนะ
ว่า ‘มโนดับในที่ใด ธรรมสัญญา (ความหมายรู้ในธรรมารมณ์) ก็ดับในที่นั้น”
พระผู้มีพระภาคครั้นตรัสดังนี้แล้วก็เสด็จลุกขึ้นจากพุทธอาสน์เข้าไปยังพระวิหาร
ลำดับนั้น เมื่อพระผู้มีพระภาคเสด็จจากไปไม่นาน ภิกษุเหล่านั้นจึงได้ปรึกษา
กันว่า “ผู้มีอายุทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคของเราทั้งหลายทรงแสดงอุทเทสนี้โดย
ย่อว่า ‘ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล บุคคลพึงรู้อายตนะ คือ พึงรู้อายตนะว่า
‘จักขุดับในที่ใด รูปสัญญาก็ดับในที่นั้น ฯลฯ พึงรู้อายตนะว่า ‘ชิวหาดับในที่ใด
รสสัญญาก็ดับในที่นั้น ฯลฯ พึงรู้อายตนะว่า ‘มโนดับในที่ใด ธรรมสัญญาก็ดับ
ในที่นั้น’ ไม่ทรงจำแนกเนื้อความไว้โดยพิสดาร เสด็จลุกขึ้นจากพุทธอาสน์เข้าไป
ยังพระวิหาร ใครหนอจะพึงจำแนกเนื้อความแห่งอุทเทสที่พระผู้มีพระภาคทรง
แสดงไว้โดยย่อ ไม่ทรงจำแนกไว้โดยพิสดารนี้ให้พิสดารได้”
ลำดับนั้น ภิกษุเหล่านั้นมีความเห็นร่วมกันว่า “ท่านอานนท์นี้แลพระศาสดา
ทรงสรรเสริญและเพื่อนพรหมจารีผู้รู้ทั้งหลายก็ยกย่อง และท่านสามารถจะจำแนก
เนื้อความแห่งอุทเทสที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงไว้โดยย่อ ไม่ทรงจำแนกไว้โดย
พิสดารนี้ให้พิสดารได้ ทางที่ดี พวกเราควรจะเข้าไปหาท่านอานนท์ถึงที่อยู่แล้ว
เรียนถามเนื้อความนี้กับท่าน”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๑๓๕ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๓. ตติยปัณณาสก์ ๒. โลกกามคุณวรรค ๔. กามคุณสูตร

ครั้นแล้วภิกษุเหล่านั้นจึงเข้าไปหาท่านพระอานนท์ถึงที่อยู่ ได้สนทนาปราศรัย
พอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้เรียนว่า
“ท่านอานนท์ พระผู้มีพระภาคของเราทั้งหลายทรงแสดงอุทเทสนี้โดยย่อว่า
‘ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล บุคคลพึงรู้อายตนะ คือ พึงรู้อายตนะว่า ‘จักขุดับ
ในที่ใด รูปสัญญาก็ดับในที่นั้น ฯลฯ พึงรู้อายตนะว่า ‘ชิวหาดับในที่ใด รสสัญญา
ก็ดับในที่นั้น ฯลฯ พึงรู้อายตนะว่า ‘มโนดับในที่ใด ธรรมสัญญาก็ดับในที่นั้น’
ไม่ทรงจำแนกเนื้อความไว้โดยพิสดาร เสด็จลุกขึ้นจากพุทธอาสน์เข้าไปยังพระวิหาร
ผู้มีอายุ เมื่อพระผู้มีพระภาคเสด็จจากไปไม่นาน พวกกระผมจึงได้ปรึกษา
กันว่า ‘ผู้มีอายุทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคของเราทั้งหลายทรงแสดงอุทเทสนี้โดย
ย่อว่า ‘ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล บุคคลพึงรู้อายตนะ คือ พึงรู้อายตนะว่า
‘จักขุดับในที่ใด รูปสัญญาก็ดับในที่นั้น ฯลฯ พึงรู้อายตนะว่า ‘ชิวหาดับในที่ใด
รสสัญญาก็ดับในที่นั้น ฯลฯ พึงรู้อายตนะว่า ‘มโนดับในที่ใด ธรรมสัญญาก็ดับ
ในที่นั้น’ ไม่ทรงจำแนกเนื้อความไว้โดยพิสดาร เสด็จลุกขึ้นจากพุทธอาสน์เข้าไป
ยังพระวิหาร ใครหนอจะพึงจำแนกเนื้อความแห่งอุทเทสที่พระผู้มีพระภาคทรง
แสดงไว้โดยย่อ ไม่ทรงจำแนกไว้โดยพิสดารนี้ให้พิสดารได้
ผู้มีอายุ พวกกระผมได้มีความเห็นร่วมกันว่า ‘ท่านอานนท์นี้แลพระศาสดา
ทรงสรรเสริญและเพื่อนพรหมจารีผู้รู้ทั้งหลายก็ยกย่อง และท่านสามารถจะจำแนก
เนื้อความแห่งอุทเทสที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงไว้โดยย่อ ไม่ทรงจำแนกไว้โดย
พิสดารนี้ให้พิสดารได้ ทางที่ดี พวกเราควรจะเข้าไปหาท่านอานนท์ถึงที่อยู่ แล้ว
เรียนถามเนื้อความนี้กับท่าน’ ขอท่านอานนท์จงจำแนกเถิด”
ท่านพระอานน์กล่าวว่า “ผู้มีอายุทั้งหลาย เมื่อพระศาสดาประทับอยู่เฉพาะ
หน้าท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ท่านทั้งหลายละเลยพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นเสีย
สำคัญเนื้อความนี้ว่าควรถามผม เปรียบเหมือนบุรุษผู้ต้องการแก่นไม้ แสวงหา
แก่นไม้ เที่ยวแสวงหาแก่นไม้อยู่ เมื่อต้นไม้ใหญ่ ฯลฯ ถ้าท่านอานนท์ไม่มีความ
หนักใจแล้ว ขอจงจำแนกเถิด”
ท่านพระอานนท์กล่าวว่า “ผู้มีอายุทั้งหลาย ถ้าเช่นนั้น ขอท่านทั้งหลายจงฟัง
จงใส่ใจให้ดี ผมจักกล่าว”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๑๓๖ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๓. ตติยปัณณาสก์ ๒. โลกกามคุณวรรค ๔. กามคุณสูตร

ภิกษุเหล่านั้นรับคำแล้ว ท่านพระอานนท์จึงได้กล่าวเรื่องนี้ว่า
“ผู้มีอายุทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคของท่านทั้งหลายทรงแสดงอุทเทสโดยย่อ
ว่า ‘ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล บุคคลพึงรู้อายตนะ คือ พึงรู้อายตนะว่า
‘จักขุดับในที่ใด รูปสัญญาก็ดับในที่นั้น ฯลฯ พึงรู้อายตนะว่า ‘มโนดับในที่ใด
ธรรมสัญญาก็ดับในที่นั้น’ ไม่ทรงจำแนกเนื้อความไว้โดยพิสดาร เสด็จลุกขึ้นจาก
พุทธอาสน์เข้าไปยังพระวิหาร
ผู้มีอายุทั้งหลาย ผมย่อมรู้เนื้อความแห่งอุทเทสที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดง
ไว้โดยย่อ ไม่ทรงจำแนกไว้โดยพิสดารนี้ให้พิสดารได้ พระดำรัสว่า ‘ภิกษุทั้งหลาย
เพราะเหตุนั้นแล บุคคลพึงรู้อายตนะ คือ พึงรู้อายตนะว่า ‘จักขุดับในที่ใด รูปสัญญา
ก็ดับในที่นั้น ฯลฯ พึงรู้อายตนะว่า ‘มโนดับในที่ใด ธรรมสัญญาก็ดับในที่นั้น’
ตรัสหมายถึงความดับอายตนะ ๖ ประการ
ผู้มีอายุทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคทรงแสดงอุทเทสไว้โดยย่อว่า ‘ภิกษุทั้งหลาย
เพราะเหตุนั้นแล บุคคลพึงรู้อายตนะ คือ พึงรู้อายตนะว่า ‘จักขุดับในที่ใด รูป-
สัญญาก็ดับในที่นั้น ฯลฯ พึงรู้อายตนะว่า ‘มโนดับในที่ใด ธรรมสัญญาก็ดับในที่นั้น’
ไม่ทรงจำแนกเนื้อความไว้โดยพิสดาร เสด็จลุกขึ้นจากพุทธอาสน์เข้าไปยังพระวิหาร
ผู้มีอายุทั้งหลาย ผมย่อมรู้เนื้อความแห่งอุทเทสที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงไว้
โดยย่อ ไม่ทรงจำแนกไว้โดยพิสดารนี้ให้พิสดารได้อย่างนี้ ก็ท่านทั้งหลายเมื่อหวัง
อยู่พึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคแล้วทูลถามเนื้อความนี้เถิด ขอท่านทั้งหลายพึง
ทรงจำเนื้อความนั้นไว้ตามที่พระผู้มีพระภาคตรัสตอบแก่ท่านทั้งหลายเถิด”
ภิกษุเหล่านั้นกล่าวรับคำท่านพระอานนท์แล้ว ลุกขึ้นจากอาสนะเข้าไปเฝ้า
พระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูล
พระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคของข้าพระองค์ทั้งหลายทรงแสดง
อุทเทสโดยย่อว่า ‘ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล บุคคลพึงรู้อายตนะ คือ พึง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๑๓๗ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๓. ตติยปัณณาสก์ ๒. โลกกามคุณวรรค ๔. กามคุณสูตร

รู้อายตนะว่า ‘จักขุดับในที่ใด รูปสัญญาก็ดับในที่นั้น ฯลฯ พึงรู้อายตนะว่า
‘ชิวหาดับในที่ใด รสสัญญาก็ดับในที่นั้น ฯลฯ พึงรู้อายตนะว่า ‘มโนดับในที่ใด
ธรรมสัญญาก็ดับในที่นั้น’ ไม่ทรงจำแนกเนื้อความไว้โดยพิสดาร เสด็จลุกขึ้นจาก
พุทธอาสน์เข้าไปยังพระวิหาร
เมื่อพระผู้มีพระภาคเสด็จจากไปไม่นาน ข้าพระองค์ทั้งหลายได้ปรึกษากันว่า
‘ผู้มีอายุทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคของเราทั้งหลายทรงแสดงอุทเทสไว้โดยย่อว่า
‘ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล บุคคลพึงรู้อายตนะ คือ พึงรู้อายตนะว่า ‘จักขุดับ
ในที่ใด รูปสัญญาก็ดับในที่นั้น ฯลฯ พึงรู้อายตนะว่า ‘มโนดับในที่ใด ธรรมสัญญา
ก็ดับในที่นั้น’ ไม่ทรงจำแนกเนื้อความไว้โดยพิสดาร เสด็จลุกขึ้นจากพุทธอาสน์
เข้าไปยังพระวิหาร ใครหนอจะพึงจำแนกเนื้อความแห่งอุทเทสที่พระผู้มีพระภาค
ทรงแสดงไว้โดยย่อ ไม่ทรงจำแนกไว้โดยพิสดารนี้ให้พิสดารได้
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์เหล่านั้นได้มีความเห็นร่วมกันว่า ‘ท่าน
อานนท์นี้แลพระศาสดาทรงสรรเสริญและเพื่อนพรหมจารีผู้รู้ทั้งหลายก็ยกย่อง และ
ท่านสามารถจะจำแนกเนื้อความแห่งอุทเทสที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงไว้โดยย่อ
ไม่ทรงจำแนกไว้โดยพิสดารนี้ให้พิสดารได้ ทางที่ดี พวกเราควรจะเข้าไปหาท่าน
อานนท์ถึงที่อยู่แล้ว เรียนถามเนื้อความนี้กับท่าน’
ครั้นแล้วข้าพระองค์ทั้งหลายจึงเข้าไปหาท่านอานนท์ถึงที่อยู่แล้วเรียนถาม
เนื้อความนี้ ท่านอานนท์ได้จำแนกเนื้อความอย่างชัดเจนแก่ข้าพระองค์ทั้งหลาย
ด้วยอาการเหล่านี้ ด้วยบทเหล่านี้ ด้วยพยัญชนะเหล่านี้”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย อานนท์เป็นบัณฑิต มีปัญญามาก
แม้หากเธอทั้งหลายจะพึงถามเนื้อความนี้กับเรา ถึงเราเองก็พึงตอบเนื้อความนั้น
อย่างที่อานนท์ได้ตอบแล้วนั่นเอง นี้แลเป็นเนื้อความแห่งอุทเทสนั้น และเธอ
ทั้งหลายพึงทรงจำเนื้อความนั้นไว้อย่างนั้นเถิด”

กามคุณสูตรที่ ๔ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๓. ตติยปัณณาสก์ ๒. โลกกามคุณวรรค ๕. สักกปัญหสูตร

๕. สักกปัญหสูตร
ว่าด้วยท้าวสักกะทูลถามปัญหา

[๑๑๘] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ภูเขาคิชฌกูฏ เขตกรุง
ราชคฤห์ ครั้งนั้น ท้าวสักกะจอมเทพเสด็จเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
ถวายอภิวาทแล้วประทับยืนอยู่ ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อะไรหนอเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้สัตว์บางพวกในโลกนี้ไม่
ปรินิพพานในปัจจุบัน อนึ่ง อะไรเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้สัตว์บางพวกในโลกนี้
ปรินิพพานในปัจจุบัน”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ท่านจอมเทพ รูปที่พึงรู้แจ้งทางตาที่น่าปรารถนา
น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก ชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัดมีอยู่ ถ้าภิกษุยังเพลิดเพลิน
เชยชม ยึดติดรูปนั้นอยู่ เมื่อเธอเพลิดเพลิน เชยชม ยึดติดรูปนั้น วิญญาณที่
อาศัยตัณหานั้น ความยึดมั่นตัณหานั้นก็มีอยู่ ภิกษุผู้ยังมีอุปาทาน (ความยึดมั่น)
ย่อมไม่ปรินิพพาน ฯลฯ
รสที่พึงรู้แจ้งทางลิ้น ฯลฯ
ธรรมารมณ์ที่พึงรู้แจ้งทางใจที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก ชัก
ให้ใคร่ พาใจให้กำหนัดมีอยู่ ถ้าภิกษุยังเพลิดเพลิน เชยชม ยึดติดธรรมารมณ์นั้น
อยู่ เมื่อเธอเพลิดเพลิน เชยชม ยึดติดธรรมารมณ์นั้น วิญญาณที่อาศัยตัณหานั้น
ความยึดมั่นตัณหานั้นก็มีอยู่ ภิกษุผู้ยังมีอุปาทานย่อมไม่ปรินิพพาน
ท่านจอมเทพ นี้แลเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้สัตว์บางพวกในโลกนี้ไม่ปรินิพพาน
ในปัจจุบัน
รูปที่พึงรู้แจ้งทางตาที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก ชักให้ใคร่
พาใจให้กำหนัดมีอยู่ ถ้าภิกษุไม่เพลิดเพลิน ไม่เชยชม ไม่ยึดติดรูปนั้นอยู่ เมื่อ
เธอไม่เพลิดเพลิน ไม่เชยชม ไม่ยึดติดรูปนั้นอยู่ วิญญาณที่อาศัยตัณหานั้นก็ไม่มี
ความยึดมั่นตัณหานั้นก็ไม่มี ภิกษุผู้ไม่มีอุปาทานย่อมปรินิพพาน ฯลฯ
รสที่พึงรู้แจ้งทางลิ้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๑๓๙ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๓. ตติยปัณณาสก์ ๒. โลกกามคุณวรรค ๖. ปัญจสิขสูตร

ธรรมารมณ์ที่พึงรู้แจ้งทางใจที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก
ชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัดมีอยู่ ถ้าภิกษุไม่เพลิดเพลิน ไม่เชยชม ไม่ยึดติด
ธรรมารมณ์นั้น เมื่อเธอไม่เพลิดเพลิน ไม่เชยชม ไม่ยึดติดธรรมารมณ์นั้น
วิญญาณที่อาศัยตัณหานั้นก็ไม่มี ความยึดมั่นตัณหานั้นก็ไม่มี ภิกษุผู้ไม่มีอุปาทาน
ย่อมปรินิพพาน
ท่านจอมเทพ นี้แลเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้สัตว์บางพวกในโลกนี้ปรินิพพานใน
ปัจจุบัน”

สักกปัญหสูตรที่ ๕ จบ

๖. ปัญจสิขสูตร
ว่าด้วยปัญจสิขเทพบุตร

[๑๑๙] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ภูเขาคิชฌกูฏ เขตกรุง
ราชคฤห์ ครั้งนั้น คันธัพพเทพบุตรนามว่าปัญจสิขะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึง
ที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วยืนอยู่ ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาค
ดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อะไรหนอเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้สัตว์บางพวกในโลกนี้
ไม่ปรินิพพานในปัจจุบัน อนึ่ง อะไรเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้สัตว์บางพวกในโลกนี้
ปรินิพพานในปัจจุบัน”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ปัญจสิขะ รูปที่พึงรู้แจ้งทางตา ฯลฯ ธรรมารมณ์
ที่พึงรู้แจ้งทางใจที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก ชักให้ใคร่ พาใจให้
กำหนัดมีอยู่ ถ้าภิกษุยังเพลิดเพลิน เชยชม ยึดติดธรรมารมณ์นั้นอยู่ เมื่อเธอ
เพลิดเพลิน เชยชม ยึดติดธรรมารมณ์นั้น วิญญาณที่อาศัยตัณหานั้นความยึดมั่น
ตัณหานั้นก็มีอยู่ ภิกษุผู้ยังมีอุปาทานย่อมไม่ปรินิพพาน
ปัญจสิขะ นี้แลเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้สัตว์บางพวกในโลกนี้ไม่ปรินิพพานใน
ปัจจุบัน
รูปที่พึงรู้แจ้งทางตา ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๑๔๐ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๓. ตติยปัณณาสก์ ๒. โลกกามคุณวรรค ๗. สารีปุตตสัทธิวิหาริกสูตร

ธรรมารมณ์ที่พึงรู้แจ้งทางใจที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก
ชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัดมีอยู่ ถ้าภิกษุไม่เพลิดเพลิน ไม่เชยชม ไม่ยึดติด
ธรรมารมณ์นั้นอยู่ เมื่อเธอไม่เพลิดเพลิน ไม่เชยชม ไม่ยึดติดธรรมารมณ์นั้น
วิญญาณที่อาศัยตัณหานั้นก็ไม่มี ความยึดมั่นตัณหานั้นก็ไม่มี ภิกษุผู้ไม่มีอุปาทาน
ย่อมปรินิพพาน
ปัญจสิขะ นี้แลเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้สัตว์บางพวกในโลกนี้ปรินิพพานในปัจจุบัน”

ปัญจสิขสูตรที่ ๖ จบ

๗. สารีปุตตสัทธิวิหาริกสูตร
ว่าด้วยสัทธิวิหาริกของพระสารีบุตร

[๑๒๐] สมัยหนึ่ง ท่านพระสารีบุตรอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถ-
บิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปหาท่านพระสารีบุตร
ถึงที่อยู่ ได้สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้ว นั่ง ณ
ที่สมควร ได้กล่าวกับท่านพระสารีบุตรดังนี้ว่า “ท่านสารีบุตร ภิกษุผู้เป็น
สัทธิวิหาริกบอกคืนสิกขา กลับมาเป็นคฤหัสถ์แล้ว”
ท่านพระสารีบุตรกล่าวว่า “ผู้มีอายุ ภิกษุไม่คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย
ไม่รู้ประมาณในการบริโภคอาหาร ไม่ประกอบความเพียรเครื่องตื่นอยู่เนือง ๆ ย่อมเ
ป็นอย่างนี้ เป็นไปไม่ได้เลย๑ที่ภิกษุนั้นไม่คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย ไม่รู้
ประมาณในการบริโภคอาหาร ไม่ประกอบความเพียรเครื่องตื่นอยู่เนือง ๆ จักสืบ
ต่อพรหมจรรย์ให้บริสุทธิ์ บริบูรณ์ได้จนตลอดชีวิต เป็นไปได้๒ที่ภิกษุนั้นคุ้มครอง
ทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย รู้ประมาณในการบริโภคอาหาร ประกอบความเพียร
เครื่องตื่นอยู่เนือง ๆ จักสืบต่อพรหมจรรย์ให้บริสุทธิ์ บริบูรณ์ได้จนตลอดชีวิต


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๓. ตติยปัณณาสก์ ๒. โลกกามคุณวรรค ๗. สารีปุตตสัทธิวิหาริกสูตร

ภิกษุชื่อว่าคุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เห็นรูปทางตาแล้ว ไม่รวบถือ๑ ไม่แยกถือ๒ ปฏิบัติ
เพื่อสำรวมจักขุนทรีย์ (อินทรีย์คือจักขุ) ซึ่งเมื่อไม่สำรวมแล้ว ก็จะพึงเป็นเหตุให้ถูก
ธรรมที่เป็นบาปอกุศลคืออภิชฌา (ความเพ่งเล็งอยากได้ของเขา) และโทมนัส (ความ
ทุกข์ใจ) ครอบงำได้ จึงรักษาจักขุนทรีย์ ถึงความสำรวมในจักขุนทรีย์
ภิกษุฟังเสียงทางหู ฯลฯ
ดมกลิ่นทางจมูก ฯลฯ
ลิ้มรสทางลิ้น ฯลฯ
ถูกต้องโผฏฐัพพะทางกาย ฯลฯ
รู้แจ้งธรรมารมณ์ทางใจแล้ว ไม่รวบถือ ไม่แยกถือ ปฏิบัติเพื่อสำรวมมนินทรีย์
(อินทรีย์คือมโน) ซึ่งเมื่อไม่สำรวมแล้ว ก็จะพึงเป็นเหตุให้ถูกธรรมที่เป็นบาปอกุศล
คืออภิชฌาและโทมนัสครอบงำได้ จึงรักษามนินทรีย์ ถึงความสำรวมในมนินทรีย์
ภิกษุชื่อว่าคุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลายเป็นอย่างนี้แล
ภิกษุชื่อว่ารู้ประมาณในการบริโภคอาหาร เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้พิจารณาโดยแยบคายแล้วฉันอาหาร ไม่ใช่เพื่อเล่น
ไม่ใช่เพื่อมัวเมา ไม่ใช่เพื่อประดับ ไม่ใช่เพื่อตกแต่ง แต่เพียงเพื่อความดำรงอยู่ได้
แห่งกายนี้ เพื่อให้กายนี้เป็นไปได้ เพื่อกำจัดความเบียดเบียน เพื่ออนุเคราะห์
พรหมจรรย์ ด้วยคิดเห็นว่า ‘เราจักกำจัดเวทนาเก่า และจักไม่ให้เวทนาใหม่เกิดขึ้น
ความดำเนินไปแห่งกาย ความไม่มีโทษและการอยู่ผาสุก จักมีแก่เรา’
ภิกษุชื่อว่ารู้ประมาณในการบริโภคอาหารเป็นอย่างนี้แล


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๓. ตติยปัณณาสก์ ๒. โลกกามคุณวรรค ๘. ราหุโลวาทสูตร

ภิกษุชื่อว่าประกอบความเพียรเครื่องตื่นอยู่เนือง ๆ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ชำระจิตให้บริสุทธิ์จากธรรมทั้งหลายที่เป็นตัวขัดขวาง
ด้วยการจงกรม ด้วยการนั่ง ตลอดวัน ชำระจิตให้บริสุทธิ์จากธรรมทั้งหลายที่เป็น
ตัวขัดขวางด้วยการจงกรม ด้วยการนั่ง ตลอดปฐมยามแห่งราตรี นอนดุจราชสีห์
โดยข้างเบื้องขวา ซ้อนเท้าเหลื่อมเท้า มีสติสัมปชัญญะ หมายใจว่าจะลุกขึ้นตลอด
มัชฌิมยามแห่งราตรี ลุกขึ้นชำระจิตให้บริสุทธิ์จากธรรมทั้งหลายที่เป็นตัวขัดขวาง
ด้วยการจงกรม ด้วยการนั่ง ตลอดปัจฉิมยามแห่งราตรี
ภิกษุชื่อว่าประกอบความเพียรเครื่องตื่นอยู่เนือง ๆ เป็นอย่างนี้แล
เพราะเหตุนั้นแล ท่านพึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า ‘เราจักเป็นผู้คุ้มครองทวารใน
อินทรีย์ทั้งหลาย เป็นผู้รู้ประมาณในการบริโภคอาหาร เป็นผู้ประกอบความเพียร
เครื่องตื่นอยู่เนือง ๆ’
ผู้มีอายุ ท่านพึงสำเหนียกอย่างนี้แล”

สารีปุตตสัทธิวิหาริกสูตรที่ ๗ จบ

๘. ราหุโลวาทสูตร
ว่าด้วยการประทานโอวาทแก่พระราหุล

[๑๒๑] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคทรงหลีกเร้นอยู่
ในที่สงัด ทรงเกิดความรำพึงขึ้นอย่างนี้ว่า “ธรรมเป็นเครื่องบ่มวิมุตติ๑ของราหุล
แก่กล้าแล้ว ทางที่ดี เราพึงแนะนำราหุลในธรรมเป็นที่สิ้นอาสวะให้ยิ่งขึ้นไป” ครั้น


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๓. ตติยปัณณาสก์ ๒. โลกกามคุณวรรค ๘. ราหุโลวาทสูตร

เวลาเช้าพระผู้มีพระภาคทรงครองอันตรวาสก ถือบาตรและจีวร๑ เสด็จเข้าไปยังกรุง
สาวัตถีเพื่อบิณฑบาต เสด็จกลับจากบิณฑบาต ภายหลังเสวยพระกระยาหารเสร็จ
แล้ว รับสั่งเรียกท่านพระราหุลมาตรัสว่า “ราหุล เธอจงถือผ้านิสีทนะ๒ เราจัก
เข้าไปยังป่าอันธวันเพื่อพักผ่อนกลางวัน” ท่านพระราหุลทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว
ได้ถือผ้านิสีทนะตามเสด็จพระผู้มีพระภาคไปเบื้องพระปฤษฎางค์
สมัยนั้น เทวดาหลายพันตนก็ติดตามพระผู้มีพระภาคไปด้วยคิดว่า “วันนี้
พระผู้มีพระภาคจักทรงแนะนำท่านพระราหุลในธรรมเป็นที่สิ้นอาสวะให้ยิ่งขึ้นไป” ต่อมา
พระผู้มีพระภาคเสด็จเข้าไปสู่ป่าอันธวัน ประทับนั่งบนพุทธอาสน์ซึ่งพระราหุลปูลาด
ถวายที่โคนต้นไม้แห่งหนึ่ง ฝ่ายท่านพระราหุลถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคแล้วนั่ง
ณ ที่สมควร พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสกับท่านพระราหุลดังนี้ว่า
“ราหุล เธอเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร จักขุเที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข”
“เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา ควรหรือที่จะ
พิจารณาเห็นสิ่งนั้นว่า ‘นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา”
“ข้อนั้นไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า”
“รูปเที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า” ฯลฯ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๓. ตติยปัณณาสก์ ๒. โลกกามคุณวรรค ๘. ราหุโลวาทสูตร

“จักขุวิญญาณเที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“จักขุสัมผัสเที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“แม้เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ที่เกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัย
เที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข”
“เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา ควรหรือที่จะพิจารณา
เห็นสิ่งนั้นว่า ‘นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา”
“ข้อนั้นไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า” ฯลฯ
“ชิวหาเที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“รสเที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“ชิวหาวิญญาณเที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“ชิวหาสัมผัสเที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“แม้เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณที่เกิดขึ้นเพราะชิวหาสัมผัสเป็นปัจจัย
เที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๑๔๕ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๓. ตติยปัณณาสก์ ๒. โลกกามคุณวรรค ๘. ราหุโลวาทสูตร

“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข”
“เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา ควรหรือที่จะพิจารณา
เห็นสิ่งนั้นว่า ‘นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา”
“ข้อนั้นไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า” ฯลฯ
“มโนเที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข”
“เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา ควรหรือที่จะพิจารณา
เห็นสิ่งนั้นว่า ‘นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา”
“ข้อนั้นไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า”
“ธรรมารมณ์เที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า” ฯลฯ
“มโนวิญญาณเที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า” ฯลฯ
“มโนสัมผัสเที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“แม้เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย
เที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข”
“เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๑๔๖ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๓. ตติยปัณณาสก์ ๒. โลกกามคุณวรรค ๘. ราหุโลวาทสูตร

“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา ควรหรือที่จะพิจารณา
เห็นสิ่งนั้นว่า ‘นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา”
“ข้อนั้นไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า”
“ราหุล อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในจักขุ ย่อม
เบื่อหน่ายแม้ในรูป ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในจักขุวิญญาณ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ใน
จักขุสัมผัส ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณที่เกิดขึ้นเพราะ
จักขุสัมผัสเป็นปัจจัย ฯลฯ
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในชิวหา ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในรส ย่อมเบื่อหน่ายแม้ใน
ชิวหาวิญญาณ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในชิวหาสัมผัส ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในเวทนา
สัญญา สังขาร วิญญาณที่เกิดขึ้นเพราะชิวหาสัมผัสเป็นปัจจัย ฯลฯ
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในมโน ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในธรรมารมณ์ ฯลฯ ย่อมเบื่อ
หน่ายแม้ในเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย
เมื่อเบื่อหน่ายย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด จิตย่อมหลุดพ้น เมื่อ
จิตหลุดพ้นแล้ว ก็รู้ว่า ‘หลุดพ้นแล้ว’ รู้ชัดว่า ‘ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว
ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป”
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสอย่างนี้แล้ว ท่านพระราหุลมีใจยินดีชื่นชมพระภาษิต
ของพระผู้มีพระภาค เมื่อพระองค์ตรัสเวยยากรณภาษิตนี้อยู่ จิตของท่านพระ
ราหุลก็หลุดพ้นจากอาสวะเพราะไม่ถือมั่น และธรรมจักษุ๑อันปราศจากธุลี ปราศ
จากมลทินได้เกิดแก่เทวดาหลายพันตนว่า “สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา
สิ่งนั้นทั้งปวงมีความดับไปเป็นธรรมดา”

ราหุโลวาทสูตรที่ ๘ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๓. ตติยปัณณาสก์ ๒. โลกกามคุณวรรค ๑๐. อุปาทานิยธัมมสูตร

๙. สัญโญชนิยธัมมสูตร
ว่าด้วยธรรมที่เกื้อกูลแก่สังโยชน์

[๑๒๒] “ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมที่เกื้อกูลแก่สังโยชน์และสังโยชน์
เธอทั้งหลายจงฟัง
ธรรมที่เกื้อกูลแก่สังโยชน์ เป็นอย่างไร และสังโยชน์ เป็นอย่างไร
คือ รูปที่พึงรู้แจ้งทางตาที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก ชัก
ให้ใคร่ พาใจให้กำหนัดมีอยู่ เหล่านี้เราเรียกว่า ธรรมที่เกื้อกูลแก่สังโยชน์
ฉันทราคะในรูปนั้นชื่อว่าสังโยชน์ ฯลฯ
รสที่พึงรู้แจ้งทางลิ้น ฯลฯ
ธรรมารมณ์ที่พึงรู้แจ้งทางใจที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก ชัก
ให้ใคร่ พาใจให้กำหนัดมีอยู่ เหล่านี้เราเรียกว่า ธรรมที่เกื้อกูลแก่สังโยชน์
ฉันทราคะในธรรมารมณ์นั้นชื่อว่าสังโยชน์”

สัญโญชนิยธัมมสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. อุปาทานิยธัมมสูตร
ว่าด้วยธรรมที่เกื้อกูลแก่อุปาทาน

[๑๒๓] “ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมที่เกื้อกูลแก่อุปาทานและอุปาทาน
เธอทั้งหลายจงฟัง
ธรรมที่เกื้อกูลแก่อุปาทาน เป็นอย่างไร และอุปาทาน เป็นอย่างไร
คือ รูปที่พึงรู้แจ้งทางตาที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก ชักให้ใคร่
พาใจให้กำหนัดมีอยู่ เหล่านี้เราเรียกว่า ธรรมที่เกื้อกูลแก่อุปาทาน
ฉันทราคะในรูปนั้นชื่อว่าอุปาทาน ฯลฯ
รสที่พึงรู้แจ้งทางลิ้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๑๔๘ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๓. ตติยปัณณาสก์ ๒. โลกกามคุณวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

ธรรมารมณ์ที่พึงรู้แจ้งทางใจที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก ชัก
ให้ใคร่ พาใจให้กำหนัดมีอยู่ เหล่านี้เราเรียกว่า ธรรมที่เกื้อกูลแก่อุปาทาน
ฉันทราคะในธรรมารมณ์นั้นชื่อว่าอุปาทาน”

อุปาทานิยธัมมสูตรที่ ๑๐ จบ
โลกกามคุณวรรคที่ ๒ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. ปฐมมารปาสสูตร ๒. ทุติยมารปาสสูตร
๓. โลกันตคมนสูตร ๔. กามคุณสูตร
๕. สักกปัญหสูตร ๖. ปัญจสิขสูตร
๗. สารีปุตตสัทธิวิหาริกสูตร ๘. ราหุโลวาทสูตร
๙. สัญโญชนิยธัมมสูตร ๑๐. อุปาทานิยธัมมสูตร


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๓. ตติยปัณณาสก์ ๓. คหปติวรรค ๑. เวสาลีสูตร

๓. คหปติวรรค
หมวดว่าด้วยคหบดี
๑. เวสาลีสูตร
ว่าด้วยคหบดีชาวเมืองเวสาลี

[๑๒๔] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ กูฏาคารศาลา ป่ามหาวัน
เขตกรุงเวสาลี ครั้งนั้น อุคคคหบดีชาวเมืองเวสาลีเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่
ประทับ ฯลฯ นั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อะไรหนอเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้สัตว์บางพวกในโลกนี้
ไม่ปรินิพพานในปัจจุบัน อนึ่ง อะไรเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้สัตว์บางพวกในโลกนี้
ปรินิพพานในปัจจุบัน”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “คหบดี รูปที่พึงรู้แจ้งทางตาที่น่าปรารถนา น่าใคร่
น่าพอใจ ชวนให้รัก ชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัดมีอยู่ ถ้าภิกษุยังเพลิดเพลิน เชยชม
ยึดติดรูปนั้นอยู่ เมื่อเธอเพลิดเพลิน เชยชม ยึดติดรูปนั้น วิญญาณที่อาศัย
ตัณหานั้น ความยึดมั่นตัณหานั้นก็มีอยู่ ภิกษุผู้ยังมีอุปาทาน (ความยึดมั่น) ย่อม
ไม่ปรินิพพาน ฯลฯ
รสที่พึงรู้แจ้งทางลิ้น ฯลฯ
ธรรมารมณ์ที่พึงรู้แจ้งทางใจที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก ชัก
ให้ใคร่ พาใจให้กำหนัดมีอยู่ ถ้าภิกษุยังเพลิดเพลิน เชยชม ยึดติดธรรมารมณ์นั้น
อยู่ เมื่อเธอเพลิดเพลิน เชยชม ยึดติดธรรมารมณ์นั้นอยู่ วิญญาณที่อาศัยตัณหา
นั้น ความยึดมั่นตัณหานั้นก็มีอยู่ ภิกษุผู้ยังมีอุปาทานย่อมไม่ปรินิพพาน
คหบดี นี้แลเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้สัตว์บางพวกในโลกนี้ไม่ปรินิพพานในปัจจุบัน
รูปที่พึงรู้แจ้งทางตาที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก ชักให้ใคร่
พาใจให้กำหนัดมีอยู่ ถ้าภิกษุไม่เพลิดเพลิน ไม่เชยชม ไม่ยึดติดรูปนั้นอยู่ เมื่อ
เธอไม่เพลิดเพลิน ไม่เชยชม ไม่ยึดติดรูปนั้น วิญญาณที่อาศัยตัณหานั้นก็ไม่มี
ความยึดมั่นตัณหานั้นก็ไม่มี ภิกษุผู้ไม่มีอุปาทานย่อมปรินิพพาน ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๑๕๐ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๓. ตติยปัณณาสก์ ๓. คหปติวรรค ๓. นาฬันทสูตร

รสที่พึงรู้แจ้งทางลิ้น ฯลฯ
ธรรมารมณ์ที่พึงรู้แจ้งทางใจที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก ชัก
ให้ใคร่ พาใจให้กำหนัดมีอยู่ ถ้าภิกษุไม่เพลิดเพลิน ไม่เชยชม ไม่ยึดติด
ธรรมารมณ์นั้นอยู่ เมื่อเธอไม่เพลิดเพลิน ไม่เชยชม ไม่ยึดติดธรรมารมณ์นั้น
วิญญาณที่อาศัยตัณหานั้นก็ไม่มี ความยึดมั่นตัณหานั้นก็ไม่มี ภิกษุผู้ไม่มีอุปาทาน
ย่อมปรินิพพาน
คหบดี นี้แลเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้สัตว์บางพวกในโลกนี้ปรินิพพานในปัจจุบัน”

เวสาลีสูตรที่ ๑ จบ

๒. วัชชีสูตร
ว่าด้วยคหบดีชาวแคว้นวัชชี

[๑๒๕] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ หัตถิคาม แคว้นวัชชี
ครั้งนั้น อุคคคหบดีชาวบ้านหัตถิคามเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ฯลฯ
นั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อะไรหนอเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้สัตว์บางพวกในโลกนี้
ไม่ปรินิพพานในปัจจุบัน อนึ่ง อะไรเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้สัตว์บางพวกในโลกนี้
ปรินิพพานในปัจจุบัน”
(สูตรนี้ พึงให้พิสดารเหมือนสูตรก่อน)
“คหบดี นี้แลเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้สัตว์บางพวกในโลกนี้ปรินิพพานในปัจจุบัน”

วัชชีสูตรที่ ๒ จบ

๓. นาฬันทสูตร
ว่าด้วยคหบดีชาวเมืองนาฬันทา

[๑๒๖] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ปาวาริกัมพวัน เขตเมือง
นาฬันทา ครั้งนั้น อุบาลีคหบดีเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ฯลฯ นั่ง ณ
ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๑๕๑ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๓. ตติยปัณณาสก์ ๓. คหปติวรรค ๔. ภารทวาชสูตร

“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อะไรหนอเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้สัตว์บางพวกในโลกนี้
ไม่ปรินิพพานในปัจจุบัน อนึ่ง อะไรเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้สัตว์บางพวกในโลกนี้
ปรินิพพานในปัจจุบัน”
(สูตรนี้ พึงให้พิสดารเหมือนสูตรก่อน)
“คหบดี นี้แลเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้สัตว์บางพวกในโลกนี้ปรินิพพานในปัจจุบัน”

นาฬันทสูตรที่ ๓ จบ

๔. ภารทวาชสูตร
ว่าด้วยพระปิณโฑลภารทวาชะ

[๑๒๗] สมัยหนึ่ง ท่านพระปิณโฑลภารทวาชะอยู่ ณ โฆสิตาราม เขตกรุง
โกสัมพี ครั้งนั้น พระเจ้าอุเทนเสด็จเข้าไปหาท่านพระปิณโฑลภารทวาชะถึงที่อยู่
ได้ทรงสนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้ว ประทับนั่ง ณ
ที่สมควร ได้ตรัสถามท่านพระปิณโฑลภารทวาชะดังนี้ว่า
“ท่านภารทวาชะ อะไรหนอเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้ภิกษุหนุ่มเหล่านี้ผู้แรกรุ่น
มีผมดำสนิท หนุ่มแน่น อยู่ในปฐมวัย ยังไม่หมดความร่าเริงในกามทั้งหลาย
ประพฤติพรหมจรรย์บริสุทธิ์บริบูรณ์จนตลอดชีวิต และปฏิบัติอยู่ได้นาน”
ท่านพระปิณโฑลภารทวาชะถวายพระพรว่า
“ขอถวายพระพร มหาบพิตร พระผู้มีพระภาคผู้ทรงรู้ทรงเห็น เป็นพระ
อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้นตรัสไว้ดังนี้ว่า
‘มาเถิด ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงตั้งจิตไว้ในสตรีทั้งหลายคราวมารดาว่า
เป็นมารดา ตั้งจิตไว้ในสตรีทั้งหลายคราวพี่สาวน้องสาวว่าเป็นพี่สาวน้องสาว ตั้งจิต
ไว้ในสตรีทั้งหลายคราวธิดาว่าเป็นธิดา’
นี้แลเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้ภิกษุหนุ่มเหล่านี้ผู้แรกรุ่น มีผมดำสนิท หนุ่มแน่น
อยู่ในปฐมวัย ยังไม่หมดความร่าเริงในกามทั้งหลาย ประพฤติพรหมจรรย์บริสุทธิ์
บริบูรณ์จนตลอดชีวิต และปฏิบัติอยู่ได้นาน”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๑๕๒ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๓. ตติยปัณณาสก์ ๓. คหปติวรรค ๔. ภารทวาชสูตร

“ท่านภารทวาชะ จิตเป็นธรรมชาติโลเลนัก บางครั้งเกิดความโลภในสตรี
ทั้งหลายคราวมารดาบ้าง บางครั้งเกิดความโลภในสตรีทั้งหลายคราวพี่สาวน้องสาว
บ้าง บางครั้งเกิดความโลภในสตรีทั้งหลายคราวธิดาบ้าง
มีอยู่หรือ ท่านภารทวาชะ อย่างอื่นที่เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้ภิกษุหนุ่มเหล่านี้
ผู้แรกรุ่น มีผมดำสนิท ฯลฯ และปฏิบัติอยู่ได้นาน”
“ขอถวายพระพร มหาบพิตร พระผู้มีพระภาคผู้ทรงรู้ทรงเห็น เป็นพระ
อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้นตรัสไว้ดังนี้ว่า
‘มาเถิด ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงพิจารณากายนี้ขึ้นเบื้องบนแต่พื้นเท้า
ขึ้นไป พิจารณาลงเบื้องล่างแต่ปลายผมลงมา มีหนังหุ้มอยู่โดยรอบ เต็มด้วยของ
ไม่สะอาดมีประการต่าง ๆ ว่า
‘ในร่างกายนี้มี ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก
ไต๑ หัวใจ ตับ พังผืด ม้าม๒ ปอด ไส้ใหญ่ ไส้น้อย อาหารใหม่
อาหารเก่า ดี เสลด หนอง เลือด เหงื่อ มันข้น น้ำตา เปลวมัน น้ำลาย น้ำมูก
ไขข้อ มูตร๓’


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๓. ตติยปัณณาสก์ ๓. คหปติวรรค ๔. ภารทวาชสูตร

แม้นี้แลก็เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้ภิกษุหนุ่มเหล่านี้ผู้แรกรุ่น มีผมดำสนิท ฯลฯ
และปฏิบัติอยู่ได้นาน”
“ท่านภารทวาชะ ภิกษุเหล่าใดได้อบรมกาย อบรมศีล อบรมจิต อบรม
ปัญญาแล้ว การอบรมกายเป็นต้นนั้นไม่ใช่กิจที่ภิกษุเหล่านั้นจะทำได้ยาก
ส่วนภิกษุเหล่าใดยังไม่ได้อบรมกาย ไม่ได้อบรมศีล ไม่ได้อบรมจิต ไม่ได้
อบรมปัญญา การเจริญอสุภกัมมัฏฐานนั้นเป็นกิจที่ภิกษุเหล่านั้นทำได้ยาก
บางครั้งเมื่อบุคคลตั้งใจว่า ‘เราจักใส่ใจโดยความเป็นของไม่งาม’ (แต่อารมณ์)
กลับปรากฏโดยความเป็นของงามก็มี
มีอยู่หรือ ท่านภารทวาชะ อย่างอื่นที่เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้ภิกษุหนุ่มเหล่านี้
ผู้แรกรุ่น มีผมดำสนิท ฯลฯ และปฏิบัติอยู่ได้นาน”
“ขอถวายพระพร มหาบพิตร พระผู้มีพระภาคผู้ทรงรู้ทรงห็น เป็นพระ
อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้นตรัสไว้ดังนี้ว่า
‘มาเถิด ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงเป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย
อยู่เถิด เธอทั้งหลายเห็นรูปทางตาแล้วอย่ารวบถือ อย่าแยกถือ จงปฏิบัติเพื่อ
สำรวมจักขุนทรีย์ซึ่งเมื่อไม่สำรวมแล้วจะเป็นเหตุให้ถูกธรรมที่เป็นบาปอกุศลคืออภิชฌา
และโทมนัสครอบงำได้ จงรักษาจักขุนทรีย์ ถึงความสำรวมในจักขุนทรีย์ ฟังเสียง
ทางหู ฯลฯ ดมกลิ่นทางจมูก ฯลฯ ลิ้มรสทางลิ้น ฯลฯ ถูกต้องโผฏฐัพพะทางกาย
ฯลฯ รู้แจ้งธรรมารมณ์ทางใจแล้วอย่ารวบถือ อย่าแยกถือ จงปฏิบัติเพื่อสำรวม
มนินทรีย์ซึ่งเมื่อไม่สำรวมแล้วจะเป็นเหตุให้ถูกธรรมที่เป็นบาปอกุศลคืออภิชฌาและ
โทมนัสครอบงำได้ จงรักษามนินทรีย์ ถึงความสำรวมในมนินทรีย์’
แม้นี้แลก็เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้ภิกษุหนุ่มเหล่านี้ผู้แรกรุ่น มีผมดำสนิท หนุ่ม
แน่น อยู่ในปฐมวัย ยังไม่หมดความร่าเริงในกามทั้งหลาย ประพฤติพรหมจรรย์
บริสุทธิ์บริบูรณ์จนตลอดชีวิต และปฏิบัติอยู่ได้นาน”
“ท่านภารทวาชะ น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคยปรากฏ พระผู้มีพระภาคผู้ทรงรู้
ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้นตรัสเรื่องนี้ไว้ดียิ่งนัก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๑๕๔ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๓. ตติยปัณณาสก์ ๓. คหปติวรรค ๕. โสณสูตร

นี้แลเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้ภิกษุหนุ่มเหล่านี้ผู้แรกรุ่น มีผมดำสนิท หนุ่มแน่น
อยู่ในปฐมวัย ยังไม่หมดความร่าเริงในกามทั้งหลาย ประพฤติพรหมจรรย์บริสุทธิ์
บริบูรณ์จนตลอดชีวิต และปฏิบัติอยู่ได้นาน
สมัยใดแม้ข้าพเจ้าเอง ไม่ได้รักษากาย วาจา ใจ ไม่ตั้งสติไว้มั่น ไม่สำรวม
อินทรีย์ เข้าไปภายในวัง สมัยนั้น ความโลภก็ครอบงำข้าพเจ้ายิ่งนัก
แต่สมัยใดข้าพเจ้าได้รักษากาย วาจา ใจ ตั้งสติไว้มั่น สำรวมอินทรีย์
เข้าไปภายในวัง สมัยนั้น ความโลภก็ไม่ครอบงำข้าพเจ้า
ท่านภารทวาชะ ภาษิตของท่านชัดเจนไพเราะยิ่งนัก ท่านภารทวาชะ ภาษิต
ของท่านชัดเจนไพเราะยิ่งนัก ท่านภารทวาชะประกาศธรรมแจ่มแจ้งโดยประการ
ต่าง ๆ เปรียบเหมือนบุคคลหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางแก่ผู้หลง
ทาง หรือตามประทีปในที่มืดด้วยตั้งใจว่า ‘คนมีตาดีจักเห็นรูปได้’ ท่านภารทวาชะ
ข้าพเจ้านี้ขอถึงพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น พร้อมทั้งพระธรรมและพระสงฆ์เป็น
สรณะ ขอท่านภารทวาชะจงจำข้าพเจ้าว่าเป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะตั้งแต่วันนี้เป็นต้น
ไปจนตลอดชีวิต”

ภารทวาชสูตรที่ ๔ จบ

๕. โสณสูตร
ว่าด้วยโสณคหบดีบุตร

[๑๒๘] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเวฬุวัน สถานที่ให้เหยื่อ
กระแต เขตกรุงราชคฤห์ ครั้งนั้น บุตรคหบดีชื่อโสณะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค
ถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อะไรหนอเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้สัตว์บางพวกในโลกนี้
ไม่ปรินิพพานในปัจจุบัน อนึ่ง อะไรเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้สัตว์บางพวกในโลกนี้
ปรินิพพานในปัจจุบัน”
(สูตรนี้พึงให้พิสดารเหมือนสูตรก่อน)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๑๕๕ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๓. ตติยปัณณาสก์ ๓. คหปติวรรค ๖. โฆสิตสูตร

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “โสณะ นี้แลเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้สัตว์บางพวกในโลก
นี้ปรินิพพานในปัจจุบัน”

โสณสูตรที่ ๕ จบ

๖. โฆสิตสูตร
ว่าด้วยโฆสิตคหบดี

[๑๒๙] สมัยหนึ่ง ท่านพระอานนท์อยู่ ณ โฆสิตาราม เขตกรุงโกสัมพี ครั้งนั้น
โฆสิตคหบดีเข้าไปหาท่านพระอานนท์ถึงที่อยู่ ฯลฯ นั่ง ณ ที่สมควร ได้เรียน
ถามท่านพระอานนท์ดังนี้ว่า “ท่านอานนท์ผู้เจริญ ที่พระผู้มีพระภาคตรัส
ว่า ‘ธาตุต่าง ๆ ธาตุต่าง ๆ ‘ ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอ พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า
ธาตุต่าง ๆ”
ท่านพระอานนท์ตอบว่า “คหบดี จักขุธาตุ รูปที่น่าพอใจ และจักขุวิญญาณ
มีอยู่ เพราะอาศัยผัสสะซึ่งเป็นที่ตั้งแห่งสุขเวทนา (ความรู้สึกสุข) สุขเวทนาจึงเกิด
จักขุธาตุ รูปที่ไม่น่าพอใจ และจักขุวิญญาณมีอยู่ เพราะอาศัยผัสสะซึ่งเป็น
ที่ตั้งแห่งทุกขเวทนา (ความรู้สึกทุกข์) ทุกขเวทนาจึงเกิด
จักขุธาตุ รูปเป็นที่ตั้งแห่งอุเบกขา และจักขุวิญญาณมีอยู่ เพราะอาศัยผัสสะ
ซึ่งเป็นที่ตั้งแห่งอทุกขมสุขเวทนา (ความรู้สึกมิใช่สุขมิใช่ทุกข์) อทุกขมสุขเวทนา
จึงเกิด ฯลฯ
ชิวหาธาตุ รสที่น่าพอใจ และชิวหาวิญญาณมีอยู่ เพราะอาศัยผัสสะซึ่งเป็น
ที่ตั้งแห่งสุขเวทนา สุขเวทนาจึงเกิด
ชิวหาธาตุ รสที่ไม่น่าพอใจ และชิวหาวิญญาณมีอยู่ เพราะอาศัยผัสสะซึ่ง
เป็นที่ตั้งแห่งทุกขเวทนา ทุกขเวทนาจึงเกิด
ชิวหาธาตุ รสที่น่าพอใจ และชิวหาวิญญาณมีอยู่ เพราะอาศัยผัสสะซึ่งเป็น
ที่ตั้งแห่งอทุกขมสุขเวทนา อทุกขมสุขเวทนาจึงเกิด ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๑๕๖ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๓. ตติยปัณณาสก์ ๓. คหปติวรรค ๗. หาลิททกานิสูตร

มโนธาตุ ธรรมารมณ์ที่น่าพอใจ และมโนวิญญาณมีอยู่ เพราะอาศัยผัสสะ
ซึ่งเป็นที่ตั้งแห่งสุขเวทนา สุขเวทนาจึงเกิด
มโนธาตุ ธรรมารมณ์ที่ไม่น่าพอใจ และมโนวิญญาณมีอยู่ เพราะอาศัยผัสสะ
ซึ่งเป็นที่ตั้งแห่งทุกขเวทนา ทุกขเวทนาจึงเกิด
มโนธาตุ ธรรมารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งอุเบกขา และมโนวิญญาณมีอยู่ เพราะอาศัย
ผัสสะซึ่งเป็นที่ตั้งแห่งอทุกขมสุขเวทนา อทุกขมสุขเวทนาจึงเกิด
คหบดี ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่าธาตุต่าง ๆ”

โฆสิตสูตรที่ ๖ จบ

๗. หาลิททกานิสูตร
ว่าด้วยหาลิททกานิคหบดี

[๑๓๐] สมัยหนึ่ง ท่านพระมหากัจจานะอยู่ที่เรือนตระกูลใกล้ภูเขาสังปวัตตะ
แคว้นอวันตี ครั้งนั้นแล หาลิททกานิคหบดีเข้าไปหาท่านพระมหากัจจานะถึงที่อยู่
ฯลฯ นั่ง ณ ที่สมควร ได้เรียนถามท่านพระมหากัจจานะดังนี้ว่า
“ข้าแต่ท่านผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ดังนี้ว่า ‘เพราะอาศัยธาตุต่าง ๆ
ผัสสะต่าง ๆ จึงเกิด เพราะอาศัยผัสสะต่าง ๆ เวทนาต่าง ๆ จึงเกิด’ เพราะอาศัย
ธาตุต่าง ๆ ผัสสะต่าง ๆ จึงเกิด เพราะอาศัยผัสสะต่าง ๆ เวทนาต่าง ๆ จึงเกิด
เป็นอย่างไร”
ท่านพระมหากัจจานะตอบว่า “คหบดี คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เห็นรูปทาง
ตาแล้วรู้ชัดว่า ‘รูปอย่างนี้ น่าพอใจ’
เพราะอาศัยจักขุวิญญาณและผัสสะซึ่งเป็นที่ตั้งแห่งสุขเวทนา สุขเวทนาจึงเกิด
อนึ่ง ภิกษุเห็นรูปทางตาอย่างนั้นแล้วรู้ชัดว่า ‘รูปอย่างนี้ไม่น่าพอใจ’
เพราะอาศัยจักขุวิญญาณและผัสสะซึ่งเป็นที่ตั้งแห่งทุกขเวทนา ทุกขเวทนา
จึงเกิด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๑๕๗ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๓. ตติยปัณณาสก์ ๓. คหปติวรรค ๗. หาลิททกานิสูตร

อนึ่ง ภิกษุเห็นรูปทางตาอย่างนั้นแล้วรู้ชัดว่า ‘รูปอย่างนี้เป็นที่ตั้งแห่ง
อุเบกขา’
เพราะอาศัยจักขุวิญญาณและผัสสะซึ่งเป็นที่ตั้งแห่งอทุกขมสุขเวทนา อทุกขม-
สุขเวทนาจึงเกิด
อีกประการหนึ่ง ภิกษุฟังเสียงทางหู ฯลฯ
ดมกลิ่นทางจมูก ฯลฯ
ลิ้มรสทางลิ้น ฯลฯ
ถูกต้องโผฏฐัพพะทางกาย ฯลฯ
รู้แจ้งธรรมารมณ์ทางใจแล้วรู้ชัดว่า ‘ธรรมารมณ์อย่างนี้น่าพอใจ’
เพราะอาศัยมโนวิญญาณและผัสสะซึ่งเป็นที่ตั้งแห่งสุขเวทนา สุขเวทนา
จึงเกิด
อนึ่ง ภิกษุรู้แจ้งธรรมารมณ์ทางใจอย่างนั้นแล้วรู้ชัดว่า ‘ธรรมารมณ์อย่างนี้
ไม่น่าพอใจ’
เพราะอาศัยมโนวิญญาณและผัสสะซึ่งเป็นที่ตั้งแห่งทุกขเวทนา ทุกขเวทนาจึง
เกิด
อนึ่ง ภิกษุรู้แจ้งธรรมารมณ์ทางใจอย่างนั้นแล้วรู้ชัดว่า ‘ธรรมารมณ์อย่างนี้
เป็นที่ตั้งแห่งอุเบกขา’
เพราะอาศัยมโนวิญญาณและผัสสะซึ่งเป็นที่ตั้งแห่งอทุกขมสุขเวทนา อทุกขม-
สุขเวทนาจึงเกิด
คหบดี เพราะอาศัยธาตุต่าง ๆ ผัสสะต่าง ๆ จึงเกิด เพราะอาศัยผัสสะ
ต่าง ๆ เวทนาต่าง ๆ จึงเกิดเป็นอย่างนี้แล”

หาลิททกานิสูตรที่ ๗ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๓. ตติยปัณณาสก์ ๓. คหปติวรรค ๘. นกุลปิตุสูตร

๘. นกุลปิตุสูตร
ว่าด้วยนกุลปิตุคหบดี

[๑๓๑] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ เภสกฬาวัน อันเป็นที่พระ
ราชทานอภัยแก่หมู่เนื้อ เขตกรุงสุงสุมารคิระ แคว้นภัคคะ ครั้งนั้น นกุลปิตุคหบดี
เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ฯลฯ นั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระ
ผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อะไรหนอเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้สัตว์บางพวกในโลกนี้
ไม่ปรินิพพานในปัจจุบัน อนึ่ง อะไรเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้สัตว์บางพวกในโลกนี้
ปรินิพพานในปัจจุบัน”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “คหบดี รูปที่พึงรู้แจ้งทางตาที่น่าปรารถนา น่า
ใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก ชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัดมีอยู่ ถ้าภิกษุยังเพลิดเพลิน
เชยชม ยึดติดรูปนั้นอยู่ เมื่อเธอเพลิดเพลิน เชยชม ยึดติดรูปนั้น วิญญาณ
ที่อาศัยตัณหานั้น ความยึดมั่นตัณหานั้นก็มีอยู่ ภิกษุผู้ยังมีอุปาทานย่อมไม่
ปรินิพพาน ฯลฯ
รสที่พึงรู้แจ้งทางลิ้น ฯลฯ
ธรรมารมณ์ที่พึงรู้แจ้งทางใจที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก
ชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัดมีอยู่ ถ้าภิกษุยังเพลิดเพลิน เชยชม ยึดติดธรรมารมณ์
นั้นอยู่ เมื่อเธอเพลิดเพลิน เชยชม ยึดติดธรรมารมณ์นั้น วิญญาณที่อาศัย
ตัณหานั้น ความยึดมั่นตัณหานั้นก็มีอยู่ ภิกษุผู้ยังมีอุปาทานย่อมไม่ปรินิพพาน
คหบดี นี้แลเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้สัตว์บางพวกในโลกนี้ไม่ปรินิพพานในปัจจุบัน
รูปที่พึงรู้แจ้งทางตาที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก ชักให้ใคร่
พาใจให้กำหนัดมีอยู่ ถ้าภิกษุไม่เพลิดเพลิน ไม่เชยชม ไม่ยึดติดรูปนั้นอยู่ เมื่อ
เธอไม่เพลิดเพลิน ไม่เชยชม ไม่ยึดติดรูปนั้น วิญญาณที่อาศัยตัณหานั้นก็ไม่มี
ความยึดมั่นตัณหานั้นก็ไม่มี ภิกษุผู้ไม่มีอุปาทานย่อมปรินิพพาน ฯลฯ
รสที่พึงรู้แจ้งทางลิ้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๑๕๙ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๓. ตติยปัณณาสก์ ๓. คหปติวรรค ๙. โลหิจจสูตร

ธรรมารมณ์ที่พึงรู้แจ้งทางใจที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก
ชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัดมีอยู่ ถ้าภิกษุไม่เพลิดเพลิน ไม่เชยชม ไม่ยึดติด
ธรรมารมณ์นั้นอยู่ เมื่อเธอไม่เพลิดเพลิน ไม่เชยชม ไม่ยึดติดธรรมารมณ์นั้น
วิญญาณที่อาศัยตัณหานั้นก็ไม่มี ความยึดมั่นตัณหานั้นก็ไม่มี ภิกษุผู้ไม่มีอุปาทาน
ย่อมปรินิพพาน
คหบดี นี้แลเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้สัตว์บางพวกในโลกนี้ปรินิพพานในปัจจุบัน”

นกุลปิตุสูตรที่ ๘ จบ

๙. โลหิจจสูตร
ว่าด้วยโลหิจจพราหมณ์

[๑๓๒] สมัยหนึ่ง ท่านพระมหากัจจานะอยู่ ณ กุฎีป่า เขตเมืองมักกรกฏะ
แคว้นอวันตี ครั้งนั้น มาณพผู้หาฟืนซึ่งเป็นศิษย์ของโลหิจจพราหมณ์จำนวนมาก
เข้าไปยังกุฎีป่าของท่านพระมหากัจจานะ เที่ยวเดินไปมารอบ ๆ กุฎี เล่นกระโดด
ปล้ำกัน ส่งเสียงอื้ออึงเซ็งแซ่ว่า
“สมณะศีรษะโล้นเหล่านี้ เป็นคนรับใช้ เป็นคนวรรณะต่ำ (กัณหโคตร) เกิด
จากบาทของท้าวมหาพรหมอันชาวภารตะ๑เหล่านี้สักการะ เคารพ นับถือ บูชา
นอบน้อม”
ลำดับนั้น ท่านพระมหากัจจานะออกจากที่อยู่แล้วได้กล่าวกับมาณพเหล่านั้น
ดังนี้ว่า
“มาณพทั้งหลาย เธอทั้งหลายอย่าได้ส่งเสียงดัง เราจักกล่าวธรรมแก่เธอ
ทั้งหลาย”
เมื่อท่านพระมหากัจจานะกล่าวอย่างนี้แล้ว มาณพเหล่านั้นก็นิ่งเฉย ลำดับนั้น
ท่านพระมหากัจจานะได้กล่าวกับมาณพเหล่านั้นด้วยคาถาทั้งหลายว่า


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๓. ตติยปัณณาสก์ ๓. คหปติวรรค ๙. โลหิจจสูตร

“พราหมณ์เหล่าใดระลึกถึงธรรมดั้งเดิมได้
พราหมณ์เหล่านั้นเป็นผู้มีศีลสูงสุด เก่าแก่กว่า
พราหมณ์เหล่านั้นคุ้มครอง รักษาทวารทั้งหลายดีแล้ว
เพราะครอบงำความโกรธได้
พราหมณ์เหล่าใดระลึกถึงธรรมดั้งเดิมได้
พราหมณ์เหล่านั้นเป็นผู้ยินดีในธรรมและฌาน๑
อนึ่ง พราหมณ์ทั้งหลายละเลยธรรมเหล่านี้
สำคัญว่า ‘เราสาธยายมนตร์’ เมาเพราะโคตร
ถูกความโกรธครอบงำ มีอาชญาในตนมาก
ประพฤติผิดในสัตว์ทั้งหลายทั้งที่สะดุ้งกลัวและไม่สะดุ้งกลัว
จึงประพฤติไม่สม่ำเสมอ
การสมาทานวัตรทั้งปวง คือ การไม่กิน
การนอนบนพื้นดิน การอาบน้ำเวลาเช้า
และพระเวท ๓ ของพราหมณ์ผู้ไม่คุ้มครองทวารย่อมไร้ผล
เหมือนคนได้ทรัพย์เครื่องปลื้มใจในความฝันฉะนั้น
หนังเสือที่หยาบ การมุ่นผม การไม่ชำระฟัน
มนตร์ ศีลและพรตเป็นตบะ (ของพราหมณ์)
การหลอกลวง ไม้เท้าที่คด และการใช้น้ำลูบหน้า
ข้อวัตรที่พรรณนามาเหล่านี้
พวกพราหมณ์ทำเพราะต้องการอามิส
ส่วนจิตที่ตั้งมั่นดีแล้วย่อมผ่องใส ไม่ขุ่นมัว
อ่อนโยนในสัตว์ทั้งปวง นั้นเป็นทางเพื่อถึงความเป็นพรหม”
ลำดับนั้น มาณพเหล่านั้นโกรธเคือง ไม่พอใจ ได้เข้าไปหาโลหิจจพราหมณ์
ถึงที่อยู่แล้วกล่าวกับโลหิจจพราหมณ์ดังนี้ว่า “ขอท่านผู้เจริญโปรดทราบ พระ
มหากัจจานะข้อนขอด คัดค้านมนตร์ของพราหมณ์ทั้งหลายโดยส่วนเดียว” เมื่อ
มาณพเหล่านั้นกล่าวอย่างนี้แล้วโลหิจจพราหมณ์ก็โกรธเคือง ไม่พอใจ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๓. ตติยปัณณาสก์ ๓. คหปติวรรค ๙. โลหิจจสูตร

ทีนั้น โลหิจจพราหมณ์ได้มีความคิดดังนี้ว่า
“เป็นการไม่สมควรเลยที่เราจะพึงด่า เหน็บแนม บริภาษพระมหากัจจานะ
เพราะฟังคำของพวกมาณพแต่ฝ่ายเดียวเท่านั้น ทางที่ดี เราควรเข้าไปถาม”
ต่อมา โลหิจจพราหมณ์กับมาณพเหล่านั้นเข้าไปหาท่านพระมหากัจจานะถึง
ที่อยู่ ได้สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้ว นั่ง ณ ที่
สมควร ได้เรียนถามท่านพระมหากัจจานะดังนี้ว่า “ท่านกัจจานะ มาณพผู้หาฟืน
ซึ่งเป็นศิษย์ของข้าพเจ้าจำนวนมากได้มาในที่นี้หรือ”
ท่านพระมหากัจจานะตอบว่า “พราหมณ์ มาณพผู้หาฟืนซึ่งเป็นศิษย์ของ
ท่านจำนวนมาก ได้มาในที่นี้”
“ท่านกัจจานะได้สนทนาอะไรบ้างกับมาณพเหล่านั้น”
“พราหมณ์ อาตมภาพได้สนทนาบางอย่างกับมาณพเหล่านั้นเหมือนกัน”
“ท่านกัจจานะได้สนทนากับมาณพเหล่านั้นอย่างไร”
“พราหมณ์ อาตมภาพได้สนทนากับมาณพเหล่านั้นอย่างนี้ว่า
‘พราหมณ์เหล่าใดระลึกถึงธรรมดั้งเดิมของพราหมณ์ได้
พราหมณ์เหล่านั้นเป็นผู้มีศีลสูงสุด เก่าแก่กว่า
ฯลฯ
อ่อนโยนในสัตว์ทั้งปวง นั้นเป็นทางเพื่อถึงความเป็นพรหม’
พราหมณ์ อาตมภาพได้สนทนากับมาณพเหล่านั้นอย่างนี้แล”
“ท่านกัจจานะได้กล่าวว่า ‘บุคคลชื่อว่าไม่คุ้มครองทวาร’ ด้วยเหตุเพียงเท่าไร
หนอ บุคคลจึงชื่อว่าไม่คุ้มครองทวาร”
“พราหมณ์ บุคคลบางคนในโลกนี้เห็นรูปทางตาแล้วย่อมยินดีในรูปที่น่ารัก
ย่อมยินร้ายในรูปที่ไม่น่ารัก เป็นผู้ไม่ตั้งมั่นกายคตาสติ มีปริตตจิต๑อยู่ และไม่รู้ชัด


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๓. ตติยปัณณาสก์ ๓. คหปติวรรค ๙. โลหิจจสูตร

เจโตวิมุตติ๑และปัญญาวิมุตติ๒ตามความเป็นจริง อันเป็นที่ดับไปโดยไม่เหลือแห่ง
ธรรมที่เป็นบาปอกุศลเหล่านั้นที่เกิดขึ้นแล้วแก่บุคคลนั้น
ฟังเสียงทางหู ฯลฯ
ดมกลิ่นทางจมูก ฯลฯ
ลิ้มรสทางลิ้น ฯลฯ
ถูกต้องโผฏฐัพพะทางกาย ฯลฯ
รู้แจ้งธรรมารมณ์ทางใจแล้วย่อมยินดีในธรรมารมณ์ที่น่ารัก ย่อมยินร้าย
ในธรรมารมณ์ที่ไม่น่ารัก เป็นผู้ไม่ตั้งมั่นกายคตาสติ มีปริตตจิตอยู่ และไม่รู้ชัด
เจโตวิมุตติและปัญญาวิมุตติตามความเป็นจริง อันเป็นที่ดับไปโดยไม่เหลือแห่ง
ธรรมที่เป็นบาปอกุศลเหล่านั้นที่เกิดขึ้นแล้วแก่บุคคลนั้น
พราหมณ์ บุคคลชื่อว่าไม่คุ้มครองทวารเป็นอย่างนี้แล”
พราหมณ์กล่าวว่า “ท่านกัจจานะ น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคยปรากฏ ท่าน
กัจจานะเรียกบุคคลผู้ไม่คุ้มครองทวารแล้วแลว่า ‘ไม่คุ้มครองทวาร’ ท่านกัจจานะ
ได้กล่าวว่า ‘บุคคลชื่อว่าคุ้มครองทวาร’ ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอ บุคคลจึงชื่อว่า
คุ้มครองทวาร”
“พราหมณ์ ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ เห็นรูปทางตาแล้ว ย่อมไม่ยินดีใน
รูปที่น่ารัก ไม่ยินร้ายในรูปที่ไม่น่ารัก เป็นผู้ตั้งมั่นกายคตาสติ มีอัปปมาณจิต๓อยู่
และรู้ชัดเจโตวิมุตติและปัญญาวิมุตติตามความเป็นจริง อันเป็นที่ดับไปโดยไม่เหลือ
แห่งธรรมที่เป็นบาปอกุศลเหล่านั้นที่เกิดขึ้นแล้วแก่ภิกษุนั้น
ฟังเสียงทางหู ฯลฯ
ดมกลิ่นทางจมูก ฯลฯ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๓. ตติยปัณณาสก์ ๓. คหปติวรรค ๑๐. เวรหัญจานิสูตร

ลิ้มรสทางลิ้น ฯลฯ
ถูกต้องโผฏฐัพพะทางกาย ฯลฯ
รู้แจ้งธรรมารมณ์ทางใจแล้ว ย่อมไม่ยินดีในธรรมารมณ์ที่น่ารัก ไม่ยินร้าย
ในธรรมารมณ์ที่ไม่น่ารัก เป็นผู้ตั้งมั่นกายคตาสติ มีอัปปมาณจิตอยู่ และรู้ชัด
เจโตวิมุตติและปัญญาวิมุตติตามความเป็นจริง อันเป็นที่ดับไปโดยไม่เหลือแห่ง
ธรรมที่เป็นบาปอกุศลเหล่านั้นที่เกิดขึ้นแล้วแก่ภิกษุนั้น
พราหมณ์ บุคคลชื่อว่าคุ้มครองทวารเป็นอย่างนี้แล”
“ท่านกัจจานะ น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคยปรากฏ ท่านกัจจานะเรียกบุคคลผู้
คุ้มครองทวารแล้วแลว่า ‘คุ้มครองทวาร’
“ท่านกัจจานะ ภาษิตของท่านชัดเจนไพเราะยิ่งนัก ท่านกัจจานะ ภาษิตของ
ท่านชัดเจนไพเราะยิ่งนัก ท่านกัจจานะประกาศธรรมโดยประการต่าง ๆ เปรียบ
เหมือนบุคคลหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางแก่ผู้หลงทาง หรือตาม
ประทีปในที่มืดด้วยตั้งใจว่า ‘คนมีตาดีจักเห็นรูปได้’ ข้าพเจ้านี้ ขอถึงพระผู้มีพระภาค
พร้อมทั้งพระธรรมและพระสงฆ์เป็นสรณะ ขอท่านกัจจานะจงจำข้าพเจ้าว่าเป็น
อุบาสกผู้ถึงสรณะตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปจนตลอดชีวิต อนึ่ง ขอท่านกัจจานะจงเข้า
ไปสู่โลหิจจตระกูลเหมือนดังที่เข้าไปสู่ตระกูลอุบาสกทั้งหลายในเมืองมักกรกฏะเถิด
เหล่ามาณพหรือมาณวิกาในโลหิจจตระกูลจักไหว้ ลุกรับ ถวายอาสนะหรือน้ำแก่
ท่าน ข้อนั้นจักเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูลเพื่อความสุขแก่พวกเขาตลอดกาลนาน”

โลหิจจสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. เวรหัญจานิสูตร
ว่าด้วยเวรหัญจานีพราหมณี

[๑๓๓] สมัยหนึ่ง ท่านพระอุทายีอยู่ ณ สวนมะม่วงของโตเทยยพราหมณ์
เขตเมืองกามัณฑะ ครั้งนั้น มาณพผู้เป็นศิษย์ของพราหมณีเวรหัญจานิโคตร
เข้าไปหาท่านพระอุทายีถึงที่อยู่ ได้สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจพอเป็นที่
ระลึกถึงกันแล้ว นั่ง ณ ที่สมควร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๑๖๔ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๓. ตติยปัณณาสก์ ๓. คหปติวรรค ๑๐. เวรหัญจานิสูตร

ท่านพระอุทายีได้ชี้แจงให้มาณพนั้นเห็นชัด ชวนใจให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ
เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริงด้วยธรรมีกถา
ครั้งนั้น มาณพผู้ที่พระอุทายีชี้แจงให้เห็นชัด ชวนใจให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ
เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริงด้วยธรรมีกถาแล้ว ลุกขึ้น
จากอาสนะเข้าไปหาพราหมณีเวรหัญจานิโคตรถึงที่อยู่ แล้วได้กล่าวกับพราหมณี
เวรหัญจานิโคตรดังนี้ว่า
“ขอแม่เจ้าผู้เจริญโปรดทราบ พระอุทายีแสดงธรรมมีความงามในเบื้องต้น
มีความงามในท่ามกลาง และมีความงามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้ง
อรรถและพยัญชนะ บริสุทธิ์บริบูรณ์ครบถ้วน”
พราหมณีเวรหัญจานิโคตรกล่าวว่า “พ่อมาณพ ถ้าเช่นนั้น เธอจงนิมนต์
พระอุทายีตามคำของฉัน เพื่อฉันภัตตาหารในวันพรุ่งนี้”
มาณพนั้นรับคำแล้วเข้าไปหาท่านพระอุทายีถึงที่อยู่ ได้กราบเรียนท่านพระ
อุทายีดังนี้ว่า “นัยว่า ขอท่านพระอุทายี โปรดรับภัตตาหารของพราหมณี
เวรหัญจานิโคตรผู้เป็นภรรยาของอาจารย์ของพวกกระผมในวันพรุ่งนี้เถิด”
ท่านพระอุทายีรับนิมนต์โดยดุษณีภาพ ครั้นคืนนั้นผ่านไป ตอนเช้า ท่าน
พระอุทายีครองอันตรวาสก ถือบาตรและจีวรเข้าไปยังนิเวศน์ของพราหมณี
เวรหัญจานิโคตร นั่งบนอาสนะที่ปูลาดไว้แล้ว
ลำดับนั้น พราหมณีเวรหัญจานิโคตรได้นำของขบฉันอันประณีตประเคนท่าน
พระอุทายีให้อิ่มหนำด้วยตนเอง เมื่อท่านพระอุทายีฉันเสร็จวางมือจากบาตรแล้ว
จึงสวมรองเท้านั่งคลุมศีรษะบนอาสนะสูง ได้กล่าวกับท่านพระอุทายีดังนี้ว่า “ท่าน
จงกล่าวสมณธรรมสิ”
ท่านพระอุทายีกล่าวว่า “ยังมีเวลา น้องหญิง” ลุกขึ้นจากอาสนะแล้วจากไป
แม้ครั้งที่ ๒ มาณพนั้นก็เข้าไปหาท่านพระอุทายีถึงที่อยู่ ได้สนทนาปราศรัย
พอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้ว นั่ง ณ ที่สมควร ท่านพระอุทายีได้ชี้แจง
ให้มาณพนั้นเห็นชัด ชวนใจให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า
ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริงด้วยธรรมีกถา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๑๖๕ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๓. ตติยปัณณาสก์ ๓. คหปติวรรค ๑๐. เวรหัญจานิสูตร

แม้ครั้งที่ ๒ มาณพนั้นผู้ที่พระอุทายีชี้แจงให้เห็นชัด ชวนใจให้อยากรับเอา
ไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริงด้วยธรรมีกถา
แล้ว ลุกขึ้นจากอาสนะเข้าไปหาพราหมณีเวรหัญจานิโคตรถึงที่อยู่แล้ว ได้กล่าวกับ
เวรหัญจานิโคตรดังนี้ว่า
“ขอแม่เจ้าผู้เจริญโปรดทราบ พระอุทายีแสดงธรรม มีความงามในเบื้องต้น
มีความงามในท่ามกลาง และมีความงามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้ง
อรรถและพยัญชนะ บริสุทธิ์บริบูรณ์ครบถ้วน”
พราหมณีเวรหัญจานิโคตรกล่าวว่า “พ่อมาณพ ก็เธอกล่าวถึงคุณของพระ
อุทายีอย่างนี้ ส่วนพระอุทายีพอเรากล่าวว่า ‘ท่านจงกล่าวธรรมสิ’ ก็กล่าวว่า
‘ยังมีเวลา น้องหญิง’ แล้วลุกขึ้นจากอาสนะแล้วจากไป”
มาณพนั้นกล่าวว่า “ข้าแต่แม่เจ้า ที่เป็นอย่างนั้น ก็เพราะว่าแม่เจ้าสวม
รองเท้า นั่งคลุมศีรษะบนอาสนะสูง ทั้งได้กล่าวดังนี้ว่า ‘ท่านจงกล่าวสมณธรรมสิ’
ความจริงท่านผู้เจริญเหล่านั้นเป็นผู้หนักในธรรม เคารพในธรรม”
พราหมณีเวรหัญจานิโคตรกล่าวว่า “พ่อมาณพ ถ้าเช่นนั้น เธอจงนิมนต์
พระอุทายีตามคำของฉันเพื่อฉันภัตตาหารในวันพรุ่งนี้”
มาณพนั้นรับคำแล้วเข้าไปหาท่านพระอุทายีถึงที่อยู่ ได้กราบเรียนท่านพระ
อุทายีดังนี้ว่า “นัยว่า ขอท่านพระอุทายี โปรดรับภัตตาหารของนางพราหมณี
เวรหัญจานิโคตรผู้เป็นภรรยาของอาจารย์ของพวกกระผมในวันพรุ่งนี้เถิด”
ท่านพระอุทายีรับนิมนต์โดยดุษณีภาพ
ครั้นคืนนั้นผ่านไป ตอนเช้า ท่านพระอุทายีครองอันตรวาสก ถือบาตรและ
จีวร เข้าไปยังนิเวศน์ของพราหมณีเวรหัญจานิโคตร นั่งบนอาสนะที่ปูลาดไว้แล้ว
ลำดับนั้น พราหมณีเวรหัญจานิโคตรได้นำของขบฉันอันประณีตประเคนท่าน
พระอุทายีให้อิ่มหนำด้วยตนเอง เมื่อท่านพระอุทายีฉันเสร็จวางมือจากบาตรแล้วจึง
ถอดรองเท้า นั่งบนอาสนะต่ำ เปิดผ้าคลุมศีรษะแล้วได้เรียนถามท่านพระอุทายี
ดังนี้ว่า “ท่านเจ้าข้า เมื่อมีอะไร พระอรหันต์ทั้งหลายจึงบัญญัติสุขและทุกข์ เมื่อ
ไม่มีอะไร พระอรหันต์ทั้งหลายจึงไม่บัญญัติสุขและทุกข์”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๑๖๖ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๓. ตติยปัณณาสก์ ๓. คหปติวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

ท่านพระอุทายีตอบว่า “น้องหญิง เมื่อมีจักขุ พระอรหันต์ทั้งหลายจึง
บัญญัติสุขและทุกข์ เมื่อไม่มีจักขุ พระอรหันต์ทั้งหลายก็ไม่บัญญัติสุขและทุกข์ ฯลฯ
เมื่อมีชิวหา พระอรหันต์ทั้งหลายจึงบัญญัติสุขและทุกข์ เมื่อไม่มีชิวหา พระ
อรหันต์ทั้งหลายก็ไม่บัญญัติสุขและทุกข์ ฯลฯ
เมื่อมีมโน พระอรหันต์ทั้งหลายจึงบัญญัติสุขและทุกข์ เมื่อไม่มีมโน พระ
อรหันต์ทั้งหลายก็ไม่บัญญัติสุขและทุกข์” เมื่อท่านพระอุทายีกล่าวอย่างนี้แล้ว
พราหมณีเวรหัญจานิโคตรได้กล่าวกับท่านพระอุทายีดังนี้ว่า “ท่านผู้เจริญ
ภาษิตของท่านชัดเจนไพเราะยิ่งนัก ท่านผู้เจริญ ภาษิตของท่านชัดเจนไพเราะยิ่งนัก
พระคุณเจ้าอุทายีประกาศธรรมแจ่มแจ้งโดยประการต่าง ๆ เปรียบเหมือนบุคคลหงาย
ของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางแก่ผู้หลงทาง หรือตามประทีปในที่มืดด้วยตั้งใจว่า
‘คนมีตาดีจักเห็นรูปได้’ ดิฉันนี้ขอถึงพระผู้มีพระภาคพร้อมทั้งพระธรรมและพระ
สงฆ์เป็นสรณะ ขอพระคุณเจ้าจงจำดิฉันว่าเป็นอุบาสิกาผู้ถึงสรณะตั้งแต่วันนี้เป็นต้น
ไปจนตลอดชีวิต”

เวรหัญจานิสูตรที่ ๑๐ จบ
คหปติวรรคที่ ๓ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้

๑. เวสาลีสูตร ๒. วัชชีสูตร
๓. นาฬันทสูตร ๔. ภารทวาชสูตร
๕. โสณสูตร ๖. โฆสิตสูตร
๗. หาลิททกานิสูตร ๘. นกุลปิตุสูตร
๙. โลหิจจสูตร ๑๐. เวรหัญจานิสูตร


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๓. ตติยปัณณาสก์ ๔. เทวทหวรรค ๑. เทวทหสูตร

๔. เทวทหวรรค
หมวดว่าด้วยเทวทหนิคม
๑. เทวทหสูตร
ว่าด้วยเทวทหนิคม

[๑๓๔] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ เทวทหนิคมของเจ้าศากยะ
ทั้งหลาย แคว้นสักกะ ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า
“ภิกษุทั้งหลาย เราไม่กล่าวว่า ‘ความไม่ประมาทในผัสสายตนะ ๖ ประการ
อันภิกษุทุกรูปควรทำแท้’ แต่เราก็ไม่กล่าวว่า ‘ความไม่ประมาทในผัสสายตนะ ๖
ประการ อันภิกษุทุกรูปไม่ควรทำเลย’
ภิกษุเหล่าใดเป็นพระอรหันตขีณาสพ อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำ
เสร็จแล้ว ปลงภาระได้แล้ว บรรลุประโยชน์ตน๑โดยลำดับแล้ว สิ้นภวสังโยชน์๒
หลุดพ้นเพราะรู้โดยชอบ ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวว่า ‘ความไม่ประมาทใน
ผัสสายตนะ ๖ ประการ อันภิกษุเหล่านั้นไม่ควรทำ’
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะความไม่ประมาทภิกษุเหล่านั้นกระทำแล้ว ภิกษุเหล่านั้นไม่ควรประมาท
ส่วนภิกษุเหล่าใดเป็นเสขะ (ผู้ยังต้องศึกษา) ยังไม่บรรลุอรหัตตผล ปรารถนา
ธรรมเป็นแดนเกษมจากโยคะ๓อันยอดเยี่ยมอยู่ เรากล่าวว่า ‘ความไม่ประมาทใน
ผัสสายตนะ ๖ ประการ อันภิกษุเหล่านั้นควรทำ’
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะรูปที่พึงรู้แจ้งทางตา น่ารื่นรมย์ใจบ้าง ไม่น่ารื่นรมย์ใจบ้างมีอยู่ รูป
เหล่านั้นกระทบแล้วๆ ย่อมไม่ครอบงำจิตของบุคคลนั้นอยู่ เพราะไม่ครอบงำจิต


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๓. ตติยปัณณาสก์ ๔. เทวทหวรรค ๒. ขณสูตร

บุคคลจึงปรารภความเพียร๑ ไม่ย่อหย่อน มีสติตั้งมั่น ไม่หลงลืม มีกายสงบ ไม่
กระสับกระส่าย มีจิตแน่วแน่เป็นสมาธิ เราเห็นผลแห่งความไม่ประมาทนี้ จึงกล่าว
ว่า ‘ความไม่ประมาทในผัสสายตนะ ๖ ประการ อันภิกษุเหล่านั้นควรทำแท้’ ฯลฯ
รสที่พึงรู้แจ้งทางลิ้น น่ารื่นรมย์ใจบ้าง ไม่น่ารื่นรมย์ใจบ้างมีอยู่ รสเหล่านั้น
กระทบแล้ว ๆ ย่อมไม่ครอบงำจิตของบุคคลนั้นอยู่ เพราะไม่ครอบงำจิต บุคคลจึง
ปรารภความเพียร ไม่ย่อหย่อน มีสติตั้งมั่น ไม่หลงลืม มีกายสงบ ไม่กระสับ
กระส่าย มีจิตแน่วแน่เป็นสมาธิ เราเห็นผลแห่งความไม่ประมาทนี้ จึงกล่าวว่า
‘ความไม่ประมาทในผัสสายตนะ ๖ ประการ อันภิกษุเหล่านั้นควรทำแท้’ ฯลฯ
ธรรมารมณ์ที่พึงรู้แจ้งทางใจ น่ารื่นรมย์ใจบ้าง ไม่น่ารื่นรมย์ใจบ้างมีอยู่
ธรรมารมณ์นั้นกระทบแล้ว ๆ ย่อมไม่ครอบงำจิตของบุคคลนั้นอยู่ เพราะไม่ครอบงำจิต
บุคคลจึงปรารภความเพียร ไม่ย่อหย่อน มีสติตั้งมั่น ไม่หลงลืม มีกายสงบ ไม่
กระสับกระส่าย มีจิตแน่วแน่เป็นสมาธิ เราเห็นผลแห่งความไม่ประมาทนี้ จึงกล่าวว่า
‘ความไม่ประมาทในผัสสายตนะ ๖ ประการ อันภิกษุเหล่านั้นควรทำแท้”

เทวทหสูตรที่ ๑ จบ

๒. ขณสูตร
ว่าด้วยขณะ

[๑๓๕] “ภิกษุทั้งหลาย เป็นลาภของเธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายได้ดีแล้ว ที่เธอ
ทั้งหลายได้ขณะเพื่อประพฤติพรหมจรรย์ เราเห็นนรก๒ ชื่อว่าผัสสายตนิกะ ๖ ขุม


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๓. ตติยปัณณาสก์ ๔. เทวทหวรรค ๒. ขณสูตร

ในนรกทั้ง ๖ ขุมนั้น สัตว์ย่อมเห็นรูปอย่างใดอย่างหนึ่งทางตาได้ แต่เห็นได้เฉพาะ
รูปที่ไม่น่าปรารถนา ไม่เห็นรูปที่น่าปรารถนา เห็นได้เฉพาะรูปที่ไม่น่าใคร่ ไม่เห็น
รูปที่น่าใคร่ เห็นได้เฉพาะรูปที่ไม่น่าพอใจ ไม่เห็นรูปที่น่าพอใจ
ฟังเสียงอย่างใดอย่างหนึ่งทางหูได้ ฯลฯ
ดมกลิ่นอย่างใดอย่างหนึ่งทางจมูกได้ ฯลฯ
ลิ้มรสอย่างใดอย่างหนึ่งทางลิ้นได้ ฯลฯ
ถูกต้องโผฏฐัพพะอย่างใดอย่างหนึ่งทางกายได้ ฯลฯ
รู้แจ้งธรรมารมณ์อย่างใดอย่างหนึ่งทางใจได้ แต่รู้แจ้งได้เฉพาะธรรมารมณ์ที่
ไม่น่าปรารถนา ไม่รู้แจ้งธรรมารมณ์ที่น่าปรารถนา รู้แจ้งได้เฉพาะธรรมารมณ์ที่ไม่
น่าใคร่ ไม่รู้แจ้งธรรมารมณ์ที่น่าใคร่ รู้แจ้งได้เฉพาะธรรมารมณ์ที่ไม่น่าพอใจ ไม่รู้
แจ้งธรรมารมณ์ที่น่าพอใจ
ภิกษุทั้งหลาย เป็นลาภของเธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายได้ดีแล้ว ที่เธอทั้งหลาย
ได้ขณะเพื่อประพฤติพรหมจรรย์ เราได้เห็นสวรรค์๑ ชื่อว่าผัสสายตนิกะ ๖ ชั้นแล้ว
ในสวรรค์ทั้ง ๖ ชั้นนั้น บุคคลย่อมเห็นรูปอย่างใดอย่างหนึ่งทางตาได้ แต่เห็นได้
เฉพาะรูปที่น่าปรารถนา ไม่เห็นรูปที่ไม่น่าปรารถนา เห็นได้เฉพาะรูปที่น่าใคร่ ไม่
เห็นรูปที่ไม่น่าใคร่ เห็นได้เฉพาะรูปที่น่าพอใจ ไม่เห็นรูปที่ไม่น่าพอใจ ฯลฯ
ลิ้มรสอย่างใดอย่างหนึ่งทางลิ้นได้ ฯลฯ
รู้แจ้งธรรมารมณ์อย่างใดอย่างหนึ่งทางใจได้ แต่รู้แจ้งได้เฉพาะธรรมารมณ์ที่
น่าปรารถนา ไม่รู้แจ้งธรรมารมณ์ที่ไม่น่าปรารถนา รู้แจ้งได้เฉพาะธรรมารมณ์ที่
น่าใคร่ ไม่รู้แจ้งธรรมารมณ์ที่ไม่น่าใคร่ รู้แจ้งได้เฉพาะธรรมารมณ์ที่น่าพอใจ ไม่รู้
แจ้งธรรมารมณ์ที่ไม่น่าพอใจ
ภิกษุทั้งหลาย เป็นลาภของเธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายได้ดีแล้ว ที่เธอทั้งหลาย
ได้ขณะเพื่อประพฤติพรหมจรรย์”

ขณสูตรที่ ๒ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๓. ตติยปัณณาสก์ ๔. เทวทหวรรค ๓. ปฐมรูปารามสูตร

๓. ปฐมรูปารามสูตร
ว่าด้วยผู้ยินดีในรูป สูตรที่ ๑

[๑๓๖] “ภิกษุทั้งหลาย เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายเป็นผู้ยินดีในรูป รื่นรมย์
ในรูป เพลิดเพลินในรูป เพราะรูปแปรผัน คลายไป และดับไป เทวดาและ
มนุษย์ทั้งหลายจึงอยู่เป็นทุกข์
เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายเป็นผู้ยินดีในสัททะ รื่นรมย์ในสัททะ เพลิดเพลิน
ในสัททะ เพราะสัททะแปรผัน คลายไป และดับไป เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายจึง
อยู่เป็นทุกข์
ยินดีในคันธะ ... ยินดีในรส ... ยินดีในโผฏฐัพพะ ... ยินดีในธรรมารมณ์
รื่นรมย์ในธรรมารมณ์ เพลิดเพลินในธรรมารมณ์ เพราะธรรมารมณ์แปรผัน คลายไป
และดับไป พวกเทวดาและมนุษย์จึงอยู่เป็นทุกข์
ภิกษุทั้งหลาย ส่วนตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้ารู้แจ้งความเกิด ความดับ
คุณ โทษ และเครื่องสลัดออกจากรูปทั้งหลายตามความเป็นจริง ไม่ยินดีในรูป
ไม่รื่นรมย์ในรูป ไม่เพลิดเพลินในรูป เพราะรูปแปรผัน คลายไป และดับไป
ตถาคตจึงอยู่เป็นสุข
ตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้ารู้แจ้งความเกิด ความดับ คุณ โทษ และ
เครื่องสลัดออกจากสัททะ ... คันธะ ... รส ... โผฏฐัพพะ ... รู้แจ้งความเกิด
ความดับ คุณ โทษ และเครื่องสลัดออกจากธรรมารมณ์ตามความเป็นจริง ไม่
ยินดีในธรรมารมณ์ ไม่รื่นรมย์ในธรรมารมณ์ ไม่เพลิดเพลินในธรรมารมณ์ เพราะ
ธรรมารมณ์แปรผัน คลายไป และดับไป ตถาคตจึงอยู่เป็นสุข”
พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดาได้ตรัสเวยยากรณภาษิตนี้แล้วจึงได้ตรัสคาถา
ประพันธ์ต่อไปอีกว่า
“รูป สัททะ คันธะ รส โผฏฐัพพะ และธรรมารมณ์
ล้วนน่าปรารถนา น่าใคร่ และน่าพอใจ
ที่กล่าวกันว่า มีอยู่ประมาณเท่าใด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๑๗๑ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๓. ตติยปัณณาสก์ ๔. เทวทหวรรค ๓. ปฐมรูปารามสูตร

รูปเป็นต้นเหล่านั้นแลเป็นสิ่งที่ชาวโลก
พร้อมทั้งเทวโลกสมมติว่าเป็นสุข
ถ้ารูปเป็นต้นเหล่านั้นดับในที่ใด
ที่นั้น เทวดาและมนุษย์เหล่านั้นก็สมมติกันว่าเป็นทุกข์
ส่วนอริยบุคคลทั้งหลายเห็นการดับสักกายะว่าเป็นสุข
การเห็นของอริยบุคคลทั้งหลายผู้เห็นอยู่นี้
ย่อมขัดแย้งกับชาวโลกทั้งปวง
บุคคลเหล่าอื่นกล่าวสิ่งใดว่าเป็นสุข
อริยบุคคลทั้งหลายกล่าวสิ่งนั้นว่าเป็นทุกข์
บุคคลเหล่าอื่นกล่าวสิ่งใดว่าเป็นทุกข์
อริยบุคคลทั้งหลายรู้แจ้งสิ่งนั้นว่าเป็นสุข
เธอจงเห็นธรรมที่รู้ได้ยาก
คนพาลผู้หลง ไม่รู้แจ้งในนิพพานนี้
ความมืดปรากฏแก่บุคคลผู้ถูกนิวรณ์คือกิเลสหุ้มห่อไว้
(เหมือน) ความมืดปรากฏแก่บุคคลผู้ไม่เห็นฉะนั้น
แต่นิพพานย่อมปรากฏแจ่มแจ้งแก่สัตบุรุษ
เหมือนแสงสว่างปรากฏแก่บุคคลผู้เห็นอยู่ฉะนั้น
ชนทั้งหลายผู้แสวงหาทาง ไม่ฉลาดในธรรม
ย่อมไม่รู้แจ้ง (นิพพาน) ที่อยู่ใกล้
บุคคลผู้ถูกความกำหนัดในภพครอบงำ
แล่นไปตามกระแส (ตัณหา) ในภพ
ถูกบ่วงมารคล้องไว้ จะไม่รู้ธรรมนี้ได้ง่าย
เว้นอริยบุคคลทั้งหลายแล้ว ใครเล่าควรจะตรัสรู้บท๑
ที่อริยบุคคลทั้งหลายตรัสรู้ชอบแล้วไม่มีอาสวะปรินิพพาน”

ปฐมรูปารามสูตรที่ ๓ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๓. ตติยปัณณาสก์ ๔. เทวทหวรรค ๕. ปฐมนตุมหากสูตร

๔. ทุติยรูปารามสูตร
ว่าด้วยผู้ยินดีในรูป สูตรที่ ๒

[๑๓๗] “ภิกษุทั้งหลาย เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายเป็นผู้ยินดีในรูป รื่นรมย์
ในรูป เพลิดเพลินในรูป เพราะรูปแปรผัน คลายไป และดับไป เทวดาและ
มนุษย์ทั้งหลายจึงอยู่เป็นทุกข์
เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายเป็นผู้ยินดีในสัททะ ฯลฯ ยินดีในคันธะ ... ยินดีใน
รส ... ยินดีในโผฏฐัพพะ .... ยินดีในธรรมารมณ์ รื่นรมย์ในธรรมารมณ์ เพลิดเพลิน
ในธรรมารมณ์ เพราะธรรมารมณ์แปรผัน คลายไป และดับไป เทวดาและมนุษย์
ทั้งหลายจึงอยู่เป็นทุกข์
ส่วนตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้ารู้แจ้งความเกิด ความดับ คุณ โทษ
และเครื่องสลัดออกจากรูปตามความเป็นจริง ไม่ยินดีในรูป ไม่รื่นรมย์ในรูป ไม่
เพลิดเพลินในรูป เพราะรูปแปรผัน คลายไป และดับไป ตถาคตจึงอยู่เป็นสุข
ตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้ารู้แจ้งความเกิด ความดับ คุณ โทษ และ
เครื่องสลัดออกจากสัททะ ฯลฯ คันธะ ... รส ... โผฏฐัพพะ ... ตถาคตอรหันต-
สัมมาสัมพุทธเจ้ารู้แจ้งความเกิด ความดับ คุณ โทษ และเครื่องสลัดออกจาก
ธรรมารมณ์ ตามความเป็นจริง ไม่ยินดีในธรรมารมณ์ ไม่รื่นรมย์ในธรรมารมณ์
ไม่เพลิดเพลินในธรรมารมณ์ เพราะธรรมารมณ์แปรผัน คลายไป และดับไป
ตถาคตจึงอยู่เป็นสุข”

ทุติยรูปารามสูตรที่ ๔ จบ

๕. ปฐมนตุมหากสูตร
ว่าด้วยสิ่งที่ไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย สูตรที่ ๑

[๑๓๘] “ภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงละสิ่งนั้น
สิ่งที่เธอทั้งหลายละได้แล้วนั้นจักเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูลเพื่อความสุข

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๑๗๓ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๓. ตติยปัณณาสก์ ๔. เทวทหวรรค ๕. ปฐมนตุมหากสูตร

ก็อะไรเล่าชื่อว่าไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย
คือ จักขุไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงละจักขุนั้น จักขุที่เธอ
ทั้งหลายละได้แล้วนั้นจักเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูลเพื่อความสุข ฯลฯ
ชิวหาไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงละชิวหานั้น ชิวหาที่เธอทั้งหลาย
ละได้แล้วนั้นจักเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูลเพื่อความสุข ฯลฯ
มโนไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงละมโนนั้น มโนที่เธอทั้งหลายละได้
แล้วนั้นจักเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูลเพื่อความสุข
เปรียบเหมือนคนพึงนำหญ้า ไม้ กิ่งไม้ และใบไม้ที่มีอยู่ในเชตวันนี้ไป เผา หรือ
จัดการไปตามเรื่อง เธอทั้งหลายจะพึงมีความคิดอย่างนี้บ้างไหมว่า ‘คนนำเรา
ทั้งหลายไป เผา หรือจัดการไปตามเรื่อง”
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า “ไม่มีเลย พระพุทธเจ้าข้า”
“ข้อนั้นเพราะเหตุไร”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เพราะหญ้าเป็นต้นนั้นไม่ใช่อัตตาหรือสิ่งที่เนื่องด้วย
อัตตา”
“ภิกษุทั้งหลาย อุปมานี้แม้ฉันใด อุปไมยก็ฉันนั้นเหมือนกัน จักขุไม่ใช่ของ
เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงละจักขุนั้น จักขุที่เธอทั้งหลายละได้แล้วนั้นจักเป็นไป
เพื่อประโยชน์เกื้อกูลเพื่อความสุข ฯลฯ
ชิวหาไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงละชิวหานั้น ชิวหาที่เธอทั้งหลาย
ละได้แล้วนั้นจักเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูลเพื่อความสุข ฯลฯ
มโนไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงละมโนนั้น มโนที่เธอทั้งหลายละได้
แล้วนั้นจักเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูลเพื่อความสุข”

ปฐมนตุมหากสูตรที่ ๕ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๓. ตติยปัณณาสก์ ๔. เทวทหวรรค ๗. อัชฌัตตอนิจจเหตุสูตร

๖. ทุติยนตุมหากสูตร
ว่าด้วยสิ่งที่ไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย สูตรที่ ๒

[๑๓๙] “ภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงละสิ่งนั้น
สิ่งที่เธอทั้งหลายละได้แล้วนั้นจักเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูลเพื่อความสุข
ก็อะไรเล่าชื่อว่าไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย
คือ รูปไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงละรูปนั้น รูปที่เธอทั้งหลายละ
ได้แล้วนั้นจักเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูลเพื่อความสุข
สัททะ ฯลฯ คันธะ ... รส ... โผฏฐัพพะ ... ธรรมารมณ์ไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย
เธอทั้งหลายจงละธรรมารมณ์นั้น ธรรมารมณ์ที่เธอทั้งหลายละได้แล้วนั้นจักเป็นไป
เพื่อประโยชน์เกื้อกูลเพื่อความสุข
ภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนคนพึงนำหญ้า ไม้ กิ่งไม้ และใบไม้ที่มีอยู่ใน
เชตวันนี้ ฯลฯ ภิกษุทั้งหลาย อุปมานี้แม้ฉันใด อุปไมยก็ฉันนั้นเหมือนกัน รูป
ไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงละรูปนั้น รูปที่เธอทั้งหลายละได้แล้วนั้นจัก
เป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูลเพื่อความสุข”

ทุติยนตุมหากสูตรที่ ๖ จบ

๗. อัชฌัตตอนิจจเหตุสูตร
ว่าด้วยเหตุเกิดแห่งอายตนะภายในไม่เที่ยง

[๑๔๐] “ภิกษุทั้งหลาย จักขุไม่เที่ยง แม้เหตุปัจจัยเพื่อความเกิดขึ้นแห่งจักขุ
ก็ไม่เที่ยง จักขุที่เกิดจากเหตุที่ไม่เที่ยง ที่ไหนจักเที่ยงเล่า ฯลฯ
ชิวหาไม่เที่ยง แม้เหตุปัจจัยเพื่อความเกิดขึ้นแห่งชิวหาก็ไม่เที่ยง ชิวหาที่เกิด
จากเหตุที่ไม่เที่ยง ที่ไหนจักเที่ยงเล่า ฯลฯ
มโนไม่เที่ยง แม้เหตุปัจจัยเพื่อความเกิดขึ้นแห่งมโนก็ไม่เที่ยง มโนที่เกิดจาก
เหตุที่ไม่เที่ยง ที่ไหนจักเที่ยงเล่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๑๗๕ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๓. ตติยปัณณาสก์ ๔. เทวทหวรรค ๙. อัชฌัตตานัตตเหตุสูตร

ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในจักขุ
ฯลฯ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในชิวหา ฯลฯ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในมโน เมื่อเบื่อหน่าย
ย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัดจิตย่อมหลุดพ้น เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว ก็รู้ว่า
‘หลุดพ้นแล้ว’ รู้ชัดว่า ‘ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว
ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป”

อัชฌัตตอนิจจเหตุสูตรที่ ๗ จบ

๘. อัชฌัตตทุกขเหตุสูตร
ว่าด้วยเหตุเกิดแห่งอายตนะภายในเป็นทุกข์

[๑๔๑] “ภิกษุทั้งหลาย จักขุเป็นทุกข์ แม้เหตุปัจจัยเพื่อความเกิดขึ้นแห่ง
จักขุก็เป็นทุกข์ จักขุที่เกิดจากเหตุที่เป็นทุกข์ ที่ไหนจักเป็นสุขเล่า ฯลฯ
ชิวหาเป็นทุกข์ แม้เหตุปัจจัยเพื่อความเกิดขึ้นแห่งชิวหาก็เป็นทุกข์ ชิวหาที่
เกิดจากเหตุที่เป็นทุกข์ ที่ไหนจักเป็นสุขเล่า ฯลฯ
มโนเป็นทุกข์ แม้เหตุปัจจัยเพื่อความเกิดขึ้นแห่งมโนก็เป็นทุกข์ มโนที่เกิดจาก
เหตุที่เป็นทุกข์ ที่ไหนจักเป็นสุขเล่า
ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ฯลฯ รู้ชัดว่า ... ไม่มีกิจ
อื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป”

อัชฌัตตทุกขเหตุสูตรที่ ๘ จบ

๙. อัชฌัตตานัตตเหตุสูตร
ว่าด้วยเหตุเกิดแห่งอายตนะภายในเป็นอนัตตา

[๑๔๒] “ภิกษุทั้งหลาย จักขุเป็นอนัตตา แม้เหตุปัจจัยเพื่อความเกิดขึ้นแห่ง
จักขุก็เป็นอนัตตา จักขุที่เกิดจากเหตุที่เป็นอนัตตา ที่ไหนจักเป็นอัตตาเล่า ฯลฯ
ชิวหาเป็นอนัตตา แม้เหตุปัจจัยเพื่อความเกิดขึ้นแห่งชิวหาก็เป็นอนัตตา ชิวหา
ที่เกิดจากเหตุที่เป็นอนัตตา ที่ไหนจักเป็นอัตตาเล่า ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๑๗๖ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๓. ตติยปัณณาสก์ ๔. เทวทหวรรค ๑๑. พาหิรทุกขเหตุสูตร

มโนเป็นอนัตตา แม้เหตุปัจจัยเพื่อความเกิดขึ้นแห่งมโนก็เป็นอนัตตา มโนที่
เกิดจากเหตุที่เป็นอนัตตา ที่ไหนจักเป็นอัตตาเล่า
ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ฯลฯ รู้ชัดว่า ... ไม่มีกิจ
อื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป”

อัชฌัตตานัตตเหตุสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. พาหิรานิจจเหตุสูตร
ว่าด้วยเหตุเกิดแห่งอายตนะภายนอกไม่เที่ยง

[๑๔๓] “ภิกษุทั้งหลาย รูปไม่เที่ยง แม้เหตุปัจจัยเพื่อความเกิดขึ้นแห่งรูปก็
ไม่เที่ยง รูปที่เกิดจากเหตุที่ไม่เที่ยง ที่ไหนจักเที่ยงเล่า
สัททะ ฯลฯ คันธะ ... รส ... โผฏฐัพพะ ... ธรรมารมณ์ไม่เที่ยง แม้
เหตุปัจจัยเพื่อความเกิดขึ้นแห่งธรรมารมณ์ก็ไม่เที่ยง ธรรมารมณ์ที่เกิดจากเหตุที่ไม่
เที่ยง ที่ไหนจักเที่ยงเล่า
ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ฯลฯ รู้ชัดว่า ... ไม่มีกิจ
อื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป”

พาหิรานิจจเหตุสูตรที่ ๑๐ จบ

๑๑. พาหิรทุกขเหตุสูตร
ว่าด้วยเหตุเกิดแห่งอายตนะภายนอกเป็นทุกข์

[๑๔๔] “ภิกษุทั้งหลาย รูปเป็นทุกข์ แม้เหตุปัจจัยเพื่อความเกิดขึ้นแห่งรูปก็
เป็นทุกข์ รูปที่เกิดจากเหตุที่เป็นทุกข์ ที่ไหนจักเป็นสุขเล่า
สัททะ ฯลฯ คันธะ ... รส ... โผฏฐัพพะ ... ธรรมารมณ์เป็นทุกข์ แม้
เหตุปัจจัยเพื่อความเกิดขึ้นแห่งธรรมารมณ์ก็เป็นทุกข์ ธรรมารมณ์ที่เกิดจากเหตุที่
เป็นทุกข์ ที่ไหนจักเป็นสุขเล่า
ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ฯลฯ รู้ชัดว่า ... ไม่มีกิจ
อื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป”

พาหิรทุกขเหตุสูตรที่ ๑๑ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๓. ตติยปัณณาสก์ ๔. เทวทหวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

๑๒. พาหิรานัตตเหตุสูตร
ว่าด้วยเหตุเกิดแห่งอายตนะภายนอกเป็นอนัตตา

[๑๔๕] “ภิกษุทั้งหลาย รูปเป็นอนัตตา แม้เหตุปัจจัยเพื่อความเกิดขึ้นแห่ง
รูปก็เป็นอนัตตา รูปที่เกิดจากเหตุที่เป็นอนัตตา ที่ไหนจักเป็นอัตตาเล่า
สัททะ ฯลฯ คันธะ ... รส ... โผฏฐัพพะ ... ธรรมารมณ์เป็นอนัตตา
แม้เหตุปัจจัยเพื่อความเกิดขึ้นแห่งธรรมารมณ์ก็เป็นอนัตตา ธรรมารมณ์ที่เกิดจาก
เหตุที่เป็นอนัตตา ที่ไหนจักเป็นอัตตาเล่า
ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในรูป
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในสัททะ ฯลฯ แม้ในคันธะ ... แม้ในรส ... แม้ในโผฏฐัพพะ ...
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในธรรมารมณ์ เมื่อเบื่อหน่ายย่อมคลายกำหนัด เพราะคลาย
กำหนัด จิตย่อมหลุดพ้น เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว ก็รู้ว่า ‘หลุดพ้นแล้ว’ รู้ชัดว่า
‘ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อ
ความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป”

พาหิรานัตตเหตุสูตรที่ ๑๒ จบ
เทวทหวรรคที่ ๔ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. เทวทหสูตร ๒. ขณสูตร
๓. ปฐมรูปารามสูตร ๔. ทุติยรูปารามสูตร
๕. ปฐมนตุมหากสูตร ๖. ทุติยนตุมหากสูตร
๗. อัชฌัตตอนิจจเหตุสูตร ๘. อัชฌัตตทุกขเหตุสูตร
๙. อัชฌัตตานัตตเหตุสูตร ๑๐. พาหิรานิจจเหตุสูตร
๑๑. พาหิรทุกขเหตุสูตร ๑๒. พาหิรานัตตเหตุสูตร


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๓. ตติยปัณณาสก์ ๕. นวปุราณวรรค ๑. กัมมนิโรธสูตร

๕. นวปุราณวรรค
หมวดว่าด้วยกรรมใหม่และกรรมเก่า
๑. กัมมนิโรธสูตร
ว่าด้วยกรรมและความดับกรรม

[๑๔๖] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงกรรมใหม่และ
กรรมเก่า ความดับกรรม และปฏิปทาที่ให้ถึงความดับกรรม เธอทั้งหลายจงฟัง
จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว
กรรมเก่า เป็นอย่างไร
คือ จักขุ (ตา) บัณฑิตพึงเห็นว่าเป็นกรรมเก่า ถูกปัจจัยปรุงแต่ง สำเร็จด้วย
เจตนา เป็นที่ตั้งแห่งเวทนา ฯลฯ
ชิวหา (ลิ้น) บัณฑิตพึงเห็นว่าเป็นกรรมเก่า ถูกปัจจัยปรุงแต่ง สำเร็จด้วยเจตนา
เป็นที่ตั้งแห่งเวทนา ฯลฯ
มโน (ใจ) บัณฑิตพึงเห็นว่าเป็นกรรมเก่า ถูกปัจจัยปรุงแต่ง สำเร็จด้วยเจตนา
เป็นที่ตั้งแห่งเวทนา
นี้เราเรียกว่า กรรมเก่า
กรรมใหม่ เป็นอย่างไร
คือ กรรมที่บุคคลทำด้วยกาย วาจา ใจ
นี้เราเรียกว่า กรรมใหม่
ความดับกรรม เป็นอย่างไร
คือ นิโรธที่ถูกต้องวิมุตติ เพราะดับกายกรรม วจีกรรม และมโนกรรมได้
นี้เราเรียกว่า ความดับกรรม
ปฏิปทาที่ให้ถึงความดับกรรม อะไรบ้าง
คือ อริยมรรคมีองค์ ๘ ได้แก่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๑๗๙ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๓. ตติยปัณณาสก์ ๕. นวปุราณวรรค ๒. ปฐมนิพพานสัปปายปฏิปทาสูตร

๑. สัมมาทิฏฐิ (เห็นชอบ) ๒. สัมมาสังกัปปะ (ดำริชอบ)
๓. สัมมาวาจา (เจรจาชอบ) ๔. สัมมากัมมันตะ (กระทำชอบ)
๕. สัมมาอาชีวะ (เลี้ยงชีพชอบ) ๖. สัมมาวายามะ (พยายามชอบ)
๗. สัมมาสติ (ระลึกชอบ) ๘. สัมมาสมาธิ (ตั้งจิตมั่นชอบ)

นี้เราเรียกว่า ปฏิปทาที่ให้ถึงความดับกรรม
กรรมเก่าเราได้แสดงแล้ว กรรมใหม่เราได้แสดงแล้ว ความดับกรรมเราได้
แสดงแล้ว และปฏิปทาที่ให้ถึงความดับกรรมเราได้แสดงแล้ว ด้วยประการฉะนี้
ภิกษุทั้งหลาย กิจใดที่ศาสดาผู้แสวงหาประโยชน์เกื้อกูล ผู้อนุเคราะห์พึง
อาศัยความอนุเคราะห์ กระทำแก่สาวกทั้งหลาย กิจนั้นเราก็ได้กระทำแล้วแก่เธอ
ทั้งหลาย ภิกษุทั้งหลาย นั่นโคนไม้ นั่นเรือนว่าง เธอทั้งหลายจงเพ่งพินิจ
อย่าประมาท อย่าได้มีความร้อนใจในภายหลัง
นี้คือคำพร่ำสอนสำหรับเธอทั้งหลายของเรา”

กัมมนิโรธสูตรที่ ๑ จบ

๒. ปฐมนิพพานสัปปายปฏิปทาสูตร
ว่าด้วยปฏิปทาที่เป็นสัปปายะแก่นิพพาน สูตรที่ ๑

[๑๔๗] “ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงปฏิปทาที่เป็นสัปปายะแก่นิพพานแก่เธอ
ทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง ฯลฯ
ปฏิปทาที่เป็นสัปปายะแก่นิพพานนั้น เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเห็นว่า ‘จักขุไม่เที่ยง’ เห็นว่า ‘รูปไม่เที่ยง’ เห็นว่า
‘จักขุวิญญาณไม่เที่ยง’ เห็นว่า ‘จักขุสัมผัสไม่เที่ยง’ เห็นว่า ‘แม้ความเสวยอารมณ์
ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัยก็ไม่เที่ยง’ ฯลฯ
เห็นว่า ‘ชิวหาไม่เที่ยง’ เห็นว่า ‘รสไม่เที่ยง’ เห็นว่า ‘ชิวหาวิญญาณไม่เที่ยง’
เห็นว่า ‘ชิวหาสัมผัสไม่เที่ยง’ เห็นว่า ‘แม้ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์
หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะชิวหาสัมผัสเป็นปัจจัยก็ไม่เที่ยง’ ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๑๘๐ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๓. ตติยปัณณาสก์ ๕. นวปุราณวรรค ๓. ทุติยนิพพานสัปปายปฏิปทาสูตร

เห็นว่า ‘มโนไม่เที่ยง’ เห็นว่า ‘ธรรมารมณ์ไม่เที่ยง’ เห็นว่า ‘มโนวิญญาณ
ไม่เที่ยง’ เห็นว่า ‘มโนสัมผัสไม่เที่ยง’ เห็นว่า ‘แม้ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุข
หรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัยก็ไม่เที่ยง’
ปฏิปทาที่เป็นสัปปายะแก่นิพพานเป็นอย่างนี้แล”

ปฐมนิพพานสัปปายปฏิปทาสูตรที่ ๒ จบ

๓. ทุติยนิพพานสัปปายปฏิปทาสูตร
ว่าด้วยปฏิปทาที่เป็นสัปปายะแก่นิพพาน สูตรที่ ๒

[๑๔๘] “ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงปฏิปทาที่เป็นสัปปายะแก่นิพพานแก่เธอ
ทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง ฯลฯ
ปฏิปทาที่เป็นสัปปายะแก่นิพพานนั้น เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเห็นว่า ‘จักขุเป็นทุกข์’ เห็นว่า ‘รูปเป็น
ทุกข์’ เห็นว่า ‘จักขุวิญญาณเป็นทุกข์’ เห็นว่า ‘จักขุสัมผัสเป็นทุกข์’ เห็นว่า
‘แม้ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะจักขุ-
สัมผัสเป็นปัจจัยก็เป็นทุกข์’ ฯลฯ
เห็นว่า ‘ชิวหาเป็นทุกข์’ ฯลฯ เห็นว่า ‘มโนเป็นทุกข์’ เห็นว่า ‘ธรรมารมณ์
เป็นทุกข์’ เห็นว่า ‘มโนวิญญาณเป็นทุกข์’ เห็นว่า ‘มโนสัมผัสเป็นทุกข์’ เห็นว่า
‘แม้ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะ
มโนสัมผัสเป็นปัจจัยก็เป็นทุกข์’
ภิกษุทั้งหลาย ปฏิปทาที่เป็นสัปปายะแก่นิพพานเป็นอย่างนี้แล”

ทุติยนิพพานสัปปายปฏิปทาสูตรที่ ๓ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๓. ตติยปัณณาสก์ ๕. นวปุราณวรรค ๕. จตุตถนิพพาน...สูตร

๔. ตติยนิพพานสัปปายปฏิปทาสูตร
ว่าด้วยปฏิปทาที่เป็นสัปปายะแก่นิพพาน สูตรที่ ๓

[๑๔๙] “ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงปฏิปทาที่เป็นสัปปายะแก่นิพพานแก่เธอ
ทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง ฯลฯ
ปฏิปทาที่เป็นสัปปายะแก่นิพพานนั้น เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ย่อมเห็นว่า ‘จักขุเป็นอนัตตา’ เห็นว่า ‘รูปเป็นอนัตตา’
เห็นว่า ‘จักขุวิญญาณเป็นอนัตตา’ เห็นว่า ‘จักขุสัมผัสเป็นอนัตตา’ เห็นว่า ‘แม้
ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัส
เป็นปัจจัยก็เป็นอนัตตา’ ฯลฯ
เห็นว่า ‘ชิวหาเป็นอนัตตา’ ฯลฯ เห็นว่า ‘มโนเป็นอนัตตา’ เห็นว่า
‘ธรรมารมณ์เป็นอนัตตา’ เห็นว่า ‘มโนวิญญาณเป็นอนัตตา’ เห็นว่า ‘มโนสัมผัส
เป็นอนัตตา’ เห็นว่า ‘แม้ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์
ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัยก็เป็นอนัตตา’
ภิกษุทั้งหลาย ปฏิปทาที่เป็นสัปปายะแก่นิพพานเป็นอย่างนี้แล”

ตติยนิพพานสัปปายปฏิปทาสูตรที่ ๔ จบ

๕. จตุตถนิพพานสัปปายปฏิปทาสูตร
ว่าด้วยปฏิปทาที่เป็นสัปปายะแก่นิพพาน สูตรที่ ๔

[๑๕๐] “ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงปฏิปทาที่เป็นสัปปายะแก่นิพพานแก่เธอ
ทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง ฯลฯ
ปฏิปทาที่เป็นสัปปายะแก่นิพพานนั้น เป็นอย่างไร
เธอทั้งหลายเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร จักขุเที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๑๘๒ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๓. ตติยปัณณาสก์ ๕. นวปุราณวรรค ๕. จตุตถนิพพาน...สูตร

“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข”
“เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา ควรหรือที่จะพิจารณา
เห็นสิ่งนั้นว่า ‘นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา”
“ข้อนั้นไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า”
“รูปเที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“จักขุวิญญาณ ... จักขุสัมผัส ฯลฯ แม้ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์
หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย เที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข”
“เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา ควรหรือที่จะพิจารณา
เห็นสิ่งนั้นว่า ‘นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา”
“ข้อนั้นไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า”
“อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในจักขุ ย่อมเบื่อหน่าย
แม้ในรูป ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในจักขุวิญญาณ ฯลฯ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในความเสวย
อารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย
เมื่อเบื่อหน่ายย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด จิตย่อมหลุดพ้น ฯลฯ
รู้ชัดว่า ... ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป
ภิกษุทั้งหลาย ปฏิปทาที่เป็นสัปปายะแก่นิพพานเป็นอย่างนี้แล”

จตุตถนิพพานสัปปายปฏิปทาสูตรที่ ๕ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๓. ตติยปัณณาสก์ ๕. นวปุราณวรรค ๖. อันเตวาสิกสูตร

๖. อันเตวาสิกสูตร
ว่าด้วยอันเตวาสิก

[๑๕๑] “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประพฤติพรหมจรรย์นี้ไม่มีอันเตวาสิก๑ ไม่มี
อาจารย์๒ ภิกษุผู้มีอันเตวาสิก มีอาจารย์ ย่อมอยู่เป็นทุกข์ ไม่สบาย ส่วนภิกษุ
ผู้ไม่มีอันเตวาสิก ไม่มีอาจารย์ ย่อมอยู่เป็นสุข สบาย
ภิกษุผู้มีอันเตวาสิก มีอาจารย์ ย่อมอยู่เป็นทุกข์ ไม่สบาย เป็นอย่างไร
คือ ธรรมที่เป็นบาปอกุศล มีความดำริซ่านไป เกื้อกูลแก่สังโยชน์ ย่อม
เกิดขึ้นแก่ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เพราะเห็นรูปทางตา ธรรมที่เป็นบาปอกุศลเหล่านั้น
ย่อมอยู่ภายในของภิกษุนั้น เพราะธรรมที่เป็นบาปอกุศลอยู่ภายในของภิกษุนั้น
เหตุนั้นเราจึงเรียกภิกษุนั้นว่า ‘ผู้มีอันเตวาสิก’ ธรรมที่เป็นบาปอกุศลเหล่านั้นย่อม
ฟุ้งขึ้นท่วมภิกษุนั้น เพราะธรรมที่เป็นบาปอกุศลฟุ้งขึ้นท่วมภิกษุนั้น เหตุนั้นเราจึง
เรียกภิกษุนั้นว่า ‘ผู้มีอาจารย์’ ฯลฯ
อีกประการหนึ่ง ธรรมที่เป็นบาปอกุศล มีความดำริซ่านไป เกื้อกูลแก่สังโยชน์
ย่อมเกิดขึ้นแก่ภิกษุ เพราะลิ้มรสทางลิ้น ธรรมที่เป็นบาปอกุศลย่อมอยู่ภายในของ
ภิกษุนั้น เพราะธรรมที่เป็นบาปอกุศลอยู่ภายในของภิกษุนั้น เหตุนั้นเราจึงเรียก
ภิกษุนั้นว่า ‘ผู้มีอันเตวาสิก’ ธรรมที่เป็นบาปอกุศลเหล่านั้น ย่อมฟุ้งขึ้นท่วมภิกษุ
นั้น เพราะธรรมที่เป็นบาปอกุศลฟุ้งขึ้นท่วมภิกษุนั้น เหตุนั้นเราจึงเรียกภิกษุ
นั้นว่า ‘ผู้มีอาจารย์’ ฯลฯ
อีกประการหนึ่ง ธรรมที่เป็นบาปอกุศล มีความดำริซ่านไป เกื้อกูลแก่สังโยชน์
ย่อมเกิดขึ้นแก่ภิกษุ เพราะรู้แจ้งธรรมารมณ์ทางใจ ธรรมที่เป็นบาปอกุศลเหล่านั้น
ย่อมอยู่ภายในของภิกษุนั้น เพราะธรรมที่เป็นบาปอกุศลอยู่ภายในของภิกษุนั้น เหตุนั้น
เราจึงเรียกภิกษุนั้นว่า ‘ผู้มีอันเตวาสิก’ ธรรมที่เป็นบาปอกุศลเหล่านั้นย่อมฟุ้งขึ้น
ท่วมภิกษุนั้น เพราะธรรมที่เป็นบาปอกุศลฟุ้งขึ้นท่วมภิกษุนั้น เหตุนั้นเราจึงเรียก
ภิกษุนั้นว่า ‘ผู้มีอาจารย์’
ภิกษุผู้มีอันเตวาสิก มีอาจารย์ ย่อมอยู่เป็นทุกข์ ไม่สบาย เป็นอย่างนี้แล


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๓. ตติยปัณณาสก์ ๕. นวปุราณวรรค ๖. อันเตวาสิกสูตร

ส่วนภิกษุผู้ไม่มีอันเตวาสิก ไม่มีอาจารย์ ย่อมอยู่เป็นสุข สบาย เป็นอย่างไร
คือ ธรรมที่เป็นบาปอกุศล มีความดำริซ่านไป เกื้อกูลแก่สังโยชน์ ย่อมไม่
เกิดขึ้นแก่ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เพราะเห็นรูปทางตา ธรรมที่เป็นบาปอกุศลเหล่านั้น
ย่อมไม่อยู่ภายในของภิกษุนั้น เพราะธรรมที่เป็นบาปอกุศลไม่อยู่ภายในของภิกษุนั้น
เหตุนั้นเราจึงเรียกภิกษุนั้นว่า ‘ผู้ไม่มีอันเตวาสิก’ ธรรมที่เป็นบาปอกุศลเหล่านั้น
ย่อมไม่ฟุ้งขึ้นท่วมภิกษุนั้น เพราะธรรมที่เป็นบาปอกุศลไม่ฟุ้งขึ้นท่วมภิกษุนั้น เหตุ
นั้นเราจึงเรียกภิกษุนั้นว่า ‘ผู้ไม่มีอาจารย์’ ฯลฯ
อีกประการหนึ่ง ธรรมที่เป็นบาปอกุศล มีความดำริซ่านไป เกื้อกูลแก่สังโยชน์
ย่อมไม่เกิดขึ้นแก่ภิกษุ เพราะลิ้มรสทางลิ้น ธรรมที่เป็นบาปอกุศลเหล่านั้นย่อม
ไม่อยู่ภายในของภิกษุนั้น เพราะธรรมที่เป็นบาปอกุศลไม่อยู่ภายในของภิกษุนั้น
เหตุนั้นเราจึงเรียกภิกษุนั้นว่า ‘ผู้ไม่มีอันเตวาสิก’ ธรรมที่เป็นบาปอกุศลเหล่านั้น
ย่อมไม่ฟุ้งขึ้นท่วมภิกษุนั้น เพราะธรรมที่เป็นบาปอกุศลไม่ฟุ้งขึ้นท่วมภิกษุนั้น เหตุ
นั้นเราจึงเรียกภิกษุนั้นว่า ‘ผู้ไม่มีอาจารย์’ ฯลฯ
อีกประการหนึ่ง ธรรมที่เป็นบาปอกุศล มีความดำริซ่านไป เกื้อกูลแก่สังโยชน์
ย่อมไม่เกิดขึ้นแก่ภิกษุ เพราะรู้แจ้งธรรมารมณ์ทางใจ ธรรมที่เป็นบาปอกุศล
เหล่านั้นย่อมไม่อยู่ภายในของภิกษุนั้น เพราะธรรมที่เป็นบาปอกุศลไม่อยู่ภายใน
ของภิกษุนั้น เหตุนั้น เราจึงเรียกภิกษุนั้นว่า ‘ผู้ไม่มีอันเตวาสิก’ ธรรมที่เป็นบาป
อกุศลย่อมไม่ฟุ้งขึ้นท่วมภิกษุนั้น เพราะธรรมที่เป็นบาปอกุศลไม่ฟุ้งขึ้นท่วมภิกษุนั้น
เหตุนั้นเราจึงเรียกภิกษุนั้นว่า ‘ผู้ไม่มีอาจารย์’
ภิกษุผู้ไม่มีอันเตวาสิก ไม่มีอาจารย์ ย่อมอยู่เป็นสุข สบาย เป็นอย่างนี้แล
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประพฤติพรหมจรรย์นี้ ไม่มีอันเตวาสิก ไม่มีอาจารย์
ภิกษุผู้มีอันเตวาสิก มีอาจารย์ ย่อมอยู่เป็นทุกข์ ไม่สบาย ภิกษุผู้ไม่มีอันเตวาสิก
ไม่มีอาจารย์ ย่อมอยู่เป็นสุข สบาย”

อันเตวาสิกสูตรที่ ๖ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๓. ตติยปัณณาสก์ ๕. นวปุราณวรรค ๗. กิมัตถิยพรหมจริยสูตร

๗. กิมัตถิยพรหมจริยสูตร
ว่าด้วยคำถามเกี่ยวกับประโยชน์ของการประพฤติพรหมจรรย์

[๑๕๒] “ภิกษุทั้งหลาย ถ้าอัญเดียรถีย์ปริพาชกทั้งหลายพึงถามเธอทั้งหลาย
ว่า ‘ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ท่านทั้งหลายประพฤติพรหมจรรย์ในพระสมณโคดมเพื่อ
ต้องการอะไร’
เธอทั้งหลายถูกถามอย่างนี้ พึงตอบแก่อัญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้นอย่างนี้
ว่า ‘ผู้มีอายุทั้งหลาย เราทั้งหลายประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาคเพื่อ
กำหนดรู้ทุกข์’
อนึ่ง ถ้าอัญเดียรถีย์ปริพาชกทั้งหลายพึงถามเธอทั้งหลายอย่างนี้ว่า ‘ผู้มีอายุ
ทั้งหลาย ก็ทุกข์ที่ท่านทั้งหลายประพฤติพรหมจรรย์ในพระสมณโคดมเพื่อกำหนดรู้
นั้นเป็นอย่างไร’
เธอทั้งหลายถูกถามอย่างนี้ พึงตอบแก่อัญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้นอย่างนี้ว่า
‘ผู้มีอายุทั้งหลาย จักขุเป็นทุกข์ เราทั้งหลายประพฤติพรหมจรรย์ในพระ
ผู้มีพระภาคเพื่อกำหนดรู้จักขุที่เป็นทุกข์นั้น
รูปเป็นทุกข์ เราทั้งหลายประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาคเพื่อกำหนด
รู้รูปที่เป็นทุกข์นั้น
จักขุวิญญาณเป็นทุกข์ เราทั้งหลายประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาค
เพื่อกำหนดรู้จักขุวิญญาณที่เป็นทุกข์นั้น
จักขุสัมผัสเป็นทุกข์ เราทั้งหลายประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาคเพื่อ
กำหนดรู้จักขุสัมผัสที่เป็นทุกข์นั้น
แม้ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะ
จักขุสัมผัสเป็นปัจจัยก็เป็นทุกข์ เราทั้งหลายประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระ
ภาคเพื่อกำหนดรู้ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้น
เพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัยที่เป็นทุกข์นั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๑๘๖ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๓. ตติยปัณณาสก์ ๕. นวปุราณวรรค ๘. อัตถินุโขปริยายสูตร

ชิวหาเป็นทุกข์ เราทั้งหลายประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาคเพื่อ
กำหนดรู้ชิวหาที่เป็นทุกข์นั้น ... มโนเป็นทุกข์ เราทั้งหลายประพฤติพรหมจรรย์
ในพระผู้มีพระภาคเพื่อกำหนดรู้มโนที่เป็นทุกข์นั้น
แม้ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะ
มโนสัมผัสเป็นปัจจัยก็เป็นทุกข์ เราทั้งหลายประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระ
ภาคเพื่อกำหนดรู้ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้น
เพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัยที่เป็นทุกข์นั้น
ผู้มีอายุทั้งหลาย ข้อนี้แล คือทุกข์ที่เราทั้งหลายประพฤติพรหมจรรย์ในพระ
ผู้มีพระภาค เพื่อกำหนดรู้’
ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายถูกถามอย่างนี้ พึงตอบแก่อัญเดียรถีย์ปริพาชก
เหล่านั้นอย่างนี้”

กิมัตถิยพรหมจริยสูตรที่ ๗ จบ

๘. อัตถินุโขปริยายสูตร
ว่าด้วยคำถามเกี่ยวกับเหตุ

[๑๕๓] “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุอาศัยเหตุใดพยากรณ์อรหัตตผล เว้นจากความ
เชื่อ เว้นจากความชอบใจ เว้นจากการฟังตามกันมา เว้นจากการคิดตรองตาม
แนวเหตุผล เว้นจากการเข้าได้กับทฤษฎีที่พินิจไว้แล้ว รู้ชัดว่า ‘ชาติสิ้นแล้ว อยู่
จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีก
ต่อไป เหตุนั้นมีอยู่หรือ”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมของข้าพระองค์ทั้งหลาย มีพระผู้มีพระภาคเป็น
หลัก มีพระผู้มีพระภาคเป็นผู้นำ มีพระผู้มีพระภาคเป็นที่พึ่ง ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
ขอประทานวโรกาส เฉพาะพระผู้มีพระภาคเท่านั้นที่จะทรงอธิบายเนื้อความแห่ง
ภาษิตนั้นให้แจ่มแจ้งได้ ภิกษุทั้งหลายฟังต่อจากพระผู้มีพระภาคแล้วจักทรงจำไว้”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๑๘๗ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๓. ตติยปัณณาสก์ ๕. นวปุราณวรรค ๘. อัตถินุโขปริยายสูตร

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย ถ้าเช่นนั้น เธอทั้งหลายจงฟัง จง
ใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว” ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาค
จึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า
“ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุอาศัยเหตุใดพยากรณ์อรหัตตผล เว้นจากความเชื่อ
เว้นจากความชอบใจ เว้นจากการฟังตามกันมา เว้นจากการคิดตรองตามแนวเหตุผล
เว้นจากการเข้าได้กับทฤษฎีที่พินิจไว้แล้ว รู้ชัดว่า ‘ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์
แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป’ เหตุนั้นมีอยู่
อนึ่ง ภิกษุอาศัยเหตุใดพยากรณ์อรหัตตผล เว้นจากความเชื่อ ฯลฯ เว้นจาก
การเข้าได้กับทฤษฎีที่พินิจไว้แล้ว รู้ชัดว่า ‘ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว
ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป’ เหตุนั้นเป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เห็นรูปทางตาแล้ว รู้ชัดราคะ โทสะ และโมหะใน
ภายใน ซึ่งมีอยู่ว่า ‘ราคะ โทสะ และโมหะ ในภายในของเรามีอยู่’ รู้ชัดราคะ โทสะ
และโมหะในภายในซึ่งไม่มีว่า ‘ราคะ โทสะ และโมหะในภายในของเราไม่มี’
ภิกษุเห็นรูปทางตาแล้ว รู้ชัดราคะ โทสะ และโมหะในภายในซึ่งมีอยู่ว่า ‘ราคะ
โทสะ และโมหะในภายในของเรามีอยู่’ หรือรู้ชัดราคะ โทสะ และโมหะในภายใน
ซึ่งไม่มีว่า ‘ราคะ โทสะ และโมหะในภายในของเราไม่มี’
ธรรมเหล่านี้พึงทราบด้วยความเชื่อ พึงทราบด้วยความชอบใจ พึงทราบ
ด้วยการฟังตามกันมา พึงทราบด้วยการคิดตรองตามแนวเหตุผล หรือพึงทราบ
ด้วยการเข้าได้กับทฤษฎีที่พินิจไว้แล้วได้บ้างหรือ”
“ไม่ใช่อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
“ธรรมเหล่านี้ พึงทราบได้เพราะเห็นด้วยปัญญามิใช่หรือ”
“อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
“ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุอาศัยเหตุใดพยากรณ์อรหัตตผล เว้นจากความเชื่อ
เว้นจากความชอบใจ เว้นจากการฟังตามกันมา เว้นจากการคิดตรองตามแนวเหตุผล
เว้นจากการเข้าได้กับทฤษฎีที่พินิจไว้แล้ว รู้ชัดว่า ‘ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์
แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป’ เหตุนั้น
เป็นอย่างนี้แล ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๑๘๘ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๓. ตติยปัณณาสก์ ๕. นวปุราณวรรค ๘. อัตถินุโขปริยายสูตร

อีกประการหนึ่ง ภิกษุลิ้มรสทางลิ้นแล้ว รู้ชัดราคะ โทสะ และโมหะในภายใน
ซึ่งมีอยู่ว่า ‘ราคะ โทสะ และโมหะในภายในของเรามีอยู่’ รู้ชัดราคะ โทสะ และ
โมหะในภายในซึ่งไม่มีว่า ‘ราคะ โทสะ และโมหะในภายในของเราไม่มี’
ภิกษุลิ้มรสทางลิ้นแล้วจึงรู้ชัดราคะ โทสะ และโมหะในภายในซึ่งมีอยู่ว่า ‘ราคะ
โทสะ และโมหะในภายในของเรามีอยู่’ รู้ชัดราคะ โทสะ และโมหะในภายในซึ่งไม่มีว่า
‘ราคะ โทสะ และโมหะในภายในของเราไม่มี’
ภิกษุทั้งหลาย ธรรมเหล่านี้พึงทราบด้วยความเชื่อ พึงทราบด้วยความชอบใจ
พึงทราบด้วยการฟังตามกันมา พึงทราบด้วยการคิดตรองตามแนวเหตุผล หรือพึง
ทราบด้วยการเข้าได้กับทฤษฎีที่พินิจไว้แล้วได้บ้างหรือ”
“ไม่ใช่อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
“ธรรมเหล่านี้ พึงทราบได้เพราะเห็นด้วยปัญญามิใช่หรือ”
“อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
“ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุอาศัยเหตุใดพยากรณ์อรหัตตผล เว้นจากความเชื่อ
เว้นจากความชอบใจ เว้นจากการฟังตามกันมา เว้นจากการคิดตรองตามแนวเหตุผล
เว้นจากการเข้าได้กับทฤษฎีที่พินิจไว้แล้ว รู้ชัดว่า ‘ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์
แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป’ เหตุนั้น
เป็นอย่างนี้แล ฯลฯ
อีกประการหนึ่ง ภิกษุรู้แจ้งธรรมารมณ์ทางใจแล้ว รู้ชัดราคะ โทสะ และ
โมหะในภายในซึ่งมีอยู่ว่า ‘ราคะ โทสะ และโมหะในภายในของเรามีอยู่’ รู้ชัด
ราคะ โทสะ และโมหะในภายในซึ่งไม่มีว่า ‘ราคะ โทสะ และโมหะในภายในของ
เราไม่มี’
ภิกษุรู้แจ้งธรรมารมณ์ทางใจจึงรู้ชัดราคะ โทสะ และโมหะในภายในซึ่งมีอยู่ว่า
‘ราคะ โทสะ และโมหะในภายในของเรามีอยู่’ รู้ชัดราคะ โทสะ และโมหะในภายใน
ซึ่งไม่มีว่า ‘ราคะ โทสะ และโมหะในภายในของเราไม่มี’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๑๘๙ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๓. ตติยปัณณาสก์ ๕. นวปุราณวรรค ๙. อินทริยสัมปันนสูตร

ธรรมเหล่านี้พึงทราบด้วยความเชื่อ พึงทราบด้วยความชอบใจ พึงทราบ
ด้วยการฟังตามกันมา พึงทราบด้วยการคิดตรองตามแนวเหตุผล หรือพึงทราบ
ด้วยการเข้าได้กับทฤษฎีที่พินิจไว้แล้วได้บ้างหรือ”
“ไม่ใช่อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
“ธรรมเหล่านี้ พึงทราบได้เพราะเห็นด้วยปัญญามิใช่หรือ”
“อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
“ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุอาศัยเหตุใดพยากรณ์อรหัตตผล เว้นจากความเชื่อ
เว้นจากความชอบใจ เว้นจากการฟังตามกันมา เว้นจากการคิดตรองตามแนวเหตุผล
เว้นจากการเข้าได้กับทฤษฎีที่พินิจไว้แล้ว รู้ชัดว่า ‘ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์
แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป’ เหตุนั้น
เป็นอย่างนี้แล”

อัตถินุโขปริยายสูตรที่ ๘ จบ

๙. อินทริยสัมปันนสูตร
ว่าด้วยผู้เพียบพร้อมด้วยอินทรีย์

[๑๕๔] ครั้งนั้น ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ฯลฯ นั่ง
ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ที่พระองค์
ตรัสว่า ‘ภิกษุเพียบพร้อมด้วยอินทรีย์ ภิกษุเพียบพร้อมด้วยอินทรีย์’ ด้วยเหตุ
เพียงเท่าไรหนอ ภิกษุจึงเป็นผู้เพียบพร้อมด้วยอินทรีย์”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “หากภิกษุพิจารณาเห็นความเกิดขึ้นและความ
เสื่อมไปในจักขุนทรีย์อยู่ ย่อมเบื่อหน่ายในจักขุนทรีย์ ฯลฯ หากภิกษุพิจารณาเห็น
ความเกิดขึ้นและความเสื่อมไปในชิวหินทรีย์อยู่ ย่อมเบื่อหน่ายในชิวหินทรีย์ ฯลฯ
หากภิกษุพิจารณาเห็นความเกิดขึ้นและความเสื่อมไปในมนินทรีย์อยู่ ย่อมเบื่อหน่าย
ในมนินทรีย์ เมื่อเบื่อหน่ายย่อมคลายกำหนัด ฯลฯ เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว ก็รู้ว่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๑๙๐ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๓. ตติยปัณณาสก์ ๕. นวปุราณวรรค ๑๐. ธัมมกถิกปุจฉาสูตร

‘หลุดพ้นแล้ว’ รู้ชัดว่า ‘ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว
ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป’ ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล ภิกษุจึงเป็นผู้
เพียบพร้อมด้วยอินทรีย์”

อินทริยสัมปันนสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. ธัมมกถิกปุจฉาสูตร
ว่าด้วยการถามเรื่องพระธรรมกถึก

[๑๕๕] ครั้งนั้น ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ฯลฯ นั่ง
ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระองค์
ตรัสว่า ‘ภิกษุเป็นธรรมกถึก ภิกษุเป็นธรรมกถึก’ ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอ ภิกษุ
จึงเป็นธรรมกถึก”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ภิกษุทั้งหลาย หากภิกษุแสดงธรรมเพื่อความ
เบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับจักขุ ควรเรียกได้ว่า ‘ภิกษุเป็นธรรมกถึก’
หากภิกษุเป็นผู้ปฏิบัติเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับจักขุ ควร
เรียกได้ว่า ‘ภิกษุผู้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม’ หากภิกษุเป็นผู้หลุดพ้นเพราะ
ความเบื่อหน่าย เพราะคลายกำหนัด เพราะดับ ไม่ถือมั่นจักขุ ควรเรียกได้ว่า
‘ภิกษุผู้บรรลุนิพพานในปัจจุบัน’ ฯลฯ
หากภิกษุแสดงธรรมเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับชิวหา
ควรเรียกได้ว่า ‘ภิกษุเป็นธรรมกถึก’ ฯลฯ
หากภิกษุแสดงธรรมเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับมโน
ควรเรียกได้ว่า ‘ภิกษุเป็นธรรมกถึก’ หากภิกษุเป็นผู้ปฏิบัติเพื่อความเบื่อหน่าย
เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับมโน ควรเรียกได้ว่า ‘ภิกษุผู้ปฏิบัติธรรมสมควร
แก่ธรรม’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๑๙๑ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๓. ตติยปัณณาสก์ ๕. นวปุราณวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

หากภิกษุเป็นผู้หลุดพ้นเพราะความเบื่อหน่าย เพราะคลายกำหนัด เพราะดับ
ไม่ถือมั่นมโน ควรเรียกได้ว่า ‘ภิกษุผู้บรรลุนิพพานในปัจจุบัน”

ธรรมกถิกปุจฉาสูตรที่ ๑๐ จบ
นวปุราณวรรคที่ ๕ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. กัมมนิโรธสูตร ๒. ปฐมนิพพานสัปปายปฏิปทาสูตร
๓. ทุติยนิพพานสัปปายปฏิปทาสูตร ๔. ตติยนิพพานสัปปายปฏิปทาสูตร
๕. จตุตถนิพพานสัปปายปฏิปทาสูตร ๖. อันเตวาสิกสูตร
๗. กิมัตถิยพรหมจริยสูตร ๘. อัตถินุโขปริยายสูตร
๙. อินทริยสัมปันนสูตร ๑๐. ธัมมกถิกปุจฉาสูตร

ตติยปัณณาสก์ในสฬายตนวรรค จบบริบูรณ์

รวมวรรคที่มีในตติยปัณณาสก์นี้ คือ

๑. โยคักเขมิวรรค ๒. โลกกามคุณวรรค
๓. คหปติวรรค ๔. เทวทหวรรค
๕. นวปุราณวรรค


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๔. จตุตถปัณณาสก์ ๑. นันทิกขยวรรค ๒. พาหิรนันทิกขยสูตร

๔. จตุตถปัณณาสก์
๑. นันทิกขยวรรค
หมวดว่าด้วยความสิ้นไปแห่งความเพลิดเพลิน
๑. อัชฌัตตนันทิกขยสูตร
ว่าด้วยความสิ้นไปแห่งความเพลิดเพลินในอายตนะภายใน

[๑๕๖] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเห็นจักขุที่ไม่เที่ยง
นั่นแลว่า ‘ไม่เที่ยง’ ความเห็นของภิกษุนั้นเป็นสัมมาทิฏฐิ (ความเห็นชอบ) เมื่อ
เห็นชอบก็ย่อมเบื่อหน่าย เพราะสิ้นความเพลิดเพลินจึงสิ้นราคะ เพราะสิ้นราคะจึง
สิ้นความเพลิดเพลิน เพราะสิ้นทั้งความเพลิดเพลินและราคะ เราจึงเรียกว่า ‘จิต
หลุดพ้นดีแล้ว’ ฯลฯ
ภิกษุเห็นชิวหาที่ไม่เที่ยงนั่นแลว่า ‘ไม่เที่ยง’ ความเห็นของภิกษุนั้นเป็น
สัมมาทิฏฐิ เมื่อเห็นชอบก็ย่อมเบื่อหน่าย เพราะสิ้นความเพลิดเพลินจึงสิ้นราคะ
เพราะสิ้นราคะจึงสิ้นความเพลิดเพลิน ฯลฯ เราจึงเรียกว่า ‘จิตหลุดพ้นดีแล้ว’
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเห็นมโนที่ไม่เที่ยงนั่นแลว่า ‘ไม่เที่ยง’ ความเห็นของ
ภิกษุนั้นเป็นสัมมาทิฏฐิ เมื่อเห็นชอบก็ย่อมเบื่อหน่าย เพราะสิ้นความเพลิดเพลิน
จึงสิ้นราคะ เพราะสิ้นราคะจึงสิ้นความเพลิดเพลิน เพราะสิ้นทั้งความเพลิดเพลิน
และราคะ เราจึงเรียกว่า ‘จิตหลุดพ้นดีแล้ว”

อัชฌัตตนันทิกขยสูตรที่ ๑ จบ

๒. พาหิรนันทิกขยสูตร
ว่าด้วยความสิ้นไปแห่งความเพลิดเพลินในอายตนะภายนอก

[๑๕๗] “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเห็นรูปที่ไม่เที่ยงนั่นแลว่า ‘ไม่เที่ยง’ ความเห็น
ของภิกษุนั้นเป็นสัมมาทิฏฐิ เมื่อเห็นชอบก็ย่อมเบื่อหน่าย เพราะสิ้นความ
เพลิดเพลินจึงสิ้นราคะ เพราะสิ้นราคะจึงสิ้นความเพลิดเพลิน เพราะสิ้นทั้งความ
เพลิดเพลินและราคะ เราจึงเรียกว่า ‘จิตหลุดพ้นดีแล้ว’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๑๙๓ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๔. จตุตถปัณณาสก์ ๑. นันทิกขยวรรค ๓. อัชฌัตตอนิจจนันทิกขยสูตร

ภิกษุเห็นสัททะ ... คันธะ ... รส .... โผฏฐัพพะ ... ภิกษุเห็นธรรมารมณ์
ที่ไม่เที่ยงนั่นแลว่า ‘ไม่เที่ยง’ ความเห็นของภิกษุนั้นเป็นสัมมาทิฏฐิ เมื่อเห็นชอบ
ก็ย่อมเบื่อหน่าย เพราะสิ้นความเพลิดเพลินจึงสิ้นราคะ เพราะสิ้นราคะจึงสิ้น
ความเพลิดเพลิน เพราะสิ้นทั้งความเพลิดเพลินและราคะ เราจึงเรียกว่า ‘จิตหลุด
พ้นดีแล้ว”

พาหิรนันทิกขยสูตรที่ ๒ จบ

๓. อัชฌัตตอนิจจนันทิกขยสูตร
ว่าด้วยความสิ้นไปแห่งความเพลิดเพลินในอายตนะภายในที่ไม่เที่ยง

[๑๕๘] “ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงมนสิการจักขุโดยแยบคาย และจง
พิจารณาเห็นความไม่เที่ยงแห่งจักขุตามความเป็นจริง เมื่อมนสิการจักขุโดยแยบคาย
และพิจารณาเห็นความไม่เที่ยงแห่งจักขุตามความเป็นจริง ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในจักขุ
เพราะสิ้นความเพลิดเพลินจึงสิ้นราคะ เพราะสิ้นราคะจึงสิ้นความเพลิดเพลิน
เพราะสิ้นทั้งความเพลิดเพลินและราคะ เราจึงเรียกว่า ‘จิตหลุดพ้นดีแล้ว’ ฯลฯ
เธอทั้งหลายจงมนสิการชิวหาโดยแยบคาย และจงพิจารณาเห็นความไม่เที่ยง
แห่งชิวหาตามความเป็นจริง เมื่อมนสิการชิวหาโดยแยบคาย และพิจารณาเห็น
ความไม่เที่ยงแห่งชิวหาตามความเป็นจริง ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในชิวหา เพราะสิ้น
ความเพลิดเพลินจึงสิ้นราคะ เพราะสิ้นราคะจึงสิ้นความเพลิดเพลิน เพราะสิ้นทั้ง
ความเพลิดเพลินและราคะ เราจึงเรียกว่า ‘จิตหลุดพ้นดีแล้ว’ ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงมนสิการมโนโดยแยบคาย และจงพิจารณา
เห็นความไม่เที่ยงแห่งมโนตามความเป็นจริง เมื่อมนสิการมโนโดยแยบคาย และ
พิจารณาเห็นความไม่เที่ยงแห่งมโนตามความเป็นจริง ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในมโน
เพราะสิ้นความเพลิดเพลินจึงสิ้นราคะ เพราะสิ้นราคะจึงสิ้นความเพลิดเพลิน
เพราะสิ้นทั้งความเพลิดเพลินและราคะ เราจึงเรียกว่า ‘จิตหลุดพ้นดีแล้ว”

อัชฌัตตอนิจจนันทิกขยสูตรที่ ๓ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๔. จตุตถปัณณาสก์ ๑. นันทิกขยวรรค ๕. ชีวกัมพวนสมาธิสูตร

๔. พาหิรอนิจจนันทิกขยสูตร
ว่าด้วยความสิ้นไปแห่งความเพลิดเพลินในอายตนะภายนอกที่ไม่เที่ยง

[๑๕๙] “ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงมนสิการรูปโดยแยบคาย และจง
พิจารณาเห็นความไม่เที่ยงแห่งรูปตามความเป็นจริง เมื่อมนสิการรูปโดยแยบคาย
และพิจารณาเห็นความไม่เที่ยงแห่งรูปตามความเป็นจริง ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในรูป
เพราะสิ้นความเพลิดเพลินจึงสิ้นราคะ เพราะสิ้นราคะจึงสิ้นความเพลิดเพลิน
เพราะสิ้นทั้งความเพลิดเพลินและราคะ เราจึงเรียกว่า ‘จิตหลุดพ้นดีแล้ว’
เธอทั้งหลายจงมนสิการสัททะ ... คันธะ ... รส ... โผฏฐัพพะ ... เธอทั้งหลาย
จงมนสิการธรรมารมณ์โดยแยบคาย และจงพิจารณาเห็นความไม่เที่ยงแห่งธรรมารมณ์
ตามความเป็นจริง เมื่อมนสิการธรรมารมณ์โดยแยบคาย และพิจารณาเห็นความ
ไม่เที่ยงแห่งธรรมารมณ์ตามความเป็นจริง ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในธรรมารมณ์ เพราะ
สิ้นความเพลิดเพลินจึงสิ้นราคะ เพราะสิ้นราคะจึงสิ้นความเพลิดเพลิน เพราะสิ้น
ทั้งความเพลิดเพลินและราคะ เราจึงเรียกว่า ‘จิตหลุดพ้นดีแล้ว”

พาหิรอนิจจนันทิกขยสูตรที่ ๔ จบ

๕. ชีวกัมพวนสมาธิสูตร
ว่าด้วยการเจริญสมาธิในชีวกัมพวัน

[๑๖๐] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ชีวกัมพวัน เขตกรุงราชคฤห์
ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า “ฯลฯ ภิกษุทั้งหลาย
เธอทั้งหลายจงเจริญสมาธิ เมื่อภิกษุมีจิตตั้งมั่นแล้ว (สิ่งทั้งปวง) ย่อมปรากฏตาม
ความเป็นจริง
ก็อะไรเล่าชื่อว่าปรากฏตามความเป็นจริง
คือ จักขุปรากฏตามความเป็นจริงว่า ‘ไม่เที่ยง’ รูปปรากฏตามความเป็นจริง
ว่า ‘ไม่เที่ยง’ จักขุวิญญาณปรากฏตามความเป็นจริงว่า ‘ไม่เที่ยง’ จักขุสัมผัส
ปรากฏตามความเป็นจริงว่า ‘ไม่เที่ยง’ แม้ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือ
มิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัย ก็ปรากฏตามความเป็นจริงว่า
‘ไม่เที่ยง’ ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๑๙๕ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๔. จตุตถปัณณาสก์ ๑. นันทิกขยวรรค ๖. ชีวกัมพวนปฏิสัลลานสูตร

ชิวหาปรากฏตามความเป็นจริงว่า ‘ไม่เที่ยง’ ฯลฯ
มโนปรากฏตามความเป็นจริงว่า ‘ไม่เที่ยง’ ธรรมารมณ์ปรากฏตามความ
เป็นจริงว่า ‘ไม่เที่ยง’ ฯลฯ แม้ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใชสุขมิใช่
ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย ก็ปรากฏตามความเป็นจริงว่า ‘ไม่เที่ยง’
ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงเจริญสมาธิ เมื่อภิกษุมีจิตตั้งมั่นดีแล้ว (สิ่ง
ทั้งปวง) ย่อมปรากฏตามความเป็นจริง”

ชีวกัมพวนสมาธิสูตรที่ ๕ จบ

๖. ชีวกัมพวนปฏิสัลลานสูตร
ว่าด้วยการหลีกเร้นในชีวกัมพวัน

[๑๖๑] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ชีวกัมพวัน เขตกรุงราชคฤห์
ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า “ฯลฯ ภิกษุทั้งหลาย
เธอทั้งหลายจงหลีกเร้นประกอบความเพียรเถิด เมื่อภิกษุหลีกเร้นอยู่ (สิ่งทั้งปวง)ย่อม
ปรากฏตามความเป็นจริง
ก็อะไรเล่าชื่อว่าปรากฏตามความเป็นจริง
คือ จักขุปรากฏตามความเป็นจริงว่า ‘ไม่เที่ยง’ รูปปรากฏตามความเป็น
จริงว่า ‘ไม่เที่ยง’ จักขุวิญญาณปรากฏตามความเป็นจริงว่า ‘ไม่เที่ยง’ จักขุสัมผัส
ปรากฏตามความเป็นจริงว่า ‘ไม่เที่ยง’ แม้ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์
หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัยก็ปรากฏตามความเป็นจริงว่า
‘ไม่เที่ยง’ ฯลฯ
มโนปรากฏตามความเป็นจริงว่า ‘ไม่เที่ยง’ ธรรมารมณ์ ... มโนวิญญาณ ...
มโนสัมผัส ... แม้ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้น
เพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัยก็ปรากฏตามความเป็นจริงว่า ‘ไม่เที่ยง’
ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงหลีกเร้นประกอบความเพียรเถิด เมื่อภิกษุ
หลีกเร้นอยู่ (สิ่งทั้งปวง)ย่อมปรากฏตามความเป็นจริง”

ชีวกัมพวนปฏิสัลลานสูตรที่ ๖ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๔. จตุตถปัณณาสก์ ๑. นันทิกขยวรรค ๗. โกฏฐิกอนิจจสูตร

๗. โกฏฐิกอนิจจสูตร
ว่าด้วยทรงแสดงความไม่เที่ยงแก่พระมหาโกฏฐิกะ

[๑๖๒] ครั้งนั้น ท่านพระมหาโกฏฐิกะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
ฯลฯ นั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
ขอประทานวโรกาส ขอพระผู้มีพระภาคโปรดแสดงธรรมแก่ข้าพระองค์โดยย่อ ซึ่งข้า
พระองค์ได้ฟังแล้วจะพึงหลีกออกไปอยู่คนเดียว ไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศ
กายและใจอยู่เถิด”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “โกฏฐิกะ สิ่งใดไม่เที่ยง เธอพึงละฉันทะในสิ่งนั้น
ก็อะไรเล่าชื่อว่าไม่เที่ยง
คือ จักขุไม่เที่ยง เธอพึงละฉันทะในจักขุนั้น รูปไม่เที่ยง เธอพึงละฉันทะ
ในรูปนั้น จักขุวิญญาณไม่เที่ยง เธอพึงละฉันทะในจักขุวิญญาณนั้น จักขุสัมผัส
ไม่เที่ยง เธอพึงละฉันทะในจักขุสัมผัสนั้น แม้ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์
หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัยก็ไม่เที่ยง เธอพึงละฉันทะ
ในความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัส
เป็นปัจจัยที่ไม่เที่ยงนั้น ฯลฯ
ชิวหาไม่เที่ยง เธอพึงละฉันทะในชิวหานั้น รสไม่เที่ยง เธอพึงละฉันทะในรสนั้น
ชิวหาวิญญาณไม่เที่ยง เธอพึงละฉันทะในชิวหาวิญญาณนั้น ชิวหาสัมผัสไม่เที่ยง
เธอพึงละฉันทะในชิวหาสัมผัสนั้น แม้ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์ หรือ
มิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะชิวหาสัมผัสเป็นปัจจัยก็ไม่เที่ยง เธอพึงละฉันทะ
ในความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะชิวหาสัมผัส
เป็นปัจจัยที่ไม่เที่ยงนั้น ฯลฯ
มโนไม่เที่ยง เธอพึงละฉันทะในมโนนั้น ธรรมารมณ์ไม่เที่ยง เธอพึงละ
ฉันทะในธรรมารมณ์นั้น มโนวิญญาณไม่เที่ยง เธอพึงละฉันทะในมโนวิญญาณนั้น
มโนสัมผัสไม่เที่ยง เธอพึงละฉันทะในมโนสัมผัสนั้น แม้ความเสวยอารมณ์ที่เป็น
สุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัยก็ไม่เที่ยง เธอ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๑๙๗ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๔. จตุตถปัณณาสก์ ๑. นันทิกขยวรรค ๘. โกฏฐิกทุกขสูตร

พึงละฉันทะในความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้น
เพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัยที่ไม่เที่ยงนั้น
โกฏฐิกะ สิ่งใดไม่เที่ยง เธอพึงละฉันทะในสิ่งนั้น”

โกฏฐิกอนิจจสูตรที่ ๗ จบ

๘. โกฏฐิกทุกขสูตร
ว่าด้วยทรงแสดงความทุกข์แก่พระมหาโกฏฐิกะ

[๑๖๓] ครั้งนั้น ท่านพระมหาโกฏฐิกะ ฯลฯ ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาค
ดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานวโรกาส ฯลฯ อุทิศกายและใจอยู่เถิด”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “โกฏฐิกะ สิ่งใดเป็นทุกข์ เธอพึงละฉันทะในสิ่งนั้น
ก็อะไรเล่าชื่อว่าเป็นทุกข์
คือ จักขุเป็นทุกข์ เธอพึงละฉันทะในจักขุนั้น รูปเป็นทุกข์ เธอพึงละฉันทะ
ในรูปนั้น จักขุวิญญาณเป็นทุกข์ เธอพึงละฉันทะในจักขุวิญญาณนั้น จักขุสัมผัส
เป็นทุกข์ เธอพึงละฉันทะในจักขุสัมผัสนั้น แม้ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์
หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัยก็เป็นทุกข์ เธอพึงละฉันทะ
ในความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัส
เป็นปัจจัยที่เป็นทุกข์นั้น ฯลฯ
ชิวหาเป็นทุกข์ เธอพึงละฉันทะในชิวหานั้น ฯลฯ
มโนเป็นทุกข์ เธอพึงละฉันทะในมโนนั้น ธรรมารมณ์เป็นทุกข์ เธอพึงละ
ฉันทะในธรรมารมณ์นั้น มโนวิญญาณเป็นทุกข์ เธอพึงละฉันทะในมโนวิญญาณนั้น
มโนสัมผัสเป็นทุกข์ เธอพึงละฉันทะในมโนสัมผัสนั้น แม้ความเสวยอารมณ์ที่เป็น
สุขหรือทุกข์ หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัยก็เป็นทุกข์
เธอพึงละฉันทะในความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้น
เพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัยที่เป็นทุกข์นั้น
โกฏฐิกะ สิ่งใดเป็นทุกข์ เธอพึงละฉันทะในสิ่งนั้น”

โกฏฐิกทุกขสูตรที่ ๘ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๔. จตุตถปัณณาสก์ ๑. นันทิกขยวรรค ๑๐. มิจฉาทิฏฐิปหานสูตร

๙. โกฏฐิกอนัตตสูตร
ว่าด้วยทรงแสดงอนัตตาแก่พระมหาโกฏฐิกะ

[๑๖๔] ครั้งนั้น ท่านพระมหาโกฏฐิกะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
... นั่ง ณ ที่สมควร ฯลฯ อุทิศกายและใจอยู่เถิด”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “โกฏฐิกะ สิ่งใดเป็นอนัตตา เธอพึงละฉันทะในสิ่งนั้น
ก็อะไรเล่าชื่อว่าเป็นอนัตตา
คือ จักขุเป็นอนัตตา เธอพึงละฉันทะในจักขุนั้น รูปเป็นอนัตตา เธอพึงละฉันทะ
ในรูปนั้น จักขุวิญญาณเป็นอนัตตา เธอพึงละฉันทะในจักขุวิญญาณนั้น จักขุสัมผัส
เป็นอนัตตา เธอพึงละฉันทะในจักขุสัมผัสนั้น แม้ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือ
ทุกข์ หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัยก็เป็นอนัตตา เธอพึง
ละฉันทะในความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะ
จักขุสัมผัสเป็นปัจจัยที่เป็นอนัตตานั้น ฯลฯ
ชิวหาเป็นอนัตตา เธอพึงละฉันทะในชิวหานั้น ฯลฯ
มโนเป็นอนัตตา เธอพึงละฉันทะในมโนนั้น ธรรมารมณ์เป็นอนัตตา เธอพึง
ละฉันทะในธรรมารมณ์นั้น มโนวิญญาณ ... มโนสัมผัส ... แม้ความเสวย
อารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัยก็
เป็นอนัตตา เธอพึงละฉันทะในความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่
ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัยที่เป็นอนัตตานั้น
โกฏฐิกะ สิ่งใดเป็นอนัตตา เธอพึงละฉันทะในสิ่งนั้น”

โกฏฐิกอนัตตสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. มิจฉาทิฏฐิปหานสูตร
ว่าด้วยการละมิจฉาทิฏฐิ

[๑๖๕] ครั้งนั้น ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ฯลฯ
นั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บุคคล
เมื่อรู้ เห็นอย่างไร จึงละมิจฉาทิฏฐิ (ความเห็นผิด) ได้”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๑๙๙ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๔. จตุตถปัณณาสก์ ๑. นันทิกขยวรรค ๑๒. อัตตานุทิฏฐิปหานสูตร

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุ บุคคลเมื่อรู้ เห็นจักขุโดยความไม่เที่ยง จึงละ
มิจฉาทิฏฐิได้ เมื่อรู้ เห็นรูปโดยความไม่เที่ยง จึงละมิจฉาทิฏฐิได้ เมื่อรู้ เห็นจักขุ-
วิญญาณโดยความไม่เที่ยงจึงละมิจฉาทิฏฐิได้ เมื่อรู้ เห็นจักขุสัมผัสโดยความไม่เที่ยง
จึงละมิจฉาทิฏฐิได้ ฯลฯ เมื่อรู้ เห็นแม้ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่
สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัยโดยความไม่เที่ยง จึงละมิจฉาทิฏฐิได้
ภิกษุ บุคคลเมื่อรู้ เห็นอย่างนี้ จึงละมิจฉาทิฏฐิได้”

มิจฉาทิฏฐิปหานสูตรที่ ๑๐ จบ

๑๑. สักกายทิฏฐิปหานสูตร
ว่าด้วยการละสักกายทิฏฐิ

[๑๖๖] ครั้งนั้น ภิกษุรูปหนึ่ง ฯลฯ ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่
พระองค์ผู้เจริญ บุคคลเมื่อรู้ เห็นอย่างไร จึงละสักกายทิฏฐิ (ความเห็นว่าเป็นตัว
ของตน) ได้”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุ บุคคลเมื่อรู้ เห็นจักขุโดยความเป็นทุกข์ จึง
ละสักกายทิฏฐิได้ เมื่อรู้ เห็นรูปโดยความเป็นทุกข์ จึงละสักกายทิฏฐิได้ เมื่อรู้
เห็นจักขุวิญญาณโดยความเป็นทุกข์ จึงละสักกายทิฏฐิได้ เมื่อรู้ เห็นจักขุสัมผัส
โดยความเป็นทุกข์ จึงละสักกายทิฏฐิได้ ฯลฯ เมื่อรู้ เห็นแม้ความเสวยอารมณ์ที่
เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัยโดยความ
เป็นทุกข์ จึงละสักกายทิฏฐิได้
ภิกษุ บุคคลเมื่อรู้ เห็นอย่างนี้ จึงละสักกายทิฏฐิได้”

สักกายทิฏฐิปหานสูตรที่ ๑๑ จบ

๑๒. อัตตานุทิฏฐิปหานสูตร
ว่าด้วยการละอัตตานุทิฏฐิ

[๑๖๗] ครั้งนั้น ภิกษุรูปหนึ่ง ฯลฯ ได้ทูลถามว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
บุคคลเมื่อรู้ เห็นอย่างไร จึงละอัตตานุทิฏฐิได้”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๒๐๐ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๔. จตุตถปัณณาสก์ ๑. นันทิกขยวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุ บุคคลเมื่อรู้ เห็นจักขุโดยความเป็นอนัตตา
จึงละอัตตานุทิฏฐิได้ เมื่อรู้ เห็นรูปโดยความเป็นอนัตตา จึงละอัตตานุทิฏฐิได้ เมื่อรู้
เห็นจักขุวิญญาณโดยความเป็นอนัตตา จึงละอัตตานุทิฏฐิได้ เมื่อรู้ เห็นจักขุสัมผัส
โดยความเป็นอนัตตา จึงละอัตตานุทิฏฐิได้ เมื่อรู้ เห็นแม้ความเสวยอารมณ์ที่เป็น
สุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัยโดยความเป็น
อนัตตา จึงละอัตตานุทิฏฐิได้ ฯลฯ
เมื่อรู้ เห็นชิวหาโดยความเป็นอนัตตา จึงละอัตตานุทิฏฐิได้ ฯลฯ
เมื่อรู้ เห็นมโนโดยความเป็นอนัตตา จึงละอัตตานุทิฏฐิได้ เมื่อรู้ เห็น
ธรรมารมณ์ ... มโนวิญญาณ ... มโนสัมผัส ... เมื่อรู้ เห็นแม้ความเสวย
อารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย
โดยความเป็นอนัตตา จึงละอัตตานุทิฏฐิได้
ภิกษุ บุคคลเมื่อรู้ เห็นอย่างนี้ จึงละอัตตานุทิฏฐิได้”

อัตตานุทิฏฐิปหานสูตรที่ ๑๒ จบ
นันทิกขยวรรคที่ ๑ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. อัชฌัตตนันทิกขยสูตร ๒. พาหิรนันทิกขยสูตร
๓. อัชฌัตตอนิจจนันทิกขยสูตร ๔. พาหิรอนิจจนันทิกขยสูตร
๕. ชีวกัมพวนสมาธิสูตร ๖. ชีวกัมพวนปฏิสัลลานสูตร
๗. โกฏฐิกอนิจจสูตร ๘. โกฏฐิกทุกขสูตร
๙. โกฏฐิกอนัตตสูตร ๑๐. มิจฉาทิฏฐิปหานสูตร
๑๑. สักกายทิฏฐิปหานสูตร ๑๒. อัตตานุทิฏฐิปหานสูตร


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๔. จตุตถปัณณาสก์ ๒. สัฏฐิเปยยาลวรรค ๒. อัชฌัตตอนิจจราคสูตร

๒. สัฏฐิเปยยาลวรรค
หมวดว่าด้วยพระสูตรย่อ ๖๐ สูตร
๑. อัชฌัตตอนิจจฉันทสูตร
ว่าด้วยการละฉันทะในอายตนะภายในที่ไม่เที่ยง

[๑๖๘] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดไม่เที่ยง เธอทั้งหลาย
พึงละฉันทะในสิ่งนั้น
ก็อะไรเล่าชื่อว่าไม่เที่ยง
คือ จักขุไม่เที่ยง เธอทั้งหลายพึงละฉันทะในจักขุนั้น ฯลฯ ชิวหาไม่เที่ยง
เธอทั้งหลายพึงละฉันทะในชิวหานั้น ฯลฯ มโนไม่เที่ยง เธอทั้งหลายพึงละฉันทะ
ในมโนนั้น
ภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดไม่เที่ยง เธอทั้งหลายพึงละฉันทะในสิ่งนั้น”

อัชฌัตตอนิจจฉันทสูตรที่ ๑ จบ

๒. อัชฌัตตอนิจจราคสูตร
ว่าด้วยการละราคะในอายตนะภายในที่ไม่เที่ยง

[๑๖๙] “ภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดไม่เที่ยง เธอทั้งหลายพึงละราคะในสิ่งนั้น
ก็อะไรเล่าชื่อว่าไม่เที่ยง
คือ จักขุไม่เที่ยง เธอทั้งหลายพึงละราคะในจักขุนั้น ฯลฯ ชิวหาไม่เที่ยง
เธอทั้งหลายพึงละราคะในชิวหานั้น ฯลฯ มโนไม่เที่ยง เธอทั้งหลายพึงละราคะใน
มโนนั้น
ภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดไม่เที่ยง เธอทั้งหลายพึงละราคะในสิ่งนั้น”

อัชฌัตตอนิจจราคสูตรที่ ๒ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๔. จตุตถปัณณาสก์ ๒. สัฏฐิเปยยาลวรรค ๔-๖. ทุกขฉันทาทิสูตร

๓. อัชฌัตตอนิจจฉันทราคสูตร
ว่าด้วยการละฉันทราคะในอายตนะภายในที่ไม่เที่ยง

[๑๗๐] “ภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดไม่เที่ยง เธอทั้งหลายพึงละฉันทราคะในสิ่งนั้น
ก็อะไรเล่าชื่อว่าไม่เที่ยง
คือ จักขุไม่เที่ยง เธอทั้งหลายพึงละฉันทราคะในจักขุนั้น ฯลฯ ชิวหาไม่เที่ยง
เธอทั้งหลายพึงละฉันทราคะในชิวหานั้น ฯลฯ มโนไม่เที่ยง เธอทั้งหลายพึงละ
ฉันทราคะในมโนนั้น
ภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดไม่เที่ยง เธอทั้งหลายพึงละฉันทราคะในสิ่งนั้น”

อัชฌัตตอนิจจฉันทราคสูตรที่ ๓ จบ

๔-๖. ทุกขฉันทาทิสูตร
ว่าด้วยการละฉันทะเป็นต้นในอายตนะภายในที่เป็นทุกข์

[๑๗๑-๑๗๓] “ภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดเป็นทุกข์ เธอทั้งหลายพึงละฉันทะ
พึงละราคะ พึงละฉันทราคะในสิ่งนั้น
ก็อะไรเล่าชื่อว่าเป็นทุกข์
คือ จักขุเป็นทุกข์ เธอทั้งหลายพึงละฉันทะ พึงละราคะ พึงละฉันทราคะใน
จักขุนั้น ฯลฯ
ชิวหาเป็นทุกข์ ฯลฯ
มโนเป็นทุกข์ เธอทั้งหลายพึงละฉันทะ พึงละราคะ พึงละฉันทราคะในมโนนั้น
ภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดเป็นทุกข์ เธอทั้งหลายพึงละฉันทะ พึงละราคะ พึงละ
ฉันทราคะในสิ่งนั้น”

ทุกขฉันทาทิสูตรที่ ๔-๖ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๔. จตุตถปัณณาสก์ ๒. สัฏฐิเปยยาลวรรค ๑๐-๑๒. พาหิรานิจจฉันทาทิสูตร

๗-๙. อนัตตฉันทาทิสูตร
ว่าด้วยการละฉันทะเป็นต้นในอายตนะภายในที่เป็นอนัตตา

[๑๗๔-๑๗๖] “ภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดเป็นอนัตตา เธอทั้งหลายพึงละฉันทะ
พึงละราคะ พึงละฉันทราคะในสิ่งนั้น
ก็อะไรเล่าชื่อว่าเป็นอนัตตา
คือ จักขุเป็นอนัตตา เธอทั้งหลายพึงละฉันทะ พึงละราคะ พึงละฉันทราคะ
ในจักขุนั้น ฯลฯ
ฆานะเป็นอนัตตา เธอทั้งหลายพึงละฉันทะ พึงละราคะ พึงละฉันทราคะใน
ฆานะนั้น
ชิวหาเป็นอนัตตา เธอทั้งหลายพึงละฉันทะ พึงละราคะ พึงละฉันทราคะใน
ชิวหานั้น ฯลฯ
มโนเป็นอนัตตา เธอทั้งหลายพึงละฉันทะ พึงละราคะ พึงละฉันทราคะใน
มโนนั้น
ภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดเป็นอนัตตา เธอทั้งหลายพึงละฉันทะ พึงละราคะ พึงละ
ฉันทราคะในสิ่งนั้น”

อนัตตฉันทาทิสูตรที่ ๗-๙ จบ

๑๐-๑๒. พาหิรานิจจฉันทาทิสูตร
ว่าด้วยการละฉันทะเป็นต้นในอายตนะภายนอกที่ไม่เที่ยง

[๑๗๗-๑๗๙] “ภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดไม่เที่ยง เธอทั้งหลายพึงละฉันทะ พึง
ละราคะ พึงละฉันทราคะในสิ่งนั้น
ก็อะไรเล่าชื่อว่าไม่เที่ยง
คือ รูปไม่เที่ยง เธอทั้งหลายพึงละฉันทะ พึงละราคะ พึงละฉันทราคะในรูปนั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๒๐๔ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๔. จตุตถปัณณาสก์ ๒. สัฏฐิเปยยาลวรรค ๑๓-๑๕. พาหิรทุกขฉันทาทิสูตร

สัททะไม่เที่ยง เธอทั้งหลายพึงละฉันทะ พึงละราคะ พึงละฉันทราคะใน
สัททะนั้น
คันธะไม่เที่ยง เธอทั้งหลายพึงละฉันทะ พึงละราคะ พึงละฉันทราคะใน
คันธะนั้น
รสไม่เที่ยง เธอทั้งหลายพึงละฉันทะ พึงละราคะ พึงละฉันทราคะในรสนั้น
โผฏฐัพพะไม่เที่ยง เธอทั้งหลายพึงละฉันทะ พึงละราคะ พึงละฉันทราคะใน
โผฏฐัพพะนั้น
ธรรมารมณ์ไม่เที่ยง เธอทั้งหลายพึงละฉันทะ พึงละราคะ พึงละฉันทราคะ
ในธรรมารมณ์นั้น
ภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดไม่เที่ยง เธอทั้งหลายพึงละฉันทะ พึงละราคะ พึงละ
ฉันทราคะในสิ่งนั้น”

พาหิรานิจจฉันทาทิสูตรที่ ๑๐-๑๒ จบ

๑๓-๑๕. พาหิรทุกขฉันทาทิสูตร
ว่าด้วยการละฉันทะเป็นต้นในอายตนะภายนอกที่เป็นทุกข์

[๑๘๐-๑๘๒] “ภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดเป็นทุกข์ เธอทั้งหลายพึงละฉันทะ
พึงละราคะ พึงละฉันทราคะในสิ่งนั้น
ก็อะไรเล่าชื่อว่าเป็นทุกข์
คือ รูปเป็นทุกข์ เธอทั้งหลายพึงละฉันทะ พึงละราคะ พึงละฉันทราคะในรูปนั้น
สัททะ ... คันธะ ... รส ... โผฏฐัพพะ ... ธรรมารมณ์เป็นทุกข์ เธอทั้ง
หลายพึงละฉันทะ พึงละราคะ พึงละฉันทราคะในธรรมารมณ์นั้น
ภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดเป็นทุกข์ เธอทั้งหลายพึงละฉันทะ พึงละราคะ พึงละ
ฉันทราคะในสิ่งนั้น”

พาหิรทุกขฉันทาทิสูตรที่ ๑๓-๑๕ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๔. จตุตถปัณณาสก์ ๒. สัฏฐิเปยยาลวรรค ๑๙. อัชฌัตตาตีตานิจจสูตร

๑๖-๑๘. พาหิรานัตตฉันทาทิสูตร
ว่าด้วยการละฉันทะเป็นต้นในอายตนะภายนอกที่เป็นอนัตตา

[๑๘๓-๑๘๕] “ภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดเป็นอนัตตา เธอทั้งหลายพึงละฉันทะ
พึงละราคะ พึงละฉันทราคะในสิ่งนั้น
ก็อะไรเล่าชื่อว่าเป็นอนัตตา
คือ รูปเป็นอนัตตา เธอทั้งหลายพึงละฉันทะ พึงละราคะ พึงละฉันทราคะ
ในรูปนั้น
สัททะ ... คันธะ ... รส ... โผฏฐัพพะ ... ธรรมารมณ์เป็นอนัตตา เธอ
ทั้งหลายพึงละฉันทะ พึงละราคะ พึงละฉันทราคะในธรรมารมณ์นั้น
ภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดเป็นอนัตตา เธอทั้งหลายพึงละฉันทะ พึงละราคะ พึง
ละฉันทราคะในสิ่งนั้น”

พาหิรานัตตฉันทาทิสูตรที่ ๑๖-๑๘ จบ

๑๙. อัชฌัตตาตีตานิจจสูตร
ว่าด้วยอายตนะภายในที่เป็นอดีตไม่เที่ยง

[๑๘๖] “ภิกษุทั้งหลาย จักขุที่เป็นอดีตไม่เที่ยง ฯลฯ
ชิวหาที่เป็นอดีตไม่เที่ยง ฯลฯ
มโนที่เป็นอดีตไม่เที่ยง
ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในจักขุ ฯลฯ
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในชิวหา ฯลฯ
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในมโน เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด เพราะคลาย
กำหนัด จิตย่อมหลุดพ้น เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว ก็รู้ว่า ‘หลุดพ้นแล้ว’ รู้ชัดว่า
‘ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อ
ความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป”

อัชฌัตตาตีตานิจจสูตรที่ ๑๙ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๔. จตุตถปัณณาสก์ ๒. สัฏฐิเปยยาลวรรค ๒๒-๒๔. อัชฌัตตา...ทิสูตร

๒๐. อัชฌัตตานาคตานิจจสูตร
ว่าด้วยอายตนะภายในที่เป็นอนาคตไม่เที่ยง

[๑๘๗] “ภิกษุทั้งหลาย จักขุที่เป็นอนาคตไม่เที่ยง ฯลฯ ชิวหาที่เป็นอนาคต
ไม่เที่ยง ฯลฯ มโนที่เป็นอนาคตไม่เที่ยง ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับเห็น
อยู่อย่างนี้ ฯลฯ รู้ชัดว่า ... ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป”

อัชฌัตตานาคตานิจจสูตรที่ ๒๐ จบ

๒๑. อัชฌัตตปัจจุปปันนานิจจสูตร
ว่าด้วยอายตนะภายในที่เป็นปัจจุบันไม่เที่ยง

[๑๘๘] “ภิกษุทั้งหลาย จักขุที่เป็นปัจจุบันไม่เที่ยง ฯลฯ ชิวหาที่เป็นปัจจุบัน
ไม่เที่ยง ฯลฯ มโนที่เป็นปัจจุบันไม่เที่ยง ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับเห็น
อยู่อย่างนี้ ฯลฯ รู้ชัดว่า ... ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป”

อัชฌัตตปัจจุปปันนานิจจสูตรที่ ๒๑ จบ

๒๒-๒๔. อัชฌัตตาตีตาทิทุกขสูตร
ว่าด้วยอายตนะภายในที่เป็นอดีตเป็นต้นเป็นทุกข์

[๑๘๙-๑๙๑] “ภิกษุทั้งหลาย จักขุที่เป็นอดีต ที่เป็นอนาคต ที่เป็นปัจจุบัน
เป็นทุกข์ ฯลฯ ชิวหาที่เป็นอดีต ที่เป็นอนาคต ที่เป็นปัจจุบันเป็นทุกข์ ฯลฯ
มโนที่เป็นอดีต ที่เป็นอนาคต ที่เป็นปัจจุบันเป็นทุกข์
ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ฯลฯ รู้ชัดว่า ... ไม่มีกิจ
อื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป”

อัชฌัตตาตีตาทิทุกขสูตรที่ ๒๒-๒๔ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๔. จตุตถปัณณาสก์ ๒. สัฏฐิเปยยาลวรรค ๓๑-๓๓. พาหิราตีตาทิทุกขสูตร

๒๕-๒๗. อัชฌัตตาตีตาทิอนัตตสูตร
ว่าด้วยอายตนะภายในที่เป็นอดีตเป็นต้นเป็นอนัตตา

[๑๙๒-๑๙๔] “ภิกษุทั้งหลาย จักขุที่เป็นอดีต ที่เป็นอนาคต ที่เป็นปัจจุบัน
เป็นอนัตตา ฯลฯ ชิวหา ... เป็นอนัตตา ฯลฯ มโนที่เป็นอดีต ที่เป็นอนาคต
ที่เป็นปัจจุบันเป็นอนัตตา ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ฯลฯ
รู้ชัดว่า ... ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป”

อัชฌัตตาตีตาทิอนัตตสูตรที่ ๒๕-๒๗ จบ

๒๘-๓๐. พาหิราตีตาทิอนิจจสูตร
ว่าด้วยอายตนะภายนอกที่เป็นอดีตเป็นต้นไม่เที่ยง

[๑๙๕-๑๙๗] “ภิกษุทั้งหลาย รูปที่เป็นอดีต ที่เป็นอนาคต ที่เป็นปัจจุบัน
ไม่เที่ยง สัททะ ... คันธะ ... รส ... โผฏฐัพพะ ... ธรรมารมณ์ที่เป็นอดีต ที่
เป็นอนาคต ที่เป็นปัจจุบันไม่เที่ยง
ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ฯลฯ รู้ชัดว่า ... ไม่มีกิจ
อื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป”

พาหิราตีตาทิอนิจจสูตรที่ ๒๘-๓๐ จบ

๓๑-๓๓. พาหิราตีตาทิทุกขสูตร
ว่าด้วยอายตนะภายนอกที่เป็นอดีตเป็นต้นเป็นทุกข์

[๑๙๘-๒๐๐] “ภิกษุทั้งหลาย รูปที่เป็นอดีต ที่เป็นอนาคต ที่เป็นปัจจุบัน
เป็นทุกข์ สัททะ ... คันธะ ... รส ... โผฏฐัพพะ ... ธรรมารมณ์ที่เป็นอดีต
ที่เป็นอนาคต ที่เป็นปัจจุบันเป็นทุกข์
ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ฯลฯ รู้ชัดว่า ... ไม่มีกิจ
อื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป”

พาหิราตีตาทิทุกขสูตรที่ ๓๑-๓๓ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๔. จตุตถปัณณาสก์ ๒. สัฏฐิเปยยาลวรรค ๓๗. อัชฌัตตา...ทิสูตร

๓๔-๓๖. พาหิราตีตาทิอนัตตสูตร
ว่าด้วยอายตนะภายนอกที่เป็นอดีตเป็นต้นเป็นอนัตตา

[๒๐๑-๒๐๓] “ภิกษุทั้งหลาย รูปที่เป็นอดีต ที่เป็นอนาคต ที่เป็นปัจจุบัน
เป็นอนัตตา สัททะ ... คันธะ ... รส ... โผฏฐัพพะ ... ธรรมารมณ์ที่เป็นอดีต
ที่เป็นอนาคต ที่เป็นปัจจุบันเป็นอนัตตา
ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ฯลฯ รู้ชัดว่า ... ไม่มีกิจ
อื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป”

พาหิราตีตาทิอนัตตสูตรที่ ๓๔-๓๖ จบ

๓๗. อัชฌัตตาตีตยทนิจจสูตร
ว่าด้วยอายตนะภายในที่เป็นอดีตไม่เที่ยง

[๒๐๔] “ภิกษุทั้งหลาย จักขุที่เป็นอดีตไม่เที่ยง สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์
สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา สิ่งนั้นบุคคลพึงเห็นด้วย
ปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่
อัตตาของเรา’ ฯลฯ
ชิวหาที่เป็นอดีตไม่เที่ยง สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้น
เป็นอนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา สิ่งนั้นบุคคลพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็น
จริงอย่างนี้ว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’ ฯลฯ
มโนที่เป็นอดีตไม่เที่ยง สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้น
เป็นอนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา สิ่งนั้นบุคคลพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความ
เป็นจริงอย่างนี้ว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’
ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ฯลฯ รู้ชัดว่า ... ไม่มีกิจ
อื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป”

อัชฌัตตาตีตยทนิจจสูตรที่ ๓๗ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๔. จตุตถปัณณาสก์ ๒. สัฏฐิเปยยาลวรรค ๓๙. อัชฌัตตปัจจุปปันนยทนิจจสูตร

๓๘. อัชฌัตตานาคตยทนิจจสูตร
ว่าด้วยอายตนะภายในที่เป็นอนาคตไม่เที่ยง

[๒๐๕] “ภิกษุทั้งหลาย จักขุที่เป็นอนาคตไม่เที่ยง สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็น
ทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา สิ่งนั้นบุคคลพึงเห็นด้วย
ปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่
อัตตาของเรา’ ฯลฯ
ชิวหาที่เป็นอนาคตไม่เที่ยง สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์
สิ่งนั้นเป็นอนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา สิ่งนั้นบุคคลพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตาม
ความเป็นจริงอย่างนี้ว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’ ฯลฯ
มโนที่เป็นอนาคตไม่เที่ยง สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้น
เป็นอนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา สิ่งนั้นบุคคลพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็น
จริงอย่างนี้ว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’
อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ฯลฯ รู้ชัดว่า ... ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็น
อย่างนี้อีกต่อไป”

อัชฌัตตานาคตยทนิจจสูตรที่ ๓๘ จบ

๓๙. อัชฌัตตปัจจุปปันนยทนิจจสูตร
ว่าด้วยอายตนะภายในที่เป็นปัจจุบันไม่เที่ยง

[๒๐๖] “ภิกษุทั้งหลาย จักขุที่เป็นปัจจุบันไม่เที่ยง สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็น
ทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา สิ่งนั้นบุคคลพึงเห็น
ด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น
นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’ ฯลฯ
ชิวหาที่เป็นปัจจุบันไม่เที่ยง สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์
สิ่งนั้นเป็นอนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา สิ่งนั้นบุคคลพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตาม
ความเป็นจริงอย่างนี้ว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’ ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๒๑๐ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๔. จตุตถปัณณาสก์ ๒. สัฏฐิเปยยาลวรรค ๔๓-๔๕. อัชฌัตตา...ทิสูตร

ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ฯลฯ รู้ชัดว่า ... ไม่มีกิจ
อื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป”

อัชฌัตตปัจจุปปันนยทนิจจสูตรที่ ๓๙ จบ

๔๐-๔๒. อัชฌัตตาตีตาทิยังทุกขสูตร
ว่าด้วยอายตนะภายในที่เป็นอดีตเป็นต้นเป็นทุกข์

[๒๐๗-๒๐๙] “ภิกษุทั้งหลาย จักขุที่เป็นอดีต ที่เป็นอนาคต ที่เป็นปัจจุบัน
เป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา สิ่งนั้น บุคคลพึง
เห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น
นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’ ฯลฯ
ชิวหา ... เป็นทุกข์ ฯลฯ มโนที่เป็นอดีต ที่เป็นอนาคต ที่เป็นปัจจุบัน
เป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา สิ่งนั้นบุคคลพึง
เห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น
นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’
ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ฯลฯ รู้ชัดว่า ... ไม่มี
กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป”

อัชฌัตตาตีตาทิยังทุกขสูตรที่ ๔๐-๔๒ จบ

๔๓-๔๕. อัชฌัตตาตีตาทิยทนัตตสูตร
ว่าด้วยอายตนะภายในที่เป็นอดีตเป็นต้นเป็นอนัตตา

[๒๑๐-๒๑๒] “ภิกษุทั้งหลาย จักขุที่เป็นอดีต ที่เป็นอนาคต ที่เป็นปัจจุบัน
เป็นอนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา สิ่งนั้นบุคคลพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็น
จริงอย่างนี้ว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’ ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๒๑๑ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๔. จตุตถปัณณาสก์ ๒. สัฏฐิเปยยาลวรรค ๔๙-๕๑. พาหิราตีตาทิยังทุกขสูตร

ชิวหา .... เป็นอนัตตา ฯลฯ มโนที่เป็นอดีต ที่เป็นอนาคต ที่เป็นปัจจุบัน
เป็นอนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา สิ่งนั้นบุคคลพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความ
เป็นจริงอย่างนี้ว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’
ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ฯลฯ รู้ชัดว่า ... ไม่มีกิจ
อื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป”

อัชฌัตตาตีตาทิยทนัตตสูตรที่ ๔๓-๔๕ จบ

๔๖-๔๘. พาหิราตีตาทิยทนิจจสูตร
ว่าด้วยอายตนะภายนอกที่เป็นอดีตเป็นต้นไม่เที่ยง

[๒๑๓-๒๑๕] “ภิกษุทั้งหลาย รูปที่เป็นอดีต ที่เป็นอนาคต ที่เป็นปัจจุบัน
ไม่เที่ยง สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา สิ่งใด
เป็นอนัตตา สิ่งนั้นบุคคลพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า
‘นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’
สัททะ ... คันธะ ... รส ... โผฏฐัพพะ ... ธรรมารมณ์ที่เป็นอดีต ที่เป็น
อนาคต ที่เป็นปัจจุบันไม่เที่ยง สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้น
เป็นอนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา สิ่งนั้นบุคคลพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็น
จริงอย่างนี้ว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’
ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ฯลฯ รู้ชัดว่า ... ไม่มีกิจ
อื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป”

พาหิราตีตาทิยทนิจจสูตรที่ ๔๖-๔๘ จบ

๔๙-๕๑. พาหิราตีตาทิยังทุกขสูตร
ว่าด้วยอายตนะภายนอกที่เป็นอดีตเป็นต้นเป็นทุกข์

[๒๑๖-๒๑๘] “ภิกษุทั้งหลาย รูปที่เป็นอดีต ที่เป็นอนาคต ที่เป็นปัจจุบัน
เป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา สิ่งนั้น บุคคลพึง
เห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น
นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๒๑๒ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๔. จตุตถปัณณาสก์ ๒. สัฏฐิเปยยาลวรรค ๕๕. อัชฌัตตา...ทิสูตร

สัททะ ... คันธะ ... รส ... โผฏฐัพพะ ... ธรรมารมณ์ที่เป็นอดีต ที่เป็นอนาคต
ที่เป็นปัจจุบันเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา สิ่งนั้น
บุคคลพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา เรา
ไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’
ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ฯลฯ รู้ชัดว่า ... ไม่มีกิจ
อื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป”

พาหิราตีตาทิยังทุกขสูตรที่ ๔๙-๕๑ จบ

๕๒-๕๔. พาหิราตีตาทิยทนัตตสูตร
ว่าด้วยอายตนะภายนอกที่เป็นอดีตเป็นต้นเป็นอนัตตา

[๒๑๙-๒๒๑] “ภิกษุทั้งหลาย รูปที่เป็นอดีต ที่เป็นอนาคต ที่เป็นปัจจุบัน
เป็นอนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา สิ่งนั้นบุคคลพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความ
เป็นจริงอย่างนี้ว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’
สัททะ ... คันธะ ... รส ... โผฏฐัพพะ ... ธรรมารมณ์ที่เป็นอดีต ที่เป็น
อนาคต ที่เป็นปัจจุบันเป็นอนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา สิ่งนั้นบุคคลพึงเห็นด้วย
ปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่
อัตตาของเรา’
ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ฯลฯ รู้ชัดว่า ... ไม่มีกิจ
อื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป”

พาหิราตีตาทิยทนัตตสูตรที่ ๕๒-๕๔ จบ

๕๕. อัชฌัตตายตนอนิจจสูตร
ว่าด้วยอายตนะภายในไม่เที่ยง

[๒๒๒] “ภิกษุทั้งหลาย จักขุไม่เที่ยง ฯลฯ ชิวหาไม่เที่ยง ฯลฯ มโนไม่เที่ยง
ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ฯลฯ รู้ชัดว่า ... ไม่มีกิจอื่น
เพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป”

อัชฌัตตายตนอนิจจสูตรที่ ๕๕ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๔. จตุตถปัณณาสก์ ๒. สัฏฐิเปยยาลวรรค ๕๘. พาหิรายตนอนิจจสูตร

๕๖. อัชฌัตตายตนทุกขสูตร
ว่าด้วยอายตนะภายในเป็นทุกข์

[๒๒๓] “ภิกษุทั้งหลาย จักขุเป็นทุกข์ ฯลฯ ชิวหาเป็นทุกข์ กายเป็นทุกข์
มโนเป็นทุกข์ ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ฯลฯ รู้ชัดว่า ...
ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป”

อัชฌัตตายตนทุกขสูตรที่ ๕๖ จบ

๕๗. อัชฌัตตายตนอนัตตสูตร
ว่าด้วยอายตนะภายในเป็นอนัตตา

[๒๒๔] “ภิกษุทั้งหลาย จักขุเป็นอนัตตา ฯลฯ ชิวหาเป็นอนัตตา กายเป็น
อนัตตา มโนเป็นอนัตตา
ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ฯลฯ รู้ชัดว่า ... ไม่มีกิจ
อื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป”

อัชฌัตตายตนอนัตตสูตรที่ ๕๗ จบ

๕๘. พาหิรายตนอนิจจสูตร
ว่าด้วยอายตนะภายนอกไม่เที่ยง

[๒๒๕] “ภิกษุทั้งหลาย รูปไม่เที่ยง ฯลฯ สัททะ ... คันธะ ... รส ...
โผฏฐัพพะ ... ธรรมารมณ์ไม่เที่ยง
ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ฯลฯ รู้ชัดว่า ... ไม่มีกิจ
อื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป”

พาหิรายตนอนิจจสูตรที่ ๕๘ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๔. จตุตถปัณณาสก์ ๒. สัฏฐิเปยยาลวรรค ๖๐. พาหิรายตนอนัตตสูตร

๕๙. พาหิรายตนทุกขสูตร
ว่าด้วยอายตนะภายนอกเป็นทุกข์

[๒๒๖] “ภิกษุทั้งหลาย รูปเป็นทุกข์ ฯลฯ สัททะ ... คันธะ ... รส ...
โผฏฐัพพะ ... ธรรมารมณ์เป็นทุกข์
ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ฯลฯ รู้ชัดว่า ... ไม่มีกิจ
อื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป”

พาหิรายตนทุกขสูตรที่ ๕๙ จบ

๖๐. พาหิรายตนอนัตตสูตร
ว่าด้วยอายตนะภายนอกเป็นอนัตตา

[๒๒๗] “ภิกษุทั้งหลาย รูปเป็นอนัตตา ฯลฯ สัททะ ... คันธะ ... รส ...
โผฏฐัพพะ ... ธรรมารมณ์เป็นอนัตตา
ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ฯลฯ รู้ชัดว่า ... ไม่มีกิจ
อื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป”

พาหิรายตนอนัตตสูตรที่ ๖๐ จบ
สัฏฐิเปยยาลวรรคที่ ๒ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๔. จตุตถปัณณาสก์ ๓. สมุททวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. อัชฌัตตอนิจจฉันทสูตร ๒. อัชฌัตตอนิจจราคสูตร
๓. อัชฌัตตอนิจจฉันทราคสูตร ๔-๖. ทุกขฉันทาทิสูตร
๗-๙. อนัตตฉันทาทิสูตร ๑๐-๑๒. พาหิรานิจจฉันทาทิสูตร
๑๓-๑๕. พาหิรทุกขฉันทาทิสูตร ๑๖-๑๘. พาหิรานัตตฉันทาทิสูตร
๑๙. อัชฌัตตาตีตานิจจสูตร ๒๐. อัชฌัตตานาคตานิจจสูตร
๒๑. อัชฌัตตปัจจุปปันนานิจจสูตร ๒๒-๒๔. อัชฌัตตาตีตาทิทุกขสูตร
๒๕-๒๗. อัชฌัตตาตีตาทิอนัตตสูตร ๒๘-๓๐. พาหิราตีตาทิอนิจจสูตร
๓๑-๓๓. พาหิราตีตาทิทุกขสูตร ๓๔-๓๖. พาหิราตีตาทิอนัตตสูตร
๓๗. อัชฌัตตาตีตยทนิจจสูตร ๓๘. อัชฌัตตานาคตยทนิจจสูตร
๓๙. อัชฌัตตปัจจุปปันนยทนิจจสูตร ๔๐-๔๒. อัชฌัตตาตีตาทิยังทุกขสูตร
๔๓-๔๕. อัชฌัตตาตีตาทิยทนัตตสูตร ๔๖-๔๘. พาหิราตีตาทิยทนิจจสูตร
๔๙-๕๑. พาหิราตีตาทิยังทุกขสูตร ๕๒-๕๔. พาหิราตีตาทิยทนัตตสูตร
๕๕. อัชฌัตตายตนอนิจจสูตร ๕๖. อัชฌัตตายตนทุกขสูตร
๕๗. อัชฌัตตายตนอนัตตสูตร ๕๘. พาหิรายตนอนิจจสูตร
๕๙. พาหิรายตนทุกขสูตร ๖๐. พาหิรายตนอนัตตสูตร

พระสูตร ๖๐ สูตร จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๔. จตุตถปัณณาสก์ ๓. สมุททวรรค ๑. ปฐมสมุททสูตร

๓. สมุททวรรค
หมวดว่าด้วยสมุทร
๑. ปฐมสมุททสูตร
ว่าด้วยสมุทร สูตรที่ ๑

[๒๒๘] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย ปุถุชน๑ ผู้ไม่ได้สดับ๒ ย่อม
กล่าวว่า ‘สมุทร สมุทร’ นั่นไม่ใช่สมุทรในอริยวินัย นั่นเป็นแอ่งน้ำใหญ่ เป็นห้วงน้ำ
ใหญ่
ภิกษุทั้งหลาย จักขุเป็นสมุทร๓ของบุรุษ กำลังของจักขุนั้นเกิดจากรูป บุรุษใด
อดกลั้นกำลังอันเกิดจากรูปนั้นได้ บุรุษนี้ได้ข้ามสมุทรคือจักขุ ซึ่งมีทั้งคลื่น๔ วังวน๕
สัตว์ร้าย๖ และผีเสื้อน้ำ๗เราเรียกว่า ‘บุคคลผู้ลอยบาปข้ามถึงฝั่ง๘ดำรงอยู่บนบก’ ฯลฯ
ชิวหาเป็นสมุทรของบุรุษ กำลังของชิวหานั้นเกิดจากรส บุรุษใดอดกลั้นกำลัง
อันเกิดจากรสนั้นได้ บุรุษนี้ได้ข้ามสมุทรคือชิวหา ซึ่งมีทั้งคลื่น วังวน สัตว์ร้าย
และผีเสื้อน้ำ เราเรียกว่า ‘บุคคลผู้ลอยบาปข้ามถึงฝั่งดำรงอยู่บนบก’ ฯลฯ
มโนเป็นสมุทรของบุรุษ กำลังของมโนนั้นเกิดจากธรรมารมณ์ บุรุษใดอดกลั้น
กำลังอันเกิดจากธรรมารมณ์นั้นได้ บุรุษนี้ได้ข้ามสมุทรคือมโนซึ่งมีทั้งคลื่น วังวน
สัตว์ร้าย และผีเสื้อน้ำ เราเรียกว่า ‘บุคคลผู้ลอยบาปข้ามถึงฝั่งดำรงอยู่บนบก’


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๔. จตุตถปัณณาสก์ ๓. สมุททวรรค ๒. ทุติยสมุททสูตร

พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดาได้ตรัสเวยยากรณภาษิตนี้แล้วจึงได้ตรัสคาถา-
ประพันธ์ต่อไปอีกว่า
“บุรุษใดข้ามสมุทรนี้ซึ่งมีทั้งคลื่น สัตว์ร้าย
และผีเสื้อน้ำที่น่ากลัวข้ามได้ยากได้แล้ว
บุรุษนั้นเราเรียกว่า ‘เป็นผู้จบเวท
อยู่จบพรหมจรรย์ ถึงที่สุดแห่งโลก๑ ถึงฝั่งแล้ว”

ปฐมสมุททสูตรที่ ๑ จบ

๒. ทุติยสมุททสูตร
ว่าด้วยสมุทร สูตรที่ ๒

[๒๒๙] “ภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับย่อมกล่าวว่า ‘สมุทร สมุทร’
นั่นไม่ใช่สมุทรในอริยวินัย นั่นเป็นแอ่งน้ำใหญ่ เป็นห้วงน้ำใหญ่
ภิกษุทั้งหลาย รูปที่พึงรู้แจ้งทางตาที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก
ชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัดมีอยู่ นี้เรียกว่า ‘สมุทรในอริยวินัย’ โลกนี้ พร้อมทั้งเทวโลก
มารโลก พรหมโลก หมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ในสมุทรนี้
โดยมากเป็นผู้เศร้าหมอง ยุ่งเหยิงประดุจด้ายของช่างหูก เป็นปมประหนึ่งกระจุกด้าย
เป็นประดุจหญ้าปล้องและหญ้ามุงกระต่าย ย่อมไม่พ้นจากอบาย ทุคติ วินิบาต๒
และสงสารไปได้ ฯลฯ
รสที่พึงรู้แจ้งทางลิ้น...มีอยู่ ฯลฯ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๔. จตุตถปัณณาสก์ ๓. สมุททวรรค ๓. พาฬิสิโกปมสูตร

ธรรมารมณ์ที่พึงรู้แจ้งทางใจที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก ชักให้ใคร่
พาใจให้กำหนัดมีอยู่ นี้เรียกว่า ‘สมุทรในอริยวินัย’ โลกนี้พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก
พรหมโลก หมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดา และมนุษย์ในสมุทรนี้โดย
มากเป็นผู้เศร้าหมอง ยุ่งเหยิงประดุจด้ายของช่างหูก เป็นปมประหนึ่งกระจุกด้าย
เป็นประดุจหญ้าปล้องและหญ้ามุงกระต่าย ย่อมไม่พ้นจากอบาย ทุคติ วินิบาต
และสงสารไปได้
“บุคคลใดคลายราคะ โทสะ และอวิชชาได้แล้ว
บุคคลนั้นชื่อว่าข้ามสมุทรนี้ซึ่งมีทั้งคลื่น สัตว์ร้าย
(และ) ผีเสื้อน้ำที่น่ากลัวข้ามได้ยากได้แล้ว
เรากล่าวว่า ‘บุคคลนั้นล่วงพ้นเครื่องข้อง ละมัจจุ
ไม่มีอุปธิ ละทุกข์เพื่อไม่เกิดอีกต่อไป
ถึงความดับ ไม่ถึงการนับ ลวงมัจจุราชให้หลงได้”

ทุติยสมุททสูตรที่ ๒ จบ

๓. พาฬิสิโกปมสูตร
ว่าด้วยอุปมาด้วยพรานเบ็ด

[๒๓๐] “ภิกษุทั้งหลาย พรานเบ็ดหย่อนเบ็ดที่มีเหยื่อลงไปในห้วงน้ำลึก
ปลาตัวใดเห็นแก่เหยื่อกลืนเบ็ดนั้น ปลาตัวนั้นชื่อว่ากลืนเบ็ดของนายพรานเบ็ด
ถึงความวิบัติ ถึงความพินาศ ถูกพรานเบ็ดทำได้ตามใจปรารถนาแม้ฉันใด
ภิกษุทั้งหลาย เบ็ด ๖ ชนิดนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน มีอยู่ในโลกเพื่อความ
วิบัติของสัตว์ทั้งหลาย เพื่อฆ่าสัตว์ทั้งหลาย
เบ็ด ๖ ชนิด อะไรบ้าง
คือ รูปที่พึงรู้แจ้งทางตาที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก ชักให้ใคร่
พาใจให้กำหนัดมีอยู่ ถ้าภิกษุยังเพลิดเพลิน เชยชม ยึดติดรูปนั้นอยู่ ภิกษุนี้เรา
เรียกว่า ‘ผู้กลืนเบ็ดของมาร ถึงความวิบัติ ถึงความพินาศ ถูกมารผู้มีบาปทำได้
ตามใจปรารถนา’ ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๒๑๙ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๔. จตุตถปัณณาสก์ ๓. สมุททวรรค ๔. ขีรรุกโขปมสูตร

รสที่พึงรู้แจ้งทางลิ้น ฯลฯ
ธรรมารมณ์ที่พึงรู้แจ้งทางใจที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก
ชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัด มีอยู่ ถ้าภิกษุยังเพลิดเพลิน เชยชม ยึดติดธรรมารมณ์
นั้นอยู่ ภิกษุนี้เราเรียกว่า ‘ผู้กลืนเบ็ดของมาร ถึงความวิบัติ ถึงความพินาศ
ถูกมารผู้มีบาปทำได้ตามใจปรารถนา’
รูปที่พึงรู้แจ้งทางตาที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก ชักให้ใคร่
พาใจให้กำหนัดมีอยู่ ถ้าภิกษุไม่เพลิดเพลิน ไม่เชยชม ไม่ยึดติดรูปนั้นอยู่ ภิกษุนี้
เราเรียกว่า ‘ผู้ไม่กลืนเบ็ดของมาร ได้ทำลายเบ็ด ย่ำยีเบ็ด ไม่ถึงความวิบัติ
ไม่ถึงความพินาศ ไม่ถูกมารผู้มีบาปทำได้ตามใจปรารถนา’ ฯลฯ
รสที่พึงรู้แจ้งทางลิ้น ... มีอยู่ ฯลฯ
ธรรมารมณ์ที่พึงรู้แจ้งทางใจที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก
ชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัด มีอยู่ ถ้าภิกษุไม่เพลิดเพลิน ไม่เชยชม ไม่ยึดติด
ธรรมารมณ์นั้นอยู่ ภิกษุนี้เราเรียกว่า ‘ผู้ไม่กลืนเบ็ดของมาร ได้ทำลายเบ็ด ย่ำยีเบ็ด
ไม่ถึงความวิบัติ ไม่ถึงความพินาศ ไม่ถูกมารผู้มีบาปทำได้ตามใจปรารถนา”

พาฬิสิโกปมสูตรที่ ๓ จบ

๔. ขีรรุกโขปมสูตร
ว่าด้วยอุปมาด้วยต้นไม้มียาง

[๒๓๑] “ภิกษุทั้งหลาย ราคะของภิกษุหรือภิกษุณีรูปใดรูปหนึ่งในรูปที่พึงรู้แจ้ง
ทางตามีอยู่ โทสะของภิกษุหรือภิกษุณีรูปใดรูปหนึ่งในรูปที่พึงรู้แจ้งทางตามีอยู่
โมหะของภิกษุหรือภิกษุณีรูปใดรูปหนึ่งในรูปที่พึงรู้แจ้งทางตามีอยู่ ราคะนั้นภิกษุหรือ
ภิกษุณียังละไม่ได้ โทสะนั้นภิกษุหรือภิกษุณียังละไม่ได้ โมหะนั้นภิกษุหรือภิกษุณี
ยังละไม่ได้ ถ้าแม้รูปที่พึงรู้แจ้งทางตาเพียงเล็กน้อยมาปรากฏทางตาของภิกษุหรือ
ภิกษุณีนั้น ก็ย่อมครอบงำจิตของภิกษุหรือภิกษุณีนั้นได้แท้ ไม่จำต้องกล่าวถึงรูป
ที่มากกว่านั้นเลย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๒๒๐ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๔. จตุตถปัณณาสก์ ๓. สมุททวรรค ๔. ขีรรุกโขปมสูตร

ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะราคะนั้นยังมีอยู่ โทสะนั้นยังมีอยู่ โมหะนั้นยังมีอยู่ ราคะนั้นภิกษุหรือ
ภิกษุณียังละไม่ได้ โทสะนั้นภิกษุหรือภิกษุณียังละไม่ได้ โมหะนั้นภิกษุหรือภิกษุณี
ยังละไม่ได้ ฯลฯ
ราคะของภิกษุหรือภิกษุณีรูปใดรูปหนึ่งในรสที่พึงรู้แจ้งทางลิ้นมีอยู่ ฯลฯ
ราคะของภิกษุหรือภิกษุณีรูปใดรูปหนึ่งในธรรมารมณ์ที่พึงรู้แจ้งทางใจมีอยู่
โทสะของภิกษุหรือภิกษุณีรูปใดรูปหนึ่งในธรรมารมณ์ที่พึงรู้แจ้งทางใจมีอยู่ โมหะของ
ภิกษุหรือภิกษุณีรูปใดรูปหนึ่งในธรรมารมณ์ที่พึงรู้แจ้งทางใจมีอยู่ ราคะนั้นภิกษุ
หรือภิกษุณียังละไม่ได้ โทสะนั้นภิกษุหรือภิกษุณียังละไม่ได้ โมหะนั้นภิกษุหรือ
ภิกษุณียังละไม่ได้ ถ้าแม้ธรรมารมณ์ที่พึงรู้แจ้งทางใจเพียงเล็กน้อยมาปรากฏทางใจ
ของภิกษุหรือภิกษุณีนั้น ก็ย่อมครอบงำจิตของภิกษุหรือภิกษุณีนั้นได้แท้ ไม่จำต้อง
กล่าวถึงธรรมารมณ์ที่มากกว่านั้นเลย
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะราคะนั้นยังมีอยู่ โทสะนั้นยังมีอยู่ โมหะนั้นยังมีอยู่ ราคะนั้นภิกษุหรือ
ภิกษุณียังละไม่ได้ โทสะนั้นภิกษุหรือภิกษุณียังละไม่ได้ โมหะนั้นภิกษุหรือภิกษุณี
ยังละไม่ได้
ภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนต้นไม้มียาง จะเป็นต้นโพธิ์ ต้นไทร ต้นกร่าง
หรือต้นมะเดื่อก็ตาม ยังอ่อน ใหม่ ขนาดเล็ก บุรุษใช้ขวานที่คมฟันต้นไม้นั้นตรง
ที่ใด ๆ ยางจะพึงไหลออกได้ไหม”
“ได้ พระพุทธเจ้าข้า”
“ข้อนั้นเพราะเหตุไร”
“เพราะยางนั้นมีอยู่ พระพุทธเจ้าข้า”
“ภิกษุทั้งหลาย อุปมานี้ฉันใด อุปไมยก็ฉันนั้นเหมือนกัน ราคะของภิกษุ
หรือภิกษุณีรูปใดรูปหนึ่งในรูปที่พึงรู้แจ้งทางตามีอยู่ โทสะของภิกษุหรือภิกษุณี
รูปใดรูปหนึ่งในรูปที่พึงรู้แจ้งทางตามีอยู่ โมหะของภิกษุหรือภิกษุณีรูปใดรูปหนึ่งใน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๒๒๑ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๔. จตุตถปัณณาสก์ ๓. สมุททวรรค ๔. ขีรรุกโขปมสูตร

รูปที่พึงรู้แจ้งทางตามีอยู่ ราคะนั้นภิกษุหรือภิกษุณียังละไม่ได้ โทสะนั้นภิกษุหรือ
ภิกษุณียังละไม่ได้ โมหะนั้นภิกษุหรือภิกษุณียังละไม่ได้ ถ้าแม้รูปที่พึงรู้แจ้งทางตา
เพียงเล็กน้อยมาปรากฏทางตาของภิกษุหรือภิกษุณีนั้น ก็ย่อมครอบงำจิตของภิกษุ
หรือภิกษุณีนั้นได้แท้ ไม่จำต้องกล่าวถึงรูปที่มากกว่าเลย
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะราคะนั้นยังมีอยู่ โทสะนั้นยังมีอยู่ โมหะนั้นยังมีอยู่ ราคะนั้นภิกษุหรือ
ภิกษุณียังละไม่ได้ โทสะนั้นภิกษุหรือภิกษุณียังละไม่ได้ โมหะนั้นภิกษุหรือภิกษุณี
ยังละไม่ได้ ฯลฯ
ราคะของภิกษุหรือภิกษุณีรูปใดรูปหนึ่งในรสที่พึงรู้แจ้งทางลิ้นมีอยู่ ฯลฯ
ราคะของภิกษุหรือภิกษุณีรูปใดรูปหนึ่งในธรรมารมณ์ที่พึงรู้แจ้งทางใจมีอยู่
โทสะของภิกษุหรือภิกษุณีรูปใดรูปหนึ่งในธรรมารมณ์ที่พึงรู้แจ้งทางใจมีอยู่ โมหะ
ของภิกษุหรือภิกษุณีรูปใดรูปหนึ่งในธรรมารมณ์ที่พึงรู้แจ้งทางใจมีอยู่ ราคะนั้น
ภิกษุหรือภิกษุณียังละไม่ได้ โทสะนั้นภิกษุหรือภิกษุณียังละไม่ได้ โมหะนั้นภิกษุหรือ
ภิกษุณียังละไม่ได้ ถ้าแม้ธรรมารมณ์ที่พึงรู้แจ้งทางใจเพียงเล็กน้อยมาปรากฏทางใจ
ของภิกษุหรือภิกษุณีนั้น ก็ย่อมครอบงำจิตของภิกษุหรือภิกษุณีนั้นได้แท้ ไม่จำต้อง
กล่าวถึงธรรมารมณ์ที่มากกว่าเลย
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะราคะนั้นยังมีอยู่ โทสะนั้นยังมีอยู่ โมหะนั้นยังมีอยู่ ราคะนั้นภิกษุหรือ
ภิกษุณีนั้นยังละไม่ได้ โทสะนั้นภิกษุหรือภิกษุณียังละไม่ได้ โมหะนั้นภิกษุหรือ
ภิกษุณียังละไม่ได้
ภิกษุทั้งหลาย ราคะของภิกษุหรือภิกษุณีรูปใดรูปหนึ่งในรูปที่พึงรู้แจ้งทางตาไม่มี
โทสะของภิกษุหรือภิกษุณีรูปใดรูปหนึ่งในรูปที่พึงรู้แจ้งทางตาไม่มี โมหะของภิกษุ
หรือภิกษุณีรูปใดรูปหนึ่งในรูปที่พึงรู้แจ้งทางตาไม่มี ราคะนั้นภิกษุหรือภิกษุณีละได้
แล้ว โทสะนั้นภิกษุหรือภิกษุณีละได้แล้ว โมหะนั้นภิกษุหรือภิกษุณีละได้แล้ว ถ้าแม้
รูปที่พึงรู้แจ้งทางตาซึ่งมากกว่ามาปรากฏทางตาของภิกษุหรือภิกษุณีนั้น ก็ครอบงำ
จิตของภิกษุหรือภิกษุณีนั้นไม่ได้ ไม่จำต้องกล่าวถึงรูปเพียงเล็กน้อยเลย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๒๒๒ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๔. จตุตถปัณณาสก์ ๓. สมุททวรรค ๔. ขีรรุกโขปมสูตร

ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะราคะนั้นไม่มี โทสะนั้นไม่มี โมหะนั้นไม่มี ราคะนั้นภิกษุหรือภิกษุณีละได้
แล้ว โทสะนั้นภิกษุหรือภิกษุณีละได้แล้ว โมหะนั้นภิกษุหรือภิกษุณีละได้แล้ว ฯลฯ
ราคะของภิกษุหรือของภิกษุณีรูปใดรูปหนึ่งในรสที่จะพึงรู้แจ้งทางลิ้นไม่มี ฯลฯ
ราคะของภิกษุหรือภิกษุณีรูปใดรูปหนึ่งในธรรมารมณ์ที่พึงรู้แจ้งทางใจไม่มี โทสะ
ของภิกษุหรือภิกษุณีรูปใดรูปหนึ่งในธรรมารมณ์ที่พึงรู้แจ้งทางใจไม่มี โมหะของ
ภิกษุหรือภิกษุณีรูปใดรูปหนึ่งในธรรมารมณ์ที่พึงรู้แจ้งทางใจไม่มี ราคะนั้นภิกษุ
หรือภิกษุณีละได้แล้ว โทสะนั้นภิกษุหรือภิกษุณีละได้แล้ว โมหะนั้นภิกษุหรือ
ภิกษุณีนั้นละได้แล้ว ถ้าแม้ธรรมารมณ์ที่พึงรู้แจ้งทางใจซึ่งมากกว่ามาปรากฏทางใจของ
ภิกษุหรือภิกษุณีนั้น ก็ครอบงำจิตของภิกษุหรือของภิกษุณีนั้นไม่ได้ ไม่จำต้อง
กล่าวถึงธรรมารมณ์เพียงเล็กน้อยเลย
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะราคะนั้นไม่มี โทสะนั้นไม่มี โมหะนั้นไม่มี ราคะนั้นภิกษุหรือภิกษุณีละ
ได้แล้ว โทสะนั้นภิกษุหรือภิกษุณีละได้แล้ว โมหะนั้นภิกษุหรือภิกษุณีละได้แล้ว
ภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนต้นไม้มียาง จะเป็นต้นโพธิ์ ต้นไทร ต้นกร่าง
หรือต้นมะเดื่อก็ตาม ซึ่งเป็นไม้แห้ง ผุมา ๓-๔ ปี บุรุษใช้ขวานที่คมฟันต้นไม้นั้น
ตรงที่ใด ๆ ยางจะพึงไหลออกได้ไหม”
“ไม่ได้ พระพุทธเจ้าข้า”
“ข้อนั้นเพราะเหตุไร”
“เพราะยางนั้นไม่มี พระพุทธเจ้าข้า”
“ภิกษุทั้งหลาย อุปมานี้ฉันใด อุปไมยก็ฉันนั้นเหมือนกัน ราคะของภิกษุ
หรือภิกษุณีรูปใดรูปหนึ่งในรูปที่พึงรู้แจ้งทางตาไม่มี โทสะของภิกษุหรือภิกษุณีรูป
ใดรูปหนึ่งในรูปที่พึงรู้แจ้งทางตาไม่มี โมหะของภิกษุหรือภิกษุณีรูปใดรูปหนึ่งในรูป
ที่พึงรู้แจ้งทางตาไม่มี ราคะนั้นภิกษุหรือภิกษุณีละได้แล้ว โทสะนั้นภิกษุ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๒๒๓ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๔. จตุตถปัณณาสก์ ๓. สมุททวรรค ๕. โกฏฐิกสูตร

หรือภิกษุณีละได้แล้ว โมหะนั้นภิกษุหรือภิกษุณีละได้แล้ว ถ้าแม้รูปที่พึงรู้แจ้งทาง
ตาซึ่งมากกว่ามาปรากฏทางตาของภิกษุหรือภิกษุณีนั้น ก็ครอบงำจิตของภิกษุหรือ
ภิกษุณีนั้นไม่ได้ ไม่จำต้องกล่าวถึงรูปเพียงเล็กน้อยเลย
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะราคะนั้นไม่มี โทสะนั้นไม่มี โมหะนั้นไม่มี ราคะนั้นภิกษุหรือภิกษุณีละ
ได้แล้ว โทสะนั้นภิกษุหรือภิกษุณีละได้แล้ว โมหะนั้นภิกษุหรือภิกษุณีละได้แล้ว ฯลฯ
ราคะของภิกษุหรือภิกษุณีรูปใดรูปหนึ่งในรสที่พึงรู้แจ้งทางลิ้นไม่มี ฯลฯ
ราคะของภิกษุหรือภิกษุณีรูปใดรูปหนึ่งในธรรมารมณ์ที่พึงรู้แจ้งทางใจไม่มี โทสะ
ของภิกษุหรือภิกษุณีรูปใดรูปหนึ่งในธรรมารมณ์ที่พึงรู้แจ้งทางใจไม่มี โมหะของ
ภิกษุหรือภิกษุณีรูปใดรูปหนึ่งในธรรมารมณ์ที่พึงรู้แจ้งทางใจไม่มี ราคะนั้นภิกษุ
หรือภิกษุณีละได้แล้ว โทสะนั้นภิกษุหรือภิกษุณีละได้แล้ว โมหะนั้นภิกษุหรือ
ภิกษุณีละได้แล้ว ถ้าแม้ธรรมารมณ์ที่พึงรู้แจ้งทางใจซึ่งมากกว่ามาปรากฏทางใจของ
ภิกษุหรือภิกษุณีนั้น ก็ย่อมครอบงำจิตของภิกษุหรือภิกษุณีนั้นไม่ได้ ไม่จำต้อง
กล่าวถึงธรรมารมณ์เพียงเล็กน้อยเลย
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะราคะนั้นไม่มี โทสะนั้นไม่มี โมหะนั้นไม่มี ราคะนั้นภิกษุหรือภิกษุณีละ
ได้แล้ว โทสะนั้นภิกษุหรือภิกษุณีละได้แล้ว โมหะนั้นภิกษุหรือภิกษุณีละได้แล้ว”

ขีรรุกโขปมสูตรที่ ๔ จบ

๕. โกฏฐิกสูตร
ว่าด้วยพระมหาโกฏฐิกะ

[๒๓๒] สมัยหนึ่ง ท่านพระสารีบุตรและท่านพระมหาโกฏฐิกะ อยู่ ณ ป่า
อิสิปตนมฤคทายวัน เขตกรุงพาราณสี ครั้นในเวลาเย็นท่านพระมหาโกฏฐิกะออก
จากที่หลีกเร้นแล้ว เข้าไปหาท่านพระสารีบุตรถึงที่อยู่ ได้สนทนาปราศรัยพอเป็นที่
บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้ว นั่ง ณ ที่สมควร ได้เรียนถามท่านพระสารีบุตร
ดังนี้ว่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๒๒๔ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๔. จตุตถปัณณาสก์ ๓. สมุททวรรค ๕. โกฏฐิกสูตร

“ท่านสารีบุตร ตาเกี่ยวข้องกับรูป รูปเกี่ยวข้องกับตา ฯลฯ ลิ้นเกี่ยวข้อง
กับรส รสเกี่ยวข้องกับลิ้น ฯลฯ ใจเกี่ยวข้องกับธรรมารมณ์ ธรรมารมณ์เกี่ยว
ข้องกับใจหรือ”
ท่านพระสารีบุตรตอบว่า “ท่านโกฏฐิกะ ตาไม่เกี่ยวข้องกับรูป รูปก็ไม่
เกี่ยวข้องกับตา แต่เพราะอาศัยตาและรูปทั้งสองนั้น ฉันทราคะจึงเกิดขึ้น ตาและ
รูปนั้นจึงเกี่ยวข้องในฉันทราคะนั้น ฯลฯ
ลิ้นไม่เกี่ยวข้องกับรส รสก็ไม่เกี่ยวข้องกับลิ้น แต่เพราะอาศัยลิ้นและรส
ทั้งสองนั้น ฉันทราคะจึงเกิดขึ้น ลิ้นและรสนั้นจึงเกี่ยวข้องในฉันทราคะนั้น ฯลฯ
ใจไม่เกี่ยวข้องกับธรรมารมณ์ ธรรมารมณ์ก็ไม่เกี่ยวข้องกับใจ แต่เพราะ
อาศัยใจและธรรมารมณ์ทั้งสองนั้น ฉันทราคะจึงเกิดขึ้น ใจและธรรมารมณ์นั้นจึง
เกี่ยวข้องในฉันทราคะนั้น
ท่านผู้มีอายุ เปรียบเหมือนโคดำกับโคขาว เขาผูกติดกันด้วยสายคร่าวหรือ
ด้วยเชือกเส้นเดียวกัน ผู้ใดพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘โคดำเกี่ยวเนื่องกับโคขาว โคขาว
เกี่ยวเนื่องกับโคดำ’ ผู้นั้นเมื่อกล่าวพึงกล่าวถูกต้องหรือ”
“ไม่ถูกต้อง ขอรับ โคดำไม่เกี่ยวเนื่องกับโคขาว แม้โคขาวก็ไม่เกี่ยวเนื่องกับ
โคดำ แต่โคทั้งสองนั้นถูกเขาผูกด้วยสายคร่าวหรือด้วยเชือกเส้นเดียวกัน สายคร่าว
หรือเชือกนั้นจึงเกี่ยวเนื่องในโคทั้งสองนั้น”
“ผู้มีอายุ อุปมานี้ฉันใด อุปไมยก็ฉันนั้นเหมือนกัน ตาไม่เกี่ยวข้องกับรูป
รูปก็ไม่เกี่ยวข้องกับตา แต่เพราะอาศัยตาและรูปทั้งสองนั้น ฉันทราคะจึงเกิดขึ้น
ตาและรูปนั้นจึงเกี่ยวข้องในฉันทราคะนั้น ฯลฯ
ลิ้นไม่เกี่ยวข้องกับรส ฯลฯ
ใจไม่เกี่ยวข้องกับธรรมารมณ์ ธรรมารมณ์ก็ไม่เกี่ยวข้องกับใจ แต่เพราะ
อาศัยใจและธรรมารมณ์ทั้งสองนั้น ฉันทราคะจึงเกิดขึ้น ใจและธรรมารมณ์นั้นจึง
เกี่ยวข้องในฉันทราคะนั้น
ผู้มีอายุ ตาจักเกี่ยวข้องกับรูป หรือรูปจักเกี่ยวข้องกับตา การประพฤติ
พรหมจรรย์เพื่อความสิ้นทุกข์โดยชอบไม่พึงปรากฏ แต่เพราะตาไม่เกี่ยวข้องกับรูป

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๒๒๕ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๔. จตุตถปัณณาสก์ ๓. สมุททวรรค ๕. โกฏฐิกสูตร

รูปไม่เกี่ยวข้องกับตา และเพราะอาศัยตาและรูปทั้งสองนั้น ฉันทราคะจึงเกิดขึ้น
ตาและรูปนั้นจึงเกี่ยวข้องในฉันทราคะนั้น ฉะนั้นการประพฤติพรหมจรรย์เพื่อความ
สิ้นทุกข์โดยชอบจึงปรากฏ ฯลฯ
ลิ้นจักเกี่ยวข้องกับรส หรือรสจักเกี่ยวข้องกับลิ้น การประพฤติพรหมจรรย์
เพื่อความสิ้นทุกข์โดยชอบไม่พึงปรากฏ แต่เพราะลิ้นไม่เกี่ยวข้องกับรส รสไม่
เกี่ยวข้องกับลิ้น และเพราะอาศัยลิ้นและรสทั้งสองนั้น ฉันทราคะจึงเกิดขึ้น ลิ้น
และรสนั้นจึงเกี่ยวข้องในฉันทราคะนั้น ฉะนั้นการประพฤติพรหมจรรย์เพื่อความสิ้น
ทุกข์โดยชอบจึงปรากฏ
ใจจักเกี่ยวข้องกับธรรมารมณ์ หรือว่าธรรมารมณ์จักเกี่ยวข้องกับใจ การ
ประพฤติพรหมจรรย์เพื่อความสิ้นทุกข์โดยชอบไม่พึงปรากฏ แต่เพราะใจไม่
เกี่ยวข้องกับธรรมารมณ์ ธรรมารมณ์ไม่เกี่ยวข้องกับใจ และเพราะอาศัยใจและ
ธรรมารมณ์ทั้งสองนั้น ฉันทราคะจึงเกิดขึ้น ใจและธรรมารมณ์นั้นจึงเกี่ยวข้องใน
ฉันทราคะนั้น ฉะนั้นการประพฤติพรหมจรรย์เพื่อความสิ้นทุกข์โดยชอบจึงปรากฏ
ผู้มีอายุ ข้อนี้พึงทราบโดยประการแม้นี้ ตาไม่เกี่ยวข้องกับรูป รูปก็ไม่
เกี่ยวข้องกับตา แต่เพราะอาศัยตาและรูปทั้งสองนั้น ฉันทราคะจึงเกิดขึ้น ตาและ
รูปนั้นจึงเกี่ยวข้องในฉันทราคะนั้น ฯลฯ
ลิ้นไม่เกี่ยวข้องกับรส ฯลฯ
ใจไม่เกี่ยวข้องกับธรรมารมณ์ ธรรมารมณ์ก็ไม่เกี่ยวข้องกับใจ แต่เพราะ
อาศัยใจและธรรมารมณ์ทั้งสองนั้น ฉันทราคะจึงเกิดขึ้น ใจและธรรมารมณ์นั้นจึง
เกี่ยวข้องในฉันทราคะนั้น
ผู้มีอายุ พระเนตรของพระผู้มีพระภาคมีอยู่ พระผู้มีพระภาคทรงเห็นรูป
ด้วยพระเนตร แต่ไม่ทรงมีฉันทราคะเลย ทรงมีจิตหลุดพ้นดีแล้ว พระโสตของพระ
ผู้มีพระภาคมีอยู่ พระผู้มีพระภาคทรงฟังเสียงด้วยพระโสต แต่ไม่ทรงมีฉันทราคะ
เลย ทรงมีจิตหลุดพ้นดีแล้ว พระนาสิกของพระผู้มีพระภาคมีอยู่ พระผู้มีพระภาค
ทรงสูดกลิ่นด้วยพระนาสิก แต่ไม่ทรงมีฉันทราคะเลย ทรงมีจิตหลุดพ้นดีแล้ว
พระชิวหาของพระผู้มีพระภาคมีอยู่ พระองค์ทรงลิ้มรสด้วยพระชิวหา แต่ไม่ทรงมี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๒๒๖ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๔. จตุตถปัณณาสก์ ๓. สมุททวรรค ๖. กามสูตร

ฉันทราคะเลย ทรงมีจิตหลุดพ้นดีแล้ว พระวรกายของพระผู้มีพระภาคมีอยู่ พระ
ผู้มีพระภาคทรงถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยพระวรกาย แต่ไม่ทรงมีฉันทราคะเลย ทรงมี
จิตหลุดพ้นดีแล้ว พระมนัสของพระผู้มีพระภาคมีอยู่ พระผู้มีพระภาคทรงรู้แจ้ง
ธรรมารมณ์ด้วยพระมนัส แต่ไม่ทรงมีฉันทราคะเลย ทรงมีจิตหลุดพ้นดีแล้ว
ผู้มีอายุ ข้อนี้ก็พึงทราบโดยประการนี้ ตาไม่เกี่ยวข้องกับรูป รูปไม่เกี่ยวข้อง
กับตา แต่เพราะอาศัยตาและรูปทั้งสองนั้น ฉันทราคะจึงเกิดขึ้น ตาและรูปนั้นจึง
เกี่ยวข้องในฉันทราคะนั้น
หูไม่เกี่ยวข้องกับเสียง ... จมูกไม่เกี่ยวข้องกับกลิ่น ... ลิ้นไม่เกี่ยวข้องกับรส
รสไม่เกี่ยวข้องกับลิ้น แต่เพราะอาศัยลิ้นและรสทั้งสองนั้น ฉันทราคะจึงเกิดขึ้น
ลิ้นและรสนั้นจึงเกี่ยวข้องในฉันทราคะนั้น กายไม่เกี่ยวข้องกับโผฏฐัพพะ ... ใจไม่
เกี่ยวข้องกับธรรมารมณ์ ธรรมารมณ์ไม่เกี่ยวข้องกับใจ แต่เพราะอาศัยใจและ
ธรรมารมณ์ทั้งสองนั้น ฉันทราคะจึงเกิดขึ้น ใจและธรรมารมณ์นั้นจึงเกี่ยวข้องใน
ฉันทราคะนั้น”

โกฏฐิกสูตรที่ ๕ จบ

๖. กามภูสูตร
ว่าด้วยพระกามภู

[๒๓๓] สมัยหนึ่ง ท่านพระอานนท์และท่านพระกามภู อยู่ ณ โฆสิตาราม
เขตกรุงโกสัมพี ครั้นในเวลาเย็น ท่านพระกามภูออกจากที่หลีกเร้นแล้ว เข้าไปหา
ท่านพระอานนท์ถึงที่อยู่ ได้สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกัน
แล้ว นั่ง ณ ที่สมควร ได้เรียนถามท่านพระอานนท์ดังนี้ว่า
“ท่านอานนท์ ตาเกี่ยวข้องกับรูป รูปเกี่ยวข้องกับตา ฯลฯ ลิ้นเกี่ยวข้อง
กับรส รสเกี่ยวข้องกับลิ้น ฯลฯ ใจเกี่ยวข้องกับธรรมารมณ์ ธรรมารมณ์เกี่ยว
ข้องกับใจหรือ”
ท่านพระอานนท์ตอบว่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๒๒๗ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๔. จตุตถปัณณาสก์ ๓. สมุททวรรค ๗. อุทายิสูตร

“ท่านกามภู ตาไม่เกี่ยวข้องกับรูป รูปก็ไม่เกี่ยวข้องกับตา แต่เพราะอาศัยตา
และรูปทั้งสองนั้น ฉันทราคะจึงเกิดขึ้น ตาและรูปนั้นจึงเกี่ยวข้องในฉันทราคะนั้น
ฯลฯ
ลิ้นไม่เกี่ยวข้องกับรส รสก็ไม่เกี่ยวข้องกับลิ้น ฯลฯ
ใจไม่เกี่ยวข้องกับธรรมารมณ์ ธรรมารมณ์ก็ไม่เกี่ยวข้องกับใจ แต่เพราะ
อาศัยใจและธรรมารมณ์ทั้งสองนั้น ฉันทราคะจึงเกิดขึ้น ใจและธรรมารมณ์นั้นจึง
เกี่ยวข้องในฉันทราคะนั้น
ท่านผู้มีอายุ เปรียบเหมือนโคดำกับโคขาว เขาผูกติดกันด้วยสายคร่าวหรือ
ด้วยเชือกเส้นเดียวกัน ผู้ใดพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘โคดำเกี่ยวเนื่องกับโคขาว โคขาว
เกี่ยวเนื่องกับโคดำ’ ผู้นั้นเมื่อกล่าวพึงกล่าวถูกต้องหรือ”
“ไม่ถูกต้อง ขอรับ โคดำไม่เกี่ยวเนื่องกับโคขาว แม้โคขาวก็ไม่เกี่ยวเนื่องกับ
โคดำ แต่โคทั้งสองนั้นถูกเขาผูกด้วยสายคร่าวหรือด้วยเชือกเส้นเดียวกัน สายคร่าว
หรือเชือกนั้นจึงเกี่ยวเนื่องในโคทั้งสองนั้น”
“ผู้มีอายุ อุปมานี้ฉันใด อุปไมยก็ฉันนั้นเหมือนกัน ตาไม่เกี่ยวข้องกับรูป
รูปก็ไม่เกี่ยวข้องกับตา ฯลฯ
ลิ้นไม่เกี่ยวข้องกับรส ฯลฯ
ใจไม่เกี่ยวข้องกับธรรมารมณ์ ธรรมารมณ์ก็ไม่เกี่ยวข้องกับใจ แต่เพราะ
อาศัยใจและธรรมารมณ์ทั้งสองนั้น ฉันทราคะจึงเกิดขึ้น ใจและธรรมารมณ์นั้นจึง
เกี่ยวข้องในฉันทราคะนั้น”

กามภูสูตรที่ ๖ จบ

๗. อุทายิสูตร
ว่าด้วยพระอุทายี

[๒๓๔] สมัยหนึ่ง ท่านพระอานนท์และท่านพระอุทายีอยู่ ณ โฆสิตาราม
เขตกรุงโกสัมพี ครั้นในเวลาเย็นท่านพระอุทายีออกจากที่หลีกเร้นแล้ว เข้าไปหา
ท่านพระอานนท์ถึงที่อยู่ ได้สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกัน
แล้ว นั่ง ณ ที่สมควร ได้เรียนถามท่านพระอานนท์ดังนี้ว่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๒๒๘ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๔. จตุตถปัณณาสก์ ๓. สมุททวรรค ๗. อุทายิสูตร

“ท่านอานนท์ กายนี้พระผู้มีพระภาคตรัสบอก เปิดเผย ประกาศแล้วโดย
ประการต่าง ๆ ว่า ‘กายนี้เป็นอนัตตาแม้เพราะเหตุนี้’ ฉันใด แม้วิญญาณนี้
ท่านอาจบอก๑ แสดง๒ บัญญัติ๓ กำหนด๔ เปิดเผย๕ จำแนก๖ ทำให้ง่าย๗ ว่า
‘วิญญาณนี้เป็นอนัตตาแม้เพราะเหตุนี้’ ฉันนั้นหรือ”
ท่านพระอานนท์ตอบว่า “ท่านอุทายี กายนี้พระผู้มีพระภาคตรัสบอก เปิดเผย
ประกาศแล้วโดยประการต่าง ๆ ว่า ‘กายนี้เป็นอนัตตาแม้เพราะเหตุนี้’ ฉันใด แม้
วิญญาณนี้ผมอาจบอก แสดง บัญญัติ กำหนด เปิดเผย จำแนก ทำให้ง่ายว่า
‘วิญญาณนี้เป็นอนัตตาแม้เพราะเหตุนี้’ ฉันนั้น”
“เพราะอาศัยจักขุและรูป จักขุวิญญาณจึงเกิดหรือ”
“อย่างนั้น ขอรับ”
“เหตุและปัจจัยเพื่อให้จักขุวิญญาณเกิดพึงดับทุกสิ่งโดยอาการทั้งหมดทุกอย่าง
ไม่เหลือโดยประการทั้งปวง จักขุวิญญาณจะพึงปรากฏบ้างหรือ”
“ไม่ปรากฏ ขอรับ”
“จักขุวิญญาณพระผู้มีพระภาคตรัสบอก เปิดเผย ประกาศแล้วโดยประการ
แม้นี้ว่า ‘วิญญาณนี้เป็นอนัตตาแม้เพราะเหตุนี้’ ฯลฯ
“เพราะอาศัยลิ้นและรส ชิวหาวิญญาณจึงเกิดหรือ”
“อย่างนั้น ขอรับ”


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๔. จตุตถปัณณาสก์ ๓. สมุททวรรค ๘. อาทิตตปริยายสูตร

“เหตุและปัจจัยเพื่อให้ชิวหาวิญญาณเกิดพึงดับทุกสิ่งโดยอาการทั้งหมดทุกอย่าง
ไม่เหลือ โดยประการทั้งปวง ชิวหาวิญญาณพึงปรากฏบ้างหรือ”
“ไม่ปรากฏ ขอรับ”
“ชิวหาวิญญาณพระผู้มีพระภาคตรัสบอก เปิดเผย ประกาศแล้วโดยประการ
แม้นี้ว่า ‘วิญญาณนี้เป็นอนัตตาแม้เพราะเหตุนี้’ ฯลฯ
“เพราะอาศัยใจและธรรมารมณ์ มโนวิญญาณจึงเกิดหรือ”
“อย่างนั้น ขอรับ”
“เหตุและปัจจัยเพื่อให้มโนวิญญาณเกิดพึงดับทุกสิ่งโดยอาการทั้งหมดทุกอย่าง
ไม่เหลือโดยประการทั้งปวง มโนวิญญาณพึงปรากฏบ้างหรือ”
“ไม่ปรากฏ ขอรับ”
“มโนวิญญาณ พระผู้มีพระภาคตรัสบอก เปิดเผย ประกาศแล้วโดยประการ
แม้นี้ว่า ‘วิญญาณนี้เป็นอนัตตาแม้เพราะเหตุนี้’
ผู้มีอายุ บุรุษผู้ต้องการแก่นไม้ แสวงหาแก่นไม้ เที่ยวแสวงหาแก่นไม้ ถือ
ขวานที่คมเข้าไปสู่ป่า พบต้นกล้วยใหญ่ ตรง ต้นใหม่ สูงมาก ในป่านั้น พึงตัด
โคนแล้ว ตัดปลาย ปอกกาบออก ไม่พบแม้กระพี้ที่ต้นกล้วยนั้น ที่ไหนจักพบ
แก่นเล่า แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้น ไม่พิจารณาเห็นอัตตาหรือสิ่งที่เนื่องด้วยอัตตา
ในผัสสายตนะ ๖ ประการ ท่านเมื่อไม่พิจารณาเห็นอย่างนี้ ย่อมไม่ยึดถือสิ่งใด ๆ
ในโลก เมื่อไม่ยึดถือ ก็ไม่ดิ้นรน เมื่อไม่ดิ้นรน ก็ดับไปเฉพาะตนเอง รู้ชัดว่า
‘ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อ
ความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป”

อุทายิสูตรที่ ๗ จบ

๘. อาทิตตปริยายสูตร
ว่าด้วยอาทิตตบรรยาย

[๒๓๕] “ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงอาทิตตบรรยายและธรรมบรรยายแก่
เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๒๓๐ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๔. จตุตถปัณณาสก์ ๓. สมุททวรรค ๘. อาทิตตปริยายสูตร

อาทิตตบรรยายและธรรมบรรยาย เป็นอย่างไร
คือ บุคคลแทงจักขุนทรีย์ด้วยหลาวเหล็กที่ร้อน ไฟติด ลุกโชน โชติช่วง
ยังประเสริฐกว่า ส่วนการถือนิมิตโดยอนุพยัญชนะ๑ในรูปที่พึงรู้แจ้งทางตาไม่ประเสริฐ
เลย วิญญาณที่เนื่องด้วยความยินดีในนิมิตหรือเนื่องด้วยความยินดีในอนุพยัญชนะ
เมื่อตั้งอยู่ พึงตั้งอยู่ได้ ถ้าบุคคลกระทำกาลกิริยาในสมัยนั้น เป็นไปได้ที่บุคคลนั้น
จะพึงถึงคติอย่าง ๑ ใน ๒ อย่าง คือ นรกหรือกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน
เราเห็นโทษนี้แลจึงกล่าวอย่างนี้
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลทะลวงโสตินทรีย์ด้วยขอเหล็กที่คม ไฟติด ลุกโชน
โชติช่วง ยังประเสริฐกว่า ส่วนการถือนิมิตโดยอนุพยัญชนะในเสียงที่พึงรู้แจ้งทางหู
ไม่ประเสริฐเลย วิญญาณที่เนื่องด้วยความยินดีในนิมิตหรือเนื่องด้วยความยินดีใน
อนุพยัญชนะ เมื่อตั้งอยู่ พึงตั้งอยู่ได้ ถ้าบุคคลกระทำกาลกิริยาในสมัยนั้น เป็นไป
ได้ที่บุคคลนั้นจะพึงถึงคติอย่าง ๑ ใน ๒ อย่าง คือ นรกหรือกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน
เราเห็นโทษนี้แลจึงกล่าวอย่างนี้
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลคว้านฆานินทรีย์ด้วยมีดตัดเล็บที่คม ไฟติด ลุกโชน
โชติช่วง ยังประเสริฐกว่า ส่วนการถือนิมิตโดยอนุพยัญชนะในกลิ่นที่พึงรู้แจ้งทางจมูก
ไม่ประเสริฐเลย วิญญาณที่เนื่องด้วยความยินดีในนิมิต หรือเนื่องด้วยความยินดี
ในอนุพยัญชนะ เมื่อตั้งอยู่ พึงตั้งอยู่ได้ ถ้าบุคคลกระทำกาลกิริยาในสมัยนั้น
เป็นไปได้ที่บุคคลนั้นจะพึงถึงคติอย่าง ๑ ใน ๒ อย่าง คือ นรกหรือกำเนิดสัตว์
ดิรัจฉาน
เราเห็นโทษนี้แลจึงกล่าวอย่างนี้
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลเฉือนชิวหินทรีย์ด้วยมีดโกนที่คม ไฟติด ลุกโชน โชติช่วง
ยังประเสริฐกว่า ส่วนการถือนิมิตโดยอนุพยัญชนะในรสที่พึงรู้แจ้งทางลิ้นไม่ประเสริฐ
เลย วิญญาณที่เนื่องด้วยความยินดีในนิมิตหรือเนื่องด้วยความยินดีในอนุพยัญชนะ
เมื่อตั้งอยู่ พึงตั้งอยู่ได้ ถ้าบุคคลกระทำกาลกิริยาในสมัยนั้น เป็นไปได้ที่บุคคลนั้น
จะพึงถึงคติอย่าง ๑ ใน ๒ อย่าง คือ นรกหรือกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน
เราเห็นโทษนี้แลจึงกล่าวอย่างนี้


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๔. จตุตถปัณณาสก์ ๓. สมุททวรรค ๘. อาทิตตปริยายสูตร

ภิกษุทั้งหลาย บุคคลแทงกายินทรีย์ด้วยหอกที่คม ไฟติด ลุกโชน โชติช่วง
ยังประเสริฐกว่า ส่วนการถือนิมิตโดยอนุพยัญชนะในโผฏฐัพพะที่พึงรู้แจ้งทางกายไม่
ประเสริฐเลย วิญญาณที่เนื่องด้วยความยินดีในนิมิตหรือเนื่องด้วยความยินดีใน
อนุพยัญชนะ เมื่อตั้งอยู่ พึงตั้งอยู่ได้ ถ้าบุคคลกระทำกาลกิริยาในสมัยนั้น เป็นไป
ได้ที่บุคคลนั้นจะพึงถึงคติอย่าง ๑ ใน ๒ อย่าง คือ นรกหรือกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน
เราเห็นโทษนี้จึงกล่าวอย่างนี้
ภิกษุทั้งหลาย ความหลับยังประเสริฐกว่า แต่เรากล่าวว่าความหลับเป็น
หมันสำหรับผู้มีชีวิต กล่าวว่าไร้ผลสำหรับผู้มีชีวิต กล่าวว่าเป็นความเขลาสำหรับ
ผู้มีชีวิต ส่วนบุคคลตกอยู่ในอำนาจของวิตกเช่นใดแล้ว พึงทำลายสงฆ์ให้แตกกัน
ก็ไม่ควรตรึกถึงวิตกเช่นนั้นเลย
เราเห็นโทษนี้แลว่าเป็นหมันสำหรับผู้มีชีวิต จึงกล่าวอย่างนี้
ภิกษุทั้งหลาย ในข้อนั้นอริยสาวกผู้ได้สดับย่อมเห็นดังนี้ว่า
จักขุนทรีย์ที่บุคคลแทงด้วยหลาวเหล็กที่ร้อน ไฟติด ลุกโชน โชติช่วง ยก
ไว้ก่อน เอาเถิด เราจะใส่ใจข้อนี้ว่า ‘จักขุไม่เที่ยง รูปไม่เที่ยง จักขุวิญญาณไม่เที่ยง
จักขุสัมผัสไม่เที่ยง แม้ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่
เกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัยก็ไม่เที่ยงด้วยประการฉะนี้’
โสตินทรีย์ที่บุคคลทะลวงด้วยขอเหล็กที่คม ไฟติด ลุกโชน โชติช่วง ยกไว้ก่อน
เอาเถิด เราจะใส่ใจข้อนี้ว่า ‘โสตะไม่เที่ยง สัททะไม่เที่ยง โสตวิญญาณไม่เที่ยง
โสตสัมผัสไม่เที่ยง แม้ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่
เกิดขึ้นเพราะโสตสัมผัสเป็นปัจจัยก็ไม่เที่ยงด้วยประการฉะนี้’
ฆานินทรีย์ที่บุคคลคว้านด้วยมีดตัดเล็บที่คม ไฟติด ลุกโชน โชติช่วง ยก
ไว้ก่อน เอาเถิด เราจะใส่ใจข้อนี้ว่า ‘ฆานะไม่เที่ยง คันธะไม่เที่ยง ฆานวิญญาณ
ไม่เที่ยง ฆานสัมผัสไม่เที่ยง แม้ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุข
มิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะฆานสัมผัสเป็นปัจจัยก็ไม่เที่ยงด้วยประการฉะนี้’
ชิวหินทรีย์ที่บุคคลเฉือนด้วยมีดโกนที่คม ไฟติด ลุกโชน โชติช่วง ยกไว้ก่อน
เอาเถิด เราจะใส่ใจข้อนี้ว่า ‘ชิวหาไม่เที่ยง รสไม่เที่ยง ชิวหาวิญญาณไม่เที่ยง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๒๓๒ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๔. จตุตถปัณณาสก์ ๓. สมุททวรรค ๙. ปฐมหัตถปาโทปมสูตร

ชิวหาสัมผัสไม่เที่ยง แม้ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่
เกิดขึ้นเพราะชิวหาสัมผัสเป็นปัจจัยก็ไม่เที่ยงด้วยประการฉะนี้’
กายินทรีย์ที่บุคคลแทงด้วยหลาวเหล็กที่คม ไฟติด ลุกโชน โชติช่วง ยกไว้ก่อน
เอาเถิด เราจะใส่ใจข้อนี้ว่า ‘กายไม่เที่ยง โผฏฐัพพะไม่เที่ยง กายวิญญาณไม่เที่ยง
กายสัมผัสไม่เที่ยง แม้ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่
เกิดขึ้นเพราะกายสัมผัสเป็นปัจจัยก็ไม่เที่ยงด้วยประการฉะนี้’
ความหลับยกไว้ก่อน ฯลฯ เอาเถิด เราจะใส่ใจข้อนี้ว่า ‘มโนไม่เที่ยง
ธรรมารมณ์ไม่เที่ยง มโนวิญญาณไม่เที่ยง มโนสัมผัสไม่เที่ยง แม้ความเสวย
อารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย
ก็ไม่เที่ยงด้วยประการฉะนี้’
อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในจักขุ ย่อมเบื่อหน่าย
แม้ในรูป ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในจักขุวิญญาณ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในจักขุสัมผัส ฯลฯ
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้น
เพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย เมื่อเบื่อหน่ายย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด
จิตย่อมหลุดพ้น เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว ก็รู้ว่า ‘หลุดพ้นแล้ว’ รู้ชัดว่า ‘ชาติสิ้นแล้ว
อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีก
ต่อไป’
ภิกษุทั้งหลาย นี้แลคืออาทิตตบรรยายและธรรมบรรยายฉะนี้แล”

อาทิตตปริยายสูตรที่ ๘ จบ

๙. ปฐมหัตถปาโทปมสูตร
ว่าด้วยอุปมาด้วยมือและเท้า สูตรที่ ๑

[๒๓๖] “ภิกษุทั้งหลาย เมื่อมือทั้ง ๒ มีอยู่ การจับและการวางก็ปรากฏ เมื่อ
เท้าทั้ง ๒ มีอยู่ การก้าวไปและการถอยกลับก็ปรากฏ เมื่อข้อทั้งหลายมีอยู่ การคู้เข้า
และการเหยียดออกก็ปรากฏ เมื่อท้องมีอยู่ ความหิวและความกระหายก็ปรากฏ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๒๓๓ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๔. จตุตถปัณณาสก์ ๓. สมุททวรรค ๑๐. ทุติยหัตถปาโทปมสูตร

ข้อนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน แม้เมื่อจักขุมีอยู่ สุขและทุกข์ในภายในจึงเกิดขึ้น
เพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัย ฯลฯ เมื่อชิวหามีอยู่ สุขและทุกข์ในภายในจึงเกิดขึ้น
เพราะชิวหาสัมผัสเป็นปัจจัย ฯลฯ เมื่อมโนมีอยู่ สุขและทุกข์ในภายในจึงเกิดขึ้น
เพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย
เมื่อมือทั้ง ๒ ไม่มี การจับและการวางก็ไม่ปรากฏ เมื่อเท้าทั้ง ๒ ไม่มี การ
ก้าวไปและการถอยกลับก็ไม่ปรากฏ เมื่อข้อทั้งหลายไม่มี การคู้เข้าและการเหยียด
ออกก็ไม่ปรากฏ เมื่อท้องไม่มี ความหิวและความกระหายก็ไม่ปรากฏ
ภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เมื่อจักขุไม่มี สุขและทุกข์ในภายใน
ย่อมไม่เกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัย ฯลฯ เมื่อชิวหาไม่มี สุขและทุกข์ใน
ภายในย่อมไม่เกิดขึ้นเพราะชิวหาสัมผัสเป็นปัจจัย ฯลฯ เมื่อมโนไม่มี สุขและ
ทุกข์ภายในย่อมไม่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย”

ปฐมหัตถปาโทปมสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. ทุติยหัตถปาโทปมสูตร
ว่าด้วยอุปมาด้วยมือและเท้า สูตรที่ ๒

[๒๓๗] “ภิกษุทั้งหลาย เมื่อมือทั้ง ๒ มีอยู่ การจับและการวางก็มี เมื่อเท้า
ทั้ง ๒ มีอยู่ การก้าวไปและการถอยกลับก็มี เมื่อข้อทั้งหลายมีอยู่ การคู้เข้าและ
การเหยียดออกก็มี เมื่อท้องมีอยู่ ความหิวและความกระหายก็มี
ข้อนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เมื่อจักขุมีอยู่ สุขและทุกข์ในภายในจึงเกิดขึ้นเพราะ
จักขุสัมผัสเป็นปัจจัย ฯลฯ เมื่อชิวหามีอยู่ ฯลฯ เมื่อมโนมีอยู่ สุขและทุกข์ใน
ภายในจึงเกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย ฯลฯ
เมื่อมือทั้ง ๒ ไม่มี การจับและการวางก็ไม่มี เมื่อเท้าทั้ง ๒ ไม่มี การ
ก้าวไปและการถอยกลับก็ไม่มี เมื่อข้อทั้งหลายไม่มี การคู้เข้าและการเหยียดออกก็
ไม่มี เมื่อท้องไม่มี ความหิวและความกระหายก็ไม่มี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๒๓๔ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๔. จตุตถปัณณาสก์ ๓. สมุททวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

ภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เมื่อจักขุไม่มี สุขและทุกข์ในภายใน
ย่อมไม่เกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัย ฯลฯ เพราะชิวหาสัมผัสเป็นปัจจัย ฯลฯ
เมื่อมโนไม่มี สุขและทุกข์ในภายในย่อมไม่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย”

ทุติยหัตถปาโทปมสูตรที่ ๑๐ จบ
สมุททวรรคที่ ๓ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. ปฐมสมุททสูตร ๒. ทุติยสมุททสูตร
๓. พาฬิสิโกปมสูตร ๔. ขีรรุกโขปมสูตร
๕. โกฏฐิกสูตร ๖. กามภูสูตร
๗. อุทายิสูตร ๘. อาทิตตปริยายสูตร
๙. ปฐมหัตถปาโทปมสูตร ๑๐. ทุติยหัตถปาโทปมสูตร


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๔. จตุตถปัณณาสก์ ๔. อาสีวิสวรรค ๑. อาสีวิโสปมสูตร

๔. อาสีวิสวรรค
หมวดว่าด้วยอสรพิษ
๑. อาสีวิโสปมสูตร
ว่าด้วยอุปมาด้วยอสรพิษ

[๒๓๘] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น
พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า
“ภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนอสรพิษ ๔ จำพวก๑ ซึ่งมีเดชมาก มีพิษกล้า
ถ้าบุรุษอยากมีชีวิตอยู่ ไม่อยากตาย รักสุข เกลียดทุกข์ เดินมา คนทั้งหลายพึง
บอกเขาอย่างนี้ว่า ‘พ่อมหาจำเริญ อสรพิษ ๔ จำพวกนี้ ซึ่งมีเดชมาก มีพิษกล้า
ท่านพึงปลุกให้ลุกตามเวลา ให้อาบน้ำตามเวลา ให้กินอาหารตามเวลา ให้เข้าที่อยู่
ตามเวลา เวลาใดอสรพิษซึ่งมีเดชมาก มีพิษกล้า ๔ จำพวกนี้ ตัวใดตัวหนึ่งก็ตาม
โกรธ เวลานั้นท่านก็จะถึงความตาย หรือถึงทุกข์ปางตาย พ่อมหาจำเริญ กิจใด
ที่ท่านควรทำ ท่านจงทำกิจนั้นเถิด’
ขณะนั้น บุรุษนั้นกลัวอสรพิษซึ่งมีเดชมาก มีพิษกล้า ๔ จำพวกนั้น จึงหนีไป
ทางใดทางหนึ่ง คนทั้งหลายพึงบอกเขาอย่างนี้ว่า ‘พ่อมหาจำเริญ นักฆ่าซึ่งเป็นศัตรู
๕ จำพวก ติดตามมาข้างหลังท่าน โดยหมายใจว่า ‘พบท่านในที่ใด ก็จะฆ่าท่าน
ในที่นั้นแล’ พ่อมหาจำเริญ กิจใดที่ท่านควรทำ ท่านจงทำสิ่งนั้นเถิด’
ขณะนั้น บุรุษนั้นกลัวอสรพิษซึ่งมีเดชมาก มีพิษกล้า ๔ จำพวกนั้น และกลัว
นักฆ่าซึ่งเป็นศัตรู ๕ จำพวก จึงหนีไปทางใดทางหนึ่ง คนทั้งหลายพึงบอกเขา
อย่างนี้ว่า ‘พ่อมหาจำเริญ นักฆ่าผู้เป็นสายลับจำพวกที่ ๖ นี้เงื้อดาบติดตามมา


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๔. จตุตถปัณณาสก์ ๔. อาสีวิสวรรค ๑. อาสีวิโสปมสูตร

ข้างหลังท่านโดยหมายใจว่า ‘พบท่านในที่ใด ก็จะตัดศีรษะท่านในที่นั้นแล’ พ่อ
มหาจำเริญ กิจใดที่ท่านควรทำ ท่านจงทำกิจนั้นเถิด’
ขณะนั้น บุรุษนั้นกลัวอสรพิษซึ่งมีเดชมาก มีพิษกล้า ๔ จำพวก กลัว
นักฆ่าซึ่งเป็นศัตรู ๕ จำพวก และกลัวนักฆ่าผู้เป็นสายลับจำพวกที่ ๖ ซึ่งเงื้อดาบ
ติดตามไป จึงหนีไปทางใดทางหนึ่ง เขาพบหมู่บ้านร้าง จึงเข้าไปสู่เรือนว่างเปล่า
หลังหนึ่ง ลูบคลำภาชนะว่างเปล่าชนิดหนึ่ง คนทั้งหลายพึงบอกเขาว่า ‘พ่อ
มหาจำเริญ พวกโจรผู้ฆ่าชาวบ้านเพิ่งเข้ามาสู่หมู่บ้านร้างนี้เดี๋ยวนี้เอง กิจใดที่ท่าน
ควรทำ ท่านจงทำกิจนั้นเถิด’
ขณะนั้น บุรุษนั้นกลัวอสรพิษซึ่งมีเดชมาก มีพิษกล้า ๔ จำพวก กลัว
นักฆ่าซึ่งเป็นศัตรู ๕ จำพวก กลัวนักฆ่าผู้เป็นสายลับจำพวกที่ ๖ ซึ่งเงื้อดาบ
ติดตามไป และกลัวโจรผู้ฆ่าชาวบ้าน จึงหนีไปทางใดทางหนึ่ง เขาพบห้วงน้ำใหญ่
แห่งหนึ่ง ซึ่งฝั่งนี้น่าระแวง มีภัยจำเพาะหน้า แต่ฝั่งโน้นปลอดภัย ไม่มีภัยจำเพาะ
หน้า เขาไม่มีเรือหรือสะพานที่จะข้ามไปฝั่งโน้น
ขณะนั้น บุรุษนั้นคิดอย่างนี้ว่า ‘ห้วงน้ำใหญ่ ฝั่งนี้น่าระแวง มีภัยจำเพาะ
หน้า ฝั่งโน้นปลอดภัย ไม่มีภัยจำเพาะหน้า เรานั้นไม่มีเรือหรือสะพานที่จะข้ามไป
ฝั่งโน้น ทางที่ดี เราควรรวบรวมหญ้า ไม้ กิ่ง และใบมาผูกเป็นแพ อาศัยแพนั้น
ใช้มือและเท้าพยายามไปถึงฝั่งโน้นโดยสวัสดี’
ครั้นบุรุษนั้นรวบรวมหญ้า ไม้ กิ่ง และใบมาผูกเป็นแพแล้ว อาศัยแพนั้น
ใช้มือและเท้าพยายามไปจน ถึงฝั่งโน้นโดยสวัสดี เป็นผู้ลอยบาปดำรงอยู่บนบก
ภิกษุทั้งหลาย อุปมานี้เรายกมาเพื่อให้เข้าใจเนื้อความแจ่มชัด ในอุปมานั้นมี
อธิบายดังนี้ว่า
คำว่า อสรพิษซึ่งมีเดชมาก มีพิษกล้า ๔ จำพวก นั้นเป็นชื่อของมหาภูตรูป
๔ คือ

๑. ปฐวีธาตุ (ธาตุดิน) ๒. อาโปธาตุ (ธาตุน้ำ)
๓. เตโชธาตุ (ธาตุไฟ) ๔. วาโยธาตุ (ธาตุลม)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๒๓๗ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๔. จตุตถปัณณาสก์ ๔. อาสีวิสวรรค ๑. อาสีวิโสปมสูตร

คำว่า นักฆ่าซึ่งเป็นศัตรู ๕ จำพวก นั้น เป็นชื่อของอุปาทานขันธ์ ๕ ได้แก่
๑. รูปูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือรูป)
๒. เวทนูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือเวทนา)
๓. สัญญูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือสัญญา)
๔. สังขารูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือสังขาร)
๕. วิญญาณูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือวิญญาณ)
คำว่า นักฆ่าผู้เป็นสายลับจำพวกที่ ๖ ซึ่งเงื้อดาบติดตามไป นั้นเป็นชื่อ
ของนันทิราคะ (ความกำหนัดด้วยอำนาจความยินดี)
คำว่า หมู่บ้านร้าง นั้นเป็นชื่อของอายตนะภายใน ๖ ประการ
ภิกษุทั้งหลาย ถ้าแม้บัณฑิตผู้ฉลาด มีปัญญาพิจารณาอายตนะภายใน ๖
ประการนั้นทางตา ก็จะปรากฏเป็นของว่างทั้งนั้น ปรากฏเป็นของเปล่าทั้งนั้น
ปรากฏเป็นของสูญทั้งนั้น
ถ้าแม้บัณฑิตผู้ฉลาด มีปัญญาพิจารณาอายตนะภายใน ๖ ประการนั้นทางหู
ก็จะปรากฏเป็นของว่างทั้งนั้น ปรากฏเป็นของเปล่าทั้งนั้น ปรากฏเป็นของสูญทั้งนั้น
ถ้าแม้บัณฑิตผู้ฉลาด มีปัญญาพิจารณาอายตนะภายใน ๖ ประการนั้นทางจมูก
ก็จะปรากฏเป็นของว่างทั้งนั้น ปรากฏเป็นของเปล่าทั้งนั้น ปรากฏเป็นของสูญทั้งนั้น
ถ้าแม้บัณฑิตผู้ฉลาด มีปัญญาพิจารณาอายตนะภายใน ๖ ประการนั้นทางลิ้น
ฯลฯ
ถ้าแม้บัณฑิตผู้ฉลาด มีปัญญาพิจารณาอายตนะภายใน ๖ ประการนั้นทาง
กาย ฯลฯ
ถ้าแม้บัณฑิตผู้ฉลาด มีปัญญาพิจารณาอายตนะภายใน ๖ ประการนั้นทางใจ
ก็จะปรากฏเป็นของว่างทั้งนั้น ปรากฏเป็นของเปล่าทั้งนั้น ปรากฏเป็นของสูญทั้งนั้น
คำว่า พวกโจรผู้ฆ่าชาวบ้าน นั้นเป็นชื่อของอายตนะภายนอก ๖ ประการ
ภิกษุทั้งหลาย ตาย่อมเดือดร้อนเพราะรูปที่น่าพอใจและไม่น่าพอใจ หู ฯลฯ
จมูก ฯลฯ ลิ้นย่อมเดือดร้อนเพราะรสที่น่าพอใจและไม่น่าพอใจ กาย ฯลฯ ใจ
ย่อมเดือดร้อนเพราะธรรมารมณ์ที่น่าพอใจและไม่น่าพอใจ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๒๓๘ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๔. จตุตถปัณณาสก์ ๔. อาสีวิสวรรค ๒. รโถปมสูตร

คำว่า ห้วงน้ำใหญ่ นั้นเป็นชื่อของโอฆะ (ห้วงน้ำ) ทั้ง ๔ คือ

๑. กาโมฆะ (โอฆะคือกาม) ๒. ภโวฆะ (โอฆะคือภพ)
๓. ทิฏโฐฆะ (โอฆะคือทิฏฐิ) ๔. อวิชโชฆะ (โอฆะคืออวิชชา)

คำว่า ฝั่งนี้น่าระแวง มีภัยจำเพาะหน้า นั้นเป็นชื่อของสักกายะ (กายของตน)
คำว่า ฝั่งโน้นปลอดภัย ไม่มีภัยจำเพาะหน้า นั้นเป็นชื่อของนิพพาน
คำว่า แพ นั้นเป็นชื่อของอริยมรรคมีองค์ ๘ คือ

๑. สัมมาทิฏฐิ (เห็นชอบ)
ฯลฯ
๘. สัมมาสมาธิ (ตั้งจิตมั่นชอบ)

คำว่า ใช้มือและเท้าพยายามไป นั้นเป็นชื่อของวิริยารัมภะ (ปรารภ
ความเพียร)
ภิกษุทั้งหลาย คำว่า เป็นผู้ลอยบาปข้ามถึงฝั่งดำรงอยู่บนบก นั้นเป็นชื่อ
ของพระอรหันต์”

อาสีวิโสปมสูตรที่ ๑ จบ

๒. รโถปมสูตร
ว่าด้วยอุปมาด้วยรถ

[๒๓๙] “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๓ ประการ มีสุขโสมนัส
มากอยู่ในปัจจุบัน และย่อมปรารภเหตุเพื่อความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย
ธรรม ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ

๑. ภิกษุคุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย
๒. รู้ประมาณในการบริโภคอาหาร
๓. ประกอบความเพียรเครื่องตื่นอยู่เนือง ๆ
ภิกษุชื่อว่าคุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย เป็นอย่างไร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๒๓๙ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๔. จตุตถปัณณาสก์ ๔. อาสีวิสวรรค ๒. รโถปมสูตร

คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เห็นรูปทางตาแล้ว ไม่รวบถือ ไม่แยกถือ ปฏิบัติเพื่อ
สำรวมจักขุนทรีย์ซึ่งเมื่อไม่สำรวมแล้วก็จะพึงเป็นเหตุให้ถูกธรรมที่เป็นบาปอกุศลคือ
อภิชฌาและโทมนัสครอบงำได้ จึงรักษาจักขุนทรีย์ ถึงความสำรวมในจักขุนทรีย์
ภิกษุฟังเสียงทางหู ... ดมกลิ่นทางจมูก ... ลิ้มรสทางลิ้น ... ถูกต้อง
โผฏฐัพพะทางกาย ... รู้แจ้งธรรมารมณ์ทางใจแล้ว ไม่รวบถือ ไม่แยกถือ ปฏิบัติ
เพื่อสำรวมมนินทรีย์ซึ่งเมื่อไม่สำรวมแล้วก็จะพึงเป็นเหตุให้ถูกธรรมที่เป็นบาปอกุศล
คืออภิชฌาและโทมนัสครอบงำได้ จึงรักษามนินทรีย์ ถึงความสำรวมในมนินทรีย์
นายสารถีฝึกม้าผู้ฉลาด เป็นอาจารย์ฝึกม้าขึ้นสู่รถม้าซึ่งมีประตักเตรียมพร้อม
ไว้แล้ว ดึงเชือกด้วยมือซ้าย ถือประตักด้วยมือขวา ขับไปข้างหน้าก็ได้ ถอยหลังก็ได้
ในถนนใหญ่สี่แยกซึ่งมีพื้นเรียบเสมอตามต้องการแม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน
ย่อมศึกษาเพื่อรักษา ย่อมศึกษาเพื่อสำรวม ย่อมศึกษาเพื่อฝึกฝน ย่อมศึกษา
เพื่อระงับอินทรีย์ ๖ ประการนี้
ภิกษุชื่อว่าคุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลายเป็นอย่างนี้แล
ภิกษุชื่อว่ารู้ประมาณในการบริโภคอาหาร เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้พิจารณาโดยแยบคายแล้วฉันอาหารไม่ใช่เพื่อเล่น
ไม่ใช่เพื่อมัวเมา ไม่ใช่เพื่อประดับ ไม่ใช่เพื่อตกแต่ง แต่เพียงเพื่อความดำรงอยู่ได้
แห่งกายนี้ เพื่อให้กายนี้เป็นไปได้ เพื่อกำจัดความเบียดเบียน เพื่ออนุเคราะห์พรหมจรรย์
ด้วยคิดเห็นว่า ‘เราจักกำจัดเวทนาเก่าและจักไม่ให้เวทนาใหม่เกิดขึ้น ความดำเนิน
ไปแห่งกาย ความไม่มีโทษ และความอยู่ผาสุกจักมีแก่เรา’
บุรุษพึงทาแผลก็เพียงเพื่อต้องการให้หาย หรือบุรุษพึงหยอดเพลารถก็เพียง
เพื่อต้องการขนสิ่งของไปได้แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกันพิจารณาโดยแยบคาย
แล้วฉันอาหารไม่ใช่เพื่อเล่น ไม่ใช่เพื่อมัวเมา ไม่ใช่เพื่อประดับ ไม่ใช่เพื่อตกแต่ง
แต่เพียงเพื่อความดำรงอยู่ได้แห่งกายนี้ เพื่อให้กายนี้เป็นไปได้ เพื่อกำจัดความ
เบียดเบียน เพื่ออนุเคราะห์พรหมจรรย์ ด้วยคิดเห็นว่า ‘เราจักกำจัดเวทนาเก่า
และจักไม่ให้เวทนาใหม่เกิดขึ้น ความดำเนินไปแห่งกาย ความไม่มีโทษ และความ
อยู่ผาสุกจักมีแก่เรา’
ภิกษุชื่อว่ารู้ประมาณในการบริโภคอาหารเป็นอย่างนี้แล

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๒๔๐ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๔. จตุตถปัณณาสก์ ๔. อาสีวิสวรรค ๓. กุมโมปมสูตร

ภิกษุชื่อว่าประกอบความเพียรเป็นเครื่องตื่นอยู่เนือง ๆ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ชำระจิตให้บริสุทธิ์จากธรรมทั้งหลายที่เป็นเครื่อง
ขัดขวาง ด้วยการจงกรม ด้วยการนั่ง ตลอดวัน ชำระจิตให้บริสุทธิ์จากธรรมทั้งหลาย
ที่เป็นเครื่องขัดขวาง ด้วยการจงกรม ด้วยการนั่ง ตลอดปฐมยามแห่งราตรี นอน
ดุจราชสีห์โดยข้างเบื้องขวา ซ้อนเท้าเหลื่อมเท้า มีสติสัมปชัญญะ หมายใจว่าจะ
ลุกขึ้น ตลอดมัชฌิมยามแห่งราตรี ลุกขึ้นชำระจิตให้บริสุทธิ์จากธรรมทั้งหลายที่เป็น
เครื่องขัดขวาง ด้วยการจงกรม ด้วยการนั่ง ตลอดปัจฉิมยามแห่งราตรี
ภิกษุชื่อว่าประกอบความเพียรเครื่องตื่นอยู่เนือง ๆ เป็นอย่างนี้แล
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๓ ประการนี้แล ชื่อว่ามีสุขโสมนัส
มากอยู่ในปัจจุบัน และชื่อว่าปรารภเหตุเพื่อความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย”

รโถปมสูตรที่ ๒ จบ

๓. กุมโมปมสูตร
ว่าด้วยอุปมาด้วยเต่า

[๒๔๐] “ภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว มีเต่าตัวหนึ่ง เวลาเย็นเที่ยว
หากินที่ริมฝั่งแม่น้ำ แม้สุนัขจิ้งจอกตัวหนึ่งเวลานั้นก็เที่ยวหากินอยู่ที่ริมฝั่งแม่น้ำ
เต่าเห็นสุนัขจิ้งจอกเที่ยวหากินแต่ไกล ก็หดหัวและขาเข้ากระดองของตน ไม่เคลื่อน
ไหว นิ่งอยู่ ฝ่ายสุนัขจิ้งจอกก็เห็นเต่าเที่ยวหากินแต่ไกลเหมือนกัน จึงเข้าไปหา
เต่าแล้วยืนอยู่ใกล้ด้วยคิดว่า ‘เมื่อใดเต่านี้โผล่หัวและขาส่วนใดส่วนหนึ่งออกมา
เมื่อนั้นเราจักงับมันฟาดแล้วกินเสีย ในที่นั้น’ เมื่อใดเต่าไม่โผล่หัวและขาส่วนใด
ส่วนหนึ่งออกมา เมื่อนั้นสุนัขจิ้งจอกก็เบื่อหน่าย ไม่ได้โอกาส เดินจากเต่าไป
ข้อนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน แม้มารผู้มีบาปเข้าใกล้เธอทั้งหลายสม่ำเสมอด้วย
คิดว่า ‘บางทีเราจะพึงได้โอกาสทางตา ฯลฯ ทางลิ้น ฯลฯ หรือทางใจของภิกษุ
เหล่านี้’ เพราะฉะนั้นเธอทั้งหลายจงคุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลายอยู่เถิด เห็น
รูปทางตาแล้วอย่ารวบถือ อย่าแยกถือ จงปฏิบัติเพื่อสำรวมจักขุนทรีย์ซึ่งเมื่อไม่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๒๔๑ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๔. จตุตถปัณณาสก์ ๔. อาสีวิสวรรค ๔. ปฐมทารุกขันโธปมสูตร

สำรวมแล้วก็จะพึงเป็นเหตุให้ถูกธรรมที่เป็นบาปอกุศลคืออภิชฌาและโทมนัสครอบงำได้
จงรักษาจักขุนทรีย์ ถึงความสำรวมในจักขุนทรีย์ ฟังเสียงทางหู ... ดมกลิ่นทางจมูก
... ลิ้มรสทางลิ้น ... ถูกต้องโผฏฐัพพะทางกาย ... รู้แจ้งธรรมารมณ์ทางใจแล้ว
อย่ารวบถือ อย่าแยกถือ จงปฏิบัติเพื่อสำรวมมนินทรีย์ซึ่งเมื่อไม่สำรวมแล้วก็จะ
พึงเป็นเหตุให้ถูกธรรมที่เป็นบาปอกุศลคืออภิชฌาและโทมนัสครอบงำได้ จงรักษา
มนินทรีย์ ถึงความสำรวมในมนินทรีย์
ภิกษุทั้งหลาย เมื่อใดเธอทั้งหลายจักคุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลายอยู่ เมื่อ
นั้น แม้มารผู้มีบาปก็จะเบื่อหน่าย ไม่ได้โอกาส หลีกจากเธอทั้งหลายไป เหมือน
สุนัขจิ้งจอกเดินจากเต่าไปฉะนั้น
ภิกษุผู้มีใจตั้งมั่นในมโนวิตก ไม่มีตัณหาและทิฏฐิอาศัย
ไม่เบียดเบียนผู้อื่น ดับกิเลสแล้ว ไม่ว่าร้ายใคร ๆ
เหมือนเต่าหดหัวและขาไว้ในกระดองของตนฉะนั้น”

กุมโมปมสูตรที่ ๓ จบ

๔. ปฐมทารุกขันโธปมสูตร
ว่าด้วยอุปมาด้วยขอนไม้ สูตรที่ ๑

[๒๔๑] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่ฝั่งแม่น้ำคงคา เขตกรุงโกสัมพี
ได้ทอดพระเนตรเห็นขอนไม้ใหญ่ ลอยมาตามกระแสแม่น้ำคงคา จึงรับสั่งเรียก
ภิกษุทั้งหลายมาตรัสถามว่า “ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายเห็นขอนไม้ใหญ่โน้นที่
ลอยมาตามกระแสแม่น้ำคงคาหรือไม่”
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า “เห็น พระพุทธเจ้าข้า”
“ถ้าขอนไม้จะไม่ลอยเข้ามาใกล้ฝั่งนี้ ไม่ลอยเข้าไปใกล้ฝั่งโน้น ไม่จมกลาง
แม่น้ำ ไม่เกยตื้น ไม่ถูกมนุษย์นำไป ไม่ถูกอมนุษย์นำไป ไม่ถูกเกลียวน้ำวนดูดไว้
ไม่ผุภายใน เมื่อเป็นเช่นนี้ ขอนไม้นั้นก็จักลอยไปสู่สมุทรได้ ไหลไปสู่สมุทรได้
เลื่อนไปสู่สมุทรได้
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะกระแสแม่น้ำคงคาลุ่มไปสู่สมุทร ลาดไปสู่สมุทร ไหลไปสู่สมุทร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๒๔๒ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๔. จตุตถปัณณาสก์ ๔. อาสีวิสวรรค ๔. ปฐมทารุกขันโธปมสูตร

ข้อนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ถ้าแม้เธอทั้งหลายจะไม่เข้ามาใกล้ฝั่งนี้ ไม่เข้าไปใกล้
ฝั่งโน้น ไม่จมในท่ามกลาง ไม่เกยตื้น ไม่ถูกมนุษย์จับไว้ ไม่ถูกอมนุษย์เข้าสิง ไม่
ถูกเกลียวน้ำวนดูดไว้ ไม่เป็นผู้เน่าภายใน เมื่อเป็นเช่นนี้ เธอทั้งหลายก็จักน้อมไป
สู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะสัมมาทิฏฐิย่อมน้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน”
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ภิกษุรูปหนึ่งได้ทูลถามว่า “ข้าแต่พระองค์
ผู้เจริญ อะไรชื่อว่าฝั่งนี้ อะไรชื่อว่าฝั่งโน้น อะไรชื่อว่าการจมในท่ามกลาง อะไร
ชื่อว่าการเกยตื้น การถูกมนุษย์จับไว้เป็นอย่างไร การถูกอมนุษย์เข้าสิงเป็นอย่างไร
การถูกเกลียวน้ำวนดูดไว้เป็นอย่างไร ความเน่าภายในเป็นอย่างไร”
“ภิกษุ คำว่า ฝั่งนี้ นี้เป็นชื่อของอายตนะภายใน ๖ ประการ
คำว่า ฝั่งโน้น นี้เป็นชื่อของอายตนะภายนอก ๖ ประการ
คำว่า การจมในท่ามกลาง นี้เป็นชื่อของนันทิราคะ (ความกำหนัดด้วยอำนาจ
ความยินดี)
คำว่า การเกยตื้น นี้เป็นชื่อของการถือตัว
การถูกมนุษย์จับไว้ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้อยู่คลุกคลี เพลิดเพลิน เศร้าโศก กับพวกคฤหัสถ์
เมื่อเขาสุขก็สุขด้วย เมื่อเขาทุกข์ก็ทุกข์ด้วย เมื่อเขามีกิจที่ควรทำเกิดขึ้น ก็ช่วยทำ
กิจนั้นด้วยตนเอง
นี้เรียกว่า การถูกมนุษย์จับไว้
การถูกอมนุษย์เข้าสิง เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ประพฤติพรหมจรรย์ปรารถนาหมู่เทพหมู่ใด
หมู่หนึ่งว่า ‘ด้วยศีล ด้วยวัตร ด้วยตบะ หรือด้วยพรหมจรรย์นี้ เราจักเป็น
เทวดาหรือเทพเจ้าตนใดตนหนึ่ง’
นี้เรียกว่า การถูกอมนุษย์เข้าสิง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๒๔๓ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๔. จตุตถปัณณาสก์ ๔. อาสีวิสวรรค ๔. ปฐมทารุกขันโธปมสูตร

คำว่า การถูกเกลียวน้ำวนดูดไว้ เป็นชื่อของกามคุณ ๕ ประการ
ความเน่าภายใน เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้เป็นคนทุศีล๑ มีธรรมเลวทราม ไม่สะอาด๒
มีความประพฤติที่น่ารังเกียจ มีการงานปกปิด ไม่ใช่สมณะ แต่ปฏิญาณว่าเป็น
สมณะ ไม่ใช่พรหมจารี แต่ปฏิญาณว่าเป็นพรหมจารี๓ เน่าภายใน ชุ่มด้วยราคะ
เป็นเหมือนหยากเยื่อ๔
นี้เรียกว่า ความเน่าภายใน”
ก็ขณะนั้น นายนันทโคบาลยืนอยู่ไม่ไกลจากพระผู้มีพระภาค ลำดับนั้น นาย
นันทโคบาลได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์จัก
ไม่เข้ามาใกล้ฝั่งนี้ จักไม่เข้าไปใกล้ฝั่งโน้น จักไม่จมในท่ามกลาง จักไม่เกยตื้น จัก
ไม่ถูกมนุษย์จับไว้ จักไม่ถูกอมนุษย์เข้าสิง จักไม่ถูกเกลียวน้ำวนดูดไว้ จักไม่เป็นผู้
เน่าภายใน ข้าพระองค์พึงได้บรรพชาอุปสมบทในสำนักของพระผู้มีพระภาค”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “นันทะ ถ้าอย่างนั้น เธอจงมอบโคให้เจ้าของเขาเถิด”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พวกโคลูกแหง่จักไปเอง”
“นันทะ เธอจงมอบโคให้แก่เจ้าของเขาเถิด”
ต่อมา นายนันทโคบาลมอบโคให้แก่เจ้าของแล้วเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึง
ที่ประทับ ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์
ได้มอบโคให้แก่เจ้าของเขาแล้ว ข้าพระองค์พึงได้บรรพชาอุปสมบทในสำนักของ
พระผู้มีพระภาค”


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๔. จตุตถปัณณาสก์ ๔. อาสีวิสวรรค ๖. อวัสสุตปริยายสูตร

นายนันทโคบาลได้บรรพชาอุปสมบทในสำนักของพระผู้มีพระภาค ท่าน
พระนันทะอุปสมบทได้ไม่นานก็หลีกออกไปอยู่คนเดียว ฯลฯ อนึ่ง ท่านพระนันทะ
ได้เป็นพระอรหันต์องค์หนึ่งในบรรดาพระอรหันต์ทั้งหลาย

ปฐมทารุกขันโธปมสูตรที่ ๔ จบ

๕. ทุติยทารุกขันโธปมสูตร
ว่าด้วยอุปมาด้วยขอนไม้ สูตรที่ ๒

[๒๔๒] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่ฝั่งแม่น้ำคงคา เขตเมือง
กิมมิละ ได้ทอดพระเนตรเห็นขอนไม้ใหญ่ลอยมาตามกระแสแม่น้ำคงคา จึงรับสั่ง
เรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสถามว่า “ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายเห็นขอนไม้ใหญ่โน้น
ที่ลอยมาตามกระแสแม่น้ำคงคาหรือไม่”
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า “เห็น พระพุทธเจ้าข้า” ฯลฯ
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ท่านพระกิมมิละได้ทูลถามพระผู้มีพระภาค
ดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อะไรชื่อว่าฝั่งนี้ ฯลฯ
“กิมมิละ ความเน่าภายใน เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ต้องอาบัติที่เศร้าหมองอย่างใดอย่างหนึ่งแล้ว การออก
จากอาบัติเช่นนั้นยังไม่ปรากฏ
นี้เรียกว่า ความเน่าภายใน”

ทุติยทารุกขันโธปมสูตรที่ ๕ จบ

๖. อวัสสุตปริยายสูตร
ว่าด้วยอวัสสุตบรรยาย

[๒๔๓] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่นิโครธาราม เขตกรุงกบิลพัสดุ์
แคว้นสักกะ สมัยนั้น เจ้าศากยะทั้งหลายผู้ครองกรุงกบิลพัสดุ์รับสั่งให้สร้าง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๒๔๕ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๔. จตุตถปัณณาสก์ ๔. อาสีวิสวรรค ๖. อวัสสุตปริยายสูตร

ท้องพระโรงขึ้นใหม่เสร็จได้ไม่นาน ยังไม่มีสมณะ พราหมณ์ หรือมนุษย์คนใดคน
หนึ่งเข้าไปอยู่อาศัย ครั้งนั้น เจ้าศากยะทั้งหลายผู้ครองกรุงกบิลพัสดุ์ เสด็จเข้าไป
เฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้ว ประทับนั่ง ณ ที่สมควร ได้
กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานวโรกาส ข้าพระองค์ทั้งหลาย คือ เจ้า
ศากยะทั้งหลายผู้ครองกรุงกบิลพัสดุ์รับสั่งให้สร้างท้องพระโรงขึ้นใหม่ เสร็จได้
ไม่นาน ยังไม่มีสมณะ พราหมณ์ หรือมนุษย์คนใดคนหนึ่งเข้าไปอยู่อาศัย ขอ
พระผู้มีพระภาคโปรดใช้สอยท้องพระโรงนั้นก่อนเถิด พระพุทธเจ้าข้า พระองค์ทรง
ใช้สอยท้องพระโรงก่อนแล้ว เจ้าศากยราชทั้งหลายผู้ครองกรุงกบิลพัสดุ์จักใช้สอย
ในภายหลัง การใช้สอยของพระองค์นั้นพึงเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูลเพื่อความสุข
แก่เจ้าศากยะทั้งหลายผู้ครองกรุงกบิลพัสดุ์สิ้นกาลนาน”
พระผู้มีพระภาคทรงรับนิมนต์โดยดุษณีภาพ
ลำดับนั้น เจ้าศากยะทั้งหลายผู้ครองกรุงกบิลพัสดุ์ทรงทราบว่าพระผู้มีพระภาค
ทรงรับนิมนต์แล้ว จึงเสด็จลุกขึ้นจากที่ประทับ ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาค
กระทำประทักษิณแล้วเสด็จเข้าไปยังท้องพระโรงใหม่ รับสั่งให้ปูลาดท้องพระโรง ซึ่ง
เจ้าพนักงานได้ปูลาดด้วยเครื่องลาดทั้งปวงแล้ว ให้ปูลาดอาสนะทั้งหลาย ให้ตั้ง
โอ่งน้ำไว้ ให้จุดประทีปน้ำมันขึ้นแล้ว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ได้
กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ท้องพระโรงได้ปูลาดด้วยเครื่องลาดทั้งปวงแล้ว
อาสนะปูลาดแล้ว ตั้งโอ่งน้ำประจำไว้ และจุดประทีปน้ำมันไว้แล้ว ขอพระองค์ทรง
ทราบกาลอันสมควรในบัดนี้เถิด พระพุทธเจ้าข้า”
ต่อมา พระผู้มีพระภาคทรงครองอันตรวาสกแล้ว ถือบาตรและจีวร เสด็จ
เข้าไปยังท้องพระโรงใหม่พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ ทรงล้างพระบาทแล้วเสด็จเข้าไป
ประทับนั่งพิงเสากลาง ทรงผินพระพักตร์ไปทางทิศตะวันออก ฝ่ายพระสงฆ์ล้าง
เท้าแล้วก็เข้าไปยังท้องพระโรงแล้วนั่งพิงฝาด้านทิศตะวันตก หันหน้าไปทางทิศ
ตะวันออก ให้พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ด้านหน้า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๒๔๖ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๔. จตุตถปัณณาสก์ ๔. อาสีวิสวรรค ๖. อวัสสุตปริยายสูตร

แม้เจ้าศากยะทั้งหลายผู้ครองกรุงกบิลพัสดุ์ทรงล้างพระบาทแล้วก็เสด็จเข้าไปยัง
ท้องพระโรง ประทับนั่งพิงฝาด้านทิศตะวันออก ทรงผินพระพักตร์ไปทางทิศตะวันตก
ให้พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ด้านหน้าเช่นกัน
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงชี้แจงให้เจ้าศากยะทั้งหลายผู้ครองกรุงกบิลพัสดุ์
เห็นชัด ชวนใจให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจ
ให้สดชื่นร่าเริง ด้วยธรรมีกถาตลอดราตรีส่วนมาก แล้วทรงส่งไปด้วยพระดำรัสว่า
“ท่านผู้โคตมโคตรทั้งหลาย ราตรี๑ล่วงไปแล้ว ท่านทั้งหลายจงรู้กาลอันสมควรใน
บัดนี้เถิด”
เจ้าศากยะทั้งหลายผู้ครองกรุงกบิลพัสดุ์ทูลรับพระดำรัสแล้วเสด็จลุกขึ้นจากที่
ประทับ ถวายอภิวาท กระทำประทักษิณแล้วเสด็จจากไป
ขณะนั้น เมื่อเจ้าศากยะทั้งหลายผู้ครองกรุงกบิลพัสดุ์เสด็จจากไปไม่นาน
พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกท่านพระมหาโมคคัลลานะมาตรัสว่า “โมคคัลลานะ ภิกษุสงฆ์
ปราศจากถีนมิทธะแล้ว ธรรมีกถาของเธอจงปรากฏแก่ภิกษุทั้งหลาย เราเมื่อยหลัง
จักเหยียดหลัง” ท่านพระมหาโมคคัลลานะทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงปูผ้าสังฆาฏิ ๔ ชั้น ทรงสำเร็จสีหไสยา (การ
นอนดุจราชสีห์) โดยพระปรัศว์เบื้องขวา ซ้อนพระบาทเหลื่อมพระบาท ทรงมีสติ
สัมปชัญญะ ทรงทำไว้ในพระทัยว่าจะเสด็จลุกขึ้น ณ ที่นั้น ท่านพระมหาโมคคัลลานะ
เรียกภิกษุทั้งหลายมากล่าวดังนี้ว่า “ผู้มีอายุทั้งหลาย” ภิกษุเหล่านั้นรับคำของ
ท่านพระมหาโมคคัลลานะแล้ว ท่านพระมหาโมคคัลลานะได้กล่าวดังนี้ว่า “ผู้มีอายุ
ทั้งหลาย ผมจักแสดงอวัสสุตบรรยาย๒และอนวัสสุตบรรยาย๓แก่ท่านทั้งหลาย
ท่านทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี ผมจักกล่าว” ภิกษุเหล่านั้นรับคำของท่านพระ
มหาโมคคัลลานะแล้ว ท่านพระมหาโมคคัลลานะได้กล่าวว่า


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๔. จตุตถปัณณาสก์ ๔. อาสีวิสวรรค ๖. อวัสสุตปริยายสูตร

“ผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้ชุ่มด้วยกิเลส เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เห็นรูปทางตาแล้วย่อมยินดีในรูปที่น่ารัก ย่อมยินร้าย
ในรูปที่ไม่น่ารัก เป็นผู้ไม่ตั้งมั่นกายคตาสติ มีปริตตจิตอยู่ และไม่รู้ชัดเจโตวิมุตติ
และปัญญาวิมุตติตามความเป็นจริง อันเป็นที่ดับไปโดยไม่เหลือแห่งธรรมที่เป็น
บาปอกุศลเหล่านั้นที่เกิดขึ้นแล้วแก่เธอ ฯลฯ
ลิ้มรสทางลิ้น ฯลฯ
รู้แจ้งธรรมารมณ์ทางใจแล้ว ย่อมยินดีในธรรมารมณ์ที่น่ารัก ย่อมยินร้ายใน
ธรรมารมณ์ที่ไม่น่ารัก เป็นผู้ไม่ตั้งมั่นกายคตาสติ มีปริตตจิตอยู่ และไม่รู้ชัดเจโต-
วิมุตติ และปัญญาวิมุตติตามความเป็นจริง อันเป็นที่ดับไปโดยไม่เหลือแห่งธรรมที่
เป็นบาปอกุศลเหล่านั้นที่เกิดขึ้นแล้วแก่เธอ
ผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุนี้เรียกว่า เป็นผู้ชุ่มด้วยกิเลสในรูปที่พึงรู้แจ้งทางตา ฯลฯ
เป็นผู้ชุ่มด้วยกิเลสในรสที่พึงรู้แจ้งทางลิ้น ฯลฯ
เป็นผู้ชุ่มด้วยกิเลสในธรรมารมณ์ที่พึงรู้แจ้งทางใจ
ผู้มีอายุทั้งหลาย ถ้าแม้มารเข้าไปหาภิกษุนั้นผู้มีปกติอยู่อย่างนี้ทางตา มารก็
พึงได้ช่องได้อารมณ์๑ ฯลฯ
ถ้าแม้มารเข้าไปหาภิกษุนั้นผู้มีปกติอยู่อย่างนี้ทางลิ้น ฯลฯ
ถ้าแม้มารเข้าไปหาภิกษุนั้นผู้มีปกติอยู่อย่างนี้ทางใจ มารก็พึงได้ช่องได้อารมณ์
เรือนที่สร้างด้วยไม้อ้อหรือเรือนที่สร้างด้วยหญ้าแห้งกรอบมีอายุ ๓-๔ ปี ถ้า
แม้คนเอาคบเพลิงที่ติดไฟเข้าไปจุดเรือนนั้นทางทิศตะวันออก ไฟก็พึงได้ช่องได้เชื้อ
ถ้าแม้คนเอาคบเพลิงที่ติดไฟเข้าไปจุดเรือนนั้นทางทิศตะวันตก ฯลฯ ทางทิศเหนือ
ฯลฯ ทางทิศใต้ ฯลฯ ทางทิศเบื้องต่ำ ฯลฯ ทางทิศเบื้องบน ฯลฯ ถ้าแม้คน
เอาคบเพลิงที่ติดไฟเข้าไปจุดเรือนนั้นทางทิศไหน ๆ ก็ตาม ไฟก็พึงได้ช่องได้เชื้อแม้
ฉันใด


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๔. จตุตถปัณณาสก์ ๔. อาสีวิสวรรค ๖. อวัสสุตปริยายสูตร

ข้อนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ถ้าแม้มารเข้าไปหาภิกษุนั้นผู้มีปกติอยู่อย่างนี้ทางตา
มารก็พึงได้ช่องได้อารมณ์ ฯลฯ ถ้าแม้มารเข้าไปหาภิกษุนั้นผู้มีปกติอยู่อย่างนี้ทาง
ลิ้น ฯลฯ ถ้าแม้มารเข้าไปหาภิกษุนั้นผู้มีปกติอยู่อย่างนี้ทางใจ มารก็พึงได้ช่องได้
อารมณ์
รูปครอบงำภิกษุนั้นผู้มีปกติอยู่อย่างนี้ได้ ภิกษุหาครอบงำรูปได้ไม่ เสียง
ครอบงำภิกษุได้ ภิกษุหาครอบงำเสียงได้ไม่ กลิ่นครอบงำภิกษุได้ ภิกษุหา
ครอบงำกลิ่นได้ไม่ รสครอบงำภิกษุได้ ภิกษุหาครอบงำรสได้ไม่ โผฏฐัพพะ
ครอบงำภิกษุได้ ภิกษุหาครอบงำโผฏฐัพพะได้ไม่ ธรรมารมณ์ครอบงำภิกษุได้
ภิกษุหาครอบงำธรรมารมณ์ได้ไม่
ภิกษุนี้เรียกว่าเป็นผู้ถูกครอบงำ คือ ถูกรูปครอบงำ ถูกเสียงครอบงำ ถูก
กลิ่นครอบงำ ถูกรสครอบงำ ถูกโผฏฐัพพะครอบงำ และถูกธรรมารมณ์ครอบงำ
แต่ครอบงำรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ และธรรมารมณ์ไม่ได้ ธรรมที่เป็น
บาปอกุศลอันเป็นเหตุให้เศร้าหมอง ทำให้เกิดในภพใหม่ มีความกระวนกระวาย
มีทุกข์เป็นวิบาก เป็นที่ตั้งแห่งชาติ ชรา และมรณะต่อไป ครอบงำเธอแล้ว
ภิกษุเป็นผู้ชุ่มด้วยกิเลส เป็นอย่างนี้แล
ภิกษุเป็นผู้ไม่ชุ่มด้วยกิเลส เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เห็นรูปทางตาแล้ว ไม่ยินดีในรูปที่น่ารัก ไม่ยินร้าย
ในรูปที่ไม่น่ารัก เป็นผู้ตั้งมั่นกายคตาสติ มีอัปปมาณจิตอยู่ และรู้ชัดเจโตวิมุตติ
และปัญญาวิมุตติตามความเป็นจริง อันเป็นที่ดับไปโดยไม่เหลือแห่งธรรมที่เป็น
บาปอกุศลเหล่านั้นที่เกิดขึ้นแล้วแก่เธอ ฯลฯ
ลิ้มรสทางลิ้น ฯลฯ
รู้แจ้งธรรมารมณ์ทางใจแล้ว ไม่ยินดีในธรรมารมณ์ที่น่ารัก ไม่ยินร้ายใน
ธรรมารมณ์ที่ไม่น่ารัก เป็นผู้ตั้งมั่นกายคตาสติ มีอัปปมาณจิตอยู่ และรู้ชัดเจโต-
วิมุตติและปัญญาวิมุตติตามความเป็นจริง อันเป็นที่ดับไปโดยไม่เหลือแห่งธรรมที่
เป็นบาปอกุศลเหล่านั้นที่เกิดขึ้นแล้วแก่เธอ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๒๔๙ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๔. จตุตถปัณณาสก์ ๔. อาสีวิสวรรค ๗. ทุกขธัมมสูตร

ภิกษุนี้เรียกว่า เป็นผู้ไม่ชุ่มด้วยกิเลสในรูปที่พึงรู้แจ้งทางตา ฯลฯ
ภิกษุนี้เรียกว่า เป็นผู้ไม่ชุ่มด้วยกิเลสในรสที่พึงรู้แจ้งทางลิ้น ฯลฯ
เป็นผู้ไม่ชุ่มด้วยกิเลสในธรรมารมณ์ที่พึงรู้แจ้งทางใจ
ถ้าแม้มารเข้าไปหาภิกษุนั้นผู้มีปกติอยู่อย่างนี้ทางตา มารก็ไม่พึงได้ช่อง ไม่
พึงได้อารมณ์ ฯลฯ ถ้าแม้มารเข้าไปหาภิกษุนั้น ... ทางลิ้น ฯลฯ ถ้าแม้มาร
เข้าไปหาภิกษุนั้น ... ทางใจ มารก็ไม่พึงได้ช่อง ไม่พึงได้อารมณ์
เรือนยอดหรือศาลาที่พอกดินเหนียวหนามีเครื่องฉาบทาเปียก ถ้าแม้คนเอา
คบเพลิงที่ติดไฟเข้าไปจุดเรือนนั้นทางทิศตะวันออก ไฟก็ไม่พึงได้ช่อง ไม่พึงได้เชื้อ
ฯลฯ ถ้าแม้คนเอาคบเพลิงที่ติดไฟเข้าไปจุดเรือนนั้นทางทิศตะวันตก ฯลฯ ทางทิศใต้
ฯลฯ ทางทิศเบื้องต่ำ ฯลฯ ทางทิศเบื้องบน ฯลฯ ถ้าแม้คนเอาคบเพลิงที่ติดไฟ
เข้าไปจุดเรือนนั้นทางทิศไหน ๆ ก็ตาม ไฟก็ไม่พึงได้ช่อง ไม่พึงได้เชื้อ แม้ฉันใด
ข้อนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ถ้าแม้มารเข้าไปหาภิกษุผู้มีปกติอยู่อย่างนี้ทางตา
มารก็ไม่พึงได้ช่อง ไม่พึงได้อารมณ์ ฯลฯ ถ้าแม้มารเข้าไปหาภิกษุนั้น ... ทางใจ
มารก็ไม่พึงได้ช่อง ไม่พึงได้อารมณ์ ภิกษุผู้มีปกติอยู่อย่างนี้ครอบงำรูปได้ รูป
ครอบงำภิกษุไม่ได้ ภิกษุครอบงำเสียงได้ เสียงครอบงำภิกษุไม่ได้ ภิกษุครอบงำ
กลิ่นได้ กลิ่นครอบงำภิกษุไม่ได้ ภิกษุครอบงำรสได้ รสครอบงำภิกษุไม่ได้ ภิกษุ
ครอบงำโผฏฐัพพะได้ โผฏฐัพพะครอบงำภิกษุไม่ได้ ภิกษุครอบงำธรรมารมณ์ได้
ธรรมารมณ์ครอบงำภิกษุไม่ได้
ภิกษุนี้เรียกว่า เป็นผู้ครอบงำ คือ ครอบงำรูปได้ ครอบงำเสียงได้ ครอบงำ
กลิ่นได้ ครอบงำรสได้ ครอบงำโผฏฐัพพะได้ และครอบงำธรรมารมณ์ได้ แต่ไม่
ถูกรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ และธรรมารมณ์ครอบงำ เธอครอบงำธรรมที่
เป็นบาปอกุศลเหล่านั้นอันเป็นเหตุให้เศร้าหมอง ทำให้เกิดในภพใหม่ มีความ
กระวนกระวาย มีทุกข์เป็นวิบาก เป็นที่ตั้งแห่งชาติ ชรา และมรณะต่อไปได้แล้ว
ผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้ไม่ชุ่มด้วยกิเลสเป็นอย่างนี้แล”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๒๕๐ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๔. จตุตถปัณณาสก์ ๔. อาสีวิสวรรค ๗. ทุกขธัมมสูตร

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคได้เสด็จลุกขึ้น รับสั่งเรียกท่านพระมหาโมคคัลลานะ
มาตรัสชมว่า “ดีละ ดีละ โมคคัลลานะ ดีนักที่เธอได้กล่าวอวัสสุตบรรยายและ
อนวัสสุตบรรยายแก่ภิกษุทั้งหลาย”
ท่านพระมหาโมคคัลลานะได้กล่าวเวยยากรณภาษิตนี้แล้ว พระศาสดาทรง
พอพระทัย ภิกษุเหล่านั้นก็มีใจยินดี ต่างชื่นชมภาษิตของท่านพระมหาโมคคัลลานะ
ดังนี้แล

อวัสสุตปริยายสูตรที่ ๖ จบ

๗. ทุกขธัมมสูตร
ว่าด้วยทุกขธรรม

[๒๔๔] “ภิกษุทั้งหลาย เมื่อใดภิกษุรู้ชัดความเกิดและความดับแห่งทุกขธรรม๑
ทั้งปวงตามความเป็นจริง เมื่อนั้นเธอย่อมเห็นกามโดยอาการที่เมื่อเห็นกามอยู่
ความพอใจด้วยอำนาจความใคร่ ความเยื่อใยด้วยอำนาจความใคร่ ความสยบด้วย
อำนาจความใคร่ ความเร่าร้อนด้วยอำนาจความใคร่ในกามทั้งหลายจะไม่นอนเนื่อง
ทั้งตามรู้ธรรมเครื่องประพฤติและธรรมเครื่องอยู่โดยอาการที่เมื่อประพฤติอยู่ ธรรม
ที่เป็นบาปอกุศลคืออภิชฌาและโทมนัสจะไม่ครอบงำ
ภิกษุรู้ชัดความเกิดและความดับแห่งทุกขธรรมทั้งปวงตามความเป็นจริง
เป็นอย่างไร
คือ รู้ชัดว่า อย่างนี้รูป อย่างนี้ความเกิดแห่งรูป อย่างนี้ความดับแห่งรูป
อย่างนี้เวทนา ฯลฯ อย่างนี้สัญญา ฯลฯ อย่างนี้สังขาร ฯลฯ อย่างนี้วิญญาณ
อย่างนี้ความเกิดแห่งวิญญาณ อย่างนี้ความดับแห่งวิญญาณ
ภิกษุรู้ชัดความเกิดและความดับแห่งทุกขธรรมทั้งปวงตามความเป็นจริงเป็น
อย่างนี้แล


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๔. จตุตถปัณณาสก์ ๔. อาสีวิสวรรค ๗. ทุกขธัมมสูตร

ภิกษุเห็นกามโดยอาการที่เมื่อเห็นกามอยู่ ความพอใจด้วยอำนาจความ
ใคร่ ความเยื่อใยด้วยอำนาจความใคร่ ความสยบด้วยอำนาจความใคร่ ความ
เร่าร้อนด้วยอำนาจความใคร่ในกามทั้งหลายจะไม่นอนเนื่อง เป็นอย่างไร
คือ หลุมถ่านเพลิง ลึกกว่าช่วงบุรุษ เต็มด้วยถ่านเพลิง ไม่มีเปลว ไม่มีควัน
ขณะนั้นมีบุรุษคนหนึ่งอยากมีชีวิตอยู่ ไม่อยากตาย รักสุข เกลียดทุกข์เดินมา มี
บุรุษ ๒ คนที่แข็งแรงจับแขนเขาคนละข้าง ลากเข้าหาหลุมถ่านเพลิง เขาโอนเอน
กายไปข้างโน้นข้างนี้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะบุรุษนั้นรู้ว่า ‘เราตกหลุมถ่านเพลิงนี้
จักถึงความตายหรือทุกข์ปางตาย เพราะตกหลุมถ่านเพลิงนั้น’ แม้ฉันใด ภิกษุก็
ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมเห็นกามซึ่งเปรียบด้วยหลุมถ่านเพลิง โดยอาการที่เมื่อเห็น
กามอยู่ ความพอใจด้วยอำนาจความใคร่ ความเยื่อใยด้วยอำนาจความใคร่ ความ
สยบด้วยอำนาจความใคร่ ความเร่าร้อนด้วยอำนาจความใคร่ในกามทั้งหลายจะไม่
นอนเนื่อง
ภิกษุตามรู้ธรรมเครื่องประพฤติและธรรมเครื่องอยู่ โดยอาการที่เมื่อ
ประพฤติอยู่ ธรรมที่เป็นบาปอกุศลคืออภิชฌาและโทมนัสจะไม่ครอบงำ เป็น
อย่างไร
คือ บุรุษเข้าไปสู่ป่าที่มีหนามมาก ข้างหน้าของเขาก็มีหนาม ข้างหลังก็มี
หนาม ข้างซ้ายก็มีหนาม ข้างขวาก็มีหนาม ข้างล่างก็มีหนาม ข้างบนก็มีหนาม
เขามีสติก้าวไป มีสติถอยกลับ ด้วยคิดว่า ‘หนามอย่าแทงเรา’ แม้ฉันใด ข้อนี้ก็
ฉันนั้นเหมือนกัน เรากล่าวรูปที่น่ารัก น่ายินดีในโลกว่าเป็นหนามในอริยวินัย ภิกษุ
รู้อย่างนี้แล้วพึงรู้จักความไม่สำรวมและความสำรวม
ความไม่สำรวม เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เห็นรูปทางตาแล้ว ย่อมยินดีในรูปที่น่ารัก ย่อมยินร้าย
ในรูปที่ไม่น่ารัก เป็นผู้ไม่ตั้งมั่นกายคตาสติ มีปริตตจิตอยู่ และไม่รู้ชัดเจโตวิมุตติ
และปัญญาวิมุตติตามความเป็นจริง อันเป็นที่ดับไปโดยไม่เหลือแห่งธรรมที่เป็น
บาปอกุศลที่เกิดขึ้นแล้วแก่เธอ ฯลฯ ลิ้มรสทางลิ้น ฯลฯ รู้แจ้งธรรมารมณ์ทาง
ใจแล้ว ย่อมยินดีในธรรมารมณ์ที่น่ารัก ย่อมยินร้ายในธรรมารมณ์ที่ไม่น่ารัก เป็น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๒๕๒ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๔. จตุตถปัณณาสก์ ๔. อาสีวิสวรรค ๗. ทุกขธัมมสูตร

ผู้ไม่ตั้งมั่นกายคตาสติ มีปริตตจิตอยู่ และไม่รู้ชัดเจโตวิมุตติและปัญญาวิมุตติตาม
ความเป็นจริง อันเป็นที่ดับไปโดยไม่เหลือแห่งธรรมที่เป็นบาปอกุศลที่เกิดขึ้นแก่เธอ
ความไม่สำรวมเป็นอย่างนี้แล
ความสำรวม เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เห็นรูปทางตาแล้ว ไม่ยินดีในรูปที่น่ารัก ไม่ยินร้าย
ในรูปที่ไม่น่ารัก เป็นผู้ตั้งมั่นกายคตาสติ มีอัปปมาณจิตอยู่ และรู้ชัดเจโตวิมุตติ
และปัญญาวิมุตติตามความเป็นจริง อันเป็นที่ดับไปโดยไม่เหลือแห่งธรรมที่เป็น
บาปอกุศลเหล่านั้นที่เกิดขึ้นแล้วแก่เธอ ฯลฯ ลิ้มรสทางลิ้น ฯลฯ รู้แจ้งธรรมารมณ์
ทางใจแล้ว ไม่ยินดีในธรรมารมณ์ที่น่ารัก ไม่ยินร้ายในธรรมารมณ์ที่ไม่น่ารัก เป็น
ผู้ตั้งมั่นกายคตาสติ มีอัปปมาณจิตอยู่ และรู้ชัดเจโตวิมุตติและปัญญาวิมุตติตาม
ความเป็นจริง อันเป็นที่ดับไปโดยไม่เหลือแห่งธรรมที่เป็นบาปอกุศลเหล่านั้นที่เกิดขึ้น
แล้วแก่เธอ
ความสำรวมเป็นอย่างนี้แล
ถ้าเมื่อภิกษุนั้นประพฤติอยู่อย่างนี้ ธรรมที่เป็นบาปอกุศล มีความดำริซ่านไป
เกื้อกูลแก่สังโยชน์ ย่อมเกิดขึ้นเพราะความหลงลืมสติในกาลบางครั้งบางคราว สติ
เกิดขึ้นช้า ขณะนั้นเธอย่อมละ บรรเทาธรรมที่เป็นบาปอกุศลนั้น ทำให้หมดสิ้นไป
ให้ถึงความไม่มีอีกพลันทีเดียว
บุรุษพึงให้หยาดน้ำ ๒-๓ หยดตกลงในกระทะเหล็กที่ร้อนจัดตลอดวัน หยาด
น้ำตกลงช้า ขณะนั้นหยาดน้ำพึงระเหย เหือดแห้งไปอย่างรวดเร็ว แม้ฉันใด ข้อนี้
ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ถ้าเมื่อภิกษุนั้นประพฤติอยู่อย่างนี้ ธรรมที่เป็นบาปอกุศล มี
ความดำริซ่านไป เกื้อกูลแก่สังโยชน์ย่อมเกิดขึ้น เพราะความหลงลืมสติในกาลบาง
ครั้งบางคราว สติเกิดขึ้นช้า ขณะนั้นเธอย่อมละ บรรเทาธรรมที่เป็นบาปอกุศลนั้น
ทำให้หมดสิ้นไป ให้ถึงความไม่มีอีกพลันทีเดียว
ภิกษุตามรู้ธรรมเครื่องประพฤติและธรรมเครื่องอยู่ โดยอาการที่เมื่อประพฤติ
อยู่ ธรรมที่เป็นบาปอกุศลคืออภิชฌาและโทมนัสจะไม่ครอบงำ เป็นอย่างนี้แล

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๒๕๓ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๔. จตุตถปัณณาสก์ ๔. อาสีวิสวรรค ๗. ทุกขธัมมสูตร

ภิกษุทั้งหลาย ถ้าพระราชา มหาอำมาตย์ของพระราชา มิตร๑ อำมาตย์๒
ญาติ๓ สาโลหิต๔ก็ตาม พึงปวารณาภิกษุผู้ประพฤติอยู่อย่างนี้เพื่อให้ยินดียิ่งด้วย
โภคทรัพย์ทั้งหลายว่า “มาเถิด พระคุณเจ้าผู้เจริญ ผ้ากาสาวพัสตร์เหล่านี้ทำให้
ท่านเร่าร้อนมิใช่หรือ ท่านจะเป็นคนหัวโล้น เที่ยวถือกระเบื้องไปทำไม เชิญเถิด
เชิญท่านกลับมาเป็นคฤหัสถ์ใช้สอยโภคทรัพย์และทำบุญเถิด
ภิกษุทั้งหลาย เป็นไปไม่ได้เลยที่ภิกษุนั้นเมื่อประพฤติอยู่อย่างนี้จักบอกคืน
สิกขากลับมาเป็นคฤหัสถ์
เปรียบเหมือนแม่น้ำคงคาที่ไหลไปทางทิศตะวันออก บ่าไปทางทิศตะวันออก
หลากไปทางทิศตะวันออก ถ้าหมู่มหาชนพากันถือเอาจอบและตะกร้ามาด้วยตั้งใจ
ว่า ‘พวกเราจักช่วยกันทดแม่น้ำคงคานี้ให้ไหลไปข้างหลัง บ่าไปข้างหลัง หลากไป
ข้างหลัง’
ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร หมู่มหาชนนั้นพึง
ทดแม่น้ำคงคาให้ไหลไปข้างหลัง บ่าไปข้างหลัง หลากไปข้างหลังได้หรือ”
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า “ไม่ได้ พระพุทธเจ้าข้า”
“ข้อนั้นเพราะเหตุไร”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เพราะแม่น้ำคงคาไหลไปทางทิศตะวันออก บ่าไปทาง
ทิศตะวันออก หลากไปทางทิศตะวันออก หมู่มหาชนจะทดแม่น้ำคงคานั้นให้ไหล
ไปข้างหลัง บ่าไปข้างหลัง หลากไปข้างหลัง ไม่ใช่ทำได้ง่าย แต่หมู่มหาชนนั้นพึงมี
ส่วนแห่งความลำบาก เหน็ดเหนื่อยแน่นอน”


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๔. จตุตถปัณณาสก์ ๔. อาสีวิสวรรค ๘. กิงสุโกปมสูตร

“ภิกษุทั้งหลาย อุปมานี้แม้ฉันใด อุปไมยก็ฉันนั้นเหมือนกัน ถ้าพระราชา
มหาอำมาตย์ของพระราชา มิตร อำมาตย์ ญาติ สาโลหิตก็ตาม พึงปวารณา
ภิกษุผู้ประพฤติอยู่อย่างนี้เพื่อให้ยินดียิ่งด้วยโภคทรัพย์ทั้งหลายว่า ‘มาเถิด พระ
คุณเจ้าผู้เจริญ ผ้ากาสาวพัสตร์เหล่านี้ทำให้ท่านเร่าร้อนมิใช่หรือ ท่านจะเป็นคน
หัวโล้น เที่ยวถือกระเบื้องไปทำไม เชิญเถิด เชิญท่านกลับมาเป็นคฤหัสถ์ใช้สอย
โภคทรัพย์และทำบุญเถิด
ภิกษุทั้งหลาย เป็นไปไม่ได้เลยที่ภิกษุนั้นเมื่อประพฤติอยู่อย่างนี้จักบอกคืน
สิกขากลับมาเป็นคฤหัสถ์ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะเป็นไปไม่ได้เลยที่จิตนั้นที่
น้อมไปในวิเวก โน้มไปในวิเวก โอนไปในวิเวกตลอดกาลนานแล้วจักเวียนมาเพื่อ
เป็นคฤหัสถ์”

ทุกขธัมมสูตรที่ ๗ จบ

๘. กิงสุโกปมสูตร
ว่าด้วยอุปมาด้วยต้นทองกวาว

[๒๔๕] ครั้งนั้น ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปหาภิกษุอีกรูปหนึ่งถึงที่อยู่ แล้วได้ถาม
ภิกษุรูปนั้นดังนี้ว่า “ผู้มีอายุ ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอ ภิกษุจึงมีทัศนะ๑หมดจดดี”
ภิกษุรูปนั้นตอบว่า “ผู้มีอายุ เพราะภิกษุรู้ชัดถึงความเกิดและความดับแห่ง
ผัสสายตนะ ๖ ประการตามความเป็นจริง ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล ภิกษุจึงมีทัศนะ
หมดจดดี”
ขณะนั้น ท่านไม่พอใจการตอบปัญหาของภิกษุรูปนั้น จึงเข้าไปหาภิกษุอีกรูป
หนึ่งถึงที่อยู่ แล้วได้ถามภิกษุรูปนั้นดังนี้ว่า “ผู้มีอายุ ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอ
ภิกษุจึงมีทัศนะหมดจดดี”
ภิกษุรูปนั้นตอบว่า “ผู้มีอายุ เพราะภิกษุรู้ชัดถึงความเกิดและความดับแห่ง
อุปาทานขันธ์ ๕ ตามความเป็นจริง ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล ภิกษุจึงมีทัศนะ
หมดจดดี”


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๔. จตุตถปัณณาสก์ ๔. อาสีวิสวรรค ๘. กิงสุโกปมสูตร

ต่อมา ท่านไม่พอใจการตอบปัญหาของภิกษุรูปนั้น จึงเข้าไปหาภิกษุอีกรูป
หนึ่งถึงที่อยู่ แล้วได้ถามภิกษุรูปนั้นว่า “ผู้มีอายุ ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอ ภิกษุ
จึงมีทัศนะหมดจดดี”
ภิกษุนั้นตอบว่า “ผู้มีอายุ เพราะภิกษุรู้ชัดถึงความเกิดและความดับแห่ง
มหาภูตรูป ๔ ตามความเป็นจริง ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล ภิกษุจึงมีทัศนะหมดจดดี”
ต่อมา ท่านไม่พอใจการตอบปัญหาของภิกษุรูปนั้น จึงเข้าไปหาภิกษุอีกรูป
หนึ่งถึงที่อยู่ แล้วได้ถามภิกษุรูปนั้นว่า “ผู้มีอายุ ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอ ภิกษุ
จึงมีทัศนะหมดจดดี”
ภิกษุรูปนั้นตอบว่า “ผู้มีอายุ เพราะภิกษุรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า ‘สิ่งใด
สิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งปวงมีความดับไปเป็นธรรมดา’ ด้วย
เหตุเพียงเท่านี้แล ภิกษุจึงมีทัศนะหมดจดดี”
ต่อมา ท่านไม่พอใจการตอบปัญหาของภิกษุรูปนั้น จึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระ
ภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้ว นั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาค
ดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานวโรกาส ข้าพระองค์เข้าไปหาภิกษุรูปหนึ่ง
ถึงที่อยู่ แล้วได้ถามภิกษุรูปนั้นว่า ‘ผู้มีอายุ ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอ ภิกษุจึงมี
ทัศนะหมดจดดี’
เมื่อข้าพระองค์ถามอย่างนี้แล้ว ภิกษุรูปนั้นได้ตอบข้าพระองค์ดังนี้ว่า ‘ผู้มีอายุ
เพราะภิกษุรู้ชัดถึงความเกิดและความดับแห่งผัสสายตนะ ๖ ประการตามความ
เป็นจริง ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล ภิกษุจึงมีทัศนะหมดจดดี’
ขณะนั้น ข้าพระองค์ไม่พอใจการตอบปัญหาของภิกษุนั้น จึงเข้าไปหาภิกษุ
อีกรูปหนึ่งถึงที่อยู่ แล้วได้ถามภิกษุรูปนั้นว่า ‘ผู้มีอายุ ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอ
ภิกษุจึงมีทัศนะหมดจดดี’
เมื่อข้าพระองค์ถามอย่างนี้แล้ว ภิกษุรูปนั้นได้ตอบข้าพระองค์ว่า ‘ผู้มีอายุ
เพราะภิกษุรู้ชัดถึงความเกิดและความดับแห่งอุปาทานขันธ์ ๕ ฯลฯ แห่งมหาภูต-

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๒๕๖ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๔. จตุตถปัณณาสก์ ๔. อาสีวิสวรรค ๘. กิงสุโกปมสูตร

รูป ๔ ตามความเป็นจริง ฯลฯ รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า ‘สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความ
เกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งปวงมีความดับไปเป็นธรรมดา’ ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล
ภิกษุจึงมีทัศนะหมดจดดี’
ต่อมา ข้าพระองค์ไม่พอใจการตอบปัญหาของภิกษุรูปนั้น จึงเข้ามาเฝ้า
พระองค์ถึงที่ประทับ ฯลฯ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอ ภิกษุ
จึงมีทัศนะหมดจดดี”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุ เปรียบเหมือนบุรุษไม่เคยเห็นต้นทองกวาว
เลย เขาเข้าไปหาบุรุษคนหนึ่งผู้เคยเห็นต้นทองกวาวถึงที่อยู่ แล้วถามบุรุษนั้น
อย่างนี้ว่า ‘ท่านผู้เจริญ ต้นทองกวาวเป็นเช่นไร’
บุรุษนั้นพึงตอบอย่างนี้ว่า ‘ท่านผู้เจริญ ต้นทองกวาวดำเหมือนตอที่ถูกไฟไหม้’
เวลานั้นต้นทองกวาวเป็นดังที่เขาเห็น ขณะนั้นเขาไม่พอใจการตอบปัญหา
ของบุรุษนั้น จึงเข้าไปหาบุรุษอีกคนหนึ่งผู้เคยเห็นต้นทองกวาวถึงที่อยู่ แล้วถาม
บุรุษนั้นอย่างนี้ว่า ‘ท่านผู้เจริญ ต้นทองกวาวเป็นเช่นไร’
บุรุษนั้นพึงตอบอย่างนี้ว่า ‘ท่านผู้เจริญ ต้นทองกวาวแดงเหมือนชิ้นเนื้อ’
เวลานั้นต้นทองกวาวเป็นดังที่เขาเห็น ต่อมาเขาไม่พอใจการตอบปัญหาของ
บุรุษนั้น จึงเข้าไปหาบุรุษอีกคนหนึ่งผู้เคยเห็นต้นทองกวาวถึงที่อยู่ แล้วถามบุรุษ
นั้นอย่างนี้ว่า ‘ท่านผู้เจริญ ต้นทองกวาวเป็นเช่นไร’
บุรุษนั้นพึงตอบอย่างนี้ว่า ‘ท่านผู้เจริญ ต้นทองกวาวที่เกิดนานมีฝักเหมือน
ต้นซึก’
เวลานั้นต้นทองกวาวเป็นดังที่เขาเห็น ต่อมา เขาไม่พอใจการตอบปัญหาของ
บุรุษนั้น จึงเข้าไปหาบุรุษอีกคนหนึ่งผู้เคยเห็นต้นทองกวาวถึงที่อยู่ แล้วถามบุรุษ
นั้นอย่างนี้ว่า ‘ท่านผู้เจริญ ต้นทองกวาวเป็นเช่นไร’
บุรุษนั้นพึงตอบอย่างนี้ว่า ‘ท่านผู้เจริญ ต้นทองกวาวมีใบแก่และใบอ่อนหนา
แน่น มีร่มทึบเหมือนต้นไทร’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๒๕๗ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๔. จตุตถปัณณาสก์ ๔. อาสีวิสวรรค ๘. กิงสุโกปมสูตร

เวลานั้นต้นทองกวาวเป็นดังที่เขาเห็นแม้ฉันใด ข้อนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน การ
เห็นของสัตบุรุษเหล่านั้นผู้เชื่อแล้วเป็นอันถูกต้องโดยประการใด ๆ สัตบุรุษเหล่านั้น
ก็ได้ตอบโดยประการนั้น ๆ
ภิกษุ เมืองชายแดนของพระราชา มีกำแพงและเชิงเทิน๑มั่นคง มี ๖ ประตู
นายประตูของเมืองนั้นเป็นบัณฑิต เฉียบแหลม มีปัญญา คอยห้ามคนที่ตนไม่รู้จัก
อนุญาตเฉพาะคนที่ตนรู้จักให้เข้าไปในเมืองนั้น ราชทูต ๒ นายมีราชการด่วนมา
จากทิศตะวันออก ถามนายประตูนั้นอย่างนี้ว่า ‘ผู้เจริญ เจ้าเมือง ๆ นี้อยู่ที่ไหน’
นายประตูนั้นตอบอย่างนี้ว่า ‘ท่านผู้เจริญ นั่นเจ้าเมืองนั่งอยู่ที่ทางสี่แยก
กลางเมือง’
ลำดับนั้น ราชทูต ๒ นายผู้มีราชการด่วนได้มอบถวายพระราชสาส์นตามความ
เป็นจริงแก่เจ้าเมืองแล้วกลับไปตามทางที่ตนมา ราชทูตอีก ๒ นายผู้มีราชการด่วน
มาจากทิศตะวันตก ฯลฯ มาจากทิศเหนือ ... มาจากทิศใต้ แล้วถาม
นายประตูนั้นอย่างนี้ว่า ‘ผู้เจริญ เจ้าเมือง ๆ นี้อยู่ที่ไหน’
นายประตูนั้นตอบอย่างนี้ว่า ‘ท่านผู้เจริญ นั่นเจ้าเมืองนั่งอยู่ที่ทางสี่แยก
กลางเมือง’
ลำดับนั้น ราชทูต ๒ นายผู้มีราชการด่วนนั้นได้มอบถวายพระราชสาส์นตาม
ความเป็นจริงแก่เจ้าเมืองแล้ว ก็กลับไปตามทางที่ตนมา แม้ฉันใด
อุปไมยนี้ก็ฉันนั้น เรายกมาก็เพื่อให้เข้าใจเนื้อความชัดเจน
ในอุปไมยนั้นมีอธิบายดังต่อไปนี้
คำว่า เมือง นี้เป็นชื่อของกายนี้ซึ่งประกอบขึ้นจากมหาภูตรูป ๔ เกิดจาก
มารดาบิดา เจริญวัยเพราะข้าวสุกและขนมกุมมาส ไม่เที่ยงแท้ ต้องอบ ต้องนวดเฟ้น
มีอันแตกกระจัดกระจายไปเป็นธรรมดา


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๔. จตุตถปัณณาสก์ ๔. อาสีวิสวรรค ๙. วีโณปมสูตร

คำว่า มี ๖ ประตู นี้เป็นชื่อของอายตนะภายใน ๖ ประการ
คำว่า นายประตู นี้เป็นชื่อของสติ
คำว่า ราชทูต ๒ นายผู้มีราชการด่วน นี้เป็นชื่อของสมถะและวิปัสสนา
คำว่า เจ้าเมือง นี้เป็นชื่อของวิญญาณ
คำว่า ทางสี่แยกกลางเมือง นี้เป็นชื่อของมหาภูตรูปทั้ง ๔ คือ

๑. ปฐวีธาตุ (ธาตุดิน) ๒. อาโปธาตุ (ธาตุน้ำ)
๓. เตโชธาตุ (ธาตุไฟ) ๔. วาโยธาตุ (ธาตุลม)

คำว่า พระราชสาส์นตามความเป็นจริง นี้เป็นชื่อของนิพพาน
คำว่า ทางตามที่ตนมา นี้เป็นชื่อของอริยมรรคมีองค์ ๘ คือ

๑. สัมมาทิฏฐิ (เห็นชอบ)
ฯลฯ
๘. สัมมาสมาธิ (ตั้งจิตมั่นชอบ)”

กิงสุโกปมสูตรที่ ๘ จบ

๙. วีโณปมสูตร
ว่าด้วยอุปมาด้วยพิณ

[๒๔๖] “ภิกษุทั้งหลาย ฉันทะ๑(ความพอใจ) ราคะ๒(ความกำหนัด) โทสะ (ความ
ขัดเคือง) โมหะ (ความหลง) หรือแม้ความกระทบกระทั่งในใจในรูปที่พึงรู้แจ้งทางตา
พึงเกิดขึ้นแก่ภิกษุหรือภิกษุณีรูปใดรูปหนึ่ง ภิกษุหรือภิกษุณีรูปนั้นพึงห้ามจิตจาก
รูปที่พึงรู้แจ้งทางตานั้นโดยพิจารณาว่า ‘ทางนั้นมีภัย มีภัยจำเพาะหน้า มีหนาม
รกชัฏ เป็นทางอ้อม เป็นทางผิด และไปลำบาก ทางนั้นเป็นทางที่อสัตบุรุษดำเนิน
ไม่ใช่ทางที่สัตบุรุษดำเนิน ท่านไม่ควรดำเนินไปทางนั้น’


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๔. จตุตถปัณณาสก์ ๔. อาสีวิสวรรค ๙. วีโณปมสูตร

ภิกษุหรือภิกษุณีพึงห้ามจิตจากรูปที่พึงรู้แจ้งทางตานั้น ฯลฯ
ฉันทะ ราคะ โทสะ โมหะ หรือแม้ความกระทบกระทั่งในใจในรสที่พึงรู้แจ้ง
ทางลิ้นพึงเกิดขึ้นแก่ภิกษุหรือภิกษุณีรูปใดรูปหนึ่ง ฯลฯ
ฉันทะ ราคะ โทสะ โมหะ หรือแม้ความกระทบกระทั่งในใจในธรรมารมณ์ที่
พึงรู้แจ้งทางใจพึงเกิดขึ้นแก่ภิกษุหรือภิกษุณีรูปใดรูปหนึ่ง ภิกษุหรือภิกษุณีรูปนั้น
พึงห้ามจิตจากธรรมารมณ์ที่พึงรู้แจ้งทางใจนั้นโดยพิจารณาว่า “ทางนั้นมีภัย มีภัย
จำเพาะหน้า มีหนาม รกชัฏ เป็นทางอ้อม เป็นทางผิด และไปลำบาก ทางนั้น
เป็นทางที่อสัตบุรุษดำเนิน ไม่ใช่ทางที่สัตบุรุษดำเนิน ท่านไม่ควรดำเนินไปทางนั้น”
ภิกษุหรือภิกษุณีพึงห้ามจิตจากธรรมารมณ์ที่พึงรู้แจ้งทางใจนั้น
ข้าวกล้าถึงจะสมบูรณ์ แต่คนเฝ้าข้าวกล้าประมาท และโคตัวกินข้าวกล้าก็ลง
ลุยข้าวกล้าโน้น พึงถึงความเมามันเลินเล่อตามต้องการแม้ฉันใด ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ
ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ไม่ทำความสำรวมในผัสสายตนะ ๖ ประการ ย่อมถึงความ
มัวเมาประมาทในกามคุณ ๕ ตามต้องการ
ข้าวกล้าสมบูรณ์ คนเฝ้าข้าวกล้าก็ไม่ประมาท และโคที่กินข้าวกล้า ก็ลงลุย
ข้าวกล้าโน้น คนเฝ้าข้าวกล้าจับโคสนตะพายให้แน่น แล้วจับสายตะพายเหนือเขา
ให้มั่น ตีกระหน่ำด้วยท่อนไม้แล้วปล่อยเข้าฝูงไป
แม้ครั้งที่ ๒ ฯลฯ
แม้ครั้งที่ ๓ โคที่กินข้าวกล้าก็ลงลุยข้าวกล้าโน้นอีก คนเฝ้าข้าวกล้าก็จับโค
สนตะพายให้แน่น แล้วจับสายตะพายเหนือเขาให้มั่น ตีกระหน่ำด้วยท่อนไม้แล้ว
ปล่อยเข้าฝูงไป เมื่อเป็นเช่นนั้น โคที่กินข้าวกล้านั้นจะอยู่ในบ้านก็ตาม อยู่ในป่า
ก็ตาม ก็จะเป็นสัตว์ยืนมากหรือนอนมาก ไม่กลับลงสู่ข้าวกล้าอีก พลางนึกถึงการ
ถูกตีด้วยท่อนไม้ครั้งก่อนนั้นแลแม้ฉันใด ข้อนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เมื่อใดภิกษุข่มขู่
คุกคามจิตในผัสสายตนะ ๖ ประการดีแล้ว เมื่อนั้นจิตย่อมอยู่สงบนิ่งอยู่ภายใน
ตั้งมั่น เป็นหนึ่งผุดขึ้น
เปรียบเหมือนพระราชาหรืออำมาตย์ของพระราชาไม่เคยสดับเสียงพิณ พระ
ราชาหรืออำมาตย์ของพระราชานั้นสดับเสียงพิณแล้วพึงถามว่า “ผู้เจริญ เสียงที่น่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๒๖๐ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๔. จตุตถปัณณาสก์ ๔. อาสีวิสวรรค ๙. วีโณปมสูตร

ใคร่อย่างนี้ น่าชอบใจอย่างนี้ น่าเพลิดเพลินอย่างนี้ น่าหมกมุ่นอย่างนี้ น่าพัวพัน
อย่างนี้ เป็นเสียงอะไร”
ราชบุรุษทั้งหลายพึงทูลว่า “เสียงที่น่าใคร่อย่างนี้ น่าชอบใจอย่างนี้ น่า
เพลิดเพลินอย่างนี้ น่าหมกมุ่นอย่างนี้ น่าพัวพันอย่างนี้ เป็นเสียงพิณ พ่ะย่ะค่ะ”
พระราชาหรืออำมาตย์ของพระราชาพึงกล่าวว่า “ผู้เจริญ ท่านทั้งหลายจงไป
นำพิณนั้นมาให้เรา”
ราชบุรุษทั้งหลายนำพิณนั้นมาถวายพระราชาหรืออำมาตย์ของพระราชานั้นแล้ว
พึงกราบทูลว่า “นี่คือพิณนั้นซึ่งมีเสียงน่าใคร่อย่างนี้ น่าชอบใจอย่างนี้ น่า
เพลิดเพลินอย่างนี้ น่าหมกมุ่นอย่างนี้ น่าพัวพันอย่างนี้ พ่ะย่ะค่ะ”
พระราชาหรืออำมาตย์ของพระราชาพึงกล่าวว่า “ผู้เจริญ เราไม่ต้องการพิณนี้
ท่านทั้งหลายจงนำเสียงพิณนั้นมาให้เรา”
ราชบุรุษทั้งหลายพึงกราบทูลว่า “ขึ้นชื่อว่าพิณนี้มีเครื่องประกอบมากมาย
หลายอย่าง พิณที่นายช่างประกอบดีแล้วด้วยเครื่องประกอบหลายอย่างจึงจะเปล่ง
เสียงได้ คือ อาศัยราง อาศัยหนัง อาศัยคัน อาศัยลูกบิด๑ อาศัยสาย อาศัย
ไม้ดีดพิณ และอาศัยความพยายามของบุรุษซึ่งเหมาะแก่พิณนั้น
ขึ้นชื่อว่าพิณนี้มีเครื่องประกอบมากมายหลายอย่าง พิณที่นายช่างประกอบดี
แล้วด้วยเครื่องประกอบหลายอย่าง จึงจะเปล่งเสียงได้อย่างนี้ พ่ะย่ะค่ะ”
พระราชาหรืออำมาตย์ของพระราชานั้นพึงผ่าพิณนั้นเป็น ๑๐ เสี่ยง หรือ ๑๐๐
เสี่ยงแล้ว ทำให้เป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย แล้วพึงเผาไฟทำให้เป็นเขม่า โปรยไปในลม
พายุหรือลอยไปในแม่น้ำที่มีกระแสเชี่ยว พึงกล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านผู้เจริญ ได้ยินว่า
ขึ้นชื่อว่าพิณนี้เลวทราม สิ่งใดสิ่งหนึ่งที่ชื่อว่าพิณก็เลวทรามเหมือนพิณฉะนั้น เพราะ
พิณนี้ทำให้คนประมาท หลงใหลจนเกินขอบเขต” แม้ฉันใด


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๔. จตุตถปัณณาสก์ ๔. อาสีวิสวรรค ๑๐. ฉัปปาณโกปมสูตร

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมค้นหารูปตลอดคติแห่งรูปที่มีอยู่
ค้นหาเวทนาตลอดคติแห่งเวทนาที่มีอยู่ ค้นหาสัญญาตลอดคติแห่งสัญญาที่มีอยู่
ค้นหาสังขารตลอดคติแห่งสังขารที่มีอยู่ ค้นหาวิญญาณตลอดคติแห่งวิญญาณที่
มีอยู่
เมื่อภิกษุนั้นค้นหารูป ฯลฯ สัญญา ... สังขาร ... เมื่อภิกษุนั้นค้นหา
วิญญาณตลอดคติแห่งวิญญาณที่มีอยู่ ความถือว่า ‘เรา’ ‘ของเรา’ ‘มีเรา’ ของ
ภิกษุนั้นไม่มีเลย”

วีโณปมสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. ฉัปปาณโกปมสูตร
ว่าด้วยอุปมาด้วยสัตว์ ๖ ชนิด

[๒๔๗] “ภิกษุทั้งหลาย บุรุษมีร่างกายเต็มไปด้วยแผลพุพอง เข้าไปสู่ป่าหญ้าคา
แม้ถ้าหน่อหญ้าคาตำเท้าของเขา ใบหญ้าคาบาดร่างกายที่พุพอง เมื่อเป็นเช่นนั้น
บุรุษนั้นพึงเสวยทุกข์โทมนัสเหลือประมาณเพราะเหตุนั้นแม้ฉันใด
ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน จะไปสู่บ้านหรือจะไปสู่ป่าก็ตาม
จะมีผู้ทักท้วงว่า “ท่านรูปนี้ทำอย่างนี้ มีความประพฤติอย่างนี้ เป็นผู้ไม่สะอาด
เป็นดุจหนามคอยทิ่มแทงชาวบ้าน”
เธอทั้งหลายรู้ว่า “ภิกษุนั้นเป็นดุจหนาม” แล้วพึงทราบความสำรวมและ
ความไม่สำรวมต่อไป

ความไม่สำรวม

ความไม่สำรวม เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เห็นรูปทางตาแล้ว ย่อมยินดีในรูปที่น่ารัก ย่อมยินร้าย
ในรูปที่ไม่น่ารัก เป็นผู้ไม่ตั้งมั่นกายคตาสติ มีปริตตจิตอยู่ และไม่รู้ชัดเจโตวิมุตติ
และปัญญาวิมุตติตามความเป็นจริง อันเป็นที่ดับไปโดยไม่เหลือแห่งธรรมที่เป็น
บาปอกุศลเหล่านั้นที่เกิดขึ้นแล้วแก่เธอ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๒๖๒ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๔. จตุตถปัณณาสก์ ๔. อาสีวิสวรรค ๑๐. ฉัปปาณโกปมสูตร

ฟังเสียงทางหู ... ดมกลิ่นทางจมูก ... ลิ้มรสทางลิ้น ... ถูกต้องโผฏฐัพพะ
ทางกาย ... รู้แจ้งธรรมารมณ์ทางใจแล้ว ย่อมยินดีในธรรมารมณ์ที่น่ารัก ย่อม
ยินร้ายในธรรมารมณ์ที่ไม่น่ารัก เป็นผู้ไม่ตั้งมั่นกายคตาสติ มีปริตตจิตอยู่ และไม่
รู้ชัดเจโตวิมุตติและปัญญาวิมุตติตามความเป็นจริง อันเป็นที่ดับไปโดยไม่เหลือแห่ง
ธรรมที่เป็นบาปอกุศลเหล่านั้นที่เกิดขึ้นแล้วแก่เธอ
ภิกษุทั้งหลาย บุรุษจับสัตว์ ๖ ชนิดซึ่งมีที่อยู่ต่างกัน มีที่หากินต่างกัน
แล้วผูกด้วยเชือกที่เหนียว คือ จับงูแล้วผูกด้วยเชือกที่เหนียว จับจระเข้แล้วผูกด้วย
เชือกที่เหนียว จับนกแล้วผูกด้วยเชือกที่เหนียว จับสุนัขแล้วผูกด้วยเชือกที่เหนียว
จับสุนัขจิ้งจอกแล้วผูกด้วยเชือกที่เหนียว จับลิงแล้วผูกด้วยเชือกที่เหนียว ขมวด
เป็นปมไว้ตรงกลางแล้วจึงปล่อยไป
ลำดับนั้น สัตว์ทั้ง ๖ ชนิดซึ่งมีที่อยู่ต่างกัน มีที่หากินต่างกันเหล่านั้นพึงดึง
ไปสู่ที่หากินและที่อยู่ของตน ๆ คือ
งูดึงไปด้วยต้องการว่า “จักเข้าไปสู่จอมปลวก”
จระเข้ดึงไปด้วยต้องการว่า “จักลงน้ำ”
นกดึงไปด้วยต้องการว่า “จักบินขึ้นสู่อากาศ”
สุนัขดึงไปด้วยต้องการว่า “จักเข้าบ้าน”
สุนัขจิ้งจอกดึงไปด้วยต้องการว่า “จักเข้าป่าช้า”
ลิงดึงไปด้วยต้องการว่า “จักเข้าป่า”
เมื่อใดสัตว์ทั้ง ๖ ชนิดนั้นต่างก็จะไปตามใจของตน พึงลำบาก เมื่อนั้นสัตว์
เหล่านั้นก็พึงตกอยู่ในอำนาจ ไปตามสัตว์ที่มีกำลังกว่า แม้ฉันใด ข้อนี้ก็ฉันนั้น
เหมือนกัน กายคตาสติที่ภิกษุรูปใดรูปหนึ่งไม่เจริญ ไม่ทำให้มากแล้ว
ตาย่อมฉุดภิกษุนั้นไปในรูปที่น่าพอใจ รูปที่ไม่น่าพอใจเป็นของน่าเกลียด ฯลฯ
ลิ้นย่อมฉุด ฯลฯ
ใจย่อมฉุดภิกษุไปในธรรมารมณ์ที่น่าพอใจ ธรรมารมณ์ที่ไม่น่าพอใจเป็นของ
น่าเกลียด
ภิกษุทั้งหลาย ความไม่สำรวมเป็นอย่างนี้แล

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๒๖๓ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๔. จตุตถปัณณาสก์ ๔. อาสีวิสวรรค ๑๐. ฉัปปาณโกปมสูตร

ความสำรวม

ภิกษุทั้งหลาย ความสำรวม เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เห็นรูปทางตาแล้ว ไม่ยินดีในรูปที่น่ารัก ไม่ยินร้าย
ในรูปที่ไม่น่ารัก เป็นผู้ตั้งมั่นกายคตาสติ มีอัปปมาณจิตอยู่ และรู้ชัดเจโตวิมุตติและ
ปัญญาวิมุตติตามความเป็นจริง อันเป็นที่ดับไปโดยไม่เหลือแห่งธรรมที่เป็นบาปอกุศล
เหล่านั้นที่เกิดขึ้นแล้วแก่เธอ ฯลฯ
ลิ้มรสทางลิ้น ฯลฯ
รู้แจ้งธรรมารมณ์ทางใจแล้ว ไม่ยินดีในธรรมารมณ์ที่น่ารัก ไม่ยินร้ายใน
ธรรมารมณ์ที่ไม่น่ารัก เป็นผู้ตั้งมั่นกายคตาสติ มีอัปปมาณจิตอยู่ และรู้ชัด
เจโตวิมุตติและปัญญาวิมุตติตามความเป็นจริง อันเป็นที่ดับไปโดยไม่เหลือแห่งธรรม
ที่เป็นบาปอกุศลเหล่านั้นที่เกิดขึ้นแล้วแก่เธอ
ภิกษุทั้งหลาย บุรุษจับสัตว์ ๖ ชนิดซึ่งมีที่อยู่ต่างกัน มีที่หากินต่างกัน
แล้วผูกด้วยเชือกที่เหนียว คือ จับงูแล้วผูกด้วยเชือกที่เหนียว จับจระเข้แล้วผูกด้วย
เชือกที่เหนียว จับนกแล้วผูกด้วยเชือกที่เหนียว จับสุนัขแล้วผูกด้วยเชือกที่เหนียว
จับสุนัขจิ้งจอกแล้วผูกด้วยเชือกที่เหนียว จับลิงแล้วผูกด้วยเชือกที่เหนียว แล้วผูก
ติดไว้ที่หลักหรือเสาอันมั่นคง
ลำดับนั้น สัตว์ทั้ง ๖ ชนิดซึ่งมีที่อยู่ต่างกัน มีที่หากินต่างกันเหล่านั้นพึงดึง
ไปสู่ที่หากินและที่อยู่ของตน ๆ คือ
งูดึงไปด้วยต้องการว่า “จักเข้าจอมปลวก”
จระเข้ดึงไปด้วยต้องการว่า “จักลงน้ำ”
นกดึงไปด้วยต้องการว่า “จักบินขึ้นสู่อากาศ”
สุนัขดึงไปด้วยต้องการว่า “จักเข้าบ้าน”
สุนัขจิ้งจอกดึงไปด้วยต้องการว่า “จักเข้าป่าช้า”
ลิงดึงไปด้วยต้องการว่า “จักเข้าป่า”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๒๖๔ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๔. จตุตถปัณณาสก์ ๔. อาสีวิสวรรค ๑๑. ยวกลาปิสูตร

เมื่อใดสัตว์ทั้ง ๖ ชนิดนั้นต่างก็จะไปตามใจของตน พึงลำบาก เมื่อนั้นสัตว์
เหล่านั้นพึงยืนพิง นั่งพิง นอนพิงหลักหรือเสานั้น แม้ฉันใด ข้อนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน
กายคตาสติที่ภิกษุรูปใดรูปหนึ่งเจริญ ทำให้มากแล้ว
ตาย่อมไม่ฉุดภิกษุนั้นไปในรูปที่น่าพอใจ รูปที่ไม่น่าพอใจย่อมไม่น่าเกลียด
ฯลฯ
ลิ้นย่อมไม่ฉุด ฯลฯ
ใจย่อมไม่ฉุดภิกษุนั้นไปในธรรมารมณ์ที่น่าพอใจ ธรรมารมณ์ที่ไม่น่าพอใจ
ย่อมไม่น่าเกลียด
ภิกษุทั้งหลาย ความสำรวมเป็นอย่างนี้แล
คำว่า หลักหรือเสาอันมั่นคง นี้เป็นชื่อของกายคตาสติ
เพราะเหตุนั้น เธอทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า “กายคตาสติเราทั้งหลาย
จักเจริญ ทำให้มาก ทำให้เป็นดุจยาน ทำให้เป็นที่ตั้ง ตั้งไว้เนือง ๆ สั่งสมแล้ว
ปรารภเสมอดีแล้ว”
ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้แล”

ฉัปปาณโกปมสูตรที่ ๑๐ จบ

๑๑. ยวกลาปิสูตร
ว่าด้วยฟ่อนข้าวเหนียว

[๒๔๘] “ภิกษุทั้งหลาย ฟ่อนข้าวเหนียว บุคคลกองไว้ที่ถนนใหญ่สี่แยก ลำดับนั้น
บุรุษ ๖ คนถือไม้คานเดินมา พวกเขาช่วยกันนวดฟ่อนข้าวเหนียวด้วยไม้คานทั้ง ๖
อัน ฟ่อนข้าวเหนียวนั้นถูกนวดอย่างดีด้วยไม้คาน ๖ อันอย่างนี้ ต่อมา บุรุษคน
ที่ ๗ ถือไม้คานเดินมา เขาพึงนวดฟ่อนข้าวเหนียวนั้นด้วยไม้คานอันที่ ๗ ฟ่อน
ข้าวเหนียวนั้นถูกนวดด้วยไม้คานอันที่ ๗ พึงถูกนวดดีกว่าอย่างนี้ แม้ฉันใด ปุถุชน
ผู้ไม่ได้สดับก็ฉันนั้นเหมือนกัน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๒๖๕ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๔. จตุตถปัณณาสก์ ๔. อาสีวิสวรรค ๑๑. ยวกลาปิสูตร

ถูกรูปที่น่าพอใจและไม่น่าพอใจกระทบตา ฯลฯ
ถูกรสที่น่าพอใจและไม่น่าพอใจกระทบลิ้น ฯลฯ
ถูกธรรมารมณ์ที่น่าพอใจและไม่น่าพอใจกระทบใจ
ถ้าปุถุชนผู้ไม่ได้สดับนั้นย่อมคิดเพื่อจะเกิดอีกต่อไป เมื่อเป็นเช่นนั้น ปุถุชนนั้น
ย่อมเป็นโมฆบุรุษผู้ถูกอายตนะภายนอกกระทบอย่างหนักเหมือนฟ่อนข้าวเหนียวที่
ถูกนวดด้วยไม้คานอันที่ ๗ ฉะนั้น
สงครามระหว่างเทวดากับอสูร
ภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว สงครามระหว่างเทวดากับอสูรได้ประชิดกัน
ครั้งนั้น ท้าวเวปจิตติจอมอสูรรับสั่งเรียกพวกอสูรมาตรัสว่า “ท่านผู้นิรทุกข์ทั้งหลาย
ถ้าเมื่อสงครามระหว่างเทวดากับอสูรรบประชิดกัน พวกอสูรพึงชนะ พวกเทวดา
พึงพ่ายแพ้ เพราะเหตุนั้น ท่านทั้งหลายพึงจองจำท้าวสักกะจอมเทพนั้นด้วยเครื่อง
จองจำทั้ง ๕ รวมทั้งเครื่องผูกคอ แล้วนำมายังเมืองอสูรในสำนักของเรา
ฝ่ายท้าวสักกะจอมเทพก็รับสั่งเรียกพวกเทวดาชั้นดาวดึงส์มาตรัสว่า “ท่านผู้
นิรทุกข์ทั้งหลาย ถ้าเมื่อสงครามระหว่างเทวดากับอสูรประชิดกัน พวกเทวดา
พึงชนะ พวกอสูรพึงพ่ายแพ้ เพราะเหตุนั้น ท่านทั้งหลายพึงจองจำท้าวเวปจิตติ
จอมอสูรนั้นด้วยเครื่องจองจำทั้ง ๕ รวมทั้งเครื่องผูกคอแล้วนำมายังเทวสภาชื่อ
สุธรรมาในสำนักของเรา
สงครามครั้งนั้น พวกเทวดาชนะ พวกอสูรพ่ายแพ้ ต่อมา พวกเทวดาชั้น
ดาวดึงส์ได้จองจำท้าวเวปจิตติจอมอสูรด้วยเครื่องจองจำทั้ง ๕ รวมทั้งเครื่องผูกคอ
แล้วนำมายังเทวสภาชื่อสุธรรมาในสำนักของท้าวสักกะจอมเทพ ได้ยินว่า ท้าว
เวปจิตติจอมอสูรถูกจองจำด้วยเครื่องจองจำทั้ง ๕ รวมทั้งเครื่องผูกคอ
ในกาลที่ท้าวเวปจิตติจอมอสูรทรงดำริว่า “พวกเทวดาตั้งอยู่ในธรรม พวก
อสูรไม่ตั้งอยู่ในธรรม บัดนี้เราจักไปยังเทพนคร” ท้าวเวปจิตติจอมอสูรย่อม
พิจารณาเห็นตนพ้นจากเครื่องจองจำทั้ง ๕ รวมทั้งเครื่องผูกคอ และเป็นผู้เอิบอิ่ม
พรั่งพร้อม บำเรออยู่ด้วยกามคุณ ๕ อันเป็นทิพย์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๒๖๖ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๔. จตุตถปัณณาสก์ ๔. อาสีวิาวรรค ๑๑. ยวกลาปิสูตร

ในกาลที่ท้าวเวปจิตติจอมอสูรทรงดำริว่า “พวกอสูรตั้งอยู่ในธรรม พวก
เทวดาไม่ตั้งอยู่ในธรรม บัดนี้เราจักไปยังเมืองอสูร” ท้าวเวปจิตติจอมอสูรพิจารณา
เห็นตนถูกจองจำด้วยเครื่องจองจำทั้ง ๕ รวมทั้งเครื่องผูกคอ และเสื่อมจากกามคุณ
๕ อันเป็นทิพย์
ภิกษุทั้งหลาย เครื่องจองจำท้าวเวปจิตติละเอียดอย่างนี้ เครื่องจองจำของ
มารละเอียดยิ่งกว่านั้น บุคคลเมื่อกำหนดหมายก็ถูกมารผูกมัดไว้ เมื่อไม่กำหนด
หมายก็พ้นจากมารผู้มีบาป
ความกำหนดหมายเป็นต้นเป็นโรค เป็นหัวฝี เป็นลูกศร
ภิกษุทั้งหลาย ความกำหนดหมายว่า “เรามี” ความกำหนดหมายว่า “เรา
เป็นนี้” ความกำหนดหมายว่า “เราจักมี” ความกำหนดหมายว่า “เราจักไม่มี”
ความกำหนดหมายว่า “เราจักเป็นผู้มีรูป” ความกำหนดหมายว่า “เราจักเป็นผู้
ไม่มีรูป” ความกำหนดหมายว่า “เราจักเป็นผู้มีสัญญา” ความกำหนดหมายว่า
“เราจักเป็นผู้ไม่มีสัญญา” ความกำหนดหมายว่า “เราจักเป็นผู้มีสัญญาก็มิใช่ ไม่
มีสัญญาก็มิใช่”
ความกำหนดหมายเป็นโรค ความกำหนดหมายเป็นหัวฝี ความกำหนด
หมายเป็นลูกศร เพราะฉะนั้นแล เธอทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า “เราทั้งหลาย
จักมีจิตไม่กำหนดหมายอยู่”
ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้แล
ภิกษุทั้งหลาย ความหวั่นไหวว่า “เรามี” ความหวั่นไหวว่า “เราเป็นนี้”
ความหวั่นไหวว่า “เราจักมี” ความหวั่นไหวว่า “เราจักไม่มี” ความหวั่นไหวว่า
“เราจักเป็นผู้มีรูป” ความหวั่นไหวว่า “เราจักเป็นผู้ไม่มีรูป” ความหวั่นไหวว่า “เรา
จักเป็นผู้มีสัญญา” ความหวั่นไหวว่า “เราจักเป็นผู้ไม่มีสัญญา” ความหวั่นไหวว่า
“เราจักเป็นผู้มีสัญญาก็มิใช่ ไม่มีสัญญาก็มิใช่”
ความหวั่นไหวเป็นโรค ความหวั่นไหวเป็นหัวฝี ความหวั่นไหวเป็นลูกศร เพราะ
ฉะนั้นแล เธอทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า “เราทั้งหลายจักมีจิตไม่หวั่นไหวอยู่”
ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้แล

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๒๖๗ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๔. จตุตถปัณณาสก์ ๔. อาสีวิาวรรค ๑๑. ยวกลาปิสูตร

ภิกษุทั้งหลาย ความดิ้นรนว่า "เรามี" ความดิ้นรนว่า "เราเป็นนี้" ความ
ดิ้นรนว่า "เราจักมี" ความดิ้นรนว่า "เราจักไม่มี" ความดิ้นรนว่า "เราจักเป็น
ผู้มีรูป" ความดิ้นรนว่า "เราจักเป็นผู้ไม่มีรูป" ความดิ้นรนว่า "เราจักเป็นผู้มี
สัญญา" ความดิ้นรนว่า "เราจักเป็นผู้ไม่มีสัญญา" ความดิ้นรนว่า "เราจักเป็นผู้
มีสัญญาก็มิใช่ ไม่มีสัญญาก็มิใช่"
ความดิ้นรนเป็นโรค ความดิ้นรนเป็นหัวฝี ความดิ้นรนเป็นลูกศร เพราะ
ฉะนั้นแล เธอทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า "เราทั้งหลายจักมีจิตไม่ดิ้นรนอยู่"
ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้แล
ภิกษุทั้งหลาย ความปรุงแต่งว่า "เรามี" ความปรุงแต่งว่า "เราเป็นนี้"
ความปรุงแต่งว่า "เราจักมี" ความปรุงแต่งว่า "เราจักไม่มี" ความปรุงแต่งว่า
"เราจักเป็นผู้มีรูป" ความปรุงแต่งว่า "เราจักเป็นผู้ไม่มีรูป" ความปรุงแต่งว่า
"เราจักเป็นผู้มีสัญญา" ความปรุงแต่งว่า "เราจักเป็นผู้ไม่มีสัญญา" ความปรุงแต่ง
ว่า "เราจักเป็นผู้มีสัญญาก็มิใช่ ไม่มีสัญญาก็มิใช่"
ความปรุงแต่งเป็นโรค ความปรุงแต่งเป็นหัวฝี ความปรุงแต่งเป็นลูกศร เพราะ
ฉะนั้นแล เธอทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า "เราทั้งหลายจักมีจิตไม่ปรุงแต่งอยู่"
ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้แล
ภิกษุทั้งหลาย ความถือตัวว่า "เรามี" ความถือตัวว่า "เราเป็นนี้" ความ
ถือตัวว่า "เราจักมี" ความถือตัวว่า "เราจักไม่มี" ความถือตัวว่า "เราจักเป็นผู้
มีรูป" ความถือตัวว่า "เราจักเป็นผู้ไม่มีรูป" ความถือตัวว่า "เราจักเป็นผู้มีสัญญา"
ความถือตัวว่า "เราจักเป็นผู้ไม่มีสัญญา" ความถือตัวว่า "เราจักเป็นผู้มีสัญญา
ก็มิใช่ ไม่มีสัญญาก็มิใช่"
ความถือตัวเป็นโรค ความถือตัวเป็นหัวฝี ความถือตัวเป็นลูกศร เพราะ
ฉะนั้นแล เธอทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า "เราทั้งหลายจักมีจิตไม่ถือตัวอยู่"
ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้แล"

ยวกลาปิสูตรที่ ๑๑ จบ
อาสีวิสวรรคที่ ๔ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๔. จตุตถปัณณาสก์ รวมพระสูตรที่มีในวรรค

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. อาสีวิโสปมสูตร ๒. รโถปมสูตร
๓. กุมโมปมสูตร ๔. ปฐมทารุกขันโธปมสูตร
๕. ทุติยทารุกขันโธปมสูตร ๖. อวัสสุตปริยายสูตร
๗. ทุกขธัมมสูตร ๘. กิงสุโกปมสูตร
๙. วีโณปมสูตร ๑๐. ฉัปปาณโกปมสูตร
๑๑. ยวกลาปิสูตร

จตุตถปัณณาสก์ในสฬายตนวรรค จบบริบูรณ์

รวมวรรคที่มีในจตุตถปัณณาสก์นี้ คือ

๑. นันทิกขยวรรค ๒. สัฏฐิเปยยาลวรรค
๓. สมุททวรรค ๔. อาสีวิสวรรค

สฬายตนสังยุต จบบริบูรณ์


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๒. เวทนาสังยุต]
๑. สคาถวรรค ๑. สมาธิสูตร

๒. เวทนาสังยุต
๑. สคาถวรรค
หมวดว่าด้วยสูตรที่มีคาถา
๑. สมาธิสูตร
ว่าด้วยสมาธิ

[๒๔๙] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย เวทนา ๓ ประการนี้
เวทนา ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สุขเวทนา (ความรู้สึกสุข)
๒. ทุกขเวทนา (ความรู้สึกทุกข์)
๓. อทุกขมสุขเวทนา (ความรู้สึกสุขก็ไม่ใช่ทุกข์ก็ไม่ใช่)
ภิกษุทั้งหลาย เวทนา ๓ ประการนี้แล
สาวกของพระพุทธเจ้ามีจิตตั้งมั่น มีสติสัมปชัญญะ
ย่อมรู้ชัดเวทนา เหตุเกิดแห่งเวทนา
นิพพานอันเป็นที่ดับแห่งเวทนา
และทางดำเนินให้ถึงความสิ้นไปแห่งเวทนาเหล่านั้น
เพราะสิ้นเวทนา ภิกษุจึงเป็นผู้หมดความหิว ปรินิพพานแล้ว”

สมาธิสูตรที่ ๑ จบ

๒. สุขสูตร
ว่าด้วยความสุข

[๒๕๐] “ภิกษุทั้งหลาย เวทนา ๓ ประการนี้
เวทนา ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สุขเวทนา ๒. ทุกขเวทนา
๓. อทุกขมสุขเวทนา
ภิกษุทั้งหลาย เวทนา ๓ ประการนี้แล

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๒๗๐ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๒. เวทนาสังยุต]
๑. สคาถวรรค ๓. ปหานสูตร

ความเสวยอารมณ์อย่างใดอย่างหนึ่ง
ที่เป็นสุขหรือทุกข์ หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์
ทั้งที่เป็นภายใน ทั้งที่เป็นภายนอกมีอยู่
ภิกษุรู้ว่าเวทนานี้เป็นทุกข์
มีความพินาศแตกสลายเป็นธรรมดา
ถูกต้องสัมผัสความเสื่อม(ด้วยญาณ)อยู่
ย่อมคลายความยินดีในเวทนาเหล่านั้นด้วยประการอย่างนี้”

สุขสูตรที่ ๒ จบ

๓. ปหานสูตร
ว่าด้วยการละ

[๒๕๑] “ภิกษุทั้งหลาย เวทนา ๓ ประการนี้
เวทนา ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สุขเวทนา ๒. ทุกขเวทนา
๓. อทุกขมสุขเวทนา
เธอทั้งหลายพึงละราคานุสัย (กิเลสที่นอนเนื่องอยู่ในสันดานคือราคะ) ในสุข-
เวทนา พึงละปฏิฆานุสัย (กิเลสที่นอนเนื่องอยู่ในสันดานคือความกระทบกระทั่งในใจ)
ในทุกขเวทนา พึงละอวิชชานุสัย (กิเลสที่นอนเนื่องอยู่ในสันดานคืออวิชชา) ใน
อทุกขมสุขเวทนา เพราะภิกษุละราคานุสัยในสุขเวทนา ละปฏิฆานุสัยในทุกขเวทนา
ละอวิชชานุสัยในอทุกขมสุขเวทนาได้ ฉะนั้นภิกษุนี้เราจึงเรียกว่า ‘ผู้ไม่มีอนุสัย มี
ความเห็นชอบ ตัดตัณหาได้ เพิกถอนสังโยชน์แล้ว ได้ทำที่สุดแห่งทุกข์ เพราะ
รู้แจ้งมานะได้โดยชอบ’
ราคานุสัยนั้นย่อมมีแก่ภิกษุผู้เสวยสุขเวทนา
ผู้ไม่รู้ชัด มีปกติไม่เห็นธรรมเครื่องสลัดออก
ปฏิฆานุสัยย่อมมีแก่ภิกษุผู้เสวยทุกขเวทนา
ผู้ไม่รู้ชัด มีปกติไม่เห็นธรรมเครื่องสลัดออก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๒๗๑ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๒. เวทนาสังยุต]
๑. สคาถวรรค ๔. ปาตาลสูตร

บุคคลเพลิดเพลินอทุกขมสุขเวทนาซึ่งมีอยู่
ที่พระผู้มีพระภาคผู้มีปัญญาดุจแผ่นดินทรงแสดงไว้แล้ว
ย่อมไม่พ้นจากทุกข์
เมื่อใดภิกษุมีความเพียร ไม่ละสัมปชัญญะ
เมื่อนั้นเธอเป็นบัณฑิต กำหนดรู้เวทนาทั้งปวงได้
เธอครั้นกำหนดรู้เวทนาแล้ว ไม่มีอาสวะในปัจจุบัน
ตั้งอยู่ในธรรม จบเวท ตายไป ย่อมไม่เข้าถึงการบัญญัติ”

ปหานสูตรที่ ๓ จบ

๔. ปาตาลสูตร
ว่าด้วยบาดาล

[๒๕๒] “ภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับกล่าวคำใดว่า ‘ในมหาสมุทรมี
บาดาล๑’ ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับกล่าวคำนั้นซึ่งไม่มีไม่ปรากฏว่า ‘ในมหาสมุทรมีบาดาล’
คำว่า บาดาล นี้เป็นชื่อของทุกขเวทนาที่เป็นไปในสรีระ
ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับถูกทุกขเวทนาที่เป็นไปในสรีระถูกต้องแล้ว ย่อมเศร้าโศก
ลำบาก ร่ำไร ทุบอกคร่ำครวญ ถึงความลุ่มหลง
ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับนี้เรากล่าวว่า ‘ปรากฏในบาดาลไม่ได้และถึงการหยั่งลง
ไม่ได้’
ส่วนอริยสาวกผู้ได้สดับถูกทุกขเวทนาที่เป็นไปในสรีระถูกต้องแล้ว ย่อมไม่
เศร้าโศก ไม่ลำบาก ไม่ร่ำไร ไม่ทุบอกคร่ำครวญ ไม่ถึงความลุ่มหลง
ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับนี้เรากล่าวว่า ‘ปรากฏในบาดาลได้และถึง
การหยั่งลงได้’


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๒. เวทนาสังยุต]
๑. สคาถวรรค ๕. ทัฏฐัพพสูตร

ภิกษุใดถูกทุกขเวทนาที่เป็นไปในสรีระ
อันนำชีวิตไปซึ่งเกิดขึ้นถูกต้องแล้ว
อดกลั้นไม่ได้ ย่อมหวั่นไหว
มีกำลังทราม๑ เรี่ยวแรงน้อย๒ ย่อมร้องไห้คร่ำครวญ
ภิกษุนั้นปรากฏในบาดาลไม่ได้
ทั้งถึงการหยั่งลงไม่ได้ด้วย
ส่วนภิกษุใดถูกทุกขเวทนาที่เป็นไปในสรีระ
อันนำชีวิตไปซึ่งเกิดขึ้นถูกต้องแล้ว
อดกลั้นได้ ย่อมไม่หวั่นไหว
ภิกษุนั้นแลปรากฏในบาดาลได้
ทั้งถึงการหยั่งลงได้ด้วย”

ปาตาลสูตรที่ ๔ จบ

๕. ทัฏฐัพพสูตร
ว่าด้วยสิ่งที่ควรเห็น

[๒๕๓] “ภิกษุทั้งหลาย เวทนา ๓ ประการนี้
เวทนา ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สุขเวทนา ๒. ทุกขเวทนา
๓. อทุกขมสุขเวทนา
เธอทั้งหลายพึงเห็นสุขเวทนาโดยความเป็นทุกข์ พึงเห็นทุกขเวทนาโดยความ
เป็นลูกศร พึงเห็นอทุกขมสุขเวทนาโดยความไม่เที่ยง เพราะภิกษุเห็นสุขเวทนา
โดยความเป็นทุกข์ เห็นทุกขเวทนาโดยความเป็นลูกศร เห็นอทุกขมสุขเวทนาโดย
ความไม่เที่ยง ภิกษุนี้เราเรียกว่า ‘มีความเห็นชอบ ตัดตัณหาได้ เพิกถอน
สังโยชน์แล้ว ได้ทำที่สุดแห่งทุกข์ เพราะรู้แจ้งมานะได้โดยชอบ’


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๒. เวทนาสังยุต]
๑. สคาถวรรค ๖. สัลลสูตร

ภิกษุใดเห็นสุขเวทนาโดยความเป็นทุกข์
เห็นทุกขเวทนาโดยความเป็นลูกศร
เห็นอทุกขมสุขเวทนาที่มีอยู่โดยความไม่เที่ยง
ภิกษุนั้นมีความเห็นชอบ ย่อมกำหนดรู้เวทนาทั้งหลายได้
เธอครั้นกำหนดรู้เวทนาแล้ว ไม่มีอาสวะในปัจจุบัน
ตั้งอยู่ในธรรม จบเวท ตายไป ย่อมไม่เข้าถึงการบัญญัติ”

ทัฏฐัพพสูตรที่ ๕ จบ

๖. สัลลสูตร
ว่าด้วยลูกศร

[๒๕๔] “ภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ เสวยสุขเวทนาบ้าง ทุกขเวทนา
บ้าง อทุกขมสุขเวทนาบ้าง อริยสาวกผู้ได้สดับก็เสวยสุขเวทนาบ้าง ทุกขเวทนาบ้าง
อทุกขมสุขเวทนาบ้าง
ในชน ๒ จำพวกนั้น มีอะไรเป็นความแปลกกัน เป็นความแตกต่างกัน เป็น
เหตุทำให้ต่างกันระหว่างอริยสาวกผู้ได้สดับกับปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ”
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมของข้าพระองค์ทั้ง
หลายมีพระผู้มีพระภาคเป็นหลัก ฯลฯ
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับถูกทุกขเวทนา
ถูกต้อง ย่อมเศร้าโศก ลำบาก ร่ำไร ทุบอกคร่ำครวญ ถึงความลุ่มหลง เขา
ย่อมเสวยเวทนา ๒ ประการ คือ
๑. เวทนาทางกาย ๒. เวทนาทางใจ
นายขมังธนูใช้ลูกศรยิงบุรุษ ยิงซ้ำบุรุษนั้นด้วยลูกศรดอกที่ ๒ อีก เมื่อเป็น
เช่นนี้ บุรุษนั้นย่อมเสวยเวทนา ๒ ประการเพราะลูกศร คือ
๑. เวทนาทางกาย ๒. เวทนาทางใจ
แม้ฉันใด
ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับก็ฉันนั้นเหมือนกัน ถูกทุกขเวทนาถูกต้องย่อมเศร้าโศก ลำบาก
ร่ำไร ทุบอกคร่ำครวญ ถึงความลุ่มหลง เขาย่อมเสวยเวทนา ๒ ประการ คือ
๑. เวทนาทางกาย ๒. เวทนาทางใจ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๒๗๔ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๒. เวทนาสังยุต]
๑. สคาถวรรค ๖. สัลลสูตร

อนึ่ง เขาถูกทุกขเวทนานั้นแลถูกต้องแล้ว ย่อมขัดเคือง ปฏิฆานุสัยในทุกข-
เวทนาย่อมไหลไปตามเขาผู้ขัดเคืองในเพราะทุกขเวทนา เขาถูกทุกขเวทนาถูกต้อง
แล้วก็ยังเพลิดเพลินกามสุข
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะปุถุชนผู้ไม่ได้สดับนั้นไม่รู้ชัดเครื่องสลัดออกจากทุกขเวทนานอกจากกามสุข
เมื่อเขาเพลิดเพลินกามสุข ราคานุสัยในสุขเวทนานั้นย่อมไหลไปตาม เขาย่อมไม่รู้ชัด
ความเกิด ความดับ คุณ โทษ และเครื่องสลัดออกจากเวทนาเหล่านั้นตามความ
เป็นจริง เมื่อเขาไม่รู้ชัดความเกิด ความดับ คุณ โทษ และเครื่องสลัดออกจาก
เวทนาเหล่านั้นตามความเป็นจริง อวิชชานุสัยในอทุกขมสุขเวทนาย่อมไหลไปตาม
เขาเสวยสุขเวทนา ก็เป็นผู้ประกอบ(ด้วยกิเลส)เสวยสุขเวทนานั้น เสวยทุกขเวทนา
ก็เป็นผู้ประกอบ(ด้วยกิเลส)เสวยทุกขเวทนานั้น และเสวยอทุกขมสุขเวทนา ก็เป็น
ผู้ประกอบ(ด้วยกิเลส)เสวยอทุกขมสุขเวทนานั้น
ภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับนี้เราเรียกว่า ‘เป็นผู้ประกอบด้วยชาติ ชรา
มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส’ เรากล่าวว่า ‘เป็นผู้
ประกอบด้วยทุกข์’
ภิกษุทั้งหลาย ส่วนอริยสาวกผู้ได้สดับถูกทุกขเวทนาถูกต้อง ย่อมไม่เศร้าโศก
ไม่ลำบาก ไม่ร่ำไร ไม่ทุบอกคร่ำครวญ ไม่ถึงความลุ่มหลง เธอย่อมเสวยเวทนา
ทางกายประการเดียว ไม่เสวยเวทนาทางใจ
นายขมังธนูใช้ลูกศรยิงบุรุษ ไม่ยิงซ้ำบุรุษนั้นด้วยลูกศรดอกที่ ๒ เมื่อเป็นเช่นนี้
บุรุษนั้นย่อมเสวยเวทนาเพราะลูกศรดอกเดียวแม้ฉันใด
ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับก็ฉันนั้นเหมือนกัน ถูกทุกขเวทนาถูกต้อง
ย่อมไม่เศร้าโศก ไม่ลำบาก ไม่ร่ำไร ไม่ทุบอกคร่ำครวญ ไม่ถึงความลุ่มหลง เขา
ย่อมเสวยเวทนาทางกายประการเดียว ไม่เสวยเวทนาทางใจ
อนึ่ง เธอถูกทุกขเวทนานั้นแลถูกต้องแล้ว ย่อมไม่ขัดเคือง ปฏิฆานุสัยใน
ทุกขเวทนา ย่อมไม่ไหลไปตามเธอผู้ไม่ขัดเคืองในเพราะทุกขเวทนา เธอถูกทุกข-
เวทนาถูกต้องแล้ว ย่อมไม่เพลิดเพลินกามสุข

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๒๗๕ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๒. เวทนาสังยุต]
๑. สคาถวรรค ๖. สัลลสูตร

ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะอริยสาวกผู้ได้สดับนั้นรู้ชัดเครื่องสลัดออกจากทุกขเวทนา เว้นจาก
กามสุข เมื่อเธอไม่เพลิดเพลินกามสุข ราคานุสัยในสุขเวทนา ย่อมไม่ไหลไปตาม
เธอรู้ชัดความเกิด ความดับ คุณ โทษ และเครื่องสลัดออกจากเวทนาเหล่านั้น
ตามความเป็นจริง เมื่อเธอรู้ชัดความเกิด ความดับ คุณ โทษ และเครื่องสลัด
ออกจากเวทนาเหล่านั้นตามความเป็นจริง อวิชชานุสัยในอทุกขมสุขเวทนาย่อมไม่
ไหลไปตาม ถ้าเธอเสวยสุขเวทนา ก็ปราศจาก(กิเลส)เสวยสุขเวทนานั้น ถ้าเธอ
เสวยทุกขเวทนา ก็ปราศจาก(กิเลส)เสวยทุกขเวทนานั้น ถ้าเธอเสวยอทุกขมสุข-
เวทนา ก็ปราศจาก(กิเลส)เสวยอทุกขมสุขเวทนานั้น
ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับนี้เราเรียกว่า ‘เป็นผู้ปราศจากชาติ ชรา
มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส’ เรากล่าวว่า ‘เป็นผู้ปราศ
จากทุกข์’
ภิกษุทั้งหลาย นี้แลเป็นความแปลกกัน เป็นความแตกต่างกัน เป็นเหตุ
ทำให้ต่างกันระหว่างอริยสาวกผู้ได้สดับกับปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ
อริยสาวกนั้นมีปัญญา เป็นพหูสูต
ย่อมไม่เสวยทั้งสุขเวทนา ทั้งทุกขเวทนา
นี้เป็นความแปลกกันระหว่างธีรชนผู้ฉลาดกับปุถุชน
ธรรมที่น่าปรารถนาย่อมไม่ย่ำยีจิต
ของอริยสาวกนั้นผู้มีธรรมอันรู้แจ้งแล้ว
เป็นพหูสูตเห็นแจ้งโลกนี้และโลกหน้าอยู่
ท่านย่อมไม่ถึงความขัดเคืองเพราะอนิฏฐารมณ์
อนึ่ง ความยินดีหรือความยินร้ายถูกท่านกำจัดแล้ว
ตั้งอยู่ไม่ได้ ย่อมไม่มี ท่านรู้บทที่ปราศจากธุลี
ไม่มีความเศร้าโศก รู้ชัดโดยชอบ ถึงฝั่งแห่งภพได้”

สัลลสูตรที่ ๖ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๒. เวทนาสังยุต]
๑. สคาถวรรค ๗. ปฐมเคลัญญสุตร

๗. ปฐมเคลัญญสูตร
ว่าด้วยความเจ็บป่วย สูตรที่ ๑

[๒๕๕] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ กูฏาคารศาลา ป่ามหาวัน
เขตกรุงเวสาลี ครั้นในเวลาเย็น พระผู้มีพระภาคเสด็จออกจากที่หลีกเร้น เข้าไปยัง
ศาลาคนไข้แล้ว ประทับนั่งบนพุทธอาสน์ที่ปูลาดไว้แล้ว รับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลาย
มาตรัสว่า
“ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงมีสติสัมปชัญญะตลอดเวลา นี้เป็นคำพร่ำสอนสำหรับ
เธอทั้งหลายของเรา

ลักษณะของผู้มีสติสัมปชัญญะ

ภิกษุผู้มีสติ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ
มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้ ... ในเวทนาทั้งหลาย ฯลฯ ในจิต ฯลฯ
พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลาย๑อยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัด
อภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
ภิกษุผู้มีสติเป็นอย่างนี้แล
ภิกษุผู้มีสัมปชัญญะ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ทำความรู้สึกตัวในการก้าวไป การถอยกลับ การแลดู
การเหลียวดู การคู้เข้า การเหยียดออก การครองผ้าสังฆาฏิ บาตร และจีวร การฉัน
การดื่ม การเคี้ยว การลิ้ม การถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ การเดิน การยืน การนั่ง
การนอน การตื่น การพูด การนิ่ง
ภิกษุผู้มีสัมปชัญญะเป็นอย่างนี้แล
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงมีสติสัมปชัญญะตลอดเวลา นี้เป็นคำพร่ำสอนสำหรับ
เธอทั้งหลายของเรา


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๒. เวทนาสังยุต]
๑. สคาถวรรค ๗. ปฐมเคลัญญสุตร

ผู้มีสติสัมปชัญญะย่อมรู้เวทนาชัด

ภิกษุทั้งหลาย ถ้าเมื่อภิกษุนั้นมีสติสัมปชัญญะ ไม่ประมาท มีความเพียร
อุทิศกายและใจอยู่อย่างนี้ สุขเวทนาเกิดขึ้น
เธอรู้ชัดอย่างนี้ว่า ‘สุขเวทนานี้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา เพราะอาศัยกัน สุขเวทนา
นั้นจึงเกิดขึ้น เพราะไม่อาศัยกัน จึงไม่เกิดขึ้น เพราะอาศัยอะไร เพราะอาศัย
กายนี้เอง แต่กายนี้ไม่เที่ยง ถูกปัจจัยปรุงแต่ง อาศัยกันและกันเกิดขึ้น สุขเวทนา
เกิดขึ้นเพราะอาศัยกายที่ไม่เที่ยง ถูกปัจจัยปรุงแต่ง อาศัยกันและกันเกิดขึ้น ที่ไหน
จักเที่ยงเล่า’
เธอพิจารณาเห็นความไม่เที่ยง ความเสื่อม ความคลายกำหนัด ความดับ
และความสละคืนในกายและในสุขเวทนาอยู่ เมื่อเธอพิจารณาเห็นความไม่เที่ยง
ความเสื่อม ความคลายกำหนัด ความดับ และความสละคืนในกายและใน
สุขเวทนาอยู่อย่างนี้ ย่อมละราคานุสัยในกายและในสุขเวทนาได้
ภิกษุทั้งหลาย ถ้าเมื่อภิกษุนั้นมีสติสัมปชัญญะ ไม่ประมาท มีความเพียร
อุทิศกายและใจอยู่อย่างนี้ ทุกขเวทนาเกิดขึ้น
เธอรู้ชัดอย่างนี้ว่า ‘ทุกขเวทนานี้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา เพราะอาศัยกัน ทุกขเวทนา
นั้นจึงเกิดขึ้น เพราะไม่อาศัยกัน จึงไม่เกิดขึ้น เพราะอาศัยอะไร เพราะอาศัยกาย
นี้เอง แต่กายนี้ไม่เที่ยง ถูกปัจจัยปรุงแต่ง อาศัยกันและกันเกิดขึ้น ทุกขเวทนา
เกิดขึ้นเพราะอาศัยกายที่ไม่เที่ยง ถูกปัจจัยปรุงแต่ง อาศัยกันและกันเกิดขึ้น ที่
ไหนจักเที่ยงเล่า’
เธอพิจารณาเห็นความไม่เที่ยง ความเสื่อม ความคลายกำหนัด ความดับ
และความสละคืนในกายและในทุกขเวทนาอยู่ เมื่อเธอพิจารณาเห็นความไม่เที่ยง
ฯลฯ และความสละคืนในกายและในทุกขเวทนาอยู่อย่างนี้ ย่อมละปฏิฆานุสัยใน
กายและในทุกขเวทนาได้
ภิกษุทั้งหลาย ถ้าเมื่อภิกษุนั้นมีสติสัมปชัญญะ ไม่ประมาท มีความเพียร
อุทิศกายและใจอยู่อย่างนี้ อทุกขมสุขเวทนาเกิดขึ้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๒๗๘ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๒. เวทนาสังยุต]
๑. สคาถวรรค ๗. ปฐมเคลัญญสุตร

เธอรู้ชัดอย่างนี้ว่า ‘อทุกขมสุขเวทนานี้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา เพราะอาศัยกัน
อทุกขมสุขเวทนานั้นจึงเกิดขึ้น เพราะไม่อาศัยกัน จึงไม่เกิดขึ้น เพราะอาศัยอะไร
เพราะอาศัยกายนี้เอง แต่กายนี้ไม่เที่ยง ถูกปัจจัยปรุงแต่ง อาศัยกันและกันเกิดขึ้น
อทุกขมสุขเวทนาเกิดขึ้นเพราะอาศัยกายที่ไม่เที่ยง ถูกปัจจัยปรุงแต่ง อาศัยกันและ
กันเกิดขึ้น ที่ไหนจักเที่ยงเล่า’
เธอพิจารณาเห็นความไม่เที่ยง ความเสื่อม ความคลายกำหนัด ความดับ
และความสละคืนในกายและในอทุกขมสุขเวทนาอยู่ เมื่อเธอพิจารณาเห็นความ
ไม่เที่ยง ฯลฯ และความสละคืนในกายและในอทุกขมสุขเวทนาอยู่อย่างนี้ ย่อมละ
อวิชชานุสัยในกายและในอทุกขมสุขเวทนาได้
ถ้าภิกษุนั้นเสวยสุขเวทนา ก็รู้ชัดว่า ‘สุขเวทนานั้นไม่เที่ยง’ รู้ชัดว่า ‘ไม่น่า
หมกมุ่น’ รู้ชัดว่า ‘ไม่น่าเพลิดเพลิน’ ถ้าเธอเสวยทุกขเวทนา ฯลฯ ถ้าเธอเสวย
อทุกขมสุขเวทนา ก็รู้ชัดว่า ‘อทุกขมสุขเวทนานั้นไม่เที่ยง’ รู้ชัดว่า ‘ไม่น่าหมกมุ่น’
รู้ชัดว่า ‘ไม่น่าเพลิดเพลิน’
ถ้าเธอเสวยสุขเวทนา ก็เป็นผู้ปราศจาก (กิเลส) เสวยสุขเวทนานั้น ถ้าเธอเสวย
ทุกขเวทนา ก็เป็นผู้ปราศจาก (กิเลส) เสวยทุกขเวทนานั้น ถ้าเธอเสวยอทุกขม-
สุขเวทนา ก็เป็นผู้ปราศจาก (กิเลส) เสวยอทุกขมสุขเวทนานั้น
เธอเมื่อเสวยเวทนามีกายเป็นที่สุด ก็รู้ชัดว่า ‘เราเสวยเวทนามีกายเป็นที่สุด’
เมื่อเสวยเวทนามีชีวิตเป็นที่สุด ก็รู้ชัดว่า ‘เราเสวยเวทนามีชีวิตเป็นที่สุด’ หลังจาก
ตายไป ก็รู้ชัดว่า ‘เวทนาทั้งปวงไม่น่าเพลิดเพลิน จักเย็นในโลกนี้ทีเดียว’
เปรียบเวทนากับตะเกียง
ภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัยน้ำมันและไส้ ตะเกียงน้ำมันจึงติดอยู่ได้ เพราะสิ้น
น้ำมันและไส้ ตะเกียงน้ำมันนั้นก็หมดเชื้อดับไปแม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน
เมื่อเสวยเวทนามีกายเป็นที่สุด ก็รู้ชัดว่า ‘เราเสวยเวทนามีกายเป็นที่สุด’ เมื่อเสวย
เวทนามีชีวิตเป็นที่สุด ก็รู้ชัดว่า ‘เราเสวยเวทนามีชีวิตเป็นที่สุด’ หลังจากตายไป
ก็รู้ชัดว่า ‘เวทนาทั้งปวงไม่น่าเพลิดเพลิน จักเย็นในโลกนี้ทีเดียว ๋

ปฐมเคลัญญสูตรที่ ๗ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๒. เวทนาสังยุต]
๑. สคาถวรรค ๘. ทุติยเคลัญญสูตร

๘. ทุติยเคลัญญสูตร
ว่าด้วยความเจ็บป่วย สูตรที่ ๒

[๒๕๖] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ กูฏาคารศาลา ป่ามหาวัน
เขตกรุงเวสาลี ครั้นในเวลาเย็นพระผู้มีพระภาคเสด็จออกจากที่หลีกเร้น เข้าไปยัง
ศาลาคนไข้แล้ว ประทับนั่งบนพุทธอาสน์ที่ปูลาดไว้แล้ว รับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลาย
มาตรัสว่า
“ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงมีสติสัมปชัญญะตลอดเวลา นี้เป็นคำพร่ำสอน
สำหรับเธอทั้งหลายของเรา
ลักษณะของผู้มีสติสัมปชัญญะ
ภิกษุผู้มีสติ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ
มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้ ... ในเวทนาทั้งหลาย ฯลฯ ในจิต ฯลฯ
พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัด
อภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
ภิกษุผู้มีสติเป็นอย่างนี้แล
ภิกษุผู้มีสัมปชัญญะ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ทำความรู้สึกตัว ในการก้าวไป การถอยกลับ ฯลฯ
การพูด การนิ่ง
ภิกษุผู้มีสัมปชัญญะเป็นอย่างนี้แล
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงมีสติสัมปชัญญะตลอดเวลา นี้เป็นคำพร่ำสอนสำหรับ
เธอทั้งหลายของเรา
ผู้มีสติสัมปชัญญะย่อมรู้เวทนาชัด
ภิกษุทั้งหลาย ถ้าเมื่อภิกษุนั้นมีสติสัมปชัญญะ ไม่ประมาท มีความเพียร
อุทิศกายและใจอยู่อย่างนี้ สุขเวทนาเกิดขึ้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๒๘๐ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๒. เวทนาสังยุต]
๑. สคาถวรรค ๘. ทุติยเคลัญญสูตร

เธอรู้ชัดอย่างนี้ว่า ‘สุขเวทนานี้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา เพราะอาศัยกัน สุขเวทนา
นั้นจึงเกิดขึ้น เพราะไม่อาศัยกัน จึงไม่เกิดขึ้น เพราะอาศัยอะไร เพราะอาศัย
ผัสสะนี้เอง แต่ผัสสะนี้ไม่เที่ยง ถูกปัจจัยปรุงแต่ง อาศัยกันและกันเกิดขึ้น
สุขเวทนาเกิดขึ้นเพราะอาศัยผัสสะที่ไม่เที่ยง ถูกปัจจัยปรุงแต่ง อาศัยกันและกัน
เกิดขึ้น ที่ไหนจักเที่ยงเล่า’
เธอพิจารณาเห็นความไม่เที่ยง ความเสื่อม ความคลายกำหนัด ความดับ
และความสละคืนในผัสสะและในสุขเวทนาอยู่ เมื่อเธอพิจารณาเห็นความไม่เที่ยง
ความเสื่อม ความคลายกำหนัด ความดับ และความสละคืนในผัสสะและใน
สุขเวทนาอยู่อย่างนี้ ย่อมละราคานุสัยในผัสสะและในสุขเวทนาได้
ภิกษุทั้งหลาย ถ้าเมื่อภิกษุนั้นมีสติ ฯลฯ อยู่อย่างนี้ ทุกขเวทนาเกิดขึ้น ฯลฯ
อทุกขมสุขเวทนาเกิดขึ้น เธอรู้ชัดอย่างนี้ว่า ‘อทุกขมสุขเวทนานี้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา
เพราะอาศัยกัน อทุกขมสุขเวทนานั้นจึงเกิดขึ้น เพราะไม่อาศัยกัน จึงไม่เกิดขึ้น
เพราะอาศัยอะไร เพราะอาศัยผัสสะนี้เอง แต่ผัสสะนี้ไม่เที่ยง ถูกปัจจัยปรุงแต่ง
อาศัยกันและกันเกิดขึ้น ฯลฯ (ควรขยายความให้พิสดารเหมือนสูตรแรก) หลังจาก
ตายไป ก็รู้ชัดว่า ‘เวทนาทั้งปวงไม่น่าเพลิดเพลิน จักเย็นในโลกนี้ทีเดียว’

เปรียบเวทนากับตะเกียง

ภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัยน้ำมันและไส้ ตะเกียงน้ำมันจึงติดอยู่ได้ เพราะ
สิ้นน้ำมันและไส้ ตะเกียงน้ำมันนั้นก็หมดเชื้อดับไปแม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน
เมื่อเสวยเวทนามีกายเป็นที่สุด ก็รู้ชัดว่า ‘เราเสวยเวทนามีกายเป็นที่สุด’ เมื่อเสวย
เวทนามีชีวิตเป็นที่สุด ก็รู้ชัดว่า ‘เราเสวยเวทนามีชีวิตเป็นที่สุด’ หลังจากตายไป
ก็รู้ชัดว่า ‘เวทนาทั้งปวงไม่น่าเพลิดเพลิน จักเย็นในโลกนี้ทีเดียว ๋

ทุติยเคลัญญสูตรที่ ๘ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๒. เวทนาสังยุต]
๑. สคาถวรรค ๑๐. ผัสสมูลกสูตร

๙. อนิจจสูตร
ว่าด้วยเวทนาไม่เที่ยง

[๒๕๗] “ภิกษุทั้งหลาย เวทนา ๓ ประการนี้ไม่เที่ยง ถูกปัจจัยปรุงแต่ง
อาศัยกันและกันเกิดขึ้น มีความสิ้นไปเป็นธรรมดา มีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา
มีความคลายไปเป็นธรรมดามีความดับไปเป็นธรรมดา
เวทนา ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สุขเวทนา ๒. ทุกขเวทนา
๓. อทุกขมสุขเวทนา
ภิกษุทั้งหลาย เวทนา ๓ ประการนี้ไม่เที่ยง ถูกปัจจัยปรุงแต่ง อาศัยกัน
และกันเกิดขึ้น มีความสิ้นไปเป็นธรรมดา มีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา มีความ
คลายไปเป็นธรรมดา มีความดับไปเป็นธรรมดา”

อนิจจสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. ผัสสมูลกสูตร
ว่าด้วยเวทนามีผัสสะเป็นมูล

[๒๕๘] “ภิกษุทั้งหลาย เวทนา ๓ ประการนี้เกิดจากผัสสะ มีผัสสะเป็นมูล
มีผัสสะเป็นเหตุ มีผัสสะเป็นปัจจัย
เวทนา ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สุขเวทนา ๒. ทุกขเวทนา
๓. อทุกขมสุขเวทนา
เพราะอาศัยผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งสุขเวทนา สุขเวทนาจึงเกิด เพราะผัสสะ
อันเป็นที่ตั้งแห่งสุขเวทนานั้นนั่นแลดับ สุขเวทนาที่เกิดเพราะอาศัยผัสสะอันเป็นที่
ตั้งแห่งสุขเวทนาที่เสวยอยู่อันเกิดจากผัสสะนั้นก็ดับคือสงบไป

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๒๘๒ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๒. เวทนาสังยุต]
๑. สคาถวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

เพราะอาศัยผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งทุกขเวทนา ทุกขเวทนาจึงเกิด เพราะ
ผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งทุกขเวทนานั้นนั่นแลดับ ทุกขเวทนาที่เกิดเพราะอาศัยผัสสะ
อันเป็นที่ตั้งแห่งทุกขเวทนาที่เสวยอยู่อันเกิดจากผัสสะนั้นก็ดับคือสงบไป
เพราะอาศัยผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งอทุกขมสุขเวทนา อทุกขมสุขเวทนาจึงเกิด
เพราะผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งอทุกขมสุขเวทนานั้นนั่นแลดับ อทุกขมสุขเวทนาที่เกิด
เพราะอาศัยผัสสะ อันเป็นที่ตั้งแห่งอทุกขมสุขเวทนาที่เสวยอยู่อันเกิดจากผัสสะนั้น
ก็ดับคือสงบไป
เปรียบเวทนากับความร้อน
ภิกษุทั้งหลาย เพราะไม้ ๒ อันเสียดสีกัน จึงเกิดความร้อน ไฟลุกขึ้น เพราะ
แยกไม้ทั้งสองนั้นออกจากกัน ความร้อนที่เกิดจากการเสียดสีนั้นจึงดับ ระงับไป
แม้ฉันใด เวทนา ๓ ประการนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เกิดแต่ผัสสะ มีผัสสะเป็นมูล
มีผัสสะเป็นเหตุ มีผัสสะเป็นปัจจัย เพราะอาศัยผัสสะที่เกิดแต่ปัจจัยนั้น เวทนา
ที่เกิดแต่ผัสสะนั้นจึงเกิด เพราะผัสสะที่เกิดแต่ปัจจัยนั้นดับ เวทนาที่เกิดแต่ผัสสะ
นั้นจึงดับ”

ผัสสมูลกสูตรที่ ๑๐ จบ
สคาถวรรคที่ ๑ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. สมาธิสูตร ๒. สุขสูตร
๓. ปหานสูตร ๔. ปาตาลสูตร
๕. ทัฏฐัพพสูตร ๖. สัลลสูตร
๗. ปฐมเคลัญญสูตร ๘. ทุติยเคลัญญสูตร
๙. อนิจจสูตร ๑๐. ผัสสมูลกสูตร


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๒. เวทนาสังยุต]
๒. รโหคตวรรค ๑. รโหคตสูตร

๒. รโหคตวรรค
หมวดว่าด้วยภิกษุผู้อยู่ในที่สงัด
๑. รโหคตสูตร
ว่าด้วยภิกษุผู้อยู่ในที่สงัด

[๒๕๙] ครั้งนั้น ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวาย
อภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานวโรกาส ข้าพระองค์หลีกเร้นอยู่ในที่สงัด
ได้เกิดความคิดคำนึงขึ้นมาว่า
‘พระผู้มีพระภาคตรัสเวทนาไว้ ๓ ประการ คือ
๑. สุขเวทนา ๒. ทุกขเวทนา
๓. อทุกขมสุขเวทนา
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสเวทนาไว้ ๓ ประการนี้
สมจริงดังพระดำรัสที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ‘ความเสวยอารมณ์อย่างใด
อย่างหนึ่งนั้นเป็นทุกข์’
พระดำรัสที่ว่า ‘ความเสวยอารมณ์อย่างใดอย่างหนึ่งนั้นเป็นทุกข์’ นั้น
พระผู้มีพระภาคตรัสหมายถึงอะไร”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
“ดีละ ดีละ ภิกษุ เรากล่าวเวทนาไว้ ๓ ประการนี้ คือ
๑. สุขเวทนา ๒. ทุกขเวทนา
๓. อทุกขมสุขเวทนา
เรากล่าวเวทนาไว้ ๓ ประการนี้
สมจริงดังคำที่เรากล่าวว่า ‘ความเสวยอารมณ์อย่างใดอย่างหนึ่งนั้นเป็นทุกข์’
คำที่ว่า ‘ความเสวยอารมณ์อย่างใดอย่างหนึ่งนั้นเป็นทุกข์’ นั้นเรากล่าว
หมายถึงความที่สังขารทั้งหลายนั้นแลไม่เที่ยง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๒๘๔ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๒. เวทนาสังยุต]
๒. รโหคตวรรค ๑. รโหคตสูตร

คำที่ว่า ‘ความเสวยอารมณ์อย่างใดอย่างหนึ่งนั้นเป็นทุกข์’ นั้นเรากล่าว
หมายถึงความที่สังขารทั้งหลายนั้นแลมีความสิ้นไปเป็นธรรมดา ฯลฯ มีความ
เสื่อมไปเป็นธรรมดา ฯลฯ มีความแตกไปเป็นธรรมดา ฯลฯ มีความดับไปเป็น
ธรรมดา ฯลฯ
คำที่ว่า ‘ความเสวยอารมณ์อย่างใดอย่างหนึ่งนั้นเป็นทุกข์’ นั้นเรากล่าว
หมายถึงความที่สังขารทั้งหลายนั้นแลมีความแปรผันเป็นธรรมดา
ต่อมา เรากล่าวความดับไปแห่งสังขารตามลำดับ คือ
๑. เมื่อภิกษุเข้าปฐมฌาน วาจาก็ดับไป
๒. เมื่อเข้าทุติยฌาน วิตกวิจารก็ดับไป
๓. เมื่อเข้าตติยฌาน ปีติก็ดับไป
๔. เมื่อเข้าจตุตถฌาน ลมหายใจเข้าและลมหายใจออกก็ดับไป
๕. เมื่อเข้าอากาสานัญจายตนฌาน๑ รูปสัญญาก็ดับไป
๖. เมื่อเข้าวิญญาณัญจายตนฌาน๒ อากาสานัญจายตนสัญญาก็ดับไป
๗. เมื่อเข้าอากิญจัญญายตนฌาน๓ วิญญาณัญจายตนสัญญาก็ดับไป
๘. เมื่อเข้าเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน อากิญจัญญายตนสัญญาก็ดับไป
๙. เมื่อเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ สัญญาและเวทนาก็ดับไป
๑๐. ภิกษุผู้สิ้นอาสวะแล้ว ราคะย่อมดับไป โทสะย่อมดับไป โมหะ
ย่อมดับไป


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๒. เวทนาสังยุต]
๒. รโหคตวรรค ๒. ปฐมอากาสสูตร

ต่อมา เรากล่าวความระงับไปแห่งสังขารตามลำดับ คือ
๑. เมื่อภิกษุเข้าปฐมฌาน วาจาก็ระงับไป ฯลฯ
๙. เมื่อเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ สัญญาและเวทนาก็ระงับไป
๑๐. ภิกษุผู้สิ้นอาสวะแล้ว ราคะย่อมระงับไป โทสะย่อมระงับไป โมหะ
ย่อมระงับไป
ภิกษุ ปัสสัทธิ ๖ ประการนี้ คือ
๑. เมื่อภิกษุเข้าปฐมฌาน วาจาก็สงบ
๒. เมื่อเข้าทุติยฌาน วิตกวิจารก็สงบ
๓. เมื่อเข้าตติยฌาน ปีติก็สงบ
๔. เมื่อเข้าจตุตถฌาน ลมหายใจเข้าและลมหายใจออกก็สงบ
๕. เมื่อเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ สัญญาและเวทนาก็สงบ
๖. ภิกษุผู้สิ้นอาสวะแล้ว ราคะย่อมสงบ โทสะย่อมสงบ โมหะย่อม
สงบ”

รโหคตสูตรที่ ๑ จบ

๒. ปฐมอากาสสูตร
ว่าด้วยอากาศ สูตรที่ ๑

[๒๖๐] “ภิกษุทั้งหลาย ลมชนิดต่าง ๆ พัดไปในอากาศ
คือ ลมมาจากทิศตะวันออกพัดไปบ้าง ลมมาจากทิศตะวันตกพัดไปบ้าง
ลมมาจากทิศเหนือพัดไปบ้าง ลมมาจากทิศใต้พัดไปบ้าง ลมเจือฝุ่นพัดไปบ้าง
ลมไม่เจือฝุ่นพัดไปบ้าง ลมหนาวพัดไปบ้าง ลมร้อนพัดไปบ้าง ลมอ่อน ๆ พัดไปบ้าง
ลมแรงพัดไปบ้าง แม้ฉันใด
ภิกษุทั้งหลาย เวทนาชนิดต่าง ๆ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมเกิดขึ้นในกายนี้
คือ สุขเวทนาเกิดขึ้นบ้าง ทุกขเวทนาเกิดขึ้นบ้าง อทุกขมสุขเวทนาเกิดขึ้นบ้าง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๒๘๖ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๒. เวทนาสังยุต]
๒. รโหคตวรรค ๓. ทุติยอากาสสูตร

ลมหลายชนิด พัดไปในอากาศ คือ
ลมมาจากทิศตะวันออกบ้าง ลมมาจากทิศตะวันตกบ้าง
ลมมาจากทิศเหนือบ้าง ลมมาจากทิศใต้บ้าง
ลมหลายชนิดพัดไป คือ
ลมเจือฝุ่นบ้าง ลมไม่เจือฝุ่นบ้าง
ลมหนาวบ้าง ลมร้อนบ้าง
บางคราวลมแรงบ้าง ลมอ่อน ๆ บ้าง แม้ฉันใด
เวทนาก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมเกิดขึ้นในกายนี้ คือ
สุขเวทนาเกิดขึ้นบ้าง ทุกขเวทนาเกิดขึ้นบ้าง
อทุกขมสุขเวทนาเกิดขึ้นบ้าง
เมื่อใดภิกษุมีความเพียร ไม่ละสัมปชัญญะ
เมื่อนั้นเธอเป็นบัณฑิต กำหนดรู้เวทนาทั้งปวงได้
เธอครั้นกำหนดรู้เวทนาแล้ว
ไม่มีอาสวะในปัจจุบัน ตั้งอยู่ในธรรม จบเวท
ตายไป ย่อมไม่เข้าถึงการบัญญัติ”

ปฐมอากาสสูตรที่ ๒ จบ

๓. ทุติยอากาสสูตร
ว่าด้วยอากาศ สูตรที่ ๒

[๒๖๑] “ภิกษุทั้งหลาย ลมชนิดต่าง ๆ พัดไปในอากาศ คือ ลมมาจากทิศ
ตะวันออกพัดไปบ้าง ฯลฯ ลมแรงพัดไปบ้าง แม้ฉันใด
ภิกษุทั้งหลาย เวทนาชนิดต่าง ๆ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมเกิดขึ้นในกายนี้
คือ สุขเวทนาเกิดขึ้นบ้าง ทุกขเวทนาเกิดขึ้นบ้าง อทุกขมสุขเวทนาเกิดขึ้นบ้าง”

ทุติยอากาสสูตรที่ ๓ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๒. เวทนาสังยุต]
๒. รโหคตวรรค ๕. ปฐมอานันทสูตร

๔. อคารสูตร
ว่าด้วยเรือนพัก

[๒๖๒] “ภิกษุทั้งหลาย มีเรือนพักคนเดินทางอยู่ คนทั้งหลายมาจากทิศ
ตะวันออกบ้าง มาจากทิศตะวันตกบ้าง มาจากทิศเหนือบ้าง มาจากทิศใต้บ้าง
เข้ามาพักในเรือนพักคนเดินทางนั้น คือ กษัตริย์มาพักบ้าง พราหมณ์มาพักบ้าง
แพศย์มาพักบ้าง ศูทรมาพักบ้าง แม้ฉันใด
ภิกษุทั้งหลาย เวทนาชนิดต่าง ๆ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมเกิดขึ้นในกายนี้
คือ สุขเวทนาเกิดขึ้นบ้าง ทุกขเวทนาเกิดขึ้นบ้าง อทุกขมสุขเวทนาเกิดขึ้นบ้าง
สุขเวทนาเจืออามิส๑เกิดขึ้นบ้าง ทุกขเวทนาเจืออามิส๒เกิดขึ้นบ้าง อทุกขมสุข-
เวทนาเจืออามิส๓เกิดขึ้นบ้าง สุขเวทนาไม่เจืออามิส๔เกิดขึ้นบ้าง ทุกขเวทนาไม่เจือ
อามิส๕เกิดขึ้นบ้าง อทุกขมสุขเวทนาไม่เจืออามิส๖เกิดขึ้นบ้าง”

อคารสูตรที่ ๔ จบ

๕. ปฐมอานันทสูตร
ว่าด้วยพระอานนท์ สูตรที่ ๑

[๒๖๓] ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับแล้ว
นั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๒. เวทนาสังยุต]
๒. รโหคตวรรค ๕. ปฐมอานันทสูตร

“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เวทนามีเท่าไร ความเกิดแห่งเวทนาเป็นอย่างไร
ความดับแห่งเวทนาเป็นอย่างไร ปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งเวทนาเป็นอย่างไร
อะไรเป็นคุณแห่งเวทนา อะไรเป็นโทษแห่งเวทนา อะไรเป็นเครื่องสลัดออกจาก
เวทนา”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “อานนท์ เวทนามี ๓ ประการนี้ คือ
๑. สุขเวทนา ๒. ทุกขเวทนา
๓. อทุกขมสุขเวทนา
เหล่านี้เราเรียกว่า เวทนา
เพราะผัสสะเกิดเวทนาจึงเกิด เพราะผัสสะดับเวทนาจึงดับ อริยมรรคมีองค์ ๘
นี้แล เป็นปฏิปทาที่ให้ถึง ความดับแห่งเวทนา คือ
๑. สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ ๘. สัมมาสมาธิ
สภาพที่สุขโสมนัสอาศัยเวทนาเกิดขึ้น นี้เป็นคุณแห่งเวทนา
สภาพที่เวทนาไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา นี้เป็นโทษ
แห่งเวทนา
ธรรมเป็นที่กำจัดฉันทราคะ ธรรมเป็นที่ละฉันทราคะในเวทนา นี้เป็นเครื่อง
สลัดออกจากเวทนา
ต่อมาเรากล่าวความดับไปแห่งสังขารตามลำดับ คือ
๑. เมื่อภิกษุเข้าปฐมฌาน วาจาก็ดับไป ฯลฯ
๙. เมื่อเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ สัญญาและเวทนาก็ดับไป
๑๐. ภิกษุผู้สิ้นอาสวะแล้ว ราคะย่อมดับไป โทสะย่อมดับไป โมหะย่อม
ดับไป
ต่อมาเรากล่าวความระงับไปแห่งสังขารตามลำดับ คือ
๑. เมื่อภิกษุเข้าปฐมฌาน วาจาก็ระงับไป ฯลฯ
๙. เมื่อเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ สัญญาและเวทนาก็ระงับไป
๑๐. ภิกษุผู้สิ้นอาสวะแล้ว ราคะย่อมระงับไป โทสะย่อมระงับไป โมหะ
ย่อมระงับไป

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๒๘๙ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๒. เวทนาสังยุต]
๒. รโหคตวรรค ๖. ทุติยอานันทสูตร

อานนท์ ต่อมา เรากล่าวความสงบแห่งสังขารตามลำดับ คือ
๑. เมื่อภิกษุเข้าปฐมฌาน วาจาก็สงบ ฯลฯ
๕. เมื่อเข้าอากาสานัญจายตนฌาน รูปสัญญาก็สงบ
๖. เมื่อเข้าวิญญาณัญจายตนฌาน อากาสานัญจายตนสัญญาก็สงบ
๗. เมื่อเข้าอากิญจัญญายตนฌาน วิญญาณัญจายตนสัญญาก็สงบ
๘. เมื่อเข้าเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน อากิญจัญญายตนสัญญาก็สงบ
๙. เมื่อเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ สัญญาและเวทนาก็สงบ
๑๐. ภิกษุผู้สิ้นอาสวะแล้ว ราคะย่อมสงบ โทสะย่อมสงบ โมหะย่อมสงบ”

ปฐมอานันทสูตรที่ ๕ จบ

๖. ทุติยอานันทสูตร
ว่าด้วยพระอานนท์ สูตรที่ ๒

[๒๖๔] ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวาย
อภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร พระผู้มีพระภาคได้ตรัสถามท่านพระอานนท์ดังนี้ว่า
“อานนท์ เวทนามีเท่าไร ความเกิดแห่งเวทนาเป็นอย่างไร ความดับแห่ง
เวทนาเป็นอย่างไร ปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งเวทนาเป็นอย่างไร อะไรเป็นคุณ
แห่งเวทนา อะไรเป็นโทษแห่งเวทนา อะไรเป็นเครื่องสลัดออกจากเวทนา”
ท่านพระอานนท์กราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมของข้าพระองค์
ทั้งหลาย มีพระผู้มีพระภาคเป็นหลัก มีพระผู้มีพระภาคเป็นผู้นำ มีพระผู้มีพระภาค
เป็นที่พึ่ง ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานวโรกาส เฉพาะพระผู้มีพระภาคเท่านั้น
ที่จะทรงอธิบายเนื้อความแห่งภาษิตนั้นให้แจ่มแจ้งได้ ภิกษุทั้งหลายฟังต่อจากพระ
ผู้มีพระภาคแล้วจักทรงจำไว้”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อานนท์ ถ้าเช่นนั้น เธอจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เรา
จักกล่าว”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๒๙๐ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๒. เวทนาสังยุต]
๒. รโหคตวรรค ๗. ปฐมสัมพหุลสูตร

ท่านพระอานนท์ทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสว่า “อานนท์
เวทนามี ๓ ประการนี้ คือ
๑. สุขเวทนา ๒. ทุกขเวทนา
๓. อทุกขมสุขเวทนา
เหล่านี้เราเรียกว่าเวทนา ฯลฯ เพราะผัสสะเกิด ฯลฯ ภิกษุผู้สิ้นอาสวะแล้ว
ราคะย่อมสงบ โทสะย่อมสงบ โมหะย่อมสงบ”

ทุติยอานันทสูตรที่ ๖ จบ

๗. ปฐมสัมพหุลสูตร
ว่าด้วยภิกษุหลายรูป สูตรที่ ๑

[๒๖๕] ครั้งนั้น ภิกษุหลายรูปเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวาย
อภิวาทแล้ว นั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เวทนามีเท่าไร ความเกิดแห่งเวทนาเป็นอย่างไร
ความดับแห่งเวทนาเป็นอย่างไร ปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งเวทนาเป็นอย่างไร
อะไรเป็นคุณแห่งเวทนา อะไรเป็นโทษแห่งเวทนา อะไรเป็นเครื่องสลัดออกจาก
เวทนา”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ภิกษุทั้งหลาย เวทนามี ๓ ประการ คือ
๑. สุขเวทนา ๒ . ทุกขเวทนา
๓. อทุกขมสุขเวทนา
เหล่านี้เราเรียกว่า เวทนา
เพราะผัสสะเกิดเวทนาจึงเกิด เพราะผัสสะดับเวทนาจึงดับ อริยมรรคมีองค์ ๘
นี้แล เป็นปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งเวทนา คือ
๑. สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ ๘. สัมมาสมาธิ
สภาพที่สุขโสมนัสอาศัยเวทนาเกิดขึ้น นี้เป็นคุณแห่งเวทนา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๒๙๑ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๒. เวทนาสังยุต]
๒. รโหคตวรรค ๙. ทุติยสัมพหุลสูตร

สภาพที่เวทนาไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา นี้เป็นโทษแห่ง
เวทนา
ธรรมเป็นที่กำจัดฉันทราคะ ธรรมเป็นที่ละฉันทราคะในเวทนา นี้เป็นเครื่อง
สลัดออกจากเวทนา
ต่อมา เรากล่าวความดับแห่งสังขารตามลำดับ คือ
๑. เมื่อภิกษุเข้าปฐมฌาน วาจาก็ดับไป ฯลฯ
๑๐. ภิกษุผู้สิ้นอาสวะแล้ว ราคะย่อมดับไป โทสะย่อมดับไป โมหะ
ย่อมดับไป
ต่อมา เรากล่าวความระงับไปแห่งสังขารตามลำดับ คือ
๑. เมื่อภิกษุเข้าปฐมฌาน วาจาก็ระงับไป ฯลฯ
๑๐. ภิกษุผู้สิ้นอาสวะแล้ว ราคะย่อมระงับไป โทสะย่อมระงับไป โมหะ
ย่อมระงับไป
ภิกษุทั้งหลาย ปัสสัทธิ ๖ ประการนี้ คือ
๑. เมื่อภิกษุเข้าปฐมฌาน วาจาก็สงบ
๒. เมื่อเข้าทุติยฌาน วิตกวิจารก็สงบ
๓. เมื่อเข้าตติยฌาน ปีติก็สงบ
๔. เมื่อเข้าจตุตถฌาน ลมหายใจเข้าและลมหายใจออกก็สงบ
๕. เมื่อเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ สัญญาและเวทนาก็สงบ
๖. ภิกษุผู้สิ้นอาสวะแล้ว ราคะย่อมสงบ โทสะย่อมสงบ โมหะย่อมสงบ”

ปฐมสัมพหุลสูตรที่ ๗ จบ

๘. ทุติยสัมพหุลสูตร
ว่าด้วยภิกษุหลายรูป สูตรที่ ๒

[๒๖๖] ครั้งนั้น ภิกษุหลายรูปเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ฯลฯ
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสถามภิกษุเหล่านั้นดังนี้ว่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๒๙๒ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๒. เวทนาสังยุต]
๒. รโหคตวรรค ๙. ปัญจกังคสูตร

“ภิกษุทั้งหลาย เวทนามีเท่าไร ความเกิดแห่งเวทนาเป็นอย่างไร ความดับ
แห่งเวทนาเป็นอย่างไร ปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งเวทนาเป็นอย่างไร อะไรเป็นคุณ
แห่งเวทนา อะไรเป็นโทษแห่งเวทนา อะไรเป็นเครื่องสลัดออกจากเวทนา”
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมของข้าพระองค์
ทั้งหลายมีพระผู้มีพระภาคเป็นหลัก ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย เวทนามี ๓ ประการนี้ คือ
๑. สุขเวทนา ๒. ทุกขเวทนา
๓. อทุกขมสุขเวทนา
เหล่านี้เราเรียกว่า เวทนา
เพราะผัสสะเกิดขึ้น ฯลฯ (ควรขยายความให้พิสดารเหมือนสูตรแรก)”

ทุติยสัมพหุลสูตรที่ ๘ จบ

๙. ปัญจกังคสูตร
ว่าด้วยช่างไม้ชื่อปัญจกังคะ

[๒๖๗] ครั้งนั้น ช่างไม้ชื่อปัญจกังคะ๑เข้าไปหาท่านพระอุทายีถึงที่อยู่ ไหว้
แล้ว นั่ง ณ ที่สมควร ได้เรียนถามท่านพระอุทายีดังนี้ว่า “ท่านอุทายี พระ
ผู้มีพระภาคตรัสเวทนาไว้เท่าไร”
ท่านพระอุทายีตอบว่า “ช่างไม้ พระผู้มีพระภาคตรัสเวทนาไว้ ๓ ประการ คือ
๑. สุขเวทนา ๒. ทุกขเวทนา
๓. อทุกขมสุขเวทนา
พระผู้มีพระภาคตรัสเวทนาไว้ ๓ ประการนี้


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๒. เวทนาสังยุต]
๒. รโหคตวรรค ๙. ปัญจกังคสูตร

เมื่อท่านพระอุทายีกล่าวอย่างนี้แล้ว ช่างไม้ชื่อปัญจกังคะได้กล่าวกับท่าน
พระอุทายีดังนี้ว่า “ท่านอุทายี พระผู้มีพระภาคไม่ได้ตรัสเวทนาไว้ ๓ ประการ
แต่พระผู้มีพระภาคตรัสเวทนาไว้ ๒ ประการ คือ
๑. สุขเวทนา ๒. ทุกขเวทนา
ท่านผู้เจริญ อทุกขมสุขเวทนาพระผู้มีพระภาคตรัสไว้ในสุขที่สงบประณีต”
แม้ครั้งที่ ๒ ท่านพระอุทายีก็ได้กล่าวกับช่างไม้ชื่อปัญจกังคะดังนี้ว่า “ช่างไม้
พระผู้มีพระภาคไม่ได้ตรัสเวทนาไว้ ๒ ประการ แต่พระผู้มีพระภาคตรัสเวทนาไว้ ๓
ประการ คือ
๑. สุขเวทนา ๒. ทุกขเวทนา
๓. อทุกขมสุขเวทนา
พระผู้มีพระภาคตรัสเวทนาไว้ ๓ ประการนี้”
แม้ครั้งที่ ๒ ช่างไม้ชื่อปัญจกังคะก็ได้กล่าวกับท่านพระอุทายีดังนี้ว่า “ท่าน
อุทายี พระผู้มีพระภาคไม่ได้ตรัสเวทนาไว้ ๓ ประการ แต่พระผู้มีพระภาคตรัส
เวทนาไว้ ๒ ประการ คือ
๑. สุขเวทนา ๒. ทุกขเวทนา
ท่านผู้เจริญ อทุกขมสุขเวทนาพระผู้มีพระภาคตรัสไว้ในสุขที่สงบประณีต”
แม้ครั้งที่ ๓ ท่านพระอุทายีก็ได้กล่าวกับช่างไม้ชื่อปัญจกังคะดังนี้ว่า “ช่างไม้
พระผู้มีพระภาคไม่ได้ตรัสเวทนาไว้ ๒ ประการ แต่พระผู้มีพระภาคตรัสเวทนาไว้ ๓
ประการ คือ
๑. สุขเวทนา ๒. ทุกขเวทนา
๓. อทุกขมสุขเวทนา
พระผู้มีพระภาคตรัสเวทนาไว้ ๓ ประการนี้”
แม้ครั้งที่ ๓ ช่างไม้ชื่อปัญจกังคะก็ได้กล่าวกับท่านพระอุทายีดังนี้ว่า “ท่าน
อุทายี พระผู้มีพระภาคไม่ได้ตรัสเวทนาไว้ ๓ ประการ แต่พระผู้มีพระภาคตรัส
เวทนาไว้ ๒ ประการ คือ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๒๙๔ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๒. เวทนาสังยุต]
๒. รโหคตวรรค ๙. ปัญจกังคสูตร

๑. สุขเวทนา ๒. ทุกขเวทนา
ท่านผู้เจริญ อทุกขมสุขเวทนาพระผู้มีพระภาคตรัสไว้ในสุขที่สงบประณีต”
ท่านพระอุทายีไม่สามารถให้ช่างไม้ชื่อปัญจกังคะยินยอมได้ ช่างไม้ชื่อ
ปัญจกังคะก็ไม่สามารถให้ท่านพระอุทายียินยอมได้ ท่านพระอานนท์ได้ยินการ
สนทนาปราศรัยนี้ของท่านพระอุทายีกับช่างไม้ชื่อปัญจกังคะ
ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์จึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับแล้ว นั่ง ณ
ที่สมควร ได้กราบทูลถึงการสนทนาปราศรัยของท่านพระอุทายีกับช่างไม้ชื่อปัญจกังคะ
ทั้งหมดนั้นแด่พระผู้มีพระภาค
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า “อานนท์ ช่างไม้ชื่อปัญจกังคะไม่คล้อยตาม
บรรยาย๑ที่มีอยู่ของอุทายีภิกษุ ส่วนอุทายีภิกษุก็ไม่คล้อยตามบรรยายที่มีอยู่ของ
ช่างไม้ชื่อปัญจกังคะ
ประเภทแห่งเวทนา
อานนท์ เรากล่าวเวทนา ๒ ประการไว้โดยบรรยายก็มี กล่าวเวทนา ๓ ประการ
ไว้โดยบรรยายก็มี กล่าวเวทนา ๕ ประการไว้โดยบรรยายก็มี กล่าวเวทนา ๖ ประการ
ไว้โดยบรรยายก็มี กล่าวเวทนา ๑๘ ประการไว้โดยบรรยายก็มี กล่าวเวทนา ๓๖
ประการไว้โดยบรรยายก็มี กล่าวเวทนา ๑๐๘ ประการไว้โดยบรรยายก็มี
ธรรมอันเราแสดงไว้แล้วโดยบรรยายอย่างนี้ เมื่อธรรมอันเราแสดงไว้แล้วโดย
บรรยายอย่างนี้ ชนเหล่าใดจักไม่สำคัญ ไม่รู้ ไม่ชื่นชมตามคำที่เรากล่าวเจรจาดีแล้ว
แก่กันและกัน ชนเหล่านั้นพึงหวังได้ว่า จักบาดหมางกัน ทะเลาะกัน วิวาทกัน
ใช้หอกคือปากทิ่มแทงกันอยู่
ธรรมอันเราแสดงไว้แล้วโดยบรรยายอย่างนี้ เมื่อธรรมอันเราแสดงแล้วโดย
บรรยายอย่างนี้ ชนเหล่าใดจักสำคัญ รู้ ชื่นชมตามคำที่เรากล่าวเจรจาดีแล้วแก่
กันและกัน ชนเหล่านั้นพึงหวังได้ว่า จักพร้อมเพรียงกัน ชื่นชมกัน ไม่วิวาทกัน
เป็นเหมือนน้ำนมกับน้ำ มองดูกันด้วยนัยน์ตาที่เปี่ยมด้วยความรักอยู่


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๒. เวทนาสังยุต]
๒. รโหคตวรรค ๙. ปัญจกังคสูตร

กามสุข (สุขที่เกิดจากกามคุณ)
อานนท์ กามคุณ ๕ ประการนี้
กามคุณ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. รูปที่พึงรู้แจ้งทางตาที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก
ชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัด ฯลฯ
๕. โผฏฐัพพะที่พึงรู้แจ้งทางกายที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวน
ให้รัก ชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัด
กามคุณ ๕ ประการนี้
สุขโสมนัสที่เกิดขึ้นเพราะอาศัยกามคุณ ๕ ประการนี้ เราเรียกว่า กามสุข
ชนเหล่าใดพึงกล่าวอย่างนี้ว่า “ชนทั้งหลายย่อมเสวยสุขโสมนัสที่สงบอย่าง
ยิ่งนี้” เราก็ไม่คล้อยตามคำของชนเหล่านั้น
ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะยังมีสุขอื่นที่ดีกว่าและประณีตกว่าสุขนี้

สุขอื่นที่ดีกว่าและประณีตกว่า

อานนท์ สุขอื่นที่ดีกว่าและประณีตกว่าสุขนี้ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้สงัดจากกามและจากอกุศลธรรมแล้ว บรรลุปฐมฌาน
ที่มีวิตก วิจาร ปีติ และสุขอันเกิดจากวิเวกอยู่
สุขอื่นที่ดีกว่าและประณีตกว่าสุขนี้ เป็นอย่างนี้แล
ชนเหล่าใดพึงกล่าวอย่างนี้ว่า “ชนทั้งหลายย่อมเสวยสุขโสมนัสที่สงบอย่าง
ยิ่งนี้” เราก็ไม่คล้อยตามคำของชนเหล่านั้น
ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะยังมีสุขอื่นที่ดีกว่าและประณีตกว่าสุขนี้
สุขอื่นที่ดีกว่าและประณีตกว่าสุขนี้ เป็นอย่างไร
คือ เพราะวิตกวิจารระงับไป ภิกษุในธรรมวินัยนี้บรรลุทุติยฌานมีความ
ผ่องใสในภายใน มีภาวะที่จิตเป็นหนึ่งผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีแต่ปีติและสุข
อันเกิดจากสมาธิอยู่
สุขอื่นที่ดีกว่าและประณีตกว่าสุขนี้ เป็นอย่างนี้แล

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๒๙๖ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๒. เวทนาสังยุต]
๒. รโหคตวรรค ๙. ปัญจกังคสูตร

ชนเหล่าใดพึงกล่าวอย่างนี้ว่า “ชนทั้งหลายย่อมเสวยสุขโสมนัสที่สงบอย่าง
ยิ่งนี้” เราก็ไม่คล้อยตามคำของชนเหล่านั้น
ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะยังมีสุขอื่นที่ดีกว่าและประณีตกว่าสุขนี้
สุขอื่นที่ดีกว่าและประณีตกว่าสุขนี้ เป็นอย่างไร
คือ เพราะปีติจางคลายไป ภิกษุในธรรมวินัยนี้มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ
เสวยสุขด้วยนามกาย บรรลุตติยฌานที่พระอริยะทั้งหลายสรรเสริญว่า ‘ผู้มีอุเบกขา
มีสติอยู่เป็นสุข’
สุขอื่นที่ดีกว่าและประณีตกว่าสุขนี้ เป็นอย่างนี้แล
ชนเหล่าใดพึงกล่าวอย่างนี้ว่า “ชนทั้งหลายย่อมเสวยสุขโสมนัสที่สงบอย่าง
ยิ่งนี้” เราก็ไม่คล้อยตามคำนี้ของชนเหล่านั้น
ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะยังมีสุขอื่นที่ดีกว่าและประณีตกว่าสุขนี้
สุขอื่นที่ดีกว่าและประณีตกว่าสุขนี้ เป็นอย่างไร
คือ เพราะละสุขและทุกข์ได้ เพราะโสมนัสและโทมนัสดับไปก่อน ภิกษุใน
ธรรมวินัยนี้บรรลุจตุตถฌานที่ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขาอยู่
สุขอื่นที่ดีกว่าและประณีตกว่าสุขนี้ เป็นอย่างนี้แล
ชนเหล่าใดพึงกล่าวอย่างนี้ว่า “ชนทั้งหลายย่อมเสวยสุขโสมนัสที่สงบอย่าง
ยิ่งนี้” เราก็ไม่คล้อยตามคำของชนเหล่านั้น
ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะยังมีสุขอื่นที่ดีกว่าและประณีตกว่าสุขนี้
สุขอื่นที่ดีกว่าและประณีตกว่าสุขนี้ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ บรรลุอากาสานัญจายตนฌานอยู่โดยกำหนดว่า
“อากาศหาที่สุดมิได้” เพราะล่วงรูปสัญญา ดับปฏิฆสัญญา ไม่กำหนดนานัตต-
สัญญา โดยประการทั้งปวง
สุขอื่นที่ดีกว่าและประณีตกว่าสุขนี้ เป็นอย่างนี้แล

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๒๙๗ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๒. เวทนาสังยุต]
๒. รโหคตวรรค ๙. ปัญจกังคสูตร

ชนเหล่าใดพึงกล่าวอย่างนี้ว่า “ชนทั้งหลายย่อมเสวยสุขโสมนัสที่สงบอย่าง
ยิ่งนี้” เราก็ไม่คล้อยตามคำของชนเหล่านั้น
ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะยังมีสุขอื่นที่ดีกว่าและประณีตกว่าสุขนี้
สุขอื่นที่ดีกว่าและประณีตกว่าสุขนี้ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ล่วงอากาสานัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุ
วิญญาณัญจายตนฌานโดยกำหนดว่า “วิญญาณหาที่สุดมิได้”
สุขอื่นที่ดีกว่าและประณีตกว่าสุขนี้ เป็นอย่างนี้แล
ชนเหล่าใดพึงกล่าวอย่างนี้ว่า “ชนทั้งหลายย่อมเสวยสุขโสมนัสที่สงบอย่าง
ยิ่งนี้” เราก็ไม่คล้อยตามคำของชนเหล่านั้น
ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะยังมีสุขอื่นที่ดีกว่าและประณีตกว่าสุขนี้
สุขอื่นที่ดีกว่าและประณีตกว่าสุขนี้ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ล่วงวิญญาณัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุ
อากิญจัญญายตนฌานโดยกำหนดว่า “ไม่มีอะไร”
สุขอื่นที่ดีกว่าและประณีตกว่าสุขนี้ เป็นอย่างนี้แล
ชนเหล่าใดพึงกล่าวอย่างนี้ว่า “ชนทั้งหลายย่อมเสวยสุขโสมนัสที่สงบอย่าง
ยิ่งนี้” เราก็ไม่คล้อยตามคำของชนเหล่านั้น
ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะยังมีสุขอื่นที่ดีกว่าและประณีตกว่าสุขนี้
สุขอื่นที่ดีกว่าและประณีตกว่าสุขนี้ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ล่วงอากิญจัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุ
เนวสัญญานาสัญญายตนฌานอยู่
สุขอื่นที่ดีกว่าและประณีตกว่าสุขนี้ เป็นอย่างนี้แล
ชนเหล่าใดพึงกล่าวอย่างนี้ว่า “ชนทั้งหลายย่อมเสวยสุขโสมนัสที่สงบอย่าง
ยิ่งนี้” เราก็ไม่คล้อยตามคำของชนเหล่านั้น
ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะยังมีสุขอื่นที่ดีกว่าและประณีตกว่าสุขนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๒๙๘ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๒. เวทนาสังยุต]
๒. รโหคตวรรค ๑๐. ภิกขุสูตร

สุขอื่นที่ดีกว่าและประณีตกว่าสุขนี้ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวง
บรรลุสัญญาเวทยิตนิโรธอยู่
สุขอื่นที่ดีกว่าและประณีตกว่าสุขนี้ เป็นอย่างนี้แล
เป็นไปได้ที่อัญเดียรถีย์ปริพาชกทั้งหลายพึงกล่าวอย่างนี้ว่า “เป็นไปได้หรือ
เป็นไปได้อย่างไรที่พระสมณโคดมกล่าวสัญญาเวทยิตนิโรธ และบัญญัติสัญญา-
เวทยิตนิโรธนั้นไว้ในสุข”
อานนท์ อัญเดียรถีย์ปริพาชกทั้งหลายผู้กล่าวอย่างนี้ เธอทั้งหลายพึงค้านว่า
“ท่านทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคไม่ได้ทรงหมายถึงสุขเวทนา บัญญัติสัญญา-
เวทยิตนิโรธนั้นไว้ในสุขเลย บุคคลย่อมประสบสุขในฐานะใด ๆ มีสุขในฐานะใด ๆ
พระตถาคตจึงทรงบัญญัติฐานะนั้น ๆ ไว้ในสุข”

ปัญจกังคสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. ภิกขุสูตร
ว่าด้วยภิกษุ

[๒๖๘] “เรากล่าวเวทนา ๒ ประการไว้โดยบรรยายก็มี กล่าวเวทนา ๓
ประการไว้โดยบรรยายก็มี กล่าวเวทนา ๕ ประการไว้โดยบรรยายก็มี กล่าว
เวทนา ๖ ประการไว้โดยบรรยายก็มี กล่าวเวทนา ๑๘ ประการไว้โดยบรรยาย
ก็มี กล่าวเวทนา ๓๖ ประการไว้โดยบรรยายก็มี กล่าวเวทนา ๑๐๘ ประการไว้
โดยบรรยายก็มี
ธรรมอันเราแสดงไว้แล้วโดยบรรยายอย่างนี้ เมื่อธรรมอันเราแสดงไว้แล้วโดย
บรรยายอย่างนี้ ชนเหล่าใดจักไม่สำคัญ ไม่รู้ ไม่ชื่นชมตามคำที่เรากล่าวเจรจาดี
แล้วแก่กันและกัน ชนเหล่านั้นพึงหวังได้ว่า “จักบาดหมางกัน ทะเลาะกัน วิวาทกัน
ใช้หอกคือปากทิ่มแทงกันอยู่ ๋

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๒๙๙ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๒. เวทนาสังยุต]
๒. รโหคตวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

ธรรมอันเราแสดงไว้แล้วโดยบรรยายอย่างนี้ เมื่อธรรมอันเราแสดงไว้แล้วโดย
บรรยายอย่างนี้ ชนเหล่าใดจักสำคัญ รู้ ชื่นชมตามคำที่เรากล่าวเจรจาดีแล้วแก่
กันและกัน ชนเหล่านั้นพึงหวังได้ว่า “จักพร้อมเพรียงกัน ชื่นชมกัน ไม่วิวาทกัน
เหมือนน้ำนมกับน้ำ มองดูกันด้วยนัยน์ตาที่เปี่ยมด้วยความรักอยู่”
ภิกษุทั้งหลาย กามคุณ ๕ ประการนี้ ฯลฯ เป็นไปได้ที่อัญเดียรถีย์ปริพาชก
ทั้งหลายพึงกล่าวอย่างนี้ว่า “เป็นไปได้หรือ เป็นไปได้อย่างไรที่พระสมณโคดม
กล่าวสัญญาเวทยิตนิโรธและบัญญัติสัญญาเวทยิตนิโรธนั้นไว้ในสุข”
ภิกษุทั้งหลาย อัญเดียรถีย์ปริพาชกทั้งหลายผู้กล่าวอย่างนี้ เธอทั้งหลาย
พึงค้านว่า “ท่านทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคไม่ได้ทรงหมายถึงสุขเวทนา บัญญัติ
สัญญาเวทยิตนิโรธนั้นไว้ในสุขเลย บุคคลย่อมประสบสุขในฐานะใด ๆ มีสุขในฐานะ
ใด ๆ พระตถาคตจึงทรงบัญญัติฐานะนั้น ๆ ไว้ในสุข”

ภิกขุสูตรที่ ๑๐ จบ
รโหคตวรรคที่ ๒ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. รโหคตสูตร ๒. ปฐมอากาสสูตร
๓. ทุติยอากาสสูตร ๔. อคารสูตร
๕. ปฐมอานันทสูตร ๖. ทุติยอานันทสูตร
๗. ปฐมสัมพหุลสูตร ๘. ทุติยสัมพหุลสูตร
๙. ปัญจกังคสูตร ๑๐. ภิกขุสูตร


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๒. เวทนาสังยุต]
๓. อัฏฐสตปริยายวรรค ๑. สีวกสูตร

๓. อัฏฐสตปริยายวรรค
หมวดว่าด้วยบรรยาย ๑๐๘ ประการ
๑. สีวกสูตร
ว่าด้วยสีวกปริพาชก

[๒๖๙] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเวฬุวัน สถานที่ให้เหยื่อ
กระแต เขตกรุงราชคฤห์ ครั้งนั้น ปริพาชกชื่อโมฬิยสีวกะ๑เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค
ถึงที่ประทับ ได้สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้ว นั่ง ณ
ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่งมีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่าง
นี้ว่า ‘บุรุษบุคคลนี้เสวยสุข ทุกข์ หรืออทุกขมสุขอย่างใดอย่างหนึ่ง สุข ทุกข์ หรือ
อทุกขมสุขทั้งหมดนั้นมีเหตุที่ได้ทำไว้ในปางก่อน’ ก็ในข้อนี้พระโคดมผู้เจริญตรัสไว้อย่างไร”
พระผู้พระภาคตรัสตอบว่า “สีวกะ เวทนาบางอย่างมีดีเป็นสมุฏฐานเกิดขึ้น
ในกายนี้ก็มี การที่เวทนาบางอย่างซึ่งมีดีเป็นสมุฏฐานเกิดขึ้นในกายนี้ บุคคลพึงรู้ได้
เองนี้ก็มี การที่เวทนาบางอย่างซึ่งมีดีเป็นสมุฏฐานเกิดขึ้นในกายนี้ ชาวโลกสมมติ
ว่าเป็นความจริงก็มี ในข้อนั้นสมณพราหมณ์เหล่าใดมีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่าง
นี้ว่า ‘บุรุษบุคคลนี้เสวยสุข ทุกข์ หรืออทุกขมสุขอย่างใดอย่างหนึ่ง สุข ทุกข์
หรืออทุกขมสุขทั้งหมดนั้นมีเหตุที่ได้ทำไว้ในปางก่อน’ ย่อมแล่นไปหาสิ่งที่ตนเองรู้
และแล่นไปหาสิ่งที่ชาวโลกสมมติว่าเป็นความจริง เพราะฉะนั้นเราจึงกล่าวว่า ‘เป็น
ความผิดของสมณพราหมณ์เหล่านั้น’
... มีเสลดเป็นสมุฏฐาน ฯลฯ มีลมเป็นสมุฏฐาน ฯลฯ มีดี เสลดและลม
รวมกันเป็นสมุฏฐาน ฯลฯ เกิดจากการเปลี่ยนฤดู ฯลฯ เกิดจากการบริหารกาย
ไม่สม่ำเสมอ ฯลฯ เกิดจากการถูกทำร้าย ฯลฯ เวทนาบางอย่างเกิดจาก
ผลกรรมเกิดขึ้นในกายนี้ก็มี การที่เวทนาบางอย่างซึ่งเกิดจากผลกรรมเกิดขึ้นใน
กายนี้บุคคลพึงรู้ได้เองก็มี การที่เวทนาบางอย่างซึ่งเกิดจากผลกรรมเกิดขึ้นในกายนี้
ชาวโลกสมมติว่าเป็นความจริงก็มี ในข้อนั้นสมณพราหมณ์เหล่าใดมีวาทะอย่างนี้


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๒. เวทนาสังยุต]
๓. อัฏฐสตปริยายวรรค ๒. อัฏฐสตสูตร

มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘บุรุษบุคคลนี้เสวยสุข ทุกข์ หรืออทุกขมสุขอย่างใดอย่างหนึ่ง
สุข ทุกข์ หรืออทุกขมสุขทั้งหมดนั้น มีเหตุที่ได้ทำไว้ในปางก่อน’ ย่อมแล่นไปหา
สิ่งที่ตนเองรู้ และแล่นไปหาสิ่งที่ชาวโลกสมมติว่าเป็นความจริง เพราะฉะนั้นเราจึง
กล่าวว่า ‘เป็นความผิดของสมณพราหมณ์เหล่านั้น”
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ปริพาชกชื่อโมฬิยสีวกะได้กราบทูลพระ
ผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่ท่านพระโคดม พระภาษิตของท่านพระโคดมชัดเจน
ไพเราะยิ่งนัก ฯลฯ ขอท่านพระโคดมจงทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะ
ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปจนตลอดชีวิต”
ดี ๑ เสลด ๑ ลม ๑ ดี เสลด และลม รวมกัน ๑
ฤดู ๑ การบริหารกายไม่สม่ำเสมอ ๑ การถูกทำร้าย ๑
รวมกับผลกรรมอีก ๑ เป็น ๘

สีวกสูตรที่ ๑ จบ

๒. อัฏฐสตสูตร
ว่าด้วยเวทนา ๑๐๘ ประการ

[๒๗๐] “ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมบรรยายซึ่งมีบรรยายถึง ๑๐๘
ประการแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง
ภิกษุทั้งหลาย ธรรมบรรยายซึ่งมีบรรยายถึง ๑๐๘ ประการ เป็นอย่างไร
คือ เรากล่าวเวทนา ๒ ประการไว้โดยบรรยายก็มี กล่าวเวทนา ๓ ประการ
ไว้โดยบรรยายก็มี กล่าวเวทนา ๕ ประการไว้โดยบรรยายก็มี กล่าวเวทนา ๖
ประการไว้โดยบรรยายก็มี กล่าวเวทนา ๑๘ ประการไว้โดยบรรยายก็มี กล่าว
เวทนา ๓๖ ประการไว้โดยบรรยายก็มี กล่าวเวทนา ๑๐๘ ประการไว้โดยบรรยาย
ก็มี
เวทนา ๒ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. เวทนาทางกาย ๒. เวทนาทางใจ
เหล่านี้เราเรียกว่า เวทนา ๒ ประการ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๓๐๒ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๒. เวทนาสังยุต]
๓. อัฏฐสตปริยายวรรค ๒. อัฏฐสตสูตร

เวทนา ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สุขเวทนา ๒. ทุกขเวทนา
๓. อทุกขมสุขเวทนา
เหล่านี้เราเรียกว่า เวทนา ๓ ประการ
เวทนา ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สุขินทรีย์ (อินทรีย์คือสุขเวทนา)
๒. ทุกขินทรีย์ (อินทรีย์คือทุกขเวทนา)
๓. โสมนัสสินทรีย์ (อินทรีย์คือโสมนัสสเวทนา)
๔. โทมนัสสินทรีย์ (อินทรีย์คือโทมนัสสเวทนา)
๕. อุเปกขินทรีย์ (อินทรีย์คืออุเบกขาเวทนา)
เหล่านี้เราเรียกว่า เวทนา ๕ ประการ
เวทนา ๖ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. เวทนาที่เกิดจากจักขุสัมผัส ฯลฯ
๖. เวทนาที่เกิดจากมโนสัมผัส
เหล่านี้เราเรียกว่า เวทนา ๖ ประการ
เวทนา ๑๘ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. เวทนาที่เกิดร่วมกับโสมนัส ๖ ประการ
๒. เวทนาที่เกิดร่วมกับโทมนัส ๖ ประการ
๓. เวทนาที่เกิดร่วมกับอุเบกขา ๖ ประการ
เหล่านี้เราเรียกว่า เวทนา ๑๘ ประการ
เวทนา ๓๖ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. เคหสิตโสมนัส (โสมนัสอิงเรือน) ๖ ประการ
๒. เนกขัมมสิตโสมนัส (โสมนัสอิงเนกขัมมะ) ๖ ประการ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๓๐๓ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๒. เวทนาสังยุต]
๓. อัฏฐสตปริยายวรรค ๓. อัญญตรภิกขุสูตร

๓. เคหสิตโทมนัส (โทมนัสอิงเรือน) ๖ ประการ
๔. เนกขัมมสิตโทมนัส (โทมนัสอิงเนกขัมมะ) ๖ ประการ
๕. เคหสิตอุเบกขา (อุเบกขาอิงเรือน) ๖ ประการ
๖. เนกขัมมสิตอุเบกขา (อุเบกขาอิงเนกขัมมะ) ๖ ประการ
เหล่านี้เราเรียกว่า เวทนา ๓๖ ประการ
เวทนา ๑๐๘ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. เวทนาที่เป็นอดีต ๓๖ ประการ
๒. เวทนาที่เป็นอนาคต ๓๖ ประการ
๓. เวทนาที่เป็นปัจจุบัน ๓๖ ประการ
เหล่านี้เราเรียกว่า เวทนา ๑๐๘ ประการ
ภิกษุทั้งหลาย ธรรมบรรยายซึ่งมีบรรยายถึง ๑๐๘ ประการ เป็นอย่างนี้แล”

อัฏฐสตสูตรที่ ๒ จบ

๓. อัญญตรภิกขุสูตร
ว่าด้วยภิกษุรูปหนึ่ง

[๒๗๑] ครั้งนั้น ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ฯลฯ นั่ง
ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เวทนามีเท่าไร ความเกิดแห่งเวทนาเป็นอย่างไร
ปฏิปทาที่ให้ถึงความเกิดแห่งเวทนาเป็นอย่างไร ความดับแห่งเวทนาเป็นอย่างไร
ปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งเวทนาเป็นอย่างไร อะไรเป็นคุณแห่งเวทนา อะไร
เป็นโทษแห่งเวทนา อะไรเป็นเครื่องสลัดออกจากเวทนา”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๓๐๔ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๒. เวทนาสังยุต]
๓. อัฏฐสตปริยายวรรค ๔. ปุพพสูตร

พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ภิกษุ เวทนามี ๓ ประการนี้ คือ
๑. สุขเวทนา ๒. ทุกขเวทนา
๓. อทุกขมสุขเวทนา
เหล่านี้เราเรียกว่า เวทนา
เพราะผัสสะเกิดเวทนาจึงเกิด ตัณหาเป็นปฏิปทาที่ให้ถึงความเกิดแห่งเวทนา
เพราะผัสสะดับเวทนาจึงดับ อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้แลเป็นปฏิปทาที่ให้ถึงความ
ดับแห่งเวทนา คือ
๑. สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ ๘. สัมมาสมาธิ
สภาพที่สุขโสมนัสอาศัยเวทนาเกิดขึ้น นี้เป็นคุณแห่งเวทนา
สภาพที่เวทนาไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา นี้เป็นโทษ
แห่งเวทนา
ธรรมเป็นที่กำจัดฉันทราคะ ธรรมเป็นที่ละฉันทราคะในเวทนา นี้เป็นเครื่อง
สลัดออกจากเวทนา”

อัญญตรภิกขุสูตรที่ ๓ จบ

๔. ปุพพสูตร
ว่าด้วยพระดำริก่อนตรัสรู้

[๒๗๒] “ภิกษุทั้งหลาย เมื่อก่อนเราเป็นโพธิสัตว์ยังไม่ได้ตรัสรู้ ได้มีความคิด
ดังนี้ว่า
‘เวทนามีเท่าไร ความเกิดแห่งเวทนาเป็นอย่างไร ปฏิปทาที่ให้ถึงความเกิด
แห่งเวทนาเป็นอย่างไร ความดับแห่งเวทนาเป็นอย่างไร ปฏิปทาที่ให้ถึงความดับ
แห่งเวทนาเป็นอย่างไร อะไรเป็นคุณแห่งเวทนา อะไรเป็นโทษแห่งเวทนา อะไรเป็น
เครื่องสลัดออกจากเวทนา’
เรานั้นได้คิดต่อไปว่า ‘เวทนามี ๓ ประการนี้ คือ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๓๐๕ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๒. เวทนาสังยุต]
๓. อัฏฐสตปริยายวรรค ๕. ญาณสูตร

๑. สุขเวทนา ๒. ทุกขเวทนา
๓. อทุกขมสุขเวทนา
เหล่านี้เราเรียกว่า เวทนา
เพราะผัสสะเกิดเวทนาจึงเกิด ตัณหาเป็นปฏิปทาที่ให้ถึงความเกิดแห่งเวทนา
ฯลฯ ธรรมเป็นที่กำจัดฉันทราคะ ธรรมเป็นที่ละฉันทราคะในเวทนา นี้เป็นเครื่อง
สลัดออกจากเวทนา”

ปุพพสูตรที่ ๔ จบ

๕. ญาณสูตร
ว่าด้วยญาณ

[๒๗๓] “ภิกษุทั้งหลาย จักษุเกิดขึ้นแล้ว ญาณเกิดขึ้นแล้ว ปัญญาเกิดขึ้น
แล้ว วิชชาเกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า
‘นี้เวทนา’
จักษุเกิดขึ้นแล้ว ญาณเกิดขึ้นแล้ว ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว วิชชาเกิดขึ้นแล้ว
แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า ‘นี้ความเกิดแห่งเวทนา’
จักษุเกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมที่ไม่เคยได้ฟังมา
ก่อนว่า ‘นี้ปฏิปทาที่ให้ถึงความเกิดแห่งเวทนา’
จักษุเกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมที่ไม่เคยได้ฟังมา
ก่อนว่า ‘นี้ความดับแห่งเวทนา’
จักษุเกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมที่ไม่เคยได้ฟังมา
ก่อนว่า ‘นี้ปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งเวทนา’
ภิกษุทั้งหลาย ฯลฯ ในธรรมที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า ‘นี้คุณแห่งเวทนา’
ภิกษุทั้งหลาย ฯลฯ ในธรรมที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า ‘นี้โทษแห่งเวทนา’
ภิกษุทั้งหลาย จักษุเกิดขึ้นแล้ว ญาณเกิดขึ้นแล้ว ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว วิชชา
เกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า ‘นี้เครื่อง
สลัดออกจากเวทนา”

ญาณสูตรที่ ๕ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๒. เวทนาสังยุต]
๓. อัฏฐสตปริยายวรรค ๗. ปฐมสมณพราหมณสูตร

๖. สัมพหุลภิกขุสูตร
ว่าด้วยภิกษุหลายรูป

[๒๗๔] ครั้งนั้น ภิกษุหลายรูปเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ฯลฯ
นั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เวทนามีเท่าไร ความเกิดแห่งเวทนาเป็นอย่างไร
ปฏิปทาที่ให้ถึงความเกิดแห่งเวทนาเป็นอย่างไร ฯลฯ อะไรเป็นคุณแห่งเวทนา
อะไรเป็นโทษแห่งเวทนา อะไรเป็นเครื่องสลัดออกจากเวทนา”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ภิกษุทั้งหลาย เวทนามี ๓ ประการนี้ คือ
๑. สุขเวทนา ๒. ทุกขเวทนา
๓. อทุกขมสุขเวทนา
เหล่านี้เราเรียกว่า เวทนา
เพราะผัสสะเกิดเวทนาจึงเกิด ตัณหาเป็นปฏิปทาที่ให้ถึงความเกิดแห่งเวทนา
เพราะผัสสะดับเวทนาจึงดับ ฯลฯ ธรรมเป็นที่กำจัดฉันทราคะ ธรรมเป็นที่ละ
ฉันทราคะในเวทนา นี้เป็นเครื่องสลัดออกจากเวทนา”

สัมพหุลภิกขุสูตรที่ ๖ จบ

๗. ปฐมสมณพราหมณสูตร
ว่าด้วยสมณพราหมณ์ สูตรที่ ๑

[๒๗๕] “ภิกษุทั้งหลาย เวทนา ๓ ประการนี้
เวทนา ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สุขเวทนา ๒. ทุกขเวทนา
๓. อทุกขมสุขเวทนา
ภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งไม่รู้ชัดความเกิด ความ
ดับ คุณ โทษ และเครื่องสลัดออกจากเวทนา ๓ ประการนี้ตามความเป็นจริง
สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นไม่จัดว่าเป็นสมณะในหมู่สมณะ หรือไม่จัดว่าเป็น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๓๐๗ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๒. เวทนาสังยุต]
๓. อัฏฐสตปริยายวรรค ๙. ตติยสมณพราหมณสูตร

พราหมณ์ในหมู่พราหมณ์ ทั้งท่านเหล่านั้นก็ไม่ทำให้แจ้งประโยชน์ของความเป็น
สมณะหรือประโยชน์ของความเป็นพราหมณ์ด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน
ส่วนสมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งรู้ชัดความเกิด ความดับ คุณ โทษ
และเครื่องสลัดออกจากเวทนา ๓ ประการนี้ตามความเป็นจริง สมณะหรือพราหมณ์
เหล่านั้นจัดว่าเป็นสมณะในหมู่สมณะ และจัดว่าเป็นพราหมณ์ในหมู่พราหมณ์ ทั้ง
ท่านเหล่านั้นก็ทำให้แจ้งซึ่งประโยชน์ของความเป็นสมณะและประโยชน์ของความเป็น
พราหมณ์ด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน”

ปฐมสมณพราหมณสูตรที่ ๗ จบ

๘. ทุติยสมณพราหมณสูตร
ว่าด้วยสมณพราหมณ์ สูตรที่ ๒

[๒๗๖] “ภิกษุทั้งหลาย เวทนา ๓ ประการนี้
เวทนา ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สุขเวทนา ๒. ทุกขเวทนา
๓. อทุกขมสุขเวทนา
ภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งไม่รู้ชัดความเกิด ความ
ดับ คุณ โทษ และเครื่องสลัดออกจากเวทนา ๓ ประการนี้ตามความเป็นจริง ฯลฯ
ทำให้แจ้ง ... ด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน”

ทุติยสมณพราหมณสูตรที่ ๘ จบ

๙. ตติยสมณพราหมณสูตร
ว่าด้วยสมณพราหมณ์ สูตรที่ ๓

[๒๗๗] “ภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งไม่รู้ชัดเวทนา
ความเกิดแห่งเวทนา ความดับแห่งเวทนา ปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งเวทนา ฯลฯ
รู้ชัดเวทนา ฯลฯ ทำให้แจ้ง ... ด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน”

ตติยสมณพราหมณสูตรที่ ๙ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๒. เวทนาสังยุต]
๓. อัฏฐสตปริยายวรรค ๑๑. นิรามิสสูตร

๑๐. สุทธิกสูตร
ว่าด้วยเวทนาล้วน ๆ

[๒๗๘] “ภิกษุทั้งหลาย เวทนา ๓ ประการนี้
เวทนา ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สุขเวทนา ๒. ทุกขเวทนา
๓. อทุกขมสุขเวทนา
เวทนา ๓ ประการนี้แล”

สุทธิกสูตรที่ ๑๐ จบ

๑๑. นิรามิสสูตร
ว่าด้วยปีติและสุขที่มีอามิสและไม่มีอามิส

[๒๗๙] “ภิกษุทั้งหลาย ปีติมีอามิสก็มี ปีติไม่มีอามิสก็มี ปีติไม่มีอามิสยิ่ง
กว่าปีติไม่มีอามิสก็มี
สุขมีอามิสก็มี สุขไม่มีอามิสก็มี สุขไม่มีอามิสยิ่งกว่าสุขไม่มีอามิสก็มี
อุเบกขามีอามิสก็มี อุเบกขาไม่มีอามิสก็มี อุเบกขาไม่มีอามิสยิ่งกว่าอุเบกขา
ไม่มีอามิสก็มี
วิโมกข์มีอามิสก็มี วิโมกข์ไม่มีอามิสก็มี วิโมกข์ไม่มีอามิสยิ่งกว่าวิโมกข์ไม่มี
อามิสก็มี
ปีติมีอามิส เป็นอย่างไร
คือ กามคุณ ๕ ประการนี้
กามคุณ ๕ ประการ อะไรบ้าง ได้แก่
๑. รูปที่พึงรู้แจ้งทางตาที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก
ชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัด ฯลฯ
๕. โผฏฐัพพะที่พึงรู้แจ้งทางกายที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวน
ให้รัก ชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๓๐๙ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๒. เวทนาสังยุต]
๓. อัฏฐสตปริยายวรรค ๑๑. นิรามิสสูตร

ภิกษุทั้งหลาย กามคุณ ๕ ประการนี้ ปีติที่อาศัยกามคุณ ๕ ประการนี้เกิดขึ้น
นี้เราเรียกว่า ปีติมีอามิส
ปีติไม่มีอามิส เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้สงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุ
ปฐมฌานที่มีวิตก วิจาร ปีติ และสุขอันเกิดจากวิเวกอยู่ เพราะวิตกวิจารระงับไป
เธอบรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสในภายใน มีภาวะที่จิตเป็นหนึ่งผุดขึ้น ไม่มีวิตก
ไม่มีวิจาร มีแต่ปีติและสุขอันเกิดจากสมาธิอยู่ นี้เราเรียกว่า ปีติไม่มีอามิส
ปีติไม่มีอามิสยิ่งกว่าปีติไม่มีอามิส เป็นอย่างไร
คือ ปีติที่เกิดขึ้นแก่พระขีณาสพผู้พิจารณาจิตที่หลุดพ้นจากราคะ ผู้พิจารณา
จิตที่หลุดพ้นจากโทสะ ผู้ พิจารณาจิตที่หลุดพ้นจากโมหะ นี้เราเรียกว่า ปีติไม่มี
อามิสยิ่งกว่าปีติไม่มีอามิส
สุขมีอามิส เป็นอย่างไร
คือ กามคุณ ๕ ประการนี้
กามคุณ ๕ ประการ อะไรบ้าง ได้แก่
๑. รูปที่พึงรู้แจ้งทางตาที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก
ชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัด ฯลฯ
๕. โผฏฐัพพะที่พึงรู้แจ้งทางกายที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก
ชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัด
ภิกษุทั้งหลาย กามคุณ ๕ ประการนี้ สุขโสมนัสที่อาศัยกามคุณ ๕ ประการ
นี้เกิดขึ้น นี้เราเรียกว่า สุขมีอามิส
สุขไม่มีอามิส เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้สงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุ
ปฐมฌานที่มีวิตก วิจาร ปีติ และสุขอันเกิดจากวิเวกอยู่ เพราะวิตกวิจารระงับไป
เธอบรรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสในภายใน มีภาวะที่จิตเป็นหนึ่งผุดขึ้น ไม่มีวิตก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๓๑๐ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๒. เวทนาสังยุต]
๓. อัฏฐสตปริยายวรรค ๑๑. นิรามิสสูตร

ไม่มีวิจาร มีแต่ปีติและสุขอันเกิดจากสมาธิอยู่ เพราะปีติจางคลายไป เธอมีอุเบกขา
มีสติสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย บรรลุตติยฌานที่พระอริยะทั้งหลาย
สรรเสริญว่า ‘มีอุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุข’ นี้เราเรียกว่า สุขไม่มีอามิส
สุขไม่มีอามิสยิ่งกว่าสุขไม่มีอามิส เป็นอย่างไร
คือ สุขโสมนัสที่เกิดขึ้นแก่พระขีณาสพผู้พิจารณาจิตที่หลุดพ้นจากราคะ ผู้
พิจารณาจิตที่หลุดพ้นจากโทสะ ผู้พิจารณาจิตที่หลุดพ้นจากโมหะ นี้เราเรียกว่า
สุขไม่มีอามิสยิ่งกว่าสุขไม่มีอามิส
อุเบกขามีอามิส เป็นอย่างไร
คือ กามคุณ ๕ ประการนี้
กามคุณ ๕ ประการ อะไรบ้าง ได้แก่
๑. รูปที่พึงรู้แจ้งทางตาที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก
ชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัด ฯลฯ
๕. โผฏฐัพพะที่พึงรู้แจ้งทางกายที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวน
ให้รัก ชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัด
ภิกษุทั้งหลาย กามคุณ ๕ ประการนี้ อุเบกขาที่อาศัยกามคุณ ๕ ประการ
นี้เกิดขึ้น นี้เราเรียกว่า อุเบกขามีอามิส
อุเบกขาไม่มีอามิส เป็นอย่างไร
คือ เพราะละสุขและทุกข์ได้ เพราะโสมนัสและโทมนัสดับไปก่อน ภิกษุใน
ธรรมวินัยนี้บรรลุจตุตถฌาน ที่ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขาอยู่
นี้เราเรียกว่า อุเบกขาไม่มีอามิส
อุเบกขาไม่มีอามิสยิ่งกว่าอุเบกขาไม่มีอามิส เป็นอย่างไร
คือ อุเบกขาที่เกิดขึ้นแก่พระขีณาสพผู้พิจารณาจิตที่หลุดพ้นจากราคะ ผู้
พิจารณาจิตที่หลุดพ้นจากโทสะ ผู้พิจารณาจิตที่หลุดพ้นจากโมหะ นี้เราเรียกว่า
อุเบกขาไม่มีอามิสยิ่งกว่าอุเบกขาไม่มีอามิส

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๓๑๑ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๒. เวทนาสังยุต]
๓. อัฏฐสตปริยายวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

วิโมกข์มีอามิส เป็นอย่างไร
คือ วิโมกข์ที่ประกอบด้วยรูป ชื่อว่า วิโมกข์มีอามิส
วิโมกข์ไม่มีอามิส เป็นอย่างไร
คือ วิโมกข์ที่ไม่ประกอบด้วยรูป ชื่อว่า วิโมกข์ไม่มีอามิส
ภิกษุทั้งหลาย วิโมกข์ไม่มีอามิสยิ่งกว่าวิโมกข์ไม่มีอามิส เป็นอย่างไร
คือ วิโมกข์ที่เกิดขึ้นแก่พระขีณาสพผู้พิจารณาจิตที่หลุดพ้นจากราคะ ผู้
พิจารณาจิตที่หลุดพ้นจากโทสะ ผู้พิจารณาจิตที่หลุดพ้นจากโมหะ นี้เราเรียกว่า
วิโมกข์ไม่มีอามิสยิ่งกว่าวิโมกข์ไม่มีอามิส”

นิรามิสสูตรที่ ๑๑ จบ
อัฏฐสตปริยายวรรคที่ ๓ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. สีวกสูตร ๒. อัฏฐสตสูตร
๓. อัญญตรภิกขุสูตร ๔. ปุพพสูตร
๕. ญาณสูตร ๖. สัมพหุลภิกขุสูตร
๗. ปฐมสมณพราหมณสูตร ๘. ทุติยสมณพราหมณสูตร
๙. ตติยสมณพราหมณสูตร ๑๐. สุทธิกสูตร
๑๑. นิรามิสสูตร

เวทนาสังยุต จบบริบูรณ์


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๓. มาตุคามสังยุต]
๑. ปฐมเปยยาลวรรค ๒. ปุริสสูตร

๓. มาตุคามสังยุต
๑. ปฐมเปยยาลวรรค
หมวดว่าด้วยเปยยาล หมวดที่ ๑
๑. มาตุคามสูตร
ว่าด้วยมาตุคามที่ไม่น่าพอใจและน่าพอใจของบุรุษ

[๒๘๐] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย มาตุคาม (สตรี) ประกอบ
ด้วยองค์ ๕ ย่อมไม่น่าพอใจอย่างยิ่งสำหรับบุรุษ
องค์ ๕ อะไรบ้าง คือ
๑. รูปไม่สวย ๒. ไม่มีโภคสมบัติ
๓. ไม่มีศีล ๔. เกียจคร้าน
๕. ให้บุตรแก่เขาไม่ได้
มาตุคามประกอบด้วยองค์ ๕ นี้ย่อมไม่น่าพอใจอย่างยิ่งสำหรับ บุรุษ

มาตุคามประกอบด้วยองค์ ๕ ย่อมน่าพอใจอย่างยิ่งสำหรับบุรุษ
องค์ ๕ อะไรบ้าง คือ
๑. รูปสวย ๒. มีโภคสมบัติ
๓. มีศีล ๔. ไม่เกียจคร้าน
๕. ให้บุตรแก่เขาได้
ภิกษุทั้งหลาย มาตุคามประกอบด้วยองค์ ๕ นี้ย่อมน่าพอใจอย่างยิ่งสำหรับบุรุษ”

มาตุคามสูตรที่ ๑ จบ

๒. ปุริสสูตร
ว่าด้วยบุรุษที่ไม่น่าพอใจและน่าพอใจของมาตุคาม

[๒๘๑] “ภิกษุทั้งหลาย บุรุษประกอบด้วยองค์ ๕ ย่อมไม่น่าพอใจอย่างยิ่ง
สำหรับมาตุคาม

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๓๑๓ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๓. มาตุคามสังยุต]
๑. ปฐมเปยยาลวรรค ๓. อาเวณิกทุกขสูตร

องค์ ๕ อะไรบ้าง คือ
๑. รูปไม่หล่อ ๒. ไม่มีโภคสมบัติ
๓. ไม่มีศีล ๔. เกียจคร้าน
๕. ให้บุตรแก่เธอไม่ได้
บุรุษผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้ ย่อมไม่น่าพอใจอย่างยิ่งสำหรับมาตุคาม

บุรุษประกอบด้วยองค์ ๕ ย่อมน่าพอใจอย่างยิ่งสำหรับมาตุคาม
องค์ ๕ อะไรบ้าง คือ
๑. รูปหล่อ ๒. มีโภคสมบัติ
๓. มีศีล ๔. ขยัน ไม่เกียจคร้าน
๕. ให้บุตรแก่เธอได้
ภิกษุทั้งหลาย บุรุษประกอบด้วยองค์ ๕ นี้ย่อมน่าพอใจอย่างยิ่งสำหรับ
มาตุคาม”

ปุริสสูตรที่ ๒ จบ

๓. อาเวณิกทุกขสูตร
ว่าด้วยความทุกข์ส่วนตัวของมาตุคาม

[๒๘๒] “ภิกษุทั้งหลาย ความทุกข์ส่วนตัวของมาตุคาม ๕ ประการนี้ ที่
มาตุคามจะได้รับ ยกเว้นบุรุษ
ความทุกข์ส่วนตัว ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. มาตุคามในโลกนี้ยังวัยรุ่นไปสู่ตระกูลสามีห่างจากหมู่ญาติ นี้เป็น
ความทุกข์ส่วนตัวของมาตุคามข้อที่ ๑ ที่มาตุคามจะได้รับ ยกเว้น
บุรุษ
๒. อีกอย่างหนึ่ง มาตุคามมีระดู นี้เป็นความทุกข์ส่วนตัวของ
มาตุคามข้อที่ ๒ ที่มาตุคามจะได้รับ ยกเว้นบุรุษ
๓. อีกอย่างหนึ่ง มาตุคามมีครรภ์ นี้เป็นความทุกข์ส่วนตัวของ
มาตุคามข้อที่ ๓ ที่มาตุคามจะได้รับ ยกเว้นบุรุษ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๓๑๔ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๓. มาตุคามสังยุต]
๑. ปฐมเปยยาลวรรค ๕. โกธนสูตร

๔. อีกอย่างหนึ่ง มาตุคามคลอดบุตร นี้เป็นความทุกข์ส่วนตัวของ
มาตุคามข้อที่ ๔ ที่มาตุคามจะได้รับ ยกเว้นบุรุษ
๕. อีกอย่างหนึ่ง มาตุคามบำเรอบุรุษ นี้เป็นความทุกข์ส่วนตัวของ
มาตุคามข้อที่ ๕ ที่มาตุคามจะได้รับ ยกเว้นบุรุษ
ภิกษุทั้งหลาย ความทุกข์ส่วนตัวของมาตุคาม ๕ ประการนี้ ที่มาตุคามจะ
ได้รับ ยกเว้นบุรุษ”

อาเวณิกทุกขสูตรที่ ๓ จบ

๔. ตีหิธัมเมหิสูตร
ว่าด้วยธรรม ๓ ประการ

[๒๘๓] “ภิกษุทั้งหลาย มาตุคามประกอบด้วยธรรม ๓ ประการ โดยมาก
หลังจากตายแล้วจะไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก
ธรรม ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ มาตุคามในโลกนี้
๑. ในเวลาเช้า ถูกมลทินคือความตระหนี่กลุ้มรุมจิตอยู่ครองเรือน
๒. ในเวลาเที่ยง ถูกความริษยากลุ้มรุมจิตอยู่ครองเรือน
๓. ในเวลาเย็น ถูกกามราคะกลุ้มรุมจิตอยู่ครองเรือน
ภิกษุทั้งหลาย มาตุคามประกอบด้วยธรรม ๓ ประการนี้แล โดยมากหลัง
จากตายแล้วจะไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก”

ตีหิธัมเมหิสูตรที่ ๔ จบ

๕. โกธนสูตร
ว่าด้วยมาตุคามผู้มักโกรธ

[๒๘๔] ครั้งนั้น ท่านพระอนุรุทธะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับแล้ว
นั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอ
ประทานวโรกาส ด้วยตาทิพย์อันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์ ข้าพระองค์เห็นแต่มาตุคาม
โดยมากหลังจากตายแล้วจะไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๓๑๕ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๓. มาตุคามสังยุต]
๑. ปฐมเปยยาลวรรค ๖. อุปนาหีสูตร

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ มาตุคามประกอบด้วยธรรมเท่าไรหนอ หลังจากตาย
แล้วจะไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อนุรุทธะ มาตุคามประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ
หลังจากตายแล้วจะไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ไม่มีศรัทธา ๒. ไม่มีหิริ (ความละอายบาป)
๓. ไม่มีโอตตัปปะ (ความกลัวบาป)
๔. มักโกรธ ๕. มีปัญญาทราม
อนุรุทธะ มาตุคามประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล หลังจากตายแล้ว
จะไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก”

โกธนสูตรที่ ๕ จบ

๖. อุปนาหีสูตร
ว่าด้วยมาตุคามผู้มักผูกโกรธ

[๒๘๕] “อนุรุทธะ มาตุคามประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ หลังจากตาย
แล้วจะไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ไม่มีศรัทธา ๒. ไม่มีหิริ
๓. ไม่มีโอตตัปปะ ๔. มักผูกโกรธ
๕. มีปัญญาทราม
อนุรุทธะ มาตุคามประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล หลังจากตายแล้ว
จะไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก”

อุปนาหีสูตรที่ ๖ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๓. มาตุคามสังยุต]
๑. ปฐมเปยยาลวรรค ๘. มัจฉรีสูตร

๗. อิสสุกีสูตร
ว่าด้วยมาตุคามผู้มักริษยา

[๒๘๖] “อนุรุทธะ มาตุคามประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ หลังจากตาย
แล้วจะไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ไม่มีศรัทธา ๒. ไม่มีหิริ
๓. ไม่มีโอตตัปปะ ๔. มักริษยา
๕. มีปัญญาทราม
อนุรุทธะ มาตุคามประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล หลังจากตายแล้ว
จะไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก”

อิสสุกีสูตรที่ ๗ จบ

๘. มัจฉรีสูตร
ว่าด้วยมาตุคามผู้มักตระหนี่

[๒๘๗] “อนุรุทธะ มาตุคามประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ หลังจากตาย
แล้วจะไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ไม่มีศรัทธา ๒. ไม่มีหิริ
๓. ไม่มีโอตตัปปะ ๔. มักตระหนี่
๕. มีปัญญาทราม
อนุรุทธะ มาตุคามประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ฯลฯ จะไปเกิดในอบาย
ทุคติ วินิบาต นรก”

มัจฉรีสูตรที่ ๘ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๓. มาตุคามสังยุต]
๑. ปฐมเปยยาลวรรค ๑๐. ทุสสีลสูตร

๙. อติจารีสูตร
ว่าด้วยมาตุคามผู้มักประพฤตินอกใจ

[๒๘๘] “อนุรุทธะ มาตุคามประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ หลังจากตาย
แล้วจะไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ไม่มีศรัทธา ๒. ไม่มีหิริ
๓. ไม่มีโอตตัปปะ ๔. มักประพฤตินอกใจ
๕. มีปัญญาทราม
อนุรุทธะ มาตุคามประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ฯลฯ จะไปเกิดใน
อบาย ทุคติ วินิบาต นรก”

อติจารีสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. ทุสสีลสูตร
ว่าด้วยมาตุคามผู้ทุศีล

[๒๘๙] “อนุรุทธะ มาตุคามประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ หลังจากตาย
แล้วจะไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ไม่มีศรัทธา ๒. ไม่มีหิริ
๓. ไม่มีโอตตัปปะ ๔. ทุศีล
๕. มีปัญญาทราม
อนุรุทธะ มาตุคามประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ฯลฯ จะไปเกิดใน
อบาย ทุคติ วินิบาต นรก”

ทุสสีลสูตรที่ ๑๐ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๓. มาตุคามสังยุต]
๑. ปฐมเปยยาลวรรค ๑๒. กุสีตสูตร

๑๑. อัปปัสสุตสูตร
ว่าด้วยมาตุคามผู้มีการฟังน้อย

[๒๙๐] “อนุรุทธะ มาตุคามประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ หลังจากตาย
แล้วจะไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ไม่มีศรัทธา ๒. ไม่มีหิริ
๓. ไม่มีโอตตัปปะ ๔. มีการฟังน้อย
๕. มีปัญญาทราม
อนุรุทธะ มาตุคามประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ฯลฯ จะไปเกิดใน
อบาย ทุคติ วินิบาต นรก”

อัปปัสสุตสูตรที่ ๑๑ จบ

๑๒. กุสีตสูตร
ว่าด้วยมาตุคามผู้เกียจคร้าน

[๒๙๑] “อนุรุทธะ มาตุคามประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ หลังจากตาย
แล้วจะไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ไม่มีศรัทธา ๒. ไม่มีหิริ
๓. ไม่มีโอตตัปปะ ๔. เกียจคร้าน
๕. มีปัญญาทราม
อนุรุทธะ มาตุคามประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ฯลฯ จะไปเกิดใน
อบาย ทุคติ วินิบาต นรก”

กุสีตสูตรที่ ๑๒ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๓. มาตุคามสังยุต]
๑. ปฐมเปยยาลวรรค ๑๔. ปัญจเวรสูตร

๑๓. มุฏฐัสสติสูตร
ว่าด้วยมาตุคามผู้มีสติหลงลืม

[๒๙๒] “อนุรุทธะ มาตุคามประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ หลังจากตาย
แล้วจะไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ไม่มีศรัทธา ๒. ไม่มีหิริ
๓. ไม่มีโอตตัปปะ ๔. มีสติหลงลืม
๕. มีปัญญาทราม
อนุรุทธะ มาตุคามประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ฯลฯ จะไปเกิดใน
อบาย ทุคติ วินิบาต นรก”

มุฏฐัสสติสูตรที่ ๑๓ จบ

๑๔. ปัญจเวรสูตร
ว่าด้วยมาตุคามผู้ประกอบด้วยเวร ๕ ประการ

[๒๙๓] “อนุรุทธะ มาตุคามประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ หลังจากตาย
แล้วจะไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ฆ่าสัตว์ ๒. ลักทรัพย์
๓. ประพฤติผิดในกาม ๔. พูดเท็จ
๕. เสพของมึนเมาคือสุราและเมรัย๑อันเป็นเหตุแห่งความ
ประมาท


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๓. มาตุคามสังยุต]
๑. ปฐมเปยยาลวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

อนุรุทธะ มาตุคามประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ หลังจากตายแล้วจะไป
เกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก”

ปัญจเวรสูตรที่ ๑๔ จบ
ปฐมเปยยาลวรรค จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. มาตุคามสูตร ๒. ปุริสสูตร
๓. อาเวณิกทุกขสูตร ๔. ตีหิธัมเมหิสูตร
๕. โกธนสูตร ๖. อุปนาหีสูตร
๗. อิสสุกีสูตร ๘. มัจฉรีสูตร
๙. อติจารีสูตร ๑๐. ทุสสีลสูตร
๑๑. อัปปัสสุตสูตร ๑๒. กุสีตสูตร
๑๓. มุฏฐัสสติสูตร ๑๔. ปัญจเวรสูตร


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๓. มาตุคามสังยุต]
๒. ทุติยเปยยาลวรรค ๒. อนุปนาหีสูตร

๒. ทุติยเปยยาลวรรค
หมวดว่าด้วยเปยยาล หมวดที่ ๒
๑. อักโกธนสูตร
ว่าด้วยมาตุคามผู้ไม่โกรธ

[๒๙๔] ครั้งนั้น ท่านพระอนุรุทธะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ฯลฯ
นั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอ
ประทานวโรกาส ด้วยตาทิพย์อันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์ ข้าพระองค์เห็นแต่มาตุคาม
โดยมากหลังจากตายแล้วจะไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ มาตุคาม
ประกอบด้วยธรรมเท่าไรหนอ หลังจากตายแล้วจะไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อนุรุทธะ มาตุคามประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ
หลังจากตายแล้วจะไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. มีศรัทธา ๒. มีหิริ
๓. มีโอตตัปปะ ๔. ไม่โกรธ
๕. มีปัญญา
อนุรุทธะ มาตุคามประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล หลังจากตายแล้ว
จะไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์”

อักโกธนสูตรที่ ๑ จบ

๒. อนุปนาหีสูตร
ว่าด้วยมาตุคามผู้ไม่ผูกโกรธ

[๒๙๕] “อนุรุทธะ มาตุคามประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ หลังจากตาย
แล้วจะไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๓๒๒ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๓. มาตุคามสังยุต]
๒. ทุติยเปยยาลวรรค ๔. อมัจฉรีสูตร

๑. มีศรัทธา ๒. มีหิริ
๓. มีโอตตัปปะ ๔. ไม่ผูกโกรธ
๕. มีปัญญา
อนุรุทธะ มาตุคามประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล หลังจากตายแล้ว
จะไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์”

อนุปนาหีสูตรที่ ๒ จบ

๓. อนิสสุกีสูตร
ว่าด้วยมาตุคามผู้ไม่ริษยา

[๒๙๖] “อนุรุทธะ มาตุคามประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ หลังจากตาย
แล้วจะไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. มีศรัทธา ๒. มีหิริ
๓. มีโอตตัปปะ ๔. ไม่ริษยา
๕. มีปัญญา ฯลฯ

อนิสสุกีสูตรที่ ๓ จบ

๔. อมัจฉรีสูตร
ว่าด้วยมาตุคามผู้ไม่ตระหนี่

[๒๙๗] “...
๔. ไม่ตระหนี่ ๕. มีปัญญา ฯลฯ๑

อมัจฉรีสูตรที่ ๔ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๓. มาตุคามสังยุต]
๒. ทุติยเปยยาลวรรค๑๐. ปัญจสีลสูตร

๕. อนติจารีสูตร
ว่าด้วยมาตุคามผู้ไม่ประพฤตินอกใจ

[๒๙๘] “...
๔. ไม่ประพฤตินอกใจ ๕. มีปัญญา ฯลฯ๑

อนติจารีสูตรที่ ๕ จบ

๖. สุสีลสูตร
ว่าด้วยมาตุคามผู้มีศีลดี

[๒๙๙] “...
๔. มีศีล ๕. มีปัญญา ฯลฯ๒

สุสีลสูตรที่ ๖ จบ

๗. พหุสสุตสูตร
ว่าด้วยมาตุคามผู้มีการฟังมาก

[๓๐๐] “...
๔. มีการฟังมาก ๕. มีปัญญา ฯลฯ๓

พหุสสุตสูตรที่ ๗ จบ

๘. อารัทธวีริยสูตร
ว่าด้วยมาตุคามผู้ปรารภความเพียร

[๓๐๑] “...
๔. ปรารภความเพียร ๕. มีปัญญา ฯลฯ๔

อารัทธวีริยสูตรที่ ๘ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๓. มาตุคามสังยุต]
๒. ทุติยเปยยาลวรรค๑๐. ปัญจสีลสูตร

๙. อุปัฏฐิตัสสติสูตร
ว่าด้วยมาตุคามผู้มีสติตั้งมั่น

[๓๐๒] “...
๔. มีสติตั้งมั่น ๕. มีปัญญา ฯลฯ๑
อนุรุทธะ มาตุคามประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล หลังจากตายแล้ว
จะไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์”

อุปัฏฐิตัสสติสูตรที่ ๙ จบ

ทั้ง ๘ สูตรนี้กล่าวไว้ย่อๆ

๑๐. ปัญจสีลสูตร
ว่าด้วยมาตุคามผู้มีศีล ๕

[๓๐๓] “อนุรุทธะ มาตุคามประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ หลังจากตายแล้ว
จะไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์
๒. เว้นขาดจากการลักทรัพย์
๓. เว้นขาดจากการประพฤติผิดในกาม
๔. เว้นขาดจากการพูดเท็จ
๕. เว้นขาดจากการเสพของมึนเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นเหตุแห่ง
ความประมาท
อนุรุทธะ มาตุคามประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล หลังจากตายแล้ว
จะไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์”

ปัญจสีลสูตรที่ ๑๐ จบ
ทุติยเปยยาลวรรค จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๓. มาตุคามสังยุต]
๒. ทุติยเปยยาลวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. อักโกธนสูตร ๒. อนุปนาหีสูตร
๓. อนิสสุกีสูตร ๔. อมัจฉรีสูตร
๕. อนติจารีสูตร ๖. สุสีลสูตร
๗. พหุสสุตสูตร ๘. อารัทธวีริยสูตร
๙. อุปัฏฐิตัสสติสูตร ๑๐. ปัญจสีลสูตร


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๓. มาตุคามสังยุต]
๓. พลวรรค ๒. ปสัยหสูตร

๓. พลวรรค
หมวดว่าด้วยกำลัง
๑. วิสารทสูตร
ว่าด้วยมาตุคามผู้แกล้วกล้า

[๓๐๔] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย กำลังของมาตุคาม ๕ ประการนี้
กำลัง ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. กำลังรูป ๒. กำลังทรัพย์
๓. กำลังญาติ ๔. กำลังบุตร
๕. กำลังศีล
กำลังของมาตุคาม ๕ ประการนี้
ภิกษุทั้งหลาย มาตุคามประกอบด้วยกำลัง ๕ ประการนี้แล ย่อมแกล้วกล้า
อยู่ครองเรือน”

วิสารทสูตรที่ ๑ จบ

๒. ปสัยหสูตร
ว่าด้วยมาตุคามที่ครอบงำสามี

[๓๐๕] “ภิกษุทั้งหลาย กำลังของมาตุคาม ๕ ประการนี้
กำลัง ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. กำลังรูป ๒. กำลังทรัพย์
๓. กำลังญาติ ๔. กำลังบุตร
๕. กำลังศีล
กำลังของมาตุคาม ๕ ประการนี้
ภิกษุทั้งหลาย มาตุคามประกอบด้วยกำลัง ๕ ประการนี้แล ย่อมครอบงำ
สามีอยู่ครองเรือน”

ปสัยหสูตรที่ ๒ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๓. มาตุคามสังยุต]
๓. พลวรรค ๕. อังคสูตร

๓. อภิภุยยสูตร
ว่าด้วยมาตุคามที่ครองใจสามี

[๓๐๖] “ภิกษุทั้งหลาย กำลังของมาตุคาม ๕ ประการนี้
กำลัง ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. กำลังรูป ๒. กำลังทรัพย์
๓. กำลังญาติ ๔. กำลังบุตร
๕. กำลังศีล
กำลังของมาตุคาม ๕ ประการนี้
ภิกษุทั้งหลาย มาตุคามประกอบด้วยกำลัง ๕ ประการนี้แล ย่อมครองใจสามี”

อภิภุยยสูตรที่ ๓ จบ

๔. เอกสูตร
ว่าด้วยกำลังที่เป็นเอก

[๓๐๗] “ภิกษุทั้งหลาย บุรุษประกอบด้วยกำลังที่เป็นเอก ย่อมครองใจ
มาตุคามได้
กำลังที่เป็นเอก คืออะไร
คือ กำลังคือความเป็นใหญ่
มาตุคามถูกกำลังคือความเป็นใหญ่ครอบงำแล้ว กำลังรูปก็ต้านทานไม่ได้
กำลังทรัพย์ก็ต้านทานไม่ได้ กำลังญาติก็ต้านทานไม่ได้ กำลังบุตรก็ต้านทานไม่ได้
กำลังศีลก็ต้านทานไม่ได้”

เอกสูตรที่ ๔ จบ

๕. อังคสูตร
ว่าด้วยองค์ประกอบของมาตุคาม

[๓๐๘] “ภิกษุทั้งหลาย กำลังของมาตุคาม ๕ ประการนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๓๒๘ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๓. มาตุคามสังยุต]
๓. พลวรรค ๕. อังคสูตร

กำลัง ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. กำลังรูป ๒. กำลังทรัพย์
๓. กำลังญาติ ๔. กำลังบุตร
๕. กำลังศีล
มาตุคามประกอบด้วยกำลังรูป แต่ไม่ประกอบด้วยกำลังทรัพย์ มาตุคามนั้น
ชื่อว่ายังไม่บริบูรณ์ด้วยองค์ประกอบนั้นอย่างนี้
แต่เมื่อมาตุคามประกอบด้วยกำลังรูปและกำลังทรัพย์ มาตุคามนั้นชื่อว่าบริบูรณ์
ด้วยองค์ประกอบนั้นอย่างนี้
มาตุคามประกอบด้วยกำลังรูปและกำลังทรัพย์ แต่ไม่ประกอบด้วยกำลังญาติ
มาตุคามนั้นชื่อว่ายังไม่บริบูรณ์ด้วยองค์ประกอบนั้นอย่างนี้
แต่เมื่อมาตุคามประกอบด้วยกำลังรูป กำลังทรัพย์และกำลังญาติ มาตุคามนั้น
ชื่อว่าบริบูรณ์ด้วยองค์ประกอบนั้นอย่างนี้ มาตุคามประกอบด้วยกำลังรูป กำลัง
ทรัพย์ และกำลังญาติ แต่ไม่ประกอบด้วยกำลังบุตร มาตุคามนั้นชื่อว่ายังไม่
บริบูรณ์ด้วยองค์ประกอบนั้นอย่างนี้
แต่เมื่อมาตุคามประกอบด้วยกำลังรูป กำลังทรัพย์ กำลังญาติ และกำลังบุตร
มาตุคามนั้นชื่อว่าบริบูรณ์ด้วยองค์ประกอบนั้นอย่างนี้
มาตุคามประกอบด้วยกำลังรูป กำลังทรัพย์ กำลังญาติ และกำลังบุตร แต่
ไม่ประกอบด้วยกำลังศีล มาตุคามนั้นชื่อว่ายังไม่บริบูรณ์ด้วยองค์ประกอบนั้น
อย่างนี้
แต่เมื่อมาตุคามประกอบด้วยกำลังรูป กำลังทรัพย์ กำลังญาติ กำลังบุตร
และกำลังศีล มาตุคามนั้นชื่อว่าเป็นผู้บริบูรณ์ด้วยองค์ประกอบนั้นอย่างนี้
ภิกษุทั้งหลาย กำลังของมาตุคาม ๕ ประการนี้แล”

อังคสูตรที่ ๕ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๓. มาตุคามสังยุต]
๓. พลวรรค ๖. นาเสนติสูตร

๖. นาเสนติสูตร
ว่าด้วยมาตุคามที่จะถูกญาติทำให้พินาศ

[๓๐๙] “ภิกษุทั้งหลาย กำลังของมาตุคาม ๕ ประการนี้
กำลัง ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. กำลังรูป ๒. กำลังทรัพย์
๓. กำลังญาติ ๔. กำลังบุตร
๕. กำลังศีล
มาตุคามประกอบด้วยกำลังรูป แต่ไม่ประกอบด้วยกำลังศีล พวกญาติย่อม
ให้มาตุคามนั้นพินาศไป คือ ไม่ให้อยู่ในตระกูล
มาตุคามประกอบด้วยกำลังรูปและกำลังทรัพย์ แต่ไม่ประกอบด้วยกำลังศีล
พวกญาติย่อมให้มาตุคามนั้นพินาศไป คือ ไม่ให้อยู่ในตระกูล
มาตุคามประกอบด้วยกำลังรูป กำลังทรัพย์ และกำลังญาติ แต่ไม่ประกอบ
ด้วยกำลังศีล พวกญาติย่อมให้มาตุคามนั้นพินาศไป คือ ไม่ให้อยู่ในตระกูล
มาตุคามประกอบด้วยกำลังรูป กำลังทรัพย์ กำลังญาติ และกำลังบุตร แต่
ไม่ประกอบด้วยกำลังศีล พวกญาติย่อมให้มาตุคามนั้นพินาศไป คือ ไม่ให้อยู่ใน
ตระกูล
ภิกษุทั้งหลาย แต่มาตุคามประกอบด้วยกำลังรูป กำลังทรัพย์ กำลังญาติ
กำลังบุตร และกำลังศีล พวกญาติย่อมให้มาตุคามนั้นอยู่ในตระกูล คือ ไม่ให้
พินาศไป
ภิกษุทั้งหลาย ส่วนมาตุคามประกอบด้วยกำลังศีล แต่ไม่ประกอบด้วยกำลังรูป
พวกญาติย่อมให้มาตุคามนั้นอยู่ในตระกูล คือ ไม่ให้พินาศไป
มาตุคามประกอบด้วยกำลังศีล แต่ไม่ประกอบด้วยกำลังทรัพย์ พวกญาติ
ย่อมให้มาตุคามนั้นอยู่ในตระกูล คือ ไม่ให้พินาศไป
มาตุคามประกอบด้วยกำลังศีล แต่ไม่ประกอบด้วยกำลังญาติ พวกญาติย่อม
ให้มาตุคามนั้นอยู่ในตระกูล คือ ไม่ให้พินาศไป

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๓๓๐ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๓. มาตุคามสังยุต]
๓. พลวรรค ๘. ฐานสูตร

มาตุคามประกอบด้วยกำลังศีล แต่ไม่ประกอบด้วยกำลังบุตร พวกญาติย่อม
ให้มาตุคามนั้นอยู่ในตระกูล คือ ไม่ให้พินาศไป
ภิกษุทั้งหลาย กำลังของมาตุคาม ๕ ประการนี้แล”

นาเสนติสูตรที่ ๖ จบ

๗. เหตุสูตร
ว่าด้วยเหตุที่ทำให้มาตุคามไปเกิดในสุคติ

[๓๑๐] “ภิกษุทั้งหลาย กำลังของมาตุคาม ๕ ประการนี้
กำลัง ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. กำลังรูป ๒. กำลังทรัพย์
๓. กำลังญาติ ๔. กำลังบุตร
๕. กำลังศีล
ภิกษุทั้งหลาย มาตุคามหลังจากตายแล้วจะไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์เพราะ
กำลังรูปเป็นเหตุหรือเพราะกำลังทรัพย์เป็นเหตุ เพราะกำลังญาติเป็นเหตุหรือเพราะ
กำลังบุตรเป็นเหตุก็หามิได้ แต่มาตุคามหลังจากตายแล้วจะไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์
ได้ ก็เพราะกำลังศีลเป็นเหตุ
ภิกษุทั้งหลาย กำลังของมาตุคาม ๕ ประการนี้แล”

เหตุสูตรที่ ๗ จบ

๘. ฐานสูตร
ว่าด้วยฐานะที่มาตุคามได้ยากและได้ง่าย

[๓๑๑] “ภิกษุทั้งหลาย ฐานะ ๕ ประการนี้ ที่มาตุคามผู้ไม่ได้ทำบุญไว้ได้
โดยยาก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๓๓๑ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๓. มาตุคามสังยุต]
๓. พลวรรค ๘. ฐานสูตร

ฐานะ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ขอเราพึงเกิดในตระกูลที่เหมาะสม นี้เป็นฐานะข้อที่ ๑ ที่มาตุคาม
ผู้ไม่ได้ทำบุญไว้ได้โดยยาก
๒. ครั้นเกิดในตระกูลที่เหมาะสมแล้ว ขอเราพึงไปสู่ตระกูลที่เหมาะสม
นี้เป็นฐานะข้อที่ ๒ ที่มาตุคามผู้ไม่ได้ทำบุญไว้ได้โดยยาก
๓. ครั้นเกิดในตระกูลที่เหมาะสม ไปสู่ตระกูลที่เหมาะสมแล้ว ขอเรา
พึงอยู่ครองเรือนไม่มีหญิงร่วมสามี นี้เป็นฐานะข้อที่ ๓ ที่มาตุคาม
ผู้ไม่ได้ทำบุญไว้ได้โดยยาก
๔. ครั้นเกิดในตระกูลที่เหมาะสม ไปสู่ตระกูลที่เหมาะสมแล้ว อยู่
ครองเรือนไม่มีหญิงร่วมสามี ขอเราพึงมีบุตร นี้เป็นฐานะข้อที่ ๔
ที่มาตุคามผู้ไม่ได้ทำบุญไว้ได้โดยยาก
๕. ครั้นเกิดในตระกูลที่เหมาะสม ไปสู่ตระกูลที่เหมาะสมแล้ว อยู่
ครองเรือนไม่มีหญิงร่วมสามี มีบุตร ขอเราพึงครองใจสามี นี้เป็น
ฐานะข้อที่ ๕ ที่มาตุคามผู้ไม่ได้ทำบุญไว้ได้โดยยาก
ภิกษุทั้งหลาย ฐานะ ๕ ประการนี้แล ที่มาตุคามผู้ไม่ได้ทำบุญไว้ได้โดยยาก
ภิกษุทั้งหลาย ฐานะ ๕ ประการนี้ มาตุคามผู้ได้ทำบุญไว้ได้โดยง่าย
ฐานะ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ขอเราพึงเกิดในตระกูลที่เหมาะสม นี้เป็นฐานะข้อที่ ๑ ที่มาตุคาม
ผู้ได้ทำบุญไว้ได้โดยง่าย
๒. ครั้นเกิดในตระกูลที่เหมาะสมแล้ว ขอเราพึงไปสู่ตระกูลที่เหมาะสม
นี้เป็นฐานะข้อที่ ๒ ที่มาตุคามผู้ได้ทำบุญไว้ได้โดยง่าย
๓. ครั้นเกิดในตระกูลที่เหมาะสม ไปสู่ตระกูลที่เหมาะสมแล้ว ขอเรา
พึงอยู่ครองเรือนไม่มีหญิงร่วมสามี นี้เป็นฐานะข้อที่ ๓ ที่มาตุคาม
ผู้ได้ทำบุญไว้ได้โดยง่าย
๔. ครั้นเกิดในตระกูลที่เหมาะสม ไปสู่ตระกูลที่เหมาะสมแล้ว อยู่
ครองเรือนไม่มีหญิงร่วมสามี ขอเราพึงมีบุตร นี้เป็นฐานะข้อที่ ๔
ที่มาตุคามผู้ได้ทำบุญไว้ได้โดยง่าย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๓๓๒ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๓. มาตุคามสังยุต]
๓. พลวรรค ๑๐. วัฑฒีสูตร

๕. ครั้นเกิดในตระกูลที่เหมาะสม ไปสู่ตระกูลที่เหมาะสมแล้ว อยู่
ครองเรือนไม่มีหญิงร่วมสามี มีบุตร ขอเราพึงครองใจสามี นี้
เป็นฐานะข้อที่ ๕ ที่มาตุคามผู้ได้ทำบุญไว้ได้โดยง่าย
ภิกษุทั้งหลาย ฐานะ ๕ ประการนี้แล ที่มาตุคามผู้ได้ทำบุญไว้ได้โดยง่าย”

ฐานสูตรที่ ๘ จบ

๙. ปัญจสีลวิสารทสูตร
ว่าด้วยมาตุคามมีศีล ๕ เป็นผู้แกล้วกล้า

[๓๑๒] “ภิกษุทั้งหลาย มาตุคามประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อมเป็น
ผู้แกล้วกล้าอยู่ครองเรือน
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์
๒. เว้นขาดจากการลักทรัพย์
๓. เว้นขาดจากการประพฤติผิดในกาม
๔. เว้นขาดจากการพูดเท็จ
๕. เว้นขาดจากการเสพของมึนเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นเหตุแห่ง
ความประมาท
ภิกษุทั้งหลาย มาตุคามประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมเป็นผู้
แกล้วกล้าอยู่ครองเรือน”

ปัญจสีลวิสารทสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. วัฑฒีสูตร
ว่าด้วยอริยสาวิกาผู้เจริญด้วยวัฑฒิธรรม

[๓๑๓] “ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวิกาเมื่อเจริญด้วยวัฑฒิธรรม (หลักความ
เจริญ) ๕ ประการ ย่อมเจริญด้วยวัฑฒิธรรมอันประเสริฐ เป็นผู้ถือเอาสิ่งที่เป็น
สาระและถือเอาสิ่งที่ประเสริฐแห่งกายไว้ได้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๓๓๓ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๓. มาตุคามสังยุต]
๓. พลวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

วัฑฒิธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. เจริญด้วยศรัทธา ๒. เจริญด้วยศีล
๓. เจริญด้วยสุตะ (การฟัง) ๔. เจริญด้วยจาคะ (ความเสียสละ)
๕. เจริญด้วยปัญญา
ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวิกาเมื่อเจริญอยู่ด้วยวัฑฒิธรรม ๕ ประการนี้แล ชื่อ
ว่าเจริญด้วยวัฑฒิธรรมอันประเสริฐ เป็นผู้ถือเอาสิ่งที่เป็นสาระและถือเอาสิ่งที่
ประเสริฐแห่งกายไว้ได้
อุบาสิกาใดเจริญด้วยศรัทธา
ศีล สุตะ จาคะ และปัญญา
อุบาสิกาผู้มีศีลเช่นนั้น
ย่อมถือเอาสิ่งที่เป็นสาระทั้งสองของตนในโลกนี้ไว้ได้”

วัฑฒีสูตรที่ ๑๐ จบ
พลวรรคที่ ๓ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. วิสารทสูตร ๒. ปสัยหสูตร
๓. อภิภุยยสูตร ๔. เอกสูตร
๕. อังคสูตร ๖. นาเสนติสูตร
๗. เหตุสูตร ๘. ฐานสูตร
๙. ปัญจสีลวิสารทสูตร ๑๐. วัฑฒีสูตร

มาตุคามสังยุต จบบริบูรณ์


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๔. ชัมพุขาทกสังยุต]
๑. นิพพานปัญหาสูตร

๔. ชัมพุขาทกสังยุต
๑. นิพพานปัญหาสูตร
ว่าด้วยปัญหาเรื่องนิพพาน

[๓๑๔] สมัยหนึ่ง ท่านพระสารีบุตรอยู่ ณ หมู่บ้านนาลกคาม แคว้นมคธ
ครั้งนั้น ชัมพุขาทกปริพาชกเข้าไปหาท่านพระสารีบุตรถึงที่อยู่ ได้สนทนาปราศรัย
พอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้ว นั่ง ณ ที่สมควร ได้ถามท่านพระ
สารีบุตรดังนี้ว่า “ท่านสารีบุตร ที่เรียกกันว่า ‘นิพพาน นิพพาน’ นิพพานเป็น
อย่างไร”
ท่านพระสารีบุตรตอบว่า “ผู้มีอายุ ความสิ้นราคะ ความสิ้นโทสะ และ
ความสิ้นโมหะ นี้เรียกว่า นิพพาน”
“มีมรรค มีปฏิปทาเพื่อทำให้แจ้งนิพพานนั้นอยู่หรือ”
“มีมรรค มีปฏิปทาเพื่อทำให้แจ้งนิพพานนั้นอยู่”
“มรรคเป็นอย่างไร ปฏิปทาเพื่อทำให้แจ้งนิพพานนั้นเป็นอย่างไร”
“ผู้มีอายุ คือ อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้แล เพื่อทำให้แจ้งนิพพานนั้น ได้แก่

๑. สัมมาทิฏฐิ ๒. สัมมาสังกัปปะ
๓. สัมมาวาจา ๔. สัมมากัมมันตะ
๕. สัมมาอาชีวะ ๖. สัมมาวายามะ
๗. สัมมาสติ ๘. สัมมาสมาธิ

นี้แลคือมรรค นี้คือปฏิปทาเพื่อทำให้แจ้งนิพพานนั้น”
“ท่านสารีบุตร มรรคดีจริงหนอ ปฏิปทาเพื่อทำให้แจ้งนิพพานนั้นดีจริงหนอ
และควรที่จะไม่ประมาท”

นิพพานปัญหาสูตรที่ ๑ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๔. ชัมพุขาทกสังยุต]
๓. ธัมมวาทีปัญหาสูตร

๒. อรหัตตปัญหาสูตร
ว่าด้วยปัญหาเรื่องอรหัต

[๓๑๕] ชัมพุขาทกปริพาชกถามว่า “ท่านสารีบุตร ที่เรียกกันว่า ‘อรหัต
อรหัต’ อรหัตเป็นอย่างไร”
ท่านพระสารีบุตรตอบว่า “ผู้มีอายุ ความสิ้นราคะ ความสิ้นโทสะ และ
ความสิ้นโมหะ นี้เรียกว่า อรหัต”
“มีมรรค มีปฏิปทาเพื่อทำให้แจ้งอรหัตนั้นอยู่หรือ”
“มีมรรค มีปฏิปทาเพื่อทำให้แจ้งอรหัตนั้นอยู่”
“มรรคเป็นอย่างไร ปฏิปทาเพื่อทำให้แจ้งอรหัตนั้นเป็นอย่างไร”
“ผู้มีอายุ คือ อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้แล เพื่อทำให้แจ้งอรหัตนั้น ได้แก่
๑. สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ ๘. สัมมาสมาธิ
นี้แลคือมรรค นี้คือปฏิปทาเพื่อทำให้แจ้งอรหัตนั้น”
“ท่านสารีบุตร มรรคดีจริงหนอ ปฏิปทาเพื่อทำให้แจ้งอรหัตนั้นดีจริงหนอ
และควรที่จะไม่ประมาท”

อรหัตตปัญหาสูตรที่ ๒ จบ

๓. ธัมมวาทีปัญหาสูตร
ว่าด้วยปัญหาเรื่องผู้เป็นธรรมวาที

[๓๑๖] ชัมพุขาทกปริพาชกถามว่า “ท่านสารีบุตร ใครหนอเป็นธรรมวาที
ในโลก ใครเป็นผู้ปฏิบัติดีในโลก ใครเป็นผู้ไปดีแล้วในโลก”
ท่านพระสารีบุตรตอบว่า “ผู้มีอายุ คนพวกใดแสดงธรรมเพื่อละราคะ แสดง
ธรรมเพื่อละโทสะ และแสดงธรรมเพื่อละโมหะ คนพวกนั้นเป็นธรรมวาทีในโลก
คนพวกใดปฏิบัติเพื่อละราคะ ปฏิบัติเพื่อละโทสะ และปฏิบัติเพื่อละโมหะ
คนพวกนั้นเป็นผู้ปฏิบัติดีในโลก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๓๓๖ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๔. ชัมพุขาทกสังยุต] ๔. กิมัตถิยสูตร

และคนพวกใดละราคะได้แล้ว ตัดรากถอนโคนเหมือนต้นตาลที่ถูกตัดราก
ถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ ละโทสะได้แล้ว
ตัดรากถอนโคนเหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี
เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ และละโมหะได้แล้ว ตัดรากถอนโคนเหมือนต้นตาลที่ถูกตัดราก
ถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ คนพวกนั้นเป็นผู้ไป
ดีแล้วในโลก”
“มีมรรค มีปฏิปทาเพื่อละราคะ โทสะ และโมหะนั้นอยู่หรือ”
“มีมรรค มีปฏิปทาเพื่อละราคะ โทสะ และโมหะนั้นอยู่”
“มรรคเป็นอย่างไร ปฏิปทาเพื่อละราคะ โทสะ และโมหะนั้นเป็นอย่างไร”
“ผู้มีอายุ คือ อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้แล เพื่อละราคะ โทสะ และโมหะนั้น ได้แก่
๑. สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ ๘. สัมมาสมาธิ
นี้แลคือมรรค นี้คือปฏิปทาเพื่อละราคะ โทสะ และโมหะนั้น”
“ท่านสารีบุตร มรรคดีจริงหนอ ปฏิปทาเพื่อละราคะ โทสะ และโมหะนั้นดี
จริงหนอ และควรที่จะไม่ประมาท”

ธัมมวาทีปัญหาสูตรที่ ๓ จบ

๔. กิมัตถิยสูตร
ว่าด้วยคำถามเกี่ยวกับประโยชน์ของการประพฤติพรหมจรรย์

[๓๑๗] ชัมพุขาทกปริพาชกถามว่า “ท่านสารีบุตร ท่านประพฤติพรหมจรรย์
ในพระสมณโคดม เพื่อต้องการอะไร”
ท่านพระสารีบุตรตอบว่า “ผู้มีอายุ เราประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาค
เพื่อกำหนดรู้ทุกข์”
“มีมรรค มีปฏิปทาเพื่อกำหนดรู้ทุกข์นั้นอยู่หรือ”
“มีมรรค มีปฏิปทาเพื่อกำหนดรู้ทุกข์นั้นอยู่”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๓๓๗ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๔. ชัมพุขาทกสังยุต]
๕. อัสสาสัปปัตตสูตร

“มรรคเป็นอย่างไร ปฏิปทาเพื่อกำหนดรู้ทุกข์นั้นเป็นอย่างไร”
“ผู้มีอายุ คือ อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้แล เพื่อกำหนดรู้ทุกข์นั้น ได้แก่
๑. สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ ๘. สัมมาสมาธิ
นี้แลคือมรรค นี้คือปฏิปทาเพื่อกำหนดรู้ทุกข์นั้น”
“ท่านสารีบุตร มรรคดีจริงหนอ ปฏิปทาเพื่อกำหนดรู้ทุกข์นั้นดีจริงหนอ
และควรที่จะไม่ประมาท”

กิมัตถิยสูตรที่ ๔ จบ

๕. อัสสาสัปปัตตสูตร
ว่าด้วยผู้ถึงความโล่งใจ

[๓๑๘] ชัมพุขาทกปริพาชกถามว่า “ท่านสารีบุตร ที่เรียกกันว่า ‘ถึงความ
โล่งใจ ถึงความโล่งใจ’ ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอ ภิกษุจึงเป็นผู้ถึงความโล่งใจ”
ท่านพระสารีบุตรตอบว่า “ผู้มีอายุ ภิกษุรู้ชัดความเกิด ความดับ คุณ โทษ
และเครื่องสลัดออกจากผัสสายตนะ ๖ ประการตามความเป็นจริง ด้วยเหตุเพียง
เท่านี้แล เธอจึงเป็นผู้ถึงความโล่งใจ”
“มีมรรค มีปฏิปทาเพื่อทำให้แจ้งความโล่งใจนั้นอยู่หรือ”
“มีมรรค มีปฏิปทาเพื่อทำให้แจ้งความโล่งใจนั้นอยู่”
“มรรคเป็นอย่างไร ปฏิปทาเพื่อทำให้แจ้งความโล่งใจนั้นเป็นอย่างไร”
“ผู้มีอายุ คือ อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้แล เพื่อทำให้แจ้งความโล่งใจนั้น ได้แก่
๑. สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ ๘. สัมมาสมาธิ
นี้แลคือมรรค นี้คือปฏิปทาเพื่อทำให้แจ้งความโล่งใจนั้น”
“ท่านสารีบุตร มรรคดีจริงหนอ ปฏิปทาเพื่อทำให้แจ้งความโล่งใจนั้นดีจริง
หนอ และควรที่จะไม่ประมาท”

อัสสาสัปปัตตสูตรที่ ๕ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๔. ชัมพุขาทกสังยุต]
๗. เวทนาปัญหาสูตร

๖. ปรมัสสาสัปปัตตสูตร
ว่าด้วยผู้ถึงความโล่งใจอย่างยิ่ง

[๓๑๙] ชัมพุขาทกปริพาชกถามว่า “ท่านสารีบุตร ที่เรียกกันว่า ‘ถึงความ
โล่งใจอย่างยิ่ง ถึงความโล่งใจอย่างยิ่ง’ ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอ ภิกษุจึงเป็นผู้ถึง
ความโล่งใจอย่างยิ่ง”
ท่านพระสารีบุตรตอบว่า “ผู้มีอายุ ภิกษุรู้ชัดความเกิด ความดับ คุณ โทษ
และเครื่องสลัดออกจากผัสสายตนะ ๖ ประการตามความเป็นจริงแล้ว หลุดพ้น
เพราะไม่ถือมั่น ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล เธอจึงเป็นผู้ถึงความโล่งใจอย่างยิ่ง”
“มีมรรค มีปฏิปทาเพื่อทำให้แจ้งความโล่งใจอย่างยิ่งนั้นอยู่หรือ”
“มีมรรค มีปฏิปทาเพื่อทำให้แจ้งความโล่งใจอย่างยิ่งนั้นอยู่”
“มรรคเป็นอย่างไร ปฏิปทาเพื่อทำให้แจ้งความโล่งใจอย่างยิ่งนั้นเป็นอย่างไร”
“ผู้มีอายุ คือ อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้แล เพื่อทำให้แจ้งความโล่งใจอย่างยิ่งนั้น
ได้แก่
๑. สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ ๘. สัมมาสมาธิ
นี้แลคือมรรค นี้คือปฏิปทาเพื่อทำให้แจ้งความโล่งใจอย่างยิ่งนั้น”
“ท่านสารีบุตร มรรคดีจริงหนอ ปฏิปทาเพื่อทำให้แจ้งความโล่งใจอย่างยิ่ง
นั้นดีจริงหนอ และควรที่จะไม่ประมาท”

ปรมัสสาสัปปัตตสูตรที่ ๖ จบ

๗. เวทนาปัญหาสูตร
ว่าด้วยปัญหาเรื่องเวทนา

[๓๒๐] ชัมพุขาทกปริพาชกถามว่า “ท่านสารีบุตร ที่กล่าวกันว่า ‘เวทนา
เวทนา’ เวทนามีเท่าไร”
ท่านพระสารีบุตรตอบว่า “ผู้มีอายุ เวทนามี ๓ ประการนี้
เวทนา ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๓๓๙ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๔. ชัมพุขาทกสังยุต]
๘. อาสวปัญหาสูตร

๑. สุขเวทนา ๒. ทุกขเวทนา
๓. อทุกขมสุขเวทนา
เวทนามี ๓ ประการนี้แล”
“มีมรรค มีปฏิปทาเพื่อกำหนดรู้เวทนา ๓ ประการนั้นอยู่หรือ”
“มีมรรค มีปฏิปทาเพื่อกำหนดรู้เวทนา ๓ ประการนั้นอยู่”
“มรรคเป็นอย่างไร ปฏิปทาเพื่อกำหนดรู้เวทนา ๓ ประการนั้นเป็นอย่างไร”
“ผู้มีอายุ คือ อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้แล เพื่อกำหนดรู้เวทนา ๓ ประการนั้น
ได้แก่
๑. สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ ๘. สัมมาสมาธิ
นี้แลคือมรรค นี้คือปฏิปทาเพื่อกำหนดรู้เวทนา ๓ ประการนั้น”
“ท่านสารีบุตร มรรคดีจริงหนอ ปฏิปทาเพื่อกำหนดรู้เวทนา ๓ ประการ
นั้นดีจริงหนอ และควรที่จะไม่ประมาท”

เวทนาปัญหาสูตรที่ ๗ จบ

๘. อาสวปัญหาสูตร
ว่าด้วยปัญหาเรื่องอาสวะ

[๓๒๑] ชัมพุขาทกปริพาชกถามว่า “ท่านสารีบุตร ที่เรียกกันว่า ‘อาสวะ
อาสวะ’ อาสวะมีเท่าไร”
ท่านพระสารีบุตรตอบว่า “ผู้มีอายุ อาสวะมี ๓ ประการนี้ คือ
๑. กามาสวะ (อาสวะคือกาม)
๒. ภวาสวะ (อาสวะคือภพ)
๓. อวิชชาสวะ (อาสวะคืออวิชชา)
อาสวะมี ๓ ประการนี้แล”
“มีมรรค มีปฏิปทาเพื่อละอาสวะเหล่านั้นอยู่หรือ”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๓๔๐ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๔. ชัมพุขาทกสังยุต]
๙. อวิชชาปัญหาสูตร

“มีมรรค มีปฏิปทาเพื่อละอาสวะเหล่านั้นอยู่”
“มรรคเป็นอย่างไร ปฏิปทาเพื่อละอาสวะเหล่านั้นเป็นอย่างไร”
“ผู้มีอายุ คือ อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้แล เพื่อละอาสวะเหล่านั้น ได้แก่
๑. สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ ๘. สัมมาสมาธิ
นี้แลคือมรรค นี้คือปฏิปทาเพื่อละอาสวะเหล่านั้น”
“ท่านสารีบุตร มรรคดีจริงหนอ ปฏิปทาเพื่อละอาสวะเหล่านั้นดีจริงหนอ และ
ควรที่จะไม่ประมาท”

อาสวปัญหาสูตรที่ ๘ จบ

๙. อวิชชาปัญหาสูตร
ว่าด้วยปัญหาเรื่องอวิชชา

[๓๒๒] ชัมพุขาทกปริพาชกถามว่า “ท่านสารีบุตร ที่เรียกกันว่า ‘อวิชชา
อวิชชา’ อวิชชาคืออะไร”
ท่านพระสารีบุตรตอบว่า “ผู้มีอายุ คือ ความไม่รู้ในทุกข์ ความไม่รู้ในทุกข-
สมุทัย (เหตุเกิดทุกข์) ความไม่รู้ในทุกขนิโรธ (ความดับทุกข์) และความไม่รู้ใน
ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา (ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์) นี้เรียกว่า อวิชชา”
“มีมรรค มีปฏิปทาเพื่อละอวิชชานั้นอยู่หรือ”
“มีมรรค มีปฏิปทาเพื่อละอวิชชานั้นอยู่”
“มรรคเป็นอย่างไร ปฏิปทาเพื่อละอวิชชานั้นเป็นอย่างไร”
“ผู้มีอายุ คือ อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้แล เพื่อละอวิชชานั้น ได้แก่
๑. สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ ๘. สัมมาสมาธิ
นี้แลคือมรรค นี้คือปฏิปทาเพื่อละอวิชชานั้น”
“ท่านสารีบุตร มรรคดีจริงหนอ ปฏิปทาเพื่อละอวิชชานั้นดีจริงหนอ และ
ควรที่จะไม่ประมาท”

อวิชชาปัญหาสูตรที่ ๙ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๔. ชัมพุขาทกสังยุต] ๑๑. โอฆปัญหาสูตร

๑๐. ตัณหาปัญหาสูตร
ว่าด้วยปัญหาเรื่องตัณหา

[๓๒๓] ชัมพุขาทกปริพาชกถามว่า “ท่านสารีบุตร ที่เรียกกันว่า ‘ตัณหา
ตัณหา’ ตัณหามีเท่าไร”
ท่านพระสารีบุตรตอบว่า “ผู้มีอายุ ตัณหามี ๓ ประการนี้ คือ
๑. กามตัณหา (ความทะยานอยากในกาม)
๒. ภวตัณหา (ความทะยานอยากในภพ)
๓. วิภวตัณหา (ความทะยานอยากในวิภพ)
ตัณหามี ๓ ประการนี้แล”
“มีมรรค มีปฏิปทาเพื่อละตัณหาเหล่านั้นอยู่หรือ”
“มีมรรค มีปฏิปทาเพื่อละตัณหาเหล่านั้นอยู่”
“มรรคเป็นอย่างไร ปฏิปทาเพื่อละตัณหาเหล่านั้นเป็นอย่างไร”
“ผู้มีอายุ คือ อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้แล เพื่อละตัณหาเหล่านั้น ได้แก่
๑. สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ ๘. สัมมาสมาธิ
นี้แลคือมรรค นี้คือปฏิปทาเพื่อละตัณหาเหล่านั้น”
“ท่านสารีบุตร มรรคดีจริงหนอ ปฏิปทาเพื่อละตัณหาเหล่านั้นดีจริงหนอ
และควรที่จะไม่ประมาท”

ตัณหาปัญหาสูตรที่ ๑๐ จบ

๑๑. โอฆปัญหาสูตร
ว่าด้วยปัญหาเรื่องโอฆะ

[๓๒๔] ชัมพุขาทกปริพาชกถามว่า “ท่านสารีบุตร ที่เรียกกันว่า ‘โอฆะ โอฆะ’
โอฆะมีเท่าไร”
ท่านพระสารีบุตรตอบว่า “ผู้มีอายุ โอฆะมี ๔ ประการนี้ คือ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๓๔๒ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๔. ชัมพุขาทกสังยุต]
๑๒. อุปาทานปัญหาสูตร

๑. กาโมฆะ (โอฆะคือกาม) ๒. ภโวฆะ (โอฆะคือภพ)
๓. ทิฏโฐฆะ (โอฆะคือทิฏฐิ) ๔. อวิชโชฆะ (โอฆะคืออวิชชา)
โอฆะมี ๔ ประการนี้แล”
“มีมรรค มีปฏิปทาเพื่อละโอฆะเหล่านั้นอยู่หรือ”
“มีมรรค มีปฏิปทาเพื่อละโอฆะเหล่านั้นอยู่”
“มรรคเป็นอย่างไร ปฏิปทาเพื่อละโอฆะเหล่านั้นเป็นอย่างไร”
“ผู้มีอายุ คือ อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้แล เพื่อละโอฆะเหล่านั้น ได้แก่
๑. สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ ๘. สัมมาสมาธิ
นี้แลคือมรรค นี้คือปฏิปทาเพื่อละโอฆะเหล่านั้น”
“ท่านสารีบุตร มรรคดีจริงหนอ ปฏิปทาเพื่อละโอฆะเหล่านั้นดีจริงหนอ และ
ควรที่จะไม่ประมาท”

โอฆปัญหาสูตรที่ ๑๑ จบ

๑๒. อุปาทานปัญหาสูตร
ว่าด้วยปัญหาเรื่องอุปาทาน

[๓๒๕] ชัมพุขาทกปริพาชกถามว่า “ท่านสารีบุตร ที่เรียกกันว่า ‘อุปาทาน
อุปาทาน’ อุปาทานมีเท่าไร”
ท่านพระสารีบุตรตอบว่า “ผู้มีอายุ อุปาทานมี ๔ ประการนี้ คือ
๑. กามุปาทาน (ความยึดมั่นในกาม)
๒. ทิฏฐุปาทาน (ความยึดมั่นในทิฏฐิหรือทฤษฎี)
๓. สีลัพพตุปาทาน (ความยึดมั่นในศีลและพรต)
๔. อัตตวาทุปาทาน (ความยึดมั่นในวาทะว่าอัตตา)
อุปาทานมี ๔ ประการนี้แล”
“มีมรรค มีปฏิปทาเพื่อละอุปาทานเหล่านั้นอยู่หรือ”
“มีมรรค มีปฏิปทาเพื่อละอุปาทานเหล่านั้นอยู่”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๓๔๓ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๔. ชัมพุขาทกสังยุต]
๑๕. สักกายปัญหาสูตร

“มรรคเป็นอย่างไร ปฏิปทาเพื่อละอุปาทานเหล่านั้นเป็นอย่างไร”
“ผู้มีอายุ คือ อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้แล เพื่อละอุปาทานเหล่านั้น ได้แก่
๑. สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ ๘. สัมมาสมาธิ
นี้แลคือมรรค นี้คือปฏิปทาเพื่อละอุปาทานเหล่านั้น”
“ท่านสารีบุตร มรรคดีจริงหนอ ปฏิปทาเพื่อละอุปาทานเหล่านั้นดีจริงหนอ
และควรที่จะไม่ประมาท”

อุปาทานปัญหาสูตรที่ ๑๒ จบ

๑๓. ภวปัญหาสูตร
ว่าด้วยปัญหาเรื่องภพ

[๓๒๖] ชัมพุขาทกปริพาชกถามว่า “ท่านสารีบุตร ที่เรียกกันว่า ‘ภพ ภพ’
ภพมีเท่าไร”
ท่านพระสารีบุตรตอบว่า “ผู้มีอายุ ภพมี ๓ ประการนี้ คือ
๑. กามภพ (ภพที่เป็นกามาวจร)
๒. รูปภพ (ภพที่เป็นรูปาวจร)
๓. อรูปภพ (ภพที่เป็นอรูปาวจร)
ภพมี ๓ ประการนี้แล”
“มีมรรค มีปฏิปทาเพื่อกำหนดรู้ภพเหล่านั้นอยู่หรือ”
“มีมรรค มีปฏิปทาเพื่อกำหนดรู้ภพเหล่านั้นอยู่”
“มรรคเป็นอย่างไร ปฏิปทาเพื่อกำหนดรู้ภพเหล่านั้นเป็นอย่างไร”
“ผู้มีอายุ คือ อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้แล เพื่อกำหนดรู้ภพเหล่านั้น ได้แก่
๑. สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ ๘. สัมมาสมาธิ
นี้แลคือมรรค นี้คือปฏิปทาเพื่อกำหนดรู้ภพเหล่านั้น”
“ท่านสารีบุตร มรรคดีจริงหนอ ปฏิปทาเพื่อกำหนดรู้ภพเหล่านั้นดีจริงหนอ
และควรที่จะไม่ประมาท”

ภวปัญหาสูตรที่ ๑๓ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๔. ชัมพุขาทกสังยุต]
๑๕. สักกายปัญหาสูตร

๑๔. ทุกขปัญหาสูตร
ว่าด้วยปัญหาเรื่องทุกข์

[๓๒๗] ชัมพุขาทกปริพาชกถามว่า “ท่านสารีบุตร ที่เรียกกันว่า ‘ทุกข์ ทุกข์’
ทุกข์มีเท่าไร”
ท่านพระสารีบุตรตอบว่า “ผู้มีอายุ สภาวทุกข์มี ๓ ประการนี้ คือ
๑. สภาวทุกข์คือทุกข์ ๒. สภาวทุกข์คือสังขาร
๓. สภาวทุกข์คือความแปรผันไป
สภาวทุกข์มี ๓ อย่างเหล่านี้”
“มีมรรค มีปฏิปทาเพื่อกำหนดรู้สภาวทุกข์เหล่านั้นอยู่หรือ”
“มีมรรค มีปฏิปทาเพื่อกำหนดรู้สภาวทุกข์เหล่านั้นอยู่”
“มรรคเป็นอย่างไร ปฏิปทาเพื่อกำหนดรู้สภาวทุกข์เหล่านั้นเป็นอย่างไร”
“ผู้มีอายุ คือ อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้แล เพื่อกำหนดรู้สภาวทุกข์เหล่านั้น ได้แก่
๑. สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ ๘. สัมมาสมาธิ
นี้แลคือมรรค นี้คือปฏิปทาเพื่อกำหนดรู้สภาวทุกข์เหล่านั้น”
“ท่านสารีบุตร มรรคดีจริงหนอ ปฏิปทาเพื่อกำหนดรู้สภาวทุกข์เหล่านั้นดี
จริงหนอ และควรที่จะไม่ประมาท”

ทุกขปัญหาสูตรที่ ๑๔ จบ

๑๕. สักกายปัญหาสูตร
ว่าด้วยปัญหาเรื่องสักกายะ

[๓๒๘] ชัมพุขาทกปริพาชกถามว่า “ท่านสารีบุตร ที่เรียกกันว่า ‘สักกายะ
(กายของตน) สักกายะ’ สักกายะคืออะไร”
ท่านพระสารีบุตรตอบว่า “ผู้มีอายุ อุปาทานขันธ์ ๕ นี้พระผู้มีพระภาค
ตรัสเรียกว่า สักกายะ ได้แก่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๓๔๕ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๔. ชัมพุขาทกสังยุต]
๑๖. ทุกกรปัญหาสูตร

๑. รูปูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือรูป)
๒. เวทนูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือเวทนา)
๓. สัญญูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือสัญญา)
๔. สังขารูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือสังขาร)
๕. วิญญาณูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือวิญญาณ)
อุปาทานขันธ์ ๕ นี้แลพระผู้มีพระภาคตรัสเรียกว่า สักกายะ”
“มีมรรค มีปฏิปทาเพื่อกำหนดรู้สักกายะนั้นอยู่หรือ”
“มีมรรค มีปฏิปทาเพื่อกำหนดรู้สักกายะนั้นอยู่”
“มรรคเป็นอย่างไร ปฏิปทาเพื่อกำหนดรู้สักกายะนั้นเป็นอย่างไร”
“ผู้มีอายุ คือ อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้แล เพื่อกำหนดรู้สักกายะนั้น ได้แก่
๑. สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ ๘. สัมมาสมาธิ
นี้แลคือมรรค นี้คือปฏิปทาเพื่อกำหนดรู้สักกายะนั้น”
“ท่านสารีบุตร มรรคดีจริงหนอ ปฏิปทาเพื่อกำหนดรู้สักกายะนั้นดีจริงหนอ
และควรที่จะไม่ประมาท”

สักกายปัญหาสูตรที่ ๑๕ จบ

๑๖. ทุกกรปัญหาสูตร
ว่าด้วยปัญหาเรื่องสิ่งที่ทำได้ยาก

[๓๒๙] ชัมพุขาทกปริพาชกถามว่า “ท่านสารีบุตร อะไรหนอที่ทำได้ยากใน
พระธรรมวินัยนี้”
ท่านพระสารีบุตรตอบว่า “ผู้มีอายุ การบรรพชาทำได้ยากในพระธรรมวินัยนี้”
“อะไรที่บรรพชิตทำได้ยาก”
“ความยินดียิ่ง บรรพชิตทำได้ยาก”
“อะไรที่บรรพชิตผู้ยินดียิ่งทำได้ยาก”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๓๔๖ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๔. ชัมพุขาทกสังยุต]
รวมพระสูตรที่มีในวรรค

“การปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรมที่บรรพชิตผู้ยินดียิ่งทำได้ยาก”
“ภิกษุผู้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม นานเท่าไรจึงจะเป็นพระอรหันต์”
“ไม่นานดอก ผู้มีอายุ”

ทุกกรปัญหาสูตรที่ ๑๖ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้คือ

๑. นิพพานปัญหาสูตร ๒. อรหัตตปัญหาสูตร
๓. ธัมมวาทีปัญหาสูตร ๔. กิมัตถิยสูตร
๕. อัสสาสัปปัตตสูตร ๖. ปรมัสสาสัปปัตตสูตร
๗. เวทนาปัญหาสูตร ๘. อาสวปัญหาสูตร
๙. อวิชชาปัญหาสูตร ๑๐. ตัณหาปัญหาสูตร
๑๑. โอฆปัญหาสูตร ๑๒. อุปาทานปัญหาสูตร
๑๓. ภวปัญหาสูตร ๑๔. ทุกขปัญหาสูตร
๑๕. สักกายปัญหาสูตร ๑๖. ทุกกรปัญหาสูตร

ชัมพุขาทกสังยุต จบบริบูรณ์


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๕. สามัณฑกสังยุต] ๒. ทุกกรสูตร

๕. สามัณฑกสังยุต
๑. สามัณฑกสูตร
ว่าด้วยสามัณฑกปริพาชก

[๓๓๐] สมัยหนึ่ง ท่านพระสารีบุตรอยู่ ณ ฝั่งแม่น้ำคงคา เขตอุกกเจลนคร
แคว้นวัชชี ครั้งนั้น สามัณฑกปริพาชกเข้าไปหาท่านพระสารีบุตรถึงที่อยู่ ได้
สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้ว นั่ง ณ ที่สมควร
ได้เรียนถามท่านพระสารีบุตรดังนี้ว่า
“ท่านสารีบุตร ที่เรียกกันว่า ‘นิพพาน นิพพาน’ นิพพานคืออะไร”
ท่านพระสารีบุตรตอบว่า “ผู้มีอายุ คือ ความสิ้นราคะ ความสิ้นโทสะ
และความสิ้นโมหะ นี้เรียกว่านิพพาน”
“มีมรรค มีปฏิปทาเพื่อทำให้แจ้งนิพพานนั้นอยู่หรือ”
“มีมรรค มีปฏิปทาเพื่อรู้แจ้งนิพพานนั้นอยู่”
“มรรคเป็นอย่างไร ปฏิปทาเพื่อทำให้แจ้งนิพพานนั้นเป็นอย่างไร”
“ผู้มีอายุ คือ อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้แล เพื่อทำให้แจ้งนิพพานนั้น ได้แก่
๑. สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ ๘. สัมมาสมาธิ
นี้แลคือมรรค นี้คือปฏิปทาเพื่อทำให้แจ้งนิพพานนั้น”
“ท่านสารีบุตร มรรคดีจริงหนอ ปฏิปทาเพื่อทำให้แจ้งนิพพานนั้นดีจริงหนอ
และควรที่จะไม่ประมาท”

สามัณฑกสูตรที่ ๑ จบ

๒. ทุกกรสูตร
ว่าด้วยสิ่งที่ทำได้ยาก

[๓๓๑] สามัณฑกปริพาชกถามว่า “ท่านสารีบุตร อะไรหนอที่ทำได้ยากใน
พระธรรมวินัยนี้”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๓๔๘ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๕. สามัณฑกสังยุต] ๒. ทุกกรสูตร

ท่านพระสารีบุตรตอบว่า “ผู้มีอายุ การบรรพชาทำได้ยากในพระธรรมวินัยนี้”
“อะไรที่บรรพชิตทำได้ยาก”
“ความยินดียิ่ง ที่บรรพชิตทำได้ยาก”
“อะไรที่บรรพชิตผู้ยินดียิ่งทำได้ยาก”
“การปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรมที่บรรพชิตผู้ยินดียิ่งทำได้ยาก”
“ผู้มีอายุ ภิกษุผู้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรมนานเท่าไรจึงจะเป็นพระอรหันต์”
“ไม่นานดอก ผู้มีอายุ”

ทุกกรสูตรที่ ๒ จบ

รวมพระสูตรในสังยุตนี้เช่นเดียวกับสังยุตก่อน
สามัณฑกสังยุต จบบริบูรณ์


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๖. โมคคัลลานสังยุต]
๓. ตติยัชฌานปัญหาสูตร

๖. โมคคัลลานสังยุต
๑. ปฐมัชฌานปัญหาสูตร
ว่าด้วยปัญหาเรื่องปฐมฌาน

[๓๓๒] สมัยหนึ่ง ท่านพระมหาโมคคัลลานะอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของ
อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้น ท่านพระมหาโมคคัลลานะเรียก
ภิกษุทั้งหลายมากล่าวว่า “ผู้มีอายุทั้งหลาย” ภิกษุเหล่านั้นรับคำท่านพระมหา-
โมคคัลลานะแล้ว ท่านพระมหาโมคคัลลานะได้กล่าวกับภิกษุเหล่านั้นดังนี้ว่า
“ผู้มีอายุทั้งหลาย เมื่อผมหลีกเร้นอยู่ในที่สงัดในที่นี้ได้เกิดความคิดคำนึงขึ้นมาว่า
‘ที่เรียกกันว่า ‘ปฐมฌาน ปฐมฌาน’ ปฐมฌานเป็นอย่างไร’ ผมนั้นได้มีความคิด
ดังนี้ว่า ‘ภิกษุในธรรมวินัยนี้สงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุ
ปฐมฌานที่มีวิตก วิจาร ปีติ และสุขอันเกิดจากวิเวกอยู่’ นี้เรียกว่า ‘ปฐมฌาน’
ผมนั้นสงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌานที่มีวิตก วิจาร ปีติ
และสุขอันเกิดจากวิเวกอยู่ เมื่อผมอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้ สัญญามนสิการ (การใส่ใจ
สัญญา) ประกอบด้วยกาม๑ก็ปรากฏขึ้น
ผู้มีอายุทั้งหลาย ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเสด็จมาหาผมด้วยฤทธิ์แล้วได้ตรัส
ดังนี้ว่า ‘โมคคัลลานะผู้เป็นพราหมณ์ โมคคัลลานะผู้เป็นพราหมณ์ เธออย่า
ประมาทปฐมฌาน จงดำรงจิตไว้ในปฐมฌาน จงทำจิตให้เป็นหนึ่งผุดขึ้นในปฐมฌาน
จงตั้งจิตไว้ให้มั่นในปฐมฌาน’ ต่อมา ผมนั้นสงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลาย
แล้ว บรรลุปฐมฌานที่มีวิตก วิจาร ปีติ และสุขอันเกิดจากวิเวกอยู่ ก็บุคคลเมื่อ
จะพูดให้ถูก พึงพูดว่า ‘พระสาวกผู้ที่พระศาสดาทรงอนุเคราะห์แล้ว ถึงความเป็น
ผู้รู้ที่ยิ่งใหญ่’ บุคคลเมื่อจะพูดให้ถูก พึงพูดถึงผมว่า ‘พระสาวกผู้ที่พระศาสดา
ทรงอนุเคราะห์แล้ว ถึงความเป็นผู้รู้ที่ยิ่งใหญ่”

ปฐมัชฌานปัญหาสูตรที่ ๑ จบ


พระสุตตันปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตวรรค [ ๖. โมคคัลลานสังยุต]
๓. ตติยัชฌานปัญหาสูตร

๒. ทุติยัชฌานปัญหาสูตร
ว่าด้วยปัญหาเรื่องทุติยฌาน

[๓๓๓] “ที่เรียกกันว่า ‘ทุติยฌาน ทุติยฌาน’ ทุติยฌานเป็นอย่างไร ผม
นั้นได้มีความคิดดังนี้ว่า ‘เพราะวิตกวิจารสงบระงับไป ภิกษุในธรรมวินัยนี้บรรลุ
ทุติยฌานมีความผ่องใสในภายใน มีภาวะที่จิตเป็นหนึ่งผุดขึ้น๑ ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร
มีแต่ปีติและสุขอันเกิดจากสมาธิอยู่’ นี้เรียกว่า ‘ทุติยฌาน’ ผมนั้นเพราะวิตก
วิจารสงบระงับไป บรรลุทุติยฌานมีความผ่องใสในภายใน มีภาวะที่จิตเป็นหนึ่ง
ผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีแต่ปีติและสุขอันเกิดจากสมาธิอยู่ เมื่อผมอยู่ด้วย
วิหารธรรมนี้ สัญญามนสิการประกอบด้วยวิตกก็ปรากฏขึ้น
ผู้มีอายุทั้งหลาย ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเสด็จมาหาผมด้วยฤทธิ์แล้วได้ตรัส
ดังนี้ว่า ‘โมคคัลลานะผู้เป็นพราหมณ์ โมคคัลลานะผู้เป็นพราหมณ์ เธออย่าประมาท
ทุติยฌาน จงดำรงจิตไว้ในทุติยฌาน จงทำจิตให้เป็นหนึ่งผุดขึ้นในทุติยฌาน จงตั้งจิต
ให้มั่นในทุติยฌาน’ ต่อมา เพราะวิตกวิจารสงบระงับไป ผมนั้นบรรลุทุติยฌานมี
ความผ่องใสในภายใน มีภาวะที่จิตเป็นหนึ่งผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีแต่ปีติ
และสุขอันเกิดจากสมาธิอยู่ ก็บุคคลเมื่อจะพูดให้ถูก พึงพูดว่า ‘พระสาวกผู้ที่พระ
ศาสดาทรงอนุเคราะห์แล้ว ถึงความเป็นผู้รู้ที่ยิ่งใหญ่’ บุคคลเมื่อจะพูดให้ถูก พึงพูด
ถึงผมว่า ‘พระสาวกผู้ที่พระศาสดาทรงอนุเคราะห์แล้ว ถึงความเป็นผู้รู้ที่ยิ่งใหญ่”

ทุติยัชฌานปัญหาสูตรที่ ๒ จบ

๓. ตติยัชฌานปัญหาสูตร
ว่าด้วยปัญหาเรื่องตติยฌาน

[๓๓๔] “ที่เรียกว่า ‘ตติยฌาน ตติยฌาน’ ตติยฌานเป็นอย่างไร ผมนั้น
ได้มีความคิดดังนี้ว่า ‘เพราะปีติจางคลายไป ภิกษุในธรรมวินัยนี้มีอุเบกขา มีสติ-
สัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย บรรลุตติยฌานที่พระอริยะทั้งหลายสรรเสริญว่า


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๖. โมคคัลลานสังยุต]
๔. จตุตถัชฌานปัญหาสูตร

‘ผู้มีอุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุข’ นี้เรียกว่า ‘ตติยฌาน’ เพราะปีติจางคลายไป ผมนั้น
มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย บรรลุตติยฌานที่พระอริยะ
ทั้งหลายสรรเสริญว่า ‘ผู้มีอุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุข’ เมื่อผมอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้
สัญญามนสิการประกอบด้วยปีติก็ปรากฏขึ้น
ผู้มีอายุทั้งหลาย ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเสด็จมาหาผมด้วยฤทธิ์แล้วได้ตรัส
ดังนี้ว่า ‘โมคคัลลานะผู้เป็นพราหมณ์ โมคคัลลานะผู้เป็นพราหมณ์ เธออย่าประมาท
ตติยฌาน จงดำรงจิตไว้ในตติยฌาน จงทำจิตให้เป็นหนึ่งผุดขึ้นในตติยฌาน จงตั้งจิต
ให้มั่นในตติยฌาน’ ต่อมา เพราะปีติจางคลายไป ผมนั้นมีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ
เสวยสุขด้วยนามกาย บรรลุตติยฌานที่พระอริยะทั้งหลายสรรเสริญว่า ‘ผู้มีอุเบกขา
มีสติอยู่เป็นสุข’ ก็บุคคลเมื่อจะพูดให้ถูก พึงพูดว่า ฯลฯ ถึงความเป็นผู้รู้ที่ยิ่งใหญ่”

ตติยัชฌานปัญหาสูตรที่ ๓ จบ

๔. จตุตถัชฌานปัญหาสูตร
ว่าด้วยปัญหาเรื่องจตุตถฌาน

[๓๓๕] “ที่เรียกว่า ‘จตุตถฌาน จตุตถฌาน’ จตุตถฌานเป็นอย่างไร ผมนั้น
ได้มีความคิดดังนี้ว่า ‘เพราะละสุขและทุกข์ได้ เพราะโสมนัสและโทมนัสดับไปก่อน
แล้ว ภิกษุในธรรมวินัยนี้บรรลุจตุตถฌานที่ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข มีสติบริสุทธิ์เพราะ
อุเบกขาอยู่’ นี้เรียกว่า ‘จตุตถฌาน’ เพราะละสุขและทุกข์ได้ เพราะโสมนัสและ
โทมนัสดับไปก่อนแล้ว ผมนั้นบรรลุจตุตถฌานที่ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข มีสติบริสุทธิ์
เพราะอุเบกขาอยู่ นี้เรียกว่า ‘จตุตถฌาน’ เมื่อผมอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้ สัญญา-
มนสิการประกอบด้วยสุขก็ปรากฏขึ้น
ผู้มีอายุทั้งหลาย ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเสด็จมาหาผมด้วยฤทธิ์แล้วได้ตรัส
ดังนี้ว่า ‘โมคคัลลานะผู้เป็นพราหมณ์ โมคคัลลานะผู้เป็นพราหมณ์ เธออย่าประมาท
จตุตถฌาน จงดำรงจิตไว้ในจตุตถฌาน จงทำจิตให้เป็นหนึ่งผุดขึ้นในจตุตถฌาน จง
ตั้งจิตให้มั่นในจตุตถฌาน’ ต่อมา เพราะละสุขและทุกข์ได้ เพราะโสมนัสและโทมนัส
ดับไปก่อนแล้ว ผมนั้นบรรลุจตุตถฌานที่ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข มีสติบริสุทธิ์เพราะ
อุเบกขาอยู่ ก็บุคคลเมื่อจะพูดให้ถูก พึงพูดว่า ฯลฯ ถึงความเป็นผู้รู้ที่ยิ่งใหญ่”

จตุตถัชฌานปัญหาสูตรที่ ๔ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๖. โมคคัลลานสังยุต]
๖. วิญญาณัญจายตนฌานปัญหาสูตร

๕. อากาสานัญจายตนฌานปัญหาสูตร
ว่าด้วยปัญหาเรื่องอากาสานัญจายตนฌาน

[๓๓๖] “ที่เรียกว่า ‘อากาสานัญจายตนฌาน อากาสานัญจายตนฌาน’
อากาสานัญจายตนฌานเป็นอย่างไร ผมนั้นได้มีความคิดดังนี้ว่า ‘ภิกษุในธรรมวินัย
นี้บรรลุอากาสานัญจายตนฌานอยู่โดยกำหนดว่า ‘อากาศหาที่สุดมิได้’ เพราะล่วง
รูปสัญญา ดับปฏิฆสัญญา ไม่กำหนดนานัตตสัญญาโดยประการทั้งปวงอยู่’ นี้
เรียกว่า ‘อากาสานัญจายตนฌาน’ ผมนั้นบรรลุอากาสานัญจายตนฌานอยู่โดย
กำหนดว่า ‘อากาศหาที่สุดมิได้’ เพราะล่วงรูปสัญญา ดับปฏิฆสัญญา ไม่กำหนด
นานัตตสัญญาโดยประการทั้งปวงอยู่ เมื่อผมอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้ สัญญามนสิการ
ประกอบด้วยรูปฌานก็ปรากฏขึ้น
ผู้มีอายุทั้งหลาย ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเสด็จมาหาผมด้วยฤทธิ์แล้วได้ตรัส
ดังนี้ว่า ‘โมคคัลลานะผู้เป็นพราหมณ์ โมคคัลลานะผู้เป็นพราหมณ์ เธออย่าประมาท
อากาสานัญจายตนฌาน จงดำรงจิตไว้ในอากาสานัญจายตนฌาน จงทำจิตให้เป็น
หนึ่งผุดขึ้นในอากาสานัญจายตนฌาน จงตั้งจิตให้มั่นในอากาสานัญจายตนฌาน’
ต่อมา ผมนั้นบรรลุอากาสานัญจายตนฌานอยู่โดยกำหนดว่า ‘อากาศหาที่สุดมิได้’
เพราะล่วงรูปสัญญา ดับปฏิฆสัญญา ไม่กำหนดนานัตตสัญญาโดยประการทั้งปวง
อยู่ ก็บุคคลเมื่อจะพูดให้ถูก พึงพูดว่า ฯลฯ ถึงความเป็นผู้รู้ที่ยิ่งใหญ่”

อากาสานัญจายตนฌานปัญหาสูตรที่ ๕ จบ

๖. วิญญาณัญจายตนฌานปัญหาสูตร
ว่าด้วยปัญหาเรื่องวิญญาณัญจายตนฌาน

[๓๓๗] “ที่เรียกกันว่า ‘วิญญาณัญจายตนฌาน วิญญาณัญจายตนฌาน’
วิญญาณัญจายตนฌานเป็นอย่างไร ผมนั้นได้มีความคิดดังนี้ว่า ‘ภิกษุในธรรมวินัย
นี้ล่วงอากาสานัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุวิญญาณัญจายตนฌานโดย
กำหนดว่า ‘วิญญาณหาที่สุดมิได้’ นี้เรียกว่า ‘วิญญาณัญจายตนฌาน’ ผมนั้น
ล่วงอากาสานัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุวิญญาณัญจายตนฌานโดย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๓๕๓ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๖. โมคคัลลานสังยุต]
๗. อากิญจัญญายตนฌานปัญหาสูตร

กำหนดว่า ‘วิญญาณหาที่สุดมิได้’ เมื่อผมอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้ สัญญามนสิการ
ประกอบด้วยอากาสานัญจายตนฌานก็ปรากฏขึ้น
ผู้มีอายุทั้งหลาย ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเสด็จมาหาผมด้วยฤทธิ์แล้วได้ตรัส
ดังนี้ว่า ‘โมคคัลลานะผู้เป็นพราหมณ์ โมคคัลลานะผู้เป็นพราหมณ์ เธออย่าประมาท
วิญญาณัญจายตนฌาน จงดำรงจิตไว้ในวิญญาณัญจายตนฌาน จงทำจิตให้เป็นหนึ่ง
ผุดขึ้นในวิญญาณัญจายตนฌาน จงตั้งจิตให้มั่นในวิญญาณัญจายตนฌาน’ ต่อมา
ผมนั้นล่วงอากาสานัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุวิญญาณัญจายตนฌาน
โดยกำหนดว่า ‘วิญญาณหาที่สุดมิได้’ ก็บุคคลเมื่อจะพูดให้ถูก พึงพูดว่า ฯลฯ
ถึงความเป็นผู้รู้ที่ยิ่งใหญ่”

วิญญาณัญจายตนฌานปัญหาสูตรที่ ๖ จบ

๗. อากิญจัญญายตนฌานปัญหาสูตร
ว่าด้วยปัญหาเรื่องอากิญจัญญายตนฌาน

[๓๓๘] “ที่เรียกกันว่า ‘อากิญจัญญายตนฌาน อากิญจัญญายตนฌาน’
อากิญจัญญายตนฌานเป็นอย่างไร ผมนั้นได้มีความคิดดังนี้ว่า ‘ภิกษุในธรรมวินัย
นี้ล่วงวิญญาณัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุอากิญจัญญายตนฌาน
โดยกำหนดว่า ‘ไม่มีอะไร’ นี้เรียกว่า ‘อากิญจัญญายตนฌาน’ ผมนั้นล่วง
วิญญาณัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุอากิญจัญญายตนฌานโดย
กำหนดว่า ‘ไม่มีอะไร’ เมื่อผมอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้ สัญญามนสิการประกอบด้วย
วิญญาณัญจายตนฌานก็ปรากฏขึ้น
ผู้มีอายุทั้งหลาย ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเสด็จมาหาผมด้วยฤทธิ์แล้วได้ตรัส
ดังนี้ว่า ‘โมคคัลลานะผู้เป็นพราหมณ์ โมคคัลลานะผู้เป็นพราหมณ์ เธออย่าประมาท
อากิญจัญญายตนฌาน จงดำรงจิตไว้ในอากิญจัญญายตนฌาน จงทำจิตให้เป็นหนึ่ง
ผุดขึ้นในอากิญจัญญายตนฌาน จงตั้งจิตให้มั่นในอากิญจัญญายตนฌาน’ ต่อมา
ผมนั้นล่วงวิญญาณัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุอากิญจัญญายตนฌาน
โดยกำหนดว่า ‘ไม่มีอะไร’ ก็บุคคลเมื่อจะพูดให้ถูก พึงพูดว่า ฯลฯ ถึงความเป็นผู้รู้ที่
ยิ่งใหญ่”

อากิญจัญญายตนฌานปัญหาสูตรที่ ๗ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๖. โมคคัลลานสังยุต]
๙. อนิมิตตปัญหาสูตร

๘. เนวสัญญานาสัญญายตนฌานปัญหาสูตร
ว่าด้วยปัญหาเรื่องเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน

[๓๓๙] “ที่เรียกกันว่า ‘เนวสัญญานาสัญญายตนฌาน เนวสัญญานาสัญญา-
ยตนฌาน’ เนวสัญญานาสัญญายตนฌานเป็นอย่างไร’ ผมนั้นได้มีความคิดดังนี้ว่า
‘ภิกษุในธรรมวินัยนี้ล่วงอากิญจัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุเนวสัญญา-
นาสัญญายตนฌานอยู่’ นี้เรียกว่า ‘เนวสัญญานาสัญญายตนฌาน’ ผมนั้นล่วง
อากิญจัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุเนวสัญญานาสัญญายตนฌานอยู่
เมื่อผมอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้ สัญญามนสิการประกอบด้วยอากิญจัญญายตนฌานก็
ปรากฏขึ้น
ผู้มีอายุทั้งหลาย ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเสด็จมาหาผมด้วยฤทธิ์แล้วได้ตรัส
ดังนี้ว่า ‘โมคคัลลานะผู้เป็นพราหมณ์ โมคคัลลานะผู้เป็นพราหมณ์ เธออย่าประมาท
เนวสัญญานาสัญญายตนฌาน จงดำรงจิตไว้ในเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน จงทำ
จิตให้เป็นหนึ่งผุดขึ้นในเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน จงตั้งจิตให้มั่นในเนวสัญญา
นาสัญญายตนฌาน’ ต่อมา ผมนั้นล่วงอากิญจัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวง
บรรลุเนวสัญญานาสัญญายตนฌานอยู่ ก็บุคคลเมื่อจะพูดให้ถูก พึงพูดว่า ฯลฯ
ถึงความเป็นผู้รู้ที่ยิ่งใหญ่”

เนวสัญญานาสัญญายตนฌานปัญหาสูตรที่ ๘ จบ

๙. อนิมิตตปัญหาสูตร
ว่าด้วยปัญหาเรื่องอนิมิตตเจโตสมาธิ

[๓๔๐] “ที่เรียกกันว่า ‘อนิมิตตเจโตสมาธิ๑ อนิมิตตเจโตสมาธิ’ อนิมิตต-
เจโตสมาธิเป็นอย่างไร ผมนั้นได้มีความคิดดังนี้ว่า ‘ภิกษุในธรรมวินัยนี้บรรลุ
อนิมิตตเจโตสมาธิ เพราะไม่กำหนดนิมิตทั้งปวงอยู่’ นี้เรียกว่า ‘อนิมิตตเจโตสมาธิ’
ผมนั้นบรรลุอนิมิตตเจโตสมาธิ เพราะไม่กำหนดนิมิตทั้งปวงอยู่ เมื่อผมอยู่ด้วย
วิหารธรรมนี้ วิญญาณย่อมแล่นไปตามนิมิต


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๖. โมคคัลลานสังยุต] ๑๐. สักกสูตร

ผู้มีอายุทั้งหลาย ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเสด็จมาหาผมด้วยฤทธิ์แล้วได้ตรัส
ดังนี้ว่า ‘โมคคัลลานะผู้เป็นพราหมณ์ โมคคัลลานะผู้เป็นพราหมณ์ เธออย่าประมาท
อนิมิตตเจโตสมาธิ จงดำรงจิตไว้ในอนิมิตตเจโตสมาธิ จงทำจิตให้เป็นหนึ่งผุดขึ้น
ในอนิมิตตเจโตสมาธิ จงตั้งจิตให้มั่นในอนิมิตตเจโตสมาธิ’ ต่อมา ผมนั้นบรรลุ
อนิมิตตเจโตสมาธิเพราะไม่กำหนดนิมิตทั้งปวงอยู่ ก็บุคคลเมื่อจะพูดให้ถูก พึงพูด
ว่า ‘พระสาวกผู้ที่พระศาสดาทรงอนุเคราะห์แล้ว ถึงความเป็นผู้รู้ที่ยิ่งใหญ่’ บุคคล
เมื่อจะพูดให้ถูก พึงพูดถึงผมว่า ‘พระสาวกผู้ที่พระศาสดาทรงอนุเคราะห์แล้ว ถึง
ความเป็นผู้รู้ที่ยิ่งใหญ่”

อนิมิตตปัญหาสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. สักกสูตร
ว่าด้วยท้าวสักกะ

[๓๔๑] ครั้งนั้น ท่านพระมหาโมคคัลลานะหายตัวจากพระเชตวันไปปรากฏใน
เทวโลกชั้นดาวดึงส์ เปรียบเหมือนบุรุษแข็งแรงเหยียดแขนออกหรือคู้แขนเข้าฉะนั้น
ลำดับนั้น ท้าวสักกะจอมเทพพร้อมด้วยเทวดา ๕๐๐ องค์ ได้เสด็จเข้าไปหาท่าน
พระมหาโมคคัลลานะถึงที่อยู่ ทรงไหว้แล้ว ได้ประทับยืนอยู่ ณ ที่สมควร ท่าน
พระมหาโมคคัลลานะได้กล่าวกับท้าวสักกะจอมเทพดังนี้ว่า
“ท่านจอมเทพ การถึงพระพุทธเจ้าเป็นสรณะดีนัก เพราะการถึงพระพุทธเจ้า
เป็นสรณะเป็นเหตุ สัตว์บางพวกในโลกนี้หลังจากตายแล้วจะไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์
การถึงพระธรรมเป็นสรณะดีนัก เพราะการถึงพระธรรมเป็นสรณะเป็นเหตุ
สัตว์บางพวกในโลกนี้หลังจากตายแล้วจะไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์
การถึงพระสงฆ์เป็นสรณะดีนัก เพราะการถึงพระสงฆ์เป็นสรณะเป็นเหตุ สัตว์
บางพวกในโลกนี้หลังจากตายแล้วจะไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์”
ท้าวสักกะจอมเทพตรัสว่า “ท่านโมคคัลลานะผู้นิรทุกข์ การถึงพระพุทธเจ้า
เป็นสรณะดีนัก เพราะการถึงพระพุทธเจ้าเป็นสรณะเป็นเหตุ สัตว์บางพวกในโลกนี้
หลังจากตายแล้วจะไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๓๕๖ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๖. โมคคัลลานสังยุต] ๑๐. สักกสูตร

การถึงพระธรรมเป็นสรณะดีนัก เพราะการถึงพระธรรมเป็นสรณะเป็นเหตุ
สัตว์บางพวกในโลกนี้หลังจากตายแล้วจะไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์
การถึงพระสงฆ์เป็นสรณะดีนัก ฯลฯ จะไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์”
ลำดับนั้น ท้าวสักกะจอมเทพพร้อมด้วยเทวดา ๖๐๐ องค์ ฯลฯ พร้อมด้วย
เทวดา ๗๐๐ องค์ ฯลฯ พร้อมด้วยเทวดา ๘๐๐ องค์ ฯลฯ พร้อมด้วยเทวดา
๘๐,๐๐๐ องค์ ได้เสด็จเข้าไปหาท่านพระมหาโมคคัลลานะถึงที่อยู่ ทรงไหว้แล้ว
ประทับยืนอยู่ ณ ที่สมควร ท่านพระมหาโมคคัลลานะได้กล่าวกับท้าวสักกะจอมเทพ
ดังนี้ว่า
“ท่านจอมเทพ การถึงพระพุทธเจ้าเป็นสรณะดีนัก เพราะการถึงพระพุทธเจ้า
เป็นสรณะเป็นเหตุ สัตว์บางพวกในโลกนี้หลังจากตายแล้วจะไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์
การถึงพระธรรมเป็นสรณะดีนัก เพราะการถึงพระธรรมเป็นสรณะเป็นเหตุ
สัตว์บางพวกในโลกนี้หลังจากตายแล้วจะไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์
การถึงพระสงฆ์เป็นสรณะดีนัก เพราะการถึงพระสงฆ์เป็นสรณะเป็นเหตุ
สัตว์บางพวกในโลกนี้หลังจากตายแล้วจะไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์”
ท้าวสักกะจอมเทพตรัสว่า “ท่านโมคคัลลานะผู้นิรทุกข์ การถึงพระพุทธเจ้า
เป็นสรณะดีนัก เพราะการถึงพระพุทธเจ้าเป็นสรณะเป็นเหตุ สัตว์บางพวกในโลกนี้
หลังจากตายแล้วจะไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์
การถึงพระธรรมเป็นสรณะดีนัก ฯลฯ
การถึงพระสงฆ์เป็นสรณะดีนัก เพราะการถึงพระสงฆ์เป็นสรณะเป็นเหตุ
สัตว์บางพวกในโลกนี้หลังจากตายแล้วจะไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์”
ลำดับนั้น ท้าวสักกะจอมเทพพร้อมด้วยเทวดา ๕๐๐ องค์ ได้เสด็จเข้าไปหา
ท่านพระมหาโมคคัลลานะถึงที่อยู่ ทรงไหว้แล้ว ประทับยืนอยู่ ณ ที่สมควร
ท่านพระมหาโมคคัลลานะได้กล่าวกับท้าวสักกะจอมเทพดังนี้ว่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๓๕๗ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๖. โมคคัลลานสังยุต] ๑๐. สักกสูตร

“ท่านจอมเทพ การถึงพร้อมด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้าว่า
‘แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นเป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้ด้วยพระองค์
เองโดยชอบ เพียบพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดี รู้แจ้งโลก เป็นสารถี
ฝึกผู้ที่ควรฝึกได้อย่างยอดเยี่ยม เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็น
พระพุทธเจ้า เป็นพระผู้มีพระภาค๑’ ดีนัก เพราะการถึงพร้อมด้วยความเลื่อมใส
อันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้าเป็นเหตุ สัตว์บางพวกในโลกนี้หลังจากตายแล้วจะไป
เกิดในสุคติโลกสวรรค์
การถึงพร้อมด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรมว่า ‘พระธรรมอัน
พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ดีแล้ว ผู้ปฏิบัติจะพึงเห็นชัดด้วยตนเอง ไม่ประกอบด้วยกาล
ควรเรียกให้มาดู ควรน้อมเข้ามาในตน อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน’ ดีนัก เพราะ
การถึงพร้อมด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรมเป็นเหตุ สัตว์บางพวกใน
โลกนี้หลังจากตายแล้วจะไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๖. โมคคัลลานสังยุต] ๑๐. สักกสูตร

การถึงพร้อมด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์ว่า ‘พระสงฆ์สาวก
ของพระผู้มีพระภาคเป็นผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติตรง ปฏิบัติถูกทาง ปฏิบัติสมควร ได้แก่
อริยบุคคล ๔ คู่ คือ ๘ บุคคล๑ พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคนี้เป็นผู้ควร
แก่ของที่เขานำมาถวาย ควรแก่ของต้อนรับ ควรแก่ทักษิณา ควรแก่การทำอัญชลี
เป็นนาบุญอันยอดเยี่ยมของโลก’ ดีนัก เพราะการถึงพร้อมด้วยความเลื่อมใสอัน
ไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์เป็นเหตุ สัตว์บางพวกในโลกนี้หลังจากตายแล้วจะไปเกิดใน
สุคติโลกสวรรค์
การถึงพร้อมด้วยศีลที่พระอริยะยินดี ไม่ขาด ไม่ทะลุ ไม่ด่าง ไม่พร้อย เป็น
ไทแก่ตัว ท่านผู้รู้สรรเสริญ ไม่ถูกตัณหาและทิฏฐิครอบงำ เป็นไปเพื่อสมาธิ ดีนัก
เพราะการถึงพร้อมด้วยศีลที่พระอริยะยินดีเป็นเหตุ สัตว์บางพวกในโลกนี้หลังจาก
ตายแล้วจะไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์”
ท้าวสักกะจอมเทพตรัสว่า “ท่านโมคคัลลานะผู้นิรทุกข์ การถึงพร้อมด้วย
ความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้าว่า ‘แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาค


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๖. โมคคัลลานสังยุต] ๑๐. สักกสูตร

พระองค์นั้น ฯลฯ เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า เป็น
พระผู้มีพระภาค’ ดีนัก เพราะการถึงพร้อมด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระ
พุทธเจ้าเป็นเหตุ สัตว์บางพวกในโลกนี้หลังจากตายแล้วจะไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์
การถึงพร้อมด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรมว่า ‘พระธรรมอัน
พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ดีแล้ว ฯลฯ อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน’ ดีนัก เพราะการ
ถึงพร้อมด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรมเป็นเหตุ สัตว์บางพวกในโลก
นี้หลังจากตายแล้วจะไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์
การถึงพร้อมด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์ว่า ‘พระสงฆ์สาวก
ของพระผู้มีพระภาคเป็นผู้ปฏิบัติดี ฯลฯ เป็นนาบุญอันยอดเยี่ยมของโลก’ ดีนัก
เพราะการถึงพร้อมด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์เป็นเหตุ สัตว์บางพวก
ในโลกนี้หลังจากตายแล้วจะไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์
การถึงพร้อมด้วยศีลที่พระอริยะยินดี ไม่ขาด ฯลฯ เป็นไปเพื่อสมาธิ ดีนัก
เพราะการถึงพร้อมด้วยศีลที่พระอริยะยินดีเป็นเหตุ สัตว์บางพวกในโลกนี้หลังจาก
ตายแล้วจะไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์”
ลำดับนั้น ท้าวสักกะจอมเทพพร้อมด้วยเทวดา ๖๐๐ องค์ ฯลฯ พร้อมด้วย
เทวดา ๗๐๐ องค์ ฯลฯ พร้อมด้วยเทวดา ๘๐๐ องค์ ฯลฯ พร้อมด้วยเทวดา
๘๐,๐๐๐ องค์ ได้เสด็จเข้าไปหาท่านพระมหาโมคคัลลานะถึงที่อยู่ ทรงไหว้แล้ว
ประทับยืนอยู่ ณ ที่สมควร ท่านพระมหาโมคคัลลานะได้กล่าวกับท้าวสักกะจอมเทพ
ดังนี้ว่า
“ท่านจอมเทพ การถึงพร้อมด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้าว่า
‘แม้เพราะเหตุนี้พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ฯลฯ เป็นศาสดาของเทวดาและ
มนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระผู้มีพระภาค’ ดีนัก เพราะการถึง
พร้อมด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้าเป็นเหตุ สัตว์บางพวกในโลก
นี้หลังจากตายแล้วจะไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์
การถึงพร้อมด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรมว่า ‘พระธรรมอัน
พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ดีแล้ว ฯลฯ อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน’ ดีนัก เพราะการ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๓๖๐ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๖. โมคคัลลานสังยุต] ๑๐. สักกสูตร

ถึงพร้อมด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรมเป็นเหตุ สัตว์บางพวกในโลก
นี้หลังจากตายแล้วจะไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์
การถึงพร้อมด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์ว่า ‘พระสงฆ์สาวก
ของพระผู้มีพระภาคเป็นผู้ปฏิบัติดี ฯลฯ เป็นนาบุญอันยอดเยี่ยมของโลก’ ดีนัก
เพราะการถึงพร้อมด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์เป็นเหตุ สัตว์บางพวก
ในโลกนี้หลังจากตายแล้วจะไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์
การถึงพร้อมด้วยศีลที่พระอริยะยินดี ไม่ขาด ฯลฯ เป็นไปเพื่อสมาธิ ดีนัก
เพราะการถึงพร้อมด้วยศีลที่พระอริยะยินดีเป็นเหตุ สัตว์บางพวกในโลกนี้หลังจาก
ตายแล้วจะไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์”
ท้าวสักกะจอมเทพตรัสว่า “ท่านโมคคัลลานะผู้นิรทุกข์ การถึงพร้อมด้วย
ความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้าว่า ‘แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาค
พระองค์นั้น ฯลฯ เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า เป็น
พระผู้มีพระภาค’ ดีนัก เพราะการถึงพร้อมด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระ
พุทธเจ้าเป็นเหตุ สัตว์บางพวกในโลกนี้หลังจากตายแล้วจะไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์
การถึงพร้อมด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรมว่า ‘พระธรรมอัน
พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ดีแล้ว ฯลฯ อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน’ ดีนัก เพราะการ
ถึงพร้อมด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรมเป็นเหตุ สัตว์บางพวกในโลก
นี้หลังจากตายแล้วจะไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์
การถึงพร้อมด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์ว่า ‘พระสงฆ์สาวก
ของพระผู้มีพระภาคเป็นผู้ปฏิบัติดี ฯลฯ เป็นนาบุญอันยอดเยี่ยมของโลก’ ดีนัก
เพราะการถึงพร้อมด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์เป็นเหตุ สัตว์บาง
พวกในโลกนี้หลังจากตายแล้วจะไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์
การถึงพร้อมด้วยศีลที่พระอริยะยินดี ไม่ขาด ฯลฯ เป็นไปเพื่อสมาธิ ดีนัก
เพราะการถึงพร้อมด้วยศีลที่พระอริยะยินดีเป็นเหตุ สัตว์บางพวกในโลกนี้หลังจาก
ตายแล้วจะไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๓๖๑ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๖. โมคคัลลานสังยุต] ๑๐. สักกสูตร

ลำดับนั้น ท้าวสักกะจอมเทพพร้อมด้วยเทวดา ๕๐๐ องค์ ได้เสด็จเข้าไปหา
ท่านพระมหาโมคคัลลานะถึงที่อยู่ ฯลฯ ท่านพระมหาโมคคัลลานะได้กล่าวกับท้าว
สักกะจอมเทพดังนี้ว่า
“ท่านจอมเทพ การถึงพระพุทธเจ้าเป็นสรณะดีนัก เพราะการถึงพระพุทธเจ้า
เป็นสรณะเป็นเหตุ สัตว์บางพวกในโลกนี้หลังจากตายแล้วจะไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์
ท่านเหล่านั้นย่อมครอบงำเทวดาเหล่าอื่นด้วยฐานะ ๑๐ ประการ คือ

๑. อายุทิพย์ ๒. วรรณะทิพย์
๓. สุขทิพย์ ๔. ยศทิพย์
๕. ความเป็นใหญ่ทิพย์ ๖. รูปทิพย์
๗. เสียงทิพย์ ๘. กลิ่นทิพย์
๙. รสทิพย์ ๑๐. โผฏฐัพพะทิพย์

การถึงพระธรรมเป็นสรณะดีนัก เพราะการถึงพระธรรมเป็นสรณะเป็นเหตุ
สัตว์บางพวกในโลกนี้หลังจากตายแล้วจะไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์ ท่านเหล่านั้นย่อม
ครอบงำเทวดาเหล่าอื่นด้วยฐานะ ๑๐ ประการ คือ

๑. อายุทิพย์ ๒. วรรณะทิพย์
๓. สุขทิพย์ ๔. ยศทิพย์
๕. ความเป็นใหญ่ทิพย์ ๖. รูปทิพย์
๗. เสียงทิพย์ ๘. กลิ่นทิพย์
๙. รสทิพย์ ๑๐. โผฏฐัพพะทิพย์

การถึงพระสงฆ์เป็นสรณะดีนัก เพราะการถึงพระสงฆ์เป็นสรณะเป็นเหตุ
สัตว์บางพวกในโลกนี้หลังจากตายแล้วจะไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์ ท่านเหล่านั้นย่อม
ครอบงำเทวดาเหล่าอื่นด้วยฐานะ ๑๐ ประการ คือ

๑. อายุทิพย์ ๒. วรรณะทิพย์
๓. สุขทิพย์ ๔. ยศทิพย์
๕. ความเป็นใหญ่ทิพย์ ๖. รูปทิพย์
๗. เสียงทิพย์ ๘. กลิ่นทิพย์
๙. รสทิพย์ ๑๐. โผฏฐัพพะทิพย์”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๓๖๒ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๖. โมคคัลลานสังยุต] ๑๐. สักกสูตร

ท้าวสักกะจอมเทพตรัสว่า “ท่านโมคคัลลานะผู้นิรทุกข์ การถึงพระพุทธเจ้า
เป็นสรณะดีนัก เพราะการถึงพระพุทธเจ้าเป็นสรณะเป็นเหตุ สัตว์บางพวกในโลกนี้
หลังจากตายแล้วจะไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์ ท่านเหล่านั้นย่อมครอบงำเทวดาเหล่า
อื่นด้วยฐานะ ๑๐ ประการ คือ

๑. อายุทิพย์ ฯลฯ ๑๐. โผฏฐัพพะทิพย์

การถึงพระธรรมเป็นสรณะดีนัก ฯลฯ
การถึงพระสงฆ์เป็นสรณะดีนัก เพราะการถึงพระสงฆ์เป็นสรณะเป็นเหตุ สัตว์
บางพวกในโลกนี้หลังจากตายแล้วจะไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์ ท่านเหล่านั้นย่อม
ครอบงำเทวดาเหล่าอื่นด้วยฐานะ ๑๐ ประการ คือ

๑. อายุทิพย์ ๒. วรรณะทิพย์
๓. สุขทิพย์ ๔. ยศทิพย์
๕. ความเป็นใหญ่ทิพย์ ๖. รูปทิพย์
๗. เสียงทิพย์ ๘. กลิ่นทิพย์
๙. รสทิพย์ ๑๐. โผฏฐัพพะทิพย์”

ลำดับนั้น ท้าวสักกะจอมเทพพร้อมด้วยเทวดา ๖๐๐ องค์ ฯลฯ พร้อมด้วย
เทวดา ๗๐๐ องค์ ฯลฯ พร้อมด้วยเทวดา ๘๐๐ องค์ ฯลฯ พร้อมด้วยเทวดา
๘๐,๐๐๐ องค์ ได้เสด็จเข้าไปหาท่านพระมหาโมคคัลลานะถึงที่อยู่ ทรงไหว้แล้ว
ประทับยืนอยู่ ณ ที่สมควร ท่านพระมหาโมคคัลลานะได้กล่าวกับท้าวสักกะจอมเทพ
ดังนี้ว่า
“ท่านจอมเทพ การถึงพระพุทธเจ้าเป็นสรณะดีนัก เพราะการถึงพระพุทธเจ้า
เป็นสรณะเป็นเหตุ สัตว์บางพวกในโลกนี้หลังจากตายแล้วจะไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์
ท่านเหล่านั้นย่อมครอบงำเทวดาเหล่าอื่นด้วยฐานะ ๑๐ ประการ คือ

๑. อายุทิพย์ ฯลฯ ๑๐. โผฏฐัพพะทิพย์

การถึงพระธรรมเป็นสรณะดีนัก ฯลฯ
การถึงพระสงฆ์เป็นสรณะดีนัก เพราะการถึงพระสงฆ์เป็นสรณะเป็นเหตุ สัตว์
บางพวกในโลกนี้หลังจากตายแล้วจะไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์ ท่านเหล่านั้นย่อม
ครอบงำเทวดาเหล่าอื่นด้วยฐานะ ๑๐ ประการ คือ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๓๖๓ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๖. โมคคัลลานสังยุต] ๑๐. สักกสูตร

๑. อายุทิพย์ ๒. วรรณะทิพย์
๓. สุขทิพย์ ๔. ยศทิพย์
๕. ความเป็นใหญ่ทิพย์ ๖. รูปทิพย์
๗. เสียงทิพย์ ๘. กลิ่นทิพย์
๙. รสทิพย์ ๑๐. โผฏฐัพพะทิพย์”

ท้าวสักกะจอมเทพตรัสว่า
“ท่านโมคคัลลานะผู้นิรทุกข์ การถึงพระพุทธเจ้าเป็นสรณะดีนัก ฯลฯ
การถึงพระธรรมเป็นสรณะดีนัก ฯลฯ
การถึงพระสงฆ์เป็นสรณะดีนัก เพราะการถึงพระสงฆ์เป็นสรณะเป็นเหตุ สัตว์
บางพวกในโลกนี้หลังจากตายแล้วจะไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์ ท่านเหล่านั้นย่อม
ครอบงำเทวดาเหล่าอื่นด้วยฐานะ ๑๐ ประการ คือ

๑. อายุทิพย์ ๒. วรรณะทิพย์
๓. สุขทิพย์ ๔. ยศทิพย์
๕. ความเป็นใหญ่ทิพย์ ๖. รูปทิพย์
๗. เสียงทิพย์ ๘. กลิ่นทิพย์
๙. รสทิพย์ ๑๐. โผฏฐัพพะทิพย์”

ลำดับนั้น ท้าวสักกะจอมเทพพร้อมด้วยเทวดา ๕๐๐ องค์ ได้เสด็จเข้าไปหา
ท่านพระมหาโมคคัลลานะถึงที่อยู่ ทรงไหว้แล้ว ประทับยืนอยู่ ณ ที่สมควร
ท่านพระมหาโมคคัลลานะได้กล่าวกับท้าวสักกะจอมเทพดังนี้ว่า
“ท่านจอมเทพ การถึงพร้อมด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้าว่า
‘แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ฯลฯ เป็นศาสดาของเทวดาและ
มนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระผู้มีพระภาค’ ดีนัก เพราะการถึงพร้อม
ด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้าเป็นเหตุ สัตว์บางพวกในโลกนี้หลัง
จากตายแล้วจะไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์ ท่านเหล่านั้นย่อมครอบงำเทวดาเหล่าอื่น
ด้วยฐานะ ๑๐ ประการ คือ

๑. อายุทิพย์ ฯลฯ ๑๐. โผฏฐัพพะทิพย์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๓๖๔ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๖. โมคคัลลานสังยุต] ๑๐. สักกสูตร

การถึงพร้อมด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรมดีนัก ฯลฯ
การถึงพร้อมด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์ดีนัก ฯลฯ
การถึงพร้อมด้วยศีลที่พระอริยะยินดี ไม่ขาด ฯลฯ เป็นไปเพื่อสมาธิ ดีนัก
เพราะการถึงพร้อมด้วยศีลที่พระอริยะยินดี สัตว์บางพวกในโลกนี้หลังจากตายแล้ว
จะไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์ ท่านเหล่านั้นย่อมครอบงำเทวดาเหล่าอื่นด้วยฐานะ ๑๐
ประการ คือ

๑. อายุทิพย์ ฯลฯ ๑๐. โผฏฐัพพะทิพย์

ท้าวสักกะจอมเทพตรัสว่า “ท่านโมคคัลลานะผู้นิรทุกข์ การถึงพร้อมด้วย
ความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้าว่า ‘แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาค
พระองค์นั้น ฯลฯ เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า เป็น
พระผู้มีพระภาค’ ดีนัก เพราะการถึงพร้อมด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระ
พุทธเจ้าเป็นเหตุ สัตว์บางพวกในโลกนี้หลังจากตายแล้วจะไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์
ท่านเหล่านั้นย่อมครอบงำเทวดาเหล่าอื่นด้วยฐานะ ๑๐ ประการ คือ

๑. อายุทิพย์ ฯลฯ ๑๐. โผฏฐัพพะทิพย์

การถึงพร้อมด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรมว่า ‘พระธรรมอัน
พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ดีแล้ว ฯลฯ อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน’ ดีนัก เพราะการถึง
พร้อมด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรมเป็นเหตุ สัตว์บางพวกในโลกนี้
หลังจากตายแล้วจะไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์ ท่านเหล่านั้นย่อมครอบงำเทวดา
เหล่าอื่นด้วยฐานะ ๑๐ ประการ คือ

๑. อายุทิพย์ ฯลฯ ๑๐. โผฏฐัพพะทิพย์

การถึงพร้อมด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์ว่า ‘พระสงฆ์สาวก
ของพระผู้มีพระภาค เป็นผู้ปฏิบัติดี ฯลฯ เป็นนาบุญอันยอดเยี่ยมของโลก’ ดีนัก
เพราะการถึงพร้อมด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์เป็นเหตุ สัตว์บางพวก
ในโลกนี้หลังจากตายแล้วจะไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์ ท่านเหล่านั้นย่อมครอบงำ
เทวดาเหล่าอื่นด้วยฐานะ ๑๐ ประการ คือ

๑. อายุทิพย์ ฯลฯ ๑๐. โผฏฐัพพะทิพย์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๓๖๕ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๖. โมคคัลลานสังยุต] ๑๐. สักกสูตร

การถึงพร้อมด้วยศีลที่พระอริยะยินดี ไม่ขาด ฯลฯ เป็นไปเพื่อสมาธิ ดีนัก
เพราะการถึงพร้อมด้วยศีลที่พระอริยะยินดี สัตว์บางพวกในโลกนี้หลังจากตายแล้ว
จะไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์ ท่านเหล่านั้นย่อมครอบงำเทวดาเหล่าอื่นด้วยฐานะ ๑๐
ประการ คือ

๑. อายุทิพย์ ฯลฯ ๑๐. โผฏฐัพพะทิพย์

ลำดับนั้น ท้าวสักกะจอมเทพพร้อมด้วยเทวดา ๖๐๐ องค์ ฯลฯ พร้อมด้วย
เทวดา ๗๐๐ องค์ ฯลฯ พร้อมด้วยเทวดา ๘๐๐ องค์ ฯลฯ พร้อมด้วยเทวดา
๘๐,๐๐๐ องค์ ได้เสด็จเข้าไปหาท่านพระมหาโมคคัลลานะถึงที่อยู่ ทรงไหว้แล้ว
ประทับยืนอยู่ ณ ที่สมควร ท่านพระมหาโมคคัลลานะได้กล่าวกับท้าวสักกะจอมเทพ
ดังนี้ว่า
“ท่านจอมเทพ การถึงพร้อมด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้าว่า
‘แม้เพราะเหตุนี้พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้ด้วยพระองค์เอง
โดยชอบ เพียบพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดี รู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกผู้ที่ควร
ฝึกได้อย่างยอดเยี่ยม เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า
เป็นพระผู้มีพระภาค’ ดีนัก เพราะการถึงพร้อมด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวใน
พระพุทธเจ้าเป็นเหตุ สัตว์บางพวกในโลกนี้หลังจากตายแล้วจะไปเกิดในสุคติโลก
สวรรค์ ท่านเหล่านั้นย่อมครอบงำเทวดาเหล่าอื่นด้วยฐานะ ๑๐ ประการ คือ

๑. อายุทิพย์ ๒. วรรณะทิพย์
๓. สุขทิพย์ ๔. ยศทิพย์
๕. ความเป็นใหญ่ทิพย์ ๖. รูปทิพย์
๗. เสียงทิพย์ ๘. กลิ่นทิพย์
๙. รสทิพย์ ๑๐. โผฏฐัพพะทิพย์

การถึงพร้อมด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรมว่า ‘พระธรรมอัน
พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ดีแล้ว ผู้ปฏิบัติจะพึงเห็นชัดด้วยตนเอง ไม่ประกอบด้วยกาล
ควรเรียกให้มาดู ควรน้อมเข้ามาในตน อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน’ ดีนัก เพราะ
การถึงพร้อมด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรมเป็นเหตุ สัตว์บางพวกใน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๓๖๖ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๖. โมคคัลลานสังยุต] ๑๐. สักกสูตร

โลกนี้หลังจากตายแล้วจะไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์ ท่านเหล่านั้นย่อมครอบงำเทวดา
เหล่าอื่นด้วยฐานะ ๑๐ ประการ คือ

๑. อายุทิพย์ ฯลฯ ๑๐. โผฏฐัพพะทิพย์

การถึงพร้อมด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์ว่า ‘พระสงฆ์สาวก
ของพระผู้มีพระภาคเป็นผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติตรง ปฏิบัติถูกทาง ปฏิบัติสมควร ได้แก่
อริยบุคคล ๔ คู่ คือ ๘ บุคคล พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคนี้เป็นผู้ควรแก่
ของที่เขานำมาถวาย ควรแก่ของต้อนรับ ควรแก่ทักษิณา ควรแก่การทำอัญชลี
เป็นนาบุญอันยอดเยี่ยมของโลก’ ดีนัก เพราะการถึงพร้อมด้วยความเลื่อมใสอันไม่
หวั่นไหวในพระสงฆ์เป็นเหตุ สัตว์บางพวกในโลกนี้หลังจากตายแล้วจะไปเกิดในสุคติ
โลกสวรรค์ ท่านเหล่านั้นย่อมครอบงำเทวดาเหล่าอื่นด้วยฐานะ ๑๐ ประการ คือ

๑. อายุทิพย์ ฯลฯ ๑๐. โผฏฐัพพะทิพย์

การถึงพร้อมด้วยศีลที่พระอริยะยินดี ไม่ขาด ไม่ทะลุ ไม่ด่าง ไม่พร้อย เป็น
ไทแก่ตน ท่านผู้รู้สรรเสริญ ไม่ถูกตัณหาและทิฏฐิครอบงำ เป็นไปเพื่อสมาธิ ดีนัก
เพราะการถึงพร้อมด้วยศีลที่พระอริยะยินดีเป็นเหตุ สัตว์บางพวกในโลกนี้หลังจาก
ตายแล้วจะไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์ ท่านเหล่านั้นย่อมครอบงำเทวดาเหล่าอื่นด้วย
ฐานะ ๑๐ ประการ คือ

๑. อายุทิพย์ ๒. วรรณะทิพย์
๓. สุขทิพย์ ๔. ยศทิพย์
๕. ความเป็นใหญ่ทิพย์ ๖. รูปทิพย์
๗. เสียงทิพย์ ๘. กลิ่นทิพย์
๙. รสทิพย์ ๑๐. โผฏฐัพพะทิพย์”

ท้าวสักกะจอมเทพตรัสว่า “ท่านโมคคัลลานะผู้นิรทุกข์ การถึงพร้อมด้วย
ความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้าว่า ‘แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาค
พระองค์นั้น ฯลฯ เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า
เป็นพระผู้มีพระภาค’ ดีนัก เพราะการถึงพร้อมด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวใน
พระพุทธเจ้าเป็นเหตุ สัตว์บางพวกในโลกนี้หลังจากตายแล้วจะไปเกิดในสุคติโลก
สวรรค์ ท่านเหล่านั้นย่อมครอบงำเทวดาเหล่าอื่นด้วยฐานะ ๑๐ ประการ คือ

๑. อายุทิพย์ ฯลฯ ๑๐. โผฏฐัพพะทิพย์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๓๖๗ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๖. โมคคัลลานสังยุต] ๑๑. จันทนสูตร

การถึงพร้อมด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรมว่า ‘พระธรรมอัน
พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ดีแล้ว ฯลฯ อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน’ ดีนัก เพราะการถึง
พร้อมด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรมเป็นเหตุ สัตว์บางพวกในโลกนี้
หลังจากตายแล้วจะไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์ ท่านเหล่านั้นย่อมครอบงำเทวดาเหล่า
อื่นด้วยฐานะ ๑๐ ประการ คือ

๑. อายุทิพย์ ฯลฯ ๑๐. โผฏฐัพพะทิพย์

การถึงพร้อมด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์ว่า ‘พระสงฆ์สาวก
ของพระผู้มีพระภาคเป็นผู้ปฏิบัติดี ฯลฯ เป็นนาบุญอันยอดเยี่ยมของโลก’ ดีนัก
เพราะการถึงพร้อมด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์เป็นเหตุ สัตว์บางพวก
ในโลกนี้หลังจากตายแล้วจะไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์ ท่านเหล่านั้นย่อมครอบงำ
เทวดาเหล่าอื่นด้วยฐานะ ๑๐ ประการ คือ

๑. อายุทิพย์ ฯลฯ ๑๐. โผฏฐัพพะทิพย์

ท่านโมคคัลลานะผู้นิรทุกข์ การถึงพร้อมด้วยศีลที่พระอริยะยินดี ไม่ขาด ฯลฯ
เป็นไปเพื่อสมาธิ ดีนัก เพราะการถึงพร้อมด้วยศีลที่พระอริยะยินดีเป็นเหตุ สัตว์
บางพวกในโลกนี้หลังจากตายแล้วจะไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์ ท่านเหล่านั้นย่อม
ครอบงำเทวดาเหล่าอื่นด้วยฐานะ ๑๐ ประการ คือ

๑. อายุทิพย์ ๒. วรรณะทิพย์
๓. สุขทิพย์ ๔. ยศทิพย์
๕. ความเป็นใหญ่ทิพย์ ๖. รูปทิพย์
๗. เสียงทิพย์ ๘. กลิ่นทิพย์
๙. รสทิพย์ ๑๐. โผฏฐัพพะทิพย์”

สักกสูตรที่ ๑๐ จบ

๑๑. จันทนสูตร
ว่าด้วยจันทนเทพบุตร

[๓๔๒] ครั้งนั้น จันทนเทพบุตร ฯลฯ
ครั้งนั้น สุยามเทพบุตร ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๓๖๘ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๖. โมคคัลลานสังยุต]
รวมพระสูตรที่มีในสังยุต

ครั้งนั้น สันดุสิตเทพบุตร ฯลฯ
ครั้งนั้น สุนิมมิตเทพบุตร ฯลฯ
ครั้งนั้น วสวัตดีเทพบุตร ฯลฯ

(เปยยาลทั้ง ๕ นี้พึงให้พิสดารเหมือนสักกสูตร)

จันทนสูตรที่ ๑๑ จบ

รวมพระสูตรที่มีในสังยุตนี้ คือ

๑. ปฐมัชฌานปัญหาสูตร ๒. ทุติยัชฌานปัญหาสูตร
๓. ตติยัชฌานปัญหาสูตร ๔. จตุตถัชฌานปัญหาสูตร
๕. อากาสานัญจายตนปัญหาสูตร ๖. วิญญาณัญจายตนปัญหาสูตร
๗. อากิญจัญญายตนปัญหาสูตร ๘. เนวสัญญานาสัญญายตนปัญหาสูตร
๙. อนิมิตตปัญหาสูตร ๑๐. สักกสูตร
๑๑. จันทนสูตร

โมคคัลลานสังยุต จบบริบูรณ์


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๗. จิตตสังยุต] ๑. สัญโญชนสูตร

๗. จิตตสังยุต
๑. สัญโญชนสูตร
ว่าด้วยสังโยชน์

[๓๔๓] สมัยหนึ่ง ภิกษุผู้เป็นเถระหลายรูปอยู่ที่อัมพาฏกวัน เขตเมือง
มัจฉิกาสัณฑ์ สมัยนั้น ภิกษุผู้เป็นเถระหลายรูปกลับจากบิณฑบาต ภายหลังฉัน
ภัตตาหารเสร็จแล้ว นั่งประชุมกัน ณ ปะรำ ได้สนทนากันขึ้นว่า “ผู้มีอายุทั้งหลาย
ธรรมเหล่านี้ คือ สังโยชน์ก็ดี ธรรมที่เกื้อกูลแก่สังโยชน์ก็ดี มีอรรถต่างกัน มี
พยัญชนะต่างกัน หรือมีอรรถอย่างเดียวกัน ต่างกันแต่พยัญชนะเท่านั้น”
บรรดาภิกษุผู้เป็นเถระเหล่านั้น บางพวกตอบว่า “ผู้มีอายุทั้งหลาย ธรรม
เหล่านี้ คือ สังโยชน์ก็ดี ธรรมที่เกื้อกูลแก่สังโยชน์ก็ดี มีอรรถต่างกัน มีพยัญชนะ
ต่างกัน”
บางพวกตอบว่า “ผู้มีอายุทั้งหลาย ธรรมเหล่านี้ คือ สังโยชน์ก็ดี ธรรมที่
เกื้อกูลแก่สังโยชน์ก็ดี มีอรรถอย่างเดียวกัน ต่างกันแต่พยัญชนะเท่านั้น”
สมัยนั้น จิตตคหบดีได้ไปยังบ้านส่วยชื่อมิคปถกะด้วยกิจที่ควรทำบางอย่าง
ท่านจิตตคหบดีได้ยินข่าวว่า “ภิกษุผู้เป็นเถระหลายรูปกลับจากบิณฑบาต
ภายหลังฉันภัตตาหารเสร็จแล้ว นั่งประชุมกัน ณ ปะรำ ได้สนทนากันขึ้นว่า
‘ผู้มีอายุทั้งหลาย ธรรมเหล่านี้ คือ สังโยชน์ก็ดี ธรรมที่เกื้อกูลแก่สังโยชน์ก็ดี
มีอรรถต่างกัน มีพยัญชนะต่างกัน หรือมีอรรถอย่างเดียวกัน ต่างกันแต่พยัญชนะ
เท่านั้น’
บรรดาภิกษุผู้เป็นเถระเหล่านั้น บางพวกตอบว่า ‘ผู้มีอายุทั้งหลาย ธรรม
เหล่านี้ คือ สังโยชน์ก็ดี ธรรมที่เกื้อกูลแก่สังโยชน์ก็ดี มีอรรถต่างกัน มีพยัญชนะ
ต่างกัน’
บางพวกตอบว่า ‘ผู้มีอายุทั้งหลาย ธรรมเหล่านี้ คือ สังโยชน์ก็ดี ธรรม
ที่เกื้อกูลแก่สังโยชน์ก็ดี มีอรรถอย่างเดียวกัน ต่างกันแต่พยัญชนะเท่านั้น”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๓๗๐ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๗. จิตตสังยุต] ๑. สัญโญชนสูตร

ครั้งนั้น จิตตคหบดีเข้าไปหาภิกษุผู้เป็นเถระทั้งหลายถึงที่อยู่ ไหว้แล้ว นั่ง ณ
ที่สมควร ได้เรียนถามภิกษุผู้เป็นเถระดังนี้ว่า “ท่านผู้เจริญทั้งหลาย กระผมได้
ยินข่าวว่า ‘ภิกษุผู้เป็นเถระหลายรูปกลับจากบิณฑบาต ภายหลังฉันภัตตาหาร
เสร็จแล้ว นั่งประชุมกัน ณ ปะรำ ได้สนทนากันขึ้นว่า ‘ผู้มีอายุทั้งหลาย ธรรม
เหล่านี้ คือ สังโยชน์ก็ดี ธรรมที่เกื้อกูลแก่สังโยชน์ก็ดี มีอรรถต่างกัน มีพยัญชนะ
ต่างกัน หรือมีอรรถอย่างเดียวกัน ต่างกันแต่พยัญชนะเท่านั้น’
บางพวกตอบว่า ‘ผู้มีอายุทั้งหลาย ธรรมเหล่านี้ คือ สังโยชน์ก็ดี ธรรมที่
เกื้อกูลแก่สังโยชน์ก็ดี มีอรรถต่างกัน มีพยัญชนะต่างกัน’
บางพวกตอบว่า ‘ผู้มีอายุทั้งหลาย ธรรมเหล่านี้ คือ สังโยชน์ก็ดี ธรรมที่
เกื้อกูลแก่สังโยชน์ก็ดี มีอรรถอย่างเดียวกัน ต่างกันแต่พยัญชนะเท่านั้นหรือ”
ภิกษุผู้เป็นเถระเหล่านั้นตอบว่า “เจริญพร คหบดี”
จิตตคหบดีกล่าวว่า “ท่านผู้เจริญทั้งหลาย ธรรมเหล่านี้ คือ สังโยชน์ก็ดี
ธรรมที่เกื้อกูลแก่สังโยชน์ก็ดี มีอรรถต่างกัน มีพยัญชนะต่างกัน ท่านผู้เจริญ
ทั้งหลาย ถ้าเช่นนั้น กระผมจักยกอุปมาให้ท่านทั้งหลายฟัง เพราะวิญญูชน
บางพวกในโลกนี้ย่อมเข้าใจเนื้อความแห่งภาษิตได้แม้ด้วยอุปมา เปรียบเหมือน
โคดำกับโคขาวเขาผูกติดกันด้วยสายคร่าวหรือด้วยเชือกเส้นเดียวกัน ผู้ใดพึงกล่าว
อย่างนี้ว่า ‘โคดำเกี่ยวเนื่องกับโคขาว โคขาวเกี่ยวเนื่องกับโคดำ’ ผู้นั้นเมื่อกล่าว
พึงกล่าวถูกต้องหรือ”
“ไม่ถูกต้อง คหบดี โคดำไม่เกี่ยวเนื่องกับโคขาว แม้โคขาวก็ไม่เกี่ยวเนื่องกับ
โคดำ แต่โคทั้งสองนั้นถูกเขาผูกด้วยสายคร่าวหรือด้วยเชือกเส้นเดียวกัน สายคร่าว
หรือเชือกนั้นจึงเกี่ยวเนื่องในโคทั้งสองนั้น”
“ท่านผู้เจริญทั้งหลาย อุปมานี้ฉันใด อุปไมยก็ฉันนั้นเหมือนกัน ตาไม่เกี่ยว
ข้องกับรูป รูปก็ไม่เกี่ยวข้องกับตา แต่เพราะอาศัยตาและรูปทั้งสองนั้นฉันทราคะ
จึงเกิดขึ้น ตาและรูปนั้นจึงเกี่ยวข้องในฉันทราคะนั้น
หูไม่เกี่ยวข้องกับเสียง ...
จมูกไม่เกี่ยวข้องกับกลิ่น ...

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๓๗๑ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๗. จิตตสังยุต] ๒. ปฐมอิสิทัตตสูตร

ลิ้นไม่เกี่ยวข้องกับรส ...
กายไม่เกี่ยวข้องกับโผฏฐัพพะ โผฏฐัพพะก็ไม่เกี่ยวข้องกับกาย แต่เพราะ
อาศัยกายและโผฏฐัพพะทั้งสองนั้นฉันทราคะจึงเกิดขึ้น กายและโผฏฐัพพะนั้นจึง
เกี่ยวข้องในฉันทราคะนั้น
ใจไม่เกี่ยวข้องกับธรรมารมณ์ ธรรมารมณ์ก็ไม่เกี่ยวข้องกับใจ แต่เพราะ
อาศัยใจและธรรมารมณ์ทั้งสองนั้นฉันทราคะจึงเกิดขึ้น ใจและธรรมารมณ์นั้นจึง
เกี่ยวข้องในฉันทราคะนั้น”
“คหบดี เป็นลาภของท่าน ท่านได้ดีแล้ว ที่ปัญญาจักษุของท่านหยั่งลงใน
พระพุทธพจน์ที่ลึกซึ้ง”

สัญโญชนสูตรที่ ๑ จบ

๒. ปฐมอิสิทัตตสูตร
ว่าด้วยพระอิสิทัตตะ สูตรที่ ๑

[๓๔๔] สมัยหนึ่ง ภิกษุผู้เป็นเถระหลายรูปอยู่ที่อัมพาฏกวัน เขตเมือง
มัจฉิกาสัณฑ์ ครั้งนั้น จิตตคหบดีเข้าไปหาภิกษุผู้เป็นเถระทั้งหลายถึงที่อยู่ ไหว้แล้ว
นั่ง ณ ที่สมควร ได้กล่าวกับภิกษุผู้เป็นเถระเหล่านั้นดังนี้ว่า “ท่านผู้เจริญทั้งหลาย
ขอพระเถระทั้งหลายโปรดรับภัตตาหารของกระผมในวันพรุ่งนี้เถิด”
ภิกษุผู้เป็นเถระทั้งหลายได้รับอาราธนาโดยดุษณีภาพ ลำดับนั้น จิตตคหบดี
ทราบว่าภิกษุผู้เป็นเถระทั้งหลายรับอาราธนาแล้วจึงลุกจากที่นั่ง ไหว้แล้ว กระทำ
ประทักษิณแล้วจากไป
ครั้นคืนนั้นผ่านไป ตอนเช้าภิกษุผู้เป็นเถระทั้งหลายครองอันตรวาสก ถือบาตร
และจีวรเข้าไปยังที่อยู่ของจิตตคหบดี นั่งบนอาสนะที่ปูลาดไว้แล้ว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๓๗๒ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๗. จิตตสังยุต] ๒. ปฐมอิสิทัตตสูตร

ลำดับนั้น จิตตคหบดีเข้าไปหาภิกษุผู้เป็นเถระทั้งหลาย ไหว้แล้ว นั่ง ณ ที่
สมควร ได้เรียนถามท่านพระเถระว่า “ท่านผู้เจริญ ที่กล่าวกันว่า ‘ธาตุต่าง ๆ
ธาตุต่าง ๆ’ ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอ พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่าธาตุต่าง ๆ” เมื่อ
จิตตคหบดีถามอย่างนี้แล้ว ท่านพระเถระได้นิ่งอยู่
แม้ครั้งที่ ๒ จิตตคหบดี ก็ได้เรียนถามว่า “ท่านผู้เจริญ ที่กล่าวกันว่า ‘ธาตุ
ต่าง ๆ ธาตุต่าง ๆ’ ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอ พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่าธาตุต่าง ๆ”
แม้ครั้งที่ ๒ ท่านพระเถระก็ได้นิ่งอยู่
แม้ครั้งที่ ๓ จิตตคหบดี ก็ได้เรียนถามว่า “ท่านผู้เจริญ ที่กล่าวกันว่า ‘ธาตุ
ต่าง ๆ ธาตุต่าง ๆ’ ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอ พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่าธาตุต่าง ๆ”
แม้ครั้งที่ ๓ ท่านพระเถระก็ได้นิ่งอยู่
สมัยนั้น ท่านพระอิสิทัตตะเป็นผู้ใหม่กว่าภิกษุทุกรูปในหมู่ภิกษุนั้น ขณะนั้น
ท่านพระอิสิทัตตะได้กล่าวกับท่านพระเถระดังนี้ว่า “กระผมขอตอบปัญหาข้อนี้ของ
จิตตคหบดีเอง ขอรับ”
พระเถระกล่าวว่า “อิสิทัตตะ ท่านจงตอบปัญหาข้อนี้ของจิตตคหบดีเถิด”
ท่านพระอิสิทัตตะได้ถามว่า “คหบดี ท่านถามว่า ‘ท่านผู้เจริญ ที่กล่าวกันว่า
‘ธาตุต่าง ๆ ธาตุต่าง ๆ’ ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอ พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่าธาตุ
ต่าง ๆ’ หรือ”
“อย่างนั้น ขอรับ”
“คหบดี พระผู้มีพระภาคตรัสธาตุต่าง ๆ ไว้ดังนี้ว่า ‘จักขุธาตุ รูปธาตุ จักขุ
วิญญาณธาตุ ฯลฯ มโนธาตุ ธัมมธาตุ มโนวิญญาณธาตุ’ ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล
พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่าธาตุต่าง ๆ”
ลำดับนั้น จิตตคหบดีชื่นชมยินดีภาษิตของท่านอิสิทัตตะ ได้นำของขบฉันอัน
ประณีตประเคนภิกษุผู้เป็นเถระทั้งหลายให้อิ่มหนำด้วยตนเอง ขณะนั้นภิกษุผู้เป็น
เถระทั้งหลายฉันเสร็จแล้ววางมือจากบาตร ลุกจากอาสนะแล้วจากไป

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๓๗๓ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๗. จิตตสังยุต] ๓. ทุติยอิสิทัตตสูตร

ต่อมา ท่านพระเถระได้กล่าวกับท่านพระอิสิทัตตะดังนี้ว่า “ดีละ ท่านอิสิทัตตะ
ปัญหาข้อนี้แจ่มแจ้งแก่ท่าน ไม่แจ่มแจ้งแก่ผม ถ้าเช่นนั้น เมื่อปัญหาเช่นนี้มาถึง
แม้โดยประการอื่น ท่านพึงตอบปัญหานั้นแล”

ปฐมอิสิทัตตสูตรที่ ๒ จบ

๓. ทุติยอิสิทัตตสูตร
ว่าด้วยพระอิสิทัตตะ สูตรที่ ๒

[๓๔๕] สมัยหนึ่ง ภิกษุผู้เป็นเถระหลายรูปอยู่ที่อัมพาฏกวัน เขตเมือง
มัจฉิกาสัณฑ์ ครั้งนั้น จิตตคหบดีเข้าไปหาภิกษุผู้เป็นเถระทั้งหลายถึงที่อยู่ ไหว้
แล้ว นั่ง ณ ที่สมควร ได้อาราธนาว่า “ท่านผู้เจริญทั้งหลาย ขอพระเถระทั้ง
หลายโปรดรับภัตตาหารของกระผมในวันพรุ่งนี้เถิด”
ภิกษุผู้เป็นเถระทั้งหลายรับอาราธนาโดยดุษณีภาพ ลำดับนั้น จิตตคหบดี
ทราบว่าภิกษุผู้เป็นเถระทั้งหลายรับอาราธนาแล้วจึงลุกจากที่นั่ง ไหว้แล้ว กระทำ
ประทักษิณแล้วจากไป
ครั้นคืนนั้นผ่านไป ตอนเช้าภิกษุทั้งหลายครองอันตรวาสก ถือบาตรและจีวร
เข้าไปยังที่อยู่ของจิตตคหบดี นั่งบนอาสนะที่ปูลาดไว้แล้ว
ลำดับนั้น จิตตคหบดีเข้าไปหาภิกษุผู้เป็นเถระทั้งหลาย ไหว้แล้ว นั่ง ณ ที่
สมควร ได้เรียนถามท่านพระเถระดังนี้ว่า “ท่านผู้เจริญ ทิฏฐิหลายอย่างเกิดขึ้นใน
โลกว่า ‘โลกเที่ยง หรือโลกไม่เที่ยง โลกมีที่สุด หรือโลกไม่มีที่สุด ชีวะ๑กับสรีระ
เป็นอย่างเดียวกัน หรือชีวะกับสรีระเป็นคนละอย่างกัน หลังจากตายแล้วตถาคต๒
เกิดอีก หรือหลังจากตายแล้วตถาคตไม่เกิดอีก หลังจากตายแล้วตถาคตเกิดอีกและ
ไม่เกิดอีก หรือหลังจากตายแล้วตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่’


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๗. จิตตสังยุต] ๓. ทุติยอิสิทัตตสูตร

ทิฏฐิ ๖๒๑ อย่างนี้พระผู้มีพระภาคตรัสไว้แล้วในพรหมชาลสูตร ท่านผู้เจริญ เมื่อ
อะไรมี ทิฏฐิเหล่านี้จึงมี เมื่ออะไรไม่มี ทิฏฐิเหล่านี้จึงไม่มี” เมื่อจิตตคหบดีถาม
อย่างนี้แล้ว ท่านพระเถระได้นิ่งอยู่
แม้ครั้งที่ ๒ จิตตคหบดี ฯลฯ
แม้ครั้งที่ ๓ จิตตคหบดีก็ได้เรียนถามว่า “ท่านผู้เจริญ ทิฏฐิหลายอย่าง
เกิดขึ้นในโลกว่า ‘โลกเที่ยง หรือโลกไม่เที่ยง โลกมีที่สุด หรือโลกไม่มีที่สุด ชีวะ
กับสรีระเป็นอย่างเดียวกัน หรือชีวะกับสรีระเป็นคนละอย่างกัน หลังจากตายแล้ว
ตถาคตเกิดอีก หรือหลังจากตายแล้วตถาคตไม่เกิดอีก หลังจากตายแล้วตถาคต
เกิดอีกและไม่เกิดอีก หรือหลังจากตายแล้วตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิด
อีกก็มิใช่’ ทิฏฐิ ๖๒ อย่างนี้พระผู้มีพระภาคตรัสไว้แล้วในพรหมชาลสูตร ท่าน
ผู้เจริญ เมื่ออะไรมี ทิฏฐิเหล่านี้จึงมี เมื่ออะไรไม่มี ทิฏฐิเหล่านี้จึงไม่มี” แม้ครั้งที่ ๓
ท่านพระเถระก็ได้นิ่งอยู่
สมัยนั้น ท่านพระอิสิทัตตะเป็นผู้ใหม่กว่าภิกษุทุกรูปในหมู่ภิกษุนั้น ขณะนั้น
ท่านพระอิสิทัตตะได้กล่าวกับท่านพระเถระดังนี้ว่า “กระผมขอตอบปัญหาข้อนี้ของ
จิตตคหบดีเอง ขอรับ”
พระเถระกล่าวว่า “อิสิทัตตะ ท่านจงตอบปัญหาข้อนี้ของจิตตคหบดีเถิด”
ท่านพระอิสิทัตตะได้ถามว่า “คหบดี ท่านถามว่า ‘ท่านผู้เจริญ ทิฏฐิหลาย
อย่างเกิดขึ้นในโลกว่า ‘โลกเที่ยง หรือโลกไม่เที่ยง โลกมีที่สุด หรือโลกไม่มีที่สุด ฯลฯ
ท่านผู้เจริญ เมื่ออะไรมี ทิฏฐิเหล่านี้จึงมี เมื่ออะไรไม่มี ทิฏฐิเหล่านี้จึงไม่มี’ หรือ”
“อย่างนั้น ขอรับ”
“คหบดี ทิฏฐิหลายอย่างเกิดขึ้นในโลกว่า ‘โลกเที่ยง หรือโลกไม่เที่ยง โลก
มีที่สุด หรือโลกไม่มีที่สุด ชีวะกับสรีระเป็นอย่างเดียวกัน หรือชีวะกับสรีระเป็น


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๗. จิตตสังยุต] ๓. ทุติยอิสิทัตตสูตร

คนละอย่างกัน หลังจากตายแล้วตถาคตเกิดอีก หรือหลังจากตายแล้วตถาคต
ไม่เกิดอีก หลังจากตายแล้วตถาคตเกิดอีกและไม่เกิดอีก หรือหลังจากตายแล้ว
ตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่’ ทิฏฐิ ๖๒ อย่างนี้พระผู้มีพระภาคได้
ตรัสไว้แล้วในพรหมชาลสูตร คหบดี เมื่อสักกายทิฏฐิ (ความเห็นว่าเป็นกายของตน)
มี ทิฏฐิเหล่านี้จึงมี เมื่อสักกายทิฏฐิไม่มี ทิฏฐิเหล่านี้จึงไม่มี”
“ท่านผู้เจริญ สักกายทิฏฐิย่อมมีได้อย่างไร”
“คหบดี ปุถุชน๑ในโลกนี้ผู้ไม่ได้สดับ ไม่ได้เห็นพระอริยะ ไม่ฉลาดในธรรม
ของพระอริยะ ไม่ได้รับการแนะนำในธรรมของพระอริยะ ไม่ได้เห็นสัตบุรุษ ไม่
ฉลาดในธรรมของสัตบุรุษ ไม่ได้รับการแนะนำในธรรมของสัตบุรุษ พิจารณาเห็น
รูปโดยความเป็นอัตตา พิจารณาเห็นอัตตาว่ามีรูป พิจารณาเห็นรูปในอัตตา หรือ
พิจารณาเห็นอัตตาในรูป พิจารณาเห็นเวทนาโดยความเป็นอัตตา ฯลฯ สัญญา ...
สังขาร ... พิจารณาเห็นวิญญาณโดยความเป็นอัตตา พิจารณาเห็นอัตตาว่ามี
วิญญาณ พิจารณาเห็นวิญญาณในอัตตา หรือพิจารณาเห็นอัตตาในวิญญาณ
คหบดี สักกายทิฏฐิย่อมมีได้อย่างนี้แล”
“ท่านผู้เจริญ สักกายทิฏฐิย่อมมีไม่ได้อย่างไร”
“คหบดี อริยสาวกในศาสนานี้ผู้ได้สดับ ได้เห็นพระอริยะ ฉลาดในธรรม
ของพระอริยะ ได้รับการแนะนำในธรรมของพระอริยะ ได้เห็นสัตบุรุษ ฉลาดใน
ธรรมของสัตบุรุษ ได้รับการแนะนำในธรรมของสัตบุรุษ ไม่พิจารณาเห็นรูปโดย
ความเป็นอัตตา ไม่พิจารณาเห็นอัตตาว่ามีรูป ไม่พิจารณาเห็นรูปในอัตตา หรือไม่
พิจารณาเห็นอัตตาในรูป ไม่พิจารณาเห็นเวทนา ... สัญญา ... สังขาร ... ไม่พิจารณา
เห็นวิญญาณโดยความเป็นอัตตา ไม่พิจารณาเห็นอัตตาว่ามีวิญญาณ ไม่พิจารณา
เห็นวิญญาณในอัตตา หรือไม่พิจารณาเห็นอัตตาในวิญญาณ คหบดี สักกายทิฏฐิ
ย่อมมีไม่ได้อย่างนี้แล”


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๗. จิตตสังยุต] ๓. ทุติยอิสิทัตตสูตร

“ท่านผู้เจริญ พระคุณเจ้าอิสิทัตตะมาจากไหน”
“คหบดี อาตมภาพมาจากอวันตีชนบท”
“ท่านผู้เจริญ กุลบุตรชื่ออิสิทัตตะในอวันตีชนบท ซึ่งเป็นสหายที่ไม่เคยเห็น
ของกระผม ออกบรรพชามีอยู่ พระคุณเจ้าเคยเห็นท่านหรือไม่”
“เจริญพร คหบดี”
“ท่านผู้เจริญ เดี๋ยวนี้ท่านอยู่ที่ไหน”
เมื่อจิตตคหบดีถามอย่างนี้แล้ว ท่านพระอิสิทัตตะได้นิ่งอยู่
“ท่านผู้เจริญ ท่านพระอิสิทัตตะของกระผมคือพระคุณเจ้าหรือ”
“เจริญพร คหบดี”
“ท่านผู้เจริญ ขอพระคุณเจ้าอิสิทัตตะจงยินดีอัมพาฏกวันอันน่ารื่นรมย์ เขต
เมืองมัจฉิกาสัณฑ์เถิด กระผมจักบำรุงพระคุณเจ้าด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ
และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร”
“โยมพูดดี”
ลำดับนั้น จิตตคหบดีชื่นชมยินดีภาษิตของท่านอิสิทัตตะแล้ว ได้นำของขบฉัน
อันประณีตประเคนภิกษุผู้เป็นเถระทั้งหลายให้อิ่มหนำด้วยตนเอง ขณะนั้นภิกษุผู้
เป็นเถระทั้งหลายฉันเสร็จแล้ววางมือจากบาตร ลุกจากอาสนะแล้วจากไป
ต่อมา ท่านพระเถระได้กล่าวกับท่านพระอิสิทัตตะดังนี้ว่า “ดีละ ท่านอิสิทัตตะ
ปัญหาข้อนี้แจ่มแจ้งแก่ท่าน ไม่แจ่มแจ้งแก่ผม ถ้าเช่นนั้น เมื่อปัญหาเช่นนี้มาถึง
แม้โดยประการอื่น ท่านพึงตอบปัญหานั้นแล”
ลำดับนั้น ท่านพระอิสิทัตตะเก็บงำเสนาสนะแล้ว ถือบาตรและจีวรจากไป
จากเมืองมัจฉิกาสัณฑ์ ได้จากไปแล้วอย่างที่ท่านจะไป ไม่กลับมาอีก

ทุติยอิสิทัตตสูตรที่ ๓ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๗. จิตตสังยุต] ๔. มหกปาฏิหาริยสูตร

๔. มหกปาฏิหาริยสูตร
ว่าด้วยพระมหกะแสดงปาฏิหาริย์

[๓๔๖] สมัยหนึ่ง ภิกษุผู้เป็นเถระหลายรูปอยู่ที่อัมพาฏกวัน เขตเมือง
มัจฉิกาสัณฑ์ ครั้งนั้น จิตตคหบดีเข้าไปหาภิกษุผู้เป็นเถระทั้งหลายถึงที่อยู่ ไหว้แล้ว
นั่ง ณ ที่สมควร ได้อาราธนาว่า “ท่านผู้เจริญทั้งหลาย ขอพระเถระทั้งหลาย
โปรดรับภัตตาหารที่โรงวัวของกระผมในวันพรุ่งนี้เถิด”
ภิกษุผู้เป็นเถระทั้งหลายได้รับอาราธนาโดยดุษณีภาพ ลำดับนั้น จิตตคหบดี
ทราบว่าภิกษุผู้เป็นเถระทั้งหลายรับอาราธนาแล้วจึงลุกจากที่นั่ง ไหว้แล้ว กระทำ
ประทักษิณแล้วจากไป
ครั้นคืนนั้นผ่านไป ตอนเช้าภิกษุผู้เป็นเถระทั้งหลายครองอันตรวาสก ถือบาตร
และจีวรเข้าไปยังที่อยู่ของจิตตคหบดี นั่งบนอาสนะที่ปูลาดไว้แล้ว
ลำดับนั้น จิตตคหบดีได้นำข้าวปายาสปรุงด้วยเนยใสอย่างประณีตประเคน
ภิกษุผู้เป็นเถระทั้งหลายให้อิ่มหนำด้วยตนเอง ขณะนั้นภิกษุผู้เป็นเถระทั้งหลายฉัน
เสร็จแล้ววางมือจากบาตร ลุกจากอาสนะแล้วจากไป
ฝ่ายจิตตคหบดีได้กล่าวว่า “พวกท่านจงทิ้งเศษอาหารที่เหลือ” แล้วเดินตาม
หลังภิกษุผู้เป็นเถระทั้งหลายไป เวลานั้นร้อนจัด ภิกษุผู้เป็นเถระทั้งหลายมีกาย
คล้ายกับกะปลกกะเปลี้ยเดินไป ทั้งที่ฉันอาหารแล้ว
สมัยนั้น ท่านพระมหกะเป็นผู้ใหม่กว่าภิกษุทุกรูปในหมู่ภิกษุนั้น ขณะนั้น
ท่านได้เรียนกับท่านพระเถระดังนี้ว่า “ท่านผู้เจริญ ดีทีเดียว ถ้าลมเย็นจะพึงพัด
โชยมา มีเสียงฟ้าร้อง และฝนโปรยลงมาทีละหยาด”
พระเถระกล่าวว่า “ท่านพระมหกะ ดีทีเดียว ถ้าลมเย็นจะพึงพัดโชยมา มี
เสียงฟ้าร้อง และฝนโปรยลงมาทีละหยาด”
ลำดับนั้น ท่านพระมหกะได้บันดาลฤทธิ์ให้ลมเย็นพัดโชยมา มีเสียงฟ้าร้อง
และฝนโปรยลงมาทีละหยาด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๓๗๘ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๗. จิตตสังยุต] ๔. มหกปาฏิหาริยสูตร

ลำดับนั้น จิตตคหบดีได้คิดว่า “ภิกษุผู้ใหม่กว่าภิกษุทุกรูปในหมู่ภิกษุนี้เป็นผู้
มีฤทธานุภาพเห็นปานนี้ทีเดียว”
ขณะนั้นท่านพระมหกะไปถึงอารามแล้วได้กล่าวกับท่านพระเถระว่า “ท่านพระ
เถระผู้เจริญ การบันดาลฤทธิ์เพียงเท่านี้พอหรือยัง”
ท่านพระเถระกล่าวว่า “ท่านมหกะ พอแล้ว ท่านทำได้แล้ว บูชาแล้ว”
ต่อมาภิกษุผู้เป็นเถระทั้งหลายได้ไปสู่ที่อยู่ตามเดิม แม้ท่านพระมหกะก็ไปสู่ที่
อยู่ของตน
ลำดับนั้น จิตตคหบดีเข้าไปหาท่านพระมหกะถึงที่อยู่ ไหว้แล้ว นั่ง ณ ที่
สมควร ได้ขอร้องว่า “ท่านผู้เจริญ ขอโอกาส ขอพระคุณเจ้ามหกะได้โปรดแสดง
อิทธิปาฏิหาริย์ที่เป็นธรรมอันยิ่งกว่าธรรมของมนุษย์แก่กระผมเถิด”
ท่านพระมหกะกล่าวว่า “คหบดี ถ้าเช่นนั้น ท่านจงปูผ้าห่มที่ระเบียงแล้ว
เกลี่ยฟ่อนหญ้าไว้”
จิตตคหบดีรับคำของท่านพระมหกะแล้วปูผ้าห่มที่ระเบียงเกลี่ยฟ่อนหญ้าไว้
ขณะนั้นท่านพระมหกะเข้าไปสู่วิหารลั่นดาลแล้ว ได้บันดาลฤทธิ์ให้เปลวไฟออกทาง
ช่องลูกดาลและระหว่างกลอนประตู ให้ไหม้หญ้า แต่ไม่ให้ไหม้ผ้าห่ม จิตตคหบดี
ตกใจสลัดผ้าห่ม ได้ยืนขนลุกอยู่ที่ส่วนข้างหนึ่ง
ท่านพระมหกะออกจากที่อยู่แล้วได้ถามจิตตคหบดีดังนี้ว่า “จิตตคหบดี การ
บันดาลฤทธิ์เพียงเท่านี้พอหรือยัง”
จิตตคหบดีกล่าวว่า “ท่านมหกะ พอแล้ว ท่านทำได้แล้ว บูชาแล้ว ขอพระ
คุณเจ้ามหกะจงยินดีอัมพาฏกวันอันน่ารื่นรมย์ เขตเมืองมัจฉิกาสัณฑ์เถิด กระผม
จักบำรุงพระคุณเจ้าด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร”
“โยมพูดดี”
ต่อมา ท่านพระมหกะเก็บงำเสนาสนะแล้ว ถือบาตรและจีวรจากไปจาก
เมืองมัจฉิกาสัณฑ์ ได้จากไปแล้วอย่างที่ท่านจะไป ไม่กลับมาอีก

มหกปาฏิหาริยสูตรที่ ๔ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๗. จิตตสังยุต] ๕. ปฐมกามภูสูตร

๕. ปฐมกามภูสูตร
ว่าด้วยพระกามภู สูตรที่ ๑

[๓๔๗] สมัยหนึ่ง ท่านพระกามภูอยู่ที่อัมพาฏกวัน เขตเมืองมัจฉิกาสัณฑ์
ครั้งนั้น จิตตคหบดีเข้าไปหาท่านพระกามภูถึงที่อยู่ ไหว้แล้ว นั่ง ณ ที่สมควร
ท่านพระกามภูได้กล่าวว่า
“จิตตคหบดี พระผู้มีพระภาคได้ตรัสไว้ดังนี้ว่า
‘เธอจงดูรถซึ่งมีส่วนประกอบอันไม่มีโทษ
มีหลังคาขาว มีเพลาเดียว ไม่มีทุกข์
แล่นไปถึงที่หมาย ตัดกระแส ไม่มีเครื่องผูก’
ท่านจะพึงเห็นเนื้อความแห่งธรรมที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงอย่างย่อนี้โดย
พิสดารได้อย่างไร”
“ท่านผู้เจริญ ธรรมนี้พระผู้มีพระภาคทรงแสดงไว้หรือ”
“เจริญพร คหบดี”
“ท่านผู้เจริญ ถ้าเช่นนั้น ขอท่านโปรดรอสักครู่ จนกว่ากระผมจักพิจารณา
เนื้อความแห่งธรรมนั้นได้”
ลำดับนั้น จิตตคหบดีนิ่งอยู่ครู่หนึ่ง แล้วได้ตอบท่านพระกามภูดังนี้ว่า
“ท่านผู้เจริญ คำว่า ส่วนประกอบอันไม่มีโทษ เป็นชื่อของศีล
คำว่า หลังคาขาว เป็นชื่อของวิมุตติ
คำว่า เพลาเดียว เป็นชื่อของสติ
คำว่า แล่นไป เป็นชื่อของการก้าวไปและการถอยกลับ
คำว่า รถ เป็นชื่อของกายนี้ซึ่งประกอบขึ้นจากมหาภูตรูป ๔ เกิดจากมารดาบิดา
เจริญวัยเพราะข้าวสุกและขนมกุมมาส ไม่เที่ยงแท้ ต้องอบต้องนวดเฟ้น มีอันแตก
กระจัดกระจายไปเป็นธรรมดา ท่านผู้เจริญ ราคะเป็นทุกข์ โทสะเป็นทุกข์ โมหะ
เป็นทุกข์ ทุกข์เหล่านั้นภิกษุขีณาสพละได้แล้ว ตัดรากถอนโคนเหมือนต้นตาลที่ถูก
ตัดรากถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ เพราะฉะนั้น
ภิกษุขีณาสพพระผู้มีพระภาคจึงตรัสเรียกว่า ผู้ไม่มีทุกข์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๓๘๐ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๗. จิตตสังยุต] ๖. ทุติยกามภูสูตร

คำว่า แล่นไปถึงที่หมาย นั้นเป็นชื่อของพระอรหันต์
คำว่า กระแส เป็นชื่อของตัณหา ตัณหานั้นภิกษุขีณาสพละได้แล้ว ตัดราก
ถอนโคนเหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี
เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ เพราะฉะนั้น ภิกษุขีณาสพพระผู้มีพระภาคจึงตรัสเรียกว่า ผู้ตัด
กระแส ราคะเป็นเครื่องผูก โทสะเป็นเครื่องผูก โมหะเป็นเครื่องผูก เครื่องผูก
เหล่านั้นภิกษุขีณาสพละได้แล้ว ตัดรากถอนโคนเหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคน
ไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ เพราะฉะนั้น ภิกษุขีณาสพ
พระผู้มีพระภาคจึงตรัสเรียกว่า ผู้ไม่มีเครื่องผูก
ท่านผู้เจริญ เพราะเหตุนี้พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสไว้ดังนี้ว่า
‘เธอจงดูรถซึ่งมีส่วนประกอบอันไม่มีโทษ
มีหลังคาขาว มีเพลาเดียว ไม่มีทุกข์
แล่นไปถึงที่หมาย ตัดกระแส ไม่มีเครื่องผูก’
กระผมรู้ทั่วถึงเนื้อความแห่งธรรมที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงอย่างย่อนี้โดย
พิสดารอย่างนี้แล”
“คหบดี เป็นลาภของท่าน ท่านได้ดีแล้ว ที่ปัญญาจักษุของท่านหยั่งลงใน
พระพุทธพจน์ที่ลึกซึ้งนี้”

ปฐมกามภูสูตรที่ ๕ จบ

๖. ทุติยกามภูสูตร
ว่าด้วยพระกามภู สูตรที่ ๒

[๓๔๘] สมัยหนึ่ง ท่านพระกามภูอยู่ที่อัมพาฏกวัน เขตเมืองมัจฉิกาสัณฑ์
ครั้งนั้น จิตตคหบดีเข้าไปหาท่านพระกามภูถึงที่อยู่ ไหว้แล้ว นั่ง ณ ที่สมควร
ได้เรียนถามท่านพระกามภูดังนี้ว่า “ท่านผู้เจริญ สังขารมีเท่าไร”
ท่านพระกามภูตอบว่า “คหบดี สังขารมี ๓ ประการ คือ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๓๘๑ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๗. จิตตสังยุต] ๖. ทุติยกามภูสูตร

๑. กายสังขาร๑ ๒. วจีสังขาร๒
๓. จิตตสังขาร๓”
จิตตคหบดีกล่าวว่า “ดีละ ท่านผู้เจริญ” ชื่นชมยินดีภาษิตของท่านพระกามภู
แล้วได้ถามปัญหายิ่งขึ้นไปว่า
“ท่านผู้เจริญ กายสังขารเป็นอย่างไร วจีสังขารเป็นอย่างไร และจิตตสังขาร
เป็นอย่างไร”
“คหบดี ลมหายใจเข้าและลมหายใจออกชื่อว่ากายสังขาร
วิตกวิจารชื่อว่าวจีสังขาร
สัญญาและเวทนาชื่อว่าจิตตสังขาร”
จิตตคหบดีกล่าวว่า “ดีละ ท่านผู้เจริญ” ฯลฯ แล้วได้ถามปัญหายิ่งขึ้นไปอีกว่า
“ท่านผู้เจริญ เพราะเหตุไร ลมหายใจเข้าและลมหายใจออกจึงชื่อว่ากายสังขาร
เพราะเหตุไร วิตกวิจารจึงชื่อว่าวจีสังขาร
เพราะเหตุไร สัญญาและเวทนาจึงชื่อว่าจิตตสังขาร”
“คหบดี ลมหายใจเข้าและลมหายใจออกเป็นไปในกาย ธรรมเหล่านี้เกี่ยวเนื่อง
ด้วยกาย เพราะฉะนั้น ลมหายใจเข้าและลมหายใจออกจึงชื่อว่ากายสังขาร”
“คหบดี บุคคลตรึกตรองก่อนแล้วจึงเปล่งวาจาภายหลัง เพราะฉะนั้น วิตก
วิจารจึงชื่อว่าวจีสังขาร


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๗. จิตตสังยุต] ๖. ทุติยกามภูสูตร

สัญญาและเวทนาเป็นไปทางจิต ธรรมเหล่านี้เกี่ยวเนื่องด้วยจิต เพราะฉะนั้น
สัญญาและเวทนาจึงชื่อว่าจิตตสังขาร”
“ดีละ ท่านผู้เจริญ” ฯลฯ แล้วได้ถามปัญหายิ่งขึ้นไปอีกว่า “ท่านผู้เจริญ
ก็สัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติมีได้อย่างไร”
“คหบดี ภิกษุผู้กำลังเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติย่อมไม่คิดว่า ‘เราจักเข้า
สัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ หรือเรากำลังเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ หรือเรา
เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติแล้ว’ ที่แท้จิตที่นำบุคคลเข้าไปเพื่อความเป็นอย่างนั้น
เธอได้อบรมไว้ในกาลก่อนแล้ว”
จิตตคหบดีกล่าวว่า “ดีละ ท่านผู้เจริญ” ฯลฯ แล้วได้ถามปัญหายิ่งขึ้นไปอีกว่า
“ท่านผู้เจริญ ก็เมื่อภิกษุเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ ธรรมเหล่าไหนดับก่อน
กายสังขาร วจีสังขาร หรือจิตตสังขาร”
“คหบดี เมื่อภิกษุเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ วจีสังขารดับก่อน ต่อจาก
นั้น กายสังขาร จิตตสังขารจึงดับ”
“ดีละ ท่านผู้เจริญ” ฯลฯ แล้วได้ถามปัญหายิ่งขึ้นไปอีกว่า “ท่านผู้เจริญ
คนที่ตายแล้วกับภิกษุผู้เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ ทั้งสองนี้ต่างกันอย่างไร”
“คหบดี คนที่ตายแล้ว กายสังขารก็ดับระงับไป วจีสังขารก็ดับระงับไป
จิตตสังขารของเขาก็ดับระงับไป อายุสิ้นไป ไออุ่นหมดไป อินทรีย์แตกสลายไป
แม้ภิกษุผู้เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ กายสังขารก็ดับระงับไป วจีสังขารก็
ดับระงับไป จิตตสังขารก็ดับระงับไป (แต่)อายุไม่สิ้นไป ไออุ่นยังไม่หมด อินทรีย์
ก็ผ่องใส คหบดี คนที่ตายแล้วกับภิกษุผู้เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ ทั้งสองนั้น
ต่างกันอย่างนี้”
“ดีละ ท่านผู้เจริญ” ฯลฯ แล้วได้ถามปัญหายิ่งขึ้นไปอีกว่า “ท่านผู้เจริญ
ก็การออกจากสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ มีได้อย่างไร”
“ภิกษุผู้กำลังออกจากสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติย่อมไม่คิดว่า ‘เราจักออกจาก
สัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ หรือเรากำลังออกจากสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ หรือ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๓๘๓ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๗. จิตตสังยุต] ๗. โคทัตตสูตร

เราออกจากสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติแล้ว’ ที่แท้จิตที่นำบุคคลเข้าไปเพื่อความเป็น
อย่างนั้น เธอได้อบรมไว้ในกาลก่อนแล้ว”
จิตตคหบดีกล่าวว่า “ดีละ ท่านผู้เจริญ” ฯลฯ แล้วได้ถามปัญหายิ่งขึ้นไป
อีกว่า “ท่านผู้เจริญ ก็เมื่อภิกษุออกจากสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ ธรรมเหล่าไหน
เกิดขึ้นก่อน กายสังขาร วจีสังขาร หรือจิตตสังขาร”
“คหบดี เมื่อภิกษุออกจากสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ จิตตสังขารเกิดขึ้นก่อน
ต่อจากนั้น กายสังขาร วจีสังขารจึงเกิดขึ้น”
“ดีละ ท่านผู้เจริญ” ฯลฯ แล้วได้ถามปัญหายิ่งขึ้นไปอีกว่า “ท่านผู้เจริญ
ผัสสะเท่าไรย่อมถูกต้องภิกษุผู้ออกจากสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ”
“คหบดี ผัสสะ ๓ คือ (๑) สุญญผัสสะ (๒) อนิมิตตผัสสะ (๓) อัปปณิหิตผัสสะ
ย่อมถูกต้องภิกษุผู้ออกจากสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ”
“ดีละ ท่านผู้เจริญ” ฯลฯ แล้วได้ถามปัญหายิ่งขึ้นไปอีกว่า “ท่านผู้เจริญ
ภิกษุผู้ออกจากสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ จิตน้อมไป โน้มไป โอนไปสู่อะไร”
“คหบดี ภิกษุผู้ออกจากสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติแล้ว จิตย่อมน้อมไป โน้ม
ไป โอนไปสู่วิเวก๑”
จิตตคหบดีกล่าวว่า “ดีละ ท่านผู้เจริญ” แล้วได้ชื่นชมยินดีภาษิตของท่าน
พระกามภู แล้วได้ถามปัญหายิ่งขึ้นไปอีกว่า
“ท่านผู้เจริญ ธรรมเหล่าไหนมีอุปการะมากแก่สัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ”
“คหบดี ปัญหาที่ควรจะถามก่อนท่านถามช้าไป แต่เอาเถิด อาตมภาพ
จักตอบแก่ท่าน ธรรม ๒ ประการ คือ (๑) สมถะ (๒) วิปัสสนา มีอุปการะมาก
แก่สัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ”

ทุติยกามภูสูตรที่ ๖ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๗. จิตตสังยุต] ๗. โคทัตตสูตร

๗. โคทัตตสูตร
ว่าด้วยพระโคทัตตะ

[๓๔๙] สมัยหนึ่ง ท่านพระโคทัตตะอยู่ที่อัมพาฏกวัน เขตเมืองมัจฉิกาสัณฑ์
ครั้งนั้น จิตตคหบดีเข้าไปหาท่านพระโคทัตตะถึงที่อยู่ ไหว้แล้วนั่ง ณ ที่สมควร
ได้ถามจิตตคหบดีดังนี้ว่า “คหบดี ธรรมเหล่านี้ คือ (๑) อัปปมาณาเจโตวิมุตติ
(๒) อากิญจัญญาเจโตวิมุตติ๑ (๓) สุญญตาเจโตวิมุตติ (๔) อนิมิตตาเจโตวิมุตติ๒
มีอรรถต่างกัน มีพยัญชนะต่างกัน หรือมีอรรถอย่างเดียวกัน ต่างกันแต่พยัญชนะ
เท่านั้น”
จิตตคหบดีตอบว่า “ท่านผู้เจริญ เพราะอาศัยเหตุใด ธรรมเหล่านี้จึงมีอรรถ
ต่างกันและมีพยัญชนะต่างกัน เหตุนั้นมีอยู่ อนึ่ง เพราะอาศัยเหตุใด ธรรมเหล่านี้
จึงมีอรรถอย่างเดียวกัน ต่างกันแต่พยัญชนะเท่านั้น เหตุนั้นมีอยู่
ท่านผู้เจริญ เพราะอาศัยเหตุใด ธรรมเหล่านี้จึงมีอรรถต่างกันและมีพยัญชนะ
ต่างกัน เหตุนั้นเป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้มีเมตตาจิตแผ่ไปตลอดทิศที่ ๑ ... ทิศที่ ๒ ... ทิศ
ที่ ๓ ... ทิศที่ ๔ ... ทิศเบื้องบน๓ ทิศเบื้องล่าง๔ ทิศเฉียง แผ่ไปตลอดโลกทั่ว
ทุกหมู่เหล่า ในที่ทุกสถาน ด้วยเมตตาจิตอันไพบูลย์ เป็นมหัคคตะ ไม่มีขอบเขต
ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนอยู่
มีกรุณาจิต ฯลฯ
มีมุทิตาจิต ฯลฯ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๗. จิตตสังยุต] ๗. โคทัตตสูตร

มีอุเบกขาจิต แผ่ไปตลอดทิศที่ ๑ ... ทิศที่ ๒ ... ทิศที่ ๓ ... ทิศที่ ๔ ...
ทิศเบื้องบน ทิศเบื้องล่าง ทิศเฉียง แผ่ไปตลอดโลกทั่วทุกหมู่เหล่า ในที่ทุกสถาน
ด้วยเมตตาจิตอันไพบูลย์ เป็นมหัคคตะ ไม่มีขอบเขต ไม่มีเวร ไม่มีความ
เบียดเบียนอยู่
นี้เรียกว่า อัปปมาณาเจโตวิมุตติ
อากิญจัญญาเจโตวิมุตติ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ล่วงวิญญาณัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุ
อากิญจัญญายตนฌานโดยกำหนดว่า ‘ไม่มีอะไร’ อยู่
นี้เรียกว่า อากิญจัญญาเจโตวิมุตติ
สุญญตาเจโตวิมุตติ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ไปสู่ป่าบ้าง ไปสู่โคนไม้บ้าง ไปสู่เรือนว่างบ้าง ย่อม
พิจารณาเห็นวิมุตติว่า ‘สิ่งนี้ว่างจากอัตตา หรือสิ่งที่เนื่องด้วยอัตตา’
นี้เรียกว่า สุญญตาเจโตวิมุตติ
อนิมิตตาเจโตวิมุตติ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้บรรลุอนิมิตตเจโตสมาธิเพราะไม่กำหนดนิมิตทั้งปวงอยู่
นี้เรียกว่า อนิมิตตาเจโตวิมุตติ
ท่านผู้เจริญ เพราะอาศัยเหตุใด ธรรมเหล่านี้จึงมีอรรถต่างกันและมี
พยัญชนะต่างกัน เหตุนั้นเป็นอย่างนี้แล
ท่านผู้เจริญ เพราะอาศัยเหตุใด ธรรมเหล่านี้จึงมีอรรถอย่างเดียวกัน ต่างกัน
แต่พยัญชนะเท่านั้น
คือ ราคะชื่อว่ากิเลสเป็นเครื่องวัด โทสะชื่อว่ากิเลสเป็นเครื่องวัด โมหะชื่อว่า
กิเลสเป็นเครื่องวัด กิเลสเหล่านั้นภิกษุขีณาสพละได้แล้ว ตัดรากถอนโคนเหมือน
ต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้
อัปปมาณาเจโตวิมุตติมีประมาณเท่าไร เจโตวิมุตติอันไม่กำเริบบัณฑิตกล่าว
ว่า เลิศกว่าอัปปมาณาเจโตวิมุตติเหล่านั้น เจโตวิมุตติอันไม่กำเริบนั้นว่างจากราคะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๓๘๖ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๗. จิตตสังยุต] ๘. นิคัณฐนาฏปุตตสูตร

ว่างจากโทสะ ว่างจากโมหะ ราคะชื่อว่ากิเลสเป็นเครื่องกังวล โทสะชื่อว่ากิเลส
เป็นเครื่องกังวล โมหะชื่อว่ากิเลสเป็นเครื่องกังวล กิเลสเหล่านั้นภิกษุขีณาสพละได้
แล้ว ตัดรากถอนโคนเหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่
ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้
อากิญจัญญาเจโตวิมุตติมีประมาณเท่าไร เจโตวิมุตติอันไม่กำเริบบัณฑิตกล่าว
ว่า เลิศกว่าอากิญจัญญาเจโตวิมุตติเหล่านั้น เจโตวิมุตติอันไม่กำเริบนั้นว่างจาก
ราคะ ว่างจากโทสะ ว่างจากโมหะ ราคะชื่อว่ากิเลสเป็นเครื่องกระทำนิมิต โทสะ
ชื่อว่ากิเลสเป็นเครื่องกระทำนิมิต โมหะชื่อว่ากิเลสเป็นเครื่องกระทำนิมิต กิเลส
เหล่านั้นภิกษุขีณาสพละได้แล้ว ตัดรากถอนโคนเหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอน
โคนไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้
อนิมิตตาเจโตวิมุตติมีประมาณเท่าไร เจโตวิมุตติอันไม่กำเริบบัณฑิตกล่าวว่า
เลิศกว่าอนิมิตตาเจโตวิมุตติเหล่านั้น เจโตวิมุตติอันไม่กำเริบนั้นว่างจากราคะ ว่าง
จากโทสะ ว่างจากโมหะ ฯลฯ ท่านผู้เจริญ เพราะอาศัยเหตุใด ธรรมเหล่านี้จึง
มีอรรถอย่างเดียวกัน ต่างกันแต่พยัญชนะ เหตุนั้นเป็นอย่างนี้แล”
ท่านพระโคทัตตะกล่าวว่า “คหบดี เป็นลาภของท่าน ท่านได้ดีแล้วที่
ปัญญาจักษุของท่านหยั่งลงในพระพุทธพจน์ที่ลึกซึ้ง”

โคทัตตสูตรที่ ๗ จบ

๘. นิคัณฐนาฏปุตตสูตร
ว่าด้วยนิครนถ์ นาฏบุตร

[๓๕๐] สมัยนั้น นิครนถ์ นาฏบุตรไปถึงเมืองมัจฉิกาสัณฑ์ พร้อมด้วย
นิครนถบริษัทจำนวนมาก จิตตคหบดีได้ยินข่าวว่า “นิครนถ์ นาฏบุตรมาถึงเมือง
มัจฉิกาสัณฑ์ พร้อมด้วยนิครนถบริษัทหลายคน”
ครั้งนั้น จิตตคหบดีพร้อมด้วยอุบาสกหลายคนเข้าไปหานิครนถ์ นาฏบุตร
ถึงที่อยู่ แล้วได้สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้ว นั่ง ณ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๓๘๗ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๗. จิตตสังยุต] ๙. อเจลกัสสปสูตร

ที่สมควร นิครนถ์ นาฏบุตรได้ถามจิตตคหบดีดังนี้ว่า “คหบดี ท่านเชื่อหรือว่า
พระสมณโคดมมีสมาธิที่ไม่มีวิตกวิจาร มีความดับวิตกวิจาร”
จิตตคหบดีตอบว่า “ท่านผู้เจริญ ผมไม่เชื่อพระผู้มีพระภาคในข้อนี้ว่า ‘มี
สมาธิที่ไม่มีวิตกวิจาร มีความดับวิตกวิจาร”
เมื่อจิตตคหบดีกล่าวอย่างนี้แล้ว นิครนถ์ นาฏบุตรแลดูบริษัทของตนแล้วได้
กล่าวว่า “ขอท่านผู้เจริญทั้งหลายจงพิจารณาเรื่องนี้ตราบที่จิตตคหบดีนี้ยังเป็นคน
ตรง ไม่โอ้อวด ไม่มีมารยา เขาเข้าใจวิตกวิจารว่าดับได้ ก็เข้าใจว่าใช้ข่ายปิดกั้น
ลมได้ หรือเขาเข้าใจวิตกวิจารว่าดับได้ ก็เข้าใจกระแสแม่น้ำคงคาว่าใช้กำมือของ
ตนปิดกั้นได้”
จิตตคหบดีกล่าวว่า “ท่านผู้เจริญ ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร ญาณ
หรือศรัทธา อย่างไหนประณีตกว่ากัน”
“คหบดี ญาณนั่นแลประณีตกว่าศรัทธา”
“ท่านผู้เจริญ ผมสงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน
ที่มีวิตก วิจาร ปีติ และสุขอันเกิดจากวิเวกอยู่ตราบเท่าที่ต้องการ เพราะวิตก
วิจารสงบระงับไป ฯลฯ ผมบรรลุทุติยฌานตราบเท่าที่ต้องการ เพราะปีติจาง
คลายไป ฯลฯ ผมบรรลุตติยฌานตราบเท่าที่ต้องการ เพราะละสุขได้ ฯลฯ ผม
บรรลุจตุตถฌานตราบเท่าที่ต้องการ
ท่านผู้เจริญ เมื่อรู้เห็นอย่างนี้ ผมจักไม่เชื่อใครอื่นไม่ว่าสมณะหรือพราหมณ์ว่า
‘มีสมาธิที่ไม่มีวิตกไม่มีวิจาร มีความดับวิตกวิจาร”
เมื่อจิตตคหบดีกล่าวอย่างนี้แล้ว นิครนถ์ นาฏบุตรแลดูบริษัทของตนแล้ว
ได้กล่าวดังนี้ว่า “ขอท่านผู้เจริญทั้งหลายจงพิจารณาความข้อนี้ตราบที่จิตตคหบดีนี้
เป็นคนไม่ตรง โอ้อวด มีมารยา”
จิตตคหบดีกล่าวว่า “ท่านผู้เจริญ ผมทราบคำที่ท่านกล่าวเดี๋ยวนี้เองว่า
‘ขอท่านผู้เจริญทั้งหลายจงพิจารณาเรื่องนี้ตราบที่จิตตคหบดีนี้ยังเป็นคนตรง ไม่โอ้อวด
ไม่มีมารยา และผมก็ทราบคำที่ท่านกล่าวเดี๋ยวนี้เองว่า ‘ขอท่านผู้เจริญทั้งหลาย
จงพิจารณาเรื่องนี้ตราบที่จิตตคหบดีนี้เป็นคนไม่ตรง โอ้อวด มีมารยา’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๓๘๘ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๗. จิตตสังยุต] ๙. อเจลกัสสปสูตร

ท่านผู้เจริญ ถ้าคำพูดครั้งแรกของท่านถูก คำพูดครั้งหลังของท่านก็ผิด แต่
ถ้าคำพูดครั้งหลังของท่านถูก คำพูดครั้งแรกของท่านก็ผิด ปัญหาที่ประกอบด้วย
เหตุ ๑๐ ข้อนี้มาถึงท่าน เมื่อท่านทราบเนื้อความของปัญหาเหล่านั้น ก็พึงบอก
ผมกับนิครนถบริษัท
ปัญหา ๑๐ ข้อ นี้คือ

๑. ปัญหา ๑ อุทเทส ๑ เวยยากรณ์ ๑
๒. ปัญหา ๒ อุทเทส ๒ เวยยากรณ์ ๒
๓. ปัญหา ๓ อุทเทส ๓ เวยยากรณ์ ๓
๔. ปัญหา ๔ อุทเทส ๔ เวยยากรณ์ ๔
๕. ปัญหา ๕ อุทเทส ๕ เวยยากรณ์ ๕
๖. ปัญหา ๖ อุทเทส ๖ เวยยากรณ์ ๖
๗. ปัญหา ๗ อุทเทส ๗ เวยยากรณ์ ๗
๘. ปัญหา ๘ อุทเทส ๘ เวยยากรณ์ ๘
๙. ปัญหา ๙ อุทเทส ๙ เวยยากรณ์ ๙
๑๐. ปัญหา ๑๐ อุทเทส ๑๐ เวยยากรณ์ ๑๐”

ครั้นจิตตคหบดีถามปัญหาที่ประกอบด้วยเหตุ ๑๐ ข้อนี้กับนิครนถ์ นาฏบุตร
แล้วก็ลุกขึ้นจากอาสนะแล้วจากไป

นิคัณฐนาฏปุตตสูตรที่ ๘ จบ

๙. อเจลกัสสปสูตร
ว่าด้วยอเจลกัสสปะ

[๓๕๑] สมัยนั้น อเจลกัสสปะผู้เคยเป็นสหายเก่าเมื่อครั้งเป็นคฤหัสถ์ของ
จิตตคหบดีไปถึงเมืองมัจฉิกาสัณฑ์ จิตตคหบดีได้ยินข่าวว่า “อเจลกัสสปะผู้เคย
เป็นสหายเก่าเมื่อครั้งเป็นคฤหัสถ์ของเรา ได้มาถึงเมืองมัจฉิกาสัณฑ์” จึงเข้าไปหา
อเจลกัสสปะถึงที่อยู่ ได้สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกัน
แล้ว นั่ง ณ ที่สมควร ได้ถามดังนี้ว่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๓๘๙ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๗. จิตตสังยุต] ๑๐. คิลานทัสสนสูตร

“กัสสปะผู้เจริญ ท่านบวชนานเท่าไร”
อเจลกัสสปะตอบว่า “ท่านคหบดี เราบวชได้ประมาณ ๓๐ ปีแล้ว”
“ผู้เจริญ ตลอดเวลาประมาณ ๓๐ ปีนี้ญาณทัสสนะที่ประเสริฐอันสามารถ๑ อัน
วิเศษยิ่งกว่าธรรมของมนุษย์๒ เป็นธรรมเครื่องอยู่ผาสุกที่ท่านบรรลุแล้วมีอยู่หรือ”
“คหบดี ตลอดเวลาประมาณ ๓๐ ปีนี้ญาณทัสสนะที่ประเสริฐอันสามารถ
อันวิเศษยิ่งกว่าธรรมของมนุษย์ เป็นธรรมเครื่องอยู่ผาสุกที่เราบรรลุแล้วย่อมไม่มี
นอกจากความเป็นคนเปลือย ความเป็นคนโล้น และการสลัดฝุ่นธุลีด้วยขนหาง
นกยูง”
เมื่ออเจลกัสสปะกล่าวอย่างนี้แล้ว จิตตคหบดีได้กล่าวว่า “ท่านผู้เจริญ น่า
อัศจรรย์จริง ไม่เคยปรากฏ ที่ธรรมอันพระผู้มีพระภาคตรัสไว้ดีแล้ว เพราะในการ
บวชตลอดเวลาประมาณ ๓๐ ปี ญาณทัสสนะที่ประเสริฐอันสามารถอันวิเศษยิ่งกว่า
ธรรมของมนุษย์ เป็นธรรมเครื่องอยู่ผาสุก ที่ท่านบรรลุแล้วจักไม่มี นอกจาก
ความเป็นคนเปลือย ความเป็นคนโล้น และการสลัดฝุ่นธุลีด้วยขนหางนกยูง”
“คหบดี ท่านเข้าถึงความเป็นอุบาสกนานเท่าไรแล้ว”
“ท่านผู้เจริญ ผมเข้าถึงความเป็นอุบาสกได้ประมาณ ๓๐ ปีแล้ว”
“คหบดี ตลอดเวลาประมาณ ๓๐ ปีนี้ญาณทัสสนะที่ประเสริฐอันสามารถอัน
วิเศษยิ่งกว่าธรรมของมนุษย์ เป็นธรรมเครื่องอยู่ผาสุกที่ท่านบรรลุแล้วมีอยู่หรือ”
“ท่านผู้เจริญ แม้แต่คฤหัสถ์ก็พึงมีธรรมเช่นนั้นได้ เพราะผมสงัดจากกามและ
อกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌานที่มีวิตก วิจาร ปีติ และสุขอันเกิดจากวิเวก
อยู่ตราบเท่าที่ต้องการ เพราะวิตกวิจารสงบระงับไป ผมบรรลุทุติยฌานตราบเท่า
ที่ต้องการ เพราะปีติจางคลายไป ฯลฯ ผมบรรลุตติยฌานตราบเท่าที่ต้องการ
เพราะละสุขได้ ฯลฯ ผมบรรลุจตุตถฌานตราบเท่าที่ต้องการ ถ้าผมพึงพยากรณ์
ก่อนพระผู้มีพระภาค ไม่น่าอัศจรรย์เลย ที่พระผู้มีพระภาคทรงพยากรณ์ผมว่า
‘จิตตคหบดีประกอบด้วยสังโยชน์ใดพึงกลับมายังโลกนี้อีก สังโยชน์นั้นไม่มี ๋


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๗. จิตตสังยุต] ๑๐. คิลานทัสสนสูตร

เมื่อจิตตคหบดีกล่าวอย่างนี้แล้ว อเจลกัสสปะได้กล่าวกับจิตตคหบดีดังนี้ว่า
“ท่านผู้เจริญ น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคยปรากฏ ที่ธรรมอันพระผู้มีพระภาคตรัสไว้ดีแล้ว
เพราะในการเข้าถึงความเป็นอุบาสก คฤหัสถ์ผู้นุ่งขาวห่มขาวจักบรรลุญาณทัสสนะ
ที่ประเสริฐอันสามารถอันวิเศษยิ่งกว่าธรรมของมนุษย์ เป็นธรรมเครื่องอยู่ผาสุกได้
คหบดี เราพึงได้บรรพชาอุปสมบทในพระธรรมวินัยนี้”
ต่อมา จิตตคหบดีได้พาอเจลกัสสปะเข้าไปหาภิกษุผู้เป็นเถระทั้งหลายถึงที่
อยู่แล้ว ได้เรียนถามภิกษุผู้เป็นเถระทั้งหลายดังนี้ว่า “ท่านผู้เจริญทั้งหลาย
อเจลกัสสปะนี้เคยเป็นสหายเก่าเมื่อครั้งเป็นคฤหัสถ์ของกระผม ขอพระเถระ
ทั้งหลายโปรดบรรพชาอุปสมบทให้อเจลกัสสปะนี้เถิด กระผมจักบำรุงเธอด้วยจีวร
บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร”
อเจลกัสสปะได้บรรพชาอุปสมบทในพระธรรมวินัยนี้แล้ว และท่านพระกัสสปะ
บวชแล้วไม่นาน ก็หลีกออกไปอยู่คนเดียว ไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศกาย
และใจอยู่ ไม่นานนักได้ทำให้แจ้งซึ่งประโยชน์ยอดเยี่ยมอันเป็นที่สุดแห่งพรหมจรรย์
ที่เหล่ากุลบุตรออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบต้องการด้วยปัญญาอันยิ่งเอง
เข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน รู้ชัดว่า “ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำ
เสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป”
อนึ่ง ท่านพระกัสสปะได้เป็นพระอรหันต์องค์หนึ่งในบรรดาพระอรหันต์ทั้งหลาย

อเจลกัสสปสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. คิลานทัสสนสูตร
ว่าด้วยการเยี่ยมผู้ป่วย

[๓๕๒] สมัยนั้น จิตตคหบดีเจ็บป่วยได้รับทุกข์ เป็นไข้หนัก ครั้งนั้น
เทวดาผู้สิงสถิตอยู่ในอาราม เทวดาผู้สิงสถิตอยู่ในป่า เทวดาผู้สิงสถิตอยู่ที่ต้นไม้
เทวดาผู้สิงสถิตอยู่ที่ต้นหญ้าเป็นโอสถและที่ต้นไม้เจ้าป่าจำนวนมากมาประชุมพร้อม
กันแล้ว ได้กล่าวกับจิตตคหบดีดังนี้ว่า
“คหบดี ท่านจงตั้งความปรารถนาว่า ‘ขอเราพึงเป็นพระเจ้าจักรพรรดิใน
อนาคตกาลเถิด”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๓๙๑ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๗. จิตตสังยุต] ๑๐. คิลานทัสสนสูตร

เมื่อพวกเทวดากล่าวอย่างนี้แล้ว จิตตคหบดีจึงกล่าวกับเทวดาเหล่านั้นดังนี้ว่า
“แม้ความปรารถนาเป็นพระเจ้าจักรพรรดินั้นก็ไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืน บุคคลจำต้องละไป”
เมื่อจิตตคหบดีกล่าวอย่างนี้แล้ว พวกมิตร อำมาตย์ ญาติ สาโลหิตของ
จิตตคหบดีได้กล่าวดังนี้ว่า “ข้าแต่บุตรนาย ท่านจงตั้งสติไว้ อย่าเพ้อไป”
“ข้าพเจ้าพูดอะไรไป ที่ทำให้พวกท่านเตือนข้าพเจ้าว่า ‘ข้าแต่บุตรนาย ท่าน
จงตั้งสติไว้ อย่าเพ้อไป”
“ข้าแต่บุตรนาย ท่านพูดว่า ‘แม้ความปรารถนาเป็นพระเจ้าจักรพรรดินั้นก็
ไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืน บุคคลจำต้องละไป”
“ก็จริงอย่างนั้น พวกเทวดาผู้สิงสถิตอยู่ในอาราม เทวดาผู้สิงสถิตอยู่ในป่า
เทวดาผู้สิงสถิตอยู่ที่ต้นไม้ เทวดาผู้สิงสถิตอยู่ที่ต้นหญ้าเป็นโอสถและที่ต้นไม้เจ้าป่า
กล่าวกับข้าพเจ้าว่า ‘คหบดี ท่านจงตั้งความปรารถนาว่า ‘ขอเราพึงเป็นพระเจ้า
จักรพรรดิในอนาคตกาลเถิด’ ข้าพเจ้าได้กล่าวกับเทวดาเหล่านั้นว่า ‘แม้ความ
ปรารถนาเป็นพระเจ้าจักรพรรดินั้นก็ไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืน บุคคลจำต้องละไป”
“ข้าแต่บุตรนาย เทวดาเหล่านั้นเห็นอำนาจประโยชน์อะไรจึงกล่าวว่า ‘คหบดี
ท่านจงตั้งความปรารถนาว่า ‘ขอเราพึงเป็นพระเจ้าจักรพรรดิในอนาคตกาลเถิด”
“เทวดาเหล่านั้นคิดว่า ‘จิตตคหบดีนี้มีศีล มีธรรมอันงาม ถ้าเธอจักตั้งความ
ปรารถนาว่า ‘ขอเราพึงเป็นพระเจ้าจักรพรรดิในอนาคตกาล’ การตั้งความปรารถนา
ในใจของเธอผู้มีศีลนี้จักสำเร็จได้เพราะศีลบริสุทธิ์ บุคคลผู้ตั้งอยู่ในธรรมจักตาม
เพิ่มให้กำลัง(แก่)ผู้ประพฤติธรรม เทวดาเหล่านี้เมื่อเห็นอำนาจประโยชน์จึงกล่าวว่า
‘คหบดี ท่านจงตั้งความปรารถนาว่า ‘ขอเราพึงเป็นพระเจ้าจักรพรรดิในอนาคต-
กาลเถิด’ ข้าพเจ้าได้กล่าวกับเทวดาเหล่านั้นว่า ‘แม้ความปรารถนาเป็นพระเจ้า
จักรพรรดินั้นก็ไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืน บุคคลจำต้องละไป”
“ข้าแต่บุตรนาย ถ้าเช่นนั้น ขอท่านจงกล่าวสอนพวกข้าพเจ้าบ้าง”
“เพราะฉะนั้นแล พวกท่านพึงศึกษาอย่างนี้ว่า
‘พวกเราจักถึงพร้อมด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้าว่า ‘แม้
เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นเป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้ด้วยพระองค์เอง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๓๙๒ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๗. จิตตสังยุต] รวมพระสูตรที่มีในสังยุต

โดยชอบ เพียบพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดี รู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกผู้ที่
ควรฝึกได้อย่างยอดเยี่ยม เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า
เป็นพระผู้มีพระภาค’
จักถึงพร้อมด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรมว่า ‘พระธรรมอัน
พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ดีแล้ว ผู้ปฏิบัติจะพึงเห็นชัดด้วยตนเอง ไม่ประกอบด้วยกาล
ควรเรียกให้มาดู ควรน้อมเข้ามาในตน อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน’
จักถึงพร้อมด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์ว่า ‘พระสงฆ์สาวกของ
พระผู้มีพระภาคเป็นผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติตรง ปฏิบัติถูกทาง ปฏิบัติสมควร ได้แก่
อริยบุคคล ๔ คู่ คือ ๘ บุคคล พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคนี้เป็นผู้ควรแก่
ของที่เขานำมาถวาย ควรแก่ของต้อนรับ ควรแก่ทักษิณา ควรแก่การทำอัญชลี
เป็นนาบุญอันยอดเยี่ยมของโลก’
อนึ่ง ไทยธรรมทุกอย่างในตระกูล จักเป็นของไม่แบ่งแยกกับท่านผู้มีศีล๑ มี
ธรรมอันงาม พวกท่านพึงศึกษาอย่างนี้”
จิตตคหบดีครั้นชักชวนมิตร อำมาตย์ ญาติ สาโลหิตให้เลื่อมใสในพระพุทธเจ้า
พระธรรม พระสงฆ์ และในการบริจาคทานแล้วก็ตาย

คิลานทัสสนสูตรที่ ๑๐ จบ

รวมพระสูตรที่มีในสังยุตนี้ คือ

๑. สัญโญชนสูตร ๒. ปฐมอิสิทัตตสูตร
๓. ทุติยอิสิทัตตสูตร ๔. มหกปาฏิหาริยสูตร
๕. ปฐมกามภูสูตร ๖. ทุติยกามภูสูตร
๗. โคทัตตสูตร ๘. นิคัณฐนาฏปุตตสูตร
๙. อเจลกัสสปสูตร ๑๐. คิลานทัสสนสูตร

จิตตสังยุต จบบริบูรณ์


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๘. คามณิสังยุต] ๑. จัณฑสูตร

๘. คามณิสังยุต
๑. จัณฑสูตร
ว่าด้วยผู้ใหญ่บ้านชื่อจัณฑะ

[๓๕๓] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ครั้งนั้น ผู้ใหญ่บ้านชื่อจัณฑะ (ดุร้าย) เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
ถวายอภิวาทแล้ว นั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่
พระองค์ผู้เจริญ อะไรหนอเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้คนบางคนในโลกนี้ถึงความนับว่า
‘เป็นคนดุร้าย เป็นคนดุร้าย’ อนึ่ง อะไรเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้คนบางคนในโลกนี้
ถึงความนับว่า ‘เป็นคนสงบเสงี่ยม เป็นคนสงบเสงี่ยม”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ผู้ใหญ่บ้าน คนบางคนในโลกนี้ยังละราคะไม่ได้
เพราะละราคะไม่ได้ คนอื่นจึงยั่วให้โกรธได้ เมื่อคนอื่นยั่วให้โกรธ ย่อมแสดงความ
โกรธให้ปรากฏ เขาจึงถึงความนับว่า ‘เป็นคนดุร้าย’
ละโทสะไม่ได้ เพราะละโทสะไม่ได้ คนอื่นจึงยั่วให้โกรธได้ เมื่อคนอื่นยั่วให้โกรธ
ย่อมแสดงความโกรธให้ปรากฏ เขาจึงถึงความนับว่า ‘เป็นคนดุร้าย’
ละโมหะไม่ได้ เพราะละโมหะไม่ได้ คนอื่นจึงยั่วให้โกรธได้ เมื่อคนอื่นยั่วให้โกรธ
ย่อมแสดงความโกรธให้ปรากฏ เขาจึงถึงความนับว่า ‘เป็นคนดุร้าย’
ผู้ใหญ่บ้าน นี้แลเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้คนบางคนในโลกนี้ถึงความนับว่า
‘เป็นคนดุร้าย เป็นคนดุร้าย’
ผู้ใหญ่บ้าน อนึ่ง คนบางคนในโลกนี้ละราคะได้แล้ว เพราะละราคะได้ คนอื่น
จึงยั่วให้โกรธไม่ได้ เมื่อคนอื่นยั่วให้โกรธ ย่อมไม่แสดงความโกรธให้ปรากฏ เขา
จึงถึงความนับว่า ‘เป็นคนสงบเสงี่ยม’
ละโทสะได้แล้ว เพราะละโทสะได้ คนอื่นจึงยั่วให้โกรธไม่ได้ เมื่อคนอื่นยั่วให้
โกรธ ย่อมไม่แสดงความโกรธให้ปรากฏ เขาจึงถึงความนับว่า ‘เป็นคนสงบเสงี่ยม’
ละโมหะได้แล้ว เพราะละโมหะได้ คนอื่นจึงยั่วให้โกรธไม่ได้ เมื่อคนอื่นยั่วให้
โกรธ ย่อมไม่แสดงความโกรธให้ปรากฏ เขาจึงถึงความนับว่า ‘เป็นคนสงบเสงี่ยม’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๓๙๔ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๘. คามณิสังยุต] ๒. ตาลปุตตสูตร

ผู้ใหญ่บ้าน นี้แลเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้คนบางคนในโลกนี้ถึงความนับว่า ‘เป็น
คนสงบเสงี่ยม เป็นคนสงบเสงี่ยม”
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ผู้ใหญ่บ้านชื่อจัณฑะได้กราบทูลว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระภาษิตของพระองค์ชัดเจนไพเราะยิ่งนัก ข้าแต่
พระองค์ผู้เจริญ พระภาษิตของพระองค์ชัดเจนไพเราะยิ่งนัก พระองค์ทรงประกาศ
ธรรมแจ่มแจ้งโดยประการต่าง ๆ เปรียบเหมือนบุคคลหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด
บอกทางแก่ผู้หลงทาง หรือตามประทีปในที่มืดด้วยตั้งใจว่า ‘คนมีตาดีจักเห็นรูปได้’
ข้าพระองค์นี้ขอถึงพระผู้มีพระภาค พร้อมทั้งพระธรรมและพระสงฆ์เป็นสรณะ
ขอพระผู้มีพระภาคจงทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะ ตั้งแต่วันนี้เป็นต้น
ไปจนตลอดชีวิต”

จัณฑสูตรที่ ๑ จบ

๒. ตาลปุตตสูตร
ว่าด้วยผู้ใหญ่บ้านชื่อตาลบุตร

[๓๕๔] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเวฬุวัน สถานที่ให้
เหยื่อกระแต เขตกรุงราชคฤห์ ครั้งนั้น ผู้ใหญ่บ้านนักฟ้อนรำชื่อตาลบุตรเข้าไป
เฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถาม
พระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ได้ยินคำของพวกนัก
ฟ้อนรำ ผู้เคยเป็นอาจารย์และปาจารย์ก่อน ๆ กล่าวว่า ‘นักฟ้อนรำคนใดทำให้
ประชาชนหัวเราะรื่นเริงด้วยคำจริงบ้าง เท็จบ้าง กลางโรงละคร กลางงานมหรสพ
นักฟ้อนรำคนนั้นหลังจากตายแล้วจะเข้าถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับเหล่าเทวดาชื่อปหาสะ’
ในข้อนี้พระผู้มีพระภาคตรัสอย่างไร”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “อย่าเลย ผู้ใหญ่บ้าน จงพักปัญหาข้อนี้ไว้
อย่าถามเราเลย”
แม้ครั้งที่ ๒ ผู้ใหญ่บ้านนักฟ้อนรำชื่อตาลบุตรได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้
ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ได้ยินคำของพวกนักฟ้อนรำผู้เคยเป็น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๓๙๕ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๘. คามณิสังยุต] ๒. ตาลปุตตสูตร

อาจารย์และปาจารย์ก่อน ๆ กล่าวว่า ‘นักฟ้อนรำคนใดทำให้ประชาชนหัวเราะรื่นเริง
ด้วยคำจริงบ้าง เท็จบ้าง กลางโรงละคร กลางงานมหรสพ นักฟ้อนรำคนนั้น
หลังจากตายแล้วจะเข้าถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับเหล่าเทวดาชื่อปหาสะ’ ในข้อนี้พระ
ผู้มีพระภาคตรัสอย่างไร”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “อย่าเลย ผู้ใหญ่บ้าน จงพักปัญหาข้อนี้ไว้
อย่าถามเราเลย”
แม้ครั้งที่ ๓ ผู้ใหญ่บ้านนักฟ้อนรำชื่อตาลบุตรได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้
ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ได้ยินคำของพวกนักฟ้อนรำผู้เคยเป็น
อาจารย์และปาจารย์ก่อน ๆ กล่าวว่า ‘นักฟ้อนรำคนใดทำให้ประชาชนหัวเราะรื่นเริง
ด้วยคำจริงบ้าง เท็จบ้าง กลางโรงละคร กลางงานมหรสพ นักฟ้อนรำคนนั้น
หลังจากตายแล้วจะเข้าถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับเหล่าเทวดาชื่อปหาสะ’ ในข้อนี้พระ
ผู้มีพระภาคตรัสอย่างไร”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ผู้ใหญ่บ้าน เราได้ห้ามท่านแล้วว่า ‘อย่าเลย
จงพักปัญหาข้อนี้ไว้ อย่าถามเราเลย’ แต่เอาเถิด เราจักตอบแก่ท่าน เมื่อก่อน
สัตว์ทั้งหลายไม่ปราศจากราคะ ถูกเครื่องผูกคือราคะผูกไว้ นักฟ้อนรำย่อมรวบรวม
ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัดเข้าไปกลางโรงละคร กลางงานมหรสพแก่สัตว์เหล่า
นั้นโดยประมาณยิ่ง
เมื่อก่อนสัตว์ทั้งหลายไม่ปราศจากโทสะ ถูกเครื่องผูกคือโทสะผูกไว้ นักฟ้อนรำ
ย่อมรวบรวมธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความโกรธเข้าไป กลางโรงละคร กลางงานมหรสพ
แก่สัตว์เหล่านั้นโดยประมาณยิ่ง
เมื่อก่อนสัตว์ทั้งหลายไม่ปราศจากโมหะ ถูกเครื่องผูกคือโมหะผูกไว้ นักฟ้อน
รำย่อมรวบรวมธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความหลงเข้าไปกลางโรงละคร กลางงานมหรสพ
แก่สัตว์เหล่านั้นโดยประมาณยิ่ง
นักฟ้อนรำนั้นตนเองก็มัวเมาประมาททั้งทำให้ผู้อื่นมัวเมาประมาทด้วย หลัง
จากตายแล้วจะไปเกิดในนรกชื่อปหาสะ แต่ถ้าเขามีความเห็นว่า ‘นักฟ้อนรำคนใด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๓๙๖ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๘. คามณิสังยุต] ๒. ตาลปุตตสูตร

ทำให้ประชาชนหัวเราะรื่นเริงด้วยคำจริงบ้าง เท็จบ้าง กลางโรงละคร กลางงาน
มหรสพ นักฟ้อนรำคนนั้นหลังจากตายแล้วจะเข้าถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับเหล่า
เทวดาชื่อปหาสะ ความเห็นของเขาเป็นมิจฉาทิฏฐิ (ความเห็นผิด) และผู้เป็นมิจฉา-
ทิฏฐิ เรากล่าวว่ามีคติอย่าง ๑ ใน ๒ อย่าง คือ นรกหรือกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน”
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ผู้ใหญ่บ้านนักฟ้อนรำชื่อตาลบุตรได้
ร้องไห้ น้ำตาไหลพราก พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ผู้ใหญ่บ้าน เราได้ห้ามท่าน
แล้วว่า ‘อย่าเลย จงพักปัญหาข้อนี้ไว้ อย่าถามเราเลย”
ผู้ใหญ่บ้านนักฟ้อนรำกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์มิได้
ร้องไห้เพราะพระองค์ตรัสอย่างนั้นกับข้าพระองค์ แต่ข้าพระองค์ถูกพวกนักฟ้อนรำผู้
เป็นอาจารย์และปาจารย์ก่อน ๆ หลอกลวงให้หลงมานานว่า ‘นักฟ้อนรำคนใด
ทำให้ประชาชนหัวเราะรื่นเริงด้วยคำจริงบ้าง เท็จบ้าง กลางโรงละคร กลางงาน
มหรสพ นักฟ้อนรำคนนั้นหลังจากตายแล้วจะเข้าถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับเหล่า
เทวดาชื่อปหาสะ
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระภาษิตของพระองค์ชัดเจนไพเราะยิ่งนัก ข้าแต่พระ
องค์ผู้เจริญ พระภาษิตของพระองค์ชัดเจนไพเราะยิ่งนัก พระองค์ทรงประกาศ
ธรรมแจ่มแจ้งโดยประการต่าง ๆ เปรียบเหมือนบุคคลหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด
บอกทางแก่ผู้หลงทาง หรือตามประทีปในที่มืดด้วยตั้งใจว่า ‘คนมีตาดีจักเห็นรูปได้’
ข้าพระองค์นี้ขอถึงพระผู้มีพระภาค พร้อมทั้งพระธรรมและพระสงฆ์เป็นสรณะ
ข้าพระองค์พึงได้บรรพชาอุปสมบทในสำนักของพระผู้มีพระภาค”
ผู้ใหญ่บ้านนักฟ้อนรำชื่อตาลบุตรได้บรรพชาอุปสมบทในสำนักของพระผู้มี-
พระภาค และท่านพระตาลบุตรอุปสมบทได้ไม่นาน ก็หลีกออกไปอยู่คนเดียว
ไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่ ฯลฯ อนึ่ง ท่านพระตาลบุตรได้
เป็นพระอรหันต์องค์หนึ่งในบรรดาพระอรหันต์ทั้งหลาย

ตาลปุตตสูตรที่ ๒ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๘. คามณิสังยุต] ๓. โยธาชีวสูตร

๓. โยธาชีวสูตร
ว่าด้วยผู้ใหญ่บ้านชื่อโยธาชีวะ

[๓๕๕] ครั้งนั้น ผู้ใหญ่บ้านชื่อโยธาชีวะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
ฯลฯ ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ได้ยิน
คำของพวกนักรบอาชีพผู้เคยเป็นอาจารย์และปาจารย์ก่อน ๆ กล่าวว่า ‘นักรบ
อาชีพคนใดอุตส่าห์พยายามในการสงคราม นักรบพวกอื่นสังหารนักรบอาชีพผู้
อุตส่าห์พยายามนั้นให้ถึงความตาย เขาหลังจากตายแล้วจะเข้าถึงความเป็นผู้อยู่
ร่วมกับเหล่าเทวดาชื่อสรชิต’ ในข้อนี้พระผู้มีพระภาคตรัสอย่างไร”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “อย่าเลย ผู้ใหญ่บ้าน จงพักปัญหาข้อนี้ไว้
อย่าถามเราเลย”
แม้ครั้งที่ ๒ ฯลฯ
แม้ครั้งที่ ๓ ผู้ใหญ่บ้านชื่อโยธาชีวะได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่
พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ได้ยินคำของพวกนักรบอาชีพผู้เป็นอาจารย์และปาจารย์
ก่อน ๆ กล่าวว่า ‘นักรบอาชีพคนใดอุตส่าห์พยายามในการสงคราม นักรบพวกอื่น
สังหารนักรบอาชีพผู้อุตส่าห์พยายามนั้นให้ถึงความตาย เขาหลังจากตายแล้วจะเข้า
ถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับเหล่าเทวดาชื่อสรชิต’ ในข้อนี้พระผู้มีพระภาคตรัสอย่างไร”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ผู้ใหญ่บ้าน เราได้ห้ามท่านแล้วว่า ‘อย่าเลย
จงพักปัญหาข้อนี้ไว้ อย่าถามเราเลย’ แต่เอาเถิด เราจักตอบแก่ท่าน นักรบอาชีพ
คนใดอุตส่าห์พยายามในการสงคราม จิตถูกเขายึด ทำไว้ผิด ตั้งไว้ไม่ดีในเบื้องต้นว่า
‘สัตว์เหล่านี้จงถูกฆ่า จงถูกแทง จงขาดสูญ จงพินาศ หรืออย่าได้มี’ นักรบพวก
อื่นสังหารนักรบอาชีพผู้อุตส่าห์พยายามนั้นให้ถึงความตาย เขาหลังจากตายแล้วจะ
ไปเกิดในนรกชื่อสรชิต ก็ถ้าเขามีความเห็นอย่างนี้ว่า ‘นักรบอาชีพคนใดอุตส่าห์
พยายามในการสงคราม นักรบพวกอื่นสังหารนักรบอาชีพผู้อุตส่าห์พยายามนั้นให้
ถึงความตาย เขาหลังจากตายแล้วจะเข้าถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับเหล่าเทวดาชื่อ
สรชิต’ ความเห็นของเขาเป็นมิจฉาทิฏฐิ และผู้เป็นมิจฉาทิฏฐิเรากล่าวว่ามีคติอย่าง
๑ ใน ๒ อย่าง คือ นรกหรือกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๓๙๘ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๘. คามณิสังยุต] ๕. อัสสาโรหสูตร

เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ผู้ใหญ่บ้านชื่อโยธาชีวะได้ร้องไห้ น้ำตา
ไหลพราก พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ผู้ใหญ่บ้าน เราได้ห้ามท่านแล้วว่า ‘อย่าเลย
ท่านจงพักปัญหาข้อนี้ไว้ อย่าถามเราเลย ๋
ผู้ใหญ่บ้านกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์มิได้ร้องไห้เพราะ
พระองค์ตรัสอย่างนั้นกับข้าพระองค์ แต่ข้าพระองค์ถูกพวกนักรบอาชีพผู้เป็น
อาจารย์และปาจารย์ก่อน ๆ หลอกลวงให้หลงมานานว่า ‘นักรบอาชีพคนใด
อุตส่าห์พยายามในการสงคราม นักรบพวกอื่นสังหารเขาผู้อุตส่าห์พยายามนั้นให้
ถึงความตาย เขาหลังจากตายแล้วจะเข้าถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับเหล่าเทวดาชื่อ
สรชิต ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระภาษิตของพระองค์ชัดเจนไพเราะยิ่งนัก ฯลฯ
ขอพระผู้มีพระภาคจงทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะ ตั้งแต่วันนี้เป็นต้น
ไปจนตลอดชีวิต”

โยธาชีวสูตรที่ ๓ จบ

๔. หัตถาโรหสูตร
ว่าด้วยผู้ใหญ่บ้านชื่อหัตถาโรหะ

[๓๕๖] ครั้งนั้น ผู้ใหญ่บ้านชื่อหัตถาโรหะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่
ประทับ ฯลฯ ขอพระผู้มีพระภาคจงทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะ
ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปจนตลอดชีวิต”

หัตถาโรหสูตรที่ ๔ จบ

๕. อัสสาโรหสูตร
ว่าด้วยผู้ใหญ่บ้านชื่ออัสสาโรหะ

[๓๕๗] ครั้งนั้น ผู้ใหญ่บ้านชื่ออัสสาโรหะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่
ประทับ นั่ง ณ ที่สมควร แล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์
ผู้เจริญ ข้าพระองค์ได้ยินคำของพวกนายทหารม้าผู้เคยเป็นอาจารย์และปาจารย์
ก่อน ๆ กล่าวว่า ‘ทหารม้าคนใดอุตส่าห์พยายามในการสงคราม ทหารม้าพวกอื่น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๓๙๙ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๘. คามณิสังยุต] ๕. อัสสาโรหสูตร

สังหารทหารม้าผู้อุตส่าห์พยายามนั้นให้ถึงความตาย เขาหลังจากตายแล้วจะเข้าถึง
ความเป็นผู้อยู่ร่วมกับเหล่าเทวดาชื่อสรชิต’ ในข้อนี้พระผู้มีพระภาคตรัสอย่างไร”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “อย่าเลย ผู้ใหญ่บ้าน จงพักปัญหาข้อนี้ไว้
อย่าถามเราเลย”
แม้ครั้งที่ ๒ ฯลฯ
แม้ครั้งที่ ๓ ผู้ใหญ่บ้านชื่ออัสสาโรหะได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่
พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ได้ยินคำของพวกนายทหารม้าผู้เคยเป็นอาจารย์และ
ปาจารย์ก่อน ๆ กล่าวว่า ‘ทหารม้าคนใดอุตส่าห์พยายามในการสงคราม ทหารม้า
พวกอื่นสังหารทหารม้าผู้อุตส่าห์พยายามนั้นให้ถึงความตาย เขาหลังจากตายแล้ว
จะเข้าถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับเหล่าเทวดาชื่อสรชิต’ ในข้อนี้พระผู้มีพระภาคตรัส
อย่างไร”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ผู้ใหญ่บ้าน เราได้ห้ามท่านแล้วว่า ‘อย่าเลย
ผู้ใหญ่บ้าน จงพักปัญหาข้อนี้ไว้ อย่าถามเราเลย’ แต่เอาเถิด เราจักตอบแก่ท่าน
ทหารม้าคนใดอุตส่าห์พยายามในการสงคราม จิตถูกเขายึด ทำไว้ผิด ตั้งไว้ไม่ดีใน
เบื้องต้นว่า ‘ขอสัตว์เหล่านี้จงถูกฆ่า จงถูกแทง จงขาดสูญ จงพินาศ หรืออย่าได้มี’
ทหารม้าพวกอื่นสังหารทหารม้าผู้อุตส่าห์พยายามนั้นให้ถึงความตาย เขาหลังจาก
ตายแล้วจะไปเกิดในนรกชื่อว่าสรชิต แต่ถ้าเขามีความเห็นนี้ว่า ‘ทหารม้าคนใด
อุตส่าห์พยายามในการสงคราม ทหารม้าพวกอื่นสังหารทหารม้าผู้อุตส่าห์พยายาม
นั้นให้ถึงความตาย เขาหลังจากตายแล้วจะเข้าถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับเหล่าเทวดา
ชื่อสรชิต’ ความเห็นของเขาเป็นมิจฉาทิฏฐิ และผู้เป็นมิจฉาทิฏฐิเรากล่าวว่ามีคติ
เป็นอย่าง ๑ ใน ๒ อย่าง คือ นรกหรือกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน”
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ผู้ใหญ่บ้านชื่ออัสสาโรหะได้ร้องไห้ น้ำตา
ไหลพราก พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ผู้ใหญ่บ้าน เราได้ห้ามท่านแล้วว่า ‘อย่าเลย
ผู้ใหญ่บ้าน ท่านจงพักปัญหาข้อนี้ไว้ อย่าถามเราเลย”
ผู้ใหญ่บ้านชื่ออัสสาโรหะได้กราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์
มิได้ร้องไห้เพราะพระองค์ตรัสกับข้าพระองค์อย่างนั้น แต่ข้าพระองค์ถูกพวก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๔๐๐ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๘. คามณิสังยุต] ๖. อสิพันธกปุตตสูตร

นายทหารม้าผู้เคยเป็นอาจารย์และปาจารย์ก่อน ๆ หลอกลวงให้หลงมานานว่า
‘ทหารม้าคนใดอุตส่าห์พยายามในการสงคราม ทหารม้าพวกอื่นสังหารทหารม้าผู้
อุตส่าห์พยายามนั้นให้ถึงความตาย เขาหลังจากตายแล้วจะเข้าถึงความเป็นผู้อยู่
ร่วมกับเหล่าเทวดาชื่อสรชิต’ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระภาษิตของพระองค์ชัดเจน
ไพเราะยิ่งนัก ฯลฯ ขอพระผู้มีพระภาคจงทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะ
ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปจนตลอดชีวิต”

อัสสาโรหสูตรที่ ๕ จบ

๖. อสิพันธกปุตตสูตร
ว่าด้วยผู้ใหญ่บ้านชื่ออสิพันธกบุตร

[๓๕๘] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ปาวาริกัมพวัน เขต
เมืองนาฬันทา ครั้งนั้น ผู้ใหญ่บ้านชื่ออสิพันธกบุตรเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่
ประทับ ถวายอภิวาทแล้ว นั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พวกพราหมณ์ชาวปัจฉาภูมิมีคณโฑน้ำติดตัว ประดับพวง
มาลัยสาหร่าย อาบน้ำทุกเช้าเย็น บำเรอไฟ พราหมณ์เหล่านั้นชื่อว่าทำสัตว์ที่
ตายแล้วให้ฟื้น ให้รู้ชอบ ให้ขึ้นสวรรค์ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาค
อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าสามารถจะทำสัตว์โลกทั้งหมดหลังจากตายแล้วให้ไปเกิดใน
สุคติโลกสวรรค์ได้หรือ”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ผู้ใหญ่บ้าน ถ้าเช่นนั้น เราจักย้อนถามใน
ปัญหาข้อนี้ ท่านพึงตอบตามสมควร
ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร บุรุษในโลกนี้เป็นผู้ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์
ประพฤติผิดในกาม พูดเท็จ พูดส่อเสียด พูดคำหยาบ พูดเพ้อเจ้อ เพ่งเล็ง
อยากได้ของเขา มีจิตพยาบาท เป็นมิจฉาทิฏฐิ หมู่มหาชนพึงมาประชุมแล้วสวด
อ้อนวอน สวดสรรเสริญ ประนมมือเดินเวียนรอบบุรุษนั้นว่า ‘ขอบุรุษนี้หลังจาก
ตายแล้วจงไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์เถิด’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๔๐๑ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๘. คามณิสังยุต] ๖. อสิพันธกปุตตสูตร

ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร บุรุษนั้นหลังจากตายแล้วพึงไปเกิดในสุคติ
โลกสวรรค์เพราะการสวดอ้อนวอน เพราะการสวดสรรเสริญหรือเพราะการประนม
มือเดินเวียนรอบแห่งหมู่มหาชนเป็นเหตุได้หรือ”
“ไม่ได้ พระพุทธเจ้าข้า”
“ผู้ใหญ่บ้าน เปรียบเหมือนบุรุษโยนก้อนหินใหญ่ลงในห้วงน้ำลึก หมู่มหาชน
พึงมาประชุมแล้วสวดอ้อนวอน สวดสรรเสริญ ประนมมือเดินเวียนรอบก้อนหิน
ใหญ่นั้นว่า ‘โผล่ขึ้นเถิด พ่อก้อนหินใหญ่ ลอยขึ้นเถิด พ่อก้อนหินใหญ่ ขึ้นบกเถิด
พ่อก้อนหินใหญ่’
ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร ก้อนหินใหญ่นั้นพึงโผล่ขึ้น ลอยขึ้น หรือ
ขึ้นบกเพราะการสวดอ้อนวอน เพราะการสวดสรรเสริญหรือเพราะการประนมมือ
เดินเวียนรอบแห่งหมู่มหาชนเป็นเหตุได้หรือ”
“ไม่ได้ พระพุทธเจ้าข้า”
“ผู้ใหญ่บ้าน อุปมานั้นฉันใด อุปไมยนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน บุรุษใดเป็นผู้ฆ่าสัตว์
ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม พูดเท็จ พูดส่อเสียด พูดคำหยาบ พูดเพ้อเจ้อ
เพ่งเล็งอยากได้ของเขา มีจิตพยาบาท เป็นมิจฉาทิฏฐิ หมู่มหาชนพึงมาประชุม
แล้วสวดอ้อนวอน สวดสรรเสริญ ประนมมือเดินเวียนรอบบุรุษนั้นว่า ‘ขอบุรุษนี้
หลังจากตายแล้วจงไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์เถิด’ ก็จริง ถึงกระนั้น บุรุษนั้นหลัง
จากตายไปแล้วพึงไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก
ผู้เว้นจากอกุศลกรรม ๑๐ ย่อมไปเกิดในสุคติ
ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร บุรุษในโลกนี้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ การ
ลักทรัพย์ การประพฤติผิดในกาม การพูดเท็จ การพูดส่อเสียด การพูดคำหยาบ
และการพูดเพ้อเจ้อ ไม่เพ่งเล็งอยากได้ของเขา ไม่มีจิตพยาบาท เป็นสัมมาทิฏฐิ
หมู่มหาชนพึงมาประชุมแล้วสวดอ้อนวอน สวดสรรเสริญ ประนมมือเดินเวียนรอบ
บุรุษนั้นว่า ‘ขอบุรุษนี้หลังจากตายแล้วจงไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรกเถิด’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๔๐๒ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๘. คามณิสังยุต] ๖. อสิพันธกปุตตสูตร

ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร บุรุษนั้นหลังจากตายแล้วพึงไปเกิดในอบาย
ทุคติ วินิบาต นรก เพราะการสวดอ้อนวอน เพราะการสวดสรรเสริญหรือเพราะ
การประนมมือเดินเวียนรอบแห่งหมู่มหาชนเป็นเหตุได้หรือ”
“ไม่ได้ พระพุทธเจ้าข้า”
“ผู้ใหญ่บ้าน เปรียบเหมือนบุรุษดำลงในห้วงน้ำลึกแล้วทุบหม้อเนยใสหรือ
หม้อน้ำมัน ก้อนกรวดหรือกระเบื้องหม้อนั้นพึงจมลงในห้วงน้ำนั้น ส่วนเนยใสหรือ
น้ำมันในหม้อนั้นพึงลอยขึ้น หมู่มหาชนพึงมาประชุมแล้วสวดอ้อนวอน สวด
สรรเสริญ ประนมมือเดินเวียนรอบเนยใสหรือน้ำมันนั้นว่า ‘ดำลงเถิด พ่อเนยใส
และน้ำมัน จมลงเถิด พ่อเนยใสและน้ำมัน ดิ่งลงข้างล่างเถิด พ่อเนยใสและน้ำมัน’
ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร เนยใสและน้ำมันนั้นพึงดำลง จมลง หรือดิ่ง
ลงข้างล่างเพราะการสวดอ้อนวอน เพราะการสวดสรรเสริญหรือเพราะการประนม
มือเดินเวียนรอบแห่งหมู่มหาชนเป็นเหตุได้หรือ”
“ไม่ได้ พระพุทธเจ้าข้า”
“ผู้ใหญ่บ้าน อุปมานั้นฉันใด อุปไมยนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน บุรุษใดเว้นขาด
จากการฆ่าสัตว์ การลักทรัพย์ การประพฤติผิดในกาม การพูดเท็จ การพูดส่อเสียด
การพูดคำหยาบ และการพูดเพ้อเจ้อ ไม่เพ่งเล็งอยากได้ของเขา ไม่มีจิตพยาบาท
เป็นสัมมาทิฏฐิ หมู่มหาชนพึงมาประชุมแล้วสวดอ้อนวอน สวดสรรเสริญ ประนม
มือเดินเวียนรอบบุรุษนั้นว่า ‘ขอบุรุษนี้หลังจากตายแล้วจงไปเกิดในอบาย ทุคติ
วินิบาต นรกเถิด’ ก็จริง ถึงกระนั้น บุรุษนั้นหลังจากตายแล้วพึงไปเกิดใน
สุคติโลกสวรรค์”
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ผู้ใหญ่บ้านชื่ออสิพันธกบุตรได้กราบทูล
ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระภาษิตของพระองค์ชัดเจนไพเราะยิ่งนัก ฯลฯ ขอ
พระผู้มีพระภาคจงทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะ ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป
จนตลอดชีวิต”

อสิพันธกปุตตสูตรที่ ๖ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๘. คามณิสังยุต] ๗. เขตตูปทสูตร

๗. เขตตูปมสูตร
ว่าด้วยอุปมาด้วยนา

[๓๕๙] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ปาวาริกัมพวัน เขต
เมืองนาฬันทา ครั้งนั้น ผู้ใหญ่บ้านชื่ออสิพันธกบุตร เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึง
ที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้ว นั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคทรงมีความเอ็นดูมุ่งประโยชน์เกื้อกูลต่อ
สรรพสัตว์มิใช่หรือ”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “อย่างนั้น ผู้ใหญ่บ้าน ตถาคตมีความเอ็นดูมุ่ง
ประโยชน์เกื้อกูลต่อสรรพสัตว์”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อเป็นเช่นนี้ เพราะเหตุไรพระผู้มีพระภาคจึงทรง
แสดงธรรมโดยเคารพแก่คนบางพวก ไม่ทรงแสดงธรรมโดยเคารพเช่นนั้นแก่คน
บางพวก”
เปรียบการแสดงธรรมกับการหว่านพืชในนา ๓ ชนิด
“ผู้ใหญ่บ้าน ถ้าเช่นนั้น เราจักย้อนถามท่านในปัญหาข้อนี้ ท่านพึงตอบ
ตามสมควร ผู้ใหญ่บ้าน ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร คหบดีชาวนาในโลกนี้มี
นาอยู่ ๓ ชนิด คือ ชนิดหนึ่งเป็นนาดี ชนิดหนึ่งเป็นนาปานกลาง ชนิดหนึ่งเป็น
นาเลว มีดินแข็ง มีดินเค็ม พื้นดินเลว
ผู้ใหญ่บ้าน ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร คหบดีชาวนาประสงค์จะ
หว่านพืช จะหว่านในนาชนิดไหนก่อน คือ นาชนิดดีโน้น ชนิดปานกลางโน้น
หรือชนิดเลวโน้นซึ่งมีดินแข็ง มีดินเค็ม พื้นดินเลว”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ คหบดีชาวนาโน้นประสงค์จะหว่านพืช พึงหว่านในนา
ชนิดดีโน้นก่อน แล้วหว่านลงในนาชนิดปานกลางโน้น แล้วหว่านบ้าง ไม่หว่านบ้าง
ในนาชนิดเลวโน้นซึ่งมีดินแข็ง มีดินเค็ม พื้นดินเลว ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะ
โดยที่สุดก็จักเป็นอาหารโค”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๔๐๔ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๘. คามณิสังยุต] ๗. เขตตูปทสูตร

“ผู้ใหญ่บ้าน เราแสดงธรรมมีความงามในเบื้องต้น มีความงามในท่ามกลาง
และมีความงามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถและพยัญชนะบริสุทธิ์
บริบูรณ์ครบถ้วนแก่ภิกษุและภิกษุณีทั้งหลายของเรา เปรียบเหมือนคหบดีชาวนา
หว่านพืชในนาชนิดดีโน้นฉะนั้น ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะภิกษุและภิกษุณีเหล่านั้น
มีเราเป็นที่พึ่ง มีเราเป็นที่อาศัย มีเราเป็นที่ต้านทาน มีเราเป็นสรณะอยู่
เราแสดงธรรมมีความงามในเบื้องต้น มีความงามในท่ามกลาง และมีความงาม
ในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถและพยัญชนะบริสุทธิ์บริบูรณ์ครบถ้วน
แก่อุบาสกและอุบาสิกาทั้งหลายของเรา เปรียบเหมือนคหบดีชาวนาหว่านพืชในนา
ชนิดปานกลางโน้นฉะนั้น ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะอุบาสกและอุบาสิกาเหล่านั้น
มีเราเป็นที่พึ่ง มีเราเป็นที่อาศัย มีเราเป็นที่ต้านทาน มีเราเป็นสรณะอยู่
และเราแสดงธรรมมีความงามในเบื้องต้น มีความงามในท่ามกลาง และมี
ความงามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถและพยัญชนะบริสุทธิ์บริบูรณ์
ครบถ้วนแก่อัญเดียรถีย์ สมณะ พราหมณ์ และปริพาชกทั้งหลายของเรา เปรียบ
เหมือนคหบดีชาวนาหว่านพืชในนาชนิดเลวโน้น ซึ่งมีดินแข็ง มีดินเค็ม พื้นดินเลว
ฉะนั้น ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะอัญเดียรถีย์ สมณะ พราหมณ์ และปริพาชก
เหล่านั้นพึงรู้ธรรมแม้บทเดียว ความรู้นั้นพึงเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูลเพื่อความ
สุขแก่พวกเขาสิ้นกาลนาน
เปรียบการแสดงธรรมกับการตักน้ำใส่โอ่งน้ำ
ผู้ใหญ่บ้าน เปรียบเหมือนบุรุษมีโอ่งน้ำ ๓ ใบ คือ โอ่งน้ำใบหนึ่งไม่มีรอยร้าว
น้ำซึมไหลออกไม่ได้ ใบหนึ่งไม่มีรอยร้าวแต่น้ำซึมไหลออกได้ ใบหนึ่งมีรอยร้าว
น้ำซึมไหลออกได้ ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร บุรุษโน้นประสงค์จะใส่น้ำ พึง
ใส่ในโอ่งน้ำใบไหนก่อน คือ โอ่งน้ำใบที่ไม่มีรอยร้าวน้ำซึมไหลออกไม่ได้ ใบที่ไม่มี
รอยร้าวแต่น้ำซึมไหลออกได้ หรือใบที่มีรอยร้าวน้ำซึมไหลออกได้”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บุรุษโน้นประสงค์จะใส่น้ำ พึงใส่ในโอ่งน้ำใบที่ไม่มี
รอยร้าวน้ำซึมไหลออกไม่ได้ก่อน แล้วใส่ในโอ่งน้ำใบที่ไม่มีรอยร้าวแต่น้ำซึมไหล
ออกได้ แล้วใส่บ้าง ไม่ใส่บ้าง ในโอ่งน้ำใบที่มีรอยร้าวน้ำซึมไหลออกได้ ข้อนั้น
เพราะเหตุไร เพราะที่สุดก็จักเป็นน้ำใช้ล้างสิ่งของ”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๔๐๕ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๘. คามณิสังยุต] ๘. สังขธมสูตร

“ผู้ใหญ่บ้าน อุปมานั้นฉันใด อุปไมยนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เราแสดงธรรมมี
ความงามในเบื้องต้น มีความงามในท่ามกลาง และมีความงามในที่สุด ประกาศ
พรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถและพยัญชนะบริสุทธิ์บริบูรณ์ครบถ้วนแก่ภิกษุและภิกษุณี
ทั้งหลายของเรา เปรียบเหมือนบุรุษใส่น้ำในโอ่งน้ำใบที่ไม่มีรอยร้าว น้ำซึมไหลออก
ไม่ได้ฉะนั้น ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะภิกษุและภิกษุณีเหล่านั้นมีเราเป็นที่พึ่ง มี
เราเป็นที่อาศัย มีเราเป็นที่ต้านทาน มีเราเป็นสรณะอยู่
เราแสดงธรรมมีความงามในเบื้องต้น มีความงามในท่ามกลาง และมีความงาม
ในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถและพยัญชนะบริสุทธิ์บริบูรณ์ครบถ้วน
แก่อุบาสกและอุบาสิกาทั้งหลายของเรา เปรียบเหมือนบุรุษใส่น้ำในโอ่งน้ำใบที่ไม่มี
รอยร้าว แต่น้ำซึมไหลออกได้ฉะนั้น ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะอุบาสกและอุบาสิกา
เหล่านั้นมีเราเป็นที่พึ่ง มีเราเป็นที่อาศัย มีเราเป็นที่ต้านทาน มีเราเป็นสรณะอยู่
เราแสดงธรรมมีความงามในเบื้องต้น มีความงามในท่ามกลาง และมีความงาม
ในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถและพยัญชนะบริสุทธิ์บริบูรณ์ครบถ้วน
แก่อัญเดียรถีย์ สมณะ พราหมณ์ และปริพาชกทั้งหลายของเรา เปรียบเหมือน
บุรุษใส่น้ำในโอ่งน้ำใบที่มีรอยร้าว น้ำซึมไหลออกได้ฉะนั้น ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะ
อัญเดียรถีย์ สมณะ พราหมณ์ และปริพาชกเหล่านั้นพึงรู้ธรรมแม้บทเดียว
ความรู้นั้นพึงเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูลเพื่อความสุขแก่พวกเขาสิ้นกาลนาน
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ผู้ใหญ่บ้านชื่ออสิพันธกบุตรได้กราบทูล
ว่า“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระภาษิตของพระองค์ชัดเจนไพเราะยิ่งนัก ฯลฯ ขอ
พระผู้มีพระภาค จงทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะ ตั้งแต่วันนี้เป็นต้น
ไปจนตลอดชีวิต”

เขตตูปมสูตรที่ ๗ จบ

๘. สังขธมสูตร
ว่าด้วยคนเป่าสังข์

[๓๖๐] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ปาวาริกัมพวัน เขต
เมืองนาฬันทา ครั้งนั้น ผู้ใหญ่บ้านชื่ออสิพันธกบุตรผู้เป็นสาวกของนิครนถ์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๔๐๖ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๘. คามณิสังยุต] ๘. สังขธมสูตร

เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ฯลฯ พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกับผู้ใหญ่บ้าน
ชื่ออสิพันธกบุตรดังนี้ว่า “ผู้ใหญ่บ้าน นิครนถ์ นาฏบุตรแสดงธรรมแก่พวกสาวก
อย่างไร”
ผู้ใหญ่บ้านชื่ออสิพันธกบุตรกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ นิครนถ์
นาฏบุตรแสดงธรรมแก่พวกสาวกอย่างนี้ว่า ‘ผู้ฆ่าสัตว์ทั้งหมดต้องไปอบาย ตกนรก
ผู้ลักทรัพย์ทั้งหมดต้องไปอบาย ตกนรก ผู้ประพฤติผิดในกามทั้งหมดต้องไปอบาย
ตกนรก ผู้พูดเท็จทั้งหมดต้องไปอบาย ตกนรก กรรมใด ๆ มีอยู่มาก กรรมนั้น ๆ
ย่อมนำบุคคลไป’ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ นิครนถ์ นาฏบุตรย่อมแสดงธรรมแก่พวก
สาวกอย่างนี้”
“ผู้ใหญ่บ้าน นิครนถ์ นาฏบุตรแสดงธรรมแก่พวกสาวกว่า ‘กรรมใด ๆ มี
อยู่มาก กรรมนั้น ๆ ย่อมนำบุคคลไป’ เมื่อเป็นเช่นนั้น ก็จักไม่มีใคร ๆ ไปอบาย
ตกนรกตามคำของนิครนถ์ นาฏบุตรเลย
ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร บุรุษผู้ฆ่าสัตว์อาศัยเวลาและมิใช่เวลาของ
กลางคืนหรือกลางวัน เวลาที่เขาฆ่าสัตว์หรือเวลาที่เขาไม่ฆ่าสัตว์ เวลาไหนจะมาก
กว่ากัน”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บุรุษผู้ฆ่าสัตว์อาศัยเวลาและมิใช่เวลาของกลางคืน
หรือกลางวัน เวลาที่เขาฆ่าสัตว์น้อยกว่า ที่แท้เวลาที่เขาไม่ฆ่าสัตว์มากกว่า”
“ผู้ใหญ่บ้าน นิครนถ์ นาฏบุตรแสดงธรรมแก่พวกสาวกว่า ‘กรรมใด ๆ มี
อยู่มาก กรรมนั้น ๆ ย่อมนำบุคคลไป’ เมื่อเป็นเช่นนั้น ก็จักไม่มีใคร ๆ ไปอบาย ตก
นรกตามคำของนิครนถ์ นาฏบุตรเลย
ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร บุรุษผู้ลักทรัพย์อาศัยเวลาและมิใช่เวลาของ
กลางคืนหรือกลางวัน เวลาที่เขาลักทรัพย์หรือเวลาที่เขาไม่ลักทรัพย์ เวลาไหนจะ
มากกว่ากัน”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บุรุษผู้ลักทรัพย์อาศัยเวลาและมิใช่เวลาของกลางคืน
หรือกลางวัน เวลาที่เขาลักทรัพย์น้อยกว่า ที่แท้เวลาที่เขาไม่ลักทรัพย์มากกว่า”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๔๐๗ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๘. คามณิสังยุต] ๘. สังขธมสูตร

“ผู้ใหญ่บ้าน นิครนถ์ นาฏบุตรแสดงธรรมแก่พวกสาวกว่า ‘กรรมใด ๆ มี
อยู่มาก กรรมนั้น ๆ ย่อมนำบุคคลไป’ เมื่อเป็นเช่นนั้น ก็จักไม่มีใคร ๆ ไปอบาย
ตกนรกตามคำของนิครนถ์ นาฏบุตรเลย
ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร บุรุษผู้ประพฤติผิดในกามอาศัยเวลาและ
มิใช่เวลาของกลางคืนหรือกลางวัน เวลาที่เขาประพฤติผิดในกามหรือเวลาที่เขาไม่
ประพฤติผิดในกาม เวลาไหนจะมากกว่ากัน”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บุรุษผู้ประพฤติผิดในกามอาศัยเวลาและมิใช่เวลาของ
กลางคืนหรือกลางวัน เวลาที่เขาประพฤติผิดในกามน้อยกว่า ที่แท้เวลาที่เขาไม่
ประพฤติผิดในกามมากกว่า”
“ผู้ใหญ่บ้าน นิครนถ์ นาฏบุตรแสดงธรรมแก่พวกสาวกว่า ‘กรรมใด ๆ มี
อยู่มาก กรรมนั้น ๆ ย่อมนำบุคคลไป’ เมื่อเป็นเช่นนั้น ก็จักไม่มีใคร ๆ ไปอบาย
ตกนรกตามคำของนิครนถ์ นาฏบุตรเลย
ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร บุรุษผู้พูดเท็จอาศัยเวลาและมิใช่เวลาของ
กลางคืนหรือกลางวัน เวลาที่เขาพูดเท็จหรือเวลาที่เขาไม่พูดเท็จ เวลาไหนจะมาก
กว่ากัน”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บุรุษผู้พูดเท็จอาศัยเวลาและมิใช่เวลาของกลางคืน
หรือกลางวัน เวลาที่เขาพูดเท็จน้อยกว่า ที่แท้เวลาที่เขาไม่พูดเท็จมากกว่า”
“ผู้ใหญ่บ้าน นิครนถ์ นาฏบุตรแสดงธรรมแก่พวกสาวกว่า ‘กรรมใด ๆ มี
อยู่มาก กรรมนั้น ๆ ย่อมนำบุคคลไป’ เมื่อเป็นเช่นนั้น ก็จักไม่มีใคร ๆ ไปอบาย
ตกนรกตามคำของนิครนถ์ นาฏบุตรเลย
ศาสดาบางคนในโลกนี้มีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘ผู้ฆ่าสัตว์ทั้งหมดต้อง
ไปอบาย ตกนรก ผู้ลักทรัพย์ทั้งหมดต้องไปอบาย ตกนรก ผู้ประพฤติผิดในกาม
ทั้งหมดต้องไปอบาย ตกนรก ผู้พูดเท็จทั้งหมดต้องไปอบาย ตกนรก
สาวกผู้เลื่อมใสอย่างยิ่งในศาสดาองค์นั้นมีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘ศาสดาของเรามี
วาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘ผู้ฆ่าสัตว์ทั้งหมดต้องไปอบาย ตกนรก’ สาวกของ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๔๐๘ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๘. คามณิสังยุต] ๘. สังขธมสูตร

ศาสดานั้นกลับได้ทิฏฐิว่า ‘สัตว์ที่ถูกเราฆ่าก็มีอยู่ แม้เราก็ต้องไปอบาย ตกนรก’
เขาไม่ละคำพูด ไม่ละความคิด ไม่สละทิฏฐินั้น ย่อมตกนรกเหมือนถูกนำมาขังไว้
ฉะนั้น
สาวกของศาสดานั้นมีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘ศาสดาของเรามีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิ
อย่างนี้ว่า ‘ผู้ลักทรัพย์ทั้งหมดต้องไปอบาย ตกนรก’ สาวกของศาสดานั้นกลับได้
ทิฏฐิว่า ‘ทรัพย์ที่เราเคยลักก็มีอยู่ แม้เราก็ต้องไปอบาย ตกนรก’ เขายังไม่ละคำพูด
ไม่ละความคิด ไม่สละทิฏฐินั้น ย่อมตกนรกเหมือนถูกนำมาขังไว้ฉะนั้น
สาวกของศาสดานั้นมีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘ศาสดาของเรามีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิ
อย่างนี้ว่า ‘ผู้ประพฤติผิดในกามทั้งหมดต้องไปอบาย ตกนรก’ สาวกของศาสดา
นั้น กลับได้ทิฏฐิว่า ‘การที่เราประพฤติผิดในกามก็มีอยู่ แม้เราก็ต้องไปอบาย
ตกนรก’ เขายังไม่ละคำพูด ไม่ละความคิด ไม่สละทิฏฐินั้น ย่อมตกนรกเหมือน
ถูกนำมาขังไว้ฉะนั้น
สาวกของศาสดานั้นมีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘ศาสดาของเรามีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิ
อย่างนี้ว่า ‘ผู้พูดเท็จทั้งหมดต้องไปอบาย ตกนรก’ สาวกของศาสดานั้นกลับได้
ทิฏฐิว่า ‘คำเท็จที่เราพูดแล้วก็มีอยู่ แม้เราก็ต้องไปอบาย ตกนรก’ เขายังไม่ละคำพูด
ไม่ละความคิด ไม่สละทิฏฐินั้น ย่อมตกนรกเหมือนถูกนำมาขังไว้ฉะนั้น
ตถาคตอุบัติขึ้นมาในโลกนี้เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้ด้วยตนเองโดยชอบ เพียบ
พร้อมด้วยวิชชาและจรณะ ไปดี รู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกผู้ที่ควรฝึกได้อย่างยอดเยี่ยม
เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระผู้มีพระภาค
ตถาคตนั้น ตำหนิติเตียนการฆ่าสัตว์โดยประการต่าง ๆ เป็นอันมาก และกล่าวว่า
‘ท่านทั้งหลายจงงดเว้นจากการฆ่าสัตว์’ ตำหนิติเตียนการลักทรัพย์โดยประการ
ต่าง ๆ เป็นอันมาก และกล่าวว่า ‘ท่านทั้งหลายจงงดเว้นจากการลักทรัพย์’ ตำหนิ
ติเตียนการประพฤติผิดในกามโดยประการต่าง ๆ เป็นอันมาก และกล่าวว่า ‘ท่าน
ทั้งหลายจงงดเว้นจากการประพฤติผิดในกาม’ ตำหนิติเตียนการพูดเท็จโดยประการ
ต่าง ๆ เป็นอันมาก และกล่าวว่า ‘ท่านทั้งหลายจงงดเว้นจากการพูดเท็จ’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๔๐๙ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๘. คามณิสังยุต] ๘. สังขธมสูตร

สาวกผู้เลื่อมใสอย่างยิ่งในศาสดานั้นพิจารณาเห็นว่า ‘พระผู้มีพระภาคทรง
ตำหนิติเตียนการฆ่าสัตว์โดยประการต่าง ๆ เป็นอันมาก และตรัสว่า ‘ท่านทั้งหลาย
จงงดเว้นจากการฆ่าสัตว์’ อนึ่ง สัตว์ที่ถูกเราฆ่าก็มีอยู่มากมาย การที่เราฆ่าสัตว์
มากมายนั้นไม่เป็นการดีงามเลย เราเท่านั้นพึงเป็นผู้เดือดร้อนเพราะการฆ่าสัตว์นั้น
เป็นปัจจัย เราไม่ได้ทำบาปกรรมนั้นก็หามิได้ เธอพิจารณาเห็นอย่างนี้แล้วย่อมละ
การฆ่าสัตว์นั้นและเว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ต่อไป
เธอละบาปกรรม ก้าวล่วงบาปกรรมนั้นได้ด้วยประการฉะนี้
สาวกนั้นพิจารณาเห็นว่า ‘พระผู้มีพระภาคทรงตำหนิติเตียนการลักทรัพย์โดย
ประการต่าง ๆ เป็นอันมาก และตรัสว่า ‘ท่านทั้งหลายจงงดเว้นจากการลักทรัพย์’
ทรัพย์ที่เราลักก็มีอยู่มากมาย การที่เราลักทรัพย์มากมายนั้นไม่เป็นการดีงามเลย
เราเท่านั้นพึงเป็นผู้เดือดร้อนเพราะการลักทรัพย์นั้นเป็นปัจจัย เราไม่ได้ทำ
บาปกรรมนั้นก็หามิได้ เธอพิจารณาเห็นอย่างนี้แล้วย่อมละการลักทรัพย์นั้นและ
เว้นขาดจากการลักทรัพย์ต่อไป
เธอละบาปกรรม ก้าวล่วงบาปกรรมนั้นได้ด้วยประการฉะนี้
สาวกนั้นพิจารณาเห็นว่า ‘พระผู้มีพระภาคทรงตำหนิติเตียนการประพฤติผิด
ในกามโดยประการต่าง ๆ เป็นอันมาก และตรัสว่า ‘ท่านทั้งหลายจงงดเว้นจาก
การประพฤติผิดในกาม’ การที่เราประพฤติผิดในกามก็มีอยู่มากมาย การที่เรา
ประพฤติผิดในกามมากมายนั้นไม่เป็นการดีงามเลย เราเท่านั้นพึงเป็นผู้เดือดร้อน
เพราะการประพฤติผิดในกามนั้นเป็นปัจจัย เราไม่ได้ทำบาปกรรมนั้นก็หามิได้ เธอ
พิจารณาเห็นอย่างนี้แล้วย่อมละการประพฤติผิดในกามนั้นและเว้นขาดจากการ
ประพฤติผิดในกามต่อไป
เขาละบาปกรรม ก้าวล่วงบาปกรรมนั้นได้ด้วยประการฉะนี้
สาวกนั้นพิจารณาเห็นว่า ‘พระผู้มีพระภาคทรงตำหนิติเตียนการพูดเท็จโดย
ประการต่าง ๆ เป็นอันมาก และตรัสว่า ‘ท่านทั้งหลายจงเว้นขาดจากการพูดเท็จ’
การที่เราพูดเท็จก็มีอยู่มากมาย การที่เราพูดเท็จมากมายนั้นไม่เป็นการดีงามเลย
เราเท่านั้นพึงเป็นผู้เดือดร้อนเพราะการพูดเท็จนั้นเป็นปัจจัย เราจักไม่ได้ทำ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๔๑๐ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๘. คามณิสังยุต] ๘. สังขธมสูตร

บาปกรรมนั้นก็หามิได้ เธอพิจารณาอย่างนี้แล้วย่อมละการพูดเท็จนั้นและเว้นขาด
จากการพูดเท็จต่อไป
เขาละบาปกรรม ก้าวล่วงบาปกรรมนั้นได้ด้วยประการฉะนี้
สาวกนั้นละการฆ่าสัตว์ เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ ละการลักทรัพย์ เว้นขาด
จากการลักทรัพย์ ละการประพฤติผิดในกาม เว้นขาดจากการประพฤติผิดในกาม
ละการพูดเท็จ เว้นขาดจากการพูดเท็จ ละการพูดคำส่อเสียด เว้นขาดจากการพูด
คำส่อเสียด ละการพูดคำหยาบ เว้นขาดจากการพูดคำหยาบ ละการพูดเพ้อเจ้อ
เว้นขาดจากการพูดเพ้อเจ้อ ละความเพ่งเล็งอยากได้ของเขา ไม่เพ่งเล็งอยากได้ของ
เขา ละความประทุษร้ายที่เกิดจากพยาบาท มีจิตไม่พยาบาท ละมิจฉาทิฏฐิ เป็น
สัมมาทิฏฐิ
อริยสาวกนั้นปราศจากความเพ่งเล็งอยากได้ของเขา ปราศจากพยาบาทอย่างนี้
ไม่หลง มีสัมปชัญญะ มีสติ มีเมตตาจิตแผ่ไปตลอดทิศที่ ๑ ... ทิศที่ ๒ ... ทิศ
ที่ ๓ ... ทิศที่ ๔ ... ทิศเบื้องบน ทิศเบื้องล่าง ทิศเฉียง แผ่ไปตลอดโลกทั่ว
ทุกหมู่เหล่า ในที่ทุกสถาน ด้วยเมตตาจิตอันไพบูลย์ เป็นมหัคคตะ ไม่มีขอบเขต
ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนอยู่ ผู้ใหญ่บ้าน กรรมที่ทำพอประมาณในเมตตา-
เจโตวิมุตติที่บุคคลอบรมแล้วอย่างนี้จะไม่เหลืออยู่ในรูปาวจรและอรูปาวจรเลย
เปรียบเหมือนคนเป่าสังข์ผู้แข็งแรงพึงให้ได้ยินตลอดทิศทั้ง ๔ ได้โดยไม่ยาก
ผู้ใหญ่บ้าน อริยสาวกนั้นปราศจากความเพ่งเล็งอยากได้ของเขา ปราศจาก
พยาบาทอย่างนี้ ไม่หลง มีสัมปชัญญะ มีสติ มีกรุณาจิต ฯลฯ
มีมุทิตาจิต ฯลฯ
มีอุเบกขาจิตแผ่ไปตลอดทิศที่ ๑ ... ทิศที่ ๒ ... ทิศที่ ๓ ... ทิศที่ ๔ ...
ทิศเบื้องบน ทิศเบื้องล่าง ทิศเฉียง แผ่ไปตลอดโลกทั่วทุกหมู่เหล่า ในที่ทุกสถาน
ด้วยอุเบกขาจิตอันไพบูลย์ เป็นมหัคคตะ ไม่มีขอบเขต ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียน
อยู่ ผู้ใหญ่บ้าน กรรมที่ทำพอประมาณในอุเบกขาเจโตวิมุตติที่บุคคลอบรมแล้ว
ทำให้มากแล้วอย่างนี้จะไม่เหลืออยู่ในรูปาวจรและอรูปาวจรเลย เปรียบเหมือนคน
เป่าสังข์ผู้แข็งแรงพึงให้ได้ยินตลอดทิศทั้ง ๔ ได้โดยไม่ยาก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๔๑๑ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๘. คามณิสังยุต] ๙. กุลสูตร

เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ผู้ใหญ่บ้านชื่ออสิพันธกบุตร สาวกของ
นิครนถ์ได้กราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระภาษิตของพระองค์ชัดเจนไพเราะยิ่งนัก
ฯลฯ ขอพระผู้มีพระภาคจงทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะ ตั้งแต่วันนี้
เป็นต้นไปจนตลอดชีวิต”

สังขธมสูตรที่ ๘ จบ

๙. กุลสูตร
ว่าด้วยเหตุที่ทำให้ตระกูลคับแค้น

[๓๖๑] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเสด็จจาริกไปในแคว้นโกศล พร้อมด้วย
ภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ เสด็จถึงเมืองนาฬันทา ทราบว่า พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ
ปาวาริกัมพวัน เขตเมืองนาฬันทานั้น
สมัยนั้น เมืองนาฬันทาเกิดข้าวยากหมากแพง ประชาชนมีความเป็นอยู่
แร้นแค้น ใช้สลากปันส่วนซื้ออาหาร ล้มตายกันกระดูกขาวเกลื่อน สมัยนั้น
นิครนถ์ นาฏบุตรอาศัยอยู่ในหมู่บ้านนาฬันทาพร้อมด้วยนิครนถบริษัทหมู่ใหญ่
ครั้งนั้น ผู้ใหญ่บ้านชื่ออสิพันธกบุตร สาวกของนิครนถ์ เข้าไปหานิครนถ์
นาฏบุตรถึงที่อยู่ ไหว้แล้ว นั่ง ณ ที่สมควร นิครนถ์ นาฏบุตรได้กล่าวกับผู้ใหญ่บ้าน
ชื่ออสิพันธกบุตรดังนี้ว่า “มาเถิด ผู้ใหญ่บ้าน ท่านจงโต้วาทะกับพระสมณโคดม เมื่อ
เป็นเช่นนี้ กิตติศัพท์อันงามของท่านก็จักฟุ้งขจรไปว่า ‘ผู้ใหญ่บ้านชื่ออสิพันธกบุตร
ได้โต้วาทะกับพระสมณโคดมผู้มีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมากอย่างนี้”
ผู้ใหญ่บ้านถามว่า “ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าจะโต้วาทะกับพระสมณโคดมผู้มีฤทธิ์
มาก มีอานุภาพมากอย่างนี้อย่างไร”
นิครนถ์ นาฏบุตรกล่าวว่า “มาเถิดผู้ใหญ่บ้าน ท่านจงเข้าไปหาพระสมณโคดม
ถึงที่อยู่ แล้วกล่าวว่า ‘ท่านผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคย่อมทรงสรรเสริญความเอ็นดู
ทรงสรรเสริญความรักษา ทรงสรรเสริญความอนุเคราะห์แก่ตระกูลทั้งหลายโดย
ประการเป็นอันมากมิใช่หรือ’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๔๑๒ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๘. คามณิสังยุต] ๙. กุลสูตร

ถ้าพระสมณโคดมถูกท่านถามอย่างนี้แล้วตอบว่า ‘ถูกละผู้ใหญ่บ้าน ตถาคต
ย่อมสรรเสริญความเอ็นดู สรรเสริญความรักษา สรรเสริญความอนุเคราะห์แก่
ตระกูลทั้งหลายโดยประการเป็นอันมาก’ ท่านพึงกล่าวว่า ‘ท่านผู้เจริญ เมื่อเป็น
เช่นนั้น ทำไม พระผู้มีพระภาคกับภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่จึงเสด็จจาริกไปในเมืองนาฬันทา
ซึ่งเกิดข้าวยากหมากแพง ประชาชนมีความเป็นอยู่แร้นแค้น ใช้สลากปันส่วนซื้อ
อาหาร ล้มตายกันกระดูกขาวเกลื่อนเล่า พระผู้มีพระภาคทรงปฏิบัติเพื่อตัดรอน
ตระกูล ทรงปฏิบัติเพื่อความเสื่อมแห่งตระกูล ทรงปฏิบัติเพื่อความคับแค้นแห่ง
ตระกูล’ ผู้ใหญ่บ้าน พระสมณโคดมถูกท่านถามปัญหา ๒ เงื่อนนี้แล้ว จะกลืนไม่เข้า
คายไม่ออกทีเดียว”
ผู้ใหญ่บ้านชื่ออสิพันธกบุตรรับคำของนิครนถ์ นาฏบุตร ลุกขึ้นจากอาสนะ ไหว้
แล้ว กระทำประทักษิณ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้ว
นั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระ
ผู้มีพระภาคย่อมทรงสรรเสริญความเอ็นดู ทรงสรรเสริญความรักษา ทรงสรรเสริญ
ความอนุเคราะห์แก่ตระกูลทั้งหลายโดยประการเป็นอันมากมิใช่หรือ”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ถูกละผู้ใหญ่บ้าน ตถาคตย่อมสรรเสริญความ
เอ็นดู สรรเสริญความรักษา สรรเสริญความอนุเคราะห์แก่ตระกูลทั้งหลายโดย
ประการเป็นอันมาก”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อเป็นเช่นนั้น ทำไม พระผู้มีพระภาคกับภิกษุสงฆ์
หมู่ใหญ่จึงเสด็จจาริกไปในเมืองนาฬันทาซึ่งเกิดข้าวยากหมากแพง ประชาชนมี
ความเป็นอยู่แร้นแค้น ใช้สลากปันส่วนซื้ออาหาร ล้มตายกันกระดูกขาวเกลื่อนเล่า
พระผู้มีพระภาคทรงปฏิบัติเพื่อตัดรอนตระกูล ทรงปฏิบัติเพื่อความเสื่อมแห่งตระกูล
ทรงปฏิบัติเพื่อความคับแค้นแห่งตระกูล”
“ผู้ใหญ่บ้าน นับแต่กัป๑นี้ไป ๙๑ กัปที่เราระลึกได้ว่า เราไม่รู้ว่าเคยเบียดเบียน
ตระกูลไหน ๆ ด้วยการถือเอาภิกษาที่หุงต้มแล้ว ที่แท้ตระกูลทั้งหลายที่มั่งคั่ง มี


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๘. คามณิสังยุต] ๙. กุลสูตร

ทรัพย์มาก มีโภคะมาก มีเงินมีทองมาก มีเครื่องประดับมาก มีทรัพย์และข้าว
เปลือกมาก ทั้งหมดนั้นเกิดเพราะการให้ เกิดเพราะความมีสัจจะ และเกิดเพราะ
ความสำรวม
เหตุปัจจัยที่ทำให้ตระกูลคับแค้น ๘ ประการ คือ
๑. ตระกูลคับแค้นจากพระราชา
๒. ตระกูลคับแค้นจากโจร
๓. ตระกูลคับแค้นจากไฟ
๔. ตระกูลคับแค้นจากน้ำ
๕. ทรัพย์ที่ฝังไว้เคลื่อนที่ไป
๖. การงานที่ประกอบไม่ดี ทำให้ตระกูลวิบัติ
๗. ทรัพย์ในตระกูลกลายเป็นถ่านเพลิง
๘. การที่บุคคลใช้จ่ายโภคทรัพย์สุรุ่ยสุร่าย ฟุ่มเฟือย ทำให้ตระกูล
เปลี่ยนแปลงไป
ผู้ใหญ่บ้าน เหตุปัจจัย ๘ ประการนี้ที่ทำให้ตระกูลคับแค้น เมื่อเหตุปัจจัย ๘
ประการนี้มีอยู่ บุคคลใดพึงกล่าวหาเราว่า ‘พระผู้มีพระภาคทรงปฏิบัติเพื่อตัดรอน
ตระกูล ทรงปฏิบัติเพื่อความเสื่อมแห่งตระกูล ทรงปฏิบัติเพื่อความคับแค้นแห่ง
ตระกูล’ บุคคลนั้นไม่ละคำพูด ไม่ละความคิด ไม่สละทิฏฐินั้น ย่อมดำรงอยู่ในนรก
เหมือนถูกนำไปฝังไว้”
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ผู้ใหญ่บ้านชื่ออสิพันธกบุตรได้กราบทูล
พระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระภาษิตของพระองค์ชัดเจน
ไพเราะยิ่งนัก ฯลฯ ขอพระผู้มีพระภาคจงทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะ
ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปจนตลอดชีวิต”

กุลสูตรที่ ๙ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๘. คามณิสังยุต] ๑๐. มณิจูฬกสูตร

๑๐. มณิจูฬกสูตร
ว่าด้วยผู้ใหญ่บ้านชื่อมณิจูฬกะ

[๓๖๒] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเวฬุวัน สถานที่ให้เหยื่อ
กระแต เขตกรุงราชคฤห์ สมัยนั้น พวกข้าราชบริพารนั่งประชุมกันในราชบริษัท
ภายในพระราชวัง ได้สนทนากันขึ้นว่า “ทองและเงินสมควรแก่สมณศากยบุตรหรือ
สมณศากยบุตรยินดีทองและเงินได้หรือ รับทองและเงินได้หรือ”
สมัยนั้น ผู้ใหญ่บ้านชื่อมณิจูฬกะนั่งอยู่ในบริษัทนั้นขณะนั้นได้กล่าวกับบริษัท
นั้นดังนี้ว่า “นายอย่าได้กล่าวอย่างนี้ ทองและเงินไม่สมควรแก่สมณศากยบุตร
สมณศากยบุตรไม่ยินดีทองและเงิน ไม่รับทองและเงิน สมณศากยบุตรห้ามแก้ว
มณีและทอง ปราศจากทองและเงิน”
ผู้ใหญ่บ้านชื่อมณิจูฬกะสามารถให้บริษัทนั้นยินยอมได้
ต่อมา ผู้ใหญ่บ้านชื่อมณิจูฬกะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวาย
อภิวาทแล้ว นั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พวกข้าราชบริพารนั่งประชุมกันในราชบริษัทภายใน
พระราชวังนี้ได้สนทนากันขึ้นว่า ‘ทองและเงินควรแก่สมณศากยบุตรหรือ สมณ-
ศากยบุตรยินดีทองและเงินได้หรือ รับทองและเงินได้หรือ’ เมื่อบริษัทนั้นกล่าว
อย่างนี้แล้ว ข้าพระองค์ได้กล่าวกับบริษัทนั้นดังนี้ว่า ‘นายอย่าได้กล่าวอย่างนี้
ทองและเงินไม่สมควรแก่สมณศากยบุตร สมณศากยบุตรไม่ยินดีทองและเงิน ไม่
รับทองและเงิน สมณศากยบุตรห้ามแก้วมณีและทอง ปราศจากทองและเงิน’
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์สามารถให้บริษัทนั้นยินยอมได้ ข้าพระ
องค์เมื่อตอบอย่างนี้ ชื่อว่าพูดตรงตามที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ ไม่ชื่อว่ากล่าวตู่
พระผู้มีพระภาคด้วยคำเท็จหรือ ชื่อว่ากล่าวแก้อย่างสมเหตุสมผลหรือ ไม่มีบ้าง
หรือที่คำกล่าวเช่นนั้นและคำที่กล่าวต่อ ๆ กันมาจะเป็นเหตุให้ถูกตำหนิได้”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ดีละ ผู้ใหญ่บ้าน เมื่อท่านตอบอย่างนี้ ชื่อว่า
พูดตรงตามคำที่เราพูดไว้ ไม่ชื่อว่ากล่าวตู่เราด้วยคำเท็จ ชื่อว่ากล่าวแก้อย่าง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๔๑๕ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๘. คามณิสังยุต] ๑๑. คันธภกสูตร

สมเหตุสมผล ไม่มีที่คำกล่าวเช่นนั้นและคำที่กล่าวต่อ ๆ กันมาจะเป็นเหตุให้ถูกตำหนิได้
เพราะว่าทองและเงินไม่สมควรแก่สมณศากยบุตร สมณศากยบุตรไม่ยินดีทองและเงิน
ไม่รับทองและเงิน สมณศากยบุตรห้ามแก้วมณีและทอง ปราศจากทองและเงิน
ผู้ใหญ่บ้าน ทองและเงินควรแก่ผู้ใด กามคุณ ๕ ก็ควรแก่ผู้นั้น กามคุณ ๕
ควรแก่ผู้ใด (ทองและเงินก็ควรแก่ผู้นั้น) ผู้ใหญ่บ้าน เราให้เข้าใจเรื่องนี้โดยส่วน
เดียวว่า ‘ไม่ใช่ธรรมของสมณะ ไม่ใช่ธรรมของศากยบุตร’
อนึ่ง เรากล่าวอย่างนี้ว่า ‘ผู้ต้องการหญ้าพึงแสวงหาหญ้า ผู้ต้องการไม้พึง
แสวงหาไม้ ผู้ต้องการเกวียนพึงแสวงหาเกวียน ผู้ต้องการบุรุษพึงแสวงหาบุรุษ’
แต่เราไม่กล่าวเลยว่า ‘พึงยินดี พึงแสวงหาทองและเงินโดยประการใด ๆ”

มณิจูฬกสูตรที่ ๑๐ จบ

๑๑. คันธภกสูตร
ว่าด้วยผู้ใหญ่บ้านชื่อคันธภกะ

[๓๖๓] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ อุรุเวลกัปปนิคมของชาว
มัลละ แคว้นมัลละ ครั้งนั้น ผู้ใหญ่บ้านชื่อคันธภกะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่
ประทับ ถวายอภิวาทแล้ว นั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานวโรกาส ขอพระผู้มีพระภาคโปรดทรง
แสดงเหตุเกิดและความดับทุกข์แก่ข้าพระองค์ด้วยเถิด”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
“ผู้ใหญ่บ้าน เราพึงปรารภอดีตกาล แสดงเหตุเกิดทุกข์และความดับทุกข์แก่
ท่านว่า ‘อดีตกาลได้มีแล้วอย่างนี้’ ความสงสัยความเคลือบแคลงในเรื่องนั้นพึงมี
แก่ท่าน
ถ้าเราพึงปรารภอนาคตกาล แสดงเหตุเกิดทุกข์และความดับทุกข์แก่ท่านว่า
‘อนาคตกาลจักมีอย่างนี้’ ความเคลือบแคลงความสงสัยในเรื่องนั้นพึงมีแก่ท่าน
อนึ่ง เรานั่งอยู่ในที่นี้แล จักแสดงเหตุเกิดและความดับทุกข์แก่ท่านผู้นั่งอยู่ใน
ที่นี้เหมือนกัน ท่านจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๔๑๖ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๘. คามณิสังยุต] ๑๑. คันธภกสูตร

ผู้ใหญ่บ้านชื่อคันธภกะทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัส
ดังนี้ว่า
“ผู้ใหญ่บ้าน ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร มีอยู่ไหม ที่โสกะ (ความ
เศร้าโศก) ปริเทวะ (ความคร่ำครวญ) ทุกข์ (ความทุกข์กาย) โทมนัส (ความทุกข์ใจ)
และอุปายาส (ความคับแค้นใจ) พึงเกิดขึ้นแก่ท่าน เพราะหมู่มนุษย์ชาวอุรุเวล-
กัปปนิคมถูกประหาร จองจำ ปรับไหม หรือถูกตำหนิโทษ”
“มีอยู่ พระพุทธเจ้าข้า ที่โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส
พึงเกิดขึ้นแก่ข้าพระองค์ เพราะหมู่มนุษย์ชาวอุรุเวลกัปปนิคมถูกประหาร จองจำ
ปรับไหม หรือถูกตำหนิโทษ”
“ผู้ใหญ่บ้าน อนึ่ง มีอยู่ไหม ที่โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส
ไม่พึงเกิดขึ้นแก่ท่าน เพราะหมู่มนุษย์ชาวอุรุเวลกัปปนิคมถูกประหาร จองจำ ปรับ
ไหม หรือถูกตำหนิโทษ”
“มีอยู่ พระพุทธเจ้าข้า ที่โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสไม่พึง
เกิดขึ้นแก่ข้าพระองค์ เพราะหมู่มนุษย์ชาวอุรุเวลกัปปนิคมถูกประหาร จองจำ
ปรับไหม หรือถูกตำหนิโทษ”
“ผู้ใหญ่บ้าน อะไรเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และ
อุปายาสพึงเกิดขึ้นแก่ท่าน เพราะหมู่มนุษย์ชาวอุรุเวลกัปปนิคมบางพวกถูกประหาร
จองจำ ปรับไหม หรือถูกตำหนิโทษ
อนึ่ง อะไรเป็นเหตุเป็นปัจจัย ให้โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส
ไม่พึงเกิดขึ้นแก่ท่าน เพราะหมู่มนุษย์ชาวอุรุเวลกัปปนิคมบางพวกถูกประหาร
จองจำ ปรับไหม หรือถูกตำหนิโทษ”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสพึง
เกิดขึ้นแก่ข้าพระองค์ เพราะหมู่มนุษย์ชาวอุรุเวลกัปปนิคมเหล่าใดถูกประหาร
จองจำ ปรับไหม หรือถูกตำหนิโทษ ก็เพราะข้าพระองค์มีฉันทราคะในหมู่มนุษย์
ชาวอุรุเวลกัปปนิคมเหล่านั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๔๑๗ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๘. คามณิสังยุต] ๑๑. คันธภกสูตร

แต่โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสไม่พึงเกิดขึ้นแก่ข้าพระองค์
เพราะหมู่มนุษย์ชาวอุรุเวลกัปปนิคมเหล่าใดถูกประหาร จองจำ ปรับไหม หรือ
ถูกตำหนิโทษ ก็เพราะข้าพระองค์ไม่มีฉันทราคะในหมู่มนุษย์ชาวอุรุเวลกัปปนิคม
เหล่านั้น พระพุทธเจ้าข้า”
“ผู้ใหญ่บ้าน ท่านจงนำนัยไปในทุกข์ที่เป็นอดีตและอนาคตด้วยธรรมนี้ที่ท่าน
เห็น ทราบ บรรลุโดยไม่ประกอบด้วยกาล หยั่งลงแล้ว
ทุกข์ที่เป็นอดีตอย่างใดอย่างหนึ่ง เมื่อจะเกิด ย่อมเกิดขึ้น ทุกข์นั้นทั้งหมด
มีฉันทะเป็นรากเหง้า มีฉันทะเป็นเหตุ เพราะฉันทะเป็นรากเหง้าแห่งทุกข์
แม้ทุกข์ที่เป็นอนาคตอย่างใดอย่างหนึ่ง เมื่อจะเกิด จักเกิดขึ้น ทุกข์นั้นทั้ง
หมดมีฉันทะเป็นรากเหง้า มีฉันทะเป็นเหตุ เพราะฉันทะเป็นรากเหง้าแห่งทุกข์”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคยปรากฏ เท่าที่พระผู้มีพระภาค
ตรัสไว้ดีว่า ‘ทุกข์ที่เป็นอดีตอย่างใดอย่างหนึ่ง เมื่อจะเกิด ย่อมเกิดขึ้น ทุกข์นั้น
ทั้งหมดมีฉันทะเป็นรากเหง้า มีฉันทะเป็นเหตุ เพราะฉันทะเป็นรากเหง้าแห่งทุกข์
(ทุกข์ที่เป็นอนาคตอย่างใดอย่างหนึ่ง เมื่อจะเกิด จักเกิดขึ้น ทุกข์ทั้งหมดนั้นมี
ฉันทะเป็นรากเหง้า มีฉันทะเป็นเหตุ เพราะฉันทะเป็นรากเหง้าแห่งทุกข์)’
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์มีกุมารชื่อจิรวาสี อาศัยอยู่ภายนอกที่พัก
ข้าพระองค์ตื่นแต่เช้าตรู่ ย่อมส่งบุรุษไปด้วยสั่งว่า ‘ไปเถิดนาย เจ้าจงรู้จิรวาสีกุมาร’
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ตราบใดที่บุรุษนั้นยังไม่มา ตราบนั้นความกระวน-
กระวายใจย่อมมีแก่ข้าพระองค์ว่า ‘ภัยใด ๆ อย่าได้เบียดเบียนจิรวาสีกุมารเลย”
“ผู้ใหญ่บ้าน ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส
และอุปายาส พึงเกิดขึ้นเพราะจิรวาสีกุมารถูกประหาร จองจำ ปรับไหม หรือถูก
ตำหนิโทษหรือ”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แม้เมื่อจิรวาสีกุมารยังมีชีวิตอยู่ ความกระวนกระวาย
ใจยังมีแก่ข้าพระองค์ ก็ทำไม โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสจักไม่
เกิดขึ้นแก่ข้าพระองค์ เพราะจิรวาสีกุมารถูกประหาร จองจำ ปรับไหม หรือถูก
ตำหนิโทษเล่า”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๔๑๘ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๘. คามณิสังยุต] ๑๒. ราสิยสูตร

“ผู้ใหญ่บ้าน ท่านพึงทราบเนื้อความนั้นโดยเหตุนี้ว่า ทุกข์อย่างใดอย่างหนึ่ง
เมื่อจะเกิด ย่อมเกิดขึ้น ทุกข์นั้นทั้งหมดมีฉันทะเป็นรากเหง้า มีฉันทะเป็นเหตุ
เพราะฉันทะเป็นรากเหง้าแห่งทุกข์
ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร เมื่อใดท่านไม่ได้เห็นมารดาของจิรวาสีกุมาร
ไม่ได้ฟังเสียง เมื่อนั้นท่านยังมีฉันทราคะหรือความรักในมารดาของจิรวาสีกุมารหรือ”
“ไม่มี พระพุทธเจ้าข้า”
“ผู้ใหญ่บ้าน เพราะอาศัยการเห็นหรือการฟัง ท่านจึงได้มีฉันทราคะหรือ
ความรักในมารดาของจิรวาสีกุมารหรือ”
“อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
“ผู้ใหญ่บ้าน ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส
และอุปายาสพึงเกิดขึ้นแก่ท่าน เพราะมารดาของจิรวาสีกุมารถูกประหาร จองจำ
ปรับไหม หรือถูกตำหนิโทษหรือ”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แม้เมื่อมารดาของจิรวาสีกุมารยังมีชีวิตอยู่ ความ
กระวนกระวายยังมีแก่ข้าพระองค์ ก็ทำไม โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และ
อุปายาสจักไม่เกิดขึ้นแก่ข้าพระองค์ เพราะมารดาของจิรวาสีกุมารถูกประหาร
จองจำ ปรับไหม หรือถูกตำหนิโทษเล่า”
“ผู้ใหญ่บ้าน ท่านพึงทราบความข้อนั้นโดยเหตุนี้ว่า ทุกข์อย่างใดอย่างหนึ่ง
เมื่อจะเกิด ย่อมเกิดขึ้น ทุกข์นั้นทั้งหมดมีฉันทะเป็นรากเหง้า มีฉันทะเป็นเหตุ
เพราะฉันทะเป็นรากเหง้าแห่งทุกข์”

คันธภกสูตรที่ ๑๑ จบ

๑๒. ราสิยสูตร
ว่าด้วยผู้ใหญ่บ้านชื่อราสิยะ

[๓๖๔] ครั้งนั้น ผู้ใหญ่บ้านชื่อราสิยะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
ถวายอภิวาท แล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๔๑๙ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๘. คามณิสังยุต] ๑๒. ราสิยสูตร

“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ได้ยินมาว่า ‘พระสมณโคดมทรงตำหนิ
ตบะทุกชนิด ทรงชี้โทษและคัดค้านผู้บำเพ็ญตบะทั้งปวงว่าเป็นอยู่เศร้าหมองโดย
ส่วนเดียว’
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สมณพราหมณ์ที่กล่าวอย่างนี้ว่า ‘พระสมณโคดมทรง
ตำหนิตบะทุกชนิด ทรงชี้โทษและคัดค้านผู้บำเพ็ญตบะทั้งปวงว่า เป็นอยู่เศร้าหมอง
โดยส่วนเดียว’ ชื่อว่าพูดตรงตามที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ ไม่ชื่อว่ากล่าวตู่พระ
ผู้มีพระภาคด้วยคำเท็จหรือ ชื่อว่ากล่าวแก้อย่างสมเหตุสมผลหรือ ไม่มีบ้างหรือที่
คำกล่าวเช่นนั้นและคำที่กล่าวต่อ ๆ กันมาจะเป็นเหตุให้ถูกตำหนิได้”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ผู้ใหญ่บ้าน สมณพราหมณ์ที่กล่าวอย่างนี้ว่า
‘พระสมณโคดมทรงตำหนิตบะทุกชนิด ทรงชี้โทษและคัดค้านผู้บำเพ็ญตบะทั้งปวงว่า
เป็นอยู่เศร้าหมองโดยส่วนเดียว’ ไม่ชื่อว่าพูดตรงตามคำที่เราพูดไว้ และชื่อว่า
กล่าวตู่เราด้วยคำเปล่าคำเท็จ
บรรพชิตไม่พึงเสพที่สุด ๒ อย่าง
ผู้ใหญ่บ้าน ที่สุด ๒ อย่างนี้บรรพชิตไม่พึงเสพ คือ
๑. กามสุขัลลิกานุโยค (การหมกมุ่นอยู่ด้วยสุขในกามทั้งหลาย) เป็นธรรมอัน
ทราม เป็นของชาวบ้าน เป็นของปุถุชน ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่
ประกอบด้วยประโยชน์
๒. อัตตกิลมถานุโยค (การประกอบความลำบากเดือดร้อนแก่ตน) เป็นทุกข์
ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์
มัชฌิมาปฏิปทาไม่เอียงเข้าใกล้ที่สุด ๒ อย่างนั้นตถาคตได้ตรัสรู้แล้ว อันเป็น
ปฏิปทาก่อให้เกิดจักษุ๑ ก่อให้เกิดญาณ เป็นไปเพื่อความสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อ
ความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๘. คามณิสังยุต] ๑๒. ราสิยสูตร

มัชฌิมาปฏิปทาที่ตถาคตได้ตรัสรู้แล้ว อันเป็นปฏิปทาก่อให้เกิดจักษุ ก่อ
ให้เกิดญาณ เป็นไปเพื่อความสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน
นั้นเป็นอย่างไร
มัชฌิมาปฏิปทานั้น คือ อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้แล ได้แก่
๑. สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ ๘. สัมมาสมาธิ
นี้คือมัชฌิมาปฏิปทานั้นที่ตถาคตได้ตรัสรู้แล้ว อันเป็นปฏิปทาก่อให้เกิดจักษุ
ก่อให้เกิดญาณ เป็นไปเพื่อความความสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อ
นิพพาน
กามโภคีบุคคล ๓ จำพวก
ผู้ใหญ่บ้าน กามโภคีบุคคล๑ ๓ จำพวกนี้มีปรากฏอยู่ในโลก
กามโภคีบุคคล ๓ จำพวก ไหนบ้าง คือ
๑. กามโภคีบุคคลบางคนในโลกนี้แสวงหาโภคทรัพย์โดยไม่ชอบธรรมด้วย
การงานที่ผิด ครั้นแสวงหาได้แล้ว ไม่เลี้ยงตนให้อิ่มหนำ และไม่แจกจ่าย
ไม่ทำบุญ
กามโภคีบุคคลบางคนในโลกนี้แสวงหาโภคทรัพย์โดยไม่ชอบธรรมด้วย
การงานที่ผิด ครั้นแสวงหาได้แล้ว เลี้ยงตนให้อิ่มหนำสำราญ แต่ไม่
แจกจ่าย ไม่ทำบุญ
กามโภคีบุคคลบางคนในโลกนี้แสวงหาโภคทรัพย์โดยไม่ชอบธรรมด้วย
การงานที่ผิด ครั้นแสวงหาได้แล้ว เลี้ยงตนให้อิ่มหนำสำราญ และแจกจ่าย
ทำบุญ
๒. กามโภคีบุคคลบางคนในโลกนี้แสวงหาโภคทรัพย์โดยชอบธรรมและไม่ชอบ
ธรรมด้วยการงานที่ผิดบ้าง ไม่ผิดบ้าง ครั้นแสวงหาได้แล้ว ไม่เลี้ยงตน
ให้อิ่มหนำสำราญ และไม่แจกจ่าย ไม่ทำบุญ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๘. คามณิสังยุต] ๑๒. ราสิยสูตร

กามโภคีบุคคลบางคนในโลกนี้แสวงหาโภคทรัพย์โดยชอบธรรมและ
ไม่ชอบธรรมด้วยการงานที่ผิดบ้าง ไม่ผิดบ้าง ครั้นแสวงหาได้แล้ว
เลี้ยงตนให้อิ่มหนำสำราญ แต่ไม่แจกจ่าย ไม่ทำบุญ
กามโภคีบุคคลบางคนในโลกนี้แสวงหาโภคทรัพย์โดยชอบธรรมและ
ไม่ชอบธรรมด้วยการงานที่ผิดบ้าง ไม่ผิดบ้าง ครั้นแสวงหาได้แล้ว
เลี้ยงตนให้อิ่มหนำสำราญ และแจกจ่าย ทำบุญ
๓. กามโภคีบุคคลบางคนในโลกนี้แสวงหาโภคทรัพย์โดยชอบธรรมด้วยการงาน
ที่ไม่ผิด ครั้นแสวงหาได้แล้ว ไม่เลี้ยงตนให้อิ่มหนำสำราญ และไม่แจกจ่าย
ไม่ทำบุญ
กามโภคีบุคคลบางคนในโลกนี้แสวงหาโภคทรัพย์โดยชอบธรรม
ด้วยการงานที่ไม่ผิด ครั้นแสวงหาได้แล้ว เลี้ยงตนให้อิ่มหนำสำราญ
แต่ไม่แจกจ่าย ไม่ทำบุญ
กามโภคีบุคคลบางคนในโลกนี้แสวงหาโภคทรัพย์โดยชอบธรรม
ด้วยการงานที่ไม่ผิด ครั้นแสวงหาได้แล้ว เลี้ยงตนให้อิ่มหนำสำราญ
และแจกจ่าย ทำบุญ แต่เป็นผู้มัวเมา หมกมุ่น จดจ่อ ไม่เห็นโทษ ไม่มี
ปัญญาเป็นเครื่องสลัดออก ใช้สอยโภคทรัพย์เหล่านั้น
กามโภคีบุคคลบางคนในโลกนี้แสวงหาโภคทรัพย์โดยชอบธรรม
ด้วยการงานที่ไม่ผิด ครั้นแสวงหาได้แล้ว เลี้ยงตนให้อิ่มหนำสำราญ และ
แจกจ่าย ทำบุญ ทั้งเป็นผู้ไม่มัวเมา ไม่หมกมุ่น ไม่จดจ่อ เห็นโทษ มี
ปัญญาเป็นเครื่องสลัดออก ใช้สอยโภคทรัพย์เหล่านั้น
กามโภคีบุคคลที่ควรติเตียนและสรรเสริญ
ผู้ใหญ่บ้าน ในบรรดากามโภคีบุคคล ๓ จำพวกนั้น กามโภคีบุคคลที่แสวงหา
โภคทรัพย์โดยไม่ชอบธรรมด้วยการงานที่ผิด ครั้นแสวงหาได้แล้ว ไม่เลี้ยงตนให้
อิ่มหนำสำราญ ไม่แจกจ่าย ไม่ทำบุญนี้ควรติเตียนโดย ๓ สถาน
ควรติเตียนโดย ๓ สถาน อะไรบ้าง คือ
๑. ควรติเตียนโดยสถานที่ ๑ นี้ว่า ‘แสวงหาโภคทรัพย์โดยไม่ชอบธรรม
ด้วยการงานที่ผิด’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๔๒๒ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๘. คามณิสังยุต] ๑๒. ราสิยสูตร

๒. ควรติเตียนโดยสถานที่ ๒ นี้ว่า ‘ไม่เลี้ยงตนให้อิ่มหนำสำราญ’
๓. ควรติเตียนโดยสถานที่ ๓ นี้ว่า ‘ไม่แจกจ่าย ไม่ทำบุญ’
กามโภคีบุคคลนี้ควรติเตียนโดย ๓ สถานนี้ (๑)
กามโภคีบุคคลที่แสวงหาโภคทรัพย์โดยไม่ชอบธรรมด้วยการงานที่ผิด ครั้น
แสวงหาได้แล้ว เลี้ยงตนให้อิ่มหนำสำราญ แต่ไม่แจกจ่าย ไม่ทำบุญนี้ควรติเตียน
โดย ๒ สถาน ควรสรรเสริญโดยสถานเดียว คือ
ควรติเตียนโดย ๒ สถาน อะไรบ้าง คือ
๑. ควรติเตียนโดยสถานที่ ๑ นี้ว่า ‘แสวงหาโภคทรัพย์โดยไม่ชอบธรรม
ด้วยการงานที่ผิด’
๒. ควรติเตียนโดยสถานที่ ๒ นี้ว่า ‘ไม่แจกจ่าย ไม่ทำบุญ’
ควรสรรเสริญโดยสถานเดียว คืออะไร
คือ ควรสรรเสริญโดยสถานเดียวนี้ว่า ‘เลี้ยงตนให้อิ่มหนำสำราญ’
กามโภคีบุคคลนี้ควรติเตียนโดย ๒ สถานนี้ ควรสรรเสริญโดยสถานเดียว
นี้ (๒)
กามโภคีบุคคลที่แสวงหาโภคทรัพย์โดยไม่ชอบธรรมด้วยการงานที่ผิด ครั้น
แสวงหาได้แล้ว เลี้ยงตนให้อิ่มหนำสำราญ และแจกจ่าย ทำบุญนี้ควรติเตียนโดย
สถานเดียว ควรสรรเสริญโดย ๒ สถาน คือ
ควรติเตียนโดยสถานเดียว คืออะไร
คือ ควรติเตียนโดยสถานเดียวนี้ว่า ‘แสวงหาโภคทรัพย์โดยไม่ชอบธรรมด้วย
การงานที่ผิด’
ควรสรรเสริญโดย ๒ สถาน อะไรบ้าง คือ
๑. ควรสรรเสริญโดยสถานที่ ๑ นี้ว่า ‘เลี้ยงตนให้อิ่มหนำสำราญ’
๒. ควรสรรเสริญโดยสถานที่ ๒ นี้ว่า ‘แจกจ่าย และทำบุญ’
กามโภคีบุคคลนี้ควรติเตียนโดยสถานเดียวนี้ ควรสรรเสริญโดย ๒ สถาน
นี้ (๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๔๒๓ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๘. คามณิสังยุต] ๑๒. ราสิยสูตร

กามโภคีบุคคลที่แสวงหาโภคทรัพย์โดยชอบธรรมและไม่ชอบธรรมด้วยการงาน
ที่ผิดบ้าง ไม่ผิดบ้าง ครั้นแสวงหาได้แล้ว ไม่เลี้ยงตนให้อิ่มหนำสำราญ ไม่แจกจ่าย
ไม่ทำบุญนี้ควรสรรเสริญโดยสถานเดียว ควรติเตียนโดย ๓ สถาน คือ
ควรสรรเสริญโดยสถานเดียว คืออะไร
คือ ควรสรรเสริญโดยสถานเดียวนี้ว่า ‘แสวงหาโภคทรัพย์โดยชอบธรรมด้วย
การงานที่ไม่ผิด’
ควรติเตียนโดย ๓ สถาน อะไรบ้าง คือ
๑. ควรติเตียนโดยสถานที่ ๑ นี้ว่า ‘แสวงหาโภคทรัพย์โดยไม่ชอบธรรม
ด้วยการงานที่ผิด’
๒. ควรติเตียนโดยสถานที่ ๒ นี้ว่า ‘ไม่เลี้ยงตนให้อิ่มหนำสำราญ’
๓. ควรติเตียนโดยสถานที่ ๓ นี้ว่า ‘ไม่แจกจ่าย ไม่ทำบุญ’
กามโภคีบุคคลนี้ควรสรรเสริญโดยสถานเดียวนี้ ควรติเตียนโดย ๓ สถานนี้ (๔)
กามโภคีบุคคลที่แสวงหาโภคทรัพย์โดยชอบธรรมและไม่ชอบธรรมด้วยการงาน
ที่ผิดบ้าง ไม่ผิดบ้าง ครั้นแสวงหาได้แล้ว เลี้ยงตนให้อิ่มหนำสำราญ แต่ไม่แจกจ่าย
ไม่ทำบุญนี้ควรสรรเสริญโดย ๒ สถาน ควรติเตียนโดย ๒ สถาน คือ
ควรสรรเสริญโดย ๒ สถาน อะไรบ้าง คือ
๑. ควรสรรเสริญโดยสถานที่ ๑ นี้ว่า ‘แสวงหาโภคทรัพย์โดยชอบธรรม
ด้วยการงานที่ไม่ผิด’
๒. ควรสรรเสริญโดยสถานที่ ๒ นี้ว่า ‘เลี้ยงตนให้อิ่มหนำสำราญ’
ควรติเตียนโดย ๒ สถาน อะไรบ้าง คือ
๑. ควรติเตียนโดยสถานที่ ๑ นี้ว่า ‘แสวงหาโภคทรัพย์โดยไม่ชอบธรรม
ด้วยการงานที่ผิด’
๒. ควรติเตียนโดยสถานที่ ๒ นี้ว่า ‘ไม่แจกจ่าย ไม่ทำบุญ’
กามโภคีบุคคลนี้ควรสรรเสริญโดย ๒ สถานนี้ ควรติเตียนโดย ๒ สถานนี้ (๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๔๒๔ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๘. คามณิสังยุต] ๑๒. ราสิยสูตร

กามโภคีบุคคลที่แสวงหาโภคทรัพย์โดยชอบธรรมและไม่ชอบธรรมด้วยการงาน
ที่ผิดบ้าง ไม่ผิดบ้าง ครั้นแสวงหาได้แล้ว เลี้ยงตนให้อิ่มหนำสำราญ ทั้งแจกจ่าย
และทำบุญ ควรสรรเสริญโดย ๓ สถาน ควรติเตียนโดยสถานเดียว คือ
ควรสรรเสริญโดย ๓ สถาน อะไรบ้าง คือ
๑. ควรสรรเสริญโดยสถานที่ ๑ นี้ว่า ‘แสวงหาโภคทรัพย์โดยชอบธรรม
ด้วยการงานที่ไม่ผิด’
๒. ควรสรรเสริญโดยสถานที่ ๒ นี้ว่า ‘เลี้ยงตนให้อิ่มหนำสำราญ’
๓. ควรสรรเสริญโดยสถานที่ ๓ นี้ว่า ‘แจกจ่ายและทำบุญ’
ควรติเตียนโดยสถานเดียว คืออะไร
คือ ควรติเตียนโดยสถานเดียวนี้ว่า ‘แสวงหาโภคทรัพย์โดยไม่ชอบธรรมด้วย
การงานที่ผิด’
กามโภคีบุคคลนี้ควรสรรเสริญโดย ๓ สถานนี้ ควรติเตียนโดยสถานเดียวนี้ (๖)
กามโภคีบุคคลที่แสวงหาโภคทรัพย์โดยชอบธรรมด้วยการงานที่ไม่ผิด ครั้น
แสวงหาได้แล้ว ไม่เลี้ยงตนให้อิ่มหนำสำราญ ไม่แจกจ่าย ไม่ทำบุญ ควรสรรเสริญ
โดยสถานเดียว ควรติเตียนโดย ๒ สถาน คือ
ควรสรรเสริญโดยสถานเดียว คืออะไร
คือ ควรสรรเสริญโดยสถานเดียวนี้ว่า ‘แสวงหาโภคทรัพย์โดยชอบธรรมด้วย
การงานที่ไม่ผิด’
ควรติเตียนโดย ๒ สถาน อะไรบ้าง คือ
๑. ควรติเตียนโดยสถานที่ ๑ นี้ว่า ‘ไม่เลี้ยงตนให้อิ่มหนำสำราญ’
๒. ควรติเตียนโดยสถานที่ ๒ นี้ว่า ‘ไม่แจกจ่าย ไม่ทำบุญ’
กามโภคีบุคคลนี้ควรสรรเสริญโดยสถานเดียวนี้ ควรติเตียนโดย ๒ สถานนี้ (๗)
กามโภคีบุคคลที่แสวงหาโภคทรัพย์โดยชอบธรรมด้วยการงานที่ไม่ผิด ครั้น
แสวงหาได้แล้ว เลี้ยงตนให้อิ่มหนำสำราญ แต่ไม่แจกจ่าย ไม่ทำบุญ ควรสรรเสริญ
โดย ๒ สถาน ควรติเตียนโดยสถานเดียว คือ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๔๒๕ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๘. คามณิสังยุต] ๑๒. ราสิยสูตร

ควรสรรเสริญโดย ๒ สถาน อะไรบ้าง คือ
๑. ควรสรรเสริญโดยสถานที่ ๑ นี้ว่า ‘แสวงหาโภคทรัพย์โดยชอบธรรม
ด้วยการงานที่ไม่ผิด’
๒. ควรสรรเสริญโดยสถานที่ ๒ นี้ว่า ‘เลี้ยงตนให้อิ่มหนำสำราญ’
ควรติเตียนโดยสถานเดียว คืออะไร
คือ ควรติเตียนโดยสถานเดียวนี้ว่า ‘ไม่แจกจ่าย ไม่ทำบุญ’
กามโภคีบุคคลนี้ควรสรรเสริญโดย ๒ สถานนี้ ควรติเตียนโดยสถานเดียว
นี้ (๘)
กามโภคีบุคคลที่แสวงหาโภคทรัพย์โดยชอบธรรมด้วยการงานที่ไม่ผิด ครั้น
แสวงหาได้แล้ว เลี้ยงตนให้อิ่มหนำสำราญ แจกจ่าย และทำบุญ แต่เป็นผู้มัวเมา
หมกมุ่น จดจ่อ ไม่เห็นโทษ ไม่มีปัญญาเครื่องสลัดออก ใช้สอยโภคทรัพย์เหล่า
นั้นอยู่ ควรสรรเสริญโดย ๓ สถาน ควรติเตียนโดยสถานเดียว คือ
ควรสรรเสริญโดย ๓ สถาน อะไรบ้าง คือ
๑. ควรสรรเสริญโดยสถานที่ ๑ นี้ว่า ‘แสวงหาโภคทรัพย์โดยชอบธรรม
ด้วยการงานที่ไม่ผิด’
๒. ควรสรรเสริญโดยสถานที่ ๒ นี้ว่า ‘เลี้ยงตนให้อิ่มหนำสำราญ’
๓. ควรสรรเสริญโดยสถานที่ ๓ นี้ว่า ‘แจกจ่าย และทำบุญ’
ควรติเตียนโดยสถานเดียว คืออะไร
คือ ควรติเตียนโดยสถานเดียวนี้ว่า ‘เป็นผู้มัวเมา หมกมุ่น จดจ่อ ไม่เห็นโทษ
ไม่มีปัญญาเครื่องสลัดออก ใช้สอยโภคทรัพย์เหล่านั้นอยู่’
กามโภคีบุคคลนี้ควรสรรเสริญโดย ๓ สถานนี้ ควรติเตียนโดยสถานเดียว
นี้ (๙)
กามโภคีบุคคลที่แสวงหาโภคทรัพย์โดยชอบธรรมด้วยการงานที่ไม่ผิด ครั้น
แสวงหาได้แล้ว เลี้ยงตนให้อิ่มหนำสำราญ ทั้งแจกจ่ายและทำบุญ แต่ไม่มัวเมา
ไม่หมกมุ่น ไม่จดจ่อ เห็นโทษ มีปัญญาเครื่องสลัดออก ใช้สอยโภคทรัพย์เหล่านั้น
อยู่ ควรสรรเสริญโดย ๔ สถาน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๔๒๖ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๘. คามณิสังยุต] ๑๒. ราสิยสูตร

ควรสรรเสริญโดย ๔ สถาน อะไรบ้าง คือ
๑. ควรสรรเสริญโดยสถานที่ ๑ นี้ว่า ‘แสวงหาโภคทรัพย์โดยชอบธรรม
ด้วยการงานที่ไม่ผิด’
๒. ควรสรรเสริญโดยสถานที่ ๒ นี้ว่า ‘เลี้ยงตนให้อิ่มหนำสำราญ’
๓. ควรสรรเสริญโดยสถานที่ ๓ นี้ว่า ‘แจกจ่ายและทำบุญ’
๔. ควรสรรเสริญโดยสถานที่ ๔ นี้ว่า ‘ไม่มัวเมา ไม่หมกมุ่น ไม่จดจ่อ
เห็นโทษ มีปัญญาเครื่องสลัดออก ใช้สอยโภคทรัพย์เหล่านั้นอยู่’
กามโภคีบุคคลนี้ควรสรรเสริญโดย ๔ สถานนี้ (๑๐)
ผู้บำเพ็ญตบะเป็นอยู่เศร้าหมอง ๓ จำพวก
ผู้ใหญ่บ้าน บุคคลผู้บำเพ็ญตบะ เป็นอยู่เศร้าหมอง ๓ จำพวกนี้มีปรากฏ
อยู่ในโลก
บุคคลผู้บำเพ็ญตบะเป็นอยู่เศร้าหมอง ๓ จำพวก ไหนบ้าง คือ
๑. บุคคลบางคนในโลกนี้บำเพ็ญตบะเป็นอยู่เศร้าหมอง มีศรัทธา ออกจาก
เรือนบวชเป็นบรรพชิตด้วยคิดว่า ‘ไฉนหนอเราพึงบรรลุกุศลธรรม ไฉน
หนอเราพึงทำให้แจ้งญาณทัสสนะที่ประเสริฐอันสามารถอันวิเศษยิ่งกว่า
ธรรมของมนุษย์’ เขาทำตนให้เดือดร้อนกระวนกระวาย ไม่บรรลุกุศลธรรม
และไม่ทำให้แจ้งญาณทัสสนะที่ประเสริฐอันสามารถอันวิเศษยิ่งกว่าธรรม
ของมนุษย์ (๑)
๒. อนึ่ง บุคคลบางคนในโลกนี้บำเพ็ญตบะเป็นอยู่เศร้าหมอง มีศรัทธา ออก
จากเรือนบวชเป็นบรรพชิตด้วยคิดว่า ‘ไฉนหนอเราพึงบรรลุกุศลธรรม
ไฉนหนอเราพึงทำให้แจ้งญาณทัสสนะที่ประเสริฐอันสามารถอันวิเศษ
ยิ่งกว่าธรรมของมนุษย์’ เขาทำตนให้เดือดร้อนกระวนกระวาย บรรลุ
กุศลธรรม แต่ไม่ทำให้แจ้งญาณทัสสนะที่ประเสริฐอันสามารถอันวิเศษ
ยิ่งกว่าธรรมของมนุษย์ (๒)
๓. อนึ่ง บุคคลบางคนในโลกนี้บำเพ็ญตบะเป็นอยู่เศร้าหมอง มีศรัทธา ออก
จากเรือนบวชเป็นบรรพชิตด้วยคิดว่า ‘ไฉนหนอเราพึงบรรลุกุศลธรรม

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๔๒๗ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๘. คามณิสังยุต] ๑๒. ราสิยสูตร

ไฉนหนอเราพึงทำให้แจ้งญาณทัสสนะที่ประเสริฐอันสามารถอันวิเศษยิ่งกว่า
ธรรมของมนุษย์’ เขาทำตนให้เดือดร้อนกระวนกระวาย บรรลุกุศลธรรม
และทำให้แจ้งญาณทัสสนะที่ประเสริฐอันสามารถอันวิเศษยิ่งกว่าธรรม
ของมนุษย์ (๓)

ผู้บำเพ็ญตบะเป็นอยู่เศร้าหมองควรถูกติเตียนและสรรเสริญ

ผู้ใหญ่บ้าน บรรดาบุคคล ๓ จำพวกนั้น บุคคลผู้บำเพ็ญตบะ เป็นอยู่
เศร้าหมอง ทำตนให้เดือดร้อนกระวนกระวาย ไม่บรรลุกุศลธรรม และไม่ทำให้แจ้ง
ญาณทัสสนะที่ประเสริฐอันสามารถอันวิเศษยิ่งกว่าธรรมของมนุษย์ ควรติเตียนโดย
๓ สถาน
ควรติเตียนโดย ๓ สถาน อะไรบ้าง คือ
๑. ควรติเตียนโดยสถานที่ ๑ นี้ว่า ‘ทำตนให้เดือดร้อนกระวนกระวาย’
๒. ควรติเตียนโดยสถานที่ ๒ นี้ว่า ‘ไม่บรรลุกุศลธรรม’
๓. ควรติเตียนโดยสถานที่ ๓ นี้ว่า ‘ไม่ทำให้แจ้งญาณทัสสนะที่ประเสริฐ
อันสามารถอันวิเศษยิ่งกว่าธรรมของมนุษย์’
บุคคลผู้บำเพ็ญตบะ เป็นอยู่เศร้าหมองนี้ ควรติเตียนโดย ๓ สถานนี้ (๑)

บุคคลผู้บำเพ็ญตบะ เป็นอยู่เศร้าหมอง ทำตนให้เดือดร้อนกระวนกระวาย
บรรลุกุศลธรรม แต่ไม่ทำให้แจ้งญาณทัสสนะที่ประเสริฐอันสามารถอันวิเศษยิ่งกว่า
ธรรมของมนุษย์ ควรติเตียนโดย ๒ สถาน ควรสรรเสริญโดยสถานเดียว คือ
ควรติเตียนโดย ๒ สถาน อะไรบ้าง คือ
๑. ควรติเตียนโดยสถานที่ ๑ นี้ว่า ‘ทำตนให้เดือดร้อนกระวนกระวาย’
๒. ควรติเตียนโดยสถานที่ ๒ นี้ว่า ‘ไม่ทำให้แจ้งญาณทัสสนะที่ประเสริฐ
อันสามารถอันวิเศษยิ่งกว่าธรรมของมนุษย์’
ควรสรรเสริญโดยสถานเดียว คืออะไร
คือ ควรสรรเสริญโดยสถานเดียวนี้ว่า ‘บรรลุกุศลธรรม’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๔๒๘ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๘. คามณิสังยุต] ๑๒. ราสิยสูตร

บุคคลผู้บำเพ็ญตบะ เป็นอยู่เศร้าหมองนี้ควรติเตียนโดย ๒ สถานนี้ ควร
สรรเสริญโดยสถานเดียวนี้ (๒)
บุคคลผู้บำเพ็ญตบะ เป็นอยู่เศร้าหมอง ทำตนให้เดือดร้อนกระวนกระวาย
บรรลุกุศลธรรม และทำให้แจ้งญาณทัสสนะที่ประเสริฐอันสามารถอันวิเศษยิ่งกว่า
ธรรมของมนุษย์ ควรติเตียนโดยสถานเดียว ควรสรรเสริญโดย ๒ สถาน
ควรติเตียนโดยสถานเดียว คืออะไร
คือ ควรติเตียนโดยสถานเดียวนี้ว่า ‘ทำตนให้เดือดร้อนกระวนกระวาย’
ควรสรรเสริญโดย ๒ สถาน อะไรบ้าง คือ
๑. ควรสรรเสริญโดยสถานที่ ๑ นี้ว่า ‘บรรลุกุศลธรรม’
๒. ควรสรรเสริญโดยสถานที่ ๒ นี้ว่า ‘ทำให้แจ้งญาณทัสสนะที่ประเสริฐ
อันสามารถอันวิเศษยิ่งกว่าธรรมของมนุษย์’
บุคคลผู้บำเพ็ญตบะ เป็นอยู่เศร้าหมองนี้ควรติเตียนโดยสถานเดียวนี้ ควร
สรรเสริญโดย ๒ สถานนี้ (๓)
ธรรม ๓ ประการที่ผู้ปฏิบัติพึงเห็นชัดด้วยตนเอง
ผู้ใหญ่บ้าน ธรรม ๓ ประการนี้ที่ผู้ปฏิบัติจะพึงเห็นชัดด้วยตนเอง ไม่คร่ำครึ ไม่
ประกอบด้วยกาล ควรเรียกให้มาดู ควรน้อมเข้ามาในตน อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน
ธรรม ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. บุคคลผู้มีราคะย่อมคิดเพื่อเบียดเบียนตนเองบ้าง เพื่อเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง
เพื่อเบียดเบียนทั้ง ๒ ฝ่ายบ้าง เพราะราคะเป็นเหตุ เมื่อละราคะได้แล้ว
เขาย่อมไม่คิดเพื่อเบียดเบียนตนเองบ้าง ไม่คิดเพื่อเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง
ไม่คิดเพื่อเบียดเบียนทั้ง ๒ ฝ่ายบ้าง นี้เป็นธรรมที่ผู้ปฏิบัติจะพึงเห็นชัด
ด้วยตนเอง ไม่คร่ำครึ ไม่ประกอบด้วยกาล ควรเรียกให้มาดู ควรน้อม
เข้ามาในตน อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน
๒. บุคคลผู้มีโทสะย่อมคิดเพื่อเบียดเบียนตนเองบ้าง เพื่อเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง
เพื่อเบียดเบียนทั้ง ๒ ฝ่ายบ้าง เพราะโทสะเป็นเหตุ เมื่อละโทสะได้แล้ว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๔๒๙ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๘. คามณิสังยุต] ๑๓. ปาฏลิยสูตร

เขาย่อมไม่คิดเพื่อเบียดเบียนตนเองบ้าง ไม่คิดเพื่อเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง
ไม่คิดเพื่อเบียดเบียนทั้ง ๒ ฝ่ายบ้าง นี้เป็นธรรมที่ผู้ปฏิบัติจะพึงเห็นชัด
ด้วยตนเอง ไม่คร่ำครึ ไม่ประกอบด้วยกาล ควรเรียกให้มาดู ควรน้อม
เข้ามาในตน อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน
๓. บุคคลผู้มีโมหะย่อมคิดเพื่อเบียดเบียนตนเองบ้าง เพื่อเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง
เพื่อเบียดเบียนทั้ง ๒ ฝ่ายบ้าง เพราะโมหะเป็นเหตุ เมื่อละโมหะได้แล้ว
เขาย่อมไม่คิดเพื่อเบียดเบียนตนเองบ้าง ไม่คิดเพื่อเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง
ไม่คิดเพื่อเบียดเบียนทั้ง ๒ ฝ่ายบ้าง นี้เป็นธรรมที่ผู้ปฏิบัติจะพึงเห็นชัด
ด้วยตนเอง ไม่คร่ำครึ ไม่ประกอบด้วยกาล ควรเรียกให้มาดู ควรน้อม
เข้ามาในตน อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน
ธรรม ๓ ประการนี้ที่ผู้ปฏิบัติจะพึงเห็นชัดด้วยตนเอง ไม่คร่ำครึ ไม่ประกอบ
ด้วยกาล ควรเรียกให้มาดู ควรน้อมเข้ามาในตน อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน”
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ผู้ใหญ่บ้านชื่อราสิยะได้กราบทูลพระผู้มี
พระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระภาษิตของพระองค์ชัดเจนไพเราะยิ่งนัก
ฯลฯ ขอพระผู้มีพระภาคจงทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะ ตั้งแต่วันนี้
เป็นต้นไปจนตลอดชีวิต”

ราสิยสูตรที่ ๑๒ จบ

๑๓. ปาฏลิยสูตร
ว่าด้วยผู้ใหญ่บ้านชื่อปาฏลิยะ

[๓๖๕] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่นิคมของชาวโกฬิยะชื่ออุตตระ
ในแคว้นโกฬิยะ ครั้งนั้น ผู้ใหญ่บ้านชื่อปาฏลิยะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
ถวายอภิวาทแล้ว นั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ได้ยินมาว่า ‘พระสมณโคดมทรงรู้จักมารยา’
สมณพราหมณ์ที่กล่าวว่า ‘พระสมณโคดมทรงรู้จักมารยา’ ชื่อว่าพูดตรงตามที่
พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ ไม่ชื่อว่ากล่าวตู่พระผู้มีพระภาคด้วยคำเท็จหรือ ชื่อว่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๔๓๐ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๘. คามณิสังยุต] ๑๓. ปาฏลิยสูตร

กล่าวแก้อย่างสมเหตุสมผลหรือ ไม่มีบ้างหรือที่คำกล่าวเช่นนั้นและคำที่กล่าวต่อ ๆ
กันมาจะเป็นเหตุให้ถูกตำหนิได้ เพราะพวกข้าพระองค์ไม่ประสงค์จะกล่าวตู่พระผู้มี
พระภาคเลย”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ผู้ใหญ่บ้าน สมณพราหมณ์ที่กล่าวว่า ‘พระ
สมณโคดมทรงรู้จักมารยา’ ชื่อว่าพูดตรงตามคำที่เราพูดไว้ ไม่ชื่อว่ากล่าวตู่เราด้วย
คำเท็จ ชื่อว่ากล่าวแก้อย่างสมเหตุสมผล ไม่มีที่คำกล่าวเช่นนั้นและคำที่กล่าวต่อ ๆ
กันมาจะเป็นเหตุให้ถูกตำหนิได้”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข่าวที่ได้ยินมาจริงทีเดียว ข้าพระองค์ไม่เชื่อสมณ-
พราหมณ์เหล่านั้นว่า ‘พระสมณโคดมทรงรู้จักมารยา’ แต่ได้ยินว่า ‘พระสมณโคดม
ทรงมีมารยา”
“ผู้ใหญ่บ้าน ผู้ใดกล่าวว่า ‘เรารู้จักมารยา’ ผู้นั้นก็เท่ากับกล่าวว่า ‘เรามี
มารยา”
“ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ข้อนั้นเป็นอย่างนั้นทีเดียว ข้าแต่พระสุคต ข้อนั้น
เป็นอย่างนั้นทีเดียว”
“ผู้ใหญ่บ้าน ถ้าเช่นนั้น เราจักย้อนถามท่านในเรื่องนี้ท่านพึงตอบตามสมควร
ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร ท่านรู้จักพวกทหารผมยาวชาวโกฬิยะหรือ”
“ข้าพระองค์รู้จักพวกทหารผมยาวชาวโกฬิยะ พระพุทธเจ้าข้า”
“ผู้ใหญ่บ้าน ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร พวกทหารผมยาวชาวโกฬิยะ
มีไว้เพื่อประโยชน์อะไร”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พวกทหารผมยาวชาวโกฬิยะมีไว้เพื่อประโยชน์ คือ
เพื่อป้องกันพวกโจรชาวโกฬิยะและเพื่อการทำหน้าที่เป็นตัวแทนของชาวโกฬิยะ”
“ผู้ใหญ่บ้าน ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร ท่านรู้จักพวกทหารผมยาวใน
นิคมของชาวโกฬิยะว่ามีศีลหรือทุศีล”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์รู้จักพวกทหารผมยาวชาวโกฬิยะว่า ทุศีล
มีธรรมเลวทราม และพวกทหารผมยาวชาวโกฬิยะเป็นพวกหนึ่งในบรรดาผู้ทุศีล
มีธรรมเลวทรามในโลก”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๔๓๑ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๘. คามณิสังยุต] ๑๓. ปาฏลิยสูตร

“ผู้ใหญ่บ้าน ผู้ใดพึงกล่าวว่า ‘ผู้ใหญ่บ้านชื่อปาฏลิยะรู้จักพวกทหารผมยาว
ชาวโกฬิยะว่าทุศีล มีธรรมเลวทราม แม้ผู้ใหญ่บ้านชื่อปาฏลิยะก็ทุศีล มีธรรมเลว
ทราม’ ผู้นั้นเมื่อกล่าว ชื่อว่ากล่าวถูกหรือ”
“กล่าวไม่ถูก พระพุทธเจ้าข้า พวกทหารผมยาวชาวโกฬิยะเป็นพวกหนึ่ง
ข้าพระองค์ก็เป็นอีกพวกหนึ่ง พวกทหารผมยาวชาวโกฬิยะ มีธรรมอย่างหนึ่ง ข้า
พระองค์ก็มีธรรมอีกอย่างหนึ่ง”
“ผู้ใหญ่บ้าน ที่จริงท่านเองจักกล่าวไม่ได้ว่า ‘ผู้ใหญ่บ้านชื่อปาฏลิยะรู้จักพวก
ทหารผมยาวชาวโกฬิยะว่าทุศีล มีธรรมเลวทราม แต่ผู้ใหญ่บ้านชื่อปาฏลิยะไม่ใช่ผู้
ทุศีล มีธรรมเลวทราม’ เพราะฉะนั้นตถาคตก็จักกล่าวไม่ได้ว่า ‘ตถาคตรู้จักมารยา
แต่ตถาคตไม่ใช่ผู้มีมารยา’
เรารู้ชัดมารยา ผลของมารยา และข้อปฏิบัติที่เป็นเหตุให้บุคคลผู้มีมารยา
หลังจากตายแล้วจะไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก
เรารู้ชัดการฆ่าสัตว์ ผลของการฆ่าสัตว์ และข้อปฏิบัติที่เป็นเหตุให้บุคคลผู้ฆ่า
สัตว์หลังจากตายแล้วจะไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก
เรารู้ชัดการลักทรัพย์ ผลของการลักทรัพย์ และข้อปฏิบัติที่เป็นเหตุให้บุคคล
ผู้ลักทรัพย์หลังจากตายแล้วจะไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก
เรารู้ชัดการประพฤติผิดในกาม ผลของการประพฤติผิดในกาม และข้อ
ปฏิบัติที่เป็นเหตุให้บุคคลผู้ประพฤติผิดในกามหลังจากตายแล้วจะไปเกิดในอบาย ทุคติ
วินิบาต นรก
เรารู้ชัดการพูดเท็จ ผลของการพูดเท็จ และข้อปฏิบัติที่เป็นเหตุให้บุคคลผู้
พูดเท็จหลังจากตายแล้วจะไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก
เรารู้ชัดการพูดคำส่อเสียด ผลของการพูดคำส่อเสียด และข้อปฏิบัติที่เป็น
เหตุให้บุคคลผู้พูดคำส่อเสียดหลังจากตายแล้วจะไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก
เรารู้ชัดการพูดคำหยาบ ผลของการพูดคำหยาบ และข้อปฏิบัติที่เป็นเหตุให้
บุคคลผู้พูดคำหยาบหลังจากตายแล้วจะไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๔๓๒ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๘. คามณิสังยุต] ๑๓. ปาฏลิยสูตร

เรารู้ชัดการพูดเพ้อเจ้อ ผลของการพูดเพ้อเจ้อ และข้อปฏิบัติที่เป็นเหตุให้บุคคล
ผู้พูดเพ้อเจ้อหลังจากตายแล้วจะไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก
เรารู้ชัดความเพ่งเล็งอยากได้ของเขา ผลของความเพ่งเล็งอยากได้ของเขา
และข้อปฏิบัติที่เป็นเหตุให้บุคคลผู้เพ่งเล็งอยากได้ของเขาหลังจากตายแล้วจะไปเกิด
ในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก
เรารู้ชัดความประทุษร้ายที่เกิดจากพยาบาท ผลของความประทุษร้ายที่เกิด
จากพยาบาท และข้อปฏิบัติที่เป็นเหตุให้บุคคลผู้มีจิตพยาบาทหลังจากตายแล้วจะ
ไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก
เรารู้ชัดมิจฉาทิฏฐิ ผลของมิจฉาทิฏฐิ และข้อปฏิบัติที่เป็นเหตุให้บุคคลผู้เป็น
มิจฉาทิฏฐิหลังจากตายแล้วจะไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก
สมณพราหมณ์ผู้พูดเท็จ
ผู้ใหญ่บ้าน มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่งผู้มีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘ผู้
ฆ่าสัตว์ทั้งหมดย่อมเสวยทุกข์โทมนัสในปัจจุบัน ผู้ลักทรัพย์ทั้งหมดย่อมเสวยทุกข์
โทมนัสในปัจจุบัน ผู้ประพฤติผิดในกามทั้งหมดย่อมเสวยทุกข์โทมนัสในปัจจุบัน ผู้
พูดเท็จทั้งหมดย่อมเสวยทุกข์โทมนัสในปัจจุบัน
แต่ปรากฏว่า คนบางคนในโลกนี้คล้องพวงมาลัย ใส่ตุ้มหู อาบน้ำอย่างดี
ลูบไล้อย่างดี แต่งผมและหนวด บำเรอตนด้วยกามกับสตรี อย่างพระราชา คน
ทั้งหลายพูดถึงผู้นั้นว่า ‘ท่านผู้เจริญ บุรุษนี้ได้ทำอะไร จึงคล้องพวงมาลัย ใส่ตุ้มหู
อาบน้ำอย่างดี ลูบไล้อย่างดี แต่งผมและหนวด บำเรอตนด้วยกามกับสตรี อย่าง
พระราชา’
คนทั้งหลายพูดถึงผู้นั้นอีกว่า ‘ท่านผู้เจริญ บุรุษนี้ข่มข้าศึกของพระราชาแล้ว
ปลิดชีพมันเสีย พระราชาทรงพอพระทัยได้พระราชทานรางวัลแก่เขา ด้วยเหตุนั้น
บุรุษนี้จึงคล้องพวงมาลัย ใส่ตุ้มหู อาบน้ำอย่างดี ลูบไล้อย่างดี แต่งผมและหนวด
บำเรอตนด้วยกามกับสตรี อย่างพระราชา’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๔๓๓ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๘. คามณิสังยุต] ๑๓. ปาฏลิยสูตร

ปรากฏว่า คนบางคนในโลกนี้ถูกมัดแขนไพล่หลังอย่างมั่นคงด้วยเชือกที่เหนียว
แล้ว โกนศีรษะ แห่ประจานไปตามถนน ตามตรอก ด้วยบัณเฑาะว์เสียงดังสนั่น
ออกทางประตูด้านทิศใต้ แล้วตัดศีรษะด้านทิศใต้ของเมือง คนทั้งหลายพูดถึง
ผู้นั้นว่า ‘ท่านผู้เจริญ บุรุษนี้ได้ทำอะไรจึงถูกมัดแขนไพล่หลังอย่างมั่นคงด้วยเชือก
ที่เหนียวแล้ว โกนศีรษะ แห่ประจานไปตามถนน ตามตรอก ด้วยบัณเฑาะว์เสียง
ดังสนั่น ออกทางประตูด้านทิศใต้ แล้วตัดศีรษะด้านทิศใต้ของเมือง’
คนทั้งหลายพูดถึงผู้นั้นอีกว่า ‘ท่านผู้เจริญ บุรุษนี้เป็นศัตรูของพระราชา ได้
ปลิดชีพสตรีหรือบุรุษ ด้วยเหตุนั้นพระราชาทั้งหลายจึงรับสั่งให้จับเขาแล้วลงโทษ
เช่นนี้’
ผู้ใหญ่บ้าน ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร เรื่องเช่นนี้ท่านได้เห็นหรือได้ยิน
มาบ้างไหม”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ได้เห็น ได้ยิน ทั้งจักได้ยินต่อไป
พระพุทธเจ้าข้า”
“ผู้ใหญ่บ้าน บรรดาสมณพราหมณ์เหล่านั้น สมณพราหมณ์ที่มีวาทะอย่างนี้
มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘ผู้ฆ่าสัตว์ทั้งหมดย่อมเสวยทุกข์โทมนัสในปัจจุบัน’ พูดจริงหรือ
พูดเท็จ”
“พูดเท็จ พระพุทธเจ้าข้า”
“สมณพราหมณ์พวกที่พูดปดมดเท็จ มีศีลหรือทุศีล”
“ทุศีล พระพุทธเจ้าข้า”
“สมณพราหมณ์พวกที่ทุศีล มีธรรมเลวทราม ปฏิบัติผิด หรือปฏิบัติถูก”
“ปฏิบัติผิด พระพุทธเจ้าข้า”
“สมณพราหมณ์พวกที่ปฏิบัติผิด เป็นมิจฉาทิฏฐิ หรือเป็นสัมมาทิฏฐิ”
“เป็นมิจฉาทิฏฐิ พระพุทธเจ้าข้า”
“ควรหรือที่จะเลื่อมใสในสมณพราหมณ์ผู้เป็นมิจฉาทิฏฐิเหล่านั้น”
“ไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า” (๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๔๓๔ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๘. คามณิสังยุต] ๑๓. ปาฏลิยสูตร

“ผู้ใหญ่บ้าน แต่ปรากฏว่า คนบางคนในโลกนี้คล้องพวงมาลัย ใส่ตุ้มหู ฯลฯ
บำเรอตนด้วยกามกับสตรี อย่างพระราชา คนทั้งหลายพูดถึงผู้นั้นว่า ‘ท่านผู้เจริญ
บุรุษนี้ได้ทำอะไร จึงคล้องพวงมาลัย ใส่ตุ้มหู ฯลฯ บำเรอตนด้วยกามกับสตรี
อย่างพระราชา’ คนทั้งหลายพูดถึงผู้นั้นอีกว่า ‘ท่านผู้เจริญ บุรุษนี้ได้ข่มขู่ยึดเอา
รัตนะของข้าศึกของพระราชามาได้ พระราชาทรงพอพระทัยได้พระราชทานรางวัล
แก่เขา ด้วยเหตุนั้นบุรุษนี้จึงคล้องพวงมาลัย ใส่ตุ้มหู ฯลฯ บำเรอตนด้วยกาม
กับสตรี อย่างพระราชา’
แต่ปรากฏว่า คนบางคนในโลกนี้ถูกมัดแขนไพล่หลังอย่างมั่นคงด้วยเชือกที่เหนียว
ฯลฯ แล้วตัดศีรษะด้านทิศใต้ของเมือง คนทั้งหลายพูดถึงผู้นั้นว่า ‘ท่านผู้เจริญ
บุรุษนี้ได้ทำอะไรจึงถูกมัดแขนไพล่หลังอย่างมั่นคงด้วยเชือกที่เหนียว ฯลฯ แล้วตัด
ศีรษะด้านทิศใต้ของเมือง’ คนทั้งหลายพูดถึงผู้นั้นอีกว่า ‘ท่านผู้เจริญ บุรุษผู้นี้ลัก
ทรัพย์จากบ้านบ้าง จากป่าบ้าง เพราะเหตุนั้นพระราชาทั้งหลายจึงรับสั่งให้จับเขา
แล้วลงโทษเช่นนี้’
ผู้ใหญ่บ้าน ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร เรื่องเช่นนี้ท่านได้เห็นหรือได้
ยินมาบ้างไหม”
“ข้าพระองค์ได้เห็น ได้ยิน ทั้งจักได้ยินต่อไป พระพุทธเจ้าข้า”
“ผู้ใหญ่บ้าน บรรดาสมณพราหมณ์เหล่านั้น สมณพราหมณ์ที่มีวาทะอย่างนี้
มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘ผู้ลักทรัพย์ทั้งหมดย่อมเสวยทุกข์โทมนัสในปัจจุบัน’ พูดจริงหรือ
พูดเท็จ” ฯลฯ
“ควรหรือที่จะเลื่อมใสในสมณพราหมณ์ผู้เป็นมิจฉาทิฏฐิเหล่านั้น”
“ไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า” (๒)
“ผู้ใหญ่บ้าน แต่ปรากฏว่า คนบางคนในโลกนี้คล้องพวงมาลัย ใส่ตุ้มหู ฯลฯ
บำเรอตนด้วยกามกับสตรี อย่างพระราชา คนทั้งหลายพูดถึงผู้นั้นว่า ‘ท่านผู้เจริญ
บุรุษนี้ได้ทำอะไร จึงคล้องพวงมาลัย ใส่ตุ้มหู ฯลฯ บำเรอตนด้วยกามกับสตรี
อย่างพระราชา’ คนทั้งหลายพูดถึงผู้นั้นอีกว่า ‘ท่านผู้เจริญ บุรุษนี้ประพฤติผิดใน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๔๓๕ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๘. คามณิสังยุต] ๑๓. ปาฏลิยสูตร

ภรรยาของข้าศึกของพระราชา พระราชาทรงพอพระทัย ได้พระราชทานรางวัลแก่
เขา ด้วยเหตุนั้นบุรุษนี้จึงคล้องพวงมาลัย ใส่ตุ้มหู ฯลฯ บำเรอตนด้วยกามกับสตรี
อย่างพระราชา’
ปรากฏว่า คนบางคนในโลกนี้ถูกมัดแขนไพล่หลังอย่างมั่นคงด้วยเชือกที่เหนียว
ฯลฯ แล้วตัดศีรษะด้านทิศใต้ของเมือง คนทั้งหลายพูดถึงผู้นั้นว่า ‘ท่านผู้เจริญ
บุรุษนี้ได้ทำอะไรจึงถูกมัดแขนไพล่หลังอย่างมั่นคงด้วยเชือกที่เหนียว ฯลฯ แล้วตัด
ศีรษะด้านทิศใต้ของเมือง’ คนทั้งหลายพูดถึงผู้นั้นอีกว่า ‘ท่านผู้เจริญ บุรุษนี้ได้
ประพฤติผิดในเหล่ากุลสตรี ในเหล่ากุลกุมารี ด้วยเหตุนั้นพระราชาทั้งหลายจึง
รับสั่งให้จับเขาแล้วลงโทษเช่นนี้’
ผู้ใหญ่บ้าน ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร เรื่องเช่นนี้ท่านได้เห็นหรือได้
ยินมาบ้างไหม”
“ข้าพระองค์ได้เห็น ได้ยิน ทั้งจักได้ยินต่อไป พระพุทธเจ้าข้า”
“ผู้ใหญ่บ้าน บรรดาสมณพราหมณ์เหล่านั้น สมณพราหมณ์ที่มีวาทะอย่างนี้
มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘ผู้ประพฤติผิดในกามทั้งหมดย่อมเสวยทุกข์โทมนัสในปัจจุบัน’
พูดจริงหรือพูดเท็จ” ฯลฯ
“ควรหรือที่จะเลื่อมใสในสมณพราหมณ์ผู้เป็นมิจฉาทิฏฐิเหล่านั้น”
“ไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า” (๓)
“ผู้ใหญ่บ้าน แต่ปรากฏว่า คนบางคนในโลกนี้คล้องพวงมาลัย ใส่ตุ้มหู
อาบน้ำอย่างดี ลูบไล้อย่างดี แต่งผมและหนวด บำเรอตนด้วยกามกับสตรี อย่าง
พระราชา คนทั้งหลายพูดถึงผู้นั้นว่า ‘ท่านผู้เจริญ บุรุษนี้ได้ทำอะไร จึงคล้องพวง
มาลัย ใส่ตุ้มหู อาบน้ำอย่างดี ลูบไล้อย่างดี แต่งผมและหนวด บำเรอตนด้วย
กามกับสตรี อย่างพระราชา’ คนทั้งหลายพูดถึงผู้นั้นอีกว่า ‘ท่านผู้เจริญ บุรุษนี้ทำ
ให้พระราชาทรงพระสรวลด้วยการพูดเท็จ พระราชาทรงพอพระทัยได้พระราชทาน
รางวัลแก่เขา ด้วยเหตุนั้นบุรุษนี้จึงคล้องพวงมาลัย ใส่ตุ้มหู อาบน้ำอย่างดี ลูบ
ไล้อย่างดี แต่งผมและหนวด บำเรอตนด้วยกามกับสตรี อย่างพระราชา’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๔๓๖ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๘. คามณิสังยุต] ๑๓. ปาฏลิยสูตร

ปรากฏว่า คนบางคนในโลกนี้ถูกมัดแขนไพล่หลังอย่างมั่นคงด้วยเชือกที่เหนียว
โกนศีรษะแล้ว แห่ประจานไปตามถนน ตามตรอก ด้วยบัณเฑาะว์เสียงดังสนั่น
ออกทางประตูด้านทิศใต้แล้วตัดศีรษะด้านทิศใต้ของเมือง คนทั้งหลายพูดถึงผู้นั้นว่า
‘ท่านผู้เจริญ บุรุษนี้ได้ทำอะไรจึงถูกมัดแขนไพล่หลังอย่างมั่นคงด้วยเชือกที่เหนียว
โกนศีรษะแล้ว แห่ประจานไปตามถนน ตามตรอก ด้วยบัณเฑาะว์เสียงดังสนั่น
ออกทางประตูด้านทิศใต้แล้วตัดศีรษะด้านทิศใต้ของเมือง’ คนทั้งหลายพูดถึงผู้นั้น
อีกว่า ‘ท่านผู้เจริญ บุรุษนี้ทำลายประโยชน์ของคหบดีบ้าง ของบุตรคหบดีบ้าง
ด้วยการพูดเท็จ ด้วยเหตุนั้นพระราชาทั้งหลายจึงรับสั่งให้จับเขาแล้วลงโทษเช่นนี้’
ผู้ใหญ่บ้าน ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร เรื่องเช่นนี้ท่านได้เห็นหรือได้
ยินมาบ้างไหม”
“ข้าพระองค์ได้เห็น ได้ยิน ทั้งจักได้ยินต่อไป พระพุทธเจ้าข้า”
“ผู้ใหญ่บ้าน บรรดาสมณพราหมณ์เหล่านั้น สมณพราหมณ์ที่มีวาทะอย่างนี้
มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘ผู้พูดเท็จทั้งหมดย่อมเสวยทุกข์โทมนัสในปัจจุบัน’ พูดจริงหรือ
พูดเท็จ”
“พูดเท็จ พระพุทธเจ้าข้า”
“สมณพราหมณ์พวกที่พูดปดมดเท็จ มีศีลหรือทุศีล”
“ทุศีล พระพุทธเจ้าข้า”
“สมณพราหมณ์พวกที่ทุศีล มีธรรมเลวทราม ปฏิบัติผิดหรือปฏิบัติถูก”
“ปฏิบัติผิด พระพุทธเจ้าข้า”
“สมณพราหมณ์พวกที่ปฏิบัติผิด เป็นมิจฉาทิฏฐิหรือเป็นสัมมาทิฏฐิ”
“เป็นมิจฉาทิฏฐิ พระพุทธเจ้าข้า”
“ควรหรือที่จะเลื่อมใสในสมณพราหมณ์ผู้เป็นมิจฉาทิฏฐิเหล่านั้น”
“ไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๔๓๗ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๘. คามณิสังยุต] ๑๓. ปาฏลิยสูตร

ทิฏฐิของศาสดาต่าง ๆ

“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคยปรากฏ ข้าพระองค์มีบ้านพัก
อยู่หลังหนึ่ง ในบ้านพักนั้นมีเตียง มีที่นั่ง มีโอ่งน้ำ มีตะเกียงน้ำมัน ผู้ใดไม่ว่าจะ
เป็นสมณะหรือพราหมณ์เข้าพักในบ้านพักนั้น ข้าพระองค์จะแจกแก่ผู้นั้นตามความ
สามารถ ตามกำลัง ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เรื่องเคยมีมาแล้ว ศาสดาทั้ง ๔ ซึ่งมี
ทิฏฐิต่างกัน มีความพอใจต่างกัน มีความชอบใจต่างกัน เข้าพักในบ้านพักนั้น
ศาสดาท่านหนึ่งมีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘ทานที่ให้แล้วไม่มีผล ยัญที่
บูชาแล้วไม่มีผล การเซ่นสรวงไม่มีผล ผลวิบากแห่งกรรมที่ทำดีและชั่วก็ไม่มี โลกนี้
ไม่มี โลกหน้าไม่มี มารดาไม่มีคุณ บิดาไม่มีคุณ โอปปาติกสัตว์ไม่มี สมณพราหมณ์
ผู้ประพฤติดีปฏิบัติชอบทำให้แจ้งโลกนี้และโลกหน้าด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้วสอนผู้อื่น
ให้รู้แจ้งก็ไม่มีในโลก’
ศาสดาท่านหนึ่งมีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘ทานที่ให้แล้วมีผล ยัญที่
บูชาแล้วมีผล การเซ่นสรวงมีผล ผลวิบากแห่งกรรมที่ทำไว้ดีและชั่วมี โลกนี้มี
โลกหน้ามี มารดามีคุณ บิดามีคุณ โอปปาติกสัตว์มี สมณพราหมณ์ผู้ประพฤติดี
ปฏิบัติชอบทำให้แจ้งโลกนี้และโลกหน้าด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้วสอนผู้อื่นให้รู้แจ้ง
ก็มีอยู่ในโลก’
ศาสดาท่านหนึ่งมีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘เมื่อบุคคลทำเอง ใช้ให้ผู้อื่น
ทำ ตัดเอง ใช้ให้ผู้อื่นตัด เบียดเบียนเอง ใช้ให้ผู้อื่นเบียดเบียน ทำให้เศร้าโศกเอง
ใช้ให้ผู้อื่นทำให้เศร้าโศก ทำให้ลำบากเอง ใช้ให้ผู้อื่นทำให้ลำบาก ดิ้นรนเอง ใช้ให้
ผู้อื่นทำให้ดิ้นรน ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ตัดช่องย่องเบา ปล้นสะดม ปล้นในบ้าน
หลังเดียว ดักปล้นที่ทางเปลี่ยว เป็นชู้ พูดเท็จ ผู้ทำ(เช่นนั้น)ก็ไม่จัดว่าทำบาป
แม้หากบุคคลใช้จักรมีคมดุจมีดโกนสังหารเหล่าสัตว์ในปฐพีนี้ให้เป็นลานตาก
เนื้อให้เป็นกองเนื้อเดียวกัน เขาย่อมไม่มีบาปที่เกิดจากกรรมนั้น ไม่มีบาปมาถึงเขา
แม้หากบุคคลไปฝั่งขวาแม่น้ำคงคา ฆ่าเอง ใช้ให้ผู้อื่นฆ่า ตัดเอง ใช้ให้ผู้อื่นตัด
เบียดเบียนเอง ใช้ให้ผู้อื่นเบียดเบียน เขาย่อมไม่มีบาปที่เกิดจากกรรมนั้น ไม่มีบาป
มาถึงเขา
แม้หากบุคคลไปฝั่งซ้ายแม่น้ำคงคาให้เอง ใช้ให้ผู้อื่นให้ บูชาเอง ใช้ให้ผู้อื่นบูชา
เขาย่อมไม่มีบุญที่เกิดจากกรรมนั้น ไม่มีบุญมาถึงเขา ไม่มีบุญที่เกิดจากการให้ทาน
จากการฝึกอินทรีย์ จากการสำรวม จากการพูดคำสัตย์ ไม่มีบุญมาถึงเขา’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๔๓๘ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๘. คามณิสังยุต] ๑๓. ปาฏลิยสูตร

ศาสดาท่านหนึ่งมีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘เมื่อบุคคลทำเอง ใช้ให้ผู้
อื่นทำ ตัดเอง ใช้ให้ผู้อื่นตัด เบียดเบียนเอง ใช้ให้ผู้อื่นเบียดเบียน ทำให้เศร้าโศกเอง
ใช้ให้ผู้อื่นทำให้เศร้าโศก ทำให้ลำบากเอง ใช้ให้ผู้อื่นทำให้ลำบาก ดิ้นรนเอง ใช้
ให้ผู้อื่นทำให้ดิ้นรน ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ตัดช่องย่องเบา ปล้นสะดม ปล้นในบ้าน
หลังเดียว ดักปล้นที่ทางเปลี่ยว เป็นชู้ พูดเท็จ ผู้ทำ(เช่นนั้น)จัดว่าทำบาป
แม้หากบุคคลใช้จักรมีคมดุจมีดโกนสังหารเหล่าสัตว์ในปฐพีนี้ให้เป็นลานตาก
เนื้อให้เป็นกองเนื้อเดียวกัน เขาย่อมมีบาปที่เกิดจากกรรมนั้น มีบาปมาถึงเขา
แม้หากบุคคลไปฝั่งขวาแม่น้ำคงคาฆ่าเอง ใช้ให้ผู้อื่นฆ่า ตัดเอง ใช้ให้ผู้อื่นตัด
เบียดเบียนเอง ใช้ให้ผู้อื่นเบียดเบียน เขาย่อมมีบาปที่เกิดจากกรรมนั้น มีบาปมา
ถึงเขา
แม้หากบุคคลไปฝั่งซ้ายแม่น้ำคงคาให้เอง ใช้ให้ผู้อื่นให้ บูชาเอง ใช้ให้ผู้อื่นบูชา
เขาย่อมมีบุญที่เกิดจากกรรมนั้น มีบุญมาถึงเขา มีบุญที่เกิดจากการให้ทาน จาก
การฝึกอินทรีย์ จากการสำรวม จากการพูดคำสัตย์ มีบุญมาถึงเขา’ ข้าแต่พระองค์
ผู้เจริญ ข้าพระองค์ได้มีความเคลือบแคลงสงสัยว่า ‘บรรดาสมณพราหมณ์ผู้เจริญ
เหล่านี้ใครพูดจริง ใครพูดเท็จ”
“ผู้ใหญ่บ้าน สมควรที่ท่านจะเคลือบแคลงสงสัย และความสงสัยก็เกิดขึ้นแก่
ท่านในฐานะที่ควรเคลือบแคลง”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์เลื่อมใสในพระผู้มีพระภาคว่า ‘พระองค์
สามารถแสดงธรรมให้ข้าพระองค์ละความเคลือบแคลงนี้ได้”
ธรรมสมาธิทำให้หายสงสัย
“ผู้ใหญ่บ้าน ธรรมสมาธิ๑ มีอยู่ ถ้าท่าน (ตั้งอยู่) ในธรรมสมาธินั้น พึง
ได้จิตตสมาธิ๒ เมื่อเป็นเช่นนี้ท่านพึงละความเคลือบแคลงนี้ได้


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๘. คามณิสังยุต] ๑๓. ปาฏลิยสูตร

ธรรมสมาธิ เป็นอย่างไร
คือ อริยสาวกในศาสนานี้ละการฆ่าสัตว์ เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ ละการลัก
ทรัพย์ เว้นขาดจากการลักทรัพย์ ละการประพฤติผิดในกาม เว้นขาดจากการ
ประพฤติผิดในกาม ละการพูดเท็จ เว้นขาดจากการพูดเท็จ ละการพูดคำส่อเสียด
เว้นขาดจากการพูดคำส่อเสียด ละการพูดคำหยาบ เว้นขาดจากการพูดคำหยาบ
ละการพูดเพ้อเจ้อ เว้นขาดจากการพูดเพ้อเจ้อ ละความเพ่งเล็งอยากได้ของเขา
ไม่เพ่งเล็งอยากได้ของเขา ละความประทุษร้ายที่เกิดจากพยาบาท มีจิตไม่พยาบาท
ละมิจฉาทิฏฐิ เป็นสัมมาทิฏฐิ
ผู้ใหญ่บ้าน อริยสาวกนั้นปราศจากความเพ่งเล็งอยากได้ของเขา ปราศจาก
พยาบาทอย่างนี้ไม่หลง มีสัมปชัญญะ มีสติ มีเมตตาจิตแผ่ไปตลอดทิศที่ ๑ ... ทิศ
ที่ ๒ ...ทิศที่ ๓ ... ทิศที่ ๔ ... ทิศเบื้องบน ทิศเบื้องล่าง ทิศเฉียง แผ่ไปตลอดโลก
ทั่วทุกหมู่เหล่า ในที่ทุกสถาน ด้วยเมตตาจิตอันไพบูลย์ เป็นมหัคคตะ ไม่มีขอบเขต
ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนอยู่
อริยสาวกนั้นพิจารณาเห็นอย่างนี้ว่า ‘ศาสดาผู้มีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้
ว่า ‘ทานที่ให้แล้วไม่มีผล ยัญที่บูชาแล้วไม่มีผล การเซ่นสรวงไม่มีผล ผลวิบาก
แห่งกรรมที่ทำไว้ดีและชั่วก็ไม่มี โลกนี้ไม่มี โลกหน้าไม่มี มารดาไม่มีคุณ บิดาไม่
มีคุณ โอปปาติกสัตว์ไม่มี สมณพราหมณ์ผู้ประพฤติดีปฏิบัติชอบทำให้แจ้งโลกนี้
และโลกหน้าด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้วสอนผู้อื่นให้รู้แจ้งก็ไม่มีในโลก’
ถ้าศาสดาท่านนั้นพูดจริง ข้อที่เราสำรวมกาย วาจา ใจ และข้อที่เราหลังจาก
ตายแล้วจักไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์ ทั้ง ๒ ข้อนี้เป็นการถือเอาชัยชนะในคำสอน
เพราะเราไม่เบียดเบียนใคร ๆ ไม่ว่าผู้สะดุ้งหรือผู้มั่นคง จึงเป็นผู้ปฏิบัติไม่ผิด’
ปราโมทย์ก็เกิดแก่อริยสาวกนั้น เมื่อเกิดปราโมทย์ ปีติก็เกิด เมื่อใจเกิดปีติ
กายก็สงบ เธอผู้มีกายสงบย่อมอยู่สบาย จิตของเธอผู้อยู่สบายย่อมตั้งมั่น
ผู้ใหญ่บ้าน ธรรมสมาธิเป็นอย่างนี้แล ถ้าท่านตั้งอยู่ในธรรมสมาธินั้น พึงได้
จิตตสมาธิ เมื่อเป็นเช่นนี้ท่านพึงละความเคลือบแคลงนี้ได้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๔๔๐ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๘. คามณิสังยุต] ๑๓. ปาฏลิยสูตร

ผู้ใหญ่บ้าน อริยสาวกนั้นปราศจากความเพ่งเล็งอยากได้ของเขา ปราศจาก
พยาบาทอย่างนี้ไม่หลง มีสัมปชัญญะ มีสติ มีเมตตาจิตแผ่ไปตลอดทิศที่ ๑ ... ทิศ
ที่ ๒ ... ทิศที่ ๓ ... ทิศที่ ๔ ... ทิศเบื้องบน ทิศเบื้องล่าง ทิศเฉียง แผ่ไปตลอดโลก
ทั่วทุกหมู่เหล่า ในที่ทุกสถาน ด้วยเมตตาจิตอันไพบูลย์ เป็นมหัคคตะ ไม่มีขอบเขต
ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนอยู่
อริยสาวกนั้นพิจารณาเห็นอย่างนี้ว่า ‘ศาสดาผู้มีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้
ว่า ‘ทานที่ให้แล้วมีผล ยัญที่บูชาแล้วมีผล การเซ่นสรวงมีผล ผลวิบากแห่งกรรม
ที่ทำไว้ดีและชั่วมี โลกนี้มี โลกหน้ามี มารดามีคุณ บิดามีคุณ โอปปาติกสัตว์
มี สมณพราหมณ์ผู้ประพฤติดีปฏิบัติชอบทำให้แจ้งโลกนี้และโลกหน้าด้วยปัญญา
อันยิ่งเองแล้วสอนผู้อื่นให้รู้แจ้งก็มีอยู่ในโลก’
ถ้าศาสดาท่านนั้นพูดจริง ข้อที่เราสำรวมกาย วาจา ใจ และข้อที่เราหลังจาก
ตายแล้วจักไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์ ทั้ง ๒ ข้อนี้เป็นการถือเอาชัยชนะในคำสอน
เพราะเราไม่เบียดเบียนใคร ๆ ไม่ว่าผู้สะดุ้งหรือผู้มั่นคง จึงเป็นผู้ปฏิบัติไม่ผิด’
ปราโมทย์ก็เกิดแก่อริยสาวกนั้น เมื่อเกิดปราโมทย์ ปีติก็เกิด เมื่อใจเกิดปีติ
กายก็สงบ เธอผู้มีกายสงบย่อมอยู่สบาย จิตของเธอผู้อยู่สบายย่อมตั้งมั่น
ผู้ใหญ่บ้าน ธรรมสมาธิเป็นอย่างนี้แล ถ้าท่านตั้งอยู่ในธรรมสมาธินั้น พึงได้
จิตตสมาธิ เมื่อเป็นเช่นนี้ท่านพึงละความเคลือบแคลงนี้ได้
ผู้ใหญ่บ้าน อริยสาวกนั้นปราศจากความเพ่งเล็งอยากได้ของเขา ปราศจาก
พยาบาทอย่างนี้ไม่หลง มีสัมปชัญญะ มีสติ มีเมตตาจิตแผ่ไปตลอดทิศที่ ๑ ... ทิศ
ที่ ๒ ... ทิศที่ ๓ ... ทิศที่ ๔ ... ทิศเบื้องบน ทิศเบื้องล่าง ทิศเฉียง แผ่ไปตลอดโลก
ทั่วทุกหมู่เหล่า ในที่ทุกสถาน ด้วยเมตตาจิตอันไพบูลย์ เป็นมหัคคตะ ไม่มีขอบเขต
ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนอยู่
อริยสาวกนั้นพิจารณาเห็นอย่างนี้ว่า ‘ศาสดาท่านหนึ่งมีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิ
อย่างนี้ว่า ‘เมื่อบุคคลทำเอง ใช้ให้ผู้อื่นทำ ตัดเอง ใช้ให้ผู้อื่นตัด เบียดเบียนเอง
ใช้ให้ผู้อื่นเบียดเบียน ทำให้เศร้าโศกเอง ใช้ให้ผู้อื่นทำให้เศร้าโศก ทำให้ลำบากเอง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๔๔๑ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๘. คามณิสังยุต] ๑๓. ปาฏลิยสูตร

ใช้ให้ผู้อื่นทำให้ลำบาก ดิ้นรนเอง ใช้ให้ผู้อื่นทำให้ดิ้นรน ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์
ตัดช่องย่องเบา ปล้นสะดม ปล้นในบ้านหลังเดียว ดักปล้นที่ทางเปลี่ยว เป็นชู้
พูดเท็จ ผู้ทำ(เช่นนั้น)ก็ไม่จัดว่าทำบาป
แม้หากบุคคลใช้จักรมีคมดุจมีดโกนสังหารเหล่าสัตว์ในปฐพีนี้ให้เป็นลานตากเนื้อ
ให้เป็นกองเนื้อเดียวกัน เขาย่อมไม่มีบาปที่เกิดจากกรรมนั้น ไม่มีบาปมาถึงเขา
แม้หากบุคคลไปฝั่งขวาแม่น้ำคงคาฆ่าเอง ใช้ให้ผู้อื่นฆ่า ตัดเอง ใช้ให้ผู้อื่นตัด
เบียดเบียนเอง ใช้ให้ผู้อื่นเบียดเบียน เขาไม่มีบาปที่เกิดจากกรรมนั้น ไม่มีบาป
มาถึงเขา
แม้หากบุคคลไปฝั่งซ้ายแม่น้ำคงคาให้เอง ใช้ให้ผู้อื่นให้ บูชาเอง ใช้ให้ผู้อื่นบูชา
เขาย่อมไม่มีบุญที่เกิดจากกรรมนั้น ไม่มีบุญมาถึงเขา ไม่มีบุญที่เกิดจากการให้ทาน
จากการฝึกอินทรีย์ จากการสำรวม จากการพูดคำสัตย์ ไม่มีบุญมาถึงเขา’
ถ้าศาสดาท่านนั้นพูดจริง ข้อที่เราสำรวมกาย วาจา ใจ และข้อที่เราหลังจาก
ตายแล้วจักไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์ ทั้ง ๒ ข้อนี้เป็นการถือเอาชัยชนะในคำสอน
เพราะเราไม่เบียดเบียนใคร ๆ ไม่ว่าผู้สะดุ้งหรือผู้มั่นคง จึงเป็นผู้ปฏิบัติไม่ผิด’
ปราโมทย์ก็เกิดแก่อริยสาวกนั้น เมื่อเกิดปราโมทย์ ปีติก็เกิด เมื่อใจเกิดปีติ
กายก็สงบ เธอผู้มีกายสงบย่อมอยู่สบาย จิตของเธอผู้อยู่สบายย่อมตั้งมั่น
ผู้ใหญ่บ้าน ธรรมสมาธิเป็นอย่างนี้แล ถ้าท่านตั้งอยู่ในธรรมสมาธินั้น พึงได้
จิตตสมาธิ เมื่อเป็นเช่นนี้ท่านพึงละความเคลือบแคลงนี้ได้
ผู้ใหญ่บ้าน อริยสาวกนั้นปราศจากความเพ่งเล็งอยากได้ของเขา ปราศจาก
พยาบาทอย่างนี้ไม่หลง มีสัมปชัญญะ มีสติ มีเมตตาจิตแผ่ไปตลอดทิศที่ ๑ ... ทิศที่
๒ ... ทิศที่ ๓ ... ทิศที่ ๔ ... ทิศเบื้องบน ทิศเบื้องล่าง ทิศเฉียง แผ่ไปตลอดโลก
ทั่วทุกหมู่เหล่า ในที่ทุกสถาน ด้วยเมตตาจิตอันไพบูลย์ เป็นมหัคคตะ ไม่มีขอบเขต
ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนอยู่
อริยสาวกนั้นพิจารณาเห็นอย่างนี้ว่า ‘ศาสดาท่านหนึ่งมีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิ
อย่างนี้ว่า ‘เมื่อบุคคลทำเอง ใช้ให้ผู้อื่นทำ ตัดเอง ใช้ให้ผู้อื่นตัด เบียดเบียนเอง
ใช้ให้ผู้อื่นเบียดเบียน ทำให้เศร้าโศกเอง ใช้ให้ผู้อื่นทำให้เศร้าโศก ทำให้ลำบาก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๔๔๒ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๘. คามณิสังยุต] ๑๓. ปาฏลิยสูตร

เอง ใช้ให้ผู้อื่นทำให้ลำบาก ดิ้นรนเอง ใช้ให้ผู้อื่นทำให้ดิ้นรน ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์
ตัดช่องย่องเบา ปล้นสะดม ปล้นในบ้านหลังเดียว ดักปล้นที่ทางเปลี่ยว เป็นชู้
พูดเท็จ ผู้ทำ(เช่นนั้น)ก็ไม่จัดว่าทำบาป
แม้หากบุคคลใช้จักรมีคมดุจมีดโกนสังหารเหล่าสัตว์ในปฐพีนี้ให้เป็นลานตากเนื้อ
ให้เป็นกองเนื้อเดียวกัน เขาย่อมไม่มีบาปที่เกิดจากกรรมนั้น ไม่มีบาปมาถึงเขา
แม้หากบุคคลไปฝั่งขวาแม่น้ำคงคาฆ่าเอง ใช้ให้ผู้อื่นฆ่า ตัดเอง ใช้ให้ผู้อื่นตัด
เบียดเบียนเอง ใช้ให้ผู้อื่นเบียดเบียน เขาย่อมไม่มีบาปที่เกิดจากกรรมนั้น ไม่มี
บาปมาถึงเขา
แม้หากบุคคลไปฝั่งซ้ายแม่น้ำคงคาให้เอง ใช้ให้ผู้อื่นให้ บูชาเอง ใช้ให้ผู้อื่นบูชา
เขาย่อมไม่มีบุญที่เกิดจากกรรมนั้น ไม่มีบุญมาถึงเขา ไม่มีบุญที่เกิดจากการให้ทาน
จากการฝึกอินทรีย์ จากการสำรวม จากการพูดคำสัตย์ ไม่มีบุญมาถึงเขา’
ถ้าศาสดาท่านนั้นพูดจริง ข้อที่เราสำรวมกาย วาจา ใจ และข้อที่เราหลังจาก
ตายแล้วจักไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์ ทั้ง ๒ ข้อนี้เป็นการถือเอาชัยชนะในคำสอน
เพราะเราไม่เบียดเบียนใคร ๆ ไม่ว่าผู้สะดุ้งหรือผู้มั่นคง จึงเป็นผู้ปฏิบัติไม่ผิด’
ปราโมทย์ก็เกิดแก่อริยสาวกนั้น เมื่อเกิดปราโมทย์ ปีติก็เกิด เมื่อใจเกิดปีติ
กายก็สงบ เธอผู้มีกายสงบย่อมอยู่สบาย จิตของเธอผู้อยู่สบายย่อมตั้งมั่น
ผู้ใหญ่บ้าน ธรรมสมาธิเป็นอย่างนี้แล ถ้าท่านตั้งอยู่ในธรรมสมาธินั้น พึงได้
จิตตสมาธิ เมื่อเป็นเช่นนี้ท่านพึงละความเคลือบแคลงนี้ได้
ผู้ใหญ่บ้าน อริยสาวกนั้นปราศจากความเพ่งเล็งอยากได้ของเขา ปราศจาก
พยาบาทอย่างนี้ไม่หลง มีสัมปชัญญะ มีสติ มีกรุณาจิตแผ่ไปตลอดทิศที่ ๑ ฯลฯ
มีมุทิตาจิต แผ่ไปตลอดทิศที่ ๑ ฯลฯ
ผู้ใหญ่บ้าน อริยสาวกนั้นปราศจากความเพ่งเล็งอยากได้ของเขา ปราศจาก
พยาบาทอย่างนี้ไม่หลง มีสัมปชัญญะ มีสติ มีอุเบกขาจิตแผ่ไปตลอดทิศที่ ๑ ...
ทิศที่ ๒ ... ทิศที่ ๓ ... ทิศที่ ๔ ... ทิศเบื้องบน ทิศเบื้องล่าง ทิศเฉียง แผ่
ไปตลอดโลก ทั่วทุกหมู่เหล่า ในที่ทุกสถาน ด้วยอุเบกขาจิตอันไพบูลย์ เป็นมหัคคตะ
ไม่มีขอบเขต ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนอยู่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๔๔๓ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๘. คามณิสังยุต] ๑๓. ปาฏลิยสูตร

อริยสาวกนั้นพิจารณาเห็นอย่างนี้ว่า ‘ศาสดาผู้มีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้
ว่า ‘ทานที่ให้แล้วไม่มีผล ยัญที่บูชาแล้วไม่มีผล การเซ่นสรวงไม่มีผล ผลวิบาก
แห่งกรรมที่ทำไว้ดีและชั่วก็ไม่มี โลกนี้ไม่มี โลกหน้าไม่มี มารดาไม่มีคุณ บิดาไม่
มีคุณ โอปปาติกสัตว์ไม่มี สมณพราหมณ์ผู้ประพฤติดีปฏิบัติชอบทำให้แจ้งโลกนี้
และโลกหน้าด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้วสอนผู้อื่นให้รู้แจ้งก็ไม่มีในโลก’
ถ้าศาสดาท่านนั้นพูดจริง ข้อที่เราสำรวมกาย วาจา ใจ และข้อที่เราหลังจาก
ตายแล้วจักไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์ ทั้ง ๒ ข้อนี้เป็นการถือเอาชัยชนะในคำสอน
เพราะเราไม่เบียดเบียนใคร ๆ ไม่ว่าผู้สะดุ้งหรือผู้มั่นคง จึงเป็นผู้ปฏิบัติไม่ผิด’
ปราโมทย์ก็เกิดแก่อริยสาวกนั้น เมื่อเกิดปราโมทย์ ปีติก็เกิด เมื่อใจเกิดปีติ
กายก็สงบ เธอผู้มีกายสงบย่อมอยู่สบาย จิตของเธอผู้อยู่สบายย่อมตั้งมั่น
ผู้ใหญ่บ้าน ธรรมสมาธิเป็นอย่างนี้แล ถ้าท่านตั้งอยู่ในธรรมสมาธินั้น พึงได้
จิตตสมาธิ เมื่อเป็นเช่นนี้ท่านพึงละความเคลือบแคลงนี้ได้
ผู้ใหญ่บ้าน อริยสาวกนั้นปราศจากความเพ่งเล็งอยากได้ของเขา ปราศจาก
พยาบาทอย่างนี้ไม่หลง มีสัมปชัญญะ มีสติ มีอุเบกขาจิตแผ่ไปตลอดทิศที่ ๑ ...
ทิศที่ ๒ ... ทิศที่ ๓ ... ทิศที่ ๔ ... ทิศเบื้องบน ทิศเบื้องล่าง ทิศเฉียง
แผ่ไปตลอดโลกทั่วทุกหมู่เหล่า ในที่ทุกสถาน ด้วยอุเบกขาจิตอันไพบูลย์ เป็น
มหัคคตะ ไม่มีขอบเขต ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนอยู่
อริยสาวกนั้นพิจารณาเห็นอย่างนี้ว่า ‘ศาสดาผู้มีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้
ว่า ‘ทานที่ให้แล้วมีผล ยัญที่บูชาแล้วมีผล การเซ่นสรวงมีผล ผลวิบากแห่ง
กรรมที่ทำไว้ดีและชั่วมี โลกนี้มี โลกหน้ามี มารดามีคุณ บิดามีคุณ โอปปาติกสัตว์
มี สมณพราหมณ์ผู้ประพฤติดีปฏิบัติชอบทำให้แจ้งโลกนี้และโลกหน้าด้วยปัญญา
อันยิ่งเองแล้วสอนผู้อื่นให้รู้แจ้งก็มีอยู่ในโลก’
ถ้าศาสดาท่านนั้นพูดจริง ข้อที่เราสำรวมกาย วาจา ใจ และข้อที่เราหลัง
จากตายแล้วจักไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์ ทั้ง ๒ ข้อนี้เป็นการถือเอาชัยชนะในคำสอน
เพราะเราไม่เบียดเบียนใคร ๆ ไม่ว่าผู้สะดุ้งหรือผู้มั่นคง จึงเป็นผู้ปฏิบัติไม่ผิด’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๔๔๔ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๘. คามณิสังยุต] ๑๓. ปาฏลิยสูตร

ปราโมทย์ก็เกิดแก่อริยสาวกนั้น เมื่อเกิดปราโมทย์ ปีติก็เกิด เมื่อใจเกิดปีติ
กายก็สงบ เธอผู้มีกายสงบย่อมอยู่สบาย จิตของเธอผู้อยู่สบายย่อมตั้งมั่น
ผู้ใหญ่บ้าน ธรรมสมาธิเป็นอย่างนี้แล ถ้าท่านตั้งอยู่ในธรรมสมาธินั้น พึงได้
จิตตสมาธิ เมื่อเป็นเช่นนี้ท่านพึงละความเคลือบแคลงนี้ได้
ผู้ใหญ่บ้าน อริยสาวกนั้นปราศจากความเพ่งเล็งอยากได้ของเขา ปราศจาก
พยาบาทอย่างนี้ไม่หลง มีสัมปชัญญะ มีสติ มีอุเบกขาจิตแผ่ไปตลอดทิศที่ ๑ ... ทิศ
ที่ ๒ ... ทิศที่ ๓ ... ทิศที่ ๔ ... ทิศเบื้องบน ทิศเบื้องล่าง ทิศเฉียง แผ่ไปตลอด
โลก ทั่วทุกหมู่เหล่า ในที่ทุกสถาน ด้วยอุเบกขาจิตอันไพบูลย์ เป็นมหัคคตะ ไม่
มีขอบเขต ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนอยู่
อริยสาวกนั้นพิจารณาเห็นอย่างนี้ว่า ‘ศาสดาท่านหนึ่งมีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิ
อย่างนี้ว่า ‘เมื่อบุคคลทำเอง ใช้ให้ผู้อื่นทำ ตัดเอง ใช้ให้ผู้อื่นตัด เบียดเบียนเอง
ใช้ให้ผู้อื่นเบียดเบียน ทำให้เศร้าโศกเอง ใช้ให้ผู้อื่นทำให้เศร้าโศก ทำให้ลำบากเอง
ใช้ให้ผู้อื่นทำให้ลำบาก ดิ้นรนเอง ใช้ให้ผู้อื่นทำให้ดิ้นรน ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์
ตัดช่องย่องเบา ปล้นสะดม ปล้นในบ้านหลังเดียว ดักปล้นที่ทางเปลี่ยว เป็นชู้
พูดเท็จ ผู้ทำ(เช่นนั้น)ก็ไม่จัดว่าทำบาป
แม้หากบุคคลใช้จักรมีคมดุจมีดโกนสังหารเหล่าสัตว์ในปฐพีนี้ให้เป็นลานตากเนื้อ
ให้เป็นกองเนื้อเดียวกัน เขาย่อมไม่มีบาปที่เกิดจากกรรมนั้น ไม่มีบาปมาถึงเขา
แม้หากบุคคลไปฝั่งขวาแม่น้ำคงคาฆ่าเอง ใช้ให้ผู้อื่นฆ่า ตัดเอง ใช้ให้ผู้อื่นตัด
เบียดเบียนเอง ใช้ให้ผู้อื่นเบียดเบียน เขาย่อมไม่มีบาปที่เกิดจากกรรมนั้น ไม่มี
บาปมาถึงเขา
แม้หากบุคคลไปฝั่งซ้ายแม่น้ำคงคาให้เอง ใช้ให้ผู้อื่นให้ บูชาเอง ใช้ให้ผู้อื่นบูชา
เขาย่อมไม่มีบุญที่เกิดจากกรรมนั้น ไม่มีบุญมาถึงเขา ไม่มีบุญที่เกิดจากการให้ทาน
จากการฝึกอินทรีย์ จากการสำรวม จากการพูดคำสัตย์ ไม่มีบุญมาถึงเขา’
ถ้าศาสดาท่านนั้นพูดจริง ข้อที่เราสำรวมกาย วาจา ใจ และข้อที่เราหลังจาก
ตายแล้วจักไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์ ทั้ง ๒ ข้อนี้เป็นการถือเอาชัยชนะในคำสอน
เพราะเราไม่เบียดเบียนใคร ๆ ไม่ว่าผู้สะดุ้งหรือผู้มั่นคง จึงเป็นผู้ปฏิบัติไม่ผิด’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๔๔๕ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๘. คามณิสังยุต] ๑๓. ปาฏลิยสูตร

ปราโมทย์ก็เกิดแก่อริยสาวกนั้น เมื่อเกิดปราโมทย์ ปีติก็เกิด เมื่อใจเกิดปีติ
กายก็สงบ เธอผู้มีกายสงบย่อมอยู่สบาย จิตของเธอผู้อยู่สบายย่อมตั้งมั่น
ผู้ใหญ่บ้าน ธรรมสมาธิเป็นอย่างนี้แล ถ้าท่านตั้งอยู่ในธรรมสมาธินั้น พึงได้
จิตตสมาธิ เมื่อเป็นเช่นนี้ท่านพึงละความเคลือบแคลงนี้ได้
ผู้ใหญ่บ้าน อริยสาวกนั้นปราศจากความเพ่งเล็งอยากได้ของเขา ปราศจาก
พยาบาทอย่างนี้ไม่หลง มีสัมปชัญญะ มีสติ มีอุเบกขาจิตแผ่ไปตลอดทิศที่ ๑ ... ทิศ
ที่ ๒ ... ทิศที่ ๓ ... ทิศที่ ๔ ... ทิศเบื้องบน ทิศเบื้องล่าง ทิศเฉียง แผ่ไปตลอด
โลกทั่วทุกหมู่เหล่า ในที่ทุกสถาน ด้วยอุเบกขาจิตอันไพบูลย์ เป็นมหัคคตะ ไม่มี
ขอบเขต ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนอยู่
อริยสาวกนั้นพิจารณาเห็นอย่างนี้ว่า ‘ศาสดาท่านหนึ่งมีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิ
อย่างนี้ว่า ‘เมื่อบุคคลทำเอง ใช้ให้ผู้อื่นทำ ตัดเอง ใช้ให้ผู้อื่นตัด เบียดเบียนเอง
ใช้ให้ผู้อื่นเบียดเบียน ทำให้เศร้าโศกเอง ใช้ให้ผู้อื่นทำให้เศร้าโศก ทำให้ลำบาก
เอง ใช้ให้ผู้อื่นทำให้ลำบาก ดิ้นรนเอง ใช้ให้ผู้อื่นทำให้ดิ้นรน ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์
ตัดช่องย่องเบา ปล้นสะดม ปล้นในบ้านหลังเดียว ดักปล้นที่ทางเปลี่ยว เป็นชู้
พูดเท็จ ผู้ทำ(เช่นนั้น)ก็ไม่จัดว่าทำบาป
แม้หากบุคคลใช้จักรมีคมดุจมีดโกนสังหารเหล่าสัตว์ในปฐพีนี้ให้เป็นลานตากเนื้อ
ให้เป็นกองเนื้อเดียวกัน เขาย่อมไม่มีบาปที่เกิดจากกรรมนั้น ไม่มีบาปมาถึงเขา
แม้หากบุคคลไปฝั่งขวาแม่น้ำคงคาฆ่าเอง ใช้ให้ผู้อื่นฆ่า ตัดเอง ใช้ให้ผู้อื่นตัด
เบียดเบียนเอง ใช้ให้ผู้อื่นเบียดเบียน เขาย่อมไม่มีบาปที่เกิดจากกรรมนั้น ไม่มี
บาปมาถึงเขา
แม้หากบุคคลไปฝั่งซ้ายแม่น้ำคงคาให้เอง ใช้ให้ผู้อื่นให้ บูชาเอง ใช้ให้ผู้อื่นบูชา
เขาย่อมไม่มีบุญที่เกิดจากกรรมนั้น ไม่มีบุญมาถึงเขา ไม่มีบุญที่เกิดจากการให้ทาน
จากการฝึกอินทรีย์ จากการสำรวม จากการพูดคำสัตย์ ไม่มีบุญมาถึงเขา’
ถ้าศาสดาท่านนั้นพูดจริง ข้อที่เราสำรวมกาย วาจา ใจ และข้อที่เราหลังจาก
ตายแล้วจักไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์ ทั้ง ๒ ข้อนี้เป็นการถือเอาชัยชนะในคำสอน
เพราะเราไม่เบียดเบียนใคร ๆ ไม่ว่าผู้สะดุ้งหรือผู้มั่นคง จึงเป็นผู้ปฏิบัติไม่ผิด’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๔๔๖ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๘. คามณิสังยุต] รวมพระสูตรที่มีในวรรค

ปราโมทย์ก็เกิดแก่อริยสาวกนั้น เมื่อเกิดปราโมทย์ ปีติก็เกิด เมื่อใจเกิดปีติ
กายก็สงบ เธอผู้มีกายสงบย่อมอยู่สบาย จิตของเธอผู้อยู่สบายย่อมตั้งมั่น
ผู้ใหญ่บ้าน ธรรมสมาธิเป็นอย่างนี้แล ถ้าท่านตั้งอยู่ในธรรมสมาธินั้น พึงได้
จิตตสมาธิ เมื่อเป็นเช่นนี้ท่านพึงละความเคลือบแคลงนี้ได้”
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ผู้ใหญ่บ้านชื่อปาฏลิยะได้กราบทูลว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระภาษิตของพระองค์ชัดเจนไพเราะยิ่งนัก ฯลฯ ขอพระ
ผู้มีพระภาคจงทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะ ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปจน
ตลอดชีวิต”

ปาฏลิยสูตรที่ ๑๓ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้คือ

๑. จัณฑสูตร ๒. ตาลปุตตสูตร
๓. โยธาชีวสูตร ๔. หัตถาโรหสูตร
๕. อัสสาโรหสูตร ๖. อสิพันธกปุตตสูตร
๗. เขตตูปมสูตร ๘. สังขธมสูตร
๙. กุลสูตร ๑๐. มณิจูฬกสูตร
๑๑. คันธภกสูตร ๑๒. ราสิยสูตร
๑๓. ปาฏลิยสูตร

คามณิสังยุต จบบริบูรณ์


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๙. อสังขตสังยุต]
๑. ปฐมวรรค ๑. กายคตาสติสูตร

๙. อสังขตสังยุต
๑. ปฐมวรรค
หมวดที่ ๑
๑. กายคตาสติสูตร
ว่าด้วยกายคตาสติ

[๓๖๖] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิก-
เศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัส
ว่า “ภิกษุทั้งหลาย” ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้
ตรัสเรื่องนี้ว่า
“ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงอสังขตธรรม (สิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งไม่ได้) และทาง
ที่ให้ถึงอสังขตธรรมแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง
อสังขตธรรม คืออะไร
คือ ความสิ้นราคะ ความสิ้นโทสะ และความสิ้นโมหะ
นี้เราเรียกว่า อสังขตธรรม
ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม คืออะไร
คือ กายคตาสติ
นี้เราเรียกว่า ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม
อสังขตธรรมเราได้แสดงแล้วและทางที่ให้ถึงอสังขตธรรมเราได้แสดงแล้วแก่เธอ
ทั้งหลายอย่างนี้ กิจใดที่ศาสดาผู้แสวงหาประโยชน์เกื้อกูล ผู้อนุเคราะห์ พึงอาศัย
ความอนุเคราะห์กระทำแก่สาวกทั้งหลาย กิจนั้นเราก็ได้กระทำแล้วแก่เธอทั้งหลาย
ภิกษุทั้งหลาย นั่นโคนไม้ นั่นเรือนว่าง เธอทั้งหลายจงเพ่งพินิจ อย่าประมาท
อย่าได้มีความร้อนใจในภายหลัง นี้เป็นคำพร่ำสอนสำหรับเธอทั้งหลายของเรา”

กายคตาสติสูตรที่ ๑ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๙. อสังขตสังยุต]
๑. ปฐมวรรค ๔. สุญญตสมาธิสูตร

๒. สมถวิปัสสนาสูตร
ว่าด้วยสมถะและวิปัสสนา

[๓๖๗] “ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงอสังขตธรรมและทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม
แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง
อสังขตธรรม คืออะไร
คือ ความสิ้นราคะ ความสิ้นโทสะ และความสิ้นโมหะ
นี้เราเรียกว่า อสังขตธรรม
ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม คืออะไร
คือ สมถะและวิปัสสนา
นี้เราเรียกว่า ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม ฯลฯ

สมถวิปัสสนาสูตรที่ ๒ จบ

๓. สวิตักกสวิจารสูตร
ว่าด้วยสวิตักกสวิจารสมาธิ

[๓๖๘] “ภิกษุทั้งหลาย ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม คืออะไร
คือ สวิตักกสวิจารสมาธิ (สมาธิที่มีวิตกวิจาร)
อวิตักกวิจารสมาธิ (สมาธิที่ไม่มีวิตกมีเพียงวิจาร)
อวิตักกอวิจารสมาธิ (สมาธิที่ไม่มีวิตกไม่มีวิจาร)
นี้เราเรียกว่า ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม ฯลฯ

สวิตักกสวิจารสูตรที่ ๓ จบ

๔. สุญญตสมาธิสูตร
ว่าด้วยสุญญตสมาธิ

[๓๖๙] “ภิกษุทั้งหลาย ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม คืออะไร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๔๔๙ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๙. อสังขตสังยุต]
๑. ปฐมวรรค ๗. อิทธิปาทสูตร

คือ สุญญตสมาธิ (สมาธิพิจารณาความว่าง)
อนิมิตตสมาธิ (สมาธิพิจารณาธรรมไม่มีนิมิต)
อัปปณิหิตสมาธิ (สมาธิพิจารณาธรรมไม่มีความตั้งปรารถนา)
นี้เราเรียกว่า ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม ฯลฯ

สุญญตสมาธิสูตรที่ ๔ จบ

๕. สติปัฏฐานสูตร
ว่าด้วยสติปัฏฐาน

[๓๗๐] “ภิกษุทั้งหลาย ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม คืออะไร
คือ สติปัฏฐาน ๔
นี้เราเรียกว่า ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม ฯลฯ

สติปัฏฐานสูตรที่ ๕ จบ

๖. สัมมัปปธานสูตร
ว่าด้วยสัมมัปปธาน

[๓๗๑] “ภิกษุทั้งหลาย ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม คืออะไร
คือ สัมมัปปธาน ๔
นี้เราเรียกว่า ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม ฯลฯ

สัมมัปปธานสูตรที่ ๖ จบ

๗. อิทธิปาทสูตร
ว่าด้วยอิทธิบาท

[๓๗๒] “ภิกษุทั้งหลาย ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม คืออะไร
คือ อิทธิบาท ๔
นี้เราเรียกว่า ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม ฯลฯ

อิทธิปาทสูตรที่ ๗ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๙. อสังขตสังยุต]
๑. ปฐมวรรค ๑๑. มัคคังคสูตร

๘. อินทริยสูตร
ว่าด้วยอินทรีย์

[๓๗๓] “ภิกษุทั้งหลาย ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม คืออะไร
คือ อินทรีย์ ๕
นี้เราเรียกว่า ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม ฯลฯ

อินทริยสูตรที่ ๘ จบ

๙. พลสูตร
ว่าด้วยพละ

[๓๗๔] “ภิกษุทั้งหลาย ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม คืออะไร
คือ พละ ๕
นี้เราเรียกว่า ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม ฯลฯ

พลสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. โพชฌังคสูตร
ว่าด้วยโพชฌงค์

[๓๗๕] “ภิกษุทั้งหลาย ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม คืออะไร
คือ โพชฌงค์ ๗
นี้เราเรียกว่า ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม ฯลฯ

โพชฌังคสูตรที่ ๑๐ จบ

๑๑. มัคคังคสูตร
ว่าด้วยองค์แห่งมรรค

[๓๗๖] “ภิกษุทั้งหลาย ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม คืออะไร
คือ อริยมรรคมีองค์ ๘
นี้เราเรียกว่า ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๔๕๑ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๙. อสังขตสังยุต]
๑. ปฐมวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

อสังขตธรรมเราได้แสดงแล้วและทางที่ให้ถึงอสังขตธรรมเราได้แสดงแล้วแก่เธอ
ทั้งหลายอย่างนี้ กิจใดที่ศาสดาผู้แสวงหาประโยชน์เกื้อกูล ผู้อนุเคราะห์ พึงอาศัย
ความอนุเคราะห์กระทำแก่สาวกทั้งหลาย กิจนั้นเราก็ได้กระทำแล้วแก่เธอทั้งหลาย
ภิกษุทั้งหลาย นั่นโคนไม้ นั่นเรือนว่าง เธอทั้งหลายจงเพ่งพินิจ อย่าประมาท
อย่าได้มีความร้อนใจในภายหลัง นี้เป็นคำพร่ำสอนสำหรับเธอทั้งหลายของเรา”

มัคคังคสูตรที่ ๑๑ จบ
ปฐมวรรคแห่งสังยุต จบบริบูรณ์

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. กายคตาสติสูตร ๒. สมถวิปัสสนาสูตร
๓. สวิตักกสวิจารสูตร ๔. สุญญตสมาธิสูตร
๕. สติปัฏฐานสูตร ๖. สัมมัปปธานสูตร
๗. อิทธิปาทสูตร ๘. อินทริยสูตร
๙. พลสูตร ๑๐. โพชฌังคสูตร
๑๑. มัคคังคสูตร


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๙. อสังขตสังยุต]
๒. ทุติยวรรค ๑. อสังขตสูตร

๒. ทุติยวรรค
หมวดที่ ๒
๑. อสังขตสูตร
ว่าด้วยอสังขตธรรม

[๓๗๗] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงอสังขตธรรม (สิ่ง
ที่ปัจจัยปรุงแต่งไม่ได้) และทางที่ให้ถึงอสังขตธรรมแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลาย
จงฟัง
อสังขตธรรม คืออะไร
คือ ความสิ้นราคะ ความสิ้นโทสะ และความสิ้นโมหะ
นี้เราเรียกว่า อสังขตธรรม
ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม คืออะไร
คือ สมถะ
นี้เราเรียกว่า ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม
อสังขตธรรมเราได้แสดงแล้วและทางที่ให้ถึงอสังขตธรรมเราได้แสดงแล้วแก่เธอ
ทั้งหลายอย่างนี้ กิจใดที่ศาสดาผู้แสวงหาประโยชน์เกื้อกูล ผู้อนุเคราะห์ พึงอาศัย
ความอนุเคราะห์กระทำแก่สาวกทั้งหลาย กิจนั้นเราก็ได้กระทำแล้วแก่เธอทั้งหลาย
ภิกษุทั้งหลาย นั่นโคนไม้ นั่นเรือนว่าง เธอทั้งหลายจงเพ่งพินิจ อย่าประมาท
อย่าได้มีความร้อนใจในภายหลัง นี้เป็นคำพร่ำสอนสำหรับเธอทั้งหลายของเรา (๑)
ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงอสังขตธรรมและทางที่ให้ถึงอสังขตธรรมแก่เธอ
ทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง
อสังขตธรรม คืออะไร
คือ ความสิ้นราคะ ความสิ้นโทสะ และความสิ้นโมหะ
นี้เราเรียกว่า อสังขตธรรม

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๔๕๓ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๙. อสังขตสังยุต]
๒. ทุติยวรรค ๑. อสังขตสูตร

ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม คืออะไร
คือ วิปัสสนา
นี้เราเรียกว่า ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม
อสังขตธรรมเราได้แสดงแล้ว ฯลฯ นี้เป็นคำพร่ำสอนสำหรับเธอทั้งหลายของ
เรา (๒)
ภิกษุทั้งหลาย ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม คืออะไร
คือ สวิตักกสวิจารสมาธิ (สมาธิที่มีวิตกมีวิจาร)
นี้เราเรียกว่า ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม ฯลฯ
ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม คืออะไร
คือ อวิตักกวิจารสมาธิ (สมาธิที่ไม่มีวิตกมีเพียงวิจาร)
นี้เราเรียกว่า ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม ฯลฯ
ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม คืออะไร
คือ อวิตักกอวิจารสมาธิ (สมาธิที่ไม่มีวิตกไม่มีวิจาร)
นี้เราเรียกว่า ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม ฯลฯ (๓-๕)
ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม คืออะไร
คือ สุญญตสมาธิ
นี้เราเรียกว่า ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม ฯลฯ
ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม คืออะไร
คือ อนิมิตตสมาธิ
นี้เราเรียกว่า ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม ฯลฯ
ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม คืออะไร
คือ อัปปณิหิตสมาธิ
นี้เราเรียกว่า ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม ฯลฯ (๖-๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๔๕๔ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๙. อสังขตสังยุต]
๒. ทุติยวรรค ๑. อสังขตสูตร

ภิกษุทั้งหลาย ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ
มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
นี้เราเรียกว่า ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม ฯลฯ
ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายอยู่ ฯลฯ
นี้เราเรียกว่า ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม ฯลฯ
ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ ฯลฯ
นี้เราเรียกว่า ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม ฯลฯ
ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลาย๑ อยู่ ฯลฯ
นี้เราเรียกว่า ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม ฯลฯ (๙-๑๒)
ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้สร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต
มุ่งมั่น๒เพื่อป้องกันธรรมที่เป็นบาปอกุศลที่ยังไม่เกิดมิให้เกิดขึ้น
นี้เราเรียกว่า ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม ฯลฯ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๙. อสังขตสังยุต]
๒. ทุติยวรรค ๑. อสังขตสูตร

ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้สร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต
มุ่งมั่นเพื่อละธรรมที่เป็นบาปอกุศลที่เกิดขึ้นแล้ว
นี้เราเรียกว่า ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม ฯลฯ
ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้สร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต
มุ่งมั่นเพื่อทำกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น
นี้เราเรียกว่า ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม ฯลฯ
ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้สร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต
มุ่งมั่นเพื่อความดำรงอยู่ ไม่เลือนหาย ภิญโญภาพ ไพบูลย์ เจริญเต็มที่แห่งกุศล-
ธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว
นี้เราเรียกว่า ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม ฯลฯ (๑๓-๑๖)
ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยฉันทสมาธิปธานสังขาร๑
นี้เราเรียกว่า ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม ฯลฯ
ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยวีริยสมาธิปธานสังขาร
นี้เราเรียกว่า ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม ฯลฯ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๙. อสังขตสังยุต]
๒. ทุติยวรรค ๑. อสังขตสูตร

ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยจิตตสมาธิปธานสังขาร
นี้เราเรียกว่า ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม ฯลฯ
ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยวีมังสาสมาธิปธานสังขาร
นี้เราเรียกว่า ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม ฯลฯ (๑๗-๒๐)
ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญสัทธินทรีย์อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัย
นิโรธ น้อมไปในการสละ
นี้เราเรียกว่า ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม ฯลฯ
ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญวีริยินทรีย์อันอาศัยวิเวก ฯลฯ
นี้เราเรียกว่า ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม ฯลฯ
ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญสตินทรีย์ ฯลฯ
นี้เราเรียกว่า ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม ฯลฯ
ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญสมาธินทรีย์ ฯลฯ
นี้เราเรียกว่า ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม ฯลฯ
ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญปัญญินทรีย์อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัย
นิโรธ น้อมไปในการสละ
นี้เราเรียกว่า ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม ฯลฯ (๒๑-๒๕ )

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๔๕๗ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๙. อสังขตสังยุต]
๒. ทุติยวรรค ๑. อสังขตสูตร

ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญสัทธาพละอันอาศัยวิเวก ฯลฯ
นี้เราเรียกว่า ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม ฯลฯ
ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญวีริยพละ ฯลฯ
นี้เราเรียกว่า ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม ฯลฯ
ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญสติพละ ฯลฯ
นี้เราเรียกว่า ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม ฯลฯ
ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญสมาธิพละ ฯลฯ
นี้เราเรียกว่า ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม ฯลฯ
ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญปัญญาพละอันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัย
นิโรธ น้อมไปในการสละ
นี้เราเรียกว่า ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม ฯลฯ (๒๖-๓๐)
ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญสติสัมโพชฌงค์อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัย
นิโรธ น้อมไปในการสละ
นี้เราเรียกว่า ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม ฯลฯ
ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ ฯลฯ เจริญวีริยสัมโพชฌงค์
ฯลฯ เจริญปีติสัมโพชฌงค์ ฯลฯ เจริญปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ ฯลฯ เจริญ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๔๕๘ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๙. อสังขตสังยุต]
๒. ทุติยวรรค ๑. อสังขตสูตร

สมาธิสัมโพชฌงค์ ฯลฯ เจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ
อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ
นี้เราเรียกว่า ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม ฯลฯ (๓๑-๓๗)
ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญสัมมาทิฏฐิอันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัย
นิโรธ น้อมไปในการสละ
นี้เราเรียกว่า ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม ฯลฯ
ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญสัมมาสังกัปปะ ฯลฯ เจริญสัมมาวาจา ฯลฯ
เจริญสัมมากัมมันตะ ฯลฯ เจริญสัมมาอาชีวะ ฯลฯ เจริญสัมมาวายามะ ฯลฯ
เจริญสัมมาสติ ฯลฯ
นี้เราเรียกว่า ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม ฯลฯ
ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญสัมมาสมาธิอันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัย
นิโรธ น้อมไปในการสละ
นี้เราเรียกว่า ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม
ภิกษุทั้งหลาย อสังขตธรรมเราได้แสดงแล้วและทางที่ให้ถึงอสังขตธรรมเราได้
แสดงแล้วแก่เธอทั้งหลายอย่างนี้ กิจใดที่ศาสดาผู้แสวงหาประโยชน์เกื้อกูล ผู้อนุเคราะห์
พึงอาศัยความอนุเคราะห์กระทำแก่สาวกทั้งหลาย กิจนั้นเราก็ได้กระทำแล้วแก่เธอ
ทั้งหลาย ภิกษุทั้งหลาย นั่นโคนไม้ นั่นเรือนว่าง เธอทั้งหลายจงเพ่งพินิจ อย่า
ประมาท อย่าได้มีความร้อนใจในภายหลัง นี้เป็นคำพร่ำสอนสำหรับเธอทั้งหลาย
ของเรา” (๓๘-๔๕)

อสังขตสูตรที่ ๑ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๙. อสังขตสังยุต]
๒. ทุติยวรรค ๓-๓๒. อนาสวาทิสูตร

๒. อนตสูตร๑
ว่าด้วยความไม่น้อมไป

[๓๗๘] “ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงความไม่น้อมไป๒และทางที่ให้ถึงความไม่
น้อมไปแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง
ความไม่น้อมไป เป็นอย่างไร ฯลฯ

(พึงขยายความให้พิสดารเหมือนอสังขตสูตร)

อนตสูตรที่ ๒ จบ

๓-๓๒. อนาสวาทิสูตร
ว่าด้วยธรรมอันหาอาสวะมิได้เป็นต้น

[๓๗๙-๔๐๘] “ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมอันหาอาสวะมิได้และทางที่
ให้ถึงธรรมอันหาอาสวะมิได้แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง
ธรรมอันหาอาสวะมิได้ เป็นอย่างไร ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงสัจจธรรมและทางที่ให้ถึงสัจจธรรมแก่เธอทั้งหลาย
เธอทั้งหลายจงฟัง
สัจจธรรม เป็นอย่างไร ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมที่เป็นฝั่งและทางที่ให้ถึงธรรมที่เป็นฝั่งแก่เธอ
ทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง
ธรรมที่เป็นฝั่ง เป็นอย่างไร ฯลฯ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๙. อสังขตสังยุต]
๒. ทุติยวรรค ๓-๓๒. อนาสวาทิสูตร

ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมที่ละเอียดอ่อนและทางที่ให้ถึงธรรมที่ละเอียด
อ่อนแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง
ธรรมที่ละเอียดอ่อน เป็นอย่างไร ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมที่เห็นได้ยากยิ่งและทางที่ให้ถึงธรรมที่เห็นได้
ยากยิ่งแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง
ธรรมที่เห็นได้ยากยิ่ง เป็นอย่างไร ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมที่ไม่คร่ำครึและทางที่ให้ถึงธรรมที่ไม่คร่ำครึ
แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง
ธรรมที่ไม่คร่ำครึ เป็นอย่างไร ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมที่ยั่งยืนและทางที่ให้ถึงธรรมที่ยั่งยืนแก่เธอ
ทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง
ธรรมที่ยั่งยืน เป็นอย่างไร ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมที่ไม่เสื่อมสลายและทางที่ให้ถึงธรรมที่ไม่
เสื่อมสลายแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง
ธรรมที่ไม่เสื่อมสลาย เป็นอย่างไร ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมที่ใคร ๆ ไม่พึงเห็น (ด้วยจักขุวิญญาณ)
และทางที่ให้ถึงธรรมที่ใครๆ ไม่พึงเห็นแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง
ธรรมที่ใครๆ ไม่พึงเห็น เป็นอย่างไร ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมที่ไม่มีกิเลสเครื่องปรุงแต่ง (ตัณหา มานะ และ
ทิฏฐิ) และทางที่ให้ถึงธรรมที่ไม่มีกิเลสเครื่องปรุงแต่งแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลาย
จงฟัง
ธรรมที่ไม่มีกิเลสเครื่องปรุงแต่ง เป็นอย่างไร ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๔๖๑ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๙. อสังขตสังยุต]
๒. ทุติยวรรค ๓-๓๒. อนาสวาทิสูตร

ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมที่สงบและทางที่ให้ถึงธรรมที่สงบแก่เธอทั้งหลาย
เธอทั้งหลายจงฟัง
ธรรมที่สงบ เป็นอย่างไร ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงอมตธรรมและทางที่ให้ถึงอมตธรรมแก่เธอทั้งหลาย
เธอทั้งหลายจงฟัง
อมตธรรม เป็นอย่างไร ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมที่ประณีตและทางที่ให้ถึงธรรมที่ประณีตแก่
เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง
ธรรมที่ประณีต เป็นอย่างไร ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมที่ปลอดภัยและทางที่ให้ถึงธรรมที่ปลอดภัย
แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง
ธรรมที่ปลอดภัย เป็นอย่างไร ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมที่เกษมและทางที่ให้ถึงธรรมที่เกษมแก่เธอ
ทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง
ธรรมที่เกษม เป็นอย่างไร ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมเป็นที่สิ้นตัณหาและทางที่ให้ถึงธรรมเป็นที่สิ้น
ตัณหาแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง
ธรรมเป็นที่สิ้นตัณหา เป็นอย่างไร ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมที่น่าอัศจรรย์และทางที่ให้ถึงธรรมที่น่าอัศจรรย์
แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง
ธรรมที่น่าอัศจรรย์ เป็นอย่างไร ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมที่ไม่เคยปรากฏและทางที่ให้ถึงธรรมที่ไม่เคย
ปรากฏแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง
ธรรมที่ไม่เคยปรากฏ เป็นอย่างไร ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๔๖๒ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๙. อสังขตสังยุต]
๒. ทุติยวรรค ๓-๓๒. อนาสวาทิสูตร

ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมที่ไม่มีทุกข์และทางที่ให้ถึงธรรมที่ไม่มีทุกข์แก่
เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง
ธรรมที่ไม่มีทุกข์ เป็นอย่างไร ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมที่ไม่มีเครื่องร้อยรัดและทางที่ให้ถึงธรรมที่ไม่
มีเครื่องร้อยรัดแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง
ธรรมที่ไม่มีเครื่องร้อยรัด เป็นอย่างไร ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงนิพพานและทางที่ให้ถึงนิพพานแก่เธอทั้งหลาย
เธอทั้งหลายจงฟัง
นิพพาน เป็นอย่างไร ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมที่ไม่มีความเบียดเบียนและทางที่ให้ถึงธรรม
ที่ไม่มีความเบียดเบียนแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง
ธรรมที่ไม่มีความเบียดเบียน เป็นอย่างไร ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมที่ปราศจากราคะและทางที่ให้ถึงธรรมที่
ปราศจากราคะแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง
ธรรมที่ปราศจากราคะ เป็นอย่างไร ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงความบริสุทธิ์และทางที่ให้ถึงความบริสุทธิ์แก่เธอ
ทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง
ความบริสุทธ์ เป็นอย่างไร ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงความหลุดพ้นและทางที่ให้ถึงความหลุดพ้นแก่เธอ
ทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง
ความหลุดพ้น เป็นอย่างไร ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมที่ไม่มีความอาลัยและทางที่ให้ถึงธรรมที่ไม่มี
ความอาลัยแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง
ธรรมที่ไม่มีความอาลัย เป็นอย่างไร ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๔๖๓ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๙. อสังขตสังยุต] ๓๓. ปรายนสูตร

ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมที่เป็นเกาะและทางที่ให้ถึงธรรมที่เป็นเกาะแก่
เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง
ธรรมที่เป็นเกาะ เป็นอย่างไร ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมเป็นที่เร้นและทางที่ให้ถึงธรรมเป็นที่เร้นแก่
เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง
ธรรมเป็นที่เร้น เป็นอย่างไร ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมเป็นที่ต้านทานและทางที่ให้ถึงธรรมเป็นที่
ต้านทานแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง
ธรรมเป็นที่ต้านทาน เป็นอย่างไร ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมเป็นที่พึ่งและทางที่ให้ถึงธรรมเป็นที่พึ่งแก่
เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง
ธรรมเป็นที่พึ่ง เป็นอย่างไร ฯลฯ

อนาสวาทิสูตรที่ ๓-๓๒ จบ

๓๓. ปรายนสูตร
ว่าด้วยธรรมเป็นที่ไปในเบื้องหน้า

[๔๐๙] “ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมเป็นที่ไปในเบื้องหน้าและทางที่ให้
ถึงธรรมเป็นที่ไปในเบื้องหน้าแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง
ธรรมเป็นที่ไปในเบื้องหน้า คืออะไร
คือ ความสิ้นราคะ ความสิ้นโทสะ และความสิ้นโมหะ
นี้เราเรียกว่า ธรรมเป็นที่ไปในเบื้องหน้า
ทางที่ให้ถึงธรรมเป็นที่ไปในเบื้องหน้า คืออะไร
คือ กายคตาสติ
นี้เราเรียกว่า ทางที่ให้ถึงธรรมเป็นที่ไปในเบื้องหน้า
ภิกษุทั้งหลาย ธรรมเป็นที่ไปในเบื้องหน้าและทางที่ให้ถึงธรรมเป็นที่ไปใน
เบื้องหน้าเราได้แสดงแล้วแก่เธอทั้งหลายอย่างนี้ กิจใดที่ศาสดาผู้แสวงหาประโยชน์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๔๖๔ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๙. อสังขตสังยุต] รวมพระสูตรที่มีในวรรค

เกื้อกูล ผู้อนุเคราะห์ พึงอาศัยความอนุเคราะห์กระทำแก่สาวกทั้งหลาย กิจนั้น
เราก็ได้กระทำแล้วแก่เธอทั้งหลาย ภิกษุทั้งหลาย นั่นโคนไม้ นั่นเรือนว่าง เธอ
ทั้งหลายจงเพ่งพินิจ อย่าประมาท อย่าได้มีความเดือดร้อนใจในภายหลัง นี้เป็น
คำพร่ำสอนสำหรับเธอทั้งหลายของเรา”

(พึงขยายความให้พิสดารเหมือนอสังขตสูตร)

ปรายนสูตรที่ ๓๓ จบ
ทุติยวรรค จบบริบูรณ์

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. อสังขตสูตร ๒. อนตสูตร
๓. อนาสวาทิสูตร ๔. สัจจสูตร
๕. ปารสูตร ๖. นิปุณสูตร
๗. สุทุททสสูตร ๘. อชัชชรสูตร
๙. ธุวสูตร ๑๐. อปโลกินสูตร
๑๑. อนิทัสสนสูตร ๑๒. นิปปปัญจสูตร
๑๓. สันตสูตร ๑๔. อมตสูตร
๑๕. ปณีตสูตร ๑๖. สิวสูตร
๑๗. เขมสูตร ๑๘. ตัณหักขยสูตร
๑๙. อัจฉริยสูตร ๒๐. อัพภุตสูตร
๒๑. อนีติกสูตร ๒๒. อนีติกธัมมสูตร
๒๓. นิพพานสูตร ๒๔. อัพยาปัชฌสูตร
๒๕. วิราคสูตร ๒๖. สุทธิสูตร
๒๗. มุตติสูตร ๒๘. อนาลยสูตร
๒๙. ทีปสูตร ๓๐. เลณสูตร
๓๑. ตาณสูตร ๓๒. สรณสูตร
๓๓. ปรายนสูตร

อสังขตสังยุต จบบริบูรณ์
สูตรที่ ๗ ในอาสีวิสวรรคก็เหมือนกัน


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑๐. อัพยากตสังยุต] ๑. เขมาสูตร

๑๐. อัพยากตสังยุต
๑. เขมาสูตร
ว่าด้วยเขมาภิกษุณี

[๔๑๐] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของ
อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี สมัยนั้น เขมาภิกษุณีเที่ยวจาริกไปในแคว้น
โกศล เข้าไปพักอยู่ที่โตรณวัตถุ (ค่ายเสาระเนียด) ระหว่างกรุงสาวัตถีกับเมืองสาเกต
ครั้งนั้น พระเจ้าปเสนทิโกศลเสด็จจากเมืองสาเกตไปยังกรุงสาวัตถี ได้เข้าประทับ
แรมราตรีหนึ่งที่โตรณวัตถุระหว่างกรุงสาวัตถีกับเมืองสาเกต รับสั่งเรียกราชบุรุษ
คนหนึ่งมาตรัสถามดังนี้ว่า “บุรุษผู้เจริญ ท่านจงไปดูให้รู้ว่าที่โตรณวัตถุมีสมณะหรือ
พราหมณ์ผู้ที่เราควรเข้าไปหาในวันนี้หรือไม่”
ราชบุรุษนั้นทูลรับสนองพระดำรัสของพระเจ้าปเสนทิโกศลแล้วตรวจดูโตรณวัตถุ
จนทั่วก็ไม่เห็นสมณะหรือพราหมณ์ผู้ที่พระเจ้าปเสนทิโกศลควรเสด็จเข้าไปหา
ราชบุรุษนั้นได้พบเขมาภิกษุณีซึ่งเข้าไปพักอยู่ที่โตรณวัตถุ จึงเข้าไปเฝ้าพระเจ้า
ปเสนทิโกศลถึงที่ประทับ ได้กราบทูลดังนี้ว่า “ขอเดชะ ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท
ที่โตรณวัตถุไม่มีสมณะหรือพราหมณ์ผู้ที่พระองค์ควรเสด็จเข้าไปหาเลย มีแต่ภิกษุณี
ชื่อว่าเขมา ผู้เป็นสาวิกาของพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
และพระแม่เจ้ารูปนั้นมีกิตติศัพท์อันงามฟุ้งขจรไปอย่างนี้ว่า ‘พระแม่เจ้าเขมา
ภิกษุณีเป็นบัณฑิต เฉียบแหลม มีปัญญา เป็นพหูสูต๑ พูดเพราะ มีปฏิภาณดี’
ขอกราบทูลเชิญพระองค์เสด็จเข้าไปหาพระแม่เจ้ารูปนั้นเถิด”
พระเจ้าปเสนทิโกศลตรัสถามปัญหาเขมาภิกษุณี
ต่อมา พระเจ้าปเสนทิโกศล เสด็จเข้าไปหาเขมาภิกษุณีถึงที่อยู่ ทรงไหว้แล้ว
ประทับนั่ง ณ ที่สมควร ได้ตรัสถามดังนี้ว่า “พระแม่เจ้า หลังจากตายแล้ว
ตถาคตเกิดอีกหรือ”


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑๐. อัพยากตสังยุต] ๑. เขมาสูตร

เขมาภิกษุณีถวายพระพรว่า “ขอถวายพระพร มหาบพิตร ปัญหาว่า ‘หลัง
จากตายแล้ว ตถาคตเกิดอีก’ นี้พระผู้มีพระภาคไม่ทรงพยากรณ์”
“ก็หลังจากตายแล้ว ตถาคตไม่เกิดอีกหรือ”
“แม้ปัญหาว่า ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตไม่เกิดอีก’ นี้พระผู้มีพระภาคก็ไม่
ทรงพยากรณ์”
“หลังจากตายแล้ว ตถาคตเกิดอีกและไม่เกิดอีกหรือ”
“ปัญหาว่า ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตเกิดอีกและไม่เกิดอีก’ นี้พระผู้มีพระภาค
ไม่ทรงพยากรณ์”
“หลังจากตายแล้ว ตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่หรือ”
“แม้ปัญหาว่า ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีก
ก็มิใช่’ นี้พระผู้มีพระภาคก็ไม่ทรงพยากรณ์”
“ท่านถูกข้าพเจ้าถามว่า ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตเกิดอีกหรือ’ ก็ตอบว่า
‘ปัญหาว่า ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตเกิดอีก’ นี้พระผู้มีพระภาคไม่ทรงพยากรณ์’
ท่านถูกข้าพเจ้าถามว่า ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตไม่เกิดอีกหรือ’ ก็ตอบว่า
‘แม้ปัญหาว่า ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตไม่เกิดอีก’ นี้พระผู้มีพระภาคก็ไม่ทรง
พยากรณ์’
ท่านถูกข้าพเจ้าถามว่า ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตเกิดอีกและไม่เกิดอีกหรือ’
ก็ตอบว่า ‘ปัญหาว่า ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตเกิดอีกและไม่เกิดอีก’ นี้พระ
ผู้มีพระภาคไม่ทรงพยากรณ์’
ท่านถูกข้าพเจ้าถามว่า ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่า
ไม่เกิดอีกก็มิใช่หรือ’ ก็ตอบว่า ‘แม้ปัญหาว่า ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตจะว่า
เกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่’ นี้พระผู้มีพระภาคก็ไม่ทรงพยากรณ์’
อะไรหนอเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้พระผู้มีพระภาคไม่ทรงพยากรณ์ปัญหานั้น”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๔๖๗ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑๐. อัพยากตสังยุต] ๑. เขมาสูตร

“ขอถวายพระพร มหาบพิตร ถ้าเช่นนั้น หม่อมฉันขอย้อนถามมหาบพิตรใน
เรื่องนี้บ้าง ขอพระองค์พึงตอบตามที่ทรงพอพระทัยเถิด พระองค์จะทรงเข้าพระทัย
ความข้อนั้นว่าอย่างไร นักคำนวณ๑ นักประเมิน๒ หรือนักประมวล๓บางคนของพระองค์
ผู้สามารถคำนวณทรายในแม่น้ำคงคาว่า ‘ทรายเท่านี้เม็ด เท่านี้ ๑๐๐ เม็ด เท่านี้
๑,๐๐๐ เม็ด หรือเท่านี้ ๑๐๐,๐๐๐ เม็ด’ มีอยู่หรือ”
“ไม่มี พระแม่เจ้า”
“อนึ่ง นักคำนวณ นักประเมิน หรือนักประมวลบางคนของพระองค์ ผู้
สามารถคำนวณน้ำในมหาสมุทรว่า ‘น้ำเท่านี้อาฬหกะ๔ เท่านี้ ๑๐๐ อาฬหกะ เท่านี้
๑,๐๐๐ อาฬหกะ หรือเท่านี้ ๑๐๐,๐๐๐ อาฬหกะ’ มีอยู่หรือ”
“ไม่มี พระแม่เจ้า”
“ข้อนั้นเพราะเหตุไร”
“เพราะมหาสมุทรลึกล้ำ ประมาณไม่ได้ หยั่งถึงได้ยาก”


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑๐. อัพยากตสังยุต] ๑. เขมาสูตร

“เรื่องนี้ก็เหมือนกัน บุคคลเมื่อจะบัญญัติตถาคต พึงบัญญัติด้วยรูปใด รูปนั้น
พระตถาคตละได้แล้ว ตัดรากถอนโคนเหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว
เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ พระตถาคตพ้นแล้วจากการบัญญัติ
ว่ารูป ลึกล้ำ ประมาณไม่ได้ หยั่งถึงได้ยาก ดุจมหาสมุทรฉะนั้น
คำว่า ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตเกิดอีก’ ก็ดี ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคต
ไม่เกิดอีก’ ก็ดี ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตเกิดอีกและไม่เกิดอีก’ ก็ดี ‘หลังจาก
ตายแล้ว ตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่’ ก็ดี นี้ย่อมไม่ถูก
บุคคลเมื่อจะบัญญัติตถาคต พึงบัญญัติด้วยเวทนาใด เวทนานั้นพระตถาคต
ละได้แล้ว ตัดรากถอนโคนเหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่
ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ พระตถาคตพ้นแล้วจากการบัญญัติว่าเวทนา ลึกล้ำ
ประมาณไม่ได้ หยั่งถึงได้ยาก ดุจมหาสมุทรฉะนั้น
คำว่า ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตเกิดอีก’ ก็ดี ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตไม่
เกิดอีก’ ก็ดี ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตเกิดอีกและไม่เกิดอีก’ ก็ดี ‘หลังจากตายแล้ว
ตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่’ ก็ดี นี้ย่อมไม่ถูก
บุคคลเมื่อจะบัญญัติตถาคต พึงบัญญัติด้วยสัญญาใด ฯลฯ
บุคคลเมื่อจะบัญญัติตถาคต พึงบัญญัติด้วยสังขารเหล่าใด สังขารเหล่านั้น
พระตถาคตละได้แล้ว ตัดรากถอนโคนเหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว
เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ พระตถาคตพ้นแล้วจากการบัญญัติ
ว่าสังขาร ลึกล้ำ ประมาณไม่ได้ หยั่งถึงได้ยาก ดุจมหาสมุทรฉะนั้น
คำว่า ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตเกิดอีก’ ก็ดี ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคต
ไม่เกิดอีก’ ก็ดี ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตเกิดอีกและไม่เกิดอีก’ ก็ดี ‘หลังจาก
ตายแล้ว ตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่’ ก็ดี นี้ย่อมไม่ถูก
บุคคลเมื่อจะบัญญัติตถาคต พึงบัญญัติด้วยวิญญาณใด วิญญาณนั้นพระ
ตถาคตละได้แล้ว ตัดรากถอนโคนเหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว
เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ พระตถาคตพ้นแล้วจากการบัญญัติว่า
วิญญาณ ลึกล้ำ ประมาณไม่ได้ หยั่งถึงได้ยาก ดุจมหาสมุทรฉะนั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๔๖๙ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑๐. อัพยากตสังยุต] ๑. เขมาสูตร

คำว่า ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตเกิดอีก’ ก็ดี ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคต
ไม่เกิดอีก’ ก็ดี ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตเกิดและไม่เกิดอีก’ ก็ดี ‘หลังจากตายแล้ว
ตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่’ ก็ดี นี้ย่อมไม่ถูก”
ลำดับนั้น พระเจ้าปเสนทิโกศลทรงชื่นชมยินดีภาษิตของเขมาภิกษุณี เสด็จ
ลุกขึ้นจากที่ประทับ ทรงไหว้เขมาภิกษุณี กระทำประทักษิณแล้วเสด็จจากไป
พระเจ้าปเสนทิโกศลทูลถามปัญหาพระผู้มีพระภาค
ต่อมาพระเจ้าปเสนทิโกศลเสด็จเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ทรง
ถวายอภิวาทแล้ว ประทับนั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หลังจากตายแล้ว ตถาคตเกิดอีกหรือ”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ขอถวายพระพร มหาบพิตร ปัญหาว่า ‘หลัง
จากตายแล้ว ตถาคตเกิดอีก’ นี้อาตมภาพไม่พยากรณ์”
“หลังจากตายแล้ว ตถาคตไม่เกิดอีกหรือ”
“แม้ปัญหาว่า ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตไม่เกิดอีก’ นี้อาตมภาพก็ไม่พยากรณ์”
“หลังจากตายแล้ว ตถาคตเกิดอีกและไม่เกิดอีกหรือ”
“ปัญหาว่า ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตเกิดอีกและไม่เกิดอีก’ นี้อาตมภาพ
ไม่พยากรณ์”
“หลังจากตายแล้ว ตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่หรือ”
“แม้ปัญหาว่า ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีก
ก็มิใช่’ นี้อาตมภาพก็ไม่พยากรณ์ ๋
“พระองค์ถูกข้าพระองค์ทูลถามว่า ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตเกิดอีกหรือ’
ก็ตรัสตอบว่า ‘ปัญหาว่า ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตเกิดอีก’ นี้อาตมภาพไม่
พยากรณ์’ ฯลฯ
พระองค์ถูกข้าพระองค์ทูลถามว่า ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่
จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่หรือ’ ก็ตรัสตอบว่า ‘แม้ปัญหาว่า หลังจากตายแล้ว ตถาคต

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๔๗๐ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑๐. อัพยากตสังยุต] ๑. เขมาสูตร

จะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่’ นี้อาตมภาพก็ไม่พยากรณ์’ อะไรหนอ
เป็นเหตุเป็นปัจจัยที่พระผู้มีพระภาคไม่ทรงพยากรณ์ปัญหานั้น”
“ขอถวายพระพร มหาบพิตร ถ้าเช่นนั้น อาตมภาพจักย้อนถามมหาบพิตร
ในเรื่องนี้บ้าง ขอพระองค์พึงตรัสตอบตามที่ทรงพอพระทัยเถิด พระองค์ทรงเข้า
พระทัยความข้อนั้นว่าอย่างไร นักคำนวณ นักประเมิน หรือนักประมวลบางคน
ของพระองค์ผู้สามารถคำนวณเม็ดทรายในแม่น้ำคงคาว่า ‘ทรายเท่านี้เม็ด ฯลฯ
หรือทรายเท่านี้ ๑๐๐,๐๐๐ เม็ด’ มีอยู่หรือ”
“ไม่มี พระพุทธเจ้าข้า”
“อนึ่ง นักคำนวณ นักประเมิน หรือนักประมวลบางคนของพระองค์ผู้สามารถ
คำนวณน้ำในมหาสมุทรว่า ‘น้ำเท่านี้อาฬหกะ ฯลฯ หรือน้ำเท่านี้ ๑๐๐,๐๐๐
อาฬหกะ’ มีอยู่หรือ”
“ไม่มี พระพุทธเจ้าข้า”
“ข้อนั้นเพราะเหตุไร”
“เพราะมหาสมุทรลึกล้ำ ประมาณไม่ได้ หยั่งถึงได้ยาก พระพุทธเจ้าข้า”
“เรื่องนี้ก็เหมือนกัน บุคคลเมื่อจะบัญญัติตถาคต พึงบัญญัติด้วยรูปใด รูป
นั้นตถาคต(เรา)ละได้แล้ว ตัดรากถอนโคนเหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว
เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ ตถาคต (เรา) พ้นแล้วจากการ
บัญญัติว่ารูป ลึกล้ำ ประมาณไม่ได้ หยั่งถึงได้ยาก ดุจมหาสมุทรฉะนั้น
คำว่า ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตเกิดอีก’ ก็ดี ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคต
ไม่เกิดอีก’ ก็ดี ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตเกิดอีกและไม่เกิดอีก’ ก็ดี ‘หลังจาก
ตายแล้ว ตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่’ ก็ดีย่อมไม่ถูก
บุคคลเมื่อจะบัญญัติตถาคต พึงบัญญัติด้วยเวทนาใด ...
ด้วยสัญญาใด ...
ด้วยสังขารเหล่าใด ...

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๔๗๑ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑๐. อัพยากตสังยุต] ๑. เขมาสูตร

บุคคลเมื่อจะบัญญัติตถาคต พึงบัญญัติด้วยวิญญาณใด วิญญาณนั้น
ตถาคต(เรา)ละได้แล้ว ตัดรากถอนโคนเหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว
เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ ตถาคต(เรา)พ้นแล้วจากการบัญญัติ
ว่าวิญญาณ ลึกล้ำ ประมาณไม่ได้ หยั่งถึงได้ยาก ดุจมหาสมุทรฉะนั้น
คำว่า ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตเกิดอีก’ ก็ดี ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคต
ไม่เกิดอีก’ ก็ดี ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตเกิดอีกและไม่เกิดอีก’ ก็ดี ‘หลังจาก
ตายแล้ว ตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่’ ก็ดีย่อมไม่ถูก”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคยปรากฏ ที่อรรถกับอรรถ
พยัญชนะกับพยัญชนะของพระศาสดากับของพระสาวิกาเทียบเคียงกันได้ เหมือนกัน
ไม่ผิดเพี้ยนในบทที่สำคัญ๑ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สมัยหนึ่ง ข้าพระองค์เข้าไปหา
นางเขมาภิกษุณีได้ถามเรื่องนี้ แม้พระแม่เจ้ารูปนั้นก็ได้ตอบเรื่องนี้ด้วยบทและ
พยัญชนะเหล่านี้แก่ข้าพระองค์เหมือนพระผู้มีพระภาค
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคยปรากฏ ที่อรรถกับอรรถ
พยัญชนะกับพยัญชนะของพระศาสดากับของพระสาวิกาเทียบเคียงกันได้ เหมือน
กันไม่ผิดเพี้ยนในบทที่สำคัญ ถ้าเช่นนั้น บัดนี้หม่อมฉันขอทูลลากลับ เพราะมีกิจ
มีหน้าที่ที่จะต้องทำอีกมาก พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ขอพระองค์จงทรงกำหนดเวลาที่สมควร ณ บัดนี้
เถิด”
ลำดับนั้น พระเจ้าปเสนทิโกศลทรงชื่นชมยินดีพระภาษิตของพระผู้มีพระภาค
แล้วได้เสด็จลุกขึ้นจากที่ประทับ ทรงถวายอภิวาท กระทำประทักษิณแล้วเสด็จ
จากไป

เขมาสูตรที่ ๑ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑๐. อัพยากตสังยุต] ๒. อนุราธสูตร

๒. อนุราธสูตร
ว่าด้วยพระอนุราธะ

[๔๑๑] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ กูฏาคารศาลา ป่ามหาวัน เขต
กรุงเวสาลี สมัยนั้น ท่านพระอนุราธะอยู่ที่กุฎีป่าไม่ไกลจากพระผู้มีพระภาค ครั้งนั้น
พวกอัญเดียรถีย์ปริพาชกจำนวนมากเข้าไปหาท่านพระอนุราธะถึงที่อยู่ ได้สนทนา
ปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้ว นั่ง ณ ที่สมควร ได้ถาม
ท่านพระอนุราธะดังนี้ว่า
“ท่านอนุราธะ พระตถาคตเป็นอุดมบุรุษ เป็นบรมบุรุษ ทรงบรรลุธรรมที่
ควรบรรลุอย่างยอดเยี่ยม เมื่อจะทรงบัญญัติข้อนั้น ย่อมบัญญัติในฐานะ ๔ ประการ
นี้ คือ
๑. หลังจากตายแล้ว ตถาคตเกิดอีก
๒. หลังจากตายแล้ว ตถาคตไม่เกิดอีก
๓. หลังจากตายแล้ว ตถาคตเกิดอีกและไม่เกิดอีก
๔. หลังจากตายแล้ว ตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่ หรือ”
ท่านพระอนุราธะตอบว่า “ผู้มีอายุทั้งหลาย พระตถาคตเป็นอุดมบุรุษ เป็น
บรมบุรุษ ทรงบรรลุธรรมที่ควรบรรลุอย่างยอดเยี่ยม เมื่อจะทรงบัญญัติข้อนั้นย่อม
บัญญัติเว้นจากฐานะ ๔ ประการนี้ คือ
๑. หลังจากตายแล้ว ตถาคตเกิดอีก
๒. หลังจากตายแล้ว ตถาคตไม่เกิดอีก
๓. หลังจากตายแล้ว ตถาคตเกิดอีกและไม่เกิดอีก
๔. หลังจากตายแล้ว ตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่”
เมื่อท่านพระอนุราธะกล่าวอย่างนี้แล้ว อัญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้นได้กล่าว
กับท่านพระอนุราธะดังนี้ว่า “ภิกษุรูปนี้คงจักเป็นพระใหม่บวชได้ไม่นาน หรือเป็น
พระเถระแต่โง่ ไม่ฉลาด” ทีนั้นจึงได้รุกรานท่านพระอนุราธะด้วยวาทะว่าเป็นพระใหม่
และด้วยวาทะว่าเป็นพระโง่ พากันลุกจากอาสนะแล้วจากไป

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๔๗๓ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑๐. อัพยากตสังยุต] ๒. อนุราธสูตร

ครั้นเมื่อพวกอัญเดียรถีย์ปริพาชกจากไปไม่นาน ท่านพระอนุราธะได้มีความ
คิดว่า “ถ้าอัญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้นพึงถามปัญหากับเรายิ่งขึ้นไป เราจะ
พยากรณ์แก่อัญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้นอย่างไร จึงจะชื่อว่าพูดตรงตามที่พระ
ผู้มีพระภาคตรัสไว้ ไม่ชื่อว่ากล่าวตู่พระผู้มีพระภาคด้วยคำเท็จ ชื่อว่ากล่าวแก้อย่าง
สมเหตุสมผล ไม่มีที่คำกล่าวเช่นนั้นและคำที่กล่าวต่อ ๆ กันมาจะเป็นเหตุให้ถูกตำหนิได้”
พระอนุราธะทูลถามปัญหาพระผู้มีพระภาค
ต่อมาท่านพระอนุราธะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้ว
นั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอ
ประทานวโรกาส ข้าพระองค์อยู่ที่กุฎีป่า ไม่ไกลจากพระผู้มีพระภาค ครั้งนั้น
อัญเดียรถีย์ปริพาชกจำนวนมากเข้าไปหาข้าพระองค์ถึงที่อยู่ ได้สนทนาปราศรัยพอ
เป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้ว นั่ง ณ ที่สมควร ได้ถามข้าพระองค์ดังนี้ว่า
‘ท่านอนุราธะ พระตถาคตเป็นอุดมบุรุษ เป็นบรมบุรุษ ทรงบรรลุธรรมที่ควรบรรลุ
อย่างยอดเยี่ยม เมื่อจะทรงบัญญัติข้อนั้น ย่อมทรงบัญญัติในฐานะ ๔ ประการนี้ คือ
๑. หลังจากตายแล้ว ตถาคตเกิดอีก ฯลฯ
๔. หลังจากตายแล้ว ตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่
หรือ
เมื่อพวกอัญเดียรถีย์ปริพาชกกล่าวอย่างนี้แล้ว ข้าพระองค์ได้ตอบดังนี้ว่า ‘ผู้มี
อายุทั้งหลาย พระตถาคตเป็นอุดมบุรุษ เป็นบรมบุรุษ ทรงบรรลุธรรมที่ควรบรรลุ
อย่างยอดเยี่ยม เมื่อจะทรงบัญญัติข้อนั้น ย่อมทรงบัญญัติเว้นจากฐานะ ๔ ประการ
นี้ คือ
๑. หลังจากตายแล้ว ตถาคตเกิดอีกก็ดี ฯลฯ
๔. หลังจากตายแล้ว ตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่
เมื่อข้าพระองค์กล่าวอย่างนี้แล้ว อัญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้นได้กล่าวกับ
ข้าพระองค์ดังนี้ว่า ‘ภิกษุรูปนี้คงจักเป็นพระใหม่บวชได้ไม่นาน หรือเป็นพระเถระ
แต่โง่ ไม่ฉลาด’ ทีนั้นได้รุกรานข้าพระองค์ด้วยวาทะว่าเป็นพระใหม่และด้วยวาทะ
ว่าเป็นพระโง่ พากันลุกจากอาสนะแล้วจากไป

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๔๗๔ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑๐. อัพยากตสังยุต] ๒. อนุราธสูตร

เมื่ออัญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้นจากไปไม่นาน ข้าพระองค์ได้มีความคิดว่า
‘ถ้าอัญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้นพึงถามปัญหากับเรายิ่งขึ้นไป เราจะพยากรณ์แก่
อัญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้นอย่างไร จึงจะชื่อว่าพูดตรงตามที่พระผู้มีพระภาคตรัส
ไว้ ไม่ชื่อว่ากล่าวตู่พระผู้มีพระภาคด้วยคำเท็จ ชื่อว่ากล่าวแก้อย่างสมเหตุสมผล
ไม่มีที่คำกล่าวเช่นนั้นและคำที่กล่าวต่อ ๆ กันมาจะเป็นเหตุให้ถูกตำหนิได้”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อนุราธะ เธอเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร รูปเที่ยง
หรือไม่เที่ยง”
ท่านพระอนุราธะกราบทูลว่า “ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข”
“เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา ควรหรือที่จะ
พิจารณาเห็นสิ่งนั้นว่า ‘นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา”
“ข้อนั้นไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า”
“เวทนาเที่ยงหรือไม่เที่ยง ฯลฯ สัญญา ... สังขาร ... วิญญาณเที่ยงหรือ
ไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข”
“เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา ควรหรือที่จะพิจารณา
เห็นสิ่งนั้นว่า ‘นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา ๋
“ข้อนั้นไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า”
“อนุราธะ เพราะเหตุนั้นแล รูปอย่างใดอย่างหนึ่งทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และ
ปัจจุบัน เป็นภายในหรือภายนอก หยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีต อยู่ไกล
หรืออยู่ใกล้ รูปทั้งหมดนั้นเธอพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้
ว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๔๗๕ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑๐. อัพยากตสังยุต] ๒. อนุราธสูตร

เวทนาทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน ฯลฯ สัญญา ... สังขาร ...
วิญญาณอย่างใดอย่างหนึ่งทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน เป็นภายในหรือ
ภายนอก หยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีต อยู่ไกลหรืออยู่ใกล้ วิญญาณ
ทั้งหมดนั้นเธอพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า ‘นั่นไม่ใช่ของ
เรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’
อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในรูป ย่อมเบื่อหน่ายแม้
ในเวทนา ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในสัญญา ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในสังขาร ย่อมเบื่อหน่าย
แม้ในวิญญาณ เมื่อเบื่อหน่ายย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด จิตย่อม
หลุดพ้น เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว ก็รู้ว่า ‘หลุดพ้นแล้ว’ รู้ชัดว่า ‘ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบ
พรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป’
อนุราธะ เธอเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร เธอพิจารณาเห็นรูปว่าเป็น
ตถาคตหรือ”
“ไม่ใช่อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
“เธอพิจารณาเห็นเวทนาว่า ‘เป็นตถาคต’ หรือ”
“ไมใช่อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
“เธอพิจารณาเห็นสัญญาว่า ‘เป็นตถาคต’ หรือ”
“ไม่ใช่อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
“เธอพิจารณาเห็นสังขารว่า ‘เป็นตถาคต’ หรือ”
“ไม่ใช่อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
“เธอพิจารณาเห็นวิญญาณว่า ‘เป็นตถาคต’ หรือ”
“ไม่ใช่อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
“อนุราธะ เธอเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร เธอพิจารณาเห็นว่า ‘ตถาคตมีใน
รูป’ หรือ”
“ไม่ใช่อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
“เธอพิจารณาเห็นว่า ‘ตถาคตมีนอกจากรูป’ หรือ”
“ไม่ใช่อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๔๗๖ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑๐. อัพยากตสังยุต] ๒. อนุราธสูตร

“เธอพิจารณาเห็นว่า ‘ตถาคตมีในเวทนา’ หรือ”
“ไม่ใช่อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
“เธอพิจารณาเห็นว่า ‘ตถาคตมีนอกจากเวทนา’ หรือ ฯลฯ ‘ตถาคตมีใน
สัญญา’ หรือ ฯลฯ ‘ตถาคตมีนอกจากสัญญา’ หรือ ฯลฯ ‘ตถาคตมีในสังขาร’ หรือ
ฯลฯ ‘ตถาคตมีนอกจากสังขาร’ หรือ ฯลฯ เธอพิจารณาเห็นว่า ‘ตถาคตมีใน
วิญญาณ’ หรือ”
“ไม่ใช่อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
“เธอพิจารณาเห็นว่า ‘ตถาคตมีนอกจากวิญญาณ’ หรือ”
“ไม่ใช่อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
“อนุราธะ เธอเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร เธอพิจารณาเห็นรูป เวทนา
สัญญา สังขาร วิญญาณว่า ‘เป็นตถาคต’ หรือ”
“ไม่ใช่อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
“อนุราธะ เธอเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร เธอพิจารณาเห็นว่า ‘ตถาคตนี้
ไม่มีรูป ไม่มีเวทนา ไม่มีสัญญา ไม่มีสังขาร ไม่มีวิญญาณ’ หรือ”
“ไม่ใช่อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
“อนุราธะ แท้จริง เธอจะค้นหาตถาคตโดยจริงโดยแท้ในขันธ์ ๕ นี้ในปัจจุบัน
ไม่ได้เลย ควรหรือที่เธอจะตอบว่า ‘ผู้มีอายุทั้งหลาย พระตถาคตเป็นอุดมบุรุษ
เป็นบรมบุรุษ ทรงบรรลุธรรมที่ควรบรรลุอย่างยอดเยี่ยม เมื่อจะทรงบัญญัติข้อนั้น
ย่อมทรงบัญญัติเว้นจากฐานะ ๔ ประการนี้ คือ
๑. หลังจากตายแล้ว ตถาคตเกิดอีก ฯลฯ
๔. หลังจากตายแล้ว ตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่หรือ”
“ข้อนั้นไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า”
“ดีละ ดีละ อนุราธะ ทั้งในกาลก่อนและในบัดนี้ เราย่อมบัญญัติทุกข์และ
ความดับทุกข์เท่านั้น”

อนุราธสูตรที่ ๒ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑๐. อัพยากตสังยุต]
๓. ปฐมสารีปุตตโกฏฐิตสูตร

๓. ปฐมสารีปุตตโกฏฐิตสูตร
ว่าด้วยพระสารีบุตรและพระมหาโกฏฐิตะ สูตรที่ ๑

[๔๑๒] สมัยหนึ่ง ท่านพระสารีบุตรและท่านพระมหาโกฏฐิตะอยู่ ณ ป่า
อิสิปตนมฤคทายวัน เขตกรุงพาราณสี ครั้งนั้น ท่านพระมหาโกฏฐิตะออกจากที่
หลีกเร้นในเวลาเย็น เข้าไปหาท่านพระสารีบุตรถึงที่อยู่ ได้สนทนาปราศรัยพอเป็น
ที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้ว นั่ง ณ ที่สมควร ได้ถามท่านพระสารีบุตร
ดังนี้ว่า “ท่านสารีบุตร หลังจากตายแล้ว ตถาคตเกิดอีกหรือ”
ท่านพระสารีบุตรตอบว่า “ผู้มีอายุ ปัญหาว่า ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคต
เกิดอีก’ นี้พระผู้มีพระภาคไม่ทรงพยากรณ์”
“หลังจากตายแล้ว ตถาคตไม่เกิดอีกหรือ”
“แม้ปัญหาว่า ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตไม่เกิดอีก’ นี้พระผู้มีพระภาคก็ไม่
ทรงพยากรณ์”
“หลังจากตายแล้ว ตถาคตเกิดอีกและไม่เกิดอีกหรือ”
“ปัญหาว่า ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตเกิดอีกและไม่เกิดอีก’ นี้พระผู้มีพระภาค
ไม่ทรงพยากรณ์”
“หลังจากตายแล้ว ตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่หรือ”
“แม้ปัญหาว่า ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีก
ก็มิใช่’ นี้พระผู้มีพระภาคก็ไม่ทรงพยากรณ์”
“ท่านถูกผมถามว่า ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตเกิดอีกหรือ’ ก็ตอบว่า ‘ผู้มีอายุ
ปัญหาว่า ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตเกิดอีก’ นี้พระผู้มีพระภาคไม่ทรงพยากรณ์’
ฯลฯ
ท่านถูกผมถามว่า ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิด
อีกก็มิใช่หรือ’ ก็ตอบว่า ‘แม้ปัญหาว่า ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตจะว่าเกิดอีก
ก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่’ นี้พระผู้มีพระภาคก็ไม่ทรงพยากรณ์’ อะไรหนอเป็น
เหตุเป็นปัจจัยที่พระผู้มีพระภาคไม่ทรงพยากรณ์ปัญหานั้น”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๔๗๘ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑๐. อัพยากตสังยุต]
๔. ทุติยสารีปุตตโกฏฐิตสูตร

“คำว่า ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตเกิดอีก’ ก็ดี ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตไม่
เกิดอีก’ ก็ดี ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตเกิดอีกและไม่เกิดอีก’ ก็ดี ‘หลังจากตายแล้ว
ตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่’ ก็ดี นี้เป็นสักแต่ว่ารูป
คำว่า ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตเกิดอีก’ ก็ดี ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตไม่
เกิดอีก’ ก็ดี ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตเกิดอีกและไม่เกิดอีก’ ก็ดี ‘หลังจากตายแล้ว
ตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่’ ก็ดี นี้เป็นสักแต่ว่าเวทนา
คำว่า ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตเกิดอีก’ ก็ดี ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตไม่
เกิดอีก’ ก็ดี ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตเกิดอีกและไม่เกิดอีก’ ก็ดี ‘หลังจากตายแล้ว
ตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่’ ก็ดี นี้เป็นสักแต่ว่าสัญญา
คำว่า ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตเกิดอีก’ ก็ดี ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตไม่
เกิดอีก’ ก็ดี ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตเกิดอีกและไม่เกิดอีก’ ก็ดี ‘หลังจากตายแล้ว
ตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่’ ก็ดี นี้เป็นสักแต่ว่าสังขาร
คำว่า ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตเกิดอีก’ ก็ดี ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตไม่
เกิดอีก’ ก็ดี ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตเกิดอีกและไม่เกิดอีก’ ก็ดี ‘หลังจากตายแล้ว
ตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่’ ก็ดี นี้เป็นสักแต่ว่าวิญญาณ
ผู้มีอายุ นี้แลเป็นเหตุเป็นปัจจัยที่พระผู้มีพระภาคไม่ทรงพยากรณ์ปัญหานั้น”

ปฐมสารีปุตตโกฏฐิตสูตรที่ ๓ จบ

๔. ทุติยสารีปุตตโกฏฐิตสูตร
ว่าด้วยพระสารีบุตรและพระมหาโกฏฐิตะ สูตรที่ ๒

[๔๑๓] สมัยหนึ่ง ท่านพระสารีบุตรและท่านพระมหาโกฏฐิตะอยู่ ณ ป่า
อิสิปตนมฤคทายวัน เขตกรุงพาราณสี ฯลฯ (มีการถามตอบเหมือนสูตรที่ ๓)
ผู้มีอายุ อะไรหนอเป็นเหตุเป็นปัจจัยที่พระผู้มีพระภาคไม่ทรงพยากรณ์ปัญหานั้น”
ท่านพระสารีบุตรตอบว่า “ผู้มีอายุ ทิฏฐิว่า ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตเกิดอีก’
ก็ดี ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตไม่เกิดอีก’ ก็ดี ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตเกิดอีก
และไม่เกิดอีก’ ก็ดี ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีก
ก็มิใช่’ ก็ดี ย่อมมีแก่บุคคลผู้ไม่รู้ไม่เห็นรูป เหตุเกิดรูป ความดับรูป และปฏิปทา
ที่ให้ถึงความดับรูปตามความเป็นจริง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๔๗๙ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑๐. อัพยากตสังยุต]
๕. ตติยสารีปุตตโกฏฐิตสูตร

ทิฏฐิว่า ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตเกิดอีก’ ก็ดี ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคต
ไม่เกิดอีก’ ก็ดี ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตเกิดอีกและไม่เกิดอีก’ ก็ดี ‘หลังจาก
ตายแล้ว ตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่’ ก็ดี ย่อมมีแก่บุคคลผู้
ไม่รู้ไม่เห็นเวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ สังขาร ฯลฯ
ทิฏฐิว่า ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตเกิดอีก’ ก็ดี ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคต
ไม่เกิดอีก’ ก็ดี ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตเกิดอีกและไม่เกิดอีก’ ก็ดี ‘หลังจาก
ตายแล้ว ตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่’ ก็ดี ย่อมมีแก่บุคคลผู้
ไม่รู้ไม่เห็นวิญญาณ เหตุเกิดวิญญาณ ความดับวิญญาณ และปฏิปทาที่ให้ถึง
ความดับวิญญาณตามความเป็นจริง
แต่ทิฏฐิว่า ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตเกิดอีก’ ก็ดี ฯลฯ ‘หลังจากตายแล้ว
ตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่’ ก็ดี ย่อมไม่มีแก่บุคคลผู้รู้เห็น
รูป เหตุเกิดรูป ความดับรูป และปฏิปทาที่ให้ถึงความดับรูปตามความเป็นจริง ...
เวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ สังขาร ฯลฯ
ทิฏฐิว่า ‘‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตเกิดอีก’ ก็ดี ‘หลังจากตายแล้ว
ตถาคตไม่เกิดอีก’ ก็ดี ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตเกิดอีกและไม่เกิดอีก’ ก็ดี
‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่’ ก็ดี ย่อมไม่มี
แก่บุคคลผู้รู้เห็นวิญญาณ เหตุเกิดวิญญาณ ความดับวิญญาณ และปฏิปทาที่ให้
ถึงความดับวิญญาณตามความเป็นจริง
ผู้มีอายุ นี้แลเป็นเหตุเป็นปัจจัยที่พระผู้มีพระภาคไม่ทรงพยากรณ์ปัญหานั้น”

ทุติยสารีปุตตโกฏฐิตสูตรที่ ๔ จบ

๕. ตติยสารีปุตตโกฏฐิตสูตร
ว่าด้วยพระสารีบุตรและพระมหาโกฏฐิตะ สูตรที่ ๓

[๔๑๔] สมัยหนึ่ง ท่านพระสารีบุตรและท่านพระมหาโกฏฐิตะอยู่ ณ ป่า
อิสิปตนมฤคทายวัน เขตกรุงพาราณสี ฯลฯ (มีการถามตอบเหมือนสูตรที่ ๔)
“ผู้มีอายุ อะไรหนอเป็นเหตุเป็นปัจจัยที่พระผู้มีพระภาคไม่ทรงพยากรณ์ปัญหานั้น”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๔๘๐ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑๐. อัพยากตสังยุต]
๖. จตุตถสารีปุตตโกฏฐิตสูตร

ท่านพระสารีบุตรตอบว่า “ผู้มีอายุ ทิฏฐิว่า ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตเกิด
อีก’ ก็ดี ฯลฯ ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่’
ก็ดี ย่อมมีแก่บุคคลผู้ยังไม่ปราศจากราคะ ฉันทะ ความรัก ความกระหาย
ความเร่าร้อน ตัณหาในรูป ... ในเวทนา ฯลฯ ในสัญญา ฯลฯ ในสังขาร ฯลฯ
ทิฏฐิว่า ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตเกิดอีก’ ก็ดี ฯลฯ ‘หลังจากตายแล้ว
ตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่’ ก็ดี ย่อมมีแก่บุคคลผู้ยังไม่
ปราศจากราคะ ฉันทะ ความรัก ความกระหาย ความเร่าร้อน ตัณหาในวิญญาณ
แต่ทิฏฐิว่า ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตเกิดอีก’ ก็ดี ฯลฯ ‘หลังจากตายแล้ว
ตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่’ ก็ดี ย่อมไม่มีแก่บุคคลผู้ปราศจาก
ราคะ ... ในรูป ฯลฯ ในเวทนา ฯลฯ ในสัญญา ฯลฯ ในสังขาร ฯลฯ
ทิฏฐิว่า ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตเกิดอีก’ ก็ดี ฯลฯ ‘หลังจากตายแล้ว
ตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่’ ก็ดี ย่อมไม่มีแก่บุคคลผู้ปราศจาก
ราคะ ฉันทะ ความรัก ความกระหาย ความเร่าร้อน ตัณหาในวิญญาณ
ผู้มีอายุ นี้แลเป็นเหตุเป็นปัจจัยที่พระผู้มีพระภาคไม่ทรงพยากรณ์ปัญหานั้น”

ตติยสารีปุตตโกฏฐิตสูตรที่ ๕ จบ

๖. จตุตถสารีปุตตโกฏฐิตสูตร
ว่าด้วยพระสารีบุตรและพระมหาโกฏฐิตะ สูตรที่ ๔

[๔๑๕] สมัยหนึ่ง ท่านพระสารีบุตรและท่านพระมหาโกฏฐิตะอยู่ ณ ป่า
อิสิปตนมฤคทายวัน เขตกรุงพาราณสี ครั้งนั้น ท่านพระสารีบุตรออกจากที่หลีก
เร้นในเวลาเย็น เข้าไปหาท่านพระมหาโกฏฐิตะถึงที่อยู่ ได้สนทนาปราศรัยพอเป็น
ที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้ว นั่ง ณ ที่สมควร ได้ถามท่านพระมหา-
โกฏฐิตะดังนี้ว่า “ท่านมหาโกฏฐิตะ ท่านถูกผมถามว่า ‘หลังจากตายแล้ว
ตถาคตเกิดอีกหรือ’ ฯลฯ ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่
เกิดอีกก็มิใช่หรือ’ ก็ตอบว่า ‘ผู้มีอายุ แม้ปัญหาว่า ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคต
จะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่’ นี้พระผู้มีพระภาคก็ไม่ทรงพยากรณ์’
อะไรหนอเป็นเหตุเป็นปัจจัยที่พระผู้มีพระภาคไม่ทรงพยากรณ์ปัญหานั้น”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๔๘๑ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑๐. อัพยากตสังยุต]
๖. จตุตถสารีปุตตโกฏฐิตสูตร

ท่านพระมหาโกฏฐิตะตอบว่า “ผู้มีอายุ ทิฏฐิว่า ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคต
เกิดอีก’ ก็ดี ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตไม่เกิดอีก’ ก็ดี ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคต
เกิดอีกและไม่เกิดอีก’ ก็ดี ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่
เกิดอีกก็มิใช่’ ก็ดี ย่อมมีแก่บุคคลผู้ชื่นชม ยินดี บันเทิงในรูป ผู้ไม่รู้ ไม่เห็นความ
ดับรูปตามความเป็นจริง
ทิฏฐิว่า ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตเกิดอีก’ ก็ดี ... ย่อมมีแก่บุคคล ผู้ชื่นชม
ยินดี บันเทิงในเวทนา ผู้ไม่รู้ ไม่เห็นความดับเวทนาตามความเป็นจริง ฯลฯ ผู้
ชื่นชมในสัญญา ฯลฯ ผู้ชื่นชมในสังขาร ฯลฯ
ทิฏฐิว่า ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตเกิดอีก’ ก็ดี ฯลฯ ‘หลังจากตายแล้ว
ตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่’ ก็ดี ย่อมมีแก่บุคคล ผู้ชื่นชม ยินดี
บันเทิงในวิญญาณ ผู้ไม่รู้ ไม่เห็นความดับวิญญาณตามความเป็นจริง
แต่ทิฏฐิว่า ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตเกิดอีก’ ก็ดี ฯลฯ ‘หลังจากตายแล้ว
ตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่’ ก็ดี ย่อมไม่มีแก่บุคคลผู้ไม่ชื่นชม
ไม่ยินดี ไม่บันเทิงในรูป ผู้รู้ เห็นความดับรูปตามความเป็นจริง
ทิฏฐิว่า ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตเกิดอีก’ ก็ดี ฯลฯ ‘หลังจากตายแล้ว
ตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่’ ก็ดี ... ย่อมไม่มีแก่บุคคลผู้ไม่
ชื่นชมในเวทนา ฯลฯ ผู้ไม่ชื่นชมในสัญญา ฯลฯ ผู้ไม่ชื่นชมในสังขาร ทิฏฐิว่า
‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตเกิดอีก’ ก็ดี ฯลฯ ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตจะว่า
เกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่’ ก็ดี ย่อมไม่มีแก่บุคคลผู้ไม่ชื่นชม ไม่ยินดี ไม่
บันเทิงในวิญญาณ ผู้รู้ เห็นความดับวิญญาณตามความเป็นจริง
ผู้มีอายุ นี้แลเป็นเหตุเป็นปัจจัยที่พระผู้มีพระภาคไม่ทรงพยากรณ์ปัญหานั้น”
ท่านพระสารีบุตรถามว่า “อนึ่ง เหตุแม้อย่างอื่นที่พระผู้มีพระภาคไม่ทรงพยากรณ์
ปัญหานั้นมีอยู่หรือ”
ท่านพระมหาโกฏฐิตะตอบว่า “มีอยู่ ผู้มีอายุ คือ ทิฏฐิว่า ‘หลังจากตายแล้ว
ตถาคตเกิดอีก’ ก็ดี ฯลฯ ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่
เกิดอีกก็มิใช่’ ก็ดี ย่อมมีแก่บุคคลผู้ชื่นชม ยินดี บันเทิงในภพ ผู้ไม่รู้ ไม่เห็น
ความดับภพตามความเป็นจริง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๔๘๒ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑๐. อัพยากตสังยุต]
๖. จตุตถสารีปุตตโกฏฐิตสูตร

แต่ทิฏฐิว่า ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตเกิดอีก’ ก็ดี ฯลฯ ‘หลังจากตายแล้ว
ตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่’ ก็ดี ย่อมไม่มีแก่บุคคลผู้ไม่ชื่นชม
ไม่ยินดี ไม่บันเทิงในภพ ผู้รู้ เห็นความดับภพตามความเป็นจริง
ผู้มีอายุ นี้แลเป็นเหตุที่พระผู้มีพระภาคไม่ทรงพยากรณ์ปัญหานั้น”
ท่านพระสารีบุตรถามว่า “อนึ่ง เหตุแม้อย่างอื่นที่พระผู้มีพระภาคไม่ทรงพยากรณ์
ปัญหานั้นมีอยู่หรือ”
ท่านพระมหาโกฏฐิตะตอบว่า “มีอยู่ ผู้มีอายุ คือ ทิฏฐิว่า ‘หลังจากตายแล้ว
ตถาคตเกิดอีก’ ก็ดี ฯลฯ ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่
เกิดอีกก็มิใช่’ ก็ดี ย่อมมีแก่บุคคลผู้ชื่นชม ยินดี บันเทิงในอุปาทาน ผู้ไม่รู้ ไม่
เห็นความดับอุปาทานตามความเป็นจริง
แต่ทิฏฐิว่า ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตเกิดอีก’ ก็ดี ฯลฯ ‘หลังจากตายแล้ว
ตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่’ ก็ดี ย่อมไม่มีแก่บุคคลผู้ไม่ชื่นชม
ไม่ยินดี ไม่บันเทิงในอุปาทาน ผู้รู้ เห็นความดับอุปาทานตามความเป็นจริง
ผู้มีอายุ นี้แลเป็นเหตุที่พระผู้มีพระภาคไม่ทรงพยากรณ์ปัญหานั้น”
ท่านพระสารีบุตรถามว่า “อนึ่ง เหตุแม้อย่างอื่นที่พระผู้มีพระภาคไม่ทรงพยากรณ์
ปัญหานั้นมีอยู่หรือ”
ท่านพระมหาโกฏฐิตะตอบว่า “มีอยู่ ผู้มีอายุ คือ ทิฏฐิว่า ‘หลังจากตายแล้ว
ตถาคตเกิดอีก’ ก็ดี ฯลฯ ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่
เกิดอีกก็มิใช่’ ก็ดี ย่อมมีแก่บุคคลผู้ชื่นชม ยินดี บันเทิงในตัณหา ผู้ไม่รู้ ไม่เห็น
ความดับตัณหาตามความเป็นจริง
แต่ทิฏฐิว่า ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตเกิดอีก’ ก็ดี ฯลฯ ‘หลังจากตายแล้ว
ตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่’ ก็ดี ย่อมไม่มีแก่บุคคลผู้ไม่ชื่นชม
ไม่ยินดี ไม่บันเทิงในตัณหา ผู้รู้ เห็นความดับตัณหาตามความเป็นจริง
ผู้มีอายุ นี้แลเป็นเหตุที่พระผู้มีพระภาคไม่ทรงพยากรณ์ปัญหานั้น”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๔๘๓ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑๐. อัพยากตสังยุต] ๗. โมคคัลลานสูตร

“ผู้มีอายุ อนึ่ง เหตุแม้อย่างอื่นที่พระผู้มีพระภาคไม่ทรงพยากรณ์ปัญหานั้นมี
อยู่หรือ”
“ท่านสารีบุตร บัดนี้ท่านจะต้องการอะไรในปัญหานี้ยิ่งไปกว่านี้อีกเล่า เพราะ
ไม่มีธรรมเนียมสำหรับให้รู้ภิกษุผู้หลุดพ้นเพราะสิ้นตัณหา”

จตุตถสารีปุตตโกฏฐิตสูตรที่ ๖ จบ

๗. โมคคัลลานสูตร
ว่าด้วยพระมหาโมคคัลลานะ

[๔๑๖] ครั้งนั้น วัจฉโคตรปริพาชกเข้าไปหาท่านพระมหาโมคคัลลานะถึงที่อยู่
ได้สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้ว นั่ง ณ ที่สมควร
ได้ถามท่านพระมหาโมคคัลลานะดังนี้ว่า
“ท่านโมคคัลลานะ โลกเที่ยงหรือ”
ท่านพระมหาโมคคัลลานะตอบว่า “วัจฉะ ปัญหาว่า ‘โลกเที่ยง’ นี้พระ
ผู้มีพระภาคไม่ทรงพยากรณ์”
“โลกไม่เที่ยงหรือ”
“แม้ปัญหาว่า ‘โลกไม่เที่ยง’ นี้พระผู้มีพระภาคก็ไม่ทรงพยากรณ์”
“โลกมีที่สุดหรือ”
“ปัญหาว่า ‘โลกมีที่สุด’ นี้พระผู้มีพระภาคไม่ทรงพยากรณ์”
“โลกไม่มีที่สุดหรือ”
“แม้ปัญหาว่า ‘โลกไม่มีที่สุด’ นี้พระผู้มีพระภาคก็ไม่ทรงพยากรณ์”
“ชีวะกับสรีระเป็นอย่างเดียวกันหรือ”
“ปัญหาว่า ‘ชีวะกับสรีระเป็นอย่างเดียวกัน’ นี้พระผู้มีพระภาคไม่ทรง
พยากรณ์”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๔๘๔ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑๐. อัพยากตสังยุต] ๗. โมคคัลลานสูตร

“ชีวะกับสรีระเป็นคนละอย่างกันหรือ”
“แม้ปัญหาว่า ‘ชีวะกับสรีระเป็นคนละอย่างกัน’ นี้พระผู้มีพระภาคก็ไม่ทรง
พยากรณ์”
“หลังจากตายแล้ว ตถาคตเกิดอีกหรือ”
“ปัญหาว่า ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตเกิดอีก’ นี้พระผู้มีพระภาคไม่ทรง
พยากรณ์”
“หลังจากตายแล้ว ตถาคตไม่เกิดอีกหรือ”
“แม้ปัญหาว่า ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตไม่เกิดอีก’ นี้พระผู้มีพระภาคก็ไม่
ทรงพยากรณ์”
“หลังจากตายแล้ว ตถาคตเกิดอีกและไม่เกิดอีกหรือ”
“ปัญหาว่า ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตเกิดอีกและไม่เกิดอีก’ นี้พระผู้มีพระภาค
ไม่ทรงพยากรณ์”
“หลังจากตายแล้ว ตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่หรือ”
“แม้ปัญหาว่า ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีก
ก็มิใช่’ นี้พระผู้มีพระภาคก็ไม่ทรงพยากรณ์”
“ท่านโมคคัลลานะ อะไรหนอเป็นเหตุเป็นปัจจัยที่พวกอัญเดียรถีย์ปริพาชก
เมื่อถูกถามอย่างนี้จึงตอบว่า ‘โลกเที่ยง หรือโลกไม่เที่ยง โลกมีที่สุด หรือโลก
ไม่มีที่สุด ชีวะกับสรีระเป็นอย่างเดียวกัน หรือชีวะกับสรีระเป็นคนละอย่างกัน
หลังจากตายแล้ว ตถาคตเกิดอีก หรือหลังจากตายแล้ว ตถาคตไม่เกิดอีก หลัง
จากตายแล้ว ตถาคตเกิดอีกและไม่เกิดอีก หรือหลังจากตายแล้ว ตถาคตจะว่า
เกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่’
อะไรหนอเป็นเหตุเป็นปัจจัยที่พระสมณโคดมเมื่อถูกถามอย่างนี้จึงไม่ทรงพยากรณ์
ว่า ‘โลกเที่ยงบ้าง โลกไม่เที่ยงบ้าง โลกมีที่สุดบ้าง โลกไม่มีที่สุดบ้าง ชีวะสรีระ
เป็นอย่างเดียวกันบ้าง ชีวะกับสรีระเป็นคนละอย่างกันบ้าง หลังจากตายแล้ว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๔๘๕ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑๐. อัพยากตสังยุต] ๗. โมคคัลลานสูตร

ตถาคตเกิดอีกบ้าง หลังจากตายแล้ว ตถาคตไม่เกิดอีกบ้าง หลังจากตายแล้ว
ตถาคตเกิดอีกและไม่เกิดอีกบ้าง หลังจากตายแล้ว ตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะ
ว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่บ้าง”
“วัจฉะ เพราะพวกอัญเดียรถีย์ปริพาชกพิจารณาเห็นจักขุว่า ‘นั่นของเรา
เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา’ ฯลฯ พิจารณาเห็นมโนว่า ‘นั่นของเรา เราเป็นนั่น
นั่นเป็นอัตตาของเรา’ ฉะนั้นพวกอัญเดียรถีย์ปริพาชกเมื่อถูกถามอย่างนี้จึงตอบว่า
‘โลกเที่ยง ฯลฯ หลังจากตายแล้ว ตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่’
ส่วนพระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงพิจารณาเห็นจักขุว่า ‘นั่นไม่ใช่
ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’ ฯลฯ ทรงพิจารณาเห็นชิวหาว่า
‘นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’ ฯลฯ ทรงพิจารณาเห็นมโนว่า
‘นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’ ฉะนั้นพระตถาคตเมื่อถูกถาม
อย่างนี้จึงไม่ทรงพยากรณ์ว่า ‘โลกเที่ยงบ้าง ฯลฯ หลังจากตายแล้ว ตถาคตจะ
ว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่บ้าง”
วัจฉโคตรปริพาชกทูลถามปัญหาพระผู้มีพระภาค
ครั้งนั้น วัจฉโคตรปริพาชกลุกขึ้นจากที่นั่งแล้ว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึง
ที่ประทับ ได้สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้ว นั่ง ณ
ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “พระโคดมผู้เจริญ โลกเที่ยงหรือ”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “วัจฉะ ปัญหาว่า ‘โลกเที่ยง’ นี้เราไม่พยากรณ์” ฯลฯ
“พระโคดมผู้เจริญ หลังจากตายแล้ว ตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิด
อีกก็มิใช่หรือ”
“วัจฉะ แม้ปัญหาว่า ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่
เกิดอีกก็มิใช่’ นี้เราก็ไม่พยากรณ์”
“พระโคดมผู้เจริญ อะไรหนอเป็นเหตุเป็นปัจจัยที่พวกอัญเดียรถีย์ปริพาชก
เมื่อถูกถามอย่างนี้จึงตอบว่า ‘โลกเที่ยง ฯลฯ หลังจากตายแล้ว ตถาคตจะว่า
เกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๔๘๖ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑๐. อัพยากตสังยุต] ๗. โมคคัลลานสูตร

อนึ่ง อะไรเป็นเหตุเป็นปัจจัยที่พระสมณโคดมเมื่อถูกถามอย่างนี้จึงไม่ทรง
พยากรณ์ว่า ‘โลกเที่ยงบ้าง ฯลฯ หลังจากตายแล้ว ตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่
จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่บ้าง”
“วัจฉะ เพราะพวกอัญเดียรถีย์ปริพาชกพิจารณาเห็นจักขุว่า ‘นั่นของเรา เรา
เป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา’ ฯลฯ พิจารณาเห็นชิวหาว่า ‘นั่นของเรา เราเป็นนั่น
นั่นเป็นอัตตาของเรา’ ฯลฯ พิจารณาเห็นมโนว่า ‘นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็น
อัตตาของเรา’ ฉะนั้นพวกอัญเดียรถีย์ปริพาชกเมื่อถูกถามอย่างนี้จึงตอบว่า ‘โลก
เที่ยง ฯลฯ หลังจากตายแล้ว ตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่’
ส่วนตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพิจารณาเห็นจักขุว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา
เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’ ฯลฯ พิจารณาเห็นชิวหาว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา
เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’ ฯลฯ พิจารณาเห็นมโนว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา
เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’ ฉะนั้นตถาคตเมื่อถูกถามอย่างนี้จึงไม่พยากรณ์
ว่า ‘โลกเที่ยงบ้าง โลกไม่เที่ยงบ้าง โลกมีที่สุดบ้าง โลกไม่มีที่สุดบ้าง ชีวะกับ
สรีระเป็นอย่างเดียวกันบ้าง ชีวะกับสรีระเป็นคนละอย่างกันบ้าง หลังจากตายแล้ว
ตถาคตเกิดอีกบ้าง หลังจากตายแล้ว ตถาคตไม่เกิดอีกบ้าง หลังจากตายแล้ว
ตถาคตเกิดอีกและไม่เกิดอีกบ้าง หลังจากตายแล้ว ตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะ
ว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่บ้าง”
“พระโคดมผู้เจริญ น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคยปรากฏ ที่อรรถกับอรรถ
พยัญชนะกับพยัญชนะของพระศาสดากับพระสาวกเทียบเคียงกันได้ เหมือนกันไม่
ผิดเพี้ยนในบทที่สำคัญ พระโคดมผู้เจริญ เมื่อครู่นี้ข้าพระองค์เข้าไปหาพระ
มหาโมคคัลลานะได้ถามเรื่องนี้ แม้พระมหาโมคคัลลานะก็ได้ตอบเรื่องนี้ด้วยบท
และพยัญชนะเหล่านี้แก่ข้าพระองค์เหมือนท่านพระโคดม พระโคดมผู้เจริญ น่า
อัศจรรย์จริง ไม่เคยปรากฏ ที่อรรถกับอรรถ พยัญชนะกับพยัญชนะของพระศาสดา
กับพระสาวกเทียบเคียงกันได้ เหมือนกันไม่ผิดเพี้ยนในบทที่สำคัญ”

โมคคัลลานสูตรที่ ๗ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑๐. อัพยากตสังยุต] ๘. วัจฉโคตตสูตร

๘. วัจฉโคตตสูตร
ว่าด้วยวัจฉโคตรปริพาชก

[๔๑๗] ครั้งนั้น วัจฉโคตรปริพาชกเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ได้
สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้ว นั่ง ณ ที่สมควร
ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ท่านพระโคดม โลกเที่ยงหรือ”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “วัจฉะ ปัญหาว่า ‘โลกเที่ยง’ นี้เราไม่พยากรณ์”
ฯลฯ
“ท่านพระโคดม หลังจากตายแล้ว ตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิด
อีกก็มิใช่หรือ”
“วัจฉะ แม้ปัญหาว่า ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่
เกิดอีกก็มิใช่’ นี้เราก็ไม่พยากรณ์”
“ท่านพระโคดม อะไรหนอเป็นเหตุเป็นปัจจัยที่พวกอัญเดียรถีย์ปริพาชกเมื่อ
ถูกถามอย่างนี้แล้วจึงตอบว่า ‘โลกเที่ยง ฯลฯ หลังจากตายแล้ว ตถาคตจะว่า
เกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่’
อนึ่ง อะไรเป็นเหตุเป็นปัจจัยที่พระสมณโคดมเมื่อถูกถามอย่างนี้จึงไม่ทรง
พยากรณ์ว่า ‘โลกเที่ยงบ้าง ฯลฯ หลังจากตายแล้ว ตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่
จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่บ้าง”
“วัจฉะ เพราะพวกอัญเดียรถีย์ปริพาชกพิจารณาเห็นรูปโดยความเป็นอัตตา
พิจารณาเห็นอัตตาว่ามีรูป พิจารณาเห็นรูปในอัตตา หรือพิจารณาเห็นอัตตาในรูป
พิจารณาเห็นเวทนาโดยความเป็นอัตตา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ สังขาร ฯลฯ
พิจารณาเห็นวิญญาณโดยความเป็นอัตตา พิจารณาเห็นอัตตาว่ามีวิญญาณ
พิจารณาเห็นวิญญาณในอัตตา หรือพิจารณาเห็นอัตตาในวิญญาณ ฉะนั้นพวก
อัญเดียรถีย์ปริพาชกเมื่อถูกถามอย่างนี้จึงตอบว่า ‘โลกเที่ยง ฯลฯ หลังจากตายแล้ว
ตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๔๘๘ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑๐. อัพยากตสังยุต] ๘. วัจฉโคตตสูตร

ส่วนตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าไม่พิจารณาเห็นรูปเป็นอัตตา ไม่พิจารณา
เห็นอัตตาว่ามีรูป ไม่พิจารณาเห็นรูปในอัตตา หรือไม่พิจารณาเห็นอัตตาในรูป ไม่
พิจารณาเห็นเวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ สังขาร ฯลฯ ไม่พิจารณาเห็น
วิญญาณโดยความเป็นอัตตา ไม่พิจารณาเห็นอัตตาว่ามีวิญญาณ ไม่พิจารณาเห็น
วิญญาณในอัตตา หรือไม่พิจารณาเห็นอัตตาในวิญญาณ ฉะนั้นตถาคต(เรา)เมื่อถูก
ถามอย่างนี้จึงไม่พยากรณ์ว่า ‘โลกเที่ยงบ้าง ฯลฯ หลังจากตายแล้ว ตถาคตจะ
ว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่บ้าง”
วัจฉโคตรปริพาชกถามปัญหาพระมหาโมคคัลลานะ
ลำดับนั้น วัจฉโคตรปริพาชกลุกขึ้นจากที่นั่งแล้ว เข้าไปหาท่านพระ
มหาโมคคัลลานะถึงที่อยู่ ได้สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึก
ถึงกันแล้ว นั่ง ณ ที่สมควร ได้ถามท่านพระมหาโมคคัลลานะดังนี้ว่า “ท่าน
โมคคัลลานะ โลกเที่ยงหรือ”
ท่านพระมหาโมคคัลลานะตอบว่า “วัจฉะ ปัญหาว่า ‘โลกเที่ยง’ นี้พระ
ผู้มีพระภาคไม่ทรงพยากรณ์” ฯลฯ
“ท่านโมคคัลลานะ หลังจากตายแล้ว ตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิด
อีกก็มิใช่หรือ”
“วัจฉะ แม้ปัญหาว่า ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่
เกิดอีกก็มิใช่’ นี้พระผู้มีพระภาคก็ไม่ทรงพยากรณ์”
“ท่านโมคคัลลานะ อะไรหนอเป็นเหตุเป็นปัจจัยที่พวกอัญเดียรถีย์ปริพาชก
เมื่อถูกถามอย่างนี้จึงตอบว่า ‘โลกเที่ยง ฯลฯ หลังจากตายแล้ว ตถาคตจะว่า
เกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่’ อนึ่ง อะไรเป็นเหตุเป็นปัจจัยที่พระสมณโคดม
เมื่อถูกถามอย่างนี้จึงไม่ทรงพยากรณ์ว่า ‘โลกเที่ยงบ้าง ฯลฯ หลังจากตายแล้ว
ตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่บ้าง”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๔๘๙ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑๐. อัพยากตสังยุต] ๘. วัจฉโคตตสูตร

“วัจฉะ เพราะพวกอัญเดียรถีย์ปริพาชกพิจารณาเห็นรูปโดยความเป็นอัตตา
พิจารณาเห็นอัตตาว่ามีรูป พิจารณาเห็นรูปในอัตตา หรือพิจารณาเห็นอัตตาในรูป
พิจารณาเห็นเวทนาโดยความเป็นอัตตา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ สังขาร ฯลฯ
พิจารณาเห็นวิญญาณโดยความเป็นอัตตา พิจารณาเห็นอัตตาว่ามีวิญญาณ
พิจารณาเห็นวิญญาณในอัตตา หรือพิจารณาเห็นอัตตาในวิญญาณ ฉะนั้นพวก
อัญเดียรถีย์ปริพาชกเมื่อถูกถามอย่างนี้จึงตอบว่า ‘โลกเที่ยง ฯลฯ หลังจากตาย
แล้ว ตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่’
ส่วนพระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าไม่ทรงพิจารณาเห็นรูปโดยความเป็น
อัตตา ไม่ทรงพิจารณาเห็นอัตตาว่ามีรูป ไม่ทรงพิจารณาเห็นรูปในอัตตา หรือไม่
ทรงพิจารณาเห็นอัตตาในรูป ไม่ทรงพิจารณาเห็นเวทนาโดยความเป็นอัตตา ฯลฯ
สัญญา ฯลฯ สังขาร ฯลฯ ไม่ทรงพิจารณาเห็นวิญญาณโดยความเป็นอัตตา ไม่
ทรงพิจารณาเห็นอัตตาว่ามีวิญญาณ ไม่ทรงพิจารณาเห็นวิญญาณในอัตตา หรือไม่
ทรงพิจารณาเห็นอัตตาในวิญญาณ
ฉะนั้นพระตถาคตเมื่อถูกถามอย่างนี้จึงไม่พยากรณ์ว่า ‘โลกเที่ยงบ้าง โลกไม่
เที่ยงบ้าง โลกมีที่สุดบ้าง โลกไม่มีที่สุดบ้าง ชีวะกับสรีระเป็นอย่างเดียวกันบ้าง
ชีวะกับสรีระเป็นคนละอย่างกันบ้าง หลังจากตายแล้ว ตถาคตเกิดอีกบ้าง หลัง
จากตายแล้ว ตถาคตไม่เกิดอีกบ้าง หลังจากตายแล้ว ตถาคตเกิดอีกและไม่เกิด
อีกบ้าง หลังจากตายแล้ว ตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่บ้าง”
“ท่านโมคคัลลานะ น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคยปรากฏ ที่อรรถกับอรรถ
พยัญชนะกับพยัญชนะของพระศาสดากับพระสาวกเทียบเคียงกันได้ เหมือนกันไม่
ผิดเพี้ยนในบทที่สำคัญ ท่านโมคคัลลานะ เมื่อครู่นี้ข้าพเจ้าเข้าไปเฝ้าพระสมณโคดม
ได้ทูลถามเรื่องนี้ แม้พระสมณโคดมก็ทรงพยากรณ์เรื่องนี้ด้วยบทและพยัญชนะ
เหล่านี้แก่ข้าพเจ้าเหมือนกัน ท่านโมคคัลลานะ น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคยปรากฏ ที่
อรรถกับอรรถ พยัญชนะกับพยัญชนะของพระศาสดากับพระสาวกเทียบเคียงกันได้
เหมือนกันไม่ผิดเพี้ยนในบทที่สำคัญ”

วัจฉโคตตสูตรที่ ๘ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑๐. อัพยากตสังยุต] ๙. กุตูหลสาลาสูตร

๙. กุตูหลสาลาสูตร
ว่าด้วยศาลาถกแถลง

[๔๑๘] ครั้งนั้น วัจฉโคตรปริพาชกเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ได้
สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้ว นั่ง ณ ที่สมควร ได้
ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ท่านพระโคดม วันก่อนโน้น พวกสมณพราหมณ์
อัญเดียรถีย์ปริพาชกจำนวนมากนั่งประชุมกันในศาลาถกแถลง๑ ได้สนทนากันว่า
‘ครูปูรณะ กัสสปะนี้เป็นเจ้าหมู่เจ้าคณะ เป็นคณาจารย์ เป็นผู้มีชื่อเสียงมีเกียรติยศ
เป็นเจ้าลัทธิ ชนจำนวนมากยกย่องกันว่าเป็นคนดี ครูปูรณะ กัสสปะนั้นพยากรณ์
สาวกผู้ล่วงลับดับไปในอุบัติภพทั้งหลายว่า ‘ท่านโน้นเกิดในภพโน้น ท่านโน้นเกิด
ในภพโน้น’ แม้สาวกใดของครูปูรณะ กัสสปะนั้นเป็นอุดมบุรุษ เป็นบรมบุรุษ ได้
บรรลุผลที่ควรบรรลุอย่างยิ่ง ท่านก็พยากรณ์สาวกนั้นผู้ล่วงลับดับไปในอุบัติภพทั้ง
หลายว่า ‘ท่านโน้นเกิดในภพโน้น ท่านโน้นเกิดในภพโน้น’
ถึงครูมักขลิ โคศาล ฯลฯ
ถึงครูนิครนถ์ นาฏบุตร ฯลฯ
ถึงครูสัญชัย เวลัฏฐบุตร ฯลฯ
ถึงครูปกุธะ กัจจายนะ ฯลฯ
ถึงครูอชิตะ เกสกัมพลนี้ก็เป็นเจ้าหมู่เจ้าคณะ เป็นคณาจารย์ เป็นผู้มีชื่อเสียง
มีเกียรติยศ เป็นเจ้าลัทธิ ชนจำนวนมากยกย่องว่าเป็นคนดี แม้ครูอชิตะ เกสกัมพล
นั้นก็พยากรณ์สาวกผู้ล่วงลับดับไปในอุบัติภพทั้งหลายว่า ‘ท่านโน้นเกิดในภพโน้น
ท่านโน้นเกิดในภพโน้น’ แม้สาวกใดของครูอชิตะ เกสกัมพลนั้นเป็นอุดมบุรุษ เป็น


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑๐. อัพยากตสังยุต] ๙. กุตูหลสาลาสูตร

บรมบุรุษ ได้บรรลุผลที่ควรบรรลุอย่างยิ่ง ท่านก็พยากรณ์แม้สาวกนั้นผู้ล่วงลับ
ดับไปในอุบัติภพทั้งหลายว่า ‘ท่านโน้นเกิดในภพโน้น ท่านโน้นเกิดในภพโน้น’
ฝ่ายพระสมณโคดมนี้เป็นเจ้าหมู่เจ้าคณะ เป็นคณาจารย์ เป็นผู้มีชื่อเสียงมี
เกียรติยศ เป็นเจ้าลัทธิ ชนจำนวนมากยกย่องว่าเป็นคนดี แม้พระสมณโคดมนั้น
ก็ทรงพยากรณ์สาวกผู้ล่วงลับดับไปในอุบัติภพทั้งหลายว่า ‘สาวกโน้นเกิดในภพ
โน้น สาวกโน้นเกิดในภพโน้น’ ส่วนสาวกใดของพระสมณโคดมนั้นเป็นอุดมบุรุษ
เป็นบรมบุรุษ ได้บรรลุธรรมที่ควรบรรลุอย่างยิ่ง พระองค์ก็ทรงพยากรณ์สาวกนั้น
ผู้ล่วงลับดับไปในอุบัติภพทั้งหลายว่า ‘สาวกโน้นเกิดในภพโน้น สาวกโน้นเกิดใน
ภพโน้น’ นอกจากนี้ยังทรงพยากรณ์สาวกนั้นอีกว่า ‘ตัดตัณหาได้ขาด ถอนสังโยชน์
ได้ ทำที่สุดแห่งทุกข์เพราะละมานะได้โดยชอบ’ ท่านพระโคดม ข้าพเจ้านั้นได้มี
ความเคลือบแคลงสงสัยว่า ‘ถึงอย่างไร พระสมณโคดมก็ทรงรู้ยิ่งธรรม”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “วัจฉะ สมควรที่ท่านจะเคลือบแคลงสงสัย ความ
สงสัยเกิดขึ้นแก่ท่านในฐานะที่ควรเคลือบแคลง เราย่อมบัญญัติความอุบัติสำหรับผู้
มีอุปาทาน ไม่บัญญัติสำหรับผู้ไม่มีอุปาทาน ไฟที่มีเชื้อย่อมลุกโพลงได้ ไม่มีเชื้อ
ก็ลุกโพลงไม่ได้แม้ฉันใด เราก็บัญญัติความอุบัติสำหรับผู้มีอุปาทาน ไม่บัญญัติ
สำหรับผู้ไม่มีอุปาทานฉันนั้นเหมือนกัน”
“ท่านพระโคดม เวลาที่เปลวไฟถูกลมพัดไปได้ไกล ท่านพระโคดมจะทรง
บัญญัติอะไรแก่เปลวไฟนี้ในเพราะเชื้อเล่า”
“วัจฉะ เวลาที่เปลวไฟถูกลมพัดไปได้ไกล เราบัญญัติเชื้อคือลมนั้น เพราะ
ลมเป็นเชื้อของเปลวไฟนั้น”
“ท่านพระโคดม เวลาที่สัตว์ทอดทิ้งกายนี้และไม่เข้าถึงกายอย่างใดอย่างหนึ่ง
ท่านพระโคดมจะทรงบัญญัติอะไรแก่สัตว์นี้ในเพราะอุปาทานเล่า”
“วัจฉะ เวลาที่สัตว์ทอดทิ้งกายนี้และไม่เข้าถึงกายอย่างใดอย่างหนึ่ง เรา
บัญญัติอุปาทานคือตัณหานั้น เพราะตัณหาเป็นเชื้อของสัตว์นั้น”

กุตูหลสาลาสูตรที่ ๙ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑๐. อัพยากตสังยุต] ๑๐, อานันทสูตร

๑๐. อานันทสูตร
ว่าด้วยพระอานนท์

[๔๑๙] ครั้งนั้น วัจฉโคตรปริพาชกเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ได้
สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้ว นั่ง ณ ที่สมควร ได้
ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ท่านพระโคดม อัตตามีอยู่หรือ” เมื่อวัจฉโคตร
ปริพาชกทูลถามอย่างนี้แล้ว พระผู้มีพระภาคได้ทรงนิ่งอยู่ วัจฉโคตรปริพาชกจึง
ทูลถามอีกว่า “ท่านพระโคดม อัตตาไม่มีหรือ”
แม้ครั้งที่ ๒ พระผู้มีพระภาคก็ได้ทรงนิ่งอยู่ ลำดับนั้น วัจฉโคตรปริพาชก
จึงลุกจากที่นั่งแล้วจากไป
ครั้นเมื่อวัจฉโคตรปริพาชกจากไปไม่นาน ท่านพระอานนท์ได้ทูลถามพระ
ผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เพราะเหตุไร พระองค์ถูกวัจฉโคตร
ปริพาชกทูลถามปัญหาแล้วจึงไม่ทรงพยากรณ์”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “อานนท์ เราถูกวัจฉโคตรปริพาชกถามว่า
‘อัตตามีอยู่หรือ’ ถ้าตอบว่า ‘อัตตามีอยู่’ คำตอบนั้นก็จักไปตรงกับลัทธิของพวก
สมณพราหมณ์ผู้เป็นสัสสตทิฏฐิ (ความเห็นว่าเที่ยง) และเราถูกวัจฉโคตรปริพาชก
ถามว่า ‘อัตตาไม่มีหรือ’ ถ้าตอบว่า ‘อัตตาไม่มี’ คำตอบนั้นก็จักไปตรงกับลัทธิ
ของพวกสมณพราหมณ์ผู้เป็นอุจเฉททิฏฐิ (ความเห็นว่าขาดสูญ) อนึ่ง เราถูก
วัจฉโคตรปริพาชกถามว่า ‘อัตตามีอยู่หรือ’ ถ้าตอบว่า ‘อัตตามีอยู่’ คำตอบนั้นก็
จักอนุโลมแก่ความเกิดขึ้นแห่งญาณของเราว่า ‘ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา’ บ้างหรือ”
“ไม่อนุโลม พระพุทธเจ้าข้า”
“อานนท์ อนึ่ง เราถูกวัจฉโคตรปริพาชกถามว่า ‘อัตตาไม่มีหรือ’ ถ้าตอบว่า
‘อัตตาไม่มี’ คำตอบนั้นก็จักมีเพื่อความงมงายยิ่งขึ้นแก่วัจฉโคตรปริพาชกผู้งมงาย
อยู่แล้วว่า ‘เมื่อก่อนอัตตาของเราได้มีแล้วแน่นอน บัดนี้อัตตานั้นไม่มี”

อานันทสูตรที่ ๑๐ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑๐. อัพยากตสังยุต]
๑๑. สภิยกัจจายนสูตร

๑๑. สภิยกัจจานสูตร
ว่าด้วยพระสภิยกัจจานะ

[๔๒๐] สมัยหนึ่ง ท่านพระสภิยกัจจานะอยู่ ณ พระตำหนักอิฐในหมู่บ้าน
ญาติกะ ครั้งนั้น วัจฉโคตรปริพาชกเข้าไปหาท่านพระสภิยกัจจานะถึงที่อยู่ ได้
สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้ว นั่ง ณ ที่สมควร
ได้ถามท่านพระสภิยกัจจานะดังนี้ว่า “ท่านกัจจานะ หลังจากตายแล้ว ตถาคตเกิด
อีกหรือ”
ท่านพระสภิยกัจจานะตอบว่า “วัจฉะ ปัญหาว่า ‘หลังจากตายแล้ว
ตถาคตเกิดอีก’ นี้พระผู้มีพระภาคไม่ทรงพยากรณ์”
“หลังจากตายแล้ว ตถาคตไม่เกิดอีกหรือ”
“แม้ปัญหาว่า ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตไม่เกิดอีก’ นี้พระผู้มีพระภาคก็ไม่
ทรงพยากรณ์”
“หลังจากตายแล้ว ตถาคตเกิดอีกและไม่เกิดอีกหรือ”
“ปัญหาว่า ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตเกิดอีกและไม่เกิดอีก’ นี้พระผู้มีพระ
ภาคไม่ทรงพยากรณ์”
“หลังจากตายแล้ว ตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่หรือ”
“แม้ปัญหาว่า ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีก
ก็มิใช่’ นี้พระผู้มีพระภาคก็ไม่ทรงพยากรณ์”
“ท่านถูกข้าพเจ้าถามว่า ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตเกิดอีกหรือ’ ก็ตอบว่า
‘ปัญหาว่า ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตเกิดอีก’ นี้พระผู้มีพระภาคไม่ทรงพยากรณ์’
ท่านถูกข้าพเจ้าถามว่า ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตไม่เกิดอีกหรือ’ ก็ตอบว่า
‘แม้ปัญหาว่า ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตไม่เกิดอีก’ นี้พระผู้มีพระภาคก็ไม่ทรง
พยากรณ์’
ท่านถูกข้าพเจ้าถามว่า ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตเกิดอีกและไม่เกิดอีกหรือ‘’
ก็ตอบว่า ‘ปัญหาว่า ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตเกิดอีกและไม่เกิดอีก’ นี้พระ
ผู้มีพระภาคไม่ทรงพยากรณ์’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๔๙๔ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑๐. อัพยากตสังยุต]
รวมพระสูตรที่มีในสังยุตวรรค

ท่านถูกข้าพเจ้าถามว่า ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่า
ไม่เกิดอีกก็มิใช่หรือ’ ก็ตอบว่า ‘แม้ปัญหาว่า ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตจะว่า
เกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่’ นี้พระผู้มีพระภาคก็ไม่ทรงพยากรณ์’ ท่าน
กัจจานะ อะไรหนอเป็นเหตุเป็นปัจจัยที่พระสมณโคดมไม่ทรงพยากรณ์ปัญหานั้น”
“วัจฉะ เหตุและปัจจัยใดเพื่อการบัญญัติว่า ‘ตถาคตมีรูปหรือไม่มีรูป ตถาคต
มีสัญญาหรือไม่มีสัญญา หรือตถาคตมีสัญญาก็มิใช่ ไม่มีสัญญาก็มิใช่ เหตุและ
ปัจจัยนั้นก็ผิดทุกสิ่งโดยอาการทั้งหมดทุกอย่างไม่เหลือโดยประการทั้งปวง บุคคล
เมื่อจะบัญญัติตถาคตนั้นว่า ‘ตถาคตมีรูปหรือไม่มีรูป ตถาคตมีสัญญาหรือไม่มี
สัญญา หรือตถาคตมีสัญญาก็มิใช่ ไม่มีสัญญาก็มิใช่’ พึงบัญญัติด้วยอะไร”
“ท่านกัจจานะ ท่านบวชมานานเท่าไร”
“ไม่นานดอก ผู้มีอายุ ๓ พรรษา”
“ผู้มีอายุ การพยากรณ์เท่านี้ของท่านผู้ที่กล่าวแก้ได้โดยเวลาถึงเท่านี้ก็มากอยู่
เมื่อคำพยากรณ์ไพเราะอย่างนี้แล้ว ก็ไม่จำต้องพูดอะไรกันอีก”

สภิยกัจจานสูตรที่ ๑๑ จบ

รวมพระสูตรที่มีในสังยุตวรรคนี้ คือ

๑. เขมาสูตร ๒. อนุราธสูตร
๓. ปฐมสารีปุตตโกฏฐิตสูตร ๔. ทุติยสารีปุตตโกฏฐิตสูตร
๕. ตติยสารีปุตตโกฏฐิตสูตร ๖. จตุตถสารีปุตตโกฏฐิตสูตร
๗. โมคคัลลานสูตร ๘. วัจฉโคตตสูตร
๙. กุตูหลสาลาสูตร ๑๐. อานันทสูตร
๑๑. สภิยกัจจานสูตร

อัพยากตสังยุต จบบริบูรณ์


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑๐. อัพยากตสังยุต]
รวมสังยุตที่มีในสฬายตนวรรคสังยุต

รวมสังยุตที่มีในสฬายตนวรรคนี้คือ

๑. สฬายตนสังยุต ๒. เวทนาสังยุต
๓. มาตุคามสังยุต ๔. ชัมพุขาทกสังยุต
๕. สามัณฑกสังยุต ๖. โมคคัลลานสังยุต
๗. จิตตสังยุต ๘. คามณิสังยุต
๙. อสังขตสังยุต ๑๐. อัพยากตสังยุต

สฬายตนวรรคสังยุต จบ


พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๘ สุตตันตปิฎกที่ ๑๐ สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค จบ





eXTReMe Tracker