ค้นว่าอยู่เล่มใด แล้วกด [ctrl]+f หรือใช้คำสั่งของเครื่องหาตำแหน่งในเล่มอีกทีนะครับ



จัดรูปหน้าใหม่
เพื่อความสะดวก และสวยงาม
(เฉพาะหน้าจอใหญ่ เช่น คอมพิวเตอร์)
กรุณาคลิก จัดรูปหน้าใหม่
เพื่อให้กรอบ
ค้นข้อความ ปรากฎที่ด้านซ้ายของหน้า

พระไตรปิฎกภาษาไทย
ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ๔๕ เล่ม (ปกสีฟ้า)
ทั้งออนไลน์และออฟไลน์
ที่มาของข้อมูล : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับ มจร.
MCUTRAI Version 1.0

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๒-๒ สุตตันตปิฎกที่ ๐๔ มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์

พระสุตตันตปิฎก
มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์
____________
ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๒. สีหนาทวรรค] ๑. จูฬสีหนาทสูตร

ผัสสะนี้เล่า มีอะไรเป็นต้นเหตุ มีอะไรเป็นเหตุเกิด มีอะไรเป็นกำเนิด มีอะไร
เป็นแดนเกิด
ผัสสะ มีสฬายตนะเป็นต้นเหตุ มีสฬายตนะเป็นเหตุเกิด มีสฬายตนะเป็น
กำเนิด มีสฬายตนะเป็นแดนเกิด
สฬายตนะนี้เล่า มีอะไรเป็นต้นเหตุ มีอะไรเป็นเหตุเกิด มีอะไรเป็นกำเนิด
มีอะไรเป็นแดนเกิด
สฬายตนะ มีนามรูปเป็นต้นเหตุ มีนามรูปเป็นเหตุเกิด มีนามรูปเป็นกำเนิด
มีนามรูปเป็นแดนเกิด
นามรูปนี้เล่า มีอะไรเป็นต้นเหตุ มีอะไรเป็นเหตุเกิด มีอะไรเป็นกำเนิด
มีอะไรเป็นแดนเกิด
นามรูป มีวิญญาณเป็นต้นเหตุ มีวิญญาณเป็นเหตุเกิด มีวิญญาณเป็นกำเนิด
มีวิญญาณเป็นแดนเกิด
วิญญาณนี้เล่า มีอะไรเป็นต้นเหตุ มีอะไรเป็นเหตุเกิด มีอะไรเป็นกำเนิด
มีอะไรเป็นแดนเกิด
วิญญาณ มีสังขารเป็นต้นเหตุ มีสังขารเป็นเหตุเกิด มีสังขารเป็นกำเนิด
มีสังขารเป็นแดนเกิด
สังขารนี้เล่า มีอะไรเป็นต้นเหตุ มีอะไรเป็นเหตุเกิด มีอะไรเป็นกำเนิด
มีอะไรเป็นแดนเกิด
สังขาร มีอวิชชาเป็นต้นเหตุ มีอวิชชาเป็นเหตุเกิด มีอวิชชาเป็นกำเนิด
มีอวิชชาเป็นแดนเกิด
ภิกษุทั้งหลาย เมื่อใด ภิกษุละอวิชชาได้แล้ว วิชชาเกิดขึ้นแล้ว เมื่อนั้น เธอไม่
ยึดมั่นกามุปาทาน ทิฏฐุปาทาน สีลัพพตุปาทาน และอัตตวาทุปาทาน เพราะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า :๑๔๐ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๒. สีหนาทวรรค] ๒. มหาสีหนาทสูตร

กำจัดอวิชชาได้แล้ว วิชชาจึงเกิดขึ้น เมื่อไม่ยึดมั่น เธอก็ไม่สะดุ้ง เมื่อไม่สะดุ้ง เธอก็
ปรินิพพานเฉพาะตนนั่นแล เธอรู้ชัดว่า ‘ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว๑ ทำ
กิจที่ควรทำเสร็จแล้ว๒ ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป๓”
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสภาษิตนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นมีใจยินดีต่างชื่นชมพระภาษิต
ของพระผู้มีพระภาค ดังนี้แล

จูฬสีหนาทสูตรที่ ๑ จบ

๒. มหาสีหนาทสูตร
ว่าด้วยการบันลือสีหนาท สูตรใหญ่
สุนักขัตตะกล่าวตู่พระพุทธเจ้า

[๑๔๖] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ราวป่าด้านตะวันตกภายนอก
พระนคร เขตกรุงเวสาลี สมัยนั้นแล โอรสเจ้าลิจฉวีพระนามว่าสุนักขัตตะลาสิกขา
จากพระธรรมวินัยนี้ได้ไม่นาน เธอได้กล่าวในชุมชน ณ กรุงเวสาลีอย่างนี้ว่า
“สมณโคดมไม่มีญาณทัสสนะที่ประเสริฐอันสามารถ๔ วิเศษยิ่งกว่าธรรมของ
มนุษย์๕ สมณโคดมแสดงธรรมที่ประมวลมาด้วยความตรึกที่ไตร่ตรองด้วยการ
ค้นคิด แจ่มแจ้งได้เอง ธรรมที่สมณโคดมแสดงเพื่อประโยชน์แก่บุคคล ย่อมนำไป
เพื่อความสิ้นทุกข์โดยชอบสำหรับบุคคลผู้ปฏิบัติตามธรรมนั้น”
ครั้นในเวลาเช้า ท่านพระสารีบุตรครองอันตรวาสกถือบาตรและจีวรเข้าไป
บิณฑบาตยังกรุงเวสาลี ท่านได้สดับคำของโอรสเจ้าลิจฉวีพระนามว่าสุนักขัตตะผู้

เชิงอรรถ :
๑-๓ ดูเชิงอรรถที่ ๑-๓ ข้อ ๕๔ (ภยเภรวสูตร) หน้า ๔๓ ในเล่มนี้
๔ ญาณทัสสนะที่ประเสริฐอันสามารถ หมายถึงมหัคคตโลกุตตรปัญญา(ปัญญาชั้นโลกุตตระที่ถึงความเป็นใหญ่)
อันประเสริฐ บริสุทธิ์ สูงสุด สามารถกำจัดกิเลสได้ (ม.มู.อ. ๑/๑๔๖/๓๔๒,องฺ.ทสก.อ. ๓/๔๘/๓๕๐)
๕ ธรรมของมนุษย์ ในที่นี้หมายถึงกุศลกรรมบถ ๑๐ ประการ (ม.มู.อ. ๑/๑๔๖/๓๔๒, องฺ.เอกก.อ. ๑/๔๕/๕๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า :๑๔๑ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๒. สีหนาทวรรค] ๒. มหาสีหนาทสูตร

กล่าวในชุมชน ณ กรุงเวสาลีอย่างนี้ว่า “สมณโคดมไม่มีญาณทัสสนะที่ประเสริฐอัน
สามารถ วิเศษยิ่งกว่าธรรมของมนุษย์ สมณโคดมแสดงธรรมที่ประมวลมาด้วยความ
ตรึก ที่ไตร่ตรองด้วยการค้นคิด แจ่มแจ้งได้เอง ธรรมที่สมณโคดมแสดงเพื่อ
ประโยชน์แก่บุคคล ย่อมนำไปเพื่อความสิ้นทุกข์โดยชอบสำหรับบุคคลผู้ปฏิบัติตาม
ธรรมนั้น”
ลำดับนั้น ท่านพระสารีบุตรครั้นเที่ยวบิณฑบาตในกรุงเวสาลีแล้ว กลับจาก
บิณฑบาตภายหลังฉันภัตตาหารเสร็จแล้ว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร แล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า “ข้าแต่
พระองค์ผู้เจริญ โอรสเจ้าลิจฉวีพระนามว่าสุนักขัตตะลาสิกขาจากพระธรรมวินัยนี้ได้
ไม่นาน เธอได้กล่าวในชุมชน ณ กรุงเวสาลีอย่างนี้ว่า ‘สมณโคดมไม่มีญาณทัสสนะ
ที่ประเสริฐอันสามารถ วิเศษยิ่งกว่าธรรมของมนุษย์ สมณโคดมแสดงธรรมที่
ประมวลมาด้วยความตรึก ที่ไตร่ตรองด้วยการค้นคิด แจ่มแจ้งได้เอง ธรรมที่
สมณโคดมแสดงเพื่อประโยชน์แก่บุคคล ย่อมนำไปเพื่อความสิ้นทุกข์โดยชอบ
สำหรับบุคคลผู้ปฏิบัติตามธรรมนั้น”
[๑๔๗] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “สารีบุตร โอรสเจ้าลิจฉวีพระนามว่า
สุนักขัตตะเป็นโมฆบุรุษ มักโกรธ เธอกล่าววาจานั้นเพราะความโกรธ สุนักขัตตะ
โมฆบุรุษคิดว่า ‘จักกล่าวติเตียน’ แต่กลับกล่าวสรรเสริญคุณของตถาคตอยู่นั่นแล
แท้จริงข้อที่บุคคลจะพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ธรรมที่สมณโคดมแสดงเพื่อประโยชน์
แก่บุคคล ย่อมนำไปเพื่อความสิ้นทุกข์โดยชอบสำหรับบุคคลผู้ปฏิบัติตามธรรมนั้น’
เป็นการกล่าวสรรเสริญคุณของตถาคต
สุนักขัตตะ โมฆบุรุษจักไม่มีปัญญารู้ธรรมในตถาคตว่า ‘แม้เพราะเหตุนี้
พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้ด้วยพระองค์เองโดยชอบ
เพียบพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดี รู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกผู้ที่ควรฝึกได้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า :๑๔๒ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๒. สีหนาทวรรค] ๒. มหาสีหนาทสูตร

อย่างยอดเยี่ยม เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า เป็น
พระผู้มีพระภาค’
สุนักขัตตะ โมฆบุรุษจักไม่มีปัญญารู้ธรรมในตถาคตว่า ‘แม้เพราะเหตุนี้ พระ
ผู้มีพระภาคพระองค์นั้นทรงแสดงฤทธิ์ได้หลายอย่าง คือ คนเดียวแสดงเป็นหลาย
คนก็ได้ หลายคนแสดงเป็นคนเดียวก็ได้ แสดงให้ปรากฏหรือให้หายไปก็ได้ ทะลุ
ฝา กำแพง และภูเขาไปได้ไม่ติดขัดเหมือนไปในที่ว่างก็ได้ ผุดขึ้นหรือดำลงใน
แผ่นดินเหมือนไปในน้ำก็ได้ เดินบนน้ำโดยที่น้ำไม่แยกเหมือนเดินบนแผ่นดินก็ได้
นั่งขัดสมาธิ เหาะไปในอากาศเหมือนนกบินไปก็ได้ ใช้ฝ่ามือลูบคลำดวงจันทร์และ
ดวงอาทิตย์อันมีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมากก็ได้ ใช้อำนาจทางกายไปจนถึงพรหมโลก
ก็ได้’
สุนักขัตตะ โมฆบุรุษจักไม่มีปัญญารู้ธรรมในตถาคตว่า ‘แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มี
พระภาคพระองค์นั้นทรงสดับเสียง ๒ ชนิด คือ (๑) เสียงทิพย์ (๒) เสียงมนุษย์
ทั้งที่อยู่ไกลและอยู่ใกล้ ด้วยหูทิพย์อันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์’
สุนักขัตตะ โมฆบุรุษจักไม่มีปัญญารู้ธรรมในตถาคตว่า ‘แม้เพราะเหตุนี้
พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นทรงกำหนดรู้ใจของสัตว์และบุคคลอื่นด้วยใจ คือ จิตมี
ราคะ ก็รู้ว่า ‘จิตมีราคะ’ หรือจิตปราศจากราคะก็รู้ว่า ‘จิตปราศจากราคะ’ จิตมี
โทสะก็รู้ว่า ‘จิตมีโทสะ’ หรือจิตปราศจากโทสะก็รู้ว่า ‘จิตปราศจากโทสะ’ จิตมีโมหะ
ก็รู้ว่า ‘จิตมีโมหะ’ หรือจิตปราศจากโมหะก็รู้ว่า ‘จิตปราศจากโมหะ’ จิตหดหู่ก็รู้ว่า
‘จิตหดหู่’ หรือจิตฟุ้งซ่านก็รู้ว่า ‘จิตฟุ้งซ่าน’ จิตเป็นมหัคคตะก็รู้ว่า ‘จิตเป็นมหัคคตะ’
หรือจิตไม่เป็นมหัคคตะก็รู้ว่า ‘จิตไม่เป็นมหัคคตะ’ จิตมีจิตอื่นยิ่งกว่าก็รู้ว่า ‘จิตมี
จิตอื่นยิ่งกว่า’ หรือจิตไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่าก็รู้ว่า ‘จิตไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า’ จิตเป็นสมาธิ
ก็รู้ว่า ‘จิตเป็นสมาธิ’ หรือจิตไม่เป็นสมาธิก็รู้ว่า ‘จิตไม่เป็นสมาธิ’ จิตหลุดพ้นก็รู้ว่า
‘จิตหลุดพ้น’ หรือจิตไม่หลุดพ้นก็รู้ว่า ‘จิตไม่หลุดพ้น’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า :๑๔๓ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๒. สีหนาทวรรค] ๒. มหาสีหนาทสูตร

กำลังของพระตถาคต ๑๐ ประการ

[๑๔๘] สารีบุตร กำลังของตถาคต๑ ๑๐ ประการนี้ที่ตถาคตมีแล้ว เป็น
เหตุให้ปฏิญญาฐานะที่องอาจ๒ บันลือสีหนาท๓ ประกาศพรหมจักร๔ในบริษัท๕
กำลังของตถาคต ๑๐ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ตถาคตรู้ชัดฐานะ๖ โดยเป็นฐานะ และอฐานะโดยเป็นอฐานะใน
โลกนี้ตามความเป็นจริง การที่ตถาคตรู้ชัดฐานะโดยเป็นฐานะ
และอฐานะโดยเป็นอฐานะตามความเป็นจริง นี้เป็นกำลังของ
ตถาคตที่ตถาคตอาศัยแล้ว ปฏิญญาฐานะที่องอาจ บันลือสีหนาท
ประกาศพรหมจักรในบริษัท

เชิงอรรถ :
๑ ดู องฺ.ฉกฺก. (แปล) ๒๒/๖๔/๕๗๙, องฺ.ทสก.(แปล) ๒๔/๒๑/๔๓-๔๗.
๒ ฐานะที่องอาจ (อาสภะ) อรรถกถาอธิบายว่า หมายถึงฐานะที่ประเสริฐที่สุด ที่สูงสุด หรือฐานะของ
พระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐที่สุดในปางก่อน
อนึ่ง คำว่า อาสภะ มาจากคำว่า อุสภะ เป็นชื่อโคจ่าฝูงของโคจำนวนมากตั้ง ๑๐๐ ตัว ๑,๐๐๐ ตัว ๑๐๐
คอก ๑,๐๐๐ คอก มีสีขาว น่าดู มีกำลังสามารถนำภาระหนักยิ่งไปได้ ยืนหยัดด้วยเท้าทั้ง ๔ ไม่หวั่นไหว
ต่อเสียงฟ้าร้องตั้ง ๑๐๐ ครั้ง พระตถาคตเปรียบเหมือนโคอุสภะ คือ ประทับยืนข่มบริษัททั้ง ๘ ได้อย่าง
มั่นคงด้วยพระบาท (ฐานะ) คือ เวสารัชชญาณ ๔ ประการ ไม่มีปัจจามิตรใดในโลกและเทวโลกที่สามารถ
ทำให้พระองค์หวั่นไหวได้ (ม.มู.อ. ๑/๑๔๘/๓๔๗, องฺ.ทสก.อ. ๓/๒๑/๓๒๖)
๓ บันลือสีหนาท ในที่นี้หมายถึงตรัสพระวาจาด้วยท่าทีองอาจดังพญาราชสีห์ ไม่ทรงหวั่นเกรงผู้ใด เพราะ
ทรงมั่นพระทัยในศีล สมาธิ ปัญญาของพระองค์ (ม.มู.อ. ๑/๑๔๘/๓๔๘,ที.สี.ฏีกา ๑/๔๐๓/๔๕๔)
๔ พรหมจักร หมายถึงธรรมจักรอันประเสริฐ ยอดเยี่ยม บริสุทธิ์ มี ๒ ประการ คือ (๑) ปฏิเวธญาณ ได้แก่
ญาณระดับโลกุตตระ แสดงถึงพระปัญญาคุณของพระพุทธเจ้า (๒) เทสนาญาณ ได้แก่ ญาณระดับโลกิยะ
แสดงถึงพระมหากรุณาคุณของพระพุทธเจ้า ญาณทั้ง ๒ นี้ชื่อว่าโอรสญาณ(ญาณส่วนพระองค์) มีเฉพาะ
พระพุทธเจ้าทั้งหลายเท่านั้น ไม่มีแก่คนทั่วไป (ม.มู.อ. ๑/๑๔๘/๓๔๘,องฺ.ทสก.อ. ๓/๒๑/๓๒๗)
๕ บริษัท หมายถึงหมู่, คณะ, ที่ประชุม ในที่นี้หมายถึงบริษัท ๘ คือ (๑) ขัตติยบริษัท (๒) พราหมณบริษัท
(๓) คหบดีบริษัท (๔) สมณบริษัท (๕) จาตุมหาราชบริษัท (๖) ดาวดึงสบริษัท (สวรรค์ชั้นที่ ๒ แห่งสวรรค์
๖ ชั้น) (๗) มารบริษัท (๘) พรหมบริษัท (ม.มู.อ. ๑/๑๔๘/๓๔๘, ที.สี.อ. ๔๐๓/๒๙๗, องฺ.ทสก.อ.
๓/๒๑/๓๒๗)
๖ ฐานะ ในที่นี้หมายถึงเหตุและปัจจัย ที่เรียกว่า “ฐานะ” เพราะเป็นแดนตั้งขึ้น เกิดขึ้น และเป็นไปแห่งผล
(ม.มู.อ. ๑/๑๔๘/๓๔๙, องฺ.ทสก.อ. ๓/๒๑/๓๒๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า :๑๔๔ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๒. สีหนาทวรรค] ๒. มหาสีหนาทสูตร

๒. ตถาคตรู้ชัดวิบากแห่งการยึดถือกรรมที่เป็นทั้งอดีต อนาคต และ
ปัจจุบันโดยฐานะ โดยเหตุตามความเป็นจริง การที่ตถาคตรู้ชัด
วิบากแห่งการยึดถือกรรมที่เป็นทั้งอดีต อนาคต และปัจจุบันโดย
ฐานะ โดยเหตุตามความเป็นจริง นี้เป็นกำลังของตถาคตที่ตถาคต
อาศัยแล้ว ปฏิญญาฐานะที่องอาจ บันลือสีหนาท ประกาศ
พรหมจักร ในบริษัท
๓. ตถาคตรู้ชัดปฏิปทาที่ให้ถึงภูมิทั้งปวง๑ตามความเป็นจริง การที่
ตถาคตรู้ชัดปฏิปทาที่ให้ถึงภูมิทั้งปวงตามความเป็นจริง นี้เป็นกำลัง
ของตถาคตที่ตถาคตอาศัยแล้ว ปฏิญญาฐานะที่องอาจ บันลือ
สีหนาท ประกาศพรหมจักรในบริษัท
๔. ตถาคตรู้ชัดโลกที่มีธาตุหลายชนิด๒ มีธาตุที่แตกต่างกัน๓ ตามความ
เป็นจริง การที่ตถาคตรู้ชัดโลกที่มีธาตุหลายชนิด มีธาตุที่แตกต่าง
กันตามความเป็นจริง นี้เป็นกำลังของตถาคตที่ตถาคตอาศัยแล้ว
ปฏิญญาฐานะที่องอาจ บันลือสีหนาท ประกาศพรหมจักรในบริษัท
๕. ตถาคตรู้ชัดว่าหมู่สัตว์เป็นผู้มีอัธยาศัยต่างกันตามความเป็นจริง
การที่ตถาคตรู้ชัดว่าหมู่สัตว์เป็นผู้มีอัธยาศัยต่างกันตามความเป็นจริง
นี้เป็นกำลังของตถาคตที่ตถาคตอาศัยแล้ว ปฏิญญาฐานะที่องอาจ
บันลือสีหนาท ประกาศพรหมจักรในบริษัท
๖. ตถาคตรู้ชัดว่าสัตว์เหล่าอื่น และบุคคลเหล่าอื่นมีอินทรีย์แก่กล้า
และอินทรีย์อ่อนตามความเป็นจริง การที่ตถาคตรู้ชัดว่าสัตว์
เหล่าอื่น และบุคคลเหล่าอื่นมีอินทรีย์แก่กล้าและอินทรีย์อ่อนตาม

เชิงอรรถ :
๑ ภูมิทั้งปวง ในที่นี้หมายถึงคติที่ควรไป(คติ) และคติที่ไม่ควรไป(อคติ) (ม.มู.อ. ๑/๑๔๘/๓๕๐, องฺ.ทสก.อ.
๓/๒๑/๓๒๘)
๒ ธาตุหลายชนิด ในที่นี้หมายถึงธาตุ ๑๘ มีจักขุธาตุเป็นต้น (ม.มู.อ. ๑/๑๔๘/๓๕๐, องฺ.เอกก.อ. ๑/๕๗๗/๔๗๓)
และดู อภิ.วิ.(แปล) ๓๕/๑๘๕/๑๔๗. วิสุทฺธิ. ๒/๕๑๗/๑๒๙.
๓ ธาตุที่แตกต่างกัน หมายถึงธาตุที่มีลักษณะต่างกัน (ม.มู.อ. ๑/๑๔๘/๓๕๐, องฺ.ทสก.อ. ๓/๒๑/๓๒๙,
อภิ.วิ.อ. ๗๖๐/๔๒๙)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า :๑๔๕ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๒. สีหนาทวรรค] ๒. มหาสีหนาทสูตร

ความเป็นจริง นี้เป็นกำลังของตถาคตที่ตถาคตอาศัยแล้ว ปฏิญญา
ฐานะที่องอาจ บันลือสีหนาท ประกาศพรหมจักรในบริษัท
๗. ตถาคตรู้ชัดความเศร้าหมอง๑ ความผ่องแผ้ว๒ แห่งฌาน วิโมกข์
สมาธิ และสมาบัติ และการออกจากฌาน วิโมกข์ สมาธิ และ
สมาบัติ๓ ตามความเป็นจริง การที่ตถาคตรู้ชัดความเศร้าหมอง
ความผ่องแผ้วแห่งฌาน วิโมกข์ สมาธิ และสมาบัติ และการ
ออกจากฌาน วิโมกข์ สมาธิ และสมาบัติตามความเป็นจริง นี้
เป็นกำลังของตถาคตที่ตถาคตอาศัยแล้ว ปฏิญญาฐานะที่องอาจ
บันลือสีหนาท ประกาศพรหมจักรในบริษัท
๘. ตถาคตระลึกถึงชาติก่อนได้หลายชาติ คือ ๑ ชาติบ้าง ๒ ชาติบ้าง
๓ ชาติบ้าง ๔ ชาติบ้าง ๕ ชาติบ้าง ๑๐ ชาติบ้าง ๒๐ ชาติบ้าง
๓๐ ชาติบ้าง ๔๐ ชาติบ้าง ๕๐ ชาติบ้าง ๑๐๐ ชาติบ้าง ๑,๐๐๐
ชาติบ้าง ๑๐๐,๐๐๐ ชาติบ้าง ตลอดสังวัฏฏกัป๔ เป็นอันมากบ้าง
ตลอดวิวัฏฏกัป๕เป็นอันมากบ้าง ตลอดสังวัฏฏกัปและวิวัฏฏกัป
เป็นอันมากบ้างว่า ‘ในภพโน้น เรามีชื่ออย่างนั้น มีตระกูล มี

เชิงอรรถ :
๑ ความเศร้าหมอง หมายถึงธรรมฝ่ายเสื่อม ได้แก่ กาม วิตก วิจาร และปีติ เป็นต้น ที่เป็นอุปสรรคต่อการ
เจริญฌานตามลำดับขั้นของผู้ที่มีฌานยังไม่คล่องแคล่ว (ม.มู.อ. ๑/๑๔๘/๓๕๑, องฺ.ทสก.อ. ๓/๒๑/๓๒๙,
องฺ.ทสก.ฏีกา ๓/๒๑/๓๙๒) และดู องฺ.นวก. (แปล) ๒๓/๔๑/๕๒๓-๕๓๒ ประกอบ
๒ ความผ่องแผ้ว หมายถึงธรรมฝ่ายเจริญ ได้แก่ การสงัดจากกาม การระงับวิตกวิจาร การจางคลายไปแห่ง
ปีติเป็นต้น ซึ่งเป็นคุณค่าต่อการเจริญฌานให้ยิ่งขึ้นไปของผู้ที่มีฌานคล่องแคล่ว (ม.มู.อ. ๑/๑๔๘/๓๕๑,
องฺ.ทสก.อ. ๓/๒๑/๓๒๙, องฺ.ทสก.ฏีกา ๓/๒๑/๓๙๒) และดู องฺ.นวก. (แปล) ๒๓/๔๑/๕๒๓-๕๓๒ ประกอบ
๓ ในคำว่า “ฌาน วิโมกข์ สมาธิ และสมาบัติ” นี้ ฌาน หมายถึงฌาน ๔ (ปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน
และจตุตถฌาน) (องฺ.ทสก.อ. ๓/๒๑/๓๒๙) วิโมกข์ หมายถึงวิโมกข์ ๘ (องฺ.ทสก.อ. ๓/๒๑/๓๒๙) และดู
องฺ.อฏฺฐก. (แปล) ๒๓/๑๑๙/๔๒๒ ประกอบ สมาธิ หมายถึงสมาธิ ๓ คือ สวิตักกสวิจารสมาธิ (สมาธิที่มี
วิตกและวิจาร) อวิตักกวิจารมัตตสมาธิ (สมาธิที่ไม่มีวิตกมีเพียงวิจาร) อวิตักกาวิจารสมาธิ (สมาธิที่ไม่มี
ทั้งวิตกและวิจาร) (ขุ.ป. ๓๑/๔๓/๕๐) สมาบัติ หมายถึงอนุปุพพสมาบัติ ๙ คือ รูปฌาน ๔ อรูปฌาน ๔
และสัญญาเวทยิตนิโรธ ๑ (ม.มู.อ. ๑/๑๔๘/๓๕๑, องฺ.ทสก.อ. ๓/๒๑/๓๒๙) และดู องฺ.นวก. (แปล)
๒๓/๓๒/๔๙๕, อภิ.วิ.(แปล) ๓๕/๘๒๘/๕๒๙-๕๓๒ ประกอบ
๔-๕ ดูเชิงอรรถที่ ๑ ข้อ ๕๒ (ภยเภรวสูตร) หน้า ๔๒ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า :๑๔๖ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๒. สีหนาทวรรค] ๒. มหาสีหนาทสูตร

วรรณะ มีอาหาร เสวยสุขทุกข์ และมีอายุอย่างนั้น ๆ จุติจากภพ
นั้นก็ไปเกิดในภพโน้น แม้ในภพนั้น เราก็มีชื่ออย่างนั้น มีตระกูล
มีวรรณะ มีอาหาร เสวยสุขทุกข์ และมีอายุอย่างนั้น ๆ จุติจาก
ภพนั้นแล้วจึงมาเกิดในภพนี้’ ตถาคตระลึกชาติก่อนได้หลายชาติ
พร้อมทั้งลักษณะทั่วไปและชีวประวัติอย่างนี้ การที่ตถาคตระลึก
ชาติก่อนได้หลายชาติ คือ ๑ ชาติบ้าง ๒ ชาติบ้าง ฯลฯ
พร้อมทั้งลักษณะทั่วไปและชีวประวัติอย่างนี้ นี้เป็นกำลังของ
ตถาคตที่ตถาคตอาศัยแล้ว ปฏิญญาฐานะที่องอาจ บันลือสีหนาท
ประกาศพรหมจักรในบริษัท
๙. ตถาคตเห็นหมู่สัตว์ผู้กำลังจุติ(เคลื่อน) กำลังเกิด ทั้งชั้นต่ำและ
ชั้นสูง งามและไม่งาม เกิดดีและเกิดไม่ดี ด้วยตาทิพย์อันบริสุทธิ์
เหนือมนุษย์ รู้ชัดถึงหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรมว่า ‘หมู่สัตว์ที่ประกอบ
กายทุจริต วจีทุจริต และมโนทุจริต กล่าวร้ายพระอริยะ มีความ
เห็นผิด และชักชวนผู้อื่นให้ทำตามความเห็นผิด พวกเขาหลังจาก
ตายแล้วจะไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก แต่หมู่สัตว์ที่
ประกอบกายสุจริต วจีสุจริต และมโนสุจริต ไม่กล่าวร้ายพระอริยะ
มีความเห็นชอบ และชักชวนผู้อื่นให้ทำตามความเห็นชอบ พวก
เขาหลังจากตายแล้วจะไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์ ตถาคตเห็นหมู่
สัตว์ผู้กำลังจุติ กำลังเกิด ทั้งชั้นต่ำและชั้นสูง งามและไม่งาม
เกิดดีและเกิดไม่ดี ด้วยตาทิพย์อันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์ รู้ชัดถึง
หมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรมอย่างนี้แล การที่ตถาคตเห็นหมู่สัตว์ ฯลฯ
ด้วยตาทิพย์อันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์ รู้ชัดถึงหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรม
นี้เป็นกำลังของตถาคตที่ตถาคตอาศัยแล้ว ปฏิญญาฐานะที่องอาจ
บันลือสีหนาท ประกาศพรหมจักรในบริษัท

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า :๑๔๗ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๒. สีหนาทวรรค] ๒. มหาสีหนาทสูตร

๑๐. ตถาคตทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันไม่มีอาสวะ เพราะ
อาสวะสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน การที่ตถาคต
ทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันไม่มีอาสวะ เพราะอาสวะ
สิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน นี้เป็นกำลังของ
ตถาคตที่ตถาคตอาศัยแล้ว ปฏิญญาฐานะที่องอาจ บันลือสีหนาท
ประกาศพรหมจักรในบริษัท
ภิกษุทั้งหลาย กำลังของตถาคต ๑๐ ประการนี้แล ที่ตถาคตมีแล้ว
เป็นเหตุให้ปฏิญญาฐานะที่องอาจ บันลือสีหนาท ประกาศพรหมจักรในบริษัท
[๑๔๙] สารีบุตร บุคคลใดแลพึงว่ากล่าวเราผู้รู้อยู่ เห็นอยู่อย่างนี้ว่า ‘สมณ-
โคดมไม่มีญาณทัสสนะที่ประเสริฐอันสามารถ วิเศษยิ่งกว่าธรรมของมนุษย์ สมณ-
โคดมแสดงธรรมที่ประมวลมาด้วยความตรึก ที่ไตร่ตรองด้วยการค้นคิด แจ่มแจ้ง
ได้เอง’ บุคคลนั้นไม่ละวาจานั้น ไม่ละความคิดนั้น ไม่สลัดทิ้งทิฏฐินั้น ย่อมดำรง
อยู่ในนรกเหมือนถูกนำไปฝังไว้ อุปมาเหมือนภิกษุผู้สมบูรณ์ด้วยศีล สมบูรณ์ด้วย
สมาธิ สมบูรณ์ด้วยปัญญา พึงยินดีอรหัตตผลในปัจจุบันนั่นแล แม้ฉันใด เรากล่าว
ข้ออุปไมยนี้ ฉันนั้น บุคคลนั้นไม่ละวาจานั้น ไม่ละความคิดนั้น ไม่สลัดทิ้งทิฏฐินั้น
ย่อมดำรงอยู่ในนรกเหมือนถูกนำไปฝังไว้

เวสารัชชญาณ๑ ๔

[๑๕๐] สารีบุตร เวสารัชชญาณ(ญาณเป็นเหตุให้แกล้วกล้า) ๔ ประการนี้
ที่ตถาคตมีแล้วเป็นเหตุให้ปฏิญญา(ยืนยัน) ฐานะที่องอาจ บันลือสีหนาท ประกาศ
พรหมจักรในบริษัท
เวสารัชชญาณของตถาคต ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. เราไม่เห็นนิมิต๒นี้ว่า ‘สมณะ พราหมณ์ เทวดา มาร พรหม
หรือใคร ๆ ในโลก จักทักท้วงเราด้วยคำพูดที่มีเหต๓ในธรรมนั้นว่า

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ องฺ.จตุกฺก.(แปล) ๒๑/๘/๑๓-๑๔
๒ นิมิต ในที่นี้หมายถึงทั้งบุคคลและธรรมที่เป็นเหตุสนับสนุนการทักท้วง (ม.มู.อ. ๑/๑๕๐/๓๕๔ , องฺ.จตุกฺก.อ.
๒/๘/๒๘๕, องฺ.จตุกฺก.ฏีกา ๒/๘/๒๘๔)
๓ คำพูดที่มีเหตุ หมายถึงคำพูดที่อ้างอิงพยานบุคคล พยานหลักฐานมาเป็นเหตุสนับสนุนให้การทักท้วง
สำเร็จประโยชน์น่าเชื่อถือ (ม.มู.อ. ๑/๑๕๐/๓๕๔, องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๘๒๘๕, องฺ.จตุกฺก.ฏีกา ๒/๘/๒๘๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า :๑๔๘ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๒. สีหนาทวรรค] ๒. มหาสีหนาทสูตร

‘ท่านผู้ปฏิญญาว่า เป็นพระสัมมาสัมพุทธะ ธรรมเหล่านี้ท่านก็ยัง
ไม่รู้’ เราเมื่อไม่เห็นนิมิตแม้นี้ จึงถึงความเกษม ไม่มีความกลัว
แกล้วกล้าอยู่
๒. เราไม่เห็นนิมิตนี้ว่า ‘สมณะ พราหมณ์ เทวดา มาร พรหม
หรือใคร ๆ ในโลก จักทักท้วงเราด้วยคำพูดที่มีเหตุในธรรมนั้นว่า
‘ท่านผู้ปฏิญญาว่า เป็นพระขีณาสพ อาสวะเหล่านี้ของท่านก็ยัง
ไม่สิ้นไป’ เราเมื่อไม่เห็นนิมิตแม้นี้ จึงถึงความเกษม ไม่มีความกลัว
แกล้วกล้าอยู่
๓. เราไม่เห็นนิมิตนี้ว่า ‘สมณะ พราหมณ์ เทวดา มาร พรหม
หรือใคร ๆ ในโลก จักทักท้วงเราด้วยคำพูดที่มีเหตุในธรรมนั้นว่า
‘อันตรายิกธรรม๑ที่ท่านกล่าว ไม่อาจก่ออันตรายแก่ผู้เสพได้จริง’
เราเมื่อไม่เห็นนิมิตแม้นี้ จึงถึงความเกษม ไม่มีความกลัว แกล้ว
กล้าอยู่
๔. เราไม่เห็นนิมิตนี้ว่า ‘สมณะ พราหมณ์ เทวดา มาร พรหม
หรือใคร ๆ ในโลก จักทักท้วงเราด้วยคำพูดที่มีเหตุในธรรมนั้นว่า
‘ท่านแสดงธรรมเพื่อประโยชน์อย่างใด ประโยชน์อย่างนั้นไม่สำเร็จ
เพื่อความสิ้นทุกข์โดยชอบแก่ผู้ทำตามได้จริง’ เราเมื่อไม่เห็นนิมิต
แม้นี้ จึงถึงความเกษม ไม่มีความกลัว แกล้วกล้าอยู่
สารีบุตร เวสารัชชญาณ ๔ ประการนี้แล ที่ตถาคตมีแล้วเป็นเหตุให้
ปฏิญญาฐานะที่องอาจ บันลือสีหนาท ประกาศพรหมจักรในบริษัท
บุคคลใดพึงว่ากล่าวเราผู้รู้อยู่ เห็นอยู่อย่างนี้ว่า ‘สมณโคดมไม่มีญาณทัสสนะ
ที่ประเสริฐอันสามารถ วิเศษยิ่งกว่าธรรมของมนุษย์ สมณโคดมแสดงธรรมที่
ประมวลมาด้วยความตรึก ที่ไตร่ตรองด้วยการค้นคิด แจ่มแจ้งได้เอง’ บุคคลนั้น

เชิงอรรถ :
๑ อันตรายิกธรรม หมายถึงธรรมที่เป็นอันตรายต่อการบรรลุมรรคผล ได้แก่ อาบัติ ๗ กอง ซึ่งเป็นโทษ
สำหรับปรับภิกษุผู้ล่วงละเมิด โดยที่สุดแม้ทุกกฏหรือทุพภาสิต ในที่นี้หมายเอาเมถุนธรรม (ม.ม.ูอ.
๑/๑๕๐/๓๕๔,องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๘/๒๘๖)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า :๑๔๙ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๒. สีหนาทวรรค] ๒. มหาสีหนาทสูตร

ไม่ละวาจานั้น ไม่ละความคิดนั้น ไม่สลัดทิ้งทิฏฐินั้น ย่อมดำรงอยู่ในนรกเหมือน
ถูกนำไปฝังไว้ อุปมาเหมือนภิกษุผู้สมบูรณ์ด้วยศีล สมบูรณ์ด้วยสมาธิ สมบูรณ์
ด้วยปัญญา พึงยินดีอรหัตตผลในปัจจุบันนั่นแล แม้ฉันใด เรากล่าวข้ออุปไมยนี้
ฉันนั้น บุคคลนั้นไม่ละวาจานั้น ไม่ละความคิดนั้น ไม่สลัดทิ้งทิฏฐินั้น ย่อมดำรง
อยู่ในนรกเหมือนถูกนำไปฝังไว้

บริษัท ๘

[๑๕๑] สารีบุตร บริษัท ๘ จำพวกนี้
บริษัท ๘ จำพวก ไหนบ้าง คือ

๑. ขัตติยบริษัท___๒. พราหมณบริษัท
๓. คหบดีบริษัท___๔. สมณบริษัท
๕. จาตุมหาราชบริษัท___๖. ดาวดึงสบริษัท
๗. มารบริษัท___๘. พรหมบริษัท

บริษัทมี ๘ จำพวกนี้แล
ตถาคตมีเวสารัชชญาณ ๔ ประการนี้จึงเข้าไปคบหาบริษัท ๘ จำพวกนี้
เราเข้าไปยังขัตติยบริษัทหลายร้อยบริษัทย่อมรู้ว่า แม้ในบริษัทนั้น เราก็เคยนั่งใกล้
เคยทักทาย เคยปราศรัย เคยสนทนากัน เราไม่เห็นนิมิตว่า ‘ความกลัวหรือ
ความสะทกสะท้านจักกล้ำกรายเราในบริษัทนั้นได้เลย’ เราเมื่อไม่เห็นนิมิตแม้นี้
จึงถึงความเกษม ไม่มีความกลัว แกล้วกล้าอยู่
อนึ่ง เราเข้าไปยังพราหมณบริษัทหลายร้อยบริษัท ฯลฯ คหบดีบริษัท ...
สมณบริษัท ... จาตุมหาราชบริษัท ... ดาวดึงสบริษัท ... มารบริษัท เข้าไป
ยังพรหมบริษัทหลายร้อยบริษัทย่อมรู้ว่า แม้ในบริษัทนั้น ๆ เราก็เคยนั่งใกล้
เคยทักทาย เคยปราศรัย เคยสนทนากัน เราไม่เห็นนิมิตว่า ‘ความกลัวหรือความ
สะทกสะท้านจักกล้ำกรายเราในบริษัทนั้นได้เลย’ เราเมื่อไม่เห็นนิมิตแม้นี้ จึงถึง
ความเกษม ไม่มีความกลัว แกล้วกล้าอยู่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า :๑๕๐ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๒. สีหนาทวรรค] ๒. มหาสีหนาทสูตร

บุคคลใดพึงว่ากล่าวเราผู้รู้อยู่ เห็นอยู่อย่างนี้ว่า ‘สมณโคดมไม่มีญาณทัสสนะ
ที่ประเสริฐอันสามารถ วิเศษยิ่งกว่าธรรมของมนุษย์ สมณโคดมแสดงธรรมที่
ประมวลมาด้วยความตรึก ที่ไตร่ตรองด้วยการค้นคิด แจ่มแจ้งได้เอง’ บุคคลนั้น
ไม่ละวาจานั้น ไม่ละความคิดนั้น ไม่สลัดทิ้งทิฏฐินั้น ย่อมดำรงอยู่ในนรกเหมือน
ถูกนำไปฝังไว้ อุปมาเหมือนภิกษุผู้สมบูรณ์ด้วยศีล สมบูรณ์ด้วยสมาธิ สมบูรณ์
ด้วยปัญญา พึงยินดีอรหัตตผลในปัจจุบันนั่นแล แม้ฉันใด เรากล่าวข้ออุปไมยนี้
ฉันนั้น บุคคลนั้นไม่ละวาจานั้น ไม่ละความคิดนั้น ไม่สลัดทิ้งทิฏฐินั้น ย่อมดำรง
อยู่ในนรกเหมือนถูกนำไปฝังไว้

กำเนิด ๔

[๑๕๒] สารีบุตร กำเนิด ๔ ชนิดนี้
กำเนิด ๔ ชนิด ไหนบ้าง คือ

๑. กำเนิดอัณฑชะ (การเกิดในไข่)
๒. กำเนิดชลาพุชะ (การเกิดในครรภ์)
๓. กำเนิดสังเสทชะ (การเกิดในเถ้าไคลหรือที่ชื้นแฉะ)
๔. กำเนิดโอปปาติกะ (การเกิดผุดขึ้น)

กำเนิดอัณฑชะ คืออะไร
คือ เหล่าสัตว์ผู้เจาะทำลายเปลือกไข่แล้วเกิด นี้เราเรียกว่า กำเนิดอัณฑชะ
กำเนิดชลาพุชะ คืออะไร
คือ เหล่าสัตว์ผู้เกิดในครรภ์ นี้เราเรียกว่า กำเนิดชลาพุชะ
กำเนิดสังเสทชะ คืออะไร
คือ เหล่าสัตว์ผู้เกิดในปลาเน่า ซากศพเน่า ขนมบูด น้ำครำ หรือเถ้าไคล
นี้เราเรียกว่า กำเนิดสังเสทชะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า :๑๕๑ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๒. สีหนาทวรรค] ๒. มหาสีหนาทสูตร

กำเนิดโอปปาติกะ คืออะไร
คือ เทวดา สัตว์นรก มนุษย์บางจำพวก และเปรตบางจำพวก นี้เราเรียกว่า
กำเนิดโอปปาติกะ
สารีบุตร กำเนิดมี ๔ ชนิดนี้แล
บุคคลใดจะพึงว่ากล่าวเราผู้รู้อยู่ เห็นอยู่อย่างนี้ว่า ‘สมณโคดมไม่มีญาณทัสสนะ
ที่ประเสริฐอันสามารถ วิเศษยิ่งกว่าธรรมของมนุษย์ สมณโคดมแสดงธรรมที่
ประมวลมาด้วยความตรึก ที่ไตร่ตรองด้วยการค้นคิด แจ่มแจ้งได้เอง’ บุคคลนั้น
ไม่ละวาจานั้น ไม่ละความคิดนั้น ไม่สลัดทิ้งทิฏฐินั้น ย่อมดำรงอยู่ในนรกเหมือน
ถูกนำไปฝังไว้ อุปมาเหมือนภิกษุผู้สมบูรณ์ด้วยศีล สมบูรณ์ด้วยสมาธิ สมบูรณ์
ด้วยปัญญา พึงยินดีอรหัตตผลในปัจจุบันนั่นแล แม้ฉันใด เรากล่าวข้ออุปไมยนี้
ฉันนั้น บุคคลนั้นไม่ละวาจานั้น ไม่ละความคิดนั้น ไม่สลัดทิ้งทิฏฐินั้น ก็ย่อมดำรง
อยู่ในนรกเหมือนถูกนำไปฝังไว้

คติ ๕

[๑๕๓] สารีบุตร คติ ๕ ประการนี้
คติ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. นรก ๒. กำเนิดดิรัจฉาน
๓. เปตวิสัย ๔. มนุษย์
๕. เทวดา
เรารู้ชัดนรก ทางที่นำสัตว์ให้ถึงนรก ข้อปฏิบัติที่นำสัตว์ให้ถึงนรก และรู้ชัด
ข้อปฏิบัติที่สัตว์ปฏิบัติแล้ว เป็นเหตุให้หลังจากตายแล้วย่อมไปเกิดในอบาย ทุคติ
วินิบาต นรก๑

เชิงอรรถ :
๑ ดูเชิงอรรถที่ ๑ ข้อ ๖๘ (อากังเขยยสูตร) หน้า ๖๑ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า :๑๕๒ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๒. สีหนาทวรรค] ๒. มหาสีหนาทสูตร

เรารู้ชัดกำเนิดดิรัจฉาน ทางที่นำสัตว์ให้ถึงกำเนิดดิรัจฉาน ข้อปฏิบัติที่นำ
สัตว์ให้ถึงกำเนิดดิรัจฉาน และรู้ชัดข้อปฏิบัติที่สัตว์ปฏิบัติแล้ว เป็นเหตุให้หลังจาก
ตายแล้วย่อมไปเกิดในกำเนิดดิรัจฉาน
เรารู้ชัดเปตวิสัย ทางที่นำสัตว์ให้ถึงเปตวิสัย ข้อปฏิบัติที่นำสัตว์ให้ถึงเปตวิสัย
และรู้ชัดข้อปฏิบัติที่สัตว์ปฏิบัติแล้ว เป็นเหตุให้หลังจากตายแล้วย่อมไปเกิดในเปตวิสัย
เรารู้ชัดหมู่มนุษย์ ทางที่นำสัตว์ให้ถึงมนุษยโลก ข้อปฏิบัติที่นำสัตว์ให้ถึง
มนุษยโลก และรู้ชัดข้อปฏิบัติที่สัตว์ปฏิบัติแล้ว เป็นเหตุให้หลังจากตายแล้วย่อม
ไปเกิดในหมู่มนุษย์
เรารู้ชัดเทวดาทั้งหลาย ทางที่นำสัตว์ให้ถึงเทวโลก ข้อปฏิบัติที่นำสัตว์ให้
ถึงเทวโลก และรู้ชัดข้อปฏิบัติที่สัตว์ปฏิบัติแล้ว เป็นเหตุให้หลังจากตายแล้วย่อม
ไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์
เรารู้ชัดนิพพาน ทางที่นำสัตว์ให้ถึงนิพพาน ข้อปฏิบัติที่นำสัตว์ให้ถึงนิพพาน
และรู้ชัดข้อปฏิบัติที่สัตว์ปฏิบัติแล้วเป็นเหตุทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติที่ไม่มี
อาสวะ เพราะอาสวะสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเอง เข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน

รู้เห็นการไปทุคติและสุคติของบุคคล

[๑๕๔] เรากำหนดรู้ใจของบุคคลบางคนในโลกนี้ด้วยใจอย่างนี้ว่า ‘บุคคลผู้
ปฏิบัติอย่างนั้น เป็นไปอย่างนั้น และดำเนินทางนั้นแล้ว หลังจากตายแล้วจักไป
เกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก’ ต่อมา เราเห็นเขาหลังจากตายแล้วไปเกิดในอบาย
ทุคติ วินิบาต นรก เสวยทุกขเวทนาโดยส่วนเดียวอันแรงกล้า เผ็ดร้อน ด้วยตา
ทิพย์อันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์
หลุมถ่านเพลิงลึกมากกว่าช่วงตัวบุรุษ เต็มไปด้วยถ่านเพลิงที่ปราศจากเปลว
และควัน ลำดับนั้น บุรุษผู้มีร่างกายถูกความร้อนแผดเผา ครอบงำ เหน็ดเหนื่อย
สะทกสะท้าน หิวกระหาย เดินมุ่งมายังหลุมถ่านเพลิงนั้นโดยหนทางสายเดียว
บุรุษผู้มีตาดีเห็นเขาแล้วจะพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘บุรุษผู้เจริญนี้ ปฏิบัติอย่างนั้น เป็น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า :๑๕๓ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๒. สีหนาทวรรค] ๒. มหาสีหนาทสูตร

ไปอย่างนั้น และดำเนินทางนั้น จักมาถึงหลุมถ่านเพลิงนี้นั่นแล’ ต่อมา บุรุษผู้มี
ตาดีนั้นจะพึงเห็นเขาผู้ตกลงในหลุมถ่านเพลิงนั้น เสวยทุกขเวทนาโดยส่วนเดียว
อันแรงกล้า เผ็ดร้อน แม้ฉันใด เราก็ฉันนั้นเหมือนกัน กำหนดรู้ใจของบุคคล
บางคนในโลกนี้ด้วยใจอย่างนี้ว่า ‘บุคคลนี้ปฏิบัติอย่างนั้น เป็นไปอย่างนั้น และ
ดำเนินทางนั้นแล้ว หลังจากตายแล้วจักไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก’ ต่อมา
เราเห็นเขาหลังจากตายแล้วไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก เสวยทุกขเวทนา
โดยส่วนเดียวอันแรงกล้า เผ็ดร้อน ด้วยตาทิพย์อันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์
เรากำหนดรู้ใจของบุคคลบางคนในโลกนี้ด้วยใจอย่างนี้ว่า ‘บุคคลผู้ปฏิบัติ
อย่างนั้น เป็นไปอย่างนั้น และดำเนินทางนั้นแล้ว หลังจากตายแล้วจักไปเกิดใน
กำเนิดดิรัจฉาน’ ต่อมา เราเห็นเขาหลังจากตายแล้วไปเกิดในกำเนิดดิรัจฉาน
เสวยทุกขเวทนาอันแรงกล้า เผ็ดร้อน ด้วยตาทิพย์อันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์
หลุมอุจจาระลึกมากกว่าช่วงตัวบุรุษ เต็มไปด้วยอุจจาระ ลำดับนั้น บุรุษผู้มี
ร่างกายถูกความร้อนแผดเผา ครอบงำ เหน็ดเหนื่อย สะทกสะท้าน หิวกระหาย
เดินมุ่งมายังหลุมอุจจาระนั้นโดยหนทางสายเดียว บุรุษผู้มีตาดีเห็นเขาแล้วจะพึง
กล่าวอย่างนี้ว่า ‘บุรุษผู้เจริญนี้ ปฏิบัติอย่างนั้น เป็นไปอย่างนั้น และดำเนินทางนั้น
จักมาถึงหลุมอุจจาระนี้นั่นแล’ ต่อมา บุรุษผู้มีตาดีนั้นจะพึงเห็นเขาผู้ตกลงในหลุม
อุจจาระนั้นแล้ว เสวยทุกขเวทนา อันแรงกล้า เผ็ดร้อน แม้ฉันใด เราก็ฉันนั้น
เหมือนกัน กำหนดรู้ใจของบุคคลบางคนในโลกนี้ด้วยใจอย่างนี้ว่า ‘บุคคลนี้ปฏิบัติ
อย่างนั้น เป็นไปอย่างนั้น และดำเนินทางนั้นแล้ว หลังจากตายแล้วจักไปเกิดใน
กำเนิดดิรัจฉาน’ ต่อมา เราเห็นเขาหลังจากตายแล้วไปเกิดในกำเนิดดิรัจฉาน
เสวยทุกขเวทนาอันแรงกล้า เผ็ดร้อน ด้วยตาทิพย์อันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์
เรากำหนดรู้ใจของบุคคลบางคนในโลกนี้ด้วยใจอย่างนี้ว่า ‘บุคคลผู้ปฏิบัติ
อย่างนั้น เป็นไปอย่างนั้น และดำเนินทางนั้นแล้ว หลังจากตายแล้วจักไปเกิดใน
เปตวิสัย’ ต่อมา เราเห็นเขาหลังจากตายแล้วไปเกิดในเปตวิสัย เสวยทุกขเวทนา
เป็นอันมากด้วยตาทิพย์อันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า :๑๕๔ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๒. สีหนาทวรรค] ๒. มหาสีหนาทสูตร

ต้นไม้เกิดบนพื้นที่ไม่เสมอ มีใบอ่อนใบแก่น้อย มีเงาโปร่ง ลำดับนั้น บุรุษ
ผู้มีร่างกายถูกความร้อนแผดเผา ครอบงำ เหน็ดเหนื่อย สะทกสะท้าน หิวกระหาย
เดินมุ่งมายังต้นไม้นั้นโดยหนทางสายเดียว บุรุษผู้มีตาดีเห็นเขาแล้วจะพึงกล่าวอย่างนี้ว่า
‘บุรุษผู้เจริญนี้ ปฏิบัติอย่างนั้น เป็นไปอย่างนั้น และดำเนินทางนั้นจักมาถึงต้นไม้
นี้นั่นแล’ ต่อมา บุรุษผู้มีตาดีนั้นจะพึงเห็นเขานั่งหรือนอนที่ร่มเงาของต้นไม้นั้น แล้ว
เสวยทุกขเวทนาเป็นอันมาก แม้ฉันใด เราก็ฉันนั้นเหมือนกัน กำหนดรู้ใจของบุคคล
บางคนในโลกนี้ด้วยใจอย่างนี้ว่า ‘บุคคลนี้ ปฏิบัติอย่างนั้น เป็นไปอย่างนั้น และดำเนิน
ทางนั้นแล้ว หลังจากตายแล้วจักไปเกิดในเปตวิสัย’ ต่อมา เราเห็นเขาหลังจากตายแล้ว
ไปเกิดในเปตวิสัย เสวยทุกขเวทนาเป็นอันมาก ด้วยตาทิพย์อันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์
เรากำหนดรู้ใจของบุคคลบางคนในโลกนี้ด้วยใจอย่างนี้ว่า ‘บุคคลผู้ปฏิบัติ
อย่างนั้น เป็นไปอย่างนั้น และดำเนินทางนั้นแล้ว หลังจากตายแล้วจักไปเกิดใน
หมู่มนุษย์’ ต่อมา เราเห็นเขาหลังจากตายแล้วไปเกิดในหมู่มนุษย์ เสวยสุขเวทนา
เป็นอันมาก ด้วยตาทิพย์อันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์
ต้นไม้เกิดบนพื้นที่ราบเรียบ มีใบอ่อนใบแก่มาก มีร่มเงาทึบ ลำดับนั้น
บุรุษผู้มีร่างกายถูกความร้อนแผดเผา ครอบงำ เหน็ดเหนื่อย สะทกสะท้าน หิว
กระหาย เดินมุ่งมายังต้นไม้นั้นโดยหนทางสายเดียว บุรุษผู้มีตาดีเห็นเขาแล้วจะพึง
กล่าวอย่างนี้ว่า ‘บุรุษผู้เจริญนี้ ปฏิบัติอย่างนั้น เป็นไปอย่างนั้น และดำเนินทาง
นั้นจักมาถึงต้นไม้นี้นั่นแล’ ต่อมา บุรุษผู้มีตาดีจะพึงเห็นเขานั่งหรือนอนที่ร่มเงาของ
ต้นไม้นั้น แล้วเสวยสุขเวทนาเป็นอันมาก แม้ฉันใด เราก็ฉันนั้นเหมือนกัน กำหนด
รู้ใจของบุคคลบางคนในโลกนี้ด้วยใจอย่างนี้ว่า ‘บุคคลนี้ปฏิบัติอย่างนั้น เป็นไป
อย่างนั้น และดำเนินทางนั้นแล้ว ฯลฯ เกิดในหมู่มนุษย์ เสวยสุขเวทนาเป็นอันมาก
เรากำหนดรู้ใจของบุคคลบางคนในโลกนี้ด้วยใจอย่างนี้ว่า ‘บุคคลผู้ปฏิบัติ
อย่างนั้น เป็นไปอย่างนั้น และดำเนินทางนั้นแล้ว หลังจากตายแล้วจักไปเกิดในสุคติ
โลกสวรรค์’ ต่อมา เราเห็นเขาหลังจากตายแล้วไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์ เสวยสุข
เวทนาโดยส่วนเดียว ด้วยตาทิพย์อันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า :๑๕๕ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๒. สีหนาทวรรค] ๒. มหาสีหนาทสูตร

ปราสาทซึ่งมีเรือนยอดฉาบทาแล้วทั้งภายในและภายนอก ลมเข้าไม่ได้ มีกลอน
แน่น มีประตูและหน้าต่างปิดสนิทดี ในเรือนยอดนั้น มีบัลลังก์ที่ลาดด้วยผ้าพรม
ขนสัตว์ ลาดด้วยเครื่องลาดทำด้วยขนแกะสีขาว ลาดด้วยขนสัตว์ซึ่งทำเป็นรูป
ดอกไม้ มีเครื่องลาดอย่างดีทำด้วยหนังชะมด มีเพดานกั้นอยู่เบื้องบน มีหมอน
แดงวางไว้ ๒ ข้าง ลำดับนั้น บุรุษผู้มีร่างกายถูกความร้อนแผดเผา ครอบงำ
เหน็ดเหนื่อย สะทกสะท้าน หิวกระหาย เดินมุ่งมายังปราสาทนั้นแลโดยหนทาง
สายเดียว บุรุษผู้มีตาดีเห็นเขาแล้วจะพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘บุรุษผู้เจริญนี้ปฏิบัติ
อย่างนั้น เป็นไปอย่างนั้น และดำเนินทางนั้นแล้วจักมายังปราสาทนี้นั่นแล’ ต่อมา
บุรุษผู้มีตาดีพึงเห็นเขานั่งหรือนอนบนบัลลังก์นั้น ที่เรือนยอดในปราสาทนั้น เสวย
สุขเวทนาโดยส่วนเดียว แม้ฉันใด เราก็ฉันนั้นเหมือนกัน กำหนดรู้ใจของบุคคล
บางคนในโลกนี้ด้วยใจอย่างนี้ว่า ‘บุคคลนี้ปฏิบัติอย่างนั้น เป็นไปอย่างนั้น และ
ดำเนินทางนั้นหลังจากตายแล้วจักไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์’ ต่อมา เราเห็นเขาหลังจาก
ตายแล้วไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์ เสวยสุขเวทนาโดยส่วนเดียว ด้วยตาทิพย์อันบริสุทธิ์
เหนือมนุษย์
เรากำหนดรู้ใจของบุคคลบางคนในโลกนี้ด้วยใจอย่างนี้ว่า ‘บุคคลผู้ปฏิบัติ
อย่างนั้น เป็นไปอย่างนั้น และดำเนินทางนั้นแล้วจักทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญา-
วิมุตติ อันไม่มีอาสวะเพราะอาสวะสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง เข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน’
ต่อมา เราเห็นบุคคลนั้นผู้ทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันไม่มีอาสวะเพราะ
อาสวะสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง เข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน เสวยสุขเวทนาโดย
ส่วนเดียว
สระโบกขรณี มีน้ำใส จืดสนิท เย็น สะอาด มีท่าเทียบ น่ารื่นรมย์ และในที่
ไม่ไกลสระโบกขรณีนั้น ก็มีแนวป่าทึบ ลำดับนั้น บุรุษผู้มีร่างกายถูกความร้อน
แผดเผา ครอบงำ เหน็ดเหนื่อย สะทกสะท้าน หิวกระหาย เดินมุ่งมายังสระ
โบกขรณีนั้นแล โดยหนทางสายเดียว บุรุษผู้มีตาดีเห็นเขาแล้วจะพึงกล่าวอย่างนี้ว่า
‘บุรุษผู้เจริญนี้ ปฏิบัติอย่างนั้น เป็นไปอย่างนั้น และดำเนินทางนั้นแล้วจักมาถึง
สระโบกขรณีนี้นั่นแล’ ต่อมา บุรุษผู้มีตาดีพึงเห็นเขาลงสู่สระโบกขรณีนั้น แล้วอาบ
และดื่ม ระงับความกระวนกระวาย ความเหน็ดเหนื่อยและความร้อนหมดแล้วขึ้นไปนั่ง
หรือนอนที่แนวป่านั้น เสวยสุขเวทนาโดยส่วนเดียว แม้ฉันใด เราก็ฉันนั้นเหมือนกัน
กำหนดรู้ใจของบุคคลบางคนในโลกนี้ด้วยใจอย่างนี้ว่า ‘บุคคลนี้ปฏิบัติอย่างนั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า :๑๕๖ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๒. สีหนาทวรรค] ๒. มหาสีหนาทสูตร

เป็นไปอย่างนั้น และดำเนินทางนั้นแล้วจักทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันไม่มี
อาสวะเพราะอาสวะสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง เข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน’ ต่อมา เราเห็น
เขาทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันไม่มีอาสวะเพราะอาสวะสิ้นไป ด้วยปัญญา
อันยิ่งเอง เข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน เสวยสุขเวทนาโดยส่วนเดียว
คติมี ๕ ประการนี้แล
บุคคลใดพึงว่ากล่าวเราผู้รู้อยู่ เห็นอยู่อย่างนี้ว่า ‘สมณโคดมไม่มีญาณทัสสนะ
ที่ประเสริฐอันสามารถ วิเศษยิ่งกว่าธรรมของมนุษย์ สมณโคดมแสดงธรรมที่
ประมวลมาด้วยความตรึก ที่ไตร่ตรองด้วยการค้นคิด แจ่มแจ้งได้เอง’ บุคคลนั้น
ไม่ละวาจานั้น ไม่ละความคิดนั้น ไม่สลัดทิ้งทิฏฐินั้น ย่อมดำรงอยู่ในนรกเหมือน
ถูกนำไปฝังไว้ อุปมาเหมือนภิกษุผู้สมบูรณ์ด้วยศีล สมบูรณ์ด้วยสมาธิ สมบูรณ์ด้วย
ปัญญา พึงยินดีอรหัตตผลในปัจจุบันนั่นแล ฉันใด เราก็กล่าวอุปไมยนี้ฉันนั้น
บุคคลนั้นไม่ละวาจานั้น ไม่ละความคิดนั้น ไม่สลัดทิ้งทิฏฐินั้น ย่อมดำรงอยู่ใน
นรกเหมือนถูกนำไปฝังไว้

พรหมจรรย์มีองค์ ๔

[๑๕๕] สารีบุตร เรารู้ยิ่งความประพฤติพรหมจรรย์๑มีองค์ ๔ คือ
๑. เราเป็นผู้บำเพ็ญตบะ และเป็นผู้บำเพ็ญตบะอย่างยอดเยี่ยม
๒. เราเป็นผู้ประพฤติถือสิ่งเศร้าหมอง และเป็นผู้ประพฤติถือสิ่ง
เศร้าหมองอย่างยอดเยี่ยม

เชิงอรรถ :
๑ พรหมจรรย์ หมายถึงความประพฤติประเสริฐ มีนัย ๑๒ ประการ คือ (๑) ทาน การให้ (๒) ไวยาวัจจะ
การขวนขวายช่วยเหลือ (๓) ปัญจสิกขาบท ศีลห้า (๔) พรหมวิหาร การประพฤติพรหมวิหาร (๕)ธรรม-
เทศนา (๖) เมถุนวิรัติ การงดเว้นจากการเสพเมถุน (๗) สทารสันโดษ ความยินดีเฉพาะคู่ครองของตน
(๘) อุโปสถังคะ องค์อุโบสถ (๙) อริยมรรค ทางอันประเสริฐ (๑๐) ศาสนาที่รวมไตรสิกขา (๑๑) อัธยาศัย
(๑๒) วิริยะ ความเพียร แต่ในที่นี้หมายถึงวิริยะ เหตุที่ตรัสพรหมจรรย์นี้ เพราะสุนักขัตตะโอรสเจ้าลิจฉวี
เป็นผู้มีความเชื่อว่า ‘บุคคลจะบริสุทธิ์ได้ด้วยการประพฤติทุกกรกิริยา’ ทรงมุ่งขจัดความเชื่อนั้น (ม.มู.อ.
๑/๑๕๕/๓๖๒-๓๖๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า :๑๕๗ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๒. สีหนาทวรรค] ๒. มหาสีหนาทสูตร

๓. เราเป็นผู้ประพฤติรังเกียจ(บาป) และเป็นผู้ประพฤติรังเกียจบาป
อย่างยอดเยี่ยม
๔. เราเป็นผู้ประพฤติสงัด และเป็นผู้ประพฤติสงัดอย่างยอดเยี่ยม

การบำเพ็ญตบะ

บรรดาพรหมจรรย์มีองค์ ๔ นั้น พรหมจรรย์ในการบำเพ็ญตบะของเรา คือ
เราเคยเป็นอเจลก(ประพฤติเปลือยกาย) ไม่มีมารยาท เลียมือ เขาเชิญให้ไปรับ
อาหารก็ไม่ไป เขาเชิญให้หยุดรับอาหารก็ไม่หยุด ไม่รับอาหารที่เขาแบ่งไว้ ไม่รับ
อาหารที่เขาทำเจาะจง ไม่ยินดีอาหารที่เขาเชิญ เรานั้นไม่รับอาหารจากปากหม้อ
ไม่รับอาหารจากปากภาชนะ ไม่รับอาหารคร่อมธรณีประตู ไม่รับอาหารคร่อม
ท่อนไม้ ไม่รับอาหารคร่อมสาก ไม่รับอาหารของคน ๒ คนที่กำลังบริโภคอยู่
ไม่รับอาหารของหญิงมีครรภ์ ไม่รับอาหารของหญิงผู้กำลังให้บุตรดื่มนม ไม่รับ
อาหารของหญิงที่คลอเคลียชาย ไม่รับอาหารที่นัดแนะกันทำไว้ ไม่รับอาหารในที่
เลี้ยงสุนัข ไม่รับอาหารในที่มีแมลงวันไต่ตอมเป็นกลุ่ม ๆ ไม่กินปลา ไม่กินเนื้อ
ไม่ดื่มสุรา ไม่ดื่มเมรัย ไม่ดื่มยาดอง เรานั้นรับอาหารในเรือนหลังเดียว ยังชีพ
ด้วยข้าวคำเดียว รับอาหารในเรือน ๒ หลัง ยังชีพด้วยข้าว ๒ คำ ฯลฯ
รับอาหารในเรือน ๗ หลัง ยังชีพด้วยข้าว ๗ คำ ยังชีพด้วยอาหารในถาดน้อย
๑ ใบ ยังชีพด้วยอาหารในถาดน้อย ๒ ใบ ฯลฯ ยังชีพด้วยอาหารในถาดน้อย
๗ ใบ กินอาหารที่เก็บไว้ค้างคืน ๑ วัน กินอาหารที่เก็บไว้ค้างคืน ๒ วัน ฯลฯ
กินอาหารที่เก็บไว้ค้างคืน ๗ วัน ถือการบริโภคอาหารตามวาระ ๑๕ วันต่อมื้อ
เช่นนี้ อยู่ด้วยประการอย่างนี้
เรานั้นกินผักดองเป็นอาหาร กินข้าวฟ่างเป็นอาหาร กินลูกเดือยเป็นอาหาร
กินกากข้าวเป็นอาหาร กินสาหร่ายเป็นอาหาร กินรำเป็นอาหาร กินข้าวตังเป็น
อาหาร กินกำยานเป็นอาหาร กินหญ้าเป็นอาหาร กินมูลโคเป็นอาหาร กินเหง้า
และผลไม้ป่าเป็นอาหาร บริโภคผลไม้หล่นยังชีพ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า :๑๕๘ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๒. สีหนาทวรรค] ๒. มหาสีหนาทสูตร

เรานั้นนุ่งห่มผ้าป่าน นุ่งห่มผ้าแกมกัน นุ่งห่มผ้าห่อศพ นุ่งห่มผ้าบังสุกุล
นุ่งห่มผ้าเปลือกไม้ นุ่งห่มหนังเสือ นุ่งห่มหนังเสือมีเล็บ นุ่งห่มผ้าคากรอง
นุ่งห่มผ้าเปลือกปอกรอง นุ่งห่มผ้าผลไม้กรอง นุ่งห่มผ้ากัมพลผมมนุษย์ นุ่งห่ม
ผ้ากัมพลขนสัตว์ นุ่งห่มผ้าขนปีกนกเค้า เป็นผู้ถอนผมและหนวด คือถือการถอน
ผมและหนวด ยืนอย่างเดียวไม่ยอมนั่ง เดินกระโหย่ง คือถือการเดินกระโหย่ง
ถือการนอนบนหนาม คือนอนบนที่นอนที่ทำด้วยหนาม ถือการอาบน้ำวันละ ๓
ครั้ง๑ ถือการย่างและการอบกายหลายรูปแบบเช่นนี้อยู่ด้วยประการอย่างนี้
นี้เป็นพรหมจรรย์ในการบำเพ็ญตบะของเรา

การประพฤติถือสิ่งเศร้าหมอง

[๑๕๖] บรรดาพรหมจรรย์มีองค์ ๔ นั้น พรหมจรรย์ในการประพฤติถือสิ่ง
เศร้าหมองของเราดังนี้ คือ มลทินคือธุลีที่หมักหมมอยู่ในกาย(ของเรา)นับหลายปี
จนเป็นสะเก็ด ตอตะโกที่ตั้งอยู่นับหลายปี มีเปลือกแตกแยกจนเป็นสะเก็ด แม้ฉันใด
มลทินคือธุลีที่หมักหมมอยู่ในกายของเรานับหลายปีจนเกิดเป็นสะเก็ด ก็ฉันนั้น
เหมือนกัน เรานั้นมิได้มีความคิดอย่างนี้ว่า ‘ถ้าอย่างไร เราควรปัดละอองธุลีนี้
ด้วยฝ่ามือ หรือคนเหล่าอื่นพึงปัดละอองธุลีนี้ของเราด้วยฝ่ามือ’ ความคิดแม้อย่าง
นี้มิได้มีแก่เรา
นี้เป็นพรหมจรรย์ในการประพฤติถือสิ่งเศร้าหมองของเรา

การประพฤติรังเกียจ

บรรดาพรหมจรรย์มีองค์ ๔ นั้น พรหมจรรย์ในการประพฤติรังเกียจของเรา
ดังนี้ คือ เรานั้นมีสติก้าวไปข้างหน้า มีสติถอยกลับ ความเอ็นดูของเราปรากฏ
แม้กระทั่งในหยดน้ำว่า ‘เราอย่าได้ล้างผลาญสัตว์เล็ก ๆ ที่อยู่ในที่ต่าง ๆ เลย’
นี้เป็นพรหมจรรย์ในการประพฤติรังเกียจของเรา

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ ที.สี. (แปล) ๙/๓๙๔-๓๙๖/๑๖๔-๑๖๕

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า :๑๕๙ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๒. สีหนาทวรรค] ๒. มหาสีหนาทสูตร

ความประพฤติเป็นผู้สงัด

บรรดาพรหมจรรย์มีองค์ ๔ นั้น พรหมจรรย์ในการประพฤติสงัดของเราดังนี้
คือ เรานั้นอาศัยชายป่าแห่งใดแห่งหนึ่งอยู่ เมื่อใด เราได้พบคนเลี้ยงโค คนเลี้ยง
ปศุสัตว์ คนหาบหญ้า คนหาฟืน หรือคนทำงานในป่า๑ เมื่อนั้น เราเดินหนีจาก
ป่าหนึ่งไปยังป่าอีกแห่งหนึ่ง จากป่าทึบแห่งหนึ่งไปยังป่าทึบอีกแห่งหนึ่ง จากที่ลุ่ม
แห่งหนึ่งไปยังที่ลุ่มอีกแห่งหนึ่ง จากที่ดอนแห่งหนึ่งไปยังที่ดอนอีกแห่งหนึ่ง ข้อนั้น
เพราะเหตุไร เพราะเราคิดว่า ‘คนเหล่านั้นอย่าได้พบเรา และเราก็อย่าได้พบคน
เหล่านั้นเลย’
สัตว์ป่าเห็นพวกมนุษย์แล้วก็เตลิดหนีจากป่าแห่งหนึ่งไปยังป่าอีกแห่งหนึ่ง
จากป่าทึบแห่งหนึ่งไปยังป่าทึบอีกแห่งหนึ่ง จากที่ลุ่มแห่งหนึ่งไปยังที่ลุ่มอีกแห่งหนึ่ง
จากที่ดอนแห่งหนึ่งไปยังที่ดอนอีกแห่งหนึ่ง แม้ฉันใด เราก็ฉันนั้นเหมือนกัน เมื่อใด
เราได้พบคนเลี้ยงโค คนเลี้ยงปศุสัตว์ คนหาบหญ้า คนหาฟืน หรือคนทำงานในป่า
เมื่อนั้น เราเดินหนี จากป่าแห่งหนึ่งไปยังป่าอีกแห่งหนึ่ง จากป่าทึบแห่งหนึ่งไป
ยังป่าทึบอีกแห่งหนึ่ง จากที่ลุ่มแห่งหนึ่งไปยังที่ลุ่มอีกแห่งหนึ่ง จากที่ดอนแห่งหนึ่ง
ไปยังที่ดอนอีกแห่งหนึ่ง ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะเราคิดว่า ‘คนเหล่านั้นอย่าได้
พบเราเลย และเราก็อย่าได้พบคนเหล่านั้นเลย’
นี้เป็นพรหมจรรย์ในการประพฤติเป็นผู้สงัดของเรา
เรานั้นคลานเข้าไปในคอกที่ฝูงโคออกไปแล้ว ไม่มีคนเลี้ยงโคอยู่ กินมูลโคของ
ลูกโคตัวอ่อนที่ยังดื่มนม และกินปัสสาวะ อุจจาระของตนเองนั่นแลตลอดเวลา
ที่ปัสสาวะ และอุจจาระยังไม่สิ้นไป
นี้เป็นพรหมจรรย์ในโภชนมหาวิกัฏ๒ของเรา
[๑๕๗] เรานั้นเข้าอาศัยแนวป่าน่ากลัวแห่งใดแห่งหนึ่งอยู่ ที่ว่าน่ากลัวนั้น
เพราะเป็นแนวป่าที่น่าสะพรึงกลัว ผู้ใดผู้หนึ่งซึ่งยังมีราคะเข้าไปยังแนวป่านั้น

เชิงอรรถ :
๑ คนทำงานในป่า หมายถึงคนหาฟืน, รากไม้ และผลไม้ในป่าเป็นต้น (ม.มู.อ. ๑/๑๕๖/๓๖๘)
๒ โภชนมหาวิกัฏ หมายถึงอาหารที่สกปรก, ไม่สะอาด คือผิดปกติอย่างมาก (ม.มู.อ. ๑/๑๕๖/๓๖๘,
ม.มู.ฏีกา ๒/๑๕๖/๔๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า :๑๖๐ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๒. สีหนาทวรรค] ๒. มหาสีหนาทสูตร

โดยมากย่อมขนพองสยองเกล้า เรานั้นอยู่ที่กลางแจ้งตลอดทั้งคืน ในราตรีที่
หนาวเหน็บ ซึ่งอยู่ระหว่างเดือน ๓ ต่อเดือน ๔ เป็นช่วงเวลาที่หิมะตกเห็นปานนั้น
(แต่) อยู่ในแนวป่าในเวลากลางวัน ในเดือนท้ายแห่งฤดูร้อน เราอยู่ในที่แจ้งใน
เวลากลางวัน แต่อยู่ในแนวป่าในเวลากลางคืน คาถาน่าอัศจรรย์นี้เราไม่เคยได้ยิน
มาก่อน ปรากฏแก่เราว่า
‘มุนีผู้เสาะแสวงหาความหมดจด
อาบแดด อาบน้ำค้าง เปลือยกาย
ทั้งมิได้ผิงไฟ อยู่คนเดียว ในป่าที่น่ากลัว’
เรานอนแอบอิงกระดูกผีในป่าช้า พวกเด็กเลี้ยงโค เข้าใกล้เราแล้ว ถ่มน้ำลาย
รดบ้าง ถ่ายปัสสาวะรดบ้าง โปรยฝุ่นลงบ้าง เอาไม้ยอนที่ช่องหูบ้าง แต่เราไม่รู้สึก
เลยว่า มีอกุศลจิตเกิดขึ้นในเด็กเหล่านั้น
นี้เป็นพรหมจรรย์ในการอยู่ด้วยอุเบกขาของเรา

ลัทธิที่ว่าความบริสุทธิ์มีได้เพราะอาหาร

[๑๕๘] มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่งผู้มีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘ความ
บริสุทธิ์มีได้เพราะอาหาร’ พวกเขากล่าวอย่างนี้ว่า ‘พวกเราดำรงชีวิตอยู่ด้วยผล
พุทรา’ พวกเขาเคี้ยวกินพุทราผลหนึ่งบ้าง พุทราป่นบ้าง ดื่มน้ำผลพุทราบ้าง
บริโภคผลพุทราที่แปรรูปเป็นอาหารชนิดต่าง ๆ บ้าง แต่เราก็รู้ตัวว่า ‘กินผล
พุทราผลเดียวเท่านั้นเป็นอาหาร’ เธอคงจะคิดอย่างนี้ว่า ‘สมัยนั้น ผลพุทราคงจะ
ใหญ่เป็นแน่’ แต่เธอไม่พึงเห็นอย่างนั้น แม้ในกาลนั้น ผลพุทราก็มีขนาดเท่าในบัดนี้
เมื่อเรากินพุทราผลเดียวเท่านั้นเป็นอาหาร ร่างกายก็ซูบผอมเป็นอย่างมาก อวัยวะ
น้อยใหญ่ของเราเปรียบเหมือนเถาวัลย์ที่มีข้อมาก หรือมีข้อดำ เพราะมีอาหารน้อย
นั่นเอง ตะโพกของเราเปรียบเหมือนรอยเท้าอูฐ กระดูกสันหลังขึ้นเป็นปุ่ม ๆ เหมือน
เถาสะบ้า กระดูกซี่โครงเหลื่อมขึ้นเหลื่อมลง เหมือนกลอนศาลาเก่าเหลื่อมกันฉะนั้น
ดวงตากลวงลึกเข้าไปในเบ้าตา เหมือนเงาดวงดาวปรากฏในบ่อน้ำที่ลึกฉะนั้น หนังศีรษะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า :๑๖๑ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๒. สีหนาทวรรค] ๒. มหาสีหนาทสูตร

ซึ่งถูกลมพัดแล้วก็เหี่ยวแห้งไป เปรียบเหมือนผลน้ำเต้าขมที่ถูกตัดแต่ยังอ่อน ถูกลม
และแดดแล้ว ย่อมเหี่ยวแห้งไปฉะนั้น เพราะเรามีอาหารน้อยนั่นเอง เรานั้นคิดว่า
‘จักลูบหนังท้อง’ แต่คลำถูกกระดูกสันหลัง คิดว่า ‘จักลูบกระดูกสันหลัง’ แต่คลำ
ถูกหนังท้อง หนังท้องของเราติดกระดูกสันหลัง เรานั้นคิดว่า ‘จะถ่ายอุจจาระหรือ
ปัสสาวะ’ ก็ซวนเซล้มลง ณ ที่นั้นนั่นเอง เราเมื่อจะทำร่างกายให้สบายก็ลูบตัว
ด้วยฝ่ามือ เมื่อเราลูบตัวด้วยฝ่ามือ ขนทั้งหลายซึ่งมีรากเน่าก็หลุดร่วงจากกาย
เพราะเรามีอาหารน้อยนั่นเอง
[๑๕๙] สารีบุตร มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่งผู้มีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า
‘ความบริสุทธิ์มีได้เพราะอาหาร’ พวกเขากล่าวอย่างนี้ว่า ‘พวกเราดำรงชีวิตอยู่
ด้วยเมล็ดถั่วเขียว ฯลฯ พวกเราดำรงชีวิตอยู่ด้วยเมล็ดงา ฯลฯ พวกเราดำรงชีวิตอยู่
ด้วยข้าวสาร’ พวกเขาเคี้ยวกินข้าวสารบ้าง ปลายข้าวบ้าง ดื่มน้ำข้าวบ้าง บริโภค
ข้าวสารที่แปรรูปเป็นชนิดต่าง ๆ บ้าง แต่เรารู้ตัวว่า ‘กินข้าวสารเมล็ดเดียว
เท่านั้นเป็นอาหาร’ เธอคงจะคิดอย่างนี้ว่า ‘สมัยนั้น เมล็ดข้าวสารคงจะใหญ่เป็นแน่’
แต่เธอไม่พึงเห็นอย่างนั้น แม้ในกาลนั้น เมล็ดข้าวสารก็มีขนาดเท่าในบัดนี้ เมื่อเรา
กินข้าวสารเมล็ดเดียวเท่านั้นเป็นอาหาร ร่างกายก็ซูบผอมเป็นอย่างยิ่ง อวัยวะ
น้อยใหญ่ของเราเปรียบเหมือนเถาวัลย์ที่มีข้อมากและมีข้อดำ เพราะเรามีอาหารน้อย
นั่นเอง ตะโพกของเราเปรียบเหมือนรอยเท้าอูฐ กระดูกสันหลังขึ้นเป็นปุ่ม ๆ
เหมือนเถาสะบ้า กระดูกซี่โครงเหลื่อมขึ้นเหลื่อมลงเหมือนกลอนศาลาเก่าเหลื่อม
กันฉะนั้น ดวงตากลวงลึกเข้าไปในเบ้าตา ฯลฯ เปรียบเหมือนน้ำเต้าขม ฯลฯ’
เรานั้นคิดว่า ‘จักลูบหนังท้อง ฯลฯ จักถ่ายอุจจาระหรือปัสสาวะ ฯลฯ เราเมื่อ
จะทำร่างกายให้สบายก็ลูบตัวด้วยฝ่ามือ เมื่อเราลูบตัวด้วยฝ่ามือ ขนทั้งหลายซึ่ง
มีรากเน่าก็หลุดร่วงจากกาย เพราะเรามีอาหารน้อยนั่นเอง
เรามิได้บรรลุญาณทัสสนะที่ประเสริฐอันสามารถ วิเศษยิ่งกว่าธรรมของมนุษย์
แม้ด้วยการปฏิบัติอันประเสริฐนั้น ด้วยปฏิปทานั้น และด้วยการทรมานตนที่ทำได้
ยากนั้นเลย ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะเหตุยังมิได้บรรลุปัญญาอันประเสริฐนี้ ซึ่งเรา
บรรลุแล้ว เป็นเครื่องนำออกคือนำสัตว์ออกไปจากทุกข์เพื่อความสิ้นทุกข์โดยชอบ
สำหรับบุคคลผู้ปฏิบัติตามธรรมนั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า :๑๖๒ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๒. สีหนาทวรรค] ๒. มหาสีหนาทสูตร

ลัทธิที่ว่าความบริสุทธิ์มีได้เพราะสังสารวัฏเป็นต้น

[๑๖๐] สารีบุตร มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่งผู้มีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า
‘ความบริสุทธิ์มีได้เพราะสังสารวัฏ‘(การเวียนว่ายตายเกิด) สังสารวัฏที่เราไม่เคย
ท่องเที่ยวไปโดยกาลช้านานนี้เป็นสิ่งที่หาได้ไม่ง่าย นอกจากเทวโลกชั้นสุทธาวาส
หากเราพึงท่องเที่ยวไปในเทวโลกชั้นสุทธาวาส เราก็จะไม่พึงมาสู่โลกนี้อีก
มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่งผู้มีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘ความบริสุทธิ์
มีได้เพราะความเกิด’ ความเกิดที่เราไม่เคยประสบโดยกาลช้านานนี้เป็นสิ่งที่หาได้
ไม่ง่าย นอกจากเทวโลกชั้นสุทธาวาส หากเราพึงเกิดในเทวโลกชั้นสุทธาวาส เรา
ก็จะไม่พึงมาสู่โลกนี้อีก
มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่งผู้มีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘ความบริสุทธิ์
มีได้เพราะอาวาส๑’ ที่ที่เราไม่เคยอยู่อาศัยแล้วโดยกาลช้านานนี้เป็นของหาได้ไม่ง่าย
นอกจากเทวโลกชั้นสุทธาวาส หากเราพึงอยู่ในเทวโลกชั้นสุทธาวาส เราก็จะไม่พึง
มาสู่โลกนี้อีก
มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่งผู้มีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘ความบริสุทธิ์มี
ได้เพราะการบูชายัญ’ ยัญที่เราผู้เป็นขัตติยราชซึ่งได้รับมูรธาภิเษกแล้ว หรือเป็น
พราหมณมหาศาลไม่เคยบูชาแล้วโดยกาลช้านาน นี้เป็นสิ่งที่หาได้ไม่ง่าย
มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่งผู้มีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘ความบริสุทธิ์
มีได้เพราะการบำเรอไฟ’ ไฟที่เราผู้เป็นขัตติยราชซึ่งได้รับมูรธาภิเษกแล้ว หรือเป็น
พราหมณมหาศาล ไม่เคยบำเรอแล้วโดยกาลช้านาน นี้เป็นสิ่งที่หาได้ไม่ง่าย

เชิงอรรถ :
๑ อาวาส ในที่นี้หมายถึงขันธ์ทั้งหลาย (ม.มู.อ. ๑/๑๖๐/๓๗๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า :๑๖๓ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๒. สีหนาทวรรค] ๒. มหาสีหนาทสูตร

สัตว์ผู้ไม่ลุ่มหลง

[๑๖๑] มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่งผู้มีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘บุรุษ
หนุ่มผู้เจริญนี้ มีเกศาดำสนิท มีวัยหนุ่มแน่นเหมาะกับปฐมวัย มีปัญญาเฉลียวฉลาด
อย่างยิ่ง ต่อมา บุรุษหนุ่มผู้เจริญนี้ก็ชรา แก่ เฒ่า ล่วงกาลผ่านวัยไปโดยลำดับ
คือมีอายุ ๘๐ ปีบ้าง ๙๐ ปีบ้าง ๑๐๐ ปีบ้าง หลังจากนั้น เขาเสื่อมจากปัญญา
ความเฉลียวฉลาดนั้น ข้อนี้เธอไม่พึงเห็นอย่างนั้น ก็บัดนี้ เราชรา แก่ เฒ่า ล่วงกาล
ผ่านวัยไปโดยลำดับ เรามีอายุ ๘๐ ปี สาวกบริษัท ๔ ของเราในธรรมวินัยนี้มีอายุ
๑๐๐ ปี เป็นอยู่ได้ ๑๐๐ ปี มีสติ มีคติ มีธิติ๑ อันยอดเยี่ยม และมีปัญญา
เฉลียวฉลาดอย่างยิ่ง
นักแม่นธนูได้รับการฝึกหัด ช่ำชอง ชำนิชำนาญ เคยแสดงฝีมือมาแล้ว
พึงยิงงวงตาลทางด้านขวางให้ตกลงได้โดยไม่ยากด้วยลูกศรขนาดเบา แม้ฉันใด
สาวกบริษัท ๔ ของเราก็ฉันนั้นเหมือนกัน มีสติ มีคติ มีธิติอันยอดเยี่ยม
อย่างนี้ มีปัญญาเฉลียวฉลาดอย่างยิ่ง
เธอทั้งหลายพึงถามปัญหาอิงสติปัฏฐาน ๔ กับเรา เราถูกถามแล้วจะพึงตอบ
แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงทรงจำคำที่เราตอบแล้วโดยแจ่มแจ้ง เธอทั้งหลาย
ไม่ควรถามเราเกินกว่า ๒ ครั้ง นอกจากเรื่องการกิน การดื่ม การเคี้ยว การลิ้ม
การถ่ายอุจจาระและปัสสาวะ การหลับ และการบรรเทาความเมื่อยล้า ธรรมบรรยาย
ของตถาคตนั้นไม่มีจบสิ้น บทและพยัญชนะของตถาคตนั้นไม่มีจบสิ้น ความแจ่มแจ้ง
แห่งปัญหาของตถาคตนั้นไม่มีจบสิ้น เมื่อเป็นเช่นนั้น สาวกบริษัท ๔ ของเรานั้น
มีอายุ ๑๐๐ ปี เป็นอยู่ได้ ๑๐๐ ปี เมื่อล่วง ๑๐๐ ปีไปก็จะพึงตาย แม้ถ้าเธอ

เชิงอรรถ :
๑ ที่ชื่อว่า มีสติ เพราะสามารถเล่าเรียนตั้ง ๑๐๐ บท ๑,๐๐๐ บท
ที่ชื่อว่า มีคติ เพราะสามารถทรงจำและรวบรวมเรียบเรียงไว้ได้
ที่ชื่อว่า มีธิติ เพราะมีความเพียรที่สามารถทำการสาธยายสิ่งที่เล่าเรียนมา ทรงจำมาไว้ได้ (ม.มู.อ.
๑/๑๖๑/๓๗๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า :๑๖๔ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๒. สีหนาทวรรค] ๓. มหาทุกขักขันธสูตร

ทั้งหลายจักหามเราด้วยเตียงเล็ก ปัญญาความเฉลียวฉลาดของตถาคตย่อมไม่เป็น
อย่างอื่นไปได้ บุคคลเมื่อจะกล่าวโดยถูกต้องจะพึงกล่าวคำนั้นกับเราเท่านั้นว่า ‘สัตว์
ผู้มีความไม่ลุ่มหลงเป็นธรรมดา เกิดขึ้นแล้วในโลกเพื่อเกื้อกูลแก่คนหมู่มาก เพื่อ
สุขแก่คนหมู่มาก เพื่ออนุเคราะห์แก่ชาวโลก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อสุข
แก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย”

คำนิคม

[๑๖๒] ในสมัยนั้น ท่านพระนาคสมาละยืนถวายงานพัดอยู่เบื้องพระปฤษฎางค์
ของพระผู้มีพระภาค ลำดับนั้น ท่านพระนาคสมาละได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคยปรากฏ เพราะได้ฟังธรรมบรรยายนี้
ข้าพระองค์จึงเกิดขนลุกชูชันขึ้นแล้ว ธรรมบรรยายนี้ชื่ออะไร”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “นาคสมาละ เพราะเหตุนั้น เธอจงจำไว้ว่า ‘ธรรม
บรรยายนี้ชื่อว่าโลมหังสนบรรยาย”
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสภาษิตนี้แล้ว ท่านพระนาคสมาละมีใจยินดีชื่นชม
พระภาษิตของพระผู้มีพระภาค ดังนี้แล

มหาสีหนาทสูตรที่ ๒ จบ

๓. มหาทุกขักขันธสูตร
ว่าด้วยกองทุกข์ สูตรใหญ่
ปัญหาของปริพาชก

[๑๖๓] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถ-
บิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้นในเวลาเช้า ภิกษุจำนวนมากครองอันตรวาสก
ถือบาตรและจีวรเข้าไปบิณฑบาตยังกรุงสาวัตถี เวลานั้น ภิกษุเหล่านั้นได้มีความ
คิดว่า “ยังเช้าอยู่ที่จะเที่ยวไปบิณฑบาตในกรุงสาวัตถี ทางที่ดี พวกเราเข้าไปยัง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า :๑๖๕ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๒. สีหนาทวรรค] ๓. มหาทุกขักขันธสูตร

อารามของอัญเดียรถีย์ปริพาชกกันเถิด” แล้วพากันเข้าไปยังอารามของอัญเดียรถีย์
ปริพาชก แล้วได้สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้วจึงนั่ง
ณ ที่สมควร
อัญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้นได้กล่าวกับหมู่ภิกษุนั้นว่า “ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย
พระสมณโคดมบัญญัติการละกามทั้งหลาย แม้พวกเราก็บัญญัติการละกามทั้งหลาย
พระสมณโคดมบัญญัติการละรูปทั้งหลาย แม้พวกเราก็บัญญัติการละรูปทั้งหลาย
พระสมณโคดมบัญญัติการละเวทนาทั้งหลาย แม้พวกเราก็บัญญัติการละเวทนา
ทั้งหลาย ในข้อนี้ มีความแปลกกันอย่างไร มีความมุ่งหมายอย่างไร และมีการ
กระทำต่างกันอย่างไร ระหว่างการแสดงธรรมหรือการพร่ำสอนของพระสมณโคดม
กับการแสดงธรรมหรือการพร่ำสอนของพวกเรา”
ภิกษุเหล่านั้นไม่ยินดี ไม่คัดค้านคำที่อัญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้นกล่าวแล้ว
ครั้นไม่ยินดี ไม่คัดค้านแล้วจึงลุกจากที่นั่งจากไปด้วยตั้งใจว่า “เราทั้งหลายจัก
ทราบเนื้อความแห่งคำกล่าวนี้ในสำนักของพระผู้มีพระภาค”
[๑๖๔] ครั้งนั้น ภิกษุเหล่านั้นเที่ยวไปบิณฑบาตในกรุงสาวัตถี กลับจาก
บิณฑบาตภายหลังฉันภัตตาหารเสร็จแล้ว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานวโรกาส เช้าวันนี้ ข้าพระองค์ทั้งหลาย
ครองอันตรวาสกถือบาตรและจีวรเข้าไปบิณฑบาตยังกรุงสาวัตถี ข้าพระองค์ทั้งหลาย
ได้มีความคิดว่า ‘ยังเช้าอยู่ที่จะเที่ยวไปบิณฑบาตในกรุงสาวัตถี ทางที่ดี พวกเรา
เข้าไปยังอารามของอัญเดียรถีย์ปริพาชกกันเถิด’ จึงพากันเข้าไปยังอารามของ
อัญเดียรถีย์ปริพาชก แล้วได้สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึง
กันแล้วจึงนั่ง ณ ที่สมควร อัญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้นได้กล่าวกับข้าพระองค์
ทั้งหลายว่า ‘ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย พระสมณโคดมบัญญัติการละกามทั้งหลาย
แม้พวกเราก็บัญญัติการละกามทั้งหลาย พระสมณโคดมบัญญัติการละรูปทั้งหลาย
แม้พวกเราก็บัญญัติการละรูปทั้งหลาย พระสมณโคดมบัญญัติการละเวทนา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า :๑๖๖ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๒. สีหนาทวรรค] ๓. มหาทุกขักขันธสูตร

ทั้งหลาย แม้พวกเราก็บัญญัติการละเวทนาทั้งหลาย ในข้อนี้ มีความแปลกกัน
อย่างไร มีความมุ่งหมายอย่างไร และมีการกระทำต่างกันอย่างไร ระหว่างการ
แสดงธรรมหรือการพร่ำสอนของพระสมณโคดมกับการแสดงธรรมหรือการพร่ำสอน
ของพวกเรา’ ข้าพระองค์ทั้งหลายไม่ยินดี ไม่คัดค้านคำที่อัญเดียรถีย์ปริพาชก
เหล่านั้นกล่าวแล้ว ครั้นไม่ยินดี ไม่คัดค้านแล้วจึงลุกจากที่นั่งจากไปด้วยตั้งใจว่า
‘เราทั้งหลายจักทราบเนื้อความแห่งคำกล่าวนี้ในสำนักของพระผู้มีพระภาค”

คุณ โทษ และการสลัดออกไปจากกาม

[๑๖๕] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงกล่าวตอบ
พวกอัญเดียรถีย์ปริพาชกผู้มีวาทะอย่างนั้น อย่างนี้ว่า ‘อะไรเป็นคุณ อะไรเป็นโทษ
อะไรเป็นการสลัดออกไปจากกามทั้งหลาย อะไรเป็นคุณ อะไรเป็นโทษ อะไรเป็น
การสลัดออกไปจากรูปทั้งหลาย อะไรเป็นคุณ อะไรเป็นโทษ อะไรเป็นการสลัดออกไป
จากเวทนาทั้งหลาย’ พวกอัญเดียรถีย์ปริพาชกถูกเธอทั้งหลายถามอย่างนั้นแล้ว
จักไม่พอใจ และจักต้องถึงความคับแค้นอย่างยิ่ง ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะข้อนั้น
มิใช่วิสัย ภิกษุทั้งหลาย ก็ในโลกพร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์
พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ เมื่อเว้นตถาคต สาวกของตถาคต
หรือบุคคลฟังคำสั่งสอนของเราตถาคตเสียแล้ว เรายังไม่เห็นผู้ที่จะพึงทำจิตให้ยินดี
ตอบปัญหานี้ได้
[๑๖๖] ภิกษุทั้งหลาย อะไรเล่า เป็นคุณแห่งกามทั้งหลาย
คือ กามคุณ ๕ ประการนี้
กามคุณ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. รูปที่จะพึงรู้แจ้งทางตา ที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก
ชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัด
๒. เสียงที่จะพึงรู้แจ้งทางหู ...
๓. กลิ่นที่จะพึงรู้แจ้งทางจมูก ...

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า :๑๖๗ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๒. สีหนาทวรรค] ๓. มหาทุกขักขันธสูตร

๔. รสที่จะพึงรู้แจ้งทางลิ้น ...
๕. โผฏฐัพพะที่จะพึงรู้แจ้งทางกาย ที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ
ชวนให้รัก ชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัด
กามคุณมี ๕ ประการนี้แล
การที่สุข โสมนัสเกิดขึ้นเพราะอาศัยกามคุณ ๕ ประการ นี้ชื่อว่าเป็นคุณแห่ง
กามทั้งหลาย
[๑๖๗] ภิกษุทั้งหลาย อะไรเล่า เป็นโทษแห่งกามทั้งหลาย
คือ กุลบุตรในโลกนี้เลี้ยงชีวิตด้วยการมีศิลปะใด คือ ด้วยการนับคะแนน
การคำนวณ การนับจำนวน การไถ การค้าขาย การเลี้ยงโค การยิงธนู การรับ
ราชการ หรือด้วยศิลปะอย่างใดอย่างหนึ่ง อดทนต่อความหนาว ตรากตรำต่อ
ความร้อน เดือดร้อนเพราะสัมผัสแห่งเหลือบ ยุง ลม แดด และสัตว์เลื้อยคลาน
(และ)ตายเพราะความหิวกระหาย แม้ข้อนี้ก็ชื่อว่าเป็นโทษแห่งกามทั้งหลาย เป็น
กองทุกข์ที่จะพึงเห็นได้เอง มีกามเป็นเหตุ มีกามเป็นต้นเหตุ มีกามเป็นเหตุเกิด
เกิดเพราะเหตุแห่งกามทั้งหลายนั่นแล
ถ้าเมื่อกุลบุตรนั้นขยัน พากเพียร พยายามอยู่อย่างนี้ โภคสมบัติเหล่านั้น
ย่อมไม่สัมฤทธิผล เขาเศร้าโศก ลำบาก รำพัน ตีอก คร่ำครวญ ถึงความหลงเพ้อว่า
‘ความขยันของเราเป็นโมฆะหนอ ความพยายามของเราก็ไม่มีผลเลยหนอ’ แม้ข้อ
นี้ก็ชื่อว่าเป็นโทษแห่งกามทั้งหลาย เป็นกองทุกข์ที่จะพึงเห็นได้เอง มีกามเป็นเหตุ
มีกามเป็นต้นเหตุ มีกามเป็นเหตุเกิด เกิดเพราะเหตุแห่งกามทั้งหลายนั่นแล
ถ้าเมื่อกุลบุตรนั้นขยัน พากเพียร พยายามอยู่อย่างนี้ โภคสมบัติเหล่านั้น
ย่อมสัมฤทธิผล เขากลับเสวยทุกข์โทมนัสอันมีเหตุมาจากการรักษาโภคสมบัติเหล่านั้น
ว่า ‘ทำอย่างไร พระราชาจะไม่พึงริบโภคสมบัติทั้งหลายของเรา พวกโจรจะไม่พึง
ลักไป ไฟจะไม่พึงไหม้ น้ำจะไม่พึงพัดไป หรือทายาทผู้ไม่เป็นที่รักจะไม่พึงแย่งไป’
เมื่อกุลบุตรนั้นรักษาคุ้มครองอยู่อย่างนี้ พระราชาริบโภคสมบัตินั้นไปก็ดี พวกโจร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า :๑๖๘ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๒. สีหนาทวรรค] ๓. มหาทุกขักขันธสูตร

ปล้นเอาไปก็ดี ไฟไหม้เสียก็ดี น้ำพัดไปก็ดี ทายาทผู้ไม่เป็นที่รักแย่งเอาไปก็ดี
เขาเศร้าโศก ลำบาก รำพัน ตีอก คร่ำครวญ ถึงความหลงเพ้อว่า ‘สิ่งใดเคย
เป็นของเรา แม้สิ่งนั้นก็ไม่เป็นของเรา’
ภิกษุทั้งหลาย แม้ข้อนี้ก็ชื่อว่าเป็นโทษแห่งกามทั้งหลาย เป็นกองทุกข์ที่จะ
พึงเห็นได้เอง มีกามเป็นเหตุ มีกามเป็นต้นเหตุ มีกามเป็นเหตุเกิด เกิดเพราะ
เหตุแห่งกามทั้งหลายนั่นแล
[๑๖๘] อีกประการหนึ่ง เพราะกามเป็นเหตุ เพราะกามเป็นต้นเหตุ เพราะ
กามเป็นเหตุเกิด เพราะเหตุแห่งกามทั้งหลายนั่นแล พระราชาทรงวิวาทกับพระราชา
ก็ได้ กษัตริย์วิวาทกับกษัตริย์ก็ได้ พราหมณ์วิวาทกับพราหมณ์ก็ได้ คหบดีวิวาท
กับคหบดีก็ได้ มารดาวิวาทกับบุตรก็ได้ บุตรวิวาทกับมารดาก็ได้ บิดาวิวาทกับ
บุตรก็ได้ บุตรวิวาทกับบิดาก็ได้ พี่ชายน้องชายวิวาทกับพี่ชายน้องชายก็ได้ พี่ชาย
น้องชายวิวาทกับพี่สาวน้องสาวก็ได้ พี่สาวน้องสาววิวาทกับพี่ชายน้องชายก็ได้
สหายวิวาทกับสหายก็ได้ ชนเหล่านั้นก่อการทะเลาะ ก่อการแก่งแย่ง และก่อการ
วิวาทกันในที่นั้น ทำร้ายกันและกันด้วยฝ่ามือบ้าง ด้วยก้อนดินบ้าง ด้วยท่อนไม้บ้าง
ด้วยศัสตราบ้าง ชนเหล่านั้นจึงเข้าถึงความตายบ้าง ทุกข์ปางตายบ้าง๑ แม้ข้อนี้
ก็ชื่อว่าเป็นโทษแห่งกามทั้งหลาย เป็นกองทุกข์ที่จะพึงเห็นได้เอง มีกามเป็นเหตุ
มีกามเป็นต้นเหตุ มีกามเป็นเหตุเกิด เกิดเพราะเหตุแห่งกามทั้งหลายนั่นแล
อีกประการหนึ่ง เพราะกามเป็นเหตุ เพราะกามเป็นต้นเหตุ เพราะกามเป็น
เหตุเกิด เพราะเหตุแห่งกามทั้งหลาย ชนทั้งหลายถือดาบและโล่ จับธนูพาดลูกศร
แล้ววิ่งเข้าสู่สงคราม ปะทะกันทั้ง ๒ ฝ่าย เมื่อพวกเขายิงลูกศรไปบ้าง พุ่งหอกไปบ้าง
กวัดแกว่งดาบฟันกันบ้าง ชนเหล่านั้นถูกลูกศรเสียบเอาบ้าง ถูกหอกแทงเอาบ้าง
ถูกดาบตัดศีรษะบ้าง ชนเหล่านั้นจึงเข้าถึงความตายบ้าง ทุกข์ปางตายบ้าง แม้ข้อ
นี้ก็ชื่อว่าเป็นโทษแห่งกามทั้งหลาย เป็นกองทุกข์ที่จะพึงเห็นได้เอง มีกามเป็นเหตุ
มีกามเป็นต้นเหตุ มีกามเป็นเหตุเกิด เกิดเพราะเหตุแห่งกามทั้งหลายนั่นแล

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ ขุ.ม.(แปล) ๒๙/๘๒/๒๔๔

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า :๑๖๙ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๒. สีหนาทวรรค] ๓. มหาทุกขักขันธสูตร

อีกประการหนึ่ง เพราะกามเป็นเหตุ เพราะกามเป็นต้นเหตุ เพราะกามเป็น
เหตุเกิด เพราะเหตุแห่งกามทั้งหลาย ชนทั้งหลายถือดาบและโล่ จับธนูพาดลูกศร
แล้ววิ่งเข้าไปยังเชิงกำแพงที่ฉาบด้วยเปือกตมร้อน เมื่อพวกเขายิงลูกศรไปบ้าง พุ่ง
หอกไปบ้าง กวัดแกว่งดาบฟันกันบ้าง ชนเหล่านั้นถูกลูกศรเสียบเอาบ้าง ถูกหอก
แทงเอาบ้าง ถูกมูลโคร้อนรดบ้าง ถูกคราดสับบ้าง ถูกดาบตัดศีรษะบ้าง ชน
เหล่านั้นจึงเข้าถึงความตายบ้าง ทุกข์ปางตายบ้าง
ภิกษุทั้งหลาย แม้ข้อนี้ก็ชื่อว่าเป็นโทษแห่งกามทั้งหลาย เป็นกองทุกข์ที่จะ
พึงเห็นได้เอง มีกามเป็นเหตุ มีกามเป็นต้นเหตุ มีกามเป็นเหตุเกิด เกิดเพราะ
เหตุแห่งกามทั้งหลายนั่นแล
[๑๖๙] อีกประการหนึ่ง เพราะกามเป็นเหตุ เพราะกามเป็นต้นเหตุ เพราะ
กามเป็นเหตุเกิด เพราะเหตุแห่งกามทั้งหลาย ชนทั้งหลายตัดช่องย่องเบาบ้าง
ขโมยยกเค้าบ้าง ปล้นบ้านบ้าง ดักจี้ในทางเปลี่ยวบ้าง ละเมิดภรรยาผู้อื่นบ้าง พระ
ราชาก็รับสั่งให้จับเขาลงอาญาด้วยประการต่าง ๆ คือ เฆี่ยนด้วยแส้บ้าง เฆี่ยน
ด้วยหวายบ้าง ตีด้วยไม้พลองบ้าง ตัดมือบ้าง ตัดเท้าบ้าง ตัดทั้งมือและเท้าบ้าง
ตัดใบหูบ้าง ตัดจมูกบ้าง ตัดทั้งใบหูและจมูกบ้าง วางก้อนเหล็กแดงบนศีรษะบ้าง
ถลกหนังศีรษะแล้วขัดให้ขาวเหมือนสังข์บ้าง เอาไฟยัดปากจนเลือดไหลเหมือน
ปากราหูบ้าง เอาผ้าพันตัวราดน้ำมันแล้วจุดไฟเผาบ้าง พันมือแล้วจุดไฟต่างคบบ้าง
ถลกหนังตั้งแต่คอถึงข้อเท้าให้ลุกเดินเหยียบหนังจนล้มลงบ้าง ถลกหนังตั้งแต่คอถึง
บั้นเอวทำให้มองดูเหมือนนุ่งผ้าคากรองบ้าง สวมปลอกเหล็กที่ข้อศอกและเข่า
แล้วเสียบหลาวทั้งห้าทิศเอาไฟเผาบ้าง ใช้เบ็ดเกี่ยวหนังเนื้อเอ็นออกมาบ้าง เฉือน
เนื้อออกเป็นแว่นๆ เหมือนเหรียญกษาปณ์บ้าง เฉือนหนัง เนื้อ เอ็นออกเหลือไว้
แต่กระดูกบ้าง ใช้หลาวแทงช่องหูให้ทะลุถึงกันบ้าง เสียบให้ติดดินแล้วจับเขาหมุน
ได้รอบบ้าง ทุบกระดูกให้แหลกแล้วถลกหนังออกเหลือไว้แต่กองเนื้อเหมือนตั่งใบไม้บ้าง
รดตัวด้วยน้ำมันที่กำลังเดือดพล่านบ้าง ให้สุนัขกัดกินจนเหลือแต่กระดูกบ้าง ให้นอน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า :๑๗๐ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๒. สีหนาทวรรค] ๓. มหาทุกขักขันธสูตร

บนหลาวทั้งเป็นบ้าง ตัดศีรษะออกด้วยดาบบ้าง๑ ชนเหล่านั้นจึงเข้าถึงความตายบ้าง
ทุกข์ปางตายบ้าง แม้ข้อนี้ก็ชื่อว่าเป็นโทษแห่งกามทั้งหลาย เป็นกองทุกข์ที่จะพึง
เห็นได้เอง มีกามเป็นเหตุ มีกามเป็นต้นเหตุ มีกามเป็นเหตุเกิด เกิดเพราะเหตุ
แห่งกามทั้งหลายนั่นแล
อีกประการหนึ่ง เพราะกามเป็นเหตุ เพราะกามเป็นต้นเหตุ เพราะกามเป็น
เหตุเกิด เพราะเหตุแห่งกามทั้งหลาย ชนทั้งหลายประพฤติกายทุจริต วจีทุจริต
และมโนทุจริต ครั้นประพฤติกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริตแล้ว หลังจากตาย
แล้วย่อมไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก
ภิกษุทั้งหลาย แม้ข้อนี้ก็ชื่อว่าเป็นโทษแห่งกามทั้งหลาย เป็นกองทุกข์ใน
สัมปรายภพ มีกามเป็นเหตุ มีกามเป็นต้นเหตุ มีกามเป็นเหตุเกิด เกิดเพราะเหตุ
แห่งกามทั้งหลายนั่นแล
[๑๗๐] ภิกษุทั้งหลาย อะไรเล่า เป็นการสลัดออกไปจากกามทั้งหลาย
คือ การกำจัดฉันทราคะ๒ การละฉันทราคะในกามทั้งหลาย นี้ชื่อว่าการ
สลัดออกไปจากกามทั้งหลาย
สมณะหรือพราหมณ์พวกใดพวกหนึ่งไม่รู้ชัดคุณแห่งกามทั้งหลายว่าเป็นคุณ
ไม่รู้ชัดโทษแห่งกามทั้งหลายว่าเป็นโทษ และไม่รู้ชัดการสลัดออกไปจากกาม
ทั้งหลายว่าเป็นการสลัดออกไปตามความเป็นจริงอย่างนั้น เป็นไปไม่ได้เลยที่พวก
เขาเหล่านั้นจักรอบรู้กามทั้งหลายเอง หรือจักชักชวนผู้อื่นเพื่อให้รู้อย่างนั้น และผู้
ปฏิบัติแล้วก็จักรอบรู้กามทั้งหลายได้ ส่วนสมณะหรือพราหมณ์พวกใดพวกหนึ่งรู้
ชัดคุณแห่งกามทั้งหลายว่าเป็นคุณ รู้ชัดโทษแห่งกามทั้งหลายว่าเป็นโทษ และรู้ชัด
การสลัดออกไปจากกามทั้งหลายว่าเป็นการสลัดออกไปตามความเป็นจริงอย่างนั้น
เป็นไปได้ที่พวกเขาเหล่านั้นจักรอบรู้กามทั้งหลายได้เอง หรือจักชักชวนผู้อื่นเพื่อให้รู้
อย่างนั้น และผู้ปฏิบัติตามแล้วก็จักรอบรู้กามทั้งหลายได้

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ ขุ.ม. (แปล) ๒๙/๕๕/๑๘๗-๑๘๘
๒ การกำจัดฉันทราคะ หมายถึงนิพพาน (ม.มู.อ. ๑/๑๗๐/๓๘๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า :๑๗๑ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๒. สีหนาทวรรค] ๓. มหาทุกขักขันธสูตร

คุณ โทษ และการสลัดออกไปจากรูป

[๑๗๑] ภิกษุทั้งหลาย อะไรเล่า เป็นคุณแห่งรูปทั้งหลาย
คือ กษัตริย์สาว พราหมณ์สาว หรือคหบดีสาว มีอายุ ๑๕ ปี หรือ
๑๖ ปี ไม่สูงเกินไป ไม่ต่ำเกินไป ไม่ผอมเกินไป ไม่อ้วนเกินไป ไม่ดำเกินไป
ไม่ขาวเกินไป แม้ฉันใด ในสมัยนั้น หญิงสาวผู้นั้นย่อมเป็นผู้งดงาม เปล่งปลั่ง
อย่างยิ่ง ฉันนั้นมิใช่หรือ”
ภิกษุทั้งหลายพากันกราบทูลว่า “อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย การที่สุข โสมนัสเกิดขึ้นเพราะอาศัย
ความงาม ความเปล่งปลั่ง นี้ชื่อว่าเป็นคุณแห่งรูปทั้งหลาย
อะไรเล่า เป็นโทษแห่งรูปทั้งหลาย
คือ บุคคลพึงเห็นสาวน้อยคนนั้นในโลกนี้โดยสมัยอื่นว่ามีอายุ ๘๐ ปี ๙๐ ปี
หรือ ๑๐๐ ปีโดยกำเนิด เป็นคนแก่ มีซี่โครงคดดังกลอนเรือน มีหลังงอ ถือไม้เท้า
เดินงก ๆ เงิ่น ๆ ไป กระสับกระส่าย ผ่านวัยไปแล้ว ฟันหัก ผมหงอก หัวโกร๋น
หัวล้าน หนังเหี่ยว มีตัวตกกระ เธอทั้งหลายเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร
ความงดงาม ความเปล่งปลั่ง แต่ก่อนนั้นหายไปแล้ว โทษก็ปรากฏชัดแล้วมิใช่หรือ”
“อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
“แม้ข้อนี้ก็ชื่อว่าเป็นโทษแห่งรูปทั้งหลาย
อีกประการหนึ่ง บุคคลพึงเห็นสาวน้อยคนนั้นซึ่งมีอาพาธ มีทุกข์ เจ็บหนัก
นอนจมปัสสาวะและอุจจาระของตน ต้องให้ผู้อื่นพยุงลุกขึ้น ต้องให้ผู้อื่นช่วยประคอง
เธอทั้งหลายเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร ความงดงาม ความเปล่งปลั่งแต่ก่อนนั้น
หายไปแล้ว โทษก็ปรากฏชัดแล้วมิใช่หรือ”
“อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
“แม้ข้อนี้ก็ชื่อว่าเป็นโทษแห่งรูปทั้งหลาย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า :๑๗๒ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๒. สีหนาทวรรค] ๓. มหาทุกขักขันธสูตร

[๑๗๒] อีกประการหนึ่ง บุคคลพึงเห็นสาวน้อยคนนั้นซึ่งเป็นซากศพที่เขา
ทิ้งไว้ในป่าช้า ตายแล้ว ๑ วันบ้าง ๒ วันบ้าง ๓ วันบ้าง ที่ขึ้นพอง สีเขียวน่าเกลียด
น้ำเหลืองไหลน่าเกลียด เธอทั้งหลายเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร ความงดงาม
ความเปล่งปลั่งแต่ก่อนนั้นหายไปแล้ว โทษก็ปรากฏชัดแล้วมิใช่หรือ”
“อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
“แม้ข้อนี้ก็ชื่อว่าเป็นโทษแห่งรูปทั้งหลาย
อีกประการหนึ่ง บุคคลพึงเห็นสาวน้อยคนนั้นซึ่งเป็นซากศพที่เขาทิ้งไว้ในป่าช้า
ถูกกาจิกกินบ้าง แร้งทึ้งอยู่บ้าง นกตะกรุมจิกกินบ้าง สุนัขกัดกินอยู่บ้าง สุนัข
จิ้งจอกกัดกินอยู่บ้าง สัตว์เล็ก ๆ หลายชนิดกัดกินอยู่บ้าง เธอทั้งหลายเข้าใจ
ความข้อนั้นว่าอย่างไร ความงดงาม ความเปล่งปลั่งแต่ก่อนนั้นหายไปแล้ว โทษก็
ปรากฏชัดแล้วมิใช่หรือ”
“อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
“แม้ข้อนี้ก็ชื่อว่าเป็นโทษแห่งรูปทั้งหลาย
อีกประการหนึ่ง บุคคลพึงเห็นสาวน้อยคนนั้นซึ่งเป็นซากศพที่เขาทิ้งไว้ใน
ป่าช้า เป็นร่างกระดูก ยังมีเนื้อและเลือด มีเส้นเอ็นผูกรัด ฯลฯ เป็นร่างกระดูก
ไม่มีเนื้อแต่เปื้อนเลือด มีเส้นเอ็นผูกรัด ฯลฯ เป็นร่างกระดูก ไม่มีเนื้อและเลือด
มีเส้นเอ็นผูกรัด ฯลฯ เป็นร่างกระดูก ไม่มีเส้นเอ็นผูกรัด กระจัดกระจายไปทั่วทุกทิศ
คือ กระดูกมืออยู่ทางหนึ่ง กระดูกเท้าอยู่ทางหนึ่ง กระดูกแข้งอยู่ทางหนึ่ง
กระดูกขาอยู่ทางหนึ่ง กระดูกสะเอวอยู่ทางหนึ่ง กระดูกสันหลังอยู่ทางหนึ่ง
กระดูกซี่โครงอยู่ทางหนึ่ง กระดูกหน้าอกอยู่ทางหนึ่ง กระดูกแขนอยู่ทางหนึ่ง
กระดูกไหล่อยู่ทางหนึ่ง กระดูกคออยู่ทางหนึ่ง กระดูกคางอยู่ทางหนึ่ง กระดูกฟัน
อยู่ทางหนึ่ง หัวกะโหลกอยู่ทางหนึ่ง เธอทั้งหลายเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร
ความงดงาม ความเปล่งปลั่งแต่ก่อนนั้นหายไปแล้ว โทษก็ปรากฏชัดแล้วมิใช่หรือ”
“อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
“แม้ข้อนี้ก็ชื่อว่าเป็นโทษแห่งรูปทั้งหลาย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า :๑๗๓ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๒. สีหนาทวรรค] ๓. มหาทุกขักขันธสูตร

อีกประการหนึ่ง บุคคลพึงเห็นสาวน้อยคนนั้นซึ่งเป็นซากศพที่เขาทิ้งไว้ในป่าช้า
เหลือแต่กระดูกสีขาว เปรียบเหมือนสังข์ ฯลฯ เหลือแต่ท่อนกระดูกเป็นกอง ๆ
ตกค้างมาแรมปี ฯลฯ เป็นกระดูกผุป่นเป็นผง เธอทั้งหลายเข้าใจความข้อนั้นว่า
อย่างไร ความงดงาม ความเปล่งปลั่งแต่ก่อนนั้นหายไปแล้ว โทษก็ปรากฏชัดแล้ว
มิใช่หรือ”
“อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
“แม้ข้อนี้ก็ชื่อว่าเป็นโทษแห่งรูปทั้งหลาย
อะไรเล่า เป็นการสลัดออกไปจากรูปทั้งหลาย
คือ การกำจัดฉันทราคะ การละฉันทราคะในรูปทั้งหลาย นี้ชื่อว่าการสลัด
ออกไปจากรูปทั้งหลาย
สมณะหรือพราหมณ์พวกใดพวกหนึ่ง ไม่รู้ชัดคุณแห่งรูปทั้งหลายว่าเป็นคุณ
ไม่รู้ชัดโทษแห่งรูปทั้งหลายว่าเป็นโทษ และไม่รู้ชัดการสลัดออกไปจากรูปทั้งหลาย
ว่าเป็นการสลัดออกไปตามความเป็นจริงอย่างนั้น เป็นไปไม่ได้เลยที่พวกเขาเหล่า
นั้นจักรอบรู้รูปทั้งหลายได้เอง หรือจักชักชวนผู้อื่นเพื่อให้รู้อย่างนั้น และผู้ปฏิบัติ
ตามแล้วก็จักรอบรู้รูปทั้งหลายได้
ภิกษุทั้งหลาย ส่วนสมณะหรือพราหมณ์พวกใดพวกหนึ่งรู้ชัดคุณแห่งรูป
ทั้งหลายว่าเป็นคุณ รู้ชัดโทษแห่งรูปทั้งหลายว่าเป็นโทษ และรู้ชัดการสลัดออกไป
จากรูปทั้งหลายว่าเป็นการสลัดออกไปตามความเป็นจริงอย่างนั้น เป็นไปได้ที่พวก
เขาเหล่านั้นจักรอบรู้รูปทั้งหลายได้เอง หรือจักชักชวนผู้อื่นเพื่อให้รู้อย่างนั้น และ
ผู้ปฏิบัติตามแล้วก็จักรอบรู้รูปทั้งหลายได้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า :๑๗๔ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๒. สีหนาทวรรค] ๓. มหาทุกขักขันธสูตร

คุณ โทษ และการสลัดออกไปจากเวทนา

[๑๗๓] ภิกษุทั้งหลาย อะไรเล่า เป็นคุณแห่งเวทนาทั้งหลาย
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้สงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุ
ปฐมฌานที่มีวิตก วิจาร ปีติ และสุขอันเกิดจากวิเวกอยู่ ในสมัยใด ภิกษุสงัดจาก
กามและอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌานที่มีวิตก วิจาร ปีติ และสุขอันเกิด
จากวิเวกอยู่ ในสมัยนั้น เธอไม่คิดมุ่งเบียดเบียนตน ไม่คิดมุ่งเบียดเบียนผู้อื่น
ทั้งไม่คิดมุ่งเบียดเบียนทั้งสองฝ่าย ในสมัยนั้น เธอจึงเสวยเวทนาซึ่งไม่มีการเบียดเบียน
นั่นแล เรากล่าวว่าความไม่มุ่งเบียดเบียนกัน เป็นคุณแห่งเวทนาทั้งหลาย
อีกประการหนึ่ง เพราะวิตกวิจารสงบระงับไป ภิกษุบรรลุทุติยฌานที่มีความ
ผ่องใสในภายใน มีภาวะที่จิตเป็นหนึ่งผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีแต่ปีติและสุข
อันเกิดจากสมาธิอยู่ ในสมัยใด เพราะวิตกวิจารสงบระงับไป ภิกษุบรรลุทุติยฌาน
ฯลฯ ในสมัยนั้น เธอย่อมไม่คิดมุ่งเบียดเบียนตน ฯลฯ เรากล่าวว่าความไม่คิด
มุ่งเบียดเบียนกัน เป็นคุณแห่งเวทนาทั้งหลาย
อีกประการหนึ่ง เพราะปีติจางคลายไป ภิกษุมีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ
เสวยสุขด้วยนามกาย บรรลุตติยฌานที่พระอริยะทั้งหลายสรรเสริญว่า ‘ผู้มีอุเบกขา
มีสติ อยู่เป็นสุข’ ในสมัยใด เพราะปีติจางคลายไป ภิกษุมีอุเบกขา ฯลฯ ในสมัยนั้น
เธอย่อมไม่คิดมุ่งเบียดเบียนตน ฯลฯ เรากล่าวว่าความไม่คิดมุ่งเบียดเบียนกัน
เป็นคุณแห่งเวทนาทั้งหลาย
อีกประการหนึ่ง เพราะละสุขและทุกข์ได้ เพราะโสมนัสและโทมนัสดับไป
ก่อนแล้ว ภิกษุบรรลุจตุตถฌานที่ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขาอยู่
ในสมัยใด เพราะละสุขและทุกข์ได้ เพราะโสมนัสและโทมนัสดับไปก่อนแล้ว ภิกษุ
บรรลุจตุตถฌาน ฯลฯ ในสมัยนั้น เธอย่อมไม่คิดมุ่งเบียดเบียนตน ไม่คิดมุ่ง
เบียดเบียนผู้อื่น ทั้งไม่คิดมุ่งเบียดเบียนทั้ง ๒ ฝ่าย
ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวว่าความไม่คิดมุ่งเบียดเบียนกัน เป็นคุณแห่งเวทนา
ทั้งหลาย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า :๑๗๕ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๒. สีหนาทวรรค] ๓. มหาทุกขักขันธสูตร

[๑๗๔] ภิกษุทั้งหลาย อะไรเล่า เป็นโทษแห่งเวทนาทั้งหลาย
คือ การที่เวทนาไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา นี้ชื่อว่า
โทษแห่งเวทนาทั้งหลาย
อะไรเล่า เป็นการสลัดออกไปจากเวทนาทั้งหลาย
คือ การกำจัดฉันทราคะ การละฉันทราคะในเวทนาทั้งหลายได้ นี้ชื่อว่าการ
สลัดออกไปจากเวทนาทั้งหลาย
สมณะหรือพราหมณ์พวกใดพวกหนึ่งไม่รู้ชัดคุณแห่งเวทนาทั้งหลายว่าเป็นคุณ
ไม่รู้ชัดโทษแห่งเวทนาทั้งหลายว่าเป็นโทษ และไม่รู้ชัดการสลัดออกไปจากเวทนา
ทั้งหลายว่าเป็นการสลัดออกไปตามความเป็นจริงอย่างนั้น เป็นไปไม่ได้เลยที่พวก
เขาเหล่านั้นจักรอบรู้เวทนาทั้งหลายได้เอง หรือจักชักชวนผู้อื่นเพื่อให้รู้อย่างนั้น
และผู้ปฏิบัติตามแล้วก็จักรอบรู้เวทนาทั้งหลายได้
ภิกษุทั้งหลาย ส่วนสมณะหรือพราหมณ์พวกใดพวกหนึ่งรู้ชัดคุณแห่งเวทนา
ทั้งหลายว่าเป็นคุณ รู้ชัดโทษแห่งเวทนาทั้งหลายว่าเป็นโทษ และรู้ชัดการสลัดออก
ไปจากเวทนาทั้งหลายว่าเป็นการสลัดออกไปตามความเป็นจริงอย่างนั้น เป็นไปได้
ที่พวกเขาเหล่านั้นจักรอบรู้เวทนาทั้งหลายได้เอง หรือจักชักชวนผู้อื่นเพื่อให้รู้อย่าง
นั้น และผู้ปฏิบัติตามแล้วก็จักรอบรู้เวทนาทั้งหลายได้”
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสภาษิตนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นมีใจยินดีต่างชื่นชมพระภาษิต
ของพระผู้มีพระภาค ดังนี้แล

มหาทุกขักขันธสูตรที่ ๓ จบ


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๒. สีหนาทวรรค] ๔. จูฬทุกขักขันธสูตร

๔. จูฬทุกขักขันธสูตร
ว่าด้วยกองทุกข์ สูตรเล็ก

[๑๗๕] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ นิโครธาราม เขตกรุงกบิลพัสดุ์
ในแคว้นสักกะ ครั้งนั้น เจ้าศากยะพระนามว่ามหานามะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค
ถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วประทับนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาค
ว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์รู้ทั่วถึงธรรมที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดง
แล้วสิ้นกาลนานอย่างนี้ว่า ‘โลภะเป็นอุปกิเลสแห่งจิต โทสะเป็นอุปกิเลสแห่งจิต
โมหะเป็นอุปกิเลสแห่งจิต’ เมื่อเป็นเช่นนั้น บางคราว โลภธรรมยังครอบงำจิตของ
ข้าพระองค์ไว้ได้บ้าง โทสธรรมยังครอบงำจิตของข้าพระองค์ไว้ได้บ้าง โมหธรรม
ยังครอบงำจิตของข้าพระองค์ไว้ได้บ้าง ข้าพระองค์มีความคิดอย่างนี้ว่า ‘ธรรมอะไร
เล่าที่ข้าพระองค์ยังละไม่ได้ในภายใน ซึ่งเป็นเหตุให้โลภธรรมยังครอบงำจิตของ
ข้าพระองค์ไว้ได้บ้าง โทสธรรมยังครอบงำจิตของข้าพระองค์ไว้ได้บ้าง โมหธรรมยัง
ครอบงำจิตของข้าพระองค์ไว้ได้บ้างเป็นครั้งคราว”
[๑๗๖] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “มหานามะ ธรรมในภายในนั้นแล เธอยัง
ละไม่ได้ ซึ่งเป็นเหตุให้โลภธรรมครอบงำจิตของเธอไว้ได้บ้าง โทสธรรมครอบงำจิต
ของเธอไว้ได้บ้าง โมหธรรมครอบงำจิตของเธอไว้ได้บ้างเป็นครั้งคราว ถ้าเธอจักละ
ธรรมในภายในนั้นได้แล้ว เธอก็จะไม่พึงอยู่ครองเรือน ไม่พึงบริโภคกาม แต่เพราะ
เธอละธรรมในภายในนั้นยังไม่ได้ เธอจึงยังอยู่ครองเรือน ยังบริโภคกาม
[๑๗๗] แม้หากอริยสาวกเห็นตามความเป็นจริงด้วยปัญญาอันชอบว่า ‘กาม
ทั้งหลายมีความยินดีน้อย มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก มีโทษยิ่งใหญ่’ ก็ตาม แต่
อริยสาวกนั้นก็ยังไม่บรรลุฌานที่มีปีติและสุข๑ที่ปราศจากกามทั้งหลาย ปราศจาก

เชิงอรรถ :
๑ ฌานที่มีปีติและสุข หมายถึงปฐมฌานและทุติยฌาน (ม.มู.อ. ๑/๑๗๗/๓๘๖)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า :๑๗๗ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๒. สีหนาทวรรค] ๔. จูฬทุกขักขันธสูตร

อกุศลธรรมทั้งหลาย หรือยังไม่บรรลุธรรมอื่นที่สงบกว่าฌานทั้ง ๒ นั้น ดังนั้น
เขาจึงชื่อว่า จะไม่เวียนมาหากามทั้งหลายอีกก็หาไม่๑ แต่เมื่อใด อริยสาวกเห็น
ตามความเป็นจริงด้วยปัญญาอันชอบอย่างนี้ว่า ‘กามทั้งหลายมีความยินดีน้อย
มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก มีโทษยิ่งใหญ่’ อริยสาวกนั้น ย่อมบรรลุฌาน
ที่มีปีติและสุขที่ปราศจากกามทั้งหลาย ปราศจากอกุศลธรรมทั้งหลาย หรือบรรลุ
ธรรมอื่นที่สงบกว่าฌานทั้ง ๒ นั้น เมื่อนั้น เขาจึงชื่อว่าย่อมไม่เวียนมาหากาม
ทั้งหลายอีก
มหานามะ ก่อนการตรัสรู้ แม้เมื่อครั้งเราเป็นโพธิสัตว์ยังไม่ได้ตรัสรู้ เราก็
เห็นตามความเป็นจริงด้วยปัญญาอันชอบอย่างนี้ว่า ‘กามทั้งหลายมีความยินดีน้อย
มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก มีโทษยิ่งใหญ่’ ก็ตาม แต่เราก็ยังไม่บรรลุฌาน
ที่มีปีติและสุขที่ปราศจากกามทั้งหลาย ปราศจากอกุศลธรรมทั้งหลาย หรือยังไม่
บรรลุธรรมอื่นที่สงบกว่าฌานทั้ง ๒ นั้น ดังนั้นเราจึงปฏิญญาว่าชื่อว่าจะไม่เวียนมา
หากามทั้งหลายก็หาไม่ แต่เมื่อใด เราเห็นตามความเป็นจริงด้วยปัญญาอันชอบ
อย่างนี้ว่า ‘กามทั้งหลายมีความยินดีน้อย มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก มีโทษ
ยิ่งใหญ่’ เราได้บรรลุฌานที่มีปีติและสุขที่ปราศจากกามทั้งหลาย ปราศจากอกุศล-
ธรรมทั้งหลาย หรือบรรลุธรรมอื่นที่สงบกว่าฌานทั้ง ๒ นั้น เมื่อนั้น เราจึง
ปฏิญญาว่า ไม่เวียนมาหากามทั้งหลายอีก

คุณแห่งกาม

[๑๗๘] มหานามะ อะไรเล่า เป็นคุณแห่งกามทั้งหลาย
กามคุณ ๕ ประการนี้
กามคุณ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. รูปที่จะพึงรู้แจ้งทางตา ที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก
ชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัด

เชิงอรรถ :
๑ ไม่เวียนมาหากามทั้งหลายอีกก็หาไม่ หมายถึงยังจะต้องกลับมาหากามทั้งหลายได้อีก เพราะไม่มี
สมุจเฉทปหาน (ละได้เด็ดขาด) ด้วยมรรค ๒ (อนาคามิมรรคและอรหัตตมรรค) ทั้งนี้เพราะพระอริยสาวก
แม้จะบรรลุมรรค ๒ (โสดาปัตติมรรคและสกทาคามิมรรค) แล้ว แต่ก็ยังไม่บรรลุญาณหรือมรรคเบื้องสูง
(ม.มู.อ. ๑/๑๗๗/๓๘๖)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า :๑๗๘ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๒. สีหนาทวรรค] ๔. จูฬทุกขักขันธสูตร

๒. เสียงที่จะพึงรู้แจ้งทางหู ฯลฯ
๓. กลิ่นที่จะพึงรู้แจ้งทางจมูก ...
๔. รสที่จะพึงรู้แจ้งทางลิ้น ...
๕. โผฏฐัพพะที่จะพึงรู้แจ้งทางกาย ที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ
ชวนให้รัก ชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัด
กามคุณมี ๕ ประการนี้แล
การที่สุข โสมนัสเกิดขึ้นเพราะอาศัยกามคุณ ๕ ประการ นี้ชื่อว่าเป็นคุณ
แห่งกามทั้งหลาย

โทษแห่งกาม

อะไรเล่า เป็นโทษแห่งกามทั้งหลาย
คือ กุลบุตรในโลกนี้เลี้ยงชีวิตด้วยการประกอบศิลปะใด คือ ด้วยการนับ
คะแนน การคำนวณ การนับจำนวน การไถ การค้าขาย การเลี้ยงโค การยิงธนู
การรับราชการ หรือด้วยศิลปะอย่างใดอย่างหนึ่ง อดทนต่อความหนาว ตรากตรำ
ต่อความร้อน เดือดร้อนเพราะสัมผัสแห่งเหลือบ ยุง ลม แดด และสัตว์เลื้อยคลาน
(และ)ตายเพราะความหิวกระหาย แม้ข้อนี้ก็ชื่อว่าเป็นโทษแห่งกามทั้งหลาย เป็น
กองทุกข์ที่จะพึงเห็นได้เอง มีกามเป็นเหตุ มีกามเป็นต้นเหตุ มีกามเป็นเหตุเกิด
เกิดเพราะเหตุแห่งกามทั้งหลายนั่นแล
ถ้าเมื่อกุลบุตรนั้นขยัน พากเพียร พยายามอยู่อย่างนี้ โภคสมบัติเหล่านั้น
ย่อมไม่สัมฤทธิผล เขาเศร้าโศก ลำบาก รำพัน ตีอก คร่ำครวญ ถึงความหลงเพ้อว่า
‘ความขยันของเราเป็นโมฆะหนอ ความพยายามของเราก็ไม่มีผลเลยหนอ’ แม้ข้อนี้
ก็ชื่อว่าเป็นโทษแห่งกามทั้งหลาย เป็นกองทุกข์ที่จะพึงเห็นได้เอง มีกามเป็นเหตุ
มีกามเป็นต้นเหตุ มีกามเป็นเหตุเกิด เกิดเพราะเหตุแห่งกามทั้งหลายนั่นแล

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า :๑๗๙ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๒. สีหนาทวรรค] ๔. จูฬทุกขักขันธสูตร

ถ้าเมื่อกุลบุตรนั้นขยัน พากเพียร พยายามอยู่อย่างนี้ โภคสมบัติเหล่านั้น
ย่อมไม่สัมฤทธิผล เขากลับเสวยทุกข์โทมนัสอันมีเหตุมาจากการรักษาโภคสมบัติ
เหล่านั้นว่า ‘ทำอย่างไร พระราชาจะไม่พึงริบโภคสมบัติทั้งหลายของเรา พวกโจร
จะไม่พึงลักไป ไฟจะไม่พึงไหม้ น้ำจะไม่พึงพัดไป หรือทายาทผู้ไม่เป็นที่รักจะไม่
พึงแย่งไป’ เมื่อกุลบุตรนั้นรักษาคุ้มครองอยู่อย่างนี้ พระราชาริบโภคสมบัตินั้นไปก็ดี
พวกโจรปล้นเอาไปก็ดี ไฟไหม้เสียก็ดี น้ำพัดไปก็ดี ทายาทผู้ไม่เป็นที่รักแย่งเอาไปก็ดี
เขาเศร้าโศก ลำบาก รำพัน ตีอก คร่ำครวญ ถึงความหลงเพ้อว่า ‘สิ่งใดเคย
เป็นของเรา แม้สิ่งนั้นก็ไม่เป็นของเรา’ แม้ข้อนี้ก็ชื่อว่าเป็นโทษแห่งกามทั้งหลาย
เป็นกองทุกข์ที่จะพึงเห็นได้เอง มีกามเป็นเหตุ มีกามเป็นต้นเหตุ มีกามเป็นเหตุเกิด
เกิดเพราะเหตุแห่งกามทั้งหลายนั่นแล
อีกประการหนึ่ง เพราะกามเป็นเหตุ เพราะกามเป็นต้นเหตุ เพราะกามเป็น
เหตุเกิด เพราะเหตุแห่งกามทั้งหลายนั่นแล พระราชาทรงวิวาทกับพระราชาก็ได้
กษัตริย์วิวาทกับกษัตริย์ก็ได้ พราหมณ์วิวาทกับพราหมณ์ก็ได้ คหบดีวิวาทกับ
คหบดีก็ได้ มารดาวิวาทกับบุตรก็ได้ บุตรวิวาทกับมารดาก็ได้ บิดาวิวาทกับบุตรก็ได้
บุตรวิวาทกับบิดาก็ได้ พี่ชายน้องชายวิวาทกับพี่ชายน้องชายก็ได้ พี่ชายน้องชาย
วิวาทกับพี่สาวน้องสาวก็ได้ พี่สาวน้องสาววิวาทกับพี่ชายน้องชายก็ได้ สหายวิวาท
กับสหายก็ได้ ชนเหล่านั้นก่อการทะเลาะ ก่อการแก่งแย่ง และก่อการวิวาทกันใน
ที่นั้น ทำร้ายกันและกันด้วยฝ่ามือบ้าง ด้วยก้อนดินบ้าง ด้วยท่อนไม้บ้าง ด้วย
ศัสตราบ้าง ชนเหล่านั้นจึงเข้าถึงความตายบ้าง ทุกข์ปางตายบ้าง แม้ข้อนี้ก็ชื่อว่า
เป็นโทษแห่งกามทั้งหลาย เป็นกองทุกข์ที่จะพึงเห็นได้เอง มีกามเป็นเหตุ มีกามเป็น
ต้นเหตุ มีกามเป็นเหตุเกิด เกิดเพราะเหตุแห่งกามทั้งหลายนั่นแล
อีกประการหนึ่ง เพราะกามเป็นเหตุ เพราะกามเป็นต้นเหตุ เพราะกามเป็น
เหตุเกิด เพราะเหตุแห่งกามทั้งหลาย ชนทั้งหลายถือดาบและโล่ จับธนูพาดลูกศร
แล้ววิ่งเข้าสู่สงครามปะทะกันทั้ง ๒ ฝ่าย เมื่อพวกเขายิงลูกศรไปบ้าง พุ่งหอกไปบ้าง
กวัดแกว่งดาบฟันกันบ้าง ชนเหล่านั้นถูกลูกศรเสียบเอาบ้าง ถูกหอกแทงเอาบ้าง
ถูกดาบตัดศีรษะบ้าง ชนเหล่านั้นจึงเข้าถึงความตายบ้าง ทุกข์ปางตายบ้าง แม้ข้อนี้
ก็ชื่อว่าเป็นโทษแห่งกามทั้งหลาย เป็นกองทุกข์ที่จะพึงเห็นได้เอง มีกามเป็นเหตุ มีกาม
เป็นต้นเหตุ มีกามเป็นเหตุเกิด เกิดเพราะเหตุแห่งกามทั้งหลายนั่นแล

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า :๑๘๐ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๒. สีหนาทวรรค] ๔. จูฬทุกขักขันธสูตร

อีกประการหนึ่ง เพราะกามเป็นเหตุ เพราะกามเป็นต้นเหตุ เพราะกามเป็น
เหตุเกิด เพราะเหตุแห่งกามทั้งหลาย ชนทั้งหลายถือดาบและโล่ จับธนูพาดลูกศร
แล้ววิ่งเข้าไปยังเชิงกำแพงที่ฉาบด้วยเปือกตมร้อน เมื่อพวกเขายิงลูกศรไปบ้าง
พุ่งหอกไปบ้าง กวัดแกว่งดาบฟันกันบ้าง ชนเหล่านั้นถูกลูกศรเสียบเอาบ้าง ถูก
หอกแทงเอาบ้าง ถูกมูลโคร้อนรดบ้าง ถูกคราดสับบ้าง ถูกดาบตัดศีรษะบ้าง
ชนเหล่านั้นจึงเข้าถึงความตายบ้าง ทุกข์ปางตายบ้าง แม้ข้อนี้ก็ชื่อว่าเป็นโทษแห่ง
กามทั้งหลาย เป็นกองทุกข์ที่จะพึงเห็นได้เอง มีกามเป็นเหตุ มีกามเป็นต้นเหตุ
มีกามเป็นเหตุเกิด เกิดเพราะเหตุแห่งกามทั้งหลายนั่นแล
อีกประการหนึ่ง เพราะกามเป็นเหตุ เพราะกามเป็นต้นเหตุ เพราะกามเป็น
เหตุเกิด เพราะเหตุแห่งกามทั้งหลาย ชนทั้งหลายตัดช่องย่องเบาบ้าง ขโมยยก
เค้าบ้าง ปล้นบ้านบ้าง ดักจี้ในทางเปลี่ยวบ้าง ละเมิดภรรยาผู้อื่นบ้าง พระราชา
ก็รับสั่งให้จับเขาลงอาญาด้วยประการต่าง ๆ คือ เฆี่ยนด้วยแส้บ้าง เฆี่ยนด้วย
หวายบ้าง ตีด้วยไม้พลองบ้าง ฯลฯ๑ เอาผ้าพันตัวราดน้ำมันแล้วจุดไฟเผาบ้าง
พันมือแล้วจุดไฟต่างคบบ้าง ถลกหนังตั้งแต่คอถึงข้อเท้าให้ลุกเดินเหยียบหนังจน
ล้มลงบ้าง ถลกหนังตั้งแต่คอถึงบั้นเอว ทำให้มองดูเหมือนนุ่งผ้าคากรองบ้าง
สวมปลอกเหล็กที่ข้อศอกและเข่าแล้วเสียบหลาวทั้งห้าทิศเอาไฟเผาบ้าง ใช้เบ็ดเกี่ยว
หนัง เนื้อ เอ็นออกมาบ้าง เฉือนเนื้อออกเป็นแว่น ๆ เหมือนเหรียญกษาปณ์บ้าง
เฉือนหนัง เนื้อ เอ็นออกเหลือไว้แต่กระดูกบ้าง ใช้หลาวแทงช่องหูให้ทะลุถึงกันบ้าง
เสียบให้ติดดินแล้วจับหมุนได้รอบบ้าง ทุบกระดูกให้แหลกแล้วถลกหนังออกเหลือไว้
แต่กองเนื้อเหมือนตั่งใบไม้บ้าง รดตัวด้วยน้ำมันที่กำลังเดือดพล่านบ้าง ให้สุนัขกัด
กินจนเหลือแต่กระดูกบ้าง ให้นอนบนหลาวเหล็กทั้งเป็นบ้าง ตัดศีรษะออกด้วย
ดาบบ้าง ชนเหล่านั้นจึงถึงความตายบ้าง ทุกข์ปางตายบ้าง แม้ข้อนี้ก็ชื่อว่าเป็น
โทษแห่งกามทั้งหลาย เป็นกองทุกข์ที่จะพึงเห็นได้เอง มีกามเป็นเหตุ มีกามเป็น
ต้นเหตุ มีกามเป็นเหตุเกิด เกิดเพราะเหตุแห่งกามทั้งหลายนั่นแล

เชิงอรรถ :
๑ ดูเนื้อความเต็มในข้อ ๑๖๙ (มหาทุกขักขันธสูตร) หน้า ๑๗๐ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า :๑๘๑ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๒. สีหนาทวรรค] ๔. จูฬทุกขักขันธสูตร

อีกประการหนึ่ง เพราะกามเป็นเหตุ เพราะกามเป็นต้นเหตุ เพราะกามเป็น
เหตุเกิด เพราะเหตุแห่งกามทั้งหลาย ชนทั้งหลายประพฤติกายทุจริต วจีทุจริต
และมโนทุจริต ครั้นประพฤติกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริตแล้ว หลังจากตาย
แล้วย่อมไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก แม้ข้อนี้ก็ชื่อว่าเป็นโทษแห่งกามทั้งหลาย
เป็นกองทุกข์ที่จะพึงเห็นได้เอง มีกามเป็นเหตุ มีกามเป็นต้นเหตุ มีกามเป็นเหตุเกิด
เกิดเพราะเหตุแห่งกามทั้งหลายนั่นแล

ลัทธิของนิครนถ์

[๑๗๙] มหานามะ สมัยหนึ่ง เราอยู่ที่ภูเขาคิชฌกูฏ เขตกรุงราชคฤห์
สมัยนั้น ณ ตำบลกาฬศิลาข้างภูเขาอิสิคิลิ นิครนถ์เป็นจำนวนมากถือการยืนเป็น
วัตร ปฏิเสธการนั่ง เสวยทุกขเวทนาอันแรงกล้า เผ็ดร้อน ซึ่งเกิดจากความพยายาม
ครั้งนั้น เราออกจากที่หลีกเร้นในเวลาเย็น เข้าไปหานิครนถ์เหล่านั้นจนถึงตำบล
กาฬศิลาข้างภูเขาอิสิคิลิ แล้วได้กล่าวกับนิครนถ์เหล่านั้นว่า ‘นิครนถ์ทั้งหลาย
ไฉนเล่า ท่านทั้งหลายจึงถือการยืนเป็นวัตร ปฏิเสธการนั่ง เสวยทุกขเวทนาอัน
แรงกล้า เผ็ดร้อน ซึ่งเกิดจากความพยายาม’ เมื่อเรากล่าวอย่างนั้นแล้ว นิครนถ์
เหล่านั้นได้กล่าวกับเราว่า ‘ท่านผู้มีอายุ นิครนถ์ นาฏบุตรเป็นสัพพัญญู(ผู้รู้ทุกสิ่ง)
เห็นสิ่งทั้งปวง ปฏิญญาญาณทัสสนะ อย่างเบ็ดเสร็จว่า ‘เมื่อเราเดิน ยืน หลับ
และตื่นอยู่ ญาณทัสสนะได้ปรากฏต่อเนื่องตลอดไป‘๑ นิครนถ์ นาฏบุตรนั้นกล่าว
อย่างนี้ว่า ‘นิครนถ์ทั้งหลายผู้เจริญ บาปกรรมที่พวกท่านทำแล้วในกาลก่อนมีอยู่
พวกท่านจงสลัดบาปกรรมนั้นด้วยปฏิปทาที่ทำได้ยากอันเผ็ดร้อนนี้ ข้อที่ท่านทั้งหลาย
สำรวมกาย สำรวมวาจา สำรวมใจ ในกาลบัดนี้นั้น เป็นการไม่กระทำบาปกรรม
ต่อไป เพราะกรรมเก่าสิ้นสุดไปเพราะตบะ (การบำเพ็ญเพียรอย่างหนัก) เพราะไม่ทำ
กรรมใหม่ จึงไม่ตกอยู่ใต้อำนาจ(แห่งกรรม)ต่อไป เพราะไม่เป็นไปตามอำนาจแห่งกรรม
ต่อไป กรรมจึงสิ้นไป เพราะกรรมสิ้นไป ทุกข์จึงสิ้นไป เพราะทุกข์สิ้นไป เวทนาจึง
สิ้นไป เพราะเวทนาสิ้นไป ทุกข์ทั้งปวงจึงจักเป็นอันสลายไป คำที่นิครนถ์ นาฏบุตร
กล่าวแล้วนั้นถูกใจและชอบใจเราทั้งหลาย เพราะเหตุนั้น พวกเราจึงมีใจยินดี’

เชิงอรรถ :
๑ ดู องฺ.นวก. (แปล) ๒๓/๓๘/๕๑๕

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า :๑๘๒ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๒. สีหนาทวรรค] ๔. จูฬทุกขักขันธสูตร

[๑๘๐] มหานามะ เมื่อพวกนิครนถ์กล่าวอย่างนี้แล้ว เราได้กล่าวกับนิครนถ์
เหล่านั้นว่า ‘นิครนถ์ทั้งหลาย พวกท่านรู้ไหมว่า ‘เมื่อก่อน เราทั้งหลายได้มีแล้ว
มิใช่ไม่ได้มีแล้ว’
พวกนิครนถ์ตอบว่า ‘ท่านพระโคดม ข้อนี้มิได้เป็นดังนั้น’
ตถาคตถามว่า ‘พวกท่านรู้ไหมว่า ‘เมื่อก่อน เราทั้งหลายได้ทำบาปกรรมไว้
มิใช่ไม่ได้ทำไว้’
พวกนิครนถ์ตอบว่า ‘ท่านพระโคดม ข้อนี้มิได้เป็นดังนั้น’
ตถาคตถามว่า ‘พวกท่านรู้ไหมว่า ‘เมื่อก่อน เราทั้งหลายได้ทำบาปกรรม
เช่นนี้บ้าง ๆ’
พวกนิครนถ์ตอบว่า ‘ท่านพระโคดม ข้อนี้มิได้เป็นดังนั้น’
ตถาคตถามว่า ‘พวกท่านรู้ไหมว่า ‘เมื่อก่อน ทุกข์เท่านี้เราสลัดได้แล้ว
ทุกข์เท่านี้เราพึงสลัดเสีย หรือเมื่อเราสลัดทุกข์เท่านี้ได้แล้ว ก็จักเป็นอันสลัดทุกข์
ได้ทั้งหมด’
พวกนิครนถ์ตอบว่า ‘ท่านพระโคดม ข้อนี้มิได้เป็นดังนั้น’
ตถาคตถามว่า ‘พวกท่านรู้จักการละอกุศลธรรมทั้งหลาย การบำเพ็ญกุศล-
ธรรมทั้งหลายในปัจจุบันหรือ’
พวกนิครนถ์ตอบว่า ‘ท่านพระโคดม ข้อนี้มิได้เป็นดังนั้น’
ตถาคตถามว่า ‘ท่านนิครนถ์ทั้งหลาย ได้ยินมาว่า พวกท่านไม่รู้ว่า ‘เมื่อก่อน
เราทั้งหลายได้มีแล้ว มิใช่ไม่ได้มีแล้ว’ ไม่รู้ว่า ‘เมื่อก่อน เราได้ทำบาปกรรมไว้
มิใช่ไม่ได้ทำไว้’ ไม่รู้ว่า ‘เราได้ทำบาปกรรมเช่นนี้บ้าง ๆ’ ไม่รู้ว่า ‘ทุกข์เท่านี้เรา
สลัดได้แล้ว ทุกข์เท่านี้เราพึงสลัดเสีย หรือเมื่อเราสลัดทุกข์เท่านี้ได้แล้ว ก็จักเป็น
อันสลัดทุกข์ได้ทั้งหมด’ ไม่รู้จักการละอกุศลธรรมทั้งหลาย การบำเพ็ญกุศลธรรม
ทั้งหลายในปัจจุบัน เมื่อเป็นเช่นนี้ ผู้ที่บวชในพวกนิครนถ์ก็เฉพาะแต่พวกคนโหดร้าย
มีมือเปื้อนเลือด ทำกรรมชั่วช้า กลับมาเกิดในหมู่มนุษย์ในโลก’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า :๑๘๓ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๒. สีหนาทวรรค] ๔. จูฬทุกขักขันธสูตร

บุคคลผู้อยู่เป็นสุข

พวกนิครนถ์ตอบว่า ‘ท่านพระโคดม บุคคลมิใช่จะพึงประสบความสุขได้
ด้วยความสุข แต่จะพึงประสบความสุขได้ด้วยความทุกข์ ถ้าบุคคลจักประสบความ
สุขได้ด้วยความสุข พระเจ้าพิมพิสารจอมทัพแคว้นมคธก็คงจะประสบความสุข
เพราะพระเจ้าพิมพิสารจอมทัพแคว้นมคธจะอยู่เป็นสุขกว่าท่านพระโคดม’
ตถาคตถามว่า ‘นิครนถ์ทั้งหลายกล่าววาจาหุนหันไม่ทันพิจารณาอย่างแน่แท้
ว่า ‘บุคคลมิใช่จะพึงประสบความสุขได้ด้วยความสุข แต่จะพึงประสบความสุขได้
ด้วยความทุกข์ ถ้าบุคคลจักประสบความสุขได้ด้วยความสุข พระเจ้าพิมพิสาร
จอมทัพแคว้นมคธก็คงจะประสบความสุข เพราะพระเจ้าพิมพิสารจอมทัพแคว้น
มคธจะอยู่เป็นสุขยิ่งกว่าท่านพระโคดม’ แต่ว่าเราเท่านั้นที่พวกท่านควรซักถามในเนื้อ
ความนั้นว่า ‘บรรดาท่านทั้งหลาย ใครเล่าหนออยู่เป็นสุขกว่ากัน พระเจ้าพิมพิสาร
จอมทัพแคว้นมคธ หรือท่านพระโคดมเอง’
พวกนิครนถ์ตอบว่า ‘พวกข้าพเจ้ากล่าววาจาหุนหันไม่ทันพิจารณาอย่างแน่
แท้ว่า ‘บุคคลมิใช่จะพึงประสบความสุขได้ด้วยความสุข แต่จะพึงประสบความสุข
ได้ด้วยความทุกข์ ถ้าบุคคลจักประสบความสุขได้ด้วยความสุข พระเจ้าพิมพิสาร
จอมทัพแคว้นมคธก็คงจะประสบความสุข เพราะพระเจ้าพิมพิสารจอมทัพแคว้น
มคธจะอยู่เป็นสุขกว่าท่านพระโคดม’ ขอโอกาสหยุดเรื่องนี้ไว้เพียงเท่านี้ แม้บัดนี้
พวกข้าพเจ้าจะถามท่านพระโคดมบ้างว่า ‘บรรดาท่านทั้งหลาย ใครเล่าหนออยู่
เป็นสุขกว่ากัน พระเจ้าพิมพิสารจอมทัพแคว้นมคธ หรือท่านพระโคดมเอง’
ตถาคตถามว่า ‘ถ้าอย่างนั้น ในเนื้อความข้อนั้น เราจักถามพวกท่านนั่นแลว่า
‘พวกท่านเข้าใจอย่างใด ควรตอบอย่างนั้น พวกท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร
พระเจ้าพิมพิสารจอมทัพแคว้นมคธไม่ทรงเคลื่อนไหวพระวรกาย ไม่มีพระดำรัส
สามารถเสวยสุขโดยส่วนเดียวอยู่ตลอด ๗ คืน ๗ วันหรือ’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า :๑๘๔ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๒. สีหนาทวรรค] ๔. จูฬทุกขักขันธสูตร

พวกนิครนถ์ตอบว่า ‘ท่านพระโคดม ข้อนี้มิได้เป็นดังนั้น’
ตถาคตถามว่า ‘พวกท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร พระเจ้าพิมพิสาร
จอมทัพแคว้นมคธไม่ทรงเคลื่อนไหวพระวรกาย ไม่มีพระดำรัส สามารถเสวยสุข
โดยส่วนเดียวอยู่ตลอด ๖ คืน ๖ วัน ... ๕ คืน ๕ วัน ... ๔ คืน ๔ วัน ...
๓ คืน ๓ วัน ... ๒ คืน ๒ วัน พระเจ้าพิมพิสารจอมทัพแคว้นมคธไม่ทรง
เคลื่อนไหวพระวรกาย ไม่มีพระดำรัส สามารถเสวยสุขโดยส่วนเดียวอยู่ตลอด ๑
คืน ๑ วันได้หรือ’
พวกนิครนถ์ตอบว่า ‘ท่านพระโคดม ข้อนี้มิได้เป็นดังนั้น’
ตถาคตถามว่า ‘เราไม่เคลื่อนไหวกาย ไม่พูด สามารถเสวยสุขโดยส่วนเดียว
อยู่ตลอด ๑ คืน ๑ วัน ... ๒ คืน ๒ วัน ... ๓ คืน ๓ วัน ... ๔ คืน ๔
วัน ... ๕ คืน ๕ วัน ... ๖ คืน ๖ วัน เราไม่เคลื่อนไหวกาย ไม่พูด
สามารถเสวยสุขโดยส่วนเดียวอยู่ตลอด ๗ คืน ๗ วัน พวกท่านเข้าใจความข้อ
นั้นว่าอย่างไร เมื่อเป็นเช่นนี้ ใครเล่าจะอยู่เป็นสุขกว่ากัน พระเจ้าพิมพิสาร
จอมทัพแคว้นมคธหรือเราเอง’
พวกนิครนถ์ตอบว่า ‘เมื่อเป็นเช่นนี้ ท่านพระโคดมเท่านั้น อยู่เป็นสุขกว่า
พระเจ้าพิมพิสารจอมทัพแคว้นมคธ”
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสภาษิตนี้แล้ว เจ้าศากยะพระนามว่ามหานามะทรงมีใจ
ยินดีชื่นชมพระภาษิตของพระผู้มีพระภาค ดังนี้แล

จูฬทุกขักขันธสูตรที่ ๔ จบ


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๒. สีหนาทวรรค] ๕. อนุมานสูตร

๕. อนุมานสูตร
ว่าด้วยการเปรียบตนกับผู้อื่น
ธรรมที่ทำให้เป็นผู้ว่ายาก

[๑๘๑] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง ท่านพระมหาโมคคัลลานะ พำนักอยู่ ณ เภสกฬาวัน สถานที่
ให้อภัยแก่หมู่เนื้อ เขตกรุงสุงสุมารคิระ ในแคว้นภัคคะ ณ ที่นั้น ท่านพระมหา-
โมคคัลลานะ ได้เรียกภิกษุทั้งหลายมากล่าวว่า “ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย” ภิกษุ
เหล่านั้นรับคำแล้ว ท่านพระมหาโมคคัลลานะจึงได้กล่าวเรื่องนี้ว่า
“ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ถ้าภิกษุปวารณาว่า ‘ขอท่านจงว่ากล่าวข้าพเจ้า
ข้าพเจ้าเป็นผู้ที่ท่านควรว่ากล่าวได้’ แต่ภิกษุนั้นเป็นผู้ว่ายาก มีธรรมที่ทำให้เป็นผู้
ว่ายาก ไม่อดทน ไม่ยอมรับคำพร่ำสอนโดยเคารพ เมื่อเป็นเช่นนั้น เพื่อน
พรหมจารีทั้งหลายย่อมเข้าใจภิกษุนั้นว่าเป็นผู้ไม่ควรว่ากล่าว ไม่ควรพร่ำสอน
และไม่ควรไว้วางใจ
ธรรมที่ทำให้เป็นผู้ว่ายาก เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เป็นผู้มีความปรารถนาที่เป็นบาป ตกอยู่ในอำนาจแห่งความ
ปรารถนาที่เป็นบาป แม้ข้อที่ภิกษุเป็นผู้มีความปรารถนาที่เป็นบาป
ตกอยู่ในอำนาจแห่งความปรารถนาที่เป็นบาปนี้ ก็เป็นธรรมที่
ทำให้เป็นผู้ว่ายาก
๒. เป็นผู้ยกตน ข่มผู้อื่น แม้ข้อที่ภิกษุเป็นผู้ยกตน ข่มผู้อื่นนี้ ก็เป็น
ธรรมที่ทำให้เป็นผู้ว่ายาก
๓. เป็นผู้มักโกรธ ถูกความโกรธครอบงำแล้ว แม้ข้อที่ภิกษุเป็นผู้มัก
โกรธ ถูกความโกรธครอบงำแล้วนี้ ก็เป็นธรรมที่ทำให้เป็นผู้ว่ายาก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า :๑๘๖ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๒. สีหนาทวรรค] ๕. อนุมานสูตร

๔. เป็นผู้มักโกรธ ผูกโกรธเพราะความโกรธเป็นเหตุ แม้ข้อที่ภิกษุ
เป็นผู้มักโกรธ ผูกโกรธเพราะความโกรธเป็นเหตุนี้ ก็เป็นธรรมที่
ทำให้เป็นผู้ว่ายาก
๕. เป็นผู้มักโกรธ ระแวงจัดเพราะความโกรธเป็นเหตุ แม้ข้อที่ภิกษุ
เป็นผู้มักโกรธ ระแวงจัดเพราะความโกรธเป็นเหตุนี้ ก็เป็นธรรม
ที่ทำให้เป็นผู้ว่ายาก
๖. เป็นผู้มักโกรธ เปล่งวาจาใกล้ความโกรธ แม้ข้อที่ภิกษุเป็นผู้มัก
โกรธ เปล่งวาจาใกล้ความโกรธนี้ ก็เป็นธรรมที่ทำให้เป็นผู้ว่ายาก
๗. ถูกโจทแล้วกลับโต้เถียงโจทก์ แม้ข้อที่ภิกษุถูกโจทแล้วกลับโต้
เถียงโจทก์นี้ ก็เป็นธรรมที่ทำให้เป็นผู้ว่ายาก
๘. ถูกโจทแล้วกลับรุกรานโจทก์ แม้ข้อที่ภิกษุถูกโจทแล้วกลับรุกราน
โจทก์นี้ ก็เป็นธรรมที่ทำให้เป็นผู้ว่ายาก
๙. ถูกโจทแล้วกลับปรักปรำโจทก์ แม้ข้อที่ภิกษุถูกโจทแล้วกลับ
ปรักปรำโจทก์นี้ ก็เป็นธรรมที่ทำให้เป็นผู้ว่ายาก
๑๐. ถูกโจทแล้วกลับพูดกลบเกลื่อน พูดนอกเรื่อง แสดงความโกรธ
ความประสงค์ร้าย และความไม่เชื่อฟังให้ปรากฏ แม้ข้อที่ภิกษุ
ถูกโจทแล้วกลับพูดกลบเกลื่อน พูดนอกเรื่อง แสดงความโกรธ
ความประสงค์ร้าย และความไม่เชื่อฟังให้ปรากฏนี้ ก็เป็นธรรมที่
ทำให้เป็นผู้ว่ายาก
๑๑. ถูกโจทแล้วไม่ยอมอธิบายพฤติกรรม(ของตน) แม้ข้อที่ภิกษุถูก
โจทแล้วไม่ยอมอธิบายพฤติกรรม(ของตน)นี้ ก็เป็นธรรมที่ทำให้
เป็นผู้ว่ายาก
๑๒. เป็นผู้ลบหลู่คุณท่าน ตีเสมอ แม้ข้อที่ภิกษุเป็นผู้ลบหลู่คุณท่าน
ตีเสมอนี้ ก็เป็นธรรมที่ทำให้เป็นผู้ว่ายาก
๑๓. เป็นผู้ริษยา ตระหนี่ แม้ข้อที่ภิกษุเป็นผู้ริษยา ตระหนี่นี้ ก็เป็น
ธรรมที่ทำให้เป็นผู้ว่ายาก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า :๑๘๗ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๒. สีหนาทวรรค] ๕. อนุมานสูตร

๑๔. เป็นผู้โอ้อวด มีมารยา แม้ข้อที่ภิกษุเป็นผู้โอ้อวด มีมารยานี้ ก็
เป็นธรรมที่ทำให้เป็นผู้ว่ายาก
๑๕. เป็นผู้กระด้าง มักดูหมิ่นผู้อื่น แม้ข้อที่ภิกษุเป็นผู้กระด้าง มักดู
หมิ่นผู้อื่นนี้ ก็เป็นธรรมที่ทำให้เป็นผู้ว่ายาก
๑๖. เป็นผู้ถือความเห็นของตนเป็นใหญ่ ถือรั้น สลัดได้ยาก แม้ข้อที่
ภิกษุเป็นผู้ถือความเห็นของตนเป็นใหญ่ ถือรั้น สลัดได้ยากนี้
ก็เป็นธรรมที่ทำให้เป็นผู้ว่ายาก
ธรรมเหล่านี้เรียกว่า ธรรมที่ทำให้เป็นผู้ว่ายาก

ธรรมที่ทำให้เป็นผู้ว่าง่าย

[๑๘๒] ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ถ้าภิกษุไม่ปวารณาไว้ว่า ‘ขอท่านจงว่ากล่าว
ข้าพเจ้า ข้าพเจ้าเป็นผู้ที่ท่านควรว่ากล่าวได้’ แต่ภิกษุนั้นเป็นผู้ว่าง่าย มีธรรมที่ทำ
ให้เป็นผู้ว่าง่าย เป็นผู้อดทน ยอมรับคำพร่ำสอนโดยเคารพ เมื่อเป็นเช่นนี้ เพื่อน
พรหมจารีทั้งหลายย่อมเข้าใจภิกษุนั้นว่า เป็นผู้ควรว่ากล่าว ควรพร่ำสอน และ
ควรไว้วางใจ
ธรรมที่ทำให้เป็นผู้ว่าง่าย เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เป็นผู้ไม่มีความปรารถนาที่เป็นบาป ไม่ตกอยู่ในอำนาจแห่งความ
ปรารถนาที่เป็นบาป แม้ข้อที่ภิกษุเป็นผู้ไม่มีความปรารถนาที่
เป็นบาป ไม่ตกอยู่ในอำนาจแห่งความปรารถนาที่เป็นบาปนี้ ก็
เป็นธรรมที่ทำให้เป็นผู้ว่าง่าย
๒. เป็นผู้ไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น แม้ข้อที่ภิกษุเป็นผู้ไม่ยกตน ไม่ข่มผู้
อื่นนี้ ก็เป็นธรรมที่ทำให้เป็นผู้ว่าง่าย
๓. เป็นผู้ไม่มักโกรธ ไม่ถูกความโกรธครอบงำ แม้ข้อที่ภิกษุเป็นผู้
ไม่มักโกรธ ไม่ถูกความโกรธครอบงำนี้ ก็เป็นธรรมที่ทำให้เป็นผู้
ว่าง่าย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า :๑๘๘ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๒. สีหนาทวรรค] ๕. อนุมานสูตร

๔. เป็นผู้ไม่มักโกรธ ไม่ผูกโกรธเพราะความโกรธเป็นเหตุ แม้ข้อที่
ภิกษุเป็นผู้ไม่มักโกรธ ไม่ผูกโกรธเพราะความโกรธเป็นเหตุนี้
ก็เป็นธรรมที่ทำให้เป็นผู้ว่าง่าย
๕. เป็นผู้ไม่มักโกรธ ไม่ระแวงจัดเพราะความโกรธเป็นเหตุ แม้ข้อที่
ภิกษุเป็นผู้ไม่มักโกรธ ไม่ระแวงจัดเพราะความโกรธเป็นเหตุนี้
ก็เป็นธรรมที่ทำให้เป็นผู้ว่าง่าย
๖. เป็นผู้ไม่มักโกรธ ไม่เปล่งวาจาใกล้ความโกรธ แม้ข้อที่ภิกษุเป็น
ผู้ไม่มักโกรธ ไม่เปล่งวาจาใกล้ความโกรธนี้ ก็เป็นธรรมที่ทำให้
เป็นผู้ว่าง่าย
๗. ถูกโจทแล้วไม่โต้เถียงโจทก์ แม้ข้อที่ภิกษุถูกโจทแล้วไม่โต้เถียงโจทก์นี้
ก็เป็นธรรมที่ทำให้เป็นผู้ว่าง่าย
๘. ถูกโจทแล้วไม่รุกรานโจทก์ แม้ข้อที่ภิกษุถูกโจทแล้วไม่รุกรานโจทก์นี้
ก็เป็นธรรมที่ทำให้เป็นผู้ว่าง่าย
๙. ถูกโจทแล้วไม่ปรักปรำโจทก์ แม้ข้อที่ภิกษุถูกโจทแล้วไม่ปรักปรำ
โจทก์นี้ ก็เป็นธรรมที่ทำให้เป็นผู้ว่าง่าย
๑๐. ถูกโจทแล้วไม่พูดกลบเกลื่อน ไม่พูดนอกเรื่อง ไม่แสดงความโกรธ
ความประสงค์ร้าย และความไม่เชื่อฟังให้ปรากฏ แม้ข้อที่ภิกษุ
ถูกโจทแล้วไม่พูดกลบเกลื่อน ไม่พูดนอกเรื่อง ไม่แสดงความโกรธ
ความประสงค์ร้าย และความไม่เชื่อฟังให้ปรากฏนี้ ก็เป็นธรรมที่
ทำให้เป็นผู้ว่าง่าย
๑๑. ถูกโจทแล้วยอมอธิบายพฤติกรรม(ของตน) แม้ข้อที่ภิกษุถูกโจท
แล้วยอมอธิบายพฤติกรรม(ของตน)นี้ ก็เป็นธรรมที่ทำให้เป็นผู้ว่าง่าย
๑๒. เป็นผู้ไม่ลบหลู่คุณท่าน ไม่ตีเสมอ แม้ข้อที่ภิกษุเป็นผู้ไม่ลบหลู่
คุณท่าน ไม่ตีเสมอนี้ ก็เป็นธรรมที่ทำให้เป็นผู้ว่าง่าย
๑๓. เป็นผู้ไม่ริษยา ไม่ตระหนี่ แม้ข้อที่ภิกษุเป็นผู้ไม่ริษยา ไม่ตระหนี่นี้
ก็เป็นธรรมที่ทำให้เป็นผู้ว่าง่าย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า :๑๘๙ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๒. สีหนาทวรรค] ๕. อนุมานสูตร

๑๔. เป็นผู้ไม่โอ้อวด ไม่มีมารยา แม้ข้อที่ภิกษุเป็นผู้ไม่โอ้อวด ไม่มี
มารยานี้ ก็เป็นธรรมที่ทำให้เป็นผู้ว่าง่าย
๑๕. เป็นผู้ไม่กระด้าง ไม่ดูหมิ่นผู้อื่น แม้ข้อที่ภิกษุเป็นผู้ไม่กระด้าง
ไม่ดูหมิ่นผู้อื่นนี้ ก็เป็นธรรมที่ทำให้เป็นผู้ว่าง่าย
๑๖. เป็นผู้ไม่ถือความเห็นของตนเป็นใหญ่ ไม่ถือรั้น สลัดได้ง่าย
แม้ข้อที่ภิกษุเป็นผู้ไม่ถือความเห็นของตนเป็นใหญ่ ไม่ถือรั้น
สลัดได้ง่ายนี้ ก็เป็นธรรมที่ทำให้เป็นผู้ว่าง่าย
ธรรมเหล่านี้เรียกว่า ธรรมที่ทำให้เป็นผู้ว่าง่าย

การอนุมานตนเอง

[๑๘๓] ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ในธรรม ๑๖ ประการนั้น ภิกษุควรอนุมาน
ตนเอง๑ อย่างนี้ว่า ‘บุคคลผู้มีความปรารถนาที่เป็นบาป ตกอยู่ในอำนาจแห่งความ
ปรารถนาที่เป็นบาป ย่อมไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่พอใจของเรา ถ้าเราจะพึงมีความ
ปรารถนาที่เป็นบาป ตกอยู่ในอำนาจแห่งความปรารถนาที่เป็นบาป เราก็คงไม่เป็นที่รัก
ไม่เป็นที่พอใจของคนเหล่าอื่น’ ภิกษุเมื่อรู้อย่างนี้ควรคิดว่า ‘เราจักไม่เป็นผู้มีความ
ปรารถนาที่เป็นบาป ไม่ตกอยู่ในอำนาจแห่งความปรารถนาที่เป็นบาป’
ภิกษุควรอนุมานตนเองอย่างนี้ว่า ‘บุคคลผู้ยกตนข่มผู้อื่นย่อมไม่เป็นที่รัก
ไม่เป็นที่พอใจของเรา ถ้าเราจะพึงเป็นผู้ยกตนข่มผู้อื่น เราก็คงไม่เป็นที่รัก ไม่เป็น
ที่พอใจของคนเหล่าอื่น’ ภิกษุเมื่อรู้อย่างนี้ควรคิดว่า ‘เราจักไม่ยกตน จักไม่ข่มผู้อื่น’
ภิกษุควรอนุมานตนเองอย่างนี้ว่า ‘บุคคลผู้มักโกรธ ถูกความโกรธครอบงำ
ย่อมไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่พอใจของเรา ถ้าเราจะพึงเป็นผู้มักโกรธ ถูกความโกรธ
ครอบงำ เราก็คงไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่พอใจของคนเหล่าอื่น’ ภิกษุเมื่อรู้อย่างนี้
ควรคิดว่า ‘เราจักไม่เป็นผู้มักโกรธ ไม่ถูกความโกรธครอบงำ’

เชิงอรรถ :
๑ ควรอนุมานตนเอง หมายถึงภิกษุควรอนุมาน เปรียบเทียบ พิจารณาตนด้วยตนเองเท่านั้น (ม.มู.อ.
๑/๑๘๓/๓๙๐)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า :๑๙๐ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๒. สีหนาทวรรค] ๕. อนุมานสูตร

ภิกษุควรอนุมานตนเองอย่างนี้ว่า ‘บุคคลผู้มักโกรธ ผูกโกรธ เพราะความ
โกรธเป็นเหตุ ย่อมไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่พอใจของเรา ถ้าเราจะพึงเป็นผู้มักโกรธ
ผูกโกรธเพราะความโกรธเป็นเหตุ เราก็คงไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่พอใจของคนเหล่าอื่น’
ภิกษุเมื่อรู้อย่างนี้ควรคิดว่า ‘เราจักไม่เป็นผู้มักโกรธ ไม่ผูกโกรธ เพราะความโกรธ
เป็นเหตุ’
ภิกษุควรอนุมานตนเองอย่างนี้ว่า ‘บุคคลผู้มักโกรธ ระแวงจัดเพราะความ
โกรธเป็นเหตุ ย่อมไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่พอใจของเรา ถ้าเราจะพึงเป็นผู้มักโกรธ
ระแวงจัดเพราะความโกรธเป็นเหตุ เราก็คงไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่พอใจของคนเหล่าอื่น’
ภิกษุเมื่อรู้อย่างนี้ควรคิดว่า ‘เราจักไม่เป็นผู้มักโกรธ ไม่ระแวงจัดเพราะความโกรธ
เป็นเหตุ’
ภิกษุควรอนุมานตนเองอย่างนี้ว่า ‘บุคคลผู้มักโกรธ เปล่งวาจาใกล้ความโกรธ
ย่อมไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่พอใจของเรา ถ้าเราจะพึงเป็นผู้มักโกรธ เปล่งวาจาใกล้
ความโกรธ เราก็คงไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่พอใจของคนเหล่าอื่น’ ภิกษุเมื่อรู้อย่างนี้
ควรคิดว่า ‘เราจักไม่เป็นผู้มักโกรธ ไม่เปล่งวาจาใกล้ความโกรธ’
ภิกษุควรอนุมานตนเองอย่างนี้ว่า ‘บุคคลผู้ถูกโจทแล้วกลับโต้เถียงโจทก์
ย่อมไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่พอใจของเรา ถ้าเราจะพึงถูกโจทแล้วกลับโต้เถียงโจทก์
เราก็คงไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่พอใจของคนเหล่าอื่น’ ภิกษุเมื่อรู้อย่างนี้ควรคิดว่า
‘เราถูกโจทแล้วจักไม่โต้เถียงโจทก์’
ภิกษุควรอนุมานตนเองอย่างนี้ว่า ‘บุคคลผู้ถูกโจทแล้วกลับรุกรานโจทก์
ย่อมไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่พอใจของเรา ถ้าเราถูกโจทแล้วกลับรุกรานโจทก์ เราก็
คงไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่พอใจของคนเหล่าอื่น’ ภิกษุเมื่อรู้อย่างนี้ควรคิดว่า ‘เราถูก
โจทแล้วจักไม่รุกรานโจทก์’
ภิกษุควรอนุมานตนเองอย่างนี้ว่า ‘บุคคลผู้ถูกโจทแล้วกลับปรักปรำโจทก์
ย่อมไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่พอใจของเรา ถ้าเราจะพึงถูกโจทแล้วกลับปรักปรำโจทก์
เราก็คงไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่พอใจของคนเหล่าอื่น’ ภิกษุเมื่อรู้อย่างนี้ควรคิดว่า
‘เราถูกโจทแล้วจักไม่ปรักปรำโจทก์’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า :๑๙๑ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๒. สีหนาทวรรค] ๕. อนุมานสูตร

ภิกษุควรอนุมานตนเองอย่างนี้ว่า ‘บุคคลผู้ถูกโจทแล้วกลับพูดกลบเกลื่อน
พูดนอกเรื่อง แสดงความโกรธ ความประสงค์ร้าย และความไม่เชื่อฟังให้ปรากฏ
ย่อมไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่พอใจของเรา ถ้าเราถูกโจทแล้วกลับพูดกลบเกลื่อน
พูดนอกเรื่อง แสดงความโกรธ ความประสงค์ร้าย และความไม่เชื่อฟังให้ปรากฏ
เราก็คงไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่พอใจของคนเหล่าอื่น’ ภิกษุเมื่อรู้อย่างนี้ควรคิดว่า
‘เราถูกโจทแล้วจักไม่พูดกลบเกลื่อน ไม่พูดนอกเรื่อง ไม่แสดงความโกรธ
ความประสงค์ร้าย และความไม่เชื่อฟังให้ปรากฏ’
ภิกษุควรอนุมานตนเองอย่างนี้ว่า ‘บุคคลผู้ถูกโจทแล้วไม่ยอมอธิบายพฤติกรรม
(ของตน) ย่อมไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่พอใจของเรา ถ้าเราจะพึงถูกโจทแล้วไม่ยอม
อธิบายพฤติกรรม(ของตน) เราก็คงไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่พอใจของคนเหล่าอื่น’ ภิกษุ
เมื่อรู้อย่างนี้ควรคิดว่า ‘เราถูกโจทแล้วจักยอมอธิบายพฤติกรรม(ของตน)’
ภิกษุควรอนุมานตนเองอย่างนี้ว่า ‘บุคคลผู้ลบหลู่คุณท่าน ตีเสมอ ย่อมไ่ม่
เป็นที่รัก ไม่เป็นที่พอใจของเรา ถ้าเราจะพึงเป็นผู้ลบหลู่คุณท่าน ตีเสมอ เราก็
คงไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่พอใจของคนเหล่าอื่น’ ภิกษุเมื่อรู้อย่างนี้ควรคิดว่า ‘เราจัก
ไม่เป็นผู้ลบหลู่คุณท่าน ไม่ตีเสมอ’
ภิกษุควรอนุมานตนเองอย่างนี้ว่า ‘บุคคลผู้ริษยา ตระหนี่ ย่อมไม่เป็นที่รัก
ไม่เป็นที่พอใจของเรา ถ้าเราจะพึงเป็นผู้ริษยา ตระหนี่ เราก็คงไม่เป็นที่รัก
ไม่เป็นที่พอใจของคนเหล่าอื่น’ ภิกษุเมื่อรู้อย่างนี้ควรคิดว่า ‘เราจักไม่ริษยา
ไม่ตระหนี่’
ภิกษุควรอนุมานตนเองอย่างนี้ว่า ‘บุคคลผู้โอ้อวด มีมารยา ย่อมไม่เป็นที่รัก
ไม่เป็นที่พอใจของเรา ถ้าเราจะพึงเป็นผู้โอ้อวด มีมารยา เราก็คงไม่เป็นที่รัก
ไม่เป็นที่พอใจของคนเหล่าอื่น’ ภิกษุเมื่อรู้อย่างนี้ควรคิดว่า ‘เราจักเป็นผู้ไม่โอ้อวด
ไม่มีมารยา’
ภิกษุควรอนุมานตนเองอย่างนี้ว่า ‘บุคคลผู้กระด้าง ดูหมิ่นผู้อื่น ย่อมไม่เป็น
ที่รัก ไม่เป็นที่พอใจของเรา ถ้าเราจะพึงเป็นผู้กระด้าง ดูหมิ่นผู้อื่น เราก็คงไม่เป็นที่รัก
ไม่เป็นที่พอใจของคนเหล่าอื่น’ ภิกษุเมื่อรู้อย่างนี้ควรคิดว่า ‘เราจักเป็นผู้ไม่กระด้าง
ไม่ดูหมิ่นผู้อื่น’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า :๑๙๒ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๒. สีหนาทวรรค] ๕. อนุมานสูตร

ภิกษุควรอนุมานตนเองอย่างนี้ว่า ‘บุคคลผู้ถือความเห็นของตนเป็นใหญ่
ถือรั้น สลัดได้ยาก ย่อมไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่พอใจของเรา ถ้าเราจะพึงถือความ
เห็นของตนเป็นใหญ่ ถือรั้น สลัดได้ยาก เราก็คงไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่พอใจของ
คนเหล่าอื่น’ ภิกษุเมื่อรู้อย่างนี้ควรคิดว่า ‘เราจักไม่ถือความเห็นของตนเป็นใหญ่
ไม่ถือรั้น จักเป็นผู้สลัดได้ง่าย’

การพิจารณาตนเอง

[๑๘๔] ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ในธรรม ๑๖ ประการนั้น ภิกษุควรพิจารณา
ตนเองอย่างนี้ว่า ‘เราเป็นผู้มีความปรารถนาที่เป็นบาป ตกอยู่ในอำนาจแห่งความ
ปรารถนาที่เป็นบาปจริงหรือ’ ถ้าพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า ‘เราเป็นผู้มีความ
ปรารถนาที่เป็นบาป ตกอยู่ในอำนาจแห่งความปรารถนาที่เป็นบาปจริง’ ภิกษุนั้น
ควรพยายามเพื่อละบาปอกุศลธรรมเหล่านั้นเสีย แต่ถ้าพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า
‘เรามิใช่ผู้มีความปรารถนาที่เป็นบาป มิใช่ผู้ตกอยู่ในอำนาจแห่งความปรารถนาที่เป็น
บาป’ ภิกษุนั้นผู้ศึกษาอย่างต่อเนื่องในกุศลธรรมทั้งหลายทั้งกลางวันกลางคืน พึงอยู่
ด้วยปีติและปราโมทย์โดยแท้
อีกประการหนึ่ง ภิกษุควรพิจารณาตนเองอย่างนี้ว่า ‘เราเป็นผู้ยกตนข่มผู้อื่น
จริงหรือ’ ถ้าพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า ‘เราเป็นผู้ยกตนข่มผู้อื่นจริง’ ภิกษุนั้นควร
พยายามเพื่อละบาปอกุศลธรรมเหล่านั้นเสีย แต่ถ้าพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า ‘เรา
เป็นผู้ไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่นเลย’ ภิกษุนั้นผู้ศึกษาอย่างต่อเนื่องในกุศลธรรมทั้งหลาย
ทั้งกลางวันกลางคืน พึงอยู่ด้วยปีติและปราโมทย์โดยแท้
อีกประการหนึ่ง ภิกษุควรพิจารณาตนเองอย่างนี้ว่า ‘เราเป็นผู้มักโกรธ ถูกความ
โกรธครอบงำจริงหรือ’ ถ้าพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า ‘เราเป็นผู้มักโกรธ ถูกความโกรธ
ครอบงำจริง’ ภิกษุนั้นควรพยายามเพื่อละบาปอกุศลธรรมเหล่านั้นเสีย แต่ถ้า
พิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า ‘เราเป็นผู้ไม่มักโกรธ ไม่ถูกความโกรธครอบงำ’ ภิกษุนั้น
ผู้ศึกษาอย่างต่อเนื่องในกุศลธรรมทั้งหลายทั้งกลางวันกลางคืน พึงอยู่ด้วยปีติและ
ปราโมทย์โดยแท้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า :๑๙๓ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๒. สีหนาทวรรค] ๕. อนุมานสูตร

อีกประการหนึ่ง ภิกษุควรพิจารณาตนเองอย่างนี้ว่า ‘เราเป็นผู้มักโกรธ
ผูกโกรธเพราะความโกรธเป็นเหตุจริงหรือ’ ถ้าพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า ‘เราเป็น
ผู้มักโกรธ ผูกโกรธเพราะความโกรธเป็นเหตุจริง’ ภิกษุนั้นควรพยายามเพื่อละ
บาปอกุศลธรรมเหล่านั้นเสีย แต่ถ้าพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า ‘เราเป็นผู้ไม่มักโกรธ
ไม่ผูกโกรธเพราะความโกรธเป็นเหตุ’ ภิกษุนั้นผู้ศึกษาอย่างต่อเนื่องในกุศลธรรม
ทั้งหลายทั้งกลางวันกลางคืน พึงอยู่ด้วยปีติและปราโมทย์โดยแท้
อีกประการหนึ่ง ภิกษุควรพิจารณาตนเองอย่างนี้ว่า ‘เราเป็นผู้มักโกรธ
ระแวงจัดเพราะความโกรธเป็นเหตุจริงหรือ’ ถ้าพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า ‘เราเป็นผู้
มักโกรธ ระแวงจัดเพราะความโกรธเป็นเหตุจริง’ ภิกษุนั้นควรพยายามเพื่อละ
บาปอกุศลธรรมเหล่านั้นเสีย แต่ถ้าพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า ‘เราเป็นผู้ไม่มักโกรธ
ไม่ระแวงจัดเพราะความโกรธเป็นเหตุ’ ภิกษุนั้นผู้ศึกษาอย่างต่อเนื่องในกุศลธรรม
ทั้งหลายทั้งกลางวันกลางคืน พึงอยู่ด้วยปีติและปราโมทย์โดยแท้
อีกประการหนึ่ง ภิกษุควรพิจารณาตนเองอย่างนี้ว่า ‘เราเป็นผู้มักโกรธ
เปล่งวาจาใกล้ความโกรธจริงหรือ’ ถ้าพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า ‘เราเป็นผู้มักโกรธ
เปล่งวาจาใกล้ความโกรธจริง’ ภิกษุนั้นควรพยายามเพื่อละบาปอกุศลธรรมเหล่านี้
เสีย แต่ถ้าพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า ‘เราเป็นผู้ไม่มักโกรธ ไม่เปล่งวาจาใกล้ความโกรธ’
ภิกษุนั้นผู้ศึกษาอย่างต่อเนื่องในกุศลธรรมทั้งหลายทั้งกลางวันกลางคืน พึงอยู่ด้วย
ปีติและปราโมทย์โดยแท้
อีกประการหนึ่ง ภิกษุควรพิจารณาตนเองอย่างนี้ว่า ‘เราถูกโจทแล้ว
กลับโต้เถียงโจทก์จริงหรือ’ ถ้าพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า ‘เราถูกโจทแล้วกลับโต้เถียง
โจทก์จริง’ ภิกษุนั้นควรพยายามเพื่อละบาปอกุศลธรรมเหล่านั้นเสีย แต่ถ้า
พิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า ‘เราถูกโจทแล้วไม่โต้เถียงโจทก์’ ภิกษุนั้นผู้ศึกษาอย่างต่อ
เนื่องในกุศลธรรมทั้งหลายทั้งกลางวันกลางคืน พึงอยู่ด้วยปีติและปราโมทย์โดยแท้
อีกประการหนึ่ง ภิกษุควรพิจารณาตนเองอย่างนี้ว่า ‘เราถูกโจทแล้วกลับ
รุกรานโจทก์จริงหรือ’ ถ้าพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า ‘เราถูกโจทแล้วกลับรุกราน
โจทก์จริง’ ภิกษุนั้นควรพยายามเพื่อละบาปอกุศลธรรมเหล่านั้นเสีย แต่ถ้า
พิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า ‘เราถูกโจทแล้วไม่รุกรานโจทก์’ ภิกษุนั้นผู้ศึกษาอย่างต่อ
เนื่องในกุศลธรรมทั้งหลายทั้งกลางวันกลางคืน พึงอยู่ด้วยปีติและปราโมทย์โดยแท้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า :๑๙๔ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๒. สีหนาทวรรค] ๕. อนุมานสูตร

อีกประการหนึ่ง ภิกษุควรพิจารณาตนเองอย่างนี้ว่า ‘เราถูกโจทแล้วกลับ
ปรักปรำโจทก์จริงหรือ’ ถ้าพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า ‘เราถูกโจทแล้วกลับปรักปรำ
โจทก์จริง’ ภิกษุนั้นควรพยายามเพื่อละบาปอกุศลธรรมเหล่านั้นเสีย แต่ถ้า
พิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า ‘เราถูกโจทแล้วไม่ปรักปรำโจทก์’ ภิกษุนั้นผู้ศึกษาอย่าง
ต่อเนื่องในกุศลธรรมทั้งหลายทั้งกลางวันกลางคืน พึงอยู่ด้วยปีติและปราโมทย์
โดยแท้
อีกประการหนึ่ง ภิกษุควรพิจารณาตนเองอย่างนี้ว่า ‘เราถูกโจทแล้วกลับพูด
กลบเกลื่อน พูดนอกเรื่อง แสดงความโกรธ ความประสงค์ร้าย และความไม่เชื่อฟัง
ให้ปรากฏจริงหรือ’ ถ้าพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า ‘เราถูกโจทแล้วกลับพูดกลบเกลื่อน
พูดนอกเรื่อง แสดงความโกรธ ความประสงค์ร้าย และความไม่เชื่อฟังให้ปรากฏจริง’
ภิกษุนั้นควรพยายามเพื่อละบาปอกุศลธรรมเหล่านั้นเสีย แต่ถ้าพิจารณาอยู่รู้อย่าง
นี้ว่า ‘เราถูกโจทแล้วไม่พูดกลบเกลื่อน ไม่พูดนอกเรื่อง ไม่แสดงความโกรธ
ความประสงค์ร้าย และความไม่เชื่อฟังให้ปรากฏ’ ภิกษุนั้นผู้ศึกษาอย่างต่อเนื่องใน
กุศลธรรมทั้งหลายทั้งกลางวันกลางคืน พึงอยู่ด้วยปีติและปราโมทย์โดยแท้
อีกประการหนึ่ง ภิกษุควรพิจารณาตนเองอย่างนี้ว่า ‘เราถูกโจทแล้ว ไม่ยอม
อธิบายพฤติกรรม(ของตน)จริงหรือ’ ถ้าพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า ‘เราถูกโจทแล้ว
ไม่ยอมอธิบายพฤติกรรม(ของตน)จริง’ ภิกษุนั้นควรพยายามเพื่อละบาปอกุศลธรรม
เหล่านั้นเสีย แต่ถ้าพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า ‘เราถูกโจทแล้วยอมอธิบายพฤติกรรม
(ของตน)’ ภิกษุนั้นผู้ศึกษาอย่างต่อเนื่องในกุศลธรรมทั้งหลายทั้งกลางวันกลางคืน
พึงอยู่ด้วยปีติและปราโมทย์โดยแท้
อีกประการหนึ่ง ภิกษุควรพิจารณาตนเองอย่างนี้ว่า ‘เราเป็นผู้ลบหลู่คุณท่าน
ตีเสมอจริงหรือ’ ถ้าพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า ‘เราเป็นผู้ลบหลู่คุณท่าน ตีเสมอจริง’
ภิกษุนั้นควรพยายามเพื่อละบาปอกุศลธรรมเหล่านั้นเสีย แต่ถ้าพิจารณาอยู่รู้อย่าง
นี้ว่า ‘เราเป็นผู้ไม่ลบหลู่คุณท่าน ไม่ตีเสมอ’ ภิกษุนั้นผู้ศึกษาอย่างต่อเนื่องใน
กุศลธรรมทั้งหลายทั้งกลางวันกลางคืน พึงอยู่ด้วยปีติและปราโมทย์โดยแท้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า :๑๙๕ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๒. สีหนาทวรรค] ๕. อนุมานสูตร

อีกประการหนึ่ง ภิกษุควรพิจารณาตนเองอย่างนี้ว่า ‘เราเป็นผู้ริษยา ตระหนี่
จริงหรือ’ ถ้าพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า ‘เราเป็นผู้ริษยา ตระหนี่จริง’ ภิกษุนั้นควร
พยายามเพื่อละบาปอกุศลธรรมเหล่านั้นเสีย แต่ถ้าพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า ‘เราเป็น
ผู้ไม่ริษยา ไม่ตระหนี่’ ภิกษุนั้นผู้ศึกษาอย่างต่อเนื่องในกุศลธรรมทั้งหลายทั้งกลางวัน
กลางคืน พึงอยู่ด้วยปีติและปราโมทย์โดยแท้
อีกประการหนึ่ง ภิกษุควรพิจารณาตนเองอย่างนี้ว่า ‘เราเป็นผู้โอ้อวด มีมารยา
จริงหรือ’ ถ้าพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า ‘เราเป็นผู้โอ้อวด มีมารยาจริง’ ภิกษุนั้นควร
พยายามเพื่อละบาปอกุศลธรรมเหล่านั้นเสีย แต่ถ้าพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า ‘เรา
เป็นผู้ไม่โอ้อวด ไม่มีมารยา’ ภิกษุนั้นผู้ศึกษาอย่างต่อเนื่องในกุศลธรรมทั้งหลาย
ทั้งกลางวันกลางคืน พึงอยู่ด้วยปีติและปราโมทย์โดยแท้
อีกประการหนึ่ง ภิกษุควรพิจารณาตนเองอย่างนี้ว่า ‘เราเป็นผู้กระด้าง ดูหมิ่น
ผู้อื่นจริงหรือ’ ถ้าพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า ‘เราเป็นผู้กระด้าง ดูหมิ่นผู้อื่นจริง’
ภิกษุนั้นควรพยายามเพื่อละบาปอกุศลธรรมเหล่านั้นเสีย แต่ถ้าพิจารณาอยู่รู้อย่าง
นี้ว่า ‘เราเป็นผู้ไม่กระด้าง ไม่ดูหมิ่นผู้อื่น’ ภิกษุนั้นผู้ศึกษาอย่างต่อเนื่องในกุศลธรรม
ทั้งหลายทั้งกลางวันกลางคืน พึงอยู่ด้วยปีติและปราโมทย์โดยแท้
อีกประการหนึ่ง ภิกษุควรพิจารณาตนเองอย่างนี้ว่า ‘เราเป็นผู้ถือความเห็น
ของตนเป็นใหญ่ ถือรั้น สลัดได้ยากจริงหรือ’ ถ้าพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า ‘เราเป็น
ผู้ถือความเห็นของตนเป็นใหญ่ ถือรั้น สลัดได้ยากจริง’ ภิกษุนั้นควรพยายามเพื่อ
ละบาปอกุศลธรรมเหล่านั้นเสีย แต่ถ้าพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า ‘เราเป็นผู้ไม่ถือ
ความเห็นของตนเป็นใหญ่ ไม่ถือรั้น สลัดได้ง่าย’ ภิกษุนั้นผู้ศึกษาอย่างต่อเนื่องใน
กุศลธรรมทั้งหลายทั้งกลางวันกลางคืน พึงอยู่ด้วยปีติและปราโมทย์โดยแท้
ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่ ย่อมเห็นชัดบาปอกุศลธรรมเหล่านี้แม้ทั้งหมดซึ่งยังละ
ไม่ได้ในตน ภิกษุนั้นควรพยายามเพื่อละบาปอกุศลธรรมเหล่านี้ทั้งหมดนั่นแล แต่ถ้า
พิจารณาอยู่ ย่อมเห็นชัดบาปอกุศลธรรมเหล่านี้ทั้งหมดซึ่งละได้แล้วในตน ภิกษุ
นั้นผู้ศึกษาอย่างต่อเนื่องในกุศลธรรมทั้งหลายทั้งกลางวันกลางคืน พึงอยู่ด้วยปีติ
และปราโมทย์โดยแท้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า :๑๙๖ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๒. สีหนาทวรรค] ๖. เจโตขีลสูตร

ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย สตรีหรือบุรุษแรกรุ่นชอบแต่งตัว ส่องดูใบหน้าของตน
ในกระจกเงา หรือในภาชนะน้ำใสสะอาดบริสุทธิ์ ถ้าพบไฝหรือฝ้าที่ใบหน้านั้นย่อม
พยายามที่จะกำจัดไฝหรือฝ้านั้นนั่นแล หากไม่พบก็จะพอใจว่า ‘เป็นโชคของเรา
จริง ๆ ใบหน้าของเราหมดจด’ แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน ถ้าพิจารณาอยู่
ย่อมเห็นชัดบาปอกุศลธรรมเหล่านี้แม้ทั้งหมดที่ยังละไม่ได้ ภิกษุนั้นควรพยายาม
เพื่อละบาปอกุศลธรรมเหล่านี้แม้ทั้งหมดนั่นแล ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่ ย่อมเห็นชัด
บาปอกุศลธรรมเหล่านี้แม้ทั้งหมดที่ละได้แล้วในตน ภิกษุนั้นผู้ศึกษาอย่างต่อเนื่อง
ในกุศลธรรมทั้งหลายทั้งกลางวันกลางคืน พึงอยู่ด้วยปีติและปราโมทย์โดยแท้”
ท่านพระมหาโมคคัลลานะได้กล่าวภาษิตนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นมีใจยินดีต่างชื่นชม
ภาษิตของท่านพระมหาโมคคัลลานะ ดังนี้แล

อนุมานสูตรที่ ๕ จบ

๖. เจโตขีลสูตร๑
ว่าด้วยกิเลสเครื่องตรึงจิตดุจตะปู

[๑๘๕] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถ-
บิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคได้รับสั่งเรียกภิกษุ
ทั้งหลายมาตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย” ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว
พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า
“ภิกษุทั้งหลาย เป็นไปไม่ได้เลยที่กิเลสเครื่องตรึงจิตดุจตะปู ๕ ประการ
ที่ภิกษุรูปใดรูปหนึ่งยังละไม่ได้ กิเลสเครื่องผูกใจ ๕ ประการ ที่ภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง
ยังตัดไม่ขาด เธอจักถึงความเจริญ งอกงาม ไพบูลย์ในธรรมวินัยนี้

เชิงอรรถ :
๑ ดู องฺ.ปญฺจก. (แปล) ๒๒/๒๐๕-๒๐๖/๓๔๗-๓๕๐, องฺ.นวก. (แปล) ๒๓/๗๑-๗๒/๕๕๕-๕๕๘, องฺ.ทสก.
(แปล) ๒๔/๑๔/๒๒-๒๗

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า :๑๙๗ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๒. สีหนาทวรรค] ๖. เจโตขีลสูตร

กิเลสเครื่องตรึงจิตดุจตะปู ๕ ประการ ที่ภิกษุนั้นยังละไม่ได้ อะไรบ้าง
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เคลือบแคลง สงสัย ไม่น้อมใจเชื่อ ไม่เลื่อมใสในศาสดา๑ จิตของ
ภิกษุผู้เคลือบแคลง สงสัย ไม่น้อมใจเชื่อ ไม่เลื่อมใสในศาสดานั้น
ย่อมไม่น้อมไปเพื่อความเพียร เพื่อประกอบเนือง ๆ เพื่อกระทำ
ต่อเนื่อง เพื่อบำเพ็ญเพียร นี้เป็นกิเลสเครื่องตรึงจิตดุจตะปู
ประการที่ ๑ ที่ภิกษุผู้มีจิตไม่น้อมไปเพื่อความเพียร เพื่อ
ประกอบเนือง ๆ เพื่อกระทำต่อเนื่อง เพื่อบำเพ็ญเพียร ยังละไม่ได้
๒. เคลือบแคลง สงสัย ไม่น้อมใจเชื่อ ไม่เลื่อมใสในธรรม ฯลฯ
นี้เป็นกิเลสเครื่องตรึงจิตดุจตะปูประการที่ ๒ ที่ภิกษุผู้มีจิตไม่
น้อมไปเพื่อความเพียร เพื่อประกอบเนือง ๆ เพื่อกระทำต่อเนื่อง
เพื่อบำเพ็ญเพียร ยังละไม่ได้
๓. เคลือบแคลง สงสัย ไม่น้อมใจเชื่อ ไม่เลื่อมใสในสงฆ์ ฯลฯ นี้
เป็นกิเลสเครื่องตรึงจิตดุจตะปูประการที่ ๓ ที่ภิกษุผู้มีจิตไม่น้อม
ไปเพื่อความเพียร เพื่อประกอบเนือง ๆ เพื่อกระทำต่อเนื่อง
เพื่อบำเพ็ญเพียร ยังละไม่ได้
๔. เคลือบแคลง สงสัย ไม่น้อมใจเชื่อ ไม่เลื่อมใสในสิกขา(ข้อที่จะ
ต้องศึกษา) ฯลฯ นี้เป็นกิเลสเครื่องตรึงจิตดุจตะปูประการที่ ๔
ที่ภิกษุผู้มีจิตไม่น้อมไปเพื่อความเพียร เพื่อประกอบเนือง ๆ เพื่อ
กระทำต่อเนื่อง เพื่อบำเพ็ญเพียร ยังละไม่ได้
๕. เป็นผู้โกรธ ไม่พอใจ มีจิตถูกโทสะ(ความคิดประทุษร้าย)กระทบ
มีจิตแข็งกระด้างในเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย จิตของภิกษุผู้โกรธ
ไม่พอใจ มีจิตถูกโทสะกระทบ มีจิตแข็งกระด้างในเพื่อนพรหมจารี

เชิงอรรถ :
๑ ไม่เลื่อมใสในศาสดา ในที่นี้หมายถึงไม่เชื่อว่าพระสรีระของพระพุทธเจ้าประดับด้วยมหาปุริสลักษณะ ๓๒
ประการ ไม่เชื่อพระสัพพัญญุตญาณของพระพุทธเจ้าที่สามารถรู้อดีต อนาคต และปัจจุบัน (องฺ.ปญฺจก.อ.
๓/๒๐๕/๘๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า :๑๙๘ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๒. สีหนาทวรรค] ๖. เจโตขีลสูตร

ทั้งหลายนั้น ย่อมไม่น้อมไปเพื่อความเพียร เพื่อประกอบเนือง ๆ
เพื่อกระทำต่อเนื่อง เพื่อบำเพ็ญเพียร นี้เป็นกิเลสเครื่องตรึงจิต
ดุจตะปูประการที่ ๕ ที่ภิกษุผู้มีจิตไม่น้อมไปเพื่อความเพียร
เพื่อประกอบเนือง ๆ เพื่อกระทำต่อเนื่อง เพื่อบำเพ็ญเพียร ยังละ
ไม่ได้
เหล่านี้ เป็นกิเลสเครื่องตรึงจิตดุจตะปู ๕ ประการ ที่ภิกษุนั้นยังละไม่ได้
[๑๘๖] กิเลสเครื่องผูกใจ ๕ ประการ ที่ภิกษุนั้นยังตัดไม่ขาด อะไรบ้าง
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เป็นผู้ยังไม่ปราศจากความกำหนัด ไม่ปราศจากความพอใจ ไม่
ปราศจากความรัก ไม่ปราศจากความกระหาย ไม่ปราศจาก
ความเร่าร้อน ไม่ปราศจากความทะยานอยากในกาม จิตของ
ภิกษุผู้ยังไม่ปราศจากความกำหนัด ไม่ปราศจากความพอใจ ไม่
ปราศจากความรัก ไม่ปราศจากความกระหาย ไม่ปราศจาก
ความเร่าร้อน ไม่ปราศจากความทะยานอยากในกามนั้น ย่อม
ไม่น้อมไปเพื่อความเพียร เพื่อประกอบเนือง ๆ เพื่อกระทำต่อ
เนื่อง เพื่อบำเพ็ญเพียร นี้เป็นกิเลสเครื่องผูกใจประการที่ ๑ ที่
ภิกษุผู้มีจิตไม่น้อมไปเพื่อความเพียร เพื่อประกอบเนือง ๆ เพื่อ
กระทำต่อเนื่อง เพื่อบำเพ็ญเพียร ยังตัดไม่ขาด
๒. เป็นผู้ยังไม่ปราศจากความกำหนัดในกาย ฯลฯ นี้เป็นกิเลส
เครื่องผูกใจประการที่ ๒ ที่ภิกษุผู้มีจิตไม่น้อมไปเพื่อความเพียร
เพื่อประกอบเนือง ๆ เพื่อกระทำต่อเนื่อง เพื่อบำเพ็ญเพียร ยังตัด
ไม่ขาด
๓. เป็นผู้ยังไม่ปราศจากความกำหนัดในรูป ฯลฯ นี้เป็นกิเลสเครื่อง
ผูกใจประการที่ ๓ ที่ภิกษุผู้มีจิตไม่น้อมไปเพื่อความเพียร เพื่อ
ประกอบเนือง ๆ เพื่อกระทำต่อเนื่อง เพื่อบำเพ็ญเพียร ยังตัด
ไม่ขาด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า :๑๙๙ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๒. สีหนาทวรรค] ๖. เจโตขีลสูตร

๔. ฉันอาหารตามความต้องการจนอิ่มเกินไป ประกอบความสุขใน
การนอน ความสุขในการนอนเอกเขนก ความสุขในการหลับอยู่
ฯลฯ นี้เป็นกิเลสเครื่องผูกใจประการที่ ๔ ที่ภิกษุผู้มีจิตไม่น้อม
ไปเพื่อความเพียร เพื่อประกอบเนือง ๆ เพื่อกระทำต่อเนื่อง
เพื่อบำเพ็ญเพียร ยังตัดไม่ขาด
๕. ประพฤติพรหมจรรย์ด้วยความปรารถนาเป็นเทพนิกายหมู่ใดหมู่หนึ่ง
ว่า ‘ด้วยศีล วัตร ตบะ หรือพรหมจรรย์นี้ เราจักเป็นเทพหรือ
เทพตนใดตนหนึ่ง’ จิตของภิกษุผู้ประพฤติพรหมจรรย์ด้วยความ
ปรารถนาเป็นเทพนิกายหมู่ใดหมู่หนึ่งว่า ‘ด้วยศีล วัตร ตบะ หรือ
พรหมจรรย์นี้ เราจักเป็นเทพหรือเทพตนใดตนหนึ่ง’ ย่อมไม่น้อม
ไปเพื่อความเพียร เพื่อประกอบเนือง ๆ เพื่อกระทำต่อเนื่อง เพื่อ
บำเพ็ญเพียร นี้เป็นกิเลสเครื่องผูกใจประการที่ ๕ ที่ภิกษุผู้มีจิต
ไม่น้อมไปเพื่อความเพียร เพื่อประกอบเนือง ๆ เพื่อกระทำต่อเนื่อง
เพื่อบำเพ็ญเพียร ยังตัดไม่ขาด
เหล่านี้ เป็นกิเลสเครื่องผูกใจ ๕ ประการ ที่ภิกษุนั้นยังตัดไม่ขาด
ภิกษุทั้งหลาย เป็นไปไม่ได้เลยที่กิเลสเครื่องตรึงจิตดุจตะปู ๕ ประการนี้
ที่ภิกษุรูปใดรูปหนึ่งยังละไม่ได้ กิเลสเครื่องผูกใจ ๕ ประการนี้ ที่ภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง
ยังตัดไม่ขาด เธอจักถึงความเจริญ งอกงาม ไพบูลย์ในธรรมวินัยนี้
[๑๘๗] ภิกษุทั้งหลาย เป็นไปได้ที่กิเลสเครื่องตรึงจิตดุจตะปู ๕ ประการ
ที่ภิกษุรูปใดรูปหนึ่งละได้แล้ว กิเลสเครื่องผูกใจ ๕ ประการ ที่ภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง
ตัดขาดแล้ว เธอจักถึงความเจริญ งอกงาม ไพบูลย์ในธรรมวินัยนี้
กิเลสเครื่องตรึงจิตดุจตะปู ๕ ประการ ที่ภิกษุนั้นละได้แล้ว อะไรบ้าง
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. ไม่เคลือบแคลงสงสัย น้อมใจเชื่อ เลื่อมใสในศาสดา จิตของ
ภิกษุผู้ไม่เคลือบแคลงสงสัย น้อมใจเชื่อ เลื่อมใสในศาสดานั้น
ย่อมน้อมไปเพื่อความเพียร เพื่อประกอบเนือง ๆ เพื่อกระทำ
ต่อเนื่อง เพื่อบำเพ็ญเพียร นี้เป็นกิเลสเครื่องตรึงจิตดุจตะปู

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า :๒๐๐ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๒. สีหนาทวรรค] ๖. เจโตขีลสูตร

ประการที่ ๑ ที่ภิกษุผู้มีจิตน้อมไปเพื่อความเพียร เพื่อประกอบ
เนือง ๆ เพื่อกระทำต่อเนื่อง เพื่อบำเพ็ญเพียร ละได้แล้ว
๒. ไม่เคลือบแคลงสงสัย น้อมใจเชื่อ เลื่อมใสในธรรม ฯลฯ นี้เป็น
กิเลสเครื่องตรึงจิตดุจตะปูประการที่ ๒ ที่ภิกษุผู้มีจิตน้อมไปเพื่อ
ความเพียร เพื่อประกอบเนือง ๆ เพื่อกระทำต่อเนื่อง เพื่อ
บำเพ็ญเพียร ละได้แล้ว
๓. ไม่เคลือบแคลงสงสัย น้อมใจเชื่อ เลื่อมใสในสงฆ์ ฯลฯ นี้เป็น
กิเลสเครื่องตรึงจิตดุจตะปูประการที่ ๓ ที่ภิกษุผู้มีจิตน้อมไปเพื่อ
ความเพียร เพื่อประกอบเนือง ๆ เพื่อกระทำต่อเนื่อง เพื่อ
บำเพ็ญเพียร ละได้แล้ว
๔. ไม่เคลือบแคลงสงสัย น้อมใจเชื่อ เลื่อมใสในสิกขา ฯลฯ นี้เป็น
กิเลสเครื่องตรึงจิตดุจตะปูประการที่ ๔ ที่ภิกษุผู้มีจิตน้อมไปเพื่อ
ความเพียร เพื่อประกอบเนือง ๆ เพื่อกระทำต่อเนื่อง เพื่อ
บำเพ็ญเพียร ละได้แล้ว
๕. เป็นผู้ไม่โกรธ พอใจ มีจิตไม่ถูกโทสะกระทบ มีจิตไม่แข็งกระด้าง
ในเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย จิตของภิกษุผู้ไม่โกรธ พอใจ มีจิต
ไม่ถูกโทสะกระทบ มีจิตไม่แข็งกระด้างในเพื่อนพรหมจารี
ทั้งหลายนั้น ย่อมน้อมไปเพื่อความเพียร เพื่อประกอบเนือง ๆ
เพื่อกระทำต่อเนื่อง เพื่อบำเพ็ญเพียร นี้เป็นกิเลสเครื่องตรึงจิต
ดุจตะปูประการที่ ๕ ที่ภิกษุผู้มีจิตน้อมไปเพื่อความเพียร เพื่อ
ประกอบเนือง ๆ เพื่อกระทำต่อเนื่อง เพื่อบำเพ็ญเพียร ละได้แล้ว
เหล่านี้ เป็นกิเลสเครื่องตรึงจิตดุจตะปู ๕ ประการ ที่ภิกษุนั้นละได้แล้ว
[๑๘๘] กิเลสเครื่องผูกใจ ๕ ประการ ที่ภิกษุนั้นตัดขาดแล้ว อะไรบ้าง
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เป็นผู้ปราศจากความกำหนัด ปราศจากความพอใจ ปราศจาก
ความรัก ปราศจากความกระหาย ปราศจากความเร่าร้อน
ปราศจากความทะยานอยากในกาม จิตของภิกษุผู้ปราศจากความ
กำหนัด ปราศจากความพอใจ ปราศจากความรัก ปราศจากความ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า :๒๐๑ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๒. สีหนาทวรรค] ๖. เจโตขีลสูตร

กระหาย ปราศจากความเร่าร้อน ปราศจากความทะยาน
อยากในกาม ย่อมน้อมไปเพื่อความเพียร เพื่อประกอบเนือง ๆ
เพื่อกระทำต่อเนื่อง เพื่อบำเพ็ญเพียร นี้เป็นกิเลสเครื่องผูกใจ
ประการที่ ๑ ที่ภิกษุผู้มีจิตน้อมไปเพื่อความเพียร เพื่อประกอบ
เนือง ๆ เพื่อกระทำต่อเนื่อง เพื่อบำเพ็ญเพียร ตัดขาดแล้ว
๒. เป็นผู้ปราศจากความกำหนัดในกาย ฯลฯ นี้เป็นกิเลสเครื่องผูกใจ
ประการที่ ๒ ที่ภิกษุผู้มีจิตน้อมไปเพื่อความเพียร เพื่อประกอบ
เนือง ๆ เพื่อกระทำต่อเนื่อง เพื่อบำเพ็ญเพียร ตัดขาดแล้ว
๓. เป็นผู้ปราศจากความกำหนัดในรูป ฯลฯ นี้เป็นกิเลสเครื่องผูกใจ
ประการที่ ๓ ที่ภิกษุผู้มีจิตน้อมไปเพื่อความเพียร เพื่อประกอบ
เนือง ๆ เพื่อกระทำต่อเนื่อง เพื่อบำเพ็ญเพียร ตัดขาดแล้ว
๔. ฉันอาหารตามต้องการจนอิ่มแล้ว ไม่ประกอบความสุขในการนอน
ความสุขในการนอนเอกเขนก ความสุขในการหลับอยู่ ฯลฯ นี้เป็น
กิเลสเครื่องผูกใจประการที่ ๔ ที่ภิกษุผู้มีจิตน้อมไปเพื่อความเพียร
เพื่อประกอบเนือง ๆ เพื่อกระทำต่อเนื่อง เพื่อบำเพ็ญเพียร ตัดขาดแล้ว
๕. ไม่ประพฤติพรหมจรรย์ด้วยความปรารถนาเป็นเทพนิกายหมู่ใด
หมู่หนึ่งว่า ‘ด้วยศีล วัตร ตบะ หรือพรหมจรรย์นี้ เราจักเป็น
เทพหรือเทพตนใดตนหนึ่ง’ จิตของภิกษุผู้ไม่ประพฤติพรหมจรรย์
ด้วยความปรารถนาเป็นเทพนิกายหมู่ใดหมู่หนึ่งว่า ‘ด้วยศีล วัตร
ตบะ หรือพรหมจรรย์นี้ เราจักเป็นเทพหรือเทพตนใดตนหนึ่ง’
ย่อมน้อมไปเพื่อความเพียร เพื่อประกอบเนือง ๆ เพื่อกระทำ
ต่อเนื่อง เพื่อบำเพ็ญเพียร นี้เป็นกิเลสเครื่องผูกใจประการที่ ๕
ที่ภิกษุผู้น้อมจิตไปเพื่อความเพียร เพื่อประกอบเนือง ๆ เพื่อ
กระทำต่อเนื่อง เพื่อบำเพ็ญเพียร ตัดขาดแล้ว
เหล่านี้ เป็นกิเลสเครื่องผูกใจ ๕ ประการ ที่ภิกษุนั้นตัดขาดแล้ว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า :๒๐๒ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๒. สีหนาทวรรค] ๖. เจโตขีลสูตร

ภิกษุทั้งหลาย เป็นไปได้ที่กิเลสเครื่องตรึงจิตดุจตะปู ๕ ประการนี้ ที่ภิกษุ
รูปใดรูปหนึ่งละได้แล้ว กิเลสเครื่องผูกใจ ๕ ประการนี้ ที่ภิกษุรูปใดรูปหนึ่งตัด
ขาดแล้ว เธอจักถึงความเจริญ งอกงาม ไพบูลย์ในธรรมวินัยนี้

อุปมาด้วยแม่ไก่ฟักไข่

[๑๘๙] ภิกษุนั้น เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยฉันทสมาธิปธานสังขาร๑
เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยวิริยสมาธิปธานสังขาร เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วย
จิตตสมาธิปธานสังขาร เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยวิมังสาสมาธิปธานสังขาร มี
ความเพียรยิ่งเป็นที่ ๕ ภิกษุผู้มีองค์ ๑๕๒ รวมทั้งความเพียรอันยิ่งอย่างนี้นั้น
ย่อมเป็นผู้ควรแก่ความเบื่อหน่ายยิ่ง๓ ควรแก่การตรัสรู้ และควรแก่การบรรลุธรรม
อันเป็นแดนเกษมจากโยคะอันยอดเยี่ยม
ไข่ ๘ ฟอง ๑๐ ฟอง หรือ ๑๒ ฟอง ที่แม่ไก่นอนกกไว้อย่างดี ให้ความ
อบอุ่นอย่างสม่ำเสมอ ฟักแล้วอย่างดี แม้ว่าแม่ไก่นั้นจะไม่เกิดความปรารถนาอย่างนี้ว่า
‘ถ้าอย่างไร ขอลูกไก่เหล่านี้พึงใช้ปลายเล็บหรือจะงอยปาก เจาะทำลายเปลือกไข่
ออกมาโดยสวัสดิภาพ’ ก็ตาม ถึงอย่างนั้นลูกไก่เหล่านั้น ก็ต้องเจาะทำลายเปลือกไข่
ด้วยปลายเล็บหรือจะงอยปากออกมาโดยสวัสดิภาพได้ แม้ฉันใด
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้มีองค์ ๑๕ รวมทั้งความเพียรอันยิ่งอย่างนี้ ก็ฉันนั้น
เหมือนกัน ย่อมเป็นผู้ควรแก่ความเบื่อหน่ายยิ่ง ควรแก่การตรัสรู้ และควรแก่การ
บรรลุธรรมอันเป็นแดนเกษมจากโยคะอันยอดเยี่ยม”
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสภาษิตนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นมีใจยินดีต่างชื่นชมพระภาษิต
ของพระผู้มีพระภาค ดังนี้แล

เจโตขีลสูตรที่ ๖ จบ


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๒. สีหนาทวรรค] ๗. วนปัตถสูตร

๗. วนปัตถสูตร
ว่าด้วยการอยู่ป่า

[๑๙๐] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถ-
บิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคได้รับสั่งเรียกภิกษุ
ทั้งหลายมาตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย” ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมบรรยายว่าด้วย
การอยู่ป่าแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว”
ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า
[๑๙๑] “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้เข้าไปอยู่อาศัยป่าทึบแห่งใดแห่ง
หนึ่ง เมื่อเธอเข้าไปอยู่อาศัยป่าทึบนั้น สติที่ยังไม่ปรากฏก็ไม่ปรากฏ จิตที่ยังไม่ตั้ง
มั่นก็ไม่ตั้งมั่น อาสวะ๑ ที่ยังไม่สิ้นไปก็ไม่สิ้นไป และภิกษุนั้นก็ไม่บรรลุธรรมอันเป็น
แดนเกษมจากโยคะอันยอดเยี่ยมที่ตนยังไม่ได้บรรลุ ส่วนปัจจัยเครื่องดำรงชีวิต คือ
จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร๒ ที่บรรพชิตจำต้องนำมาใช้สอย
ย่อมเกิดขึ้นได้โดยยาก ภิกษุนั้นควรพิจารณาอย่างนี้ว่า ‘เราเข้ามาอยู่อาศัยป่าทึบนี้
เมื่อเราเข้ามาอยู่อาศัยป่าทึบนี้ สติที่ยังไม่ปรากฏก็ไม่ปรากฏ จิตที่ยังไม่ตั้งมั่นก็ไม่
ตั้งมั่น อาสวะที่ยังไม่สิ้นไปก็ไม่สิ้นไป และเราก็ไม่ได้บรรลุธรรมอันเป็นแดนเกษม
จากโยคะอันยอดเยี่ยมที่ยังไม่ได้บรรลุ ส่วนปัจจัยเครื่องดำรงชีวิต คือ จีวร บิณฑบาต
เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขารที่บรรพชิตจำต้องนำมาใช้สอย ย่อมเกิดขึ้น
ได้โดยยาก’ ภิกษุนั้นควรหลีกไปจากป่าทึบนั้น ไม่ควรอยู่ในเวลากลางคืน หรือใน
เวลากลางวัน

เชิงอรรถ :
๑ ดูเชิงอรรถที่ ๒ ข้อ ๑๔ (สัพพาสวสูตร) หน้า ๑๗ ในเล่มนี้
๒ ดูเชิงอรรถที่ ๓ ข้อ ๒๓ (สัพพาสวสูตร) หน้า ๒๓ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า :๒๐๔ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๒. สีหนาทวรรค] ๗. วนปัตถสูตร

[๑๙๒] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้เข้าไปอยู่อาศัยป่าทึบแห่งใดแห่งหนึ่ง
เมื่อเธอเข้าไปอยู่อาศัยป่าทึบนั้น สติที่ยังไม่ปรากฏก็ไม่ปรากฏ จิตที่ยังไม่ตั้งมั่นก็
ไม่ตั้งมั่น อาสวะที่ยังไม่สิ้นไปก็ไม่สิ้นไป และภิกษุนั้นก็ไม่ได้บรรลุธรรมอันเป็น
แดนเกษมจากโยคะอันยอดเยี่ยมที่ยังไม่ได้บรรลุ ส่วนปัจจัยเครื่องดำรงชีวิต คือ จีวร
บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขารที่บรรพชิตจำต้องนำมาใช้สอย
ย่อมเกิดขึ้นได้โดยไม่ยาก ภิกษุนั้นควรพิจารณาอย่างนี้ว่า ‘เราเข้ามาอยู่อาศัยป่า
ทึบนี้ เมื่อเราเข้ามาอยู่อาศัยป่าทึบนี้ สติที่ยังไม่ปรากฏก็ไม่ปรากฏ จิตที่ยังไม่ตั้ง
มั่นก็ไม่ตั้งมั่น อาสวะที่ยังไม่สิ้นไปก็ไม่สิ้นไป และเราก็ไม่ได้บรรลุธรรมอันเป็นแดน
เกษมจากโยคะอันยอดเยี่ยมที่ยังไม่ได้บรรลุ ส่วนปัจจัยเครื่องดำรงชีวิต คือ จีวร
บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขารที่บรรพชิตจำต้องนำมาใช้สอย
ย่อมเกิดขึ้นได้โดยไม่ยาก แต่เราไม่ได้ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตเพราะเหตุแห่งจีวร
ฯลฯ เพราะเหตุแห่งบิณฑบาต ฯลฯ เพราะเหตุแห่งเสนาสนะ เราไม่ได้ออกจากเรือน
บวชเป็นบรรพชิตเพราะเหตุแห่งคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร เมื่อเป็นเช่นนั้น เมื่อเรา
เข้าไปอยู่อาศัยป่าทึบนี้ สติที่ยังไม่ปรากฏก็ไม่ปรากฏ จิตที่ยังไม่ตั้งมั่นก็ไม่ตั้งมั่น
อาสวะที่ยังไม่สิ้นไปก็ไม่สิ้นไป และเราก็ไม่ได้บรรลุธรรมอันเป็นแดนเกษมจากโยคะ
อันยอดเยี่ยมที่ยังไม่ได้บรรลุ’ ภิกษุนั้นรู้แล้วควรหลีกไปจากป่าทึบนั้น ไม่ควรอยู่

เหตุผลของการอยู่ป่า

[๑๙๓] อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้เข้าไปอยู่อาศัยป่าทึบแห่งใดแห่งหนึ่ง เมื่อ
เธอเข้าไปอยู่อาศัยป่าทึบนั้น สติที่ยังไม่ปรากฏก็ปรากฏ จิตที่ยังไม่ตั้งมั่นก็ตั้งมั่น
อาสวะที่ยังไม่สิ้นไปก็สิ้นไป และภิกษุนั้นก็บรรลุธรรมอันเป็นแดนเกษมจากโยคะอัน
ยอดเยี่ยมที่ยังไม่ได้บรรลุ ส่วนปัจจัยเครื่องดำรงชีวิต คือ จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ
และคิลานปัจจัยเภสัชบริขารที่บรรพชิตจำต้องนำมาใช้สอย ย่อมเกิดขึ้นได้โดยยาก
ภิกษุนั้นควรพิจารณาอย่างนี้ว่า ‘เราเข้ามาอยู่อาศัยป่าทึบนี้ เมื่อเราเข้ามาอยู่อาศัย
ป่าทึบนี้ สติที่ยังไม่ปรากฏก็ปรากฏ จิตที่ยังไม่ตั้งมั่นก็ตั้งมั่น อาสวะที่ยังไม่สิ้นไป

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า :๒๐๕ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๒. สีหนาทวรรค] ๗. วนปัตถสูตร

ก็สิ้นไป และเราก็บรรลุธรรมอันเป็นแดนเกษมจากโยคะอันยอดเยี่ยมที่ยังไม่ได้บรรลุ
ส่วนปัจจัยเครื่องดำรงชีวิต คือ จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัช-
บริขาร ที่บรรพชิตจำต้องนำมาใช้สอย ย่อมเกิดขึ้นได้โดยยาก แต่เราไม่ได้ออก
จากเรือนบวชเป็นบรรพชิตเพราะเหตุแห่งจีวร ฯลฯ เพราะเหตุแห่งบิณฑบาต ฯลฯ
เพราะเหตุแห่งเสนาสนะ เราไม่ได้ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตเพราะเหตุแห่ง
คิลานปัจจัยเภสัชบริขาร เมื่อเป็นเช่นนั้น เมื่อเราเข้าไปอยู่อาศัยป่าทึบนี้ สติที่ยัง
ไม่ปรากฏก็ปรากฏ จิตที่ยังไม่ตั้งมั่นก็ตั้งมั่น อาสวะที่ยังไม่สิ้นไปก็สิ้นไป และเราก็
บรรลุธรรมอันเป็นแดนเกษมจากโยคะอันยอดเยี่ยมที่ยังไม่ได้บรรลุ’ ภิกษุนั้นรู้แล้ว
ควรอยู่ในป่าทึบนั้น ไม่ควรหลีกไป
[๑๙๔] อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้เข้าไปอยู่อาศัยป่าทึบแห่งใดแห่งหนึ่ง เมื่อเธอ
เข้าไปอยู่อาศัยป่าทึบนั้น สติที่ยังไม่ปรากฏก็ปรากฏ จิตที่ยังไม่ตั้งมั่นก็ตั้งมั่น
อาสวะที่ยังไม่สิ้นไปก็สิ้นไป และภิกษุนั้นก็บรรลุธรรมอันเป็นแดนเกษมจากโยคะอัน
ยอดเยี่ยมที่ยังไม่ได้บรรลุ ส่วนปัจจัยเครื่องดำรงชีวิต คือ จีวร บิณฑบาต
เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขารที่บรรพชิตจำต้องนำมาใช้สอย ย่อมเกิด
ขึ้นได้โดยไม่ยาก ภิกษุนั้นควรพิจารณาอย่างนี้ว่า ‘เราเข้ามาอยู่อาศัยป่าทึบนี้ เมื่อ
เราเข้ามาอยู่อาศัยป่าทึบนี้ สติที่ยังไม่ปรากฏก็ปรากฏ จิตที่ยังไม่ตั้งมั่นก็ตั้งมั่น
อาสวะที่ยังไม่สิ้นไปก็สิ้นไป และเราก็บรรลุธรรมอันเป็นแดนเกษมจากโยคะอันยอด
เยี่ยมที่ยังไม่ได้บรรลุ ส่วนปัจจัยเครื่องดำรงชีวิต คือ จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ
และคิลานปัจจัยเภสัชบริขารที่บรรพชิตจำต้องนำมาใช้สอย ย่อมเกิดขึ้นได้โดยไม่ยาก’
ภิกษุนั้นควรอยู่ในป่าทึบนั้นจนตลอดชีวิต ไม่ควรหลีกไป

เหตุผลการอยู่อาศัยบ้านเป็นต้น

[๑๙๕] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้เข้าไปอยู่อาศัยบ้านแห่งใดแห่งหนึ่ง
ฯลฯ เข้าไปอยู่อาศัยนิคมแห่งใดแห่งหนึ่ง ฯลฯ เข้าไปอยู่อาศัยนครแห่งใดแห่งหนึ่ง
ฯลฯ เข้าไปอยู่อาศัยชนบทแห่งใดแห่งหนึ่ง ฯลฯ เข้าไปอยู่อาศัยบุคคลใดบุคคลหนึ่ง
เมื่อเธอเข้าไปอยู่อาศัยบุคคลนั้น สติที่ยังไม่ปรากฏก็ไม่ปรากฏ จิตที่ยังไม่ตั้งมั่นก็
ไม่ตั้งมั่น อาสวะที่ยังไม่สิ้นไปก็ไม่สิ้นไป และภิกษุนั้นก็ไม่บรรลุธรรมอันเป็นแดนเกษม
จากโยคะอันยอดเยี่ยมที่ยังไม่ได้บรรลุ ส่วนปัจจัยเครื่องดำรงชีวิต คือ จีวร บิณฑบาต

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า :๒๐๖ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๒. สีหนาทวรรค] ๗. วนปัตถสูตร

เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขารที่บรรพชิตจำต้องนำมาใช้สอย ย่อมเกิดขึ้น
ได้โดยยาก ภิกษุนั้นควรพิจารณาอย่างนี้ว่า ‘เราเข้าไปอยู่อาศัยบุคคลนี้ เมื่อเรา
เข้าไปอยู่อาศัยบุคคลนี้ สติที่ยังไม่ปรากฏก็ไม่ปรากฏ จิตที่ยังไม่ตั้งมั่นก็ไม่ตั้งมั่น
อาสวะที่ยังไม่สิ้นไปก็ไม่สิ้นไป และเราก็ไม่บรรลุธรรมอันเป็นแดนเกษมจากโยคะอัน
ยอดเยี่ยมที่ยังไม่ได้บรรลุ ส่วนปัจจัยเครื่องดำรงชีวิต คือ จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ
และคิลานปัจจัยเภสัชบริขารที่บรรพชิตจำต้องนำมาใช้สอย ย่อมเกิดขึ้นได้โดยยาก’
ภิกษุนั้นไม่ต้องบอกลา ควรหลีกไปในเวลากลางคืน หรือในเวลากลางวัน ไม่ควร
ติดตามบุคคลนั้นเลย
[๑๙๖] อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้เข้าไปอยู่อาศัยบุคคลใดบุคคลหนึ่ง เมื่อเธอ
เข้าไปอยู่อาศัยบุคคลนั้น สติที่ยังไม่ปรากฏก็ไม่ปรากฏ จิตที่ยังไม่ตั้งมั่นก็ไม่ตั้งมั่น
อาสวะที่ยังไม่สิ้นไปก็ไม่สิ้นไป และภิกษุนั้นก็ไม่บรรลุธรรมอันเป็นแดนเกษมจาก
โยคะอันยอดเยี่ยมที่ยังไม่ได้บรรลุ ส่วนปัจจัยเครื่องดำรงชีวิต คือ จีวร บิณฑบาต
เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขารที่บรรพชิตจำต้องนำมาใช้สอย ย่อมเกิดขึ้น
ได้โดยไม่ยาก ภิกษุนั้นควรพิจารณาอย่างนี้ว่า ‘เราเข้าไปอยู่อาศัยบุคคลนี้ เมื่อเรา
เข้าไปอยู่อาศัยบุคคลนี้ สติที่ยังไม่ปรากฏก็ไม่ปรากฏ จิตที่ยังไม่ตั้งมั่นก็ไม่ตั้งมั่น
อาสวะที่ยังไม่สิ้นไปก็ไม่สิ้นไป และเราก็ไม่บรรลุธรรมอันเป็นแดนเกษมจากโยคะอัน
ยอดเยี่ยมที่ยังไม่ได้บรรลุ ส่วนปัจจัยเครื่องดำรงชีวิต คือ จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ
และคิลานปัจจัยเภสัชบริขารที่บรรพชิตจำต้องนำมาใช้สอย ย่อมเกิดขึ้นได้โดยไม่ยาก
แต่เราไม่ได้ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตเพราะเหตุแห่งจีวร ฯลฯ เพราะเหตุแห่ง
บิณฑบาต ฯลฯ เพราะเหตุแห่งเสนาสนะ เราไม่ได้ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต
เพราะเหตุแห่งคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร เมื่อเป็นเช่นนั้น เมื่อเราเข้าไปอยู่อาศัยบุคคลนี้
สติที่ยังไม่ปรากฏก็ไม่ปรากฏ จิตที่ยังไม่ตั้งมั่นก็ไม่ตั้งมั่น อาสวะที่ยังไม่สิ้นไปก็ไม่
สิ้นไปและเราก็ไม่บรรลุธรรมอันเป็นแดนเกษมจากโยคะอันยอดเยี่ยมที่ยังไม่ได้บรรลุ’
ภิกษุนั้นถึงรู้แล้วก็ควรบอกลาก่อนแล้วจึงไป ไม่ควรติดตามบุคคลนั้นเลย
[๑๙๗] อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้เข้าไปอยู่อาศัยบุคคลใดบุคคลหนึ่ง เมื่อ
เธอเข้าไปอยู่อาศัยบุคคลนั้น สติที่ยังไม่ปรากฏก็ปรากฏ จิตที่ยังไม่ตั้งมั่นก็ตั้งมั่น อาสวะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า :๒๐๗ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๒. สีหนาทวรรค] ๗. วนปัตถสูตร

ที่ยังไม่สิ้นไปก็สิ้นไป และภิกษุนั้นก็บรรลุธรรมอันเป็นแดนเกษมจากโยคะอันยอดเยี่ยม
ที่ยังไม่ได้บรรลุ ส่วนปัจจัยเครื่องดำรงชีวิต คือ จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และ
คิลานปัจจัยเภสัชบริขารที่บรรพชิตจำต้องนำมาใช้สอย ย่อมเกิดขึ้นได้โดยยาก ภิกษุ
นั้นควรพิจารณาอย่างนี้ว่า ‘เราเข้าไปอยู่อาศัยบุคคลนี้ เมื่อเราเข้าไปอยู่อาศัย
บุคคลนี้ สติที่ยังไม่ปรากฏก็ปรากฏ จิตที่ยังไม่ตั้งมั่นก็ตั้งมั่น อาสวะที่ยังไม่สิ้นไป
ก็สิ้นไป และเราก็บรรลุธรรมอันเป็นแดนเกษมจากโยคะอันยอดเยี่ยมที่ยังไม่ได้บรรลุ
ส่วนปัจจัยเครื่องดำรงชีวิต คือ จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัช-
บริขารที่บรรพชิตจำต้องนำมาใช้สอย ย่อมเกิดขึ้นได้โดยยาก แต่เราไม่ได้ออกจาก
เรือนบวชเป็นบรรพชิตเพราะเหตุแห่งจีวร ฯลฯ เพราะเหตุแห่งบิณฑบาต ฯลฯ
เพราะเหตุแห่งเสนาสนะ เราไม่ได้ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตเพราะเหตุแห่ง
คิลานปัจจัยเภสัชบริขาร เมื่อเป็นเช่นนั้น เมื่อเราเข้าไปอยู่อาศัยบุคคลนี้ สติที่ยัง
ไม่ปรากฏก็ปรากฏ จิตที่ยังไม่ตั้งมั่นก็ตั้งมั่น อาสวะที่ยังไม่สิ้นไปก็สิ้นไป และเราก็
บรรลุธรรมอันเป็นแดนเกษมจากโยคะอันยอดเยี่ยมที่ยังไม่ได้บรรลุ’ ภิกษุนั้นถึงแม้
จะรู้แล้วก็ควรติดตามบุคคลนั้น ยังไม่ควรหลีกไป
[๑๙๘] อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้เข้าไปอยู่อาศัยบุคคลใดบุคคลหนึ่ง เมื่อเธอ
เข้าไปอยู่อาศัยบุคคลนั้น สติที่ยังไม่ปรากฏก็ปรากฏ จิตที่ยังไม่ตั้งมั่นก็ตั้งมั่น อาสวะ
ที่ยังไม่สิ้นไปก็สิ้นไป และภิกษุนั้นย่อมบรรลุธรรมอันเป็นแดนเกษมจากโยคะอัน
ยอดเยี่ยมที่ยังไม่ได้บรรลุ ส่วนปัจจัยเครื่องดำรงชีวิต คือ จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ
และคิลานปัจจัยเภสัชบริขารที่บรรพชิตจำต้องนำมาใช้สอย ย่อมเกิดขึ้นได้โดยไม่ยาก
ภิกษุนั้นควรพิจารณาอย่างนี้ว่า ‘เราเข้าไปอยู่อาศัยบุคคลนี้ เมื่อเราเข้าไปอยู่อาศัย
บุคคลนี้ สติที่ยังไม่ปรากฏก็ปรากฏ จิตที่ยังไม่ตั้งมั่นก็ตั้งมั่น อาสวะที่ยังไม่สิ้นไป
ก็สิ้นไปและเราก็บรรลุธรรมอันเป็นแดนเกษมจากโยคะอันยอดเยี่ยมที่ยังไม่ได้บรรลุ
ส่วนปัจจัยเครื่องดำรงชีวิต คือ จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัช-
บริขารที่บรรพชิตจำต้องนำมาใช้สอย ย่อมเกิดขึ้นได้โดยไม่ยาก’ ภิกษุนั้นควรติดตาม
บุคคลนั้นไปจนตลอดชีวิต ไม่ควรหลีกไปแม้จะถูกขับไล่ก็ตาม”
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสภาษิตนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นมีใจยินดีต่างชื่นชมพระภาษิต
ของพระผู้มีพระภาค ดังนี้แล

วนปัตถสูตรที่ ๗ จบ


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๒. สีหนาทวรรค] ๘. มธุปิณฑิกสูตร

๘. มธุปิณฑิกสูตร
ว่าด้วยธรรมเทศนาอันไพเราะ

[๑๙๙] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ นิโครธาราม เขตกรุงกบิลพัสดุ์
แคว้นสักกะ ครั้นในเวลาเช้า พระผู้มีพระภาคทรงครองอันตรวาสกถือบาตรและจีวร
เสด็จเข้าไปบิณฑบาตยังกรุงกบิลพัสดุ์ กลับจากบิณฑบาตภายหลังเสวย
พระกระยาหารเสร็จแล้ว เสด็จเข้าไปยังป่ามหาวันเพื่อทรงพักผ่อนกลางวัน แล้วจึง
ประทับพักผ่อนกลางวัน ณ โคนต้นมะตูมหนุ่ม ฝ่ายทัณฑปาณิศากยะกำลังเดิน
เที่ยวชมทิวทัศน์ ได้เสด็จเข้าไปยังป่ามหาวันแล้ว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค จนถึง
ต้นมะตูมหนุ่ม แล้วสนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้ว
ยืนขึ้นยันไม้เท้าลง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า “พระสมณะ
มีปกติกล่าวอย่างไร บอกอย่างไร”

ตอบปัญหาทัณฑปาณิ

พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ผู้มีอายุ บุคคลมีปกติกล่าวอย่างใดจึงไม่โต้เถียง
กับใคร ๆ ในโลกพร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณ-
พราหมณ์ เทวดาและมนุษย์แล้วดำรงอยู่ในโลก อนึ่ง สัญญาทั้งหลายย่อมไม่
ครอบงำพราหมณ์ผู้อยู่ปราศจากกามทั้งหลาย ผู้ไม่มีความสงสัย ผู้ตัดความ
คะนองได้ ผู้ปราศจากความทะยานอยากในภพน้อยภพใหญ่ได้โดยประการใด เรา
มีปกติกล่าวอย่างนั้น บอกอย่างนั้น โดยประการนั้น”
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนั้นแล้ว ทัณฑปาณิศากยะสั่นศีรษะ แลบลิ้น
ทำหน้าผากย่นเป็น ๓ รอย ถือไม้เท้ายันขึ้นแล้วจากไป
[๒๐๐] ครั้นในเวลาเย็น พระผู้มีพระภาคเสด็จออกจากที่หลีกเร้นเข้าไปยัง
นิโครธาราม แล้วประทับนั่งบนพุทธอาสน์ที่ปูลาดไว้แล้ว จึงรับสั่งเรียกภิกษุ
ทั้งหลายมาตรัสว่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า :๒๐๙ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๒. สีหนาทวรรค] ๘. มธุปิณฑิกสูตร

“ภิกษุทั้งหลาย เมื่อเช้านี้ เราครองอันตรวาสกถือบาตรและจีวรเข้าไป
บิณฑบาตยังกรุงกบิลพัสดุ์ กลับจากบิณฑบาตภายหลังฉันภัตตาหารเสร็จแล้ว จึง
เข้าไปยังป่ามหาวันเพื่อพักผ่อนกลางวัน แล้วนั่งพักผ่อนกลางวัน ณ โคนต้น
มะตูมหนุ่ม แม้ทัณฑปาณิศากยะก็เดินเที่ยวชมทิวทัศน์เข้าไปยังป่ามหาวัน ครั้น
แล้วจึงเข้าไปหาเราจนถึงต้นมะตูมหนุ่ม ได้สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ
พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้ว ได้ยืนขึ้นยันไม้เท้าลง ณ ที่สมควร ครั้นแล้วได้ถามเราว่า
‘พระสมณะ มีปกติกล่าวอย่างไร บอกอย่างไร’ เมื่อทัณฑปาณิศากยะกล่าวอย่าง
นั้นแล้ว เราได้ตอบว่า ‘ผู้มีอายุ บุคคลมีปกติกล่าวอย่างใดจึงจะไม่โต้เถียงกับใคร ๆ
ในโลก พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์
เทวดาและมนุษย์แล้วดำรงอยู่ในโลก อนึ่ง สัญญาทั้งหลายย่อมไม่ครอบงำ
พราหมณ์ผู้อยู่ปราศจากกามทั้งหลาย ผู้ไม่มีความสงสัย ผู้ตัดความคะนองได้
ผู้ปราศจากความทะยานอยากในภพน้อยภพใหญ่ได้โดยประการใด เรามีปกติกล่าว
อย่างนั้น บอกอย่างนั้น โดยประการนั้น’ เมื่อเรากล่าวอย่างนั้นแล้ว ทัณฑปาณิ-
ศากยะสั่นศีรษะ แลบลิ้น ทำหน้าผากย่นเป็น ๓ รอย ถือไม้เท้ายันขึ้นแล้ว
จากไป”

ทรงแสดงอุทเทส

[๒๐๑] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนั้นแล้ว ภิกษุรูปหนึ่งได้ทูลถามพระผู้
มีพระภาคว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคมีปกติตรัสอย่างไรจึงจะไม่
โต้เถียงกับใคร ๆ ในโลกพร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์พร้อม
ทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์แล้วดำรงอยู่ในโลก อนึ่ง สัญญาทั้งหลายจะ
ไม่ครอบงำพราหมณ์นั้นผู้อยู่ปราศจากกามทั้งหลาย ผู้ไม่มีความสงสัย ผู้ตัดความ
คะนองได้ ผู้ปราศจากความทะยานอยากในภพน้อยภพใหญ่ได้อย่างไร”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ภิกษุ แง่ต่าง ๆ แห่งปปัญจสัญญา๑ ย่อม
ครอบงำบุรุษ เพราะเหตุใด ถ้าสิ่งที่บุคคลจะพึงยินดี จะพึงยอมรับ จะพึงยึดถือ

เชิงอรรถ :
๑ แง่ต่าง ๆ แห่งปปัญจสัญญา แปลจากคำว่า ปปญฺจสญฺ�าสงฺขา แยกอธิบายศัพท์ได้ดังนี้ คำว่า
ปปญฺจสญฺ�า หมายถึงสัญญาอันประกอบด้วยกิเลสเป็นเหตุเนิ่นช้า คือ ตัณหา มานะ และทิฏฐิ คำว่า
สงฺขา หมายถึงแง่ต่าง ๆ ดังนั้น ปปญฺจส�ฺ�าสงฺขา จึงแปลว่า แง่ต่าง ๆ แห่งสัญญาอันประกอบด้วย
กิเลสเป็นเหตุเนิ่นช้า (ม.มู.อ. ๑/๒๐๑/๔๐๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า :๒๑๐ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๒. สีหนาทวรรค] ๘. มธุปิณฑิกสูตร

ไม่มีในเพราะเหตุนั้น ข้อนี้เป็นที่สุดแห่งราคานุสัย เป็นที่สุดแห่งปฏิฆานุสัย เป็น
ที่สุดแห่งทิฏฐานุสัย เป็นที่สุดแห่งวิจิกิจฉานุสัย เป็นที่สุดแห่งมานานุสัย เป็น
ที่สุดแห่งภวราคานุสัย เป็นที่สุดแห่งอวิชชานุสัย และเป็นที่สุดแห่งการถือท่อนไม้
การถือศัสตรา การทะเลาะ การแก่งแย่ง การวิวาท การส่อเสียดยุยง และการ
กล่าวเท็จ บาปอกุศลธรรมเหล่านี้ ย่อมดับไปโดยไม่เหลือเพราะเหตุนั้น”
ครั้นพระผู้มีพระภาคผู้สุคตเจ้าได้ตรัสดังนี้แล้ว ก็เสด็จลุกขึ้นจากพุทธอาสน์เข้า
ไปยังที่ประทับ
[๒๐๒] ครั้งนั้น เมื่อพระผู้มีพระภาคเสด็จจากไปไม่นาน ภิกษุเหล่านั้นได้มี
ความสงสัยว่า “ท่านทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคทรงแสดงอุทเทสนี้แก่พวกเราโดย
ย่อว่า ‘ภิกษุ แง่ต่าง ๆ แห่งปปัญจสัญญาย่อมครอบงำบุรุษเพราะเหตุใด ถ้าสิ่งที่
บุคคลจะพึงยินดี จะพึงยอมรับ จะพึงยึดถือ ไม่มีเพราะเหตุนั้น ข้อนี้เป็นที่สุด
แห่งราคานุสัย เป็นที่สุดแห่งปฏิฆานุสัย เป็นที่สุดแห่งทิฏฐานุสัย เป็นที่สุดแห่ง
วิจิกิจฉานุสัย เป็นที่สุดแห่งมานานุสัย เป็นที่สุดแห่งภวราคานุสัย เป็นที่สุดแห่ง
อวิชชานุสัย และเป็นที่สุดแห่งการถือท่อนไม้ การถือศัสตรา การทะเลาะ การ
แก่งแย่ง การวิวาท การส่อเสียดยุยง และการกล่าวเท็จ บาปอกุศลธรรมเหล่านี้
ย่อมดับไปโดยไม่เหลือเพราะเหตุนั้น’ แล้วไม่ทรงชี้แจงเนื้อความให้พิสดาร เสด็จลุก
จากพุทธอาสน์เข้าไปยังที่ประทับ ใครเล่าหนอ จะพึงชี้แจงเนื้อความแห่งอุทเทส
ที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงไว้โดยย่อ ไม่ทรงชี้แจงโดยพิสดารให้พิสดารได้”
ครั้งนั้น ภิกษุเหล่านั้นเกิดความคิดขึ้นว่า “ท่านมหากัจจานะนี้ พระศาสดา
ทรงยกย่อง ทั้งเพื่อนพรหมจารีผู้รู้ทั้งหลายก็สรรเสริญแล้ว และท่านมหากัจจานะ
ก็สามารถจะชี้แจงเนื้อความแห่งอุทเทสที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงไว้โดยย่อ ไม่ทรง
ชี้แจงโดยพิสดารให้พิสดารได้ ทางที่ดี เราทั้งหลายควรเข้าไปหาท่านมหากัจจานะ
จนถึงที่อยู่ แล้วควรสอบถามเนื้อความนี้กับท่านมหากัจจานะ”
ลำดับนั้น ภิกษุเหล่านั้นได้เข้าไปหาท่านพระมหากัจจานะจนถึงที่อยู่ ได้
สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้วจึงนั่ง ณ ที่สมควร
ได้กล่าวกับท่านพระมหากัจจานะว่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า :๒๑๑ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๒. สีหนาทวรรค] ๘. มธุปิณฑิกสูตร

“ท่านกัจจานะ พระผู้มีพระภาคทรงแสดงอุทเทสนี้แก่พวกเราโดยย่อว่า
‘ภิกษุ แง่ต่าง ๆ แห่งปปัญจสัญญาย่อมครอบงำบุรุษเพราะเหตุใด ถ้าสิ่งที่บุคคล
จะพึงยินดี จะพึงยอมรับ จะพึงยึดถือ ไม่มีเพราะเหตุนั้น ข้อนี้เป็นที่สุดแห่ง
ราคานุสัย ฯลฯ บาปอกุศลธรรมเหล่านี้ ย่อมดับไปโดยไม่เหลือในเพราะเหตุนั้น’
แล้วไม่ทรงชี้แจงเนื้อความให้พิสดาร ทรงลุกจากพุทธอาสน์เสด็จเข้าไปยังที่ประทับ
เมื่อพระผู้มีพระภาคทรงจากไปไม่นาน พวกกระผมได้เกิดความสงสัยว่า ‘พระผู้มี
พระภาคทรงแสดงอุทเทสนี้แก่พวกเราโดยย่อว่า ‘ภิกษุ แง่ต่าง ๆ แห่งปปัญจสัญญา
ย่อมครอบงำบุรุษเพราะเหตุใด ถ้าสิ่งที่บุคคลจะพึงยินดี จะพึงยอมรับ จะพึงยึดถือ
ไม่มีเพราะเหตุนั้น ข้อนี้เป็นที่สุดแห่งราคานุสัย ฯลฯ บาปอกุศลธรรมเหล่านี้
ย่อมดับไปโดยไม่เหลือในเพราะเหตุนั้น’ แล้วไม่ทรงชี้แจงเนื้อความให้พิสดาร ทรง
ลุกขึ้นจากพุทธอาสน์เสด็จเข้าไปยังที่ประทับ ใครเล่าหนอ จะพึงชี้แจงเนื้อความแห่ง
อุทเทส ที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงไว้โดยย่อ ไม่ทรงชี้แจงโดยพิสดารให้พิสดารได้’
ท่านกัจจานะ พวกกระผมคิดว่า ‘ท่านมหากัจจานะนี้เป็นผู้ที่พระศาสดาทรง
ยกย่อง ทั้งเพื่อนพรหมจารีผู้รู้ทั้งหลายก็สรรเสริญแล้ว และท่านมหากัจจานะก็
สามารถจะชี้แจงเนื้อความแห่งอุทเทสที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงไว้โดยย่อ ไม่ทรง
ชี้แจงโดยพิสดารให้พิสดารได้ ทางที่ดี เราทั้งหลายควรเข้าไปหาท่านมหากัจจานะ
จนถึงที่อยู่ แล้วควรสอบถามเนื้อความนี้กับท่านมหากัจจานะ’ ขอท่านมหากัจจานะ
จงชี้แจงเถิด”
[๒๐๓] ท่านพระมหากัจจานะจึงตอบว่า “ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย อุปมาเหมือน
บุรุษผู้ต้องการแก่นไม้ เที่ยวเสาะแสวงหาแก่นไม้อยู่ ผ่านโคนและลำต้นของต้นไม้
ใหญ่ซึ่งมีแก่นไป เขาจะพึงเข้าใจว่าแก่นไม้ต้องแสวงหาที่กิ่งและใบไม้ แม้ฉันใด
ข้ออุปไมยนี้ก็ฉันนั้น เมื่อพระศาสดาทรงปรากฏเฉพาะหน้าท่านทั้งหลาย ท่าน
ทั้งหลายก็ผ่านพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นไป และจะพึงเข้าใจเนื้อความนั้นว่าต้อง
สอบถามกับเรา แท้จริง พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นทรงรู้สิ่งที่ควรรู้ ทรงเห็นสิ่งที่
ควรเห็น เป็นผู้มีพระจักษุ มีพระญาณ มีธรรม เป็นพรหม เป็นผู้เผยแผ่ ประกาศ
ขยายเนื้อความ เป็นผู้ให้อมตธรรม เป็นเจ้าของธรรม เป็นพระตถาคต และเวลา
นี้ก็เป็นเวลาอันสมควรที่พวกท่านจะทูลถามเนื้อความนี้กับพระผู้มีพระภาคพระองค์
นั้นแล้ว พระองค์ทรงตอบอย่างใด ท่านทั้งหลายควรทรงจำเนื้อความนั้นไว้อย่างนั้น”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า :๒๑๒ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๒. สีหนาทวรรค] ๘. มธุปิณฑิกสูตร

ภิกษุเหล่านั้นได้กล่าวตอบว่า “ท่านกัจจานะ เป็นความจริงที่พระผู้มีพระภาค
ทรงรู้สิ่งที่ควรรู้ ทรงเห็นสิ่งที่ควรเห็น เป็นผู้มีพระจักษุ มีพระญาณ มีธรรม
เป็นพรหม เป็นผู้เผยแผ่ ประกาศ ขยายเนื้อความ เป็นผู้ให้อมตธรรม เป็น
เจ้าของธรรม เป็นพระตถาคต และเวลานี้ก็เป็นเวลาอันสมควรที่พวกกระผมจะทูล
ถามเนื้อความนี้กับพระผู้มีพระภาค พระองค์ทรงตอบอย่างใด พวกกระผมจะทรง
จำเนื้อความนั้นไว้อย่างนั้น อนึ่ง ท่านมหากัจจานะเป็นผู้ที่พระศาสดาทรงยกย่อง
ทั้งเพื่อนพรหมจารีผู้รู้ทั้งหลายก็สรรเสริญแล้ว และท่านมหากัจจานะก็สามารถจะ
ชี้แจงเนื้อความแห่งอุทเทสที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงไว้โดยย่อ ไม่ทรงชี้แจงโดย
พิสดารให้พิสดารได้ ขอท่านมหากัจจานะไม่ต้องหนักใจชี้แจงเถิด”

พระมหากัจจานะอธิบายอุทเทส

ท่านพระมหากัจจานะกล่าวว่า “ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ถ้าเช่นนั้น ท่าน
ทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี กระผมจักกล่าว” ภิกษุเหล่านั้นรับคำแล้ว ท่านพระ
มหากัจจานะจึงได้กล่าวว่า
[๒๐๔] “ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคทรงแสดงอุทเทสไว้โดยย่อว่า
‘ภิกษุ แง่ต่าง ๆ แห่งปปัญจสัญญาย่อมครอบงำบุรุษเพราะเหตุใด ถ้าสิ่งที่บุคคล
จะพึงยินดี จะพึงยอมรับ จะพึงยึดถือ ไม่มีเพราะเหตุนั้น ข้อนี้เป็นที่สุดแห่ง
ราคานุสัย ฯลฯ บาปอกุศลธรรมเหล่านี้ย่อมดับไปโดยไม่เหลือในเพราะเหตุนั้น’
แล้วไม่ทรงชี้แจงเนื้อความให้พิสดาร ทรงลุกขึ้นจากพุทธอาสน์เสด็จเข้าไปยังที่ประทับ
กระผมรู้ทั่วถึงเนื้อความแห่งอุทเทสที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงไว้โดยย่อ ไม่ทรง
ชี้แจงไว้โดยพิสดารให้พิสดารได้อย่างนี้
จักขุวิญญาณเกิดขึ้นเพราะอาศัยจักขุและรูปารมณ์ ความประจวบกันแห่ง
ธรรมทั้ง ๓ เป็นผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงเกิด บุคคลเสวยอารมณ์ใด
ย่อมหมายรู้อารมณ์นั้น บุคคลหมายรู้อารมณ์ใดย่อมตรึกอารมณ์นั้น บุคคลตรึก
อารมณ์ใดย่อมคิดปรุงแต่งอารมณ์นั้น บุคคลคิดปรุงแต่งอารมณ์ใด เพราะความคิด
ปรุงแต่งอารมณ์นั้นเป็นเหตุ แง่ต่าง ๆ แห่งปปัญจสัญญาย่อมครอบงำบุรุษ ในรูป
ทั้งหลายที่จะพึงรู้แจ้งทางตาทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า :๒๑๓ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๒. สีหนาทวรรค] ๘. มธุปิณฑิกสูตร

โสตวิญญาณเกิดขึ้นเพราะอาศัยโสตะและสัททารมณ์ ฯลฯ
ฆานวิญญาณเกิดขึ้นเพราะอาศัยฆานะและคันธารมณ์ ฯลฯ
ชิวหาวิญญาณเกิดขึ้นเพราะอาศัยชิวหาและรสารมณ์ ฯลฯ
กายวิญญาณเกิดขึ้นเพราะอาศัยกายและโผฏฐัพพารมณ์ ฯลฯ
มโนวิญญาณเกิดขึ้นเพราะอาศัยมโนและธรรมารมณ์ ความประจวบกันแห่ง
ธรรมทั้ง ๓ เป็นผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงเกิด บุคคลเสวยอารมณ์
ใดย่อมหมายรู้อารมณ์นั้น บุคคลหมายรู้อารมณ์ใดย่อมตรึกอารมณ์นั้น บุคคล
ตรึกอารมณ์ใดย่อมคิดปรุงแต่งอารมณ์นั้น บุคคลคิดปรุงแต่งอารมณ์ใด เพราะความ
คิดปรุงแต่งอารมณ์นั้นเป็นเหตุ แง่ต่าง ๆ แห่งปปัญจสัญญาย่อมครอบงำบุรุษใน
ธรรมารมณ์ทั้งหลายที่จะพึงรู้แจ้งทางใจ ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน
เมื่อมีจักขุ มีรูปารมณ์ และมีจักขุวิญญาณ เป็นไปได้ที่เขาจักบัญญัติผัสสะ
เมื่อมีการบัญญัติผัสสะ เป็นไปได้ที่เขาจักบัญญัติเวทนา เมื่อมีการบัญญัติเวทนา
เป็นไปได้ที่เขาจักบัญญัติสัญญา เมื่อมีการบัญญัติสัญญา เป็นไปได้ที่เขาจักบัญญัติวิตก
เมื่อมีการบัญญัติวิตก เป็นไปได้ที่เขาจักบัญญัติการครอบงำโดยแง่ต่าง ๆ แห่ง
ปปัญจสัญญา
เมื่อมีโสตะ มีสัททารมณ์ ฯลฯ
เมื่อมีฆานะ มีคันธารมณ์ ฯลฯ
เมื่อมีชิวหา มีรสารมณ์ ฯลฯ
เมื่อมีกาย มีโผฏฐัพพารมณ์ ฯลฯ
เมื่อมีมโน มีธรรมารมณ์ และมีมโนวิญญาณ เป็นไปได้ที่เขาจักบัญญัติผัสสะ
เมื่อมีการบัญญัติผัสสะ เป็นไปได้ที่เขาจักบัญญัติเวทนา เมื่อมีการบัญญัติเวทนา
เป็นไปได้ที่เขาจักบัญญัติสัญญา เมื่อมีการบัญญัติสัญญา เป็นไปได้ที่เขาจักบัญญัติวิตก
เมื่อมีการบัญญัติวิตก เป็นไปได้ที่เขาจักบัญญัติการครอบงำโดยแง่ต่าง ๆ แห่ง
ปปัญจสัญญา
เมื่อไม่มีจักขุ ไม่มีรูปารมณ์ ไม่มีจักขุวิญญาณ เป็นไปไม่ได้เลยที่เขาจัก
บัญญัติผัสสะ เมื่อไม่มีการบัญญัติผัสสะ เป็นไปไม่ได้เลยที่เขาจักบัญญัติเวทนา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า :๒๑๔ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๒. สีหนาทวรรค] ๘. มธุปิณฑิกสูตร

เมื่อไม่มีการบัญญัติเวทนา เป็นไปไม่ได้เลยที่เขาจักบัญญัติสัญญา เมื่อไม่มีการ
บัญญัติสัญญา เป็นไปไม่ได้เลยที่เขาจักบัญญัติวิตก เมื่อไม่มีการบัญญัติวิตก
เป็นไปไม่ได้เลยที่เขาจักบัญญัติการครอบงำโดยแง่ต่าง ๆ แห่งปปัญจสัญญา
เมื่อไม่มีโสตะ ไม่มีสัททารมณ์ ฯลฯ
เมื่อไม่มีฆานะ ไม่มีคันธารมณ์ ฯลฯ
เมื่อไม่มีชิวหา ไม่มีรสารมณ์ ฯลฯ
เมื่อไม่มีกาย ไม่มีโผฏฐัพพารมณ์ ฯลฯ
เมื่อไม่มีมโน ไม่มีธรรมารมณ์ ไม่มีมโนวิญญาณ เป็นไปไม่ได้เลยที่เขาจัก
บัญญัติผัสสะ เมื่อไม่มีการบัญญัติผัสสะ เป็นไปไม่ได้เลยที่เขาจักบัญญัติเวทนา
เมื่อไม่มีการบัญญัติเวทนา เป็นไปไม่ได้เลยที่เขาจักบัญญัติสัญญา เมื่อไม่มีการบัญญัติ
สัญญา เป็นไปไม่ได้เลยที่เขาจักบัญญัติวิตก เมื่อไม่มีการบัญญัติวิตก เป็นไปไม่
ได้เลยที่เขาจักบัญญัติการครอบงำโดยแง่ต่าง ๆ แห่งปปัญจสัญญา
ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคทรงแสดงอุทเทสแก่พวกเราโดยย่อว่า
‘ภิกษุ แง่ต่าง ๆ แห่งปปัญจสัญญาย่อมครอบงำบุรุษเพราะเหตุใด ถ้าสิ่งที่บุคคลจะ
พึงยินดี จะพึงยอมรับ จะพึงยึดถือ ไม่มีเพราะเหตุนั้น ข้อนี้เป็นที่สุดแห่งราคานุสัย
ฯลฯ บาปอกุศลธรรมเหล่านี้ย่อมดับไปโดยไม่เหลือเพราะเหตุนั้น’ แล้ว ไม่ทรงชี้แจง
เนื้อความให้พิสดาร ทรงลุกขึ้นจากพุทธอาสน์เสด็จเข้าไปยังที่ประทับ กระผมรู้ทั่วถึง
เนื้อความแห่งอุทเทสที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงไว้โดยย่อ ไม่ทรงชี้แจงโดยพิสดาร
ให้พิสดารได้อย่างนี้ เมื่อท่านปรารถนาควรพากันเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค แล้วทูล
ถามเนื้อความนั้นเถิด พระองค์ทรงตอบอย่างใด ท่านทั้งหลายควรทรงจำเนื้อความ
นั้นไว้อย่างนั้น”
[๒๐๕] ครั้งนั้น ภิกษุเหล่านั้นชื่นชมยินดีภาษิตของท่านพระมหากัจจานะ
แล้วลุกจากอาสนะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ
ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า :๒๑๕ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๒. สีหนาทวรรค] ๘. มธุปิณฑิกสูตร

“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคทรงแสดงอุทเทสแก่ข้าพระองค์
ทั้งหลายโดยย่อว่า ‘ภิกษุ แง่ต่าง ๆ แห่งปปัญจสัญญาย่อมครอบงำบุรุษเพราะ
เหตุใด ถ้าสิ่งที่บุคคลจะพึงยินดี จะพึงยอมรับ จะพึงยึดถือ ไม่มีเพราะเหตุนั้น
ข้อนี้เป็นที่สุดแห่งราคานุสัย ฯลฯ บาปอกุศลธรรมเหล่านี้ย่อมดับไปโดยไม่เหลือ
เพราะเหตุนั้น’ แล้วไม่ทรงชี้แจงเนื้อความให้พิสดาร ทรงลุกขึ้นจากพุทธอาสน์
เสด็จเข้าไปยังที่ประทับ เมื่อพระผู้มีพระภาคเสด็จจากไปไม่นาน ข้าพระองค์ทั้งหลาย
ได้เกิดความสงสัยกันว่า ‘พระผู้มีพระภาคทรงแสดงอุทเทสแก่พวกเราโดยย่อว่า
‘ภิกษุ แง่ต่าง ๆ แห่งปปัญจสัญญา ย่อมครอบงำบุรุษเพราะเหตุใด ถ้าสิ่งที่บุคคล
จะพึงยินดี จะพึงยอมรับ จะพึงยึดถือ ไม่มีเพราะเหตุนั้น ข้อนี้เป็นที่สุดแห่งราคานุสัย
เป็นที่สุดแห่งปฏิฆานุสัย เป็นที่สุดแห่งวิจิกิจฉานุสัย เป็นที่สุดแห่งมานานุสัย เป็นที่สุด
แห่งภวราคานุสัย เป็นที่สุดแห่งอวิชชานุสัย และเป็นที่สุดแห่งการถือท่อนไม้ การถือ
ศัสตรา การทะเลาะ การแก่งแย่ง การวิวาท การส่อเสียดยุยง และการกล่าวเท็จ
บาปอกุศลธรรมเหล่านี้ย่อมดับไปโดยไม่เหลือเพราะเหตุนั้น’ แล้วไม่ทรงชี้แจงเนื้อความ
โดยพิสดาร ทรงลุกขึ้นจากพุทธอาสน์เสด็จเข้าไปยังที่ประทับ ใครเล่าหนอจะควร
ชี้แจงเนื้อความแห่งอุทเทสที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงไว้โดยย่อนี้ ไม่ทรงชี้แจงไว้
โดยพิสดารให้พิสดารได้ ข้าพระองค์ทั้งหลายได้มีความคิดว่า ‘ท่านพระมหากัจจานะ
นี้พระศาสดาทรงยกย่อง ทั้งเพื่อนพรหมจารีผู้รู้ทั้งหลายก็สรรเสริญแล้ว และท่าน
พระมหากัจจานะก็สามารถจะชี้แจงเนื้อความแห่งอุทเทส ที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดง
ไว้โดยย่อ ไม่ทรงชี้แจงโดยพิสดารให้พิสดารได้ ทางที่ดี เราทั้งหลายควรเข้าไปหาท่าน
พระมหากัจจานะจนถึงที่อยู่ แล้วควรสอบถามเนื้อความนี้กับท่านพระมหากัจจานะ
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ครั้งนั้น ข้าพระองค์ทั้งหลายได้พากันเข้าไปหาท่านพระ
มหากัจจานะถึงที่อยู่ แล้วสอบถามเนื้อความนี้กับท่านพระมหากัจจานะ ท่านพระ
มหากัจจานะ ได้ชี้แจงเนื้อความด้วยอาการเหล่านี้ ด้วยบทเหล่านี้ ด้วยพยัญชนะ
เหล่านี้แก่ข้าพระองค์ทั้งหลาย”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า :๒๑๖ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๒. สีหนาทวรรค] ๘. มธุปิณฑิกสูตร

ทรงสรรเสริญพระมหากัจจานะ

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย มหากัจจานะเป็นบัณฑิต ภิกษุ
ทั้งหลาย มหากัจจานะเป็นผู้มีปัญญามาก แม้ว่าเธอทั้งหลายจะถามเนื้อความนี้
กับเรา เราก็จะพึงตอบเนื้อความนั้นอย่างนี้ เหมือนกับที่มหากัจจานะตอบ เรื่องนี้
มีเนื้อความดังนี้แล เธอทั้งหลายจงทรงจำเรื่องนั้นไว้อย่างนี้เถิด”
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนั้นแล้ว ท่านพระอานนท์ได้กราบทูลพระผู้มี
พระภาคว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บุรุษผู้ถูกความหิวและความอ่อนเพลียครอบงำ
ได้ขนมหวาน เขากินในเวลาใด ๆ ก็จะพึงได้รับรสหวานอร่อย ในเวลานั้น ๆ
แม้ฉันใด ภิกษุผู้เป็นนักคิด เป็นบัณฑิตก็ฉันนั้นเหมือนกัน ใคร่ครวญเนื้อความ
แห่งธรรมบรรยายนี้ด้วยปัญญาในเวลาใด ก็จะพึงได้ความพอใจและความเลื่อมใส
แห่งใจในเวลานั้น ๆ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมบรรยายนี้ชื่ออะไร”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “อานนท์ เพราะเหตุนั้น เธอจงทรงจำไว้ว่า
ธรรมบรรยายนี้ชื่อมธุปิณฑิกบรรยาย”
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสภาษิตนี้แล้ว ท่านพระอานนท์มีใจยินดีชื่นชมพระ
ภาษิตของพระผู้มีพระภาค ดังนี้แล

มธุปิณฑิกสูตรที่ ๘ จบ


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๒. สีหนาทวรรค] ๙. เทฺวธาวิตักกสูตร

๙. เทฺวธาวิตักกสูตร
ว่าด้วยวิตก ๒ ประเภท

[๒๐๖] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถ-
บิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคได้รับสั่งเรียกภิกษุ
ทั้งหลายมาตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย” ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มี
พระภาค จึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า
“ภิกษุทั้งหลาย เมื่อก่อน เราเป็นโพธิสัตว์ ยังไม่ได้ตรัสรู้ ได้มีความคิด
อย่างนี้ว่า ‘ถ้ากระไร เราควรจัดวิตกออกเป็น ๒ ประเภท๑
ภิกษุทั้งหลาย เรานั้นจึงได้จัดกามวิตก พยาบาทวิตก และวิหิงสาวิตก
เป็นประเภทที่ ๑ และจัดเนกขัมมวิตก อพยาบาทวิตก และอวิหิงสาวิตก๒ เป็น
ประเภทที่ ๒

เชิงอรรถ :
๑ จัดวิตกออกเป็น ๒ ประเภท หมายถึงจัดวิตกฝ่ายอกุศลเป็นประเภทที่ ๑ จัดวิตกฝ่ายกุศลเป็นประเภท
ที่ ๒ (ม.มู.อ. ๒/๒๐๖/๔๐๖)
๒ กามวิตก หมายถึงความตรึกในเรื่องกาม
พยาบาทวิตก หมายถึงความตรึกในเรื่องปองร้ายผู้อื่น
วิหิงสาวิตก หมายถึงความตรึกในเรื่องเบียดเบียนผู้อื่น
เนกขัมมวิตก หมายถึงความตรึกในเรื่องออกจากกิเลส
อพยาบาทวิตก หมายถึงความตรึกในเรื่องไม่ปองร้ายผู้อื่น
อวิหิงสาวิตก หมายถึงความตรึกในเรื่องไม่เบียดเบียนผู้อื่น ตั้งแต่มีเมตตาเป็นส่วนเบื้องต้นจนถึงปฐมฌาน
(ม.มู.อ. ๑/๒๐๖/๔๐๖)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า :๒๑๘ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๒. สีหนาทวรรค] ๙. เทฺวธาวิตักกสูตร

อกุศลวิตก ๓

[๒๐๗] ภิกษุทั้งหลาย กามวิตกย่อมเกิดขึ้นแก่เราผู้ไม่ประมาท มีความเพียร
อุทิศกายและใจอยู่อย่างนี้ เรานั้นย่อมทราบชัดอย่างนี้ว่า ‘กามวิตกนี้เกิดขึ้นแก่เรา
แล้ว’ แต่กามวิตกนั้น ย่อมเป็นไปเพื่อเบียดเบียนตนบ้าง เพื่อเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง
เพื่อเบียดเบียนทั้งตนและผู้อื่นบ้าง เป็นเหตุดับปัญญา เป็นส่วนแห่งความคับแค้น
ไม่เป็นไปเพื่อนิพพาน เมื่อเราพิจารณาเห็นว่า ‘เป็นไปเพื่อเบียดเบียนตนบ้าง’ กามวิตก
ก็ดับสูญไป เมื่อเราพิจารณาเห็นว่า ‘เป็นไปเพื่อเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง’ กามวิตก
ก็ดับสูญไป เมื่อเราพิจารณาเห็นว่า ‘เป็นไปเพื่อเบียดเบียนทั้งตนและผู้อื่นบ้าง’
กามวิตกก็ดับสูญไป เมื่อเราพิจารณาเห็นว่า ‘เป็นเหตุดับปัญญา เป็นส่วนแห่ง
ความคับแค้น ไม่เป็นไปเพื่อนิพพาน’ กามวิตกก็ดับสูญไป
ภิกษุทั้งหลาย เรานั้นย่อมละ บรรเทา ทำกามวิตกที่เกิดขึ้นบ่อย ๆ ให้
หมดสิ้นไป
[๒๐๘] ภิกษุทั้งหลาย พยาบาทวิตกย่อมเกิดขึ้นแก่เราผู้ไม่ประมาท มี
ความเพียร อุทิศกายและใจอยู่อย่างนี้ ฯลฯ วิหิงสาวิตกย่อมเกิดขึ้น เรานั้นย่อม
ทราบชัดอย่างนี้ว่า ‘วิหิงสาวิตกนี้เกิดขึ้นแก่เราแล้ว’ แต่วิหิงสาวิตกนั้นเป็นไปเพื่อ
เบียดเบียนตนบ้าง เพื่อเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง เพื่อเบียดเบียนทั้งตนและผู้อื่นบ้าง
เป็นเหตุดับปัญญา เป็นส่วนแห่งความคับแค้น ไม่เป็นไปเพื่อนิพพาน เมื่อเรา
พิจารณาเห็นว่า ‘เป็นไปเพื่อเบียดเบียนตนบ้าง’ วิหิงสาวิตกก็ดับสูญไป เมื่อเรา
พิจารณาเห็นว่า ‘เป็นไปเพื่อเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง’ วิหิงสาวิตกก็ดับสูญไป เมื่อเรา
พิจารณาเห็นว่า ‘เป็นไปเพื่อเบียดเบียนทั้งตนและผู้อื่นบ้าง’ วิหิงสาวิตกก็ดับสูญไป
เมื่อเราพิจารณาเห็นว่า ‘เป็นเหตุดับปัญญา เป็นส่วนแห่งความคับแค้น ไม่เป็นไป
เพื่อนิพพาน’ วิหิงสาวิตกก็ดับสูญไป เรานั้นย่อมละ บรรเทา ทำวิหิงสาวิตกที่
เกิดขึ้นบ่อย ๆ ให้หมดสิ้นไป

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า :๒๑๙ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๒. สีหนาทวรรค] ๙. เทฺวธาวิตักกสูตร

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุยิ่งตรึกตรองถึงวิตกใด ๆ มาก เธอก็มีใจน้อมไปในวิตก
นั้น ๆ ถ้าเธอยิ่งตรึกตรองถึงกามวิตกมาก เธอก็ละทิ้งเนกขัมมวิตก กระทำแต่
กามวิตกให้มาก จิตของเธอนั้นก็น้อมไปเพื่อกามวิตก ถ้าภิกษุยิ่งตรึกตรองถึง
พยาบาทวิตกมาก ฯลฯ ถ้าภิกษุยิ่งตรึกตรองถึงวิหิงสาวิตกมาก เธอก็ละทิ้ง
อวิหิงสาวิตก กระทำแต่วิหิงสาวิตกให้มาก จิตของเธอนั้นก็น้อมไปเพื่อวิหิงสาวิตก
ในสารทสมัยเดือนท้ายแห่งฤดูฝน คนเลี้ยงโคต้องคอยระวังโคทั้งหลายในที่มี
ข้าวกล้าหนาแน่น เขาต้องตีต้อนโคทั้งหลายไปจากที่นั้น ๆ กั้นไว้ ห้ามไว้ ข้อนั้น
เพราะเหตุไร เพราะคนเลี้ยงโคมองเห็นการฆ่า การถูกจองจำ การเสียทรัพย์
การถูกติเตียน เพราะโคทั้งหลายเป็นต้นเหตุ แม้ฉันใด เราก็ฉันนั้นเหมือนกัน
ได้เห็นโทษ ความเลวทราม ความเศร้าหมองแห่งอกุศลธรรมทั้งหลาย และเห็น
อานิสงส์ในเนกขัมมะอันเป็นฝ่ายผ่องแผ้วแห่งกุศลธรรมทั้งหลาย

กุศลวิตก ๓

[๒๐๙] ภิกษุทั้งหลาย เนกขัมมวิตกย่อมเกิดขึ้นแก่เราผู้ไม่ประมาท มีความ
เพียร อุทิศกายและใจอยู่อย่างนี้ เรานั้นย่อมทราบชัดอย่างนี้ว่า ‘เนกขัมมวิตกนี้
เกิดขึ้นแก่เราแล้ว’ แต่เนกขัมมวิตกนั้นไม่เป็นไปเพื่อเบียดเบียนตน ไม่เป็นไปเพื่อ
เบียดเบียนผู้อื่น ไม่เป็นไปเพื่อเบียดเบียนทั้งตนและผู้อื่น เป็นเหตุทำปัญญาให้เจริญ
ไม่เป็นส่วนแห่งความคับแค้น เป็นไปเพื่อนิพพาน ถ้าเราจะพึงตรึกตรองถึง
เนกขัมมวิตกนั้นอยู่ตลอดคืน เราก็จักมองไม่เห็นภัยอันจะเกิดจากเนกขัมมวิตกนั้นได้เลย
หากเราจะพึงตรึกตรองถึงเนกขัมมวิตกนั้นอยู่ตลอดวัน เราก็จักมองไม่เห็นภัยอันจะ
เกิดจากเนกขัมมวิตกนั้นได้เลย หากเราจะตรึกตรองถึงเนกขัมมวิตกนั้นตลอดทั้งคืน
ทั้งวัน เราก็จักมองไม่เห็นภัยอันจะเกิดจากเนกขัมมวิตกนั้นได้เลย แต่เมื่อเราตรึก
ตรองนานเกินไป ร่างกายก็เหน็ดเหนื่อย เมื่อร่างกายเหน็ดเหนื่อย จิตก็ฟุ้งซ่าน
เมื่อจิตฟุ้งซ่าน จิตก็ห่างจากสมาธิ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า :๒๒๐ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๒. สีหนาทวรรค] ๙. เทฺวธาวิตักกสูตร

ภิกษุทั้งหลาย เรานั้นตั้งจิตไว้ในภายใน ทำให้สงบ ทำให้เกิดสมาธิ
ประคองไว้ด้วยดี ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะเราปรารถนาไว้ว่า ‘จิตของเรา
อย่าฟุ้งซ่านอีกเลย’
[๒๑๐] ภิกษุทั้งหลาย อพยาบาทวิตกย่อมเกิดขึ้นแก่เราผู้ไม่ประมาท มี
ความเพียร อุทิศกายและใจอยู่อย่างนี้ ฯลฯ อวิหิงสาวิตกย่อมเกิดขึ้น เรานั้นย่อม
ทราบชัดอย่างนี้ว่า ‘อวิหิงสาวิตกนี้เกิดขึ้นแก่เราแล้ว’ แต่อวิหิงสาวิตกนั้นไม่เป็น
ไปเพื่อเบียดเบียนตน ไม่เป็นไปเพื่อเบียดเบียนผู้อื่น ไม่เป็นไปเพื่อเบียดเบียนทั้ง
ตนและผู้อื่น เป็นเหตุทำปัญญาให้เจริญ ไม่เป็นส่วนแห่งความคับแค้น เป็นไป
เพื่อนิพพาน ถ้าเราจะพึงตรึกตรองถึงอวิหิงสาวิตกนั้นอยู่ตลอดคืน เราก็จักมองไม่
เห็นภัยอันจะเกิดจากอวิหิงสาวิตกนั้นได้เลย หากเราจะพึงตรึกตรองถึงอวิหิงสาวิตก
นั้นอยู่ตลอดวัน เราก็จักมองไม่เห็นภัยอันจะเกิดจากอวิหิงสาวิตกนั้นได้เลย หาก
เราจะพึงตรึกตรองถึงอวิหิงสาวิตกนั้นตลอดทั้งคืนทั้งวัน เราก็จักมองไม่เห็นภัยอัน
จะเกิดจากอวิหิงสาวิตกนั้นได้เลย แต่เมื่อเราตรึกตรองอยู่นานเกินไป ร่างกายก็
เหน็ดเหนื่อย เมื่อร่างกายเหน็ดเหนื่อย จิตก็ฟุ้งซ่าน เมื่อจิตฟุ้งซ่าน จิตก็ห่าง
จากสมาธิ เรานั้นตั้งจิตไว้ในภายใน ทำให้สงบ ทำให้เกิดสมาธิ ประคองไว้ด้วยดี
ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะเราปรารถนาไว้ว่า ‘จิตของเราอย่าฟุ้งซ่านอีกเลย’
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุยิ่งตรึกตรองถึงวิตกใด ๆ มาก เธอก็มีใจน้อมไปในวิตก
นั้น ๆ มาก ถ้าภิกษุยิ่งตรึกตรองถึงเนกขัมมวิตกมาก เธอก็จะละกามวิตกได้
ทำเนกขัมมวิตกอย่างเดียวให้มาก จิตของเธอนั้นก็จะน้อมไปเพื่อเนกขัมมวิตก ถ้า
ภิกษุยิ่งตรึกตรองถึงอพยาบาทวิตกมาก ฯลฯ ถ้าภิกษุยิ่งตรึกตรองถึงอวิหิงสาวิตก
มาก เธอก็จะละวิหิงสาวิตกได้ ทำอวิหิงสาวิตกอย่างเดียวให้มาก จิตของเธอนั้น
ก็จะน้อมไปเพื่ออวิหิงสาวิตก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า :๒๒๑ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๒. สีหนาทวรรค] ๙. เทฺวธาวิตักกสูตร

ในเดือนท้ายแห่งฤดูร้อน คนเลี้ยงโคต้องคอยระวัง โคทั้งหลายในที่ใกล้บ้าน
ทุก ๆ ด้าน เมื่อเขาไปสู่โคนต้นไม้หรือที่แจ้ง จะต้องทำสติอยู่เสมอว่า ‘นั้นฝูงโค’
แม้ฉันใด เราก็ฉันนั้นเหมือนกัน ต้องทำสติอยู่เสมอว่า ‘เหล่านี้เป็นธรรม๑ (คือกุศลวิตก)’
[๒๑๑] ภิกษุทั้งหลาย เราได้ปรารภความเพียร มีความเพียรไม่ย่อหย่อนแล้ว
มีสติมั่นคง ไม่เลอะเลือน มีกายสงบ ไม่กระสับกระส่าย มีจิตตั้งมั่น มีอารมณ์
เป็นหนึ่ง เรานั้นสงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌานที่มีวิตก
วิจาร ปีติ และสุขอันเกิดจากวิเวกอยู่ เพราะวิตกวิจารสงบระงับไป เราบรรลุทุติยฌาน
ที่มีความผ่องใสในภายใน มีภาวะที่จิตเป็นหนึ่งผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีแต่ปีติ
และสุขอันเกิดจากสมาธิอยู่ เพราะปีติจางคลายไป เรามีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ
เสวยสุขด้วยนามกาย บรรลุตติยฌานที่พระอริยะทั้งหลายสรรเสริญว่า ‘ผู้มีอุเบกขา
มีสติ อยู่เป็นสุข’ เพราะละสุขและทุกข์ได้ เพราะโสมนัสและโทมนัสดับไปก่อนแล้ว
เราบรรลุจตุตถฌานที่ไม่มีทุกข์ และไม่มีสุข มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขาอยู่

วิชชา ๓

[๒๑๒] เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ผุดผ่อง ไม่มีกิเลสเพียงดังเนิน๒ ปราศจาก
ความเศร้าหมอง อ่อน เหมาะแก่การใช้งาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ เรานั้น
น้อมจิตไปเพื่อปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ระลึกชาติก่อนได้หลายชาติ คือ ๑ ชาติบ้าง
๒ ชาติบ้าง ฯลฯ๓ เรานั้นระลึกชาติก่อนได้หลายชาติพร้อมทั้งลักษณะทั่วไปและ
ชีวประวัติอย่างนี้ เราบรรลุวิชชาที่ ๑ นี้ในปฐมยามแห่งราตรี กำจัดอวิชชาได้แล้ว
วิชชาก็เกิดขึ้น กำจัดความมืดได้แล้ว ความสว่างก็เกิดขึ้น เหมือนบุคคลผู้ไม่ประมาท
มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่ฉะนั้น

เชิงอรรถ :
๑ ธรรม ในที่นี้หมายถึงธรรมคือสมถะและวิปัสสนา (ม.มู.อ. ๑/๒๑๐/๔๑๒)
๒ ดูเชิงอรรถที่ ๕ ข้อ ๕๒ (ภยเภรวสูตร) หน้า ๔๑ ในเล่มนี้
๓ ดูเนื้อความเต็มในข้อ ๕๒ (ภยเภรวสูตร) หน้า ๔๑-๔๒ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า :๒๒๒ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๒. สีหนาทวรรค] ๙. เทฺวธาวิตักกสูตร

[๒๑๓] เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ผุดผ่อง ไม่มีกิเลสเพียงดังเนิน ปราศจาก
ความเศร้าหมอง อ่อน เหมาะแก่การใช้งาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ เรานั้นน้อม
จิตไปเพื่อจุตูปปาตญาณ เห็นหมู่สัตว์ผู้กำลังจุติ กำลังเกิดด้วยตาทิพย์อันบริสุทธิ์
เหนือมนุษย์ ฯลฯ๑ รู้ชัดถึงหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรมว่า ‘หมู่สัตว์ที่ประกอบกาย
ทุจริต ฯลฯ เราเห็นหมู่สัตว์ผู้กำลังจุติ กำลังเกิด ทั้งชั้นต่ำและชั้นสูง งามและ
ไม่งาม เกิดดีและเกิดไม่ดี ด้วยตาทิพย์อันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์ รู้ชัดถึงหมู่สัตว์
ผู้เป็นไปตามกรรมอย่างนี้แล เราบรรลุวิชชาที่ ๒ นี้ในมัชฌิมยามแห่งราตรี
กำจัดอวิชชาได้แล้ว วิชชาก็เกิดขึ้น กำจัดความมืดได้แล้ว ความสว่างก็เกิดขึ้น
เหมือนบุคคลผู้ไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่ฉะนั้น
[๒๑๔] เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ผุดผ่อง ไม่มีกิเลสเพียงดังเนิน ปราศจาก
ความเศร้าหมอง อ่อน เหมาะแก่การใช้งาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ เรานั้นได้
น้อมจิตไปเพื่ออาสวักขยญาณ รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า ‘นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย
นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา นี้อาสวะ นี้อาสวสมุทัย นี้อาสวนิโรธ
นี้อาสวนิโรธคามินีปฏิปทา’ เมื่อเรารู้เห็นอย่างนี้ จิตจึงหลุดพ้นจากกามาสวะบ้าง
จิตจึงหลุดพ้นจากภวาสวะบ้าง จิตจึงหลุดพ้นจากอวิชชาสวะบ้าง เมื่อจิตหลุดพ้น
แล้วก็รู้ว่า ‘หลุดพ้นแล้ว’ รู้ชัดว่า ‘ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่
ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป’ เราบรรลุวิชชาที่ ๓ นี้
ในปัจฉิมยามแห่งราตรี กำจัดอวิชชาได้แล้ว วิชชาก็เกิดขึ้น กำจัดความมืดได้แล้ว
ความสว่างก็เกิดขึ้น เหมือนบุคคลผู้ไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศกายและใจ
อยู่ฉะนั้น

เชิงอรรถ :
๑ ดูเนื้อความเต็มในข้อ ๕๓ (ภยเภรวสูตร) หน้า ๔๒ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า :๒๒๓ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๒. สีหนาทวรรค] ๙. เทฺวธาวิตักกสูตร

ทรงชี้ทางผิดและทางถูก

[๒๑๕] ภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนมีเนื้อฝูงใหญ่พากันเข้าไปอาศัยบึงใหญ่
ในป่าดง มีชายคนหนึ่งผู้ปรารถนาความพินาศ ไม่ต้องการจะเกื้อกูล ไม่ประสงค์
ความปลอดภัยแก่ฝูงเนื้อนั้น เขาปิดทางที่ปลอดภัย มีความสวัสดี ไปได้ตามชอบ
ใจของฝูงเนื้อนั้น เปิดทางที่ไม่สะดวก ผูกเนื้อต่อตัวผู้ ซุ่มนางเนื้อต่อไว้
เมื่อเป็นเช่นนี้ สมัยต่อมา เนื้อฝูงใหญ่ก็ต้องมาตายเหลือจำนวนน้อย แต่ยังมีชาย
คนหนึ่งผู้ปรารถนาประโยชน์ ต้องการจะเกื้อกูล ประสงค์ความปลอดภัยแก่ฝูงเนื้อ
นั้น เขาเปิดทางที่ปลอดภัย มีความสวัสดี ไปได้ตามชอบใจของฝูงเนื้อนั้น ปิด
ทางที่ไม่สะดวก กำจัดเนื้อต่อตัวผู้ ทำลายนางเนื้อต่อแล้ว เมื่อเป็นเช่นนี้ สมัยต่อมา
เนื้อฝูงใหญ่ก็ต้องมีจำนวนมากขึ้น คับคั่ง ล้นหลาม แม้ฉันใด ข้ออุปมานี้ก็ฉันนั้น
เราได้ทำขึ้นก็เพื่อจะให้เธอทั้งหลายรู้ความหมายของเนื้อความในอุปมานั้น มีอธิบาย
ดังต่อไปนี้
คำว่า บึงใหญ่ นี้ เป็นชื่อแห่งกามทั้งหลาย
คำว่า เนื้อฝูงใหญ่ นี้ เป็นชื่อของหมู่สัตว์ทั้งหลาย
คำว่า ชายผู้ปรารถนาความพินาศ ไม่ต้องการจะเกื้อกูล ไม่ประสงค์ความ
ปลอดภัย นี้ เป็นชื่อของมารใจบาป
คำว่า ทางที่ไม่สะดวก นี้ เป็นชื่อของมิจฉามรรค(ทางผิด)มีองค์ ๘ คือ

๑. มิจฉาทิฏฐิ (เห็นผิด) ๒. มิจฉาสังกัปปะ (ดำริผิด)
๓. มิจฉาวาจา (เจรจาผิด) ๔. มิจฉากัมมันตะ (กระทำผิด)
๕. มิจฉาอาชีวะ (เลี้ยงชีพผิด) ๖. มิจฉาวายามะ (พยายามผิด)
๗. มิจฉาสติ (ระลึกผิด) ๘. มิจฉาสมาธิ (ตั้งจิตมั่นผิด)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า :๒๒๔ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๒. สีหนาทวรรค] ๙. เทฺวธาวิตักกสูตร

คำว่า เนื้อต่อตัวผู้ นี้ เป็นชื่อแห่งความกำหนัดด้วยอำนาจความเพลิดเพลิน
คำว่า นางเนื้อต่อ นี้ เป็นชื่อของอวิชชา
คำว่า ชายผู้ปรารถนาประโยชน์ ต้องการจะเกื้อกูล ประสงค์ความปลอดภัย
นี้ เป็นชื่อของตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
คำว่า ทางที่ปลอดภัย มีความสวัสดี ไปได้ตามชอบใจ นี้ เป็นชื่อของ
อริยมรรคมีองค์ ๘ คือ

๑. สัมมาทิฏฐิ ๒. สัมมาสังกัปปะ
๓. สัมมาวาจา ๔. สัมมากัมมันตะ
๕. สัมมาอาชีวะ ๖. สัมมาวายามะ
๗. สัมมาสติ ๘. สัมมาสมาธิ

ภิกษุทั้งหลาย ด้วยประการดังกล่าวมาแล้วนี้ เราได้เปิดทางที่ปลอดภัย
มีความสวัสดีที่พวกเธอควรดำเนินไปได้ตามใจชอบให้แล้ว และปิดทางที่ไม่สะดวก
ให้ด้วย กำจัดเนื้อต่อตัวผู้ให้แล้ว และทำลายนางเนื้อต่อให้แล้ว กิจใดที่ศาสดาผู้
หวังประโยชน์เกื้อกูล เอื้อเฟื้อ อาศัยความอนุเคราะห์จะพึงกระทำแก่สาวกทั้งหลาย
กิจนั้นตถาคตก็ได้กระทำแก่เธอทั้งหลายแล้ว นั่นโคนไม้ นั่นเรือนว่าง เธอทั้งหลาย
จงเพ่งพินิจ อย่าประมาท อย่าได้มีความเดือดร้อนในภายหลัง นี้เป็นคำพร่ำสอน
ของตถาคตสำหรับเธอทั้งหลาย”
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสภาษิตนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นมีใจยินดีต่างชื่นชมพระภาษิต
ของพระผู้มีพระภาค ดังนี้แล

เทฺวธาวิตักกสูตรที่ ๙ จบ


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๒. สีหนาทวรรค] ๑๐. วิตักกสัณฐานสูตร

๑๐. วิตักกสัณฐานสูตร
ว่าด้วยสัณฐานแห่งวิตก

[๒๑๖] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถ-
บิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคได้รับสั่งเรียกภิกษุ
ทั้งหลายมาตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย” ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว
พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า

อุบายกำจัดอกุศลวิตก

“ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ขวนขวายในอธิจิต๑ ควรมนสิการถึงนิมิต ๕ ประการนี้
ตามเวลาอันสมควร
นิมิต ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. เมื่อภิกษุในธรรมวินัยนี้อาศัยนิมิตใดแล้ว มนสิการนิมิตใดอยู่ วิตก
ทั้งหลายอันเป็นบาปอกุศล ซึ่งประกอบด้วยฉันทะบ้าง ประกอบ
ด้วยโทสะบ้าง ประกอบด้วยโมหะบ้าง ย่อมเกิดขึ้น ภิกษุนั้นควร
มนสิการนิมิตอื่นซึ่งประกอบด้วยกุศลนอกจากนิมิตนั้น เมื่อเธอ
มนสิการนิมิตอื่นซึ่งประกอบด้วยกุศลนอกจากนิมิตนั้น เธอย่อมละ
วิตกอันเป็นบาปอกุศล ซึ่งประกอบด้วยฉันทะบ้าง ประกอบด้วย
โทสะบ้าง ประกอบด้วยโมหะบ้างได้ วิตกอันเป็นบาปอกุศลเหล่านั้น
ย่อมตั้งอยู่ไม่ได้ เพราะละวิตกอันเป็นบาปอกุศลเหล่านั้นได้ จิตย่อม

เชิงอรรถ :
๑ อธิจิต หมายถึงจิตมีสมาบัติ ๘ อันเป็นพื้นฐานแห่งวิปัสสนา เป็นจิตที่ยิ่งกว่าจิตที่เกิดขึ้นด้วยอำนาจกุศล-
กรรมบถ ๑๐ ประการ (ม.มู.อ. ๑/๒๑๖/๔๑๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า :๒๒๖ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๒. สีหนาทวรรค] ๑๐. วิตักกสัณฐานสูตร

ตั้งมั่น สงบ เป็นภาวะที่จิตเป็นหนึ่งผุดขึ้น มีสมาธิในภายใน
โดยแท้ ช่างไม้หรือลูกมือของช่างไม้ ผู้ชำนาญ ใช้ลิ่มอันเล็ก ตอก
โยก ถอนลิ่มอันใหญ่ออกได้ แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน
เมื่ออาศัยนิมิตใดแล้ว มนสิการนิมิตใด วิตกทั้งหลายอันเป็น
บาปอกุศล ซึ่งประกอบด้วยฉันทะบ้าง ประกอบด้วยโทสะบ้าง
ประกอบด้วยโมหะบ้าง ย่อมเกิดขึ้น ภิกษุนั้นควรมนสิการนิมิตอื่น
ซึ่งประกอบด้วยกุศลนอกจากนิมิตนั้น เมื่อเธอมนสิการนิมิตอื่น
ซึ่งประกอบด้วยกุศลนอกจากนิมิตนั้น เธอย่อมละวิตกอันเป็น
บาปอกุศล ซึ่งประกอบด้วยฉันทะบ้าง ประกอบด้วยโทสะบ้าง
ประกอบด้วยโมหะบ้างได้ วิตกอันเป็นบาปอกุศลเหล่านั้น ย่อม
ตั้งอยู่ไม่ได้ เพราะละวิตกอันเป็นบาปอกุศลเหล่านั้นได้ จิตย่อม
ตั้งมั่น สงบ เป็นภาวะที่จิตเป็นหนึ่งผุดขึ้น มีสมาธิในภายในโดยแท้
[๒๑๗] ภิกษุทั้งหลาย
๒. หากเมื่อภิกษุนั้นมนสิการนิมิตอื่นซึ่งประกอบด้วยกุศลนอกจาก
นิมิตนั้น วิตกอันเป็นบาปอกุศลซึ่งประกอบด้วยฉันทะบ้าง
ประกอบด้วยโทสะบ้าง ประกอบด้วยโมหะบ้าง ยังเกิดขึ้นอีกนั่นแล
ภิกษุนั้นควรพิจารณาโทษแห่งวิตกเหล่านั้นว่า ‘วิตกเหล่านี้ล้วน
แต่เป็นอกุศลแม้อย่างนี้ วิตกเหล่านี้ล้วนแต่มีโทษแม้อย่างนี้
วิตกเหล่านี้ล้วนแต่มีทุกข์เป็นวิบากแม้อย่างนี้’ เมื่อเธอพิจารณา
โทษแห่งวิตกเหล่านั้นอยู่ เธอย่อมละวิตกอันเป็นบาปอกุศลซึ่ง
ประกอบด้วยฉันทะบ้าง ประกอบด้วยโทสะบ้าง ประกอบด้วย
โมหะบ้างได้ วิตกอันเป็นบาปอกุศลเหล่านั้นย่อมตั้งอยู่ไม่ได้
เพราะละวิตกอันเป็นบาปอกุศลเหล่านั้นได้ จิตย่อมตั้งมั่น สงบ
เป็นภาวะที่จิตเป็นหนึ่งผุดขึ้น มีสมาธิในภายในโดยแท้ หญิงสาว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า :๒๒๗ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๒. สีหนาทวรรค] ๑๐. วิตักกสัณฐานสูตร

หรือชายหนุ่มที่ชอบแต่งตัว มีผู้นำซากงู ซากสุนัข หรือซากศพ
มนุษย์มาผูกไว้ที่คอ ย่อมรู้สึกอึดอัด ระอา และรังเกียจ แม้ฉันใด
ภิกษุนั้นก็ฉันนั้นเหมือนกัน หากเมื่อมนสิการนิมิตอื่นซึ่งประกอบ
ด้วยกุศลนอกจากนิมิตนั้น วิตกอันเป็นบาปอกุศลซึ่งประกอบ
ด้วยฉันทะบ้าง ประกอบด้วยโทสะบ้าง ประกอบด้วยโมหะบ้าง
ยังเกิดขึ้นอีก ภิกษุนั้นควรพิจารณาโทษแห่งวิตกเหล่านั้นว่า
‘วิตกเหล่านี้ล้วนแต่เป็นอกุศลแม้อย่างนี้ วิตกเหล่านี้ล้วนแต่มี
โทษแม้อย่างนี้ วิตกเหล่านี้ล้วนแต่มีทุกข์เป็นวิบากแม้อย่างนี้’
เมื่อเธอพิจารณาโทษแห่งวิตกเหล่านั้นอยู่ เธอย่อมละวิตกอันเป็น
บาปอกุศลซึ่งประกอบด้วยฉันทะบ้าง ประกอบด้วยโทสะบ้าง
ประกอบด้วยโมหะบ้างได้ วิตกอันเป็นบาปอกุศลเหล่านั้นย่อมตั้ง
อยู่ไม่ได้ เพราะละวิตกอันเป็นบาปอกุศลเหล่านั้นได้ จิตย่อมตั้งมั่น
สงบ เป็นภาวะที่จิตเป็นหนึ่งผุดขึ้น มีสมาธิในภายในโดยแท้
[๒๑๘] ภิกษุทั้งหลาย
๓. หากเมื่อภิกษุนั้นพิจารณาโทษแห่งวิตกเหล่านั้นอยู่ วิตกอันเป็น
บาปอกุศลซึ่งประกอบด้วยฉันทะบ้าง ประกอบด้วยโทสะบ้าง
ประกอบด้วยโมหะบ้าง ยังเกิดขึ้นอีก ภิกษุนั้นไม่ควรระลึกถึง
ไม่ควรมนสิการวิตกเหล่านั้น เมื่อเธอไม่ระลึกถึง ไม่มนสิการ
วิตกเหล่านั้นอยู่ เธอย่อมละวิตกอันเป็นบาปอกุศลซึ่งประกอบ
ด้วยฉันทะบ้าง ประกอบด้วยโทสะบ้าง ประกอบด้วยโมหะบ้างได้
วิตกอันเป็นบาปอกุศลเหล่านั้นย่อมตั้งอยู่ไม่ได้ เพราะละวิตกอัน
เป็นบาปอกุศลเหล่านั้นได้ จิตย่อมตั้งมั่น สงบ เป็นภาวะที่จิต
เป็นหนึ่งผุดขึ้น มีสมาธิในภายในโดยแท้ คนมีตาดีไม่ต้องการที่
จะเห็นรูปที่ผ่านมา เขาควรหลับตาหรือเหลียวไปทางอื่นเสีย แม้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า :๒๒๘ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๒. สีหนาทวรรค] ๑๐. วิตักกสัณฐานสูตร

ฉันใด ภิกษุนั้นก็ฉันนั้นเหมือนกัน หากเมื่อพิจารณาโทษแห่ง
วิตกเหล่านั้นอยู่ วิตกอันเป็นบาปอกุศลซึ่งประกอบด้วยฉันทะบ้าง
ยังเกิดขึ้นอีกนั่นแล ฯลฯ เป็นภาวะที่จิตเป็นหนึ่งผุดขึ้น มีสมาธิ
ในภายในโดยแท้
[๒๑๙] ภิกษุทั้งหลาย
๔. หากเมื่อภิกษุนั้นไม่ระลึกถึง ไม่มนสิการวิตกเหล่านั้น วิตกอัน
เป็นบาปอกุศลซึ่งประกอบด้วยฉันทะบ้าง ประกอบด้วยโทสะบ้าง
ประกอบด้วยโมหะบ้าง ยังเกิดขึ้นอีก ภิกษุนั้นควรมนสิการวิตักก-
สังขารสัณฐาน๑ แห่งวิตกเหล่านั้น เมื่อเธอมนสิการวิตักกสังขาร-
สัณฐานแห่งวิตกเหล่านั้น เธอย่อมละวิตกอันเป็นบาปอกุศลซึ่ง
ประกอบด้วยฉันทะบ้าง ประกอบด้วยโทสะบ้าง ประกอบด้วย
โมหะบ้างได้ วิตกอันเป็นบาปอกุศลเหล่านั้นย่อมตั้งอยู่ไม่ได้
เพราะละวิตกอันเป็นบาปอกุศลเหล่านั้นได้ จิตย่อมตั้งมั่น สงบ
เป็นภาวะที่จิตเป็นหนึ่งผุดขึ้น มีสมาธิในภายในโดยแท้ คนเดินเร็ว
เขาจะพึงมีความคิดอย่างนี้ว่า ‘เราจะรีบเดินทำไม ถ้ากระไร เราควร
ค่อย ๆ เดิน’ เขาก็ค่อย ๆ เดิน เขาจะพึงมีความคิดอย่างนี้ว่า
‘เราจะค่อย ๆ เดินทำไม ถ้ากระไร เราควรยืน’ เขาก็ยืน เขาจะ
พึงมีความคิดอย่างนี้อีกว่า ‘เราจะยืนอยู่ทำไม ถ้ากระไร เราควรนั่ง’
เขาจึงนั่ง เขาจะพึงมีความคิดอย่างนี้อีกว่า ‘เราจะนั่งอยู่ทำไม
ถ้ากระไร เราควรนอน’ เขาก็นอน คนผู้นั้นเว้นอิริยาบถหยาบ ๆ
แล้วพึงใช้อิริยาบถละเอียด ๆ แม้ฉันใด ภิกษุนั้นก็ฉันนั้นเหมือนกัน
หากเมื่อไม่ระลึกถึง ไม่มนสิการวิตกเหล่านั้น วิตกอันเป็นบาปอกุศล

เชิงอรรถ :
๑ วิตักกสังขารสัณฐาน หมายถึงที่ตั้งแห่งเหตุของวิตก (ม.มู.อ. ๑/๒๑๙/๔๒๐)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า :๒๒๙ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๒. สีหนาทวรรค] ๑๐. วิตักกสัณฐานสูตร

ซึ่งประกอบด้วยฉันทะบ้าง ... ยังเกิดขึ้นอีกนั่นแล ฯลฯ เป็น
ภาวะที่จิตเป็นหนึ่งผุดขึ้น มีสมาธิในภายในโดยแท้
[๒๒๐] ภิกษุทั้งหลาย
๕. หากเมื่อภิกษุนั้นมนสิการถึงวิตักกสังขารสัณฐานแห่งวิตกแม้เหล่านั้น
วิตกอันเป็นบาปอกุศลซึ่งประกอบด้วยฉันทะบ้าง ประกอบด้วย
โทสะบ้าง ประกอบด้วยโมหะบ้าง ยังเกิดขึ้นอีก ภิกษุนั้นควรกด
ฟันด้วยฟัน ใช้ลิ้นดันเพดานไว้แน่น ใช้จิตข่มคั้นจิต ทำจิตให้
เร่าร้อน เมื่อเธอกดฟันด้วยฟัน ใช้ลิ้นดันเพดานไว้แน่น ใช้จิต
ข่มคั้นจิต ทำจิตให้เร่าร้อน เธอย่อมละวิตกอันเป็นบาปอกุศลซึ่ง
ประกอบด้วยฉันทะบ้าง ประกอบด้วยโทสะบ้าง ประกอบด้วย
โมหะบ้างได้ วิตกอันเป็นบาปอกุศลเหล่านั้น ย่อมตั้งอยู่ไม่ได้
เพราะละวิตกอันเป็นบาปอกุศลเหล่านั้นได้ จิตย่อมตั้งมั่น สงบ
เป็นภาวะที่จิตเป็นหนึ่งผุดขึ้น มีสมาธิในภายในโดยแท้ คนผู้มีกำลัง
มากจับคนผู้มีกำลังน้อยกว่าได้แล้วบีบ กด เค้น ที่ศีรษะ คอ
หรือก้านคอไว้ให้แน่น แม้ฉันใด ภิกษุนั้นก็ฉันนั้นเหมือนกัน
หากเมื่อมนสิการถึงวิตักกสังขารสัณฐานแห่งวิตกแม้เหล่านั้น
วิตกอันเป็นบาปอกุศล ซึ่งประกอบด้วยฉันทะบ้าง ประกอบด้วย
โทสะบ้าง ประกอบด้วยโมหะบ้าง ยังเกิดขึ้นอีก ภิกษุนั้นควรกด
ฟันด้วยฟัน ใช้ลิ้นดันเพดานไว้แน่น ใช้จิตข่มคั้นจิต ทำจิตให้
เร่าร้อน เมื่อเธอกดฟันด้วยฟัน ใช้ลิ้นดันเพดานไว้แน่น ใช้จิต
ข่มคั้นจิต ทำจิตให้เร่าร้อน เธอย่อมละวิตกอันเป็นบาปอกุศลซึ่ง
ประกอบด้วยฉันทะบ้าง ประกอบด้วยโทสะบ้าง ประกอบด้วย
โมหะบ้างได้ วิตกอันเป็นบาปอกุศลเหล่านั้นย่อมตั้งอยู่ไม่ได้
เพราะละวิตกอันเป็นบาปอกุศลเหล่านั้นได้ จิตย่อมตั้งมั่น สงบ
เป็นภาวะที่จิตเป็นหนึ่งผุดขึ้น มีสมาธิในภายในโดยแท้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า :๒๓๐ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๒. สีหนาทวรรค] ๑๐. วิตักกสัณฐานสูตร

ผู้ชำนาญวิถีทางแห่งวิตก

[๒๒๑] ภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุอาศัยนิมิตใดแล้ว มนสิการนิมิตใด วิตก
อันเป็นบาปอกุศลซึ่งประกอบด้วยฉันทะบ้าง ประกอบด้วยโทสะบ้าง ประกอบด้วย
โมหะบ้างย่อมเกิดขึ้น เมื่อเธอมนสิการนิมิตอื่นซึ่งประกอบด้วยกุศลนอกจาก
นิมิตนั้น เธอย่อมละวิตกอันเป็นบาปอกุศลซึ่งประกอบด้วยฉันทะบ้าง ประกอบ
ด้วยโทสะบ้าง ประกอบด้วยโมหะบ้างได้ วิตกอันเป็นบาปอกุศลเหล่านั้นย่อมตั้งอยู่
ไม่ได้ เพราะละวิตกอันเป็นบาปอกุศลเหล่านั้นได้ จิตย่อมตั้งมั่น สงบ เป็นภาวะ
ที่จิตเป็นหนึ่งผุดขึ้น มีสมาธิในภายในโดยแท้ เมื่อภิกษุนั้นพิจารณาโทษแห่งวิตก
เหล่านั้นอยู่ เธอย่อมละวิตกอันเป็นบาปอกุศลซึ่งประกอบด้วยฉันทะบ้าง ประกอบ
ด้วยโทสะบ้าง ประกอบด้วยโมหะบ้างได้ วิตกอันเป็นบาปอกุศลเหล่านั้นย่อมตั้งอยู่
ไม่ได้ เพราะละวิตกอันเป็นบาปอกุศลเหล่านั้นได้ จิตย่อมตั้งมั่น สงบ เป็นภาวะ
ที่จิตเป็นหนึ่งผุดขึ้น มีสมาธิในภายในโดยแท้ เมื่อภิกษุนั้นไม่ระลึกถึง ไม่มนสิการ
วิตกเหล่านั้น เธอย่อมละวิตกอันเป็นบาปอกุศลซึ่งประกอบด้วยฉันทะบ้าง
ประกอบด้วยโทสะบ้าง ประกอบด้วยโมหะบ้างได้ วิตกอันเป็นบาปอกุศลเหล่านั้น
ย่อมตั้งอยู่ไม่ได้ เพราะละวิตกอันเป็นบาปอกุศลเหล่านั้นได้ จิตย่อมตั้งมั่น สงบ
เป็นภาวะที่จิตเป็นหนึ่งผุดขึ้น มีสมาธิในภายในโดยแท้
เมื่อภิกษุนั้นมนสิการวิตักกสังขารสัณฐานแห่งวิตกเหล่านั้น เธอย่อมละวิตก
อันเป็นบาปอกุศลซึ่งประกอบด้วยฉันทะบ้าง ประกอบด้วยโทสะบ้าง ประกอบด้วย
โมหะบ้างได้ วิตกอันเป็นบาปอกุศลเหล่านั้นย่อมตั้งอยู่ไม่ได้ เพราะละวิตกอันเป็น
บาปอกุศลเหล่านั้นได้ จิตย่อมตั้งมั่น สงบ เป็นภาวะที่จิตเป็นหนึ่งผุดขึ้น มีสมาธิ
ในภายในโดยแท้ เมื่อภิกษุนั้นกดฟันด้วยฟัน ใช้ลิ้นดันเพดานไว้แน่น ใช้จิตข่มคั้นจิต
ทำจิตให้เร่าร้อน เธอย่อมละวิตกอันเป็นบาปอกุศลซึ่งประกอบด้วยฉันทะบ้าง
ประกอบด้วยโทสะบ้าง ประกอบด้วยโมหะบ้างได้ วิตกอันเป็นบาปอกุศลเหล่านั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า :๒๓๑ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๒. สีหนาทวรรค] รวมพระสูตรที่มีในวรรค

ย่อมตั้งอยู่ไม่ได้ เพราะละวิตกอันเป็นบาปอกุศลเหล่านั้นได้ จิตย่อมตั้งมั่น สงบ
เป็นภาวะที่จิตเป็นหนึ่งผุดขึ้น มีสมาธิในภายในโดยแท้
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนี้เราเรียกว่า ‘ผู้ชำนาญในวิถีทางแห่งวิตก เธอหวังวิตก
ใดก็จักตรึกถึงวิตกนั้นได้ ไม่หวังวิตกใดก็จักไม่ตรึกถึงวิตกนั้นได้ ตัดตัณหาได้แล้ว
คลายสังโยชน์ได้แล้ว ทำที่สุดทุกข์ได้แล้ว เพราะละมานะได้โดยชอบ”
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสภาษิตนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นมีใจยินดีต่างชื่นชมพระภาษิต
ของพระผู้มีพระภาค ดังนี้แล

วิตักกสัณฐานสูตรที่ ๑๐ จบ
สีหนาทวรรคที่ ๒ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. จูฬสีหนาทสูตร ๒. มหาสีหนาทสูตร
๓. มหาทุกขักขันธสูตร ๔. จูฬทุกขักขันธสูตร
๕. อนุมานสูตร ๖. เจโตขีลสูตร
๗. วนปัตถสูตร ๘. มธุปิณฑิกสูตร
๙. เทฺวธาวิตักกสูตร ๑๐. วิตักกสัณฐานสูตร


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๓. โอปัมมวรรค] ๑. กกจูปมสูตร

๓. โอปัมมวรรค
หมวดว่าด้วยข้ออุปมา
๑. กกจูปมสูตร
ว่าด้วยอุปมาด้วยเลื่อย

[๒๒๒] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถ-
บิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี สมัยนั้น ท่านพระโมลิยผัคคุนะอยู่คลุกคลีกับ
ภิกษุณีทั้งหลายเกินเวลา ท่านพระโมลิยผัคคุนะอยู่คลุกคลีกับภิกษุณีทั้งหลาย
อย่างนี้ ถ้าภิกษุบางรูปติเตียนภิกษุณีเหล่านั้นต่อหน้าท่านพระโมลิยผัคคุนะ ท่าน
พระโมลิยผัคคุนะก็โกรธไม่พอใจภิกษุรูปนั้นถึงกับก่ออธิกรณ์๑ขึ้นก็มี อนึ่ง ถ้าภิกษุ
บางรูปติเตียนท่านพระโมลิยผัคคุนะต่อหน้าภิกษุณีเหล่านั้น ภิกษุณีเหล่านั้นก็พากัน
โกรธไม่พอใจภิกษุรูปนั้นถึงกับก่ออธิกรณ์ขึ้นก็มี ท่านพระโมลิยผัคคุนะอยู่คลุกคลีกับ
ภิกษุณีทั้งหลายอย่างนี้
ครั้งนั้น ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้ว
นั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ท่านพระโมลิยผัคคุนะอยู่คลุกคลีกับพวกภิกษุณีเกิน
เวลา ท่านพระโมลิยผัคคุนะอยู่คลุกคลีกับพวกภิกษุณีอย่างนี้ ถ้าภิกษุบางรูป
ติเตียนภิกษุณีเหล่านั้นต่อหน้าท่านพระโมลิยผัคคุนะ ท่านพระโมลิยผัคคุนะก็โกรธ

เชิงอรรถ :
๑ อธิกรณ์ หมายถึงเรื่องที่สงฆ์จะต้องดำเนินการ มี ๔ อย่าง คือ (๑) วิวาทาธิกรณ์ การเถียงกันเกี่ยวกับ
พระธรรมวินัย (๒) อนุวาทาธิกรณ์ การโจทหรือกล่าวหากันด้วยอาบัติ (ละเมิดสิกขาบท) (๓) อาปัตตาธิกรณ์
การต้องอาบัติ การปรับอาบัติ และการแก้ไขตัวให้พ้นจากอาบัติ (๔) กิจจาธิกรณ์ กิจธุระต่าง ๆ ที่สงฆ์จะ
ต้องทำ เช่น ให้อุปสมบท ให้ผ้ากฐิน แต่ในที่นี้หมายถึงอนุวาทาธิกรณ์ (องฺ.ทุก.อ. ๒/๑๕/๑๒, ม.มู.อ.
๒/๒๒๒/๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า :๒๓๓ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๓. โอปัมมวรรค] ๑. กกจูปมสูตร

ไม่พอใจภิกษุรูปนั้นถึงกับก่ออธิกรณ์ขึ้นก็มี อนึ่ง ถ้าภิกษุบางรูปติเตียนท่านพระ-
โมลิยผัคคุนะต่อหน้าภิกษุณีเหล่านั้น ภิกษุณีเหล่านั้นก็พากันโกรธไม่พอใจภิกษุรูป
นั้นถึงกับก่ออธิกรณ์ขึ้นก็มี ท่านพระโมลิยผัคคุนะอยู่คลุกคลีกับพวกภิกษุณีอย่างนี้”

ทรงเตือนพระโมลิยผัคคุนะที่โกรธ

[๒๒๓] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคได้รับสั่งเรียกภิกษุรูปหนึ่งมาตรัสว่า
“มาเถิด ภิกษุ เธอจงไปเรียกโมลิยผัคคุนภิกษุตามคำของเราว่า ‘ท่านผัคคุนะ
พระศาสดาตรัสเรียกท่าน”
ภิกษุรูปนั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้วเข้าไปหาท่านพระโมลิยผัคคุนะถึงที่อยู่แล้ว
ได้กล่าวกับท่านว่า “ท่านผัคคุนะ พระศาสดาตรัสเรียกท่าน”
ท่านพระโมลิยผัคคุนะรับคำภิกษุรูปนั้นแล้วเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร พระผู้มีพระภาคได้ตรัสถามท่านโมลิยผัคคุนะว่า
“ผัคคุนะ จริงหรือที่เขาลือกันว่า เธออยู่คลุกคลีกับภิกษุณีทั้งหลายเกินเวลา
เธออยู่คลุกคลีกับภิกษุณีทั้งหลายอย่างนี้ ถ้าภิกษุบางรูปติเตียนภิกษุณีเหล่านั้น
ต่อหน้าเธอ เธอก็โกรธไม่พอใจภิกษุรูปนั้นถึงกับก่ออธิกรณ์ขึ้นก็มี อนึ่ง ถ้าภิกษุ
บางรูปติเตียนเธอต่อหน้าภิกษุณีทั้งหลาย ภิกษุณีเหล่านั้นก็พากันโกรธ ไม่พอใจ
ภิกษุรูปนั้นถึงกับก่ออธิกรณ์ขึ้นก็มี จริงหรือที่เธออยู่คลุกคลีกับภิกษุณีทั้งหลายอย่างนี้”
ท่านพระโมลิยผัคคุนะทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคจึงตรัสถามต่อไปว่า “เธอเป็นกุลบุตรออกจากเรือนบวชเป็น
บรรพชิตด้วยศรัทธามิใช่หรือ”
ท่านพระโมลิยผัคคุนะทูลว่า “อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
[๒๒๔] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ผัคคุนะ การที่เธออยู่คลุกคลีกับภิกษุณี
ทั้งหลายเกินเวลานี้ ไม่สมควรแก่เธอผู้เป็นกุลบุตรออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า :๒๓๔ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๓. โอปัมมวรรค] ๑. กกจูปมสูตร

ด้วยศรัทธาเลย เพราะฉะนั้น แม้ถ้าภิกษุบางรูปจะพึงติเตียนภิกษุณีเหล่านั้นต่อ
หน้าเธอ แม้ในข้อนั้น เธอก็ควรละฉันทะและวิตกอันอาศัยเรือน๑เสีย แม้ในข้อนั้น
เธอควรสำเหนียกอย่างนี้ว่า ‘จิตของเราจักไม่แปรผัน เราจักไม่เปล่งวาจาชั่วหยาบ
และจักอนุเคราะห์ด้วยสิ่งที่เป็นประโยชน์อยู่อย่างผู้มีเมตตาจิต ไม่มีโทสะ’ ผัคคุนะ
เธอควรสำเหนียกอย่างนี้แล
เพราะฉะนั้น ถ้าใคร ๆ จะพึงทำร้ายภิกษุณีเหล่านั้นด้วยฝ่ามือ ก้อนดิน
ท่อนไม้ และศัสตราต่อหน้าเธอ แม้ในข้อนั้น เธอก็ควรละฉันทะและวิตกอันอาศัย
เรือนเสีย เธอควรสำเหนียกอย่างนี้ว่า ‘จิตของเราจักไม่แปรผัน เราจักไม่เปล่ง
วาจาชั่วหยาบ และจักอนุเคราะห์ด้วยสิ่งที่เป็นประโยชน์อยู่อย่างผู้มีเมตตาจิต ไม่มี
โทสะ’ เธอควรสำเหนียกอย่างนี้แล
เพราะฉะนั้น ถ้าใคร ๆ ติเตียนต่อหน้าเธอ แม้ในข้อนั้น เธอควรละฉันทะ
และวิตกอันอาศัยเรือนเสีย เธอควรสำเหนียกอย่างนี้ว่า ‘จิตของเราจักไม่แปรผัน
เราจักไม่เปล่งวาจาชั่วหยาบ และจักอนุเคราะห์ด้วยสิ่งที่เป็นประโยชน์อยู่อย่างผู้มี
เมตตาจิต ไม่มีโทสะ’ เธอควรสำเหนียกอย่างนี้แล
ผัคคุนะ เพราะฉะนั้น ถ้าใคร ๆ จะพึงทำร้ายเธอด้วยฝ่ามือ ก้อนดิน ท่อนไม้
และศัสตรา แม้ในข้อนั้น เธอควรละฉันทะและวิตกอันอาศัยเรือนเสีย เธอควร
สำเหนียกอย่างนี้ว่า ‘จิตของเราจักไม่แปรผัน เราจักไม่เปล่งวาจาชั่วหยาบ และ
จักอนุเคราะห์ด้วยสิ่งที่เป็นประโยชน์อยู่อย่างผู้มีเมตตาจิต ไม่มีโทสะ’ ผัคคุนะ
เธอควรสำเหนียกอย่างนี้แล”

เชิงอรรถ :
๑ อาศัยเรือน หมายถึงอาศัยกามคุณ ๕ (คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ) (ม.มู.อ. ๒/๒๒๔/๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า :๒๓๕ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๓. โอปัมมวรรค] ๑. กกจูปมสูตร

ประโยชน์ของการฉันอาหารมื้อเดียว

[๒๒๕] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า “ภิกษุ
ทั้งหลาย สมัยหนึ่ง ภิกษุจำนวนมากได้ทำให้เรามีจิตยินดี เราได้เตือนภิกษุทั้งหลาย
ณ ที่นี้ว่า ‘เราฉันอาหารมื้อเดียว๑ เราเมื่อฉันอาหารมื้อเดียว ย่อมรู้สึกว่ามี
อาพาธน้อย มีความลำบากกายน้อย มีความเบากาย มีกำลัง และอยู่อย่างผาสุก
มาเถิด แม้พวกเธอก็จงฉันอาหารมื้อเดียว แม้เธอทั้งหลายเมื่อฉันอาหารมื้อเดียว
จักรู้สึกว่ามีอาพาธน้อย มีความลำบากกายน้อย มีความเบากาย มีกำลัง และ
อยู่อย่างผาสุก’ เราไม่ต้องพร่ำสอนภิกษุเหล่านั้นอีก เพียงแต่ทำให้สติเกิดขึ้นใน
ภิกษุเหล่านั้นเท่านั้น รถที่เทียมด้วยม้าอาชาไนย ซึ่งฝึกมาดีแล้ว แล่นไปตาม
ทางใหญ่สี่แพร่ง บนพื้นราบเรียบโดยไม่ต้องใช้แส้ เพียงแต่นายสารถีผู้ฝึกหัดม้าที่
ฉลาดขึ้นรถแล้วจับสายบังเหียนด้วยมือซ้าย จับแส้ด้วยมือขวา เตือนม้าให้วิ่งตรงไป
หรือเลี้ยวกลับไปตามถนนที่ต้องการได้ตามความปรารถนา แม้ฉันใด เราก็ฉันนั้น
เหมือนกัน ไม่ต้องพร่ำสอนภิกษุเหล่านั้นอีก เพียงแต่ทำให้สติเกิดขึ้นในภิกษุ
เหล่านั้นเท่านั้น เพราะฉะนั้น แม้เธอทั้งหลายก็จงละอกุศลธรรม จงทำความ
พากเพียรในกุศลธรรมทั้งหลาย เมื่อเป็นเช่นนี้ แม้เธอทั้งหลายก็จักถึงความเจริญ
งอกงาม ไพบูลย์ในธรรมวินัยนี้
ภิกษุทั้งหลาย ป่าสาละอันกว้าง ใกล้บ้านหรือนิคม ป่านั้นรกไปด้วยต้นละหุ่ง
บุรุษบางคนหวังดี หวังประโยชน์ และหวังความเจริญเติบโตของต้นสาละนั้น เขา
จึงตัดหน่อต้นสาละที่คด ซึ่งคอยแย่งอาหารแล้วนำออกไปทิ้งที่ภายนอก แผ้วถาง
ภายในป่าให้สะอาดเรียบร้อย คอยบำรุงรักษาต้นสาละเล็ก ๆ ซึ่งตรง แข็งแรงดี
ไว้อย่างดี ด้วยการกระทำดังกล่าวมานี้ ต่อมา ป่าไม้สาละนั้นก็เจริญ งอกงาม
ไพบูลย์ขึ้นโดยลำดับ แม้ฉันใด แม้เธอทั้งหลายก็ฉันนั้นเหมือนกัน จงละอกุศลธรรม
จงทำความพากเพียรในกุศลธรรมทั้งหลาย เมื่อเป็นเช่นนี้ เธอทั้งหลายก็จักถึง
ความเจริญ งอกงาม ไพบูลย์ในธรรมวินัยนี้

เชิงอรรถ :
๑ ฉันอาหารมื้อเดียว หมายถึงการฉันอาหารในเวลาเช้า คือตั้งแต่ดวงอาทิตย์ขึ้นจนถึงเวลาเที่ยงวัน แม้ภิกษุ
ฉันอาหาร ๑๐ ครั้ง ในช่วงเวลานี้ก็ประสงค์ว่า ฉันอาหารมื้อเดียว (ม.มู.อ. ๒/๒๒๕/๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า :๒๓๖ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๓. โอปัมมวรรค] ๑. กกจูปมสูตร

นางเวเทหิกาบันดาลโทสะ

[๒๒๖] ภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว ในกรุงสาวัตถีนี้แล ได้มีหญิงแม่
เรือนชื่อเวเทหิกา เธอมีกิตติศัพท์อันงามขจรไปแล้วอย่างนี้ว่า ‘หญิงแม่เรือนชื่อ
เวเทหิกาเป็นคนเรียบร้อย เจียมตน ใจเย็น และเธอมีสาวใช้ชื่อกาลีเป็นคนขยัน
ไม่เกียจคร้าน จัดการงานดี’
ต่อมา สาวใช้ชื่อกาลีได้มีความคิดอย่างนี้ว่า ‘กิตติศัพท์อันงามของนายหญิง
ของเราขจรไปแล้วอย่างนี้ว่า ‘หญิงแม่เรือนชื่อเวเทหิกาเป็นคนเรียบร้อย เจียมตน
ใจเย็น นายหญิงของเราไม่แสดงความโกรธที่มีอยู่ในภายในให้ปรากฏ หรือว่า
หล่อนไม่มีความโกรธอยู่เลย หรือนายหญิงของเราไม่แสดงความโกรธที่มีอยู่ใน
ภายในให้ปรากฏ เพราะเราจัดการงานทั้งหลายเรียบร้อยดี ไม่ใช่หล่อนไม่มีความ
โกรธ ทางที่ดี เราจะต้องทดลองนายหญิงดู’ วันรุ่งขึ้น นางกาลีก็แกล้งตื่นสาย
ฝ่ายหญิงแม่เรือนชื่อเวเทหิกาได้ตวาดสาวใช้ชื่อกาลีว่า ‘เฮ้ย นางกาลี’
นางกาลีขานรับว่า ‘อะไรเจ้าค่ะ นายหญิง’
นางเวเทหิกาถามว่า ‘เฮ้ย ทำไมจึงตื่นสาย’
นางกาลีตอบว่า ‘ไม่มีอะไรเจ้าค่ะ’
นางจึงกล่าวอีกว่า ‘เฮ้ย นางชาติชั่ว เมื่อไม่มีอะไร ทำไมจึงตื่นสาย’ แล้วโกรธ
ไม่พอใจ ทำหน้านิ่วคิ้วขมวด
ลำดับนั้น นางกาลีได้คิดว่า‘นายหญิงของเราไม่แสดงความโกรธที่มีอยู่ใน
ภายในเท่านั้น ไม่ใช่หล่อนไม่มีความโกรธ ที่ไม่แสดงความโกรธที่มีอยู่ในภายใน
ให้ปรากฏ ก็เพราะเราจัดการงานทั้งหลายเรียบร้อยดี ไม่ใช่หล่อนไม่มีความโกรธ
ทางที่ดี เราจะต้องทดลองนายหญิงให้ยิ่งขึ้นไป’ ต่อมา นางกาลีก็ตื่นสายกว่าทุกวัน
ครั้งนั้น หญิงแม่เรือนชื่อเวเทหิกา ก็ร้องตวาดด่านางกาลีอีกว่า ‘เฮ้ย นางกาลี’
นางกาลีขานรับว่า ‘อะไรเจ้าค่ะ นายหญิง’
นางเวเทหิกาถามว่า ‘เฮ้ย ทำไมจึงตื่นสาย’
นางกาลีตอบว่า ‘ไม่มีอะไรเจ้าค่ะ’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า :๒๓๗ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๓. โอปัมมวรรค] ๑. กกจูปมสูตร

นางจึงกล่าวอีกว่า ‘เฮ้ย นางชาติชั่ว เมื่อไม่มีอะไร ทำไมจึงตื่นสายเล่า’
แล้วโกรธ ไม่พอใจ แผดเสียงด้วยความขุ่นเคือง
ลำดับนั้น นางกาลีได้คิดว่า ‘นายหญิงของเราไม่แสดงความโกรธที่มีอยู่ใน
ภายในเท่านั้น ไม่ใช่หล่อนไม่มีความโกรธ ที่ไม่แสดงความโกรธที่มีอยู่ในภายในให้
ปรากฏ ก็เพราะเราจัดการงานทั้งหลายเรียบร้อยดี ไม่ใช่หล่อนไม่มีความโกรธ ทาง
ที่ดี เราจะต้องทดลองให้ยิ่งขึ้นไปกว่านี้อีก’ ต่อมา นางกาลีก็ตื่นสายยิ่งกว่าทุกวัน
ครั้งนั้น หญิงแม่เรือนชื่อเวเทหิกาก็ร้องตวาดด่านางกาลีว่า ‘เฮ้ย นางกาลี
ชาติชั่ว’
นางกาลีขานรับว่า ‘อะไรเจ้าค่ะ นายหญิง’
นางเวเทหิกาถามว่า ‘เฮ้ย ทำไมจึงตื่นสายนัก’
นางกาลีตอบว่า ‘ไม่มีอะไรเจ้าค่ะ’
นางจึงกล่าวอีกว่า ‘เฮ้ย นางชาติชั่ว เมื่อไม่มีอะไร ทำไมจึงตื่นสายเล่า’
แล้วโกรธจัด คว้าลิ่มประตูขว้างศีรษะ ปากก็ด่าว่า ‘ข้าจะตีหัวเอ็งให้แตก’
คราวนั้น นางกาลีหัวแตกมีเลือดไหลโชก เที่ยวโพนทะนาแก่คนบ้านใกล้
เรือนเคียงว่า ‘พ่อคุณแม่คุณทั้งหลาย ขอเชิญดูการกระทำของคนเรียบร้อย เจียมตน
ใจเย็นเถิด นางโกรธไม่พอใจว่าตื่นสาย จึงคว้าลิ่มประตูขว้างศีรษะของสาวใช้คนหนึ่ง
ปากก็ด่าว่า ‘ข้าจะตีหัวเอ็งให้แตก’
ภิกษุทั้งหลาย ตั้งแต่นั้นมา กิตติศัพท์อันชั่วช้าของหญิงแม่เรือนชื่อเวเทหิกา
ก็ขจรไปอย่างนี้ว่า ‘หญิงแม่เรือนชื่อเวเทหิกา เป็นหญิงดุร้าย ไม่เจียมตน ใจร้อน’
แม้ฉันใด ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เป็นผู้เรียบร้อยนักเรียบร้อยหนา
เจียมตนนักเจียมตนหนา ใจเย็นนักใจเย็นหนา ก็เพียงชั่วเวลาที่ถ้อยคำอันไม่เป็นที่
พอใจไม่มากระทบเท่านั้น แต่เมื่อใด ถ้อยคำอันไม่เป็นที่พอใจมากระทบเธอเข้า เมื่อนั้น
ควรทราบว่า ‘เธอเป็นผู้เรียบร้อย เป็นผู้เจียมตน เป็นผู้ใจเย็นจริง‘๑ ภิกษุที่ทำตน

เชิงอรรถ :
๑ ข้อความนี้มีความหมายว่า เมื่อใด ถ้อยคำที่ไม่น่าพอใจมากระทบโสตประสาทเธอเข้า แล้วเธอสามารถ
ดำรงอยู่ในอธิวาสนขันติ(ความอดทนคือความอดกลั้น)ได้ ไม่โกรธ พึงทราบว่า เธอเป็นผู้เรียบร้อย เจียมตน
และใจเย็น (ม.มู.อ. ๒/๒๒๖/๖)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า :๒๓๘ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๓. โอปัมมวรรค] ๑. กกจูปมสูตร

เป็นคนว่าง่าย ถึงความเป็นผู้ว่าง่าย เพราะเหตุแห่งจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และ
คิลานปัจจัยเภสัชบริขาร๑ เราไม่เรียกว่า ‘เป็นผู้ว่าง่ายเลย’ ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะภิกษุนั้นเมื่อไม่ได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขารนั้น
ก็จะไม่เป็นผู้ว่าง่าย ไม่ถึงความเป็นผู้ว่าง่าย แต่ภิกษุผู้สักการะ เคารพ นับถือ บูชา
นอบน้อมธรรม เป็นผู้ว่าง่าย ถึงความเป็นผู้ว่าง่าย เราเรียกว่า ‘เป็นผู้ว่าง่าย’
เพราะเหตุนั้น เธอทั้งหลายควรสำเหนียกอย่างนี้ว่า ‘เราจักสักการะ เคารพ นับถือ
บูชา นอบน้อมธรรม จักเป็นผู้ว่าง่าย จักถึงความเป็นผู้ว่าง่าย’

อุบายระงับความโกรธ

[๒๒๗] ภิกษุทั้งหลาย วิธีพูดที่บุคคลอื่นจะใช้พูดกับเธอทั้งหลาย ๕ ประการนี้
คือ

๑. พูดตามกาลอันสมควรหรือไม่สมควร
๒. พูดเรื่องที่เป็นจริงหรือไม่เป็นจริง
๓. พูดคำที่อ่อนหวานหรือหยาบคาย
๔. พูดคำที่มีประโยชน์หรือไร้ประโยชน์
๕. มีเมตตาจิตพูดหรือมีโทสะพูด

บุคคลอื่นเมื่อพูด จะพึงพูดตามกาลอันสมควรหรือไม่สมควรก็ตาม จะพึงพูด
เรื่องที่เป็นจริงหรือไม่เป็นจริงก็ตาม จะพึงพูดคำที่อ่อนหวานหรือหยาบคายก็ตาม
จะพึงพูดคำที่มีประโยชน์หรือไร้ประโยชน์ก็ตาม จะพึงมีเมตตาจิตพูดหรือมีโทสะพูด
ก็ตาม ในข้อนั้น เธอทั้งหลายควรสำเหนียกอย่างนี้ว่า ‘จิตของเราจักไม่แปรผัน
เราจักไม่เปล่งวาจาชั่วหยาบ และจักอนุเคราะห์ด้วยสิ่งอันเป็นประโยชน์อยู่อย่างผู้มี
เมตตาจิต ไม่มีโทสะ เราจักแผ่เมตตาจิตไปให้บุคคลนั้นอยู่ และเราจักแผ่เมตตาจิต
อันไพบูลย์ เป็นมหัคคตะ๒ ไม่มีขอบเขต ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนไปยังสัตว์โลก
ทุกหมู่เหล่าอันเป็นอารมณ์ของเมตตาจิตนั้นอยู่’
ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายควรสำเหนียกด้วยอาการดังกล่าวมานี้

เชิงอรรถ :
๑ ดูเชิงอรรถที่ ๓ ข้อ ๒๓ (สัพพาสวสูตร) หน้า ๒๓ ในเล่มนี้
๒ ดูเชิงอรรถที่ ๑ ข้อ ๖๘ (อากังเขยยสูตร) หน้า ๖๐ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า :๒๓๙ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๓. โอปัมมวรรค] ๑. กกจูปมสูตร

ทำใจให้หนักแน่นเหมือนแผ่นดิน

[๒๒๘] ภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนบุรุษถือเอาจอบและตะกร้ามาแล้วพูด
อย่างนี้ว่า ‘เราจักทำแผ่นดินใหญ่นี้ไม่ให้เป็นแผ่นดิน’ เขาขุดลงตรงที่นั้น ๆ โกย
เศษดินทิ้งลงไปในที่นั้น ๆ บ้วนน้ำลายลงในที่นั้น ๆ ถ่ายปัสสาวะรดลงในที่นั้น ๆ
แล้วพูดสำทับว่า ‘เอ็งอย่าเป็นแผ่นดิน เอ็งอย่าเป็นแผ่นดิน’ เธอทั้งหลายเข้าใจ
ความข้อนั้นว่าอย่างไร บุรุษนั้นพึงทำแผ่นดินใหญ่นี้ไม่ให้เป็นแผ่นดินได้หรือไม่”
“ไม่ได้ พระพุทธเจ้าข้า”
“ข้อนั้นเพราะเหตุไร”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เพราะแผ่นดินใหญ่นี้ลึกหาประมาณมิได้ เขาจะทำ
แผ่นดินใหญ่นั้นไม่ให้เป็นแผ่นดินไม่ได้ง่าย บุรุษนั้นจะต้องได้รับความเหน็ดเหนื่อย
และความลำบากใจเป็นแน่แท้”
“ภิกษุทั้งหลาย วิธีพูดที่บุคคลอื่นจะใช้พูดกับเธอทั้งหลายก็ฉันนั้นเหมือนกัน
มีอยู่ ๕ ประการนี้ คือ

๑. พูดตามกาลอันสมควรหรือไม่สมควร
๒. พูดเรื่องที่เป็นจริงหรือไม่เป็นจริง
๓. พูดคำที่อ่อนหวานหรือหยาบคาย
๔. พูดคำที่มีประโยชน์หรือไร้ประโยชน์
๕. มีเมตตาจิตพูดหรือมีโทสะพูด

บุคคลอื่นเมื่อพูด จะพึงพูดตามกาลอันสมควรหรือไม่สมควรก็ตาม จะพึงพูด
เรื่องที่เป็นจริงหรือไม่เป็นจริงก็ตาม จะพึงพูดคำที่อ่อนหวานหรือหยาบคายก็ตาม
จะพึงพูดคำที่มีประโยชน์หรือไร้ประโยชน์ก็ตาม จะพึงมีเมตตาจิตพูดหรือมีโทสะพูด
ก็ตาม ในข้อนั้น เธอทั้งหลายควรสำเหนียกอย่างนี้ว่า ‘จิตของเราจักไม่แปรผัน
เราจักไม่เปล่งวาจาชั่วหยาบ และจักอนุเคราะห์ด้วยสิ่งอันเป็นประโยชน์อยู่อย่างผู้มี
เมตตาจิต ไม่มีโทสะ เราจักแผ่เมตตาจิตไปให้บุคคลนั้นอยู่ และเราจักแผ่เมตตาจิต
อันไพบูลย์ เสมอด้วยแผ่นดิน เป็นมหัคคตะ ไม่มีขอบเขต ไม่มีเวร ไม่มีความ
เบียดเบียน ไปยังสัตว์โลกทุกหมู่เหล่าอันเป็นอารมณ์ของเมตตาจิตนั้นอยู่’
ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายควรสำเหนียกด้วยอาการดังกล่าวมานี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า :๒๔๐ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๓. โอปัมมวรรค] ๑. กกจูปมสูตร

ทำใจให้ว่างเหมือนอากาศ

[๒๒๙] ภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนบุรุษถือเอาครั่งสีเหลือง สีเขียว หรือ
สีแดงเลือดนกมาแล้วพูดอย่างนี้ว่า ‘เราจักเขียนรูปในอากาศนี้ ทำให้เป็นรูปปรากฏ’
เธอทั้งหลายเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร บุรุษนั้นจะเขียนรูปในอากาศนี้ ทำให้เป็น
รูปปรากฏได้หรือไม่”
“ไม่ได้ พระพุทธเจ้าข้า”
“ข้อนั้นเพราะเหตุไร”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เพราะอากาศนี้ไม่มีรูปร่าง ชี้ให้เห็นไม่ได้ เขาจะ
เขียนรูปในอากาศนั้น ทำให้เป็นรูปปรากฏไม่ได้ง่ายเลย บุรุษนั้นจะต้องเหน็ดเหนื่อย
ลำบากใจเสียเปล่าเป็นแน่”
“ภิกษุทั้งหลาย วิธีพูดที่บุคคลอื่นจะใช้พูดกับเธอทั้งหลายก็ฉันนั้นเหมือนกัน
มีอยู่ ๕ ประการนี้ คือ
๑. พูดตามกาลอันสมควรหรือไม่สมควร
ฯลฯ
๕. มีเมตตาจิตพูดหรือมีโทสะพูด
ฯลฯ และเราจักแผ่เมตตาจิตอันไพบูลย์ เสมอด้วยอากาศ เป็นมหัคคตะ
ไม่มีขอบเขต ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียน ไปยังสัตว์โลกทุกหมู่เหล่าอันเป็น
อารมณ์ของเมตตาจิตนั้นอยู่’
ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายควรสำเหนียกด้วยอาการดังกล่าวมานี้

ทำใจให้เย็นเหมือนแม่น้ำ

[๒๓๐] ภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนบุรุษถือคบหญ้าที่ลุกโพลงมาแล้วพูด
อย่างนี้ว่า ‘เราจักเผาแม่น้ำคงคาให้ร้อนจัด เดือดเป็นควันพุ่งด้วยคบหญ้าที่ลุกโพลง
แล้วนี้’ เธอทั้งหลายเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร บุรุษนั้นจักเผาแม่น้ำคงคาให้ร้อน
จัด เดือดเป็นควันพุ่งด้วยคบหญ้าที่ลุกโพลงแล้วได้หรือไม่”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า :๒๔๑ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๓. โอปัมมวรรค] ๑. กกจูปมสูตร

“ไม่ได้ พระพุทธเจ้าข้า”
“ข้อนั้นเพราะเหตุไร”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เพราะแม่น้ำคงคาเป็นแม่น้ำที่ลึกสุดประมาณ เขาจะ
ทำแม่น้ำคงคานั้นให้ร้อนจัด เดือดเป็นควันพุ่งด้วยคบหญ้าที่ลุกโพลงแล้วไม่ได้ง่ายเลย
บุรุษนั้นจะต้องเหน็ดเหนื่อยลำบากใจเสียเปล่าเป็นแน่”
“ภิกษุทั้งหลาย วิธีพูดที่บุคคลอื่นจะใช้พูดกับเธอทั้งหลายก็ฉันนั้นเหมือนกัน
มีอยู่ ๕ ประการนี้ คือ
๑. พูดตามกาลอันสมควรหรือไม่สมควร
ฯลฯ
๕. มีเมตตาจิตพูดหรือมีโทสะพูด
ฯลฯ และเราจักแผ่เมตตาจิตอันไพบูลย์ เสมอด้วยแม่น้ำ เป็นมหัคคตะ ไม่มี
ขอบเขต ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนไปยังสัตว์โลกทุกหมู่เหล่าอันเป็นอารมณ์ของ
เมตตาจิตนั้นอยู่’
ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายควรสำเหนียกด้วยอาการดังกล่าวมานี้

ทำใจให้อ่อนโยนเหมือนกระสอบหนังแมว

[๒๓๑] ภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนกระสอบหนังแมวที่ฟอกแล้ว ฟอก
สะอาดแล้ว ฟอกเรียบร้อยแล้ว อ่อนนุ่มดังปุยนุ่น ตีไม่มีเสียง ตีไม่ดัง ถ้ามีบุรุษ
ถือเอาไม้หรือกระเบื้องมาแล้วพูดอย่างนี้ว่า ‘เราจักทำกระสอบหนังแมวนี้ที่ฟอกแล้ว
ฟอกสะอาดแล้ว ฟอกเรียบร้อยแล้ว อ่อนนุ่มดังปุยนุ่น ตีไม่มีเสียง ตีไม่ดัง ให้มี
เสียงดังก้องด้วยไม้หรือกระเบื้อง’ เธอทั้งหลายเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร บุรุษนั้น
จะทำกระสอบหนังแมวนี้ที่ฟอกแล้ว ฟอกสะอาดแล้ว ฟอกเรียบร้อยแล้ว อ่อนนุ่ม
ดังปุยนุ่น ตีไม่มีเสียง ตีไม่ดัง ให้กลับมีเสียงดังก้องขึ้นด้วยไม้หรือกระเบื้องได้
หรือไม่”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า :๒๔๒ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๓. โอปัมมวรรค] ๑. กกจูปมสูตร

“ไม่ได้ พระพุทธเจ้าข้า”
“ข้อนั้นเพราะเหตุไร”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เพราะกระสอบหนังแมวนี้ที่เขาฟอกแล้ว ฟอกสะอาด
แล้ว ฟอกเรียบร้อยแล้ว อ่อนนุ่มดังปุยนุ่น ตีไม่มีเสียง ตีไม่ดัง เขาจะทำกระสอบ
หนังแมวนั้นให้กลับมีเสียงดังก้องขึ้นด้วยไม้หรือกระเบื้องไม่ได้ง่ายเลย บุรุษนั้นจะ
ต้องเหน็ดเหนื่อยลำบากใจเสียเปล่าเป็นแน่”
“ภิกษุทั้งหลาย วิธีพูดที่บุคคลอื่นจะใช้พูดกับพวกเธอก็ฉันนั้นเหมือนกัน
มีอยู่ ๕ ประการนี้ คือ

๑. พูดตามกาลอันสมควรหรือไม่สมควร
๒. พูดเรื่องที่เป็นจริงหรือไม่เป็นจริง
๓. พูดคำที่อ่อนหวานหรือหยาบคาย
๔. พูดคำที่มีประโยชน์หรือไร้ประโยชน์
๕. มีเมตตาจิตพูดหรือมีโทสะพูด

บุคคลอื่นเมื่อพูด จะพึงพูดตามกาลอันสมควรหรือไม่สมควรก็ตาม จะพึงพูด
เรื่องที่เป็นจริงหรือไม่เป็นจริงก็ตาม จะพึงพูดคำที่อ่อนหวานหรือหยาบคายก็ตาม
จะพึงพูดคำที่มีประโยชน์หรือไร้ประโยชน์ก็ตาม จะพึงมีเมตตาจิตพูดหรือมีโทสะพูด
ก็ตาม ในข้อนั้น เธอทั้งหลายควรสำเหนียกอย่างนี้ว่า ‘จิตของเราจักไม่แปรผัน
เราจักไม่เปล่งวาจาชั่วหยาบ และจักอนุเคราะห์ด้วยสิ่งอันเป็นประโยชน์อยู่อย่างผู้มี
เมตตาจิต ไม่มีโทสะ เราจักแผ่เมตตาจิตไปให้บุคคลนั้นอยู่ และเราจักแผ่เมตตาจิต
อันไพบูลย์ เสมอด้วยกระสอบหนังแมว เป็นมหัคคตะ ไม่มีขอบเขต ไม่มีเวร ไม่
มีความเบียดเบียนไปยังสัตว์โลกทุกหมู่เหล่าอันเป็นอารมณ์ของเมตตาจิตนั้นอยู่’
ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายควรสำเหนียกด้วยอาการดังกล่าวมานี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า :๒๔๓ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๓. โอปัมมวรรค] ๑. กกจูปมสูตร

โอวาทอุปมาด้วยเลื่อย

[๒๓๒] ภิกษุทั้งหลาย หากพวกโจรผู้ประพฤติต่ำทราม จะพึงใช้เลื่อยที่มี
ที่จับ ๒ ข้างเลื่อยอวัยวะน้อยใหญ่ ผู้มีใจคิดร้ายแม้ในพวกโจรนั้น ก็ไม่ชื่อว่าทำ
ตามคำสั่งสอนของเรา เพราะเหตุที่อดกลั้นไม่ได้นั้น แม้ในข้อนั้น เธอทั้งหลาย
ควรสำเหนียกอย่างนี้ว่า ‘จิตของเราจักไม่แปรผัน เราจักไม่เปล่งวาจาชั่วหยาบ และ
จักอนุเคราะห์ด้วยสิ่งที่เป็นประโยชน์อยู่อย่างผู้มีเมตตาจิต ไม่มีโทสะ เราจักแผ่เมตตาจิต
ไปให้บุคคลนั้นอยู่ และเราจักแผ่เมตตาจิตอันไพบูลย์ เป็นมหัคคตะ ไม่มีขอบเขต
ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนไปยังสัตว์โลกทุกหมู่เหล่าอันเป็นอารมณ์ของเมตตาจิต
นั้นอยู่’
ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายควรสำเหนียกด้วยอาการดังกล่าวมานี้
[๒๓๓] ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายควรมนสิการถึงโอวาทซึ่งมีอุปมาด้วยเลื่อย
นี้เนือง ๆ เถิด เธอทั้งหลายเห็นวิธีพูดที่มีโทษน้อยหรือมีโทษมาก ที่เธอทั้งหลาย
อดกลั้นไม่ได้หรือไม่”
ภิกษุเหล่านั้นกราบทูลว่า “ไม่เห็น พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้น เธอทั้งหลายจงมนสิการ
ถึงโอวาทซึ่งมีอุปมาด้วยเลื่อยนี้เนือง ๆ เถิด ข้อนั้นจักมีเพื่อประโยชน์ เพื่อสุขแก่
เธอทั้งหลายสิ้นกาลนาน”
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสภาษิตนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นมีใจยินดีต่างชื่นชมพระ-
ภาษิตของพระผู้มีพระภาค ดังนี้แล

กกจูปมสูตรที่ ๑ จบ


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๓. โอปัมมวรรค] ๒. อลคัททูปมสูตร

๒. อลคัททูปมสูตร
ว่าด้วยอุปมาด้วยอสรพิษ

[๒๓๔] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
๑สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถ-
บิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น ทิฏฐิชั่วเช่นนี้เกิดขึ้นแก่ภิกษุชื่ออริฏฐะ
ผู้มีบรรพบุรุษเป็นพรานฆ่านกแร้ง๒ว่า “เรารู้ทั่วถึงธรรมที่พระผู้มีพระภาคทรง
แสดงแล้ว จนกระทั่งว่าธรรมตามที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า เป็นธรรมก่ออันตราย๓
ก็หาสามารถก่ออันตรายแก่ผู้ซ่องเสพได้จริงไม่”๔
ภิกษุหลายรูปได้ทราบข่าวว่า “ทิฏฐิชั่วเช่นนี้ได้เกิดขึ้นแก่อริฏฐภิกษุผู้มี
บรรพบุรุษเป็นพรานฆ่านกแร้งว่า ‘เรารู้ทั่วถึงธรรมที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงแล้ว
จนกระทั่งว่าธรรมตามที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า เป็นธรรมก่ออันตราย ก็หา

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ วิ.มหา. (แปล) ๒/๔๑๗/๕๒๕-๕๒๘, วิ.จู. (แปล) ๖/๖๕/๑๓๑
๒ คทฺธาธิปุพฺโพ ผู้มีบรรพบุรุษเป็นพรานฆ่านกแร้ง อรรถกถาอธิบายว่า คทฺเธ พาธยึสูติ คทฺธพาธิโน,
คทฺธพาธิโน ปุพฺพปุริสา อสฺสาติ คทฺธพาธิปุพฺโพ. ... คิชฺฌฆาฏกกุลปฺปสูตสฺส (พรานฆ่านกแร้งเป็นบรรพบุรุษ
ของเขา เหตุนั้น เขาจึงชื่อว่าเป็นผู้มีบรรพบุรุษเป็นพรานฆ่านกแร้ง) หมายความว่า เป็นคนเกิดในตระกูล
พรานฆ่านกแร้ง (วิ.อ. ๒/๔๑๗/๔๑๘)
๓ ธรรมก่ออันตราย หมายถึงธรรมก่ออันตราย ๕ อย่าง คือ (๑) กรรม ได้แก่ อนันตริยกรรม ๕ (๒) กิเลส
ได้แก่ นิยตมิจฉาทิฏฐิ (๓) วิบาก ได้แก่ การเกิดเป็นบัณเฑาะก์ สัตว์ดิรัจฉาน และสัตว์ ๒ เพศ
(๔)อริยุปวาท ได้แก่ การว่าร้ายพระอริยเจ้า (๕) อาณาวีติกกมะ ได้แก่ อาบัติ ๗ กองที่ภิกษุจงใจล่วงละเมิด
(ม.มู.อ. ๒/๒๓๔/๙)
๔ พระอริฏฐะ รูปนี้เป็นพหูสูต เป็นธรรมกถึก รู้แต่อันตรายิกธรรมบางส่วน แต่ไม่รู้เรื่องอันตรายิกธรรมแห่ง
การล่วงละเมิดพระวินัยบัญญัติ เพราะเหตุที่ท่านไม่ฉลาดเรื่องวินัย ดังนั้น ท่านจึงเกิดความคิดอย่างนี้ว่า
“พวกคฤหัสถ์ที่ยุ่งเกี่ยวอยู่กับกามคุณ ที่เป็นโสดาบันก็มี เป็นสกทาคามีก็มี เป็นอนาคามีก็มี แม้พวก
ภิกษุก็ยังเห็นรูปที่น่าชอบใจที่จะพึงรู้ด้วยจักษุ ฯลฯ ยังถูกต้องสิ่งสัมผัสที่จะพึงรู้ด้วยกาย ยังใช้สอยผ้าปู
ผ้าห่มอ่อนนุ่ม สิ่งนั้นทั้งหมดยังถือว่าควร เพราะเหตุไร รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัสของหญิงจึงจะไม่ควร
สิ่งเหล่านั้นต้องควรแน่นอน” ครั้นเกิดทิฏฐิชั่วขึ้นมาแล้ว ก็โต้แย้งพระสัพพัญญุตญาณคัดค้านเวสารัชช-
ญาณใส่ตอและหนามในอริยมรรคว่า “ไฉนพระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติปฐมปาราชิกอย่างกวดขัน
ประดุจกั้นมหาสมุทร ในข้อนี้ไม่มีโทษ” ประหารอาณาจักรของพระชินเจ้าด้วยกล่าวว่า “เมถุนธรรม ไม่มี
โทษ” (วิ.อ. ๒/๔๑๗/๔๑๘-๔๑๙, ม.มู.อ. ๒/๒๓๔/๙-๑๐)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า :๒๔๕ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๓. โอปัมมวรรค] ๒. อลคัททูปมสูตร

สามารถก่ออันตรายแก่ผู้ซ่องเสพได้จริงไม่” ครั้นแล้วภิกษุเหล่านั้นจึงเข้าไปหา
อริฏฐภิกษุผู้มีบรรพบุรุษเป็นพรานฆ่านกแร้งถึงที่อยู่ แล้วได้กล่าวกับอริฏฐภิกษุผู้มี
บรรพบุรุษเป็นพรานฆ่านกแร้งดังนี้ว่า “ท่านอริฏฐะ ได้ทราบว่า ทิฏฐิชั่วเช่นนี้ได้
เกิดขึ้นแก่ท่านว่า ‘เรารู้ทั่วถึงธรรมที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงแล้ว จนกระทั่งว่า
ธรรมตามที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า เป็นธรรมก่ออันตราย ก็หาสามารถก่อ
อันตรายแก่ผู้ซ่องเสพได้จริงไม่’ จริงหรือ”
อริฏฐภิกษุผู้มีบรรพบุรุษเป็นพรานฆ่านกแร้งกล่าวว่า “เหมือนจะเป็นอย่างนั้น
ท่านทั้งหลาย เรารู้ทั่วถึงธรรมที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงแล้ว จนกระทั่งว่าธรรม
ตามที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า เป็นธรรมก่ออันตราย ก็หาสามารถก่ออันตรายแก่ผู้
ซ่องเสพได้จริงไม่”
ลำดับนั้น ภิกษุเหล่านั้นปรารถนาจะปลดเปลื้องอริฏฐภิกษุผู้มีบรรพบุรุษเป็น
พรานฆ่านกแร้งจากทิฏฐิชั่วนี้ จึงซักไซ้ ไล่เลียง สอบสวนด้วยคำพูดว่า “ท่านอริฏฐะ
ท่านอย่าได้กล่าวอย่างนี้ อย่ากล่าวตู่พระผู้มีพระภาค การกล่าวตู่พระผู้มีพระภาค
ไม่ดีเลย เพราะพระผู้มีพระภาคไม่ได้ตรัสอย่างนั้น
พระผู้มีพระภาคตรัสธรรมที่ก่ออันตรายว่าเป็นธรรมก่ออันตรายไว้โดยประการ
ต่าง ๆ และธรรมเหล่านั้นก็สามารถก่ออันตรายให้แก่ผู้ซ่องเสพได้จริง
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
‘กามทั้งหลาย๑มีความยินดีน้อย มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก มีโทษยิ่งใหญ่
กามทั้งหลายเปรียบเหมือนร่างโครงกระดูก มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก
มีโทษยิ่งใหญ่
กามทั้งหลายเปรียบเหมือนชิ้นเนื้อ ฯลฯ
กามทั้งหลายเปรียบเหมือนคบเพลิงหญ้า ฯลฯ
กามทั้งหลายเปรียบเหมือนหลุมถ่านเพลิง ฯลฯ
กามทั้งหลายเปรียบเหมือนความฝัน ฯลฯ

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ วิ.มหา. (แปล) ๒/๔๑๗/๕๒๖-๕๒๗, องฺ.ปญฺจก. (แปล) ๒๒/๗๖/๑๓๔, ขุ.ม. (แปล) ๒๙/๓/๗-๘,
ขุ.จู. (แปล) ๓๐/๑๔๗/๔๖๙-๔๗๐

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า :๒๔๖ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๓. โอปัมมวรรค] ๒. อลคัททูปมสูตร

กามทั้งหลายเปรียบเหมือนของที่ขอยืมมา ฯลฯ
กามทั้งหลายเปรียบเหมือนผลไม้คาต้น๑ ฯลฯ
กามทั้งหลายเปรียบเหมือนเขียงหั่นเนื้อ ฯลฯ
กามทั้งหลายเปรียบเหมือนหอกหลาว ฯลฯ
กามทั้งหลายเปรียบเหมือนหัวงู มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก มีโทษยิ่งใหญ่”
อริฏฐภิกษุถูกภิกษุเหล่านั้น ซักไซ้ ไล่เลียง สอบสวนอยู่อย่างนี้ แต่ก็ยังกล่าว
ด้วยความยึดมั่นถือมั่นทิฏฐิชั่วนั้นอยู่อย่างนั้นว่า “เหมือนจะเป็นอย่างนั้น ท่าน
ทั้งหลาย เรารู้ทั่วถึงธรรมที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงแล้ว จนกระทั่งว่าธรรมตาม
ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า เป็นธรรมก่ออันตราย ก็หาสามารถก่ออันตรายแก่ผู้ซ่อง
เสพได้จริงไม่”

อริฏฐภิกษุคัดค้านพระธรรม

[๒๓๕] เมื่อภิกษุเหล่านั้นไม่สามารถจะปลดเปลื้องอริฏฐภิกษุผู้มีบรรพบุรุษเป็น
พรานฆ่านกแร้งจากทิฏฐิชั่วนั้นได้ จึงพากันเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ทิฏฐิชั่วเช่นนี้เกิดขึ้นแก่อริฏฐภิกษุผู้มีบรรพบุรุษเป็น
พรานฆ่านกแร้งว่า ‘เรารู้ทั่วถึงธรรมที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงแล้ว จนกระทั่งว่า
ธรรมตามที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่าเป็นธรรมก่ออันตราย ก็หาสามารถก่ออันตราย
แก่ผู้ซ่องเสพได้จริงไม่’ ข้าพระองค์ทั้งหลายได้ฟังว่า ‘ได้ยินว่า ทิฏฐิชั่วเช่นนี้เกิด

เชิงอรรถ :
๑ ผลไม้คาต้น หมายถึงกามทั้งหลาย เปรียบเหมือนผลไม้มีพิษ เพราะบั่นทอนร่างกาย [วิสรุกฺขผลูปมา
สพฺพงฺคปจฺจงฺคปลิภญฺชนฏฺเ�น] (ม.มู.อ. ๒/๒๓๔/๑๐)
อีกนัยหนึ่ง คนที่ต้องการผลไม้ เที่ยวแสวงหาผลไม้ เมื่อพบต้นไม้ผลดกจึงปีนขึ้นไปเก็บกิน เก็บใส่ห่อ
อีกคนหนึ่งก็ต้องการผลไม้เช่นกัน เที่ยวแสวงหา พบเห็นต้นไม้ผลดกต้นเดียวกันนั้น แต่แทนที่จะปีนขึ้นไป
เก็บผลไม้กิน กลับเอาขวานตัดต้นไม้ผลดกนั้นในขณะที่คนแรกยังอยู่บนต้นไม้ อันตรายจึงเกิดขึ้นแก่เขา
(ดู. ม.ม. (แปล) ๑๓/๔๘/๔๕-๔๖)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า :๒๔๗ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๓. โอปัมมวรรค] ๒. อลคัททูปมสูตร

ขึ้นแก่อริฏฐภิกษุผู้มีบรรพบุรุษเป็นพรานฆ่านกแร้งว่า ‘เรารู้ทั่วถึงธรรมที่พระผู้มีพระ
ภาคทรงแสดงแล้ว จนกระทั่งว่าธรรมตามที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า เป็นธรรมก่อ
อันตราย ก็หาสามารถก่ออันตรายแก่ผู้ซ่องเสพได้จริงไม่’
ลำดับนั้น ข้าพระองค์ทั้งหลายเข้าไปหาอริฏฐภิกษุแล้วได้ถามท่านว่า ‘ท่าน
อริฏฐะ ได้ทราบว่า ทิฏฐิชั่วเช่นนี้เกิดขึ้นแก่ท่านว่า ‘เรารู้ทั่วถึงธรรมที่พระผู้มีพระ
ภาคทรงแสดงแล้ว จนกระทั่งว่าธรรมตามที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า เป็นธรรมก่อ
อันตราย ก็หาสามารถก่ออันตรายแก่ผู้ซ่องเสพได้จริงไม่’ เมื่อข้าพระองค์
ทั้งหลายกล่าวอย่างนี้ อริฏฐภิกษุได้พูดกับข้าพระองค์ทั้งหลายว่า ‘เหมือนจะเป็น
อย่างนั้น ท่านทั้งหลาย เรารู้ทั่วถึงธรรมที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงแล้ว จนกระทั่ง
ว่าธรรมตามที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า เป็นธรรมก่ออันตราย ก็หาสามารถก่ออันตราย
แก่ผู้ซ่องเสพได้จริงไม่’
ครั้งนั้น ข้าพระองค์ทั้งหลายปรารถนาจะปลดเปลื้องอริฏฐภิกษุผู้มีบรรพบุรุษ
เป็นพรานฆ่านกแร้งจากทิฏฐิชั่วนั้น จึงซักไซ้ ไล่เลียง สอบสวนด้วยคำพูดว่า ‘ท่านอริฏฐะ
ท่านอย่าได้กล่าวอย่างนี้ อย่ากล่าวตู่พระผู้มีพระภาค การกล่าวตู่พระผู้มีพระภาค
ไม่ดีเลย เพราะพระผู้มีพระภาคไม่ได้ตรัสอย่างนั้น
พระผู้มีพระภาคตรัสธรรมทั้งหลายที่ก่ออันตรายว่าเป็นธรรมก่ออันตรายไว้
โดยประการต่าง ๆ และธรรมเหล่านั้นก็สามารถก่ออันตรายแก่ผู้ซ่องเสพได้จริง
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
‘กามทั้งหลายมีความยินดีน้อย มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก มีโทษยิ่งใหญ่
กามทั้งหลายเปรียบเหมือนร่างโครงกระดูก มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก
มีโทษยิ่งใหญ่ ฯลฯ
กามทั้งหลายเปรียบเหมือนหัวงู มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก มีโทษ
ยิ่งใหญ่’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า :๒๔๘ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๓. โอปัมมวรรค] ๒. อลคัททูปมสูตร

อริฏฐภิกษุผู้มีบรรพบุรุษ เป็นพรานฆ่านกแร้งถูกข้าพระองค์ทั้งหลายซักไซ้ ไล่เลียง
สอบสวนอยู่แม้อย่างนี้ ก็ยังกล่าวด้วยความยึดมั่นถือมั่นทิฏฐิชั่วนั้นอยู่อย่างนั้นว่า
‘เหมือนจะเป็นอย่างนั้นท่านทั้งหลาย เรารู้ทั่วถึงธรรมที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงแล้ว
จนกระทั่งว่าธรรมตามที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่าเป็นธรรมก่ออันตราย ก็หาสามารถ
ก่ออันตรายแก่ผู้ซ่องเสพได้จริงไม่’ เมื่อข้าพระองค์ทั้งหลายไม่สามารถจะปลดเปลื้อง
อริฏฐภิกษุจากทิฏฐิชั่วได้ จึงกราบทูลเนื้อความนี้แด่พระผู้มีพระภาค พระพุทธเจ้าข้า”

โทษของทิฏฐิชั่ว

[๒๓๖] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคได้รับสั่งเรียกภิกษุรูปหนึ่งมาตรัสว่า
“มาเถิด ภิกษุ เธอจงไปเรียกอริฏฐภิกษุผู้มีบรรพบุรุษเป็นพรานฆ่านกแร้งมา
ตามคำของเราว่า ‘ท่านอริฏฐะ พระศาสดาตรัสเรียกท่าน”
ภิกษุนั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้วเข้าไปหาอริฏฐภิกษุถึงที่อยู่แล้วกล่าวกับท่านว่า
“ท่านอริฏฐะ พระศาสดาตรัสเรียกท่าน”
อริฏฐภิกษุผู้มีบรรพบุรุษเป็นพรานฆ่านกแร้งรับคำแล้ว เข้าไปเฝ้าพระผู้มี
พระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาท แล้วนั่ง ณ ที่สมควร
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกับอริฏฐภิกษุผู้มีบรรพบุรุษเป็นพรานฆ่านกแร้งว่า
“อริฏฐะ ได้ยินว่า ทิฏฐิชั่วเช่นนี้เกิดขึ้นแก่เธอว่า ‘เรารู้ทั่วถึงธรรมที่พระผู้มีพระภาค
ทรงแสดงแล้ว จนกระทั่งว่าธรรมตามที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่าเป็นธรรมก่ออันตราย
ก็หาสามารถทำอันตรายแก่ผู้ซ่องเสพได้จริงไม่’ จริงหรือ”
อริฏฐภิกษุกราบทูลว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า ข้าพระองค์รู้ทั่วถึงธรรมที่พระ
ผู้มีพระภาคทรงแสดงแล้ว จนกระทั่งว่าธรรมตามที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่าเป็น
ธรรมก่ออันตราย ก็หาสามารถทำอันตรายแก่ผู้ซ่องเสพได้จริงไม่”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “โมฆบุรุษ เธอรู้ทั่วถึงธรรมที่เราแสดงแล้วอย่างนี้
แก่ใคร เรากล่าวธรรมที่ก่ออันตรายว่าเป็นธรรมก่ออันตรายโดยประการต่าง ๆ
มิใช่หรือ และธรรมเหล่านั้นก็สามารถก่ออันตรายแก่ผู้ซ่องเสพได้จริง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า :๒๔๙ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๓. โอปัมมวรรค] ๒. อลคัททูปมสูตร

เรากล่าวว่า ‘กามทั้งหลายมีความยินดีน้อย มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก
มีโทษยิ่งใหญ่
กามทั้งหลายเปรียบเหมือนร่างโครงกระดูก ...
กามทั้งหลายเปรียบเหมือนชิ้นเนื้อ ...
กามทั้งหลายเปรียบเหมือนคบเพลิงหญ้า ...
กามทั้งหลายเปรียบเหมือนหลุมถ่านเพลิง ...
กามทั้งหลายเปรียบเหมือนความฝัน ...
กามทั้งหลายเปรียบเหมือนของที่ขอยืมมา ...
กามทั้งหลายเปรียบเหมือนผลไม้คาต้น ...
กามทั้งหลายเปรียบเหมือนเขียงหั่นเนื้อ ...
กามทั้งหลายเปรียบเหมือนหอกหลาว ...
กามทั้งหลายเปรียบเหมือนหัวงู มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก มีโทษยิ่งใหญ่’
โมฆบุรุษ ก็เมื่อเป็นเช่นนี้ เธอชื่อว่ากล่าวตู่เราด้วยทิฏฐิที่ถือไว้ผิด ชื่อว่า
ทำลายตนเองและชื่อว่าประสบสิ่งมิใช่บุญเป็นอันมาก ข้อนั้นจักเป็นไปเพื่อความไม่
เกื้อกูล เพื่อความทุกข์แก่เธอตลอดกาลนาน”
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย
เธอทั้งหลายเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร อริฏฐภิกษุผู้มีบรรพบุรุษเป็นพรานฆ่า
นกแร้งนี้จะกระทำญาณให้สูงส่งในธรรมวินัยนี้ได้หรือไม่ได้”
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ความสูงส่งแห่งญาณไร ๆ
ที่จะพึงมีนั้นจักมีไม่ได้เลย พระพุทธเจ้าข้า”
เมื่อภิกษุทั้งหลายกราบทูลอย่างนี้แล้ว อริฏฐภิกษุผู้มีบรรพบุรุษเป็นพรานฆ่า
นกแร้งก็นั่งนิ่ง เก้อเขิน คอตก ก้มหน้า ซบเซา หมดปฏิภาณ
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคทรงเห็นอริฏฐภิกษุผู้มีบรรพบุรุษเป็นพรานฆ่านกแร้ง
นั่งนิ่ง เก้อเขิน คอตก ก้มหน้า ซบเซา หมดปฏิภาณ จึงได้ตรัสกับเธอว่า
“โมฆบุรุษ เธอจักปรากฏด้วยทิฏฐิชั่วของตนเองนี้ เราจักสอบถามภิกษุทั้งหลาย
ในที่นี้”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า :๒๕๐ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๓. โอปัมมวรรค] ๒. อลคัททูปมสูตร

[๒๓๗] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคได้รับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า “ภิกษุ
ทั้งหลาย แม้เธอทั้งหลายก็รู้ทั่วถึงธรรมที่เราแสดงแล้วอย่างนี้ เหมือนที่อริฏฐภิกษุ
ผู้มีบรรพบุรุษเป็นพรานฆ่านกแร้งนี้กล่าวตู่เราด้วยทิฏฐิที่ยึดถือไว้ผิด ชื่อว่าทำลาย
ตนเองและชื่อว่าประสบสิ่งมิใช่บุญเป็นอันมากหรือ”
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า “ข้อนั้นไม่เป็นอย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า เพราะว่า
พระผู้มีพระภาคตรัสธรรมทั้งหลายที่ก่ออันตรายว่าเป็นธรรมก่ออันตรายแก่ข้าพระองค์
ทั้งหลายโดยประการต่าง ๆ และธรรมเหล่านั้นก็สามารถก่ออันตรายแก่ผู้ซ่องเสพ
ได้จริง พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ‘กามทั้งหลายมีความยินดีน้อย มีทุกข์มาก มีความ
คับแค้นมาก มีโทษยิ่งใหญ่ กามทั้งหลายเปรียบเหมือนท่อนกระดูก มีทุกข์มาก
มีความคับแค้นมาก มีโทษยิ่งใหญ่ ฯลฯ กามทั้งหลายเปรียบเหมือนหัวงู มีทุกข์มาก
มีความคับแค้นมาก มีโทษยิ่งใหญ่”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ดีแล้ว ชอบแล้ว ภิกษุทั้งหลาย ที่เธอทั้งหลายรู้ทั่ว
ถึงธรรมที่เราแสดงแล้วอย่างนี้เหมือนที่เรากล่าวแล้วว่า ธรรมทั้งหลายเป็นธรรมก่อ
อันตรายแก่เธอทั้งหลายโดยประการต่าง ๆ และธรรมเหล่านั้นก็สามารถก่ออันตราย
แก่ผู้ซ่องเสพได้จริง เรากล่าวว่า ‘กามทั้งหลายมีความยินดีน้อย มีทุกข์มาก มีความ
คับแค้นมาก มีโทษยิ่งใหญ่ กามทั้งหลายเปรียบเหมือนท่อนกระดูก มีทุกข์มาก
มีความคับแค้นมาก มีโทษยิ่งใหญ่ ฯลฯ กามทั้งหลายเปรียบเหมือนหัวงู มีทุกข์มาก
มีความคับแค้นมาก มีโทษยิ่งใหญ่’
เออก็ อริฏฐภิกษุผู้มีบรรพบุรุษเป็นพรานฆ่านกแร้งนี้กล่าวตู่เรา ด้วยทิฏฐิที่ยึด
ถือไว้ผิด ชื่อว่าทำลายตนเอง และชื่อว่าประสบสิ่งมิใช่บุญเป็นอันมาก ข้อนั้นจัก
เป็นไปเพื่อไม่เกื้อกูล เพื่อความทุกข์แก่อริฏฐโมฆบุรุษนั้นตลอดกาลนาน
ภิกษุทั้งหลาย เป็นไปไม่ได้เลยที่อริฏฐภิกษุนั้นจะเสพกามโดยปราศจากกาม
ปราศจากกามสัญญา และปราศจากกามวิตก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า :๒๕๑ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๓. โอปัมมวรรค] ๒. อลคัททูปมสูตร

การเล่าเรียนธรรมของโมฆบุรุษ

[๒๓๘] ภิกษุทั้งหลาย โมฆบุรุษบางพวกในธรรมวินัยนี้ย่อมเล่าเรียนธรรม
คือ สุตตะ เคยยะ เวยยากรณะ คาถา อุทาน อิติวุตตกะ ชาตกะ อัพภูตธรรม
และเวทัลละ๑ พวกเขาเล่าเรียนธรรมนั้นแล้วไม่ไตร่ตรองเนื้อความแห่งธรรมเหล่านั้น
ด้วยปัญญา ธรรมเหล่านั้นจึงไม่ประจักษ์ชัดแก่พวกเขา ผู้ไม่ไตร่ตรองเนื้อความด้วย
ปัญญา โมฆบุรุษเหล่านั้นเล่าเรียนธรรมมุ่งจะข่มขู่ผู้อื่น และมุ่งจะเปลื้องตนจากคำ
นินทาว่าร้าย ย่อมไม่ได้รับประโยชน์แห่งธรรมนั้น เหมือนที่เหล่ากุลบุตรเล่าเรียน
ธรรมได้รับ ธรรมเหล่านั้นที่พวกเขาเรียนไม่ดี ย่อมเป็นไปเพื่อสิ่งมิใช่ประโยชน์
เพื่อความทุกข์สิ้นกาลนาน
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะพวกเขาเรียนธรรมทั้งหลายมาไม่ดี
บุรุษผู้ต้องการงูพิษ เที่ยวเสาะแสวงหางูพิษ เขาพบงูพิษตัวใหญ่จึงจับมันที่
ขนดหางหรือที่หาง งูพิษนั้นจะพึงแว้งกัดเขาที่มือ ที่แขน หรือที่อวัยวะน้อยใหญ่
แห่งใดแห่งหนึ่ง เพราะการถูกกัดนั้นเขาก็จะตาย หรือได้รับทุกข์ปางตาย

เชิงอรรถ :
๑สุตตะ ได้แก่ อุภโตวิภังค์ นิทเทส ขันธกะ ปริวาร มงคลสูตร รตนสูตร นาฬกสูตร ตุวัฏฏกสูตร ในสุตตนิบาต
และพุทธวจนะอื่น ๆ ที่มีชื่อว่าสุตตะ
เคยยะ ได้แก่ พระสูตรที่มีคาถาทั้งหมด โดยเฉพาะสคาถวรรคในสังยุตตนิกาย
เวยยากรณะ ได้แก่ พระอภิธรรมปิฎกทั้งหมด พระสูตรที่ไม่มีคาถา และพุทธพจน์อื่นที่ไม่
จัดเข้าในองค์ ๘ ที่เหลือ
คาถา ได้แก่ ธรรมบท เถรคาถา เถรีคาถา และคาถาล้วนในสุตตนิบาตที่ไม่มีชื่อว่าเป็นสูตร
อุทาน ได้แก่ พระสูตร ๘๒ สูตรที่เกี่ยวด้วยคาถาที่ทรงเปล่งด้วยพระหฤทัยสหรคตด้วยโสมนัสญาณ
อิติวุตตกะ ได้แก่ พระสูตร ๑๑๐ สูตร ที่ตรัสโดยนัยว่า วุตฺตมิทํ ภควตา เป็นต้น
ชาตกะ ได้แก่ ชาดก ๕๕๐ เรื่อง มีอปัณณกชาดก เป็นต้น
อัพภูตธรรม ได้แก่ พระสูตรที่ว่าด้วยเรื่องอัศจรรย์ ไม่เคยปรากฏ ทั้งหมด ที่ตรัสโดยนัยว่า “ภิกษุทั้งหลาย
ข้ออัศจรรย์ไม่เคยมี ๔ อย่างนี้ หาได้ในอานนท์” ดังนี้เป็นต้น
เวทัลละ ได้แก่ พระสูตรแบบถาม-ตอบ ซึ่งผู้ถามได้ทั้งความรู้ และความพอใจ เช่น จูฬเวทัลลสูตร
มหาเวทัลลสูตร สัมมาทิฏฐิสูตร สักกปัญหสูตร สังขารภาชนียสูตร และมหาปุณณมสูตร (ม.มู.อ.
๒/๒๓๘/๑๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า :๒๕๒ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๓. โอปัมมวรรค] ๒. อลคัททูปมสูตร

ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะเขาจับงูพิษไม่ดี แม้ฉันใด
ภิกษุทั้งหลาย โมฆบุรุษบางพวกในธรรมวินัยนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เล่าเรียน
ธรรมคือ สุตตะ เคยยะ เวยยากรณะ คาถา อุทาน อิติวุตตกะ ชาตกะ อัพภูต-
ธรรม และเวทัลละ พวกเขาเล่าเรียนธรรมนั้นแล้วไม่ไตร่ตรองเนื้อความแห่งธรรม
เหล่านั้นด้วยปัญญา ธรรมเหล่านั้นจึงไม่ประจักษ์ชัดแก่พวกเขาผู้ไม่ไตร่ตรองเนื้อ
ความด้วยปัญญา โมฆบุรุษเหล่านั้นเล่าเรียนธรรม มุ่งจะข่มขู่ผู้อื่น และมุ่งจะ
เปลื้องตนจากคำนินทาว่าร้าย ย่อมไม่ได้รับประโยชน์แห่งธรรมนั้น เหมือนที่เหล่า
กุลบุตรเล่าเรียนธรรมได้รับ ธรรมเหล่านั้นที่พวกเขาเรียนไม่ดี ย่อมเป็นไปเพื่อสิ่ง
มิใช่ประโยชน์ เพื่อความทุกข์สิ้นกาลนาน
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะพวกเขาเรียนธรรมทั้งหลายมาไม่ดี

การเล่าเรียนธรรมของกุลบุตร

[๒๓๙] ภิกษุทั้งหลาย กุลบุตรบางพวกในธรรมวินัยนี้ย่อมเล่าเรียนธรรม๑
คือ สุตตะ เคยยะ เวยยากรณะ คาถา อุทาน อิติวุตตกะ ชาตกะ อัพภูตธรรม
และเวทัลละ พวกเขาเล่าเรียนธรรมนั้นแล้ว ย่อมไตร่ตรองเนื้อความแห่งธรรมเหล่านั้น
ด้วยปัญญา ธรรมเหล่านั้นจึงประจักษ์ชัด๒แก่พวกเขาผู้ไตร่ตรองเนื้อความด้วย

เชิงอรรถ :
๑ เล่าเรียนธรรม ในที่นี้หมายถึงเล่าเรียนนิตถรณปริยัติ แท้จริงปริยัติมี ๓ นัย คือ (๑) อลคัททูปริยัตติ
การเล่าเรียนเปรียบด้วยงูพิษ ได้แก่การเล่าเรียนมุ่งลาภสักการะด้วยคิดว่า ‘เราเล่าเรียนแล้วจักได้จีวร
หรือคนอื่นจะรู้จักเราในท่ามกลางบริษัท ๔’ (๒) นิตถรณปริยัตติ การเล่าเรียนมุ่งประโยชน์คือการออกจากวัฏฏะ
ได้แก่การเล่าเรียนด้วยตั้งใจว่า ‘เราเล่าเรียนพุทธพจน์แล้วจักบำเพ็ญศีลให้บริบูรณ์ ให้ได้สมาธิ เริ่มเจริญ
วิปัสสนาแล้ว จักอบรมมรรค จักทำผลให้แจ้ง’ (๓) ภัณฑาคาริกปริยัตติ การเล่าเรียนประดุจขุนคลัง ได้แก่
การเล่าเรียนของพระขีณาสพ เพราะท่านกำหนดรู้ขันธ์แล้วละกิเลสได้แล้ว อบรมมรรค ทำให้แจ้งผลแล้ว
เมื่อเล่าเรียนพุทธพจน์ เป็นผู้ทรงแบบแผน รักษาประเพณี ตามรักษาอริยวงศ์ ดังนั้นในที่นี้จึงหมายเอานัย
ที่ ๒ (ม.มู.อ. ๒/๒๓๙/๑๔)
๒ ประจักษ์ชัด (นิชฺฌานํ ขมนฺติ) หมายถึงมาปรากฏว่า ‘พระผู้มีพระภาคตรัสศีลในสูตรนี้ ตรัสสมาธิ, วิปัสสนา,
มรรค, ผล, วัฏฏะ และวิวัฏฏะไว้ในสูตรนี้ ๆ’ ในอาคตสถานแห่งศีล เป็นต้น (ม.มู.อ. ๒/๒๓๙/๑๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า :๒๕๓ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๓. โอปัมมวรรค] ๒. อลคัททูปมสูตร

ปัญญา กุลบุตรเหล่านั้นเล่าเรียนธรรมมิใช่มุ่งจะข่มขู่ผู้อื่น และมิใช่มุ่งจะเปลื้องตน
จากคำนินทาว่าร้าย ย่อมได้รับประโยชน์แห่งธรรมนั้น เหมือนที่เหล่ากุลบุตร
เล่าเรียนธรรมได้รับ ธรรมเหล่านั้นที่พวกเขาเรียนดีแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์
เพื่อความสุขสิ้นกาลนาน
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะพวกเขาเรียนธรรมทั้งหลายมาดีแล้ว
บุรุษผู้ต้องการงูพิษ เที่ยวเสาะแสวงหางูพิษ เขาพบงูพิษตัวใหญ่ จะพึงใช้ไม้
มีง่ามเหมือนขาแพะกดไว้แน่น ครั้นแล้วจึงจับที่คออย่างมั่นคง ถึงแม้งูพิษนั้นจะพึง
รัดมือ แขน หรือที่อวัยวะน้อยใหญ่แห่งใดแห่งหนึ่งของบุรุษนั้นด้วยขนดก็จริง ถึง
อย่างนั้น เพราะการรัดนั้น เขาก็ไม่ตาย หรือได้รับทุกข์ปางตาย ข้อนั้นเพราะ
เหตุไร เพราะเขาจับงูพิษไว้มั่นแล้ว แม้ฉันใด กุลบุตรบางพวกในธรรมวินัยนี้ ก็
ฉันนั้นเหมือนกัน เล่าเรียนธรรม คือ สุตตะ เคยยะ เวยยากรณะ คาถา อุทาน
อิติวุตตกะ ชาตกะ อัพภูตธรรม และเวทัลละ พวกเขาเหล่านั้นเล่าเรียนธรรมนั้น
แล้วไตร่ตรองเนื้อความแห่งธรรมเหล่านั้นด้วยปัญญา ธรรมเหล่านั้นจึงประจักษ์ชัด
แก่พวกเขา ผู้ไตร่ตรองเนื้อความด้วยปัญญา กุลบุตรเหล่านั้นเล่าเรียนธรรมมิใช่
มุ่งจะข่มขู่ผู้อื่น และมิใช่มุ่งจะเปลื้องตนจากคำนินทาว่าร้าย ย่อมได้รับประโยชน์
แห่งธรรมนั้น เหมือนที่เหล่ากุลบุตรเล่าเรียนธรรมได้รับ ธรรมเหล่านั้นที่พวกเขา
เรียนดีแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์ เพื่อความสุขสิ้นกาลนาน
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะพวกเขาเรียนธรรมทั้งหลายมาดีแล้ว
ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้น เธอทั้งหลายจะพึงรู้ชัดเนื้อความแห่งภาษิตใด
ของเรา ควรทรงจำภาษิตนั้นไว้อย่างนั้นเถิด เธอทั้งหลาย(หาก)จะไม่พึงรู้ชัดเนื้อ
ความแห่งภาษิตใดของเรา ก็ควรสอบถามเรา หรือถามภิกษุผู้ฉลาดในภาษิตนั้นเถิด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า :๒๕๔ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๓. โอปัมมวรรค] ๒. อลคัททูปมสูตร

ธรรมอุปมาด้วยแพ

[๒๔๐] ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมซึ่งอุปมาด้วยแพแก่เธอทั้งหลาย
เพื่อการสลัดออก ไม่ใช่เพื่อการยึดถือแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี
เราจักกล่าว” ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัส
เรื่องนี้ว่า
“ภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนบุรุษผู้เดินทางไกล พบห้วงน้ำใหญ่ ฝั่งนี้น่า
ระแวง มีภัยเฉพาะหน้า ฝั่งโน้นเกษม ไม่มีภัยเฉพาะหน้า เรือหรือสะพานสำหรับ
ข้ามเพื่อจะไปฝั่งโน้นไม่มี เขาจะพึงคิดอย่างนี้ว่า ‘ห้วงน้ำนี้ใหญ่นัก ฝั่งนี้น่าระแวง
มีภัยเฉพาะหน้า ฝั่งโน้นเกษม ไม่มีภัยเฉพาะหน้า เรือหรือสะพานสำหรับข้ามไป
ฝั่งโน้นไม่มี ทางที่ดี เราควรรวบรวมหญ้า ไม้ กิ่งไม้ และใบไม้มาผูกเป็นแพ
แล้วอาศัยแพนั้นใช้มือและเท้าพุ้ยน้ำก็จะข้ามฝั่งได้โดยสวัสดี’ ต่อมา เขารวบรวม
หญ้า ไม้ กิ่งไม้ และใบไม้มาผูกเป็นแพ แล้วอาศัยแพนั้นใช้มือและเท้าพุ้ยน้ำข้าม
ฝั่งได้โดยสวัสดี เขาข้ามฝั่งได้แล้ว จะพึงมีความคิดอย่างนี้ว่า ‘แพนี้มีประโยชน์แก่
เรามากนัก เราอาศัยแพนี้ใช้มือและเท้าพุ้ยน้ำข้ามฝั่งได้โดยสวัสดี ทางที่ดี เรา
ควรยกแพนี้ขึ้นเทินศีรษะ หรือยกขึ้นบ่าแบกไปตามความปรารถนา’ เธอทั้งหลาย
เข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร บุรุษนั้นผู้กระทำอย่างนี้ จะชื่อว่าทำหน้าที่ในแพนั้น
ถูกต้องหรือไม่”
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า “ข้อนั้นชื่อว่าทำไม่ถูกต้อง พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย บุรุษนั้นทำอย่างไร จึงจะชื่อว่าทำ
หน้าที่ในแพนั้นถูกต้อง ในข้อนี้ บุรุษนั้นข้ามฝั่งแล้วจะพึงคิดอย่างนี้ว่า ‘แพนี้มี
ประโยชน์แก่เรามากนัก เราอาศัยแพนี้ใช้มือและเท้าพุ้ยน้ำข้ามฝั่งได้โดยสวัสดี ทางที่ดี
เราควรยกแพนี้ขึ้นวางไว้บนบก หรือให้ลอยอยู่ในน้ำ’ แล้วไปตามความปรารถนา
บุรุษนั้นผู้กระทำอย่างนี้ จึงจะชื่อว่าทำหน้าที่ในแพนั้นถูกต้อง แม้ฉันใด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า :๒๕๕ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๓. โอปัมมวรรค] ๒. อลคัททูปมสูตร

ภิกษุทั้งหลาย เราก็ฉันนั้นเหมือนกัน แสดงธรรมมีอุปมาด้วยแพเพื่อ
ต้องการสลัดออก ไม่ใช่เพื่อต้องการจะยึดถือแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายรู้ทั่วถึง
ธรรมซึ่งเปรียบดุจแพที่เราแสดงแล้ว ควรละแม้ธรรมทั้งหลาย๑ ไม่จำเป็นต้อง
กล่าวถึงอธรรมเลย

ความเห็นของปุถุชนและอริยสาวก

[๒๔๑] ภิกษุทั้งหลาย ทิฏฐิฏฐาน๒ ๖ ประการนี้
ทิฏฐิฏฐาน ๖ ประการ อะไรบ้าง
คือ ปุถุชน๓ในโลกนี้ผู้ยังไม่ได้สดับ ไม่ได้พบพระอริยะ๔ทั้งหลาย ไม่ฉลาดใน
ธรรมของพระอริยะ ไม่ได้รับคำแนะนำในธรรมของพระอริยะ ไม่พบสัตบุรุษทั้งหลาย
ไม่ฉลาดในธรรมของสัตบุรุษ ไม่ได้รับคำแนะนำในธรรมของสัตบุรุษ

๑. จึงพิจารณาเห็นรูปว่า ‘นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา๕’
๒. จึงพิจารณาเห็นเวทนาว่า ‘นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตา
ของเรา’
๓. จึงพิจารณาเห็นสัญญาว่า ‘นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตา
ของเรา’
๔. จึงพิจารณาเห็นสังขารทั้งหลายว่า ‘นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็น
อัตตาของเรา’
๕. จึงพิจารณาเห็นรูปที่เห็นแล้ว เสียงที่ฟังแล้ว อารมณ์ที่ทราบแล้ว
ธรรมารมณ์ที่รู้แจ้งแล้ว ถึงแล้ว แสวงหาแล้ว ใคร่ครวญแล้วด้วย
ใจว่า ‘นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา’

เชิงอรรถ :
๑ ธรรมทั้งหลาย ในที่นี้หมายถึงสมถะและวิปัสสนา (ม.มู.อ. ๒/๒๔๐/๑๖)
๒ ทิฏฐิฏฐาน เป็นชื่อของทิฏฐิ เพราะเป็นเหตุแห่งสักกายทิฏฐิที่ยิ่งกว่าทิฏฐิเกิดขึ้นก่อน และเป็นเหตุแห่ง
สัสสตทิฏฐิบ้าง เป็นชื่อของอารมณ์ คือ ขันธ์ ๕ และรูปารมณ์เป็นต้นบ้าง เป็นชื่อของปัจจัย คือ อวิชชา
ผัสสะ สัญญา เป็นต้นบ้าง (ม.มู.อ. ๒/๒๔๑/๑๖, ม.มู.ฏีกา ๒/๒๔๑/๑๑๐)
๓-๔ ดูเชิงอรรถที่ ๑-๒ ข้อ ๒ (มูลปริยายสูตร) หน้า ๒ ในเล่มนี้
๕ การเห็นว่า “นั่นของเรา” เป็นอาการของตัณหา, การเห็นว่า “เราเป็นนั่น” เป็นอาการของมานะ, การเห็นว่า
“นั่นเป็นอัตตาของเรา” เป็นอาการของทิฏฐิ (ม.มู.อ. ๒/๑๔๑/๑๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า :๒๕๖ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๓. โอปัมมวรรค] ๒. อลคัททูปมสูตร

๖. จึงพิจารณาเห็นทิฏฐิฏฐานที่เป็นไปว่า ‘นั้นโลก นั้นอัตตา เรานั้น
ตายแล้วจักเป็นผู้เที่ยง ยั่งยืน คงที่ ไม่มีความแปรผันเป็นธรรมดา
จักดำรง อยู่เทียบเท่าสิ่งคงที่อย่างนั้นแลว่า ‘นั่นของเรา เราเป็นนั่น
นั่นเป็นอัตตาของเรา’
ส่วนอริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว ได้พบพระอริยะทั้งหลาย ฉลาดในธรรมของ
พระอริยะ ได้รับคำแนะนำดีแล้วในธรรมของพระอริยะ พบสัตบุรุษทั้งหลาย
ฉลาดในธรรมของสัตบุรุษ ได้รับคำแนะนำดีแล้วในธรรมของสัตบุรุษ

๑. จึงพิจารณาเห็นรูปว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตา
ของเรา’
๒. จึงพิจารณาเห็นเวทนาว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่
อัตตาของเรา’
๓. จึงพิจารณาเห็นสัญญาว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่
อัตตาของเรา’
๔. จึงพิจารณาเห็นสังขารทั้งหลายว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น
นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’
๕. จึงพิจารณาเห็นรูปที่เห็นแล้ว เสียงที่ฟังแล้ว อารมณ์ที่ทราบแล้ว
ธรรมารมณ์ที่รู้แจ้งแล้ว ถึงแล้ว แสวงหาแล้ว ใคร่ครวญแล้วด้วย
ใจว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’
๖. จึงพิจารณาทิฏฐิฏฐานที่เป็นไปว่า ‘นั้นโลก นั้นอัตตา เรานั้นตายแล้ว
จักเที่ยง ยั่งยืน คงที่ ไม่มีความแปรผันเป็นธรรมดา จักดำรงอยู่
เทียบเท่าสิ่งคงที่อย่างนั้นแล’ ว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น
นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’
อริยสาวกนั้นพิจารณาเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมไม่สะดุ้งในเมื่อไม่มีเหตุน่าสะดุ้ง๑ คือ
ภัยและตัณหา”

เชิงอรรถ :
๑ เหตุน่าสะดุ้ง ในที่นี้หมายถึงภัยและตัณหา (ม.มู.อ. ๒/๒๔๑/๑๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า :๒๕๗ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๓. โอปัมมวรรค] ๒. อลคัททูปมสูตร

ความสะดุ้งและความไม่สะดุ้ง

[๒๔๒] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ภิกษุรูปหนึ่งได้กราบทูลพระผู้
มีพระภาคว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อไม่มีสิ่งภายนอก ความสะดุ้งจะพึงมีได้
หรือ”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “พึงมีได้ ภิกษุ บุคคลบางคนในโลกนี้มีความคิด
อย่างนี้ว่า ‘เราเคยมีสิ่งใด บัดนี้เราไม่มีสิ่งนั้น เราควรมีสิ่งใด เราก็ไม่ได้สิ่งนั้น’
บุคคลนั้นย่อมเศร้าโศก ละเหี่ยใจ พิไรรำพัน ร้องไห้สะอึกสะอื้น ถึงความมืดมน
เมื่อไม่มีสิ่งภายนอก ความสะดุ้งย่อมมีได้ด้วยอาการอย่างนี้”
“เมื่อไม่มีสิ่งภายนอก ความไม่สะดุ้งจะพึงมีได้หรือ พระพุทธเจ้าข้า”
“พึงมีได้ ภิกษุ บุคคลบางคนในโลกนี้ไม่มีความคิดอย่างนี้ว่า ‘เราเคยมีสิ่งใด
บัดนี้เราไม่มีสิ่งนั้น เราควรมีสิ่งใด เราก็ไม่ได้สิ่งนั้น’ บุคคลนั้นย่อมไม่เศร้าโศก
ไม่ละเหี่ยใจ ไม่พิไรรำพัน ไม่ร้องไห้สะอึกสะอื้น ไม่ถึงความมืดมน เมื่อไม่มีสิ่ง
ภายนอก ความไม่สะดุ้งย่อมมีได้ด้วยอาการอย่างนี้”
“เมื่อไม่มีสิ่งภายใน ความสะดุ้งจะพึงมีได้หรือ พระพุทธเจ้าข้า”
“พึงมีได้ ภิกษุ บุคคลบางคนในโลกนี้มีความคิดอย่างนี้ว่า ‘นั้นโลก นั้นอัตตา
เรานั้นตายแล้วจักเป็นผู้เที่ยง ยั่งยืน คงที่ ไม่มีความแปรผันเป็นธรรมดา จักดำรง
อยู่เทียบเท่าสิ่งคงที่อย่างนั้น’ ย่อมได้ยินตถาคตหรือสาวกของตถาคตแสดงธรรม
เพื่อถอนทิฏฐิ ทิฏฐิฏฐาน ความตั้งมั่นแห่งทิฏฐิ ความกลุ้มรุมแห่งทิฏฐิ ความยึดมั่น
และอนุสัยกิเลสทั้งปวง เพื่อระงับสังขารทั้งปวง เพื่อสลัดทิ้งอุปธิทั้งปวง เพื่อความ
สิ้นตัณหา เพื่อคลายความกำหนัด เพื่อความดับสนิท และเพื่อนิพพาน เขามี
ความคิดอย่างนี้ว่า ‘เราจักขาดสูญแน่แท้ จักพินาศแน่แท้ จักไม่มีแน่แท้’ บุคคล
นั้นย่อมเศร้าโศก ละเหี่ยใจ พิไรรำพัน ร้องไห้สะอึกสะอื้น ถึงความมืดมน เมื่อ
ไม่มีสิ่งภายใน ความสะดุ้งย่อมมีได้ด้วยอาการอย่างนี้”
ภิกษุนั้นทูลถามว่า “เมื่อไม่มีสิ่งภายใน ความไม่สะดุ้งจะพึงมีได้หรือ
พระพุทธเจ้าข้า”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า :๒๕๘ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๓. โอปัมมวรรค] ๒. อลคัททูปมสูตร

พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “พึงมีได้ ภิกษุ บุคคลบางคนในโลกนี้ไม่มี
ความคิดอย่างนี้ว่า ‘นั้นโลก นั้นอัตตา เรานั้นตายแล้วจักเป็นผู้เที่ยง ยั่งยืน คงที่
ไม่มีความแปรผันเป็นธรรมดา จักดำรงอยู่เทียบเท่าสิ่งคงที่อย่างนั้น’ ย่อมได้ยิน
ตถาคตหรือสาวกของตถาคตแสดงธรรม เพื่อถอนทิฏฐิ ทิฏฐิฏฐาน ความตั้งมั่น
แห่งทิฏฐิ ความกลุ้มรุมแห่งทิฏฐิ ความยึดมั่น และอนุสัยกิเลสทั้งปวง เพื่อระงับ
สังขารทั้งปวง เพื่อสลัดทิ้งอุปธิทั้งปวง เพื่อความสิ้นตัณหา เพื่อคลายความกำหนัด
เพื่อความดับสนิท และเพื่อนิพพาน เขาไม่มีความคิดอย่างนี้ว่า ‘เราจักขาดสูญ
แน่แท้ จักพินาศแน่แท้ จักไม่มีแน่แท้’ บุคคลนั้นย่อมไม่เศร้าโศก ไม่ละเหี่ยใจ
ไม่พิไรรำพัน ไม่ร้องไห้สะอึกสะอื้น ไม่ถึงความมืดมน เมื่อไม่มีสิ่งภายใน ความไม่
สะดุ้งย่อมมีได้ด้วยอาการอย่างนี้
[๒๔๓] ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะพึงหวงแหนสิ่งที่ควรหวงแหนซึ่งเป็น
ของเที่ยง ยั่งยืน คงที่ ไม่มีความแปรผันเป็นธรรมดา พึงดำรงอยู่เทียบเท่าสิ่งคงที่
อย่างนั้น เธอทั้งหลายเห็นสิ่งที่ควรหวงแหนซึ่งเป็นของเที่ยง ยั่งยืน คงที่ ไม่มี
ความแปรผันเป็นธรรมดา พึงดำรงอยู่เทียบเท่าสิ่งคงที่อย่างนั้นหรือไม่”
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า “ข้าพระองค์ทั้งหลายไม่เห็นอย่างนั้นเลย
พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ดีละ เราก็ยังไม่พิจารณาเห็นสิ่งที่ควรหวงแหนซึ่ง
เป็นของเที่ยง ยั่งยืน คงที่ ไม่มีความแปรผันเป็นธรรมดา พึงดำรงอยู่เทียบเท่า
สิ่งคงที่อย่างนั้น
เธอทั้งหลายจะพึงเข้าไปยึดถืออัตตวาทุปาทาน๑ซึ่งเมื่อบุคคลยึดมั่นอยู่ โสกะ
(ความเศร้าโศก) ปริเทวะ(ความคร่ำครวญ) ทุกข์(ความทุกข์กาย) โทมนัส
(ความทุกข์ใจ) และอุปายาส(ความคับแค้นใจ) จะไม่พึงเกิดขึ้น เธอทั้งหลายเห็น
อัตตวาทุปาทานซึ่งเมื่อบุคคลยึดมั่นอยู่ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส
จะไม่พึงเกิดขึ้นหรือไม่”
“ไม่เห็น พระพุทธเจ้าข้า”

เชิงอรรถ :
๑ อัตตวาทุปาทาน หมายถึงสักกายทิฏฐิ ๒๐ ประการ (ม.มู.อ. ๒/๒๔๓/๑๙)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า :๒๕๙ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๓. โอปัมมวรรค] ๒. อลคัททูปมสูตร

“ดีละ ถึงเราก็ยังไม่พิจารณาเห็นอัตตวาทุปาทานซึ่งเมื่อบุคคลยึดมั่นอยู่ โสกะ
ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสจะไม่พึงเกิดขึ้น
เธอทั้งหลายจะพึงอาศัยทิฏฐินิสสัย๑ซึ่งเมื่อบุคคลอาศัยอยู่ โสกะ ปริเทวะ
ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสจะไม่พึงเกิดขึ้น เธอทั้งหลายเห็นทิฏฐินิสสัยซึ่งเมื่อ
บุคคลอาศัยอยู่ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสจะไม่พึงเกิดขึ้นหรือไม่”
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า “ไม่เห็น พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย ดีละ แม้เราก็ยังไม่พิจารณาเห็น
ทิฏฐินิสสัยซึ่งเมื่อบุคคลอาศัยอยู่ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส
จะไม่พึงเกิดขึ้น”

อนัตตลักษณะ

[๒๔๔] พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “ภิกษุทั้งหลาย เมื่ออัตตามีอยู่
ความยึดถือว่า ‘สิ่งที่เนื่องด้วยอัตตาของเรา’ ก็จะพึงมีใช่ไหม”
ภิกษุทั้งหลายทูลตอบว่า “ใช่ พระพุทธเจ้าข้า”
“เมื่อสิ่งที่เนื่องด้วยอัตตามีอยู่ ความยึดถือว่า ‘อัตตาของเรา’ จะพึงมีใช่ไหม”
“ใช่ พระพุทธเจ้าข้า”
“เมื่อหาไม่พบอัตตาและสิ่งที่เนื่องด้วยอัตตาโดยความเป็นจริงโดยความแน่แท้
ทิฏฐิที่ว่า ‘นั้นโลก นั้นอัตตา เรานั้นตายแล้วจักเป็นผู้เที่ยง ยั่งยืน คงที่ ไม่มี
ความแปรผันเป็นธรรมดา จักดำรงอยู่เทียบเท่าสิ่งคงที่อย่างนั้น’ นี้มิเป็นพาลธรรม
(ธรรมของคนโง่) สมบูรณ์แบบละหรือ”
“ทำไมจะไม่เป็นอย่างนั้น นั้นเป็นพาลธรรมสมบูรณ์แบบทีเดียว พระพุทธ-
เจ้าข้า”

เชิงอรรถ :
๑ ทิฏฐินิสสัย หมายถึงทิฏฐิ ๖๒ ประการ (ม.มู.อ. ๒/๒๔๓/๑๙)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า :๒๖๐ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๓. โอปัมมวรรค] ๒. อลคัททูปมสูตร

“เธอทั้งหลายเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร รูปเที่ยง หรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ หรือเป็นสุข”
“เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า”
“สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา ควรหรือที่จะพิจารณา
เห็นสิ่งนั้นว่า ‘นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา”
“ข้อนั้นไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า”
“เธอทั้งหลายเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร เวทนา ... สัญญา ... สังขาร ...
วิญญาณเที่ยง หรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ หรือเป็นสุข”
“เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า”
“สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา ควรหรือที่จะพิจารณา
เห็นสิ่งนั้นว่า ‘นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา”
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า “ข้อนั้นไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้น รูปอย่างใดอย่าง
หนึ่งทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน ภายในหรือภายนอก หยาบหรือละเอียด
เลวหรือประณีต ไกลหรือใกล้ก็ตาม เธอทั้งหลายควรเห็นรูปทั้งปวงตามความเป็นจริง
ด้วยปัญญาอันชอบอย่างนี้ว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตา
ของเรา’ เวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง ... สัญญาอย่างใดอย่างหนึ่ง ... สังขารเหล่าใด
เหล่าหนึ่ง ... วิญญาณอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน
ภายในหรือภายนอก หยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีต ไกลหรือใกล้ก็ตาม
เธอทั้งหลายควรเห็นวิญญาณทั้งปวงตามความเป็นจริงด้วยปัญญาอันชอบอย่างนี้ว่า
‘นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า :๒๖๑ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๓. โอปัมมวรรค] ๒. อลคัททูปมสูตร

การละสังโยชน์

[๒๔๕] ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อม
เบื่อหน่ายในรูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ เมื่อเบื่อหน่าย ย่อม
คลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด จิตจึงหลุดพ้น เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว ก็รู้ว่า
‘หลุดพ้นแล้ว’ รู้ชัดว่า ‘ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว๑ ทำกิจที่ควรทำ
เสร็จแล้ว๒ ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป‘๓ ภิกษุนี้เราเรียกว่า เป็นผู้ถอนลิ่ม
ได้แล้วบ้าง เป็นผู้รื้อเครื่องแวดล้อมได้แล้วบ้าง เป็นผู้ถอนเสาระเนียดได้แล้วบ้าง
เป็นผู้ไม่มีบานประตูบ้าง เป็นผู้ประเสริฐ ลดธงคือมานะลงแล้ว ปลงภาระได้แล้ว
ปราศจากสังโยชน์(กิเลสเครื่องผูกสัตว์ไว้ในภพ)แล้วบ้าง
ภิกษุเป็นผู้ถอนลิ่มได้แล้ว เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ละอวิชชาได้เด็ดขาดแล้ว ตัดรากถอนโคนเหมือนต้น
ตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้
ภิกษุเป็นผู้ถอนลิ่มได้แล้ว เป็นอย่างนี้
ภิกษุเป็นผู้รื้อเครื่องแวดล้อมได้แล้ว เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ละสังขารคือชาติ๔ ซึ่งก่อภพใหม่ได้เด็ดขาดแล้ว
ตัดรากถอนโคนเหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี
เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ ภิกษุเป็นผู้รื้อเครื่องแวดล้อมได้แล้ว เป็นอย่างนี้
ภิกษุเป็นผู้ถอนเสาระเนียดได้แล้ว เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ละตัณหาได้เด็ดขาดแล้ว ตัดรากถอนโคนเหมือน
ต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้
ภิกษุเป็นผู้ถอนเสาระเนียดได้แล้ว เป็นอย่างนี้

เชิงอรรถ :
๑-๓ ดูเชิงอรรถที่ ๑-๓ ข้อ ๕๔ (ภยเภรวสูตร) หน้า ๔๓ ในเล่มนี้
๔ สังขารคือชาติ หมายถึงกัมมาภิสังขาร อันเป็นปัจจัยแห่งขันธ์ที่เกิดในภพใหม่ เพราะเกิดและท่องเที่ยวไป
ในชาติต่าง ๆ (ม.มู.อ. ๒/๒๔๕/๒๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า :๒๖๒ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๓. โอปัมมวรรค] ๒. อลคัททูปมสูตร

ภิกษุเป็นผู้ไม่มีบานประตู เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ละโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการ๑ ได้เด็ดขาดแล้ว
ตัดรากถอนโคนเหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี
เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ ภิกษุเป็นผู้ไม่มีบานประตู เป็นอย่างนี้
ภิกษุเป็นผู้ประเสริฐ ลดธงคือมานะลงแล้ว ปลงภาระได้แล้ว ปราศจาก
สังโยชน์แล้ว เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ละอัสมิมานะ(การถือตัว) ได้เด็ดขาดแล้ว ตัดราก
ถอนโคนเหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี
เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ ภิกษุเป็นผู้ประเสริฐ ลดธงคือมานะลงแล้ว ปลงภาระได้แล้ว
ปราศจากสังโยชน์แล้ว เป็นอย่างนี้
การไม่ยึดถือ
[๒๔๖] ภิกษุทั้งหลาย เทวดาทั้งหลายพร้อมทั้งพระอินทร์ พรหม และ
มารเสาะหาภิกษุผู้มีจิตหลุดพ้นแล้วอย่างนี้ ย่อมไม่พบว่า ‘วิญญาณของตถาคต๒
อาศัยสิ่งนี้’ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะเรากล่าวว่า ‘ในปัจจุบัน ใคร ๆ จะไม่พึง
พบตถาคต’ สมณพราหมณ์พวกหนึ่งกล่าวตู่เราผู้กล่าวอย่างนี้ ผู้บอกอย่างนี้ด้วย
คำเท็จซึ่งเลื่อนลอย ไม่มีจริง ไม่เป็นจริงว่า ‘พระสมณโคดมเป็นผู้กำจัด ย่อมบัญญัติ

เชิงอรรถ :
๑ โอรัมภาคิยสังโยชน์ หมายถึงสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ ประการ [คือ (๑) สักกายทิฏฐิ ความเห็นว่าเป็นอัตตา
(๒) วิจิกิจฉา ความลังเลสงสัย (๓) สีลัพพตปรามาส ความถือมั่นศีลและวัตร (๔) กามราคะ ความติดใจ
ในกามคุณ (๕) ปฏิฆะ ความกระทบกระทั่งในใจ อันเป็นเหตุให้เกิดในกามภพ (ม.มู.อ. ๒/๒๔๕/๒๒)
๒ คำว่า ตถาคต ในข้อนี้มีความหมาย ๒ นัย คือ นัยที่ ๑ ตถาคต ในคำว่า ‘วิญญาณของตถาคตอาศัยสิ่งนี้’
หมายถึงสัตว์ผู้สิ้นอาสวะ ทรงมุ่งใช้เพื่อตรัสเรียกแทนพระขีณาสพผู้ไม่มีปฏิสนธิปรินิพพานแล้ว นัยที่ ๒ ตถาคต
ในคำว่า ‘ถ้าบุคคลเหล่าอื่นด่าบริภาษ ... กระทบกระทั่งตถาคต ...’ หมายถึงพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมา-
สัมพุทธเจ้า ผู้สิ้นอาสวะ ทรงมุ่งใช้เพื่อตรัสเรียกแทนพระองค์เอง แต่เมื่อว่าโดยสภาวธรรมแล้ว ทั้ง ๒ นัย
นั้นมีความหมายเดียวกัน คือสภาวะที่สิ้นอาสวะ และปรินิพพาน จิตของผู้สิ้นอาสวะปรินิพพานแล้ว
เทวดา มาร พรหม ไม่สามารถจะค้นพบได้ ไม่สามารถจะรู้ได้ว่า ‘อาศัยอารมณ์อะไรเป็นไป’ (ม.มู.ฏีกา
๒/๒๔๖/๑๒๐)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า :๒๖๓ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๓. โอปัมมวรรค] ๒. อลคัททูปมสูตร

ความขาดสูญ ความพินาศ ความไม่มีภพของสัตว์ผู้มีอยู่’ ถึงเราจะกล่าวหรือ
ไม่กล่าวก็ตาม สมณพราหมณ์เหล่านั้นก็ยังกล่าวตู่เราด้วยคำเท็จซึ่งเลื่อนลอย
ไม่มีจริง ไม่เป็นจริงว่า ‘พระสมณโคดมเป็นผู้กำจัด ย่อมบัญญัติความขาดสูญ
ความพินาศ ความไม่มีภพของสัตว์ผู้มีอยู่’ ทั้งในกาลก่อนและในกาลบัดนี้ เรา
บัญญัติทุกข์และความดับทุกข์ ถ้าบุคคลเหล่าอื่นด่า บริภาษ เกรี้ยวกราด
เบียดเบียน และกระทบ กระทั่งตถาคตในเรื่องการประกาศสัจจะ ๔ ประการนั้น
ตถาคตก็ไม่มีความอาฆาต ไม่เสียใจ ไม่มีจิตคิดร้ายเพราะการด่าเป็นต้นนั้น
ถ้าบุคคลเหล่าอื่นสักการะ เคารพ นับถือ และบูชาตถาคตในเรื่องการประกาศ
สัจจะ ๔ ประการนั้น ตถาคตก็ไม่มีความยินดี ไม่เสียใจ ไม่มีความลำพองใจ
เพราะสักการะเป็นต้นนั้น
ถ้าบุคคลเหล่าอื่นสักการะ เคารพ นับถือ และบูชาตถาคตในเรื่องการประกาศ
สัจจะ ๔ ประการนั้น ตถาคตมีความดำริอย่างนี้เพราะสักการะเป็นต้นนั้นว่า ‘บุคคล
กระทำสักการะเห็นปานนี้ในขันธปัญจก(ขันธ์ ๕) ที่เรากำหนดรู้แล้วในกาลก่อน’
เพราะเหตุนั้น ถ้าบุคคลเหล่าอื่นจะพึงด่า บริภาษ เกรี้ยวกราด เบียดเบียน
และกระทบกระทั่งเธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายก็ไม่ควรทำความอาฆาต ไม่ควรทำ
ความเสียใจ ไม่ควรทำจิตคิดร้ายเพราะการด่าเป็นต้นนั้น
เพราะเหตุนั้น ถ้าบุคคลเหล่าอื่นจะพึงสักการะ เคารพ นับถือ และบูชาเธอ
ทั้งหลาย เธอทั้งหลายก็ไม่ควรทำความยินดี ไม่ควรทำความดีใจ ไม่ควรทำความ
ลำพองใจเพราะสักการะเป็นต้นนั้น
ภิกษุทั้งหลาย ถ้าบุคคลเหล่าอื่นจะพึงสักการะ เคารพ นับถือ และบูชาเธอ
ทั้งหลาย เธอทั้งหลายควรคิดอย่างนี้เพราะสักการะเป็นต้นนั้นว่า ‘บุคคลกระทำ
สักการะเห็นปานนี้ในขันธปัญจกที่เราทั้งหลายกำหนดรู้แล้วในกาลก่อน’
[๒๔๗] ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้น สิ่งใดไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย เธอ
ทั้งหลายจงละสิ่งนั้น สิ่งนั้นซึ่งเธอทั้งหลายละได้แล้ว จักมีเพื่อประโยชน์ เพื่อความสุข
สิ้นกาลนาน อะไรเล่าไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย รูปไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย เธอ
ทั้งหลายจงละรูปนั้น รูปนั้นซึ่งเธอทั้งหลายละได้แล้ว จักมีเพื่อประโยชน์ เพื่อ
ความสุขสิ้นกาลนาน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า :๒๖๔ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๓. โอปัมมวรรค] ๒. อลคัททูปมสูตร

เวทนาไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงละเวทนานั้น เวทนานั้นซึ่งเธอ
ทั้งหลายละได้แล้ว จักมีเพื่อประโยชน์ เพื่อความสุขสิ้นกาลนาน
สัญญาไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงละสัญญานั้น สัญญานั้นซึ่งเธอ
ทั้งหลายละได้แล้ว จักมีเพื่อประโยชน์ เพื่อความสุขสิ้นกาลนาน
สังขารทั้งหลายไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงละสังขารเหล่านั้น สังขาร
เหล่านั้นซึ่งเธอทั้งหลายละได้แล้ว จักมีเพื่อประโยชน์ เพื่อความสุขสิ้นกาลนาน
วิญญาณไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงละวิญญาณนั้น วิญญาณนั้น
ซึ่งเธอทั้งหลายละได้แล้ว จักมีเพื่อประโยชน์ เพื่อความสุขสิ้นกาลนาน
ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร ชนจะพึงนำหญ้า ไม้
กิ่งไม้ และใบไม้ในพระเชตวันนี้ไปเผาหรือกระทำตามความปรารถนา เธอทั้งหลาย
จะพึงคิดอย่างนี้บ้างหรือไม่ว่า ‘ชนนำเราทั้งหลายไปเผาหรือกระทำตามความปรารถนา”
“ไม่เป็นอย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
“ข้อนั้นเพราะเหตุไร”
“เพราะว่า นั่นไม่ใช่อัตตา หรือสิ่งที่เนื่องด้วยอัตตาของข้าพระองค์ทั้งหลาย
พระพุทธเจ้าข้า”
“อย่างนั้นนั่นแล ภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย เธอทั้งหลาย
จงละสิ่งนั้น สิ่งนั้นซึ่งเธอทั้งหลายละได้แล้ว จักมีเพื่อประโยชน์ เพื่อความสุขสิ้น
กาลนาน
อะไรเล่าไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย รูปไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงละรูป
นั้น รูปนั้นซึ่งเธอทั้งหลายละได้แล้ว จักมีเพื่อประโยชน์ เพื่อความสุขสิ้นกาลนาน
เวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ สังขารทั้งหลาย ฯลฯ
วิญญาณไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงละวิญญาณนั้น วิญญาณนั้น
ซึ่งเธอทั้งหลายละได้แล้ว จักมีเพื่อประโยชน์ เพื่อความสุขสิ้นกาลนาน”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า :๒๖๕ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๓. โอปัมมวรรค] ๒. อลคัททูปมสูตร

ลำดับพระอริยบุคคล

[๒๔๘] ภิกษุทั้งหลาย ในธรรมที่เรากล่าวไว้ดีแล้วอย่างนี้ ซึ่งเป็นธรรมง่าย
เปิดเผย ปรากฏ ไม่มีเงื่อนปมแล้ว๑ ภิกษุเหล่าใดเป็นอรหันตขีณาสพ อยู่จบ
พรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ปลงภาระได้แล้ว บรรลุประโยชน์ตน
โดยลำดับแล้ว สิ้นภวสังโยชน์แล้ว หลุดพ้นเพราะรู้โดยชอบ ภิกษุเหล่านั้นย่อมไม่มี
วัฏฏะเพื่อจะบัญญัติต่อไป ในธรรมที่เรากล่าวไว้ดีแล้วอย่างนี้ ซึ่งเป็นธรรมง่าย
เปิดเผย ปรากฏ ไม่มีเงื่อนปมแล้ว ภิกษุเหล่าใดละโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการ
ได้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นทั้งหมดเป็นโอปปาติกะ๒ ปรินิพพานในพรหมโลกนั้น ไม่ต้อง
กลับมาจากโลกนั้นอีก ในธรรมที่เรากล่าวไว้ดีแล้วอย่างนี้ ซึ่งเป็นธรรมง่าย เปิดเผย
ปรากฏ ไม่มีเงื่อนปมแล้ว ภิกษุเหล่าใดละสังโยชน์ ๓ ประการได้แล้ว มีราคะ
โทสะ และโมหะเบาบาง ภิกษุเหล่านั้นทั้งหมดเป็นสกทาคามี มาสู่โลกนี้คราว
เดียวเท่านั้น จักทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ ในธรรมที่เรากล่าวไว้ดีแล้วอย่างนี้ ซึ่งเป็น
ธรรมง่าย เปิดเผย ปรากฏ ไม่มีเงื่อนปมแล้ว ภิกษุเหล่าใดละสังโยชน์ ๓ ประการ
ได้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นทั้งหมดเป็นโสดาบัน ไม่มีทางตกต่ำ มีความแน่นอนที่จะ
สำเร็จสัมโพธิในวันข้างหน้า
ภิกษุทั้งหลาย ในธรรมที่เรากล่าวไว้ดีแล้วอย่างนี้ ซึ่งเป็นธรรมง่าย เปิดเผย
ปรากฏ ไม่มีเงื่อนปมแล้ว ภิกษุเหล่าใดเป็นธัมมานุสารี๓ สัทธานุสารี๔ ภิกษุ
เหล่านั้นทั้งหมดจะตรัสรู้ในภายหน้า ในธรรมที่เรากล่าวไว้ดีแล้วอย่างนี้ ซึ่งเป็น

เชิงอรรถ :
๑ แปลตามนัยอรรถกถา ม.มู.อ. ๒/๒๔๘/๒๖
๒ ดูเชิงอรรถที่ ๓ ข้อ ๖๗ (อากังเขยยสูตร) หน้า ๕๙ ในเล่มนี้
๓ ธัมมานุสารี ในที่นี้หมายถึงผู้แล่นไปตามธรรม ท่านผู้ปฏิบัติเพื่อบรรลุโสดาปัตติผล มีปัญญาแก่กล้า
บรรลุผลแล้วกลายเป็นทิฏฐิปัตตะ (ม.มู.อ. ๒/๒๔๘/๒๖, องฺ.ทุก.อ. ๒/๔๙/๕๕, องฺ.สตฺตก.อ. ๓/๑๔/๑๖๒)
๔ สัทธานุสารี หมายถึงผู้แล่นไปตามศรัทธา ท่านผู้ปฏิบัติเพื่อบรรลุโสดาปัตติผล มีศรัทธาแก่กล้า บรรลุผล
แล้วกลายเป็นสัทธาวิมุต (ม.มู.อ. ๒/๒๔๘/๒๖-๗, องฺ.ทุก.อ. ๒/๔๙/๕๕,องฺ.สตฺตก.อ. ๓/๑๔/๑๖๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า :๒๖๖ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๓. โอปัมมวรรค] ๓. วัมมิกสูตร

ธรรมง่าย เปิดเผย ปรากฏ ไม่มีเงื่อนปมแล้ว บุคคลเหล่าใดมีเพียงความเชื่อและ
ความรักในเรา บุคคลเหล่านั้นทั้งหมดจะได้ไปสวรรค์ในภายหน้า”
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสภาษิตนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นมีใจยินดีต่างชื่นชมพระภาษิต
ของพระผู้มีพระภาค ดังนี้แล

อลคัททูปมสูตรที่ ๒ จบ

๓. วัมมิกสูตร
ว่าด้วยจอมปลวกปริศนา

[๒๔๙] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถ-
บิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี สมัยนั้น ท่านพระกุมารกัสสปะพักอยู่ที่ป่าอันธวัน
ครั้งนั้น เมื่อราตรี๑ผ่านไป เทวดาองค์หนึ่งมีวรรณะงดงามยิ่งนักได้เปล่งรัศมี
ให้สว่างทั่วป่าอันธวัน เข้าไปหาท่านพระกุมารกัสสปะถึงที่อยู่ แล้วได้ยืนอยู่ ณ
ที่สมควร ได้กล่าวกับท่านพระกุมารกัสสปะว่า
“พระคุณเจ้า จอมปลวกนี้ย่อมพ่นควันในเวลากลางคืน ย่อมลุกโพลงในเวลา
กลางวัน พราหมณ์ได้กล่าวอย่างนี้ว่า ‘สุเมธ เธอจงนำศัสตราไปขุดดู’
สุเมธใช้ศัสตราไปขุดก็ได้เห็นลิ่มสลัก จึงกล่าวว่า ‘ลิ่มสลัก ขอรับ’
พราหมณ์กล่าวอย่างนี้ว่า ‘สุเมธ เธอจงยกลิ่มสลักขึ้นแล้วใช้ศัสตราขุดต่อไป’
สุเมธใช้ศัสตราขุดลงไปก็ได้เห็นอึ่ง จึงกล่าวว่า ‘อึ่ง ขอรับ’
พราหมณ์กล่าวอย่างนี้ว่า ‘สุเมธ เธอจงนำอึ่งขึ้นมา แล้วใช้ศัสตราขุดต่อไป’

เชิงอรรถ :
๑ ราตรี ในที่นี้หมายถึงปฐมยาม ความนี้มีความหมายว่า เมื่อสิ้นปฐมยามกำลังอยู่ในช่วงมัชฌิมยาม เทวดา
ก็ปรากฏ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า :๒๖๗ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๓. โอปัมมวรรค] ๓. วัมมิกสูตร

สุเมธใช้ศัสตราขุดต่อไปได้เห็นทางสองแพร่ง จึงกล่าวว่า ‘ทางสองแพร่ง ขอรับ’
พราหมณ์กล่าวอย่างนี้ว่า ‘สุเมธ เธอจงถากทางสองแพร่งออกเสีย แล้วใช้
ศัสตราขุดต่อไป’
สุเมธใช้ศัสตราขุดต่อไปได้เห็นหม้อกรองน้ำด่าง จึงกล่าวว่า ‘หม้อกรองน้ำด่าง
ขอรับ’
พราหมณ์กล่าวอย่างนี้ว่า ‘สุเมธ เธอจงยกหม้อกรองน้ำด่างขึ้นมา แล้วใช้
ศัสตราขุดต่อไป’
สุเมธใช้ศัสตราขุดต่อไปได้เห็นเต่า จึงกล่าวว่า ‘เต่า ขอรับ’
พราหมณ์กล่าวอย่างนี้ว่า ‘สุเมธ เธอจงนำเต่าขึ้นมา แล้วใช้ศัสตราขุดต่อไป’
สุเมธใช้ศัสตราขุดต่อไปได้เห็นเขียงหั่นเนื้อ จึงกล่าวว่า ‘เขียงหั่นเนื้อ ขอรับ’
พราหมณ์กล่าวอย่างนี้ว่า ‘สุเมธ เธอจงยกเขียงหั่นเนื้อขึ้นมา แล้วใช้ศัสตรา
ขุดต่อไป’
สุเมธใช้ศัสตราขุดต่อไปได้เห็นชิ้นเนื้อ จึงกล่าวว่า ‘ชิ้นเนื้อ ขอรับ’
พราหมณ์กล่าวอย่างนี้ว่า ‘สุเมธ เธอจงหยิบชิ้นเนื้อขึ้นมา แล้วใช้ศัสตราขุด
ต่อไป’
สุเมธใช้ศัสตราขุดต่อไปได้เห็นนาค จึงกล่าวว่า ‘นาค ขอรับ’
พราหมณ์กล่าวอย่างนี้ว่า ‘นาคจงดำรงอยู่เถิด เธออย่าเบียดเบียนนาคเลย
จงทำความนอบน้อมนาค’
พระคุณเจ้า ท่านควรเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคแล้วทูลถามปัญหาทั้ง ๑๕ ข้อนี้
ท่านควรทรงจำคำเฉลยปัญหาเหล่านั้นตามที่พระผู้มีพระภาคตรัสตอบเถิด ในโลก
พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดา
และมนุษย์ ยกเว้นพระตถาคตหรือสาวกของพระตถาคต หรือบุคคลผู้ฟังจากสำนัก
(ของข้าพเจ้า) นี้เสียแล้ว ข้าพเจ้ายังไม่เห็นบุคคลผู้จะทำจิต(ของข้าพเจ้า) ให้ยินดี
ด้วยการตอบปัญหาเหล่านี้ได้”
เทวดานั้นได้กล่าวคำนี้แล้วก็อันตรธานไปจากที่นั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า :๒๖๘ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๓. โอปัมมวรรค] ๓. วัมมิกสูตร

พระกุมารกัสสปะทูลถามปริศนาธรรม

[๒๕๐] ครั้นคืนนั้นผ่านไป ท่านพระกุมารกัสสปะก็เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค
ถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อคืนนี้ เมื่อราตรีผ่านไป เทวดาองค์หนึ่งมีวรรณะ
งดงามยิ่งนัก เปล่งรัศมีให้สว่างทั่วป่าอันธวัน เข้ามาหาข้าพระองค์ถึงที่อยู่ ยืน ณ
ที่สมควรแล้วได้กล่าวกับข้าพระองค์ว่า
‘พระคุณเจ้า จอมปลวกนี้พ่นควันในเวลากลางคืน ลุกโพลงในเวลากลางวัน
พราหมณ์ได้กล่าวอย่างนี้ว่า ‘สุเมธ เธอจงนำศัสตราไปขุดดู’
สุเมธใช้ศัสตราขุดลงไปได้เห็นลิ่มสลัก จึงกล่าวว่า ‘ลิ่มสลัก ขอรับ’
พราหมณ์กล่าวอย่างนี้ว่า ‘สุเมธ เธอจงยกลิ่มสลักขึ้นแล้วใช้ศัสตราขุดต่อไป’
สุเมธใช้ศัสตราขุดต่อไปก็ได้เห็นอึ่ง จึงกล่าวว่า ‘อึ่ง ขอรับ’ ฯลฯ ได้เห็นนาค
จึงกล่าวว่า ‘นาค ขอรับ’
พราหมณ์กล่าวอย่างนี้ว่า ‘นาคจงดำรงอยู่เถิด เธออย่าเบียดเบียนนาคเลย
จงทำความนอบน้อมนาค’
พระคุณเจ้า ท่านควรเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคแล้วทูลถามปัญหาทั้ง ๑๕ ข้อนี้
ท่านควรทรงจำคำเฉลยปัญหาเหล่านั้นตามที่พระผู้มีพระภาคตรัสตอบเถิด ในโลก
พร้อมทั้งเทวดาโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดา
และมนุษย์ ยกเว้นพระตถาคตหรือสาวกของพระตถาคต หรือบุคคลผู้ฟังจากสำนัก
(ของข้าพเจ้า)นี้เสียแล้ว ข้าพเจ้ายังไม่เห็นบุคคลผู้จะทำจิต(ของข้าพเจ้า)ให้ยินดีด้วย
การตอบปัญหาเหล่านี้’
เทวดานั้นได้กล่าวคำนี้แล้วก็อันตรธานไปจากที่นั้น
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
๑. อะไรหนอ ชื่อว่าจอมปลวก
๒. อย่างไร ชื่อว่าการพ่นควันในเวลากลางคืน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า :๒๖๙ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๓. โอปัมมวรรค] ๓. วัมมิกสูตร

๓. อย่างไร ชื่อว่าการลุกโพลงในเวลากลางวัน
๔. ใคร ชื่อว่าพราหมณ์
๕. ใคร ชื่อว่าสุเมธ
๖. อะไร ชื่อว่าศัสตรา
๗. อย่างไร ชื่อว่าการขุด
๘. อะไร ชื่อว่าลิ่มสลัก
๙. อะไร ชื่อว่าอึ่ง
๑๐. อะไร ชื่อว่าทางสองแพร่ง
๑๑. อะไร ชื่อว่าหม้อกรองน้ำด่าง
๑๒. อะไร ชื่อว่าเต่า
๑๓. อะไร ชื่อว่าเขียงหั่นเนื้อ
๑๔. อะไร ชื่อว่าชิ้นเนื้อ
๑๕. อะไร ชื่อว่านาค”

พระผู้มีพระภาคทรงเฉลยปริศนาธรรม
[๒๕๑] พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ภิกษุ
๑. คำว่า จอมปลวก นั้น เป็นชื่อของร่างกายนี้ ซึ่งประกอบด้วย
มหาภูตรูปทั้ง ๔ มีมารดาบิดาเป็นแดนเกิด เติบโตด้วยข้าวสุก
และขนมกุมมาส ไม่เที่ยง ต้องบริหาร ต้องนวดฟั้น จะต้องแตก
สลาย และกระจัดกระจายไปเป็นธรรมดา
๒. คำว่า อย่างไร ชื่อว่าการพ่นควันในเวลากลางคืน นั้น ได้แก่
การที่บุคคลทำการงานในเวลากลางวัน แล้วตรึกตรองถึงในเวลา
กลางคืน นี้ชื่อว่าการพ่นควันในเวลากลางคืน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า :๒๗๐ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๓. โอปัมมวรรค] ๓. วัมมิกสูตร

๓. คำว่า อย่างไร ชื่อว่าการลุกโพลงในเวลากลางวัน นั้น ได้แก่
การที่บุคคลตรึกตรองถึงบ่อย ๆ ในเวลากลางคืน แล้วประกอบ
การงานในเวลากลางวัน ด้วยกายและวาจา นี้ชื่อว่าการลุกโพลงใน
เวลากลางวัน
๔. คำว่า พราหมณ์ นั้น เป็นชื่อของตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
๕. คำว่า สุเมธ นั้น เป็นชื่อของภิกษุผู้เป็นเสขะ
๖. คำว่า ศัสตรา นั้น เป็นชื่อแห่งปัญญาอันประเสริฐ
๗. คำว่า จงขุด นั้น เป็นชื่อของการปรารภความเพียร
๘. คำว่า ลิ่มสลัก นั้น เป็นชื่อแห่งอวิชชา คำนั้นมีอธิบายว่า ‘สุเมธ
เธอจงใช้ศัสตรายกลิ่มสลักขึ้น คือ จงละอวิชชา จงขุดขึ้นมา’
๙. คำว่า อึ่ง นั้น เป็นชื่อของความคับแค้นใจเนื่องมาจากความโกรธ
คำนั้นมีอธิบายว่า ‘สุเมธ เธอจงใช้ศัสตรานำอึ่งขึ้นมา คือ จงละ
ความคับแค้นใจเนื่องมาจากความโกรธ จงขุดขึ้นมา’
๑๐. คำว่า ทางสองแพร่ง นั้น เป็นชื่อแห่งวิจิกิจฉา คำนั้นมีอธิบายว่า
‘สุเมธ เธอจงใช้ศัสตราถากทางสองแพร่ง คือ จงละวิจิกิจฉา จง
ขุดขึ้นมา’
๑๑. คำว่า หม้อกรองน้ำด่าง นั้น เป็นชื่อแห่งนิวรณ์ ๕ ประการ คือ

กามฉันทนิวรณ์ (สิ่งที่กั้นจิตคือความพอใจในกาม)
พยาบาทนิวรณ์ (สิ่งที่กั้นจิตคือความขัดเคืองใจ)
ถีนมิทธนิวรณ์ (สิ่งที่กั้นจิตคือความหดหู่และเซื่องซึม)
อุทธัจจกุกกุจจนิวรณ์ (สิ่งที่กั้นจิตคือความฟุ้งซ่านและร้อนใจ)
วิจิกิจฉานิวรณ์ (สิ่งที่กั้นจิตคือความลังเลสงสัย)

คำนั้นมีอธิบายว่า ‘สุเมธ เธอจงใช้ศัสตรายกหม้อกรองน้ำด่างขึ้นมา คือ
จงละนิวรณ์ ๕ ประการ จงขุดขึ้นมา’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า :๒๗๑ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๓. โอปัมมวรรค] ๓. วัมมิกสูตร

๑๒. คำว่า เต่า นั้น เป็นชื่อแห่งอุปาทานขันธ์๑ ๕ ประการ คือ

รูปูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือรูป)
เวทนูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือเวทนา)
สัญญูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือสัญญา)
สังขารูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือสังขาร)
วิญญาณูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือวิญญาณ)

คำนั้นมีอธิบายว่า ‘สุเมธ เธอจงใช้ศัสตรานำเต่าขึ้นมา คือ จงละ
อุปาทานขันธ์ ๕ ประการ จงขุดขึ้นมา’
๑๓. คำว่า เขียงหั่นเนื้อ นั้น เป็นชื่อแห่งกามคุณ ๕ ประการ คือ
รูปที่จะพึงรู้แจ้งทางตา ที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก
ชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัด
เสียงที่จะพึงรู้แจ้งทางหู ฯลฯ
กลิ่นที่จะพึงรู้แจ้งทางจมูก ฯลฯ
รสที่จะพึงรู้แจ้งทางลิ้น ฯลฯ
โผฏฐัพพะที่จะพึงรู้แจ้งทางกาย ที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ
ชวนให้รัก ชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัด
คำนั้นมีอธิบายว่า ‘สุเมธ เธอจงใช้ศัสตรายกเขียงหั่นเนื้อขึ้นมา คือ
จงละกามคุณ ๕ ประการ จงขุดขึ้นมา’
๑๔. คำว่า ชิ้นเนื้อ นั้น เป็นชื่อแห่งนันทิราคะ(ความกำหนัดด้วยอำนาจ
ความเพลิดเพลิน) คำนั้นมีอธิบายว่า ‘สุเมธ เธอจงใช้ศัสตราหยิบ
ชิ้นเนื้อขึ้นมา คือ จงละนันทิราคะ จงขุดขึ้นมา’

เชิงอรรถ :
๑ ดูเชิงอรรถที่ ๑ ข้อ ๙๑ (สัมมาทิฏฐิสูตร) หน้า ๘๖ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า :๒๗๒ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๓. โอปัมมวรรค] ๔. รถวินีตสูตร

๑๕. คำว่า นาค นั้น เป็นชื่อของภิกษุผู้เป็นขีณาสพ คำนั้นมีอธิบายว่า
‘นาคจงดำรงอยู่เถิด เธออย่าเบียดเบียนนาคเลย เธอจงทำความ
นอบน้อมนาค”
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสภาษิตนี้แล้ว ท่านพระกุมารกัสสปะมีใจยินดีชื่นชม
พระภาษิตของพระผู้มีพระภาค ดังนี้แล

วัมมิกสูตรที่ ๓ จบ

๔. รถวินีตสูตร
ว่าด้วยราชรถ ๗ ผลัด

ภิกษุยกย่องพระปุณณมันตานีบุตร

[๒๕๒] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเวฬุวัน กลันทกนิวาปสถาน๑
เขตกรุงราชคฤห์ ครั้งนั้น ภิกษุผู้มีถิ่นกำเนิดเดียวกันจำนวนมาก จำพรรษาในท้องถิ่น
(ของตน)แล้ว ได้มาเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่งอยู่ ณ
ที่สมควร พระผู้มีพระภาคตรัสถามภิกษุเหล่านั้นว่า
“ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุรูปไหนหนอที่ภิกษุเพื่อนพรหมจารีในท้องถิ่นยกย่อง
อย่างนี้ว่า
‘ตนเองเป็นผู้มักน้อย๒ และกล่าวอัปปิจฉกถา(เรื่องความมักน้อย)แก่ภิกษุทั้งหลาย

เชิงอรรถ :
๑ กลันทกนิวาปสถาน หมายถึงเป็นสถานที่สำหรับพระราชทานเหยื่อแก่กระแต (ม.มู.อ. ๒/๒๕๒/๔๑-๔๒)
๒ เป็นผู้มักน้อย หมายถึงความมักน้อย ๔ ประการ คือ (๑) เป็นผู้มักน้อยในปัจจัย ๔ (๒) เป็นผู้มักน้อยใน
ธุดงค์ ได้แก่ ไม่ประสงค์ให้ผู้อื่นรู้ความที่ตนสมาทานธุดงค์ (๓) เป็นผู้มักน้อยในการเล่าเรียน ได้แก่
ไม่ปรารถนาให้ผู้อื่นรู้ความที่ตนเป็นพหูสูต (๔) เป็นผู้มักน้อยในการบรรลุธรรม ได้แก่ ไม่ปรารถนาให้
ผู้อื่นรู้ความที่ตนเป็นพระโสดาบัน เป็นต้น (ม.มู.อ. ๒/๑๕๒/๔๗-๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า :๒๗๓ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๓. โอปัมมวรรค] ๔. รถวินีตสูตร

ตนเองเป็นผู้สันโดษ๑ และกล่าวสันตุฏฐิกถา(เรื่องความสันโดษ)แก่ภิกษุทั้งหลาย
ตนเองเป็นผู้สงัด๒ และกล่าวปวิเวกกถา(เรื่องความสงัด)แก่ภิกษุทั้งหลาย
ตนเองเป็นผู้ไม่คลุกคลี๓ และกล่าวอสังสัคคกถา(เรื่องความไม่คลุกคลี)แก่ภิกษุ
ทั้งหลาย
ตนเองเป็นผู้ปรารภความเพียร๔ และกล่าววิริยารัมภกถา(เรื่องการปรารภความ
เพียร)แก่ภิกษุทั้งหลาย
ตนเองเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยศีล๕ และกล่าวสีลสัมปทากถา(เรื่องความสมบูรณ์
ด้วยศีล)แก่ภิกษุทั้งหลาย
ตนเองเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยสมาธิ๖ และกล่าวสมาธิสัมปทากถา(เรื่องความสมบูรณ์
ด้วยสมาธิ)แก่ภิกษุทั้งหลาย

เชิงอรรถ :
๑ เป็นผู้สันโดษ หมายถึงความสันโดษ ๓ ประการ คือ (๑) ยถาลาภสันโดษ เป็นผู้สันโดษตามมีตามได้
ทั้งดีและไม่ดี (๒) ยถาพลสันโดษ เป็นผู้สันโดษตามกำลังทั้งกำลังของตนและของทายก (๓) ยถาสารุปป-
สันโดษ เป็นผู้สันโดษตามสมควรแก่สมณภาวะ
สันโดษ ๓ ประการ ในปัจจัย ๔ คือ จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร จึงเป็น
สันโดษ ๑๒ (ม.มู.อ. ๒/๒๕๒/๔๘-๕๐)
๒ เป็นผู้สงัด หมายถึงมีวิเวก ๓ ประการ คือ (๑) กายวิเวก สงัดกาย ได้แก่ อยู่ผู้เดียวทุกอิริยาบถ
(๒) จิตตวิเวก ได้แก่ ได้สมาบัติ ๘ (๓) อุปธิวิเวก ได้แก่ บรรลุนิพพาน (ม.มู.อ. ๒/๒๕๒/๕๐)
๓ เป็นผู้ไม่คลุกคลี หมายถึงไม่คลุกคลีด้วยการคลุกคลี ๕ ประการ คือ (๑) การคลุกคลีด้วยการฟัง
(๒) การคลุกคลีด้วยการเห็น (๓) การคลุกคลีด้วยการสนทนาปราศรัย (๔) การคลุกคลีด้วยการอยู่ร่วมกัน
(๕) การคลุกคลีทางกาย (ม.มู.อ. ๒/๒๕๒/๕๑)
๔ เป็นผู้ปรารภความเพียร หมายถึงการทำความเพียรทางกายและทางจิตให้บริบูรณ์ (ม.มู.อ. ๒/๒๕๒/๕๔)
๕ เป็นผู้สมบูรณ์ด้วยศีล คำว่า ศีล ในที่นี้หมายถึงปาริสุทธิศีล ๔ ประการ [คือ (๑) ศีลคือการสังวรในพระ
ปาติโมกข์ (๒) ศีลคือการสำรวมอินทรีย์ ๖ (๓) ศีลคือการพิจารณาใช้สอยปัจจัย ๔ (๔) ศีลคือการเลี้ยง
ชีวิตด้วยความบริสุทธิ์] (ม.มู.อ. ๒/๒๕๒/๕๔)
๖ เป็นผู้สมบูรณ์ด้วยสมาธิ คำว่า สมาธิ ในที่นี้หมายถึงสมาบัติ ๘ คือ รูปฌาน ๔ และอรูปฌาน ๔
อันเป็นบาทแห่งวิปัสสนา (ม.มู.อ. ๒/๒๕๒/๕๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า :๒๗๔ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๓. โอปัมมวรรค] ๔. รถวินีตสูตร

ตนเองเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยปัญญา และกล่าวปัญญาสัมปทากถา(เรื่องความสมบูรณ์
ด้วยปัญญา)แก่ภิกษุทั้งหลาย
ตนเองเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยวิมุตติ และกล่าววิมุตติสัมปทากถา(เรื่องความสมบูรณ์
ด้วยวิมุตติ)แก่ภิกษุทั้งหลาย
ตนเองเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยวิมุตติญาณทัสสนะ และกล่าววิมุตติญานทัสสนสัมปทา-
กถา(เรื่องความสมบูรณ์ด้วยวิมุตติญาณทัสสนะ)แก่ภิกษุทั้งหลาย
เป็นผู้ให้โอวาท แนะนำ ชี้แจงให้เพื่อนพรหมจารีทั้งหลายเห็นชัด ชวนใจให้
อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริง”
ภิกษุท้องถิ่นเหล่านั้นกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ท่านพระปุณณ-
มันตานีบุตรเป็นผู้ที่พวกภิกษุเพื่อนพรหมจารีท้องถิ่นยกย่องอย่างนี้ว่า
ตนเองเป็นผู้มักน้อย และกล่าวอัปปิจฉกถาแก่ภิกษุทั้งหลาย
ตนเองเป็นผู้สันโดษ ...
ตนเองเป็นผู้สงัด ...
ตนเองเป็นผู้ไม่คลุกคลี ...
ตนเองเป็นผู้ปรารภความเพียร ...
ตนเองเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยศีล ...
ตนเองเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยสมาธิ ...
ตนเองเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยปัญญา ...
ตนเองเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยวิมุตติ ...
ตนเองเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยวิมุตติญาณทัสสนะ และกล่าววิมุตติญาณทัสสน-
สัมปทากถาแก่ภิกษุทั้งหลาย
เป็นผู้ให้โอวาท แนะนำ ชี้แจงให้เพื่อนพรหมจารีทั้งหลายเห็นชัด ชวนใจให้
อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริง”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า :๒๗๕ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๓. โอปัมมวรรค] ๔. รถวินีตสูตร

[๒๕๓] ขณะนั้น ท่านพระสารีบุตรได้นั่งเฝ้าพระผู้มีพระภาคอยู่ ณ ที่ใกล้
ได้มีความคิดว่า “เป็นลาภของท่านพระปุณณมันตานีบุตร ท่านพระปุณณมันตานี-
บุตรได้ดีแล้ว ที่พวกภิกษุเพื่อนพรหมจารีผู้เป็นวิญญูชนเลือกเฟ้น กล่าวยกย่อง
พรรณนาคุณเฉพาะพระพักตร์ของพระศาสดา และพระศาสดาก็ทรงอนุโมทนาการ
กระทำนั้น บางทีเราคงได้พบกับท่านพระปุณณมันตานีบุตรแล้ว สนทนาปราศรัย
กันสักครั้งหนึ่ง”
[๒๕๔] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่กรุงราชคฤห์ตามพระอัธยาศัย
แล้วจึงเสด็จจาริกไปโดยลำดับจนถึงกรุงสาวัตถี ประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ท่านพระปุณณมันตานีบุตรทราบข่าวว่า
“ได้ยินว่า พระผู้มีพระภาคเสด็จมาถึงกรุงสาวัตถี แล้วประทับอยู่ ณ พระเชตวัน
อารามของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี”

พระปุณณมันตานีบุตรเข้าเฝ้าพระพุทธองค์

[๒๕๕] ครั้งนั้น ท่านพระปุณณมันตานีบุตรจึงเก็บงำเสนาสนะ ถือบาตรและ
จีวรจาริกไปโดยลำดับตามทางที่จะไปยังกรุงสาวัตถีถึงพระเชตวัน อารามของอนาถ-
บิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถีแล้ว จึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
ถวายอภิวาทแล้วนั่งอยู่ ณ ที่สมควร ครั้นนั่งเรียบร้อยแล้ว พระผู้มีพระภาค
จึงทรงชี้แจงพระปุณณมันตานีบุตรให้เห็นชัด ชวนใจให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ
เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริงด้วยธรรมีกถา ลำดับนั้น
ท่านพระปุณณมันตานีบุตร เมื่อพระผู้มีพระภาคทรงชี้แจงให้เห็นชัด ชวนใจให้
อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริงด้วย
ธรรมีกถาแล้ว ได้ชื่นชม ยินดีพระภาษิตของพระผู้มีพระภาค ลุกจากอาสนะ
ถวายอภิวาท กระทำประทักษิณ แล้วเข้าไปสู่ป่าอันธวัน เพื่อพักผ่อนในเวลากลางวัน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า :๒๗๖ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๓. โอปัมมวรรค] ๔. รถวินีตสูตร

[๒๕๖] ครั้งนั้น ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปหาท่านพระสารีบุตรถึงที่อยู่แล้วกล่าวว่า
“ท่านพระสารีบุตร พระปุณณมันตานีบุตรที่ท่านสรรเสริญอยู่เนือง ๆ นั้น (บัดนี้)
พระผู้มีพระภาคทรงชี้แจงให้เห็นชัด ชวนใจให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญ
แกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริงด้วยธรรมีกถาแล้ว ท่านก็ชื่นชม ยินดีพระ
ภาษิตของพระผู้มีพระภาค ลุกจากอาสนะถวายอภิวาท กระทำประทักษิณ แล้วหลีก
ไปสู่ป่าอันธวันเพื่อพักผ่อนในเวลากลางวัน”
ลำดับนั้น ท่านพระสารีบุตรรีบถือผ้านิสีทนะ(ผ้ารองนั่ง) แล้วติดตามท่าน
พระปุณณมันตานีบุตรไปข้างหลัง ๆ พอที่จะแลเห็นศีรษะกัน ครั้งนั้น ท่านพระ
ปุณณมันตานีบุตร เข้าไปในป่าอันธวัน แล้วนั่งพักผ่อนในเวลากลางวันอยู่ที่โคนไม้
แห่งหนึ่ง แม้ท่านพระสารีบุตรเข้าไปสู่ป่าอันธวัน แล้วก็นั่งพักผ่อนในเวลากลางวัน
อยู่ที่โคนไม้แห่งหนึ่งเหมือนกัน

เป้าหมายแห่งพรหมจรรย์ตามลำดับวิสุทธิ ๗

ครั้นในเวลาเย็น ท่านพระสารีบุตรออกจากที่หลีกเร้น๑ แล้วเข้าไปหาท่าน
พระปุณณมันตานีบุตรถึงที่อยู่ ได้สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่
ระลึกถึงกันแล้วจึงนั่ง ณ ที่สมควร ได้ถามท่านพระปุณณมันตานีบุตรว่า
[๒๕๗] “ท่านผู้มีอายุ ท่านประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาคของเราหรือ”
ท่านพระปุณณมันตานีบุตรตอบว่า “ขอรับ ท่านผู้มีอายุ”
“ท่านประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาคเพื่อสีลวิสุทธิ (ความหมดจด
แห่งศีล) หรือ”
“ข้อนี้ หามิได้”

เชิงอรรถ :
๑ ดูเชิงอรรถที่ ๑ ข้อ ๘๑ (สัลเลขสูตร) หน้า ๗๐ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า :๒๗๗ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๓. โอปัมมวรรค] ๔. รถวินีตสูตร

“ถ้าเช่นนั้น ท่านประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาคเพื่อจิตตวิสุทธิ (ความ
หมดจดแห่งจิต) หรือ”
“ข้อนี้ หามิได้”
“ถ้าเช่นนั้น ท่านประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาคเพื่อทิฏฐิวิสุทธิ (ความ
หมดจดแห่งทิฏฐิ) หรือ”
“ข้อนี้ หามิได้”
“ถ้าเช่นนั้น ท่านประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาคเพื่อกังขาวิตรณวิสุทธิ
(ความหมดจดแห่งญาณเป็นเครื่องข้ามพ้นความสงสัย) หรือ”
“ข้อนี้ หามิได้”
“ถ้าเช่นนั้น ท่านประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาคเพื่อมัคคามัคคญาณ-
ทัสสนวิสุทธิ (ความหมดจดแห่งญาณที่รู้เห็นว่าเป็นทางหรือมิใช่ทาง) หรือ”
“ข้อนี้ หามิได้”
“ถ้าเช่นนั้น ท่านประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาคเพื่อปฏิปทาญาณทัสสน-
วิสุทธิ (ความหมดจดแห่งญาณที่รู้เห็นทางดำเนิน) หรือ”
“ข้อนี้ หามิได้”
“ถ้าเช่นนั้น ท่านประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาคเพื่อญาณทัสสนวิสุทธิ
(ความหมดจดแห่งญาณทัสสนะ) หรือ”
“ข้อนี้ หามิได้”
“เมื่อผมถามท่านว่า ‘ท่านประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาคเพื่อสีลวิสุทธิ
หรือ’ ท่านก็ตอบผมว่า ‘ข้อนี้ หามิได้’
เมื่อผมถามท่านว่า ‘ท่านประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาคเพื่อจิตต-
วิสุทธิหรือ’ ท่านก็ตอบผมว่า ‘ข้อนี้ หามิได้’
เมื่อผมถามท่านว่า ‘ท่านประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาคเพื่อทิฏฐิ-
วิสุทธิหรือ’ ท่านก็ตอบผมว่า ‘ข้อนี้ หามิได้’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า :๒๗๘ }


>>>>> หน้าต่อไป >>>>>





eXTReMe Tracker