ค้นว่าอยู่เล่มใด แล้วกด [ctrl]+f หรือใช้คำสั่งของเครื่องหาตำแหน่งในเล่มอีกทีนะครับ



จัดรูปหน้าใหม่
เพื่อความสะดวก และสวยงาม
(เฉพาะหน้าจอใหญ่ เช่น คอมพิวเตอร์)
กรุณาคลิก จัดรูปหน้าใหม่
เพื่อให้กรอบ
ค้นข้อความ ปรากฎที่ด้านซ้ายของหน้า

พระไตรปิฎกภาษาไทย
ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ๔๕ เล่ม (ปกสีฟ้า)
ทั้งออนไลน์และออฟไลน์
ที่มาของข้อมูล : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับ มจร.
MCUTRAI Version 1.0

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๓-๔ สุตตันตปิฎกที่ ๐๕ มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์

พระสุตตันตปิฎก
มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์
_____________
ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค] ๑๐. กัณณกัตถลสูตร

พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “มหาบพิตร พระภคินีโสมาและพระภคินีสกุลา
ไม่ทรงได้ผู้อื่นเป็นทูตแล้วหรือ”
พระเจ้าปเสนทิโกศลทูลตอบว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระภคินีโสมาและ
พระภคินีสกุลา ได้สดับข่าวว่า ‘ได้ยินว่า วันนี้ พระเจ้าปเสนทิโกศลบริโภค
อาหารเช้าเสร็จแล้ว ภายหลังเวลาพระกระยาหารจักมาเฝ้าพระผู้มีพระภาค’ ครั้งนั้น
พระภคินีโสมาและพระภคินีสกุลา ได้เข้ามาหาหม่อมฉันในที่บริโภคอาหารแล้ว
รับสั่งว่า ‘ข้าแต่มหาราช ถ้าเช่นนั้น ขอพระองค์ทรงถวายอภิวาทพระยุคลบาท
ของพระผู้มีพระภาคด้วยเศียรเกล้า ขอจงทูลถามถึงพระสุขภาพ ความมีพระ
โรคาพาธน้อย กระปรี้กระเปร่า มีพระพลานามัยสมบูรณ์ อยู่สำราญ ตามคำของ
หม่อมฉันทั้งสองว่า ‘พระภคินีโสมาและพระภคินีสกุลาขอถวายอภิวาทพระยุคลบาท
ของพระผู้มีพระภาคด้วยเศียรเกล้า และทูลถามถึงพระสุขภาพ ความมีพระโรคาพาธ
น้อย กระปรี้กระเปร่า มีพระพลานามัยสมบูรณ์ อยู่สำราญ’ พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “มหาบพิตร ขอพระภคินีโสมาและพระภคินีสกุลา
จงทรงพระสำราญเถิด”
[๓๗๗] ลำดับนั้น พระเจ้าปเสนทิโกศล ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หม่อมฉันได้สดับมาอย่างนี้ว่า ‘พระสมณโคดมตรัส
อย่างนี้ว่า ‘ไม่มีสมณะหรือพราหมณ์ผู้เป็นสัพพัญญู มีปกติเห็นธรรมทั้งปวง
จักปฏิญญาญาณทัสสนะอย่างเบ็ดเสร็จ เหตุนี้เป็นไปไม่ได้’ ชนเหล่าใดกล่าว
อย่างนี้ว่า ‘พระสมณโคดมตรัสอย่างนี้ว่า ‘ไม่มีสมณะหรือพราหมณ์ผู้เป็นสัพพัญญู
มีปกติเห็นธรรมทั้งปวง จักปฏิญญาญาณทัสสนะอย่างเบ็ดเสร็จ เหตุนี้เป็นไปไม่ได้’
ชนเหล่านั้นชื่อว่าพูดตรงตามที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ ไม่ชื่อว่ากล่าวตู่พระผู้มีพระภาค
ด้วยคำเท็จหรือ ชื่อว่ากล่าวแก้อย่างสมเหตุสมผลหรือ ไม่มีบ้างหรือที่คำกล่าวเช่นนั้น
และคำที่กล่าวต่อ ๆ กันมาจะเป็นเหตุให้ถูกตำหนิได้ พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “มหาบพิตร ชนเหล่าใดกล่าวอย่างนี้ว่า
‘พระสมณโคดมตรัสอย่างนี้ว่า ‘ไม่มีสมณะหรือพราหมณ์ผู้เป็นสัพพัญญู มีปกติ
เห็นธรรมทั้งปวง จักปฏิญญาญาณทัสสนะอย่างเบ็ดเสร็จ เหตุนี้เป็นไปไม่ได้’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๔๖๑ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค] ๑๐. กัณณกัตถลสูตร

ชนเหล่านั้นไม่ชื่อว่าพูดตรงตามที่อาตมภาพกล่าวแล้ว ชื่อว่ากล่าวตู่อาตมภาพด้วย
คำเท็จ ขอถวายพระพร”
[๓๗๘] ครั้งนั้น พระเจ้าปเสนทิโกศลจึงรับสั่งเรียกเสนาบดีชื่อวิฑูฑภะมา
ตรัสว่า “เสนาบดี ใครหนอกล่าวเรื่องนี้ภายในพระราชวัง”
วิฑูฑภเสนาบดีกราบทูลว่า “ข้าแต่มหาราช พราหมณ์ชื่อสัญชัย อากาสโคตร
กล่าว พระเจ้าข้า”
จากนั้น พระเจ้าปเสนทิโกศลรับสั่งเรียกบุรุษคนหนึ่งมาตรัสว่า “มาเถิด
พ่อยอดชาย เธอจงไปเชิญพราหมณ์สัญชัย อากาสโคตรตามคำของเราว่า ‘ท่านผู้เจริญ
พระเจ้าปเสนทิโกศลรับสั่งเรียกท่าน”
บุรุษนั้นทูลรับสนองพระราชดำรัสแล้วได้เข้าไปหาพราหมณ์สัญชัย อากาสโคตร
ถึงที่อยู่ แล้วกล่าวกับพราหมณ์สัญชัย อากาสโคตรว่า “ท่านผู้เจริญ พระเจ้า
ปเสนทิโกศลตรัสเรียกท่าน”
จากนั้น พระเจ้าปเสนทิโกศลได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า “ข้าแต่พระองค์
ผู้เจริญ พระดำรัสอย่างหนึ่งที่พระผู้มีพระภาคทรงหมายเอาเนื้อความบางอย่าง
ตรัสไว้ แต่คนกลับเข้าใจพระดำรัสไปอีกอย่างหนึ่ง มีบ้างไหม พระผู้มีพระภาค
ยังทรงจำพระดำรัสที่ตรัสแล้วได้อยู่หรือ พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “มหาบพิตร อาตมภาพจำคำที่กล่าวแล้วได้ดี
คือคำที่กล่าวไว้แล้วอย่างนี้ว่า ‘ไม่มีสมณะหรือพราหมณ์ผู้รู้ มีปกติเห็นธรรมทั้งปวง
ในคราวเดียวกัน เหตุนี้เป็นไปไม่ได้”
พระเจ้าปเสนทิโกศลกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาค
ได้ตรัสสภาพที่เป็นเหตุ ทั้งยังตรัสสภาพที่เป็นผลว่า ‘ไม่มีสมณะหรือพราหมณ์ผู้รู้
มีปกติเห็นธรรมทั้งปวง ในคราวเดียวกัน เหตุนี้เป็นไปไม่ได้’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๔๖๒ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค] ๑๐. กัณณกัตถลสูตร

วรรณะ ๔ จำพวก

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ วรรณะ ๔ จำพวกนี้ คือ (๑) กษัตริย์ (๒) พราหมณ์
(๓) แพศย์ (๔) ศูทร วรรณะ ๔ จำพวกนี้ จะพึงมีความผิดแผกแตกต่างกันบ้างไหม”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “มหาบพิตร วรรณะ ๔ จำพวกนี้ คือ (๑) กษัตริย์
(๒) พราหมณ์ (๓) แพศย์ (๔) ศูทร บรรดาวรรณะ ๔ จำพวกนี้ วรรณะ ๒ จำพวก
คือ กษัตริย์และพราหมณ์ อาตมภาพกล่าวว่าเป็นผู้เลิศ คือเป็นที่ไหว้ เป็นที่ลุกรับ
เป็นที่กราบไหว้ เป็นที่กระทำสามีจิกรรม ขอถวายพระพร”
พระเจ้าปเสนทิโกศลกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หม่อมฉันมิได้ทูลถาม
ถึงความแปลกกันในปัจจุบันกับพระผู้มีพระภาค หม่อมฉันทูลถามถึงความแปลกกัน
ในสัมปรายภพกับพระผู้มีพระภาคต่างหาก วรรณะ ๔ จำพวกนี้ คือ (๑) กษัตริย์
(๒) พราหมณ์ (๓) แพศย์ (๔) ศูทร วรรณะ ๔ จำพวกนี้จะพึงมีความผิดแผกแตกต่าง
กันบ้างไหม พระพุทธเจ้าข้า”

องค์ของภิกษุผู้บำเพ็ญเพียร

[๓๗๙] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “มหาบพิตร องค์ของภิกษุผู้บำเพ็ญเพียร
มี ๕ ประการนี้
องค์ของภิกษุผู้บำเพ็ญเพียร ๕ ประการ อะไรบ้าง
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เป็นผู้มีศรัทธา เชื่อพระปัญญาเครื่องตรัสรู้๑ของตถาคตว่า ‘แม้
เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้
ด้วยพระองค์เองโดยชอบ เพียบพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดี
รู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกผู้ที่ควรฝึกได้อย่างยอดเยี่ยม เป็นศาสดาของ
เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระผู้มีพระภาค’


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค] ๑๐. กัณณกัตถลสูตร

๒. เป็นผู้มีสุขภาพมีโรคาพาธน้อย ประกอบด้วยไฟธาตุสำหรับย่อยอาหาร
สม่ำเสมอ ไม่เย็นนัก ไม่ร้อนนัก ปานกลาง เหมาะแก่การบำเพ็ญ
เพียร
๓. เป็นผู้ไม่โอ้อวด ไม่มีมารยา ทำตนให้เปิดเผยตามความเป็นจริงใน
ศาสดา หรือในเพื่อนพรหมจารีผู้รู้ทั้งหลาย
๔. เป็นผู้ปรารภความเพียร เพื่อละอกุศลธรรม เพื่อให้กุศลธรรมเกิด
มีความเข้มแข็ง มีความบากบั่นมั่นคง ไม่ทอดธุระในกุศลธรรม
ทั้งหลายอยู่
๕. เป็นผู้มีปัญญา คือ ประกอบด้วยปัญญาเป็นเครื่องพิจารณาเห็น
ทั้งความเกิดและความดับ อันเป็นอริยะ ชำแรกกิเลสให้ถึงความสิ้น
ทุกข์โดยชอบ
มหาบพิตร องค์ของภิกษุผู้บำเพ็ญเพียร ๕ ประการนี้แล๑
วรรณะ ๔ จำพวกนี้ คือ (๑) กษัตริย์ (๒) พราหมณ์ (๓) แพศย์ (๔) ศูทร
ถ้าวรรณะ ๔ จำพวกนั้นเป็นผู้ประกอบด้วยองค์ของภิกษุผู้มีความเพียร ๕ ประการนี้
ข้อนั้นก็จะเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อสุขแก่วรรณะ ๔ จำพวกตลอดกาลนาน
ขอถวายพระพร”
พระเจ้าปเสนทิโกศลกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ วรรณะ ๔ จำพวกนี้
คือ (๑) กษัตริย์ (๒) พราหมณ์ (๓) แพศย์ (๔) ศูทร ถ้าวรรณะ ๔ จำพวกนั้นเป็นผู้
ประกอบด้วยองค์ของภิกษุผู้มีความเพียร ๕ ประการนี้ ในข้อนี้ วรรณะ ๔ จำพวก
นั้นจะมีอะไรผิดแผกแตกต่างกันเล่า พระพุทธเจ้าข้า”
“มหาบพิตร ในข้อนี้ อาตมภาพกล่าวถึงวรรณะทั้ง ๔ จำพวก มีความ
แตกต่างกันด้วยความเพียร เปรียบเหมือนสัตว์คู่หนึ่ง เป็นช้างที่ควรฝึกก็ตาม เป็นม้า
ที่ควรฝึกก็ตาม เป็นโคที่ควรฝึกก็ตาม เขาฝึกดีแล้ว แนะนำดีแล้ว หรือว่าสัตว์คู่หนึ่ง


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค] ๑๐. กัณณกัตถลสูตร

คือช้างที่ควรฝึกก็ตาม ม้าที่ควรฝึกก็ตาม โคที่ควรฝึกก็ตาม ที่ยังไม่ได้ฝึก ยังไม่ได้
แนะนำ
มหาบพิตร พระองค์ทรงเข้าพระทัยความข้อนั้นว่าอย่างไร สัตว์คู่หนึ่งเป็น
ช้างที่ควรฝึกก็ตาม เป็นม้าที่ควรฝึกก็ตาม เป็นโคที่ควรฝึกก็ตาม เขาฝึกดีแล้ว
แนะนำดีแล้ว สัตว์คู่หนึ่งที่ฝึกแล้วเท่านั้น พึงถึงเหตุของสัตว์ที่ฝึกแล้ว พึงบรรลุภูมิ
ของสัตว์ที่ฝึกแล้ว มิใช่หรือ ขอถวายพระพร”
“ใช่ พระพุทธเจ้าข้า”
“มหาบพิตร สัตว์คู่หนึ่งจะเป็นช้างที่ควรฝึกก็ตาม เป็นม้าที่ควรฝึกก็ตาม
เป็นโคที่ควรฝึกก็ตาม เขาไม่ได้ฝึก ไม่ได้แนะนำ สัตว์ที่เขาไม่ได้ฝึกเลย จะพึงถึงเหตุ
ของสัตว์ที่ฝึกแล้ว จะบรรลุถึงภูมิของสัตว์ที่ฝึกแล้ว เหมือนสัตว์คู่นั้นจะเป็นช้างที่ควร
ฝึกก็ตาม เป็นม้าที่ควรฝึกก็ตาม เป็นโคที่ควรฝึกก็ตาม ที่เขาฝึกแล้ว แนะนำดีแล้ว
ได้บ้างไหม ขอถวายพระพร”
พระเจ้าปเสนทิโกศลกราบทูลว่า “ไม่ได้ พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “มหาบพิตร อย่างนั้นเหมือนกัน เป็นไปไม่ได้เลย๑ที่
อิฏฐผลใดอันบุคคลผู้มีศรัทธา มีอาพาธน้อย ไม่โอ้อวด ไม่มีมารยา ปรารภความเพียร
มีปัญญา พึงถึงอิฏฐผลนั้น บุคคลผู้ไม่มีศรัทธา๒ มีอาพาธมาก โอ้อวด มีมารยา
เกียจคร้าน มีปัญญาทราม จักถึงได้ ขอถวายพระพร”
[๓๘๐] พระเจ้าปเสนทิโกศล ทูลถามว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระผู้มี
พระภาคได้ตรัสสภาพที่เป็นเหตุ ทั้งยังตรัสสภาพที่เป็นผลว่า ‘วรรณะ ๔ จำพวกนี้
คือ (๑) กษัตริย์ (๒) พราหมณ์ (๓) แพศย์ (๔) ศูทร ถ้าวรรณะ ๔ จำพวกนั้น


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค] ๑๐. กัณณกัตถลสูตร

เป็นผู้ประกอบด้วยองค์ของภิกษุผู้มีความเพียร ๕ ประการนี้และมีความเพียร
เหมือนกัน’ ในข้อนี้ วรรณะ ๔ จำพวกนี้ จะพึงมีความผิดแผกแตกต่างกันบ้างไหม
พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “มหาบพิตร ในข้อนี้ อาตมภาพกล่าวว่าวรรณะ
๔ จำพวกนี้ ไม่แตกต่างกันแม้แต่น้อย คือวิมุตติกับวิมุตติไม่แตกต่างกัน เปรียบเหมือน
บุรุษผู้เก็บไม้สักแห้งมาก่อไฟ ให้ลุกโพลงขึ้น ต่อมาบุรุษอีกคนหนึ่งเก็บไม้สาละแห้ง
มาก่อไฟให้ลุกโพลงขึ้น ต่อมาบุรุษอีกคนหนึ่งเก็บไม้มะม่วงแห้งมาก่อไฟให้ลุกโพลงขึ้น
ต่อมาบุรุษอีกคนหนึ่งเก็บไม้มะเดื่อแห้งมาก่อไฟ ให้ลุกโพลงขึ้น
มหาบพิตร พระองค์ทรงเข้าพระทัยความข้อนั้นว่าอย่างไร เปลวกับเปลว สีกับสี
แสงกับแสง ของไฟที่เกิดขึ้นมาจากไม้ต่าง ๆ กันนั้น จะพึงมีความแตกต่างกันบ้างไหม
ขอถวายพระพร”
“ไม่มีความแตกต่างกันเลย พระพุทธเจ้าข้า”
“อย่างนั้นเหมือนกัน มหาบพิตร เดชอันใดถูกความเพียรย่ำยีแล้ว เกิดขึ้นด้วย
ความเพียร ในเดชนั้นอาตมภาพไม่กล่าวว่าแตกต่างกัน คือวิมุตติกับวิมุตติไม่แตกต่างกัน
ขอถวายพระพร”
“พระผู้มีพระภาคตรัสสภาพที่เป็นเหตุ ทั้งตรัสสภาพอันเป็นผล เทวดามีจริงหรือ
พระพุทธเจ้าข้า”
“มหาบพิตร เพราะเหตุไร พระองค์จึงตรัสถามอย่างนี้ว่า ‘เทวดามีจริงหรือ
พระพุทธเจ้าข้า”
พระเจ้าปเสนทิโกศล กราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถ้าเทวดามีจริง
เทวดาเหล่านั้นมาสู่โลกนี้หรือไม่มาสู่โลกนี้ พระพุทธเจ้าข้า”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๔๖๖ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค] ๑๐. กัณณกัตถลสูตร

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “มหาบพิตร เทวดาเหล่าใดมีความเบียดเบียน๑ เทวดา
เหล่านั้นมาสู่โลกนี้ เทวดาเหล่าใดไม่มีความเบียดเบียน๒ เทวดาเหล่านั้นไม่มา๓สู่โลกนี้
ขอถวายพระพร”

วาทะพระอานนท์

[๓๘๑] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว วิฑูฑภเสนาบดีได้กราบทูล
พระผู้มีพระภาคว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เทวดาเหล่าใดมีความเบียดเบียนมาสู่โลกนี้ เทวดา
เหล่านั้นจักยังเทวดาทั้งหลายผู้ไม่มีความเบียดเบียน ผู้ไม่มาสู่โลกนี้ให้จุติหรือจัก
ขับไล่เสียจากที่นั้นหรือ พระพุทธเจ้าข้า”
ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์ได้คิดว่า “วิฑูฑภเสนาบดีนี้เป็นพระราชโอรสของ
พระเจ้าปเสนทิโกศล เราเป็นโอรสของพระผู้มีพระภาค บัดนี้เป็นกาลสมควรที่โอรส
กับโอรสจะพึงปรึกษากัน” ลำดับนั้น ท่านพระอานนท์จึงกล่าวกับวิฑูฑภเสนาบดีว่า
“เสนาบดี ถ้าเช่นนั้น ในข้อนี้ อาตมภาพจะขอย้อนถามท่านก่อน ท่านพึง
ตอบปัญหาตามที่ท่านพอใจ ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร พระราชอาณาจักร
ของพระเจ้าปเสนทิโกศลมีประมาณเท่าใด และในพระราชอาณาจักรใด พระเจ้า
ปเสนทิโกศลครองราชย์เป็นอิสราธิบดี ในพระราชอาณาจักรนั้น ท้าวเธอทรง
สามารถยังสมณะหรือพราหมณ์ ผู้มีบุญหรือไม่มีบุญ ผู้ประพฤติพรหมจรรย์หรือไม่
ประพฤติพรหมจรรย์ ให้ย้ายออก หรือทรงเนรเทศจากที่นั้นได้ มิใช่หรือ”
วิฑูฑภเสนาบดีตอบว่า “พระคุณเจ้า พระราชอาณาจักรของพระเจ้าปเสนทิโกศล
มีประมาณเท่าใด และในพระราชอาณาจักรใด พระเจ้าปเสนทิโกศลครองราชย์เป็น
อิสราธิบดี ในพระราชอาณาจักรนั้น ท้าวเธอย่อมทรงสามารถยังสมณะหรือ


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค] ๑๐. กัณณกัตถลสูตร

พราหมณ์ ผู้มีบุญหรือไม่มีบุญ ผู้ประพฤติพรหมจรรย์หรือไม่ประพฤติพรหมจรรย์
ให้ย้ายออกหรือทรงเนรเทศเสียจากที่นั้นได้”
“เสนาบดี ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร ที่อันมิใช่พระราชอาณาจักรของ
พระเจ้าปเสนทิโกศลมีประมาณเท่าใด และในที่ใด พระเจ้าปเสนทิโกศลมิได้ครอง
ราชย์เป็นอิสราธิบดี ในที่นั้น ท้าวเธอย่อมสามารถยังสมณะหรือพราหมณ์ ผู้มีบุญ
หรือไม่มีบุญ ผู้ประพฤติพรหมจรรย์หรือไม่ประพฤติพรหมจรรย์ ให้ย้ายออก หรือทรง
เนรเทศเสียจากที่นั้นได้หรือ”
“พระคุณเจ้า ที่อันมิใช่พระราชอาณาจักรของพระเจ้าปเสนทิโกศลมีประมาณ
เท่าใดและในที่ใดพระเจ้าปเสนทิโกศลมิได้ครองราชย์เป็นอิสราธิบดี ในที่นั้น ท้าวเธอ
ย่อมไม่ทรงสามารถจะยังสมณะหรือพราหมณ์ ผู้มีบุญหรือไม่มีบุญ ผู้ประพฤติ
พรหมจรรย์หรือไม่ประพฤติพรหมจรรย์ ให้ย้ายออก หรือทรงเนรเทศเสียจาก
ที่นั้นได้”
“เสนาบดี ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร ท่านเคยได้ยินเกี่ยวกับเทพชั้น
ดาวดึงส์มาแล้วหรือ”
“ใช่แล้ว พระคุณเจ้า โยมได้ยินเกี่ยวกับเทพชั้นดาวดึงส์มาแล้ว แม้ในบัดนี้
พระเจ้าปเสนทิโกศลก็ทรงสดับเกี่ยวกับเทพชั้นดาวดึงส์มาแล้ว”
“เสนาบดี ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร พระเจ้าปเสนทิโกศลจะทรง
สามารถยังเทพชั้นดาวดึงส์ ให้เคลื่อนหรือทรงเนรเทศไปเสียจากที่นั้นได้ไหม”
วิฑูฑภเสนาบดี ตอบว่า “พระคุณเจ้า พระเจ้าปเสนทิโกศลไม่ทรงสามารถแม้
แต่จะทอดพระเนตรเห็นเทพชั้นดาวดึงส์ ที่ไหนเล่าจะทรงให้เคลื่อน หรือทรงเนรเทศ
ไปเสียจากที่นั้นได้”
ท่านพระอานนท์กล่าวว่า “เสนาบดี อย่างนั้นหมือนกัน เทพเหล่าใดมีความ
เบียดเบียนมาสู่โลกนี้ เทพเหล่านั้นย่อมไม่สามารถแม้เพื่อจะเห็นเทพผู้ไม่มีความ
เบียดเบียน ผู้ไม่มาสู่โลกนี้ ที่ไหนเล่าจักให้เคลื่อนหรือเนรเทศไปเสียจากที่นั้นได้”
[๓๘๒] ครั้งนั้น พระเจ้าปเสนทิโกศลได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า “ภิกษุรูป
นี้ชื่ออะไร พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ภิกษุรูปนี้ชื่ออานนท์ ขอถวายพระพร”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๔๖๘ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค] ๑๐. กัณณกัตถลสูตร

พระเจ้าปเสนทิโกศลทูลถามว่า “พระคุณเจ้าอานนท์รูปก็งาม นามก็เพราะ
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระคุณเจ้าอานนท์กล่าวสภาพที่เป็นเหตุ และกล่าวสภาพที่
เป็นผล พรหมมีจริงหรือ พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “มหาบพิตร เพราะเหตุไร พระองค์จึงตรัสถาม
อย่างนี้ว่า ‘พรหมมีจริงหรือ พระพุทธเจ้าข้า’ เล่า มหาบพิตร”
พระเจ้าปเสนทิโกศลกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถ้าพรหมมีจริง
พรหมนั้นมาสู่โลกนี้หรือไม่มาสู่โลกนี้ พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “มหาบพิตร พรหมใดมีความเบียดเบียน พรหมนั้น
มาสู่โลกนี้ พรหมใดไม่มีความเบียดเบียน พรหมนั้นก็ไม่มาสู่โลกนี้ ขอถวายพระพร”
ลำดับนั้น บุรุษคนหนึ่งได้กราบทูลพระเจ้าปเสนทิโกศลว่า “ขอเดชะ พราหมณ์
สัญชัย อากาสโคตรมาแล้ว พระเจ้าข้า”
ต่อมา พระเจ้าปเสนทิโกศลจึงตรัสถามพราหมณ์สัญชัย อากาสโคตรว่า
“พราหมณ์ ใครหนอกล่าวเรื่องนี้ไว้ภายในพระราชวัง”
พราหมณ์สัญชัย อากาสโคตรกราบทูลว่า “ขอเดชะ วิฑูฑภเสนาบดี พระเจ้าข้า”
วิฑูฑภเสนาบดีกราบทูลอย่างนี้ว่า ข้าแต่มหาราช พราหมณ์สัญชัย อากาสโคตร
พระเจ้าข้า”
ลำดับนั้น บุรุษคนหนึ่งได้กราบทูลพระเจ้าปเสนทิโกศลว่า “ขอเดชะ บัดนี้
ยานพาหนะพร้อมแล้ว พระเจ้าข้า”

พระเจ้าปเสนทิโกศลทรงชื่นชมพระภาษิตของพระพุทธเจ้า

ลำดับนั้น พระเจ้าปเสนทิโกศลได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า “ข้าแต่พระองค์
ผู้เจริญ หม่อมฉันได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคถึงความเป็นสัพพัญญู พระผู้มีพระภาค
ก็ทรงตอบความเป็นสัพพัญญูแล้ว ข้อที่ทรงตอบนั้นหม่อมฉันชอบใจและถูกใจนัก
และหม่อมฉันก็ชื่นชมด้วยข้อที่ทรงตอบนั้น
หม่อมฉันได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคถึงความบริสุทธิ์ของวรรณะ ๔ จำพวก
พระผู้มีพระภาคก็ทรงตอบความบริสุทธิ์ของวรรณะ ๔ จำพวกแล้ว และข้อที่ทรง
ตอบนั้น หม่อมฉันชอบใจและถูกใจนัก และหม่อมฉันก็ชื่นชมด้วยข้อที่ทรงตอบนั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๔๖๙ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค] รวมพระสูตรที่มีในวรรค

หม่อมฉันได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคถึงเทวดาที่ยิ่ง พระผู้มีพระภาคก็ทรงตอบ
เทวดาที่ยิ่ง ข้อที่ทรงตอบนั้นหม่อมฉันชอบใจและถูกใจนัก และหม่อมฉันก็ชื่นชม
ด้วยข้อที่ทรงตอบนั้น
หม่อมฉันได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคถึงพรหมที่ยิ่ง พระผู้มีพระภาคก็ทรงตอบ
พรหมที่ยิ่ง ข้อที่ทรงตอบนั้นหม่อมฉันชอบใจและถูกใจนัก และหม่อมฉันก็ชื่นชม
ด้วยข้อที่ทรงตอบนั้น
อนึ่ง หม่อมฉันได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคถึงข้อใด ๆ พระผู้มีพระภาคก็ทรง
ตอบข้อนั้น ๆ ข้อที่ทรงตอบนั้น หม่อมฉันชอบใจและถูกใจนัก และหม่อมฉันก็
ชื่นชมด้วยข้อที่ทรงตอบนั้น
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เอาเถิด บัดนี้ หม่อมฉันขอทูลลากลับ เพราะมีกิจ
มีหน้าที่ที่จะต้องทำอีกมาก พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “มหาบพิตร
ขอพระองค์จงทรงกำหนดเวลาที่สมควร ณ บัดนี้เถิด”
ครั้งนั้น พระเจ้าปเสนทิโกศลทรงชื่นชมยินดีพระภาษิตของพระผู้มีพระภาค
ทรงลุกจากที่ประทับ ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาค กระทำประทักษิณแล้วจึงเสด็จจากไป
ดังนี้แล

กัณณกัตถลสูตรที่ ๑๐ จบ
ราชวรรคที่ ๔ จบบริบูรณ์

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. ฆฏิการสูตร ๒. รัฏฐปาลสูตร
๓. มฆเทวสูตร ๔. มธุรสูตร
๕. โพธิราชกุมารสูตร ๖. อังคุลิมาลสูตร
๗. ปิยชาติกสูตร ๘. พาหิติกสูตร
๙. ธัมมเจติยสูตร ๑๐. กัณณกัตถลสูตร


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค] ๑. พรหมายุสูตร

๕. พราหมณวรรค
หมวดว่าด้วยพราหมณ์

๑. พรหมายุสูตร
ว่าด้วยพราหมณ์ชื่อพรหมายุ

[๓๘๓] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเสด็จจาริกไปในแคว้นวิเทหะ พร้อมกับภิกษุสงฆ์
หมู่ใหญ่ประมาณ ๕๐๐ รูป สมัยนั้นแล พราหมณ์ชื่อพรหมายุอาศัยอยู่ในกรุงมิถิลา
เป็นคนชรา เป็นคนแก่ เป็นผู้ใหญ่ ล่วงกาลผ่านวัยมาโดยลำดับจนมีอายุถึง ๑๒๐ ปี
นับแต่เกิด รู้จบไตรเพท๑ พร้อมทั้งนิฆัณฑุศาสตร์๒ เกฏุภศาสตร์๓ อักษรศาสตร์๔
และประวัติศาสตร์๕ เข้าใจตัวบทและไวยากรณ์ ชำนาญโลกายตศาสตร์๖ และลักษณะ
มหาบุรุษ๗ พรหมายุพราหมณ์ได้ฟังข่าวว่า


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค] ๑. พรหมายุสูตร

“ท่านผู้เจริญทั้งหลาย ได้ยินว่า พระสมณโคดมเป็นศากยบุตรเสด็จออกผนวช
จากศากยตระกูล เสด็จจาริกอยู่ในแคว้นวิเทหะพร้อมกับภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ประมาณ
๕๐๐ รูป ท่านพระโคดมนั้นมีกิตติศัพท์อันงามขจรไปอย่างนี้ว่า ‘แม้เพราะเหตุนี้
พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้ด้วยพระองค์เองโดยชอบ
เพียบพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ๑ เสด็จไปดี รู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกผู้ที่ควรฝึก
ได้อย่างยอดเยี่ยม เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า
เป็นพระผู้มีพระภาค๒’ พระองค์ทรงรู้แจ้งโลกนี้พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก
และหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ด้วยพระองค์เองแล้วทรงประกาศ
ให้ผู้อื่นรู้ตาม ทรงแสดงธรรมมีความงามในเบื้องต้น มีความงามในท่ามกลาง และมี
ความงามในที่สุด๓ ทรงประกาศพรหมจรรรย์พร้อมทั้งอรรถและพยัญชนะบริสุทธิ์
บริบูรณ์ครบถ้วน การได้พบพระอรหันต์ทั้งหลายเช่นนี้เป็นความดีอย่างแท้จริง”
[๓๘๔] สมัยนั้น มาณพชื่ออุตตระเป็นศิษย์ของพรหมายุพราหมณ์ จบไตรเพท
พร้อมทั้งนิฆัณฑุศาสตร์ เกฏุภศาสตร์ อักษรศาสตร์ และประวัติศาสตร์ เข้าใจ
ตัวบทและไวยากรณ์ ชำนาญโลกายตศาสตร์และลักษณะมหาบุรุษ เวลานั้นพรหมายุ-
พราหมณ์เรียกอุตตรมาณพมากล่าวว่า
“พ่ออุตตระ ท่านพระสมณโคดมพระองค์นี้เป็นศากยบุตรเสด็จออกผนวช
จากศากยตระกูล เสด็จจาริกไปในแคว้นวิเหทะพร้อมกับภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ประมาณ
๕๐๐ รูป ท่านพระโคดมนั้นมีกิตติศัพท์อันงามขจรไปอย่างนี้ว่า ‘แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มี
พระภาคพระองค์นั้น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้ด้วยพระองค์เองโดยชอบ ฯลฯ การได้พบ
พระอรหันต์ทั้งหลายเช่นนี้เป็นความดีอย่างแท้จริง มาเถิด พ่ออุตตระ เธอจงเข้าไปเฝ้า
ท่านพระสมณโคดมถึงที่ประทับแล้ว จงรู้จักพระสมณโคดมให้ได้ พวกเราจะได้รู้จัก
พระองค์ว่า ‘กิตติศัพท์ของท่านพระโคดมที่ขจรไปเช่นนั้นจริงหรือไม่ ท่านพระโคดม
ทรงเป็นเช่นนั้นจริงหรือไม่”


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค] ๑. พรหมายุสูตร

อุตตรมาณพเรียนถามว่า “ท่านขอรับ ทำอย่างไร ผมจึงจะรู้จักท่านพระโคดมว่า
‘กิตติศัพท์ของท่านพระโคดมที่ขจรไปเช่นนั้นจริงหรือไม่ ท่านพระโคดมทรงเป็นเช่นนั้น
จริงหรือไม่”
พรหมายุพราหมณ์ตอบว่า “พ่ออุตตระ พระมหาบุรุษผู้ประกอบด้วยลักษณะ
มหาบุรุษ ๓๒ ประการ ที่ปรากฏในมนตร์ของเรา ย่อมมีคติ ๒ อย่าง ไม่เป็น
อย่างอื่น คือ
๑. ถ้าทรงอยู่ครองเรือนจะได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิผู้ทรงธรรม ครองราชย์
โดยธรรม ทรงเป็นใหญ่ในแผ่นดินมีมหาสมุทรทั้ง ๔ เป็นขอบเขต
ทรงได้รับชัยชนะแล้ว มีราชอาณาจักรมั่นคง สมบูรณ์ด้วยแก้ว
(รัตนะ) ๗ ประการ คือ (๑) จักรแก้ว (๒) ช้างแก้ว (๓) ม้าแก้ว
(๔) มณีแก้ว (๕) นางแก้ว (๖) คหบดีแก้ว (๗) ปริณายกแก้ว
มีพระราชโอรสมากกว่า ๑,๐๐๐ องค์ซึ่งล้วนแต่กล้าหาญ มีรูปทรง
สมเป็นวีรกษัตริย์ สามารถย่ำยีราชศัตรูได้ พระองค์ทรงชนะโดยธรรม
ไม่ต้องใช้อาชญาหรือศัสตรา ครอบครองแผ่นดินนี้มีสาครเป็นขอบเขต
๒. ถ้าเสด็จออกจากพระราชวังไปผนวชเป็นบรรพชิต จะได้เป็นพระอรหันต-
สัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้ไม่มีกิเลสในโลก
พ่ออุตตระ เราเป็นผู้ให้มนตร์ แต่เธอเป็นผู้รับมนตร์”
[๓๘๕] อุตตรมาณพรับคำแล้วลุกจากที่นั่ง ไหว้พรหมายุพราหมณ์ กระทำ
ประทักษิณ๑แล้วหลีกจาริกไปทางที่พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ในแคว้นวิเทหะ เที่ยว
จาริกไปโดยลำดับ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ได้สนทนาปราศรัยพอเป็นที่
บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้ว นั่ง ณ ที่สมควร ได้พิจารณาดูลักษณะมหาบุรุษ
๓๒ ประการ ในพระวรกายของพระผู้มีพระภาค ก็เห็นลักษณะมหาบุรุษ ๓๒ ประการ
โดยมาก เว้นอยู่ ๒ ประการ คือ (๑) พระคุยหฐาน๒อันเร้นอยู่ในฝัก (๒) พระชิวหาใหญ่
จึงยังมีความเคลือบแคลงสงสัย ไม่น้อมใจเชื่อ และไม่เลื่อมใสในลักษณะมหาบุรุษทั้ง ๒
ประการนี้


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค] ๑. พรหมายุสูตร

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคได้มีพระดำริว่า “ลักษณะ ๓๒ ประการของเรา
อุตตรมาณพนี้เห็นโดยมากเว้นอยู่ ๒ ประการ คือ (๑) คุยหฐานอันเร้นอยู่ในฝัก
(๒) ชิวหาใหญ่ จึงยังมีความเคลือบแคลงสงสัย ไม่น้อมใจเชื่อ และไม่เลื่อมใส
ลักษณะมหาบุรุษทั้ง ๒ ประการนี้”
จากนั้นพระผู้มีพระภาคจึงทรงบันดาลอิทธาภิสังขาร๑ให้อุตตรมาณพได้เห็น
พระคุยหฐานอันเร้นอยู่ในฝัก และทรงแลบพระชิวหาสอดเข้าไปในช่องพระกรรณ
ทั้ง ๒ ข้างกลับไปกลับมา ทรงสอดเข้าไปในช่องพระนาสิกทั้ง ๒ ข้างกลับไปกลับมา
ทรงแผ่พระชิวหาปิดทั่วมณฑลพระนลาฏ
เวลานั้น อุตตรมาณพได้มีความคิดว่า “พระสมณโคดมทรงประกอบด้วยลักษณะ
มหาบุรุษ ๓๒ ประการ ทางที่ดี เราพึงติดตามพระสมณโคดมดูพระอิริยาบถของ
พระองค์ต่อไป” จากนั้นอุตตรมาณพได้ติดตามพระผู้มีพระภาคตลอด ๗ เดือน
ดุจพระฉายา(เงา)ติดตามพระองค์ไปฉะนั้น

ลักษณะมหาบุรุษ ๓๒ ประการ

[๓๘๖] ครั้งนั้น เมื่อล่วงไป ๗ เดือน อุตตรมาณพได้หลีกจาริกไปทางกรุง
มิถิลา ในแคว้นวิเทหะ เมื่อเที่ยวจาริกไปตามลำดับ ได้เข้าไปหาพรหมายุพราหมณ์
ถึงที่อยู่ในกรุงมิถิลากราบแล้ว นั่ง ณ ที่สมควร พรหมายุพราหมณ์ถามอุตตรมาณพ
ว่า “พ่ออุตตระ กิตติศัพท์ของท่านพระโคดมที่ขจรไป เป็นเช่นนั้นจริง ไม่เป็นอย่าง
อื่นเลยหรือ ท่านพระโคดมทรงเป็นเช่นนั้นจริง ไม่เป็นอย่างอื่นเลยหรือ”
อุตตรมาณพตอบว่า “ท่านขอรับ กิตติศัพท์ของท่านพระโคดมที่ขจรไปเป็นเช่น
นั้นจริง ไม่เป็นอย่างอื่นเลย ท่านพระโคดมทรงเป็นเช่นนั้นจริง ไม่เป็นอย่างอื่นเลย
ทั้งยังทรงประกอบด้วยลักษณะมหาบุรุษ ๓๒ ประการ๒


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค] ๑. พรหมายุสูตร

คือ ท่านพระโคดม
๑. มีฝ่าพระบาทราบเสมอกัน ข้อที่ท่านพระโคดมมีฝ่าพระบาทราบเสมอ
กันนี้ เป็นลักษณะมหาบุรุษของมหาบุรุษนั้น
๒. พื้นฝ่าพระบาททั้งสองของท่านพระโคดมนี้ มีจักรซึ่งมีกำข้างละ
๑,๐๐๐ ซี่ มีกง มีดุม และมีส่วนประกอบครบทุกอย่าง ข้อที่พื้น
ฝ่าพระบาททั้งสองของท่านพระโคดมนี้ มีจักรซึ่งมีกำข้างละ ๑,๐๐๐ ซี่
มีกง มีดุม และมีส่วนประกอบครบทุกอย่างนี้ เป็นลักษณะมหาบุรุษ
ของมหาบุรุษนั้น
๓. มีส้นพระบาทยื่นยาวออกไป ข้อที่ท่านพระโคดมมีส้นพระบาทยื่นยาว
ออกไปนี้ เป็นลักษณะมหาบุรุษของมหาบุรุษนั้น
๔. มีพระองคุลียาว ข้อที่ท่านพระโคดมมีพระองคุลียาวนี้ เป็นลักษณะ
มหาบุรุษของมหาบุรุษนั้น
๕. มีพระหัตถ์และพระบาทอ่อนนุ่ม ข้อที่ท่านพระโคดมมีพระหัตถ์และ
พระบาทอ่อนนุ่มนี้ เป็นลักษณะมหาบุรุษของมหาบุรุษนั้น
๖. ฝ่าพระหัตถ์และฝ่าพระบาทมีเส้นข้อที่พระองคุลีจดกันเป็นรูปตาข่าย
ข้อที่ท่านพระโคดมมีฝ่าพระหัตถ์และฝ่าพระบาทมีเส้นที่ข้อพระองคุลี
จดกันเป็นรูปตาข่ายนี้ เป็นลักษณะมหาบุรุษของมหาบุรุษนั้น
๗. มีข้อพระบาทสูง ข้อที่ท่านพระโคดมมีข้อพระบาทสูงนี้ เป็นลักษณะ
มหาบุรุษของมหาบุรุษนั้น
๘. มีพระชงฆ์เรียวดุจแข้งเนื้อทราย ข้อที่ท่านพระโคดมมีพระชงฆ์เรียว
ดุจแข้งเนื้อทรายนี้ เป็นลักษณะมหาบุรุษของมหาบุรุษนั้น
๙. เมื่อประทับยืน ไม่ต้องน้อมพระองค์ลงก็ทรงลูบคลำถึงพระชานุด้วย
ฝ่าพระหัตถ์ทั้งสองได้ ข้อที่ท่านพระโคดมเมื่อประทับยืนไม่ต้องน้อม
พระองค์ลงก็ทรงลูบถึงพระชานุด้วยฝ่าพระหัตถ์ทั้งสองได้นี้ เป็นลักษณะ
มหาบุรุษของมหาบุรุษนั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๔๗๕ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค] ๑. พรหมายุสูตร

๑๐. มีพระคุยหฐานอันเร้นอยู่ในฝัก ข้อที่ท่านพระโคดมมีพระคุยหฐาน
อันเร้นอยู่ในฝักนี้ เป็นลักษณะมหาบุรุษของมหาบุรุษนั้น
๑๑. มีพระฉวีสีทอง มีพระฉวีเปล่งปลั่งดุจทองคำ ข้อที่ท่านพระโคดมมี
พระฉวีสีทอง มีพระฉวีเปล่งปลั่งดุจทองคำนี้ เป็นลักษณะมหาบุรุษ
ของมหาบุรุษนั้น
๑๒. มีพระฉวีละเอียดจนละอองธุลีไม่อาจติดพระวรกายได้ ข้อที่ท่าน
พระโคดมมีพระฉวีละเอียดจนละอองธุลีไม่อาจติดพระวรกายได้นี้
เป็นลักษณะมหาบุรุษของมหาบุรุษนั้น
๑๓. มีพระโลมชาติเดี่ยว คือ ในแต่ละขุมมีเพียงเส้นเดียว ข้อที่ท่าน
พระโคดมมีพระโลมชาติเดี่ยว คือ ในแต่ละขุมมีเพียงเส้นเดียวนี้
เป็นลักษณะมหาบุรุษของมหาบุรุษนั้น
๑๔. มีพระโลมชาติปลายงอนขึ้น คือ พระโลมชาติขอดเป็นวงเวียนขวาดัง
กุณฑลสีครามเข้มดังดอกอัญชัน ข้อที่ท่านพระโคดมมีพระโลมชาติ
ปลายงอนขึ้น คือ พระโลมชาติขอดเป็นวงเวียนขวาดังกุณฑล
สีครามเข้มดังดอกอัญชันนี้ เป็นลักษณะมหาบุรุษของมหาบุรุษนั้น
๑๕. มีพระวรกายตั้งตรงดุจกายพรหม ข้อที่ท่านพระโคดมมีพระวรกาย
ตั้งตรงดุจกายพรหมนี้ เป็นลักษณะมหาบุรุษของมหาบุรุษนั้น
๑๖. มีพระมังสะในที่ ๗ แห่ง๑ เต็มบริบูรณ์ ข้อที่ท่านพระโคดมมีพระมังสะ
ในที่ ๗ แห่งเต็มบริบูรณ์นี้ เป็นลักษณะมหาบุรุษของมหาบุรุษนั้น
๑๗. มีพระวรกายทุกส่วนบริบูรณ์ดุจลำตัวท่อนหน้าของราชสีห์ ข้อที่ท่าน
พระโคดมมีพระวรกายทุกส่วนบริบูรณ์ดุจลำตัวท่อนหน้าของราชสีห์นี้
เป็นลักษณะมหาบุรุษของมหาบุรุษนั้น


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค] ๑. พรหมายุสูตร

๑๘. มีร่องพระปฤษฎางค์เต็มเสมอกัน ข้อที่ท่านพระโคดมมีร่องพระ
ปฤษฎางค์เต็มเสมอกันนี้ เป็นลักษณะมหาบุรุษของมหาบุรุษนั้น
๑๙. มีพระวรกายเป็นปริมณฑลดุจปริมณฑลของต้นไทร พระวรกายสูง
เท่ากับ ๑ วาของพระองค์ ๑ วาของพระองค์เท่ากับส่วนสูงพระวรกาย
ข้อที่ท่านพระโคดมมีพระวรกายเป็นปริมณฑลดุจปริมณฑลของต้นไทร
พระวรกายสูงเท่ากับ ๑ วาของพระองค์ ๑ วาของพระองค์เท่ากับ
ส่วนสูงพระวรกายนี้ เป็นลักษณะมหาบุรุษของมหาบุรุษนั้น
๒๐. มีลำพระศอกลมเท่ากันตลอด ข้อที่ท่านพระโคดมมีลำพระศอกลม
เท่ากันตลอดนี้ เป็นลักษณะมหาบุรุษของมหาบุรุษนั้น
๒๑. มีเส้นประสาทรับรสพระกระยาหารได้ดี ข้อที่ท่านพระโคดมมีเส้น
ประสาทรับรสพระกระยาหารได้ดีนี้ เป็นลักษณะมหาบุรุษของมหา-
บุรุษนั้น
๒๒. มีพระหนุดุจคางราชสีห์ ข้อที่ท่านพระโคดมมีพระหนุดุจคางราชสีห์นี้
เป็นลักษณะมหาบุรุษของมหาบุรุษนั้น
๒๓. มีพระทนต์ ๔๐ ซี่ ข้อที่ท่านพระโคดมมีพระทนต์ ๔๐ ซี่นี้ เป็นลักษณะ
มหาบุรุษของมหาบุรุษนั้น
๒๔. มีพระทนต์เรียบเสมอกัน ข้อที่ท่านพระโคดมมีพระทนต์เรียบเสมอ
กันนี้ เป็นลักษณะมหาบุรุษของมหาบุรุษนั้น
๒๕. มีพระทนต์ไม่ห่างกัน ข้อที่ท่านพระโคดมมีพระทนต์ไม่ห่างกันนี้
เป็นลักษณะมหาบุรุษของมหาบุรุษนั้น
๒๖. มีพระเขี้ยวแก้วขาวงาม ข้อที่ท่านพระโคดมมีพระเขี้ยวแก้วขาวงามนี้
เป็นลักษณะมหาบุรุษของมหาบุรุษนั้น
๒๗. มีพระชิวหาใหญ่ยาว ข้อที่ท่านพระโคดมมีพระชิวหาใหญ่ยาวนี้ เป็น
ลักษณะมหาบุรุษของมหาบุรุษนั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๔๗๗ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค] ๑. พรหมายุสูตร

๒๘. มีพระสุรเสียงดุจเสียงพรหม ตรัสดุจเสียงร้องของนกการเวก ข้อที่
ท่านพระโคดมมีพระสุรเสียงดุจเสียงพรหม ตรัสดุจเสียงร้องของนก
การเวกนี้ เป็นลักษณะมหาบุรุษของมหาบุรุษนั้น
๒๙. มีพระเนตรดำสนิท ข้อที่ท่านพระโคดมมีพระเนตรดำสนิทนี้ เป็น
ลักษณะมหาบุรุษของมหาบุรุษนั้น
๓๐. มีดวงพระเนตรแจ่มใสดุจตาลูกโคเพิ่งคลอด ข้อที่ท่านพระโคดมมี
ดวงพระเนตรแจ่มใสดุจตาลูกโคเพิ่งคลอดนี้ เป็นลักษณะมหาบุรุษ
ของมหาบุรุษนั้น
๓๑. มีพระอุณาโลมระหว่างพระโขนงสีขาวอ่อนเหมือนปุยนุ่น ข้อที่ท่าน
พระโคดมมีพระอุณาโลมระหว่างพระโขนงสีขาวอ่อนเหมือนปุยนุ่นนี้
เป็นลักษณะมหาบุรุษของมหาบุรุษนั้น
๓๒. มีพระเศียรดุจประดับด้วยกรอบพระพักตร์ ข้อที่ท่านพระโคดมมี
พระเศียรดุจประดับด้วยกรอบพระพักตร์นี้ เป็นลักษณะมหาบุรุษ
ของมหาบุรุษนั้น
ท่านผู้เจริญ ท่านพระโคดมพระองค์นั้นทรงประกอบด้วยลักษณะมหาบุรุษ
๓๒ ประการนี้แล
[๓๘๗] ท่านพระโคดมพระองค์นั้น
เมื่อจะทรงดำเนิน ทรงก้าวพระบาทเบื้องขวาก่อน ไม่ก้าวพระบาทยาวนัก
ไม่ก้าวพระบาทสั้นนัก ไม่ทรงดำเนินเร็วนัก ไม่ทรงดำเนินช้านัก ขณะทรงดำเนิน
พระชานุกับพระชานุไม่เสียดสีกัน ข้อพระบาทกับข้อพระบาทไม่กระทบกัน ไม่ทรงยก
พระอุรุสูง ไม่ทรงทอดพระอุรุไปข้างหลัง ไม่ทรงกระแทกพระอุรุ ไม่ทรงส่ายพระอุรุ
เมื่อทรงดำเนินพระวรกายส่วนบนไหว ทรงดำเนินไม่ใช้กำลังมาก เมื่อทอดพระเนตร
ทรงเหลียวดูไปทั้งพระวรกาย ไม่ทรงแหงนดู ไม่ทรงก้มดู ขณะทรงดำเนิน ไม่ส่าย
พระเนตร ทรงทอดพระเนตรประมาณชั่วแอก ยิ่งกว่านั้นพระองค์ทรงมีพระญาณทัสสนะ
ไม่มีอะไรขวางกั้นได้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๔๗๘ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค] ๑. พรหมายุสูตร

เมื่อเสด็จเข้าสู่ละแวกบ้าน ไม่ทรงยืดพระวรกาย ไม่ทรงย่อพระวรกาย ไม่ทรง
ห่อพระวรกาย ไม่ทรงส่ายพระวรกาย เสด็จเข้าประทับนั่งบนพุทธอาสน์ ไม่ไกลนัก
ไม่ใกล้นัก ไม่ประทับนั่งท้าวพระหัตถ์บนพุทธอาสน์ ไม่ทรงพิงพระวรกายที่พุทธอาสน์
เมื่อประทับนั่งในละแวกบ้าน ไม่ทรงคะนองพระหัตถ์ ไม่ทรงคะนองพระบาท
ไม่ประทับนั่งชันพระชานุ ไม่ประทับนั่งซ้อนพระบาท ไม่ประทับนั่งเอาฝ่าพระหัตถ์
ยันพระหนุ(เท้าคาง) เมื่อประทับนั่งในละแวกบ้าน ไม่ทรงครั่นคร้าม ไม่ทรงหวั่นไหว
ไม่ทรงขลาด ไม่ทรงสะดุ้ง ทรงปราศจากโลมชาติชูชัน ทรงพอพระทัยในวิเวก๑
เมื่อทรงรับน้ำล้างบาตร ไม่ทรงชูบาตรขึ้นรับ ไม่ทรงลดบาตรลงรับ ไม่ทรง
ยื่นบาตรคอยรับ ไม่ทรงแกว่งบาตรคอยรับ ทรงรับน้ำล้างบาตรไม่น้อยนักไม่มากนัก
ไม่ทรงล้างบาตรดังขลุก ๆ ไม่ทรงล้างบาตรด้วยวิธีหมุน ไม่ทรงวางบาตรที่พื้น
ทรงล้างบนพระหัตถ์
เมื่อทรงล้างพระหัตถ์ก็เป็นอันทรงล้างบาตร เมื่อทรงล้างบาตรก็เป็นอันทรง
ล้างพระหัตถ์ ทรงเทน้ำล้างบาตรไม่ไกลนัก ไม่ใกล้นัก และทรงเทน้ำล้างบาตรไม่ให้
น้ำกระเซ็น
เมื่อทรงรับข้าวสุกก็ไม่ทรงชูบาตรขึ้นรับ ไม่ทรงลดบาตรลงรับ ไม่ทรงยื่น
บาตรคอยรับ ไม่ทรงแกว่งบาตรคอยรับ ทรงรับข้าวสุกไม่น้อยนักไม่มากนัก ทรงรับ
กับข้าว เสวยพระกระยาหารพอประมาณกับข้าว ไม่ทรงทำกับข้าวให้เกินกว่าคำข้าว
ทรงเคี้ยวคำข้าวข้างในพระโอษฐ์สองสามครั้งแล้วทรงกลืน ข้าวยังไม่ละเอียด ไม่ทรง
กลืนลงไป ไม่มีข้าวเหลืออยู่ในพระโอษฐ์ จึงน้อมคำข้าวอีกคำหนึ่งเข้าไป ทรงมีปกติ
กำหนดรสอาหารแล้วเสวยอาหาร แต่ไม่ทรงติดในรส

ท่านพระโคดมพระองค์นั้นเสวยพระกระยาหารประกอบด้วยองค์ ๘ ประการ คือ
๑. ไม่เสวยเพื่อเล่น
๒. ไม่เสวยเพื่อมัวเมา
๓. ไม่เสวยเพื่อประดับ


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค] ๑. พรหมายุสูตร

๔. ไม่เสวยเพื่อตกแต่ง
๕. เสวยเพื่อดำรงพระวรกายนี้ไว้
๖. เสวยเพื่อยังพระชนม์ให้เป็นไปได้
๗. เสวยเพื่อป้องกันความลำบาก
๘. เสวยเพื่อทรงอนุเคราะห์พรหมจรรย์
ด้วยทรงพระดำริว่า ‘เพียงเท่านี้ก็จักกำจัดเวทนาเก่า จักไม่ให้เวทนาใหม่เกิดขึ้น
ร่างกายของเราจักดำเนินไปสะดวก ไม่มีโทษ และอยู่สำราญ’ ท่านพระโคดมพระองค์นั้น
เสวยพระกระยาหารเสร็จแล้ว เมื่อจะทรงรับน้ำล้างบาตรไม่ทรงชูบาตรขึ้นรับ ไม่ทรง
ลดบาตรลงรับ ไม่ทรงยื่นบาตรคอยรับ ไม่ทรงแกว่งบาตรรับ ทรงรับน้ำล้างบาตร
ไม่น้อยนัก ไม่มากนัก ไม่ทรงล้างบาตรดังขลุก ๆ ไม่ทรงล้างบาตรด้วยวิธีหมุน
ไม่ทรงวางบาตรที่พื้น ทรงล้างบนพระหัตถ์ เมื่อทรงล้างพระหัตถ์ก็เป็นอันทรงล้าง
บาตร เมื่อทรงล้างบาตรก็เป็นอันทรงล้างพระหัตถ์ ทรงเทน้ำล้างบาตรไม่ไกลนัก
ไม่ใกล้นัก ทรงเทน้ำล้างบาตรไม่ให้น้ำกระเซ็น เสวยพระกระยาหารเสร็จแล้ว ไม่ทรง
วางบาตรที่พื้น ทรงวางไว้ในที่ไม่ไกลนัก ไม่ใกล้นัก จะไม่ทรงต้องการบาตรก็หามิได้
จะตามรักษาบาตรตลอดก็หามิได้ เสวยเสร็จแล้ว ประทับนิ่งเฉยอยู่ครู่หนึ่ง แต่ไม่
ทรงปล่อยเวลาอนุโมทนาให้ล่วงไป เสวยเสร็จแล้วก็ทรงอนุโมทนา ไม่ทรงติเตียน
ภัตรนั้น ไม่ทรงมุ่งหวังภัตรอื่น ทรงชี้แจงให้บริษัทเห็นชัด ชวนใจให้อยากรับเอาไป
ปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริงด้วยธรรมีกถาแล้ว
พระองค์เสด็จลุกจากพุทธอาสน์เสด็จไป ก็ไม่เสด็จเร็วนัก ไม่เสด็จช้านัก
ไม่ผลุนผลันเสด็จไป ไม่ทรงจีวรสูงเกินไป ไม่ทรงจีวรต่ำเกินไป ไม่ทรงจีวรแน่นติด
พระวรกายเกินไป และไม่ทรงจีวรหลุดลุ่ยจากพระวรกาย ทรงจีวรไม่ให้ลมพัดแหวกได้
ทั้งฝุ่นละอองไม่ติดพระวรกาย เสด็จถึงพระอารามแล้วประทับนั่งบนพุทธอาสน์ที่ปูลาดไว้
จึงทรงล้างพระบาท ไม่ทรงใส่พระทัยเพื่อประดับตกแต่งพระบาทอยู่ ทรงล้างพระบาท
แล้วประทับนั่งคู้บัลลังก์ ตั้งพระวรกายตรง ดำรงพระสติไว้เบื้องพระพักตร์ ไม่ทรงดำริ
เพื่อเบียดเบียนพระองค์ ไม่ทรงดำริเพื่อเบียดเบียนผู้อื่น ไม่ทรงดำริเพื่อเบียดเบียน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๔๘๐ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค] ๑. พรหมายุสูตร

ทั้งสองฝ่าย ประทับนั่งทรงดำริแต่สิ่งที่เป็นประโยชน์แก่พระองค์ สิ่งที่เป็นประโยชน์
แก่ผู้อื่น สิ่งที่เป็นประโยชน์ทั้งสองฝ่าย และสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่โลกทั้งปวงเท่านั้น
ประทับอยู่ในอาราม ก็ทรงแสดงธรรมในบริษัท ไม่ทรงยกย่องบริษัท ไม่ทรงรุกราน
บริษัท โดยที่แท้ ทรงชี้แจงให้บริษัทเห็นชัด ชวนใจให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจ
ให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริงด้วยธรรมีกถาแล้ว
ท่านพระโคดมพระองค์นั้นทรงมีพระสุรเสียงกึกก้องเปล่งออกจากพระโอษฐ์
ประกอบด้วยองค์ ๘ ประการ คือ

๑. นุ่มนวล ๒. ฟังชัดเจน
๓. ไพเราะ ๔. ฟังง่าย
๕. กลมกล่อม ๖. ไม่พร่า
๗. ลุ่มลึก ๘. มีกังวาน

พระสุรเสียงที่พระองค์ทรงสอนบริษัทให้เข้าใจมิได้ก้องออกไปนอกบริษัทนั้น
ชนทั้งหลายที่ท่านพระโคดมทรงชี้แจงให้เห็นชัด ชวนใจให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ
เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริงด้วยธรรมีกถาแล้ว จึงลุกจาก
ที่นั่งจากไปยังเหลียวดูโดยไม่อยากจากไป ต่างรำพึงว่า ‘เราได้เห็นท่านพระโคดม
พระองค์นั้นทรงดำเนิน ประทับยืน เสด็จเข้าละแวกบ้าน ประทับนั่งนิ่งในละแวกบ้าน
กำลังเสวยพระกระยาหารในละแวกบ้าน เสวยเสร็จแล้วก็ประทับนั่งนิ่ง เสวยเสร็จแล้ว
ทรงอนุโมทนา เสด็จกลับมายังพระอาราม เสด็จมาถึงพระอารามแล้วประทับนิ่งอยู่
ประทับอยู่ในพระอารามแล้ว ทรงแสดงธรรมในบริษัท ท่านพระโคดมพระองค์นั้น
ทรงพระคุณเช่นนี้ ๆ และทรงพระคุณยิ่งกว่าที่กล่าวแล้วนั้น”
[๓๘๘] เมื่ออุตตรมาณพกล่าวอย่างนี้แล้ว พรหมายุพราหมณ์ลุกจากที่นั่ง
ห่มผ้าเฉวียงบ่า ประนมมือไปทางทิศที่พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ แล้วเปล่งอุทาน
ขึ้น ๓ ครั้งว่า
“ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๔๘๑ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค] ๑. พรหมายุสูตร

แล้วคิดว่า “ทำอย่างไรหนอ เราจึงจะได้พบท่านพระโคดมพระองค์นั้นสักครั้งหนึ่ง
ทำอย่างไร เราจึงจะได้สนทนาปราศรัย(กับท่านพระโคดม) บ้าง”
[๓๘๙] ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเมื่อเสด็จจาริกไปในแคว้นวิเทหะโดยลำดับ
เสด็จถึงกรุงมิถิลา ได้ทราบว่า ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ สวนมะม่วง
ของพระเจ้ามฆเทวะ เขตกรุงมิถิลา พราหมณ์และคหบดีชาวกรุงมิถิลาได้สดับข่าวว่า
“ได้ยินว่า พระสมณโคดมเป็นศากยบุตร ทรงผนวชจากศากยตระกูล เสด็จจาริก
ไปในแคว้นวิเทหะพร้อมกับภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ประมาณ ๕๐๐ รูป เสด็จถึงกรุงมิถิลาแล้ว
ประทับอยู่ ณ สวนมะม่วงของพระเจ้ามฆเทวะ เขตกรุงมิถิลา ท่านพระโคดม
พระองค์นั้นมีกิตติศัพท์อันงามขจรไปอย่างนี้ว่า ‘แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาค
พระองค์นั้นเป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้ด้วยพระองค์เองโดยชอบ เพียบพร้อมด้วยวิชชา
และจรณะ เสด็จไปดี รู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกผู้ที่ควรฝึกได้อย่างยอดเยี่ยม เป็นศาสดา
ของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระผู้มีพระภาค’ พระองค์ทรง
รู้แจ้งโลกนี้พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก และหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์
เทวดาและมนุษย์ด้วยพระองค์เองแล้วทรงประกาศให้ผู้อื่นรู้ตาม ทรงแสดงธรรมมี
ความงามในเบื้องต้น มีความงามในท่ามกลาง และมีความงามในที่สุด ทรงประกาศ
พรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถและพยัญชนะบริสุทธิ์บริบูรณ์ครบถ้วน การได้พบพระ
อรหันต์ทั้งหลายเช่นนี้ เป็นความดีอย่างแท้จริง”
ครั้งนั้น พราหมณ์และคหบดีชาวกรุงมิถิลาพากันเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึง
ที่ประทับ บางพวกถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคแล้วนั่ง ณ ที่สมควร บางพวก
ทูลสนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้วนั่ง ณ ที่สมควร
บางพวกประนมมือไปทางที่พระผู้มีพระภาคประทับนั่งแล้ว นั่ง ณ ที่สมควร
บางพวกประกาศชื่อและโคตรในสำนักของพระผู้มีพระภาคแล้วนั่ง ณ ที่สมควร
บางพวกก็นั่งนิ่งอยู่ ณ ที่สมควร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๔๘๒ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค] ๑. พรหมายุสูตร

พรหมายุพราหมณ์เข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า

[๓๙๐] พรหมายุพราหมณ์ได้สดับข่าวว่า “ได้ยินว่า พระสมณโคดม
เป็นศากยบุตร ทรงผนวชจากศากยตระกูล เสด็จถึงกรุงมิถิลาแล้วประทับอยู่ ณ
สวนมะม่วงของพระเจ้ามฆเทวะ เขตกรุงมิถิลา” ครั้งนั้นแล พรหมายุพราหมณ์
พร้อมด้วยมาณพเป็นอันมาก พากันเข้าไปยังสวนมะม่วงของพระเจ้ามฆเทวะ
ลำดับนั้น ในที่ไม่ไกลจากสวนมะม่วงของพระเจ้ามฆเทวะ พรหมายุพราหมณ์ได้
คิดว่า “การที่เราไม่นัดหมายให้ทรงทราบก่อนแล้วเข้าไปเฝ้าพระสมณโคดมไม่ควร
แก่เราเลย”
ลำดับนั้น พรหมายุพราหมณ์เรียกมาณพคนหนึ่งมาสั่งว่า “มาเถิด พ่อมาณพ
พ่อจงเข้าไปเฝ้าพระสมณโคดมถึงที่ประทับ แล้วจงทูลถามพระสมณโคดมถึงพระสุขภาพ
ความมีพระโรคาพาธน้อย กระปรี้กระเปร่า มีพระพลานามัยสมบูรณ์ อยู่สำราญ
ตามคำของเราว่า ‘ข้าแต่ท่านพระโคดม พรหมายุพราหมณ์ทูลถามท่านพระโคดม
ถึงความมีพระสุขภาพ ความมีพระโรคาพาธน้อย กระปรี้กระเปร่า มีพระพลานามัย
สมบูรณ์ อยู่สำราญ’ และจงกราบทูลอย่างนี้ว่า ‘ข้าแต่ท่านพระโคดม พรหมายุ-
พราหมณ์เป็นคนชรา เป็นคนแก่ เป็นผู้ใหญ่ ล่วงกาลผ่านวัยมาโดยลำดับ จนมีอายุ
๑๒๐ ปี นับแต่เกิด จบไตรเพท พร้อมทั้งนิฆัณฑุศาสตร์ เกฏุภศาสตร์ อักษร-
ศาสตร์ และประวัติศาสตร์ เข้าใจตัวบทและไวยากรณ์ ชำนาญโลกายตศาสตร์
และลักษณะมหาบุรุษ ข้าแต่ท่านพระโคดม พราหมณ์และคหบดีมีประมาณเท่าใด
อยู่อาศัยในกรุงมิถิลา พรหมายุพราหมณ์ปรากฏว่า เป็นผู้เลิศกว่าพราหมณ์
และคหบดีเหล่านั้น เพราะโภคะ มนตร์ อายุ และยศ ท่านปรารถนาที่จะเข้าเฝ้า
ท่านพระโคดม”
มาณพนั้นรับคำพรหมายุพราหมณ์แล้ว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้ว ได้ยืนอยู่ ณ ที่สมควร
ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๔๘๓ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค] ๑. พรหมายุสูตร

“ข้าแต่ท่านพระโคดม พรหมายุพราหมณ์ทูลถามท่านพระโคดมถึงพระสุขภาพ
ความมีพระโรคาพาธน้อย กระปรี้กระเปร่า มีพระพลานามัยสมบูรณ์ อยู่สำราญ และ
ฝากกราบทูลอย่างนี้ว่า ‘ข้าแต่ท่านพระโคดม พรหมายุพราหมณ์เป็นคนชรา เป็น
คนแก่ เป็นผู้ใหญ่ ล่วงกาลผ่านวัยมาโดยลำดับ จนมีอายุ ๑๒๐ ปี นับแต่เกิด
จบไตรเพท พร้อมทั้งนิฆัณฑุศาสตร์ เกฏุภศาสตร์ อักษรศาสตร์ และประวัติศาสตร์
เข้าใจตัวบทและไวยากรณ์ ชำนาญโลกายตศาสตร์และลักษณะมหาบุรุษ ข้าแต่ท่าน
พระโคดม พราหมณ์และคหบดีมีประมาณเท่าใด อยู่อาศัยในกรุงมิถิลา พรหมายุ-
พราหมณ์ปรากฏว่า เป็นผู้เลิศกว่าพราหมณ์และคหบดีเหล่านั้น เพราะโภคะ มนตร์
อายุ และยศ ท่านปรารถนาจะเข้าเฝ้าท่านพระโคดม พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “มาณพ พรหมายุพราหมณ์ จงกำหนดเวลาที่สมควร
ณ บัดนี้เถิด”
หลังจากนั้น มาณพนั้นจึงเข้าไปหาพรหมายุพราหมณ์ถึงที่อยู่แล้วได้กล่าวกับ
พรหมายุพราหมณ์ว่า “ท่านเป็นผู้ที่ท่านพระสมณโคดมทรงประทานโอกาสแล้ว จงไป
ในเวลาที่เห็นสมควรเถิด”

พรหมายุพราหมณ์ขอดูพระชิวหาและพระคุยหฐาน

[๓๙๑] ครั้งนั้นแล พรหมายุพราหมณ์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
บริษัทนั้นได้เห็นพรหมายุพราหมณ์มาแต่ไกล จึงรีบลุกขึ้นให้โอกาสตามสมควร
แก่เขา เปรียบเหมือนลุกขึ้นให้โอกาสแก่ผู้มีชื่อเสียง มียศ ลำดับนั้น พรหมายุ-
พราหมณ์ได้กล่าวกับบริษัทนั้นว่า “อย่าเลย ท่านผู้เจริญทั้งหลาย เชิญท่านทั้งหลาย
นั่งบนอาสนะของตนเองเถิด เราจักนั่งใกล้ ๆ พระสมณโคดมนี้”
ครั้งนั้น พรหมายุพราหมณ์ได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับได้สนทนา
ปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้พิจารณา
ดูลักษณะมหาบุรุษ ๓๒ ประการในพระวรกายของพระผู้มีพระภาค ได้เห็นโดยมาก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๔๘๔ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค] ๑. พรหมายุสูตร

เว้นอยู่ ๒ ประการ คือ (๑) พระคุยหฐานอันเร้นอยู่ในฝัก (๒) พระชิวหาใหญ่
จึงยังเคลือบแคลงสงสัย ไม่น้อมใจเชื่อ ไม่เลื่อมใสในลักษณะมหาบุรุษอีก ๒ ประการ
ต่อจากนั้น พรหมายุพราหมณ์ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาค ด้วยคาถาว่า
“ข้าแต่ท่านพระโคดม ลักษณะมหาบุรุษ
ที่ข้าพระองค์ได้สดับมาว่ามี ๓๒ ประการ
แต่ยังไม่เห็นอยู่ ๒ ประการในพระวรกายของพระองค์
ข้าแต่พระองค์ผู้สูงสุดกว่านรชน
พระคุยหฐานของพระองค์เร้นอยู่ในฝัก
ที่ผู้รู้กล่าวกันว่าคล้ายของนารีหรือ
พระชิวหาของพระองค์ได้นรลักษณ์หรือ
พระองค์มีพระชิวหาใหญ่หรือ
ข้าพระองค์จะพึงทราบความข้อนั้นได้อย่างไร
ขอพระองค์ทรงค่อย ๆ นำพระลักษณะนั้นออกมาเถิด
ขอได้โปรดกำจัดความสงสัยของข้าพระองค์ด้วยเถิด ท่านฤาษี
ถ้าพระองค์ทรงประทานโอกาส
ข้าพระองค์จะขอทูลถามปัญหา
ที่ข้าพระองค์ปรารถนาบางอย่าง
เพื่อประโยชน์เกื้อกูลในปัจจุบัน
และเพื่อความสุขในสัมปรายภพ”
[๓๙๒] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคได้ทรงดำริว่า “พรหมายุพราหมณ์นี้เห็น
ลักษณะมหาบุรุษ ๓๒ ประการของเราโดยมาก เว้นอยู่ ๒ ประการ คือ (๑) คุยหฐาน
อันเร้นอยู่ในฝัก (๒) ชิวหาใหญ่ จึงยังเคลือบแคลงสงสัย ไม่น้อมใจเชื่อ ไม่เลื่อมใส
ในลักษณะมหาบุรุษอีก ๒ ประการ”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๔๘๕ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค] ๑. พรหมายุสูตร

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคจึงทรงบันดาลอิทธาภิสังขารให้พรหมายุพราหมณ์
ได้เห็นพระคุยหฐานอันเร้นอยู่ในฝัก และทรงแลบพระชิวหา สอดเข้าในช่องพระกรรณ
ทั้ง ๒ ข้างกลับไปกลับมา ทรงสอดเข้าในช่องพระนาสิกทั้ง ๒ ข้างกลับไปกลับมา
ทรงแผ่พระชิวหาปิดทั่วมณฑลพระนลาฏ ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกับ
พรหมายุพราหมณ์ด้วยพระคาถาว่า
“พราหมณ์ ลักษณะมหาบรุษ
ที่ท่านได้สดับมาว่ามี ๓๒ ประการนั้น
มีอยู่ในกายของเราครบทุกอย่าง ท่านอย่าสงสัย
พราหมณ์ สิ่งที่ควรรู้เราได้รู้ยิ่งแล้ว
สิ่งที่ควรเจริญเราได้เจริญแล้ว
และสิ่งที่ควรละเราก็ละได้แล้ว
เพราะเหตุนั้น เราจึงเป็นพุทธะ
ท่านได้รับโอกาสแล้ว จงถามปัญหาบางอย่าง
ที่ท่านปรารถนาเถิด
เพื่อประโยชน์เกื้อกูลในปัจจุบัน
และเพื่อความสุขในสัมปรายภพ”
[๓๙๓] ครั้งนั้นแล พรหมายุพราหมณ์ได้คิดว่า“เราเป็นผู้ที่พระสมณโคดม
ประทานโอกาสแล้ว จะทูลถามถึงประโยชน์ในปัจจุบันหรือประโยชน์ในสัมปรายภพ”
ลำดับนั้น พรหมายุพราหมณ์ได้คิดว่า “เราฉลาดประโยชน์ในปัจจุบัน แม้คนเหล่าอื่น
ก็ถามเราถึงประโยชน์ในปัจจุบัน ทางที่ดี เราควรทูลถามประโยชน์ในสัมปรายภพ
กับพระสมณโคดมเถิด”
ต่อจากนั้น พรหมายุพราหมณ์ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาค ด้วยคาถาว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
บุคคลเป็นพราหมณ์ได้อย่างไร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๔๘๖ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค] ๑. พรหมายุสูตร

เป็นผู้จบเวท๑ได้อย่างไร
เป็นผู้มีวิชชา ๓๒ได้อย่างไร
บัณฑิตเรียกบุคคลผู้มีความสวัสดีว่า อะไร
บุคคลเป็นพระอรหันต์ได้อย่างไร
บุคคลมีคุณครบถ้วนได้อย่างไร
บุคคลเป็นมุนีได้อย่างไร
และบัณฑิตเรียกพระพุทธเจ้าว่า อะไร”
[๓๙๔] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคได้ตรัสตอบพราหมณ์ด้วยพระคาถาว่า
“ผู้ใดระลึกชาติก่อน ๆ ได้
เห็นสวรรค์และอบาย
บรรลุถึงความสิ้นชาติ
ผู้นั้นชื่อว่าเป็นมุนีผู้รู้ยิ่งถึงที่สุด
มุนีนั้นย่อมรู้จิตอันบริสุทธิ์
อันพ้นจากราคะทั้งหลาย โดยประการทั้งปวง
เป็นผู้ละชาติและมรณะได้แล้ว
ชื่อว่ามีคุณครบถ้วนแห่งพรหมจรรย์
ชื่อว่าถึงฝั่งแห่งธรรมทั้งปวง
บัณฑิตเรียกพระพุทธเจ้าว่า ผู้คงที่”
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว พรหมายุพราหมณ์ลุกขึ้นจากที่นั่ง ห่มผ้า
เฉวียงบ่า หมอบลงแทบพระยุคลบาทของพระผู้มีพระภาคด้วยเศียรเกล้า จุมพิต
พระยุคลบาทของพระผู้มีพระภาคด้วยปาก นวดด้วยฝ่ามือทั้ง ๒ และประกาศชื่อ
ของตนว่า “ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ข้าพระองค์เป็นพราหมณ์ชื่อพรหมายุ ข้าแต่
พระโคดมผู้เจริญ ข้าพระองค์เป็นพราหมณ์ชื่อพรหมายุ”


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค] ๑. พรหมายุสูตร

ครั้งนั้นแล บริษัทหมู่นั้นเกิดความอัศจรรย์ใจว่า “น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคย
ปรากฏ ท่านผู้เจริญ พระสมณะเป็นผู้มีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมาก พรหมายุพราหมณ์
นี้เป็นผู้มีชื่อเสียง มียศ ยังทำความเคารพยกย่องอย่างยิ่งเช่นนี้”
หลังจากนั้น พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกับพรหมายุพราหมณ์ว่า “พอละพราหมณ์
เชิญท่านลุกขึ้นนั่งบนที่นั่งของตนเถิด เพราะจิตของท่านเลื่อมใสในเราแล้ว”
จากนั้น พรหมายุพราหมณ์จึงลุกขึ้นนั่งบนที่นั่งของตน

ทรงแสดงอนุปุพพีกถา

[๓๙๕] ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสอนุปุพพีกถา๑แก่พรหมายุพราหมณ์
คือ ทรงประกาศเรื่องทาน เรื่องศีล เรื่องสวรรค์ เรื่องโทษ ความต่ำทราม ความเศร้า
หมองแห่งกาม และอานิสงส์ในการออกบวช เมื่อทรงทราบว่า พรหมายุพราหมณ์มี
จิตควรบรรลุธรรม สงบ อ่อน ปราศจากนิวรณ์ เบิกบาน ผ่องใส จึงทรงประกาศ
สามุกกังสิกเทศนา๒ คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค ธรรมจักษุอันไร้ธุลีคือกิเลส
ปราศจากมลทิน เกิดขึ้นแก่พรหมายุพราหมณ์บนที่นั่งนั่นเองว่า “สิ่งใดสิ่งหนึ่งมี
ความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งหมดล้วนมีความดับไปเป็นธรรมดา” เปรียบเหมือน
ผ้าขาวสะอาด ปราศจากมลทิน ควรรับน้ำย้อมได้เป็นอย่างดี
ลำดับนั้น พรหมายุพราหมณ์เห็นธรรม บรรลุธรรม รู้ธรรม หยั่งลงสู่ธรรม
หมดความสงสัย ไม่มีคำถามใด ๆ มีความแกล้วกล้า ไม่ต้องเชื่อใครอีก ในหลัก
คำสอนของพระศาสดา ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค] ๑. พรหมายุสูตร

“ข้าแต่ท่านพระโคดม พระภาษิตของท่านพระโคดมชัดเจนไพเราะยิ่งนัก ข้าแต่
ท่านพระโคดม พระภาษิตของท่านพระโคดมชัดเจนไพเราะยิ่งนัก ท่านพระโคดม
ทรงประกาศธรรมแจ่มแจ้งโดยประการต่าง ๆ เปรียบเหมือนบุคคลหงายของที่คว่ำ
เปิดของที่ปิด บอกทางแก่ผู้หลงทาง หรือตามประทีปในที่มืดด้วยตั้งใจว่า ‘คนมีตาดี
จักเห็นรูปได้’ ข้าพระองค์นี้ขอถึงท่านพระโคดม พร้อมทั้งพระธรรมและพระสงฆ์เป็น
สรณะ ขอท่านพระโคดมจงทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะ ตั้งแต่วันนี้
เป็นต้นไปจนตลอดชีวิต อนึ่ง ขอท่านพระโคดมพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์โปรดรับภัตตาหาร
ของข้าพระองค์ในวันพรุ่งนี้ด้วยเถิด”
พระผู้มีพระภาคทรงรับนิมนต์โดยดุษณีภาพ
พรหมายุพราหมณ์ทราบอาการที่พระผู้มีพระภาคทรงรับนิมนต์แล้ว จึงลุกจาก
ที่นั่ง ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาค กระทำประทักษิณแล้วจากไป เมื่อล่วงราตรีนั้นไป
พรหมายุพราหมณ์ได้ตระเตรียมของควรเคี้ยวควรฉันอันประณีตไว้ในนิเวศน์ของตน
แล้วใช้ให้คนไปกราบทูลภัตตกาลกับพระผู้มีพระภาคว่า “ข้าแต่ท่านพระโคดม
ถึงเวลาแล้ว พระพุทธเจ้าข้า ภัตตาหารสำเร็จแล้ว”
ครั้นในเวลาเช้า พระผู้มีพระภาคทรงครองอันตรวาสก ถือบาตรและจีวร
เสด็จเข้าไปยังนิเวศน์ของพรหมายุพราหมณ์ แล้วประทับนั่งบนพุทธอาสน์ที่ปูลาดไว้
แล้วพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ ต่อมา พรหมายุพราหมณ์ได้อังคาสภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้า
เป็นประมุข ให้อิ่มหนำด้วยของควรเคี้ยวควรฉันอันประณีตด้วยมือของตนตลอด ๗ วัน
เมื่อล่วง ๗ วันนั้นไป พระผู้มีพระภาคได้เสด็จจาริกไปในแคว้นวิเทหะ เมื่อพระผู้มี
พระภาคเสด็จจากไปแล้วไม่นานนัก พรหมายุพราหมณ์ก็ได้สิ้นชีวิตไป
ครั้งนั้น ภิกษุเป็นอันมากพากันเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวาย
อภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
พรหมายุพราหมณ์สิ้นชีวิตแล้ว คติของเขาเป็นเช่นไร สัมปรายภพของเขาเป็นเช่นไร
พระพุทธเจ้าข้า”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๔๘๙ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค] ๒. เสลสูตร

พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ภิกษุทั้งหลาย พรหมายุพราหมณ์เป็นบัณฑิต
ได้บรรลุธรรมและธรรมตามลำดับ๑ ไม่เบียดเบียนเราให้ลำบากเพราะเหตุแห่งธรรมเลย
พรหมายุพราหมณ์เป็นโอปปาติกะ๒ เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการสิ้นไป
จักปรินิพพานในภพนั้น ไม่กลับมาจากโลกนั้นอีก”
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสภาษิตนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นมีใจยินดีต่างชื่นชมพระภาษิต
ของพระผู้มีพระภาค ดังนี้แล

พรหมายุสูตรที่ ๑ จบ

๒. เสลสูตร๓
ว่าด้วยเสลพราหมณ์

[๓๙๖] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเสด็จจาริกไปในแคว้นอังคุตตราปะ พร้อมกับภิกษุ-
สงฆ์หมู่ใหญ่ ประมาณ ๑,๒๕๐ รูป เสด็จถึงนิคมของชาวอังคุตตราปะชื่ออาปณะ
ชฎิลชื่อเกณิยะได้สดับข่าวว่า
“ได้ยินว่า พระสมณโคดมเป็นศากยบุตรเสด็จออกผนวชจากศากยตระกูล
เสด็จจาริกอยู่ในแคว้นอังคุตตราปะพร้อมกับภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ประมาณ ๑,๒๕๐ รูป
เสด็จถึงอาปณนิคมโดยลำดับ ท่านพระโคดมพระองค์นั้นมีกิตติศัพท์อันงามขจรไป
อย่างนี้ว่า ‘แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค] ๒. เสลสูตร

ด้วยพระองค์เองโดยชอบ เพียบพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดี รู้แจ้งโลก
เป็นสารถีฝึกผู้ที่ควรฝึกได้อย่างยอดเยี่ยม เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
เป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระผู้มีพระภาค’ พระองค์ทรงรู้แจ้งโลกนี้พร้อมทั้งเทวโลก
มารโลก พรหมโลก และหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ด้วย
พระองค์เองแล้ว ทรงประกาศให้ผู้อื่นรู้ตาม ทรงแสดงธรรมมีความงามในเบื้องต้น
มีความงามในท่ามกลาง และมีความงามในที่สุด ทรงประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้ง
อรรถและพยัญชนะบริสุทธิ์บริบูรณ์ครบถ้วน การได้พบพระอรหันต์ทั้งหลายเช่นนี้
เป็นความดีอย่างแท้จริง”

เกณิยชฎิลนิมนต์เสวยภัตตาหาร

หลังจากนั้น เกณิยชฎิลเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ได้สนทนา
ปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้วนั่ง ณ ที่สมควร พระผู้มี
พระภาคจึงทรงชี้แจงให้เกณิยชฎิลเห็นชัด ชวนใจให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้
อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริงด้วยธรรมีกถาแล้ว ครั้งนั้น เกณิยชฎิล
ผู้ที่พระผู้มีพระภาคทรงชี้แจงให้เห็นชัด ชวนใจให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้
อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริงด้วยธรรมีกถาแล้ว ได้กราบทูล
พระผู้มีพระภาคว่า “ขอท่านพระโคดมพร้อมกับภิกษุสงฆ์ โปรดรับภัตตาหารของ
ข้าพระองค์ในวันพรุ่งนี้เถิด พระพุทธเจ้าข้า”
เมื่อเกณิยชฎิลกราบทูลอย่างนี้แล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า “เกณิยะ ภิกษุ-
สงฆ์มีมากถึง ๑,๒๕๐ รูป อนึ่ง ท่านก็ยังเลื่อมใสในพราหมณ์ทั้งหลายยิ่งนัก”
แม้ครั้งที่ ๒ เกณิยชฎิลก็ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า “ข้าแต่พระโคดม
ผู้เจริญ ภิกษุสงฆ์มีมากถึง ๑,๒๕๐ รูป ทั้งข้าพระองค์เป็นผู้เลื่อมใสในพราหมณ์
ทั้งหลายยิ่งนักก็จริง ถึงอย่างนั้น ขอท่านพระโคดมพร้อมกับภิกษุสงฆ์โปรดรับ
ภัตตาหารของข้าพระองค์ในวันพรุ่งนี้เถิด พระพุทธเจ้าข้า”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๔๙๑ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค] ๒. เสลสูตร

แม้ครั้งที่ ๒ พระผู้มีพระภาคก็ตรัสกับเกณิยชฎิลว่า “เกณิยะ ภิกษุสงฆ์
มีมากถึง ๑,๒๕๐ รูป อนึ่ง ท่านก็ยังเลื่อมใสในพราหมณ์ทั้งหลายยิ่งนัก”
แม้ครั้งที่ ๓ เกณิยชฎิลก็ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า “ข้าแต่พระโคดม
ผู้เจริญ ภิกษุสงฆ์มีมากถึง ๑,๒๕๐ รูป ทั้งข้าพระองค์เป็นผู้เลื่อมใสในพราหมณ์
ทั้งหลายยิ่งนักก็จริง ถึงอย่างนั้น ขอท่านพระโคดมพร้อมกับภิกษุสงฆ์โปรดรับ
ภัตตาหารของข้าพระองค์ในวันพรุ่งนี้เถิด พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคทรงรับนิมนต์โดยดุษณีภาพ ครั้งนั้น เกณิยชฎิลทราบอาการ
ที่พระผู้มีพระภาคทรงรับนิมนต์แล้ว จึงลุกจากที่นั่ง เข้าไปยังอาศรมของตนแล้ว
เรียกมิตรสหาย ญาติสาโลหิตมาบอกว่า “ท่านทั้งหลาย ข้าพเจ้าขอแจ้งให้ทราบว่า
ข้าพเจ้านิมนต์พระสมณโคดม พร้อมกับภิกษุสงฆ์มาฉันภัตตาหารในวันพรุ่งนี้
ขอท่านทั้งหลายพึงทำความขวนขวายด้วยกำลังกายเพื่อข้าพเจ้าด้วยเถิด”
พวกมิตรสหายและญาติสาโลหิตรับคำเกณิยชฎิลแล้ว บางพวกก่อเตา บางพวก
ผ่าฟืน บางพวกล้างภาชนะ บางพวกตั้งหม้อน้ำ บางพวกปูอาสนะ ส่วนเกณิยชฎิล
จัดแจงโรงปะรำด้วยตนเอง

พราหมณ์ชื่อเสละได้ฟังคำว่า พุทธะ

[๓๙๗] สมัยนั้น พราหมณ์ชื่อเสละอาศัยอยู่ในอาปณนิคม เป็นผู้จบ
ไตรเพท พร้อมทั้งนิฆัณฑุศาสตร์ เกฏุภศาสตร์ อักษรศาสตร์และประวัติศาสตร์
เข้าใจตัวบทและไวยากรณ์ ชำนาญในโลกายตศาสตร์และลักษณะมหาบุรุษ ทั้งยัง
เป็นอาจารย์สอนมนตร์แก่มาณพจำนวน ๓๐๐ คนอีกด้วย สมัยนั้น เกณิยชฎิลก็เป็น
ผู้เลื่อมใสในเสลพราหมณ์ยิ่งนัก ขณะนั้น เสลพราหมณ์แวดล้อมด้วยมาณพ ๓๐๐ คน
เดินเที่ยวเล่นอยู่ ได้เข้าไปยังอาศรมของเกณิยชฎิล ได้เห็นชนบางพวกกำลังก่อเตา
บางพวกกำลังผ่าฟืน บางพวกกำลังล้างภาชนะ บางพวกกำลังตั้งหม้อน้ำ บางพวก
กำลังปูอาสนะ ส่วนเกณิยชฎิลกำลังจัดแจงโรงปะรำด้วยตนเอง จึงได้ถามเกณิยชฎิล
ว่า “ท่านเกณิยะ จักมีพิธีอาวาหมงคลหรือวิวาหมงคล พิธีบูชามหายัญจะปรากฏ
แก่ท่าน หรือท่านได้ทูลเชิญพระเจ้าพิมพิสารจอมทัพมคธ ให้เสด็จมาเสวยพระ
กระยาหารพร้อมกับข้าราชบริพาร ในวันพรุ่งนี้หรือ”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๔๙๒ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค] ๒. เสลสูตร

เกณิยชฎิลตอบว่า “ข้าแต่ท่านเสละ ข้าพเจ้ามิได้มีพิธีอาวาหมงคลหรือวิวาห-
มงคล และมิได้ทูลเชิญพระเจ้าพิมพิสารจอมทัพมคธเสด็จมาเสวยพระกระยาหาร
พร้อมกับข้าราชบริพาร ในวันพรุ่งนี้ แต่พิธีบูชามหายัญได้ปรากฏแก่ข้าพเจ้า
เนื่องจากพระสมณโคดมผู้เป็นศากยบุตร ผู้เสด็จออกผนวชจากศากยตระกูลเสด็จ
จาริกไปในแคว้นอังคุตตราปะ พร้อมกับภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ประมาณ ๑,๒๕๐ รูป
เสด็จถึงอาปณนิคมแล้ว ท่านพระโคดมพระองค์นั้นมีกิตติศัพท์อันงามขจรไปอย่างนี้ว่า
‘แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น เป็นพระอรหันต์ ฯลฯ เป็นพระพุทธเจ้า
เป็นพระผู้มีพระภาค’ ข้าพเจ้าได้ทูลนิมนต์ท่านพระโคดมพระองค์นั้น พร้อมด้วยภิกษุ-
สงฆ์มาฉันภัตตาหารในวันพรุ่งนี้”
เสลพราหมณ์ ถามว่า “ท่านเกณิยะ ท่านกล่าวคำว่า ‘พุทธะ’ หรือ”
เกณิยชฎิล ตอบว่า “ท่านเสละ ใช่ ข้าพเจ้ากล่าวคำว่า ‘พุทธะ”
เสลพราหมณ์ ถามย้ำอีกว่า “ท่านเกณิยะ ท่านกล่าวคำว่า ‘พุทธะ’ หรือ”
เกณิยชฎิล ตอบว่า “ท่านเสละ ใช่ ข้าพเจ้ากล่าวคำว่า ‘พุทธะ”
[๓๙๘] ครั้งนั้น เสลพราหมณ์ได้คิดว่า “แม้แต่เสียงประกาศว่าพุทธะนี้แล
ก็หาได้ยากในโลก พระมหาบุรุษผู้ประกอบด้วยลักษณะมหาบุรุษ ๓๒ ประการที่
ปรากฏในมนตร์ของเรา ย่อมมีคติเป็น ๒ อย่าง ไม่เป็นอย่างอื่น คือ
๑. ถ้าทรงอยู่ครองเรือนจะได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิผู้ทรงธรรม ครองราชย์
โดยธรรม ทรงเป็นใหญ่ในแผ่นดินมีมหาสมุทรทั้ง ๔ เป็นขอบเขต
ทรงได้รับชัยชนะ มีราชอาณาจักรมั่นคง สมบูรณ์ด้วยแก้ว ๗ ประการ
คือ (๑) จักรแก้ว (๒) ช้างแก้ว (๓) ม้าแก้ว (๔) มณีแก้ว (๕) นางแก้ว
(๖) คหบดีแก้ว (๗) ปริณายกแก้ว มีพระราชโอรสมากกว่า
๑,๐๐๐ องค์ ซึ่งล้วนแต่กล้าหาญ มีรูปทรงสมเป็นวีรกษัตริย์
สามารถย่ำยีราชศัตรูได้ พระองค์ทรงชนะโดยธรรม ไม่ต้องใช้อาชญา
หรือศัสตรา ทรงครอบครองแผ่นดินนี้มีสาครเป็นขอบเขต
๒. ถ้าเสด็จออกจากพระราชวังไปผนวชเป็นบรรพชิตจะได้เป็นพระอรหันต-
สัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้ไม่มีกิเลสในโลก”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๔๙๓ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค] ๒. เสลสูตร

เสลพราหมณ์เข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า

เสลพราหมณ์ถามว่า “ท่านเกณิยะ บัดนี้ ท่านพระโคดมอรหันตสัมมา-
สัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ประทับอยู่ที่ไหน”
เมื่อเสลพราหมณ์ถามอย่างนี้แล้ว เกณิยชฎิลได้ยกแขนขวาชี้บอกเสลพราหมณ์
ว่า “ท่านเสละ ท่านจงเดินไปทางบริเวณทิวไม้สีเขียวนั้นเถิด”
หลังจากนั้น เสลพราหมณ์พร้อมด้วยมาณพ ๓๐๐ คน ได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มี
พระภาคถึงที่ประทับ พลางเรียกมาณพเหล่านั้นมาเตือนว่า “ท่านทั้งหลาย จงอย่า
ส่งเสียงดัง ค่อย ๆ เดินตามกันไปให้เป็นระเบียบ เพราะท่านผู้เจริญเหล่านั้นชอบอยู่
ตามลำพัง ดุจพญาราชสีห์ให้ยินดีได้ยาก อนึ่ง ขณะที่เรากำลังสนทนากับพระสมณ-
โคดม ท่านจงอย่าพูดสอดแทรกขึ้น รอให้เราสนทนาจบเสียก่อน”
ลำดับนั้น เสลพราหมณ์ได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ได้สนทนา
ปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้พิจารณาดู
ลักษณะมหาบุรุษ ๓๒ ประการในพระวรกายของพระผู้มีพระภาค
เสลพราหมณ์ได้เห็นลักษณะมหาบุรุษ ๓๒ ประการในพระวรกายของพระผู้มี
พระภาคโดยมาก เว้นอยู่ ๒ ประการ คือ (๑) พระคุยหฐานอันเร้นอยู่ในฝัก
(๒) พระชิวหาใหญ่ จึงยังเคลือบแคลงสงสัย ไม่น้อมใจเชื่อ ไม่เลื่อมใสในลักษณะ
มหาบุรุษทั้ง ๒ ประการ
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคทรงดำริว่า “เสลพราหมณ์นี้เห็นลักษณะมหาบุรุษ
๓๒ ประการของเราโดยมาก เว้นอยู่ ๒ ประการ คือ (๑) คุยหฐาน อันเร้นอยู่ในฝัก
(๒) ชิวหาใหญ่ จึงยังเคลือบแคลงสงสัย ไม่น้อมใจเชื่อ ไม่เลื่อมใสในลักษณะมหาบุรุษ
อีก ๒ ประการ”
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงบันดาลอิทธาภิสังขาร๑ให้เสลพราหมณ์ได้เห็น
พระคุยหฐานอันเร้นอยู่ในฝัก และทรงแลบพระชิวหาสอดเข้าไปในช่องพระกรรณ
ทั้ง ๒ ข้างกลับไปกลับมา สอดเข้าช่องพระนาสิกทั้ง ๒ ข้างกลับไปกลับมา ทรงแผ่
พระชิวหาปิดทั่วมณฑลพระนลาฏ


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค] ๒. เสลสูตร

เสลพราหมณ์กับศิษย์กราบทูลขอบรรพชาอุปสมบท

ครั้งนั้น เสลพราหมณ์ได้คิดว่า “พระสมณโคดมทรงประกอบด้วยลักษณะ
มหาบุรุษ ๓๒ ประการบริบูรณ์ ไม่บกพร่อง แต่เรายังไม่ทราบว่าพระองค์เป็น
พระพุทธเจ้าจริงหรือไม่ เราได้สดับเรื่องนี้มาจากสำนักของพราหมณ์ทั้งหลายซึ่งเป็น
คนชรา เป็นผู้ใหญ่ เป็นอาจารย์และปาจารย์ ผู้กล่าวกันว่า ‘พระผู้มีพระภาค
อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลาย ย่อมแสดงพระองค์ให้ปรากฏในเมื่อบุคคลกล่าว
ถึงคุณของพระองค์ ทางที่ดี เราควรชมเชยพระสมณโคดมเฉพาะพระพักตร์เป็นคาถา
ที่เหมาะสม”
[๓๙๙] ลำดับนั้น เสลพราหมณ์จึงชมเชยพระผู้มีพระภาคเฉพาะพระพักตร์
ด้วยคาถาที่เหมาะสมว่า
“ข้าแต่พระผู้มีพระภาค พระองค์เสด็จอุบัติมาดีแล้ว
มีพระวิริยภาพ มีพระวรกายสมบูรณ์
มีพระรัศมีเรืองงาม เป็นผู้น่าทัศนายิ่งนัก
มีพระฉวีวรรณเปล่งปลั่งดั่งทอง
มีพระเขี้ยวแก้วขาวสะอาด
เพราะพระลักษณะมหาบุรุษ
ที่มีปรากฏแก่มหาบุรุษนั้น
ย่อมมีปรากฏในพระวรกายของพระองค์อย่างครบถ้วน
พระองค์มีพระเนตรแจ่มใส มีพระพักตร์ผุดผ่อง
มีพระวรกายสูงใหญ่ตรง
มีพระเดช ทรงรุ่งเรืองอยู่ในท่ามกลางหมู่สมณะ
เหมือนดวงอาทิตย์รุ่งเรืองอยู่
พระองค์เป็นภิกษุ มีคุณสมบัติงดงามน่าชม
มีพระฉวีวรรณผุดผ่องดั่งทอง
พระองค์มีพระวรรณะสูงส่งถึงเพียงนี้
จะเป็นสมณะไปทำไม

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๔๙๕ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค] ๒. เสลสูตร

พระองค์ควรเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ
ที่องอาจในหมู่พลรถ ทรงปราบปรามไพรีชนะ
ทรงเป็นใหญ่ในภาคพื้นชมพูทวีป
ซึ่งมีสมุทรสาครทั้งสี่เป็นขอบเขต
ข้าแต่พระโคดม ขอเชิญพระองค์ขึ้นครองราชย์
เป็นพระเจ้าจักรพรรดิจอมมนุษย์ตามพระราชประเพณี
ที่กษัตราธิราชโดยพระชาติได้เสวยราชย์
มีหมู่เสวกามาตย์เสด็จตามพระองค์เถิด”
(พระผู้มีพระภาคตรัสพระคาถาว่า)
“เสลพราหมณ์ เราเป็นพระราชาอยู่แล้ว
คือเป็นพระธรรมราชาผู้ยอดเยี่ยม
ยังธรรมจักรที่ไม่มีใคร ๆ หมุนไปได้ ให้หมุนไปได้”
(เสลพราหมณ์กราบทูลว่า)
“ข้าแต่ท่านพระโคดม พระองค์ทรงปฏิญญาว่า
เป็นสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นพระธรรมราชาผู้ยอดเยี่ยม
ทั้งยังตรัสยืนยันว่ายังธรรมจักรให้เป็นไป
ใครหนอเป็นเสนาบดีของพระองค์ผู้เจริญ
เป็นสาวกผู้ประพฤติตามเบื้องพระยุคลบาทของพระองค์ผู้เป็นศาสดา
ใครจะช่วยประกาศธรรมจักรที่พระองค์ทรงให้เป็นไปแล้วนี้ได้”
(พระผู้มีพระภาคตรัสตอบด้วยพระคาถาว่า)
“เสลพราหมณ์ สารีบุตรผู้เกิดตามตถาคต
จะช่วยประกาศธรรมจักรที่ยอดเยี่ยม
ซึ่งเราให้เป็นไปไว้แล้ว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๔๙๖ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค] ๒. เสลสูตร

พราหมณ์ เราได้รู้ยิ่งธรรมที่ควรรู้ยิ่ง๑
ได้เจริญธรรมที่ควรให้เจริญ๒
ได้ละธรรมที่ควรละ๓ได้แล้ว
เพราะฉะนั้น เราจึงเป็นพระพุทธเจ้า
พราหมณ์ ท่านจงขจัดความสงสัยในตัวเราเสีย
จงน้อมใจเชื่อเราเสียเถิด
การได้เห็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเนือง ๆ
เป็นโอกาสที่หาได้ยาก
ผู้จะปรากฏเนือง ๆ ในโลก
ย่อมเป็นการหาได้ยาก
พราหมณ์ เรานั้นเป็นพระพุทธเจ้า
เป็นหมอผ่าตัดลูกศรคือกิเลสชั้นเยี่ยม
เราเป็นผู้ประเสริฐสุด ไม่มีผู้เปรียบเทียบ
ย่ำยีมารและเสนามารได้
ควบคุมอมิตรทั้งหมด๔ไว้ในอำนาจ
ไม่มีภัยจากที่ไหน เบิกบานอยู่”


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค] ๒. เสลสูตร

(เสลพราหมณ์กล่าวด้วยคาถาว่า)
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอเชิญพระองค์
จงทรงใคร่ครวญคำของข้าพระองค์นี้
เหมือนอย่างที่พระผู้มีพระภาค ผู้มีพระจักษุ
เป็นหมอผ่าตัดลูกศรคือกิเลส
เป็นมหาวีระตรัสไว้
เหมือนพญาราชสีห์บันลือสีหนาทอยู่ในป่า
ใครเห็นพระผู้มีพระภาคผู้ประเสริฐสุด
ไม่มีผู้เปรียบเทียบ
ย่ำยีมารและเสนามารได้ จะไม่พึงเลื่อมใสเล่า
ถึงคนผู้เกิดในตระกูลต่ำก็ยังเลื่อมใส
ผู้ปรารถนา จะตามฉัน ก็เชิญมา
หรือผู้ที่ไม่ปรารถนา ก็เชิญกลับไป
ฉันจะบวชในสำนักของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ผู้มีพระปัญญาประเสริฐนี้”
(มาณพเหล่านั้นกล่าวด้วยคาถาว่า)
“หากท่านอาจารย์ประทับใจคำสอน
ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเช่นนี้
แม้เราทั้งหลายก็จะบวช
ในสำนักของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ผู้มีพระปัญญาประเสริฐ”
พราหมณ์ ๓๐๐ คนนี้พากันประนมมือ ทูลขอบรรพชาว่า
“ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ข้าพระองค์ทั้งหลาย
จะประพฤติพรหมจรรย์ ในสำนักของพระองค์”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๔๙๘ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค] ๒. เสลสูตร

(พระผู้มีพระภาคตรัสด้วยพระคาถาว่า)
“เสละ พรหมจรรย์เรากล่าวไว้แล้ว
ผู้บรรลุจะเห็นได้เอง ให้ผลไม่จำกัดกาล
ในศาสนาที่มีการบรรพชาไม่ไร้ผล
เมื่อคนที่ไม่ประมาท หมั่นศึกษาอยู่๑”
เสลพราหมณ์พร้อมทั้งบริวารได้รับการบรรพชาอุปสมบทในสำนักของพระผู้มี
พระภาคแล้ว
[๔๐๐] เมื่อล่วงราตรีนั้นไป เกณิยชฎิลสั่งให้จัดของเคี้ยวของฉันอันประณีตไว้ใน
อาศรมของตน แล้วส่งคนไปกราบทูลภัตตกาลว่า “ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ได้เวลาแล้ว
ภัตตาหารสำเร็จแล้ว พระพุทธเจ้าข้า”
ครั้นเวลาเช้า พระผู้มีพระภาคทรงครองอันตรวาสก ถือบาตรและจีวร เสด็จไป
ยังอาศรมของเกณิยชฎิลและประทับบนพุทธอาสน์ที่ปูลาดไว้แล้วพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์
จากนั้น เกณิยชฎิลได้อังคาสภิกษุสงฆ์ซึ่งมีพระพุทธเจ้าเป็นประธานให้อิ่มหนำ
สำราญด้วยของเคี้ยวของฉันอันประณีตด้วยตนเอง เมื่อพระผู้มีพระภาคเสวยเสร็จ
ทรงวางพระหัตถ์แล้ว เกณิยชฎิลเลือกนั่ง ณ ที่สมควร ที่ใดที่หนึ่งซึ่งต่ำกว่า

พระพุทธเจ้าทรงทำอนุโมทนาแก่เกณิยชฎิล

พระผู้มีพระภาคทรงอนุโมทนาแก่เกณิยชฎิลด้วยพระคาถาเหล่านี้ว่า
“การบูชาไฟเป็นการบูชายัญอันประเสริฐ
ว่าด้วยเรื่องฉันท์ สาวิตรีฉันท์เป็นฉันท์อันดับแรก
พระราชาเป็นประมุขของมนุษย์ทั้งหลาย
สมุทรสาครเป็นศูนย์รวมแห่งแม่น้ำทั้งหลาย


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค] ๒. เสลสูตร

ดาวนักษัตรทั้งหลาย มีดวงจันทร์เด่นสกาว
มวลความร้อนมีดวงอาทิตย์เป็นเจ้า
หมู่ชนผู้มุ่งแสวงบุญอยู่มีพระสงฆ์เท่านั้น
เป็นทางเจริญแห่งบุญแท้จริงของผู้บูชา”
ครั้นพระผู้มีพระภาคทรงทำอนุโมทนาแก่เกณิยชฎิลด้วยพระคาถาเหล่านี้แล้ว
ก็เสด็จลุกจากพุทธอาสน์จากไป
ต่อมา ท่านพระเสละพร้อมด้วยภิกษุผู้เป็นบริวาร จากไปอยู่เพียงลำพัง ไม่ประมาท
มีความเพียร อุทิศกายและใจ ไม่นานนักก็ทำให้แจ้งซึ่งประโยชน์ยอดเยี่ยมอันเป็น
ที่สุดแห่งพรหมจรรย์ ที่เหล่ากุลบุตรผู้ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบต้องการ
ด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบันแน่แท้ รู้ชัดว่า “ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบ
พรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป๑”
จึงเป็นอันว่า ท่านพระเสละพร้อมกับภิกษุผู้เป็นบริวารได้เป็นพระอรหันต์
จำนวนหนึ่งบรรดาพระอรหันต์ทั้งหลาย
ครั้งนั้น ท่านพระเสละพร้อมด้วยภิกษุผู้เป็นบริวารได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค
ถึงที่ประทับ ห่มจีวรเฉวียงบ่า ประคองอัญชลีไปทางที่พระผู้มีพระภาคประทับอยู่
ได้กราบทูลด้วยคาถาว่า
“ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ผู้มีพระจักษุ
ข้าพระองค์ทั้งหลายถึงพระองค์เป็นสรณะครบ ๘ วันนับจากวันนี้
จึงเป็นอันว่าข้าพระองค์ทั้งหลายฝึกฝนตนสำเร็จ
ในศาสนาของพระองค์ใช้เวลา ๗ วันเท่านั้น
พระองค์ทรงเป็นพระสัพพัญญูพุทธเจ้า เป็นพระศาสดา
เป็นพระมุนีผู้ครอบงำมารได้


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค] ๓. อัสสลายนสูตร

ทรงตัดอนุสัยกิเลสได้ ทรงข้ามห้วงน้ำใหญ่คือสงสารได้แล้ว
ยังทรงช่วยหมู่สัตว์นี้ให้ข้ามตามไปได้ด้วย
พระองค์ทรงล่วงพ้นอุปธิได้
ทำลายอาสวะได้แล้ว ไม่มีอุปาทาน
ละความหวาดกลัวภัยได้
เหมือนพญาราชสีห์ไม่กลัวต่อหมู่เนื้อ”
ภิกษุ ๓๐๐ รูปนี้ ยืนประนมมืออยู่ กราบทูลว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้ทรงแกล้วกล้า
ขอพระองค์โปรดเหยียดพระยุคลบาทออกเถิด
ขอเชิญท่านผู้ประเสริฐทั้งหลาย
ถวายอภิวาทพระบรมศาสดาเถิด” ดังนี้แล

เสลสูตรที่ ๒ จบ

๓. อัสสลายนสูตร
ว่าด้วยอัสสลายนมาณพ

[๔๐๑] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิก-
เศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี สมัยนั้นแล พราหมณ์ผู้มาจากแคว้นต่าง ๆ ประมาณ
๕๐๐ คน พักอาศัยอยู่ในกรุงสาวัตถี ด้วยกรณียกิจบางอย่าง ครั้งนั้น พราหมณ์เหล่านั้น
ได้คิดว่า “พระสมณโคดมนี้ทรงบัญญัติความบริสุทธิ์ที่ทั่วไปแก่วรรณะ ๔ จำพวก
ใครหนอจะสามารถเจรจาโต้ตอบกับพระสมณโคดมในคำนั้นได้”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๕๐๑ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค] ๓. อัสสลายนสูตร

สมัยนั้น มาณพชื่ออัสสลายนะ อาศัยอยู่ในกรุงสาวัตถี ยังเป็นหนุ่ม โกนศีรษะ
มีอายุ ๑๖ ปี นับแต่เกิดมา เป็นผู้จบไตรเพท พร้อมทั้งนิฆัณฑุศาสตร์ เกฏุภศาสตร์
อักษรศาสตร์ และประวัติศาสตร์ เข้าใจตัวบทและไวยากรณ์ ชำนาญในโลกายต-
ศาสตร์และลักษณะมหาบุรุษ๑
ครั้งนั้น พราหมณ์เหล่านั้นคิดกันว่า “อัสสลายนมาณพผู้นี้ อาศัยอยู่ในกรุง
สาวัตถี ยังเป็นหนุ่ม ฯลฯ ชำนาญโลกายตศาสตร์และลักษณะมหาบุรุษ เขาจะ
สามารถเจรจาโต้ตอบกับพระสมณโคดมในคำนั้นได้”
ลำดับนั้น พราหมณ์เหล่านั้นพากันเข้าไปหาอัสสลายนมาณพถึงที่อยู่ แล้วได้
กล่าวว่า “พ่ออัสสลายนะ พระสมณโคดมนี้ ทรงบัญญัติความบริสุทธิ์ที่ทั่วไปแก่
วรรณะ ๔ จำพวก พ่ออัสสลายนะ จงไปเจรจาโต้ตอบกับพระสมณโคดมในคำนั้นเถิด”
เมื่อพราหมณ์ทั้งหลายกล่าวอย่างนี้แล้ว อัสสลายนมาณพได้กล่าวกับพราหมณ์
เหล่านั้นว่า “ท่านผู้เจริญทั้งหลาย ได้ทราบว่า พระสมณโคดมเป็นธรรมวาทีที่บุคคล
จะพึงเจรจาโต้ตอบได้ยาก ข้าพเจ้าไม่สามารถจะเจรจาโต้ตอบกับพระสมณโคดม
ในคำนั้นได้”
แม้ครั้งที่ ๒ พราหมณ์เหล่านั้นก็ได้กล่าวกับอัสสลายนมาณพว่า “พ่ออัสสลายนะ
พระสมณโคดมนี้ ทรงบัญญัติความบริสุทธิ์ที่ทั่วไปแก่วรรณะ ๔ จำพวก พ่ออัสสลายนะ
จงไปเจรจาโต้ตอบกับพระสมณโคดมในคำนั้นเถิด พ่ออัสสลายนะได้ประพฤติวิธีบรรพชา๒
มาแล้ว”
แม้ครั้งที่ ๒ อัสสลายนมาณพก็ได้กล่าวกับพราหมณ์เหล่านั้นว่า “ท่านผู้เจริญ
ทั้งหลาย ได้ทราบว่า พระสมณโคดมเป็นธรรมวาที ที่บุคคลจะพึงเจรจาโต้ตอบ
ได้ยาก ข้าพเจ้าไม่สามารถจะเจรจาโต้ตอบกับพระสมณโคดมในคำนั้นได้”


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค] ๓. อัสสลายนสูตร

แม้ครั้งที่ ๓ พราหมณ์เหล่านั้นก็ได้กล่าวกับอัสสลายนมาณพว่า “พ่ออัสสลายนะ
พระสมณโคดมนี้ ทรงบัญญัติความบริสุทธิ์ที่ทั่วไปแก่วรรณะ ๔ จำพวก พ่ออัสสลายนะ
จงเข้าไปเจรจาโต้ตอบกับพระสมณโคดมในคำนั้นเถิด พ่ออัสสลายนะได้ประพฤติวิธี
บรรพชามาแล้ว พ่ออัสสลายนะอย่ายอมแพ้เสียตั้งแต่ยังไม่รบเลย”
เมื่อพราหมณ์เหล่านั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว อัสสลายนมาณพได้กล่าวกับพราหมณ์
เหล่านั้นว่า “ท่านผู้เจริญทั้งหลาย ข้าพเจ้ายอมไม่ได้แน่ ได้ทราบว่า พระสมณโคดม
เป็นธรรมวาทีที่บุคคลจะพึงเจรจาโต้ตอบได้ยาก ข้าพเจ้าคงไม่สามารถจะเจรจา
โต้ตอบกับพระสมณโคดมในคำนั้นได้ แต่ข้าพเจ้าจักไปตามคำของท่านทั้งหลาย”

เรื่องวรรณะ ๔ จำพวก๑

[๔๐๒] ลำดับนั้น อัสสลายนมาณพพร้อมด้วยคณะพราหมณ์หมู่ใหญ่ พากัน
เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ได้สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็น
ที่ระลึกถึงกันแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า
“ข้าแต่ท่านพระโคดม พราหมณ์ทั้งหลายกล่าวอย่างนี้ว่า ‘วรรณะที่ประเสริฐ
ที่สุดคือพราหมณ์เท่านั้น วรรณะอื่นเลว วรรณะที่ขาวคือพราหมณ์เท่านั้น
วรรณะอื่นดำ พราหมณ์เท่านั้นบริสุทธิ์ ผู้ที่ไม่ใช่พราหมณ์ไม่บริสุทธิ์ พราหมณ์
เท่านั้นเป็นบุตร เป็นโอรส เกิดจากโอษฐ์ของพรหม เกิดจากพรหม เป็นผู้ที่พรหม
สร้างขึ้น เป็นทายาทของพรหม’ ในเรื่องนี้ท่านพระโคดมได้ตรัสไว้อย่างไร”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อัสสลายนะ นางพราหมณีของพราหมณ์ทั้งหลาย
มีระดูบ้าง มีครรภ์บ้าง คลอดบุตรบ้าง ให้บุตรดื่มนมบ้าง ปรากฏอยู่ พราหมณ์
เหล่านั้นซึ่งเป็นผู้เกิดจากโยนีเหมือนกัน ยังจะกล่าวอย่างนี้ว่า ‘วรรณะที่ประเสริฐ
ที่สุดคือพราหมณ์เท่านั้น วรรณะอื่นเลว วรรณะที่ขาวคือพราหมณ์เท่านั้น วรรณะ


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค] ๓. อัสสลายนสูตร

อื่นดำ พราหมณ์เท่านั้นบริสุทธิ์ ผู้ที่ไม่ใช่พราหมณ์ไม่บริสุทธิ์ พราหมณ์เท่านั้นเป็น
บุตร เป็นโอรส เกิดจากโอษฐ์ของพรหม เกิดจากพรหม เป็นผู้ที่พรหมสร้างขึ้น
เป็นทายาทของพรหม”
อัสสลายนมาณพกราบทูลว่า “ท่านพระโคดมตรัสอย่างนี้ก็จริง แต่ในเรื่องนี้พราหมณ์
ทั้งหลายก็ยังเข้าใจเรื่องนั้นอยู่อย่างนี้ว่า ‘วรรณะที่ประเสริฐที่สุดคือพราหมณ์เท่านั้น
ฯลฯ เป็นทายาทของพรหม”
[๔๐๓] พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “อัสสลายนะ ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่า
อย่างไร ท่านได้ฟังมาแล้วหรือว่า ‘ในแคว้นโยนก แคว้นกัมโพชะ และปัจจันตชนบท
อื่น ๆ มีวรรณะอยู่ ๒ จำพวกเท่านั้น คือ (๑) เจ้า (๒) ทาส เป็นเจ้าแล้วกลับ
เป็นทาส เป็นทาสแล้วกลับเป็นเจ้า”
อัสสลายนมาณพทูลตอบว่า “ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าเคยฟังความข้อนั้นมา
แล้วอย่างนี้ว่า ‘ในแคว้นโยนก แคว้นกัมโพชะ และปัจจันตชนบทอื่น ๆ มีวรรณะอยู่
๒ จำพวกเท่านั้น คือ (๑) เจ้า (๒) ทาส เป็นเจ้าแล้วกลับเป็นทาส เป็นทาสแล้ว
กลับเป็นเจ้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “อัสสลายนะ ในเรื่องนี้ อะไรเป็นกำลัง อะไรเป็น
ความยินดีของพราหมณ์ทั้งหลายผู้กล่าวแล้วอย่างนี้ว่า ‘วรรณะที่ประเสริฐที่สุดคือ
พราหมณ์เท่านั้น วรรณะอื่นเลว ฯลฯ เป็นทายาทของพรหม”
อัสสลายนมาณพทูลตอบว่า “ท่านพระโคดมตรัสอย่างนั้นก็จริง แต่ในเรื่องนี้
พราหมณ์ทั้งหลายก็เข้าใจเรื่องนั้นอยู่อย่างนี้ว่า ‘วรรณะที่ประเสริฐที่สุดคือพราหมณ์
เท่านั้น วรรณอื่นเลว ฯลฯ เป็นทายาทของพรหม”
[๔๐๔] พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “อัสสลายนะ ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่า
อย่างไร กษัตริย์เท่านั้นหรือที่เป็นผู้ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม พูดเท็จ
พูดส่อเสียด พูดคำหยาบ พูดเพ้อเจ้อ เป็นผู้เพ่งเล็งอยากได้สิ่งของของผู้อื่น มีจิต

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๕๐๔ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค] ๓. อัสสลายนสูตร

พยาบาท เป็นมิจฉาทิฏฐิ หลังจากตายแล้วจะพึงไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต
นรก๑ ส่วนพราหมณ์ไม่เป็นอย่างนั้นหรือ
แพศย์เท่านั้นหรือ ฯลฯ
ศูทรเท่านั้นหรือที่เป็นผู้ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม พูดเท็จ
พูดส่อเสียด พูดคำหยาบ พูดเพ้อเจ้อ เป็นผู้เพ่งเล็งอยากได้สิ่งของของผู้อื่น มีจิต
พยาบาท เป็นมิจฉาทิฏฐิ หลังจากตายแล้วจะพึงไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต
นรก ส่วนพราหมณ์ไม่เป็นอย่างนั้นหรือ”
อัสสลายนมาณพทูลตอบว่า “ไม่ใช่เช่นนั้น ท่านพระโคดม แม้กษัตริย์ที่เป็นผู้
ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม พูดเท็จ พูดส่อเสียด พูดคำหยาบ พูดเพ้อเจ้อ
เป็นผู้เพ่งเล็งอยากได้สิ่งของของผู้อื่น มีจิตพยาบาท เป็นมิจฉาทิฏฐิ หลังจากตาย
แล้วจะพึงไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก
แม้พราหมณ์ ฯลฯ
แม้แพศย์ ฯลฯ
แม้ศูทร ฯลฯ
ข้าแต่ท่านพระโคดม ความจริง แม้วรรณะ ๔ จำพวก ที่เป็นผู้ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์
ประพฤติผิดในกาม พูดเท็จ พูดส่อเสียด พูดคำหยาบ พูดเพ้อเจ้อ เป็นผู้เพ่งเล็ง
อยากได้สิ่งของของผู้อื่น มีจิตพยาบาท เป็นมิจฉาทิฏฐิ หลังจากตายแล้วจะพึงไปเกิด
ในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ทั้งหมด”
พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “อัสสลายนะ ในเรื่องนี้ อะไรเป็นกำลัง อะไร
เป็นความยินดีของพราหมณ์ทั้งหลายผู้กล่าวอย่างนี้ว่า ‘วรรณะที่ประเสริฐที่สุดคือ
พราหมณ์เท่านั้น วรรณะอื่นเลว ฯลฯ เป็นทายาทของพรหม”


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค] ๓. อัสสลายนสูตร

อัสสลายนมาณพทูลตอบว่า “ท่านพระโคดม ตรัสอย่างนั้นก็จริง แต่ในเรื่องนี้
พราหมณ์ทั้งหลายก็เข้าใจเรื่องนั้นอยู่อย่างนี้ว่า ‘วรรณะที่ประเสริฐที่สุดคือพราหมณ์
เท่านั้น วรรณะอื่นเลว ฯลฯ เป็นทายาทของพรหม”
[๔๐๕] พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “อัสสลายนะ ท่านเข้าใจความข้อนั้น
ว่าอย่างไร พราหมณ์เท่านั้นหรือที่เป็นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ เว้นขาดจากการ
ลักทรัพย์ เว้นขาดจากการประพฤติผิดในกาม เว้นขาดจากการพูดเท็จ เว้นขาด
จากการพูดส่อเสียด เว้นขาดจากการพูดคำหยาบ เว้นขาดจากการพูดเพ้อเจ้อ
ไม่เพ่งเล็งอยากได้สิ่งของของผู้อื่น มีจิตไม่พยาบาท เป็นสัมมาทิฏฐิ หลังจากตาย
แล้วจะพึงไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์ กษัตริย์ไม่เป็นอย่างนั้นหรือ แพศย์ไม่เป็น
อย่างนั้นหรือ ศูทรไม่เป็นอย่างนั้นหรือ”
อัสสลายนมาณพทูลตอบว่า “ไม่ใช่เช่นนั้น ท่านพระโคดม แม้กษัตริย์ที่เป็นผู้
เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ เว้นขาดจากการลักทรัพย์ เว้นขาดจากการประพฤติผิด
ในกาม เว้นขาดจากการพูดเท็จ เว้นขาดจากการพูดส่อเสียด เว้นขาดจากการพูด
คำหยาบ เว้นขาดจากการพูดเพ้อเจ้อ ไม่เพ่งเล็งอยากได้สิ่งของของผู้อื่น มีจิตไม่
พยาบาท เป็นสัมมาทิฏฐิ หลังจากสวรรคตแล้วจะพึงไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์
แม้พราหมณ์ ฯลฯ
แม้แพศย์ ฯลฯ
แม้ศูทร ฯลฯ
ข้าแต่ท่านพระโคดม ความจริง แม้วรรณะ ๔ จำพวก ที่เป็นผู้เว้นขาดจาก
การฆ่าสัตว์ เว้นขาดจากการลักทรัพย์ เว้นขาดจากการประพฤติผิดในกาม เว้นขาด
จากการพูดเท็จ เว้นขาดจากการพูดส่อเสียด เว้นขาดจากการพูดคำหยาบ เว้นขาด
จากการพูดเพ้อเจ้อ ไม่เพ่งเล็งอยากได้สิ่งของของผู้อื่น มีจิตไม่พยาบาท เป็นสัมมา-
ทิฏฐิ หลังจากตายแล้วจะพึงไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์ทั้งหมด”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๕๐๖ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค] ๓. อัสสลายนสูตร

พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “อัสสลายนะ ในเรื่องนี้ อะไรเป็นกำลัง อะไรเป็น
ความยินดีของพราหมณ์ผู้กล่าวอย่างนี้ว่า ‘วรรณะที่ประเสริฐที่สุดคือพราหมณ์
เท่านั้น วรรณะอื่นเลว ฯลฯ เป็นทายาทของพรหม”
อัสสลายนมาณพทูลตอบว่า “ท่านพระโคดมตรัสอย่างนี้ก็จริง แต่ในเรื่องนี้
พราหมณ์ทั้งหลายก็เข้าใจเรื่องนั้นอยู่อย่างนี้ว่า ‘วรรณะที่ประเสริฐที่สุดคือพราหมณ์
เท่านั้น วรรณะอื่นเลว ฯลฯ เป็นทายาทของพรหม”
[๔๐๖] พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “อัสสลายนะ ท่านเข้าใจความข้อนั้น
ว่าอย่างไร ในประเทศนี้ พราหมณ์เท่านั้นหรือที่สามารถเจริญเมตตาจิต อันไม่มีเวร
ไม่มีความเบียดเบียน กษัตริย์ แพศย์ ศูทร ไม่สามารถหรือ”
อัสสลายนมาณพทูลตอบว่า “ไม่ใช่เช่นนั้น ท่านพระโคดม ในประเทศนี้
แม้กษัตริย์ก็สามารถเจริญเมตตาจิต อันไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียน
แม้พราหมณ์ ฯลฯ
แม้แพศย์ ฯลฯ
แม้ศูทร ฯลฯ
ข้าแต่ท่านพระโคดม ความจริงในประเทศนี้ แม้วรรณะ ๔ จำพวก ก็สามารถ
เจริญเมตตาจิต อันไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนได้ทั้งหมด”
พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “อัสสลายนะ ในเรื่องนี้ อะไรเป็นกำลัง อะไรเป็น
ความยินดีของพราหมณ์ทั้งหลายผู้กล่าวอย่างนี้ว่า ‘วรรณะที่ประเสริฐที่สุดคือพราหมณ์
เท่านั้น วรรณะอื่นเลว ฯลฯ เป็นทายาทของพรหม”
อัสสลายนมาณพทูลตอบว่า “ท่านพระโคดมตรัสอย่างนั้นก็จริง แต่ในเรื่องนี้
พราหมณ์ทั้งหลายก็เข้าใจเรื่องนั้นอยู่อย่างนี้ว่า ‘วรรณะที่ประเสริฐที่สุดคือพราหมณ์
เท่านั้น วรรณะอื่นเลว ฯลฯ เป็นทายาทของพรหม”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๕๐๗ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค] ๓. อัสสลายนสูตร

[๔๐๗] พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “อัสสลายนะ ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่า
อย่างไร พราหมณ์เท่านั้นหรือที่สามารถถือเอาเครื่องสีตัวสำหรับอาบน้ำไปยังแม่น้ำ
แล้วลอยละอองธุลีได้ กษัตริย์ แพศย์ ศูทร ไม่สามารถหรือ”
อัสสลายนมาณพทูลตอบว่า “ไม่ใช่เช่นนั้น ท่านพระโคดม แม้กษัตริย์ก็ย่อม
สามารถถือเอาเครื่องสีตัวสำหรับอาบน้ำไปยังแม่น้ำแล้วลอยละอองธุลีได้
แม้พราหมณ์ ฯลฯ
แม้แพศย์ ฯลฯ
แม้ศูทร ฯลฯ
ข้าแต่ท่านพระโคดม ความจริงแม้วรรณะ ๔ จำพวก ก็ย่อมสามารถถือเอา
เครื่องสีตัวสำหรับอาบน้ำไปยังแม่น้ำแล้วลอยละอองธุลีได้ทั้งหมด”
พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “อัสสลายนะ ในเรื่องนี้ อะไรเป็นกำลัง อะไรเป็น
ความยินดีของพราหมณ์ผู้กล่าวอย่างนี้ว่า ‘วรรณะที่ประเสริฐที่สุดคือพราหมณ์
เท่านั้น วรรณะอื่นเลว ฯลฯ เป็นทายาทของพรหม”
อัสสลายนมาณพทูลตอบว่า “ท่านพระโคดมตรัสอย่างนั้นก็จริง แต่ในเรื่องนี้
พราหมณ์ทั้งหลายก็เข้าใจเรื่องนั้นอยู่อย่างนี้ว่า ‘วรรณะที่ประเสริฐที่สุดคือพราหมณ์
เท่านั้น วรรณะอื่นเลว ฯลฯ เป็นทายาทของพรหม”
[๔๐๘] พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “อัสสลายนะ ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่า
อย่างไร พระราชามหากษัตริย์ในโลกนี้ ผู้ได้รับมูรธาภิเษก๑แล้ว จะพึงทรงเกณฑ์
บุรุษผู้มีฐานะต่าง ๆ กัน ๑๐๐ คน ให้มาประชุมกันตรัสว่า ‘มาเถิดท่านทั้งหลาย
ในจำนวนบุรุษเหล่านั้น บุรุษเหล่าใดเกิดจากตระกูลกษัตริย์ ตระกูลพราหมณ์
ราชตระกูล บุรุษเหล่านั้นจงถือเอาไม้สัก ไม้สาละ ไม้สน ไม้จันทน์ หรือไม้ทับทิม


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค] ๓. อัสสลายนสูตร

มาทำเป็นไม้สีไฟ แล้วสีให้เป็นไฟลุกโพลงขึ้น มาเถิดท่านทั้งหลาย ในจำนวนบุรุษ
เหล่านั้น บุรุษเหล่าใดเกิดจากตระกูลจัณฑาล ตระกูลพราน ตระกูลช่างจักสาน
ตระกูลช่างรถ ตระกูลคนขนขยะ บุรุษเหล่านั้นจงถือเอาไม้รางสุนัข ไม้รางสุกร
ไม้รางย้อมผ้า หรือไม้ละหุ่งมาทำเป็นไม้สีไฟแล้วสีให้เป็นไฟลุกโพลงขึ้น
อัสสลายนะ ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร ไฟที่บุรุษทั้งหลายผู้เกิดจาก
ตระกูลกษัตริย์ ตระกูลพราหมณ์ ราชตระกูล ถือเอาไม้สัก ไม้สาละ ไม้สน ไม้จันทน์
หรือไม้ทับทิม มาทำเป็นไม้สีไฟ แล้วสีให้เป็นไฟลุกโพลงขึ้นเท่านั้นหรือ เป็นไฟ
มีเปลว มีสี มีแสงสว่าง และสามารถทำกิจที่ต้องทำด้วยไฟนั้นให้สำเร็จได้ ส่วนไฟ
ที่บุรุษทั้งหลายผู้เกิดจากตระกูลจัณฑาล ตระกูลนายพราน ตระกูลช่างจักสาน
ตระกูลช่างรถ ตระกูลคนขนขยะ ถือเอาไม้รางสุนัข ไม้รางสุกร ไม้รางย้อมผ้า หรือ
ไม้ละหุ่ง มาทำเป็นไม้สีไฟ แล้วสีให้เป็นไฟลุกโพลงขึ้นนั้น เป็นไฟไม่มีเปลว ไม่มีสี
ไม่มีแสงสว่าง และไม่สามารถทำกิจที่ต้องทำด้วยไฟนั้นให้สำเร็จได้กระนั้นหรือ”
อัสสลายนมาณพทูลตอบว่า “ไม่ใช่เช่นนั้น ท่านพระโคดม แม้ไฟที่บุรุษทั้งหลาย
ผู้เกิดจากตระกูลกษัตริย์ ตระกูลพราหมณ์ ราชตระกูล ถือเอาไม้สัก ไม้สาละ ไม้สน
ไม้จันทน์ หรือไม้ทับทิม มาทำเป็นไม้สีไฟ แล้วสีให้เป็นไฟลุกโพลงขึ้นนั้น ก็เป็นไฟ
มีเปลว มีสี มีแสงสว่าง และสามารถทำกิจที่ต้องทำด้วยไฟนั้นให้สำเร็จได้ แม้ไฟ
ที่บุรุษทั้งหลายผู้เกิดจากตระกูลจัณฑาล ตระกูลนายพราน ตระกูลช่างจักสาน
ตระกูลช่างรถ ตระกูลคนขนขยะ ถือเอาไม้รางสุนัข ไม้รางสุกร ไม้รางย้อมผ้า
หรือไม้ละหุ่ง มาทำเป็นไม้สีไฟ แล้วสีให้เป็นไฟลุกโพลงขึ้นนั้น ก็เป็นไฟมีเปลว มีสี
มีแสงสว่าง และสามารถทำกิจที่ต้องทำด้วยไฟให้สำเร็จได้ ท่านพระโคดม ความจริง
แม้ไฟทุกชนิดก็เป็นไฟมีเปลว มีสี มีแสงสว่าง และสามารถทำกิจที่ต้องทำด้วยไฟให้
สำเร็จได้ทั้งหมด”
พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “อัสสลายนะ ในเรื่องนี้ อะไรเป็นกำลัง อะไรเป็น
ความยินดีของพราหมณ์ผู้กล่าวอย่างนี้ว่า ‘วรรณะที่ประเสริฐที่สุดคือพราหมณ์
เท่านั้น วรรณะอื่นเลว วรรณะที่ขาวคือพราหมณ์เท่านั้น วรรณะอื่นดำ พราหมณ์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๕๐๙ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค] ๓. อัสสลายนสูตร

เท่านั้นบริสุทธิ์ ผู้ที่ไม่ใช่พราหมณ์ ไม่บริสุทธิ์ พราหมณ์เท่านั้นเป็นบุตร เป็นโอรส
เกิดจากโอษฐ์ของพรหม เกิดจากพรหม พรหมเป็นผู้สร้างขึ้น เป็นทายาทของ
พรหม”
อัสสลายนมาณพทูลตอบว่า “ท่านพระโคดมตรัสอย่างนั้นก็จริง แต่ในเรื่องนี้
พราหมณ์ทั้งหลายก็เข้าใจเรื่องนั้นอยู่อย่างนี้ว่า ‘วรรณะที่ประเสริฐที่สุดคือพราหมณ์
เท่านั้น วรรณะอื่นเลว ฯลฯ เป็นทายาทของพรหม”
[๔๐๙] พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “อัสสลายนะ ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่า
อย่างไร ขัตติยกุมารในโลกนี้ สำเร็จการอยู่ร่วมกับนางพราหมณี เพราะอาศัยการ
อยู่ร่วมเป็นสามีภรรยากันของคนทั้งสองนั้น จึงเกิดบุตรขึ้น บุตรที่เกิดจากนาง
พราหมณีกับขัตติยกุมารนั้น ซึ่งเหมือนมารดาก็ดี เหมือนบิดาก็ดี ควรจะเรียกว่า
‘กษัตริย์หรือพราหมณ์”
อัสสลายนมาณพทูลตอบว่า “ข้าแต่ท่านพระโคดม บุตรที่เกิดจากนางพราหมณี
กับขัตติยกุมารนั้น ซึ่งเหมือนมารดาก็ดี เหมือนบิดาก็ดี ควรจะเรียกว่า ‘กษัตริย์
ก็ได้ พราหมณ์ก็ได้”
“ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร พราหมณกุมารในโลกนี้พึงสำเร็จการอยู่ร่วมกับ
นางกษัตริย์ เพราะอาศัยการอยู่ร่วมเป็นสามีภรรยากันของคนทั้งสองนั้น บุตรจึง
เกิดขึ้น บุตรที่เกิดจากนางกษัตริย์กับพราหมณกุมารนั้น ซึ่งเหมือนมารดาก็ดี
เหมือนบิดาก็ดี ควรจะเรียกว่า ‘กษัตริย์หรือพราหมณ์”
“ข้าแต่ท่านพระโคดม บุตรผู้เกิดจากนางกษัตริย์กับพราหมณกุมารนั้น ซึ่งเหมือน
มารดาก็ดี เหมือนบิดาก็ดี ควรจะเรียกว่า ‘กษัตริย์ก็ได้ พราหมณ์ก็ได้”
“ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร ในโลกนี้เขาพึงผสมแม่ม้ากับพ่อลา เพราะ
อาศัยการผสมแม่ม้ากับพ่อลานั้นจึงเกิดลูกม้า(ล่อ)ขึ้น ลูกม้าที่เกิดจากแม่ม้ากับพ่อลา
ซึ่งเหมือนแม่ก็ดี เหมือนพ่อก็ดี ควรจะเรียกว่า ‘ม้าหรือลา”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๕๑๐ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค] ๓. อัสสลายนสูตร

“ข้าแต่ท่านพระโคดม ลูกผสมนั้นย่อมเป็นม้าอัสดร ข้าแต่ท่านพระโคดม
เรื่องของสัตว์นี้ข้าพระองค์เห็นว่าต่างกัน (แต่ตามนัยต้น) สำหรับเรื่องของมนุษย์
เหล่าโน้น ข้าพระองค์เห็นว่าไม่ต่างกัน”
“ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร ในโลกนี้มีมาณพ ๒ คนเป็นพี่น้องร่วมท้อง
เดียวกัน คนหนึ่งเป็นคนศึกษาเล่าเรียน อาจารย์ได้แนะนำ คนหนึ่งไม่ได้ศึกษาเล่าเรียน
อาจารย์ไม่ได้แนะนำ พราหมณ์ทั้งหลายพึงเชื้อเชิญคนไหนใน ๒ คนนี้ให้บริโภคก่อน
ในการเลี้ยงของผู้มีศรัทธา๑ก็ดี ในการเลี้ยงเพื่อเป็นบรรณาการก็ดี ในการเลี้ยงเพื่อ
บูชายัญก็ดี ในการเลี้ยงเพื่อต้อนรับแขกก็ดี”
“ข้าแต่ท่านพระโคดม ใน ๒ คนนี้ พราหมณ์ทั้งหลายพึงเชิญมาณพผู้ศึกษา
เล่าเรียน ผู้ที่อาจารย์ได้แนะนำให้บริโภคก่อน ในการเลี้ยงของผู้มีศรัทธาก็ดี ในการ
เลี้ยงเพื่อเป็นบรรณาการก็ดี ในการเลี้ยงเพื่อบูชายัญก็ดี ในการเลี้ยงเพื่อต้อนรับแขก
ก็ดี ข้าแต่ท่านพระโคดม ของที่ให้ในผู้ไม่ได้ศึกษาเล่าเรียน ผู้ที่อาจารย์ไม่ได้แนะนำ
จักมีผลมากได้อย่างไรเล่า”
“อัสสลายนะ ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร ในโลกนี้มีมาณพ ๒ คนเป็น
พี่น้องร่วมท้องเดียวกัน คนหนึ่งเป็นคนศึกษาเล่าเรียน อาจารย์ได้แนะนำ แต่เป็น
คนทุศีล มีบาปธรรม คนหนึ่งไม่ได้ศึกษาเล่าเรียน อาจารย์ไม่ได้แนะนำ แต่เป็นคน
มีศีล มีกัลยาณธรรม พราหมณ์ทั้งหลายจะพึงเชื้อเชิญคนไหนใน ๒ คนนี้ให้บริโภค
ก่อน ในการเลี้ยงของผู้มีศรัทธาก็ดี ในการเลี้ยงเพื่อเป็นบรรณาการก็ดี ในการเลี้ยง
เพื่อบูชายัญก็ดี ในการเลี้ยงเพื่อต้อนรับแขกก็ดี”
อัสสลายนมาณพกราบทูลว่า “ข้าแต่ท่านพระโคดม ใน ๒ คนนี้ พราหมณ์
ทั้งหลายพึงเชิญมาณพผู้ไม่ได้ศึกษาเล่าเรียน ผู้ที่อาจารย์ไม่ได้แนะนำ แต่เป็นคน
มีศีล มีกัลยาณธรรมให้บริโภคก่อน ในการเลี้ยงของผู้มีศรัทธาก็ดี ในการเลี้ยง


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค] ๓. อัสสลายนสูตร

เพื่อเป็นบรรณาการก็ดี ในการเลี้ยงเพื่อบูชายัญก็ดี ในการเลี้ยงเพื่อต้อนรับแขกก็ดี
ข้าแต่ท่านพระโคดม ของที่ให้ในบุคคลผู้ทุศีล มีบาปธรรม จักมีผลมากได้อย่างไรเล่า”
พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “อัสสลายนะ เมื่อก่อนท่านได้อ้างกำเนิด อ้างกำเนิด
แล้วก็อ้างเรื่องมนต์ อ้างเรื่องมนต์แล้วก็อ้างเรื่องตบะ อ้างเรื่องตบะแล้วก็มาพูด
เรื่อง ความบริสุทธิ์ที่ทั่วไปแก่วรรณะ ๔ จำพวก ซึ่งเราบัญญัติไว้”
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว อัสสลายนมาณพก็นั่งนิ่ง เก้อเขิน คอตก
ก้มหน้า ซบเซา หมดปฏิภาณ

วรรณะ ๔ จำพวกในอดีต

[๔๑๐] ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคทรงทราบว่าอัสสลายนมาณพนั่งนิ่ง เก้อเขิน
คอตก ก้มหน้า ซบเซา หมดปฏิภาณ จึงได้ตรัสกับอัสสลายนมาณพว่า
“อัสสลายนะ เรื่องเคยมีมาแล้ว พราหมณ์ฤาษี ๗ ตน มาประชุมกันที่กระท่อม
มุงบังด้วยใบไม้ในราวป่า เกิดมีทิฏฐิชั่วเห็นปานนี้ว่า ‘วรรณะที่ประเสริฐที่สุดคือพราหมณ์
เท่านั้น วรรณะอื่นเลว ฯลฯ เป็นทายาทของพรหม’
อสิตเทวลฤาษีได้สดับว่า ‘ได้ทราบว่า พราหมณ์ฤาษี ๗ ตนมาประชุมกันที่
กระท่อมมุงบังด้วยใบไม้ในราวป่า เกิดมีทิฏฐิชั่วเห็นปานนี้ว่า ‘วรรณะที่ประเสริฐ
ที่สุดคือพราหมณ์เท่านั้น ฯลฯ เป็นทายาทของพรหม’
ลำดับนั้น อสิตเทวลฤาษีโกนผมและหนวด นุ่งห่มผ้าสีแดงอ่อน สวมรองเท้า
๒ ชั้น ถือไม้เท้าเลี่ยมทองไปปรากฏในบริเวณศาลาของพราหมณ์ฤาษี ๗ ตน
ครั้งนั้นแล อสิตเทวลฤาษีเมื่อเดินไปมาอยู่ในบริเวณศาลาของพราหมณ์ฤาษีทั้ง ๗ ตน
ได้กล่าวอย่างนี้ว่า ‘เออ ท่านพราหมณ์ฤาษีเหล่านี้ไปไหนกันหมด เออ ท่านพราหมณ์
ฤาษีเหล่านี้ไปไหนกันหมด’
ลำดับนั้น พราหมณ์ฤาษี ๗ ตน ได้คิดว่า ‘ใครหนอนี่ เดินไปมาเหมือนเด็ก
ชาวบ้าน ในบริเวณศาลาของพราหมณ์ฤาษี ๗ ตน กล่าวอย่างนี้ว่า ‘เออ ท่าน
พราหมณ์ฤาษีเหล่านี้ไปไหนกันหมด เออ ท่านพราหมณ์ฤาษีเหล่านี้ไปไหนกันหมด’
เอาละ เราทั้งหลายจักสาปแช่งมัน’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๕๑๒ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค] ๓. อัสสลายนสูตร

ลำดับนั้น พราหมณ์ฤาษี ๗ ตน ก็พากันสาปแช่งอสิตเทวลฤาษีว่า ‘เป็นเถ้า
เถิดคนถ่อย เป็นเถ้าเถิดคนถ่อย’ พราหมณ์ฤาษี ๗ ตน พากันสาปแช่งอสิตเทวล-
ฤาษี ด้วยประการใด ๆ อสิตเทวลฤาษีกลับเป็นผู้มีรูปงามกว่า เป็นผู้น่าดูกว่า
และเป็นผู้น่าเลื่อมใสกว่า ด้วยประการนั้น ๆ
ครั้งนั้นแล พราหมณ์ฤาษี ๗ ตน ได้คิดว่า ‘ตบะของเราทั้งหลายเปล่าประโยชน์
พรหมจรรย์ของเราไม่มีผล ด้วยว่าเมื่อก่อนเราทั้งหลายสาปแช่งผู้ใดว่า ‘เป็นเถ้าเถิด
คนถ่อย เป็นเถ้าเถิดคนถ่อย’ ผู้นั้นบางคนก็เป็นเถ้าเป็นจุณ แต่ผู้นี้เราทั้งหลายยิ่ง
สาปแช่ง ด้วยประการใด ๆ เขากลับเป็นผู้มีรูปงามยิ่งขึ้น เป็นผู้น่าดูยิ่งขึ้น และเป็น
ผู้น่าเลื่อมใสยิ่งขึ้น ด้วยประการนั้น ๆ’
อสิตเทวลฤาษีกล่าวว่า ‘ตบะของท่านผู้เจริญทั้งหลาย เปล่าประโยชน์ก็หามิได้
พรหมจรรย์ของท่านผู้เจริญทั้งหลายไม่มีผลก็หามิได้ เชิญท่านผู้เจริญทั้งหลาย จงละ
ความคิดประทุษร้ายในเราเสียเถิด’
พราหมณ์ฤาษี กล่าวว่า ‘พวกเรายอมสละความคิดประทุษร้าย ท่านเป็น
ใครหนอ’
อสิตเทวลฤาษี กล่าวว่า ‘ท่านผู้เจริญทั้งหลายได้ยินชื่ออสิตเทวลฤาษีมา
บ้างไหม’
พราหมณ์ฤาษี กล่าวว่า ‘ท่านผู้เจริญ เราทั้งหลายเคยได้ยินอยู่’
อสิตเทวลฤาษี กล่าวว่า ‘ท่านผู้เจริญทั้งหลาย เรานี้แลคืออสิตเทวลฤาษี
ตนนั้น’
อัสสลายนะ ลำดับนั้นแล พราหมณ์ฤาษี ๗ ตน พากันเข้าไปหาอสิตเทวลฤาษี
เพื่อจะไหว้
[๔๑๑] อัสสลายนะ ครั้งนั้น อสิตเทวลฤาษีได้กล่าวกับพราหมณ์ฤาษี
ทั้ง ๗ ตนว่า ‘ท่านผู้เจริญทั้งหลาย ข้าพเจ้าได้สดับข่าวนี้มาว่า ‘ได้ทราบว่า
พราหมณ์ฤาษี ๗ ตนมาประชุมกันในกระท่อมมุงบังด้วยใบไม้ในราวป่า แล้วเกิดมีทิฏฐิ
ชั่วเห็นปานนี้ว่า ‘วรรณะที่ประเสริฐที่สุดคือพราหมณ์เท่านั้น วรรณอื่นเลว วรรณะ
ที่ขาวคือพราหมณ์เท่านั้น วรรณะอื่นดำ พราหมณ์เท่านั้นบริสุทธิ์ ผู้ที่มิใช่พราหมณ์
ไม่บริสุทธิ์ พราหมณ์เท่านั้นเป็นบุตร เป็นโอรส เกิดจากโอษฐ์ของพรหม เกิดจาก
พรหม พรหมเป็นผู้สร้างขึ้น เป็นทายาทของพรหม จริงหรือ’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๕๑๓ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค] ๓. อัสสลายนสูตร

พราหมณ์ฤาษีทั้ง ๗ ตน ตอบว่า ‘จริง ท่านผู้เจริญ’
อสิตเทวลฤาษีถามว่า ‘ท่านผู้เจริญทั้งหลายรู้หรือว่า ‘มารดาบังเกิดเกล้าได้แต่งงาน
กับพราหมณ์เท่านั้น มิได้แต่งงานกับชายผู้มิใช่พราหมณ์เลย’
‘ไม่รู้เลย ท่านผู้เจริญ’
‘ท่านผู้เจริญทั้งหลายรู้หรือว่า ‘มารดาของมารดาบังเกิดเกล้าตลอด ๗ ชั่วโคตร
ชั่วย่ายายของฝ่ายมารดา ได้แต่งงานกับพราหมณ์เท่านั้น ไม่ได้แต่งงานกับชายผู้มิใช่
พราหมณ์เลย’
‘ไม่รู้เลย ท่านผู้เจริญ’
‘ท่านผู้เจริญทั้งหลายรู้หรือว่า ‘บิดาบังเกิดเกล้าได้แต่งงานกับนางพราหมณี
เท่านั้น ไม่ได้แต่งงานกับหญิงผู้มิใช่นางพราหมณีเลย’
‘ไม่รู้เลย ท่านผู้เจริญ’
‘ท่านผู้เจริญทั้งหลายรู้หรือว่า ‘บิดาของบิดาบังเกิดเกล้าตลอด ๗ ชั่วโคตร
ชั่วปู่ตาของฝ่ายบิดา ได้แต่งงานกับนางพราหมณีเท่านั้น ไม่ได้แต่งงานกับหญิงผู้
มิใช่นางพราหมณีเลย’
‘ไม่รู้เลย ท่านผู้เจริญ’
‘ท่านผู้เจริญทั้งหลายรู้หรือว่า การถือกำเนิดในครรภ์มีได้ด้วยอาการอย่างไร’
‘ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลายรู้ว่า ‘การถือกำเนิดในครรภ์ย่อมมีได้ คือ
๑. มารดาบิดาอยู่ร่วมกัน
๒. มารดามีระดู
๓. คันธัพพะ๑ปรากฏ ฉันใด
เพราะปัจจัย ๓ ประการนี้ ประชุมพร้อมกัน การถือกำเนิดในครรภ์ ย่อมมีได้
ฉันนั้น’


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค] ๔. โฆฏมุขสูตร

‘ท่านผู้เจริญทั้งหลายรู้หรือว่า ‘เอาเถิด สัตว์ที่เกิดในครรภ์พึงเป็นกษัตริย์
เป็นพราหมณ์ เป็นแพศย์ หรือเป็นศูทร’
‘ข้าพเจ้าทั้งหลาย ไม่รู้เลย ท่านผู้เจริญ’
อสิตเทวลฤาษีถามว่า ‘เมื่อเป็นเช่นนั้น ท่านผู้เจริญทั้งหลายรู้หรือว่า ‘ท่าน
ทั้งหลายเป็นพวกไหน’
พราหมณ์ฤาษีทั้ง ๗ ตนตอบว่า ‘ท่านผู้เจริญ เมื่อเป็นเช่นนั้น ข้าพเจ้า
ทั้งหลายไม่รู้เลยว่า ‘ข้าพเจ้าทั้งหลายเป็นพวกไหน’
อัสสลายนะ พราหมณ์ฤาษี ๗ ตนนั้น ถูกอสิตเทวลฤาษีซักไซร้ ไล่เลียง ไต่ถาม
ในวาทะปรารภชาติกำเนิดของตนก็ตอบไม่ได้ บัดนี้ ท่านถูกเราซักไซร้ ไล่เลียง ไต่ถาม
ในวาทะปรารภชาติกำเนิดของตน จะตอบได้อย่างไร ท่านเป็นศิษย์มีอาจารย์แต่ยังรู้
ไม่หมด เป็นแต่ถือทัพพีเท่านั้น”
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว อัสสลายนมาณพได้กราบทูลพระผู้มีพระภาค
ว่า “ข้าแต่ท่านพระโคดม พระภาษิตของพระองค์ชัดเจนไพเราะยิ่งนัก ฯลฯ ขอท่าน
พระโคดมโปรดทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะ ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปจน
ตลอดชีวิต” ดังนี้แล

อัสสลายนสูตรที่ ๓ จบ

๔. โฆฏมุขสูตร
ว่าด้วยพราหมณ์ชื่อโฆฏมุขะ

[๔๑๒] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง ท่านพระอุเทนอยู่ ณ เขมิยอัมพวัน เขตกรุงพาราณสี สมัยนั้น
พราหมณ์ชื่อโฆฏมุขะได้ไปกรุงพาราณสี ด้วยกรณียกิจบางอย่าง ครั้งนั้นแล โฆฏมุข-
พราหมณ์ เดินเที่ยวเล่นอยู่ ได้เข้าไปยังเขมิยอัมพวัน สมัยนั้น ท่านพระอุเทนเดิน
จงกรมอยู่ในที่กลางแจ้ง โฆฏมุขพราหมณ์เข้าไปหาท่านพระอุเทนถึงที่อยู่ ได้สนทนา
ปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้ว เดินจงกรมตามท่านพระอุเทน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๕๑๕ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค] ๔. โฆฏมุขสูตร

ผู้กำลังเดินจงกรมอยู่ ได้กล่าวอย่างนี้ว่า “สมณะผู้เจริญ การบวชที่ถูกต้องไม่มี
ในการบวชนี้ข้าพเจ้ามีความเห็นอย่างนี้ เพราะในการบวชนี้บัณฑิตทั้งหลายเช่นท่านก็ยัง
ไม่เห็นธรรม”
เมื่อโฆฏมุขพราหมณ์กล่าวอย่างนี้แล้ว ท่านพระอุเทนจึงลงจากที่จงกรม
เข้าไปยังวิหารแล้วนั่งบนอาสนะที่ปูลาดไว้ แม้โฆฏมุขพราหมณ์ก็ลงจากที่จงกรม
เข้าไปยังวิหารแล้วยืนอยู่ ณ ที่สมควร ท่านพระอุเทนได้กล่าวกับโฆฏมุขพราหมณ์
ว่า “พราหมณ์ อาสนะมีอยู่ ถ้าท่านปรารถนาก็เชิญนั่งเถิด”
โฆฏมุขพราหมณ์กล่าวว่า “ข้าพเจ้ารอการเชื้อเชิญของท่านอุเทนอยู่จึงยัง
ไม่นั่ง เพราะคนเช่นข้าพเจ้าไม่มีใครเชื้อเชิญก่อนแล้ว จะพึงสำคัญการนั่งบนอาสนะ
ที่ควรนั่งก็ดูกระไรอยู่”
ลำดับนั้นแล โฆฏมุขพราหมณ์เลือกนั่งแล้ว ณ ที่สมควรที่ใดที่หนึ่งซึ่งต่ำกว่า
แล้วได้กล่าวกับท่านพระอุเทนว่า “สมณะผู้เจริญ การบวชที่ถูกต้องไม่มี ในการบวชนี้
ข้าพเจ้ามีความเห็นอย่างนี้ เพราะในการบวชนี้บัณฑิตทั้งหลายเช่นท่านก็ยังไม่เห็นธรรม”
ท่านพระอุเทนกล่าวว่า “พราหมณ์ ถ้าท่านจะพึงยอมรับคำที่ควรยอมรับ
และพึงคัดค้านคำที่ควรคัดค้านของเรา อนึ่ง ท่านยังไม่เข้าใจเนื้อความแห่งภาษิตใด
ก็ควรซักถามเราในภาษิตนั้นให้ยิ่งขึ้นไปว่า ‘ท่านอุเทน ภาษิตนี้เป็นอย่างไร
เนื้อความแห่งภาษิตนี้เป็นอย่างไร’ เพราะทำอย่างนี้ เราทั้งสองจะพึงมีการสนทนา
ปราศรัยกันในเรื่องนี้ได้”
โฆฏมุขพราหมณ์กล่าวว่า “ข้าพเจ้าจักยอมรับคำที่ควรยอมรับ และจักคัดค้าน
คำที่ควรคัดค้านของท่านอุเทน อนึ่ง ข้าพเจ้าไม่รู้เนื้อความแห่งภาษิตใดของท่าน
อุเทน ข้าพเจ้าจักซักถามท่านอุเทนในภาษิตนั้นให้ยิ่งขึ้นไปว่า ‘ท่านอุเทน ภาษิตนี้
เป็นอย่างไร เนื้อความแห่งภาษิตนี้เป็นอย่างไร’ เพราะทำอย่างนี้ เราทั้งสองจง
สนทนาปราศรัยกันในเรื่องนี้เถิด”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๕๑๖ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค] ๔. โฆฏมุขสูตร

บุคคล ๔ ประเภท

[๔๑๓] ท่านพระอุเทนกล่าวว่า “พราหมณ์ บุคคล ๔ ประเภทนี้ มีปรากฏ
อยู่ในโลก
บุคคล ๔ ประเภท ไหนบ้าง
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้
๑. เป็นผู้ทำตนให้เดือดร้อน หมั่นประกอบในการทำตนให้เดือดร้อน
๒. เป็นผู้ทำผู้อื่นให้เดือดร้อน หมั่นประกอบในการทำผู้อื่นให้เดือดร้อน
๓. เป็นผู้ทำตนให้เดือดร้อน หมั่นประกอบในการทำตนให้เดือดร้อน
และเป็นผู้ทำผู้อื่นให้เดือดร้อน หมั่นประกอบในการทำผู้อื่นให้เดือดร้อน
๔. เป็นผู้ไม่ทำตนให้เดือดร้อน ไม่หมั่นประกอบในการทำตนให้เดือดร้อน
และเป็นผู้ไม่ทำผู้อื่นให้เดือดร้อน ไม่หมั่นประกอบในการทำผู้อื่นให้
เดือดร้อน
บุคคลผู้ไม่ทำตนให้เดือดร้อน ไม่ทำผู้อื่นให้เดือดร้อน เป็นผู้ไม่หิว ดับร้อน
เย็นใจ มีตนอันประเสริฐเสวยสุขอยู่ในปัจจุบัน
พราหมณ์ บรรดาบุคคล ๔ ประเภทนี้ ท่านชอบใจบุคคลจำพวกไหนเล่า”
โฆฏมุขพราหมณ์กล่าวว่า “ท่านอุเทน ข้าพเจ้าไม่ชอบใจบุคคลผู้ทำตนให้เดือดร้อน
หมั่นประกอบในการทำตนให้เดือดร้อน
ข้าพเจ้าไม่ชอบใจบุคคลผู้ทำผู้อื่นให้เดือดร้อน หมั่นประกอบในการทำผู้อื่นให้
เดือดร้อน
ข้าพเจ้าไม่ชอบใจบุคคลผู้ทำตนให้เดือดร้อน หมั่นประกอบในการทำตนให้
เดือดร้อน และเป็นผู้ทำผู้อื่นให้เดือดร้อน หมั่นประกอบในการทำผู้อื่นให้เดือดร้อน
ข้าพเจ้าชอบใจบุคคลผู้ไม่ทำตนให้เดือดร้อน ไม่หมั่นประกอบในการทำตนให้
เดือดร้อน และเป็นผู้ไม่ทำผู้อื่นให้เดือดร้อน ไม่หมั่นประกอบในการทำผู้อื่นให้
เดือดร้อน (เพราะ)บุคคลผู้ไม่ทำตนให้เดือดร้อน ไม่ทำผู้อื่นให้เดือดร้อนนั้น เป็นผู้
ไม่หิว ดับร้อน เย็นใจ มีตนอันประเสริฐ เสวยสุขอยู่ในปัจจุบัน”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๕๑๗ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค] ๔. โฆฏมุขสูตร

“พราหมณ์ เพราะเหตุไรเล่า ท่านจึงไม่ชอบใจบุคคล ๓ ประเภทนี้”
“ท่านอุเทน บุคคลผู้ทำตนให้เดือดร้อน หมั่นประกอบในการทำตนให้เดือดร้อน
ชื่อว่าทำตนซึ่งรักสุขเกลียดทุกข์ให้เดือดร้อน ให้ร้อนรุ่ม เพราะเหตุนี้ ข้าพเจ้าจึง
ไม่ชอบใจบุคคลนี้
ฝ่ายบุคคลผู้ทำผู้อื่นให้เดือดร้อน หมั่นประกอบในการทำผู้อื่นให้เดือดร้อน
ชื่อว่าทำผู้อื่นซึ่งรักสุขเกลียดทุกข์ให้เดือดร้อน ให้ร้อนรุ่ม เพราะเหตุนี้ ข้าพเจ้าจึง
ไม่ชอบใจบุคคลนี้
ส่วนบุคคลผู้ทำตนให้เดือดร้อน หมั่นประกอบในการทำตนให้เดือดร้อน และเป็น
ผู้ทำผู้อื่นให้เดือดร้อน หมั่นประกอบในการทำผู้อื่นให้เดือดร้อน ชื่อว่าทำตนเองและ
ผู้อื่นซึ่งรักสุขเกลียดทุกข์ให้เดือดร้อน ให้ร้อนรุ่ม เพราะเหตุนี้ ข้าพเจ้าจึงไม่ชอบใจบุคคลนี้
แต่บุคคลใด ไม่ทำตนให้เดือดร้อน ไม่หมั่นประกอบในการทำตนให้เดือดร้อน
และเป็นผู้ไม่ทำผู้อื่นให้เดือดร้อน ไม่หมั่นประกอบในการทำผู้อื่นให้เดือดร้อน
บุคคลนั้น ชื่อว่าไม่ทำตนให้เดือดร้อน ไม่ทำผู้อื่นให้เดือดร้อน เป็นผู้ไม่หิว ดับร้อน
เย็นใจ มีตนอันประเสริฐเสวยสุขอยู่ในปัจจุบัน ชื่อว่าไม่ทำตนและผู้อื่นซึ่งรักสุข
เกลียดทุกข์ให้เดือดร้อน ให้ร้อนรุ่ม เพราะเหตุนี้ ข้าพเจ้าจึงชอบใจบุคคลนี้”

บริษัท ๒ จำพวก

[๔๑๔] ท่านพระอุเทนกล่าวว่า “พราหมณ์ บริษัทมี ๒ จำพวก
บริษัท ๒ จำพวก ไหนบ้าง
คือ บริษัทบางพวกในโลกนี้
๑. มีความกำหนัดยินดีเมื่อมีต่างหูแก้วมณี จึงแสวงหาบุตร ภรรยา
ทาสหญิง ทาสชาย นา สวน ทองและเงิน
๒. ไม่มีความกำหนัดยินดีเมื่อมีต่างหูแก้วมณี ก็ละทิ้งบุตร ภรรยา
ทาสหญิง ทาสชาย นา สวน ทองและเงิน แล้วออกจากเรือน
บวชเป็นบรรพชิต

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๕๑๘ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค] ๔. โฆฏมุขสูตร

บุคคลใดไม่ทำตนให้เดือดร้อน ไม่หมั่นประกอบในการทำตนให้เดือดร้อน และ
เป็นผู้ไม่ทำผู้อื่นให้เดือดร้อน ไม่หมั่นประกอบในการทำผู้อื่นให้เดือดร้อน บุคคลนั้น
ชื่อว่าไม่ทำตนให้เดือดร้อน ไม่ทำผู้อื่นให้เดือดร้อน เป็นผู้ไม่หิว ดับร้อน เย็นใจ
มีตนอันประเสริฐเสวยสุขอยู่ในปัจจุบัน
พราหมณ์ ท่านเห็นบุคคลเช่นไรในบริษัทไหนมาก คือในบริษัทผู้กำหนัดยินดี
ในแก้วมณีและกุณฑล แสวงหาบุตร ภรรยา ทาสหญิง ทาสชาย นา สวน ทอง
และเงิน และในบริษัทผู้ไม่กำหนัดยินดีในต่างหูแก้วมณี ละทิ้งบุตร ภรรยา ทาสหญิง
ทาสชาย นา สวน ทอง และเงิน แล้วออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต”
โฆฏมุขพราหมณ์กล่าวว่า “ท่านอุเทน บุคคลใดไม่ทำตนให้เดือดร้อน ไม่หมั่น
ประกอบในการทำตนให้เดือดร้อน และเป็นผู้ไม่ทำผู้อื่นให้เดือดร้อน ไม่หมั่นประกอบ
ในการทำผู้อื่นให้เดือดร้อน บุคคลนั้นชื่อว่าไม่ทำตนให้เดือดร้อน ไม่ทำผู้อื่นให้เดือดร้อน
นั้น เป็นผู้ไม่หิว ดับร้อน เย็นใจ มีตนอันประเสริฐ เสวยสุขอยู่ในปัจจุบัน
ข้าพเจ้าเห็นบุคคลนี้มีมากในบริษัทผู้ไม่กำหนัดยินดีในเมื่อมีต่างหูแก้วมณี
ละทิ้งบุตร ภรรยา ทาสหญิง ทาสชาย นา สวน ทอง และเงิน แล้วออกจากเรือน
บวชเป็นบรรพชิต”
“พราหมณ์ ในบัดนี้นั่นเอง เราย่อมรู้คำที่ท่านกล่าวแล้วอย่างนี้ว่า ‘สมณะ
ผู้เจริญ การบวชที่ถูกต้องไม่มี ในการบวชนี้ข้าพเจ้ามีความเห็นอย่างนี้ เพราะในการ
บวชนี้บัณฑิตทั้งหลายเช่นท่านก็ยังไม่เห็นธรรม”
“ท่านอุเทน วาจาที่ท่านกล่าวแก่ข้าพเจ้านั้น เป็นวาจามีเหตุสนับสนุนโดยแท้
การบวชที่ถูกต้องมีจริง ในเรื่องนี้ ข้าพเจ้ามีความเห็นอย่างนี้ และขอท่านอุเทน
โปรดจำข้าพเจ้าไว้อย่างนี้ อนึ่งบุคคล ๔ จำพวกนี้ ท่านอุเทนกล่าวโดยย่อ ไม่จำแนก
โดยพิสดาร ขอโอกาสเถิดท่าน ขอท่านอุเทนช่วยอนุเคราะห์จำแนกบุคคล ๔ จำพวกนี้
ให้ข้าพเจ้าฟังโดยพิสดารด้วยเถิด”
“พราหมณ์ ถ้าเช่นนั้น ท่านจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว”
โฆฏมุขพราหมณ์รับคำแล้ว ท่านพระอุเทนได้กล่าวว่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๕๑๙ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค] ๔. โฆฏมุขสูตร

ติตถิยวัตร

[๔๑๕] “บุคคลเป็นผู้ทำตนให้เดือดร้อน หมั่นประกอบในการทำตนให้
เดือดร้อน เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นอเจลก(ประพฤติเปลือยกาย) ไม่มีมารยาท เลียมือ
เขาเชิญให้ไปรับอาหารก็ไม่ไป เขาเชิญให้หยุดรับอาหารก็ไม่หยุด ไม่รับอาหารที่เขา
แบ่งไว้ ไม่รับอาหารที่เขาทำเจาะจง ไม่ยินดีอาหารที่เขาเชิญ ไม่รับอาหารจาก
ปากหม้อ ไม่รับอาหารจากปากภาชนะ ไม่รับอาหารคร่อมธรณีประตู ไม่รับอาหาร
คร่อมท่อนไม้ ไม่รับอาหารคร่อมสาก ไม่รับอาหารของคน ๒ คนที่กำลังบริโภค
ไม่รับอาหารของหญิงมีครรภ์ ไม่รับอาหารของหญิงผู้กำลังให้บุตรดื่มนม ไม่รับ
อาหารของหญิงที่คลอเคลียชาย ไม่รับอาหารที่นัดแนะกันทำไว้ ไม่รับอาหารในที่
เลี้ยงสุนัข ไม่รับอาหารในที่มีแมลงวันไต่ตอมเป็นกลุ่ม ๆ ไม่กินปลา ไม่กินเนื้อ
ไม่ดื่มสุรา ไม่ดื่มเมรัย ไม่ดื่มยาดอง รับอาหารในเรือนหลังเดียว ยังชีพด้วยข้าว
คำเดียว รับอาหารในเรือน ๒ หลัง ยังชีพด้วยข้าว ๒ คำ ฯลฯ รับอาหารในเรือน
๗ หลัง ยังชีพด้วยข้าว ๗ คำ ยังชีพด้วยอาหารในถาดน้อย ๑ ใบ ยังชีพด้วย
อาหารในถาดน้อย ๒ ใบ ยังชีพด้วยอาหารในถาดน้อย ๓ ใบ ฯลฯ ยังชีพด้วย
อาหารในถาดน้อย ๗ ใบ กินอาหารที่เก็บไว้ค้างคืน ๑ วัน กินอาหารที่เก็บไว้
ค้างคืน ๒ วัน ฯลฯ กินอาหารที่เก็บไว้ค้างคืน ๗ วัน ถือการบริโภคอาหาร
๑๕ วันต่อ ๑ มื้ออยู่ ด้วยประการอย่างนี้
เขาเป็นผู้กินผักดองเป็นอาหาร กินข้าวฟ่างเป็นอาหาร กินลูกเดือยเป็นอาหาร
กินกากข้าวเป็นอาหาร กินสาหร่ายเป็นอาหาร กินรำเป็นอาหาร กินข้าวตังเป็น
อาหาร กินกำยานเป็นอาหาร กินหญ้าเป็นอาหาร กินมูลโคเป็นอาหาร กินเหง้า
และผลไม้ป่าเป็นอาหาร บริโภคผลไม้หล่นยังชีพ เขานุ่งห่มผ้าป่าน นุ่งห่มผ้าแกมกัน
นุ่งห่มผ้าห่อศพ นุ่งห่มผ้าบังสุกุล นุ่งห่มผ้าเปลือกไม้ นุ่งห่มหนังเสือ นุ่งห่มหนัง
เสือมีเล็บ นุ่งห่มผ้าคากรอง นุ่งห่มผ้าเปลือกปอกรอง นุ่งห่มผ้าผลไม้กรอง นุ่งห่ม

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๕๒๐ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค] ๔. โฆฏมุขสูตร

ผ้ากัมพลผมมนุษย์ นุ่งห่มผ้ากัมพลขนสัตว์ นุ่งห่มผ้าขนปีกนกเค้า ถอนผมและ
หนวด คือถือการถอนผมและหนวดยืนอย่างเดียวไม่ยอมนั่ง เดินกระโหย่ง คือถือ
การเดินกระโหย่ง นอนบนหนาม คือ ถือการนอนบนหนาม อาบน้ำวันละ ๓ ครั้ง
คือถือการลงอาบน้ำ ถือการย่างและอบกายหลายรูปแบบอยู่ ด้วยประการอย่างนี้
พราหมณ์ บุคคลนี้เรียกว่า เป็นผู้ทำตนให้เดือดร้อน หมั่นประกอบในการทำ
ตนให้เดือดร้อน
[๔๑๖] บุคคลเป็นผู้ทำผู้อื่นให้เดือดร้อน หมั่นประกอบในการทำผู้อื่นให้
เดือดร้อน เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ ฆ่าแพะ ฆ่าสุกร ฆ่านก ฆ่าเนื้อ(เลี้ยงชีพ) เป็นคน
โหดเหี้ยม เป็นคนฆ่าปลา เป็นโจร เป็นคนฆ่าโจร เป็นคนฆ่าโค เป็นคนคุมเรือนจำ
หรือบางพวกเป็นผู้ทำการทารุณ
พราหมณ์ บุคคลนี้เรียกว่า เป็นผู้ทำผู้อื่นให้เดือดร้อน หมั่นประกอบในการทำ
ผู้อื่นให้เดือดร้อน
[๔๑๗] บุคคลเป็นผู้ทำตนให้เดือดร้อน หมั่นประกอบในการทำตนให้
เดือดร้อน และเป็นผู้ทำผู้อื่นให้เดือดร้อน หมั่นประกอบในการทำผู้อื่นให้
เดือดร้อน เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นพระราชามหากษัตริย์ผู้ได้รับมูรธาภิเษก๑แล้ว
ก็ดี เป็นพราหมณมหาศาลก็ดี พระราชานั้นโปรดให้สร้างโรงบูชายัญหลังใหม่ ทางด้าน
ทิศตะวันออกแห่งพระนคร ปลงพระเกศาและพระมัสสุ ทรงนุ่งห่มหนังเสือมีเล็บ
ทรงทาพระวรกายด้วยเนยใสและน้ำมัน ทรงเกาพระปฤษฎางค์ด้วยเขามฤค เข้าไป
ยังโรงบูชายัญใหม่พร้อมด้วยพระมเหสีและพราหมณ์ปุโรหิต บรรทมบนพื้นหญ้า


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค] ๔. โฆฏมุขสูตร

เขียวขจี มิได้ลาดด้วยเครื่องปูลาด ดำรงพระชนม์อยู่ด้วยน้ำนมเต้าที่ ๑ แห่งโค
แม่ลูกอ่อนที่มีอยู่ตัวเดียว พระมเหสีดำรงพระชนม์อยู่ด้วยน้ำนมเต้าที่ ๒ พราหมณ์
ปุโรหิตดำรงชีวิตอยู่ด้วยน้ำนมเต้าที่ ๓ บูชาไฟด้วยน้ำนมเต้าที่ ๔ ลูกโคมีชีวิตอยู่
ด้วยน้ำนมที่เหลือ พระราชารับสั่งอย่างนี้ว่า ‘จงฆ่าโคตัวผู้ประมาณเท่านี้บูชายัญ
จงฆ่าลูกโคตัวผู้ประมาณเท่านี้บูชายัญ จงฆ่าลูกโคตัวเมียประมาณเท่านี้บูชายัญ จงฆ่า
แพะประมาณเท่านี้บูชายัญ จงฆ่าแกะประมาณเท่านี้บูชายัญ จงฆ่าม้าประมาณเท่านี้
บูชายัญ จงตัดต้นไม้ประมาณเท่านี้เพื่อทำเสาบูชายัญ จงเกี่ยวหญ้าประมาณเท่านี้
เพื่อลาดพื้น’ เหล่าชนผู้เป็นทาสก็ดี เป็นคนรับใช้ก็ดี เป็นคนงานก็ดี ของพระราชานั้น
ถูกอาชญาคุกคาม ถูกภัยคุกคาม มีน้ำตานองหน้า ร้องไห้ไปทำงานไป
พราหมณ์ บุคคลนี้เรียกว่า เป็นผู้ทำตนให้เดือดร้อน หมั่นประกอบในการ
ทำตนให้เดือดร้อน และเป็นผู้ทำผู้อื่นให้เดือดร้อน หมั่นประกอบในการทำผู้อื่นให้
เดือดร้อน

พระพุทธคุณ

[๔๑๘] บุคคลเป็นผู้ไม่ทำตนให้เดือดร้อน ไม่หมั่นประกอบในการทำตน
ให้เดือดร้อน และเป็นผู้ไม่ทำผู้อื่นให้เดือดร้อน ไม่หมั่นประกอบในการทำผู้อื่น
ให้เดือดร้อน เขาไม่ทำตนให้เดือดร้อน ไม่ทำผู้อื่นให้เดือดร้อน เป็นผู้ไม่หิว
ดับร้อน เย็นใจ มีตนอันประเสริฐเสวยสุขอยู่ในปัจจุบัน เป็นอย่างไร
คือ พระตถาคตอุบัติขึ้นมาในโลกนี้ เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้ด้วยพระองค์เอง
โดยชอบ เพียบพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดี รู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกผู้ที่ควร
ฝึกได้อย่างยอดเยี่ยม เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า
เป็นพระผู้มีพระภาค พระองค์ทรงรู้แจ้งโลกนี้พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก
และหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ ด้วยพระองค์เองแล้ว ทรงประกาศ
ให้ผู้อื่นรู้ตาม ทรงแสดงธรรมมีความงามในเบื้องต้น มีความงามในท่ามกลาง และมี
ความงามในที่สุด ทรงประกาศพรหมจรรย์ พร้อมทั้งอรรถและพยัญชนะบริสุทธิ์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๕๒๒ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค] ๔. โฆฏมุขสูตร

บริบูรณ์ครบถ้วน คหบดี บุตรคหบดี หรืออนุชน(คนผู้เกิดภายหลัง) ในตระกูลใด
ตระกูลหนึ่ง ได้สดับธรรมนั้น แล้วเกิดศรัทธาในตถาคต เมื่อมีศรัทธาย่อมตระหนัก
ว่า ‘การอยู่ครองเรือนเป็นเรื่องอึดอัด เป็นทางมาแห่งธุลี การบวชเป็นทางปลอดโปร่ง
การที่ผู้ครองเรือนจะประพฤติพรหมจรรย์ให้บริสุทธิ์บริบูรณ์ครบถ้วนดุจสังข์ขัด
ไม่ใช่ทำได้ง่าย ทางที่ดี เราควรโกนผมและหนวด นุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์ออกจากเรือน
บวชเป็นบรรพชิต’ ต่อมา เขาละทิ้งกองโภคสมบัติน้อยใหญ่ และเครือญาติน้อยใหญ่
โกนผมและหนวด นุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์ ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต

สิกขาและสาชีพของภิกษุ

เขาเมื่อบวชแล้วอย่างนี้ เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยสิกขาและสาชีพ๑ ของภิกษุทั้งหลาย คือ
๑. ละ เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ วางทัณฑาวุธและศัสตราวุธ มีความ
ละอาย มีความเอ็นดู มุ่งหวังประโยชน์เกื้อกูลต่อสรรพสัตว์อยู่
๒. ละ เว้นขาดจากการถือเอาสิ่งของที่เจ้าของเขาไม่ได้ให้ รับเอาแต่ของ
ที่เขาให้ มุ่งหวังแต่ของที่เขาให้ ไม่เป็นขโมย เป็นคนสะอาดอยู่
๓. ละพฤติกรรมอันเป็นข้าศึกต่อพรหมจรรย์ ประพฤติพรหมจรรย์๒
เว้นห่างไกลจากเมถุนธรรม๓ อันเป็นกิจของชาวบ้าน
๔. ละ เว้นขาดจากการพูดเท็จ คือ พูดแต่คำสัตย์ ดำรงความสัตย์
มีถ้อยคำเป็นหลักเชื่อถือได้ ไม่หลอกลวงชาวโลก
๕. ละ เว้นขาดจากการพูดส่อเสียด คือ ฟังความจากฝ่ายนี้แล้วไม่ไปบอก
ฝ่ายโน้นเพื่อทำลายฝ่ายนี้ หรือฟังความฝ่ายโน้นแล้วไม่มาบอกฝ่ายนี้
เพื่อทำลายฝ่ายโน้น สมานคนที่แตกกัน ส่งเสริมคนที่ปรองดองกัน
ชื่นชมยินดี เพลิดเพลินต่อผู้ที่สามัคคีกัน พูดแต่ถ้อยคำที่สร้างสรรค์
ความสามัคคี
๖. ละ เว้นขาดจากการพูดคำหยาบ คือ พูดแต่คำไม่มีโทษ ไพเราะ
น่ารัก จับใจ เป็นคำของชาวเมือง คนส่วนมากรักใคร่
พอใจ


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค] ๔. โฆฏมุขสูตร

๗. ละ เว้นขาดจากการพูดเพ้อเจ้อ คือ พูดถูกเวลา พูดคำจริง พูดอิง
ประโยชน์ พูดอิงธรรม พูดอิงวินัย พูดคำที่มีหลักฐาน มีที่อ้างอิง
มีที่กำหนด ประกอบด้วยประโยชน์ เหมาะแก่เวลา
๘. เว้นขาดจากการพรากพืชคาม๑ และภูตคาม๒
๙. ฉันมื้อเดียว ไม่ฉันตอนกลางคืน เว้นขาดจากการฉันในเวลาวิกาล
๑๐. เว้นขาดจากการฟ้อนรำ ขับร้อง ประโคมดนตรี และดูการละเล่นที่
เป็นข้าศึกแก่กุศล
๑๑. เว้นขาดจากการทัดทรง ประดับ ตกแต่งร่างกายด้วยพวงดอกไม้ของ
หอม และเครื่องประทินผิวอันเป็นลักษณะแห่งการแต่งตัว
๑๒. เว้นขาดจากที่นอนสูงใหญ่
๑๓. เว้นขาดจากการรับทองและเงิน
๑๔. เว้นขาดจากการรับธัญญาหารดิบ
๑๕. เว้นขาดจากการรับเนื้อดิบ
๑๖. เว้นขาดจากการรับสตรีและกุมารี
๑๗. เว้นขาดจากการรับทาสหญิงและทาสชาย
๑๘. เว้นขาดจากการรับแพะและแกะ
๑๙. เว้นขาดจากการรับไก่และสุกร
๒๐. เว้นขาดจากการรับช้าง โค ม้า และลา
๒๑. เว้นขาดจากการรับเรือกสวน ไร่ นา และที่ดิน
๒๒. เว้นขาดจากการทำหน้าที่เป็นตัวแทนและผู้สื่อสาร
๒๓. เว้นขาดจากการซื้อขาย
๒๔. เว้นขาดจากการโกงด้วยตาชั่ง ด้วยของปลอม และด้วยเครื่องตวงวัด
๒๕. เว้นขาดจากการรับสินบน การล่อลวง และการตลบตะแลง
๒๖. เว้นขาดจากการตัด(อวัยวะ) การฆ่า การจองจำ การตีชิงวิ่งราว
การปล้น และการขู่กรรโชก


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค] ๔. โฆฏมุขสูตร

ภิกษุนั้นเป็นผู้สันโดษ๑ด้วยจีวรพอคุ้มร่างกายและบิณฑบาตพออิ่มท้อง จะไป
ณ ที่ใด ๆ ก็ไปได้ทันที นกบินไป ณ ที่ใด ๆ ก็มีแต่ปีกเป็นภาระ แม้ฉันใด ภิกษุ
ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เป็นผู้สันโดษด้วยจีวรพอคุ้มร่างกายและบิณฑบาตพออิ่มท้อง
จะไป ณ ที่ใด ๆ ก็ไปได้ทันที ภิกษุนั้นประกอบด้วยอริยสีลขันธ์ ย่อมเสวยสุขอัน
ปราศจากโทษในภายใน

การสำรวมอินทรีย์

[๔๑๙] ภิกษุนั้นเห็นรูปทางตาแล้ว ไม่รวบถือ ไม่แยกถือ๒ ย่อมปฏิบัติเพื่อ
สำรวมจักขุนทรีย์ ซึ่งเมื่อไม่สำรวมแล้ว ก็จะเป็นเหตุให้ถูกบาปอกุศลธรรมคือ
อภิชฌาและโทมนัสครอบงำได้ จึงรักษาจักขุนทรีย์ ถึงความสำรวมในจักขุนทรีย์
ฟังเสียงทางหู ฯลฯ
ดมกลิ่นทางจมูก ฯลฯ
ลิ้มรสทางลิ้น ฯลฯ
ถูกต้องโผฏฐัพพะทางกาย ฯลฯ
รู้ธรรมารมณ์ทางใจแล้ว ไม่รวบถือ ไม่แยกถือ ย่อมปฏิบัติเพื่อสำรวมมนินทรีย์
ซึ่งเมื่อไม่สำรวมแล้วก็จะเป็นเหตุให้ถูกบาปอกุศลธรรมคืออภิชฌาและโทมนัสครอบงำได้
จึงรักษามนินทรีย์ ถึงความสำรวมในมนินทรีย์ ภิกษุผู้ประกอบด้วยความสำรวม
อินทรีย์อันเป็นอริยะนี้ ย่อมเสวยสุขอันไม่ระคนกับกิเลสในภายใน
ภิกษุนั้นทำความรู้สึกตัวในการก้าวไป การถอยกลับ การแลดู การเหลียวดู
การคู้เข้า การเหยียดออก การครองสังฆาฏิ บาตรและจีวร การฉัน การดื่ม
การเคี้ยว การลิ้ม การถ่ายอุจจาระปัสสาวะ การเดิน การยืน การนั่ง การนอน
การตื่น การพูด การนิ่ง


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค] ๔. โฆฏมุขสูตร

การละนิวรณ์

ภิกษุนั้น ประกอบด้วยอริยสีลขันธ์ อริยอินทรียสังวร และอริยสติสัมปชัญญะนี้
แล้วพักอยู่ ณ เสนาสนะเงียบสงัด คือ ป่า โคนไม้ ภูเขา ซอกเขา ถ้ำ ป่าช้า
ป่าชัฏ ที่แจ้ง ลอมฟาง เธอกลับจากบิณฑบาต ภายหลังฉันภัตตาหารเสร็จแล้ว
นั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง ดำรงสติเฉพาะหน้า เธอละอภิชฌา(ความเพ่งเล็งอยากได้
สิ่งของของผู้อื่น) ในโลก มีใจปราศจากอภิชฌาอยู่ ชำระจิตให้บริสุทธิ์จากอภิชฌา
ละความมุ่งร้ายคือพยาบาท(ความปองร้ายเขา) มีจิตไม่พยาบาท มุ่งประโยชน์ เกื้อกูล
สรรพสัตว์อยู่ ชำระจิตให้บริสุทธิ์จากความมุ่งร้ายคือพยาบาท ละถีนมิทธะ (ความ
หดหู่และเซื่องซึม) ปราศจากถีนมิทธะ กำหนดแสงสว่าง มีสติสัมปชัญญะอยู่ ชำระ
จิตให้บริสุทธิ์จากถีนมิทธะ ละอุทธัจจกุกกุจจะ(ความฟุ้งซ่านและความรำคาญใจ) เป็นผู้
ไม่ฟุ้งซ่าน มีจิตสงบอยู่ภายใน ชำระจิตให้บริสุทธิ์จากอุทธัจจกุกกุจจะ ละวิจิกิจฉา
(ความลังเลสงสัย) ข้ามวิจิกิจฉาได้แล้ว ไม่มีวิจิกิจฉาในกุศลธรรมอยู่ ชำระจิตให้
บริสุทธิ์จากวิจิกิจฉา

ฌาน ๔

ภิกษุนั้นละนิวรณ์ ๕ ประการนี้ ที่เป็นเครื่องเศร้าหมองแห่งจิต เป็นเครื่อง
ทอนกำลังปัญญาแล้ว สงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน
ที่มีวิตก วิจาร ปีติและสุขอันเกิดจากวิเวกอยู่
เพราะวิตกวิจารสงบระงับไป บรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสในภายใน มีภาวะ
ที่จิตเป็นหนึ่งผุดขึ้น ไม่มีวิตกไม่มีวิจาร มีแต่ปีติและสุขอันเกิดจากสมาธิอยู่
เพราะปีติจางคลายไป มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย
บรรลุตติยฌานที่พระอริยะทั้งหลายสรรเสริญว่า ‘ผู้มีอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข’
เพราะละสุขและทุกข์ได้ เพราะโสมนัสและโทมนัสดับไปก่อน บรรลุจตุตถฌาน
ที่ไม่มีทุกข์ และไม่มีสุข มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขาอยู่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๕๒๖ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค] ๔. โฆฏมุขสูตร

วิชชา ๓

[๔๒๐] เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ผุดผ่อง ไม่มีกิเลสเพียงดังเนิน๑ ปราศจาก
ความเศร้าหมอง อ่อน เหมาะแก่การใช้งาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ภิกษุนั้น
น้อมจิตไปเพื่อปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ระลึกชาติก่อนได้หลายชาติ คือ ๑ ชาติบ้าง
๒ ชาติบ้าง ๓ ชาติบ้าง ๔ ชาติบ้าง ๕ ชาติบ้าง ๑๐ ชาติบ้าง ๒๐ ชาติบ้าง
๓๐ ชาติบ้าง ๔๐ ชาติบ้าง ๕๐ ชาติบ้าง ๑๐๐ ชาติบ้าง ๑,๐๐๐ ชาติบ้าง
๑๐๐,๐๐๐ ชาติบ้าง ตลอดสังวัฏฏกัปเป็นอันมากบ้าง ตลอดวิวัฏฏกัปเป็นอันมากบ้าง
ตลอดสังวัฏฏกัปและวิวัฏฏกัป๒ เป็นอันมากบ้างว่า ‘ในภพโน้น เรามีชื่ออย่างนั้น
มีตระกูล มีวรรณะ มีอาหาร เสวยสุขทุกข์ และมีอายุอย่างนั้น ๆ จุติจากภพนั้น
ก็ไปเกิดในภพโน้น แม้ในภพนั้น เราก็มีชื่ออย่างนั้น มีตระกูล มีวรรณะ มีอาหาร
เสวยสุขทุกข์ และมีอายุอย่างนั้น ๆ จุติจากภพนั้นจึงมาเกิดในภพนี้’ เธอระลึกชาติ
ก่อนได้หลายชาติ พร้อมทั้งลักษณะทั่วไปและชีวประวัติอย่างนี้
เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ผุดผ่อง ไม่มีกิเลสเพียงดังเนิน ปราศจากความ
เศร้าหมอง อ่อน เหมาะแก่การใช้งาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ภิกษุนั้นน้อมจิต
ไปเพื่อจุตูปปาตญาณ เห็นหมู่สัตว์ผู้กำลังจุติ กำลังเกิด ทั้งชั้นต่ำและชั้นสูง งามและ
ไม่งาม เกิดดีและเกิดไม่ดี ด้วยตาทิพย์อันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์ รู้ชัดถึงหมู่สัตว์ผู้เป็น
ไปตามกรรมว่า ‘หมู่สัตว์ที่ประกอบกายทุจริต วจีทุจริต และมโนทุจริต กล่าวร้าย
พระอริยะ มีความเห็นผิด ชักชวนผู้อื่นให้ทำกรรมตามความเห็นผิด พวกเขาหลัง
จากตายแล้วจะไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก แต่หมู่สัตว์ที่ประกอบกายสุจริต
วจีสุจริต และมโนสุจริต ไม่กล่าวร้ายพระอริยะ มีความเห็นชอบ ชักชวนผู้อื่น
ให้ทำกรรมตามความเห็นชอบ พวกเขาหลังจากตายแล้วจะไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค] ๔. โฆฏมุขสูตร

เธอเห็นหมู่สัตว์กำลังจุติ กำลังเกิด ทั้งชั้นต่ำและชั้นสูง งามและไม่งาม เกิดดีและ
เกิดไม่ดีด้วยตาทิพย์อันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์ รู้ชัดหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรม อย่างนี้แล
เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ผุดผ่อง ไม่มีกิเลสเพียงดังเนิน ปราศจากความ
เศร้าหมอง อ่อน เหมาะแก่การใช้งาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ภิกษุนั้นน้อมจิต
ไปเพื่ออาสวักขยญาณ รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า ‘นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ
นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา นี้อาสวะ นี้อาสวสมุทัย นี้อาสวนิโรธ นี้อาสวนิโรธ-
คามินีปฏิปทา’ เมื่อเธอรู้เห็นอยู่อย่างนี้ จิตย่อมหลุดพ้นจากกามาสวะ ภวาสวะ
และอวิชชาสวะ เมื่อจิตหลุดพ้นแล้วก็รู้ว่า ‘หลุดพ้นแล้ว’ รู้ชัดว่า ‘ชาติสิ้นแล้ว
อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว๑ ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว๒ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้
อีกต่อไป๓’
พราหมณ์ บุคคลนี้เรียกว่า เป็นผู้ไม่ทำตนให้เดือดร้อน ไม่หมั่นประกอบ
ในการทำตนให้เดือดร้อน และเป็นผู้ไม่ทำผู้อื่นให้เดือดร้อน ไม่หมั่นประกอบในการ
ทำผู้อื่นให้เดือดร้อน เขาไม่ทำตนให้เดือดร้อน ไม่ทำผู้อื่นให้เดือดร้อน จึงเป็นผู้
ไม่หิว ดับร้อน เย็นใจ มีตนอันประเสริฐเสวยสุขอยู่ในปัจจุบัน”

การสร้างศาลาสงฆ์

[๔๒๑] เมื่อท่านพระอุเทนกล่าวอย่างนี้แล้ว โฆฏมุขพราหมณ์ได้กล่าวกับ
ท่านพระอุเทนว่า
“ท่านอุเทน ภาษิตของท่านชัดเจนไพเราะยิ่งนัก ท่านอุเทน ภาษิตของท่าน
ชัดเจนไพเราะยิ่งนัก ท่านอุเทนประกาศธรรมแจ่มแจ้งโดยประการต่าง ๆ เปรียบเหมือน
บุคคลหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางแก่ผู้หลงทาง หรือตามประทีป


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค] ๔. โฆฏมุขสูตร

ในที่มืด ด้วยตั้งใจว่า ‘คนมีตาดีจักเห็นรูปได้’ ข้าพเจ้านี้ขอถึงท่านอุเทนพร้อมทั้ง
พระธรรมและพระสงฆ์เป็นสรณะ ขอท่านอุเทนโปรดจงจำข้าพเจ้าว่าเป็นอุบาสกผู้ถึง
สรณะ ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปจนตลอดชีวิต”
ท่านพระอุเทน กล่าวว่า “พราหมณ์ ท่านอย่าถึงอาตมภาพเป็นสรณะเลย
เชิญท่านถึงพระผู้มีพระภาคที่อาตมภาพถึงเป็นสรณะเถิด”
“ข้าแต่ท่านอุเทน บัดนี้ พระโคดมอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
ประทับอยู่ที่ไหน”
“พราหมณ์ บัดนี้ พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าปรินิพพาน
เสียแล้ว”
“ท่านอุเทน ถ้าข้าพเจ้าได้ฟังว่า ‘ท่านพระโคดมพระองค์นั้นประทับอยู่ที่ไหน
ในหนทางแม้ ๑๐ โยชน์’ ข้าพเจ้าก็จักไปเฝ้าท่านพระโคดมอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
พระองค์นั้น แม้สิ้นทาง ๑๐ โยชน์ ถ้าข้าพเจ้าได้ฟังว่า ‘ท่านพระโคดมพระองค์นั้น
ประทับอยู่ที่ไหน ในหนทางแม้ ๒๐ โยชน์ ...๓๐ โยชน์ ... ๔๐ โยชน์ ... ๕๐ โยชน์ ...
๑๐๐ โยชน์’ ข้าพเจ้าก็จะไปเฝ้าท่านพระโคดมอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
แม้สิ้นทาง ๑๐๐ โยชน์
แต่เพราะท่านพระโคดมพระองค์นั้น เสด็จปรินิพพานเสียแล้ว ข้าพเจ้าขอถึง
ท่านพระโคดมพระองค์นั้นแม้เสด็จปรินิพพานแล้ว พร้อมทั้งพระธรรมและพระสงฆ์
เป็นสรณะ ขอท่านอุเทน โปรดจงจำข้าพเจ้าว่าเป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะ ตั้งแต่วันนี้
เป็นต้นไปจนตลอดชีวิต อนึ่ง พระเจ้าอังคะโปรดพระราชทานเบี้ยเลี้ยงประจำแก่ข้าพเจ้า
ทุกวัน ข้าพเจ้าขอถวายส่วนหนึ่งจากเบี้ยเลี้ยงประจำนั้นแก่ท่านอุเทน”
“พราหมณ์ พระเจ้าอังคะโปรดพระราชทานอะไรเป็นเบี้ยเลี้ยงประจำแก่ท่านทุกวัน”
“ท่านอุเทน พระเจ้าอังคะโปรดพระราชทานทรัพย์ ๕๐๐ กหาปณะเป็นเบี้ยเลี้ยง
ประจำแก่ข้าพเจ้าทุกวัน”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๕๒๙ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค] ๕. จังกีสูตร

“พราหมณ์ การรับทองและเงินไม่สมควรแก่อาตมภาพทั้งหลาย”
“ท่านอุเทน ถ้าทองและเงินนั้นไม่สมควร ข้าพเจ้าจะให้สร้างวิหารถวายท่าน
อุเทน”
ท่านพระอุเทน กล่าวว่า “พราหมณ์ ถ้าท่านปรารถนาจะให้สร้างวิหารถวาย
อาตมภาพ ก็ขอให้สร้างโรงฉันถวายแก่สงฆ์ในเมืองปาตลีบุตรเถิด”
โฆฏมุขพราหมณ์ กล่าวว่า “ด้วยบุญที่ท่านอุเทนชักชวนข้าพเจ้าในสังฆทานนี้
ข้าพเจ้าชื่นชมยินดีเหลือประมาณ ท่านอุเทน ข้าพเจ้าจะสร้างโรงฉันถวายแก่สงฆ์ในเมือง
ปาตลีบุตร ด้วยเบี้ยเลี้ยงประจำส่วนนี้ และเบี้ยเลี้ยงประจำส่วนอื่น”
ครั้งนั้นแล โฆฏมุขพราหมณ์ให้จัดสร้างโรงฉันถวายแก่สงฆ์ในเมืองปาตลีบุตร
ด้วยเบี้ยเลี้ยงประจำส่วนนี้ และเบี้ยเลี้ยงประจำส่วนอื่น ๆ โรงฉันนั้นปัจจุบันเรียกว่า
‘โฆฏมุขี’ ดังนี้แล

โฆฏมุขสูตรที่ ๔ จบ

๕. จังกีสูตร
ว่าด้วยพราหมณ์ชื่อจังกี

[๔๒๒] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเสด็จจาริกไปในแคว้นโกศล พร้อมกับภิกษุสงฆ์
หมู่ใหญ่ เสด็จถึงบ้านพราหมณ์ชื่อโอปาสาทะของชาวโกศล ประทับอยู่ ณ ป่าไม้
สาละชื่อเทพวัน ทางทิศเหนือแห่งบ้านพราหมณ์ชื่อโอปาสาทะ สมัยนั้นแล พราหมณ์
ชื่อจังกีปกครองบ้านพราหมณ์ชื่อโอปาสาทะซึ่งมีประชากรและสัตว์เลี้ยงมากมาย
มีพืชพันธุ์ธัญญาหารและน้ำหญ้าอุดมสมบูรณ์ เป็นพระราชทรัพย์ที่พระเจ้าปเสนทิโกศล
พระราชทานปูนบำเหน็จให้เป็นพรหมไทย๑ พราหมณ์และคหบดีชาวบ้านโอปาสาทะ
ได้ฟังข่าวว่า


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค] ๕. จังกีสูตร

“ได้ยินว่า ท่านพระสมณโคดมเป็นศากยบุตร เสด็จออกผนวชจากศากยตระกูล
เสด็จจาริกอยู่ในแคว้นโกศล พร้อมด้วยภิกษุหมู่ใหญ่ เสด็จถึงบ้านพราหมณ์ชื่อ
โอปาสาทะโดยลำดับ ประทับอยู่ ณ ป่าไม้สาละชื่อเทพวัน ทางทิศเหนือแห่งบ้าน
พราหมณ์ชื่อโอปาสาทะ ท่านพระสมณโคดมพระองค์นั้นมีกิตติศัพท์อันงามขจรไป
อย่างนี้ว่า ‘แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้
ด้วยพระองค์เองโดยชอบ เพียบพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดี รู้แจ้งโลก
เป็นสารถีฝึกผู้ที่ควรฝึกได้อย่างยอดเยี่ยม เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
เป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระผู้มีพระภาค’ พระองค์ทรงรู้แจ้งโลกนี้พร้อมทั้งเทวโลก
มารโลก พรหมโลก และหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ด้วย
พระองค์เองแล้ว ทรงประกาศให้ผู้อื่นรู้ตาม ทรงแสดงธรรมมีความงามในเบื้องต้น
มีความงามในท่ามกลาง และมีความงามในที่สุด ทรงประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้ง
อรรถและพยัญชนะบริสุทธิ์บริบูรณ์ครบถ้วน การได้พบพระอรหันต์ทั้งหลายเช่นนี้
เป็นความดี อย่างแท้จริง”
[๔๒๓] ครั้งนั้นแล พราหมณ์และคหบดีชาวบ้านพราหมณ์ชื่อโอปาสาทะ
ออกจากบ้านพราหมณ์ชื่อโอปาสาทะรวมกันเป็นหมู่ ไปยังป่าไม้สาละชื่อเทพวันทาง
ทิศเหนือ สมัยนั้น จังกีพราหมณ์พักผ่อนกลางวันอยู่ ณ ปราสาทชั้นบน มองเห็น
พราหมณ์และคหบดีชาวบ้านพราหมณ์ชื่อโอปาสาทะซึ่งล้วนออกจากบ้านพราหมณ์
ชื่อโอปาสาทะเดินรวมกันเป็นหมู่ ไปทางทิศเหนือ เข้าไปยังป่าไม้สาละชื่อเทพวัน
จึงเรียกอำมาตย์ที่ปรึกษามาถามว่า
“พ่ออำมาตย์ พราหมณ์และคหบดีชาวบ้านพราหมณ์ชื่อโอปาสาทะออกจาก
บ้านพราหมณ์ชื่อโอปาสาทะเดินรวมกันเป็นหมู่ ไปทางทิศเหนือ เข้าไปยังป่าไม้สาละ
ชื่อเทพวัน ทำไมกัน”
อำมาตย์ที่ปรึกษาตอบว่า “ข้าแต่ท่านจังกี พระสมณโคดมเป็นศากยบุตรเสด็จออก
ผนวชจากศากยตระกูล เสด็จจาริกอยู่ในแคว้นโกศลพร้อมด้วยภิกษุหมู่ใหญ่ เสด็จถึง
บ้านพราหมณ์ชื่อโอปาสาทะโดยลำดับ ประทับอยู่ ณ ป่าไม้สาละชื่อเทพวัน ทางทิศเหนือ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๕๓๑ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค] ๕. จังกีสูตร

แห่งบ้านพราหมณ์ชื่อโอปาสาทะ ท่านพระโคดมพระองค์นั้นมีกิตติศัพท์อันงามขจร
ไปอย่างนี้ว่า ‘แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น เป็นพระอรหันต์ตรัสรู้
ด้วยพระองค์เองโดยชอบ เพียบพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดี รู้แจ้งโลก
เป็นสารถีฝึกผู้ที่ควรฝึกได้อย่างยอดเยี่ยม เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
เป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระผู้มีพระภาค’ พราหมณ์และคหบดีเหล่านั้น พากันไปเข้า
เฝ้าท่านพระโคดมนั้น”
จังกีพราหมณ์กล่าวว่า “พ่ออำมาตย์ ถ้าเช่นนั้น ท่านจงไปหาพวกพราหมณ์
และคหบดีชาวบ้านพราหมณ์ชื่อโอปาสาทะแล้วบอกอย่างนี้ว่า ‘ท่านขอรับ จังกี-
พราหมณ์พูดว่า ‘ขอท่านผู้เจริญทั้งหลายจงรอก่อน แม้จังกีพราหมณ์ก็จะไปเข้าเฝ้า
พระสมณโคดมด้วย”
อำมาตย์ที่ปรึกษารับคำของจังกีพราหมณ์แล้ว เข้าไปหาพวกพราหมณ์และ
คหบดีชาวบ้านพราหมณ์ชื่อโอปาสาทะแล้วก็บอกว่า “ท่านขอรับ จังกีพราหมณ์
พูดว่า ‘ขอท่านผู้เจริญทั้งหลายจงรอก่อน แม้จังกีพราหมณ์ก็จะไปเข้าเฝ้าพระสมณ-
โคดมด้วย”

ความเป็นผู้ดีของจังกีพราหมณ์

[๔๒๔] เวลานั้น พราหมณ์ต่างถิ่น ๕๐๐ คน มีธุระเดินทางมาพักอยู่
ในบ้านพราหมณ์ชื่อโอปาสาทะพอได้ฟังว่า “จังกีพราหมณ์จักไปเข้าเฝ้าพระสมณ-
โคดมด้วย” จึงพากันเข้าไปหาจังกีพราหมณ์ถึงที่อยู่แล้วถามว่า “ท่านจังกีจักไป
เข้าเฝ้าพระสมณโคดมจริงหรือ”
จังกีพราหมณ์ตอบว่า “จริง เราคิดจะไปเข้าเฝ้าพระสมณโคดม”
พวกพราหมณ์ห้ามว่า “ท่านจังกีอย่าได้ไปเข้าเฝ้าพระสมณโคดมเลย ท่านจังกี
ไม่ควรไปเข้าเฝ้าพระสมณโคดม พระสมณโคดมต่างหากควรจะเสด็จมาหาท่านจังกี
เพราะว่า ท่านจังกีเป็นผู้มีชาติกำเนิดดีทั้งฝ่ายมารดาและฝ่ายบิดา ถือปฏิสนธิบริสุทธิ์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๕๓๒ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค] ๕. จังกีสูตร

ดีตลอด ๗ ชั่วบรรพบุรุษ ไม่มีใครจะคัดค้านตำหนิได้เพราะอ้างถึงชาติตระกูล
ด้วยเหตุนี้ ท่านจังกีจึงไม่ควรไปเข้าเฝ้าพระสมณโคดม พระสมณโคดมต่างหากควร
เสด็จมาหาท่านจังกี
อนึ่ง ท่านจังกีเป็นคนมั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีโภคะมาก ฯลฯ จบไตรเพท
พร้อมทั้งนิฆัณฑุศาสตร์ เกฏุภศาสตร์ อักษรศาสตร์ และประวัติศาสตร์ เข้าใจ
ตัวบทและไวยากรณ์ ชำนาญโลกายตศาสตร์และลักษณะมหาบุรุษ ฯลฯ เป็นผู้มี
รูปงาม น่าดู น่าเลื่อมใส มีผิวพรรณผุดผ่องยิ่งนัก ดุจพรหม มีกายดุจพรหม
โอกาสที่จะได้พบเห็นยากนัก ฯลฯ เป็นผู้มีศีล มีศีลที่เจริญ ประกอบด้วยศีลที่เจริญ
ฯลฯ เป็นผู้มีวาจาไพเราะสุภาพ ประกอบด้วยถ้อยคำอ่อนหวานอย่างชาวเมือง
นุ่มนวล เข้าใจง่าย ฯลฯ เป็นอาจารย์และปาจารย์ของหมู่ชน สอนมนตร์แก่มาณพ
๓๐๐ คน ฯลฯ ท่านจังกีเป็นผู้ที่พระเจ้าปเสนทิโกศลสักการะ เคารพ นับถือ
บูชา นอบน้อม ฯลฯ เป็นผู้ที่พราหมณ์ชื่อโปกขรสาติสักการะ เคารพ นับถือ
นอบน้อม ฯลฯ
ท่านจังกีปกครองบ้านพราหมณ์ชื่อโอปาสาทะซึ่งมีประชากรและสัตว์เลี้ยงมากมาย
มีพืชพันธุ์ธัญญาหารและน้ำหญ้าอุดมสมบูรณ์ เป็นพระราชทรัพย์ที่พระเจ้าปเสนทิ-
โกศลพระราชทานปูนบำเหน็จให้เป็นพรหมไทย ด้วยเหตุนี้ ท่านจังกีจึงไม่ควรไป
เข้าเฝ้าพระสมณโคดม พระสมณโคดมต่างหากควรจะเสด็จมาหาท่านจังกี”

สรรเสริญคุณของพระพุทธเจ้า

[๔๒๕] เมื่อพวกพราหมณ์กล่าวอย่างนี้แล้ว จังกีพราหมณ์ได้กล่าวว่า
“ท่านทั้งหลาย ถ้าเช่นนั้น พวกท่านจงฟังเราบ้าง เรานี่แหละควรไปเข้าเฝ้า
ท่านพระโคดม ท่านพระโคดมไม่ควรเสด็จมาหาเรา ได้ทราบว่า ท่านพระสมณโคดม
ทรงเป็นผู้มีพระชาติกำเนิดดีทั้งฝ่ายพระชนนีและฝ่ายพระชนก ทรงถือปฏิสนธิบริสุทธิ์
ดีตลอด ๗ ชั่วบรรพบุรุษ ไม่มีใครจะคัดค้านตำหนิได้เพราะอ้างถึงชาติตระกูล
ด้วยเหตุนี้ ท่านพระโคดมจึงไม่ควรเสด็จมาหาเรา เราต่างหากควรไปเข้าเฝ้าท่าน
พระโคดม

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๕๓๓ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค] ๕. จังกีสูตร

ท่านทั้งหลาย ได้ทราบว่า พระสมณโคดมทรงสละเงินทองมากมายทั้งที่ฝัง
อยู่ในพื้นดินและในอากาศ ผนวชแล้ว ฯลฯ พระสมณโคดมกำลังหนุ่มแน่น
มีพระเกศาดำสนิท ทรงพระเจริญอยู่ในปฐมวัย เสด็จออกจากพระราชวัง ผนวชเป็น
บรรพชิต ฯลฯ เมื่อพระชนนีและพระชนกไม่ทรงปรารถนา (จะให้เสด็จออกผนวช)
มีน้ำพระเนตรชุ่มพระพักตร์ทรงกันแสงอยู่ พระสมณโคดมทรงปลงพระเกศาและ
พระมัสสุ แล้วครองผ้ากาสาวพัสตร์ เสด็จออกจากพระราชวังผนวชเป็นบรรพชิต
ฯลฯ พระสมณโคดมมีพระรูปงดงาม น่าดู น่าเลื่อมใส มีพระฉวีวรรณผุดผ่องยิ่งนัก
ดุจพรหม มีพระวรกายดุจพรหม โอกาสที่จะได้พบเห็นยากนัก ฯลฯ พระสมณโคดม
ทรงมีอริยศีล๑ มีศีลที่เป็นกุศล ประกอบด้วยศีลที่เป็นกุศล ฯลฯ มีพระวาจาไพเราะ
สุภาพ ประกอบด้วยถ้อยคำอ่อนหวานอย่างชาวเมือง นุ่มนวล เข้าใจง่าย ฯลฯ
ทรงเป็นอาจารย์และปาจารย์ของหมู่ชนมากมาย๒ ฯลฯ ทรงสิ้นกามราคะ ไม่ประดับ
ตกแต่ง ฯลฯ ทรงเป็นกรรมวาที เป็นกิริยวาที ไม่ทรงมุ่งร้ายต่อพราหมณ์ ฯลฯ
ผนวชแล้วจากตระกูลสูง คือ ขัตติยตระกูลอันบริสุทธิ์ ฯลฯ ผนวชแล้วจากตระกูล
มั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีโภคะมาก ฯลฯ ประชาชนต่างบ้านต่างเมืองพากันมาทูลถาม
ปัญหาพระสมณโคดม ฯลฯ ทวยเทพหลายพันองค์ถวายชีวิตขอถึงพระสมณโคดม
เป็นที่พึ่ง ฯลฯ พระสมณโคดมทรงมีกิตติศัพท์อันงามขจรไปอย่างนี้ว่า ‘แม้เพราะ
เหตุนี้ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น เป็นพระอรหันต์ ฯลฯ เป็นพระพุทธเจ้า เป็น
พระผู้มีพระภาค’ ฯลฯ พระสมณโคดมทรงประกอบด้วยลักษณะมหาบุรุษ ๓๒ ประการ
ฯลฯ พระเจ้าพิมพิสาร จอมทัพมคธ พร้อมทั้งพระราชโอรสและพระมเหสี ทรงถวาย
ชีวิตถึงพระสมณโคดมเป็นสรณะ ฯลฯ พระเจ้าปเสนทิโกศลพร้อมทั้งพระราชโอรส
และพระมเหสี ทรงถวายชีวิตถึงพระสมณโคดมเป็นสรณะ ฯลฯ โปกขรสาติพราหมณ์
พร้อมทั้งบุตรภรรยา ก็ได้ถวายชีวิตถึงพระสมณโคดมเป็นสรณะ ฯลฯ


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค] ๕. จังกีสูตร

พระสมณโคดมเสด็จถึงบ้านพราหมณ์ชื่อโอปาสาทะโดยลำดับ ประทับอยู่ ณ
ป่าไม้สาละชื่อเทพวัน ทางทิศเหนือแห่งบ้านพราหมณ์ชื่อโอปาสาทะ สมณพราหมณ์
ที่มาสู่เขตหมู่บ้านของเราจัดว่าเป็นแขกของเรา ซึ่งพวกเราควรสักการะ เคารพ
นับถือ บูชา พระสมณโคดมเสด็จมาถึงบ้านพราหมณ์ชื่อโอปาสาทะโดยลำดับ ประทับอยู่
ณ ป่าไม้สาละชื่อเทพวัน ทางทิศเหนือแห่งบ้านพราหมณ์ชื่อโอปาสาทะ พระสมณ-
โคดมจึงจัดว่าเป็นแขกของเราที่พวกเราควรสักการะ เคารพ นับถือ บูชา ด้วยเหตุนี้
พระสมณโคดมจึงไม่ควรเสด็จมาหาเรา เราต่างหากควรไปเข้าเฝ้าพระสมณโคดม
เราทราบพระคุณของพระสมณโคดมเพียงเท่านี้ แต่พระสมณโคดมไม่ใช่ว่าจะมีพระคุณ
เพียงเท่านี้ แท้จริงแล้ว พระสมณโคดมมีพระคุณนับประมาณมิได้ ถึงแม้ท่านพระโคดม
ทรงประกอบด้วยองค์คุณบางอย่าง ก็ไม่ควรเสด็จมาหาเรา โดยที่แท้ เราต่างหาก
ควรไปเข้าเฝ้าพระสมณโคดม”
(หลังจากนั้น) จังกีพราหมณ์ได้กล่าวเชิญว่า “ท่านทั้งหลาย ถ้าเช่นนั้น พวกเรา
ทั้งหมดจักไปเข้าเฝ้าพระสมณโคดมด้วยกัน๑”

มาณพชื่อกาปทิกะทูลถามบทมนตร์

[๔๒๖] ครั้งนั้น จังกีพราหมณ์พร้อมด้วยคณะพราหมณ์หมู่ใหญ่ เข้าไปเฝ้า
พระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ได้สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึก
ถึงกันแล้วนั่ง ณ ที่สมควร สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคประทับนั่งแล้วทรงปฏิสันถาร
เรื่องบางเรื่องพอเป็นที่ระลึกถึงกันกับพราหมณ์ทั้งหลายผู้แก่เฒ่า สมัยนั้น มาณพ
ชื่อกาปทิกะยังเป็นหนุ่มโกนศีรษะ มีอายุ ๑๖ ปี นับแต่เกิดมา เป็นผู้จบไตรเพท
พร้อมทั้งนิฆัณฑุศาสตร์ เกฏุภศาสตร์ อักษรศาสตร์และประวัติศาสตร์ เป็นผู้เข้าใจ
ตัวบทและไวยากรณ์ ชำนาญคัมภีร์โลกายตศาสตร์และลักษณะมหาบุรุษนั่งอยู่ในบริษัท
นั้นด้วย เขาได้พูดสอดขึ้นในระหว่างที่พราหมณ์ทั้งหลายผู้แก่เฒ่ากำลังสนทนากันอยู่
กับพระผู้มีพระภาค


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค] ๕. จังกีสูตร

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงห้ามกาปทิกมาณพว่า “ภารทวาชะผู้มีอายุ
เจ้าอย่าพูดแทรกขึ้นในระหว่างที่พราหมณ์ทั้งหลายผู้แก่เฒ่ากำลังสนทนากันอยู่
จงรอให้เขาพูดจบเสียก่อน”
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว จังกีพราหมณ์ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาค
ว่า “ท่านพระโคดม อย่าทรงห้ามกาปทิกมาณพเลย กาปทิกมาณพเป็นบุตรของผู้มี
สกุล เป็นพหูสูต เป็นบัณฑิต เจราจาถ้อยคำไพเราะ และสามารถจะเจรจาโต้ตอบ
ในคำนั้นกับท่านพระโคดมได้”
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงพระดำริว่า “กาปทิกมาณพจักสำเร็จการศึกษา
ในปาพจน์คือไตรเพทเป็นแน่แท้ พราหมณ์ทั้งหลายจึงพากันยกย่องเขาถึงเพียงนั้น”
ครั้งนั้น กาปทิกมาณพได้คิดว่า “เมื่อใด พระสมณโคดมจักทอดพระเนตรสบ
ตาเรา เมื่อนั้น เราจักทูลถามปัญหากับพระสมณโคดม”
ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคทรงทราบความคิดคำนึงของกาปทิกมาณพด้วยจิต
(ของพระองค์) จึงทรงทอดพระเนตรไปทางที่กาปทิกมาณพนั่งอยู่
[๔๒๗] ครั้งนั้นแล กาปทิกมาณพได้คิดว่า “พระสมณโคดมทรงสนพระทัย
เราอยู่ ทางที่ดี เราควรทูลถามปัญหากับพระสมณโคดม” ลำดับนั้น กาปทิกมาณพ
ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า
“ข้าแต่ท่านพระโคดม ในบทมนตร์อันเป็นของเก่าของพราหมณ์ทั้งหลาย
โดยสืบต่อกันมาตามคัมภีร์ พราหมณ์ทั้งหลายย่อมถึงความตกลงใจโดยเด็ดขาดว่า
‘นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง’ ในเรื่องนี้ท่านพระโคดมจะตรัสอย่างไร”
พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “ภารทวาชะ บรรดาพราหมณ์ทั้งหลาย พราหมณ์
สักคนหนึ่งผู้กล่าวอย่างนี้ว่า ‘เรารู้สิ่งนี้ เราเห็นสิ่งนี้ นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง’
มีอยู่หรือ”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๕๓๖ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค] ๕. จังกีสูตร

กาปทิกมาณพทูลตอบว่า “ไม่มีเลย ท่านพระโคดม”
“ภารทวาชะ แม้อาจารย์ท่านหนึ่ง แม้ปาจารย์ของอาจารย์ท่านหนึ่ง ตลอดขึ้น
ไปจน ๗ ชั่วอาจารย์ของพราหมณ์ทั้งหลายผู้กล่าวอย่างนี้ว่า ‘เรารู้สิ่งนี้ เราเห็นสิ่งนี้
นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง’ มีอยู่หรือ”
“ไม่มีเลย ท่านพระโคดม”
“ภารทวาชะ ฤาษีทั้งหลายผู้เป็นบุรพาจารย์ของพวกพราหมณ์ คือ ฤาษี
อัฏฐกะ ฤาษีวามกะ ฤาษีวามเทพ ฤาษีเวสสามิตตะ ฤาษียมตัคคิ ฤาษีอังคีรสะ
ฤาษีภารทวาชะ ฤาษีวาเสฏฐะ ฤาษีกัสสปะ ฤาษีภคุ ซึ่งเป็นผู้แต่งมนตร์ เป็นผู้
บอกมนตร์ที่พราหมณ์ทั้งหลายในปัจจุบันนี้ขับตาม บทมนตร์เก่าที่ท่านบุรพาจารย์
พราหมณ์ขับไว้แล้ว บอกไว้แล้ว รวบรวมไว้แล้ว กล่าวได้ถูกต้องตามที่ท่านกล่าวไว้
บอกได้ถูกต้องตามที่ท่านได้บอกไว้แล้ว แม้ท่านเหล่านั้นก็กล่าวอย่างนี้ว่า ‘เราทั้งหลาย
รู้สิ่งนี้ เราทั้งหลายเห็นสิ่งนี้ นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง’ มีอยู่หรือ”
“ไม่มีเลย ท่านพระโคดม”
พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “ภารทวาชะ ได้ทราบกันดังนี้ว่า บรรดาพราหมณ์
ทั้งหลาย ไม่มีพราหมณ์แม้สักคนหนึ่ง ผู้กล่าวอย่างนี้ว่า ‘เรารู้สิ่งนี้ เราเห็นสิ่งนี้
นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง’ ไม่มีใครสักคนหนึ่งซึ่งเป็นอาจารย์ เป็นปาจารย์ของ
อาจารย์ตลอด ๗ ชั่วอาจารย์ของพราหมณ์ทั้งหลายผู้กล่าวอย่างนี้ว่า ‘เรารู้สิ่งนี้
เราเห็นสิ่งนี้ นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง’ แม้ฤาษีทั้งหลายผู้เป็นบุรพาจารย์ของ
พวกพราหมณ์ คือ ฤาษีอัฏฐกะ ฤาษีวามกะ ฤาษีวามเทพ ฤาษีเวสสามิตตะ ฤาษี
ยมตัคคิ ฤาษีอังคีรสะ ฤาษีภารทวาชะ ฤาษีวาเสฏฐะ ฤาษีกัสสปะ ฤาษีภคุ ซึ่งเป็น
ผู้แต่งมนตร์ เป็นผู้บอกมนตร์ที่พราหมณ์ทั้งหลายในปัจจุบันนี้ขับตาม บทมนตร์เก่า
ที่ท่านขับไว้แล้ว บอกไว้แล้ว รวบรวมไว้แล้ว กล่าวได้ถูกต้อง ตามที่ท่านได้กล่าวไว้
บอกได้ถูกต้อง ตามที่ท่านได้บอกไว้แล้ว แม้ท่านเหล่านั้นก็ไม่ได้กล่าวอย่างนี้ว่า
‘เรารู้สิ่งนี้ เราเห็นสิ่งนี้ นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๕๓๗ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค] ๕. จังกีสูตร

ธรรม ๕ ประการมีผลเป็น ๒ อย่าง

[๔๒๘] ภารทวาชะ คนตาบอดเข้าแถวเกาะหลังกัน คนอยู่หัวแถว คนอยู่
กลางแถว และคนอยู่ปลายแถว ต่างก็มองไม่เห็นกัน แม้ฉันใด ภาษิตของพราหมณ์
ทั้งหลายก็ฉันนั้นเหมือนกัน เห็นจะเปรียบได้กับแถวคนตาบอด คือ แม้คนอยู่
หัวแถว คนอยู่กลางแถว และคนอยู่ปลายแถว ต่างก็มองไม่เห็นกัน ท่านเข้าใจ
ความข้อนั้นว่าอย่างไร เมื่อเป็นเช่นนั้น ความเชื่อของพราหมณ์ทั้งหลายย่อมหา
มูลมิได้ มิใช่หรือ”
กาปทิกมาณพกราบทูลว่า “ท่านพระโคดม ในข้อนี้พราหมณ์ทั้งหลายมิใช่
เล่าเรียนกันมาด้วยความเชื่ออย่างเดียว แต่เล่าเรียนด้วยการฟังตามกันมา”
“ภารทวาชะ ครั้งแรกท่านได้อ้างถึงความเชื่อ บัดนี้ท่านอ้างถึงการฟังตาม
กันมา ธรรม ๕ ประการนี้มีผลเป็น ๒ อย่างในปัจจุบัน
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ศรัทธา (ความเชื่อ)
๒. รุจิ (ความชอบใจ)
๓. อนุสสวะ (การฟังตามกันมา)
๔. อาการปริวิตก (ความตรึกตามอาการ)
๕. ทิฏฐินิชฌานขันติ (ความเข้ากันได้กับทฤษฎีที่พินิจไว้)
ธรรม ๕ ประการนี้แล มีผลเป็น ๒ อย่างในปัจจุบัน คือ
สิ่งที่เชื่อกันด้วยดีแต่สิ่งนั้นกลับเป็นของว่างเปล่าเป็นเท็จไปก็มี สิ่งที่ไม่เชื่อกันด้วยดี
แต่สิ่งนั้นกลับเป็นจริงแท้ ไม่เป็นอื่นก็มี
สิ่งที่ชอบใจจริง ๆ ฯลฯ
สิ่งที่ฟังตามกันมาอย่างดี ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๕๓๘ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค] ๕. จังกีสูตร

สิ่งที่ตรึกไว้อย่างดี ฯลฯ
สิ่งที่พินิจไว้อย่างดี แต่สิ่งนั้นกลับเป็นของว่างเปล่าเป็นเท็จไปก็มี สิ่งที่ไม่ได้พินิจ
ไว้อย่างดี แต่สิ่งนั้นกลับเป็นจริงแท้ ไม่เป็นอื่นก็มี
ภารทวาชะ คนผู้ฉลาดเมื่อจะตามรักษาสัจจะ ไม่ควรจะตกลงใจในข้อนั้นอย่าง
เด็ดขาดว่า ‘นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง”

ตรัสตอบถึงการรักษาสัจจะ

[๔๒๙] กาปทิกมาณพทูลถามว่า “ท่านพระโคดม ด้วยข้อปฏิบัติประมาณ
เท่าไร การรักษาสัจจะจึงมีได้ บุคคลชื่อว่ารักษาสัจจะด้วยข้อปฏิบัติประมาณเท่าไร
ข้าพเจ้าขอทูลถามท่านพระโคดมถึงการรักษาสัจจะ”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ภารทวาชะ ถ้าบุรุษมีศรัทธา กล่าวว่า ‘เรามี
ศรัทธาอย่างนี้’ ชื่อว่ารักษาสัจจะ แต่ยังไม่ชื่อว่ามีความตกลงใจโดยเด็ดขาดว่า
‘นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง’ ด้วยข้อปฏิบัติเพียงเท่านี้ การรักษาสัจจะย่อมมีได้
บุคคลชื่อว่ารักษาสัจจะด้วยข้อปฏิบัติเพียงเท่านี้ และเราย่อมบัญญัติการรักษาสัจจะ
ด้วยข้อปฏิบัติเพียงเท่านี้ แต่ยังไม่ชื่อว่าเป็นการรู้สัจจะก่อน
ถ้าบุรุษมีความชอบใจ ฯลฯ
ถ้าบุรุษมีการฟังตามกันมา ฯลฯ
ถ้าบุรุษมีความตรึกตามอาการ ฯลฯ
ถ้าบุรุษมีความพินิจที่เข้ากันได้กับทฤษฎีของตน เขากล่าวอย่างนี้ว่า ‘เรามี
ความพินิจที่เข้ากันได้กับทฤษฎีของตนอย่างนี้’ ชื่อว่ารักษาสัจจะ แต่ยังไม่ชื่อว่าถึง
ความตกลงใจโดยเด็ดขาดว่า ‘นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง’
ภารทวาชะ ด้วยข้อปฏิบัติเพียงเท่านี้การรักษาสัจจะย่อมมีได้ บุคคลชื่อว่า
รักษาสัจจะด้วยข้อปฏิบัติเพียงเท่านี้ และเราย่อมบัญญัติการรักษาสัจจะด้วยข้อ
ปฏิบัติเพียงเท่านี้ แต่ยังไม่ชื่อว่าเป็นการรู้สัจจะก่อน”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๕๓๙ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค] ๕. จังกีสูตร

ตรัสตอบถึงการรู้สัจจะ

[๔๓๐] กาปทิกมาณพทูลถามว่า “ท่านพระโคดม การรักษาสัจจะย่อมมี
ด้วยข้อปฏิบัติเพียงเท่านี้ บุคคลชื่อว่ารักษาสัจจะด้วยข้อปฏิบัติเพียงเท่านี้ และเรา
ทั้งหลายย่อมหวังการรักษาสัจจะด้วยข้อปฏิบัติเพียงเท่านี้ การรู้สัจจะย่อมมีด้วยข้อ
ปฏิบัติเพียงเท่าไร บุคคลย่อมรู้สัจจะด้วยข้อปฏิบัติเพียงเท่าไร ข้าพเจ้าขอทูลถาม
ท่านพระโคดมถึงการรู้สัจจะ”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ภารทวาชะ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เข้าไปอาศัยบ้าน
หรือนิคมแห่งใดแห่งหนึ่งอยู่ คหบดีก็ดี บุตรของคหบดีก็ดี เข้าไปหาภิกษุนั้นแล้ว
ใคร่ครวญในธรรม ๓ ประการ คือ (๑) ในธรรมที่เป็นเหตุให้เกิดโลภะ(ความโลภ)
(๒) ในธรรมที่เป็นเหตุให้เกิดโทสะ(การประทุษร้าย) (๓) ในธรรมที่เป็นเหตุให้เกิด
โมหะ(ความหลง) ว่า ‘ท่านผู้นี้มีธรรมที่เป็นเหตุให้เกิดโลภะ หรือไม่หนอ (เพราะว่า)
ผู้มีจิตถูกธรรมที่เป็นเหตุให้เกิดความโลภครอบงำแล้ว เมื่อไม่รู้ก็กล่าวว่า ‘ข้าพเจ้ารู้’
เมื่อไม่เห็นก็กล่าวว่า ‘ข้าพเจ้าเห็น’ หรือสิ่งใดจะพึงเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์เกื้อกูล
เพื่อทุกข์สิ้นกาลนานแก่ผู้อื่น ก็จะพึงชักชวนผู้อื่นเพื่อประโยชน์แก่สิ่งนั้นได้หรือหนอ’
เมื่อเขาพิจารณาถึงภิกษุนั้นอยู่ จึงรู้ได้อย่างนี้ว่า ‘ท่านผู้นี้ไม่มีธรรมที่เป็นเหตุให้เกิด
โลภะ (เพราะว่า)ผู้มีจิตถูกธรรมที่เป็นเหตุให้เกิดโลภะครอบงำแล้ว เมื่อไม่รู้ก็กล่าว
ว่า ‘ข้าพเจ้ารู้’ เมื่อไม่เห็นก็กล่าวว่า ‘ข้าพเจ้าเห็น’ หรือสิ่งใดจะพึงเป็นไปเพื่อมิใช่
ประโยชน์เกื้อกูล เพื่อทุกข์สิ้นกาลนานแก่ผู้อื่น ท่านผู้นี้พึงชักชวนผู้อื่นเพื่อประโยชน์
แก่สิ่งนั้น
อนึ่ง ท่านผู้นี้มีกายสมาจาร วจีสมาจาร เหมือนผู้ไม่โลภ ท่านผู้นี้แสดงธรรม
อันลึกซึ้ง เห็นได้ยาก รู้ตามได้ยาก สงบ ประณีต คาดคะเนเองไม่ได้ เป็นธรรม
ละเอียด รู้ได้เฉพาะบัณฑิต ไม่ใช่ธรรมที่คนโลภจะแสดงได้ง่าย’
[๔๓๑] เมื่อใดเขาพิจารณาภิกษุนั้นอยู่ ย่อมเห็นชัดว่า เธอบริสุทธิ์จาก
ธรรมที่เป็นเหตุให้เกิดโลภะแล้ว เมื่อนั้นเขาพิจารณาภิกษุนั้นให้ยิ่งขึ้นไปในธรรมที่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๕๔๐ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค] ๕. จังกีสูตร

เป็นเหตุให้เกิดโทสะว่า ‘ท่านผู้นี้มีธรรมที่เป็นเหตุให้เกิดโทสะ มีจิตถูกธรรมที่เป็น
เหตุให้เกิดโทสะครอบงำ เมื่อไม่รู้ก็จะกล่าวว่า ‘ข้าพเจ้ารู้’ เมื่อไม่เห็นก็จะกล่าวว่า
‘ข้าพเจ้าเห็น’ หรือสิ่งใดจะพึงเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์เกื้อกูล เพื่อทุกข์สิ้นกาลนาน
แก่ผู้อื่น ก็จะพึงชักชวนผู้อื่นเพื่อประโยชน์แก่สิ่งนั้น’ เขาเมื่อพิจารณาภิกษุนั้นอยู่
ย่อมรู้ได้อย่างนี้ว่า ‘ท่านผู้นี้ไม่มีธรรมที่เป็นเหตุให้เกิดโทสะ (เพราะว่า)ผู้มีจิตถูก
ธรรมที่เป็นเหตุให้เกิดโทสะครอบงำแล้ว เมื่อไม่รู้ก็จะพึงกล่าวว่า ‘ข้าพเจ้ารู้’ เมื่อ
ไม่เห็นก็จะพึงกล่าวว่า ‘ข้าพเจ้าเห็น’ หรือสิ่งใดจะพึงเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์
เกื้อกูล เพื่อทุกข์สิ้นกาลนานแก่ผู้อื่น พึงชักชวนผู้อื่นเพื่อประโยชน์แก่สิ่งนั้น
อนึ่ง ท่านผู้นี้มีกายสมาจาร วจีสมาจาร เหมือนผู้ไม่ประทุษร้าย ท่านผู้นี้แสดง
ธรรมอันลึกซึ้ง เห็นได้ยาก รู้ตามได้ยาก สงบ ประณีต คาดคะเนเองไม่ได้ เป็นธรรม
ละเอียด รู้ได้เฉพาะบัณฑิต ไม่ใช่ธรรมที่คนประทุษร้ายจะแสดงได้ง่าย’
[๔๓๒] เมื่อใด เขาพิจารณาภิกษุนั้นอยู่ย่อมเห็นชัดว่า เธอบริสุทธิ์จาก
ธรรมที่เป็นเหตุให้เกิดโทสะ เมื่อนั้นเขาย่อมพิจารณาภิกษุนั้นให้ยิ่งขึ้นไปในธรรมที่
เป็นเหตุให้เกิดโมหะว่า ‘ท่านผู้นี้มีธรรมที่เป็นเหตุให้เกิดโมหะ มีจิตถูกธรรมที่เป็น
เหตุให้เกิดโมหะครอบงำ เมื่อไม่รู้ก็จะกล่าวว่า ‘ข้าพเจ้ารู้’ เมื่อไม่เห็นก็จะกล่าวว่า
‘ข้าพเจ้าเห็น’ หรือสิ่งใดจะพึงเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์เกื้อกูล เพื่อทุกข์สิ้นกาลนาน
แก่ผู้อื่น พึงชักชวนผู้อื่นเพื่อประโยชน์แก่สิ่งนั้น’ เขาเมื่อพิจารณาภิกษุนั้นอยู่ ย่อมรู้
ได้อย่างนี้ว่า ‘ท่านผู้นี้ไม่มีธรรมที่เป็นเหตุให้เกิดโมหะ (เพราะว่า)ผู้มีจิตถูกธรรมที่
เป็นเหตุให้เกิดโมหะครอบงำแล้ว เมื่อไม่รู้ก็จะพึงกล่าวว่า ‘ข้าพเจ้ารู้’ เมื่อไม่เห็น
ก็จะพึงกล่าวว่า ‘ข้าพเจ้าเห็น’ หรือสิ่งใดจะพึงเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์เกื้อกูล เพื่อ
ทุกข์สิ้นกาลนานแก่ผู้อื่น พึงชักชวนผู้อื่นเพื่อประโยชน์แก่สิ่งนั้น
อนึ่ง ท่านผู้นี้มีกายสมาจาร วจีสมาจาร เหมือนผู้ไม่หลง ท่านผู้นี้แสดงธรรม
อันลึกซึ้ง เห็นได้ยาก รู้ตามได้ยาก สงบ ประณีต คาดคะเนเองไม่ได้ เป็นธรรม
ละเอียด รู้ได้เฉพาะบัณฑิต ไม่ใช่ธรรมที่คนหลงจะแสดงได้ง่าย’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๕๔๑ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค] ๕. จังกีสูตร

เมื่อใด เขาพิจารณาภิกษุนั้นอยู่ ย่อมเห็นชัดว่าเธอบริสุทธิ์จากธรรมที่เป็นเหตุ
ให้เกิดโมหะ เมื่อนั้น เขาสร้างศรัทธาในภิกษุนั้นอย่างมั่นคง จึงเกิดศรัทธาแล้ว
เข้าไปหา เมื่อเข้าไปหา ย่อมนั่งใกล้ เมื่อนั่งใกล้ ย่อมเงี่ยโสตลง เขาเงี่ยโสตลงแล้ว
ฟังธรรม๑อยู่ ย่อมทรงจำธรรม พิจารณาเนื้อความแห่งธรรมที่ทรงจำไว้แล้ว
เมื่อพิจารณาเนื้อความอยู่ ธรรมทั้งหลายย่อมควรแก่การเพ่งพินิจ เมื่อธรรมควร
แก่การเพ่งพินิจมีอยู่ ฉันทะ๒ย่อมเกิด เกิดฉันทะแล้ว ย่อมอุตสาหะ ครั้นอุตสาหะ
แล้วย่อมพิจารณา ครั้นพิจารณาแล้ว ย่อมตั้งความเพียร เธอตั้งความเพียรแล้ว
ย่อมทำปรมัตถสัจจะให้แจ้งด้วยกาย และเห็นชัดปรมัตถสัจจะนั้นด้วยปัญญา
ภารทวาชะ ด้วยข้อปฏิบัติเพียงเท่านี้ การรู้สัจจะจึงมีได้ ด้วยข้อปฏิบัติเพียง
เท่านี้แล บุคคลย่อมรู้สัจจะได้ และเราย่อมบัญญัติการรู้สัจจะด้วยข้อปฏิบัติเพียง
เท่านี้ แต่ยังไม่ชื่อว่าเป็นการบรรลุสัจจะทีเดียว”

ตรัสตอบถึงการบรรลุสัจจะ

[๔๓๓] กาปทิกมาณพทูลถามว่า “ท่านพระโคดม การรู้สัจจะย่อมมีได้ด้วย
ข้อปฏิบัติเพียงเท่านี้ บุคคลชื่อว่ารู้สัจจะด้วยข้อปฏิบัติเพียงเท่านี้ และเราทั้งหลาย
ย่อมหวังการรู้สัจจะด้วยข้อปฏิบัติเพียงเท่านี้หรือ การบรรลุสัจจะย่อมมีได้ด้วยข้อ
ปฏิบัติเพียงเท่าไร บุคคลย่อมบรรลุสัจจะด้วยข้อปฏิบัติเพียงเท่าไร ข้าพเจ้าขอทูล
ถามท่านพระโคดมถึงการบรรลุสัจจะ”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ภารทวาชะ การปฏิบัติ เจริญ ทำให้มากซึ่ง
ธรรมเหล่านั้น ชื่อว่าเป็นการบรรลุสัจจะ ด้วยข้อปฏิบัติเพียงเท่านี้ การบรรลุสัจจะ
ย่อมมีได้ บุคคลย่อมบรรลุสัจจะด้วยข้อปฏิบัติเพียงเท่านี้ และเราย่อมบัญญัติการ
บรรลุสัจจะด้วยข้อปฏิบัติเพียงเท่านี้”


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค] ๕. จังกีสูตร

ตรัสตอบถึงธรรมมีอุปการะมาก

[๔๓๔] กาปทิกมาณพทูลถามว่า “ท่านพระโคดม การบรรลุสัจจะย่อมมีได้
ด้วยข้อปฏิบัติเพียงเท่านี้ บุคคลย่อมบรรลุสัจจะด้วยข้อปฏิบัติเพียงเท่านี้ และเรา
ทั้งหลายย่อมหวังการบรรลุสัจจะด้วยข้อปฏิบัติเพียงเท่านี้หรือ ธรรมมีอุปการะมาก
แก่การบรรลุสัจจะเป็นอย่างไร ข้าพเจ้าขอทูลถามท่านพระโคดมถึงธรรมมีอุปการะ
มากแก่การบรรลุสัจจะ”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ภารทวาชะ ความเพียรมีอุปการะมากแก่
การบรรลุสัจจะ ถ้าบุคคลไม่ตั้งความเพียรนั้นไว้ ก็จะไม่พึงบรรลุสัจจะนี้ได้ แต่เพราะ
เขาตั้งความเพียรไว้จึงบรรลุสัจจะได้ ฉะนั้น ความเพียรจึงมีอุปการะมากแก่การ
บรรลุสัจจะ”
“ธรรมมีอุปการะมากแก่ความเพียรเป็นอย่างไร ข้าพระองค์ขอทูลถามท่าน
พระโคดมถึงธรรมมีอุปการะมากแก่ความเพียร พระพุทธเจ้าข้า”
“ปัญญาเครื่องพิจารณามีอุปการะมากแก่ความเพียร ถ้าบุคคลไม่พิจารณาปัญญา
เครื่องพิจารณานั้นก็จะพึงตั้งความเพียรนี้ไว้ไม่ได้ แต่เพราะเขาพิจารณาจึงตั้งความเพียร
ไว้ได้ ฉะนั้น ปัญญาเครื่องพิจารณาจึงมีอุปการะมากแก่ความเพียร”
“ธรรมมีอุปการะมากแก่ปัญญาเครื่องพิจารณาเป็นอย่างไร ข้าพระองค์ขอทูล
ถามท่านพระโคดมถึงธรรมมีอุปการะมากแก่ปัญญาเครื่องพิจารณา พระพุทธเจ้าข้า”
“ความอุตสาหะมีอุปการะมากแก่ปัญญาเครื่องพิจารณา ถ้าบุคคลไม่อุตสาหะ
ก็จะพึงพิจารณาไม่ได้ แต่เพราะเขาอุตสาหะจึงพิจารณาได้ ฉะนั้น ความอุตสาหะจึง
มีอุปการะมากแก่ปัญญาเครื่องพิจารณา”
“ธรรมมีอุปการะมากแก่ความอุตสาหะเป็นอย่างไร ข้าพระองค์ขอทูลถามท่าน
พระโคดมถึงธรรมมีอุปการะมากแก่ความอุตสาหะ พระพุทธเจ้าข้า”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๕๔๓ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค] ๕. จังกีสูตร

“ฉันทะมีอุปการะมากแก่ความอุตสาหะ ถ้าฉันทะไม่เกิด บุคคลก็จะไม่พึง
อุตสาหะ แต่เพราะฉันทะเกิด เขาจึงอุตสาหะ ฉะนั้น ฉันทะจึงมีอุปการะมากแก่
ความอุตสาหะ”
“ธรรมมีอุปการะมากแก่ฉันทะเป็นอย่างไร ข้าพระองค์ขอทูลถามท่านพระโคดม
ถึงธรรมมีอุปการะมากแก่ฉันทะ พระพุทธเจ้าข้า”
“ความควรแก่การเพ่งพินิจแห่งธรรมเป็นธรรมมีอุปการะมากแก่ฉันทะ ถ้าธรรม
ทั้งหลายไม่ควรแก่การเพ่งพินิจ ฉันทะก็ไม่เกิด แต่เพราะธรรมทั้งหลายควรแก่การ
เพ่งพินิจ ฉันทะจึงเกิด ฉะนั้น ความควรแก่การเพ่งพินิจแห่งธรรมจึงมีอุปการะมาก
แก่ฉันทะ”
“ธรรมมีอุปการะมากแก่ความควรแก่การเพ่งพินิจแห่งธรรมเป็นอย่างไร
ข้าพระองค์ขอทูลถามท่านพระโคดมถึงธรรมมีอุปการะมากแก่ความควรแก่การเพ่งพินิจ
แห่งธรรม พระพุทธเจ้าข้า”
“ปัญญาเครื่องไตร่ตรองเนื้อความเป็นธรรมมีอุปการะมากแก่ความควรแก่การ
เพ่งพินิจแห่งธรรม ถ้าบุคคลไม่ไตร่ตรองเนื้อความ ธรรมทั้งหลายก็จะไม่พึงควรแก่
การเพ่งพินิจ แต่เพราะเขาไตร่ตรองเนื้อความ ธรรมทั้งหลายจึงควรแก่การเพ่งพินิจ
ฉะนั้น ปัญญาเครื่องไตร่ตรองเนื้อความจึงมีอุปการะมากแก่ความควรแก่การเพ่งพินิจ
แห่งธรรม”
“ธรรมมีอุปการะมากแก่ปัญญาเครื่องไตร่ตรองเนื้อความเป็นอย่างไร ข้าพระองค์
ขอทูลถามท่านพระโคดมถึงธรรมมีอุปการะมากแก่ปัญญาเครื่องไตร่ตรองเนื้อความ
พระพุทธเจ้าข้า”
“การทรงจำธรรมมีอุปการะมากแก่ปัญญาเครื่องไตร่ตรองเนื้อความ ถ้าบุคคล
ไม่ทรงจำธรรมนั้น ก็จะพึงไตร่ตรองเนื้อความนี้ไม่ได้ แต่เพราะเขาทรงจำธรรมไว้ได้
จึงไตร่ตรองเนื้อความได้ ฉะนั้น การทรงจำธรรมจึงมีอุปการะมากแก่ปัญญาเครื่อง
ไตร่ตรองเนื้อความ”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๕๔๔ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค] ๕. จังกีสูตร

“ธรรมมีอุปการะแก่การทรงจำธรรมเป็นอย่างไร ข้าพระองค์ขอทูลถามท่านพระ
โคดมถึงธรรมมีอุปการะมากแก่การทรงจำธรรม พระพุทธเจ้าข้า”
“การฟังธรรมมีอุปการะมากแก่การทรงจำธรรม ถ้าบุคคลไม่ฟังธรรมนั้น ก็จะ
พึงทรงจำธรรมนี้ไม่ได้ แต่เพราะเขาฟังธรรมจึงทรงจำธรรมไว้ได้ ฉะนั้น การฟังธรรม
จึงมีอุปการะมากแก่การทรงจำธรรม”
“ธรรมมีอุปการะมากแก่การฟังธรรมเป็นอย่างไร ข้าพระองค์ขอทูลถามท่าน
พระโคดมถึงธรรมมีอุปการะมากแก่การฟังธรรม พระพุทธเจ้าข้า”
“การเงี่ยโสตลงมีอุปการะมากแก่การฟังธรรม ถ้าบุคคลไม่เงี่ยโสตลง ก็จะพึง
ฟังธรรมนี้ไม่ได้ แต่เพราะเขาเงี่ยโสตลงจึงฟังธรรมได้ ฉะนั้น การเงี่ยโสตลงจึงมี
อุปการะมากแก่การฟังธรรม”
“ธรรมมีอุปการะมากแก่การเงี่ยโสตลงเป็นอย่างไร ข้าพระองค์ขอทูลถามท่าน
พระโคดมถึงธรรมมีอุปการะมากแก่การเงี่ยโสตลง พระพุทธเจ้าข้า”
“การเข้าไปนั่งใกล้มีอุปการะมากแก่การเงี่ยโสตลง ถ้าบุคคลไม่เข้าไปนั่งใกล้
ก็จะพึงเงี่ยโสตลงไม่ได้ แต่เพราะเขาเข้าไปนั่งใกล้จึงเงี่ยโสตลงได้ ฉะนั้น การเข้าไป
นั่งใกล้จึงมีอุปการะมากแก่การเงี่ยโสตลง”
“ธรรมมีอุปการะมากแก่การเข้าไปนั่งใกล้เป็นอย่างไร ข้าพระองค์ขอทูลถาม
ท่านพระโคดมถึงธรรมมีอุปการะมากแก่การเข้าไปนั่งใกล้ พระพุทธเจ้าข้า”
“การเข้าไปหามีอุปการะมากแก่การเข้าไปนั่งใกล้ ถ้าบุคคลไม่เข้าไปหา ก็จะ
พึงนั่งใกล้ไม่ได้ เพราะเขาเข้าไปหาจึงนั่งใกล้ได้ ฉะนั้น การเข้าไปหาจึงมีอุปการะ
มากแก่การเข้าไปนั่งใกล้”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๕๔๕ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค] ๕. จังกีสูตร

“ท่านพระโคดม ธรรมมีอุปการะมากแก่การเข้าไปหาเป็นอย่างไร ข้าพระองค์
ขอทูลถามท่านพระโคดมถึงธรรมมีอุปการะมากแก่การเข้าไปหา”
“ภารทวาชะ ศรัทธามีอุปการะมากแก่การเข้าไปหา ถ้าศรัทธาไม่เกิด บุคคล
ก็จะไม่พึงเข้าไปหา แต่เพราะศรัทธาเกิด เขาจึงเข้าไปหา ฉะนั้น ศรัทธาจึงมีอุปการะ
มากแก่การเข้าไปหา”
[๔๓๕] กาปทิกมาณพกราบทูลว่า “ข้าพระองค์ได้ทูลถามท่านพระโคดม
ถึงการรักษาสัจจะ ท่านพระโคดมได้ตรัสตอบการรักษาสัจจะแล้ว และข้อที่ตรัสตอบ
นั้นข้าพระองค์ชอบใจและถูกใจนัก และข้าพระองค์ก็ชื่นชมด้วยข้อที่ตรัสตอบนั้น
ข้าพระองค์ได้ทูลถามท่านพระโคดมถึงการรู้สัจจะ ท่านพระโคดมได้ตรัสตอบ
การรู้สัจจะแล้ว และข้อที่ตรัสตอบนั้นข้าพระองค์ชอบใจและถูกใจนัก และข้าพระองค์
ก็ชื่นชมด้วยข้อที่ตรัสตอบนั้น
ข้าพระองค์ได้ทูลถามท่านพระโคดมถึงการบรรลุสัจจะ ท่านพระโคดมก็ได้
ตรัสตอบการบรรลุสัจจะแล้ว และข้อที่ตรัสตอบนั้น ข้าพระองค์ชอบใจและถูกใจนัก
และข้าพระองค์ก็ชื่มชมด้วยข้อที่ตรัสตอบนั้น
ข้าพระองค์ได้ทูลถามท่านพระโคดมถึงธรรมมีอุปการะมากแก่การบรรลุสัจจะ
ท่านพระโคดมก็ได้ตรัสตอบธรรมมีอุปการะมากแก่การบรรลุสัจจะแล้ว และข้อที่ตรัส
ตอบนั้น ข้าพระองค์ชอบใจและถูกใจนัก และข้าพระองค์ก็ชื่นชมด้วยข้อที่ตรัส
ตอบนั้น
ข้าพระองค์ได้ทูลถามท่านพระโคดมถึงปัญหาข้อใด ๆ ท่านพระโคดมก็ได้ตรัสตอบ
ปัญหาข้อนั้น ๆ แล้ว และข้อที่ตรัสตอบนั้นข้าพระองค์ชอบใจและถูกใจนัก และ
ข้าพระองค์ก็ชื่นชมด้วยข้อที่ตรัสตอบนั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๕๔๖ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค] ๖. เอสุการีสูตร

ข้าแต่ท่านพระโคดม เมื่อก่อนข้าพระองค์รู้อย่างนี้ว่า ‘พวกสมณะโล้นเหล่านี้
เป็นสามัญชน เกิดจากพระบาทของพระพรหมเป็นกัณหชาติ๑(วรรณะศูทร) เป็นใครกัน
และจะรู้ทั่วถึงธรรมได้อย่างไร ท่านพระโคดมได้ทรงทำให้ข้าพระองค์เกิดความรัก
สมณะในหมู่สมณะ ให้เกิดความเลื่อมใสสมณะในหมู่สมณะ และให้เกิดความเคารพ
สมณะในหมู่สมณะแล้วหนอ’ ข้าแต่ท่านพระโคดม พระภาษิตของพระองค์ชัดเจน
ไพเราะยิ่งนัก ฯลฯ ขอท่านพระโคดมจงทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะ
ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปจนตลอดชีวิต” ดังนี้แล

จังกีสูตรที่ ๕ จบ

๖. เอสุการีสูตร
ว่าด้วยพราหมณ์ชื่อเอสุการี

[๔๓๖] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิก-
เศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้นแล พราหมณ์ชื่อเอสุการีได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค
ถึงที่ประทับได้สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้ว ได้นั่ง ณ
ที่สมควร

การบำเรอ ๔ ประเภท

เอสุการีพราหมณ์ ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า “ท่านพระโคดม พราหมณ์
ทั้งหลายบัญญัติการบำเรอไว้ ๔ ประเภท คือ

๑. บัญญัติการบำเรอพราหมณ์ ๒. บัญญัติการบำเรอกษัตริย์
๓. บัญญัติการบำเรอแพศย์ ๔. บัญญัติการบำเรอศูทร


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค] ๖. เอสุการีสูตร

ในการบำเรอทั้ง ๔ ประเภทนั้น พราหมณ์ทั้งหลายบัญญัติการบำเรอพราหมณ์
ไว้ว่า ‘พราหมณ์ควรบำเรอพราหมณ์ กษัตริย์ควรบำเรอพราหมณ์ แพศย์ควรบำเรอ
พราหมณ์ หรือศูทรควรบำเรอพราหมณ์’ พราหมณ์ทั้งหลายบัญญัติการบำเรอพราหมณ์
ไว้เช่นนี้แล
พราหมณ์ทั้งหลายบัญญัติการบำเรอกษัตริย์ไว้ว่า ‘กษัตริย์ควรบำเรอกษัตริย์
แพศย์ควรบำเรอกษัตริย์ หรือศูทรควรบำเรอกษัตริย์’ พราหมณ์ทั้งหลายบัญญัติ
การบำเรอกษัตริย์ไว้เช่นนี้แล
พราหมณ์ทั้งหลายบัญญัติการบำเรอแพศย์ไว้ว่า ‘แพศย์ควรบำเรอแพศย์
หรือศูทรควรบำเรอแพศย์’ พราหมณ์ทั้งหลายบัญญัติการบำเรอแพศย์ไว้เช่นนี้แล
พราหมณ์ทั้งหลายบัญญัติการบำเรอศูทรไว้ว่า ‘ศูทรเท่านั้นควรบำเรอศูทร
ผู้อื่นใครเล่าจักบำเรอศูทร’ พราหมณ์ทั้งหลายบัญญัติการบำเรอศูทรไว้เช่นนี้แล
ท่านพระโคดม พราหมณ์ทั้งหลายบัญญัติการบำเรอไว้ ๔ ประเภทนี้ ท่าน
พระโคดมตรัสการบำเรอนี้ไว้อย่างไร”
[๔๓๗] พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “พราหมณ์ ชาวโลกทั้งปวงเห็นด้วยกับ
คำของพราหมณ์ที่ว่า ‘พราหมณ์ทั้งหลายบัญญัติการบำเรอไว้ ๔ ประเภทเท่านี้หรือ”
เอสุการีพราหมณ์ ทูลตอบว่า “ไม่ใช่ ท่านพระโคดม”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “พราหมณ์ บุรุษผู้ขัดสน ไม่มีทรัพย์สินสิ่งไรเป็น
ของตน ยากจน ชนทั้งหลายแขวนก้อนเนื้อที่อาบยาพิษไว้สำหรับเขาซึ่งไม่ชอบพอกัน
โดยแกล้งพูดว่า ‘พ่อคุณ เชิญท่านกินเนื้อนี้ แต่ต้องจ่ายค่าเนื้อเพิ่มขึ้น’ แม้ฉันใด
พราหมณ์ทั้งหลายบัญญัติการบำเรอไว้ ๔ ประเภทแก่สมณพราหมณ์เหล่านั้น
ฝ่ายเดียว โดยไม่มีฝ่ายอื่นยินยอม ฉันนั้นเหมือนกัน เราไม่กล่าวว่า ‘สิ่งทั้งปวง
ควรบำเรอ’ แต่ก็ไม่กล่าวว่า ‘สิ่งทั้งปวงไม่ควรบำเรอ’ เพราะว่า เมื่อบุคคลบำเรอ
สิ่งใดอยู่ เพราะเหตุแห่งการบำเรอสิ่งนั้นพึงมีแต่ความชั่ว ไม่มีความดีเลย เราจึงไม่
กล่าวว่า ‘สิ่งนั้นควรบำเรอ’ แต่เมื่อบุคคลบำเรอสิ่งใดเพราะเหตุแห่งการบำเรอสิ่งนั้น
พึงมีแต่ความดีเท่านั้น ไม่มีความชั่วเลย เราจึงกล่าวว่า ‘สิ่งนั้นควรบำเรอ’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๕๔๘ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค] ๖. เอสุการีสูตร

ถ้าแม้ชนทั้งหลายจะพึงถามกษัตริย์อย่างนี้ว่า ‘เมื่อท่านบำเรอสิ่งใดอยู่ เพราะ
เหตุแห่งการบำเรอสิ่งนั้นพึงมีแต่ความชั่ว ไม่มีความดีเลย หรือว่าเมื่อท่านบำเรอ
สิ่งใดอยู่ เพราะเหตุแห่งการบำเรอสิ่งนั้นพึงมีแต่ความดี ไม่มีความชั่วเลย ในกรณี
เช่นนี้ท่านควรบำเรอสิ่งไหน’ กษัตริย์เมื่อจะตรัสตอบให้ถูกต้อง ควรตรัสตอบอย่างนี้ว่า
‘เมื่อข้าพเจ้าบำเรอสิ่งใดอยู่ เพราะเหตุแห่งการบำเรอสิ่งนั้นพึงมีแต่ความชั่ว ไม่มี
ความดีเลย ข้าพเจ้าไม่ควรบำเรอสิ่งนั้น แต่เมื่อข้าพเจ้าบำเรอสิ่งใดอยู่ เพราะเหตุ
แห่งการบำเรอสิ่งนั้นพึงมีแต่ความดี ไม่มีความชั่วเลย ข้าพเจ้าควรบำเรอสิ่งนั้น’
ถ้าแม้ชนทั้งหลายพึงถามพราหมณ์ ฯลฯ
ถ้าแม้ชนทั้งหลายพึงถามแพศย์ ฯลฯ
ถ้าแม้ชนทั้งหลายพึงถามศูทรอย่างนี้ว่า ‘เมื่อท่านบำเรอสิ่งใดอยู่ เพราะเหตุ
แห่งการบำเรอสิ่งนั้นพึงมีแต่ความชั่ว ไม่มีความดีเลย หรือว่าเมื่อท่านบำเรอสิ่งใดอยู่
เพราะเหตุแห่งการบำเรอสิ่งนั้นพึงมีแต่ความดี ไม่มีความชั่วเลย ในกรณีเช่นนี้ท่าน
ควรบำเรอสิ่งไหน’ แม้ศูทรเมื่อจะตอบให้ถูกต้อง ควรตอบอย่างนี้ว่า ‘เมื่อข้าพเจ้า
บำเรอสิ่งใดอยู่ เพราะเหตุแห่งการบำเรอสิ่งนั้นพึงมีแต่ความชั่ว ไม่มีความดีเลย
ข้าพเจ้าไม่ควรบำเรอสิ่งนั้น แต่เมื่อข้าพเจ้าบำเรอสิ่งใดอยู่ เพราะเหตุแห่งการบำเรอ
สิ่งนั้นพึงมีแต่ความดีเท่านั้น ไม่มีความชั่วเลย ข้าพเจ้าควรบำเรอสิ่งนั้น’
เราจะกล่าวว่า ‘บุคคลเป็นผู้ประเสริฐเพราะเกิดในตระกูลสูง’ ก็หาไม่ จะกล่าว
ว่า ‘เขาเป็นผู้เลวทรามเพราะเกิดในตระกูลสูง’ ก็หาไม่ จะกล่าวว่า ‘บุคคลเป็น
ผู้ประเสริฐเพราะความเป็นผู้มีวรรณะอันยิ่ง’ ก็หาไม่ จะกล่าวว่า ‘เขาเป็นผู้เลวทราม
เพราะความเป็นผู้มีวรรณะอันยิ่ง’ ก็หาไม่ เรากล่าวว่า ‘บุคคลเป็นผู้ประเสริฐ เพราะ
ความเป็นผู้มีโภคะมาก’ ก็หาไม่ แต่จะกล่าวว่า ‘เขาเป็นผู้เลวทราม เพราะความ
เป็นผู้มีโภคะมาก’ ก็หาไม่
[๔๓๘] พราหมณ์ เพราะบุคคลบางคนในโลกนี้ แม้เกิดในตระกูลสูงก็ยังเป็น
ผู้ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม พูดเท็จ พูดส่อเสียด พูดคำหยาบ พูดเพ้อเจ้อ
เป็นผู้เพ่งเล็งอยากได้สิ่งของของผู้อื่น มีจิตพยาบาท เป็นมิจฉาทิฏฐิ เพราะฉะนั้น
เราจึงไม่กล่าวว่า ‘เขาเป็นผู้ประเสริฐเพราะเกิดในตระกูลสูง’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๕๔๙ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค] ๖. เอสุการีสูตร

แต่บุคคลบางคนในโลกนี้ แม้เกิดในตระกูลสูงก็ยังเป็นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์
เว้นขาดจากการลักทรัพย์ เว้นขาดจากการประพฤติผิดในกาม เว้นขาดจากการ
พูดเท็จ เว้นขาดจากการพูดส่อเสียด เว้นขาดจากการพูดคำหยาบ เว้นขาดจากการ
พูดเพ้อเจ้อ ไม่เพ่งเล็งอยากได้สิ่งของของผู้อื่น มีจิตไม่พยาบาท เป็นสัมมาทิฏฐิ
เพราะฉะนั้น เราจึงไม่กล่าวว่า ‘เขาเป็นผู้เลวทราม เพราะเกิดในตระกูลสูง’
[๔๓๙] พราหมณ์ เพราะบุคคลบางคนในโลกนี้ แม้มีวรรณะสูงก็ยังเป็นผู้
ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม พูดเท็จ พูดส่อเสียด พูดคำหยาบ พูดเพ้อเจ้อ
เพ่งเล็งอยากได้สิ่งของของผู้อื่น มีจิตพยาบาท เป็นมิจฉาทิฏฐิ เพราะฉะนั้น เราจึง
ไม่กล่าวว่า ‘เขาเป็นผู้ประเสริฐเพราะความเป็นผู้มีวรรณะสูง’
บุคคลบางคนในโลกนี้ แม้มีวรรณะสูงก็เป็นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ เว้นขาดจาก
การลักทรัพย์ เว้นขาดจากการประพฤติผิดในกาม เว้นขาดจากการพูดเท็จ เว้นขาด
จากการพูดส่อเสียด เว้นขาดจากการพูดคำหยาบ เว้นขาดจากการพูดเพ้อเจ้อ ไม่เพ่งเล็ง
อยากได้สิ่งของของผู้อื่น มีจิตไม่พยาบาท เป็นสัมมาทิฏฐิ เพราะฉะนั้น เราจึงไม่
กล่าวว่า ‘เขาเป็นผู้เลวทรามเพราะความเป็นผู้มีวรรณะสูง’
บุคคลบางคนในโลกนี้ แม้มีทรัพย์สมบัติมากก็ยังเป็นผู้ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์
ประพฤติผิดในกาม พูดเท็จ พูดส่อเสียด พูดคำหยาบ พูดเพ้อเจ้อ เพ่งเล็งอยากได้
สิ่งของของผู้อื่น มีจิตพยาบาท เป็นมิจฉาทิฏฐิ เพราะฉะนั้น เราจึงไม่กล่าวว่า
‘เขาเป็นผู้ประเสริฐเพราะความเป็นผู้มีทรัพย์สมบัติมาก’
บุคคลบางคนในโลกนี้ แม้มีทรัพย์สมบัติมากก็ยังเป็นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์
เว้นขาดจากการลักทรัพย์ เว้นขาดจากการประพฤติผิดในกาม เว้นขาดจากการ
พูดเท็จ เว้นขาดจากการพูดส่อเสียด เว้นขาดจากการพูดคำหยาบ เว้นขาดจากการ
พูดเพ้อเจ้อ ไม่เพ่งเล็งอยากได้สิ่งของของผู้อื่น มีจิตไม่พยาบาท เป็นสัมมาทิฏฐิ
เพราะฉะนั้น เราจึงไม่กล่าวว่า ‘เขาเป็นผู้เลวทรามเพราะความเป็นผู้มีทรัพย์
สมบัติมาก’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๕๕๐ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค] ๖. เอสุการีสูตร

พราหมณ์ เราไม่กล่าวว่า ‘บุคคลต้องบำเรอสิ่งทั้งปวง’ แต่เราก็ไม่ปฏิเสธว่า
‘บุคคลไม่ต้องบำเรอสิ่งทั้งปวง’ เพราะว่า เมื่อบุคคลบำเรอสิ่งใดอยู่ ศรัทธา ศีล สุตะ
จาคะ ปัญญาย่อมเจริญ เพราะเหตุแห่งการบำเรอ เราจึงกล่าวว่า ‘บุคคลต้องบำเรอ
สิ่งนั้น”

ทรัพย์ ๔ ชนิด

[๔๔๐] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว เอสุการีพราหมณ์ได้กราบทูล
พระผู้มีพระภาคว่า “ท่านพระโคดม พราหมณ์ทั้งหลายบัญญัติทรัพย์ไว้ ๔ ชนิด คือ

๑. บัญญัติทรัพย์ของพราหมณ์ ๒. บัญญัติทรัพย์ของกษัตริย์
๓. บัญญัติทรัพย์ของแพศย์ ๔. บัญญัติทรัพย์ของศูทร

ในทรัพย์ ๔ ชนิดนั้น พราหมณ์ทั้งหลายบัญญัติทรัพย์ของพราหมณ์คือการ
เที่ยวไปเพื่ออาหาร แต่พราหมณ์เมื่อดูหมิ่นทรัพย์คือการเที่ยวไปเพื่ออาหาร ชื่อว่า
เป็นผู้ทำหน้าที่ผิด เปรียบเหมือนคนเลี้ยงโคถือเอาของที่เจ้าของเขามิได้ให้ พราหมณ์
ทั้งหลายบัญญัติทรัพย์ของพราหมณ์ไว้เช่นนี้แล
พราหมณ์ทั้งหลายบัญญัติทรัพย์ของกษัตริย์คือแล่งธนู แต่กษัตริย์เมื่อดูหมิ่น
ทรัพย์คือแล่งธนู ชื่อว่าเป็นผู้ทำหน้าที่ผิด เปรียบเหมือนคนเลี้ยงโคถือเอาสิ่งของ
ที่เจ้าของมิได้ให้ พราหมณ์ทั้งหลายบัญญัติทรัพย์ของกษัตริย์ไว้เช่นนี้แล
พราหมณ์ทั้งหลายบัญญัติทรัพย์ของแพศย์คือกสิกรรมและโครักขกรรม แต่แพศย์
เมื่อดูหมิ่นทรัพย์คือกสิกรรมและโครักขกรรม ชื่อว่าเป็นผู้ทำหน้าที่ผิด เปรียบเหมือน
คนเลี้ยงโคถือเอาสิ่งของที่เจ้าของมิได้ให้ พราหมณ์ทั้งหลายบัญญัติทรัพย์ของแพศย์
ไว้เช่นนี้แล
พราหมณ์ทั้งหลายบัญญัติทรัพย์ของศูทรคือเคียวและไม้คาน แต่ศูทรเมื่อดูหมิ่น
ทรัพย์คือเคียวและไม้คาน ชื่อว่าเป็นผู้ทำหน้าที่ผิด เปรียบเหมือนคนเลี้ยงโคถือเอาสิ่งของ
ที่เจ้าของมิได้ให้ ฉะนั้น พราหมณ์ทั้งหลายบัญญัติทรัพย์ของศูทรไว้เช่นนี้แล

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๕๕๑ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค] ๖. เอสุการีสูตร

ท่านพระโคดม พราหมณ์ทั้งหลายย่อมบัญญัติทรัพย์ไว้ ๔ ชนิดนี้ ในเรื่องนี้
ท่านพระโคดมจะตรัสว่าอย่างไร”
[๔๔๑] พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “พราหมณ์ ชาวโลกทั้งปวงเห็นด้วยกับ
คำนั้นว่า ‘พราหมณ์ทั้งหลายบัญญัติทรัพย์ไว้ ๔ ชนิดเท่านี้หรือ”
เอสุการีพราหมณ์ทูลตอบว่า “ไม่ใช่ ท่านพระโคดม”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “พราหมณ์ บุรุษผู้ขัดสน ไม่มีทรัพย์สินสิ่งไรเป็น
ของตน ยากจน ชนทั้งหลายแขวนก้อนเนื้ออาบยาพิษไว้สำหรับเขาซึ่งไม่ชอบพอกัน
โดยแกล้งพูดว่า ‘พ่อคุณ เชิญท่านกินเนื้อนี้ แต่ต้องจ่ายค่าเนื้อเพิ่มขึ้น’ แม้ฉันใด
พราหมณ์ทั้งหลายบัญญัติทรัพย์ไว้ ๔ ประเภท แก่สมณพราหมณ์เหล่านั้นฝ่ายเดียว
โดยไม่มีฝ่ายอื่นยินยอม ฉันนั้นเหมือนกัน
แต่เราบัญญัติโลกุตตรธรรมอันเป็นอริยะว่าเป็นทรัพย์ของบุคคล เมื่อเขาระลึกถึง
วงศ์ตระกูลเก่าอันเป็นของมารดาบิดา อัตภาพเกิดในวงศ์ตระกูลใด ๆ ก็นับตามวงศ์
ตระกูลนั้น ๆ ถ้าอัตภาพเกิดในตระกูลกษัตริย์ก็นับว่า ‘เป็นกษัตริย์’ ถ้าอัตภาพเกิด
ในตระกูลพราหมณ์ก็นับว่า ‘เป็นพราหมณ์’ ถ้าอัตภาพเกิดในตระกูลแพศย์ก็นับว่า
‘เป็นแพศย์’ ถ้าอัตภาพเกิดในตระกูลศูทรก็นับว่า ‘เป็นศูทร’ เปรียบเหมือนไฟอาศัย
เชื้อใดๆ ติดขึ้นก็นับตามเชื้อนั้น ๆ ถ้าไฟอาศัยไม้ติดขึ้น ก็นับว่า ‘เป็นไฟไม้’ ถ้าอาศัย
หยากเยื่อติดขึ้น ก็นับว่า ‘เป็นไฟหยากเยื่อ’ ถ้าอาศัยหญ้าติดขึ้น ก็นับว่า ‘เป็นไฟหญ้า’
ถ้าอาศัยมูลโคติดขึ้นก็นับว่า ‘เป็นไฟมูลโค’ แม้ฉันใด เราก็ฉันนั้นเหมือนกัน บัญญัติ
โลกุตตรธรรมอันเป็นอริยะว่าเป็นทรัพย์ของบุคคล เมื่อเขาระลึกถึงวงศ์ตระกูลเก่าอันเป็น
ของมารดาบิดา อัตภาพเกิดในตระกูลใด ๆ ก็นับตามตระกูลนั้น ๆ ถ้าอัตภาพเกิดใน
ตระกูลกษัตริย์ ก็นับว่า ‘เป็นกษัตริย์’ ถ้าอัตภาพเกิดในตระกูลพราหมณ์ ก็นับว่า
‘เป็นพราหมณ์’ ถ้าอัตภาพเกิดในตระกูลแพศย์ ก็นับว่า ‘เป็นแพศย์’ ถ้าอัตภาพเกิด
ในตระกูลศูทร ก็นับว่า ‘เป็นศูทร’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๕๕๒ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค] ๖. เอสุการีสูตร

คนจะดีหรือชั่วมิใช่เพราะตระกูล

พราหมณ์ ถ้าแม้กุลบุตรออกจากตระกูลกษัตริย์บวชเป็นบรรพชิต และเขา
อาศัยธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศแล้ว เป็นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ เว้นขาดจาก
การลักทรัพย์ เว้นขาดจากพฤติกรรมอันเป็นข้าศึกต่อพรหมจรรย์ เว้นขาดจากการ
พูดเท็จ เว้นขาดจากการพูดส่อเสียด เว้นขาดจากการพูดคำหยาบ เว้นขาดจากการ
พูดเพ้อเจ้อ ไม่เพ่งเล็งอยากได้สิ่งของของผู้อื่น มีจิตไม่พยาบาท เป็นสัมมาทิฏฐิ
ยินดีกุศลธรรมอันเป็นเครื่องนำออกจากทุกข์
ถ้าแม้กุลบุตรออกจากตระกูลพราหมณ์ ฯลฯ
ถ้าแม้กุลบุตรออกจากตระกูลแพศย์ ฯลฯ
ถ้าแม้กุลบุตรออกจากตระกูลศูทรบวชเป็นบรรพชิต และเขาอาศัยธรรมวินัยที่
ตถาคตประกาศแล้ว เป็นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ เว้นขาดจากการลักทรัพย์ เว้นขาด
จากพฤติกรรมอันเป็นข้าศึกต่อพรหมจรรย์ เว้นขาดจากการพูดเท็จ เว้นขาดจาก
การพูดส่อเสียด เว้นขาดจากการพูดคำหยาบ เว้นขาดจากการพูดเพ้อเจ้อ ไม่เพ่งเล็ง
อยากได้สิ่งของของผู้อื่น มีจิตไม่พยาบาท เป็นสัมมาทิฏฐิ ยินดีกุศลธรรมอันเป็นเครื่อง
นำออกจากทุกข์
[๔๔๒] พราหมณ์ ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร ในประเทศนี้พราหมณ์
เท่านั้นหรือย่อมสามารถเจริญเมตตาจิตอันไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียน กษัตริย์
แพศย์ ศูทร ไม่สามารถหรือ”
เอสุการีพราหมณ์กราบทูลว่า “ไม่ใช่เช่นนั้น ท่านพระโคดม ในประเทศนี้แม้
กษัตริย์ก็สามารถเจริญเมตตาจิตอันไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนได้
แม้พราหมณ์ ฯลฯ
แม้แพศย์ ฯลฯ
แม้ศูทร ฯลฯ
ข้าแต่ท่านพระโคดม ความจริง ในประเทศนี้ แม้วรรณะ ๔ ทั้งหมดก็สามารถ
เจริญเมตตาจิต อันไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนได้”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๕๕๓ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค] ๖. เอสุการีสูตร

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “พราหมณ์ อย่างนั้นเหมือนกันแล ถ้าแม้กุลบุตร
ออกจากตระกูลกษัตริย์บวชเป็นบรรพชิต และเขาอาศัยธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศแล้ว
เป็นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ เว้นขาดจากการลักทรัพย์ เว้นขาดจากพฤติกรรม
อันเป็นข้าศึกต่อพรหมจรรย์ เว้นขาดจากการพูดเท็จ เว้นขาดจากการพูดส่อเสียด
เว้นขาดจากการพูดคำหยาบ เว้นขาดจากการพูดเพ้อเจ้อ ไม่เพ่งเล็งอยากได้สิ่งของ
ของผู้อื่น มีจิตไม่พยาบาท เป็นสัมมาทิฏฐิ ยินดีกุศลธรรมอันเป็นเครื่องนำออก
จากทุกข์
ถ้าแม้กุลบุตรออกจากตระกูลพราหมณ์ ฯลฯ
ถ้าแม้กุลบุตรออกจากตระกูลแพศย์ ฯลฯ
ถ้าแม้กุลบุตรออกจากตระกูลศูทรบวชเป็นบรรพชิต และเขาอาศัยธรรมวินัยที่
ตถาคตประกาศแล้ว เป็นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ เว้นขาดจากการลักทรัพย์ เว้นขาด
จากพฤติกรรมอันเป็นข้าศึกต่อพรหมจรรย์ เว้นขาดจากการพูดเท็จ เว้นขาดจากการ
พูดส่อเสียด เว้นขาดจากการพูดคำหยาบ เว้นขาดจากการพูดเพ้อเจ้อ ไม่เพ่งเล็ง
อยากได้สิ่งของของผู้อื่น มีจิตไม่พยาบาท เป็นสัมมาทิฏฐิ ยินดีกุศลธรรมอันเป็น
เครื่องนำออกจากทุกข์
[๔๔๓] พราหมณ์ ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร พราหมณ์เท่านั้นหรือ
ย่อมสามารถถือเอาเครื่องสีตัวสำหรับอาบน้ำไปยังแม่น้ำแล้วลอยละอองธุลีได้ กษัตริย์
แพศย์ ศูทร ไม่สามารถหรือ”
เอสุการีพราหมณ์กราบทูลว่า “ไม่ใช่เช่นนั้น ท่านพระโคดม แม้กษัตริย์ก็สามารถ
ถือเอาเครื่องสีตัวสำหรับอาบน้ำไปยังแม่น้ำแล้วลอยละอองธุลีได้
แม้พราหมณ์ ฯลฯ
แม้แพศย์ ฯลฯ
แม้ศูทร ฯลฯ
ข้าแต่ท่านพระโคดม ความจริง ในประเทศนี้ แม้วรรณะ ๔ ทั้งหมดก็สามารถ
ถือเอาเครื่องสีตัวสำหรับอาบน้ำไปยังแม่น้ำแล้วลอยละอองธุลีได้”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๕๕๔ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค] ๖. เอสุการีสูตร

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “พราหมณ์ อย่างนั้นเหมือนกันแล ถ้าแม้กุลบุตร
ออกจากตระกูลกษัตริย์บวชเป็นบรรพชิต และเขาอาศัยธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศแล้ว
เป็นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ เว้นขาดจากการลักทรัพย์ เว้นขาดจากพฤติกรรมอันเป็น
ข้าศึกต่อพรหมจรรย์ เว้นขาดจากการพูดเท็จ เว้นขาดจากการพูดส่อเสียด เว้นขาด
จากการพูดคำหยาบ เว้นขาดจากการพูดเพ้อเจ้อ ไม่เพ่งเล็งอยากได้สิ่งของของผู้อื่น
มีจิตไม่พยาบาท เป็นสัมมาทิฏฐิ ยินดีกุศลธรรมอันเป็นเครื่องนำออกจากทุกข์
ถ้าแม้กุลบุตรออกจากตระกูลพราหมณ์ ฯลฯ
ถ้าแม้กุลบุตรออกจากตระกูลแพศย์ ฯลฯ
ถ้าแม้กุลบุตรออกจากตระกูลศูทรบวชเป็นบรรพชิต และเขาอาศัยธรรมวินัยที่
ตถาคตประกาศแล้ว เป็นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ เว้นขาดจากการลักทรัพย์ เว้นขาด
จากพฤติกรรมอันเป็นข้าศึกต่อพรหมจรรย์ เว้นขาดจากการพูดเท็จ เว้นขาดจาก
การพูดส่อเสียด เว้นขาดจากการพูดคำหยาบ เว้นขาดจากการพูดเพ้อเจ้อ ไม่เพ่งเล็ง
อยากได้สิ่งของของผู้อื่น มีจิตไม่พยาบาท เป็นสัมมาทิฏฐิ ยินดีกุศลธรรมอันเป็นเครื่อง
นำออกจากทุกข์
[๔๔๔] พราหมณ์ ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร พระราชามหากษัตริย์
ในโลกนี้ผู้ได้รับมูรธาภิเษกแล้ว จะพึงทรงเกณฑ์บุรุษผู้มีฐานะต่าง ๆ กัน ๑๐๐ คน
ให้มาประชุมกันตรัสว่า ‘มาเถิดท่านทั้งหลาย ในจำนวนบุรุษเหล่านั้น บุรุษเหล่าใด
เกิดจากตระกูลกษัตริย์ ตระกูลพราหมณ์ ราชตระกูล บุรุษเหล่านั้นจงถือเอาไม้สัก
ไม้สาละ ไม้สน ไม้จันทน์ หรือไม้ทับทิม มาทำเป็นไม้สีไฟ แล้วจงสีให้ไฟลุกโพลงขึ้น
มาเถิดท่านทั้งหลาย ในจำนวนบุรุษเหล่านั้น บุรุษเหล่าใด เกิดจากตระกูลจัณฑาล
ตระกูลพราน ตระกูลช่างจักสาน ตระกูลช่างรถ ตระกูลคนขนขยะ บุรุษเหล่านั้น
จงถือเอาไม้รางสุนัข ไม้รางสุกร ไม้รางย้อมผ้า หรือไม้ละหุ่งมาทำเป็นไม้สีไฟ
แล้วจงสีให้ไฟลุกโพลงขึ้น’
พราหมณ์ ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร ไฟที่บุรุษทั้งหลายผู้เกิดจากตระกูล
กษัตริย์ ตระกูลพราหมณ์ ราชตระกูล ถือเอาไม้สัก ไม้สาละ ไม้สน ไม้จันทน์ หรือ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๕๕๕ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค] ๖. เอสุการีสูตร

ไม้ทับทิม มาทำเป็นไม้สีไฟ แล้วสีให้ไฟลุกโพลงขึ้นเท่านั้นหรือ เป็นไฟมีเปลว มีสี
มีแสงสว่าง และสามารถทำกิจที่ต้องทำด้วยไฟนั้นให้สำเร็จได้ ส่วนไฟที่บุรษทั้งหลาย
ผู้เกิดจากตระกูลจัณฑาล ตระกูลนายพราน ตระกูลช่างจักสาน ตระกูลช่างรถ ตระกูล
คนขนขยะ ถือเอาไม้รางสุนัข ไม้รางสุกร ไม้รางย้อมผ้า หรือไม้ละหุ่งมาทำเป็นไม้
สีไฟ แล้วสีให้ไฟลุกโพลงขึ้นนั้น เป็นไฟไม่มีเปลว ไม่มีสี ไม่มีแสงสว่าง และไม่สามารถ
ทำกิจที่ต้องทำด้วยไฟนั้นให้สำเร็จได้กระนั้นหรือ”
เอสุการีพราหมณ์กราบทูลว่า “ไม่ใช่เช่นนั้น ท่านพระโคดม แม้ไฟที่บุรุษ
ทั้งหลายผู้เกิดจากตระกูลกษัตริย์ ตระกูลพราหมณ์ ราชตระกูล ถือเอาไม้สัก ไม้สาละ
ไม้สน ไม้จันทน์ หรือไม้ทับทิม มาทำเป็นไม้สีไฟ แล้วสีให้ไฟลุกโพลงขึ้นนั้น ก็เป็น
ไฟมีเปลว มีสี มีแสงสว่าง และสามารถทำกิจที่ต้องทำด้วยไฟนั้นให้สำเร็จได้ แม้ไฟ
ที่บุรุษทั้งหลายผู้เกิดจากตระกูลจัณฑาล ตระกูลนายพราน ตระกูลช่างจักสาน
ตระกูลช่างรถ ตระกูลคนขนขยะ ถือเอาไม้รางสุนัข ไม้รางสุกร ไม้รางย้อมผ้า
หรือไม้ละหุ่ง มาทำเป็นไม้สีไฟ แล้วสีให้ไฟลุกโพลงขึ้นนั้น ก็เป็นไฟมีเปลว มีสี
มีแสงสว่าง และสามารถทำกิจที่ต้องทำด้วยไฟให้สำเร็จได้
ท่านพระโคดม ความจริงแม้ไฟทุกชนิด ก็เป็นไฟมีเปลว มีสี มีแสงสว่าง
และสามารถทำกิจที่ต้องทำด้วยไฟให้สำเร็จได้ทั้งหมด”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “พราหมณ์ อย่างนั้นเหมือนกัน ถ้าแม้บุคคลออกจาก
ตระกูลกษัตริย์บวชเป็นบรรพชิต และเขาอาศัยธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศแล้ว เป็นผู้
เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ เว้นขาดจากการลักทรัพย์ เว้นขาดจากพฤติกรรมอันเป็น
ข้าศึกต่อพรหมจรรย์ เว้นขาดจากการพูดเท็จ เว้นขาดจากการพูดส่อเสียด เว้นขาด
จากการพูดคำหยาบ เว้นขาดจากการพูดเพ้อเจ้อ ไม่เพ่งเล็งอยากได้สิ่งของของผู้อื่น
มีจิตไม่พยาบาท เป็นสัมมาทิฏฐิ ยินดีกุศลธรรมอันเป็นเครื่องนำออกจากทุกข์ได้
ถ้าแม้กุลบุตรออกจากตระกูลพราหมณ์ ฯลฯ
ถ้าแม้กุลบุตรออกจากตระกูลแพศย์ ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๕๕๖ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค] ๗. ธนัญชานิสูตร

ถ้าแม้กุลบุตรออกจากตระกูลศูทรบวชเป็นบรรพชิต และเขาอาศัยธรรมวินัยที่
ตถาคตประกาศแล้ว เป็นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ เว้นขาดจากการลักทรัพย์ เว้นขาด
จากพฤติกรรมอันเป็นข้าศึกต่อพรหมจรรย์ เว้นขาดจากการพูดเท็จ เว้นขาดจาก
การพูดส่อเสียด เว้นขาดจากการพูดคำหยาบ เว้นขาดจากการพูดเพ้อเจ้อ ไม่เพ่ง
เล็งอยากได้สิ่งของของผู้อื่น มีจิตไม่พยาบาท เป็นสัมมาทิฏฐิ ยินดีกุศลธรรมอันเป็น
เครื่องนำออกจากทุกข์ได้”
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว เอสุการีพราหมณ์ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาค
ว่า “ข้าแต่ท่านพระโคดม พระภาษิตของพระองค์ชัดเจนไพเราะยิ่งนัก ฯลฯ ขอท่าน
พระโคดมโปรดทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะ ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปจน
ตลอดชีวิต” ดังนี้แล

เอสุการีสูตรที่ ๖ จบ

๗. ธนัญชานิสูตร
ว่าด้วยพราหมณ์ชื่อธนัญชานิ

[๔๔๕] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเวฬุวัน สถานที่ให้เหยื่อกระแต
เขตกรุงราชคฤห์ สมัยนั้นแล ท่านพระสารีบุตรเที่ยวจาริกไปในทักขิณาคีรีชนบท
พร้อมด้วยภิกษุหมู่ใหญ่ ครั้งนั้น ภิกษุรูปหนึ่งจำพรรษาอยู่ในกรุงราชคฤห์ ได้เข้าไป
หาท่านพระสารีบุตรถึงทักขิณาคีรีชนบท ได้สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่
ระลึกถึงกันแล้ว นั่ง ณ ที่สมควร
ท่านพระสารีบุตรได้ถามภิกษุนั้นว่า “ท่านผู้มีอายุ พระผู้มีภาคไม่ทรงประชวร
และยังทรงมีพระกำลังอยู่หรือ”
ภิกษุนั้นกล่าวตอบว่า “ท่านผู้มีอายุ พระผู้มีพระภาคไม่ทรงประชวร และยัง
ทรงมีพระกำลังอยู่ ขอรับ”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๕๕๗ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค] ๗. ธนัญชานิสูตร

“ภิกษุสงฆ์ไม่ป่วยไข้และยังมีกำลังอยู่หรือ”
“แม้ภิกษุสงฆ์ก็ไม่ป่วยไข้และยังมีกำลังอยู่ ขอรับ”
“พราหมณ์ชื่อธนัญชานิอยู่ใกล้ประตูตัณฑุลปาลิ๑ ในกรุงราชคฤห์นั้น เขาไม่
ป่วยไข้และยังมีกำลังอยู่หรือ”
“แม้ธนัญชานิพราหมณ์ก็ไม่ป่วยไข้และยังมีกำลังอยู่ ขอรับ”
“ธนัญชานิพราหมณ์ยังเป็นผู้ไม่ประมาทอยู่หรือ”
ภิกษุนั้นกราบเรียนว่า “ท่านผู้มีอายุ ธนัญชานิพราหมณ์ของเราจะไม่ประมาท
ที่ไหนได้ เขาอาศัยพระราชาเที่ยวเบียดบัง(เอาผลประโยชน์ของ)พราหมณ์และคหบดี
อาศัยพวกพราหมณ์และคหบดีเบียดบัง(เอาผลประโยชน์)ของรัฐ แม้ภรรยาของเขา
ผู้มีศรัทธา ที่ขอมาจากตระกูลมีศรัทธา ก็ตายไปเสียแล้ว ภรรยาคนใหม่ของเขา
ไม่มีศรัทธา เขาขอมาจากตระกูลไม่มีศรัทธา”
ท่านพระสารีบุตรกล่าวว่า “ท่านผู้มีอายุ การที่เราได้ฟังว่าธนัญชานิพราหมณ์
เป็นผู้ประมาท เป็นข่าวไม่ดีเลย ถ้ากระไร เราจะได้พบกับธนัญชานิพราหมณ์นั้น
สักครั้งหนึ่ง ทำอย่างไร เราจึงจะได้สนทนาปราศัยบ้าง”
[๔๔๖] ครั้งนั้น ท่านพระสารีบุตรอยู่ในทักขิณาคีรีชนบทตามอัธยาศัยแล้ว
จึงจาริกไปทางกรุงราชคฤห์ เที่ยวจาริกไปตามลำดับ จนถึงกรุงราชคฤห์แล้ว ได้ยิน
ว่า สมัยนั้นท่านพระสารีบุตรอยู่ ณ พระเวฬุวันสถานที่ให้เหยื่อกระแต เขตกรุง
ราชคฤห์ ครั้นในเวลาเช้า ท่านพระสารีบุตรครองอันตรวาสกถือบาตรและจีวรเข้าไป
บิณฑบาตยังกรุงราชคฤห์ สมัยนั้น ธนัญชานิพราหมณ์ใช้คนให้รีดนมโคซึ่งอยู่ที่คอก
โคนอกกรุง ท่านพระสารีบุตรเที่ยวบิณฑบาตในกรุงราชคฤห์ กลับจากบิณฑบาต


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค] ๗. ธนัญชานิสูตร

ภายหลังฉันภัตตาหารเสร็จแล้ว เข้าไปหาธนัญชานิพราหมณ์ถึงที่อยู่ ธนัญชานิ-
พราหมณ์ได้เห็นท่านพระสารีบุตรกำลังเดินมาแต่ไกล จึงเข้าไปหาท่านพระสารีบุตร
ถึงที่อยู่แล้วกล่าวว่า “นิมนต์ดื่มนมสดทางนี้เถิด พระคุณเจ้าสารีบุตร ยังพอมีเวลา
สำหรับฉันภัตตาหาร”
ท่านพระสารีบุตรกล่าวว่า “อย่าเลย พราหมณ์ วันนี้อาตมภาพทำภัตกิจ
เสร็จแล้ว อาตมภาพจักพักกลางวันที่โคนไม้โน้น ท่านควรจะมาพบอาตมภาพที่
โคนไม้นั้น”
ธนัญชานิพราหมณ์รับคำแล้ว ต่อมา ธนัญชานิพราหมณ์บริโภคอาหารเช้า
เสร็จแล้วภายหลังเวลาอาหาร ได้เข้าไปหาท่านพระสารีบุตรถึงที่อยู่ ได้สนทนา
ปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้ว จึงนั่ง ณ ที่สมควร

การประพฤติไม่ชอบธรรม

ท่านพระสารีบุตรได้ถามธนัญชานิพราหมณ์ว่า “ธนัญชานิ ท่านเป็นผู้ไม่
ประมาทอยู่หรือ”
ธนัญชานิพราหมณ์ได้ตอบว่า “พระคุณเจ้าสารีบุตร โยมจะไม่ประมาทได้
อย่างไร เพราะโยมต้องเลี้ยงมารดาบิดา ต้องเลี้ยงบุตรและภรรยา ต้องเลี้ยงพวก
ทาสกรรมกรและคนรับใช้ ต้องทำกิจที่ควรทำแก่มิตรและอำมาตย์ ต้องทำกิจที่ควร
ทำแก่ญาติสาโลหิต ต้องทำกิจที่ควรทำแก่แขก ต้องทำบุญที่ควรแก่บุรพเปตชน
ต้องทำการบวงสรวงที่ควรทำแก่เทวดา ต้องสนองพระราชกรณียกิจของพระราชา
แม้กายนี้ก็ต้องบำรุงบำเรอ”
[๔๔๗] ท่านพระสารีบุตรถามว่า “ธนัญชานิ ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่า
อย่างไร บุคคลบางคนในโลกนี้ประพฤติอธรรม๑ ประพฤติไม่สม่ำเสมอ เพราะเหตุ
แห่งมารดาบิดา นายนิรยบาลพึงฉุดคร่าเขาไปยังนรก เพราะเหตุแห่งการประพฤติ


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค] ๗. ธนัญชานิสูตร

อธรรมและประพฤติไม่สม่ำเสมอ เขาควรได้ข้ออ้างหรือว่า ‘ข้าพเจ้าเองประพฤติ
อธรรม ประพฤติไม่สม่ำเสมอ เพราะเหตุแห่งมารดาบิดา ขอนายนิรยบาลอย่า
ฉุดคร่าข้าพเจ้าไปยังนรกเลย’ หรือมารดาบิดาของผู้นั้นจะพึงได้ข้ออ้างหรือว่า ‘คนนี้
ประพฤติอธรรม ประพฤติไม่สม่ำเสมอเพราะเหตุแห่งข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอนาย
นิรยบาลอย่าฉุดคร่าเขาไปยังนรกเลย”
ธนัญชานิพราหมณ์ตอบว่า “พระคุณเจ้าสารีบุตร ไม่ใช่ ที่แท้คนนั้นถึงจะ
คร่ำครวญมากมาย นายนิรยบาลก็ต้องโยนเขาลงนรกจนได้”
“ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร บุคคลบางคนในโลกนี้ประพฤติอธรรม ประพฤติ
ไม่สม่ำเสมอ เพราะเหตุแห่งบุตรและภรรยา นายนิรยบาลจะพึงฉุดคร่าเขาไปยังนรก
เพราะเหตุแห่งการประพฤติอธรรมและประพฤติไม่สม่ำเสมอ เขาควรได้ข้ออ้างหรือว่า
‘ข้าพเจ้าเองประพฤติอธรรม ประพฤติไม่สม่ำเสมอ เพราะเหตุแห่งบุตรและภรรยา
ขอนายนิรยบาลอย่าฉุดคร่าข้าพเจ้าไปยังนรกเลย’ หรือบุตรและภรรยาของผู้นั้นจะ
พึงได้ข้ออ้างหรือว่า ‘คนนี้ประพฤติอธรรม ประพฤติไม่สม่ำเสมอ เพราะเหตุแห่ง
ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอนายนิรยบาลอย่าฉุดคร่าเขาไปยังนรกเลย”
“ไม่ใช่ พระคุณเจ้าสารีบุตร ที่แท้คนนั้นถึงจะคร่ำครวญมากมาย นายนิรยบาล
ก็ต้องโยนเขาลงนรกจนได้”
“ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร บุคคลบางคนในโลกนี้ประพฤติอธรรม ประพฤติ
ไม่สม่ำเสมอ เพราะเหตุแห่งทาสกรรมกรและคนรับใช้ นายนิรยบาลจะพึงฉุดคร่าเขา
ไปยังนรก เพราะเหตุแห่งการประพฤติอธรรมและประพฤติไม่สม่ำเสมอ เขาควรได้
ข้ออ้างหรือว่า ‘ข้าพเจ้าประพฤติอธรรม ประพฤติไม่สม่ำเสมอ เพราะเหตุแห่ง
ทาสกรรมกรและคนรับใช้ ขอนายนิรยบาลอย่าฉุดคร่าข้าพเจ้าไปยังนรกเลย’ หรือพวก
ทาสกรรมกรและคนรับใช้ของผู้นั้นจะพึงได้ข้ออ้างหรือว่า ‘คนนี้ประพฤติอธรรม ประพฤติ
ไม่สม่ำเสมอ เพราะเหตุแห่งข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอนายนิรยบาลอย่าฉุดคร่าเขาไปยัง
นรกเลย”
“ไม่ใช่ พระคุณเจ้าสารีบุตร ที่แท้คนนั้นถึงจะคร่ำครวญมากมาย นายนิรยบาล
ก็ต้องโยนเขาลงนรกจนได้”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๕๖๐ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค] ๗. ธนัญชานิสูตร

“ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร บุคคลบางคนในโลกนี้ประพฤติอธรรม ประพฤติ
ไม่สม่ำเสมอ เพราะเหตุแห่งมิตรและอำมาตย์ นายนิรยบาลจะพึงฉุดคร่าเขาไปยัง
นรก เพราะเหตุแห่งการประพฤติอธรรมและประพฤติไม่สม่ำเสมอ เขาควรได้ข้ออ้าง
หรือว่า ‘ข้าพเจ้าประพฤติอธรรม ประพฤติไม่สม่ำเสมอ เพราะเหตุแห่งมิตรอำมาตย์
ขอนายนิรยบาลอย่าฉุดคร่าข้าพเจ้าไปยังนรกเลย’ หรือมิตรและอำมาตย์ของผู้นั้นจะ
พึงได้ข้ออ้างหรือว่า ‘คนนี้ประพฤติอธรรม ประพฤติไม่สม่ำเสมอ เพราะเหตุแห่ง
ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอนายนิรยบาลอย่าฉุดคร่าเขาไปยังนรกเลย”
“ไม่ใช่ พระคุณเจ้าสารีบุตร ที่แท้คนนั้นถึงจะคร่ำครวญมากมาย นายนิรยบาล
ก็ต้องโยนเขาลงนรกจนได้”
“ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร บุคคลบางคนในโลกนี้ประพฤติอธรรม ประพฤติ
ไม่สม่ำเสมอ เพราะเหตุแห่งญาติสาโลหิต นายนิรยบาลจะพึงฉุดคร่าเขาไปยังนรก
เพราะเหตุแห่งการประพฤติอธรรมและประพฤติไม่สม่ำเสมอ เขาควรได้ข้ออ้างหรือ
ว่า ‘ข้าพเจ้าประพฤติอธรรม ประพฤติไม่สม่ำเสมอ เพราะเหตุแห่งญาติสาโลหิต
ขอนายนิรยบาลอย่าฉุดคร่าข้าพเจ้าไปยังนรกเลย’ หรือญาติสาโลหิตของผู้นั้นจะพึง
ได้ข้ออ้างหรือว่า ‘คนนี้ประพฤติอธรรม ประพฤติไม่สม่ำเสมอ เพราะเหตุแห่ง
ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอนายนิรยบาลอย่าฉุดคร่าเขาไปยังนรกเลย”
“ไม่ใช่ พระคุณเจ้าสารีบุตร ที่แท้คนนั้นถึงจะคร่ำครวญมากมาย นายนิรยบาล
ก็ต้องโยนเขาลงนรกจนได้”
“ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร บุคคลบางคนในโลกนี้ประพฤติอธรรม ประพฤติ
ไม่สม่ำเสมอ เพราะเหตุแห่งแขก นายนิรยบาลจะพึงฉุดคร่าเขาไปยังนรก เพราะเหตุ
แห่งการประพฤติอธรรมและประพฤติไม่สม่ำเสมอ เขาควรได้ข้ออ้างหรือว่า ‘ข้าพเจ้า
ประพฤติอธรรม ประพฤติไม่สม่ำเสมอ เพราะเหตุแห่งแขก ขอนายนิรยบาลอย่าฉุดคร่า
ข้าพเจ้าไปยังนรกเลย’ หรือแขกของผู้นั้นจะพึงได้ข้ออ้างหรือว่า ‘คนนี้ประพฤติอธรรม
ประพฤติไม่สม่ำเสมอ เพราะเหตุแห่งข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอนายนิรยบาลอย่าฉุดคร่า
เขาไปยังนรกเลย”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๕๖๑ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค] ๗. ธนัญชานิสูตร

“ไม่ใช่ พระคุณเจ้าสารีบุตร ที่แท้คนนั้นถึงจะคร่ำครวญมากมาย นายนิรยบาลก็
ต้องโยนเขาลงนรกจนได้”
“ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร บุคคลบางคนในโลกนี้ประพฤติอธรรม ประพฤติ
ไม่สม่ำเสมอ เพราะเหตุแห่งบุรพเปตชน นายนิรยบาลจะพึงฉุดคร่าเขาไปยังนรก
เพราะเหตุแห่งการประพฤติอธรรมและประพฤติไม่สม่ำเสมอ เขาควรได้ข้ออ้างหรือ
ว่า ‘ข้าพเจ้าประพฤติอธรรม ประพฤติไม่สม่ำเสมอ เพราะเหตุแห่งบุรพเปตชน
ขอนายนิรยบาลอย่าฉุดคร่าข้าพเจ้าไปยังนรกเลย’ หรือบุรพเปตชนของผู้นั้นจะพึงได้
ข้ออ้างหรือว่า ‘คนนี้ประพฤติอธรรม ประพฤติไม่สม่ำเสมอ เพราะเหตุแห่งข้าพเจ้า
ทั้งหลาย ขอนายนิรยบาลอย่าฉุดคร่าเขาไปนรกเลย”
“ไม่ใช่ พระคุณเจ้าสารีบุตร ที่แท้คนนั้นถึงจะคร่ำครวญมากมาย นายนิรยบาล
ก็ต้องโยนเขาลงนรกจนได้”
“ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร บุคคลบางคนในโลกนี้ประพฤติอธรรม ประพฤติ
ไม่สม่ำเสมอ เพราะเหตุแห่งเทวดา นายนิรยบาลจะพึงฉุดคร่าเขาไปยังนรก เพราะเหตุ
แห่งการประพฤติอธรรมและประพฤติไม่สม่ำเสมอ เขาควรได้ข้ออ้างหรือว่า ‘ข้าพเจ้า
ประพฤติอธรรม ประพฤติไม่สม่ำเสมอ เพราะเหตุแห่งเทวดา ขอนายนิรยบาลอย่า
ฉุดคร่าข้าพเจ้าไปยังนรกเลย’ หรือเทวดาของผู้นั้นจะพึงได้ข้ออ้างหรือว่า ‘คนนี้
ประพฤติอธรรม ประพฤติไม่สม่ำเสมอ เพราะเหตุแห่งข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอนาย
นิรยบาลอย่าฉุดคร่าเขาไปยังนรกเลย”
“ไม่ใช่ พระคุณเจ้าสารีบุตร ที่แท้คนนั้นถึงจะคร่ำครวญมากมาย นายนิรยบาล
ก็ต้องโยนเขาลงนรกจนได้”
“ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร บุคคลบางคนในโลกนี้ประพฤติอธรรม ประพฤติ
ไม่สม่ำเสมอ เพราะเหตุแห่งพระราชา นายนิรยบาลจะพึงฉุดคร่าเขาไปยังนรก
เพราะเหตุแห่งการประพฤติอธรรมและประพฤติไม่สม่ำเสมอ เขาควรได้ข้ออ้าง
หรือว่า ‘ข้าพเจ้าประพฤติอธรรม ประพฤติไม่สม่ำเสมอ เพราะเหตุแห่งพระราชา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๕๖๒ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค] ๗. ธนัญชานิสูตร

ขอนายนิรยบาลอย่าฉุดคร่าข้าพเจ้าไปยังนรกเลย’ หรือพระราชาของผู้นั้นจะพึงได้ข้อ
อ้างหรือว่า ‘คนนี้ประพฤติอธรรม ประพฤติไม่สม่ำเสมอ เพราะเหตุแห่งข้าพเจ้า
ทั้งหลาย ขอนายนิรยบาลอย่าฉุดคร่าเขาไปยังนรกเลย”
“ไม่ใช่ พระคุณเจ้าสารีบุตร ที่แท้คนนั้นถึงจะคร่ำครวญมากมาย นายนิรยบาล
ก็ต้องโยนเขาลงนรกจนได้”
ท่านพระสารีบุตรถามว่า “ธนัญชานิท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร บุคคล
บางคนในโลกนี้ประพฤติอธรรม ประพฤติไม่สม่ำเสมอ เพราะเหตุแห่งการบำรุง
บำเรอกาย นายนิรยบาลจะพึงฉุดคร่าเขาไปยังนรก เพราะเหตุแห่งการประพฤติ
อธรรมและประพฤติไม่สม่ำเสมอ เขาควรได้ข้ออ้างหรือว่า ‘ข้าพเจ้าประพฤติอธรรม
ประพฤติไม่สม่ำเสมอ เพราะเหตุแห่งการบำรุงบำเรอกาย ขอนายนิรยบาลอย่าฉุดคร่า
ข้าพเจ้าไปยังนรกเลย’ หรือชนเหล่าอื่นของผู้นั้นจะพึงได้ข้ออ้างหรือว่า ‘คนนี้
ประพฤติอธรรม ประพฤติไม่สม่ำเสมอ เพราะเหตุแห่งการบำรุงบำเรอกาย ขอนาย
นิรยบาลอย่าฉุดคร่าเขาไปยังนรกเลย”
ธนัญชานิพราหมณ์ตอบว่า “พระคุณเจ้าสารีบุตร ไม่ใช่ ที่แท้คนนั้นถึงจะ
คร่ำครวญมากมาย นายนิรยบาลก็ต้องโยนเขาลงนรกจนได้”
[๔๔๘] ท่านพระสารีบุตรถามว่า “ธนัญชานิ ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร
บุคคลผู้ประพฤติอธรรม ประพฤติไม่สม่ำเสมอ เพราะเหตุแห่งมารดาบิดากับบุคคล
ผู้ประพฤติธรรม๑ ประพฤติสม่ำเสมอ เพราะเหตุแห่งมารดาบิดา บุคคลไหนจะประเสริฐ
กว่ากัน”
ธนัญชานิพราหมณ์ตอบว่า “พระคุณเจ้าสารีบุตร บุคคลผู้ประพฤติอธรรม
ประพฤติไม่สม่ำเสมอ เพราะเหตุแห่งมารดาบิดา ไม่ประเสริฐ ส่วนบุคคลผู้
ประพฤติธรรม ประพฤติสม่ำเสมอ เพราะเหตุแห่งมารดาบิดา ประเสริฐกว่า
แท้จริง การประพฤติธรรมและการประพฤติสม่ำเสมอ ประเสริฐกว่าการประพฤติ
อธรรมและการประพฤติไม่สม่ำเสมอ”


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค] ๗. ธนัญชานิสูตร

“การงานที่มีเหตุประกอบด้วยธรรม ซึ่งเป็นเหตุให้บุคคลสามารถเลี้ยงมารดา
บิดา ไม่ทำบาปกรรม และปฏิบัติตามข้อปฏิบัติที่เป็นบุญได้ ก็มีอยู่
ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร บุคคลผู้ประพฤติอธรรม ประพฤติไม่สม่ำเสมอ
เพราะเหตุแห่งบุตรและภรรยา กับบุคคลผู้ประพฤติธรรม ประพฤติสม่ำเสมอ
เพราะเหตุแห่งบุตรและภรรยา บุคคลไหนจะประเสริฐกว่ากัน”
“พระคุณเจ้าสารีบุตร บุคคลผู้ประพฤติอธรรม ประพฤติไม่สม่ำเสมอ
เพราะเหตุแห่งบุตรและภรรยา ไม่ประเสริฐ ส่วนบุคคลผู้ประพฤติธรรม ประพฤติ
สม่ำเสมอ เพราะเหตุแห่งบุตรและภรรยา ประเสริฐกว่า แท้จริง การประพฤติธรรม
และการประพฤติสม่ำเสมอ ประเสริฐกว่าการประพฤติอธรรม และการประพฤติไม่
สม่ำเสมอ”
“การงานที่มีเหตุประกอบด้วยธรรม ซึ่งเป็นเหตุให้บุคคลสามารถเลี้ยงบุตร
และภรรยา ไม่ทำบาปกรรม และปฏิบัติตามข้อปฏิบัติที่เป็นบุญได้ ก็มีอยู่
ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร บุคคลผู้ประพฤติอธรรม ประพฤติไม่สม่ำเสมอ
เพราะเหตุแห่งทาสกรรมกรและคนรับใช้ กับบุคคลผู้ประพฤติธรรม ประพฤติสม่ำเสมอ
เพราะเหตุแห่งทาสกรรมกรและคนรับใช้ บุคคลไหนจะประเสริฐกว่ากัน”
“พระคุณเจ้าสารีบุตร บุคคลผู้ประพฤติอธรรม ประพฤติไม่สม่ำเสมอ เพราะเหตุ
แห่งทาสกรรมกรและคนรับใช้ ไม่ประเสริฐ ส่วนบุคคลผู้ประพฤติธรรม ประพฤติ
สม่ำเสมอ เพราะเหตุแห่งทาสกรรมกรและคนรับใช้ ประเสริฐกว่า แท้จริง การประพฤติ
ธรรมและการประพฤติสม่ำเสมอประเสริฐกว่าการประพฤติอธรรมและการประพฤติ
ไม่สม่ำเสมอ”
“การงานที่มีเหตุประกอบด้วยธรรม ซึ่งเป็นเหตุให้บุคคลสามารถเลี้ยงทาส
กรรมกรและคนรับใช้ ไม่ทำบาปกรรม และปฏิบัติตามข้อปฏิบัติที่เป็นบุญได้ ก็มีอยู่
ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร บุคคลผู้ประพฤติอธรรม ประพฤติไม่สม่ำเสมอ
เพราะเหตุแห่งมิตรและอำมาตย์ กับบุคคลผู้ประพฤติธรรม ประพฤติสม่ำเสมอ
เพราะเหตุแห่งมิตรและอำมาตย์ บุคคลไหนจะประเสริฐกว่ากัน”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๕๖๔ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค] ๗. ธนัญชานิสูตร

“พระคุณเจ้าสารีบุตร บุคคลผู้ประพฤติอธรรม ประพฤติไม่สม่ำเสมอ เพราะ
เหตุแห่งมิตรและอำมาตย์ ไม่ประเสริฐ ส่วนบุคคลผู้ประพฤติธรรม ประพฤติ
สม่ำเสมอ เพราะเหตุแห่งมิตรและอำมาตย์ ประเสริฐกว่า แท้จริง การประพฤติ
ธรรมและการประพฤติสม่ำเสมอ ประเสริฐกว่าการประพฤติอธรรมและการประพฤติ
ไม่สม่ำเสมอ”
“การงานที่มีเหตุประกอบด้วยธรรม ซึ่งเป็นเหตุให้บุคคลสามารถทำกรณียกิจ
แก่มิตรและอำมาตย์ ไม่ทำบาปกรรม และปฏิบัติตามข้อปฏิบัติที่เป็นบุญได้ ก็มีอยู่
ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร บุคคลผู้ประพฤติอธรรม ประพฤติไม่สม่ำเสมอ
เพราะเหตุแห่งญาติสาโลหิต กับบุคคลผู้ประพฤติธรรม ประพฤติสม่ำเสมอ เพราะ
เหตุแห่งญาติสาโลหิต บุคคลไหนจะประเสริฐกว่ากัน”
“พระคุณเจ้าสารีบุตร บุคคลผู้ประพฤติอธรรม ประพฤติไม่สม่ำเสมอ เพราะ
เหตุแห่งญาติสาโลหิต ไม่ประเสริฐ ส่วนบุคคลผู้ประพฤติธรรม ประพฤติสม่ำเสมอ
เพราะเหตุแห่งญาติสาโลหิตประเสริฐกว่า แท้จริง การประพฤติธรรมและการประพฤติ
สม่ำเสมอ ประเสริฐกว่าการประพฤติอธรรม และการประพฤติไม่สม่ำเสมอ”
“การงานที่มีเหตุประกอบด้วยธรรม ซึ่งเป็นเหตุให้บุคคลสามารถทำกรณียกิจ
แก่ญาติสาโลหิต ไม่ทำบาปกรรม และปฏิบัติตามข้อปฏิบัติที่เป็นบุญได้ ก็มีอยู่
ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร บุคคลผู้ประพฤติอธรรม ประพฤติไม่สม่ำเสมอ
เพราะเหตุแห่งแขก กับบุคคลผู้ประพฤติธรรม ประพฤติสม่ำเสมอ เพราะเหตุ
แห่งแขก บุคคลไหนจะประเสริฐกว่ากัน”
“พระคุณเจ้าสารีบุตร บุคคลผู้ประพฤติอธรรม ประพฤติไม่สม่ำเสมอ เพราะ
เหตุแห่งแขกไม่ประเสริฐ ส่วนบุคคลผู้ประพฤติธรรม ประพฤติสม่ำเสมอเพราะเหตุ
แห่งแขก ประเสริฐกว่า แท้จริง การประพฤติธรรมและการประพฤติสม่ำเสมอ
ประเสริฐกว่าการประพฤติอธรรมและการประพฤติไม่สม่ำเสมอ”
“การงานที่มีเหตุประกอบด้วยธรรม ซึ่งเป็นเหตุให้บุคคลสามารถทำกรณียกิจ
แก่แขก ไม่ทำบาปกรรม และปฏิบัติตามข้อปฏิบัติที่เป็นบุญได้ ก็มีอยู่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๕๖๕ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค] ๗. ธนัญชานิสูตร

ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร บุคคลผู้ประพฤติอธรรม ประพฤติไม่สม่ำเสมอ
เพราะเหตุแห่งบุรพเปตชน กับบุคคลผู้ประพฤติธรรม ประพฤติสม่ำเสมอ เพราะ
เหตุแห่งบุรพเปตชน บุคคลไหนจะประเสริฐกว่ากัน”
“พระคุณเจ้าสารีบุตร บุคคลผู้ประพฤติอธรรม ประพฤติไม่สม่ำเสมอ เพราะ
เหตุแห่งบุรพเปตชน ไม่ประเสริฐ ส่วนบุคคลผู้ประพฤติธรรม ประพฤติสม่ำเสมอ
เพราะเหตุแห่งบุรพเปตชนประเสริฐกว่า แท้จริง การประพฤติธรรมและการประพฤติ
สม่ำเสมอ ประเสริฐกว่าการประพฤติอธรรม และการประพฤติไม่สม่ำเสมอ”
“การงานที่มีเหตุประกอบด้วยธรรม ซึ่งเป็นเหตุให้บุคคลสามารถทำกรณียกิจ
แก่บุรพเปตชน ไม่ทำบาปกรรม และปฏิบัติตามข้อปฏิบัติที่เป็นบุญได้ ก็มีอยู่
ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร บุคคลผู้ประพฤติอธรรม ประพฤติไม่สม่ำเสมอ
เพราะเหตุแห่งเทวดา กับบุคคลผู้ประพฤติธรรม ประพฤติสม่ำเสมอ เพราะเหตุแห่ง
เทวดา บุคคลไหนจะประเสริฐกว่ากัน”
“พระคุณเจ้าสารีบุตร บุคคลผู้ประพฤติอธรรม ประพฤติไม่สม่ำเสมอ เพราะ
เหตุแห่งเทวดาไม่ประเสริฐ ส่วนบุคคลผู้ประพฤติธรรม ประพฤติสม่ำเสมอ เพราะ
เหตุแห่งเทวดาประเสริฐกว่า แท้จริง การประพฤติธรรมและการประพฤติสม่ำเสมอ
ประเสริฐกว่าการประพฤติอธรรม และการประพฤติไม่สม่ำเสมอ”
“การงานที่มีเหตุประกอบด้วยธรรม ซึ่งเป็นเหตุให้บุคคลสามารถทำกรณียกิจ
แก่เทวดา ไม่ทำบาปกรรม และปฏิบัติตามข้อปฏิบัติที่เป็นบุญได้ ก็มีอยู่
ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร บุคคลผู้ประพฤติอธรรม ประพฤติไม่สม่ำเสมอ
เพราะเหตุแห่งพระราชา กับบุคคลผู้ประพฤติธรรม ประพฤติสม่ำเสมอ เพราะเหตุ
แห่งพระราชา บุคคลไหนจะประเสริฐกว่ากัน”
“พระคุณเจ้าสารีบุตร บุคคลผู้ประพฤติอธรรม ประพฤติไม่สม่ำเสมอ เพราะ
เหตุแห่งพระราชาไม่ประเสริฐ ส่วนบุคคลผู้ประพฤติธรรม ประพฤติสม่ำเสมอ
เพราะเหตุแห่งพระราชาประเสริฐกว่า แท้จริง การประพฤติธรรมและการประพฤติ
สม่ำเสมอ ประเสริฐกว่าการประพฤติอธรรมและการประพฤติไม่สม่ำเสมอ”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๕๖๖ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค] ๗. ธนัญชานิสูตร

“การงานที่มีเหตุประกอบด้วยธรรม ซึ่งเป็นเหตุให้บุคคลสามารถทำกรณียกิจ
แก่พระราชา ไม่ทำบาปกรรม และปฏิบัติตามข้อปฏิบัติที่เป็นบุญได้ ก็มีอยู่
ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร บุคคลผู้ประพฤติอธรรม ประพฤติไม่สม่ำเสมอ
เพราะเหตุแห่งการบำรุงบำเรอกาย กับบุคคลผู้ประพฤติธรรม ประพฤติสม่ำเสมอ
เพราะเหตุแห่งการบำรุงบำเรอกาย บุคคลไหนจะประเสริฐกว่ากัน”
ธนัญชานิพราหมณ์ตอบว่า “พระคุณเจ้าสารีบุตร บุคคลผู้ประพฤติอธรรม
ประพฤติไม่สม่ำเสมอ เพราะเหตุแห่งการบำรุงบำเรอกาย ไม่ประเสริฐ ส่วนบุคคล
ผู้ประพฤติธรรม ประพฤติสม่ำเสมอ เพราะเหตุแห่งการบำรุงบำเรอกาย ประเสริฐกว่า
แท้จริง การประพฤติธรรมและการประพฤติสม่ำเสมอ ประเสริฐกว่าการประพฤติอธรรม
และการประพฤติไม่สม่ำเสมอ”
ท่านพระสารีบุตรกล่าวว่า “ธนัญชานิ การงานที่มีเหตุประกอบด้วยธรรม
ซึ่งเป็นเหตุให้บุคคลสามารถบำรุงบำเรอกาย ไม่ทำบาปกรรม และปฏิบัติตามข้อ
ปฏิบัติที่เป็นบุญได้ ก็มีอยู่”

ธนัญชานิพราหมณ์ป่วยหนัก

[๔๔๙] ครั้งนั้น ธนัญชานิพราหมณ์ชื่นชมยินดีภาษิตของท่านพระสารีบุตร
ลุกจากที่นั่งแล้วจากไป สมัยต่อมา ธนัญชานิพราหมณ์ป่วย มีทุกข์ เป็นไข้หนัก
จึงเรียกบุรุษคนหนึ่งมากล่าวว่า
“มานี่เถิดพ่อคุณ ท่านจงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ จงถวาย
อภิวาทพระยุคลบาทของพระผู้มีพระภาคด้วยเศียรเกล้าตามคำของเราว่า ‘ข้าแต่
พระองค์ผู้เจริญ ธนัญชานิพราหมณ์ป่วย มีทุกข์ เป็นไข้หนัก ขอถวายอภิวาท
พระยุคลบาทของพระผู้มีพระภาคด้วยเศียรเกล้า’ และจงเข้าไปหาท่านพระสารีบุตร
ถึงที่อยู่ แล้วไหว้เท้าของพระคุณเจ้าพระสารีบุตรด้วยเศียรเกล้าตามคำของเราว่า
‘พระคุณเจ้าผู้เจริญ ธนัญชานิพราหมณ์ป่วย มีทุกข์ เป็นไข้หนัก ขอไหว้เท้าของ
พระคุณเจ้าสารีบุตรด้วยเศียรเกล้า’ และจงกราบเรียนอย่างนี้ว่า ‘พระคุณเจ้าผู้เจริญ
ขอโอกาส ขอพระคุณเจ้าสารีบุตรจงอาศัยความอนุเคราะห์โปรดเข้าไปยังนิเวศน์ของ
ธนัญชานิพราหมณ์ด้วยเถิด”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๕๖๗ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค] ๗. ธนัญชานิสูตร

บุรุษนั้นรับคำแล้ว ได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาท
พระผู้มีพระภาคแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธนัญชานิพราหมณ์ป่วย มีทุกข์ เป็นไข้หนัก เขาขอ
ถวายอภิวาทพระยุคลบาทของพระผู้มีพระภาคด้วยเศียรเกล้า’ และได้เข้าไปหาท่าน
พระสารีบุตรถึงที่อยู่ ไหว้แล้วนั่ง ณ ที่สมควรแล้ว ได้กราบเรียนว่า “พระคุณเจ้าผู้เจริญ
ธนัญชานิพราหมณ์ป่วย มีทุกข์ เป็นไข้หนัก ขอไหว้เท้าของพระคุณเจ้าสารีบุตรด้วย
เศียรเกล้า และสั่งมาอย่างนี้ว่า ‘พระคุณเจ้าผู้เจริญ ขอโอกาส ขอพระคุณเจ้า
พระสารีบุตรจงอาศัยความอนุเคราะห์โปรดเข้าไปยังนิเวศน์ของธนัญชานิพราหมณ์
ด้วยเถิด”
ท่านพระสารีบุตรรับนิมนต์โดยอาการดุษณีภาพ

พระสารีบุตรเข้าเยี่ยมธนัญชานิพราหมณ์

[๔๕๐] ลำดับนั้น ท่านพระสารีบุตรครองอันตรวาสกถือบาตรและจีวร
เข้าไปยังนิเวศน์ของธนัญชานิพราหมณ์ นั่งบนอาสนะที่ปูลาดไว้แล้ว ได้กล่าวกับ
ธนัญชานิพราหมณ์ว่า “ธนัญชานิ ท่านยังพอทนได้หรือ(สบายดีหรือ) พอจะยัง
อัตภาพให้เป็นไปได้หรือ ทุกขเวทนาค่อยลดลง ไม่กำเริบขึ้นหรือ อาการค่อย
คลายลง ไม่รุนแรงขึ้นหรือ”
ธนัญชานิพราหมณ์กราบเรียนว่า “พระคุณเจ้าสารีบุตร โยมแทบทนไม่ไหว
จะยังอัตภาพให้เป็นไปไม่ได้แล้ว ทุกขเวทนาของโยมกล้ายิ่งนัก มีแต่กำเริบ ไม่ลด
ลงเลย อาการมีแต่ยิ่งรุนแรงขึ้น ไม่คลายลงเลย คนที่แข็งแรงใช้เหล็กที่แหลมคมแทง
ที่ศีรษะ แม้ฉันใด โยมก็ฉันนั้นเหมือนกัน ถูกลมที่แรงกล้าเสียดแทงศีรษะเหลือกำลัง
โยมแทบทนไม่ไหว จะยังอัตภาพให้เป็นไปไม่ได้แล้ว ทุกขเวทนาของโยมกล้ายิ่งนัก
มีแต่กำเริบ ไม่ลดลงเลย อาการมีแต่ยิ่งรุนแรงขึ้น ไม่คลายลงเลย
คนที่แข็งแรงใช้เชือกหนังที่เหนียวขันที่ศีรษะ แม้ฉันใด โยมก็ฉันนั้นเหมือนกัน
ถูกเวทนาที่มีประมาณยิ่งบีบคั้นที่ศีรษะ โยมแทบทนไม่ไหว จะยังอัตภาพให้เป็นไป
ไม่ได้แล้ว ทุกขเวทนาของโยมกล้ายิ่งนัก มีแต่กำเริบ ไม่ลดลงเลย อาการมีแต่ยิ่ง
รุนแรงขึ้น ไม่คลายลงเลย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๕๖๘ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค] ๗. ธนัญชานิสูตร

คนฆ่าโคหรือลูกมือของคนฆ่าโคผู้ชำนาญ ใช้มีดแล่เนื้อที่คมกรีดท้อง แม้ฉันใด
โยมก็ฉันนั้นเหมือนกัน ถูกลมที่มีประมาณยิ่งเสียดแทงท้องอยู่ โยมแทบทนไม่ไหว
จะยังอัตภาพให้เป็นไปไม่ได้แล้ว ทุกขเวทนาของโยมกล้ายิ่งนัก มีแต่กำเริบ ไม่คลาย
ลงเลย อาการมีแต่ยิ่งรุนแรงขึ้น ไม่คลายลงเลย
พระคุณเจ้าสารีบุตร คนที่แข็งแรง ๒ คนช่วยกันจับคนที่อ่อนแอกว่าที่แขน
คนละข้างย่างไว้ที่หลุมถ่านเพลิง แม้ฉันใด โยมก็ฉันนั้นเหมือนกัน มีกายถูกความ
เร่าร้อนมีประมาณยิ่งเผาลนอยู่ โยมแทบทนไม่ไหว จะยังอัตภาพให้เป็นไปไม่ได้แล้ว
ทุกขเวทนาของโยมกล้ายิ่งนัก มีแต่กำเริบ ไม่ลดลงเลย อาการมีแต่ยิ่งรุนแรงขึ้น
ไม่คลายลงเลย”

ทุคติภูมิ-สุคติภูมิ

[๔๕๑] ท่านพระสารีบุตรถามว่า “ธนัญชานิ ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร
นรกกับกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน อย่างไหนจะประเสริฐกว่ากัน”
ธนัญชานิพราหมณ์ตอบว่า “พระคุณเจ้าสารีบุตร กำเนิดสัตว์ดิรัจฉานประเสริฐ
กว่านรก ขอรับ”
“ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร กำเนิดสัตว์ดิรัจฉานกับเปรตวิสัย อย่างไหน
จะประเสริฐกว่ากัน”
“เปรตวิสัยประเสริฐกว่ากำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ขอรับ”
“ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร เปรตวิสัยกับมนุษย์ อย่างไหนจะประเสริฐ
กว่ากัน”
“มนุษย์ประเสริฐกว่าเปรตวิสัย ขอรับ”
“ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร มนุษย์กับเทพชั้นจาตุมหาราช อย่างไหน
จะประเสริฐกว่ากัน”
“เทพชั้นจาตุมหาราชประเสริฐกว่ามนุษย์ ขอรับ”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๕๖๙ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค] ๗. ธนัญชานิสูตร

“ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร เทพชั้นจาตุมหาราชกับเทพชั้นดาวดึงส์
อย่างไหนจะประเสริฐกว่ากัน”
“เทพชั้นดาวดึงส์ประเสริฐกว่ากว่าเทพชั้นจาตุมหาราช ขอรับ”
“ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร เทพชั้นดาวดึงส์กับเทพชั้นยามา อย่างไหน
จะประเสริฐกว่ากัน”
“เทพชั้นยามาประเสริฐกว่าเทพชั้นดาวดึงส์ ขอรับ”
“ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร เทพชั้นยามากับเทพชั้นดุสิต อย่างไหนจะ
ประเสริฐกว่ากัน”
“เทพชั้นดุสิตประเสริฐกว่าเทพชั้นยามา ขอรับ”
“ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร เทพชั้นดุสิตกับเทพชั้นนิมมานรดี อย่างไหน
จะประเสริฐกว่ากัน”
“เทพชั้นนิมมานรดีประเสริฐกว่าเทพชั้นดุสิต ขอรับ”
“ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร เทพชั้นนิมมานรดีกับเทพชั้นปรนิมมิตวสวัตดี
อย่างไหนจะประเสริฐกว่ากัน”
“เทพชั้นปรนิมมิตวสวัตดีประเสริฐกว่าเทพชั้นนิมมานรดี ขอรับ”
“ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร เทพชั้นปรนิมมิตวสวัตดีกับพรหมโลก
อย่างไหนจะประเสริฐกว่ากัน”
ธนัญชานิพราหมณ์ตอบว่า “พระคุณเจ้าสารีบุตรกล่าวว่า ‘พรหมโลก’
พระคุณเจ้าสารีบุตรกล่าวว่า ‘พรหมโลก”
ครั้งนั้น ท่านพระสารีบุตรมีความคิดว่า “พราหมณ์เหล่านี้น้อมใจไปใน
พรหมโลก ทางที่ดี เราควรแสดงทางเพื่อเข้าถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับพรหมแก่
ธนัญชานิพราหมณ์” จึงกล่าวว่า “ธนัญชานิ เราจักแสดงทางเพื่อเข้าถึงความเป็น
ผู้อยู่ร่วมกับพรหม ท่านจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๕๗๐ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค] ๗. ธนัญชานิสูตร

ธนัญชานิพราหมณ์รับคำแล้ว ท่านพระสารีบุตรได้กล่าวว่า “ธนัญชานิ
ทางเพื่อเข้าถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับพรหม เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ มีเมตตาจิตแผ่ไปตลอดทิศที่ ๑ อยู่ ทิศที่ ๒ ...
ทิศที่ ๓ ... ทิศที่ ๔ ... ทิศเบื้องบน ทิศเบื้องล่าง ทิศเฉียง แผ่ไปตลอดโลกทั่วทุก
หมู่เหล่า ในที่ทุกสถาน ด้วยเมตตาจิตอันไพบูลย์ เป็นมหัคคตะ ไม่มีขอบเขต ไม่มีเวร
ไม่มีความเบียดเบียนอยู่ นี้เป็นทางเพื่อเข้าถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับพรหม
[๔๕๒] ธนัญชานิ อีกประการหนึ่ง ภิกษุมีกรุณาจิต ฯลฯ
มีมุทิตาจิต ฯลฯ
มีอุเบกขาจิต แผ่ไปตลอดทิศที่ ๑ อยู่ ทิศที่ ๒ ... ทิศที่ ๓ ... ทิศที่ ๔ ... ทิศ
เบื้องบน ทิศเบื้องล่าง ทิศเฉียง แผ่ไปตลอดโลกทั่วทุกหมู่เหล่า ในที่ทุกสถาน
ด้วยอุเบกขาจิตอันไพบูลย์ เป็นมหัคคตะ ไม่มีขอบเขต ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนอยู่
นี้เป็นทางเพื่อเข้าถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับพรหม”
ธนัญชานิพราหมณ์กล่าวว่า “พระคุณเจ้าสารีบุตร ถ้าเช่นนั้น ขอพระคุณท่าน
จงถวายอภิวาทพระยุคลบาทของพระผู้มีพระภาคด้วยเศียรเกล้า ตามคำของโยมว่า
‘ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธนัญชานิพราหมณ์ป่วย มีทุกข์ เป็นไข้หนัก เขาขอถวาย
อภิวาทพระยุคลบาทของพระผู้มีพระภาคด้วยเศียรเกล้า”
ครั้งนั้น ท่านพระสารีบุตรทำให้ธนัญชานิพราหมณ์ดำรงอยู่ในพรหมโลกชั้นต่ำ
ในเมื่อมีกิจที่จะพึงทำให้ยิ่งขึ้นไป ลุกจากอาสนะแล้วจากไป ลำดับนั้น เมื่อท่านพระ
สารีบุตรจากไปไม่นาน ธนัญชานิพราหมณ์ก็ตายไปบังเกิดในพรหมโลก
[๔๕๓] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า “ภิกษุ
ทั้งหลาย สารีบุตรนี้ทำให้ธนัญชานิพราหมณ์ดำรงอยู่ในพรหมโลกชั้นต่ำ ในเมื่อ
มีกิจที่จะพึงทำให้ยิ่งขึ้นไป ลุกจากอาสนะแล้วจากไป”
ต่อมา ท่านพระสารีบุตรเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาท
พระผู้มีพระภาคแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า “ข้าแต่พระองค์
ผู้เจริญ ธนัญชานิพราหมณ์ป่วย มีทุกข์ เป็นไข้หนัก เขาขอถวายอภิวาทพระยุคลบาท
ของพระผู้มีพระภาคด้วยเศียรเกล้า”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๕๗๑ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค] ๘. วาเสฏฐสูตร

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “สารีบุตร ทำไม เธอจึงทำให้ธนัญชานิพราหมณ์
ดำรงอยู่ในพรหมโลกชั้นต่ำในเมื่อมีกิจที่จะพึงทำให้ยิ่งขึ้นไป แล้วลุกจากอาสนะจากไป
เสียเล่า”
ท่านพระสารีบุตรกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์คิดอย่างนี้ว่า
‘พราหมณ์เหล่านี้น้อมใจไปในพรหมโลก ทางที่ดี เราควรแสดงทางเพื่อเข้าถึงความ
เป็นผู้อยู่ร่วมกับพรหมเถิด”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “สารีบุตร ธนัญชานิพราหมณ์ตายไปบังเกิดในพรหม-
โลกแล้ว” ดังนี้แล

ธนัญชานิสูตรที่ ๗ จบ

๘. วาเสฏฐสูตร
ว่าด้วยมาณพชื่อวาเสฏฐะ

[๔๕๔] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ราวป่าอิจฉานังคละ ใกล้หมู่บ้าน
ชื่ออิจฉานังคละ สมัยนั้น ในหมู่บ้านอิจฉานังคละ มีพราหมณมหาศาลผู้มีชื่อเสียง
มาพักอยู่หลายคน คือ จังกีพราหมณ์ ตารุกขพราหมณ์ โปกขรสาติพราหมณ์
ชานุสโสณิพราหมณ์ โตเทยยพราหมณ์๑ และยังมีพราหมณมหาศาลผู้มีชื่อเสียงคน
อื่น ๆ อีก ครั้งนั้น เมื่อมาณพชื่อวาเสฏฐะกับมาณพชื่อภารทวาชะ เดินเที่ยวเล่นอยู่
ได้สนทนากันค้างไว้ อย่างนี้ว่า “ท่านผู้เจริญ ด้วยเหตุเพียงเท่าไรบุคคลจึงจะชื่อว่า
เป็นพราหมณ์”
ภารทวาชมาณพกล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านผู้เจริญ บุคคลเป็นผู้มีชาติกำเนิดมาดี
ทั้ง ๒ ฝ่าย คือทั้งฝ่ายมารดาและฝ่ายบิดา ถือปฏิสนธิบริสุทธิ์ดีตลอด ๗ ชั่ว
บรรพบุรุษ ไม่มีใครจะคัดค้านตำหนิได้เพราะอ้างถึงชาติตระกูล ด้วยเหตุเพียงเท่านี้
บุคคลจึงชื่อว่าเป็นพราหมณ์”


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค] ๘. วาเสฏฐสูตร

วาเสฏฐมาณพกล่าวว่า “ท่านผู้เจริญ บุคคลเป็นผู้มีศีลและถึงพร้อมด้วยวัตร
ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ บุคคลจึงชื่อว่าเป็นพราหมณ์”
ภารทวาชมาณพไม่อาจให้วาเสฏฐมาณพยินยอมได้ ถึงวาเสฏฐมาณพก็ไม่อาจ
ให้ภารทวาชมาณพยินยอมได้เหมือนกัน ลำดับนั้น วาเสฏฐมาณพได้เรียกภารทวาช-
มาณพมากล่าวว่า
“พระสมณโคดมผู้เป็นศากยบุตรนี้ เสด็จออกผนวชจากศากยตระกูล ประทับ
อยู่ ณ ราวป่าอิจฉานังคละ ใกล้หมู่บ้านชื่ออิจฉานังคละ ท่านพระโคดมพระองค์นั้นมี
กิตติศัพท์อันงามขจรไปแล้วอย่างนี้ว่า ‘แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น
เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้ด้วยพระองค์เองโดยชอบ เพียบพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ
เสด็จไปดี รู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกผู้ที่ควรฝึกได้อย่างยอดเยี่ยม เป็นศาสดาของ
เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระผู้มีพระภาค’ มาเถิด ท่าน
ภารทวาชะ เราทั้งหลายจักเข้าไปเฝ้าพระสมณโคดมถึงที่ประทับแล้วทูลถามเนื้อความนี้
พระสมณโคดมจักตรัสตอบแก่เราทั้งหลายอย่างไร เราทั้งหลายจักทรงจำเนื้อความนั้น
ไว้อย่างนั้น”
ภารทวาชมาณพรับคำแล้ว
[๔๕๕] ลำดับนั้น วาเสฏฐมาณพและภารทวาชมาณพได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มี
พระภาคถึงที่ประทับ ได้สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้ว
นั่ง ณ ที่สมควร วาเสฏฐมาณพได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคด้วยคาถาว่า
“ข้าพระองค์ทั้งสองเป็นผู้ทรงไตรเพท๑
อันอาจารย์อนุญาตแล้ว
และปฏิญญาได้เองว่า ‘เป็นผู้ได้ศึกษาแล้ว’
ข้าพระองค์เป็นศิษย์ท่านโปกขรสาติพราหมณ์
มาณพผู้นี้เป็นศิษย์ท่านตารุกขพราหมณ์


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค] ๘. วาเสฏฐสูตร

ข้าพระองค์ทั้งสองรู้จบบท
ที่พราหมณ์ผู้ทรงไตรเพทบอกแล้ว
เป็นผู้มีข้อพยากรณ์แม่นยำตามบท
เช่นเดียวกันกับอาจารย์ในการกล่าวมนตร์
ข้าแต่พระโคดม ข้าพระองค์ทั้งสอง
โต้เถียงกันในการกล่าวถึงชาติกำเนิด
คือภารทวาชมาณพกล่าวว่า
‘บุคคลชื่อว่าเป็นพราหมณ์เพราะชาติกำเนิด’
ส่วนข้าพระองค์กล่าวว่า
‘บุคคลชื่อว่าเป็นพราหมณ์เพราะกรรม๑’
พระองค์ผู้มีพระจักษุขอจงทรงทราบอย่างนี้
ข้าพระองค์ทั้งสองนั้น
ไม่อาจจะให้กันและกันยินยอมได้
จึงได้มาเฝ้าเพื่อทูลถามพระผู้มีพระภาค
ผู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ผู้ปรากฏด้วยอาการอย่างนี้
ชนทั้งหลายเมื่อจะเข้าไปประนมมือถวายบังคม
ก็จักถวายอภิวาทพระโคดมได้ทั่วโลก
เหมือนดวงจันทร์เต็มดวงฉะนั้น
ข้าพระองค์ขอทูลถามพระโคดม
ผู้เป็นดวงจักษุอุบัติขึ้นในโลกว่า
‘บุคคลชื่อว่าเป็นพราหมณ์เพราะชาติกำเนิด
หรือบุคคลชื่อว่าเป็นพราหมณ์เพราะกรรม’
ขอจงตรัสบอกแก่ข้าพระองค์ทั้งสองผู้ไม่ทราบ
โดยประการที่จะทราบถึงบุคคลผู้เป็นพราหมณ์นั้นเถิด”


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค] ๘. วาเสฏฐสูตร

พราหมณ์ในพระพุทธศาสนา

[๔๕๖] พระผู้มีพระภาคตรัสตอบด้วยคาถาว่า
“วาเสฏฐะ เราจะพยากรณ์ถึงความพิสดาร
แห่งชาติกำเนิดของสัตว์ทั้งหลายตามลำดับความเหมาะสมแก่เธอ
เพราะว่าสัตว์ทั้งหลายมีชาติกำเนิดแตกต่างกันหลายเผ่าพันธุ์
เธอทั้งหลายรู้จักหญ้าและต้นไม้
แต่หญ้าและต้นไม้ก็ไม่ยอมรับว่าเป็นหญ้าเป็นต้นไม้
หญ้าและต้นไม้เหล่านั้นต่างมีรูปร่างสัณฐานสำเร็จมาแต่กำเนิด
เพราะธรรมชาติของพวกมันต่างกัน
ต่อไป เธอทั้งหลายจงรู้จักแมลงคือตั๊กแตน
ตลอดจนถึงพวกมดดำ มดแดง
สัตว์เหล่านั้นต่างมีรูปร่างสัณฐานไปตามกำเนิด
เพราะกำเนิดของพวกมันต่างกัน
เธอทั้งหลายจงรู้จักสัตว์ ๔ เท้าทั้งขนาดเล็กขนาดใหญ่
สัตว์เหล่านั้นต่างมีรูปร่างสัณฐานไปตามกำเนิด
เพราะกำเนิดของพวกมันต่างกัน
เธอทั้งหลายจงรู้จักพวกสัตว์เลื้อยคลาน
ที่ใช้ท้องแทนเท้า มีสันหลังยาว
สัตว์เหล่านั้นต่างมีรูปร่างสัณฐานไปตามกำเนิด
เพราะกำเนิดของพวกมันต่างกัน
ต่อไป เธอทั้งหลายจงรู้จักปลา และสัตว์น้ำ
ประเภทอื่นที่เกิดเที่ยวหากินอยู่ในน้ำ
สัตว์เหล่านั้นต่างมีรูปร่างสัณฐานไปตามกำเนิด
เพราะกำเนิดของพวกมันต่างกัน
ต่อไป เธอทั้งหลายจงรู้จักสัตว์ปีกที่บินไปในอากาศ
สัตว์เหล่านั้นต่างมีรูปร่างสัณฐานไปตามกำเนิด
เพราะกำเนิดของพวกมันต่างกัน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๕๗๕ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค] ๘. วาเสฏฐสูตร

รูปร่างสัณฐานของพวกสัตว์เหล่านี้
ต่างกันตามกำเนิดมากมาย ฉันใด
แต่ในหมู่มนุษย์ ไม่มีรูปร่างสัณฐานแตกต่างกัน
ไปตามกำเนิดมากมาย ฉันนั้น
คือ ผมก็ไม่แตกต่างกัน
ศีรษะ ใบหู นัยน์ตา ใบหน้า จมูก ริมฝีปาก
คิ้ว คอ บ่า ท้อง หลัง สะโพก อก ซอกอวัยวะ
อวัยวะสืบพันธุ์ มือ เท้า นิ้วมือ เล็บ แข้ง ขาอ่อน
ผิวพรรณ หรือเสียงก็ไม่แตกต่างกัน
ในหมู่มนุษย์ จึงไม่มีรูปร่างสัณฐานตามกำเนิด
แตกต่างกันมากมายเหมือนในกำเนิดอื่น ๆ เลย
[๔๕๗] ในหมู่มนุษย์ ในสรีระของแต่ละคน
ไม่มีความแตกต่างกันเฉพาะตัว
การเรียกกันในหมู่มนุษย์ เขาเรียกตามบัญญัติ
วาเสฏฐะ เธอจงรู้อย่างนี้ว่า
‘ในหมู่มนุษย์ ใครก็ตามอาศัยโครักขกรรมเลี้ยงชีพ
ผู้นั้นเรียกว่า ชาวนา ไม่เรียกว่า พราหมณ์’
วาเสฏฐะ เธอจงรู้อย่างนี้ว่า
‘ในหมู่มนุษย์ ใครก็ตามเลี้ยงชีพด้วยศิลปะหลายอย่าง
ผู้นั้นเรียกว่า ช่างศิลปะ ไม่เรียกว่า พราหมณ์’
วาเสฏฐะ เธอจงรู้อย่างนี้ว่า
‘ในหมู่มนุษย์ ใครก็ตามอาศัยการค้าขายเลี้ยงชีพ
ผู้นั้นเรียกว่า พ่อค้า ไม่เรียกว่า พราหมณ์’
วาเสฏฐะ เธอจงรู้อย่างนี้ว่า
‘ในหมู่มนุษย์ ใครก็ตามเลี้ยงชีพด้วยการรับใช้คนอื่น
ผู้นั้นเรียกว่า คนรับใช้ ไม่เรียกว่า พราหมณ์’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๕๗๖ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค] ๘. วาเสฏฐสูตร

วาเสฏฐะ เธอจงรู้อย่างนี้ว่า
‘ในหมู่มนุษย์ ใครก็ตามอาศัยทรัพย์ที่ลักเขามาเลี้ยงชีพ
ผู้นั้นเรียกว่า โจร ไม่เรียกว่า พราหมณ์’
วาเสฏฐะ เธอจงรู้อย่างนี้ว่า
‘ในหมู่มนุษย์ ใครก็ตามอาศัยลูกศร และศัสตราเลี้ยงชีพ
ผู้นั้นเรียกว่า ทหารอาชีพ ไม่เรียกว่า พราหมณ์’
วาเสฏฐะ เธอจงรู้อย่างนี้ว่า
‘ในหมู่มนุษย์ ใครก็ตามเลี้ยงชีพด้วยการเป็นปุโรหิต
ผู้นั้นเรียกว่า ผู้ประกอบพิธีกรรม ไม่เรียกว่า พราหมณ์’
วาเสฏฐะ เธอจงรู้อย่างนี้ว่า
‘ในหมู่มนุษย์ ใครก็ตามปกครองท้องถิ่นและแว่นแคว้น
ผู้นั้นเรียกว่า พระราชา ไม่เรียกว่า พราหมณ์’
เราไม่เรียกบุคคลผู้ถือกำเนิด
เกิดในครรภ์มารดาว่า เป็นพราหมณ์
ถ้าเขายังเป็นผู้มีกิเลสเครื่องกังวลอยู่
เขาเป็นเพียงผู้ชื่อว่าโภวาทีเท่านั้น
เราเรียกผู้หมดกิเลสเครื่องกังวล
หมดความยึดมั่นถือมั่นนั้นว่า เป็นพราหมณ์
[๔๕๘] เราเรียกผู้ตัดสังโยชน์๑ได้ทั้งหมด
ไม่หวาดสะดุ้ง พ้นจากกิเลสเครื่องข้อง
ปราศจากโยคะว่า เป็นพราหมณ์
เราเรียกผู้ตัดชะเนาะคือความโกรธ
ตัดเชือกคือตัณหา ตัดหัวเงื่อนคือทิฏฐิ ๖๒


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค] ๘. วาเสฏฐสูตร

พร้อมทั้งสายโยงคืออนุสัยกิเลสได้
ถอดลิ่มสลักคืออวิชชา
ตรัสรู้อริยสัจแล้วว่า เป็นพราหมณ์
เราเรียกผู้ไม่ประทุษร้าย อดกลั้นต่อคำด่า
การทุบตี และการจองจำ มีขันติธรรมเป็นพลัง
มีพลังใจเข้มแข็งว่า เป็นพราหมณ์
เราเรียกผู้ไม่โกรธ มีวัตรเคร่งครัด มีศีลบริสุทธิ์
ไม่มีตัณหาฟูใจขึ้นอีก ฝึกตนได้แล้ว
มีสรีระเป็นชาติสุดท้ายว่า เป็นพราหมณ์
เราเรียกผู้ไม่ติดใจในกามทั้งหลาย
เหมือนหยาดน้ำไม่ติดบนใบบัว เหมือนเมล็ดพันธุ์ผักกาด
ไม่ติดอยู่บนปลายเหล็กแหลมนั้นว่า เป็นพราหมณ์
ในศาสนานี้ เราเรียกผู้ที่รู้ชัด
ถึงภาวะสิ้นกองทุกข์ของตน
ปลงขันธภาระลงได้แล้ว
ปราศจากกิเลสทั้งปวงว่า เป็นพราหมณ์
เราเรียกผู้มีปัญญาลึกซึ้ง เป็นนักปราชญ์
ฉลาดในทางและมิใช่ทางบรรลุอรหัตตผล
ที่เป็นประโยชน์สูงสุดแล้วว่า เป็นพราหมณ์
เราเรียกบุคคลผู้ไม่คลุกคลีกับคฤหัสถ์
และบรรพชิตทั้ง ๒ ฝ่าย เที่ยวจาริกไป
ไร้กังวล มีความมักน้อยว่า เป็นพราหมณ์
เราเรียกบุคคลผู้งดเว้นจากการเบียดเบียน
ทำร้ายสัตว์ทุกจำพวก ทั้งที่สะดุ้ง และที่มั่นคง
ไม่ฆ่าเอง ไม่ใช้ผู้อื่นให้ฆ่าว่า เป็นพราหมณ์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๕๗๘ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค] ๘. วาเสฏฐสูตร

เราเรียกบุคคลผู้ไม่คิดร้าย
เมื่อบุคคลอื่นยังคิดร้าย
ผู้สงบระงับเมื่อบุคคลอื่นยังมีอาชญาในตน
ผู้ไม่ยึดมั่นถือมั่นเมื่อบุคคลอื่น
ยังมีความยึดมั่นถือมั่นอยู่ว่า เป็นพราหมณ์
เราเรียกบุคคลผู้ทำราคะ โทสะ โมหะ
มานะ และมักขะ ให้ตกไปจากจิตได้
เหมือนเมล็ดพันธุ์ผักกาดตกไป
จากปลายเหล็กแหลมว่า เป็นพราหมณ์
[๔๕๙] เราเรียกบุคคลผู้เปล่งถ้อยคำไม่หยาบ
ให้รู้ความกันได้เป็นคำจริง
ซึ่งไม่เป็นเหตุทำใคร ๆ ให้ข้องอยู่ว่า เป็นพราหมณ์
เราเรียกบุคคลผู้ไม่ถือเอาสิ่งของ
ที่เจ้าของเขาไม่ได้ให้ในโลกนี้
ไม่ว่าจะยาวหรือสั้น จะเล็กหรือใหญ่
จะสวยงามหรือไม่สวยงามก็ตามว่า เป็นพราหมณ์
เราเรียกบุคคลผู้ไม่มีความหวัง
อยากเป็นโน่นเป็นนี่ ทั้งในโลกนี้และโลกหน้า
หมดความทะยานอยากโดยสิ้นเชิง
มีจิตหลุดพ้นจากกิเลสทั้งปวงแล้วว่า เป็นพราหมณ์
เราเรียกบุคคลผู้ไม่มีความอาลัยคือตัณหา
รู้แจ้งชัดจนหมดความสงสัย มีจิตน้อมไปสู่อมตธรรม
จนบรรลุได้ในที่สุดว่า เป็นพราหมณ์
เราเรียกบุคคลผู้ละบุญและบาปทั้ง ๒ ได้
ล่วงพ้นกิเลสเครื่องข้องแล้ว หมดความเศร้าโศก
ปราศจากธุลีคือกิเลส เป็นผู้บริสุทธิ์ว่า เป็นพราหมณ์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๕๗๙ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค] ๘. วาเสฏฐสูตร

เราเรียกบุคคลผู้หมดสิ้นตัณหา
ที่นำไปเกิดในภพทั้ง ๓ มีจิตไม่มัวหมอง
ผ่องใสบริสุทธิ์ดุจดวงจันทร์วันเพ็ญ
ที่ปราศจากเมฆหมอกว่า เป็นพราหมณ์
เราเรียกบุคคลผู้ข้ามพ้นทางอ้อมคือราคะ
ทางที่เป็นหลุมเป็นบ่อคือกิเลส สังสารวัฏฏ์ และโมหะได้แล้ว
เป็นผู้ข้ามโอฆะไปถึงฝั่ง มีจิตเพ่งพินิจอยู่เสมอ
ไม่หวั่นไหว หมดความสงสัยว่า เป็นพราหมณ์
เราเรียกบุคคลในโลกนี้ ผู้ละกามทั้งหลาย
บวชเป็นบรรพชิต สิ้นภวตัณหาแล้วว่า เป็นพราหมณ์
เราเรียกบุคคลในโลกนี้ ผู้ละตัณหาได้แล้ว
บวชเป็นบรรพชิต สิ้นกามและภพแล้วว่า เป็นพราหมณ์
เราเรียกบุคคลผู้ละโยคะที่เป็นของมนุษย์แล้ว
ล่วงพ้นโยคะที่เป็นของทิพย์เสียได้
มีจิตหลุดพ้นจากโยคะทั้งหมดว่า เป็นพราหมณ์
เราเรียกบุคคลผู้ละได้ทั้งความยินดี๑ และความยินร้าย๒
เป็นผู้สงบเยือกเย็น ปราศจากอุปธิกิเลส
ครอบงำโลกคือขันธ์ทั้งหมดได้ มีความเพียรว่า เป็นพราหมณ์
เราเรียกบุคคลผู้รู้ชัดการจุติและการเกิด
ของสัตว์ทั้งหลายโดยอาการทั้งปวง
เป็นผู้ไม่ติดข้องดำเนินไปด้วยดี
รู้แจ้งอริยสัจว่า เป็นพราหมณ์


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค] ๘. วาเสฏฐสูตร

เราเรียกบุคคลผู้ที่เทวดา คนธรรพ์ และมนุษย์
ผู้ไม่สามารถหยั่งรู้ถึงคติได้ สิ้นอาสวะแล้ว
เป็นพระอรหันต์ว่า เป็นพราหมณ์
เราเรียกบุคคลผู้ไม่มีกิเลสเครื่องกังวล
ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน หมดความกังวล
ไม่มีความยึดมั่นถือมั่นว่า เป็นพราหมณ์
เราเรียกบุคคลผู้องอาจ ประเสริฐ
มีความเพียร แสวงหาคุณธรรมอันยิ่งใหญ่
ชนะมารได้แล้ว ไม่มีกิเลสเครื่องทำให้หวั่นไหว
ชำระล้างกิเลสได้แล้ว รู้แจ้งอริยสัจว่า เป็นพราหมณ์
เราเรียกบุคคลผู้ระลึกถึงอดีตชาติได้ เห็นสวรรค์และนรก
ถึงความสิ้นไปแห่งชาติแล้วว่า เป็นพราหมณ์
[๔๖๐] อันที่จริง นามและโคตรที่เขากำหนดให้กันนั้น
เป็นเพียงสมมติบัญญัติในโลก
นามและโคตรปรากฏอยู่ได้ เพราะรู้ตามกันมา
ญาติสาโลหิตกำหนดไว้ในการเกิดนั้น ๆ
นามและโคตรที่กำหนดเรียกกันนี้
เป็นความเห็นที่ฝังแน่นอยู่ในใจมานาน
ของพวกคนผู้ไม่รู้ความจริง
เมื่อไม่รู้จึงกล่าวบุคคลว่า เป็นพราหมณ์โดยกำเนิด
บุคคลเป็นพราหมณ์เพราะชาติตระกูลก็หาไม่
หรือไม่เป็นพราหมณ์เพราะชาติตระกูลก็หาไม่
บุคคลเป็นพราหมณ์ก็เพราะกรรม
หรือไม่เป็นพราหมณ์ก็เพราะกรรม

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๕๘๑ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค] ๘. วาเสฏฐสูตร

บุคคลเป็นชาวนาก็เพราะกรรม
เป็นช่างศิลปะก็เพราะกรรม
เป็นพ่อค้าก็เพราะกรรม
เป็นผู้รับใช้ก็เพราะกรรม
บุคคลแม้เป็นโจรก็เพราะกรรม
เป็นทหารอาชีพก็เพราะกรรม
เป็นปุโรหิตก็เพราะกรรม
แม้เป็นพระราชา ก็เพราะกรรมทั้งนั้น
บัณฑิตทั้งหลายผู้มีปกติเห็นปฏิจจสมุปบาท
มีความรู้ความเข้าใจในกรรมและผลของกรรม
ย่อมพิจารณาเห็นกรรม ตามความเป็นจริงอย่างนี้
สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม
หมู่สัตว์เป็นไปตามกรรม
สัตว์ทั้งหลายมีกรรมเป็นเครื่องผูกพัน
เปรียบเหมือนรถมีหมุดเป็นเครื่องตรึงไว้แล่นไปอยู่
บุคคลเป็นพราหมณ์ได้ เพราะกรรมนี้
คือ ตบะ พรหมจรรย์ สัญญมะ ทมะ๑
นี้ เป็นคุณธรรมสูงสุดของพราหมณ์
วาเสฏฐะ เธอจงรู้อย่างนี้ว่า
‘บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชา ๓ สงบ สิ้นภพใหม่แล้ว
เป็นทั้งพรหม และท้าวสักกะของบัณฑิตทั้งหลายผู้รู้แจ้งอยู่”


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค] ๙. สุภสูตร

[๔๖๑] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว วาเสฏฐมาณพและภารทวาช-
มาณพได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า “ข้าแต่ท่านพระโคดม พระภาษิตของพระองค์
ชัดเจนไพเราะยิ่งนัก ข้าแต่ท่านพระโคดม พระภาษิตของพระองค์ชัดเจนไพเราะยิ่งนัก
พระองค์ทรงประกาศธรรมแจ่มแจ้งโดยประการต่าง ๆ เปรียบเหมือนบุคคลหงายของ
ที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางแก่ผู้หลงทาง หรือตามประทีปในที่มืดด้วยตั้งใจว่า ‘คนมี
ตาดีจักเห็นรูปได้’ ข้าพระองค์ทั้งสองนี้ขอถึงท่านพระโคดม พร้อมทั้งพระธรรม
และพระสงฆ์เป็นสรณะ ขอท่านพระโคดมจงทรงจำข้าพระองค์ทั้งสองว่าเป็นอุบาสก
ผู้ถึงสรณะ ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปจนตลอดชีวิต” ดังนี้แล

วาเสฏฐสูตรที่ ๘ จบ

๙. สุภสูตร
ว่าด้วยมาณพชื่อสุภะ

[๔๖๒] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิก-
เศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี สมัยนั้นแล มาณพชื่อสุภะผู้เป็นบุตรของโตเทยยพราหมณ์
อาศัยอยู่ในนิเวศน์ของคหบดีผู้หนึ่งในกรุงสาวัตถี ด้วยกรณียกิจบางอย่าง ครั้งนั้น
สุภมาณพผู้เป็นบุตรของโตเทยยพราหมณ์ได้กล่าวกับคหบดีผู้ที่ตนอาศัยอยู่ในนิเวศน์ว่า
“ท่านคหบดี ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ว่า ‘กรุงสาวัตถีไม่ว่างจากพระ-
อรหันต์เลย’ วันนี้ เราควรเข้าไปนั่งใกล้สมณะหรือพราหมณ์คนใดดีหนอ”
คหบดีกล่าวว่า “ท่านผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน
อารามของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ท่านจงเข้าไปนั่งใกล้พระผู้มีพระภาค
พระองค์นั้นเถิด”
ลำดับนั้น สุภมาณพผู้เป็นบุตรของโตเทยยพราหมณ์รับคำแล้ว เข้าไปเฝ้า
พระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ได้สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึก
ถึงกันแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๕๘๓ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค] ๙. สุภสูตร

“ท่านพระโคดม พราหมณ์ทั้งหลายกล่าวกันอย่างนี้ว่า ‘คฤหัสถ์เป็นผู้ยัง
กุศลธรรมเครื่องนำออกจากทุกข์ให้สำเร็จ บรรพชิตไม่ยังกุศลธรรมนั้นให้สำเร็จ ในเรื่องนี้
ท่านพระโคดมจะตรัสว่าอย่างไร”
[๔๖๓] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “มาณพ ในเรื่องนี้เราแยกกล่าว มิได้
รวมกล่าว เราไม่สรรเสริญการปฏิบัติผิดของคฤหัสถ์หรือบรรพชิต จริงอยู่ คฤหัสถ์
หรือบรรพชิตผู้ปฏิบัติผิด ชื่อว่าเป็นผู้ไม่ยังกุศลธรรมเครื่องนำออกจากทุกข์ให้สำเร็จ
เพราะเหตุแห่งอธิกรณ์คือการปฏิบัติผิด
มาณพ เรากล่าวสรรเสริญการปฏิบัติชอบของคฤหัสถ์หรือบรรพชิต จริงอยู่
คฤหัสถ์หรือบรรพชิตผู้ปฏิบัติชอบ ชื่อว่าเป็นผู้ยังกุศลธรรมเครื่องนำออกจากทุกข์
ให้สำเร็จ เพราะเหตุแห่งอธิกรณ์คือการปฏิบัติชอบ”

ฐานะการงานของคฤหัสถ์และบรรพชิต

สุภมาณพทูลถามว่า “ท่านพระโคดม พราหมณ์ทั้งหลายกล่าวกันอย่างนี้ว่า
‘ฐานะแห่งการงานของฆราวาสมีความต้องการมาก มีกิจมาก มีเรื่องมาก มีความ
เพียรมาก มีผลมาก (ส่วน)ฐานะแห่งการงานฝ่ายบรรพชิตมีความต้องการน้อย
มีกิจน้อย มีเรื่องน้อย มีความเพียรน้อย และมีผลน้อย ในเรื่องนี้ ท่านพระโคดมจะ
ตรัสว่าอย่างไร”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “มาณพ แม้ในเรื่องนี้ เราก็แยกกล่าว มิได้
รวมกล่าว ฐานะแห่งการงานที่มีความต้องการมาก มีกิจมาก มีเรื่องมาก มีความ
เพียรมาก เมื่อวิบัติย่อมมีผลน้อย ฐานะแห่งการงานที่มีความต้องการมาก มีกิจมาก
มีเรื่องมาก มีความเพียรมาก เมื่อถึงพร้อมย่อมมีผลมาก ฐานะแห่งการงานที่มีความ
ต้องการน้อย มีกิจน้อย มีเรื่องน้อย มีความเพียรน้อย เมื่อวิบัติย่อมมีผลน้อย ฐานะ
แห่งการงานที่มีความต้องการน้อย มีกิจน้อย มีเรื่องน้อย มีความเพียรน้อย เมื่อถึง
พร้อมย่อมมีผลมาก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๕๘๔ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค] ๙. สุภสูตร

ฐานะแห่งการงานที่มีความต้องการมาก มีกิจมาก มีเรื่องมาก มีความเพียร
มาก เมื่อวิบัติย่อมมีผลน้อย เป็นอย่างไร
คือ ฐานะแห่งการงานคือการไถ ที่มีความต้องการมาก มีกิจมาก มีเรื่องมาก
มีความเพียรมาก เมื่อวิบัติย่อมมีผลน้อย
ส่วนฐานะแห่งการงานที่มีความต้องการมาก มีกิจมาก มีเรื่องมาก มีความ
เพียรมาก เมื่อถึงพร้อมย่อมมีผลมาก เป็นอย่างไร
คือ ฐานะแห่งการงานคือการไถนั่นแหละที่มีความต้องการมาก มีกิจมาก มีเรื่อง
มาก มีความเพียรมาก เมื่อถึงพร้อมย่อมมีผลมาก
ฐานะแห่งการงานที่มีความต้องการน้อย มีกิจน้อย มีเรื่องน้อย มีความ
เพียรน้อย เมื่อวิบัติย่อมมีผลน้อย เป็นอย่างไร
คือ ฐานะแห่งการงานคือการค้าขายที่มีความต้องการน้อย มีกิจน้อย มีเรื่อง
น้อย มีความเพียรน้อย เมื่อวิบัติย่อมมีผลน้อย
ส่วนฐานะแห่งการงานที่มีความต้องการน้อย มีกิจน้อย มีเรื่องน้อย
มีความเพียรน้อย เมื่อถึงพร้อมย่อมมีผลมาก เป็นอย่างไร
คือ ฐานะแห่งการงานคือการค้าขายนั่นแหละที่มีความต้องการน้อย มีกิจน้อย
มีเรื่องน้อย มีความเพียรน้อย เมื่อถึงพร้อมย่อมมีผลมาก
[๔๖๔] มาณพ ฐานะแห่งการงานคือการไถ ที่มีความต้องการมาก มีกิจมาก
มีเรื่องมาก มีความเพียรมาก เมื่อวิบัติย่อมมีผลน้อย แม้ฉันใด ฐานะแห่งการงาน
ของฆราวาส ที่มีความต้องการมาก มีกิจมาก มีเรื่องมาก มีความเพียรมาก ก็ฉันนั้น
เหมือนกัน เมื่อวิบัติย่อมมีผลน้อย
ฐานะแห่งการงานคือการไถนั่นแหละ ที่มีความต้องการมาก มีกิจมาก มีเรื่องมาก
มีความเพียรมาก เมื่อถึงพร้อมย่อมมีผลมาก แม้ฉันใด ฐานะแห่งการงานของ
ฆราวาส ที่มีความต้องการมาก มีกิจมาก มีเรื่องมาก มีความเพียรมาก ก็ฉันนั้น
เหมือนกัน เมื่อถึงพร้อมย่อมมีผลมาก
ฐานะแห่งการงานคือการค้าขายที่มีความต้องการน้อย มีกิจน้อย มีเรื่องน้อย
มีความเพียรน้อย เมื่อวิบัติย่อมมีผลน้อย แม้ฉันใด ฐานะแห่งการงานฝ่ายบรรพชิต

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๕๘๕ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค] ๙. สุภสูตร

ที่มีความต้องการน้อย มีกิจน้อย มีเรื่องน้อย มีความเพียรน้อย ก็ฉันนั้นเหมือนกัน
เมื่อวิบัติย่อมมีผลน้อย
ฐานะแห่งการงานคือการค้าขายนั่นแหละที่มีความต้องการน้อย มีกิจน้อย มีเรื่อง
น้อย มีความเพียรน้อย เมื่อถึงพร้อมย่อมมีผลมาก แม้ฉันใด ฐานะแห่งการงานฝ่าย
บรรพชิตที่มีความต้องการน้อย มีกิจน้อย มีเรื่องน้อย มีความเพียรน้อย ก็ฉันนั้น
เหมือนกัน เมื่อถึงพร้อมย่อมมีผลมาก”

บัญญัติธรรม ๕ ประการ

สุภมาณพทูลถามว่า “ท่านพระโคดม พราหมณ์ทั้งหลายบัญญัติธรรมไว้
๕ ประการ เพื่อทำบุญ เพื่อยังกุศลธรรมให้สำเร็จหรือ”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “มาณพ พราหมณ์ทั้งหลายบัญญัติธรรม
๕ ประการใดไว้เพื่อทำบุญ เพื่อยังกุศลธรรมให้สำเร็จ ถ้าเธอไม่หนักใจ ดีละ เธอจง
กล่าวธรรม ๕ ประการนั้นในบริษัทนี้เถิด”
สุภมาณพกราบทูลว่า “ท่านพระโคดมผู้เจริญ ณ ที่ที่พระองค์หรือบุคคลเช่น
กับพระองค์ประทับนั่งอยู่ ข้าพระองค์ไม่มีความหนักใจเลย”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “มาณพ ถ้าเช่นนั้น เธอจงกล่าวเถิด”
สุภมาณพกราบทูลว่า “ท่านพระโคดม พราหมณ์ทั้งหลายบัญญัติธรรมข้อ
ที่ ๑ คือสัจจะ เพื่อทำบุญ เพื่อยังกุศลธรรมให้สำเร็จ
บัญญัติธรรมข้อที่ ๒ คือตบะ ...
บัญญัติธรรมข้อที่ ๓ คือพรหมจรรย์ ...
บัญญัติธรรมข้อที่ ๔ คือการเรียนมนตร์ ...
บัญญัติธรรมข้อที่ ๕ คือการบริจาค เพื่อทำบุญ เพื่อยังกุศลธรรมให้สำเร็จ
พราหมณ์ทั้งหลายบัญญัติธรรม ๕ ประการนี้ไว้ เพื่อทำบุญ เพื่อยังกุศลธรรม
ให้สำเร็จ ในเรื่องนี้ ท่านพระโคดมจะตรัสว่าอย่างไร”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๕๘๖ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค] ๙. สุภสูตร

[๔๖๕] พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “มาณพ บรรดาพราหมณ์ทั้งหลาย
แม้พราหมณ์สักคนหนึ่งผู้กล่าวอย่างนี้ว่า ‘ข้าพเจ้าทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเอง
แล้วประกาศผลแห่งธรรม ๕ ประการนี้’ มีอยู่หรือ”
สุภมาณพทูลตอบว่า “ไม่มีเลย ท่านพระโคดม”
“แม้อาจารย์ท่านหนึ่ง แม้ปาจารย์ของอาจารย์ท่านหนึ่ง ตลอดขึ้นไป ๗ ชั่วอาจารย์
ของพราหมณ์ทั้งหลาย ผู้กล่าวอย่างนี้ว่า ‘ข้าพเจ้าทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเอง
แล้วประกาศผลแห่งธรรม ๕ ประการนี้’ มีอยู่หรือ”
“ไม่มีเลย ท่านพระโคดม”
“แม้ฤาษีทั้งหลายผู้เป็นบุรพาจารย์ของพราหมณ์ทั้งหลายคือ ฤาษีอัฏฐกะ
ฤาษีวามกะ ฤาษีวามเทพ ฤาษีเวสสามิตตะ ฤาษียมตัคคิ ฤาษีอังคีรสะ ฤาษี
ภารทวาชะ ฤาษีวาเสฏฐะ ฤาษีกัสสปะ ฤาษีภคุ ซึ่งเป็นผู้แต่งมนตร์ เป็นผู้บอกมนตร์ที่
พวกพราหมณ์ในปัจจุบันนี้ขับตาม บทมนตร์เก่าที่ท่านบุรพาจารย์พราหมณ์ขับไว้แล้ว
บอกไว้แล้ว รวบรวมไว้แล้ว กล่าวได้ถูกต้องตามที่ท่านกล่าวไว้ บอกได้ถูกต้องตามที่
ท่านได้บอกไว้ แม้ท่านเหล่านั้นก็กล่าวแล้วอย่างนี้ว่า ‘เราทั้งหลายทำให้แจ้งด้วย
ปัญญาอันยิ่งเองแล้วประกาศผลแห่งธรรม ๕ ประการนี้’ มีอยู่หรือ”
สุภมาณพทูลตอบว่า “ไม่มีเลย ท่านพระโคดม”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “มาณพ ได้ทราบกันดังนี้ว่า บรรดาพราหมณ์ทั้งหลาย
ไม่มีพราหมณ์แม้สักคนหนึ่งผู้กล่าวอย่างนี้ว่า ‘เราทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเอง
แล้วประกาศผลแห่งธรรม ๕ ประการนี้’ ไม่มีใครสักคนหนึ่งซึ่งเป็นอาจารย์ เป็น
ปาจารย์ของอาจารย์ตลอด ๗ ชั่วอาจารย์ของพราหมณ์ทั้งหลายผู้กล่าวอย่างนี้ว่า
‘เราได้ทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้วประกาศผลแห่งธรรม ๕ ประการนี้’ แม้ฤาษี
ทั้งหลายผู้เป็นบุรพาจารย์ของพราหมณ์ทั้งหลาย คือ ฤาษีอัฏฐกะ ฤาษีวามกะ
ฤาษีวามเทพ ฤาษีเวสสามิตตะ ฤาษียมตัคคิ ฤาษีอังคีรสะ ฤาษีภารทวาชะ ฤาษี
วาเสฏฐะ ฤาษีกัสสปะ ฤาษีภคุ ซึ่งเป็นผู้แต่งมนตร์ เป็นผู้บอกมนตร์ ที่พราหมณ์
ทั้งหลายในปัจจุบันนี้ขับตามบทมนตร์เก่า ที่ท่านขับไว้แล้ว บอกไว้แล้ว รวบรวม

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๕๘๗ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค] ๙. สุภสูตร

ไว้แล้ว กล่าวได้ถูกต้องตามที่ท่านได้กล่าวไว้ บอกได้ถูกต้องตามที่ท่านได้บอกไว้แล้ว
แม้ท่านเหล่านั้นก็ไม่ได้กล่าวอย่างนี้ว่า ‘เราทั้งหลายทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเอง
แล้วประกาศผลแห่งธรรม ๕ ประการนี้’
มาณพ คนตาบอดเข้าแถวเกาะหลังกัน คนอยู่หัวแถว คนอยู่กลางแถว
และคนอยู่ปลายแถว ต่างก็มองไม่เห็นกัน แม้ฉันใด ภาษิตของพราหมณ์ทั้งหลาย
ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เห็นจะเปรียบได้กับคนตาบอด เข้าแถวเกาะหลังกัน คนอยู่
หัวแถว คนอยู่กลางแถว และคนอยู่ปลายแถว ต่างก็มองไม่เห็นกัน”
[๔๖๖] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว สุภมาณพผู้เป็นบุตรของโตเทยย-
พราหมณ์ผู้ซึ่งพระผู้มีพระภาคตรัสเปรียบเหมือนคนตาบอดยืนเข้าแถว จึงโกรธ ไม่พอใจ
เมื่อจะข่มขู่ติเตียนว่ากล่าวพระผู้มีพระภาคว่า “ท่านพระสมณโคดมจักได้รับความ
เสื่อมเสียแล้ว'’ จึงได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า
“ท่านพระโคดม พราหมณ์ชื่อโปกขรสาติ โอปมัญญโคตร ผู้เป็นใหญ่ในป่า
ชื่อสุภควันกล่าวไว้อย่างนี้ว่า ‘อย่างนี้แล สมณพราหมณ์เหล่านี้ ย่อมยืนยัน
ญาณทัสสนะที่ประเสริฐอันสามารถ วิเศษยิ่งกว่าธรรมของมนุษย์ ภาษิตนี้ของ
สมณพราหมณ์เหล่านั้น ย่อมเป็นภาษิตที่น่าหัวเราะ เลวทราม ว่าง และเปล่า
ถ้าเช่นนั้น ก็เป็นไปไม่ได้เลยที่มนุษย์จักรู้ จักเห็น หรือจักทำให้แจ้งญาณทัสสนะที่
ประเสริฐ อันสามารถวิเศษยิ่งกว่าธรรมของมนุษย์ได้”
พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “มาณพ พราหมณ์ชื่อโปกขรสาติ โอปมัญญโคตร
ผู้เป็นใหญ่ในป่าชื่อสุภควัน กำหนดรู้ใจของสมณพราหมณ์ทุกคนด้วยใจหรือ”
สุภมาณพทูลตอบว่า “ท่านพระโคดม พราหมณ์ชื่อโปกขรสาติ โอปมัญญโคตร
ผู้เป็นใหญ่ในป่าชื่อสุภควัน กำหนดรู้ใจของนางทาสีชื่อปุณณิกาของตนด้วยใจของ
ตนเองยังไม่ได้ จักกำหนดรู้ใจของสมณพราหมณ์ทุกคนด้วยใจได้อย่างไรเล่า”
พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “มาณพ เปรียบเหมือนคนตาบอดมาแต่กำเนิด
ไม่พึงเห็นรูปสีดำสีขาว รูปสีเขียว รูปสีเหลือง รูปสีแดง รูปสีแสด ไม่พึงเห็นที่ที่
เสมอและขรุขระ ไม่พึงเห็นดวงดาว ไม่พึงเห็นดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ เขาจะพึง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๕๘๘ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค] ๙. สุภสูตร

กล่าวอย่างนี้ว่า ‘ไม่มีรูปสีดำสีขาว ไม่มีคนเห็นรูปสีดำสีขาว ไม่มีรูปสีเขียว ไม่มีคน
เห็นรูปสีเขียว ไม่มีรูปสีเหลือง ไม่มีคนเห็นรูปสีเหลือง ไม่มีรูปสีแดง ไม่มีคนเห็น
รูปสีแดง ไม่มีรูปสีแสด ไม่มีคนเห็นรูปสีแสด ไม่มีที่ที่เสมอและขรุขระ ไม่มีคนเห็น
ที่ที่เสมอและขรุขระ ไม่มีดวงดาว ไม่มีคนเห็นดวงดาว ไม่มีดวงจันทร์และดวงอาทิตย์
ไม่มีคนเห็นดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ เราไม่รู้ไม่เห็นสิ่งนั้น เพราะฉะนั้น สิ่งนั้น
จึงไม่มี’ ผู้ที่กล่าวอยู่นั้น ชื่อว่ากล่าวอย่างถูกต้องหรือ มาณพ”
สุภมาณพทูลตอบว่า “ไม่ใช่เช่นนั้น ท่านพระโคดม รูปสีดำสีขาวก็มี คนเห็น
รูปสีดำสีขาวก็มี รูปสีเขียวก็มี คนเห็นรูปสีเขียวก็มี รูปสีเหลืองก็มี คนเห็นรูป
สีเหลืองก็มี รูปสีแดงก็มี คนเห็นรูปสีแดงก็มี รูปสีแสดก็มี คนเห็นรูปสีแสดก็มี
ที่ที่เสมอและขรุขระก็มี คนเห็นที่ที่เสมอและขรุขระก็มี ดวงดาวก็มี คนเห็น
ดวงดาวก็มี ดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ก็มี คนเห็นดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ก็มี
ผู้ที่กล่าวว่า ‘เราไม่รู้ไม่เห็นสิ่งนั้น เพราะฉะนั้น สิ่งนั้นจึงไม่มี’ ผู้ที่กล่าวอยู่นั้น
ชื่อว่ากล่าวอย่างไม่ถูกต้อง ท่านพระโคดม”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “มาณพ อย่างนั้นเหมือนกัน พราหมณ์ชื่อโปกขร-
สาติ โอปมัญญโคตร ผู้เป็นใหญ่ในป่าชื่อสุภควัน ชื่อว่าเป็นคนบอดไม่มีจักษุ เป็นไป
ไม่ได้เลยที่เขาจักรู้ จักเห็น หรือจักทำให้แจ้งญาณทัสสนะที่ประเสริฐ อันสามารถ
วิเศษยิ่งกว่าธรรมของมนุษย์ได้”
[๔๖๗] พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “มาณพ ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่า
อย่างไร พราหมณมหาศาลชาวเมืองโกศลคือพราหมณ์ชื่อจังกี พราหมณ์ชื่อ
ตารุกขะ พราหมณ์ชื่อโปกขรสาติ พราหมณ์ชื่อชาณุสโสณิ หรือพราหมณ์ชื่อ
โตเทยยะ ผู้เป็นบิดาของท่าน วาจาที่พราหมณมหาศาลเหล่านั้นกล่าวตรงตาม
โวหารของชาวโลก หรือไม่ตรงตามโวหารของชาวโลก อย่างไหนประเสริฐกว่ากัน”
สุภมาณพทูลตอบว่า “ผู้กล่าววาจาตรงตามโวหารของชาวโลกประเสริฐกว่า
ท่านพระโคดม”
“วาจาที่พราหมณมหาศาลเหล่านั้นรู้แล้วกล่าว หรือไม่รู้แล้วกล่าว อย่างไหน
ประเสริฐกว่ากัน”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๕๘๙ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค] ๙. สุภสูตร

“วาจาที่พราหมณ์เหล่านั้นรู้แล้วกล่าว ประเสริฐกว่า ท่านพระโคดม”
“วาจาที่พราหมณมหาศาลเหล่านั้นพิจารณาแล้วกล่าว หรือไม่พิจารณา
แล้วกล่าว อย่างไหนประเสริฐกว่ากัน”
“วาจาที่พราหมณ์เหล่านั้นพิจารณาแล้วกล่าว ประเสริฐกว่า ท่านพระโคดม”
“วาจาที่มีประโยชน์ หรือวาจาที่ไม่มีประโยชน์ซึ่งพราหมณมหาศาลเหล่านั้นกล่าว
อย่างไหนประเสริฐกว่ากัน”
“วาจาที่มีประโยชน์ ประเสริฐกว่า ท่านพระโคดม”
“ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร ถ้าเมื่อเป็นเช่นนั้น โปกขรสาติพราหมณ์
โอปมัญญโคตร ผู้เป็นใหญ่ในป่าชื่อสุภควัน กล่าววาจาตรงตามโวหารของชาวโลก
หรือไม่”
“ไม่ตรงตามโวหารของชาวโลก ท่านพระโคดม”
“เป็นวาจาที่รู้แล้วกล่าว หรือไม่รู้แล้วกล่าว”
“เป็นวาจาที่ไม่รู้แล้วกล่าว ท่านพระโคดม”
“เป็นวาจาที่พิจารณาแล้วกล่าวหรือไม่พิจารณาแล้วกล่าว”
“เป็นวาจาที่ไม่พิจารณาแล้วกล่าว ท่านพระโคดม”
“เป็นวาจาที่มีประโยชน์หรือไม่มีประโยชน์”
“เป็นวาจาที่ไม่มีประโยชน์ ท่านพระโคดม”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “มาณพ นิวรณ์นี้มี ๕ ประการ
นิวรณ์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ

๑. กามฉันทนิวรณ์ (สิ่งที่กั้นจิตคือความพอใจในกาม)
๒. พยาบาทนิวรณ์ (สิ่งที่กั้นจิตคือความขัดเคืองใจ)
๓. ถีนมิทธนิวรณ์ (สิ่งที่กั้นจิตคือความหดหู่และเซื่องซึม)
๔. อุทธัจจกุกกุจจนิวรณ์ (สิ่งที่กั้นจิตคือความฟุ้งซ่านและร้อนใจ)
๕. วิจิกิจฉานิวรณ์ (สิ่งที่กั้นจิตคือความลังเลสงสัย)

นิวรณ์ ๕ ประการนี้แล

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๕๙๐ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค] ๙. สุภสูตร

มาณพ โปกขรสาติพราหมณ์ โอปมัญญโคตร ผู้เป็นใหญ่ในป่าชื่อสุภควัน
ถูกนิวรณ์ ๕ ประการนี้หน่วงเหนี่ยว กางกั้น รัดรึง ตรึงตราไว้แล้ว เป็นไปไม่ได้เลย
ที่เขาจักรู้ จักเห็นหรือจักทำให้แจ้งญาณทัสสนะที่ประเสริฐอันสามารถ วิเศษยิ่งกว่า
ธรรมของมนุษย์
[๔๖๘] มาณพ กามคุณนี้มี ๕ ประการ
กามคุณ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. รูปที่จะพึงรู้แจ้งทางตา ที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก
ชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัด
๒. เสียงที่จะพึงรู้แจ้งทางหู ฯลฯ
๓. กลิ่นที่จะพึงรู้แจ้งทางจมูก ...
๔. รสที่จะพึงรู้แจ้งทางลิ้น ...
๕. โผฏฐัพพะที่จะพึงรู้แจ้งทางกาย ที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ
ชวนให้รัก ชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัด
กามคุณ ๕ ประการนี้แล
โปกขรสาติพราหมณ์ โอปมัญญโคตร ผู้เป็นใหญ่ในป่าชื่อสุภควัน กำหนัดแล้ว
หมกมุ่นแล้ว ด้วยกามคุณ ๕ ประการนี้ ถูกกามคุณ ๕ ประการนี้ครอบงำแล้ว
ไม่เห็นโทษ ไม่มีปัญญาเป็นเครื่องถอนออก บริโภคอยู่ เป็นไปไม่ได้เลยที่เขาจักรู้
จักเห็น หรือจักทำให้แจ้งญาณทัสสนะที่ประเสริฐ อันสามารถวิเศษยิ่งกว่าธรรมของ
มนุษย์
มาณพ ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร บุคคลจะพึงอาศัยหญ้าและไม้เป็น
เชื้อจุดไฟขึ้น หรือไม่อาศัยหญ้าและไม้เป็นเชื้อจุดไฟขึ้น ไฟอย่างไหนหนอจะมีเปลว
สี และแสงสว่าง”
สุภมาณพกราบทูลว่า “ท่านพระโคดม เป็นไปได้หรือ ถ้าการจุดไฟที่ไม่มีหญ้า
และไม้เป็นเชื้อ จะมีเปลว สี และแสงสว่าง”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๕๙๑ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค] ๙. สุภสูตร

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “มาณพ เป็นไปไม่ได้เลยที่บุคคลจะพึงจุดไฟที่ไม่มี
หญ้าและไม้เป็นเชื้อขึ้นได้ นอกจากผู้ที่มีฤทธิ์ อุปมาเหมือนไฟอาศัยหญ้าและไม้เป็น
เชื้อจึงลุกโพลงขึ้นได้ แม้ฉันใด เรากล่าวปีติอันอาศัยกามคุณ ๕ ประการว่ามีอุปมา
ฉันนั้นเหมือนกัน อุปมาเหมือนไฟที่ไม่มีหญ้าและไม้เป็นเชื้อลุกโพลงขึ้นได้ แม้ฉันใด
เรากล่าวปีติที่เว้นจากกาม และอกุศลธรรมทั้งหลายว่ามีอุปมาฉันนั้นเหมือนกัน
ปีติที่เว้นจากกาม และอกุศลธรรมทั้งหลาย เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุ
ปฐมฌาน ฯลฯ อยู่ ปีตินี้เว้นจากกาม และอกุศลธรรมทั้งหลาย
มาณพ อีกประการหนึ่ง เพราะวิตกวิจารสงบระงับไป ภิกษุบรรลุทุติยฌาน
ฯลฯ อยู่ แม้ปีตินี้ก็เว้นจากกาม และอกุศลธรรมทั้งหลาย
[๔๖๙] มาณพ ในธรรม ๕ ประการที่พราหมณ์ทั้งหลายบัญญัติเพื่อทำบุญ
เพื่อยังกุศลธรรมให้สำเร็จนี้ พราหมณ์ทั้งหลายบัญญัติธรรมข้อไหนว่ามีผลมากกว่า”
สุภมาณพกราบทูลว่า “ท่านพระโคดม ในธรรม ๕ ประการที่พราหมณ์ทั้งหลาย
บัญญัติเพื่อทำบุญ เพื่อยังกุศลธรรมให้สำเร็จนี้ พราหมณ์ทั้งหลายบัญญัติธรรมคือจาคะ
ว่ามีผลมากกว่า”
พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “มาณพ ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร ณ ที่นี้
จะพึงมีมหายัญเกิดขึ้นแก่พราหมณ์คนหนึ่ง ครั้งนั้น พราหมณ์ ๒ คนพากันมาด้วย
หวังว่า ‘จักเสวยมหายัญของพราหมณ์ชื่อนี้’ ในพราหมณ์ ๒ คนนั้น คนหนึ่งมี
ความคิดอย่างนี้ว่า ‘โอ เราเท่านั้น ควรจะได้อาสนะที่เลิศ น้ำที่เลิศ และอาหารที่เลิศ
ในโรงภัต พราหมณ์อื่นไม่ควรได้อาสนะที่เลิศ น้ำที่เลิศ และอาหารที่เลิศในโรงภัตเลย’
เป็นไปได้ที่พราหมณ์คนอื่นจะพึงได้อาสนะที่เลิศ น้ำที่เลิศ และอาหารที่เลิศในโรงภัต
ส่วนพราหมณ์ผู้ไม่ได้ย่อมโกรธไม่พอใจว่า ‘พราหมณ์อื่นได้อาสนะที่เลิศ น้ำที่เลิศ
และอาหารที่เลิศในโรงภัต ส่วนเรากลับไม่ได้’
มาณพ พราหมณ์ทั้งหลายบัญญัติผลแห่งกรรมนี้ไว้อย่างไร”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๕๙๒ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค] ๙. สุภสูตร

สุภมาณพทูลตอบว่า “ท่านพระโคดม ในเรื่องนี้ พราหมณ์ทั้งหลายให้ทานด้วย
คิดอย่างนี้ว่า ‘พราหมณ์นั้นถูกพราหมณ์ผู้นี้ทำให้โกรธ ทำให้ไม่พอใจ’ ก็หามิได้
โดยที่แท้ในเรื่องนี้ พราหมณ์ทั้งหลายให้ทานอันเป็นการอนุเคราะห์กันเท่านั้น”
“เมื่อเป็นเช่นนั้น ข้อที่พราหมณ์ทั้งหลายให้ทานอันเป็นการอนุเคราะห์กันนี้
ก็เป็นบุญกิริยาวัตถุข้อที่ ๖ ของพราหมณ์ทั้งหลายหรือ”
“ท่านพระโคดม เมื่อเป็นเช่นนี้ ข้อที่พราหมณ์ทั้งหลายให้ทานอันเป็นการ
อนุเคราะห์นี้ ก็จักเป็นบุญกิริยาวัตถุข้อที่ ๖ ของพราหมณ์ทั้งหลาย”
“ธรรม ๕ ประการนี้ ที่พราหมณ์ทั้งหลายบัญญัติ เพื่อทำบุญ เพื่อยังกุศลธรรม
ให้สำเร็จ ท่านพิจารณาเห็นมีมากในพวกไหน ในพวกคฤหัสถ์หรือพวกบรรพชิต”
สุภมาณพกราบทูลว่า “ท่านพระโคดม ธรรม ๕ ประการนี้ ที่พราหมณ์ทั้งหลาย
บัญญัติเพื่อทำบุญ เพื่อยังกุศลธรรมให้สำเร็จ ข้าพเจ้าพิจารณาเห็นมีมากในบรรพชิต
มีน้อยในคฤหัสถ์ เพราะคฤหัสถ์มีความต้องการมาก มีกิจมาก มีเรื่องมาก มีความ
เพียรมาก จะเป็นผู้พูดจริงเสมอตลอดไปไม่ได้ ส่วนบรรพชิตมีความต้องการน้อย
มีกิจน้อย มีเรื่องน้อย มีความเพียรน้อย จึงเป็นผู้พูดจริงเสมอไป เพราะคฤหัสถ์มี
ความต้องการมาก มีกิจมาก มีเรื่องมาก มีความเพียรมาก จะเป็นผู้มีความเพียร
เสมอตลอดไปไม่ได้
... จะเป็นผู้ประพฤติพรหมจรรย์
... จะเป็นผู้มากด้วยการสาธยาย
... จะเป็นผู้มากด้วยการบริจาค ...
ส่วนบรรพชิตมีความต้องการน้อย มีกิจน้อย มีเรื่องน้อย มีความเพียรน้อย
จึงเป็นผู้มีความเพียรเสมอตลอดไปได้
... เป็นผู้ประพฤติพรหมจรรย์
... เป็นผู้มากด้วยการสาธยาย
... เป็นผู้มากด้วยการบริจาค ...

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๕๙๓ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค] ๙. สุภสูตร

ท่านพระโคดม ธรรม ๕ ประการนี้ ที่พราหมณ์ทั้งหลายบัญญัติเพื่อทำบุญ
เพื่อยังกุศลธรรมให้สำเร็จ ข้าพเจ้าพิจารณาเห็นมีมากในบรรพชิต มีน้อยในคฤหัสถ์”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “มาณพ ธรรม ๕ ประการ ที่พราหมณ์ทั้งหลาย
บัญญัติเพื่อทำบุญ เพื่อยังกุศลธรรมให้สำเร็จ เรากล่าวว่าเป็นเครื่องปรุงแต่งจิต เพื่อ
อบรมจิตไม่ให้มีเวร ไม่ให้มีความเบียดเบียน
ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นผู้พูดจริง เธอรู้สึกว่า ‘เราพูดจริง’ จึงได้ความรู้อรรถ
ได้ความรู้ธรรม ได้ความปราโมทย์ ประกอบด้วยธรรม ความปราโมทย์อันประกอบ
ด้วยกุศลนี้ ที่เรากล่าวว่าเป็นเครื่องปรุงแต่งจิต เพื่ออบรมจิตไม่ให้มีเวร ไม่ให้มีความ
เบียดเบียน
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีความเพียร
... เป็นผู้ประพฤติพรหมจรรย์
... เป็นผู้มากด้วยการสาธยาย ...
ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นผู้มากด้วยการบริจาค เธอรู้สึกว่า ‘เราเป็นผู้มากด้วย
การบริจาค’ จึงได้ความรู้อรรถ ได้ความรู้ธรรม ได้ความปราโมทย์อันประกอบด้วย
ธรรม ความปราโมทย์อันประกอบด้วยกุศลนี้ ที่เรากล่าวว่าเป็นเครื่องปรุงแต่งจิต
เพื่ออบรมจิตไม่ให้มีเวร ไม่ให้มีความเบียดเบียน
ธรรม ๕ ประการนี้ ที่พราหมณ์ทั้งหลายบัญญัติเพื่อทำบุญ เพื่อยังกุศลธรรม
ให้สำเร็จ เรากล่าวว่าเป็นเครื่องปรุงแต่งจิต เพื่ออบรมจิตไม่ให้มีเวร ไม่ให้มีความ
เบียดเบียน”
[๔๗๐] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว สุภมาณพผู้เป็นบุตรของโตเทยย-
พราหมณ์ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า “ท่านพระโคดม ข้าพเจ้าได้ยินเรื่องนี้มาว่า
‘พระสมณโคดมทรงรู้จักทางเพื่อเข้าถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับพรหมหรือ”
พระผู้มีพระภาคตรัสย้อนถามว่า “มาณพ ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร
บ้านนฬการคามก็ใกล้แค่นี้ บ้านนฬการคามก็อยู่ไม่ไกลจากที่นี้เลย มิใช่หรือ”
“อย่างนั้น ท่านพระโคดม บ้านนฬการคามก็อยู่ใกล้แค่นี้ บ้านนฬการคามก็อยู่
ไม่ไกลจากที่นี้เลย”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๕๙๔ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค] ๙. สุภสูตร

“ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร บุรุษผู้เจริญเติบโตในบ้านนฬการคามนี้
ออกจากบ้านนฬการคามไปในขณะนั้นถูกถามถึงทางไปบ้านนฬการคาม จะต้องมี
ความชักช้าหรืออึกอักไหม”
“ไม่ชักช้า ไม่อึกอักเลย ท่านพระโคดม ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะบุรุษโน้น
เจริญเติบโตอยู่ในบ้านนฬการคามนั่นเอง ต้องรู้จักทางของบ้านนฬการคามทุกแห่ง
เป็นอย่างดี”
“การที่บุรุษเจริญเติบโตอยู่ในบ้านนฬการคามนั้น ถูกถามถึงทางไปบ้าน
นฬการคาม จะไม่ตอบชักช้าหรืออึกอัก เมื่อตถาคตถูกถามถึงพรหมโลกหรือ
ข้อปฏิบัติให้ถึงพรหมโลก ก็ไม่ตอบชักช้าหรืออึกอักเช่นเดียวกัน เรารู้จักพรหมโลก
และข้อปฏิบัติให้ถึงพรหมโลกของพราหมณ์ทั้งหลาย ทั้งยังรู้วิธีที่คนปฏิบัติอย่างไร
จึงจะเข้าถึงพรหมโลกด้วย”
สุภมาณพกราบทูลว่า “ท่านพระโคดม ข้าพเจ้าได้ยินเรื่องนี้มาว่า พระสมณ-
โคดมทรงแสดงทางเพื่อเป็นสหายกับพรหม ขอโอกาส ขอท่านพระโคดมโปรดทรง
แสดงทางเพื่อเข้าถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับพรหมแก่ข้าพเจ้าด้วยเถิด”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “มาณพ ถ้าเช่นนั้น ท่านจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว”
สุภมาณพผู้เป็นบุตรของโตเทยยพราหมณ์ทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มี
พระภาคได้ตรัสเรื่องนี้ว่า

ทางไปพรหมโลก

[๔๗๑] “มาณพ ทางเพื่อเข้าถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับพรหม เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ มีเมตตาจิต แผ่ไปตลอดทิศที่ ๑ อยู่ ทิศที่ ๒ ...
ทิศที่ ๓ ... ทิศที่ ๔ ... ทิศเบื้องบน ทิศเบื้องล่าง ทิศเฉียง แผ่ไปตลอดโลกทั่วทุก
หมู่เหล่า ในที่ทุกสถานด้วยเมตตาจิตอันไพบูลย์ เป็นมหัคคตะ ไม่มีขอบเขต ไม่มีเวร
ไม่มีความเบีบดเบียนอยู่ เมื่อภิกษุนั้นเจริญเมตตาเจโตวิมุตติอย่างนี้แล้ว กรรมใด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๕๙๕ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค] ๙. สุภสูตร

เป็นประมาณ๑ที่ภิกษุทำแล้ว กรรมนั้นจักไม่เหลืออยู่ ไม่คงอยู่ในกรรมอันเป็นรูปาวจรนั้น๒
คนแข็งแรงเป่าสังข์พึงให้คนรู้ตลอดทิศทั้ง ๔ ได้โดยไม่ยากเลย แม้ฉันใด เมื่อภิกษุ
นั้นเจริญเมตตาเจโตวิมุตติอย่างนี้แล้ว กรรมใดเป็นประมาณที่ภิกษุทำแล้ว กรรมนั้น
จักไม่เหลืออยู่ ไม่คงอยู่ในกรรมอันเป็นรูปาวจรนั้น ก็ฉันนั้นเหมือนกัน นี้เป็นทาง
เพื่อเข้าถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับพรหม
มีกรุณาจิต ฯลฯ
มีมุทิตาจิต ฯลฯ
มีอุเบกขาจิต แผ่ไปตลอดทิศที่ ๑ อยู่ ทิศที่ ๒ ... ทิศที่ ๓ ... ทิศที่ ๔ ... ทิศ
เบื้องบน ทิศเบื้องล่าง ทิศเฉียง แผ่ไปตลอดโลกทั่วทุกหมู่เหล่า ในที่ทุกสถานด้วย
อุเบกขาจิตอันไพบูลย์ เป็นมหัคคตะ ไม่มีขอบเขต ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนอยู่
เมื่อภิกษุนั้นเจริญอุเบกขาเจโตวิมุตติอย่างนี้แล้ว กรรมใดเป็นประมาณที่ภิกษุทำแล้ว
กรรมนั้นจักไม่เหลืออยู่ ไม่คงอยู่ในกรรมอันเป็นรูปาวจรนั้น
มาณพ คนแข็งแรง เป่าสังข์พึงให้คนรู้ตลอดทิศทั้ง ๔ ได้โดยไม่ยาก แม้ฉันใด
เมื่อภิกษุนั้นเจริญอุเบกขาเจโตวิมุตติอย่างนี้แล้ว กรรมใดเป็นประมาณที่ภิกษุทำแล้ว
กรรมนั้นจักไม่เหลืออยู่ ไม่คงอยู่ในกรรมอันเป็นรูปาวจรนั้น ก็ฉันนั้นเหมือนกัน
นี้เป็นทางเพื่อเข้าถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับพรหม”
[๔๗๒] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว สุภมาณพผู้เป็นบุตรของ
โตเทยยพราหมณ์ ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า
“ข้าแต่ท่านพระโคดม พระภาษิตของพระองค์ชัดเจนไพเราะยิ่งนัก ข้าแต่ท่าน
พระโคดม พระภาษิตของพระองค์ชัดเจนไพเราะยิ่งนัก พระองค์ทรงประกาศธรรม
แจ่มแจ้งโดยประการต่าง ๆ เปรียบเหมือนบุคคลหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอก
ทางแก่คนหลงทาง หรือตามประทีปในที่มืดด้วยตั้งใจว่า ‘คนมีตาดีจักเห็นรูปได้’


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค] ๙. สุภสูตร

ข้าพระองค์นี้ขอถึงท่านพระโคดม พร้อมทั้งพระธรรมและพระสงฆ์เป็นสรณะ ขอท่าน
พระโคดมจงทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะ ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปจน
ตลอดชีวิต
ข้าแต่ท่านพระโคดม ถ้าเช่นนั้น ข้าพระองค์ขอทูลลากลับ เพราะมีกิจ มีหน้าที่
ที่จะต้องทำอีกมาก”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “มาณพ ท่านจงกำหนดเวลาอันสมควร ณ บัดนี้เถิด”
ครั้งนั้น สุภมาณพผู้เป็นบุตรของโตเทยยพราหมณ์ ชื่นชมยินดีพระภาษิตของ
พระผู้มีพระภาคแล้วลุกจากที่นั่ง ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาค ทำประทักษิณแล้ว
จากไป
สมัยนั้น พราหมณ์ชื่อชาณุสโสณิออกจากกรุงสาวัตถีด้วยรถเทียมด้วยม้าขาว
ปลอดตั้งแต่ยังวัน ได้เห็นสุภมาณพผู้เป็นบุตรของโตเทยยพราหมณ์เดินมาแต่ไกล
จึงได้ถามว่า “ท่านภารทวาชะ ท่านมาจากไหนแต่ยังวันเทียว”
สุภมาณพผู้เป็นบุตรของโตเทยยพราหมณ์ตอบว่า “ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้า
มาจากสำนักของพระสมณโคดม”
ชาณุสโสณิพราหมณ์ถามว่า “ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร ท่านภารทวาชะ
เห็นจะเป็นบัณฑิตรู้เท่าทันพระปัญญาอันเฉียบแหลมของพระสมณโคดมเป็นแน่”
สุภมาณพตอบว่า “ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าเป็นใคร และเป็นอะไรเล่า จึงจักรู้เท่า
ทันพระปัญญาอันเฉียบแหลมของพระสมณโคดม ผู้ใดจะพึงรู้เท่าทันพระปัญญา
อันเฉียบแหลมของพระสมณโคดม ผู้นั้นก็พึงเป็นเช่นพระสมณโคดมเป็นแน่”
ชาณุสโสณิพราหมณ์ถามว่า “ได้ฟังว่า ท่านภารทวาชะสรรเสริญพระสมณ-
โคดม ด้วยการสรรเสริญอย่างยิ่ง”
สุภมาณพตอบว่า “ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าเป็นใคร เป็นอะไรเล่า จึงจักสรรเสริญ
พระสมณโคดม ท่านพระสมณโคดมประเสริฐกว่าเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เทวดา
และมนุษย์ทั้งหลายจึงสรรเสริญแล้วสรรเสริญอีก อนึ่ง ธรรม ๕ ประการนี้ที่
พราหมณ์ทั้งหลายบัญญัติ เพื่อทำบุญ เพื่อยังกุศลธรรมให้สำเร็จ พระสมณโคดม
ตรัสว่า เป็นเครื่องปรุงแต่งจิต เพื่ออบรมจิตไม่ให้มีเวร ไม่ให้มีความเบียดเบียน”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๕๙๗ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค] ๑๐. สังคารวสูตร

เมื่อสุภมาณพผู้เป็นบุตรของโตเทยยพราหมณ์กล่าวอย่างนี้แล้ว ชาณุสโสณิ-
พราหมณ์จึงลงจากรถอันเทียมด้วยม้าขาวปลอดแล้วห่มผ้าเฉวียงบ่า ประนมมือไปทางทิศ
ที่พระผู้มีพระภาคประทับอยู่แล้วเปล่งอุทานว่า “เป็นลาภของพระเจ้าปเสนทิโกศล
พระเจ้าปเสนทิโกศลทรงได้ดีแล้ว ที่พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าประทับอยู่
ในแว่นแคว้นของพระองค์” ดังนี้แล

สุภสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. สังคารวสูตร
ว่าด้วยมาณพชื่อสังคารวะ

[๔๗๓] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเสด็จจาริกไปในแคว้นโกศล พร้อมด้วยภิกษุหมู่ใหญ่
สมัยนั้น นางพราหมณีชื่อธนัญชานี อาศัยอยู่ในบ้านชื่อปัจจลกัปปะ เป็นผู้เลื่อมใส
อย่างยิ่งในพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์ หากนางพลั้งพลาดแล้วจะเปล่ง
อุทานขึ้น ๓ ครั้งว่า
“ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น”
สมัยนั้น มาณพชื่อสังคารวะอาศัยอยู่ในบ้านปัจจลกัปปะ จบไตรเพทพร้อมทั้ง
นิฆัณฑุศาสตร์ เกฏุภศาสตร์ พร้อมอักษรศาสตร์และประวัติศาสตร์ เข้าใจตัวบท
และไวยากรณ์ ชำนาญโลกายตศาสตร์และลักษณะมหาบุรุษ๑ เมื่อนางธนัญชานี-
พราหมณีกล่าววาจาอย่างนี้ เขาได้ฟังแล้วจึงกล่าวกับนางธนัญชานีพราหมณีว่า
“นางธนัญชานีพราหมณี ไม่เป็นมงคลเลย นางธนัญชานีพราหมณีเป็นคน
ฉิบหาย เมื่อพราหมณ์ทั้งหลายผู้ทรงไตรเพทมีอยู่ เออ นางไพล่ไปกล่าวสรรเสริญคุณ
ของสมณะหัวโล้นทำไม”


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค] ๑๐. สังคารวสูตร

นางธนัญชานีพราหมณีกล่าวว่า “พ่อหน้ามน เธอยังไม่รู้จักศีลและปัญญา
ของพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ถ้าเธอรู้จักศีลและปัญญาของพระผู้มีพระภาค
พระองค์นั้นดี เธอจะไม่สำคัญพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นว่า ควรถูกด่า ควรถูก
บริภาษเลย”
สังคารวมาณพกล่าวว่า “นางผู้เจริญ ถ้าเช่นนั้น พระสมณะมาถึงบ้านปัจจลกัปปะ
เมื่อใด พึงบอกฉันเมื่อนั้น” นางธนัญชานีพราหมณีรับคำแล้ว
ต่อมา พระผู้มีพระภาคเสด็จจาริกไปในแคว้นโกศลตามลำดับ เสด็จถึงบ้าน
ปัจจลกัปปะ ได้ยินว่า สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ในสวนมะม่วงของ
พราหมณ์ชาวบ้านโตเทยยะ ใกล้บ้านปัจจลกัปปะ นางธนัญชานีพราหมณีได้ฟังว่า
“ได้ยินว่า พระผู้มีพระภาค เสด็จมาถึงบ้านปัจจลกัปปะ ประทับอยู่ในสวนมะม่วงของ
พราหมณ์ชาวบ้านโตเทยยะใกล้บ้านปัจจลกัปปะ” ลำดับนั้น นางจึงเข้าไปหา
สังคารวมาณพถึงที่อยู่แล้วได้กล่าวว่า
“พ่อหน้ามน พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นเสด็จมาถึงบ้านปัจจลกัปปะ ประทับ
อยู่ในสวนมะม่วงของพรามหณ์ชาวบ้านโตเทยยะ ใกล้บ้านปัจจลกัปปะ เธอจงกำหนด
เวลาอันสมควร ณ บัดนี้เถิด”

ความต่างกันแห่งสมณพราหมณ์

[๔๗๔] สังคารวมาณพรับคำแล้ว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
ได้สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้ว นั่ง ณ ที่สมควรได้
ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า
“ท่านพระโคดม มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง เป็นผู้มีบารมีขั้นสุดท้ายเพราะรู้ยิ่ง
ในปัจจุบันย่อมปฏิญญาอาทิพรหมจรรย์๑ในสมณพราหมณ์เหล่านั้น สมณพราหมณ์
เหล่าใดเป็นผู้มีบารมีขั้นสุดท้ายเพราะรู้ยิ่งในปัจจุบันย่อมปฏิญญาอาทิพรหมจรรย์
บรรดาสมณพราหมณ์เหล่านั้น ท่านพระโคดมจัดอยู่ในพวกไหน”


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค] ๑๐. สังคารวสูตร

พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ภารทวาชะ เรากล่าวความต่างกันแห่งสมณ-
พราหมณ์ทั้งหลายผู้มีบารมีขั้นสุดท้ายเพราะรู้ยิ่งในปัจจุบัน แม้จะปฏิญญาอาทิ-
พรหมจรรย์ได้ มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่งเป็นผู้ฟังตามกันมา เพราะการฟังตามกัน
มานั้นจึงเป็นผู้มีบารมีขั้นสุดท้าย เพราะรู้ยิ่งในปัจจุบันจึงปฏิญญาอาทิพรหมจรรย์
เหมือนพราหมณ์ทั้งหลายผู้ทรงไตรเพท อนึ่ง มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่งเป็นผู้มี
บารมีขั้นสุดท้ายเพราะรู้ยิ่งในปัจจุบันจึงปฏิญญาอาทิพรหมจรรย์เพราะเพียงแต่ความเชื่อ
อย่างเดียว เปรียบเหมือนพราหมณ์ทั้งหลายผู้เป็นนักตรรกะ เป็นนักอภิปรัชญา๑
มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่งรู้ธรรมด้วยปัญญาอันยิ่งเองในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยฟัง
มาก่อน มีบารมีขั้นสุดท้าย เพราะรู้ยิ่งในปัจจุบันจึงปฏิญญาอาทิพรหมจรรย์
ในสมณพราหมณ์เหล่านั้น สมณพราหมณ์เหล่าใดรู้ธรรมด้วยปัญญาอันยิ่งเอง
ในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยฟังมาก่อน มีบารมีขั้นสุดท้ายเพราะรู้ยิ่งในปัจจุบัน จึงปฏิญญา
อาทิพรหมจรรย์ บรรดาสมณพราหมณ์เหล่านั้น เราก็คนหนึ่ง
ภารทวาชะ ข้อนี้พึงรู้ได้ด้วยบรรยายแม้นี้ เปรียบเหมือนสมณพราหมณ์เหล่าใด
รู้ธรรมด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อน มีบารมีขั้นสุดท้าย
เพราะรู้ยิ่งในปัจจุบัน จึงปฏิญญาอาทิพรหมจรรย์ บรรดาสมณพราหมณ์เหล่านั้น
เราก็คนหนึ่ง

พุทธประวัติตอนบำเพ็ญสมาบัติ
ในสำนักอาฬารดาบส

[๔๗๕] ภารทวาชะ ก่อนการตรัสรู้ เรายังเป็นพระโพธิสัตว์ ยังไม่ได้ตรัสรู้
ได้มีความคิดอย่างนี้ว่า ‘การอยู่ครองเรือนเป็นเรื่องอึดอัด เป็นทางมาแห่งธุลี การ
บรรพชาเป็นทางปลอดโปร่ง การที่เราอยู่ครองเรือน จะประพฤติพรหมจรรย์ให้
บริสุทธิ์ บริบูรณ์ครบถ้วน ดุจสังข์ขัดไม่ใช่ทำได้ง่าย ทางที่ดี เราควรโกนผมและ
หนวด นุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์ ออกบวชเป็นบรรพชิต’


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค] ๑๐. สังคารวสูตร

ในกาลต่อมา เรายังหนุ่มแน่นแข็งแรง มีเกศาดำสนิท อยู่ในปฐมวัย เมื่อ
พระราชมารดาและพระราชบิดาไม่ทรงปรารถนาจะให้ผนวช มีพระพักตร์นองด้วย
น้ำพระเนตรทรงกันแสงอยู่ จึงโกนผมและหนวด นุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์ ออกจากวัง
บวชเป็นบรรพชิต เมื่อบวชแล้วก็แสวงหาว่าอะไรเป็นกุศล ขณะที่แสวงหาทางอัน
ประเสริฐ คือความสงบซึ่งไม่มีทางอื่นยิ่งกว่า ได้เข้าไปหาอาฬารดาบส กาลามโคตร
แล้วกล่าวว่า
‘ท่านกาลามะ ข้าพเจ้าปรารถนาจะประพฤติพรหมจรรย์ในธรรมวินัยนี้’
เมื่อเรากล่าวอย่างนี้ อาฬารดาบส กาลามโคตรจึงกล่าวกับเราว่า ‘เชิญท่าน
อยู่ก่อน ธรรมนี้ก็เป็นเช่นเดียวกับธรรมที่วิญญูชนจะพึงทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเอง
ตามแบบอาจารย์ของตน เข้าถึงอยู่ได้ในเวลาไม่นาน’ จากนั้นไม่นาน เราก็เรียนรู้
ธรรมนั้นได้อย่างรวดเร็ว ชั่วขณะปิดปากจบเจรจาปราศรัยเท่านั้น ก็กล่าวญาณ-
วาทะ๑และเถรวาทะ๒ได้ ทั้งเราและผู้อื่นก็ทราบชัดว่า ‘เรารู้ เราห็น’ เราจึงคิดว่า
‘อาฬารดาบส กาลามโคตรประกาศธรรมนี้ ด้วยเหตุเพียงความเชื่ออย่างเดียวว่า
‘เราทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่’ ก็หามิได้ แต่อาฬารดาบส กาลามโคตร
ยังรู้ ยังเห็นธรรมนี้ด้วยอย่างแน่นอน’
จากนั้น เราจึงเข้าไปหาอาฬารดาบส กาลามโคตรแล้วถามว่า ‘ท่านกาลามะ
ท่านประกาศธรรมนี้ว่า ‘ข้าพเจ้าทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเอง เข้าถึงอยู่’ ด้วยเหตุ
เพียงเท่าไร’
เมื่อเราถามอย่างนี้แล้ว อาฬารดาบส กาลามโคตรจึงประกาศอากิญจัญญายตน-
สมาบัติแก่เรา เราจึงคิดว่า ‘มิใช่แต่อาฬารดาบส กาลามโคตรเท่านั้นที่มีศรัทธา
แม้เราก็มีศรัทธา มีวิริยะ... มีสติ... มีสมาธิ... มิใช่แต่อาฬารดาบส กาลามโคตร
เท่านั้นที่มีปัญญา แม้เราก็มีปัญญา ทางที่ดี เราควรบำเพ็ญเพียร เพื่อทำให้แจ้ง
ธรรมที่อาฬารดาบส กาลามโคตรประกาศว่า ‘ข้าพเจ้าทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเอง
เข้าถึงอยู่’ จากนั้นไม่นานเราก็บรรลุธรรมนั้นด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค] ๑๐. สังคารวสูตร

จากนั้น เราจึงเข้าไปหาอาฬารดาบส กาลามโคตรแล้วถามว่า ‘ท่านกาลามะ
ท่านประกาศว่า ‘ข้าพเจ้าทำให้แจ้งธรรมนี้ด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่’ ด้วยเหตุ
เพียงเท่านี้หรือ’
อาฬารดาบสตอบว่า ‘ท่านผู้มีอายุ เราประกาศว่า ‘ข้าพเจ้าทำให้แจ้งธรรมนี้
ด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่’ ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล’
(เราจึงกล่าวว่า) ‘ท่านกาลามะ แม้ข้าพเจ้าก็ทำให้แจ้งธรรมนี้ด้วยปัญญาอันยิ่ง
เองเข้าถึงอยู่’ ด้วยเหตุเพียงเท่านี้’
(อาฬารดาบส กาลามโคตรกล่าวว่า) ‘ท่านผู้มีอายุ เป็นลาภของพวกข้าพเจ้า
พวกข้าพเจ้าได้ดีแล้วที่ได้พบเพื่อนพรหมจารีเช่นท่าน เพราะข้าพเจ้าประกาศว่า
‘ข้าพเจ้าทำให้แจ้งธรรมใดด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ ท่านทำให้แจ้งธรรมนั้นด้วย
ปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่’ ท่านทำให้แจ้งธรรมใดด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่
ข้าพเจ้าก็ประกาศว่า ‘ข้าพเจ้าทำให้แจ้งธรรมนั้นด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่
ข้าพเจ้าทราบธรรมใด ท่านก็ทราบธรรมนั้น ท่านทราบธรรมใด ข้าพเจ้าก็ทราบ
ธรรมนั้น เป็นอันว่าข้าพเจ้าเป็นเช่นใด ท่านก็เป็นเช่นนั้น ท่านเป็นเช่นใด ข้าพเจ้า
ก็เป็นเช่นนั้น มาเถิด บัดนี้ เราทั้งสองจะอยู่ร่วมกันบริหารคณะนี้’
ภารทวาชะ อาฬารดาบส กาลามโคตร ทั้งที่เป็นอาจารย์ของเรา ก็ยกย่องเรา
ผู้เป็นศิษย์ให้เสมอกับตน และบูชาเราด้วยการบูชาอย่างดี ด้วยประการอย่างนี้
แต่เราคิดว่า ‘ธรรมนี้ไม่เป็นไปเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับ เพื่อสงบ
ระงับ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ และเพื่อนิพพาน เป็นไปเพียงเพื่อเข้าถึงอากิญจัญญายตน-
สมาบัติเท่านั้น’ เราไม่พอใจ เบื่อหน่ายธรรมนั้น จึงลาจากไป

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๖๐๒ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค] ๑๐. สังคารวสูตร

ในสำนักอุทกดาบส

[๔๗๖] ภารทวาชะ เรานั้นแสวงหาว่าอะไรเป็นกุศล ขณะที่แสวงหาทางอัน
ประเสริฐคือความสงบซึ่งไม่มีทางอื่นยิ่งกว่า ได้เข้าไปหาอุทกดาบส รามบุตรแล้ว
กล่าวว่า ‘ท่านรามะ ข้าพเจ้าปรารถนาจะประพฤติพรหมจรรย์ในธรรมวินัยนี้’
เมื่อเรากล่าวอย่างนี้แล้ว อุทกดาบส รามบุตรจึงกล่าวกับเราว่า ‘เชิญท่านอยู่ก่อน
ธรรมนี้ก็เป็นเช่นเดียวกับธรรมที่วิญญูชนจะพึงทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ตามแบบ
อาจารย์ของตนเข้าถึงอยู่ได้ในเวลาไม่นาน’ จากนั้นไม่นาน เราก็เรียนรู้ธรรมนั้นได้
อย่างรวดเร็ว ชั่วขณะปิดปากจบเจรจาปราศรัยเท่านั้น ก็กล่าวญาณวาทะและเถร-
วาทะได้ ทั้งเราและผู้อื่นก็ทราบชัดว่า ‘เรารู้ เราเห็น’ เราจึงคิดว่า ‘อุทกดาบส
รามบุตรประกาศธรรมนี้ด้วยเหตุเพียงความเชื่ออย่างเดียวว่า ‘เราทำให้แจ้งด้วย
ปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่’ ก็หามิได้ แต่อุทกดาบส รามบุตรยังรู้ ยังเห็นธรรม
นี้ด้วยอย่างแน่นอน’
จากนั้น เราจึงเข้าไปหาอุทกดาบส รามบุตรแล้วถามว่า ‘ท่านรามะ ท่านประกาศว่า
‘ข้าพเจ้าทำให้แจ้งธรรมนี้ด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่’ ด้วยเหตุเพียงเท่าไร’
เมื่อเราถามอย่างนี้แล้ว อุทกดาบส รามบุตรจึงประกาศเนวสัญญา-
นาสัญญายตนสมาบัติแก่เรา เราจึงคิดว่า ‘มิใช่แต่อุทกดาบส รามบุตรเท่านั้นที่มี
ศรัทธา แม้เราก็มีศรัทธา ... มีวิริยะ ... มีสติ ... มีสมาธิ ... มิใช่แต่อุทกดาบส
รามบุตรเท่านั้นที่มีปัญญา แม้เราก็มีปัญญา ทางที่ดี เราควรเริ่มบำเพ็ญเพียรเพื่อ
ทำให้แจ้งธรรมที่อุทกดาบส รามบุตรประกาศว่า ‘ข้าพเจ้าทำให้แจ้งธรรมนี้ด้วย
ปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่’ จากนั้นไม่นานเราก็ทำให้แจ้งธรรมนั้นด้วยปัญญาอันยิ่งเอง
เข้าถึงอยู่
จากนั้น เราจึงเข้าไปหาอุทกดาบส รามบุตรแล้วถามว่า ‘ท่านรามะ ท่านประกาศว่า
‘ข้าพเจ้าทำให้แจ้งธรรมนี้ด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่’ ด้วยเหตุเพียงเท่านี้หรือ’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๖๐๓ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค] ๑๐. สังคารวสูตร

อุทกดาบส รามบุตรตอบว่า ‘ท่านผู้มีอายุ ข้าพเจ้าประกาศว่า ‘ข้าพเจ้าทำให้
แจ้งธรรมนี้ด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่’ ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล’
(เราจึงกล่าวว่า) ‘แม้ข้าพเจ้าก็ทำให้แจ้งธรรมนี้ด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่
ด้วยเหตุเพียงเท่านี้’
(อุทกดาบส รามบุตรกล่าวว่า) ‘ท่านผู้มีอายุ เป็นลาภของพวกข้าพเจ้า
พวกข้าพเจ้าได้ดีแล้วที่ได้พบเพื่อนพรหมจารีเช่นท่าน เพราะ(ข้าพเจ้า) รามะประกาศ
ว่า ‘ข้าพเจ้าทำให้แจ้งธรรมใดด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ ท่านก็ทำให้แจ้งธรรมนั้น
ด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ ท่านทำให้แจ้งธรรมใดด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่
รามะก็ประกาศว่า ‘ข้าพเจ้าทำให้แจ้งธรรมนั้นด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่’ รามะ
ทราบธรรมใด ท่านก็ทราบธรรมนั้น ท่านทราบธรรมใด รามะก็ทราบธรรมนั้น
เป็นอันว่ารามะเป็นเช่นใด ท่านก็เป็นเช่นนั้น ท่านเป็นเช่นใด รามะก็เป็นเช่นนั้นมาเถิด
บัดนี้ ท่านจงบริหารคณะนี้’
ภารทวาชะ อุทกดาบส รามบุตรทั้งที่เป็นเพื่อนพรหมจารีของเรา ก็ยกย่องเรา
ไว้ในฐานะอาจารย์ และบูชาเราด้วยการบูชาอย่างดีด้วยประการอย่างนี้ แต่เราคิดว่า
‘ธรรมนี้ไม่เป็นไปเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับ เพื่อสงบระงับ เพื่อรู้ยิ่ง
เพื่อตรัสรู้ และเพื่อนิพพาน เป็นไปเพียงเพื่อเข้าถึงเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ
เท่านั้น เราไม่พอใจ เบื่อหน่ายธรรมนั้น จึงลาจากไป

ทรงบำเพ็ญเพียร

[๔๗๗] ภารทวาชะ เรานั้นแสวงหาว่าอะไรเป็นกุศล ขณะที่แสวงหาทาง
อันประเสริฐคือความสงบซึ่งไม่มีทางอื่นยิ่งกว่า เมื่อเที่ยวจาริกไปในแคว้นมคธโดย
ลำดับ ได้ไปถึงตำบลอุรุเวลาเสนานิคม ได้เห็นภูมิประเทศที่น่ารื่นรมย์มีราวป่าน่า
เพลิดเพลินใจ มีแม่น้ำไหลรินไม่ขาดสาย มีท่าน้ำสะอาดดี น่ารื่นรมย์ มีโคจรคาม
อยู่โดยรอบ เราจึงคิดว่า ‘ภูมิประเทศเป็นที่น่ารื่นรมย์ มีราวป่าน่าเพลิดเพลินใจ
มีแม่น้ำไหลรินไม่ขาดสาย มีท่าน้ำสะอาดดี น่ารื่นรมย์ มีโคจรคามอยู่โดยรอบ
เหมาะแก่การบำเพ็ญเพียรของกุลบุตรผู้ปรารถนาจะบำเพ็ญเพียร’ เราจึงนั่ง ณ ที่
นั้นด้วยคิดว่า ‘ที่นี้เหมาะแก่การบำเพ็ญเพียร’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๖๐๔ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค] ๑๐. สังคารวสูตร

อุปมา ๓ ข้อ

ภารทวาชะ ครั้งนั้น อุปมา ๓ ข้อ อันน่าอัศจรรย์อย่างยิ่ง ซึ่งเรายังไม่เคยได้ยิน
มาก่อน ได้ปรากฏแก่เรา คือ
๑. เปรียบเหมือนไม้สดมียางที่แช่อยู่ในน้ำ บุรุษนำไม้นั้นมาทำไม้สีไฟ
ด้วยหวังว่า ‘เราจักก่อไฟให้เกิดความร้อนขึ้น’
ภารทวาชะ ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร บุรุษนั้นนำไม้สดที่มียางซึ่งแช่อยู่
ในน้ำมาทำไม้สีไฟแล้วสีให้เป็นไฟเกิดความร้อนขึ้นได้ไหม”
“ไม่ได้ พระพุทธเจ้าข้า”
“ข้อนั้นเพราะเหตุไร”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เพราะไม้สดนั้นมียาง ทั้งยังแช่อยู่ในน้ำ บุรษนั้นก็มีแต่
ความเหน็ดเหนื่อยลำบากเปล่า”
“ภารทวาชะ อย่างนั้นเหมือนกัน สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง
มีกายและจิตยังไม่หลีกออกจากกาม ยังมีความพอใจ ความรักใคร่ ความหลง
ความกระหายและความกระวนกระวายในกามทั้งหลาย ยังมิได้ละและมิได้ระงับ
อย่างเบ็ดเสร็จในภายใน สมณะหรือพราหมณ์ผู้เจริญเหล่านั้นแม้เสวยทุกขเวทนาที่
กล้าแข็ง หยาบ เผ็ดร้อน ซึ่งเกิดขึ้นเพราะความเพียร ก็เป็นผู้ไม่ควรแก่การรู้
การเห็น และการตรัสรู้อันยอดเยี่ยม แม้ไม่ได้เสวยทุกขเวทนาที่กล้าแข็ง หยาบ
เผ็ดร้อน ซึ่งเกิดขึ้นเพราะความเพียร ก็เป็นผู้ไม่ควรแก่การรู้ การเห็น และการ
ตรัสรู้อันยอดเยี่ยม
นี้เป็นอุปมาข้อที่ ๑ อันน่าอัศจรรย์อย่างยิ่ง ซึ่งเรายังไม่เคยได้ยินมาก่อน ได้
ปรากฏแก่เรา
[๔๗๘] ๒. เปรียบเหมือนไม้สดมียางที่วางอยู่บนบกห่างจากน้ำ บุรุษนำไม้
นั้นมาทำไม้สีไฟด้วยหวังว่า ‘เราจักก่อไฟให้เกิดความร้อนขึ้น’
ภารทวาชะ ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร บุรุษนั้นนำไม้สดที่มียางซึ่งวางอยู่
บนบกห่างจากน้ำมาทำเป็นไม้สีไฟ แล้วสีให้เป็นไฟเกิดความร้อนขึ้นได้ไหม”
“ไม่ได้ พระพุทธเจ้าข้า”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๖๐๕ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค] ๑๐. สังคารวสูตร

“ข้อนั้นเพราะเหตุไร”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เพราะไม้ยังสดและมียาง แม้จะวางอยู่บนบกห่างจากน้ำ
บุรุษนั้นก็มีแต่ความเหน็ดเหนื่อยลำบากเปล่า”
“ภารทวาชะ อย่างนั้นเหมือนกัน สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งแม้
มีกายและจิตหลีกออกจากกามแล้ว แต่ยังมีความพอใจ ความรักใคร่ ความหลง
ความกระหาย และความกระวนกระวายในกามทั้งหลาย ยังมิได้ละและมิได้ระงับ
อย่างเด็ดขาดในภายใน สมณะหรือพราหมณ์ผู้เจริญเหล่านั้นแม้เสวยทุกขเวทนาที่
กล้าแข็ง หยาบ เผ็ดร้อน ซึ่งเกิดขึ้นเพราะความเพียร ก็เป็นผู้ไม่ควรแก่การรู้
การเห็น และการตรัสรู้อันยอดเยี่ยม แม้ไม่ได้เสวยทุกขเวทนาที่กล้าแข็ง หยาบ
เผ็ดร้อน ซึ่งเกิดขึ้นเพราะความเพียร ก็เป็นผู้ไม่ควรแก่การรู้ การเห็น และการ
ตรัสรู้อันยอดเยี่ยม
นี้เป็นอุปมาข้อที่ ๒ อันน่าอัศจรรย์อย่างยิ่ง ซึ่งเรายังไม่เคยได้ยินมาก่อน
ได้ปรากฏแก่เรา
[๔๗๙] ๓. เปรียบเหมือนไม้ที่แห้งสนิทซึ่งวางอยู่บนบกห่างจากน้ำ บุรุษ
นำมาทำเป็นไม้สีไฟ ด้วยหวังว่า ‘เราจักก่อไฟให้เกิดความร้อนขึ้น’
ภารทวาชะ ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร บุรุษนั้นนำไม้ที่แห้งสนิทซึ่งวางอยู่
บนบกห่างจากน้ำมาทำเป็นไม้สีไฟ แล้วสีให้เป็นไฟเกิดความร้อนขึ้นได้ไหม”
“ได้ พระพุทธเจ้าข้า”
“ข้อนั้นเพราะเหตุไร”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เพราะไม้แห้งสนิท ทั้งวางอยู่บนบกห่างจากน้ำ”
“ภารทวาชะ อย่างนั้นเหมือนกัน สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง มีกาย
และจิตหลีกออกจากกามแล้ว ทั้งละและระงับความพอใจ ความรักใคร่ ความหลง
ความกระหาย และความกระวนกระวายในกามทั้งหลายได้อย่างเด็ดขาดในภายในแล้ว
สมณะหรือพราหมณ์ผู้เจริญเหล่านั้น แม้เสวยทุกขเวทนาที่กล้าแข็ง หยาบ เผ็ดร้อน
ซึ่งเกิดขึ้นเพราะความเพียร ก็เป็นผู้ควรแก่การรู้ การเห็น และการตรัสรู้อันยอดเยี่ยม

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๖๐๖ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค] ๑๐. สังคารวสูตร

แม้ไม่ได้เสวยทุกขเวทนาที่กล้าแข็ง หยาบ เผ็ดร้อน ซึ่งเกิดขึ้นเพราะความเพียร
ก็เป็นผู้ควรแก่การรู้ การเห็น และการตรัสรู้อันยอดเยี่ยม
นี้เป็นอุปมาข้อที่ ๓ อันน่าอัศจรรย์อย่างยิ่ง ซึ่งเรายังไม่เคยได้ยินมาก่อน
ได้ปรากฏแก่เรา
ภารทวาชะ นี้คือ อุปมาทั้ง ๓ ข้ออันน่าอัศจรรย์อย่างยิ่งซึ่งเรายังไม่เคยได้ยิน
มาก่อนนี้แล ได้ปรากฏแก่เรา

ทรงบำเพ็ญทุกกรกิริยา

[๔๘๐] ภารทวาชะ เรานั้นมีความดำริว่า ‘ทางที่ดี เราควรกดฟันด้วยฟัน
ใช้ลิ้นดันเพดานไว้แน่น ใช้จิตข่มคั้นจิต ทำจิตให้เร่าร้อน’ เรานั้นก็กดฟันด้วยฟัน
ใช้ลิ้นดันเพดานไว้แน่น ใช้จิตข่มคั้นจิต ทำจิตให้เร่าร้อน เมื่อเราทำดังนั้น เหงื่อก็
ไหลออกจากรักแร้ทั้ง ๒ ข้าง คนที่แข็งแรงจับคนที่อ่อนแอกว่าที่ศีรษะหรือที่คอ
แล้วบีบคั้นรัดไว้ให้แน่น แม้ฉันใด เราก็ฉันนั้นเหมือนกัน เมื่อกดฟันด้วยฟัน ใช้ลิ้น
ดันเพดานไว้แน่น ใช้จิตข่มคั้นจิต ทำจิตให้เร่าร้อน เหงื่อก็ไหลออกจากรักแร้ทั้ง
๒ ข้าง
เราปรารภความเพียรไม่ย่อหย่อน มีสติตั้งมั่น ไม่ฟั่นเฟือน แต่เมื่อเราถูก
ความเพียรที่ทนได้ยากนั้นเสียดแทงอยู่ กายของเราก็กระวนกระวาย ไม่สงบระงับ
[๔๘๑] ภารทวาชะ เราจึงมีความดำริว่า ‘ทางที่ดี เราควรบำเพ็ญฌาน
อันไม่มีลมปราณเถิด’ เราก็กลั้นลมหายใจเข้าและลมหายใจออกทั้งทางปากและ
ทางจมูก เมื่อเรากลั้นลมหายใจเข้าและลมหายใจออก ทั้งทางปากและทางจมูก
ลมก็ออกทางหูทั้ง ๒ ข้าง มีเสียงดังอู้ ๆ ลมที่ช่างทองสูบอยู่มีเสียงดังอู้ ๆ แม้ฉันใด
เมื่อเรากลั้นลมหายใจเข้าและลมหายใจออก ทั้งทางปากและทางจมูก ลมก็ออกทาง
หูทั้ง ๒ ข้าง มีเสียงดังอู้ ๆ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๖๐๗ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค] ๑๐. สังคารวสูตร

เราปรารภความเพียรไม่ย่อหย่อน มีสติตั้งมั่น ไม่ฟั่นเฟือน แต่เมื่อเราถูก
ความเพียรที่ทนได้ยากนั้นเสียดแทงอยู่ กายของเราก็กระวนกระวาย ไม่สงบระงับ
เราจึงมีความดำริว่า ‘ทางที่ดี เราควรบำเพ็ญฌานอันไม่มีลมปราณเถิด’ เราก็
กลั้นลมหายใจเข้าและลมหายใจออก ทั้งทางปากทางจมูกและทางช่องหู เมื่อเรา
กลั้นลมหายใจเข้าและลมหายใจออก ทั้งทางปากทางจมูกและทางช่องหู ลมอัน
แรงกล้าก็เสียดแทงศีรษะ คนที่แข็งแรงใช้เหล็กที่แหลมคมแทงศีรษะ แม้ฉันใด
เมื่อเรากลั้นลมหลายใจเข้าและลมหายใจออก ทั้งทางปากทางจมูกและทางช่องหู
ลมอันแรงกล้าก็เสียดแทงศีรษะ ฉันนั้นเหมือนกัน
เราปรารภความเพียรไม่ย่อหย่อน มีสติตั้งมั่น ไม่ฟั่นเฟือน แต่เมื่อเราถูก
ความเพียรที่ทนได้ยากนั้นเสียดแทงอยู่ กายของเราก็กระวนกระวาย ไม่สงบระงับ
เราจึงมีความดำริว่า ‘ทางที่ดี เราควรบำเพ็ญฌานอันไม่มีลมปราณเถิด’
เราก็กลั้นลมหายใจเข้าและลมหายใจออก ทั้งทางปากทางจมูกและทางช่องหู
เมื่อเรากลั้นลมหายใจเข้าและลมหายใจออก ทั้งทางปากทางจมูกและทางช่องหู
ก็มีทุกขเวทนาในศีรษะเป็นอันมาก คนที่แข็งแรงใช้เชือกหนังที่เหนียวขันศีรษะ
แม้ฉันใด เมื่อเรากลั้นลมหายใจเข้าและลมหายใจออก ทั้งทางปากทางจมูกและทาง
ช่องหู ก็มีเวทนาในศีรษะอย่างแรงกล้า ฉันนั้นเหมือนกัน
เราปรารภความเพียรไม่ย่อหย่อน มีสติตั้งมั่น ไม่ฟั่นเฟือน แต่เมื่อเราถูก
ความเพียรที่ทนได้ยากนั้นเสียดแทงอยู่ กายของเราก็กระวนกระวาย ไม่สงบระงับ
เราจึงมีความดำริว่า ‘ทางที่ดี เราควรบำเพ็ญฌานอันไม่มีลมปราณเถิด’ เราก็
กลั้นลมหายใจเข้าและลมหายใจออก ทั้งทางปากทางจมูกและทางช่องหู เมื่อเรา
กลั้นลมหายใจเข้าและลมหายใจออก ทั้งทางปากทางจมูกและทางช่องหู ลมอันแรง
กล้าก็บาดในช่องท้อง คนฆ่าโคหรือลูกมือของคนฆ่าโคผู้ชำนาญ ใช้มีดแล่เนื้อที่คม
กรีดท้อง แม้ฉันใด เมื่อเรากลั้นลมหายใจเข้าและลมหายใจออก ทั้งทางปากทาง
จมูกและทางช่องหู ก็มีลมอันแรงกล้าบาดในช่องท้อง ฉันนั้นเหมือนกัน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๖๐๘ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค] ๑๐. สังคารวสูตร

เราปรารภความเพียรไม่ย่อหย่อน มีสติตั้งมั่น ไม่ฟั่นเฟือน แต่เมื่อเราถูก
ความเพียรที่ทนได้ยากนั้นเสียดแทงอยู่ กายของเราก็กระวนกระวาย ไม่สงบระงับ
เราจึงมีความดำริว่า ‘ทางที่ดี เราควรบำเพ็ญฌานอันไม่มีลมปราณเถิด' เราก็
กลั้นลมหายใจเข้าและลมหายใจออก ทั้งทางปากทางจมูกและทางช่องหู เมื่อเรา
กลั้นลมหายใจเข้าและลมหายใจออก ทั้งทางปากทางจมูกและทางช่องหู ก็มีความ
กระวนกระวายในร่างกายอย่างแรงกล้า คนที่แข็งแรง ๒ คนจับแขนคนที่อ่อนแอกว่า
คนละข้างย่างให้ร้อน บนหลุมถ่านเพลิง แม้ฉันใด เมื่อเรากลั้นลมหายใจเข้าและลม
หายใจออก ทั้งทางปากทางจมูกและทางช่องหู ก็มีความกระวนกระวายในร่างกาย
อย่างแรงกล้า ฉันนั้นเหมือนกัน
เราปรารภความเพียรไม่ย่อหย่อน มีสติตั้งมั่น ไม่ฟั่นเฟือน แต่เมื่อเราถูก
ความเพียรที่ทนได้ยากนั้นเสียดแทงอยู่ กายของเราก็กระวนกระวาย ไม่สงบระงับ
เทวดาทั้งหลายเห็นเราแล้วก็พากันกล่าวอย่างนี้ว่า ‘พระสมณโคดมสิ้นพระชนม์แล้ว’
บางพวกกล่าวอย่างนี้ว่า ‘พระสมณโคดมยังมิได้สิ้นพระชนม์ แต่กำลังจะสิ้น
พระชนม์’ บางพวกกล่าวอย่างนี้ว่า ‘พระสมณโคดมยังไม่สิ้นพระชนม์ ทั้งจะไม่สิ้น
พระชนม์ พระสมณโคดมจะเป็นพระอรหันต์ การอยู่เช่นนี้นั้น เป็นวิหารธรรม๑ของ
ท่านผู้เป็นพระอรหันต์’
เราจึงมีความดำริว่า ‘ทางที่ดี เราควรปฏิบัติด้วยการอดอาหารทุกอย่าง’
ขณะนั้น เทวดาทั้งหลายเข้ามาหาเราแล้วกล่าวว่า ‘ข้าแต่ท่านผู้นิรทุกข์ ท่านอย่าได้
ปฏิบัติด้วยการอดอาหารทุกอย่าง ถ้าท่านจักปฏิบัติด้วยการอดอาหารทุกอย่าง
พวกข้าพเจ้าจะแทรกโอชาอันเป็นทิพย์เข้าทางขุมขนของท่าน ท่านจะได้ยังอัตภาพ
ให้เป็นไปด้วยโอชานั้น’ เราจึงมีความดำริว่า ‘เราปฏิญญาว่า จะต้องอดอาหาร
ทุกอย่าง แต่เทวดาเหล่านี้จะแทรกโอชาอันเป็นทิพย์เข้าทางขุมขนของเรา เราจะยัง
อัตภาพให้เป็นไปด้วยโอชานั้น การปฏิญญานั้นก็จะพึงเป็นมุสาแก่เราเอง’ เราจึง
กล่าวห้ามเทวดาเหล่านั้นว่า ‘อย่าเลย’


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค] ๑๐. สังคารวสูตร

เราจึงมีความดำริว่า ‘ทางที่ดี เราควรกินอาหารให้น้อยลง ๆ เพียงครั้งละ ๑
ฟายมือบ้าง เท่าเยื่อในเมล็ดถั่วเขียวบ้าง เท่าเยื่อในเมล็ดถั่วพูบ้าง เท่าเยื่อในเมล็ด
ถั่วดำบ้าง เท่าเยื่อในเมล็ดบัวบ้าง, เราจึงกินอาหารน้อยลง ๆ เพียงครั้งละ ๑
ฟายมือบ้าง เท่าเยื่อในเมล็ดถั่วเขียวบ้าง เท่าเยื่อในเมล็ดถั่วพูบ้าง เท่าเยื่อใน
เมล็ดถั่วดำบ้าง เท่าเยื่อในเมล็ดบัวบ้าง’ เมื่อเรากินอาหารน้อยลง ๆ เพียงครั้งละ
๑ ฟายมือบ้าง เท่าเยื่อในเมล็ดถั่วเขียวบ้าง เท่าเยื่อในเมล็ดถั่วพูบ้าง เท่าเยื่อใน
เมล็ดถั่วดำบ้าง เท่าเยื่อในเมล็ดบัวบ้าง กายจึงซูบผอมมาก อวัยวะน้อยใหญ่
ของเราจึงเป็นเหมือนเถาวัลย์ที่มีข้อมากหรือเถาวัลย์ที่มีข้อดำ เนื้อสะโพกก็ลีบ
เหมือนกีบเท้าอูฐ กระดูกสันหลังก็ผุดเป็นหนามเหมือนเถาวัลย์ ซี่โครงทั้ง ๒ ข้าง
ขึ้นสะพรั่ง เหมือนกลอนศาลาเก่า ดวงตาทั้ง ๒ ก็ลึกเข้าไปในเบ้าตา เหมือน
ดวงดาวปรากฏอยู่ในบ่อน้ำลึก หนังบนศีรษะก็เหี่ยวหดเหมือนลูกน้ำเต้าที่เขาตัดมา
ขณะยังดิบต้องลมและแดดเข้าก็เหี่ยวหดไป เพราะเป็นผู้มีอาหารน้อยนั้น เราคิดว่า
‘จะลูบพื้นท้อง’ ก็จับถึงกระดูกสันหลัง คิดว่า ‘จะลูบกระดูกสันหลัง’ ก็จับถึง
พื้นท้อง เพราะพื้นท้องของเราแนบติดจนถึงกระดูกสันหลัง เราคิดว่า ‘จะถ่ายอุจจาระ
หรือถ่ายปัสสาวะ’ ก็ซวนเซล้มลง ณ ที่นั้น เมื่อจะให้กายสบายบ้าง จึงใช้ฝ่ามือ
ลูบตัว ขนทั้งหลายที่มีรากเน่าก็หลุดร่วงจากกาย เพราะเป็นผู้มีอาหารน้อย มนุษย์ทั้ง
หลายเห็นเราเข้าแล้ว ก็กล่าวอย่างนี้ว่า ‘พระสมณโคดมดำไป’ บางพวกก็กล่าวอย่าง
นี้ว่า ‘พระสมณโคดมไม่ดำเพียงแต่คล้ำไป’ บางพวกก็กล่าวอย่างนี้ว่า ‘ไม่ดำ ไม่คล้ำ
เพียงแต่พร้อยไป’ เรามีผิวพรรณบริสุทธิ์ เปล่งปลั่ง เพียงแต่เสียผิวไป เพราะเป็นผู้มี
อาหารน้อยเท่านั้น
[๔๘๒] ภารทวาชะ เรานั้นจึงมีความดำริว่า ‘สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใด
เหล่าหนึ่ง ในอดีต ที่เสวยทุกขเวทนากล้าแข็ง หยาบ เผ็ดร้อน ที่เกิดขึ้นเพราะ
ความเพียร ทุกขเวทนานั้นอย่างยิ่งก็เพียงเท่านี้ไม่เกินกว่านี้ไป สมณะหรือพราหมณ์
เหล่าใดเหล่าหนึ่งในอนาคตผู้เสวยทุกขเวทนา กล้าแข็ง หยาบ เผ็ดร้อน ที่เกิดขึ้น
เพราะความเพียร ทุกขเวทนานั้นอย่างยิ่งก็เพียงเท่านี้ไม่เกินกว่านี้ไป สมณะหรือ
พราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งในปัจจุบันเสวยทุกขเวทนากล้าแข็ง หยาบ เผ็ดร้อน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๖๑๐ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค] ๑๐. สังคารวสูตร

ที่เกิดขึ้นเพราะความเพียร ทุกขเวทนานั้นอย่างยิ่งก็เพียงนี้ไม่เกินกว่านี้ไป แต่เราก็ยัง
มิได้บรรลุญาณทัสสนะที่ประเสริฐอันสามารถวิเศษยิ่งกว่าธรรมของมนุษย์ ด้วย
ทุกกรกิริยาอันเผ็ดร้อนนี้ จะพึงมีทางอื่นที่จะตรัสรู้บ้างไหม
เราจึงมีความดำริว่า ‘เราจำได้อยู่ เมื่อคราวงานของท้าวสักกาธิบดีซึ่งเป็น
พระราชบิดา เรานั่งอยู่ใต้ต้นหว้าอันร่มเย็น ได้สงัดจากกามและอกุศลธรรม
ทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌานที่มีวิตก วิจาร ปีติและสุขอันเกิดจากวิเวกอยู่ ทางนั้น
พึงเป็นทางแห่งการตรัสรู้หรือหนอ’ เรามีความรู้แจ้งที่ตามระลึกด้วยสติว่า ‘ทางนั้น
เป็นทางแห่งการตรัสรู้’ เราจึงมีความดำริว่า ‘เรากลัวความสุขที่เว้นจากกามและ
อกุศลธรรมทั้งหลายหรือ’ เราก็ดำริว่า ‘เราไม่กลัวความสุขที่เว้นจากกามและ
อกุศลธรรมทั้งหลายเลย’
[๔๘๓] ภารทวาชะ เราจึงมีความดำริต่อไปว่า ‘เราผู้มีกายซูบผอมมาก
อย่างนี้ จะบรรลุความสุขนั้นไม่ใช่ทำได้ง่ายเลย ทางที่ดี เราควรกินอาหารหยาบ
คือข้าวสุกและขนมกุมมาส’ เราก็กินอาหารหยาบคือข้าวสุกและขนมกุมมาส ครั้งนั้น
ภิกษุปัญจวัคคีย์เฝ้าบำรุงเรา ด้วยหวังว่า ‘พระสมณโคดมบรรลุธรรมใด จักบอก
ธรรมนั้นแก่เราทั้งหลาย’ เมื่อใด เราฉันอาหารหยาบ คือข้าวสุกและขนมกุมมาส
เมื่อนั้น ภิกษุปัญจวัคคีย์นั้นก็เบื่อหน่าย จากไปด้วยเข้าใจว่า ‘พระสมณโคดม
มักมาก คลายความเพียร เวียนมาเพื่อความเป็นผู้มักมากเสียแล้ว’

ฌาน ๔ และวิชชา ๓

ภารทวาชะ เราฉันอาหารหยาบให้ร่างกายมีกำลัง สงัดจากกามและอกุศลธรรม
ทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ฯลฯ อยู่ เพราะวิตกวิจารสงบระงับไป บรรลุทุติยฌาน
ฯลฯ บรรลุตติยฌาน ฯลฯ บรรลุจตุตถฌาน ฯลฯ อยู่๑
เมื่อจิตเป็นสมาธิบริสุทธิ์ผุดผ่อง ไม่มีกิเลสเพียงดังเนิน ปราศจากความ
เศร้าหมอง อ่อน เหมาะแก่การใช้งาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ เรานั้นน้อมจิต


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค] ๑๐. สังคารวสูตร

ไปเพื่อปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ระลึกชาติก่อนได้หลายชาติ คือ ๑ ชาติบ้าง
๒ ชาติบ้าง ฯลฯ เราระลึกชาติก่อนได้หลายชาติพร้อมทั้งลักษณะทั่วไปและ
ชีวประวัติอย่างนี้ เราได้บรรลุวิชชาที่ ๑ นี้ ในปฐมยามแห่งราตรี กำจัดอวิชชา
ได้แล้ว วิชชาก็เกิดขึ้น กำจัดความมืดได้แล้ว ความสว่างก็เกิดขึ้น เหมือนบุคคล
ผู้ไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่
[๔๘๔] เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ผุดผ่อง ไม่มีกิเลสเพียงดังเนิน ปราศจาก
ความเศร้าหมอง อ่อน เหมาะแก่การใช้งาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ เรานั้น
น้อมจิตไปเพื่อจุตูปปาตญาณ เห็นหมู่สัตว์ผู้กำลังจุติ กำลังเกิด ทั้งชั้นต่ำและชั้นสูง
งามและไม่งาม เกิดดีและเกิดไม่ดี ด้วยตาทิพย์อันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์ รู้ชัดถึง
หมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรม ฯลฯ เราได้บรรลุวิชชาที่ ๒ นี้ในมัชฌิมยามแห่งราตรี
กำจัดอวิชชาได้แล้ว วิชชาก็เกิดขึ้น กำจัดความมืดได้แล้ว ความสว่างก็เกิดขึ้น เหมือน
บุคคลผู้ไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่
เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ผุดผ่อง ไม่มีกิเลสเพียงดังเนิน ปราศจากความ
เศร้าหมอง อ่อน เหมาะแก่การใช้งาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ เรานั้นน้อมจิต
ไปเพื่ออาสวักขยญาณ รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า ‘นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินี-
ปฏิปทา นี้อาสวะ ฯลฯ๑ นี้อาสวนิโรธคามินีปฏิปทา’ เมื่อเรารู้เห็นอยู่อย่างนี้
จิตย่อมหลุดพ้นจากกามาสวะ ภวาสวะ และอวิชชาสวะ เมื่อจิตหลุดพ้นแล้วก็รู้ว่า
‘หลุดพ้นแล้ว’ รู้ชัดว่า ‘ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว
ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป’
เราบรรลุวิชชาที่ ๓ นี้ ในปัจฉิมยามแห่งราตรี กำจัดอวิชชาได้แล้ว วิชชา
ก็เกิดขึ้น กำจัดความมืดได้แล้ว ความสว่างก็เกิดขึ้น เหมือนบุคคลผู้ไม่ประมาท
มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่๒”


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค] ๑๐. สังคารวสูตร

[๔๘๕] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว สังคารวมาณพได้กราบทูล
พระผู้มีพระภาคว่า “ความเพียรอันไม่ย่อหย่อนได้มีแล้วแก่ท่านพระโคดมหนอ
ความเพียรของสัตบุรุษได้มีแล้วแก่ท่านพระโคดมหนอ ท่านพระโคดมสมควรเป็น
พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ท่านพระโคดม เทวดามีหรือหนอ”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภารทวาชะ ข้อที่ว่าเทวดามีนั้น รู้ได้โดยฐานะ”
สังคารวมาณพกราบทูลว่า “ท่านพระโคดม เมื่อข้าพระองค์ทูลถามว่า ‘เทวดา
มีหรือหนอ’ พระองค์ก็ตรัสตอบว่า ‘ภารทวาชะ ข้อที่ว่าเทวดามีนั้น รู้ได้โดยฐานะ’
เมื่อเป็นเช่นนี้ ถ้อยคำของพระองค์เป็นถ้อยคำเปล่า เป็นมุสา มิใช่หรือ”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภารทวาชะ ผู้ใดเมื่อถูกถามว่า ‘เทวดามีอยู่หรือ’
จะพึงตอบว่า ‘ข้อที่ว่าเทวดามีอยู่นั้น รู้กันได้โดยฐานะ’ ผู้นั้นก็เท่ากับกล่าวว่า
‘เรารู้จักเทวดา’ เมื่อเป็นเช่นนั้น ท่านผู้รู้ก็เข้าใจในเรื่องนี้ได้ว่า ‘เทวดามีอยู่’
โดยแน่แท้”
สังคารวมาณพทูลถามว่า “ทำไม ท่านพระโคดมจึงไม่ทรงตอบแก่ข้าพระองค์
เสียแต่แรกเล่า”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ภารทวาชะ ข้อที่ว่าเทวดามีอยู่นั้น เขาสมมติกัน
ในโลก ด้วยคำศัพท์ที่สูง”

สังคารวมาณพแสดงตนเป็นอุบาสก

[๔๘๖] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว สังคารวมาณพได้กราบทูล
พระผู้มีพระภาคว่า
“ข้าแต่ท่านพระโคดม พระภาษิตของพระองค์ชัดเจนไพเราะยิ่งนัก ข้าแต่
ท่านพระโคดม พระภาษิตของพระองค์ชัดเจนไพเราะยิ่งนัก พระองค์ทรงประกาศ
ธรรมแจ่มแจ้งโดยประการต่าง ๆ เปรียบเหมือนบุคคลหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๖๑๓ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค]
รวมพระสูตรที่มีในวรรค

บอกทางแก่คนหลงทาง หรือตามประทีปในที่มืด ด้วยตั้งใจว่า ‘คนมีตาดีจักเห็น
รูปได้’ ข้าพระองค์นี้ขอถึงท่านพระโคดมพร้อมทั้งพระธรรมและพระสงฆ์เป็นสรณะ
ขอท่านพระโคดมจงทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะ ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป
จนตลอดชีวิต” ดังนี้แล

สังคารวสูตรที่ ๑๐ จบ
พราหมณวรรคที่ ๕ จบ

รวมพระสูตร ที่มาในวรรคนี้ คือ

๑. พรหมายุสูตร ๒. เสลสูตร
๓. อัสสลายนสูตร ๔. โฆฏมุขสูตร
๕. จังกีสูตร ๖. เอสุการีสูตร
๗. ธนัญชานิสูตร ๘. วาเสฏฐสูตร
๙. สุภสูตร ๑๐. สังคารวสูตร

รวมวรรคที่มีในมัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์นี้มี ๕ วรรค คือ

๑. คหปติวรรค ๒. ภิกขุวรรค
๓. ปริพพาชกวรรค ๔. ราชวรรค
๕. พราหมณวรรค

มัชฌิมปัณณาสก์ จบบริบูรณ์


พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๓ สุตตันตปิฎกที่ ๐๕ มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ จบ





eXTReMe Tracker