ค้นว่าอยู่เล่มใด แล้วกด [ctrl]+f หรือใช้คำสั่งของเครื่องหาตำแหน่งในเล่มอีกทีนะครับ



จัดรูปหน้าใหม่
เพื่อความสะดวก และสวยงาม
(เฉพาะหน้าจอใหญ่ เช่น คอมพิวเตอร์)
กรุณาคลิก จัดรูปหน้าใหม่
เพื่อให้กรอบ
ค้นข้อความ ปรากฎที่ด้านซ้ายของหน้า

พระไตรปิฎกภาษาไทย
ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ๔๕ เล่ม (ปกสีฟ้า)
ทั้งออนไลน์และออฟไลน์
ที่มาของข้อมูล : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับ มจร.
MCUTRAI Version 1.0

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๘-๓ สุตตันตปิฎกที่ ๑๐ สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค

พระสุตตันตปิฎก
สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค
_____________
ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๓. มาตุคามสังยุต]
๓. พลวรรค ๘. ฐานสูตร

มาตุคามประกอบด้วยกำลังศีล แต่ไม่ประกอบด้วยกำลังบุตร พวกญาติย่อม
ให้มาตุคามนั้นอยู่ในตระกูล คือ ไม่ให้พินาศไป
ภิกษุทั้งหลาย กำลังของมาตุคาม ๕ ประการนี้แล”

นาเสนติสูตรที่ ๖ จบ

๗. เหตุสูตร
ว่าด้วยเหตุที่ทำให้มาตุคามไปเกิดในสุคติ

[๓๑๐] “ภิกษุทั้งหลาย กำลังของมาตุคาม ๕ ประการนี้
กำลัง ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. กำลังรูป ๒. กำลังทรัพย์
๓. กำลังญาติ ๔. กำลังบุตร
๕. กำลังศีล
ภิกษุทั้งหลาย มาตุคามหลังจากตายแล้วจะไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์เพราะ
กำลังรูปเป็นเหตุหรือเพราะกำลังทรัพย์เป็นเหตุ เพราะกำลังญาติเป็นเหตุหรือเพราะ
กำลังบุตรเป็นเหตุก็หามิได้ แต่มาตุคามหลังจากตายแล้วจะไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์
ได้ ก็เพราะกำลังศีลเป็นเหตุ
ภิกษุทั้งหลาย กำลังของมาตุคาม ๕ ประการนี้แล”

เหตุสูตรที่ ๗ จบ

๘. ฐานสูตร
ว่าด้วยฐานะที่มาตุคามได้ยากและได้ง่าย

[๓๑๑] “ภิกษุทั้งหลาย ฐานะ ๕ ประการนี้ ที่มาตุคามผู้ไม่ได้ทำบุญไว้ได้
โดยยาก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๓๓๑ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๓. มาตุคามสังยุต]
๓. พลวรรค ๘. ฐานสูตร

ฐานะ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ขอเราพึงเกิดในตระกูลที่เหมาะสม นี้เป็นฐานะข้อที่ ๑ ที่มาตุคาม
ผู้ไม่ได้ทำบุญไว้ได้โดยยาก
๒. ครั้นเกิดในตระกูลที่เหมาะสมแล้ว ขอเราพึงไปสู่ตระกูลที่เหมาะสม
นี้เป็นฐานะข้อที่ ๒ ที่มาตุคามผู้ไม่ได้ทำบุญไว้ได้โดยยาก
๓. ครั้นเกิดในตระกูลที่เหมาะสม ไปสู่ตระกูลที่เหมาะสมแล้ว ขอเรา
พึงอยู่ครองเรือนไม่มีหญิงร่วมสามี นี้เป็นฐานะข้อที่ ๓ ที่มาตุคาม
ผู้ไม่ได้ทำบุญไว้ได้โดยยาก
๔. ครั้นเกิดในตระกูลที่เหมาะสม ไปสู่ตระกูลที่เหมาะสมแล้ว อยู่
ครองเรือนไม่มีหญิงร่วมสามี ขอเราพึงมีบุตร นี้เป็นฐานะข้อที่ ๔
ที่มาตุคามผู้ไม่ได้ทำบุญไว้ได้โดยยาก
๕. ครั้นเกิดในตระกูลที่เหมาะสม ไปสู่ตระกูลที่เหมาะสมแล้ว อยู่
ครองเรือนไม่มีหญิงร่วมสามี มีบุตร ขอเราพึงครองใจสามี นี้เป็น
ฐานะข้อที่ ๕ ที่มาตุคามผู้ไม่ได้ทำบุญไว้ได้โดยยาก
ภิกษุทั้งหลาย ฐานะ ๕ ประการนี้แล ที่มาตุคามผู้ไม่ได้ทำบุญไว้ได้โดยยาก
ภิกษุทั้งหลาย ฐานะ ๕ ประการนี้ มาตุคามผู้ได้ทำบุญไว้ได้โดยง่าย
ฐานะ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ขอเราพึงเกิดในตระกูลที่เหมาะสม นี้เป็นฐานะข้อที่ ๑ ที่มาตุคาม
ผู้ได้ทำบุญไว้ได้โดยง่าย
๒. ครั้นเกิดในตระกูลที่เหมาะสมแล้ว ขอเราพึงไปสู่ตระกูลที่เหมาะสม
นี้เป็นฐานะข้อที่ ๒ ที่มาตุคามผู้ได้ทำบุญไว้ได้โดยง่าย
๓. ครั้นเกิดในตระกูลที่เหมาะสม ไปสู่ตระกูลที่เหมาะสมแล้ว ขอเรา
พึงอยู่ครองเรือนไม่มีหญิงร่วมสามี นี้เป็นฐานะข้อที่ ๓ ที่มาตุคาม
ผู้ได้ทำบุญไว้ได้โดยง่าย
๔. ครั้นเกิดในตระกูลที่เหมาะสม ไปสู่ตระกูลที่เหมาะสมแล้ว อยู่
ครองเรือนไม่มีหญิงร่วมสามี ขอเราพึงมีบุตร นี้เป็นฐานะข้อที่ ๔
ที่มาตุคามผู้ได้ทำบุญไว้ได้โดยง่าย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๓๓๒ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๓. มาตุคามสังยุต]
๓. พลวรรค ๑๐. วัฑฒีสูตร

๕. ครั้นเกิดในตระกูลที่เหมาะสม ไปสู่ตระกูลที่เหมาะสมแล้ว อยู่
ครองเรือนไม่มีหญิงร่วมสามี มีบุตร ขอเราพึงครองใจสามี นี้
เป็นฐานะข้อที่ ๕ ที่มาตุคามผู้ได้ทำบุญไว้ได้โดยง่าย
ภิกษุทั้งหลาย ฐานะ ๕ ประการนี้แล ที่มาตุคามผู้ได้ทำบุญไว้ได้โดยง่าย”

ฐานสูตรที่ ๘ จบ

๙. ปัญจสีลวิสารทสูตร
ว่าด้วยมาตุคามมีศีล ๕ เป็นผู้แกล้วกล้า

[๓๑๒] “ภิกษุทั้งหลาย มาตุคามประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อมเป็น
ผู้แกล้วกล้าอยู่ครองเรือน
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์
๒. เว้นขาดจากการลักทรัพย์
๓. เว้นขาดจากการประพฤติผิดในกาม
๔. เว้นขาดจากการพูดเท็จ
๕. เว้นขาดจากการเสพของมึนเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นเหตุแห่ง
ความประมาท
ภิกษุทั้งหลาย มาตุคามประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมเป็นผู้
แกล้วกล้าอยู่ครองเรือน”

ปัญจสีลวิสารทสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. วัฑฒีสูตร
ว่าด้วยอริยสาวิกาผู้เจริญด้วยวัฑฒิธรรม

[๓๑๓] “ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวิกาเมื่อเจริญด้วยวัฑฒิธรรม (หลักความ
เจริญ) ๕ ประการ ย่อมเจริญด้วยวัฑฒิธรรมอันประเสริฐ เป็นผู้ถือเอาสิ่งที่เป็น
สาระและถือเอาสิ่งที่ประเสริฐแห่งกายไว้ได้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๓๓๓ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๓. มาตุคามสังยุต]
๓. พลวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

วัฑฒิธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. เจริญด้วยศรัทธา ๒. เจริญด้วยศีล
๓. เจริญด้วยสุตะ (การฟัง) ๔. เจริญด้วยจาคะ (ความเสียสละ)
๕. เจริญด้วยปัญญา
ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวิกาเมื่อเจริญอยู่ด้วยวัฑฒิธรรม ๕ ประการนี้แล ชื่อ
ว่าเจริญด้วยวัฑฒิธรรมอันประเสริฐ เป็นผู้ถือเอาสิ่งที่เป็นสาระและถือเอาสิ่งที่
ประเสริฐแห่งกายไว้ได้
อุบาสิกาใดเจริญด้วยศรัทธา
ศีล สุตะ จาคะ และปัญญา
อุบาสิกาผู้มีศีลเช่นนั้น
ย่อมถือเอาสิ่งที่เป็นสาระทั้งสองของตนในโลกนี้ไว้ได้”

วัฑฒีสูตรที่ ๑๐ จบ
พลวรรคที่ ๓ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. วิสารทสูตร ๒. ปสัยหสูตร
๓. อภิภุยยสูตร ๔. เอกสูตร
๕. อังคสูตร ๖. นาเสนติสูตร
๗. เหตุสูตร ๘. ฐานสูตร
๙. ปัญจสีลวิสารทสูตร ๑๐. วัฑฒีสูตร

มาตุคามสังยุต จบบริบูรณ์


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๔. ชัมพุขาทกสังยุต]
๑. นิพพานปัญหาสูตร

๔. ชัมพุขาทกสังยุต
๑. นิพพานปัญหาสูตร
ว่าด้วยปัญหาเรื่องนิพพาน

[๓๑๔] สมัยหนึ่ง ท่านพระสารีบุตรอยู่ ณ หมู่บ้านนาลกคาม แคว้นมคธ
ครั้งนั้น ชัมพุขาทกปริพาชกเข้าไปหาท่านพระสารีบุตรถึงที่อยู่ ได้สนทนาปราศรัย
พอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้ว นั่ง ณ ที่สมควร ได้ถามท่านพระ
สารีบุตรดังนี้ว่า “ท่านสารีบุตร ที่เรียกกันว่า ‘นิพพาน นิพพาน’ นิพพานเป็น
อย่างไร”
ท่านพระสารีบุตรตอบว่า “ผู้มีอายุ ความสิ้นราคะ ความสิ้นโทสะ และ
ความสิ้นโมหะ นี้เรียกว่า นิพพาน”
“มีมรรค มีปฏิปทาเพื่อทำให้แจ้งนิพพานนั้นอยู่หรือ”
“มีมรรค มีปฏิปทาเพื่อทำให้แจ้งนิพพานนั้นอยู่”
“มรรคเป็นอย่างไร ปฏิปทาเพื่อทำให้แจ้งนิพพานนั้นเป็นอย่างไร”
“ผู้มีอายุ คือ อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้แล เพื่อทำให้แจ้งนิพพานนั้น ได้แก่

๑. สัมมาทิฏฐิ ๒. สัมมาสังกัปปะ
๓. สัมมาวาจา ๔. สัมมากัมมันตะ
๕. สัมมาอาชีวะ ๖. สัมมาวายามะ
๗. สัมมาสติ ๘. สัมมาสมาธิ

นี้แลคือมรรค นี้คือปฏิปทาเพื่อทำให้แจ้งนิพพานนั้น”
“ท่านสารีบุตร มรรคดีจริงหนอ ปฏิปทาเพื่อทำให้แจ้งนิพพานนั้นดีจริงหนอ
และควรที่จะไม่ประมาท”

นิพพานปัญหาสูตรที่ ๑ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๔. ชัมพุขาทกสังยุต]
๓. ธัมมวาทีปัญหาสูตร

๒. อรหัตตปัญหาสูตร
ว่าด้วยปัญหาเรื่องอรหัต

[๓๑๕] ชัมพุขาทกปริพาชกถามว่า “ท่านสารีบุตร ที่เรียกกันว่า ‘อรหัต
อรหัต’ อรหัตเป็นอย่างไร”
ท่านพระสารีบุตรตอบว่า “ผู้มีอายุ ความสิ้นราคะ ความสิ้นโทสะ และ
ความสิ้นโมหะ นี้เรียกว่า อรหัต”
“มีมรรค มีปฏิปทาเพื่อทำให้แจ้งอรหัตนั้นอยู่หรือ”
“มีมรรค มีปฏิปทาเพื่อทำให้แจ้งอรหัตนั้นอยู่”
“มรรคเป็นอย่างไร ปฏิปทาเพื่อทำให้แจ้งอรหัตนั้นเป็นอย่างไร”
“ผู้มีอายุ คือ อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้แล เพื่อทำให้แจ้งอรหัตนั้น ได้แก่
๑. สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ ๘. สัมมาสมาธิ
นี้แลคือมรรค นี้คือปฏิปทาเพื่อทำให้แจ้งอรหัตนั้น”
“ท่านสารีบุตร มรรคดีจริงหนอ ปฏิปทาเพื่อทำให้แจ้งอรหัตนั้นดีจริงหนอ
และควรที่จะไม่ประมาท”

อรหัตตปัญหาสูตรที่ ๒ จบ

๓. ธัมมวาทีปัญหาสูตร
ว่าด้วยปัญหาเรื่องผู้เป็นธรรมวาที

[๓๑๖] ชัมพุขาทกปริพาชกถามว่า “ท่านสารีบุตร ใครหนอเป็นธรรมวาที
ในโลก ใครเป็นผู้ปฏิบัติดีในโลก ใครเป็นผู้ไปดีแล้วในโลก”
ท่านพระสารีบุตรตอบว่า “ผู้มีอายุ คนพวกใดแสดงธรรมเพื่อละราคะ แสดง
ธรรมเพื่อละโทสะ และแสดงธรรมเพื่อละโมหะ คนพวกนั้นเป็นธรรมวาทีในโลก
คนพวกใดปฏิบัติเพื่อละราคะ ปฏิบัติเพื่อละโทสะ และปฏิบัติเพื่อละโมหะ
คนพวกนั้นเป็นผู้ปฏิบัติดีในโลก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๓๓๖ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๔. ชัมพุขาทกสังยุต] ๔. กิมัตถิยสูตร

และคนพวกใดละราคะได้แล้ว ตัดรากถอนโคนเหมือนต้นตาลที่ถูกตัดราก
ถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ ละโทสะได้แล้ว
ตัดรากถอนโคนเหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี
เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ และละโมหะได้แล้ว ตัดรากถอนโคนเหมือนต้นตาลที่ถูกตัดราก
ถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ คนพวกนั้นเป็นผู้ไป
ดีแล้วในโลก”
“มีมรรค มีปฏิปทาเพื่อละราคะ โทสะ และโมหะนั้นอยู่หรือ”
“มีมรรค มีปฏิปทาเพื่อละราคะ โทสะ และโมหะนั้นอยู่”
“มรรคเป็นอย่างไร ปฏิปทาเพื่อละราคะ โทสะ และโมหะนั้นเป็นอย่างไร”
“ผู้มีอายุ คือ อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้แล เพื่อละราคะ โทสะ และโมหะนั้น ได้แก่
๑. สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ ๘. สัมมาสมาธิ
นี้แลคือมรรค นี้คือปฏิปทาเพื่อละราคะ โทสะ และโมหะนั้น”
“ท่านสารีบุตร มรรคดีจริงหนอ ปฏิปทาเพื่อละราคะ โทสะ และโมหะนั้นดี
จริงหนอ และควรที่จะไม่ประมาท”

ธัมมวาทีปัญหาสูตรที่ ๓ จบ

๔. กิมัตถิยสูตร
ว่าด้วยคำถามเกี่ยวกับประโยชน์ของการประพฤติพรหมจรรย์

[๓๑๗] ชัมพุขาทกปริพาชกถามว่า “ท่านสารีบุตร ท่านประพฤติพรหมจรรย์
ในพระสมณโคดม เพื่อต้องการอะไร”
ท่านพระสารีบุตรตอบว่า “ผู้มีอายุ เราประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาค
เพื่อกำหนดรู้ทุกข์”
“มีมรรค มีปฏิปทาเพื่อกำหนดรู้ทุกข์นั้นอยู่หรือ”
“มีมรรค มีปฏิปทาเพื่อกำหนดรู้ทุกข์นั้นอยู่”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๓๓๗ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๔. ชัมพุขาทกสังยุต]
๕. อัสสาสัปปัตตสูตร

“มรรคเป็นอย่างไร ปฏิปทาเพื่อกำหนดรู้ทุกข์นั้นเป็นอย่างไร”
“ผู้มีอายุ คือ อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้แล เพื่อกำหนดรู้ทุกข์นั้น ได้แก่
๑. สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ ๘. สัมมาสมาธิ
นี้แลคือมรรค นี้คือปฏิปทาเพื่อกำหนดรู้ทุกข์นั้น”
“ท่านสารีบุตร มรรคดีจริงหนอ ปฏิปทาเพื่อกำหนดรู้ทุกข์นั้นดีจริงหนอ
และควรที่จะไม่ประมาท”

กิมัตถิยสูตรที่ ๔ จบ

๕. อัสสาสัปปัตตสูตร
ว่าด้วยผู้ถึงความโล่งใจ

[๓๑๘] ชัมพุขาทกปริพาชกถามว่า “ท่านสารีบุตร ที่เรียกกันว่า ‘ถึงความ
โล่งใจ ถึงความโล่งใจ’ ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอ ภิกษุจึงเป็นผู้ถึงความโล่งใจ”
ท่านพระสารีบุตรตอบว่า “ผู้มีอายุ ภิกษุรู้ชัดความเกิด ความดับ คุณ โทษ
และเครื่องสลัดออกจากผัสสายตนะ ๖ ประการตามความเป็นจริง ด้วยเหตุเพียง
เท่านี้แล เธอจึงเป็นผู้ถึงความโล่งใจ”
“มีมรรค มีปฏิปทาเพื่อทำให้แจ้งความโล่งใจนั้นอยู่หรือ”
“มีมรรค มีปฏิปทาเพื่อทำให้แจ้งความโล่งใจนั้นอยู่”
“มรรคเป็นอย่างไร ปฏิปทาเพื่อทำให้แจ้งความโล่งใจนั้นเป็นอย่างไร”
“ผู้มีอายุ คือ อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้แล เพื่อทำให้แจ้งความโล่งใจนั้น ได้แก่
๑. สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ ๘. สัมมาสมาธิ
นี้แลคือมรรค นี้คือปฏิปทาเพื่อทำให้แจ้งความโล่งใจนั้น”
“ท่านสารีบุตร มรรคดีจริงหนอ ปฏิปทาเพื่อทำให้แจ้งความโล่งใจนั้นดีจริง
หนอ และควรที่จะไม่ประมาท”

อัสสาสัปปัตตสูตรที่ ๕ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๔. ชัมพุขาทกสังยุต]
๗. เวทนาปัญหาสูตร

๖. ปรมัสสาสัปปัตตสูตร
ว่าด้วยผู้ถึงความโล่งใจอย่างยิ่ง

[๓๑๙] ชัมพุขาทกปริพาชกถามว่า “ท่านสารีบุตร ที่เรียกกันว่า ‘ถึงความ
โล่งใจอย่างยิ่ง ถึงความโล่งใจอย่างยิ่ง’ ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอ ภิกษุจึงเป็นผู้ถึง
ความโล่งใจอย่างยิ่ง”
ท่านพระสารีบุตรตอบว่า “ผู้มีอายุ ภิกษุรู้ชัดความเกิด ความดับ คุณ โทษ
และเครื่องสลัดออกจากผัสสายตนะ ๖ ประการตามความเป็นจริงแล้ว หลุดพ้น
เพราะไม่ถือมั่น ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล เธอจึงเป็นผู้ถึงความโล่งใจอย่างยิ่ง”
“มีมรรค มีปฏิปทาเพื่อทำให้แจ้งความโล่งใจอย่างยิ่งนั้นอยู่หรือ”
“มีมรรค มีปฏิปทาเพื่อทำให้แจ้งความโล่งใจอย่างยิ่งนั้นอยู่”
“มรรคเป็นอย่างไร ปฏิปทาเพื่อทำให้แจ้งความโล่งใจอย่างยิ่งนั้นเป็นอย่างไร”
“ผู้มีอายุ คือ อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้แล เพื่อทำให้แจ้งความโล่งใจอย่างยิ่งนั้น
ได้แก่
๑. สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ ๘. สัมมาสมาธิ
นี้แลคือมรรค นี้คือปฏิปทาเพื่อทำให้แจ้งความโล่งใจอย่างยิ่งนั้น”
“ท่านสารีบุตร มรรคดีจริงหนอ ปฏิปทาเพื่อทำให้แจ้งความโล่งใจอย่างยิ่ง
นั้นดีจริงหนอ และควรที่จะไม่ประมาท”

ปรมัสสาสัปปัตตสูตรที่ ๖ จบ

๗. เวทนาปัญหาสูตร
ว่าด้วยปัญหาเรื่องเวทนา

[๓๒๐] ชัมพุขาทกปริพาชกถามว่า “ท่านสารีบุตร ที่กล่าวกันว่า ‘เวทนา
เวทนา’ เวทนามีเท่าไร”
ท่านพระสารีบุตรตอบว่า “ผู้มีอายุ เวทนามี ๓ ประการนี้
เวทนา ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๓๓๙ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๔. ชัมพุขาทกสังยุต]
๘. อาสวปัญหาสูตร

๑. สุขเวทนา ๒. ทุกขเวทนา
๓. อทุกขมสุขเวทนา
เวทนามี ๓ ประการนี้แล”
“มีมรรค มีปฏิปทาเพื่อกำหนดรู้เวทนา ๓ ประการนั้นอยู่หรือ”
“มีมรรค มีปฏิปทาเพื่อกำหนดรู้เวทนา ๓ ประการนั้นอยู่”
“มรรคเป็นอย่างไร ปฏิปทาเพื่อกำหนดรู้เวทนา ๓ ประการนั้นเป็นอย่างไร”
“ผู้มีอายุ คือ อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้แล เพื่อกำหนดรู้เวทนา ๓ ประการนั้น
ได้แก่
๑. สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ ๘. สัมมาสมาธิ
นี้แลคือมรรค นี้คือปฏิปทาเพื่อกำหนดรู้เวทนา ๓ ประการนั้น”
“ท่านสารีบุตร มรรคดีจริงหนอ ปฏิปทาเพื่อกำหนดรู้เวทนา ๓ ประการ
นั้นดีจริงหนอ และควรที่จะไม่ประมาท”

เวทนาปัญหาสูตรที่ ๗ จบ

๘. อาสวปัญหาสูตร
ว่าด้วยปัญหาเรื่องอาสวะ

[๓๒๑] ชัมพุขาทกปริพาชกถามว่า “ท่านสารีบุตร ที่เรียกกันว่า ‘อาสวะ
อาสวะ’ อาสวะมีเท่าไร”
ท่านพระสารีบุตรตอบว่า “ผู้มีอายุ อาสวะมี ๓ ประการนี้ คือ
๑. กามาสวะ (อาสวะคือกาม)
๒. ภวาสวะ (อาสวะคือภพ)
๓. อวิชชาสวะ (อาสวะคืออวิชชา)
อาสวะมี ๓ ประการนี้แล”
“มีมรรค มีปฏิปทาเพื่อละอาสวะเหล่านั้นอยู่หรือ”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๓๔๐ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๔. ชัมพุขาทกสังยุต]
๙. อวิชชาปัญหาสูตร

“มีมรรค มีปฏิปทาเพื่อละอาสวะเหล่านั้นอยู่”
“มรรคเป็นอย่างไร ปฏิปทาเพื่อละอาสวะเหล่านั้นเป็นอย่างไร”
“ผู้มีอายุ คือ อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้แล เพื่อละอาสวะเหล่านั้น ได้แก่
๑. สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ ๘. สัมมาสมาธิ
นี้แลคือมรรค นี้คือปฏิปทาเพื่อละอาสวะเหล่านั้น”
“ท่านสารีบุตร มรรคดีจริงหนอ ปฏิปทาเพื่อละอาสวะเหล่านั้นดีจริงหนอ และ
ควรที่จะไม่ประมาท”

อาสวปัญหาสูตรที่ ๘ จบ

๙. อวิชชาปัญหาสูตร
ว่าด้วยปัญหาเรื่องอวิชชา

[๓๒๒] ชัมพุขาทกปริพาชกถามว่า “ท่านสารีบุตร ที่เรียกกันว่า ‘อวิชชา
อวิชชา’ อวิชชาคืออะไร”
ท่านพระสารีบุตรตอบว่า “ผู้มีอายุ คือ ความไม่รู้ในทุกข์ ความไม่รู้ในทุกข-
สมุทัย (เหตุเกิดทุกข์) ความไม่รู้ในทุกขนิโรธ (ความดับทุกข์) และความไม่รู้ใน
ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา (ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์) นี้เรียกว่า อวิชชา”
“มีมรรค มีปฏิปทาเพื่อละอวิชชานั้นอยู่หรือ”
“มีมรรค มีปฏิปทาเพื่อละอวิชชานั้นอยู่”
“มรรคเป็นอย่างไร ปฏิปทาเพื่อละอวิชชานั้นเป็นอย่างไร”
“ผู้มีอายุ คือ อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้แล เพื่อละอวิชชานั้น ได้แก่
๑. สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ ๘. สัมมาสมาธิ
นี้แลคือมรรค นี้คือปฏิปทาเพื่อละอวิชชานั้น”
“ท่านสารีบุตร มรรคดีจริงหนอ ปฏิปทาเพื่อละอวิชชานั้นดีจริงหนอ และ
ควรที่จะไม่ประมาท”

อวิชชาปัญหาสูตรที่ ๙ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๔. ชัมพุขาทกสังยุต] ๑๑. โอฆปัญหาสูตร

๑๐. ตัณหาปัญหาสูตร
ว่าด้วยปัญหาเรื่องตัณหา

[๓๒๓] ชัมพุขาทกปริพาชกถามว่า “ท่านสารีบุตร ที่เรียกกันว่า ‘ตัณหา
ตัณหา’ ตัณหามีเท่าไร”
ท่านพระสารีบุตรตอบว่า “ผู้มีอายุ ตัณหามี ๓ ประการนี้ คือ
๑. กามตัณหา (ความทะยานอยากในกาม)
๒. ภวตัณหา (ความทะยานอยากในภพ)
๓. วิภวตัณหา (ความทะยานอยากในวิภพ)
ตัณหามี ๓ ประการนี้แล”
“มีมรรค มีปฏิปทาเพื่อละตัณหาเหล่านั้นอยู่หรือ”
“มีมรรค มีปฏิปทาเพื่อละตัณหาเหล่านั้นอยู่”
“มรรคเป็นอย่างไร ปฏิปทาเพื่อละตัณหาเหล่านั้นเป็นอย่างไร”
“ผู้มีอายุ คือ อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้แล เพื่อละตัณหาเหล่านั้น ได้แก่
๑. สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ ๘. สัมมาสมาธิ
นี้แลคือมรรค นี้คือปฏิปทาเพื่อละตัณหาเหล่านั้น”
“ท่านสารีบุตร มรรคดีจริงหนอ ปฏิปทาเพื่อละตัณหาเหล่านั้นดีจริงหนอ
และควรที่จะไม่ประมาท”

ตัณหาปัญหาสูตรที่ ๑๐ จบ

๑๑. โอฆปัญหาสูตร
ว่าด้วยปัญหาเรื่องโอฆะ

[๓๒๔] ชัมพุขาทกปริพาชกถามว่า “ท่านสารีบุตร ที่เรียกกันว่า ‘โอฆะ โอฆะ’
โอฆะมีเท่าไร”
ท่านพระสารีบุตรตอบว่า “ผู้มีอายุ โอฆะมี ๔ ประการนี้ คือ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๓๔๒ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๔. ชัมพุขาทกสังยุต]
๑๒. อุปาทานปัญหาสูตร

๑. กาโมฆะ (โอฆะคือกาม) ๒. ภโวฆะ (โอฆะคือภพ)
๓. ทิฏโฐฆะ (โอฆะคือทิฏฐิ) ๔. อวิชโชฆะ (โอฆะคืออวิชชา)
โอฆะมี ๔ ประการนี้แล”
“มีมรรค มีปฏิปทาเพื่อละโอฆะเหล่านั้นอยู่หรือ”
“มีมรรค มีปฏิปทาเพื่อละโอฆะเหล่านั้นอยู่”
“มรรคเป็นอย่างไร ปฏิปทาเพื่อละโอฆะเหล่านั้นเป็นอย่างไร”
“ผู้มีอายุ คือ อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้แล เพื่อละโอฆะเหล่านั้น ได้แก่
๑. สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ ๘. สัมมาสมาธิ
นี้แลคือมรรค นี้คือปฏิปทาเพื่อละโอฆะเหล่านั้น”
“ท่านสารีบุตร มรรคดีจริงหนอ ปฏิปทาเพื่อละโอฆะเหล่านั้นดีจริงหนอ และ
ควรที่จะไม่ประมาท”

โอฆปัญหาสูตรที่ ๑๑ จบ

๑๒. อุปาทานปัญหาสูตร
ว่าด้วยปัญหาเรื่องอุปาทาน

[๓๒๕] ชัมพุขาทกปริพาชกถามว่า “ท่านสารีบุตร ที่เรียกกันว่า ‘อุปาทาน
อุปาทาน’ อุปาทานมีเท่าไร”
ท่านพระสารีบุตรตอบว่า “ผู้มีอายุ อุปาทานมี ๔ ประการนี้ คือ
๑. กามุปาทาน (ความยึดมั่นในกาม)
๒. ทิฏฐุปาทาน (ความยึดมั่นในทิฏฐิหรือทฤษฎี)
๓. สีลัพพตุปาทาน (ความยึดมั่นในศีลและพรต)
๔. อัตตวาทุปาทาน (ความยึดมั่นในวาทะว่าอัตตา)
อุปาทานมี ๔ ประการนี้แล”
“มีมรรค มีปฏิปทาเพื่อละอุปาทานเหล่านั้นอยู่หรือ”
“มีมรรค มีปฏิปทาเพื่อละอุปาทานเหล่านั้นอยู่”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๓๔๓ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๔. ชัมพุขาทกสังยุต]
๑๕. สักกายปัญหาสูตร

“มรรคเป็นอย่างไร ปฏิปทาเพื่อละอุปาทานเหล่านั้นเป็นอย่างไร”
“ผู้มีอายุ คือ อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้แล เพื่อละอุปาทานเหล่านั้น ได้แก่
๑. สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ ๘. สัมมาสมาธิ
นี้แลคือมรรค นี้คือปฏิปทาเพื่อละอุปาทานเหล่านั้น”
“ท่านสารีบุตร มรรคดีจริงหนอ ปฏิปทาเพื่อละอุปาทานเหล่านั้นดีจริงหนอ
และควรที่จะไม่ประมาท”

อุปาทานปัญหาสูตรที่ ๑๒ จบ

๑๓. ภวปัญหาสูตร
ว่าด้วยปัญหาเรื่องภพ

[๓๒๖] ชัมพุขาทกปริพาชกถามว่า “ท่านสารีบุตร ที่เรียกกันว่า ‘ภพ ภพ’
ภพมีเท่าไร”
ท่านพระสารีบุตรตอบว่า “ผู้มีอายุ ภพมี ๓ ประการนี้ คือ
๑. กามภพ (ภพที่เป็นกามาวจร)
๒. รูปภพ (ภพที่เป็นรูปาวจร)
๓. อรูปภพ (ภพที่เป็นอรูปาวจร)
ภพมี ๓ ประการนี้แล”
“มีมรรค มีปฏิปทาเพื่อกำหนดรู้ภพเหล่านั้นอยู่หรือ”
“มีมรรค มีปฏิปทาเพื่อกำหนดรู้ภพเหล่านั้นอยู่”
“มรรคเป็นอย่างไร ปฏิปทาเพื่อกำหนดรู้ภพเหล่านั้นเป็นอย่างไร”
“ผู้มีอายุ คือ อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้แล เพื่อกำหนดรู้ภพเหล่านั้น ได้แก่
๑. สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ ๘. สัมมาสมาธิ
นี้แลคือมรรค นี้คือปฏิปทาเพื่อกำหนดรู้ภพเหล่านั้น”
“ท่านสารีบุตร มรรคดีจริงหนอ ปฏิปทาเพื่อกำหนดรู้ภพเหล่านั้นดีจริงหนอ
และควรที่จะไม่ประมาท”

ภวปัญหาสูตรที่ ๑๓ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๔. ชัมพุขาทกสังยุต]
๑๕. สักกายปัญหาสูตร

๑๔. ทุกขปัญหาสูตร
ว่าด้วยปัญหาเรื่องทุกข์

[๓๒๗] ชัมพุขาทกปริพาชกถามว่า “ท่านสารีบุตร ที่เรียกกันว่า ‘ทุกข์ ทุกข์’
ทุกข์มีเท่าไร”
ท่านพระสารีบุตรตอบว่า “ผู้มีอายุ สภาวทุกข์มี ๓ ประการนี้ คือ
๑. สภาวทุกข์คือทุกข์ ๒. สภาวทุกข์คือสังขาร
๓. สภาวทุกข์คือความแปรผันไป
สภาวทุกข์มี ๓ อย่างเหล่านี้”
“มีมรรค มีปฏิปทาเพื่อกำหนดรู้สภาวทุกข์เหล่านั้นอยู่หรือ”
“มีมรรค มีปฏิปทาเพื่อกำหนดรู้สภาวทุกข์เหล่านั้นอยู่”
“มรรคเป็นอย่างไร ปฏิปทาเพื่อกำหนดรู้สภาวทุกข์เหล่านั้นเป็นอย่างไร”
“ผู้มีอายุ คือ อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้แล เพื่อกำหนดรู้สภาวทุกข์เหล่านั้น ได้แก่
๑. สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ ๘. สัมมาสมาธิ
นี้แลคือมรรค นี้คือปฏิปทาเพื่อกำหนดรู้สภาวทุกข์เหล่านั้น”
“ท่านสารีบุตร มรรคดีจริงหนอ ปฏิปทาเพื่อกำหนดรู้สภาวทุกข์เหล่านั้นดี
จริงหนอ และควรที่จะไม่ประมาท”

ทุกขปัญหาสูตรที่ ๑๔ จบ

๑๕. สักกายปัญหาสูตร
ว่าด้วยปัญหาเรื่องสักกายะ

[๓๒๘] ชัมพุขาทกปริพาชกถามว่า “ท่านสารีบุตร ที่เรียกกันว่า ‘สักกายะ
(กายของตน) สักกายะ’ สักกายะคืออะไร”
ท่านพระสารีบุตรตอบว่า “ผู้มีอายุ อุปาทานขันธ์ ๕ นี้พระผู้มีพระภาค
ตรัสเรียกว่า สักกายะ ได้แก่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๓๔๕ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๔. ชัมพุขาทกสังยุต]
๑๖. ทุกกรปัญหาสูตร

๑. รูปูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือรูป)
๒. เวทนูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือเวทนา)
๓. สัญญูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือสัญญา)
๔. สังขารูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือสังขาร)
๕. วิญญาณูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือวิญญาณ)
อุปาทานขันธ์ ๕ นี้แลพระผู้มีพระภาคตรัสเรียกว่า สักกายะ”
“มีมรรค มีปฏิปทาเพื่อกำหนดรู้สักกายะนั้นอยู่หรือ”
“มีมรรค มีปฏิปทาเพื่อกำหนดรู้สักกายะนั้นอยู่”
“มรรคเป็นอย่างไร ปฏิปทาเพื่อกำหนดรู้สักกายะนั้นเป็นอย่างไร”
“ผู้มีอายุ คือ อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้แล เพื่อกำหนดรู้สักกายะนั้น ได้แก่
๑. สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ ๘. สัมมาสมาธิ
นี้แลคือมรรค นี้คือปฏิปทาเพื่อกำหนดรู้สักกายะนั้น”
“ท่านสารีบุตร มรรคดีจริงหนอ ปฏิปทาเพื่อกำหนดรู้สักกายะนั้นดีจริงหนอ
และควรที่จะไม่ประมาท”

สักกายปัญหาสูตรที่ ๑๕ จบ

๑๖. ทุกกรปัญหาสูตร
ว่าด้วยปัญหาเรื่องสิ่งที่ทำได้ยาก

[๓๒๙] ชัมพุขาทกปริพาชกถามว่า “ท่านสารีบุตร อะไรหนอที่ทำได้ยากใน
พระธรรมวินัยนี้”
ท่านพระสารีบุตรตอบว่า “ผู้มีอายุ การบรรพชาทำได้ยากในพระธรรมวินัยนี้”
“อะไรที่บรรพชิตทำได้ยาก”
“ความยินดียิ่ง บรรพชิตทำได้ยาก”
“อะไรที่บรรพชิตผู้ยินดียิ่งทำได้ยาก”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๓๔๖ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๔. ชัมพุขาทกสังยุต]
รวมพระสูตรที่มีในวรรค

“การปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรมที่บรรพชิตผู้ยินดียิ่งทำได้ยาก”
“ภิกษุผู้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม นานเท่าไรจึงจะเป็นพระอรหันต์”
“ไม่นานดอก ผู้มีอายุ”

ทุกกรปัญหาสูตรที่ ๑๖ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้คือ

๑. นิพพานปัญหาสูตร ๒. อรหัตตปัญหาสูตร
๓. ธัมมวาทีปัญหาสูตร ๔. กิมัตถิยสูตร
๕. อัสสาสัปปัตตสูตร ๖. ปรมัสสาสัปปัตตสูตร
๗. เวทนาปัญหาสูตร ๘. อาสวปัญหาสูตร
๙. อวิชชาปัญหาสูตร ๑๐. ตัณหาปัญหาสูตร
๑๑. โอฆปัญหาสูตร ๑๒. อุปาทานปัญหาสูตร
๑๓. ภวปัญหาสูตร ๑๔. ทุกขปัญหาสูตร
๑๕. สักกายปัญหาสูตร ๑๖. ทุกกรปัญหาสูตร

ชัมพุขาทกสังยุต จบบริบูรณ์


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๕. สามัณฑกสังยุต] ๒. ทุกกรสูตร

๕. สามัณฑกสังยุต
๑. สามัณฑกสูตร
ว่าด้วยสามัณฑกปริพาชก

[๓๓๐] สมัยหนึ่ง ท่านพระสารีบุตรอยู่ ณ ฝั่งแม่น้ำคงคา เขตอุกกเจลนคร
แคว้นวัชชี ครั้งนั้น สามัณฑกปริพาชกเข้าไปหาท่านพระสารีบุตรถึงที่อยู่ ได้
สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้ว นั่ง ณ ที่สมควร
ได้เรียนถามท่านพระสารีบุตรดังนี้ว่า
“ท่านสารีบุตร ที่เรียกกันว่า ‘นิพพาน นิพพาน’ นิพพานคืออะไร”
ท่านพระสารีบุตรตอบว่า “ผู้มีอายุ คือ ความสิ้นราคะ ความสิ้นโทสะ
และความสิ้นโมหะ นี้เรียกว่านิพพาน”
“มีมรรค มีปฏิปทาเพื่อทำให้แจ้งนิพพานนั้นอยู่หรือ”
“มีมรรค มีปฏิปทาเพื่อรู้แจ้งนิพพานนั้นอยู่”
“มรรคเป็นอย่างไร ปฏิปทาเพื่อทำให้แจ้งนิพพานนั้นเป็นอย่างไร”
“ผู้มีอายุ คือ อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้แล เพื่อทำให้แจ้งนิพพานนั้น ได้แก่
๑. สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ ๘. สัมมาสมาธิ
นี้แลคือมรรค นี้คือปฏิปทาเพื่อทำให้แจ้งนิพพานนั้น”
“ท่านสารีบุตร มรรคดีจริงหนอ ปฏิปทาเพื่อทำให้แจ้งนิพพานนั้นดีจริงหนอ
และควรที่จะไม่ประมาท”

สามัณฑกสูตรที่ ๑ จบ

๒. ทุกกรสูตร
ว่าด้วยสิ่งที่ทำได้ยาก

[๓๓๑] สามัณฑกปริพาชกถามว่า “ท่านสารีบุตร อะไรหนอที่ทำได้ยากใน
พระธรรมวินัยนี้”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๓๔๘ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๕. สามัณฑกสังยุต] ๒. ทุกกรสูตร

ท่านพระสารีบุตรตอบว่า “ผู้มีอายุ การบรรพชาทำได้ยากในพระธรรมวินัยนี้”
“อะไรที่บรรพชิตทำได้ยาก”
“ความยินดียิ่ง ที่บรรพชิตทำได้ยาก”
“อะไรที่บรรพชิตผู้ยินดียิ่งทำได้ยาก”
“การปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรมที่บรรพชิตผู้ยินดียิ่งทำได้ยาก”
“ผู้มีอายุ ภิกษุผู้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรมนานเท่าไรจึงจะเป็นพระอรหันต์”
“ไม่นานดอก ผู้มีอายุ”

ทุกกรสูตรที่ ๒ จบ

รวมพระสูตรในสังยุตนี้เช่นเดียวกับสังยุตก่อน
สามัณฑกสังยุต จบบริบูรณ์


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๖. โมคคัลลานสังยุต]
๓. ตติยัชฌานปัญหาสูตร

๖. โมคคัลลานสังยุต
๑. ปฐมัชฌานปัญหาสูตร
ว่าด้วยปัญหาเรื่องปฐมฌาน

[๓๓๒] สมัยหนึ่ง ท่านพระมหาโมคคัลลานะอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของ
อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้น ท่านพระมหาโมคคัลลานะเรียก
ภิกษุทั้งหลายมากล่าวว่า “ผู้มีอายุทั้งหลาย” ภิกษุเหล่านั้นรับคำท่านพระมหา-
โมคคัลลานะแล้ว ท่านพระมหาโมคคัลลานะได้กล่าวกับภิกษุเหล่านั้นดังนี้ว่า
“ผู้มีอายุทั้งหลาย เมื่อผมหลีกเร้นอยู่ในที่สงัดในที่นี้ได้เกิดความคิดคำนึงขึ้นมาว่า
‘ที่เรียกกันว่า ‘ปฐมฌาน ปฐมฌาน’ ปฐมฌานเป็นอย่างไร’ ผมนั้นได้มีความคิด
ดังนี้ว่า ‘ภิกษุในธรรมวินัยนี้สงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุ
ปฐมฌานที่มีวิตก วิจาร ปีติ และสุขอันเกิดจากวิเวกอยู่’ นี้เรียกว่า ‘ปฐมฌาน’
ผมนั้นสงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌานที่มีวิตก วิจาร ปีติ
และสุขอันเกิดจากวิเวกอยู่ เมื่อผมอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้ สัญญามนสิการ (การใส่ใจ
สัญญา) ประกอบด้วยกาม๑ก็ปรากฏขึ้น
ผู้มีอายุทั้งหลาย ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเสด็จมาหาผมด้วยฤทธิ์แล้วได้ตรัส
ดังนี้ว่า ‘โมคคัลลานะผู้เป็นพราหมณ์ โมคคัลลานะผู้เป็นพราหมณ์ เธออย่า
ประมาทปฐมฌาน จงดำรงจิตไว้ในปฐมฌาน จงทำจิตให้เป็นหนึ่งผุดขึ้นในปฐมฌาน
จงตั้งจิตไว้ให้มั่นในปฐมฌาน’ ต่อมา ผมนั้นสงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลาย
แล้ว บรรลุปฐมฌานที่มีวิตก วิจาร ปีติ และสุขอันเกิดจากวิเวกอยู่ ก็บุคคลเมื่อ
จะพูดให้ถูก พึงพูดว่า ‘พระสาวกผู้ที่พระศาสดาทรงอนุเคราะห์แล้ว ถึงความเป็น
ผู้รู้ที่ยิ่งใหญ่’ บุคคลเมื่อจะพูดให้ถูก พึงพูดถึงผมว่า ‘พระสาวกผู้ที่พระศาสดา
ทรงอนุเคราะห์แล้ว ถึงความเป็นผู้รู้ที่ยิ่งใหญ่”

ปฐมัชฌานปัญหาสูตรที่ ๑ จบ


พระสุตตันปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตวรรค [ ๖. โมคคัลลานสังยุต]
๓. ตติยัชฌานปัญหาสูตร

๒. ทุติยัชฌานปัญหาสูตร
ว่าด้วยปัญหาเรื่องทุติยฌาน

[๓๓๓] “ที่เรียกกันว่า ‘ทุติยฌาน ทุติยฌาน’ ทุติยฌานเป็นอย่างไร ผม
นั้นได้มีความคิดดังนี้ว่า ‘เพราะวิตกวิจารสงบระงับไป ภิกษุในธรรมวินัยนี้บรรลุ
ทุติยฌานมีความผ่องใสในภายใน มีภาวะที่จิตเป็นหนึ่งผุดขึ้น๑ ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร
มีแต่ปีติและสุขอันเกิดจากสมาธิอยู่’ นี้เรียกว่า ‘ทุติยฌาน’ ผมนั้นเพราะวิตก
วิจารสงบระงับไป บรรลุทุติยฌานมีความผ่องใสในภายใน มีภาวะที่จิตเป็นหนึ่ง
ผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีแต่ปีติและสุขอันเกิดจากสมาธิอยู่ เมื่อผมอยู่ด้วย
วิหารธรรมนี้ สัญญามนสิการประกอบด้วยวิตกก็ปรากฏขึ้น
ผู้มีอายุทั้งหลาย ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเสด็จมาหาผมด้วยฤทธิ์แล้วได้ตรัส
ดังนี้ว่า ‘โมคคัลลานะผู้เป็นพราหมณ์ โมคคัลลานะผู้เป็นพราหมณ์ เธออย่าประมาท
ทุติยฌาน จงดำรงจิตไว้ในทุติยฌาน จงทำจิตให้เป็นหนึ่งผุดขึ้นในทุติยฌาน จงตั้งจิต
ให้มั่นในทุติยฌาน’ ต่อมา เพราะวิตกวิจารสงบระงับไป ผมนั้นบรรลุทุติยฌานมี
ความผ่องใสในภายใน มีภาวะที่จิตเป็นหนึ่งผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีแต่ปีติ
และสุขอันเกิดจากสมาธิอยู่ ก็บุคคลเมื่อจะพูดให้ถูก พึงพูดว่า ‘พระสาวกผู้ที่พระ
ศาสดาทรงอนุเคราะห์แล้ว ถึงความเป็นผู้รู้ที่ยิ่งใหญ่’ บุคคลเมื่อจะพูดให้ถูก พึงพูด
ถึงผมว่า ‘พระสาวกผู้ที่พระศาสดาทรงอนุเคราะห์แล้ว ถึงความเป็นผู้รู้ที่ยิ่งใหญ่”

ทุติยัชฌานปัญหาสูตรที่ ๒ จบ

๓. ตติยัชฌานปัญหาสูตร
ว่าด้วยปัญหาเรื่องตติยฌาน

[๓๓๔] “ที่เรียกว่า ‘ตติยฌาน ตติยฌาน’ ตติยฌานเป็นอย่างไร ผมนั้น
ได้มีความคิดดังนี้ว่า ‘เพราะปีติจางคลายไป ภิกษุในธรรมวินัยนี้มีอุเบกขา มีสติ-
สัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย บรรลุตติยฌานที่พระอริยะทั้งหลายสรรเสริญว่า


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๖. โมคคัลลานสังยุต]
๔. จตุตถัชฌานปัญหาสูตร

‘ผู้มีอุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุข’ นี้เรียกว่า ‘ตติยฌาน’ เพราะปีติจางคลายไป ผมนั้น
มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย บรรลุตติยฌานที่พระอริยะ
ทั้งหลายสรรเสริญว่า ‘ผู้มีอุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุข’ เมื่อผมอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้
สัญญามนสิการประกอบด้วยปีติก็ปรากฏขึ้น
ผู้มีอายุทั้งหลาย ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเสด็จมาหาผมด้วยฤทธิ์แล้วได้ตรัส
ดังนี้ว่า ‘โมคคัลลานะผู้เป็นพราหมณ์ โมคคัลลานะผู้เป็นพราหมณ์ เธออย่าประมาท
ตติยฌาน จงดำรงจิตไว้ในตติยฌาน จงทำจิตให้เป็นหนึ่งผุดขึ้นในตติยฌาน จงตั้งจิต
ให้มั่นในตติยฌาน’ ต่อมา เพราะปีติจางคลายไป ผมนั้นมีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ
เสวยสุขด้วยนามกาย บรรลุตติยฌานที่พระอริยะทั้งหลายสรรเสริญว่า ‘ผู้มีอุเบกขา
มีสติอยู่เป็นสุข’ ก็บุคคลเมื่อจะพูดให้ถูก พึงพูดว่า ฯลฯ ถึงความเป็นผู้รู้ที่ยิ่งใหญ่”

ตติยัชฌานปัญหาสูตรที่ ๓ จบ

๔. จตุตถัชฌานปัญหาสูตร
ว่าด้วยปัญหาเรื่องจตุตถฌาน

[๓๓๕] “ที่เรียกว่า ‘จตุตถฌาน จตุตถฌาน’ จตุตถฌานเป็นอย่างไร ผมนั้น
ได้มีความคิดดังนี้ว่า ‘เพราะละสุขและทุกข์ได้ เพราะโสมนัสและโทมนัสดับไปก่อน
แล้ว ภิกษุในธรรมวินัยนี้บรรลุจตุตถฌานที่ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข มีสติบริสุทธิ์เพราะ
อุเบกขาอยู่’ นี้เรียกว่า ‘จตุตถฌาน’ เพราะละสุขและทุกข์ได้ เพราะโสมนัสและ
โทมนัสดับไปก่อนแล้ว ผมนั้นบรรลุจตุตถฌานที่ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข มีสติบริสุทธิ์
เพราะอุเบกขาอยู่ นี้เรียกว่า ‘จตุตถฌาน’ เมื่อผมอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้ สัญญา-
มนสิการประกอบด้วยสุขก็ปรากฏขึ้น
ผู้มีอายุทั้งหลาย ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเสด็จมาหาผมด้วยฤทธิ์แล้วได้ตรัส
ดังนี้ว่า ‘โมคคัลลานะผู้เป็นพราหมณ์ โมคคัลลานะผู้เป็นพราหมณ์ เธออย่าประมาท
จตุตถฌาน จงดำรงจิตไว้ในจตุตถฌาน จงทำจิตให้เป็นหนึ่งผุดขึ้นในจตุตถฌาน จง
ตั้งจิตให้มั่นในจตุตถฌาน’ ต่อมา เพราะละสุขและทุกข์ได้ เพราะโสมนัสและโทมนัส
ดับไปก่อนแล้ว ผมนั้นบรรลุจตุตถฌานที่ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข มีสติบริสุทธิ์เพราะ
อุเบกขาอยู่ ก็บุคคลเมื่อจะพูดให้ถูก พึงพูดว่า ฯลฯ ถึงความเป็นผู้รู้ที่ยิ่งใหญ่”

จตุตถัชฌานปัญหาสูตรที่ ๔ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๖. โมคคัลลานสังยุต]
๖. วิญญาณัญจายตนฌานปัญหาสูตร

๕. อากาสานัญจายตนฌานปัญหาสูตร
ว่าด้วยปัญหาเรื่องอากาสานัญจายตนฌาน

[๓๓๖] “ที่เรียกว่า ‘อากาสานัญจายตนฌาน อากาสานัญจายตนฌาน’
อากาสานัญจายตนฌานเป็นอย่างไร ผมนั้นได้มีความคิดดังนี้ว่า ‘ภิกษุในธรรมวินัย
นี้บรรลุอากาสานัญจายตนฌานอยู่โดยกำหนดว่า ‘อากาศหาที่สุดมิได้’ เพราะล่วง
รูปสัญญา ดับปฏิฆสัญญา ไม่กำหนดนานัตตสัญญาโดยประการทั้งปวงอยู่’ นี้
เรียกว่า ‘อากาสานัญจายตนฌาน’ ผมนั้นบรรลุอากาสานัญจายตนฌานอยู่โดย
กำหนดว่า ‘อากาศหาที่สุดมิได้’ เพราะล่วงรูปสัญญา ดับปฏิฆสัญญา ไม่กำหนด
นานัตตสัญญาโดยประการทั้งปวงอยู่ เมื่อผมอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้ สัญญามนสิการ
ประกอบด้วยรูปฌานก็ปรากฏขึ้น
ผู้มีอายุทั้งหลาย ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเสด็จมาหาผมด้วยฤทธิ์แล้วได้ตรัส
ดังนี้ว่า ‘โมคคัลลานะผู้เป็นพราหมณ์ โมคคัลลานะผู้เป็นพราหมณ์ เธออย่าประมาท
อากาสานัญจายตนฌาน จงดำรงจิตไว้ในอากาสานัญจายตนฌาน จงทำจิตให้เป็น
หนึ่งผุดขึ้นในอากาสานัญจายตนฌาน จงตั้งจิตให้มั่นในอากาสานัญจายตนฌาน’
ต่อมา ผมนั้นบรรลุอากาสานัญจายตนฌานอยู่โดยกำหนดว่า ‘อากาศหาที่สุดมิได้’
เพราะล่วงรูปสัญญา ดับปฏิฆสัญญา ไม่กำหนดนานัตตสัญญาโดยประการทั้งปวง
อยู่ ก็บุคคลเมื่อจะพูดให้ถูก พึงพูดว่า ฯลฯ ถึงความเป็นผู้รู้ที่ยิ่งใหญ่”

อากาสานัญจายตนฌานปัญหาสูตรที่ ๕ จบ

๖. วิญญาณัญจายตนฌานปัญหาสูตร
ว่าด้วยปัญหาเรื่องวิญญาณัญจายตนฌาน

[๓๓๗] “ที่เรียกกันว่า ‘วิญญาณัญจายตนฌาน วิญญาณัญจายตนฌาน’
วิญญาณัญจายตนฌานเป็นอย่างไร ผมนั้นได้มีความคิดดังนี้ว่า ‘ภิกษุในธรรมวินัย
นี้ล่วงอากาสานัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุวิญญาณัญจายตนฌานโดย
กำหนดว่า ‘วิญญาณหาที่สุดมิได้’ นี้เรียกว่า ‘วิญญาณัญจายตนฌาน’ ผมนั้น
ล่วงอากาสานัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุวิญญาณัญจายตนฌานโดย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๓๕๓ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๖. โมคคัลลานสังยุต]
๗. อากิญจัญญายตนฌานปัญหาสูตร

กำหนดว่า ‘วิญญาณหาที่สุดมิได้’ เมื่อผมอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้ สัญญามนสิการ
ประกอบด้วยอากาสานัญจายตนฌานก็ปรากฏขึ้น
ผู้มีอายุทั้งหลาย ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเสด็จมาหาผมด้วยฤทธิ์แล้วได้ตรัส
ดังนี้ว่า ‘โมคคัลลานะผู้เป็นพราหมณ์ โมคคัลลานะผู้เป็นพราหมณ์ เธออย่าประมาท
วิญญาณัญจายตนฌาน จงดำรงจิตไว้ในวิญญาณัญจายตนฌาน จงทำจิตให้เป็นหนึ่ง
ผุดขึ้นในวิญญาณัญจายตนฌาน จงตั้งจิตให้มั่นในวิญญาณัญจายตนฌาน’ ต่อมา
ผมนั้นล่วงอากาสานัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุวิญญาณัญจายตนฌาน
โดยกำหนดว่า ‘วิญญาณหาที่สุดมิได้’ ก็บุคคลเมื่อจะพูดให้ถูก พึงพูดว่า ฯลฯ
ถึงความเป็นผู้รู้ที่ยิ่งใหญ่”

วิญญาณัญจายตนฌานปัญหาสูตรที่ ๖ จบ

๗. อากิญจัญญายตนฌานปัญหาสูตร
ว่าด้วยปัญหาเรื่องอากิญจัญญายตนฌาน

[๓๓๘] “ที่เรียกกันว่า ‘อากิญจัญญายตนฌาน อากิญจัญญายตนฌาน’
อากิญจัญญายตนฌานเป็นอย่างไร ผมนั้นได้มีความคิดดังนี้ว่า ‘ภิกษุในธรรมวินัย
นี้ล่วงวิญญาณัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุอากิญจัญญายตนฌาน
โดยกำหนดว่า ‘ไม่มีอะไร’ นี้เรียกว่า ‘อากิญจัญญายตนฌาน’ ผมนั้นล่วง
วิญญาณัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุอากิญจัญญายตนฌานโดย
กำหนดว่า ‘ไม่มีอะไร’ เมื่อผมอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้ สัญญามนสิการประกอบด้วย
วิญญาณัญจายตนฌานก็ปรากฏขึ้น
ผู้มีอายุทั้งหลาย ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเสด็จมาหาผมด้วยฤทธิ์แล้วได้ตรัส
ดังนี้ว่า ‘โมคคัลลานะผู้เป็นพราหมณ์ โมคคัลลานะผู้เป็นพราหมณ์ เธออย่าประมาท
อากิญจัญญายตนฌาน จงดำรงจิตไว้ในอากิญจัญญายตนฌาน จงทำจิตให้เป็นหนึ่ง
ผุดขึ้นในอากิญจัญญายตนฌาน จงตั้งจิตให้มั่นในอากิญจัญญายตนฌาน’ ต่อมา
ผมนั้นล่วงวิญญาณัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุอากิญจัญญายตนฌาน
โดยกำหนดว่า ‘ไม่มีอะไร’ ก็บุคคลเมื่อจะพูดให้ถูก พึงพูดว่า ฯลฯ ถึงความเป็นผู้รู้ที่
ยิ่งใหญ่”

อากิญจัญญายตนฌานปัญหาสูตรที่ ๗ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๖. โมคคัลลานสังยุต]
๙. อนิมิตตปัญหาสูตร

๘. เนวสัญญานาสัญญายตนฌานปัญหาสูตร
ว่าด้วยปัญหาเรื่องเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน

[๓๓๙] “ที่เรียกกันว่า ‘เนวสัญญานาสัญญายตนฌาน เนวสัญญานาสัญญา-
ยตนฌาน’ เนวสัญญานาสัญญายตนฌานเป็นอย่างไร’ ผมนั้นได้มีความคิดดังนี้ว่า
‘ภิกษุในธรรมวินัยนี้ล่วงอากิญจัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุเนวสัญญา-
นาสัญญายตนฌานอยู่’ นี้เรียกว่า ‘เนวสัญญานาสัญญายตนฌาน’ ผมนั้นล่วง
อากิญจัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุเนวสัญญานาสัญญายตนฌานอยู่
เมื่อผมอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้ สัญญามนสิการประกอบด้วยอากิญจัญญายตนฌานก็
ปรากฏขึ้น
ผู้มีอายุทั้งหลาย ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเสด็จมาหาผมด้วยฤทธิ์แล้วได้ตรัส
ดังนี้ว่า ‘โมคคัลลานะผู้เป็นพราหมณ์ โมคคัลลานะผู้เป็นพราหมณ์ เธออย่าประมาท
เนวสัญญานาสัญญายตนฌาน จงดำรงจิตไว้ในเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน จงทำ
จิตให้เป็นหนึ่งผุดขึ้นในเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน จงตั้งจิตให้มั่นในเนวสัญญา
นาสัญญายตนฌาน’ ต่อมา ผมนั้นล่วงอากิญจัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวง
บรรลุเนวสัญญานาสัญญายตนฌานอยู่ ก็บุคคลเมื่อจะพูดให้ถูก พึงพูดว่า ฯลฯ
ถึงความเป็นผู้รู้ที่ยิ่งใหญ่”

เนวสัญญานาสัญญายตนฌานปัญหาสูตรที่ ๘ จบ

๙. อนิมิตตปัญหาสูตร
ว่าด้วยปัญหาเรื่องอนิมิตตเจโตสมาธิ

[๓๔๐] “ที่เรียกกันว่า ‘อนิมิตตเจโตสมาธิ๑ อนิมิตตเจโตสมาธิ’ อนิมิตต-
เจโตสมาธิเป็นอย่างไร ผมนั้นได้มีความคิดดังนี้ว่า ‘ภิกษุในธรรมวินัยนี้บรรลุ
อนิมิตตเจโตสมาธิ เพราะไม่กำหนดนิมิตทั้งปวงอยู่’ นี้เรียกว่า ‘อนิมิตตเจโตสมาธิ’
ผมนั้นบรรลุอนิมิตตเจโตสมาธิ เพราะไม่กำหนดนิมิตทั้งปวงอยู่ เมื่อผมอยู่ด้วย
วิหารธรรมนี้ วิญญาณย่อมแล่นไปตามนิมิต


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๖. โมคคัลลานสังยุต] ๑๐. สักกสูตร

ผู้มีอายุทั้งหลาย ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเสด็จมาหาผมด้วยฤทธิ์แล้วได้ตรัส
ดังนี้ว่า ‘โมคคัลลานะผู้เป็นพราหมณ์ โมคคัลลานะผู้เป็นพราหมณ์ เธออย่าประมาท
อนิมิตตเจโตสมาธิ จงดำรงจิตไว้ในอนิมิตตเจโตสมาธิ จงทำจิตให้เป็นหนึ่งผุดขึ้น
ในอนิมิตตเจโตสมาธิ จงตั้งจิตให้มั่นในอนิมิตตเจโตสมาธิ’ ต่อมา ผมนั้นบรรลุ
อนิมิตตเจโตสมาธิเพราะไม่กำหนดนิมิตทั้งปวงอยู่ ก็บุคคลเมื่อจะพูดให้ถูก พึงพูด
ว่า ‘พระสาวกผู้ที่พระศาสดาทรงอนุเคราะห์แล้ว ถึงความเป็นผู้รู้ที่ยิ่งใหญ่’ บุคคล
เมื่อจะพูดให้ถูก พึงพูดถึงผมว่า ‘พระสาวกผู้ที่พระศาสดาทรงอนุเคราะห์แล้ว ถึง
ความเป็นผู้รู้ที่ยิ่งใหญ่”

อนิมิตตปัญหาสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. สักกสูตร
ว่าด้วยท้าวสักกะ

[๓๔๑] ครั้งนั้น ท่านพระมหาโมคคัลลานะหายตัวจากพระเชตวันไปปรากฏใน
เทวโลกชั้นดาวดึงส์ เปรียบเหมือนบุรุษแข็งแรงเหยียดแขนออกหรือคู้แขนเข้าฉะนั้น
ลำดับนั้น ท้าวสักกะจอมเทพพร้อมด้วยเทวดา ๕๐๐ องค์ ได้เสด็จเข้าไปหาท่าน
พระมหาโมคคัลลานะถึงที่อยู่ ทรงไหว้แล้ว ได้ประทับยืนอยู่ ณ ที่สมควร ท่าน
พระมหาโมคคัลลานะได้กล่าวกับท้าวสักกะจอมเทพดังนี้ว่า
“ท่านจอมเทพ การถึงพระพุทธเจ้าเป็นสรณะดีนัก เพราะการถึงพระพุทธเจ้า
เป็นสรณะเป็นเหตุ สัตว์บางพวกในโลกนี้หลังจากตายแล้วจะไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์
การถึงพระธรรมเป็นสรณะดีนัก เพราะการถึงพระธรรมเป็นสรณะเป็นเหตุ
สัตว์บางพวกในโลกนี้หลังจากตายแล้วจะไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์
การถึงพระสงฆ์เป็นสรณะดีนัก เพราะการถึงพระสงฆ์เป็นสรณะเป็นเหตุ สัตว์
บางพวกในโลกนี้หลังจากตายแล้วจะไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์”
ท้าวสักกะจอมเทพตรัสว่า “ท่านโมคคัลลานะผู้นิรทุกข์ การถึงพระพุทธเจ้า
เป็นสรณะดีนัก เพราะการถึงพระพุทธเจ้าเป็นสรณะเป็นเหตุ สัตว์บางพวกในโลกนี้
หลังจากตายแล้วจะไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๓๕๖ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๖. โมคคัลลานสังยุต] ๑๐. สักกสูตร

การถึงพระธรรมเป็นสรณะดีนัก เพราะการถึงพระธรรมเป็นสรณะเป็นเหตุ
สัตว์บางพวกในโลกนี้หลังจากตายแล้วจะไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์
การถึงพระสงฆ์เป็นสรณะดีนัก ฯลฯ จะไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์”
ลำดับนั้น ท้าวสักกะจอมเทพพร้อมด้วยเทวดา ๖๐๐ องค์ ฯลฯ พร้อมด้วย
เทวดา ๗๐๐ องค์ ฯลฯ พร้อมด้วยเทวดา ๘๐๐ องค์ ฯลฯ พร้อมด้วยเทวดา
๘๐,๐๐๐ องค์ ได้เสด็จเข้าไปหาท่านพระมหาโมคคัลลานะถึงที่อยู่ ทรงไหว้แล้ว
ประทับยืนอยู่ ณ ที่สมควร ท่านพระมหาโมคคัลลานะได้กล่าวกับท้าวสักกะจอมเทพ
ดังนี้ว่า
“ท่านจอมเทพ การถึงพระพุทธเจ้าเป็นสรณะดีนัก เพราะการถึงพระพุทธเจ้า
เป็นสรณะเป็นเหตุ สัตว์บางพวกในโลกนี้หลังจากตายแล้วจะไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์
การถึงพระธรรมเป็นสรณะดีนัก เพราะการถึงพระธรรมเป็นสรณะเป็นเหตุ
สัตว์บางพวกในโลกนี้หลังจากตายแล้วจะไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์
การถึงพระสงฆ์เป็นสรณะดีนัก เพราะการถึงพระสงฆ์เป็นสรณะเป็นเหตุ
สัตว์บางพวกในโลกนี้หลังจากตายแล้วจะไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์”
ท้าวสักกะจอมเทพตรัสว่า “ท่านโมคคัลลานะผู้นิรทุกข์ การถึงพระพุทธเจ้า
เป็นสรณะดีนัก เพราะการถึงพระพุทธเจ้าเป็นสรณะเป็นเหตุ สัตว์บางพวกในโลกนี้
หลังจากตายแล้วจะไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์
การถึงพระธรรมเป็นสรณะดีนัก ฯลฯ
การถึงพระสงฆ์เป็นสรณะดีนัก เพราะการถึงพระสงฆ์เป็นสรณะเป็นเหตุ
สัตว์บางพวกในโลกนี้หลังจากตายแล้วจะไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์”
ลำดับนั้น ท้าวสักกะจอมเทพพร้อมด้วยเทวดา ๕๐๐ องค์ ได้เสด็จเข้าไปหา
ท่านพระมหาโมคคัลลานะถึงที่อยู่ ทรงไหว้แล้ว ประทับยืนอยู่ ณ ที่สมควร
ท่านพระมหาโมคคัลลานะได้กล่าวกับท้าวสักกะจอมเทพดังนี้ว่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๓๕๗ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๖. โมคคัลลานสังยุต] ๑๐. สักกสูตร

“ท่านจอมเทพ การถึงพร้อมด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้าว่า
‘แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นเป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้ด้วยพระองค์
เองโดยชอบ เพียบพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดี รู้แจ้งโลก เป็นสารถี
ฝึกผู้ที่ควรฝึกได้อย่างยอดเยี่ยม เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็น
พระพุทธเจ้า เป็นพระผู้มีพระภาค๑’ ดีนัก เพราะการถึงพร้อมด้วยความเลื่อมใส
อันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้าเป็นเหตุ สัตว์บางพวกในโลกนี้หลังจากตายแล้วจะไป
เกิดในสุคติโลกสวรรค์
การถึงพร้อมด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรมว่า ‘พระธรรมอัน
พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ดีแล้ว ผู้ปฏิบัติจะพึงเห็นชัดด้วยตนเอง ไม่ประกอบด้วยกาล
ควรเรียกให้มาดู ควรน้อมเข้ามาในตน อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน’ ดีนัก เพราะ
การถึงพร้อมด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรมเป็นเหตุ สัตว์บางพวกใน
โลกนี้หลังจากตายแล้วจะไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๖. โมคคัลลานสังยุต] ๑๐. สักกสูตร

การถึงพร้อมด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์ว่า ‘พระสงฆ์สาวก
ของพระผู้มีพระภาคเป็นผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติตรง ปฏิบัติถูกทาง ปฏิบัติสมควร ได้แก่
อริยบุคคล ๔ คู่ คือ ๘ บุคคล๑ พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคนี้เป็นผู้ควร
แก่ของที่เขานำมาถวาย ควรแก่ของต้อนรับ ควรแก่ทักษิณา ควรแก่การทำอัญชลี
เป็นนาบุญอันยอดเยี่ยมของโลก’ ดีนัก เพราะการถึงพร้อมด้วยความเลื่อมใสอัน
ไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์เป็นเหตุ สัตว์บางพวกในโลกนี้หลังจากตายแล้วจะไปเกิดใน
สุคติโลกสวรรค์
การถึงพร้อมด้วยศีลที่พระอริยะยินดี ไม่ขาด ไม่ทะลุ ไม่ด่าง ไม่พร้อย เป็น
ไทแก่ตัว ท่านผู้รู้สรรเสริญ ไม่ถูกตัณหาและทิฏฐิครอบงำ เป็นไปเพื่อสมาธิ ดีนัก
เพราะการถึงพร้อมด้วยศีลที่พระอริยะยินดีเป็นเหตุ สัตว์บางพวกในโลกนี้หลังจาก
ตายแล้วจะไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์”
ท้าวสักกะจอมเทพตรัสว่า “ท่านโมคคัลลานะผู้นิรทุกข์ การถึงพร้อมด้วย
ความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้าว่า ‘แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาค


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๖. โมคคัลลานสังยุต] ๑๐. สักกสูตร

พระองค์นั้น ฯลฯ เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า เป็น
พระผู้มีพระภาค’ ดีนัก เพราะการถึงพร้อมด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระ
พุทธเจ้าเป็นเหตุ สัตว์บางพวกในโลกนี้หลังจากตายแล้วจะไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์
การถึงพร้อมด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรมว่า ‘พระธรรมอัน
พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ดีแล้ว ฯลฯ อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน’ ดีนัก เพราะการ
ถึงพร้อมด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรมเป็นเหตุ สัตว์บางพวกในโลก
นี้หลังจากตายแล้วจะไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์
การถึงพร้อมด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์ว่า ‘พระสงฆ์สาวก
ของพระผู้มีพระภาคเป็นผู้ปฏิบัติดี ฯลฯ เป็นนาบุญอันยอดเยี่ยมของโลก’ ดีนัก
เพราะการถึงพร้อมด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์เป็นเหตุ สัตว์บางพวก
ในโลกนี้หลังจากตายแล้วจะไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์
การถึงพร้อมด้วยศีลที่พระอริยะยินดี ไม่ขาด ฯลฯ เป็นไปเพื่อสมาธิ ดีนัก
เพราะการถึงพร้อมด้วยศีลที่พระอริยะยินดีเป็นเหตุ สัตว์บางพวกในโลกนี้หลังจาก
ตายแล้วจะไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์”
ลำดับนั้น ท้าวสักกะจอมเทพพร้อมด้วยเทวดา ๖๐๐ องค์ ฯลฯ พร้อมด้วย
เทวดา ๗๐๐ องค์ ฯลฯ พร้อมด้วยเทวดา ๘๐๐ องค์ ฯลฯ พร้อมด้วยเทวดา
๘๐,๐๐๐ องค์ ได้เสด็จเข้าไปหาท่านพระมหาโมคคัลลานะถึงที่อยู่ ทรงไหว้แล้ว
ประทับยืนอยู่ ณ ที่สมควร ท่านพระมหาโมคคัลลานะได้กล่าวกับท้าวสักกะจอมเทพ
ดังนี้ว่า
“ท่านจอมเทพ การถึงพร้อมด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้าว่า
‘แม้เพราะเหตุนี้พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ฯลฯ เป็นศาสดาของเทวดาและ
มนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระผู้มีพระภาค’ ดีนัก เพราะการถึง
พร้อมด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้าเป็นเหตุ สัตว์บางพวกในโลก
นี้หลังจากตายแล้วจะไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์
การถึงพร้อมด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรมว่า ‘พระธรรมอัน
พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ดีแล้ว ฯลฯ อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน’ ดีนัก เพราะการ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๓๖๐ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๖. โมคคัลลานสังยุต] ๑๐. สักกสูตร

ถึงพร้อมด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรมเป็นเหตุ สัตว์บางพวกในโลก
นี้หลังจากตายแล้วจะไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์
การถึงพร้อมด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์ว่า ‘พระสงฆ์สาวก
ของพระผู้มีพระภาคเป็นผู้ปฏิบัติดี ฯลฯ เป็นนาบุญอันยอดเยี่ยมของโลก’ ดีนัก
เพราะการถึงพร้อมด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์เป็นเหตุ สัตว์บางพวก
ในโลกนี้หลังจากตายแล้วจะไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์
การถึงพร้อมด้วยศีลที่พระอริยะยินดี ไม่ขาด ฯลฯ เป็นไปเพื่อสมาธิ ดีนัก
เพราะการถึงพร้อมด้วยศีลที่พระอริยะยินดีเป็นเหตุ สัตว์บางพวกในโลกนี้หลังจาก
ตายแล้วจะไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์”
ท้าวสักกะจอมเทพตรัสว่า “ท่านโมคคัลลานะผู้นิรทุกข์ การถึงพร้อมด้วย
ความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้าว่า ‘แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาค
พระองค์นั้น ฯลฯ เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า เป็น
พระผู้มีพระภาค’ ดีนัก เพราะการถึงพร้อมด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระ
พุทธเจ้าเป็นเหตุ สัตว์บางพวกในโลกนี้หลังจากตายแล้วจะไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์
การถึงพร้อมด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรมว่า ‘พระธรรมอัน
พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ดีแล้ว ฯลฯ อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน’ ดีนัก เพราะการ
ถึงพร้อมด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรมเป็นเหตุ สัตว์บางพวกในโลก
นี้หลังจากตายแล้วจะไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์
การถึงพร้อมด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์ว่า ‘พระสงฆ์สาวก
ของพระผู้มีพระภาคเป็นผู้ปฏิบัติดี ฯลฯ เป็นนาบุญอันยอดเยี่ยมของโลก’ ดีนัก
เพราะการถึงพร้อมด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์เป็นเหตุ สัตว์บาง
พวกในโลกนี้หลังจากตายแล้วจะไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์
การถึงพร้อมด้วยศีลที่พระอริยะยินดี ไม่ขาด ฯลฯ เป็นไปเพื่อสมาธิ ดีนัก
เพราะการถึงพร้อมด้วยศีลที่พระอริยะยินดีเป็นเหตุ สัตว์บางพวกในโลกนี้หลังจาก
ตายแล้วจะไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๓๖๑ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๖. โมคคัลลานสังยุต] ๑๐. สักกสูตร

ลำดับนั้น ท้าวสักกะจอมเทพพร้อมด้วยเทวดา ๕๐๐ องค์ ได้เสด็จเข้าไปหา
ท่านพระมหาโมคคัลลานะถึงที่อยู่ ฯลฯ ท่านพระมหาโมคคัลลานะได้กล่าวกับท้าว
สักกะจอมเทพดังนี้ว่า
“ท่านจอมเทพ การถึงพระพุทธเจ้าเป็นสรณะดีนัก เพราะการถึงพระพุทธเจ้า
เป็นสรณะเป็นเหตุ สัตว์บางพวกในโลกนี้หลังจากตายแล้วจะไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์
ท่านเหล่านั้นย่อมครอบงำเทวดาเหล่าอื่นด้วยฐานะ ๑๐ ประการ คือ

๑. อายุทิพย์ ๒. วรรณะทิพย์
๓. สุขทิพย์ ๔. ยศทิพย์
๕. ความเป็นใหญ่ทิพย์ ๖. รูปทิพย์
๗. เสียงทิพย์ ๘. กลิ่นทิพย์
๙. รสทิพย์ ๑๐. โผฏฐัพพะทิพย์

การถึงพระธรรมเป็นสรณะดีนัก เพราะการถึงพระธรรมเป็นสรณะเป็นเหตุ
สัตว์บางพวกในโลกนี้หลังจากตายแล้วจะไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์ ท่านเหล่านั้นย่อม
ครอบงำเทวดาเหล่าอื่นด้วยฐานะ ๑๐ ประการ คือ

๑. อายุทิพย์ ๒. วรรณะทิพย์
๓. สุขทิพย์ ๔. ยศทิพย์
๕. ความเป็นใหญ่ทิพย์ ๖. รูปทิพย์
๗. เสียงทิพย์ ๘. กลิ่นทิพย์
๙. รสทิพย์ ๑๐. โผฏฐัพพะทิพย์

การถึงพระสงฆ์เป็นสรณะดีนัก เพราะการถึงพระสงฆ์เป็นสรณะเป็นเหตุ
สัตว์บางพวกในโลกนี้หลังจากตายแล้วจะไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์ ท่านเหล่านั้นย่อม
ครอบงำเทวดาเหล่าอื่นด้วยฐานะ ๑๐ ประการ คือ

๑. อายุทิพย์ ๒. วรรณะทิพย์
๓. สุขทิพย์ ๔. ยศทิพย์
๕. ความเป็นใหญ่ทิพย์ ๖. รูปทิพย์
๗. เสียงทิพย์ ๘. กลิ่นทิพย์
๙. รสทิพย์ ๑๐. โผฏฐัพพะทิพย์”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๓๖๒ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๖. โมคคัลลานสังยุต] ๑๐. สักกสูตร

ท้าวสักกะจอมเทพตรัสว่า “ท่านโมคคัลลานะผู้นิรทุกข์ การถึงพระพุทธเจ้า
เป็นสรณะดีนัก เพราะการถึงพระพุทธเจ้าเป็นสรณะเป็นเหตุ สัตว์บางพวกในโลกนี้
หลังจากตายแล้วจะไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์ ท่านเหล่านั้นย่อมครอบงำเทวดาเหล่า
อื่นด้วยฐานะ ๑๐ ประการ คือ

๑. อายุทิพย์ ฯลฯ ๑๐. โผฏฐัพพะทิพย์

การถึงพระธรรมเป็นสรณะดีนัก ฯลฯ
การถึงพระสงฆ์เป็นสรณะดีนัก เพราะการถึงพระสงฆ์เป็นสรณะเป็นเหตุ สัตว์
บางพวกในโลกนี้หลังจากตายแล้วจะไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์ ท่านเหล่านั้นย่อม
ครอบงำเทวดาเหล่าอื่นด้วยฐานะ ๑๐ ประการ คือ

๑. อายุทิพย์ ๒. วรรณะทิพย์
๓. สุขทิพย์ ๔. ยศทิพย์
๕. ความเป็นใหญ่ทิพย์ ๖. รูปทิพย์
๗. เสียงทิพย์ ๘. กลิ่นทิพย์
๙. รสทิพย์ ๑๐. โผฏฐัพพะทิพย์”

ลำดับนั้น ท้าวสักกะจอมเทพพร้อมด้วยเทวดา ๖๐๐ องค์ ฯลฯ พร้อมด้วย
เทวดา ๗๐๐ องค์ ฯลฯ พร้อมด้วยเทวดา ๘๐๐ องค์ ฯลฯ พร้อมด้วยเทวดา
๘๐,๐๐๐ องค์ ได้เสด็จเข้าไปหาท่านพระมหาโมคคัลลานะถึงที่อยู่ ทรงไหว้แล้ว
ประทับยืนอยู่ ณ ที่สมควร ท่านพระมหาโมคคัลลานะได้กล่าวกับท้าวสักกะจอมเทพ
ดังนี้ว่า
“ท่านจอมเทพ การถึงพระพุทธเจ้าเป็นสรณะดีนัก เพราะการถึงพระพุทธเจ้า
เป็นสรณะเป็นเหตุ สัตว์บางพวกในโลกนี้หลังจากตายแล้วจะไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์
ท่านเหล่านั้นย่อมครอบงำเทวดาเหล่าอื่นด้วยฐานะ ๑๐ ประการ คือ

๑. อายุทิพย์ ฯลฯ ๑๐. โผฏฐัพพะทิพย์

การถึงพระธรรมเป็นสรณะดีนัก ฯลฯ
การถึงพระสงฆ์เป็นสรณะดีนัก เพราะการถึงพระสงฆ์เป็นสรณะเป็นเหตุ สัตว์
บางพวกในโลกนี้หลังจากตายแล้วจะไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์ ท่านเหล่านั้นย่อม
ครอบงำเทวดาเหล่าอื่นด้วยฐานะ ๑๐ ประการ คือ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๓๖๓ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๖. โมคคัลลานสังยุต] ๑๐. สักกสูตร

๑. อายุทิพย์ ๒. วรรณะทิพย์
๓. สุขทิพย์ ๔. ยศทิพย์
๕. ความเป็นใหญ่ทิพย์ ๖. รูปทิพย์
๗. เสียงทิพย์ ๘. กลิ่นทิพย์
๙. รสทิพย์ ๑๐. โผฏฐัพพะทิพย์”

ท้าวสักกะจอมเทพตรัสว่า
“ท่านโมคคัลลานะผู้นิรทุกข์ การถึงพระพุทธเจ้าเป็นสรณะดีนัก ฯลฯ
การถึงพระธรรมเป็นสรณะดีนัก ฯลฯ
การถึงพระสงฆ์เป็นสรณะดีนัก เพราะการถึงพระสงฆ์เป็นสรณะเป็นเหตุ สัตว์
บางพวกในโลกนี้หลังจากตายแล้วจะไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์ ท่านเหล่านั้นย่อม
ครอบงำเทวดาเหล่าอื่นด้วยฐานะ ๑๐ ประการ คือ

๑. อายุทิพย์ ๒. วรรณะทิพย์
๓. สุขทิพย์ ๔. ยศทิพย์
๕. ความเป็นใหญ่ทิพย์ ๖. รูปทิพย์
๗. เสียงทิพย์ ๘. กลิ่นทิพย์
๙. รสทิพย์ ๑๐. โผฏฐัพพะทิพย์”

ลำดับนั้น ท้าวสักกะจอมเทพพร้อมด้วยเทวดา ๕๐๐ องค์ ได้เสด็จเข้าไปหา
ท่านพระมหาโมคคัลลานะถึงที่อยู่ ทรงไหว้แล้ว ประทับยืนอยู่ ณ ที่สมควร
ท่านพระมหาโมคคัลลานะได้กล่าวกับท้าวสักกะจอมเทพดังนี้ว่า
“ท่านจอมเทพ การถึงพร้อมด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้าว่า
‘แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ฯลฯ เป็นศาสดาของเทวดาและ
มนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระผู้มีพระภาค’ ดีนัก เพราะการถึงพร้อม
ด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้าเป็นเหตุ สัตว์บางพวกในโลกนี้หลัง
จากตายแล้วจะไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์ ท่านเหล่านั้นย่อมครอบงำเทวดาเหล่าอื่น
ด้วยฐานะ ๑๐ ประการ คือ

๑. อายุทิพย์ ฯลฯ ๑๐. โผฏฐัพพะทิพย์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๓๖๔ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๖. โมคคัลลานสังยุต] ๑๐. สักกสูตร

การถึงพร้อมด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรมดีนัก ฯลฯ
การถึงพร้อมด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์ดีนัก ฯลฯ
การถึงพร้อมด้วยศีลที่พระอริยะยินดี ไม่ขาด ฯลฯ เป็นไปเพื่อสมาธิ ดีนัก
เพราะการถึงพร้อมด้วยศีลที่พระอริยะยินดี สัตว์บางพวกในโลกนี้หลังจากตายแล้ว
จะไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์ ท่านเหล่านั้นย่อมครอบงำเทวดาเหล่าอื่นด้วยฐานะ ๑๐
ประการ คือ

๑. อายุทิพย์ ฯลฯ ๑๐. โผฏฐัพพะทิพย์

ท้าวสักกะจอมเทพตรัสว่า “ท่านโมคคัลลานะผู้นิรทุกข์ การถึงพร้อมด้วย
ความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้าว่า ‘แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาค
พระองค์นั้น ฯลฯ เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า เป็น
พระผู้มีพระภาค’ ดีนัก เพราะการถึงพร้อมด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระ
พุทธเจ้าเป็นเหตุ สัตว์บางพวกในโลกนี้หลังจากตายแล้วจะไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์
ท่านเหล่านั้นย่อมครอบงำเทวดาเหล่าอื่นด้วยฐานะ ๑๐ ประการ คือ

๑. อายุทิพย์ ฯลฯ ๑๐. โผฏฐัพพะทิพย์

การถึงพร้อมด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรมว่า ‘พระธรรมอัน
พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ดีแล้ว ฯลฯ อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน’ ดีนัก เพราะการถึง
พร้อมด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรมเป็นเหตุ สัตว์บางพวกในโลกนี้
หลังจากตายแล้วจะไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์ ท่านเหล่านั้นย่อมครอบงำเทวดา
เหล่าอื่นด้วยฐานะ ๑๐ ประการ คือ

๑. อายุทิพย์ ฯลฯ ๑๐. โผฏฐัพพะทิพย์

การถึงพร้อมด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์ว่า ‘พระสงฆ์สาวก
ของพระผู้มีพระภาค เป็นผู้ปฏิบัติดี ฯลฯ เป็นนาบุญอันยอดเยี่ยมของโลก’ ดีนัก
เพราะการถึงพร้อมด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์เป็นเหตุ สัตว์บางพวก
ในโลกนี้หลังจากตายแล้วจะไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์ ท่านเหล่านั้นย่อมครอบงำ
เทวดาเหล่าอื่นด้วยฐานะ ๑๐ ประการ คือ

๑. อายุทิพย์ ฯลฯ ๑๐. โผฏฐัพพะทิพย์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๓๖๕ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๖. โมคคัลลานสังยุต] ๑๐. สักกสูตร

การถึงพร้อมด้วยศีลที่พระอริยะยินดี ไม่ขาด ฯลฯ เป็นไปเพื่อสมาธิ ดีนัก
เพราะการถึงพร้อมด้วยศีลที่พระอริยะยินดี สัตว์บางพวกในโลกนี้หลังจากตายแล้ว
จะไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์ ท่านเหล่านั้นย่อมครอบงำเทวดาเหล่าอื่นด้วยฐานะ ๑๐
ประการ คือ

๑. อายุทิพย์ ฯลฯ ๑๐. โผฏฐัพพะทิพย์

ลำดับนั้น ท้าวสักกะจอมเทพพร้อมด้วยเทวดา ๖๐๐ องค์ ฯลฯ พร้อมด้วย
เทวดา ๗๐๐ องค์ ฯลฯ พร้อมด้วยเทวดา ๘๐๐ องค์ ฯลฯ พร้อมด้วยเทวดา
๘๐,๐๐๐ องค์ ได้เสด็จเข้าไปหาท่านพระมหาโมคคัลลานะถึงที่อยู่ ทรงไหว้แล้ว
ประทับยืนอยู่ ณ ที่สมควร ท่านพระมหาโมคคัลลานะได้กล่าวกับท้าวสักกะจอมเทพ
ดังนี้ว่า
“ท่านจอมเทพ การถึงพร้อมด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้าว่า
‘แม้เพราะเหตุนี้พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้ด้วยพระองค์เอง
โดยชอบ เพียบพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดี รู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกผู้ที่ควร
ฝึกได้อย่างยอดเยี่ยม เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า
เป็นพระผู้มีพระภาค’ ดีนัก เพราะการถึงพร้อมด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวใน
พระพุทธเจ้าเป็นเหตุ สัตว์บางพวกในโลกนี้หลังจากตายแล้วจะไปเกิดในสุคติโลก
สวรรค์ ท่านเหล่านั้นย่อมครอบงำเทวดาเหล่าอื่นด้วยฐานะ ๑๐ ประการ คือ

๑. อายุทิพย์ ๒. วรรณะทิพย์
๓. สุขทิพย์ ๔. ยศทิพย์
๕. ความเป็นใหญ่ทิพย์ ๖. รูปทิพย์
๗. เสียงทิพย์ ๘. กลิ่นทิพย์
๙. รสทิพย์ ๑๐. โผฏฐัพพะทิพย์

การถึงพร้อมด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรมว่า ‘พระธรรมอัน
พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ดีแล้ว ผู้ปฏิบัติจะพึงเห็นชัดด้วยตนเอง ไม่ประกอบด้วยกาล
ควรเรียกให้มาดู ควรน้อมเข้ามาในตน อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน’ ดีนัก เพราะ
การถึงพร้อมด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรมเป็นเหตุ สัตว์บางพวกใน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๓๖๖ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๖. โมคคัลลานสังยุต] ๑๐. สักกสูตร

โลกนี้หลังจากตายแล้วจะไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์ ท่านเหล่านั้นย่อมครอบงำเทวดา
เหล่าอื่นด้วยฐานะ ๑๐ ประการ คือ

๑. อายุทิพย์ ฯลฯ ๑๐. โผฏฐัพพะทิพย์

การถึงพร้อมด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์ว่า ‘พระสงฆ์สาวก
ของพระผู้มีพระภาคเป็นผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติตรง ปฏิบัติถูกทาง ปฏิบัติสมควร ได้แก่
อริยบุคคล ๔ คู่ คือ ๘ บุคคล พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคนี้เป็นผู้ควรแก่
ของที่เขานำมาถวาย ควรแก่ของต้อนรับ ควรแก่ทักษิณา ควรแก่การทำอัญชลี
เป็นนาบุญอันยอดเยี่ยมของโลก’ ดีนัก เพราะการถึงพร้อมด้วยความเลื่อมใสอันไม่
หวั่นไหวในพระสงฆ์เป็นเหตุ สัตว์บางพวกในโลกนี้หลังจากตายแล้วจะไปเกิดในสุคติ
โลกสวรรค์ ท่านเหล่านั้นย่อมครอบงำเทวดาเหล่าอื่นด้วยฐานะ ๑๐ ประการ คือ

๑. อายุทิพย์ ฯลฯ ๑๐. โผฏฐัพพะทิพย์

การถึงพร้อมด้วยศีลที่พระอริยะยินดี ไม่ขาด ไม่ทะลุ ไม่ด่าง ไม่พร้อย เป็น
ไทแก่ตน ท่านผู้รู้สรรเสริญ ไม่ถูกตัณหาและทิฏฐิครอบงำ เป็นไปเพื่อสมาธิ ดีนัก
เพราะการถึงพร้อมด้วยศีลที่พระอริยะยินดีเป็นเหตุ สัตว์บางพวกในโลกนี้หลังจาก
ตายแล้วจะไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์ ท่านเหล่านั้นย่อมครอบงำเทวดาเหล่าอื่นด้วย
ฐานะ ๑๐ ประการ คือ

๑. อายุทิพย์ ๒. วรรณะทิพย์
๓. สุขทิพย์ ๔. ยศทิพย์
๕. ความเป็นใหญ่ทิพย์ ๖. รูปทิพย์
๗. เสียงทิพย์ ๘. กลิ่นทิพย์
๙. รสทิพย์ ๑๐. โผฏฐัพพะทิพย์”

ท้าวสักกะจอมเทพตรัสว่า “ท่านโมคคัลลานะผู้นิรทุกข์ การถึงพร้อมด้วย
ความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้าว่า ‘แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาค
พระองค์นั้น ฯลฯ เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า
เป็นพระผู้มีพระภาค’ ดีนัก เพราะการถึงพร้อมด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวใน
พระพุทธเจ้าเป็นเหตุ สัตว์บางพวกในโลกนี้หลังจากตายแล้วจะไปเกิดในสุคติโลก
สวรรค์ ท่านเหล่านั้นย่อมครอบงำเทวดาเหล่าอื่นด้วยฐานะ ๑๐ ประการ คือ

๑. อายุทิพย์ ฯลฯ ๑๐. โผฏฐัพพะทิพย์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๓๖๗ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๖. โมคคัลลานสังยุต] ๑๑. จันทนสูตร

การถึงพร้อมด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรมว่า ‘พระธรรมอัน
พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ดีแล้ว ฯลฯ อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน’ ดีนัก เพราะการถึง
พร้อมด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรมเป็นเหตุ สัตว์บางพวกในโลกนี้
หลังจากตายแล้วจะไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์ ท่านเหล่านั้นย่อมครอบงำเทวดาเหล่า
อื่นด้วยฐานะ ๑๐ ประการ คือ

๑. อายุทิพย์ ฯลฯ ๑๐. โผฏฐัพพะทิพย์

การถึงพร้อมด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์ว่า ‘พระสงฆ์สาวก
ของพระผู้มีพระภาคเป็นผู้ปฏิบัติดี ฯลฯ เป็นนาบุญอันยอดเยี่ยมของโลก’ ดีนัก
เพราะการถึงพร้อมด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์เป็นเหตุ สัตว์บางพวก
ในโลกนี้หลังจากตายแล้วจะไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์ ท่านเหล่านั้นย่อมครอบงำ
เทวดาเหล่าอื่นด้วยฐานะ ๑๐ ประการ คือ

๑. อายุทิพย์ ฯลฯ ๑๐. โผฏฐัพพะทิพย์

ท่านโมคคัลลานะผู้นิรทุกข์ การถึงพร้อมด้วยศีลที่พระอริยะยินดี ไม่ขาด ฯลฯ
เป็นไปเพื่อสมาธิ ดีนัก เพราะการถึงพร้อมด้วยศีลที่พระอริยะยินดีเป็นเหตุ สัตว์
บางพวกในโลกนี้หลังจากตายแล้วจะไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์ ท่านเหล่านั้นย่อม
ครอบงำเทวดาเหล่าอื่นด้วยฐานะ ๑๐ ประการ คือ

๑. อายุทิพย์ ๒. วรรณะทิพย์
๓. สุขทิพย์ ๔. ยศทิพย์
๕. ความเป็นใหญ่ทิพย์ ๖. รูปทิพย์
๗. เสียงทิพย์ ๘. กลิ่นทิพย์
๙. รสทิพย์ ๑๐. โผฏฐัพพะทิพย์”

สักกสูตรที่ ๑๐ จบ

๑๑. จันทนสูตร
ว่าด้วยจันทนเทพบุตร

[๓๔๒] ครั้งนั้น จันทนเทพบุตร ฯลฯ
ครั้งนั้น สุยามเทพบุตร ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๓๖๘ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๖. โมคคัลลานสังยุต]
รวมพระสูตรที่มีในสังยุต

ครั้งนั้น สันดุสิตเทพบุตร ฯลฯ
ครั้งนั้น สุนิมมิตเทพบุตร ฯลฯ
ครั้งนั้น วสวัตดีเทพบุตร ฯลฯ

(เปยยาลทั้ง ๕ นี้พึงให้พิสดารเหมือนสักกสูตร)

จันทนสูตรที่ ๑๑ จบ

รวมพระสูตรที่มีในสังยุตนี้ คือ

๑. ปฐมัชฌานปัญหาสูตร ๒. ทุติยัชฌานปัญหาสูตร
๓. ตติยัชฌานปัญหาสูตร ๔. จตุตถัชฌานปัญหาสูตร
๕. อากาสานัญจายตนปัญหาสูตร ๖. วิญญาณัญจายตนปัญหาสูตร
๗. อากิญจัญญายตนปัญหาสูตร ๘. เนวสัญญานาสัญญายตนปัญหาสูตร
๙. อนิมิตตปัญหาสูตร ๑๐. สักกสูตร
๑๑. จันทนสูตร

โมคคัลลานสังยุต จบบริบูรณ์


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๗. จิตตสังยุต] ๑. สัญโญชนสูตร

๗. จิตตสังยุต
๑. สัญโญชนสูตร
ว่าด้วยสังโยชน์

[๓๔๓] สมัยหนึ่ง ภิกษุผู้เป็นเถระหลายรูปอยู่ที่อัมพาฏกวัน เขตเมือง
มัจฉิกาสัณฑ์ สมัยนั้น ภิกษุผู้เป็นเถระหลายรูปกลับจากบิณฑบาต ภายหลังฉัน
ภัตตาหารเสร็จแล้ว นั่งประชุมกัน ณ ปะรำ ได้สนทนากันขึ้นว่า “ผู้มีอายุทั้งหลาย
ธรรมเหล่านี้ คือ สังโยชน์ก็ดี ธรรมที่เกื้อกูลแก่สังโยชน์ก็ดี มีอรรถต่างกัน มี
พยัญชนะต่างกัน หรือมีอรรถอย่างเดียวกัน ต่างกันแต่พยัญชนะเท่านั้น”
บรรดาภิกษุผู้เป็นเถระเหล่านั้น บางพวกตอบว่า “ผู้มีอายุทั้งหลาย ธรรม
เหล่านี้ คือ สังโยชน์ก็ดี ธรรมที่เกื้อกูลแก่สังโยชน์ก็ดี มีอรรถต่างกัน มีพยัญชนะ
ต่างกัน”
บางพวกตอบว่า “ผู้มีอายุทั้งหลาย ธรรมเหล่านี้ คือ สังโยชน์ก็ดี ธรรมที่
เกื้อกูลแก่สังโยชน์ก็ดี มีอรรถอย่างเดียวกัน ต่างกันแต่พยัญชนะเท่านั้น”
สมัยนั้น จิตตคหบดีได้ไปยังบ้านส่วยชื่อมิคปถกะด้วยกิจที่ควรทำบางอย่าง
ท่านจิตตคหบดีได้ยินข่าวว่า “ภิกษุผู้เป็นเถระหลายรูปกลับจากบิณฑบาต
ภายหลังฉันภัตตาหารเสร็จแล้ว นั่งประชุมกัน ณ ปะรำ ได้สนทนากันขึ้นว่า
‘ผู้มีอายุทั้งหลาย ธรรมเหล่านี้ คือ สังโยชน์ก็ดี ธรรมที่เกื้อกูลแก่สังโยชน์ก็ดี
มีอรรถต่างกัน มีพยัญชนะต่างกัน หรือมีอรรถอย่างเดียวกัน ต่างกันแต่พยัญชนะ
เท่านั้น’
บรรดาภิกษุผู้เป็นเถระเหล่านั้น บางพวกตอบว่า ‘ผู้มีอายุทั้งหลาย ธรรม
เหล่านี้ คือ สังโยชน์ก็ดี ธรรมที่เกื้อกูลแก่สังโยชน์ก็ดี มีอรรถต่างกัน มีพยัญชนะ
ต่างกัน’
บางพวกตอบว่า ‘ผู้มีอายุทั้งหลาย ธรรมเหล่านี้ คือ สังโยชน์ก็ดี ธรรม
ที่เกื้อกูลแก่สังโยชน์ก็ดี มีอรรถอย่างเดียวกัน ต่างกันแต่พยัญชนะเท่านั้น”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๓๗๐ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๗. จิตตสังยุต] ๑. สัญโญชนสูตร

ครั้งนั้น จิตตคหบดีเข้าไปหาภิกษุผู้เป็นเถระทั้งหลายถึงที่อยู่ ไหว้แล้ว นั่ง ณ
ที่สมควร ได้เรียนถามภิกษุผู้เป็นเถระดังนี้ว่า “ท่านผู้เจริญทั้งหลาย กระผมได้
ยินข่าวว่า ‘ภิกษุผู้เป็นเถระหลายรูปกลับจากบิณฑบาต ภายหลังฉันภัตตาหาร
เสร็จแล้ว นั่งประชุมกัน ณ ปะรำ ได้สนทนากันขึ้นว่า ‘ผู้มีอายุทั้งหลาย ธรรม
เหล่านี้ คือ สังโยชน์ก็ดี ธรรมที่เกื้อกูลแก่สังโยชน์ก็ดี มีอรรถต่างกัน มีพยัญชนะ
ต่างกัน หรือมีอรรถอย่างเดียวกัน ต่างกันแต่พยัญชนะเท่านั้น’
บางพวกตอบว่า ‘ผู้มีอายุทั้งหลาย ธรรมเหล่านี้ คือ สังโยชน์ก็ดี ธรรมที่
เกื้อกูลแก่สังโยชน์ก็ดี มีอรรถต่างกัน มีพยัญชนะต่างกัน’
บางพวกตอบว่า ‘ผู้มีอายุทั้งหลาย ธรรมเหล่านี้ คือ สังโยชน์ก็ดี ธรรมที่
เกื้อกูลแก่สังโยชน์ก็ดี มีอรรถอย่างเดียวกัน ต่างกันแต่พยัญชนะเท่านั้นหรือ”
ภิกษุผู้เป็นเถระเหล่านั้นตอบว่า “เจริญพร คหบดี”
จิตตคหบดีกล่าวว่า “ท่านผู้เจริญทั้งหลาย ธรรมเหล่านี้ คือ สังโยชน์ก็ดี
ธรรมที่เกื้อกูลแก่สังโยชน์ก็ดี มีอรรถต่างกัน มีพยัญชนะต่างกัน ท่านผู้เจริญ
ทั้งหลาย ถ้าเช่นนั้น กระผมจักยกอุปมาให้ท่านทั้งหลายฟัง เพราะวิญญูชน
บางพวกในโลกนี้ย่อมเข้าใจเนื้อความแห่งภาษิตได้แม้ด้วยอุปมา เปรียบเหมือน
โคดำกับโคขาวเขาผูกติดกันด้วยสายคร่าวหรือด้วยเชือกเส้นเดียวกัน ผู้ใดพึงกล่าว
อย่างนี้ว่า ‘โคดำเกี่ยวเนื่องกับโคขาว โคขาวเกี่ยวเนื่องกับโคดำ’ ผู้นั้นเมื่อกล่าว
พึงกล่าวถูกต้องหรือ”
“ไม่ถูกต้อง คหบดี โคดำไม่เกี่ยวเนื่องกับโคขาว แม้โคขาวก็ไม่เกี่ยวเนื่องกับ
โคดำ แต่โคทั้งสองนั้นถูกเขาผูกด้วยสายคร่าวหรือด้วยเชือกเส้นเดียวกัน สายคร่าว
หรือเชือกนั้นจึงเกี่ยวเนื่องในโคทั้งสองนั้น”
“ท่านผู้เจริญทั้งหลาย อุปมานี้ฉันใด อุปไมยก็ฉันนั้นเหมือนกัน ตาไม่เกี่ยว
ข้องกับรูป รูปก็ไม่เกี่ยวข้องกับตา แต่เพราะอาศัยตาและรูปทั้งสองนั้นฉันทราคะ
จึงเกิดขึ้น ตาและรูปนั้นจึงเกี่ยวข้องในฉันทราคะนั้น
หูไม่เกี่ยวข้องกับเสียง ...
จมูกไม่เกี่ยวข้องกับกลิ่น ...

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๓๗๑ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๗. จิตตสังยุต] ๒. ปฐมอิสิทัตตสูตร

ลิ้นไม่เกี่ยวข้องกับรส ...
กายไม่เกี่ยวข้องกับโผฏฐัพพะ โผฏฐัพพะก็ไม่เกี่ยวข้องกับกาย แต่เพราะ
อาศัยกายและโผฏฐัพพะทั้งสองนั้นฉันทราคะจึงเกิดขึ้น กายและโผฏฐัพพะนั้นจึง
เกี่ยวข้องในฉันทราคะนั้น
ใจไม่เกี่ยวข้องกับธรรมารมณ์ ธรรมารมณ์ก็ไม่เกี่ยวข้องกับใจ แต่เพราะ
อาศัยใจและธรรมารมณ์ทั้งสองนั้นฉันทราคะจึงเกิดขึ้น ใจและธรรมารมณ์นั้นจึง
เกี่ยวข้องในฉันทราคะนั้น”
“คหบดี เป็นลาภของท่าน ท่านได้ดีแล้ว ที่ปัญญาจักษุของท่านหยั่งลงใน
พระพุทธพจน์ที่ลึกซึ้ง”

สัญโญชนสูตรที่ ๑ จบ

๒. ปฐมอิสิทัตตสูตร
ว่าด้วยพระอิสิทัตตะ สูตรที่ ๑

[๓๔๔] สมัยหนึ่ง ภิกษุผู้เป็นเถระหลายรูปอยู่ที่อัมพาฏกวัน เขตเมือง
มัจฉิกาสัณฑ์ ครั้งนั้น จิตตคหบดีเข้าไปหาภิกษุผู้เป็นเถระทั้งหลายถึงที่อยู่ ไหว้แล้ว
นั่ง ณ ที่สมควร ได้กล่าวกับภิกษุผู้เป็นเถระเหล่านั้นดังนี้ว่า “ท่านผู้เจริญทั้งหลาย
ขอพระเถระทั้งหลายโปรดรับภัตตาหารของกระผมในวันพรุ่งนี้เถิด”
ภิกษุผู้เป็นเถระทั้งหลายได้รับอาราธนาโดยดุษณีภาพ ลำดับนั้น จิตตคหบดี
ทราบว่าภิกษุผู้เป็นเถระทั้งหลายรับอาราธนาแล้วจึงลุกจากที่นั่ง ไหว้แล้ว กระทำ
ประทักษิณแล้วจากไป
ครั้นคืนนั้นผ่านไป ตอนเช้าภิกษุผู้เป็นเถระทั้งหลายครองอันตรวาสก ถือบาตร
และจีวรเข้าไปยังที่อยู่ของจิตตคหบดี นั่งบนอาสนะที่ปูลาดไว้แล้ว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๓๗๒ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๗. จิตตสังยุต] ๒. ปฐมอิสิทัตตสูตร

ลำดับนั้น จิตตคหบดีเข้าไปหาภิกษุผู้เป็นเถระทั้งหลาย ไหว้แล้ว นั่ง ณ ที่
สมควร ได้เรียนถามท่านพระเถระว่า “ท่านผู้เจริญ ที่กล่าวกันว่า ‘ธาตุต่าง ๆ
ธาตุต่าง ๆ’ ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอ พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่าธาตุต่าง ๆ” เมื่อ
จิตตคหบดีถามอย่างนี้แล้ว ท่านพระเถระได้นิ่งอยู่
แม้ครั้งที่ ๒ จิตตคหบดี ก็ได้เรียนถามว่า “ท่านผู้เจริญ ที่กล่าวกันว่า ‘ธาตุ
ต่าง ๆ ธาตุต่าง ๆ’ ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอ พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่าธาตุต่าง ๆ”
แม้ครั้งที่ ๒ ท่านพระเถระก็ได้นิ่งอยู่
แม้ครั้งที่ ๓ จิตตคหบดี ก็ได้เรียนถามว่า “ท่านผู้เจริญ ที่กล่าวกันว่า ‘ธาตุ
ต่าง ๆ ธาตุต่าง ๆ’ ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอ พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่าธาตุต่าง ๆ”
แม้ครั้งที่ ๓ ท่านพระเถระก็ได้นิ่งอยู่
สมัยนั้น ท่านพระอิสิทัตตะเป็นผู้ใหม่กว่าภิกษุทุกรูปในหมู่ภิกษุนั้น ขณะนั้น
ท่านพระอิสิทัตตะได้กล่าวกับท่านพระเถระดังนี้ว่า “กระผมขอตอบปัญหาข้อนี้ของ
จิตตคหบดีเอง ขอรับ”
พระเถระกล่าวว่า “อิสิทัตตะ ท่านจงตอบปัญหาข้อนี้ของจิตตคหบดีเถิด”
ท่านพระอิสิทัตตะได้ถามว่า “คหบดี ท่านถามว่า ‘ท่านผู้เจริญ ที่กล่าวกันว่า
‘ธาตุต่าง ๆ ธาตุต่าง ๆ’ ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอ พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่าธาตุ
ต่าง ๆ’ หรือ”
“อย่างนั้น ขอรับ”
“คหบดี พระผู้มีพระภาคตรัสธาตุต่าง ๆ ไว้ดังนี้ว่า ‘จักขุธาตุ รูปธาตุ จักขุ
วิญญาณธาตุ ฯลฯ มโนธาตุ ธัมมธาตุ มโนวิญญาณธาตุ’ ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล
พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่าธาตุต่าง ๆ”
ลำดับนั้น จิตตคหบดีชื่นชมยินดีภาษิตของท่านอิสิทัตตะ ได้นำของขบฉันอัน
ประณีตประเคนภิกษุผู้เป็นเถระทั้งหลายให้อิ่มหนำด้วยตนเอง ขณะนั้นภิกษุผู้เป็น
เถระทั้งหลายฉันเสร็จแล้ววางมือจากบาตร ลุกจากอาสนะแล้วจากไป

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๓๗๓ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๗. จิตตสังยุต] ๓. ทุติยอิสิทัตตสูตร

ต่อมา ท่านพระเถระได้กล่าวกับท่านพระอิสิทัตตะดังนี้ว่า “ดีละ ท่านอิสิทัตตะ
ปัญหาข้อนี้แจ่มแจ้งแก่ท่าน ไม่แจ่มแจ้งแก่ผม ถ้าเช่นนั้น เมื่อปัญหาเช่นนี้มาถึง
แม้โดยประการอื่น ท่านพึงตอบปัญหานั้นแล”

ปฐมอิสิทัตตสูตรที่ ๒ จบ

๓. ทุติยอิสิทัตตสูตร
ว่าด้วยพระอิสิทัตตะ สูตรที่ ๒

[๓๔๕] สมัยหนึ่ง ภิกษุผู้เป็นเถระหลายรูปอยู่ที่อัมพาฏกวัน เขตเมือง
มัจฉิกาสัณฑ์ ครั้งนั้น จิตตคหบดีเข้าไปหาภิกษุผู้เป็นเถระทั้งหลายถึงที่อยู่ ไหว้
แล้ว นั่ง ณ ที่สมควร ได้อาราธนาว่า “ท่านผู้เจริญทั้งหลาย ขอพระเถระทั้ง
หลายโปรดรับภัตตาหารของกระผมในวันพรุ่งนี้เถิด”
ภิกษุผู้เป็นเถระทั้งหลายรับอาราธนาโดยดุษณีภาพ ลำดับนั้น จิตตคหบดี
ทราบว่าภิกษุผู้เป็นเถระทั้งหลายรับอาราธนาแล้วจึงลุกจากที่นั่ง ไหว้แล้ว กระทำ
ประทักษิณแล้วจากไป
ครั้นคืนนั้นผ่านไป ตอนเช้าภิกษุทั้งหลายครองอันตรวาสก ถือบาตรและจีวร
เข้าไปยังที่อยู่ของจิตตคหบดี นั่งบนอาสนะที่ปูลาดไว้แล้ว
ลำดับนั้น จิตตคหบดีเข้าไปหาภิกษุผู้เป็นเถระทั้งหลาย ไหว้แล้ว นั่ง ณ ที่
สมควร ได้เรียนถามท่านพระเถระดังนี้ว่า “ท่านผู้เจริญ ทิฏฐิหลายอย่างเกิดขึ้นใน
โลกว่า ‘โลกเที่ยง หรือโลกไม่เที่ยง โลกมีที่สุด หรือโลกไม่มีที่สุด ชีวะ๑กับสรีระ
เป็นอย่างเดียวกัน หรือชีวะกับสรีระเป็นคนละอย่างกัน หลังจากตายแล้วตถาคต๒
เกิดอีก หรือหลังจากตายแล้วตถาคตไม่เกิดอีก หลังจากตายแล้วตถาคตเกิดอีกและ
ไม่เกิดอีก หรือหลังจากตายแล้วตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่’


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๗. จิตตสังยุต] ๓. ทุติยอิสิทัตตสูตร

ทิฏฐิ ๖๒๑ อย่างนี้พระผู้มีพระภาคตรัสไว้แล้วในพรหมชาลสูตร ท่านผู้เจริญ เมื่อ
อะไรมี ทิฏฐิเหล่านี้จึงมี เมื่ออะไรไม่มี ทิฏฐิเหล่านี้จึงไม่มี” เมื่อจิตตคหบดีถาม
อย่างนี้แล้ว ท่านพระเถระได้นิ่งอยู่
แม้ครั้งที่ ๒ จิตตคหบดี ฯลฯ
แม้ครั้งที่ ๓ จิตตคหบดีก็ได้เรียนถามว่า “ท่านผู้เจริญ ทิฏฐิหลายอย่าง
เกิดขึ้นในโลกว่า ‘โลกเที่ยง หรือโลกไม่เที่ยง โลกมีที่สุด หรือโลกไม่มีที่สุด ชีวะ
กับสรีระเป็นอย่างเดียวกัน หรือชีวะกับสรีระเป็นคนละอย่างกัน หลังจากตายแล้ว
ตถาคตเกิดอีก หรือหลังจากตายแล้วตถาคตไม่เกิดอีก หลังจากตายแล้วตถาคต
เกิดอีกและไม่เกิดอีก หรือหลังจากตายแล้วตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิด
อีกก็มิใช่’ ทิฏฐิ ๖๒ อย่างนี้พระผู้มีพระภาคตรัสไว้แล้วในพรหมชาลสูตร ท่าน
ผู้เจริญ เมื่ออะไรมี ทิฏฐิเหล่านี้จึงมี เมื่ออะไรไม่มี ทิฏฐิเหล่านี้จึงไม่มี” แม้ครั้งที่ ๓
ท่านพระเถระก็ได้นิ่งอยู่
สมัยนั้น ท่านพระอิสิทัตตะเป็นผู้ใหม่กว่าภิกษุทุกรูปในหมู่ภิกษุนั้น ขณะนั้น
ท่านพระอิสิทัตตะได้กล่าวกับท่านพระเถระดังนี้ว่า “กระผมขอตอบปัญหาข้อนี้ของ
จิตตคหบดีเอง ขอรับ”
พระเถระกล่าวว่า “อิสิทัตตะ ท่านจงตอบปัญหาข้อนี้ของจิตตคหบดีเถิด”
ท่านพระอิสิทัตตะได้ถามว่า “คหบดี ท่านถามว่า ‘ท่านผู้เจริญ ทิฏฐิหลาย
อย่างเกิดขึ้นในโลกว่า ‘โลกเที่ยง หรือโลกไม่เที่ยง โลกมีที่สุด หรือโลกไม่มีที่สุด ฯลฯ
ท่านผู้เจริญ เมื่ออะไรมี ทิฏฐิเหล่านี้จึงมี เมื่ออะไรไม่มี ทิฏฐิเหล่านี้จึงไม่มี’ หรือ”
“อย่างนั้น ขอรับ”
“คหบดี ทิฏฐิหลายอย่างเกิดขึ้นในโลกว่า ‘โลกเที่ยง หรือโลกไม่เที่ยง โลก
มีที่สุด หรือโลกไม่มีที่สุด ชีวะกับสรีระเป็นอย่างเดียวกัน หรือชีวะกับสรีระเป็น


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๗. จิตตสังยุต] ๓. ทุติยอิสิทัตตสูตร

คนละอย่างกัน หลังจากตายแล้วตถาคตเกิดอีก หรือหลังจากตายแล้วตถาคต
ไม่เกิดอีก หลังจากตายแล้วตถาคตเกิดอีกและไม่เกิดอีก หรือหลังจากตายแล้ว
ตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่’ ทิฏฐิ ๖๒ อย่างนี้พระผู้มีพระภาคได้
ตรัสไว้แล้วในพรหมชาลสูตร คหบดี เมื่อสักกายทิฏฐิ (ความเห็นว่าเป็นกายของตน)
มี ทิฏฐิเหล่านี้จึงมี เมื่อสักกายทิฏฐิไม่มี ทิฏฐิเหล่านี้จึงไม่มี”
“ท่านผู้เจริญ สักกายทิฏฐิย่อมมีได้อย่างไร”
“คหบดี ปุถุชน๑ในโลกนี้ผู้ไม่ได้สดับ ไม่ได้เห็นพระอริยะ ไม่ฉลาดในธรรม
ของพระอริยะ ไม่ได้รับการแนะนำในธรรมของพระอริยะ ไม่ได้เห็นสัตบุรุษ ไม่
ฉลาดในธรรมของสัตบุรุษ ไม่ได้รับการแนะนำในธรรมของสัตบุรุษ พิจารณาเห็น
รูปโดยความเป็นอัตตา พิจารณาเห็นอัตตาว่ามีรูป พิจารณาเห็นรูปในอัตตา หรือ
พิจารณาเห็นอัตตาในรูป พิจารณาเห็นเวทนาโดยความเป็นอัตตา ฯลฯ สัญญา ...
สังขาร ... พิจารณาเห็นวิญญาณโดยความเป็นอัตตา พิจารณาเห็นอัตตาว่ามี
วิญญาณ พิจารณาเห็นวิญญาณในอัตตา หรือพิจารณาเห็นอัตตาในวิญญาณ
คหบดี สักกายทิฏฐิย่อมมีได้อย่างนี้แล”
“ท่านผู้เจริญ สักกายทิฏฐิย่อมมีไม่ได้อย่างไร”
“คหบดี อริยสาวกในศาสนานี้ผู้ได้สดับ ได้เห็นพระอริยะ ฉลาดในธรรม
ของพระอริยะ ได้รับการแนะนำในธรรมของพระอริยะ ได้เห็นสัตบุรุษ ฉลาดใน
ธรรมของสัตบุรุษ ได้รับการแนะนำในธรรมของสัตบุรุษ ไม่พิจารณาเห็นรูปโดย
ความเป็นอัตตา ไม่พิจารณาเห็นอัตตาว่ามีรูป ไม่พิจารณาเห็นรูปในอัตตา หรือไม่
พิจารณาเห็นอัตตาในรูป ไม่พิจารณาเห็นเวทนา ... สัญญา ... สังขาร ... ไม่พิจารณา
เห็นวิญญาณโดยความเป็นอัตตา ไม่พิจารณาเห็นอัตตาว่ามีวิญญาณ ไม่พิจารณา
เห็นวิญญาณในอัตตา หรือไม่พิจารณาเห็นอัตตาในวิญญาณ คหบดี สักกายทิฏฐิ
ย่อมมีไม่ได้อย่างนี้แล”


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๗. จิตตสังยุต] ๓. ทุติยอิสิทัตตสูตร

“ท่านผู้เจริญ พระคุณเจ้าอิสิทัตตะมาจากไหน”
“คหบดี อาตมภาพมาจากอวันตีชนบท”
“ท่านผู้เจริญ กุลบุตรชื่ออิสิทัตตะในอวันตีชนบท ซึ่งเป็นสหายที่ไม่เคยเห็น
ของกระผม ออกบรรพชามีอยู่ พระคุณเจ้าเคยเห็นท่านหรือไม่”
“เจริญพร คหบดี”
“ท่านผู้เจริญ เดี๋ยวนี้ท่านอยู่ที่ไหน”
เมื่อจิตตคหบดีถามอย่างนี้แล้ว ท่านพระอิสิทัตตะได้นิ่งอยู่
“ท่านผู้เจริญ ท่านพระอิสิทัตตะของกระผมคือพระคุณเจ้าหรือ”
“เจริญพร คหบดี”
“ท่านผู้เจริญ ขอพระคุณเจ้าอิสิทัตตะจงยินดีอัมพาฏกวันอันน่ารื่นรมย์ เขต
เมืองมัจฉิกาสัณฑ์เถิด กระผมจักบำรุงพระคุณเจ้าด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ
และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร”
“โยมพูดดี”
ลำดับนั้น จิตตคหบดีชื่นชมยินดีภาษิตของท่านอิสิทัตตะแล้ว ได้นำของขบฉัน
อันประณีตประเคนภิกษุผู้เป็นเถระทั้งหลายให้อิ่มหนำด้วยตนเอง ขณะนั้นภิกษุผู้
เป็นเถระทั้งหลายฉันเสร็จแล้ววางมือจากบาตร ลุกจากอาสนะแล้วจากไป
ต่อมา ท่านพระเถระได้กล่าวกับท่านพระอิสิทัตตะดังนี้ว่า “ดีละ ท่านอิสิทัตตะ
ปัญหาข้อนี้แจ่มแจ้งแก่ท่าน ไม่แจ่มแจ้งแก่ผม ถ้าเช่นนั้น เมื่อปัญหาเช่นนี้มาถึง
แม้โดยประการอื่น ท่านพึงตอบปัญหานั้นแล”
ลำดับนั้น ท่านพระอิสิทัตตะเก็บงำเสนาสนะแล้ว ถือบาตรและจีวรจากไป
จากเมืองมัจฉิกาสัณฑ์ ได้จากไปแล้วอย่างที่ท่านจะไป ไม่กลับมาอีก

ทุติยอิสิทัตตสูตรที่ ๓ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๗. จิตตสังยุต] ๔. มหกปาฏิหาริยสูตร

๔. มหกปาฏิหาริยสูตร
ว่าด้วยพระมหกะแสดงปาฏิหาริย์

[๓๔๖] สมัยหนึ่ง ภิกษุผู้เป็นเถระหลายรูปอยู่ที่อัมพาฏกวัน เขตเมือง
มัจฉิกาสัณฑ์ ครั้งนั้น จิตตคหบดีเข้าไปหาภิกษุผู้เป็นเถระทั้งหลายถึงที่อยู่ ไหว้แล้ว
นั่ง ณ ที่สมควร ได้อาราธนาว่า “ท่านผู้เจริญทั้งหลาย ขอพระเถระทั้งหลาย
โปรดรับภัตตาหารที่โรงวัวของกระผมในวันพรุ่งนี้เถิด”
ภิกษุผู้เป็นเถระทั้งหลายได้รับอาราธนาโดยดุษณีภาพ ลำดับนั้น จิตตคหบดี
ทราบว่าภิกษุผู้เป็นเถระทั้งหลายรับอาราธนาแล้วจึงลุกจากที่นั่ง ไหว้แล้ว กระทำ
ประทักษิณแล้วจากไป
ครั้นคืนนั้นผ่านไป ตอนเช้าภิกษุผู้เป็นเถระทั้งหลายครองอันตรวาสก ถือบาตร
และจีวรเข้าไปยังที่อยู่ของจิตตคหบดี นั่งบนอาสนะที่ปูลาดไว้แล้ว
ลำดับนั้น จิตตคหบดีได้นำข้าวปายาสปรุงด้วยเนยใสอย่างประณีตประเคน
ภิกษุผู้เป็นเถระทั้งหลายให้อิ่มหนำด้วยตนเอง ขณะนั้นภิกษุผู้เป็นเถระทั้งหลายฉัน
เสร็จแล้ววางมือจากบาตร ลุกจากอาสนะแล้วจากไป
ฝ่ายจิตตคหบดีได้กล่าวว่า “พวกท่านจงทิ้งเศษอาหารที่เหลือ” แล้วเดินตาม
หลังภิกษุผู้เป็นเถระทั้งหลายไป เวลานั้นร้อนจัด ภิกษุผู้เป็นเถระทั้งหลายมีกาย
คล้ายกับกะปลกกะเปลี้ยเดินไป ทั้งที่ฉันอาหารแล้ว
สมัยนั้น ท่านพระมหกะเป็นผู้ใหม่กว่าภิกษุทุกรูปในหมู่ภิกษุนั้น ขณะนั้น
ท่านได้เรียนกับท่านพระเถระดังนี้ว่า “ท่านผู้เจริญ ดีทีเดียว ถ้าลมเย็นจะพึงพัด
โชยมา มีเสียงฟ้าร้อง และฝนโปรยลงมาทีละหยาด”
พระเถระกล่าวว่า “ท่านพระมหกะ ดีทีเดียว ถ้าลมเย็นจะพึงพัดโชยมา มี
เสียงฟ้าร้อง และฝนโปรยลงมาทีละหยาด”
ลำดับนั้น ท่านพระมหกะได้บันดาลฤทธิ์ให้ลมเย็นพัดโชยมา มีเสียงฟ้าร้อง
และฝนโปรยลงมาทีละหยาด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๓๗๘ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๗. จิตตสังยุต] ๔. มหกปาฏิหาริยสูตร

ลำดับนั้น จิตตคหบดีได้คิดว่า “ภิกษุผู้ใหม่กว่าภิกษุทุกรูปในหมู่ภิกษุนี้เป็นผู้
มีฤทธานุภาพเห็นปานนี้ทีเดียว”
ขณะนั้นท่านพระมหกะไปถึงอารามแล้วได้กล่าวกับท่านพระเถระว่า “ท่านพระ
เถระผู้เจริญ การบันดาลฤทธิ์เพียงเท่านี้พอหรือยัง”
ท่านพระเถระกล่าวว่า “ท่านมหกะ พอแล้ว ท่านทำได้แล้ว บูชาแล้ว”
ต่อมาภิกษุผู้เป็นเถระทั้งหลายได้ไปสู่ที่อยู่ตามเดิม แม้ท่านพระมหกะก็ไปสู่ที่
อยู่ของตน
ลำดับนั้น จิตตคหบดีเข้าไปหาท่านพระมหกะถึงที่อยู่ ไหว้แล้ว นั่ง ณ ที่
สมควร ได้ขอร้องว่า “ท่านผู้เจริญ ขอโอกาส ขอพระคุณเจ้ามหกะได้โปรดแสดง
อิทธิปาฏิหาริย์ที่เป็นธรรมอันยิ่งกว่าธรรมของมนุษย์แก่กระผมเถิด”
ท่านพระมหกะกล่าวว่า “คหบดี ถ้าเช่นนั้น ท่านจงปูผ้าห่มที่ระเบียงแล้ว
เกลี่ยฟ่อนหญ้าไว้”
จิตตคหบดีรับคำของท่านพระมหกะแล้วปูผ้าห่มที่ระเบียงเกลี่ยฟ่อนหญ้าไว้
ขณะนั้นท่านพระมหกะเข้าไปสู่วิหารลั่นดาลแล้ว ได้บันดาลฤทธิ์ให้เปลวไฟออกทาง
ช่องลูกดาลและระหว่างกลอนประตู ให้ไหม้หญ้า แต่ไม่ให้ไหม้ผ้าห่ม จิตตคหบดี
ตกใจสลัดผ้าห่ม ได้ยืนขนลุกอยู่ที่ส่วนข้างหนึ่ง
ท่านพระมหกะออกจากที่อยู่แล้วได้ถามจิตตคหบดีดังนี้ว่า “จิตตคหบดี การ
บันดาลฤทธิ์เพียงเท่านี้พอหรือยัง”
จิตตคหบดีกล่าวว่า “ท่านมหกะ พอแล้ว ท่านทำได้แล้ว บูชาแล้ว ขอพระ
คุณเจ้ามหกะจงยินดีอัมพาฏกวันอันน่ารื่นรมย์ เขตเมืองมัจฉิกาสัณฑ์เถิด กระผม
จักบำรุงพระคุณเจ้าด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร”
“โยมพูดดี”
ต่อมา ท่านพระมหกะเก็บงำเสนาสนะแล้ว ถือบาตรและจีวรจากไปจาก
เมืองมัจฉิกาสัณฑ์ ได้จากไปแล้วอย่างที่ท่านจะไป ไม่กลับมาอีก

มหกปาฏิหาริยสูตรที่ ๔ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๗. จิตตสังยุต] ๕. ปฐมกามภูสูตร

๕. ปฐมกามภูสูตร
ว่าด้วยพระกามภู สูตรที่ ๑

[๓๔๗] สมัยหนึ่ง ท่านพระกามภูอยู่ที่อัมพาฏกวัน เขตเมืองมัจฉิกาสัณฑ์
ครั้งนั้น จิตตคหบดีเข้าไปหาท่านพระกามภูถึงที่อยู่ ไหว้แล้ว นั่ง ณ ที่สมควร
ท่านพระกามภูได้กล่าวว่า
“จิตตคหบดี พระผู้มีพระภาคได้ตรัสไว้ดังนี้ว่า
‘เธอจงดูรถซึ่งมีส่วนประกอบอันไม่มีโทษ
มีหลังคาขาว มีเพลาเดียว ไม่มีทุกข์
แล่นไปถึงที่หมาย ตัดกระแส ไม่มีเครื่องผูก’
ท่านจะพึงเห็นเนื้อความแห่งธรรมที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงอย่างย่อนี้โดย
พิสดารได้อย่างไร”
“ท่านผู้เจริญ ธรรมนี้พระผู้มีพระภาคทรงแสดงไว้หรือ”
“เจริญพร คหบดี”
“ท่านผู้เจริญ ถ้าเช่นนั้น ขอท่านโปรดรอสักครู่ จนกว่ากระผมจักพิจารณา
เนื้อความแห่งธรรมนั้นได้”
ลำดับนั้น จิตตคหบดีนิ่งอยู่ครู่หนึ่ง แล้วได้ตอบท่านพระกามภูดังนี้ว่า
“ท่านผู้เจริญ คำว่า ส่วนประกอบอันไม่มีโทษ เป็นชื่อของศีล
คำว่า หลังคาขาว เป็นชื่อของวิมุตติ
คำว่า เพลาเดียว เป็นชื่อของสติ
คำว่า แล่นไป เป็นชื่อของการก้าวไปและการถอยกลับ
คำว่า รถ เป็นชื่อของกายนี้ซึ่งประกอบขึ้นจากมหาภูตรูป ๔ เกิดจากมารดาบิดา
เจริญวัยเพราะข้าวสุกและขนมกุมมาส ไม่เที่ยงแท้ ต้องอบต้องนวดเฟ้น มีอันแตก
กระจัดกระจายไปเป็นธรรมดา ท่านผู้เจริญ ราคะเป็นทุกข์ โทสะเป็นทุกข์ โมหะ
เป็นทุกข์ ทุกข์เหล่านั้นภิกษุขีณาสพละได้แล้ว ตัดรากถอนโคนเหมือนต้นตาลที่ถูก
ตัดรากถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ เพราะฉะนั้น
ภิกษุขีณาสพพระผู้มีพระภาคจึงตรัสเรียกว่า ผู้ไม่มีทุกข์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๓๘๐ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๗. จิตตสังยุต] ๖. ทุติยกามภูสูตร

คำว่า แล่นไปถึงที่หมาย นั้นเป็นชื่อของพระอรหันต์
คำว่า กระแส เป็นชื่อของตัณหา ตัณหานั้นภิกษุขีณาสพละได้แล้ว ตัดราก
ถอนโคนเหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี
เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ เพราะฉะนั้น ภิกษุขีณาสพพระผู้มีพระภาคจึงตรัสเรียกว่า ผู้ตัด
กระแส ราคะเป็นเครื่องผูก โทสะเป็นเครื่องผูก โมหะเป็นเครื่องผูก เครื่องผูก
เหล่านั้นภิกษุขีณาสพละได้แล้ว ตัดรากถอนโคนเหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคน
ไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ เพราะฉะนั้น ภิกษุขีณาสพ
พระผู้มีพระภาคจึงตรัสเรียกว่า ผู้ไม่มีเครื่องผูก
ท่านผู้เจริญ เพราะเหตุนี้พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสไว้ดังนี้ว่า
‘เธอจงดูรถซึ่งมีส่วนประกอบอันไม่มีโทษ
มีหลังคาขาว มีเพลาเดียว ไม่มีทุกข์
แล่นไปถึงที่หมาย ตัดกระแส ไม่มีเครื่องผูก’
กระผมรู้ทั่วถึงเนื้อความแห่งธรรมที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงอย่างย่อนี้โดย
พิสดารอย่างนี้แล”
“คหบดี เป็นลาภของท่าน ท่านได้ดีแล้ว ที่ปัญญาจักษุของท่านหยั่งลงใน
พระพุทธพจน์ที่ลึกซึ้งนี้”

ปฐมกามภูสูตรที่ ๕ จบ

๖. ทุติยกามภูสูตร
ว่าด้วยพระกามภู สูตรที่ ๒

[๓๔๘] สมัยหนึ่ง ท่านพระกามภูอยู่ที่อัมพาฏกวัน เขตเมืองมัจฉิกาสัณฑ์
ครั้งนั้น จิตตคหบดีเข้าไปหาท่านพระกามภูถึงที่อยู่ ไหว้แล้ว นั่ง ณ ที่สมควร
ได้เรียนถามท่านพระกามภูดังนี้ว่า “ท่านผู้เจริญ สังขารมีเท่าไร”
ท่านพระกามภูตอบว่า “คหบดี สังขารมี ๓ ประการ คือ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๓๘๑ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๗. จิตตสังยุต] ๖. ทุติยกามภูสูตร

๑. กายสังขาร๑ ๒. วจีสังขาร๒
๓. จิตตสังขาร๓”
จิตตคหบดีกล่าวว่า “ดีละ ท่านผู้เจริญ” ชื่นชมยินดีภาษิตของท่านพระกามภู
แล้วได้ถามปัญหายิ่งขึ้นไปว่า
“ท่านผู้เจริญ กายสังขารเป็นอย่างไร วจีสังขารเป็นอย่างไร และจิตตสังขาร
เป็นอย่างไร”
“คหบดี ลมหายใจเข้าและลมหายใจออกชื่อว่ากายสังขาร
วิตกวิจารชื่อว่าวจีสังขาร
สัญญาและเวทนาชื่อว่าจิตตสังขาร”
จิตตคหบดีกล่าวว่า “ดีละ ท่านผู้เจริญ” ฯลฯ แล้วได้ถามปัญหายิ่งขึ้นไปอีกว่า
“ท่านผู้เจริญ เพราะเหตุไร ลมหายใจเข้าและลมหายใจออกจึงชื่อว่ากายสังขาร
เพราะเหตุไร วิตกวิจารจึงชื่อว่าวจีสังขาร
เพราะเหตุไร สัญญาและเวทนาจึงชื่อว่าจิตตสังขาร”
“คหบดี ลมหายใจเข้าและลมหายใจออกเป็นไปในกาย ธรรมเหล่านี้เกี่ยวเนื่อง
ด้วยกาย เพราะฉะนั้น ลมหายใจเข้าและลมหายใจออกจึงชื่อว่ากายสังขาร”
“คหบดี บุคคลตรึกตรองก่อนแล้วจึงเปล่งวาจาภายหลัง เพราะฉะนั้น วิตก
วิจารจึงชื่อว่าวจีสังขาร


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๗. จิตตสังยุต] ๖. ทุติยกามภูสูตร

สัญญาและเวทนาเป็นไปทางจิต ธรรมเหล่านี้เกี่ยวเนื่องด้วยจิต เพราะฉะนั้น
สัญญาและเวทนาจึงชื่อว่าจิตตสังขาร”
“ดีละ ท่านผู้เจริญ” ฯลฯ แล้วได้ถามปัญหายิ่งขึ้นไปอีกว่า “ท่านผู้เจริญ
ก็สัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติมีได้อย่างไร”
“คหบดี ภิกษุผู้กำลังเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติย่อมไม่คิดว่า ‘เราจักเข้า
สัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ หรือเรากำลังเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ หรือเรา
เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติแล้ว’ ที่แท้จิตที่นำบุคคลเข้าไปเพื่อความเป็นอย่างนั้น
เธอได้อบรมไว้ในกาลก่อนแล้ว”
จิตตคหบดีกล่าวว่า “ดีละ ท่านผู้เจริญ” ฯลฯ แล้วได้ถามปัญหายิ่งขึ้นไปอีกว่า
“ท่านผู้เจริญ ก็เมื่อภิกษุเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ ธรรมเหล่าไหนดับก่อน
กายสังขาร วจีสังขาร หรือจิตตสังขาร”
“คหบดี เมื่อภิกษุเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ วจีสังขารดับก่อน ต่อจาก
นั้น กายสังขาร จิตตสังขารจึงดับ”
“ดีละ ท่านผู้เจริญ” ฯลฯ แล้วได้ถามปัญหายิ่งขึ้นไปอีกว่า “ท่านผู้เจริญ
คนที่ตายแล้วกับภิกษุผู้เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ ทั้งสองนี้ต่างกันอย่างไร”
“คหบดี คนที่ตายแล้ว กายสังขารก็ดับระงับไป วจีสังขารก็ดับระงับไป
จิตตสังขารของเขาก็ดับระงับไป อายุสิ้นไป ไออุ่นหมดไป อินทรีย์แตกสลายไป
แม้ภิกษุผู้เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ กายสังขารก็ดับระงับไป วจีสังขารก็
ดับระงับไป จิตตสังขารก็ดับระงับไป (แต่)อายุไม่สิ้นไป ไออุ่นยังไม่หมด อินทรีย์
ก็ผ่องใส คหบดี คนที่ตายแล้วกับภิกษุผู้เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ ทั้งสองนั้น
ต่างกันอย่างนี้”
“ดีละ ท่านผู้เจริญ” ฯลฯ แล้วได้ถามปัญหายิ่งขึ้นไปอีกว่า “ท่านผู้เจริญ
ก็การออกจากสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ มีได้อย่างไร”
“ภิกษุผู้กำลังออกจากสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติย่อมไม่คิดว่า ‘เราจักออกจาก
สัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ หรือเรากำลังออกจากสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ หรือ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๓๘๓ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๗. จิตตสังยุต] ๗. โคทัตตสูตร

เราออกจากสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติแล้ว’ ที่แท้จิตที่นำบุคคลเข้าไปเพื่อความเป็น
อย่างนั้น เธอได้อบรมไว้ในกาลก่อนแล้ว”
จิตตคหบดีกล่าวว่า “ดีละ ท่านผู้เจริญ” ฯลฯ แล้วได้ถามปัญหายิ่งขึ้นไป
อีกว่า “ท่านผู้เจริญ ก็เมื่อภิกษุออกจากสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ ธรรมเหล่าไหน
เกิดขึ้นก่อน กายสังขาร วจีสังขาร หรือจิตตสังขาร”
“คหบดี เมื่อภิกษุออกจากสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ จิตตสังขารเกิดขึ้นก่อน
ต่อจากนั้น กายสังขาร วจีสังขารจึงเกิดขึ้น”
“ดีละ ท่านผู้เจริญ” ฯลฯ แล้วได้ถามปัญหายิ่งขึ้นไปอีกว่า “ท่านผู้เจริญ
ผัสสะเท่าไรย่อมถูกต้องภิกษุผู้ออกจากสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ”
“คหบดี ผัสสะ ๓ คือ (๑) สุญญผัสสะ (๒) อนิมิตตผัสสะ (๓) อัปปณิหิตผัสสะ
ย่อมถูกต้องภิกษุผู้ออกจากสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ”
“ดีละ ท่านผู้เจริญ” ฯลฯ แล้วได้ถามปัญหายิ่งขึ้นไปอีกว่า “ท่านผู้เจริญ
ภิกษุผู้ออกจากสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ จิตน้อมไป โน้มไป โอนไปสู่อะไร”
“คหบดี ภิกษุผู้ออกจากสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติแล้ว จิตย่อมน้อมไป โน้ม
ไป โอนไปสู่วิเวก๑”
จิตตคหบดีกล่าวว่า “ดีละ ท่านผู้เจริญ” แล้วได้ชื่นชมยินดีภาษิตของท่าน
พระกามภู แล้วได้ถามปัญหายิ่งขึ้นไปอีกว่า
“ท่านผู้เจริญ ธรรมเหล่าไหนมีอุปการะมากแก่สัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ”
“คหบดี ปัญหาที่ควรจะถามก่อนท่านถามช้าไป แต่เอาเถิด อาตมภาพ
จักตอบแก่ท่าน ธรรม ๒ ประการ คือ (๑) สมถะ (๒) วิปัสสนา มีอุปการะมาก
แก่สัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ”

ทุติยกามภูสูตรที่ ๖ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๗. จิตตสังยุต] ๗. โคทัตตสูตร

๗. โคทัตตสูตร
ว่าด้วยพระโคทัตตะ

[๓๔๙] สมัยหนึ่ง ท่านพระโคทัตตะอยู่ที่อัมพาฏกวัน เขตเมืองมัจฉิกาสัณฑ์
ครั้งนั้น จิตตคหบดีเข้าไปหาท่านพระโคทัตตะถึงที่อยู่ ไหว้แล้วนั่ง ณ ที่สมควร
ได้ถามจิตตคหบดีดังนี้ว่า “คหบดี ธรรมเหล่านี้ คือ (๑) อัปปมาณาเจโตวิมุตติ
(๒) อากิญจัญญาเจโตวิมุตติ๑ (๓) สุญญตาเจโตวิมุตติ (๔) อนิมิตตาเจโตวิมุตติ๒
มีอรรถต่างกัน มีพยัญชนะต่างกัน หรือมีอรรถอย่างเดียวกัน ต่างกันแต่พยัญชนะ
เท่านั้น”
จิตตคหบดีตอบว่า “ท่านผู้เจริญ เพราะอาศัยเหตุใด ธรรมเหล่านี้จึงมีอรรถ
ต่างกันและมีพยัญชนะต่างกัน เหตุนั้นมีอยู่ อนึ่ง เพราะอาศัยเหตุใด ธรรมเหล่านี้
จึงมีอรรถอย่างเดียวกัน ต่างกันแต่พยัญชนะเท่านั้น เหตุนั้นมีอยู่
ท่านผู้เจริญ เพราะอาศัยเหตุใด ธรรมเหล่านี้จึงมีอรรถต่างกันและมีพยัญชนะ
ต่างกัน เหตุนั้นเป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้มีเมตตาจิตแผ่ไปตลอดทิศที่ ๑ ... ทิศที่ ๒ ... ทิศ
ที่ ๓ ... ทิศที่ ๔ ... ทิศเบื้องบน๓ ทิศเบื้องล่าง๔ ทิศเฉียง แผ่ไปตลอดโลกทั่ว
ทุกหมู่เหล่า ในที่ทุกสถาน ด้วยเมตตาจิตอันไพบูลย์ เป็นมหัคคตะ ไม่มีขอบเขต
ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนอยู่
มีกรุณาจิต ฯลฯ
มีมุทิตาจิต ฯลฯ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๗. จิตตสังยุต] ๗. โคทัตตสูตร

มีอุเบกขาจิต แผ่ไปตลอดทิศที่ ๑ ... ทิศที่ ๒ ... ทิศที่ ๓ ... ทิศที่ ๔ ...
ทิศเบื้องบน ทิศเบื้องล่าง ทิศเฉียง แผ่ไปตลอดโลกทั่วทุกหมู่เหล่า ในที่ทุกสถาน
ด้วยเมตตาจิตอันไพบูลย์ เป็นมหัคคตะ ไม่มีขอบเขต ไม่มีเวร ไม่มีความ
เบียดเบียนอยู่
นี้เรียกว่า อัปปมาณาเจโตวิมุตติ
อากิญจัญญาเจโตวิมุตติ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ล่วงวิญญาณัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุ
อากิญจัญญายตนฌานโดยกำหนดว่า ‘ไม่มีอะไร’ อยู่
นี้เรียกว่า อากิญจัญญาเจโตวิมุตติ
สุญญตาเจโตวิมุตติ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ไปสู่ป่าบ้าง ไปสู่โคนไม้บ้าง ไปสู่เรือนว่างบ้าง ย่อม
พิจารณาเห็นวิมุตติว่า ‘สิ่งนี้ว่างจากอัตตา หรือสิ่งที่เนื่องด้วยอัตตา’
นี้เรียกว่า สุญญตาเจโตวิมุตติ
อนิมิตตาเจโตวิมุตติ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้บรรลุอนิมิตตเจโตสมาธิเพราะไม่กำหนดนิมิตทั้งปวงอยู่
นี้เรียกว่า อนิมิตตาเจโตวิมุตติ
ท่านผู้เจริญ เพราะอาศัยเหตุใด ธรรมเหล่านี้จึงมีอรรถต่างกันและมี
พยัญชนะต่างกัน เหตุนั้นเป็นอย่างนี้แล
ท่านผู้เจริญ เพราะอาศัยเหตุใด ธรรมเหล่านี้จึงมีอรรถอย่างเดียวกัน ต่างกัน
แต่พยัญชนะเท่านั้น
คือ ราคะชื่อว่ากิเลสเป็นเครื่องวัด โทสะชื่อว่ากิเลสเป็นเครื่องวัด โมหะชื่อว่า
กิเลสเป็นเครื่องวัด กิเลสเหล่านั้นภิกษุขีณาสพละได้แล้ว ตัดรากถอนโคนเหมือน
ต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้
อัปปมาณาเจโตวิมุตติมีประมาณเท่าไร เจโตวิมุตติอันไม่กำเริบบัณฑิตกล่าว
ว่า เลิศกว่าอัปปมาณาเจโตวิมุตติเหล่านั้น เจโตวิมุตติอันไม่กำเริบนั้นว่างจากราคะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๓๘๖ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๗. จิตตสังยุต] ๘. นิคัณฐนาฏปุตตสูตร

ว่างจากโทสะ ว่างจากโมหะ ราคะชื่อว่ากิเลสเป็นเครื่องกังวล โทสะชื่อว่ากิเลส
เป็นเครื่องกังวล โมหะชื่อว่ากิเลสเป็นเครื่องกังวล กิเลสเหล่านั้นภิกษุขีณาสพละได้
แล้ว ตัดรากถอนโคนเหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่
ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้
อากิญจัญญาเจโตวิมุตติมีประมาณเท่าไร เจโตวิมุตติอันไม่กำเริบบัณฑิตกล่าว
ว่า เลิศกว่าอากิญจัญญาเจโตวิมุตติเหล่านั้น เจโตวิมุตติอันไม่กำเริบนั้นว่างจาก
ราคะ ว่างจากโทสะ ว่างจากโมหะ ราคะชื่อว่ากิเลสเป็นเครื่องกระทำนิมิต โทสะ
ชื่อว่ากิเลสเป็นเครื่องกระทำนิมิต โมหะชื่อว่ากิเลสเป็นเครื่องกระทำนิมิต กิเลส
เหล่านั้นภิกษุขีณาสพละได้แล้ว ตัดรากถอนโคนเหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอน
โคนไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้
อนิมิตตาเจโตวิมุตติมีประมาณเท่าไร เจโตวิมุตติอันไม่กำเริบบัณฑิตกล่าวว่า
เลิศกว่าอนิมิตตาเจโตวิมุตติเหล่านั้น เจโตวิมุตติอันไม่กำเริบนั้นว่างจากราคะ ว่าง
จากโทสะ ว่างจากโมหะ ฯลฯ ท่านผู้เจริญ เพราะอาศัยเหตุใด ธรรมเหล่านี้จึง
มีอรรถอย่างเดียวกัน ต่างกันแต่พยัญชนะ เหตุนั้นเป็นอย่างนี้แล”
ท่านพระโคทัตตะกล่าวว่า “คหบดี เป็นลาภของท่าน ท่านได้ดีแล้วที่
ปัญญาจักษุของท่านหยั่งลงในพระพุทธพจน์ที่ลึกซึ้ง”

โคทัตตสูตรที่ ๗ จบ

๘. นิคัณฐนาฏปุตตสูตร
ว่าด้วยนิครนถ์ นาฏบุตร

[๓๕๐] สมัยนั้น นิครนถ์ นาฏบุตรไปถึงเมืองมัจฉิกาสัณฑ์ พร้อมด้วย
นิครนถบริษัทจำนวนมาก จิตตคหบดีได้ยินข่าวว่า “นิครนถ์ นาฏบุตรมาถึงเมือง
มัจฉิกาสัณฑ์ พร้อมด้วยนิครนถบริษัทหลายคน”
ครั้งนั้น จิตตคหบดีพร้อมด้วยอุบาสกหลายคนเข้าไปหานิครนถ์ นาฏบุตร
ถึงที่อยู่ แล้วได้สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้ว นั่ง ณ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๓๘๗ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๗. จิตตสังยุต] ๙. อเจลกัสสปสูตร

ที่สมควร นิครนถ์ นาฏบุตรได้ถามจิตตคหบดีดังนี้ว่า “คหบดี ท่านเชื่อหรือว่า
พระสมณโคดมมีสมาธิที่ไม่มีวิตกวิจาร มีความดับวิตกวิจาร”
จิตตคหบดีตอบว่า “ท่านผู้เจริญ ผมไม่เชื่อพระผู้มีพระภาคในข้อนี้ว่า ‘มี
สมาธิที่ไม่มีวิตกวิจาร มีความดับวิตกวิจาร”
เมื่อจิตตคหบดีกล่าวอย่างนี้แล้ว นิครนถ์ นาฏบุตรแลดูบริษัทของตนแล้วได้
กล่าวว่า “ขอท่านผู้เจริญทั้งหลายจงพิจารณาเรื่องนี้ตราบที่จิตตคหบดีนี้ยังเป็นคน
ตรง ไม่โอ้อวด ไม่มีมารยา เขาเข้าใจวิตกวิจารว่าดับได้ ก็เข้าใจว่าใช้ข่ายปิดกั้น
ลมได้ หรือเขาเข้าใจวิตกวิจารว่าดับได้ ก็เข้าใจกระแสแม่น้ำคงคาว่าใช้กำมือของ
ตนปิดกั้นได้”
จิตตคหบดีกล่าวว่า “ท่านผู้เจริญ ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร ญาณ
หรือศรัทธา อย่างไหนประณีตกว่ากัน”
“คหบดี ญาณนั่นแลประณีตกว่าศรัทธา”
“ท่านผู้เจริญ ผมสงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน
ที่มีวิตก วิจาร ปีติ และสุขอันเกิดจากวิเวกอยู่ตราบเท่าที่ต้องการ เพราะวิตก
วิจารสงบระงับไป ฯลฯ ผมบรรลุทุติยฌานตราบเท่าที่ต้องการ เพราะปีติจาง
คลายไป ฯลฯ ผมบรรลุตติยฌานตราบเท่าที่ต้องการ เพราะละสุขได้ ฯลฯ ผม
บรรลุจตุตถฌานตราบเท่าที่ต้องการ
ท่านผู้เจริญ เมื่อรู้เห็นอย่างนี้ ผมจักไม่เชื่อใครอื่นไม่ว่าสมณะหรือพราหมณ์ว่า
‘มีสมาธิที่ไม่มีวิตกไม่มีวิจาร มีความดับวิตกวิจาร”
เมื่อจิตตคหบดีกล่าวอย่างนี้แล้ว นิครนถ์ นาฏบุตรแลดูบริษัทของตนแล้ว
ได้กล่าวดังนี้ว่า “ขอท่านผู้เจริญทั้งหลายจงพิจารณาความข้อนี้ตราบที่จิตตคหบดีนี้
เป็นคนไม่ตรง โอ้อวด มีมารยา”
จิตตคหบดีกล่าวว่า “ท่านผู้เจริญ ผมทราบคำที่ท่านกล่าวเดี๋ยวนี้เองว่า
‘ขอท่านผู้เจริญทั้งหลายจงพิจารณาเรื่องนี้ตราบที่จิตตคหบดีนี้ยังเป็นคนตรง ไม่โอ้อวด
ไม่มีมารยา และผมก็ทราบคำที่ท่านกล่าวเดี๋ยวนี้เองว่า ‘ขอท่านผู้เจริญทั้งหลาย
จงพิจารณาเรื่องนี้ตราบที่จิตตคหบดีนี้เป็นคนไม่ตรง โอ้อวด มีมารยา’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๓๘๘ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๗. จิตตสังยุต] ๙. อเจลกัสสปสูตร

ท่านผู้เจริญ ถ้าคำพูดครั้งแรกของท่านถูก คำพูดครั้งหลังของท่านก็ผิด แต่
ถ้าคำพูดครั้งหลังของท่านถูก คำพูดครั้งแรกของท่านก็ผิด ปัญหาที่ประกอบด้วย
เหตุ ๑๐ ข้อนี้มาถึงท่าน เมื่อท่านทราบเนื้อความของปัญหาเหล่านั้น ก็พึงบอก
ผมกับนิครนถบริษัท
ปัญหา ๑๐ ข้อ นี้คือ

๑. ปัญหา ๑ อุทเทส ๑ เวยยากรณ์ ๑
๒. ปัญหา ๒ อุทเทส ๒ เวยยากรณ์ ๒
๓. ปัญหา ๓ อุทเทส ๓ เวยยากรณ์ ๓
๔. ปัญหา ๔ อุทเทส ๔ เวยยากรณ์ ๔
๕. ปัญหา ๕ อุทเทส ๕ เวยยากรณ์ ๕
๖. ปัญหา ๖ อุทเทส ๖ เวยยากรณ์ ๖
๗. ปัญหา ๗ อุทเทส ๗ เวยยากรณ์ ๗
๘. ปัญหา ๘ อุทเทส ๘ เวยยากรณ์ ๘
๙. ปัญหา ๙ อุทเทส ๙ เวยยากรณ์ ๙
๑๐. ปัญหา ๑๐ อุทเทส ๑๐ เวยยากรณ์ ๑๐”

ครั้นจิตตคหบดีถามปัญหาที่ประกอบด้วยเหตุ ๑๐ ข้อนี้กับนิครนถ์ นาฏบุตร
แล้วก็ลุกขึ้นจากอาสนะแล้วจากไป

นิคัณฐนาฏปุตตสูตรที่ ๘ จบ

๙. อเจลกัสสปสูตร
ว่าด้วยอเจลกัสสปะ

[๓๕๑] สมัยนั้น อเจลกัสสปะผู้เคยเป็นสหายเก่าเมื่อครั้งเป็นคฤหัสถ์ของ
จิตตคหบดีไปถึงเมืองมัจฉิกาสัณฑ์ จิตตคหบดีได้ยินข่าวว่า “อเจลกัสสปะผู้เคย
เป็นสหายเก่าเมื่อครั้งเป็นคฤหัสถ์ของเรา ได้มาถึงเมืองมัจฉิกาสัณฑ์” จึงเข้าไปหา
อเจลกัสสปะถึงที่อยู่ ได้สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกัน
แล้ว นั่ง ณ ที่สมควร ได้ถามดังนี้ว่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๓๘๙ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๗. จิตตสังยุต] ๑๐. คิลานทัสสนสูตร

“กัสสปะผู้เจริญ ท่านบวชนานเท่าไร”
อเจลกัสสปะตอบว่า “ท่านคหบดี เราบวชได้ประมาณ ๓๐ ปีแล้ว”
“ผู้เจริญ ตลอดเวลาประมาณ ๓๐ ปีนี้ญาณทัสสนะที่ประเสริฐอันสามารถ๑ อัน
วิเศษยิ่งกว่าธรรมของมนุษย์๒ เป็นธรรมเครื่องอยู่ผาสุกที่ท่านบรรลุแล้วมีอยู่หรือ”
“คหบดี ตลอดเวลาประมาณ ๓๐ ปีนี้ญาณทัสสนะที่ประเสริฐอันสามารถ
อันวิเศษยิ่งกว่าธรรมของมนุษย์ เป็นธรรมเครื่องอยู่ผาสุกที่เราบรรลุแล้วย่อมไม่มี
นอกจากความเป็นคนเปลือย ความเป็นคนโล้น และการสลัดฝุ่นธุลีด้วยขนหาง
นกยูง”
เมื่ออเจลกัสสปะกล่าวอย่างนี้แล้ว จิตตคหบดีได้กล่าวว่า “ท่านผู้เจริญ น่า
อัศจรรย์จริง ไม่เคยปรากฏ ที่ธรรมอันพระผู้มีพระภาคตรัสไว้ดีแล้ว เพราะในการ
บวชตลอดเวลาประมาณ ๓๐ ปี ญาณทัสสนะที่ประเสริฐอันสามารถอันวิเศษยิ่งกว่า
ธรรมของมนุษย์ เป็นธรรมเครื่องอยู่ผาสุก ที่ท่านบรรลุแล้วจักไม่มี นอกจาก
ความเป็นคนเปลือย ความเป็นคนโล้น และการสลัดฝุ่นธุลีด้วยขนหางนกยูง”
“คหบดี ท่านเข้าถึงความเป็นอุบาสกนานเท่าไรแล้ว”
“ท่านผู้เจริญ ผมเข้าถึงความเป็นอุบาสกได้ประมาณ ๓๐ ปีแล้ว”
“คหบดี ตลอดเวลาประมาณ ๓๐ ปีนี้ญาณทัสสนะที่ประเสริฐอันสามารถอัน
วิเศษยิ่งกว่าธรรมของมนุษย์ เป็นธรรมเครื่องอยู่ผาสุกที่ท่านบรรลุแล้วมีอยู่หรือ”
“ท่านผู้เจริญ แม้แต่คฤหัสถ์ก็พึงมีธรรมเช่นนั้นได้ เพราะผมสงัดจากกามและ
อกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌานที่มีวิตก วิจาร ปีติ และสุขอันเกิดจากวิเวก
อยู่ตราบเท่าที่ต้องการ เพราะวิตกวิจารสงบระงับไป ผมบรรลุทุติยฌานตราบเท่า
ที่ต้องการ เพราะปีติจางคลายไป ฯลฯ ผมบรรลุตติยฌานตราบเท่าที่ต้องการ
เพราะละสุขได้ ฯลฯ ผมบรรลุจตุตถฌานตราบเท่าที่ต้องการ ถ้าผมพึงพยากรณ์
ก่อนพระผู้มีพระภาค ไม่น่าอัศจรรย์เลย ที่พระผู้มีพระภาคทรงพยากรณ์ผมว่า
‘จิตตคหบดีประกอบด้วยสังโยชน์ใดพึงกลับมายังโลกนี้อีก สังโยชน์นั้นไม่มี ๋


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๗. จิตตสังยุต] ๑๐. คิลานทัสสนสูตร

เมื่อจิตตคหบดีกล่าวอย่างนี้แล้ว อเจลกัสสปะได้กล่าวกับจิตตคหบดีดังนี้ว่า
“ท่านผู้เจริญ น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคยปรากฏ ที่ธรรมอันพระผู้มีพระภาคตรัสไว้ดีแล้ว
เพราะในการเข้าถึงความเป็นอุบาสก คฤหัสถ์ผู้นุ่งขาวห่มขาวจักบรรลุญาณทัสสนะ
ที่ประเสริฐอันสามารถอันวิเศษยิ่งกว่าธรรมของมนุษย์ เป็นธรรมเครื่องอยู่ผาสุกได้
คหบดี เราพึงได้บรรพชาอุปสมบทในพระธรรมวินัยนี้”
ต่อมา จิตตคหบดีได้พาอเจลกัสสปะเข้าไปหาภิกษุผู้เป็นเถระทั้งหลายถึงที่
อยู่แล้ว ได้เรียนถามภิกษุผู้เป็นเถระทั้งหลายดังนี้ว่า “ท่านผู้เจริญทั้งหลาย
อเจลกัสสปะนี้เคยเป็นสหายเก่าเมื่อครั้งเป็นคฤหัสถ์ของกระผม ขอพระเถระ
ทั้งหลายโปรดบรรพชาอุปสมบทให้อเจลกัสสปะนี้เถิด กระผมจักบำรุงเธอด้วยจีวร
บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร”
อเจลกัสสปะได้บรรพชาอุปสมบทในพระธรรมวินัยนี้แล้ว และท่านพระกัสสปะ
บวชแล้วไม่นาน ก็หลีกออกไปอยู่คนเดียว ไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศกาย
และใจอยู่ ไม่นานนักได้ทำให้แจ้งซึ่งประโยชน์ยอดเยี่ยมอันเป็นที่สุดแห่งพรหมจรรย์
ที่เหล่ากุลบุตรออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบต้องการด้วยปัญญาอันยิ่งเอง
เข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน รู้ชัดว่า “ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำ
เสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป”
อนึ่ง ท่านพระกัสสปะได้เป็นพระอรหันต์องค์หนึ่งในบรรดาพระอรหันต์ทั้งหลาย

อเจลกัสสปสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. คิลานทัสสนสูตร
ว่าด้วยการเยี่ยมผู้ป่วย

[๓๕๒] สมัยนั้น จิตตคหบดีเจ็บป่วยได้รับทุกข์ เป็นไข้หนัก ครั้งนั้น
เทวดาผู้สิงสถิตอยู่ในอาราม เทวดาผู้สิงสถิตอยู่ในป่า เทวดาผู้สิงสถิตอยู่ที่ต้นไม้
เทวดาผู้สิงสถิตอยู่ที่ต้นหญ้าเป็นโอสถและที่ต้นไม้เจ้าป่าจำนวนมากมาประชุมพร้อม
กันแล้ว ได้กล่าวกับจิตตคหบดีดังนี้ว่า
“คหบดี ท่านจงตั้งความปรารถนาว่า ‘ขอเราพึงเป็นพระเจ้าจักรพรรดิใน
อนาคตกาลเถิด”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๓๙๑ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๗. จิตตสังยุต] ๑๐. คิลานทัสสนสูตร

เมื่อพวกเทวดากล่าวอย่างนี้แล้ว จิตตคหบดีจึงกล่าวกับเทวดาเหล่านั้นดังนี้ว่า
“แม้ความปรารถนาเป็นพระเจ้าจักรพรรดินั้นก็ไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืน บุคคลจำต้องละไป”
เมื่อจิตตคหบดีกล่าวอย่างนี้แล้ว พวกมิตร อำมาตย์ ญาติ สาโลหิตของ
จิตตคหบดีได้กล่าวดังนี้ว่า “ข้าแต่บุตรนาย ท่านจงตั้งสติไว้ อย่าเพ้อไป”
“ข้าพเจ้าพูดอะไรไป ที่ทำให้พวกท่านเตือนข้าพเจ้าว่า ‘ข้าแต่บุตรนาย ท่าน
จงตั้งสติไว้ อย่าเพ้อไป”
“ข้าแต่บุตรนาย ท่านพูดว่า ‘แม้ความปรารถนาเป็นพระเจ้าจักรพรรดินั้นก็
ไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืน บุคคลจำต้องละไป”
“ก็จริงอย่างนั้น พวกเทวดาผู้สิงสถิตอยู่ในอาราม เทวดาผู้สิงสถิตอยู่ในป่า
เทวดาผู้สิงสถิตอยู่ที่ต้นไม้ เทวดาผู้สิงสถิตอยู่ที่ต้นหญ้าเป็นโอสถและที่ต้นไม้เจ้าป่า
กล่าวกับข้าพเจ้าว่า ‘คหบดี ท่านจงตั้งความปรารถนาว่า ‘ขอเราพึงเป็นพระเจ้า
จักรพรรดิในอนาคตกาลเถิด’ ข้าพเจ้าได้กล่าวกับเทวดาเหล่านั้นว่า ‘แม้ความ
ปรารถนาเป็นพระเจ้าจักรพรรดินั้นก็ไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืน บุคคลจำต้องละไป”
“ข้าแต่บุตรนาย เทวดาเหล่านั้นเห็นอำนาจประโยชน์อะไรจึงกล่าวว่า ‘คหบดี
ท่านจงตั้งความปรารถนาว่า ‘ขอเราพึงเป็นพระเจ้าจักรพรรดิในอนาคตกาลเถิด”
“เทวดาเหล่านั้นคิดว่า ‘จิตตคหบดีนี้มีศีล มีธรรมอันงาม ถ้าเธอจักตั้งความ
ปรารถนาว่า ‘ขอเราพึงเป็นพระเจ้าจักรพรรดิในอนาคตกาล’ การตั้งความปรารถนา
ในใจของเธอผู้มีศีลนี้จักสำเร็จได้เพราะศีลบริสุทธิ์ บุคคลผู้ตั้งอยู่ในธรรมจักตาม
เพิ่มให้กำลัง(แก่)ผู้ประพฤติธรรม เทวดาเหล่านี้เมื่อเห็นอำนาจประโยชน์จึงกล่าวว่า
‘คหบดี ท่านจงตั้งความปรารถนาว่า ‘ขอเราพึงเป็นพระเจ้าจักรพรรดิในอนาคต-
กาลเถิด’ ข้าพเจ้าได้กล่าวกับเทวดาเหล่านั้นว่า ‘แม้ความปรารถนาเป็นพระเจ้า
จักรพรรดินั้นก็ไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืน บุคคลจำต้องละไป”
“ข้าแต่บุตรนาย ถ้าเช่นนั้น ขอท่านจงกล่าวสอนพวกข้าพเจ้าบ้าง”
“เพราะฉะนั้นแล พวกท่านพึงศึกษาอย่างนี้ว่า
‘พวกเราจักถึงพร้อมด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้าว่า ‘แม้
เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นเป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้ด้วยพระองค์เอง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๓๙๒ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๗. จิตตสังยุต] รวมพระสูตรที่มีในสังยุต

โดยชอบ เพียบพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดี รู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกผู้ที่
ควรฝึกได้อย่างยอดเยี่ยม เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า
เป็นพระผู้มีพระภาค’
จักถึงพร้อมด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรมว่า ‘พระธรรมอัน
พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ดีแล้ว ผู้ปฏิบัติจะพึงเห็นชัดด้วยตนเอง ไม่ประกอบด้วยกาล
ควรเรียกให้มาดู ควรน้อมเข้ามาในตน อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน’
จักถึงพร้อมด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์ว่า ‘พระสงฆ์สาวกของ
พระผู้มีพระภาคเป็นผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติตรง ปฏิบัติถูกทาง ปฏิบัติสมควร ได้แก่
อริยบุคคล ๔ คู่ คือ ๘ บุคคล พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคนี้เป็นผู้ควรแก่
ของที่เขานำมาถวาย ควรแก่ของต้อนรับ ควรแก่ทักษิณา ควรแก่การทำอัญชลี
เป็นนาบุญอันยอดเยี่ยมของโลก’
อนึ่ง ไทยธรรมทุกอย่างในตระกูล จักเป็นของไม่แบ่งแยกกับท่านผู้มีศีล๑ มี
ธรรมอันงาม พวกท่านพึงศึกษาอย่างนี้”
จิตตคหบดีครั้นชักชวนมิตร อำมาตย์ ญาติ สาโลหิตให้เลื่อมใสในพระพุทธเจ้า
พระธรรม พระสงฆ์ และในการบริจาคทานแล้วก็ตาย

คิลานทัสสนสูตรที่ ๑๐ จบ

รวมพระสูตรที่มีในสังยุตนี้ คือ

๑. สัญโญชนสูตร ๒. ปฐมอิสิทัตตสูตร
๓. ทุติยอิสิทัตตสูตร ๔. มหกปาฏิหาริยสูตร
๕. ปฐมกามภูสูตร ๖. ทุติยกามภูสูตร
๗. โคทัตตสูตร ๘. นิคัณฐนาฏปุตตสูตร
๙. อเจลกัสสปสูตร ๑๐. คิลานทัสสนสูตร

จิตตสังยุต จบบริบูรณ์


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๘. คามณิสังยุต] ๑. จัณฑสูตร

๘. คามณิสังยุต
๑. จัณฑสูตร
ว่าด้วยผู้ใหญ่บ้านชื่อจัณฑะ

[๓๕๓] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ครั้งนั้น ผู้ใหญ่บ้านชื่อจัณฑะ (ดุร้าย) เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
ถวายอภิวาทแล้ว นั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่
พระองค์ผู้เจริญ อะไรหนอเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้คนบางคนในโลกนี้ถึงความนับว่า
‘เป็นคนดุร้าย เป็นคนดุร้าย’ อนึ่ง อะไรเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้คนบางคนในโลกนี้
ถึงความนับว่า ‘เป็นคนสงบเสงี่ยม เป็นคนสงบเสงี่ยม”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ผู้ใหญ่บ้าน คนบางคนในโลกนี้ยังละราคะไม่ได้
เพราะละราคะไม่ได้ คนอื่นจึงยั่วให้โกรธได้ เมื่อคนอื่นยั่วให้โกรธ ย่อมแสดงความ
โกรธให้ปรากฏ เขาจึงถึงความนับว่า ‘เป็นคนดุร้าย’
ละโทสะไม่ได้ เพราะละโทสะไม่ได้ คนอื่นจึงยั่วให้โกรธได้ เมื่อคนอื่นยั่วให้โกรธ
ย่อมแสดงความโกรธให้ปรากฏ เขาจึงถึงความนับว่า ‘เป็นคนดุร้าย’
ละโมหะไม่ได้ เพราะละโมหะไม่ได้ คนอื่นจึงยั่วให้โกรธได้ เมื่อคนอื่นยั่วให้โกรธ
ย่อมแสดงความโกรธให้ปรากฏ เขาจึงถึงความนับว่า ‘เป็นคนดุร้าย’
ผู้ใหญ่บ้าน นี้แลเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้คนบางคนในโลกนี้ถึงความนับว่า
‘เป็นคนดุร้าย เป็นคนดุร้าย’
ผู้ใหญ่บ้าน อนึ่ง คนบางคนในโลกนี้ละราคะได้แล้ว เพราะละราคะได้ คนอื่น
จึงยั่วให้โกรธไม่ได้ เมื่อคนอื่นยั่วให้โกรธ ย่อมไม่แสดงความโกรธให้ปรากฏ เขา
จึงถึงความนับว่า ‘เป็นคนสงบเสงี่ยม’
ละโทสะได้แล้ว เพราะละโทสะได้ คนอื่นจึงยั่วให้โกรธไม่ได้ เมื่อคนอื่นยั่วให้
โกรธ ย่อมไม่แสดงความโกรธให้ปรากฏ เขาจึงถึงความนับว่า ‘เป็นคนสงบเสงี่ยม’
ละโมหะได้แล้ว เพราะละโมหะได้ คนอื่นจึงยั่วให้โกรธไม่ได้ เมื่อคนอื่นยั่วให้
โกรธ ย่อมไม่แสดงความโกรธให้ปรากฏ เขาจึงถึงความนับว่า ‘เป็นคนสงบเสงี่ยม’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๓๙๔ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๘. คามณิสังยุต] ๒. ตาลปุตตสูตร

ผู้ใหญ่บ้าน นี้แลเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้คนบางคนในโลกนี้ถึงความนับว่า ‘เป็น
คนสงบเสงี่ยม เป็นคนสงบเสงี่ยม”
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ผู้ใหญ่บ้านชื่อจัณฑะได้กราบทูลว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระภาษิตของพระองค์ชัดเจนไพเราะยิ่งนัก ข้าแต่
พระองค์ผู้เจริญ พระภาษิตของพระองค์ชัดเจนไพเราะยิ่งนัก พระองค์ทรงประกาศ
ธรรมแจ่มแจ้งโดยประการต่าง ๆ เปรียบเหมือนบุคคลหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด
บอกทางแก่ผู้หลงทาง หรือตามประทีปในที่มืดด้วยตั้งใจว่า ‘คนมีตาดีจักเห็นรูปได้’
ข้าพระองค์นี้ขอถึงพระผู้มีพระภาค พร้อมทั้งพระธรรมและพระสงฆ์เป็นสรณะ
ขอพระผู้มีพระภาคจงทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะ ตั้งแต่วันนี้เป็นต้น
ไปจนตลอดชีวิต”

จัณฑสูตรที่ ๑ จบ

๒. ตาลปุตตสูตร
ว่าด้วยผู้ใหญ่บ้านชื่อตาลบุตร

[๓๕๔] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเวฬุวัน สถานที่ให้
เหยื่อกระแต เขตกรุงราชคฤห์ ครั้งนั้น ผู้ใหญ่บ้านนักฟ้อนรำชื่อตาลบุตรเข้าไป
เฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถาม
พระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ได้ยินคำของพวกนัก
ฟ้อนรำ ผู้เคยเป็นอาจารย์และปาจารย์ก่อน ๆ กล่าวว่า ‘นักฟ้อนรำคนใดทำให้
ประชาชนหัวเราะรื่นเริงด้วยคำจริงบ้าง เท็จบ้าง กลางโรงละคร กลางงานมหรสพ
นักฟ้อนรำคนนั้นหลังจากตายแล้วจะเข้าถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับเหล่าเทวดาชื่อปหาสะ’
ในข้อนี้พระผู้มีพระภาคตรัสอย่างไร”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “อย่าเลย ผู้ใหญ่บ้าน จงพักปัญหาข้อนี้ไว้
อย่าถามเราเลย”
แม้ครั้งที่ ๒ ผู้ใหญ่บ้านนักฟ้อนรำชื่อตาลบุตรได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้
ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ได้ยินคำของพวกนักฟ้อนรำผู้เคยเป็น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๓๙๕ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๘. คามณิสังยุต] ๒. ตาลปุตตสูตร

อาจารย์และปาจารย์ก่อน ๆ กล่าวว่า ‘นักฟ้อนรำคนใดทำให้ประชาชนหัวเราะรื่นเริง
ด้วยคำจริงบ้าง เท็จบ้าง กลางโรงละคร กลางงานมหรสพ นักฟ้อนรำคนนั้น
หลังจากตายแล้วจะเข้าถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับเหล่าเทวดาชื่อปหาสะ’ ในข้อนี้พระ
ผู้มีพระภาคตรัสอย่างไร”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “อย่าเลย ผู้ใหญ่บ้าน จงพักปัญหาข้อนี้ไว้
อย่าถามเราเลย”
แม้ครั้งที่ ๓ ผู้ใหญ่บ้านนักฟ้อนรำชื่อตาลบุตรได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้
ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ได้ยินคำของพวกนักฟ้อนรำผู้เคยเป็น
อาจารย์และปาจารย์ก่อน ๆ กล่าวว่า ‘นักฟ้อนรำคนใดทำให้ประชาชนหัวเราะรื่นเริง
ด้วยคำจริงบ้าง เท็จบ้าง กลางโรงละคร กลางงานมหรสพ นักฟ้อนรำคนนั้น
หลังจากตายแล้วจะเข้าถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับเหล่าเทวดาชื่อปหาสะ’ ในข้อนี้พระ
ผู้มีพระภาคตรัสอย่างไร”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ผู้ใหญ่บ้าน เราได้ห้ามท่านแล้วว่า ‘อย่าเลย
จงพักปัญหาข้อนี้ไว้ อย่าถามเราเลย’ แต่เอาเถิด เราจักตอบแก่ท่าน เมื่อก่อน
สัตว์ทั้งหลายไม่ปราศจากราคะ ถูกเครื่องผูกคือราคะผูกไว้ นักฟ้อนรำย่อมรวบรวม
ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัดเข้าไปกลางโรงละคร กลางงานมหรสพแก่สัตว์เหล่า
นั้นโดยประมาณยิ่ง
เมื่อก่อนสัตว์ทั้งหลายไม่ปราศจากโทสะ ถูกเครื่องผูกคือโทสะผูกไว้ นักฟ้อนรำ
ย่อมรวบรวมธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความโกรธเข้าไป กลางโรงละคร กลางงานมหรสพ
แก่สัตว์เหล่านั้นโดยประมาณยิ่ง
เมื่อก่อนสัตว์ทั้งหลายไม่ปราศจากโมหะ ถูกเครื่องผูกคือโมหะผูกไว้ นักฟ้อน
รำย่อมรวบรวมธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความหลงเข้าไปกลางโรงละคร กลางงานมหรสพ
แก่สัตว์เหล่านั้นโดยประมาณยิ่ง
นักฟ้อนรำนั้นตนเองก็มัวเมาประมาททั้งทำให้ผู้อื่นมัวเมาประมาทด้วย หลัง
จากตายแล้วจะไปเกิดในนรกชื่อปหาสะ แต่ถ้าเขามีความเห็นว่า ‘นักฟ้อนรำคนใด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๓๙๖ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๘. คามณิสังยุต] ๒. ตาลปุตตสูตร

ทำให้ประชาชนหัวเราะรื่นเริงด้วยคำจริงบ้าง เท็จบ้าง กลางโรงละคร กลางงาน
มหรสพ นักฟ้อนรำคนนั้นหลังจากตายแล้วจะเข้าถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับเหล่า
เทวดาชื่อปหาสะ ความเห็นของเขาเป็นมิจฉาทิฏฐิ (ความเห็นผิด) และผู้เป็นมิจฉา-
ทิฏฐิ เรากล่าวว่ามีคติอย่าง ๑ ใน ๒ อย่าง คือ นรกหรือกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน”
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ผู้ใหญ่บ้านนักฟ้อนรำชื่อตาลบุตรได้
ร้องไห้ น้ำตาไหลพราก พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ผู้ใหญ่บ้าน เราได้ห้ามท่าน
แล้วว่า ‘อย่าเลย จงพักปัญหาข้อนี้ไว้ อย่าถามเราเลย”
ผู้ใหญ่บ้านนักฟ้อนรำกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์มิได้
ร้องไห้เพราะพระองค์ตรัสอย่างนั้นกับข้าพระองค์ แต่ข้าพระองค์ถูกพวกนักฟ้อนรำผู้
เป็นอาจารย์และปาจารย์ก่อน ๆ หลอกลวงให้หลงมานานว่า ‘นักฟ้อนรำคนใด
ทำให้ประชาชนหัวเราะรื่นเริงด้วยคำจริงบ้าง เท็จบ้าง กลางโรงละคร กลางงาน
มหรสพ นักฟ้อนรำคนนั้นหลังจากตายแล้วจะเข้าถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับเหล่า
เทวดาชื่อปหาสะ
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระภาษิตของพระองค์ชัดเจนไพเราะยิ่งนัก ข้าแต่พระ
องค์ผู้เจริญ พระภาษิตของพระองค์ชัดเจนไพเราะยิ่งนัก พระองค์ทรงประกาศ
ธรรมแจ่มแจ้งโดยประการต่าง ๆ เปรียบเหมือนบุคคลหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด
บอกทางแก่ผู้หลงทาง หรือตามประทีปในที่มืดด้วยตั้งใจว่า ‘คนมีตาดีจักเห็นรูปได้’
ข้าพระองค์นี้ขอถึงพระผู้มีพระภาค พร้อมทั้งพระธรรมและพระสงฆ์เป็นสรณะ
ข้าพระองค์พึงได้บรรพชาอุปสมบทในสำนักของพระผู้มีพระภาค”
ผู้ใหญ่บ้านนักฟ้อนรำชื่อตาลบุตรได้บรรพชาอุปสมบทในสำนักของพระผู้มี-
พระภาค และท่านพระตาลบุตรอุปสมบทได้ไม่นาน ก็หลีกออกไปอยู่คนเดียว
ไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่ ฯลฯ อนึ่ง ท่านพระตาลบุตรได้
เป็นพระอรหันต์องค์หนึ่งในบรรดาพระอรหันต์ทั้งหลาย

ตาลปุตตสูตรที่ ๒ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๘. คามณิสังยุต] ๓. โยธาชีวสูตร

๓. โยธาชีวสูตร
ว่าด้วยผู้ใหญ่บ้านชื่อโยธาชีวะ

[๓๕๕] ครั้งนั้น ผู้ใหญ่บ้านชื่อโยธาชีวะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
ฯลฯ ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ได้ยิน
คำของพวกนักรบอาชีพผู้เคยเป็นอาจารย์และปาจารย์ก่อน ๆ กล่าวว่า ‘นักรบ
อาชีพคนใดอุตส่าห์พยายามในการสงคราม นักรบพวกอื่นสังหารนักรบอาชีพผู้
อุตส่าห์พยายามนั้นให้ถึงความตาย เขาหลังจากตายแล้วจะเข้าถึงความเป็นผู้อยู่
ร่วมกับเหล่าเทวดาชื่อสรชิต’ ในข้อนี้พระผู้มีพระภาคตรัสอย่างไร”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “อย่าเลย ผู้ใหญ่บ้าน จงพักปัญหาข้อนี้ไว้
อย่าถามเราเลย”
แม้ครั้งที่ ๒ ฯลฯ
แม้ครั้งที่ ๓ ผู้ใหญ่บ้านชื่อโยธาชีวะได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่
พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ได้ยินคำของพวกนักรบอาชีพผู้เป็นอาจารย์และปาจารย์
ก่อน ๆ กล่าวว่า ‘นักรบอาชีพคนใดอุตส่าห์พยายามในการสงคราม นักรบพวกอื่น
สังหารนักรบอาชีพผู้อุตส่าห์พยายามนั้นให้ถึงความตาย เขาหลังจากตายแล้วจะเข้า
ถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับเหล่าเทวดาชื่อสรชิต’ ในข้อนี้พระผู้มีพระภาคตรัสอย่างไร”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ผู้ใหญ่บ้าน เราได้ห้ามท่านแล้วว่า ‘อย่าเลย
จงพักปัญหาข้อนี้ไว้ อย่าถามเราเลย’ แต่เอาเถิด เราจักตอบแก่ท่าน นักรบอาชีพ
คนใดอุตส่าห์พยายามในการสงคราม จิตถูกเขายึด ทำไว้ผิด ตั้งไว้ไม่ดีในเบื้องต้นว่า
‘สัตว์เหล่านี้จงถูกฆ่า จงถูกแทง จงขาดสูญ จงพินาศ หรืออย่าได้มี’ นักรบพวก
อื่นสังหารนักรบอาชีพผู้อุตส่าห์พยายามนั้นให้ถึงความตาย เขาหลังจากตายแล้วจะ
ไปเกิดในนรกชื่อสรชิต ก็ถ้าเขามีความเห็นอย่างนี้ว่า ‘นักรบอาชีพคนใดอุตส่าห์
พยายามในการสงคราม นักรบพวกอื่นสังหารนักรบอาชีพผู้อุตส่าห์พยายามนั้นให้
ถึงความตาย เขาหลังจากตายแล้วจะเข้าถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับเหล่าเทวดาชื่อ
สรชิต’ ความเห็นของเขาเป็นมิจฉาทิฏฐิ และผู้เป็นมิจฉาทิฏฐิเรากล่าวว่ามีคติอย่าง
๑ ใน ๒ อย่าง คือ นรกหรือกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๓๙๘ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๘. คามณิสังยุต] ๕. อัสสาโรหสูตร

เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ผู้ใหญ่บ้านชื่อโยธาชีวะได้ร้องไห้ น้ำตา
ไหลพราก พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ผู้ใหญ่บ้าน เราได้ห้ามท่านแล้วว่า ‘อย่าเลย
ท่านจงพักปัญหาข้อนี้ไว้ อย่าถามเราเลย ๋
ผู้ใหญ่บ้านกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์มิได้ร้องไห้เพราะ
พระองค์ตรัสอย่างนั้นกับข้าพระองค์ แต่ข้าพระองค์ถูกพวกนักรบอาชีพผู้เป็น
อาจารย์และปาจารย์ก่อน ๆ หลอกลวงให้หลงมานานว่า ‘นักรบอาชีพคนใด
อุตส่าห์พยายามในการสงคราม นักรบพวกอื่นสังหารเขาผู้อุตส่าห์พยายามนั้นให้
ถึงความตาย เขาหลังจากตายแล้วจะเข้าถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับเหล่าเทวดาชื่อ
สรชิต ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระภาษิตของพระองค์ชัดเจนไพเราะยิ่งนัก ฯลฯ
ขอพระผู้มีพระภาคจงทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะ ตั้งแต่วันนี้เป็นต้น
ไปจนตลอดชีวิต”

โยธาชีวสูตรที่ ๓ จบ

๔. หัตถาโรหสูตร
ว่าด้วยผู้ใหญ่บ้านชื่อหัตถาโรหะ

[๓๕๖] ครั้งนั้น ผู้ใหญ่บ้านชื่อหัตถาโรหะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่
ประทับ ฯลฯ ขอพระผู้มีพระภาคจงทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะ
ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปจนตลอดชีวิต”

หัตถาโรหสูตรที่ ๔ จบ

๕. อัสสาโรหสูตร
ว่าด้วยผู้ใหญ่บ้านชื่ออัสสาโรหะ

[๓๕๗] ครั้งนั้น ผู้ใหญ่บ้านชื่ออัสสาโรหะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่
ประทับ นั่ง ณ ที่สมควร แล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์
ผู้เจริญ ข้าพระองค์ได้ยินคำของพวกนายทหารม้าผู้เคยเป็นอาจารย์และปาจารย์
ก่อน ๆ กล่าวว่า ‘ทหารม้าคนใดอุตส่าห์พยายามในการสงคราม ทหารม้าพวกอื่น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๓๙๙ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๘. คามณิสังยุต] ๕. อัสสาโรหสูตร

สังหารทหารม้าผู้อุตส่าห์พยายามนั้นให้ถึงความตาย เขาหลังจากตายแล้วจะเข้าถึง
ความเป็นผู้อยู่ร่วมกับเหล่าเทวดาชื่อสรชิต’ ในข้อนี้พระผู้มีพระภาคตรัสอย่างไร”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “อย่าเลย ผู้ใหญ่บ้าน จงพักปัญหาข้อนี้ไว้
อย่าถามเราเลย”
แม้ครั้งที่ ๒ ฯลฯ
แม้ครั้งที่ ๓ ผู้ใหญ่บ้านชื่ออัสสาโรหะได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่
พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ได้ยินคำของพวกนายทหารม้าผู้เคยเป็นอาจารย์และ
ปาจารย์ก่อน ๆ กล่าวว่า ‘ทหารม้าคนใดอุตส่าห์พยายามในการสงคราม ทหารม้า
พวกอื่นสังหารทหารม้าผู้อุตส่าห์พยายามนั้นให้ถึงความตาย เขาหลังจากตายแล้ว
จะเข้าถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับเหล่าเทวดาชื่อสรชิต’ ในข้อนี้พระผู้มีพระภาคตรัส
อย่างไร”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ผู้ใหญ่บ้าน เราได้ห้ามท่านแล้วว่า ‘อย่าเลย
ผู้ใหญ่บ้าน จงพักปัญหาข้อนี้ไว้ อย่าถามเราเลย’ แต่เอาเถิด เราจักตอบแก่ท่าน
ทหารม้าคนใดอุตส่าห์พยายามในการสงคราม จิตถูกเขายึด ทำไว้ผิด ตั้งไว้ไม่ดีใน
เบื้องต้นว่า ‘ขอสัตว์เหล่านี้จงถูกฆ่า จงถูกแทง จงขาดสูญ จงพินาศ หรืออย่าได้มี’
ทหารม้าพวกอื่นสังหารทหารม้าผู้อุตส่าห์พยายามนั้นให้ถึงความตาย เขาหลังจาก
ตายแล้วจะไปเกิดในนรกชื่อว่าสรชิต แต่ถ้าเขามีความเห็นนี้ว่า ‘ทหารม้าคนใด
อุตส่าห์พยายามในการสงคราม ทหารม้าพวกอื่นสังหารทหารม้าผู้อุตส่าห์พยายาม
นั้นให้ถึงความตาย เขาหลังจากตายแล้วจะเข้าถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับเหล่าเทวดา
ชื่อสรชิต’ ความเห็นของเขาเป็นมิจฉาทิฏฐิ และผู้เป็นมิจฉาทิฏฐิเรากล่าวว่ามีคติ
เป็นอย่าง ๑ ใน ๒ อย่าง คือ นรกหรือกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน”
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ผู้ใหญ่บ้านชื่ออัสสาโรหะได้ร้องไห้ น้ำตา
ไหลพราก พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ผู้ใหญ่บ้าน เราได้ห้ามท่านแล้วว่า ‘อย่าเลย
ผู้ใหญ่บ้าน ท่านจงพักปัญหาข้อนี้ไว้ อย่าถามเราเลย”
ผู้ใหญ่บ้านชื่ออัสสาโรหะได้กราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์
มิได้ร้องไห้เพราะพระองค์ตรัสกับข้าพระองค์อย่างนั้น แต่ข้าพระองค์ถูกพวก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๔๐๐ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๘. คามณิสังยุต] ๖. อสิพันธกปุตตสูตร

นายทหารม้าผู้เคยเป็นอาจารย์และปาจารย์ก่อน ๆ หลอกลวงให้หลงมานานว่า
‘ทหารม้าคนใดอุตส่าห์พยายามในการสงคราม ทหารม้าพวกอื่นสังหารทหารม้าผู้
อุตส่าห์พยายามนั้นให้ถึงความตาย เขาหลังจากตายแล้วจะเข้าถึงความเป็นผู้อยู่
ร่วมกับเหล่าเทวดาชื่อสรชิต’ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระภาษิตของพระองค์ชัดเจน
ไพเราะยิ่งนัก ฯลฯ ขอพระผู้มีพระภาคจงทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะ
ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปจนตลอดชีวิต”

อัสสาโรหสูตรที่ ๕ จบ

๖. อสิพันธกปุตตสูตร
ว่าด้วยผู้ใหญ่บ้านชื่ออสิพันธกบุตร

[๓๕๘] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ปาวาริกัมพวัน เขต
เมืองนาฬันทา ครั้งนั้น ผู้ใหญ่บ้านชื่ออสิพันธกบุตรเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่
ประทับ ถวายอภิวาทแล้ว นั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พวกพราหมณ์ชาวปัจฉาภูมิมีคณโฑน้ำติดตัว ประดับพวง
มาลัยสาหร่าย อาบน้ำทุกเช้าเย็น บำเรอไฟ พราหมณ์เหล่านั้นชื่อว่าทำสัตว์ที่
ตายแล้วให้ฟื้น ให้รู้ชอบ ให้ขึ้นสวรรค์ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาค
อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าสามารถจะทำสัตว์โลกทั้งหมดหลังจากตายแล้วให้ไปเกิดใน
สุคติโลกสวรรค์ได้หรือ”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ผู้ใหญ่บ้าน ถ้าเช่นนั้น เราจักย้อนถามใน
ปัญหาข้อนี้ ท่านพึงตอบตามสมควร
ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร บุรุษในโลกนี้เป็นผู้ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์
ประพฤติผิดในกาม พูดเท็จ พูดส่อเสียด พูดคำหยาบ พูดเพ้อเจ้อ เพ่งเล็ง
อยากได้ของเขา มีจิตพยาบาท เป็นมิจฉาทิฏฐิ หมู่มหาชนพึงมาประชุมแล้วสวด
อ้อนวอน สวดสรรเสริญ ประนมมือเดินเวียนรอบบุรุษนั้นว่า ‘ขอบุรุษนี้หลังจาก
ตายแล้วจงไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์เถิด’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๔๐๑ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๘. คามณิสังยุต] ๖. อสิพันธกปุตตสูตร

ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร บุรุษนั้นหลังจากตายแล้วพึงไปเกิดในสุคติ
โลกสวรรค์เพราะการสวดอ้อนวอน เพราะการสวดสรรเสริญหรือเพราะการประนม
มือเดินเวียนรอบแห่งหมู่มหาชนเป็นเหตุได้หรือ”
“ไม่ได้ พระพุทธเจ้าข้า”
“ผู้ใหญ่บ้าน เปรียบเหมือนบุรุษโยนก้อนหินใหญ่ลงในห้วงน้ำลึก หมู่มหาชน
พึงมาประชุมแล้วสวดอ้อนวอน สวดสรรเสริญ ประนมมือเดินเวียนรอบก้อนหิน
ใหญ่นั้นว่า ‘โผล่ขึ้นเถิด พ่อก้อนหินใหญ่ ลอยขึ้นเถิด พ่อก้อนหินใหญ่ ขึ้นบกเถิด
พ่อก้อนหินใหญ่’
ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร ก้อนหินใหญ่นั้นพึงโผล่ขึ้น ลอยขึ้น หรือ
ขึ้นบกเพราะการสวดอ้อนวอน เพราะการสวดสรรเสริญหรือเพราะการประนมมือ
เดินเวียนรอบแห่งหมู่มหาชนเป็นเหตุได้หรือ”
“ไม่ได้ พระพุทธเจ้าข้า”
“ผู้ใหญ่บ้าน อุปมานั้นฉันใด อุปไมยนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน บุรุษใดเป็นผู้ฆ่าสัตว์
ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม พูดเท็จ พูดส่อเสียด พูดคำหยาบ พูดเพ้อเจ้อ
เพ่งเล็งอยากได้ของเขา มีจิตพยาบาท เป็นมิจฉาทิฏฐิ หมู่มหาชนพึงมาประชุม
แล้วสวดอ้อนวอน สวดสรรเสริญ ประนมมือเดินเวียนรอบบุรุษนั้นว่า ‘ขอบุรุษนี้
หลังจากตายแล้วจงไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์เถิด’ ก็จริง ถึงกระนั้น บุรุษนั้นหลัง
จากตายไปแล้วพึงไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก
ผู้เว้นจากอกุศลกรรม ๑๐ ย่อมไปเกิดในสุคติ
ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร บุรุษในโลกนี้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ การ
ลักทรัพย์ การประพฤติผิดในกาม การพูดเท็จ การพูดส่อเสียด การพูดคำหยาบ
และการพูดเพ้อเจ้อ ไม่เพ่งเล็งอยากได้ของเขา ไม่มีจิตพยาบาท เป็นสัมมาทิฏฐิ
หมู่มหาชนพึงมาประชุมแล้วสวดอ้อนวอน สวดสรรเสริญ ประนมมือเดินเวียนรอบ
บุรุษนั้นว่า ‘ขอบุรุษนี้หลังจากตายแล้วจงไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรกเถิด’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๔๐๒ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๘. คามณิสังยุต] ๖. อสิพันธกปุตตสูตร

ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร บุรุษนั้นหลังจากตายแล้วพึงไปเกิดในอบาย
ทุคติ วินิบาต นรก เพราะการสวดอ้อนวอน เพราะการสวดสรรเสริญหรือเพราะ
การประนมมือเดินเวียนรอบแห่งหมู่มหาชนเป็นเหตุได้หรือ”
“ไม่ได้ พระพุทธเจ้าข้า”
“ผู้ใหญ่บ้าน เปรียบเหมือนบุรุษดำลงในห้วงน้ำลึกแล้วทุบหม้อเนยใสหรือ
หม้อน้ำมัน ก้อนกรวดหรือกระเบื้องหม้อนั้นพึงจมลงในห้วงน้ำนั้น ส่วนเนยใสหรือ
น้ำมันในหม้อนั้นพึงลอยขึ้น หมู่มหาชนพึงมาประชุมแล้วสวดอ้อนวอน สวด
สรรเสริญ ประนมมือเดินเวียนรอบเนยใสหรือน้ำมันนั้นว่า ‘ดำลงเถิด พ่อเนยใส
และน้ำมัน จมลงเถิด พ่อเนยใสและน้ำมัน ดิ่งลงข้างล่างเถิด พ่อเนยใสและน้ำมัน’
ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร เนยใสและน้ำมันนั้นพึงดำลง จมลง หรือดิ่ง
ลงข้างล่างเพราะการสวดอ้อนวอน เพราะการสวดสรรเสริญหรือเพราะการประนม
มือเดินเวียนรอบแห่งหมู่มหาชนเป็นเหตุได้หรือ”
“ไม่ได้ พระพุทธเจ้าข้า”
“ผู้ใหญ่บ้าน อุปมานั้นฉันใด อุปไมยนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน บุรุษใดเว้นขาด
จากการฆ่าสัตว์ การลักทรัพย์ การประพฤติผิดในกาม การพูดเท็จ การพูดส่อเสียด
การพูดคำหยาบ และการพูดเพ้อเจ้อ ไม่เพ่งเล็งอยากได้ของเขา ไม่มีจิตพยาบาท
เป็นสัมมาทิฏฐิ หมู่มหาชนพึงมาประชุมแล้วสวดอ้อนวอน สวดสรรเสริญ ประนม
มือเดินเวียนรอบบุรุษนั้นว่า ‘ขอบุรุษนี้หลังจากตายแล้วจงไปเกิดในอบาย ทุคติ
วินิบาต นรกเถิด’ ก็จริง ถึงกระนั้น บุรุษนั้นหลังจากตายแล้วพึงไปเกิดใน
สุคติโลกสวรรค์”
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ผู้ใหญ่บ้านชื่ออสิพันธกบุตรได้กราบทูล
ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระภาษิตของพระองค์ชัดเจนไพเราะยิ่งนัก ฯลฯ ขอ
พระผู้มีพระภาคจงทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะ ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป
จนตลอดชีวิต”

อสิพันธกปุตตสูตรที่ ๖ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๘. คามณิสังยุต] ๗. เขตตูปทสูตร

๗. เขตตูปมสูตร
ว่าด้วยอุปมาด้วยนา

[๓๕๙] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ปาวาริกัมพวัน เขต
เมืองนาฬันทา ครั้งนั้น ผู้ใหญ่บ้านชื่ออสิพันธกบุตร เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึง
ที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้ว นั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคทรงมีความเอ็นดูมุ่งประโยชน์เกื้อกูลต่อ
สรรพสัตว์มิใช่หรือ”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “อย่างนั้น ผู้ใหญ่บ้าน ตถาคตมีความเอ็นดูมุ่ง
ประโยชน์เกื้อกูลต่อสรรพสัตว์”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อเป็นเช่นนี้ เพราะเหตุไรพระผู้มีพระภาคจึงทรง
แสดงธรรมโดยเคารพแก่คนบางพวก ไม่ทรงแสดงธรรมโดยเคารพเช่นนั้นแก่คน
บางพวก”
เปรียบการแสดงธรรมกับการหว่านพืชในนา ๓ ชนิด
“ผู้ใหญ่บ้าน ถ้าเช่นนั้น เราจักย้อนถามท่านในปัญหาข้อนี้ ท่านพึงตอบ
ตามสมควร ผู้ใหญ่บ้าน ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร คหบดีชาวนาในโลกนี้มี
นาอยู่ ๓ ชนิด คือ ชนิดหนึ่งเป็นนาดี ชนิดหนึ่งเป็นนาปานกลาง ชนิดหนึ่งเป็น
นาเลว มีดินแข็ง มีดินเค็ม พื้นดินเลว
ผู้ใหญ่บ้าน ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร คหบดีชาวนาประสงค์จะ
หว่านพืช จะหว่านในนาชนิดไหนก่อน คือ นาชนิดดีโน้น ชนิดปานกลางโน้น
หรือชนิดเลวโน้นซึ่งมีดินแข็ง มีดินเค็ม พื้นดินเลว”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ คหบดีชาวนาโน้นประสงค์จะหว่านพืช พึงหว่านในนา
ชนิดดีโน้นก่อน แล้วหว่านลงในนาชนิดปานกลางโน้น แล้วหว่านบ้าง ไม่หว่านบ้าง
ในนาชนิดเลวโน้นซึ่งมีดินแข็ง มีดินเค็ม พื้นดินเลว ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะ
โดยที่สุดก็จักเป็นอาหารโค”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๔๐๔ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๘. คามณิสังยุต] ๗. เขตตูปทสูตร

“ผู้ใหญ่บ้าน เราแสดงธรรมมีความงามในเบื้องต้น มีความงามในท่ามกลาง
และมีความงามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถและพยัญชนะบริสุทธิ์
บริบูรณ์ครบถ้วนแก่ภิกษุและภิกษุณีทั้งหลายของเรา เปรียบเหมือนคหบดีชาวนา
หว่านพืชในนาชนิดดีโน้นฉะนั้น ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะภิกษุและภิกษุณีเหล่านั้น
มีเราเป็นที่พึ่ง มีเราเป็นที่อาศัย มีเราเป็นที่ต้านทาน มีเราเป็นสรณะอยู่
เราแสดงธรรมมีความงามในเบื้องต้น มีความงามในท่ามกลาง และมีความงาม
ในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถและพยัญชนะบริสุทธิ์บริบูรณ์ครบถ้วน
แก่อุบาสกและอุบาสิกาทั้งหลายของเรา เปรียบเหมือนคหบดีชาวนาหว่านพืชในนา
ชนิดปานกลางโน้นฉะนั้น ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะอุบาสกและอุบาสิกาเหล่านั้น
มีเราเป็นที่พึ่ง มีเราเป็นที่อาศัย มีเราเป็นที่ต้านทาน มีเราเป็นสรณะอยู่
และเราแสดงธรรมมีความงามในเบื้องต้น มีความงามในท่ามกลาง และมี
ความงามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถและพยัญชนะบริสุทธิ์บริบูรณ์
ครบถ้วนแก่อัญเดียรถีย์ สมณะ พราหมณ์ และปริพาชกทั้งหลายของเรา เปรียบ
เหมือนคหบดีชาวนาหว่านพืชในนาชนิดเลวโน้น ซึ่งมีดินแข็ง มีดินเค็ม พื้นดินเลว
ฉะนั้น ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะอัญเดียรถีย์ สมณะ พราหมณ์ และปริพาชก
เหล่านั้นพึงรู้ธรรมแม้บทเดียว ความรู้นั้นพึงเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูลเพื่อความ
สุขแก่พวกเขาสิ้นกาลนาน
เปรียบการแสดงธรรมกับการตักน้ำใส่โอ่งน้ำ
ผู้ใหญ่บ้าน เปรียบเหมือนบุรุษมีโอ่งน้ำ ๓ ใบ คือ โอ่งน้ำใบหนึ่งไม่มีรอยร้าว
น้ำซึมไหลออกไม่ได้ ใบหนึ่งไม่มีรอยร้าวแต่น้ำซึมไหลออกได้ ใบหนึ่งมีรอยร้าว
น้ำซึมไหลออกได้ ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร บุรุษโน้นประสงค์จะใส่น้ำ พึง
ใส่ในโอ่งน้ำใบไหนก่อน คือ โอ่งน้ำใบที่ไม่มีรอยร้าวน้ำซึมไหลออกไม่ได้ ใบที่ไม่มี
รอยร้าวแต่น้ำซึมไหลออกได้ หรือใบที่มีรอยร้าวน้ำซึมไหลออกได้”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บุรุษโน้นประสงค์จะใส่น้ำ พึงใส่ในโอ่งน้ำใบที่ไม่มี
รอยร้าวน้ำซึมไหลออกไม่ได้ก่อน แล้วใส่ในโอ่งน้ำใบที่ไม่มีรอยร้าวแต่น้ำซึมไหล
ออกได้ แล้วใส่บ้าง ไม่ใส่บ้าง ในโอ่งน้ำใบที่มีรอยร้าวน้ำซึมไหลออกได้ ข้อนั้น
เพราะเหตุไร เพราะที่สุดก็จักเป็นน้ำใช้ล้างสิ่งของ”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๔๐๕ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๘. คามณิสังยุต] ๘. สังขธมสูตร

“ผู้ใหญ่บ้าน อุปมานั้นฉันใด อุปไมยนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เราแสดงธรรมมี
ความงามในเบื้องต้น มีความงามในท่ามกลาง และมีความงามในที่สุด ประกาศ
พรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถและพยัญชนะบริสุทธิ์บริบูรณ์ครบถ้วนแก่ภิกษุและภิกษุณี
ทั้งหลายของเรา เปรียบเหมือนบุรุษใส่น้ำในโอ่งน้ำใบที่ไม่มีรอยร้าว น้ำซึมไหลออก
ไม่ได้ฉะนั้น ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะภิกษุและภิกษุณีเหล่านั้นมีเราเป็นที่พึ่ง มี
เราเป็นที่อาศัย มีเราเป็นที่ต้านทาน มีเราเป็นสรณะอยู่
เราแสดงธรรมมีความงามในเบื้องต้น มีความงามในท่ามกลาง และมีความงาม
ในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถและพยัญชนะบริสุทธิ์บริบูรณ์ครบถ้วน
แก่อุบาสกและอุบาสิกาทั้งหลายของเรา เปรียบเหมือนบุรุษใส่น้ำในโอ่งน้ำใบที่ไม่มี
รอยร้าว แต่น้ำซึมไหลออกได้ฉะนั้น ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะอุบาสกและอุบาสิกา
เหล่านั้นมีเราเป็นที่พึ่ง มีเราเป็นที่อาศัย มีเราเป็นที่ต้านทาน มีเราเป็นสรณะอยู่
เราแสดงธรรมมีความงามในเบื้องต้น มีความงามในท่ามกลาง และมีความงาม
ในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถและพยัญชนะบริสุทธิ์บริบูรณ์ครบถ้วน
แก่อัญเดียรถีย์ สมณะ พราหมณ์ และปริพาชกทั้งหลายของเรา เปรียบเหมือน
บุรุษใส่น้ำในโอ่งน้ำใบที่มีรอยร้าว น้ำซึมไหลออกได้ฉะนั้น ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะ
อัญเดียรถีย์ สมณะ พราหมณ์ และปริพาชกเหล่านั้นพึงรู้ธรรมแม้บทเดียว
ความรู้นั้นพึงเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูลเพื่อความสุขแก่พวกเขาสิ้นกาลนาน
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ผู้ใหญ่บ้านชื่ออสิพันธกบุตรได้กราบทูล
ว่า“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระภาษิตของพระองค์ชัดเจนไพเราะยิ่งนัก ฯลฯ ขอ
พระผู้มีพระภาค จงทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะ ตั้งแต่วันนี้เป็นต้น
ไปจนตลอดชีวิต”

เขตตูปมสูตรที่ ๗ จบ

๘. สังขธมสูตร
ว่าด้วยคนเป่าสังข์

[๓๖๐] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ปาวาริกัมพวัน เขต
เมืองนาฬันทา ครั้งนั้น ผู้ใหญ่บ้านชื่ออสิพันธกบุตรผู้เป็นสาวกของนิครนถ์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๔๐๖ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๘. คามณิสังยุต] ๘. สังขธมสูตร

เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ฯลฯ พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกับผู้ใหญ่บ้าน
ชื่ออสิพันธกบุตรดังนี้ว่า “ผู้ใหญ่บ้าน นิครนถ์ นาฏบุตรแสดงธรรมแก่พวกสาวก
อย่างไร”
ผู้ใหญ่บ้านชื่ออสิพันธกบุตรกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ นิครนถ์
นาฏบุตรแสดงธรรมแก่พวกสาวกอย่างนี้ว่า ‘ผู้ฆ่าสัตว์ทั้งหมดต้องไปอบาย ตกนรก
ผู้ลักทรัพย์ทั้งหมดต้องไปอบาย ตกนรก ผู้ประพฤติผิดในกามทั้งหมดต้องไปอบาย
ตกนรก ผู้พูดเท็จทั้งหมดต้องไปอบาย ตกนรก กรรมใด ๆ มีอยู่มาก กรรมนั้น ๆ
ย่อมนำบุคคลไป’ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ นิครนถ์ นาฏบุตรย่อมแสดงธรรมแก่พวก
สาวกอย่างนี้”
“ผู้ใหญ่บ้าน นิครนถ์ นาฏบุตรแสดงธรรมแก่พวกสาวกว่า ‘กรรมใด ๆ มี
อยู่มาก กรรมนั้น ๆ ย่อมนำบุคคลไป’ เมื่อเป็นเช่นนั้น ก็จักไม่มีใคร ๆ ไปอบาย
ตกนรกตามคำของนิครนถ์ นาฏบุตรเลย
ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร บุรุษผู้ฆ่าสัตว์อาศัยเวลาและมิใช่เวลาของ
กลางคืนหรือกลางวัน เวลาที่เขาฆ่าสัตว์หรือเวลาที่เขาไม่ฆ่าสัตว์ เวลาไหนจะมาก
กว่ากัน”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บุรุษผู้ฆ่าสัตว์อาศัยเวลาและมิใช่เวลาของกลางคืน
หรือกลางวัน เวลาที่เขาฆ่าสัตว์น้อยกว่า ที่แท้เวลาที่เขาไม่ฆ่าสัตว์มากกว่า”
“ผู้ใหญ่บ้าน นิครนถ์ นาฏบุตรแสดงธรรมแก่พวกสาวกว่า ‘กรรมใด ๆ มี
อยู่มาก กรรมนั้น ๆ ย่อมนำบุคคลไป’ เมื่อเป็นเช่นนั้น ก็จักไม่มีใคร ๆ ไปอบาย ตก
นรกตามคำของนิครนถ์ นาฏบุตรเลย
ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร บุรุษผู้ลักทรัพย์อาศัยเวลาและมิใช่เวลาของ
กลางคืนหรือกลางวัน เวลาที่เขาลักทรัพย์หรือเวลาที่เขาไม่ลักทรัพย์ เวลาไหนจะ
มากกว่ากัน”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บุรุษผู้ลักทรัพย์อาศัยเวลาและมิใช่เวลาของกลางคืน
หรือกลางวัน เวลาที่เขาลักทรัพย์น้อยกว่า ที่แท้เวลาที่เขาไม่ลักทรัพย์มากกว่า”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๔๐๗ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๘. คามณิสังยุต] ๘. สังขธมสูตร

“ผู้ใหญ่บ้าน นิครนถ์ นาฏบุตรแสดงธรรมแก่พวกสาวกว่า ‘กรรมใด ๆ มี
อยู่มาก กรรมนั้น ๆ ย่อมนำบุคคลไป’ เมื่อเป็นเช่นนั้น ก็จักไม่มีใคร ๆ ไปอบาย
ตกนรกตามคำของนิครนถ์ นาฏบุตรเลย
ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร บุรุษผู้ประพฤติผิดในกามอาศัยเวลาและ
มิใช่เวลาของกลางคืนหรือกลางวัน เวลาที่เขาประพฤติผิดในกามหรือเวลาที่เขาไม่
ประพฤติผิดในกาม เวลาไหนจะมากกว่ากัน”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บุรุษผู้ประพฤติผิดในกามอาศัยเวลาและมิใช่เวลาของ
กลางคืนหรือกลางวัน เวลาที่เขาประพฤติผิดในกามน้อยกว่า ที่แท้เวลาที่เขาไม่
ประพฤติผิดในกามมากกว่า”
“ผู้ใหญ่บ้าน นิครนถ์ นาฏบุตรแสดงธรรมแก่พวกสาวกว่า ‘กรรมใด ๆ มี
อยู่มาก กรรมนั้น ๆ ย่อมนำบุคคลไป’ เมื่อเป็นเช่นนั้น ก็จักไม่มีใคร ๆ ไปอบาย
ตกนรกตามคำของนิครนถ์ นาฏบุตรเลย
ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร บุรุษผู้พูดเท็จอาศัยเวลาและมิใช่เวลาของ
กลางคืนหรือกลางวัน เวลาที่เขาพูดเท็จหรือเวลาที่เขาไม่พูดเท็จ เวลาไหนจะมาก
กว่ากัน”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บุรุษผู้พูดเท็จอาศัยเวลาและมิใช่เวลาของกลางคืน
หรือกลางวัน เวลาที่เขาพูดเท็จน้อยกว่า ที่แท้เวลาที่เขาไม่พูดเท็จมากกว่า”
“ผู้ใหญ่บ้าน นิครนถ์ นาฏบุตรแสดงธรรมแก่พวกสาวกว่า ‘กรรมใด ๆ มี
อยู่มาก กรรมนั้น ๆ ย่อมนำบุคคลไป’ เมื่อเป็นเช่นนั้น ก็จักไม่มีใคร ๆ ไปอบาย
ตกนรกตามคำของนิครนถ์ นาฏบุตรเลย
ศาสดาบางคนในโลกนี้มีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘ผู้ฆ่าสัตว์ทั้งหมดต้อง
ไปอบาย ตกนรก ผู้ลักทรัพย์ทั้งหมดต้องไปอบาย ตกนรก ผู้ประพฤติผิดในกาม
ทั้งหมดต้องไปอบาย ตกนรก ผู้พูดเท็จทั้งหมดต้องไปอบาย ตกนรก
สาวกผู้เลื่อมใสอย่างยิ่งในศาสดาองค์นั้นมีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘ศาสดาของเรามี
วาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘ผู้ฆ่าสัตว์ทั้งหมดต้องไปอบาย ตกนรก’ สาวกของ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๔๐๘ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๘. คามณิสังยุต] ๘. สังขธมสูตร

ศาสดานั้นกลับได้ทิฏฐิว่า ‘สัตว์ที่ถูกเราฆ่าก็มีอยู่ แม้เราก็ต้องไปอบาย ตกนรก’
เขาไม่ละคำพูด ไม่ละความคิด ไม่สละทิฏฐินั้น ย่อมตกนรกเหมือนถูกนำมาขังไว้
ฉะนั้น
สาวกของศาสดานั้นมีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘ศาสดาของเรามีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิ
อย่างนี้ว่า ‘ผู้ลักทรัพย์ทั้งหมดต้องไปอบาย ตกนรก’ สาวกของศาสดานั้นกลับได้
ทิฏฐิว่า ‘ทรัพย์ที่เราเคยลักก็มีอยู่ แม้เราก็ต้องไปอบาย ตกนรก’ เขายังไม่ละคำพูด
ไม่ละความคิด ไม่สละทิฏฐินั้น ย่อมตกนรกเหมือนถูกนำมาขังไว้ฉะนั้น
สาวกของศาสดานั้นมีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘ศาสดาของเรามีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิ
อย่างนี้ว่า ‘ผู้ประพฤติผิดในกามทั้งหมดต้องไปอบาย ตกนรก’ สาวกของศาสดา
นั้น กลับได้ทิฏฐิว่า ‘การที่เราประพฤติผิดในกามก็มีอยู่ แม้เราก็ต้องไปอบาย
ตกนรก’ เขายังไม่ละคำพูด ไม่ละความคิด ไม่สละทิฏฐินั้น ย่อมตกนรกเหมือน
ถูกนำมาขังไว้ฉะนั้น
สาวกของศาสดานั้นมีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘ศาสดาของเรามีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิ
อย่างนี้ว่า ‘ผู้พูดเท็จทั้งหมดต้องไปอบาย ตกนรก’ สาวกของศาสดานั้นกลับได้
ทิฏฐิว่า ‘คำเท็จที่เราพูดแล้วก็มีอยู่ แม้เราก็ต้องไปอบาย ตกนรก’ เขายังไม่ละคำพูด
ไม่ละความคิด ไม่สละทิฏฐินั้น ย่อมตกนรกเหมือนถูกนำมาขังไว้ฉะนั้น
ตถาคตอุบัติขึ้นมาในโลกนี้เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้ด้วยตนเองโดยชอบ เพียบ
พร้อมด้วยวิชชาและจรณะ ไปดี รู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกผู้ที่ควรฝึกได้อย่างยอดเยี่ยม
เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระผู้มีพระภาค
ตถาคตนั้น ตำหนิติเตียนการฆ่าสัตว์โดยประการต่าง ๆ เป็นอันมาก และกล่าวว่า
‘ท่านทั้งหลายจงงดเว้นจากการฆ่าสัตว์’ ตำหนิติเตียนการลักทรัพย์โดยประการ
ต่าง ๆ เป็นอันมาก และกล่าวว่า ‘ท่านทั้งหลายจงงดเว้นจากการลักทรัพย์’ ตำหนิ
ติเตียนการประพฤติผิดในกามโดยประการต่าง ๆ เป็นอันมาก และกล่าวว่า ‘ท่าน
ทั้งหลายจงงดเว้นจากการประพฤติผิดในกาม’ ตำหนิติเตียนการพูดเท็จโดยประการ
ต่าง ๆ เป็นอันมาก และกล่าวว่า ‘ท่านทั้งหลายจงงดเว้นจากการพูดเท็จ’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๔๐๙ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๘. คามณิสังยุต] ๘. สังขธมสูตร

สาวกผู้เลื่อมใสอย่างยิ่งในศาสดานั้นพิจารณาเห็นว่า ‘พระผู้มีพระภาคทรง
ตำหนิติเตียนการฆ่าสัตว์โดยประการต่าง ๆ เป็นอันมาก และตรัสว่า ‘ท่านทั้งหลาย
จงงดเว้นจากการฆ่าสัตว์’ อนึ่ง สัตว์ที่ถูกเราฆ่าก็มีอยู่มากมาย การที่เราฆ่าสัตว์
มากมายนั้นไม่เป็นการดีงามเลย เราเท่านั้นพึงเป็นผู้เดือดร้อนเพราะการฆ่าสัตว์นั้น
เป็นปัจจัย เราไม่ได้ทำบาปกรรมนั้นก็หามิได้ เธอพิจารณาเห็นอย่างนี้แล้วย่อมละ
การฆ่าสัตว์นั้นและเว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ต่อไป
เธอละบาปกรรม ก้าวล่วงบาปกรรมนั้นได้ด้วยประการฉะนี้
สาวกนั้นพิจารณาเห็นว่า ‘พระผู้มีพระภาคทรงตำหนิติเตียนการลักทรัพย์โดย
ประการต่าง ๆ เป็นอันมาก และตรัสว่า ‘ท่านทั้งหลายจงงดเว้นจากการลักทรัพย์’
ทรัพย์ที่เราลักก็มีอยู่มากมาย การที่เราลักทรัพย์มากมายนั้นไม่เป็นการดีงามเลย
เราเท่านั้นพึงเป็นผู้เดือดร้อนเพราะการลักทรัพย์นั้นเป็นปัจจัย เราไม่ได้ทำ
บาปกรรมนั้นก็หามิได้ เธอพิจารณาเห็นอย่างนี้แล้วย่อมละการลักทรัพย์นั้นและ
เว้นขาดจากการลักทรัพย์ต่อไป
เธอละบาปกรรม ก้าวล่วงบาปกรรมนั้นได้ด้วยประการฉะนี้
สาวกนั้นพิจารณาเห็นว่า ‘พระผู้มีพระภาคทรงตำหนิติเตียนการประพฤติผิด
ในกามโดยประการต่าง ๆ เป็นอันมาก และตรัสว่า ‘ท่านทั้งหลายจงงดเว้นจาก
การประพฤติผิดในกาม’ การที่เราประพฤติผิดในกามก็มีอยู่มากมาย การที่เรา
ประพฤติผิดในกามมากมายนั้นไม่เป็นการดีงามเลย เราเท่านั้นพึงเป็นผู้เดือดร้อน
เพราะการประพฤติผิดในกามนั้นเป็นปัจจัย เราไม่ได้ทำบาปกรรมนั้นก็หามิได้ เธอ
พิจารณาเห็นอย่างนี้แล้วย่อมละการประพฤติผิดในกามนั้นและเว้นขาดจากการ
ประพฤติผิดในกามต่อไป
เขาละบาปกรรม ก้าวล่วงบาปกรรมนั้นได้ด้วยประการฉะนี้
สาวกนั้นพิจารณาเห็นว่า ‘พระผู้มีพระภาคทรงตำหนิติเตียนการพูดเท็จโดย
ประการต่าง ๆ เป็นอันมาก และตรัสว่า ‘ท่านทั้งหลายจงเว้นขาดจากการพูดเท็จ’
การที่เราพูดเท็จก็มีอยู่มากมาย การที่เราพูดเท็จมากมายนั้นไม่เป็นการดีงามเลย
เราเท่านั้นพึงเป็นผู้เดือดร้อนเพราะการพูดเท็จนั้นเป็นปัจจัย เราจักไม่ได้ทำ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๔๑๐ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๘. คามณิสังยุต] ๘. สังขธมสูตร

บาปกรรมนั้นก็หามิได้ เธอพิจารณาอย่างนี้แล้วย่อมละการพูดเท็จนั้นและเว้นขาด
จากการพูดเท็จต่อไป
เขาละบาปกรรม ก้าวล่วงบาปกรรมนั้นได้ด้วยประการฉะนี้
สาวกนั้นละการฆ่าสัตว์ เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ ละการลักทรัพย์ เว้นขาด
จากการลักทรัพย์ ละการประพฤติผิดในกาม เว้นขาดจากการประพฤติผิดในกาม
ละการพูดเท็จ เว้นขาดจากการพูดเท็จ ละการพูดคำส่อเสียด เว้นขาดจากการพูด
คำส่อเสียด ละการพูดคำหยาบ เว้นขาดจากการพูดคำหยาบ ละการพูดเพ้อเจ้อ
เว้นขาดจากการพูดเพ้อเจ้อ ละความเพ่งเล็งอยากได้ของเขา ไม่เพ่งเล็งอยากได้ของ
เขา ละความประทุษร้ายที่เกิดจากพยาบาท มีจิตไม่พยาบาท ละมิจฉาทิฏฐิ เป็น
สัมมาทิฏฐิ
อริยสาวกนั้นปราศจากความเพ่งเล็งอยากได้ของเขา ปราศจากพยาบาทอย่างนี้
ไม่หลง มีสัมปชัญญะ มีสติ มีเมตตาจิตแผ่ไปตลอดทิศที่ ๑ ... ทิศที่ ๒ ... ทิศ
ที่ ๓ ... ทิศที่ ๔ ... ทิศเบื้องบน ทิศเบื้องล่าง ทิศเฉียง แผ่ไปตลอดโลกทั่ว
ทุกหมู่เหล่า ในที่ทุกสถาน ด้วยเมตตาจิตอันไพบูลย์ เป็นมหัคคตะ ไม่มีขอบเขต
ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนอยู่ ผู้ใหญ่บ้าน กรรมที่ทำพอประมาณในเมตตา-
เจโตวิมุตติที่บุคคลอบรมแล้วอย่างนี้จะไม่เหลืออยู่ในรูปาวจรและอรูปาวจรเลย
เปรียบเหมือนคนเป่าสังข์ผู้แข็งแรงพึงให้ได้ยินตลอดทิศทั้ง ๔ ได้โดยไม่ยาก
ผู้ใหญ่บ้าน อริยสาวกนั้นปราศจากความเพ่งเล็งอยากได้ของเขา ปราศจาก
พยาบาทอย่างนี้ ไม่หลง มีสัมปชัญญะ มีสติ มีกรุณาจิต ฯลฯ
มีมุทิตาจิต ฯลฯ
มีอุเบกขาจิตแผ่ไปตลอดทิศที่ ๑ ... ทิศที่ ๒ ... ทิศที่ ๓ ... ทิศที่ ๔ ...
ทิศเบื้องบน ทิศเบื้องล่าง ทิศเฉียง แผ่ไปตลอดโลกทั่วทุกหมู่เหล่า ในที่ทุกสถาน
ด้วยอุเบกขาจิตอันไพบูลย์ เป็นมหัคคตะ ไม่มีขอบเขต ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียน
อยู่ ผู้ใหญ่บ้าน กรรมที่ทำพอประมาณในอุเบกขาเจโตวิมุตติที่บุคคลอบรมแล้ว
ทำให้มากแล้วอย่างนี้จะไม่เหลืออยู่ในรูปาวจรและอรูปาวจรเลย เปรียบเหมือนคน
เป่าสังข์ผู้แข็งแรงพึงให้ได้ยินตลอดทิศทั้ง ๔ ได้โดยไม่ยาก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๔๑๑ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๘. คามณิสังยุต] ๙. กุลสูตร

เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ผู้ใหญ่บ้านชื่ออสิพันธกบุตร สาวกของ
นิครนถ์ได้กราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระภาษิตของพระองค์ชัดเจนไพเราะยิ่งนัก
ฯลฯ ขอพระผู้มีพระภาคจงทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะ ตั้งแต่วันนี้
เป็นต้นไปจนตลอดชีวิต”

สังขธมสูตรที่ ๘ จบ

๙. กุลสูตร
ว่าด้วยเหตุที่ทำให้ตระกูลคับแค้น

[๓๖๑] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเสด็จจาริกไปในแคว้นโกศล พร้อมด้วย
ภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ เสด็จถึงเมืองนาฬันทา ทราบว่า พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ
ปาวาริกัมพวัน เขตเมืองนาฬันทานั้น
สมัยนั้น เมืองนาฬันทาเกิดข้าวยากหมากแพง ประชาชนมีความเป็นอยู่
แร้นแค้น ใช้สลากปันส่วนซื้ออาหาร ล้มตายกันกระดูกขาวเกลื่อน สมัยนั้น
นิครนถ์ นาฏบุตรอาศัยอยู่ในหมู่บ้านนาฬันทาพร้อมด้วยนิครนถบริษัทหมู่ใหญ่
ครั้งนั้น ผู้ใหญ่บ้านชื่ออสิพันธกบุตร สาวกของนิครนถ์ เข้าไปหานิครนถ์
นาฏบุตรถึงที่อยู่ ไหว้แล้ว นั่ง ณ ที่สมควร นิครนถ์ นาฏบุตรได้กล่าวกับผู้ใหญ่บ้าน
ชื่ออสิพันธกบุตรดังนี้ว่า “มาเถิด ผู้ใหญ่บ้าน ท่านจงโต้วาทะกับพระสมณโคดม เมื่อ
เป็นเช่นนี้ กิตติศัพท์อันงามของท่านก็จักฟุ้งขจรไปว่า ‘ผู้ใหญ่บ้านชื่ออสิพันธกบุตร
ได้โต้วาทะกับพระสมณโคดมผู้มีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมากอย่างนี้”
ผู้ใหญ่บ้านถามว่า “ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าจะโต้วาทะกับพระสมณโคดมผู้มีฤทธิ์
มาก มีอานุภาพมากอย่างนี้อย่างไร”
นิครนถ์ นาฏบุตรกล่าวว่า “มาเถิดผู้ใหญ่บ้าน ท่านจงเข้าไปหาพระสมณโคดม
ถึงที่อยู่ แล้วกล่าวว่า ‘ท่านผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคย่อมทรงสรรเสริญความเอ็นดู
ทรงสรรเสริญความรักษา ทรงสรรเสริญความอนุเคราะห์แก่ตระกูลทั้งหลายโดย
ประการเป็นอันมากมิใช่หรือ’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๔๑๒ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๘. คามณิสังยุต] ๙. กุลสูตร

ถ้าพระสมณโคดมถูกท่านถามอย่างนี้แล้วตอบว่า ‘ถูกละผู้ใหญ่บ้าน ตถาคต
ย่อมสรรเสริญความเอ็นดู สรรเสริญความรักษา สรรเสริญความอนุเคราะห์แก่
ตระกูลทั้งหลายโดยประการเป็นอันมาก’ ท่านพึงกล่าวว่า ‘ท่านผู้เจริญ เมื่อเป็น
เช่นนั้น ทำไม พระผู้มีพระภาคกับภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่จึงเสด็จจาริกไปในเมืองนาฬันทา
ซึ่งเกิดข้าวยากหมากแพง ประชาชนมีความเป็นอยู่แร้นแค้น ใช้สลากปันส่วนซื้อ
อาหาร ล้มตายกันกระดูกขาวเกลื่อนเล่า พระผู้มีพระภาคทรงปฏิบัติเพื่อตัดรอน
ตระกูล ทรงปฏิบัติเพื่อความเสื่อมแห่งตระกูล ทรงปฏิบัติเพื่อความคับแค้นแห่ง
ตระกูล’ ผู้ใหญ่บ้าน พระสมณโคดมถูกท่านถามปัญหา ๒ เงื่อนนี้แล้ว จะกลืนไม่เข้า
คายไม่ออกทีเดียว”
ผู้ใหญ่บ้านชื่ออสิพันธกบุตรรับคำของนิครนถ์ นาฏบุตร ลุกขึ้นจากอาสนะ ไหว้
แล้ว กระทำประทักษิณ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้ว
นั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระ
ผู้มีพระภาคย่อมทรงสรรเสริญความเอ็นดู ทรงสรรเสริญความรักษา ทรงสรรเสริญ
ความอนุเคราะห์แก่ตระกูลทั้งหลายโดยประการเป็นอันมากมิใช่หรือ”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ถูกละผู้ใหญ่บ้าน ตถาคตย่อมสรรเสริญความ
เอ็นดู สรรเสริญความรักษา สรรเสริญความอนุเคราะห์แก่ตระกูลทั้งหลายโดย
ประการเป็นอันมาก”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อเป็นเช่นนั้น ทำไม พระผู้มีพระภาคกับภิกษุสงฆ์
หมู่ใหญ่จึงเสด็จจาริกไปในเมืองนาฬันทาซึ่งเกิดข้าวยากหมากแพง ประชาชนมี
ความเป็นอยู่แร้นแค้น ใช้สลากปันส่วนซื้ออาหาร ล้มตายกันกระดูกขาวเกลื่อนเล่า
พระผู้มีพระภาคทรงปฏิบัติเพื่อตัดรอนตระกูล ทรงปฏิบัติเพื่อความเสื่อมแห่งตระกูล
ทรงปฏิบัติเพื่อความคับแค้นแห่งตระกูล”
“ผู้ใหญ่บ้าน นับแต่กัป๑นี้ไป ๙๑ กัปที่เราระลึกได้ว่า เราไม่รู้ว่าเคยเบียดเบียน
ตระกูลไหน ๆ ด้วยการถือเอาภิกษาที่หุงต้มแล้ว ที่แท้ตระกูลทั้งหลายที่มั่งคั่ง มี


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๘. คามณิสังยุต] ๙. กุลสูตร

ทรัพย์มาก มีโภคะมาก มีเงินมีทองมาก มีเครื่องประดับมาก มีทรัพย์และข้าว
เปลือกมาก ทั้งหมดนั้นเกิดเพราะการให้ เกิดเพราะความมีสัจจะ และเกิดเพราะ
ความสำรวม
เหตุปัจจัยที่ทำให้ตระกูลคับแค้น ๘ ประการ คือ
๑. ตระกูลคับแค้นจากพระราชา
๒. ตระกูลคับแค้นจากโจร
๓. ตระกูลคับแค้นจากไฟ
๔. ตระกูลคับแค้นจากน้ำ
๕. ทรัพย์ที่ฝังไว้เคลื่อนที่ไป
๖. การงานที่ประกอบไม่ดี ทำให้ตระกูลวิบัติ
๗. ทรัพย์ในตระกูลกลายเป็นถ่านเพลิง
๘. การที่บุคคลใช้จ่ายโภคทรัพย์สุรุ่ยสุร่าย ฟุ่มเฟือย ทำให้ตระกูล
เปลี่ยนแปลงไป
ผู้ใหญ่บ้าน เหตุปัจจัย ๘ ประการนี้ที่ทำให้ตระกูลคับแค้น เมื่อเหตุปัจจัย ๘
ประการนี้มีอยู่ บุคคลใดพึงกล่าวหาเราว่า ‘พระผู้มีพระภาคทรงปฏิบัติเพื่อตัดรอน
ตระกูล ทรงปฏิบัติเพื่อความเสื่อมแห่งตระกูล ทรงปฏิบัติเพื่อความคับแค้นแห่ง
ตระกูล’ บุคคลนั้นไม่ละคำพูด ไม่ละความคิด ไม่สละทิฏฐินั้น ย่อมดำรงอยู่ในนรก
เหมือนถูกนำไปฝังไว้”
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ผู้ใหญ่บ้านชื่ออสิพันธกบุตรได้กราบทูล
พระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระภาษิตของพระองค์ชัดเจน
ไพเราะยิ่งนัก ฯลฯ ขอพระผู้มีพระภาคจงทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะ
ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปจนตลอดชีวิต”

กุลสูตรที่ ๙ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๘. คามณิสังยุต] ๑๐. มณิจูฬกสูตร

๑๐. มณิจูฬกสูตร
ว่าด้วยผู้ใหญ่บ้านชื่อมณิจูฬกะ

[๓๖๒] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเวฬุวัน สถานที่ให้เหยื่อ
กระแต เขตกรุงราชคฤห์ สมัยนั้น พวกข้าราชบริพารนั่งประชุมกันในราชบริษัท
ภายในพระราชวัง ได้สนทนากันขึ้นว่า “ทองและเงินสมควรแก่สมณศากยบุตรหรือ
สมณศากยบุตรยินดีทองและเงินได้หรือ รับทองและเงินได้หรือ”
สมัยนั้น ผู้ใหญ่บ้านชื่อมณิจูฬกะนั่งอยู่ในบริษัทนั้นขณะนั้นได้กล่าวกับบริษัท
นั้นดังนี้ว่า “นายอย่าได้กล่าวอย่างนี้ ทองและเงินไม่สมควรแก่สมณศากยบุตร
สมณศากยบุตรไม่ยินดีทองและเงิน ไม่รับทองและเงิน สมณศากยบุตรห้ามแก้ว
มณีและทอง ปราศจากทองและเงิน”
ผู้ใหญ่บ้านชื่อมณิจูฬกะสามารถให้บริษัทนั้นยินยอมได้
ต่อมา ผู้ใหญ่บ้านชื่อมณิจูฬกะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวาย
อภิวาทแล้ว นั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พวกข้าราชบริพารนั่งประชุมกันในราชบริษัทภายใน
พระราชวังนี้ได้สนทนากันขึ้นว่า ‘ทองและเงินควรแก่สมณศากยบุตรหรือ สมณ-
ศากยบุตรยินดีทองและเงินได้หรือ รับทองและเงินได้หรือ’ เมื่อบริษัทนั้นกล่าว
อย่างนี้แล้ว ข้าพระองค์ได้กล่าวกับบริษัทนั้นดังนี้ว่า ‘นายอย่าได้กล่าวอย่างนี้
ทองและเงินไม่สมควรแก่สมณศากยบุตร สมณศากยบุตรไม่ยินดีทองและเงิน ไม่
รับทองและเงิน สมณศากยบุตรห้ามแก้วมณีและทอง ปราศจากทองและเงิน’
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์สามารถให้บริษัทนั้นยินยอมได้ ข้าพระ
องค์เมื่อตอบอย่างนี้ ชื่อว่าพูดตรงตามที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ ไม่ชื่อว่ากล่าวตู่
พระผู้มีพระภาคด้วยคำเท็จหรือ ชื่อว่ากล่าวแก้อย่างสมเหตุสมผลหรือ ไม่มีบ้าง
หรือที่คำกล่าวเช่นนั้นและคำที่กล่าวต่อ ๆ กันมาจะเป็นเหตุให้ถูกตำหนิได้”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ดีละ ผู้ใหญ่บ้าน เมื่อท่านตอบอย่างนี้ ชื่อว่า
พูดตรงตามคำที่เราพูดไว้ ไม่ชื่อว่ากล่าวตู่เราด้วยคำเท็จ ชื่อว่ากล่าวแก้อย่าง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๔๑๕ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๘. คามณิสังยุต] ๑๑. คันธภกสูตร

สมเหตุสมผล ไม่มีที่คำกล่าวเช่นนั้นและคำที่กล่าวต่อ ๆ กันมาจะเป็นเหตุให้ถูกตำหนิได้
เพราะว่าทองและเงินไม่สมควรแก่สมณศากยบุตร สมณศากยบุตรไม่ยินดีทองและเงิน
ไม่รับทองและเงิน สมณศากยบุตรห้ามแก้วมณีและทอง ปราศจากทองและเงิน
ผู้ใหญ่บ้าน ทองและเงินควรแก่ผู้ใด กามคุณ ๕ ก็ควรแก่ผู้นั้น กามคุณ ๕
ควรแก่ผู้ใด (ทองและเงินก็ควรแก่ผู้นั้น) ผู้ใหญ่บ้าน เราให้เข้าใจเรื่องนี้โดยส่วน
เดียวว่า ‘ไม่ใช่ธรรมของสมณะ ไม่ใช่ธรรมของศากยบุตร’
อนึ่ง เรากล่าวอย่างนี้ว่า ‘ผู้ต้องการหญ้าพึงแสวงหาหญ้า ผู้ต้องการไม้พึง
แสวงหาไม้ ผู้ต้องการเกวียนพึงแสวงหาเกวียน ผู้ต้องการบุรุษพึงแสวงหาบุรุษ’
แต่เราไม่กล่าวเลยว่า ‘พึงยินดี พึงแสวงหาทองและเงินโดยประการใด ๆ”

มณิจูฬกสูตรที่ ๑๐ จบ

๑๑. คันธภกสูตร
ว่าด้วยผู้ใหญ่บ้านชื่อคันธภกะ

[๓๖๓] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ อุรุเวลกัปปนิคมของชาว
มัลละ แคว้นมัลละ ครั้งนั้น ผู้ใหญ่บ้านชื่อคันธภกะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่
ประทับ ถวายอภิวาทแล้ว นั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานวโรกาส ขอพระผู้มีพระภาคโปรดทรง
แสดงเหตุเกิดและความดับทุกข์แก่ข้าพระองค์ด้วยเถิด”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
“ผู้ใหญ่บ้าน เราพึงปรารภอดีตกาล แสดงเหตุเกิดทุกข์และความดับทุกข์แก่
ท่านว่า ‘อดีตกาลได้มีแล้วอย่างนี้’ ความสงสัยความเคลือบแคลงในเรื่องนั้นพึงมี
แก่ท่าน
ถ้าเราพึงปรารภอนาคตกาล แสดงเหตุเกิดทุกข์และความดับทุกข์แก่ท่านว่า
‘อนาคตกาลจักมีอย่างนี้’ ความเคลือบแคลงความสงสัยในเรื่องนั้นพึงมีแก่ท่าน
อนึ่ง เรานั่งอยู่ในที่นี้แล จักแสดงเหตุเกิดและความดับทุกข์แก่ท่านผู้นั่งอยู่ใน
ที่นี้เหมือนกัน ท่านจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๔๑๖ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๘. คามณิสังยุต] ๑๑. คันธภกสูตร

ผู้ใหญ่บ้านชื่อคันธภกะทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัส
ดังนี้ว่า
“ผู้ใหญ่บ้าน ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร มีอยู่ไหม ที่โสกะ (ความ
เศร้าโศก) ปริเทวะ (ความคร่ำครวญ) ทุกข์ (ความทุกข์กาย) โทมนัส (ความทุกข์ใจ)
และอุปายาส (ความคับแค้นใจ) พึงเกิดขึ้นแก่ท่าน เพราะหมู่มนุษย์ชาวอุรุเวล-
กัปปนิคมถูกประหาร จองจำ ปรับไหม หรือถูกตำหนิโทษ”
“มีอยู่ พระพุทธเจ้าข้า ที่โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส
พึงเกิดขึ้นแก่ข้าพระองค์ เพราะหมู่มนุษย์ชาวอุรุเวลกัปปนิคมถูกประหาร จองจำ
ปรับไหม หรือถูกตำหนิโทษ”
“ผู้ใหญ่บ้าน อนึ่ง มีอยู่ไหม ที่โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส
ไม่พึงเกิดขึ้นแก่ท่าน เพราะหมู่มนุษย์ชาวอุรุเวลกัปปนิคมถูกประหาร จองจำ ปรับ
ไหม หรือถูกตำหนิโทษ”
“มีอยู่ พระพุทธเจ้าข้า ที่โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสไม่พึง
เกิดขึ้นแก่ข้าพระองค์ เพราะหมู่มนุษย์ชาวอุรุเวลกัปปนิคมถูกประหาร จองจำ
ปรับไหม หรือถูกตำหนิโทษ”
“ผู้ใหญ่บ้าน อะไรเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และ
อุปายาสพึงเกิดขึ้นแก่ท่าน เพราะหมู่มนุษย์ชาวอุรุเวลกัปปนิคมบางพวกถูกประหาร
จองจำ ปรับไหม หรือถูกตำหนิโทษ
อนึ่ง อะไรเป็นเหตุเป็นปัจจัย ให้โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส
ไม่พึงเกิดขึ้นแก่ท่าน เพราะหมู่มนุษย์ชาวอุรุเวลกัปปนิคมบางพวกถูกประหาร
จองจำ ปรับไหม หรือถูกตำหนิโทษ”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสพึง
เกิดขึ้นแก่ข้าพระองค์ เพราะหมู่มนุษย์ชาวอุรุเวลกัปปนิคมเหล่าใดถูกประหาร
จองจำ ปรับไหม หรือถูกตำหนิโทษ ก็เพราะข้าพระองค์มีฉันทราคะในหมู่มนุษย์
ชาวอุรุเวลกัปปนิคมเหล่านั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๔๑๗ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๘. คามณิสังยุต] ๑๑. คันธภกสูตร

แต่โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสไม่พึงเกิดขึ้นแก่ข้าพระองค์
เพราะหมู่มนุษย์ชาวอุรุเวลกัปปนิคมเหล่าใดถูกประหาร จองจำ ปรับไหม หรือ
ถูกตำหนิโทษ ก็เพราะข้าพระองค์ไม่มีฉันทราคะในหมู่มนุษย์ชาวอุรุเวลกัปปนิคม
เหล่านั้น พระพุทธเจ้าข้า”
“ผู้ใหญ่บ้าน ท่านจงนำนัยไปในทุกข์ที่เป็นอดีตและอนาคตด้วยธรรมนี้ที่ท่าน
เห็น ทราบ บรรลุโดยไม่ประกอบด้วยกาล หยั่งลงแล้ว
ทุกข์ที่เป็นอดีตอย่างใดอย่างหนึ่ง เมื่อจะเกิด ย่อมเกิดขึ้น ทุกข์นั้นทั้งหมด
มีฉันทะเป็นรากเหง้า มีฉันทะเป็นเหตุ เพราะฉันทะเป็นรากเหง้าแห่งทุกข์
แม้ทุกข์ที่เป็นอนาคตอย่างใดอย่างหนึ่ง เมื่อจะเกิด จักเกิดขึ้น ทุกข์นั้นทั้ง
หมดมีฉันทะเป็นรากเหง้า มีฉันทะเป็นเหตุ เพราะฉันทะเป็นรากเหง้าแห่งทุกข์”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคยปรากฏ เท่าที่พระผู้มีพระภาค
ตรัสไว้ดีว่า ‘ทุกข์ที่เป็นอดีตอย่างใดอย่างหนึ่ง เมื่อจะเกิด ย่อมเกิดขึ้น ทุกข์นั้น
ทั้งหมดมีฉันทะเป็นรากเหง้า มีฉันทะเป็นเหตุ เพราะฉันทะเป็นรากเหง้าแห่งทุกข์
(ทุกข์ที่เป็นอนาคตอย่างใดอย่างหนึ่ง เมื่อจะเกิด จักเกิดขึ้น ทุกข์ทั้งหมดนั้นมี
ฉันทะเป็นรากเหง้า มีฉันทะเป็นเหตุ เพราะฉันทะเป็นรากเหง้าแห่งทุกข์)’
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์มีกุมารชื่อจิรวาสี อาศัยอยู่ภายนอกที่พัก
ข้าพระองค์ตื่นแต่เช้าตรู่ ย่อมส่งบุรุษไปด้วยสั่งว่า ‘ไปเถิดนาย เจ้าจงรู้จิรวาสีกุมาร’
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ตราบใดที่บุรุษนั้นยังไม่มา ตราบนั้นความกระวน-
กระวายใจย่อมมีแก่ข้าพระองค์ว่า ‘ภัยใด ๆ อย่าได้เบียดเบียนจิรวาสีกุมารเลย”
“ผู้ใหญ่บ้าน ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส
และอุปายาส พึงเกิดขึ้นเพราะจิรวาสีกุมารถูกประหาร จองจำ ปรับไหม หรือถูก
ตำหนิโทษหรือ”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แม้เมื่อจิรวาสีกุมารยังมีชีวิตอยู่ ความกระวนกระวาย
ใจยังมีแก่ข้าพระองค์ ก็ทำไม โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสจักไม่
เกิดขึ้นแก่ข้าพระองค์ เพราะจิรวาสีกุมารถูกประหาร จองจำ ปรับไหม หรือถูก
ตำหนิโทษเล่า”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๔๑๘ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๘. คามณิสังยุต] ๑๒. ราสิยสูตร

“ผู้ใหญ่บ้าน ท่านพึงทราบเนื้อความนั้นโดยเหตุนี้ว่า ทุกข์อย่างใดอย่างหนึ่ง
เมื่อจะเกิด ย่อมเกิดขึ้น ทุกข์นั้นทั้งหมดมีฉันทะเป็นรากเหง้า มีฉันทะเป็นเหตุ
เพราะฉันทะเป็นรากเหง้าแห่งทุกข์
ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร เมื่อใดท่านไม่ได้เห็นมารดาของจิรวาสีกุมาร
ไม่ได้ฟังเสียง เมื่อนั้นท่านยังมีฉันทราคะหรือความรักในมารดาของจิรวาสีกุมารหรือ”
“ไม่มี พระพุทธเจ้าข้า”
“ผู้ใหญ่บ้าน เพราะอาศัยการเห็นหรือการฟัง ท่านจึงได้มีฉันทราคะหรือ
ความรักในมารดาของจิรวาสีกุมารหรือ”
“อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
“ผู้ใหญ่บ้าน ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส
และอุปายาสพึงเกิดขึ้นแก่ท่าน เพราะมารดาของจิรวาสีกุมารถูกประหาร จองจำ
ปรับไหม หรือถูกตำหนิโทษหรือ”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แม้เมื่อมารดาของจิรวาสีกุมารยังมีชีวิตอยู่ ความ
กระวนกระวายยังมีแก่ข้าพระองค์ ก็ทำไม โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และ
อุปายาสจักไม่เกิดขึ้นแก่ข้าพระองค์ เพราะมารดาของจิรวาสีกุมารถูกประหาร
จองจำ ปรับไหม หรือถูกตำหนิโทษเล่า”
“ผู้ใหญ่บ้าน ท่านพึงทราบความข้อนั้นโดยเหตุนี้ว่า ทุกข์อย่างใดอย่างหนึ่ง
เมื่อจะเกิด ย่อมเกิดขึ้น ทุกข์นั้นทั้งหมดมีฉันทะเป็นรากเหง้า มีฉันทะเป็นเหตุ
เพราะฉันทะเป็นรากเหง้าแห่งทุกข์”

คันธภกสูตรที่ ๑๑ จบ

๑๒. ราสิยสูตร
ว่าด้วยผู้ใหญ่บ้านชื่อราสิยะ

[๓๖๔] ครั้งนั้น ผู้ใหญ่บ้านชื่อราสิยะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
ถวายอภิวาท แล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๔๑๙ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๘. คามณิสังยุต] ๑๒. ราสิยสูตร

“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ได้ยินมาว่า ‘พระสมณโคดมทรงตำหนิ
ตบะทุกชนิด ทรงชี้โทษและคัดค้านผู้บำเพ็ญตบะทั้งปวงว่าเป็นอยู่เศร้าหมองโดย
ส่วนเดียว’
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สมณพราหมณ์ที่กล่าวอย่างนี้ว่า ‘พระสมณโคดมทรง
ตำหนิตบะทุกชนิด ทรงชี้โทษและคัดค้านผู้บำเพ็ญตบะทั้งปวงว่า เป็นอยู่เศร้าหมอง
โดยส่วนเดียว’ ชื่อว่าพูดตรงตามที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ ไม่ชื่อว่ากล่าวตู่พระ
ผู้มีพระภาคด้วยคำเท็จหรือ ชื่อว่ากล่าวแก้อย่างสมเหตุสมผลหรือ ไม่มีบ้างหรือที่
คำกล่าวเช่นนั้นและคำที่กล่าวต่อ ๆ กันมาจะเป็นเหตุให้ถูกตำหนิได้”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ผู้ใหญ่บ้าน สมณพราหมณ์ที่กล่าวอย่างนี้ว่า
‘พระสมณโคดมทรงตำหนิตบะทุกชนิด ทรงชี้โทษและคัดค้านผู้บำเพ็ญตบะทั้งปวงว่า
เป็นอยู่เศร้าหมองโดยส่วนเดียว’ ไม่ชื่อว่าพูดตรงตามคำที่เราพูดไว้ และชื่อว่า
กล่าวตู่เราด้วยคำเปล่าคำเท็จ
บรรพชิตไม่พึงเสพที่สุด ๒ อย่าง
ผู้ใหญ่บ้าน ที่สุด ๒ อย่างนี้บรรพชิตไม่พึงเสพ คือ
๑. กามสุขัลลิกานุโยค (การหมกมุ่นอยู่ด้วยสุขในกามทั้งหลาย) เป็นธรรมอัน
ทราม เป็นของชาวบ้าน เป็นของปุถุชน ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่
ประกอบด้วยประโยชน์
๒. อัตตกิลมถานุโยค (การประกอบความลำบากเดือดร้อนแก่ตน) เป็นทุกข์
ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์
มัชฌิมาปฏิปทาไม่เอียงเข้าใกล้ที่สุด ๒ อย่างนั้นตถาคตได้ตรัสรู้แล้ว อันเป็น
ปฏิปทาก่อให้เกิดจักษุ๑ ก่อให้เกิดญาณ เป็นไปเพื่อความสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อ
ความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๘. คามณิสังยุต] ๑๒. ราสิยสูตร

มัชฌิมาปฏิปทาที่ตถาคตได้ตรัสรู้แล้ว อันเป็นปฏิปทาก่อให้เกิดจักษุ ก่อ
ให้เกิดญาณ เป็นไปเพื่อความสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน
นั้นเป็นอย่างไร
มัชฌิมาปฏิปทานั้น คือ อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้แล ได้แก่
๑. สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ ๘. สัมมาสมาธิ
นี้คือมัชฌิมาปฏิปทานั้นที่ตถาคตได้ตรัสรู้แล้ว อันเป็นปฏิปทาก่อให้เกิดจักษุ
ก่อให้เกิดญาณ เป็นไปเพื่อความความสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อ
นิพพาน
กามโภคีบุคคล ๓ จำพวก
ผู้ใหญ่บ้าน กามโภคีบุคคล๑ ๓ จำพวกนี้มีปรากฏอยู่ในโลก
กามโภคีบุคคล ๓ จำพวก ไหนบ้าง คือ
๑. กามโภคีบุคคลบางคนในโลกนี้แสวงหาโภคทรัพย์โดยไม่ชอบธรรมด้วย
การงานที่ผิด ครั้นแสวงหาได้แล้ว ไม่เลี้ยงตนให้อิ่มหนำ และไม่แจกจ่าย
ไม่ทำบุญ
กามโภคีบุคคลบางคนในโลกนี้แสวงหาโภคทรัพย์โดยไม่ชอบธรรมด้วย
การงานที่ผิด ครั้นแสวงหาได้แล้ว เลี้ยงตนให้อิ่มหนำสำราญ แต่ไม่
แจกจ่าย ไม่ทำบุญ
กามโภคีบุคคลบางคนในโลกนี้แสวงหาโภคทรัพย์โดยไม่ชอบธรรมด้วย
การงานที่ผิด ครั้นแสวงหาได้แล้ว เลี้ยงตนให้อิ่มหนำสำราญ และแจกจ่าย
ทำบุญ
๒. กามโภคีบุคคลบางคนในโลกนี้แสวงหาโภคทรัพย์โดยชอบธรรมและไม่ชอบ
ธรรมด้วยการงานที่ผิดบ้าง ไม่ผิดบ้าง ครั้นแสวงหาได้แล้ว ไม่เลี้ยงตน
ให้อิ่มหนำสำราญ และไม่แจกจ่าย ไม่ทำบุญ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๘. คามณิสังยุต] ๑๒. ราสิยสูตร

กามโภคีบุคคลบางคนในโลกนี้แสวงหาโภคทรัพย์โดยชอบธรรมและ
ไม่ชอบธรรมด้วยการงานที่ผิดบ้าง ไม่ผิดบ้าง ครั้นแสวงหาได้แล้ว
เลี้ยงตนให้อิ่มหนำสำราญ แต่ไม่แจกจ่าย ไม่ทำบุญ
กามโภคีบุคคลบางคนในโลกนี้แสวงหาโภคทรัพย์โดยชอบธรรมและ
ไม่ชอบธรรมด้วยการงานที่ผิดบ้าง ไม่ผิดบ้าง ครั้นแสวงหาได้แล้ว
เลี้ยงตนให้อิ่มหนำสำราญ และแจกจ่าย ทำบุญ
๓. กามโภคีบุคคลบางคนในโลกนี้แสวงหาโภคทรัพย์โดยชอบธรรมด้วยการงาน
ที่ไม่ผิด ครั้นแสวงหาได้แล้ว ไม่เลี้ยงตนให้อิ่มหนำสำราญ และไม่แจกจ่าย
ไม่ทำบุญ
กามโภคีบุคคลบางคนในโลกนี้แสวงหาโภคทรัพย์โดยชอบธรรม
ด้วยการงานที่ไม่ผิด ครั้นแสวงหาได้แล้ว เลี้ยงตนให้อิ่มหนำสำราญ
แต่ไม่แจกจ่าย ไม่ทำบุญ
กามโภคีบุคคลบางคนในโลกนี้แสวงหาโภคทรัพย์โดยชอบธรรม
ด้วยการงานที่ไม่ผิด ครั้นแสวงหาได้แล้ว เลี้ยงตนให้อิ่มหนำสำราญ
และแจกจ่าย ทำบุญ แต่เป็นผู้มัวเมา หมกมุ่น จดจ่อ ไม่เห็นโทษ ไม่มี
ปัญญาเป็นเครื่องสลัดออก ใช้สอยโภคทรัพย์เหล่านั้น
กามโภคีบุคคลบางคนในโลกนี้แสวงหาโภคทรัพย์โดยชอบธรรม
ด้วยการงานที่ไม่ผิด ครั้นแสวงหาได้แล้ว เลี้ยงตนให้อิ่มหนำสำราญ และ
แจกจ่าย ทำบุญ ทั้งเป็นผู้ไม่มัวเมา ไม่หมกมุ่น ไม่จดจ่อ เห็นโทษ มี
ปัญญาเป็นเครื่องสลัดออก ใช้สอยโภคทรัพย์เหล่านั้น
กามโภคีบุคคลที่ควรติเตียนและสรรเสริญ
ผู้ใหญ่บ้าน ในบรรดากามโภคีบุคคล ๓ จำพวกนั้น กามโภคีบุคคลที่แสวงหา
โภคทรัพย์โดยไม่ชอบธรรมด้วยการงานที่ผิด ครั้นแสวงหาได้แล้ว ไม่เลี้ยงตนให้
อิ่มหนำสำราญ ไม่แจกจ่าย ไม่ทำบุญนี้ควรติเตียนโดย ๓ สถาน
ควรติเตียนโดย ๓ สถาน อะไรบ้าง คือ
๑. ควรติเตียนโดยสถานที่ ๑ นี้ว่า ‘แสวงหาโภคทรัพย์โดยไม่ชอบธรรม
ด้วยการงานที่ผิด’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๔๒๒ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๘. คามณิสังยุต] ๑๒. ราสิยสูตร

๒. ควรติเตียนโดยสถานที่ ๒ นี้ว่า ‘ไม่เลี้ยงตนให้อิ่มหนำสำราญ’
๓. ควรติเตียนโดยสถานที่ ๓ นี้ว่า ‘ไม่แจกจ่าย ไม่ทำบุญ’
กามโภคีบุคคลนี้ควรติเตียนโดย ๓ สถานนี้ (๑)
กามโภคีบุคคลที่แสวงหาโภคทรัพย์โดยไม่ชอบธรรมด้วยการงานที่ผิด ครั้น
แสวงหาได้แล้ว เลี้ยงตนให้อิ่มหนำสำราญ แต่ไม่แจกจ่าย ไม่ทำบุญนี้ควรติเตียน
โดย ๒ สถาน ควรสรรเสริญโดยสถานเดียว คือ
ควรติเตียนโดย ๒ สถาน อะไรบ้าง คือ
๑. ควรติเตียนโดยสถานที่ ๑ นี้ว่า ‘แสวงหาโภคทรัพย์โดยไม่ชอบธรรม
ด้วยการงานที่ผิด’
๒. ควรติเตียนโดยสถานที่ ๒ นี้ว่า ‘ไม่แจกจ่าย ไม่ทำบุญ’
ควรสรรเสริญโดยสถานเดียว คืออะไร
คือ ควรสรรเสริญโดยสถานเดียวนี้ว่า ‘เลี้ยงตนให้อิ่มหนำสำราญ’
กามโภคีบุคคลนี้ควรติเตียนโดย ๒ สถานนี้ ควรสรรเสริญโดยสถานเดียว
นี้ (๒)
กามโภคีบุคคลที่แสวงหาโภคทรัพย์โดยไม่ชอบธรรมด้วยการงานที่ผิด ครั้น
แสวงหาได้แล้ว เลี้ยงตนให้อิ่มหนำสำราญ และแจกจ่าย ทำบุญนี้ควรติเตียนโดย
สถานเดียว ควรสรรเสริญโดย ๒ สถาน คือ
ควรติเตียนโดยสถานเดียว คืออะไร
คือ ควรติเตียนโดยสถานเดียวนี้ว่า ‘แสวงหาโภคทรัพย์โดยไม่ชอบธรรมด้วย
การงานที่ผิด’
ควรสรรเสริญโดย ๒ สถาน อะไรบ้าง คือ
๑. ควรสรรเสริญโดยสถานที่ ๑ นี้ว่า ‘เลี้ยงตนให้อิ่มหนำสำราญ’
๒. ควรสรรเสริญโดยสถานที่ ๒ นี้ว่า ‘แจกจ่าย และทำบุญ’
กามโภคีบุคคลนี้ควรติเตียนโดยสถานเดียวนี้ ควรสรรเสริญโดย ๒ สถาน
นี้ (๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๔๒๓ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๘. คามณิสังยุต] ๑๒. ราสิยสูตร

กามโภคีบุคคลที่แสวงหาโภคทรัพย์โดยชอบธรรมและไม่ชอบธรรมด้วยการงาน
ที่ผิดบ้าง ไม่ผิดบ้าง ครั้นแสวงหาได้แล้ว ไม่เลี้ยงตนให้อิ่มหนำสำราญ ไม่แจกจ่าย
ไม่ทำบุญนี้ควรสรรเสริญโดยสถานเดียว ควรติเตียนโดย ๓ สถาน คือ
ควรสรรเสริญโดยสถานเดียว คืออะไร
คือ ควรสรรเสริญโดยสถานเดียวนี้ว่า ‘แสวงหาโภคทรัพย์โดยชอบธรรมด้วย
การงานที่ไม่ผิด’
ควรติเตียนโดย ๓ สถาน อะไรบ้าง คือ
๑. ควรติเตียนโดยสถานที่ ๑ นี้ว่า ‘แสวงหาโภคทรัพย์โดยไม่ชอบธรรม
ด้วยการงานที่ผิด’
๒. ควรติเตียนโดยสถานที่ ๒ นี้ว่า ‘ไม่เลี้ยงตนให้อิ่มหนำสำราญ’
๓. ควรติเตียนโดยสถานที่ ๓ นี้ว่า ‘ไม่แจกจ่าย ไม่ทำบุญ’
กามโภคีบุคคลนี้ควรสรรเสริญโดยสถานเดียวนี้ ควรติเตียนโดย ๓ สถานนี้ (๔)
กามโภคีบุคคลที่แสวงหาโภคทรัพย์โดยชอบธรรมและไม่ชอบธรรมด้วยการงาน
ที่ผิดบ้าง ไม่ผิดบ้าง ครั้นแสวงหาได้แล้ว เลี้ยงตนให้อิ่มหนำสำราญ แต่ไม่แจกจ่าย
ไม่ทำบุญนี้ควรสรรเสริญโดย ๒ สถาน ควรติเตียนโดย ๒ สถาน คือ
ควรสรรเสริญโดย ๒ สถาน อะไรบ้าง คือ
๑. ควรสรรเสริญโดยสถานที่ ๑ นี้ว่า ‘แสวงหาโภคทรัพย์โดยชอบธรรม
ด้วยการงานที่ไม่ผิด’
๒. ควรสรรเสริญโดยสถานที่ ๒ นี้ว่า ‘เลี้ยงตนให้อิ่มหนำสำราญ’
ควรติเตียนโดย ๒ สถาน อะไรบ้าง คือ
๑. ควรติเตียนโดยสถานที่ ๑ นี้ว่า ‘แสวงหาโภคทรัพย์โดยไม่ชอบธรรม
ด้วยการงานที่ผิด’
๒. ควรติเตียนโดยสถานที่ ๒ นี้ว่า ‘ไม่แจกจ่าย ไม่ทำบุญ’
กามโภคีบุคคลนี้ควรสรรเสริญโดย ๒ สถานนี้ ควรติเตียนโดย ๒ สถานนี้ (๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๔๒๔ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๘. คามณิสังยุต] ๑๒. ราสิยสูตร

กามโภคีบุคคลที่แสวงหาโภคทรัพย์โดยชอบธรรมและไม่ชอบธรรมด้วยการงาน
ที่ผิดบ้าง ไม่ผิดบ้าง ครั้นแสวงหาได้แล้ว เลี้ยงตนให้อิ่มหนำสำราญ ทั้งแจกจ่าย
และทำบุญ ควรสรรเสริญโดย ๓ สถาน ควรติเตียนโดยสถานเดียว คือ
ควรสรรเสริญโดย ๓ สถาน อะไรบ้าง คือ
๑. ควรสรรเสริญโดยสถานที่ ๑ นี้ว่า ‘แสวงหาโภคทรัพย์โดยชอบธรรม
ด้วยการงานที่ไม่ผิด’
๒. ควรสรรเสริญโดยสถานที่ ๒ นี้ว่า ‘เลี้ยงตนให้อิ่มหนำสำราญ’
๓. ควรสรรเสริญโดยสถานที่ ๓ นี้ว่า ‘แจกจ่ายและทำบุญ’
ควรติเตียนโดยสถานเดียว คืออะไร
คือ ควรติเตียนโดยสถานเดียวนี้ว่า ‘แสวงหาโภคทรัพย์โดยไม่ชอบธรรมด้วย
การงานที่ผิด’
กามโภคีบุคคลนี้ควรสรรเสริญโดย ๓ สถานนี้ ควรติเตียนโดยสถานเดียวนี้ (๖)
กามโภคีบุคคลที่แสวงหาโภคทรัพย์โดยชอบธรรมด้วยการงานที่ไม่ผิด ครั้น
แสวงหาได้แล้ว ไม่เลี้ยงตนให้อิ่มหนำสำราญ ไม่แจกจ่าย ไม่ทำบุญ ควรสรรเสริญ
โดยสถานเดียว ควรติเตียนโดย ๒ สถาน คือ
ควรสรรเสริญโดยสถานเดียว คืออะไร
คือ ควรสรรเสริญโดยสถานเดียวนี้ว่า ‘แสวงหาโภคทรัพย์โดยชอบธรรมด้วย
การงานที่ไม่ผิด’
ควรติเตียนโดย ๒ สถาน อะไรบ้าง คือ
๑. ควรติเตียนโดยสถานที่ ๑ นี้ว่า ‘ไม่เลี้ยงตนให้อิ่มหนำสำราญ’
๒. ควรติเตียนโดยสถานที่ ๒ นี้ว่า ‘ไม่แจกจ่าย ไม่ทำบุญ’
กามโภคีบุคคลนี้ควรสรรเสริญโดยสถานเดียวนี้ ควรติเตียนโดย ๒ สถานนี้ (๗)
กามโภคีบุคคลที่แสวงหาโภคทรัพย์โดยชอบธรรมด้วยการงานที่ไม่ผิด ครั้น
แสวงหาได้แล้ว เลี้ยงตนให้อิ่มหนำสำราญ แต่ไม่แจกจ่าย ไม่ทำบุญ ควรสรรเสริญ
โดย ๒ สถาน ควรติเตียนโดยสถานเดียว คือ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๔๒๕ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๘. คามณิสังยุต] ๑๒. ราสิยสูตร

ควรสรรเสริญโดย ๒ สถาน อะไรบ้าง คือ
๑. ควรสรรเสริญโดยสถานที่ ๑ นี้ว่า ‘แสวงหาโภคทรัพย์โดยชอบธรรม
ด้วยการงานที่ไม่ผิด’
๒. ควรสรรเสริญโดยสถานที่ ๒ นี้ว่า ‘เลี้ยงตนให้อิ่มหนำสำราญ’
ควรติเตียนโดยสถานเดียว คืออะไร
คือ ควรติเตียนโดยสถานเดียวนี้ว่า ‘ไม่แจกจ่าย ไม่ทำบุญ’
กามโภคีบุคคลนี้ควรสรรเสริญโดย ๒ สถานนี้ ควรติเตียนโดยสถานเดียว
นี้ (๘)
กามโภคีบุคคลที่แสวงหาโภคทรัพย์โดยชอบธรรมด้วยการงานที่ไม่ผิด ครั้น
แสวงหาได้แล้ว เลี้ยงตนให้อิ่มหนำสำราญ แจกจ่าย และทำบุญ แต่เป็นผู้มัวเมา
หมกมุ่น จดจ่อ ไม่เห็นโทษ ไม่มีปัญญาเครื่องสลัดออก ใช้สอยโภคทรัพย์เหล่า
นั้นอยู่ ควรสรรเสริญโดย ๓ สถาน ควรติเตียนโดยสถานเดียว คือ
ควรสรรเสริญโดย ๓ สถาน อะไรบ้าง คือ
๑. ควรสรรเสริญโดยสถานที่ ๑ นี้ว่า ‘แสวงหาโภคทรัพย์โดยชอบธรรม
ด้วยการงานที่ไม่ผิด’
๒. ควรสรรเสริญโดยสถานที่ ๒ นี้ว่า ‘เลี้ยงตนให้อิ่มหนำสำราญ’
๓. ควรสรรเสริญโดยสถานที่ ๓ นี้ว่า ‘แจกจ่าย และทำบุญ’
ควรติเตียนโดยสถานเดียว คืออะไร
คือ ควรติเตียนโดยสถานเดียวนี้ว่า ‘เป็นผู้มัวเมา หมกมุ่น จดจ่อ ไม่เห็นโทษ
ไม่มีปัญญาเครื่องสลัดออก ใช้สอยโภคทรัพย์เหล่านั้นอยู่’
กามโภคีบุคคลนี้ควรสรรเสริญโดย ๓ สถานนี้ ควรติเตียนโดยสถานเดียว
นี้ (๙)
กามโภคีบุคคลที่แสวงหาโภคทรัพย์โดยชอบธรรมด้วยการงานที่ไม่ผิด ครั้น
แสวงหาได้แล้ว เลี้ยงตนให้อิ่มหนำสำราญ ทั้งแจกจ่ายและทำบุญ แต่ไม่มัวเมา
ไม่หมกมุ่น ไม่จดจ่อ เห็นโทษ มีปัญญาเครื่องสลัดออก ใช้สอยโภคทรัพย์เหล่านั้น
อยู่ ควรสรรเสริญโดย ๔ สถาน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๔๒๖ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๘. คามณิสังยุต] ๑๒. ราสิยสูตร

ควรสรรเสริญโดย ๔ สถาน อะไรบ้าง คือ
๑. ควรสรรเสริญโดยสถานที่ ๑ นี้ว่า ‘แสวงหาโภคทรัพย์โดยชอบธรรม
ด้วยการงานที่ไม่ผิด’
๒. ควรสรรเสริญโดยสถานที่ ๒ นี้ว่า ‘เลี้ยงตนให้อิ่มหนำสำราญ’
๓. ควรสรรเสริญโดยสถานที่ ๓ นี้ว่า ‘แจกจ่ายและทำบุญ’
๔. ควรสรรเสริญโดยสถานที่ ๔ นี้ว่า ‘ไม่มัวเมา ไม่หมกมุ่น ไม่จดจ่อ
เห็นโทษ มีปัญญาเครื่องสลัดออก ใช้สอยโภคทรัพย์เหล่านั้นอยู่’
กามโภคีบุคคลนี้ควรสรรเสริญโดย ๔ สถานนี้ (๑๐)
ผู้บำเพ็ญตบะเป็นอยู่เศร้าหมอง ๓ จำพวก
ผู้ใหญ่บ้าน บุคคลผู้บำเพ็ญตบะ เป็นอยู่เศร้าหมอง ๓ จำพวกนี้มีปรากฏ
อยู่ในโลก
บุคคลผู้บำเพ็ญตบะเป็นอยู่เศร้าหมอง ๓ จำพวก ไหนบ้าง คือ
๑. บุคคลบางคนในโลกนี้บำเพ็ญตบะเป็นอยู่เศร้าหมอง มีศรัทธา ออกจาก
เรือนบวชเป็นบรรพชิตด้วยคิดว่า ‘ไฉนหนอเราพึงบรรลุกุศลธรรม ไฉน
หนอเราพึงทำให้แจ้งญาณทัสสนะที่ประเสริฐอันสามารถอันวิเศษยิ่งกว่า
ธรรมของมนุษย์’ เขาทำตนให้เดือดร้อนกระวนกระวาย ไม่บรรลุกุศลธรรม
และไม่ทำให้แจ้งญาณทัสสนะที่ประเสริฐอันสามารถอันวิเศษยิ่งกว่าธรรม
ของมนุษย์ (๑)
๒. อนึ่ง บุคคลบางคนในโลกนี้บำเพ็ญตบะเป็นอยู่เศร้าหมอง มีศรัทธา ออก
จากเรือนบวชเป็นบรรพชิตด้วยคิดว่า ‘ไฉนหนอเราพึงบรรลุกุศลธรรม
ไฉนหนอเราพึงทำให้แจ้งญาณทัสสนะที่ประเสริฐอันสามารถอันวิเศษ
ยิ่งกว่าธรรมของมนุษย์’ เขาทำตนให้เดือดร้อนกระวนกระวาย บรรลุ
กุศลธรรม แต่ไม่ทำให้แจ้งญาณทัสสนะที่ประเสริฐอันสามารถอันวิเศษ
ยิ่งกว่าธรรมของมนุษย์ (๒)
๓. อนึ่ง บุคคลบางคนในโลกนี้บำเพ็ญตบะเป็นอยู่เศร้าหมอง มีศรัทธา ออก
จากเรือนบวชเป็นบรรพชิตด้วยคิดว่า ‘ไฉนหนอเราพึงบรรลุกุศลธรรม

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๔๒๗ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๘. คามณิสังยุต] ๑๒. ราสิยสูตร

ไฉนหนอเราพึงทำให้แจ้งญาณทัสสนะที่ประเสริฐอันสามารถอันวิเศษยิ่งกว่า
ธรรมของมนุษย์’ เขาทำตนให้เดือดร้อนกระวนกระวาย บรรลุกุศลธรรม
และทำให้แจ้งญาณทัสสนะที่ประเสริฐอันสามารถอันวิเศษยิ่งกว่าธรรม
ของมนุษย์ (๓)

ผู้บำเพ็ญตบะเป็นอยู่เศร้าหมองควรถูกติเตียนและสรรเสริญ

ผู้ใหญ่บ้าน บรรดาบุคคล ๓ จำพวกนั้น บุคคลผู้บำเพ็ญตบะ เป็นอยู่
เศร้าหมอง ทำตนให้เดือดร้อนกระวนกระวาย ไม่บรรลุกุศลธรรม และไม่ทำให้แจ้ง
ญาณทัสสนะที่ประเสริฐอันสามารถอันวิเศษยิ่งกว่าธรรมของมนุษย์ ควรติเตียนโดย
๓ สถาน
ควรติเตียนโดย ๓ สถาน อะไรบ้าง คือ
๑. ควรติเตียนโดยสถานที่ ๑ นี้ว่า ‘ทำตนให้เดือดร้อนกระวนกระวาย’
๒. ควรติเตียนโดยสถานที่ ๒ นี้ว่า ‘ไม่บรรลุกุศลธรรม’
๓. ควรติเตียนโดยสถานที่ ๓ นี้ว่า ‘ไม่ทำให้แจ้งญาณทัสสนะที่ประเสริฐ
อันสามารถอันวิเศษยิ่งกว่าธรรมของมนุษย์’
บุคคลผู้บำเพ็ญตบะ เป็นอยู่เศร้าหมองนี้ ควรติเตียนโดย ๓ สถานนี้ (๑)

บุคคลผู้บำเพ็ญตบะ เป็นอยู่เศร้าหมอง ทำตนให้เดือดร้อนกระวนกระวาย
บรรลุกุศลธรรม แต่ไม่ทำให้แจ้งญาณทัสสนะที่ประเสริฐอันสามารถอันวิเศษยิ่งกว่า
ธรรมของมนุษย์ ควรติเตียนโดย ๒ สถาน ควรสรรเสริญโดยสถานเดียว คือ
ควรติเตียนโดย ๒ สถาน อะไรบ้าง คือ
๑. ควรติเตียนโดยสถานที่ ๑ นี้ว่า ‘ทำตนให้เดือดร้อนกระวนกระวาย’
๒. ควรติเตียนโดยสถานที่ ๒ นี้ว่า ‘ไม่ทำให้แจ้งญาณทัสสนะที่ประเสริฐ
อันสามารถอันวิเศษยิ่งกว่าธรรมของมนุษย์’
ควรสรรเสริญโดยสถานเดียว คืออะไร
คือ ควรสรรเสริญโดยสถานเดียวนี้ว่า ‘บรรลุกุศลธรรม’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๔๒๘ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๘. คามณิสังยุต] ๑๒. ราสิยสูตร

บุคคลผู้บำเพ็ญตบะ เป็นอยู่เศร้าหมองนี้ควรติเตียนโดย ๒ สถานนี้ ควร
สรรเสริญโดยสถานเดียวนี้ (๒)
บุคคลผู้บำเพ็ญตบะ เป็นอยู่เศร้าหมอง ทำตนให้เดือดร้อนกระวนกระวาย
บรรลุกุศลธรรม และทำให้แจ้งญาณทัสสนะที่ประเสริฐอันสามารถอันวิเศษยิ่งกว่า
ธรรมของมนุษย์ ควรติเตียนโดยสถานเดียว ควรสรรเสริญโดย ๒ สถาน
ควรติเตียนโดยสถานเดียว คืออะไร
คือ ควรติเตียนโดยสถานเดียวนี้ว่า ‘ทำตนให้เดือดร้อนกระวนกระวาย’
ควรสรรเสริญโดย ๒ สถาน อะไรบ้าง คือ
๑. ควรสรรเสริญโดยสถานที่ ๑ นี้ว่า ‘บรรลุกุศลธรรม’
๒. ควรสรรเสริญโดยสถานที่ ๒ นี้ว่า ‘ทำให้แจ้งญาณทัสสนะที่ประเสริฐ
อันสามารถอันวิเศษยิ่งกว่าธรรมของมนุษย์’
บุคคลผู้บำเพ็ญตบะ เป็นอยู่เศร้าหมองนี้ควรติเตียนโดยสถานเดียวนี้ ควร
สรรเสริญโดย ๒ สถานนี้ (๓)
ธรรม ๓ ประการที่ผู้ปฏิบัติพึงเห็นชัดด้วยตนเอง
ผู้ใหญ่บ้าน ธรรม ๓ ประการนี้ที่ผู้ปฏิบัติจะพึงเห็นชัดด้วยตนเอง ไม่คร่ำครึ ไม่
ประกอบด้วยกาล ควรเรียกให้มาดู ควรน้อมเข้ามาในตน อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน
ธรรม ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. บุคคลผู้มีราคะย่อมคิดเพื่อเบียดเบียนตนเองบ้าง เพื่อเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง
เพื่อเบียดเบียนทั้ง ๒ ฝ่ายบ้าง เพราะราคะเป็นเหตุ เมื่อละราคะได้แล้ว
เขาย่อมไม่คิดเพื่อเบียดเบียนตนเองบ้าง ไม่คิดเพื่อเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง
ไม่คิดเพื่อเบียดเบียนทั้ง ๒ ฝ่ายบ้าง นี้เป็นธรรมที่ผู้ปฏิบัติจะพึงเห็นชัด
ด้วยตนเอง ไม่คร่ำครึ ไม่ประกอบด้วยกาล ควรเรียกให้มาดู ควรน้อม
เข้ามาในตน อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน
๒. บุคคลผู้มีโทสะย่อมคิดเพื่อเบียดเบียนตนเองบ้าง เพื่อเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง
เพื่อเบียดเบียนทั้ง ๒ ฝ่ายบ้าง เพราะโทสะเป็นเหตุ เมื่อละโทสะได้แล้ว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๔๒๙ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๘. คามณิสังยุต] ๑๓. ปาฏลิยสูตร

เขาย่อมไม่คิดเพื่อเบียดเบียนตนเองบ้าง ไม่คิดเพื่อเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง
ไม่คิดเพื่อเบียดเบียนทั้ง ๒ ฝ่ายบ้าง นี้เป็นธรรมที่ผู้ปฏิบัติจะพึงเห็นชัด
ด้วยตนเอง ไม่คร่ำครึ ไม่ประกอบด้วยกาล ควรเรียกให้มาดู ควรน้อม
เข้ามาในตน อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน
๓. บุคคลผู้มีโมหะย่อมคิดเพื่อเบียดเบียนตนเองบ้าง เพื่อเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง
เพื่อเบียดเบียนทั้ง ๒ ฝ่ายบ้าง เพราะโมหะเป็นเหตุ เมื่อละโมหะได้แล้ว
เขาย่อมไม่คิดเพื่อเบียดเบียนตนเองบ้าง ไม่คิดเพื่อเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง
ไม่คิดเพื่อเบียดเบียนทั้ง ๒ ฝ่ายบ้าง นี้เป็นธรรมที่ผู้ปฏิบัติจะพึงเห็นชัด
ด้วยตนเอง ไม่คร่ำครึ ไม่ประกอบด้วยกาล ควรเรียกให้มาดู ควรน้อม
เข้ามาในตน อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน
ธรรม ๓ ประการนี้ที่ผู้ปฏิบัติจะพึงเห็นชัดด้วยตนเอง ไม่คร่ำครึ ไม่ประกอบ
ด้วยกาล ควรเรียกให้มาดู ควรน้อมเข้ามาในตน อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน”
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ผู้ใหญ่บ้านชื่อราสิยะได้กราบทูลพระผู้มี
พระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระภาษิตของพระองค์ชัดเจนไพเราะยิ่งนัก
ฯลฯ ขอพระผู้มีพระภาคจงทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะ ตั้งแต่วันนี้
เป็นต้นไปจนตลอดชีวิต”

ราสิยสูตรที่ ๑๒ จบ

๑๓. ปาฏลิยสูตร
ว่าด้วยผู้ใหญ่บ้านชื่อปาฏลิยะ

[๓๖๕] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่นิคมของชาวโกฬิยะชื่ออุตตระ
ในแคว้นโกฬิยะ ครั้งนั้น ผู้ใหญ่บ้านชื่อปาฏลิยะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
ถวายอภิวาทแล้ว นั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ได้ยินมาว่า ‘พระสมณโคดมทรงรู้จักมารยา’
สมณพราหมณ์ที่กล่าวว่า ‘พระสมณโคดมทรงรู้จักมารยา’ ชื่อว่าพูดตรงตามที่
พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ ไม่ชื่อว่ากล่าวตู่พระผู้มีพระภาคด้วยคำเท็จหรือ ชื่อว่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๔๓๐ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๘. คามณิสังยุต] ๑๓. ปาฏลิยสูตร

กล่าวแก้อย่างสมเหตุสมผลหรือ ไม่มีบ้างหรือที่คำกล่าวเช่นนั้นและคำที่กล่าวต่อ ๆ
กันมาจะเป็นเหตุให้ถูกตำหนิได้ เพราะพวกข้าพระองค์ไม่ประสงค์จะกล่าวตู่พระผู้มี
พระภาคเลย”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ผู้ใหญ่บ้าน สมณพราหมณ์ที่กล่าวว่า ‘พระ
สมณโคดมทรงรู้จักมารยา’ ชื่อว่าพูดตรงตามคำที่เราพูดไว้ ไม่ชื่อว่ากล่าวตู่เราด้วย
คำเท็จ ชื่อว่ากล่าวแก้อย่างสมเหตุสมผล ไม่มีที่คำกล่าวเช่นนั้นและคำที่กล่าวต่อ ๆ
กันมาจะเป็นเหตุให้ถูกตำหนิได้”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข่าวที่ได้ยินมาจริงทีเดียว ข้าพระองค์ไม่เชื่อสมณ-
พราหมณ์เหล่านั้นว่า ‘พระสมณโคดมทรงรู้จักมารยา’ แต่ได้ยินว่า ‘พระสมณโคดม
ทรงมีมารยา”
“ผู้ใหญ่บ้าน ผู้ใดกล่าวว่า ‘เรารู้จักมารยา’ ผู้นั้นก็เท่ากับกล่าวว่า ‘เรามี
มารยา”
“ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ข้อนั้นเป็นอย่างนั้นทีเดียว ข้าแต่พระสุคต ข้อนั้น
เป็นอย่างนั้นทีเดียว”
“ผู้ใหญ่บ้าน ถ้าเช่นนั้น เราจักย้อนถามท่านในเรื่องนี้ท่านพึงตอบตามสมควร
ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร ท่านรู้จักพวกทหารผมยาวชาวโกฬิยะหรือ”
“ข้าพระองค์รู้จักพวกทหารผมยาวชาวโกฬิยะ พระพุทธเจ้าข้า”
“ผู้ใหญ่บ้าน ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร พวกทหารผมยาวชาวโกฬิยะ
มีไว้เพื่อประโยชน์อะไร”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พวกทหารผมยาวชาวโกฬิยะมีไว้เพื่อประโยชน์ คือ
เพื่อป้องกันพวกโจรชาวโกฬิยะและเพื่อการทำหน้าที่เป็นตัวแทนของชาวโกฬิยะ”
“ผู้ใหญ่บ้าน ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร ท่านรู้จักพวกทหารผมยาวใน
นิคมของชาวโกฬิยะว่ามีศีลหรือทุศีล”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์รู้จักพวกทหารผมยาวชาวโกฬิยะว่า ทุศีล
มีธรรมเลวทราม และพวกทหารผมยาวชาวโกฬิยะเป็นพวกหนึ่งในบรรดาผู้ทุศีล
มีธรรมเลวทรามในโลก”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๔๓๑ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๘. คามณิสังยุต] ๑๓. ปาฏลิยสูตร

“ผู้ใหญ่บ้าน ผู้ใดพึงกล่าวว่า ‘ผู้ใหญ่บ้านชื่อปาฏลิยะรู้จักพวกทหารผมยาว
ชาวโกฬิยะว่าทุศีล มีธรรมเลวทราม แม้ผู้ใหญ่บ้านชื่อปาฏลิยะก็ทุศีล มีธรรมเลว
ทราม’ ผู้นั้นเมื่อกล่าว ชื่อว่ากล่าวถูกหรือ”
“กล่าวไม่ถูก พระพุทธเจ้าข้า พวกทหารผมยาวชาวโกฬิยะเป็นพวกหนึ่ง
ข้าพระองค์ก็เป็นอีกพวกหนึ่ง พวกทหารผมยาวชาวโกฬิยะ มีธรรมอย่างหนึ่ง ข้า
พระองค์ก็มีธรรมอีกอย่างหนึ่ง”
“ผู้ใหญ่บ้าน ที่จริงท่านเองจักกล่าวไม่ได้ว่า ‘ผู้ใหญ่บ้านชื่อปาฏลิยะรู้จักพวก
ทหารผมยาวชาวโกฬิยะว่าทุศีล มีธรรมเลวทราม แต่ผู้ใหญ่บ้านชื่อปาฏลิยะไม่ใช่ผู้
ทุศีล มีธรรมเลวทราม’ เพราะฉะนั้นตถาคตก็จักกล่าวไม่ได้ว่า ‘ตถาคตรู้จักมารยา
แต่ตถาคตไม่ใช่ผู้มีมารยา’
เรารู้ชัดมารยา ผลของมารยา และข้อปฏิบัติที่เป็นเหตุให้บุคคลผู้มีมารยา
หลังจากตายแล้วจะไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก
เรารู้ชัดการฆ่าสัตว์ ผลของการฆ่าสัตว์ และข้อปฏิบัติที่เป็นเหตุให้บุคคลผู้ฆ่า
สัตว์หลังจากตายแล้วจะไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก
เรารู้ชัดการลักทรัพย์ ผลของการลักทรัพย์ และข้อปฏิบัติที่เป็นเหตุให้บุคคล
ผู้ลักทรัพย์หลังจากตายแล้วจะไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก
เรารู้ชัดการประพฤติผิดในกาม ผลของการประพฤติผิดในกาม และข้อ
ปฏิบัติที่เป็นเหตุให้บุคคลผู้ประพฤติผิดในกามหลังจากตายแล้วจะไปเกิดในอบาย ทุคติ
วินิบาต นรก
เรารู้ชัดการพูดเท็จ ผลของการพูดเท็จ และข้อปฏิบัติที่เป็นเหตุให้บุคคลผู้
พูดเท็จหลังจากตายแล้วจะไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก
เรารู้ชัดการพูดคำส่อเสียด ผลของการพูดคำส่อเสียด และข้อปฏิบัติที่เป็น
เหตุให้บุคคลผู้พูดคำส่อเสียดหลังจากตายแล้วจะไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก
เรารู้ชัดการพูดคำหยาบ ผลของการพูดคำหยาบ และข้อปฏิบัติที่เป็นเหตุให้
บุคคลผู้พูดคำหยาบหลังจากตายแล้วจะไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๔๓๒ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๘. คามณิสังยุต] ๑๓. ปาฏลิยสูตร

เรารู้ชัดการพูดเพ้อเจ้อ ผลของการพูดเพ้อเจ้อ และข้อปฏิบัติที่เป็นเหตุให้บุคคล
ผู้พูดเพ้อเจ้อหลังจากตายแล้วจะไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก
เรารู้ชัดความเพ่งเล็งอยากได้ของเขา ผลของความเพ่งเล็งอยากได้ของเขา
และข้อปฏิบัติที่เป็นเหตุให้บุคคลผู้เพ่งเล็งอยากได้ของเขาหลังจากตายแล้วจะไปเกิด
ในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก
เรารู้ชัดความประทุษร้ายที่เกิดจากพยาบาท ผลของความประทุษร้ายที่เกิด
จากพยาบาท และข้อปฏิบัติที่เป็นเหตุให้บุคคลผู้มีจิตพยาบาทหลังจากตายแล้วจะ
ไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก
เรารู้ชัดมิจฉาทิฏฐิ ผลของมิจฉาทิฏฐิ และข้อปฏิบัติที่เป็นเหตุให้บุคคลผู้เป็น
มิจฉาทิฏฐิหลังจากตายแล้วจะไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก
สมณพราหมณ์ผู้พูดเท็จ
ผู้ใหญ่บ้าน มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่งผู้มีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘ผู้
ฆ่าสัตว์ทั้งหมดย่อมเสวยทุกข์โทมนัสในปัจจุบัน ผู้ลักทรัพย์ทั้งหมดย่อมเสวยทุกข์
โทมนัสในปัจจุบัน ผู้ประพฤติผิดในกามทั้งหมดย่อมเสวยทุกข์โทมนัสในปัจจุบัน ผู้
พูดเท็จทั้งหมดย่อมเสวยทุกข์โทมนัสในปัจจุบัน
แต่ปรากฏว่า คนบางคนในโลกนี้คล้องพวงมาลัย ใส่ตุ้มหู อาบน้ำอย่างดี
ลูบไล้อย่างดี แต่งผมและหนวด บำเรอตนด้วยกามกับสตรี อย่างพระราชา คน
ทั้งหลายพูดถึงผู้นั้นว่า ‘ท่านผู้เจริญ บุรุษนี้ได้ทำอะไร จึงคล้องพวงมาลัย ใส่ตุ้มหู
อาบน้ำอย่างดี ลูบไล้อย่างดี แต่งผมและหนวด บำเรอตนด้วยกามกับสตรี อย่าง
พระราชา’
คนทั้งหลายพูดถึงผู้นั้นอีกว่า ‘ท่านผู้เจริญ บุรุษนี้ข่มข้าศึกของพระราชาแล้ว
ปลิดชีพมันเสีย พระราชาทรงพอพระทัยได้พระราชทานรางวัลแก่เขา ด้วยเหตุนั้น
บุรุษนี้จึงคล้องพวงมาลัย ใส่ตุ้มหู อาบน้ำอย่างดี ลูบไล้อย่างดี แต่งผมและหนวด
บำเรอตนด้วยกามกับสตรี อย่างพระราชา’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๔๓๓ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๘. คามณิสังยุต] ๑๓. ปาฏลิยสูตร

ปรากฏว่า คนบางคนในโลกนี้ถูกมัดแขนไพล่หลังอย่างมั่นคงด้วยเชือกที่เหนียว
แล้ว โกนศีรษะ แห่ประจานไปตามถนน ตามตรอก ด้วยบัณเฑาะว์เสียงดังสนั่น
ออกทางประตูด้านทิศใต้ แล้วตัดศีรษะด้านทิศใต้ของเมือง คนทั้งหลายพูดถึง
ผู้นั้นว่า ‘ท่านผู้เจริญ บุรุษนี้ได้ทำอะไรจึงถูกมัดแขนไพล่หลังอย่างมั่นคงด้วยเชือก
ที่เหนียวแล้ว โกนศีรษะ แห่ประจานไปตามถนน ตามตรอก ด้วยบัณเฑาะว์เสียง
ดังสนั่น ออกทางประตูด้านทิศใต้ แล้วตัดศีรษะด้านทิศใต้ของเมือง’
คนทั้งหลายพูดถึงผู้นั้นอีกว่า ‘ท่านผู้เจริญ บุรุษนี้เป็นศัตรูของพระราชา ได้
ปลิดชีพสตรีหรือบุรุษ ด้วยเหตุนั้นพระราชาทั้งหลายจึงรับสั่งให้จับเขาแล้วลงโทษ
เช่นนี้’
ผู้ใหญ่บ้าน ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร เรื่องเช่นนี้ท่านได้เห็นหรือได้ยิน
มาบ้างไหม”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ได้เห็น ได้ยิน ทั้งจักได้ยินต่อไป
พระพุทธเจ้าข้า”
“ผู้ใหญ่บ้าน บรรดาสมณพราหมณ์เหล่านั้น สมณพราหมณ์ที่มีวาทะอย่างนี้
มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘ผู้ฆ่าสัตว์ทั้งหมดย่อมเสวยทุกข์โทมนัสในปัจจุบัน’ พูดจริงหรือ
พูดเท็จ”
“พูดเท็จ พระพุทธเจ้าข้า”
“สมณพราหมณ์พวกที่พูดปดมดเท็จ มีศีลหรือทุศีล”
“ทุศีล พระพุทธเจ้าข้า”
“สมณพราหมณ์พวกที่ทุศีล มีธรรมเลวทราม ปฏิบัติผิด หรือปฏิบัติถูก”
“ปฏิบัติผิด พระพุทธเจ้าข้า”
“สมณพราหมณ์พวกที่ปฏิบัติผิด เป็นมิจฉาทิฏฐิ หรือเป็นสัมมาทิฏฐิ”
“เป็นมิจฉาทิฏฐิ พระพุทธเจ้าข้า”
“ควรหรือที่จะเลื่อมใสในสมณพราหมณ์ผู้เป็นมิจฉาทิฏฐิเหล่านั้น”
“ไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า” (๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๔๓๔ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๘. คามณิสังยุต] ๑๓. ปาฏลิยสูตร

“ผู้ใหญ่บ้าน แต่ปรากฏว่า คนบางคนในโลกนี้คล้องพวงมาลัย ใส่ตุ้มหู ฯลฯ
บำเรอตนด้วยกามกับสตรี อย่างพระราชา คนทั้งหลายพูดถึงผู้นั้นว่า ‘ท่านผู้เจริญ
บุรุษนี้ได้ทำอะไร จึงคล้องพวงมาลัย ใส่ตุ้มหู ฯลฯ บำเรอตนด้วยกามกับสตรี
อย่างพระราชา’ คนทั้งหลายพูดถึงผู้นั้นอีกว่า ‘ท่านผู้เจริญ บุรุษนี้ได้ข่มขู่ยึดเอา
รัตนะของข้าศึกของพระราชามาได้ พระราชาทรงพอพระทัยได้พระราชทานรางวัล
แก่เขา ด้วยเหตุนั้นบุรุษนี้จึงคล้องพวงมาลัย ใส่ตุ้มหู ฯลฯ บำเรอตนด้วยกาม
กับสตรี อย่างพระราชา’
แต่ปรากฏว่า คนบางคนในโลกนี้ถูกมัดแขนไพล่หลังอย่างมั่นคงด้วยเชือกที่เหนียว
ฯลฯ แล้วตัดศีรษะด้านทิศใต้ของเมือง คนทั้งหลายพูดถึงผู้นั้นว่า ‘ท่านผู้เจริญ
บุรุษนี้ได้ทำอะไรจึงถูกมัดแขนไพล่หลังอย่างมั่นคงด้วยเชือกที่เหนียว ฯลฯ แล้วตัด
ศีรษะด้านทิศใต้ของเมือง’ คนทั้งหลายพูดถึงผู้นั้นอีกว่า ‘ท่านผู้เจริญ บุรุษผู้นี้ลัก
ทรัพย์จากบ้านบ้าง จากป่าบ้าง เพราะเหตุนั้นพระราชาทั้งหลายจึงรับสั่งให้จับเขา
แล้วลงโทษเช่นนี้’
ผู้ใหญ่บ้าน ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร เรื่องเช่นนี้ท่านได้เห็นหรือได้
ยินมาบ้างไหม”
“ข้าพระองค์ได้เห็น ได้ยิน ทั้งจักได้ยินต่อไป พระพุทธเจ้าข้า”
“ผู้ใหญ่บ้าน บรรดาสมณพราหมณ์เหล่านั้น สมณพราหมณ์ที่มีวาทะอย่างนี้
มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘ผู้ลักทรัพย์ทั้งหมดย่อมเสวยทุกข์โทมนัสในปัจจุบัน’ พูดจริงหรือ
พูดเท็จ” ฯลฯ
“ควรหรือที่จะเลื่อมใสในสมณพราหมณ์ผู้เป็นมิจฉาทิฏฐิเหล่านั้น”
“ไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า” (๒)
“ผู้ใหญ่บ้าน แต่ปรากฏว่า คนบางคนในโลกนี้คล้องพวงมาลัย ใส่ตุ้มหู ฯลฯ
บำเรอตนด้วยกามกับสตรี อย่างพระราชา คนทั้งหลายพูดถึงผู้นั้นว่า ‘ท่านผู้เจริญ
บุรุษนี้ได้ทำอะไร จึงคล้องพวงมาลัย ใส่ตุ้มหู ฯลฯ บำเรอตนด้วยกามกับสตรี
อย่างพระราชา’ คนทั้งหลายพูดถึงผู้นั้นอีกว่า ‘ท่านผู้เจริญ บุรุษนี้ประพฤติผิดใน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๔๓๕ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๘. คามณิสังยุต] ๑๓. ปาฏลิยสูตร

ภรรยาของข้าศึกของพระราชา พระราชาทรงพอพระทัย ได้พระราชทานรางวัลแก่
เขา ด้วยเหตุนั้นบุรุษนี้จึงคล้องพวงมาลัย ใส่ตุ้มหู ฯลฯ บำเรอตนด้วยกามกับสตรี
อย่างพระราชา’
ปรากฏว่า คนบางคนในโลกนี้ถูกมัดแขนไพล่หลังอย่างมั่นคงด้วยเชือกที่เหนียว
ฯลฯ แล้วตัดศีรษะด้านทิศใต้ของเมือง คนทั้งหลายพูดถึงผู้นั้นว่า ‘ท่านผู้เจริญ
บุรุษนี้ได้ทำอะไรจึงถูกมัดแขนไพล่หลังอย่างมั่นคงด้วยเชือกที่เหนียว ฯลฯ แล้วตัด
ศีรษะด้านทิศใต้ของเมือง’ คนทั้งหลายพูดถึงผู้นั้นอีกว่า ‘ท่านผู้เจริญ บุรุษนี้ได้
ประพฤติผิดในเหล่ากุลสตรี ในเหล่ากุลกุมารี ด้วยเหตุนั้นพระราชาทั้งหลายจึง
รับสั่งให้จับเขาแล้วลงโทษเช่นนี้’
ผู้ใหญ่บ้าน ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร เรื่องเช่นนี้ท่านได้เห็นหรือได้
ยินมาบ้างไหม”
“ข้าพระองค์ได้เห็น ได้ยิน ทั้งจักได้ยินต่อไป พระพุทธเจ้าข้า”
“ผู้ใหญ่บ้าน บรรดาสมณพราหมณ์เหล่านั้น สมณพราหมณ์ที่มีวาทะอย่างนี้
มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘ผู้ประพฤติผิดในกามทั้งหมดย่อมเสวยทุกข์โทมนัสในปัจจุบัน’
พูดจริงหรือพูดเท็จ” ฯลฯ
“ควรหรือที่จะเลื่อมใสในสมณพราหมณ์ผู้เป็นมิจฉาทิฏฐิเหล่านั้น”
“ไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า” (๓)
“ผู้ใหญ่บ้าน แต่ปรากฏว่า คนบางคนในโลกนี้คล้องพวงมาลัย ใส่ตุ้มหู
อาบน้ำอย่างดี ลูบไล้อย่างดี แต่งผมและหนวด บำเรอตนด้วยกามกับสตรี อย่าง
พระราชา คนทั้งหลายพูดถึงผู้นั้นว่า ‘ท่านผู้เจริญ บุรุษนี้ได้ทำอะไร จึงคล้องพวง
มาลัย ใส่ตุ้มหู อาบน้ำอย่างดี ลูบไล้อย่างดี แต่งผมและหนวด บำเรอตนด้วย
กามกับสตรี อย่างพระราชา’ คนทั้งหลายพูดถึงผู้นั้นอีกว่า ‘ท่านผู้เจริญ บุรุษนี้ทำ
ให้พระราชาทรงพระสรวลด้วยการพูดเท็จ พระราชาทรงพอพระทัยได้พระราชทาน
รางวัลแก่เขา ด้วยเหตุนั้นบุรุษนี้จึงคล้องพวงมาลัย ใส่ตุ้มหู อาบน้ำอย่างดี ลูบ
ไล้อย่างดี แต่งผมและหนวด บำเรอตนด้วยกามกับสตรี อย่างพระราชา’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๔๓๖ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๘. คามณิสังยุต] ๑๓. ปาฏลิยสูตร

ปรากฏว่า คนบางคนในโลกนี้ถูกมัดแขนไพล่หลังอย่างมั่นคงด้วยเชือกที่เหนียว
โกนศีรษะแล้ว แห่ประจานไปตามถนน ตามตรอก ด้วยบัณเฑาะว์เสียงดังสนั่น
ออกทางประตูด้านทิศใต้แล้วตัดศีรษะด้านทิศใต้ของเมือง คนทั้งหลายพูดถึงผู้นั้นว่า
‘ท่านผู้เจริญ บุรุษนี้ได้ทำอะไรจึงถูกมัดแขนไพล่หลังอย่างมั่นคงด้วยเชือกที่เหนียว
โกนศีรษะแล้ว แห่ประจานไปตามถนน ตามตรอก ด้วยบัณเฑาะว์เสียงดังสนั่น
ออกทางประตูด้านทิศใต้แล้วตัดศีรษะด้านทิศใต้ของเมือง’ คนทั้งหลายพูดถึงผู้นั้น
อีกว่า ‘ท่านผู้เจริญ บุรุษนี้ทำลายประโยชน์ของคหบดีบ้าง ของบุตรคหบดีบ้าง
ด้วยการพูดเท็จ ด้วยเหตุนั้นพระราชาทั้งหลายจึงรับสั่งให้จับเขาแล้วลงโทษเช่นนี้’
ผู้ใหญ่บ้าน ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร เรื่องเช่นนี้ท่านได้เห็นหรือได้
ยินมาบ้างไหม”
“ข้าพระองค์ได้เห็น ได้ยิน ทั้งจักได้ยินต่อไป พระพุทธเจ้าข้า”
“ผู้ใหญ่บ้าน บรรดาสมณพราหมณ์เหล่านั้น สมณพราหมณ์ที่มีวาทะอย่างนี้
มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘ผู้พูดเท็จทั้งหมดย่อมเสวยทุกข์โทมนัสในปัจจุบัน’ พูดจริงหรือ
พูดเท็จ”
“พูดเท็จ พระพุทธเจ้าข้า”
“สมณพราหมณ์พวกที่พูดปดมดเท็จ มีศีลหรือทุศีล”
“ทุศีล พระพุทธเจ้าข้า”
“สมณพราหมณ์พวกที่ทุศีล มีธรรมเลวทราม ปฏิบัติผิดหรือปฏิบัติถูก”
“ปฏิบัติผิด พระพุทธเจ้าข้า”
“สมณพราหมณ์พวกที่ปฏิบัติผิด เป็นมิจฉาทิฏฐิหรือเป็นสัมมาทิฏฐิ”
“เป็นมิจฉาทิฏฐิ พระพุทธเจ้าข้า”
“ควรหรือที่จะเลื่อมใสในสมณพราหมณ์ผู้เป็นมิจฉาทิฏฐิเหล่านั้น”
“ไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๔๓๗ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๘. คามณิสังยุต] ๑๓. ปาฏลิยสูตร

ทิฏฐิของศาสดาต่าง ๆ

“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคยปรากฏ ข้าพระองค์มีบ้านพัก
อยู่หลังหนึ่ง ในบ้านพักนั้นมีเตียง มีที่นั่ง มีโอ่งน้ำ มีตะเกียงน้ำมัน ผู้ใดไม่ว่าจะ
เป็นสมณะหรือพราหมณ์เข้าพักในบ้านพักนั้น ข้าพระองค์จะแจกแก่ผู้นั้นตามความ
สามารถ ตามกำลัง ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เรื่องเคยมีมาแล้ว ศาสดาทั้ง ๔ ซึ่งมี
ทิฏฐิต่างกัน มีความพอใจต่างกัน มีความชอบใจต่างกัน เข้าพักในบ้านพักนั้น
ศาสดาท่านหนึ่งมีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘ทานที่ให้แล้วไม่มีผล ยัญที่
บูชาแล้วไม่มีผล การเซ่นสรวงไม่มีผล ผลวิบากแห่งกรรมที่ทำดีและชั่วก็ไม่มี โลกนี้
ไม่มี โลกหน้าไม่มี มารดาไม่มีคุณ บิดาไม่มีคุณ โอปปาติกสัตว์ไม่มี สมณพราหมณ์
ผู้ประพฤติดีปฏิบัติชอบทำให้แจ้งโลกนี้และโลกหน้าด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้วสอนผู้อื่น
ให้รู้แจ้งก็ไม่มีในโลก’
ศาสดาท่านหนึ่งมีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘ทานที่ให้แล้วมีผล ยัญที่
บูชาแล้วมีผล การเซ่นสรวงมีผล ผลวิบากแห่งกรรมที่ทำไว้ดีและชั่วมี โลกนี้มี
โลกหน้ามี มารดามีคุณ บิดามีคุณ โอปปาติกสัตว์มี สมณพราหมณ์ผู้ประพฤติดี
ปฏิบัติชอบทำให้แจ้งโลกนี้และโลกหน้าด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้วสอนผู้อื่นให้รู้แจ้ง
ก็มีอยู่ในโลก’
ศาสดาท่านหนึ่งมีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘เมื่อบุคคลทำเอง ใช้ให้ผู้อื่น
ทำ ตัดเอง ใช้ให้ผู้อื่นตัด เบียดเบียนเอง ใช้ให้ผู้อื่นเบียดเบียน ทำให้เศร้าโศกเอง
ใช้ให้ผู้อื่นทำให้เศร้าโศก ทำให้ลำบากเอง ใช้ให้ผู้อื่นทำให้ลำบาก ดิ้นรนเอง ใช้ให้
ผู้อื่นทำให้ดิ้นรน ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ตัดช่องย่องเบา ปล้นสะดม ปล้นในบ้าน
หลังเดียว ดักปล้นที่ทางเปลี่ยว เป็นชู้ พูดเท็จ ผู้ทำ(เช่นนั้น)ก็ไม่จัดว่าทำบาป
แม้หากบุคคลใช้จักรมีคมดุจมีดโกนสังหารเหล่าสัตว์ในปฐพีนี้ให้เป็นลานตาก
เนื้อให้เป็นกองเนื้อเดียวกัน เขาย่อมไม่มีบาปที่เกิดจากกรรมนั้น ไม่มีบาปมาถึงเขา
แม้หากบุคคลไปฝั่งขวาแม่น้ำคงคา ฆ่าเอง ใช้ให้ผู้อื่นฆ่า ตัดเอง ใช้ให้ผู้อื่นตัด
เบียดเบียนเอง ใช้ให้ผู้อื่นเบียดเบียน เขาย่อมไม่มีบาปที่เกิดจากกรรมนั้น ไม่มีบาป
มาถึงเขา
แม้หากบุคคลไปฝั่งซ้ายแม่น้ำคงคาให้เอง ใช้ให้ผู้อื่นให้ บูชาเอง ใช้ให้ผู้อื่นบูชา
เขาย่อมไม่มีบุญที่เกิดจากกรรมนั้น ไม่มีบุญมาถึงเขา ไม่มีบุญที่เกิดจากการให้ทาน
จากการฝึกอินทรีย์ จากการสำรวม จากการพูดคำสัตย์ ไม่มีบุญมาถึงเขา’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๔๓๘ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๘. คามณิสังยุต] ๑๓. ปาฏลิยสูตร

ศาสดาท่านหนึ่งมีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘เมื่อบุคคลทำเอง ใช้ให้ผู้
อื่นทำ ตัดเอง ใช้ให้ผู้อื่นตัด เบียดเบียนเอง ใช้ให้ผู้อื่นเบียดเบียน ทำให้เศร้าโศกเอง
ใช้ให้ผู้อื่นทำให้เศร้าโศก ทำให้ลำบากเอง ใช้ให้ผู้อื่นทำให้ลำบาก ดิ้นรนเอง ใช้
ให้ผู้อื่นทำให้ดิ้นรน ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ตัดช่องย่องเบา ปล้นสะดม ปล้นในบ้าน
หลังเดียว ดักปล้นที่ทางเปลี่ยว เป็นชู้ พูดเท็จ ผู้ทำ(เช่นนั้น)จัดว่าทำบาป
แม้หากบุคคลใช้จักรมีคมดุจมีดโกนสังหารเหล่าสัตว์ในปฐพีนี้ให้เป็นลานตาก
เนื้อให้เป็นกองเนื้อเดียวกัน เขาย่อมมีบาปที่เกิดจากกรรมนั้น มีบาปมาถึงเขา
แม้หากบุคคลไปฝั่งขวาแม่น้ำคงคาฆ่าเอง ใช้ให้ผู้อื่นฆ่า ตัดเอง ใช้ให้ผู้อื่นตัด
เบียดเบียนเอง ใช้ให้ผู้อื่นเบียดเบียน เขาย่อมมีบาปที่เกิดจากกรรมนั้น มีบาปมา
ถึงเขา
แม้หากบุคคลไปฝั่งซ้ายแม่น้ำคงคาให้เอง ใช้ให้ผู้อื่นให้ บูชาเอง ใช้ให้ผู้อื่นบูชา
เขาย่อมมีบุญที่เกิดจากกรรมนั้น มีบุญมาถึงเขา มีบุญที่เกิดจากการให้ทาน จาก
การฝึกอินทรีย์ จากการสำรวม จากการพูดคำสัตย์ มีบุญมาถึงเขา’ ข้าแต่พระองค์
ผู้เจริญ ข้าพระองค์ได้มีความเคลือบแคลงสงสัยว่า ‘บรรดาสมณพราหมณ์ผู้เจริญ
เหล่านี้ใครพูดจริง ใครพูดเท็จ”
“ผู้ใหญ่บ้าน สมควรที่ท่านจะเคลือบแคลงสงสัย และความสงสัยก็เกิดขึ้นแก่
ท่านในฐานะที่ควรเคลือบแคลง”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์เลื่อมใสในพระผู้มีพระภาคว่า ‘พระองค์
สามารถแสดงธรรมให้ข้าพระองค์ละความเคลือบแคลงนี้ได้”
ธรรมสมาธิทำให้หายสงสัย
“ผู้ใหญ่บ้าน ธรรมสมาธิ๑ มีอยู่ ถ้าท่าน (ตั้งอยู่) ในธรรมสมาธินั้น พึง
ได้จิตตสมาธิ๒ เมื่อเป็นเช่นนี้ท่านพึงละความเคลือบแคลงนี้ได้


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๘. คามณิสังยุต] ๑๓. ปาฏลิยสูตร

ธรรมสมาธิ เป็นอย่างไร
คือ อริยสาวกในศาสนานี้ละการฆ่าสัตว์ เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ ละการลัก
ทรัพย์ เว้นขาดจากการลักทรัพย์ ละการประพฤติผิดในกาม เว้นขาดจากการ
ประพฤติผิดในกาม ละการพูดเท็จ เว้นขาดจากการพูดเท็จ ละการพูดคำส่อเสียด
เว้นขาดจากการพูดคำส่อเสียด ละการพูดคำหยาบ เว้นขาดจากการพูดคำหยาบ
ละการพูดเพ้อเจ้อ เว้นขาดจากการพูดเพ้อเจ้อ ละความเพ่งเล็งอยากได้ของเขา
ไม่เพ่งเล็งอยากได้ของเขา ละความประทุษร้ายที่เกิดจากพยาบาท มีจิตไม่พยาบาท
ละมิจฉาทิฏฐิ เป็นสัมมาทิฏฐิ
ผู้ใหญ่บ้าน อริยสาวกนั้นปราศจากความเพ่งเล็งอยากได้ของเขา ปราศจาก
พยาบาทอย่างนี้ไม่หลง มีสัมปชัญญะ มีสติ มีเมตตาจิตแผ่ไปตลอดทิศที่ ๑ ... ทิศ
ที่ ๒ ...ทิศที่ ๓ ... ทิศที่ ๔ ... ทิศเบื้องบน ทิศเบื้องล่าง ทิศเฉียง แผ่ไปตลอดโลก
ทั่วทุกหมู่เหล่า ในที่ทุกสถาน ด้วยเมตตาจิตอันไพบูลย์ เป็นมหัคคตะ ไม่มีขอบเขต
ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนอยู่
อริยสาวกนั้นพิจารณาเห็นอย่างนี้ว่า ‘ศาสดาผู้มีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้
ว่า ‘ทานที่ให้แล้วไม่มีผล ยัญที่บูชาแล้วไม่มีผล การเซ่นสรวงไม่มีผล ผลวิบาก
แห่งกรรมที่ทำไว้ดีและชั่วก็ไม่มี โลกนี้ไม่มี โลกหน้าไม่มี มารดาไม่มีคุณ บิดาไม่
มีคุณ โอปปาติกสัตว์ไม่มี สมณพราหมณ์ผู้ประพฤติดีปฏิบัติชอบทำให้แจ้งโลกนี้
และโลกหน้าด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้วสอนผู้อื่นให้รู้แจ้งก็ไม่มีในโลก’
ถ้าศาสดาท่านนั้นพูดจริง ข้อที่เราสำรวมกาย วาจา ใจ และข้อที่เราหลังจาก
ตายแล้วจักไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์ ทั้ง ๒ ข้อนี้เป็นการถือเอาชัยชนะในคำสอน
เพราะเราไม่เบียดเบียนใคร ๆ ไม่ว่าผู้สะดุ้งหรือผู้มั่นคง จึงเป็นผู้ปฏิบัติไม่ผิด’
ปราโมทย์ก็เกิดแก่อริยสาวกนั้น เมื่อเกิดปราโมทย์ ปีติก็เกิด เมื่อใจเกิดปีติ
กายก็สงบ เธอผู้มีกายสงบย่อมอยู่สบาย จิตของเธอผู้อยู่สบายย่อมตั้งมั่น
ผู้ใหญ่บ้าน ธรรมสมาธิเป็นอย่างนี้แล ถ้าท่านตั้งอยู่ในธรรมสมาธินั้น พึงได้
จิตตสมาธิ เมื่อเป็นเช่นนี้ท่านพึงละความเคลือบแคลงนี้ได้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๔๔๐ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๘. คามณิสังยุต] ๑๓. ปาฏลิยสูตร

ผู้ใหญ่บ้าน อริยสาวกนั้นปราศจากความเพ่งเล็งอยากได้ของเขา ปราศจาก
พยาบาทอย่างนี้ไม่หลง มีสัมปชัญญะ มีสติ มีเมตตาจิตแผ่ไปตลอดทิศที่ ๑ ... ทิศ
ที่ ๒ ... ทิศที่ ๓ ... ทิศที่ ๔ ... ทิศเบื้องบน ทิศเบื้องล่าง ทิศเฉียง แผ่ไปตลอดโลก
ทั่วทุกหมู่เหล่า ในที่ทุกสถาน ด้วยเมตตาจิตอันไพบูลย์ เป็นมหัคคตะ ไม่มีขอบเขต
ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนอยู่
อริยสาวกนั้นพิจารณาเห็นอย่างนี้ว่า ‘ศาสดาผู้มีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้
ว่า ‘ทานที่ให้แล้วมีผล ยัญที่บูชาแล้วมีผล การเซ่นสรวงมีผล ผลวิบากแห่งกรรม
ที่ทำไว้ดีและชั่วมี โลกนี้มี โลกหน้ามี มารดามีคุณ บิดามีคุณ โอปปาติกสัตว์
มี สมณพราหมณ์ผู้ประพฤติดีปฏิบัติชอบทำให้แจ้งโลกนี้และโลกหน้าด้วยปัญญา
อันยิ่งเองแล้วสอนผู้อื่นให้รู้แจ้งก็มีอยู่ในโลก’
ถ้าศาสดาท่านนั้นพูดจริง ข้อที่เราสำรวมกาย วาจา ใจ และข้อที่เราหลังจาก
ตายแล้วจักไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์ ทั้ง ๒ ข้อนี้เป็นการถือเอาชัยชนะในคำสอน
เพราะเราไม่เบียดเบียนใคร ๆ ไม่ว่าผู้สะดุ้งหรือผู้มั่นคง จึงเป็นผู้ปฏิบัติไม่ผิด’
ปราโมทย์ก็เกิดแก่อริยสาวกนั้น เมื่อเกิดปราโมทย์ ปีติก็เกิด เมื่อใจเกิดปีติ
กายก็สงบ เธอผู้มีกายสงบย่อมอยู่สบาย จิตของเธอผู้อยู่สบายย่อมตั้งมั่น
ผู้ใหญ่บ้าน ธรรมสมาธิเป็นอย่างนี้แล ถ้าท่านตั้งอยู่ในธรรมสมาธินั้น พึงได้
จิตตสมาธิ เมื่อเป็นเช่นนี้ท่านพึงละความเคลือบแคลงนี้ได้
ผู้ใหญ่บ้าน อริยสาวกนั้นปราศจากความเพ่งเล็งอยากได้ของเขา ปราศจาก
พยาบาทอย่างนี้ไม่หลง มีสัมปชัญญะ มีสติ มีเมตตาจิตแผ่ไปตลอดทิศที่ ๑ ... ทิศ
ที่ ๒ ... ทิศที่ ๓ ... ทิศที่ ๔ ... ทิศเบื้องบน ทิศเบื้องล่าง ทิศเฉียง แผ่ไปตลอดโลก
ทั่วทุกหมู่เหล่า ในที่ทุกสถาน ด้วยเมตตาจิตอันไพบูลย์ เป็นมหัคคตะ ไม่มีขอบเขต
ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนอยู่
อริยสาวกนั้นพิจารณาเห็นอย่างนี้ว่า ‘ศาสดาท่านหนึ่งมีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิ
อย่างนี้ว่า ‘เมื่อบุคคลทำเอง ใช้ให้ผู้อื่นทำ ตัดเอง ใช้ให้ผู้อื่นตัด เบียดเบียนเอง
ใช้ให้ผู้อื่นเบียดเบียน ทำให้เศร้าโศกเอง ใช้ให้ผู้อื่นทำให้เศร้าโศก ทำให้ลำบากเอง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๔๔๑ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๘. คามณิสังยุต] ๑๓. ปาฏลิยสูตร

ใช้ให้ผู้อื่นทำให้ลำบาก ดิ้นรนเอง ใช้ให้ผู้อื่นทำให้ดิ้นรน ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์
ตัดช่องย่องเบา ปล้นสะดม ปล้นในบ้านหลังเดียว ดักปล้นที่ทางเปลี่ยว เป็นชู้
พูดเท็จ ผู้ทำ(เช่นนั้น)ก็ไม่จัดว่าทำบาป
แม้หากบุคคลใช้จักรมีคมดุจมีดโกนสังหารเหล่าสัตว์ในปฐพีนี้ให้เป็นลานตากเนื้อ
ให้เป็นกองเนื้อเดียวกัน เขาย่อมไม่มีบาปที่เกิดจากกรรมนั้น ไม่มีบาปมาถึงเขา
แม้หากบุคคลไปฝั่งขวาแม่น้ำคงคาฆ่าเอง ใช้ให้ผู้อื่นฆ่า ตัดเอง ใช้ให้ผู้อื่นตัด
เบียดเบียนเอง ใช้ให้ผู้อื่นเบียดเบียน เขาไม่มีบาปที่เกิดจากกรรมนั้น ไม่มีบาป
มาถึงเขา
แม้หากบุคคลไปฝั่งซ้ายแม่น้ำคงคาให้เอง ใช้ให้ผู้อื่นให้ บูชาเอง ใช้ให้ผู้อื่นบูชา
เขาย่อมไม่มีบุญที่เกิดจากกรรมนั้น ไม่มีบุญมาถึงเขา ไม่มีบุญที่เกิดจากการให้ทาน
จากการฝึกอินทรีย์ จากการสำรวม จากการพูดคำสัตย์ ไม่มีบุญมาถึงเขา’
ถ้าศาสดาท่านนั้นพูดจริง ข้อที่เราสำรวมกาย วาจา ใจ และข้อที่เราหลังจาก
ตายแล้วจักไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์ ทั้ง ๒ ข้อนี้เป็นการถือเอาชัยชนะในคำสอน
เพราะเราไม่เบียดเบียนใคร ๆ ไม่ว่าผู้สะดุ้งหรือผู้มั่นคง จึงเป็นผู้ปฏิบัติไม่ผิด’
ปราโมทย์ก็เกิดแก่อริยสาวกนั้น เมื่อเกิดปราโมทย์ ปีติก็เกิด เมื่อใจเกิดปีติ
กายก็สงบ เธอผู้มีกายสงบย่อมอยู่สบาย จิตของเธอผู้อยู่สบายย่อมตั้งมั่น
ผู้ใหญ่บ้าน ธรรมสมาธิเป็นอย่างนี้แล ถ้าท่านตั้งอยู่ในธรรมสมาธินั้น พึงได้
จิตตสมาธิ เมื่อเป็นเช่นนี้ท่านพึงละความเคลือบแคลงนี้ได้
ผู้ใหญ่บ้าน อริยสาวกนั้นปราศจากความเพ่งเล็งอยากได้ของเขา ปราศจาก
พยาบาทอย่างนี้ไม่หลง มีสัมปชัญญะ มีสติ มีเมตตาจิตแผ่ไปตลอดทิศที่ ๑ ... ทิศที่
๒ ... ทิศที่ ๓ ... ทิศที่ ๔ ... ทิศเบื้องบน ทิศเบื้องล่าง ทิศเฉียง แผ่ไปตลอดโลก
ทั่วทุกหมู่เหล่า ในที่ทุกสถาน ด้วยเมตตาจิตอันไพบูลย์ เป็นมหัคคตะ ไม่มีขอบเขต
ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนอยู่
อริยสาวกนั้นพิจารณาเห็นอย่างนี้ว่า ‘ศาสดาท่านหนึ่งมีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิ
อย่างนี้ว่า ‘เมื่อบุคคลทำเอง ใช้ให้ผู้อื่นทำ ตัดเอง ใช้ให้ผู้อื่นตัด เบียดเบียนเอง
ใช้ให้ผู้อื่นเบียดเบียน ทำให้เศร้าโศกเอง ใช้ให้ผู้อื่นทำให้เศร้าโศก ทำให้ลำบาก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๔๔๒ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๘. คามณิสังยุต] ๑๓. ปาฏลิยสูตร

เอง ใช้ให้ผู้อื่นทำให้ลำบาก ดิ้นรนเอง ใช้ให้ผู้อื่นทำให้ดิ้นรน ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์
ตัดช่องย่องเบา ปล้นสะดม ปล้นในบ้านหลังเดียว ดักปล้นที่ทางเปลี่ยว เป็นชู้
พูดเท็จ ผู้ทำ(เช่นนั้น)ก็ไม่จัดว่าทำบาป
แม้หากบุคคลใช้จักรมีคมดุจมีดโกนสังหารเหล่าสัตว์ในปฐพีนี้ให้เป็นลานตากเนื้อ
ให้เป็นกองเนื้อเดียวกัน เขาย่อมไม่มีบาปที่เกิดจากกรรมนั้น ไม่มีบาปมาถึงเขา
แม้หากบุคคลไปฝั่งขวาแม่น้ำคงคาฆ่าเอง ใช้ให้ผู้อื่นฆ่า ตัดเอง ใช้ให้ผู้อื่นตัด
เบียดเบียนเอง ใช้ให้ผู้อื่นเบียดเบียน เขาย่อมไม่มีบาปที่เกิดจากกรรมนั้น ไม่มี
บาปมาถึงเขา
แม้หากบุคคลไปฝั่งซ้ายแม่น้ำคงคาให้เอง ใช้ให้ผู้อื่นให้ บูชาเอง ใช้ให้ผู้อื่นบูชา
เขาย่อมไม่มีบุญที่เกิดจากกรรมนั้น ไม่มีบุญมาถึงเขา ไม่มีบุญที่เกิดจากการให้ทาน
จากการฝึกอินทรีย์ จากการสำรวม จากการพูดคำสัตย์ ไม่มีบุญมาถึงเขา’
ถ้าศาสดาท่านนั้นพูดจริง ข้อที่เราสำรวมกาย วาจา ใจ และข้อที่เราหลังจาก
ตายแล้วจักไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์ ทั้ง ๒ ข้อนี้เป็นการถือเอาชัยชนะในคำสอน
เพราะเราไม่เบียดเบียนใคร ๆ ไม่ว่าผู้สะดุ้งหรือผู้มั่นคง จึงเป็นผู้ปฏิบัติไม่ผิด’
ปราโมทย์ก็เกิดแก่อริยสาวกนั้น เมื่อเกิดปราโมทย์ ปีติก็เกิด เมื่อใจเกิดปีติ
กายก็สงบ เธอผู้มีกายสงบย่อมอยู่สบาย จิตของเธอผู้อยู่สบายย่อมตั้งมั่น
ผู้ใหญ่บ้าน ธรรมสมาธิเป็นอย่างนี้แล ถ้าท่านตั้งอยู่ในธรรมสมาธินั้น พึงได้
จิตตสมาธิ เมื่อเป็นเช่นนี้ท่านพึงละความเคลือบแคลงนี้ได้
ผู้ใหญ่บ้าน อริยสาวกนั้นปราศจากความเพ่งเล็งอยากได้ของเขา ปราศจาก
พยาบาทอย่างนี้ไม่หลง มีสัมปชัญญะ มีสติ มีกรุณาจิตแผ่ไปตลอดทิศที่ ๑ ฯลฯ
มีมุทิตาจิต แผ่ไปตลอดทิศที่ ๑ ฯลฯ
ผู้ใหญ่บ้าน อริยสาวกนั้นปราศจากความเพ่งเล็งอยากได้ของเขา ปราศจาก
พยาบาทอย่างนี้ไม่หลง มีสัมปชัญญะ มีสติ มีอุเบกขาจิตแผ่ไปตลอดทิศที่ ๑ ...
ทิศที่ ๒ ... ทิศที่ ๓ ... ทิศที่ ๔ ... ทิศเบื้องบน ทิศเบื้องล่าง ทิศเฉียง แผ่
ไปตลอดโลก ทั่วทุกหมู่เหล่า ในที่ทุกสถาน ด้วยอุเบกขาจิตอันไพบูลย์ เป็นมหัคคตะ
ไม่มีขอบเขต ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนอยู่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๔๔๓ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๘. คามณิสังยุต] ๑๓. ปาฏลิยสูตร

อริยสาวกนั้นพิจารณาเห็นอย่างนี้ว่า ‘ศาสดาผู้มีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้
ว่า ‘ทานที่ให้แล้วไม่มีผล ยัญที่บูชาแล้วไม่มีผล การเซ่นสรวงไม่มีผล ผลวิบาก
แห่งกรรมที่ทำไว้ดีและชั่วก็ไม่มี โลกนี้ไม่มี โลกหน้าไม่มี มารดาไม่มีคุณ บิดาไม่
มีคุณ โอปปาติกสัตว์ไม่มี สมณพราหมณ์ผู้ประพฤติดีปฏิบัติชอบทำให้แจ้งโลกนี้
และโลกหน้าด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้วสอนผู้อื่นให้รู้แจ้งก็ไม่มีในโลก’
ถ้าศาสดาท่านนั้นพูดจริง ข้อที่เราสำรวมกาย วาจา ใจ และข้อที่เราหลังจาก
ตายแล้วจักไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์ ทั้ง ๒ ข้อนี้เป็นการถือเอาชัยชนะในคำสอน
เพราะเราไม่เบียดเบียนใคร ๆ ไม่ว่าผู้สะดุ้งหรือผู้มั่นคง จึงเป็นผู้ปฏิบัติไม่ผิด’
ปราโมทย์ก็เกิดแก่อริยสาวกนั้น เมื่อเกิดปราโมทย์ ปีติก็เกิด เมื่อใจเกิดปีติ
กายก็สงบ เธอผู้มีกายสงบย่อมอยู่สบาย จิตของเธอผู้อยู่สบายย่อมตั้งมั่น
ผู้ใหญ่บ้าน ธรรมสมาธิเป็นอย่างนี้แล ถ้าท่านตั้งอยู่ในธรรมสมาธินั้น พึงได้
จิตตสมาธิ เมื่อเป็นเช่นนี้ท่านพึงละความเคลือบแคลงนี้ได้
ผู้ใหญ่บ้าน อริยสาวกนั้นปราศจากความเพ่งเล็งอยากได้ของเขา ปราศจาก
พยาบาทอย่างนี้ไม่หลง มีสัมปชัญญะ มีสติ มีอุเบกขาจิตแผ่ไปตลอดทิศที่ ๑ ...
ทิศที่ ๒ ... ทิศที่ ๓ ... ทิศที่ ๔ ... ทิศเบื้องบน ทิศเบื้องล่าง ทิศเฉียง
แผ่ไปตลอดโลกทั่วทุกหมู่เหล่า ในที่ทุกสถาน ด้วยอุเบกขาจิตอันไพบูลย์ เป็น
มหัคคตะ ไม่มีขอบเขต ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนอยู่
อริยสาวกนั้นพิจารณาเห็นอย่างนี้ว่า ‘ศาสดาผู้มีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้
ว่า ‘ทานที่ให้แล้วมีผล ยัญที่บูชาแล้วมีผล การเซ่นสรวงมีผล ผลวิบากแห่ง
กรรมที่ทำไว้ดีและชั่วมี โลกนี้มี โลกหน้ามี มารดามีคุณ บิดามีคุณ โอปปาติกสัตว์
มี สมณพราหมณ์ผู้ประพฤติดีปฏิบัติชอบทำให้แจ้งโลกนี้และโลกหน้าด้วยปัญญา
อันยิ่งเองแล้วสอนผู้อื่นให้รู้แจ้งก็มีอยู่ในโลก’
ถ้าศาสดาท่านนั้นพูดจริง ข้อที่เราสำรวมกาย วาจา ใจ และข้อที่เราหลัง
จากตายแล้วจักไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์ ทั้ง ๒ ข้อนี้เป็นการถือเอาชัยชนะในคำสอน
เพราะเราไม่เบียดเบียนใคร ๆ ไม่ว่าผู้สะดุ้งหรือผู้มั่นคง จึงเป็นผู้ปฏิบัติไม่ผิด’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๔๔๔ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๘. คามณิสังยุต] ๑๓. ปาฏลิยสูตร

ปราโมทย์ก็เกิดแก่อริยสาวกนั้น เมื่อเกิดปราโมทย์ ปีติก็เกิด เมื่อใจเกิดปีติ
กายก็สงบ เธอผู้มีกายสงบย่อมอยู่สบาย จิตของเธอผู้อยู่สบายย่อมตั้งมั่น
ผู้ใหญ่บ้าน ธรรมสมาธิเป็นอย่างนี้แล ถ้าท่านตั้งอยู่ในธรรมสมาธินั้น พึงได้
จิตตสมาธิ เมื่อเป็นเช่นนี้ท่านพึงละความเคลือบแคลงนี้ได้
ผู้ใหญ่บ้าน อริยสาวกนั้นปราศจากความเพ่งเล็งอยากได้ของเขา ปราศจาก
พยาบาทอย่างนี้ไม่หลง มีสัมปชัญญะ มีสติ มีอุเบกขาจิตแผ่ไปตลอดทิศที่ ๑ ... ทิศ
ที่ ๒ ... ทิศที่ ๓ ... ทิศที่ ๔ ... ทิศเบื้องบน ทิศเบื้องล่าง ทิศเฉียง แผ่ไปตลอด
โลก ทั่วทุกหมู่เหล่า ในที่ทุกสถาน ด้วยอุเบกขาจิตอันไพบูลย์ เป็นมหัคคตะ ไม่
มีขอบเขต ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนอยู่
อริยสาวกนั้นพิจารณาเห็นอย่างนี้ว่า ‘ศาสดาท่านหนึ่งมีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิ
อย่างนี้ว่า ‘เมื่อบุคคลทำเอง ใช้ให้ผู้อื่นทำ ตัดเอง ใช้ให้ผู้อื่นตัด เบียดเบียนเอง
ใช้ให้ผู้อื่นเบียดเบียน ทำให้เศร้าโศกเอง ใช้ให้ผู้อื่นทำให้เศร้าโศก ทำให้ลำบากเอง
ใช้ให้ผู้อื่นทำให้ลำบาก ดิ้นรนเอง ใช้ให้ผู้อื่นทำให้ดิ้นรน ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์
ตัดช่องย่องเบา ปล้นสะดม ปล้นในบ้านหลังเดียว ดักปล้นที่ทางเปลี่ยว เป็นชู้
พูดเท็จ ผู้ทำ(เช่นนั้น)ก็ไม่จัดว่าทำบาป
แม้หากบุคคลใช้จักรมีคมดุจมีดโกนสังหารเหล่าสัตว์ในปฐพีนี้ให้เป็นลานตากเนื้อ
ให้เป็นกองเนื้อเดียวกัน เขาย่อมไม่มีบาปที่เกิดจากกรรมนั้น ไม่มีบาปมาถึงเขา
แม้หากบุคคลไปฝั่งขวาแม่น้ำคงคาฆ่าเอง ใช้ให้ผู้อื่นฆ่า ตัดเอง ใช้ให้ผู้อื่นตัด
เบียดเบียนเอง ใช้ให้ผู้อื่นเบียดเบียน เขาย่อมไม่มีบาปที่เกิดจากกรรมนั้น ไม่มี
บาปมาถึงเขา
แม้หากบุคคลไปฝั่งซ้ายแม่น้ำคงคาให้เอง ใช้ให้ผู้อื่นให้ บูชาเอง ใช้ให้ผู้อื่นบูชา
เขาย่อมไม่มีบุญที่เกิดจากกรรมนั้น ไม่มีบุญมาถึงเขา ไม่มีบุญที่เกิดจากการให้ทาน
จากการฝึกอินทรีย์ จากการสำรวม จากการพูดคำสัตย์ ไม่มีบุญมาถึงเขา’
ถ้าศาสดาท่านนั้นพูดจริง ข้อที่เราสำรวมกาย วาจา ใจ และข้อที่เราหลังจาก
ตายแล้วจักไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์ ทั้ง ๒ ข้อนี้เป็นการถือเอาชัยชนะในคำสอน
เพราะเราไม่เบียดเบียนใคร ๆ ไม่ว่าผู้สะดุ้งหรือผู้มั่นคง จึงเป็นผู้ปฏิบัติไม่ผิด’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๔๔๕ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๘. คามณิสังยุต] ๑๓. ปาฏลิยสูตร

ปราโมทย์ก็เกิดแก่อริยสาวกนั้น เมื่อเกิดปราโมทย์ ปีติก็เกิด เมื่อใจเกิดปีติ
กายก็สงบ เธอผู้มีกายสงบย่อมอยู่สบาย จิตของเธอผู้อยู่สบายย่อมตั้งมั่น
ผู้ใหญ่บ้าน ธรรมสมาธิเป็นอย่างนี้แล ถ้าท่านตั้งอยู่ในธรรมสมาธินั้น พึงได้
จิตตสมาธิ เมื่อเป็นเช่นนี้ท่านพึงละความเคลือบแคลงนี้ได้
ผู้ใหญ่บ้าน อริยสาวกนั้นปราศจากความเพ่งเล็งอยากได้ของเขา ปราศจาก
พยาบาทอย่างนี้ไม่หลง มีสัมปชัญญะ มีสติ มีอุเบกขาจิตแผ่ไปตลอดทิศที่ ๑ ... ทิศ
ที่ ๒ ... ทิศที่ ๓ ... ทิศที่ ๔ ... ทิศเบื้องบน ทิศเบื้องล่าง ทิศเฉียง แผ่ไปตลอด
โลกทั่วทุกหมู่เหล่า ในที่ทุกสถาน ด้วยอุเบกขาจิตอันไพบูลย์ เป็นมหัคคตะ ไม่มี
ขอบเขต ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนอยู่
อริยสาวกนั้นพิจารณาเห็นอย่างนี้ว่า ‘ศาสดาท่านหนึ่งมีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิ
อย่างนี้ว่า ‘เมื่อบุคคลทำเอง ใช้ให้ผู้อื่นทำ ตัดเอง ใช้ให้ผู้อื่นตัด เบียดเบียนเอง
ใช้ให้ผู้อื่นเบียดเบียน ทำให้เศร้าโศกเอง ใช้ให้ผู้อื่นทำให้เศร้าโศก ทำให้ลำบาก
เอง ใช้ให้ผู้อื่นทำให้ลำบาก ดิ้นรนเอง ใช้ให้ผู้อื่นทำให้ดิ้นรน ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์
ตัดช่องย่องเบา ปล้นสะดม ปล้นในบ้านหลังเดียว ดักปล้นที่ทางเปลี่ยว เป็นชู้
พูดเท็จ ผู้ทำ(เช่นนั้น)ก็ไม่จัดว่าทำบาป
แม้หากบุคคลใช้จักรมีคมดุจมีดโกนสังหารเหล่าสัตว์ในปฐพีนี้ให้เป็นลานตากเนื้อ
ให้เป็นกองเนื้อเดียวกัน เขาย่อมไม่มีบาปที่เกิดจากกรรมนั้น ไม่มีบาปมาถึงเขา
แม้หากบุคคลไปฝั่งขวาแม่น้ำคงคาฆ่าเอง ใช้ให้ผู้อื่นฆ่า ตัดเอง ใช้ให้ผู้อื่นตัด
เบียดเบียนเอง ใช้ให้ผู้อื่นเบียดเบียน เขาย่อมไม่มีบาปที่เกิดจากกรรมนั้น ไม่มี
บาปมาถึงเขา
แม้หากบุคคลไปฝั่งซ้ายแม่น้ำคงคาให้เอง ใช้ให้ผู้อื่นให้ บูชาเอง ใช้ให้ผู้อื่นบูชา
เขาย่อมไม่มีบุญที่เกิดจากกรรมนั้น ไม่มีบุญมาถึงเขา ไม่มีบุญที่เกิดจากการให้ทาน
จากการฝึกอินทรีย์ จากการสำรวม จากการพูดคำสัตย์ ไม่มีบุญมาถึงเขา’
ถ้าศาสดาท่านนั้นพูดจริง ข้อที่เราสำรวมกาย วาจา ใจ และข้อที่เราหลังจาก
ตายแล้วจักไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์ ทั้ง ๒ ข้อนี้เป็นการถือเอาชัยชนะในคำสอน
เพราะเราไม่เบียดเบียนใคร ๆ ไม่ว่าผู้สะดุ้งหรือผู้มั่นคง จึงเป็นผู้ปฏิบัติไม่ผิด’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๔๔๖ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๘. คามณิสังยุต] รวมพระสูตรที่มีในวรรค

ปราโมทย์ก็เกิดแก่อริยสาวกนั้น เมื่อเกิดปราโมทย์ ปีติก็เกิด เมื่อใจเกิดปีติ
กายก็สงบ เธอผู้มีกายสงบย่อมอยู่สบาย จิตของเธอผู้อยู่สบายย่อมตั้งมั่น
ผู้ใหญ่บ้าน ธรรมสมาธิเป็นอย่างนี้แล ถ้าท่านตั้งอยู่ในธรรมสมาธินั้น พึงได้
จิตตสมาธิ เมื่อเป็นเช่นนี้ท่านพึงละความเคลือบแคลงนี้ได้”
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ผู้ใหญ่บ้านชื่อปาฏลิยะได้กราบทูลว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระภาษิตของพระองค์ชัดเจนไพเราะยิ่งนัก ฯลฯ ขอพระ
ผู้มีพระภาคจงทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะ ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปจน
ตลอดชีวิต”

ปาฏลิยสูตรที่ ๑๓ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้คือ

๑. จัณฑสูตร ๒. ตาลปุตตสูตร
๓. โยธาชีวสูตร ๔. หัตถาโรหสูตร
๕. อัสสาโรหสูตร ๖. อสิพันธกปุตตสูตร
๗. เขตตูปมสูตร ๘. สังขธมสูตร
๙. กุลสูตร ๑๐. มณิจูฬกสูตร
๑๑. คันธภกสูตร ๑๒. ราสิยสูตร
๑๓. ปาฏลิยสูตร

คามณิสังยุต จบบริบูรณ์


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๙. อสังขตสังยุต]
๑. ปฐมวรรค ๑. กายคตาสติสูตร

๙. อสังขตสังยุต
๑. ปฐมวรรค
หมวดที่ ๑
๑. กายคตาสติสูตร
ว่าด้วยกายคตาสติ

[๓๖๖] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิก-
เศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัส
ว่า “ภิกษุทั้งหลาย” ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้
ตรัสเรื่องนี้ว่า
“ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงอสังขตธรรม (สิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งไม่ได้) และทาง
ที่ให้ถึงอสังขตธรรมแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง
อสังขตธรรม คืออะไร
คือ ความสิ้นราคะ ความสิ้นโทสะ และความสิ้นโมหะ
นี้เราเรียกว่า อสังขตธรรม
ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม คืออะไร
คือ กายคตาสติ
นี้เราเรียกว่า ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม
อสังขตธรรมเราได้แสดงแล้วและทางที่ให้ถึงอสังขตธรรมเราได้แสดงแล้วแก่เธอ
ทั้งหลายอย่างนี้ กิจใดที่ศาสดาผู้แสวงหาประโยชน์เกื้อกูล ผู้อนุเคราะห์ พึงอาศัย
ความอนุเคราะห์กระทำแก่สาวกทั้งหลาย กิจนั้นเราก็ได้กระทำแล้วแก่เธอทั้งหลาย
ภิกษุทั้งหลาย นั่นโคนไม้ นั่นเรือนว่าง เธอทั้งหลายจงเพ่งพินิจ อย่าประมาท
อย่าได้มีความร้อนใจในภายหลัง นี้เป็นคำพร่ำสอนสำหรับเธอทั้งหลายของเรา”

กายคตาสติสูตรที่ ๑ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๙. อสังขตสังยุต]
๑. ปฐมวรรค ๔. สุญญตสมาธิสูตร

๒. สมถวิปัสสนาสูตร
ว่าด้วยสมถะและวิปัสสนา

[๓๖๗] “ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงอสังขตธรรมและทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม
แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง
อสังขตธรรม คืออะไร
คือ ความสิ้นราคะ ความสิ้นโทสะ และความสิ้นโมหะ
นี้เราเรียกว่า อสังขตธรรม
ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม คืออะไร
คือ สมถะและวิปัสสนา
นี้เราเรียกว่า ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม ฯลฯ

สมถวิปัสสนาสูตรที่ ๒ จบ

๓. สวิตักกสวิจารสูตร
ว่าด้วยสวิตักกสวิจารสมาธิ

[๓๖๘] “ภิกษุทั้งหลาย ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม คืออะไร
คือ สวิตักกสวิจารสมาธิ (สมาธิที่มีวิตกวิจาร)
อวิตักกวิจารสมาธิ (สมาธิที่ไม่มีวิตกมีเพียงวิจาร)
อวิตักกอวิจารสมาธิ (สมาธิที่ไม่มีวิตกไม่มีวิจาร)
นี้เราเรียกว่า ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม ฯลฯ

สวิตักกสวิจารสูตรที่ ๓ จบ

๔. สุญญตสมาธิสูตร
ว่าด้วยสุญญตสมาธิ

[๓๖๙] “ภิกษุทั้งหลาย ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม คืออะไร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๔๔๙ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๙. อสังขตสังยุต]
๑. ปฐมวรรค ๗. อิทธิปาทสูตร

คือ สุญญตสมาธิ (สมาธิพิจารณาความว่าง)
อนิมิตตสมาธิ (สมาธิพิจารณาธรรมไม่มีนิมิต)
อัปปณิหิตสมาธิ (สมาธิพิจารณาธรรมไม่มีความตั้งปรารถนา)
นี้เราเรียกว่า ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม ฯลฯ

สุญญตสมาธิสูตรที่ ๔ จบ

๕. สติปัฏฐานสูตร
ว่าด้วยสติปัฏฐาน

[๓๗๐] “ภิกษุทั้งหลาย ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม คืออะไร
คือ สติปัฏฐาน ๔
นี้เราเรียกว่า ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม ฯลฯ

สติปัฏฐานสูตรที่ ๕ จบ

๖. สัมมัปปธานสูตร
ว่าด้วยสัมมัปปธาน

[๓๗๑] “ภิกษุทั้งหลาย ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม คืออะไร
คือ สัมมัปปธาน ๔
นี้เราเรียกว่า ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม ฯลฯ

สัมมัปปธานสูตรที่ ๖ จบ

๗. อิทธิปาทสูตร
ว่าด้วยอิทธิบาท

[๓๗๒] “ภิกษุทั้งหลาย ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม คืออะไร
คือ อิทธิบาท ๔
นี้เราเรียกว่า ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม ฯลฯ

อิทธิปาทสูตรที่ ๗ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๙. อสังขตสังยุต]
๑. ปฐมวรรค ๑๑. มัคคังคสูตร

๘. อินทริยสูตร
ว่าด้วยอินทรีย์

[๓๗๓] “ภิกษุทั้งหลาย ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม คืออะไร
คือ อินทรีย์ ๕
นี้เราเรียกว่า ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม ฯลฯ

อินทริยสูตรที่ ๘ จบ

๙. พลสูตร
ว่าด้วยพละ

[๓๗๔] “ภิกษุทั้งหลาย ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม คืออะไร
คือ พละ ๕
นี้เราเรียกว่า ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม ฯลฯ

พลสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. โพชฌังคสูตร
ว่าด้วยโพชฌงค์

[๓๗๕] “ภิกษุทั้งหลาย ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม คืออะไร
คือ โพชฌงค์ ๗
นี้เราเรียกว่า ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม ฯลฯ

โพชฌังคสูตรที่ ๑๐ จบ

๑๑. มัคคังคสูตร
ว่าด้วยองค์แห่งมรรค

[๓๗๖] “ภิกษุทั้งหลาย ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม คืออะไร
คือ อริยมรรคมีองค์ ๘
นี้เราเรียกว่า ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๔๕๑ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๙. อสังขตสังยุต]
๑. ปฐมวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

อสังขตธรรมเราได้แสดงแล้วและทางที่ให้ถึงอสังขตธรรมเราได้แสดงแล้วแก่เธอ
ทั้งหลายอย่างนี้ กิจใดที่ศาสดาผู้แสวงหาประโยชน์เกื้อกูล ผู้อนุเคราะห์ พึงอาศัย
ความอนุเคราะห์กระทำแก่สาวกทั้งหลาย กิจนั้นเราก็ได้กระทำแล้วแก่เธอทั้งหลาย
ภิกษุทั้งหลาย นั่นโคนไม้ นั่นเรือนว่าง เธอทั้งหลายจงเพ่งพินิจ อย่าประมาท
อย่าได้มีความร้อนใจในภายหลัง นี้เป็นคำพร่ำสอนสำหรับเธอทั้งหลายของเรา”

มัคคังคสูตรที่ ๑๑ จบ
ปฐมวรรคแห่งสังยุต จบบริบูรณ์

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. กายคตาสติสูตร ๒. สมถวิปัสสนาสูตร
๓. สวิตักกสวิจารสูตร ๔. สุญญตสมาธิสูตร
๕. สติปัฏฐานสูตร ๖. สัมมัปปธานสูตร
๗. อิทธิปาทสูตร ๘. อินทริยสูตร
๙. พลสูตร ๑๐. โพชฌังคสูตร
๑๑. มัคคังคสูตร


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๙. อสังขตสังยุต]
๒. ทุติยวรรค ๑. อสังขตสูตร

๒. ทุติยวรรค
หมวดที่ ๒
๑. อสังขตสูตร
ว่าด้วยอสังขตธรรม

[๓๗๗] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงอสังขตธรรม (สิ่ง
ที่ปัจจัยปรุงแต่งไม่ได้) และทางที่ให้ถึงอสังขตธรรมแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลาย
จงฟัง
อสังขตธรรม คืออะไร
คือ ความสิ้นราคะ ความสิ้นโทสะ และความสิ้นโมหะ
นี้เราเรียกว่า อสังขตธรรม
ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม คืออะไร
คือ สมถะ
นี้เราเรียกว่า ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม
อสังขตธรรมเราได้แสดงแล้วและทางที่ให้ถึงอสังขตธรรมเราได้แสดงแล้วแก่เธอ
ทั้งหลายอย่างนี้ กิจใดที่ศาสดาผู้แสวงหาประโยชน์เกื้อกูล ผู้อนุเคราะห์ พึงอาศัย
ความอนุเคราะห์กระทำแก่สาวกทั้งหลาย กิจนั้นเราก็ได้กระทำแล้วแก่เธอทั้งหลาย
ภิกษุทั้งหลาย นั่นโคนไม้ นั่นเรือนว่าง เธอทั้งหลายจงเพ่งพินิจ อย่าประมาท
อย่าได้มีความร้อนใจในภายหลัง นี้เป็นคำพร่ำสอนสำหรับเธอทั้งหลายของเรา (๑)
ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงอสังขตธรรมและทางที่ให้ถึงอสังขตธรรมแก่เธอ
ทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง
อสังขตธรรม คืออะไร
คือ ความสิ้นราคะ ความสิ้นโทสะ และความสิ้นโมหะ
นี้เราเรียกว่า อสังขตธรรม

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๔๕๓ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๙. อสังขตสังยุต]
๒. ทุติยวรรค ๑. อสังขตสูตร

ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม คืออะไร
คือ วิปัสสนา
นี้เราเรียกว่า ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม
อสังขตธรรมเราได้แสดงแล้ว ฯลฯ นี้เป็นคำพร่ำสอนสำหรับเธอทั้งหลายของ
เรา (๒)
ภิกษุทั้งหลาย ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม คืออะไร
คือ สวิตักกสวิจารสมาธิ (สมาธิที่มีวิตกมีวิจาร)
นี้เราเรียกว่า ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม ฯลฯ
ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม คืออะไร
คือ อวิตักกวิจารสมาธิ (สมาธิที่ไม่มีวิตกมีเพียงวิจาร)
นี้เราเรียกว่า ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม ฯลฯ
ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม คืออะไร
คือ อวิตักกอวิจารสมาธิ (สมาธิที่ไม่มีวิตกไม่มีวิจาร)
นี้เราเรียกว่า ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม ฯลฯ (๓-๕)
ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม คืออะไร
คือ สุญญตสมาธิ
นี้เราเรียกว่า ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม ฯลฯ
ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม คืออะไร
คือ อนิมิตตสมาธิ
นี้เราเรียกว่า ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม ฯลฯ
ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม คืออะไร
คือ อัปปณิหิตสมาธิ
นี้เราเรียกว่า ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม ฯลฯ (๖-๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๔๕๔ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๙. อสังขตสังยุต]
๒. ทุติยวรรค ๑. อสังขตสูตร

ภิกษุทั้งหลาย ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ
มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
นี้เราเรียกว่า ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม ฯลฯ
ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายอยู่ ฯลฯ
นี้เราเรียกว่า ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม ฯลฯ
ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ ฯลฯ
นี้เราเรียกว่า ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม ฯลฯ
ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลาย๑ อยู่ ฯลฯ
นี้เราเรียกว่า ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม ฯลฯ (๙-๑๒)
ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้สร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต
มุ่งมั่น๒เพื่อป้องกันธรรมที่เป็นบาปอกุศลที่ยังไม่เกิดมิให้เกิดขึ้น
นี้เราเรียกว่า ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม ฯลฯ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๙. อสังขตสังยุต]
๒. ทุติยวรรค ๑. อสังขตสูตร

ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้สร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต
มุ่งมั่นเพื่อละธรรมที่เป็นบาปอกุศลที่เกิดขึ้นแล้ว
นี้เราเรียกว่า ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม ฯลฯ
ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้สร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต
มุ่งมั่นเพื่อทำกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น
นี้เราเรียกว่า ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม ฯลฯ
ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้สร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต
มุ่งมั่นเพื่อความดำรงอยู่ ไม่เลือนหาย ภิญโญภาพ ไพบูลย์ เจริญเต็มที่แห่งกุศล-
ธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว
นี้เราเรียกว่า ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม ฯลฯ (๑๓-๑๖)
ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยฉันทสมาธิปธานสังขาร๑
นี้เราเรียกว่า ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม ฯลฯ
ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยวีริยสมาธิปธานสังขาร
นี้เราเรียกว่า ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม ฯลฯ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๙. อสังขตสังยุต]
๒. ทุติยวรรค ๑. อสังขตสูตร

ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยจิตตสมาธิปธานสังขาร
นี้เราเรียกว่า ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม ฯลฯ
ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยวีมังสาสมาธิปธานสังขาร
นี้เราเรียกว่า ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม ฯลฯ (๑๗-๒๐)
ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญสัทธินทรีย์อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัย
นิโรธ น้อมไปในการสละ
นี้เราเรียกว่า ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม ฯลฯ
ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญวีริยินทรีย์อันอาศัยวิเวก ฯลฯ
นี้เราเรียกว่า ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม ฯลฯ
ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญสตินทรีย์ ฯลฯ
นี้เราเรียกว่า ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม ฯลฯ
ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญสมาธินทรีย์ ฯลฯ
นี้เราเรียกว่า ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม ฯลฯ
ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญปัญญินทรีย์อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัย
นิโรธ น้อมไปในการสละ
นี้เราเรียกว่า ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม ฯลฯ (๒๑-๒๕ )

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๔๕๗ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๙. อสังขตสังยุต]
๒. ทุติยวรรค ๑. อสังขตสูตร

ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญสัทธาพละอันอาศัยวิเวก ฯลฯ
นี้เราเรียกว่า ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม ฯลฯ
ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญวีริยพละ ฯลฯ
นี้เราเรียกว่า ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม ฯลฯ
ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญสติพละ ฯลฯ
นี้เราเรียกว่า ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม ฯลฯ
ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญสมาธิพละ ฯลฯ
นี้เราเรียกว่า ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม ฯลฯ
ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญปัญญาพละอันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัย
นิโรธ น้อมไปในการสละ
นี้เราเรียกว่า ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม ฯลฯ (๒๖-๓๐)
ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญสติสัมโพชฌงค์อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัย
นิโรธ น้อมไปในการสละ
นี้เราเรียกว่า ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม ฯลฯ
ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ ฯลฯ เจริญวีริยสัมโพชฌงค์
ฯลฯ เจริญปีติสัมโพชฌงค์ ฯลฯ เจริญปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ ฯลฯ เจริญ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๔๕๘ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๙. อสังขตสังยุต]
๒. ทุติยวรรค ๑. อสังขตสูตร

สมาธิสัมโพชฌงค์ ฯลฯ เจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ
อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ
นี้เราเรียกว่า ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม ฯลฯ (๓๑-๓๗)
ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญสัมมาทิฏฐิอันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัย
นิโรธ น้อมไปในการสละ
นี้เราเรียกว่า ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม ฯลฯ
ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญสัมมาสังกัปปะ ฯลฯ เจริญสัมมาวาจา ฯลฯ
เจริญสัมมากัมมันตะ ฯลฯ เจริญสัมมาอาชีวะ ฯลฯ เจริญสัมมาวายามะ ฯลฯ
เจริญสัมมาสติ ฯลฯ
นี้เราเรียกว่า ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม ฯลฯ
ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญสัมมาสมาธิอันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัย
นิโรธ น้อมไปในการสละ
นี้เราเรียกว่า ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม
ภิกษุทั้งหลาย อสังขตธรรมเราได้แสดงแล้วและทางที่ให้ถึงอสังขตธรรมเราได้
แสดงแล้วแก่เธอทั้งหลายอย่างนี้ กิจใดที่ศาสดาผู้แสวงหาประโยชน์เกื้อกูล ผู้อนุเคราะห์
พึงอาศัยความอนุเคราะห์กระทำแก่สาวกทั้งหลาย กิจนั้นเราก็ได้กระทำแล้วแก่เธอ
ทั้งหลาย ภิกษุทั้งหลาย นั่นโคนไม้ นั่นเรือนว่าง เธอทั้งหลายจงเพ่งพินิจ อย่า
ประมาท อย่าได้มีความร้อนใจในภายหลัง นี้เป็นคำพร่ำสอนสำหรับเธอทั้งหลาย
ของเรา” (๓๘-๔๕)

อสังขตสูตรที่ ๑ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๙. อสังขตสังยุต]
๒. ทุติยวรรค ๓-๓๒. อนาสวาทิสูตร

๒. อนตสูตร๑
ว่าด้วยความไม่น้อมไป

[๓๗๘] “ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงความไม่น้อมไป๒และทางที่ให้ถึงความไม่
น้อมไปแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง
ความไม่น้อมไป เป็นอย่างไร ฯลฯ

(พึงขยายความให้พิสดารเหมือนอสังขตสูตร)

อนตสูตรที่ ๒ จบ

๓-๓๒. อนาสวาทิสูตร
ว่าด้วยธรรมอันหาอาสวะมิได้เป็นต้น

[๓๗๙-๔๐๘] “ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมอันหาอาสวะมิได้และทางที่
ให้ถึงธรรมอันหาอาสวะมิได้แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง
ธรรมอันหาอาสวะมิได้ เป็นอย่างไร ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงสัจจธรรมและทางที่ให้ถึงสัจจธรรมแก่เธอทั้งหลาย
เธอทั้งหลายจงฟัง
สัจจธรรม เป็นอย่างไร ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมที่เป็นฝั่งและทางที่ให้ถึงธรรมที่เป็นฝั่งแก่เธอ
ทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง
ธรรมที่เป็นฝั่ง เป็นอย่างไร ฯลฯ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๙. อสังขตสังยุต]
๒. ทุติยวรรค ๓-๓๒. อนาสวาทิสูตร

ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมที่ละเอียดอ่อนและทางที่ให้ถึงธรรมที่ละเอียด
อ่อนแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง
ธรรมที่ละเอียดอ่อน เป็นอย่างไร ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมที่เห็นได้ยากยิ่งและทางที่ให้ถึงธรรมที่เห็นได้
ยากยิ่งแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง
ธรรมที่เห็นได้ยากยิ่ง เป็นอย่างไร ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมที่ไม่คร่ำครึและทางที่ให้ถึงธรรมที่ไม่คร่ำครึ
แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง
ธรรมที่ไม่คร่ำครึ เป็นอย่างไร ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมที่ยั่งยืนและทางที่ให้ถึงธรรมที่ยั่งยืนแก่เธอ
ทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง
ธรรมที่ยั่งยืน เป็นอย่างไร ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมที่ไม่เสื่อมสลายและทางที่ให้ถึงธรรมที่ไม่
เสื่อมสลายแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง
ธรรมที่ไม่เสื่อมสลาย เป็นอย่างไร ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมที่ใคร ๆ ไม่พึงเห็น (ด้วยจักขุวิญญาณ)
และทางที่ให้ถึงธรรมที่ใครๆ ไม่พึงเห็นแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง
ธรรมที่ใครๆ ไม่พึงเห็น เป็นอย่างไร ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมที่ไม่มีกิเลสเครื่องปรุงแต่ง (ตัณหา มานะ และ
ทิฏฐิ) และทางที่ให้ถึงธรรมที่ไม่มีกิเลสเครื่องปรุงแต่งแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลาย
จงฟัง
ธรรมที่ไม่มีกิเลสเครื่องปรุงแต่ง เป็นอย่างไร ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๔๖๑ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๙. อสังขตสังยุต]
๒. ทุติยวรรค ๓-๓๒. อนาสวาทิสูตร

ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมที่สงบและทางที่ให้ถึงธรรมที่สงบแก่เธอทั้งหลาย
เธอทั้งหลายจงฟัง
ธรรมที่สงบ เป็นอย่างไร ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงอมตธรรมและทางที่ให้ถึงอมตธรรมแก่เธอทั้งหลาย
เธอทั้งหลายจงฟัง
อมตธรรม เป็นอย่างไร ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมที่ประณีตและทางที่ให้ถึงธรรมที่ประณีตแก่
เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง
ธรรมที่ประณีต เป็นอย่างไร ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมที่ปลอดภัยและทางที่ให้ถึงธรรมที่ปลอดภัย
แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง
ธรรมที่ปลอดภัย เป็นอย่างไร ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมที่เกษมและทางที่ให้ถึงธรรมที่เกษมแก่เธอ
ทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง
ธรรมที่เกษม เป็นอย่างไร ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมเป็นที่สิ้นตัณหาและทางที่ให้ถึงธรรมเป็นที่สิ้น
ตัณหาแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง
ธรรมเป็นที่สิ้นตัณหา เป็นอย่างไร ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมที่น่าอัศจรรย์และทางที่ให้ถึงธรรมที่น่าอัศจรรย์
แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง
ธรรมที่น่าอัศจรรย์ เป็นอย่างไร ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมที่ไม่เคยปรากฏและทางที่ให้ถึงธรรมที่ไม่เคย
ปรากฏแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง
ธรรมที่ไม่เคยปรากฏ เป็นอย่างไร ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๔๖๒ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๙. อสังขตสังยุต]
๒. ทุติยวรรค ๓-๓๒. อนาสวาทิสูตร

ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมที่ไม่มีทุกข์และทางที่ให้ถึงธรรมที่ไม่มีทุกข์แก่
เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง
ธรรมที่ไม่มีทุกข์ เป็นอย่างไร ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมที่ไม่มีเครื่องร้อยรัดและทางที่ให้ถึงธรรมที่ไม่
มีเครื่องร้อยรัดแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง
ธรรมที่ไม่มีเครื่องร้อยรัด เป็นอย่างไร ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงนิพพานและทางที่ให้ถึงนิพพานแก่เธอทั้งหลาย
เธอทั้งหลายจงฟัง
นิพพาน เป็นอย่างไร ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมที่ไม่มีความเบียดเบียนและทางที่ให้ถึงธรรม
ที่ไม่มีความเบียดเบียนแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง
ธรรมที่ไม่มีความเบียดเบียน เป็นอย่างไร ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมที่ปราศจากราคะและทางที่ให้ถึงธรรมที่
ปราศจากราคะแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง
ธรรมที่ปราศจากราคะ เป็นอย่างไร ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงความบริสุทธิ์และทางที่ให้ถึงความบริสุทธิ์แก่เธอ
ทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง
ความบริสุทธ์ เป็นอย่างไร ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงความหลุดพ้นและทางที่ให้ถึงความหลุดพ้นแก่เธอ
ทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง
ความหลุดพ้น เป็นอย่างไร ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมที่ไม่มีความอาลัยและทางที่ให้ถึงธรรมที่ไม่มี
ความอาลัยแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง
ธรรมที่ไม่มีความอาลัย เป็นอย่างไร ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๔๖๓ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๙. อสังขตสังยุต] ๓๓. ปรายนสูตร

ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมที่เป็นเกาะและทางที่ให้ถึงธรรมที่เป็นเกาะแก่
เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง
ธรรมที่เป็นเกาะ เป็นอย่างไร ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมเป็นที่เร้นและทางที่ให้ถึงธรรมเป็นที่เร้นแก่
เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง
ธรรมเป็นที่เร้น เป็นอย่างไร ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมเป็นที่ต้านทานและทางที่ให้ถึงธรรมเป็นที่
ต้านทานแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง
ธรรมเป็นที่ต้านทาน เป็นอย่างไร ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมเป็นที่พึ่งและทางที่ให้ถึงธรรมเป็นที่พึ่งแก่
เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง
ธรรมเป็นที่พึ่ง เป็นอย่างไร ฯลฯ

อนาสวาทิสูตรที่ ๓-๓๒ จบ

๓๓. ปรายนสูตร
ว่าด้วยธรรมเป็นที่ไปในเบื้องหน้า

[๔๐๙] “ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมเป็นที่ไปในเบื้องหน้าและทางที่ให้
ถึงธรรมเป็นที่ไปในเบื้องหน้าแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง
ธรรมเป็นที่ไปในเบื้องหน้า คืออะไร
คือ ความสิ้นราคะ ความสิ้นโทสะ และความสิ้นโมหะ
นี้เราเรียกว่า ธรรมเป็นที่ไปในเบื้องหน้า
ทางที่ให้ถึงธรรมเป็นที่ไปในเบื้องหน้า คืออะไร
คือ กายคตาสติ
นี้เราเรียกว่า ทางที่ให้ถึงธรรมเป็นที่ไปในเบื้องหน้า
ภิกษุทั้งหลาย ธรรมเป็นที่ไปในเบื้องหน้าและทางที่ให้ถึงธรรมเป็นที่ไปใน
เบื้องหน้าเราได้แสดงแล้วแก่เธอทั้งหลายอย่างนี้ กิจใดที่ศาสดาผู้แสวงหาประโยชน์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๔๖๔ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๙. อสังขตสังยุต] รวมพระสูตรที่มีในวรรค

เกื้อกูล ผู้อนุเคราะห์ พึงอาศัยความอนุเคราะห์กระทำแก่สาวกทั้งหลาย กิจนั้น
เราก็ได้กระทำแล้วแก่เธอทั้งหลาย ภิกษุทั้งหลาย นั่นโคนไม้ นั่นเรือนว่าง เธอ
ทั้งหลายจงเพ่งพินิจ อย่าประมาท อย่าได้มีความเดือดร้อนใจในภายหลัง นี้เป็น
คำพร่ำสอนสำหรับเธอทั้งหลายของเรา”

(พึงขยายความให้พิสดารเหมือนอสังขตสูตร)

ปรายนสูตรที่ ๓๓ จบ
ทุติยวรรค จบบริบูรณ์

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. อสังขตสูตร ๒. อนตสูตร
๓. อนาสวาทิสูตร ๔. สัจจสูตร
๕. ปารสูตร ๖. นิปุณสูตร
๗. สุทุททสสูตร ๘. อชัชชรสูตร
๙. ธุวสูตร ๑๐. อปโลกินสูตร
๑๑. อนิทัสสนสูตร ๑๒. นิปปปัญจสูตร
๑๓. สันตสูตร ๑๔. อมตสูตร
๑๕. ปณีตสูตร ๑๖. สิวสูตร
๑๗. เขมสูตร ๑๘. ตัณหักขยสูตร
๑๙. อัจฉริยสูตร ๒๐. อัพภุตสูตร
๒๑. อนีติกสูตร ๒๒. อนีติกธัมมสูตร
๒๓. นิพพานสูตร ๒๔. อัพยาปัชฌสูตร
๒๕. วิราคสูตร ๒๖. สุทธิสูตร
๒๗. มุตติสูตร ๒๘. อนาลยสูตร
๒๙. ทีปสูตร ๓๐. เลณสูตร
๓๑. ตาณสูตร ๓๒. สรณสูตร
๓๓. ปรายนสูตร

อสังขตสังยุต จบบริบูรณ์
สูตรที่ ๗ ในอาสีวิสวรรคก็เหมือนกัน


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑๐. อัพยากตสังยุต] ๑. เขมาสูตร

๑๐. อัพยากตสังยุต
๑. เขมาสูตร
ว่าด้วยเขมาภิกษุณี

[๔๑๐] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของ
อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี สมัยนั้น เขมาภิกษุณีเที่ยวจาริกไปในแคว้น
โกศล เข้าไปพักอยู่ที่โตรณวัตถุ (ค่ายเสาระเนียด) ระหว่างกรุงสาวัตถีกับเมืองสาเกต
ครั้งนั้น พระเจ้าปเสนทิโกศลเสด็จจากเมืองสาเกตไปยังกรุงสาวัตถี ได้เข้าประทับ
แรมราตรีหนึ่งที่โตรณวัตถุระหว่างกรุงสาวัตถีกับเมืองสาเกต รับสั่งเรียกราชบุรุษ
คนหนึ่งมาตรัสถามดังนี้ว่า “บุรุษผู้เจริญ ท่านจงไปดูให้รู้ว่าที่โตรณวัตถุมีสมณะหรือ
พราหมณ์ผู้ที่เราควรเข้าไปหาในวันนี้หรือไม่”
ราชบุรุษนั้นทูลรับสนองพระดำรัสของพระเจ้าปเสนทิโกศลแล้วตรวจดูโตรณวัตถุ
จนทั่วก็ไม่เห็นสมณะหรือพราหมณ์ผู้ที่พระเจ้าปเสนทิโกศลควรเสด็จเข้าไปหา
ราชบุรุษนั้นได้พบเขมาภิกษุณีซึ่งเข้าไปพักอยู่ที่โตรณวัตถุ จึงเข้าไปเฝ้าพระเจ้า
ปเสนทิโกศลถึงที่ประทับ ได้กราบทูลดังนี้ว่า “ขอเดชะ ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท
ที่โตรณวัตถุไม่มีสมณะหรือพราหมณ์ผู้ที่พระองค์ควรเสด็จเข้าไปหาเลย มีแต่ภิกษุณี
ชื่อว่าเขมา ผู้เป็นสาวิกาของพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
และพระแม่เจ้ารูปนั้นมีกิตติศัพท์อันงามฟุ้งขจรไปอย่างนี้ว่า ‘พระแม่เจ้าเขมา
ภิกษุณีเป็นบัณฑิต เฉียบแหลม มีปัญญา เป็นพหูสูต๑ พูดเพราะ มีปฏิภาณดี’
ขอกราบทูลเชิญพระองค์เสด็จเข้าไปหาพระแม่เจ้ารูปนั้นเถิด”
พระเจ้าปเสนทิโกศลตรัสถามปัญหาเขมาภิกษุณี
ต่อมา พระเจ้าปเสนทิโกศล เสด็จเข้าไปหาเขมาภิกษุณีถึงที่อยู่ ทรงไหว้แล้ว
ประทับนั่ง ณ ที่สมควร ได้ตรัสถามดังนี้ว่า “พระแม่เจ้า หลังจากตายแล้ว
ตถาคตเกิดอีกหรือ”


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑๐. อัพยากตสังยุต] ๑. เขมาสูตร

เขมาภิกษุณีถวายพระพรว่า “ขอถวายพระพร มหาบพิตร ปัญหาว่า ‘หลัง
จากตายแล้ว ตถาคตเกิดอีก’ นี้พระผู้มีพระภาคไม่ทรงพยากรณ์”
“ก็หลังจากตายแล้ว ตถาคตไม่เกิดอีกหรือ”
“แม้ปัญหาว่า ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตไม่เกิดอีก’ นี้พระผู้มีพระภาคก็ไม่
ทรงพยากรณ์”
“หลังจากตายแล้ว ตถาคตเกิดอีกและไม่เกิดอีกหรือ”
“ปัญหาว่า ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตเกิดอีกและไม่เกิดอีก’ นี้พระผู้มีพระภาค
ไม่ทรงพยากรณ์”
“หลังจากตายแล้ว ตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่หรือ”
“แม้ปัญหาว่า ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีก
ก็มิใช่’ นี้พระผู้มีพระภาคก็ไม่ทรงพยากรณ์”
“ท่านถูกข้าพเจ้าถามว่า ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตเกิดอีกหรือ’ ก็ตอบว่า
‘ปัญหาว่า ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตเกิดอีก’ นี้พระผู้มีพระภาคไม่ทรงพยากรณ์’
ท่านถูกข้าพเจ้าถามว่า ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตไม่เกิดอีกหรือ’ ก็ตอบว่า
‘แม้ปัญหาว่า ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตไม่เกิดอีก’ นี้พระผู้มีพระภาคก็ไม่ทรง
พยากรณ์’
ท่านถูกข้าพเจ้าถามว่า ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตเกิดอีกและไม่เกิดอีกหรือ’
ก็ตอบว่า ‘ปัญหาว่า ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตเกิดอีกและไม่เกิดอีก’ นี้พระ
ผู้มีพระภาคไม่ทรงพยากรณ์’
ท่านถูกข้าพเจ้าถามว่า ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่า
ไม่เกิดอีกก็มิใช่หรือ’ ก็ตอบว่า ‘แม้ปัญหาว่า ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตจะว่า
เกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่’ นี้พระผู้มีพระภาคก็ไม่ทรงพยากรณ์’
อะไรหนอเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้พระผู้มีพระภาคไม่ทรงพยากรณ์ปัญหานั้น”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๔๖๗ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑๐. อัพยากตสังยุต] ๑. เขมาสูตร

“ขอถวายพระพร มหาบพิตร ถ้าเช่นนั้น หม่อมฉันขอย้อนถามมหาบพิตรใน
เรื่องนี้บ้าง ขอพระองค์พึงตอบตามที่ทรงพอพระทัยเถิด พระองค์จะทรงเข้าพระทัย
ความข้อนั้นว่าอย่างไร นักคำนวณ๑ นักประเมิน๒ หรือนักประมวล๓บางคนของพระองค์
ผู้สามารถคำนวณทรายในแม่น้ำคงคาว่า ‘ทรายเท่านี้เม็ด เท่านี้ ๑๐๐ เม็ด เท่านี้
๑,๐๐๐ เม็ด หรือเท่านี้ ๑๐๐,๐๐๐ เม็ด’ มีอยู่หรือ”
“ไม่มี พระแม่เจ้า”
“อนึ่ง นักคำนวณ นักประเมิน หรือนักประมวลบางคนของพระองค์ ผู้
สามารถคำนวณน้ำในมหาสมุทรว่า ‘น้ำเท่านี้อาฬหกะ๔ เท่านี้ ๑๐๐ อาฬหกะ เท่านี้
๑,๐๐๐ อาฬหกะ หรือเท่านี้ ๑๐๐,๐๐๐ อาฬหกะ’ มีอยู่หรือ”
“ไม่มี พระแม่เจ้า”
“ข้อนั้นเพราะเหตุไร”
“เพราะมหาสมุทรลึกล้ำ ประมาณไม่ได้ หยั่งถึงได้ยาก”


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑๐. อัพยากตสังยุต] ๑. เขมาสูตร

“เรื่องนี้ก็เหมือนกัน บุคคลเมื่อจะบัญญัติตถาคต พึงบัญญัติด้วยรูปใด รูปนั้น
พระตถาคตละได้แล้ว ตัดรากถอนโคนเหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว
เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ พระตถาคตพ้นแล้วจากการบัญญัติ
ว่ารูป ลึกล้ำ ประมาณไม่ได้ หยั่งถึงได้ยาก ดุจมหาสมุทรฉะนั้น
คำว่า ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตเกิดอีก’ ก็ดี ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคต
ไม่เกิดอีก’ ก็ดี ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตเกิดอีกและไม่เกิดอีก’ ก็ดี ‘หลังจาก
ตายแล้ว ตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่’ ก็ดี นี้ย่อมไม่ถูก
บุคคลเมื่อจะบัญญัติตถาคต พึงบัญญัติด้วยเวทนาใด เวทนานั้นพระตถาคต
ละได้แล้ว ตัดรากถอนโคนเหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่
ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ พระตถาคตพ้นแล้วจากการบัญญัติว่าเวทนา ลึกล้ำ
ประมาณไม่ได้ หยั่งถึงได้ยาก ดุจมหาสมุทรฉะนั้น
คำว่า ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตเกิดอีก’ ก็ดี ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตไม่
เกิดอีก’ ก็ดี ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตเกิดอีกและไม่เกิดอีก’ ก็ดี ‘หลังจากตายแล้ว
ตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่’ ก็ดี นี้ย่อมไม่ถูก
บุคคลเมื่อจะบัญญัติตถาคต พึงบัญญัติด้วยสัญญาใด ฯลฯ
บุคคลเมื่อจะบัญญัติตถาคต พึงบัญญัติด้วยสังขารเหล่าใด สังขารเหล่านั้น
พระตถาคตละได้แล้ว ตัดรากถอนโคนเหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว
เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ พระตถาคตพ้นแล้วจากการบัญญัติ
ว่าสังขาร ลึกล้ำ ประมาณไม่ได้ หยั่งถึงได้ยาก ดุจมหาสมุทรฉะนั้น
คำว่า ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตเกิดอีก’ ก็ดี ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคต
ไม่เกิดอีก’ ก็ดี ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตเกิดอีกและไม่เกิดอีก’ ก็ดี ‘หลังจาก
ตายแล้ว ตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่’ ก็ดี นี้ย่อมไม่ถูก
บุคคลเมื่อจะบัญญัติตถาคต พึงบัญญัติด้วยวิญญาณใด วิญญาณนั้นพระ
ตถาคตละได้แล้ว ตัดรากถอนโคนเหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว
เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ พระตถาคตพ้นแล้วจากการบัญญัติว่า
วิญญาณ ลึกล้ำ ประมาณไม่ได้ หยั่งถึงได้ยาก ดุจมหาสมุทรฉะนั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๔๖๙ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑๐. อัพยากตสังยุต] ๑. เขมาสูตร

คำว่า ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตเกิดอีก’ ก็ดี ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคต
ไม่เกิดอีก’ ก็ดี ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตเกิดและไม่เกิดอีก’ ก็ดี ‘หลังจากตายแล้ว
ตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่’ ก็ดี นี้ย่อมไม่ถูก”
ลำดับนั้น พระเจ้าปเสนทิโกศลทรงชื่นชมยินดีภาษิตของเขมาภิกษุณี เสด็จ
ลุกขึ้นจากที่ประทับ ทรงไหว้เขมาภิกษุณี กระทำประทักษิณแล้วเสด็จจากไป
พระเจ้าปเสนทิโกศลทูลถามปัญหาพระผู้มีพระภาค
ต่อมาพระเจ้าปเสนทิโกศลเสด็จเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ทรง
ถวายอภิวาทแล้ว ประทับนั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หลังจากตายแล้ว ตถาคตเกิดอีกหรือ”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ขอถวายพระพร มหาบพิตร ปัญหาว่า ‘หลัง
จากตายแล้ว ตถาคตเกิดอีก’ นี้อาตมภาพไม่พยากรณ์”
“หลังจากตายแล้ว ตถาคตไม่เกิดอีกหรือ”
“แม้ปัญหาว่า ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตไม่เกิดอีก’ นี้อาตมภาพก็ไม่พยากรณ์”
“หลังจากตายแล้ว ตถาคตเกิดอีกและไม่เกิดอีกหรือ”
“ปัญหาว่า ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตเกิดอีกและไม่เกิดอีก’ นี้อาตมภาพ
ไม่พยากรณ์”
“หลังจากตายแล้ว ตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่หรือ”
“แม้ปัญหาว่า ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีก
ก็มิใช่’ นี้อาตมภาพก็ไม่พยากรณ์ ๋
“พระองค์ถูกข้าพระองค์ทูลถามว่า ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตเกิดอีกหรือ’
ก็ตรัสตอบว่า ‘ปัญหาว่า ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตเกิดอีก’ นี้อาตมภาพไม่
พยากรณ์’ ฯลฯ
พระองค์ถูกข้าพระองค์ทูลถามว่า ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่
จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่หรือ’ ก็ตรัสตอบว่า ‘แม้ปัญหาว่า หลังจากตายแล้ว ตถาคต

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๔๗๐ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑๐. อัพยากตสังยุต] ๑. เขมาสูตร

จะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่’ นี้อาตมภาพก็ไม่พยากรณ์’ อะไรหนอ
เป็นเหตุเป็นปัจจัยที่พระผู้มีพระภาคไม่ทรงพยากรณ์ปัญหานั้น”
“ขอถวายพระพร มหาบพิตร ถ้าเช่นนั้น อาตมภาพจักย้อนถามมหาบพิตร
ในเรื่องนี้บ้าง ขอพระองค์พึงตรัสตอบตามที่ทรงพอพระทัยเถิด พระองค์ทรงเข้า
พระทัยความข้อนั้นว่าอย่างไร นักคำนวณ นักประเมิน หรือนักประมวลบางคน
ของพระองค์ผู้สามารถคำนวณเม็ดทรายในแม่น้ำคงคาว่า ‘ทรายเท่านี้เม็ด ฯลฯ
หรือทรายเท่านี้ ๑๐๐,๐๐๐ เม็ด’ มีอยู่หรือ”
“ไม่มี พระพุทธเจ้าข้า”
“อนึ่ง นักคำนวณ นักประเมิน หรือนักประมวลบางคนของพระองค์ผู้สามารถ
คำนวณน้ำในมหาสมุทรว่า ‘น้ำเท่านี้อาฬหกะ ฯลฯ หรือน้ำเท่านี้ ๑๐๐,๐๐๐
อาฬหกะ’ มีอยู่หรือ”
“ไม่มี พระพุทธเจ้าข้า”
“ข้อนั้นเพราะเหตุไร”
“เพราะมหาสมุทรลึกล้ำ ประมาณไม่ได้ หยั่งถึงได้ยาก พระพุทธเจ้าข้า”
“เรื่องนี้ก็เหมือนกัน บุคคลเมื่อจะบัญญัติตถาคต พึงบัญญัติด้วยรูปใด รูป
นั้นตถาคต(เรา)ละได้แล้ว ตัดรากถอนโคนเหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว
เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ ตถาคต (เรา) พ้นแล้วจากการ
บัญญัติว่ารูป ลึกล้ำ ประมาณไม่ได้ หยั่งถึงได้ยาก ดุจมหาสมุทรฉะนั้น
คำว่า ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตเกิดอีก’ ก็ดี ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคต
ไม่เกิดอีก’ ก็ดี ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตเกิดอีกและไม่เกิดอีก’ ก็ดี ‘หลังจาก
ตายแล้ว ตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่’ ก็ดีย่อมไม่ถูก
บุคคลเมื่อจะบัญญัติตถาคต พึงบัญญัติด้วยเวทนาใด ...
ด้วยสัญญาใด ...
ด้วยสังขารเหล่าใด ...

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๔๗๑ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑๐. อัพยากตสังยุต] ๑. เขมาสูตร

บุคคลเมื่อจะบัญญัติตถาคต พึงบัญญัติด้วยวิญญาณใด วิญญาณนั้น
ตถาคต(เรา)ละได้แล้ว ตัดรากถอนโคนเหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว
เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ ตถาคต(เรา)พ้นแล้วจากการบัญญัติ
ว่าวิญญาณ ลึกล้ำ ประมาณไม่ได้ หยั่งถึงได้ยาก ดุจมหาสมุทรฉะนั้น
คำว่า ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตเกิดอีก’ ก็ดี ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคต
ไม่เกิดอีก’ ก็ดี ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตเกิดอีกและไม่เกิดอีก’ ก็ดี ‘หลังจาก
ตายแล้ว ตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่’ ก็ดีย่อมไม่ถูก”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคยปรากฏ ที่อรรถกับอรรถ
พยัญชนะกับพยัญชนะของพระศาสดากับของพระสาวิกาเทียบเคียงกันได้ เหมือนกัน
ไม่ผิดเพี้ยนในบทที่สำคัญ๑ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สมัยหนึ่ง ข้าพระองค์เข้าไปหา
นางเขมาภิกษุณีได้ถามเรื่องนี้ แม้พระแม่เจ้ารูปนั้นก็ได้ตอบเรื่องนี้ด้วยบทและ
พยัญชนะเหล่านี้แก่ข้าพระองค์เหมือนพระผู้มีพระภาค
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคยปรากฏ ที่อรรถกับอรรถ
พยัญชนะกับพยัญชนะของพระศาสดากับของพระสาวิกาเทียบเคียงกันได้ เหมือน
กันไม่ผิดเพี้ยนในบทที่สำคัญ ถ้าเช่นนั้น บัดนี้หม่อมฉันขอทูลลากลับ เพราะมีกิจ
มีหน้าที่ที่จะต้องทำอีกมาก พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ขอพระองค์จงทรงกำหนดเวลาที่สมควร ณ บัดนี้
เถิด”
ลำดับนั้น พระเจ้าปเสนทิโกศลทรงชื่นชมยินดีพระภาษิตของพระผู้มีพระภาค
แล้วได้เสด็จลุกขึ้นจากที่ประทับ ทรงถวายอภิวาท กระทำประทักษิณแล้วเสด็จ
จากไป

เขมาสูตรที่ ๑ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑๐. อัพยากตสังยุต] ๒. อนุราธสูตร

๒. อนุราธสูตร
ว่าด้วยพระอนุราธะ

[๔๑๑] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ กูฏาคารศาลา ป่ามหาวัน เขต
กรุงเวสาลี สมัยนั้น ท่านพระอนุราธะอยู่ที่กุฎีป่าไม่ไกลจากพระผู้มีพระภาค ครั้งนั้น
พวกอัญเดียรถีย์ปริพาชกจำนวนมากเข้าไปหาท่านพระอนุราธะถึงที่อยู่ ได้สนทนา
ปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้ว นั่ง ณ ที่สมควร ได้ถาม
ท่านพระอนุราธะดังนี้ว่า
“ท่านอนุราธะ พระตถาคตเป็นอุดมบุรุษ เป็นบรมบุรุษ ทรงบรรลุธรรมที่
ควรบรรลุอย่างยอดเยี่ยม เมื่อจะทรงบัญญัติข้อนั้น ย่อมบัญญัติในฐานะ ๔ ประการ
นี้ คือ
๑. หลังจากตายแล้ว ตถาคตเกิดอีก
๒. หลังจากตายแล้ว ตถาคตไม่เกิดอีก
๓. หลังจากตายแล้ว ตถาคตเกิดอีกและไม่เกิดอีก
๔. หลังจากตายแล้ว ตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่ หรือ”
ท่านพระอนุราธะตอบว่า “ผู้มีอายุทั้งหลาย พระตถาคตเป็นอุดมบุรุษ เป็น
บรมบุรุษ ทรงบรรลุธรรมที่ควรบรรลุอย่างยอดเยี่ยม เมื่อจะทรงบัญญัติข้อนั้นย่อม
บัญญัติเว้นจากฐานะ ๔ ประการนี้ คือ
๑. หลังจากตายแล้ว ตถาคตเกิดอีก
๒. หลังจากตายแล้ว ตถาคตไม่เกิดอีก
๓. หลังจากตายแล้ว ตถาคตเกิดอีกและไม่เกิดอีก
๔. หลังจากตายแล้ว ตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่”
เมื่อท่านพระอนุราธะกล่าวอย่างนี้แล้ว อัญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้นได้กล่าว
กับท่านพระอนุราธะดังนี้ว่า “ภิกษุรูปนี้คงจักเป็นพระใหม่บวชได้ไม่นาน หรือเป็น
พระเถระแต่โง่ ไม่ฉลาด” ทีนั้นจึงได้รุกรานท่านพระอนุราธะด้วยวาทะว่าเป็นพระใหม่
และด้วยวาทะว่าเป็นพระโง่ พากันลุกจากอาสนะแล้วจากไป

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๔๗๓ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑๐. อัพยากตสังยุต] ๒. อนุราธสูตร

ครั้นเมื่อพวกอัญเดียรถีย์ปริพาชกจากไปไม่นาน ท่านพระอนุราธะได้มีความ
คิดว่า “ถ้าอัญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้นพึงถามปัญหากับเรายิ่งขึ้นไป เราจะ
พยากรณ์แก่อัญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้นอย่างไร จึงจะชื่อว่าพูดตรงตามที่พระ
ผู้มีพระภาคตรัสไว้ ไม่ชื่อว่ากล่าวตู่พระผู้มีพระภาคด้วยคำเท็จ ชื่อว่ากล่าวแก้อย่าง
สมเหตุสมผล ไม่มีที่คำกล่าวเช่นนั้นและคำที่กล่าวต่อ ๆ กันมาจะเป็นเหตุให้ถูกตำหนิได้”
พระอนุราธะทูลถามปัญหาพระผู้มีพระภาค
ต่อมาท่านพระอนุราธะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้ว
นั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอ
ประทานวโรกาส ข้าพระองค์อยู่ที่กุฎีป่า ไม่ไกลจากพระผู้มีพระภาค ครั้งนั้น
อัญเดียรถีย์ปริพาชกจำนวนมากเข้าไปหาข้าพระองค์ถึงที่อยู่ ได้สนทนาปราศรัยพอ
เป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้ว นั่ง ณ ที่สมควร ได้ถามข้าพระองค์ดังนี้ว่า
‘ท่านอนุราธะ พระตถาคตเป็นอุดมบุรุษ เป็นบรมบุรุษ ทรงบรรลุธรรมที่ควรบรรลุ
อย่างยอดเยี่ยม เมื่อจะทรงบัญญัติข้อนั้น ย่อมทรงบัญญัติในฐานะ ๔ ประการนี้ คือ
๑. หลังจากตายแล้ว ตถาคตเกิดอีก ฯลฯ
๔. หลังจากตายแล้ว ตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่
หรือ
เมื่อพวกอัญเดียรถีย์ปริพาชกกล่าวอย่างนี้แล้ว ข้าพระองค์ได้ตอบดังนี้ว่า ‘ผู้มี
อายุทั้งหลาย พระตถาคตเป็นอุดมบุรุษ เป็นบรมบุรุษ ทรงบรรลุธรรมที่ควรบรรลุ
อย่างยอดเยี่ยม เมื่อจะทรงบัญญัติข้อนั้น ย่อมทรงบัญญัติเว้นจากฐานะ ๔ ประการ
นี้ คือ
๑. หลังจากตายแล้ว ตถาคตเกิดอีกก็ดี ฯลฯ
๔. หลังจากตายแล้ว ตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่
เมื่อข้าพระองค์กล่าวอย่างนี้แล้ว อัญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้นได้กล่าวกับ
ข้าพระองค์ดังนี้ว่า ‘ภิกษุรูปนี้คงจักเป็นพระใหม่บวชได้ไม่นาน หรือเป็นพระเถระ
แต่โง่ ไม่ฉลาด’ ทีนั้นได้รุกรานข้าพระองค์ด้วยวาทะว่าเป็นพระใหม่และด้วยวาทะ
ว่าเป็นพระโง่ พากันลุกจากอาสนะแล้วจากไป

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๔๗๔ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑๐. อัพยากตสังยุต] ๒. อนุราธสูตร

เมื่ออัญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้นจากไปไม่นาน ข้าพระองค์ได้มีความคิดว่า
‘ถ้าอัญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้นพึงถามปัญหากับเรายิ่งขึ้นไป เราจะพยากรณ์แก่
อัญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้นอย่างไร จึงจะชื่อว่าพูดตรงตามที่พระผู้มีพระภาคตรัส
ไว้ ไม่ชื่อว่ากล่าวตู่พระผู้มีพระภาคด้วยคำเท็จ ชื่อว่ากล่าวแก้อย่างสมเหตุสมผล
ไม่มีที่คำกล่าวเช่นนั้นและคำที่กล่าวต่อ ๆ กันมาจะเป็นเหตุให้ถูกตำหนิได้”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อนุราธะ เธอเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร รูปเที่ยง
หรือไม่เที่ยง”
ท่านพระอนุราธะกราบทูลว่า “ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข”
“เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา ควรหรือที่จะ
พิจารณาเห็นสิ่งนั้นว่า ‘นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา”
“ข้อนั้นไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า”
“เวทนาเที่ยงหรือไม่เที่ยง ฯลฯ สัญญา ... สังขาร ... วิญญาณเที่ยงหรือ
ไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข”
“เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา ควรหรือที่จะพิจารณา
เห็นสิ่งนั้นว่า ‘นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา ๋
“ข้อนั้นไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า”
“อนุราธะ เพราะเหตุนั้นแล รูปอย่างใดอย่างหนึ่งทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และ
ปัจจุบัน เป็นภายในหรือภายนอก หยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีต อยู่ไกล
หรืออยู่ใกล้ รูปทั้งหมดนั้นเธอพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้
ว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๔๗๕ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑๐. อัพยากตสังยุต] ๒. อนุราธสูตร

เวทนาทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน ฯลฯ สัญญา ... สังขาร ...
วิญญาณอย่างใดอย่างหนึ่งทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน เป็นภายในหรือ
ภายนอก หยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีต อยู่ไกลหรืออยู่ใกล้ วิญญาณ
ทั้งหมดนั้นเธอพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า ‘นั่นไม่ใช่ของ
เรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’
อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในรูป ย่อมเบื่อหน่ายแม้
ในเวทนา ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในสัญญา ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในสังขาร ย่อมเบื่อหน่าย
แม้ในวิญญาณ เมื่อเบื่อหน่ายย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด จิตย่อม
หลุดพ้น เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว ก็รู้ว่า ‘หลุดพ้นแล้ว’ รู้ชัดว่า ‘ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบ
พรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป’
อนุราธะ เธอเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร เธอพิจารณาเห็นรูปว่าเป็น
ตถาคตหรือ”
“ไม่ใช่อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
“เธอพิจารณาเห็นเวทนาว่า ‘เป็นตถาคต’ หรือ”
“ไมใช่อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
“เธอพิจารณาเห็นสัญญาว่า ‘เป็นตถาคต’ หรือ”
“ไม่ใช่อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
“เธอพิจารณาเห็นสังขารว่า ‘เป็นตถาคต’ หรือ”
“ไม่ใช่อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
“เธอพิจารณาเห็นวิญญาณว่า ‘เป็นตถาคต’ หรือ”
“ไม่ใช่อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
“อนุราธะ เธอเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร เธอพิจารณาเห็นว่า ‘ตถาคตมีใน
รูป’ หรือ”
“ไม่ใช่อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
“เธอพิจารณาเห็นว่า ‘ตถาคตมีนอกจากรูป’ หรือ”
“ไม่ใช่อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๔๗๖ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑๐. อัพยากตสังยุต] ๒. อนุราธสูตร

“เธอพิจารณาเห็นว่า ‘ตถาคตมีในเวทนา’ หรือ”
“ไม่ใช่อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
“เธอพิจารณาเห็นว่า ‘ตถาคตมีนอกจากเวทนา’ หรือ ฯลฯ ‘ตถาคตมีใน
สัญญา’ หรือ ฯลฯ ‘ตถาคตมีนอกจากสัญญา’ หรือ ฯลฯ ‘ตถาคตมีในสังขาร’ หรือ
ฯลฯ ‘ตถาคตมีนอกจากสังขาร’ หรือ ฯลฯ เธอพิจารณาเห็นว่า ‘ตถาคตมีใน
วิญญาณ’ หรือ”
“ไม่ใช่อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
“เธอพิจารณาเห็นว่า ‘ตถาคตมีนอกจากวิญญาณ’ หรือ”
“ไม่ใช่อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
“อนุราธะ เธอเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร เธอพิจารณาเห็นรูป เวทนา
สัญญา สังขาร วิญญาณว่า ‘เป็นตถาคต’ หรือ”
“ไม่ใช่อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
“อนุราธะ เธอเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร เธอพิจารณาเห็นว่า ‘ตถาคตนี้
ไม่มีรูป ไม่มีเวทนา ไม่มีสัญญา ไม่มีสังขาร ไม่มีวิญญาณ’ หรือ”
“ไม่ใช่อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
“อนุราธะ แท้จริง เธอจะค้นหาตถาคตโดยจริงโดยแท้ในขันธ์ ๕ นี้ในปัจจุบัน
ไม่ได้เลย ควรหรือที่เธอจะตอบว่า ‘ผู้มีอายุทั้งหลาย พระตถาคตเป็นอุดมบุรุษ
เป็นบรมบุรุษ ทรงบรรลุธรรมที่ควรบรรลุอย่างยอดเยี่ยม เมื่อจะทรงบัญญัติข้อนั้น
ย่อมทรงบัญญัติเว้นจากฐานะ ๔ ประการนี้ คือ
๑. หลังจากตายแล้ว ตถาคตเกิดอีก ฯลฯ
๔. หลังจากตายแล้ว ตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่หรือ”
“ข้อนั้นไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า”
“ดีละ ดีละ อนุราธะ ทั้งในกาลก่อนและในบัดนี้ เราย่อมบัญญัติทุกข์และ
ความดับทุกข์เท่านั้น”

อนุราธสูตรที่ ๒ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑๐. อัพยากตสังยุต]
๓. ปฐมสารีปุตตโกฏฐิตสูตร

๓. ปฐมสารีปุตตโกฏฐิตสูตร
ว่าด้วยพระสารีบุตรและพระมหาโกฏฐิตะ สูตรที่ ๑

[๔๑๒] สมัยหนึ่ง ท่านพระสารีบุตรและท่านพระมหาโกฏฐิตะอยู่ ณ ป่า
อิสิปตนมฤคทายวัน เขตกรุงพาราณสี ครั้งนั้น ท่านพระมหาโกฏฐิตะออกจากที่
หลีกเร้นในเวลาเย็น เข้าไปหาท่านพระสารีบุตรถึงที่อยู่ ได้สนทนาปราศรัยพอเป็น
ที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้ว นั่ง ณ ที่สมควร ได้ถามท่านพระสารีบุตร
ดังนี้ว่า “ท่านสารีบุตร หลังจากตายแล้ว ตถาคตเกิดอีกหรือ”
ท่านพระสารีบุตรตอบว่า “ผู้มีอายุ ปัญหาว่า ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคต
เกิดอีก’ นี้พระผู้มีพระภาคไม่ทรงพยากรณ์”
“หลังจากตายแล้ว ตถาคตไม่เกิดอีกหรือ”
“แม้ปัญหาว่า ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตไม่เกิดอีก’ นี้พระผู้มีพระภาคก็ไม่
ทรงพยากรณ์”
“หลังจากตายแล้ว ตถาคตเกิดอีกและไม่เกิดอีกหรือ”
“ปัญหาว่า ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตเกิดอีกและไม่เกิดอีก’ นี้พระผู้มีพระภาค
ไม่ทรงพยากรณ์”
“หลังจากตายแล้ว ตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่หรือ”
“แม้ปัญหาว่า ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีก
ก็มิใช่’ นี้พระผู้มีพระภาคก็ไม่ทรงพยากรณ์”
“ท่านถูกผมถามว่า ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตเกิดอีกหรือ’ ก็ตอบว่า ‘ผู้มีอายุ
ปัญหาว่า ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตเกิดอีก’ นี้พระผู้มีพระภาคไม่ทรงพยากรณ์’
ฯลฯ
ท่านถูกผมถามว่า ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิด
อีกก็มิใช่หรือ’ ก็ตอบว่า ‘แม้ปัญหาว่า ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตจะว่าเกิดอีก
ก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่’ นี้พระผู้มีพระภาคก็ไม่ทรงพยากรณ์’ อะไรหนอเป็น
เหตุเป็นปัจจัยที่พระผู้มีพระภาคไม่ทรงพยากรณ์ปัญหานั้น”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๔๗๘ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑๐. อัพยากตสังยุต]
๔. ทุติยสารีปุตตโกฏฐิตสูตร

“คำว่า ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตเกิดอีก’ ก็ดี ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตไม่
เกิดอีก’ ก็ดี ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตเกิดอีกและไม่เกิดอีก’ ก็ดี ‘หลังจากตายแล้ว
ตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่’ ก็ดี นี้เป็นสักแต่ว่ารูป
คำว่า ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตเกิดอีก’ ก็ดี ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตไม่
เกิดอีก’ ก็ดี ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตเกิดอีกและไม่เกิดอีก’ ก็ดี ‘หลังจากตายแล้ว
ตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่’ ก็ดี นี้เป็นสักแต่ว่าเวทนา
คำว่า ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตเกิดอีก’ ก็ดี ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตไม่
เกิดอีก’ ก็ดี ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตเกิดอีกและไม่เกิดอีก’ ก็ดี ‘หลังจากตายแล้ว
ตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่’ ก็ดี นี้เป็นสักแต่ว่าสัญญา
คำว่า ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตเกิดอีก’ ก็ดี ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตไม่
เกิดอีก’ ก็ดี ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตเกิดอีกและไม่เกิดอีก’ ก็ดี ‘หลังจากตายแล้ว
ตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่’ ก็ดี นี้เป็นสักแต่ว่าสังขาร
คำว่า ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตเกิดอีก’ ก็ดี ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตไม่
เกิดอีก’ ก็ดี ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตเกิดอีกและไม่เกิดอีก’ ก็ดี ‘หลังจากตายแล้ว
ตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่’ ก็ดี นี้เป็นสักแต่ว่าวิญญาณ
ผู้มีอายุ นี้แลเป็นเหตุเป็นปัจจัยที่พระผู้มีพระภาคไม่ทรงพยากรณ์ปัญหานั้น”

ปฐมสารีปุตตโกฏฐิตสูตรที่ ๓ จบ

๔. ทุติยสารีปุตตโกฏฐิตสูตร
ว่าด้วยพระสารีบุตรและพระมหาโกฏฐิตะ สูตรที่ ๒

[๔๑๓] สมัยหนึ่ง ท่านพระสารีบุตรและท่านพระมหาโกฏฐิตะอยู่ ณ ป่า
อิสิปตนมฤคทายวัน เขตกรุงพาราณสี ฯลฯ (มีการถามตอบเหมือนสูตรที่ ๓)
ผู้มีอายุ อะไรหนอเป็นเหตุเป็นปัจจัยที่พระผู้มีพระภาคไม่ทรงพยากรณ์ปัญหานั้น”
ท่านพระสารีบุตรตอบว่า “ผู้มีอายุ ทิฏฐิว่า ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตเกิดอีก’
ก็ดี ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตไม่เกิดอีก’ ก็ดี ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตเกิดอีก
และไม่เกิดอีก’ ก็ดี ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีก
ก็มิใช่’ ก็ดี ย่อมมีแก่บุคคลผู้ไม่รู้ไม่เห็นรูป เหตุเกิดรูป ความดับรูป และปฏิปทา
ที่ให้ถึงความดับรูปตามความเป็นจริง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๔๗๙ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑๐. อัพยากตสังยุต]
๕. ตติยสารีปุตตโกฏฐิตสูตร

ทิฏฐิว่า ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตเกิดอีก’ ก็ดี ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคต
ไม่เกิดอีก’ ก็ดี ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตเกิดอีกและไม่เกิดอีก’ ก็ดี ‘หลังจาก
ตายแล้ว ตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่’ ก็ดี ย่อมมีแก่บุคคลผู้
ไม่รู้ไม่เห็นเวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ สังขาร ฯลฯ
ทิฏฐิว่า ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตเกิดอีก’ ก็ดี ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคต
ไม่เกิดอีก’ ก็ดี ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตเกิดอีกและไม่เกิดอีก’ ก็ดี ‘หลังจาก
ตายแล้ว ตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่’ ก็ดี ย่อมมีแก่บุคคลผู้
ไม่รู้ไม่เห็นวิญญาณ เหตุเกิดวิญญาณ ความดับวิญญาณ และปฏิปทาที่ให้ถึง
ความดับวิญญาณตามความเป็นจริง
แต่ทิฏฐิว่า ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตเกิดอีก’ ก็ดี ฯลฯ ‘หลังจากตายแล้ว
ตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่’ ก็ดี ย่อมไม่มีแก่บุคคลผู้รู้เห็น
รูป เหตุเกิดรูป ความดับรูป และปฏิปทาที่ให้ถึงความดับรูปตามความเป็นจริง ...
เวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ สังขาร ฯลฯ
ทิฏฐิว่า ‘‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตเกิดอีก’ ก็ดี ‘หลังจากตายแล้ว
ตถาคตไม่เกิดอีก’ ก็ดี ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตเกิดอีกและไม่เกิดอีก’ ก็ดี
‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่’ ก็ดี ย่อมไม่มี
แก่บุคคลผู้รู้เห็นวิญญาณ เหตุเกิดวิญญาณ ความดับวิญญาณ และปฏิปทาที่ให้
ถึงความดับวิญญาณตามความเป็นจริง
ผู้มีอายุ นี้แลเป็นเหตุเป็นปัจจัยที่พระผู้มีพระภาคไม่ทรงพยากรณ์ปัญหานั้น”

ทุติยสารีปุตตโกฏฐิตสูตรที่ ๔ จบ

๕. ตติยสารีปุตตโกฏฐิตสูตร
ว่าด้วยพระสารีบุตรและพระมหาโกฏฐิตะ สูตรที่ ๓

[๔๑๔] สมัยหนึ่ง ท่านพระสารีบุตรและท่านพระมหาโกฏฐิตะอยู่ ณ ป่า
อิสิปตนมฤคทายวัน เขตกรุงพาราณสี ฯลฯ (มีการถามตอบเหมือนสูตรที่ ๔)
“ผู้มีอายุ อะไรหนอเป็นเหตุเป็นปัจจัยที่พระผู้มีพระภาคไม่ทรงพยากรณ์ปัญหานั้น”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๔๘๐ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑๐. อัพยากตสังยุต]
๖. จตุตถสารีปุตตโกฏฐิตสูตร

ท่านพระสารีบุตรตอบว่า “ผู้มีอายุ ทิฏฐิว่า ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตเกิด
อีก’ ก็ดี ฯลฯ ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่’
ก็ดี ย่อมมีแก่บุคคลผู้ยังไม่ปราศจากราคะ ฉันทะ ความรัก ความกระหาย
ความเร่าร้อน ตัณหาในรูป ... ในเวทนา ฯลฯ ในสัญญา ฯลฯ ในสังขาร ฯลฯ
ทิฏฐิว่า ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตเกิดอีก’ ก็ดี ฯลฯ ‘หลังจากตายแล้ว
ตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่’ ก็ดี ย่อมมีแก่บุคคลผู้ยังไม่
ปราศจากราคะ ฉันทะ ความรัก ความกระหาย ความเร่าร้อน ตัณหาในวิญญาณ
แต่ทิฏฐิว่า ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตเกิดอีก’ ก็ดี ฯลฯ ‘หลังจากตายแล้ว
ตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่’ ก็ดี ย่อมไม่มีแก่บุคคลผู้ปราศจาก
ราคะ ... ในรูป ฯลฯ ในเวทนา ฯลฯ ในสัญญา ฯลฯ ในสังขาร ฯลฯ
ทิฏฐิว่า ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตเกิดอีก’ ก็ดี ฯลฯ ‘หลังจากตายแล้ว
ตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่’ ก็ดี ย่อมไม่มีแก่บุคคลผู้ปราศจาก
ราคะ ฉันทะ ความรัก ความกระหาย ความเร่าร้อน ตัณหาในวิญญาณ
ผู้มีอายุ นี้แลเป็นเหตุเป็นปัจจัยที่พระผู้มีพระภาคไม่ทรงพยากรณ์ปัญหานั้น”

ตติยสารีปุตตโกฏฐิตสูตรที่ ๕ จบ

๖. จตุตถสารีปุตตโกฏฐิตสูตร
ว่าด้วยพระสารีบุตรและพระมหาโกฏฐิตะ สูตรที่ ๔

[๔๑๕] สมัยหนึ่ง ท่านพระสารีบุตรและท่านพระมหาโกฏฐิตะอยู่ ณ ป่า
อิสิปตนมฤคทายวัน เขตกรุงพาราณสี ครั้งนั้น ท่านพระสารีบุตรออกจากที่หลีก
เร้นในเวลาเย็น เข้าไปหาท่านพระมหาโกฏฐิตะถึงที่อยู่ ได้สนทนาปราศรัยพอเป็น
ที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้ว นั่ง ณ ที่สมควร ได้ถามท่านพระมหา-
โกฏฐิตะดังนี้ว่า “ท่านมหาโกฏฐิตะ ท่านถูกผมถามว่า ‘หลังจากตายแล้ว
ตถาคตเกิดอีกหรือ’ ฯลฯ ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่
เกิดอีกก็มิใช่หรือ’ ก็ตอบว่า ‘ผู้มีอายุ แม้ปัญหาว่า ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคต
จะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่’ นี้พระผู้มีพระภาคก็ไม่ทรงพยากรณ์’
อะไรหนอเป็นเหตุเป็นปัจจัยที่พระผู้มีพระภาคไม่ทรงพยากรณ์ปัญหานั้น”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๔๘๑ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑๐. อัพยากตสังยุต]
๖. จตุตถสารีปุตตโกฏฐิตสูตร

ท่านพระมหาโกฏฐิตะตอบว่า “ผู้มีอายุ ทิฏฐิว่า ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคต
เกิดอีก’ ก็ดี ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตไม่เกิดอีก’ ก็ดี ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคต
เกิดอีกและไม่เกิดอีก’ ก็ดี ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่
เกิดอีกก็มิใช่’ ก็ดี ย่อมมีแก่บุคคลผู้ชื่นชม ยินดี บันเทิงในรูป ผู้ไม่รู้ ไม่เห็นความ
ดับรูปตามความเป็นจริง
ทิฏฐิว่า ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตเกิดอีก’ ก็ดี ... ย่อมมีแก่บุคคล ผู้ชื่นชม
ยินดี บันเทิงในเวทนา ผู้ไม่รู้ ไม่เห็นความดับเวทนาตามความเป็นจริง ฯลฯ ผู้
ชื่นชมในสัญญา ฯลฯ ผู้ชื่นชมในสังขาร ฯลฯ
ทิฏฐิว่า ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตเกิดอีก’ ก็ดี ฯลฯ ‘หลังจากตายแล้ว
ตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่’ ก็ดี ย่อมมีแก่บุคคล ผู้ชื่นชม ยินดี
บันเทิงในวิญญาณ ผู้ไม่รู้ ไม่เห็นความดับวิญญาณตามความเป็นจริง
แต่ทิฏฐิว่า ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตเกิดอีก’ ก็ดี ฯลฯ ‘หลังจากตายแล้ว
ตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่’ ก็ดี ย่อมไม่มีแก่บุคคลผู้ไม่ชื่นชม
ไม่ยินดี ไม่บันเทิงในรูป ผู้รู้ เห็นความดับรูปตามความเป็นจริง
ทิฏฐิว่า ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตเกิดอีก’ ก็ดี ฯลฯ ‘หลังจากตายแล้ว
ตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่’ ก็ดี ... ย่อมไม่มีแก่บุคคลผู้ไม่
ชื่นชมในเวทนา ฯลฯ ผู้ไม่ชื่นชมในสัญญา ฯลฯ ผู้ไม่ชื่นชมในสังขาร ทิฏฐิว่า
‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตเกิดอีก’ ก็ดี ฯลฯ ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตจะว่า
เกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่’ ก็ดี ย่อมไม่มีแก่บุคคลผู้ไม่ชื่นชม ไม่ยินดี ไม่
บันเทิงในวิญญาณ ผู้รู้ เห็นความดับวิญญาณตามความเป็นจริง
ผู้มีอายุ นี้แลเป็นเหตุเป็นปัจจัยที่พระผู้มีพระภาคไม่ทรงพยากรณ์ปัญหานั้น”
ท่านพระสารีบุตรถามว่า “อนึ่ง เหตุแม้อย่างอื่นที่พระผู้มีพระภาคไม่ทรงพยากรณ์
ปัญหานั้นมีอยู่หรือ”
ท่านพระมหาโกฏฐิตะตอบว่า “มีอยู่ ผู้มีอายุ คือ ทิฏฐิว่า ‘หลังจากตายแล้ว
ตถาคตเกิดอีก’ ก็ดี ฯลฯ ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่
เกิดอีกก็มิใช่’ ก็ดี ย่อมมีแก่บุคคลผู้ชื่นชม ยินดี บันเทิงในภพ ผู้ไม่รู้ ไม่เห็น
ความดับภพตามความเป็นจริง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๔๘๒ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑๐. อัพยากตสังยุต]
๖. จตุตถสารีปุตตโกฏฐิตสูตร

แต่ทิฏฐิว่า ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตเกิดอีก’ ก็ดี ฯลฯ ‘หลังจากตายแล้ว
ตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่’ ก็ดี ย่อมไม่มีแก่บุคคลผู้ไม่ชื่นชม
ไม่ยินดี ไม่บันเทิงในภพ ผู้รู้ เห็นความดับภพตามความเป็นจริง
ผู้มีอายุ นี้แลเป็นเหตุที่พระผู้มีพระภาคไม่ทรงพยากรณ์ปัญหานั้น”
ท่านพระสารีบุตรถามว่า “อนึ่ง เหตุแม้อย่างอื่นที่พระผู้มีพระภาคไม่ทรงพยากรณ์
ปัญหานั้นมีอยู่หรือ”
ท่านพระมหาโกฏฐิตะตอบว่า “มีอยู่ ผู้มีอายุ คือ ทิฏฐิว่า ‘หลังจากตายแล้ว
ตถาคตเกิดอีก’ ก็ดี ฯลฯ ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่
เกิดอีกก็มิใช่’ ก็ดี ย่อมมีแก่บุคคลผู้ชื่นชม ยินดี บันเทิงในอุปาทาน ผู้ไม่รู้ ไม่
เห็นความดับอุปาทานตามความเป็นจริง
แต่ทิฏฐิว่า ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตเกิดอีก’ ก็ดี ฯลฯ ‘หลังจากตายแล้ว
ตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่’ ก็ดี ย่อมไม่มีแก่บุคคลผู้ไม่ชื่นชม
ไม่ยินดี ไม่บันเทิงในอุปาทาน ผู้รู้ เห็นความดับอุปาทานตามความเป็นจริง
ผู้มีอายุ นี้แลเป็นเหตุที่พระผู้มีพระภาคไม่ทรงพยากรณ์ปัญหานั้น”
ท่านพระสารีบุตรถามว่า “อนึ่ง เหตุแม้อย่างอื่นที่พระผู้มีพระภาคไม่ทรงพยากรณ์
ปัญหานั้นมีอยู่หรือ”
ท่านพระมหาโกฏฐิตะตอบว่า “มีอยู่ ผู้มีอายุ คือ ทิฏฐิว่า ‘หลังจากตายแล้ว
ตถาคตเกิดอีก’ ก็ดี ฯลฯ ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่
เกิดอีกก็มิใช่’ ก็ดี ย่อมมีแก่บุคคลผู้ชื่นชม ยินดี บันเทิงในตัณหา ผู้ไม่รู้ ไม่เห็น
ความดับตัณหาตามความเป็นจริง
แต่ทิฏฐิว่า ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตเกิดอีก’ ก็ดี ฯลฯ ‘หลังจากตายแล้ว
ตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่’ ก็ดี ย่อมไม่มีแก่บุคคลผู้ไม่ชื่นชม
ไม่ยินดี ไม่บันเทิงในตัณหา ผู้รู้ เห็นความดับตัณหาตามความเป็นจริง
ผู้มีอายุ นี้แลเป็นเหตุที่พระผู้มีพระภาคไม่ทรงพยากรณ์ปัญหานั้น”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๔๘๓ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑๐. อัพยากตสังยุต] ๗. โมคคัลลานสูตร

“ผู้มีอายุ อนึ่ง เหตุแม้อย่างอื่นที่พระผู้มีพระภาคไม่ทรงพยากรณ์ปัญหานั้นมี
อยู่หรือ”
“ท่านสารีบุตร บัดนี้ท่านจะต้องการอะไรในปัญหานี้ยิ่งไปกว่านี้อีกเล่า เพราะ
ไม่มีธรรมเนียมสำหรับให้รู้ภิกษุผู้หลุดพ้นเพราะสิ้นตัณหา”

จตุตถสารีปุตตโกฏฐิตสูตรที่ ๖ จบ

๗. โมคคัลลานสูตร
ว่าด้วยพระมหาโมคคัลลานะ

[๔๑๖] ครั้งนั้น วัจฉโคตรปริพาชกเข้าไปหาท่านพระมหาโมคคัลลานะถึงที่อยู่
ได้สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้ว นั่ง ณ ที่สมควร
ได้ถามท่านพระมหาโมคคัลลานะดังนี้ว่า
“ท่านโมคคัลลานะ โลกเที่ยงหรือ”
ท่านพระมหาโมคคัลลานะตอบว่า “วัจฉะ ปัญหาว่า ‘โลกเที่ยง’ นี้พระ
ผู้มีพระภาคไม่ทรงพยากรณ์”
“โลกไม่เที่ยงหรือ”
“แม้ปัญหาว่า ‘โลกไม่เที่ยง’ นี้พระผู้มีพระภาคก็ไม่ทรงพยากรณ์”
“โลกมีที่สุดหรือ”
“ปัญหาว่า ‘โลกมีที่สุด’ นี้พระผู้มีพระภาคไม่ทรงพยากรณ์”
“โลกไม่มีที่สุดหรือ”
“แม้ปัญหาว่า ‘โลกไม่มีที่สุด’ นี้พระผู้มีพระภาคก็ไม่ทรงพยากรณ์”
“ชีวะกับสรีระเป็นอย่างเดียวกันหรือ”
“ปัญหาว่า ‘ชีวะกับสรีระเป็นอย่างเดียวกัน’ นี้พระผู้มีพระภาคไม่ทรง
พยากรณ์”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๔๘๔ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑๐. อัพยากตสังยุต] ๗. โมคคัลลานสูตร

“ชีวะกับสรีระเป็นคนละอย่างกันหรือ”
“แม้ปัญหาว่า ‘ชีวะกับสรีระเป็นคนละอย่างกัน’ นี้พระผู้มีพระภาคก็ไม่ทรง
พยากรณ์”
“หลังจากตายแล้ว ตถาคตเกิดอีกหรือ”
“ปัญหาว่า ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตเกิดอีก’ นี้พระผู้มีพระภาคไม่ทรง
พยากรณ์”
“หลังจากตายแล้ว ตถาคตไม่เกิดอีกหรือ”
“แม้ปัญหาว่า ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตไม่เกิดอีก’ นี้พระผู้มีพระภาคก็ไม่
ทรงพยากรณ์”
“หลังจากตายแล้ว ตถาคตเกิดอีกและไม่เกิดอีกหรือ”
“ปัญหาว่า ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตเกิดอีกและไม่เกิดอีก’ นี้พระผู้มีพระภาค
ไม่ทรงพยากรณ์”
“หลังจากตายแล้ว ตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่หรือ”
“แม้ปัญหาว่า ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีก
ก็มิใช่’ นี้พระผู้มีพระภาคก็ไม่ทรงพยากรณ์”
“ท่านโมคคัลลานะ อะไรหนอเป็นเหตุเป็นปัจจัยที่พวกอัญเดียรถีย์ปริพาชก
เมื่อถูกถามอย่างนี้จึงตอบว่า ‘โลกเที่ยง หรือโลกไม่เที่ยง โลกมีที่สุด หรือโลก
ไม่มีที่สุด ชีวะกับสรีระเป็นอย่างเดียวกัน หรือชีวะกับสรีระเป็นคนละอย่างกัน
หลังจากตายแล้ว ตถาคตเกิดอีก หรือหลังจากตายแล้ว ตถาคตไม่เกิดอีก หลัง
จากตายแล้ว ตถาคตเกิดอีกและไม่เกิดอีก หรือหลังจากตายแล้ว ตถาคตจะว่า
เกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่’
อะไรหนอเป็นเหตุเป็นปัจจัยที่พระสมณโคดมเมื่อถูกถามอย่างนี้จึงไม่ทรงพยากรณ์
ว่า ‘โลกเที่ยงบ้าง โลกไม่เที่ยงบ้าง โลกมีที่สุดบ้าง โลกไม่มีที่สุดบ้าง ชีวะสรีระ
เป็นอย่างเดียวกันบ้าง ชีวะกับสรีระเป็นคนละอย่างกันบ้าง หลังจากตายแล้ว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๔๘๕ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑๐. อัพยากตสังยุต] ๗. โมคคัลลานสูตร

ตถาคตเกิดอีกบ้าง หลังจากตายแล้ว ตถาคตไม่เกิดอีกบ้าง หลังจากตายแล้ว
ตถาคตเกิดอีกและไม่เกิดอีกบ้าง หลังจากตายแล้ว ตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะ
ว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่บ้าง”
“วัจฉะ เพราะพวกอัญเดียรถีย์ปริพาชกพิจารณาเห็นจักขุว่า ‘นั่นของเรา
เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา’ ฯลฯ พิจารณาเห็นมโนว่า ‘นั่นของเรา เราเป็นนั่น
นั่นเป็นอัตตาของเรา’ ฉะนั้นพวกอัญเดียรถีย์ปริพาชกเมื่อถูกถามอย่างนี้จึงตอบว่า
‘โลกเที่ยง ฯลฯ หลังจากตายแล้ว ตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่’
ส่วนพระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงพิจารณาเห็นจักขุว่า ‘นั่นไม่ใช่
ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’ ฯลฯ ทรงพิจารณาเห็นชิวหาว่า
‘นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’ ฯลฯ ทรงพิจารณาเห็นมโนว่า
‘นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’ ฉะนั้นพระตถาคตเมื่อถูกถาม
อย่างนี้จึงไม่ทรงพยากรณ์ว่า ‘โลกเที่ยงบ้าง ฯลฯ หลังจากตายแล้ว ตถาคตจะ
ว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่บ้าง”
วัจฉโคตรปริพาชกทูลถามปัญหาพระผู้มีพระภาค
ครั้งนั้น วัจฉโคตรปริพาชกลุกขึ้นจากที่นั่งแล้ว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึง
ที่ประทับ ได้สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้ว นั่ง ณ
ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “พระโคดมผู้เจริญ โลกเที่ยงหรือ”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “วัจฉะ ปัญหาว่า ‘โลกเที่ยง’ นี้เราไม่พยากรณ์” ฯลฯ
“พระโคดมผู้เจริญ หลังจากตายแล้ว ตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิด
อีกก็มิใช่หรือ”
“วัจฉะ แม้ปัญหาว่า ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่
เกิดอีกก็มิใช่’ นี้เราก็ไม่พยากรณ์”
“พระโคดมผู้เจริญ อะไรหนอเป็นเหตุเป็นปัจจัยที่พวกอัญเดียรถีย์ปริพาชก
เมื่อถูกถามอย่างนี้จึงตอบว่า ‘โลกเที่ยง ฯลฯ หลังจากตายแล้ว ตถาคตจะว่า
เกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๔๘๖ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑๐. อัพยากตสังยุต] ๗. โมคคัลลานสูตร

อนึ่ง อะไรเป็นเหตุเป็นปัจจัยที่พระสมณโคดมเมื่อถูกถามอย่างนี้จึงไม่ทรง
พยากรณ์ว่า ‘โลกเที่ยงบ้าง ฯลฯ หลังจากตายแล้ว ตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่
จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่บ้าง”
“วัจฉะ เพราะพวกอัญเดียรถีย์ปริพาชกพิจารณาเห็นจักขุว่า ‘นั่นของเรา เรา
เป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา’ ฯลฯ พิจารณาเห็นชิวหาว่า ‘นั่นของเรา เราเป็นนั่น
นั่นเป็นอัตตาของเรา’ ฯลฯ พิจารณาเห็นมโนว่า ‘นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็น
อัตตาของเรา’ ฉะนั้นพวกอัญเดียรถีย์ปริพาชกเมื่อถูกถามอย่างนี้จึงตอบว่า ‘โลก
เที่ยง ฯลฯ หลังจากตายแล้ว ตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่’
ส่วนตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพิจารณาเห็นจักขุว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา
เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’ ฯลฯ พิจารณาเห็นชิวหาว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา
เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’ ฯลฯ พิจารณาเห็นมโนว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา
เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’ ฉะนั้นตถาคตเมื่อถูกถามอย่างนี้จึงไม่พยากรณ์
ว่า ‘โลกเที่ยงบ้าง โลกไม่เที่ยงบ้าง โลกมีที่สุดบ้าง โลกไม่มีที่สุดบ้าง ชีวะกับ
สรีระเป็นอย่างเดียวกันบ้าง ชีวะกับสรีระเป็นคนละอย่างกันบ้าง หลังจากตายแล้ว
ตถาคตเกิดอีกบ้าง หลังจากตายแล้ว ตถาคตไม่เกิดอีกบ้าง หลังจากตายแล้ว
ตถาคตเกิดอีกและไม่เกิดอีกบ้าง หลังจากตายแล้ว ตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะ
ว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่บ้าง”
“พระโคดมผู้เจริญ น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคยปรากฏ ที่อรรถกับอรรถ
พยัญชนะกับพยัญชนะของพระศาสดากับพระสาวกเทียบเคียงกันได้ เหมือนกันไม่
ผิดเพี้ยนในบทที่สำคัญ พระโคดมผู้เจริญ เมื่อครู่นี้ข้าพระองค์เข้าไปหาพระ
มหาโมคคัลลานะได้ถามเรื่องนี้ แม้พระมหาโมคคัลลานะก็ได้ตอบเรื่องนี้ด้วยบท
และพยัญชนะเหล่านี้แก่ข้าพระองค์เหมือนท่านพระโคดม พระโคดมผู้เจริญ น่า
อัศจรรย์จริง ไม่เคยปรากฏ ที่อรรถกับอรรถ พยัญชนะกับพยัญชนะของพระศาสดา
กับพระสาวกเทียบเคียงกันได้ เหมือนกันไม่ผิดเพี้ยนในบทที่สำคัญ”

โมคคัลลานสูตรที่ ๗ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑๐. อัพยากตสังยุต] ๘. วัจฉโคตตสูตร

๘. วัจฉโคตตสูตร
ว่าด้วยวัจฉโคตรปริพาชก

[๔๑๗] ครั้งนั้น วัจฉโคตรปริพาชกเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ได้
สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้ว นั่ง ณ ที่สมควร
ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ท่านพระโคดม โลกเที่ยงหรือ”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “วัจฉะ ปัญหาว่า ‘โลกเที่ยง’ นี้เราไม่พยากรณ์”
ฯลฯ
“ท่านพระโคดม หลังจากตายแล้ว ตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิด
อีกก็มิใช่หรือ”
“วัจฉะ แม้ปัญหาว่า ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่
เกิดอีกก็มิใช่’ นี้เราก็ไม่พยากรณ์”
“ท่านพระโคดม อะไรหนอเป็นเหตุเป็นปัจจัยที่พวกอัญเดียรถีย์ปริพาชกเมื่อ
ถูกถามอย่างนี้แล้วจึงตอบว่า ‘โลกเที่ยง ฯลฯ หลังจากตายแล้ว ตถาคตจะว่า
เกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่’
อนึ่ง อะไรเป็นเหตุเป็นปัจจัยที่พระสมณโคดมเมื่อถูกถามอย่างนี้จึงไม่ทรง
พยากรณ์ว่า ‘โลกเที่ยงบ้าง ฯลฯ หลังจากตายแล้ว ตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่
จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่บ้าง”
“วัจฉะ เพราะพวกอัญเดียรถีย์ปริพาชกพิจารณาเห็นรูปโดยความเป็นอัตตา
พิจารณาเห็นอัตตาว่ามีรูป พิจารณาเห็นรูปในอัตตา หรือพิจารณาเห็นอัตตาในรูป
พิจารณาเห็นเวทนาโดยความเป็นอัตตา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ สังขาร ฯลฯ
พิจารณาเห็นวิญญาณโดยความเป็นอัตตา พิจารณาเห็นอัตตาว่ามีวิญญาณ
พิจารณาเห็นวิญญาณในอัตตา หรือพิจารณาเห็นอัตตาในวิญญาณ ฉะนั้นพวก
อัญเดียรถีย์ปริพาชกเมื่อถูกถามอย่างนี้จึงตอบว่า ‘โลกเที่ยง ฯลฯ หลังจากตายแล้ว
ตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๔๘๘ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑๐. อัพยากตสังยุต] ๘. วัจฉโคตตสูตร

ส่วนตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าไม่พิจารณาเห็นรูปเป็นอัตตา ไม่พิจารณา
เห็นอัตตาว่ามีรูป ไม่พิจารณาเห็นรูปในอัตตา หรือไม่พิจารณาเห็นอัตตาในรูป ไม่
พิจารณาเห็นเวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ สังขาร ฯลฯ ไม่พิจารณาเห็น
วิญญาณโดยความเป็นอัตตา ไม่พิจารณาเห็นอัตตาว่ามีวิญญาณ ไม่พิจารณาเห็น
วิญญาณในอัตตา หรือไม่พิจารณาเห็นอัตตาในวิญญาณ ฉะนั้นตถาคต(เรา)เมื่อถูก
ถามอย่างนี้จึงไม่พยากรณ์ว่า ‘โลกเที่ยงบ้าง ฯลฯ หลังจากตายแล้ว ตถาคตจะ
ว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่บ้าง”
วัจฉโคตรปริพาชกถามปัญหาพระมหาโมคคัลลานะ
ลำดับนั้น วัจฉโคตรปริพาชกลุกขึ้นจากที่นั่งแล้ว เข้าไปหาท่านพระ
มหาโมคคัลลานะถึงที่อยู่ ได้สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึก
ถึงกันแล้ว นั่ง ณ ที่สมควร ได้ถามท่านพระมหาโมคคัลลานะดังนี้ว่า “ท่าน
โมคคัลลานะ โลกเที่ยงหรือ”
ท่านพระมหาโมคคัลลานะตอบว่า “วัจฉะ ปัญหาว่า ‘โลกเที่ยง’ นี้พระ
ผู้มีพระภาคไม่ทรงพยากรณ์” ฯลฯ
“ท่านโมคคัลลานะ หลังจากตายแล้ว ตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิด
อีกก็มิใช่หรือ”
“วัจฉะ แม้ปัญหาว่า ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่
เกิดอีกก็มิใช่’ นี้พระผู้มีพระภาคก็ไม่ทรงพยากรณ์”
“ท่านโมคคัลลานะ อะไรหนอเป็นเหตุเป็นปัจจัยที่พวกอัญเดียรถีย์ปริพาชก
เมื่อถูกถามอย่างนี้จึงตอบว่า ‘โลกเที่ยง ฯลฯ หลังจากตายแล้ว ตถาคตจะว่า
เกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่’ อนึ่ง อะไรเป็นเหตุเป็นปัจจัยที่พระสมณโคดม
เมื่อถูกถามอย่างนี้จึงไม่ทรงพยากรณ์ว่า ‘โลกเที่ยงบ้าง ฯลฯ หลังจากตายแล้ว
ตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่บ้าง”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๔๘๙ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑๐. อัพยากตสังยุต] ๘. วัจฉโคตตสูตร

“วัจฉะ เพราะพวกอัญเดียรถีย์ปริพาชกพิจารณาเห็นรูปโดยความเป็นอัตตา
พิจารณาเห็นอัตตาว่ามีรูป พิจารณาเห็นรูปในอัตตา หรือพิจารณาเห็นอัตตาในรูป
พิจารณาเห็นเวทนาโดยความเป็นอัตตา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ สังขาร ฯลฯ
พิจารณาเห็นวิญญาณโดยความเป็นอัตตา พิจารณาเห็นอัตตาว่ามีวิญญาณ
พิจารณาเห็นวิญญาณในอัตตา หรือพิจารณาเห็นอัตตาในวิญญาณ ฉะนั้นพวก
อัญเดียรถีย์ปริพาชกเมื่อถูกถามอย่างนี้จึงตอบว่า ‘โลกเที่ยง ฯลฯ หลังจากตาย
แล้ว ตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่’
ส่วนพระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าไม่ทรงพิจารณาเห็นรูปโดยความเป็น
อัตตา ไม่ทรงพิจารณาเห็นอัตตาว่ามีรูป ไม่ทรงพิจารณาเห็นรูปในอัตตา หรือไม่
ทรงพิจารณาเห็นอัตตาในรูป ไม่ทรงพิจารณาเห็นเวทนาโดยความเป็นอัตตา ฯลฯ
สัญญา ฯลฯ สังขาร ฯลฯ ไม่ทรงพิจารณาเห็นวิญญาณโดยความเป็นอัตตา ไม่
ทรงพิจารณาเห็นอัตตาว่ามีวิญญาณ ไม่ทรงพิจารณาเห็นวิญญาณในอัตตา หรือไม่
ทรงพิจารณาเห็นอัตตาในวิญญาณ
ฉะนั้นพระตถาคตเมื่อถูกถามอย่างนี้จึงไม่พยากรณ์ว่า ‘โลกเที่ยงบ้าง โลกไม่
เที่ยงบ้าง โลกมีที่สุดบ้าง โลกไม่มีที่สุดบ้าง ชีวะกับสรีระเป็นอย่างเดียวกันบ้าง
ชีวะกับสรีระเป็นคนละอย่างกันบ้าง หลังจากตายแล้ว ตถาคตเกิดอีกบ้าง หลัง
จากตายแล้ว ตถาคตไม่เกิดอีกบ้าง หลังจากตายแล้ว ตถาคตเกิดอีกและไม่เกิด
อีกบ้าง หลังจากตายแล้ว ตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่บ้าง”
“ท่านโมคคัลลานะ น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคยปรากฏ ที่อรรถกับอรรถ
พยัญชนะกับพยัญชนะของพระศาสดากับพระสาวกเทียบเคียงกันได้ เหมือนกันไม่
ผิดเพี้ยนในบทที่สำคัญ ท่านโมคคัลลานะ เมื่อครู่นี้ข้าพเจ้าเข้าไปเฝ้าพระสมณโคดม
ได้ทูลถามเรื่องนี้ แม้พระสมณโคดมก็ทรงพยากรณ์เรื่องนี้ด้วยบทและพยัญชนะ
เหล่านี้แก่ข้าพเจ้าเหมือนกัน ท่านโมคคัลลานะ น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคยปรากฏ ที่
อรรถกับอรรถ พยัญชนะกับพยัญชนะของพระศาสดากับพระสาวกเทียบเคียงกันได้
เหมือนกันไม่ผิดเพี้ยนในบทที่สำคัญ”

วัจฉโคตตสูตรที่ ๘ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑๐. อัพยากตสังยุต] ๙. กุตูหลสาลาสูตร

๙. กุตูหลสาลาสูตร
ว่าด้วยศาลาถกแถลง

[๔๑๘] ครั้งนั้น วัจฉโคตรปริพาชกเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ได้
สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้ว นั่ง ณ ที่สมควร ได้
ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ท่านพระโคดม วันก่อนโน้น พวกสมณพราหมณ์
อัญเดียรถีย์ปริพาชกจำนวนมากนั่งประชุมกันในศาลาถกแถลง๑ ได้สนทนากันว่า
‘ครูปูรณะ กัสสปะนี้เป็นเจ้าหมู่เจ้าคณะ เป็นคณาจารย์ เป็นผู้มีชื่อเสียงมีเกียรติยศ
เป็นเจ้าลัทธิ ชนจำนวนมากยกย่องกันว่าเป็นคนดี ครูปูรณะ กัสสปะนั้นพยากรณ์
สาวกผู้ล่วงลับดับไปในอุบัติภพทั้งหลายว่า ‘ท่านโน้นเกิดในภพโน้น ท่านโน้นเกิด
ในภพโน้น’ แม้สาวกใดของครูปูรณะ กัสสปะนั้นเป็นอุดมบุรุษ เป็นบรมบุรุษ ได้
บรรลุผลที่ควรบรรลุอย่างยิ่ง ท่านก็พยากรณ์สาวกนั้นผู้ล่วงลับดับไปในอุบัติภพทั้ง
หลายว่า ‘ท่านโน้นเกิดในภพโน้น ท่านโน้นเกิดในภพโน้น’
ถึงครูมักขลิ โคศาล ฯลฯ
ถึงครูนิครนถ์ นาฏบุตร ฯลฯ
ถึงครูสัญชัย เวลัฏฐบุตร ฯลฯ
ถึงครูปกุธะ กัจจายนะ ฯลฯ
ถึงครูอชิตะ เกสกัมพลนี้ก็เป็นเจ้าหมู่เจ้าคณะ เป็นคณาจารย์ เป็นผู้มีชื่อเสียง
มีเกียรติยศ เป็นเจ้าลัทธิ ชนจำนวนมากยกย่องว่าเป็นคนดี แม้ครูอชิตะ เกสกัมพล
นั้นก็พยากรณ์สาวกผู้ล่วงลับดับไปในอุบัติภพทั้งหลายว่า ‘ท่านโน้นเกิดในภพโน้น
ท่านโน้นเกิดในภพโน้น’ แม้สาวกใดของครูอชิตะ เกสกัมพลนั้นเป็นอุดมบุรุษ เป็น


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑๐. อัพยากตสังยุต] ๙. กุตูหลสาลาสูตร

บรมบุรุษ ได้บรรลุผลที่ควรบรรลุอย่างยิ่ง ท่านก็พยากรณ์แม้สาวกนั้นผู้ล่วงลับ
ดับไปในอุบัติภพทั้งหลายว่า ‘ท่านโน้นเกิดในภพโน้น ท่านโน้นเกิดในภพโน้น’
ฝ่ายพระสมณโคดมนี้เป็นเจ้าหมู่เจ้าคณะ เป็นคณาจารย์ เป็นผู้มีชื่อเสียงมี
เกียรติยศ เป็นเจ้าลัทธิ ชนจำนวนมากยกย่องว่าเป็นคนดี แม้พระสมณโคดมนั้น
ก็ทรงพยากรณ์สาวกผู้ล่วงลับดับไปในอุบัติภพทั้งหลายว่า ‘สาวกโน้นเกิดในภพ
โน้น สาวกโน้นเกิดในภพโน้น’ ส่วนสาวกใดของพระสมณโคดมนั้นเป็นอุดมบุรุษ
เป็นบรมบุรุษ ได้บรรลุธรรมที่ควรบรรลุอย่างยิ่ง พระองค์ก็ทรงพยากรณ์สาวกนั้น
ผู้ล่วงลับดับไปในอุบัติภพทั้งหลายว่า ‘สาวกโน้นเกิดในภพโน้น สาวกโน้นเกิดใน
ภพโน้น’ นอกจากนี้ยังทรงพยากรณ์สาวกนั้นอีกว่า ‘ตัดตัณหาได้ขาด ถอนสังโยชน์
ได้ ทำที่สุดแห่งทุกข์เพราะละมานะได้โดยชอบ’ ท่านพระโคดม ข้าพเจ้านั้นได้มี
ความเคลือบแคลงสงสัยว่า ‘ถึงอย่างไร พระสมณโคดมก็ทรงรู้ยิ่งธรรม”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “วัจฉะ สมควรที่ท่านจะเคลือบแคลงสงสัย ความ
สงสัยเกิดขึ้นแก่ท่านในฐานะที่ควรเคลือบแคลง เราย่อมบัญญัติความอุบัติสำหรับผู้
มีอุปาทาน ไม่บัญญัติสำหรับผู้ไม่มีอุปาทาน ไฟที่มีเชื้อย่อมลุกโพลงได้ ไม่มีเชื้อ
ก็ลุกโพลงไม่ได้แม้ฉันใด เราก็บัญญัติความอุบัติสำหรับผู้มีอุปาทาน ไม่บัญญัติ
สำหรับผู้ไม่มีอุปาทานฉันนั้นเหมือนกัน”
“ท่านพระโคดม เวลาที่เปลวไฟถูกลมพัดไปได้ไกล ท่านพระโคดมจะทรง
บัญญัติอะไรแก่เปลวไฟนี้ในเพราะเชื้อเล่า”
“วัจฉะ เวลาที่เปลวไฟถูกลมพัดไปได้ไกล เราบัญญัติเชื้อคือลมนั้น เพราะ
ลมเป็นเชื้อของเปลวไฟนั้น”
“ท่านพระโคดม เวลาที่สัตว์ทอดทิ้งกายนี้และไม่เข้าถึงกายอย่างใดอย่างหนึ่ง
ท่านพระโคดมจะทรงบัญญัติอะไรแก่สัตว์นี้ในเพราะอุปาทานเล่า”
“วัจฉะ เวลาที่สัตว์ทอดทิ้งกายนี้และไม่เข้าถึงกายอย่างใดอย่างหนึ่ง เรา
บัญญัติอุปาทานคือตัณหานั้น เพราะตัณหาเป็นเชื้อของสัตว์นั้น”

กุตูหลสาลาสูตรที่ ๙ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑๐. อัพยากตสังยุต] ๑๐, อานันทสูตร

๑๐. อานันทสูตร
ว่าด้วยพระอานนท์

[๔๑๙] ครั้งนั้น วัจฉโคตรปริพาชกเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ได้
สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้ว นั่ง ณ ที่สมควร ได้
ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ท่านพระโคดม อัตตามีอยู่หรือ” เมื่อวัจฉโคตร
ปริพาชกทูลถามอย่างนี้แล้ว พระผู้มีพระภาคได้ทรงนิ่งอยู่ วัจฉโคตรปริพาชกจึง
ทูลถามอีกว่า “ท่านพระโคดม อัตตาไม่มีหรือ”
แม้ครั้งที่ ๒ พระผู้มีพระภาคก็ได้ทรงนิ่งอยู่ ลำดับนั้น วัจฉโคตรปริพาชก
จึงลุกจากที่นั่งแล้วจากไป
ครั้นเมื่อวัจฉโคตรปริพาชกจากไปไม่นาน ท่านพระอานนท์ได้ทูลถามพระ
ผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เพราะเหตุไร พระองค์ถูกวัจฉโคตร
ปริพาชกทูลถามปัญหาแล้วจึงไม่ทรงพยากรณ์”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “อานนท์ เราถูกวัจฉโคตรปริพาชกถามว่า
‘อัตตามีอยู่หรือ’ ถ้าตอบว่า ‘อัตตามีอยู่’ คำตอบนั้นก็จักไปตรงกับลัทธิของพวก
สมณพราหมณ์ผู้เป็นสัสสตทิฏฐิ (ความเห็นว่าเที่ยง) และเราถูกวัจฉโคตรปริพาชก
ถามว่า ‘อัตตาไม่มีหรือ’ ถ้าตอบว่า ‘อัตตาไม่มี’ คำตอบนั้นก็จักไปตรงกับลัทธิ
ของพวกสมณพราหมณ์ผู้เป็นอุจเฉททิฏฐิ (ความเห็นว่าขาดสูญ) อนึ่ง เราถูก
วัจฉโคตรปริพาชกถามว่า ‘อัตตามีอยู่หรือ’ ถ้าตอบว่า ‘อัตตามีอยู่’ คำตอบนั้นก็
จักอนุโลมแก่ความเกิดขึ้นแห่งญาณของเราว่า ‘ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา’ บ้างหรือ”
“ไม่อนุโลม พระพุทธเจ้าข้า”
“อานนท์ อนึ่ง เราถูกวัจฉโคตรปริพาชกถามว่า ‘อัตตาไม่มีหรือ’ ถ้าตอบว่า
‘อัตตาไม่มี’ คำตอบนั้นก็จักมีเพื่อความงมงายยิ่งขึ้นแก่วัจฉโคตรปริพาชกผู้งมงาย
อยู่แล้วว่า ‘เมื่อก่อนอัตตาของเราได้มีแล้วแน่นอน บัดนี้อัตตานั้นไม่มี”

อานันทสูตรที่ ๑๐ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑๐. อัพยากตสังยุต]
๑๑. สภิยกัจจายนสูตร

๑๑. สภิยกัจจานสูตร
ว่าด้วยพระสภิยกัจจานะ

[๔๒๐] สมัยหนึ่ง ท่านพระสภิยกัจจานะอยู่ ณ พระตำหนักอิฐในหมู่บ้าน
ญาติกะ ครั้งนั้น วัจฉโคตรปริพาชกเข้าไปหาท่านพระสภิยกัจจานะถึงที่อยู่ ได้
สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้ว นั่ง ณ ที่สมควร
ได้ถามท่านพระสภิยกัจจานะดังนี้ว่า “ท่านกัจจานะ หลังจากตายแล้ว ตถาคตเกิด
อีกหรือ”
ท่านพระสภิยกัจจานะตอบว่า “วัจฉะ ปัญหาว่า ‘หลังจากตายแล้ว
ตถาคตเกิดอีก’ นี้พระผู้มีพระภาคไม่ทรงพยากรณ์”
“หลังจากตายแล้ว ตถาคตไม่เกิดอีกหรือ”
“แม้ปัญหาว่า ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตไม่เกิดอีก’ นี้พระผู้มีพระภาคก็ไม่
ทรงพยากรณ์”
“หลังจากตายแล้ว ตถาคตเกิดอีกและไม่เกิดอีกหรือ”
“ปัญหาว่า ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตเกิดอีกและไม่เกิดอีก’ นี้พระผู้มีพระ
ภาคไม่ทรงพยากรณ์”
“หลังจากตายแล้ว ตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่หรือ”
“แม้ปัญหาว่า ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีก
ก็มิใช่’ นี้พระผู้มีพระภาคก็ไม่ทรงพยากรณ์”
“ท่านถูกข้าพเจ้าถามว่า ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตเกิดอีกหรือ’ ก็ตอบว่า
‘ปัญหาว่า ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตเกิดอีก’ นี้พระผู้มีพระภาคไม่ทรงพยากรณ์’
ท่านถูกข้าพเจ้าถามว่า ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตไม่เกิดอีกหรือ’ ก็ตอบว่า
‘แม้ปัญหาว่า ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตไม่เกิดอีก’ นี้พระผู้มีพระภาคก็ไม่ทรง
พยากรณ์’
ท่านถูกข้าพเจ้าถามว่า ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตเกิดอีกและไม่เกิดอีกหรือ‘’
ก็ตอบว่า ‘ปัญหาว่า ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตเกิดอีกและไม่เกิดอีก’ นี้พระ
ผู้มีพระภาคไม่ทรงพยากรณ์’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๔๙๔ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑๐. อัพยากตสังยุต]
รวมพระสูตรที่มีในสังยุตวรรค

ท่านถูกข้าพเจ้าถามว่า ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่า
ไม่เกิดอีกก็มิใช่หรือ’ ก็ตอบว่า ‘แม้ปัญหาว่า ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตจะว่า
เกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่’ นี้พระผู้มีพระภาคก็ไม่ทรงพยากรณ์’ ท่าน
กัจจานะ อะไรหนอเป็นเหตุเป็นปัจจัยที่พระสมณโคดมไม่ทรงพยากรณ์ปัญหานั้น”
“วัจฉะ เหตุและปัจจัยใดเพื่อการบัญญัติว่า ‘ตถาคตมีรูปหรือไม่มีรูป ตถาคต
มีสัญญาหรือไม่มีสัญญา หรือตถาคตมีสัญญาก็มิใช่ ไม่มีสัญญาก็มิใช่ เหตุและ
ปัจจัยนั้นก็ผิดทุกสิ่งโดยอาการทั้งหมดทุกอย่างไม่เหลือโดยประการทั้งปวง บุคคล
เมื่อจะบัญญัติตถาคตนั้นว่า ‘ตถาคตมีรูปหรือไม่มีรูป ตถาคตมีสัญญาหรือไม่มี
สัญญา หรือตถาคตมีสัญญาก็มิใช่ ไม่มีสัญญาก็มิใช่’ พึงบัญญัติด้วยอะไร”
“ท่านกัจจานะ ท่านบวชมานานเท่าไร”
“ไม่นานดอก ผู้มีอายุ ๓ พรรษา”
“ผู้มีอายุ การพยากรณ์เท่านี้ของท่านผู้ที่กล่าวแก้ได้โดยเวลาถึงเท่านี้ก็มากอยู่
เมื่อคำพยากรณ์ไพเราะอย่างนี้แล้ว ก็ไม่จำต้องพูดอะไรกันอีก”

สภิยกัจจานสูตรที่ ๑๑ จบ

รวมพระสูตรที่มีในสังยุตวรรคนี้ คือ

๑. เขมาสูตร ๒. อนุราธสูตร
๓. ปฐมสารีปุตตโกฏฐิตสูตร ๔. ทุติยสารีปุตตโกฏฐิตสูตร
๕. ตติยสารีปุตตโกฏฐิตสูตร ๖. จตุตถสารีปุตตโกฏฐิตสูตร
๗. โมคคัลลานสูตร ๘. วัจฉโคตตสูตร
๙. กุตูหลสาลาสูตร ๑๐. อานันทสูตร
๑๑. สภิยกัจจานสูตร

อัพยากตสังยุต จบบริบูรณ์


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑๐. อัพยากตสังยุต]
รวมสังยุตที่มีในสฬายตนวรรคสังยุต

รวมสังยุตที่มีในสฬายตนวรรคนี้คือ

๑. สฬายตนสังยุต ๒. เวทนาสังยุต
๓. มาตุคามสังยุต ๔. ชัมพุขาทกสังยุต
๕. สามัณฑกสังยุต ๖. โมคคัลลานสังยุต
๗. จิตตสังยุต ๘. คามณิสังยุต
๙. อสังขตสังยุต ๑๐. อัพยากตสังยุต

สฬายตนวรรคสังยุต จบ


พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๘ สุตตันตปิฎกที่ ๑๐ สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค จบ





eXTReMe Tracker