ค้นว่าอยู่เล่มใด แล้วกด [ctrl]+f หรือใช้คำสั่งของเครื่องหาตำแหน่งในเล่มอีกทีนะครับ



จัดรูปหน้าใหม่
เพื่อความสะดวก และสวยงาม
(เฉพาะหน้าจอใหญ่ เช่น คอมพิวเตอร์)
กรุณาคลิก จัดรูปหน้าใหม่
เพื่อให้กรอบ
ค้นข้อความ ปรากฎที่ด้านซ้ายของหน้า

พระไตรปิฎกภาษาไทย
ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ๔๕ เล่ม (ปกสีฟ้า)
ทั้งออนไลน์และออฟไลน์
ที่มาของข้อมูล : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับ มจร.
MCUTRAI Version 1.0

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๐๘ วินัยปิฎกที่ ๐๘ ปริวาร

พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์] ๑. กัตถปัญญัตติวาร ๑. ปาราชิกกัณฑ์

พระวินัยปิฎก
ปริวาร
_____________
ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

๑. ภิกขุวิภังค์
โสฬสมหาวาร ตอน ๑
๑. กัตถปัญญัตติวาร
วาระว่าด้วยบัญญัติ ณ ที่ไหน
๑. ปาราชิกกัณฑ์
คำถาม - คำตอบสถานที่บัญญัติเป็นต้นในปาราชิกกัณฑ์

[๑] พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น
ทรงบัญญัติปาราชิกสิกขาบทที่ ๑ ณ ที่ไหน ทรงปรารภใคร เพราะเรื่องอะไร
ในปาราชิกสิกขาบทที่ ๑ นั้น มีพระบัญญัติ พระอนุบัญญัติ อนุปปันนบัญญัติ
สัพพัตถบัญญัติ ปเทสบัญญัติ สาธารณบัญญัติ อสาธารณบัญญัติ เอกโตบัญญัติ
อุภโตบัญญัติอยู่หรือ
บรรดาปาติโมกขุทเทส ๕ อุทเทส ปาราชิกสิกขาบทที่ ๑ นั้น จัดเข้าในอุทเทสไหน
นับเนื่องในอุทเทสไหน มาสู่อุทเทสโดยอุทเทสไหน
บรรดาวิบัติ ๔ อย่าง เป็นวิบัติอย่างไหน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๑ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์] ๑. กัตถปัญญัตติวาร ๑. ปาราชิกกัณฑ์
บรรดากองอาบัติ ๗ กอง เป็นกองอาบัติไหน
บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐานเท่าไร
บรรดาอธิกรณ์ ๔ อย่าง เป็นอธิกรณ์อย่างไหน
บรรดาสมถะ ๗ อย่าง ระงับด้วยสมถะเท่าไร
ในปาราชิกสิกขาบทที่ ๑ นั้น อะไรเป็นพระวินัย อะไรเป็นอภิวินัย อะไรเป็น
พระปาติโมกข์ อะไรเป็นอธิปาติโมกข์ อะไรเป็นวิบัติ อะไรเป็นสมบัติ อะไรเป็นข้อ
ปฏิบัติ
พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติปาราชิกสิกขาบทที่ ๑ โดยทรงอาศัยอำนาจประโยชน์
เท่าไร ใครศึกษาอยู่ ใครศึกษาสิกขาเรียบร้อยแล้ว สิกขาบทนี้ตั้งอยู่ในใคร ใครทรง
เอาไว้ เป็นถ้อยคำของใคร ใครนำมา

ปาราชิกสิกขาบทที่ ๑
[๒] ถาม : พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ ทรง
เห็น ทรงบัญญัติปาราชิกสิกขาบทที่ ๑ ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงเวสาลี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภพระสุทินกลันทบุตร
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่พระสุทินกลันทบุตรเสพเมถุนธรรมกับอดีตภรรยา
ถาม : ในปาราชิกสิกขาบทที่ ๑ นั้น มีพระบัญญัติ พระอนุบัญญัติ อนุปปันน
บัญญัติอยู่หรือ
ตอบ : ในปาราชิกสิกขาบทที่ ๑ นั้น มี ๑ พระบัญญัติ ๒ พระอนุบัญญัติ
ไม่มีอนุปปันนบัญญัติ
ถาม : มีสัพพัตถบัญญัติ ปเทสบัญญัติอยู่หรือ
ตอบ : มีสัพพัตถบัญญัติ
ถาม : มีสาธารณบัญญัติ อสาธารณบัญญัติอยู่หรือ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๒ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์] ๑. กัตถปัญญัตติวาร ๑. ปาราชิกกัณฑ์
ตอบ : มีสาธารณบัญญัติ
ถาม : มีเอกโตบัญญัติ อุภโตบัญญัติอยู่หรือ
ตอบ : มีอุภโตบัญญัติ
ถาม : บรรดาปาติโมกขุทเทส ๕ อุทเทส ปาราชิกสิกขาบทที่ ๑ นั้น จัด
เข้าในอุทเทสไหน นับเนื่องในอุทเทสไหน
ตอบ : จัดเข้าในนิทานุทเทส นับเนื่องในนิทานุทเทส
ถอบ : มาสู่อุทเทสโดยอุทเทสไหน
ตอบ : มาสู่อุทเทสโดยอุทเทสที่ ๒
ถาม : บรรดาวิบัติ ๔ อย่าง เป็นวิบัติอย่างไหน
ตอบ : เป็นสีลวิบัติ
ถาม : บรรดากองอาบัติ ๗ กอง เป็นกองอาบัติไหน
ตอบ : เป็นกองอาบัติปาราชิก
ถาม : บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐานเท่าไร
ตอบ : เกิดด้วยสมุฏฐาน ๑ สมุฏฐาน คือ เกิดทางกายกับจิต มิใช่เกิดทาง
วาจา
ถาม : บรรดาอธิกรณ์ ๔ อย่าง เป็นอธิกรณ์อย่างไหน
ตอบ : เป็นอาปัตตาธิกรณ์
ถาม : บรรดาสมถะ ๗ อย่าง ระงับด้วยสมถะเท่าไร
ตอบ : ระงับด้วยสมถะ ๒ อย่าง คือ (๑) สัมมุขาวินัย (๒) ปฏิญญาตกรณะ
ถาม : ในปาราชิกสิกขาบทที่ ๑ นั้น อะไรเป็นพระวินัย อะไรเป็นอภิวินัย
ตอบ : พระบัญญัติเป็นพระวินัย การจำแนก๑เป็นอภิวินัย
ถาม : ในปาราชิกสิกขาบทที่ ๑ นั้น อะไรเป็นพระปาติโมกข์ อะไรเป็น
อธิปาติโมกข์

เชิงอรรถ :
๑ การจำแนก หมายถึงบทภาชนีย์,สิกขาบทวิภังค์ (วิ.อ. ๓/๒/๔๑๙)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๓ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์] ๑. กัตถปัญญัตติวาร ๑. ปาราชิกกัณฑ์
ตอบ : พระบัญญัติเป็นพระปาติโมกข์ การจำแนกเป็นอธิปาติโมกข์
ถาม : อะไรเป็นวิบัติ
ตอบ : ความไม่สำรวมเป็นวิบัติ
ถาม : อะไรเป็นสมบัติ
ตอบ : ความสำรวมเป็นสมบัติ
ถาม : อะไรเป็นข้อปฏิบัติ
ตอบ : การที่ภิกษุสมาทานอาปาณโกฏิกศีล๑ตลอดชีวิตว่า “เราจะไม่ทำกรรม
อย่างนี้อีก” แล้วศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย เป็นข้อปฏิบัติ
ถาม : พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติปาราชิกสิกขาบทที่ ๑ โดยทรงอาศัยอำนาจ
ประโยชน์เท่าไร
ตอบ : ทรงบัญญัติปาราชิกสิกขาบทที่ ๑ โดยทรงอาศัยอำนาจประโยชน์ ๑๐
ประการ คือ
๑. เพื่อความรับว่าดีแห่งสงฆ์
๒. เพื่อความผาสุกแห่งสงฆ์
๓. เพื่อข่มบุคคลผู้เก้อยาก
๔. เพื่อความอยู่ผาสุกแห่งเหล่าภิกษุผู้มีศีลดีงาม
๕. เพื่อปิดกั้นอาสวะทั้งหลายอันจะบังเกิดในปัจจุบัน
๖. เพื่อกำจัดอาสวะทั้งหลายอันจะบังเกิดในอนาคต
๗. เพื่อความเลื่อมใสของคนที่ยังไม่เลื่อมใส
๘. เพื่อความเลื่อมใสยิ่งขึ้นไปของคนที่เลื่อมใสแล้ว
๙. เพื่อความตั้งมั่นแห่งพระสัทธรรม
๑๐. เพื่อเอื้อเฟื้อพระวินัย

เชิงอรรถ :
๑ อาปาณโกฏิกศีล หมายถึงศีลที่สมาทานแล้วประพฤติตามนั้นจนตลอดชีวิต (วิสุทฺธิ. ๑/๑๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๔ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์] ๑. กัตถปัญญัตติวาร ๑. ปาราชิกกัณฑ์
ถาม : ใครศึกษาอยู่
ตอบ : ภิกษุผู้เป็นพระเสขะและกัลยาณปุถุชนศึกษาอยู่
ถาม : ใครศึกษาสิกขาเรียบร้อยแล้ว
ตอบ : พระอรหันต์เป็นผู้ศึกษาสิกขาเรียบร้อยแล้ว
ถาม : สิกขาบทนี้ตั้งอยู่ในใคร
ตอบ : ตั้งอยู่ในสิกขากามบุคคล(บุคคลผู้ใคร่ศึกษา)
ถาม : ใครทรงเอาไว้
ตอบ : พระเถระทั้งหลายผู้ทรงจำปาราชิกสิกขาบทที่ ๑ ได้ทรงเอาไว้
ถาม : เป็นถ้อยคำของใคร
ตอบ : เป็นพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
ถาม : ใครนำมา
ตอบ : พระเถระทั้งหลายนำสืบ ๆ กันมา
รายนามพระเถระผู้ทรงจำพระวินัยสืบกันมา
[๓] พระเถระเหล่านี้ คือ พระอุบาลี พระทาสกะ พระโสณกะ
พระสิคควะ และพระโมคคัลลีบุตร รวมเป็น ๕ รูป
เป็นผู้นำพระวินัยสืบ ๆ กันมาในชมพูทวีปอันมีสิริ
จากนั้น พระเถระผู้ประเสริฐมีปัญญามากเหล่านี้ คือ
พระมหินทะ พระอิฏฏิยะ พระอุตติยะ พระสัมพละ
และพระภัททบัณฑิต เดินทางจากชมพูทวีปมาที่เกาะสิงหลนี้
ท่านเหล่านั้นสอนพระวินัยปิฎกที่เกาะตามพปัณณิ
สอนนิกาย ๕ และปกรณ์ ๗
จากนั้นพระอริฏฐะผู้มีปัญญา พระติสสทัตตบัณฑิต
พระกาฬสุมนะ ผู้เชี่ยวชาญ พระทีฆเถระ และพระทีฆสุมนบัณฑิต
ต่อมา พระกาฬสุมนะ พระนาคเถระ พระพุทธรักขิตะ
พระติสสเถระผู้มีปัญญา และพระเทวเถระผู้เป็นบัณฑิต

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๕ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์] ๑. กัตถปัญญัตติวาร ๑. ปาราชิกกัณฑ์
ต่อมา พระสุมนะผู้มีปัญญาและเชี่ยวชาญในพระวินัย
พระจูฬนาคะเป็นพหูสูต ดุจช้างซับมัน พระธัมมปาลิตะ
เป็นผู้อันสาธุชนในโรหนชนบทพากันบูชาเป็นอย่างดี
ศิษย์ของพระธัมมปาลิตะนั้น มีปัญญามากชื่อว่าเขมะ
ทรงจำพระไตรปิฎกได้รุ่งเรืองอยู่ในเกาะด้วยปัญญา
เหมือนดวงจันทร์รุ่งเรืองอยู่
พระอุปติสสะผู้มีปัญญา พระปุสสเทวะผู้เป็นมหาธรรมกถึก
ต่อมา พระสุมนะผู้มีปัญญา พระมหาปทุมะ๑ เป็นพหูสูต
พระมหาสีวะผู้เป็นมหาธรรมกถึก ฉลาดในพระปิฎกทั้งหมด
ต่อมา พระอุบาลีผู้มีปัญญา เชี่ยวชาญในพระวินัย
พระมหานาคะผู้มีปัญญามาก ฉลาดในวงศ์พระสัทธรรม
ต่อมา พระอภยะผู้มีปัญญา ฉลาดในพระปิฎกทั้งหมด
พระติสสเถระผู้มีปัญญาเชี่ยวชาญในพระวินัย
พระสุมนา๒มีปัญญามากผู้เป็นศิษย์ของพระติสสเถระนั้น เป็นพหูสูต
รักษาพระศาสนาต่อกันมาอยู่ในชมพูทวีป
พระจูฬาภยะผู้มีปัญญาและเชี่ยวชาญในพระวินัย
พระติสสเถระผู้มีปัญญาฉลาดในวงศ์พระสัทธรรม
พระจูฬเทวะผู้มีปัญญาและเชี่ยวชาญในพระวินัย
และพระสิวเถระผู้มีปัญญา ฉลาดในพระวินัยทั้งหมด

เชิงอรรถ :
๑ พระมหาปทุมะ แปลมาจากคำว่า “ปุปฺผนาโม” ซึ่งตามตัวอักษรแปลว่า “พระเถระชื่อว่าบุปผา” ในที่นี้
พระธรรมสังคาหกาจารย์ท่านใช้คำปริศนาให้นึกเดา ปุปฺผ ดอกไม้ หมายถึงดอกปทุม คือเป็นคำแทนชื่อ
พระมหาปทุมะนั่นเอง (วชิร.ฏีกา ๓๕, สารตฺถ.ฏีกา ๑/๑๘๖, วิมติ.ฏีกา ๑/๔๑)
๒ พระสุมนะ แปลมาจากคำว่า “ปุปฺผนาโม (ปุสฺสนาโม)” ท่านใช้คำปริศนาอีกเช่นกัน (สารตฺถ.ฏีกา
๑/๑๘๖, วิมติ.ฏีกา ๑/๔๑) ดุจคำว่า “ชลชุตฺตมนามโก” (ขุ.อป. ๓๒/๒๘/๘๐, ขุ.อป. ๓๓/๓๔/๑๐๖
,๑๐๕/๒๗๒) หมายถึงพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่า “ปทุมุตตระ” (ขุ.อป.อ. ๒/๒๘/๗,๑๘๓/๓๗๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๖ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์] ๑. กัตถปัญญัตติวาร ๑. ปาราชิกกัณฑ์
พระเถระผู้ประเสริฐมีปัญญามากเหล่านี้ รู้พระวินัย
ฉลาดในมรรค ได้ประกาศพระวินัยปิฎกไว้ในเกาะตามพปัณณิ

ปาราชิกสิกขาบทที่ ๒
[๔] ถาม : พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ ทรง
เห็น ทรงบัญญัติปาราชิกสิกขาบทที่ ๒ ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงราชคฤห์
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภพระธนิยกุมภการบุตร
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่พระธนิยกุมภการบุตร ถือเอาไม้ของหลวงที่ยังไม่ได้
พระราชทาน
ในปาราชิกสิกขาบทที่ ๒ นั้น มี ๑ พระบัญญัติ ๑ พระอนุบัญญัติ ไม่มี
อนุปปันนบัญญัติ
ถาม : บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐานเท่าไร
ตอบ : เกิดด้วยสมุฏฐาน ๓ สมุฏฐาน คือ (๑) เกิดทางกายกับจิต มิใช่
เกิดทางวาจา (๒) เกิดทางวาจากับจิต มิใช่เกิดทางกาย (๓) เกิดทางกายวาจา
กับจิต ฯลฯ

ปาราชิกสิกขาบทที่ ๓
[๕] ถาม : พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ ทรง
เห็น ทรงบัญญัติปาราชิกสิกขาบทที่ ๓ ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงเวสาลี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภภิกษุหลายรูป

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๗ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์] ๑. กัตถปัญญัตติวาร ๑. ปาราชิกกัณฑ์
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่ภิกษุหลายรูป ฆ่ากันและกัน
ในปาราชิกสิกขาบทที่ ๓ นั้น มี ๑ พระบัญญัติ ๑ พระอนุบัญญัติ ไม่มี
อนุปปันนบัญญัติ
ถาม : บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐานเท่าไร
ตอบ : เกิดด้วยสมุฏฐาน ๓ สมุฏฐาน คือ (๑) เกิดทางกายกับจิต มิใช่
เกิดทางวาจา (๒) เกิดทางวาจากับจิต มิใช่เกิดทางกาย (๓) เกิดทางกายวาจากับ
จิต ฯลฯ

ปาราชิกสิกขาบทที่ ๔
[๖] ถาม : พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ ทรง
เห็น ทรงบัญญัติปาราชิกสิกขาบทที่ ๔ ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงเวสาลี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภพวกภิกษุชาวฝั่งแม่น้ำวัคคุมุทา
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่พวกภิกษุชาวฝั่งแม่น้ำวัคคุมุทา กล่าวอวดอุตตริมนุสสธรรม
ของกันและกันแก่พวกคฤหัสถ์
ในปาราชิกสิกขาบทที่ ๔ นั้น มี ๑ พระบัญญัติ ๑ พระอนุบัญญัติ ไม่มี
อนุปปันนบัญญัติ
ถาม : บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐานเท่าไร
ตอบ : เกิดด้วยสมุฏฐาน ๓ สมุฏฐาน คือ (๑) เกิดทางกายกับจิต มิใช่เกิด
ทางวาจา (๒) เกิดทางวาจากับจิต มิใช่เกิดทางกาย (๓) เกิดทางกายวาจากับจิต
ฯลฯ
ปาราชิก ๔ สิกขาบท จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๘ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์] ๑. กัตถปัญญัตติวาร ๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์
รวมสิกขาบทที่มีในปาราชิกกัณฑ์
ปาราชิกสิกขาบทที่ ๑ ว่าด้วยการเสพเมถุนธรรม
ปาราชิกสิกขาบทที่ ๒ ว่าด้วยการถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้
ปาราชิกสิกขาบทที่ ๓ ว่าด้วยการพรากกายมนุษย์
ปาราชิกสิกขาบทที่ ๔ ว่าด้วยการกล่าวอวดอุตตริมนุสสธรรม
ปาราชิก ๔ สิกขาบทเหล่านี้เป็นมูลแห่งการตัดขาด
(ขาดจากความเป็นภิกษุ) อย่างไม่ต้องสงสัย

๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์
คำถาม - คำตอบสถานที่บัญญัติเป็นต้นในสังฆาทิเสสกัณฑ์
[๗] พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น
ทรงบัญญัติสังฆาทิเสสแก่ภิกษุผู้พยายามทำน้ำอสุจิให้เคลื่อน ณ ที่ไหน ทรงปรารภ
ใคร เพราะเรื่องอะไร
ในสุกกวิสัฏฐิสิกขาบทที่ ๑ นั้น มีพระบัญญัติ พระอนุบัญญัติ อนุปปันนบัญญัติ
สัพพัตถบัญญัติ ปเทสบัญญัติ สาธารณบัญญัติ อสาธารณบัญญัติ เอกโตบัญญัติ
อุภโตบัญญัติอยู่หรือ
บรรดาปาติโมกขุทเทส ๕ อุทเทส สุกกวิสัฏฐิสิกขาบทนั้นจัดเข้าในอุทเทสไหน
นับเนื่องในอุทเทสไหน มาสู่อุทเทสโดยอุทเทสไหน
บรรดาวิบัติ ๔ อย่าง เป็นวิบัติอย่างไหน
บรรดากองอาบัติ ๗ กอง เป็นกองอาบัติไหน
บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐานเท่าไร
บรรดาอธิกรณ์ ๔ อย่าง เป็นอธิกรณ์อย่างไหน
บรรดาสมถะ ๗ อย่าง ระงับด้วยสมถะเท่าไร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๙ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์] ๑. กัตถปัญญัตติวาร ๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์
ในสุกกวิสัฏฐิสิกขาบทที่ ๑ นั้น อะไรเป็นพระวินัย อะไรเป็นอภิวินัย อะไรเป็น
พระปาติโมกข์ อะไรเป็นอธิปาติโมกข์ อะไรเป็นวิบัติ อะไรเป็นสมบัติ อะไรเป็นข้อ
ปฏิบัติ
พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติสังฆาทิเสสแก่ภิกษุผู้พยายามทำน้ำอสุจิให้เคลื่อน
โดยทรงอาศัยอำนาจประโยชน์เท่าไร ใครศึกษาอยู่ ใครศึกษาสิกขาเรียบร้อยแล้ว
สิกขาบทนี้ตั้งอยู่ในใคร ใครทรงเอาไว้ เป็นถ้อยคำของใคร ใครนำมา

๑. สุกกวิสัฏฐิสิกขาบท
[๘] ถาม : พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ ทรง
เห็น ทรงบัญญัติสังฆาทิเสสแก่ภิกษุผู้พยายามทำน้ำอสุจิให้เคลื่อน ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภท่านพระเสยยสกะ
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่ท่านพระเสยยสกะพยายามใช้มือทำน้ำอสุจิให้เคลื่อน
ถาม : ในสุกกวิสัฏฐิสิกขาบทนั้น มีพระบัญญัติ พระอนุบัญญัติ อนุปปันน
บัญญัติอยู่หรือ
ตอบ : ในสุกกวิสัฏฐิสิกขาบทนั้น มี ๑ พระบัญญัติ ๑ พระอนุบัญญัติ ไม่
มีอนุปปันนบัญญัติ
ถาม : มีสัพพัตถบัญญัติ ปเทสบัญญัติอยู่หรือ
ตอบ : มีสัพพัตถบัญญัติ
ถาม : มีสาธารณบัญญัติ อสาธารณบัญญัติอยู่หรือ
ตอบ : มีอสาธารณบัญญัติ
ถาม : มีเอกโตบัญญัติ อุภโตบัญญัติอยู่หรือ
ตอบ : มีเอกโตบัญญัติ
ถาม : บรรดาปาติโมกขุทเทส ๕ อุทเทส สุกกวิสัฏฐิสิกขาบทนั้นจัดเข้าใน
อุทเทสไหน นับเนื่องในอุทเทสไหน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๑๐ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์] ๑. กัตถปัญญัตติวาร ๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์
ตอบ : จัดเข้าในนิทานุทเทส นับเนื่องในนิทานุทเทส
ถาม : มาสู่อุทเทสโดยอุทเทสไหน
ตอบ : มาสู่อุทเทสโดยอุทเทสที่ ๓
ถาม : บรรดาวิบัติ ๔ อย่าง เป็นวิบัติอย่างไหน
ตอบ : เป็นสีลวิบัติ
ถาม : บรรดากองอาบัติ ๗ กอง เป็นกองอาบัติไหน
ตอบ : เป็นกองอาบัติสังฆาทิเสส
ถาม : บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐานเท่าไร
ตอบ : เกิดด้วยสมุฏฐาน ๑ สมุฏฐาน คือ เกิดทางกายกับจิต มิใช่เกิดทาง
วาจา
ถาม : บรรดาอธิกรณ์ ๔ อย่าง เป็นอธิกรณ์อย่างไหน
ตอบ : เป็นอาปัตตาธิกรณ์
ถาม : บรรดาสมถะ ๗ อย่าง ระงับด้วยสมถะเท่าไร
ตอบ : ระงับด้วยสมถะ ๒ อย่าง คือ (๑) สัมมุขาวินัย (๒) ปฏิญญาตกรณะ
ถาม : ในสุกกวิสัฏฐิสิกขาบทนั้น อะไรเป็นพระวินัย อะไรเป็นอภิวินัย
ตอบ : พระบัญญัติเป็นพระวินัย การจำแนกเป็นอภิวินัย
ถาม : ในสุกกวิสัฏฐิสิกขาบทนั้น อะไรเป็นพระปาติโมกข์ อะไรเป็น
อธิปาติโมกข์
ตอบ : พระบัญญัติเป็นพระปาติโมกข์ การจำแนกเป็นอธิปาติโมกข์
ถาม : อะไรเป็นวิบัติ
ตอบ : ความไม่สำรวมเป็นวิบัติ
ถาม : อะไรเป็นสมบัติ
ตอบ : ความสำรวมเป็นสมบัติ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๑๑ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์] ๑. กัตถปัญญัตติวาร ๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์
ถาม : อะไรเป็นข้อปฏิบัติ
ตอบ : การที่ภิกษุสมาทานอาปาณโกฏิกศีลตลอดชีวิตว่า “เราจะไม่ทำกรรม
อย่างนี้อีก” แล้วศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย เป็นข้อปฏิบัติ
ถาม : พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติสังฆาทิเสสแก่ภิกษุผู้พยายามทำน้ำอสุจิ
ให้เคลื่อน โดยทรงอาศัยอำนาจประโยชน์เท่าไร
ตอบ : พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติสังฆาทิเสสแก่ภิกษุผู้พยายามทำน้ำอสุจิ
ให้เคลื่อน โดยทรงอาศัยอำนาจประโยชน์ ๑๐ ประการ คือ
๑. เพื่อความรับว่าดีแห่งสงฆ์
๒. เพื่อความผาสุกแห่งสงฆ์
๓. เพื่อข่มบุคคลผู้เก้อยาก
๔. เพื่อความอยู่ผาสุกแห่งเหล่าภิกษุผู้มีศีลดีงาม
๕. เพื่อปิดกั้นอาสวะทั้งหลายอันจะบังเกิดในปัจจุบัน
๖. เพื่อกำจัดอาสวะทั้งหลายอันจะบังเกิดในอนาคต
๗. เพื่อความเลื่อมใสของคนที่ยังไม่เลื่อมใส
๘. เพื่อความเลื่อมใสยิ่งขึ้นไปของคนที่เลื่อมใสแล้ว
๙. เพื่อความตั้งมั่นแห่งพระสัทธรรม
๑๐. เพื่อเอื้อเฟื้อพระวินัย
ถาม : ใครศึกษาอยู่
ตอบ : พระเสขะและกัลยาณปุถุชนศึกษาอยู่
ถาม : ใครศึกษาสิกขาเรียบร้อยแล้ว
ตอบ : พระอรหันต์เป็นผู้ศึกษาสิกขาเรียบร้อยแล้ว
ถาม : สิกขาบทนี้ตั้งอยู่ในใคร
ตอบ : ตั้งอยู่ในสิกขากามบุคคล
ถาม : ใครทรงเอาไว้
ตอบ : พระเถระทั้งหลายผู้ทรงจำสุกกวิสัฏฐิสิกขาบทที่ ๑ ได้ทรงเอาไว้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๑๒ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์] ๑. กัตถปัญญัตติวาร ๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์
ถาม : เป็นถ้อยคำของใคร
ตอบ : เป็นพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
ถาม : ใครนำมา
ตอบ : พระเถระทั้งหลายนำสืบ ๆ กันมา
รายนามพระเถระผู้ทรงจำพระวินัยสืบกันมา
พระเถระเหล่านี้ คือ พระอุบาลี พระทาสกะ พระโสณกะ
พระสิคควะ และพระโมคคัลลีบุตร รวมเป็น ๕ รูป
เป็นผู้นำพระวินัยสืบ ๆ กันมาในชมพูทวีปอันมีสิริ
จากนั้น พระเถระผู้ประเสริฐมีปัญญามากเหล่านี้ คือ
พระมหินทะ พระอิฏฏิยะ พระอุตติยะ พระสัมพละ
และพระภัททบัณฑิต เดินทางจากชมพูทวีปมาที่เกาะสิงหลนี้
ท่านเหล่านั้นสอนพระวินัยปิฎกที่เกาะตามพปัณณิ
สอนนิกาย ๕ และปกรณ์ ๗
จากนั้นพระอริฏฐะผู้มีปัญญา พระติสสทัตตบัณฑิต
พระกาฬสุมนะ ผู้เชี่ยวชาญ พระทีฆเถระ และพระทีฆสุมนบัณฑิต
ต่อมา พระกาฬสุมนะ พระนาคเถระ พระพุทธรักขิตะ
พระติสสเถระผู้มีปัญญา และพระเทวเถระผู้เป็นบัณฑิต
ต่อมา พระสุมนะผู้มีปัญญาและเชี่ยวชาญในพระวินัย
พระจูฬนาคะเป็นพหูสูต ดุจช้างซับมัน พระธัมมปาลิตะ
เป็นผู้อันสาธุชนในโรหนชนบทพากันบูชาเป็นอย่างดี
ศิษย์ของพระธัมมปาลิตะนั้น มีปัญญามากชื่อว่าเขมะ
ทรงจำพระไตรปิฎกได้รุ่งเรืองอยู่ในเกาะด้วยปัญญา
เหมือนดวงจันทร์รุ่งเรืองอยู่
พระอุปติสสะผู้มีปัญญา พระปุสสเทวะผู้เป็นมหาธรรมกถึก
ต่อมา พระสุมนะผู้มีปัญญา พระมหาปทุมะเป็นพหูสูต
พระมหาสีวะผู้เป็นมหาธรรมกถึก ฉลาดในพระปิฎกทั้งหมด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๑๓ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์] ๑. กัตถปัญญัตติวาร ๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์
ต่อมา พระอุบาลีผู้มีปัญญา เชี่ยวชาญในพระวินัย
พระมหานาคะผู้มีปัญญามาก ฉลาดในวงศ์พระสัทธรรม
ต่อมา พระอภยะผู้มีปัญญา ฉลาดในพระปิฎกทั้งหมด
พระติสสเถระผู้มีปัญญาเชี่ยวชาญในพระวินัย
พระสุมนะมีปัญญามาก ผู้เป็นศิษย์ของพระติสสเถระนั้น เป็นพหูสูต
รักษาพระศาสนาต่อกันมาอยู่ในชมพูทวีป
พระจูฬาภยะผู้มีปัญญาและเชี่ยวชาญในพระวินัย
พระติสสเถระผู้มีปัญญาฉลาดในวงศ์พระสัทธรรม
พระจูฬเทวะผู้มีปัญญาและเชี่ยวชาญในพระวินัยและพระสิวเถระ
ผู้มีปัญญา ฉลาดในพระวินัยทั้งหมด
พระเถระผู้ประเสริฐมีปัญญามากเหล่านี้ รู้พระวินัย
ฉลาดในมรรค ได้ประกาศพระวินัยปิฎกไว้ในเกาะตามพปัณณิ

๒. กายสังสัคคสิกขาบท
[๙] ถาม : พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ ทรง
เห็น ทรงบัญญัติสังฆาทิเสสแก่ภิกษุผู้ถูกต้องกายกับมาตุคาม ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภท่านพระอุทายี
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่ท่านพระอุทายีถูกต้องกายกับมาตุคาม
ในกายสังสัคคสิกขาบทนั้นมี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน
เกิดด้วยสมุฏฐาน ๑ สมุฏฐาน คือ เกิดทางกายกับจิต มิใช่เกิดทางวาจา ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๑๔ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์] ๑. กัตถปัญญัตติวาร ๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์
๓. ทุฏฐุลลวาจาสิกขาบท
[๑๐] ถาม : พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น
ทรงบัญญัติสังฆาทิเสสแก่ภิกษุผู้พูดเกี้ยวมาตุคามด้วยวาจาชั่วหยาบ ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภท่านพระอุทายี
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่ท่านพระอุทายีพูดเกี้ยวมาตุคามด้วยวาจาชั่วหยาบ
ในทุฏฐุลลวาจาสิกขาบทนั้นมี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖
สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๓ สมุฏฐาน คือ (๑) เกิดทางกายกับจิต มิใช่เกิด
ทางวาจา (๒) เกิดทางวาจากับจิต มิใช่เกิดทางกาย (๓) เกิดทางกายวาจากับจิต
ฯลฯ

๔. อัตตกามปาริจริยสิกขาบท
[๑๑] ถาม : พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ ทรง
เห็น ทรงบัญญัติสังฆาทิเสสแก่ภิกษุผู้กล่าวสรรเสริญการบำเรอความใคร่ของตนต่อหน้า
มาตุคาม ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภท่านพระอุทายี
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่ท่านพระอุทายีกล่าวสรรเสริญการบำเรอความใคร่ของตน
ต่อหน้ามาตุคาม

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๑๕ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์] ๑. กัตถปัญญัตติวาร ๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์
ในอัตตกามปาริจริยสิกขาบทนั้นมี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ
๖ สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๓ สมุฏฐาน ฯลฯ

๕. สัญจริตตสิกขาบท
[๑๒] ถาม : พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น
ทรงบัญญัติสังฆาทิเสสแก่ภิกษุผู้ทำหน้าที่ชักสื่อ ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภท่านพระอุทายี
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่ท่านพระอุทายีทำหน้าที่ชักสื่อ
ในสัญจริตตสิกขาบทนั้น มี ๑ พระบัญญัติ ๑ พระอนุบัญญัติ บรรดาสมุฏฐาน
แห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๖ สมุฏฐาน คือ (๑) เกิดทางกาย มิใช่
เกิดทางวาจา มิใช่เกิดทางจิต (๒) เกิดทางวาจา มิใช่เกิดทางกาย มิใช่เกิดทางจิต
(๓) เกิดทางกายกับวาจา มิใช่เกิดทางจิต (๔) เกิดทางกายกับจิต มิใช่เกิดทางวาจา
(๕) เกิดทางวาจากับจิต มิใช่เกิดทางกาย (๖) เกิดทางกายวาจากับจิต ฯลฯ

๖. กุฏิการสิกขาบท
[๑๓] ถาม : พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ ทรง
เห็น ทรงบัญญัติสังฆาทิเสสแก่ภิกษุผู้สร้างกุฎีด้วยเครื่องอุปกรณ์ที่ขอมาเอง ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ เมืองอาฬวี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภพวกภิกษุชาวเมืองอาฬวี
ถาม : เพราะเรื่องอะไร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๑๖ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์] ๑. กัตถปัญญัตติวาร ๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์
ตอบ : เพราะเรื่องที่พวกภิกษุชาวเมืองอาฬวีสร้างกุฎีด้วยเครื่องอุปกรณ์ที่ขอ
มาเอง
ในกุฏิการสิกขาบทนั้น มี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖
สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๖ สมุฏฐาน ฯลฯ

๗. วิหารการสิกขาบท
[๑๔] ถาม : พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ ทรง
เห็น ทรงบัญญัติสังฆาทิเสสแก่ภิกษุผู้ให้สร้างวิหารใหญ่ ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงโกสัมพี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภท่านพระฉันนะ
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่ท่านพระฉันนะแผ้วถางพื้นที่สร้างวิหาร สั่งให้ตัดไม้รุกข เจดีย์
ต้นหนึ่ง
ในวิหารการสิกขาบทนั้นมี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน
เกิดด้วยสมุฏฐาน ๖ สมุฏฐาน ฯลฯ

๘. ปฐมทุฏฐโทสสิกขาบท
[๑๕] ถาม : พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้
ทรงเห็น ทรงบัญญัติสังฆาทิเสสแก่ภิกษุผู้ใส่ความภิกษุด้วยอาบัติปาราชิกไม่มีมูล ณ
ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงราชคฤห์
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภพระเมตติยะและพระภุมมชกะ
ถาม : เพราะเรื่องอะไร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๑๗ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์] ๑. กัตถปัญญัตติวาร ๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์
ตอบ : เพราะเรื่องที่พระเมตติยะและพระภุมมชกะใส่ความท่านพระทัพพมัลล
บุตรด้วยอาบัติปาราชิกไม่มีมูล
ในปฐมทุฏฐโทสสิกขาบทนั้นมี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖
สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๓ สมุฏฐาน ฯลฯ

๙. ทุติยทุฏฐโทสสิกขาบท
[๑๖] ถาม : พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ ทรง
เห็น ทรงบัญญัติสังฆาทิเสสแก่ภิกษุผู้อ้างเอาบางส่วนแห่งอธิกรณ์เรื่องอื่นเป็นเลศใส่
ความภิกษุด้วยอาบัติปาราชิกไม่มีมูล ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงราชคฤห์
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภพระเมตติยะและพระภุมมชกะ
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่พระเมตติยะและพระภุมมชกะอ้างเอาบางส่วนแห่งอธิกรณ์
เรื่องอื่นเป็นเลศใส่ความท่านพระทัพพมัลลบุตรด้วยอาบัติปาราชิกไม่มีมูล
ในทุติยทุฏฐโทสสิกขาบทนั้น มี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖
สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๓ สมุฏฐาน ฯลฯ

๑๐. สังฆเภทสิกขาบท
[๑๗] ถาม : พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ ทรง
เห็น ทรงบัญญัติสังฆาทิเสสแก่ภิกษุผู้ทำสงฆ์ให้แตกกัน ไม่สละกรรมจนกระทั่งสงฆ์
สวดสมนุภาสน์ครบ ๓ ครั้ง ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงราชคฤห์
ถาม : ทรงปรารภใคร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๑๘ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์] ๑. กัตถปัญญัตติวาร ๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์
ตอบ : ทรงปรารภพระเทวทัต
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่พระเทวทัตเพียรพยายามเพื่อทำลายสงฆ์ผู้พร้อมเพรียงกัน
ในสังฆเภทสิกขาบทนั้น มี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖
สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๑ สมุฏฐาน คือ เกิดทางกายวาจากับจิต ฯลฯ

๑๑. สังฆเภทานุวัตตกสิกขาบท
[๑๘] ถาม : พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ ทรง
เห็น ทรงบัญญัติสังฆาทิเสสแก่ภิกษุที่ประพฤติตามกล่าวสนับสนุนภิกษุผู้ทำลายสงฆ์
ไม่สละกรรมจนกระทั่งสงฆ์สวดสมนุภาสน์ครบ ๓ ครั้ง ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงราชคฤห์
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภภิกษุหลายรูป
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่ภิกษุหลายรูปประพฤติตามสนับสนุนพระเทวทัตผู้พยายาม
ทำลายสงฆ์
ในสังฆเภทานุวัตตกสิกขาบทนั้นมี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ
๖ สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๑ สมุฏฐาน คือ เกิดทางกายวาจากับจิต ฯลฯ

๑๒. ทุพพจสิกขาบท
[๑๙] ถาม : พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ ทรง
เห็น ทรงบัญญัติสังฆาทิเสสแก่ภิกษุเป็นคนว่ายาก ไม่สละกรรมจนกระทั่งสงฆ์สวด
สมนุภาสน์ครบ ๓ ครั้ง ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงโกสัมพี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๑๙ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์] ๑. กัตถปัญญัตติวาร ๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภท่านพระฉันนะ
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่ท่านพระฉันนะอันภิกษุทั้งหลายว่ากล่าวตักเตือนโดยชอบ
ธรรม กลับทำตนให้เป็นคนที่ว่ากล่าวตักเตือนไม่ได้
ในทุพพจสิกขาบทนั้นมี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน
เกิดด้วยสมุฏฐาน ๑ สมุฏฐาน คือ เกิดทางกายวาจากับจิต ฯลฯ

๑๓. กุลทูสกสิกขาบท
[๒๐] ถาม : พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ ทรง
เห็น ทรงบัญญัติสังฆาทิเสสแก่ภิกษุผู้ประทุษร้ายตระกูล ไม่สละกรรมจนกระทั่งสงฆ์
สวดสมนุภาสน์ครบ ๓ ครั้ง ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภพระอัสสชิและพระปุนัพพสุกะ
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่พระอัสสชิและพระปุนัพพสุกะถูกสงฆ์ลงปัพพาชนียกรรม
แล้วกลับกล่าวหาว่า พวกภิกษุลำเอียงเพราะชอบ ลำเอียงเพราะชัง ลำเอียงเพราะหลง
ลำเอียงเพราะกลัว
ในกุลทูสกสิกขาบทนั้นมี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน
เกิดด้วยสมุฏฐาน ๑ สมุฏฐาน คือ เกิดทางกายวาจากับจิต ฯลฯ
สังฆาทิเสส ๑๓ สิกขาบท จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๒๐ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์] ๑. กัตถปัญญัตติวาร ๓. อนิยตกัณฑ์
รวมสิกขาบทที่มีในสังฆาทิเสสกัณฑ์

๑. สุกกวิสัฏฐิสิกขาบท ว่าด้วยการจงใจทำน้ำอสุจิให้เคลื่อน
๒. กายสังสัคคสิกขาบท ว่าด้วยการถูกต้องกายกับมาตุคาม
๓. ทุฏฐุลลวาจาสิกขาบท ว่าด้วยการพูดเกี้ยวมาตุคาม
๔. อัตตกามปาริจริยสิกขาบท ว่าด้วยการให้บำเรอความใคร่ของตน
๕. สัญจริตตสิกขาบท ว่าด้วยการชักสื่อ
๖. กุฏิการสิกขาบท ว่าด้วยการก่อสร้างกุฎี
๗. วิหารการสิกขาบท ว่าด้วยการก่อสร้างวิหาร
๘. ปฐมทุฏฐโทสสิกขาบท ว่าด้วยภิกษุขัดเคืองมีโทสะสิกขาบทที่ ๑
๙. ทุติยทุฏฐโทสสิกขาบท ว่าด้วยภิกษุขัดเคืองมีโทสะสิกขาบทที่ ๒
๑๐. สังฆเภทสิกขาบท ว่าด้วยการทำสงฆ์ให้แตกกัน
๑๑. สังฆเภทานุวัตตกสิกขาบท ว่าด้วยภิกษุประพฤติตามกล่าวสนับสนุน
ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์
๑๒. ทุพพจสิกขาบท ว่าด้วยภิกษุเป็นคนว่ายาก
๑๓. กุลทูสกสิกขาบท ว่าด้วยภิกษุผู้ประทุษร้ายตระกูล

๓. อนิยตกัณฑ์
คำถาม - คำตอบสถานที่บัญญัติเป็นต้นในอนิยตกัณฑ์
[๒๑] พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น
ทรงบัญญัติปฐมอนิยตสิกขาบท ณ ที่ไหน ทรงปรารภใคร เพราะเรื่องอะไร
ในปฐมอนิยตสิกขาบทนั้น มีพระบัญญัติ พระอนุบัญญัติ อนุปปันนบัญญัติ
สัพพัตถบัญญัติ ปเทสบัญญัติ สาธารณบัญญัติ อสาธารณบัญญัติ เอกโตบัญญัติ
อุภโตบัญญัติอยู่หรือ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๒๑ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์] ๑. กัตถปัญญัตติวาร ๓. อนิยตกัณฑ์
บรรดาปาติโมกขุทเทส ๕ อุทเทส ปฐมอนิยตสิกขาบทนั้นจัดเข้าในอุทเทสไหน
นับเนื่องในอุทเทสไหน มาสู่อุทเทสโดยอุทเทสไหน
บรรดาวิบัติ ๔ อย่าง เป็นวิบัติอย่างไหน
บรรดากองอาบัติ ๗ กอง เป็นกองอาบัติไหน
บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐานเท่าไร
บรรดาอธิกรณ์ ๔ อย่าง เป็นอธิกรณ์อย่างไหน
บรรดาสมถะ ๗ อย่าง ระงับด้วยสมถะเท่าไร
ในปฐมอนิยตสิกขาบทนั้น อะไรเป็นพระวินัย อะไรเป็นอภิวินัย อะไรเป็นพระ
ปาติโมกข์ อะไรเป็นอธิปาติโมกข์ อะไรเป็นวิบัติ อะไรเป็นสมบัติ อะไรเป็นข้อปฏิบัติ
พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติปฐมอนิยตสิกขาบท โดยอาศัยอำนาจประโยชน์เท่าไร
ใครศึกษาอยู่ ใครศึกษาสิกขาเรียบร้อยแล้ว สิกขาบทนี้ตั้งอยู่ในใคร ใครทรงเอาไว้
เป็นถ้อยคำของใคร ใครนำมา

๑. ปฐมอนิยตสิกขาบท
[๒๒] ถาม : พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้
ทรงเห็น ทรงบัญญัติปฐมอนิยตสิกขาบท ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภท่านพระอุทายี
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่ท่านพระอุทายีนั่งบนอาสนะที่กำบังในที่ลับพอจะทำการได้
กับมาตุคามสองต่อสอง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๒๒ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์] ๑. กัตถปัญญัตติวาร ๓. อนิยตกัณฑ์
ถาม : ในปฐมอนิยตสิกขาบทนั้น มีพระบัญญัติ พระอนุบัญญัติ อนุปปันน
บัญญัติอยู่หรือ
ตอบ : ในปฐมอนิยตสิกขาบทนั้น มี ๑ พระบัญญัติ ไม่มีพระอนุบัญญัติ และ
อนุปปันนบัญญัติ
ถาม : มีสัพพัตถบัญญัติ ปเทสบัญญัติอยู่หรือ
ตอบ : มีสัพพัตถบัญญัติ
ถาม : มีสาธารณบัญญัติ อสาธารณบัญญัติอยู่หรือ
ตอบ : มีอสาธารณบัญญัติ
ถาม : มีเอกโตบัญญัติ อุภโตบัญญัติอยู่หรือ
ตอบ : มีเอกโตบัญญัติ
ถาม : บรรดาปาติโมกขุทเทส ๕ อุทเทส ปฐมอนิยตสิกขาบทนี้จัดเข้าใน
อุทเทสไหน นับเนื่องในอุทเทสไหน
ตอบ : จัดเข้าในนิทานุทเทส นับเนื่องในนิทานุทเทส
ถาม : มาสู่อุทเทส โดยอุทเทสไหน
ตอบ : มาสู่อุทเทส โดยอุทเทสที่ ๔
ถาม : บรรดาวิบัติ ๔ อย่าง เป็นวิบัติอย่างไหน
ตอบ : เป็นสีลวิบัติก็มี เป็นอาจารวิบัติก็มี
ถาม : บรรดากองอาบัติ ๗ กอง เป็นกองอาบัติไหน
ตอบ : เป็นกองอาบัติปาราชิกก็มี เป็นกองอาบัติสังฆาทิเสสก็มี เป็นกองอาบัติ
ปาจิตตีย์ก็มี
ถาม : บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐานเท่าไร
ตอบ : เกิดด้วยสมุฏฐาน ๑ สมุฏฐาน คือ เกิดทางกายกับจิต มิใช่เกิดทางวาจา
ถาม : บรรดาอธิกรณ์ ๔ อย่าง เป็นอธิกรณ์อย่างไหน
ตอบ : เป็นอาปัตตาธิกรณ์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๒๓ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์] ๑. กัตถปัญญัตติวาร ๓. อนิยตกัณฑ์
ถาม : บรรดาสมถะ ๗ อย่าง ระงับด้วยสมถะเท่าไร
ตอบ : ระงับด้วยสมถะ ๓ อย่าง คือ (๑) สัมมุขาวินัย (๒) ปฏิญญาตกรณะ
(๓) สัมมุขาวินัยและติณวัตถารกะ
ถาม : ในปฐมอนิยตสิกขาบทนั้น อะไรเป็นพระวินัย อะไรเป็นอภิวินัย
ตอบ : พระบัญญัติเป็นพระวินัย การจำแนกเป็นอภิวินัย
ถาม : ในปฐมอนิยตสิกขาบทนั้น อะไรเป็นพระปาติโมกข์ อะไรเป็นอธิปาติโมกข์
ตอบ : พระบัญญัติเป็นพระปาติโมกข์ การจำแนกเป็นอธิปาติโมกข์
ถาม : อะไรเป็นวิบัติ
ตอบ : ความไม่สำรวมเป็นวิบัติ
ถาม : อะไรเป็นสมบัติ
ตอบ : ความสำรวมเป็นสมบัติ
ถาม : อะไรเป็นข้อปฏิบัติ
ตอบ : การที่ภิกษุสมาทานอาปาณโกฏิกศีลตลอดชีวิตว่า “เราจะไม่ทำอย่างนี้อีก”
แล้วศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย เป็นข้อปฏิบัติ
ถาม : พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติปฐมอนิยตสิกขาบทนี้ โดยทรงอาศัยอำนาจ
ประโยชน์เท่าไร
ตอบ : พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติปฐมอนิยตสิกขาบทนี้ โดยทรงอาศัยอำนาจ
ประโยชน์ ๑๐ ประการ คือ
๑. เพื่อความรับว่าดีแห่งสงฆ์
๒. เพื่อความผาสุกแห่งสงฆ์
๓. เพื่อข่มบุคคลผู้เก้อยาก
๔. เพื่อความอยู่ผาสุกแห่งเหล่าภิกษุผู้มีศีลดีงาม
๕. เพื่อปิดกั้นอาสวะทั้งหลายอันจะบังเกิดในปัจจุบัน
๖. เพื่อกำจัดอาสวะทั้งหลายอันจะบังเกิดในอนาคต

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๒๔ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์] ๑. กัตถปัญญัตติวาร ๓. อนิยตกัณฑ์
๗. เพื่อความเลื่อมใสของคนที่ยังไม่เลื่อมใส
๘. เพื่อความเลื่อมใสยิ่งขึ้นไปของคนที่เลื่อมใสแล้ว
๙. เพื่อความตั้งมั่นแห่งพระสัทธรรม
๑๐. เพื่อเอื้อเฟื้อพระวินัย
ถาม : ใครศึกษาอยู่
ตอบ : พระเสขะและกัลยาณปุถุชนศึกษาอยู่
ถาม : ใครศึกษาสิกขาเรียบร้อยแล้ว
ตอบ : พระอรหันต์เป็นผู้ศึกษาสิกขาเรียบร้อยแล้ว
ถาม : สิกขาบทนี้ตั้งอยู่ในใคร
ตอบ : ตั้งอยู่ในสิกขากามบุคคล
ถาม : ใครทรงเอาไว้
ตอบ : พระเถระทั้งหลายผู้ทรงจำปฐมอนิยตสิกขาบทได้ทรงเอาไว้
ถาม : เป็นถ้อยคำของใคร
ตอบ : เป็นพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
ถาม : ใครนำมา
ตอบ : พระเถระทั้งหลายนำสืบ ๆ กันมา
รายนามพระเถระผู้ทรงจำพระวินัยสืบกันมา
พระเถระเหล่านี้ คือ พระอุบาลี พระทาสกะ พระโสณกะ
พระสิคควะ และพระโมคคัลลีบุตร รวมเป็น ๕ รูป
เป็นผู้นำพระวินัยสืบ ๆ กันมาในชมพูทวีปอันมีสิริ
จากนั้น พระเถระผู้ประเสริฐมีปัญญามากเหล่านี้ คือ
พระมหินทะ พระอิฏฏิยะ พระอุตติยะ พระสัมพละ
และพระภัททบัณฑิต เดินทางจากชมพูทวีปมาที่เกาะสิงหลนี้
ท่านเหล่านั้นสอนพระวินัยปิฎกที่เกาะตามพปัณณิ
สอนนิกาย ๕ และปกรณ์ ๗

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๒๕ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์] ๑. กัตถปัญญัตติวาร ๓. อนิยตกัณฑ์
จากนั้นพระอริฏฐะผู้มีปัญญา พระติสสทัตตบัณฑิต
พระกาฬสุมนะ ผู้เชี่ยวชาญ พระทีฆเถระ และพระทีฆสุมนบัณฑิต
ต่อมา พระกาฬสุมนะ พระนาคเถระ พระพุทธรักขิตะ
พระติสสเถระผู้มีปัญญา และพระเทวเถระผู้เป็นบัณฑิต
ต่อมา พระสุมนะผู้มีปัญญาและเชี่ยวชาญในพระวินัย
พระจูฬนาคะเป็นพหูสูต ดุจช้างซับมัน พระธัมมปาลิตะ
เป็นผู้อันสาธุชนในโรหนชนบทพากันบูชาเป็นอย่างดี
ศิษย์ของพระธัมมปาลิตะนั้น มีปัญญามากชื่อว่าเขมะ
ทรงจำพระไตรปิฎกได้รุ่งเรืองอยู่ในเกาะด้วยปัญญา
เหมือนดวงจันทร์รุ่งเรืองอยู่
พระอุปติสสะผู้มีปัญญา พระปุสสเทวะผู้เป็นมหาธรรมกถึก
ต่อมา พระสุมนะผู้มีปัญญา พระมหาปทุมะเป็นพหูสูต
พระมหาสีวะผู้เป็นมหาธรรมกถึก ฉลาดในพระปิฎกทั้งหมด
ต่อมา พระอุบาลีผู้มีปัญญา เชี่ยวชาญในพระวินัย
พระมหานาคะผู้มีปัญญามาก ฉลาดในวงศ์พระสัทธรรม
ต่อมา พระอภยะผู้มีปัญญา ฉลาดในพระปิฎกทั้งหมด
พระติสสเถระผู้มีปัญญาเชี่ยวชาญในพระวินัย
พระสุมนะมีปัญญามาก ผู้เป็นศิษย์ของพระติสสเถระนั้น เป็นพหูสูต
รักษาพระศาสนาต่อกันมาอยู่ในชมพูทวีป
พระจูฬาภยะผู้มีปัญญาและเชี่ยวชาญในพระวินัย
พระติสสเถระผู้มีปัญญาฉลาดในวงศ์พระสัทธรรม
พระจูฬเทวะผู้มีปัญญาและเชี่ยวชาญในพระวินัย
และพระสิวเถระผู้มีปัญญา ฉลาดในพระวินัยทั้งหมด
พระเถระผู้ประเสริฐมีปัญญามากเหล่านี้ รู้พระวินัย
ฉลาดในมรรค ได้ประกาศพระวินัยปิฎกไว้ในเกาะตามพปัณณิ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๒๖ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์] ๑. กัตถปัญญัตติวาร ๓. อนิยตกัณฑ์
๒. ทุติยอนิยตสิกขาบท
[๒๓] ถาม : พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้
ทรงเห็น ทรงบัญญัติทุติยอนิยตสิกขาบท ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภท่านพระอุทายี
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่ท่านพระอุทายีนั่งในที่ลับกับมาตุคามสองต่อสอง
ถาม : ในทุติยอนิยตสิกขาบทนั้น มีพระบัญญัติ พระอนุบัญญัติและอนุปปันน
บัญญัติอยู่หรือ
ตอบ : ในทุติยอนิยตสิกขาบทนั้น มี ๑ พระบัญญัติ ไม่มีพระอนุบัญญัติ
และอนุปปันนบัญญัติ
ถาม : มีสัพพัตถบัญญัติ ปเทสบัญญัติอยู่หรือ
ตอบ : มีสัพพัตถบัญญัติ
ถาม : มีสาธารณบัญญัติ อสาธารณบัญญัติอยู่หรือ
ตอบ : มีอสาธารณบัญญัติ
ถาม : มีเอกโตบัญญัติ อุภโตบัญญัติอยู่หรือ
ตอบ : มีเอกโตบัญญัติ
ถาม : บรรดาปาติโมกขุทเทส ๕ อุทเทส ทุติยอนิยตสิกขาบทนี้จัดเข้าใน
อุทเทสไหน นับเนื่องในอุทเทสไหน
ตอบ : จัดเข้าในนิทานุทเทส นับเนื่องในนิทานุทเทส
ถาม : มาสู่อุทเทสโดยอุทเทสไหน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๒๗ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์] ๑. กัตถปัญญัตติวาร รวมสิกขาบทที่มีในอนิยตกัณฑ์
ตอบ : มาสู่อุทเทสโดยอุทเทสที่ ๔
ถาม : บรรดาวิบัติ ๔ อย่าง เป็นวิบัติอย่างไหน
ตอบ : เป็นสีลวิบัติก็มี เป็นอาจารวิบัติก็มี
ถาม : บรรดากองอาบัติ ๗ กอง เป็นกองอาบัติไหน
ตอบ : เป็นกองอาบัติสังฆาทิเสสก็มี เป็นกองอาบัติปาจิตตีย์ก็มี
ถาม : บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐานเท่าไร
ตอบ : เกิดด้วยสมุฏฐาน ๓ สมุฏฐาน คือ (๑) เกิดทางกายกับจิต มิใช่
เกิดทางวาจา (๒) เกิดทางวาจากับจิต มิใช่เกิดทางกาย (๓) เกิดทางกายวาจา
กับจิต
ถาม : บรรดาอธิกรณ์ ๔ อย่าง เป็นอธิกรณ์อย่างไหน
ตอบ : เป็นอาปัตตาธิกรณ์
ถาม : บรรดาสมถะ ๗ อย่าง ระงับด้วยสมถะเท่าไร
ตอบ : ระงับด้วยสมถะ ๓ อย่าง คือ (๑) สัมมุขาวินัย (๒) ปฏิญญาตกรณะ
(๓) สัมมุขาวินัยกับติณวัตถารกะ ฯลฯ
อนิยต ๒ สิกขาบท จบ
รวมสิกขาบทที่มีในอนิยตกัณฑ์
๑. ปฐมอนิยตสิกขาบท ว่าด้วยการนั่งในที่ลับตากับหญิงสองต่อสอง
๒. ทุติยอนิยตสิกขาบท ว่าด้วยการนั่งในที่ลับหูกับหญิงสองต่อสอง
พระผู้มีพระภาคผู้ประเสริฐและผู้มีความคงที่ ทรงบัญญัติไว้ดีแล้ว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๒๘ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์] ๑. กัตถปัญญัตติวาร ๔. นิสสัคคิยกัณฑ์ ๑. กฐินวรรค
๔. นิสสัคคิยกัณฑ์
คำถาม - คำตอบสถานที่บัญญัติเป็นต้นในนิสสัคคิยกัณฑ์
๑. กฐินวรรค(จีวรวรรค)
๑. ปฐมกฐินสิกขาบท
[๒๔] ถาม : พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้
ทรงเห็น ทรงบัญญัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์แก่ภิกษุผู้ทรงอติเรกจีวรไว้เกิน ๑๐ วัน ณ
ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงเวสาลี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภพวกภิกษุฉัพพัคคีย์
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ทรงอติเรกจีวร
ในปฐมกฐินสิกขาบทนั้น มี ๑ พระบัญญัติ ๑ พระอนุบัญญัติ บรรดาสมุฏฐาน
แห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๒ สมุฏฐาน คือ (๑) เกิดทางกาย
กับวาจา มิใช่ทางจิต (๒) เกิดทางกายวาจากับจิต ฯลฯ

๒. อุทโทสิตสิกขาบท
[๒๕] ถาม : ทรงบัญญัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์แก่ภิกษุผู้อยู่ปราศจากไตรจีวร สิ้น
ราตรีหนึ่ง ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภภิกษุหลายรูป
ถาม : เพราะเรื่องอะไร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๒๙ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์] ๑. กัตถปัญญัตติวาร ๔. นิสสัคคิยกัณฑ์ ๑. กฐินวรรค
ตอบ : เพราะเรื่องที่ภิกษุหลายรูปฝากจีวรไว้กับพวกภิกษุ มีเพียงอุตตราสงค์
กับอันตรวาสก ออกจาริกไปสู่ชนบท
ในอุทโทสิตสิกขาบทนั้น มี ๑ พระบัญญัติ ๑ พระอนุบัญญัติ บรรดาสมุฏฐาน
แห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๒ สมุฏฐาน คือ (๑) เกิดทางกายกับ
วาจา มิใช่เกิดทางจิต (๒) เกิดทางกายวาจากับจิต ฯลฯ

๓. ตติยกฐินสิกขาบท
[๒๖] ถาม : ทรงบัญญัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์แก่ภิกษุผู้รับผ้าที่เป็นอกาลจีวรแล้ว
เก็บไว้เกิน ๑ เดือน ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภภิกษุหลายรูป
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่ภิกษุหลายรูปรับผ้าที่เป็นอกาลจีวรแล้วเก็บไว้เกิน ๑ เดือน
ในตติยกฐินสิกขาบทนั้น มี ๑ พระบัญญัติ ๑ พระอนุบัญญัติ บรรดาสมุฏฐาน
แห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๒ สมุฏฐาน คือ (๑) เกิดทางกายกับ
วาจา มิใช่เกิดทางจิต (๒) เกิดทางกายวาจากับจิต ฯลฯ

๔. ปุราณจีวรสิกขาบท
[๒๗] ถาม : ทรงบัญญัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์แก่ภิกษุผู้ใช้ภิกษุณีผู้ไม่ใช่ญาติให้
ซักจีวรเก่า ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภท่านพระอุทายี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๓๐ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์] ๑. กัตถปัญญัตติวาร ๔. นิสสัคคิยกัณฑ์ ๑. กฐินวรรค
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่ท่านพระอุทายีใช้ภิกษุณีผู้ไม่ใช่ญาติให้ซักจีวรเก่า
ในปุราณจีวรสิกขาบทนั้นมี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน
เกิดด้วยสมุฏฐาน ๖ สมุฏฐาน ฯลฯ

๕. จีวรปฏิคคหณสิกขาบท
[๒๘] ถาม : ทรงบัญญัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์แก่ภิกษุผู้รับจีวรจากมือภิกษุณีผู้
ไม่ใช่ญาติ ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงราชคฤห์
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภท่านพระอุทายี
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่ท่านพระอุทายีรับจีวรจากมือภิกษุณีผู้ไม่ใช่ญาติ
ในจีวรปฏิคคหณสิกขาบทนั้น มี ๑ พระบัญญัติ ๑ พระอนุบัญญัติ บรรดา
สมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๖ สมุฏฐาน ฯลฯ

๖. อัญญาตกวิญญัตติสิกขาบท
[๒๙] ถาม : ทรงบัญญัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์แก่ภิกษุผู้ออกปากขอจีวรจากคฤหัสถ์
ชายหรือคฤหัสถ์หญิง ผู้ไม่ใช่ญาติ ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภท่านพระอุปนันทศากยบุตร
ถาม : เพราะเรื่องอะไร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๓๑ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์] ๑. กัตถปัญญัตติวาร ๔. นิสสัคคิยกัณฑ์ ๑. กฐินวรรค
ตอบ : เพราะเรื่องที่ท่านพระอุปนันทศากยบุตรออกปากขอจีวรจากบุตรเศรษฐี
ผู้ไม่ใช่ญาติ
ในอัญญาตกวิญญัตติสิกขาบทนั้น มี ๑ พระบัญญัติ ๑ พระอนุบัญญัติ บรรดา
สมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๖ สมุฏฐาน ฯลฯ

๗. ตตุตตริสิกขาบท
[๓๐] ถาม : ทรงบัญญัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์แก่ภิกษุผู้ออกปากขอจีวรเกินกว่านั้น
จากคฤหัสถ์ชาย หรือคฤหัสถ์หญิงผู้ไม่ใช่ญาติ ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภพวกภิกษุฉัพพัคคีย์
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ไม่รู้จักประมาณ ออกปากขอจีวรเป็น
จำนวนมาก
ในตตุตตริสิกขาบทนั้น มี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖
สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๖ สมุฏฐาน ฯลฯ

๘. อุปักขฏสิกขาบท
[๓๑] ถาม : ทรงบัญญัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์แก่ภิกษุผู้ที่เขาไม่ได้ปวารณาไว้ก่อน
เข้าไปหาคฤหัสถ์ผู้ไม่ใช่ญาติ แล้วกำหนดชนิดจีวร ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภท่านพระอุปนันทศากยบุตร
ถาม : เพราะเรื่องอะไร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๓๒ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์] ๑. กัตถปัญญัตติวาร ๔. นิสสัคคิยกัณฑ์ ๑. กฐินวรรค
ตอบ : เพราะเรื่องที่ท่านพระอุปนันทศากยบุตรที่เขาไม่ได้ปวารณาไว้ก่อนเข้า
ไปหาคฤหัสถ์ผู้ไม่ใช่ญาติ แล้วกำหนดชนิดจีวร
ในอุปักขฏสิกขาบทนั้น มี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖
สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๖ สมุฏฐาน ฯลฯ

๙. ทุติยอุปักขฏสิกขาบท
[๓๒] ถาม : ทรงบัญญัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์แก่ภิกษุผู้ที่เขาไม่ได้ปวารณาไว้ก่อน
เข้าไปหาพวกคฤหัสถ์ผู้ไม่ใช่ญาติ แล้วกำหนดชนิดจีวร ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภท่านพระอุปนันทศากยบุตร
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่ท่านพระอุปนันทศากยบุตรที่เขาไม่ได้ปวารณาเอาไว้ก่อน
เข้าไปหาพวกคฤหัสถ์ผู้ไม่ใช่ญาติ แล้วกำหนดชนิดจีวร
ในทุติยอุปักขฏสิกขาบทนั้น มี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖
สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๖ สมุฏฐาน ฯลฯ

๑๐. ราชสิกขาบท
[๓๓] ถาม : ทรงบัญญัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์แก่ภิกษุผู้ให้เขาจัดจีวรสำเร็จได้ ด้วย
การทวงเกิน ๓ ครั้ง ยืนเกิน ๖ ครั้ง ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภท่านพระอุปนันทศากยบุตร
ถาม : เพราะเรื่องอะไร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๓๓ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์] ๑. กัตถปัญญัตติวาร ๔. นิสสัคคิยกัณฑ์ รวมสิกขาบทที่มีในกฐินวรรค
ตอบ : เพราะเรื่องที่ท่านพระอุปนันทศากยบุตรอันอุบาสกบอกว่า “โปรดรอ
สักวันหนึ่งเถิด ขอรับ” ก็ไม่ยอมรอ
ในราชสิกขาบทนั้น มี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน
เกิดด้วยสมุฏฐาน ๖ สมุฏฐาน ฯลฯ
กฐินวรรคที่ ๑ จบ
รวมสิกขาบทที่มีในกฐินวรรค

๑. ปฐมกฐินสิกขาบท ว่าด้วยกฐินเดาะข้อที่ ๑
๒. อุทโทสิตสิกขาบท ว่าด้วยภิกษุเก็บจีวรไว้ในโรงเก็บของ
(ว่าด้วยกฐินเดาะข้อที่ ๒)
๓. ตติยกฐินสิกขาบท ว่าด้วยกฐินเดาะข้อที่ ๓
๔. ปุราณจีวรสิกขาบท ว่าด้วยการให้ซักจีวรเก่า
๕. จีวรปฏิคคหณสิกขาบท ว่าด้วยการรับจีวร
๖. อัญญาตกวิญญัตติสิกขาบท ว่าด้วยการออกปากขอคฤหัสถ์
ผู้ไม่ใช่ญาติ
๗. ตตุตตริสิกขาบท ว่าด้วยการออกปากขอจีวรเกิน
๘. อุปักขฏสิกขาบท ว่าด้วยคนตระเตรียมทรัพย์เป็นค่าจีวร
๙. ทุติยอุปักขฏสิกขาบท ว่าด้วยคนตระเตรียมทรัพย์เป็นค่าจีวร
ข้อที่ ๒
๑๐. ราชสิกขาบท ว่าด้วยทรัพย์เป็นค่าจีวรที่พระราชา
เป็นต้นให้ทูตนำมาถวาย


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๓๔ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์] ๑. กัตถปัญญัตติวาร ๔. นิสสัคคิยกัณฑ์ ๒. โกสิยวรรค
๒. โกสิยวรรค
๑. โกสิยสิกขาบท
[๓๔] ถาม : พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้
ทรงเห็น ทรงบัญญัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์แก่ภิกษุผู้ใช้ให้ทำสันถัตผสมใยไหม ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ เมืองอาฬวี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภพวกภิกษุฉัพพัคคีย์
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่พวกภิกษุฉัพพัคคีย์เข้าไปหาพวกช่างทอผ้าไหม กล่าวอย่าง
นี้ว่า “ท่านทั้งหลาย พวกท่านจงต้มตัวไหมจำนวนมาก ให้แก่พวกอาตมาบ้าง
พวกอาตมาต้องการจะทำสันถัตผสมใยไหม”
ในโกสิยสิกขาบทนั้น มี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน
เกิดด้วยสมุฏฐาน ๖ สมุฏฐาน ฯลฯ

๒. สุทธกาฬกสิกขาบท
[๓๕] ถาม : ทรงบัญญัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์แก่ภิกษุผู้ใช้ให้ทำสันถัตขนเจียม
ดำล้วน ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงเวสาลี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภพวกภิกษุฉัพพัคคีย์
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ใช้ให้ทำสันถัตขนเจียมดำล้วน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๓๕ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์] ๑. กัตถปัญญัตติวาร ๔. นิสสัคคิยกัณฑ์ ๒. โกสิยวรรค
ในสุทธกาฬกสิกขาบทนั้น มี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖
สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๖ สมุฏฐาน ฯลฯ

๓. เทฺวภาคสิกขาบท
[๓๖] ถาม : ทรงบัญญัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์แก่ภิกษุผู้ไม่เอาขนเจียมดำล้วน ๒
ส่วน ขนเจียมขาว ๑ ส่วน ขนเจียมแดง ๑ ส่วนมาปนแล้วให้ทำสันถัตใหม่ ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภพวกภิกษุฉัพพัคคีย์
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ให้นำขนเจียมขาวหน่อยหนึ่งปนไว้ที่ชาย
สันถัต แล้วให้ทำสันถัตขนเจียมดำล้วนอย่างเดิม
ในเทฺวภาคสิกขาบทนั้น มี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖
สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๖ สมุฏฐาน ฯลฯ

๔. ฉัพพัสสสิกขาบท
[๓๗] ถาม : ทรงบัญญัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์แก่ภิกษุผู้ใช้ให้ทำสันถัตทุกปี ณ ที่ ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภภิกษุหลายรูป
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่ภิกษุหลายรูปใช้ให้ทำสันถัตทุกปี
ในฉัพพัสสสิกขาบทนั้น มี ๑ พระบัญญัติ ๑ พระอนุบัญญัติ บรรดาสมุฏฐาน
แห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๖ สมุฏฐาน ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๓๖ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์] ๑. กัตถปัญญัตติวาร ๔. นิสสัคคิยกัณฑ์ ๒. โกสิยวรรค
๕. นิสีทนสันถตสิกขาบท
[๓๘] ถาม : ทรงบัญญัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์แก่ภิกษุผู้ไม่เอาสันถัตเก่า ๑ คืบ
สุคตโดยรอบมาปน แล้วใช้ให้ทำสันถัตรองนั่งใหม่ ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภภิกษุหลายรูป
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่ภิกษุหลายรูปทิ้งสันถัตแล้วพากันสมาทานอารัญญิกธุดงค์
ปิณฑปาติกธุดงค์ ปังสุกูลิกธุดงค์
ในนิสีทนสันถตสิกขาบทนั้น มี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖
สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๖ สมุฏฐาน ฯลฯ

๖. เอฬกโลมสิกขาบท
[๓๙] ถาม : ทรงบัญญัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์แก่ภิกษุผู้รับขนเจียมมาแล้วเดิน
ทางไกลเกิน ๓ โยชน์ ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภภิกษุรูปหนึ่ง
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่ภิกษุรูปหนึ่งรับขนเจียมแล้วนำไปเกิน ๓ โยชน์
ในเอฬกโลมสิกขาบทนั้น มี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖
สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๒ สมุฏฐาน คือ (๑) เกิดทางกาย มิใช่เกิดทางวาจา
มิใช่เกิดทางจิต (๒) เกิดทางกายกับจิต มิใช่เกิดทางวาจา ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๓๗ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์] ๑. กัตถปัญญัตติวาร ๔. นิสสัคคิยกัณฑ์ ๒. โกสิยวรรค
๗. เอฬกโลมโธวาปนสิกขาบท
[๔๐] ถาม : ทรงบัญญัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์แก่ภิกษุผู้ใช้ภิกษุณีผู้ไม่ใช่ญาติให้ซัก
ขนเจียม ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ แคว้นสักกะ
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภพวกภิกษุฉัพพัคคีย์
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ใช้ภิกษุณีผู้ไม่ใช่ญาติให้ซักขนเจียม
ในเอฬกโลมโธวาปนสิกขาบทนั้น มี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ
๖ สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๖ สมุฏฐาน ฯลฯ

๘. รูปิยสิกขาบท
[๔๑] ถาม : ทรงบัญญัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์แก่ภิกษุผู้รับรูปิยะ ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงราชคฤห์
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภท่านพระอุปนันทศากยบุตร
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่ท่านพระอุปนันทศากยบุตรรับรูปิยะ
ในรูปิยสิกขาบทนั้น มี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน
เกิดด้วยสมุฏฐาน ๖ สมุฏฐาน ฯลฯ

๙. รูปิยสังโวหารสิกขาบท
[๔๒] ถาม : ทรงบัญญัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์แก่ภิกษุผู้ทำการแลกเปลี่ยนกัน
ด้วยรูปิยะชนิดต่าง ๆ ณ ที่ไหน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๓๘ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์] ๑. กัตถปัญญัตติวาร ๔. นิสสัคคิยกัณฑ์ รวมสิกขาบทที่มีในฏกสิยวรรค
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภพวกภิกษุฉัพพัคคีย์
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ทำการแลกเปลี่ยนกันด้วยรูปิยะชนิด
ต่าง ๆ
ในรูปิยสังโวหารสิกขาบทนั้น มี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖
สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๖ สมุฏฐาน ฯลฯ

๑๐. กยวิกกยสิกขาบท
[๔๓] ถาม : ทรงบัญญัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์แก่ภิกษุผู้ทำการซื้อขายมีประการ
ต่าง ๆ ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภท่านพระอุปนันทศากยบุตร
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่ท่านพระอุปนันทศากยบุตรทำการซื้อขายกับปริพาชก
ในกยวิกกยสิกขาบทนั้น มี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖
สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๖ สมุฏฐาน ฯลฯ
โกสิยวรรคที่ ๒ จบ
รวมสิกขาบทที่มีในโกสิยวรรค
๑. โกสิยสิกขาบท ว่าด้วยการทำสันถัตผสมใยไหม
๒. สุทธกาฬกสิกขาบท ว่าด้วยการทำสันถัตโดยใช้ขนเจียมดำล้วน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๓๙ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์] ๑. กัตถปัญญัตติวาร ๔. นิสสัคคิยกัณฑ์ ๓. ปัตตวรรค

๓. เทฺวภาคสิกขาบท ว่าด้วยการทำสันถัตโดยใช้ขนเจียมดำ ๒ ส่วน
๔. ฉัพพัสสสิกขาบท ว่าด้วยการเก็บสันถัตไว้ ๖ ปี
๕. นิสีทนสันถัตสิกขาบท ว่าด้วยการทำสันถัตสำหรับรองนั่ง
๖. เอฬกโลมสิกขาบท ว่าด้วยการรับขนเจียม
๗. เอฬกโธวาปนสิกขาบท ว่าด้วยการให้ซักขนเจียม
๘. รูปิยสิกขาบท ว่าด้วยการรับรูปิยะ
๙. รูปิยสังโวหารสิกขาบท ว่าด้วยการแลกเปลี่ยนรูปิยะ
๑๐. กยวิกกยสิกขาบท ว่าด้วยการซื้อขาย

๓. ปัตตวรรค
๑. ปัตตสิกขาบท
[๔๔] ถาม : พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้
ทรงเห็น ทรงบัญญัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์แก่ภิกษุผู้ทรงอติเรกบาตรไว้เกิน ๑๐ วัน ณ
ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภพวกภิกษุฉัพพัคคีย์
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ทรงอติเรกบาตร
ในปัตตสิกขาบทนั้น มี ๑ พระบัญญัติ ๑ พระอนุบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่ง
อาบัติ ๖ สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๒ สมุฏฐาน คือ (๑) เกิดทางกายกับวาจา
มิใช่เกิดทางจิต (๒) เกิดทางกายวาจากับจิต ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๔๐ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์] ๑. กัตถปัญญัตติวาร ๔. นิสสัคคิยกัณฑ์ ๓. ปัตตวรรค
๒. อูนปัญจพันธนสิกขาบท
[๔๕] ถาม : ทรงบัญญัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์แก่ภิกษุผู้มีบาตรที่มีรอยซ่อม
หย่อนกว่า ๕ แห่ง ขอบาตรใหม่ใบอื่น ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ แคว้นสักกะ
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภพวกภิกษุฉัพพัคคีย์
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่พวกภิกษุฉัพพัคคีย์มีบาตรแตกเพียงเล็กน้อยบ้าง กะเทาะ
เพียงเล็กน้อยบ้าง มีรอยขูดขีดเพียงเล็กน้อยบ้าง ก็ออกปากขอบาตรใหม่เป็น
จำนวนมาก
ในอูนปัญจพันธนสิกขาบทนั้น มี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ
๖ สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๖ สมุฏฐาน ฯลฯ

๓. เภสัชชสิกขาบท
[๔๖] ถาม : ทรงบัญญัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์แก่ภิกษุผู้รับประเคนเภสัชแล้วเก็บ
ไว้เกิน ๗ วัน ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภภิกษุหลายรูป
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่ภิกษุหลายรูปรับประเคนเภสัชแล้วเก็บไว้เกิน ๗ วัน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๔๑ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์] ๑. กัตถปัญญัตติวาร ๔. นิสสัคคิยกัณฑ์ ๓. ปัตตวรรค
ในเภสัชชสิกขาบทนั้น มี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน
เกิดด้วยสมุฏฐาน ๒ สมุฏฐาน เป็นกฐินสมุฏฐาน๑ ฯลฯ

๔. วัสสิกสาฏิกสิกขาบท
[๔๗] ถาม : ทรงบัญญัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์แก่ภิกษุผู้แสวงหาผ้าอาบน้ำฝน
เมื่อฤดูร้อนยังเหลือเกินกว่า ๑ เดือน ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภพวกภิกษุฉัพพัคคีย์
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่พวกภิกษุฉัพพัคคีย์แสวงหาจีวรคือผ้าอาบน้ำฝน เมื่อฤดู
ร้อนยังเหลือเกินกว่า ๑ เดือน
ในวัสสิกสาฏิกสิกขาบทนั้น มี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖
สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๖ สมุฏฐาน ฯลฯ

เชิงอรรถ :
๑ ทางที่เกิดของอาบัติเรียกว่า “สมุฏฐาน” มี ๖ สมุฏฐาน คือ
๑. กาย ๒. วาจา
๓. กายกับวาจา ๔. กายกับจิต
๕. วาจากับจิต ๖. กายวาจากับจิต
อาบัติทั้งหมดที่เกิดในแต่ละสมุฏฐาน แบ่งเป็น ๑๓ กลุ่ม คือ
๑. ปฐมปาราชิกสมุฏฐาน ๒. อทินนาทานสมุฏฐาน
๓. สัญจริตตสมุฏฐาน ๔. สมนุภาสนสมุฏฐาน
๕. กฐินสมุฏฐาน ๖. เอฬกโลมสมุฏฐาน
๗. ปทโสธัมมสมุฏฐาน ๘. อัทธานสมุฏฐาน
๙. เถยยสัตถสมุฏฐาน ๑๐. ธัมมเทสนาสมุฏฐาน
๑๑. ภูตาโรจนสมุฏฐาน ๑๒. โจริวุฏฐานาปนสมุฏฐาน
๑๓. อนนุญญาตสมุฏฐาน
(ดูข้อ ๒๕๘-๒๗๐, วิ.อ. ๓/๒๕๘-๒๖๗/๔๒๓-๔๓๔, กงฺขา.อ. ๑๓๖-๑๓๗) สิกขาบทนี้เป็นกฐินสมุฏฐาน
เกิดด้วยสมุฏฐานที่ ๓ คือกายกับวาจาและสมุฏฐานที่ ๖ คือกายวาจากับจิต (กงฺขา.อ. ๑๓๖)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๔๒ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์] ๑. กัตถปัญญัตติวาร ๔. นิสสัคคิยกัณฑ์ ๓. ปัตตวรรค
๕. จีวรอัจฉินทนสิกขาบท
[๔๘] ถาม : ทรงบัญญัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์แก่ภิกษุผู้ให้จีวรแก่ภิกษุเองแล้วโกรธ
ไม่พอใจชิงเอาคืนมา ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภท่านพระอุปนันทศากยบุตร
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่ท่านพระอุปนันทศากยบุตรให้จีวรแก่ภิกษุเองแล้วโกรธ
ไม่พอใจชิงเอาคืนมา
ในจีวรอัจฉินทนสิกขาบทนั้น มี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖
สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๓ สมุฏฐาน ฯลฯ

๖. สุตตวิญญัตติสิกขาบท
[๔๙] ถาม : ทรงบัญญัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์แก่ภิกษุผู้ออกปากขอด้ายมาเอง
แล้วใช้ช่างหูกให้ทอจีวร ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงราชคฤห์
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภพวกภิกษุฉัพพัคคีย์
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ออกปากขอด้ายมาเองแล้วใช้ช่างหูก
ให้ทอจีวร
ในสุตตวิญญัตติสิกขาบทนั้น มี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖
สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๖ สมุฏฐาน ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๔๓ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์] ๑. กัตถปัญญัตติวาร ๔. นิสสัคคิยกัณฑ์ ๓. ปัตตวรรค
๗. มหาเปสการสิกขาบท
[๕๐] ถาม : ทรงบัญญัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์แก่ภิกษุผู้ที่เขาไม่ได้ปวารณาไว้ก่อน
เข้าไปหาช่างหูกของคฤหัสถ์ผู้ไม่ใช่ญาติแล้วกำหนดชนิดจีวร ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภท่านพระอุปนันทศากยบุตร
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่ท่านพระอุปนันทศากยบุตรที่เขาไม่ได้ปวารณาไว้ก่อน
เข้าไปหาช่างหูกของคฤหัสถ์ผู้ไม่ใช่ญาติแล้วกำหนดชนิดจีวร
ในมหาเปสการสิกขาบทนั้น มี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖
สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๖ สมุฏฐาน ฯลฯ

๘. อัจเจกจีวรสิกขาบท
[๕๑] ถาม : ทรงบัญญัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์แก่ภิกษุผู้รับอัจเจกจีวรแล้วเก็บไว้
เกินสมัยจีวรกาล ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภภิกษุหลายรูป
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่ภิกษุหลายรูปรับอัจเจกจีวรแล้วเก็บไว้เกินสมัยจีวรกาล
ในอัจเจกจีวรสิกขาบทนั้น มี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖
สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๒ สมุฏฐาน เป็นกฐินสมุฏฐาน ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๔๔ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์] ๑. กัตถปัญญัตติวาร ๔. นิสสัคคิยกัณฑ์ ๓. ปัตตวรรค
๙. สาสังกสิกขาบท
[๕๒] ถาม : ทรงบัญญัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์แก่ภิกษุผู้เก็บไตรจีวรผืนใดผืนหนึ่ง
ไว้ในละแวกบ้าน แล้วอยู่ปราศเกิน ๖ คืน ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภภิกษุหลายรูป
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่ภิกษุหลายรูปเก็บไตรจีวรผืนใดผืนหนึ่งไว้ในละแวกบ้าน แล้ว
อยู่ปราศเกิน ๖ คืน
ในสาสังกสิกขาบทนั้น มี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖
สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๒ สมุฏฐาน เป็นกฐินสมุฏฐาน ฯลฯ

๑๐. ปริณตสิกขาบท
[๕๓] ถาม : ทรงบัญญัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์แก่ภิกษุผู้รู้อยู่ น้อมลาภที่เขาน้อม
ไว้เป็นของจะถวายสงฆ์มาเพื่อตน ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภพวกภิกษุฉัพพัคคีย์
ถอบ : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่พวกภิกษุฉัพพัคคีย์รู้อยู่น้อมลาภที่เขาน้อมไว้เป็นของจะ
ถวายสงฆ์มาเพื่อตน
ในปริณตสิกขาบทนั้น มี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖
สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๓ สมุฏฐาน ฯลฯ
ปัตตวรรคที่ ๓ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๔๕ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์] ๑. กัตถปัญญัตติวาร ๕. ปาจิตติยกัณฑ์ ๑. มุสาวาทวรรค
รวมสิกขาบทที่มีในปัตตวรรค

๑. ปัตตสิกขาบท ว่าด้วยบาตร
๒. อูนปัญจพันธนสิกขาบท ว่าด้วยบาตรมีรอยซ่อมหย่อนกว่า ๕ แห่ง
๓. เภสัชชสิกขาบท ว่าด้วยเภสัช
๔. วัสสิกสาฏิกสิกขาบท ว่าด้วยผ้าอาบน้ำฝน
๕. จีวรอัจฉินทนสิกขาบท ว่าด้วยการให้จีวรแล้วชิงเอาคืน
๖. สุตตวิญญัตติสิกขาบท ว่าด้วยการออกปากขอด้าย
๗. มหาเปสการสิกขาบท ว่าด้วยการสั่งช่างหูกทอจีวร
๘. อัจเจกจีวรสิกขาบท ว่าด้วยอัจเจกจีวร
๙. สาสังกสิกขาบท ว่าด้วยเสนาสนะป่าที่น่าหวาดระแวง
๑๐. ปริณตสิกขาบท ว่าด้วยการน้อมลาภ

นิสสัคคิยปาจิตตีย์ ๓๐ สิกขาบท จบ

๕. ปาจิตติยกัณฑ์
คำถาม - คำตอบสถานที่บัญญัติเป็นต้นในปาจิตติยกัณฑ์
๑. มุสาวาทวรรค
๑. มุสาวาทสิกขาบท
[๕๔] ถาม : พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้
ทรงเห็น ทรงบัญญัติปาจิตตีย์เพราะกล่าวเท็จทั้งที่รู้ ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภท่านพระหัตถกศากยบุตร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๔๖ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์] ๑. กัตถปัญญัตติวาร ๕. ปาจิตติยกัณฑ์ ๑. มุสาวาทวรรค
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่ท่านพระหัตถกศากยบุตรเจรจากับพวกเดียรถีย์ปฏิเสธแล้วรับ
รับแล้วปฏิเสธ
ในมุสาวาทสิกขาบทนั้น มี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖
สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๓ สมุฏฐาน คือ (๑) เกิดทางกายกับจิต มิใช่เกิด
ทางวาจา (๒) เกิดทางวาจากับจิต มิใช่เกิดทางกาย (๓) เกิดทางกายวาจากับจิต
ฯลฯ

๒. โอมสวาทสิกขาบท
[๕๕] ถาม : ทรงบัญญัติปาจิตตีย์เพราะกล่าวเสียดสี ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภพวกภิกษุฉัพพัคคีย์
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ทะเลาะกับภิกษุผู้มีศีลดีงามทั้งหลาย
กล่าวเสียดสีภิกษุผู้มีศีลดีงามทั้งหลาย
ในโอมสวาทสิกขาบทนั้น มี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖
สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๓ สมุฏฐาน ฯลฯ

๓. เปสุญญสิกขาบท
[๕๖] ถาม : ทรงบัญญัติปาจิตตีย์เพราะกล่าวส่อเสียดภิกษุ ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภพวกภิกษุฉัพพัคคีย์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๔๗ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์] ๑. กัตถปัญญัตติวาร ๕. ปาจิตติยกัณฑ์ ๑. มุสาวาทวรรค
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ ไปยุแหย่พวกภิกษุผู้บาดหมางกัน
ทะเลาะกัน วิวาทกัน
ในเปสุญญสิกขาบทนั้น มี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖
สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๓ สมุฏฐาน ฯลฯ

๔. ปทโสธัมมสิกขาบท
[๕๗] ถาม : ทรงบัญญัติปาจิตตีย์แก่ภิกษุผู้สอนอนุปสัมบันให้กล่าวธรรมแข่งกัน
เป็นบท ๆ ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภพวกภิกษุฉัพพัคคีย์
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่พวกภิกษุฉัพพัคคีย์สอนพวกอุบาสกให้กล่าวธรรมแข่ง
กันเป็นบท ๆ
ในปทโสธัมมสิกขาบทนั้น มี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖
สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๒ สมุฏฐาน คือ (๑) เกิดทางวาจา มิใช่เกิดทางกาย
มิใช่เกิดทางจิต (๒) เกิดทางวาจากับจิต มิใช่เกิดทางกาย ฯลฯ

๕. สหเสยยสิกขาบท
[๕๘] ถาม : ทรงบัญญัติปาจิตตีย์แก่ภิกษุผู้นอนร่วมกับอนุปสัมบันเกิน ๒-
๓ คืน ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ เมืองอาฬวี
ถาม : ทรงปรารภใคร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๔๘ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์] ๑. กัตถปัญญัตติวาร ๕. ปาจิตติยกัณฑ์ ๑. มุสาวาทวรรค
ตอบ : ทรงปรารภภิกษุหลายรูป
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่ภิกษุหลายรูปนอนร่วมกับอนุปสัมบัน
ในสหเสยยสิกขาบทนั้น มี ๑ พระบัญญัติ ๑ พระอนุบัญญัติ บรรดาสมุฏฐาน
แห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๒ สมุฏฐาน คือ (๑) เกิดทางกาย
มิใช่เกิดทางวาจา มิใช่เกิดทางจิต (๒) เกิดทางกายกับจิต มิใช่เกิดทางวาจา ฯลฯ

๖. ทุติยสหเสยยสิกขาบท
[๕๙] ถาม : ทรงบัญญัติปาจิตตีย์แก่ภิกษุผู้นอนร่วมกับมาตุคาม ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภท่านพระอนุรุทธะ
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่ท่านพระอนุรุทธะนอนร่วมกับมาตุคาม
ในทุติยสหเสยยสิกขาบทนั้น มี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖
สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๒ สมุฏฐาน เป็นเอฬกโลมสมุฏฐาน ฯลฯ

๗. ธัมมเทสนาสิกขาบท
[๖๐] ถาม : ทรงบัญญัติปาจิตตีย์แก่ภิกษุผู้แสดงธรรมแก่มาตุคามเกิน ๕-๖
คำ ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภท่านพระอุทายี
ถาม : เพราะเรื่องอะไร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๔๙ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์] ๑. กัตถปัญญัตติวาร ๕. ปาจิตติยกัณฑ์ ๑. มุสาวาทวรรค
ตอบ : เพราะเรื่องที่ท่านพระอุทายีแสดงธรรมแก่มาตุคาม
ในธัมมเทสนาสิกขาบทนั้น มี ๑ พระบัญญัติ ๒ พระอนุบัญญัติ บรรดา
สมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๒ สมุฏฐาน เป็นปทโสธัมม
สมุฏฐาน ฯลฯ

๘. ภูตาโรจนสิกขาบท
[๖๑] ถาม : ทรงบัญญัติปาจิตตีย์แก่ภิกษุผู้บอกอุตตริมนุสสธรรมที่มีจริงแก่
อนุปสัมบัน ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงเวสาลี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภพวกภิกษุชาวฝั่งแม่น้ำวัคคุมุทา
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่พวกภิกษุชาวฝั่งแม่น้ำวัคคุมุทากล่าวอวดอุตตริมนุสสธรรม
ของกันและกันให้พวกคฤหัสถ์ฟัง
ในภูตาโรจนสิกขาบทนั้น มี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖
สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๓ สมุฏฐาน คือ (๑) เกิดทางกาย มิใช่เกิดทางวาจา
มิใช่เกิดทางจิต (๒) เกิดทางวาจา มิใช่เกิดทางกาย มิใช่เกิดทางจิต (๓) เกิดทาง
กายกับวาจา มิใช่เกิดทางจิต ฯลฯ

๙. ทุฏฐุลลาโรจนสิกขาบท
[๖๒] ถาม : ทรงบัญญัติปาจิตตีย์แก่ภิกษุผู้บอกอาบัติชั่วหยาบของภิกษุแก่
อนุปสัมบัน ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
ถาม : ทรงปรารภใคร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๕๐ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์] ๑. กัตถปัญญัตติวาร ๕. ปาจิตติยกัณฑ์ รวมสิกขาบทที่มีใรมุสาวาทวรรค
ตอบ : ทรงปรารภพวกภิกษุฉัพพัคคีย์
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่พวกภิกษุฉัพพัคคีย์บอกอาบัติชั่วหยาบของภิกษุแก่อนุปสัมบัน
ในทุฏฐุลลาโรจนสิกขาบทนั้น มี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖
สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๓ สมุฏฐาน เป็นอทินนาทานสมุฏฐาน ฯลฯ

๑๐. ปฐวีขณนสิกขาบท
[๖๓] ถาม : ทรงบัญญัติปาจิตตีย์แก่ภิกษุผู้ขุดดิน ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ เมืองอาฬวี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภพวกภิกษุชาวเมืองอาฬวี
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่พวกภิกษุชาวเมืองอาฬวีขุดดิน
ในปฐวีขณนสิกขาบทนั้น มี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖
สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๓ สมุฏฐาน ฯลฯ
มุสาวาทวรรคที่ ๑ จบ

รวมสิกขาบทที่มีในมุสาวาทวรรค

๑. มุสาวาทสิกขาบท ว่าด้วยการกล่าวเท็จ
๒. โอมสวาทสิกขาบท ว่าด้วยการกล่าวเสียดสี
๓. เปสุญญสิกขาบท ว่าด้วยการกล่าวส่อเสียด
๔. ปทโสธัมมสิกขาบท ว่าด้วยการสอนให้กล่าวธรรมแข่งกันเป็นบท ๆ
๕. สหเสยยสิกขาบท ว่าด้วยการนอนร่วมกัน
๖. ทุติยสหเสยยสิกขาบท ว่าด้วยการนอนร่วมกันข้อที่ ๒


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๕๑ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์] ๑. กัตถปัญญัตติวาร ๕. ปาจิตติยกัณฑ์ ๒. ภูตคามวรรค
๗. ธัมมเทสนาสิกขาบท ว่าด้วยการแสดงธรรม
๘. ภูตาโรจนสิกขาบท ว่าด้วยการบอกอุตตริมนุสสธรรมที่มีจริง
๙. ทุฏฐุลลาโรจนสิกขาบท ว่าด้วยการบอกอาบัติชั่วหยาบ
๑๐. ปฐวีขณนสิกขาบท ว่าด้วยการขุดดิน

๒. ภูตคามวรรค
๑. ภูตคามสิกขาบท
[๖๔] ถาม : พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้
ทรงเห็น ทรงบัญญัติปาจิตตีย์เพราะพรากภูตคาม ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ เมืองอาฬวี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภภิกษุชาวเมืองอาฬวี
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่ภิกษุชาวเมืองอาฬวีตัดต้นไม้
ในภูตคามสิกขาบทนั้น มี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖
สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๓ สมุฏฐาน ฯลฯ

๒. อัญญวาทกสิกขาบท
[๖๕] ถาม : ทรงบัญญัติปาจิตตีย์เพราะนำเอาเรื่องอื่นมากล่าวกลบเกลื่อน เพราะ
ทำสงฆ์ให้ลำบาก ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงโกสัมพี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภท่านพระฉันนะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๕๒ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์] ๑. กัตถปัญญัตติวาร ๕. ปาจิตติยกัณฑ์ ๒. ภูตคามวรรค
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่ท่านพระฉันนะถูกไต่สวนอาบัติท่ามกลางสงฆ์กลับนำเอา
เรื่องอื่นมากล่าวกลบเกลื่อน
ในอัญญวาทกสิกขาบทนั้น มี ๑ พระบัญญัติ ๑ พระอนุบัญญัติ บรรดาสมุฏฐาน
แห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๓ สมุฏฐาน ฯลฯ

๓. อุชฌาปนกสิกขาบท
[๖๖] ถาม : ทรงบัญญัติปาจิตตีย์เพราะกล่าวให้ผู้อื่นเพ่งโทษ เพราะบ่นว่า ณ
ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงราชคฤห์
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภพระเมตติยะและพระภุมมชกะ
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่พระเมตติยะและพระภุมมชกะกล่าวให้ภิกษุทั้งหลายเพ่งโทษ
ท่านพระทัพพมัลลบุตร
ในอุชฌาปนกสิกขาบทนั้น มี ๑ พระบัญญัติ ๑ พระอนุบัญญัติ บรรดา
สมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๓ สมุฏฐาน ฯลฯ

๔. ปฐมเสนาสนสิกขาบท
[๖๗] ถาม : ทรงบัญญัติปาจิตตีย์แก่ภิกษุผู้วางเตียง ตั่ง ฟูก หรือเก้าอี้ของ
สงฆ์ในที่กลางแจ้งแล้ว ไม่เก็บไม่บอกมอบหมายแล้วพากันจากไป ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภภิกษุหลายรูป

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๕๓ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์] ๑. กัตถปัญญัตติวาร ๕. ปาจิตติยกัณฑ์ ๒. ภูตคามวรรค
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่ภิกษุหลายรูปจัดตั้งเสนาสนะของสงฆ์ในที่กลางแจ้งแล้ว
ไม่เก็บ ไม่บอกมอบหมายแล้วพากันจากไป
ในปฐมเสนาสนสิกขาบทนั้น มี ๑ พระบัญญัติ ๑ พระอนุบัญญัติ บรรดา
สมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๒ สมุฏฐาน เป็นกฐินสมุฏฐาน
ฯลฯ

๕. ทุติยเสนาสนสิกขาบท
[๖๘] ถาม : ทรงบัญญัติปาจิตตีย์แก่ภิกษุผู้ปูที่นอนในวิหารของสงฆ์แล้วไม่เก็บ
ไม่บอกมอบหมายแล้วจากไป ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภพวกภิกษุสัตตรสวัคคีย์
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่พวกภิกษุสัตตรสวัคคีย์ปูที่นอนในวิหารของสงฆ์แล้วไม่เก็บ
ไม่บอกมอบหมายแล้วพากันจากไป
ในทุติยเสนาสนสิกขาบทนั้น มี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖
สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๒ สมุฏฐาน เป็นกฐินสมุฏฐาน ฯลฯ

๖. อนุปขัชชสิกขาบท
[๖๙] ถาม : ทรงบัญญัติปาจิตตีย์แก่ภิกษุผู้รู้อยู่ เข้าไปนอนแทรกแซงภิกษุผู้
เข้าไปอยู่ในวิหารของสงฆ์ก่อน ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
ถาม : ทรงปรารภใคร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๕๔ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์] ๑. กัตถปัญญัตติวาร ๕. ปาจิตติยกัณฑ์ ๒. ภูตคามวรรค
ตอบ : ทรงปรารภพวกภิกษุฉัพพัคคีย์
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่พวกภิกษุฉัพพัคคีย์เข้าไปนอนแทรกแซงพวกภิกษุผู้เถระ
ในอนุปขัชชสิกขาบทนั้น มี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖
สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๑ สมุฏฐาน คือ เกิดทางกายกับจิต มิใช่เกิดทางวาจา
ฯลฯ

๗. นิกกัฑฒนสิกขาบท
[๗๐] ถาม : ทรงบัญญัติปาจิตตีย์แก่ภิกษุผู้โกรธ ไม่พอใจฉุดลากภิกษุออกจาก
วิหารของสงฆ์ ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภพวกภิกษุฉัพพัคคีย์
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่พวกภิกษุฉัพพัคคีย์โกรธ ไม่พอใจ ฉุดลากภิกษุทั้งหลาย
ออกจากวิหารของสงฆ์
ในนิกกัฑฒนสิกขาบทนั้น มี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖
สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๓ สมุฏฐาน ฯลฯ

๘. เวหาสกุฏิสิกขาบท
[๗๑] ถาม : ทรงบัญญัติปาจิตตีย์แก่ภิกษุผู้นั่งบนเตียง หรือบนตั่งอันมี
เท้าเสียบบนกุฎีชั้นลอยในวิหารของสงฆ์ ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภภิกษุรูปหนึ่ง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๕๕ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์] ๑. กัตถปัญญัตติวาร ๕. ปาจิตติยกัณฑ์ ๒. ภูตคามวรรค
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่ภิกษุรูปหนึ่งนั่งอย่างแรงบนเตียงที่มีเท้าเสียบบนกุฎีชั้นลอย
ในวิหารของสงฆ์
ในเวหาสกุฏิสิกขาบทนั้น มี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖
สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๒ สมุฏฐาน คือ (๑) เกิดทางกาย มิใช่เกิดทางวาจา
มิใช่เกิดทางจิต (๒) เกิดทางกายกับจิต มิใช่เกิดทางวาจา ฯลฯ

๙. มหัลลกวิหารสิกขาบท
[๗๒] ถาม : ทรงบัญญัติปาจิตตีย์แก่ภิกษุผู้ดำเนินการมุงหลังคา(วิหาร) ๒-๓
ชั้น แล้วดำเนินการเกินกว่านั้น ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงโกสัมพี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภท่านพระฉันนะ
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่ท่านพระฉันนะให้มุงให้ฉาบทาวิหารที่สร้างเสร็จแล้วหลาย ๆ
ครั้ง วิหารมีน้ำหนักมาก จึงพังลงมา
ในมหัลลกวิหารสิกขาบทนี้ มี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖
สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๖ สมุฏฐาน ฯลฯ

๑๐. สัปปาณกสิกขาบท
[๗๓] ถาม : ทรงบัญญัติปาจิตตีย์แก่ภิกษุผู้รู้อยู่ว่าน้ำมีสิ่งมีชีวิต รดหญ้าหรือ
ดิน ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ เมืองอาฬวี
ถาม : ทรงปรารภใคร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๕๖ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์] ๑. กัตถปัญญัตติวาร ๕. ปาจิตติยกัณฑ์ ๓. โอวาทวรรค
ตอบ : ทรงปรารภภิกษุชาวเมืองอาฬวี
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่ภิกษุชาวเมืองอาฬวีรู้อยู่ว่าน้ำมีสิ่งมีชีวิต รดหญ้าหรือดิน
ในสัปปาณกสิกขาบทนั้น มี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖
สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๓ สมุฏฐาน ฯลฯ
ภูตคามวรรคที่ ๒ จบ

รวมสิกขาบทที่มีในภูตคามวรรค

๑. ภูตคามสิกขาบท ว่าด้วยการพรากภูตคาม
๒. อัญญวาทกสิกขาบท ว่าด้วยการกล่าวกลบเกลื่อน
๓. อุชฌาปนกสิกขาบท ว่าด้วยการกล่าวให้เพ่งโทษ
๔. ปฐมเสนาสนสิกขาบท ว่าด้วยเสนาสนะข้อที่ ๑
๕. ทุติยเสนาสนสิกขาบท ว่าด้วยเสนาสนะข้อที่ ๒
๖. อนุปขัชชสิกขาบท ว่าด้วยการเข้าไปแทรกแซง
๗. นิกกัฑฒนสิกขาบท ว่าด้วยการฉุดลากออก
๘. เวหาสกุฏิสิกขาบท ว่าด้วยกุฎีชั้นลอย
๙. มหัลลกวิหารสิกขาบท ว่าด้วยการสร้างวิหารใหญ่
๑๐. สัปปาณกสิกขาบท ว่าด้วยสิ่งมีชีวิต

๓. โอวาทวรรค
๑. โอวาทสิกขาบท
[๗๔] ถาม : พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้
ทรงเห็น ทรงบัญญัติปาจิตตีย์แก่ภิกษุผู้ไม่ได้รับแต่งตั้ง สั่งสอนภิกษุณีทั้งหลาย ณ
ที่ไหน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๕๗ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์] ๑. กัตถปัญญัตติวาร ๕. ปาจิตติยกัณฑ์ ๓. โอวาทวรรค
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภพวกภิกษุฉัพพัคคีย์
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ไม่ได้รับแต่งตั้งสั่งสอนภิกษุณีทั้งหลาย
ถาม : ในโอวาทสิกขาบทนั้น มีพระบัญญัติ พระอนุบัญญัติและอนุปปันนบัญญัติ
อยู่หรือ
ตอบ : ในโอวาทสิกขาบทนั้นมี ๑ พระบัญญัติ ๑ พระอนุบัญญัติ ไม่มี
อนุปปันนบัญญัติ
บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๒ สมุฏฐาน คือ
(๑) เกิดทางวาจา มิใช่เกิดทางกาย มิใช่เกิดทางจิต (๒) เกิดทางวาจากับจิต มิใช่
เกิดทางกาย ฯลฯ

๒. อัตถังคตสิกขาบท
[๗๕] ถาม : ทรงบัญญัติปาจิตตีย์แก่ภิกษุผู้เมื่อดวงอาทิตย์อัสดงแล้ว ยังสั่งสอน
ภิกษุณีทั้งหลายอยู่ ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภท่านพระจูฬปันถก
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่ท่านพระจูฬปันถกเมื่อดวงอาทิตย์อัสดงแล้วยังสั่งสอนภิกษุณี
ทั้งหลายอยู่
ในอัตถังคตสิกขาบทนั้น มี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖
สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๒ สมุฏฐาน เป็นปทโสธัมมสมุฏฐาน ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๕๘ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์] ๑. กัตถปัญญัตติวาร ๕. ปาจิตติยกัณฑ์ ๓. โอวาทวรรค
๓. ภิกขุนูปัสสยสิกขาบท
[๗๖] ถาม : ทรงบัญญัติปาจิตตีย์แก่ภิกษุผู้เข้าไปที่สำนักภิกษุณีแล้วสั่งสอน
ภิกษุณีทั้งหลาย ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ แคว้นสักกะ
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภพวกภิกษุฉัพพัคคีย์
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่พวกภิกษุฉัพพัคคีย์เข้าไปที่สำนักภิกษุณีแล้วสั่งสอน
ภิกษุณี ทั้งหลาย
ในภิกขุนูปัสสยสิกขาบทนั้น มี ๑ พระบัญญัติ ๑ พระอนุบัญญัติ บรรดา
สมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๒ สมุฏฐาน เป็นกฐิน
สมุฏฐาน ฯลฯ

๔. อามิสสิกขาบท
[๗๗] ถาม : ทรงบัญญัติปาจิตตีย์แก่ภิกษุผู้กล่าวว่า “ภิกษุ(ผู้เถระ)ทั้งหลาย
สั่งสอนภิกษุณีทั้งหลายเพราะเห็นแก่อามิส ณ ที่ไหน”
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภพวกภิกษุฉัพพัคคีย์
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่พวกภิกษุฉัพพัคคีย์กล่าวว่า “ภิกษุ(ผู้เถระ)ทั้งหลายสั่งสอน
ภิกษุณีทั้งหลายเพราะเห็นแก่อามิส”
ในอามิสสิกขาบทนั้น มี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖
สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๓ สมุฏฐาน ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๕๙ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์] ๑. กัตถปัญญัตติวาร ๕. ปาจิตติยกัณฑ์ ๓. โอวาทวรรค
๕. จีวรทานสิกขาบท
[๗๘] ถาม : ทรงบัญญัติปาจิตตีย์แก่ภิกษุผู้ให้จีวรแก่ภิกษุณีผู้ไม่ใช่ญาติ ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภภิกษุรูปหนึ่ง
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่ภิกษุรูปหนึ่งได้ให้จีวรแก่ภิกษุณีผู้ไม่ใช่ญาติ
ในจีวรทานสิกขาบทนั้น มี ๑ พระบัญญัติ ๑ พระอนุบัญญัติ บรรดาสมุฏฐาน
แห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๖ สมุฏฐาน ฯลฯ

๖. จีวรสิพพนสิกขาบท
[๗๙] ถาม : ทรงบัญญัติปาจิตตีย์แก่ภิกษุผู้เย็บจีวรให้ภิกษุณีผู้ไม่ใช่ญาติ ณ
ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภท่านพระอุทายี
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่ท่านพระอุทายีเย็บจีวรให้ภิกษุณีผู้ไม่ใช่ญาติ
ในจีวรสิพพนสิกขาบทนั้น มี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖
สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๖ สมุฏฐาน ฯลฯ

๗. สังวิธานสิกขาบท
[๘๐] ถาม : ทรงบัญญัติปาจิตตีย์แก่ภิกษุผู้ชักชวนกันเดินทางไกลร่วมกันกับ
ภิกษุณี ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๖๐ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์] ๑. กัตถปัญญัตติวาร ๕. ปาจิตติยกัณฑ์ ๓. โอวาทวรรค
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภพวกภิกษุฉัพพัคคีย์
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ชักชวนกันเดินทางไกลร่วมกันกับภิกษุณี
ในสังวิธานสิกขาบทนั้น มี ๑ พระบัญญัติ ๑ พระอนุบัญญัติ บรรดาสมุฏฐาน
แห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๔ สมุฏฐาน คือ (๑) เกิดทางกาย
มิใช่เกิดทางวาจา มิใช่เกิดทางจิต (๒) เกิดทางกายกับวาจา มิใช่เกิดทางจิต
(๓) เกิดทางกายกับจิต มิใช่เกิดทางวาจา (๔) เกิดทางกายวาจากับจิต ฯลฯ

๘. นาวาภิรูหนสิกขาบท
[๘๑] ถาม : ทรงบัญญัติปาจิตตีย์แก่ภิกษุผู้ชักชวนภิกษุณีโดยสารเรือลำเดียวกัน
ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภพวกภิกษุฉัพพัคคีย์
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ชักชวนภิกษุณีโดยสารเรือลำเดียวกัน
ในนาวาภิรูหนสิกขาบทนั้น มี ๑ พระบัญญัติ ๑ พระอนุบัญญัติ บรรดา
สมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๔ สมุฏฐาน ฯลฯ

๙. ปริปาจิตสิกขาบท
[๘๒] ถาม : ทรงบัญญัติปาจิตตีย์แก่ภิกษุผู้รู้อยู่ ฉันบิณฑบาตที่ภิกษุณีแนะนำ
ให้จัดเตรียม ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงราชคฤห์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๖๑ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์] ๑. กัตถปัญญัตติวาร ๕. ปาจิตติยกัณฑ์ รวมสิกขาบทที่มีในโอวาทวรรค
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภพระเทวทัต
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่พระเทวทัตรู้อยู่ ฉันบิณฑบาตที่ภิกษุณีแนะนำให้จัดเตรียม
ในปริปาจิตสิกขาบทนั้นมี ๑ พระบัญญัติ ๑ พระอนุบัญญัติ บรรดาสมุฏฐาน
แห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๑ สมุฏฐาน คือ เกิดทางกายกับจิต
มิใช่เกิดทางวาจา ฯลฯ

๑๐. รโหนิสัชชสิกขาบท
[๘๓] ถาม : ทรงบัญญัติปาจิตตีย์แก่ภิกษุผู้นั่งในที่ลับกับภิกษุณีสองต่อสอง ณ
ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภท่านพระอุทายี
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่ท่านพระอุทายีนั่งในที่ลับกับภิกษุณีสองต่อสอง
ในรโหนิสัชชสิกขาบทนั้น มี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖
สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๑ สมุฏฐาน คือ เกิดทางกายกับจิต มิใช่เกิดทางวาจา
ฯลฯ
โอวาทวรรคที่ ๓ จบ

รวมสิกขาบทที่มีในโอวาทวรรค
๑. โอวาทสิกขาบท ว่าด้วยการสั่งสอนภิกษุณี
๒. อัตถังคตสิกขาบท ว่าด้วยการสั่งสอนภิกษุณีในเวลาที่ดวงอาทิตย์
อัสดงแล้ว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๖๒ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์] ๑. กัตถปัญญัตติวาร ๕. ปาจิตติยกัณฑ์ ๔. โภชนวรรค

๓. ภิกขุนูปัสสยสิกขาบท ว่าด้วยการไปสั่งสอนภิกษุณีถึงที่สำนัก
๔. อามิสสิกขาบท ว่าด้วยการสั่งสอนภิกษุณีเพราะเห็นแก่อามิส
๕. จีวรทานสิกขาบท ว่าด้วยการถวายจีวร
๖. จีวรสิพพนสิกขาบท ว่าด้วยการเย็บจีวรให้ภิกษุณี
๗. สังวิธานสิกขาบท ว่าด้วยการชักชวนเดินทางร่วมกัน
๘. นาวาภิรูหนสิกขาบท ว่าด้วยการโดยสารเรือลำเดียวกัน
๙. ปริปาจิตสิกขาบท ว่าด้วยการฉันบิณฑบาตที่ภิกษุณีแนะนำให้จัด
เตรียม
๑๐. รโหนิสัชชสิกขาบท ว่าด้วยการนั่งในที่ลับ

๔. โภชนวรรค
๑. อาวสถปิณฑสิกขาบท
[๘๔] ถาม : พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้
ทรงเห็น ทรงบัญญัติปาจิตตีย์แก่ภิกษุผู้อยู่ฉันภัตตาหารในที่พักแรมเกินกว่าหนึ่งมื้อ ณ
ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภพวกภิกษุฉัพพัคคีย์
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่พวกภิกษุฉัพพัคคีย์อยู่ฉันภัตตาหารในที่พักแรมเป็นประจำ
ในอาวสถปิณฑสิกขาบทนั้น มี ๑ พระบัญญัติ ๑ พระอนุบัญญัติ บรรดา
สมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๒ สมุฏฐาน เป็นเอฬกโลม
สมุฏฐาน ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๖๓ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์] ๑. กัตถปัญญัตติวาร ๕. ปาจิตติยกัณฑ์ ๔. โภชนวรรค
๒. คณโภชนสิกขาบท
[๘๕] ถาม : ทรงบัญญัติปาจิตตีย์ เพราะฉันคณโภชนะ ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงราชคฤห์
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภพระเทวทัต
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่พระเทวทัตพร้อมด้วยบริษัทพากันออกปากขอภัตตาหารใน
ตระกูลทั้งหลายมาฉัน
ในคณโภชนสิกขาบทนั้น มี ๑ พระบัญญัติ ๗ พระอนุบัญญัติ บรรดา
สมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๒ สมุฏฐาน เป็นเอฬกโลม
สมุฏฐาน ฯลฯ

๓. ปรัมปรโภชนสิกขาบท
[๘๖] ถาม : ทรงบัญญัติปาจิตตีย์ เพราะฉันปรัมปรโภชนะ ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงเวสาลี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภภิกษุหลายรูป
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่ภิกษุหลายรูปรับนิมนต์ไว้ในที่หนึ่งแล้วไปฉันในที่อีกแห่งหนึ่ง
ในปรัมปรโภชนสิกขาบทนั้น มี ๑ พระบัญญัติ ๔ พระอนุบัญญัติ๑ บรรดา
สมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๒ สมุฏฐาน เป็นกฐินสมุฏฐาน
ฯลฯ

เชิงอรรถ :
๑ บาลีเป็น ๓ พระอนุบัญญัติ ในที่นี้แปลตามบาลีเก่าว่า “๔ พระอนุบัญญัติ” (วิ.มหา. (แปล) ๒/๒๒๖/๓๘๔
และดู สารตฺถ.ฏีกา ๓/๒๒๖/๗๐, วิมติ.ฏีกา ๒/๒๒๑/๓๘, กงฺขา.ฏีกา ๔๐๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๖๔ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์] ๑. กัตถปัญญัตติวาร ๕. ปาจิตติยกัณฑ์ ๔. โภชนวรรค
๔. กาณมาตุสิกขาบท
[๘๗] ถาม : ทรงบัญญัติปาจิตตีย์แก่ภิกษุผู้รับขนมเต็ม ๒-๓ บาตรแล้วรับ
เกินกว่านั้น ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภภิกษุหลายรูป
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่ภิกษุหลายรูปรับโดยไม่รู้ประมาณ
ในกาณมาตุสิกขาบทนั้น มี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖
สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๖ สมุฏฐาน ฯลฯ

๕. ปฐมปวารณาสิกขาบท
[๘๘] ถาม : ทรงบัญญัติปาจิตตีย์แก่ภิกษุผู้ฉันแล้ว บอกห้ามภัตตาหารแล้ว
ฉันของเคี้ยวหรือของฉันที่ไม่เป็นเดน ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภภิกษุหลายรูป
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่ภิกษุหลายรูปฉันแล้ว บอกห้ามภัตตาหารแล้ว ไปฉันที่อื่นอีก
ในปฐมปวารณาสิกขาบทนั้น มี ๑ พระบัญญัติ ๑ พระอนุบัญญัติ บรรดา
สมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๒ สมุฏฐาน เป็นกฐินสมุฏฐาน
ฯลฯ

๖. ทุติยปวารณาสิกขาบท
[๘๙] ถาม : ทรงบัญญัติปาจิตตีย์แก่ภิกษุผู้นำของเคี้ยวหรือของฉันที่ไม่เป็นเดน
ไปปวารณาภิกษุผู้ฉันแล้วบอกห้ามภัตตาหารแล้ว ณ ที่ไหน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๖๕ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์] ๑. กัตถปัญญัตติวาร ๕. ปาจิตติยกัณฑ์ ๔. โภชนวรรค
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภภิกษุรูปหนึ่ง
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่ภิกษุรูปหนึ่งนำของฉันที่ไม่เป็นเดนไปปวารณาภิกษุผู้ฉันแล้ว
บอกห้ามภัตตาหารแล้ว(ให้ฉันอีก)
ในทุติยปวารณาสิกขาบทนั้น มี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖
สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๓ สมุฏฐาน ฯลฯ

๗. วิกาลโภชนสิกขาบท
[๙๐] ถาม : ทรงบัญญัติปาจิตตีย์แก่ภิกษุผู้ฉันของเคี้ยวหรือของฉันในเวลา
วิกาล ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงราชคฤห์
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภพวกภิกษุสัตตรสวัคคีย์
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่พวกภิกษุสัตตรสวัคคีย์ฉันภัตตาหารในเวลาวิกาล
ในวิกาลโภชนสิกขาบทนั้น มี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖
สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๒ สมุฏฐาน เป็นเอฬกโลมสมุฏฐาน ฯลฯ

๘. สันนิธิการกสิกขาบท
[๙๑] ถาม : ทรงบัญญัติปาจิตตีย์แก่ภิกษุผู้ฉันของเคี้ยวหรือของฉันที่เก็บ
สะสมไว้ ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๖๖ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์] ๑. กัตถปัญญัตติวาร ๕. ปาจิตติยกัณฑ์ ๔. โภชนวรรค
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภท่านพระเวลัฏฐสีสะ
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่ท่านพระเวลัฏฐสีสะฉันโภชนะที่เก็บสะสมไว้
ในสันนิธิการกสิกขาบทนั้น มี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖
สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๒ สมุฏฐาน เป็นเอฬกโลมสมุฏฐาน ฯลฯ

๙. ปณีตโภชนสิกขาบท
[๙๒] ถาม : ทรงบัญญัติปาจิตตีย์แก่ภิกษุผู้ออกปากขอโภชนะอันประณีตมา
เพื่อตนแล้วฉัน ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภพวกภิกษุฉัพพัคคีย์
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ออกปากขอโภชนะอันประณีตมาเพื่อตน
แล้วฉัน
ในปณีตโภชนสิกขาบทนั้น มี ๑ พระบัญญัติ ๑ พระอนุบัญญัติ บรรดา
สมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๔ สมุฏฐาน ฯลฯ

๑๐. ทันตโปนสิกขาบท
[๙๓] ถาม : ทรงบัญญัติปาจิตตีย์แก่ภิกษุผู้กลืนอาหารที่ยังไม่มีผู้ถวายให้ล่วง
ลำคอ ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงเวสาลี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภภิกษุรูปหนึ่ง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๖๗ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์] ๑. กัตถปัญญัตติวาร ๕. ปาจิตติยกัณฑ์ ๕. อเจลกวรรค
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่ภิกษุรูปหนึ่งกลืนอาหารที่ยังไม่มีผู้ถวาย ให้ล่วงลำคอ
ในทันตโปนสิกขาบทนั้น มี ๑ พระบัญญัติ ๑ พระอนุบัญญัติ บรรดา
สมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๒ สมุฏฐาน เป็นเอฬกโลม
สมุฏฐาน ฯลฯ
โภชนวรรคที่ ๔ จบ

รวมสิกขาบทที่มีในโภชนวรรค

๑. อาวสถปิณฑสิกขาบท ว่าด้วยการฉันภัตตาหารในที่พักแรม
๒. คณโภชนสิกขาบท ว่าด้วยการฉันคณโภชนะ
๓. ปรัมปรโภชนสิกขาบท ว่าด้วยการฉันปรัมปรโภชนะ
๔. กาณมาตุสิกขาบท ว่าด้วยมารดาของนางกาณา
๕. ปฐมปวารณาสิกขาบท ว่าด้วยการบอกห้ามภัตตาหารข้อที่ ๑
๖. ทุติยปวารณาสิกขาบท ว่าด้วยการบอกห้ามภัตตาหารข้อที่ ๒
๗. วิกาลโภชนสิกขาบท ว่าด้วยการฉันโภชนะในเวลาวิกาล
๘. สันนิธิการกสิกขาบท ว่าด้วยการสะสมโภชนะ
๙. ปณีตโภชนสิกขาบท ว่าด้วยการออกปากขอโภชนะอันประณีต
๑๐. ทันตโปนสิกขาบท ว่าด้วยการรับประเคนอาหารนอกจากน้ำและ
ไม้ชำระฟัน

๕. อเจลกวรรค
๑. อเจลกสิกขาบท
[๙๔] ถาม : พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้
ทรงเห็น ทรงบัญญัติปาจิตตีย์แก่ภิกษุผู้ให้ของเคี้ยวหรือของฉันแก่อเจลกปริพาชกหรือ
ปริพาชิกาด้วยมือตน ณ ที่ไหน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๖๘ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์] ๑. กัตถปัญญัตติวาร ๕. ปาจิตติยกัณฑ์ ๕. อเจลกวรรค
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงเวสาลี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภท่านพระอานนท์
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่ท่านพระอานนท์แจกขนมให้ปริพาชิกาคนหนึ่ง ๒ ชิ้นด้วย
สำคัญว่าเป็นชิ้นเดียว
ในอเจลกสิกขาบทนั้น มี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖
สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๒ สมุฏฐาน เป็นเอฬกโลมสมุฏฐาน ฯลฯ

๒. อุยโยชนสิกขาบท
[๙๕] ถาม : ทรงบัญญัติปาจิตตีย์แก่ภิกษุผู้กล่าวชักชวนภิกษุว่า “ท่านจงมา
เถิด พวกเราจะเข้าไปบิณฑบาตในหมู่บ้านหรือในนิคม” แล้วให้ทายกถวายหรือไม่ให้
ทายกถวายแก่ภิกษุนั้นแล้วนิมนต์กลับ ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภท่านพระอุปนันทศากยบุตร
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่ท่านพระอุปนันทศากยบุตรกล่าวชักชวนภิกษุว่า “ท่านจง
มาเถิด พวกเราจะเข้าไปบิณฑบาตในหมู่บ้านหรือในนิคม” แล้วไม่ให้ทายกถวายแก่
ภิกษุนั้น แล้วนิมนต์กลับ
ในอุยโยชนสิกขาบทนั้น มี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖
สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๓ สมุฏฐาน ฯลฯ

๓. สโภชนสิกขาบท
[๙๖] ถาม : ทรงบัญญัติปาจิตตีย์แก่ภิกษุผู้เข้าไปนั่งแทรกแซงในตระกูลที่มีคน
๒ คน ณ ที่ไหน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๖๙ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์] ๑. กัตถปัญญัตติวาร ๕. ปาจิตติยกัณฑ์ ๕. อเจลกวรรค
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภท่านพระอุปนันทศากยบุตร
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่ท่านพระอุปนันทศากยบุตรเข้าไปนั่งแทรกแซงในตระกูลที่มี
คน ๒ คน
ในสโภชนสิกขาบทนั้น มี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖
สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๑ สมุฏฐาน คือ เกิดทางกายกับจิต มิใช่เกิดทางวาจา
ฯลฯ

๔. รโหปฏิจฉันนสิกขาบท
[๙๗] ถาม : ทรงบัญญัติปาจิตตีย์แก่ภิกษุผู้นั่งบนอาสนะที่กำบังในที่ลับกับ
มาตุคาม ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภท่านพระอุปนันทศากยบุตร
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่ท่านพระอุปนันทศากยบุตรนั่งบนอาสนะที่กำบังในที่ลับกับ
มาตุคาม
ในรโหปฏิจฉันนสิกขาบทนั้น มี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ
๖ สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๑ สมุฏฐาน คือ เกิดทางกายกับจิต มิใช่เกิดทาง
วาจา ฯลฯ

๕. รโหนิสัชชสิกขาบท
[๙๘] ถาม : ทรงบัญญัติปาจิตตีย์แก่ภิกษุผู้นั่งในที่ลับกับมาตุคามสองต่อสอง
ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๗๐ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์] ๑. กัตถปัญญัตติวาร ๕. ปาจิตติยกัณฑ์ ๕. อเจลกวรรค
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภท่านพระอุปนันทศากยบุตร
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่ท่านพระอุปนันทศากยบุตรนั่งในที่ลับกับมาตุคามสองต่อ
สอง
ในรโหนิสัชชสิกขาบทนั้น มี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖
สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๑ สมุฏฐาน คือ เกิดทางกายกับจิต มิใช่เกิดทางวาจา
ฯลฯ

๖. จาริตตสิกขาบท
[๙๙] ถาม : ทรงบัญญัติปาจิตตีย์แก่ภิกษุผู้รับนิมนต์ไว้แล้ว มีภัตตาหารอยู่แล้ว
ไม่บอกลาภิกษุที่มีอยู่ เที่ยวสัญจรไปในตระกูลทั้งหลายก่อนเวลาฉันภัตตาหาร หรือ
หลังเวลาฉันภัตตาหาร ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงราชคฤห์
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภท่านพระอุปนันทศากยบุตร
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่ท่านพระอุปนันทศากยบุตรรับนิมนต์ไว้แล้ว มีภัตตาหาร
อยู่แล้ว ยังเที่ยวสัญจรไปในตระกูลทั้งหลาย ก่อนเวลาฉันภัตตาหาร หลังเวลาฉัน
ภัตตาหาร
ในจาริตตสิกขาบทนั้น มี ๑ พระบัญญัติ ๔ พระอนุบัญญัติ บรรดาสมุฏฐาน
แห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๒ สมุฏฐาน เป็นกฐินสมุฏฐาน ฯลฯ

๗. มหานามสิกขาบท
[๑๐๐] ถาม : ทรงบัญญัติปาจิตตีย์แก่ภิกษุผู้ออกปากขอเภสัชเกินกว่ากำหนดนั้น
ณ ที่ไหน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๗๑ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์] ๑. กัตถปัญญัตติวาร ๕. ปาจิตติยกัณฑ์ ๕. อเจลกวรรค
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ แคว้นสักกะ
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภพวกภิกษุฉัพพัคคีย์
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่พระเจ้ามหานามศากยะขอร้องพวกภิกษุฉัพพัคคีย์ว่า “พระ
คุณเจ้าทั้งหลาย วันนี้ พระคุณเจ้าโปรดรอก่อน” ก็รอไม่ได้
ในมหานามสิกขาบทนั้น มี ๑ พระบัญญัติ ๑ พระอนุบัญญัติ บรรดา
สมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๖ สมุฏฐาน ฯลฯ

๘. อุยยุตตเสนาสิกขาบท
[๑๐๑] ถาม : ทรงบัญญัติปาจิตตีย์แก่ภิกษุผู้ไปดูกองทัพที่เคลื่อนขบวนออกรบ
ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภพวกภิกษุฉัพพัคคีย์
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ไปดูกองทัพที่เคลื่อนขบวนรบ
ในอุยยุตตเสนาสิกขาบทนั้น มี ๑ พระบัญญัติ ๑ พระอนุบัญญัติ บรรดา
สมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๒ สมุฏฐาน เป็นเอฬกโลม
สมุฏฐาน ฯลฯ

๙. เสนาวาสสิกขาบท
[๑๐๒] ถาม : ทรงบัญญัติปาจิตตีย์แก่ภิกษุผู้อยู่พักแรมในกองทัพเกินกว่า ๓ คืน
ณ ที่ไหน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๗๒ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์] ๑. กัตถปัญญัตติวาร ๕. ปาจิตติยกัณฑ์ รวมสิกขาบทที่มีในอเจลกวรรค
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภพวกภิกษุฉัพพัคคีย์
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่พวกภิกษุฉัพพัคคีย์อยู่พักแรมในกองทัพเกินกว่า ๓ คืน
ในเสนาวาสสิกขาบทนั้น มี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖
สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๒ สมุฏฐาน เป็นเอฬกโลมสมุฏฐาน ฯลฯ

๑๐. อุยโยธิกสิกขาบท
[๑๐๓] ถาม : ทรงบัญญัติปาจิตตีย์แก่ภิกษุผู้ไปสู่สนามรบ ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภพวกภิกษุฉัพพัคคีย์
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ไปสู่สนามรบ
ในอุยโยธิกสิกขาบทนั้น มี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖
สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๒ สมุฏฐาน เป็นเอฬกโลมสมุฏฐาน ฯลฯ
อเจลกวรรคที่ ๕ จบ

รวมสิกขาบทที่มีในอเจลกวรรค

๑. อเจลกสิกขาบท ว่าด้วยนักบวชเปลือย
๒. อุยโยชนสิกขาบท ว่าด้วยการส่งกลับ
๓. สโภชนสิกขาบท ว่าด้วยการเข้าไปแทรกแซงในที่ที่มีคน ๒ คน
๔. รโหปฏิจฉันนสิกขาบท ว่าด้วยการนั่งในที่ลับที่มีสิ่งกำบัง


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๗๓ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์] ๑. กัตถปัญญัตติวาร ๕. ปาจิตติยกัณฑ์ ๖. สุราปานวรรค

๕. รโหนิสัชชสิกขาบท ว่าด้วยการนั่งในที่ลับ
๖. จาริตตสิกขาบท ว่าด้วยการเที่ยวสัญจรไป
๗. มหานามสิกขาบท ว่าด้วยพระเจ้ามหานามศากยะ
๘. อุยยุตตเสนาสิกขาบท ว่าด้วยกองทัพที่เคลื่อนขบวนออกรบ
๙. เสนาวาสสิกขาบท ว่าด้วยการพักอยู่ในกองทัพ
๑๐. อุยโยธิกสิกขาบท ว่าด้วยการไปสู่สนามรบ

๖. สุราปานวรรค
๑. สุราปานสิกขาบท
[๑๐๔] ถาม : พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้
ทรงเห็น ทรงบัญญัติปาจิตตีย์เพราะดื่มสุราและเมรัย ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงโกสัมพี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภท่านพระสาคตะ
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่ท่านพระสาคตะดื่มน้ำเมา
ในสุราปานสิกขาบทนั้น มี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖
สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๒ สมุฏฐาน คือ (๑) เกิดทางกาย มิใช่เกิดทางวาจา
มิใช่เกิดทางจิต (๒) เกิดทางกายกับจิต มิใช่เกิดทางวาจา ฯลฯ

๒. อังคุลิปโตทกสิกขาบท
[๑๐๕] ถาม : ทรงบัญญัติปาจิตตีย์เพราะใช้นิ้วมือจี้ ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภพวกภิกษุฉัพพัคคีย์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๗๔ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์] ๑. กัตถปัญญัตติวาร ๕. ปาจิตติยกัณฑ์ ๖. สุราปานวรรค
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ใช้นิ้วมือจี้ภิกษุให้หัวเราะ
ในอังคุลิปโตทกสิกขาบทนั้น มี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖
สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๑ สมุฏฐาน คือ เกิดทางกายกับจิต มิใช่เกิดทางวาจา
ฯลฯ

๓. หัสสธัมมสิกขาบท
[๑๐๖] ถาม : ทรงบัญญัติปาจิตตีย์เพราะเล่นน้ำ ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภพวกภิกษุสัตตรสวัคคีย์
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่พวกภิกษุสัตตรสวัคคีย์เล่นน้ำในแม่น้ำอจิรวดี
ในหัสสธัมมสิกขาบทนั้น มี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖
สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๑ สมุฏฐาน คือ เกิดทางกายกับจิต มิใช่เกิดทางวาจา
ฯลฯ

๔. อนาทริยสิกขาบท
[๑๐๗] ถาม : ทรงบัญญัติปาจิตตีย์เพราะไม่เอื้อเฟื้อ ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงโกสัมพี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภท่านพระฉันนะ
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่ท่านพระฉันนะทำความไม่เอื้อเฟื้อ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๗๕ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์] ๑. กัตถปัญญัตติวาร ๕. ปาจิตติยกัณฑ์ ๖. สุราปานวรรค
ในอนาทริยสิกขาบทนั้น มี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖
สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๓ สมุฏฐาน ฯลฯ

๕. ภิงสาปนสิกขาบท
[๑๐๘] ถาม : ทรงบัญญัติปาจิตตีย์แก่ภิกษุผู้ทำให้ภิกษุตกใจ ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภพวกภิกษุฉัพพัคคีย์
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ทำให้ภิกษุตกใจ
ในภิงสาปนสิกขาบทนั้น มี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖
สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๓ สมุฏฐาน ฯลฯ

๖. โชติกสิกขาบท
[๑๐๙] ถาม : ทรงบัญญัติปาจิตตีย์แก่ภิกษุผู้ก่อไฟผิง ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ ภัคคชนบท
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภภิกษุหลายรูป
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่ภิกษุหลายรูปช่วยกันก่อไฟผิง
ในโชติกสิกขาบทนั้น มี ๑ พระบัญญัติ ๒ พระอนุบัญญัติ บรรดาสมุฏฐาน
แห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๖ สมุฏฐาน ฯลฯ

๗. นหานสิกขาบท
[๑๑๐] ถาม : ทรงบัญญัติปาจิตตีย์แก่ภิกษุผู้เมื่อยังไม่ถึงครึ่งเดือน อาบน้ำ ณ
ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงราชคฤห์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๗๖ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์] ๑. กัตถปัญญัตติวาร ๕. ปาจิตติยกัณฑ์ ๖. สุราปานวรรค
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภภิกษุหลายรูป
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่ภิกษุหลายรูป แม้เห็นพระราชาแล้วก็ยังอาบน้ำไม่รู้ความ
พอดี
ในนหานสิกขาบทนั้น มี ๑ พระบัญญัติ ๖ พระอนุบัญญัติ
ถาม : มีสัพพัตถบัญญัติ ปเทสบัญญัติอยู่หรือ
ตอบ : มีปเทสบัญญัติ
บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๒ สมุฏฐาน เป็น
เอฬกโลมสมุฏฐาน ฯลฯ

๘. ทุพพัณณกรณสิกขาบท
[๑๑๑] ถาม : ทรงบัญญัติปาจิตตีย์แก่ภิกษุผู้ได้จีวรใหม่แล้ว ไม่ใช้วัตถุที่ทำ
ให้เสียสี ๓ ชนิดอย่างใดอย่างหนึ่ง ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภภิกษุหลายรูป
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่ภิกษุหลายรูปจำจีวรของตนไม่ได้
ในทุพพัณณกรณสิกขาบทนั้น มี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ
๖ สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๒ สมุฏฐาน เป็นเอฬกโลมสมุฏฐาน ฯลฯ

๙. วิกัปปนสิกขาบท
[๑๑๒] ถาม : ทรงบัญญัติปาจิตตีย์แก่ภิกษุผู้วิกัปจีวรด้วยตนเองให้แก่ภิกษุ
หรือแก่ภิกษุณี หรือแก่สิกขมานา หรือแก่สามเณร หรือแก่สามเณรี แล้วใช้สอยจีวร
ที่ยังมิได้ปัจจุทธรณ์ ณ ที่ไหน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๗๗ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์] ๑. กัตถปัญญัตติวาร ๕. ปาจิตติยกัณฑ์ รวมสิกขาที่มีในสุราปานวรรค
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภท่านพระอุปนันทศากยบุตร
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่ท่านพระอุปนันทศากยบุตรวิกัปจีวรด้วยตนเองแก่ภิกษุแล้ว
ใช้สอยจีวรที่ยังมิได้ปัจจุทธรณ์
ในวิกัปปนสิกขาบทนั้น มี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖
สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๒ สมุฏฐาน เป็นกฐินสมุฏฐาน ฯลฯ

๑๐. จีวรอปนิธานสิกขาบท
[๑๑๓] ถาม : ทรงบัญญัติปาจิตตีย์แก่ภิกษุผู้เอาบาตร หรือจีวร ผ้าปูนั่ง กล่อง
เข็ม หรือประคดเอวของภิกษุไปซ่อน ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภพวกภิกษุฉัพพัคคีย์
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่พวกภิกษุฉัพพัคคีย์เอาบาตรบ้าง จีวรบ้าง ผ้าปูนั่งบ้าง
กล่องเข็มบ้าง ประคดเอวบ้างของภิกษุไปซ่อน
ในจีวรอปนิธานสิกขาบทนั้น มี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖
สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๓ สมุฏฐาน ฯลฯ
สุราเมรยวรรคที่ ๖ จบ

รวมสิกขาบทที่มีในสุราปานวรรค
๑. สุราปานสิกขาบท ว่าด้วยการดื่มสุราและเมรัย
๒. อังคุลิปโตทกสิกขาบท ว่าด้วยการใช้นิ้วมือจี้กันและกัน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๗๘ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์] ๑. กัตถปัญญัตติวาร ๕. ปาจิตติยกัณฑ์ ๗. สัปปาณกวรรค

๓. หัสสธัมมสิกขาบท ว่าด้วยการเล่นน้ำ
๔. อนาทริยสิกขาบท ว่าด้วยการไม่เอื้อเฟื้อต่อคำตักเตือน
๕. ภิงสาปนสิกขาบท ว่าด้วยการทำให้ตกใจ
๖. โชติกสิกขาบท ว่าด้วยการก่อไฟผิง
๗. นหานสิกขาบท ว่าด้วยการสรงน้ำนอกสมัย
๘. ทุพพัณณกรณสิกขาบท ว่าด้วยการทำจีวรใหม่ให้เสียสี
๙. วิกัปปนสิกขาบท ว่าด้วยการวิกัปจีวร
๑๐. จีวรอปนิธานสิกขาบท ว่าด้วยการซ่อนจีวร

๗. สัปปาณกวรรค
๑. สัญจิจจสิกขาบท
[๑๑๔] ถาม : พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้
ทรงเห็น ทรงบัญญัติปาจิตตีย์แก่ภิกษุผู้จงใจปลงชีวิตสัตว์ ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภท่านพระอุทายี
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่ท่านพระอุทายีจงใจปลงชีวิตสัตว์
ในสัญจิจจสิกขาบทนั้น มี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖
สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๓ สมุฏฐาน ฯลฯ

๒. สัปปาณกสิกขาบท
[๑๑๕] ถาม : ทรงบัญญัติปาจิตตีย์แก่ภิกษุผู้รู้อยู่ว่าน้ำมีสัตว์มีชีวิต ก็ยัง
บริโภค ณ ที่ไหน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๗๙ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์] ๑. กัตถปัญญัตติวาร ๕. ปาจิตติยกัณฑ์ ๗. สัปปาณกวรรค
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภพวกภิกษุฉัพพัคคีย์
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่พวกภิกษุฉัพพัคคีย์รู้อยู่ว่าน้ำมีสัตว์มีชีวิต ยังบริโภค
ในสัปปาณกสิกขาบทนั้น มี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖
สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๓ สมุฏฐาน ฯลฯ

๓. อุกโกฏนสิกขาบท
[๑๑๖] ถาม : ทรงบัญญัติปาจิตตีย์แก่ภิกษุผู้รู้อยู่ รื้อฟื้นอธิกรณ์ที่ตัดสินไป
แล้วอย่างถูกต้อง เพื่อพิจารณาใหม่ ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภพวกภิกษุฉัพพัคคีย์
ถอบ : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่พวกภิกษุฉัพพัคคีย์รู้อยู่ รื้อฟื้นอธิกรณ์ที่ตัดสินไปแล้วอย่าง
ถูกต้อง เพื่อพิจารณาใหม่
ในอุกโกฏนสิกขาบทนั้น มี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖
สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๓ สมุฏฐาน ฯลฯ

๔. ทุฏฐุลลสิกขาบท
[๑๑๗] ถาม : ทรงบัญญัติปาจิตตีย์แก่ภิกษุผู้รู้อยู่ ปกปิดอาบัติชั่วหยาบ ณ
ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
ถาม : ทรงปรารภใคร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๘๐ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์] ๑. กัตถปัญญัตติวาร ๕. ปาจิตติยกัณฑ์ ๗. สัปปาณกวรรค
ตอบ : ทรงปรารภภิกษุรูปหนึ่ง
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่ภิกษุรูปหนึ่งรู้อยู่ ปกปิดอาบัติชั่วหยาบของภิกษุ
ในทุฏฐุลลสิกขาบทนั้น มี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖
สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๑ สมุฏฐาน คือ เกิดทางกายวาจากับจิต ฯลฯ

๕. อูนวีสติวัสสสิกขาบท
[๑๑๘] ถาม : ทรงบัญญัติปาจิตตีย์แก่ภิกษุผู้รู้อยู่ อุปสมบทให้บุคคลผู้มีอายุ
หย่อนกว่า ๒๐ ปี ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงราชคฤห์
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภภิกษุหลายรูป
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่ภิกษุหลายรูปรู้อยู่ อุปสมบทให้บุคคลผู้มีอายุหย่อนกว่า
๒๐ ปี
ในอูนวีสติวัสสสิกขาบทนั้น มี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖
สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๓ สมุฏฐาน ฯลฯ

๖. เถยยสัตถสิกขาบท
[๑๑๙] ถาม : ทรงบัญญัติปาจิตตีย์แก่ภิกษุผู้รู้อยู่ ชักชวนกันเดินทางไกลร่วม
กับกลุ่มพ่อค้าเกวียนผู้เป็นโจร ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภภิกษุรูปหนึ่ง
ถาม : เพราะเรื่องอะไร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๘๑ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์] ๑. กัตถปัญญัตติวาร ๕. ปาจิตติยกัณฑ์ ๗. สัปปาณกวรรค
ตอบ : เพราะเรื่องที่ภิกษุรูปหนึ่งรู้อยู่ ชักชวนกันเดินทางไกลร่วมกันกับกลุ่ม
พ่อค้าเกวียนผู้เป็นโจร
ในเถยยสัตถสิกขาบทนั้น มี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖
สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๒ สมุฏฐาน คือ (๑) เกิดทางกายกับจิต มิใช่เกิด
ทางวาจา (๒) เกิดทางกายวาจากับจิต ฯลฯ

๗. สังวิธานสิกขาบท
[๑๒๐] ถาม : ทรงบัญญัติปาจิตตีย์แก่ภิกษุผู้ชักชวนกันเดินทางไกลร่วมกันกับ
มาตุคาม ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภภิกษุรูปหนึ่ง
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่ภิกษุรูปหนึ่งชักชวนกันเดินทางไกลร่วมกันกับมาตุคาม
ในสังวิธานสิกขาบทนั้น มี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖
สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๔ สมุฏฐาน ฯลฯ

๘. อริฏฐสิกขาบท
[๑๒๑] ถาม : ทรงบัญญัติปาจิตตีย์แก่ภิกษุผู้ไม่สละทิฏฐิบาป จนกระทั่งสงฆ์
สวดสมนุภาสน์ครบ ๓ ครั้ง ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภภิกษุชื่ออริฏฐะผู้มีบรรพบุรุษเป็นพรานฆ่านกแร้ง
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่ภิกษุชื่ออริฏฐะผู้มีบรรพบุรุษเป็นพรานฆ่านกแร้งไม่สละทิฏฐิบาป
จนกระทั่งสงฆ์สวดสมนุภาสน์ครบ ๓ ครั้ง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๘๒ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์] ๑. กัตถปัญญัตติวาร ๕. ปาจิตติยกัณฑ์ ๗. สัปปาณกวรรค
ในอริฏฐสิกขาบทนั้น มี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖
สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๑ สมุฏฐาน คือ เกิดทางกายวาจากับจิต ฯลฯ

๙. อุกขิตตสัมโภคสิกขาบท
[๑๒๒] ถาม : ทรงบัญญัติปาจิตตีย์แก่ภิกษุผู้รู้อยู่ก็ยังคบหากับภิกษุผู้กล่าวตู่
อย่างนั้น ผู้ที่สงฆ์ยังไม่ได้ทำธรรมอันสมควร ผู้ยังไม่ยอมสละทิฏฐินั้น ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภพวกภิกษุฉัพพัคคีย์
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่พวกภิกษุฉัพพัคคีย์รู้อยู่ก็ยังคบหากับภิกษุอริฏฐะผู้กล่าวตู่
อย่างนั้นผู้ที่สงฆ์ยังไม่ได้ทำธรรมอันสมควร ผู้ยังไม่สละทิฏฐินั้น
ในอุกขิตตสัมโภคสิกขาบทนั้น มี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ
๖ สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๓ สมุฏฐาน ฯลฯ

๑๐. กัณฏกสิกขาบท
[๑๒๓] ถาม : ทรงบัญญัติปาจิตตีย์แก่ภิกษุผู้รู้อยู่ก็ยังปลอบโยนสมณุทเทสผู้
ถูกสงฆ์นาสนะแล้วอย่างนั้น ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภพวกภิกษุฉัพพัคคีย์
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่พวกภิกษุฉัพพัคคีย์รู้อยู่ก็ยังปลอบโยนสมณุทเทสชื่อกัณฏกะ
ผู้ถูกสงฆ์นาสนะแล้วอย่างนั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๘๓ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์] ๑. กัตถปัญญัตติวาร ๕. ปาจิตติยกัณฑ์ ๘. สหธัมมิกวรรค
ในกัณฏกสิกขาบทนั้น มี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖
สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๓ สมุฏฐาน ฯลฯ
สัปปาณกวรรคที่ ๗ จบ

รวมสิกขาบทที่มีในสัปปาณกวรรค

๑. สัญจิจจสิกขาบท ว่าด้วยความจงใจปลงชีวิตสัตว์
๒. สัปปาณกสิกขาบท ว่าด้วยการบริโภคน้ำที่มีสัตว์มีชีวิต
๓. อุกโกฏนสิกขาบท ว่าด้วยการรื้อฟื้นอธิกรณ์ขึ้นมาพิจารณาใหม่
๔. ทุฏฐุลลสิกขาบท ว่าด้วยการปกปิดอาบัติชั่วหยาบ
๕. อูนวีสติวัสสสิกขาบท ว่าด้วยการอุปสมบทให้บุคคลมีอายุหย่อนกว่า
๒๐ ปี
๖. เถยยสัตถสิกขาบท ว่าด้วยการเดินทางไกลร่วมกับพ่อค้าเกวียนผู้
เป็นโจร
๗. สังวิธานสิกขาบท ว่าด้วยการชักชวนเดินทางไกลร่วมกับมาตุคาม
๘. อริฏฐสิกขาบท ว่าด้วยพระอริฏฐะกล่าวตู่พระผู้มีพระภาค
๙. อุกขิตตสัมโภค- ว่าด้วยการคบหาภิกษุที่ถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรม
สิกขาบท
๑๐. กัณฏกสิกขาบท ว่าด้วยสมณุทเทสชื่อกัณฏกะถูกสงฆ์นาสนะ

๘. สหธัมมิกวรรค
๑. สหธัมมิกสิกขาบท
[๑๒๔] ถาม : พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้
ทรงเห็น ทรงบัญญัติปาจิตตีย์แก่ภิกษุผู้อันภิกษุทั้งหลายว่ากล่าวตักเตือนอยู่โดยชอบ
ธรรม กลับกล่าวว่า “ท่านทั้งหลาย กระผมจะยังไม่ศึกษาในสิกขาบทนี้ จนกว่าจะได้
สอบถามภิกษุรูปอื่นผู้ฉลาด ผู้เป็นวินัยธร” ณ ที่ไหน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๘๔ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์] ๑. กัตถปัญญัตติวาร ๕. ปาจิตติยกัณฑ์ ๘. สหธัมมิกวรรค
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงโกสัมพี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภท่านพระฉันนะ
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่ท่านพระฉันนะผู้อันภิกษุทั้งหลายว่ากล่าวตักเตือนอยู่โดย
ชอบธรรมกลับกล่าวว่า “ท่านทั้งหลาย กระผมจะยังไม่ศึกษาในสิกขาบทนี้ จนกว่าจะได้
สอบถามภิกษุรูปอื่นผู้ฉลาด ผู้เป็นวินัยธร”
ในสหธัมมิกสิกขาบทนั้น มี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖
สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๓ สมุฏฐาน ฯลฯ

๒. วิเลขนสิกขาบท
[๑๒๕] ถาม : ทรงบัญญัติปาจิตตีย์แก่ภิกษุผู้ดูหมิ่นพระวินัย ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภพวกภิกษุฉัพพัคคีย์
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ดูหมิ่นพระวินัย
ในวิเลขนสิกขาบทนั้น มี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖
สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๓ สมุฏฐาน ฯลฯ

๓. โมหนสิกขาบท
[๑๒๖] ถาม : ทรงบัญญัติปาจิตตีย์เพราะแสร้งทำผู้อื่นให้หลง ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
ถาม : ทรงปรารภใคร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๘๕ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์] ๑. กัตถปัญญัตติวาร ๕. ปาจิตติยกัณฑ์ ๘. สหธัมมิกวรรค
ตอบ : ทรงปรารภพวกภิกษุฉัพพัคคีย์
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่พวกภิกษุฉัพพัคคีย์แสร้งทำผู้อื่นให้หลง
ในโมหนสิกขาบทนั้น มี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖
สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๓ สมุฏฐาน ฯลฯ

๔. ปหารสิกขาบท
[๑๒๗] ถาม : ทรงบัญญัติปาจิตตีย์แก่ภิกษุผู้โกรธ ไม่พอใจ ทำร้ายภิกษุ ณ
ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภพวกภิกษุฉัพพัคคีย์
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่พวกภิกษุฉัพพัคคีย์โกรธ ไม่พอใจ ทำร้ายภิกษุ
ในปหารสิกขาบทนั้น มี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖
สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๑ สมุฏฐาน คือ เกิดทางกายกับจิต มิใช่เกิดทางวาจา
ฯลฯ

๕. ตลสัตติกสิกขาบท
[๑๒๘] ถาม : ทรงบัญญัติปาจิตตีย์แก่ภิกษุผู้โกรธ ไม่พอใจ เงื้อหอกคือฝ่ามือ
ให้ภิกษุ ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภพวกภิกษุฉัพพัคคีย์
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่พวกภิกษุฉัพพัคคีย์โกรธ ไม่พอใจ เงื้อหอกคือฝ่ามือให้ภิกษุ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๘๖ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์] ๑. กัตถปัญญัตติวาร ๕. ปาจิตติยกัณฑ์ ๘. สหธัมมิกวรรค
ในตลสัตติกสิกขาบทนั้น มี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖
สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๑ สมุฏฐาน คือ เกิดทางกายกับจิต มิใช่เกิดทางวาจา
ฯลฯ

๖. อมูลกสิกขาบท
[๑๒๙] ถาม : ทรงบัญญัติปาจิตตีย์แก่ภิกษุผู้ใส่ความภิกษุด้วยอาบัติสังฆาทิเสส
ที่ไม่มีมูล ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภพวกภิกษุฉัพพัคคีย์
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ ใส่ความภิกษุด้วยอาบัติสังฆาทิเสสที่
ไม่มีมูล
ในอมูลกสิกขาบทนั้น มี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖
สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๓ สมุฏฐาน ฯลฯ

๗. สัญจิจจสิกขาบท
[๑๓๐] ถาม : ทรงบัญญัติปาจิตตีย์แก่ภิกษุผู้จงใจก่อความรำคาญให้แก่ภิกษุ
ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภพวกภิกษุฉัพพัคคีย์
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่พวกภิกษุฉัพพัคคีย์จงใจก่อความรำคาญให้แก่ภิกษุ
ในสัญจิจจสิกขาบทนั้น มี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖
สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๓ สมุฏฐาน ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๘๗ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์] ๑. กัตถปัญญัตติวาร ๕. ปาจิตติยกัณฑ์ ๘. สหธัมมิกวรรค
๘. อุปัสสุติสิกขาบท
[๑๓๑] ถาม : ทรงบัญญัติปาจิตตีย์แก่ภิกษุผู้ยืนแอบฟังภิกษุทั้งหลายผู้บาด-
หมาง ทะเลาะ วิวาทกัน ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภพวกภิกษุฉัพพัคคีย์
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ยืนแอบฟังภิกษุทั้งหลายผู้บาดหมาง
ทะเลาะวิวาทกัน
ในอุปัสสุติสิกขาบทนั้น มี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖
สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๒ สมุฏฐาน คือ (๑) เกิดทางกายกับจิต มิใช่เกิด
ทางวาจา (๒) เกิดทางกายวาจากับจิต ฯลฯ

๙. กัมมปฏิพาหนสิกขาบท
[๑๓๒] ถาม : ทรงบัญญัติปาจิตตีย์แก่ภิกษุผู้ให้ฉันทะเพื่อกรรมที่ทำถูกต้องแล้ว
กลับติเตียนในภายหลัง ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภพวกภิกษุฉัพพัคคีย์
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ให้ฉันทะเพื่อกรรมที่ทำถูกต้องแล้ว
กลับติเตียนในภายหลัง
ในกัมมปฏิพาหนสิกขาบทนั้น มี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ
๖ สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๓ สมุฏฐาน ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๘๘ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์] ๑. กัตถปัญญัตติวาร ๕. ปาจิตติยกัณฑ์ ๘. สหธัมมิกวรรค
๑๐. ฉันทอทัตวาคมนสิกขาบท
[๑๓๓] ถาม : ทรงบัญญัติปาจิตตีย์แก่ภิกษุผู้เมื่อยังมีเรื่องที่ต้องวินิจฉัยอยู่ใน
สงฆ์ ไม่ให้ฉันทะแล้ว ลุกจากอาสนะหลีกไป ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภภิกษุรูปหนึ่ง
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่ภิกษุรูปหนึ่ง เมื่อยังมีเรื่องที่ต้องวินิจฉัยอยู่ในสงฆ์ ไม่ให้
ฉันทะแล้ว ลุกจากอาสนะหลีกไป
ในฉันทอทัตวาคมนสิกขาบทนั้น มี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่ง
อาบัติ ๖ สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๑ สมุฏฐาน คือ เกิดทางกายวาจากับจิต
ฯลฯ

๑๑. ทัพพสิกขาบท
[๑๓๔] ถาม : ทรงบัญญัติปาจิตตีย์แก่ภิกษุผู้ร่วมกับสงฆ์ผู้พร้อมเพรียงกันให้
จีวรไปแล้วกลับติเตียนในภายหลัง ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงราชคฤห์
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภพวกภิกษุฉัพพัคคีย์
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ ร่วมกับสงฆ์ผู้พร้อมเพรียงกันให้จีวร
ไปแล้วกลับติเตียนในภายหลัง
ในทัพพสิกขาบทนั้น มี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน
เกิดด้วยสมุฏฐาน ๓ สมุฏฐาน ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๘๙ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์] ๑. กัตถปัญญัตติวาร ๕. ปาจิตติยกัณฑ์ รวมสิกขาบทที่มีในสหธัมมิกวรรค
๑๒. ปริณามนสิกขาบท
[๑๓๕] ถาม : ทรงบัญญัติปาจิตตีย์แก่ภิกษุผู้รู้อยู่ น้อมลาภที่เขาน้อมไว้เป็น
ของจะถวายสงฆ์ ไปเพื่อบุคคล ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภพวกภิกษุฉัพพัคคีย์
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ รู้อยู่ น้อมลาภที่เขาน้อมไว้เป็นของที่
จะถวายสงฆ์ ไปเพื่อบุคคล
ในปริณามนสิกขาบทนั้น มี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖
สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๓ สมุฏฐาน ฯลฯ
สหธัมมิกวรรคที่ ๘ จบ

รวมสิกขาบทที่มีในสหธัมมิกวรรค

๑. สหธัมมิกสิกขาบท ว่าด้วยการกล่าวตักเตือนผู้ร่วมประพฤติธรรม
โดยชอบธรรม
๒. วิเลขนสิกขาบท ว่าด้วยความยุ่งยากแห่งสิกขาบท
๓. โมหนสิกขาบท ว่าด้วยการทำให้ผู้อื่นหลง
๔. ปหารสิกขาบท ว่าด้วยการทำร้ายเพื่อนภิกษุ
๕. ตลสัตติกสิกขาบท ว่าด้วยการเงื้อหอกคือฝ่ามือขึ้นทำทีว่าจะทำร้าย
๖. อมูลกสิกขาบท ว่าด้วยการใส่ความด้วยอาบัติสังฆาทิเสสที่
ไม่มีมูล
๗. สัญจิจจสิกขาบท ว่าด้วยการจงใจก่อความรำคาญ
๘. อุปัสสุติสิกขาบท ว่าด้วยการแอบฟังภิกษุทะเลาะกัน
๙. กัมมปฏิพาหนสิกขาบท ว่าด้วยการคัดค้านกรรมที่ถูกต้อง


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๙๐ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์] ๑. กัตถปัญญัตติวาร ๕. ปาจิตติยกัณฑ์ ๙. ราชวรรค

๑๐. ฉันทอทัตวาคมนสิกขาบท ว่าด้วยการไม่ให้ฉันทะแล้วไปเสีย
๑๑. ทัพพสิกขาบท ว่าด้วยการถวายจีวรแก่พระทัพพมัลลบุตร
๑๒. ปริณามนสิกขาบท ว่าด้วยการน้อมลาภสงฆ์ไปเพื่อบุคคล

๙. ราชวรรค(รตนวรรค)
๑. อันเตปุรสิกขาบท
[๑๓๖] ถาม : พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้
ทรงเห็น ทรงบัญญัติปาจิตตีย์แก่ภิกษุผู้ไม่ได้รับแจ้งล่วงหน้า เข้าไปพระราชฐานชั้นใน
ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภท่านพระอานนท์
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่ท่านพระอานนท์ยังไม่ได้รับแจ้งล่วงหน้า เข้าไปพระราชฐาน
ชั้นใน
ในอันเตปุรสิกขาบทนั้น มี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖
สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๒ สมุฏฐาน เป็นกฐินสมุฏฐาน ฯลฯ

๒. รตนสิกขาบท
[๑๓๗] ถาม : ทรงบัญญัติปาจิตตีย์แก่ภิกษุผู้เก็บรัตนะ ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภภิกษุรูปหนึ่ง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๙๑ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์] ๑. กัตถปัญญัตติวาร ๕. ปาจิตติยกัณฑ์ ๙. ราชวรรค
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่ภิกษุรูปหนึ่งเก็บรัตนะ
ในรตนสิกขาบทนั้น มี ๑ พระบัญญัติ ๒ พระอนุบัญญัติ บรรดาสมุฏฐาน
แห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๖ สมุฏฐาน ฯลฯ

๓. วิกาลคามปเวสนสิกขาบท
[๑๓๘] ถาม : ทรงบัญญัติปาจิตตีย์แก่ภิกษุผู้ไม่บอกลาภิกษุที่มีอยู่แล้ว เข้าหมู่
บ้านในเวลาวิกาล ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภพวกภิกษุฉัพพัคคีย์
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ไม่บอกลาภิกษุที่มีอยู่แล้ว เข้าหมู่บ้าน
ในเวลาวิกาล
ในวิกาลคามปเวสนสิกขาบทนั้น มี ๑ พระบัญญัติ ๓ พระอนุบัญญัติ
บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๒ สมุฏฐาน เป็น
กฐินสมุฏฐาน ฯลฯ

๔. สูจิฆรสิกขาบท
[๑๓๙] ถาม : ทรงบัญญัติปาจิตตีย์แก่ภิกษุผู้ให้ทำกล่องเข็มด้วยกระดูก ด้วยงา
หรือด้วยเขา ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ แคว้นสักกะ
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภภิกษุหลายรูป
ถาม : เพราะเรื่องอะไร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๙๒ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์] ๑. กัตถปัญญัตติวาร ๕. ปาจิตติยกัณฑ์ ๙. ราชวรรค
ตอบ : เพราะเรื่องที่ภิกษุหลายรูปไม่รู้จักประมาณออกปากขอกล่องเข็มเป็น
จำนวนมาก
ในสูจิฆรสิกขาบทนั้น มี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ
๖ สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๖ สมุฏฐาน ฯลฯ

๕. มัญจปีฐสิกขาบท
[๑๔๐] ถาม : ทรงบัญญัติปาจิตตีย์แก่ภิกษุผู้ให้ทำเตียงหรือตั่งเกินขนาด ณ
ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภท่านพระอุปนันทศากยบุตร
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่ท่านพระอุปนันทศากยบุตรนอนบนเตียงสูง
ในมัญจปีฐสิกขาบทนั้น มี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖
สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๖ สมุฏฐาน ฯลฯ

๖. ตูโลนัทธสิกขาบท
[๑๔๑] ถาม : ทรงบัญญัติปาจิตตีย์แก่ภิกษุผู้ให้ทำเตียงหรือตั่งหุ้มนุ่น ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภพวกภิกษุฉัพพัคคีย์
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ให้ทำเตียงหรือตั่งหุ้มด้วยนุ่น
ในตูโลนัทธสิกขาบทนั้น มี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖
สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๖ สมุฏฐาน ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๙๓ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์] ๑. กัตถปัญญัตติวาร ๕. ปาจิตติยกัณฑ์ ๙. ราชวรรค
๗. นิสีทนสิกขาบท
[๑๔๒] ถาม : ทรงบัญญัติปาจิตตีย์แก่ภิกษุผู้ให้ทำผ้ารองนั่งเกินขนาด ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภพวกภิกษุฉัพพัคคีย์
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ใช้ผ้ารองนั่งไม่ได้ขนาด
ในนิสีทนสิกขาบทนั้น มี ๑ พระบัญญัติ ๑ พระอนุบัญญัติ บรรดาสมุฏฐาน
แห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๖ สมุฏฐาน ฯลฯ

๘. กัณฑุปฏิจฉาทิสิกขาบท
[๑๔๓] ถาม : ทรงบัญญัติปาจิตตีย์แก่ภิกษุผู้ให้ทำผ้าปิดฝีเกินขนาด ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภพวกภิกษุฉัพพัคคีย์
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ใช้ผ้าปิดฝีไม่ได้ขนาด
ในกัณฑุปฏิจฉาทิสิกขาบทนั้น มี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ
๖ สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๖ สมุฏฐาน ฯลฯ

๙. วัสสิกสาฏิกาสิกขาบท
[๑๔๔] ถาม : ทรงบัญญัติปาจิตตีย์แก่ภิกษุผู้ให้ทำผ้าอาบน้ำฝนเกินขนาด ณ
ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๙๔ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์] ๑. กัตถปัญญัตติวาร ๕. ปาจิตติยกัณฑ์ รวมสิกขาบทที่มีในราชวรรค
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภพวกภิกษุฉัพพัคคีย์
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ใช้ผ้าอาบน้ำฝนไม่ได้ขนาด
ในวัสสิกสาฏิกาสิกขาบทนั้น มี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖
สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๖ สมุฏฐาน ฯลฯ

๑๐. นันทสิกขาบท
[๑๔๕] ถาม : ทรงบัญญัติปาจิตตีย์แก่ภิกษุผู้ให้ทำจีวรมีขนาดเท่ากับสุคตจีวร
ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภท่านพระนันทะ
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่ท่านพระนันทะห่มจีวรมีขนาดเท่ากับสุคตจีวร
ในนันทสิกขาบทนั้น มี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน
เกิดด้วยสมุฏฐาน ๖ สมุฏฐาน ฯลฯ
ราชวรรคที่ ๙ จบ

รวมสิกขาบทที่มีในราชวรรค

๑. อันเตปุรสิกขาบท ว่าด้วยการเข้าเขตพระราชฐานชั้นใน
๒. รตนสิกขาบท ว่าด้วยการเก็บรัตนะที่เจ้าของลืมไว้
๓. วิกาลคามปเวสนสิกขาบท ว่าด้วยการเข้าบ้านในเวลาวิกาล
๔. สูจิฆรสิกขาบท ว่าด้วยการทำกล่องเข็มด้วยกระดูกเป็นต้น
๕. มัญจปีฐสิกขาบท ว่าด้วยการทำเตียงและตั่ง
๖. ตูโลนัทธสิกขาบท ว่าด้วยการทำเตียงและตั่งหุ้มนุ่น


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๙๕ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์] ๑. กัตถปัญญัตติวาร ๖. ปาฏิเทสนียกัณฑ์

๗. นิสีทนสิกขาบท ว่าด้วยการทำผ้ารองนั่ง
๘. กัณฑุปฏิจฉาทิสิกขาบท ว่าด้วยการทำผ้าปิดฝี
๙. วัสสิกสาฏิกาสิกขาบท ว่าด้วยการทำผ้าอาบน้ำฝน
๑๐. นันทสิกขาบท ว่าด้วยท่านพระนันทะ

ปาจิตตีย์ ๙๒ สิกขาบท จบ
ขุททกสิกขาบท จบบริบูรณ์

รวมวรรคที่มีในปาจิตติยกัณฑ์

๑. มุสาวาทวรรค หมวดว่าด้วยการกล่าวเท็จ
๒. ภูตคามวรรค หมวดว่าด้วยภูตคาม
๓. โอวาทวรรค หมวดว่าด้วยโอวาท
๔. โภชนวรรค หมวดว่าด้วยโภชนะ
๕. อเจลกวรรค หมวดว่าด้วยนักบวชเปลือย
๖. สุราปานวรรค หมวดว่าด้วยการดื่มสุรา
๗. สัปปาณกวรรค หมวดว่าด้วยสัตว์มีชีวิต
๘. สหธัมมิกวรรค หมวดว่าด้วยผู้ร่วมประพฤติธรรม
๙. ราชวรรค หมวดว่าด้วยพระราชา

๖. ปาฏิเทสนียกัณฑ์
คำถาม - คำตอบสถานที่บัญญัติเป็นต้นในปาฏิเทสนียกัณฑ์
๑. ปฐมปาฏิเทสนียสิกขาบท
[๑๔๖] ถาม : พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้
ทรงเห็น ทรงบัญญัติปาฏิเทสนียะแก่ภิกษุผู้รับของเคี้ยวหรือของฉันด้วยมือตนจากมือ
ของภิกษุณีผู้ไม่ใช่ญาติผู้เข้าไปในละแวกบ้านแล้วฉัน ณ ที่ไหน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๙๖ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์] ๑. กัตถปัญญัตติวาร ๖. ปาฏิเทสนียกัณฑ์
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภภิกษุรูปหนึ่ง
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่ภิกษุรูปหนึ่งรับอามิสจากมือ ของภิกษุณีผู้ไม่ใช่ญาติผู้เข้าไป
สู่ละแวกบ้าน
ในปาฏิเทสนียสิกขาบทที่ ๑ นั้น มี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ
๖ สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๒ สมุฏฐาน คือ (๑) เกิดทางกาย มิใช่เกิดทางวาจา
มิใช่เกิดทางจิต (๒) เกิดทางกายกับจิต มิใช่เกิดทางวาจา ฯลฯ

๒. ทุติยปาฏิเทสนียสิกขาบท
[๑๔๗] ถาม : ทรงบัญญัติปาฏิเทสนียะแก่ภิกษุผู้ไม่ห้ามภิกษุณีมายืนบงการ
(ทายก)ฉันอยู่ ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงราชคฤห์
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภพวกภิกษุฉัพพัคคีย์
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ไม่ห้ามภิกษุณีผู้มายืนบงการ
ในปาฏิเทสนียสิกขาบทที่ ๒ นั้น มี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ
๖ สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๒ สมุฏฐาน คือ (๑) เกิดทางกายกับวาจา มิใช่
เกิดทางจิต (๒) เกิดทางกายวาจากับจิต ฯลฯ

๓. ตติยปาฏิเทสนียสิกขาบท
[๑๔๘] ถาม : ทรงบัญญัติปาฏิเทสนียะแก่ภิกษุผู้รับของเคี้ยวหรือของฉันใน
ตระกูลที่ได้รับสมมติเป็นเสขะ ด้วยมือตนเองแล้วฉัน ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๙๗ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์] ๑. กัตถปัญญัตติวาร ๖. ปาฏิเทสนียกัณฑ์ รวมสิกขาบทที่มีในปาฏิเทสนียกัณฑ์
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภภิกษุหลายรูป
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่ภิกษุหลายรูปรับภัตตาหารโดยไม่รู้จักประมาณ
ในปาฏิเทสนียสิกขาบทที่ ๓ นั้น มี ๑ พระบัญญัติ ๒ พระอนุบัญญัติ บรรดา
สมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๒ สมุฏฐาน คือ (๑) เกิดทาง
กาย มิใช่เกิดทางวาจา มิใช่เกิดทางจิต (๒) เกิดทางกายกับจิต มิใช่เกิดทางวาจา
ฯลฯ
๔. จตุตถปาฏิเทสนียสิกขาบท
[๑๔๙] ถาม : ทรงบัญญัติปาฏิเทสนียะแก่ภิกษุผู้รับของเคี้ยวหรือของฉันที่
ไม่ได้รับแจ้งไว้ก่อนด้วยมือตนเองในอารามในเสนาสนะป่าแล้วฉัน ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ แคว้นสักกะ
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภภิกษุหลายรูป
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่ภิกษุหลายรูปไม่บอกว่าโจรอาศัยอยู่ในอาราม
ในปาฏิเทสนียสิกขาบทที่ ๔ นั้น มี ๑ พระบัญญัติ ๑ พระอนุบัญญัติ บรรดา
สมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๒ สมุฏฐาน คือ (๑) เกิดทาง
กายกับวาจา มิใช่เกิดทางจิต (๒) เกิดทางกายวาจากับจิต ฯลฯ
ปาฏิเทสนียะ ๔ สิกขาบท จบ

รวมสิกขาบทที่มีในปาฏิเทสนียกัณฑ์

๑. ปฐมปาฏิเทสนียสิกขาบท ว่าด้วยการรับของเคี้ยวของฉันจากมือ
ภิกษุณีผู้ไม่ใช่ญาติ
๒. ทุติยปาฏิเทสนียสิกขาบท ว่าด้วยการไม่ห้ามภิกษุณีผู้คอยบงการ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๙๘ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์] ๑. กัตถปัญญัตติวาร ๗. เสขิยกัณฑ์ ๑. ปริมันฑลวรรค

๓. ตติยปาฏิเทสนียสิกขาบท ว่าด้วยการรับของเคี้ยวของฉันในที่ที่ไม่ได้รับ
นิมนต์ไว้ก่อน
๔. จตุตถปาฏิเทสนียสิกขาบท ว่าด้วยการรับของเคี้ยวของฉันจากทายก
ที่ไม่ได้แจ้งไว้ก่อน

พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงประกาศไว้แล้ว

๗. เสขิยกัณฑ์
คำถาม - คำตอบสถานที่บัญญัติเป็นต้นในเสขิยกัณฑ์
๑. ปริมัณฑลวรรค
สิกขาบทที่ ๑
[๑๕๐] ถาม : พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้
ทรงเห็น ทรงบัญญัติทุกกฏแก่ภิกษุผู้ไม่เอื้อเฟื้อ ครองอันตรวาสกย้อยข้างหน้าบ้าง ข้าง
หลังบ้าง ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภพวกภิกษุฉัพพัคคีย์
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ครองอันตรวาสกย้อยข้างหน้าบ้าง ข้าง
หลังบ้าง
ในสิกขาบทที่ ๑ นั้น มี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน
เกิดด้วยสมุฏฐาน ๑ สมุฏฐาน คือ เกิดทางกายกับจิต มิใช่เกิดทางวาจา ฯลฯ

สิกขาบทที่ ๒
ถาม : ทรงบัญญัติทุกกฏแก่ภิกษุผู้ไม่เอื้อเฟื้อ ครองอุตตราสงค์ย้อยข้างหน้าบ้าง
ข้างหลังบ้าง ณ ที่ไหน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๙๙ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์] ๑. กัตถปัญญัตติวาร ๗. เสขิยกัณฑ์ ๑. ปริมันฑลวรรค
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภพวกภิกษุฉัพพัคคีย์
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ครองอุตตราสงค์ย้อยข้างหน้าบ้าง ข้าง
หลังบ้าง
ในสิกขาบทที่ ๒ นั้น มี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน
เกิดด้วยสมุฏฐาน ๑ สมุฏฐาน คือ เกิดทางกายกับจิต มิใช่เกิดทางวาจา ฯลฯ

สิกขาบทที่ ๓
ถาม : ทรงบัญญัติทุกกฏแก่ภิกษุผู้ไม่เอื้อเฟื้อ เดินเปิดกายไปในละแวกบ้าน ฯลฯ
ตอบ : เพราะเรื่องที่พวกภิกษุฉัพพัคคีย์เดินเปิดกายไปในละแวกบ้าน
ในสิกขาบทที่ ๓ นั้น มี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน
เกิดด้วยสมุฏฐาน ๑ สมุฏฐาน คือ เกิดทางกายกับจิต มิใช่เกิดทางวาจา ฯลฯ

สิกขาบทที่ ๔
ถาม : ทรงบัญญัติทุกกฏแก่ภิกษุผู้ไม่เอื้อเฟื้อ นั่งเปิดกายในละแวกบ้าน ฯลฯ
ตอบ : เพราะเรื่องที่พวกภิกษุฉัพพัคคีย์นั่งเปิดกายในละแวกบ้าน
ในสิกขาบทที่ ๔ นั้น มี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน
เกิดด้วยสมุฏฐาน ๑ สมุฏฐาน คือ เกิดทางกายกับจิต มิใช่เกิดทางวาจา ฯลฯ

สิกขาบทที่ ๕
ถาม : ทรงบัญญัติทุกกฏแก่ภิกษุผู้ไม่เอื้อเฟื้อ เดินคะนองมือบ้าง คะนองเท้า
บ้าง ไปในละแวกบ้าน ฯลฯ
ตอบ : เพราะเรื่องที่พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ เดินคะนองมือบ้าง คะนองเท้าบ้าง
ไปในละแวกบ้าน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๑๐๐ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์] ๑. กัตถปัญญัตติวาร ๗. เสขิยกัณฑ์ ๑. ปริมันฑลวรรค
ในสิกขาบทที่ ๕ นั้น มี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖
สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๑ สมุฏฐาน คือ เกิดทางกายกับจิต มิใช่เกิดทางวาจา
ฯลฯ
สิกขาบทที่ ๖
ถาม : ทรงบัญญัติทุกกฏแก่ภิกษุผู้ไม่เอื้อเฟื้อ คะนองมือบ้าง คะนองเท้าบ้าง
นั่งในละแวกบ้าน ฯลฯ
ตอบ : เพราะเรื่องที่พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ คะนองมือบ้าง คะนองเท้าบ้าง นั่งใน
ละแวกบ้าน
ในสิกขาบทที่ ๖ นั้น มี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖
สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๑ สมุฏฐาน คือ เกิดทางกายกับจิต มิใช่เกิดทางวาจา
เป็นปฐมปาราชิกสมุฏฐาน ฯลฯ

สิกขาบทที่ ๗
ถาม : ทรงบัญญัติทุกกฏแก่ภิกษุผู้ไม่เอื้อเฟื้อ เดินมองดูในที่นั้น ๆ ไปในละแวก
บ้าน ฯลฯ
ตอบ : เพราะเรื่องที่พวกภิกษุฉัพพัคคีย์เดินมองดูที่นั้น ๆ ไปในละแวกบ้าน
ในสิกขาบทที่ ๗ นั้น มี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖
สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๑ สมุฏฐาน คือ เกิดทางกายกับจิต มิใช่เกิดทางวาจา ฯลฯ

สิกขาบทที่ ๘
ถาม : ทรงบัญญัติทุกกฏแก่ภิกษุผู้ไม่เอื้อเฟื้อ นั่งมองดูที่นั้น ๆ ในละแวกบ้าน
ฯลฯ
ตอบ : เพราะเรื่องที่พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ นั่งมองดูที่นั้น ๆ ในละแวกบ้าน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๑๐๑ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์] ๑. กัตถปัญญัตติวาร ๗. เสขิยกัณฑ์ ๒. อุชชัคฆิกวรรค
ในสิกขาบทที่ ๘ นั้น มี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖
สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๑ สมุฏฐาน คือ เกิดทางกายกับจิต มิใช่เกิดทางวาจา
ฯลฯ
สิกขาบทที่ ๙
ถาม : ทรงบัญญัติทุกกฏแก่ภิกษุผู้ไม่เอื้อเฟื้อ เดินเวิกผ้าไปในละแวกบ้าน ฯลฯ
ตอบ : เพราะเรื่องที่พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ เดินเวิกผ้าไปในละแวกบ้าน
ในสิกขาบทที่ ๙ นั้น มี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖
สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๑ สมุฏฐาน คือ เกิดทางกายกับจิต มิใช่เกิดทางวาจา
ฯลฯ

สิกขาบทที่ ๑๐
ถาม : ทรงบัญญัติทุกกฏแก่ภิกษุผู้ไม่เอื้อเฟื้อ นั่งเวิกผ้าในละแวกบ้าน ฯลฯ
ตอบ : เพราะเรื่องที่พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ นั่งเวิกผ้าในละแวกบ้าน
ในสิกขาบทที่ ๑๐ นั้น มี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖
สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๑ สมุฏฐาน คือ เกิดทางกายกับจิต มิใช่เกิดทางวาจา ฯลฯ
ปริมัณฑลวรรคที่ ๑ จบ

๒. อุชชัคฆิกวรรค
สิกขาบทที่ ๑
[๑๕๑] ถาม : ทรงบัญญัติทุกกฏแก่ภิกษุผู้ไม่เอื้อเฟื้อ เดินหัวเราะดัง ไปในละแวก
บ้าน ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภพวกภิกษุฉัพพัคคีย์
ถาม : เพราะเรื่องอะไร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๑๐๒ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์] ๑. กัตถปัญญัตติวาร ๗. เสขิยกัณฑ์ ๒. อุชชัคฆิกวรรค
ตอบ : เพราะเรื่องที่พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ เดินหัวเราะดังไปในละแวกบ้าน
ในสิกขาบทที่ ๑ นั้น มี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน
เกิดด้วยสมุฏฐาน ๑ สมุฏฐาน คือ เกิดทางกายวาจากับจิต ฯลฯ

สิกขาบทที่ ๒
ถาม : ทรงบัญญัติทุกกฏแก่ภิกษุผู้ไม่เอื้อเฟื้อ นั่งหัวเราะดังในละแวกบ้าน ณ
ที่ไหน ฯลฯ
ตอบ : เพราะเรื่องที่พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ นั่งหัวเราะดังในละแวกบ้าน
ในสิกขาบทที่ ๒ นั้น มี ๑ พระบัญญัติ ฯลฯ เกิดด้วยสมุฏฐาน ๑ สมุฏฐาน
คือ เกิดทางกายวาจากับจิต ฯลฯ

สิกขาบทที่ ๓
ถาม : ทรงบัญญัติทุกกฏแก่ภิกษุผู้ไม่เอื้อเฟื้อ เดินตะโกนเสียงดังไปในละแวก
บ้าน ฯลฯ
ตอบ : เพราะเรื่องที่พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ เดินตะโกนเสียงดัง ไปในละแวกบ้าน
ในสิกขาบทที่ ๓ นั้น มี ๑ พระบัญญัติ ฯลฯ เกิดด้วยสมุฏฐาน ๑ สมุฏฐาน
คือ เกิดทางกายวาจากับจิต ฯลฯ

สิกขาบทที่ ๔
ถาม : ทรงบัญญัติทุกกฏแก่ภิกษุผู้ไม่เอื้อเฟื้อ นั่งตะโกนเสียงดังในละแวกบ้าน ฯลฯ
ตอบ : เพราะเรื่องที่พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ นั่งตะโกนเสียงดังในละแวกบ้าน
ในสิกขาบทที่ ๔ นั้น มี ๑ พระบัญญัติ ฯลฯ เกิดด้วยสมุฏฐาน ๑ สมุฏฐาน
คือ เกิดทางกายวาจากับจิต ฯลฯ

สิกขาบทที่ ๕
ถาม : ทรงบัญญัติทุกกฏแก่ภิกษุผู้ไม่เอื้อเฟื้อ เดินโคลงกายไปในละแวกบ้าน ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๑๐๓ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์] ๑. กัตถปัญญัตติวาร ๗. เสขิยกัณฑ์ ๒. อุชชัคฆิกวรรค
ตอบ : เพราะเรื่องที่พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ เดินโคลงกายไปในละแวกบ้าน
ในสิกขาบทที่ ๕ นั้น มี ๑ พระบัญญัติ ฯลฯ เกิดด้วยสมุฏฐาน ๑ สมุฏฐาน
คือ เกิดทางกายกับจิต มิใช่เกิดทางวาจา ฯลฯ

สิกขาบทที่ ๖
ถาม : ทรงบัญญัติทุกกฏแก่ภิกษุผู้ไม่เอื้อเฟื้อ นั่งโคลงกายในละแวกบ้าน ฯลฯ
ตอบ : เพราะเรื่องที่พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ นั่งโคลงกายในละแวกบ้าน
ในสิกขาบทที่ ๖ นั้น มี ๑ พระบัญญัติ ฯลฯ เกิดด้วยสมุฏฐาน ๑ สมุฏฐาน
คือ เกิดทางกายกับจิต มิใช่เกิดทางวาจา ฯลฯ

สิกขาบทที่ ๗
ถาม : ทรงบัญญัติทุกกฏแก่ภิกษุผู้ไม่เอื้อเฟื้อเดินแกว่งแขนไปในละแวกบ้าน ฯลฯ
ตอบ : เพราะเรื่องที่พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ เดินแกว่งแขนไปในละแวกบ้าน
ในสิกขาบทที่ ๗ นั้น มี ๑ พระบัญญัติ ฯลฯ เกิดด้วยสมุฏฐาน ๑ สมุฏฐาน
คือ เกิดทางกายกับจิต มิใช่เกิดทางวาจา ฯลฯ

สิกขาบทที่ ๘
ถาม : ทรงบัญญัติทุกกฏแก่ภิกษุผู้ไม่เอื้อเฟื้อ นั่งแกว่งแขนในละแวกบ้าน ฯลฯ
ตอบ : เพราะเรื่องที่พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ นั่งแกว่งแขนในละแวกบ้าน
ในสิกขาบทที่ ๘ นั้น มี ๑ พระบัญญัติ ฯลฯ เกิดด้วยสมุฏฐาน ๑ สมุฏฐาน
คือ เกิดทางกายกับจิต มิใช่เกิดทางวาจา ฯลฯ

สิกขาบทที่ ๙
ถาม : ทรงบัญญัติทุกกฏแก่ภิกษุผู้ไม่เอื้อเฟื้อ เดินโคลงศีรษะ ไปในละแวกบ้าน
ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๑๐๔ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์] ๑. กัตถปัญญัตติวาร ๗. เสขิยกัณฑ์ ๓. ขัมภกตวรรค
ตอบ : เพราะเรื่องที่พวกภิกษุฉัพพัคคีย์เดินโคลงศีรษะไปในละแวกบ้าน
ในสิกขาบทที่ ๙ นั้น มี ๑ พระบัญญัติ ฯลฯ เกิดด้วยสมุฏฐาน ๑ สมุฏฐาน
คือ เกิดทางกายกับจิต มิใช่เกิดทางวาจา ฯลฯ

สิกขาบทที่ ๑๐
ถาม : ทรงบัญญัติทุกกฏแก่ภิกษุผู้ไม่เอื้อเฟื้อนั่งโคลงศีรษะในละแวกบ้าน ฯลฯ
ตอบ : เพราะเรื่องที่พวกภิกษุฉัพพัคคีย์นั่งโคลงศีรษะทำคอพับในละแวกบ้าน
ในสิกขาบทที่ ๑๐ นั้น มี ๑ พระบัญญัติ ฯลฯ เกิดด้วยสมุฏฐาน ๑
สมุฏฐาน คือ เกิดทางกายกับจิต มิใช่เกิดทางวาจา ฯลฯ
อุชชัคฆิกวรรคที่ ๒ จบ

๓. ขัมภกตวรรค
สิกขาบทที่ ๑
[๑๕๒] ถาม : พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้
ทรงเห็น ทรงบัญญัติทุกกฏแก่ภิกษุผู้ไม่เอื้อเฟื้อเดินเท้าสะเอวไปในละแวกบ้าน ฯลฯ
ในสิกขาบทที่ ๑ นั้น มี ๑ พระบัญญัติ ฯลฯ เกิดด้วยสมุฏฐาน ๑ สมุฏฐาน
คือ เกิดทางกายกับจิต มิใช่เกิดทางวาจา ฯลฯ

สิกขาบทที่ ๒
ถาม : ทรงบัญญัติทุกกฏแก่ภิกษุผู้ไม่เอื้อเฟื้อ นั่งเท้าสะเอวในละแวกบ้าน ฯลฯ
ในสิกขาบทที่ ๒ นั้น มี ๑ พระบัญญัติ ฯลฯ เกิดด้วยสมุฏฐาน ๑ สมุฏฐาน
คือ เกิดทางกายกับจิต มิใช่เกิดทางวาจา ฯลฯ

สิกขาบทที่ ๓
ถาม : ทรงบัญญัติทุกกฏแก่ภิกษุผู้ไม่เอื้อเฟื้อเดินคลุมศีรษะไปในละแวกบ้าน ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๑๐๕ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์] ๑. กัตถปัญญัตติวาร ๗. เสขิยกัณฑ์ ๓. ขัมภกตวรรค
ตอบ : เพราะเรื่องที่พวกภิกษุฉัพพัคคีย์เดินคลุมศีรษะไปในละแวกบ้าน
ในสิกขาบทที่ ๓ นั้น มี ๑ พระบัญญัติ ฯลฯ เกิดด้วยสมุฏฐาน ๑ สมุฏฐาน
คือ เกิดทางกายกับจิต มิใช่เกิดทางวาจา ฯลฯ

สิกขาบทที่ ๔
ถาม : ทรงบัญญัติทุกกฏแก่ภิกษุผู้ไม่เอื้อเฟื้อนั่งคลุมศีรษะในละแวกบ้าน ฯลฯ
ในสิกขาบทที่ ๔ นั้น มี ๑ พระบัญญัติ ฯลฯ เกิดด้วยสมุฏฐาน ๑ สมุฏฐาน
คือ เกิดทางกายกับจิต มิใช่เกิดทางวาจา ฯลฯ

สิกขาบทที่ ๕
ถาม : ทรงบัญญัติทุกกฏแก่ภิกษุผู้ไม่เอื้อเฟื้อเดินกระโหย่งไปในละแวกบ้าน ฯลฯ
ในสิกขาบทที่ ๕ นั้น มี ๑ พระบัญญัติ ฯลฯ เกิดด้วยสมุฏฐาน ๑ สมุฏฐาน
คือ เกิดทางกายกับจิต มิใช่เกิดทางวาจา ฯลฯ

สิกขาบทที่ ๖
ถาม : ทรงบัญญัติทุกกฏแก่ภิกษุผู้ไม่เอื้อเฟื้อนั่งรัดเข่าในละแวกบ้าน ณ ที่
ไหน ฯลฯ
ในสิกขาบทที่ ๖ นั้น มี ๑ พระบัญญัติ ฯลฯ เกิดด้วยสมุฏฐาน ๑ สมุฏฐาน
คือ เกิดทางกายกับจิต มิใช่เกิดทางวาจา ฯลฯ

สิกขาบทที่ ๗
ถาม : ทรงบัญญัติทุกกฏแก่ภิกษุผู้ไม่เอื้อเฟื้อรับบิณฑบาตโดยไม่เคารพ ฯลฯ
ในสิกขาบทที่ ๗ นั้น มี ๑ พระบัญญัติ ฯลฯ เกิดด้วยสมุฏฐาน ๑ สมุฏฐาน
คือ เกิดทางกายกับจิต มิใช่เกิดทางวาจา ฯลฯ

สิกขาบทที่ ๘
ถาม : ทรงบัญญัติทุกกฏแก่ภิกษุผู้ไม่เอื้อเฟื้อรับบิณฑบาตมองดูที่นั้น ๆ ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๑๐๖ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์] ๑. กัตถปัญญัตติวาร ๗. เสขิยกัณฑ์ ๔. ปิณฑปาตวรรค
ในสิกขาบทที่ ๘ นั้น มี ๑ พระบัญญัติ ฯลฯ เกิดด้วยสมุฏฐาน ๑
สมุฏฐาน คือ เกิดทางกายกับจิต มิใช่เกิดทางวาจา ฯลฯ

สิกขาบทที่ ๙
ถาม : ทรงบัญญัติทุกกฏแก่ภิกษุผู้ไม่เอื้อเฟื้อเลือกรับเฉพาะแกงมาก ฯลฯ
ในสิกขาบทที่ ๙ นั้น มี ๑ พระบัญญัติ ฯลฯ เกิดด้วยสมุฏฐาน ๑ สมุฏฐาน
คือ เกิดทางกายกับจิต มิใช่เกิดทางวาจา ฯลฯ

สิกขาบทที่ ๑๐
ถาม : ทรงบัญญัติทุกกฏแก่ภิกษุผู้ไม่เอื้อเฟื้อรับบิณฑบาตล้นขอบปากบาตร ฯลฯ
ในสิกขาบทที่ ๑๐ นั้น มี ๑ พระบัญญัติ ฯลฯ เกิดด้วยสมุฏฐาน ๑
สมุฏฐาน คือ เกิดทางกายกับจิต มิใช่เกิดทางวาจา ฯลฯ
ขัมภกตวรรคที่ ๓ จบ

๔. ปิณฑปาตวรรค(สักกัจจวรรค)
สิกขาบทที่ ๑
[๑๕๓] ถาม : พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้
ทรงเห็น ทรงบัญญัติทุกกฏแก่ภิกษุผู้ไม่เอื้อเฟื้อ ฉันบิณฑบาตโดยไม่เคารพ ฯลฯ
ในสิกขาบทที่ ๑ นั้น มี ๑ พระบัญญัติ ฯลฯ เกิดด้วยสมุฏฐาน ๑
สมุฏฐาน คือ เกิดทางกายกับจิต มิใช่เกิดทางวาจา ฯลฯ

สิกขาบทที่ ๒
ถาม : ทรงบัญญัติทุกกฏแก่ภิกษุผู้ไม่เอื้อเฟื้อ ฉันบิณฑบาตมองดูไปที่นั้น ๆ ฯลฯ
ในสิกขาบทที่ ๒ นั้น มี ๑ พระบัญญัติ ฯลฯ เกิดด้วยสมุฏฐาน ๑
สมุฏฐาน คือ เกิดทางกายกับจิต มิใช่เกิดทางวาจา ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๑๐๗ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์] ๑. กัตถปัญญัตติวาร ๗. เสขิยกัณฑ์ ๔. ปิณฑปาตวรรค
สิกขาบทที่ ๓
ถาม : ทรงบัญญัติทุกกฏแก่ภิกษุผู้ไม่เอื้อเฟื้อ ฉันบิณฑบาตเจาะลงในที่นั้น ๆ ฯลฯ
ในสิกขาบทที่ ๓ นั้น มี ๑ พระบัญญัติ ฯลฯ เกิดด้วยสมุฏฐาน ๑
สมุฏฐาน คือ เกิดทางกายกับจิต มิใช่เกิดทางวาจา ฯลฯ

สิกขาบทที่ ๔
ถาม : ทรงบัญญัติทุกกฏแก่ภิกษุผู้ไม่เอื้อเฟื้อฉันเฉพาะแกงมาก ฯลฯ
ในสิกขาบทที่ ๔ นั้น มี ๑ พระบัญญัติ ฯลฯ เกิดด้วยสมุฏฐาน ๑
สมุฏฐาน คือ เกิดทางกายกับจิต มิใช่เกิดทางวาจา ฯลฯ

สิกขาบทที่ ๕
ถาม : ทรงบัญญัติทุกกฏแก่ภิกษุผู้ไม่เอื้อเฟื้อฉันบิณฑบาตขยุ้มลงแต่ยอด ฯลฯ
ในสิกขาบทที่ ๕ นั้น มี ๑ พระบัญญัติ ฯลฯ เกิดด้วยสมุฏฐาน ๑
สมุฏฐาน คือ เกิดทางกายกับจิต มิใช่เกิดทางวาจา ฯลฯ

สิกขาบทที่ ๖
ถาม : ทรงบัญญัติทุกกฏแก่ภิกษุผู้ไม่เอื้อเฟื้อใช้ข้าวสุกกลบแกงหรือกับข้าว ฯลฯ
ในสิกขาบทที่ ๖ นั้น มี ๑ พระบัญญัติ ฯลฯ เกิดด้วยสมุฏฐาน ๑ สมุฏฐาน
คือ เกิดทางกายกับจิต มิใช่เกิดทางวาจา ฯลฯ

สิกขาบทที่ ๗
ถาม : ทรงบัญญัติทุกกฏแก่ภิกษุผู้ไม่เอื้อเฟื้อ ไม่เป็นไข้ ออกปากขอแกงหรือ
ข้าวสุกมาฉันส่วนตัว ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภพวกภิกษุฉัพพัคคีย์
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่ภิกษุฉัพพัคคีย์ออกปากขอแกงบ้าง ข้าวสุกบ้างมาฉันส่วนตัว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๑๐๘ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์] ๑. กัตถปัญญัตติวาร ๗. เสขิยกัณฑ์ ๕. กพฟวรรค
ในสิกขาบทที่ ๗ นั้น มี ๑ พระบัญญัติ ๑ พระอนุบัญญัติ บรรดาสมุฏฐาน
แห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๒ สมุฏฐาน คือ (๑) เกิดทางกายกับจิต
มิใช่เกิดทางวาจา (๒) เกิดทางกายวาจากับจิต ฯลฯ

สิกขาบทที่ ๘
ถาม : ทรงบัญญัติทุกกฏแก่ภิกษุผู้ไม่เอื้อเฟื้อ มุ่งตำหนิ มองดูบาตรของภิกษุ
เหล่าอื่น ฯลฯ
ในสิกขาบทที่ ๘ นั้น มี ๑ พระบัญญัติ ฯลฯ เกิดด้วยสมุฏฐาน ๑ สมุฏฐาน
คือ เกิดทางกายกับจิต มิใช่เกิดทางวาจา ฯลฯ

สิกขาบทที่ ๙
ถาม : ทรงบัญญัติทุกกฏแก่ภิกษุผู้ไม่เอื้อเฟื้อ ทำคำข้าวให้ใหญ่เกิน ฯลฯ
ในสิกขาบทที่ ๙ นั้น มี ๑ พระบัญญัติ ฯลฯ เกิดด้วยสมุฏฐาน ๑ สมุฏฐาน
คือ เกิดทางกายกับจิต มิใช่เกิดทางวาจา ฯลฯ

สิกขาบทที่ ๑๐
ถาม : ทรงบัญญัติทุกกฏแก่ภิกษุผู้ไม่เอื้อเฟื้อ ทำคำข้าวให้ยาว ฯลฯ
ในสิกขาบทที่ ๑๐ นั้น มี ๑ พระบัญญัติ ฯลฯ เกิดด้วยสมุฏฐาน ๑
สมุฏฐาน คือ เกิดทางกายกับจิต มิใช่เกิดทางวาจา ฯลฯ
ปิณฑปาตวรรคที่ ๔ จบ

๕. กพฬวรรค
สิกขาบทที่ ๑
[๑๕๔] ถาม : พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้
ทรงเห็น ทรงบัญญัติทุกกฏแก่ภิกษุผู้ไม่เอื้อเฟื้อ อ้าปากรอคำข้าวที่ยังไม่ถึงปาก ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๑๐๙ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์] ๑. กัตถปัญญัตติวาร ๗. เสขิยกัณฑ์ ๕. กพฟวรรค
ในสิกขาบทที่ ๑ นั้น มี ๑ พระบัญญัติ ฯลฯ เกิดด้วยสมุฏฐาน ๑ สมุฏฐาน
คือ เกิดทางกายกับจิต มิใช่เกิดทางวาจา ฯลฯ

สิกขาบทที่ ๒
ถาม : ทรงบัญญัติทุกกฏแก่ภิกษุผู้ไม่เอื้อเฟื้อ ขณะกำลังฉัน สอดมือทั้งหมด
เข้าไปในปาก๑ ฯลฯ
ในสิกขาบทที่ ๒ นั้น มี ๑ พระบัญญัติ ฯลฯ เกิดด้วยสมุฏฐาน ๑ สมุฏฐาน
คือ เกิดทางกายกับจิต มิใช่เกิดทางวาจา ฯลฯ

สิกขาบทที่ ๓
ถาม : ทรงบัญญัติทุกกฏแก่ภิกษุผู้ไม่เอื้อเฟื้อ พูดคุยขณะที่ในปากมีคำข้าว ฯลฯ
ในสิกขาบทที่ ๓ นั้น มี ๑ พระบัญญัติ ฯลฯ เกิดด้วยสมุฏฐาน ๑ สมุฏฐาน
คือ เกิดทางกายวาจากับจิต มิใช่เกิดทางวาจา ฯลฯ

สิกขาบทที่ ๔
ถาม : ทรงบัญญัติทุกกฏแก่ภิกษุผู้ไม่เอื้อเฟื้อ ฉันโยนคำข้าว ฯลฯ
ในสิกขาบทที่ ๔ นั้น มี ๑ พระบัญญัติ ฯลฯ เกิดด้วยสมุฏฐาน ๑ สมุฏฐาน
คือ เกิดทางกายกับจิต มิใช่เกิดทางวาจา ฯลฯ

สิกขาบทที่ ๕
ถาม : ทรงบัญญัติทุกกฏแก่ภิกษุผู้ไม่เอื้อเฟื้อ ฉันกัดคำข้าว ฯลฯ
ในสิกขาบทที่ ๕ นั้น มี ๑ พระบัญญัติ ฯลฯ เกิดด้วยสมุฏฐาน ๑ สมุฏฐาน
คือ เกิดทางกายกับจิต มิใช่เกิดทางวาจา ฯลฯ

เชิงอรรถ :
๑ สอดมือทั้งหมด เป็นสมุทายโวหาร คือกล่าวรวม ๆ มือทั้งหมดหมายถึงนิ้วมือแต่ละนิ้ว (สารตฺถ.ฏีกา
๓/๖๑๘/๑๓๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๑๑๐ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์] ๑. กัตถปัญญัตติวาร ๗. เสขิยกัณฑ์ ๕. กพฟวรรค
สิกขาบทที่ ๖
ถาม : ทรงบัญญัติทุกกฏแก่ภิกษุผู้ไม่เอื้อเฟื้อ ฉันภัตตาหารทำกระพุ้งแก้มให้
ตุ่ย ฯลฯ
ในสิกขาบทที่ ๖ นั้น มี ๑ พระบัญญัติ ฯลฯ เกิดด้วยสมุฏฐาน ๑ สมุฏฐาน
คือ เกิดทางกายกับจิต มิใช่เกิดทางวาจา ฯลฯ

สิกขาบทที่ ๗
ถาม : ทรงบัญญัติทุกกฏแก่ภิกษุผู้ไม่เอื้อเฟื้อ ฉันสลัดมือ ฯลฯ
ในสิกขาบทที่ ๗ นั้น มี ๑ พระบัญญัติ ฯลฯ เกิดด้วยสมุฏฐาน ๑ สมุฏฐาน
คือ เกิดทางกายกับจิต มิใช่เกิดทางวาจา ฯลฯ

สิกขาบทที่ ๘
ถาม : ทรงบัญญัติทุกกฏแก่ภิกษุผู้ไม่เอื้อเฟื้อ ฉันโปรยเมล็ดข้าว ฯลฯ
ในสิกขาบทที่ ๘ นั้น มี ๑ พระบัญญัติ ฯลฯ เกิดด้วยสมุฏฐาน ๑ สมุฏฐาน
คือ เกิดทางกายกับจิต มิใช่เกิดทางวาจา ฯลฯ

สิกขาบทที่ ๙
ถาม : ทรงบัญญัติทุกกฏแก่ภิกษุผู้ไม่เอื้อเฟื้อ ฉันแลบลิ้น ฯลฯ
ในสิกขาบทที่ ๙ นั้น มี ๑ พระบัญญัติ ฯลฯ เกิดด้วยสมุฏฐาน ๑ สมุฏฐาน
คือ เกิดทางกายกับจิต มิใช่เกิดทางวาจา ฯลฯ

สิกขาบทที่ ๑๐
ถาม : ทรงบัญญัติทุกกฏแก่ภิกษุผู้ไม่เอื้อเฟื้อ ฉันทำเสียงดังจั๊บ ๆ ฯลฯ
ในสิกขาบทที่ ๑๐ นั้น มี ๑ พระบัญญัติ ฯลฯ เกิดด้วยสมุฏฐาน ๑ สมุฏฐาน
คือ เกิดทางกายกับจิต มิใช่เกิดทางวาจา ฯลฯ
กพฬวรรคที่ ๕ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๑๑๑ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์] ๑. กัตถปัญญัตติวาร ๗. เสขิยกัณฑ์ ๖. สุรุสุรุวรรค
๖. สุรุสุรุวรรค
สิกขาบทที่ ๑
[๑๕๕] ถาม : พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้
ทรงเห็น ทรงบัญญัติทุกกฏแก่ภิกษุผู้ไม่เอื้อเฟื้อ ฉันทำเสียงดังซู๊ด ๆ ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงโกสัมพี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภภิกษุหลายรูป
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่ภิกษุหลายรูปดื่มน้ำนมเสียงดังซู๊ด ๆ
ในสิกขาบทที่ ๑ นั้น มี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖
สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๑ สมุฏฐาน คือ เกิดทางกายกับจิต มิใช่เกิดทางวาจา
ฯลฯ

สิกขาบทที่ ๒
ถาม : ทรงบัญญัติทุกกฏแก่ภิกษุผู้ไม่เอื้อเฟื้อ ฉันเลียมือ ฯลฯ
ในสิกขาบทที่ ๒ นั้น มี ๑ พระบัญญัติ ฯลฯ เกิดด้วยสมุฏฐาน ๑
สมุฏฐาน คือ เกิดทางกายกับจิต มิใช่เกิดทางวาจา ฯลฯ

สิกขาบทที่ ๓
ถาม : ทรงบัญญัติทุกกฏแก่ภิกษุที่ไม่เอื้อเฟื้อ ฉันขอดบาตร ฯลฯ
ในสิกขาบทที่ ๓ นั้น มี ๑ พระบัญญัติ ฯลฯ เกิดด้วยสมุฏฐาน ๑ สมุฏฐาน
คือ เกิดทางกายกับจิต มิใช่เกิดทางวาจา ฯลฯ

สิกขาบทที่ ๔
ถาม : ทรงบัญญัติทุกกฏแก่ภิกษุผู้ไม่เอื้อเฟื้อ ฉันเลียริมฝีปาก ฯลฯ
ในสิกขาบทที่ ๔ นั้น มี ๑ พระบัญญัติ ฯลฯ เกิดด้วยสมุฏฐาน ๑ สมุฏฐาน
คือ เกิดทางกายกับจิต มิใช่เกิดทางวาจา ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๑๑๒ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์] ๑. กัตถปัญญัตติวาร ๗. เสขิยกัณฑ์ ๖. สุรุสุรุวรรค
สิกขาบทที่ ๕
ถาม : ทรงบัญญัติทุกกฏแก่ภิกษุผู้ไม่เอื้อเฟื้อ จับภาชนะน้ำดื่มด้วยมือเปื้อน
อาหาร ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ ภัคคชนบท
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภภิกษุหลายรูป
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่ภิกษุหลายรูปจับภาชนะน้ำดื่มด้วยมือเปื้อนอาหาร
ในสิกขาบทที่ ๕ นั้น มี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖
สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๑ สมุฏฐาน คือ เกิดทางกายกับจิต มิใช่เกิดทางวาจา
ฯลฯ
สิกขาบทที่ ๖
ถาม : ทรงบัญญัติทุกกฏแก่ภิกษุผู้ไม่เอื้อเฟื้อ เทน้ำล้างบาตรมีเมล็ดข้าวในละแวก
บ้าน ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ ภัคคชนบท
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภภิกษุหลายรูป
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่ภิกษุหลายรูปเทน้ำล้างบาตรมีเมล็ดข้าวลงในละแวกบ้าน
ในสิกขาบทที่ ๖ นั้น มี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖
สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๑ สมุฏฐาน คือ เกิดทางกายกับจิต มิใช่เกิดทางวาจา
ฯลฯ
สิกขาบทที่ ๗
ถาม : ทรงบัญญัติทุกกฏแก่ภิกษุผู้ไม่เอื้อเฟื้อ แสดงธรรมแก่บุคคลผู้กั้นร่ม ณ
ที่ไหน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๑๑๓ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์] ๑. กัตถปัญญัตติวาร ๗. เสขิยกัณฑ์ ๖. สุรุสุรุวรรค
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภพวกภิกษุฉัพพัคคีย์
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ แสดงธรรมแก่บุคคลผู้กั้นร่ม
ในสิกขาบทที่ ๗ นั้น มี ๑ พระบัญญัติ ๑ พระอนุบัญญัติ บรรดาสมุฏฐาน
แห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๑ สมุฏฐาน คือ เกิดทางวาจากับจิต
มิใช่เกิดทางกาย ฯลฯ
สิกขาบทที่ ๘
ถาม : ทรงบัญญัติทุกกฏแก่ภิกษุผู้ไม่เอื้อเฟื้อ แสดงธรรมแก่คนถือไม้พลอง ฯลฯ
ในสิกขาบทที่ ๘ นั้น มี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖
สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๑ สมุฏฐาน คือ เกิดทางวาจากับจิต มิใช่เกิดทางกาย ฯลฯ

สิกขาบทที่ ๙
ถาม : ทรงบัญญัติทุกกฏแก่ภิกษุผู้ไม่เอื้อเฟื้อ แสดงธรรมแก่คนถือศัสตรา ฯลฯ
ในสิกขาบทที่ ๙ นั้น มี ๑ พระบัญญัติ ๑ พระอนุบัญญัติ บรรดาสมุฏฐาน
แห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๑ สมุฏฐาน คือ เกิดทางวาจากับจิต
มิใช่เกิดทางกาย ฯลฯ
สิกขาบทที่ ๑๐
ถาม : ทรงบัญญัติทุกกฏแก่ภิกษุผู้ไม่เอื้อเฟื้อ แสดงธรรมแก่คนผู้ถืออาวุธ ฯลฯ
ในสิกขาบทที่ ๑๐ นั้น มี ๑ พระบัญญัติ ๑ พระอนุบัญญัติ บรรดาสมุฏฐาน
แห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๑ สมุฏฐาน คือ เกิดทางวาจากับจิต
มิใช่เกิดทางกาย ฯลฯ
สุรุสุรุวรรคที่ ๖ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๑๑๔ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์] ๑. กัตถปัญญัตติวาร ๗. เสขิยกัณฑ์ ๗. ปาทุกวรรค
๗. ปาทุกวรรค
สิกขาบทที่ ๑
[๑๕๖] ถาม : พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้
ทรงเห็น ทรงบัญญัติทุกกฏแก่ภิกษุผู้ไม่เอื้อเฟื้อ แสดงธรรมแก่คนผู้สวมเขียงเท้า ณ
ที่ไหน ฯลฯ
ในสิกขาบทที่ ๑ นั้น มี ๑ พระบัญญัติ ๑ พระอนุบัญญัติ บรรดาสมุฏฐาน
แห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๑ สมุฏฐาน คือ เกิดทางวาจากับจิต
มิใช่เกิดทางกาย ฯลฯ
สิกขาบทที่ ๒
ถาม : ทรงบัญญัติทุกกฏแก่ภิกษุผู้ไม่เอื้อเฟื้อ แสดงธรรมแก่คนสวมรองเท้า ฯลฯ
ในสิกขาบทที่ ๒ นั้น มี ๑ พระบัญญัติ ๑ พระอนุบัญญัติ บรรดาสมุฏฐาน
แห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๑ สมุฏฐาน คือ เกิดทางวาจากับจิต
มิใช่เกิดทางกาย ฯลฯ
สิกขาบทที่ ๓
ถาม : ทรงบัญญัติทุกกฏแก่ภิกษุผู้ไม่เอื้อเฟื้อ แสดงธรรมแก่คนอยู่ในยาน
พาหนะ ณ ที่ไหน ฯลฯ
ในสิกขาบทที่ ๓ นั้น มี ๑ พระบัญญัติ ๑ พระอนุบัญญัติ บรรดาสมุฏฐาน
แห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๑ สมุฏฐาน คือ เกิดทางวาจากับจิต
มิใช่เกิดทางกาย ฯลฯ
สิกขาบทที่ ๔
ถาม : ทรงบัญญัติทุกกฏแก่ภิกษุผู้ไม่เอื้อเฟื้อ แสดงธรรมแก่คนผู้อยู่บนที่นอน
ณ ที่ไหน ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๑๑๕ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์] ๑. กัตถปัญญัตติวาร ๗. เสขิยกัณฑ์ ๗. ปาทุกวรรค
ในสิกขาบทที่ ๔ นั้น มี ๑ พระบัญญัติ ๑ พระอนุบัญญัติ บรรดาสมุฏฐาน
แห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๑ สมุฏฐาน คือ เกิดทางวาจากับจิต
มิใช่เกิดทางกาย ฯลฯ
สิกขาบทที่ ๕
ถาม : ทรงบัญญัติทุกกฏแก่ภิกษุผู้ไม่เอื้อเฟื้อ แสดงธรรมแก่คนที่นั่งรัดเข่า
ณ ที่ไหน ฯลฯ
ในสิกขาบทที่ ๕ นั้น มี ๑ พระบัญญัติ ๑ พระอนุบัญญัติ บรรดาสมุฏฐาน
แห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๑ สมุฏฐาน คือ เกิดทางวาจากับจิต
มิใช่เกิดทางกาย ฯลฯ
สิกขาบทที่ ๖
ถาม : ทรงบัญญัติทุกกฏแก่ภิกษุผู้ไม่เอื้อเฟื้อ แสดงธรรมแก่คนผู้โพกศีรษะ
ณ ที่ไหน ฯลฯ
ในสิกขาบทที่ ๖ นั้น มี ๑ พระบัญญัติ ๑ พระอนุบัญญัติ บรรดาสมุฏฐาน
แห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๑ สมุฏฐาน คือ เกิดทางวาจากับจิต
มิใช่เกิดทางกาย ฯลฯ
สิกขาบทที่ ๗
ถาม : ทรงบัญญัติทุกกฏแก่ภิกษุผู้ไม่เอื้อเฟื้อ แสดงธรรมแก่คนผู้คลุมศีรษะ
ณ ที่ไหน ฯลฯ
ในสิกขาบทที่ ๗ นั้น มี ๑ พระบัญญัติ ๑ พระอนุบัญญัติ บรรดาสมุฏฐาน
แห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๑ สมุฏฐาน คือ เกิดทางวาจากับจิต
มิใช่เกิดทางกาย ฯลฯ
สิกขาบทที่ ๘
ถาม : ทรงบัญญัติทุกกฏแก่ภิกษุผู้ไม่เอื้อเฟื้อ นั่งอยู่บนพื้นดิน แสดงธรรมแก่
คนผู้นั่งบนอาสนะ ณ ที่ไหน ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๑๑๖ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์] ๑. กัตถปัญญัตติวาร ๗. เสขิยกัณฑ์ ๗. ปาทุกวรรค
ในสิกขาบทที่ ๘ นั้น มี ๑ พระบัญญัติ ๑ พระอนุบัญญัติ บรรดาสมุฏฐาน
แห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๑ สมุฏฐาน คือ เกิดทางกายวาจา
กับจิต ฯลฯ
สิกขาบทที่ ๙
ถาม : ทรงบัญญัติทุกกฏแก่ภิกษุผู้ไม่เอื้อเฟื้อ นั่งอยู่บนอาสนะต่ำ แสดงธรรม
แก่คนผู้นั่งบนอาสนะสูง ณ ที่ไหน ฯลฯ
ในสิกขาบทที่ ๙ นั้น มี ๑ พระบัญญัติ ๑ พระอนุบัญญัติ บรรดาสมุฏฐาน
แห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๑ สมุฏฐาน คือ เกิดทางกายวาจา
กับจิต ฯลฯ
สิกขาบทที่ ๑๐
ถาม : ทรงบัญญัติทุกกฏแก่ภิกษุผู้ไม่เอื้อเฟื้อ ยืนแสดงธรรมแก่คนผู้นั่งอยู่ ณ
ที่ไหน ฯลฯ
ในสิกขาบทที่ ๑๐ นั้น มี ๑ พระบัญญัติ ๑ พระอนุบัญญัติ บรรดาสมุฏฐาน
แห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๑ สมุฏฐาน คือ เกิดทางกายวาจา
กับจิต ฯลฯ
สิกขาบทที่ ๑๑
ถาม : ทรงบัญญัติทุกกฏแก่ภิกษุผู้ไม่เอื้อเฟื้อ เดินอยู่ข้างหลัง แสดงธรรมแก่
คนผู้เดินไปข้างหน้า ณ ที่ไหน ฯลฯ
ในสิกขาบทที่ ๑๑ นั้น มี ๑ พระบัญญัติ ๑ พระอนุบัญญัติ บรรดาสมุฏฐาน
แห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๑ สมุฏฐาน คือ เกิดทางกายวาจา
กับจิต ฯลฯ
สิกขาบทที่ ๑๒
ถาม : ทรงบัญญัติทุกกฏแก่ภิกษุผู้ไม่เอื้อเฟื้อ เดินอยู่นอกทาง แสดงธรรม
แก่คนผู้เดินไปในทาง ณ ที่ไหน ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๑๑๗ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์] ๑. กัตถปัญญัตติวาร ๗. เสขิยกัณฑ์ ๗. ปาทุกวรรค
ในสิกขาบทที่ ๑๒ นั้น มี ๑ พระบัญญัติ ๑ พระอนุบัญญัติ บรรดาสมุฏฐาน
แห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๑ สมุฏฐาน คือ เกิดทางกายวาจา
กับจิต ฯลฯ
สิกขาบทที่ ๑๓
ถาม : ทรงบัญญัติทุกกฏแก่ภิกษุผู้ไม่เอื้อเฟื้อ ยืนถ่ายอุจจาระหรือถ่ายปัสสาวะ
ณ ที่ไหน ฯลฯ
ในสิกขาบทที่ ๑๓ นั้น มี ๑ พระบัญญัติ ๑ พระอนุบัญญัติ บรรดาสมุฏฐาน
แห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๑ สมุฏฐาน คือ เกิดทางกายกับจิต
มิใช่เกิดทางวาจา ฯลฯ
สิกขาบทที่ ๑๔
ถาม : ทรงบัญญัติทุกกฏแก่ภิกษุผู้ไม่เอื้อเฟื้อ ถ่ายอุจจาระ ถ่ายปัสสาวะ
หรือบ้วนน้ำลายลงบนของเขียว ณ ที่ไหน ฯลฯ
ในสิกขาบทที่ ๑๔ นั้น มี ๑ พระบัญญัติ ๑ พระอนุบัญญัติ บรรดาสมุฏฐาน
แห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๑ สมุฏฐาน คือ เกิดทางกายกับจิต
มิใช่เกิดทางวาจา ฯลฯ
สิกขาบทที่ ๑๕
ถาม : ทรงบัญญัติทุกกฏแก่ภิกษุผู้ไม่เอื้อเฟื้อ ถ่ายอุจจาระ ถ่ายปัสสาวะ
หรือบ้วนน้ำลายลงในน้ำ ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภพวกภิกษุฉัพพัคคีย์
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ ถ่ายอุจจาระบ้าง ถ่ายปัสสาวะบ้าง
บ้วนน้ำลายบ้าง ลงในน้ำ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๑๑๘ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์] ๑. กัตถปัญญัตติวาร ๗. เสขิยกัณฑ์ รวมสิกขาบทที่มีในเสขิยกัณฑ์
มี ๑ พระบัญญัติ ๑ พระอนุบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน
เกิดด้วยสมุฏฐาน ๑ สมุฏฐาน คือ เกิดทางกายกับทางจิต มิใช่เกิดทางวาจา ฯลฯ
ปาทุกวรรคที่ ๗ จบ
เสขิยวัตร ๗๕ สิกขาบท จบ

รวมสิกขาบทที่มีในเสขิยกัณฑ์
สิกขาบทที่ ๑-๒ ว่าด้วยการครองอันตรวาสกและอุตตราสงค์เรียบร้อย
สิกขาบทที่ ๓-๔ ว่าด้วยการปกปิดกายดีไปและนั่งในละแวกบ้าน
สิกขาบทที่ ๕-๖ ว่าด้วยการสำรวมดีไปและนั่งในละแวกบ้าน
สิกขาบทที่ ๗-๘ ว่าด้วยการมีจักษุทอดลงไปและนั่งในละแวกบ้าน
สิกขาบทที่ ๙-๑๐ ว่าด้วยการไม่เวิกผ้าไปและนั่งในละแวกบ้าน
สิกขาบทที่ ๑๑-๑๒ ว่าด้วยการไม่หัวเราะดังไปและนั่งในละแวกบ้าน
สิกขาบทที่ ๑๓-๑๔ ว่าด้วยการพูดเสียงเบาไปและนั่งในละแวกบ้าน
สิกขาบทที่ ๑๕-๑๖ ว่าด้วยการไม่เดินโคลงกายไปและนั่งในละแวกบ้าน
สิกขาบทที่ ๑๗-๑๘ ว่าด้วยการไม่เดินแกว่งแขนไปและนั่งในละแวกบ้าน
สิกขาบทที่ ๑๙-๒๐ ว่าด้วยการไม่เดินโคลงศีรษะไปและนั่งในละแวกบ้าน
สิกขาบทที่ ๒๑-๒๒ ว่าด้วยการไม่เดินเท้าสะเอวไปและนั่งในละแวกบ้าน
สิกขาบทที่ ๒๓-๒๔ ว่าด้วยการไม่เดินคลุมศีรษะไปและนั่งในละแวกบ้าน
สิกขาบทที่ ๒๕ ว่าด้วยการไม่เดินกระโหย่งไปในละแวกบ้าน
สิกขาบทที่ ๒๖ ว่าด้วยการไม่นั่งรัดเข่าในละแวกบ้าน
สิกขาบทที่ ๒๗ ว่าด้วยการรับบิณฑบาตโดยเคารพ
สิกขาบทที่ ๒๘ ว่าด้วยการให้ความสำคัญในบาตรขณะรับบิณฑบาต
สิกขาบทที่ ๒๙ ว่าด้วยการรับบิณฑบาตพอเหมาะกับแกง
สิกขาบทที่ ๓๐ ว่าด้วยการรับบิณฑบาตเสมอขอบปากบาตร
สิกขาบทที่ ๓๑ ว่าด้วยการฉันบิณฑบาตโดยเคารพ
สิกขาบทที่ ๓๒ ว่าด้วยการให้ความสำคัญในบาตรขณะฉันบิณฑบาต
สิกขาบทที่ ๓๓ ว่าด้วยการฉันบิณฑบาตไปตามลำดับ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๑๑๙ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์] ๑. กัตถปัญญัตติวาร ๗. เสขิยกัณฑ์ รวมสิกขาบทที่มีในเสขิยกัณฑ์
สิกขาบทที่ ๓๔ ว่าด้วยการฉันบิณฑบาตพอเหมาะกับแกง
สิกขาบทที่ ๓๕ ว่าด้วยการไม่ฉันบิณฑบาตขยุ้มลงแต่ยอด
สิกขาบทที่ ๓๖ ว่าด้วยการไม่ใช้ข้าวสุกกลบแกงหรือกับข้าว
สิกขาบทที่ ๓๗ ว่าด้วยการไม่ออกปากขอแกงหรือข้าวสุกมาฉันส่วนตัว
สิกขาบทที่ ๓๘ ว่าด้วยการไม่มุ่งตำหนิมองดูบาตรของภิกษุอื่น
สิกขาบทที่ ๓๙ ว่าด้วยการไม่ทำคำข้าวให้ใหญ่เกิน
สิกขาบทที่ ๔๐ ว่าด้วยการทำคำข้าวให้กลม
สิกขาบทที่ ๔๑ ว่าด้วยการไม่อ้าปากรอคำข้าวที่ยังไม่ถึงปาก
สิกขาบทที่ ๔๒ ว่าด้วยการไม่สอดมือทั้งหมดเข้าในปาก
สิกขาบทที่ ๔๓ ว่าด้วยการไม่พูดคุยขณะที่ในปากมีคำข้าว
สิกขาบทที่ ๔๔ ว่าด้วยการไม่ฉันโยนคำข้าว
สิกขาบทที่ ๔๕ ว่าด้วยการไม่ฉันกัดคำข้าว
สิกขาบทที่ ๔๖ ว่าด้วยการไม่ฉันทำกระพุ้งแก้มให้ตุ่ย
สิกขาบทที่ ๔๗ ว่าด้วยการไม่ฉันสลัดมือ
สิกขาบทที่ ๔๘ ว่าด้วยการไม่ฉันโปรยเมล็ดข้าว
สิกขาบทที่ ๔๙ ว่าด้วยการไม่ฉันแลบลิ้น
สิกขาบทที่ ๕๐ ว่าด้วยการไม่ฉันทำเสียงดังจั๊บ ๆ
สิกขาบทที่ ๕๑ ว่าด้วยการไม่ฉันทำเสียงดังซู้ด ๆ
สิกขาบทที่ ๕๒ ว่าด้วยการไม่ฉันเลียมือ
สิกขาบทที่ ๕๓ ว่าด้วยการไม่ฉันขอดบาตร
สิกขาบทที่ ๕๔ ว่าด้วยการไม่ฉันเลียริมฝีปาก
สิกขาบทที่ ๕๕ ว่าด้วยการไม่จับภาชนะน้ำดื่มด้วยมือเปื้อนอาหาร
สิกขาบทที่ ๕๖ ว่าด้วยการไม่เทน้ำล้างบาตรมีเมล็ดข้าวในละแวกบ้าน
สิกขาบทที่ ๕๗ ว่าด้วยการไม่แสดงธรรมแก่คนผู้กั้นร่ม๑
สิกขาบทที่ ๕๘ ว่าด้วยการไม่แสดงธรรมแก่คนผู้ถือไม้พลอง
สิกขาบทที่ ๕๙ ว่าด้วยการไม่แสดงธรรมแก่คนผู้ถือศัสตรา

เชิงอรรถ :
๑ บาลีใช้คำว่าพระตถาคตจะไม่ทรงแสดงพระสัทธรรมแก่คนเหล่านี้ (น เทเสนฺติ ตถาคตา)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๑๒๐ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์] ๑. กัตถปัญญัตติวาร ๗. เสขิยกัณฑ์ รวมวรรคที่มีในเสขิยกัณฑ์
สิกขาบทที่ ๖๐ ว่าด้วยการไม่แสดงธรรมแก่คนผู้ถืออาวุธ
สิกขาบทที่ ๖๑ ว่าด้วยการไม่แสดงธรรมแก่คนผู้สวมเขียงเท้า
สิกขาบทที่ ๖๒ ว่าด้วยการไม่แสดงธรรมแก่คนผู้สวมรองเท้า
สิกขาบทที่ ๖๓ ว่าด้วยการไม่แสดงธรรมแก่คนผู้อยู่ในยานพาหนะ
สิกขาบทที่ ๖๔ ว่าด้วยการไม่แสดงธรรมแก่คนผู้อยู่บนที่นอน
สิกขาบทที่ ๖๕ ว่าด้วยการไม่แสดงธรรมแก่คนผู้นั่งรัดเข่า
สิกขาบทที่ ๖๖ ว่าด้วยการไม่แสดงธรรมแก่คนผู้โพกศีรษะ
สิกขาบทที่ ๖๗ ว่าด้วยการไม่แสดงธรรมแก่คนผู้คลุมศีรษะ
สิกขาบทที่ ๖๘ ว่าด้วยการไม่แสดงธรรมแก่คนผู้นั่งบนอาสนะ
สิกขาบทที่ ๖๙ ว่าด้วยการไม่แสดงธรรมแก่คนผู้นั่งบนอาสนะสูง
สิกขาบทที่ ๗๐ ว่าด้วยการไม่แสดงธรรมแก่คนผู้นั่งอยู่
สิกขาบทที่ ๗๑ ว่าด้วยการไม่แสดงธรรมแก่คนผู้เดินไปข้างหน้า
สิกขาบทที่ ๗๒ ว่าด้วยการไม่แสดงธรรมแก่คนผู้เดินไปในทางขณะที่
อยู่นอกทาง
สิกขาบทที่ ๗๓ ว่าด้วยการไม่ยืนถ่ายอุจจาระหรือปัสสาวะ
สิกขาบทที่ ๗๔ ว่าด้วยการไม่บ้วนน้ำลายบนของเขียว
สิกขาบทที่ ๗๕ ว่าด้วยการไม่ถ่ายอุจจาระ ปัสาวะหรือบ้วนน้ำลาย
ลงในน้ำ

รวมวรรคที่มีในเสขิยกัณฑ์

๑. ปริมัณฑลวรรค หมวดว่าด้วยการนุ่งห่มเป็นปริมณฑล
๒. อุชชัคฆิกวรรค หมวดว่าด้วยการหัวเราะ
๓. ขัมภกตวรรค หมวดว่าด้วยการเท้าสะเอว
๔. ปิณฑปาตวรรค หมวดว่าด้วยบิณฑบาต
๕. กพฬวรรค หมวดว่าด้วยคำข้าว
๖. สุรุสุรุวรรค หมวดว่าด้วยการฉันดังซู้ด ๆ
๗. ปาทุกาวรรค หมวดว่าด้วยเขียงเท้า

กัตถปัญญัตติวารในมหาวิภังค์ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๑๒๑ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์] ๒. กตาปัตติวาร ๑. ปาราชิกกัณฑ์
๒. กตาปัตติวาร
วาระว่าด้วยต้องอาบัติเท่าไร
๑. ปาราชิกกัณฑ์
คำถาม - คำตอบจำนวนอาบัติในปาราชิกกัณฑ์
ปาราชิกสิกขาบทที่ ๑
[๑๕๗] ถาม : ภิกษุเสพเมถุนธรรม ต้องอาบัติเท่าไร
ตอบ : ภิกษุเสพเมถุนธรรม ต้องอาบัติ ๓ อย่าง คือ
๑. เสพเมถุนธรรมในซากศพที่ยังไม่ถูกสัตว์กัดกิน ต้องอาบัติปาราชิก
๒. เสพเมถุนธรรมในซากศพที่ถูกสัตว์กัดกินโดยมาก ต้องอาบัติถุลลัจจัย
๓. สอดองคชาตเข้าในปากที่อ้า แต่มิได้ถูกต้อง ต้องอาบัติทุกกฏ
ภิกษุเสพเมถุนธรรม ต้องอาบัติ ๓ อย่างเหล่านี้

ปาราชิกสิกขาบทที่ ๒
[๑๕๘] ถาม : ภิกษุถือเอาสิ่งของที่เจ้าของมิได้ให้ ต้องอาบัติเท่าไร
ตอบ : ภิกษุถือเอาสิ่งของที่เจ้าของมิได้ให้ ต้องอาบัติ ๓ อย่าง คือ
๑. ถือเอาสิ่งของที่เจ้าของมิได้ให้ โดยส่วนแห่งจิตคิดจะลัก มีราคา ๕
มาสก หรือเกินกว่า ๕ มาสก ต้องอาบัติปาราชิก
๒. ถือเอาสิ่งของที่เจ้าของมิได้ให้ โดยส่วนแห่งจิตคิดจะลัก มีราคาเกิน
กว่า ๑ มาสก หรือน้อยกว่า ๕ มาสก ต้องอาบัติถุลลัจจัย
๓. ถือเอาสิ่งของที่เจ้าของมิได้ให้ โดยส่วนแห่งจิตคิดจะลัก มีราคา ๑
มาสก หรือน้อยกว่า ๑ มาสก ต้องอาบัติทุกกฏ
ภิกษุถือเอาสิ่งของที่เจ้าของมิได้ให้ ต้องอาบัติ ๓ อย่างเหล่านี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๑๒๒ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์] ๒. กตาปัตติวาร ๑. ปาราชิกกัณฑ์
ปาราชิกสิกขาบทที่ ๓
[๑๕๙] ถาม : ภิกษุจงใจพรากกายมนุษย์จากชีวิต ต้องอาบัติเท่าไร
ตอบ : ภิกษุจงใจพรากกายมนุษย์จากชีวิต ต้องอาบัติ ๓ อย่าง คือ
๑. ขุดหลุมพรางไว้เจาะจงมนุษย์ว่า “บุคคลชื่อนี้จะตกลงไปตาย” ต้อง
อาบัติทุกกฏ
๒. เมื่อบุคคลนั้นตกลงไปได้รับทุกขเวทนา ต้องอาบัติถุลลัจจัย
๓. เขาตาย ต้องอาบัติปาราชิก
ภิกษุจงใจพรากกายมนุษย์จากชีวิต ต้องอาบัติ ๓ อย่างเหล่านี้

ปาราชิกสิกขาบทที่ ๔
[๑๖๐] ถาม : ภิกษุกล่าวอวดอุตตริมนุสสธรรมที่ไม่มีอยู่ ไม่เป็นจริง ต้องอาบัติ
เท่าไร
ตอบ : ภิกษุกล่าวอวดอุตตริมนุสสธรรมที่ไม่มีอยู่ ไม่เป็นจริง ต้องอาบัติ ๓
อย่าง คือ
๑. ภิกษุมีความปรารถนาชั่ว ถูกความอยากครอบงำ กล่าวอวดอุตตริ -
มนุสสธรรมที่ไม่มีอยู่ ไม่เป็นจริง ต้องอาบัติปาราชิก
๒. ภิกษุกล่าวว่า “ภิกษุรูปใดอยู่ในวิหารของท่านภิกษุรูปนั้นเป็นพระ
อรหันต์” เมื่อผู้อื่นเข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย
๓. เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติทุกกฏ
ภิกษุกล่าวอวดอุตตริมนุสสธรรมที่ไม่มีอยู่ไม่เป็นจริง ต้องอาบัติ ๓ อย่าง
เหล่านี้
ปาราชิก ๔ สิกขาบท จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๑๒๓ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์] ๒. กตาปัตติวาร ๒. สังฆาทิเลสกัณฑ์
๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์
คำถาม - คำตอบจำนวนอาบัติในสังฆาทิเสสกัณฑ์
๑. สุกกวิสัฏฐิสิกขาบท
[๑๖๑] ถาม : ภิกษุพยายามทำน้ำอสุจิให้เคลื่อน ต้องอาบัติเท่าไร
ตอบ : ภิกษุพยายามทำน้ำอสุจิให้เคลื่อน ต้องอาบัติ ๓ อย่าง คือ
๑. จงใจ พยายาม น้ำอสุจิเคลื่อน ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
๒. จงใจ พยายาม น้ำอสุจิไม่เคลื่อน ต้องอาบัติถุลลัจจัย
๓. ต้องอาบัติทุกกฏ๑ เพราะพยายาม

๒. กายสังสัคคสิกขาบท
ภิกษุถูกต้องกายกับมาตุคาม ต้องอาบัติ ๓ อย่าง คือ
๑. ใช้กายจับต้องกาย ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
๒. ใช้กายจับต้องของที่เนื่องด้วยกาย ต้องอาบัติถุลลัจจัย
๓. ใช้ของที่เนื่องด้วยกายจับต้องของที่เนื่องด้วยกาย ต้องอาบัติทุกกฏ

เชิงอรรถ :
๑ อาบัติทุกกฏในสุกกวิสัฏฐิสิกขาบทมีกล่าวในคัมภีร์มหาวิภังค์ ๒ แห่ง
๑. ภิกษุจับองคชาตของสามเณร ผู้หลับอยู่แล้ว น้ำอสุจิของภิกษุเคลื่อน ต้องอาบัติทุกกฏ (วิ.มหา.
(แปล) ๑/๒๖๕/๒๘๑)
๒. ภิกษุมีความกำหนัดเพ่งดูองค์กำเนิดของมาตุคาม ต้องอาบัติทุกกฏ (วิ.มหา. (แปล) ๑/๒๖๖/
๒๘๔)
ในอรรถกถากล่าวอาบัติทุกกฏไว้ ๒ แห่ง
๑. ภิกษุยินดีในเมถุนธรรม จับต้องมาตุคามด้วยความกำหนัดในเมถุน น้ำอสุจิเคลื่อนเพราะ
พยายามจับต้อง แต่เพราะเป็นขั้นตอนแห่งเมถุนธรรม จึงต้องอาบัติทุกกฏ (วิ.อ. ๒/๒๔๐/๑๓)
๒. ภิกษุมีความกำหนัดพยายามเพ่งดูนิมิตของมาตุคามต้องอาบัติทุกกฏ (วิ.อ. ๒/๒๖๖/๑๘)
ต้องอาบัติทุกกฏ ขณะพยายาม ในคัมภีร์ปริวารนี้คงหมายถึงพยายามจับต้องมาตุคามด้วยประสงค์
จะเสพเมถุนธรรมแล้วน้ำอสุจิเคลื่อน หรือพยายามเพ่งดูอวัยวะของมาตุคามก็ได้ เพราะข้อความตอนนี้
ท่านอธิบายสุกกวิสัฏฐิสิกขาบท ในสิกขาบทวิภังค์ และปทภาชนีย์ ไม่มีกล่าวถึงอาบัติทุกกฏ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๑๒๔ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์] ๒. กตาปัตติวาร ๒. สังฆาทิเลสกัณฑ์
๓. ทุฏฐุลลวาจาสิกขาบท
ภิกษุพูดเกี้ยวมาตุคามด้วยวาจาชั่วหยาบ ต้องอาบัติ ๓ อย่าง คือ
๑. พูดชมบ้าง พูดติบ้าง พาดพิงถึงทวารหนัก ทวารเบา ต้องอาบัติ
สังฆาทิเสส
๒. พูดชมบ้าง พูดติบ้าง พาดพิงถึงอวัยวะเบื้องบนใต้รากขวัญลงมา อวัยวะ
เบื้องต่ำเหนือเข่าขึ้นไป เว้นทวารหนัก ทวารเบา ต้องอาบัติถุลลัจจัย
๓. พูดชมบ้าง พูดติบ้าง พาดพิงถึงของที่เนื่องด้วยกาย ต้องอาบัติทุกกฏ

๔. อัตตกามปาริจริยสิกขาบท
ภิกษุกล่าวสรรเสริญการบำเรอความใคร่ของตน ต้องอาบัติ ๓ อย่าง คือ
๑. กล่าวสรรเสริญการบำเรอความใคร่ของตนต่อหน้ามาตุคาม ต้องอาบัติ
สังฆาทิเสส
๒. กล่าวสรรเสริญการบำเรอความใคร่ของตนต่อหน้าบัณเฑาะก์ ต้อง
อาบัติถุลลัจจัย
๓. กล่าวสรรเสริญการบำเรอความใคร่ของตนต่อหน้าสัตว์ดิรัจฉาน ต้อง
อาบัติทุกกฏ

๕. สัญจริตตสิกขาบท
ภิกษุทำหน้าที่ชักสื่อ ต้องอาบัติ ๓ อย่าง คือ
๑. รับคำ ไปบอก กลับมาบอก ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
๒. รับคำ ไปบอก ไม่กลับมาบอก ต้องอาบัติถุลลัจจัย
๓. รับคำ ไม่ไปบอก ไม่กลับมาบอก ต้องอาบัติทุกกฏ

๖. กุฏิการสิกขาบท
ภิกษุสร้างกุฎีด้วยการขอเอาเอง ต้องอาบัติ ๓ อย่าง คือ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๑๒๕ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์] ๒. กตาปัตติวาร ๒. สังฆาทิเลสกัณฑ์
๑. กำลังใช้ให้สร้าง ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะพยายาม
๒. ยังเหลืออิฐอีกก้อนหนึ่งจึงจะเสร็จ ต้องอาบัติถุลลัจจัย
๓. อิฐก้อนสุดท้ายเสร็จแล้ว ต้องอาบัติสังฆาทิเสส

๗. วิหารการสิกขาบท
ภิกษุใช้ให้สร้างวิหารใหญ่ ต้องอาบัติ ๓ อย่าง คือ
๑. กำลังใช้ให้สร้าง ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะพยายาม
๒. ยังเหลืออิฐอีกก้อนหนึ่งจึงจะเสร็จ ต้องอาบัติถุลลัจจัย
๓. อิฐก้อนสุดท้ายเสร็จแล้ว ต้องอาบัติสังฆาทิเสส

๘. ปฐมทุฏฐโทสสิกขาบท
ภิกษุใส่ความภิกษุด้วยอาบัติปาราชิกที่ไม่มีมูล ต้องอาบัติ ๓ อย่าง คือ
๑. ไม่ขอโอกาสก่อน มีความประสงค์จะให้พ้นจากพรหมจรรย์ จึงโจท
ต้องอาบัติทุกกฏกับสังฆาทิเสส
๒. ขอโอกาสก่อน มีความประสงค์จะด่า จึงโจท ต้องอาบัติเพราะกล่าว
เสียดสี๑

๙. ทุติยทุฏฐโทสสิกขาบท
ภิกษุอ้างเอาบางส่วนแห่งอธิกรณ์เรื่องอื่นเป็นเลศใส่ความภิกษุด้วยอาบัติปาราชิก
ต้องอาบัติ ๓ อย่าง คือ
๑. ไม่ขอโอกาสก่อน มีความประสงค์จะให้พ้นจากพรหมจรรย์ จึงโจท
ต้องอาบัติทุกกฏกับสังฆาทิเสส
๒. ขอโอกาสก่อน มีความประสงค์จะด่า จึงโจท ต้องอาบัติเพราะกล่าว
เสียดสี

เชิงอรรถ :
๑ ต้องอาบัติปาจิตตีย์ เพราะกล่าวเสียดสีตามสิกขาบทที่ ๒ แห่งมุสาวาทวรรค ในปาจิตติยกัณฑ์ (วิ.มหา.
(แปล) ๒/๑๔/๒๐๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๑๒๖ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์] ๒. กตาปัตติวาร ๒. สังฆาทิเลสกัณฑ์
๑๐. สังฆเภทสิกขาบท
ภิกษุผู้ทำสงฆ์ให้แตกกัน ถูกสงฆ์สวดสมนุภาสน์ครบ ๓ ครั้งก็ยังไม่สละ(เรื่องนั้น)
ต้องอาบัติ ๓ อย่าง คือ
๑. จบญัตติ ต้องอาบัติทุกกฏ
๒. จบกรรมวาจา ๒ ครั้ง ต้องอาบัติถุลลัจจัย
๓. จบกรรมวาจาครั้งสุดท้าย ต้องอาบัติสังฆาทิเสส

๑๑. สังฆเภทานุวัตตกสิกขาบท
ภิกษุทั้งหลายที่ประพฤติตามสนับสนุนภิกษุผู้ทำลายสงฆ์ ถูกสงฆ์สวดสมนุภาสน์
ครบ ๓ ครั้ง ก็ยังไม่สละ(เรื่องนั้น) ต้องอาบัติ ๓ อย่าง คือ
๑. จบญัตติ ต้องอาบัติทุกกฏ
๒. จบกรรมวาจา ๒ ครั้ง ต้องอาบัติถุลลัจจัย
๓. จบกรรมวาจาครั้งสุดท้าย ต้องอาบัติสังฆาทิเสส

๑๒. ทุพพจสิกขาบท
ภิกษุเป็นคนว่ายาก ถูกสงฆ์สวดสมนุภาสน์ครบ ๓ ครั้ง ก็ยังไม่สละ(เรื่องนั้น)
ต้องอาบัติ ๓ อย่าง คือ
๑. จบญัตติ ต้องอาบัติทุกกฏ
๒. จบกรรมวาจา ๒ ครั้ง ต้องอาบัติถุลลัจจัย
๓. จบกรรมวาจาครั้งสุดท้าย ต้องอาบัติสังฆาทิเสส

๑๓. กุลทูสกสิกขาบท
ภิกษุผู้ประทุษร้ายตระกูล ถูกสงฆ์สวดสมนุภาสน์ครบ ๓ ครั้ง ก็ยังไม่สละ ต้อง
อาบัติ ๓ อย่าง คือ
๑. จบญัตติ ต้องอาบัติทุกกฏ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๑๒๗ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์] ๒. กตาปัตติวาร ๔. นิสสัคคิยกัณฑ ๑. กฐินวรรค
๒. จบกรรมวาจา ๒ ครั้ง ต้องอาบัติถุลลัจจัย
๓. จบกรรมวาจาครั้งสุดท้าย ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
สังฆาทิเสส ๑๓ สิกขาบท จบ
ฯเปฯ

๔. นิสสัคคิยกัณฑ์
จำนวนอาบัติในนิสสัคคิยกัณฑ์
๑. กฐินวรรค
๑. ปฐมกฐินสิกขาบท
[๑๖๒] ภิกษุทรงอติเรกจีวรไว้เกิน ๑๐ วัน ต้องอาบัติ ๑ อย่าง คือ นิสสัคคิย-
ปาจิตตีย์
๒. อุทโทสิตสิกขาบท
ภิกษุอยู่ปราศจากไตรจีวรสิ้นราตรีหนึ่ง ต้องอาบัติ ๑ อย่าง คือ นิสสัคคิย-
ปาจิตตีย์
๓. ตติยกฐินสิกขาบท
ภิกษุรับผ้าที่เป็นอกาลจีวรแล้วเก็บไว้เกิน ๑ เดือน ต้องอาบัติ ๑ อย่างคือ
นิสสัคคิยปาจิตตีย์
๔. ปุราณจีวรสิกขาบท
ภิกษุใช้ภิกษุณีผู้ไม่ใช่ญาติให้ซักจีวรเก่า ต้องอาบัติ ๒ อย่าง คือ
๑. ใช้ให้ซัก ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะพยายาม๑
๒. เมื่อให้ซักเสร็จแล้ว ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์

เชิงอรรถ :
๑ ปโยเค เพราะพยายาม ทุกแห่ง หมายถึงในขณะพยายามทำ หรือใช้ให้ทำสิ่งนั้น ๆ ก่อนสำเร็จ (ดู วิ.อ.
๒/๓๕๓/๖๔-๖๕

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๑๒๘ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์] ๒. กตาปัตติวาร ๔. นิสสัคคิยกัณฑ์ ๑. กฐินวรรค
๕. จีวรปฏิคคหณสิกขาบท
ภิกษุรับจีวรจากมือของภิกษุณีผู้ไม่ใช่ญาติ ต้องอาบัติ ๒ อย่าง คือ
๑. รับ ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะพยายาม
๒. เมื่อรับจีวรแล้ว ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์

๖. อัญญาตกวิญญัตติสิกขาบท
ภิกษุออกปากขอจีวรจากคฤหัสถ์ชาย หรือคฤหัสถ์หญิงผู้ไม่ใช่ญาติ ต้องอาบัติ
๒ อย่าง คือ
๑. ออกปากขอ ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะพยายาม
๒. เมื่อออกปากขอได้มาแล้ว ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์

๗. ตตุตตริสิกขาบท
ภิกษุออกปากขอจีวรเกินกว่านั้นจากคฤหัสถ์ชาย หรือคฤหัสถ์หญิง ผู้ไม่ใช่ญาติ
ต้องอาบัติ ๒ อย่าง คือ
๑. ออกปากขอ ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะพยายาม
๒. เมื่อออกปากขอได้มาแล้ว ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์

๘. อุปักขฏสิกขาบท
ภิกษุผู้ซึ่งเขาไม่ได้ปวารณาไว้ก่อน เข้าไปหาคฤหัสถ์ผู้ไม่ใช่ญาติแล้วกำหนดชนิด
จีวร ต้องอาบัติ ๒ อย่าง คือ
๑. กำหนด ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะพยายาม
๒. เมื่อกำหนดแล้ว ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์

๙. ทุติยอุปักขฏสิกขาบท
ภิกษุผู้ซึ่งเขาไม่ได้ปวารณาไว้ก่อน เข้าไปหาคฤหัสถ์ผู้ไม่ใช่ญาติ แล้วกำหนดจีวร
ต้องอาบัติ ๒ อย่าง คือ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๑๒๙ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์] ๒. กตาปัตติวาร ๔. นิสสัคคิยกัณฑ์ ๒. โกสิยวรรค
๑. กำหนด ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะพยายาม
๒. เมื่อกำหนดแล้ว ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์

๑๐. ราชสิกขาบท
ภิกษุให้เขาจัดจีวรสำเร็จได้ด้วยการทวงเกิน ๓ ครั้ง ยืนเกิน ๖ ครั้ง ต้องอาบัติ
๒ อย่าง คือ
๑. ให้เขาจัดสำเร็จ ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะพยายาม
๒. เมื่อให้เขาจัดสำเร็จแล้ว ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
กฐินวรรคที่ ๑ จบ

๒. โกสิยวรรค
๑. โกสิยสิกขาบท
[๑๖๓] ภิกษุใช้ให้ทำสันถัตผสมใยไหม ต้องอาบัติ ๒ อย่าง คือ
๑. กำลังใช้ให้ทำ ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะพยายาม
๒. เมื่อใช้ให้ทำเสร็จแล้ว ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์

๒. สุทธกาฬกสิกขาบท
ภิกษุใช้ให้ทำสันถัตขนเจียมดำล้วน ต้องอาบัติ ๒ อย่าง คือ
๑. กำลังใช้ให้ทำ ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะพยายาม
๒. เมื่อใช้ให้ทำเสร็จแล้ว ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์

๓. เทฺวภาคสิกขาบท
ภิกษุไม่เอาขนเจียมขาว ๑ ส่วน ขนเจียมแดง ๑ ส่วน แล้วใช้ให้ทำสันถัตใหม่
ต้องอาบัติ ๒ อย่าง คือ
๑. กำลังใช้ให้ทำ ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะพยายาม
๒. เมื่อใช้ให้ทำเสร็จแล้ว ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๑๓๐ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์] ๒. กตาปัตติวาร ๔. นิสสัคคิยกัณฑ์ ๒. โกสิยวรรค
๔. ฉัพพัสสสิกขาบท
ภิกษุใช้ให้ทำสันถัตทุกปี ต้องอาบัติ ๒ อย่าง คือ
๑. กำลังใช้ให้ทำ ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะพยายาม
๒. เมื่อใช้ให้ทำเสร็จแล้ว ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์

๕. นิสีทนสันถตสิกขาบท
ภิกษุไม่เอาสันถัตเก่า ๑ คืบสุคตโดยรอบมาปน แล้วใช้ให้ทำสันถัตรองนั่งใหม่
ต้องอาบัติ ๒ อย่าง คือ
๑. กำลังใช้ให้ทำ ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะพยายาม
๒. เมื่อใช้ให้ทำเสร็จแล้ว ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์

๖. เอฬกโลมสิกขาบท
ภิกษุรับขนเจียมมาแล้ว เดินทางไปเกิน ๓ โยชน์ ต้องอาบัติ ๒ อย่าง คือ
๑. ย่างเท้าที่ ๑ ผ่าน ๓ โยชน์ไป ต้องอาบัติทุกกฏ
๒. ย่างเท้าที่ ๒ ผ่านไป ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์

๗. เอฬกโลมโธวาปนสิกขาบท
ภิกษุใช้ภิกษุณีผู้ไม่ใช่ญาติให้ซักขนเจียม ต้องอาบัติ ๒ อย่าง คือ
๑. กำลังใช้ให้ซัก ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะพยายาม
๒. เมื่อใช้ให้ซักเสร็จแล้ว ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์

๘. รูปิยสิกขาบท
ภิกษุรับรูปิยะ ต้องอาบัติ ๒ อย่าง คือ
๑. กำลังรับ ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะพยายาม
๒. เมื่อรับแล้ว ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๑๓๑ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์] ๒. กตาปัตติวาร ๔. นิสสัคคิยกัณฑ์ ๓. ปัตตวรรค
๙. รูปิยสังโวหารสิกขาบท
ภิกษุทำการแลกเปลี่ยนกันด้วยรูปิยะชนิดต่าง ๆ ต้องอาบัติ ๒ อย่าง คือ
๑. กำลังแลกเปลี่ยน ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะพยายาม
๒. เมื่อแลกเปลี่ยนแล้ว ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์

๑๐. กยวิกกยสิกขาบท
ภิกษุทำการซื้อขายมีประการต่าง ๆ ต้องอาบัติ ๒ อย่าง คือ
๑. กำลังซื้อขาย ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะพยายาม
๒. เมื่อซื้อขายแล้ว ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
โกสิยวรรคที่ ๒ จบ

๓. ปัตตวรรค
๑. ปัตตสิกขาบท
[๑๖๔] ภิกษุทรงอติเรกบาตรไว้เกิน ๑๐ วัน ต้องอาบัติ ๑ อย่าง คือ
นิสสัคคิยปาจิตตีย์
๒. อูนปัญจพันธนสิกขาบท
ภิกษุมีบาตรที่มีรอยซ่อมหย่อนกว่า ๕ แห่ง ขอบาตรใหม่ใบอื่น ต้องอาบัติ ๒
อย่าง คือ
๑. กำลังขอ ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะพยายาม
๒. เมื่อขอได้แล้ว ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์

๓. เภสัชชสิกขาบท
ภิกษุรับประเคนเภสัชแล้วเก็บไว้ฉันเกิน ๗ วัน ต้องอาบัติ ๑ อย่าง คือ
นิสสัคคิยปาจิตตีย์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๑๓๒ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์] ๒. กตาปัตติวาร ๔. นิสสัคคิยกัณฑ์ ๓. ปัตตวรรค
๔. วัสสิกสาฏิกสิกขาบท
ภิกษุแสวงหาจีวรคือผ้าอาบน้ำฝน เมื่อฤดูร้อนยังเหลือเกินกว่า ๑ เดือน ต้อง
อาบัติ ๒ อย่าง คือ
๑. กำลังแสวงหา ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะพยายาม
๒. แสวงหาได้แล้ว ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์

๕. จีวรอัจฉินทนสิกขาบท
ภิกษุให้จีวรแก่ภิกษุเองแล้วโกรธ ไม่พอใจ ชิงเอาคืนมา ต้องอาบัติ ๒ อย่าง
คือ
๑. กำลังชิงเอาคืนมา ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะพยายาม
๒. เมื่อชิงเอามาได้แล้ว ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์

๖. สุตตวิญญัตติสิกขาบท
ภิกษุออกปากขอด้ายมาเองแล้วใช้ช่างหูกให้ทอจีวร ต้องอาบัติ ๒ อย่าง คือ
๑. กำลังใช้ให้ทอ ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะพยายาม
๒. เมื่อใช้ให้ทอเสร็จแล้ว ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์

๗. มหาเปสการสิกขาบท
ภิกษุผู้ซึ่งเขาไม่ได้ปวารณาไว้ก่อน เข้าไปหาช่างหูกทั้งหลายของคฤหัสถ์ผู้ไม่ใช่
ญาติ แล้วกำหนดชนิดจีวร ต้องอาบัติ ๒ อย่าง คือ
๑. กำลังกำหนด ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะพยายาม
๒. เมื่อกำหนดเสร็จแล้ว ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์

๘. อัจเจกจีวรสิกขาบท
ภิกษุรับอัจเจกจีวร แล้วเก็บไว้เกินสมัยจีวรกาล ต้องอาบัติ ๑ อย่าง คือ
นิสสัคคิยปาจิตตีย์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๑๓๓ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์] ๒. กตาปัตติวาร ๕. ปาจิตติยกัณฑ์ ๑. มุสาวาทวรรค
๙. สาสังกสิกขาบท
ภิกษุเก็บไตรจีวรผืนใดผืนหนึ่งไว้ในละแวกบ้านแล้วอยู่ปราศเกิน ๖ คืน ต้อง
อาบัติ ๑ อย่างคือนิสสัคคิยปาจิตตีย์

๑๐. ปริณตสิกขาบท
ภิกษุรู้อยู่ น้อมลาภที่เขาน้อมไว้เป็นของจะถวายสงฆ์มาเพื่อตน ต้องอาบัติ ๒
อย่าง คือ
๑. กำลังน้อมมา ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะพยายาม
๒. เมื่อน้อมมาได้แล้ว ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
ปัตตวรรคที่ ๓ จบ
นิสสัคคิยปาจิตตีย์ ๓๐ สิกขาบท จบ

๕. ปาจิตติยกัณฑ์
จำนวนอาบัติในปาจิตติยกัณฑ์
๑. มุสาวาทวรรค
๑. มุสาวาทสิกขาบท
[๑๖๕] ถาม : ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ต้องอาบัติเท่าไร
ตอบ : ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ต้องอาบัติ ๕ อย่าง คือ
๑. ภิกษุมีความปรารถนาชั่ว ถูกความอยากครอบงำ กล่าวอวดอุตตริ-
มนุสสธรรมที่ไม่มีอยู่ ไม่เป็นจริง ต้องอาบัติปาราชิก
๒. ภิกษุโจทภิกษุด้วยอาบัติปาราชิกที่ไม่มีมูล ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
๓. ภิกษุกล่าวว่า “ภิกษุรูปใดอยู่ในวิหารของท่านภิกษุรูปนั้นเป็นพระ
อรหันต์” เมื่อผู้อื่นเข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๑๓๔ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์] ๒. กตาปัตติวาร ๕. ปาจิตติยกัณฑ์ ๑. มุสาวาทวรรค
๔. เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติทุกกฏ
๕. ต้องอาบัติปาจิตตีย์ เพราะกล่าวเท็จทั้งที่รู้
ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ต้องอาบัติ ๕ อย่างเหล่านี้

๒. โอมสวาทสิกขาบท
ภิกษุกล่าวเสียดสี ต้องอาบัติ ๒ อย่าง คือ
๑. กล่าวเสียดสีอุปสัมบัน(ภิกษุ) ต้องอาบัติปาจิตตีย์
๒. กล่าวเสียดสีอนุปสัมบัน(ผู้มิใช่ภิกษุ) ต้องอาบัติทุกกฏ

๓. เปสุญญสิกขาบท
ภิกษุกล่าวส่อเสียด ต้องอาบัติ ๒ อย่าง คือ
๑. กล่าวส่อเสียดอุปสัมบัน ต้องอาบัติปาจิตตีย์
๒. กล่าวส่อเสียดอนุปสัมบัน ต้องอาบัติทุกกฏ

๔. ปทโสธัมมสิกขาบท
ภิกษุสอนอนุปสัมบันให้กล่าวธรรมแข่งกันเป็นบท ๆ ต้องอาบัติ ๒ อย่าง คือ
๑. กำลังสอนให้กล่าว ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะพยายาม
๒. ต้องอาบัติปาจิตตีย์ทุก ๆ บท

๕. สหเสยยสิกขาบท
ภิกษุนอนร่วมกันกับอนุปสัมบัน เกิน ๒-๓ คืน ต้องอาบัติ ๒ อย่าง คือ
๑. กำลังนอน ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะพยายาม
๒. เมื่อนอนแล้ว ต้องอาบัติปาจิตตีย์

๖. ทุติยสหเสยยสิกขาบท
ภิกษุนอนร่วมกันกับมาตุคาม ต้องอาบัติ ๒ อย่าง คือ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๑๓๕ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์] ๒. กตาปัตติวาร ๕. ปาจิตติยกัณฑ์ ๑. มุสาวาทวรรค
๑. กำลังนอน ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะพยายาม
๒. เมื่อนอนแล้ว ต้องอาบัติปาจิตตีย์

๗. ธัมมเทสนาสิกขาบท
ภิกษุแสดงธรรมแก่มาตุคามเกิน ๕-๖ คำ ต้องอาบัติ ๒ อย่าง คือ
๑. กำลังแสดง ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะพยายาม
๒. ต้องอาบัติปาจิตตีย์ทุก ๆ บท

๘. ภูตาโรจนสิกขาบท
ภิกษุบอกอุตตริมนุสสธรรมที่มีจริงแก่อนุปสัมบัน ต้องอาบัติ ๒ อย่าง คือ
๑. กำลังบอก ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะพยายาม
๒. เมื่อบอกแล้ว ต้องอาบัติปาจิตตีย์

๙. ทุฏฐุลลาโรจนสิกขาบท
ภิกษุบอกอาบัติชั่วหยาบของภิกษุแก่อนุปสัมบัน ต้องอาบัติ ๒ อย่าง คือ
๑. กำลังบอก ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะพยายาม
๒. เมื่อบอกแล้ว ต้องอาบัติปาจิตตีย์

๑๐. ปฐวีขณนสิกขาบท
ภิกษุขุดดิน ต้องอาบัติ ๒ อย่าง คือ
๑. กำลังขุด ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะพยายาม
๒. ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ทุก ๆ คราวที่ขุด
มุสาวาทวรรคที่ ๑ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๑๓๖ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์] ๒. กตาปัตติวาร ๕. ปาจิตติยกัณฑ์ ๒. ภูตคามวรรค
๒. ภูตคามวรรค
๑. ภูตคามสิกขาบท
[๑๖๖] ภิกษุพรากภูตคาม ต้องอาบัติ ๒ อย่าง คือ
๑. กำลังพราก ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะพยายาม
๒. ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ทุก ๆ คราวที่พราก

๒. อัญญวาทกสิกขาบท
ภิกษุนำเอาเรื่องอื่นมากล่าวกลบเกลื่อน ต้องอาบัติ ๒ อย่าง คือ
๑. เมื่อสงฆ์ยังไม่ลงอัญญวาทกกรรม(กรรมที่จะพึงกระทำแก่ภิกษุผู้พูด
กลบเกลื่อน) นำเอาเรื่องอื่นมากล่าวกลบเกลื่อน ต้องอาบัติทุกกฏ
๒. เมื่อสงฆ์ลงอัญญวาทกกรรมแล้ว นำเอาเรื่องอื่นมากล่าวกลบเกลื่อน
ต้องอาบัติปาจิตตีย์

๓. อุชฌาปนกสิกขาบท
ภิกษุกล่าวให้ผู้อื่นเพ่งโทษภิกษุ ต้องอาบัติ ๒ อย่าง คือ
๑. กำลังกล่าวให้เพ่งโทษ ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะพยายาม
๒. เมื่อกล่าวให้เพ่งโทษแล้ว ต้องอาบัติปาจิตตีย์

๔. ปฐมเสนาสนสิกขาบท
ภิกษุวางเตียง ตั่ง ฟูก หรือเก้าอี้ของสงฆ์ในที่กลางแจ้งแล้ว เมื่อจะจากไป ไม่เก็บ
ไม่บอกมอบหมาย ต้องอาบัติ ๒ อย่าง คือ
๑. เดินล่วงเลฑฑุบาต๑ไป ๑ ก้าว ต้องอาบัติทุกกฏ
๒. เดินล่วงเลฑฑุบาตไป ๒ ก้าว ต้องอาบัติปาจิตตีย์

เชิงอรรถ :
๑ เลฑฑุบาต เท่ากับระยะโยนหรือขว้างก้อนดินไปตก(ดู วิสุทฺธิ. ๑/๓๑/๗๖)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๑๓๗ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์] ๒. กตาปัตติวาร ๕. ปาจิตติยกัณฑ์ ๒. ภูตคามวรรค
๕. ทุติยเสนาสนสิกขาบท
ภิกษุปูที่นอนในวิหารของสงฆ์แล้ว เมื่อจะจากไปไม่เก็บ ไม่บอกมอบหมาย ต้อง
อาบัติ ๒ อย่าง คือ
๑. เดินล่วงเลยเครื่องล้อมไป ๑ ก้าว ต้องอาบัติทุกกฏ
๒. เดินล่วงเลยเครื่องล้อมไป ๒ ก้าว ต้องอาบัติปาจิตตีย์

๖. อนุปขัชชสิกขาบท
ภิกษุรู้อยู่ เข้าไปนอนแทรกแซงภิกษุผู้เข้าไปอยู่ในวิหารของสงฆ์ก่อน ต้องอาบัติ
๒ อย่าง คือ
๑. กำลังนอน ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะพยายาม
๒. เมื่อนอนแล้ว ต้องอาบัติปาจิตตีย์

๗. นิกกัฑฒนสิกขาบท
ภิกษุโกรธ ไม่พอใจ ฉุดลากภิกษุออกจากวิหารของสงฆ์ ต้องอาบัติ ๒ อย่าง คือ
๑. กำลังฉุดลาก ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะพยายาม
๒. เมื่อฉุดลากออกไปแล้ว ต้องอาบัติปาจิตตีย์

๘. เวหาสกุฏิสิกขาบท
ภิกษุนั่งบนเตียงหรือบนตั่งอันมีเท้าเสียบบนกุฎีชั้นลอยในวิหารของสงฆ์ ต้องอาบัติ
๒ อย่าง คือ
๑. กำลังนั่ง ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะพยายาม
๒. เมื่อนั่งแล้ว ต้องอาบัติปาจิตตีย์

๙. มหัลลกวิหารสิกขาบท
ภิกษุดำเนินการมุงหลังคา(วิหาร) ๒-๓ ชั้น แล้วดำเนินการเกินกว่านั้น ต้อง
อาบัติ ๒ อย่าง คือ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๑๓๘ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์] ๒. กตาปัตติวาร ๕. ปาจิตติยกัณฑ์ ๓. โอวาทวรรค
๑. กำลังดำเนินการ ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะพยายาม
๒. เมื่อดำเนินการแล้ว ต้องอาบัติปาจิตตีย์

๑๐. สัปปาณกสิกขาบท
ภิกษุรู้อยู่ว่าน้ำมีสิ่งมีชีวิต รดหญ้าหรือดิน ต้องอาบัติ ๒ อย่าง คือ
๑. กำลังรด ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะพยายาม
๒. เมื่อรดแล้ว ต้องอาบัติปาจิตตีย์
ภูตคามวรรคที่ ๒ จบ

๓. โอวาทวรรค
๑. โอวาทสิกขาบท
[๑๖๗] ภิกษุไม่ได้รับแต่งตั้ง สั่งสอนภิกษุณีทั้งหลาย ต้องอาบัติ ๒ อย่าง คือ
๑. กำลังสั่งสอน ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะพยายาม
๒. เมื่อสั่งสอนแล้ว ต้องอาบัติปาจิตตีย์

๒. อัตถังคตสิกขาบท
ภิกษุสั่งสอนภิกษุณีทั้งหลายในเวลาที่ดวงอาทิตย์อัสดงแล้ว ต้องอาบัติ ๒ อย่าง คือ
๑. กำลังสั่งสอน ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะพยายาม
๒. เมื่อสั่งสอนแล้ว ต้องอาบัติปาจิตตีย์

๓. ภิกขุนูปัสสยสิกขาบท
ภิกษุเข้าไปที่สำนักภิกษุณีแล้วสั่งสอนภิกษุณีทั้งหลาย ต้องอาบัติ ๒ อย่าง คือ
๑. กำลังสั่งสอน ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะพยายาม
๒. เมื่อสั่งสอนแล้ว ต้องอาบัติปาจิตตีย์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๑๓๙ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์] ๒. กตาปัตติวาร ๕. ปาจิตติยกัณฑ์ ๓. โอวาทวรรค
๔. อามิสสิกขาบท
ภิกษุกล่าวว่า “ภิกษุ(ผู้เถระ)ทั้งหลายสั่งสอนภิกษุณีทั้งหลายเพราะเห็นแก่อามิส”
ต้องอาบัติ ๒ อย่าง คือ
๑. กำลังกล่าว ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะพยายาม
๒. เมื่อกล่าวแล้ว ต้องอาบัติปาจิตตีย์

๕. จีวรทานสิกขาบท
ภิกษุให้จีวรแก่ภิกษุณีผู้ไม่ใช่ญาติ ต้องอาบัติ ๒ อย่าง คือ
๑. กำลังให้ ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะพยายาม
๒. เมื่อให้แล้ว ต้องอาบัติปาจิตตีย์

๖. จีวรสิพพนสิกขาบท
ภิกษุเย็บจีวรให้ภิกษุณีผู้ไม่ใช่ญาติ ต้องอาบัติ ๒ อย่าง คือ
๑. กำลังเย็บ ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะพยายาม
๒. ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ในทุก ๆ รอยเข็ม

๗. สังวิธานสิกขาบท
ภิกษุชักชวนกันเดินทางไกลร่วมกันกับภิกษุณี ต้องอาบัติ ๒ อย่าง คือ
๑. กำลังเดินทาง ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะพยายาม
๒. เมื่อเดินทางไปแล้ว ต้องอาบัติปาจิตตีย์

๘. นาวาภิรูหนสิกขาบท
ภิกษุชักชวนภิกษุณีโดยสารเรือลำเดียวกัน ต้องอาบัติ ๒ อย่าง คือ
๑. กำลังโดยสาร ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะพยายาม
๒. เมื่อโดยสารไปแล้ว ต้องอาบัติปาจิตตีย์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๑๔๐ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์] ๒. กตาปัตติวาร ๕. ปาจิตติยกัณฑ์ ๔. โภชนวรรค
๙. ปริปาจิตสิกขาบท
ภิกษุรู้อยู่ ฉันบิณฑบาตที่ภิกษุณีแนะนำให้จัดเตรียม ต้องอาบัติ ๒ อย่าง คือ
๑. รับประเคนด้วยตั้งใจว่าจะฉัน ต้องอาบัติทุกกฏ
๒. ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ในทุก ๆ คำกลืน

๑๐. รโหนิสัชชสิกขาบท
ภิกษุนั่งในที่ลับกับภิกษุณีสองต่อสอง ต้องอาบัติ ๒ อย่าง คือ
๑. กำลังนั่ง ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะพยายาม
๒. เมื่อนั่งแล้ว ต้องอาบัติปาจิตตีย์
โอวาทวรรคที่ ๓ จบ

๔. โภชนวรรค
๑. อาวสถปิณฑสิกขาบท
[๑๖๘] ภิกษุฉันภัตตาหารในที่พักแรมเกินกว่าหนึ่งมื้อ ต้องอาบัติ ๒ อย่าง คือ
๑. รับประเคนด้วยตั้งใจว่าจะฉัน ต้องอาบัติทุกกฏ
๒. ฉัน ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ทุก ๆ คำกลืน

๒. คณโภชนสิกขาบท
ภิกษุฉันคณโภชนะ ต้องอาบัติ ๒ อย่าง คือ
๑. รับประเคนด้วยตั้งใจว่าจะฉัน ต้องอาบัติทุกกฏ
๒. ฉัน ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ทุก ๆ คำกลืน

๓. ปรัมปรโภชนสิกขาบท
ภิกษุฉันปรัมปรโภชนะ ต้องอาบัติ ๒ อย่าง คือ
๑. รับประเคนด้วยตั้งใจว่าจะฉัน ต้องอาบัติทุกกฏ
๒. ฉัน ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ทุก ๆ คำกลืน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๑๔๑ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์] ๒. กตาปัตติวาร ๕. ปาจิตติยกัณฑ์ ๔. โภชนวรรค
๔. กาณมาตุสิกขาบท
ภิกษุรับขนมเต็ม ๒-๓ บาตร แล้วรับเกินกว่านั้น ต้องอาบัติ ๒ อย่าง คือ
๑. กำลังรับ ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะพยายาม
๒. เมื่อรับแล้ว ต้องอาบัติปาจิตตีย์

๕. ปฐมปวารณาสิกขาบท
ภิกษุฉันแล้ว บอกห้ามภัตตาหารแล้ว เคี้ยวของเคี้ยวหรือฉันของฉันที่ไม่เป็นเดน
ต้องอาบัติ ๒ อย่าง คือ
๑. รับประเคนด้วยตั้งใจว่าจะฉัน ต้องอาบัติทุกกฏ
๒. ฉัน ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ทุก ๆ คำกลืน

๖. ทุติยปวารณาสิกขาบท
ภิกษุนำของเคี้ยวหรือของฉันที่ไม่เป็นเดนไปปวารณาภิกษุผู้ฉันเสร็จแล้ว บอก
ห้ามภัตตาหารแล้ว ต้องอาบัติ ๒ อย่าง คือ
๑. ภิกษุรับไว้ตามคำของภิกษุนั้นด้วยตั้งใจว่า “จะเคี้ยว จะฉัน” ภิกษุ
ผู้นำไปต้องอาบัติทุกกฏ
๒. เมื่อภิกษุผู้รับนั้นฉันเสร็จ ภิกษุผู้นำไปปวารณา ต้องอาบัติปาจิตตีย์

๗. วิกาลโภชนสิกขาบท
ภิกษุเคี้ยวของเคี้ยวหรือฉันของฉันในเวลาวิกาล ต้องอาบัติ ๒ อย่าง คือ
๑. รับประเคนด้วยตั้งใจว่า “จะเคี้ยว จะฉัน” ต้องอาบัติทุกกฏ
๒. ฉัน ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ทุก ๆ คำกลืน

๘. สันนิธิการกสิกขาบท
ภิกษุเคี้ยวของเคี้ยวหรือฉันของฉันที่เก็บสะสมไว้ ต้องอาบัติ ๒ อย่าง คือ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๑๔๒ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์] ๒. กตาปัตติวาร ๕. ปาจิตติยกัณฑ์ ๕. อเจลกวรรค
๑. รับประเคนด้วยตั้งใจว่า “จะเคี้ยว จะฉัน” ต้องอาบัติทุกกฏ
๒. ฉัน ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ทุก ๆ คำกลืน

๙. ปณีตโภชนสิกขาบท
ภิกษุออกปากขอโภชนะอันประณีตมาเพื่อตนแล้วฉัน ต้องอาบัติ ๒ อย่าง คือ
๑. รับประเคนด้วยตั้งใจว่า “จะฉัน” ต้องอาบัติทุกกฏ
๒. ฉัน ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ทุก ๆ คำกลืน

๑๐. ทันตโปนสิกขาบท
ภิกษุกลืนอาหารที่ยังไม่มีผู้ถวายให้ล่วงลำคอ ต้องอาบัติ ๒ อย่าง คือ
๑. รับประเคนด้วยตั้งใจว่า “จะฉัน” ต้องอาบัติทุกกฏ
๒. ฉัน ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ทุก ๆ คำกลืน
โภชนวรรคที่ ๔ จบ

๕. อเจลกวรรค
๑. อเจลกสิกขาบท
[๑๖๙] ภิกษุให้ของเคี้ยวหรือของฉันแก่อเจลกปริพาชก หรือปริพาชิกาด้วย
มือตน ต้องอาบัติ ๒ อย่าง คือ
๑. กำลังให้ ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะพยายาม
๒. เมื่อให้แล้ว ต้องอาบัติปาจิตตีย์

๒. อุยโยชนสิกขาบท
ภิกษุผู้กล่าวชักชวนภิกษุว่า “ท่านจงมาเถิด พวกเราจะเข้าไปบิณฑบาตในหมู่
บ้าน หรือในนิคม” แล้วให้ทายกถวายหรือไม่ให้ทายกถวายแก่ภิกษุนั้นแล้วนิมนต์กลับ
ต้องอาบัติ ๒ อย่าง คือ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๑๔๓ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์] ๒. กตาปัตติวาร ๕. ปาจิตติยกัณฑ์ ๕. อเจลกวรรค
๑. กำลังนิมนต์กลับ ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะพยายาม
๒. เมื่อนิมนต์กลับแล้ว ต้องอาบัติปาจิตตีย์

๓. สโภชนสิกขาบท
ภิกษุเข้าไปนั่งแทรกแซงในตระกูลที่มีคน ๒ คน ต้องอาบัติ ๒ อย่าง คือ
๑. กำลังนั่ง ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะพยายาม
๒. เมื่อนั่งแล้ว ต้องอาบัติปาจิตตีย์

๔. รโหปฏิจฉันนสิกขาบท
ภิกษุนั่งบนอาสนะที่กำบังในที่ลับกับมาตุคาม ต้องอาบัติ ๒ อย่าง คือ
๑. กำลังนั่ง ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะพยายาม
๒. เมื่อนั่งแล้ว ต้องอาบัติปาจิตตีย์

๕. รโหนิสัชชสิกขาบท
ภิกษุนั่งในที่ลับกับมาตุคามสองต่อสอง ต้องอาบัติ ๒ อย่าง คือ
๑. กำลังนั่ง ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะพยายาม
๒. เมื่อนั่งแล้ว ต้องอาบัติปาจิตตีย์

๖. จาริตตสิกขาบท
ภิกษุรับนิมนต์ไว้แล้ว มีภัตตาหารอยู่แล้ว ไม่บอกลาภิกษุที่มีอยู่เที่ยวสัญจรไป
ในตระกูลทั้งหลาย ก่อนเวลาฉันภัตตาหาร หรือหลังเวลาฉันภัตตาหาร ต้องอาบัติ ๒
อย่าง คือ
๑. ก้าวเท้าที่ ๑ ล่วงธรณีประตู ต้องอาบัติทุกกฏ
๒. ก้าวเท้าที่ ๒ ล่วง(ธรณีประตู) ต้องอาบัติปาจิตตีย์

๗. มหานามสิกขาบท
ภิกษุออกปากขอเภสัชเกินกว่ากำหนด ต้องอาบัติ ๒ อย่าง คือ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๑๔๔ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์] ๒. กตาปัตติวาร ๕. ปาจิตติยกัณฑ์ ๖. สุราเมรยวรรค
๑. กำลังออกปากขอ ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะพยายาม
๒. เมื่อออกปากขอแล้ว ต้องอาบัติปาจิตตีย์

๘. อุยยุตตเสนาสิกขาบท
ภิกษุไปดูกองทัพที่เคลื่อนขบวนออกรบ ต้องอาบัติ ๒ อย่าง คือ
๑. กำลังไป ต้องอาบัติทุกกฏ
๒. ยืนดูในระยะที่พอมองเห็น ต้องอาบัติปาจิตตีย์

๙. เสนาวาสสิกขาบท
ภิกษุพักแรมอยู่ในกองทัพเกินกว่า ๓ คืน ต้องอาบัติ ๒ อย่าง คือ
๑. กำลังพักแรมอยู่ ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะพยายาม
๒. เมื่อพักแรมอยู่แล้ว ต้องอาบัติปาจิตตีย์

๑๐. อุยโยธิกสิกขาบท
ภิกษุเที่ยวไปสู่สนามรบ ต้องอาบัติ ๒ อย่าง คือ
๑. กำลังเที่ยวไป ต้องอาบัติทุกกฏ
๒. ยืนดูในระยะที่พอมองเห็น ต้องอาบัติปาจิตตีย์
อเจลกวรรคที่ ๕ จบ

๖. สุราเมรยวรรค
๑. สุราปานสิกขาบท
[๑๗๐] ภิกษุดื่มน้ำเมา ต้องอาบัติ ๒ อย่าง คือ
๑. รับประเคนด้วยตั้งใจว่า “จะดื่ม” ต้องอาบัติทุกกฏ
๒. ดื่ม ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ทุก ๆ คราวที่ดื่มเข้าไป

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๑๔๕ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์] ๒. กตาปัตติวาร ๕. ปาจิตติยกัณฑ์ ๖. สุราเมรยวรรค
๒. อังคุลิปโตทกสิกขาบท
ภิกษุใช้นิ้วมือจี้ภิกษุให้หัวเราะ ต้องอาบัติ ๒ อย่าง คือ
๑. กำลังจี้ให้หัวเราะ ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะพยายาม
๒. เมื่อให้หัวเราะแล้ว ต้องอาบัติปาจิตตีย์

๓. หัสสธัมมสิกขาบท
ภิกษุเล่นน้ำ ต้องอาบัติ ๒ อย่าง คือ
๑. เล่นในน้ำตื้นใต้ข้อเท้า ต้องอาบัติทุกกฏ
๒. เล่นในน้ำลึกพอท่วมข้อเท้า ต้องอาบัติปาจิตตีย์

๔. อนาทริยสิกขาบท
ภิกษุไม่เอื้อเฟื้อ ต้องอาบัติ ๒ อย่าง คือ
๑. กำลังไม่เอื้อเฟื้อ ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะพยายาม
๒. เมื่อไม่เอื้อเฟื้อแล้ว ต้องอาบัติปาจิตตีย์

๕. ภิงสาปนสิกขาบท
ภิกษุทำให้ภิกษุตกใจ ต้องอาบัติ ๒ อย่าง คือ
๑. กำลังทำให้ตกใจ ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะพยายาม
๒. เมื่อทำให้ตกใจแล้ว ต้องอาบัติปาจิตตีย์

๖. โชติกสิกขาบท
ภิกษุก่อไฟผิง ต้องอาบัติ ๒ อย่าง คือ
๑. กำลังก่อ ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะพยายาม
๒. เมื่อก่อเสร็จแล้ว ต้องอาบัติปาจิตตีย์

๗. นหานสิกขาบท
ภิกษุยังไม่ถึงครึ่งเดือนอาบน้ำ ต้องอาบัติ ๒ อย่าง คือ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๑๔๖ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์] ๒. กตาปัตติวาร ๕. ปาจิตติยกัณฑ์ ๗. สัปปาณกวรรค
๑. กำลังอาบ ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะพยายาม
๒. เมื่ออาบเสร็จ ต้องอาบัติปาจิตตีย์

๘. ทุพพัณณกรณสิกขาบท
ภิกษุไม่ใช้วัตถุที่ทำให้สีเสีย ๓ ชนิดอย่างใดอย่างหนึ่งมาทำให้เสียสี แล้วใช้สอย
จีวรใหม่ ต้องอาบัติ ๒ อย่าง คือ
๑. กำลังใช้สอย ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะพยายาม
๒. เมื่อใช้สอยแล้ว ต้องอาบัติปาจิตตีย์

๙. วิกัปปนสิกขาบท
ภิกษุวิกัปจีวรด้วยตนเองแก่ภิกษุ หรือแก่ภิกษุณี หรือแก่สิกขมานา หรือแก่
สามเณร หรือแก่สามเณรี แล้วใช้สอยจีวรที่ยังมิได้ปัจจุทธรณ์ ต้องอาบัติ ๒ อย่าง คือ
๑. กำลังใช้สอย ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะพยายาม
๒. เมื่อใช้สอยแล้ว ต้องอาบัติปาจิตตีย์

๑๐. จีวรอปนิธานสิกขาบท
ภิกษุเอาบาตรหรือจีวร ผ้าปูนั่ง กล่องเข็ม หรือประคดเอวของภิกษุไปซ่อน
ต้องอาบัติ ๒ อย่าง คือ
๑. กำลังเอาไปซ่อน ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะพยายาม
๒. เมื่อเอาไปซ่อนแล้ว ต้องอาบัติปาจิตตีย์
สุราเมรยวรรคที่ ๖ จบ

๗. สัปปาณกวรรค
๑. สัญจิจจสิกขาบท
[๑๗๑] ถาม : ภิกษุจงใจปลงชีวิตสัตว์ ต้องอาบัติเท่าไร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๑๔๗ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์] ๒. กตาปัตติวาร ๕. ปาจิตติยกัณฑ์ ๗. สัปปาณกวรรค
ตอบ : ภิกษุจงใจปลงชีวิตสัตว์ ต้องอาบัติ ๔ อย่าง คือ
๑. ขุดหลุมพรางไว้ไม่เจาะจงด้วยคิดว่า “ใครก็ได้จะตกลงไปตาย” ต้อง
อาบัติทุกกฏ
๒. มนุษย์ตกลงไปตายในหลุมนั้น ต้องอาบัติปาราชิก
๓. ยักษ์ เปรต หรือสัตว์ดิรัจฉานมีกายเป็นมนุษย์๑ ตกลงไปตายในหลุมนั้น
ต้องอาบัติถุลลัจจัย
๔. สัตว์ดิรัจฉานตกลงไปตายในหลุมนั้น ต้องอาบัติปาจิตตีย์
ภิกษุจงใจปลงชีวิตสัตว์ ต้องอาบัติ ๔ อย่างเหล่านี้

๒. สัปปาณกสิกขาบท
ภิกษุรู้อยู่ว่าน้ำมีสัตว์มีชีวิต ก็ยังบริโภค ต้องอาบัติ ๒ อย่าง คือ
๑. กำลังบริโภค ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะพยายาม
๒. เมื่อบริโภคแล้ว ต้องอาบัติปาจิตตีย์

๓. อุกโกฏนสิกขาบท
ภิกษุรู้อยู่ รื้อฟื้นอธิกรณ์ที่ตัดสินไปแล้วอย่างถูกต้อง เพื่อพิจารณาใหม่ ต้อง
อาบัติ ๒ อย่าง คือ
๑. กำลังรื้อฟื้น ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะพยายาม
๒. เมื่อรื้อฟื้นเสร็จแล้ว ต้องอาบัติปาจิตตีย์

๔. ทุฏฐุลลสิกขาบท
ภิกษุรู้อยู่ ปกปิดอาบัติชั่วหยาบของภิกษุอื่น ต้องอาบัติ ๑ อย่าง คือ อาบัติ
ปาจิตตีย์

เชิงอรรถ :
๑ หมายถึงสัตว์ดิรัจฉาน เช่น นาคและครุฑแปลงร่างเป็นมนุษย์ (สารตฺถ.ฏีกา ๒/๑๗๖/๓๒๖, กงฺขา.ฏีกา
๒๓๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๑๔๘ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์] ๒. กตาปัตติวาร ๕. ปาจิตติยกัณฑ์ ๗. สัปปาณกวรรค
๕. อูนวีสติวัสสสิกขาบท
ภิกษุรู้อยู่ อุปสมบทให้บุคคลผู้มีอายุหย่อนกว่า ๒๐ ปี ต้องอาบัติ ๒ อย่าง คือ
๑. กำลังอุปสมบทให้ ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะพยายาม
๒. เมื่ออุปสมบทเสร็จแล้ว ต้องอาบัติปาจิตตีย์

๖. เถยยสัตถสิกขาบท
ภิกษุรู้อยู่ ชักชวนกันเดินทางไกลร่วมกันกับกลุ่มพ่อค้าเกวียนผู้เป็นโจร ต้อง
อาบัติ ๒ อย่าง คือ
๑. กำลังเดินทาง ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะพยายาม
๒. เมื่อเดินทางไปแล้ว ต้องอาบัติปาจิตตีย์

๗. สังวิธานสิกขาบท
ภิกษุชักชวนกันเดินทางไกลร่วมกันกับมาตุคาม ต้องอาบัติ ๒ อย่าง คือ
๑. กำลังเดินทาง ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะพยายาม
๒. เมื่อเดินทางไปแล้ว ต้องอาบัติปาจิตตีย์

๘. อริฏฐสิกขาบท
ภิกษุไม่สละทิฏฐิบาป จนกระทั่งสงฆ์สวดสมนุภาสน์ครบ ๓ ครั้ง ต้องอาบัติ
๒ อย่าง คือ
๑. จบญัตติ ต้องอาบัติทุกกฏ
๒. จบกรรมวาจา ต้องอาบัติปาจิตตีย์

๙. อุกขิตตสัมโภคสิกขาบท
ภิกษุรู้อยู่ยังคบหาภิกษุผู้กล่าวตู่อย่างนั้น ผู้ที่สงฆ์ยังไม่ได้ทำธรรมอันสมควร
ผู้ยังไม่ยอมสละทิฏฐินั้น ต้องอาบัติ ๒ อย่าง คือ
๑. กำลังคบหา ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะพยายาม
๒. เมื่อคบหาแล้ว ต้องอาบัติปาจิตตีย์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๑๔๙ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์] ๒. กตาปัตติวาร ๕. ปาจิตติยกัณฑ์ ๘. สหธัมมิกวรรค
๑๐. กัณฏกสิกขาบท
ภิกษุรู้อยู่ ปลอบโยนสมณุทเทสผู้ถูกสงฆ์นาสนะแล้วอย่างนั้น ต้องอาบัติ ๒ อย่าง คือ
๑. กำลังปลอบโยน ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะพยายาม
๒. เมื่อปลอบโยนแล้ว ต้องอาบัติปาจิตตีย์
สัปปาณกวรรคที่ ๗ จบ

๘. สหธัมมิกวรรค
๑. สหธัมมิกสิกขาบท
[๑๗๒] ภิกษุผู้อันภิกษุทั้งหลายว่ากล่าวตักเตือนอยู่โดยชอบธรรม กลับกล่าว
ว่า “ท่านทั้งหลาย กระผมจะยังไม่ศึกษาในสิกขาบทนี้ จนกว่าจะได้สอบถามภิกษุ
รูปอื่นผู้ฉลาด ผู้เป็นวินัยธร” ต้องอาบัติ ๒ อย่าง คือ
๑. กำลังกล่าว ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะพยายาม
๒. เมื่อกล่าวแล้ว ต้องอาบัติปาจิตตีย์

๒. วิเลขนสิกขาบท
ภิกษุดูหมิ่นพระวินัย ต้องอาบัติ ๒ อย่าง คือ
๑. กำลังดูหมิ่น ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะพยายาม
๒. เมื่อดูหมิ่นแล้ว ต้องอาบัติปาจิตตีย์

๓. โมหนสิกขาบท
ภิกษุแสร้งทำผู้อื่นให้หลง ต้องอาบัติ ๒ อย่าง คือ
๑. เมื่อสงฆ์ยังไม่ยกโมหาโรปนกรรมขึ้นปรับ ทำผู้อื่นให้หลง ต้องอาบัติ
ทุกกฏ
๒. เมื่อสงฆ์ยกโมหาโรปนกรรมขึ้นปรับแล้ว ทำผู้อื่นให้หลง ต้องอาบัติ
ปาจิตตีย์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๑๕๐ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์] ๒. กตาปัตติวาร ๕. ปาจิตติยกัณฑ์ ๘. สหธัมมิกวรรค
๔. ปหารสิกขาบท
ภิกษุโกรธ ไม่พอใจ ทำร้ายภิกษุ ต้องอาบัติ ๒ อย่าง คือ
๑. กำลังทำร้าย ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะพยายาม
๒. เมื่อทำร้ายแล้ว ต้องอาบัติปาจิตตีย์

๕. ตลสัตติกสิกขาบท
ภิกษุโกรธ ไม่พอใจ เงื้อหอกคือฝ่ามือให้ภิกษุ ต้องอาบัติ ๒ อย่าง คือ
๑. กำลังเงื้อ ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะพยายาม
๒. เมื่อเงื้อแล้ว ต้องอาบัติปาจิตตีย์

๖. อมูลกสิกขาบท
ภิกษุใส่ความภิกษุด้วยอาบัติสังฆาทิเสสที่ไม่มีมูล ต้องอาบัติ ๒ อย่าง คือ
๑. กำลังใส่ความ ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะพยายาม
๒. เมื่อใส่ความแล้ว ต้องอาบัติปาจิตตีย์

๗. สัญจิจจสิกขาบท
ภิกษุจงใจก่อความรำคาญให้แก่ภิกษุ ต้องอาบัติ ๒ อย่าง คือ
๑. กำลังก่อ ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะพยายาม
๒. เมื่อก่อแล้ว ต้องอาบัติปาจิตตีย์

๘. อุปัสสุติสิกขาบท
ภิกษุยืนแอบฟังพวกภิกษุผู้บาดหมาง ทะเลาะ วิวาทกัน ต้องอาบัติ ๒ อย่าง คือ
๑. เดินไปด้วยตั้งใจว่า “จะฟัง” ต้องอาบัติทุกกฏ
๒. ยืนอยู่ในที่ที่จะได้ยิน ต้องอาบัติปาจิตตีย์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๑๕๑ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์] ๒. กตาปัตติวาร ๕. ปาจิตติยกัณฑ์ ๘. สหธัมมิกวรรค
๙. กัมมปฏิพาหนสิกขาบท
ภิกษุให้ฉันทะเพื่อกรรมที่ทำถูกต้องแล้ว กลับติเตียนในภายหลัง ต้องอาบัติ ๒
อย่าง คือ
๑. กำลังติเตียน ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะพยายาม
๒. เมื่อติเตียนแล้ว ต้องอาบัติปาจิตตีย์

๑๐. ฉันทอทัตวาคมนสิกขาบท
ภิกษุเมื่อยังมีเรื่องที่ต้องวินิจฉัยอยู่ในสงฆ์ ไม่ให้ฉันทะแล้วลุกจากอาสนะหลีกไป
ต้องอาบัติ ๒ อย่าง คือ
๑. เมื่อกำลังจะละหัตถบาสที่ชุมนุมสงฆ์ ต้องอาบัติทุกกฏ
๒. เมื่อละหัตถบาสไปแล้ว ต้องอาบัติปาจิตตีย์

๑๑. ทัพพสิกขาบท
ภิกษุร่วมกับสงฆ์ผู้พร้อมเพรียงกันให้จีวรไปแล้วกลับติเตียนในภายหลัง ต้องอาบัติ
๒ อย่าง คือ
๑. กำลังติเตียน ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะพยายาม
๒. เมื่อติเตียนแล้ว ต้องอาบัติปาจิตตีย์

๑๒. ปริณามนสิกขาบท
ภิกษุรู้อยู่ น้อมลาภที่เขาน้อมไว้เป็นของจะถวายสงฆ์ไปเพื่อบุคคล ต้องอาบัติ
๒ อย่าง คือ
๑. กำลังน้อมไป ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะพยายาม
๒. เมื่อน้อมไปแล้ว ต้องอาบัติปาจิตตีย์
สหธัมมิกวรรคที่ ๘ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๑๕๒ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์] ๒. กตาปัตติวาร ๕. ปาจิตติยกัณฑ์ ๙. ราชวรรค
๙. ราชวรรค
๑. อันเตปุรสิกขาบท
[๑๗๓] ภิกษุไม่ได้รับแจ้งล่วงหน้า เข้าเขตพระราชฐานชั้นใน ต้องอาบัติ ๒
อย่าง คือ
๑. ก้าวเท้าที่ ๑ ล่วงธรณีประตู ต้องอาบัติทุกกฏ
๒. ก้าวเท้าที่ ๒ ล่วงธรณีประตู ต้องอาบัติปาจิตตีย์

๒. รตนสิกขาบท
ภิกษุเก็บรัตนะ ต้องอาบัติ ๒ อย่าง คือ
๑. กำลังเก็บ ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะพยายาม
๒. เมื่อเก็บแล้ว ต้องอาบัติปาจิตตีย์

๓. วิกาลคามปเวสนสิกขาบท
ภิกษุไม่บอกลาภิกษุที่มีอยู่แล้ว เข้าหมู่บ้านในเวลาวิกาล๑ ต้องอาบัติ ๒ อย่าง
คือ
๑. ยกเท้าแรกก้าวเข้าเขตรั้วล้อม ต้องอาบัติทุกกฏ
๒. ยกเท้าที่ ๒ ก้าวเลยเข้าไป ต้องอาบัติปาจิตตีย์

๔. สูจิฆรสิกขาบท
ภิกษุทำกล่องเข็มด้วยกระดูก ด้วยงา หรือด้วยเขา ต้องอาบัติ ๒ อย่าง คือ
๑. กำลังทำ ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะพยายาม
๒. เมื่อทำเสร็จแล้ว ต้องอาบัติปาจิตตีย์

เชิงอรรถ :
๑ เวลาวิกาล ในที่นี้ประสงค์เอาตั้งแต่เที่ยงวันจนถึงอรุณขึ้น (วิ.มหา. (แปล) ๒/๕๑๓/๖๐๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๑๕๓ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์] ๒. กตาปัตติวาร ๕. ปาจิตติยกัณฑ์ ๙. ราชวรรค
๕. มัญจปีฐสิกขาบท
ภิกษุให้ทำเตียงหรือตั่งเกินขนาด ต้องอาบัติ ๒ อย่าง คือ
๑. กำลังทำ ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะพยายาม
๒. เมื่อทำเสร็จแล้ว ต้องอาบัติปาจิตตีย์

๖. ตูโลนัทธสิกขาบท
ภิกษุให้ทำเตียงหรือตั่งหุ้มนุ่น ต้องอาบัติ ๒ อย่าง คือ
๑. กำลังทำ ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะพยายาม
๒. เมื่อทำเสร็จแล้ว ต้องอาบัติปาจิตตีย์

๗. นิสีทนสิกขาบท
ภิกษุให้ทำผ้ารองนั่งเกินขนาด ต้องอาบัติ ๒ อย่าง คือ
๑. กำลังทำ ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะพยายาม
๒. เมื่อทำเสร็จแล้ว ต้องอาบัติปาจิตตีย์

๘. กัณฑุปฏิจฉาทิสิกขาบท
ภิกษุให้ทำผ้าปิดฝีเกินขนาด ต้องอาบัติ ๒ อย่าง คือ
๑. กำลังทำ ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะพยายาม
๒. เมื่อทำเสร็จแล้ว ต้องอาบัติปาจิตตีย์

๙. วัสสิกสาฏิกาสิกขาบท
ภิกษุให้ทำผ้าอาบน้ำฝนเกินขนาด ต้องอาบัติ ๒ อย่าง คือ
๑. กำลังทำ ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะพยายาม
๒. เมื่อทำเสร็จแล้ว ต้องอาบัติปาจิตตีย์

๑๐. นันทสิกขาบท
ถาม : ภิกษุให้ทำจีวรเท่ากับสุคตจีวร ต้องอาบัติเท่าไร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๑๕๔ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์] ๒. กตาปัตติวาร ๖. ปาฏิเทสนียกัณฑ์
ตอบ : ภิกษุให้ทำจีวรเท่ากับสุคตจีวร ต้องอาบัติ ๒ อย่าง คือ
๑. กำลังทำ ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะพยายาม
๒. เมื่อทำเสร็จแล้ว ต้องอาบัติปาจิตตีย์
ภิกษุให้ทำจีวรเท่ากับสุคตจีวร ต้องอาบัติ ๒ อย่างเหล่านี้
ราชวรรคที่ ๙ จบ
ขุททกสิกขาบท จบ

๖. ปาฏิเทสนียกัณฑ์
คำถาม - คำตอบจำนวนอาบัติในปาฏิเทสนียกัณฑ์
๑. ปฐมปาฏิเทสนียสิกขาบท
[๑๗๔] ถาม : ภิกษุรับของเคี้ยวหรือของฉันด้วยมือตนจากมือของภิกษุณีผู้ไม่
ใช่ญาติผู้เข้าไปในละแวกบ้านแล้วฉัน ต้องอาบัติเท่าไร
ตอบ : ภิกษุรับของเคี้ยวหรือของฉันด้วยมือตนจากมือของภิกษุณีผู้ไม่ใช่ญาติ
ผู้เข้าไปในละแวกบ้านแล้วฉัน ต้องอาบัติ ๒ อย่าง คือ
๑. รับประเคนด้วยตั้งใจว่า “จะฉัน” ต้องอาบัติทุกกฏ
๒. ฉัน ต้องอาบัติปาฏิเทสนียะ ทุก ๆ คำกลืน
ภิกษุรับของเคี้ยวหรือของฉันด้วยมือตนจากมือของภิกษุณีผู้ไม่ใช่ญาติผู้เข้าไป
ในละแวกบ้านแล้วฉัน ต้องอาบัติ ๒ อย่างเหล่านี้

๒. ทุติยปาฏิเทสนียสิกขาบท
ภิกษุไม่ห้ามภิกษุณีผู้บงการ(ทายก)อยู่ แล้วฉัน ต้องอาบัติ ๒ อย่าง คือ
๑. รับประเคนด้วยตั้งใจว่า “จะฉัน” ต้องอาบัติทุกกฏ
๒. ฉัน ต้องอาบัติปาฏิเทสนียะ ทุก ๆ คำกลืน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๑๕๕ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์] ๒. กตาปัตติวาร ๗. เสขิยกัณฑ์ ๑. ปริมัณฑลวรรค
๓. ตติยปาฏิเทสนียสิกขาบท
ภิกษุรับของเคี้ยวหรือของฉันในตระกูลที่ได้รับสมมติว่าเป็นเสขะด้วยมือตนเองแล้ว
ฉัน ต้องอาบัติ ๒ อย่าง คือ
๑. รับประเคนด้วยตั้งใจว่า “จะฉัน” ต้องอาบัติทุกกฏ
๒. ฉัน ต้องอาบัติปาฏิเทสนียะ ทุก ๆ คำกลืน

๔. จตุตถปาฏิเทสนียสิกขาบท
ถาม : ภิกษุผู้ที่ไม่ได้รับแจ้งไว้ก่อนรับของเคี้ยวหรือของฉันด้วยมือตนเองในอาราม
ในเสนาสนะป่าแล้วฉัน ต้องอาบัติเท่าไร
ตอบ : ภิกษุผู้ที่ไม่ได้รับแจ้งไว้ก่อนรับของเคี้ยวหรือของฉันด้วยมือตนเองใน
อารามในเสนาสนะป่าแล้วฉัน ต้องอาบัติ ๒ อย่าง คือ
๑. รับประเคนด้วยตั้งใจว่า “จะฉัน” ต้องอาบัติทุกกฏ
๒. ฉัน ต้องอาบัติปาฏิเทสนียะ ทุก ๆ คำกลืน
ภิกษุผู้ที่ไม่ได้รับแจ้งไว้ก่อนรับของเคี้ยวหรือของฉันด้วยมือตนเองในอารามใน
เสนาสนะป่าแล้วฉัน ต้องอาบัติ ๒ อย่างเหล่านี้
ปาฏิเทสนียะ ๔ สิกขาบท จบ

๗. เสขิยกัณฑ์
คำถาม - คำตอบจำนวนอาบัติในเสขิยกัณฑ์
๑. ปริมัณฑลวรรค
สิกขาบทที่ ๑
[๑๗๕] ถาม : ภิกษุผู้ไม่เอื้อเฟื้อ ครองอันตรวาสกย้อยข้างหน้าบ้าง ข้างหลังบ้าง
ต้องอาบัติเท่าไร
ตอบ : ภิกษุผู้ไม่เอื้อเฟื้อ ครองอันตรวาสกย้อยข้างหน้าบ้าง ข้างหลังบ้าง
ต้องอาบัติ ๑ อย่าง คือ อาบัติทุกกฏ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๑๕๖ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์] ๒. กตาปัตติวาร ๗. เสขิยกัณฑ์ ๑. ปริมัณฑลวรรค
ภิกษุผู้ไม่เอื้อเฟื้อ ครองอันตรวาสกย้อยข้างหน้าบ้าง ข้างหลังบ้าง ต้องอาบัติ
๑ อย่างนี้
สิกขาบทที่ ๒
ภิกษุผู้ไม่เอื้อเฟื้อ ครองอุตตราสงค์ย้อยข้างหน้าบ้าง ข้างหลังบ้าง ต้องอาบัติ
๑ อย่าง คือ อาบัติทุกกฏ
สิกขาบทที่ ๓
ภิกษุผู้ไม่เอื้อเฟื้อ เดินเปิดกายไปในละแวกบ้าน ต้องอาบัติ ๑ อย่าง คือ อาบัติ
ทุกกฏ
สิกขาบทที่ ๔
ภิกษุผู้ไม่เอื้อเฟื้อ นั่งเปิดกายในละแวกบ้าน ต้องอาบัติ ๑ อย่าง คือ
อาบัติทุกกฏ
สิกขาบทที่ ๕
ภิกษุผู้ไม่เอื้อเฟื้อ เดินคะนองมือบ้าง คะนองเท้าบ้างไปในละแวกบ้าน ต้อง
อาบัติ ๑ อย่าง คือ อาบัติทุกกฏ
สิกขาบทที่ ๖
ภิกษุผู้ไม่เอื้อเฟื้อ คะนองมือบ้าง คะนองเท้าบ้าง นั่งในละแวกบ้าน ต้องอาบัติ
๑ อย่าง คือ อาบัติทุกกฏ
สิกขาบทที่ ๗
ภิกษุผู้ไม่เอื้อเฟื้อ เดินมองดูในที่นั้น ๆ ไปในละแวกบ้าน ต้องอาบัติ ๑ อย่าง
คือ อาบัติทุกกฏ
สิกขาบทที่ ๘
ภิกษุผู้ไม่เอื้อเฟื้อ นั่งมองดูในที่นั้น ๆ ในละแวกบ้าน ต้องอาบัติ ๑ อย่าง คือ
อาบัติทุกกฏ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๑๕๗ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์] ๒. กตาปัตติวาร ๗. เสขิยกัณฑ์ ๒. อุชชัคฆิกวรรค
สิกขาบทที่ ๙
ภิกษุผู้ไม่เอื้อเฟื้อ เดินเวิกผ้าไปในละแวกบ้าน ต้องอาบัติ ๑ อย่าง คือ อาบัติ
ทุกกฏ
สิกขาบทที่ ๑๐
ภิกษุผู้ไม่เอื้อเฟื้อ นั่งเวิกผ้าในละแวกบ้าน ต้องอาบัติ ๑ อย่าง คือ อาบัติ
ทุกกฏ
ปริมัณฑลวรรคที่ ๑ จบ

๒. อุชชัคฆิกวรรค
สิกขาบทที่ ๑
[๑๗๖] ภิกษุผู้ไม่เอื้อเฟื้อ เดินหัวเราะดังไปในละแวกบ้าน ต้องอาบัติ ๑ อย่าง
คือ อาบัติทุกกฏ
สิกขาบทที่ ๒
ภิกษุผู้ไม่เอื้อเฟื้อ นั่งหัวเราะดังในละแวกบ้าน ต้องอาบัติ ๑ อย่าง คือ อาบัติ
ทุกกฏ
สิกขาบทที่ ๓
ภิกษุผู้ไม่เอื้อเฟื้อ เดินตะโกนเสียงดังไปในละแวกบ้าน ต้องอาบัติ ๑ อย่าง คือ
อาบัติทุกกฏ
สิกขาบทที่ ๔
ภิกษุผู้ไม่เอื้อเฟื้อ นั่งตะโกนเสียงดังในละแวกบ้าน ต้องอาบัติ ๑ อย่าง คือ
อาบัติทุกกฏ
สิกขาบทที่ ๕
ภิกษุผู้ไม่เอื้อเฟื้อ เดินโคลงกายไปในละแวกบ้าน ต้องอาบัติ ๑ อย่าง คือ อาบัติ
ทุกกฏ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๑๕๘ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์] ๒. กตาปัตติวาร ๗. เสขิยกัณฑ์ ๓. ขัมภกตวรรค
สิกขาบทที่ ๖
ภิกษุผู้ไม่เอื้อเฟื้อ นั่งโคลงกายในละแวกบ้าน ต้องอาบัติ ๑ อย่าง คือ อาบัติ
ทุกกฏ
สิกขาบทที่ ๗
ภิกษุผู้ไม่เอื้อเฟื้อ เดินแกว่งแขน ห้อยแขนไปในละแวกบ้าน ต้องอาบัติ ๑ อย่าง
คือ อาบัติทุกกฏ
สิกขาบทที่ ๘
ภิกษุผู้ไม่เอื้อเฟื้อ นั่งแกว่งแขน ห้อยแขนในละแวกบ้าน ต้องอาบัติ ๑ อย่าง
คือ อาบัติทุกกฏ
สิกขาบทที่ ๙
ภิกษุผู้ไม่เอื้อเฟื้อ เดินโคลงศีรษะไปในละแวกบ้าน ต้องอาบัติ ๑ อย่าง คือ
อาบัติทุกกฏ
สิกขาบทที่ ๑๐
ภิกษุผู้ไม่เอื้อเฟื้อ นั่งโคลงศีรษะในละแวกบ้าน ต้องอาบัติ ๑ อย่าง คือ อาบัติ
ทุกกฏ
อุชชัคฆิกวรรคที่ ๒ จบ

๓. ขัมภกตวรรค
สิกขาบทที่ ๑
[๑๗๗] ภิกษุผู้ไม่เอื้อเฟื้อ เดินเท้าสะเอวไปในละแวกบ้าน ต้องอาบัติ ๑ อย่าง
คือ อาบัติทุกกฏ
สิกขาบทที่ ๒
ภิกษุผู้ไม่เอื้อเฟื้อ นั่งเท้าสะเอวในละแวกบ้าน ต้องอาบัติ ๑ อย่าง คือ อาบัติ
ทุกกฏ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๑๕๙ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์] ๒. กตาปัตติวาร ๗. เสขิยกัณฑ์ ๓. ขัมภกตวรรค
สิกขาบทที่ ๓
ภิกษุผู้ไม่เอื้อเฟื้อ เดินคลุมศีรษะไปในละแวกบ้าน ต้องอาบัติ ๑ อย่าง คือ
อาบัติทุกกฏ
สิกขาบทที่ ๔
ภิกษุผู้ไม่เอื้อเฟื้อ นั่งคลุมศีรษะในละแวกบ้าน ต้องอาบัติ ๑ อย่าง คือ อาบัติ
ทุกกฏ
สิกขาบทที่ ๕
ภิกษุผู้ไม่เอื้อเฟื้อ เดินกระโหย่งไปในละแวกบ้าน ต้องอาบัติ ๑ อย่าง คือ อาบัติ
ทุกกฏ
สิกขาบทที่ ๖
ภิกษุผู้ไม่เอื้อเฟื้อ นั่งรัดเข่าในละแวกบ้าน ต้องอาบัติ ๑ อย่าง คือ อาบัติทุกกฏ
สิกขาบทที่ ๗
ภิกษุผู้ไม่เอื้อเฟื้อ รับบิณฑบาตโดยไม่เคารพ ต้องอาบัติ ๑ อย่าง คือ อาบัติ
ทุกกฏ
สิกขาบทที่ ๘
ภิกษุผู้ไม่เอื้อเฟื้อ รับบิณฑบาตมองดูในที่นั้น ๆ ต้องอาบัติ ๑ อย่าง คือ อาบัติ
ทุกกฏ
สิกขาบทที่ ๙
ภิกษุผู้ไม่เอื้อเฟื้อ เลือกรับเฉพาะแกงมาก ต้องอาบัติ ๑ อย่าง คือ อาบัติทุกกฏ
สิกขาบทที่ ๑๐
ภิกษุผู้ไม่เอื้อเฟื้อ รับบิณฑบาตล้นขอบปากบาตร ต้องอาบัติ ๑ อย่าง คือ
อาบัติทุกกฏ
ขัมภกตวรรคที่ ๓ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๑๖๐ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์] ๒. กตาปัตติวาร ๗. เสขิยกัณฑ์ ๔. ปิณฑปาตวรรค
๔. ปิณฑปาตวรรค
สิกขาบทที่ ๑
[๑๗๘] ภิกษุผู้ไม่เอื้อเฟื้อ ฉันบิณฑบาตโดยไม่เคารพ ต้องอาบัติ ๑ อย่าง คือ
อาบัติทุกกฏ
สิกขาบทที่ ๒
ภิกษุผู้ไม่เอื้อเฟื้อ ฉันบิณฑบาตมองดูที่นั้น ๆ ต้องอาบัติ ๑ อย่าง คือ อาบัติ
ทุกกฏ
สิกขาบทที่ ๓
ภิกษุผู้ไม่เอื้อเฟื้อ ฉันบิณฑบาตเจาะลงในที่นั้น ๆ ต้องอาบัติ ๑ อย่าง คือ อาบัติ
ทุกกฏ
สิกขาบทที่ ๔
ภิกษุผู้ไม่เอื้อเฟื้อ ฉันเฉพาะแกงมาก ต้องอาบัติ ๑ อย่าง คือ อาบัติทุกกฏ
สิกขาบทที่ ๕
ภิกษุผู้ไม่เอื้อเฟื้อ ฉันบิณฑบาตขยุ้มลงแต่ยอด ต้องอาบัติ ๑ อย่าง คือ อาบัติ
ทุกกฏ
สิกขาบทที่ ๖
ภิกษุผู้ไม่เอื้อเฟื้อ ใช้ข้าวสุกกลบแกงหรือกับข้าว ต้องอาบัติ ๑ อย่าง คือ อาบัติ
ทุกกฏ
สิกขาบทที่ ๗
ภิกษุผู้ไม่เอื้อเฟื้อ ไม่เป็นไข้ ออกปากขอแกงหรือข้าวสุกมาฉันส่วนตัว ต้องอาบัติ
๑ อย่าง คือ อาบัติทุกกฏ
สิกขาบทที่ ๘
ภิกษุผู้ไม่เอื้อเฟื้อ มุ่งตำหนิ มองดูบาตรของภิกษุเหล่าอื่น ต้องอาบัติ ๑ อย่าง
คือ อาบัติทุกกฏ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๑๖๑ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์] ๒. กตาปัตติวาร ๗. เสขิยกัณฑ์ ๕. กพฬวรรค
สิกขาบทที่ ๙
ภิกษุผู้ไม่เอื้อเฟื้อ ทำคำข้าวให้ใหญ่เกิน ต้องอาบัติ ๑ อย่าง คือ อาบัติทุกกฏ
สิกขาบทที่ ๑๐
ภิกษุผู้ไม่เอื้อเฟื้อ ทำคำข้าวยาว ต้องอาบัติ ๑ อย่าง คือ อาบัติทุกกฏ
ปิณฑปาตวรรคที่ ๔ จบ

๕. กพฬวรรค
สิกขาบทที่ ๑
[๑๗๙] ภิกษุผู้ไม่เอื้อเฟื้อ อ้าปากรอคำข้าวที่ยังไม่ถึงปาก ต้องอาบัติ ๑ อย่าง คือ
อาบัติทุกกฏ
สิกขาบทที่ ๒
ภิกษุผู้ไม่เอื้อเฟื้อ ขณะกำลังฉัน สอดมือทั้งหมดเข้าไปในปาก ต้องอาบัติ ๑
อย่าง คือ อาบัติทุกกฏ
สิกขาบทที่ ๓
ภิกษุผู้ไม่เอื้อเฟื้อ พูดคุยขณะที่ในปากมีคำข้าว ต้องอาบัติ ๑ อย่าง คือ อาบัติ
ทุกกฏ
สิกขาบทที่ ๔
ภิกษุผู้ไม่เอื้อเฟื้อ ฉันโยนคำข้าว ต้องอาบัติ ๑ อย่าง คือ อาบัติทุกกฏ
สิกขาบทที่ ๕
ภิกษุผู้ไม่เอื้อเฟื้อ ฉันกัดคำข้าว ต้องอาบัติ ๑ อย่าง คือ อาบัติทุกกฏ
สิกขาบทที่ ๖
ภิกษุผู้ไม่เอื้อเฟื้อ ฉันภัตตาหารทำกระพุ้งแก้มให้ตุ่ย ต้องอาบัติ ๑ อย่าง คือ
อาบัติทุกกฏ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๑๖๒ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์] ๒. กตาปัตติวาร ๗. เสขิยกัณฑ์ ๖. สุรุสุรุวรรค
สิกขาบทที่ ๗
ภิกษุผู้ไม่เอื้อเฟื้อ ฉันสะบัดมือ ต้องอาบัติ ๑ อย่าง คือ อาบัติทุกกฏ
สิกขาบทที่ ๘
ภิกษุผู้ไม่เอื้อเฟื้อ ฉันโปรยเมล็ดข้าว ต้องอาบัติ ๑ อย่าง คือ อาบัติทุกกฏ
สิกขาบทที่ ๙
ภิกษุผู้ไม่เอื้อเฟื้อ ฉันแลบลิ้น ต้องอาบัติ ๑ อย่าง คือ อาบัติทุกกฏ
สิกขาบทที่ ๑๐
ภิกษุผู้ไม่เอื้อเฟื้อ ฉันทำเสียงดังจั๊บ ๆ ต้องอาบัติ ๑ อย่าง คือ อาบัติทุกกฏ
กพฬวรรคที่ ๕ จบ

๖. สุรุสุรุวรรค
สิกขาบทที่ ๑
[๑๘๐] ภิกษุผู้ไม่เอื้อเฟื้อ ฉันทำเสียงดังซู้ด ๆ ต้องอาบัติ ๑ อย่าง คือ อาบัติ
ทุกกฏ
สิกขาบทที่ ๒
ภิกษุผู้ไม่เอื้อเฟื้อ ฉันเลียมือ ต้องอาบัติ ๑ อย่าง คือ อาบัติทุกกฏ
สิกขาบทที่ ๓
ภิกษุผู้ไม่เอื้อเฟื้อ ฉันขอดบาตร ต้องอาบัติ ๑ อย่าง คือ อาบัติทุกกฏ
สิกขาบทที่ ๔
ภิกษุผู้ไม่เอื้อเฟื้อ ฉันเลียริมฝีปาก ต้องอาบัติ ๑ อย่าง คือ อาบัติทุกกฏ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๑๖๓ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์] ๒. กตาปัตติวาร ๗. เสขิยกัณฑ์ ๗. ปาทุกวรรค
สิกขาบทที่ ๕
ภิกษุผู้ไม่เอื้อเฟื้อ จับภาชนะน้ำดื่มด้วยมือเปื้อนอาหาร ต้องอาบัติ ๑ อย่าง
คือ อาบัติทุกกฏ
สิกขาบทที่ ๖
ภิกษุผู้ไม่เอื้อเฟื้อ เทน้ำล้างบาตรมีเมล็ดข้าวในละแวกบ้าน ต้องอาบัติ ๑ อย่าง
คือ อาบัติทุกกฏ
สิกขาบทที่ ๗
ภิกษุผู้ไม่เอื้อเฟื้อ แสดงธรรมแก่บุคคลผู้กั้นร่ม ต้องอาบัติ ๑ อย่าง คือ อาบัติ
ทุกกฏ
สิกขาบทที่ ๘
ภิกษุผู้ไม่เอื้อเฟื้อ แสดงธรรมแก่คนถือไม้พลอง ต้องอาบัติ ๑ อย่าง คือ อาบัติ
ทุกกฏ
สิกขาบทที่ ๙
ภิกษุผู้ไม่เอื้อเฟื้อ แสดงธรรมแก่คนถือศัสตรา ต้องอาบัติ ๑ อย่าง คือ อาบัติ
ทุกกฏ
สิกขาบทที่ ๑๐
ภิกษุผู้ไม่เอื้อเฟื้อ แสดงธรรมแก่คนถืออาวุธ ต้องอาบัติ ๑ อย่าง คือ อาบัติ
ทุกกฏ
สุรุสุรุวรรคที่ ๖ จบ

๗. ปาทุกวรรค
สิกขาบทที่ ๑
[๑๘๑] ภิกษุผู้ไม่เอื้อเฟื้อ แสดงธรรมแก่คนผู้สวมเขียงเท้า ต้องอาบัติ ๑ อย่าง
คือ อาบัติทุกกฏ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๑๖๔ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์] ๒. กตาปัตติวาร ๗. เสขิยกัณฑ์ ๗. ปาทุกวรรค
สิกขาบทที่ ๒
ภิกษุผู้ไม่เอื้อเฟื้อ แสดงธรรมแก่คนสวมรองเท้า ต้องอาบัติ ๑ อย่าง คือ อาบัติ
ทุกกฏ
สิกขาบทที่ ๓
ภิกษุผู้ไม่เอื้อเฟื้อ แสดงธรรมแก่คนอยู่ในยานพาหนะ ต้องอาบัติ ๑ อย่าง คือ
อาบัติทุกกฏ
สิกขาบทที่ ๔
ภิกษุผู้ไม่เอื้อเฟื้อ แสดงธรรมแก่คนผู้อยู่บนที่นอน ต้องอาบัติ ๑ อย่าง คือ
อาบัติทุกกฏ
สิกขาบทที่ ๕
ภิกษุผู้ไม่เอื้อเฟื้อ แสดงธรรมแก่คนที่นั่งรัดเข่า ต้องอาบัติ ๑ อย่าง คือ อาบัติ
ทุกกฏ
สิกขาบทที่ ๖
ภิกษุผู้ไม่เอื้อเฟื้อ แสดงธรรมแก่คนผู้โพกศีรษะ ต้องอาบัติ ๑ อย่าง คือ
อาบัติ ทุกกฏ
สิกขาบทที่ ๗
ภิกษุผู้ไม่เอื้อเฟื้อ แสดงธรรมแก่คนผู้คลุมศีรษะ ต้องอาบัติ ๑ อย่าง คือ อาบัติ
ทุกกฏ
สิกขาบทที่ ๘
ภิกษุผู้ไม่เอื้อเฟื้อ นั่งอยู่บนพื้นดิน แสดงธรรมแก่คนผู้นั่งบนอาสนะ ต้องอาบัติ
๑ อย่าง คือ อาบัติทุกกฏ
สิกขาบทที่ ๙
ภิกษุผู้ไม่เอื้อเฟื้อ นั่งอยู่บนอาสนะต่ำ แสดงธรรมแก่คนผู้นั่งบนอาสนะสูง ต้อง
อาบัติ ๑ อย่าง คือ อาบัติทุกกฏ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๑๖๕ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์] ๒. กตาปัตติวาร ๗. เสขิยกัณฑ์ ๗. ปาทุกวรรค
สิกขาบทที่ ๑๐
ภิกษุผู้ไม่เอื้อเฟื้อ ยืนแสดงธรรมแก่คนผู้นั่งอยู่ ต้องอาบัติ ๑ อย่าง คือ
อาบัติทุกกฏ
สิกขาบทที่ ๑๑
ภิกษุผู้ไม่เอื้อเฟื้อ เดินอยู่ข้างหลัง แสดงธรรมแก่คนผู้เดินไปข้างหน้า ต้อง
อาบัติ ๑ อย่าง คือ อาบัติทุกกฏ
สิกขาบทที่ ๑๒
ภิกษุผู้ไม่เอื้อเฟื้อ เดินอยู่นอกทาง แสดงธรรมแก่คนผู้เดินไปในทาง ต้องอาบัติ
๑ อย่าง คือ อาบัติทุกกฏ
สิกขาบทที่ ๑๓
ภิกษุผู้ไม่เอื้อเฟื้อ ยืนถ่ายอุจจาระหรือปัสสาวะ ต้องอาบัติ ๑ อย่าง คือ
อาบัติทุกกฏ
สิกขาบทที่ ๑๔
ภิกษุผู้ไม่เอื้อเฟื้อ ถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ หรือบ้วนน้ำลายลงบนของเขียว
ต้องอาบัติ ๑ อย่าง คือ อาบัติทุกกฏ
สิกขาบทที่ ๑๕
ถาม : ภิกษุผู้ไม่เอื้อเฟื้อ ถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ หรือบ้วนน้ำลายลงในน้ำ
ต้องอาบัติเท่าไร
ตอบ : ภิกษุผู้ไม่เอื้อเฟื้อ ถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ หรือบ้วนน้ำลายลงในน้ำ ต้องอาบัติ
๑ อย่าง คือ อาบัติทุกกฏ
ภิกษุผู้ไม่เอื้อเฟื้อ ถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ หรือบ้วนน้ำลายลงในน้ำ ต้องอาบัติ
๑ อย่างนี้
ปาทุกวรรคที่ ๗ จบ
เสขิยวัตร ๗๕ สิกขาบท จบ
กตาปัตติวารที่ ๒ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๑๖๖ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์] ๓. วิปัตติวาร ๗. เสขิยกัณฑ์
๓. วิปัตติวาร
วาระว่าด้วยเป็นวิบัติ
๑. ปาราชิกกัณฑ์
คำถาม - คำตอบวิบัติในปาราชิกกัณฑ์
ปาราชิกสิกขาบทที่ ๑
[๑๘๒] ถาม : อาบัติของภิกษุผู้เสพเมถุนธรรม บรรดาวิบัติ ๔ อย่าง จัด
เป็นวิบัติเท่าไร
ตอบ : อาบัติของภิกษุผู้เสพเมถุนธรรม บรรดาวิบัติ ๔ อย่าง๑ จัดเป็นวิบัติ
๒ อย่าง คือ (๑) สีลวิบัติ (๒) อาจารวิบัติ
ฯลฯ

๗. เสขิยกัณฑ์
คำถาม - คำตอบวิบัติในเสขิยกัณฑ์
ฯลฯ
๗. ปาทุกวรรค
ฯลฯ
สิกขาบทที่ ๑๕
ถาม : อาบัติของภิกษุผู้ไม่เอื้อเฟื้อ ถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ หรือบ้วนน้ำลาย
ลงในน้ำ บรรดาวิบัติ ๔ อย่าง จัดเป็นวิบัติเท่าไร

เชิงอรรถ :
๑ วิบัติ ในที่นี้หมายเอาวิบัติ ๔ อย่าง คือ (๑) สีลวิบัติ (๒) อาจารวิบัติ (๓) ทิฏฐิวิบัติ (๔) อาชีววิบัติ
(ดูข้อ ๓๒๔ หน้า ๔๕๕ ในเล่มนี้)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๑๖๗ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์] ๔. สังคหิตวาร ๗. เสขิยกัณฑ์
ตอบ : อาบัติของภิกษุผู้ไม่เอื้อเฟื้อ ถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ หรือบ้วนน้ำลาย
ลงในน้ำ บรรดาวิบัติ ๔ อย่าง จัดเป็นวิบัติ ๑ อย่าง คือ อาจารวิบัติ
วิปัตติวารที่ ๓ จบ

๔. สังคหิตวาร
วาระว่าด้วยจัดเข้ากองอาบัติ
๑. ปาราชิกกัณฑ์
คำถาม - คำตอบจัดกองอาบัติในปาราชิกกัณฑ์
ปาราชิกสิกขาบทที่ ๑
[๑๘๓] ถาม : อาบัติของภิกษุผู้เสพเมถุนธรรม บรรดากองอาบัติ ๗ กอง
จัดเข้ากองอาบัติเท่าไร
ตอบ : อาบัติของภิกษุผู้เสพเมถุนธรรม บรรดากองอาบัติ ๗ กอง จัดเข้ากอง
อาบัติ ๓ กอง คือ (๑) กองอาบัติปาราชิก (๒) กองอาบัติถุลลัจจัย (๓) กอง
อาบัติทุกกฏ
ฯลฯ

๗. เสขิยกัณฑ์
คำถาม - คำตอบจัดกองอาบัติเสขิยกัณฑ์
ฯลฯ
๗. ปาทุกวรรค
ฯลฯ
สิกขาบทที่ ๑๕
ถาม : อาบัติของภิกษุผู้ไม่เอื้อเฟื้อ ถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ หรือบ้วนน้ำลาย
ลงในน้ำ บรรดากองอาบัติ ๗ กอง จัดเข้ากองอาบัติเท่าไร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๑๖๘ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์] ๕. สมุฏฐานวาร ๗. เสขิยกัณฑ์
ตอบ : อาบัติของภิกษุผู้ไม่เอื้อเฟื้อ ถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ หรือบ้วนน้ำลาย
ลงในน้ำ บรรดากองอาบัติ ๗ กอง จัดเข้ากองอาบัติ ๑ กอง คือ กองอาบัติทุกกฏ
สังคหิตวารที่ ๔ จบ

๕. สมุฏฐานวาร
วาระว่าด้วยสมุฏฐาน
๑. ปาราชิกกัณฑ์
คำถาม - คำตอบสมุฏฐานอาบัติในปาราชิกกัณฑ์
ปาราชิกสิกขาบทที่ ๑
[๑๘๔] ถาม : อาบัติของภิกษุผู้เสพเมถุนธรรม บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖
สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐานเท่าไร
ตอบ : อาบัติของภิกษุผู้เสพเมถุนธรรม บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน
เกิดด้วยสมุฏฐาน ๑ สมุฏฐาน คือ เกิดทางกายกับจิต มิใช่เกิดทางวาจา
ฯลฯ

๗. เสขิยกัณฑ์
คำถาม - คำตอบสมุฏฐานอาบัติในเสขิยกัณฑ์
ฯลฯ
๗. ปาทุกวรรค
ฯลฯ
สิกขาบทที่ ๑๕
ถาม : อาบัติของภิกษุผู้ไม่เอื้อเฟื้อ ถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ หรือบ้วนน้ำลาย
ลงในน้ำ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐานเท่าไร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๑๖๙ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์] ๖. อธิกรณวาร ๗. เสขิยกัณฑ์
ตอบ : อาบัติของภิกษุผู้ไม่เอื้อเฟื้อ ถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ หรือบ้วนน้ำลาย
ลงในน้ำ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๑ สมุฏฐาน
คือ เกิดทางกายกับจิต มิใช่เกิดทางวาจา
สมุฏฐานวารที่ ๕ จบ

๖. อธิกรณวาร
วาระว่าด้วยจัดเป็นอธิกรณ์
๑. ปาราชิกกัณฑ์
คำถาม - คำตอบอธิกรณ์ในปาราชิกกัณฑ์
ปาราชิกสิกขาบทที่ ๑
[๑๘๕] ถาม : อาบัติของภิกษุผู้เสพเมถุนธรรม บรรดาอธิกรณ์ ๔ อย่าง
จัดเป็นอธิกรณ์ไหน
ตอบ : อาบัติของภิกษุผู้เสพเมถุนธรรม บรรดาอธิกรณ์ ๔ อย่าง จัดเป็น
อาปัตตาธิกรณ์
ฯลฯ

๗. เสขิยกัณฑ์
คำถาม - คำตอบอธิกรณ์ในเสขิยกัณฑ์
ฯลฯ
๗. ปาทุกวรรค
ฯลฯ
สิกขาบทที่ ๑๕
ถาม : อาบัติของภิกษุผู้ไม่เอื้อเฟื้อ ถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ หรือบ้วนน้ำลาย
ลงในน้ำ บรรดาอธิกรณ์ ๔ อย่าง จัดเป็นอธิกรณ์ไหน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๑๗๐ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์] ๗. สมถวาร ๗. เสขิยกัณฑ์
ตอบ : อาบัติของภิกษุผู้ไม่เอื้อเฟื้อ ถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ หรือบ้วนน้ำลายลง
ในน้ำ บรรดาอธิกรณ์ ๔ อย่าง จัดเป็นอาปัตตาธิกรณ์
อธิกรณวารที่ ๖ จบ

๗. สมถวาร
วาระว่าด้วยการระงับด้วยสมถะ
๑. ปาราชิกกัณฑ์
คำถาม - คำตอบสมถะในปาราชิกกัณฑ์
ปาราชิกสิกขาบทที่ ๑
[๑๘๖] ถาม : อาบัติของภิกษุผู้เสพเมถุนธรรม บรรดาสมถะ ๗ อย่าง
ระงับด้วยสมถะเท่าไร
ตอบ : อาบัติของภิกษุผู้เสพเมถุนธรรม บรรดาสมถะ ๗ อย่าง ระงับด้วย
สมถะ ๓ อย่าง คือ (๑) สัมมุขาวินัย (๒) ปฏิญญาตกรณะ (๓) สัมมุขาวินัยกับ
ติณวัตถารกะ
ฯลฯ

๗. เสขิยกัณฑ์
คำถาม - คำตอบสมถะในเสขิยกัณฑ์
ฯลฯ
๗. ปาทุกวรรค
ฯลฯ
สิกขาบทที่ ๑๕
ถาม : อาบัติของภิกษุผู้ไม่เอื้อเฟื้อ ถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ หรือบ้วนน้ำลาย
ลงในน้ำ บรรดาสมถะ ๗ อย่าง ระงับด้วยสมถะเท่าไร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๑๗๑ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์] ๘. สมุจจยวาร ๗. เสขิยกัณฑ์
ตอบ : อาบัติของภิกษุผู้ไม่เอื้อเฟื้อ ถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ หรือบ้วนน้ำลาย
ลงในน้ำ บรรดาสมถะ ๗ อย่าง ระงับด้วยสมถะ ๓ อย่าง คือ (๑) สัมมุขาวินัย
(๒) ปฏิญญาตกรณะ (๓) สัมมุขาวินัยกับติณวัตถารกะ
สมถวารที่ ๗ จบ

๘. สมุจจยวาร
วาระว่าด้วยการสรุปรวม
๑. ปาราชิกกัณฑ์
คำถาม - คำตอบสรุปรวมอาบัติในปาราชิกกัณฑ์
ปาราชิกสิกขาบทที่ ๑
[๑๘๗] ถาม : ภิกษุเสพเมถุนธรรม ต้องอาบัติเท่าไร
ตอบ : ภิกษุเสพเมถุนธรรม ต้องอาบัติ ๓ อย่าง คือ
๑. เสพเมถุนธรรมในซากศพที่ยังไม่ถูกสัตว์กัดกิน ต้องอาบัติปาราชิก
๒. เสพเมถุนธรรมในซากศพที่ถูกสัตว์กัดกินโดยมาก ต้องอาบัติถุลลัจจัย
๓. สอดองคชาตเข้าไปในปากที่อ้า แต่มิได้ถูกต้อง ต้องอาบัติทุกกฏ
ภิกษุเสพเมถุนธรรม ต้องอาบัติ ๓ อย่างนี้
ถาม : อาบัติเหล่านั้น บรรดาวิบัติ ๔ อย่าง จัดเป็นวิบัติเท่าไร บรรดากอง
อาบัติ ๗ กอง จัดเข้ากองอาบัติเท่าไร บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน
เกิดด้วยสมุฏฐานเท่าไร บรรดาอธิกรณ์ ๔ อย่าง จัดเป็นอธิกรณ์ไหน บรรดาสมถะ
๗ อย่าง ระงับด้วยสมถะเท่าไร
ตอบ : อาบัติเหล่านั้น บรรดาวิบัติ ๔ อย่าง จัดเป็นวิบัติ ๒ อย่าง คือ
(๑) สีลวิบัติ (๒) อาจารวิบัติ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๑๗๒ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์] ๘. สมุจจยวาร ๗. เสขิยกัณฑ์
บรรดากองอาบัติ ๗ กอง จัดเข้ากองอาบัติ ๓ กอง คือ (๑) กองอาบัติ
ปาราชิก (๒) กองอาบัติถุลลัจจัย (๓) กองอาบัติทุกกฏ
บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๑ สมุฏฐาน คือ
เกิดทางกายและทางจิต มิใช่เกิดทางวาจา
บรรดาอธิกรณ์ ๔ อย่าง จัดเป็นอาปัตตาธิกรณ์
บรรดาสมถะ ๗ อย่าง ระงับด้วยสมถะ ๓ อย่าง คือ (๑) สัมมุขาวินัย
(๒) ปฏิญญาตกรณะ (๓) สัมมุขาวินัยกับติณวัตถารกะ
ฯลฯ

๗. เสขิยกัณฑ์
คำถาม - คำตอบสรุปรวมอาบัติในเสขิยกัณฑ์
ฯลฯ
๗. ปาทุกวรรค
ฯลฯ
สิกขาบทที่ ๑๕
ถาม : ภิกษุผู้ไม่เอื้อเฟื้อ ถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ หรือบ้วนน้ำลายลงในน้ำ ต้อง
อาบัติเท่าไร
ตอบ : ภิกษุผู้ไม่เอื้อเฟื้อ ถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ หรือบ้วนน้ำลายลงในน้ำ ต้อง
อาบัติ ๑ อย่าง คือ อาบัติทุกกฏ
ภิกษุผู้ไม่เอื้อเฟื้อ ถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ หรือบ้วนน้ำลายลงในน้ำ ต้องอาบัติ
๑ อย่างนี้
ถาม : อาบัตินั้น บรรดาวิบัติ ๔ อย่าง จัดเป็นวิบัติเท่าไร บรรดากองอาบัติ
๗ กอง จัดเข้ากองอาบัติเท่าไร บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน เกิด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๑๗๓ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์] ๘. สมุจจยวาร รวมวาระแรกที่มีในภิกขุวิภังค์ ๘ วาระคือ
ด้วยสมุฏฐานเท่าไร บรรดาอธิกรณ์ ๔ อย่าง จัดเป็นอธิกรณ์ไหน บรรดาสมถะ ๗
อย่าง ระงับด้วยสมถะเท่าไร
ตอบ : อาบัตินั้น บรรดาวิบัติ ๔ อย่าง จัดเป็นวิบัติ ๑ อย่าง คือ อาจารวิบัติ
บรรดากองอาบัติ ๗ กอง จัดเข้ากองอาบัติ ๑ กอง คือ กองอาบัติทุกกฏ
บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๑ สมุฏฐาน คือ
เกิดทางกายกับจิต มิใช่เกิดทางวาจา
บรรดาอธิกรณ์ ๔ อย่าง จัดเป็นอาปัตตาธิกรณ์
บรรดาสมถะ ๗ อย่าง ระงับด้วยสมถะ ๓ อย่าง คือ (๑) สัมมุขาวินัย
(๒) ปฏิญญาตกรณะ (๓) สัมมุขาวินัยกับติณวัตถารกะ
สมุจจยวารที่ ๘ จบ
๘ วาระนี้พระธรรมสังคีติกาจารย์เขียนไว้สำหรับสวดเท่านั้น
รวมวาระแรกที่มีในภิกขุวิภังค์ ๘ วาระ คือ

๑. กัตถปัญญัตติวาร ๒. กตาปัญญัตติวาร
๓. วิปัตติวาร ๔. สังคหิตวาร
๕. สมุฏฐานวาร ๖. อธิกรณวาร
๗. สมถวาร ๘. สมุจจยวาร


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๑๗๔ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์] ๑. กัตถปัญญัตติวาร ๑. ปาราชิกกัณฑ์
๑. กัตถปัญญัตติวาร
วาระว่าด้วยบัญญัติ ณ ที่ไหน
๑. ปาราชิกกัณฑ์
คำถาม - คำตอบในปาราชิกกัณฑ์
[๑๘๘] พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น
ทรงบัญญัติปาราชิกเพราะการเสพเมถุนธรรมเป็นปัจจัย ณ ที่ไหน ทรงปรารภใคร
เพราะเรื่องอะไร ฯลฯ ใครนำมา

ปาราชิกสิกขาบทที่ ๑
ถาม : พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น
ทรงบัญญัติปาราชิกเพราะการเสพเมถุนธรรมเป็นปัจจัย ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงเวสาลี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภพระสุทินกลันทบุตร
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่พระสุทินกลันทบุตรเสพเมถุนธรรมกับอดีตภรรยา
ถาม : ในปาราชิกสิกขาบทที่ ๑ นั้น มีพระบัญญัติ พระอนุบัญญัติ อนุปปันน-
บัญญัติอยู่หรือ
ตอบ : ในปาราชิกสิกขาบทที่ ๑ นั้น มี ๑ พระบัญญัติ ๒ พระอนุบัญญัติ
ไม่มีอนุปปันนบัญญัติ
ถาม : มีสัพพัตถบัญญัติ ปเทสบัญญัติอยู่หรือ
ตอบ : มีสัพพัตถบัญญัติ
ถาม : มีสาธารณบัญญัติ อสาธารณบัญญัติอยู่หรือ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๑๗๕ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์] ๑. กัตถปัญญัตติวาร ๑. ปาราชิกกัณฑ์
ตอบ : มีสาธารณบัญญัติ
ถาม : มีเอกโตบัญญัติ อุภโตบัญญัติอยู่หรือ
ตอบ : มีอุภโตบัญญัติ
ถาม : บรรดาพระปาติโมกขุทเทส ๕ อุทเทส ปาราชิกสิกขาบทที่ ๑ นี้
จัดเข้าในอุทเทสไหน นับเนื่องในอุทเทสไหน
ตอบ : จัดเข้าในนิทานุทเทส นับเนื่องในนิทานุทเทส
ถาม : มาสู่อุทเทส โดยอุทเทสไหน
ตอบ : มาสู่อุทเทส โดยอุทเทสที่ ๒
ถาม : บรรดาวิบัติ ๔ อย่าง เป็นวิบัติอย่างไหน
ตอบ : เป็นสีลวิบัติ
ถาม : บรรดากองอาบัติ ๗ กอง เป็นกองอาบัติไหน
ตอบ : เป็นกองอาบัติปาราชิก
ถาม : บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐานเท่าไร
ตอบ : เกิดด้วยสมุฏฐาน ๑ สมุฏฐาน คือ เกิดทางกายกับจิต มิใช่เกิด
ทางวาจา ฯลฯ
ถาม : ใครนำมา
ตอบ : พระเถระทั้งหลายนำสืบ ๆ กันมา
รายนามพระเถระผู้ทรงจำพระวินัยสืบกันมา
พระเถระเหล่านี้ คือ พระอุบาลี พระทาสกะ พระโสณกะ
พระสิคควะ และพระโมคคัลลีบุตร รวมเป็น ๕ รูป
เป็นผู้นำพระวินัยสืบ ๆ กันมาในชมพูทวีปอันมีสิริ
จากนั้น พระเถระผู้ประเสริฐมีปัญญามากเหล่านี้
คือ พระมหินทะ พระอิฏฏิยะ พระอุตติยะ พระสัมพละ๑ฯลฯ

เชิงอรรถ :
๑ ข้อความเหมือนในข้อ ๓ หน้า ๕-๗

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๑๗๖ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์] ๑. กัตถปัญญัตติวาร ๑. ปาราชิกกัณฑ์
พระเถระผู้ประเสริฐมีปัญญามากเหล่านี้ รู้พระวินัย
ฉลาดในมรรค ได้ประกาศพระวินัยปิฎกไว้ในเกาะตามพปัณณิ

ปาราชิกสิกขาบทที่ ๒
[๑๘๙] ถาม : พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้
ทรงเห็น ทรงบัญญัติปาราชิกเพราะการถือเอาสิ่งของที่เจ้าของมิได้ให้เป็นปัจจัย ณ
ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงราชคฤห์
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภพระธนิยกุมภการบุตร
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่พระธนิยกุมภการบุตรถือเอาไม้หลวงซึ่งยังไม่ได้รับพระ
ราชทาน
ในปาราชิกสิกขาบทที่ ๒ นั้นมี ๑ พระบัญญัติ ๑ พระอนุบัญญัติ
บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๓ สมุฏฐาน คือ
(๑) เกิดทางกายกับจิต มิใช่เกิดทางวาจา (๒) เกิดทางวาจากับจิต มิใช่เกิดทางกาย
(๓) เกิดทางกายวาจากับจิต ฯลฯ

ปาราชิกสิกขาบทที่ ๓
[๑๙๐] ถาม : พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้
ทรงเห็น ทรงบัญญัติปาราชิกเพราะความจงใจพรากกายมนุษย์จากชีวิตเป็นปัจจัย ณ
ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงเวสาลี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภภิกษุหลายรูป

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๑๗๗ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์] ๑. กัตถปัญญัตติวาร ๒. สังฆาทิเลสกัณฑาทิ
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่ภิกษุหลายรูปฆ่ากันและกัน
ในปาราชิกสิกขาบทที่ ๓ นั้นมี ๑ พระบัญญัติ ๑ พระอนุบัญญัติ
บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๓ สมุฏฐาน คือ
(๑) เกิดทางกายกับจิต มิใช่เกิดทางวาจา (๒) เกิดทางวาจากับจิต มิใช่เกิดทางกาย
(๓) เกิดทางกายวาจากับจิต ฯลฯ

ปาราชิกสิกขาบทที่ ๔
[๑๙๑] ถาม : พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้
ทรงเห็น ทรงบัญญัติปาราชิกเพราะการกล่าวอวดอุตตริมนุสสธรรมซึ่งไม่มีอยู่ไม่เป็นจริง
เป็นปัจจัย ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงเวสาลี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภพวกภิกษุชาวฝั่งแม่น้ำวัคคุมุทา
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่พวกภิกษุชาวฝั่งแม่น้ำวัคคุมุทา กล่าวอวดอุตตริมนุสสธรรม
ของกันและกันแก่พวกคฤหัสถ์
ในปาราชิกสิกขาบทที่ ๔ นั้นมี ๑ พระบัญญัติ ๑ พระอนุบัญญัติ
บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๓ สมุฏฐาน คือ
(๑) เกิดทางกายกับจิต มิใช่เกิดทางวาจา (๒) เกิดทางวาจากับจิต มิใช่เกิดทางกาย
(๓) เกิดทางกายวาจากับจิต ฯลฯ
ปาราชิก ๔ สิกขาบท จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๑๗๘ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์] ๑. กัตถปัญญัตติวาร ๒. สังฆาทิเลสกัณฑาทิ
๒. สังฆาทิเสสกัณฑาทิ
คำถาม - คำตอบในสังฆาทิเสสกัณฑ์ เป็นต้น
[๑๙๒] ถาม : พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้
ทรงเห็น ทรงบัญญัติสังฆาทิเสสเพราะการพยายามทำน้ำอสุจิให้เคลื่อนเป็นปัจจัย ณ
ที่ไหน ทรงปรารภใคร เพราะเรื่องอะไร ฯลฯ ใครนำมา

๑. สุกกวิสัฏฐิสิกขาบท
ถาม : พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น
ทรงบัญญัติสังฆาทิเสส เพราะการพยายามทำน้ำอสุจิให้เคลื่อนเป็นปัจจัย ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภท่านพระเสยยสกะ
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่ท่านพระเสยยสกะพยายามทำน้ำอสุจิให้เคลื่อน
ถาม : ในสุกกวิสัฏฐิสิกขาบทนั้น มีพระบัญญัติ พระอนุบัญญัติ อนุปปันน-
บัญญัติอยู่หรือ
ตอบ : ในสุกกวิสัฏฐิสิกขาบทนั้น มี ๑ พระบัญญัติ ๑ พระอนุบัญญัติ ไม่มี
อนุปปันนบัญญัติ
ถาม : มีสัพพัตถบัญญัติ ปเทสบัญญัติอยู่หรือ
ตอบ : มีสัพพัตถบัญญัติ
ถาม : มีสาธารณบัญญัติ อสาธารณบัญญัติอยู่หรือ
ตอบ : มีอสาธารณบัญญัติ
ถาม : มีเอกโตบัญญัติ อุภโตบัญญัติอยู่หรือ
ตอบ : มีเอกโตบัญญัติ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๑๗๙ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์] ๑. กัตถปัญญัตติวาร ๒. สังฆาทิเลสกัณฑาทิ
ถาม : บรรดาพระปาติโมกขุทเทส ๕ อุทเทส สุกกวิสัฏฐิสิกขาบทนี้จัดเข้าใน
อุทเทสไหน นับเนื่องในอุทเทสไหน
ตอบ : จัดเข้าในนิทานุทเทส นับเนื่องในนิทานุทเทส
ถาม : มาสู่อุทเทส โดยอุทเทสไหน
ตอบ : มาสู่อุทเทส โดยอุทเทสที่ ๓
ถาม : บรรดาวิบัติ ๔ อย่าง เป็นวิบัติอย่างไหน
ตอบ : เป็นสีลวิบัติ
ถาม : บรรดากองอาบัติ ๗ กอง เป็นกองอาบัติไหน
ตอบ : เป็นกองอาบัติสังฆาทิเสส
ถาม : บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐานเท่าไร
ตอบ : เกิดด้วยสมุฏฐาน ๑ สมุฏฐาน คือ เกิดทางกายกับจิต มิใช่เกิด
ทางวาจา
ถาม : ใครนำมา
ตอบ : พระเถระทั้งหลายนำสืบ ๆ กันมา
รายนามพระเถระผู้ทรงจำพระวินัยสืบกันมา
พระเถระเหล่านี้ คือ พระอุบาลี พระทาสกะ พระโสณกะ
พระสิคควะ และพระโมคคัลลีบุตร รวมเป็น ๕ รูป
เป็นผู้นำพระวินัยสืบ ๆ กันมาในชมพูทวีปอันมีสิริ
จากนั้น พระเถระผู้ประเสริฐมีปัญญามากเหล่านี้ คือ
พระมหินทะ พระอิฏฏิยะ พระอุตติยะ พระสัมพละ ฯลฯ
พระเถระผู้ประเสริฐมีปัญญามากเหล่านี้ รู้พระวินัย
ฉลาดในมรรค ได้ประกาศพระวินัยปิฎกไว้ในเกาะตามพปัณณิ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๑๘๐ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์] ๑. กัตถปัญญัตติวาร ๒. สังฆาทิเลสกัณฑาทิ
๒. กายสังสัคคสิกขาบท
ถาม : ทรงบัญญัติสังฆาทิเสสเพราะการถูกต้องกายกับมาตุคามเป็นปัจจัย ณ
ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภท่านพระอุทายี
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่ท่านพระอุทายีถูกต้องกายกับมาตุคาม
ในกายสังสัคคสิกขาบทนั้นมี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖
สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๑ สมุฏฐาน คือ เกิดทางกายกับจิต มิใช่เกิดทาง
วาจา
๓. ทุฏฐุลลวาจาสิกขาบท
ถาม : ทรงบัญญัติสังฆาทิเสสเพราะการพูดเกี้ยวมาตุคามด้วยวาจาชั่วหยาบ
เป็นปัจจัย ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภท่านพระอุทายี
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่ท่านพระอุทายีพูดเกี้ยวมาตุคามด้วยวาจาชั่วหยาบ
ในทุฏฐุลลวาจาสิกขาบทนั้นมี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖
สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๓ สมุฏฐาน คือ (๑) เกิดทางกายกับจิต มิใช่เกิด
ทางวาจา (๒) เกิดทางวาจากับจิต มิใช่เกิดทางกาย (๓) เกิดทางกายวาจากับจิต

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๑๘๑ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์] ๑. กัตถปัญญัตติวาร ๒. สังฆาทิเลสกัณฑาทิ
๔. อัตตกามปาริจริยสิกขาบท
ถาม : ทรงบัญญัติสังฆาทิเสสเพราะการกล่าวสรรเสริญการบำเรอความใคร่
ของตน ต่อหน้ามาตุคามเป็นปัจจัย ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภท่านพระอุทายี
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่ท่านพระอุทายีกล่าวสรรเสริญการบำเรอความใคร่ของ
ตนต่อหน้ามาตุคาม
ในอัตตกามปาริจริยสิกขาบทนั้นมี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ
๖ สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๓ สมุฏฐาน ฯลฯ

๕. สัญจริตตสิกขาบท
ถาม : ทรงบัญญัติสังฆาทิเสสเพราะการทำหน้าที่ชักสื่อเป็นปัจจัย ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภท่านพระอุทายี
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่ท่านพระอุทายีทำหน้าที่ชักสื่อ
ในสัญจริตตสิกขาบทนั้นมี ๑ พระบัญญัติ ๑ พระอนุบัญญัติ บรรดาสมุฏฐาน
แห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน เกิดด้วย ๖ สมุฏฐาน คือ (๑) เกิดทางกาย มิใช่เกิด
ทางวาจา มิใช่เกิดทางจิต (๒) เกิดทางวาจา มิใช่เกิดทางกาย มิใช่เกิดทางจิต
(๓) เกิดทางกายกับวาจา มิใช่เกิดทางจิต (๔) เกิดทางกายกับจิต มิใช่เกิดทางวาจา
(๕) เกิดทางวาจากับจิต มิใช่เกิดทางกาย (๖) เกิดทางกายวาจากับจิต

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๑๘๒ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์] ๑. กัตถปัญญัตติวาร ๒. สังฆาทิเลสกัณฑาทิ
๖. กุฏิการสิกขาบท
ถาม : ทรงบัญญัติสังฆาทิเสสเพราะการสร้างกุฎีด้วยเครื่องอุปกรณ์ที่ขอมา
เองเป็นปัจจัย ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ เมืองอาฬวี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภพวกภิกษุชาวเมืองอาฬวี
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่พวกภิกษุชาวเมืองอาฬวีสร้างกุฎีด้วยเครื่องอุปกรณ์ที่ขอมาเอง
ในกุฏิการสิกขาบทมี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน
เกิดด้วยสมุฏฐาน ๖ สมุฏฐาน ฯลฯ

๗. วิหารการสิกขาบท
ถาม : ทรงบัญญัติสังฆาทิเสส เพราะการสร้างวิหารใหญ่เป็นปัจจัย ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงโกสัมพี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภท่านพระฉันนะ
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่ท่านพระฉันนะแผ้วถางพื้นที่สร้างวิหาร ได้สั่งให้ตัดไม้รุกข
เจดีย์ต้นหนึ่ง
ในวิหารการสิกขาบทนั้น มี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖
สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๖ สมุฏฐาน ฯลฯ

๘. ปฐมทุฏฐโทสสิกขาบท
ถาม : ทรงบัญญัติสังฆาทิเสสเพราะการใส่ความภิกษุด้วยอาบัติปาราชิกไม่มีมูล
เป็นปัจจัย ณ ที่ไหน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๑๘๓ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์] ๑. กัตถปัญญัตติวาร ๒. สังฆาทิเลสกัณฑาทิ
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงราชคฤห์
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภพระเมตติยะและพระภุมมชกะ
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่พระเมตติยะและพระภุมมชกะใส่ความท่านพระทัพพมัลลบุตร
ด้วยอาบัติปาราชิกไม่มีมูล
ในปฐมทุฏฐโทสสิกขาบทนั้น มี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖
สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๓ สมุฏฐาน ฯลฯ

๙. ทุติยทุฏฐโทสสิกขาบท
ถาม : ทรงบัญญัติสังฆาทิเสสเพราะการอ้างเอาบางส่วนแห่งอธิกรณ์เรื่องอื่น
เป็นเลสใส่ความภิกษุด้วยอาบัติปาราชิกเป็นปัจจัย ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงราชคฤห์
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภพระเมตติยะและพระภุมมชกะ
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่พระเมตติยะและพระภุมมชกะอ้างเอาบางส่วนแห่งอธิกรณ์
เรื่องอื่นเป็นเลศใส่ความท่านพระทัพพมัลลบุตรด้วยอาบัติปาราชิก
ในทุติยทุฏฐโทสสิกขาบทนั้นมี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖
สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๓ สมุฏฐาน ฯลฯ

๑๐. สังฆเภทสิกขาบท
ถาม : ทรงบัญญัติสังฆาทิเสสเพราะการไม่สละกรรม จนกระทั่งสงฆ์สวด
สมนุภาสน์ครบ ๓ ครั้งเป็นปัจจัยแก่ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์ให้แตกกัน ณ ที่ไหน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๑๘๔ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์] ๑. กัตถปัญญัตติวาร ๒. สังฆาทิเลสกัณฑาทิ
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงราชคฤห์
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภพระเทวทัต
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่พระเทวทัตพยายามเพื่อทำลายสงฆ์ผู้พร้อมเพรียงกัน
ในสังฆเภทสิกขาบทนั้น มี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖
สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๑ สมุฏฐาน คือ เกิดทางกายวาจากับจิต ฯลฯ

๑๑. สังฆเภทานุวัตตกสิกขาบท
ถาม : ทรงบัญญัติสังฆาทิเสสเพราะการไม่สละกรรมจนกระทั่งสงฆ์สวด
สมนุภาสน์ครบ ๓ ครั้งเป็นปัจจัยแก่ภิกษุที่ประพฤติตามสนับสนุนแก่ภิกษุผู้
พยายามทำลายสงฆ์ ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงราชคฤห์
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภภิกษุหลายรูป
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่ภิกษุหลายรูปประพฤติตามสนับสนุนพระเทวทัตผู้พยายาม
ทำลายสงฆ์
ในสังฆเภทานุวัตตกสิกขาบทนั้นมี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ
๖ สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๑ สมุฏฐาน คือ เกิดทางกายวาจากับจิต ฯลฯ

๑๒. ทุพพจสิกขาบท
ถาม : ทรงบัญญัติสังฆาทิเสสเพราะการไม่สละกรรมจนกระทั่งสงฆ์สวด
สมนุภาสน์ครบ ๓ ครั้งเป็นปัจจัยแก่ภิกษุผู้ว่ายาก ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงโกสัมพี
ถาม : ทรงปรารภใคร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๑๘๕ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์] ๑. กัตถปัญญัตติวาร ๒. สังฆาทิเลสกัณฑาทิ
ตอบ : ทรงปรารภท่านพระฉันนะ
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่ท่านพระฉันนะถูกภิกษุทั้งหลายว่ากล่าวตักเตือนโดยชอบ
ธรรม กลับทำตนให้เป็นที่ว่ากล่าวตักเตือนไม่ได้
ในทุพพจสิกขาบทนั้นมี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน
เกิดด้วยสมุฏฐาน ๑ สมุฏฐาน คือ เกิดทางกายวาจากับจิต ฯลฯ

๑๓. กุลทูสกสิกขาบท
ถาม : ทรงบัญญัติสังฆาทิเสสเพราะการไม่สละกรรมจนกระทั่งสงฆ์สวด
สมนุภาสน์ครบ ๓ ครั้งเป็นปัจจัยแก่ภิกษุผู้ประทุษร้ายตระกูล ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภภิกษุพวกพระอัสสชิและพระปุนัพพสุกะ
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่ภิกษุพวกพระอัสสชิและพระปุนัพพสุกะถูกสงฆ์ลงปัพพาชนีย
กรรมแล้วกลับกล่าวหาว่าพวกภิกษุลำเอียงเพราะชอบ ลำเอียงเพราะชัง ลำเอียง
เพราะหลง ลำเอียงเพราะกลัว
ในกุลทูสกสิกขาบทนั้นมี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน
เกิดด้วยสมุฏฐาน ๑ สมุฏฐาน คือ เกิดทางกายวาจากับจิต ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๑๘๖ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์] ๑. กัตถปัญญัตติวาร ๗. เสขิยกัณฑ์
๗. เสขิยกัณฑ์
คำถาม - คำตอบในเสขิยกัณฑ์
ฯลฯ
๗. ปาทุกวรรค
ฯลฯ
สิกขาบทที่ ๑๕
ถาม : พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น
ทรงบัญญัติทุกกฏเพราะภิกษุไม่เอื้อเฟื้อ ถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ หรือบ้วนน้ำลายลง
ในน้ำเป็นปัจจัย ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภพวกภิกษุฉัพพัคคีย์
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ ถ่ายอุจจาระบ้าง ปัสสาวะบ้าง
บ้วนน้ำลายบ้างลงในน้ำ
ในสิกขาบทที่ ๑๕ นั้น มี ๑ พระบัญญัติ ๑ พระอนุบัญญัติ บรรดาสมุฏฐาน
แห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๑ สมุฏฐาน คือ เกิดทางกายกับจิต
มิใช่เกิดทางวาจา
กัตถปัญญัตติวารที่ ๑ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๑๘๗ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์] ๒. กตาปัตติวาร ๑. ปาราชิกกัณฑ์
๒. กตาปัตติวาร
วาระว่าด้วยต้องอาบัติเท่าไร
๑. ปาราชิกกัณฑ์
คำถาม - คำตอบจำนวนอาบัติในปาราชิกกัณฑ์
ปาราชิกสิกขาบทที่ ๑
[๑๙๓] ถาม : เพราะการเสพเมถุนธรรมเป็นปัจจัย ต้องอาบัติเท่าไร
ตอบ : เพราะการเสพเมถุนธรรมเป็นปัจจัย ต้องอาบัติ ๔ อย่าง คือ
๑. ภิกษุเสพเมถุนธรรมในซากศพที่ยังมิได้ถูกสัตว์กัดกิน ต้องอาบัติ
ปาราชิก
๒. ภิกษุเสพเมถุนธรรมในซากศพที่ถูกสัตว์กัดกินโดยมาก ต้องอาบัติ
ถุลลัจจัย
๓. ภิกษุสอดองคชาตเข้าในปากที่อ้าแต่มิได้ถูกต้อง ต้องอาบัติทุกกฏ
๔. ภิกษุณีต้องอาบัติปาจิตตีย์ เพราะใช้ท่อนยาง
เพราะการเสพเมถุนธรรมเป็นปัจจัย ต้องอาบัติ ๔ อย่างเหล่านี้

ปาราชิกสิกขาบทที่ ๒
ถาม : เพราะการถือเอาสิ่งของที่เจ้าของมิได้ให้เป็นปัจจัย ต้องอาบัติเท่าไร
ตอบ : เพราะการถือเอาสิ่งของที่เจ้าของมิได้ให้เป็นปัจจัย ต้องอาบัติ ๓
อย่าง คือ
๑. ถือเอาสิ่งของที่เจ้าของมิได้ให้ โดยส่วนแห่งจิตคิดจะลัก มีราคา ๕
มาสก หรือเกินกว่า ๕ มาสก ต้องอาบัติปาราชิก
๒. ถือเอาสิ่งของที่เจ้าของมิได้ให้ โดยส่วนแห่งจิตคิดจะลัก มีราคาเกิน
กว่า ๑ มาสก หรือน้อยกว่า ๕ มาสก ต้องอาบัติถุลลัจจัย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๑๘๘ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์] ๒. กตาปัตติวาร ๑. ปาราชิกกัณฑ์
๓. ถือเอาสิ่งของที่เจ้าของมิได้ให้ โดยส่วนแห่งจิตคิดจะลัก มีราคา ๑
มาสก หรือน้อยกว่า ๑ มาสก ต้องอาบัติทุกกฏ
เพราะการถือเอาสิ่งของที่เจ้าของมิได้ให้เป็นปัจจัย ต้องอาบัติ ๓ อย่างเหล่านี้

ปาราชิกสิกขาบทที่ ๓
ถาม : เพราะความจงใจพรากกายมนุษย์จากชีวิตเป็นปัจจัย ต้องอาบัติเท่าไร
ตอบ : เพราะความจงใจพรากกายมนุษย์จากชีวิตเป็นปัจจัย ต้องอาบัติ ๓
อย่าง คือ
๑. ขุดหลุมพรางไว้เจาะจงมนุษย์ว่า “บุคคลชื่อนี้จะตกลงไปตาย” ต้อง
อาบัติทุกกฏ
๒. เมื่อบุคคลชื่อนั้นตกไปได้รับทุกขเวทนา ต้องอาบัติถุลลัจจัย
๓. เขาตาย ต้องอาบัติปาราชิก
เพราะความจงใจพรากกายมนุษย์จากชีวิตเป็นปัจจัย ต้องอาบัติ ๓ อย่าง
เหล่านี้
ปาราชิกสิกขาบทที่ ๔
ถาม : เพราะการกล่าวอวดอุตตริมนุสสธรรมที่ไม่มีอยู่ ไม่เป็นจริงเป็นปัจจัย
ต้องอาบัติเท่าไร
ตอบ : เพราะการกล่าวอวดอุตตริมนุสสธรรมที่ไม่มีอยู่ ไม่เป็นจริงเป็นปัจจัย
ต้องอาบัติ ๓ อย่าง คือ
๑. ภิกษุมีความปรารถนาชั่ว ถูกความอยากครอบงำ กล่าวอวดอุตตริ-
มนุสสธรรมที่ไม่มีอยู่ ไม่เป็นจริง ต้องอาบัติปาราชิก
๒. ภิกษุกล่าวว่า “ภิกษุรูปใดอยู่ในวิหารของท่าน ภิกษุรูปนั้นเป็นพระ
อรหันต์” เมื่อผู้อื่นเข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย
๓. เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติทุกกฏ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๑๘๙ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์] ๒. กตาปัตติวาร ๒. สังฆาทิเลสกัณฑาทิ
เพราะการกล่าวอวดอุตตริมนุสสธรรมที่ไม่มีอยู่ไม่เป็นจริงเป็นปัจจัย ต้อง
อาบัติ ๓ อย่างเหล่านี้
ปาราชิก ๔ สิกขาบท จบ

๒. สังฆาทิเสสกัณฑาทิ
คำถาม - คำตอบจำนวนอาบัติในสังฆาทิเสสกัณฑ์เป็นต้น
๑. สุกกวิสัฏฐิสิกขาบท
[๑๙๔] ถาม : เพราะการพยายามทำน้ำอสุจิให้เคลื่อนเป็นปัจจัย ภิกษุต้อง
อาบัติเท่าไร
ตอบ : เพราะการพยายามทำน้ำอสุจิให้เคลื่อนเป็นปัจจัย ภิกษุต้องอาบัติ ๓
อย่าง คือ
๑. จงใจ พยายาม น้ำอสุจิเคลื่อน ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
๒. จงใจ พยายาม น้ำอสุจิไม่เคลื่อน ต้องอาบัติถุลลัจจัย
๓. ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะพยายาม
เพราะการพยายามทำน้ำอสุจิให้เคลื่อนเป็นปัจจัย ภิกษุต้องอาบัติ ๓ อย่าง
เหล่านี้
๒. กายสังสัคคสิกขาบท
ถาม : เพราะการถูกต้องกายเป็นปัจจัย ต้องอาบัติเท่าไร
ตอบ : เพราะการถูกต้องกายเป็นปัจจัย ต้องอาบัติ ๕ อย่าง คือ
๑. ภิกษุณีมีความกำหนัด ยินดีการจับต้องกายของชายผู้กำหนัด
บริเวณใต้รากขวัญลงมา เหนือหัวเข่าขึ้นไป ต้องอาบัติปาราชิก
๒. ภิกษุใช้กายจับต้องกาย ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
๓. ใช้กายจับต้องของที่เนื่องด้วยกาย ต้องอาบัติถุลลัจจัย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๑๙๐ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์] ๒. กตาปัตติวาร ๒. สังฆาทิเลสกัณฑาทิ
๔. ใช้ของที่เนื่องด้วยกายจับต้องของที่เนื่องด้วยกาย ต้องอาบัติทุกกฏ
๕. ต้องอาบัติปาจิตตีย์ เพราะจี้ด้วยนิ้วมือ
เพราะการถูกต้องกายเป็นปัจจัย ต้องอาบัติ ๕ อย่างเหล่านี้

๓. ทุฏฐุลลวาจาสิกขาบท
เพราะการพูดเกี้ยวมาตุคามด้วยวาจาชั่วหยาบเป็นปัจจัย ภิกษุต้องอาบัติ ๓
อย่าง คือ
๑. พูดชมบ้าง พูดติบ้าง พาดพิงถึงทวารหนัก ทวารเบา ต้อง อาบัติ
สังฆาทิเสส
๒. พูดชมบ้าง พูดติบ้าง พาดพิงถึงบริเวณใต้รากขวัญลงมา เหนือเข่า
ขึ้นไป เว้นทวารหนัก ทวารเบา ต้องอาบัติถุลลัจจัย
๓. พูดชมบ้าง พูดติบ้าง พาดพิงถึงของเนื่องด้วยกาย ต้องอาบัติทุกกฏ

๔. อัตตกามปาริจริยสิกขาบท
เพราะการกล่าวสรรเสริญการบำเรอความใคร่ของตนเป็นปัจจัย ภิกษุต้อง
อาบัติ ๓ อย่าง คือ
๑. กล่าวสรรเสริญการบำเรอความใคร่ของตนต่อหน้ามาตุคาม ต้อง
อาบัติสังฆาทิเสส
๒. กล่าวสรรเสริญการบำเรอความใคร่ของตนต่อหน้าบัณเฑาะก์ ต้อง
อาบัติถุลลัจจัย
๓. กล่าวสรรเสริญการบำเรอความใคร่ของตนต่อหน้าสัตว์ดิรัจฉาน ต้อง
อาบัติทุกกฏ

๕. สัญจริตตสิกขาบท
เพราะการทำหน้าที่ชักสื่อเป็นปัจจัย ภิกษุต้องอาบัติ ๓ อย่าง คือ
๑. รับคำ ไปบอก กลับมาบอก ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
๒. รับคำ ไปบอก ไม่กลับมาบอก ต้องอาบัติถุลลัจจัย
๓. รับคำ ไม่ไปบอก ไม่กลับมาบอก ต้องอาบัติทุกกฏ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๑๙๑ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์] ๒. กตาปัตติวาร ๒. สังฆาทิเลสกัณฑาทิ
๖. กุฏิการสิกขาบท
เพราะการสร้างกุฎีด้วยการขอเอาเองเป็นปัจจัย ภิกษุต้องอาบัติ ๓ อย่าง คือ
๑. กำลังใช้ให้สร้าง ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะพยายาม
๒. ยังเหลืออิฐอีกก้อนหนึ่งจะเสร็จ ต้องอาบัติถุลลัจจัย
๓. อิฐก้อนสุดท้ายเสร็จแล้ว ต้องอาบัติสังฆาทิเสส

๗. วิหารการสิกขาบท
เพราะการสร้างวิหารใหญ่เป็นปัจจัย ภิกษุต้องอาบัติ ๓ อย่าง คือ
๑. กำลังใช้ให้สร้าง ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะพยายาม
๒. ยังเหลืออิฐอีกก้อนหนึ่งจึงจะเสร็จ ต้องอาบัติถุลลัจจัย
๓. อิฐก้อนสุดท้ายเสร็จแล้ว ต้องอาบัติสังฆาทิเสส

๘. ปฐมทุฏฐโทสสิกขาบท
เพราะการใส่ความภิกษุด้วยอาบัติปาราชิกที่ไม่มีมูลเป็นปัจจัย ภิกษุต้องอาบัติ
๓ อย่าง คือ
๑. ไม่ขอโอกาสก่อน มีความประสงค์จะให้พ้นจากพรหมจรรย์ จึงโจท
ต้องอาบัติทุกกฏกับสังฆาทิเสส
๒. ขอโอกาสก่อน มีความประสงค์จะด่า จึงโจท ต้องอาบัติ เพราะ
กล่าวเสียดสี

๙. ทุติยทุฏฐโทสสิกขาบท
เพราะการอ้างเอาบางส่วนแห่งอธิกรณ์เรื่องอื่นเป็นเลศใส่ความภิกษุด้วยปาราชิก
เป็นปัจจัย ภิกษุต้องอาบัติ ๓ อย่าง คือ
๑. ไม่ขอโอกาสก่อน มีความประสงค์จะให้พ้นจากพรหมจรรย์ จึงโจท
ต้องอาบัติทุกกฏกับสังฆาทิเสส
๒. ขอโอกาสก่อน มีความประสงค์จะด่า จึงโจท ต้องอาบัติ เพราะ
กล่าวเสียดสี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๑๙๒ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์] ๒. กตาปัตติวาร ๒. สังฆาทิเสสกัณฑาทิ
๑๐. สังฆเภทสิกขาบท
เพราะการไม่สละ(เรื่องนั้น)จนกระทั่งสงฆ์สวดสมนุภาสน์ครบ ๓ ครั้งเป็นปัจจัย
ภิกษุผู้ทำสงฆ์ให้แตกกัน ต้องอาบัติ ๓ อย่าง คือ
๑. จบญัตติ ต้องอาบัติทุกกฏ
๒. จบกรรมวาจา ๒ ครั้ง ต้องอาบัติถุลลัจจัย
๓. จบกรรมวาจาครั้งสุดท้าย ต้องอาบัติสังฆาทิเสส

๑๑. สังฆเภทานุวัตตกสิกขาบท
เพราะการไม่สละ(เรื่องนั้น)จนกระทั่งสงฆ์สวดสมนุภาสน์ครบ ๓ ครั้งเป็นปัจจัย
ภิกษุที่ประพฤติตามสนับสนุนภิกษุผู้ทำลายสงฆ์ ต้องอาบัติ ๓ อย่าง คือ
๑. จบญัตติ ต้องอาบัติทุกกฏ
๒. จบกรรมวาจา ๒ ครั้ง ต้องอาบัติถุลลัจจัย
๓. จบกรรมวาจาครั้งสุดท้าย ต้องอาบัติสังฆาทิเสส

๑๒. ทุพพจสิกขาบท
เพราะการไม่สละ(เรื่องนั้น)จนกระทั่งสงฆ์สวดสมนุภาสน์ครบ ๓ ครั้งเป็นปัจจัย
ภิกษุผู้ว่ายาก ต้องอาบัติ ๓ อย่าง คือ
๑. จบญัตติ ต้องอาบัติทุกกฏ
๒. จบกรรมวาจา ๒ ครั้ง ต้องอาบัติถุลลัจจัย
๓. จบกรรมวาจาครั้งสุดท้าย ต้องอาบัติสังฆาทิเสส

๑๓. กุลทูสกสิกขาบท
เพราะการไม่สละ(เรื่องนั้น)จนกระทั่งสงฆ์สวดสมนุภาสน์ครบ ๓ ครั้งเป็นปัจจัย
ภิกษุผู้ประทุษร้ายตระกูล ต้องอาบัติ ๓ อย่าง คือ
๑. จบญัตติ ต้องอาบัติทุกกฏ
๒. จบกรรมวาจา ๒ ครั้ง ต้องอาบัติถุลลัจจัย
๓. จบกรรมวาจาครั้งสุดท้าย ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
สังฆาทิเสส ๑๓ สิกขาบท จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๑๙๓ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์] ๓. วิปัตติวาร ๑. ปาราชิกกัณฑ์
๗. เสขิยกัณฑ์
คำถาม - คำตอบจำนวนอาบัติในเสขิยกัณฑ์
ฯลฯ
๗. ปาทุกวรรค
ฯลฯ
สิกขาบทที่ ๑๕
ถาม : เพราะการถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ หรือบ้วนน้ำลายลงในน้ำเป็นปัจจัย
ภิกษุผู้ไม่เอื้อเฟื้อ ต้องอาบัติเท่าไร
ตอบ : เพราะการถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ หรือบ้วนน้ำลายลงในน้ำเป็นปัจจัย
ภิกษุผู้ไม่เอื้อเฟื้อ ต้องอาบัติ ๑ อย่าง คือ อาบัติทุกกฏ
เพราะการถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะหรือบ้วนน้ำลายลงในน้ำเป็นปัจจัย ภิกษุผู้ไม่
เอื้อเฟื้อ ต้องอาบัติ ๑ อย่างนี้
กตาปัตติวารที่ ๒ จบ

๓. วิปัตติวาร
วาระว่าด้วยเป็นวิบัติ
๑. ปาราชิกกัณฑ์
คำถาม - คำตอบวิบัติในปาราชิกกัณฑ์
ปาราชิกสิกขาบทที่ ๑
[๑๙๕] ถาม : อาบัติเพราะการเสพเมถุนธรรมเป็นปัจจัย บรรดาวิบัติ ๔
อย่าง จัดเป็นวิบัติเท่าไร
ตอบ : อาบัติเพราะการเสพเมถุนธรรมเป็นปัจจัย บรรดาวิบัติ ๔ อย่าง จัดเป็น
วิบัติ ๒ อย่าง คือ (๑) สีลวิบัติ (๒) อาจารวิบัติ
ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๑๙๔ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์] ๔. สังคหิตวาร ๑. ปาราชิกกัณฑ์
๗. เสขิยกัณฑ์
คำถาม - คำตอบวิบัติในเสขิยกัณฑ์
ฯลฯ
๗. ปาทุกวรรค
ฯลฯ
สิกขาบทที่ ๑๕
ถาม : อาบัติเพราะความไม่เอื้อเฟื้อ ถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ หรือบ้วนน้ำลาย
ลงในน้ำเป็นปัจจัย บรรดาวิบัติ ๔ อย่าง จัดเป็นวิบัติเท่าไร
ตอบ : อาบัติเพราะความไม่เอื้อเฟื้อ ถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ หรือบ้วนน้ำลาย
ลงในน้ำเป็นปัจจัย บรรดาวิบัติ ๔ อย่าง จัดเป็นวิบัติ ๑ อย่าง คือ อาจารวิบัติ
วิปัตติวารที่ ๓ จบ

๔. สังคหิตวาร
วาระว่าด้วยจัดเข้ากองอาบัติ
๑. ปาราชิกกัณฑ์
คำถาม - คำตอบจัดกองอาบัติในปาราชิกกัณฑ์
ปาราชิกสิกขาบทที่ ๑
[๑๙๖] ถาม : อาบัติเพราะการเสพเมถุนธรรมเป็นปัจจัย บรรดากองอาบัติ
๗ กอง จัดเข้ากองอาบัติเท่าไร
ตอบ : อาบัติเพราะการเสพเมถุนธรรมเป็นปัจจัย บรรดากองอาบัติ ๗ กอง
จัดเข้ากองอาบัติ ๔ กอง คือ (๑) กองอาบัติปาราชิก (๒) กองอาบัติถุลลัจจัย
(๓) กองอาบัติปาจิตตีย์ (๔) กองอาบัติทุกกฏ
ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๑๙๕ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์] ๕. สมุฏฐานวาร ๑. ปาราชิกกัณฑ์
๗. เสขิยกัณฑ์
คำถาม - คำตอบจัดกองอาบัติในเสขิยกัณฑ์
ฯลฯ
๗. ปาทุกวรรค
ฯลฯ
สิกขาบทที่ ๑๕
ถาม : อาบัติเพราะความไม่เอื้อเฟื้อ ถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ หรือบ้วนน้ำลาย
ลงในน้ำเป็นปัจจัย บรรดากองอาบัติ ๗ กอง จัดเข้ากองอาบัติเท่าไร
ตอบ : อาบัติเพราะความไม่เอื้อเฟื้อ ถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ หรือบ้วนน้ำลาย
ลงในน้ำเป็นปัจจัย บรรดากองอาบัติ ๗ กอง จัดเข้ากองอาบัติ ๑ กอง คือ กอง
อาบัติทุกกฏ
สังคหิตวารที่ ๔ จบ

๕. สมุฏฐานวาร
วาระว่าด้วยสมุฏฐาน
๑. ปาราชิกกัณฑ์
คำถาม - คำตอบสมุฏฐานอาบัติในปาราชิกกัณฑ์
ปาราชิกสิกขาบทที่ ๑
[๑๙๗] ถาม : อาบัติเพราะการเสพเมถุนธรรมเป็นปัจจัย บรรดาสมุฏฐานแห่ง
อาบัติ ๖ สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐานเท่าไร
ตอบ : อาบัติเพราะการเสพเมถุนธรรมเป็นปัจจัย บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ
๖ สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๑ สมุฏฐาน คือ เกิดทางกายกับจิต มิใช่เกิด
ทางวาจา
ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๑๙๖ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์] ๖. อธิกรณวาร ๑. ปาราชิกกัณฑ์
๗. เสขิยกัณฑ์
คำถาม - คำตอบสมุฏฐานอาบัติในเสขิยกัณฑ์
ฯลฯ
๗. ปาทุกวรรค
ฯลฯ
สิกขาบทที่ ๑๕
ถาม : อาบัติเพราะความไม่เอื้อเฟื้อ ถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ หรือบ้วนน้ำลาย
ลงในน้ำเป็นปัจจัย บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐานเท่าไร
ตอบ : อาบัติเพราะความไม่เอื้อเฟื้อ ถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ หรือบ้วนน้ำลาย
ลงในน้ำเป็นปัจจัย บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๑
สมุฏฐาน คือ เกิดทางกายกับจิต มิใช่เกิดทางวาจา ฯลฯ
สมุฏฐานวารที่ ๕ จบ

๖. อธิกรณวาร
วาระว่าด้วยจัดเป็นอธิกรณ์
๑. ปาราชิกกัณฑ์
คำถาม - คำตอบอธิกรณ์ในปาราชิกกัณฑ์
ปาราชิกสิกขาบทที่ ๑
[๑๙๘] ถาม : อาบัติเพราะการเสพเมถุนธรรมเป็นปัจจัย บรรดาอธิกรณ์ ๔
อย่าง จัดเป็นอธิกรณ์ไหน
ตอบ : อาบัติเพราะการเสพเมถุนธรรมเป็นปัจจัย บรรดาอธิกรณ์ ๔ อย่าง
จัดเป็นอาปัตตาธิกรณ์
ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๑๙๗ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์] ๗. สมถวาร ๑. ปาราชิกกัณฑ์
๗. เสขิยกัณฑ์
คำถาม - คำตอบอธิกรณ์ในเสขิยกัณฑ์
ฯลฯ
๗. ปาทุกวรรค
ฯลฯ
สิกขาบทที่ ๑๕
ถาม : อาบัติเพราะความไม่เอื้อเฟื้อ ถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ หรือบ้วนน้ำลาย
ลงในน้ำเป็นปัจจัย บรรดาอธิกรณ์ ๔ อย่าง จัดเป็นอธิกรณ์ไหน
ตอบ : อาบัติเพราะความไม่เอื้อเฟื้อ ถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ หรือบ้วนน้ำลาย
ลงในน้ำเป็นปัจจัย บรรดาอธิกรณ์ ๔ อย่าง จัดเป็นอาปัตตาธิกรณ์
อธิกรณวารที่ ๖ จบ

๗. สมถวาร
วาระว่าด้วยระงับด้วยสมถะ
๑. ปาราชิกกัณฑ์
คำถาม - คำตอบสมถะในปาราชิกกัณฑ์
ปาราชิกสิกขาบทที่ ๑
[๑๙๙] ถาม : อาบัติเพราะการเสพเมถุนธรรมเป็นปัจจัย บรรดาสมถะ ๗
อย่าง ระงับด้วยสมถะเท่าไร
ตอบ : อาบัติเพราะการเสพเมถุนธรรมเป็นปัจจัย บรรดาสมถะ ๗ อย่าง
ระงับด้วยสมถะ ๓ อย่าง คือ (๑) สัมมุขาวินัย (๒) ปฏิญญาตกรณะ (๓) สัมมุขา
วินัยกับติณวัตถารกะ
ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๑๙๘ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์] ๘. สมุจจยวาร ๑. ปาราชิกกัณฑ์
๗. เสขิยกัณฑ์
คำถาม - คำตอบสมถะในเสขิยกัณฑ์
ฯลฯ
๗. ปาทุกวรรค
ฯลฯ
สิกขาบทที่ ๑๕
ถาม : อาบัติเพราะความไม่เอื้อเฟื้อ ถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ หรือบ้วนน้ำลาย
ลงในน้ำเป็นปัจจัย บรรดาสมถะ ๗ อย่าง ระงับด้วยสมถะเท่าไร
ตอบ : อาบัติเพราะความไม่เอื้อเฟื้อ ถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ หรือบ้วนน้ำลาย
ลงในน้ำเป็นปัจจัย บรรดาสมถะ ๗ อย่าง ระงับด้วยสมถะ ๓ อย่าง คือ (๑) สัมมุขา
วินัย (๒) ปฏิญญาตกรณะ (๓) สัมมุขาวินัยกับติณวัตถารกะ
สมถวารที่ ๗ จบ

๘. สมุจจยวาร
วาระว่าด้วยการสรุปรวม
๑. ปาราชิกกัณฑ์
คำถาม - คำตอบสรุปรวมอาบัติในปาราชิกกัณฑ์
ปาราชิกสิกขาบทที่ ๑
[๒๐๐] ถาม : เพราะการเสพเมถุนธรรมเป็นปัจจัย ต้องอาบัติเท่าไร
ตอบ : เพราะการเสพเมถุนธรรมเป็นปัจจัย ต้องอาบัติ ๔ อย่าง คือ
๑. ภิกษุเสพเมถุนธรรมในซากศพที่ยังไม่ถูกสัตว์กัดกิน ต้องอาบัติ
ปาราชิก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๑๙๙ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์] ๘. สมุจจยวาร ๗. เสขิยกัณฑ์
๒. ภิกษุเสพเมถุนธรรมในซากศพที่ถูกสัตว์กัดกินโดยมาก ต้องอาบัติ
ถุลลัจจัย
๓. ภิกษุสอดองคชาตเข้าไปในปากที่อ้า แต่มิได้ถูกต้อง ต้องอาบัติ
ทุกกฏ
๔. ภิกษุณีต้องอาบัติปาจิตตีย์ เพราะใช้ท่อนยาง
เพราะการเสพเมถุนธรรมเป็นปัจจัย ต้องอาบัติ ๔ อย่างเหล่านี้
ถาม : อาบัติเหล่านั้น บรรดาวิบัติ ๔ อย่าง จัดเป็นวิบัติเท่าไร บรรดากอง
อาบัติ ๗ กอง จัดเข้ากองอาบัติเท่าไร บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน
เกิดด้วยสมุฏฐานเท่าไร บรรดาอธิกรณ์ ๔ อย่าง เป็นอธิกรณ์ไหน บรรดาสมถะ
๗ อย่าง ระงับด้วยสมถะเท่าไร
ตอบ : อาบัติเหล่านั้น บรรดาวิบัติ ๔ อย่าง จัดเป็นวิบัติ ๒ อย่าง คือ
(๑) สีลวิบัติ (๒) อาจารวิบัติ
บรรดากองอาบัติ ๗ กอง จัดเข้ากองอาบัติ ๔ กอง คือ (๑) กองอาบัติ
ปาราชิก (๒) กองอาบัติถุลลัจจัย (๓) กองอาบัติปาจิตตีย์ (๓) กองอาบัติทุกกฏ
บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๑ สมุฏฐาน คือ
เกิดทางกายกับจิต มิใช่เกิดทางวาจา
บรรดาอธิกรณ์ ๔ อย่าง เป็นอาปัตตาธิกรณ์
บรรดาสมถะ ๗ อย่าง ระงับด้วยสมถะ ๓ อย่าง คือ (๑) สัมมุขาวินัย
(๒) ปฏิญญาตกรณะ (๓) สัมมุขาวินัยกับติณวัตถารกะ
ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๒๐๐ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์] ๘. สมุจจยวาร ๗. เสขิยกัณฑ์
๗. เสขิยกัณฑ์
คำถาม - คำตอบสรุปรวมอาบัติในเสขิยกัณฑ์
ฯลฯ
๗. ปาทุกวรรค
ฯลฯ
สิกขาบทที่ ๑๕
ถาม : เพราะความไม่เอื้อเฟื้อ ถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ หรือบ้วนน้ำลายลงใน
น้ำเป็นปัจจัย ภิกษุต้องอาบัติเท่าไร
ตอบ : เพราะความไม่เอื้อเฟื้อ ถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ หรือบ้วนน้ำลายลงในน้ำ
เป็นปัจจัย ต้องอาบัติ ๑ อย่าง คือ อาบัติทุกกฏ
เพราะความไม่เอื้อเฟื้อ ถ่ายอุจจาระปัสสาวะหรือบ้วนน้ำลายลงในน้ำเป็นปัจจัย
ต้องอาบัติ ๑ อย่างนี้
ถาม : อาบัตินั้น บรรดาวิบัติ ๔ อย่าง จัดเป็นวิบัติเท่าไร บรรดากองอาบัติ
๗ กอง จัดเข้ากองอาบัติเท่าไร บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน เกิดด้วย
สมุฏฐานเท่าไร บรรดาอธิกรณ์ ๔ อย่าง เป็นอธิกรณ์ไหน บรรดาสมถะ ๗ อย่าง
ระงับด้วยสมถะเท่าไร
ตอบ : อาบัตินั้น บรรดาวิบัติ ๔ อย่าง จัดเป็นวิบัติ ๑ อย่าง คือ อาจารวิบัติ
บรรดากองอาบัติ ๗ กอง จัดเข้ากองอาบัติ ๑ กอง คือ กองอาบัติทุกกฏ
บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๑ สมุฏฐาน คือ
เกิดทางกายกับจิต มิใช่เกิดทางวาจา
บรรดาอธิกรณ์ ๔ อย่าง เป็นอาปัตตาธิกรณ์
บรรดาสมถะ ๗ อย่าง ระงับด้วยสมถะ ๓ อย่าง คือ (๑) สัมมุขาวินัย
(๒) ปฏิญญาตกรณะ (๓) สัมมุขาวินัยกับติณวัตถารกะ
สมุจจยวารที่ ๘ จบ ปัจจยวาร ๘ จบ
โสฬสมหาวารในมหาวิภังค์ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๒๐๑ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุนีวิภังค์] ๑. กัตถปัญญัตติวาร ๑. ปาราชิกกัณฑ์
๒. ภิกขุนีวิภังค์
โสฬสมหาวาร ตอน ๒
๑. กัตถปัญญัตติวาร
วาระว่าด้วยบัญญัติ ณ ที่ไหน
๑. ปาราชิกกัณฑ์
คำถาม - คำตอบสถานที่บัญญัติเป็นต้นในปาราชิกกัณฑ์
[๒๐๑] พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น
ทรงบัญญัติปาราชิกสิกขาบทที่ ๕ แก่ภิกษุณีทั้งหลาย ณ ที่ไหน ทรงปรารภใคร
เพราะเรื่องอะไร
ในปาราชิกสิกขาบทที่ ๕ นั้น มีพระบัญญัติ พระอนุบัญญัติ อนุปปันนบัญญัติ
สัพพัตถบัญญัติ ปเทสบัญญัติ สาธารณบัญญัติ อสาธารณบัญญัติ เอกโตบัญญัติ
อุภโตบัญญัติอยู่หรือ
บรรดาปาติโมกขุทเทส ๔ อุทเทส ปาราชิกสิกขาบทที่ ๕ จัดเข้าในอุทเทสไหน
นับเนื่องในอุทเทสไหน มาสู่อุทเทสโดยอุทเทสไหน
บรรดาวิบัติ ๔ อย่าง เป็นวิบัติอย่างไหน
บรรดากองอาบัติ ๗ กอง จัดเข้ากองอาบัติไหน
บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐานเท่าไร
บรรดาอธิกรณ์ ๔ อย่าง เป็นอธิกรณ์อย่างไหน
บรรดาสมถะ ๗ อย่าง ระงับด้วยสมถะเท่าไร
ในปาราชิกสิกขาบทที่ ๕ นั้น อะไรเป็นพระวินัย อะไรเป็นอภิวินัย อะไรเป็น
พระปาติโมกข์ อะไรเป็นอธิปาติโมกข์ อะไรเป็นวิบัติ อะไรเป็นสมบัติ อะไรเป็นข้อ
ปฏิบัติ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๒๐๒ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุนีวิภังค์] ๑. กัตถปัญญัตติวาร ๑. ปาราชิกกัณฑ์
พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติปาราชิกสิกขาบทที่ ๕ แก่ภิกษุณีทั้งหลาย ทรง
อาศัยอำนาจประโยชน์เท่าไร ใครศึกษาอยู่ ใครศึกษาสิกขาเรียบร้อยแล้ว สิกขาบทนี้
ตั้งอยู่ในใคร ใครทรงเอาไว้ เป็นถ้อยคำของใคร ใครนำมา

ปาราชิกสิกขาบทที่ ๕
[๒๐๒] ถาม : พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้
ทรงเห็น ทรงบัญญัติปาราชิกสิกขาบทที่ ๕๑ แก่ภิกษุณีทั้งหลาย ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภภิกษุณีสุนทรีนันทา
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่ภิกษุณีสุนทรีนันทามีความกำหนัดยินดีการถูกต้องกาย
กับชายผู้กำหนัด
ถาม : ในปาราชิกสิกขาบทที่ ๕ นั้นมีพระบัญญัติ พระอนุบัญญัติ อนุป-
ปันนบัญญัติอยู่หรือ
ตอบ : ในปาราชิกสิกขาบทที่ ๕ นั้นมี ๑ พระบัญญัติ ๑ พระอนุบัญญัติ
ไม่มีอนุปปันนบัญญัติ
ถาม : มีสัพพัตถบัญญัติ ปเทสบัญญัติอยู่หรือ
ตอบ : มีสัพพัตถบัญญัติ
ถาม : มีสาธารณบัญญัติ อสาธารณบัญญัติอยู่หรือ
ตอบ : มีอสาธารณบัญญัติ
ถาม : มีเอกโตบัญญัติ อุภโตบัญญัติอยู่หรือ
ตอบ : มีเอกโตบัญญัติ

เชิงอรรถ :
๑ ปาราชิกสิกขาบทที่ ๑-๔ ของภิกษุณีอนุโลมตามของภิกษุ ดู วิ.มหา. (แปล) ๑/๔๔/๓๒,๙๑/๘๐,๑๗๑/
๑๔๐-๑๔๑,๑๙๗/๑๘๓

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๒๐๓ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุนีวิภังค์] ๑. กัตถปัญญัตติวาร ๑. ปาราชิกกัณฑ์
ถาม : บรรดาพระปาติโมกขุทเทส ๔ อุทเทส ปาราชิกสิกขาบทที่ ๕ จัด
เข้าในอุทเทสไหน นับเนื่องในอุทเทสไหน
ตอบ : จัดเข้าในนิทานุทเทส นับเนื่องในนิทานุทเทส
ถาม : มาสู่อุทเทส โดยอุทเทสไหน
ตอบ : มาสู่อุทเทส โดยอุทเทสที่ ๒
ถาม : บรรดาวิบัติ ๔ อย่าง เป็นวิบัติอย่างไหน
ตอบ : เป็นสีลวิบัติ
ถาม : บรรดากองอาบัติ ๗ กอง จัดเข้ากองอาบัติไหน
ตอบ : จัดเข้ากองอาบัติปาราชิก
ถาม : บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐานเท่าไร
ตอบ : เกิดด้วยสมุฏฐาน ๑ สมุฏฐาน คือ เกิดทางกายกับจิต มิใช่เกิดทาง
วาจา
ถาม : บรรดาอธิกรณ์ ๔ อย่าง เป็นอธิกรณ์อย่างไหน
ตอบ : เป็นอาปัตตาธิกรณ์
ถาม : บรรดาสมถะ ๗ อย่าง ระงับด้วยสมถะเท่าไร
ตอบ : ระงับด้วยสมถะ ๒ อย่าง คือ (๑) สัมมุขาวินัย (๒) ปฏิญญาตกรณะ
ถาม : ในปาราชิกสิกขาบทที่ ๕ นั้นอะไรเป็นพระวินัย อะไรเป็นอภิวินัย
ตอบ : พระบัญญัติเป็นพระวินัย การจำแนกเป็นอภิวินัย
ถาม : ในปาราชิกสิกขาบทที่ ๕ นั้น อะไรเป็นพระปาติโมกข์ อะไรเป็นอธิ-
ปาติโมกข์
ตอบ : พระบัญญัติเป็นพระปาติโมกข์ การจำแนกเป็นอธิปาติโมกข์
ถาม : อะไรเป็นวิบัติ
ตอบ : ความไม่สำรวมเป็นวิบัติ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๒๐๔ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุนีวิภังค์] ๑. กัตถปัญญัตติวาร ๑. ปาราชิกกัณฑ์
ถาม : อะไรเป็นสมบัติ
ตอบ : ความสำรวมเป็นสมบัติ
ถาม : อะไรเป็นข้อปฏิบัติ
ตอบ : การที่ภิกษุณีสมาทานอาปาณโกฏิกศีลตลอดชีวิตว่า “เราจะไม่ทำกรรม
อย่างนี้อีก” แล้วศึกษาในสิกขาบททั้งหลายเป็นข้อปฏิบัติ
ถาม : พระผู้มีพระภาค ทรงบัญญัติปาราชิกสิกขาบทที่ ๕ แก่ภิกษุณีทั้งหลาย
ทรงอาศัยอำนาจประโยชน์เท่าไร
ตอบ : ทรงบัญญัติปาราชิกสิกขาบทที่ ๕ แก่ภิกษุณีทั้งหลาย ทรงอาศัย
อำนาจประโยชน์ ๑๐ ประการ คือ
๑. เพื่อความรับว่าดีแห่งสงฆ์
๒. เพื่อความผาสุกแห่งสงฆ์
๓. เพื่อข่มภิกษุณีผู้เก้อยาก
๔. เพื่อความอยู่ผาสุกแห่งเหล่าภิกษุณีผู้มีศีลดีงาม
๕. เพื่อปิดกั้นอาสวะทั้งหลายอันจะบังเกิดในปัจจุบัน
๖. เพื่อกำจัดอาสวะทั้งหลายอันจะบังเกิดในอนาคต
๗. เพื่อความเลื่อมใสของคนที่ยังไม่เลื่อมใส
๘. เพื่อความเลื่อมใสยิ่งขึ้นไปของคนที่เลื่อมใสแล้ว
๙. เพื่อความตั้งมั่นแห่งพระสัทธรรม
๑๐. เพื่อเอื้อเฟื้อพระวินัย
ถาม : ใครศึกษาอยู่
ตอบ : ภิกษุณีผู้เป็นพระเสขะและเป็นกัลยาณปุถุชนศึกษาอยู่
ถาม : ใครศึกษาสิกขาเรียบร้อยแล้ว
ตอบ : ภิกษุณีผู้เป็นพระอรหันต์เป็นผู้ศึกษาสิกขาเรียบร้อยแล้ว
ถาม : สิกขาบทนี้ตั้งอยู่ในใคร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๒๐๕ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุนีวิภังค์] ๑. กัตถปัญญัตติวาร ๑. ปาราชิกกัณฑ์
ตอบ : ตั้งอยู่ในสิกขากามบุคคล(ผู้ใคร่ศึกษา)
ถาม : ใครทรงเอาไว้
ตอบ : ภิกษุณีทั้งหลายผู้ทรงจำปาราชิกสิกขาบทที่ ๕ ได้ทรงเอาไว้
ถาม : เป็นถ้อยคำของใคร
ตอบ : เป็นพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
ถาม : ใครนำมา
ตอบ : พระเถระทั้งหลายนำสืบ ๆ กันมา
รายนามพระเถระผู้ทรงจำพระวินัยสืบกันมา
พระเถระเหล่านี้ คือ พระอุบาลี พระทาสกะ พระโสณกะ
พระสิคควะ และพระโมคคัลลีบุตร รวมเป็น ๕ รูป
เป็นผู้นำพระวินัยสืบ ๆ กันมาในชมพูทวีปอันมีสิริ
จากนั้น พระเถระผู้ประเสริฐมีปัญญามากเหล่านี้ คือ
พระมหินทะ พระอิฏฏิยะ พระอุตติยะ พระสัมพละ ฯลฯ
พระเถระผู้ประเสริฐมีปัญญามากเหล่านี้ รู้พระวินัย
ฉลาดในมรรค ได้ประกาศพระวินัยปิฎกไว้ในเกาะตามพปัณณิ

ปาราชิกสิกขาบทที่ ๖
[๒๐๓] ถาม : พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้
ทรงเห็น ทรงบัญญัติปาราชิกสิกขาบทที่ ๖ แก่ภิกษุณีทั้งหลาย ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภภิกษุณีถุลลนันทา
ถาม : เพราะเรื่องอะไร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๒๐๖ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุนีวิภังค์] ๑. กัตถปัญญัตติวาร ๑. ปาราชิกกัณฑ์
ตอบ : เพราะเรื่องที่ภิกษุณีถุลลนันทารู้อยู่ ไม่ทักท้วงภิกษุณีผู้ต้องธรรมคือ
ปาราชิกด้วยตนเอง ไม่บอกแก่คณะ
ในปาราชิกสิกขาบทที่ ๖ นั้นมี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖
สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๑ สมุฏฐาน คือ เกิดทางกายวาจากับจิต ฯลฯ

ปาราชิกสิกขาบทที่ ๗
[๒๐๔] ถาม : พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้
ทรงเห็น ทรงบัญญัติปาราชิกสิกขาบทที่ ๗ แก่ภิกษุณีทั้งหลาย ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภภิกษุณีถุลลนันทา
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่ภิกษุณีถุลลนันทาประพฤติตามภิกษุชื่ออริฏฐะผู้มีบรรพ-
บุรุษเป็นนายพรานฆ่านกแร้งที่สงฆ์พร้อมเพรียงกันลงอุกเขปนียกรรม
ในปาราชิกสิกขาบทที่ ๗ นั้นมี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖
สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๑ สมุฏฐาน เป็นธุรนิกเขปสมุฏฐาน๑ ฯลฯ

ปาราชิกสิกขาบทที่ ๘
[๒๐๕] ถาม : พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้
ทรงเห็น ทรงบัญญัติปาราชิกสิกขาบทที่ ๘ แก่ภิกษุณีทั้งหลาย ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
ถาม : ทรงปรารภใคร

เชิงอรรถ :
๑ ธุรนิกเขปสมุฏฐาน คือเกิดจากการทอดธุระในการแสดงอาการทางกายหรือทางวาจาว่า “เราสละเรื่องนั้น”
(ดู วิ.อ. ๒/๔๑๕/๑๑๒) เกิดโดยสมุฏฐานที่ ๖ คือ กายวาจากับจิต ธุรนิกเขปสมุฏฐาน คือสมนุภาน-
สมุฏฐานนั่นเอง (วิ.อ. ๒/๖๖๙-๗๐/๔๖๗, สารตฺถ.ฏีกา ๒/๖๖/๑๑๖, วิมติ.ฏีกา ๑/๖๖/๑๙๐)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๒๐๗ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุนีวิภังค์] ๑. กัตถปัญญัตติวาร รวมสิกขาบทที่มีในปาราชิกกัณฑ์
ตอบ : ทรงปรารภพวกภิกษุณีฉัพพัคคีย์
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่พวกภิกษุณีฉัพพัคคีย์ ทำวัตถุครบทั้ง ๘ ประการ๑
ในปาราชิกสิกขาบทที่ ๘ นั้นมี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖
สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๓ สมุฏฐาน เป็นธุรนิกเขปสมุฏฐาน ฯลฯ
ปาราชิก ๘ สิกขาบท จบ

รวมสิกขาบทที่มีในปาราชิกกัณฑ์
พระมหาวีระทรงบัญญัติปาราชิกซึ่งเป็นมูลเหตุแห่งการขาดอย่างไม่ต้องสงสัย คือ
ปาราชิกสิกขาบทที่ ๑ ว่าด้วยการเสพเมถุนธรรม
ปาราชิกสิกขาบทที่ ๒ ว่าด้วยการถือเอาสิ่งของที่เจ้าของเขาไม่ได้ให้
ปาราชิกสิกขาบทที่ ๓ ว่าด้วยการพรากกายมนุษย์
ปาราชิกสิกขาบทที่ ๔ ว่าด้วยการกล่าวอวดอุตตริมนุสสธรรม
ปาราชิกสิกขาบทที่ ๕ ว่าด้วยการยินดีการจับต้องที่บริเวณเหนือเข่าขึ้นไป
ของชาย
ปาราชิกสิกขาบทที่ ๖ ว่าด้วยการปกปิดโทษ
ปาราชิกสิกขาบทที่ ๗ ว่าด้วยการประพฤติตามภิกษุที่ถูกสงฆ์ลงอุกเขปนีย
กรรม
ปาราชิกสิกขาบทที่ ๘ ว่าด้วยวัตถุ ๘ มีการยินดีการจับมือของชายเป็นต้น
ปาราชิก ๘ สิกขาบทนี้เป็นมูลแห่งการตัดขาดอย่างไม่ต้องสงสัย

เชิงอรรถ :
๑ ทำวัตถุครบทั้ง ๘ ประการ ดูรายละเอียดในเชิงอรรถ วิ.ภิกฺขุนี. (แปล) ๓/๖๗๕/๒๑

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๒๐๘ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุนีวิภังค์] ๑. กัตถปัญญัตติวาร ๒. สังฆาทิเลสกัณฑ์
๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์
คำถาม - คำตอบสถานที่บัญญัติเป็นต้นในสังฆาทิเสสกัณฑ์
[๒๐๖] พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น
ทรงบัญญัติสังฆาทิเสสแก่ภิกษุณีผู้ก่อคดีพิพาท ณ ที่ไหน ทรงปรารภใคร เพราะ
เรื่องอะไร ฯลฯ ใครนำมา
สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๑
[๒๐๗] ถาม : พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้
ทรงเห็น ทรงบัญญัติสังฆาทิเสสแก่ภิกษุณีผู้ก่อคดีพิพาท ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภภิกษุณีถุลลนันทา
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่ภิกษุณีถุลลนันทาก่อคดีพิพาท
ถาม : ในสังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๑ นั้นมีพระบัญญัติ พระอนุบัญญัติ
อนุปปันนบัญญัติอยู่หรือ
ตอบ : ในสังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๑ นั้นมี ๑ พระบัญญัติ ไม่มีพระ
อนุบัญญัติและอนุปปันนบัญญัติ
ถาม : มีสัพพัตถบัญญัติ ปเทสบัญญัติอยู่หรือ
ตอบ : มีสัพพัตถบัญญัติ
ถาม : มีสาธารณบัญญัติ อสาธารณบัญญัติอยู่หรือ
ตอบ : มีอสาธารณบัญญัติ
ถาม : มีเอกโตบัญญัติ อุภโตบัญญัติอยู่หรือ
ตอบ : มีเอกโตบัญญัติ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๒๐๙ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุนีวิภังค์] ๑. กัตถปัญญัตติวาร ๒. สังฆาทิเลสกัณฑ์
ถาม : บรรดาปาติโมกขุทเทส ๔ อุทเทส สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๑ นี้จัดเข้า
ในอุทเทสไหน นับเนื่องในอุทเทสไหน
ตอบ : จัดเข้าในนิทานุทเทส นับเนื่องในนิทานุทเทส
ถาม : มาสู่อุทเทส โดยอุทเทสไหน
ตอบ : มาสู่อุทเทส โดยอุทเทสที่ ๓
ถาม : บรรดาวิบัติ ๔ อย่าง เป็นวิบัติอย่างไหน
ตอบ : เป็นสีลวิบัติ
ถาม : บรรดากองอาบัติ ๗ กอง เป็นกองอาบัติไหน
ตอบ : เป็นกองอาบัติสังฆาทิเสส
ถาม : บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐานเท่าไร
ตอบ : เกิดด้วยสมุฏฐาน ๒ สมุฏฐาน คือ (๑) เกิดทางกายกับวาจา มิใช่
เกิดทางจิต (๒) เกิดทางกายวาจากับจิต
ถาม : ใครนำมา
ตอบ : พระเถระทั้งหลายนำสืบ ๆ กันมา
รายนามพระเถระผู้ทรงจำพระวินัยสืบกันมา
พระเถระเหล่านี้ คือ พระอุบาลี พระทาสกะ พระโสณกะ
พระสิคควะ และพระโมคคัลลีบุตร รวมเป็น ๕ รูป
เป็นผู้นำพระวินัยสืบ ๆ กันมาในชมพูทวีปอันมีสิริ
จากนั้น พระเถระผู้ประเสริฐมีปัญญามากเหล่านี้ คือ
พระมหินทะ พระอิฏฏิยะ พระอุตติยะ พระสัมพละ ฯลฯ
พระเถระผู้ประเสริฐมีปัญญามากเหล่านี้ รู้พระวินัย
ฉลาดในมรรค ได้ประกาศพระวินัยปิฎกไว้ในเกาะตามพปัณณิ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๒๑๐ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุนีวิภังค์] ๑. กัตถปัญญัตติวาร ๒. สังฆาทิเลสกัณฑ์
สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๒
[๒๐๘] ถาม : พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้
ทรงเห็น ทรงบัญญัติสังฆาทิเสสแก่ภิกษุณีที่บวชให้สตรีผู้เป็นโจร ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภภิกษุณีถุลลนันทา
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่ภิกษุณีถุลลนันทาบวชให้สตรีผู้เป็นโจร
ในสังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๒ นั้นมี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ
๖ สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๒ สมุฏฐาน คือ (๑) เกิดทางวาจากับจิต มิใช่เกิด
ทางกาย (๒) เกิดทางกายวาจากับจิต ฯลฯ

สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๓
[๒๐๙] ถาม : พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้
ทรงเห็น ทรงบัญญัติสังฆาทิเสสแก่ภิกษุณีผู้ไปสู่ละแวกหมู่บ้านรูปเดียว ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภภิกษุณีรูปหนึ่ง
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่ภิกษุณีรูปหนึ่งไปสู่ละแวกหมู่บ้านรูปเดียว
ในสังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๓ นั้นมี ๑ พระบัญญัติ ๓ พระอนุบัญญัติ บรรดา
สมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๑ สมุฏฐาน เป็นปฐมปาราชิก
สมุฏฐาน ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๒๑๑ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุนีวิภังค์] ๑. กัตถปัญญัตติวาร ๒. สังฆาทิเลสกัณฑ์
สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๔
[๒๑๐] ถาม : พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้
ทรงเห็น ทรงบัญญัติสังฆาทิเสสแก่ภิกษุณีผู้เรียกภิกษุณีที่สงฆ์พร้อมเพรียงกันลง
อุกเขปนียกรรม โดยธรรม โดยวินัย โดยสัตถุศาสน์ให้กลับเข้าหมู่ โดยไม่บอกการกสงฆ์
ทั้งไม่รับรู้ฉันทะของคณะ ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภภิกษุณีถุลลนันทา
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่ภิกษุณีถุลลนันทาเรียกภิกษุณีที่สงฆ์พร้อมเพรียงกันลง
อุกเขปนียกรรม โดยธรรม โดยวินัย โดยสัตถุศาสน์ให้กลับเข้าหมู่ โดยไม่บอกการกสงฆ์
ทั้งไม่รับรู้ฉันทะของคณะ
ในสังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๔ นั้นมี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ
๖ สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๑ สมุฏฐาน เป็นธุรนิกเขปสมุฏฐาน ฯลฯ

สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๕
[๒๑๑] ถาม : พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้
ทรงเห็น ทรงบัญญัติสังฆาทิเสสแก่ภิกษุณีผู้กำหนัดรับของเคี้ยวหรือของฉันจากมือชาย
ผู้กำหนัดด้วยมือของตนแล้วฉัน ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภภิกษุณีสุนทรีนันทา
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่ภิกษุณีสุนทรีนันทากำหนัดรับอามิสจากมือชายผู้กำหนัด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๒๑๒ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุนีวิภังค์] ๑. กัตถปัญญัตติวาร ๒. สังฆาทิเลสกัณฑ์
ในสังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๕ นั้นมี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่ง
อาบัติ ๖ สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๑ สมุฏฐาน เป็นปฐมปาราชิกสมุฏฐาน
สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๖
[๒๑๒] ถาม : พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้
ทรงเห็น ทรงบัญญัติสังฆาทิเสสแก่ภิกษุณีผู้ส่งเสริมกล่าวชักชวนว่า “แม่เจ้า ชายผู้นั้น
จะกำหนัดหรือไม่กำหนัดก็ตาม ก็ทำอะไรท่านไม่ได้ เพราะท่านไม่กำหนัด นิมนต์เถิด
แม่เจ้า ชายผู้นั้นจะถวายสิ่งใดจะเป็นของเคี้ยวหรือของฉันก็ตามแก่ท่าน ท่านจงรับ
ประเคนของนั้นด้วยมือของตนเอง แล้วเคี้ยวหรือฉันเถิด” ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภภิกษุณีรูปหนึ่ง
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่ภิกษุณีรูปหนึ่งส่งเสริมกล่าวชักชวนว่า “แม่เจ้า ชายผู้นั้น
จะกำหนัดหรือไม่กำหนัดก็ตาม ก็ทำอะไรท่านไม่ได้ เพราะท่านไม่กำหนัด นิมนต์เถิด
แม่เจ้า ชายผู้นั้นจะถวายสิ่งใดจะเป็นของเคี้ยวหรือของฉันก็ตามแก่ท่าน ท่านจงรับ
ประเคนของนั้นด้วยมือของตนเอง แล้วเคี้ยวหรือฉันเถิด”
ในสังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๖ นั้นมี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ
๖ สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๓ สมุฏฐาน ฯลฯ

สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๗
[๒๑๓] ถาม : พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้
ทรงเห็น ทรงบัญญัติสังฆาทิเสสแก่ภิกษุณีผู้โกรธ ไม่พอใจ ไม่ยอมสละกรรม จน
กระทั่งสงฆ์สวดสมนุภาสน์ครบ ๓ ครั้ง ณ ที่ไหน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๒๑๓ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุนีวิภังค์] ๑. กัตถปัญญัตติวาร ๒. สังฆาทิเลสกัณฑ์
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภภิกษุณีจัณฑกาลี
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่ภิกษุณีจัณฑกาลีโกรธไม่พอใจ กล่าวอย่างนี้ว่า “ดิฉันขอ
บอกคืนพระพุทธ บอกคืนพระธรรม บอกคืนพระสงฆ์ บอกคืนสิกขา”
ในสังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๗ นั้นมี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ
๖ สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๑ สมุฏฐาน เป็นธุรนิกเขปสมุฏฐาน ฯลฯ

สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๘
[๒๑๔] ถาม : พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้
ทรงเห็น ทรงบัญญัติสังฆาทิเสสแก่ภิกษุณี ผู้ถูกตัดสินให้แพ้คดีในอธิกรณ์บางเรื่อง
โกรธไม่ยอมสละกรรม จนกระทั่งสงฆ์สวดสมนุภาสน์ครบ ๓ ครั้ง ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภภิกษุณีจัณฑกาลี
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่ภิกษุณีจัณฑกาลีถูกตัดสินให้แพ้คดีในอธิกรณ์บางเรื่อง
โกรธไม่พอใจกล่าวอย่างนี้ว่า “พวกภิกษุณีลำเอียงเพราะชอบ พวกภิกษุณีลำเอียง
เพราะชัง พวกภิกษุณีลำเอียงเพราะหลง พวกภิกษุณีลำเอียงเพราะกลัว”
ในสังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๘ นั้นมี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ
๖ สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๑ สมุฏฐาน เป็นธุรนิกเขปสมุฏฐาน ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๒๑๔ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุนีวิภังค์] ๑. กัตถปัญญัตติวาร ๒. สังฆาทิเลสกัณฑ์
สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๙
[๒๑๕] ถาม : พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้
ทรงเห็น ทรงบัญญัติสังฆาทิเสสแก่ภิกษุณีทั้งหลายผู้อยู่คลุกคลีกัน ไม่ยอมสละ จน
กระทั่งสงฆ์สวดสมนุภาสน์ครบ ๓ ครั้ง ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภภิกษุณีหลายรูป
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่ภิกษุณีหลายรูปอยู่คลุกคลีกัน
ในสังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๙ นั้นมี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ
๖ สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๑ สมุฏฐาน เป็นธุรนิกเขปสมุฏฐาน ฯลฯ

สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๑๐
[๒๑๖] ถาม : พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้
ทรงเห็น ทรงบัญญัติสังฆาทิเสสแก่ภิกษุณีผู้ส่งเสริมกล่าวชักชวนว่า “แม่เจ้าทั้งหลาย
ท่านทั้งหลายจงอยู่คลุกคลีกัน อย่าแยกกันอยู่” ไม่ยอมสละกรรม จนกระทั่งสงฆ์สวด
สมนุภาสน์ครบ ๓ ครั้ง ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภภิกษุณีถุลลนันทา
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่ภิกษุณีถุลลนันทาส่งเสริมกล่าวชักชวนว่า “แม่เจ้าทั้งหลาย
ท่านทั้งหลายจงอยู่คลุกคลีกัน อย่าแยกกันอยู่”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๒๑๕ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุนีวิภังค์] ๑. กัตถปัญญัตติวาร ๓. นิสสัคคิยกัณฑ์
ในสังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๑๐ นั้นมี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ
๖ สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๑ สมุฏฐาน เป็นธุรนิกเขปสมุฏฐาน ฯลฯ
สังฆาทิเสส ๑๐ สิกขาบท จบ

รวมสิกขาบทที่มีในสังฆาทิเสสกัณฑ์

สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๑ ว่าด้วยการก่อคดีพิพาท
สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๒ ว่าด้วยการบวชให้สตรีผู้เป็นโจร
สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๓ ว่าด้วยการเข้าละแวกหมู่บ้านตามลำพังเป็นต้น
สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๔ ว่าด้วยการเรียกภิกษุณีที่ถูกสงฆ์
ลงอุกเขปนียกรรมเข้าหมู่
สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๕ ว่าด้วยการรับโภชนะจากมือชายผู้กำหนัด
สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๖ ว่าด้วยการส่งเสริมภิกษุณีให้รับโภชนะ
จากมือชายผู้กำหนัด
สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๗ ว่าด้วยการบอกคืนพระรัตนตรัย
สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๘ ว่าด้วยภิกษุณีโกรธเพราะถูกตัดสิน
ให้แพ้คดีในอธิกรณ์
สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๙ ว่าด้วยภิกษุณีมีความประพฤติเลวทราม
สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๑๐ ว่าด้วยการยุยงส่งเสริมให้ภิกษุณีประพฤติเลวทราม
รวมอาบัติสังฆาทิเสส ๑๐ สิกขาบท

ฯลฯ

๓. นิสสัคคิยกัณฑ์
คำถาม - คำตอบสถานที่บัญญัติเป็นต้นในนิสสัคคิยกัณฑ์
สิกขาบทที่ ๑
[๒๑๗] ถาม : พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้
ทรงเห็น ทรงบัญญัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์แก่ภิกษุณีผู้ทำการสะสมบาตร ณ ที่ไหน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๒๑๖ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุนีวิภังค์] ๑. กัตถปัญญัตติวาร ๓. นิสสัคคิยกัณฑ์
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภพวกภิกษุณีฉัพพัคคีย์
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่พวกภิกษุณีฉัพพัคคีย์ทำการสะสมบาตร
ในนิสสัคคิยปาจิตตีย์สิกขาบทที่ ๑ นั้นมี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่ง
อาบัติ ๖ สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๒ สมุฏฐาน เป็นกฐินสมุฏฐาน ฯลฯ
สิกขาบทที่ ๒
ถาม : พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น
ทรงบัญญัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์แก่ภิกษุณีผู้อธิษฐานอกาลจีวรเป็นกาลจีวรแล้วให้แจกกัน
ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภภิกษุณีถุลลนันทา
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่ภิกษุณีถุลลนันทาอธิษฐานอกาลจีวรเป็นกาลจีวร แล้วให้
แจกกัน
ในนิสสัคคิยปาจิตตีย์สิกขาบทที่ ๒ นั้นมี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐาน
แห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๓ สมุฏฐาน ฯลฯ
สิกขาบทที่ ๓
ถาม : พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น
ทรงบัญญัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์แก่ภิกษุณีผู้แลกเปลี่ยนจีวรกับภิกษุณีแล้วชิงเอาคืน
ณ ที่ไหน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๒๑๗ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุนีวิภังค์] ๑. กัตถปัญญัตติวาร ๓. นิสสัคคิยกัณฑ์
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภภิกษุณีถุลลนันทา
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่ภิกษุณีถุลลนันทาแลกเปลี่ยนจีวรกับภิกษุณีแล้วชิงเอาคืน
ในนิสสัคคิยปาจิตตีย์สิกขาบทที่ ๓ นั้นมี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่ง
อาบัติ ๖ สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๓ สมุฏฐาน ฯลฯ
สิกขาบทที่ ๔
ถาม : พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น
ทรงบัญญัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์แก่ภิกษุณีผู้ออกปากขอของอย่างหนึ่งแล้วกลับออก
ปากขอของอีกอย่าง ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภภิกษุณีถุลลนันทา
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่ภิกษุณีถุลลนันทาออกปากขอของอย่างหนึ่งแล้วกลับ
ออกปากขอของอีกอย่างหนึ่ง
ในนิสสัคคิยปาจิตตีย์สิกขาบทที่ ๔ นั้นมี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่ง
อาบัติ ๖ สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๖ สมุฏฐาน ฯลฯ
สิกขาบทที่ ๕
ถาม : พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น
ทรงบัญญัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์แก่ภิกษุณีผู้สั่งให้ซื้อของอย่างหนึ่งแล้วกลับให้ซื้อของ
อีกอย่างหนึ่ง ณ ที่ไหน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๒๑๘ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุนีวิภังค์] ๑. กัตถปัญญัตติวาร ๓. นิสสัคคิยกัณฑ์
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภภิกษุณีถุลลนันทา
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่ภิกษุณีถุลลนันทาสั่งให้ซื้อของอย่างหนึ่งแล้วกลับให้ซื้อ
ของอีกอย่างหนึ่ง
ในนิสสัคคิยปาจิตตีย์สิกขาบทที่ ๕ นั้นมี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่ง
อาบัติ ๖ สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๖ สมุฏฐาน ฯลฯ
สิกขาบทที่ ๖
ถาม : พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น
ทรงบัญญัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์แก่ภิกษุณีผู้ให้เอาบริขารที่เขาถวายเพื่อประโยชน์แก่
ปัจจัยอย่างหนึ่ง ที่เขาถวายอุทิศของอย่างหนึ่ง ที่เขาบริจาคแก่สงฆ์ แลกเปลี่ยนของ
อย่างอื่น ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภภิกษุณีหลายรูป
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่ภิกษุณีหลายรูปให้เอาบริขารที่เขาถวายเพื่อประโยชน์แก่
ปัจจัยอย่างหนึ่ง ที่เขาถวายอุทิศของอย่างหนึ่ง ที่เขาบริจาคแก่สงฆ์ แลกเปลี่ยน
ของอย่างอื่น
ในนิสสัคคิยปาจิตตีย์สิกขาบทที่ ๖ นั้นมี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่ง
อาบัติ ๖ สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๖ สมุฏฐาน ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๒๑๙ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุนีวิภังค์] ๑. กัตถปัญญัตติวาร ๓. นิสสัคคิยกัณฑ์
สิกขาบทที่ ๗
ถาม : พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น
ทรงบัญญัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์แก่ภิกษุณีผู้ให้เอาบริขารที่เขาถวายเพื่อประโยชน์แก่
ปัจจัยอย่างหนึ่ง ที่เขาถวายอุทิศของอย่างหนึ่ง ที่เขาบริจาคแก่สงฆ์ ที่ขอมาเอง แลก
เปลี่ยนของอย่างอื่น ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภภิกษุณีหลายรูป
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่ภิกษุณีหลายรูปให้เอาบริขารที่เขาถวายเพื่อประโยชน์แก่
ปัจจัยอย่างหนึ่ง ที่เขาถวายอุทิศของอย่างหนึ่ง ที่เขาบริจาคแก่สงฆ์ ที่ขอมาเอง แลก
เปลี่ยนของอย่างอื่น
ในนิสสัคคิยปาจิตตีย์สิกขาบทที่ ๗ นั้นมี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่ง
อาบัติ ๖ สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๖ สมุฏฐาน ฯลฯ
สิกขาบทที่ ๘
ถาม : พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น
ทรงบัญญัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์แก่ภิกษุณีผู้ให้เอาบริขารที่เขาถวายเพื่อประโยชน์แก่
ปัจจัยอย่างหนึ่ง ที่เขาถวายอุทิศของอย่างหนึ่ง ที่เขาบริจาคแก่ภิกษุณีจำนวนมาก
แลกเปลี่ยนของอย่างอื่น ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภภิกษุณีหลายรูป
ถาม : เพราะเรื่องอะไร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๒๒๐ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุนีวิภังค์] ๑. กัตถปัญญัตติวาร ๓. นิสสัคคิยกัณฑ์
ตอบ : เพราะเรื่องที่ภิกษุณีหลายรูปให้เอาบริขารที่เขาถวายเพื่อประโยชน์แก่
ปัจจัยอย่างหนึ่ง ที่เขาถวายอุทิศของอย่างหนึ่ง ที่เขาบริจาคแก่ภิกษุณีจำนวนมาก
แลกเปลี่ยนของอย่างอื่น
ในนิสสัคคิยปาจิตตีย์สิกขาบทที่ ๘ นั้นมี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่ง
อาบัติ ๖ สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๖ สมุฏฐาน ฯลฯ
สิกขาบทที่ ๙
ถาม : พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น
ทรงบัญญัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์แก่ภิกษุณี ผู้ให้เอาบริขารที่เขาถวายเพื่อประโยชน์แก่
ปัจจัยอย่างหนึ่ง ที่เขาถวายอุทิศของอย่างหนึ่ง ที่เขาบริจาคแก่ภิกษุณีจำนวนมาก
ที่ขอมาเอง แลกเปลี่ยนของอย่างอื่น ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภภิกษุณีหลายรูป
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่ภิกษุณีหลายรูปให้เอาบริขารที่เขาถวายเพื่อประโยชน์แก่
ปัจจัยอย่างหนึ่ง ที่เขาถวายอุทิศของอย่างหนึ่ง ที่เขาบริจาคแก่ภิกษุณีจำนวนมาก
ที่ขอมาเอง แลกเปลี่ยนของอย่างอื่น
ในนิสสัคคิยปาจิตตีย์สิกขาบทที่ ๙ นั้นมี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่ง
อาบัติ ๖ สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๖ สมุฏฐาน ฯลฯ
สิกขาบทที่ ๑๐
ถาม : พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น
ทรงบัญญัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์แก่ภิกษุณี ผู้ให้เอาบริขารที่เขาถวายเพื่อประโยชน์แก่
ปัจจัยอย่างหนึ่ง ที่เขาถวายอุทิศของอย่างหนึ่ง ที่เขาบริจาคแก่บุคคล ที่ขอมาเอง
แลกเปลี่ยนของอย่างอื่น ณ ที่ไหน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๒๒๑ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุนีวิภังค์] ๑. กัตถปัญญัตติวาร ๓. นิสสัคคิยกัณฑ์
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภภิกษุณีถุลลนันทา
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่ภิกษุณีถุลลนันทาให้เอาบริขารที่เขาถวายเพื่อประโยชน์
แก่ปัจจัยอย่างหนึ่ง ที่เขาถวายอุทิศของอย่างหนึ่ง ที่เขาบริจาคแก่บุคคล ที่ขอมาเอง
แลกเปลี่ยนของอย่างอื่น
ในนิสสัคคิยปาจิตตีย์สิกขาบทที่ ๑๐ นั้นมี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐาน
แห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๖ สมุฏฐาน ฯลฯ
สิกขาบทที่ ๑๑
ถาม : พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น
ทรงบัญญัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์แก่ภิกษุณีผู้ขอผ้าห่มหนา เกินราคา ๔ กังสะ ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภภิกษุณีถุลลนันทา
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่ภิกษุณีถุลลนันทาออกปากทูลขอผ้ากัมพล๑จากพระราชา
ในนิสสัคคิยปาจิตตีย์สิกขาบทที่ ๑๑ นั้นมี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐาน
แห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๖ สมุฏฐาน ฯลฯ

เชิงอรรถ :
๑ ผ้าทอด้วยขนสัตว์ เช่น สักหลาด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๒๒๒ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุนีวิภังค์] ๑. กัตถปัญญัตติวาร รวมสิกขาบทที่มีในนิสสัคคิยกัณฑ์
สิกขาบทที่ ๑๒
ถาม : พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น
ทรงบัญญัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์แก่ภิกษุณีผู้ขอผ้าห่มบาง เกินราคา ๒ กังสะครึ่ง ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภภิกษุณีถุลลนันทา
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่ภิกษุณีถุลลนันทาออกปากทูลขอผ้าเปลือกไม้จากพระราชา
ในนิสสัคคิยปาจิตตีย์สิกขาบทที่ ๑๒ นั้นมี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐาน
แห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๖ สมุฏฐาน ฯลฯ
นิสสัคคิยปาจิตตีย์ ๑๒ สิกขาบท จบ

รวมสิกขาบทที่มีในนิสสัคคิยกัณฑ์
สิกขาบทที่ ๑ ว่าด้วยการสะสมบาตร
สิกขาบทที่ ๒ ว่าด้วยการแจกอกาลจีวร
สิกขาบทที่ ๓ ว่าด้วยการแลกเปลี่ยนจีวร
สิกขาบทที่ ๔ ว่าด้วยการออกปากขอของอย่างหนึ่งแล้วออกปาก
ขอของอย่างอื่น
สิกขาบทที่ ๕ ว่าด้วยการให้ซื้อของอย่างหนึ่งแล้วให้ซื้อของอย่างอื่น
สิกขาบทที่ ๖ ว่าด้วยการแลกเปลี่ยนบริขารที่เขาถวายสงฆ์ข้อที่ ๑
สิกขาบทที่ ๗ ว่าด้วยการแลกเปลี่ยนบริขารที่เขาถวายสงฆ์ข้อที่ ๒
สิกขาบทที่ ๘ ว่าด้วยการแลกเปลี่ยนบริขารที่เขาถวายคณะข้อที่ ๑
สิกขาบทที่ ๙ ว่าด้วยการแลกเปลี่ยนบริขารที่เขาถวายคณะข้อที่ ๒

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๒๒๓ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุนีวิภังค์] ๑. กัตถปัญญัตติวาร ๔. ปาจิตติยกัณฑ์ ๑. ลสุณวรรค
สิกขาบทที่ ๑๐ ว่าด้วยการแลกเปลี่ยนบริขารที่เขาถวายบุคคล
สิกขาบทที่ ๑๑ ว่าด้วยการขอผ้าห่มหนาในฤดูหนาว
สิกขาบทที่ ๑๒ ว่าด้วยการขอผ้าห่มบางในฤดูร้อน

๔. ปาจิตติยกัณฑ์
คำถาม - คำตอบสถานที่บัญญัติเป็นต้นในปาจิตติยกัณฑ์
๑. ลสุณวรรค
สิกขาบทที่ ๑
[๒๑๘] ถาม : พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้
ทรงเห็น ทรงบัญญัติปาจิตตีย์แก่ภิกษุณีผู้ฉันกระเทียม ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภภิกษุณีถุลลนันทา
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่ภิกษุณีถุลลนันทาให้นำกระเทียมไปโดยไม่รู้จักประมาณ
ในสิกขาบทที่ ๑ นั้นมี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน
เกิดด้วยสมุฏฐาน ๒ สมุฏฐาน เป็นเอฬกโลมสมุฏฐาน ฯลฯ
สิกขาบทที่ ๒
ถาม : พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น
ทรงบัญญัติปาจิตตีย์แก่ภิกษุณีผู้ให้ถอนขนในที่แคบ ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๒๒๔ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุนีวิภังค์] ๑. กัตถปัญญัตติวาร ๔. ปาจิตติยกัณฑ์ ๑. ลสุณวรรค
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภพวกภิกษุณีฉัพพัคคีย์
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่พวกภิกษุณีฉัพพัคคีย์ให้ถอนขนในที่แคบ
ในสิกขาบทที่ ๒ นั้นมี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน
เกิดด้วยสมุฏฐาน ๔ สมุฏฐาน ฯลฯ
สิกขาบทที่ ๓
ถาม : พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น
ทรงบัญญัติปาจิตตีย์เพราะใช้ฝ่ามือตบองค์กำเนิด ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภภิกษุณี ๒ รูป
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่ภิกษุณี ๒ รูปใช้ฝ่ามือตบองค์กำเนิดกัน
ในสิกขาบทที่ ๓ นั้นมี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน
เกิดด้วยสมุฏฐาน ๑ สมุฏฐาน เป็นปฐมปาราชิกสมุฏฐาน ฯลฯ
สิกขาบทที่ ๔
ถาม : พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น
ทรงบัญญัติปาจิตตีย์เพราะใช้ท่อนยาง ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
ถาม : ทรงปรารภใคร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๒๒๕ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุนีวิภังค์] ๑. กัตถปัญญัตติวาร ๔. ปาจิตติยกัณฑ์ ๑. ลสุณวรรค
ตอบ : ทรงปรารภภิกษุณีรูปหนึ่ง
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่ภิกษุณีรูปหนึ่งใช้ท่อนยาง
ในสิกขาบทที่ ๔ นั้นมี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน
เกิดด้วยสมุฏฐาน ๑ สมุฏฐาน เป็นปฐมปาราชิกสมุฏฐาน ฯลฯ
สิกขาบทที่ ๕
ถาม : พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น
ทรงบัญญัติปาจิตตีย์แก่ภิกษุณีผู้ใช้น้ำชำระลึกเกิน ๒ องคุลี ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ แคว้นสักกะ
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภภิกษุณีรูปหนึ่ง
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่ภิกษุณีรูปหนึ่งใช้น้ำชำระลึกเกินไป
ในสิกขาบทที่ ๕ นั้นมี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน
เกิดด้วยสมุฏฐาน ๑ สมุฏฐาน เป็นปฐมปาราชิกสมุฏฐาน ฯลฯ
สิกขาบทที่ ๖
ถาม : พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น
ทรงบัญญัติปาจิตตีย์แก่ภิกษุณีผู้ปรนนิบัติภิกษุผู้กำลังฉันด้วยน้ำดื่มและด้วยการพัด
ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภภิกษุณีรูปหนึ่ง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๒๒๖ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุนีวิภังค์] ๑. กัตถปัญญัตติวาร ๔. ปาจิตติยกัณฑ์ ๑. ลสุณวรรค
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่ภิกษุณีรูปหนึ่งปรนนิบัติภิกษุผู้กำลังฉันด้วยน้ำดื่มหรือ
ด้วยการพัด
ในสิกขาบทที่ ๖ นั้นมี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน
เกิดด้วยสมุฏฐาน ๒ สมุฏฐาน เป็นเอฬกโลมสมุฏฐาน ฯลฯ
สิกขาบทที่ ๗
ถาม : พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น
ทรงบัญญัติปาจิตตีย์แก่ภิกษุณีผู้ออกปากขอข้าวเปลือกดิบมาฉัน๑ ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภภิกษุณีหลายรูป
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่ภิกษุณีหลายรูปออกปากขอข้าวเปลือกดิบมาฉัน
ในสิกขาบทที่ ๗ นั้นมี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน
เกิดด้วยสมุฏฐาน ๔ สมุฏฐาน ฯลฯ
สิกขาบทที่ ๘
ถาม : พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น
ทรงบัญญัติปาจิตตีย์แก่ภิกษุณีผู้เทอุจจาระ หรือปัสสาวะ น้ำลาย หยากเยื่อหรือของ
เป็นเดนภายนอกฝา ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี

เชิงอรรถ :
๑ คือออกปากขอมาคั่วหรือตำหุงแล้วฉัน (วิ.ภิกฺขุนี. (แปล) ๓/๘๒๑/๑๔๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๒๒๗ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุนีวิภังค์] ๑. กัตถปัญญัตติวาร ๔. ปาจิตติยกัณฑ์ ๑. ลสุณวรรค
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภภิกษุณีรูปหนึ่ง
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่ภิกษุณีรูปหนึ่งเทอุจจาระบ้าง ปัสสาวะบ้าง น้ำลายบ้าง
หยากเยื่อบ้าง ของเป็นเดนบ้างที่ภายนอกฝา
ในสิกขาบทที่ ๘ นั้นมี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน
เกิดด้วยสมุฏฐาน ๖ สมุฏฐาน ฯลฯ
สิกขาบทที่ ๙
ถาม : พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น
ทรงบัญญัติปาจิตตีย์แก่ภิกษุณีผู้เทอุจจาระ หรือปัสสาวะ น้ำลาย หยากเยื่อ หรือ
ของเป็นเดนบนของเขียว ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภภิกษุณีหลายรูป
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่ภิกษุณีหลายรูปเทอุจจาระบ้าง ปัสสาวะบ้าง น้ำลายบ้าง
หยากเยื่อบ้าง ของเป็นเดนบ้างบนของเขียว
ในสิกขาบทที่ ๙ นั้นมี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน
เกิดด้วยสมุฏฐาน ๖ สมุฏฐาน ฯลฯ
สิกขาบทที่ ๑๐
ถาม : พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น
ทรงบัญญัติปาจิตตีย์แก่ภิกษุณีผู้ไปดูการฟ้อนรำ การขับร้อง การประโคมดนตรี ณ
ที่ไหน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๒๒๘ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุนีวิภังค์] ๑. กัตถปัญญัตติวาร ๔. ปาจิตติยกัณฑ์ ๒. รัตตันธการวรรค
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงราชคฤห์
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภพวกภิกษุณีฉัพพัคคีย์
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่พวกภิกษุณีฉัพพัคคีย์ไปดูการฟ้อนรำ การขับร้อง การ
ประโคมดนตรี
ในสิกขาบทที่ ๑๐ นั้นมี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน
เกิดด้วยสมุฏฐาน ๒ สมุฏฐาน เป็นเอฬกโลมสมุฏฐาน ฯลฯ
ลสุณวรรคที่ ๑ จบ

๒. รัตตันธการวรรค(อันธการวรรค)
สิกขาบทที่ ๑
[๒๑๙] ถาม : พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้
ทรงเห็น ทรงบัญญัติปาจิตตีย์แก่ภิกษุณีผู้ยืนเคียงคู่กันสองต่อสองกับชายในเวลาค่ำคืน
ไม่มีประทีป ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภภิกษุณีรูปหนึ่ง
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่ภิกษุณีรูปหนึ่งยืนเคียงคู่กันสองต่อสองกับชายในเวลาค่ำคืน
ไม่มีประทีป
ในสิกขาบทที่ ๑ นั้นมี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน
เกิดด้วยสมุฏฐาน ๒ สมุฏฐาน เป็นเถยยสัตถสมุฏฐาน ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๒๒๙ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุนีวิภังค์] ๑. กัตถปัญญัตติวาร ๔. ปาจิตติยกัณฑ์ ๒. รัตตันธการวรรค
สิกขาบทที่ ๒
ถาม : พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น
ทรงบัญญัติปาจิตตีย์แก่ภิกษุณีผู้ยืนเคียงคู่กันสองต่อสองกับชายในโอกาสที่กำบัง ณ
ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภภิกษุณีรูปหนึ่ง
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่ภิกษุณีรูปหนึ่งยืนเคียงคู่สองต่อสองกับชายในโอกาสที่กำบัง
ในสิกขาบทที่ ๒ นั้นมี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน
เกิดด้วยสมุฏฐาน ๒ สมุฏฐาน เป็นเถยยสัตถสมุฏฐาน ฯลฯ
สิกขาบทที่ ๓
ถาม : พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น
ทรงบัญญัติปาจิตตีย์แก่ภิกษุณีผู้ยืนเคียงคู่กันสองต่อสองกับชายในที่แจ้ง ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภภิกษุณีรูปหนึ่ง
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่ภิกษุณีรูปหนึ่งยืนเคียงคู่กันสองต่อสองกับชายในที่แจ้ง
ในสิกขาบทที่ ๓ นั้นมี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน
เกิดด้วยสมุฏฐาน ๒ สมุฏฐาน เป็นเถยยสัตถสมุฏฐาน ฯลฯ
สิกขาบทที่ ๔
ถาม : พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น
ทรงบัญญัติปาจิตตีย์แก่ภิกษุณีผู้ยืนเคียงคู่กันสองต่อสองกับชายในถนน ในตรอกตัน
หรือในทางสามแพร่ง ณ ที่ไหน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๒๓๐ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุนีวิภังค์] ๑. กัตถปัญญัตติวาร ๔. ปาจิตติยกัณฑ์ ๒. รัตตันธการวรรค
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภภิกษุณีถุลลนันทา
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่ภิกษุณีถุลลนันทายืนเคียงคู่กันสองต่อสองกับชายในถนนบ้าง
ในตรอกตันบ้าง ในทางสามแพร่งบ้าง
ในสิกขาบทที่ ๔ นั้นมี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน
เกิดด้วยสมุฏฐาน ๒ สมุฏฐาน เป็นเถยยสัตถสมุฏฐาน ฯลฯ
สิกขาบทที่ ๕
ถาม : พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น
ทรงบัญญัติปาจิตตีย์แก่ภิกษุณีผู้เข้าไปสู่ตระกูลในเวลาก่อนฉันภัตตาหารแล้วนั่งบน
อาสนะจากไปโดยไม่บอกเจ้าของบ้าน ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภภิกษุณีรูปหนึ่ง
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่ภิกษุณีรูปหนึ่งเข้าไปสู่ตระกูลในเวลาก่อนภัตตาหารแล้ว
นั่งบนอาสนะจากไปโดยไม่บอกเจ้าของบ้าน
ในสิกขาบทที่ ๕ นั้นมี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน
เกิดด้วยสมุฏฐาน ๒ สมุฏฐาน เป็นกฐินสมุฏฐาน ฯลฯ
สิกขาบทที่ ๖
ถาม : พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น
ทรงบัญญัติปาจิตตีย์แก่ภิกษุณีผู้เข้าไปสู่ตระกูลในเวลาหลังภัตตาหารนั่งบนอาสนะ
โดยไม่บอกเจ้าของบ้าน ณ ที่ไหน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๒๓๑ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุนีวิภังค์] ๑. กัตถปัญญัตติวาร ๔. ปาจิตติยกัณฑ์ ๒. รัตตันธการวรรค
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภภิกษุณีถุลลนันทา
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่ภิกษุณีถุลลนันทาเข้าไปสู่ตระกูลในเวลาหลังภัตตาหาร
นั่งบนอาสนะจากไปโดยไม่บอกเจ้าของบ้าน
ในสิกขาบทที่ ๖ นั้นมี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน
เกิดด้วยสมุฏฐาน ๒ สมุฏฐาน เป็นกฐินสมุฏฐาน ฯลฯ
สิกขาบทที่ ๗
ถาม : พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น
ทรงบัญญัติปาจิตตีย์แก่ภิกษุณีผู้เข้าไปสู่ตระกูลในเวลาวิกาล๑ แล้วปูเองหรือใช้ให้ปูที่นอน
โดยไม่บอกเจ้าของบ้านแล้วนั่ง ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภภิกษุณีหลายรูป
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่ภิกษุณีหลายรูปเข้าไปสู่ตระกูลในเวลาวิกาล ปูหรือใช้ให้
ปูที่นอน โดยไม่บอกเจ้าของบ้านแล้วนั่ง
ในสิกขาบทที่ ๗ นั้นมี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน
เกิดด้วยสมุฏฐาน ๒ สมุฏฐาน เป็นกฐินสมุฏฐาน ฯลฯ

เชิงอรรถ :
๑ เวลาวิกาล ในที่นี้ประสงค์ตั้งแต่ดวงอาทิตย์ตกไปจนถึงอรุณขึ้น (วิ.ภิกฺขุนี. (แปล) ๓/๘๖๖/๑๗๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๒๓๒ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุนีวิภังค์] ๑. กัตถปัญญัตติวาร ๔. ปาจิตติยกัณฑ์ ๒. รัตตันธการวรรค
สิกขาบทที่ ๘
ถาม : พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น
ทรงบัญญัติปาจิตตีย์แก่ภิกษุณีผู้เข้าใจผิดให้ผู้อื่นโพนทะนา ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภภิกษุณีรูปหนึ่ง
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่ภิกษุณีรูปหนึ่งให้ผู้อื่นโพนทะนาเพราะเข้าใจผิด เพราะ
ใคร่ครวญผิด
ในสิกขาบทที่ ๘ นั้นมี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน
เกิดด้วยสมุฏฐาน ๓ สมุฏฐาน ฯลฯ
สิกขาบทที่ ๙
ถาม : พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น
ทรงบัญญัติปาจิตตีย์แก่ภิกษุณีผู้สาปแช่งตนหรือผู้อื่น ด้วยนรกหรือพรหมจรรย์ ณ
ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภภิกษุณีจัณฑกาลี
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่ภิกษุณีจัณฑกาลีสาปแช่งตนเองบ้าง ผู้อื่นบ้าง ด้วยนรกบ้าง
ด้วยพรหมจรรย์บ้าง
ในสิกขาบทที่ ๙ นั้นมี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน
เกิดด้วยสมุฏฐาน ๓ สมุฏฐาน ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๒๓๓ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุนีวิภังค์] ๑. กัตถปัญญัตติวาร ๔. ปาจิตติยกัณฑ์ ๓. นหานวรรค
สิกขาบทที่ ๑๐
ถาม : พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น
ทรงบัญญัติปาจิตตีย์แก่ภิกษุณีผู้ร้องไห้ทุบตีตนเอง ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภภิกษุณีจัณฑกาลี
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่ภิกษุณีจัณฑกาลีร้องไห้ทุบตีตนเอง
ในสิกขาบทที่ ๑๐ นั้นมี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน
เกิดด้วยสมุฏฐาน ๑ สมุฏฐาน เป็นธุรนิกเขปสมุฏฐาน ฯลฯ
รัตตันธการวรรคที่ ๒ จบ

๓. นหานวรรค(นัคควรรค)
สิกขาบทที่ ๑
[๒๒๐] ถาม : พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้
ทรงเห็น ทรงบัญญัติปาจิตตีย์แก่ภิกษุณีผู้เปลือยกายอาบน้ำ ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภภิกษุณีหลายรูป
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่ภิกษุณีหลายรูปเปลือยกายอาบน้ำ
ในสิกขาบทที่ ๑ นั้นมี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน
เกิดด้วยสมุฏฐาน ๒ สมุฏฐาน เป็นเอฬกโลมสมุฏฐาน ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๒๓๔ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุนีวิภังค์] ๑. กัตถปัญญัตติวาร ๔. ปาจิตติยกัณฑ์ ๓. นหานวรรค
สิกขาบทที่ ๒
ถาม : พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น
ทรงบัญญัติปาจิตตีย์แก่ภิกษุณีผู้ให้ทำผ้าอาบน้ำเกินขนาด ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภพวกภิกษุณีฉัพพัคคีย์
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่พวกภิกษุณีฉัพพัคคีย์ใช้ผ้าอาบน้ำไม่ได้ขนาด
ในสิกขาบทที่ ๒ นั้นมี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน
เกิดด้วยสมุฏฐาน ๖ สมุฏฐาน ฯลฯ

สิกขาบทที่ ๓
ถาม : พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น
ทรงบัญญัติปาจิตตีย์แก่ภิกษุณีผู้เลาะหรือใช้ให้เลาะจีวรแล้วไม่เย็บ ไม่ขวนขวายให้เย็บ
ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภภิกษุณีถุลลนันทา
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่ภิกษุณีถุลลนันทาให้เลาะจีวรของภิกษุณีแล้วไม่เย็บให้ ทั้งไม่
ขวนขวายใช้ผู้อื่นให้เย็บ
ในสิกขาบทที่ ๓ นั้นมี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน
เกิดด้วยสมุฏฐาน ๑ สมุฏฐาน เป็นธุรนิกเขปสมุฏฐาน ฯลฯ

สิกขาบทที่ ๔
ถาม : พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น
ทรงบัญญัติปาจิตตีย์แก่ภิกษุณีผู้ให้วาระผลัดเปลี่ยนสังฆาฏิที่มีกำหนด ๕ วันล่วงเลยไป
ณ ที่ไหน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๒๓๕ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุนีวิภังค์] ๑. กัตถปัญญัตติวาร ๔. ปาจิตติยกัณฑ์ ๓. นหานวรรค
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภภิกษุณีหลายรูป
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่ภิกษุณีหลายรูปฝากจีวรไว้กับภิกษุณีทั้งหลายแล้วมีเพียง
อุตตราสงค์กับอันตรวาสกจาริกไปสู่ชนบท
ในสิกขาบทที่ ๔ นั้นมี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน
เกิดด้วยสมุฏฐาน ๒ สมุฏฐาน เป็นกฐินสมุฏฐาน ฯลฯ

สิกขาบทที่ ๕
ถาม : พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น
ทรงบัญญัติปาจิตตีย์แก่ภิกษุณีผู้ใช้จีวรสับเปลี่ยนกัน ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภภิกษุณีรูปหนึ่ง
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่ภิกษุณีรูปหนึ่งห่มจีวรของภิกษุณีอื่นโดยไม่บอกก่อน
ในสิกขาบทที่ ๕ นั้นมี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน
เกิดด้วยสมุฏฐาน ๒ สมุฏฐาน เป็นกฐินสมุฏฐาน ฯลฯ

สิกขาบทที่ ๖
ถาม : พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น
ทรงบัญญัติปาจิตตีย์แก่ภิกษุณีผู้ทำอันตรายแก่จีวรที่คณะจะพึงได้ ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๒๓๖ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุนีวิภังค์] ๑. กัตถปัญญัตติวาร ๔. ปาจิตติยกัณฑ์ ๓. นหานวรรค
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภภิกษุณีถุลลนันทา
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่ภิกษุณีถุลลนันทาทำอันตรายแก่จีวรที่คณะจะพึงได้
ในสิกขาบทที่ ๖ นั้นมี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน
เกิดด้วยสมุฏฐาน ๓ สมุฏฐาน ฯลฯ

สิกขาบทที่ ๗
ถาม : พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น
ทรงบัญญัติปาจิตตีย์แก่ภิกษุณีผู้คัดค้านการแจกจีวรที่ชอบธรรม ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภภิกษุณีถุลลนันทา
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่ภิกษุณีถุลลนันทาคัดค้านการแจกจีวรที่ชอบธรรม
ในสิกขาบทที่ ๗ นั้นมี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน
เกิดด้วยสมุฏฐาน ๓ สมุฏฐาน ฯลฯ

สิกขาบทที่ ๘
ถาม : พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น
ทรงบัญญัติปาจิตตีย์แก่ภิกษุณีผู้ให้สมณจีวรแก่ชาวบ้าน แก่ปริพาชกหรือแก่ปริพาชิกา
ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภภิกษุณีถุลลนันทา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๒๓๗ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุนีวิภังค์] ๑. กัตถปัญญัตติวาร ๔. ปาจิตติยกัณฑ์ ๓. นหานวรรค
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่ภิกษุณีถุลลนันทาให้สมณจีวรแก่ชาวบ้าน
ในสิกขาบทที่ ๘ นั้นมี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน
เกิดด้วยสมุฏฐาน ๖ สมุฏฐาน ฯลฯ

สิกขาบทที่ ๙
ถาม : พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น
ทรงบัญญัติปาจิตตีย์แก่ภิกษุณีผู้ให้สมัยแห่งจีวรกาลล่วงไปด้วยความหวังในจีวรที่
เลื่อนลอย ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภภิกษุณีถุลลนันทา
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่ภิกษุณีถุลลนันทาให้สมัยแห่งจีวรกาลล่วงเลยไปด้วยความ
หวังในจีวรที่เลื่อนลอย
ในสิกขาบทที่ ๙ นั้นมี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน
เกิดด้วยสมุฏฐาน ๓ สมุฏฐาน ฯลฯ

สิกขาบทที่ ๑๐
ถาม : พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น
ทรงบัญญัติปาจิตตีย์แก่ภิกษุณีผู้คัดค้านการเดาะกฐินที่ชอบธรรม ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภภิกษุณีถุลลนันทา
ถาม : เพราะเรื่องอะไร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๒๓๘ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุนีวิภังค์] ๑. กัตถปัญญัตติวาร ๔. ปาจิตติยกัณฑ์ ๔. ตุวัฏฏวรรค
ตอบ : เพราะเรื่องที่ภิกษุณีถุลลนันทาคัดค้านการเดาะกฐินที่ชอบธรรม
ในสิกขาบทที่ ๑๐ นั้นมี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน
เกิดด้วยสมุฏฐาน ๓ สมุฏฐาน ฯลฯ
นหานวรรคที่ ๓ จบ

๔. ตุวัฏฏวรรค
สิกขาบทที่ ๑
[๒๒๑] ถาม : พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้
ทรงเห็น ทรงบัญญัติปาจิตตีย์แก่ภิกษุณี ๒ รูป ผู้นอนบนเตียงเดียวกัน ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภภิกษุณีหลายรูป
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่ภิกษุณีหลายรูปนอนบนเตียงเดียวกัน(เตียงละ) ๒ รูป
ในสิกขาบทที่ ๑ นั้นมี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน
เกิดด้วยสมุฏฐาน ๒ สมุฏฐาน เป็นเอฬกโลมสมุฏฐาน ฯลฯ

สิกขาบทที่ ๒
ถาม : พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น
ทรงบัญญัติปาจิตตีย์แก่ภิกษุณี ๒ รูป ผู้ใช้ผ้าผืนเดียวกันเป็นทั้งผ้าปูนอนและผ้าห่ม
นอนร่วมกัน ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภภิกษุณีหลายรูป

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๒๓๙ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุนีวิภังค์] ๑. กัตถปัญญัตติวาร ๔. ปาจิตติยกัณฑ์ ๔. ตุวัฏฏวรรค
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่ภิกษุณีหลายรูปใช้ผ้าผืนเดียวกันเป็นทั้งผ้าปูนอนและผ้า
ห่มนอนร่วมกัน ๒ รูป
ในสิกขาบทที่ ๒ นั้นมี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน
เกิดด้วยสมุฏฐาน ๒ สมุฏฐาน เป็นเอฬกโลมสมุฏฐาน ฯลฯ

สิกขาบทที่ ๓
ถาม : พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น
ทรงบัญญัติปาจิตตีย์แก่ภิกษุณีผู้จงใจก่อความไม่ผาสุกแก่ภิกษุณี ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภภิกษุณีถุลลนันทา
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่ภิกษุณีถุลลนันทาจงใจก่อความไม่ผาสุกแก่ภิกษุณี
ในสิกขาบทที่ ๓ นั้นมี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน
เกิดด้วยสมุฏฐาน ๓ สมุฏฐาน ฯลฯ

สิกขาบทที่ ๔
ถาม : พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น
ทรงบัญญัติปาจิตตีย์แก่ภิกษุณีผู้ไม่ดูแลช่วยเหลือ หรือไม่ใส่ใจมอบหมายให้ผู้อื่นดูแล
ช่วยเหลือสหชีวินี๑ผู้ได้รับความลำบาก ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
ถาม : ทรงปรารภใคร

เชิงอรรถ :
๑ สหชีวินี หมายถึงภิกษุณีผู้เป็นสัทธิวิหารินีที่ตนเป็นปวัตตินีคืออุปัชฌาย์บวชให้ (วิ.ภิกฺขุนี. (แปล) ๓/๙๔๘/
๒๒๑,๑๑๑๓/๓๑๙)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๒๔๐ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุนีวิภังค์] ๑. กัตถปัญญัตติวาร ๔. ปาจิตติยกัณฑ์ ๔. ตุวัฏฏวรรค
ตอบ : ทรงปรารภภิกษุณีถุลลนันทา
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่ภิกษุณีถุลลนันทาไม่ดูแลช่วยเหลือหรือไม่ใส่ใจมอบหมาย
ให้ผู้อื่นดูแลช่วยเหลือสหชีวินีผู้ได้รับความลำบาก
ในสิกขาบทที่ ๔ นั้นมี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน
เกิดด้วยสมุฏฐาน ๑ สมุฏฐาน เป็นธุรนิกเขปสมุฏฐาน ฯลฯ

สิกขาบทที่ ๕
ถาม : พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น
ทรงบัญญัติปาจิตตีย์แก่ภิกษุณีผู้ให้ที่พักแก่ภิกษุณีแล้วโกรธไม่พอใจฉุดลากออกไป ณ
ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภภิกษุณีถุลลนันทา
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่ภิกษุณีถุลลนันทาให้ที่พักแก่ภิกษุณีแล้วโกรธไม่พอใจฉุด
ลากออกไป
ในสิกขาบทที่ ๕ นั้นมี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน
เกิดด้วยสมุฏฐาน ๓ สมุฏฐาน ฯลฯ

สิกขาบทที่ ๖
ถาม : พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น
ทรงบัญญัติปาจิตตีย์แก่ภิกษุณีผู้คลุกคลี ไม่ยอมสละ จนกระทั่งสวดสมนุภาสน์ครบ
๓ ครั้ง ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๒๔๑ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุนีวิภังค์] ๑. กัตถปัญญัตติวาร ๔. ปาจิตติยกัณฑ์ ๔. ตุวัฏฏวรรค
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภภิกษุณีจัณฑกาลี
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่ภิกษุณีจัณฑกาลีอยู่คลุกคลี
ในสิกขาบทที่ ๖ นั้นมี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน
เกิดด้วยสมุฏฐาน ๑ สมุฏฐาน เป็นธุรนิกเขปสมุฏฐาน ฯลฯ

สิกขาบทที่ ๗
ถาม : พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น
ทรงบัญญัติปาจิตตีย์แก่ภิกษุณีผู้เที่ยวจาริกไปไม่มีกองเกวียนเป็นเพื่อนในที่ที่รู้กันว่า
น่าหวาดระแวงมีภัยน่ากลัวภายในรัฐ ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภภิกษุณีหลายรูป
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่ภิกษุณีหลายรูปเที่ยวจาริกไปไม่มีกองเกวียนเป็นเพื่อน
ในที่ที่รู้กันว่าน่าหวาดระแวงมีภัยน่ากลัวภายในรัฐ
ในสิกขาบทที่ ๗ นั้นมี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน
เกิดด้วยสมุฏฐาน ๒ สมุฏฐาน เป็นเอฬกโลมสมุฏฐาน ฯลฯ

สิกขาบทที่ ๘
ถาม : พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น
ทรงบัญญัติปาจิตตีย์แก่ภิกษุณีผู้เที่ยวจาริกไปไม่มีกองเกวียนเป็นเพื่อนในที่ที่รู้กันว่า
น่าหวาดระแวงมีภัยน่ากลัวภายนอกรัฐ ณ ที่ไหน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๒๔๒ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุนีวิภังค์] ๑. กัตถปัญญัตติวาร ๔. ปาจิตติยกัณฑ์ ๔. ตุวัฏฏวรรค
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภภิกษุณีหลายรูป
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่ภิกษุณีหลายรูปเที่ยวจาริกไปไม่มีกองเกวียนเป็นเพื่อนใน
ที่ที่รู้กันว่าน่าหวาดระแวงมีภัยน่ากลัวภายนอกรัฐ
ในสิกขาบทที่ ๘ นั้นมี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน
เกิดด้วยสมุฏฐาน ๒ สมุฏฐาน เป็นเอฬกโลมสมุฏฐาน ฯลฯ

สิกขาบทที่ ๙
ถาม : พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น
ทรงบัญญัติปาจิตตีย์แก่ภิกษุณีผู้เที่ยวจาริกไปภายในพรรษา ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงราชคฤห์
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภภิกษุณีหลายรูป
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่ภิกษุณีหลายรูปเที่ยวจาริกไปภายในพรรษา
ในสิกขาบทที่ ๙ นั้นมี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน
เกิดด้วยสมุฏฐาน ๒ สมุฏฐาน เป็นเอฬกโลมสมุฏฐาน ฯลฯ

สิกขาบทที่ ๑๐
ถาม : พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น
ทรงบัญญัติปาจิตตีย์แก่ภิกษุณีหลังอยู่จำพรรษาแล้วไม่หลีกจาริกไป ณ ที่ไหน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๒๔๓ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุนีวิภังค์] ๑. กัตถปัญญัตติวาร ๔. ปาจิตติยกัณฑ์ ๕. จิตตาคารวรรค
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงราชคฤห์
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภภิกษุณีหลายรูป
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่ภิกษุณีหลายรูปเมื่ออยู่จำพรรษาแล้วไม่หลีกเที่ยวจาริกไป
ในสิกขาบทที่ ๑๐ นั้นมี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน
เกิดด้วยสมุฏฐาน ๑ สมุฏฐาน เป็นปฐมปาราชิกสมุฏฐาน ฯลฯ
ตุวัฏฏวรรคที่ ๔ จบ

๕. จิตตาคารวรรค
สิกขาบทที่ ๑
[๒๒๒] ถาม : พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้
ทรงเห็น ทรงบัญญัติปาจิตตีย์แก่ภิกษุณีผู้ไปดูโรงละครหลวง หอจิตรกรรม สวน
สาธารณะ อุทยาน หรือสระโบกขรณี ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภภิกษุณีฉัพพัคคีย์
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่ภิกษุณีฉัพพัคคีย์ไปดูโรงละครหลวงบ้าง หอจิตรกรรมบ้าง
สวนสาธารณะบ้าง อุทยานบ้าง สระโบกขรณีบ้าง
ในสิกขาบทที่ ๑ นั้นมี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน
เกิดด้วยสมุฏฐาน ๒ สมุฏฐาน เป็นเอฬกโลมสมุฏฐาน ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๒๔๔ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุนีวิภังค์] ๑. กัตถปัญญัตติวาร ๔. ปาจิตติยกัณฑ์ ๕. จิตตาคารวรรค
สิกขาบทที่ ๒
ถาม : พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น
ทรงบัญญัติปาจิตตีย์แก่ภิกษุณีผู้ใช้ตั่งยาวหรือแท่น ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภภิกษุณีหลายรูป
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่ภิกษุณีหลายรูปใช้ตั่งยาวบ้าง แท่นบ้าง
ในสิกขาบทที่ ๒ นั้นมี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน
เกิดด้วยสมุฏฐาน ๒ สมุฏฐาน เป็นเอฬกโลมสมุฏฐาน ฯลฯ

สิกขาบทที่ ๓
ถาม : พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น
ทรงบัญญัติปาจิตตีย์แก่ภิกษุณีผู้กรอด้าย ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภภิกษุณีหลายรูป
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่ภิกษุณีหลายรูปกรอด้าย
ในสิกขาบทที่ ๓ นั้นมี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน
เกิดด้วยสมุฏฐาน ๒ สมุฏฐาน เป็นเอฬกโลมสมุฏฐาน ฯลฯ

สิกขาบทที่ ๔
ถาม : พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น
ทรงบัญญัติปาจิตตีย์แก่ภิกษุณีผู้ช่วยทำการขวนขวายเพื่อคฤหัสถ์ ณ ที่ไหน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๒๔๕ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุนีวิภังค์] ๑. กัตถปัญญัตติวาร ๔. ปาจิตติยกัณฑ์ ๕. จิตตาคารวรรค
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภภิกษุณีหลายรูป
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่ภิกษุณีหลายรูปช่วยทำการขวนขวายเพื่อคฤหัสถ์
ในสิกขาบทที่ ๔ นั้นมี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน
เกิดด้วยสมุฏฐาน ๒ สมุฏฐาน เป็นเอฬกโลมสมุฏฐาน ฯลฯ

สิกขาบทที่ ๕
ถาม : พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น
ทรงบัญญัติปาจิตตีย์แก่ภิกษุณีผู้อันภิกษุณีขอร้องอยู่ว่า “แม่เจ้า โปรดมาช่วยระงับ
อธิกรณ์นี้ด้วยเถิด” รับปากแล้ว ไม่ช่วยระงับ ทั้งไม่ขวนขวายให้ผู้อื่นช่วยระงับ ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภภิกษุณีถุลลนันทา
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่ภิกษุณีถุลลนันทาอันภิกษุณีขอร้องอยู่ว่า “แม่เจ้า โปรดมา
ช่วยระงับอธิกรณ์นี้ด้วยเถิด” รับปากแล้ว ไม่ช่วยระงับ ทั้งไม่ขวนขวายให้ผู้อื่นช่วยระงับ
ในสิกขาบทที่ ๕ นั้นมี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน
เกิดด้วยสมุฏฐาน ๑ สมุฏฐาน เป็นธุรนิกเขปสมุฏฐาน ฯลฯ

สิกขาบทที่ ๖
ถาม : พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น
ทรงบัญญัติปาจิตตีย์แก่ภิกษุณีผู้ให้ของเคี้ยวหรือของฉันด้วยมือของตนแก่ชาวบ้าน
แก่ปริพาชกหรือปริพาชิกา ณ ที่ไหน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๒๔๖ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุนีวิภังค์] ๑. กัตถปัญญัตติวาร ๔. ปาจิตติยกัณฑ์ ๕. จิตตาคารวรรค
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภภิกษุณีถุลลนันทา
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่ภิกษุณีถุลลนันทาให้ของเคี้ยวบ้าง ของฉันบ้าง ด้วยมือ
ของตนแก่ชาวบ้าน
ในสิกขาบทที่ ๖ นั้นมี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน
เกิดด้วยสมุฏฐาน ๒ สมุฏฐาน เป็นเอฬกโลมสมุฏฐาน ฯลฯ

สิกขาบทที่ ๗
ถาม : พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น
ทรงบัญญัติปาจิตตีย์แก่ภิกษุณีผู้ใช้ผ้าซับระดูแล้วไม่ยอมสละ ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภภิกษุณีถุลลนันทา
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่ภิกษุณีถุลลนันทาใช้ผ้าซับระดูแล้วไม่ยอมสละ
ในสิกขาบทที่ ๗ นั้นมี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน
เกิดด้วยสมุฏฐาน ๒ สมุฏฐาน เป็นกฐินสมุฏฐาน ฯลฯ

สิกขาบทที่ ๘
ถาม : พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น
ทรงบัญญัติปาจิตตีย์แก่ภิกษุณีผู้ไม่ยอมสละที่พักแล้วหลีกจาริกไป ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๒๔๗ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุนีวิภังค์] ๑. กัตถปัญญัตติวาร ๔. ปาจิตติยกัณฑ์ ๕. จิตตาคารวรรค
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภภิกษุณีถุลลนันทา
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่ภิกษุณีถุลลนันทาไม่ยอมสละที่พักแล้วหลีกจาริกไป
ในสิกขาบทที่ ๘ นั้นมี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน
เกิดด้วยสมุฏฐาน ๒ สมุฏฐาน เป็นกฐินสมุฏฐาน ฯลฯ

สิกขาบทที่ ๙
ถาม : พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น
ทรงบัญญัติปาจิตตีย์แก่ภิกษุณีผู้เรียนดิรัจฉานวิชา ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภพวกภิกษุณีฉัพพัคคีย์
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่พวกภิกษุณีฉัพพัคคีย์เรียนดิรัจฉานวิชา
ในสิกขาบทที่ ๙ นั้นมี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน
เกิดด้วยสมุฏฐาน ๒ สมุฏฐาน เป็นปทโสธัมมสมุฏฐาน ฯลฯ

สิกขาบทที่ ๑๐
ถาม : พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น
ทรงบัญญัติปาจิตตีย์แก่ภิกษุณีผู้สอนดิรัจฉานวิชา ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภพวกภิกษุณีฉัพพัคคีย์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๒๔๘ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุนีวิภังค์] ๑. กัตถปัญญัตติวาร ๔. ปาจิตติยกัณฑ์ ๖. อารามวรรค
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่พวกภิกษุณีฉัพพัคคีย์สอนดิรัจฉานวิชา
ในสิกขาบทที่ ๑๐ นั้นมี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน
เกิดด้วยสมุฏฐาน ๒ สมุฏฐาน เป็นปทโสธัมมสมุฏฐาน ฯลฯ
จิตตาคารวรรคที่ ๕ จบ

๖. อารามวรรค
สิกขาบทที่ ๑
[๒๒๓] ถาม : พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้
ทรงเห็น ทรงบัญญัติปาจิตตีย์แก่ภิกษุณีผู้รู้อยู่เข้าไปสู่อารามที่มีภิกษุโดยไม่บอก ณ
ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภภิกษุณีหลายรูป
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่ภิกษุณีหลายรูปเข้าไปสู่อารามโดยไม่บอก
ในสิกขาบทที่ ๑ นั้นมี ๑ พระบัญญัติ ๒ อนุบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่ง
อาบัติ ๖ สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๑ สมุฏฐาน เป็นธุรนิกเขปสมุฏฐาน ฯลฯ

สิกขาบทที่ ๒
ถาม : พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น
ทรงบัญญัติปาจิตตีย์แก่ภิกษุณีผู้ด่าบริภาษภิกษุ ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงเวสาลี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๒๔๙ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุนีวิภังค์] ๑. กัตถปัญญัตติวาร ๔. ปาจิตติยกัณฑ์ ๖. อารามวรรค
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภพวกภิกษุณีฉัพพัคคีย์
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่พวกภิกษุณีฉัพพัคคีย์ด่าท่านพระอุบาลี
ในสิกขาบทที่ ๒ นั้นมี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน
เกิดด้วยสมุฏฐาน ๓ สมุฏฐาน ฯลฯ

สิกขาบทที่ ๓
ถาม : พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น
ทรงบัญญัติปาจิตตีย์แก่ภิกษุณีผู้ขึ้งเคียดบริภาษคณะ ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภภิกษุณีถุลลนันทา
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่ภิกษุณีถุลลนันทาขึ้งเคียดบริภาษคณะ
ในสิกขาบทที่ ๓ นั้นมี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน
เกิดด้วยสมุฏฐาน ๓ สมุฏฐาน ฯลฯ

สิกขาบทที่ ๔
ถาม : พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น
ทรงบัญญัติปาจิตตีย์แก่ภิกษุณีผู้ได้รับนิมนต์แล้วบอกห้ามภัตตาหารแล้ว เคี้ยวของ
เคี้ยวหรือฉันของฉันอีก ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภภิกษุณีหลายรูป
ถาม : เพราะเรื่องอะไร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๒๕๐ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุนีวิภังค์] ๑. กัตถปัญญัตติวาร ๔. ปาจิตติยกัณฑ์ ๖. อารามวรรค
ตอบ : เพราะเรื่องที่ภิกษุณีหลายรูปฉันเสร็จแล้ว บอกห้ามภัตตาหารแล้ว ยัง
ฉันในที่อื่นอีก
ในสิกขาบทที่ ๔ นั้นมี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน
เกิดด้วยสมุฏฐาน ๔ สมุฏฐาน ฯลฯ

สิกขาบทที่ ๕
ถาม : พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ ทรง
เห็น ทรงบัญญัติปาจิตตีย์แก่ภิกษุณีผู้หวงตระกูล ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภภิกษุณีรูปหนึ่ง
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่ภิกษุณีรูปหนึ่งหวงตระกูล
ในสิกขาบทที่ ๕ นั้นมี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน
เกิดด้วยสมุฏฐาน ๓ สมุฏฐาน ฯลฯ
สิกขาบทที่ ๖
ถาม : พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ ทรง
เห็น ทรงบัญญัติปาจิตตีย์แก่ภิกษุณีผู้จำพรรษาในอาวาสที่ไม่มีภิกษุ ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภภิกษุณีหลายรูป
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่ภิกษุณีหลายรูปจำพรรษาในอาวาสที่ไม่มีภิกษุ
ในสิกขาบทที่ ๖ นั้นมี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน
เกิดด้วยสมุฏฐาน ๒ สมุฏฐาน เป็นเอฬกโลมสมุฏฐาน ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๒๕๑ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุนีวิภังค์] ๑. กัตถปัญญัตติวาร ๔. ปาจิตติยกัณฑ์ ๖. อารามวรรค
สิกขาบทที่ ๗
ถาม : พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น
ทรงบัญญัติปาจิตตีย์แก่ภิกษุณีผู้จำพรรษาแล้วไม่ปวารณาในสงฆ์ ๒ ฝ่าย ด้วยฐานะ
๓ ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภภิกษุณีหลายรูป
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่ภิกษุณีหลายรูปจำพรรษาแล้วไม่ปวารณาต่อภิกษุสงฆ์
ในสิกขาบทที่ ๗ นั้นมี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน
เกิดด้วยสมุฏฐาน ๑ สมุฏฐาน เป็นธุรนิกเขปสมุฏฐาน ฯลฯ

สิกขาบทที่ ๘
ถาม : พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น
ทรงบัญญัติปาจิตตีย์แก่ภิกษุณีผู้ไม่ไปรับโอวาทหรือธรรมเป็นเหตุอยู่ร่วมกัน ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ แคว้นสักกะ
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภพวกภิกษุณีฉัพพัคคีย์
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่พวกภิกษุณีฉัพพัคคีย์ไม่ไปรับโอวาท
ในสิกขาบทที่ ๘ นั้นมี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน
เกิดด้วยสมุฏฐาน ๑ สมุฏฐาน เป็นปฐมปาราชิกสมุฏฐาน ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๒๕๒ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุนีวิภังค์] ๑. กัตถปัญญัตติวาร ๔. ปาจิตติยกัณฑ์ ๖. อารามวรรค
สิกขาบทที่ ๙
ถาม : พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น
ทรงบัญญัติปาจิตตีย์แก่ภิกษุณีผู้ไม่ถามอุโบสถ ไม่ขอโอวาท ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภภิกษุณีหลายรูป
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่ภิกษุณีหลายรูปไม่ถามอุโบสถ ไม่ขอโอวาท
ในสิกขาบทที่ ๙ นั้นมี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน
เกิดด้วยสมุฏฐาน ๑ สมุฏฐาน เป็นธุรนิกเขปสมุฏฐาน ฯลฯ

สิกขาบทที่ ๑๐
ถาม : พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น
ทรงบัญญัติปาจิตตีย์แก่ภิกษุณีผู้ไม่บอกสงฆ์หรือคณะใช้ให้บ่งฝีหรือบาดแผลที่เกิด
ในร่มผ้าอยู่กันสองต่อสองกับชาย ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภภิกษุณีรูปหนึ่ง
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่ภิกษุณีรูปหนึ่งใช้ชายให้บ่งฝีที่เกิดในร่มผ้าอยู่กันสองต่อสอง
กับชาย
ในสิกขาบทที่ ๑๐ นั้นมี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน
เกิดด้วยสมุฏฐาน ๒ สมุฏฐาน เป็นกฐินสมุฏฐาน ฯลฯ
อารามวรรคที่ ๖ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๒๕๓ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุนีวิภังค์] ๑. กัตถปัญญัตติวาร ๔. ปาจิตติยกัณฑ์ ๗. คัพภินีวรรค
๗. คัพภินีวรรค
สิกขาบทที่ ๑
[๒๒๔] ถาม : พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้
ทรงเห็น ทรงบัญญัติปาจิตตีย์แก่ภิกษุณีผู้บวชให้สตรีมีครรภ์ ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภภิกษุณีหลายรูป
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่ภิกษุณีหลายรูปบวชให้สตรีมีครรภ์
ในสิกขาบทที่ ๑ นั้นมี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน
เกิดด้วยสมุฏฐาน ๓ สมุฏฐาน ฯลฯ

สิกขาบทที่ ๒
ถาม : พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น
ทรงบัญญัติปาจิตตีย์แก่ภิกษุณีผู้บวชให้สตรีมีลูกยังดื่มนม ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภภิกษุณีหลายรูป
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่ภิกษุณีหลายรูปบวชให้สตรีมีลูกยังดื่มนม
ในสิกขาบทที่ ๒ นั้นมี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน
เกิดด้วยสมุฏฐาน ๓ สมุฏฐาน ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๒๕๔ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุนีวิภังค์] ๑. กัตถปัญญัตติวาร ๔. ปาจิตติยกัณฑ์ ๗. คัพภินีวรรค
สิกขาบทที่ ๓
ถาม : พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น
ทรงบัญญัติปาจิตตีย์แก่ภิกษุณีผู้บวชให้สิกขมานา๑ผู้ยังมิได้ศึกษาสิกขาในธรรม ๖ ข้อ
ครบ ๒ ปี ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภภิกษุณีหลายรูป
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่ภิกษุณีหลายรูปบวชให้สิกขมานาผู้ยังมิได้ศึกษาสิกขาใน
ธรรม ๖ ข้อ ครบ ๒ ปี
ในสิกขาบทที่ ๓ นั้นมี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน
เกิดด้วยสมุฏฐาน ๓ สมุฏฐาน ฯลฯ

สิกขาบทที่ ๔
ถาม : พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น
ทรงบัญญัติปาจิตตีย์แก่ภิกษุณีผู้บวชให้สิกขมานาผู้ศึกษาสิกขาในธรรม ๖ ข้อ ตลอด
๒ ปีแล้ว แต่สงฆ์ยังมิได้สมมติ ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภภิกษุณีหลายรูป
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่ภิกษุณีหลายรูปบวชให้สิกขมานาผู้ศึกษาสิกขาในธรรม ๖ ข้อ
ตลอด ๒ ปี แต่สงฆ์ยังมิได้สมมติ

เชิงอรรถ :
๑ สิกขมานา คือ มาตุคามบวชกำลังศึกษา, สามเณรีผู้มีอายุถึง ๑๘ ปีแล้ว อีก ๒ ปีจะครบบวชเป็นภิกษุณี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๒๕๕ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุนีวิภังค์] ๑. กัตถปัญญัตติวาร ๔. ปาจิตติยกัณฑ์ ๗. คัพภินีวรรค
ในสิกขาบทที่ ๔ นั้นมี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖
สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๓ สมุฏฐาน ฯลฯ

สิกขาบทที่ ๕
ถาม : พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น
ทรงบัญญัติปาจิตตีย์แก่ภิกษุณีผู้บวชให้หญิงที่มีครอบครัวมีอายุต่ำกว่า ๑๒ ปี ณ
ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภภิกษุณีหลายรูป
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่ภิกษุณีหลายรูปบวชให้หญิงที่มีครอบครัวมีอายุต่ำกว่า ๑๒ ปี
ในสิกขาบทที่ ๕ นั้นมี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน
เกิดด้วยสมุฏฐาน ๓ สมุฏฐาน ฯลฯ

สิกขาบทที่ ๖
ถาม : พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น
ทรงบัญญัติปาจิตตีย์แก่ภิกษุณีผู้บวชให้หญิงที่มีครอบครัวมีอายุครบ ๑๒ ปี ยังไม่
ได้ศึกษาสิกขาในธรรม ๖ ข้อ ตลอด ๒ ปี ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภภิกษุณีหลายรูป
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่ภิกษุณีหลายรูปบวชให้หญิงที่มีครอบครัวมีอายุครบ ๑๒ ปี
ยังไม่ได้ศึกษาสิกขาในธรรม ๖ ข้อ ตลอด ๒ ปี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๒๕๖ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุนีวิภังค์] ๑. กัตถปัญญัตติวาร ๔. ปาจิตติยกัณฑ์ ๗. คัพภินีวรรค
ในสิกขาบทที่ ๖ นั้นมี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖
สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๓ สมุฏฐาน ฯลฯ

สิกขาบทที่ ๗
ถาม : พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น
ทรงบัญญัติปาจิตตีย์แก่ภิกษุณีผู้บวชให้หญิงที่มีครอบครัวมีอายุครบ ๑๒ ปี ผู้ได้
ศึกษาสิกขาในธรรม ๖ ข้อ ตลอด ๒ ปี แต่สงฆ์ยังไม่ได้สมมติ ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภภิกษุณีหลายรูป
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่ภิกษุณีหลายรูปบวชให้หญิงที่มีครอบครัวมีอายุครบ ๑๒ ปี
ผู้ได้ศึกษาสิกขาในธรรม ๖ ข้อ ตลอด ๒ ปี แต่สงฆ์ยังไม่ได้สมมติ
ในสิกขาบทที่ ๗ นั้นมี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน
เกิดด้วยสมุฏฐาน ๓ สมุฏฐาน ฯลฯ

สิกขาบทที่ ๘
ถาม : พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น
ทรงบัญญัติปาจิตตีย์แก่ภิกษุณีผู้บวชให้สหชีวินีแล้วไม่อนุเคราะห์ ทั้งไม่ให้ผู้อื่น
อนุเคราะห์ตลอด ๒ ปี ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภภิกษุณีถุลลนันทา
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่ภิกษุณีถุลลนันทาบวชให้สหชีวินีแล้วไม่อนุเคราะห์ ทั้งไม่
ให้ผู้อื่นอนุเคราะห์ตลอด ๒ ปี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๒๕๗ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุนีวิภังค์] ๑. กัตถปัญญัตติวาร ๔. ปาจิตติยกัณฑ์ ๗. คัพภินีวรรค
ในสิกขาบทที่ ๘ นั้นมี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน
เกิดด้วยสมุฏฐาน ๑ สมุฏฐาน เป็นธุรนิกเขปสมุฏฐาน ฯลฯ

สิกขาบทที่ ๙
ถาม : พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น
ทรงบัญญัติปาจิตตีย์แก่ภิกษุณีผู้ไม่ติดตามปวัตตินี(อุปัชฌาย์ในฝ่ายภิกษุณี)ผู้บวชให้
ตลอด ๒ ปี ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภภิกษุณีหลายรูป
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่ภิกษุณีหลายรูปไม่ติดตามปวัตตินีผู้บวชให้ตลอด ๒ ปี
ในสิกขาบทที่ ๙ นั้นมี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน
เกิดด้วยสมุฏฐาน ๑ สมุฏฐาน เป็นปฐมปาราชิกสมุฏฐาน ฯลฯ

สิกขาบทที่ ๑๐
ถาม : พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น
ทรงบัญญัติปาจิตตีย์แก่ภิกษุณีผู้บวชให้สหชีวินีแล้วไม่พาหลีกไป ทั้งไม่ให้ผู้อื่นพาหลีกไป
ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภภิกษุณีถุลลนันทา
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่ภิกษุณีถุลลนันทาบวชให้สหชีวินีแล้วไม่พาหลีกไป ทั้งไม่
ให้ผู้อื่นพาหลีกไป

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๒๕๘ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุนีวิภังค์] ๑. กัตถปัญญัตติวาร ๔. ปาจิตติยกัณฑ์ ๘. กุมารีภูตวรรค
ในสิกขาบทที่ ๑๐ นั้นมี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖
สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๑ สมุฏฐาน เป็นธุรนิกเขปสมุฏฐาน ฯลฯ
คัพภินีวรรคที่ ๗ จบ

๘. กุมารีภูตวรรค
สิกขาบทที่ ๑
[๒๒๕] ถาม : พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ทรง
รู้ทรงเห็น ทรงบัญญัติปาจิตตีย์แก่ภิกษุณีบวชให้กุมารีอายุต่ำกว่า ๒๐ ปี ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภภิกษุณีหลายรูป
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่ภิกษุณีหลายรูปบวชให้กุมารีอายุต่ำกว่า ๒๐ ปี
ในสิกขาบทที่ ๑ นั้นมี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖
สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๓ สมุฏฐาน ฯลฯ

สิกขาบทที่ ๒
ถาม : พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น
ทรงบัญญัติปาจิตตีย์แก่ภิกษุณีบวชให้กุมารีมีอายุครบ ๒๐ ปี ผู้ยังไม่ได้ศึกษาสิกขา
ในธรรม ๖ ข้อ ตลอด ๒ ปี ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภภิกษุณีหลายรูป
ถาม : เพราะเรื่องอะไร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๒๕๙ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุนีวิภังค์] ๑. กัตถปัญญัตติวาร ๔. ปาจิตติยกัณฑ์ ๘. กุมารีภูตวรรค
ตอบ : เพราะเรื่องที่ภิกษุณีหลายรูปบวชให้กุมารีอายุครบ ๒๐ ปี แต่ยังไม่
ได้ศึกษาสิกขาในธรรม ๖ ข้อ ตลอด ๒ ปี
ในสิกขาบทที่ ๒ นั้นมี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖
สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๓ สมุฏฐาน ฯลฯ

สิกขาบทที่ ๓
ถาม : พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น
ทรงบัญญัติปาจิตตีย์แก่ภิกษุณีบวชให้กุมารีอายุครบ ๒๐ ปี ผู้ได้ศึกษาสิกขาในธรรม
๖ ข้อ ตลอด ๒ ปีแล้ว แต่สงฆ์ยังไม่ได้สมมติ ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภภิกษุณีหลายรูป
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่ภิกษุณีหลายรูปบวชให้กุมารีอายุครบ ๒๐ ปี ผู้ได้ศึกษาสิกขา
ในธรรม ๖ ข้อ ตลอด ๒ ปี แต่สงฆ์ยังไม่ได้สมมติ
ในสิกขาบทที่ ๓ นั้นมี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖
สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๓ สมุฏฐาน ฯลฯ

สิกขาบทที่ ๔
ถาม : พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น
ทรงบัญญัติปาจิตตีย์แก่ภิกษุณีผู้มีพรรษาต่ำกว่า ๑๒ บวชให้กุลธิดา ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภภิกษุณีหลายรูป
ถาม : เพราะเรื่องอะไร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๒๖๐ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุนีวิภังค์] ๑. กัตถปัญญัตติวาร ๔. ปาจิตติยกัณฑ์ ๘. กุมารีภูตวรรค
ตอบ : เพราะเรื่องที่ภิกษุณีหลายรูปมีพรรษาต่ำกว่า ๑๒ บวชให้กุลธิดา
ในสิกขาบทที่ ๔ นั้นมี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖
สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๓ สมุฏฐาน ฯลฯ

สิกขาบทที่ ๕
ถาม : พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น
ทรงบัญญัติปาจิตตีย์แก่ภิกษุณีผู้มีพรรษาครบ ๑๒ แล้ว แต่สงฆ์ยังไม่ได้สมมติ
บวชให้กุลธิดา ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภภิกษุณีหลายรูป
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่ภิกษุณีหลายรูปมีพรรษาครบ ๑๒ แล้ว แต่สงฆ์ยังไม่
ได้สมมติ บวชให้กุลธิดา
ในสิกขาบทที่ ๕ นั้นมี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖
สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๓ สมุฏฐาน เป็นทุติยปาราชิกสมุฏฐาน ฯลฯ

สิกขาบทที่ ๖
ถาม : พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น
ทรงบัญญัติปาจิตตีย์แก่ภิกษุณีผู้อันภิกษุณีสงฆ์กล่าวอยู่ว่า “แม่เจ้า ท่านยังไม่ควรบวช
ให้กุลธิดา” รับคำแล้ว ภายหลังกลับบ่นว่า ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภภิกษุณีจัณฑกาลี
ถาม : เพราะเรื่องอะไร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๒๖๑ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุนีวิภังค์] ๑. กัตถปัญญัตติวาร ๔. ปาจิตติยกัณฑ์ ๘. กุมารีภูตวรรค
ตอบ : เพราะเรื่องที่ภิกษุณีจัณฑกาลีอันภิกษุณีสงฆ์กล่าวอยู่ว่า “แม่เจ้า ท่าน
ยังไม่ควรบวชให้กุลธิดา” รับคำแล้ว ภายหลังกลับบ่นว่า
ในสิกขาบทที่ ๖ นั้นมี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน
เกิดด้วยสมุฏฐาน ๓ สมุฏฐาน ฯลฯ

สิกขาบทที่ ๗
ถาม : พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น
ทรงบัญญัติปาจิตตีย์แก่ภิกษุณีผู้บอกสิกขมานาว่า “แม่คุณ ถ้าเธอจักให้จีวรแก่เรา
เราก็จะบวชให้เธอ” ภายหลังไม่บวชให้ ทั้งไม่ขวนขวายใช้ให้บวชให้ ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภภิกษุณีถุลลนันทา
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่ภิกษุณีถุลลนันทาบอกสิกขมานาว่า “แม่คุณ ถ้าเธอจักให้
จีวรแก่เรา เราก็จะบวชให้เธอ” ภายหลังไม่บวชให้ ทั้งไม่ขวนขวายใช้ให้บวชให้
ในสิกขาบทที่ ๗ นั้นมี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖
สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๑ สมุฏฐาน เป็นธุรนิกเขปสมุฏฐาน ฯลฯ

สิกขาบทที่ ๘
ถาม : พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น
ทรงบัญญัติปาจิตตีย์แก่ภิกษุณีผู้ชักชวนสิกขมานาว่า “แม่คุณ ถ้าเธอจักติดตามเรา
ตลอด ๒ ปี เราก็จะบวชให้เธอ” ภายหลังไม่บวชให้ ทั้งไม่ขวนขวายใช้ให้บวชให้ ณ
ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
ถาม : ทรงปรารภใคร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๒๖๒ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุนีวิภังค์] ๑. กัตถปัญญัตติวาร ๔. ปาจิตติยกัณฑ์ ๘. กุมารีภูตวรรค
ตอบ : ทรงปรารภภิกษุณีถุลลนันทา
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่ภิกษุณีถุลลนันทาชักชวนสิกขมานาว่า “แม่คุณ ถ้าเธอ
จักติดตามเราตลอด ๒ ปี เราก็จะบวชให้เธอ” ภายหลังไม่บวชให้ ทั้งไม่ขวนขวาย
ใช้ให้บวชให้
ในสิกขาบทที่ ๘ นั้นมี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖
สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๑ สมุฏฐาน เป็นธุรนิกเขปสมุฏฐาน ฯลฯ

สิกขาบทที่ ๙
ถาม : พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น
ทรงบัญญัติปาจิตตีย์แก่ภิกษุณีผู้บวชให้สิกขมานาผู้ชอบคลุกคลีกับชาย คลุกคลีกับ
เด็กหนุ่ม ดุร้าย ชอบทำชายให้ระทมโศก ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภภิกษุณีถุลลนันทา
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่ภิกษุณีถุลลนันทาบวชให้สิกขมานาผู้ชอบคลุกคลีกับชาย
คลุกคลีกับเด็กหนุ่ม ดุร้าย ชอบทำชายให้ระทมโศก
ในสิกขาบทที่ ๙ นั้นมี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน
เกิดด้วยสมุฏฐาน ๓ สมุฏฐาน ฯลฯ

สิกขาบทที่ ๑๐
ถาม : พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น
ทรงบัญญัติปาจิตตีย์แก่ภิกษุณีผู้บวชให้สิกขมานาที่มารดาบิดาหรือสามียังไม่ได้อนุญาต
ณ ที่ไหน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๒๖๓ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุนีวิภังค์] ๑. กัตถปัญญัตติวาร ๔. ปาจิตติยกัณฑ์ ๘. กุมารีภูตวรรค
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภภิกษุณีถุลลนันทา
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่ภิกษุณีถุลลนันทาบวชให้สิกขมานาที่มารดาบิดาหรือสามี
ยังไม่ได้อนุญาต
ในสิกขาบทที่ ๑๐ นั้นมี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖
สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๔ สมุฏฐาน คือ (๑) เกิดทางวาจา มิใช่เกิดทางกาย
มิใช่เกิดทางจิต (๒) เกิดทางกายกับวาจา มิใช่เกิดทางจิต (๓) เกิดทางวาจากับจิต
มิใช่เกิดทางกาย (๔) เกิดทางกายวาจากับจิต

สิกขาบทที่ ๑๑
ถาม : พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น
ทรงบัญญัติปาจิตตีย์แก่ภิกษุณีผู้บวชให้สิกขมานาด้วยการให้ปาริวาสิกฉันทะ ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงราชคฤห์
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภภิกษุณีถุลลนันทา
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่ภิกษุณีถุลลนันทาบวชให้สิกขมานาด้วยการให้ปาริวาสิก
ฉันทะ
ในสิกขาบทที่ ๑๑ นั้นมี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖
สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๓ สมุฏฐาน ฯลฯ

สิกขาบทที่ ๑๒
ถาม : พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น
ทรงบัญญัติปาจิตตีย์แก่ภิกษุณีผู้บวชให้สิกขมานาทุก ๆ ปี ณ ที่ไหน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๒๖๔ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุนีวิภังค์] ๑. กัตถปัญญัตติวาร ๔. ปาจิตติยกัณฑ์ ๙. ฉัตตุปาหนวรรค
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภภิกษุณีหลายรูป
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่ภิกษุณีหลายรูปบวชให้สิกขมานาทุก ๆ ปี
ในสิกขาบทที่ ๑๒ นั้นมี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖
สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๓ สมุฏฐาน ฯลฯ

สิกขาบทที่ ๑๓
ถาม : พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น
ทรงบัญญัติปาจิตตีย์แก่ภิกษุณีผู้บวชให้สิกขมานา ๒ รูปใน ๑ ปี ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภภิกษุณีหลายรูป
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่ภิกษุณีหลายรูปบวชให้สิกขมานาปีละ ๒ รูป
ในสิกขาบทที่ ๑๓ นั้นมี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖
สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๓ สมุฏฐาน ฯลฯ
กุมารีภูตวรรคที่ ๘ จบ

๙. ฉัตตุปาหนวรรค
สิกขาบทที่ ๑
[๒๒๖] ถาม : พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้
ทรงเห็น ทรงบัญญัติปาจิตตีย์แก่ภิกษุณีผู้กั้นร่มและสวมรองเท้า ณ ที่ไหน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๒๖๕ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุนีวิภังค์] ๑. กัตถปัญญัตติวาร ๔. ปาจิตติยกัณฑ์ ๙. ฉัตตุปาหนวรรค
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภพวกภิกษุณีฉัพพัคคีย์
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่พวกภิกษุณีฉัพพัคคีย์กั้นร่มและสวมรองเท้า
ในสิกขาบทที่ ๑ นั้นมี ๑ พระบัญญัติ ๑ พระอนุบัญญัติ บรรดาสมุฏฐาน
แห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๒ สมุฏฐาน เป็นเอฬกโลมสมุฏฐาน
ฯลฯ

สิกขาบทที่ ๒
ถาม : พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น
ทรงบัญญัติปาจิตตีย์แก่ภิกษุณีผู้โดยสารยานพาหนะ ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภพวกภิกษุณีฉัพพัคคีย์
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่พวกภิกษุณีฉัพพัคคีย์โดยสารยานพาหนะ
ในสิกขาบทที่ ๒ นั้นมี ๑ พระบัญญัติ ๑ พระอนุบัญญัติ บรรดาสมุฏฐาน
แห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๒ สมุฏฐาน เป็นเอฬกโลมสมุฏฐาน
ฯลฯ

สิกขาบทที่ ๓
ถาม : พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น
ทรงบัญญัติปาจิตตีย์แก่ภิกษุณีผู้ใช้เครื่องประดับเอว ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๒๖๖ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุนีวิภังค์] ๑. กัตถปัญญัตติวาร ๔. ปาจิตติยกัณฑ์ ๙. ฉัตตุปาหนวรรค
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภภิกษุณีรูปหนึ่ง
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่ภิกษุณีรูปหนึ่งใช้เครื่องประดับเอว
ในสิกขาบทที่ ๓ นั้นมี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖
สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๒ สมุฏฐาน เป็นเอฬกโลมสมุฏฐาน ฯลฯ

สิกขาบทที่ ๔
ถาม : พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น
ทรงบัญญัติปาจิตตีย์แก่ภิกษุณีผู้ใช้เครื่องประดับของสตรี ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภพวกภิกษุณีฉัพพัคคีย์
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่พวกภิกษุณีฉัพพัคคีย์ใช้เครื่องประดับของสตรี
ในสิกขาบทที่ ๔ นั้นมี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖
สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๒ สมุฏฐาน เป็นเอฬกโลมสมุฏฐาน ฯลฯ

สิกขาบทที่ ๕
ถาม : พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น
ทรงบัญญัติปาจิตตีย์แก่ภิกษุณีผู้สรงสนานด้วยของหอมและเครื่องย้อมผิว ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภพวกภิกษุณีฉัพพัคคีย์
ถาม : เพราะเรื่องอะไร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๒๖๗ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุนีวิภังค์] ๑. กัตถปัญญัตติวาร ๔. ปาจิตติยกัณฑ์ ๙. ฉัตตุปาหนวรรค
ตอบ : เพราะเรื่องที่พวกภิกษุณีฉัพพัคคีย์สรงสนานด้วยของหอมและเครื่องย้อมผิว
ในสิกขาบทที่ ๕ นั้นมี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖
สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๒ สมุฏฐาน เป็นเอฬกโลมสมุฏฐาน ฯลฯ

สิกขาบทที่ ๖
ถาม : พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น
ทรงบัญญัติปาจิตตีย์แก่ภิกษุณีผู้สรงสนานด้วยแป้งอบกลิ่น ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภพวกภิกษุณีฉัพพัคคีย์
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่พวกภิกษุณีฉัพพัคคีย์สรงสนานด้วยแป้งที่อบกลิ่น
ในสิกขาบทที่ ๖ นั้นมี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน
เกิดด้วยสมุฏฐาน ๒ สมุฏฐาน เป็นเอฬกโลมสมุฏฐาน ฯลฯ

สิกขาบทที่ ๗
ถาม : พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น
ทรงบัญญัติปาจิตตีย์แก่ภิกษุณีผู้ใช้ภิกษุณีให้บีบนวด ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภภิกษุณีหลายรูป
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่ภิกษุณีหลายรูปใช้ภิกษุณีให้บีบนวด
ในสิกขาบทที่ ๗ นั้นมี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน
เกิดด้วยสมุฏฐาน ๒ สมุฏฐาน เป็นเอฬกโลมสมุฏฐาน ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๒๖๘ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุนีวิภังค์] ๑. กัตถปัญญัตติวาร ๔. ปาจิตติยกัณฑ์ ๙. ฉัตตุปาหนวรรค
สิกขาบทที่ ๘
ถาม : พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น
ทรงบัญญัติปาจิตตีย์แก่ภิกษุณีผู้ใช้สิกขมานาให้บีบนวด ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภภิกษุณีหลายรูป
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่ภิกษุณีหลายรูปใช้สิกขมานาให้บีบนวด
ในสิกขาบทที่ ๘ นั้นมี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน
เกิดด้วยสมุฏฐาน ๒ สมุฏฐาน เป็นเอฬกโลมสมุฏฐาน ฯลฯ

สิกขาบทที่ ๙
ถาม : พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น
ทรงบัญญัติปาจิตตีย์แก่ภิกษุณีผู้ใช้สามเณรี๑ให้บีบนวด ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภภิกษุณีหลายรูป
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่ภิกษุณีหลายรูปใช้สามเณรีให้บีบนวด
ในสิกขาบทที่ ๙ นั้นมี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน
เกิดด้วยสมุฏฐาน ๒ สมุฏฐาน เป็นเอฬกโลมสมุฏฐาน ฯลฯ

เชิงอรรถ :
๑ สามเณรี คือ สามเณรผู้หญิง, หญิงผู้รับบรรพชาในสำนักภิกษุณี ถือสิกขาบท ๑๐ เหมือนสามเณร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๒๖๙ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุนีวิภังค์] ๑. กัตถปัญญัตติวาร ๔. ปาจิตติยกัณฑ์ ๙. ฉัตตุปาหนวรรค
สิกขาบทที่ ๑๐
ถาม : พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น
ทรงบัญญัติปาจิตตีย์แก่ภิกษุณีผู้ใช้หญิงคฤหัสถ์ให้บีบนวด ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภภิกษุณีหลายรูป
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่ภิกษุณีหลายรูปใช้หญิงคฤหัสถ์ให้บีบนวด
ในสิกขาบทที่ ๑๐ นั้นมี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖
สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๒ สมุฏฐาน เป็นเอฬกโลมสมุฏฐาน ฯลฯ

สิกขาบทที่ ๑๑
ถาม : พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น
ทรงบัญญัติปาจิตตีย์แก่ภิกษุณีผู้ไม่ขออนุญาตก่อนนั่งบนอาสนะข้างหน้าภิกษุ ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภภิกษุณีหลายรูป
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่ภิกษุณีหลายรูปไม่ขออนุญาตก่อนนั่งบนอาสนะข้างหน้าภิกษุ
ในสิกขาบทที่ ๑๑ นั้นมี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖
สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๒ สมุฏฐาน เป็นกฐินสมุฏฐาน ฯลฯ

สิกขาบทที่ ๑๒
ถาม : พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น
ทรงบัญญัติปาจิตตีย์แก่ภิกษุณีผู้ถามปัญหาภิกษุที่ตนยังมิได้ขอโอกาส ณ ที่ไหน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๒๗๐ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุนีวิภังค์] ๑. กัตถปัญญัตติวาร ๔. ปาจิตติยกัณฑ์ ๙. ฉัตตุปาหนวรรค
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภภิกษุณีหลายรูป
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่ภิกษุณีหลายรูปถามปัญหาภิกษุที่ตนยังมิได้ขอโอกาส
ในสิกขาบทที่ ๑๒ นั้นมี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖
สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๒ สมุฏฐาน เป็นปทโสธัมมสมุฏฐาน ฯลฯ

สิกขาบทที่ ๑๓
ถาม : พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น
ทรงบัญญัติปาจิตตีย์แก่ภิกษุณีผู้ไม่มีผ้ารัดถันเข้าหมู่บ้าน ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภภิกษุณีรูปหนึ่ง
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่ภิกษุณีรูปหนึ่งไม่มีผ้ารัดถันเข้าหมู่บ้าน
ในสิกขาบทที่ ๑๓ นั้นมี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖
สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๒ สมุฏฐาน คือ (๑) เกิดทางกาย มิใช่เกิดทางวาจา
มิใช่เกิดทางจิต (๒) เกิดทางกายกับจิต มิใช่เกิดทางวาจา ฯลฯ
ฉัตตุปาหนวรรคที่ ๙ จบ
ขุททกสิกขาบท ๙ วรรค จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๒๗๑ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุนีวิภังค์] ๑. กัตถปัญญัตติวาร ๔. ปาจิตติยกัณฑ์ รวมปาจิตติยกัณฑ์
รวมปาจิตติยกัณฑ์ ๙๖ สิกขาบท
๑. ลสุณวรรค
สิกขาบทที่ ๑ ว่าด้วยการขอกระเทียม
สิกขาบทที่ ๒ ว่าด้วยการถอนขนในที่แคบ
สิกขาบทที่ ๓ ว่าด้วยการสัมผัสองค์กำเนิด
สิกขาบทที่ ๔ ว่าด้วยการใช้ท่อนยาง
สิกขาบทที่ ๕ ว่าด้วยการใช้น้ำชำระ
สิกขาบทที่ ๖ ว่าด้วยการปรนนิบัติ
สิกขาบทที่ ๗ ว่าด้วยการขอข้าวเปลือกดิบ
สิกขาบทที่ ๘ ว่าด้วยการทิ้งอุจจาระออกนอกฝา
สิกขาบทที่ ๙ ว่าด้วยการทิ้งอุจจาระออกนอกกำแพง
สิกขาบทที่ ๑๐ ว่าด้วยการดูการขับร้องฟ้อนรำ

๒. อันธการวรรค
สิกขาบทที่ ๑ ว่าด้วยการสนทนากับชายในที่มืด
สิกขาบทที่ ๒ ว่าด้วยการยืนกับชายในที่กำบัง
สิกขาบทที่ ๓ ว่าด้วยการสนทนากับชายในที่แจ้ง
สิกขาบทที่ ๔ ว่าด้วยการส่งเพื่อนภิกษุณีกลับ
สิกขาบทที่ ๕ ว่าด้วยการจากไปโดยไม่บอกเจ้าของ
สิกขาบทที่ ๖ ว่าด้วยการนั่งนอนบนอาสนะโดยไม่บอกเจ้าของ
สิกขาบทที่ ๗ ว่าด้วยการปูลาดโดยไม่บอก
สิกขาบทที่ ๘ ว่าด้วยการให้ผู้อื่นโพนทะนา
สิกขาบทที่ ๙ ว่าด้วยการสาปแช่งตนเองและผู้อื่น
สิกขาบทที่ ๑๐ ว่าด้วยการร้องไห้ทุบตีตนเอง

๓. นัคควรรค
สิกขาบทที่ ๑ ว่าด้วยการเปลือยกายอาบน้ำ
สิกขาบทที่ ๒ ว่าด้วยการใช้ผ้าอาบน้ำไม่ได้ขนาด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๒๗๒ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุนีวิภังค์] ๑. กัตถปัญญัตติวาร ๔. ปาจิตติยกัณฑ์ รวมปาจิตติยกัณฑ์
สิกขาบทที่ ๓ ว่าด้วยการเลาะจีวรแล้วไม่เย็บ
สิกขาบทที่ ๔ ว่าด้วยการไม่ผลัดเปลี่ยนสังฆาฏิตามกำหนด
สิกขาบทที่ ๕ ว่าด้วยการห่มจีวรสับเปลี่ยนกัน
สิกขาบทที่ ๖ ว่าด้วยการทำอันตรายแก่จีวรลาภของคณะ
สิกขาบทที่ ๗ ว่าด้วยการคัดค้านการแจกจีวรที่ชอบธรรม
สิกขาบทที่ ๘ ว่าด้วยการให้สมณจีวรแก่ผู้ไม่ใช่ภิกษุณี
สิกขาบทที่ ๙ ว่าด้วยการให้ล่วงเลยสมัยแห่งจีวรกาล
สิกขาบทที่ ๑๐ ว่าด้วยการคัดค้านการเดาะกฐินที่ชอบธรรม

๔. ตุวัฏฏวรรค
สิกขาบทที่ ๑ ว่าด้วยการนอนบนเตียงเดียวกัน
สิกขาบทที่ ๒ ว่าด้วยการใช้ผ้าผืนเดียวเป็นทั้งผ้าปูนอนและผ้าห่ม
สิกขาบทที่ ๓ ว่าด้วยการจงใจก่อความรำคาญ
สิกขาบทที่ ๔ ว่าด้วยการไม่ใส่ใจดูแลเพื่อนภิกษุณี
สิกขาบทที่ ๕ ว่าด้วยการฉุดลากออก
สิกขาบทที่ ๖ ว่าด้วยการอยู่คลุกคลีกับคฤหัสถ์
สิกขาบทที่ ๗ ว่าด้วยการเที่ยวจาริกไปในที่ที่น่าหวาดระแวงภายในรัฐ
สิกขาบทที่ ๘ ว่าด้วยการเที่ยวจาริกไปในที่ที่น่าหวาดระแวงภายนอกรัฐ
สิกขาบทที่ ๙ ว่าด้วยการเที่ยวจาริกไปภายในพรรษา
สิกขาบทที่ ๑๐ ว่าด้วยการไม่หลีกจาริกไป

๕. จิตตาคารวรรค
สิกขาบทที่ ๑ ว่าด้วยการไปดูโรงละครหลวง
สิกขาบทที่ ๒ ว่าด้วยการใช้ตั่งหรือแท่น
สิกขาบทที่ ๓ ว่าด้วยการกรอด้าย
สิกขาบทที่ ๔ ว่าด้วยการช่วยทำการขวนขวายเพื่อคฤหัสถ์
สิกขาบทที่ ๕ ว่าด้วยการไม่ช่วยระงับอธิกรณ์
สิกขาบทที่ ๖ ว่าด้วยการให้ของเคี้ยวของฉันแก่นักฟ้อนเป็นต้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๒๗๓ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุนีวิภังค์] ๑. กัตถปัญญัตติวาร ๔. ปาจิตติยกัณฑ์ รวมปาจิตติยกัณฑ์
สิกขาบทที่ ๗ ว่าด้วยการใช้ผ้าซับระดูแล้วไม่สละ
สิกขาบทที่ ๘ ว่าด้วยการไม่สละที่พัก
สิกขาบทที่ ๙ ว่าด้วยการเรียนดิรัจฉานวิชา
สิกขาบทที่ ๑๐ ว่าด้วยการสอนดิรัจฉานวิชา

๖. อารามวรรค
สิกขาบทที่ ๑ ว่าด้วยการเข้าอารามโดยไม่บอก
สิกขาบทที่ ๒ ว่าด้วยการด่าบริภาษภิกษุ
สิกขาบทที่ ๓ ว่าด้วยการบริภาษคณะ
สิกขาบทที่ ๔ ว่าด้วยการฉันของเคี้ยวของฉันเมื่อห้ามภัตตาหารแล้ว
สิกขาบทที่ ๕ ว่าด้วยความหวงตระกูล
สิกขาบทที่ ๖ ว่าด้วยการอยู่จำพรรษาในอาวาสที่ไม่มีภิกษุ
สิกขาบทที่ ๗ ว่าด้วยการไม่ปวารณาในสงฆ์ ๒ ฝ่าย
สิกขาบทที่ ๘ ว่าด้วยการไม่รับโอวาทเป็นต้น
สิกขาบทที่ ๙ ว่าด้วยการไม่ถามอุโบสถเป็นต้น
สิกขาบทที่ ๑๐ ว่าด้วยการให้บ่งฝีในร่มผ้า

๗. คัพภินีวรรค
สิกขาบทที่ ๑ ว่าด้วยการบวชให้สตรีมีครรภ์
สิกขาบทที่ ๒ ว่าด้วยการบวชให้สตรีมีลูกยังดื่มนม
สิกขาบทที่ ๓ ว่าด้วยการบวชให้สิกขมานาผู้ยังไม่ได้ศึกษาธรรม
๖ ข้อตลอด ๒ ปี
สิกขาบทที่ ๔ ว่าด้วยการบวชให้สิกขมานาที่สงฆ์ยังไม่ได้สมมติ
สิกขาบทที่ ๕ ว่าด้วยการบวชให้หญิงที่มีครอบครัวอายุต่ำกว่า ๑๒ ปี
สิกขาบทที่ ๖ ว่าด้วยการบวชให้หญิงที่มีครอบครัวอายุครบ ๑๒ ปี
แต่ยังไม่ได้ศึกษาสิกขา
สิกขาบทที่ ๗ ว่าด้วยการบวชให้หญิงที่มีครอบครัวที่สงฆ์ยังไม่ได้สมมติ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๒๗๔ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุนีวิภังค์] ๑. กัตถปัญญัตติวาร ๔. ปาจิตติยกัณฑ์ รวมปาจิตติยกัณฑ์
สิกขาบทที่ ๘ ว่าด้วยการไม่อนุเคราะห์สหชีวินีตลอด ๒ ปี
สิกขาบทที่ ๙ ว่าด้วยการไม่ติดตามปวัตตินีตลอด ๒ ปี
สิกขาบทที่ ๑๐ ว่าด้วยการไม่พาสหชีวินีหลีกไป

๘. กุมารีภูตวรรค
สิกขาบทที่ ๑ ว่าด้วยการบวชให้กุมารีอายุต่ำกว่า ๒๐ ปี
สิกขาบทที่ ๒ ว่าด้วยการบวชให้กุมารีที่ยังไม่ได้ศึกษาในธรรม ๖ ข้อ
สิกขาบทที่ ๓ ว่าด้วยการบวชให้กุมารีที่สงฆ์ยังไม่ได้สมมติ
สิกขาบทที่ ๔ ว่าด้วยภิกษุณีมีพรรษาต่ำกว่า ๑๒ เป็นปวัตตินี
สิกขาบทที่ ๕ ว่าด้วยภิกษุณีมีพรรษาครบ ๑๒ เป็นปวัตตินี
แต่สงฆ์ยังไม่ได้สมมติ
สิกขาบทที่ ๖ ว่าด้วยการบ่นว่าภายหลัง
สิกขาบทที่ ๗ ว่าด้วยการบอกสิกขมานาให้ถวายจีวรแล้วไม่บวชให้
สิกขาบทที่ ๘ ว่าด้วยการบอกสิกขมานาให้ติดตาม
ตลอด ๒ ปี แล้วไม่บวชให้
สิกขาบทที่ ๙ ว่าด้วยการบวชให้สิกขมานาผู้คลุกคลีกับชาย
สิกขาบทที่ ๑๐ ว่าด้วยการบวชให้สิกขมานาที่ยังไม่ได้รับอนุญาต
สิกขาบทที่ ๑๑ ว่าด้วยการบวชให้สิกขมานาด้วยการให้ปาริวาสิกฉันทะ
สิกขาบทที่ ๑๒ ว่าด้วยการบวชให้สิกขมานาทุก ๆ ปี
สิกขาบทที่ ๑๓ ว่าด้วยการบวชให้สิกขมานาปีละ ๒ รูป

๙. ฉัตตุปาหนวรรค
สิกขาบทที่ ๑ ว่าด้วยภิกษุณีผู้ไม่เป็นไข้กั้นร่มและสวมรองเท้า
สิกขาบทที่ ๒ ว่าด้วยการเดินทางด้วยยานพาหนะ
สิกขาบทที่ ๓ ว่าด้วยการใช้เครื่องประดับเอว
สิกขาบทที่ ๔ ว่าด้วยการใช้เครื่องประดับของสตรี
สิกขาบทที่ ๕ ว่าด้วยการใช้ของหอมเครื่องย้อมผิว
สิกขาบทที่ ๖ ว่าด้วยการใช้ผงแป้งอบกลิ่น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๒๗๕ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุนีวิภังค์] ๑. กัตถปัญญัตติวาร ๕. ปาฏิเทสนียกัณฑ์
สิกขาบทที่ ๗ ว่าด้วยการให้บีบนวด
สิกขาบทที่ ๘ ว่าด้วยการใช้สิกขมานาบีบนวด
สิกขาบทที่ ๙ ว่าด้วยการใช้สามเณรีให้บีบนวด
สิกขาบทที่ ๑๐ ว่าด้วยการใช้หญิงคฤหัสถ์ให้บีบนวด
สิกขาบทที่ ๑๑ ว่าด้วยการนั่งบนอาสนะโดยไม่ขอโอกาสก่อน
สิกขาบทที่ ๑๒ ว่าด้วยการถามปัญหาภิกษุโดยไม่ขอโอกาส
สิกขาบทที่ ๑๓ ว่าด้วยการเข้าหมู่บ้านโดยไม่มีผ้ารัดถัน

รวมวรรคที่มีในปาจิตติยกัณฑ์

๑. ลสุณวรรค ๒. รัตตันธการวรรค
๓. นหานวรรค ๔. ตุวัฏฏวรรค
๕. จิตตาคารวรรค ๖. อารามวรรค
๗. คัพภินีวรรค ๘. กุมารีภูตวรรค
๙. ฉัตตุปาหนวรรค

๕. ปาฏิเทสนียกัณฑ์
คำถาม - คำตอบสถานที่บัญญัติเป็นต้นในปาฏิเทสนียกัณฑ์
ปาฏิเทสนียสิกขาบทที่ ๑
[๒๒๗] ถาม : พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้
ทรงเห็น ทรงบัญญัติปาฏิเทสนียะแก่ภิกษุณีผู้ออกปากขอเนยใสมาฉัน ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภพวกภิกษุณีฉัพพัคคีย์
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่พวกภิกษุณีฉัพพัคคีย์ออกปากขอเนยใสมาฉัน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๒๗๖ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุนีวิภังค์] ๑. กัตถปัญญัตติวาร ๕. ปาฏิเทสนียกัณฑ์
ในปาฏิเทสนียสิกขาบทที่ ๑ นั้นมี ๑ พระบัญญัติ ๑ พระอนุบัญญัติ
บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๔ สมุฏฐาน ฯลฯ

ปาฏิเทสนียสิกขาบทที่ ๒
ถาม : พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น
ทรงบัญญัติปาฏิเทสนียะแก่ภิกษุณีผู้ออกปากขอน้ำมันมาฉัน ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภพวกภิกษุณีฉัพพัคคีย์
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่พวกภิกษุณีฉัพพัคคีย์ออกปากขอน้ำมันมาฉัน
ในปาฏิเทสนียสิกขาบทที่ ๒ นั้นมี ๑ พระบัญญัติ ๑ พระอนุบัญญัติ บรรดา
สมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๔ สมุฏฐาน ฯลฯ

ปาฏิเทสนียสิกขาบทที่ ๓
ถาม : พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น
ทรงบัญญัติปาฏิเทสนียะแก่ภิกษุณีผู้ออกปากขอน้ำผึ้งมาฉัน ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภพวกภิกษุณีฉัพพัคคีย์
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่พวกภิกษุณีฉัพพัคคีย์ออกปากขอน้ำผึ้งมาฉัน
ในปาฏิเทสนียสิกขาบทที่ ๓ นั้นมี ๑ พระบัญญัติ ๑ พระอนุบัญญัติ บรรดา
สมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๔ สมุฏฐาน ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๒๗๗ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุนีวิภังค์] ๑. กัตถปัญญัตติวาร ๕. ปาฏิเทสนียกัณฑ์
ปาฏิเทสนียสิกขาบทที่ ๔
ถาม : พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น
ทรงบัญญัติปาฏิเทสนียะแก่ภิกษุณีผู้ออกปากขอน้ำอ้อยมาฉัน ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภพวกภิกษุณีฉัพพัคคีย์
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่พวกภิกษุณีฉัพพัคคีย์ออกปากขอน้ำอ้อยมาฉัน
ในปาฏิเทสนียสิกขาบทที่ ๔ นั้นมี ๑ พระบัญญัติ ๑ พระอนุบัญญัติ บรรดา
สมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๔ สมุฏฐาน ฯลฯ

ปาฏิเทสนียสิกขาบทที่ ๕
ถาม : พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น
ทรงบัญญัติปาฏิเทสนียะแก่ภิกษุณีผู้ออกปากขอปลามาฉัน ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภพวกภิกษุณีฉัพพัคคีย์
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่พวกภิกษุณีฉัพพัคคีย์ออกปากขอปลามาฉัน
ในปาฏิเทสนียสิกขาบทที่ ๕ นั้นมี ๑ พระบัญญัติ ๑ พระอนุบัญญัติ บรรดา
สมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๔ สมุฏฐาน ฯลฯ

ปาฏิเทสนียสิกขาบทที่ ๖
ถาม : พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น
ทรงบัญญัติปาฏิเทสนียะแก่ภิกษุณีผู้ออกปากขอเนื้อมาฉัน ณ ที่ไหน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๒๗๘ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุนีวิภังค์] ๑. กัตถปัญญัตติวาร ๕. ปาฏิเทสนียกัณฑ์
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภพวกภิกษุณีฉัพพัคคีย์
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่พวกภิกษุณีฉัพพัคคีย์ออกปากขอเนื้อมาฉัน
ในปาฏิเทสนียสิกขาบทที่ ๖ นั้นมี ๑ พระบัญญัติ ๑ พระอนุบัญญัติ บรรดา
สมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๔ สมุฏฐาน ฯลฯ

ปาฏิเทสนียสิกขาบทที่ ๗
ถาม : พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น
ทรงบัญญัติปาฏิเทสนียะแก่ภิกษุณีผู้ออกปากขอนมสดมาฉัน ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภพวกภิกษุณีฉัพพัคคีย์
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่พวกภิกษุณีฉัพพัคคีย์ออกปากขอนมสดมาฉัน
ในปาฏิเทสนียสิกขาบทที่ ๗ นั้นมี ๑ พระบัญญัติ ๑ พระอนุบัญญัติ บรรดา
สมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๔ สมุฏฐาน ฯลฯ

ปาฏิเทสนียสิกขาบทที่ ๘
ถาม : พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น
ทรงบัญญัติปาฏิเทสนียะแก่ภิกษุณีผู้ออกปากขอนมเปรี้ยวมาฉัน ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๒๗๙ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุนีวิภังค์] ๑. กัตถปัญญัตติวาร รวมสิกขาบทที่มีในปาฏิเทสนียะกัณฑ์
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภพวกภิกษุณีฉัพพัคคีย์
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่พวกภิกษุณีฉัพพัคคีย์ออกปากขอนมเปรี้ยวมาฉัน
ในปาฏิเทสนียสิกขาบทที่ ๘ นั้นมี ๑ พระบัญญัติ ๑ พระอนุบัญญัติ บรรดา
สมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๔ สมุฏฐาน คือ (๑) เกิด
ทางกาย มิใช่เกิดทางวาจา มิใช่เกิดทางจิต (๒) เกิดทางกายกับวาจา มิใช่เกิด
ทางจิต (๓) เกิดทางกายกับจิต มิใช่เกิดทางวาจา (๔) เกิดทางกายวาจากับจิต
ปาฏิเทสนียะ ๘ สิกขาบท จบ

รวมสิกขาบทที่มีในปาฏิเทสนียะกัณฑ์
พระพุทธเจ้าทรงแสดงปาฏิเทสนียะ ๘ สิกขาบท ด้วยพระองค์เอง คือ
ปาฏิเทสนียสิกขาบทที่ ๑ ว่าด้วยการออกปากขอเนยใส
ปาฏิเทสนียสิกขาบทที่ ๒ ว่าด้วยการออกปากขอน้ำมัน
ปาฏิเทสนียสิกขาบทที่ ๓ ว่าด้วยการออกปากขอน้ำผึ้ง
ปาฏิเทสนียสิกขาบทที่ ๔ ว่าด้วยการออกปากขอน้ำอ้อย
ปาฏิเทสนียสิกขาบทที่ ๕ ว่าด้วยการออกปากขอปลา
ปาฏิเทสนียสิกขาบทที่ ๖ ว่าด้วยการออกปากขอเนื้อ
ปาฏิเทสนียสิกขาบทที่ ๗ ว่าด้วยการออกปากขอนมสด
ปาฏิเทสนียสิกขาบทที่ ๘ ว่าด้วยการออกปากขอนมเปรี้ยว
สิกขาบทที่พิสดารในภิกขุวิภังค์ ย่อลงในภิกขุนีวิภังค์
กัตถปัญญัติวารที่ ๑ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๒๘๐ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุนีวิภังค์] ๒. กตาปัตติวาร ๑. ปาราชิกกัณฑ์
๒. กตาปัตติวาร
วาระว่าด้วยต้องอาบัติเท่าไร
๑. ปาราชิกกัณฑ์
คำถาม - คำตอบจำนวนอาบัติในปาราชิกกัณฑ์
ปาราชิกสิกขาบทที่ ๕
[๒๒๘] ถาม : ภิกษุณีผู้กำหนัด ยินดีการถูกต้องกายของชายผู้กำหนัด ต้อง
อาบัติเท่าไร
ตอบ : ภิกษุณีผู้กำหนัด ยินดีการถูกต้องกายของชายผู้กำหนัด ต้องอาบัติ ๓
อย่าง คือ
๑. ยินดีการจับต้องบริเวณใต้รากขวัญลงมา เหนือหัวเข่าขึ้นไป ต้องอาบัติ
ปาราชิก
๒. ยินดีการจับต้องบริเวณเหนือรากขวัญขึ้นไป ใต้หัวเข่าลงมา ต้องอาบัติ
ถุลลัจจัย
๓. ยินดีการจับต้องของเนื่องด้วยกาย ต้องอาบัติทุกกฏ
ภิกษุณีผู้กำหนัด ยินดีการถูกต้องกายของชายผู้กำหนัด ต้องอาบัติ ๓ อย่าง
เหล่านี้

ปาราชิกสิกขาบทที่ ๖
ถาม : ภิกษุณีผู้ปกปิดโทษ ปกปิดโทษไว้ ต้องอาบัติเท่าไร
ตอบ : ภิกษุณีผู้ปกปิดโทษ ปกปิดโทษไว้ ต้องอาบัติ ๓ อย่าง คือ
๑. รู้อยู่ปกปิดธรรมคือปาราชิก ต้องอาบัติปาราชิก
๒. สงสัยปกปิดไว้ ต้องอาบัติถุลลัจจัย
๓. ปกปิดอาจารวิบัติ ต้องอาบัติทุกกฏ
ภิกษุณีผู้ปกปิดโทษ ปกปิดโทษไว้ ต้องอาบัติ ๓ อย่างเหล่านี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๒๘๑ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุนีวิภังค์] ๒. กตาปัตติวาร ๑. ปาราชิกกัณฑ์
ปาราชิกสิกขาบทที่ ๗
ถาม : ภิกษุณีผู้ประพฤติตามภิกษุผู้ถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรม๑ ไม่ยอมสละกรรม
จนกระทั่งสงฆ์สวดสมนุภาสน์ครบ ๓ ครั้ง ต้องอาบัติเท่าไร
ตอบ : ภิกษุณีผู้ประพฤติตามภิกษุผู้ถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรม ไม่ยอมสละกรรม
จนกระทั่งสงฆ์สวดสมนุภาสน์ครบ ๓ ครั้ง ต้องอาบัติ ๓ อย่าง คือ
๑. จบญัตติ ต้องอาบัติทุกกฏ
๒. จบกรรมวาจา ๒ ครั้ง ต้องอาบัติถุลลัจจัย
๓. จบกรรมวาจาครั้งสุดท้าย ต้องอาบัติปาราชิก
ภิกษุณีผู้ประพฤติตามภิกษุผู้ถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรม ไม่ยอมสละกรรม
จนกระทั่งสงฆ์สวดสมนุภาสน์ครบ ๓ ครั้ง ต้องอาบัติ ๓ อย่างเหล่านี้

ปาราชิกสิกขาบทที่ ๘
ถาม : ภิกษุณีผู้ทำวัตถุครบทั้ง ๘ ประการ ต้องอาบัติเท่าไร
ตอบ : ภิกษุณีผู้ทำวัตถุครบทั้ง ๘ ประการ ต้องอาบัติ ๓ อย่าง คือ
๑. ที่ชายสั่งว่า “จงไปยังห้องชื่อนี้” แล้วเดินไป ต้องอาบัติทุกกฏ
๒. พอย่างเข้าช่วงแขนของชาย๒ ต้องอาบัติถุลลัจจัย
๓. เมื่อทำวัตถุครบทั้ง ๘ ประการ ต้องอาบัติปาราชิก
ภิกษุณีผู้ทำวัตถุครบทั้ง ๘ ประการ ต้องอาบัติ ๓ อย่างเหล่านี้
ปาราชิก ๘ สิกขาบท จบ

เชิงอรรถ :
๑ หมายถึงผู้ถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรมตัดสิทธิชั่วคราวโดยยกออกจากหมู่ ห้ามสมโภคกับสงฆ์ คือไม่ให้
ฉันร่วม ไม่ให้อยู่ร่วม ไม่ให้มีสิทธิ์เสมอกับภิกษุทั้งหลาย จนกว่าสงฆ์จะยอมระงับกรรมนั้น
๒ ช่วงแขน คือหัตถบาส ได้แก่ระยะที่เหยียดแขนออกไปจับตัวอีกคนหนึ่งได้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๒๘๒ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุนีวิภังค์] ๒. กตาปัตติวาร ๒. สังฆาทิเลสกัณฑ์
๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์
จำนวนอาบัติในสังฆาทิเสสกัณฑ์
สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๑
[๒๒๙] ภิกษุณีผู้ก่อคดีพิพาท ก่อคดีขึ้น ต้องอาบัติ ๓ อย่าง คือ
๑. บอกเรื่องของคนหนึ่ง ต้องอาบัติทุกกฏ
๒. บอกเรื่องของคนที่สอง ต้องอาบัติถุลลัจจัย
๓. เมื่อศาลตัดสินแล้ว ต้องอาบัติสังฆาทิเสส

สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๒
ภิกษุณีบวชให้สตรีผู้เป็นโจร ต้องอาบัติ ๓ อย่าง คือ
๑. จบญัตติ ต้องอาบัติทุกกฏ
๒. จบกรรมวาจา ๒ ครั้ง ต้องอาบัติถุลลัจจัย
๓. จบกรรมวาจาครั้งสุดท้าย ต้องอาบัติสังฆาทิเสส

สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๓
ภิกษุณีผู้เข้าไปสู่ละแวกหมู่บ้านรูปเดียว ต้องอาบัติ ๓ อย่าง คือ
๑. กำลังเดินไป ต้องอาบัติทุกกฏ
๒. ย่างเท้าก้าวที่ ๑ เข้าสู่บริเวณรั้ว ต้องอาบัติถุลลัจจัย
๓. ย่างเท้าก้าวที่ ๒ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส

สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๔
ภิกษุณีเรียกภิกษุณีที่สงฆ์พร้อมเพรียงกันลงอุกเขปนียกรรมโดยธรรม โดยวินัย
โดยสัตถุศาสน์ให้กลับเข้าหมู่ โดยไม่บอกการกสงฆ์๑ ไม่รู้ฉันทะของคณะ ต้องอาบัติ
๓ อย่าง คือ

เชิงอรรถ :
๑ การกสงฆ์ หมายถึงสงฆ์หมู่หนึ่งผู้ดำเนินการในกิจสำคัญ เช่น การสังคายนาหรือสังฆกรรมต่าง ๆ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๒๘๓ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุนีวิภังค์] ๒. กตาปัตติวาร ๒. สังฆาทิเลสกัณฑ์
๑. จบญัตติ ต้องอาบัติทุกกฏ
๒. จบกรรมวาจา ๒ ครั้ง ต้องอาบัติถุลลัจจัย
๓. จบกรรมวาจาครั้งสุดท้าย ต้องอาบัติสังฆาทิเสส

สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๕
ภิกษุณีกำหนัด รับของเคี้ยวหรือของฉันจากมือชายผู้กำหนัดด้วยมือของตนแล้ว
ฉัน ต้องอาบัติ ๓ อย่าง คือ
๑. รับประเคนไว้ด้วยตั้งใจว่า “จะเคี้ยวจะฉัน” ต้องอาบัติถุลลัจจัย
๒. ฉัน ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ทุก ๆ คำกลืน
๓. รับประเคนน้ำและไม้ชำระฟัน ต้องอาบัติทุกกฏ

สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๖
ภิกษุณีส่งเสริมกล่าวชักชวนว่า “แม่เจ้า ชายผู้นี้จะกำหนัดหรือไม่กำหนัดก็ตาม
ก็ทำอะไรท่านไม่ได้ เพราะท่านไม่กำหนัด นิมนต์เถิดแม่เจ้า ชายผู้นี้จะถวายสิ่งใดจะ
เป็นของเคี้ยวหรือของฉันก็ตามแก่ท่าน ท่านจงรับประเคนของนั้นด้วยมือของตนแล้ว
เคี้ยวหรือฉันเถิด” ดังนี้ ต้องอาบัติ ๓ อย่าง คือ
๑. รับประเคนตามคำของภิกษุณีนั้นด้วยตั้งใจว่า “จะเคี้ยวจะฉัน” ต้อง อาบัติทุกกฏ
๒. ฉัน ต้องอาบัติถุลลัจจัย ทุก ๆ คำกลืน
๓. ฉันเสร็จแล้ว ต้องอาบัติสังฆาทิเสส

สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๗
ภิกษุณีผู้โกรธ ไม่ยอมสละกรรม จนกระทั่งสงฆ์สวดสมนุภาสน์ครบ ๓ ครั้ง
ต้องอาบัติ ๓ อย่าง คือ
๑. จบญัตติ ต้องอาบัติทุกกฏ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๒๘๔ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุนีวิภังค์] ๒. กตาปัตติวาร ๒. สังฆาทิเลสกัณฑ์
๒. จบกรรมวาจา ๒ ครั้ง ต้องอาบัติถุลลัจจัย
๓. จบกรรมวาจาครั้งสุดท้าย ต้องอาบัติสังฆาทิเสส

สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๘
ภิกษุณีผู้ถูกตัดสินให้แพ้คดีในอธิกรณ์เรื่องหนึ่ง โกรธ ไม่ยอมสละกรรม จน
กระทั่งสงฆ์สวดสมนุภาสน์ครบ ๓ ครั้ง ต้องอาบัติ ๓ อย่าง คือ
๑. จบญัตติ ต้องอาบัติทุกกฏ
๒. จบกรรมวาจา ๒ ครั้ง ต้องอาบัติถุลลัจจัย
๓. จบกรรมวาจาครั้งสุดท้าย ต้องอาบัติสังฆาทิเสส

สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๙
ภิกษุณีผู้อยู่คลุกคลีกัน ไม่ยอมสละกรรม จนกระทั่งสงฆ์สวดสมนุภาสน์
ครบ ๓ ครั้ง ต้องอาบัติ ๓ อย่าง คือ
๑. จบญัตติ ต้องอาบัติทุกกฏ
๒. จบกรรมวาจา ๒ ครั้ง ต้องอาบัติถุลลัจจัย
๓. จบกรรมวาจาครั้งสุดท้าย ต้องอาบัติสังฆาทิเสส

สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๑๐
ภิกษุณีผู้ส่งเสริมกล่าวชักชวนว่า “น้องหญิงทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงอยู่คลุกคลีกัน
อย่าแยกกันอยู่เลย” ไม่ยอมสละกรรม จนกระทั่งสงฆ์สวดสมนุภาสน์ครบ ๓ ครั้ง
ต้องอาบัติ ๓ อย่าง คือ
๑. จบญัตติ ต้องอาบัติทุกกฏ
๒. จบกรรมวาจา ๒ ครั้ง ต้องอาบัติถุลลัจจัย
๓. จบกรรมวาจาครั้งสุดท้าย ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
สังฆาทิเสส ๑๐ สิกขาบท จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๒๘๕ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุนีวิภังค์] ๒. กตาปัตติวาร ๓. นิสสัคคิยกัณฑ์
๓. นิสสัคคิยกัณฑ์
จำนวนอาบัติในนิสสัคคิยกัณฑ์
สิกขาบทที่ ๑
[๒๓๐] ภิกษุณีทำการสะสมบาตร ต้องอาบัติ ๑ อย่าง คือ นิสสัคคิยปาจิตตีย์

สิกขาบทที่ ๒
ภิกษุณีอธิษฐานอกาลจีวรเป็นกาลจีวร แล้วให้แจกกัน ต้องอาบัติ ๒ อย่าง คือ
๑. กำลังให้แจกกัน ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะพยายาม
๒. เมื่อให้แจกกันเสร็จแล้ว ต้องนิสสัคคิยปาจิตตีย์

สิกขาบทที่ ๓
ภิกษุณีแลกเปลี่ยนจีวรกับภิกษุณีแล้วแย่งชิงเอาคืน ต้องอาบัติ ๒ อย่าง คือ
๑. กำลังชิงเอา ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะพยายาม
๒. เมื่อชิงเสร็จแล้ว ต้องนิสสัคคิยปาจิตตีย์

สิกขาบทที่ ๔
ภิกษุณีผู้ออกปากขอสิ่งของอย่างหนึ่งแล้วออกปากขอสิ่งของอย่างอื่น ต้องอาบัติ
๒ อย่าง คือ
๑. กำลังขอ ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะพยายาม
๒. ขอเสร็จแล้ว ต้องนิสสัคคิยปาจิตตีย์

สิกขาบทที่ ๕
ภิกษุณีผู้ให้ซื้อของอย่างหนึ่งแล้ว สั่งให้ซื้อของอย่างอื่น ต้องอาบัติ ๒ อย่าง
คือ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๒๘๖ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุนีวิภังค์] ๒. กตาปัตติวาร ๓. นิสสัคคิยกัณฑ์
๑. กำลังให้ซื้อ ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะพยายาม
๒. สั่งให้ซื้อแล้ว ต้องนิสสัคคิยปาจิตตีย์

สิกขาบทที่ ๖
ภิกษุณีผู้ให้เอาบริขารที่เขาถวายเพื่อประโยชน์แก่ปัจจัยอย่างหนึ่ง ที่เขาถวาย
อุทิศของอย่างหนึ่ง ที่เขาบริจาคแก่สงฆ์ แลกเปลี่ยนของอย่างอื่น ต้องอาบัติ ๒
อย่าง คือ
๑. กำลังให้แลกเปลี่ยน ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะพยายาม
๒. ให้แลกเปลี่ยนแล้ว ต้องนิสสัคคิยปาจิตตีย์

สิกขาบทที่ ๗
ภิกษุณีผู้ให้เอาบริขารที่เขาถวายเพื่อประโยชน์แก่ปัจจัยอย่างหนึ่ง ที่เขาถวาย
อุทิศของอย่างหนึ่ง ที่เขาบริจาคแก่สงฆ์ที่ขอมาเอง แลกเปลี่ยนของอย่างอื่น
ต้องอาบัติ ๒ อย่าง คือ
๑. กำลังให้แลกเปลี่ยน ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะพยายาม
๒. ให้แลกเปลี่ยนแล้ว ต้องนิสสัคคิยปาจิตตีย์

สิกขาบทที่ ๘
ภิกษุณีผู้ให้เอาบริขารที่เขาถวายเพื่อประโยชน์แก่ปัจจัยอย่างหนึ่ง ที่เขาถวาย
อุทิศของอย่างหนึ่ง ที่เขาบริจาคแก่ภิกษุณีจำนวนมาก แลกเปลี่ยนของอย่างหนึ่ง
ต้องอาบัติ ๒ อย่าง คือ
๑. กำลังให้แลกเปลี่ยน ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะพยายาม
๒. ให้แลกเปลี่ยนแล้ว ต้องนิสสัคคิยปาจิตตีย์

สิกขาบทที่ ๙
ภิกษุณีผู้ให้เอาบริขารที่เขาถวายเพื่อประโยชน์แก่ปัจจัยอย่างหนึ่ง ที่เขาถวาย
อุทิศของอย่างหนึ่ง ที่เขาบริจาคแก่ภิกษุณีจำนวนมากที่ขอมาเอง แลกเปลี่ยนของ
อย่างอื่น ต้องอาบัติ ๒ อย่าง คือ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๒๘๗ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุนีวิภังค์] ๒. กตาปัตติวาร ๓. นิสสัคคิยกัณฑ์
๑. กำลังให้แลกเปลี่ยน ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะพยายาม
๒. ให้แลกเปลี่ยนแล้ว ต้องนิสสัคคิยปาจิตตีย์

สิกขาบทที่ ๑๐
ภิกษุณีผู้ให้เอาบริขารที่เขาถวายเพื่อประโยชน์แก่ปัจจัยอย่างหนึ่ง ที่เขาถวายอุทิศ
ของอย่างหนึ่ง ที่เขาบริจาคแก่บุคคลที่ขอมาเอง แลกเปลี่ยนของอย่างอื่น ต้องอาบัติ
๒ อย่าง คือ
๑. กำลังให้แลกเปลี่ยน ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะพยายาม
๒. ให้แลกเปลี่ยนแล้ว ต้องนิสสัคคิยปาจิตตีย์

สิกขาบทที่ ๑๑
ภิกษุณีผู้ขอผ้าห่มหนาราคาเกินกว่า ๔ กังสะเป็นอย่างมาก ต้องอาบัติ
๒ อย่าง คือ
๑. กำลังให้ขอ ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะพยายาม
๒. เมื่อขอเสร็จแล้ว ต้องนิสสัคคิยปาจิตตีย์

สิกขาบทที่ ๑๒
ภิกษุณีผู้ขอผ้าห่มบางราคาเกินกว่า ๒ กังสะครึ่งเป็นอย่างมาก ต้องอาบัติ
๒ อย่าง คือ
๑. กำลังขอ ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะพยายาม
๒. เมื่อขอเสร็จแล้ว ต้องนิสสัคคิยปาจิตตีย์
นิสสัคคิยปาจิตตีย์ ๑๒ สิกขาบท จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๒๘๘ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุนีวิภังค์] ๒. กตาปัตติวาร ๔. ปาจิตติยกัณฑ์ ๑. ลสุณวรรค
๔. ปาจิตติยกัณฑ์
จำนวนอาบัติในปาจิตติยกัณฑ์
๑. ลสุณวรรค
สิกขาบทที่ ๑
[๒๓๑] ภิกษุณีฉันกระเทียม ต้องอาบัติ ๒ อย่าง คือ
๑. รับประเคนด้วยตั้งใจว่าจะฉัน ต้องอาบัติทุกกฏ
๒. ฉัน ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ทุก ๆ คำกลืน

สิกขาบทที่ ๒
ภิกษุณีให้ถอนขนในที่แคบ ต้องอาบัติ ๒ อย่าง คือ
๑. กำลังให้ถอน ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะพยายาม
๒. เมื่อถอนเสร็จแล้ว ต้องอาบัติปาจิตตีย์

สิกขาบทที่ ๓
ภิกษุณีใช้ฝ่ามือตบองค์กำเนิด ต้องอาบัติ ๒ อย่าง คือ
๑. กำลังตบ ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะพยายาม
๒. เมื่อตบเสร็จแล้ว ต้องอาบัติปาจิตตีย์

สิกขาบทที่ ๔
ภิกษุณีใช้ท่อนยาง ต้องอาบัติ ๒ อย่าง คือ
๑. กำลังใช้ ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะพยายาม
๒. เมื่อใช้เสร็จแล้ว ต้องอาบัติปาจิตตีย์

สิกขาบทที่ ๕
ภิกษุณีใช้น้ำชำระให้สะอาดลึกเกิน ๒ องคุลีเป็นอย่างมาก ต้องอาบัติ ๒ อย่าง
คือ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๒๘๙ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุนีวิภังค์] ๒. กตาปัตติวาร ๔. ปาจิตติยกัณฑ์ ๑. ลสุณวรรค
๑. กำลังใช้ ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะพยายาม
๒. เมื่อใช้เสร็จแล้ว ต้องอาบัติปาจิตตีย์

สิกขาบทที่ ๖
ภิกษุณีปรนนิบัติภิกษุผู้กำลังฉันด้วยน้ำดื่มหรือด้วยการพัด ต้องอาบัติ ๒ อย่าง
คือ
๑. ยืนอยู่ในระยะหัตถบาส ต้องอาบัติปาจิตตีย์
๒. ยืนพ้นระยะหัตถบาส ต้องอาบัติทุกกฏ

สิกขาบทที่ ๗
ภิกษุณีออกปากขอข้าวเปลือกดิบมาฉัน ต้องอาบัติ ๒ อย่าง คือ
๑. รับประเคนด้วยตั้งใจว่าจะฉัน ต้องอาบัติทุกกฏ
๒. ฉัน ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ทุก ๆ คำกลืน

สิกขาบทที่ ๘
ภิกษุณีเทอุจจาระ หรือปัสสาวะ น้ำลาย หยากเยื่อ หรือของเป็นเดนภาย
นอกฝา หรือภายนอกกำแพง ต้องอาบัติ ๒ อย่าง คือ
๑. กำลังเท ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะพยายาม
๒. เมื่อเทแล้ว ต้องอาบัติปาจิตตีย์

สิกขาบทที่ ๙
ภิกษุณีเทอุจจาระ หรือปัสสาวะ น้ำลาย หยากเยื่อ หรือของเป็นเดน
บนของเขียวสด ต้องอาบัติ ๒ อย่าง คือ
๑. กำลังเท ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะพยายาม
๒. เมื่อเทแล้ว ต้องอาบัติปาจิตตีย์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๒๙๐ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุนีวิภังค์] ๒. กตาปัตติวาร ๔. ปาจิตติยกัณฑ์ ๒. รัตตันธการวรรค
สิกขาบทที่ ๑๐
ภิกษุณีไปดูการฟ้อนรำ การขับร้อง หรือการประโคมดนตรี ต้องอาบัติ ๒ อย่าง
คือ
๑. กำลังไป ต้องอาบัติทุกกฏ
๒. ยืนอยู่ในที่ที่พอจะมองเห็นหรือได้ยิน ต้องอาบัติปาจิตตีย์
ลสุณวรรคที่ ๑ จบ

๒. รัตตันธการวรรค
สิกขาบทที่ ๑
[๒๓๒] ภิกษุณียืนเคียงคู่กันสองต่อสองกับชายในเวลาค่ำคืนไม่มีประทีป ต้อง
อาบัติ ๒ อย่าง คือ
๑. ยืนอยู่ในช่วงแขนชาย ต้องอาบัติปาจิตตีย์
๒. ยืนพ้นระยะช่วงแขน ต้องอาบัติทุกกฏ

สิกขาบทที่ ๒
ภิกษุณียืนเคียงคู่กันสองต่อสองกับชายในโอกาสที่กำบัง ต้องอาบัติ ๒ อย่าง
คือ
๑. ยืนอยู่ในช่วงแขนชาย ต้องอาบัติปาจิตตีย์
๒. ยืนพ้นระยะช่วงแขน ต้องอาบัติทุกกฏ

สิกขาบทที่ ๓
ภิกษุณียืนเคียงคู่กันสองต่อสองกับชายในที่แจ้ง ต้องอาบัติ ๒ อย่าง คือ
๑. ยืนอยู่ในช่วงแขนชาย ต้องอาบัติปาจิตตีย์
๒. ยืนพ้นระยะช่วงแขน ต้องอาบัติทุกกฏ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๒๙๑ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุนีวิภังค์] ๒. กตาปัตติวาร ๔. ปาจิตติยกัณฑ์ ๒. รัตตันธการวรรค
สิกขาบทที่ ๔
ภิกษุณียืนเคียงคู่กันสองต่อสองกับชายในถนน หรือตรอกตัน หรือทางสาม
แพร่ง ต้องอาบัติ ๒ อย่าง คือ
๑. ยืนอยู่ในช่วงแขนชาย ต้องอาบัติปาจิตตีย์
๒. ยืนพ้นระยะช่วงแขน ต้องอาบัติทุกกฏ

สิกขาบทที่ ๕
ภิกษุณีเข้าไปสู่ตระกูลในเวลาก่อนฉันภัตตาหาร นั่งบนอาสนะแล้วจากไปโดยไม่
บอกเจ้าของบ้าน ต้องอาบัติ ๒ อย่าง คือ
๑. ย่างเท้าก้าวที่ ๑ เข้าสู่บริเวณชายคา ต้องอาบัติทุกกฏ
๒. ย่างเท้าก้าวที่ ๒ ต้องอาบัติปาจิตตีย์

สิกขาบทที่ ๖
ภิกษุณีเข้าไปสู่ตระกูลภายหลังฉันภัตตาหาร นั่งบนอาสนะโดยไม่บอกเจ้าของบ้าน
ต้องอาบัติ ๒ อย่าง คือ
๑. กำลังนั่ง ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะพยายาม
๒. เมื่อนั่งแล้ว ต้องอาบัติปาจิตตีย์

สิกขาบทที่ ๗
ภิกษุณีเข้าไปสู่ตระกูลในเวลาวิกาล ปู หรือใช้ให้ปูที่นอนโดยไม่บอกเจ้าของบ้าน
แล้วนั่ง ต้องอาบัติ ๒ อย่าง คือ
๑. กำลังนั่ง ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะพยายาม
๒. เมื่อนั่งแล้ว ต้องอาบัติปาจิตตีย์

สิกขาบทที่ ๘
ภิกษุณีเพราะเข้าใจผิด เพราะใคร่ครวญผิดให้ผู้อื่นโพนทะนา ต้องอาบัติ ๒ อย่าง
คือ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๒๙๒ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุนีวิภังค์] ๒. กตาปัตติวาร ๔. ปาจิตติยกัณฑ์ ๓. นหานวรรค
๑. กำลังให้โพนทะนา ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะพยายาม
๒. เมื่อให้โพนทะนาแล้ว ต้องอาบัติปาจิตตีย์

สิกขาบทที่ ๙
ภิกษุณีสาปแช่งตนเอง หรือผู้อื่น ด้วยนรกหรือด้วยพรหมจรรย์ ต้องอาบัติ ๒
อย่าง คือ
๑. กำลังสาปแช่ง ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะพยายาม
๒. เมื่อสาปแช่งแล้ว ต้องอาบัติปาจิตตีย์

สิกขาบทที่ ๑๐
ภิกษุณีร้องไห้ทุบตีตนเอง ต้องอาบัติ ๒ อย่าง คือ
๑. ร้องไห้ทุบตีตนเอง ต้องอาบัติปาจิตตีย์
๒. ทุบตีตนแต่ไม่ร้องไห้ ต้องอาบัติทุกกฏ
รัตตันธการวรรคที่ ๒ จบ

๓. นหานวรรค
สิกขาบทที่ ๑
[๒๓๓] ภิกษุณีเปลือยกายอาบน้ำ ต้องอาบัติ ๒ อย่าง คือ
๑. กำลังอาบ ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะพยายาม
๒. อาบเสร็จแล้ว ต้องอาบัติปาจิตตีย์

สิกขาบทที่ ๒
ภิกษุณีให้ทำผ้าอาบน้ำเกินขนาด ต้องอาบัติ ๒ อย่าง คือ
๑. กำลังให้ทำ ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะพยายาม
๒. เมื่อให้ทำเสร็จแล้ว ต้องอาบัติปาจิตตีย์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๒๙๓ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุนีวิภังค์] ๒. กตาปัตติวาร ๔. ปาจิตติยกัณฑ์ ๓. นหานวรรค
สิกขาบทที่ ๓
ภิกษุณีเลาะ หรือใช้ให้เลาะจีวรของภิกษุณี แล้วไม่เย็บ ไม่ขวนขวายเพื่อให้เย็บ
ต้องอาบัติ ๑ อย่าง คือ อาบัติปาจิตตีย์

สิกขาบทที่ ๔
ภิกษุณีให้วาระผลัดเปลี่ยนสังฆาฏิที่มีกำหนดระยะเวลา ๕ วัน ล่วงเลยไป ต้อง
อาบัติ ๑ อย่าง คือ อาบัติปาจิตตีย์

สิกขาบทที่ ๕
ภิกษุณีห่มจีวรสับเปลี่ยนกัน ต้องอาบัติ ๒ อย่าง คือ
๑. กำลังห่ม ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะพยายาม
๒. เมื่อห่มแล้ว ต้องอาบัติปาจิตตีย์

สิกขาบทที่ ๖
ภิกษุณีทำอันตรายแก่จีวรที่คณะจะพึงได้ ต้องอาบัติ ๒ อย่าง คือ
๑. กำลังทำ ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะพยายาม
๒. เมื่อทำแล้ว ต้องอาบัติปาจิตตีย์

สิกขาบทที่ ๗
ภิกษุณีคัดค้านการแจกจีวรที่ชอบธรรม ต้องอาบัติ ๒ อย่าง คือ
๑. กำลังคัดค้าน ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะพยายาม
๒. เมื่อคัดค้านแล้ว ต้องอาบัติปาจิตตีย์

สิกขาบทที่ ๘
ภิกษุณีให้สมณจีวรแก่ชาวบ้าน แก่ปริพาชกหรือแก่ปริพาชิกา ต้องอาบัติ
๒ อย่าง คือ
๑. กำลังให้ ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะพยายาม
๒. เมื่อให้แล้ว ต้องอาบัติปาจิตตีย์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๒๙๔ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุนีวิภังค์] ๒. กตาปัตติวาร ๔. ปาจิตติยกัณฑ์ ๔. ตุวัฏฏวรรค
สิกขาบทที่ ๙
ภิกษุณีให้ล่วงเลยสมัยแห่งจีวรกาลด้วยความหวังในจีวรที่เลื่อนลอย ต้องอาบัติ
๒ อย่าง คือ
๑. กำลังให้ล่วงไป ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะพยายาม
๒. เมื่อให้ล่วงไปแล้ว ต้องอาบัติปาจิตตีย์

สิกขาบทที่ ๑๐
ภิกษุณีคัดค้านการเดาะกฐินที่ชอบธรรม ต้องอาบัติ ๒ อย่าง คือ
๑. กำลังคัดค้าน ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะพยายาม
๒. เมื่อคัดค้านแล้ว ต้องอาบัติปาจิตตีย์
นหานวรรคที่ ๓ จบ

๔. ตุวัฏฏวรรค
สิกขาบทที่ ๑
[๒๓๔] ภิกษุณี ๒ รูป นอนบนเตียงเดียวกัน ต้องอาบัติ ๒ อย่าง คือ
๑. กำลังนอน ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะพยายาม
๒. เมื่อนอนแล้ว ต้องอาบัติปาจิตตีย์

สิกขาบทที่ ๒
ภิกษุณี ๒ รูป ใช้ผ้าผืนเดียวเป็นทั้งผ้าปูนอนและผ้าห่มนอนร่วมกัน ต้องอาบัติ
๒ อย่าง คือ
๑. กำลังนอน ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะพยายาม
๒. เมื่อนอนแล้ว ต้องอาบัติปาจิตตีย์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๒๙๕ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุนีวิภังค์] ๒. กตาปัตติวาร ๔. ปาจิตติยกัณฑ์ ๔. ตุวัฏฏวรรค
สิกขาบทที่ ๓
ภิกษุณีจงใจก่อความไม่ผาสุกแก่ภิกษุณีด้วยกัน ต้องอาบัติ ๒ อย่าง คือ
๑. กำลังก่อ ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะพยายาม
๒. เมื่อก่อแล้ว ต้องอาบัติปาจิตตีย์

สิกขาบทที่ ๔
ภิกษุณีไม่ดูแลช่วยเหลือ หรือไม่ใส่ใจมอบหมายให้ผู้อื่นดูแลช่วยเหลือสหชีวินี
ผู้ได้รับความลำบาก ต้องอาบัติ ๑ อย่าง คืออาบัติปาจิตตีย์

สิกขาบทที่ ๕
ภิกษุณีให้ที่พักแก่ภิกษุณีแล้วโกรธ ไม่พอใจ ฉุดลากออกไป ต้องอาบัติ ๒
อย่าง คือ
๑. กำลังฉุดลากออกไป ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะพยายาม
๒. เมื่อฉุดลากออกไปแล้ว ต้องอาบัติปาจิตตีย์

สิกขาบทที่ ๖
ภิกษุณีผู้อยู่คลุกคลีไม่ยอมสละกรรม จนกระทั่งสงฆ์สวดสมนุภาสน์ครบ ๓ ครั้ง
ต้องอาบัติ ๒ อย่าง คือ
๑. จบญัตติ ต้องอาบัติทุกกฏ
๒. จบกรรมวาจาครั้งสุดท้าย ต้องอาบัติปาจิตตีย์

สิกขาบทที่ ๗
ภิกษุณีเที่ยวจาริกไปไม่มีกองเกวียนเป็นเพื่อน ในที่ที่รู้กันว่าน่าหวาดระแวง มีภัย
น่ากลัวภายในรัฐ ต้องอาบัติ ๒ อย่าง คือ
๑. กำลังเดินไป ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะพยายาม
๒. เมื่อเดินไปแล้ว ต้องอาบัติปาจิตตีย์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๒๙๖ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุนีวิภังค์] ๒. กตาปัตติวาร ๔. ปาจิตติยกัณฑ์ ๕. จิตตาคารวรรค
สิกขาบทที่ ๘
ภิกษุณีเที่ยวจาริกไปไม่มีกองเกวียนเป็นเพื่อน ในที่ที่รู้กันว่าน่าหวาดระแวง มีภัย
น่ากลัวภายนอกรัฐ ต้องอาบัติ ๒ อย่าง คือ
๑. กำลังเดินไป ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะพยายาม
๒. เมื่อเดินไปแล้ว ต้องอาบัติปาจิตตีย์

สิกขาบทที่ ๙
ภิกษุณีเที่ยวจาริกไปภายในพรรษา ต้องอาบัติ ๒ อย่าง คือ
๑. กำลังเดินไป ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะพยายาม
๒. เมื่อเดินไปแล้ว ต้องอาบัติปาจิตตีย์

สิกขาบทที่ ๑๐
ภิกษุณีอยู่จำพรรษาแล้ว ไม่หลีกจาริกไป ต้องอาบัติ ๑ อย่าง คือ อาบัติ
ปาจิตตีย์
ตุวัฏฏวรรคที่ ๔ จบ

๕. จิตตาคารวรรค
สิกขาบทที่ ๑
[๒๓๕] ภิกษุณีไปดูโรงละครหลวง หอจิตรกรรม สวนสาธารณะ อุทยาน หรือ
สระโบกขรณี ต้องอาบัติ ๒ อย่าง คือ
๑. กำลังไป ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะพยายาม
๒. ยืนในที่ที่มองเห็น ต้องอาบัติปาจิตตีย์

สิกขาบทที่ ๒
ภิกษุณีใช้ตั่งยาวหรือแท่น ต้องอาบัติ ๒ อย่าง คือ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๒๙๗ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุนีวิภังค์] ๒. กตาปัตติวาร ๔. ปาจิตติยกัณฑ์ ๕. จิตตาคารวรรค
๑. กำลังใช้สอย ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะพยายาม
๒. เมื่อใช้สอยแล้ว ต้องอาบัติปาจิตตีย์

สิกขาบทที่ ๓
ภิกษุณีกรอด้าย ต้องอาบัติ ๒ อย่าง คือ
๑. กำลังกรอ ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะพยายาม
๒. เมื่อกรอแล้ว ต้องอาบัติปาจิตตีย์

สิกขาบทที่ ๔
ภิกษุณีช่วยทำการขวนขวายเพื่อคฤหัสถ์ ต้องอาบัติ ๒ อย่าง คือ
๑. กำลังทำ ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะพยายาม
๒. เมื่อทำแล้ว ต้องอาบัติปาจิตตีย์

สิกขาบทที่ ๕
ภิกษุณีผู้อันภิกษุณีขอร้องอยู่ว่า “แม่เจ้า โปรดมาช่วยระงับอธิกรณ์นี้ด้วยเถิด”
รับปากแล้วไม่ช่วยระงับ ไม่ขวนขวายให้ผู้อื่นช่วยระงับ ต้องอาบัติ ๑ อย่าง คือ
อาบัติปาจิตตีย์

สิกขาบทที่ ๖
ภิกษุณีให้ของเคี้ยวหรือของฉันด้วยมือตนแก่ชาวบ้าน แก่ปริพาชก หรือแก่
ปริพาชิกา ต้องอาบัติ ๒ อย่าง คือ
๑. กำลังให้ ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะพยายาม
๒. เมื่อให้แล้ว ต้องอาบัติปาจิตตีย์

สิกขาบทที่ ๗
ภิกษุณีใช้ผ้าซับระดูแล้วไม่ยอมสละ ต้องอาบัติ ๒ อย่าง คือ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๒๙๘ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุนีวิภังค์] ๒. กตาปัตติวาร ๔. ปาจิตติยกัณฑ์ ๕. จิตตาคารวรรค
๑. กำลังใช้ ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะพยายาม
๒. เมื่อใช้แล้ว ต้องอาบัติปาจิตตีย์

สิกขาบทที่ ๘
ภิกษุณีไม่สละ๑ที่พักแล้วหลีกจาริกไป ต้องอาบัติ ๒ อย่าง คือ
๑. ย่างเท้าก้าวที่ ๑ พ้นเขตไป ต้องอาบัติทุกกฏ
๒. ย่างเท้าก้าวที่ ๒ ต้องอาบัติปาจิตตีย์

สิกขาบทที่ ๙
ภิกษุณีเรียนดิรัจฉานวิชา ต้องอาบัติ ๒ อย่าง คือ
๑. กำลังเรียน ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะพยายาม
๒. ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ทุก ๆ บท

สิกขาบทที่ ๑๐
ภิกษุณีสอนดิรัจฉานวิชา ต้องอาบัติ ๒ อย่าง คือ
๑. กำลังสอน ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะพยายาม
๒. ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ทุก ๆ บท
จิตตาคารวรรคที่ ๕ จบ

เชิงอรรถ :
๑ ไม่สละ คือไม่บอกมอบหมายให้ผู้อื่นช่วยดูแลรักษาที่พัก (วิ.อ. ๒/๑๐๐๘/๕๑๐)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๒๙๙ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุนีวิภังค์] ๒. กตาปัตติวาร ๔. ปาจิตติยกัณฑ์ ๖. อารามวรรค
๖. อารามวรรค
สิกขาบทที่ ๑
[๒๓๖] ภิกษุณีรู้อยู่เข้าไปสู่อารามที่มีภิกษุโดยไม่บอก ต้องอาบัติ ๒ อย่าง
คือ
๑. ย่างเท้าก้าวที่ ๑ เข้าเขต ต้องอาบัติทุกกฏ
๒. ย่างเท้าก้าวที่ ๒ ต้องอาบัติปาจิตตีย์

สิกขาบทที่ ๒
ภิกษุณีด่าบริภาษภิกษุ ต้องอาบัติ ๒ อย่าง คือ
๑. กำลังด่า ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะพยายาม
๒. เมื่อด่าแล้ว ต้องอาบัติปาจิตตีย์

สิกขาบทที่ ๓
ภิกษุณีขึ้งเคียดบริภาษคณะ ต้องอาบัติ ๒ อย่าง คือ
๑. กำลังบริภาษ ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะพยายาม
๒. เมื่อบริภาษแล้ว ต้องอาบัติปาจิตตีย์

สิกขาบทที่ ๔
ภิกษุณีผู้ได้รับนิมนต์แล้วบอกห้ามภัตตาหารแล้ว ฉันของเคี้ยวหรือของฉัน
ต้องอาบัติ ๒ อย่าง คือ
๑. รับประเคนด้วยตั้งใจว่า “จะเคี้ยวจะฉัน” ต้องอาบัติทุกกฏ
๒. ฉัน ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ทุก ๆ คำกลืน

สิกขาบทที่ ๕
ภิกษุณีหวงตระกูล ต้องอาบัติ ๒ อย่าง คือ
๑. กำลังหวง ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะพยายาม
๒. เมื่อหวงแล้ว ต้องอาบัติปาจิตตีย์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๓๐๐ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุนีวิภังค์] ๒. กตาปัตติวาร ๔. ปาจิตติยกัณฑ์ ๖. อารามวรรค
สิกขาบทที่ ๖
ภิกษุณีจำพรรษาในอาวาสที่ไม่มีภิกษุ ต้องอาบัติ ๒ อย่าง คือ
๑. ตั้งใจว่าจะจำพรรษาแล้วจัดแจงเสนาสนะ ตั้งน้ำฉันน้ำใช้ กวาดบริเวณ
ต้องอาบัติทุกกฏ
๒. พออรุณขึ้น ต้องอาบัติปาจิตตีย์

สิกขาบทที่ ๗
ภิกษุณีอยู่จำพรรษาแล้ว ไม่ปวารณาในสงฆ์ ๒ ฝ่าย ด้วยฐานะ ๓ ต้องอาบัติ
๑ อย่าง คือ อาบัติปาจิตตีย์

สิกขาบทที่ ๘
ภิกษุณีไม่ไปรับโอวาท หรือธรรมเป็นเหตุอยู่ร่วมกัน ต้องอาบัติ ๑ อย่าง คือ
อาบัติปาจิตตีย์

สิกขาบทที่ ๙
ภิกษุณีไม่ถามอุโบสถบ้าง ไม่ถามโอวาทบ้าง ต้องอาบัติ ๑ อย่าง คือ อาบัติ
ปาจิตตีย์

สิกขาบทที่ ๑๐
ภิกษุณีไม่บอกสงฆ์หรือคณะ ใช้ให้บ่งฝีหรือบาดแผลที่เกิดในร่มผ้าอยู่กันสอง
ต่อสองกับชาย ต้องอาบัติ ๒ อย่าง คือ
๑. กำลังให้บ่ง ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะพยายาม
๒. เมื่อบ่งแล้ว ต้องอาบัติปาจิตตีย์
อารามวรรคที่ ๖ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๓๐๑ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุนีวิภังค์] ๒. กตาปัตติวาร ๔. ปาจิตติยกัณฑ์ ๗. คัพภินีวรรค
๗. คัพภินีวรรค
สิกขาบทที่ ๑
[๒๓๗] ภิกษุณีบวชให้สตรีมีครรภ์ ต้องอาบัติ ๒ อย่าง คือ
๑. กำลังบวชให้ ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะพยายาม
๒. เมื่อบวชให้แล้ว ต้องอาบัติปาจิตตีย์

สิกขาบทที่ ๒
ภิกษุณีบวชให้สตรีมีลูกยังดื่มนม ต้องอาบัติ ๒ อย่าง คือ
๑. กำลังบวชให้ ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะพยายาม
๒. เมื่อบวชให้แล้ว ต้องอาบัติปาจิตตีย์

สิกขาบทที่ ๓
ภิกษุณีบวชให้สิกขมานาผู้ยังไม่ได้ศึกษาสิกขาในธรรม ๖ ข้อ ตลอด ๒ ปี
ต้องอาบัติ ๒ อย่าง คือ
๑. กำลังบวชให้ ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะพยายาม
๒. เมื่อบวชให้แล้ว ต้องอาบัติปาจิตตีย์

สิกขาบทที่ ๔
ภิกษุณีบวชให้สิกขมานาผู้ได้ศึกษาสิกขาในธรรม ๖ ข้อ ตลอด ๒ ปีแล้ว
แต่สงฆ์ยังมิได้สมมติ ต้องอาบัติ ๒ อย่าง คือ
๑. กำลังบวชให้ ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะพยายาม
๒. เมื่อบวชให้แล้ว ต้องอาบัติปาจิตตีย์

สิกขาบทที่ ๕
ภิกษุณีบวชให้หญิงที่มีครอบครัวมีอายุต่ำกว่า ๑๒ ปี ต้องอาบัติ ๒ อย่าง คือ
๑. กำลังบวชให้ ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะพยายาม
๒. เมื่อบวชให้แล้ว ต้องอาบัติปาจิตตีย์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๓๐๒ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุนีวิภังค์] ๒. กตาปัตติวาร ๔. ปาจิตติยกัณฑ์ ๗. คัพภินีวรรค
สิกขาบทที่ ๖
ภิกษุณีบวชให้หญิงที่มีครอบครัวอายุครบ ๑๒ ปี ยังไม่ได้ศึกษาสิกขาในธรรม
๖ ข้อ ตลอด ๒ ปี ต้องอาบัติ ๒ อย่าง คือ
๑. กำลังบวชให้ ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะพยายาม
๒. เมื่อบวชให้แล้ว ต้องอาบัติปาจิตตีย์

สิกขาบทที่ ๗
ภิกษุณีบวชให้หญิงที่มีครอบครัวอายุครบ ๑๒ ปี ได้ศึกษาสิกขาในธรรม ๖ ข้อ
ตลอด ๒ ปี แต่ยังมิได้สมมติ ต้องอาบัติ ๒ อย่าง คือ
๑. กำลังบวชให้ ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะพยายาม
๒. เมื่อบวชให้แล้ว ต้องอาบัติปาจิตตีย์

สิกขาบทที่ ๘
ภิกษุณีบวชให้สหชีวินีแล้วไม่อนุเคราะห์ ไม่ให้อนุเคราะห์ตลอด ๒ ปี ต้อง
อาบัติ ๑ อย่าง คือ อาบัติปาจิตตีย์

สิกขาบทที่ ๙
ภิกษุณีไม่ติดตามปวัตตินีผู้บวชให้ ตลอด ๒ ปี ต้องอาบัติ ๑ อย่าง คือ
อาบัติปาจิตตีย์

สิกขาบทที่ ๑๐
ภิกษุณีบวชให้สหชีวินีแล้ว ไม่พาหลีกไป ไม่ให้พาหลีกไป ต้องอาบัติ ๑ อย่าง
คือ อาบัติปาจิตตีย์
คัพภินีวรรคที่ ๗ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๓๐๓ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุนีวิภังค์] ๒. กตาปัตติวาร ๔. ปาจิตติยกัณฑ์ ๘. กุมารีภูตวรรค
๘. กุมารีภูตวรรค
สิกขาบทที่ ๑
[๒๓๘] ภิกษุณีบวชให้กุมารีมีอายุต่ำกว่า ๒๐ ปี ต้องอาบัติ ๒ อย่าง คือ
๑. กำลังบวชให้ ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะพยายาม
๒. เมื่อบวชให้แล้ว ต้องอาบัติปาจิตตีย์

สิกขาบทที่ ๒
ภิกษุณีบวชให้กุมารีมีอายุครบ ๒๐ ปี แต่ยังไม่ได้ศึกษาสิกขาในธรรม ๖ ข้อ
ตลอด ๒ ปี ต้องอาบัติ ๒ อย่าง คือ
๑. กำลังบวชให้ ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะพยายาม
๒. เมื่อบวชให้แล้ว ต้องอาบัติปาจิตตีย์

สิกขาบทที่ ๓
ภิกษุณีบวชให้กุมารีมีอายุครบ ๒๐ ปี ผู้ได้ศึกษาสิกขาในธรรม ๖ ข้อ ตลอด
๒ ปี แต่สงฆ์ยังไม่ได้สมมติ ต้องอาบัติ ๒ อย่าง คือ
๑. กำลังบวชให้ ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะพยายาม
๒. เมื่อบวชให้แล้ว ต้องอาบัติปาจิตตีย์

สิกขาบทที่ ๔
ภิกษุณีมีพรรษาต่ำกว่า ๑๒ บวชให้กุลธิดา ต้องอาบัติ ๒ อย่าง คือ
๑. กำลังบวชให้ ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะพยายาม
๒. เมื่อบวชให้แล้ว ต้องอาบัติปาจิตตีย์

สิกขาบทที่ ๕
ภิกษุณีมีพรรษาครบ ๑๒ แต่สงฆ์ยังไม่ได้สมมติ บวชให้กุลธิดา ต้องอาบัติ
๒ อย่าง คือ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๓๐๔ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุนีวิภังค์] ๒. กตาปัตติวาร ๔. ปาจิตติยกัณฑ์ ๘. กุมารีภูตวรรค
๑. กำลังบวชให้ ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะพยายาม
๒. เมื่อบวชให้แล้ว ต้องอาบัติปาจิตตีย์

สิกขาบทที่ ๖
ภิกษุณีผู้อันสงฆ์กล่าวอยู่ว่า “แม่เจ้า ท่านอย่าบวชให้กุลธิดาเลย” รับคำแล้ว
ภายหลังกลับบ่นว่า ต้องอาบัติ ๒ อย่าง คือ
๑. กำลังบ่นว่า ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะพยายาม
๒. เมื่อบ่นว่าแล้ว ต้องอาบัติปาจิตตีย์

สิกขาบทที่ ๗
ภิกษุณีกล่าวกับสิกขมานาว่า “แม่คุณ ถ้าเธอจักให้จีวรแก่เรา เราก็จะบวช
ให้เธอ” แล้วไม่บวชให้ ไม่ขวนขวายใช้ให้บวชให้ ต้องอาบัติ ๑ อย่าง คือ
อาบัติปาจิตตีย์

สิกขาบทที่ ๘
ภิกษุณีกล่าวกับสิกขมานาว่า “แม่คุณ ถ้าเธอจักติดตามเราตลอด ๒ ปี
เราก็จะบวชให้เธอ” แล้วไม่บวชให้ ไม่ขวนขวายใช้ให้บวชให้ ต้องอาบัติ ๑ อย่าง คือ
อาบัติปาจิตตีย์

สิกขาบทที่ ๙
ภิกษุณีบวชให้สิกขมานาผู้คลุกคลีกับชาย คลุกคลีกับเด็กหนุ่ม ดุร้าย ผู้ทำชาย
ให้ระทมโศก ต้องอาบัติ ๒ อย่าง คือ
๑. กำลังบวชให้ ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะพยายาม
๒. เมื่อบวชให้แล้ว ต้องอาบัติปาจิตตีย์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๓๐๕ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุนีวิภังค์] ๒. กตาปัตติวาร ๔. ปาจิตติยกัณฑ์ ๘. กุมารีภูตวรรค
สิกขาบทที่ ๑๐
ภิกษุณีบวชให้สิกขมานา ที่มารดาบิดาหรือสามียังไม่ได้อนุญาต ต้องอาบัติ
๒ อย่าง คือ
๑. กำลังบวชให้ ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะพยายาม
๒. เมื่อบวชให้แล้ว ต้องอาบัติปาจิตตีย์

สิกขาบทที่ ๑๑
ภิกษุณีบวชให้สิกขมานาด้วยการให้ปาริวาสิกฉันทะ๑ ต้องอาบัติ ๒ อย่าง คือ
๑. กำลังบวชให้ ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะพยายาม
๒. เมื่อบวชให้แล้ว ต้องอาบัติปาจิตตีย์

สิกขาบทที่ ๑๒
ภิกษุณีบวชให้สิกขมานาทุก ๆ ปี ต้องอาบัติ ๒ อย่าง คือ
๑. กำลังบวชให้ ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะพยายาม
๒. เมื่อบวชให้แล้ว ต้องอาบัติปาจิตตีย์

สิกขาบทที่ ๑๓
ภิกษุณีบวชให้สิกขมานา ๒ รูป ใน ๑ ปี ต้องอาบัติ ๒ อย่าง คือ
๑. กำลังบวชให้ ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะพยายาม
๒. เมื่อบวชให้แล้ว ต้องอาบัติปาจิตตีย์
กุมารีภูตวรรคที่ ๘ จบ

เชิงอรรถ :
๑ ดูรายละเอียดใน วิ.ภิกฺขุนี. (แปล) ๓/๑๑๖๖-๑๑๖๗/๓๕๑-๓๕๒(เชิงอรรถ)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๓๐๖ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุนีวิภังค์] ๒. กตาปัตติวาร ๔. ปาจิตติยกัณฑ์ ๙. ฉัตตุปาหนวรรค
๙. ฉัตตุปาหนวรรค
สิกขาบทที่ ๑
[๒๓๙] ภิกษุณีกั้นร่มและสวมรองเท้า ต้องอาบัติ ๒ อย่าง คือ
๑. กำลังใช้ ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะพยายาม
๒. เมื่อใช้แล้ว ต้องอาบัติปาจิตตีย์

สิกขาบทที่ ๒
ภิกษุณีโดยสารยานพาหนะ ต้องอาบัติ ๒ อย่าง คือ
๑. กำลังโดยสารไป ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะพยายาม
๒. เมื่อโดยสารไปแล้ว ต้องอาบัติปาจิตตีย์

สิกขาบทที่ ๓
ภิกษุณีใช้เครื่องประดับเอว ต้องอาบัติ ๒ อย่าง คือ
๑. กำลังใช้ ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะพยายาม
๒. เมื่อใช้แล้ว ต้องอาบัติปาจิตตีย์

สิกขาบทที่ ๔
ภิกษุณีใช้เครื่องประดับของสตรี ต้องอาบัติ ๒ อย่าง คือ
๑. กำลังใช้ ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะพยายาม
๒. เมื่อใช้แล้ว ต้องอาบัติปาจิตตีย์

สิกขาบทที่ ๕
ภิกษุณีสรงสนานด้วยของหอมและเครื่องย้อมผิว ต้องอาบัติ ๒ อย่าง คือ
๑. กำลังสรงสนาน ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะพยายาม
๒. เมื่อสรงสนานแล้ว ต้องอาบัติปาจิตตีย์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๓๐๗ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุนีวิภังค์] ๒. กตาปัตติวาร ๕. ปาฏิเทสนิยกัณฑ์ ๙. ฉัตตุปาหนวรรค
สิกขาบทที่ ๖
ภิกษุณีสรงสนานด้วยแป้งอบกลิ่น ต้องอาบัติ ๒ อย่าง คือ
๑. กำลังสรงสนาน ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะพยายาม
๒. เมื่อสรงสนานแล้ว ต้องอาบัติปาจิตตีย์

สิกขาบทที่ ๗
ภิกษุณีใช้ภิกษุณีให้บีบนวด ต้องอาบัติ ๒ อย่าง คือ
๑. กำลังให้บีบนวด ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะพยายาม
๒. เมื่อบีบนวดแล้ว ต้องอาบัติปาจิตตีย์

สิกขาบทที่ ๘
ภิกษุณีใช้สิกขมานาบีบนวด ต้องอาบัติ ๒ อย่าง คือ
๑. กำลังให้บีบนวด ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะพยายาม
๒. เมื่อบีบนวดแล้ว ต้องอาบัติปาจิตตีย์

สิกขาบทที่ ๙
ภิกษุณีใช้สามเณรีบีบนวด ต้องอาบัติ ๒ อย่าง คือ
๑. กำลังให้บีบนวด ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะพยายาม
๒. เมื่อบีบนวดแล้ว ต้องอาบัติปาจิตตีย์

สิกขาบทที่ ๑๐
ภิกษุณีใช้หญิงคฤหัสถ์บีบนวด ต้องอาบัติ ๒ อย่าง คือ
๑. กำลังให้บีบนวด ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะพยายาม
๒. เมื่อบีบนวดแล้ว ต้องอาบัติปาจิตตีย์

สิกขาบทที่ ๑๑
ภิกษุณีไม่ขอโอกาสก่อนแล้วนั่งบนอาสนะข้างหน้าภิกษุ ต้องอาบัติ ๒ อย่าง
คือ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๓๐๘ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุนีวิภังค์] ๒. กตาปัตติวาร ๕. ปาฏิเทสนิยกัณฑ์
๑. กำลังนั่ง ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะพยายาม
๒. เมื่อนั่งแล้ว ต้องอาบัติปาจิตตีย์

สิกขาบทที่ ๑๒
ภิกษุณีถามปัญหาภิกษุที่ตนยังไม่ได้ขอโอกาส ต้องอาบัติ ๒ อย่าง คือ
๑. กำลังถาม ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะพยายาม
๒. เมื่อถามแล้ว ต้องอาบัติปาจิตตีย์

สิกขาบทที่ ๑๓
ภิกษุณีไม่มีผ้ารัดถันเข้าไปสู่บ้าน ต้องอาบัติ ๒ อย่าง คือ
๑. ย่างเท้าก้าวที่ ๑ เข้าสู่เขตรั้ว ต้องอาบัติทุกกฏ
๒. ย่างเท้าก้าวที่ ๒ ต้องอาบัติปาจิตตีย์
ฉัตตุปาหนวรรคที่ ๙ จบ
ขุททกสิกขาบท จบ

๕. ปาฏิเทสนียกัณฑ์
จำนวนอาบัติในปาฏิเทสนียกัณฑ์

ปาฏิเทสนียสิกขาบทที่ ๑
[๒๔๐] ภิกษุณีออกปากขอเนยใสมาฉัน ต้องอาบัติ ๒ อย่าง คือ
๑. รับประเคนด้วยตั้งใจว่าจะฉัน ต้องอาบัติทุกกฏ
๒. ฉัน ต้องอาบัติปาฏิเทสนียะ ทุก ๆ คำกลืน

ปาฏิเทสนียสิกขาบทที่ ๒
ภิกษุณีออกปากขอน้ำมันมาฉัน ต้องอาบัติ ๒ อย่าง คือ
๑. รับประเคนด้วยตั้งใจว่าจะฉัน ต้องอาบัติทุกกฏ
๒. ฉัน ต้องอาบัติปาฏิเทสนียะ ทุก ๆ คำกลืน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๓๐๙ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุนีวิภังค์] ๒. กตาปัตติวาร ๕. ปาฏิเทสนิยกัณฑ์
ปาฏิเทสนียสิกขาบทที่ ๓
ภิกษุณีออกปากขอน้ำผึ้งมาฉัน ต้องอาบัติ ๒ อย่าง คือ
๑. รับประเคนด้วยตั้งใจว่าจะฉัน ต้องอาบัติทุกกฏ
๒. ฉัน ต้องอาบัติปาฏิเทสนียะ ทุก ๆ คำกลืน

ปาฏิเทสนียสิกขาบทที่ ๔
ภิกษุณีออกปากขอน้ำอ้อยงบมาฉัน ต้องอาบัติ ๒ อย่าง คือ
๑. รับประเคนด้วยตั้งใจว่าจะฉัน ต้องอาบัติทุกกฏ
๒. ฉัน ต้องอาบัติปาฏิเทสนียะ ทุก ๆ คำกลืน

ปาฏิเทสนียสิกขาบทที่ ๕
ภิกษุณีออกปากขอปลามาฉัน ต้องอาบัติ ๒ อย่าง คือ
๑. รับประเคนด้วยตั้งใจว่าจะฉัน ต้องอาบัติทุกกฏ
๒. ฉัน ต้องอาบัติปาฏิเทสนียะ ทุก ๆ คำกลืน

ปาฏิเทสนียสิกขาบทที่ ๖
ภิกษุณีออกปากขอเนื้อมาฉัน ต้องอาบัติ ๒ อย่าง คือ
๑. รับประเคนด้วยตั้งใจว่าจะฉัน ต้องอาบัติทุกกฏ
๒. ฉัน ต้องอาบัติปาฏิเทสนียะ ทุก ๆ คำกลืน

ปาฏิเทสนียสิกขาบทที่ ๗
ภิกษุณีออกปากขอนมสดมาฉัน ต้องอาบัติ ๒ อย่าง คือ
๑. รับประเคนด้วยตั้งใจว่าจะฉัน ต้องอาบัติทุกกฏ
๒. ฉัน ต้องอาบัติปาฏิเทสนียะ ทุก ๆ คำกลืน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๓๑๐ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุนีวิภังค์] ๓. วิปัตติวาร ๕. ปาฏิเทสนียกัณฑ์
ปาฏิเทสนียสิกขาบทที่ ๘
ภิกษุณีออกปากขอนมเปรี้ยวมาฉัน ต้องอาบัติ ๒ อย่าง คือ
๑. รับประเคนด้วยตั้งใจว่าจะฉัน ต้องอาบัติทุกกฏ
๒. ฉัน ต้องอาบัติปาฏิเทสนียะ ทุก ๆ คำกลืน
ปาฏิเทสนียะ ๘ สิกขาบท จบ
กตาปัตติวารที่ ๒ จบ

๓. วิปัตติวาร
วาระว่าด้วยเป็นวิบัติ
๑. ปาราชิกกัณฑ์
คำถาม - คำตอบวิบัติในปาราชิกกัณฑ์
ปาราชิกสิกขาบทที่ ๕
[๒๔๑] ถาม : อาบัติของภิกษุณีผู้กำหนัดยินดีการถูกต้องกายของชายผู้กำหนัด
บรรดาวิบัติ ๔ อย่าง จัดเป็นวิบัติเท่าไร
ตอบ : อาบัติของภิกษุณีผู้กำหนัดยินดีการถูกต้องกายของชายผู้กำหนัด บรรดา
วิบัติ ๔ อย่าง จัดเป็นวิบัติ ๒ อย่าง คือ (๑) สีลวิบัติ (๒) อาจารวิบัติ
ฯลฯ

๕. ปาฏิเทสนียกัณฑ์
คำถาม - คำตอบวิบัติในปาฏิเทสนียกัณฑ์
ฯลฯ
ปาฏิเทสนียสิกขาบทที่ ๘
ถาม : อาบัติของภิกษุณีผู้ออกปากขอนมเปรี้ยวมาฉัน บรรดาวิบัติ ๔ อย่าง
จัดเป็นวิบัติเท่าไร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๓๑๑ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุนีวิภังค์] ๔. สังคหวาร ๕. ปาฏิเทสนียกัณฑ์
ตอบ : อาบัติของภิกษุณีผู้ออกปากขอนมเปรี้ยวมาฉัน บรรดาวิบัติ ๔ อย่าง
จัดเป็นวิบัติ ๑ อย่าง คือ อาจารวิบัติ
วิปัตติวารที่ ๓ จบ

๔. สังคหวาร
วาระว่าด้วยการจัดเข้ากองอาบัติ
๑. ปาราชิกกัณฑ์
คำถาม - คำตอบจัดกองอาบัติในปาราชิกกัณฑ์
ปาราชิกสิกขาบทที่ ๕
[๒๔๒] ถาม : อาบัติของภิกษุณีผู้กำหนัดยินดีการถูกต้องกายของชายผู้กำหนัด
บรรดากองอาบัติ ๗ กอง จัดเข้ากองอาบัติเท่าไร
ตอบ : อาบัติของภิกษุณีผู้กำหนัดยินดีการถูกต้องกายของชายผู้กำหนัด บรรดา
กองอาบัติ ๗ กอง จัดเข้ากองอาบัติ ๓ กอง คือ (๑) กองอาบัติปาราชิก (๒) กอง
อาบัติถุลลัจจัย (๓) กองอาบัติทุกกฏ
ฯลฯ

๕. ปาฏิเทสนียกัณฑ์
คำถาม - คำตอบจัดกองอาบัติในปาฏิเทสนียกัณฑ์
ฯลฯ
ปาฏิเทสนียสิกขาบทที่ ๘
ถาม : อาบัติของภิกษุณีผู้ออกปากขอนมเปรี้ยวมาฉัน บรรดากองอาบัติ ๗ กอง
จัดเข้ากองอาบัติเท่าไร
ตอบ : อาบัติของภิกษุณีผู้ออกปากขอนมเปรี้ยวมาฉัน บรรดากองอาบัติ ๗ กอง
จัดเข้ากองอาบัติ ๒ กอง คือ (๑) กองอาบัติปาฏิเทสนียะ (๒) กองอาบัติทุกกฏ
สังคหวารที่ ๔ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๓๑๒ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุนีวิภังค์] ๕. สมุฏฐานวาร ๕. ปาฏิเทสนียกัณฑ์
๕. สมุฏฐานวาร
วาระว่าด้วยสมุฏฐาน
๑. ปาราชิกกัณฑ์
คำถาม - คำตอบสมุฏฐานอาบัติในปาราชิกกัณฑ์
ปาราชิกสิกขาบทที่ ๕
[๒๔๓] ถาม : อาบัติของภิกษุณีผู้กำหนัดยินดีการถูกต้องกายของชายผู้กำหนัด
บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐานเท่าไร
ตอบ : อาบัติของภิกษุณีผู้กำหนัดยินดีการถูกต้องกายของชายผู้กำหนัด บรรดา
สมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๑ สมุฏฐาน คือ เกิดทางกาย
กับจิต มิใช่เกิดทางวาจา
ฯลฯ

๕. ปาฏิเทสนียกัณฑ์
คำถาม - คำตอบสมุฏฐานอาบัติในปาฏิเทสนียกัณฑ์
ฯลฯ
ปาฏิเทสนียสิกขาบทที่ ๘
ถาม : อาบัติของภิกษุณีผู้ออกปากขอนมเปรี้ยวมาฉัน บรรดาสมุฏฐานแห่ง
อาบัติ ๖ สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐานเท่าไร
ตอบ : อาบัติของภิกษุณีผู้ออกปากขอนมเปรี้ยวมาฉัน บรรดาสมุฏฐานแห่ง
อาบัติ ๖ สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๔ สมุฏฐาน คือ (๑) เกิดทางกาย มิใช่เกิด
ทางวาจา มิใช่เกิดทางจิต (๒) เกิดทางกายกับวาจา มิใช่เกิดทางจิต (๓) เกิดทาง
กายกับจิต มิใช่เกิดทางวาจา (๔) เกิดทางกายวาจากับจิต
สมุฏฐานวารที่ ๕ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๓๑๓ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุนีวิภังค์] ๖. อธิกรณวาร ๕. ปาฏิเทสนียกัณฑ์
๖. อธิกรณวาร
วาระว่าด้วยการจัดเป็นอธิกรณ์
๑. ปาราชิกกัณฑ์
คำถาม - คำตอบอธิกรณ์ในปาราชิกกัณฑ์
ปาราชิกสิกขาบทที่ ๕
[๒๔๔] ถาม : อาบัติของภิกษุณีผู้กำหนัดยินดีการถูกต้องกายของชายผู้กำหนัด
บรรดาอธิกรณ์ ๔ อย่าง จัดเป็นอธิกรณ์ไหน
ตอบ : อาบัติของภิกษุณีผู้กำหนัดยินดีการถูกต้องกายของชายผู้กำหนัด บรรดา
อธิกรณ์ ๔ อย่าง จัดเป็นอาปัตตาธิกรณ์
ฯลฯ

๕. ปาฏิเทสนียกัณฑ์
คำถาม - คำตอบอธิกรณ์ในปาฏิเทสนียกัณฑ์
ฯลฯ
ปาฏิเทสนียสิกขาบทที่ ๘
ถาม : อาบัติของภิกษุณีผู้ออกปากขอนมเปรี้ยวมาฉัน บรรดาอธิกรณ์ ๔
อย่าง จัดเป็นอธิกรณ์ไหน
ตอบ : อาบัติของภิกษุณีผู้ออกปากขอนมเปรี้ยวมาฉัน บรรดาอธิกรณ์ ๔ อย่าง
จัดเป็นอาปัตตาธิกรณ์
อธิกรณวารที่ ๖ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๓๑๔ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุนีวิภังค์] ๗. สมถวาร ๕. ปาฏิเทสนียกัณฑ์
๗. สมถวาร
วาระว่าด้วยการระงับด้วยสมถะ
๑. ปาราชิกกัณฑ์
คำถาม - คำตอบสมถะในปาราชิกกัณฑ์
ปาราชิกสิกขาบทที่ ๕
[๒๔๕] ถาม : อาบัติของภิกษุณีผู้กำหนัดยินดีการถูกต้องกายของชายผู้กำหนัด
บรรดาสมถะ ๗ อย่าง ระงับด้วยสมถะเท่าไร
ตอบ : อาบัติของภิกษุณีผู้กำหนัดยินดีการถูกต้องกายของชายผู้กำหนัด บรรดา
สมถะ ๗ อย่าง ระงับด้วยสมถะ ๓ อย่าง คือ (๑) สัมมุขาวินัย (๒) ปฏิญญาตกรณะ
(๓) สัมมุขาวินัยกับติณวัตถารกะ
ฯลฯ

๕. ปาฏิเทสนียกัณฑ์
คำถาม - คำตอบสมถะในปาฏิเทสนียกัณฑ์
ฯลฯ
ปาฏิเทสนียสิกขาบทที่ ๘
ถาม : อาบัติของภิกษุณีผู้ออกปากขอนมเปรี้ยวมาฉัน บรรดาสมถะ ๗ อย่าง
ระงับด้วยสมถะเท่าไร
ตอบ : อาบัติของภิกษุณีผู้ออกปากขอนมเปรี้ยวมาฉัน บรรดาสมถะ ๗
อย่าง ระงับด้วยสมถะ ๓ อย่าง คือ (๑) สัมมุขาวินัย (๒) ปฏิญญาตกรณะ
(๓) สัมมุขาวินัยกับติณวัตถารกะ
สมถวารที่ ๗ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๓๑๕ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุนีวิภังค์] ๘. สมุจจยวาร ๕. ปาฏิเทสนียกัณฑ์
๘. สมุจจยวาร
วาระว่าด้วยการสรุปรวม
๑. ปาราชิกกัณฑ์
คำถาม - คำตอบสรุปรวมอาบัติในปาราชิกกัณฑ์
ปาราชิกสิกขาบทที่ ๕
[๒๔๖] ถาม : ภิกษุณีผู้กำหนัดยินดีการถูกต้องกายของชายผู้กำหนัด ต้องอาบัติ
เท่าไร
ตอบ : ภิกษุณีผู้กำหนัดยินดีการถูกต้องกายของชายผู้กำหนัด ต้องอาบัติ ๓
อย่าง คือ
๑. ยินดีการจับต้องบริเวณใต้รากขวัญลงมา เหนือหัวเข่าขึ้นไป ต้อง
อาบัติปาราชิก
๒. ยินดีการจับต้องบริเวณเหนือรากขวัญขึ้นไป ใต้หัวเข่าลงมา ต้อง
อาบัติถุลลัจจัย
๓. ยินดีการจับต้องของเนื่องด้วยกาย ต้องอาบัติทุกกฏ
ภิกษุณีผู้กำหนัดยินดีการถูกต้องกายของชายผู้กำหนัด ต้องอาบัติ ๓ อย่าง
เหล่านี้
ถาม : อาบัติเหล่านั้น บรรดาวิบัติ ๔ อย่าง จัดเป็นวิบัติเท่าไร บรรดากอง
อาบัติ ๗ กอง จัดเข้ากองอาบัติเท่าไร บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน
เกิดด้วยสมุฏฐานเท่าไร บรรดาอธิกรณ์ ๔ อย่าง จัดเป็นอธิกรณ์ไหน บรรดาสมถะ
๗ อย่าง ระงับด้วยสมถะเท่าไร
ตอบ : อาบัติเหล่านั้น บรรดาวิบัติ ๔ อย่าง จัดเป็นวิบัติ ๒ อย่าง คือ
(๑) สีลวิบัติ (๒) อาจารวิบัติ
บรรดากองอาบัติ ๗ กอง จัดเข้ากองอาบัติ ๓ กอง คือ (๑) กองอาบัติ
ปาราชิก (๒) กองอาบัติถุลลัจจัย (๓) กองอาบัติทุกกฏ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๓๑๖ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุนีวิภังค์] ๘. สมุจจยวาร ๕. ปาฏิเทสนียกัณฑ์
บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๑ สมุฏฐาน คือ
เกิดทางกายกับจิต มิใช่เกิดทางวาจา
บรรดาอธิกรณ์ ๔ อย่าง จัดเป็นอาปัตตาธิกรณ์
บรรดาสมถะ ๗ อย่าง ระงับด้วยสมถะ ๓ อย่าง คือ (๑) สัมมุขาวินัย
(๒) ปฏิญญาตกรณะ (๓) สัมมุขาวินัยกับติณวัตถารกะ
ฯลฯ

๕. ปาฏิเทสนียกัณฑ์
คำถาม - คำตอบสรุปรวมอาบัติในปาฏิเทสนียกัณฑ์
ฯลฯ
ปาฏิเทสนียสิกขาบทที่ ๘
ถาม : ภิกษุณีออกปากขอนมเปรี้ยวมาฉัน ต้องอาบัติเท่าไร
ตอบ : ภิกษุณีออกปากขอนมเปรี้ยวมาฉัน ต้องอาบัติ ๒ อย่าง คือ
๑. รับประเคนด้วยตั้งใจว่าจะฉัน ต้องอาบัติทุกกฏ
๒. ฉัน ต้องอาบัติปาฏิเทสนียะ ทุก ๆ คำกลืน
ภิกษุณีออกปากขอนมเปรี้ยวมาฉัน ต้องอาบัติ ๒ อย่างเหล่านี้
ถาม : อาบัติเหล่านั้น บรรดาวิบัติ ๔ อย่าง จัดเป็นวิบัติเท่าไร บรรดากอง
อาบัติ ๗ กอง จัดเข้ากองอาบัติเท่าไร บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน
เกิดด้วยสมุฏฐานเท่าไร บรรดาอธิกรณ์ ๔ อย่าง จัดเป็นอธิกรณ์ไหน บรรดาสมถะ
๗ อย่าง ระงับด้วยสมถะเท่าไร
ตอบ : อาบัติเหล่านั้น บรรดาวิบัติ ๔ อย่าง จัดเป็นวิบัติ ๑ อย่าง คือ
อาจารวิบัติ บรรดากองอาบัติ ๗ กอง จัดเข้ากองอาบัติ ๒ กอง คือ (๑) กอง
อาบัติปาฏิเทสนียะ (๒) กองอาบัติทุกกฏ
บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๔ สมุฏฐาน คือ
(๑) เกิดทางกาย มิใช่เกิดทางวาจา มิใช่เกิดทางจิต (๒) เกิดทางกายกับวาจา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๓๑๗ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุนีวิภังค์] ๑. กัตถปัญญัตติวาร ๑. ปาราชิกกัณฑ์
มิใช่เกิดทางจิต (๓) เกิดทางกายกับจิต มิใช่เกิดทางวาจา (๔) เกิดทางกาย
วาจากับจิต
บรรดาอธิกรณ์ ๔ อย่าง จัดเป็นอาปัตตาธิกรณ์
บรรดาสมถะ ๗ อย่าง ระงับด้วยสมถะ ๓ อย่าง คือ (๑) สัมมุขาวินัย
(๒) ปฏิญญาตกรณะ (๓) สัมมุขาวินัยกับติณวัตถารกะ
สมุจจยวารที่ ๘ จบ

๑. กัตถปัญญัตติวาร
วาระว่าด้วยบัญญัติ ณ ที่ไหน
๑. ปาราชิกกัณฑ์
คำถาม - คำตอบในปาราชิกกัณฑ์
[๒๔๗] พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น
ทรงบัญญัติปาราชิก เพราะความยินดีการถูกต้องกายเป็นปัจจัย ณ ที่ไหน ทรง
ปรารภใคร เพราะเรื่องอะไร ฯลฯ ใครนำมา

ปาราชิกสิกขาบทที่ ๕
ถาม : พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น
ทรงบัญญัติปาราชิก เพราะความยินดีการถูกต้องกายเป็นปัจจัย ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภภิกษุณีสุนทรีนันทา
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่ภิกษุณีสุนทรีนันทา กำหนัดยินดีการถูกต้องกายของ
ชายผู้กำหนัด
ถาม : ในปาราชิกสิกขาบทที่ ๕ นั้นมีพระบัญญัติ พระอนุบัญญัติ อนุป-
ปันนบัญญัติอยู่หรือ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๓๑๘ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุนีวิภังค์] ๑. กัตถปัญญัตติวาร ๑. ปาราชิกกัณฑ์
ตอบ : ในปาราชิกสิกขาบทที่ ๕ นั้นมี ๑ พระบัญญัติ ไม่มีพระอนุบัญญัติ
และอนุปปันนบัญญัติ
ถาม : มีสัพพัตถบัญญัติ ปเทสบัญญัติอยู่หรือ
ตอบ : มีสัพพัตถบัญญัติ
ถาม : มีสาธารณบัญญัติ อสาธารณบัญญัติอยู่หรือ
ตอบ : มีอสาธารณบัญญัติ
ถาม : มีเอกโตบัญญัติ อุภโตบัญญัติอยู่หรือ
ตอบ : มีเอกโตบัญญัติ
ถาม : บรรดาพระปาติโมกขุทเทส ๔ อุทเทส ปาราชิกสิกขาบทที่ ๕ นั้น
จัดเข้าในอุทเทสไหน นับเนื่องในอุทเทสไหน
ตอบ : จัดเข้าในนิทานุเทส นับเนื่องในนิทานุเทส
ถาม : มาสู่อุทเทส โดยอุเทสไหน
ตอบ : มาสู่อุทเทส โดยอุทเทสที่ ๒
ถาม : บรรดาวิบัติ ๔ อย่าง เป็นวิบัติอย่างไหน
ตอบ : เป็นสีลวิบัติ
ถาม : บรรดากองอาบัติ ๗ กอง เป็นกองอาบัติไหน
ตอบ : เป็นกองอาบัติปาราชิก
ถาม : บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐานเท่าไร
ตอบ : เกิดด้วยสมุฏฐาน ๑ สมุฏฐาน คือ เกิดทางกายกับจิต มิใช่เกิด
ทางวาจา ฯลฯ
ถาม : ใครนำมา
ตอบ : พระเถระทั้งหลายนำสืบ ๆ กันมา

รายนามพระเถระผู้ทรงจำพระวินัยสืบกันมา
พระเถระเหล่านี้ คือ พระอุบาลี พระทาสกะ พระโสณกะ
พระสิคควะ และพระโมคคัลลีบุตร รวมเป็น ๕ รูป
เป็นผู้นำพระวินัยสืบ ๆ กันมาในชมพูทวีปอันมีสิริ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๓๑๙ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุนีวิภังค์] ๑. กัตถปัญญัตติวาร ๑. ปาราชิกกัณฑ์
จากนั้น พระเถระผู้ประเสริฐมีปัญญามากเหล่านี้คือ
พระมหินทะ พระอิฏฏิยะ พระอุตติยะ พระสัมพละ ฯลฯ
พระเถระผู้ประเสริฐมีปัญญามากเหล่านี้ รู้พระวินัย
ฉลาดในมรรค ได้ประกาศพระวินัยปิฎกไว้ในเกาะตามพปัณณิ

ปาราชิกสิกขาบทที่ ๖
ถาม : พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น
ทรงบัญญัติปาราชิก เพราะการปกปิดโทษเป็นปัจจัย ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภภิกษุณีถุลลนันทา
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่ภิกษุณีถุลลนันทารู้อยู่ไม่ทักท้วงภิกษุณีผู้ต้องธรรมคือปาราชิก
ด้วยตนเอง ไม่บอกแก่คณะ
ในปาราชิกสิกขาบทที่ ๖ นั้นมี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖
สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๑ สมุฏฐาน เป็นธุรนิกเขปสมุฏฐาน ฯลฯ

ปาราชิกสิกขาบทที่ ๗
ถาม : พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น
ทรงบัญญัติปาราชิก เพราะไม่ยอมสละกรรม จนกระทั่งสงฆ์สวดสมนุภาสน์ครบ ๓ ครั้ง
เป็นปัจจัย ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภภิกษุณีถุลลนันทา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๓๒๐ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุนีวิภังค์] ๑. กัตถปัญญัตติวาร ๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่ภิกษุณีถุลลนันทาประพฤติตามภิกษุอริฏฐะผู้มีบรรพบุรุษ
เป็นพรานฆ่านกแร้ง ที่สงฆ์พร้อมเพรียงกันลงอุกเขปนียกรรม
ในปาราชิกสิกขาบทที่ ๗ นั้นมี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖
สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๑ สมุฏฐาน เป็นธุรนิกเขปสมุฏฐาน ฯลฯ

ปาราชิกสิกขาบทที่ ๘
ถาม : พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น
ทรงบัญญัติปาราชิก เพราะทำวัตถุครบทั้ง ๘ ประการเป็นปัจจัย ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภพวกภิกษุณีฉัพพัคคีย์
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่พวกภิกษุณีฉัพพัคคีย์ทำวัตถุครบทั้ง ๘ ประการ
ในปาราชิกสิกขาบทที่ ๘ นั้นมี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖
สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๑ สมุฏฐาน เป็นธุรนิกเขปสมุฏฐาน ฯลฯ
ปาราชิก ๘ สิกขาบท จบ

๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์
คำถาม - คำตอบในสังฆาทิเสสกัณฑ์
[๒๔๘] พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น
ทรงบัญญัติสังฆาทิเสส เพราะภิกษุณีผู้ก่อคดีพิพาทเป็นปัจจัย ณ ที่ไหน ทรงปรารภใคร
เพราะเรื่องอะไร ฯลฯ ใครนำมา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๓๒๑ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุนีวิภังค์] ๑. กัตถปัญญัตติวาร ๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์
สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๑
ถาม : พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น
ทรงบัญญัติสังฆาทิเสส เพราะภิกษุณีผู้ก่อคดีพิพาทเป็นปัจจัย ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภภิกษุณีถุลลนันทา
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่ภิกษุณีถุลลนันทาก่อคดีพิพาท
ถาม : ในสังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๑ นั้นมีพระบัญญัติ พระอนุบัญญัติ อนุป-
ปันนบัญญัติ อยู่หรือ
ตอบ : ในสังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๑ นั้นมี ๑ พระบัญญัติ ไม่มีพระอนุ-
บัญญัติและอนุปปันนบัญญัติ
ถาม : มีสัพพัตถบัญญัติ ปเทสบัญญัติอยู่หรือ
ตอบ : มีสัพพัตถบัญญัติ
ถาม : มีสาธารณบัญญัติ อสาธารณบัญญัติอยู่หรือ
ตอบ : มีอสาธารณบัญญัติ
ถาม : มีเอกโตบัญญัติ อุภโตบัญญัติอยู่หรือ
ตอบ : มีเอกโตบัญญัติ
ถาม : บรรดาพระปาติโมกขุทเทส ๔ อุทเทส สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๑ นี้
จัดเข้าในอุทเทสไหน นับเนื่องในอุทเทสไหน
ตอบ : จัดเข้าในนิทานุทเทส นับเนื่องในนิทานุทเทส
ถาม : มาสู่อุทเทส โดยอุทเทสไหน
ตอบ : มาสู่อุทเทส โดยอุทเทสที่ ๓
ถาม : บรรดาวิบัติ ๔ อย่าง เป็นวิบัติอย่างไหน
ตอบ : เป็นสีลวิบัติ
ถาม : บรรดากองอาบัติ ๗ กอง เป็นกองอาบัติไหน
ตอบ : เป็นกองอาบัติสังฆาทิเสส

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๓๒๒ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุนีวิภังค์] ๑. กัตถปัญญัตติวาร ๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์
ถาม : บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐานเท่าไร
ตอบ : เกิดด้วยสมุฏฐาน ๒ สมุฏฐาน คือ (๑) เกิดทางกายกับวาจา มิใช่
เกิดทางจิต (๒) เกิดทางกายวาจากับจิต ฯลฯ
ถาม : ใครนำมา
ตอบ : พระเถระทั้งหลายนำสืบ ๆ กันมา

รายนามพระเถระผู้ทรงจำพระวินัยสืบกันมา
พระเถระเหล่านี้ คือ พระอุบาลี พระทาสกะ พระโสณกะ
พระสิคควะ และพระโมคคัลลีบุตร รวมเป็น ๕ รูป
เป็นผู้นำพระวินัยสืบ ๆ กันมาในชมพูทวีปอันมีสิริ
จากนั้น พระเถระผู้ประเสริฐมีปัญญามากเหล่านี้
คือ พระมหินทะ พระอิฏฏิยะ พระอุตติยะ พระสัมพละ ฯลฯ
พระเถระผู้ประเสริฐมีปัญญามากเหล่านี้ รู้พระวินัย
ฉลาดในมรรค ได้ประกาศพระวินัยปิฎกไว้ในเกาะตามพปัณณิ

สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๒
ถาม : พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น
ทรงบัญญัติสังฆาทิเสส เพราะการบวชให้สตรีผู้เป็นโจรเป็นปัจจัย ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภภิกษุณีถุลลนันทา
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่ภิกษุณีถุลลนันทาบวชให้สตรีผู้เป็นโจร
ในสังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๒ นั้นมี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ
๖ สมุฏฐาน เกิดด้วย ๒ สมุฏฐาน คือ (๑) เกิดทางวาจากับจิต มิใช่เกิดทางกาย
(๒) เกิดทางกายวาจากับจิต ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๓๒๓ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุนีวิภังค์] ๑. กัตถปัญญัตติวาร ๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์
สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๓
ถาม : พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น
ทรงบัญญัติสังฆาทิเสส เพราะภิกษุณีไปสู่ละแวกบ้านรูปเดียวเป็นปัจจัย ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภภิกษุณีรูปหนึ่ง
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่ภิกษุณีรูปหนึ่งไปสู่ละแวกบ้านรูปเดียว
ในสังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๓ นั้นมี ๑ พระบัญญัติ ๓ พระอนุบัญญัติ บรรดา
สมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๑ สมุฏฐาน เป็นปฐมปาราชิก
สมุฏฐาน ฯลฯ

สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๔
ถาม : พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น
ทรงบัญญัติสังฆาทิเสส เพราะภิกษุณีเรียกภิกษุณีที่สงฆ์พร้อมเพรียงกันลงอุกเขปนีย
กรรม โดยธรรม โดยวินัย โดยสัตถุศาสน์ให้กลับเข้าหมู่ โดยไม่บอกการกสงฆ์ ทั้ง
ไม่รับรู้ฉันทะของคณะเป็นปัจจัย ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภภิกษุณีถุลลนันทา
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่ภิกษุณีถุลลนันทาเรียกภิกษุณีที่สงฆ์พร้อมเพรียงกันลง
อุกเขปนียกรรม โดยธรรม โดยวินัย โดยสัตถุศาสน์ให้กลับเข้าหมู่ โดยไม่บอก
การกสงฆ์ ทั้งไม่รับรู้ฉันทะของคณะ
ในสังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๔ นั้นมี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ
๖ สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๑ สมุฏฐาน เป็นธุรนิกเขปสมุฏฐาน ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๓๒๔ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุนีวิภังค์] ๑. กัตถปัญญัตติวาร ๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์
สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๕
ถาม : พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น
ทรงบัญญัติสังฆาทิเสส เพราะภิกษุณีมีความกำหนัด รับของเคี้ยว หรือของฉันจาก
มือของชายผู้กำหนัด ด้วยมือของตนแล้วฉันเป็นปัจจัย ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภภิกษุณีสุนทรีนันทา
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่ภิกษุณีสุนทรีนันทากำหนัดรับอามิสจากมือของชายผู้กำหนัด
ในสังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๕ นั้นมี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ
๖ สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๑ สมุฏฐาน เป็นปฐมปาราชิกสมุฏฐาน ฯลฯ

สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๖
ถาม : พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น
ทรงบัญญัติสังฆาทิเสส เพราะภิกษุณีส่งเสริมกล่าวชักชวนว่า “แม่เจ้า ชายผู้นั้น
จะกำหนัดหรือไม่กำหนัดก็ตาม ทำอะไรท่านไม่ได้ เพราะท่านไม่กำหนัด นิมนต์เถิด
แม่เจ้า ชายผู้นั้นจะถวายสิ่งใดเป็นของเคี้ยวหรือของฉันก็ตามแก่ท่าน ท่านจงรับ
ประเคนของนั้นด้วยมือของตน แล้วเคี้ยวหรือฉันเถิด” ดังนี้ เป็นปัจจัย ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภภิกษุณีรูปหนึ่ง
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่ภิกษุณีรูปหนึ่งส่งเสริมกล่าวชักชวนว่า “แม่เจ้า ชายผู้นั้น
จะกำหนัดหรือไม่กำหนัดก็ตาม ก็ทำอะไรท่านไม่ได้ เพราะท่านไม่กำหนัด
นิมนต์เถิด แม่เจ้า ชายผู้นั้นจะถวายสิ่งใดเป็นของเคี้ยวหรือของฉันก็ตามแก่ท่าน
ท่านจงรับประเคนของนั้นด้วยมือของตน แล้วเคี้ยวหรือฉันเถิด”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๓๒๕ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุนีวิภังค์] ๑. กัตถปัญญัตติวาร ๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์
ในสังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๖ นั้นมี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ
๖ สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๓ สมุฏฐาน ฯลฯ

สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๗
ถาม : พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น
ทรงบัญญัติสังฆาทิเสส เพราะภิกษุณีผู้โกรธ ไม่พอใจ ไม่ยอมสละกรรม จนกระทั่ง
สงฆ์สวดสมนุภาสน์ครบ ๓ ครั้งเป็นปัจจัย ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภภิกษุณีจัณฑกาลี
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่ภิกษุณีจัณฑกาลีโกรธไม่พอใจกล่าวอย่างนี้ว่า “ดิฉันขอบอก
คืนพระพุทธ บอกคืนพระธรรม บอกคืนพระสงฆ์ บอกคืนสิกขา”
ในสังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๗ นั้นมี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ
๖ สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๑ สมุฏฐาน เป็นธุรนิกเขปสมุฏฐาน ฯลฯ

สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๘
ถาม : พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น
ทรงบัญญัติสังฆาทิเสส เพราะภิกษุณีผู้ถูกตัดสินให้แพ้คดีในอธิกรณ์บางเรื่องโกรธ ไม่
ยอมสละกรรม จนกระทั่งสงฆ์สวดสมนุภาสน์ครบ ๓ ครั้งเป็นปัจจัย ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภภิกษุณีจัณฑกาลี
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่ภิกษุณีจัณฑกาลีถูกตัดสินให้แพ้คดีในอธิกรณ์บางเรื่อง
โกรธไม่พอใจ กล่าวอย่างนี้ว่า “พวกภิกษุณีลำเอียงเพราะชอบ พวกภิกษุณีลำเอียง
เพราะชัง พวกภิกษุณีลำเอียงเพราะหลง พวกภิกษุณีลำเอียงเพราะกลัว”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๓๒๖ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุนีวิภังค์] ๑. กัตถปัญญัตติวาร ๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์
ในสังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๘ นั้นมี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ
๖ สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๑ สมุฏฐาน เป็นธุรนิกเขปสมุฏฐาน ฯลฯ

สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๙
ถาม : พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น
ทรงบัญญัติสังฆาทิเสส เพราะภิกษุณีทั้งหลายคลุกคลีกัน ไม่ยอมสละกรรม จน
กระทั่งสงฆ์สวดสมนุภาสน์ครบ ๓ ครั้งเป็นปัจจัย ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภภิกษุณีหลายรูป
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่ภิกษุณีหลายรูป อยู่คลุกคลีกัน
ในสังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๙ นั้นมี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ
๖ สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๑ สมุฏฐาน เป็นธุรนิกเขปสมุฏฐาน ฯลฯ

สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๑๐
ถาม : พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น
ทรงบัญญัติสังฆาทิเสส เพราะภิกษุณีส่งเสริมกล่าวชักชวนว่า “แม่เจ้าทั้งหลาย ท่าน
ทั้งหลายจงอยู่คลุกคลีกัน อย่าแยกกันอยู่” ยังไม่ยอมสละกรรม จนกระทั่งสงฆ์สวด
สมนุภาสน์ครบ ๓ ครั้งเป็นปัจจัย ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภภิกษุณีถุลลนันทา
ถาม : เพราะเรื่องอะไร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๓๒๗ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุนีวิภังค์] ๑. กัตถปัญญัตติวาร ๕. ปาฏิเทสนียกัณฑ์
ตอบ : เพราะเรื่องที่ภิกษุณีถุลลนันทาส่งเสริมกล่าวชักชวนว่า “แม่เจ้าทั้งหลาย
ขอท่านทั้งหลายจงอยู่คลุกคลีกัน อย่าแยกกันอยู่”
ในสังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๑๐ นั้นมี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ
๖ สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๑ สมุฏฐาน เป็นธุรนิกเขปสมุฏฐาน
ฯลฯ

๕. ปาฏิเทสนียกัณฑ์
คำถาม - คำตอบในปาฏิเทสนียกัณฑ์
ฯลฯ
ปาฏิเทสนียสิกขาบทที่ ๘
ถาม : พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น
ทรงบัญญัติปาฏิเทสนียะ เพราะภิกษุณีออกปากขอนมเปรี้ยวมาฉันเป็นปัจจัย ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภพวกภิกษุณีฉัพพัคคีย์
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่พวกภิกษุณีฉัพพัคคีย์ออกปากขอนมเปรี้ยวมาฉัน
ในปาฏิเทสนียสิกขาบทที่ ๘ นั้นมี ๑ พระบัญญัติ ๑ พระอนุบัญญัติ บรรดา
สมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๔ สมุฏฐาน คือ (๑) เกิด
ทางกาย มิใช่เกิดทางวาจา มิใช่เกิดทางจิต (๒) เกิดทางกายกับวาจา มิใช่เกิดทางจิต
(๓) เกิดทางกายกับจิต มิใช่เกิดทางวาจา (๔) เกิดทางกายวาจากับจิต
ฯลฯ
กัตถปัญญัตติวารที่ ๑ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๓๒๘ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุนีวิภังค์] ๒. กตาปัตติวาร ๑. ปาราชิกกัณฑ์
๒. กตาปัตติวาร
วาระว่าด้วยต้องอาบัติเท่าไร
๑. ปาราชิกกัณฑ์
คำถาม - คำตอบจำนวนอาบัติในปาราชิกกัณฑ์
ปาราชิกสิกขาบทที่ ๕
[๒๔๙] ถาม : เพราะยินดีการถูกต้องกายเป็นปัจจัย ต้องอาบัติเท่าไร
ตอบ : เพราะยินดีการถูกต้องกายเป็นปัจจัย ต้องอาบัติ ๕ อย่าง คือ
๑. ภิกษุณีผู้กำหนัด ยินดีการถูกต้องบริเวณใต้รากขวัญลงมา เหนือ
หัวเข่าขึ้นไปของชายผู้กำหนัด ต้องอาบัติปาราชิก
๒. ภิกษุใช้กายจับต้องกาย ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
๓. ภิกษุใช้กายจับต้องของที่เนื่องด้วยกาย ต้องอาบัติถุลลัจจัย
๔. ภิกษุใช้ของที่เนื่องด้วยกายจับต้องของเนื่องด้วยกาย ต้องอาบัติทุกกฏ
๕. ภิกษุใช้นิ้วจี้กัน ต้องอาบัติปาจิตตีย์
เพราะยินดีการถูกต้องกายเป็นปัจจัย ต้องอาบัติ ๕ อย่างเหล่านี้

ปาราชิกสิกขาบทที่ ๖
ถาม : เพราะปกปิดโทษเป็นปัจจัย ต้องอาบัติเท่าไร
ตอบ : เพราะปกปิดโทษเป็นปัจจัย ต้องอาบัติ ๔ อย่าง คือ
๑. ภิกษุณีรู้อยู่ว่าภิกษุณีต้องธรรมคือปาราชิกปกปิดไว้ ต้องอาบัติปาราชิก
๒. ภิกษุณีสงสัยปกปิดไว้ ต้องอาบัติถุลลัจจัย
๓. ภิกษุปกปิดอาบัติสังฆาทิเสส ต้องอาบัติปาจิตตีย์
๔. ภิกษุปกปิดอาจารวิบัติ ต้องอาบัติทุกกฏ
เพราะปกปิดโทษเป็นปัจจัย ต้องอาบัติ ๔ อย่างเหล่านี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๓๒๙ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุนีวิภังค์] ๒. กตาปัตติวาร ๑. ปาราชิกกัณฑ์
ปาราชิกสิกขาบทที่ ๗
ถาม : เพราะไม่ยอมสละกรรม จนกระทั่งสงฆ์สวดสมนุภาสน์ครบ ๓ ครั้ง
เป็นปัจจัย ต้องอาบัติเท่าไร
ตอบ : เพราะไม่ยอมสละกรรม จนกระทั่งสงฆ์สวดสมนุภาสน์ครบ ๓ ครั้ง
เป็นปัจจัย ต้องอาบัติ ๕ อย่าง คือ
๑. ภิกษุณีประพฤติตามภิกษุผู้ถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรม ไม่ยอมสละ
กรรม จนกระทั่งสงฆ์สวดสมนุภาสน์ครบ ๓ ครั้ง จบญัตติ ต้อง
อาบัติทุกกฏ
๒. จบกรรมวาจา ๒ ครั้ง ต้องอาบัติถุลลัจจัย
๓. จบกรรมวาจาครั้งสุดท้าย ต้องอาบัติปาราชิก
๔. ภิกษุณีประพฤติตามภิกษุผู้ทำลายสงฆ์ ไม่ยอมสละกรรม จนกระทั่ง
สงฆ์สวดสมนุภาสน์ครบ ๓ ครั้ง ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
๕. ไม่ยอมสละทิฏฐิบาป จนกระทั่งสงฆ์สวดสมนุภาสน์ครบ ๓ ครั้ง
ต้องอาบัติปาจิตตีย์
เพราะไม่ยอมสละกรรม จนกระทั่งสงฆ์สวดสมนุภาสน์ครบ ๓ ครั้งเป็นปัจจัย
ต้องอาบัติ ๕ อย่างเหล่านี้

ปาราชิกสิกขาบทที่ ๘
ถาม : เพราะทำวัตถุครบทั้ง ๘ ประการเป็นปัจจัย ต้องอาบัติเท่าไร
ตอบ : เพราะทำวัตถุครบทั้ง ๘ ประการเป็นปัจจัย ต้องอาบัติ ๓ อย่าง คือ
๑. ภิกษุณีที่ชายสั่งว่า “จงมายังที่ชื่อนี้” แล้วเดินไป ต้องอาบัติทุกกฏ
๒. พอย่างเข้าสู่ช่วงแขนของชาย ต้องอาบัติถุลลัจจัย
๓. ทำวัตถุครบทั้ง ๘ ประการ ต้องอาบัติปาราชิก
เพราะทำวัตถุครบทั้ง ๘ ประการเป็นปัจจัย ต้องอาบัติ ๓ อย่างเหล่านี้
ปาราชิก ๘ สิกขาบท จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๓๓๐ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุนีวิภังค์] ๒. กตาปัตติวาร ๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์
๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์
จำนวนอาบัติในสังฆาทิเสสกัณฑ์
สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๑
[๒๕๐] เพราะภิกษุณีผู้ก่อคดีพิพาทเป็นปัจจัย ต้องอาบัติ ๓ อย่าง คือ
๑. บอกเรื่องของคนหนึ่ง ต้องอาบัติทุกกฏ
๒. บอกเรื่องของคนที่สอง ต้องอาบัติถุลลัจจัย
๓. เมื่อศาลตัดสินแล้ว ต้องอาบัติสังฆาทิเสส

สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๒
เพราะบวชให้สตรีผู้เป็นโจร ต้องอาบัติ ๓ อย่าง คือ
๑. จบญัตติ ต้องอาบัติทุกกฏ
๒. จบกรรมวาจา ๒ ครั้ง ต้องอาบัติถุลลัจจัย
๓. จบกรรมวาจาครั้งสุดท้าย ต้องอาบัติสังฆาทิเสส

สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๓
เพราะภิกษุณีเข้าไปสู่ละแวกบ้านรูปเดียว ต้องอาบัติ ๓ อย่าง คือ
๑. กำลังเดินไป ต้องอาบัติทุกกฏ
๒. ย่างเท้าก้าวที่ ๑ เข้าสู่บริเวณรั้ว ต้องอาบัติถุลลัจจัย
๓. ย่างเท้าก้าวที่ ๒ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส

สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๔
เพราะภิกษุณีเรียกภิกษุณีที่สงฆ์พร้อมเพรียงกันลงอุกเขปนียกรรม โดยธรรม
โดยวินัย โดยสัตถุศาสน์ให้กลับเข้าหมู่ ต้องอาบัติ ๓ อย่าง คือ
๑. จบญัตติ ต้องอาบัติทุกกฏ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๓๓๑ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุนีวิภังค์] ๒. กตาปัตติวาร ๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์
๒. จบกรรมวาจา ๒ ครั้ง ต้องอาบัติถุลลัจจัย
๓. จบกรรมวาจาครั้งสุดท้าย ต้องอาบัติสังฆาทิเสส

สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๕
เพราะภิกษุณีกำหนัด รับของเคี้ยวหรือของฉัน จากมือชายผู้กำหนัดด้วยมือ
ของตนแล้วฉัน ต้องอาบัติ ๓ อย่าง คือ
๑. รับประเคนด้วยตั้งใจว่า “จะเคี้ยว จะฉัน” ต้องอาบัติถุลลัจจัย
๒. ฉัน ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ทุก ๆ คำกลืน
๓. รับประเคนน้ำและไม้ชำระฟัน ต้องอาบัติทุกกฏ

สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๖
เพราะภิกษุณีส่งเสริมกล่าวชักชวนว่า “แม่เจ้า ชายผู้นี้จะกำหนัดหรือไม่กำหนัด
ก็ตาม ก็ทำอะไรท่านไม่ได้ เพราะท่านไม่กำหนัด นิมนต์เถิดแม่เจ้า ชายผู้นี้จะถวาย
สิ่งใด จะเป็นของเคี้ยว หรือของฉันก็ดีแก่ท่าน ท่านจงรับประเคนของนั้นด้วยมือของ
ตนแล้วเคี้ยวหรือฉันเถิด” ดังนี้ ต้องอาบัติ ๓ อย่าง คือ
๑. รับประเคนตามคำของภิกษุณีนั้นด้วยตั้งใจว่าจะเคี้ยวจะฉัน ต้องอาบัติ
ทุกกฏ
๒. ฉัน ต้องอาบัติถุลลัจจัย ทุก ๆ คำกลืน
๓. ฉันเสร็จแล้ว ต้องอาบัติสังฆาทิเสส

สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๗
เพราะภิกษุณีผู้โกรธ ไม่ยอมสละกรรม จนกระทั่งสงฆ์สวดสมนุภาสน์ครบ
๓ ครั้ง ต้องอาบัติ ๓ อย่าง คือ
๑. จบญัตติ ต้องอาบัติทุกกฏ
๒. จบกรรมวาจา ๒ ครั้ง ต้องอาบัติถุลลัจจัย
๓. จบกรรมวาจาครั้งสุดท้าย ต้องอาบัติสังฆาทิเสส

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๓๓๒ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุนีวิภังค์] ๒. กตาปัตติวาร ๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์
สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๘
เพราะภิกษุณีผู้ถูกตัดสินให้แพ้คดีในอธิกรณ์บางเรื่อง โกรธ ไม่ยอมสละกรรม
จนกระทั่งสงฆ์สวดสมนุภาสน์ครบ ๓ ครั้ง ต้องอาบัติ ๓ อย่าง คือ
๑. จบญัตติ ต้องอาบัติทุกกฏ
๒. จบกรรมวาจา ๒ ครั้ง ต้องอาบัติถุลลัจจัย
๓. จบกรรมวาจาครั้งสุดท้าย ต้องอาบัติสังฆาทิเสส

สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๙
เพราะภิกษุณีอยู่คลุกคลีกัน ไม่ยอมสละกรรม จนกระทั่งสงฆ์สวดสมนุภาสน์
ครบ ๓ ครั้ง ต้องอาบัติ ๓ อย่าง คือ
๑. จบญัตติ ต้องอาบัติทุกกฏ
๒. จบกรรมวาจา ๒ ครั้ง ต้องอาบัติถุลลัจจัย
๓. จบกรรมวาจาครั้งสุดท้าย ต้องอาบัติสังฆาทิเสส

สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๑๐
เพราะภิกษุณีส่งเสริมกล่าวชักชวนว่า “น้องหญิงทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงอยู่
คลุกคลีกัน อย่าแยกกันอยู่” ไม่ยอมสละกรรม จนกระทั่งสงฆ์สวดสมนุภาสน์ครบ
๓ ครั้ง ต้องอาบัติ ๓ อย่าง คือ
๑. จบญัตติ ต้องอาบัติทุกกฏ
๒. จบกรรมวาจา ๒ ครั้ง ต้องอาบัติถุลลัจจัย
๓. จบกรรมวาจาครั้งสุดท้าย ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
สังฆาทิเสส ๑๐ สิกขาบท จบ
ฯลฯ
(พึงขยายความเหมือนข้างต้น ปัจจัยเท่านั้นที่เป็นเหตุให้ต่างกัน)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๓๓๓ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุนีวิภังค์] ๓. วิปัตติวาร ๑. ปาราชิกกัณฑ์
๕. ปาฏิเทสนียกัณฑ์
จำนวนอาบัติในปาฏิเทสนียกัณฑ์
ฯลฯ
ปาฏิเทสนียสิกขาบทที่ ๘
ถาม : เพราะภิกษุณีออกปากขอนมเปรี้ยวมาฉัน ต้องอาบัติเท่าไร
ตอบ : เพราะภิกษุณีออกปากขอนมเปรี้ยวมาฉัน ต้องอาบัติ ๒ อย่าง คือ
๑. รับประเคนด้วยตั้งใจว่า “จะฉัน” ต้องอาบัติทุกกฏ
๒. ฉัน ต้องอาบัติปาฏิเทสนียะ ทุก ๆ คำกลืน
เพราะภิกษุณีออกปากขอนมเปรี้ยวมาฉัน ต้องอาบัติ ๒ อย่างเหล่านี้
กตาปัตติวารที่ ๒ จบ

๓. วิปัตติวาร
วาระว่าด้วยเป็นวิบัติ
๑. ปาราชิกกัณฑ์
คำถาม - คำตอบวิบัติในปาราชิกกัณฑ์
ปาราชิกสิกขาบทที่ ๕
[๒๕๑] ถาม : เพราะยินดีการถูกต้องกาย อาบัติทั้งหลาย บรรดาวิบัติ
๔ อย่าง จัดเป็นวิบัติเท่าไร
ตอบ : เพราะยินดีการถูกต้องกาย อาบัติทั้งหลาย บรรดาวิบัติ ๔ อย่าง
จัดเป็นวิบัติ ๒ อย่าง คือ (๑) สีลวิบัติ (๒) อาจารวิบัติ
ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๓๓๔ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุนีวิภังค์] ๔. สังคหวาร ๑. ปาราชิกกัณฑ์
๕. ปาฏิเทสนียกัณฑ์
คำถาม - คำตอบวิบัติในปาฏิเทสนียกัณฑ์
ฯลฯ
ปาฏิเทสนียสิกขาบทที่ ๘
ถาม : เพราะภิกษุณีออกปากขอนมเปรี้ยวมาฉัน อาบัติทั้งหลาย บรรดาวิบัติ
๔ อย่าง จัดเป็นวิบัติเท่าไร
ตอบ : เพราะภิกษุณีออกปากขอนมเปรี้ยวมาฉัน อาบัติทั้งหลาย บรรดาวิบัติ
๔ อย่าง จัดเป็นวิบัติ ๑ อย่าง คือ อาจารวิบัติ
วิปัตติวารที่ ๓ จบ

๔. สังคหวาร
วาระว่าด้วยการจัดเข้ากองอาบัติ
๑. ปาราชิกกัณฑ์
คำถาม - คำตอบจัดกองอาบัติในปาราชิกกัณฑ์
ปาราชิกสิกขาบทที่ ๕
[๒๕๒] ถาม : เพราะยินดีการถูกต้องกาย อาบัติทั้งหลาย บรรดากองอาบัติ
๗ กอง จัดเข้ากองอาบัติเท่าไร
ตอบ : เพราะยินดีการถูกต้องกาย อาบัติทั้งหลาย บรรดากองอาบัติ ๗ กอง
จัดเข้ากองอาบัติ ๕ กอง คือ (๑) กองอาบัติปาราชิก (๒) กองอาบัติสังฆาทิเสส
(๓) กองอาบัติถุลลัจจัย (๔) กองอาบัติปาจิตตีย์ (๕) กองอาบัติทุกกฏ
ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๓๓๕ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุนีวิภังค์] ๕. สมุฏฐานวารร ๑. ปาราชิกกัณฑ์
๕. ปาฏิเทสนียกัณฑ์
คำถาม - คำตอบจัดกองอาบัติในปาฏิเทสนียกัณฑ์
ฯลฯ
ปาฏิเทสนียสิกขาบทที่ ๘
ถาม : เพราะภิกษุณีออกปากขอนมเปรี้ยวมาฉัน อาบัติทั้งหลาย บรรดากอง
อาบัติ ๗ กอง จัดเข้ากองอาบัติเท่าไร
ตอบ : เพราะภิกษุณีออกปากขอนมเปรี้ยวมาฉัน อาบัติทั้งหลาย บรรดา
กองอาบัติ ๗ กอง จัดเข้ากองอาบัติ ๒ กอง คือ (๑) กองอาบัติปาฏิเทสนียะ
(๒) กองอาบัติทุกกฏ
สังคหวารที่ ๔ จบ

๕. สมุฏฐานวาร
วาระว่าด้วยสมุฏฐาน
๑. ปาราชิกกัณฑ์
คำถาม - คำตอบสมุฏฐานในปาราชิกกัณฑ์
ปาราชิกสิกขาบทที่ ๕
[๒๕๓] ถาม : เพราะภิกษุณียินดีการถูกต้องกาย อาบัติทั้งหลาย บรรดา
สมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐานเท่าไร
ตอบ : เพราะภิกษุณียินดีการถูกต้องกาย อาบัติทั้งหลาย บรรดาสมุฏฐาน
แห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๑ สมุฏฐาน คือ เกิดทางกายกับจิต
มิใช่เกิดทางวาจา
ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๓๓๖ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุนีวิภังค์] ๖. อธิกรณวาร ๑. ปาราชิกกัณฑ์
๕. ปาฏิเทสนียกัณฑ์
คำถาม - คำตอบสมุฏฐานอาบัติในปาฏิเทสนียกัณฑ์
ฯลฯ
ปาฏิเทสนียสิกขาบทที่ ๘
ถาม : เพราะภิกษุณีออกปากขอนมเปรี้ยวมาฉัน อาบัติทั้งหลาย บรรดาสมุฏฐาน
แห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐานเท่าไร
ตอบ : เพราะภิกษุณีออกปากขอนมเปรี้ยวมาฉัน อาบัติทั้งหลาย บรรดา
สมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๔ อย่าง คือ (๑) เกิดทางกาย
มิใช่เกิดทางวาจา มิใช่เกิดทางจิต (๒) เกิดทางกายกับวาจา มิใช่เกิดทางจิต
(๓) เกิดทางกายกับจิต มิใช่เกิดทางวาจา (๔) เกิดทางกายวาจากับจิต
สมุฏฐานวารที่ ๕ จบ

๖. อธิกรณวาร
วาระว่าด้วยการจัดเป็นอธิกรณ์
๑. ปาราชิกกัณฑ์
คำถาม - คำตอบอธิกรณ์ในปาราชิกกัณฑ์
ปาราชิกสิกขาบทที่ ๕
[๒๕๔] ถาม : เพราะยินดีการถูกต้องกาย อาบัติทั้งหลาย บรรดาอธิกรณ์
๔ อย่าง จัดเป็นอธิกรณ์ไหน
ตอบ : เพราะยินดีการถูกต้องกาย อาบัติทั้งหลาย บรรดาอธิกรณ์ ๔ อย่าง
จัดเป็นอาปัตตาธิกรณ์
ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๓๓๗ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุนีวิภังค์] ๗. สมถวาร ๑. ปาราชิกกัณฑ์
๕. ปาฏิเทสนียกัณฑ์
คำถาม - คำตอบอธิกรณ์ในปาฏิเทสนียกัณฑ์
ฯลฯ
ปาฏิเทสนียสิกขาบทที่ ๘
ถาม : เพราะภิกษุณีออกปากขอนมเปรี้ยวมาฉัน อาบัติทั้งหลาย บรรดาอธิกรณ์
๔ อย่าง จัดเป็นอธิกรณ์ไหน
ตอบ : เพราะภิกษุณีออกปากขอนมเปรี้ยวมาฉัน อาบัติทั้งหลาย บรรดาอธิกรณ์
๔ อย่าง จัดเป็นอาปัตตาธิกรณ์
อธิกรณวารที่ ๖ จบ

๗. สมถวาร
วาระว่าด้วยการระงับด้วยสมถะ
๑. ปาราชิกกัณฑ์
คำถาม - คำตอบสมถะในปาราชิกกัณฑ์
ปาราชิกสิกขาบทที่ ๕
[๒๕๕] ถาม : เพราะยินดีการถูกต้องกาย อาบัติทั้งหลาย บรรดาสมถะ
๗ อย่าง ระงับด้วยสมถะเท่าไร
ตอบ : เพราะยินดีการถูกต้องกาย อาบัติทั้งหลาย บรรดาสมถะ ๗
อย่าง ระงับด้วยสมถะ ๓ อย่าง คือ (๑) สัมมุขาวินัย (๒) ปฏิญญาตกรณะ
(๓) สัมมุขาวินัยกับติณวัตถารกะ
ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๓๓๘ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุนีวิภังค์] ๘. สมุจจยวาร ๑. ปาราชิกกัณฑ์
๕. ปาฏิเทสนียกัณฑ์
คำถาม - คำตอบสมถะในปาฏิเทสนียกัณฑ์
ฯลฯ
ปาฏิเทสนียสิกขาบทที่ ๘
ถาม : เพราะภิกษุณีออกปากขอนมเปรี้ยวมาฉัน อาบัติทั้งหลาย บรรดาสมถะ
๗ อย่าง ระงับด้วยสมถะเท่าไร
ตอบ : เพราะภิกษุณีออกปากขอนมเปรี้ยวมาฉัน อาบัติทั้งหลาย บรรดาสมถะ
๗ อย่าง ระงับด้วยสมถะ ๓ อย่าง คือ (๑) สัมมุขาวินัย (๒) ปฏิญญาตกรณะ
(๓) สัมมุขาวินัยกับติณวัตถารกะ
สมถวารที่ ๗ จบ

๘. สมุจจยวาร
วาระว่าด้วยการสรุปรวม
๑. ปาราชิกกัณฑ์
คำถาม - คำตอบสรุปรวมอาบัติในปาราชิกกัณฑ์
ปาราชิกสิกขาบทที่ ๕
[๒๕๖] ถาม : เพราะยินดีการถูกต้องกายเป็นปัจจัย ต้องอาบัติเท่าไร
ตอบ : เพราะยินดีการถูกต้องกายเป็นปัจจัย ต้องอาบัติ ๕ อย่าง คือ
๑. ภิกษุณีผู้กำหนัด ยินดีการถูกต้องบริเวณใต้รากขวัญลงมา เหนือ
หัวเข่าขึ้นไป ของชายผู้กำหนัด ต้องอาบัติปาราชิก
๒. ภิกษุใช้กายจับต้องกาย ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
๓. ภิกษุใช้กายจับต้องของเนื่องด้วยกาย ต้องอาบัติถุลลัจจัย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๓๓๙ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุนีวิภังค์] ๘. สมุจจยวาร ๑. ปาราชิกกัณฑ์
๔. ภิกษุใช้ของที่เนื่องด้วยกายจับต้องของเนื่องด้วยกาย ต้องอาบัติทุกกฏ
๕. ภิกษุใช้นิ้วจี้กัน ต้องอาบัติปาจิตตีย์
เพราะยินดีการจับต้องกายเป็นปัจจัย ต้องอาบัติ ๕ อย่างเหล่านี้
ถาม : อาบัติเหล่านั้น บรรดาวิบัติ ๔ อย่าง จัดเป็นวิบัติเท่าไร บรรดากอง
อาบัติ ๗ กอง จัดเข้ากองอาบัติเท่าไร บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน
เกิดด้วยสมุฏฐานเท่าไร บรรดาอธิกรณ์ ๔ อย่าง เป็นอธิกรณ์ไหน บรรดาสมถะ
๗ อย่าง ระงับด้วยสมถะเท่าไร
ตอบ : อาบัติเหล่านั้น บรรดาวิบัติ ๔ อย่าง จัดเป็นวิบัติ ๒ อย่าง คือ
(๑) สีลวิบัติ (๒) อาจารวิบัติ
บรรดากองอาบัติ ๗ กอง จัดเข้ากองอาบัติ ๕ กอง คือ (๑) กองอาบัติปาราชิก
(๒) กองอาบัติสังฆาทิเสส (๓) กองอาบัติถุลลัจจัย (๔) กองอาบัติปาจิตตีย์
(๕) กองอาบัติทุกกฏ
บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๑ สมุฏฐาน คือ
เกิดทางกายกับจิต มิใช่เกิดทางวาจา
บรรดาอธิกรณ์ ๔ อย่าง เป็นอาปัตตาธิกรณ์
บรรดาสมถะ ๗ อย่าง ระงับด้วยสมถะ ๓ อย่าง คือ (๑) สัมมุขาวินัย
(๒) ปฏิญญาตกรณะ (๓) สัมมุขาวินัยและติณวัตถารกะ
ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๓๔๐ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุนีวิภังค์] ๘. สมุจจยวาร ๕. ปาฏิเทสนียกัณฑ์
๕. ปาฏิเทสนียกัณฑ์
คำถาม - คำตอบสรุปรวมอาบัติในปาฏิเทสนียกัณฑ์
ฯลฯ
ปาฏิเทสนียสิกขาบทที่ ๘
ถาม : เพราะภิกษุณีออกปากขอนมเปรี้ยวมาฉัน ต้องอาบัติเท่าไร
ตอบ : เพราะภิกษุณีออกปากขอนมเปรี้ยวมาฉัน ต้องอาบัติ ๒ อย่าง คือ
๑. รับประเคนด้วยตั้งใจว่า “จะฉัน” ต้องอาบัติทุกกฏ
๒. ฉัน ต้องอาบัติปาฏิเทสนียะ ทุก ๆ คำกลืน
เพราะภิกษุณีออกปากขอนมเปรี้ยวมาฉัน ต้องอาบัติ ๒ อย่างเหล่านี้
ถาม : อาบัติเหล่านั้น บรรดาวิบัติ ๔ อย่าง จัดเป็นวิบัติเท่าไร บรรดากอง
อาบัติ ๗ กองจัดเข้ากองอาบัติเท่าไร บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน
เกิดด้วยสมุฏฐานเท่าไร บรรดาอธิกรณ์ ๔ อย่าง เป็นอธิกรณ์อะไร บรรดาสมถะ
๗ อย่าง ระงับด้วยสมถะเท่าไร
ตอบ : อาบัติเหล่านั้น บรรดาวิบัติ ๔ อย่าง จัดเป็นวิบัติ ๑ อย่าง คือ
อาจารวิบัติ บรรดากองอาบัติ ๗ กอง จัดเข้ากองอาบัติ ๒ กอง คือ (๑) กองอาบัติ
ปาฏิเทสนียะ (๒) กองอาบัติทุกกฏ
บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๔ สมุฏฐาน คือ
(๑) เกิดทางกาย มิใช่เกิดทางวาจา มิใช่เกิดทางจิต (๒) เกิดทางกายกับวาจา มิใช่
เกิดทางจิต (๓) เกิดทางกายกับจิต มิใช่เกิดทางวาจา (๔) เกิดทางกายวาจากับจิต
บรรดาอธิกรณ์ ๔ อย่าง เป็นอาปัตตาธิกรณ์
บรรดาสมถะ ๗ อย่าง ระงับด้วยสมถะ ๓ อย่าง คือ (๑) สัมมุขาวินัย
(๒) ปฏิญญาตกรณะ (๓) สัมมุขาวินัยและติณวัตถารกะ
สมุจจยวารที่ ๘ จบ ๘ ปัจจยวาร จบ
โสฬสมหาวารในภิกขุนีวิภังค์ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๓๔๑ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [สมุฏฐานสีสสังเขป] สมุฏฐานสีสสังเขป
๓. สมุฏฐานสีสสังเขป
ว่าด้วยการย่อหัวข้อสมุฏฐาน
[๒๕๗] สังขารทั้งปวงที่ปัจจัยปรุงแต่ง ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา
พระนิพพานและบัญญัติ ท่านวินิจฉัยว่าเป็นอนัตตา๑
เมื่อดวงจันทร์คือพระพุทธเจ้ายังไม่เกิดขึ้น
เมื่อดวงอาทิตย์คือพระพุทธเจ้ายังไม่อุทัยขึ้นมา
เพียงชื่อของสภาคธรรมเหล่านั้น ก็ยังไม่มีใครรู้จัก
พระมหาธีรเจ้าทั้งหลายผู้ทรงเป็นดวงตา
ทรงทำทุกกรกิริยาหลายอย่าง
บำเพ็ญพระบารมีแล้วเสด็จอุบัติขึ้นในโลกอันเป็นไปพร้อมทั้งพรหมโลก
พระองค์ทรงแสดงพระสัทธรรมอันกำจัดเสียซึ่งทุกข์นำมาซึ่งความสุข
พระอังคีรสศากยมุนีทรงเป็นผู้อนุเคราะห์แก่หมู่สัตว์ทุกถ้วนหน้า
พระองค์ผู้ทรงอุดมกว่าสรรพสัตว์ดุจราชสีห์
ทรงแสดงพระไตรปิฎก คือ พระสุตตันตะ
พระอภิธรรม พระวินัย ซึ่งมีคุณมาก
พระสัทธรรมจะเป็นไปได้ หากพระวินัยคืออุภโตวิภังค์
ขันธกะและมาติกายังดำรงอยู่
พระวินัยท่านร้อยกรองไว้ด้วยคัมภีร์ปริวาร
เหมือนดอกไม้ร้อยด้วยเส้นด้าย
สมุฏฐานแห่งคัมภีร์ปริวารนั่นแล ท่านจัดไว้แน่นอนแล้ว
ความเจือปน นิทานและสิ่งอื่น จะปรากฏในพระสูตรข้างหน้า
เพราะฉะนั้น ภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รัก
ต้องการศึกษาพระธรรมก็พึงศึกษาคัมภีร์ปริวารเถิด

เชิงอรรถ :
๑ ที่ท่านนำสิ่งที่เป็นบัญญัติมาวินิจฉัยว่า “เป็นอนัตตา” ร่วมกับพระนิพพานซึ่งเป็นปรมัตถธรรมนั้น เพราะ
ว่าต่างก็เป็นสิ่งที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งเหมือนกัน (วิมติ.ฏีกา ๒/๒๕๗/๓๕๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๓๔๒ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [สมุฏฐานสีสสังเขป] ๑. ปฐมปาราชิกสมุฏฐาน
สมุฏฐาน ๑๓
ในวันอุโบสถ ภิกษุและภิกษุณีย่อมสวดสิกขาบท
ที่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
ผู้ทรงรู้ ทรงเห็นทรงบัญญัติไว้ในวิภังค์ทั้ง ๒
ข้าพเจ้าจะกล่าวสมุฏฐานตามที่รู้มา
ขอท่านทั้งหลายจงฟังข้าพเจ้าเถิด
ปฐมปาราชิกสิกขาบท ทุติยปาราชิกสิกขาบท
ถัดจากนั้น สัญจริตสิกขาบท สมนุภาสนสิกขาบท
อติเรกจีวรสิกขาบท เอฬกโลมสิกขาบท
ปทโสธัมมสิกขาบท ภูตาโรจนสิกขาบท
สังวิธานสิกขาบท เถยยสัตถสิกขาบท
เทสนาสิกขาบท โจรีวุฏฐานปนสิกขาบท
รวมกับการบวชสตรีที่บิดามารดาหรือสามีไม่อนุญาต
รวมเป็นสมุฏฐาน ๑๓ ในอุภโตวิภังค์นี้
นัยแห่งสมุฏฐานทั้ง ๑๓ นี้วิญญูชนทั้งหลายคิดกันแล้ว
ย่อมปรากฏคล้ายคลึงกัน ในแต่ละสมุฏฐาน

๑. ปฐมปาราชิกสมุฏฐาน
[๒๕๘] สิกขาบทว่าด้วยการเสพเมถุนธรรม
สิกขาบทว่าด้วยการจงใจทำน้ำอสุจิให้เคลื่อน
สิกขาบทว่าด้วยการถูกต้องกายกับมาตุคาม
อนิยตสิกขาบทที่หนึ่ง
สิกขาบทว่าด้วยการเข้าไปแทรกแซงภิกษุผู้เข้าไปอยู่ก่อน
สิกขาบทว่าด้วยการฉันบิณฑบาตที่ภิกษุณีแนะนำให้จัดเตรียม

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๓๔๓ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [สมุฏฐานสีสสังเขป] ๑. ปฐมปาราชิกสมุฏฐาน
สิกขาบทว่าด้วยการอยู่ในที่ลับกับภิกษุณี
สิกขาบทว่าด้วยการเข้าไปแทรกแซงในที่ที่มีคน ๒ คน
สิกขาบทว่าด้วยการอยู่ในที่ลับ ๒ สิกขาบท
สิกขาบทว่าด้วยการใช้นิ้วมือจี้กันและกัน
สิกขาบทว่าด้วยการเล่นน้ำ
สิกขาบทว่าด้วยการทำร้ายเพื่อนภิกษุ
สิกขาบทว่าด้วยการเงื้อหอกคือฝ่ามือขึ้นทำทีว่าจะทำร้าย
เสขิยวัตร ๕๓ สิกขาบท
สิกขาบทว่าด้วยการยินดีการที่ชายจับต้องที่บริเวณเหนือเข่าขึ้นไป
สิกขาบทว่าด้วยการเข้าละแวกหมู่บ้านตามลำพัง
สิกขาบทว่าด้วยภิกษุณีกำหนัดรับโภชนะจากมือชายผู้กำหนัด
สิกขาบทว่าด้วยการใช้ฝ่ามือตบองค์กำเนิด
สิกขาบทว่าด้วยการใช้ท่อนยาง
สิกขาบทว่าด้วยการใช้น้ำชำระ
สิกขาบทว่าด้วยภิกษุณีจำพรรษาแล้วไม่หลีกจาริกไป
สิกขาบทว่าด้วยการไม่ไปรับโอวาท
สิกขาบทว่าด้วยการไม่ติดตามปวัตตินี
รวมสิกขาบทเหล่านี้เป็น ๗๖ สิกขาบท
ท่านจัดไว้เป็นสิกขาบทมีกายกับจิตเป็นสมุฏฐาน
ทุกสิกขาบทมีสมุฏฐานอันหนึ่งเหมือนปฐมปาราชิกสิกขาบท ฉะนั้น
ปฐมปาราชิกสมุฏฐาน จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๓๔๔ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [สมุฏฐานสีสสังเขป] ๒. ทุติยปาราชิกสมุฏฐาน
๒. ทุติยปาราชิกสมุฏฐาน
[๒๕๙] สิกขาบทว่าด้วยการถือเอาสิ่งของที่เจ้าของมิได้ให้
สิกขาบทว่าด้วยการพรากกายมนุษย์
สิกขาบทว่าด้วยการกล่าวอวดอุตตริมนุสสธรรม
สิกขาบทว่าด้วยการพูดเกี้ยวหญิง
สิกขาบทว่าด้วยการใช้บำเรอความใคร่ของตน
สิกขาบทว่าด้วยภิกษุขัดเคืองมีโทสะใส่ความภิกษุ
ด้วยอาบัติปาราชิกที่ไม่มีมูล
สิกขาบทว่าด้วยภิกษุขัดเคืองมีโทสะอ้างเอา
บางส่วนแห่งอธิกรณ์เรื่องอื่น
อนิยตสิกขาบทที่สอง
จีวรอัจฉินทนสิกขาบท ว่าด้วยการให้จีวรแล้วชิงเอาคืน
ปริณตสิกขาบท ว่าด้วยการน้อมลาภ
มุสาวาทสิกขาบท ว่าด้วยการกล่าวเท็จ
โอมสวาทสิกขาบท ว่าด้วยการกล่าวเสียดสี
เปสุญญสิกขาบท ว่าด้วยการกล่าวส่อเสียด
ทุฏฐุลลาโรจนสิกขาบท ว่าด้วยการบอกอาบัติชั่วหยาบ
ปฐวีขณนสิกขาบท ว่าด้วยการขุดดิน
ภูตคามสิกขาบท ว่าด้วยการพรากภูตคาม
อัญญวาทกสิกขาบท ว่าด้วยการกล่าวกลบเกลื่อน
อุชฌาปนสิกขาบท ว่าด้วยการกล่าวให้เพ่งโทษ
นิกกัฑฒนสิกขาบท ว่าด้วยการฉุดลากออก
สิญจนสิกขาบท ว่าด้วยการเอาน้ำรดหญ้าและดิน๑
อามิสสิกขาบท ว่าด้วยการสั่งสอนภิกษุณีเพราะเห็นแก่อามิส

เชิงอรรถ :
๑ คือสัปปาณกสิกขาบท ว่าด้วยสิ่งมีชีวิต วิ.มหา. (แปล) ๒/๑๓๙/๓๑๓

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๓๔๕ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [สมุฏฐานสีสสังเขป] ๒. ทุติยปาราชิกสมุฏฐาน
ภุตตาวีสิกขาบท ว่าด้วยภิกษุฉันแล้ว๑
เอหิสิกขาบท ว่าด้วยการชักชวนว่ามาเถิด๒
อนาทริยสิกขาบท ว่าด้วยความไม่เอื้อเฟื้อต่อคำตักเตือน
ภิงสาปนสิกขาบท ว่าด้วยการทำให้ตกใจ
อปนิธานสิกขาบท ว่าด้วยการซ่อนบริขาร๓
ชีวิตสิกขาบท ว่าด้วยความจงใจปลงชีวิตสัตว์๔
ชานสัปปาณกสิกขาบท ว่าด้วยภิกษุรู้อยู่บริโภคน้ำที่มีสัตว์มีชีวิต๕
กัมมสิกขาบท ว่าด้วยการรื้อกรรมขึ้นมาพิจารณาใหม่๖
อูนวีสติวัสสสิกขาบท ว่าด้วยการอุปสมบทให้บุคคลมี
อายุหย่อนกว่า ๒๐ ปี
สังวาสสิกขาบท ว่าด้วยการอยู่ร่วมกับภิกษุที่ถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรม๗
นาสนสิกขาบท ว่าด้วยสมณุทเทสชื่อกัณฏกะถูกสงฆ์นาสนะ
สหธัมมิกสิกขาบท ว่าด้วยการกล่าวตักเตือนผู้ร่วมประพฤติธรรม
โดยชอบธรรม
วิเลขนสิกขาบท ว่าด้วยความยุ่งยากแห่งสิกขาบท
โมหนสิกขาบท ว่าด้วยการทำให้ผู้อื่นหลง
อมูลกสิกขาบท ว่าด้วยการใส่ความด้วยอาบัติสังฆาทิเสสที่ไม่มีมูล
กุกกุจจสิกขาบท ว่าด้วยการจงใจก่อความรำคาญ๘
ธัมมิกสิกขาบท ว่าด้วยการให้ฉันทะเพื่อกรรมที่ถูกต้อง๙

เชิงอรรถ :
๑ คือ ทุติยปวารณาสิกขาบท ว่าด้วยการบอกห้ามภัตตาหาร วิ.มหา. (แปล) ๒/๒๔๒/๓๙๙
๒ คือ อุยโยชนสิกขาบท ว่าด้วยการส่งกลับ วิ.มหา. (แปล) ๒/๒๗๔/๔๒๓
๓ คือ จีวรอปนิธานสิกขาบท ว่าด้วยการซ่อนจีวร วิ.มหา. (แปล) ๒/๓๗๗/๔๙๗
๔ คือ สัญจิจจสิกขาบท วิ.มหา. (แปล) ๒/๓๘๒/๕๐๑
๕ คือ สัปปาณกสิกขาบท วิ.มหา. (แปล) ๒/๓๘๗/๕๐๔
๖ คือ อุกโกฏนสิกขาบท วิ.มหา. (แปล) ๒/๓๙๒/๕๐๖
๗ คือ อุกขิตตสัมโภคสิกขาบท ว่าด้วยการคบหา วิ.มหา. (แปล) ๒/๔๒๓/๕๓๒
๘ คือ สัญจิจจสิกขาบท วิ.มหา. (แปล) ๒/๔๖๔/๕๖๕
๙ คือ กัมมปฏิพาหนสิกขาบท ว่าด้วยการคัดค้านกรรมที่ถูกต้อง วิ.มหา. (แปล) ๒/๔๗๔/๕๗๑

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๓๔๖ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [สมุฏฐานสีสสังเขป] ๒. ทุติยปาราชิกสมุฏฐาน
(จีวรทัตวาสิกขาบท ว่าด้วยการให้จีวรแล้วติเตียน)๑
ปริณามนสิกขาบท ว่าด้วยการน้อมลาภที่เป็นของสงฆ์ไปเพื่อบุคคล
กินเตสิกขาบท ว่าด้วยการทำอะไรท่านได้๒
อกาลสิกขาบท ว่าด้วยการอธิษฐานอกาลจีวรเป็นกาลจีวร๓
อัจฉินทสิกขาบท ว่าด้วยการแลกเปลี่ยนจีวรแล้วชิงเอาคืน๔
ทุคคหิตสิกขาบท ว่าด้วยการเข้าใจผิด
นิรยสิกขาบท ว่าด้วยการสาปแช่งด้วยนรก๕
คณสิกขาบท ว่าด้วยการทำอันตรายแก่จีวรลาภของคณะ
วิภังคสิกขาบท ว่าด้วยการคัดค้านการแจกจีวรที่ชอบธรรม
ทุพพลสิกขาบท ว่าด้วยการหวังจีวรที่เลื่อนลอย
กฐินสิกขาบท ว่าด้วยการคัดค้านการเดาะกฐินที่ชอบธรรม
อผาสุสิกขาบท ว่าด้วยการก่อความไม่ผาสุก
อุปัสสยสิกขาบท ว่าด้วยการให้ที่อยู่แล้วฉุดลากออก
อักโกสสิกขาบท ว่าด้วยการด่าภิกษุ
จัณฑีสิกขาบท ว่าด้วยการขึ้งเคียดบริภาษคณะ
มัจฉรีสิกขาบท ว่าด้วยความหวงตระกูล
คัพภินีสิกขาบท ว่าด้วยการบวชให้สตรีมีครรภ์
ปายันตีสิกขาบท ว่าด้วยการบวชให้สตรีผู้มีลูกยังดื่มนม
เทฺววัสสสิกขาบท ว่าด้วยการบวชให้สิกขมานาผู้ยังไม่ได้ศึกษา
และผู้ยังไม่ได้ศึกษาธรรม ๖ ข้อ ตลอด ๒ ปี

เชิงอรรถ :
๑ แปลตามเชิงอรรถและตามคำอธิบายในอรรถกถา (วิ.อ. ๓/๒๕๙/๔๒๖) คือ ทัพพสิกขาบท ว่าด้วยการ
ถวายจีวรแก่พระทัพพมัลลบุตร วิ.มหา. (แปล) ๒/๔๘๔/๕๗๗
๒ คือ สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๖ ว่าด้วยการส่งเสริมภิกษุณีให้รับโภชนะจากมือชายผู้กำหนัด วิ.ภิกฺขุนี. (แปล)
๓/๗๐๔/๔๘
๓ สิกขาบทที่ ๒ แห่งปัตตวรรค วิ.ภิกฺขุนี. (แปล) ๓/๗๓๘/๘๒
๔ สิกขาบทที่ ๓ แห่งปัตตวรรค วิ.ภิกฺขุนี. (แปล) ๓/๗๔๓/๘๖
๕ สิกขาบทที่ ๙ แห่งอันธการวรรค วิ.ภิกฺขุนี. (แปล) ๓/๘๗๔/๑๗๙

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๓๔๗ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [สมุฏฐานสีสสังเขป] ๓. สัญจริตตสมุฏฐาน
คิหิคตาสิกขาบท ว่าด้วยการบวชให้สตรีที่มีครอบครัว ๓ สิกขาบท๑
กุมารีภูตสิกขาบท ว่าด้วยการบวชให้กุมารี ๓ สิกขาบท๒
อูนทวาทสวัสสสิกขาบท ว่าด้วยภิกษุณีมีพรรษาต่ำกว่า ๑๒
เป็นปวัตตินี
อสัมมตาสิกขาบท ว่าด้วยภิกษุณีมีพรรษาครบ ๑๒ เป็นปวัตตินี
แต่สงฆ์ยังไม่ได้สมมติ
อลันตาวสิกขาบท ว่าด้วยภิกษุณีที่สงฆ์ห้ามว่าอย่าเลย๓
โสกาวัสสสิกขาบท ว่าด้วยภิกษุณีผู้ทำชายให้ระทมโศก
ฉันทสิกขาบท ว่าด้วยการบวชให้สิกขมานาด้วยการให้ปาริวาสิกฉันทะ
อนุวัสสสิกขาบท ว่าด้วยการบวชให้สิกขมานาทุก ๆ ปี
วัสสสิกขาบท ว่าด้วยการบวชให้สิกขมานาปีละ ๒ รูป
รวมสิกขาบทเหล่านี้เป็น ๗๐ สิกขาบท จัดเป็น ๓ สมุฏฐาน
คือ เกิดทางกายกับจิต มิใช่เกิดทางวาจา
เกิดทางวาจากับจิต มิใช่เกิดทางกาย และเกิดทางทวารทั้ง ๓
เหมือนทุติยปาราชิกสิกขาบท ฉะนั้น
ทุติยปาราชิกสมุฏฐาน จบ

๓. สัญจริตตสมุฏฐาน
[๒๖๐] สัญจริตสิกขาบท ว่าด้วยการชักสื่อ
กุฏิการสิกขาบท ว่าด้วยการก่อสร้างกุฎี
วิหารการสิกขาบท ว่าด้วยการสร้างวิหาร
โธวนสิกขาบท ว่าด้วยการให้ซักจีวรเก่า
ปฏิคคหสิกขาบท ว่าด้วยการรับจีวร

เชิงอรรถ :
๑ สิกขาบทที่ ๕-๖-๗ แห่งคัพภินีวรรค วิ.ภิกฺขุนี. (แปล) ๓/๑๐๙๐/๓๐๕,๑๐๙๕/๓๐๘,๑๑๐๐/๓๑๒
๒ สิกขาบทที่ ๑-๒-๓ แห่งกุมารีภูตวรรค วิ.ภิกฺขุนี. (แปล) ๓/๑๑๑๙/๓๒๒,๑๑๒๔/๓๒๕,๑๑๓๐/๓๒๙
๓ สิกขาบทที่ ๖ แห่งกุมารีภูตวรรค วิ.ภิกฺขุนี. (แปล) ๓/๑๑๔๖/๓๓๙

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๓๔๘ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [สมุฏฐานสีสสังเขป] ๓. สัญจริตตสมุฏฐาน
วิญญัตติสิกขาบท ว่าด้วยการออกปากขอคฤหัสถ์ผู้ไม่ใช่ญาติ
ตตุตตริสิกขาบท ว่าด้วยการออกปากขอจีวรเกิน
อุภินนสิกขาบท ว่าด้วยคนตระเตรียมทรัพย์เป็นค่าจีวร ๒ สิกขาบท๑
ทูตกสิกขาบท ว่าด้วยทรัพย์เป็นค่าจีวรที่พระราชาเป็นต้น
ให้ทูตนำมาถวาย
โกสิยสิกขาบท ว่าด้วยการทำสันถัตผสมใยไหม
สุทธกาฬกสิกขาบท ว่าด้วยการทำสันถัตโดยใช้ขนเจียมดำล้วน
เทฺวภาคสิกขาบท ว่าด้วยการทำสันถัตโดยใช้ขนเจียมดำ ๒ ส่วน
ฉัพพัสสสิกขาบท ว่าด้วยการเก็บสันถัตไว้ ๖ ปี
นิสีทนสันถตสิกขาบท ว่าด้วยการทำสันถัตสำหรับรองนั่ง
ริญจันติสิกขาบท ว่าด้วยการละเลยอุทเทส๒
รูปิยสิกขาบท ว่าด้วยการรับรูปิยะ
นานัปปการกสิกขาบท ว่าด้วยการแลกเปลี่ยนกันด้วยรูปิยะ
และการซื้อขายมีประการต่าง ๆ
อูนพันธนสิกขาบท ว่าด้วยบาตรมีรอยซ่อมหย่อนกว่า ๕ แห่ง
วัสสิกสาฏิกสิกขาบท ว่าด้วยผ้าอาบน้ำฝน
สุตตสิกขาบท ว่าด้วยการออกปากขอด้าย
วิกัปปนสิกขาบท ว่าด้วยการกำหนดชนิดจีวร๓
ทวารสิกขาบท ว่าด้วยการติดตั้งบานประตูใกล้วงกบประตู๔
ทานสิกขาบท ว่าด้วยการถวายจีวร
สิพพินีสิกขาบท ว่าด้วยการเย็บจีวรให้ภิกษุณี
ปูวสิกขาบท ว่าด้วยทายกนำขนมมาปวารณา๕

เชิงอรรถ :
๑ สิกขาบทที่ ๘-๙ แห่งจีวรวรรค วิ.มหา. (แปล) ๒/๕๒๗/๕๑,๕๓๒/๕๗
๒ เอฬกโลมโธวาปนสิกขาบท ว่าด้วยการให้ภิกษุณีซักขนเจียม(จนละเลยอุทเทส) แห่งโกสิยวรรค วิ.มหา.
(แปล) ๒/๕๗๖/๑๐๑
๓ มหาเปสการสิกขาบท ว่าด้วยการส่งช่างหูกทอจีวร แห่งปัตตวรรค วิ.มหา. (แปล) ๒/๖๔๑/๑๖๑
๔ มหัลลกวิหารสิกขาบท ว่าด้วยการสร้างวิหารใหญ่ แห่งภูตคามวรรค วิ.มหา. (แปล) ๒/๑๓๔/๓๐๙
๕ กาณมาตุสิกขาบท ว่าด้วยมารดาของนางกาณา แห่งโภชนวรรค วิ.มหา. (แปล) ๒/๒๓๐/๓๘๗

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๓๔๙ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [สมุฏฐานสีสสังเขป] ๓. สัญจริตตสมุฏฐาน
ปัจจยสิกขาบท ว่าด้วยการยินดีการปวารณาด้วยปัจจัย๑
โชติกสิกขาบท ว่าด้วยการก่อไฟผิง
รตนสิกขาบท ว่าด้วยการเก็บรตนะที่เจ้าของลืมไว้
สูจิฆรสิกขาบท ว่าด้วยการทำกล่องเข็มด้วยกระดูกเป็นต้น
มัญจปีฐสิกขาบท ว่าด้วยการทำเตียงและตั่ง
ตูโลนัทธสิกขาบท ว่าด้วยการทำเตียงตั่งหุ้มนุ่น
นิสีทนสิกขาบท ว่าด้วยการทำผ้ารองนั่ง
กัณฑุปฏิจฉาทิสิกขาบท ว่าด้วยการทำผ้าปิดฝี
วัสสิกสาฏิกาสิกขาบท ว่าด้วยการทำผ้าอาบน้ำฝน
สุคตสิกขาบท ว่าด้วยท่านพระนันทะทำจีวรมีขนาดเท่าสุคตจีวร
วิญญัตติสิกขาบท ว่าด้วยการออกปากขอของอย่างหนึ่งแล้ว
ออกปากขอของอย่างอื่น
อัญญเจตาปนสิกขาบท ว่าด้วยการสั่งให้ซื้อของอย่างอื่น
สังฆิกสิกขาบท ว่าด้วยของที่เขาบริจาคแก่สงฆ์ ๒ สิกขาบท๒
มหาชนิกสิกขาบท ว่าด้วยของที่เขาบริจาค
แก่ภิกษุณีจำนวนมาก ๒ สิกขาบท๓
ปุคคลิกสิกขาบท ว่าด้วยของที่เขาบริจาคแก่บุคคล
ครุสิกขาบท ว่าด้วยการขอผ้าห่มหนา
ลหุกสิกขาบท ว่าด้วยการขอผ้าห่มบาง
วิฆาสสิกขาบท ว่าด้วยการทิ้งของเป็นเดน ๒ สิกขาบท๔
อุทกสาฏิกสิกขาบท ว่าด้วยการใช้ผ้าอาบน้ำไม่ได้ขนาด
สมณจีวรสิกขาบท ว่าด้วยการให้สมณะจีวรแก่ผู้มิใช่ภิกษุณี

เชิงอรรถ :
๑ มหานามสิกขาบท ว่าด้วยพระเจ้ามหานามศากยะ แห่งอเจลกวรรค วิ.มหา. (แปล) ๒/๓๐๓/๔๔๕
๒ สิกขาบทที่ ๖-๗ แห่งปัตตวรรค วิ.ภิกฺขุนี. (แปล) ๓/๗๕๘/๙๘,๗๖๓/๑๐๒
๓ สิกขาบทที่ ๘-๙ แห่งปัตตวรรค วิ.ภิกฺขุนี. (แปล) ๓/๗๖๘/๑๐๖,๗๗๓/๑๑๐
๔ สิกขาบทที่ ๘-๙ แห่งลสุณวรรค วิ.ภิกฺขุนี. (แปล) ๓/๘๒๔/๑๔๖,๘๒๘/๑๔๙

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๓๕๐ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [สมุฏฐานสีสสังเขป] ๔. สมนุภาสนาสมุฏฐาน
ธรรมคือสิกขาบทเหล่านี้ รวม ๕๐ สิกขาบท เกิดด้วย ๖ สมุฏฐาน
คือ เกิดทางกาย มิใช่เกิดทางวาจา มิใช่เกิดทางจิต
เกิดทางวาจา มิใช่เกิดทางกาย มิใช่เกิดทางจิต
เกิดทางกายกับวาจา มิใช่เกิดทางจิต
เกิดทางกายกับจิต มิใช่เกิดทางวาจา
เกิดทางวาจากับจิต มิใช่เกิดทางกาย และเกิดทางทวารทั้ง ๓
อนึ่ง สิกขาบทเหล่านี้ มี ๖ สมุฏฐาน เช่นกับสัญจริตตสิกขาบท
สัญจริตตสมุฏฐาน จบ

๔. สมนุภาสนาสมุฏฐาน
[๒๖๑] เภทสิกขาบท ว่าด้วยการทำสงฆ์ให้แตกกัน
อนุวัตตสิกขาบท ว่าด้วยภิกษุผู้ประพฤติตาม
กล่าวสนับสนุนภิกษุผู้ทำลายสงฆ์
ทุพพจสิกขาบท ว่าด้วยภิกษุเป็นคนว่ายาก
ทูสสิกขาบท ว่าด้วยภิกษุผู้ประทุษร้ายตระกูล
ทุฏฐุลลสิกขาบท ว่าด้วยการปกปิดอาบัติชั่วหยาบ
ทิฏฐิสิกขาบท ว่าด้วยการไม่ยอมสละทิฏฐิ๑
ฉันทสิกขาบท ว่าด้วยการไม่ให้ฉันทะแล้วไปเสีย
อุชชัคฆิกสิกขาบท ว่าด้วยการหัวเราะดังในบ้าน ๒ สิกขาบท
สัททสิกขาบท ว่าด้วยการพูดเสียงเบาในบ้าน ๒ สิกขาบท
นพยาหรสิกขาบท ว่าด้วยการไม่พูดขณะมีคำข้าวอยู่ในปาก
ฉมาสิกขาบท ว่าด้วยภิกษุนั่งที่พื้นจักไม่แสดงธรรม
แก่คนที่ไม่เป็นไข้ผู้นั่งบนอาสนะ
นีจาสนสิกขาบท ว่าด้วยภิกษุนั่งบนอาสนะต่ำจักไม่แสดงธรรม
แก่คนไม่เป็นไข้ผู้นั่งบนอาสนะสูง

เชิงอรรถ :
๑ อุกขิตสัมโภคสิกขาบท ว่าด้วยการคบหาภิกษุที่ถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรม วิ.มหา. (แปล) ๒/๔๒๓/๕๓๒

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๓๕๑ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [สมุฏฐานสีสสังเขป] ๔. สมนุภาสนาสมุฏฐาน
ฐานสิกขาบท ว่าด้วยภิกษุยืนอยู่จักไม่แสดงธรรม
แก่คนที่ไม่เป็นไข้ผู้นั่งอยู่
ปัจฉโตสิกขาบท ว่าด้วยภิกษุเดินอยู่ข้างหลังจักไม่แสดงธรรม
แก่คนที่ไม่เป็นไข้ผู้เดินไปข้างหน้า
อุปปเถนสิกขาบท ว่าด้วยภิกษุเดินไปนอกทางจักไม่แสดงธรรม
แก่คนที่ไม่เป็นไข้ผู้เดินไปในทาง
วัชชสิกขาบท ว่าด้วยการปกปิดโทษ๑
อนุวัตติสิกขาบท ว่าด้วยการประพฤติตามภิกษุที่ถูก
สงฆ์ลงอุกเขปนียกรรม
คหณสิกขาบท ว่าด้วยการยินดีการจับมือของชายเป็นต้น
โอสาเรสิกขาบท ว่าด้วยการเรียกภิกษุณีที่ถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรมเข้าหมู่
ปัจจาจิกขนาสิกขาบท ว่าด้วยการบอกคืนพระรัตนตรัย
กัสมิงสิกขาบท ว่าด้วยภิกษุณีถูกตัดสินให้แพ้คดีในอธิกรณ์หนึ่ง
สังสัฏฐาสิกขาบท ว่าด้วยภิกษุณีกับภิกษุณีอยู่คลุกคลีกัน
วธิสิกขาบท ว่าด้วยการร้องไห้ทุบตีตนเอง
วิสิพพสิกขาบท ว่าด้วยการเลาะจีวรแล้วไม่เย็บ
ทุกขิตาสิกขาบท ว่าด้วยการไม่ใส่ใจดูแลเพื่อนภิกษุณี
ปุนสังสัฏฐาสิกขาบท ว่าด้วยการอยู่คลุกคลีกับคฤหัสถ์
นวูปสมสิกขาบท ว่าด้วยการไม่ช่วยระงับอธิกรณ์
อารามสิกขาบท ว่าด้วยการเข้าอารามโดยไม่บอก
ปวารณาสิกขาบท ว่าด้วยการไม่ปวารณาในสงฆ์ ๒ ฝ่าย
อันวัฑฒมาสสิกขาบท ว่าด้วยพึงหวังธรรม ๒ อย่างทุกกึ่งเดือน
สหชีวินีสิกขาบท ว่าด้วยการไม่อนุเคราะห์สหชีวินีตลอด ๒ ปี
จีวรสิกขาบท ว่าด้วยการบอกสิกขมานาให้ถวายจีวรแล้วไม่บวชให้
อนุพันธนาสิกขาบท ว่าด้วยการบอกสิกขมานาให้ติดตาม
ตลอด ๒ ปี แล้วไม่บวชให้

เชิงอรรถ :
๑ ปาราชิกสิกขาบทที่ ๒ วิ.ภิกฺขุนี. (แปล) ๓/๖๖๔/๑๐

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๓๕๒ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [สมุฏฐานสีสสังเขป] ๕. กฐินสมุฏฐาน
ธรรม คือ สิกขาบทเหล่านี้ รวม ๓๗ สิกขาบท
เกิดทางกายวาจากับจิต ทุกสิกขาบทมีสมุฏฐานอันหนึ่ง
เหมือนสมนุภาสนสิกขาบท
สมนุภาสนาสมุฏฐาน จบ

๕. กฐินสมุฏฐาน
[๒๖๒] อุพภตกฐินสิกขาบท ว่าด้วยกฐินเดาะ ๓ สิกขาบท๑
ปฐมปัตตสิกขาบท ว่าด้วยบาตรสิกขาบทที่ ๑
เภสัชชสิกขาบท ว่าด้วยเภสัช อัจเจกสิกขาบท ว่าด้วยอัจเจกจีวร
สาสังกสิกขาบท ว่าด้วยเสนาสนะป่าที่น่าหวาดระแวง
ปักกมันตสิกขาบท ว่าด้วยเมื่อจะจากไป ๒ สิกขาบท๒
อุปัสสยสิกขาบท ว่าด้วยการไปสั่งสอนภิกษุณีถึงที่สำนัก
ปรัมปรสิกขาบท ว่าด้วยการฉันปรัมปรโภชนะ
อนติริตตสิกขาบท ว่าด้วยการฉันของฉันที่ไม่เป็นเดน๓
นิมันตนาสิกขาบท ว่าด้วยการได้รับนิมนต์๔
วิกัปปสิกขาบท ว่าด้วยการวิกัปจีวร
รัญโญสิกขาบท ว่าด้วยการเข้าไปในตำหนักที่บรรทมของพระราชา๕
วิกาลสิกขาบท ว่าด้วยการเข้าหมู่บ้านในเวลาวิกาล
โวสาสสิกขาบท ว่าด้วยการไม่ห้ามภิกษุณีผู้คอยบงการ

เชิงอรรถ :
๑ ปฐมกฐินสิกขาบทที่ ๑ อุทโทสิตสิกขาบทที่ ๒ ตติยกฐินสิกขาบทที่ ๓ แห่งจีวรวรรค วิ.มหา. (แปล)
๒/๔๕๙/๑,๔๗๑/๙,๔๙๗/๑๙
๒ ปฐมเสนาสนสิกขาบท ทุติยเสนาสนสิกขาบท แห่งภูตคามวรรค วิ.มหา. (แปล) ๒/๑๐๘/๒๙๑,๑๑๔/
๒๙๕
๓ ปฐมปวารณาสิกขาบท แห่งโภชนวรรค วิ.มหา. (แปล) ๒/๒๓๖/๓๙๓
๔ จาริตตสิกขาบทที่ ๖ แห่งอเจลกวรรค วิ.มหา. (แปล) ๒/๒๙๔/๔๓๗
๕ อันเตปุรสิกขาบทที่ ๑ แห่งรตนวรรค วิ.มหา. (แปล) ๒/๔๙๔/๕๘๕

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๓๕๓ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [สมุฏฐานสีสสังเขป] ๖. เอฬกโลมสมุฏฐาน
อารัญญกสิกขาบท ว่าด้วยการรับของเคี้ยวในเสนาสนะป่า๑
อุสูยาสิกขาบท ว่าด้วยภิกษุณีก่อคดีพิพาท
สันนิจยสิกขาบท ว่าด้วยการสะสมบาตร
ปูเรภัตตสิกขาบท ว่าด้วยการเข้าไปสู่ตระกูลในเวลาก่อนฉันภัตตาหาร๒
ปัจฉาภัตตสิกขาบท ว่าด้วยการเข้าไปสู่ตระกูลในเวลาหลังฉันภัตตาหาร
วิกาลสิกขาบท ว่าด้วยการเข้าไปสู่ตระกูลในเวลาวิกาล๓
ปัญจาหิกสิกขาบท ว่าด้วยการให้วาระผลัดเปลี่ยนสังฆาฏิ
มีกำหนดระยะเวลา ๕ วันล่วงเลยไป
สังกมนีสิกขาบท ว่าด้วยการห่มจีวรสับเปลี่ยนกัน
อาวสถสิกขาบท ๒ สิกขาบท ว่าด้วยการใช้ผ้าซับระดูแล้ว
ไม่สละและว่าด้วยการไม่สละที่พัก
ปสาขสิกขาบท ว่าด้วยการให้บ่งฝีในร่มผ้า
อาสนสิกขาบท ว่าด้วยการนั่งบนอาสนะ
โดยไม่ขอโอกาสก่อน ธรรม คือสิกขาบทเหล่านี้
รวม ๒๙ สิกขาบท เกิดทางกายกับวาจา มิใช่เกิดทางจิต
และเกิดทางทวารทั้ง ๓ ทุกสิกขาบท มี ๒ สมุฏฐาน
เหมือนกับกฐินสิกขาบท
กฐินสมุฏฐาน จบ

๖. เอฬกโลมสมุฏฐาน
[๒๖๓] เอฬกสิกขาบท ว่าด้วยการทำสันถัตผสมใยไหม
เสยยสิกขาบท ๒ สิกขาบท ว่าด้วยการนอนร่วมกัน๔

เชิงอรรถ :
๑ จตุตถปฏิเทสนียสิกขาบท วิ.มหา. (แปล) ๒/๕๗๐/๖๔๒
๒ สิกขาบทที่ ๕ แห่งอันธการวรรค วิ.ภิกฺขุนี. (แปล) ๓/๘๕๔/๑๖๗
๓ สิกขาบทที่ ๗ แห่งอันธการวรรค วิ.ภิกฺขุนี. (แปล) ๓/๘๖๔/๑๗๓
๔ สหเสยยสิกขาบทที่ ๕ ทุติยสหเสยยสิกขาบทที่ ๖ แห่งมุสาวาทวรรค วิ.มหา. (แปล) ๒/๔๙/๒๓๗,๕๕/
๒๔๑

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๓๕๔ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [สมุฏฐานสีสสังเขป] ๖. เอฬกโลมสมุฏฐาน
อาหัจจปาทกสิกขาบท ว่าด้วยเรื่องเตียงตั่งมีขาจดแม่แคร่๑
ปิณฑโภชนสิกขาบท ว่าด้วยการฉันภัตตาหารในที่พักแรม
คณโภชนสิกขาบท ว่าด้วยการฉันคณโภชนะ
วิกาลโภชนสิกขาบท ว่าด้วยการฉันโภชนในเวลาวิกาล
สันนิธิการกสิกขาบท ว่าด้วยการสะสมโภชนะ
ทันตโปนสิกขาบท ว่าด้วยการรับประเคนอาหารนอกจากน้ำและไม้ชำระฟัน
อเจลกสิกขาบท ว่าด้วยนักบวชเปลือยกาย
อุยยุตตสิกขาบท ว่าด้วยกองทัพที่เคลื่อนขบวนออกรบ
อุยโยธิกสิกขาบท ว่าด้วยการไปดูสนามรบ
สุราปานสิกขาบท ว่าด้วยการดื่มสุราและเมรัย
โอเรนนหายนสิกขาบท ว่าด้วยยังไม่ถึงครึ่งเดือนอาบน้ำ
ทุพพัณณสิกขาบท ว่าด้วยการทำจีวรใหม่ให้เสียสี
ปาฏิเทสนียสิกขาบท ๒ สิกขาบท๒
ลสุณสิกขาบท ว่าด้วยการขอกระเทียม
อุปติฏฐสิกขาบท ว่าด้วยการปรนนิบัติ
นัจจาสิกขาบท ว่าด้วยการไปดูการฟ้อนรำ
นาหนสิกขาบท ว่าด้วยการเปลือยกายอาบน้ำ
เอกัตถรณปาปุรณสิกขาบท ว่าด้วยการใช้ผ้าผืนเดียว
เป็นทั้งผ้าปูนอนเป็นทั้งผ้าห่ม
เสยยสิกขาบท ว่าด้วยการนอนบนเตียงเดียวกัน
อันโตรัฏฐสิกขาบท ว่าด้วยการเที่ยวจาริกไปในที่ที่น่าหวาดระแวงภายในรัฐ
พหิรัฏฐสิกขาบท ว่าด้วยการเที่ยวจาริกไปในที่
ที่น่าหวาดระแวงภายนอกรัฐ

เชิงอรรถ :
๑ ปฐมเสนาสนสิกขาบทที่ ๔ แห่งภูตคามวรรค วิ.มหา. (แปล) ๒/๑๐๘/๒๙๑
๒ ปฐมปาฎิเทสนียสิกขาบท และตติยปาฏิเทสนียสิกขาบท เป็นเอฬกโลมสมุฏฐาน วิ.อ. ๒/๕๕๖/๔๔๓,
๕๖๙/๔๔๔

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๓๕๕ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [สมุฏฐานสีสสังเขป] ๖. เอฬกโลมสมุฏฐาน
อันโตวัสสสิกขาบท ว่าด้วยการเที่ยวจาริกไปภายในพรรษา
จิตตาคารสิกขาบท ว่าด้วยการไปดูหอจิตรกรรม
อาสันทิสิกขาบท ว่าด้วยใช้ตั่งยาว
สุตตกันตนาสิกขาบท ว่าด้วยการกรอด้าย
เวยยาวัจจสิกขาบท ว่าด้วยการช่วยทำการขวนขวาย
สหัตถาสิกขาบท ว่าด้วยการให้ของเคี้ยวด้วยมือตน
อภิกขุกาวาสสิกขาบท ว่าด้วยการอยู่จำพรรษาในอาวาสที่ไม่มีภิกษุ
ฉัตตสิกขาบท ว่าด้วยภิกษุณีผู้ไม่เป็นไข้กั้นร่มและสวมรองเท้า
ยานสิกขาบท ว่าด้วยการเดินทางด้วยยานพาหนะ
สังฆาณิสิกขาบท ว่าด้วยการใช้เครื่องประดับเอว
อลังการสิกขาบท ว่าด้วยการใช้เครื่องประดับของสตรี
คันธสิกขาบท ว่าด้วยการใช้ของหอม
วาสิตสิกขาบท ว่าด้วยการใช้แป้งอบกลิ่น
ภิกขุนีสิกขาบท ว่าด้วยการใช้ภิกษุณีให้บีบนวด
สิกขมานาสิกขาบท ว่าด้วยการใช้สิกขมานาให้บีบนวด
สามเณรีสิกขาบท ว่าด้วยการใช้สามเณรีให้บีบนวด
คิหินีสิกขาบท ว่าด้วยการใช้คฤหัสถ์หญิงให้บีบนวด
อสังกัจฉิกาสิกขาบท ว่าด้วยการเข้าหมู่บ้านโดยไม่มีผ้ารัดถัน
รวมเป็น ๔๔ สิกขาบท
เกิดทางกาย มิใช่เกิดทางวาจากับจิต
เกิดทางกายกับจิต มิใช่เกิดทางวาจา
ทุกสิกขาบทมี ๒ สมุฏฐาน เหมือนกับเอฬกโลมสิกขาบท
เอฬกโลมสมุฏฐาน จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๓๕๖ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [สมุฏฐานสีสสังเขป] ๘. อัทธานสมุฏฐาน
๗. ปทโสธัมมสมุฏฐาน
[๒๖๔] ปทโสธัมมสิกขาบท ว่าด้วยการสอนให้กล่าวธรรมแข่งกันเป็นบท ๆ
อัญญัตรสิกขาบท ว่าด้วยภิกษุแสดงธรรมแก่มาตุคาม
เกิน ๕-๖ คำ เว้นไว้แต่มีบุรุษรู้เดียงสาอยู่
อสัมมตสิกขาบท ว่าด้วยภิกษุไม่ได้รับแต่งตั้งสั่งสอนภิกษุณี
อัตถังคตสิกขาบท ว่าด้วยการสั่งสอนภิกษุณีในเวลา
ที่ดวงอาทิตย์อัสดงแล้ว
ติรัจฉานวิชชาสิกขาบท ๒ สิกขาบท ว่าด้วยการเรียนดิรัจฉานวิชา
และว่าด้วยการสอนดิรัจฉานวิชา
อโนกาสปุจฉาสิกขาบท ว่าด้วยการถามปัญหาภิกษุโดยไม่ขอโอกาส
รวมสิกขาบทเหล่านี้เป็น ๗ สิกขาบท
เกิดทางวาจา มิใช่เกิดทางกาย มิใช่เกิดทางจิต
เกิดทางวาจากับจิต มิใช่เกิดทางกาย
ทุกสิกขาบทมี ๒ สมุฏฐาน เหมือนปทโสธัมมสิกขาบท
ปทโสธัมมสมุฏฐาน จบ

๘. อัทธานสมุฏฐาน
[๒๖๕] อัทธานสิกขาบท ว่าด้วยการชักชวนกันเดินทางไกลร่วมกันกับภิกษุณี
นาวสิกขาบท ว่าด้วยการชักชวนภิกษุณีโดยสารเรือลำเดียวกัน
ปณีตสิกขาบท ว่าด้วยการออกปากขอโภชนะอันประณีต
มาตุคามสิกขาบท ว่าด้วยการชักชวนเดินทางไกลร่วมกับมาตุคาม
สังหรสิกขาบท ว่าด้วยการถอนขนในที่แคบ
ธัญญสิกขาบท ว่าด้วยการออกปากขอข้าวเปลือกดิบ
นิมันติตาสิกขาบท ว่าด้วยภิกษุณีได้รับนิมนต์๑
ปาฏิเทสนียสิกขาบท ๘ สิกขาบท๒

เชิงอรรถ :
๑ สิกขาบทที่ ๔ แห่งอารามวรรค วิ.ภิกฺขุนี. (แปล) ๓/๑๐๓๗/๒๗๔
๒ ปาฏิเทสนียสิกขาบทที่ ๑-๘ วิ.ภิกฺขุนี. (แปล) ๓/๑๒๒๘/๓๘๕,๑๒๓๔/๓๘๙

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๓๕๗ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [สมุฏฐานสีสสังเขป] ๙. เถยยสัตถสมุฏฐาน
สิกขาบทเหล่านี้ รวมเป็น ๑๕ สิกขาบท
เกิดทางกาย มิใช่เกิดทางวาจา มิใช่เกิดทางจิต
เกิดทางกายกับวาจา มิใช่เกิดทางจิต
เกิดทางกายกับจิต มิใช่เกิดทางวาจา
เกิดทางกายวาจากับจิต รวมเป็น ๔ สมุฏฐาน
พระพุทธเจ้าผู้ทรงมีพระญาณทรงบัญญัตินัยไว้เสมอกับอัทธานสิกขาบท
อัทธานสมุฏฐาน จบ

๙. เถยยสัตถสมุฏฐาน
[๒๖๖] เถยยสัตถสิกขาบท ว่าด้วยการเดินทางไกลร่วม
กับพ่อค้าเกวียนผู้เป็นโจร
อุปัสสุติสิกขาบท ว่าด้วยการแอบฟังภิกษุทะเลาะกัน
สูปวิญญาปนสิกขาบท ว่าด้วยการออกปากขอแกงและข้าวสุก๑
รัตติสิกขาบท ว่าด้วยการสนทนากับชายในเวลาค่ำคืน
ฉันนสิกขาบท ว่าด้วยการยืนเคียงคู่กันสองต่อสองกับชาย
ในโอกาสที่กำบัง
โอกาสสิกขาบท ว่าด้วยการยืนเคียงคู่กันสองต่อสองกับชายในที่แจ้ง
พยูหสิกขาบท ว่าด้วยการยืนเคียงคู่กันสองต่อสอง
กับชายในตรอกตัน
สิกขาบทเหล่านี้รวมเป็น ๗ สิกขาบท
เกิดทางกายกับจิต มิใช่เกิดทางวาจา เกิดทางทวารทั้ง ๓
สิกขาบทเหล่านี้มี ๒ สมุฏฐาน
พระพุทธเจ้าผู้ทรงเป็นเผ่าพันธุ์แห่งพระราชาผู้สูงศักดิ์
ได้ทรงแสดงนัยไว้ เหมือนเถยยสัตถสมุฏฐาน
เถยยสัตถสมุฏฐาน จบ

เชิงอรรถ :
๑ สิกขาบทที่ ๗ แห่งสักกัจจวรรค วิ.มหา. (แปล) ๒/๖๑๒/๖๘๗

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๓๕๘ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [สมุฏฐานสีสสังเขป] ๑๒. โจรีวุฏฐาปนสมุฏฐาน
๑๐. ธัมมเทสนาสมุฏฐาน
[๒๖๗] พระตถาคตเจ้าจะไม่ทรงแสดงพระสัทธรรมแก่คนกั้นร่ม
ผู้ถือไม้พลอง ผู้ถือศัสตรา ผู้ถืออาวุธ ผู้สวมเขียงเท้า
ผู้สวมรองเท้า ผู้อยู่ในยานพาหนะ ผู้อยู่บนที่นอน ผู้นั่งรัดเข่า
ผู้โพกศีรษะ ผู้คลุมศีรษะ รวมเป็น ๑๑ สิกขาบทพอดี
เกิดทางวาจากับจิต มิใช่เกิดทางกาย
ทุกสิกขาบทมีสมุฏฐานอันหนึ่ง เสมอกับธัมมเทสนาสิกขาบท
ธัมมเทสนาสมุฏฐาน จบ

๑๑. ภูตาโรจนสมุฏฐาน
[๒๖๘] ภูตาโรจนสิกขาบทว่าด้วยการบอกอุตตริมนุสสธรรมที่มีจริง
เกิดทางกาย มิใช่เกิดทางวาจา มิใช่เกิดทางจิต
เกิดทางวาจา มิใช่เกิดทางกาย มิใช่เกิดทางจิต
เกิดทางกายกับวาจา มิใช่เกิดทางจิต
ขึ้นชื่อว่าภูตาโรจนสิกขาบทย่อมเกิดจาก ๓ สมุฏฐาน
ภูตาโรจนสมุฏฐาน จบ

๑๒. โจรีวุฏฐาปนสมุฏฐาน
[๒๖๙] โจรีวุฏฐาปนสิกขาบท ว่าด้วยการบวชให้สตรีผู้เป็นโจร
โจรีวุฏฐาปนสิกขาบทนี้ เกิดทางวาจากับจิต
มิใช่เกิดทางกาย และเกิดทางทวารทั้ง ๓
สิกขาบทนี้พระพุทธเจ้าผู้ทรงเป็นพระธรรมราชาทรงบัญญัติไว้ว่ามี
๒ สมุฏฐาน ไม่ซ้ำกัน
โจรีวุฏฐาปนสมุฏฐาน จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๓๕๙ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [สมุฏฐานสีสสังเขป] ๑๓. อนนุญญาตสมุฏฐาน
๑๓. อนนุญญาตสมุฏฐาน
[๒๗๐] อนนุญญาตสิกขาบท ว่าด้วยการบวชให้สิกขมานา
ที่ยังไม่ได้รับอนุญาต
เกิดทางวาจา มิใช่เกิดทางกาย มิใช่เกิดทางจิต
เกิดทางกายกับวาจา มิใช่เกิดทางจิต
เกิดทางวาจากับจิต มิใช่เกิดทางกาย
และเกิดทางทวารทั้ง ๓
จึงมี ๔ สมุฏฐาน ไม่ซ้ำกัน
อนนุญญาตสมุฏฐาน จบ

ความจริง สมุฏฐานโดยย่อทั้ง ๑๓ สิกขาบท
พระองค์ทรงแสดงไว้ดีแล้ว ซึ่งเป็นเหตุทำความไม่หลง
อนุโลมในหัวข้อหลักธรรมที่เป็นแบบแผน
วิญญูชนเมื่อจำสมุฏฐานนี้ไว้ได้
ก็จะไม่หลงในสมุฏฐานแล
สมุฏฐานสีสสังเขป จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๓๖๐ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [อันตรเปยยาล] กติปุจฉาวาร
อันตรเปยยาล
ว่าด้วยการละข้อความในระหว่าง

กติปุจฉาวาร
วาระว่าด้วยการถามว่ามีเท่าไร
[๒๗๑] ถาม : อาบัติมีเท่าไร กองอาบัติมีเท่าไร วินีตวัตถุมีเท่าไร ความไม่
เคารพมีเท่าไร ความเคารพมีเท่าไร วินีตวัตถุมีเท่าไร วิบัติมีเท่าไร สมุฏฐานแห่ง
อาบัติมีเท่าไร มูลแห่งวิวาทมีเท่าไร มูลแห่งการโจทมีเท่าไร สาราณียธรรม(ธรรม
เป็นที่ตั้งแห่งความระลึกถึงกัน)มีเท่าไร สังฆเภท(เรื่องทำความแตกร้าว)มีเท่าไร
อธิกรณ์มีเท่าไร สมถะมีเท่าไร
ตอบ : อาบัติมี ๕ กองอาบัติมี ๕ วินีตวัตถุมี ๕ อาบัติมี ๗ กองอาบัติมี
๗ วินีตวัตถุมี ๗ ความไม่เคารพมี ๖ ความเคารพมี ๖ วินีตวัตถุมี ๖ วิบัติมี ๔
สมุฏฐานแห่งอาบัติมี ๖ มูลแห่งวิวาทมี ๖ มูลแห่งการโจทมี ๖ สาราณียธรรม
มี ๖ สังฆเภทมี ๑๘ อธิกรณ์มี ๔ สมถะมี ๗
อาบัติ ๕
ในหัวข้อเหล่านั้น อาบัติ ๕ เป็นไฉน คือ
๑. อาบัติปาราชิก ๒. อาบัติสังฆาทิเสส
๓. อาบัติปาจิตตีย์ ๔. อาบัติปาฏิเทสนียะ
๕. อาบัติทุกกฏ
นี้คืออาบัติ ๕ อย่าง
กองอาบัติ ๕
ในหัวข้อเหล่านั้น กองอาบัติ ๕ เป็นไฉน คือ
๑. กองอาบัติปาราชิก ๒. กองอาบัติสังฆาทิเสส
๓. กองอาบัติปาจิตตีย์ ๔. กองอาบัติปาฏิเทสนียะ
๕. กองอาบัติทุกกฏ
นี้คือกองอาบัติ ๕ กอง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๓๖๑ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [อันตรเปยยาล] กติปุจฉาวาร
วินีตวัตถุ ๕
ในหัวข้อเหล่านั้น วินีตวัตถุ ๕ เป็นไฉน คือ
๑. การเว้นไกล ๒. การเว้นขาด
๓. การงดเว้น ๔. เจตนาเครื่องงดเว้นจากกอง
อาบัติ ๕
๕. ความไม่ประกอบ การไม่ทำ การไม่แกล้งต้อง การไม่ละเมิดเวลา
การกำจัดด้วยอริยมรรคชื่อเสตุ
นี้คือวินีตวัตถุ ๕ อย่าง
อาบัติ ๗
ในหัวข้อเหล่านั้น อาบัติ ๗ เป็นไฉน คือ

๑. อาบัติปาราชิก ๒. อาบัติสังฆาทิเสส
๓. อาบัติถุลลัจจัย ๔. อาบัติปาจิตตีย์
๕. อาบัติปาฏิเทสนียะ ๖. อาบัติทุกกฏ
๗. อาบัติทุพภาสิต

นี้คืออาบัติ ๗ อย่าง
กองอาบัติ ๗
ในหัวข้อเหล่านั้น กองอาบัติ ๗ เป็นไฉน คือ

๑. กองอาบัติปาราชิก ๒. กองอาบัติสังฆาทิเสส
๓. กองอาบัติถุลลัจจัย ๔. กองอาบัติปาจิตตีย์
๕. กองอาบัติปาฏิเทสนียะ ๖. กองอาบัติทุกกฏ
๗. กองอาบัติทุพภาสิต

นี้คือกองอาบัติ ๗ กอง
วินีตวัตถุ ๗
ในหัวข้อเหล่านั้น วินีตวัตถุ ๗ เป็นไฉน คือ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๓๖๒ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [อันตรเปยยาล] กติปุจฉาวาร

๑. การเว้นไกล ๒. การเว้นขาด
๓. การงดเว้น ๔. เจตนาเครื่องงดเว้นจากกอง
อาบัติ ๗
๕. ความไม่ประกอบ ๖. การไม่ทำ การไม่แกล้งต้อง
การไม่ละเมิดเวลา
๗. การกำจัดด้วยอริยมรรคชื่อเสตุ

นี้คือวินีตวัตถุ ๗ อย่าง
ความไม่เคารพ ๖
ในหัวข้อเหล่านั้น ความไม่เคารพ ๖ เป็นไฉน คือ

๑. ความไม่เคารพในพระพุทธเจ้า ๒. ความไม่เคารพในพระธรรม
๓. ความไม่เคารพในพระสงฆ์ ๔. ความไม่เคารพในสิกขา
๕. ความไม่เคารพในอัปปมาทธรรม ๖. ความไม่เคารพในปฏิสันถาร

นี้คือความไม่เคารพ ๖ ประการ
ความเคารพ ๖
ในหัวข้อเหล่านั้น ความเคารพ ๖ เป็นไฉน คือ

๑. ความเคารพในพระพุทธเจ้า ๒. ความเคารพในพระธรรม
๓. ความเคารพในพระสงฆ์ ๔. ความเคารพในสิกขา
๕. ความเคารพในอัปปมาทธรรม ๖. ความเคารพในปฏิสันถาร

นี้คือความเคารพ ๖ ประการ
วินีตวัตถุ ๖
ในหัวข้อเหล่านั้น วินีตวัตถุ ๖ เป็นไฉน คือ

๑. การเว้นไกล ๒. การเว้นขาด
๓. การงดเว้น ๔. เจตนาเครื่องงดเว้นจากความ
ไม่เคารพ ๖


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๓๖๓ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [อันตรเปยยาล] กติปุจฉาวาร
๕. ความไม่ประกอบ การไม่ทำ การไม่แกล้งต้อง การไม่ละเมิดเวลา
๖. การกำจัดด้วยอริยมรรคชื่อเสตุ
นี้คือวินีตวัตถุ ๖ ประการ
วิบัติ ๔
ในหัวข้อเหล่านั้น วิบัติ ๔ เป็นไฉน คือ
๑. สีลวิบัติ ๒. อาจารวิบัติ
๓. ทิฏฐิวิบัติ ๔. อาชีววิบัติ
นี้คือวิบัติ ๔ อย่าง
สมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖
ในหัวข้อเหล่านั้น สมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ เป็นไฉน คือ
๑. อาบัติเกิดทางกาย มิใช่เกิดทางวาจา มิใช่เกิดทางจิต
๒. อาบัติเกิดทางวาจา มิใช่เกิดทางกาย มิใช่เกิดทางจิต
๓. อาบัติเกิดทางกายกับวาจา มิใช่เกิดทางจิต
๔. อาบัติเกิดทางกายกับจิต มิใช่เกิดทางวาจา
๕. อาบัติเกิดทางวาจากับจิต มิใช่เกิดทางกาย
๖. อาบัติเกิดทางกายวาจากับจิต
นี้คือสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน
มูลเหตุแห่งวิวาท ๖๑
[๒๗๒] ในหัวข้อเหล่านั้น มูลเหตุแห่งวิวาท ๖ ประการ คือ

เชิงอรรถ :
๑ วิ.จู. (แปล) ๖/๒๑๖/๓๓๒-๓๓๔, องฺ.ฉกฺก. (แปล) ๒๒/๓๖/๔๘๔-๔๘๕

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๓๖๔ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [อันตรเปยยาล] กติปุจฉาวาร
ภิกษุในธรรมวินัย
๑. เป็นผู้มักโกรธ ผูกโกรธไว้ ภิกษุใดเป็นผู้มักโกรธ ผูกโกรธไว้ ภิกษุนั้น
ไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรงในพระศาสดา ไม่มีความเคารพ
ไม่มีความยำเกรงในพระธรรม ไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรง
ในพระสงฆ์ และไม่ทำสิกขาให้บริบูรณ์ ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ไม่
มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรงในพระศาสดา ไม่มีความเคารพ
ไม่มีความยำเกรงในพระธรรม ไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรง
ในพระสงฆ์ และไม่ทำสิกขาให้บริบูรณ์ ย่อมก่อวิวาทให้เกิดขึ้นใน
สงฆ์ ซึ่งเป็นไปเพื่อไม่เกื้อกูลแก่ชนหมู่มาก เพื่อไม่ใช่สุขแก่คนหมู่มาก
เพื่อไม่ใช่ประโยชน์แก่คนหมู่มาก เพื่อไม่เกื้อกูล เพื่อทุกข์แก่เทวดา
และมนุษย์ทั้งหลาย ภิกษุทั้งหลาย ถ้าเธอทั้งหลายพิจารณา เห็นมูล
เหตุแห่งวิวาทเช่นนี้ภายในหรือภายนอก เธอทั้งหลายพึงพยายาม
เพื่อละมูลเหตุแห่งวิวาทเช่นนี้ที่เป็นบาปภายในหรือภายนอกนั้นแล
ถ้าเธอทั้งหลายไม่พิจารณาเห็นมูลเหตุแห่งวิวาทเช่นนี้ภายในหรือ
ภายนอก เธอทั้งหลายพึงปฏิบัติเพื่อให้มูลเหตุแห่งวิวาทที่เป็นบาปนั้น
แลยืดเยื้อต่อไป การละมูลเหตุแห่งวิวาทที่เป็นบาปนั้นย่อมมีได้ และ
มูลเหตุแห่งวิวาทที่เป็นบาปนั้น ย่อมไม่ยืดเยื้อต่อไป
๒. เป็นผู้ลบหลู่ ตีเสมอ ฯลฯ
๓. เป็นผู้ริษยา มีความตระหนี่ ฯลฯ
๔. เป็นผู้โอ้อวด มีมายา ฯลฯ
๕. เป็นผู้มีความปรารถนาชั่วเป็นมิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ
๖. เป็นผู้ยึดมั่นทิฏฐิของตน มีความถือรั้น สละสิ่งที่ตนถือมั่นได้ยาก
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุใด เป็นผู้ยึดมั่นทิฏฐิของตน มีความถือรั้น
สละสิ่งที่ตนยึดมั่นได้ยาก ภิกษุนั้นไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรง
ในพระศาสดา ไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรงในพระธรรม ไม่มี
ความเคารพ ไม่มีความยำเกรงในพระสงฆ์ และไม่ทำสิกขาให้บริบูรณ์
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรงในพระศาสดา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๓๖๕ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [อันตรเปยยาล] กติปุจฉาวาร
ฯลฯ และไม่ทำสิกขาให้บริบูรณ์ ย่อมก่อวิวาท ให้เกิดขึ้นในสงฆ์
ซึ่งเป็นไปเพื่อไม่เกื้อกูลแก่ชนหมู่มาก เพื่อไม่ใช่สุขแก่คนหมู่มาก
เพื่อไม่ใช่ประโยชน์แก่คนหมู่มาก เพื่อไม่เกื้อกูล เพื่อทุกข์แก่เทวดา
และมนุษย์ทั้งหลาย ภิกษุทั้งหลาย ถ้าเธอทั้งหลายพิจารณาเห็น
มูลเหตุแห่งวิวาทเช่นนี้ทั้งภายในหรือภายนอก เธอทั้งหลายพึง
พยายามเพื่อละมูลเหตุแห่งวิวาทเช่นนี้ที่เป็นบาปภายในหรือภายนอก
นั้นแล ถ้าเธอทั้งหลายไม่พิจารณาเห็นมูลเหตุแห่งวิวาทเช่นนี้ภายใน
หรือภายนอก เธอทั้งหลายพึงปฏิบัติเพื่อให้มูลเหตุแห่งวิวาทที่
เป็นบาปนั้นแลยืดเยื้อต่อไป การละมูลเหตุแห่งวิวาทที่เป็นบาปนั้น
ย่อมมีได้ และมูลเหตุแห่งวิวาทที่เป็นบาปนั้น ย่อมไม่ยืดเยื้อต่อไป

มูลเหตุแห่งการโจท ๖
[๒๗๓] ในหัวข้อเหล่านั้น มูลเหตุแห่งการโจท ๖ ประการ คือ
ภิกษุในธรรมวินัย
๑. เป็นผู้มักโกรธ ผูกโกรธไว้ ภิกษุใดเป็นผู้มักโกรธ ผูกโกรธไว้ ภิกษุนั้น
ไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรงในพระศาสดา ไม่มีความเคารพ
ไม่มีความยำเกรงในพระธรรม ไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรง
ในพระสงฆ์ และไม่ทำสิกขาให้บริบูรณ์ ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ไม่มี
ความเคารพ ไม่มีความยำเกรงในพระศาสดา ไม่มีความเคารพ
ไม่มีความยำเกรงในพระธรรม ไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรง
ในพระสงฆ์ และไม่ทำสิกขาให้บริบูรณ์ ย่อมก่อการโจทให้เกิดขึ้น
ในสงฆ์ ซึ่งเป็นไปเพื่อไม่เกื้อกูลแก่ชนหมู่มาก เพื่อไม่ใช่สุขแก่คนหมู่
มาก เพื่อไม่ใช่ประโยชน์แก่คนหมู่มาก เพื่อไม่เกื้อกูล เพื่อทุกข์แก่
เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ภิกษุทั้งหลาย ถ้าเธอทั้งหลายพิจารณา
เห็นมูลเหตุแห่งการโจทเช่นนี้ภายในหรือภายนอก เธอทั้งหลายพึง
พยายามเพื่อละมูลเหตุแห่งการโจทเช่นนี้ที่เป็นบาปภายในหรือภาย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๓๖๖ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [อันตรเปยยาล] กติปุจฉาวาร
นอกนั้นแล ถ้าเธอทั้งหลายไม่พิจารณาเห็นมูลเหตุแห่งการโจท
เช่นนี้ภายในหรือภายนอก เธอทั้งหลายพึงปฏิบัติเพื่อให้มูลเหตุ
แห่งการโจทที่เป็นบาปนั้นแลยืดเยื้อต่อไป การละมูลเหตุแห่งการโจท
ที่เป็นบาปนั้นย่อมมีได้ และมูลเหตุแห่งการโจท ที่เป็นบาปนั้น
ย่อมไม่ยืดเยื้อต่อไป
๒. เป็นผู้ลบหลู่ ตีเสมอ ฯลฯ
๓. เป็นผู้ริษยา มีความตระหนี่ ฯลฯ
๔. เป็นผู้โอ้อวด มีมายา ฯลฯ
๕. เป็นผู้มีความปรารถนาชั่วเป็นมิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ
๖. เป็นผู้ยึดมั่นทิฏฐิของตน มีความถือรั้น สละสิ่งที่ตนถือมั่นได้ยาก
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุใด เป็นผู้ยึดมั่นทิฏฐิของตน มีความถือรั้น สละ
สิ่งที่ตนยึดมั่นได้ยาก ภิกษุนั้นไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรง
ในพระศาสดา ไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรงในพระธรรม
ไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรงในพระสงฆ์ และไม่ทำสิกขาให้
บริบูรณ์ ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรง
ในพระศาสดา ฯลฯ และไม่ทำสิกขาให้บริบูรณ์ ย่อมก่อการโจท
ให้เกิดขึ้นในสงฆ์ ซึ่งเป็นไปเพื่อไม่เกื้อกูลแก่ชนหมู่มาก เพื่อไม่ใช่สุข
แก่คนหมู่มาก เพื่อไม่ใช่ประโยชน์แก่คนหมู่มาก เพื่อไม่เกื้อกูล เพื่อ
ทุกข์แก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ภิกษุทั้งหลาย ถ้าเธอทั้งหลาย
พิจารณาเห็นมูลเหตุแห่งการโจทเช่นนี้ ทั้งภายในหรือภายนอก
เธอทั้งหลาย พึงพยายามเพื่อละมูลเหตุแห่งการโจทที่เป็นบาปนั้นแล
ทั้งภายในหรือภายนอกนั้น ถ้าเธอทั้งหลายไม่พิจารณาเห็นมูลเหตุ
แห่งการโจทเช่นนี้ ภายในหรือภายนอก เธอทั้งหลายพึงปฏิบัติ เพื่อ
ให้มูลเหตุแห่งการโจทที่เป็นบาปนั้นแลไม่ยืดเยื้อต่อไป การละ
มูลเหตุแห่งการโจทที่เป็นบาปนั้นย่อมมีได้ และมูลเหตุแห่งการโจท
ที่เป็นบาปนั้น ย่อมไม่ยืดเยื้อต่อไป
ภิกษุทั้งหลาย มูลเหตุแห่งการโจท ๖ ประการนี้แล

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๓๖๗ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [อันตรเปยยาล] กติปุจฉาวาร
สาราณียธรรม ๖ ประการ๑
[๒๗๔] ในหัวข้อเหล่านั้น สาราณียธรรม ๖ ประการ คือ
ภิกษุในธรรมวินัย
๑. ตั้งมั่นเมตตากายกรรมในเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย ทั้งต่อหน้าและ
ลับหลัง แม้นี้ก็เป็นสาราณียธรรมที่ทำให้เป็นที่รัก ทำให้เป็นที่เคารพ
เป็นไปเพื่อความสงเคราะห์กัน เพื่อความไม่วิวาทกัน เพื่อความ
สามัคคีกัน เพื่อความเป็นอันเดียวกัน
๒. ตั้งมั่นเมตตาวจีกรรม ฯลฯ
๓. ตั้งมั่นเมตตามโนกรรมในเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย ทั้งต่อหน้าและ
ลับหลัง แม้นี้ก็เป็นสาราณียธรรมที่ทำให้เป็นที่รัก ทำให้เป็นที่เคารพ
เป็นไปเพื่อความสงเคราะห์กัน เพื่อความไม่วิวาทกัน เพื่อความ
สามัคคีกัน เพื่อความเป็นอันเดียวกัน
๔. บริโภคโดยไม่แบ่งแยกลาภทั้งหลายที่ประกอบด้วยธรรม ได้มาโดย
ธรรม โดยที่สุดแม้เพียงบิณฑบาต บริโภคร่วมกับพรหมจารีทั้ง
หลาย ผู้มีศีล แม้นี้ก็เป็นสาราณียธรรมที่ทำให้เป็นที่รัก ทำให้
เป็นที่เคารพ เป็นไปเพื่อความสงเคราะห์กัน เพื่อความไม่วิวาทกัน
เพื่อความสามัคคีกัน เพื่อความเป็นอันเดียวกัน
๕. มีศีลที่ไม่ขาด ไม่ทะลุ ไม่ด่าง ไม่พร้อย เป็นไท ท่านผู้รู้สรรเสริญ
ไม่ถูกตัณหาและทิฏฐิครอบงำ เป็นไปเพื่อสมาธิเสมอกันกับเพื่อน
พรหมจารีทั้งหลาย ทั้งต่อหน้าและลับหลัง แม้นี้ก็เป็นสาราณียธรรม
ที่ทำให้เป็นที่รัก ทำให้เป็นที่เคารพ เป็นไปเพื่อความสงเคราะห์กัน
เพื่อความไม่วิวาทกัน เพื่อความสามัคคีกัน เพื่อความเป็นอันเดียวกัน
๖. มีอริยทิฏฐิ อันเป็นธรรมเครื่องนำออกเพื่อความสิ้นทุกข์โดยชอบแก่
ผู้ทำตาม เสมอกันกับเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย ทั้งต่อหน้าและ

เชิงอรรถ :
๑ ที.ปา. (แปล) ๑๑/๓๒๔/๓๒๑-๓๒๒, องฺ.ฉกฺก.(แปล) ๒๒/๑๒/๔๒๗-๔๒๘

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๓๖๘ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [อันตรเปยยาล] กติปุจฉาวาร
ลับหลัง แม้นี้ก็เป็นสาราณียธรรมที่ทำให้เป็นที่รัก ทำให้เป็นที่เคารพ
เป็นไปเพื่อความสงเคราะห์กัน เพื่อความไม่วิวาทกัน เพื่อความ
สามัคคีกัน เพื่อความเป็นอันเดียวกัน
สาราณียธรรม ๖ ประการนี้แล

สังฆเภท ๑๘ ประการ๑
[๒๗๕] ในหัวข้อเหล่านั้น เรื่องทำความแตกร้าวกัน ๑๘ ประการ เป็นไฉน คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. แสดงอธรรมว่า เป็นธรรม
๒. แสดงธรรมว่า เป็นอธรรม
๓. แสดงสิ่งที่มิใช่วินัยว่า เป็นวินัย
๔. แสดงวินัยว่า มิใช่วินัย
๕. แสดงสิ่งที่พระตถาคตมิได้ภาษิตไว้ มิได้ตรัสไว้ว่า พระตถาคตได้ภาษิตไว้
ได้ตรัสไว้
๖. แสดงสิ่งที่พระตถาคตได้ภาษิตไว้ ได้ตรัสไว้ว่า พระตถาคตมิได้ภาษิตไว้
มิได้ตรัสไว้
๗. แสดงจริยาวัตรที่พระตถาคตไม่ได้ทรงประพฤติมาว่า พระตถาคต
ได้ทรงประพฤติมา
๘. แสดงจริยาวัตรที่พระตถาคตได้ทรงประพฤติมาว่า พระตถาคตไม่ได้
ทรงประพฤติมา
๙. แสดงสิ่งที่พระตถาคตไม่ได้ทรงบัญญัติไว้ว่า พระตถาคตได้ทรง
บัญญัติไว้
๑๐. แสดงสิ่งที่พระตถาคตได้ทรงบัญญัติไว้ว่า พระตถาคตไม่ได้ทรง
บัญญัติไว้

เชิงอรรถ :
๑ วิ.ม. (แปล) ๕/๔๖๘/๓๒๓-๓๖๓, วิ.จู. (แปล) ๗/๓๕๒/๒๑๔, องฺ.ทสก. (แปล) ๒๔/๓๘/๘๙

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๓๖๙ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [อันตรเปยยาล] กติปุจฉาวาร
๑๑. แสดงอาบัติว่า เป็นอนาบัติ
๑๒. แสดงอนาบัติว่า เป็นอาบัติ
๑๓. แสดงอาบัติเบาว่า เป็นอาบัติหนัก
๑๔. แสดงอาบัติหนักว่า เป็นอาบัติเบา
๑๕. แสดงอาบัติที่มีส่วนเหลือว่า เป็นอาบัติที่ไม่มีส่วนเหลือ
๑๖. แสดงอาบัติที่ไม่มีส่วนเหลือว่า เป็นอาบัติที่มีส่วนเหลือ
๑๗. แสดงอาบัติชั่วหยาบว่า เป็นอาบัติไม่ชั่วหยาบ
๑๘. แสดงอาบัติไม่ชั่วหยาบว่า เป็นอาบัติชั่วหยาบ
นี้คือ เรื่องทำความแตกร้าวกัน ๑๘ ประการ
อธิกรณ์ ๔
ในหัวข้อเหล่านั้น อธิกรณ์ ๔ เป็นไฉน คือ
๑. วิวาทาธิกรณ์ ๒. อนุวาทาธิกรณ์
๓. อาปัตตาธิกรณ์ ๔. กิจจาธิกรณ์
นี้คืออธิกรณ์ ๔ อย่าง
สมถะ ๗
ในหัวข้อเหล่านั้น สมถะ ๗ เป็นไฉน คือ
๑. สัมมุขาวินัย ๒. สติวินัย
๓. อมูฬหวินัย ๔. ปฏิญญาตกรณะ
๕. เยภุยยสิกา ๖. ตัสสปาปิยสิกา
๗. ติณวัตถารกะ
นี้คือสมถะ ๗ อย่าง
กติปุจฉาวาร จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๓๗๐ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [อันตรเปยยาล] ๑. ฉอาปัตติสมุฏฐานวาร
หัวข้อประจำวาร
อาบัติ กองอาบัติ วินีตวัตถุ และอาบัติ กองอาบัติ วินีตวัตถุ
อีกอย่างละ ๗ ความไม่เคารพ ความเคารพ
วินีตวัตถุอีก ๗ วิบัติ สมุฏฐานแห่งอาบัติ
มูลแห่งการวิวาทและการโจท
สาราณียธรรม สังฆเภท อธิกรณ์ และสมถะ ๗
พระผู้มีพระภาคตรัสไว้แล้ว รวมเป็น ๑๗ บท

๑. ฉอาปัตติสมุฏฐานวาร
วาระว่าด้วยสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน
[๒๗๖] ถาม : ด้วยสมุฏฐานแห่งอาบัติข้อที่ ๑ ภิกษุต้องอาบัติปาราชิกหรือ
ตอบ : ไม่ต้องเลย
ถาม : ต้องอาบัติสังฆาทิเสสหรือ
ตอบ : ต้องก็มี
ถาม : ต้องอาบัติถุลลัจจัยหรือ
ตอบ : ต้องก็มี
ถาม : ต้องอาบัติปาจิตตีย์หรือ
ตอบ : ต้องก็มี
ถาม : ต้องอาบัติปาฏิเทสนียะหรือ
ตอบ : ต้องก็มี
ถาม : ต้องอาบัติทุกกฏหรือ
ตอบ : ต้องก็มี
ถาม : ต้องทุพภาสิตหรือ
ตอบ : ไม่ต้องเลย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๓๗๑ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [อันตรเปยยาล] ๑. ฉอาปัตติสมุฏฐานวาร
ถาม : ด้วยสมุฏฐานแห่งอาบัติที่ ๒ ภิกษุต้องอาบัติปาราชิกหรือ
ตอบ : ไม่ต้องเลย
ถาม : ต้องอาบัติสังฆาทิเสสหรือ
ตอบ : ต้องก็มี
ถาม : ต้องอาบัติถุลลัจจัยหรือ
ตอบ : ต้องก็มี
ถาม : ต้องอาบัติปาจิตตีย์หรือ
ตอบ : ต้องก็มี
ถาม : ต้องอาบัติปาฏิเทสนียะหรือ
ตอบ : ไม่ต้องเลย
ถาม : ต้องอาบัติทุกกฏหรือ
ตอบ : ต้องก็มี
ถาม : ต้องทุพภาสิตหรือ
ตอบ : ไม่ต้องเลย
ถาม : ด้วยสมุฏฐานแห่งอาบัติที่ ๓ ภิกษุต้องอาบัติปาราชิกหรือ
ตอบ : ไม่ต้องเลย
ถาม : ต้องอาบัติสังฆาทิเสสหรือ
ตอบ : ต้องก็มี
ถาม : ต้องอาบัติถุลลัจจัยหรือ
ตอบ : ต้องก็มี
ถาม : ต้องอาบัติปาจิตตีย์หรือ
ตอบ : ต้องก็มี
ถาม : ต้องอาบัติปาฏิเทสนียะหรือ
ตอบ : ต้องก็มี
ถาม : ต้องอาบัติทุกกฏหรือ
ตอบ : ต้องก็มี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๓๗๒ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [อันตรเปยยาล] ๑.ฉอาปัตติสมุฏฐานวาร
ถาม : ต้องทุพภาสิตหรือ
ตอบ : ไม่ต้องเลย
ถาม : ด้วยสมุฏฐานแห่งอาบัติที่ ๔ ภิกษุต้องอาบัติปาราชิกหรือ
ตอบ : ต้องก็มี
ถาม : ต้องอาบัติสังฆาทิเสสหรือ
ตอบ : ต้องก็มี
ถาม : ต้องอาบัติถุลลัจจัยหรือ
ตอบ : ต้องก็มี
ถาม : ต้องอาบัติปาจิตตีย์หรือ
ตอบ : ต้องก็มี
ถาม : ต้องอาบัติปาฏิเทสนียะหรือ
ตอบ : ต้องก็มี
ถาม : ต้องอาบัติทุกกฏหรือ
ตอบ : ต้องก็มี
ถาม : ต้องทุพภาสิตหรือ
ตอบ : ไม่ต้องเลย
ถาม : ด้วยสมุฏฐานแห่งอาบัติที่ ๕ ภิกษุต้องอาบัติปาราชิกหรือ
ตอบ : ต้องก็มี
ถาม : ต้องอาบัติสังฆาทิเสสหรือ
ตอบ : ต้องก็มี
ถาม : ต้องอาบัติถุลลัจจัยหรือ
ตอบ : ต้องก็มี
ถาม : ต้องอาบัติปาจิตตีย์หรือ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๓๗๓ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [อันตรเปยยาล] ๑.ฉอาปัตติสมุฏฐานวาร
ตอบ : ต้องก็มี
ถาม : ต้องอาบัติปาฏิเทสนียะหรือ
ตอบ : ไม่ต้องเลย
ถาม : ต้องอาบัติทุกกฏหรือ
ตอบ : ต้องก็มี
ถาม : ต้องทุพภาสิตหรือ
ตอบ : ต้องก็มี
ถาม : ด้วยสมุฏฐานแห่งอาบัติที่ ๖ ภิกษุต้องอาบัติปาราชิกหรือ
ตอบ : ต้องก็มี
ถาม : ต้องอาบัติสังฆาทิเสสหรือ
ตอบ : ต้องก็มี
ถาม : ต้องอาบัติถุลลัจจัยหรือ
ตอบ : ต้องก็มี
ถาม : ต้องอาบัติปาจิตตีย์หรือ
ตอบ : ต้องก็มี
ถาม : ต้องอาบัติปาฏิเทสนียะหรือ
ตอบ : ต้องก็มี
ถาม : ต้องอาบัติทุกกฏหรือ
ตอบ : ต้องก็มี
ถาม : ต้องทุพภาสิตหรือ
ตอบ : ไม่ต้องเลย
ฉอาปัตติสมุฏฐานวารที่ ๑ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๓๗๔ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [อันตรเปยยาล] ๒. กตาปัตติวาร
๒. กตาปัตติวาร
วาระว่าด้วยต้องอาบัติเท่าไร
[๒๗๗] ถาม : ด้วยสมุฏฐานแห่งอาบัติข้อที่ ๑ ภิกษุต้องอาบัติเท่าไร
ตอบ : ด้วยสมุฏฐานแห่งอาบัติข้อที่ ๑ ภิกษุต้องอาบัติ ๕ อย่าง คือ
๑. ภิกษุมีความสำคัญว่าควร สร้างกุฎีซึ่งสงฆ์ไม่ได้แสดงพื้นที่ให้ เกิน
ขนาด มีอันตราย ไม่มีบริเวณโดยรอบ ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะ
พยายาม
๒. ยังเหลืออิฐอีกก้อนหนึ่งจึงจะเสร็จ ต้องอาบัติถุลลัจจัย
๓. อิฐก้อนสุดท้ายเสร็จแล้ว ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
๔. ภิกษุมีความสำคัญว่าควร ฉันโภชนะในเวลาวิกาล ต้องอาบัติปาจิตตีย์
๕. ภิกษุมีความสำคัญว่าควร รับของเคี้ยวหรือของฉันจากมือภิกษุณี
ผู้ไม่ใช่ญาติ ผู้เข้าไปสู่ละแวกบ้าน ด้วยมือของตนมาฉัน ต้องอาบัติ
ปาฏิเทสนียะ
ด้วยสมุฏฐานแห่งอาบัติข้อที่ ๑ ภิกษุต้องอาบัติ ๕ อย่างเหล่านี้
ถาม : อาบัติเหล่านั้น บรรดาวิบัติ ๔ อย่าง จัดเป็นวิบัติเท่าไร บรรดากอง
อาบัติ ๗ กอง จัดเข้ากองอาบัติเท่าไร บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน
เกิดด้วยสมุฏฐานเท่าไร บรรดาอธิกรณ์ ๔ อย่าง จัดเป็นอธิกรณ์ไหน บรรดาสมถะ
๗ อย่าง ระงับด้วยสมถะเท่าไร
ตอบ : อาบัติเหล่านั้น บรรดาวิบัติ ๔ อย่าง จัดเป็นวิบัติ ๒ อย่าง คือ
(๑) สีลวิบัติ (๒) อาจารวิบัติ
บรรดากองอาบัติ ๗ กอง จัดเข้ากองอาบัติ ๕ กอง คือ (๑) กองอาบัติ
สังฆาทิเสส (๒) กองอาบัติถุลลัจจัย (๓) กองอาบัติปาจิตตีย์ (๔) กองอาบัติ
ปาฏิเทสนียะ (๕) กองอาบัติทุกกฏ
บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๑ สมุฏฐาน คือ
เกิดทางกาย มิใช่เกิดทางวาจา มิใช่เกิดทางจิต

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๓๗๕ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [อันตรเปยยาล] ๒. กตาปัตติวาร
บรรดาอธิกรณ์ ๔ อย่าง จัดเป็นอาปัตตาธิกรณ์
บรรดาสมถะ ๗ อย่าง ระงับด้วยสมถะ ๓ อย่าง คือ (๑) สัมมุขาวินัย
(๒) ปฏิญญาตกรณะ (๓) สัมมุขาวินัยและติณวัตถารกะ
[๒๗๘] ถาม : ด้วยสมุฏฐานแห่งอาบัติข้อที่ ๒ ภิกษุต้องอาบัติเท่าไร
ตอบ : ด้วยสมุฏฐานแห่งอาบัติข้อที่ ๒ ภิกษุต้องอาบัติ ๔ อย่าง คือ
๑. ภิกษุมีความสำคัญว่าควร สั่งว่า “จงสร้างกุฎีให้เรา” ผู้รับคำสั่ง
สร้างกุฎีให้ภิกษุนั้น ซึ่งสงฆ์ไม่ได้แสดงพื้นที่ให้ สร้างเกินขนาด เป็น
พื้นที่มีอันตราย ไม่มีบริเวณโดยรอบ ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะ
พยายาม
๒. ยังเหลืออิฐก้อนหนึ่งจึงจะเสร็จ ต้องอาบัติถุลลัจจัย
๓. อิฐก้อนสุดท้ายเสร็จแล้ว ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
๔. ภิกษุมีความสำคัญว่าควร สอนอนุปสัมบันให้กล่าวธรรมแข่งกันเป็น
บท ๆ ต้องอาบัติปาจิตตีย์
ด้วยสมุฏฐานแห่งอาบัติข้อที่ ๒ ภิกษุต้องอาบัติ ๔ อย่างเหล่านี้
ถาม : อาบัติเหล่านั้น บรรดาวิบัติ ๔ อย่าง จัดเป็นวิบัติเท่าไร ฯลฯ
บรรดาสมถะ ๗ อย่าง ระงับด้วยสมถะเท่าไร
ตอบ : อาบัติเหล่านั้น บรรดาวิบัติ ๔ อย่าง จัดเป็นวิบัติ ๒ อย่าง คือ
(๑) สีลวิบัติ (๒) อาจารวิบัติ
บรรดากองอาบัติ ๗ กอง จัดเข้ากองอาบัติ ๔ กอง คือ (๑) กองอาบัติ
สังฆาทิเสส (๒) กองอาบัติถุลลัจจัย (๓) กองอาบัติปาจิตตีย์ (๔) กองอาบัติ
ทุกกฏ
บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๑ สมุฏฐาน คือ
เกิดทางวาจา มิใช่เกิดทางกาย มิใช่เกิดทางจิต
บรรดาอธิกรณ์ ๔ อย่าง จัดเป็นอาปัตตาธิกรณ์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๓๗๖ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [อันตรเปยยาล] ๒. กตาปัตติวาร
บรรดาสมถะ ๗ อย่าง ระงับด้วยสมถะ ๓ อย่าง คือ (๑) สัมมุขาวินัย
(๒) ปฏิญญาตกรณะ (๓) สัมมุขาวินัยและติณวัตถารกะ
[๒๗๙] ถาม : ด้วยสมุฏฐานแห่งอาบัติข้อที่ ๓ ภิกษุต้องอาบัติเท่าไร
ตอบ : ด้วยสมุฏฐานแห่งอาบัติข้อที่ ๓ ภิกษุต้องอาบัติ ๕ อย่าง คือ
๑. ภิกษุมีความสำคัญว่าควร สร้างกุฎีซึ่งสงฆ์ไม่ได้แสดงพื้นที่ให้ เกิน
ขนาด มีอันตราย ไม่มีบริเวณโดยรอบ ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะ
พยายาม
๒. ยังเหลืออิฐอีกก้อนหนึ่งจึงจะเสร็จ ต้องอาบัติถุลลัจจัย
๓. อิฐก้อนสุดท้ายเสร็จแล้ว ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
๔. ภิกษุมีความสำคัญว่าควร ออกปากขอโภชนะอันประณีตมาเพื่อ
ประโยชน์ตนแล้วฉัน ต้องอาบัติปาจิตตีย์
๕. ภิกษุมีความสำคัญว่าควร ไม่ห้ามภิกษุณีผู้คอยบงการฉันอยู่ ต้อง
อาบัติปาฏิเทสนียะ
ด้วยสมุฏฐานแห่งอาบัติข้อที่ ๓ ภิกษุต้องอาบัติ ๕ อย่างเหล่านี้
ถาม : อาบัติเหล่านั้น บรรดาวิบัติ ๔ อย่าง จัดเป็นวิบัติเท่าไร ฯลฯ ระงับ
ด้วยสมถะเท่าไร บรรดาสมถะ ๗ อย่าง
ตอบ : อาบัติเหล่านั้น บรรดาวิบัติ ๔ อย่าง จัดเป็นวิบัติ ๒ อย่าง คือ
(๑) สีลวิบัติ (๒) อาจารวิบัติ
บรรดากองอาบัติ ๗ กอง จัดเข้ากองอาบัติ ๕ กอง คือ (๑) กองอาบัติ
สังฆาทิเสส (๒) กองอาบัติถุลลัจจัย (๓) กองอาบัติปาจิตตีย์ (๔) กองอาบัติ
ปาฏิเทสนียะ (๕) กองอาบัติทุกกฏ
บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๑ สมุฏฐาน
คือ เกิดทางกายกับวาจา มิใช่เกิดทางจิต
บรรดาอธิกรณ์ ๔ อย่าง จัดเป็นอาปัตตาธิกรณ์
บรรดาสมถะ ๗ อย่าง ระงับด้วยสมถะ ๓ อย่าง คือ (๑) สัมมุขาวินัย
(๒) ปฏิญญาตกรณะ (๓) สัมมุขาวินัยและติณวัตถารกะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๓๗๗ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [อันตรเปยยาล] ๒. กตาปัตติวาร
[๒๘๐] ถาม : ด้วยสมุฏฐานแห่งอาบัติข้อที่ ๔ ภิกษุต้องอาบัติเท่าไร
ตอบ : ด้วยสมุฏฐานแห่งอาบัติข้อที่ ๔ ภิกษุต้องอาบัติ ๖ อย่าง คือ
๑. ภิกษุเสพเมถุนธรรม ต้องอาบัติปาราชิก
๒. ภิกษุมีความสำคัญว่าไม่ควร สร้างกุฎีด้วยการขอเอาเอง ซึ่งสงฆ์
ไม่ได้แสดงพื้นที่ให้ เกินขนาด มีอันตราย ไม่มีบริเวณโดยรอบ
ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะพยายาม
๓. ยังเหลืออิฐอีกก้อนหนึ่งจึงจะเสร็จ ต้องอาบัติถุลลัจจัย
๔. อิฐก้อนสุดท้ายเสร็จแล้ว ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
๕. ภิกษุมีความสำคัญว่าไม่ควร ฉันโภชนะในเวลาวิกาล ต้องอาบัติ
ปาจิตตีย์
๖. ภิกษุมีความสำคัญว่าไม่ควร รับของเคี้ยวหรือของฉันจากมือภิกษุณี
ที่ไม่ใช่ญาติ ผู้เข้าไปสู่ละแวกบ้าน ด้วยมือของตนมาฉัน ต้องอาบัติ
ปาฏิเทสนียะ
ด้วยสมุฏฐานแห่งอาบัติข้อที่ ๔ ภิกษุต้องอาบัติ ๖ อย่างเหล่านี้
ถาม : อาบัติเหล่านั้น บรรดาวิบัติ ๔ อย่าง จัดเป็นวิบัติเท่าไร ฯลฯ
บรรดาสมถะ ๗ อย่าง ระงับด้วยสมถะเท่าไร
ตอบ : อาบัติเหล่านั้น บรรดาวิบัติ ๔ อย่าง จัดเป็นวิบัติ ๒ อย่าง คือ
(๑) สีลวิบัติ (๒) อาจารวิบัติ
บรรดากองอาบัติ ๗ กอง จัดเข้ากองอาบัติ ๖ กอง คือ (๑) กองอาบัติ
ปาราชิก (๒) กองอาบัติสังฆาทิเสส (๓) กองอาบัติถุลลัจจัย (๔) กองอาบัติปาจิตตีย์
(๕) กองอาบัติปาฏิเทสนียะ (๖) กองอาบัติทุกกฏ
บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๑ สมุฏฐาน
คือ เกิดทางกายกับจิต มิใช่เกิดทางวาจา
บรรดาอธิกรณ์ ๔ อย่าง จัดเป็นอาปัตตาธิกรณ์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๓๗๘ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [อันตรเปยยาล] ๒. กตาปัตติวาร
บรรดาสมถะ ๗ อย่าง ระงับด้วยสมถะ ๓ อย่าง คือ (๑) สัมมุขาวินัย
(๒) ปฏิญญาตกรณะ (๓) สัมมุขาวินัยและติณวัตถารกะ
[๒๘๑] ถาม : ด้วยสมุฏฐานแห่งอาบัติข้อที่ ๕ ภิกษุต้องอาบัติเท่าไร
ตอบ : ด้วยสมุฏฐานแห่งอาบัติข้อที่ ๕ ภิกษุต้องอาบัติ ๖ อย่าง คือ
๑. ภิกษุมีความปรารถนาชั่วช้า ถูกความอยากครอบงำ กล่าวอวด
อุตตริมนุสสธรรมที่ไม่มีอยู่ ไม่เป็นจริง ต้องอาบัติปาราชิก
๒. ภิกษุมีความสำคัญว่าไม่ควร สั่งว่า “จงสร้างกุฎีให้เรา” ผู้รับคำสั่ง
สร้างกุฎีให้แก่ภิกษุนั้น ซึ่งสงฆ์ไม่ได้แสดงพื้นที่ให้ สร้างเกินขนาด
เป็นพื้นที่มีอันตราย ไม่มีบริเวณโดยรอบ ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะ
พยายาม
๓. ยังเหลืออิฐอีกก้อนหนึ่งจึงจะเสร็จ ต้องอาบัติถุลลัจจัย
๔. อิฐก้อนสุดท้ายเสร็จแล้ว ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
๕. ภิกษุมีความสำคัญว่าไม่ควร สอนอนุปสัมบันให้กล่าวธรรมแข่งกัน
เป็นบท ๆ ต้องอาบัติปาจิตตีย์
๖. ภิกษุไม่ต้องการจะด่า ไม่ต้องการจะสบประมาท ไม่ต้องการจะทำ
ให้เก้อเขิน ต้องการจะเล่น กล่าวกับอุปสัมบันชาติกำเนิดต่ำ
ด้วยถ้อยคำบ่งถึงชาติกำเนิดต่ำ ต้องอาบัติทุพภาสิต
ด้วยสมุฏฐานแห่งอาบัติข้อที่ ๕ ภิกษุต้องอาบัติ ๖ อย่างเหล่านี้
ถาม : อาบัติเหล่านั้น บรรดาวิบัติ ๔ อย่าง จัดเป็นวิบัติเท่าไร ฯลฯ
บรรดาสมถะ ๗ อย่าง ระงับด้วยสมถะเท่าไร
ตอบ : อาบัติเหล่านั้น บรรดาวิบัติ ๔ อย่าง จัดเป็นวิบัติ ๒ อย่าง คือ
(๑) สีลวิบัติ (๒) อาจารวิบัติ
บรรดากองอาบัติ ๗ กอง จัดเข้ากองอาบัติ ๖ กอง คือ (๑) กองอาบัติปาราชิก
(๒) กองอาบัติสังฆาทิเสส (๓) กองอาบัติถุลลัจจัย (๔) กองอาบัติปาจิตตีย์
(๕) กองอาบัติทุกกฏ (๖) กองอาบัติทุพภาสิต

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๓๗๙ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [อันตรเปยยาล] ๒. กตาปัตติวาร
บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๑ สมุฏฐาน
คือ เกิดทางวาจากับจิต มิใช่เกิดทางกาย
บรรดาอธิกรณ์ ๔ อย่าง จัดเป็นอาปัตตาธิกรณ์
บรรดาสมถะ ๗ อย่าง ระงับด้วยสมถะ ๓ อย่าง คือ (๑) สัมมุขาวินัย
(๒) ปฏิญญาตกรณะ (๓) สัมมุขาวินัยและติณวัตถารกะ
[๒๘๒] ถาม : ด้วยสมุฏฐานแห่งอาบัติข้อที่ ๖ ภิกษุต้องอาบัติเท่าไร
ตอบ : ด้วยสมุฏฐานแห่งอาบัติข้อที่ ๖ ภิกษุต้องอาบัติ ๖ อย่างคือ
๑. ภิกษุชวนกันไปลักทรัพย์ ต้องอาบัติปาราชิก
๒. ภิกษุมีความสำคัญว่าไม่ควร สร้างกุฎีซึ่งสงฆ์ไม่ได้แสดงพื้นที่ให้
เกินขนาด มีอันตราย ไม่มีบริเวณโดยรอบ ต้องอาบัติทุกกฏ
เพราะพยายาม
๓. ยังเหลืออิฐอีกก้อนหนึ่งจึงจะเสร็จ ต้องอาบัติถุลลัจจัย
๔. อิฐก้อนสุดท้ายเสร็จแล้ว ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
๕. ภิกษุมีความสำคัญว่าไม่ควร ออกปากขอโภชนะอันประณีตมาเพื่อ
ประโยชน์แก่ตนแล้วฉัน ต้องอาบัติปาจิตตีย์
๖. ภิกษุมีความสำคัญว่าไม่ควร ไม่ห้ามภิกษุณีผู้คอยบงการ ฉันอยู่
ต้องอาบัติปาฏิเทสนียะ
ด้วยสมุฏฐานแห่งอาบัติข้อที่ ๖ ภิกษุต้องอาบัติ ๖ อย่างเหล่านี้
ถาม : อาบัติเหล่านั้น บรรดาวิบัติ ๔ อย่าง จัดเป็นวิบัติเท่าไร บรรดากอง
อาบัติ ๗ กอง จัดเข้ากองอาบัติเท่าไร บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน
เกิดด้วยสมุฏฐานเท่าไร บรรดาอธิกรณ์ ๔ อย่าง จัดเป็นอธิกรณ์ไหน บรรดาสมถะ
๗ อย่าง ระงับด้วยสมถะเท่าไร
ตอบ : อาบัติเหล่านั้น บรรดาวิบัติ ๔ อย่าง จัดเป็นวิบัติ ๒ อย่าง คือ
(๑) สีลวิบัติ (๒) อาจารวิบัติ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๓๘๐ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [อันตรเปยยาล] ๓. อาปัตติสมุฏฐานคาถา
บรรดากองอาบัติ ๗ กอง จัดเข้ากองอาบัติ ๖ กอง คือ (๑) กองอาบัติ
ปาราชิก (๒) กองอาบัติสังฆาทิเสส (๓) กองอาบัติถุลลัจจัย (๔) กองอาบัติ
ปาจิตตีย์ (๕) กองอาบัติปาฏิเทสนียะ (๖) กองอาบัติทุกกฏ
บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๑ สมุฏฐาน คือ
เกิดทางกายวาจากับจิต
บรรดาอธิกรณ์ ๔ อย่าง จัดเป็นอาปัตตาธิกรณ์
บรรดาสมถะ ๗ อย่าง ระงับด้วยสมถะ ๓ อย่าง คือ (๑) สัมมุขาวินัย
(๒) ปฏิญญาตกรณะ (๓) สัมมุขาวินัยและติณวัตถารกะ
กตาปัตติวารแห่งสมุฏฐานวารแห่งอาบัติ ๖ ที่ ๒ จบ

๓. อาปัตติสมุฏฐานคาถา
ว่าด้วยคาถาแสดงสมุฏฐานแห่งอาบัติ
[๒๘๓] ถาม : พระพุทธเจ้าผู้ทรงเห็นธรรมไม่มีที่สุด๑
ทรงเกื้อกูลแก่สัตว์โลก ทรงเห็นวิเวก
ได้ตรัสบอกสมุฏฐานทางกายไว้แล้ว
อาบัติที่เกิดโดยสมุฏฐานนั้นมีเท่าไร
ข้าพเจ้าขอถาม ท่านผู้ฉลาดในวิภังค์โปรดบอกข้อนั้นเถิด
ตอบ : พระพุทธเจ้าผู้ทรงเห็นธรรมไม่มีที่สุด
ทรงเกื้อกูลแก่สัตว์โลก ทรงเห็นวิเวก
ได้ตรัสบอกสมุฏฐานทางกายไว้แล้ว
อาบัติที่เกิดโดยสมุฏฐานนั้นมีอยู่ ๕
ท่านผู้ฉลาดในวิภังค์ ข้าพเจ้าขอบอกข้อนั้นแก่ท่าน

เชิงอรรถ :
๑ เห็นเญยยธรรมไม่มีที่สุด (สํ.ส.ฏีกา ๑/๑๗๕/๒๕๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๓๘๑ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [อันตรเปยยาล] ๓. อาปัตติสมุฏฐานคาถา
พระพุทธเจ้าผู้ทรงเห็นธรรมไม่มีที่สุด
ทรงเกื้อกูลแก่สัตว์โลก ทรงเห็นวิเวก
ได้ตรัสบอกสมุฏฐานทางวาจาไว้แล้ว
อาบัติที่เกิดโดยสมุฏฐานนั้นมีเท่าไร
ข้าพเจ้าขอถาม โปรดบอกข้อนั้นเถิด ท่านผู้ฉลาดในวิภังค์
พระพุทธเจ้าผู้ทรงเห็นธรรมไม่มีที่สุด
ทรงเกื้อกูลแก่สัตว์โลก ทรงเห็นวิเวก
ได้ตรัสบอกสมุฏฐานทางวาจาไว้แล้ว
อาบัติที่เกิดโดยสมุฏฐานนั้นมีอยู่ ๔
ท่านผู้ฉลาดในวิภังค์ ข้าพเจ้าขอบอกข้อนั้นแก่ท่าน
พระพุทธเจ้าผู้ทรงเห็นธรรมไม่มีที่สุด
ทรงเกื้อกูลแก่สัตว์โลก ทรงเห็นวิเวก
ได้ตรัสบอกสมุฏฐานทางกาย ทางวาจาไว้แล้ว
อาบัติที่เกิดโดยสมุฏฐานนั้นมีเท่าไร
ข้าพเจ้าขอถาม โปรดบอกข้อนั้นเถิด ท่านผู้ฉลาดในวิภังค์
พระพุทธเจ้าผู้ทรงเห็นธรรมไม่มีที่สุด
ทรงเกื้อกูลแก่สัตว์โลก ทรงเห็นวิเวก
ได้ตรัสบอกสมุฏฐานทางกาย ทางวาจาไว้แล้ว
อาบัติที่เกิดโดยสมุฏฐานนั้นมีอยู่ ๕
ท่านผู้ฉลาดในวิภังค์ ข้าพเจ้าขอบอกข้อนั้นแก่ท่าน
พระพุทธเจ้าผู้ทรงเห็นธรรมไม่มีที่สุด
ทรงเกื้อกูลแก่สัตว์โลก ทรงเห็นวิเวก
ได้ตรัสบอกสมุฏฐานทางกาย ทางจิตไว้แล้ว
อาบัติที่เกิดโดยสมุฏฐานนั้นมีเท่าไร
ข้าพเจ้าขอถาม โปรดบอกข้อนั้นเถิด ท่านผู้ฉลาดในวิภังค์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๓๘๒ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [อันตรเปยยาล] ๓. อาปัตติสมุฏฐานคาถา
พระพุทธเจ้าผู้ทรงเห็นธรรมไม่มีที่สุด
ทรงเกื้อกูลแก่สัตว์โลก ทรงเห็นวิเวก
ได้ตรัสบอกสมุฏฐานทางกาย ทางจิตไว้แล้ว
อาบัติที่เกิดโดยสมุฏฐานนั้นมีอยู่ ๖
ท่านผู้ฉลาดในวิภังค์ ข้าพเจ้าขอบอกข้อนั้นแก่ท่าน
พระพุทธเจ้าผู้ทรงเห็นธรรมไม่มีที่สุด
ทรงเกื้อกูลแก่สัตว์โลก ทรงเห็นวิเวก
ได้ตรัสบอกสมุฏฐานทางวาจา ทางจิตไว้แล้ว
อาบัติที่เกิดโดยสมุฏฐานนั้นมีเท่าไร
ข้าพเจ้าขอถาม โปรดบอกข้อนั้นเถิด ท่านผู้ฉลาดในวิภังค์
พระพุทธเจ้าผู้ทรงเห็นธรรมไม่มีที่สุด
ทรงเกื้อกูลแก่สัตว์โลก ทรงเห็นวิเวก
ได้ตรัสบอกสมุฏฐานทางวาจา ทางจิตไว้แล้ว
อาบัติที่เกิดโดยสมุฏฐานนั้นมีอยู่ ๖
ท่านผู้ฉลาดในวิภังค์ ข้าพเจ้าขอบอกข้อนั้นแก่ท่าน
พระพุทธเจ้าผู้ทรงเห็นธรรมไม่มีที่สุด
ทรงเกื้อกูลแก่สัตว์โลก ทรงเห็นวิเวก
ได้ตรัสบอกสมุฏฐานทางกาย ทางวาจา ทางจิตไว้แล้ว
อาบัติที่เกิดโดยสมุฏฐานนั้นมีเท่าไร
ข้าพเจ้าขอถาม โปรดบอกข้อนั้นเถิด ท่านผู้ฉลาดในวิภังค์
พระพุทธเจ้าผู้ทรงเห็นธรรมไม่มีที่สุด
ทรงเกื้อกูลแก่สัตว์โลก ทรงเห็นวิเวก
ได้ตรัสบอกสมุฏฐานทางกาย ทางวาจา ทางจิตไว้แล้ว
อาบัติที่เกิดโดยสมุฏฐานนั้นมีอยู่ ๖
ท่านผู้ฉลาดในวิภังค์ ข้าพเจ้าขอบอกข้อนั้นแก่ท่าน
อาปัตติสมุฏฐานคาถาที่ ๓ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๓๘๓ }


พระวินัยปิฏก ปริวาร [อันตรเปยยาล] ๔. วิปัตติปัจจยวาร
๔. วิปัตติปัจจยวาร
วาระว่าด้วยความวิบัติเป็นปัจจัย
[๒๘๔] ถาม : เพราะสีลวิบัติเป็นปัจจัย ต้องอาบัติเท่าไร
ตอบ : เพราะสีลวิบัติเป็นปัจจัย ต้องอาบัติ ๔ อย่าง คือ
๑. ภิกษุณีรู้อยู่ ปกปิดธรรมคือปาราชิก ต้องอาบัติปาราชิก
๒. ภิกษุณีสงสัยปกปิด ต้องอาบัติถุลลัจจัย
๓. ภิกษุปกปิดอาบัติสังฆาทิเสส ต้องอาบัติปาจิตตีย์๑
๔. ภิกษุปกปิดอาบัติชั่วหยาบของตน ต้องอาบัติทุกกฏ
เพราะสีลวิบัติเป็นปัจจัย ต้องอาบัติ ๔ อย่างนี้
ถาม : อาบัติเหล่านั้น บรรดาวิบัติ ๔ อย่าง จัดเป็นวิบัติเท่าไร ฯลฯ
บรรดาสมถะ ๗ อย่าง ระงับด้วยสมถะเท่าไร
ตอบ : อาบัติเหล่านั้น บรรดาวิบัติ ๔ อย่าง จัดเป็นวิบัติ ๒ อย่าง คือ
(๑) สีลวิบัติ (๒) อาจารวิบัติ
บรรดากองอาบัติ ๗ กอง จัดเข้ากองอาบัติ ๔ กอง คือ (๑) กองอาบัติ
ปาราชิก (๒) กองอาบัติถุลลัจจัย (๓) กองอาบัติปาจิตตีย์ (๔) กองอาบัติทุกกฏ
บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๑ สมุฏฐาน
คือ เกิดทางกายวาจากับจิต
บรรดาอธิกรณ์ ๔ อย่าง จัดเป็นอาปัตตาธิกรณ์
บรรดาสมถะ ๗ อย่าง ระงับด้วยสมถะ ๓ อย่าง คือ (๑) สัมมุขาวินัย
(๒) ปฏิญญาตกรณะ (๓) สัมมุขาวินัยและติณวัตถารกะ

เชิงอรรถ :
๑ ดู วิ.มหา. (แปล) ๒/๓๙๘-๓๙๙/๕๑๐-๕๑๑๔.

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๓๘๔ }


พระวินัยปิฏก ปริวาร [อันตรเปยยาล] ๔. วิปัตติปัจจยวาร
[๒๘๕] ถาม : เพราะอาจารวิบัติเป็นปัจจัย ต้องอาบัติเท่าไร
ตอบ : เพราะอาจารวิบัติเป็นปัจจัย ต้องอาบัติ ๑ อย่าง คือ ภิกษุปิด
อาจารวิบัติ ต้องอาบัติทุกกฏ
เพราะอาจารวิบัติเป็นปัจจัย ต้องอาบัติ ๑ อย่างนี้
ถาม : อาบัติเหล่านั้น บรรดาวิบัติ ๔ อย่าง จัดเป็นวิบัติเท่าไร ฯลฯ บรรดา
สมถะ ๗ อย่าง ระงับด้วยสมถะเท่าไร
ตอบ : อาบัติเหล่านั้น บรรดาวิบัติ ๔ อย่าง จัดเป็นวิบัติ ๑ อย่าง คือ
อาจารวิบัติ
บรรดากองอาบัติ ๗ กอง จัดเข้ากองอาบัติ ๑ กอง คือ กองอาบัติทุกกฏ
บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๑ สมุฏฐาน
คือ เกิดทางกายวาจากับจิต
บรรดาอธิกรณ์ ๔ อย่าง จัดเป็นอาปัตตาธิกรณ์
บรรดาสมถะ ๗ อย่าง ระงับด้วยสมถะ ๓ อย่าง คือ (๑) สัมมุขาวินัย
(๒) ปฏิญญาตกรณะ (๓) สัมมุขาวินัยและติณวัตถารกะ
[๒๘๖] ถาม : เพราะทิฏฐิวิบัติเป็นปัจจัย ต้องอาบัติเท่าไร
ตอบ : เพราะทิฏฐิวิบัติเป็นปัจจัย ต้องอาบัติ ๒ อย่าง คือ
๑. ภิกษุไม่สละทิฏฐิบาป จนกระทั่งสงฆ์สวดสมนุภาสน์ครบ ๓ ครั้ง
จบญัตติต้องอาบัติทุกกฏ จบกรรมวาจา ๒ ครั้ง ต้องอาบัติทุกกฏ
๒ ตัว
๒. จบกรรมวาจาครั้งสุดท้าย ต้องอาบัติปาจิตตีย์
เพราะทิฏฐิวิบัติเป็นปัจจัย ต้องอาบัติ ๒ อย่างเหล่านี้
ถาม : อาบัติเหล่านั้น บรรดาวิบัติ ๔ อย่าง จัดเป็นวิบัติเท่าไร ฯลฯ
บรรดาสมถะ ๗ อย่าง ระงับด้วยสมถะเท่าไร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๓๘๕ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [อันตรเปยยาล] ๔. วิปัตติปัจจยวาร
ตอบ : อาบัติเหล่านั้น บรรดาวิบัติ ๔ อย่าง จัดเป็นวิบัติ ๑ คือ อาจารวิบัติ
บรรดากองอาบัติ ๗ กอง จัดเข้ากองอาบัติ ๒ กอง คือ (๑) กองอาบัติ
ปาจิตตีย์ (๒) กองอาบัติทุกกฏ
บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๑ สมุฏฐาน
คือ เกิดทางกายวาจากับจิต
บรรดาอธิกรณ์ ๔ อย่าง จัดเป็นอาปัตตาธิกรณ์
บรรดาสมถะ ๗ อย่าง ระงับด้วยสมถะ ๓ อย่าง คือ (๑) สัมมุขาวินัย
(๒) ปฏิญญาตกรณะ (๓) สัมมุขาวินัยและติณวัตถารกะ
[๒๘๗] ถาม : เพราะอาชีววิบัติเป็นปัจจัย ต้องอาบัติเท่าไร
ตอบ : เพราะอาชีววิบัติเป็นปัจจัย ต้องอาบัติ ๖ สมุฏฐาน คือ
๑. เพราะเหตุแห่งอาชีวะ เพราะการณ์แห่งอาชีวะ ภิกษุผู้มีความปรารถนา
ชั่วช้า ถูกความอยากครอบงำ กล่าวอวดอุตตริมนุสสธรรมที่ไม่มีอยู่
ไม่เป็นจริง ต้องอาบัติปาราชิก
๒. เพราะเหตุแห่งอาชีวะ เพราะการณ์แห่งอาชีวะ ภิกษุทำหน้าชักสื่อ
ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
๓. เพราะเหตุแห่งอาชีวะ เพราะการณ์แห่งอาชีวะ ภิกษุกล่าวว่า “ภิกษุ
รูปใดอยู่ในวิหารของท่าน ภิกษุรูปนั้นเป็นพระอรหันต์” เมื่อผู้ฟัง
เข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย
๔. เพราะเหตุแห่งอาชีวะ เพราะการณ์แห่งอาชีวะ ภิกษุออกปากขอ
โภชนะอันประณีตมาเพื่อประโยชน์ของตนแล้วฉัน ต้องอาบัติปาจิตตีย์
๕. เพราะเหตุแห่งอาชีวะ เพราะการณ์แห่งอาชีวะ ภิกษุณีออกปาก
ขอโภชนะอันประณีตมาเพื่อประโยชน์ของตนแล้วฉัน ต้องอาบัติ
ปาฏิเทสนียะ
๖. เพราะเหตุแห่งอาชีวะ เพราะการณ์แห่งอาชีวะ ภิกษุไม่เป็นไข้ออกปาก
ขอแกง หรือข้าวสุกมาเพื่อประโยชน์ตนแล้วฉัน ต้องอาบัติทุกกฏ
เพราะอาชีววิบัติเป็นปัจจัย ต้องอาบัติ ๖ อย่างเหล่านี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๓๘๖ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [อันตรเปยยาล] ๕. อธิกรณปัจจยวาร
ถาม : อาบัติเหล่านั้น บรรดาวิบัติ ๔ อย่าง จัดเป็นวิบัติเท่าไร ฯลฯ
บรรดาสมถะ ๗ อย่าง ระงับด้วยสมถะเท่าไร
ตอบ : อาบัติเหล่านั้น บรรดาวิบัติ ๔ อย่าง จัดเป็นวิบัติ ๒ อย่าง คือ
(๑) สีลวิบัติ (๒) อาจารวิบัติ
บรรดากองอาบัติ ๗ กอง จัดเข้ากองอาบัติ ๖ กอง คือ (๑) กองอาบัติปาราชิก
(๒) กองอาบัติสังฆาทิเสส (๓) กองอาบัติถุลลัจจัย (๔) กองอาบัติปาจิตตีย์
(๕) กองอาบัติปาฏิเทสนียะ (๖) กองอาบัติทุกกฏ
บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๖ สมุฏฐาน คือ
(๑) เกิดทางกาย มิใช่ทางวาจา มิใช่เกิดทางจิต (๒) เกิดทางวาจา มิใช่เกิดทางกาย
มิใช่เกิดทางจิต (๓) เกิดทางกายกับวาจา มิใช่เกิดทางจิต (๔) เกิดทางกายกับจิต
มิใช่เกิดทางวาจา (๕) เกิดทางวาจากับจิต มิใช่เกิดทางกาย (๖) เกิดทางกาย
วาจากับจิต
บรรดาอธิกรณ์ ๔ อย่าง จัดเป็นอาปัตตาธิกรณ์
บรรดาสมถะ ๗ อย่าง ระงับด้วยสมถะ ๓ อย่าง คือ (๑) สัมมุขาวินัย
(๒) ปฏิญญาตกรณะ (๓) สัมมุขาวินัยและติณวัตถารกะ
วิปัตติปัจจยวารที่ ๔ จบ

๕. อธิกรณปัจจยวาร
วาระว่าด้วยอธิกรณ์เป็นปัจจัย
[๒๘๘] ถาม : เพราะวิวาทาธิกรณ์เป็นปัจจัย ต้องอาบัติเท่าไร
ตอบ : เพราะวิวาทาธิกรณ์เป็นปัจจัย ต้องอาบัติ ๒ อย่าง คือ
๑. ภิกษุกล่าวเสียดสีอุปสัมบัน ต้องอาบัติปาจิตตีย์
๒. ภิกษุกล่าวเสียดสีอนุปสัมบัน ต้องอาบัติทุกกฏ
เพราะวิวาทาธิกรณ์เป็นปัจจัย ต้องอาบัติ ๒ อย่างเหล่านี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๓๘๗ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [อันตรเปยยาล] ๕. อธิกรณปัจจยวาร
ถาม : อาบัติเหล่านั้น บรรดาวิบัติ ๔ อย่าง จัดเป็นวิบัติเท่าไร ฯลฯ
บรรดาสมถะ ๗ อย่าง ระงับด้วยสมถะเท่าไร
ตอบ : อาบัติเหล่านั้น บรรดาวิบัติ ๔ อย่าง จัดเป็นวิบัติ ๑ อย่าง คือ
อาจารวิบัติ
บรรดากองอาบัติ ๗ กอง จัดเข้ากองอาบัติ ๒ กอง คือ (๑) กองอาบัติ
ปาจิตตีย์ (๒) กองอาบัติทุกกฏ
บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๓ สมุฏฐาน
คือ (๑) เกิดทางกายกับจิต มิใช่เกิดทางวาจา (๒) เกิดทางวาจากับจิต มิใช่
เกิดทางกาย (๓) เกิดทางกายวาจากับจิต
บรรดาอธิกรณ์ ๔ อย่าง จัดเป็นอาปัตตาธิกรณ์
บรรดาสมถะ ๗ อย่าง ระงับด้วยสมถะ ๓ อย่าง คือ (๑) สัมมุขาวินัย
(๒) ปฏิญญาตกรณะ (๓) สัมมุขาวินัยและติณวัตถารกะ
[๒๘๙] ถาม : เพราะอนุวาทาธิกรณ์เป็นปัจจัย ต้องอาบัติเท่าไร
ตอบ : เพราะอนุวาทาธิกรณ์เป็นปัจจัย ต้องอาบัติ ๓ อย่าง คือ
๑. ภิกษุใส่ความภิกษุด้วยอาบัติชั้นปาราชิกที่ไม่มีมูล ต้องอาบัติ
สังฆาทิเสส
๒. ภิกษุใส่ความภิกษุด้วยอาบัติสังฆาทิเสสที่ไม่มีมูล ต้องอาบัติ
ปาจิตตีย์
๓. ภิกษุใส่ความภิกษุด้วยอาจารวิบัติที่ไม่มีมูล ต้องอาบัติทุกกฏ
เพราะอนุวาทาธิกรณ์เป็นปัจจัย ต้องอาบัติ ๓ อย่างเหล่านี้
ถาม : อาบัติเหล่านั้น บรรดาวิบัติ ๔ อย่าง จัดเป็นวิบัติเท่าไร ฯลฯ
บรรดาสมถะ ๗ อย่าง ระงับด้วยสมถะเท่าไร
ตอบ : อาบัติเหล่านั้น บรรดาวิบัติ ๔ อย่าง จัดเป็นวิบัติ ๒ อย่าง คือ
(๑) สีลวิบัติ (๒) อาจารวิบัติ
บรรดากองอาบัติ ๗ กอง จัดเข้ากองอาบัติ ๓ กอง คือ (๑) กองอาบัติ
สังฆาทิเสส (๒) กองอาบัติปาจิตตีย์ (๓) กองอาบัติทุกกฏ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๓๘๘ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [อันตรเปยยาล] ๕. อธิกรณปัจจยวาร
บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๓ สมุฏฐาน
คือ (๑) เกิดทางกายกับจิต มิใช่เกิดทางวาจา (๒) เกิดทางวาจากับจิต มิใช่เกิด
ทางกาย (๓) เกิดทางกายวาจากับจิต
บรรดาอธิกรณ์ ๔ อย่าง จัดเป็นอาปัตตาธิกรณ์
บรรดาสมถะ ๗ อย่าง ระงับด้วยสมถะ ๓ อย่าง คือ (๑) สัมมุขาวินัย
(๒) ปฏิญญาตกรณะ (๓) สัมมุขาวินัยและติณวัตถารกะ
[๒๙๐] ถาม : เพราะอาปัตตาธิกรณ์เป็นปัจจัย ต้องอาบัติเท่าไร
ตอบ : เพราะอาปัตตาธิกรณ์เป็นปัจจัย ต้องอาบัติ ๔ อย่าง คือ
๑. ภิกษุณีรู้อยู่ปกปิดธรรมคือปาราชิก ต้องอาบัติปาราชิก
๒. ภิกษุณีสงสัยปกปิด ต้องอาบัติถุลลัจจัย
๓. ภิกษุปกปิดอาบัติสังฆาทิเสส ต้องอาบัติปาจิตตีย์
๔. ภิกษุปกปิดอาจารวิบัติ ต้องอาบัติทุกกฏ
เพราะอาปัตตาธิกรณ์เป็นปัจจัย ต้องอาบัติ ๔ อย่างเหล่านี้
ถาม : อาบัติเหล่านั้น บรรดาวิบัติ ๔ อย่าง จัดเป็นวิบัติเท่าไร ฯลฯ
บรรดาสมถะ ๗ อย่าง ระงับด้วยสมถะเท่าไร
ตอบ : อาบัติเหล่านั้น บรรดาวิบัติ ๔ อย่าง จัดเป็นวิบัติ ๒ อย่าง
คือ (๑) สีลวิบัติ (๒) อาจารวิบัติ
บรรดากองอาบัติ ๗ กอง จัดเข้ากองอาบัติ ๔ กอง คือ (๑) กองอาบัติ
ปาราชิก (๒) กองอาบัติถุลลัจจัย (๓) กองอาบัติปาจิตตีย์ (๔) กองอาบัติทุกกฏ
บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๑ สมุฏฐาน
คือ เกิดทางกายวาจากับจิต
บรรดาอธิกรณ์ ๔ อย่าง จัดเป็นอาปัตตาธิกรณ์
บรรดาสมถะ ๗ อย่าง ระงับด้วยสมถะ ๓ อย่าง คือ (๑) สัมมุขาวินัย
(๒) ปฏิญญาตกรณะ (๓) สัมมุขาวินัยและติณวัตถารกะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๓๘๙ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [อันตรเปยยาล] ๕. อธิกรณปัจจยวาร
[๒๙๑] ถาม : เพราะกิจจาธิกรณ์เป็นปัจจัย ต้องอาบัติเท่าไร
ตอบ : เพราะกิจจาธิกรณ์เป็นปัจจัย ต้องอาบัติ ๕ อย่าง คือ
๑. ภิกษุณีผู้ประพฤติตามภิกษุผู้ถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรม ไม่ยอมสละ
กรรม จนกระทั่งสงฆ์สวดสมนุภาสน์ครบ ๓ ครั้ง จบญัตติ ต้อง
อาบัติทุกกฏ
๒. จบกรรมวาจา ๒ ครั้ง ต้องอาบัติถุลลัจจัย
๓. จบกรรมวาจาครั้งสุดท้าย ต้องอาบัติปาราชิก
๔. ภิกษุผู้ประพฤติตามภิกษุผู้ทำลายสงฆ์ ไม่ยอมสละกรรมเพราะสงฆ์
สวดสมนุภาสน์ครบ ๓ ครั้ง ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
๕. ภิกษุไม่สละทิฏฐิบาป จนกระทั่งสงฆ์สวดสมนุภาสน์ครบ ๓ ครั้ง
ต้องอาบัติปาจิตตีย์
เพราะกิจจาธิกรณ์เป็นปัจจัย ต้องอาบัติ ๕ อย่างเหล่านี้
ถาม : อาบัติเหล่านั้น บรรดาวิบัติ ๔ อย่าง จัดเป็นวิบัติเท่าไร ฯลฯ
บรรดาสมถะ ๗ อย่าง ระงับด้วยสมถะเท่าไร
ตอบ : อาบัติเหล่านั้น บรรดาวิบัติ ๔ อย่าง จัดเป็นวิบัติ ๒ อย่าง
คือ (๑) สีลวิบัติ (๒) อาจารวิบัติ
บรรดากองอาบัติ ๗ กอง จัดเข้ากองอาบัติ ๕ กอง คือ (๑) กองอาบัติปาราชิก
(๒) กองอาบัติสังฆาทิเสส (๓) กองอาบัติถุลลัจจัย (๔) กองอาบัติปาจิตตีย์
(๕) กองอาบัติทุกกฏ
บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๑ สมุฏฐาน
คือ เกิดทางกายวาจากับจิต
บรรดาอธิกรณ์ ๔ อย่าง จัดเป็นอาปัตตาธิกรณ์
บรรดาสมถะ ๗ อย่าง ระงับด้วยสมถะ ๓ อย่าง คือ (๑) สัมมุขาวินัย
(๒) ปฏิญญาตกรณะ (๓) สัมมุขาวินัยและติณวัตถารกะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๓๙๐ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [อันตรเปยยาล] ๕. อธิกรณปัจจยวาร
ถาม : เว้นอาบัติ ๗ เว้นกองอาบัติ ๗ เสีย อาบัตินอกนั้น บรรดาวิบัติ
๔ จัดเป็นวิบัติเท่าไร บรรดากองอาบัติ ๗ กอง จัดเข้ากองอาบัติไหน บรรดา
สมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐานเท่าไร บรรดาอธิกรณ์ ๔
จัดเป็นอธิกรณ์ไหน บรรดาสมถะ ๗ อย่าง ระงับด้วยสมถะเท่าไร
ตอบ : เว้นอาบัติ ๗ เว้นกองอาบัติ ๗ เสีย อาบัตินอกนั้น บรรดาวิบัติ ๔
ไม่จัดเป็นวิบัติไหน บรรดากองอาบัติ ๗ กอง ไม่จัดเข้ากองอาบัติไหน บรรดา
สมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน ไม่เกิดด้วยสมุฏฐานไหน บรรดาอธิกรณ์ ๔
ไม่จัดเป็นอธิกรณ์ไหน บรรดาสมถะ ๗ อย่าง ไม่ระงับด้วยสมถะไหน ข้อนั้นเป็น
เพราะเหตุไร เพราะเว้นอาบัติ ๗ เว้นกองอาบัติ ๗ เสีย ก็ไม่มีอาบัติอย่างอื่น
อธิกรณปัจจยวารที่ ๕ จบ
อันตรเปยยาล จบ

หัวข้อบอกวาร
กติปุจฉาวาร สมุฏฐานวาร กตาปัตติวาร
อาปัตติสมุฏฐานวาร วิปัตติวาร และอธิกรณวาร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๓๙๑ }


พระวินัยปิฏก ปริวาร [สมถเภท] ๖. อธิกรณปริยายวาร
สมถเภท
ว่าด้วยประเภทแห่งสมถะ
๖. อธิกรณปริยายวาร
วาระว่าด้วยการอธิบายอธิกรณ์
[๒๙๒] วิวาทาธิกรณ์ มีอะไรเป็นหัวหน้า มีฐานเท่าไร มีวัตถุเท่าไร มีภูมิเท่าไร
มีเหตุเท่าไร มีมูลเท่าไร ภิกษุวิวาทกันด้วยอาการเท่าไร วิวาทาธิกรณ์ระงับด้วย
สมถะเท่าไร
อนุวาทาธิกรณ์ มีอะไรเป็นหัวหน้า มีฐานเท่าไร มีวัตถุเท่าไร มีภูมิเท่าไร มีเหตุ
เท่าไร มีมูลเท่าไร ภิกษุโจทด้วยอาการเท่าไร อนุวาทาธิกรณ์ระงับด้วยสมถะเท่าไร
อาปัตตาธิกรณ์ มีอะไรเป็นหัวหน้า มีฐานเท่าไร มีวัตถุเท่าไร มีภูมิเท่าไร มีเหตุ
เท่าไร มีมูลเท่าไร ภิกษุต้องอาบัติด้วยอาการเท่าไร อาปัตตาธิกรณ์ระงับด้วยสมถะ
เท่าไร
กิจจาธิกรณ์ มีอะไรเป็นหัวหน้า มีฐานเท่าไร มีวัตถุเท่าไร มีภูมิเท่าไร มีเหตุ
เท่าไร มีมูลเท่าไร กิจเกิดด้วยอาการเท่าไร กิจจาธิกรณ์ระงับด้วยสมถะเท่าไร
[๒๙๓] ถาม : วิวาทาธิกรณ์ มีอะไรเป็นหัวหน้า
ตอบ : มีความโลภเป็นหัวหน้า มีความโกรธเป็นหัวหน้า มีความหลงเป็นหัวหน้า
มีความไม่โลภเป็นหัวหน้า มีความไม่โกรธเป็นหัวหน้า มีความไม่หลงเป็นหัวหน้า
ถาม : มีฐานเท่าไร
ตอบ : มีฐาน คือ เรื่องทำความแตกร้าว ๑๘ ประการ
ถาม : มีวัตถุเท่าไร
ตอบ : มีวัตถุ คือ เรื่องทำความแตกร้าว ๑๘ ประการ
ถาม : มีภูมิเท่าไร
ตอบ : มีภูมิ คือ เรื่องทำความแตกร้าว ๑๘ ประการ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๓๙๒ }


พระวินัยปิฏก ปริวาร [สมถเภท] ๖. อธิกรณปริยายวาร
ถาม : มีเหตุเท่าไร
ตอบ : มีเหตุ ๙ คือ กุศลเหตุ ๓ อกุศลเหตุ ๓ อัพยากตเหตุ ๓
ถาม : มีมูลเท่าไร
ตอบ : มีมูล ๑๒
ถาม : ภิกษุวิวาทกันด้วยอาการเท่าไร
ตอบ : ภิกษุวิวาทกันด้วยอาการ ๒ คือ (๑) เห็นว่าเป็นธรรม (๒) เห็นว่า
เป็นอธรรม
ถาม : วิวาทาธิกรณ์ ระงับด้วยสมถะเท่าไร
ตอบ : วิวาทาธิกรณ์ ระงับด้วยสมถะ ๒ คือ (๑) สัมมุขาวินัย
(๒) เยภุยยสิกา
[๒๙๔] ถาม : อนุวาทาธิกรณ์ มีอะไรเป็นหัวหน้า
ตอบ : มีความโลภเป็นหัวหน้า มีความโกรธเป็นหัวหน้า มีความหลงเป็นหัวหน้า
มีความไม่โลภเป็นหัวหน้า มีความไม่โกรธเป็นหัวหน้า มีความไม่หลงเป็นหัวหน้า
ถาม : มีฐานเท่าไร
ตอบ : มีฐาน คือ วิบัติ ๔
ถาม : มีวัตถุเท่าไร
ตอบ : มีวัตถุ คือ วิบัติ ๔
ถาม : มีภูมิเท่าไร
ตอบ : มีภูมิ คือ วิบัติ ๔
ถาม : มีเหตุเท่าไร
ตอบ : มีเหตุ ๙ คือ กุศลเหตุ ๓ อกุศลเหตุ ๓ อัพยากตเหตุ ๓
ถาม : มีมูลเท่าไร
ตอบ : มีมูล ๑๔
ถาม : ภิกษุโจทกันด้วยอาการเท่าไร
ตอบ : ภิกษุโจทด้วยอาการ ๒ คือ (๑) วัตถุ (๒) อาบัติ
ถาม : อนุวาทาธิกรณ์ ระงับด้วยสมถะเท่าไร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๓๙๓ }


พระวินัยปิฏก ปริวาร [สมถเภท] ๖. อธิกรณปริยายวาร
ตอบ : อนุวาทาธิกรณ์ ระงับด้วยสมถะ ๔ คือ (๑) สัมมุขาวินัย (๒) สติวินัย
(๓) อมูฬหวินัย (๔) ตัสสปาปิยสิกา
[๒๙๕] ถาม : อาปัตตาธิกรณ์ มีอะไรเป็นหัวหน้า
ตอบ : มีความโลภเป็นหัวหน้า มีความโกรธเป็นหัวหน้า มีความหลงเป็นหัวหน้า
มีความไม่โลภเป็นหัวหน้า มีความไม่โกรธเป็นหัวหน้า มีความไม่หลงเป็นหัวหน้า
ถาม : มีฐานเท่าไร
ตอบ : มีฐาน คือ กองอาบัติ ๗ กอง
ถาม : มีวัตถุเท่าไร
ตอบ : มีวัตถุ คือ กองอาบัติ ๗ กอง
ถาม : มีภูมิเท่าไร
ตอบ : มีภูมิ คือ กองอาบัติ ๗ กอง
ถาม : มีเหตุเท่าไร
ตอบ : มีเหตุ ๙ คือ กุศลเหตุ ๓ อกุศลเหตุ ๓ อัพยากตเหตุ ๓
ถาม : มีมูลเท่าไร
ตอบ : มีมูล คือ สมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน
ถาม : ภิกษุต้องอาบัติด้วยอาการเท่าไร
ตอบ : ภิกษุต้องอาบัติด้วยอาการ ๖ คือ (๑) ไม่ละอาย (๒) ไม่รู้ (๓) สงสัย
แล้วขืนทำ (๔) สำคัญในของไม่สมควรว่าสมควร (๕) สำคัญในของสมควรว่าไม่สมควร
(๖) ลืมสติ
ถาม : อาปัตตาธิกรณ์ ระงับด้วยสมถะเท่าไร
ตอบ : อาปัตตาธิกรณ์ ระงับด้วยสมถะ ๓ คือ (๑) สัมมุขาวินัย
(๒) ปฏิญญาตกรณะ (๓) ติณวัตถารกะ
[๒๙๖] ถาม : กิจจาธิกรณ์ มีอะไรเป็นหัวหน้า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๓๙๔ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [สมถเภท] ๖. อธิกรณปริยายวาร
ตอบ : มีความโลภเป็นหัวหน้า มีความโกรธเป็นหัวหน้า มีความหลงเป็นหัวหน้า
มีความไม่โลภเป็นหัวหน้า มีความไม่โกรธเป็นหัวหน้า มีความไม่หลงเป็นหัวหน้า
ถาม : มีฐานเท่าไร
ตอบ : มีฐาน คือ กรรม ๔
ถาม : มีวัตถุเท่าไร
ตอบ : มีวัตถุ คือ กรรม ๔
ถาม : มีภูมิเท่าไร
ตอบ : มีภูมิ คือ กรรม ๔
ถาม : มีเหตุเท่าไร
ตอบ : มีเหตุ ๙ คือ กุศลเหตุ ๓ อกุศลเหตุ ๓ อัพยากตเหตุ ๓
ถาม : มีมูลเท่าไร
ตอบ : มีมูล ๑ คือ สงฆ์
ถาม : กิจเกิดด้วยอาการเท่าไร
ตอบ : กิจเกิดด้วยอาการ ๒ คือ (๑) ญัตติ (๒) อปโลกน์
ถาม : กิจจาธิกรณ์ ระงับด้วยสมถะเท่าไร
ตอบ : กิจจาธิกรณ์ ระงับด้วยสมถะ ๑ คือ สัมมุขาวินัย
ถาม : สมถะ มีเท่าไร
ตอบ : สมถะมี ๗ คือ

๑. สัมมุขาวินัย ๒. สติวินัย
๓. อมูฬหวินัย ๔. ปฏิญญาตกรณะ
๕. เยภุยยสิกา ๖. ตัสสปาปิยสิกา
๗. ติณวัตถารกะ สมถะมี ๗ เหล่านี้

สมถะ ๗ เหล่านี้ เป็นสมถะ ๑๐ ก็มี สมถะ ๑๐ เป็นสมถะ ๗ ก็มี มีโดย
อ้อมด้วยอำนาจวัตถุ
ถาม : พึงเป็นได้อย่างไร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๓๙๕ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [สมถเภท] ๗. สาธารณวาร
ตอบ : วิวาทาธิกรณ์มีสมถะ ๒ อนุวาทาธิกรณ์มีสมถะ ๔ อาปัตตาธิกรณ์
มีสมถะ ๓ กิจจาธิกรณ์มีสมถะ ๑ อย่างนี้ สมถะ ๗ เหล่านี้ เป็นสมถะ ๑๐
สมถะ ๑๐ จึงเป็นสมถะ ๗ โดยอ้อมด้วยอำนาจวัตถุ
อธิกรณปริยายวารที่ ๖ จบ

๗. สาธารณวาร
วาระว่าด้วยสมถะทั่วไป
[๒๙๗] ถาม : สมถะเท่าไร ทั่วไปแก่วิวาทาธิกรณ์ สมถะเท่าไร ไม่ทั่วไปแก่
วิวาทาธิกรณ์ สมถะเท่าไร ทั่วไปแก่อนุวาทาธิกรณ์ สมถะเท่าไร ไม่ทั่วไปแก่อนุวาทาธิ-
กรณ์ สมถะเท่าไร ทั่วไปแก่อาปัตตาธิกรณ์ สมถะเท่าไร ไม่ทั่วไปแก่อาปัตตาธิกรณ์
สมถะเท่าไร ทั่วไปแก่กิจจาธิกรณ์ สมถะเท่าไร ไม่ทั่วไปแก่กิจจาธิกรณ์
ตอบ : สมถะ ๒ อย่าง คือ (๑) สัมมุขาวินัย (๒) เยภุยยสิกา ทั่วไป
แก่วิวาทาธิกรณ์ สมถะ ๕ อย่าง คือ (๑) สติวินัย (๒) อมูฬหวินัย (๓) ปฏิญญาต-
กรณะ (๔) ตัสสปาปิยสิกา (๕) ติณวัตถารกะ ไม่ทั่วไปแก่วิวาทาธิกรณ์
ตอบ : สมถะ ๔ อย่าง คือ (๑) สัมมุขาวินัย (๒) สติวินัย (๓) อมูฬหวินัย
(๔) ตัสสปาปิยสิกา ทั่วไปแก่อนุวาทาธิกรณ์ สมถะ ๓ อย่าง คือ (๑) เยภุยยสิกา
(๒) ปฏิญญาตกรณะ (๓) ติณวัตถารกะ ไม่ทั่วไปแก่อนุวาทาธิกรณ์
สมถะ ๓ อย่าง คือ (๑) สัมมุขาวินัย (๒) ปฏิญญาตกรณะ (๓) ติณวัตถารกะ
ทั่วไปแก่อาปัตตาธิกรณ์ สมถะ ๔ อย่าง คือ (๑) เยภุยยสิกา (๒) สติวินัย
(๓) อมูฬหวินัย (๔) ตัสสปาปิยสิกา ไม่ทั่วไปแก่อาปัตตาธิกรณ์
สมถะ ๑ อย่าง คือ สัมมุขาวินัย ทั่วไปแก่กิจจาธิกรณ์ สมถะ ๖ อย่าง
คือ (๑) เยภุยยสิกา (๒) สติวินัย (๓) อมูฬหวินัย (๔) ปฏิญญาตกรณะ
(๕) ตัสสปาปิยสิกา (๖) ติณวัตถารกะ ไม่ทั่วไปแก่กิจจาธิกรณ์
สาธารณวารที่ ๗ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๓๙๖ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [สมถเภท] ๘. ตัพภาคิยวาร
๘. ตัพภาคิยวาร
วาระว่าด้วยเป็นส่วนนั้น
[๒๙๘] ถาม : สมถะเท่าไร เป็นส่วนนั้นแห่งวิวาทาธิกรณ์ สมถะเท่าไร เป็น
ส่วนอื่นแห่งวิวาทาธิกรณ์ สมถะเท่าไร เป็นส่วนนั้นแห่งอนุวาทาธิกรณ์ สมถะเท่าไร
เป็นส่วนอื่นแห่งอนุวาทาธิกรณ์ สมถะเท่าไร เป็นส่วนนั้นแห่งอาปัตตาธิกรณ์ สมถะ
เท่าไร เป็นส่วนอื่นแห่งอาปัตตาธิกรณ์ สมถะเท่าไร เป็นส่วนนั้นแห่งกิจจาธิกรณ์
สมถะเท่าไร เป็นส่วนอื่นแห่งกิจจาธิกรณ์
ตอบ : สมถะ ๒ อย่าง คือ (๑) สัมมุขาวินัย (๒) เยภุยยสิกา เป็นส่วนนั้น
แห่งวิวาทาธิกรณ์
สมถะ ๕ อย่าง คือ (๑) สติวินัย (๒) อมูฬหวินัย (๓) ปฏิญญาตกรณะ
(๔) ตัสสปาปิยสิกา (๕) ติณวัตถารกะ เป็นส่วนอื่นแห่งวิวาทาธิกรณ์
สมถะ ๔ อย่าง คือ (๑) สัมมุขาวินัย (๒) สติวินัย (๓) อมูฬหวินัย
(๔) ตัสสปาปิยสิกา เป็นส่วนนั้นแห่งอนุวาทาธิกรณ์
สมถะ ๓ อย่าง คือ (๑) เยภุยยสิกา (๒) ปฏิญญาตกรณะ (๓) ติณวัตถารกะ
เป็นส่วนอื่นแห่งอนุวาทาธิกรณ์
สมถะ ๓ อย่าง คือ (๑) สัมมุขาวินัย (๒) ปฏิญญาตกรณะ (๓) ติณวัตถารกะ
เป็นส่วนนั้นแห่งอาปัตตาธิกรณ์
สมถะ ๔ อย่าง คือ (๑) เยภุยยสิกา (๒) สติวินัย (๓) อมูฬหวินัย
(๔) ตัสสปาปิยสิกา เป็นส่วนอื่นแห่งอาปัตตาธิกรณ์
สมถะ ๑ อย่าง คือ (๑) สัมมุขาวินัย เป็นส่วนนั้นแห่งกิจจาธิกรณ์
สมถะ ๖ สมุฏฐาน คือ (๑) เยภุยยสิกา (๒) สติวินัย (๓) อมูฬหวินัย
(๔) ปฏิญญาตกรณะ (๕) ตัสสปาปิยสิกา (๖) ติณวัตถารกะ เป็นส่วนอื่นแห่งกิจจาธิกรณ์
ตัพภาคิยวารที่ ๘ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๓๙๗ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [สมถเภท] ๑๐. สมถาสมถัสสตัพภาคิยวาร
๙. สมถาสมถัสสสาธารณวาร
วาระว่าด้วยสมถะทั่วไปและไม่ทั่วไปแก่สมถะ
[๒๙๙] สมถะทั่วไปแก่สมถะ สมถะไม่ทั่วไปแก่สมถะ สมถะที่ทั่วไปแก่สมถะก็มี
สมถะที่ไม่ทั่วไปแก่สมถะก็มี
ถาม : สมถะทั่วไปแก่สมถะอย่างไร สมถะไม่ทั่วไปแก่สมถะอย่างไร
ตอบ : เยภุยยสิกาทั่วไปแก่สัมมุขาวินัย ไม่ทั่วไปแก่สติวินัย อมูฬหวินัย ปฏิญญาต-
กรณะ ตัสสปาปิยสิกา ติณวัตถารกะ
สติวินัยทั่วไปแก่สัมมุขาวินัย ไม่ทั่วไปแก่อมูฬหวินัย ปฏิญญาตกรณะ ตัสส-
ปาปิยสิกา ติณวัตถารกะ เยภุยยสิกา
อมูฬหวินัยทั่วไปแก่สัมมุขาวินัย ไม่ทั่วไปแก่ปฏิญญาตกรณะ ตัสสปาปิยสิกา
ติณวัตถารกะ เยภุยยสิกา สติวินัย
ปฏิญญาตกรณะทั่วไปแก่สัมมุขาวินัย ไม่ทั่วไปแก่ตัสสปาปิยสิกา ติณวัตถารกะ
เยภุยยสิกา สติวินัย อมูฬหวินัย
ตัสสปาปิยสิกาทั่วไปแก่สัมมุขาวินัย ไม่ทั่วไปแก่ติณวัตถารกะ เยภุยยสิกา สติวินัย
อมูฬหวินัย ปฏิญญาตกรณะ
ติณวัตถารกะทั่วไปแก่สัมมุขาวินัย ไม่ทั่วไปแก่เยภุยยสิกา สติวินัย อมูฬหวินัย
ปฏิญญาตกรณะ ตัสสปาปิยสิกา
สมถะทั่วไปแก่สมถะอย่างนี้ สมถะไม่ทั่วไปแก่สมถะอย่างนี้
สมถาสมถัสสสาธารณวาระที่ ๙ จบ

๑๐. สมถาสมถัสสตัพภาคิยวาร
วาระว่าด้วยสมถะเป็นส่วนนั้นแห่งสมถะ
[๓๐๐] สมถะเป็นส่วนนั้นแห่งสมถะ สมถะเป็นส่วนอื่นแห่งสมถะ สมถะที่เป็น
ส่วนนั้นแห่งสมถะก็มี สมถะที่เป็นส่วนอื่นแห่งสมถะก็มี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๓๙๘ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [สมถเภท] ๑๑. สมถสัมมุขาวินยวาร
ถาม : สมถะเป็นส่วนนั้นแห่งสมถะอย่างไร สมถะเป็นส่วนอื่นแห่งสมถะอย่างไร
ตอบ : เยภุยยสิกาเป็นส่วนนั้นแห่งสัมมุขาวินัย เป็นส่วนอื่นแห่งสติวินัย อมูฬห
วินัย ปฏิญญาตกรณะ ตัสสปาปิยสิกา ติณวัตถารกะ
สติวินัยเป็นส่วนนั้นแห่งสัมมุขาวินัย เป็นส่วนอื่นแห่งอมูฬหวินัย ปฏิญญาต-
กรณะ ตัสสปาปิยสิกา ติณวัตถารกะ เยภุยยสิกา
อมูฬหวินัยเป็นส่วนนั้นแห่งสัมมุขาวินัย เป็นส่วนอื่นแห่งปฏิญญาตกรณะ
ตัสสปาปิยสิกา ติณวัตถารกะ เยภุยยสิกา สติวินัย
ปฏิญญาตกรณะเป็นส่วนนั้นแห่งสัมมุขาวินัย เป็นส่วนอื่นแห่งตัสสปาปิยสิกา
ติณวัตถารกะ เยภุยยสิกา สติวินัย อมูฬหวินัย
ตัสสปาปิยสิกาเป็นส่วนนั้นแห่งสัมมุขาวินัย เป็นส่วนอื่นแห่งติณวัตถารกะ
เยภุยยสิกา สติวินัย อมูฬหวินัย ปฏิญญาตกรณะ
ติณวัตถารกะเป็นส่วนนั้นแห่งสัมมุขาวินัย เป็นส่วนอื่นแห่งเยภุยยสิกา สติวินัย
อมูฬหวินัย ปฏิญญาตกรณะ ตัสสปาปิยสิกา
สมถะเป็นส่วนนั้นแห่งสมถะอย่างนี้ สมถะเป็นส่วนอื่นแห่งสมถะอย่างนี้
สมถาสมถัสสตัพภาคิยวาระที่ ๑๐ จบ

๑๑. สมถสัมมุขาวินยวาร
วาระว่าด้วยสมถะคือสัมมุขาวินัย
[๓๐๑] สมถะคือสัมมุขาวินัย สัมมุขาวินัยคือสมถะ สมถะคือเยภุยยสิกา
เยภุยยสิกาคือสมถะ สมถะคือสติวินัย สติวินัยคือสมถะ สมถะคืออมูฬหวินัย
อมูฬหวินัยคือสมถะ สมถะคือปฏิญญาตกรณะ ปฏิญญาตกรณะคือสมถะ สมถะ
คือตัสสปาปิยสิกา ตัสสปาปิยสิกาคือสมถะ สมถะคือติณวัตถารกะ ติณวัตถารกะ
คือสมถะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๓๙๙ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [สมถเภท] ๑๑. สมถสัมมุขาวินยวาร
สมถะเหล่านี้ คือ เยภุยยสิกา สติวินัย อมูฬหวินัย ปฏิญญาตกรณะ ตัสส-
ปาปิยสิกา ติณวัตถารกะ เป็นสมถะ ไม่ใช่เป็นสัมมุขาวินัย สัมมุขาวินัยเป็นทั้งสมถะ
เป็นทั้งสัมมุขาวินัย
สมถะเหล่านี้ คือ สติวินัย อมูฬหวินัย ปฏิญญาตกรณะ ตัสสปาปิยสิกา
ติณวัตถารกะ สัมมุขาวินัย เป็นสมถะ ไม่ใช่เป็นเยภุยยสิกา เยภุยยสิกาเป็นทั้งสมถะ
เป็นทั้งเยภุยยสิกา
สมถะเหล่านี้ คือ อมูฬหวินัย ปฏิญญาตกรณะ ตัสสปาปิยสิกา ติณวัตถารกะ
สัมมุขาวินัย เยภุยยสิกา เป็นสมถะ ไม่ใช่เป็นสติวินัย สติวินัยเป็นทั้งสมถะ เป็นทั้ง
สติวินัย
สมถะเหล่านี้ คือ ปฏิญญาตกรณะ ตัสสปาปิยสิกา ติณวัตถารกะ สัมมุขาวินัย
เยภุยยสิกา สติวินัย เป็นสมถะ ไม่ใช่เป็นอมูฬหวินัย อมูฬหวินัยเป็นทั้งสมถะ เป็น
ทั้งอมูฬหวินัย
สมถะเหล่านี้ คือ ตัสสปาปิยสิกา ติณวัตถารกะ สัมมุขาวินัย เยภุยยสิกา
สติวินัย อมูฬหวินัย เป็นสมถะ ไม่ใช่เป็นปฏิญญาตกรณะ ปฏิญญาตกรณะเป็นทั้ง
สมถะ เป็นทั้งปฏิญญาตกรณะ
สมถะเหล่านี้ คือ ติณวัตถารกะ สัมมุขาวินัย เยภุยยสิกา สติวินัย อมูฬหวินัย
ปฏิญญาตกรณะ เป็นสมถะ ไม่ใช่เป็นตัสสปาปิยสิกา ตัสสปาปิยสิกาเป็นทั้งสมถะ
เป็นทั้งตัสสปาปิยสิกา
สมถะเหล่านี้ คือ สัมมุขาวินัย เยภุยยสิกา สติวินัย อมูฬหวินัย ปฏิญญาตกรณะ
ตัสสปาปิยสิกา เป็นสมถะ ไม่ใช่เป็นติณวัตถารกะ ติณวัตถารกะเป็นทั้งสมถะ เป็นทั้ง
ติณวัตถารกะ
สมถสัมมุขาวินยวารที่ ๑๑ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๔๐๐ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [สมถเภท] ๑๒. วินยวาร
๑๒. วินยวาร
วาระว่าด้วยวินัย
[๓๐๒] วินัยคือสัมมุขาวินัย สัมมุขาวินัยคือวินัย วินัยคือเยภุยยสิกา เยภุยยสิกา
คือวินัย วินัยคือสติวินัย สติวินัยคือวินัย วินัยคืออมูฬหวินัย อมูฬหวินัยคือวินัย
วินัยคือปฏิญญาตกรณะ ปฏิญญาตกรณะคือวินัย วินัยคือตัสสปาปิยสิกา ตัสส-
ปาปิยสิกาคือวินัย วินัยคือติณวัตถารกะ ติณวัตถารกะคือวินัย
วินัยเป็นสัมมุขาวินัยก็มี ไม่เป็นสัมมุขาวินัยก็มี แต่สัมมุขาวินัยเป็นทั้งวินัย
เป็นทั้งสัมมุขาวินัย
วินัยเป็นเยภุยยสิกาก็มี ไม่เป็นเยภุยยสิกาก็มี แต่เยภุยยสิกาเป็นทั้งวินัย
เป็นทั้งเยภุยยสิกา
วินัยเป็นสติวินัยก็มี ไม่เป็นสติวินัยก็มี แต่สติวินัยเป็นทั้งวินัย เป็นทั้งสติวินัย
วินัยเป็นอมูฬหวินัยก็มี ไม่เป็นอมูฬหวินัยก็มี แต่อมูฬหวินัยเป็นทั้งวินัย
เป็นทั้งอมูฬหวินัย
วินัยเป็นปฏิญญาตกรณะก็มี ไม่เป็นปฏิญญาตกรณะก็มี แต่ปฏิญญาตกรณะ
เป็นทั้งวินัย เป็นทั้งปฏิญญาตกรณะ
วินัยเป็นตัสสปาปิยสิกาก็มี ไม่เป็นตัสสปาปิยสิกาก็มี แต่ตัสสปาปิยสิกา
เป็นทั้งวินัย เป็นทั้งตัสสปาปิยสิกา
วินัยเป็นติณวัตถารกะก็มี ไม่เป็นติณวัตถารกะก็มี แต่ติณวัตถารกะเป็นทั้งวินัย
เป็นทั้งติณวัตถารกะ
วินยวารที่ ๑๒ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๔๐๑ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [สมถเภท] ๑๓. กุสลวาร
๑๓. กุสลวาร
วาระว่าด้วยเป็นกุศล
[๓๐๓] สัมมุขาวินัยเป็นกุศล อกุศล อัพยากฤต เยภุยยสิกาเป็นกุศล อกุศล
อัพยากฤต สติวินัยเป็นกุศล อกุศล อัพยากฤต อมูฬหวินัยเป็นกุศล อกุศล
อัพยากฤต ปฏิญญาตกรณะเป็นกุศล อกุศล อัพยากฤต ตัสสปาปิยสิกาเป็นกุศล
อกุศล อัพยากฤต ติณวัตถารกะเป็นกุศล อกุศล อัพยากฤต
สัมมุขาวินัย เป็นกุศลก็มี เป็นอัพยากฤตก็มี สัมมุขาวินัยเป็นอกุศลไม่มี
เยภุยยสิกา เป็นกุศลก็มี เป็นอกุศลก็มี เป็นอัพยากฤตก็มี
สติวินัย เป็นกุศลก็มี เป็นอกุศลก็มี เป็นอัพยากฤตก็มี
อมูฬหวินัย เป็นกุศลก็มี เป็นอกุศลก็มี เป็นอัพยากฤตก็มี
ปฏิญญาตกรณะ เป็นกุศลก็มี เป็นอกุศลก็มี เป็นอัพยากฤตก็มี
ตัสสปาปิยสิกา เป็นกุศลก็มี เป็นอกุศลก็มี เป็นอัพยากฤตก็มี
ติณวัตถารกะ เป็นกุศลก็มี เป็นอกุศลก็มี เป็นอัพยากฤตก็มี
วิวาทาธิกรณ์ เป็นกุศล อกุศล อัพยากฤต
อนุวาทาธิกรณ์ เป็นกุศล อกุศล อัพยากฤต
อาปัตตาธิกรณ์ เป็นกุศล อกุศล อัพยากฤต
กิจจาธิกรณ์ เป็นกุศล อกุศล อัพยากฤต
วิวาทาธิกรณ์ เป็นกุศลก็มี เป็นอกุศลก็มี เป็นอัพยากฤตก็มี
อนุวาทาธิกรณ์ เป็นอกุศลก็มี เป็นอัพยากฤตก็มี
อาปัตตาธิกรณ์ เป็นอกุศลก็มี เป็นอัพยากฤตก็มี อาปัตตาธิกรณ์ ที่เป็นกุศลไม่มี
กิจจาธิกรณ์ เป็นกุศลก็มี เป็นอกุศลก็มี เป็นอัพยากฤตก็มี
กุสลวารที่ ๑๓ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๔๐๒ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [สมถเภท] ๑๔. ยัตถวารปุจฉาวาร
๑๔. ยัตถวารปุจฉาวาร
วาระว่าด้วย ณ ที่ใดและวาระว่าด้วยการถาม
[๓๐๔] ได้เยภุยยสิกา ในที่ใด ก็จะได้สัมมุขาวินัย ในที่นั้น ได้สัมมุขาวินัย
ในที่ใด ก็จะได้เยภุยยสิกา ในที่นั้น แต่จะไม่ได้สติวินัย อมูฬหวินัย ปฏิญญาตกรณะ
ตัสสปาปิยสิกา ติณวัตถารกะ ในที่นั้น
ได้สติวินัย ในที่ใด ก็จะได้สัมมุขาวินัย ในที่นั้น ได้สัมมุขาวินัย ในที่ใด
ก็จะได้สติวินัย ในที่นั้น แต่จะไม่ได้อมูฬหวินัย ปฏิญญาตกรณะ ตัสสปาปิยสิกา
ติณวัตถารกะ เยภุยยสิกา ในที่นั้น
ได้อมูฬหวินัย ในที่ใด ก็จะได้สัมมุขาวินัย ในที่นั้น ได้สัมมุขาวินัย ในที่ใด
ก็จะได้อมูฬหวินัย ในที่นั้น แต่จะไม่ได้ปฏิญญาตกรณะ ตัสสปาปิยสิกา ติณวัตถารกะ
เยภุยยสิกา สติวินัย ในที่นั้น
ได้ปฏิญญาตกรณะ ในที่ใด ก็จะได้สัมมุขาวินัย ในที่นั้น ได้สัมมุขาวินัย ในที่ใด
ก็จะได้ปฏิญญาตกรณะ ในที่นั้น แต่จะไม่ได้ตัสสปาปิยสิกา ติณวัตถารกะ เยภุยยสิกา
สติวินัย อมูฬหวินัย ในที่นั้น
ได้ตัสสปาปิยสิกา ในที่ใด ก็จะได้สัมมุขาวินัย ในที่นั้น ได้สัมมุขาวินัย ในที่ใด
ก็จะได้ตัสสปาปิยสิกา ในที่นั้น แต่จะไม่ได้ติณวัตถารกะ เยภุยยสิกา สติวินัย
อมูฬหวินัย ปฏิญญาตกรณะ ในที่นั้น
ได้ติณวัตถารกะ ในที่ใด ก็จะได้สัมมุขาวินัย ในที่นั้น ได้สัมมุขาวินัย ในที่ใด
ก็จะได้ติณวัตถารกะ ในที่นั้น แต่จะไม่ได้เยภุยยสิกา สติวินัย อมูฬหวินัย ปฏิญญาต-
กรณะ ตัสสปาปิยสิกา ในที่นั้น
ได้เยภุยยสิกา ในที่ใด ก็จะได้สัมมุขาวินัย ในที่นั้น ได้สัมมุขาวินัย ในที่ใด
ก็จะได้เยภุยยสิกา ในที่นั้น แต่จะไม่ได้สติวินัย อมูฬหวินัย ปฏิญญาตกรณะ ตัสส-
ปาปิยสิกา ติณวัตถารกะ ในที่นั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๔๐๓ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [สมถเภท] ๑๕. สมถวารวิสัชชนาวาร
ได้สติวินัย ในที่ใด ก็จะได้สัมมุขาวินัย ในที่นั้น ได้สัมมุขาวินัย ในที่ใด ก็
จะได้สติวินัย ในที่นั้น แต่จะไม่ได้อมูฬหวินัย ปฏิญญาตกรณะ ตัสสปาปิยสิกา
ติณวัตถารกะ เยภุยยสิกา ในที่นั้น จัดสัมมุขาวินัยเป็นมูล ฯลฯ
ได้ติณวัตถารกะ ในที่ใด ก็จะได้สัมมุขาวินัย ในที่นั้น ได้สัมมุขาวินัย ในที่ใด
ก็จะได้ติณวัตถารกะ ในที่นั้น แต่จะไม่ได้เยภุยยสิกา สติวินัย อมูฬหวินัย ปฏิญญาต-
กรณะ ตัสสปาปิยสิกา ในที่นั้น
จักกเปยยาล จบ
ยัตถวารที่ ๑๔ จบ

๑๕. สมถวารวิสัชชนาวาร
วาระว่าด้วยเรื่องสมถะและวาระว่าด้วยการตอบ
[๓๐๕] สมัยใด อธิกรณ์ระงับด้วยสัมมุขาวินัยและเยภุยยสิกา ได้เยภุยยสิกา
ในที่ใด ก็จะได้สัมมุขาวินัย ในที่นั้น ได้สัมมุขาวินัย ในที่ใด ก็จะได้เยภุยยสิกา
ในที่นั้น แต่จะไม่ได้สติวินัย อมูฬหวินัย ปฏิญญาตกรณะ ตัสสปาปิยสิกา
ติณวัตถารกะ ในที่นั้น
สมัยใด อธิกรณ์ระงับด้วยสัมมุขาวินัยและสติวินัย ได้สติวินัย ในที่ใด ก็จะ
ได้สัมมุขาวินัย ในที่นั้น ได้สัมมุขาวินัย ในที่ใด ก็จะได้สติวินัย ในที่นั้น แต่จะ
ไม่ได้อมูฬหวินัย ปฏิญญาตกรณะ ตัสสปาปิยสิกา ติณวัตถารกะ เยภุยยสิกา
ในที่นั้น
สมัยใด อธิกรณ์ระงับด้วยสัมมุขาวินัยและอมูฬหวินัย ได้อมูฬหวินัย ในที่ใด
ก็จะได้สัมมุขาวินัย ในที่นั้น ได้สัมมุขาวินัย ในที่ใด ก็จะได้อมูฬหวินัย ในที่นั้น
แต่จะไม่ได้ปฏิญญาตกรณะ ตัสสปาปิยสิกา ติณวัตถารกะ เยภุยยสิกา สติวินัย
ในที่นั้น
สมัยใด อธิกรณ์ระงับด้วยสัมมุขาวินัยและปฏิญญาตกรณะ ได้ปฏิญญาตกรณะ
ในที่ใด ก็จะได้สัมมุขาวินัย ในที่นั้น ได้สัมมุขาวินัย ในที่ใด ก็จะได้ปฏิญญาตกรณะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๔๐๔ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [สมถเภท] ๑๖. สังสัฏฐวาร
ในที่นั้น แต่จะไม่ได้ตัสสปาปิยสิกา ติณวัตถารกะ เยภุยยสิกา สติวินัย อมูฬหวินัย
ในที่นั้น
สมัยใด อธิกรณ์ระงับด้วยสัมมุขาวินัยและตัสสปาปิยสิกา ได้ตัสสปาปิยสิกา
ในที่ใด ก็จะได้สัมมุขาวินัย ในที่นั้น ได้สัมมุขาวินัย ในที่ใด ก็จะได้ตัสสปาปิยสิกา
ในที่นั้น แต่จะไม่ได้ติณวัตถารกะ เยภุยยสิกา สติวินัย อมูฬหวินัย ปฏิญญาตกรณะ
ในที่นั้น
สมัยใด อธิกรณ์ระงับด้วยสัมมุขาวินัยและติณวัตถารกะ ได้ติณวัตถารกะ ในที่ใด
ก็จะได้สัมมุขาวินัย ในที่นั้น ได้สัมมุขาวินัย ในที่ใด ก็จะได้ติณวัตถารกะ ในที่นั้น
แต่จะไม่ได้เยภุยยสิกา สติวินัย อมูฬหวินัย ปฏิญญาตกรณะ ตัสสปาปิยสิกา ในที่นั้น
สมถวารที่ ๑๕ จบ

๑๖. สังสัฏฐวาร
วาระว่าด้วยอธิกรณ์กับสมถะรวมกัน
[๓๐๖] ถาม : ธรรมเหล่านี้ คือ อธิกรณ์ก็ดี สมถะก็ดี รวมกันหรือแยกกัน
พึงได้เพื่อที่จะบัญญัติแบ่งแยกธรรมเหล่านี้ให้เป็นต่าง ๆ กันไปได้หรือ
ตอบ : ธรรมเหล่านี้ คือ อธิกรณ์ก็ดี สมถะก็ดี แยกกันไม่รวมกัน ก็แล
พึงได้เพื่อที่จะบัญญัติแบ่งแยกธรรมเหล่านี้ให้เป็นต่าง ๆ ผู้วิสัชนานั้นพึงถูกท้วงว่า
“อย่ากล่าวอย่างนั้น” ธรรมเหล่านี้ คือ อธิกรณ์ก็ดี สมถะก็ดี รวมกันไม่แยกกัน
และไม่พึงได้เพื่อที่จะบัญญัติแบ่งแยกธรรมเหล่านี้ให้เป็นต่าง ๆ ข้อนั้น เพราะเหตุอะไร
เพราะพระผู้มีพระภาคตรัสไว้มิใช่หรือว่า ภิกษุทั้งหลาย อธิกรณ์เหล่านี้มี ๔ สมถะมี
๗ อธิกรณ์ระงับด้วยสมถะ สมถะระงับด้วยอธิกรณ์อย่างนี้ ธรรมเหล่านี้ จึงรวมกัน
ไม่แยกกันและไม่พึงได้เพื่อที่จะบัญญัติแบ่งแยกธรรมเหล่านี้ให้เป็นต่าง ๆ
สังสัฏฐวารที่ ๑๖ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๔๐๕ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [สมถเภท] ๑๗. สัมมติวาร
๑๗. สัมมติวาร
วาระว่าด้วยอธิกรณ์ระงับ
[๓๐๗] ถาม : วิวาทาธิกรณ์ระงับด้วยสมถะเท่าไร อนุวาทาธิกรณ์ระงับด้วย
สมถะเท่าไร อาปัตตาธิกรณ์ระงับด้วยสมถะเท่าไร กิจจาธิกรณ์ระงับด้วยสมถะเท่าไร
ตอบ : วิวาทาธิกรณ์ระงับด้วยสมถะ ๒ คือ
๑. สัมมุขาวินัย ๒. เยภุยยสิกา
อนุวาทาธิกรณ์ระงับด้วยสมถะ ๔ คือ
๑. สัมมุขาวินัย ๒. สติวินัย
๓. อมูฬหวินัย ๔. ตัสสปาปิยสิกา
อาปัตตาธิกรณ์ระงับด้วยสมถะ ๓ คือ
๑. สัมมุขาวินัย ๒. ปฏิญญาตกรณะ
๓. ติณวัตถารกะ
กิจจาธิกรณ์ระงับด้วยสมถะ ๑ คือ สัมมุขาวินัย
ถาม : วิวาทาธิกรณ์และอนุวาทาธิกรณ์ระงับด้วยสมถะเท่าไร
ตอบ : วิวาทาธิกรณ์และอนุวาทาธิกรณ์ระงับด้วยสมถะ ๕ คือ

๑. สัมมุขาวินัย ๒. เยภุยยสิกา
๓. สติวินัย ๔. อมูฬหวินัย
๕. ตัสสปาปิยสิกา

ถาม : วิวาทาธิกรณ์และอาปัตตาธิกรณ์ระงับด้วยสมถะเท่าไร
ตอบ : วิวาทาธิกรณ์และอาปัตตาธิกรณ์ระงับด้วยสมถะ ๔ คือ

๑. สัมมุขาวินัย ๒. เยภุยยสิกา
๓. ปฏิญญาตกรณะ ๔. ติณวัตถารกะ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๔๐๖ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [สมถเภท] ๑๗. สัมมติวาร
ถาม : วิวาทาธิกรณ์และกิจจาธิกรณ์ระงับด้วยสมถะเท่าไร
ตอบ : วิวาทาธิกรณ์และกิจจาธิกรณ์ระงับด้วยสมถะ ๒ คือ
๑. สัมมุขาวินัย ๒. เยภุยยสิกา
ถาม : อนุวาทาธิกรณ์และอาปัตตาธิกรณ์ระงับด้วยสมถะเท่าไร
ตอบ : อนุวาทาธิกรณ์และอาปัตตาธิกรณ์ระงับด้วยสมถะ ๖ คือ
๑. สัมมุขาวินัย ๒. สติวินัย
๓. อมูฬหวินัย ๔. ปฏิญญาตกรณะ
๕. ตัสสปาปิยสิกา ๖. ติณวัตถารกะ
ถาม : อนุวาทาธิกรณ์และกิจจาธิกรณ์ระงับด้วยสมถะเท่าไร
ตอบ : อนุวาทาธิกรณ์และกิจจาธิกรณ์ระงับด้วยสมถะ ๔ คือ
๑. สัมมุขาวินัย ๒. สติวินัย
๓. อมูฬหวินัย ๔. ตัสสปาปิยสิกา
ถาม : อาปัตตาธิกรณ์และกิจจาธิกรณ์ระงับด้วยสมถะเท่าไร
ตอบ : อาปัตตาธิกรณ์และกิจจาธิกรณ์ระงับด้วยสมถะ ๓ คือ
๑. สัมมุขาวินัย ๒. ปฏิญญาตกรณะ
๓. ติณวัตถารกะ
ถาม : วิวาทาธิกรณ์ อนุวาทาธิกรณ์และอาปัตตาธิกรณ์ระงับด้วยสมถะเท่าไร
ตอบ : วิวาทาธิกรณ์ อนุวาทาธิกรณ์และอาปัตตาธิกรณ์ระงับด้วยสมถะ ๗ คือ

๑. สัมมุขาวินัย ๒. เยภุยยสิกา
๓. สติวินัย ๔. อมูฬหวินัย
๕. ปฏิญญาตกรณะ ๖. ตัสสปาปิยสิกา
๗. ติณวัตถารกะ

ถาม : วิวาทาธิกรณ์ อนุวาทาธิกรณ์และกิจจาธิกรณ์ระงับด้วยสมถะเท่าไร
ตอบ : วิวาทาธิกรณ์ อนุวาทาธิกรณ์และกิจจาธิกรณ์ระงับด้วยสมถะ ๕ คือ
๑. สัมมุขาวินัย ๒. เยภุยยสิกา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๔๐๗ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [สมถเภท] ๑๘. สัมมันตินสัมมันติวาร
๓. สติวินัย ๔. อมูฬหวินัย
๕. ตัสสปาปิยสิกา
ถาม : อนุวาทาธิกรณ์ อาปัตตาธิกรณ์และกิจจาธิกรณ์ระงับด้วยสมถะเท่าไร
ตอบ : อนุวาทาธิกรณ์ อาปัตตาธิกรณ์และกิจจาธิกรณ์ระงับด้วยสมถะ ๖ คือ

๑. สัมมุขาวินัย ๒. สติวินัย
๓. อมูฬหวินัย ๔. ปฏิญญาตกรณะ
๕. ตัสสปาปิยสิกา ๖. ติณวัตถารกะ

ถาม : วิวาทาธิกรณ์ อนุวาทาธิกรณ์ อาปัตตาธิกรณ์และกิจจาธิกรณ์ระงับ
ด้วยสมถะเท่าไร
ตอบ : วิวาทาธิกรณ์ อนุวาทาธิกรณ์ อาปัตตาธิกรณ์และกิจจาธิกรณ์ระงับ
ด้วยสมถะ ๗ คือ

๑. สัมมุขาวินัย ๒. เยภุยยสิกา
๓. สติวินัย ๔. อมูฬหวินัย
๕. ปฏิญญาตกรณะ ๖. ตัสสปาปิยสิกา
๗. ติณวัตถารกะ

สัมมติวารที่ ๑๗ จบ

๑๘. สัมมันตินสัมมันติวาร
วาระว่าด้วยอธิกรณ์ระงับและไม่ระงับ
[๓๐๘] ถาม : วิวาทาธิกรณ์ระงับด้วยสมถะเท่าไร ไม่ระงับด้วยสมถะเท่าไร
อนุวาทาธิกรณ์ ฯลฯ อาปัตตาธิกรณ์ ฯลฯ กิจจาธิกรณ์ระงับด้วยสมถะเท่าไร ไม่
ระงับด้วยสมถะเท่าไร
ตอบ : วิวาทาธิกรณ์ระงับด้วยสมถะ ๒ คือ
๑. สัมมุขาวินัย ๒. เยภุยยสิกา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๔๐๘ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [สมถเภท] ๑๘. สัมมันตินสัมมันติวาร
ไม่ระงับด้วยสมถะ ๕ คือ

๑. สติวินัย ๒. อมูฬหวินัย
๓. ปฏิญญาตกรณะ ๔. ตัสสปาปิยสิกา
๕. ติณวัตถารกะ

อนุวาทาธิกรณ์ระงับด้วยสมถะ ๔ คือ
๑. สัมมุขาวินัย ๒. สติวินัย
๓. อมูฬหวินัย ๔. ตัสสปาปิยสิกา
ไม่ระงับด้วยสมถะ ๓ คือ
๑. เยภุยยสิกา ๒. ปฏิญญาตกรณะ
๓. ติณวัตถารกะ
อาปัตตาธิกรณ์ระงับด้วยสมถะ ๓ คือ
๑. สัมมุขาวินัย ๒. ปฏิญญาตกรณะ
๓. ติณวัตถารกะ
ไม่ระงับด้วยสมถะ ๔ คือ
๑. เยภุยยสิกา ๒. สติวินัย
๓. อมูฬหวินัย ๔. ตัสสปาปิยสิกา
กิจจาธิกรณ์ระงับด้วยสมถะ ๑ คือ สัมมุขาวินัย
ไม่ระงับด้วยสมถะ ๖ คือ
๑. เยภุยยสิกา ๒. สติวินัย
๓. อมูฬหวินัย ๔. ปฏิญญาตกรณะ
๕. ตัสสปาปิยสิกา ๖. ติณวัตถารกะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๔๐๙ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [สมถเภท] ๑๘. สัมมันตินสัมมันติวาร
ถาม : วิวาทาธิกรณ์และอนุวาทาธิกรณ์ระงับด้วยสมถะเท่าไร ไม่ระงับด้วยสมถะ
เท่าไร
ตอบ : วิวาทาธิกรณ์และอนุวาทาธิกรณ์ระงับด้วยสมถะ ๕ คือ

๑. สัมมุขาวินัย ๒. เยภุยยสิกา
๓. สติวินัย ๔. อมูฬหวินัย
๕. ตัสสปาปิยสิกา

ไม่ระงับด้วยสมถะ ๒ คือ
๑. ปฏิญญาตกรณะ ๒. ติณวัตถารกะ
ถาม : วิวาทาธิกรณ์และอาปัตตาธิกรณ์ระงับด้วยสมถะเท่าไร ไม่ระงับด้วยสมถะ
เท่าไร
ตอบ : วิวาทาธิกรณ์และอาปัตตาธิกรณ์ระงับด้วยสมถะ ๔ คือ

๑. สัมมุขาวินัย ๒. เยภุยยสิกา
๓. ปฏิญญาตกรณะ ๔. ติณวัตถารกะ

ไม่ระงับด้วยสมถะ ๓ คือ
๑. สติวินัย ๒. อมูฬหวินัย
๓. ตัสสปาปิยสิกา
ถาม : วิวาทาธิกรณ์และกิจจาธิกรณ์ระงับด้วยสมถะเท่าไร ไม่ระงับด้วยสมถะ
เท่าไร
ตอบ : วิวาทาธิกรณ์และกิจจาธิกรณ์ระงับด้วยสมถะ ๒ คือ
๑. สัมมุขาวินัย ๒. เยภุยยสิกา
ไม่ระงับด้วยสมถะ ๕ คือ

๑. สติวินัย ๒. อมูฬหวินัย
๓. ปฏิญญาตกรณะ ๔. ตัสสปาปิยสิกา
๕. ติณวัตถารกะ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๔๑๐ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [สมถเภท] ๑๘. สัมมันตินสัมมันติวาร
ถาม : อนุวาทาธิกรณ์และอาปัตตาธิกรณ์ระงับด้วยสมถะเท่าไร ไม่ระงับด้วย
สมถะเท่าไร
ตอบ : อนุวาทาธิกรณ์และอาปัตตาธิกรณ์ระงับด้วยสมถะ ๖ คือ
๑. สัมมุขาวินัย ๒. สติวินัย
๓. อมูฬหวินัย ๔. ปฏิญญาตกรณะ
๕. ตัสสปาปิยสิกา ๖. ติณวัตถารกะ
ไม่ระงับด้วยสมถะ ๑ คือ เยภุยยสิกา
ถาม : อนุวาทาธิกรณ์และกิจจาธิกรณ์ระงับด้วยสมถะเท่าไร ไม่ระงับด้วยสมถะ
เท่าไร
ตอบ : อนุวาทาธิกรณ์และกิจจาธิกรณ์ระงับด้วยสมถะ ๔ คือ
๑. สัมมุขาวินัย ๒. สติวินัย
๓. อมูฬหวินัย ๔. ตัสสปาปิยสิกา
ไม่ระงับด้วยสมถะ ๓ คือ
๑. เยภุยยสิกา ๒. ปฏิญญาตกรณะ
๓. ติณวัตถารกะ
ถาม : อาปัตตาธิกรณ์และกิจจาธิกรณ์ระงับด้วยสมถะเท่าไร ไม่ระงับด้วยสมถะ
เท่าไร
ตอบ : อาปัตตาธิกรณ์และกิจจาธิกรณ์ระงับด้วยสมถะ ๓ คือ
๑. สัมมุขาวินัย ๒. ปฏิญญาตกรณะ
๓. ติณวัตถารกะ
ไม่ระงับด้วยสมถะ ๔ คือ

๑. เยภุยยสิกา ๒. สติวินัย
๓. อมูฬหวินัย ๔. ตัสสปาปิยสิกา


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๔๑๑ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [สมถเภท] ๑๘. สัมมันตินสัมมันติวาร
ถาม : วิวาทาธิกรณ์ อนุวาทาธิกรณ์และอาปัตตาธิกรณ์ระงับด้วยสมถะเท่าไร
ไม่ระงับด้วยสมถะเท่าไร
ตอบ : วิวาทาธิกรณ์ อนุวาทาธิกรณ์และอาปัตตาธิกรณ์ระงับด้วยสมถะ ๗ คือ

๑. สัมมุขาวินัย ๒. เยภุยยสิกา
๓. สติวินัย ๔. อมูฬหวินัย
๕. ปฏิญญาตกรณะ ๖. ตัสสปาปิยสิกา
๗. ติณวัตถารกะ

ถาม : วิวาทาธิกรณ์ อนุวาทาธิกรณ์และกิจจาธิกรณ์ระงับด้วยสมถะเท่าไร ไม่
ระงับด้วยสมถะเท่าไร
ตอบ : วิวาทาธิกรณ์ อนุวาทาธิกรณ์และกิจจาธิกรณ์ระงับด้วยสมถะ ๕ คือ

๑. สัมมุขาวินัย ๒. เยภุยยสิกา
๓. สติวินัย ๔. อมูฬหวินัย
๕. ตัสสปาปิยสิกา

ไม่ระงับด้วยสมถะ ๒ คือ
๑. ปฏิญญาตกรณะ ๒. ติณวัตถารกะ
ถาม : อนุวาทาธิกรณ์ อาปัตตาธิกรณ์และกิจจาธิกรณ์ระงับด้วยสมถะเท่าไร
ไม่ระงับด้วยสมถะเท่าไร
ตอบ : อนุวาทาธิกรณ์ อาปัตตาธิกรณ์และกิจจาธิกรณ์ระงับด้วยสมถะ ๖ คือ

๑. สัมมุขาวินัย ๒. สติวินัย
๓. อมูฬหวินัย ๔. ปฏิญญาตกรณะ
๕. ตัสสปาปิยสิกา ๖. ติณวัตถารกะ

ไม่ระงับด้วยสมถะ ๑ คือ เยภุยยสิกา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๔๑๒ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [สมถเภท] ๑๙. สมถาธิกรณวาร
ถาม : วิวาทาธิกรณ์ อนุวาทาธิกรณ์ อาปัตตาธิกรณ์ และกิจจาธิกรณ์
ระงับด้วยสมถะเท่าไร ไม่ระงับด้วยสมถะเท่าไร
ตอบ : วิวาทาธิกรณ์ อนุวาทาธิกรณ์ อาปัตตาธิกรณ์ และกิจจาธิกรณ์
ระงับด้วยสมถะ ๗ คือ

๑. สัมมุขาวินัย ๒. เยภุยยสิกา
๓. สติวินัย ๔. อมูฬหวินัย
๕. ปฏิญญาตกรณะ ๖. ตัสสปาปิยสิกา
๗. ติณวัตถารกะ

สัมมันตินสัมมันติวารที่ ๑๘ จบ

๑๙. สมถาธิกรณวาร
วาระว่าด้วยอธิกรณ์ระงับด้วยสมถะ
[๓๐๙] ถาม : สมถะระงับด้วยสมถะหรือ สมถะระงับด้วยอธิกรณ์หรือ
อธิกรณ์ระงับด้วยสมถะหรือ อธิกรณ์ระงับด้วยอธิกรณ์หรือ
ตอบ : สมถะระงับด้วยสมถะก็มี สมถะไม่ระงับด้วยสมถะก็มี สมถะระงับด้วย
อธิกรณ์ก็มี สมถะไม่ระงับด้วยอธิกรณ์ก็มี อธิกรณ์ระงับด้วยสมถะก็มี อธิกรณ์ไม่
ระงับด้วยสมถะก็มี อธิกรณ์ระงับด้วยอธิกรณ์ก็มี อธิกรณ์ไม่ระงับด้วยอธิกรณ์ก็มี
[๓๑๐] ถาม : สมถะระงับด้วยสมถะได้อย่างไร สมถะไม่ระงับด้วยสมถะได้
อย่างไร
ตอบ : เยภุยยสิกา ระงับด้วยสัมมุขาวินัย ไม่ระงับด้วยสติวินัย อมูฬหวินัย
ปฏิญญาตกรณะ ตัสสปาปิยสิกา ติณวัตถารกะ
สติวินัย ระงับด้วยสัมมุขาวินัย ไม่ระงับด้วยอมูฬหวินัย ปฏิญญาตกรณะ ตัสส-
ปาปิยสิกา ติณวัตถารกะ เยภุยยสิกา
อมูฬหวินัย ระงับด้วยสัมมุขาวินัย ไม่ระงับด้วยปฏิญญาตกรณะ ตัสสปาปิยสิกา
ติณวัตถารกะ เยภุยยสิกา สติวินัย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๔๑๓ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [สมถเภท] ๑๙. สมถาธิกรณวาร
ปฏิญญาตกรณะ ระงับด้วยสัมมุขาวินัย ไม่ระงับด้วยตัสสปาปิยสิกา ติณวัตถารกะ
เยภุยยสิกา สติวินัย อมูฬหวินัย
ตัสสปาปิยสิกา ระงับด้วยสัมมุขาวินัย ไม่ระงับด้วยติณวัตถารกะ เยภุยยสิกา
สติวินัย อมูฬหวินัย ปฏิญญาตกรณะ
ติณวัตถารกะ ระงับด้วยสัมมุขาวินัย ไม่ระงับด้วยเยภุยยสิกา สติวินัย อมูฬหวินัย
ปฏิญญาตกรณะ ตัสสปาปิยสิกา
สมถะระงับด้วยสมถะได้อย่างนี้ สมถะไม่ระงับด้วยสมถะได้อย่างนี้
[๓๑๑] ถาม : สมถะระงับด้วยอธิกรณ์ได้อย่างไร สมถะไม่ระงับด้วยอธิกรณ์
ได้อย่างไร
ตอบ : สัมมุขาวินัยไม่ระงับด้วยวิวาทาธิกรณ์ อนุวาทาธิกรณ์ อาปัตตาธิกรณ์
แต่ระงับด้วยกิจจาธิกรณ์
เยภุยยสิกาไม่ระงับด้วยวิวาทาธิกรณ์ อนุวาทาธิกรณ์ อาปัตตาธิกรณ์ แต่ระงับ
ด้วยกิจจาธิกรณ์
สติวินัยไม่ระงับด้วยวิวาทาธิกรณ์ อนุวาทาธิกรณ์ อาปัตตาธิกรณ์ แต่ระงับด้วย
กิจจาธิกรณ์
อมูฬหวินัยไม่ระงับด้วยวิวาทาธิกรณ์ อนุวาทาธิกรณ์ อาปัตตาธิกรณ์ แต่ระงับ
ด้วยกิจจาธิกรณ์
ปฏิญญาตกรณะไม่ระงับด้วยวิวาทาธิกรณ์ อนุวาทาธิกรณ์ อาปัตตาธิกรณ์ แต่
ระงับด้วยกิจจาธิกรณ์
ตัสสปาปิยสิกาไม่ระงับด้วยวิวาทาธิกรณ์ อนุวาทาธิกรณ์ อาปัตตาธิกรณ์ แต่
ระงับด้วยกิจจาธิกรณ์
ติณวัตถารกะไม่ระงับด้วยวิวาทาธิกรณ์ อนุวาทาธิกรณ์ อาปัตตาธิกรณ์ แต่
ระงับด้วยกิจจาธิกรณ์
สมถะระงับด้วยอธิกรณ์ได้อย่างนี้ สมถะไม่ระงับด้วยอธิกรณ์ได้อย่างนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๔๑๔ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [สมถเภท] ๑๙. สมถาธิกรณวาร
[๓๑๒] ถาม : อธิกรณ์ระงับด้วยสมถะได้อย่างไร อธิกรณ์ไม่ระงับด้วยสมถะ
ได้อย่างไร
ตอบ : วิวาทาธิกรณ์ระงับด้วยสัมมุขาวินัย และเยภุยยสิกา ไม่ระงับด้วยสติ
วินัย อมูฬหวินัย ปฏิญญาตกรณะ ตัสสปาปิยสิกา และติณวัตถารกะ
อนุวาทาธิกรณ์ระงับด้วยสัมมุขาวินัย สติวินัย อมูฬหวินัย และตัสสปาปิยสิกา
ไม่ระงับด้วยเยภุยยสิกา ปฏิญญาตกรณะและติณวัตถารกะ
อาปัตตาธิกรณ์ระงับด้วยสัมมุขาวินัย ปฏิญญาตกรณะ และติณวัตถารกะ
ไม่ระงับด้วยเยภุยยสิกา สติวินัย อมูฬหวินัย และตัสสปาปิยสิกา
กิจจาธิกรณ์ระงับด้วยสัมมุขาวินัย ไม่ระงับด้วยเยภุยยสิกา สติวินัย อมูฬหวินัย
ปฏิญญาตกรณะ ตัสสปาปิยสิกา และติณวัตถารกะ
อธิกรณ์ระงับด้วยสมถะได้อย่างนี้ อธิกรณ์ไม่ระงับด้วยสมถะได้อย่างนี้
[๓๑๓] ถาม : อธิกรณ์ระงับด้วยอธิกรณ์ได้อย่างไร อธิกรณ์ไม่ระงับด้วยอธิกรณ์
ได้อย่างไร
ตอบ : วิวาทาธิกรณ์ไม่ระงับด้วยวิวาทาธิกรณ์ อนุวาทาธิกรณ์ อาปัตตาธิกรณ์
แต่ระงับด้วยกิจจาธิกรณ์
อนุวาทาธิกรณ์ไม่ระงับด้วยวิวาทาธิกรณ์ อนุวาทาธิกรณ์ อาปัตตาธิกรณ์ แต่
ระงับด้วยกิจจาธิกรณ์
อาปัตตาธิกรณ์ไม่ระงับด้วยวิวาทาธิกรณ์ อนุวาทาธิกรณ์ อาปัตตาธิกรณ์ แต่
ระงับด้วยกิจจาธิกรณ์
กิจจาธิกรณ์ไม่ระงับด้วยวิวาทาธิกรณ์ อนุวาทาธิกรณ์ อาปัตตาธิกรณ์ แต่ระงับ
ด้วยกิจจาธิกรณ์
อธิกรณ์ระงับด้วยอธิกรณ์ได้อย่างนี้ อธิกรณ์ไม่ระงับด้วยอธิกรณ์ได้อย่างนี้
สมถะทั้ง ๖ สมุฏฐาน อธิกรณ์ทั้ง ๔ อย่าง ระงับด้วยสัมมุขาวินัย แต่สัมมุขา
วินัยไม่ระงับด้วยอะไร
สมถาธิกรณวารที่ ๑๙ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๔๑๕ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [สมถเภท] ๒๐. สมุฏฐาเปติวาร
๒๐. สมุฏฐาเปติวาร
วาระว่าด้วยอธิกรณ์ยังอธิกรณ์ให้เกิดขึ้น
[๓๑๔] ถาม : วิวาทาธิกรณ์ บรรดาอธิกรณ์ ๔ อย่าง ยังอธิกรณ์อย่างไหน
ให้เกิดขึ้น บรรดาอธิกรณ์ ๔ อย่าง วิวาทาธิกรณ์ไม่ยังอธิกรณ์อย่างไหนให้เกิด
ตอบ : อีกอย่าง เพราะวิวาทาธิกรณ์เป็นปัจจัย อธิกรณ์ทั้ง ๔ ย่อมเกิดได้
มีอุปมาเหมือนอะไร เหมือนภิกษุทั้งหลายในธรรมวินัยนี้ ย่อมวิวาทกันว่า
นี้เป็นธรรม นี้เป็นอธรรม นี้เป็นวินัย นี้มิใช่วินัย นี้พระตถาคตได้ภาษิตไว้
ได้ตรัสไว้ นี้พระตถาคตไม่ได้ภาษิตไว้ ไม่ได้ตรัสไว้ จริยาวัตรนี้พระตถาคตทรงประพฤติ
มา จริยาวัตรนี้พระตถาคตมิได้ทรงประพฤติมา นี้พระตถาคตทรงบัญญัติไว้ นี้พระ
ตถาคตมิได้ทรงบัญญัติไว้ นี้อาบัติ นี้เป็นอนาบัติ นี้เป็นอาบัติเบา นี้เป็นอาบัติหนัก
นี้เป็นอาบัติที่มีส่วนเหลือ นี้เป็นอาบัติที่ไม่มีส่วนเหลือ นี้เป็นอาบัติชั่วหยาบ นี้เป็น
อาบัติไม่ชั่วหยาบ
ความบาดหมาง ความทะเลาะ ความแก่งแย่ง การทุ่มเถียง การกล่าวต่างกัน
การกล่าวโดยประการอื่น การพูดเพื่อความกลัดกลุ้ม ความหมายมั่นในเรื่องนั้น นี้เรียก
ว่า วิวาทาธิกรณ์ สงฆ์วิวาทกันในวิวาทาธิกรณ์ จัดเป็นวิวาทาธิกรณ์ เมื่อวิวาทกัน
ย่อมโจท จัดเป็นอนุวาทาธิกรณ์ เมื่อโจท ย่อมต้องอาบัติ จัดเป็นอาปัตตาธิกรณ์
สงฆ์ทำกรรมตามอาบัตินั้น จัดเป็นกิจจาธิกรณ์
เพราะวิวาทาธิกรณ์เป็นปัจจัย อธิกรณ์ทั้ง ๔ ย่อมเกิดได้อย่างนี้
[๓๑๕] ถาม : อนุวาทาธิกรณ์ บรรดาอธิกรณ์ ๔ อย่าง ยังอธิกรณ์อย่างไหน
ให้เกิด อนุวาทาธิกรณ์ บรรดาอธิกรณ์ ๔ อย่าง ไม่ยังอธิกรณ์อย่างไหนให้เกิด
ตอบ : อีกอย่าง เพราะอนุวาทาธิกรณ์เป็นปัจจัย อธิกรณ์ทั้ง ๔ ย่อมเกิดได้
มีอุปมาเหมือนอะไร เหมือนภิกษุทั้งหลายในธรรมวินัยนี้ ย่อมโจทภิกษุด้วยสีลวิบัติ
บ้าง อาจารวิบัติบ้าง ทิฏฐิวิบัติบ้าง อาชีววิบัติบ้าง การโจท การกล่าวหา การ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๔๑๖ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [สมถเภท] ๒๐. สมุฏฐาเปติวาร
ฟ้องร้อง การประท้วง ความคล้อยตาม การพยายามโจท การสนับสนุนในเรื่องนั้น
นี้เรียกว่า อนุวาทาธิกรณ์ สงฆ์ย่อมวิวาทกันในอนุวาทาธิกรณ์ จัดเป็นวิวาทาธิกรณ์
เมื่อวิวาทกัน ย่อมโจท จัดเป็นอนุวาทาธิกรณ์ เมื่อโจท ย่อมต้องอาบัติ จัดเป็น
อาปัตตาธิกรณ์ สงฆ์ทำกรรมตามอาบัตินั้น จัดเป็นกิจจาธิกรณ์
เพราะอนุวาทาธิกรณ์เป็นปัจจัย อธิกรณ์ทั้ง ๔ ย่อมเกิดได้อย่างนี้
[๓๑๖] ถาม : อาปัตตาธิกรณ์ บรรดาอธิกรณ์ ๔ อย่าง ยังอธิกรณ์อย่างไหน
ให้เกิด อาปัตตาธิกรณ์ บรรดาอธิกรณ์ ๔ อย่าง ไม่ยังอธิกรณ์อย่างไหนให้เกิด
ตอบ : อีกอย่าง เพราะอาปัตตาธิกรณ์เป็นปัจจัย อธิกรณ์ทั้ง ๔ ย่อมเกิดได้
มีอุปมาเหมือนอะไร เหมือนกองอาบัติทั้ง ๕ ชื่ออาปัตตาธิกรณ์ กองอาบัติทั้ง ๗
ก็ชื่ออาปัตตาธิกรณ์ นี้เรียกว่า อาปัตตาธิกรณ์ สงฆ์ย่อมวิวาทกันในอาปัตตาธิกรณ์
จัดเป็นวิวาทาธิกรณ์ เมื่อวิวาทกัน ย่อมโจท จัดเป็นอนุวาทาธิกรณ์ เมื่อโจท ย่อม
ต้องอาบัติ จัดเป็นอาปัตตาธิกรณ์ สงฆ์ทำกรรมตามอาบัตินั้น จัดเป็นกิจจาธิกรณ์
เพราะอาปัตตาธิกรณ์เป็นปัจจัย อธิกรณ์ทั้ง ๔ ย่อมเกิดได้อย่างนี้
[๓๑๗] ถาม : กิจจาธิกรณ์ บรรดาอธิกรณ์ ๔ อย่าง ยังอธิกรณ์อย่างไหน
ให้เกิด กิจจาธิกรณ์ บรรดาอธิกรณ์ ๔ อย่าง ไม่ยังอธิกรณ์อย่างไหนให้เกิด
ตอบ : อีกอย่าง เพราะกิจจาธิกรณ์ อธิกรณ์ทั้ง ๔ ย่อมเกิดได้ มีอุปมา
เหมือนอะไร เหมือนความที่สงฆ์มีกรรมที่จะพึงทำ ความที่สงฆ์มีกิจที่จะต้องทำ อปโลกน
กรรม ญัตติกรรม ญัตติทุติยกรรม ญัตติจตุตถกรรม นี้เรียกว่า กิจจาธิกรณ์ สงฆ์
ย่อมวิวาทกันในกิจจาธิกรณ์ จัดเป็นวิวาทาธิกรณ์ เมื่อวิวาทกัน ย่อมโจท จัดเป็น
อนุวาทาธิกรณ์ เมื่อโจท ย่อมต้องอาบัติ จัดเป็นอาปัตตาธิกรณ์ สงฆ์ทำกรรมตาม
อาบัตินั้น จัดเป็นกิจจาธิกรณ์
เพราะกิจจาธิกรณ์เป็นปัจจัย อธิกรณ์ทั้ง ๔ ย่อมเกิดได้อย่างนี้
สมุฏฐาเปติวารที่ ๒๐ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๔๑๗ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [สมถเภท] ๒๑. ภชติวาร
๒๑. ภชติวาร
วาระว่าด้วยจัดเป็นอธิกรณ์ไหน
[๓๑๘] ถาม : วิวาทาธิกรณ์ บรรดาอธิกรณ์ ๔ อย่าง จัดเป็นอธิกรณ์อย่าง
ไหน อาศัยอธิกรณ์อย่างไหน นับเนื่องในอธิกรณ์อย่างไหน จัดเข้าอธิกรณ์อย่างไหน
อนุวาทาธิกรณ์ บรรดาอธิกรณ์ ๔ อย่าง จัดเป็นอธิกรณ์อย่างไหน อาศัย
อธิกรณ์อย่างไหน นับเนื่องในอธิกรณ์อย่างไหน จัดเข้าอธิกรณ์อย่างไหน
อาปัตตาธิกรณ์ บรรดาอธิกรณ์ ๔ อย่าง จัดเป็นอธิกรณ์อย่างไหน อาศัย
อธิกรณ์อย่างไหน นับเนื่องในอธิกรณ์อย่างไหน จัดเข้าอธิกรณ์อย่างไหน
กิจจาธิกรณ์ บรรดาอธิกรณ์ ๔ อย่าง จัดเป็นอธิกรณ์อย่างไหน อาศัยอธิกรณ์
อย่างไหน นับเนื่องในอธิกรณ์อย่างไหน จัดเข้าอธิกรณ์อย่างไหน
ตอบ : วิวาทาธิกรณ์ บรรดาอธิกรณ์ ๔ อย่าง จัดเป็นวิวาทาธิกรณ์ อาศัย
วิวาทาธิกรณ์ นับเนื่องในวิวาทาธิกรณ์ จัดเข้าวิวาทาธิกรณ์
อนุวาทาธิกรณ์ บรรดาอธิกรณ์ ๔ อย่าง จัดเป็นอนุวาทาธิกรณ์ อาศัย
อนุวาทาธิกรณ์ นับเนื่องในอนุวาทาธิกรณ์ จัดเข้าอนุวาทาธิกรณ์
อาปัตตาธิกรณ์ บรรดาอธิกรณ์ ๔ อย่าง จัดเป็นอาปัตตาธิกรณ์ อาศัย
อาปัตตาธิกรณ์ นับเนื่องในอาปัตตาธิกรณ์ จัดเข้าอาปัตตาธิกรณ์
กิจจาธิกรณ์ บรรดาอธิกรณ์ ๔ อย่าง จัดเป็นกิจจาธิกรณ์ อาศัย
กิจจาธิกรณ์ นับเนื่องในกิจจาธิกรณ์ จัดเข้ากิจจาธิกรณ์
[๓๑๙] ถาม : วิวาทาธิกรณ์ บรรดาสมถะ ๗ อย่าง บ่งถึงสมถะเท่าไร
อาศัยสมถะเท่าไร นับเนื่องในสมถะเท่าไร จัดเข้าสมถะเท่าไร ระงับด้วยสมถะเท่าไร
อนุวาทาธิกรณ์ ฯลฯ อาปัตตาธิกรณ์ ฯลฯ กิจจาธิกรณ์ บรรดาสมถะ ๗
บ่งถึงสมถะเท่าไร อาศัยสมถะเท่าไร นับเนื่องในสมถะเท่าไร จัดเข้าสมถะเท่าไร
ระงับด้วยสมถะเท่าไร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๔๑๘ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [สมถเภท] รวมวาระที่มีในสมถเภท
ตอบ : วิวาทาธิกรณ์ บรรดาสมถะ ๗ บ่งถึงสมถะ ๒ อาศัยสมถะ ๒
นับเนื่องในสมถะ ๒ จัดเข้าสมถะ ๒ ระงับด้วยสมถะ ๒ คือ
๑. สัมมุขาวินัย ๒. เยภุยยสิกา
อนุวาทาธิกรณ์ บรรดาสมถะ ๗ บ่งถึงสมถะ ๔ อาศัยสมถะ ๔ นับเนื่องใน
สมถะ ๔ จัดเข้าสมถะ ๔ ระงับด้วยสมถะ ๔ คือ
๑. สัมมุขาวินัย ๒. สติวินัย
๓. อมูฬหวินัย ๔. ตัสสปาปิยสิกา
อาปัตตาธิกรณ์บรรดาสมถะ ๗ บ่งถึงสมถะ ๓ อาศัยสมถะ ๓ นับเนื่องใน
สมถะ ๓ จัดเข้าสมถะ ๓ ระงับด้วยสมถะ ๓ คือ
๑. สัมมุขาวินัย ๒. ปฏิญญาตกรณะ
๓. ติณวัตถารกะ
กิจจาธิกรณ์ บรรดาสมถะ ๗ บ่งถึงสมถะ ๑ อาศัยสมถะ ๑ นับเนื่องในสมถะ
๑ จัดเข้าสมถะ ๑ ระงับด้วยสมถะ ๑ คือ สัมมุขาวินัย
ภชติวารที่ ๒๑ จบ
สมถเภท จบ

รวมวาระที่มีในสมถเภท
อธิกรณปริยายวาร สาธารณวาร ตัพภาคิยวาร
สมถสาธารณวาร สมถตัพภาคิยวาร สมถสัมมุขาวินยวาร
วินยวาร กุสลวาร ยัตถวารปุจฉาวาร
สมถวิสัชชนาวาร สังสัฏฐวาร สัมมติวาร
สัมมันตินสัมมันติวาร สมถาธิกรณวาร
สมุฏฐาปนวาร ภชติวาร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๔๑๙ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ขันธกปุจฉาวาร] ขันธกปุจฉาวาร
ขันธกปุจฉาวาร
ว่าด้วยวาระคำถามและคำตอบถึงขันธกะ
[๓๒๐] ข้าพเจ้าจักถามถึงอุปสัมปทาขันธกะ๑ พร้อมด้วยนิทาน
พร้อมด้วยนิทเทส บทบัญญัติสูงสุด ปรับอาบัติเท่าไร
ข้าพเจ้าจักตอบอุปสัมปทาขันธกะ พร้อมด้วยนิทาน
พร้อมด้วยนิทเทส บทบัญญัติสูงสุด ปรับอาบัติ ๒ อย่าง
ข้าพเจ้าจักถามถึงอุโปสถขันธกะ พร้อมด้วยนิทาน
พร้อมด้วยนิทเทส บทบัญญัติสูงสุด ปรับอาบัติเท่าไร
ข้าพเจ้าจักตอบอุโปสถขันธกะ พร้อมด้วยนิทาน
พร้อมด้วยนิทเทส บทบัญญัติสูงสุด ปรับอาบัติ ๓ อย่าง
ข้าพเจ้าจักถามถึงวัสสูปนายิกขันธกะ พร้อมด้วยนิทาน
พร้อมด้วยนิทเทส บทบัญญัติสูงสุด ปรับอาบัติเท่าไร
ข้าพเจ้าจักตอบวัสสูปนายิกขันธกะ พร้อมด้วยนิทาน
พร้อมด้วยนิทเทส บทบัญญัติสูงสุด ปรับอาบัติ ๑ อย่าง
ข้าพเจ้าจักถามถึงปวารณาขันธกะ พร้อมด้วยนิทาน
พร้อมด้วยนิทเทส บทบัญญัติสูงสุด ปรับอาบัติเท่าไร
ข้าพเจ้าจักตอบปวารณาขันธกะ พร้อมด้วยนิทาน
พร้อมด้วยนิทเทส บทบัญญัติสูงสุด ปรับอาบัติ ๓ อย่าง
ข้าพเจ้าจักถามถึงจัมมสัญญุตตขันธกะ พร้อมด้วยนิทาน
พร้อมด้วยนิทเทส บทบัญญัติสูงสุด ปรับอาบัติเท่าไร
ข้าพเจ้าจักตอบจัมมสัญญุตตขันธกะ พร้อมด้วยนิทาน
พร้อมด้วยนิทเทส บทบัญญัติสูงสุด ปรับอาบัติ ๓ อย่าง

เชิงอรรถ :
๑ หมายถึงมหาขันธกะ (วิ.ม. (แปล) ๔/๑-๑๓๑/๑-๒๐๖)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๔๒๐ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ขันธกปุจฉาวาร] ขันธกปุจฉาวาร
ข้าพเจ้าจักถามถึงเภสัชชขันธกะ พร้อมด้วยนิทาน
พร้อมด้วยนิทเทส บทบัญญัติสูงสุด ปรับอาบัติเท่าไร
ข้าพเจ้าจักตอบเภสัชชขันธกะ พร้อมด้วยนิทาน
พร้อมด้วยนิทเทส บทบัญญัติสูงสุด ปรับอาบัติ ๓ อย่าง
ข้าพเจ้าจักถามถึงกฐินขันธกะ พร้อมด้วยนิทาน
พร้อมด้วยนิทเทส บทบัญญัติสูงสุด ปรับอาบัติเท่าไร
ข้าพเจ้าจักตอบกฐินขันธกะ พร้อมด้วยนิทาน
พร้อมด้วยนิทเทส บทบัญญัติสูงสุด ในกฐินขันธกะ ไม่ปรับอาบัติ
ข้าพเจ้าจักถามถึงจีวรสัญญุตตขันธกะ พร้อมด้วยนิทาน
พร้อมด้วยนิทเทส บทบัญญัติสูงสุด ปรับอาบัติเท่าไร
ข้าพเจ้าจักตอบจีวรสัญญุตตขันธกะ พร้อมด้วยนิทาน
พร้อมด้วยนิทเทส บทบัญญัติสูงสุด ปรับอาบัติ ๓ อย่าง
ข้าพเจ้าจักถามถึงจัมเปยยขันธกะ พร้อมด้วยนิทาน
พร้อมด้วยนิทเทส บทบัญญัติสูงสุด ปรับอาบัติเท่าไร
ข้าพเจ้าจักตอบจัมเปยยขันธกะ พร้อมด้วยนิทาน
พร้อมด้วยนิทเทส บทบัญญัติสูงสุด ปรับอาบัติ ๑ อย่าง
ข้าพเจ้าจักถามถึงโกสัมพิกขันธกะ พร้อมด้วยนิทาน
พร้อมด้วยนิทเทส บทบัญญัติสูงสุด ปรับอาบัติเท่าไร
ข้าพเจ้าจักตอบโกสัมพิกขันธกะ พร้อมด้วยนิทาน
พร้อมด้วยนิทเทส บทบัญญัติสูงสุด ปรับอาบัติ ๑ อย่าง
ข้าพเจ้าจักถามถึงกัมมขันธกะ พร้อมด้วยนิทาน
พร้อมด้วยนิทเทส บทบัญญัติสูงสุด ปรับอาบัติเท่าไร
ข้าพเจ้าจักตอบกัมมขันธกะ พร้อมด้วยนิทาน
พร้อมด้วยนิทเทส บทบัญญัติสูงสุด ปรับอาบัติ ๑ อย่าง
ข้าพเจ้าจักถามถึงปาริวาสิกขันธกะ พร้อมด้วยนิทาน
พร้อมด้วยนิทเทส บทบัญญัติสูงสุด ปรับอาบัติเท่าไร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๔๒๑ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ขันธกปุจฉาวาร] ขันธกปุจฉาวาร
ข้าพเจ้าจักตอบปาริวาสิกขันธกะ พร้อมด้วยนิทาน
พร้อมด้วยนิทเทส บทบัญญัติสูงสุด ปรับอาบัติ ๑ อย่าง
ข้าพเจ้าจักถามถึงสมุจจยขันธกะ พร้อมด้วยนิทาน
พร้อมด้วยนิทเทส บทบัญญัติสูงสุด ปรับอาบัติเท่าไร
ข้าพเจ้าจักตอบสมุจจยขันธกะ พร้อมด้วยนิทาน
พร้อมด้วยนิทเทส บทบัญญัติสูงสุด ปรับอาบัติ ๑ อย่าง
ข้าพเจ้าจักถามถึงสมถขันธกะ พร้อมด้วยนิทาน
พร้อมด้วยนิทเทส บทบัญญัติสูงสุด ปรับอาบัติเท่าไร
ข้าพเจ้าจักตอบสมถขันธกะ พร้อมด้วยนิทาน
พร้อมด้วยนิทเทส บทบัญญัติสูงสุด ปรับอาบัติ ๒ อย่าง
ข้าพเจ้าจักถามถึงขุททกวัตถุขันธกะ พร้อมด้วยนิทาน
พร้อมด้วยนิทเทส บทบัญญัติสูงสุด ปรับอาบัติเท่าไร
ข้าพเจ้าจักตอบขุททกวัตถุขันธกะ พร้อมด้วยนิทาน
พร้อมด้วยนิทเทส บทบัญญัติสูงสุด ปรับอาบัติ ๓ อย่าง
ข้าพเจ้าจักถามถึงเสนาสนขันธกะ พร้อมด้วยนิทาน
พร้อมด้วยนิทเทส บทบัญญัติสูงสุด ปรับอาบัติเท่าไร
ข้าพเจ้าจักตอบเสนาสนขันธกะ พร้อมด้วยนิทาน
พร้อมด้วยนิทเทส บทบัญญัติสูงสุด ปรับอาบัติ ๓ อย่าง
ข้าพเจ้าจักถามถึงสังฆเภทขันธกะ พร้อมด้วยนิทาน
พร้อมด้วยนิทเทส บทบัญญัติสูงสุด ปรับอาบัติเท่าไร
ข้าพเจ้าจักตอบสังฆเภทขันธกะ พร้อมด้วยนิทาน
พร้อมด้วยนิทเทส บทบัญญัติสูงสุด ปรับอาบัติ ๒ อย่าง
ข้าพเจ้าจักถามถึงสมาจารขันธกะ๑ พร้อมด้วยนิทาน
พร้อมด้วยนิทเทส บทบัญญัติสูงสุด ปรับอาบัติเท่าไร

เชิงอรรถ :
๑ หมายถึงวัตตักขันธกะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๔๒๒ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ขันธกปุจฉาวาร] ขันธกปุจฉาวาร
ข้าพเจ้าจักตอบสมาจารขันธกะ พร้อมด้วยนิทาน
พร้อมด้วยนิทเทส บทบัญญัติสูงสุด ปรับอาบัติ ๑ อย่าง
ข้าพเจ้าจักถามถึงฐปนขันธกะ พร้อมด้วยนิทาน
พร้อมด้วยนิทเทส บทบัญญัติสูงสุด ปรับอาบัติเท่าไร
ข้าพเจ้าจักตอบฐปนขันธกะ พร้อมด้วยนิทาน
พร้อมด้วยนิทเทส บทบัญญัติสูงสุด ปรับอาบัติ ๑ อย่าง
ข้าพเจ้าจักถามถึงภิกขุนีขันธกะ พร้อมด้วยนิทาน
พร้อมด้วยนิทเทส บทบัญญัติสูงสุด ปรับอาบัติเท่าไร
ข้าพเจ้าจักตอบภิกขุนีขันธกะ พร้อมด้วยนิทาน
พร้อมด้วยนิทเทส บทบัญญัติสูงสุด ปรับอาบัติ ๒ อย่าง
ข้าพเจ้าจักถามถึงปัญจสติกขันธกะ พร้อมด้วยนิทาน
พร้อมด้วยนิทเทส บทบัญญัติสูงสุด ปรับอาบัติเท่าไร
ข้าพเจ้าจักตอบปัญจสติกขันธกะ พร้อมด้วยนิทาน
พร้อมด้วยนิทเทส บทบัญญัติสูงสุด
ในปัญจสติกขันธกะไม่ปรับอาบัติ
ข้าพเจ้าจักถามถึงสัตตสติกขันธกะ พร้อมด้วยนิทาน
พร้อมด้วยนิทเทส บทบัญญัติสูงสุด ปรับอาบัติเท่าไร
ข้าพเจ้าจักตอบสัตตสติกขันธกะ พร้อมด้วยนิทาน
พร้อมด้วยนิทเทส บทบัญญัติสูงสุด
ในสัตตสติกขันธกะไม่ปรับอาบัติ
ขันธกปุจฉาวารที่ ๑ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๔๒๓ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ขันธกปุจฉาวาร] หัวข้อประจำวาร
หัวข้อประจำวาร
อุปสัมปทาขันธกะ อุโปสถขันธกะ วัสสูปนายิกขันธกะ
ปวารณาขันธกะ จัมมขันธกะ เภสัชชขันธกะ กฐินขันธกะ
จีวรขันธกะ จัมเปยยขันธกะ โกสัมพิกขันธกะ
กัมมขันธกะ ปาริวาสิกขันธกะ สมุจจยขันธกะ
สมถขันธกะ ขุททกวัตถุขันธกะ เสนาสนขันธกะ
สังฆเภทขันธกะ สมาจารขันธกะ ฐปนขันธกะ
ภิกขุนีขันธกะ ปัญจสติกขันธกะ สัตตสติกขันธกะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๔๒๔ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [เอกุตตริกนัย] ๑. เอกกวาร
เอกุตตริกนัย
ว่าด้วยนัยเกินหนึ่ง
๑. เอกกวาร
ว่าด้วยหมวด ๑
[๓๒๑] พึงรู้ธรรมทั้งหลายที่ก่ออาบัติ พึงรู้ธรรมทั้งหลายที่ไม่ก่ออาบัติ พึงรู้
อาบัติ พึงรู้อนาบัติ พึงรู้อาบัติเบา พึงรู้อาบัติหนัก พึงรู้อาบัติที่มีส่วนเหลือ พึงรู้
อาบัติที่ไม่มีส่วนเหลือ พึงรู้อาบัติชั่วหยาบ พึงรู้อาบัติไม่ชั่วหยาบ พึงรู้อาบัติที่ทำ
คืนได้ พึงรู้อาบัติที่ทำคืนไม่ได้ พึงรู้อาบัติที่เป็นเทสนาคามินี พึงรู้อาบัติที่เป็น
อเทสนาคามินี พึงรู้อาบัติที่ทำอันตราย พึงรู้อาบัติที่ไม่ทำอันตราย พึงรู้อาบัติที่มี
โทษทางพระบัญญัติ พึงรู้อาบัติที่ไม่มีโทษทางพระบัญญัติ พึงรู้อาบัติที่เกิดจากการ
กระทำ พึงรู้อาบัติที่เกิดจากการไม่ทำ พึงรู้อาบัติที่เกิดจากการกระทำและจากการไม่ทำ
พึงรู้อาบัติก่อน พึงรู้อาบัติหลัง พึงรู้อาบัติระหว่างอาบัติก่อน พึงรู้อาบัติระหว่าง
อาบัติหลัง พึงรู้อาบัตินับเข้าจำนวนที่แสดงแล้ว พึงรู้อาบัติไม่นับเข้าจำนวนที่แสดงแล้ว
พึงรู้บัญญัติ พึงรู้อนุบัญญัติ พึงรู้อนุปปันนบัญญัติ พึงรู้สัพพัตถบัญญัติ พึงรู้ปเทส
บัญญัติ พึงรู้สาธารณบัญญัติ พึงรู้อสาธารณบัญญัติ พึงรู้เอกโตบัญญัติ พึงรู้อุภโต
บัญญัติ พึงรู้อาบัติมีโทษหนัก พึงรู้อาบัติมีโทษเบา พึงรู้อาบัติที่เกี่ยวกับคฤหัสถ์
พึงรู้อาบัติที่ไม่เกี่ยวกับคฤหัสถ์ พึงรู้อาบัติที่แน่นอน พึงรู้อาบัติที่ไม่แน่นอน พึงรู้
บุคคลผู้เป็นต้นบัญญัติ พึงรู้บุคคลผู้ไม่เป็นต้นบัญญัติ พึงรู้บุคคลผู้ไม่ต้องอาบัติเป็นนิจ
พึงรู้บุคคลผู้ต้องอาบัติเนือง ๆ พึงรู้บุคคลผู้เป็นโจทก์ พึงรู้บุคคลผู้เป็นจำเลย พึงรู้
บุคคลผู้ฟ้องโดยไม่เป็นธรรม พึงรู้บุคคลผู้ถูกฟ้องโดยไม่เป็นธรรม พึงรู้บุคคลผู้ฟ้อง
โดยเป็นธรรม พึงรู้บุคคลผู้ถูกฟ้องโดยเป็นธรรม พึงรู้บุคคลผู้แน่นอน พึงรู้บุคคล
ผู้ไม่แน่นอน พึงรู้บุคคลผู้ควรต้องอาบัติ พึงรู้บุคคลผู้ไม่ควรต้องอาบัติ พึงรู้บุคคลผู้ถูก
สงฆ์ลงอุกเขปนียกรรม พึงรู้บุคคลผู้ไม่ถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรม พึงรู้บุคคลผู้ถูกนาสนะ
พึงรู้บุคคลผู้ไม่ถูกนาสนะ พึงรู้บุคคลผู้เป็นสมานสังวาส พึงรู้บุคคลผู้เป็นนานาสังวาส
พึงรู้การงดปาติโมกข์แล
เอกกวาร จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๔๒๕ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [เอกุตตริกนัย] หัวข้อประจำวาร
หัวข้อประจำวาร
ธรรมที่ก่ออาบัติ และธรรมที่ไม่ก่ออาบัติ อาบัติ และอนาบัติ
อาบัติเบา และอาบัติหนัก อาบัติมีส่วนเหลือ และอาบัติไม่มีส่วนเหลือ
อาบัติชั่วหยาบ และอาบัติไม่ชั่วหยาบ
อาบัติที่ทำคืนได้ และอาบัติทำคืนไม่ได้
อาบัติที่เป็นเทสนาคามินี และอาบัติที่เป็นอเทสนาคามินี
อาบัติที่ทำอันตราย และอาบัติที่ไม่ทำอันตราย
อาบัติที่มีโทษ และอาบัติที่ไม่มีโทษ
อาบัติที่เกิดจากการกระทำ และอาบัติที่เกิดจากการไม่ทำ
อาบัติที่เกิดจากการกระทำ และไม่กระทำ อาบัติก่อน และอาบัติหลัง
อาบัติระหว่างอาบัติก่อน และอาบัติระหว่างอาบัติหลัง
อาบัติที่นับเข้าจำนวน และอาบัติที่ไม่นับเข้าจำนวน
บัญญัติ และอนุบัญญัติ อนุปปันนบัญญัติ สัพพัตถบัญญัติ
และปเทสบัญญัติ สาธารณบัญญัติ และอสาธารณบัญญัติ
เอกโตบัญญัติและอุภโตบัญญัติ
อาบัตมีโทษหนักและอาบัติที่มีโทษเบา
อาบัติที่เกี่ยวกับคฤหัสถ์ และอาบัติที่ไม่เกี่ยวกับคฤหัสถ์
อาบัติที่แน่นอน และอาบัติที่ไม่แน่นอน
บุคคลผู้เป็นต้นบัญญัติ และบุคคลผู้ไม่เป็นต้นบัญญัติ
บุคคลผู้ไม่ต้องอาบัติเป็นนิจ และบุคคลผู้ต้องอาบัติเนือง ๆ
บุคคลผู้เป็นโจทก์ และบุคคลผู้เป็นจำเลย
บุคคลผู้ฟ้องโดยไม่เป็นธรรม และบุคคลผู้ถูกฟ้องโดยไม่เป็นธรรม
บุคคลผู้ฟ้องโดยเป็นธรรม และบุคคลผู้ถูกฟ้องโดยเป็นธรรม
บุคคลผู้แน่นอน และบุคคลผู้ไม่แน่นอน
บุคคลผู้ควรต้องอาบัติ และบุคคลผู้ไม่ควรต้องอาบัติ
บุคคลผู้ถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรม และบุคคลผู้ไม่ถูกสงฆ์ลงอุปเขปนียกรรม
บุคคลผู้ถูกนาสนะ และบุคคลผู้ไม่ถูกนาสนะ
บุคคลผู้มีสังวาสเสมอกัน และบุคคลมีสังวาสต่างกัน
การงดและหัวข้อดังกล่าวนี้ จัดรวมเข้าด้วยกัน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๔๒๖ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [เอกุตตริกนัย] ๒. ทุกวาร
๒. ทุกวาร
ว่าด้วยหมวด ๒
[๓๒๒] อาบัติเป็นสัญญาวิโมกข์มีอยู่ อาบัติไม่เป็นสัญญาวิโมกข์มีอยู่ อาบัติ
ของภิกษุผู้ได้สมาบัติมีอยู่ อาบัติของภิกษุผู้ไม่ได้สมาบัติมีอยู่ อาบัติเกี่ยวเนื่องด้วย
สัทธรรมมีอยู่ อาบัติไม่เกี่ยวเนื่องด้วยสัทธรรมมีอยู่ อาบัติเกี่ยวเนื่องด้วยบริขารของ
ตนมีอยู่ อาบัติเกี่ยวเนื่องด้วยบริขารของผู้อื่นมีอยู่ อาบัติเกี่ยวเนื่องด้วยบุคคลคือ
ตนเองมีอยู่ อาบัติเกี่ยวเนื่องด้วยบุคคลอื่นมีอยู่ อาบัติที่เมื่อภิกษุพูดจริง ย่อมต้อง
อาบัติหนักมีอยู่ อาบัติที่เมื่อภิกษุพูดเท็จ ย่อมต้องอาบัติเบามีอยู่ อาบัติที่เมื่อภิกษุ
พูดเท็จ ย่อมต้องอาบัติหนักมีอยู่ อาบัติที่เมื่อภิกษุพูดจริง ย่อมต้องอาบัติเบามีอยู่
อาบัติที่ภิกษุอยู่บนแผ่นดินแล้วต้อง อยู่ในอากาศแล้วไม่ต้องมีอยู่ อาบัติที่ภิกษุอยู่
ในอากาศแล้วต้อง อยู่บนแผ่นดินไม่ต้องมีอยู่ อาบัติที่เมื่อภิกษุออกไปต้อง เข้าไป
ไม่ต้องมีอยู่ อาบัติที่เมื่อภิกษุเข้าไปต้อง ออกไปไม่ต้องมีอยู่ อาบัติที่ภิกษุเมื่อถือ
เอาจึงต้องมีอยู่ อาบัติที่ภิกษุเมื่อไม่ถือเอาก็ต้องมีอยู่ อาบัติที่ภิกษุเมื่อสมาทานจึง
ต้องมีอยู่ อาบัติที่ภิกษุเมื่อไม่สมาทานก็ต้องมีอยู่ อาบัติที่ภิกษุเมื่อทำจึงต้องมีอยู่
อาบัติที่ภิกษุเมื่อไม่ทำก็ต้องมีอยู่ อาบัติที่ภิกษุเมื่อให้จึงต้องมีอยู่ อาบัติที่ภิกษุเมื่อ
ไม่ให้ก็ต้องมีอยู่ อาบัติที่ภิกษุเมื่อรับจึงต้องมีอยู่ อาบัติที่ภิกษุเมื่อไม่รับก็ต้องมีอยู่
อาบัติที่ภิกษุต้องเพราะบริโภคมีอยู่ อาบัติที่ภิกษุต้องเพราะไม่บริโภคมีอยู่ อาบัติที่
ภิกษุต้องในเวลากลางคืน ไม่ต้องในเวลากลางวันมีอยู่ อาบัติที่ภิกษุต้องในเวลากลางวัน
ไม่ต้องในเวลากลางคืนมีอยู่ อาบัติที่ภิกษุต้องเพราะอรุณขึ้นมีอยู่ อาบัติที่ภิกษุต้อง
ไม่ใช่เพราะอรุณขึ้นมีอยู่ อาบัติที่ภิกษุเมื่อตัดจึงต้องมีอยู่ อาบัติที่ภิกษุเมื่อไม่ตัด
ก็ต้องมีอยู่ อาบัติที่ภิกษุเมื่อปิดไว้จึงต้องมีอยู่ อาบัติที่ภิกษุเมื่อไม่ปิดไว้ก็ต้องมีอยู่
อาบัติที่ภิกษุเมื่อทรงไว้จึงต้องมีอยู่ อาบัติที่ภิกษุเมื่อไม่ทรงไว้ก็ต้องมีอยู่

ว่าด้วยวันอุโบสถ เป็นต้น
วันอุโบสถมี ๒ วัน คือ
๑. วันอุโบสถในวัน ๑๔ ค่ำ ๒. วันอุโบสถในวัน ๑๕ ค่ำ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๔๒๗ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [เอกุตตริกนัย] ๒. ทุกวาร
วันปวารณามี ๒ วัน คือ
๑. วันปวารณาในวัน ๑๔ ค่ำ ๒. วันปวารณาในวัน ๑๕ ค่ำ
กรรมมี ๒ อย่าง คือ
๑. อปโลกนกรรม ๒. ญัตติกรรม
กรรมแม้อื่นอีกก็มี ๒ อย่าง คือ
๑. ญัตติทุติยกรรม ๒. ญัตติจตุตถกรรม
วัตถุแห่งกรรมมี ๒ อย่าง คือ
๑. วัตถุแห่งอปโลกนกรรม ๒. วัตถุแห่งญัตติกรรม
วัตถุแห่งกรรมแม้อื่นอีกก็มี ๒ อย่าง คือ
๑. วัตถุแห่งญัตติทุติยกรรม ๒. วัตถุแห่งญัตติจตุตถกรรม
โทษแห่งกรรมมี ๒ อย่าง คือ
๑. โทษแห่งอปโลกนกรรม ๒. โทษแห่งญัตติกรรม
โทษแห่งกรรมแม้อื่นอีกก็มี ๒ อย่าง คือ
๑. โทษแห่งญัตติทุติยกรรม ๒. โทษแห่งญัตติจตุตถกรรม
สมบัติแห่งกรรมมี ๒ อย่าง คือ
๑. สมบัติแห่งอปโลกนกรรม ๒. สมบัติแห่งญัตติกรรม
สมบัติแห่งกรรมแม้อื่นอีกก็มี ๒ อย่าง คือ
๑. สมบัติแห่งญัตติทุติยกรรม ๒. สมบัติแห่งญัตติจตุตถกรรม
นานาสังวาสกภูมิมี ๒ อย่าง คือ
๑. ภิกษุทำตนให้เป็นนานาสังวาสด้วยตนเอง
๒. สงฆ์พร้อมเพรียงกันลงอุกเขปนียกรรมภิกษุรูปนั้น เพราะไม่เห็นว่า
เป็นอาบัติ เพราะไม่ทำคืนอาบัติ หรือเพราะไม่สละทิฏฐิบาป

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๔๒๘ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [เอกุตตริกนัย] ๒. ทุกวาร
สมานสังวาสกภูมิมี ๒ อย่าง คือ
๑. ภิกษุทำตนให้เป็นสมานสังวาสด้วยตนเอง
๒. สงฆ์พร้อมเพรียงกันรับภิกษุผู้ถูกลงอุกเขปนียกรรม เพราะไม่เห็นว่า
เป็นอาบัติ เพราะไม่ทำคืนอาบัติ หรือเพราะไม่สละทิฏฐิบาปเข้าหมู่

ว่าด้วยปาราชิก เป็นต้น
ปาราชิกมี ๒ อย่าง คือ (๑) ของภิกษุ (๒) ของภิกษุณี
สังฆาทิเสสมี ๒ อย่าง คือ (๑) ของภิกษุ (๒) ของภิกษุณี
ถุลลัจจัยมี ๒ อย่าง คือ (๑) ของภิกษุ (๒) ของภิกษุณี
ปาจิตตีย์มี ๒ อย่าง คือ (๑) ของภิกษุ (๒) ของภิกษุณี
ปาฏิเทสนียะมี ๒ อย่าง คือ (๑) ของภิกษุ (๒) ของภิกษุณี
ทุกกฏมี ๒ อย่าง คือ (๑) ของภิกษุ (๒) ของภิกษุณี
ทุพภาสิตมี ๒ อย่าง คือ (๑) ของภิกษุ (๒) ของภิกษุณี
อาบัติของภิกษุมี ๗ อย่าง ของภิกษุณีก็มี ๗ อย่าง
กองอาบัติของภิกษุมี ๗ อย่าง ของภิกษุณีก็มี ๗ อย่าง
สงฆ์แตกกันด้วยอาการ ๒ อย่าง คือ (๑) ด้วยกรรม (๒) ด้วยการจับสลาก

ว่าด้วยบุคคล
บุคคล ๒ จำพวก สงฆ์ไม่พึงให้อุปสมบท คือ
๑. ผู้มีกาลบกพร่อง ๒. ผู้มีอวัยวะบกพร่อง
บุคคลแม้อีก ๒ จำพวก สงฆ์ไม่พึงให้อุปสมบท คือ
๑. ผู้มีวัตถุวิบัติ ๒. ผู้มีการกระทำเสียหาย
บุคคลแม้อีก ๒ จำพวก สงฆ์ไม่พึงให้อุปสมบท คือ
๑. ผู้ไม่บริบูรณ์ ๒. ผู้บริบูรณ์ แต่ไม่ขออุปสมบท

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๔๒๙ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [เอกุตตริกนัย] ๒. ทุกวาร
ไม่พึงอยู่อาศัยบุคคล ๒ จำพวก คือ
๑. ผู้อลัชชี ๒. ผู้โง่เขลา
ไม่พึงให้นิสัยแก่บุคคล ๒ จำพวก คือ
๑. ผู้อลัชชี ๒. ผู้ลัชชีแต่ไม่ขอ
พึงให้นิสัยแก่บุคคล ๒ จำพวก คือ
๑. ผู้โง่เขลา ๒. ผู้ลัชชีแต่ขอ
บุคคล ๒ จำพวก ไม่ควรต้องอาบัติ คือ
๑. พระพุทธเจ้า ๒. พระปัจเจกพุทธเจ้า
บุคคล ๒ จำพวก ควรต้องอาบัติ คือ
๑. ภิกษุ ๒. ภิกษุณี
บุคคล ๒ จำพวก ไม่จงใจต้องอาบัติ คือ
๑. ภิกษุชั้นอริยบุคคล ๒. ภิกษุณีชั้นอริยบุคคล
บุคคล ๒ จำพวก ควรจงใจต้องอาบัติ คือ
๑. ภิกษุปุถุชน ๒. ภิกษุณีปุถุชน
บุคคล ๒ จำพวก ไม่จงใจประพฤติล่วงวัตถุที่มีโทษแรง คือ
๑. ภิกษุชั้นอริยบุคคล ๒. ภิกษุณีชั้นอริยบุคคล
บุคคล ๒ จำพวก ควรจงใจประพฤติล่วงวัตถุที่มีโทษแรง คือ
๑. ภิกษุปุถุชน ๒. ภิกษุณีปุถุชน

ว่าด้วยปฏิกโกสนา เป็นต้น
ปฏิกโกสนา(การกล่าวคัดค้าน)มี ๒ อย่าง คือ
๑. คัดค้านด้วยกาย ๒. คัดค้านด้วยวาจา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๔๓๐ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [เอกุตตริกนัย] ๒. ทุกวาร
นิสสารณา(การขับออกจากหมู่)มี ๒ อย่าง คือ
๑. บุคคลที่ยังไม่ถูกขับออก ถ้าสงฆ์ขับบุคคลนั้นออกไป บางคนเป็นอัน
ถูกขับออกดีแล้ว
๒. บางคนเป็นอันถูกขับออกไม่ดี
โอสารณา(การเรียกเข้าหมู่)มี ๒ อย่าง คือ
๑. บุคคลที่ยังไม่รับเข้าหมู่ ถ้าสงฆ์รับบุคคลนั้นเข้าหมู่ บางคนเป็น
อันรับเข้าดี
๒. บางคนเป็นอันรับเข้าไม่ดี
ปฏิญญามี ๒ อย่าง คือ
๑. ปฏิญญาด้วยกาย ๒. ปฏิญญาด้วยวาจา
การรับประเคนมี ๒ อย่าง คือ
๑. การรับประเคนด้วยกาย ๒. การรับประเคนด้วยสิ่งที่เนื่อง
ด้วยกาย
การห้ามมี ๒ อย่าง คือ
๑. การห้ามด้วยกาย ๒. การห้ามด้วยวาจา
การทำลายมี ๒ อย่าง คือ
๑. การทำลายสิกขา ๒. การทำลายโภคะ๑
การโจทมี ๒ อย่าง คือ
๑. การโจทด้วยกาย ๒. การโจทด้วยวาจา

ว่าด้วยปลิโพธ เป็นต้น
กฐินมีปลิโพธ ๒ อย่าง คือ
๑. อาวาสปลิโพธ ๒. จีวรปลิโพธ

เชิงอรรถ :
๑ การทำลายสิกขา หมายถึงการไม่ศึกษาสิกขา ๓
การทำลายโภคะ หมายถึงการใช้สอยของสงฆ์หรือของส่วนบุคคลเสียหาย (วิ.อ. ๓/๓๒๒/๔๔๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๔๓๑ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [เอกุตตริกนัย] ๒. ทุกวาร
กฐินมีอปลิโพธ ๒ อย่าง คือ
๑. อาวาสอปลิโพธ ๒. จีวรอปลิโพธ
จีวรมี ๒ อย่าง คือ
๑. คหบดีจีวร ๒. บังสุกุลจีวร
บาตรมี ๒ อย่าง คือ
๑. บาตรเหล็ก ๒. บาตรดิน
เชิงบาตรมี ๒ อย่าง คือ
๑. เชิงบาตรทำด้วยดีบุก ๒. เชิงบาตรทำด้วยตะกั่ว
การอธิษฐานบาตรมี ๒ อย่าง คือ
๑. อธิษฐานด้วยกาย ๒. อธิษฐานด้วยวาจา
การอธิษฐานจีวรมี ๒ อย่าง คือ
๑. อธิษฐานด้วยกาย ๒. อธิษฐานด้วยวาจา
วิกัปมี ๒ อย่าง คือ
๑. วิกัปต่อหน้า ๒. วิกัปลับหลัง
วินัยมี ๒ อย่าง คือ
๑. วินัยของภิกษุ ๒. วินัยของภิกษุณี
เนื้อหาที่ปรากฏในวินัยมี ๒ อย่าง คือ
๑. พระบัญญัติ ๒. อนุโลมบัญญัติ
วินัยมีความขัดเกลา ๒ อย่าง คือ
๑. กำจัดสิ่งไม่ควรด้วยอริยมรรค ๒. ความทำพอประมาณในสิ่ง
ที่ควร

ว่าด้วยต้องอาบัติด้วยอาการ ๒ อย่าง เป็นต้น
ภิกษุต้องอาบัติด้วยอาการ ๒ อย่าง คือ
๑. ต้องทางกาย ๒. ต้องทางวาจา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๔๓๒ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [เอกุตตริกนัย] ๒. ทุกวาร
ภิกษุออกจากอาบัติด้วยอาการ ๒ อย่าง คือ
๑. ออกด้วยกาย ๒. ออกด้วยวาจา
ปริวาสมี ๒ อย่าง คือ
๑. ปฏิจฉันนปริวาส ๒. อัปปฏิจฉันนปริวาส
ปริวาสแม้อีก ๒ อย่าง คือ
๑. สุทธันตปริวาส ๒. สโมธานปริวาส
มานัตมี ๒ อย่าง คือ
๑. ปฏิจฉันนมานัต ๒. อัปปฏิจฉันนมานัต
มานัตแม้อีก ๒ อย่าง คือ
๑. ปักขมานัต ๒. สโมธานมานัต
รัตติเฉทของบุคคล ๒ จำพวก คือ
๑. ภิกษุผู้อยู่ปริวาส ๒. ภิกษุผู้ประพฤติมานัต

ว่าด้วยไม่เอื้อเฟื้อ เป็นต้น
ความไม่เอื้อเฟื้อมี ๒ อย่าง คือ
๑. ไม่เอื้อเฟื้อต่อบุคคล ๒. ไม่เอื้อเฟื้อต่อธรรม
เกลือมี ๒ ชนิด คือ
๑. เกลือเกิดจากธรรมชาติ ๒. เกลือเกิดจากน้ำด่าง
เกลือแม้อื่นอีกก็มี ๒ ชนิด คือ
๑. เกลือสมุทร ๒. เกลือดำ
เกลือแม้อื่นอีกก็มี ๒ ชนิด คือ
๑. เกลือสินเธาว์ ๒. เกลือดินโปร่ง
เกลือแม้อื่นอีกก็มี ๒ ชนิด คือ
๑. เกลือโรมกะ ๒. เกลือปักขัลลกะ
การบริโภคมี ๒ อย่าง คือ
๑. การบริโภคภายใน ๒. การบริโภคภายนอก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๔๓๓ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [เอกุตตริกนัย] ๒. ทุกวาร
คำด่ามี ๒ อย่าง คือ
๑. คำด่าหยาบ ๒. คำด่าสุภาพ
คำส่อเสียดมีด้วยอาการ ๒ อย่าง คือ
๑. ต้องการให้ผู้อื่นชอบตน ๒. ต้องการให้ผู้อื่นแตกกัน
การฉันคณโภชนะมีด้วยอาการ ๒ อย่าง คือ
๑. เพราะทายกนิมนต์ ๒. เพราะภิกษุออกปากขอเขา
วันเข้าพรรษามี ๒ วัน คือ
๑. วันเข้าพรรษาต้น ๒. วันเข้าพรรษาหลัง
งดปาติโมกข์ไม่ชอบธรรมมี ๒ อย่าง งดปาติโมกข์ชอบธรรมมี ๒ อย่าง

ว่าด้วยบุคคลโง่เขลาและบัณฑิต เป็นต้น
บุคคลโง่เขลามี ๒ จำพวก คือ
๑. ผู้รับภาระที่ยังมาไม่ถึง ๒. ผู้ไม่รับภาระที่มาถึงแล้ว
บุคคลบัณฑิตมี ๒ จำพวก คือ
๑. ผู้ไม่รับภาระที่ยังมาไม่ถึง ๒. ผู้รับภาระที่มาถึงแล้ว
บุคคลโง่เขลาแม้อื่นอีกก็มี ๒ จำพวก คือ
๑. ผู้สำคัญสิ่งที่ไม่ควรว่าควร ๒. ผู้สำคัญสิ่งที่ควรว่าไม่ควร
บุคคลบัณฑิตมี ๒ จำพวก คือ
๑. ผู้สำคัญสิ่งที่ไม่ควรว่าไม่ควร ๒. ผู้สำคัญสิ่งที่ควรว่าควร
บุคคลโง่เขลาแม้อื่นอีกก็มี ๒ จำพวก คือ
๑. ผู้สำคัญอนาบัติว่าเป็นอาบัติ ๒. ผู้สำคัญอาบัติว่าเป็นอนาบัติ
บุคคลบัณฑิตมี ๒ จำพวก คือ
๑. ผู้สำคัญอาบัติว่าเป็นอาบัติ ๒. ผู้สำคัญอนาบัติว่าเป็นอนาบัติ
บุคคลโง่เขลาแม้อื่นอีกก็มี ๒ จำพวก คือ
๑. ผู้สำคัญในอธรรมว่าเป็นธรรม ๒. ผู้สำคัญธรรมว่าเป็นอธรรม

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๔๓๔ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [เอกุตตริกนัย] ๒. ทุกวาร
บุคคลบัณฑิตมี ๒ จำพวก คือ
๑. ผู้สำคัญอธรรมว่าเป็นอธรรม ๒. ผู้สำคัญธรรมว่าเป็นธรรม
บุคคลโง่เขลาแม้อื่นอีกก็มี ๒ จำพวก คือ
๑. ผู้สำคัญสิ่งมิใช่วินัยว่าเป็นวินัย ๒. ผู้สำคัญวินัยว่าเป็นสิ่งมิใช่วินัย
บุคคลบัณฑิตมี ๒ จำพวก คือ
๑. ผู้สำคัญสิ่งมิใช่วินัยว่า ๒. ผู้สำคัญวินัยว่าเป็นวินัย
เป็นสิ่งมิใช่วินัย

ว่าด้วยอาสวะ
อาสวะทั้งหลายย่อมเจริญแก่บุคคล ๒ จำพวก คือ
๑. ผู้ประพฤติรังเกียจสิ่งที่ไม่ควรประพฤติรังเกียจ
๒. ผู้ไม่ประพฤติรังเกียจสิ่งที่ควรประพฤติรังเกียจ
อาสวะทั้งหลายย่อมไม่เจริญแก่บุคคล ๒ จำพวก คือ
๑. ผู้ไม่ประพฤติรังเกียจสิ่งที่ไม่ควรประพฤติรังเกียจ
๒. ผู้ประพฤติรังเกียจสิ่งที่ควรประพฤติรังเกียจ
อาสวะทั้งหลายย่อมเจริญแก่บุคคลแม้อื่นอีก ๒ จำพวก คือ
๑. ผู้สำคัญสิ่งไม่ควรว่าควร ๒. ผู้สำคัญสิ่งที่ควรว่าไม่ควร
อาสวะทั้งหลายย่อมไม่เจริญแก่บุคคล ๒ จำพวก คือ
๑. ผู้สำคัญสิ่งไม่ควรว่าไม่ควร ๒. ผู้สำคัญสิ่งที่ควรว่าควร
อาสวะทั้งหลายย่อมเจริญแก่บุคคลแม้อื่นอีก ๒ จำพวก คือ
๑. ผู้สำคัญอนาบัติว่าต้องอาบัติ ๒. ผู้สำคัญอาบัติว่าเป็นอนาบัติ
อาสวะทั้งหลายย่อมไม่เจริญแก่บุคคล ๒ จำพวก คือ
๑. ผู้สำคัญอนาบัติว่าเป็นอนาบัติ ๒. ผู้สำคัญอาบัติว่าเป็นอาบัติ
อาสวะทั้งหลายย่อมเจริญแก่บุคคลแม้อื่นอีก ๒ จำพวก คือ
๑. ผู้สำคัญอธรรมว่าเป็นธรรม ๒. ผู้สำคัญธรรมว่าเป็นอธรรม

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๔๓๕ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [เอกุตตริกนัย] หัวข้อประจำวาร
อาสวะทั้งหลายย่อมไม่เจริญแก่บุคคล ๒ พวก คือ
๑. ผู้สำคัญอธรรมว่าเป็นอธรรม ๒. ผู้สำคัญธรรมว่าเป็นธรรม
อาสวะทั้งหลายย่อมเจริญแก่บุคคลแม้อื่นอีก ๒ พวก คือ
๑. ผู้สำคัญสิ่งมิใช่วินัยว่าเป็นวินัย
๒. ผู้สำคัญวินัยว่าเป็นสิ่งมิใช่วินัย
อาสวะทั้งหลายย่อมไม่เจริญแก่บุคคล ๒ พวก คือ
๑. ผู้สำคัญสิ่งมิใช่วินัยว่าเป็นสิ่งมิใช่วินัย
๒. ผู้สำคัญวินัยว่าเป็นวินัย
ทุกวาร จบ

หัวข้อประจำวาร
อาบัติที่เป็นสัญญา อาบัติของผู้ได้สมาบัติ
อาบัติที่เกี่ยวด้วยสัทธรรม เกี่ยวด้วยบริขาร เกี่ยวด้วยบุคคล
อาบัติที่ต้องเพราะเรื่องจริง เพราะแผ่นดิน เพราะการออกไป
เพราะการถือเอา เพราะการสมาทาน เพราะการทำ เพราะการให้
เพราะการรับ เพราะการบริโภค อาบัติที่ต้องในกลางคืน
ที่ต้องเพราะอรุณขึ้น ที่ต้องเพราะการตัด
ที่ต้องเพราะการปกปิด ที่ต้องเพราะการทรงไว้
อุโบสถ ปวารณา กรรม กรรมอีกอย่าง วัตถุ วัตถุอีกอย่าง โทษ
โทษอีกอย่าง สมบัติ ๒ หมวด นานาสังวาส สมานสังวาส ปาราชิก
สังฆาทิเสส ถุลลัจจัย ปาจิตตีย์ ปาฏิเทสนียะ ทุกกฏ ทุพภาสิต
อาบัติ ๗ กองอาบัติ ๗ สงฆ์แตกกัน อุปสมบท
อุปสมบทอีกสอง ไม่อาศัยอยู่ ไม่ให้นิสัย อภัพบุคคล ภัพบุคคล
จงใจ มีโทษ คัดค้าน ขับออกจากหมู่ เรียกเข้าหมู่ ปฏิญญา รับ
ห้าม ทำลาย การโจท กฐินปลิโพธ ๒ อย่าง จีวร บาตร เชิงบาตร
อธิษฐาน ๒ อย่าง วิกัป วินัย เนื้อหาที่ปรากฏในวินัย
ความขัดเกลา การต้องและการออกจากอาบัติ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๔๓๖ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [เอกุตตริกนัย] ๓. ติกวาร
ปริวาส ๒ อย่าง มานัต ๒ อย่าง
รัตติเฉท เอื้อเฟื้อ เกลือ ๒ ชนิด
เกลืออื่นอีก ๓ ชนิด บริโภค คำด่า คำส่อเสียด
คณโภชนะ วันจำพรรษา การงดปาติโมกข์ การรับภาระ
สิ่งที่สมควร อนาบัติ อธรรม วินัย อาสวะ

๓. ติกวาร
ว่าด้วยหมวด ๓
[๓๒๓] ๑. อาบัติที่เมื่อพระผู้มีพระภาคทรงพระชนม์อยู่ ภิกษุจึงต้อง เมื่อ
ปรินิพพานแล้วไม่ต้อง มีอยู่
๒. อาบัติที่เมื่อพระผู้มีพระภาคปรินิพพานแล้ว ภิกษุจึงต้อง เมื่อทรง
พระชนม์อยู่ไม่ต้อง มีอยู่
๓. อาบัติที่เมื่อพระผู้มีพระภาคทรงพระชนม์อยู่ก็ดี ปรินิพพานแล้วก็ดี
ภิกษุก็ต้อง มีอยู่
๑. อาบัติที่ภิกษุต้องในกาล ไม่ต้องในเวลาวิกาล มีอยู่
๒. อาบัติที่ภิกษุต้องในเวลาวิกาล ไม่ต้องในกาล มีอยู่
๓. อาบัติที่ภิกษุต้องทั้งในกาล ทั้งในเวลาวิกาล มีอยู่
๑. อาบัติที่ภิกษุต้องในกลางคืน ไม่ต้องในกลางวัน มีอยู่
๒. อาบัติที่ภิกษุต้องในกลางวัน ไม่ต้องในกลางคืน มีอยู่
๓. อาบัติที่ภิกษุต้องทั้งในกลางคืน ทั้งในกลางวัน มีอยู่
๑. อาบัติที่ภิกษุมีพรรษา ๑๐ จึงต้อง มีพรรษาหย่อน ๑๐ ไม่ต้อง มีอยู่
๒. อาบัติที่ภิกษุมีพรรษาหย่อน ๑๐ จึงต้อง มีพรรษา ๑๐ ไม่ต้อง มีอยู่
๓. อาบัติที่ภิกษุทั้งมีพรรษา ๑๐ ทั้งมีพรรษาหย่อน ๑๐ ก็ต้อง มีอยู่
๑. อาบัติที่ภิกษุมีพรรษา ๕ จึงต้อง มีพรรษาหย่อน ๕ ไม่ต้อง มีอยู่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๔๓๗ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [เอกุตตริกนัย] ๓. ติกวาร
๒. อาบัติที่ภิกษุมีพรรษาหย่อน ๕ จึงต้อง มีพรรษา ๕ ไม่ต้อง มีอยู่
๓. อาบัติที่ภิกษุทั้งมีพรรษา ๕ ทั้งมีพรรษาหย่อน ๕ ก็ต้อง มีอยู่
๑. อาบัติที่ภิกษุมีจิตเป็นกุศลจึงต้อง มีจิตเป็นอกุศลไม่ต้อง มีอยู่
๒. อาบัติที่ภิกษุมีจิตเป็นอกุศลจึงต้อง มีจิตเป็นกุศลไม่ต้อง มีอยู่
๓. อาบัติที่ภิกษุมีจิตเป็นอัพยากฤตจึงต้อง มีอยู่
๑. อาบัติที่ภิกษุพรั่งพร้อมด้วยสุขเวทนาจึงต้อง มีอยู่
๒. อาบัติที่ภิกษุพรั่งพร้อมด้วยทุกขเวทนาจึงต้อง มีอยู่
๓. อาบัติที่ภิกษุพรั่งพร้อมด้วยอทุกขมสุขเวทนาจึงต้อง มีอยู่

ว่าด้วยวัตถุแห่งการโจท เป็นต้น
วัตถุแห่งการโจทมี ๓ อย่าง คือ
๑. เห็น ๒. ได้ยิน
๓. นึกสงสัย
การจับสลากมี ๓ อย่าง คือ
๑. ปกปิด ๒. เปิดเผย
๓. กระซิบที่หู
ข้อห้ามมี ๓ อย่าง คือ
๑. ความมักมาก ๒. ความไม่สันโดษ
๓. ความไม่ขัดเกลา
ข้ออนุญาตมี ๓ อย่าง คือ
๑. ความมักน้อย ๒. ความสันโดษ
๓. ความขัดเกลา
ข้อห้ามแม้อื่นอีกมี ๓ อย่าง คือ
๑. ความมักมาก ๒. ความไม่สันโดษ
๓. ความไม่รู้จักประมาณ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๔๓๘ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [เอกุตตริกนัย] ๓. ติกวาร
ข้ออนุญาตมี ๓ คือ
๑. ความมักน้อย ๒. ความสันโดษ
๓. ความรู้จักประมาณ
บัญญัติมี ๓ คือ
๑. บัญญัติ ๒. อนุบัญญัติ
๓. อนุปปันนบัญญัติ
บัญญัติแม้อื่นอีกมี ๓ คือ
๑. สัพพัตถบัญญัติ ๒. ปเทสบัญญัติ
๓. สาธารณบัญญัติ
บัญญัติแม้อื่นอีกมี ๓ คือ
๑. อสาธารณบัญญัติ ๒. เอกโตบัญญัติ
๓. อุภโตบัญญัติ

ว่าด้วยภิกษุโง่เขลาและฉลาด เป็นต้น
อาบัติที่ภิกษุผู้โง่เขลาจึงต้อง ผู้ฉลาดไม่ต้อง มีอยู่
อาบัติที่ภิกษุผู้ฉลาดจึงต้อง ผู้โง่เขลาไม่ต้อง มีอยู่
อาบัติที่ภิกษุทั้งผู้โง่เขลาทั้งผู้ฉลาดก็ต้อง มีอยู่
อาบัติที่ภิกษุต้องในกาฬปักษ์ ไม่ต้องในชุณหปักษ์ มีอยู่
อาบัติที่ภิกษุต้องในชุณหปักษ์ ไม่ต้องในกาฬปักษ์ มีอยู่
อาบัติที่ภิกษุต้องทั้งในกาฬปักษ์ ทั้งในชุณหปักษ์ มีอยู่
การเข้าพรรษาย่อมสำเร็จในกาฬปักษ์ ไม่สำเร็จในชุณหปักษ์ มีอยู่
ปวารณาในวันมหาปวารณาย่อมสำเร็จในชุณหปักษ์ ไม่สำเร็จในกาฬปักษ์ มีอยู่
สังฆกิจที่เหลือย่อมสำเร็จทั้งในกาฬปักษ์ ทั้งในชุณหปักษ์ มีอยู่
อาบัติที่ภิกษุต้องในฤดูหนาว ไม่ต้องทั้งในฤดูร้อน ทั้งในฤดูฝน มีอยู่
อาบัติที่ภิกษุต้องในฤดูร้อน ไม่ต้องทั้งในฤดูหนาว ทั้งในฤดูฝน มีอยู่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๔๓๙ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [เอกุตตริกนัย] ๓. ติกวาร
อาบัติที่ภิกษุต้องในฤดูฝน ไม่ต้องทั้งในฤดูหนาว ทั้งในฤดูร้อน มีอยู่
อาบัติที่สงฆ์ต้อง คณะและบุคคลไม่ต้อง มีอยู่
อาบัติที่คณะต้อง สงฆ์และบุคคลไม่ต้อง มีอยู่
อาบัติที่บุคคลต้อง สงฆ์และคณะไม่ต้อง มีอยู่
สังฆอุโบสถและสังฆปวารณาย่อมสำเร็จแก่สงฆ์ ไม่สำเร็จแก่คณะและบุคคล มีอยู่
คณะอุโบสถและคณะปวารณาย่อมสำเร็จแก่คณะ ไม่สำเร็จแก่สงฆ์และบุคคล มีอยู่
อธิษฐานอุโบสถและอธิษฐานปวารณาย่อมสำเร็จแก่บุคคล ไม่สำเร็จแก่สงฆ์และ
คณะ มีอยู่

ว่าด้วยการปิด เป็นต้น
การปิดมี ๓ อย่าง คือ
๑. ปิดวัตถุ ไม่ปิดอาบัติ ๒. ปิดอาบัติ ไม่ปิดวัตถุ
๓. ปิดทั้งวัตถุ ทั้งอาบัติ
เครื่องปกปิดมี ๓ อย่าง คือ
๑. เครื่องปกปิดคือเรือนไฟ ๒. เครื่องปกปิดคือน้ำ
๓. เครื่องปกปิดคือผ้า
สิ่งที่ปิดบังไม่เปิดเผยไปมี ๓ อย่าง คือ
๑. มาตุคาม ปิดบังไม่เปิดเผยไป
๒. มนต์ของพวกพราหมณ์ ปิดบังไม่เปิดเผยไป
๓. มิจฉาทิฏฐิ ปิดบังไม่เปิดเผยไป
สิ่งที่เปิดเผยไม่ปิดบังจึงรุ่งเรืองมี ๓ อย่าง คือ
๑. ดวงจันทร์ เปิดเผยไม่ปิดบังจึงรุ่งเรือง
๒. ดวงอาทิตย์ เปิดเผยไม่ปิดบังจึงรุ่งเรือง
๓. ธรรมวินัย ที่พระตถาคตประกาศแล้ว เปิดเผยไม่ปิดบังจึงรุ่งเรือง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๔๔๐ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [เอกุตตริกนัย] ๓. ติกวาร
การให้ถือเสนาสนะมี ๓ อย่าง คือ
๑. ให้ถือในวันเข้าพรรษาต้น ๒. ให้ถือในวันเข้าพรรษาหลัง
๓. ให้ถือในช่วงพ้นจากระยะนั้น

ว่าด้วยอาพาธ เป็นต้น
อาบัติที่ภิกษุอาพาธจึงต้อง ไม่อาพาธไม่ต้อง มีอยู่
อาบัติที่ภิกษุไม่อาพาธจึงต้อง อาพาธไม่ต้อง มีอยู่
อาบัติที่ภิกษุทั้งอาพาธ ทั้งไม่อาพาธก็ต้อง มีอยู่

ว่าด้วยงดปาติโมกข์ เป็นต้น
การงดปาติโมกข์ที่ไม่ชอบธรรมมี ๓ การงดปาติโมกข์ที่ชอบธรรมมี ๓
ปริวาสมี ๓ อย่าง คือ
๑. ปฏิจฉันนปริวาส ๒. อัปปฏิจฉันนปริวาส
๓. สุทธันตปริวาส
มานัตมี ๓ อย่าง คือ
๑. ปฏิจฉันนมานัต ๒. อัปปฏิจฉันนมานัต
๓. ปักขมานัต
รัตติเฉทของภิกษุผู้อยู่ปริวาสมี ๓ อย่าง คือ
๑. สหวาสะ(การอยู่ร่วมกัน) ๒. วิปปวาสะ(การอยู่ปราศ)
๓. อนาโรจนา(การไม่บอก)

ว่าด้วยต้องอาบัติภายใน เป็นต้น
อาบัติที่ภิกษุต้องภายใน ไม่ต้องภายนอก มีอยู่
อาบัติที่ภิกษุต้องภายนอก ไม่ต้องภายใน มีอยู่
อาบัติที่ภิกษุต้องทั้งภายใน ทั้งภายนอก มีอยู่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๔๔๑ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [เอกุตตริกนัย] ๓. ติกวาร
อาบัติที่ภิกษุต้องภายในสีมา ไม่ต้องภายนอกสีมา มีอยู่
อาบัติที่ภิกษุต้องภายนอกสีมา ไม่ต้องภายในสีมา มีอยู่
อาบัติที่ภิกษุต้องทั้งภายในสีมา ทั้งภายนอกสีมา มีอยู่

ว่าด้วยต้องอาบัติด้วยอาการ ๓ อย่าง เป็นต้น
ภิกษุต้องอาบัติด้วยอาการ ๓ อย่าง คือ
๑. ต้องทางกาย ๒. ต้องทางวาจา
๓. ต้องทางกายกับวาจา
ภิกษุต้องอาบัติแม้อื่นอีกด้วยอาการ ๓ อย่าง คือ
๑. ต้องในท่ามกลางสงฆ์ ๒. ต้องในท่ามกลางคณะ
๓. ต้องในสำนักบุคคล
ภิกษุออกจากอาบัติด้วยอาการ ๓ อย่าง คือ
๑. ออกด้วยกาย ๒. ออกด้วยวาจา
๓. ออกด้วยกายกับวาจา
ภิกษุออกจากอาบัติแม้อื่นอีกด้วยอาการ ๓ อย่าง คือ
๑. ออกในท่ามกลางสงฆ์ ๒. ออกในท่ามกลางคณะ
๓. ออกในสำนักบุคคล
ให้อมูฬหวินัยที่ไม่ชอบธรรมมี ๓ ให้อมูฬหวินัยที่ชอบธรรมมี ๓

ว่าด้วยข้อที่สงฆ์มุ่งหวัง เป็นต้น
สงฆ์เมื่อมุ่งหวัง พึงลงตัชชนียกรรมแก่ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๓ คือ
๑. ก่อความบาดหมาง ก่อความทะเลาะ ก่อความวิวาท ก่อความ
อื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์
๒. โง่เขลา ไม่ฉลาด มีอาบัติมาก ต้องอาบัติกำหนดไม่ได้
๓. อยู่คลุกคลีกับคฤหัสถ์ด้วยการคลุกคลีกับคฤหัสถ์ที่ไม่สมควร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๔๔๒ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [เอกุตตริกนัย] ๓. ติกวาร
สงฆ์เมื่อมุ่งหวัง พึงลงนิยสกรรมแก่ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๓ คือ
๑. ก่อความบาดหมาง ฯลฯ ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์
๒. โง่เขลา ไม่ฉลาด มีอาบัติมาก ต้องอาบัติกำหนดไม่ได้
๓. อยู่คลุกคลีกับคฤหัสถ์ด้วยการคลุกคลีกับคฤหัสถ์ที่ไม่สมควร
สงฆ์เมื่อมุ่งหวัง พึงลงปัพพาชนียกรรมแก่ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๓ คือ
๑. ก่อความบาดหมาง ก่อความทะเลาะ ก่อความวิวาท ก่อเรื่อง
อื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์
๒. โง่เขลา ไม่ฉลาด มีอาบัติมาก ต้องอาบัติกำหนดไม่ได้
๓. ประทุษร้ายตระกูล ประพฤติเลวทราม ความประพฤติเลวทราม
เขาได้เห็นและได้ยินกันทั่ว๑
สงฆ์เมื่อมุ่งหวัง พึงลงปฏิสารณียกรรมแก่ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๓ คือ
๑. ก่อความบาดหมาง ก่อความทะเลาะ ก่อความวิวาท ก่อความ
อื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์
๒. โง่เขลา ไม่ฉลาด มีอาบัติมาก ต้องอาบัติกำหนดไม่ได้
๓. ด่าบริภาษคฤหัสถ์
สงฆ์เมื่อมุ่งหวัง พึงลงอุกเขปนียกรรม เพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติแก่ภิกษุผู้
ประกอบด้วยองค์ ๓ คือ
๑. ก่อความบาดหมาง ก่อความทะเลาะ ก่อความวิวาท ก่อความ
อื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์
๒. โง่เขลา ไม่ฉลาด มีอาบัติมาก ต้องอาบัติกำหนดไม่ได้
๓. ต้องอาบัติแล้วไม่ปรารถนาจะเห็นว่าเป็นอาบัติ

เชิงอรรถ :
๑ อยู่คลุกคลีกับคฤหัสถ์ด้วยการคลุกคลีกับคฤหัสถ์ที่ไม่สมควร (วิ.จู. (แปล) ๖/๒๗/๕๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๔๔๓ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [เอกุตตริกนัย] ๓. ติกวาร
สงฆ์เมื่อมุ่งหวัง พึงลงอุกเขปนียกรรม เพราะไม่ทำคืนอาบัติแก่ภิกษุผู้
ประกอบด้วยองค์ ๓ คือ
๑. ก่อความบาดหมาง ก่อความทะเลาะ ก่อความวิวาท ก่อความ
อื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์
๒. โง่เขลา ไม่ฉลาด มีอาบัติมาก ต้องอาบัติกำหนดไม่ได้
๓. ต้องอาบัติแล้วไม่ปรารถนาจะทำคืนอาบัติ
สงฆ์เมื่อมุ่งหวัง พึงลงอุกเขปนียกรรม เพราะไม่สละทิฏฐิบาป แก่ภิกษุผู้ประกอบ
ด้วยองค์ ๓ คือ
๑. ก่อความบาดหมาง ฯลฯ ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์
๒. โง่เขลา ไม่ฉลาด มีอาบัติมาก ต้องอาบัติกำหนดไม่ได้
๓. ไม่ปรารถนาจะสละทิฏฐิบาป
สงฆ์เมื่อมุ่งหวัง พึงตั้งใจมั่นลงอุกเขปนียกรรม แก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๓
คือ
๑. ก่อความบาดหมาง ฯลฯ ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์
๒. โง่เขลา ไม่ฉลาด มีอาบัติมาก ต้องอาบัติกำหนดไม่ได้
๓. อยู่คลุกคลีกับคฤหัสถ์ด้วยการคลุกคลีกับคฤหัสถ์ที่ไม่สมควร
สงฆ์พึงลงโทษภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๓ คือ
๑. เป็นอลัชชี ๒. เป็นผู้โง่เขลา
๓. ไม่เป็นปกตัตตะ
สงฆ์พึงลงโทษภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อีกอย่าง คือ
๑. มีสีลวิบัติในอธิศีล ๒. มีอาจารวิบัติในอัชฌาจาร
๓. มีทิฏฐิวิบัติในอติทิฏฐิ
สงฆ์พึงลงโทษภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อีกอย่าง คือ
๑. เป็นผู้ประกอบด้วยการเล่นคะนองทางกาย
๒. เป็นผู้ประกอบด้วยการเล่นคะนองทางวาจา
๓. เป็นผู้ประกอบด้วยการเล่นคะนองทางกายและทางวาจา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๔๔๔ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [เอกุตตริกนัย] ๓. ติกวาร
สงฆ์พึงลงโทษภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก คือ
๑. เป็นผู้ประกอบด้วยความประพฤติที่ไม่สมควรทางกาย
๒. เป็นผู้ประกอบด้วยความประพฤติที่ไม่สมควรทางวาจา
๓. เป็นผู้ประกอบด้วยความประพฤติที่ไม่สมควรทางกายและทางวาจา
สงฆ์พึงลงโทษภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก คือ
๑. เป็นผู้ประกอบด้วยการทำลายทางกาย
๒. เป็นผู้ประกอบด้วยการทำลายทางวาจา
๓. เป็นผู้ประกอบด้วยการทำลายทางกายและทางวาจา
สงฆ์พึงลงโทษภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก คือ
๑. เป็นผู้ประกอบด้วยมิจฉาชีพทางกาย
๒. เป็นผู้ประกอบด้วยมิจฉาชีพทางวาจา
๓. เป็นผู้ประกอบด้วยมิจฉาชีพทางกายและทางวาจา
สงฆ์พึงลงโทษภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก คือ
๑. ต้องอาบัติถูกสงฆ์ลงโทษ ๒. ให้นิสัย
แล้วให้อุปสมบท
๓. ให้สามเณรอุปัฏฐาก
สงฆ์พึงลงโทษภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก คือ
๑. ต้องอาบัติที่สงฆ์ลงโทษ ๒. ต้องอาบัติอื่นเช่นนั้น
๓. ต้องอาบัติที่เลวทรามกว่านั้น
สงฆ์พึงลงโทษภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก คือ
๑. กล่าวติเตียนพระพุทธเจ้า ๒. กล่าวติเตียนพระธรรม
๓. กล่าวติเตียนพระสงฆ์
ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๓ คือ
๑. เป็นอลัชชี ๒. โง่เขลา
๓. ไม่เป็นปกตัตตะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๔๔๕ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [เอกุตตริกนัย] ๓. ติกวาร
งดอุโบสถในท่ามกลางสงฆ์ สงฆ์พึงกล่าวห้ามว่า “พอทีภิกษุ อย่าก่อความ
บาดหมาง อย่าก่อความทะเลาะ อย่าก่อความแก่งแย่ง อย่าก่อความวิวาท” แล้ว
จึงทำอุโบสถ
ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๓ คือ
๑. เป็นอลัชชี ๒. โง่เขลา
๓. ไม่เป็นปกตัตตะ
งดปวารณาในท่ามกลางสงฆ์ สงฆ์พึงกล่าวห้ามว่า “พอทีภิกษุ อย่าก่อความ
บาดหมาง อย่าก่อความทะเลาะ อย่าก่อความแก่งแย่ง อย่าก่อความวิวาท” แล้ว
พึงปวารณา
สงฆ์ไม่พึงให้สังฆสมมติอะไร ๆ แก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๓ คือ
๑. เป็นอลัชชี ๒. โง่เขลา
๓. ไม่เป็นปกตัตตะ
สงฆ์ไม่พึงว่ากล่าวแก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๓ คือ
๑. เป็นอลัชชี ๒. โง่เขลา
๓. ไม่เป็นปกตัตตะ
สงฆ์ไม่พึงแต่งตั้งภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๓ ไว้ในตำแหน่งเฉพาะไร ๆ คือ
๑. เป็นอลัชชี ๒. โง่เขลา
๓. ไม่เป็นปกตัตตะ
ภิกษุทั้งหลายไม่พึงอาศัยภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๓ คือ
๑. เป็นอลัชชี ๒. โง่เขลา
๓. ไม่เป็นปกตัตตะ
ไม่พึงให้นิสัยแก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๓ คือ
๑. เป็นอลัชชี ๒. โง่เขลา
๓. ไม่เป็นปกตัตตะ
ไม่พึงให้โอกาสภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๓ ที่ขอโอกาส คือ
๑. เป็นอลัชชี ๒. โง่เขลา
๓. มิใช่เป็นปกตัตตะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๔๔๖ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [เอกุตตริกนัย] ๓. ติกวาร
ไม่พึงเชื่อถือคำให้การของภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๓ คือ
๑. เป็นอลัชชี ๒. โง่เขลา
๓. ไม่เป็นปกตัตตะ
ไม่พึงถามวินัยภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๓ คือ
๑. เป็นอลัชชี ๒. โง่เขลา
๓. ไม่เป็นปกตัตตะ
ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๓ ไม่พึงถามวินัย คือ
๑. เป็นอลัชชี ๒. โง่เขลา
๓. ไม่เป็นปกตัตตะ
ไม่พึงวิสัชนาวินัยแก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๓ คือ
๑. เป็นอลัชชี ๒. โง่เขลา
๓. ไม่เป็นปกตัตตะ
ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๓ ไม่พึงวิสัชนาวินัย คือ
๑. เป็นอลัชชี ๒. โง่เขลา
๓. ไม่เป็นปกตัตตะ
ไม่พึงให้คำซักถามแก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๓ คือ
๑. เป็นอลัชชี ๒. โง่เขลา
๓. ไม่เป็นปกตัตตะ
ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๓ ไม่พึงสนทนาวินัยด้วย คือ
๑. เป็นอลัชชี ๒. โง่เขลา
๓. ไม่เป็นปกตัตตะ
ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๓ ไม่พึงให้กุลบุตรอุปสมบท ไม่พึงให้นิสัย ไม่พึง
ใช้สามเณรอุปัฏฐาก คือ
๑. เป็นอลัชชี ๒. โง่เขลา
๓. ไม่เป็นปกตัตตะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๔๔๗ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [เอกุตตริกนัย] ๓. ติกวาร
ว่าด้วยอุโบสถ เป็นต้น
อุโบสถมี ๓ อย่าง คือ
๑. อุโบสถในวัน ๑๔ ค่ำ ๒. อุโบสถในวัน ๑๕ ค่ำ
๓. อุโบสถสามัคคี
อุโบสถแม้อื่นอีกมี ๓ อย่าง คือ
๑. สังฆอุโบสถ ๒. คณอุโบสถ
๓. บุคคลอุโบสถ
อุโบสถแม้อื่นอีกมี ๓ อย่าง คือ
๑. สัตตุทเทสอุโบสถ ๒. ปาริสุทธิอุโบสถ
๓. อธิฐานอุโบสถ
ปวารณามี ๓ อย่าง คือ
๑. ปวารณาในวัน ๑๔ ค่ำ ๒. ปวารณาในวัน ๑๕ ค่ำ
๓. สามัคคีปวารณา
ปวารณาแม้อื่นอีกมี ๓ อย่าง คือ
๑. สังฆปวารณา ๒. คณปวารณา
๓. บุคคลปวารณา
ปวารณาแม้อื่นอีกมี ๓ อย่าง คือ
๑. ปวารณา ๓ หน ๒. ปวารณา ๒ หน
๓. ปวารณามีพรรษาเท่ากัน
บุคคลต้องไปเกิดในอบาย ต้องไปเกิดในนรกมี ๓ จำพวก คือ๑
๑. บุคคลที่ไม่เป็นพรหมจารี แต่ปฏิญญาว่าเป็นพรหมจารี
๒. บุคคลผู้ใส่ความพรหมจารีผู้บริสุทธิ์ ผู้ประพฤติพรหมจรรย์บริสุทธิ์
ด้วยอพรหมจรรย์ไม่มีมูล
๓. บุคคลผู้มีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า โทษในกามไม่มีแล้วถึง
ความเป็นผู้หมกมุ่นในกามทั้งหลาย

เชิงอรรถ :
๑ องฺ.ติก (แปล) ๒๐/๑๑๔/๓๕๗

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๔๔๘ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [เอกุตตริกนัย] ๓. ติกวาร
อกุศลมูลมี ๓ อย่าง คือ
๑. อกุศลมูลคือโลภะ ๒. อกุศลมูลคือโทสะ
๓. อกุศลมูลคือโมหะ
กุศลมูลมี ๓ อย่าง คือ
๑. กุศลมูลคืออโลภะ ๒. กุศลมูลคืออโทสะ
๓. กุศลมูลคืออโมหะ
ทุจริตมี ๓ อย่าง คือ
๑. กายทุจริต ๒. วจีทุจริต
๓. มโนทุจริต
สุจริตมี ๓ อย่าง คือ
๑. กายสุจริต ๒. วจีสุจริต
๓. มโนสุจริต
พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติติกโภชนะในตระกูล โดยอาศัยอำนาจประโยชน์ ๓
ประการ คือ
๑. เพื่อข่มบุคคลผู้เก้อยาก
๒. เพื่ออยู่ผาสุกแห่งเหล่าภิกษุผู้มีศีลดีงาม ด้วยประสงค์ว่า “พวกมัก
มากอย่าอาศัยฝักฝ่ายทำลายสงฆ์”
๓. เพื่อทรงอนุเคราะห์ตระกูล
พระเทวทัตมีจิตถูกอสัทธรรม ๓ อย่าง คือ
๑. ความปรารถนาชั่ว ๒. ความมีมิตรชั่ว
๓. การได้บรรลุคุณวิเศษขั้นต่ำแล้วเลิกเสียกลางคัน
ครอบงำย่ำยี จึงไปเกิดในอบาย ไปเกิดในนรก ดำรงอยู่ชั่วกัป แก้ไขไม่ได้
สมมติมี ๓ อย่าง คือ
๑. สมมติไม้เท้า ๒. สมมติสาแหรก
๓. สมมติไม้เท้าและสาแหรก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๔๔๙ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [เอกุตตริกนัย] หัวข้อประจำวาร
ฐานวางเท้า มี ๓ อย่าง คือ
๑. ฐานวางเท้าถ่ายอุจจาระ ๒. ฐานวางเท้าถ่ายปัสสาวะ
๓. ฐานวางเท้าชำระ
สิ่งของสำหรับถูเท้ามี ๓ อย่าง คือ
๑. ศิลา ๒. กรวด
๓. ศิลาฟองน้ำ
ติกวาร จบ

หัวข้อประจำวาร
อาบัติที่ต้องเมื่อพระผู้มีพระภาคทรงพระชนม์
อาบัติที่ต้องในกาล ในกลางคืน อาบัติที่ภิกษุมีพรรษา ๑๐ ต้อง
อาบัติที่ภิกษุมีพรรษา ๕ ต้อง อาบัติที่ภิกษุมีกุศลจิตต้อง
อาบัติที่ภิกษุมีเวทนาต้อง วัตถุแห่งการโจท การจับสลาก
ข้อห้าม ๒ เรื่อง ข้อบัญญัติ ข้อบัญญัติอื่นอีก ๒ เรื่อง
ภิกษุโง่เขลา การสำเร็จในกาฬปักษ์ การต้องอาบัติในฤดูหนาว
สังฆอุโบสถสำเร็จแก่สงฆ์ การปิด เครื่องปกปิด สิ่งปิดบัง
สิ่งเปิดเผย การให้ถือเสนาสนะ ภิกษุอาพาธ การงดปาติโมกข์
ปริวาส มานัต ปริวาสิกภิกษุ อาบัติที่ต้องภายใน
อาบัติที่ต้องภายในสีมา การต้องอาบัติด้วยอาการ ๓
การต้องอาบัติอื่นอีก ๓ การออกจากอาบัติ ๓
การออกจากอาบัติอื่นอีก ๓ อมูฬหวินัย ๒ อย่าง
ตัชชนียกรรม นิยสกรรม ปัพพาชนียกรรม ปฏิสารณียกรรม
อุกเขปนียกรรมเพราะไม่เห็นอาบัติ ไม่ทำคืนอาบัติ ไม่สละทิฏฐิ
การตั้งใจมั่นลงอุกเขปนียกรรม ผู้มีศีลวิบัติในอธิศีล ผู้คะนอง
การประพฤติไม่สมควร การทำลาย อาชีววิบัติ
ต้องอาบัติ ต้องอาบัติเช่นนั้น การกล่าวติเตียน การงดอุโบสถ
การงดปวารณา สมมติ ว่ากล่าว ตำแหน่งเฉพาะ ไม่อาศัย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๔๕๐ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [เอกุตตริกนัย] ๔. จตุกกวาร
ไม่ให้นิสัย ไม่ให้โอกาส ไม่เชื่อถือคำให้การ ไม่ถาม ๒ เรื่อง
ไม่ตอบ ๒ เรื่อง
ไม่พึงให้ซักถาม ไม่สนทนา ไม่พึงอุปสมบท ไม่พึงให้นิสัย
ไม่พึงใช้สามเณรอุปัฏฐาก อุโบสถ ๓ หมวด ปวารณา ๓ หมวด
ผู้ไปเกิดในอบาย อกุศล กุศล ทุจริต สุจริต ติกโภชนะ
อสัทธรรม สมมติ ฐานวางเท้า สิ่งของถูเท้า
หัวข้อตามที่กล่าวมานี้ จัดเข้าในหมวด ๓

๔. จตุกกวาร
ว่าด้วยหมวด ๔
[๓๒๔] อาบัติที่ภิกษุต้องด้วยวาจาของตน ออกด้วยวาจาของผู้อื่น มีอยู่
อาบัติที่ภิกษุต้องด้วยวาจาของผู้อื่น ออกด้วยวาจาของตน มีอยู่
อาบัติที่ภิกษุต้องด้วยวาจาของตน ออกด้วยวาจาของตน มีอยู่
อาบัติที่ภิกษุต้องด้วยวาจาของผู้อื่น ออกด้วยวาจาของผู้อื่น มีอยู่
อาบัติที่ภิกษุต้องทางกาย ออกทางวาจา มีอยู่
อาบัติที่ภิกษุต้องทางวาจา ออกทางกาย มีอยู่
อาบัติที่ภิกษุต้องทางกาย ออกทางกาย มีอยู่
อาบัติที่ภิกษุต้องทางวาจา ออกทางวาจา มีอยู่
อาบัติที่ภิกษุหลับแล้วจึงต้อง ตื่นแล้วจึงออก มีอยู่
อาบัติที่ภิกษุตื่นแล้วจึงต้อง หลับแล้วจึงออก มีอยู่
อาบัติที่ภิกษุหลับแล้วจึงต้อง หลับแล้วจึงออก มีอยู่
อาบัติที่ภิกษุตื่นแล้วจึงต้อง ตื่นแล้วจึงออก มีอยู่
อาบัติที่ภิกษุไม่ตั้งใจจึงต้อง ตั้งใจจึงออก มีอยู่
อาบัติที่ภิกษุตั้งใจจึงต้อง ไม่ตั้งใจจึงออก มีอยู่
อาบัติที่ภิกษุไม่ตั้งใจจึงต้อง ไม่ตั้งใจจึงออก มีอยู่
อาบัติที่ภิกษุตั้งใจจึงต้อง ตั้งใจจึงออก มีอยู่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๔๕๑ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [เอกุตตริกนัย] ๔. จตุกกวาร
อาบัติที่ภิกษุต้องอยู่จึงแสดง แสดงอยู่จึงต้อง มีอยู่
อาบัติที่ภิกษุต้องอยู่จึงออก ออกอยู่จึงต้อง มีอยู่
อาบัติที่ภิกษุต้องด้วยกรรม ออกด้วยสิ่งมิใช่กรรม มีอยู่
อาบัติที่ภิกษุต้องด้วยสิ่งมิใช่กรรม ออกด้วยกรรม มีอยู่
อาบัติที่ภิกษุต้องด้วยกรรม ออกด้วยกรรม มีอยู่
อาบัติที่ภิกษุต้องด้วยสิ่งมิใช่กรรม ออกด้วยสิ่งมิใช่กรรม มีอยู่

ว่าด้วยอนริยโวหาร เป็นต้น
โวหารของอนารยชนมี ๔ อย่าง คือ

๑. ไม่ได้เห็น กล่าวว่าได้เห็น ๒. ไม่ได้ยิน กล่าวว่าได้ยิน
๓. ไม่ทราบ กล่าวว่าทราบ ๔. ไม่รู้ กล่าวว่ารู้

โวหารของอารยชนมี ๔ อย่าง คือ

๑. ไม่ได้เห็น กล่าวว่าไม่ได้เห็น ๒. ไม่ได้ยิน กล่าวว่าได้ยิน
๓. ไม่ทราบ กล่าวว่าทราบ ๔. ไม่รู้ กล่าวว่ารู้

โวหารของอนารยชนแม้อีก ๔ อย่าง คือ

๑. ได้เห็น กล่าวว่าไม่ได้เห็น ๒. ได้ยิน กล่าวว่าไม่ได้ยิน
๓. ทราบ กล่าวว่าไม่ทราบ ๔. รู้ กล่าวว่าไม่รู้

โวหารของอารยชนมี ๔ อย่าง คือ

๑. ได้เห็น กล่าวว่าได้เห็น ๒. ได้ยิน กล่าวว่าไม่ได้ยิน
๓. ทราบ กล่าวว่าไม่ทราบ ๔. รู้ กล่าวว่าไม่รู้

ว่าด้วยอาบัติปาราชิก
ปาราชิกของภิกษุ ทั่วไปกับภิกษุณีมี ๔
ปาราชิกของภิกษุณี ไม่ทั่วไปกับภิกษุมี ๔

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๔๕๒ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [เอกุตตริกนัย] ๔. จตุกกวาร
ว่าด้วยบริขาร
บริขารมี ๔ อย่าง คือ
๑. มีบริขารที่ควรรักษา คุ้มครอง นับว่าเป็นสมบัติของเรา ควรใช้สอย
๒. มีบริขารที่ควรรักษา คุ้มครอง นับว่าเป็นสมบัติของเรา แต่ไม่ควร
ใช้สอย
๓. มีบริขารที่ควรรักษา คุ้มครอง แต่ไม่นับว่าเป็นสมบัติของเรา ไม่ควร
ใช้สอย
๔. มีบริขารที่ไม่ควรรักษา ไม่ควรคุ้มครอง ไม่นับว่าเป็นสมบัติของเรา
ไม่ควรใช้สอย

ว่าด้วยการต้องอาบัติและออกจากอาบัติ เป็นต้น
อาบัติที่ภิกษุต้องต่อหน้า ออกลับหลัง มีอยู่
อาบัติที่ภิกษุต้องลับหลัง ออกต่อหน้า มีอยู่
อาบัติที่ภิกษุต้องต่อหน้า ออกต่อหน้า มีอยู่
อาบัติที่ภิกษุต้องลับหลัง ออกลับหลัง มีอยู่
อาบัติที่ภิกษุไม่รู้อยู่จึงต้อง รู้อยู่จึงออก มีอยู่
อาบัติที่ภิกษุรู้อยู่จึงต้อง ไม่รู้อยู่จึงออก มีอยู่
อาบัติที่ภิกษุไม่รู้อยู่จึงต้อง ไม่รู้อยู่จึงออก มีอยู่
อาบัติที่ภิกษุรู้อยู่จึงต้อง รู้อยู่จึงออก มีอยู่

ว่าด้วยการต้องอาบัติ เป็นต้น
ภิกษุต้องอาบัติด้วยอาการ ๔ อย่าง คือ

๑. ต้องทางกาย ๒. ต้องทางวาจา
๓. ต้องทางกายกับวาจา ๔. ต้องทางกรรมวาจา


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๔๕๓ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [เอกุตตริกนัย] ๔. จตุกกวาร
ภิกษุต้องอาบัติแม้ด้วยอาการอื่นอีก ๔ อย่าง คือ

๑. ในท่ามกลางสงฆ์ ๒. ในท่ามกลางคณะ
๓. ในสำนักบุคคล ๔. เพราะเพศเปลี่ยนแปลง

ภิกษุออกจากอาบัติด้วยอาการ ๔ อย่าง คือ

๑. ออกทางกาย ๒. ออกทางวาจา
๓. ออกทางกายกับวาจา ๔. ออกด้วยกรรมวาจา

ภิกษุออกจากอาบัติแม้ด้วยอาการอื่นอีก ๔ อย่าง คือ

๑. ในท่ามกลางสงฆ์ ๒. ในท่ามกลางคณะ
๓. ในสำนักบุคคล ๔. เพราะเพศเปลี่ยนแปลง

ภิกษุละบุรุษเพศเดิม ดำรงอยู่ในสตรีเพศอันเกิดในภายหลัง พร้อมกับการได้
เพศใหม่ วิญญัติย่อมระงับไป บัญญัติย่อมดับไป
ภิกษุณีละสตรีเพศที่เกิดในภายหลัง กลับดำรงอยู่ในบุรุษเพศอันเดิม พร้อมกับ
การได้เพศใหม่ บัญญัติย่อมระงับไป บัญญัติย่อมดับไป

การโจทมี ๔ อย่าง คือ
๑. โจทด้วยสีลวิบัติ ๒. โจทด้วยอาจารวิบัติ
๓. โจทด้วยทิฏฐิวิบัติ ๔. โจทด้วยอาชีววิบัติ
ปริวาสมี ๔ อย่าง คือ
๑. ปฏิจฉันนปริวาส ๒. อัปปฏิจฉันนปริวาส
๓. สุทธันตปริวาส ๔. สโมธานปริวาส
มานัตมี ๔ อย่าง คือ
๑. ปฏิจฉันนมานัต ๒. อัปปฏิจฉันนมานัต
๓. ปักขมานัต ๔. สโมธานมานัต


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๔๕๔ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [เอกุตตริกนัย] ๔. จตุกกวาร
รัตติเฉทของภิกษุผู้ประพฤติมานัตมี ๔ อย่าง คือ

๑. สหวาสะ(การอยู่ร่วมกัน) ๒. วิปปวาสะ(การอยู่ปราศจาก)
๓. อนาโรจนา(การไม่บอก) ๔. อูเณคเณจรณะ(การประพฤติ
ในคณะสงฆ์อันพร่อง)

พระบัญญัติที่ทรงยกขึ้นแสดงเองมี ๔ อย่าง
กาลิกที่รับประเคนไว้ฉันมี ๔ อย่าง คือ

๑. ยาวกาลิก(เช้าถึงเที่ยง) ๒. ยามกาลิก (วันหนึ่งกับคืนหนึ่ง)
๓. สัตตาหกาลิก(๗ วัน) ๔. ยาวชีวิก(ไม่จำกัดเวลาวันตลอด
ชีวิต)

ยามหาวิกัฏ๑มี ๔ อย่าง คือ

๑. คูถ ๒. มูตร
๓. เถ้า ๔. ดิน

กรรมมี ๔ อย่าง คือ

๑. อปโลกนกรรม ๒. ญัตติกรรม
๓. ญัตติทุติยกรรม ๔. ญัตติจตุตถกรรม

กรรมแม้อื่นอีกมี ๔ อย่าง คือ

๑. กรรมเป็นวรรคโดยไม่ชอบธรรม ๒. กรรมพร้อมเพรียงโดยไม่ชอบ
ธรรม
๓. กรรมเป็นวรรคโดยชอบธรรม ๔. กรรมพร้อมเพรียงโดยชอบ
ธรรม

วิบัติมี ๔ อย่าง คือ

๑. สีลวิบัติ ๒. อาจารวิบัติ
๓. ทิฏฐิวิบัติ ๔. อาชีววิบัติ

อธิกรณ์มี ๔ อย่าง คือ

๑. วิวาทาธิกรณ์ ๒. อนุวาทาธิกรณ์
๓. อาปัตตาธิกรณ์ ๔. กิจจาธิกรณ์


เชิงอรรถ :
๑ ยา ๔ อย่างนี้ ภิกษุอาพาธฉันได้โดยไม่ต้องรับประเคน คือ ไม่ต้องอาบัติเพราะขาดประเคน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๔๕๕ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [เอกุตตริกนัย] ๔. จตุกกวาร
การประทุษร้ายบริษัทมี ๔ อย่าง คือ
๑. ภิกษุผู้ทุศีล มีธรรมทราม จัดเป็นผู้ประทุษร้ายบริษัท
๒. ภิกษุณีผู้ทุศีล มีธรรมทราม จัดเป็นผู้ประทุษร้ายบริษัท
๓. อุบาสกผู้ทุศีล มีธรรมทราม จัดเป็นผู้ประทุษร้ายบริษัท
๔. อุบาสิกาผู้ทุศีล มีธรรมทราม จัดเป็นผู้ประทุษร้ายบริษัท
ความงามในบริษัทมี ๔ อย่าง คือ
๑. ภิกษุผู้มีศีล มีธรรมงาม จัดเป็นผู้งามในบริษัท
๒. ภิกษุณีผู้มีศีล มีธรรมงาม จัดเป็นผู้งามในบริษัท
๓. อุบาสกผู้มีศีล มีธรรมงาม จัดเป็นผู้งามในบริษัท
๔. อุบาสิกาผู้มีศีล มีธรรมงาม จัดเป็นผู้งามในบริษัท

ว่าด้วยพระอาคันตุกะ เป็นต้น
อาบัติที่ภิกษุอาคันตุกะต้อง ภิกษุผู้อยู่ในอาวาสไม่ต้อง มีอยู่
อาบัติที่ภิกษุผู้อยู่ในอาวาสต้อง ภิกษุอาคันตุกะไม่ต้อง มีอยู่
อาบัติที่ภิกษุอาคันตุกะ และภิกษุผู้อยู่ในอาวาสต้อง มีอยู่
อาบัติที่ภิกษุอาคันตุกะ และภิกษุผู้อยู่ในอาวาสไม่ต้อง มีอยู่
อาบัติที่ภิกษุผู้เตรียมไปต้อง ภิกษุผู้อยู่ในอาวาสไม่ต้อง มีอยู่
อาบัติที่ภิกษุเจ้าถิ่นต้อง ภิกษุผู้เตรียมไปไม่ต้อง มีอยู่
อาบัติที่ภิกษุผู้เตรียมไป และภิกษุผู้อยู่ในอาวาสต้อง มีอยู่
อาบัติที่ภิกษุผู้เตรียมไป และภิกษุผู้อยู่ในอาวาสไม่ต้อง มีอยู่

ว่าด้วยสิกขาบทมีวัตถุต่างกัน เป็นต้น
ความที่สิกขาบทมีวัตถุต่างกัน มีอยู่ ความที่สิกขาบทมีอาบัติต่างกัน ไม่มีอยู่
ความที่สิกขาบทมีอาบัติต่างกัน มีอยู่ ความที่สิกขาบทมีวัตถุต่างกัน ไม่มีอยู่
ความที่สิกขาบทมีวัตถุต่างกัน และมีอาบัติต่างกัน มีอยู่
ความที่สิกขาบททั้งมีวัตถุต่างกัน ทั้งมีอาบัติต่างกัน ไม่มีอยู่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๔๕๖ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [เอกุตตริกนัย] ๔. จตุกกวาร
ความที่สิกขาบทมีวัตถุเสมอกัน มีอยู่ ความที่สิกขาบทมีอาบัติเสมอกัน ไม่มีอยู่
ความที่สิกขาบทมีอาบัติเสมอกัน มีอยู่ ความที่สิกขาบทมีวัตถุเสมอกัน ไม่มีอยู่
ความที่สิกขาบทมีวัตถุเสมอกัน และมีอาบัติเสมอกัน มีอยู่
ความที่สิกขาบททั้งมีวัตถุเสมอกัน ทั้งมีอาบัติเสมอกัน ไม่มีอยู่

ว่าด้วยพระอุปัชฌาย์ต้องอาบัติ เป็นต้น
อาบัติที่พระอุปัชฌาย์ต้อง แต่สัทธิวิหาริกไม่ต้อง มีอยู่
อาบัติที่สัทธิวิหาริกต้อง แต่พระอุปัชฌาย์ไม่ต้อง มีอยู่
อาบัติที่พระอุปัชฌาย์ และสัทธิวิหาริกต้อง มีอยู่
อาบัติที่ทั้งพระอุปัชฌาย์ ทั้งสัทธิวิหาริกไม่ต้อง มีอยู่
อาบัติที่พระอาจารย์ต้อง แต่อันเตวาสิกไม่ต้อง มีอยู่
อาบัติที่อันเตวาสิกต้อง แต่พระอาจารย์ไม่ต้อง มีอยู่
อาบัติที่พระอาจารย์ และอันเตวาสิกต้อง มีอยู่
อาบัติที่ทั้งพระอาจารย์ ทั้งอันเตวาสิกไม่ต้อง มีอยู่

ว่าด้วยปัจจัยแห่งการขาดพรรษา เป็นต้น
การขาดพรรษาที่ไม่ต้องอาบัติมีปัจจัย ๔ อย่าง คือ

๑. สงฆ์แตกกัน ๒. มีพวกภิกษุประสงค์จะทำลาย
สงฆ์
๓. มีอันตรายแก่ชีวิต ๔. มีอันตรายแก่พรหมจรรย์

วจีทุจริตมี ๔ อย่าง คือ

๑. พูดเท็จ ๒. พูดส่อเสียด
๓. พูดคำหยาบ ๔. พูดเพ้อเจ้อ

วจีสุจริตมี ๔ อย่าง คือ

๑. พูดจริง ๒. พูดไม่ส่อเสียด
๓. พูดคำสุภาพ ๔. พูดพอประมาณ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๔๕๗ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [เอกุตตริกนัย] ๔. จตุกกวาร
ว่าด้วยถือเอาทรัพย์ เป็นต้น
ภิกษุถือเอาเองต้องอาบัติหนัก ใช้ผู้อื่นต้องอาบัติเบา มีอยู่
ภิกษุถือเอาเองต้องอาบัติเบา ใช้ผู้อื่นต้องอาบัติหนัก มีอยู่
ภิกษุถือเอาเองก็ดี ใช้ผู้อื่นก็ดี ต้องอาบัติหนัก มีอยู่
ภิกษุถือเอาเองก็ดี ใช้ผู้อื่นก็ดี ต้องอาบัติเบา มีอยู่

ว่าด้วยบุคคลควรอภิวาท เป็นต้น
บุคคลควรอภิวาท แต่ไม่ควรลุกรับ มีอยู่
บุคคลควรลุกรับ แต่ไม่ควรอภิวาท มีอยู่
บุคคลควรอภิวาท และควรลุกรับ มีอยู่
บุคคลทั้งไม่ควรอภิวาท ทั้งไม่ควรลุกรับ มีอยู่
บุคคลควรแก่อาสนะ แต่ไม่ควรอภิวาท มีอยู่
บุคคลควรอภิวาท แต่ไม่ควรแก่อาสนะ มีอยู่
บุคคลควรแก่อาสนะ และควรอภิวาท มีอยู่
บุคคลทั้งไม่ควรแก่อาสนะ ทั้งไม่ควรอภิวาท มีอยู่

ว่าด้วยต้องอาบัติในกาล เป็นต้น
อาบัติที่ภิกษุต้องในกาล แต่ไม่ต้องในเวลาวิกาล มีอยู่
อาบัติที่ภิกษุต้องในเวลาวิกาล แต่ไม่ต้องในกาล มีอยู่
อาบัติที่ภิกษุต้องในกาล และในเวลาวิกาล มีอยู่
อาบัติที่ภิกษุไม่ต้องทั้งในกาล ทั้งในเวลาวิกาล มีอยู่
กาลิกที่รับประเคนแล้ว ย่อมควรในกาล แต่ไม่ควรในเวลาวิกาล มีอยู่
กาลิกที่รับประเคนแล้ว ย่อมควรในเวลาวิกาล แต่ไม่ควรในกาล มีอยู่
กาลิกที่รับประเคนแล้ว ย่อมควรในกาล และในเวลาวิกาล มีอยู่


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๔๕๘ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [เอกุตตริกนัย] ๔. จตุกกวาร
กาลิกที่รับประเคนแล้ว ย่อมไม่ควรทั้งในกาล ทั้งในเวลาวิกาล มีอยู่
อาบัติที่ภิกษุต้องในปัจจันตชนบท แต่ไม่ต้องในมัชฌิมชนบท มีอยู่
อาบัติที่ภิกษุต้องในมัชฌิมชนบท แต่ไม่ต้องในปัจจันตชนบท มีอยู่
อาบัติที่ภิกษุต้องทั้งในปัจจันตชนบท และในมัชฌิมชนบท มีอยู่
อาบัติที่ภิกษุไม่ต้องทั้งในปัจจันตชนบท ทั้งในมัชฌิมชนบท มีอยู่
วัตถุย่อมควรในปัจจันตชนบท แต่ไม่ควรในมัชฌิมชนบท มีอยู่
วัตถุย่อมควรในมัชฌิมชนบท แต่ไม่ควรในปัจจันตชนบท มีอยู่
วัตถุย่อมควรทั้งในปัจจันตชนบท และในมัชฌิมชนบท มีอยู่
วัตถุย่อมไม่ควรทั้งในปัจจันตชนบท ทั้งในมัชฌิมชนบท มีอยู่
อาบัติที่ภิกษุต้องในภายใน แต่ไม่ต้องในภายนอก มีอยู่
อาบัติที่ภิกษุต้องในภายนอก แต่ไม่ต้องในภายใน มีอยู่
อาบัติที่ภิกษุต้องทั้งในภายใน และในภายนอก มีอยู่
อาบัติที่ภิกษุไม่ต้องทั้งในภายใน ทั้งในภายนอก มีอยู่
อาบัติที่ภิกษุต้องในภายในสีมา แต่ไม่ต้องในภายนอกสีมา มีอยู่
อาบัติที่ภิกษุต้องในภายนอกสีมา แต่ไม่ต้องในภายในสีมา มีอยู่
อาบัติที่ภิกษุต้องทั้งในภายในสีมา และในภายนอกสีมา มีอยู่
อาบัติที่ภิกษุไม่ต้องทั้งในภายในสีมา ทั้งในภายนอกสีมา มีอยู่
อาบัติที่ภิกษุต้องในหมู่บ้าน แต่ไม่ต้องในป่า มีอยู่
อาบัติที่ภิกษุต้องในป่า แต่ไม่ต้องในหมู่บ้าน มีอยู่
อาบัติที่ภิกษุต้องทั้งในหมู่บ้าน และในป่า มีอยู่
อาบัติที่ภิกษุไม่ต้องทั้งในหมู่บ้าน ทั้งในป่า มีอยู่


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๔๕๙ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [เอกุตตริกนัย] ๔. จตุกกวาร
ว่าด้วยการโจท เป็นต้น

การโจทมี ๔ อย่าง คือ
๑. โจทชี้วัตถุ ๒. โจทชี้อาบัติ
๓. โจทห้ามสังวาส ๔. โจทห้ามสามีจิกรรม
บุพพกิจมี ๔ อย่าง
ความพรั่งพร้อมมี ๔ อย่าง
อาบัติปาจิตตีย์ไม่มีอะไรอื่นมี ๔ สิกขาบท๑
ภิกษุสมมติมี ๔ สิกขาบท
การถึงอคติ(ความลำเอียง)มี ๔ อย่าง คือ
๑. ลำเอียงเพราะชอบ ๒. ลำเอียงเพราะชัง
๓. ลำเอียงเพราะหลง ๔. ลำเอียงเพราะกลัว
การไม่ถึงอคติ(ความไม่ลำเอียง)มี ๔ คือ
๑. ไม่ลำเอียงเพราะชอบ ๒. ไม่ลำเอียงเพราะชัง
๓. ไม่ลำเอียงเพราะหลง ๔. ไม่ลำเอียงเพราะกลัว

ภิกษุอลัชชีประกอบด้วยองค์ ๔ ย่อมทำลายสงฆ์ คือ

๑. ลำเอียงเพราะชอบ ๒. ลำเอียงเพราะชัง
๓. ลำเอียงเพราะหลง ๔. ลำเอียงเพราะกลัว

ภิกษุผู้มีศีลดีงามประกอบด้วยองค์ ๔ ย่อมสมานสงฆ์ที่แตกกันแล้วให้สามัคคี
กัน คือ

๑. ไม่ลำเอียงเพราะชอบ ๒. ไม่ลำเอียงเพราะชัง
๓. ไม่ลำเอียงเพราะหลง ๔. ไม่ลำเอียงเพราะกลัว


เชิงอรรถ :
๑ ได้แก่สิกขาบทที่ ๖ แห่งภูตคามวรรค สิกขาบทที่ ๒ แห่งอเจลกวรรค สิกขาบทที่ ๗-๘ แห่ง
สหธัมมิกวรรค

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๔๖๐ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [เอกุตตริกนัย] ๔. จตุกกวาร
ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๔ อันภิกษุไม่ควรถามวินัย คือ

๑. ลำเอียงเพราะชอบ ๒. ลำเอียงเพราะชัง
๓. ลำเอียงเพราะหลง ๔. ลำเอียงเพราะกลัว

วินัยอันภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๔ ไม่ควรถาม คือ

๑. ลำเอียงเพราะชอบ ๒. ลำเอียงเพราะชัง
๓. ลำเอียงเพราะหลง ๔. ลำเอียงเพราะกลัว

ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๔ อันภิกษุไม่ควรตอบวินัย คือ

๑. ลำเอียงเพราะชอบ ๒. ลำเอียงเพราะชัง
๓. ลำเอียงเพราะหลง ๔. ลำเอียงเพราะกลัว

วินัยอันภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๔ ไม่ควรตอบ คือ

๑. ลำเอียงเพราะชอบ ๒. ลำเอียงเพราะชัง
๓. ลำเอียงเพราะหลง ๔. ลำเอียงเพราะกลัว

ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๔ อันภิกษุไม่พึงให้คำซักถาม คือ

๑. ลำเอียงเพราะชอบ ๒. ลำเอียงเพราะชัง
๓. ลำเอียงเพราะหลง ๔. ลำเอียงเพราะกลัว

ภิกษุไม่ควรสนทนาวินัยร่วมกับภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๔ คือ

๑. ลำเอียงเพราะชอบ ๒. ลำเอียงเพราะชัง
๓. ลำเอียงเพราะหลง ๔. ลำเอียงเพราะกลัว

ว่าด้วยภิกษุเป็นไข้ต้องอาบัติ เป็นต้น
อาบัติที่ภิกษุเป็นไข้ต้อง แต่ไม่เป็นไข้ไม่ต้อง มีอยู่
อาบัติที่ภิกษุไม่เป็นไข้ต้อง แต่เป็นไข้ไม่ต้อง มีอยู่
อาบัติที่ภิกษุเป็นไข้ และไม่เป็นไข้ต้อง มีอยู่
อาบัติที่ภิกษุทั้งเป็นไข้ ทั้งไม่เป็นไข้ต้อง มีอยู่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๔๖๑ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [เอกุตตริกนัย] หัวข้อประจำวาร
ว่าด้วยงดปาติโมกข์
การงดปาติโมกข์ที่ไม่ชอบธรรมมี ๔ อย่าง
การงดปาติโมกข์ที่ชอบธรรมมี ๔ อย่าง
จตุกกวาร จบ

หัวข้อประจำวาร
อาบัติที่ต้องด้วยวาจาของตน อาบัติที่ต้องด้วยกาย
อาบัติที่หลับแล้วต้อง อาบัติที่ไม่ตั้งใจต้อง
อาบัติที่ต้องด้วยกรรม โวหาร ๔ อย่าง ปาราชิกของภิกษุ
ปาราชิกของภิกษุณี บริขาร อาบัติที่ต้องต่อหน้า
อาบัติที่ไม่รู้จึงต้อง อาบัติที่ต้องทางกาย อาบัติที่ต้องในท่ามกลาง
การออกจากอาบัติ ๒ หมวด ได้เพศใหม่ การโจท ปริวาส มานัต
รัตติเฉทของภิกษุผู้ประพฤติมานัต พระบัญญัติที่ทรงยกขึ้นแสดงเอง
กาลิกที่รับประเคน ยามหาวิกัฏ กรรม ๒ หมวด วิบัติ อธิกรณ์
ภิกษุผู้ทุศีล ภิกษุผู้มีศีลดีงาม
อาบัติที่ภิกษุอาคันตุกะต้อง อาบัติที่ภิกษุผู้เตรียมไปต้อง
ความที่สิกขาบทมีวัตถุต่างกัน ความที่สิกขาบทมีวัตถุเสมอกัน
อาบัติที่อุปัชฌาย์และอาจารย์ต้อง
ปัจจัยแห่งการขาดพรรษา วจีทุจริต วจีสุจริต
การถือเอาทรัพย์ บุคคลควรอภิวาท บุคคลควรแก่อาสนะ
อาบัติที่ต้องในกาล ของที่ควร อาบัติที่ต้องในปัจจันตชนบท
ของที่ควรในปัจจันตชนบท อาบัติที่ต้องในภายใน
อาบัติที่ต้องในภายในสีมา อาบัติที่ต้องในหมู่บ้าน การโจท บุพพกิจ
ความพรั่งพร้อมที่ถึงแล้ว อาบัติปาจิตตีย์ไม่มีอะไรอื่น
การสมมติ การถึงอคติ การไม่ถึงอคติ ภิกษุอลัชชี ภิกษุมีศีลดีงาม
ภิกษุผู้ไม่ควรถาม ๒ หมวด ภิกษุที่ไม่ควรได้รับคำตอบ ๒ หมวด
ภิกษุที่ควรได้รับคำซักถาม ภิกษุที่ไม่ควรสนทนาด้วย
อาบัติที่ภิกษุเป็นไข้ต้อง การงดปาติโมกข์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๔๖๒ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [เอกุตตริกนัย] ๕. ปัญจกวาร
๕. ปัญจกวาร
ว่าด้วยหมวด ๕
[๓๒๕] อาบัติมี ๕ กองอาบัติมี ๕ วินีตวัตถุมี ๕ อนันตริยกรรมมี ๕ บุคคล
ที่แน่นอนมี ๕ อาบัติมีการตัดเป็นวินัยกรรมมี ๕ ต้องอาบัติด้วยอาการ ๕ อาบัติ
เพราะมุสาวาทเป็นปัจจัยมี ๕
ภิกษุไม่เข้ากรรมด้วยอาการ ๕ อย่าง คือ

๑. ตนเองไม่ทำกรรม ๒. ไม่เชิญภิกษุอื่น
๓. ไม่ให้ฉันทะหรือปาริสุทธิ ๔. เมื่อสงฆ์ทำกรรมย่อมคัดค้าน

๕. เมื่อสงฆ์ทำกรรมเสร็จแล้วกลับเห็นว่าไม่เป็นธรรม
ภิกษุเข้ากรรมด้วยอาการ ๕ อย่าง คือ

๑. ตนเองทำกรรม ๒. เชิญภิกษุอื่น
๓. ให้ฉันทะหรือปาริสุทธิ ๔. เมื่อสงฆ์ทำกรรมไม่คัดค้าน

๕. เมื่อสงฆ์ทำกรรมเสร็จแล้ว ก็เห็นว่าเป็นธรรม
กิจ ๕ อย่าง สมควรแก่ภิกษุผู้ถือเที่ยวบิณฑบาต คือ

๑. เที่ยวไปไม่ต้องบอกลา ๒. ฉันคณโภชนะได้
๓. ฉันปรัมปรโภชนะได้ ๔. การไม่ต้องอธิษฐาน
๕. การไม่ต้องวิกัป

ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ จะเป็นภิกษุเลวทรามก็ดี จะเป็นภิกษุมีธรรมอัน
ไม่กำเริบก็ดี ย่อมถูกระแวง ถูกรังเกียจ คือ

๑. มีหญิงแพศยาเป็นโคจร ๒. มีหญิงม่ายเป็นโคจร
๓. มีสาวเทื้อเป็นโคจร ๔. มีบัณเฑาะก์เป็นโคจร
๕. มีภิกษุณีเป็นโคจร

น้ำมันมี ๕ ชนิด คือ
๑. น้ำมันงา ๒. น้ำมันเมล็ดพันธุ์ผักกาด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๔๖๓ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [เอกุตตริกนัย] ๕. ปัญจกวาร
๓. น้ำมันมะซาง ๔. น้ำมันระหุ่ง
๕. น้ำมันเปลวสัตว์
มันเหลวสัตว์มี ๕ ชนิด คือ

๑. มันเหลวหมี ๒. มันเหลวปลา
๓. มันเหลวปลาฉลาม ๔. มันเหลวหมู
๕. มันเหลวลา

ความเสื่อมมี ๕ อย่าง คือ

๑. ความเสื่อมญาติ ๒. ความเสื่อมโภคสมบัติ
๓. ความเสื่อมคือโรค ๔. ความเสื่อมศีล
๕. ความเสื่อมทิฏฐิ

ความถึงพร้อมมี ๕ อย่าง คือ
๑. ญาติสัมปทา(ความถึงพร้อมแห่งญาติ)
๒. โภคสัมปทา(ความถึงพร้อมแห่งโภคสมบัติ)
๓. อาโรคยสัมปทา(ความถึงพร้อมแห่งความไม่มีโรค)
๔. สีลสัมปทา(ความถึงพร้อมแห่งศีล)
๕. ทิฏฐิสัมปทา(ความถึงพร้อมแห่งทิฏฐิ)
นิสัยระงับจากพระอุปัชฌาย์มี ๕ คือ

๑. พระอุปัชฌาย์หลีกไป ๒. พระอุปัชฌาย์สึก
๓. พระอุปัชฌาย์มรณภาพ ๔. พระอุปัชฌาย์ไปเข้ารีตเดียรถีย์
๕. พระอุปัชฌาย์สั่งบังคับ

บุคคล ๕ จำพวก ไม่ควรให้อุปสมบท คือ

๑. มีกาลบกพร่อง ๒. มีอวัยวะบกพร่อง
๓. มีวัตถุวิบัติ ๔. มีการกระทำอันเสียหาย
๕. ไม่บริบูรณ์


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๔๖๔ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [เอกุตตริกนัย] ๕. ปัญจกวาร
ผ้าบังสุกุลมี ๕ อย่าง คือ

๑. ผ้าตกที่ป่าช้า ๒. ผ้าตกที่ตลาด
๓. ผ้าหนูกัด ๔. ผ้าปลวกกัด
๕. ผ้าถูกไฟไหม้

ผ้าบังสุกุลแม้อื่นอีก ๕ อย่าง คือ

๑. ผ้าที่โคกัด ๒. ผ้าที่แพะกัด
๓. ผ้าที่ห่มสถูป ๔. ผ้าที่เขาทิ้งในสถานที่อภิเษก
๕. ผ้าที่เขานำไปสู่ป่าช้าแล้วนำกลับมา

อวหารมี ๕ อย่าง คือ

๑. เถยยาวหาร ๒. ปสัยหาวหาร
๓. ปริกัปปาวหาร ๔. ปฏิจฉันนาวหาร
๕. กุสาวหาร

มหาโจรที่มีปรากฏอยู่ในโลกมี ๕ จำพวก
สิ่งของที่ไม่ควรจ่ายมี ๕ อย่าง
สิ่งของที่ไม่ควรแบ่งมี ๕ อย่าง
อาบัติที่เกิดทางกาย มิใช่เกิดทางวาจา มิใช่เกิดทางจิตมี ๕ อย่าง
อาบัติที่เกิดทางกายกับวาจา มิใช่เกิดทางจิตมี ๕ อย่าง
อาบัติที่เป็นเทสนาคามินีมี ๕ อย่าง
สงฆ์มี ๕ จำพวก ปาติโมกขุทเทสมี ๕ อย่าง
ในปัจจันตชนบททุกแห่ง คณะมีพระวินัยธรครบ ๕ พึงให้กุลบุตรอุปสมบทได้
ในการกรานกฐินมีอานิสงส์ ๕ อย่าง กรรมมี ๕ อย่าง
อาบัติมี ๕ อย่าง จนกระทั่งสงฆ์สวดสมนุภาสน์ครบ ๓ ครั้ง
ภิกษุถือเอาทรัพย์ที่ผู้อื่นไม่ให้ด้วยอาการ ๕ อย่าง ต้องอาบัติปาราชิก
ภิกษุถือเอาทรัพย์ที่ผู้อื่นไม่ให้ด้วยอาการ ๕ อย่าง ต้องอาบัติถุลลัจจัย
ภิกษุถือเอาทรัพย์ที่ผู้อื่นไม่ให้ด้วยอาการ ๕ ต้องอาบัติทุกกฏ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๔๖๕ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [เอกุตตริกนัย] ๕. ปัญจกวาร
ภิกษุไม่ควรบริโภคอกัปปิยวัตถุ ๕ อย่าง คือ

๑. ของที่เขาไม่ให้ ๒. ไม่ทราบ
๓. เป็นอกัปปิยะ ๔. ยังไม่ได้รับประเคน
๕. ไม่ได้ทำให้เป็นเดน

ภิกษุควรบริโภคกัปปิยวัตถุ ๕ อย่าง คือ

๑. ของที่เขาให้ ๒. ทราบแล้ว
๓. เป็นกัปปิยะ ๔. รับประเคนแล้ว
๕. ทำให้เป็นเดนแล้ว

การให้ที่ไม่จัดเป็นบุญ แต่ชาวโลกสมมติว่าเป็นบุญ มี ๕ อย่าง คือ

๑. ให้น้ำเมา ๒. ให้มหรสพ
๓. ให้สตรี ๔. ให้โคผู้
๕. ให้รูปภาพ

สิ่งที่เกิดขึ้นแล้วบรรเทาได้ยากมี ๕ อย่าง คือ
๑. ราคะเกิดขึ้นแล้วบรรเทาได้ยาก ๒. โทสะเกิดขึ้นแล้วบรรเทาได้ยาก
๓. โมหะเกิดขึ้นแล้วบรรเทาได้ยาก ๔. ปฏิภาณเกิดขึ้นแล้วบรรเทาได้
ยาก
๕. จิตที่คิดจะไปเกิดขึ้นแล้วบรรเทาได้ยาก
การกวาดมีอานิสงส์ ๕ อย่าง คือ

๑. จิตของตนเลื่อมใส ๒. จิตของผู้อื่นเลื่อมใส
๓. เทวดาชื่นชม ๔. สั่งสมกรรมที่เป็นไปเพื่อให้เกิด
ความเลื่อมใส

๕. หลังจากตายแล้ว ย่อมไปบังเกิดในสุคติโลกสวรรค์
การกวาดแม้อื่นอีกก็มีอานิสงส์ ๕ อย่าง คือ
๑. จิตของตนเลื่อมใส ๒. จิตของผู้อื่นเลื่อมใส

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๔๖๖ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [เอกุตตริกนัย] ๕. ปัญจกวาร

๓. เทวดาชื่นชม ๔. เป็นอันทำตามคำสั่งสอนของ
พระศาสนา
๕. ชนรุ่นหลังยึดถือเป็นแบบอย่าง

ว่าด้วยองค์คุณของพระวินัยธร
พระวินัยธรประกอบด้วยองค์ ๕ นับว่าเป็นผู้โง่เขลา คือ
๑. ไม่กำหนดที่สุดถ้อยคำของตน
๒. ไม่กำหนดที่สุดถ้อยคำของผู้อื่น
๓. ไม่กำหนดที่สุดถ้อยคำของตนทั้งไม่กำหนดที่สุดถ้อยคำของผู้อื่น แล้ว
ปรับอาบัติ
๔. ปรับอาบัติโดยไม่ชอบธรรม
๕. ปรับอาบัติไม่ตามปฏิญญา
พระวินัยธรประกอบด้วยองค์ ๕ นับว่าเป็นผู้ฉลาด คือ
๑. กำหนดที่สุดถ้อยคำของตน
๒. กำหนดที่สุดถ้อยคำของผู้อื่น
๓. กำหนดที่สุดถ้อยคำของตนทั้งกำหนดที่สุดถ้อยคำของผู้อื่น แล้วปรับ
อาบัติ
๔. ปรับอาบัติตามธรรม
๕. ปรับอาบัติตามปฏิญญา
พระวินัยธรประกอบแม้ด้วยองค์อื่นอีก ๕ นับว่าเป็นผู้โง่เขลา คือ

๑. ไม่รู้อาบัติ ๒. ไม่รู้มูลของอาบัติ
๓. ไม่รู้เหตุเกิดอาบัติ ๔. ไม่รู้การระงับอาบัติ
๕. ไม่รู้ข้อปฏิบัติอันให้ถึงการระงับอาบัติ

พระวินัยธรประกอบด้วยองค์ ๕ นับว่าเป็นผู้ฉลาด คือ
๑. รู้อาบัติ ๒. รู้มูลของอาบัติ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๔๖๗ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [เอกุตตริกนัย] ๕. ปัญจกวาร

๓. รู้เหตุเกิดอาบัติ ๔. รู้การระงับอาบัติ
๕. รู้ข้อปฏิบัติ อันให้ถึงการระงับอาบัติ

พระวินัยธรประกอบแม้ด้วยองค์อื่นอีก ๕ นับว่าเป็นผู้โง่เขลา คือ

๑. ไม่รู้อธิกรณ์ ๒. ไม่รู้มูลของอธิกรณ์
๓. ไม่รู้เหตุเกิดอธิกรณ์ ๔. ไม่รู้การระงับอธิกรณ์

๕. ไม่รู้ข้อปฏิบัติอันให้ถึงการระงับอธิกรณ์
พระวินัยธรประกอบด้วยองค์ ๕ นับว่าเป็นผู้ฉลาด คือ

๑. รู้อธิกรณ์ ๒. รู้มูลของอธิกรณ์
๓. รู้เหตุเกิดอธิกรณ์ ๔. รู้การระงับอธิกรณ์
๕. รู้ข้อปฏิบัติอันให้ถึงการระงับอธิกรณ์

พระวินัยธรประกอบแม้ด้วยองค์อื่นอีก ๕ นับว่าเป็นผู้โง่เขลา คือ

๑. ไม่รู้วัตถุ ๒. ไม่รู้เหตุเค้ามูล
๓. ไม่รู้บัญญัติ ๔. ไม่รู้อนุบัญญัติ
๕. ไม่รู้ถ้อยคำแห่งอนุสนธิ

พระวินัยธรประกอบด้วยองค์ ๕ นับว่าเป็นผู้ฉลาด คือ

๑. รู้วัตถุ ๒. รู้เหตุเค้ามูล
๓. รู้บัญญัติ ๔. รู้อนุบัญญัติ
๕. รู้ถ้อยคำแห่งอนุสนธิ

พระวินัยธรประกอบแม้ด้วยองค์อื่นอีก ๕ นับว่าเป็นผู้โง่เขลา คือ

๑. ไม่รู้ญัตติ ๒. ไม่รู้ตั้งญัตติ
๓. ไม่ฉลาดในเบื้องต้น ๔. ไม่ฉลาดในเบื้องปลาย
๕. ไม่รู้กาล

พระวินัยธรประกอบด้วยองค์ ๕ นับว่าเป็นผู้ฉลาด คือ
๑. รู้ญัตติ ๒. รู้ตั้งญัตติ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๔๖๘ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [เอกุตตริกนัย] ๕. ปัญจกวาร
๓. ฉลาดในเบื้องต้น ๔. ฉลาดในเบื้องปลาย
๕. รู้กาล
พระวินัยธรประกอบแม้ด้วยองค์อื่นอีก ๕ นับว่าเป็นผู้โง่เขลา คือ
๑. ไม่รู้อาบัติและอนาบัติ
๒. ไม่รู้อาบัติเบาและอาบัติหนัก
๓. ไม่รู้อาบัติมีส่วนเหลือและอาบัติไม่มีส่วนเหลือ
๔. ไม่รู้อาบัติชั่วหยาบและอาบัติไม่ชั่วหยาบ
๕. ไม่ยึดถือ ไม่ใส่ใจ ไม่ใคร่ครวญถ้อยคำที่สืบต่อจากอาจารย์ให้ดี
พระวินัยธรประกอบด้วยองค์ ๕ นับว่าเป็นผู้ฉลาด คือ
๑. รู้อาบัติและอนาบัติ
๒. รู้อาบัติเบาและอาบัติหนัก
๓. รู้อาบัติมีส่วนเหลือและอาบัติไม่มีส่วนเหลือ
๔. รู้อาบัติชั่วหยาบและอาบัติไม่ชั่วหยาบ
๕. ยึดถือ ใส่ใจ ใคร่ครวญถ้อยคำที่สืบต่อจากอาจารย์ด้วยดี
พระวินัยธรประกอบแม้ด้วยองค์อื่นอีก ๕ นับว่าเป็นผู้โง่เขลา คือ
๑. ไม่รู้อาบัติและอนาบัติ
๒. ไม่รู้อาบัติเบาและอาบัติหนัก
๓. ไม่รู้อาบัติมีส่วนเหลือและอาบัติไม่มีส่วนเหลือ
๔. ไม่รู้อาบัติชั่วหยาบและอาบัติไม่ชั่วหยาบ
๕. จำปาติโมกข์ทั้ง ๒ โดยพิสดารไม่ดี จำแนกไม่ดี ไม่คล่องแคล่ว
วินิจฉัยโดยสุตตะ โดยอนุพยัญชนะไม่ดี
พระวินัยธรประกอบด้วยองค์ ๕ นับว่าเป็นผู้ฉลาด คือ
๑. รู้อาบัติและอนาบัติ
๒. รู้อาบัติเบาและอาบัติหนัก
๓. รู้อาบัติมีส่วนเหลือและอาบัติไม่มีส่วนเหลือ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๔๖๙ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [เอกุตตริกนัย] ๕. ปัญจกวาร
๔. รู้อาบัติชั่วหยาบและอาบัติไม่ชั่วหยาบ
๕. จำปาติโมกข์ทั้ง ๒ โดยพิสดารได้ดี จำแนกได้ดี คล่องแคล่วดี
วินิจฉัยโดยสุตตะ โดยอนุพยัญชนะได้ดี
พระวินัยธรประกอบแม้ด้วยองค์อื่นอีก ๕ นับว่าเป็นผู้โง่เขลา คือ
๑. ไม่รู้อาบัติและอนาบัติ
๒. ไม่รู้อาบัติเบาและอาบัติหนัก
๓. ไม่รู้อาบัติมีส่วนเหลือและอาบัติไม่มีส่วนเหลือ
๔. ไม่รู้อาบัติชั่วหยาบและอาบัติไม่ชั่วหยาบ
๕. ไม่ฉลาดในการวินิจฉัยอธิกรณ์
พระวินัยธรประกอบด้วยองค์ ๕ นับว่าเป็นผู้ฉลาด คือ
๑. รู้อาบัติและอนาบัติ
๒. รู้อาบัติเบาและอาบัติหนัก
๓. รู้อาบัติมีส่วนเหลือและอาบัติไม่มีส่วนเหลือ
๔. รู้อาบัติชั่วหยาบและอาบัติไม่ชั่วหยาบ
๕. ฉลาดในการวินิจฉัยอธิกรณ์

ว่าด้วยภิกษุอยู่ป่า เป็นต้น
ภิกษุผู้ถืออยู่ป่ามี ๕ จำพวก คือ
๑. เพราะเป็นผู้โง่เขลา งมงาย จึงอยู่ป่า
๒. เป็นผู้ปรารถนาเลวทราม ถูกความอยากครอบงำ จึงอยู่ป่า
๓. เพราะมัวเมา จิตฟุ้งซ่าน จึงอยู่ป่า
๔. เพราะเข้าใจว่า พระพุทธเจ้า พระสาวกของพระพุทธเจ้าสรรเสริญ
จึงอยู่ป่า
๕. เพราะอาศัยความมักน้อยสันโดษ ขัดเกลา ความเงียบสงัด และ
เพราะอาศัยว่าการอยู่ป่ามีประโยชน์ด้วยการปฏิบัติอันงามนี้ จึงอยู่ป่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๔๗๐ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [เอกุตตริกนัย] ๕. ปัญจกวาร
ภิกษุผู้ถือเที่ยวบิณฑบาตมี ๕ จำพวก ฯลฯ ภิกษุผู้ถือผ้าบังสุกุลมี ๕ จำพวก
ฯลฯ ภิกษุผู้ถืออยู่โคนไม้มี ๕ จำพวก ฯลฯ ภิกษุผู้ถืออยู่ป่าช้ามี ๕ จำพวก ฯลฯ
ภิกษุผู้ถืออยู่กลางแจ้งมี ๕ จำพวก ฯลฯ ภิกษุผู้ถือผ้า ๓ ผืนมี ๕ จำพวก ฯลฯ
ภิกษุผู้ถือเที่ยวบิณฑบาตตามลำดับมี ๕ จำพวก ฯลฯ ภิกษุผู้ถือการนั่งมี ๕ จำพวก
ฯลฯ ภิกษุผู้ถืออยู่ในเสนาสนะตามที่จัดไว้มี ๕ จำพวก ฯลฯ ภิกษุผู้ถือนั่งฉัน ณ
อาสนะแห่งเดียวมี ๕ จำพวก ฯลฯ ภิกษุผู้ถือการห้ามภัตรที่เขานำมาถวายเมื่อ
ภายหลังมี ๕ จำพวก ฯลฯ
ภิกษุผู้ถือฉันเฉพาะในบาตรมี ๕ จำพวก คือ
๑. เพราะเป็นผู้โง่เขลา งมงาย จึงถือการฉันเฉพาะในบาตร
๒. เป็นผู้ปรารถนาเลวทราม ถูกความอยากครอบงำ จึงถือการฉัน
เฉพาะในบาตร
๓. เพราะมัวเมา จิตฟุ้งซ่าน จึงถือการฉันเฉพาะในบาตร
๔. เพราะเข้าใจว่า พระพุทธเจ้า พระสาวกของพระพุทธเจ้าสรรเสริญ
จึงถือการฉันเฉพาะในบาตร
๕. เพราะอาศัยความมักน้อยสันโดษ ขัดเกลา ความเงียบ สงัด และ
เพราะอาศัยว่าการฉันเฉพาะในบาตรมีประโยชน์ด้วยการปฏิบัติอัน
งามนี้ จึงถือการฉันเฉพาะในบาตร

ว่าด้วยองค์ของภิกษุผู้ต้องถือนิสัย
ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ จะพึงอยู่โดยไม่ถือนิสัยไม่ได้ คือ

๑. ไม่รู้อุโบสถ ๒. ไม่รู้อุโบสถกรรม
๓. ไม่รู้ปาติโมกข์ ๔. ไม่รู้ปาติโมกขุทเทส
๕. มีพรรษาหย่อน ๕

ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ ไม่ถือนิสัยแล้ว ควรอยู่ได้ คือ

๑. รู้อุโบสถ ๒. รู้อุโบสถกรรม
๓. รู้ปาติโมกข์ ๔. รู้ปาติโมกขุทเทส
๕. มีพรรษาครบ ๕ หรือมีพรรษาเกิน ๕


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๔๗๑ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [เอกุตตริกนัย] ๕. ปัญจกวาร
ภิกษุผู้ประกอบแม้ด้วยองค์อื่นอีก ๕ ไม่ถือนิสัยแล้ว ไม่ควรอยู่ คือ

๑. ไม่รู้ปวารณา ๒. ไม่รู้ปวารณากรรม
๓. ไม่รู้ปาติโมกข์ ๔. ไม่รู้ปาติโมกขุทเทส
๕. มีพรรษาหย่อน ๕

ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ ไม่ถือนิสัยแล้ว ควรอยู่ได้ คือ

๑. รู้ปวารณา ๒. รู้ปวารณากรรม
๓. รู้ปาติโมกข์ ๔. รู้ปาติโมกขุทเทส
๕. มีพรรษาครบ ๕ หรือมีพรรษาเกิน ๕

ภิกษุผู้ประกอบแม้ด้วยองค์อื่นอีก ๕ ไม่ถือนิสัยแล้ว ไม่ควรอยู่ คือ
๑. ไม่รู้อาบัติและอนาบัติ
๒. ไม่รู้อาบัติเบาและอาบัติหนัก
๓. ไม่รู้อาบัติมีส่วนเหลือและอาบัติไม่มีส่วนเหลือ
๔. ไม่รู้อาบัติชั่วหยาบและอาบัติไม่ชั่วหยาบ
๕. มีพรรษาหย่อน ๕
ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ ไม่ถือนิสัยแล้ว ควรอยู่ได้ คือ
๑. รู้อาบัติและอนาบัติ
๒. รู้อาบัติเบาและอาบัติหนัก
๓. รู้อาบัติมีส่วนเหลือและอาบัติไม่มีส่วนเหลือ
๔. รู้อาบัติชั่วหยาบและอาบัติไม่ชั่วหยาบ
๕. มีพรรษาครบ ๕ หรือมีพรรษาเกิน ๕
ภิกษุณีประกอบด้วยองค์ ๕ ไม่ถือนิสัยแล้ว ไม่ควรอยู่ คือ

๑. ไม่รู้อุโบสถ ๒. ไม่รู้อุโบสถกรรม
๓. ไม่รู้ปาติโมกข์ ๔. ไม่รู้ปาติโมกขุทเทส
๕. มีพรรษาหย่อน ๕


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๔๗๒ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [เอกุตตริกนัย] ๕. ปัญจกวาร
ภิกษุณีประกอบด้วยองค์ ๕ ไม่ถือนิสัยแล้ว ควรอยู่ได้ คือ

๑. รู้อุโบสถ ๒. รู้อุโบสถกรรม
๓. รู้ปาติโมกข์ ๔. รู้ปาติโมกขุทเทส
๕. มีพรรษาครบ ๕ หรือมีพรรษาเกิน ๕

ภิกษุณีประกอบแม้ด้วยองค์อื่นอีก ๕ ไม่ถือนิสัยแล้ว ไม่ควรอยู่ คือ

๑. ไม่รู้ปวารณา ๒. ไม่รู้ปวารณากรรม
๓. ไม่รู้ปาติโมกข์ ๔. ไม่รู้ปาติโมกขุทเทส
๕. มีพรรษาหย่อน ๕

ภิกษุณีประกอบด้วยองค์ ๕ ไม่ถือนิสัยแล้ว ควรอยู่ได้ คือ

๑. รู้ปวารณา ๒. รู้ปวารณากรรม
๓. รู้ปาติโมกข์ ๔. รู้ปาติโมกขุทเทส
๕. มีพรรษาครบ ๕ หรือมีพรรษาเกิน ๕

ภิกษุณีประกอบแม้ด้วยองค์อื่นอีก ๕ ไม่ถือนิสัยแล้ว ไม่ควรอยู่ คือ
๑. ไม่รู้อาบัติและอนาบัติ
๒. ไม่รู้อาบัติเบาและอาบัติหนัก
๓. ไม่รู้อาบัติมีส่วนเหลือและอาบัติไม่มีส่วนเหลือ
๔. ไม่รู้อาบัติชั่วหยาบและอาบัติไม่ชั่วหยาบ
๕. มีพรรษาหย่อน ๕
ภิกษุณีประกอบด้วยองค์ ๕ ไม่ถือนิสัยแล้ว ควรอยู่ได้ คือ
๑. รู้อาบัติและอนาบัติ
๒. รู้อาบัติเบาและอาบัติหนัก
๓. รู้อาบัติมีส่วนเหลือและอาบัติไม่มีส่วนเหลือ
๔. รู้อาบัติชั่วหยาบและอาบัติไม่ชั่วหยาบ
๕. มีพรรษาครบ ๕ หรือมีพรรษาเกิน ๕

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๔๗๓ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [เอกุตตริกนัย] ๕. ปัญจกวาร
ว่าด้วยโทษในกรรมไม่น่าเลื่อมใส เป็นต้น
กรรมที่ไม่น่าเลื่อมใสมีโทษ ๕ อย่าง คือ
๑. ตนเองก็ติเตียนตน
๒. ผู้รู้ทั้งหลายใคร่ครวญแล้วก็ติเตียน
๓. กิตติศัพท์อันชั่วย่อมขจรไป
๔. หลงลืมสติตาย
๕. หลังจากตายแล้ว ย่อมไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก
กรรมที่น่าเลื่อมใสมีอานิสงส์ ๕ อย่าง คือ
๑. ตนเองก็ไม่ติเตียนตน
๒. ผู้รู้ทั้งหลายใคร่ครวญแล้วก็สรรเสริญ
๓. กิตติศัพท์อันดีย่อมขจรไป
๔. ไม่หลงลืมสติตาย
๕. หลังจากตายแล้ว ย่อมไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์
กรรมที่ไม่น่าเลื่อมใสมีโทษแม้อื่นอีก ๕ อย่าง คือ
๑. ผู้ที่ยังไม่เลื่อมใสย่อมไม่เลื่อมใส
๒. บางพวกที่เลื่อมใสแล้วกลับแปรเป็นอื่นไป
๓. ไม่เป็นอันทำตามคำสอนพระศาสดา
๔. ชนรุ่นหลังย่อมไม่ยึดถือเป็นแบบอย่าง
๕. จิตของเขาไม่เลื่อมใส
กรรมที่น่าเลื่อมใสมีอานิสงส์ ๕ อย่าง คือ
๑. ผู้ที่ยังไม่เลื่อมใสย่อมเลื่อมใส
๒. ผู้ที่เลื่อมใสแล้วย่อมเลื่อมใสยิ่งขึ้นไป
๓. เป็นอันทำตามคำสอนพระศาสดา
๔. ชนรุ่งหลัง ย่อมยึดถือเป็นแบบอย่าง
๕. จิตของเขาย่อมเลื่อมใส

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๔๗๔ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [เอกุตตริกนัย] ๕. ปัญจกวาร
ภิกษุผู้เข้าไปสู่ตระกูลมีโทษ ๕ อย่าง คือ
๑. ต้องอาบัติเพราะเที่ยวไปไม่บอกลา
๒. ต้องอาบัติเพราะนั่งในที่ลับ
๓. ต้องอาบัติเพราะอาสนะกำบัง
๔. แสดงธรรมแก่มาตุคามเกิน ๕-๖ คำต้องอาบัติ
๕. เป็นผู้มากด้วยความดำริในกามอยู่
ภิกษุผู้เข้าไปสู่ตระกูล คลุกคลีอยู่ในตระกูลเกินเวลา มีโทษ ๕ อย่าง คือ
๑. พบมาตุคามเป็นประจำ
๒. เมื่อมีการพบก็มีการเกี่ยวข้อง
๓. เมื่อมีการเกี่ยวข้องก็มีความสนิทสนม
๔. เมื่อมีความสนิทสนมก็มีจิตกำหนัด
๕. เมื่อมีจิตกำหนัดก็เป็นอันหวังข้อนี้ได้ คือ เธอจักไม่ยินดีประพฤติ
พรหมจรรย์ จักต้องอาบัติที่เศร้าหมองอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือจัก
บอกลาสิกขาเพื่อเป็นคฤหัสถ์

ว่าด้วยพืชและผลไม้
พืชพันธุ์มี ๕ ชนิด คือ

๑. พืชพันธุ์เกิดจากเหง้า ๒. พืชพันธุ์เกิดจากลำต้น
๓. พืชพันธุ์เกิดจากตา ๔. พืชพันธุ์เกิดจากยอด
๕. พืชพันธุ์เกิดจากเมล็ด

ผลไม้ที่ควรบริโภคด้วยวิธีอันควรแก่สมณะ มี ๕ คือ

๑. ผลไม้ที่ลนไฟ ๒. ผลไม้ที่กรีดด้วยศัสตรา
๓. ผลไม้ที่จิกด้วยเล็บ ๔. ผลไม้ที่ไม่มีเมล็ด
๕. ผลไม้ที่ปล้อนเอาเมล็ดออกแล้ว


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๔๗๕ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [เอกุตตริกนัย] ๕. ปัญจกวาร
ว่าด้วยวิสุทธิ ๕
วิสุทธิมี ๕ แบบ คือ
๑. ยกนิทานขึ้นแสดงจบแล้ว พึงสวดอุทเทสที่เหลือด้วยสุตบท นี้เป็น
วิสุทธิแบบที่ ๑
๒. ยกนิทานขึ้นแสดง ยกปาราชิก ๔ ขึ้นแสดงจบแล้วพึงสวดอุทเทส
ที่เหลือด้วยสุตบท นี้เป็นวิสุทธิแบบที่ ๒
๓. ยกนิทานขึ้นแสดง ยกปาราชิก ๔ ขึ้นแสดง ยกสังฆาทิเสส ๑๓ ขึ้น
แสดงจบแล้วพึงสวดอุทเทสที่เหลือด้วยสุตบท นี้เป็นวิสุทธิแบบที่ ๓
๔. ยกนิทานขึ้นแสดง ยกปาราชิก ๔ ขึ้นแสดง ยกสังฆาทิเสส ๑๓
ขึ้นแสดง ยกอนิยต ๒ ขึ้นแสดงจบแล้ว พึงสวดอุทเทสที่เหลือ
ด้วยสุตบท นี้เป็นวิสุทธิแบบที่ ๔
๕. ยกขึ้นแสดงโดยพิสดารทั้งหมด เป็นวิสุทธิแบบที่ ๕
วิสุทธิแม้อื่นอีกมี ๕ แบบ คือ

๑. สุตตุทเทสอุโบสถ ๒. ปาริสุทธิอุโบสถ
๓. อธิษฐานอุโบสถ ๔. สามัคคีอุโบสถ
๕. ปวารณา

ว่าด้วยอานิสงส์การทรงวินัย เป็นต้น
การทรงวินัยมีอานิสงส์ ๕ อย่าง คือ
๑. เป็นอันคุ้มครองรักษากองศีลของตนไว้ดีแล้ว
๒. ผู้ที่ถูกความรังเกียจครอบงำย่อมหวนระลึกได้
๓. กล้าพูดในท่ามกลางสงฆ์
๔. ข่มด้วยดีซึ่งข้าศึกโดยสหธรรม
๕. เป็นผู้ปฏิบัติเพื่อความตั้งมั่นแห่งพระสัทธรรม
การงดปาติโมกข์ไม่ชอบธรรมมี ๕ อย่าง
การงดปาติโมกข์ชอบธรรมมี ๕ อย่าง
ปัญจกวาร จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๔๗๖ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [เอกุตตริกนัย] หัวข้อประจำวาร
หัวข้อประจำวาร
อาบัติ กองอาบัติ วินีตวัตถุ อนันตริยกรรม บุคคลที่แน่นอน
อาบัติมีการตัดเป็นวินัยกรรม ต้องอาบัติด้วยอาการ ๕
ต้องอาบัติเพราะมุสาวาทเป็นปัจจัย ภิกษุไม่เข้ากรรม
ภิกษุเข้ากรรม กิจที่ควร ภิกษุถูกระแวง น้ำมัน มันเหลว
ความเสื่อม ความถึงพร้อม นิสัยระงับ บุคคลไม่ควรให้อุปสมบท
ผ้าตกที่ป่าช้า ผ้าที่โคกัด การลัก โจร
สิ่งของไม่ควรจ่าย สิ่งของไม่ควรแบ่ง อาบัติที่เกิดทางกาย
เกิดทางกายกับวาจา อาบัติเป็นเทสนาคามินี สงฆ์
ปาติโมกขุทเทส ปัจจันตชนบท อานิสงส์กฐิน
กรรม อาบัติจนกระทั่งสงฆ์สวดสมนุภาสน์ครบ ๓ ครั้ง
ปาราชิก ถุลลัจจัย ทุกกฏ อกัปปิยวัตถุ กัปปิยวัตถุ
สิ่งที่ให้แล้วไม่เป็นบุญ สิ่งที่บรรเทาได้ยาก การกวาด
การกวาดอย่างอื่นอีก ถ้อยคำ อาบัติ อธิกรณ์ วัตถุ ญัตติ
อาบัติและอนาบัติ ปาติโมกข์ทั้ง ๒ อาบัติเบา
จงทราบฝ่ายดำและฝ่ายขาวดังข้างต้นนี้
ภิกษุถืออยู่ป่า ถือเที่ยวบิณฑบาต ถือผ้าบังสุกุล
ถืออยู่โคนไม้ ถืออยู่ป่าช้า ถืออยู่กลางแจ้ง ถือผ้า ๓ ผืน
ถือเที่ยวบิณฑบาตตามลำดับ ถือการนั่ง
ถืออยู่ในเสนาสนะตามที่จัดไว้ ถือนั่งฉัน ณ อาสนะแห่งเดียว
ถือการห้ามภัตรที่ถวายทีหลัง ถือฉันข้าวเฉพาะในบาตร
อุโบสถ ปวารณา อาบัติและอนาบัติ
บทฝ่ายดำและฝ่ายขาวดังข้างต้นนี้สำหรับภิกษุณีก็เหมือนกัน
กรรมที่ไม่น่าเลื่อมใส กรรมที่น่าเลื่อมใส
กรรมที่ไม่น่าเลื่อมใสและน่าเลื่อมใสอื่นอีก ๒ อย่าง
ภิกษุเข้าไปสู่สกุลคลุกคลีอยู่เกินเวลา พืชพันธุ์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๔๗๗ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [เอกุตตริกนัย] ๖.ฉักกวาร
ผลไม้ควรแก่สมณะ วิสุทธิ วิสุทธิแม้อื่นอีก
อานิสงส์การทรงพระวินัย การงดปาติโมกข์ไม่ชอบธรรม
การงดปาติโมกข์ชอบธรรม
๕ หมวดล้วนที่กล่าวแล้ว จบ

๖. ฉักกวาร
ว่าด้วยหมวด ๖
[๓๒๖] อคารวะมี ๖ คารวะมี ๖ วินีตวัตถุมี ๖ สามีจิกรรมมี ๖ สมุฏฐาน
แห่งอาบัติมี ๖ อาบัติมีการตัดเป็นวินัยกรรมมี ๖ ภิกษุต้องอาบัติด้วยอาการ ๖ การ
ทรงวินัยมีอานิสงส์ ๖ สิกขาบทที่ว่าด้วยอย่างยิ่งมี ๖ ภิกษุอยู่ปราศจากไตรจีวร ๖
ราตรี จีวรมี ๖ ชนิด น้ำย้อมมี ๖ ชนิด อาบัติเกิดทางกายกับจิต มิใช่เกิดทาง
วาจามี ๖ อาบัติเกิดทางวาจากับจิต มิใช่เกิดทางกายมี ๖ อาบัติเกิดทางกายวาจา
กับจิตมี ๖ กรรมมี ๖ มูลเหตุแห่งวิวาทมี ๖ มูลเหตุแห่งอนุวาทมี ๖ สาราณียธรรม
มี ๖ ผ้าอาบน้ำฝนยาว ๖ คืบพระสุคต จีวรกว้าง ๖ คืบพระสุคต นิสัยระงับจาก
พระอาจารย์มี ๖ อนุบัญญัติในการอาบน้ำมี ๖ ภิกษุถือเอาจีวรที่ทำค้างไว้หลีกไป
เก็บเอาจีวรที่ทำค้างไว้หลีกไป

องค์ ๖ แห่งพระอุปัชฌาย์
ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๖ พึงให้กุลบุตรอุปสมบท พึงให้นิสัย พึงใช้สามเณร
อุปัฏฐาก คือ
๑. ประกอบด้วยสีลขันธ์อันเป็นอเสขะ
๒. ประกอบด้วยสมาธิขันธ์อันเป็นอเสขะ
๓. ประกอบด้วยปัญญาขันธ์อันเป็นอเสขะ
๔. ประกอบด้วยวิมุตติขันธ์อันเป็นอเสขะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๔๗๘ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [เอกุตตริกนัย] ๖.ฉักกวาร
๕. ประกอบด้วยวิมุตติญาณทัสสนขันธ์๑อันเป็นอเสขะ๒
๖. มีพรรษาครบ ๑๐ หรือมีพรรษาเกิน ๑๐
ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๖ แม้อีกอย่าง ก็พึงให้กุลบุตรอุปสมบท พึงให้นิสัย
พึงใช้สามเณรอุปัฏฐาก คือ
๑. ตนเองประกอบด้วยสีลขันธ์อันเป็นอเสขะ และชักชวนผู้อื่นในสีลขันธ์
อันเป็นอเสขะ
๒. ตนเองประกอบด้วยสมาธิขันธ์อันเป็นอเสขะ และชักชวนผู้อื่นใน
สมาธิขันธ์อันเป็นอเสขะ
๓. ตนเองประกอบด้วยปัญญาขันธ์อันเป็นอเสขะ และชักชวนผู้อื่นใน
ปัญญาขันธ์อันเป็นอเสขะ
๔. ตนเองประกอบด้วยวิมุตติขันธ์อันเป็นอเสขะ และชักชวนผู้อื่นในวิมุตติ
ขันธ์อันเป็นอเสขะ
๕. ตนเองประกอบด้วยวิมุตติญาณทัสสนขันธ์อันเป็นอเสขะ และชักชวน
ผู้อื่นในวิมุตติญาณทัสสนขันธ์อันเป็นอเสขะ
๖. เป็นผู้มีพรรษาครบ ๑๐ หรือมีพรรษาเกิน ๑๐
ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๖ แม้อีกอย่าง ก็พึงให้อุปสมบท พึงให้นิสัย พึงใช้
สามเณรอุปัฏฐาก คือ

๑. เป็นผู้มีศรัทธา ๒. เป็นผู้มีหิริ
๓. เป็นผู้มีโอตตัปปะ ๔. เป็นผู้ปรารภความเพียร
๕. เป็นผู้มีสติตั้งมั่น ๖. เป็นผู้มีพรรษาครบ ๑๐ หรือมี
พรรษาเกิน ๑๐


เชิงอรรถ :
๑ วิมุตติญาณทัสสนขันธ์ ดูรายละเอียดใน องฺ.ปญฺจก. (แปล) ๒๒/๒๕๑/๓๙๒
๒ องฺ.ปญฺจก. (แปล) ๒๒/๒๕๑/๓๙๒

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๔๗๙ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [เอกุตตริกนัย] ๖.ฉักกวาร
ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๖ แม้อื่นอีก ก็พึงให้กุลบุตรอุปสมบท พึงให้นิสัย
พึงใช้สามเณรอุปัฏฐาก คือ

๑. เป็นผู้ไม่มีสีลวิบัติในอธิศีล ๒. เป็นผู้ไม่มีอาจารวิบัติในอัชฌาจาร
๓. เป็นผู้ไม่มีทิฏฐิวิบัติในอติทิฏฐิ ๔. เป็นพหูสูต
๕. เป็นผู้มีปัญญา ๖. เป็นผู้มีพรรษาครบ ๑๐ หรือมี
พรรษาเกิน ๑๐

ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๖ แม้อื่นอีก ก็พึงให้อุปสมบท พึงให้นิสัย พึงใช้
สามเณรอุปัฏฐาก คือ
๑. สามารถพยาบาลเองหรือใช้ให้ผู้อื่นพยาบาลอันเตวาสิกหรือสัทธิวิหาริก
ผู้เป็นไข้
๒. สามารถระงับเองหรือใช้ให้ผู้อื่นช่วยระงับความกระสัน
๓. สามารถบรรเทาเองหรือใช้ให้ผู้อื่นช่วยบรรเทาความเบื่อหน่ายที่เกิดขึ้น
โดยธรรม
๔. รู้จักอาบัติ
๕. รู้จักวิธีออกจากอาบัติ
๖. มีพรรษาครบ ๑๐ หรือมีพรรษาเกิน ๑๐
ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๖ แม้อื่นอีก ก็พึงให้อุปสมบท พึงให้นิสัย พึงใช้
สามเณรอุปัฏฐาก คือ
๑. สามารถฝึกปรืออันเตวาสิกหรือสัทธิวิหาริกในอภิสมาจาริกาสิกขา
๒. สามารถแนะนำในอาทิพรหมจาริกาสิกขา
๓. สามารถแนะนำในอภิธรรม
๔. สามารถแนะนำในอภิวินัย
๕. สามารถเปลื้องความเห็นผิดอันเกิดขึ้นโดยธรรม
๖. มีพรรษาครบ ๑๐ หรือมีพรรษาเกิน ๑๐

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๔๘๐ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [เอกุตตริกนัย] หัวข้อประจำวาร
ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๖ แม้อื่นอีก ก็พึงให้กุลบุตรอุปสมบท พึงให้นิสัย
พึงใช้สามเณรอุปัฏฐาก คือ
๑. รู้อาบัติ ๒. รู้อนาบัติ
๓. รู้อาบัติเบา ๔. รู้อาบัติหนัก
๕. จำปาติโมกข์ทั้ง ๒ โดยพิสดารได้ดี จำแนกได้ดี คล่องแคล่วดี
วินิจฉัยโดยสุตตะ โดยอนุพยัญชนะได้ดี
๖. เป็นผู้มีพรรษาครบ ๑๐ หรือมีพรรษาเกิน ๑๐

ว่าด้วยการงดปาติโมกข์
การงดพระปาติโมกข์ไม่ชอบธรรมมี ๖ อย่าง การงดพระปาติโมกข์ชอบธรรม
มี ๖ อย่าง
ฉักกวาร จบ

หัวข้อประจำวาร
อคารวะ คารวะ วินีตวัตถุ สามีจิกรรม สมุฏฐานแห่งอาบัติ
อาบัติมีการตัดเป็นวินัยกรรม อาการที่ต้องอาบัติ
อานิสงส์การทรงวินัย สิกขาบทที่ว่าด้วยอย่างยิ่ง
ภิกษุอยู่ปราศจากไตรจีวร ๖ ราตรี จีวร น้ำย้อม
อาบัติเกิดทางกายกับจิต ทางวาจากับจิต ทางกายวาจากับจิต
กรรม มูลเหตุแห่งวิวาท มูลเหตุแห่งการโจท ผ้าอาบน้ำฝนยาว จีวรกว้าง
นิสัยระงับ อนุบัญญัติในการอาบน้ำ ถือเอาจีวรที่ทำค้างหลีกไป
เก็บเอาจีวรที่ทำค้างหลีกไป ประกอบด้วยสีลขันธ์เป็นอเสขะ
ชักชวนผู้อื่นให้สมาทานในสีลขันธ์เป็นอเสขะ มีศรัทธา
ผู้มีสีลวิบัติในอธิศีล ภิกษุผู้สามารถพยาบาล ฝึกปรือในอภิสมาจาร
รู้อาบัติ การงดปาติโมกข์ไม่ชอบธรรม การงดปาติโมกข์ชอบธรรม

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๔๘๑ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [เอกุตตริกนัย] ๗. สัตตกวาร
๗. สัตตกวาร
ว่าด้วยหมวด ๗
[๓๒๗] อาบัติมี ๗ กองอาบัติมี ๗ วินีตวัตถุมี ๗ สามีจิกรรมมี ๗ ทำตาม
ปฏิญญาไม่ชอบธรรมมี ๗ ทำตามปฏิญญาชอบธรรมมี ๗ บุคคล ๗ จำพวก
ภิกษุไปด้วยสัตตาหกรณียะไม่ต้องอาบัติ ทรงวินัยมีอานิสงส์ ๗ สิกขาบทที่ว่าด้วย
อย่างยิ่งมี ๗ เพราะอรุณขึ้นไปสิ่งของเป็นนิสสัคคีย์มี ๗ สมถะมี ๗ กรรมมี ๗
ข้าวเปลือกดิบมี ๗ สร้างกุฎีด้านกว้างภายใน ๗ คืบ คณโภชนะมีอนุบัญญัติ ๗
ภิกษุรับประเคนเภสัชแล้วเก็บไว้ฉันได้ ๗ วันเป็นอย่างยิ่ง ภิกษุถือเอาจีวรที่ทำเสร็จ
แล้วหลบหนีไป เก็บจีวรที่ทำเสร็จแล้วหลบหนีไป ภิกษุไม่เห็นอาบัติ ภิกษุเห็นอาบัติ
ภิกษุทำคืนอาบัติ การงดปาติโมกข์ไม่ชอบธรรมมี ๗ การงดปาติโมกข์ชอบธรรมมี ๗

ว่าด้วยองค์ของพระวินัยธร๑
ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๗ เป็นพระวินัยธรได้ คือ

๑. รู้อาบัติ ๒. รู้อนาบัติ
๓. รู้อาบัติเบา ๔. รู้อาบัติหนัก

๕. มีศีล สำรวมด้วยการสังวรในปาติโมกข์ เพียบพร้อมด้วยอาจาระ
และโคจร มีปกติเห็นภัยในโทษแม้เล็กน้อย สมาทานศึกษาอยู่ใน
สิกขาบททั้งหลาย
๖. ได้ฌาน ๔ อันมีในจิตยิ่ง ซึ่งเป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน ตาม
ความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ได้โดยไม่ลำบาก
๗. ทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันไม่มีอาสวะ เพราะอาสวะ
สิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเอง เข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน

เชิงอรรถ :
๑ องฺ.สตฺตก. (แปล) ๒๓/๗๕-๘๒/๑๗๑-๑๗๘

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๔๘๒ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [เอกุตตริกนัย] ๗. สัตตกวาร
ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๗ แม้อื่นอีก เป็นพระวินัยธรได้ คือ

๑. รู้อาบัติ ๒. รู้อนาบัติ
๓. รู้อาบัติเบา ๔. รู้อาบัติหนัก

๕. เป็นพหูสูต ทรงสุตะ มีการสั่งสมสุตะ เธอได้สดับมาก ทรงจำได้
แม่นยำ คล่องปาก ขึ้นใจ รู้ชัดด้วยปัญญาซึ่งธรรมงามในเบื้องต้น
งามในท่ามกลาง งามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถ
พร้อมทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์บริบูรณ์ครบถ้วน
๖. ได้ฌาน ๔ อันมีในจิตยิ่ง ซึ่งเป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน ตาม
ความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ได้โดยไม่ลำบาก
๗. ทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันไม่มีอาสวะ เพราะอาสวะ
สิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเอง เข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน
ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๗ แม้อื่นอีก เป็นพระวินัยธรได้ คือ

๑. รู้อาบัติ ๒. รู้อนาบัติ
๓. รู้อาบัติเบา ๔. รู้อาบัติหนัก

๕. จำปาติโมกข์ทั้ง ๒ โดยพิสดารได้ดี จำแนกได้ดี คล่องแคล่วดี
วินิจฉัยโดยสุตตะ โดยอนุพยัญชนะได้ดี
๖. ได้ฌาน ๔ อันมีในจิตยิ่ง ซึ่งเป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน ตาม
ความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ได้โดยไม่ลำบาก
๗. ทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันไม่มีอาสวะ เพราะอาสวะ
สิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเอง เข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน
ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๗ แม้อื่นอีก เป็นพระวินัยธรได้ คือ

๑. รู้อาบัติ ๒. รู้อนาบัติ
๓. รู้อาบัติเบา ๔. รู้อาบัติหนัก

๕. ระลึกชาติก่อนได้หลายชาติ คือ ๑ ชาติบ้าง ๒ ชาติบ้าง ๓ ชาติ
บ้าง ๔ ชาติบ้าง ๕ ชาติบ้าง ๑๐ ชาติบ้าง ๒๐ ชาติบ้าง ๓๐

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๔๘๓ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [เอกุตตริกนัย] ๗. สัตตกวาร
ชาติบ้าง ๔๐ ชาติบ้าง ๕๐ ชาติบ้าง ๑๐๐ ชาติบ้าง ๑,๐๐๐
ชาติบ้าง ๑๐๐,๐๐๐ ชาติบ้าง ตลอดสังวัฏฏกัปบ้าง ตลอดวิวัฏฏ
กัปบ้าง ตลอดสังวัฏฏกัปวิวัฏฏกัปบ้าง หลายกัปบ้าง ว่าในภพโน้น
เรามีชื่ออย่างนั้น มีตระกูลอย่างนี้ มีวรรณะอย่างนั้น ๆ มีอาหาร
เสวยสุขทุกข์ มีกำหนดอายุอย่างนั้น ๆ จุติจากภพนั้นไปเกิดในภพ
โน้น มีชื่อ มีโคตร มีผิว มีอาหาร เสวยสุขทุกข์ มีกำหนดอายุ
อย่างนั้น ๆ จุติจากภพนั้นมาเกิดในภพนี้ ย่อมระลึกถึงชาติก่อน
ได้หลายชาติ พร้อมทั้งลักษณะและชีวประวัติด้วยประการฉะนี้
๖. เห็นหมู่สัตว์ผู้กำลังจุติ กำลังอุบัติ ทั้งชั้นต่ำทั้งชั้นสูง งามและไม่งาม
เกิดดีและไม่ดี ด้วยตาทิพย์อันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์ ย่อมรู้ชัดซึ่ง
หมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรมว่า สัตว์ที่ประกอบด้วยกายทุจริต วจี
ทุจริต มโนทุจริต กล่าวร้ายพระอริยะ มีความเห็นผิดและชักชวน
ผู้อื่นให้ทำกรรมตามความเห็นผิด สัตว์เหล่านั้นหลังจากตายแล้วไป
บังเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก แต่หมู่สัตว์ที่ประกอบด้วย
กายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริตไม่กล่าวร้ายพระอริยะ มีความเห็น
ชอบ ชักชวนผู้อื่นให้ทำกรรมตามความเห็นชอบ สัตว์เหล่านั้นหลังจาก
ตายแล้วไปบังเกิดในสุคติโลกสวรรค์ ย่อมเห็นหมู่สัตว์ผู้กำลังจุติ
กำลังอุบัติ ทั้งชั้นต่ำทั้งชั้นสูง งามและไม่งาม เกิดดีและไม่ดี ด้วย
ตาทิพย์อันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์ ย่อมรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตาม
กรรมด้วยประการฉะนี้
๗. ทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันไม่มีอาสวะ เพราะอาสวะ
สิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเอง เข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน
พระวินัยธรประกอบด้วยองค์ ๗ ย่อมงาม คือ

๑. รู้อาบัติ ๒. รู้อนาบัติ
๓. รู้อาบัติเบา ๔. รู้อาบัติหนัก

๕. มีศีล ฯลฯ สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๔๘๔ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [เอกุตตริกนัย] ๗. สัตตกวาร
๖. ได้ฌาน ๔ อันมีในจิตยิ่ง ซึ่งเป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน ตาม
ความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ได้โดยไม่ลำบาก
๗. ทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันไม่มีอาสวะ เพราะอาสวะ
สิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเอง เข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน
พระวินัยธรประกอบด้วยองค์ ๗ แม้อื่นอีก ย่อมงาม คือ

๑. รู้อาบัติ ๒. รู้อนาบัติ
๓. รู้อาบัติเบา ๔. รู้อาบัติหนัก

๕. เป็นพหูสูต ฯลฯ บริสุทธิ์บริบูรณ์ครบถ้วน
๖. ได้ฌาน ๔ อันมีในจิตยิ่ง ซึ่งเป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน ตาม
ความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ได้โดยไม่ลำบาก
๗. ทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันไม่มีอาสวะ เพราะ
อาสวะสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเอง เข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน
พระวินัยธรประกอบด้วยองค์ ๗ แม้อื่นอีก ย่อมงาม คือ

๑. รู้อาบัติ ๒. รู้อนาบัติ
๓. รู้อาบัติเบา ๔. รู้อาบัติหนัก

๕. จำปาติโมกข์ทั้ง ๒ โดยพิสดารได้ดี จำแนกได้ดี คล่องแคล่วดี
วินิจฉัยโดยสุตตะ โดยอนุพยัญชนะได้ดี
๖. ได้ฌาน ๔ อันมีในจิตยิ่ง ซึ่งเป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน ตาม
ความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ได้โดยไม่ลำบาก
๗. ทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันไม่มีอาสวะ เพราะ
อาสวะสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเอง เข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน
พระวินัยธรประกอบด้วยองค์ ๗ แม้อื่นอีก ย่อมงาม คือ

๑. รู้อาบัติ ๒. รู้อนาบัติ
๓. รู้อาบัติเบา ๔. รู้อาบัติหนัก


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๔๘๕ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [เอกุตตริกนัย] ๘. อัฏฐกวาร
๕. ระลึกชาติก่อนได้หลายชาติ ฯลฯ ย่อมเห็นหมู่สัตว์ผู้กำลังจุติ กำลัง
อุบัติ ทั้งชั้นต่ำและชั้นสูง งามและไม่งาม เกิดดีและไม่ดีด้วยตาทิพย์
อันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์ ย่อมรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรม ฯลฯ
๖. ได้ฌาน ๔ อันมีในจิตยิ่ง ซึ่งเป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน
ตามความปรารถนาได้โดยไม่ยาก ได้โดยไม่ลำบาก
๗. ทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันไม่มีอาสวะ เพราะอาสวะ
สิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเอง เข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน

ว่าด้วยอสัทธรรมและสัทธรรม
อสัทธรรมมี ๗ ประการ คือ

๑. ไม่มีศรัทธา ๒. ไม่มีหิริ(ความละอายบาป)
๓. ไม่มีโอตตัปปะ ๔. ได้ยินได้ฟังมาน้อย
(ความเกรงกลัวบาป)
๕. เกียจคร้าน ๖. หลงลืมสติ
๗. มีปัญญาเขลา

สัทธรรมมี ๗ ประการ คือ

๑. มีศรัทธา ๒. มีหิริ
๓. มีโอตตัปปะ ๔. เป็นพหูสูต(ได้ยินได้ฟังมามาก)
๕. ปรารภความเพียร ๖. มีสติตั้งมั่น
๗. มีปัญญา

สัตตกวาร จบ

หัวข้อประจำวาร
อาบัติ กองอาบัติ วินีตวัตถุ สามีจิกรรม
ทำตามปฏิญญาไม่ชอบธรรม ทำตามปฏิญญาชอบธรรม
ไปด้วยสัตตาหกรณียะไม่ต้องอาบัติ อานิสงส์การทรงวินัย
สิกขาบทที่ว่าด้วยอย่างยิ่ง อรุณขึ้น สิ่งของเป็นนิสสัคคีย์
สมถะ กรรม ข้าวเปลือกดิบ สร้างกุฎีด้านกว้าง
คณโภชนะ เก็บเภสัชไว้ได้เจ็ดวันเป็นอย่างยิ่ง
ภิกษุถือเอาจีวรไป เก็บจีวรแล้วหลีกไป

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๔๘๖ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [เอกุตตริกนัย] ๘. อัฏฐกวาร
ภิกษุไม่เห็นอาบัติ เห็นอาบัติ ทำคืนอาบัติ การงดปาติโมกข์
ไม่ชอบธรรม การงดปาติโมกข์ชอบธรรม องค์ของวินัยธร ๔ หมวด
พระวินัยธรงาม ๔ หมวด อสัทธรรม ๗ อย่าง
สัทธรรม ๗ อย่าง พระผู้มีพระภาคทรงแสดงไว้แล้วแล

๘. อัฏฐกวาร
ว่าด้วยหมวด ๘
[๓๒๘] ภิกษุเมื่อพิจารณาเห็นอานิสงส์ ๘ ไม่พึงลงอุกเขปนียกรรมภิกษุนั้น
เพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติ ภิกษุเมื่อพิจารณาเห็นอานิสงส์ ๘ พึงแสดงอาบัตินั้น
เพราะเชื่อผู้อื่น อาบัติสังฆาทิเสส เป็นยาวตติยกะมี ๘ ประจบตระกูลด้วยอาการ ๘
จีวรเกิดขึ้นมีมาติกา ๘ กฐินเดาะมีมาติกา ๘ น้ำปานะมี ๘ ชนิด พระเทวทัตมีจิต
ถูกอสัทธรรม ๘ อย่างครอบงำย่ำยี จึงไปเกิดในอบาย ตกนรกชั่วกัป แก้ไขไม่ได้
โลกธรรมมี ๘ ครุธรรมมี ๘ อาบัติปาฏิเทสนียะมี ๘ มุสาวาทมี ๘ องค์อุโบสถมี
๘ องค์แห่งทูตมี ๘ วัตรแห่งเดียรถีย์มี ๘ อัจฉริยอัพภูตธรรมในมหาสมุทรมี ๘
อัจฉริยอัพภูตธรรมในพระธรรมวินัยนี้มี ๘ ภัตตาหารที่ไม่เป็นเดนมี ๘ ภัตตาหารที่
เป็นเดนมี ๘ เภสัชเป็นนิสสัคคีย์เมื่อรุ่งอรุณมี ๘ ปาราชิกมี ๘ ภิกษุณีทำวัตถุ
ครบทั้ง ๘ สงฆ์พึงให้นาสนะเสีย ภิกษุณีทำวัตถุครบทั้ง ๘ แม้แสดงอาบัติแล้วก็ไม่
เป็นอันแสดง อุปสมบทมีวาจา ๘ พึงลุกรับภิกษุณี ๘ จำพวก พึงให้อาสนะแก่ภิกษุณี
๘ จำพวก อุบาสิกาขอพร ๘ ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๘ สงฆ์พึงสมมติให้เป็นผู้
สอนภิกษุณี การทรงวินัยมีอานิสงส์ ๘ สิกขาบทที่ว่าด้วยอย่างยิ่งมี ๘ ภิกษุผู้ถูก
ลงตัสสปาปิยสิกากรรม พึงประพฤติชอบในธรรม ๘ ประการ การงดปาติโมกข์ไม่
ชอบธรรมมี ๘ การงดปาติโมกข์ชอบธรรมมี ๘
อัฏฐกวาร จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๔๘๗ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [เอกุตตริกนัย] ๙. นวกวาร
หัวข้อประจำวาร
เมื่อเห็นอานิสงส์ไม่ลงอุกเขปนียกรรมภิกษุนั้น
พึงแสดงอาบัติเพราะเชื่อผู้อื่น อาบัติสังฆาทิเสสเป็นยาวตติยกะ
การประจบตระกูล มาติกา กฐินเดาะ น้ำปานะ อสัทธรรมครอบงำ
โลกธรรม ครุธรรม อาบัติปาฏิเทสนียะ มุสาวาท อุโบสถ องค์แห่งทูต
วัตรแห่งเดียรถีย์ มหาสมุทร อัพภูตธรรมในพระธรรมวินัย
ภัตตาหารไม่เป็นเดน ภัตตาหารเป็นเดน เภสัชเป็นนิสสัคคีย์
ปาราชิก ภิกษุณีทำวัตถุครบทั้ง ๘ แสดงอาบัติแล้วไม่เป็นอันแสดง
อุปสมบท ลุกรับ ให้อาสนะ พร สมมติให้เป็นผู้สอน
อานิสงส์การทรงวินัย สิกขาบทที่ว่าด้วยอย่างยิ่ง
ประพฤติชอบในธรรม ๘ การงดปาติโมกข์ไม่ชอบธรรม
การงดปาติโมกข์ชอบธรรม
หมวด ๘ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประกาศไว้ดีแล้ว

๙. นวกวาร
ว่าด้วยหมวด ๙
[๓๒๙] อาฆาตวัตถุมี ๙ อุบายกำจัดอาฆาตวัตถุมี ๙ วินีตวัตถุมี ๙ อาบัติ
สังฆาทิเสสเป็นปฐมาปัตติกะมี ๙ สงฆ์แตกกันเพราะภิกษุ ๙ รูป โภชนะอันประณีต
มี ๙ เป็นทุกกฏเพราะมังสะ ๙ ชนิด ปาติโมกขุทเทสมี ๙ สิกขาบทว่าด้วยอย่างยิ่ง
มี ๙ ธรรมมีตัณหาเป็นมูลมี ๙ มานะมี ๙ จีวรที่ควรอธิษฐานมี ๙ จีวรที่ไม่ควร
วิกัปมี ๙ จีวรขนาดพระสุคตยาว ๙ คืบ การให้ไม่ชอบธรรมมี ๙ การรับไม่ชอบ
ธรรมมี ๙ การบริโภคไม่ชอบธรรมมี ๙ การให้ที่ชอบธรรมมี ๙ การรับที่ชอบธรรม
มี ๙ การบริโภคที่ชอบธรรมมี ๙ ข้อตกลงที่ไม่ชอบธรรมมี ๙ ข้อตกลงที่ชอบธรรม
มี ๙ หลักธรรมหมวด ๙ ในกรรมที่ไม่ชอบธรรมมี ๒ หมวด หลักธรรมหมวด ๙
ในกรรมที่ชอบธรรมมี ๒ หมวด การงดปาติโมกข์ไม่ชอบธรรมมี ๙ การงด
ปาติโมกข์ชอบธรรมมี ๙
นวกวาร จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๔๘๘ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [เอกุตตริกนัย] ๑๐. ทสกวาร
หัวข้อประจำวาร
อาฆาตวัตถุ อุบายกำจัด วินีตวัตถุ อาบัติเป็นปฐมาปัตติกะ
สงฆ์แตกกัน โภชนะอันประณีต มังสะ อุทเทส
สิกขาบทที่ว่าด้วยอย่างยิ่ง ตัณหา มานะ อธิษฐาน วิกัป
จีวรขนาดพระสุคต การให้ไม่ชอบธรรม การรับไม่ชอบธรรม
การบริโภคไม่ชอบธรรม การให้รับและบริโภคที่ชอบธรรมอย่างละ ๓
ข้อตกลงที่ไม่ชอบธรรม ข้อตกลงที่ชอบธรรม ๓
ธรรม ๙ หมวด กรรมที่ไม่ชอบธรรม ๒ หมวด
การงดปาติโมกข์ไม่ชอบธรรม การงดปาฏิโมกข์ชอบธรรม

๑๐. ทสกวาร
ว่าด้วยหมวด ๑๐
[๓๓๐] อาฆาตวัตถุมี ๑๐ อุบายกำจัดอาฆาตวัตถุมี ๑๐ วินีตวัตถุมี ๑๐
มิจฉาทิฏฐิมีวัตถุ ๑๐ สัมมาทิฏฐิมีวัตถุ ๑๐ อันตคาหิกทิฏฐิมี ๑๐ มิจฉัตตะ
มี ๑๐ สัมมัตตะมี ๑๐ อกุศลกรรมบถมี ๑๐ กุศลกรรมบถมี ๑๐ จับสลาก
ไม่ชอบธรรมมี ๑๐ จับสลากชอบธรรมมี ๑๐ สิกขาบทสำหรับสามเณรมี ๑๐
สามเณรประกอบด้วงองค์ ๑๐ พึงให้นาสนะ

ว่าด้วยองค์ของพระวินัยธร
พระวินัยธรประกอบด้วยองค์ ๑๐ นับว่าเป็นผู้โง่เขลา คือ
๑. ไม่กำหนดที่สุดถ้อยคำของตน ๒. ไม่กำหนดที่สุดถ้อยคำของผู้อื่น
๓. ไม่กำหนดที่สุดถ้อยคำของตน ๔. ปรับอาบัติโดยไม่ชอบธรรม
ทั้งไม่กำหนดที่สุดถ้อยคำ
ของผู้อื่นแล้วปรับอาบัติ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๔๘๙ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [เอกุตตริกนัย] ๑๐. ทสกวาร

๕. ปรับอาบัติไม่ตามปฏิญญา ๖. ไม่รู้อาบัติ
๗. ไม่รู้มูลของอาบัติ ๘. ไม่รู้เหตุเกิดอาบัติ
๙. ไม่รู้การระงับอาบัติ ๑๐. ไม่รู้ข้อปฏิบัติอันให้ถึงการระงับ
อาบัติ

พระวินัยธรประกอบด้วยองค์ ๑๐ นับว่าเป็นผู้ฉลาด คือ

๑. กำหนดที่สุดถ้อยคำของตน ๒. กำหนดที่สุดถ้อยคำของผู้อื่น
๓. กำหนดที่สุดถ้อยคำของตน ๔. ปรับอาบัติตามธรรม
ทั้งกำหนดที่สุดถ้อยคำ
ของผู้อื่น แล้วปรับอาบัติ
๕. ปรับอาบัติตามปฏิญญา ๖. รู้อาบัติ
๗. รู้มูลของอาบัติ ๘. รู้เหตุเกิดอาบัติ
๙. รู้การระงับอาบัติ ๑๐. รู้ข้อปฏิบัติอันให้ถึงการระงับ
อาบัติ

พระวินัยธรประกอบด้วยองค์ ๑๐ แม้อีกอย่าง ก็นับว่าเป็นผู้โง่เขลา คือ

๑. ไม่รู้อธิกรณ์ ๒. ไม่รู้มูลของอธิกรณ์
๓. ไม่รู้เหตุเกิดอธิกรณ์ ๔. ไม่รู้การระงับอธิกรณ์
๕. ไม่รู้ข้อปฏิบัติอันให้ถึง ๖. ไม่รู้วัตถุ
การระงับอธิกรณ์
๗. ไม่รู้เหตุเค้ามูล ๘. ไม่รู้บัญญัติ
๙. ไม่รู้อนุบัญญัติ ๑๐. ไม่รู้ถ้อยคำแห่งอนุสนธิ

พระวินัยธรประกอบด้วยองค์ ๑๐ นับว่าเป็นผู้ฉลาด คือ

๑. รู้อธิกรณ์ ๒. รู้มูลของอธิกรณ์
๓. รู้เหตุเกิดอธิกรณ์ ๔. รู้การระงับอธิกรณ์
๕. รู้ข้อปฏิบัติอันให้ถึง ๖. รู้วัตถุ
การระงับอธิกรณ์


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๔๙๐ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [เอกุตตริกนัย] ๑๐. ทสกวาร
๗. รู้เหตุเค้ามูล ๘. รู้บัญญัติ
๙. รู้อนุบัญญัติ ๑๐. รู้ถ้อยคำแห่งอนุสนธิ
พระวินัยธรประกอบด้วยองค์ ๑๐ ก็นับว่าเป็นผู้โง่เขลา คือ

๑. ไม่รู้ญัตติ ๒. ไม่รู้การตั้งญัตติ
๓. ไม่ฉลาดในเบื้องต้น ๔. ไม่ฉลาดในเบื้องปลาย
๕. ไม่รู้กาล ๖. ไม่รู้อาบัติและอนาบัติ
๗. ไม่รู้อาบัติเบาและอาบัติหนัก ๘. ไม่รู้อาบัติมีส่วนเหลือและอาบัติ
ไม่มีส่วนเหลือ
๙. ไม่รู้อาบัติชั่วหยาบและอาบัติ ๑๐. ไม่ยึดถือ ไม่ใส่ใจ ไม่ใคร่ครวญ
ไม่ชั่วหยาบ ถ้อยคำที่สืบต่อจากอาจารย์.
ด้วยดี

พระวินัยธรประกอบด้วยองค์ ๑๐ นับว่าเป็นผู้ฉลาด คือ

๑. รู้ญัตติ ๒. รู้การตั้งญัตติ
๓. ฉลาดในเบื้องต้น ๔. ฉลาดในเบื้องปลาย
๕. รู้กาล ๖. รู้อาบัติและอนาบัติ
๗. รู้อาบัติเบาและอาบัติหนัก ๘. รู้อาบัติมีส่วนเหลือและอาบัติ
ไม่มีส่วนเหลือ
๙. รู้อาบัติชั่วหยาบและอาบัติ ๑๐. ยึดถือ ใส่ใจ ใคร่ครวญถ้อย
ไม่ชั่วหยาบ คำที่สืบต่อจากอาจารย์ด้วยดี

พระวินัยธรประกอบด้วยองค์ ๑๐ ก็นับว่าเป็นผู้โง่เขลา คือ

๑. ไม่รู้อาบัติและอนาบัติ ๒. ไม่รู้อาบัติเบาและอาบัติหนัก
๓. ไม่รู้อาบัติมีส่วนเหลือและ ๔. ไม่รู้อาบัติชั่วหยาบและอาบัติ
อาบัติไม่มีส่วนเหลือ ไม่ชั่วหยาบ
๕. จำปาติโมกข์ทั้ง ๒ ๖. ไม่รู้อาบัติและอนาบัติ
โดยพิสดารไม่ดี จำแนกไม่ดี


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๔๙๑ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [เอกุตตริกนัย] ๑๐. ทสกวาร

ไม่คล่องแคล่ว วินิจฉัยโดยสุตตะ
โดยอนุพยัญชนะไม่ดี
๗. ไม่รู้อาบัติเบาและอาบัติหนัก ๘. ไม่รู้อาบัติมีส่วนเหลือและอาบัติ
ไม่มีส่วนเหลือ
๙. ไม่รู้อาบัติชั่วหยาบ ๑๐. ไม่ฉลาดในการวินิจฉัยอธิกรณ์
และอาบัติไม่ชั่วหยาบ

พระวินัยธรประกอบด้วยองค์ ๑๐ นับว่าเป็นผู้ฉลาด คือ

๑. รู้อาบัติและอนาบัติ ๒. รู้อาบัติเบาและอาบัติหนัก
๓. รู้อาบัติมีส่วนเหลือ ๔. รู้อาบัติชั่วหยาบและอาบัติ
และอาบัติไม่มีส่วนเหลือ ไม่ชั่วหยาบ
๕. จำปาติโมกข์ทั้ง ๒ ๖. รู้อาบัติและอนาบัติ
โดยพิสดารได้ จำแนกได้ดี
คล่องแคล่วดี วินิจฉัยโดยสุตตะ
โดยอนุพยัญชนะได้ดี
๗. รู้อาบัติเบาและอาบัติหนัก ๘. รู้อาบัติมีส่วนเหลือและอาบัติ
ไม่มีส่วนเหลือ
๙. รู้อาบัติชั่วหยาบ ๑๐. ฉลาดในการวินิจฉัยอธิกรณ์
และอาบัติไม่ชั่วหยาบ

ว่าด้วยอุพพาหิกาสมมติ๑เป็นต้น
ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๑๐ สงฆ์พึงแต่งตั้งด้วยอุพพาหิกาวิธี พระตถาคตทรง
อาศัยอำนาจประโยชน์ ๑๐ ประการ จึงทรงบัญญัติสิกขาบทแก่พระสาวกทั้งหลาย
การเข้าไปสู่ภายในพระราชฐานมีโทษ ๑๐ ทานวัตถุมี ๑๐ รัตนะมี ๑๐ ภิกษุสงฆ์มี

เชิงอรรถ :
๑ วิธีระงับวิวาทาธิกรณ์ในกรณีที่ประชุมสงฆ์มีความไม่สะดวก สงฆ์จึงเลือกภิกษุบางรูปในที่ประชุมนั้น ตั้งเป็น
คณะแล้วมอบเรื่องให้นำเอาไปวินิจฉัย (ทำนองตั้งคณะกรรมการพิเศษ)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๔๙๒ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [เอกุตตริกนัย] หัวข้อประจำวาร
พวก ๑๐ คณะสงฆ์มีพวก ๑๐ พึงให้อุปสมบท ผ้าบังสุกุลมี ๑๐ จีวรสำหรับใช้สอย
มี ๑๐ ทรงอติเรกจีวร ๑๐ วันเป็นอย่างยิ่ง น้ำอสุจิมี ๑๐ สตรีมี ๑๐ ภรรยามี ๑๐
ภิกษุในพระนครเวสาลีแสดงวัตถุ ๑๐ บุคคลไม่ควรไหว้มี ๑๐ เรื่องสำหรับด่ามี ๑๐
ส่อเสียดด้วยอาการ ๑๐ เสนาสนะมี ๑๐ ขอพร ๑๐ ประการ งดปาติโมกข์ไม่ชอบ
ธรรมมี ๑๐ งดปาติโมกข์ชอบธรรมมี ๑๐ ยาคูมีอานิสงส์ ๑๐ เนื้อที่ไม่ควรมี ๑๐
สิกขาบทว่าด้วยอย่างยิ่งมี ๑๐ ภิกษุมีพรรษาสิบ ฉลาด สามารถ ควรให้บรรพชา
อุปสมบท ควรให้นิสัย ควรใช้สามเณรอุปัฏฐาก ภิกษุณีมีพรรษาสิบ ฉลาด สามารถ
ควรให้บรรพชา อุปสมบท ควรให้นิสัย ควรใช้สามเณรีอุปัฏฐาก ภิกษุณีมีพรรษาสิบ
ฉลาด สามารถ พึงยินดีการสมมติการให้บวช ภิกษุณีมีพรรษาสิบ ควรให้สิกขาแก่
สตรีที่มีครอบครัว
ทสกวาร จบ

หัวข้อประจำวาร
อาฆาตวัตถุ อุบายกำจัด วินีตวัตถุ มิจฉาทิฏฐิ
สัมมาทิฏฐิ อันตคาหิกทิฏฐิ มิจฉัตตะ สัมมัตตะ
อกุศลกรรมบถ กุศลกรรมบถ จับสลากชอบธรรม
จับสลากไม่ชอบธรรม สิกขาบทของสามเณร
สามเณรที่พึงให้นาสนะ ถ้อยคำ อธิกรณ์ ญัตติ อาบัติเบา
อาบัติเบาอีก อาบัติหนัก จงรู้ฝ่ายดำฝ่ายขาวเหล่านี้ไว้
อุพพาหิกสมมติ สิกขาบทว่าด้วยการเข้าไปภายในพระราชฐาน
ทานวัตถุ รัตนะ คณะสงฆ์มีพวก ๑๐ คณะสงฆ์มีพวก ๑๐
ให้อุปสมบท ผ้าบังสุกุล จีวรสำหรับใช้สอย
ทรงอติเรก ๑๐ วัน น้ำอสุจิ สตรี ภรรยา วัตถุ ๑๐
บุคคลไม่ควรไหว้ เรื่องสำหรับด่า การส่อเสียด เสนาสนะ ขอพร
การงดปาติโมกข์ไม่ชอบธรรม การงดปาติโมกข์ชอบธรรม

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๔๙๓ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [เอกุตตริกนัย] ๑๑. เอกาทสกวาร
ยาคู มังสะ สิกขาบทที่ว่าด้วยอย่างยิ่ง ภิกษุ ภิกษุณี
ให้อุปสมบทสตรีที่มีครอบครัว
หมวดสิบ พระผู้มีพระภาคทรงประกาศไว้ดีแล้วแล

๑๑. เอกาทสกวาร
ว่าด้วยหมวด ๑๑
[๓๓๑] บุคคลที่ยังไม่ได้อุปสมบทไม่พึงให้อุปสมบทมี ๑๑ จำพวก ที่อุปสมบท
แล้วพึงให้สึกเสีย เขียงเท้าไม่ควรมี ๑๑ ชนิด บาตรไม่สมควรมี ๑๑ ชนิด จีวรไม่
สมควรมี ๑๑ ชนิด สิกขาบทเป็นยาวตติยกะมี ๑๑ พึงถามอันตรายิกธรรม ๑๑
อย่างของภิกษุณี จีวรควรอธิษฐานมี ๑๑ จีวรไม่ควรวิกัปมี ๑๑ จีวร ๑๑ ชนิด เป็น
นิสสัคคีย์เมื่ออรุณขึ้น ลูกดุมที่สมควรมี ๑๑ ชนิด ลูกถวินที่สมควรมี ๑๑ ชนิด
ดินไม่สมควรมี ๑๑ ดินที่สมควรมี ๑๑ การระงับนิสัยมี ๑๑ บุคคลไม่ควรไหว้มี ๑๑
สิกขาบทที่ว่าด้วยอย่างยิ่งมี ๑๑ ขอพร ๑๑ ประการ สีมามีโทษ ๑๑ อย่าง บุคคล
ผู้ด่าบริภาษต้องได้รับโทษ ๑๑ อย่าง
เมื่อเมตตาเจโตวิมุตติที่บุคคลเสพแล้ว เจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ทำให้เป็น
ดุจยานพาหนะแล้ว ทำให้เป็นที่ตั้งแล้ว ให้ตั้งมั่นแล้ว สั่งสมแล้ว ปรารภดีแล้ว
พึงหวังอานิสงส์ ๑๑ ประการ คือ

๑. หลับเป็นสุข ๒. ตื่นเป็นสุข
๓. ไม่ฝันร้าย ๔. เป็นที่รักของมนุษย์ทั้งหลาย
๕. เป็นที่รักของอมนุษย์ทั้งหลาย ๖. เทวดาทั้งหลายรักษา
๗. ไฟ ยาพิษ หรือศัสตรา ๘. จิตตั้งมั่นได้เร็ว
กล้ำกรายบุคคลนั้นไม่ได้
๙. สีหน้าสดใส ๑๐. ไม่หลงลืมสติตาย

๑๑. เมื่อยังไม่บรรลุคุณวิเศษ อันยิ่งขึ้นไป ย่อมเข้าถึงพรหมโลก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๔๙๔ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [เอกุตตริกนัย] หัวข้อลำดับหมวด
เมื่อเมตตาเจโตวิมุติที่บุคคลเสพแล้วเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ทำให้เป็น
ดุจยานพาหนะแล้ว ทำให้เป็นที่ตั้งแล้ว ให้ตั้งมั่นแล้ว สั่งสมแล้ว ปรารภดีแล้ว
พึงหวังอานิสงส์ ๑๑ ประการนี้แล๑
เอกาทสกวาร จบ

หัวข้อประจำวาร
ผู้ที่อุปสมบทแล้วพึงให้สึก เขียงเท้า บาตร จีวร
สิกขาบทเป็นยาวตติยกะ พึงถามอันตรายิกธรรม จีวรควรอธิษฐาน
จีวรไม่ควรวิกัป เป็นนิสสัคคีย์เมื่ออรุณขึ้น
ลูกดุม ลูกถวิน ดินไม่สมควร ดินสมควร การระงับนิสัย
บุคคลไม่ควรไหว้ สิกขาบทที่ว่าด้วยอย่างยิ่ง พร สีมามีโทษ
บุคคลผู้ด่า อานิสงส์เมตตา จัดเป็นหมวด ๑๑
เอกกุตริกะ จบ

หัวข้อลำดับหมวด
หมวดเอกกุตริกะ ไม่มีมลทิน คือ หมวด ๑
หมวด ๒ หมวด ๓ หมวด ๔ หมวด ๕ หมวด ๖
หมวด ๗ หมวด ๘ หมวด ๙ หมวด ๑๐
หมวด ๑๑ อันพระผู้มีพระภาคผู้มหาวีระ
มีพระธรรมอันปรากฏแล้ว ผู้คงที่ ทรงแสดงไว้แล้ว
เพื่อความเกื้อกูลแก่สรรพสัตว์แล
เอกกุตริกะ จบ

เชิงอรรถ :
๑ องฺ.เอกาทสก. (แปล) ๒๔/๑๕/๔๒๕, ขุ.ป. (แปล) ๓๑/๒๒/๔๖๐-๔๖๓

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๔๙๕ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [อุโปสถาทิปุจฉาวิสัชชนา] อาทิมัชฌันตปุจฉนะ
อุโปสถาทิปุจฉาวิสัชชนา
คำถาม - คำตอบเรื่องอุโบสถ เป็นต้น

อาทิมัชฌันตปุจฉนะ
ว่าด้วยคำถามถึงเบื้องต้น ท่ามกลาง และที่สุด
[๓๓๒] ถาม : อุโบสถกรรม มีอะไรเป็นเบื้องต้น มีอะไรเป็นท่ามกลาง มีอะไร
เป็นที่สุด ปวารณา มีอะไรเป็นเบื้องต้น มีอะไรเป็นท่ามกลาง มีอะไรเป็นที่สุด ตัชชนีย
กรรม มีอะไรเป็นเบื้องต้น มีอะไรเป็นท่ามกลาง มีอะไรเป็นที่สุด นิยสกรรม มีอะไร
เป็นเบื้องต้น มีอะไรเป็นท่ามกลาง มีอะไรเป็นที่สุด ปัพพาชนียกรรม มีอะไรเป็นเบื้องต้น
มีอะไรเป็นท่ามกลาง มีอะไรเป็นที่สุด ปฏิสารณียกรรม มีอะไรเป็นเบื้องต้น มีอะไร
เป็นท่ามกลาง มีอะไรเป็นที่สุด อุกเขปนียกรรม มีอะไรเป็นเบื้องต้น มีอะไรเป็นท่ามกลาง
มีอะไรเป็นที่สุด การให้ปริวาส มีอะไรเป็นเบื้องต้น มีอะไรเป็นท่ามกลาง มีอะไรเป็น
ที่สุด การชักเข้าหาอาบัติเดิม มีอะไรเป็นเบื้องต้น มีอะไรเป็นท่ามกลาง มีอะไรเป็น
ที่สุด การให้มานัต มีอะไรเป็นเบื้องต้น มีอะไรเป็นท่ามกลาง มีอะไรเป็นที่สุด อัพภาน
มีอะไรเป็นเบื้องต้น มีอะไรเป็นท่ามกลาง มีอะไรเป็นที่สุด อุปสัมปทากรรม มีอะไร
เป็นเบื้องต้น มีอะไรเป็นท่ามกลาง มีอะไรเป็นที่สุด การระงับตัชชนียกรรม มีอะไร
เป็นเบื้องต้น มีอะไรเป็นท่ามกลาง มีอะไรเป็นที่สุด การระงับนิยสกรรม มีอะไรเป็น
เบื้องต้น มีอะไรเป็นท่ามกลาง มีอะไรเป็นที่สุด การระงับปัพพาชนียกรรม มีอะไร
เป็นเบื้องต้น มีอะไรเป็นท่ามกลาง มีอะไรเป็นที่สุด การระงับปฏิสารณียกรรม มี
อะไรเป็นเบื้องต้น มีอะไรเป็นท่ามกลาง มีอะไรเป็นที่สุด การระงับอุกเขปนียกรรม มี
อะไรเป็นเบื้องต้น มีอะไรเป็นท่ามกลาง มีอะไรเป็นที่สุด สติวินัย มีอะไรเป็นเบื้องต้น
มีอะไรเป็นท่ามกลาง มีอะไรเป็นที่สุด อมูฬหวินัย มีอะไรเป็นเบื้องต้น มีอะไรเป็น
ท่ามกลาง มีอะไรเป็นที่สุด ตัสสปาปิยสิกา มีอะไรเป็นเบื้องต้น มีอะไรเป็นท่ามกลาง
มีอะไรเป็นที่สุด ติณวัตถารกะ มีอะไรเป็นเบื้องต้น มีอะไรเป็นท่ามกลาง มีอะไรเป็น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๔๙๖ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [อุโปสถาทิปุจฉาวิสัชชนา] อาทิมัชฌันตวิสัชชนา
ที่สุด การสมมติให้เป็นผู้สอนภิกษุณี มีอะไรเป็นเบื้องต้น มีอะไรเป็นท่ามกลาง มี
อะไรเป็นที่สุด การสมมติไม่อยู่ปราศจากไตรจีวร มีอะไรเป็นเบื้องต้น มีอะไรเป็น
ท่ามกลาง มีอะไรเป็นที่สุด การสมมติสันถัต มีอะไรเป็นเบื้องต้น มีอะไรเป็นท่ามกลาง
มีอะไรเป็นที่สุด การสมมติทิ้งรูปิยะ มีอะไรเป็นเบื้องต้น มีอะไรเป็นท่ามกลาง มี
อะไรเป็นที่สุด การสมมติให้รับผ้าสาฎก มีอะไรเป็นเบื้องต้น มีอะไรเป็นท่ามกลาง มี
อะไรเป็นที่สุด การสมมติให้รับบาตร มีอะไรเป็นเบื้องต้น มีอะไรเป็นท่ามกลาง มี
อะไรเป็นที่สุด การสมมติไม้เท้า มีอะไรเป็นเบื้องต้น มีอะไรเป็นท่ามกลาง มีอะไรเป็นที่สุด
การสมมติสาแหรก มีอะไรเป็นเบื้องต้น มีอะไรเป็นท่ามกลาง มีอะไรเป็นที่สุด การ
สมมติไม้เท้าและสาแหรก มีอะไรเป็นเบื้องต้น มีอะไรเป็นท่ามกลาง มีอะไรเป็นที่สุด

อาทิมัชฌันตวิสัชชนา
ว่าด้วยคำตอบถึงเบื้องต้น ท่ามกลาง และที่สุด
[๓๓๓] ถาม : อุโบสถกรรม มีอะไรเป็นเบื้องต้น มีอะไรเป็นท่ามกลาง มีอะไร
เป็นที่สุด
ตอบ : อุโบสถกรรม มีสามัคคีเป็นเบื้องต้น มีการกระทำเป็นท่ามกลาง
มีความสำเร็จเป็นที่สุด
ถาม : ปวารณา มีอะไรเป็นเบื้องต้น มีอะไรเป็นท่ามกลาง มีอะไรเป็นที่สุด
ตอบ : ปวารณา มีสามัคคีเป็นเบื้องต้น มีการกระทำเป็นท่ามกลาง มีความ
สำเร็จเป็นที่สุด
ถาม : ตัชชนียกรรม มีอะไรเป็นเบื้องต้น มีอะไรเป็นท่ามกลาง มีอะไรเป็นที่สุด
ตอบ : ตัชชนียกรรม มีวัตถุและบุคคลเป็นเบื้องต้น มีญัตติเป็นท่ามกลาง
มีกรรมวาจาเป็นที่สุด
ถาม : นิยสกรรม มีอะไรเป็นเบื้องต้น มีอะไรเป็นท่ามกลาง มีอะไรเป็นที่สุด
ตอบ : นิยสกรรม มีวัตถุและบุคคลเป็นเบื้องต้น มีญัตติเป็นท่ามกลาง
มีกรรมวาจาเป็นที่สุด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๔๙๗ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [อุโปสถาทิปุจฉาวิสัชชนา] อาทิมัชฌันตวิสัชชนา
ถาม : ปัพพาชนียกรรม มีอะไรเป็นเบื้องต้น มีอะไรเป็นท่ามกลาง มีอะไร
เป็นที่สุด
ตอบ : ปัพพาชนียกรรม มีวัตถุและบุคคลเป็นเบื้องต้น มีญัตติเป็นท่ามกลาง
มีกรรมวาจาเป็นที่สุด
ถาม : ปฏิสารณียกรรม มีอะไรเป็นเบื้องต้น มีอะไรเป็นท่ามกลาง มีอะไร
เป็นที่สุด
ตอบ : ปฏิสารณียกรรม มีวัตถุและบุคคลเป็นเบื้องต้น มีญัตติเป็นท่ามกลาง
มีกรรมวาจาเป็นที่สุด
ถาม : อุกเขปนียกรรม มีอะไรเป็นเบื้องต้น มีอะไรเป็นท่ามกลาง มีอะไรเป็น
ที่สุด
ตอบ : อุกเขปนียกรรม มีวัตถุและบุคคลเป็นเบื้องต้น มีญัตติเป็นท่ามกลาง
มีกรรมวาจาเป็นที่สุด
ถาม : การให้ปริวาส มีอะไรเป็นเบื้องต้น มีอะไรเป็นท่ามกลาง มีอะไรเป็นที่สุด
ตอบ : การให้ปริวาส มีวัตถุและบุคคลเป็นเบื้องต้น มีญัตติเป็นท่ามกลาง
มีกรรมวาจาเป็นที่สุด
ถาม : การชักเข้าหาอาบัติเดิม มีอะไรเป็นเบื้องต้น มีอะไรเป็นท่ามกลาง
มีอะไรเป็นที่สุด
ตอบ : การชักเข้าหาอาบัติเดิม มีวัตถุและบุคคลเป็นเบื้องต้น มีญัตติเป็น
ท่ามกลาง มีกรรมวาจาเป็นที่สุด
ถาม : การให้มานัต มีอะไรเป็นเบื้องต้น มีอะไรเป็นท่ามกลาง มีอะไรเป็นที่สุด
ตอบ : การให้มานัต มีวัตถุและบุคคลเป็นเบื้องต้น มีญัตติเป็นท่ามกลาง
มีกรรมวาจาเป็นที่สุด
ถาม : อัพภาน มีอะไรเป็นเบื้องต้น มีอะไรเป็นท่ามกลาง มีอะไรเป็นที่สุด
ตอบ : อัพภาน มีวัตถุและบุคคลเป็นเบื้องต้น มีญัตติเป็นท่ามกลาง มีกรรม
วาจาเป็นที่สุด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๔๙๘ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [อุโปสถาทิปุจฉาวิสัชชนา] อาทิมัชฌันตวิสัชชนา
ถาม : อุปสัมปทากรรม มีอะไรเป็นเบื้องต้น มีอะไรเป็นท่ามกลาง มีอะไร
เป็นที่สุด
ตอบ : อุปสัมปทากรรม มีบุคคลเป็นเบื้องต้น มีญัตติเป็นท่ามกลาง มีกรรม
วาจาเป็นที่สุด
ถาม : การระงับตัชชนียกรรม มีอะไรเป็นเบื้องต้น มีอะไรเป็นท่ามกลาง
มีอะไรเป็นที่สุด
ตอบ : การระงับตัชชนียกรรม มีความประพฤติชอบเป็นเบื้องต้น มีญัตติเป็น
ท่ามกลาง มีกรรมวาจาเป็นที่สุด
ถาม : การระงับนิยสกรรม มีอะไรเป็นเบื้องต้น มีอะไรเป็นท่ามกลาง มีอะไร
เป็นที่สุด
ตอบ : การระงับนิยสกรรม มีความประพฤติชอบเป็นเบื้องต้น มีญัตติเป็น
ท่ามกลาง มีกรรมวาจาเป็นที่สุด
ถาม : การระงับปัพพาชนียกรรม มีอะไรเป็นเบื้องต้น มีอะไรเป็นท่ามกลาง
มีอะไรเป็นที่สุด
ตอบ : การระงับปัพพาชนียกรรม มีความประพฤติชอบเป็นเบื้องต้น มีญัตติ
เป็นท่ามกลาง มีกรรมวาจาเป็นที่สุด
ถาม : การระงับปฏิสารณียกรรม มีอะไรเป็นเบื้องต้น มีอะไรเป็นท่ามกลาง
มีอะไรเป็นที่สุด
ตอบ : การระงับปฏิสารณียกรรม มีความประพฤติชอบเป็นเบื้องต้น มีญัตติ
เป็นท่ามกลางมีกรรมวาจาเป็นที่สุด
ถาม : การระงับอุกเขปนียกรรม มีอะไรเป็นเบื้องต้น มีอะไรเป็นท่ามกลาง
มีอะไรเป็นที่สุด
ตอบ : การระงับอุกเขปนียกรรม มีความประพฤติชอบเป็นเบื้องต้น มีญัตติ
เป็นท่ามกลาง มีกรรมวาจาเป็นที่สุด
ถาม : สติวินัย มีอะไรเป็นเบื้องต้น มีอะไรเป็นท่ามกลาง มีอะไรเป็นที่สุด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๔๙๙ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [อุโปสถาทิปุจฉาวิสัชชนา] อาทิมัชฌันตวิสัชชนา
ตอบ : สติวินัย มีวัตถุและบุคคลเป็นเบื้องต้น มีญัตติเป็นท่ามกลาง มีกรรม
วาจาเป็นที่สุด
ถาม : อมูฬหวินัย มีอะไรเป็นเบื้องต้น มีอะไรเป็นท่ามกลาง มีอะไรเป็นที่สุด
ตอบ : อมูฬหวินัย มีวัตถุและบุคคลเป็นเบื้องต้น มีญัตติเป็นท่ามกลาง
มีกรรมวาจาเป็นที่สุด
ถาม : ตัสสปาปิยสิกา มีอะไรเป็นเบื้องต้น มีอะไรเป็นท่ามกลาง มีอะไรเป็น
ที่สุด
ตอบ : ตัสสปาปิยสิกา มีวัตถุและบุคคลเป็นเบื้องต้น มีญัตติเป็นท่ามกลาง
มีกรรมวาจาเป็นที่สุด
ถาม : ติณวัตถารกะ มีอะไรเป็นเบื้องต้น มีอะไรเป็นท่ามกลาง มีอะไรเป็น
ที่สุด
ตอบ : ติณวัตถารกะ มีวัตถุและบุคคลเป็นเบื้องต้น มีญัตติเป็นท่ามกลาง
มีกรรมวาจาเป็นที่สุด
ถาม : การสมมติให้เป็นผู้สอนภิกษุณี มีอะไรเป็นเบื้องต้น มีอะไรเป็น
ท่ามกลาง มีอะไรเป็นที่สุด
ตอบ : การสมมติให้เป็นผู้สอนภิกษุณี มีวัตถุและบุคคลเป็นเบื้องต้น มีญัตติ
เป็นท่ามกลาง มีกรรมวาจาเป็นที่สุด
ถาม : การสมมติไม่อยู่ปราศจากไตรจีวร มีอะไรเป็นเบื้องต้น มีอะไรเป็น
ท่ามกลาง มีอะไรเป็นที่สุด
ตอบ : การสมมติไม่อยู่ปราศจากไตรจีวร มีวัตถุและบุคคลเป็นเบื้องต้น
มีญัตติเป็นท่ามกลาง มีกรรมวาจาเป็นที่สุด
ถาม : การสมมติสันถัต มีอะไรเป็นเบื้องต้น มีอะไรเป็นท่ามกลาง มีอะไร
เป็นที่สุด
ตอบ : การสมมติสันถัต มีวัตถุและบุคคลเป็นเบื้องต้น มีญัตติเป็นท่ามกลาง
มีกรรมวาจาเป็นที่สุด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๕๐๐ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [อุโปสถาทิปุจฉาวิสัชชนา] อาทิมัชฌันตวิสัชชนา
ถาม : การสมมติทิ้งรูปิยะ มีอะไรเป็นเบื้องต้น มีอะไรเป็นท่ามกลาง มีอะไร
เป็นที่สุด
ตอบ : การสมมติทิ้งรูปิยะ มีวัตถุและบุคคลเป็นเบื้องต้น มีญัตติเป็นท่ามกลาง
มีกรรมวาจาเป็นที่สุด
ถาม : การสมมติให้รับผ้าสาฎก มีอะไรเป็นเบื้องต้น มีอะไรเป็นท่ามกลาง
มีอะไรเป็นที่สุด
ตอบ : การสมมติให้รับผ้าสาฎก มีวัตถุและบุคคลเป็นเบื้องต้น มีญัตติเป็น
ท่ามกลาง มีกรรมวาจาเป็นที่สุด
ถาม : การสมมติให้รับบาตร มีอะไรเป็นเบื้องต้น มีอะไรเป็นท่ามกลาง
มีอะไรเป็นที่สุด
ตอบ : การสมมติให้รับบาตร มีวัตถุและบุคคลเป็นเบื้องต้น มีญัตติเป็น
ท่ามกลาง มีกรรมวาจาเป็นที่สุด
ถาม : การสมมติไม้เท้า มีอะไรเป็นเบื้องต้น มีอะไรเป็นท่ามกลาง มีอะไร
เป็นที่สุด
ตอบ : การสมมติไม้เท้า มีวัตถุและบุคคลเป็นเบื้องต้น มีญัตติเป็นท่ามกลาง
มีกรรมวาจาเป็นที่สุด
ถาม : การสมมติสาแหรก มีอะไรเป็นเบื้องต้น มีอะไรเป็นท่ามกลาง มีอะไร
เป็นที่สุด
ตอบ : การสมมติสาแหรก มีวัตถุและบุคคลเป็นเบื้องต้น มีญัตติเป็นท่ามกลาง
มีกรรมวาจาเป็นที่สุด
ถาม : การสมมติไม้เท้าและสาแหรก มีอะไรเป็นเบื้องต้น มีอะไรเป็นท่ามกลาง
มีอะไรเป็นที่สุด
ตอบ : การสมมติไม้เท้าและสาแหรก มีวัตถุและบุคคลเป็นเบื้องต้น มีญัตติ
เป็นท่ามกลาง มีกรรมวาจาเป็นที่สุด
อุโปสถาทิปุจฉาวิสัชชนา จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๕๐๑ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [อัตถวสปกรณ์] ว่าด้วยอำนาจประโยชน์ ๑๐ ประการ
อัตถวสปกรณ์
ว่าด้วยอำนาจประโยชน์ ๑๐ ประการ
[๓๓๔] พระตถาคตทรงบัญญัติสิกขาบทแก่พระสาวกทั้งหลาย โดย
อาศัยอำนาจประโยชน์ ๑๐ ประการ คือ
๑. เพื่อความรับว่าดีแห่งสงฆ์
๒. เพื่อความผาสุกแห่งสงฆ์
๓. เพื่อข่มบุคคลผู้เก้อยาก
๔. เพื่อความอยู่ผาสุกแห่งเหล่าภิกษุผู้มีศีลดีงาม
๕. เพื่อปิดกั้นอาสวะทั้งหลายอันจะบังเกิดในปัจจุบัน
๖. เพื่อกำจัดอาสวะทั้งหลายอันจะบังเกิดในอนาคต
๗. เพื่อความเลื่อมใสของคนที่ยังไม่เลื่อมใส
๘. เพื่อความเลื่อมใสยิ่งขึ้นไปของคนที่เลื่อมใสแล้ว
๙. เพื่อความตั้งมั่นแห่งพระสัทธรรม
๑๐. เพื่อเอื้อเฟื้อพระวินัย
สิ่งใดเป็นความยอมรับว่าดีแห่งสงฆ์ สิ่งนั้นเป็นความผาสุกแห่งสงฆ์ สิ่งใด
เป็นความผาสุกแห่งสงฆ์ สิ่งนั้นเพื่อข่มบุคคลผู้เก้อยาก สิ่งใดเพื่อข่มบุคคลผู้เก้อยาก
สิ่งนั้นเพื่อความอยู่ผาสุกแห่งเหล่าภิกษุผู้มีศีลดีงาม สิ่งใดเพื่อความอยู่ผาสุกแห่ง
เหล่าภิกษุผู้มีศีลดีงาม สิ่งนั้นเพื่อปิดกั้นอาสวะทั้งหลายอันจะบังเกิดในปัจจุบัน สิ่งใด
เพื่อปิดกั้นอาสวะทั้งหลายอันจะบังเกิดในปัจจุบัน สิ่งนั้นเพื่อกำจัดอาสวะทั้งหลาย
อันจะบังเกิดในอนาคต สิ่งใดเพื่อกำจัดอาสวะทั้งหลายอันจะบังเกิดในอนาคต สิ่งนั้น
เพื่อความเลื่อมใสของคนที่ยังไม่เลื่อมใส สิ่งใดเพื่อความเลื่อมใสของคนที่ยังไม่
เลื่อมใส สิ่งนั้นเพื่อความเลื่อมใสยิ่งขึ้นไปของคนที่เลื่อมใสแล้ว สิ่งใดเพื่อความ
เลื่อมใสยิ่งขึ้นไปของคนที่เลื่อมใสแล้ว สิ่งนั้นเพื่อความตั้งมั่นแห่งพระสัทธรรม สิ่งใด
เพื่อความตั้งมั่นแห่งพระสัทธรรม สิ่งนั้นเพื่อเอื้อเฟื้อพระวินัย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๕๐๒ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [อัตถวสปกรณ์] ว่าด้วยอำนาจประโยชน์ ๑๐ ประการ
สิ่งใดเป็นความยอมรับว่าดีแห่งสงฆ์ สิ่งนั้นเป็นความผาสุกแห่งสงฆ์ สิ่งใดเป็น
ความยอมรับว่าดีแห่งสงฆ์ สิ่งนั้นเพื่อข่มบุคคลผู้เก้อยาก สิ่งใดเป็นความยอมรับว่าดี
แห่งสงฆ์ สิ่งนั้นเพื่อความอยู่ผาสุกแห่งเหล่าภิกษุผู้มีศีลดีงาม สิ่งใดเป็นความยอม
รับว่าดีแห่งสงฆ์ สิ่งนั้นเพื่อปิดกั้นอาสวะทั้งหลายอันจะบังเกิดในปัจจุบัน สิ่งใดเป็น
ความยอมรับว่าดีแห่งสงฆ์ สิ่งนั้นเพื่อกำจัดอาสวะทั้งหลายอันจะบังเกิดในอนาคต
สิ่งใดเป็นความยอมรับว่าดีแห่งสงฆ์ สิ่งนั้นเพื่อความเลื่อมใสของคนที่ยังไม่เลื่อมใส
สิ่งใดเป็นความยอมรับว่าดีแห่งสงฆ์ สิ่งนั้นเพื่อความเลื่อมใสยิ่งขึ้นไปของคนที่
เลื่อมใสแล้ว สิ่งใดเป็นความยอมรับว่าดีแห่งสงฆ์ สิ่งนั้นเพื่อความตั้งมั่นแห่งพระ
สัทธรรม สิ่งใดเป็นความยอมรับว่าดีแห่งสงฆ์ สิ่งนั้นเป็นไปเพื่อเอื้อเฟื้อพระวินัย
สิ่งใดเป็นความผาสุกแห่งสงฆ์ สิ่งนั้นเพื่อข่มบุคคลผู้เก้อยาก สิ่งใดเป็นความ
ผาสุกแห่งสงฆ์ สิ่งนั้นเพื่อความอยู่ผาสุกแห่งเหล่าภิกษุผู้มีศีลดีงาม สิ่งใดเป็นความ
ผาสุกแห่งสงฆ์ สิ่งนั้นเพื่อปิดกั้นอาสวะทั้งหลายอันจะบังเกิดในปัจจุบัน สิ่งใดเป็น
ความผาสุกแห่งสงฆ์ สิ่งนั้นเพื่อกำจัดอาสวะทั้งหลายอันจะบังเกิดในอนาคต สิ่งใด
เป็นความผาสุกแห่งสงฆ์ สิ่งนั้นเพื่อความเลื่อมใสของคนที่ยังไม่เลื่อมใส สิ่งใดเป็น
ความผาสุกแห่งสงฆ์ สิ่งนั้นเพื่อความเลื่อมใสยิ่งขึ้นไปของคนที่เลื่อมใสแล้ว สิ่งใด
เป็นความผาสุกแห่งสงฆ์ สิ่งนั้นเพื่อความตั้งมั่นแห่งพระสัทธรรม สิ่งใดเป็นความ
ผาสุกแห่งสงฆ์ สิ่งนั้นเพื่อเอื้อเฟื้อพระวินัย
สิ่งใดเพื่อข่มบุคคลผู้เก้อยาก ฯลฯ สิ่งใดเพื่อความอยู่ผาสุกแห่งเหล่าภิกษุผู้มี
ศีลดีงาม ฯลฯ สิ่งใดเพื่อปิดกั้นอาสวะทั้งหลายอันจะบังเกิดในปัจจุบัน ฯลฯ สิ่งใด
เพื่อกำจัดอาสวะทั้งหลายอันจะบังเกิดในอนาคต ฯลฯ สิ่งใดเพื่อความเลื่อมใสของ
คนที่ยังไม่เลื่อมใส ฯลฯ สิ่งใดเพื่อความเลื่อมใสยิ่งขึ้นไปของคนที่เลื่อมใสแล้ว ฯลฯ
สิ่งใดเพื่อความตั้งมั่นแห่งพระสัทธรรม ฯลฯ สิ่งใดเพื่อเอื้อเฟื้อพระวินัย สิ่งนั้นเป็น
ความยอมรับว่าดีแห่งสงฆ์ สิ่งใดเพื่อเอื้อเฟื้อพระวินัย สิ่งนั้นเพื่อความผาสุกแห่งสงฆ์
สิ่งใดเพื่อเอื้อเฟื้อพระวินัย สิ่งนั้นเพื่อข่มบุคคลผู้เก้อยาก สิ่งใดเพื่อเอื้อเฟื้อพระวินัย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๕๐๓ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [อัตถวสปกรณ์] ว่าด้วยอำนาจประโยชน์ ๑๐ ประการ
สิ่งนั้นเพื่อความอยู่ผาสุกแห่งเหล่าภิกษุผู้มีศีลดีงาม สิ่งใดเพื่อเอื้อเฟื้อพระวินัย
สิ่งนั้นเพื่อปิดกั้นอาสวะทั้งหลายอันจะบังเกิดในปัจจุบัน สิ่งใดเพื่อเอื้อเฟื้อพระวินัย
สิ่งนั้นเพื่อกำจัดอาสวะทั้งหลายอันจะบังเกิดในอนาคต สิ่งใดเพื่อเอื้อเฟื้อพระวินัย
สิ่งนั้นเพื่อความเลื่อมใสของคนที่ยังไม่เลื่อมใส สิ่งใดเพื่อเอื้อเฟื้อพระวินัย สิ่งนั้นเพื่อ
ความเลื่อมใสยิ่งขึ้นไปของคนที่เลื่อมใสแล้ว สิ่งใดเพื่อเอื้อเฟื้อพระวินัย สิ่งนั้นเพื่อ
ความตั้งมั่นแห่งพระสัทธรรม
อรรถหนึ่งร้อย ธรรมหนึ่งร้อย นิรุตติสองร้อย
ญาณสี่ร้อย มีในอัตถวสปกรณ์
อัตถวสปกรณ์ จบ
มหาวรรค จบ

ห้อข้อประจำเรื่อง
หมวดธรรมเหล่านี้ของภิกษุ ๑๖ ของภิกษุณี ๑๖ คือ
หมวด ๑ ถึงหมวด ๘ ในการถามและปัจจัย และหมวด ๑
ถึงหมวด ๘ ในคำถามและปัจจัยอีก เปยยาล อันตราเภท
และเอกุตตริกะ ปวารณา อัตถวสปกรณ์ สงเคราะห์เข้ามหาวรรค
อัตถวสปกรณ์ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๕๐๔ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [คาถาสังคณิกะ] ๑. สัตตนคเรสุปัญญัตตสิกขาบท
คาถาสังคณิกะ
ว่าด้วยกลุ่มคาถา
๑. สัตตนคเรสุปัญญัตตสิกขาบท
ว่าด้วยสิกขาบทที่ทรงบัญญัติใน ๗ พระนคร

พระอุบาลีเข้าเฝ้าทูลถามปัญหา
[๓๓๕] พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า
“เธอห่มผ้าเฉวียงบ่า ประณมมือ ดูเหมือนมีความมุ่งหวัง
มา ณ สถานที่นี้เพื่อประโยชน์อะไร”
ท่านพระอุบาลีกราบทูลว่า
“สิกขาบทที่พระองค์ทรงบัญญัติไว้ในวินัยทั้งสอง
มาสู่อุทเทสทุกวันอุโบสถนั้นมีเท่าไร ทรงบัญญัติ ณ พระนครกี่นคร”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
“ปัญญาของเธอดี เธอสอบถามอย่างแยบคาย
เพราะฉะนั้น เราจักบอกเธอ สมกับที่เธอฉลาดถาม
สิกขาบทที่บัญญัติไว้ในวินัยทั้งสองมาสู่อุทเทสทุกวันอุโบสถนั้น
มี ๓๕๐ สิกขาบท เราบัญญัติ ณ พระนคร ๗ นคร”
พระอุบาลีกราบทูลว่า
“สิกขาบทที่ทรงบัญญัติ ณ พระนคร ๗ นคร
พระนครไหนบ้าง ขอพระองค์ได้โปรดชี้แจงพระนคร ๗ นครนั้น
แก่ข้าพระพุทธเจ้า ข้าพระพุทธเจ้าได้ฟังถ้อยพระดำรัส
ของพระองค์แล้วจะปฏิบัติ
ข้อนั้นจะพึงมีเพื่อความเกื้อกูลแก่ข้าพระพุทธเจ้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
“สิกขาบทเหล่านั้น เราบัญญัติ ณ กรุงเวสาลี ณ กรุงราชคฤห์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๕๐๕ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [คาถาสังคณิกะ] ๑. สัตตนคเรสุปัญญัตตสิกขาบท
ณ กรุงสาวัตถี ณ เมืองอาฬวี ณ กรุงโกสัมพี
ณ แคว้นสักกะ ณ ภัคคชนบท”

สิกขาบทบัญญัติ
พระอุบาลีกราบทูลว่า
“สิกขาบทที่ทรงบัญญัติ ณ กรุงเวสาลีมีเท่าไร
ณ กรุงราชคฤห์มีเท่าไร ณ กรุงสาวัตถีมีเท่าไร
ณ เมืองอาฬวีมีเท่าไร ณ กรุงโกสัมพีมีเท่าไร
ณ แคว้นสักกะมีเท่าไร ณ ภัคคชนบทมีเท่าไร
พระองค์อันข้าพระพุทธเจ้าทูลถามแล้ว ขอได้โปรดตอบข้อนั้น
แก่ข้าพระพุทธเจ้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
“สิกขาบทที่บัญญัติ ณ กรุงเวสาลีมี ๑๐ สิกขาบท
ณ กรุงราชคฤห์มี ๒๑ สิกขาบท ณ กรุงสาวัตถี
รวมทั้งหมดมี ๒๙๔ สิกขาบท ณ เมืองอาฬวีมี ๖ สิกขาบท
ณ กรุงโกสัมพีมี ๘ สิกขาบท ณ แคว้นสักกะมี ๘ สิกขาบท
ณ ภัคคชนบทมี ๓ สิกขาบท
เธอจงฟังสิกขาบทที่เราบัญญัติไว้ ณ กรุงเวสาลี ตามลำดับต่อไป
สิกขาบทว่าด้วยการเสพเมถุนธรรม สิกขาบทว่าด้วยการพรากกายมนุษย์
สิกขาบทว่าด้วยการกล่าวอวดอุตตริมนุสสธรรมที่ไม่มีจริง
สิกขาบทว่าด้วยทรงอติเรกจีวร
สิกขาบทว่าด้วยการทำสันถัตโดยใช้ขนเจียมดำล้วน
สิกขาบทว่าด้วยการบอกอุตตริมนุสสธรรมที่มีจริง
สิกขาบทว่าด้วยการฉันปรัมปรโภชนะ
สิกขาบทว่าด้วยการรับประเคนอาหารนอกจากน้ำและไม้ชำระฟัน
สิกขาบทว่าด้วยการให้ของเคี้ยวของฉันแก่อเจลก
ในหมู่ภิกษุณี สิกขาบทว่าด้วยภิกษุณีด่า บริภาษภิกษุ
รวมสิกขาบทที่บัญญัติ ณ กรุงเวสาลี ๑๐ สิกขาบท

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๕๐๖ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [คาถาสังคณิกะ] ๑. สัตตนคเรสุปัญญัตตสิกขาบท
เธอจงฟังสิกขาบทที่เราบัญญัติ ณ กรุงราชคฤห์ตามลำดับต่อไป
สิกขาบทว่าด้วยการถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้ในกรุงราชคฤห์
สิกขาบทว่าด้วยใส่ความภิกษุ ๒ สิกขาบท
สิกขาบทว่าด้วยทำลายสงฆ์และประพฤติตาม ๒ สิกขาบท
สิกขาบทว่าด้วยการรับอันตรวาสก(จีวร)
สิกขาบทว่าด้วยแลกเปลี่ยนรูปิยะ
สิกขาบทว่าด้วยการออกปากขอด้าย
สิกขาบทว่าด้วยการกล่าวให้เพ่งโทษ
สิกขาบทว่าด้วยฉันบิณฑบาตที่ภิกษุณีแนะนำให้จัดเตรียม
สิกขาบทว่าด้วยการฉันภัตตาหารในที่พักแรม
สิกขาบทว่าด้วยการฉันคณโภชนะ
สิกขาบทว่าด้วยการฉันโภชนะในเวลาวิกาล
สิกขาบทว่าด้วยการเที่ยวสัญจรไป
สิกขาบทว่าด้วยการสรงน้ำนอกสมัย
สิกขาบทว่าด้วยการอุปสมบทให้บุคคลมีอายุหย่อนกว่า ๒๐ ปี
สิกขาบทว่าด้วยการให้จีวร
สิกขาบทว่าด้วยการไม่ห้ามภิกษุณีผู้คอยบงการ
สิกขาบทว่าด้วยการเที่ยวดูมหรสพบนยอดเขา
สิกขาบทว่าด้วยการไม่หลีกจาริกไป(๒ สิกขาบท)
สิกขาบทว่าด้วยการบวชให้สิกขมานาโดยให้ปริวาสิกฉันทะ
สิกขาบทเหล่านี้บัญญัติ ณ กรุงราชคฤห์
รวม ๒๑ สิกขาบท
เธอจงฟังสิกขาบทที่เราบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี ตามลำดับต่อไป
ปาราชิก ๔ สังฆาทิเสส ๑๖ อนิยต ๒
นิสสัคคีย์ ๒๔ สิกขาบทที่เรียกว่าขุททกสิกขาบทมี ๑๕๖

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๕๐๗ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [คาถาสังคณิกะ] ๑. สัตตนคเรสุปัญญัตตสิกขาบท
สิกขาบทว่าด้วยการกระทำที่น่าตำหนิ ๑๐ สิกขาบท๑
เสขิยวัตร ๗๒ สิกขาบท
รวมสิกขาบททั้งหมดที่เราบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี ๒๙๔ สิกขาบท
เธอจงฟังสิกขาบทที่เราบัญญัติ ณ เมืองอาฬวี ตามลำดับต่อไป
สิกขาบทว่าด้วยการก่อสร้างกุฎี
สิกขาบทว่าด้วยการทำสันถัตผสมใยไหม
สิกขาบทว่าด้วยนอนร่วมกับอนุปสัมบัน
สิกขาบทว่าด้วยการขุดดิน
สิกขาบทว่าด้วยการพรากภูตคาม
สิกขาบทว่าด้วยการเอาน้ำมีสิ่งมีชีวิตรดหญ้าหรือดิน
รวมสิกขาบทที่เราบัญญัติ ณ เมืองอาฬวี ๖ สิกขาบท
เธอจงฟังสิกขาบทที่เราบัญญัติ ณ กรุงโกสัมพี ตามลำดับต่อไป
สิกขาบทว่าด้วยการสร้างวิหารใหญ่
สิกขาบทว่าด้วยภิกษุเป็นคนว่ายากสอนยาก
สิกขาบทว่าด้วยการกล่าวกลบเกลื่อน
สิกขาบทว่าด้วยการติดตั้งบานประตู
สิกขาบทว่าด้วยการดื่มสุราและเมรัย
สิกขาบทว่าด้วยไม่เอื้อเฟื้อ ต่อคำตักเตือน
สิกขาบทว่าด้วยกล่าวตักเตือนโดยชอบธรรม
สิกขาบทว่าด้วยการฉันน้ำนมเสียงดังซู้ด ๆ รวม ๘ สิกขาบท
เธอจงฟังสิกขาบทที่เราบัญญัติ ณ กรุงกบิลพัสดุ์ แคว้นสักกะ
(๘ สิกขาบท)ตามลำดับต่อไป
สิกขาบทว่าด้วยการให้ซักขนเจียม
สิกขาบทว่าด้วยบาตรมีรอยซ่อม ๕ แห่ง
สิกขาบทว่าด้วยเข้าไปสั่งสอนภิกษุณีถึงที่อยู่
สิกขาบทว่าด้วยขอเภสัช

เชิงอรรถ :
๑ สิกขาบทว่าด้วยการกระทำที่น่าตำหนิ หมายถึงปาฏิเทสนียะ ๑๐ สิกขาบท คือ ปาฏิเทสนียะ สิกขาบท
ที่ ๑ ที่ ๓ ของภิกษุ (วิ.มหา. (แปล) ๒/๕๕๒/๖๒๗,๕๖๒/๖๓๕) และปาฏิเทสนียะ สิกขาบทที่ ๑-๘
ของภิกษุณี (วิ.ภิกฺขุนี. (แปล) ๓/๑๒๒๘/๓๘๕,๑๒๓๔/๓๘๙)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๕๐๘ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [คาถาสังคณิกะ] ๒. จตุวิบัติ
สิกขาบทว่าด้วยการทำกล่องเข็ม
สิกขาบทว่าด้วยการอยู่ในเสนาสนะป่า
สิกขาบทว่าด้วยการใช้น้ำชำระ
สิกขาบทว่าด้วยการไม่ไปรับโอวาท เรากล่าวไว้ในหมู่ภิกษุณี
เธอจงฟังสิกขาบทที่เราบัญญัติ ณ ภัคคชนบท ตามลำดับต่อไป
สิกขาบทว่าด้วยก่อไฟผิง
สิกขาบทว่าด้วยการจับภาชนะน้ำดื่มด้วยมือเปื้อนอามิส
สิกขาบทว่าด้วยการเทน้ำล้างบาตรมีเมล็ดข้าวสุกในละแวกบ้าน
สิกขาบททั้งหลาย คือ ปาราชิก ๔ สังฆาทิเสส ๗
นิสสัคคีย์ ๘ ขุททกะ ๓๒ สิกขาบทที่น่าตำหนิ(ปาฏิเทสนียะ) ๒
เสขิยวัตร ๓ อันพระพุทธเจ้าผู้เป็นเผ่าพันธุ์แห่งพระราชาผู้สูงศักดิ์
บัญญัติ ณ ๖ พระนคร รวม ๕๖ สิกขาบท
พระโคดมผู้มีพระยศทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
รวมทั้งหมด ๒๙๔ สิกขาบท”

๒. จตุวิบัติ
ว่าด้วยวิบัติ ๔
ทรงพยากรณ์อาบัติหนัก และอาบัติเบา เป็นต้น
[๓๓๖] พระอุบาลีกราบทูลว่า
“ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลายได้ทูลถามปัญหาข้อใดกับพระองค์
พระองค์ได้ตรัสแก้ปัญหาข้อนั้นแก่ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลาย
ทูลถามเรื่องใด ๆ พระองค์ก็ได้ทรงแก้เฉพาะเรื่องนั้น ๆ
โดยมิได้ทรงแก้โดยประการอื่น
ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลายขอทูลถามปัญหาข้ออื่นกับพระองค์
ขอพระองค์โปรดตอบปัญหาข้อนั้นต่อไป
คือ อาบัติหนัก อาบัติเบา อาบัติที่มีส่วนเหลือ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๕๐๙ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [คาถาสังคณิกะ] ๒. จตุวิบัติ
อาบัติที่ไม่มีส่วนเหลือ อาบัติชั่วหยาบ อาบัติที่ไม่ชั่วหยาบ
สิกขาบทเป็นยาวตติยกะ สิกขาบททั่วไป สิกขาบทไม่ทั่วไป
สิกขาบทที่จำแนกไว้ระงับด้วยสมถะ ๑
ขอพระองค์ได้โปรดชี้แจงเรื่องนั้นแม้ทั้งหมดเถิด
ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลายจะฟังพระดำรัสของพระองค์”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
“อาบัติหนักมี ๓๑ ในอาบัติหนักเหล่านั้น
อาบัติไม่มีส่วนเหลือมี ๘ อาบัติหนักจัดเป็นอาบัติชั่วหยาบ
อาบัติชั่วหยาบจัดเป็นสีลวิบัติ

สีลวิบัติ และอาจารวิบัติ
ปาราชิก สังฆาทิเสส เรียกว่า สีลวิบัติ ถุลลัจจัย ปาจิตตีย์
ปาฏิเทสนียะ ทุกกฏ ทุพภาสิต คือ ด่าด้วยประสงค์จะล้อเล่น
อาบัตินี้นั้น รวมเรียกว่า อาจารวิบัติ

ทิฏฐิวิบัติ
บุคคลมีปัญญาเขลาทั้งหลาย ถูกโมหะครอบงำ
ถูกอสัทธรรมรุมล้อม ยึดถือความเห็นวิปริต
กล่าวตู่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า นี้นั้น รวมเรียกว่า ทิฏฐิวิบัติ

อาชีววิบัติ
ภิกษุมีความปรารถนาชั่ว ถูกความอยากครอบงำ กล่าวอวดอุตตริมนุสสธรรม
ที่ไม่มีอยู่ ไม่เป็นจริง เพราะเหตุแห่งอาชีวะ๑ เพราะการณ์แห่งอาชีวะ ภิกษุทำหน้าที่
ชักสื่อ เพราะเหตุแห่งอาชีวะ เพราะการณ์แห่งอาชีวะ ภิกษุกล่าวว่า ภิกษุรูปใด

เชิงอรรถ :
๑ เพราะเหตุแห่งอาชีวะ คือมุ่งเลี้ยงชีวิต (วิสุทฺธิ.มหา.ฏีกา ๑/๑๑๖/๖๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๕๑๐ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [คาถาสังคณิกะ] ๓. เฉทนกาทิ
อยู่ในวิหารของท่าน ภิกษุรูปนั้น เป็นพระอรหันต์ เพราะเหตุแห่งอาชีวะ เพราะ
การณ์แห่งอาชีวะ ภิกษุออกปากขอโภชนะอันประณีตมาเพื่อตนแล้วฉัน เพราะเหตุ
แห่งอาชีวะ เพราะการณ์แห่งอาชีวะ ภิกษุณีออกปากขอโภชนะอันประณีตมาเพื่อตน
แล้วฉัน เพราะเหตุแห่งอาชีวะ ภิกษุไม่อาพาธออกปากขอแกงหรือข้าวสุกมาเพื่อตน
แล้วฉัน เพราะเหตุแห่งอาชีวะ เพราะการณ์แห่งอาชีวะนี้นั้น รวมเรียกว่า อาชีววิบัติ

ยาวตติยกสิกขาบท
ยาวตติยกะ ๑๑ สิกขาบทนั้น
เธอจงฟังตามลำดับต่อไป อุกขิตตานุวัตติกาสิกขาบท๑
ยาวตติยกสังฆาทิเสส ๘ สิกขาบท๒
อริฏฐสิกขาบท จัณฑกาลีสิกขาบท๓
สิกขาบทเหล่านี้นั้น ชื่อว่า ยาวตติยกสิกขาบท”

๓. เฉทนกาทิ
ว่าด้วยเฉทนกสิกขาบท เป็นต้น
ทรงพยากรณ์เฉทนกสิกขาบท และเภทนกสิกขาบท เป็นต้น
[๓๓๗] พระอุบาลีกราบทูลว่า
“สิกขาบทว่าด้วยการตัดมีเท่าไร สิกขาบทว่าด้วยการทำลายมีเท่าไร สิกขาบท
ว่าด้วยการรื้อมีเท่าไร สิกขาบทในปาจิตตีย์ว่าด้วยไม่มีอะไรอื่นมีเท่าไร สิกขาบทว่า
ด้วยการสมมติภิกษุมีเท่าไร สิกขาบทว่าด้วยการทำที่สมควรมีเท่าไร สิกขาบทที่ว่า
ด้วยอย่างยิ่งมีเท่าไร สิกขาบทที่พระพุทธเจ้าผู้เป็นเผ่าพันธุ์แห่งพระราชาผู้สูงศักดิ์
ทรงบัญญัติว่า ‘รู้อยู่’ มีเท่าไร”

เชิงอรรถ :
๑ ปาราชิกสิกขาบทที่ ๓ วิ.ภิกฺขุนี. (แปล) ๓/๖๖๘/๑๔
๒ สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๑๐-๑๑-๑๒-๑๓ ของภิกษุและสังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๗-๘-๙-๑๐ ของภิกษุณี
๓ สิกขาบทที่ ๖ แห่งตุวัฏฏวรรค วิ.ภิกฺขุนี. (แปล) ๓/๙๕๕/๒๒๖

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๕๑๑ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [คาถาสังคณิกะ] ๔. อสาธารณาทิ
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
“สิกขาบทว่าด้วยการตัดมี ๖ สิกขาบทว่าด้วยการทำลายมี ๑ สิกขาบทว่า
ด้วยการรื้อมี ๑ สิกขาบทในปาจิตตีย์ว่าด้วยไม่มีอะไรอื่นมี ๔ สิกขาบทว่าด้วยการ
สมมติภิกษุมี ๔ สิกขาบทว่าด้วยการกระทำที่สมควรมี ๗ สิกขาบทที่ว่าด้วยอย่าง
ยิ่งมี ๑๔ สิกขาบทที่พระพุทธเจ้าผู้เป็นเผ่าพันธุ์แห่งพระราชาผู้สูงศักดิ์ทรงบัญญัติว่า
‘รู้อยู่’ มี ๑๖ สิกขาบท”

๔. อสาธารณาทิ
ว่าด้วยอสาธารณสิกขาบท เป็นต้น
จำนวนสิกขาบทของภิกษุ เป็นต้น
[๓๓๘] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
“สิกขาบทของภิกษุมาสู่อุทเทสทุกวันอุโบสถ(ยกขึ้นสวดทุกวันอุโบสถ)
รวม ๒๒๐ สิกขาบท ของภิกษุณีมาสู่อุทเทสทุกวันอุโบสถ
รวม ๓๐๔ สิกขาบท
สิกขาบทของภิกษุที่ไม่ทั่วไปกับภิกษุณี มี ๔๖ สิกขาบท
สิกขาบทของภิกษุณีที่ไม่ทั่วไปกับภิกษุ มี ๑๓๐ สิกขาบท
สิกขาบทของทั้งสองฝ่ายที่ไม่ทั่วไป มี ๑๗๖ สิกขาบท
สิกขาบทของทั้งสองฝ่ายที่ศึกษาร่วมกัน มี ๑๗๔ สิกขาบท๑

ประเภทสิกขาบทของภิกษุ
สิกขาบทของภิกษุ ๒๒๐ สิกขาบท มาสู่อุทเทสทุกวันอุโบสถ
เธอจงฟังสิกขาบทเหล่านั้น ตามลำดับต่อไป

เชิงอรรถ :
๑ พระผู้มีพระภาคทรงวิสัชนาปัญหาที่พระอุบาลีทูลถามในข้อ ๓๓๖ (สาธารณํ อสาธารณํ : สิกขาบททั่วไป
สิกขาบทที่ไม่ทั่วไป วิ.อ. ๓/๓๓๘/๔๘๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๕๑๒ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [คาถาสังคณิกะ] ๔. อสาธารณาทิ
ปาราชิก ๔ สังฆาทิเสส ๑๓ อนิยต ๒ นิสสัคคีย์ ๓๐
ขุททกะ ๙๒ ปาฏิเทสนียะ ๔ เสขิยะ ๗๕
สิกขาบทของภิกษุ ๒๒๐ สิกขาบทเหล่านี้
มาสู่อุทเทสทุกวันอุโบสถ

ประเภทสิกขาบทของภิกษุณี
สิกขาบทของภิกษุณี ๓๐๔ สิกขาบท มาสู่อุทเทสทุกวันอุโบสถ
เธอจงฟังสิกขาบทเหล่านั้น ตามลำดับต่อไป
ปาราชิก ๘ สังฆาทิเสส ๑๗ นิสสัคคีย์ ๓๐
ขุททกะ ๑๖๖ ปาฏิเทสนียะ ๘ เสขิยะ ๗๕
สิกขาบทของภิกษุณี ๓๐๔ สิกขาบทเหล่านี้
มาสู่อุทเทสทุกวันอุโบสถ

อสาธารณสิกขาบทของภิกษุ
สิกขาบทของภิกษุที่ไม่ทั่วไปกับภิกษุณี มี ๔๖ สิกขาบท
เธอจงฟังสิกขาบทเหล่านั้น ตามลำดับต่อไป
สังฆาทิเสส ๖ รวมกับอนิยต ๒ สิกขาบท เป็น ๘
นิสสัคคีย์ ๑๒ รวมกันเป็น ๒๐ ขุททกะ ๒๒
ปาฏิเทสนียะ ๔ สิกขาบทของภิกษุที่ไม่ทั่วไปกับภิกษุณีนี้
รวม ๔๖ สิกขาบท๑

เชิงอรรถ :
๑ คือ สังฆาทิเสส ๖ สิกขาบท คือสิกขาบทที่ ๑ ที่ ๒ ที่ ๓ ที่ ๔ ที่ ๖ ที่ ๗ อนิยต ๒ สิกขาบท
นิสสัคคีย์ ๑๒ สิกขาบท คือ สิกขาบทที่ ๔ ที่ ๕ แห่งจีวรวรรค สิกขาบทที่ ๑ ที่ ๒ ที่ ๓ ที่ ๔
ที่ ๕ ที่ ๖ ที่ ๗ แห่งโกสิยวรรค สิกขาบทที่ ๑ ที่ ๔ ที่ ๙ แห่งปัตตวรรค ปาจิตตีย์ ๒๒ คือ โอวาทวรรค
๑๐ สิกขาบท สิกขาบทที่ ๓ ที่ ๕ ที่ ๖ ที่ ๙ แห่งโภชนวรรค สิกขาบทที่ ๑ แห่งอเจลกวรรค สิกขาบท
ที่ ๔ ที่ ๕ ที่ ๗ แห่งสัปปาณกวรรค สิกขาบทที่ ๑ ที่ ๓ ที่ ๗ ที่ ๙ แห่งรตนวรรค และ ปาฏิเทสนียะ
๔ สิกขาบท (วิ.อ. ๓/๓๓๘/๔๘๑-๔๘๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๕๑๓ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [คาถาสังคณิกะ] ๔. อสาธารณาทิ
อสาธารณสิกขาบทของภิกษุณี
สิกขาบทของภิกษุณีที่ไม่ทั่วไปกับภิกษุ มี ๑๓๐ สิกขาบท
เธอจงฟังสิกขาบทเหล่านั้น ตามลำดับต่อไป
ปาราชิก ๔ สังฆาทิเสสที่ทำให้ถูกขับออกจากหมู่ ๑๐
นิสสัคคีย์ ๑๒ ขุททกะ ๙๖ ปาฏิเทสนียะ ๘
สิกขาบทของภิกษุณีที่ไม่ทั่วไปกับภิกษุนี้ รวม ๑๓๐ สิกขาบท

สิกขาบทที่ไม่ทั่วไปแก่สองฝ่าย
สิกขาบทของทั้ง ๒ ฝ่ายที่ไม่ทั่วไป มี ๑๗๖ สิกขาบท
เธอจงฟังสิกขาบทเหล่านั้น ตามลำดับต่อไป
ปาราชิก ๔ สังฆาทิเสส ๑๖ อนิยต ๒ นิสสัคคีย์ ๒๔
ขุททกะ ๑๑๘ ปาฏิเทสนียะ ๑๒
สิกขาบทของทั้ง ๒ ฝ่ายที่ไม่ทั่วไปนี้ รวม ๑๗๖ สิกขาบท

สิกขาบทของทั้งสองฝ่ายที่ศึกษาร่วมกัน
สิกขาบทของทั้ง ๒ ฝ่ายที่ศึกษาร่วมกัน มี ๑๗๔ สิกขาบท
เธอจงฟังสิกขาบทเหล่านั้น ตามลำดับต่อไป
ปาราชิก ๔ สังฆาทิเสส ๗ นิสสัคคีย์ ๑๘
ขุททกะ ๗๐ ถ้วน เสขิยะ ๗๕
สิกขาบทของทั้ง ๒ ฝ่ายที่ศึกษาร่วมกันนี้ รวม ๑๗๔ สิกขาบท

อาบัติที่ระงับไม่ได้
บุคคลผู้เป็นปาราชิก ๘ จำพวก เข้าใกล้ได้ยาก
เปรียบเหมือนต้นตาลเหลือแต่พื้นที่ บุคคลผู้เป็นปาราชิกเหล่านั้น
ย่อมเป็นผู้ไม่งอกงาม เปรียบเหมือนใบไม้เหี่ยวเหลือง แผ่นศิลาหนา
คนถูกตัดศีรษะ ต้นตาลยอดด้วน ฉะนั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๕๑๔ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [คาถาสังคณิกะ] ๕. ปาราชิกาทิอาปัตติ
อาบัติที่ระงับได้
สังฆาทิเสส ๒๓ อนิยต ๒ นิสสัคคีย์ ๔๒
ปาจิตตีย์ ๑๘๘ ปาฏิเทสนียะ ๑๒
เสขิยะ ๗๕ ระงับด้วยสมถะ ๓ คือ
(๑) สัมมุขาวินัย (๒) ปฏิญญาตกรณะ (๓) ติณวัตถารกะ

ส่วนที่ทรงจำแนก
อุโบสถ ๒ ปวารณา ๒ กรรม ๔
อันพระชินเจ้าทรงแสดงแล้ว
อุทเทส ๕ และอุทเทส ๔
ย่อมไม่มีโดยประการอื่น และกองอาบัติ มี ๗

อธิกรณ์
อธิกรณ์ ๔ ระงับด้วยสมถะ ๗ คือ ระงับด้วยสมถะ ๒
สมถะ ๔ สมถะ ๓ แต่กิจจาธิกรณ์ ระงับด้วยสมถะ ๑”

๕. ปาราชิกาทิอาปัตติ
ว่าด้วยอาบัติปาราชิก เป็นต้น

วิเคราะห์ปาราชิก
[๓๓๙] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
“เธอจงฟังอาบัติที่เราเรียกว่าปาราชิก ตามลำดับ
บุคคลเป็นผู้เคลื่อน ผิด พลาด และเหินห่างจากสัทธรรมทั้งหลาย
อนึ่ง แม้สังวาสก็ไม่มีในบุคคลนั้น
เพราะเหตุนั้น เราจึงเรียกอาบัตินั้นว่า อาบัติปาราชิก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๕๑๕ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [คาถาสังคณิกะ] ๕. ปาราชิกาทิอาปัตติ
วิเคราะห์สังฆาทิเสส
เธอจงฟังอาบัติที่เราเรียกว่าสังฆาทิเสส ตามลำดับ
สงฆ์เท่านั้นให้ปริวาส ชักเข้าหาอาบัติเดิม ให้มานัต อัพภาน
เพราะเหตุนั้น เราจึงเรียกอาบัตินั้นว่า อาบัติสังฆาทิเสส

วิเคราะห์อนิยต
เธอจงฟังอาบัติที่เราเรียกว่าอนิยต ตามลำดับ
กองอาบัติชื่อว่าอนิยต เพราะไม่แน่
ข้อที่เราบัญญัติไว้แล้วโดยมิใช่ส่วนเดียว
ในฐานะทั้ง ๓ ฐานะอย่างใดอย่างหนึ่ง เรียกว่า อนิยต

วิเคราะห์ถุลลัจจัย
เธอจงฟังอาบัติที่เราเรียกว่าถุลลัจจัย ตามลำดับ
ภิกษุใดแสดงในภิกษุรูปเดียว
และภิกษุรูปใดรับโทษนั้น โทษเสมอด้วยโทษนั้นไม่มี
เพราะเหตุนั้น เราจึงเรียกโทษนั้นว่า ถุลลัจจัย

วิเคราะห์นิสสัคคีย์
เธอจงฟังอาบัติที่เราเรียกว่านิสสัคคีย์ ตามลำดับ
ภิกษุยอมสละและแสดงข้อละเมิดใดพร้อมกันในท่ามกลางสงฆ์
ท่ามกลางคณะ และในสำนักภิกษุหนึ่ง
เพราะเหตุนั้น เราจึงเรียกข้อละเมิดนั้นว่า นิสสัคคีย์

วิเคราะห์ปาจิตตีย์
เธอจงฟังอาบัติที่เราเรียกว่าปาจิตตีย์ ตามลำดับ
ความละเมิดยังกุศลธรรมให้ตกไป ทำอริยมรรคให้เสียไป

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๕๑๖ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [คาถาสังคณิกะ] ๕. ปาราชิกาทิอาปัตติ
เป็นเหตุทำให้จิตลุ่มหลง
เพราะเหตุนั้น เราจึงเรียกความละเมิดนั้นว่า ปาจิตตีย์

วิเคราะห์ปาฏิเทสนียะ
เธอจงฟังอาบัติที่เราเรียกว่าปาฏิเทสนียะ ตามลำดับ
ภิกษุไม่มีญาติ หาโภชนะมาได้ยาก
รับมาเองแล้วฉัน เรียกว่า ต้องธรรมที่น่าติเตียน
ภิกษุฉันอยู่ในที่นิมนต์ ภิกษุณีบงการอยู่ในสถานที่นิมนต์นั้น
ตามความพอใจ ภิกษุไม่ห้ามแต่กลับฉันอยู่ในที่นั้น
เรียกว่า ต้องธรรมที่น่าติเตียน
ภิกษุไม่อาพาธ ไปสู่ตระกูลที่มีจิตศรัทธา แต่มีโภคทรัพย์น้อย
ผู้ไม่ร่ำรวยแล้วฉันในที่นั้น เรียกว่า ต้องธรรมที่น่าติเตียน
ภิกษุอยู่ในป่าที่น่าหวาดระแวงมีภัยน่ากลัว ฉันอาหารที่เขา
ไม่ได้รับแจ้งไว้ก่อน ในที่นั้น เรียกว่า ต้องธรรมที่น่าติเตียน
ภิกษุณีไม่มีญาติ ขอโภชนะที่ผู้อื่นยึดถือว่าเป็นของเรา คือ
เนยใส น้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อย ปลา เนื้อ นมสด และนมเปรี้ยว
ด้วยตนเอง ชื่อว่า ต้องธรรมที่น่าติเตียนในศาสนาของพระสุคต

วิเคราะห์ทุกกฏ
เธอจงฟังอาบัติที่เราเรียกว่าทุกกฏ ตามลำดับ
กรรมที่ผิด พลั้งพลาด จัดเป็นกรรมที่ทำไม่ดี
คนทำความชั่วอันใดไว้ในที่แจ้งหรือในที่ลับ
บัณฑิตทั้งหลายย่อมประกาศความชั่วนั้นว่า ทำชั่ว
เพราะเหตุนั้น เราจึงเรียกอาบัตินั้นว่า ทุกกฏ

วิเคราะห์ทุพภาสิต
เธอจงฟังอาบัติที่เราเรียกว่าทุพภาสิต ตามลำดับ
บทใดอันภิกษุกล่าวไม่ดี พูดไม่ดี และเสื่อมเสีย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๕๑๗ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [คาถาสังคณิกะ] ๕. ปาราชิกาทิอาปัตติ
ทั้งวิญญูชนทั้งหลายย่อมติเตียนบทใด
เพราะเหตุนั้น เราจึงเรียกข้อนั้นว่า ทุพภาสิต

วิเคราะห์เสขิยะ
เธอจงฟังอาบัติที่เราเรียกว่าเสขิยะ ตามลำดับ
ข้อนั้นเป็นเบื้องต้น เป็นข้อประพฤติ เป็นทาง
และเป็นข้อสังวรระวังของพระเสขะ ผู้กำลังศึกษา
ผู้ดำเนินไปสู่เส้นทางตรง สิกขาทั้งหลายเช่นนี้ไม่มี
เพราะเหตุนั้น เราจึงเรียกข้อนั้นว่า เสขิยะ

อุปมาอาบัติ และอนาบัติ
ยิ่งปิดยิ่งรั่ว เปิดแล้วไม่รั่ว
เพราะฉะนั้น พึงเปิดสิ่งที่ปิด
เมื่อเป็นดังนี้ สิ่งที่เปิดนั้นก็จะไม่รั่ว๑
ป่าใหญ่เป็นที่พึ่งของหมู่มฤค อากาศเป็นทางไปของหมู่ปักษี
ความเสื่อมเป็นคติของธรรมทั้งหลาย๒
พระนิพพานเป็นภูมิที่ไปของพระอรหันต์
คาถาสังคณิกะ จบ

หัวข้อประจำวาร
สิกขาบทที่ทรงบัญญัติ ณ ๗ พระนคร วิบัติ ๔ อย่าง
สิกขาบทของภิกษุและภิกษุณีที่ทั่วไป ที่ไม่ทั่วไป
นี้เป็นถ้อยคำที่ประมวลไว้ด้วยคาถา เพื่ออนุเคราะห์พระศาสนา”
คาถาสังคณิกะ จบ

เชิงอรรถ :
๑ วิ.จู. (แปล) ๗/๓๘๕/๒๘๕, ขุ.อุ. (แปล) ๒๕/๔๕/๒๖๘, ขุ.เถร. (แปล) ๒๖/๔๔๗/๔๑๕
๒ หมายถึงสังขตธรรมทั้งหลายมีความเสื่อมความพินาศ (วิ.อ. ๓/๓๓๙/๔๘๖)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๕๑๘ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [อธิกรณเภท] ๑. อุกโกฏนเภทาทิ
อธิกรณเภท
ว่าด้วยประเภทแห่งอธิกรณ์
๑. อุกโกฏนเภทาทิ
ว่าด้วยประเภทการรื้อฟื้น เป็นต้น
[๓๔๐] อธิกรณ์มี ๔ อย่าง คือ
๑. วิวาทาธิกรณ์ ๒. อนุวาทาธิกรณ์
๓. อาปัตตาธิกรณ์ ๔. กิจจาธิกรณ์
อธิกรณ์มี ๔ อย่างเหล่านี้
ถาม : การรื้อฟื้นอธิกรณ์ ๔ อย่างนี้ มีเท่าไร
ตอบ : การรื้อฟื้นอธิกรณ์ ๔ อย่างนี้ มี ๑๐ อย่าง คือ รื้อฟื้นวิวาทาธิกรณ์
มี ๒ รื้อฟื้นอนุวาทาธิกรณ์มี ๔ รื้อฟื้นอาปัตตาธิกรณ์มี ๓ รื้อฟื้นกิจจาธิกรณ์มี ๑
การรื้อฟื้นอธิกรณ์ ๔ อย่างนี้ มี ๑๐ อย่างเหล่านี้
ถาม : เมื่อรื้อฟื้นวิวาทาธิกรณ์ ย่อมรื้อฟื้นสมถะเท่าไร เมื่อรื้อฟื้นอนุวาทาธิกรณ์
ย่อมรื้อฟื้นสมถะเท่าไร เมื่อรื้อฟื้นอาปัตตาธิกรณ์ ย่อมรื้อฟื้นสมถะเท่าไร เมื่อ
รื้อฟื้นกิจจาธิกรณ์ ย่อมรื้อฟื้นสมถะเท่าไร
ตอบ : เมื่อรื้อฟื้นวิวาทาธิกรณ์ ย่อมรื้อฟื้นสมถะ ๒ อย่าง เมื่อรื้อฟื้น
อนุวาทาธิกรณ์ ย่อมรื้อฟื้นสมถะ ๔ อย่าง เมื่อรื้อฟื้นอาปัตตาธิกรณ์ ย่อมรื้อฟื้น
สมถะ ๓ อย่าง เมื่อรื้อฟื้นกิจจาธิกรณ์ ย่อมรื้อฟื้นสมถะอย่างเดียว

ว่าด้วยการรื้อฟื้นอธิกรณ์ เป็นต้น
[๓๔๑] ถาม : การรื้อฟื้นมีเท่าไร ด้วยอาการเท่าไร จึงนับว่ารื้อฟื้น บุคคล
ประกอบด้วยองค์เท่าไร จึงรื้อฟื้นอธิกรณ์ได้ บุคคลกี่จำพวก เมื่อรื้อฟื้นอธิกรณ์
ย่อมต้องอาบัติ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๕๑๙ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [อธิกรณเภท] ๑. อุกโกฏนเภทาทิ
ตอบ : การรื้อฟื้นมี ๑๒ อย่าง ด้วยอาการ ๑๐ จึงนับว่ารื้อฟื้น บุคคล
ประกอบด้วยองค์ ๔ จึงรื้อฟื้นอธิกรณ์ได้ บุคคล ๔ จำพวก เมื่อรื้อฟื้นอธิกรณ์
ย่อมต้องอาบัติ
การรื้อฟื้นมี ๑๒ อย่าง คือ

๑. รื้อฟื้นกรรมที่สงฆ์ยังไม่ได้ทำ ๒. รื้อฟื้นกรรมที่สงฆ์ทำไม่ดี
๓. รื้อฟื้นกรรมที่สงฆ์ควรทำใหม่ ๔. รื้อฟื้นกรรมที่สงฆ์ยังทำไม่เสร็จ
๕. รื้อฟื้นกรรมที่สงฆ์ทำเสร็จแล้วไม่ดี ๖. รื้อฟื้นกรรมที่สงฆ์ควรทำอีก
๗. รื้อฟื้นกรรมที่สงฆ์ยังไม่ได้วินิจฉัย ๘. รื้อฟื้นกรรมที่สงฆ์วินิจฉัยไม่ถูกต้อง
๙. รื้อฟื้นกรรมที่สงฆ์ควรวินิจฉัยใหม่ ๑๐. รื้อฟื้นกรรมที่ยังไม่ระงับ
๑๑. รื้อฟื้นกรรมที่ระงับแล้วไม่ดี ๑๒. รื้อฟื้นกรรมที่ควรระงับใหม่
การรื้อฟื้นมี ๑๒ อย่างเหล่านี้

ด้วยอาการ ๑๐ อย่าง จึงนับว่ารื้อฟื้น คือ

๑. รื้อฟื้นอธิกรณ์ที่เกิดในที่นั้น ๒. รื้อฟื้นอธิกรณ์ที่เกิดในที่นั้นแต่
ระงับแล้ว
๓. รื้อฟื้นอธิกรณ์ในระหว่างทาง ๔. รื้อฟื้นอธิกรณ์ที่ระงับแล้วในระหว่างทาง
๕. รื้อฟื้นอธิกรณ์อันไปแล้วในที่นั้น ๖. รื้อฟื้นอธิกรณ์อันไปแล้วแต่ระงับแล้ว
๗. รื้อฟื้นสติวินัย ๘. รื้อฟื้นอมูฬหวินัย
๙. รื้อฟื้นตัสสปาปิยสิกา ๑๐. รื้อฟื้นติณวัตถารกะ

ด้วยอาการ ๑๐ อย่างนี้ จึงนับว่ารื้อฟื้น
บุคคลประกอบด้วยองค์ ๔ จึงรื้อฟื้นอธิกรณ์ได้ คือ
๑. ลำเอียงเพราะชอบจึงรื้อฟื้นอธิกรณ์ได้
๒. ลำเอียงเพราะชังจึงรื้อฟื้นอธิกรณ์ได้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๕๒๐ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [อธิกรณเภท] ๒. อธิกรณนิทานาทิ
๓. ลำเอียงเพราะหลงจึงรื้อฟื้นอธิกรณ์ได้
๔. ลำเอียงเพราะกลัวจึงรื้อฟื้นอธิกรณ์ได้
บุคคลประกอบด้วยองค์ ๔ นี้ จึงรื้อฟื้นอธิกรณ์ได้
บุคคล ๔ จำพวก เมื่อรื้อฟื้นอธิกรณ์ ย่อมต้องอาบัติ คือ
๑. ภิกษุผู้อุปสมบทในวันนั้นแล้วรื้อฟื้นอธิกรณ์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์ที่
รื้อฟื้น
๒. ภิกษุเป็นอาคันตุกะรื้อฟื้นอธิกรณ์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์ที่รื้อฟื้น
๓. ภิกษุผู้กระทำรื้อฟื้นอธิกรณ์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์ที่รื้อฟื้น
๔. ภิกษุผู้ให้ฉันทะรื้อฟื้นอธิกรณ์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์ที่รื้อฟื้น
บุคคล ๔ จำพวกนี้ เมื่อรื้อฟื้นอธิกรณ์ ย่อมต้องอาบัติ

๒. อธิกรณนิทานาทิ
ว่าด้วยนิทานแห่งอธิกรณ์ เป็นต้น
[๓๔๒] ถาม : วิวาทาธิกรณ์ มีอะไรเป็นนิทาน มีอะไรเป็นสมุทัย มีอะไรเป็น
ชาติ มีอะไรเป็นแดนเกิดก่อน มีอะไรเป็นองค์ มีอะไรเป็นสมุฏฐาน
อนุวาทาธิกรณ์ มีอะไรเป็นนิทาน มีอะไรเป็นสมุทัย มีอะไรเป็นชาติ มีอะไร
เป็นแดนเกิดก่อน มีอะไรเป็นองค์ มีอะไรเป็นสมุฏฐาน
อาปัตตาธิกรณ์ มีอะไรเป็นนิทาน มีอะไรเป็นสมุทัย มีอะไรเป็นชาติ มีอะไร
เป็นแดนเกิดก่อน มีอะไรเป็นองค์ มีอะไรเป็นสมุฏฐาน
กิจจาธิกรณ์ มีอะไรเป็นนิทาน มีอะไรเป็นสมุทัย มีอะไรเป็นชาติ มีอะไรเป็น
แดนเกิดก่อน มีอะไรเป็นองค์ มีอะไรเป็นสมุฏฐาน
ตอบ : วิวาทาธิกรณ์ มีวิวาทเป็นนิทาน มีวิวาทเป็นสมุทัย มีวิวาทเป็นชาติ
มีวิวาทเป็นแดนเกิดก่อน มีวิวาทเป็นองค์ มีวิวาทเป็นสมุฏฐาน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๕๒๑ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [อธิกรณเภท] ๓. อธิกรณมูลาทิ
อนุวาทาธิกรณ์ มีอนุวาทเป็นนิทาน มีอนุวาทเป็นสมุทัย มีอนุวาทเป็นชาติ
มีอนุวาทเป็นแดนเกิดก่อน มีอนุวาทเป็นองค์ มีอนุวาทเป็นสมุฏฐาน
อาปัตตาธิกรณ์ มีอาบัติเป็นนิทาน มีอาบัติเป็นสมุทัย มีอาบัติเป็นชาติ
มีอาบัติเป็นแดนเกิดก่อน มีอาบัติเป็นองค์ มีอาบัติเป็นสมุฏฐาน
กิจจาธิกรณ์ มีกิจเป็นนิทาน มีกิจเป็นสมุทัย มีกิจเป็นชาติ มีกิจเป็นแดน
เกิดก่อน มีกิจเป็นองค์ มีกิจเป็นสมุฏฐาน
ถาม : วิวาทาธิกรณ์ มีอะไรเป็นนิทาน มีอะไรเป็นสมุทัย มีอะไรเป็นชาติ
มีอะไรเป็นแดนเกิดก่อน มีอะไรเป็นองค์ มีอะไรเป็นสมุฏฐาน
อนุวาทาธิกรณ์ ฯลฯ อาปัตตาธิกรณ์ ฯลฯ กิจจาธิกรณ์ ฯลฯ
ตอบ : วิวาทาธิกรณ์ มีเหตุเป็นนิทาน มีเหตุเป็นสมุทัย มีเหตุเป็นชาติ
มีเหตุเป็นแดนเกิดก่อน มีเหตุเป็นองค์ มีเหตุเป็นสมุฏฐาน
อนุวาทาธิกรณ์ ฯลฯ อาปัตตาธิกรณ์ ฯลฯ กิจจาธิกรณ์ ฯลฯ
ถาม : วิวาทาธิกรณ์ มีอะไรเป็นนิทาน มีอะไรเป็นสมุทัย มีอะไรเป็นชาติ
มีอะไรเป็นแดนเกิดก่อน มีอะไรเป็นองค์ มีอะไรเป็นสมุฏฐาน
อนุวาทาธิกรณ์ ฯลฯ อาปัตตาธิกรณ์ ฯลฯ กิจจาธิกรณ์ ฯลฯ
ตอบ : วิวาทาธิกรณ์ มีปัจจัยเป็นนิทาน มีปัจจัยเป็นสมุทัย มีปัจจัยเป็นชาติ
มีปัจจัยเป็นแดนเกิดก่อน มีปัจจัยเป็นองค์ มีปัจจัยเป็นสมุฏฐาน
อนุวาทาธิกรณ์ ฯลฯ อาปัตตาธิกรณ์ ฯลฯ กิจจาธิกรณ์ ฯลฯ

๓. อธิกรณมูลาทิ
ว่าด้วยมูลเหตุอธิกรณ์ เป็นต้น
[๓๔๓] ถาม : อธิกรณ์ ๔ มีมูลเหตุเท่าไร มีสมุฏฐานเท่าไร
ตอบ : อธิกรณ์ ๔ มีมูลเหตุ ๓๓ มีสมุฏฐาน ๓๓

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๕๒๒ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [อธิกรณเภท] ๔. อธิกรณปัจจยาทิปัตติ
ถาม : อธิกรณ์ ๔ มีมูลเหตุ ๓๓ อย่างไร
ตอบ : วิวาทาธิกรณ์ มีมูลเหตุ ๑๒ อนุวาทาธิกรณ์ มีมูลเหตุ ๑๔
อาปัตตาธิกรณ์ มีมูลเหตุ ๖ กิจจาธิกรณ์ มีมูลเหตุเดียวคือสงฆ์ รวมอธิกรณ์ ๔
มีมูลเหตุ ๓๓ นี้
ถาม : อธิกรณ์ ๔ มีสมุฏฐาน ๓๓ อย่างไร
ตอบ : วิวาทาธิกรณ์ มีเรื่องทำความแตกกัน ๑๘ เรื่อง เป็นสมุฏฐาน
อนุวาทาธิกรณ์ มีวิบัติ ๔ เป็นสมุฏฐาน อาปัตตาธิกรณ์ มีอาบัติ ๗ กอง เป็น
สมุฏฐาน กิจจาธิกรณ์ มีกรรม ๔ เป็นสมุฏฐาน รวมอธิกรณ์ ๔ มีสมุฏฐาน ๓๓ นี้

๔. อธิกรณปัจจยาปัตติ
ว่าด้วยอาบัติมีอธิกรณ์เป็นปัจจัย
[๓๔๔] ถาม : วิวาทาธิกรณ์ เป็นอาบัติหรืออนาบัติ
ตอบ : วิวาทาธิกรณ์ เป็นอนาบัติ
ถาม : ก็เพราะวิวาทาธิกรณ์เป็นปัจจัย ภิกษุจึงต้องอาบัติหรือ
ตอบ : ถูกแล้ว เพราะวิวาทาธิกรณ์เป็นปัจจัย ภิกษุจึงต้องอาบัติ
ถาม : เพราะวิวาทาธิกรณ์เป็นปัจจัย ภิกษุจึงต้องอาบัติเท่าไร
ตอบ : เพราะวิวาทาธิกรณ์เป็นปัจจัย ภิกษุจึงต้องอาบัติ ๒ อย่าง คือ
๑. ด่าอุปสัมบันต้องอาบัติปาจิตตีย์
๒. ด่าอนุปสัมบันต้องอาบัติทุกกฏ
เพราะวิวาทาธิกรณ์เป็นปัจจัย ภิกษุจึงต้องอาบัติ ๒ อย่างนี้
ถาม : อาบัติเหล่านั้น บรรดาวิบัติ ๔ อย่าง จัดเป็นวิบัติอย่างไหน บรรดา
อธิกรณ์ ๔ อย่าง เป็นอธิกรณ์อย่างไหน บรรดากองอาบัติ ๗ กอง จัดเข้ากอง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๕๒๓ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [อธิกรณเภท] ๔. อธิกรณปัจจยาทิปัตติ
อาบัติไหน บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐานเกิดด้วยสมุฏฐานเท่าไร ระงับ
ด้วยอธิกรณ์เท่าไร ในฐานะเท่าไร ด้วยสมถะเท่าไร
ตอบ : อาบัติเหล่านั้น บรรดาวิบัติ ๔ อย่าง จัดเป็นวิบัติ ๑ อย่าง คือ
อาจารวิบัติ บรรดาอธิกรณ์ ๔ เป็นอาปัตตาธิกรณ์ บรรดากองอาบัติ ๗ กอง
จัดเข้ากองอาบัติ ๒ กอง คือ (๑) กองอาบัติปาจิตตีย์ (๒) กองอาบัติทุกกฏ
บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๓ สมุฏฐาน ระงับด้วย
อธิกรณ์ ๑ คือ กิจจาธิกรณ์ ระงับใน ๓ ฐานะ คือ ท่ามกลางสงฆ์ ท่ามกลางคณะ
สำนักบุคคล ระงับด้วยสมถะ ๓ คือ (๑) สัมมุขาวินัย (๒) ปฏิญญาตกรณะ
(๓) สัมมุขาวินัยและติณวัตถารกะ

ว่าด้วยอนุวาทาธิกรณ์เป็นอาบัติหรืออนาบัติ เป็นต้น
[๓๔๕] ถาม : อนุวาทาธิกรณ์ เป็นอาบัติหรืออนาบัติ
ตอบ : อนุวาทาธิกรณ์ เป็นอนาบัติ
ถาม : ก็เพราะอนุวาทาธิกรณ์เป็นปัจจัย ภิกษุจึงต้องอาบัติหรือ
ตอบ : ถูกแล้ว เพราะอนุวาทาธิกรณ์เป็นปัจจัย ภิกษุจึงต้องอาบัติ
ถาม : เพราะอนุวาทาธิกรณ์เป็นปัจจัย ภิกษุจึงต้องอาบัติเท่าไร
ตอบ : เพราะอนุวาทาธิกรณ์เป็นปัจจัย ภิกษุจึงต้องอาบัติ ๓ อย่าง คือ
๑. ใส่ความภิกษุด้วยอาบัติปาราชิกที่ไม่มีมูล ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
๒. ใส่ความภิกษุด้วยอาบัติสังฆาทิเสสที่ไม่มีมูล ต้องอาบัติปาจิตตีย์
๓. ใส่ความภิกษุด้วยอาบัติปาจิตตีย์ที่ไม่มีมูล ต้องอาบัติทุกกฏ
เพราะอนุวาทาธิกรณ์เป็นปัจจัย ภิกษุจึงต้องอาบัติ ๓ อย่างนี้
ถาม : อาบัติเหล่านั้น บรรดาวิบัติ ๔ อย่าง จัดเป็นวิบัติเท่าไร บรรดาอธิกรณ์
๔ อย่าง เป็นอธิกรณ์อย่างไหน บรรดากองอาบัติ ๗ กอง จัดเข้ากองอาบัติเท่าไร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๕๒๔ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [อธิกรณเภท] ๔. อธิกรณปัจจยาทิปัตติ
บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐานเกิดด้วยสมุฏฐานเท่าไร ระงับด้วยอธิกรณ์เท่าไร
ในฐานะเท่าไร ด้วยสมถะเท่าไร
ตอบ : อาบัติเหล่านั้น บรรดาวิบัติ ๔ อย่างจัดเป็นวิบัติ ๒ อย่าง คือ
(๑) สีลวิบัติ (๒) อาจารวิบัติ บรรดาอธิกรณ์ ๔ เป็นอาปัตตาธิกรณ์ บรรดา
กองอาบัติ ๗ กอง จัดเข้ากองอาบัติ ๓ กอง คือ (๑) กองอาบัติสังฆาทิเสส
(๒) กองอาบัติปาจิตตีย์ (๓) กองอาบัติทุกกฏ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖
สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๓ สมุฏฐาน อาบัติหนักระงับด้วยอธิกรณ์ ๑ คือ
กิจจาธิกรณ์ ระงับใน ๑ ฐานะ คือ ท่ามกลางสงฆ์ ระงับด้วยสมถะ ๒ คือ
(๑) สัมมุขาวินัย (๒) ปฏิญญาตกรณะ อาบัติเบาระงับด้วยอธิกรณ์ ๑ คือ
กิจจาธิกรณ์ ระงับใน ๓ ฐานะ คือ ในท่ามกลางสงฆ์ ในท่ามกลางคณะ ในสำนัก
บุคคล ระงับด้วยสมถะ ๓ คือ (๑) สัมมุขาวินัย (๒) ปฏิญญาตกรณะ
(๓) สัมมุขาวินัยและติณวัตถารกะ

ว่าด้วยอาปัตตาธิกรณ์เป็นอาบัติหรืออนาบัติ เป็นต้น
[๓๔๖] ถาม : อาปัตตาธิกรณ์ เป็นอาบัติหรืออนาบัติ
ตอบ : อาปัตตาธิกรณ์ เป็นอนาบัติ
ถาม : ก็เพราะอาปัตตาธิกรณ์เป็นปัจจัย จึงต้องอาบัติหรือ
ตอบ : ถูกแล้ว เพราะอาปัตตาธิกรณ์เป็นปัจจัย จึงต้องอาบัติ
ถาม : เพราะอาปัตตาธิกรณ์เป็นปัจจัย ภิกษุจึงต้องอาบัติเท่าไร
ตอบ : เพราะอาปัตตาธิกรณ์เป็นปัจจัย จึงต้องอาบัติ ๔ อย่าง คือ
๑. ภิกษุณี รู้อยู่ ปกปิดภิกษุณีผู้ต้องอาบัติปาราชิก ต้องอาบัติปาราชิก
๒. สงสัยปกปิดไว้ ต้องอาบัติถุลลัจจัย
๓. ภิกษุปกปิดอาบัติสังฆาทิเสส ต้องอาบัติปาจิตตีย์
๔. ปกปิดอาจารวิบัติ ต้องอาบัติทุกกฏ
เพราะอาปัตตาธิกรณ์เป็นปัจจัย จึงต้องอาบัติ ๔ อย่างนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๕๒๕ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [อธิกรณเภท] ๔. อธิกรณปัจจยาทิปัตติ
ถาม : อาบัติเหล่านั้น บรรดาวิบัติ ๔ อย่าง จัดเป็นวิบัติเท่าไร บรรดา
อธิกรณ์ ๔ อย่าง เป็นอธิกรณ์อย่างไหน บรรดากองอาบัติ ๗ กอง จัดเข้ากอง
อาบัติเท่าไร บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐานเท่าไร
ระงับด้วยอธิกรณ์เท่าไร ในฐานะเท่าไร ด้วยสมถะเท่าไร
ตอบ : อาบัติเหล่านั้น บรรดาวิบัติ ๔ อย่าง จัดเป็นวิบัติ ๒ อย่าง คือ
(๑) สีลวิบัติ (๒) อาจารวิบัติ บรรดาอธิกรณ์ ๔ เป็นอาปัตตาธิกรณ์ บรรดา
กองอาบัติ ๗ กอง จัดเข้าอาบัติ ๔ กอง คือ (๑) กองอาบัติปาราชิก
(๒) กองอาบัติถุลลัจจัย (๓) กองอาบัติปาจิตตีย์ (๔) กองอาบัติทุกกฏ บรรดา
สมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๑ สมุฏฐาน คือ เกิดทาง
กายวาจากับจิต อาบัติที่ไม่มีส่วนเหลือระงับด้วยอธิกรณ์ไหนไม่ได้ ระงับในฐานะไหน
ไม่ได้ ระงับด้วยสมถะไหนไม่ได้ อาบัติเบาระงับด้วยอธิกรณ์ ๑ คือ กิจจาธิกรณ์ ระงับ
ใน ๓ ฐานะ คือ ในท่ามกลางสงฆ์ ในท่ามกลางคณะ ในสำนักบุคคล ระงับด้วยสมถะ
๓ คือ (๑) สัมมุขาวินัย (๒) ปฏิญญาตกรณะ (๓) สัมมุขาวินัยและติณวัตถารกะ

ว่าด้วยกิจจาธิกรณ์เป็นอาบัติหรืออนาบัติ เป็นต้น
[๓๔๗] ถาม : กิจจาธิกรณ์ เป็นอาบัติหรืออนาบัติ
ตอบ : กิจจาธิกรณ์ เป็นอนาบัติ
ถาม : ก็เพราะกิจจาธิกรณ์เป็นปัจจัย ภิกษุจึงต้องอาบัติหรือ
ตอบ : ถูกแล้ว เพราะกิจจาธิกรณ์เป็นปัจจัย ภิกษุจึงต้องอาบัติ
ถาม : เพราะกิจจาธิกรณ์เป็นปัจจัย ภิกษุจึงต้องอาบัติเท่าไร
ตอบ : เพราะกิจจาธิกรณ์เป็นปัจจัย ภิกษุจึงต้องอาบัติ ๕ อย่าง คือ
๑. ภิกษุณีผู้ประพฤติตามภิกษุผู้ถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรม ไม่ยอมสละ
กรรมจนกระทั่งสงฆ์สวดสมนุภาสน์ครบ ๓ ครั้ง จบญัตติต้องอาบัติ
ทุกกฏ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๕๒๖ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [อธิกรณเภท] ๔. อธิกรณปัจจยาทิปัตติ
๒. จบกรรมวาจา ๒ ครั้งต้องอาบัติถุลลัจจัย
๓. จบกรรมวาจาครั้งสุดท้ายต้องอาบัติปาราชิก
๔. ภิกษุประพฤติตามภิกษุผู้ทำลายสงฆ์ ไม่ยอมสละกรรม จนกระทั่ง
สงฆ์สวดสมนุภาสน์ครบ ๓ ครั้ง ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
๕. ภิกษุไม่ละทิฏฐิบาป จนกระทั่งสงฆ์สวดสมนุภาสน์ครบ ๓ ครั้ง
ต้องอาบัติปาจิตตีย์
เพราะกิจจาธิกรณ์เป็นปัจจัย ภิกษุจึงต้องอาบัติ ๕ อย่างนี้
ถาม : อาบัติเหล่านั้น บรรดาวิบัติ ๔ อย่าง จัดเป็นวิบัติเท่าไร บรรดา
อธิกรณ์ ๔ อย่าง เป็นอธิกรณ์อย่างไหน บรรดากองอาบัติ ๗ กอง จัดเข้า
กองอาบัติเท่าไร บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐานเกิดด้วยสมุฏฐานเท่าไร
ระงับด้วยอธิกรณ์เท่าไร ในฐานะเท่าไร ด้วยสมถะเท่าไร
ตอบ : อาบัติเหล่านั้น บรรดาวิบัติ ๔ อย่าง จัดเป็นวิบัติ ๒ อย่าง คือ
(๑) สีลวิบัติ (๒) อาจารวิบัติ บรรดาอธิกรณ์ ๔ อย่าง เป็นอาปัตตาธิกรณ์ บรรดา
กองอาบัติ ๗ กอง จัดเข้ากองอาบัติ ๕ กอง คือ (๑) กองอาบัติปาราชิก
(๒) กองอาบัติสังฆาทิเสส (๓) กองอาบัติถุลลัจจัย (๔) กองอาบัติปาจิตตีย์
(๕) กองอาบัติทุกกฏ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๑
สมุฏฐาน คือ เกิดทางกายวาจากับจิต อาบัติที่ไม่มีส่วนเหลือ ระงับด้วยอธิกรณ์ไหน
ไม่ได้ ระงับในฐานะไหนไม่ได้ ระงับด้วยสมถะไหนไม่ได้ อาบัติหนักระงับด้วย
อธิกรณ์เดียว คือ กิจจาธิกรณ์ ระงับในฐานะเดียว คือ ท่ามกลางสงฆ์ ระงับ
ด้วยสมถะ ๒ คือ (๑) สัมมุขาวินัย (๒) ปฏิญญาตกรณะ อาบัติเบาระงับด้วย
อธิกรณ์เดียว คือ กิจจาธิกรณ์ ระงับใน ๓ ฐานะ คือ ในท่ามกลางสงฆ์
ในท่ามกลางคณะ ในสำนักบุคคล ระงับด้วยสมถะ ๓ คือ (๑) สัมมุขาวินัย
(๒) ปฏิญญาตกรณะ (๓) สัมมุขาวินัยและติณวัตถารกะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๕๒๗ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [อธิกรณเภท] ๕. อธิกรณาธิปปายะ
๕. อธิกรณาธิปปายะ
ว่าด้วยอธิบายอธิกรณ์

วิวาทาธิกรณ์
[๓๔๘] ถาม : วิวาทาธิกรณ์ เป็นอนุวาทาธิกรณ์ เป็นอาปัตตาธิกรณ์
เป็นกิจจาธิกรณ์หรือ
ตอบ : วิวาทาธิกรณ์ ไม่เป็นอนุวาทาธิกรณ์ อาปัตตาธิกรณ์ กิจจาธิกรณ์
แต่เพราะวิวาทาธิกรณ์เป็นปัจจัย อนุวาทาธิกรณ์ อาปัตตาธิกรณ์ กิจจาธิกรณ์
ย่อมมีได้ เปรียบเหมือนอะไร เปรียบเหมือนภิกษุทั้งหลายในธรรมวินัยนี้วิวาทกันว่า
นี้เป็นธรรม นี้เป็นอธรรม ฯลฯ
นี้อาบัติชั่วหยาบ นี้อาบัติไม่ชั่วหยาบ
ความบาดหมาง ความทะเลาะ ความแก่งแย่ง ความวิวาท การกล่าวต่างกัน
การกล่าวโดยประการอื่น การพูดเพื่อความกลัดกลุ้ม ความหมายมั่นในเรื่องนั้น
นี้เรียกว่า วิวาทาธิกรณ์ สงฆ์วิวาทกันในเพราะวิวาทาธิกรณ์ จัดเป็นวิวาทาธิกรณ์
เมื่อวิวาทกัน ย่อมโจท จัดเป็นอนุวาทาธิกรณ์ เมื่อโจทย่อมต้องอาบัติ จัดเป็น
อาปัตตาธิกรณ์ สงฆ์ทำกรรมตามอาบัตินั้น จัดเป็นกิจจาธิกรณ์ เพราะวิวาทาธิกรณ์
เป็นปัจจัย อนุวาทาธิกรณ์ อาปัตตาธิกรณ์ กิจจาธิกรณ์ ย่อมมีอย่างนี้

อนุวาทาธิกรณ์
ถาม : อนุวาทาธิกรณ์ เป็นอาปัตตาธิกรณ์ เป็นกิจจาธิกรณ์ เป็นวิวาทาธิ-
กรณ์หรือ
ตอบ : อนุวาทาธิกรณ์ ไม่เป็นอาปัตตาธิกรณ์ กิจจาธิกรณ์ วิวาทาธิกรณ์ แต่
เพราะอนุวาทาธิกรณ์เป็นปัจจัย อาปัตตาธิกรณ์ กิจจาธิกรณ์ วิวาทาธิกรณ์ ย่อม
มีได้ เปรียบเหมือนอะไร เปรียบเหมือนภิกษุทั้งหลายในธรรมวินัยนี้ โจทภิกษุด้วย
สีลวิบัติ อาจารวิบัติ ทิฏฐิวิบัติ หรืออาชีววิบัติ การโจท การกล่าวหา การฟ้องร้อง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๕๒๘ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [อธิกรณเภท] ๕. อธิกรณาธิปปายะ
การประท้วง ความเป็นผู้คล้อยตาม การทำความพยายามโจท การให้กำลัง
สนับสนุนในเรื่องนั้น นี้เรียกว่า อนุวาทาธิกรณ์ สงฆ์วิวาทกันในเพราะอนุวาทาธิกรณ์
จัดเป็นวิวาทาธิกรณ์ เมื่อวิวาทกัน ย่อมโจท จัดเป็นอนุวาทาธิกรณ์ เมื่อโจทย่อม
ต้องอาบัติ จัดเป็นอาปัตตาธิกรณ์ สงฆ์ทำกรรมตามอาบัตินั้น จัดเป็นกิจจาธิกรณ์
เพราะอนุวาทาธิกรณ์เป็นปัจจัย อาปัตตาธิกรณ์ กิจจาธิกรณ์ วิวาทาธิกรณ์ ย่อมมี
อย่างนี้

อาปัตตาธิกรณ์
ถาม : อาปัตตาธิกรณ์ เป็นกิจจาธิกรณ์ เป็นวิวาทาธิกรณ์ เป็นอนุวาทา-
ธิกรณ์หรือ
ตอบ : อาปัตตาธิกรณ์ ไม่เป็นกิจจาธิกรณ์ วิวาทาธิกรณ์ อนุวาทาธิกรณ์
แต่เพราะอาปัตตาธิกรณ์เป็นปัจจัย กิจจาธิกรณ์ วิวาทาธิกรณ์ อนุวาทาธิกรณ์
ย่อมมีได้ เปรียบเหมือนอะไร เปรียบเหมือนอาบัติทั้ง ๕ กอง ชื่ออาปัตตาธิกรณ์
อาบัติทั้ง ๗ กอง ชื่ออาปัตตาธิกรณ์ นี้เรียกว่าอาปัตตาธิกรณ์ สงฆ์วิวาทกันใน
เพราะอนุวาทาธิกรณ์ จัดเป็นวิวาทาธิกรณ์ เมื่อวิวาทกัน ย่อมโจท จัดเป็น
อนุวาทาธิกรณ์ เมื่อโจทย่อมต้องอาบัติ จัดเป็นอาปัตตาธิกรณ์ สงฆ์ทำกรรม
ตามอาบัตินั้น จัดเป็นกิจจาธิกรณ์ เพราะอาปัตตาธิกรณ์เป็นปัจจัย กิจจาธิกรณ์
วิวาทาธิกรณ์ อนุวาทาธิกรณ์ ย่อมมีอย่างนี้

กิจจาธิกรณ์
ถาม : กิจจาธิกรณ์ เป็นวิวาทาธิกรณ์ เป็นอนุวาทาธิกรณ์ เป็นอาปัตตา-
ธิกรณ์หรือ
ตอบ : กิจจาธิกรณ์ ไม่เป็นวิวาทาธิกรณ์ อนุวาทาธิกรณ์ อาปัตตาธิกรณ์
แต่เพราะกิจจาธิกรณ์เป็นปัจจัย วิวาทาธิกรณ์ อนุวาทาธิกรณ์ อาปัตตาธิกรณ์
ย่อมมีได้ เปรียบเหมือนอะไร เปรียบเหมือนความมีแห่งกิจ ความมีกิจอันจะพึงทำ
ของสงฆ์ คือ อปโลกนกรรม ญัตติกรรม ญัตติทุติยกรรม ญัตติจตุตถกรรม นี้เรียกว่า
กิจจาธิกรณ์ สงฆ์วิวาทกันในเพราะอนุวาทาธิกรณ์ จัดเป็นวิวาทาธิกรณ์ เมื่อวิวาทกัน
ย่อมโจท จัดเป็นอนุวาทาธิกรณ์ เมื่อโจทย่อมต้องอาบัติ จัดเป็นอาปัตตาธิกรณ์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๕๒๙ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [อธิกรณเภท] ๗. วิสัชชนาวาร
สงฆ์ทำกรรมตามอาบัตินั้น จัดเป็นกิจจาธิกรณ์ เพราะกิจจาธิกรณ์เป็นปัจจัย
วิวาทาธิกรณ์ อนุวาทาธิกรณ์ อาปัตตาธิกรณ์ย่อมมีอย่างนี้

๖. ปุจฉาวาร
ว่าด้วยวาระแห่งการถาม
อธิบายสมถะ
[๓๔๙] สติวินัยมีในที่ใด สัมมุขาวินัยมีในที่นั้น สัมมุขาวินัยมีในที่ใด สติวินัยมี
ในที่นั้น อมูฬหวินัยมีในที่ใด สัมมุขาวินัยมีในที่นั้น สัมมุขาวินัยมีในที่ใด อมูฬห-
วินัยมีในที่นั้น ปฏิญญาตกรณะมีในที่ใด สัมมุขาวินัยมีในที่นั้น สัมมุขาวินัยมีในที่ใด
ปฏิญญาตกรณะมีในที่นั้น เยภุยยสิกามีในที่ใด สัมมุขาวินัยมีในที่นั้น สัมมุขาวินัย
มีในที่ใด เยภุยยสิกามีในที่นั้น ตัสสปาปิยสิกามีในที่ใด สัมมุขาวินัยมีในที่นั้น
สัมมุขาวินัยมีในที่ใด ตัสสปาปิยสิกามีในที่นั้น ติณวัตถารกะมีในที่ใด สัมมุขาวินัย
มีในที่นั้น สัมมุขาวินัยมีในที่ใด ติณวัตถารกะมีในที่นั้น

๗. วิสัชชนาวาร
ว่าด้วยวาระแห่งการตอบ
อธิกรณ์ระงับ
[๓๕๐] สมัยใด อธิกรณ์ระงับด้วยสัมมุขาวินัยและสติวินัย สมัยนั้น สติวินัยมี
ในที่ใด สัมมุขาวินัยมีในที่นั้น สัมมุขาวินัยมีในที่ใด สติวินัยมีในที่นั้น แต่ในที่นั้นไม่
มีอมูฬหวินัย ปฏิญญาตกรณะ เยภุยยสิกา ตัสสปาปิยสิกา และติณวัตถารกะ
สมัยใด อธิกรณ์ระงับด้วยสัมมุขาวินัยและอมูฬหวินัย ฯลฯ
สมัยใด อธิกรณ์ระงับด้วยสัมมุขาวินัยและปฏิญญาตกรณะ ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๕๓๐ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [อธิกรณเภท] ๘. สังสัฏฐวาร
สมัยใด อธิกรณ์ระงับด้วยสัมมุขาวินัยและเยภุยยสิกา ฯลฯ
สมัยใด อธิกรณ์ระงับด้วยสัมมุขาวินัยและตัสสปาปิยสิกา ฯลฯ
สมัยใด อธิกรณ์ระงับด้วยสัมมุขาวินัยและติณวัตถารกะ สมัยนั้น ติณวัตถารกะ
มีในที่ใด สัมมุขาวินัยมีในที่นั้น สัมมุขาวินัยมีในที่ใด ติณวัตถารกะมีในที่นั้น แต่ไม่มี
สติวินัย อมูฬหวินัย ปฏิญญาตกรณะ เยภุยยสิกา และตัสสปาปิยสิกา

๘. สังสัฏฐวาร
ว่าด้วยวาระที่ว่าด้วยการรวมกัน
[๓๕๑] ถาม : ธรรมเหล่านี้ คือ สัมมุขาวินัยก็ดี สติวินัยก็ดี รวมกันหรือแยกกัน
ก็แลนักปราชญ์ยักย้ายบัญญัติธรรมเหล่านี้ให้แยกออกจากกันได้หรือ
ธรรมเหล่านี้ คือ สัมมุขาวินัยก็ดี อมูฬหวินัยก็ดี ฯลฯ
ธรรมเหล่านี้ คือ สัมมุขาวินัยก็ดี ปฏิญญาตกรณะก็ดี ฯลฯ
ธรรมเหล่านี้ คือ สัมมุขาวินัยก็ดี เยภุยยสิกาก็ดี ฯลฯ
ธรรมเหล่านี้ คือ สัมมุขาวินัยก็ดี ตัสสปาปิยสิกาก็ดี ฯลฯ
ธรรมเหล่านี้ คือ สัมมุขาวินัยก็ดี ติณวัตถารกะก็ดี รวมกันหรือแยกกัน
ก็แลนักปราชญ์ยักย้ายบัญญัติธรรมเหล่านี้ให้แยกออกจากกันได้หรือ
ตอบ : ธรรมเหล่านี้ คือ สัมมุขาวินัยก็ดี สติวินัยก็ดี รวมกันไม่แยกจากกัน
ก็แลนักปราชญ์ยักย้ายบัญญัติธรรมเหล่านี้ให้แยกออกจากกันไม่ได้
ธรรมเหล่านี้ คือ สัมมุขาวินัยก็ดี อมูฬหวินัยก็ดี ฯลฯ
ธรรมเหล่านี้ คือ สัมมุขาวินัยก็ดี ปฏิญญาตกรณะก็ดี ฯลฯ
ธรรมเหล่านี้ คือ สัมมุขาวินัยก็ดี เยภุยยสิกาก็ดี ฯลฯ
ธรรมเหล่านี้ คือ สัมมุขาวินัยก็ดี ตัสสปาปิยสิกาก็ดี ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๕๓๑ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [อธิกรณเภท] ๙. สัตตสมถนิทาน
ธรรมเหล่านี้ คือ สัมมุขาวินัยก็ดี ติณวัตถารกะก็ดี รวมกัน ไม่แยกจากกัน
ก็แลนักปราชญ์ยักย้ายบัญญัติธรรมเหล่านี้ให้แยกออกจากกันไม่ได้

๙. สัตตสมถนิทาน
ว่าด้วยนิทานแห่งสมถะ ๗
[๓๕๒] ถาม : สัมมุขาวินัย มีอะไรเป็นนิทาน มีอะไรเป็นสมุทัย มีอะไรเป็นชาติ
มีอะไรเป็นแดนเกิดก่อน มีอะไรเป็นองค์ มีอะไรเป็นสมุฏฐาน
สติวินัย ฯลฯ อมูฬหวินัย ฯลฯ ปฏิญญาตกรณะ ฯลฯ เยภุยยสิกา ฯลฯ
ตัสสปาปิยสิกา ฯลฯ
ติณวัตถารกะ มีอะไรเป็นนิทาน มีอะไรเป็นสมุทัย มีอะไรเป็นชาติ มีอะไรเป็น
แดนเกิดก่อน มีอะไรเป็นองค์ มีอะไรเป็นสมุฏฐาน
ตอบ : สัมมุขาวินัยมีนิทานเป็นนิทาน มีนิทานเป็นสมุทัย มีนิทานเป็นชาติ
มีนิทานเป็นแดนเกิดก่อน มีนิทานเป็นองค์ มีนิทานเป็นสมุฏฐาน
สติวินัย ฯลฯ อมูฬหวินัย ฯลฯ ปฏิญญาตกรณะ ฯลฯ เยภุยยสิกา ฯลฯ
ตัสสปาปิยสิกา ฯลฯ
ติณวัตถารกะ มีนิทานเป็นนิทาน มีนิทานเป็นสมุทัย มีนิทานเป็นชาติ มีนิทาน
เป็นแดนเกิดก่อน มีนิทานเป็นองค์ มีนิทานเป็นสมุฏฐาน
ถาม : สัมมุขาวินัย มีอะไรเป็นนิทาน มีอะไรเป็นสมุทัย มีอะไรเป็นชาติ มีอะไร
เป็นแดนเกิดก่อน มีอะไรเป็นองค์ มีอะไรเป็นสมุฏฐาน
สติวินัย ฯลฯ อมูฬหวินัย ฯลฯ ปฏิญญาตกรณะ ฯลฯ เยภุยยสิกา ฯลฯ
ตัสสปาปิยสิกา ฯลฯ
ติณวัตถารกะ มีอะไรเป็นนิทาน มีอะไรเป็นสมุทัย มีอะไรเป็นชาติ มีอะไรเป็น
แดนเกิดก่อน มีอะไรเป็นองค์ มีอะไรเป็นสมุฏฐาน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๕๓๒ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [อธิกรณเภท] ๙. สัตตสมถนิทาน
ตอบ : สัมมุขาวินัย มีเหตุเป็นนิทาน มีเหตุเป็นสมุทัย มีเหตุเป็นชาติ มีเหตุ
เป็นแดนเกิดก่อน มีเหตุเป็นองค์ มีเหตุเป็นสมุฏฐาน
สติวินัย ฯลฯ อมูฬหวินัย ฯลฯ ปฏิญญาตกรณะ ฯลฯ เยภุยยสิกา ฯลฯ
ตัสสปาปิยสิกา ฯลฯ
ติณวัตถารกะ มีเหตุเป็นนิทาน มีเหตุเป็นสมุทัย มีเหตุเป็นชาติ มีเหตุเป็นแดน
เกิดก่อน มีเหตุเป็นองค์ มีเหตุเป็นสมุฏฐาน
ถาม : สัมมุขาวินัย มีอะไรเป็นนิทาน มีอะไรเป็นสมุทัย มีอะไรเป็นชาติ
มีอะไรเป็นแดนเกิดก่อน มีอะไรเป็นองค์ มีอะไรเป็นสมุฏฐาน
สติวินัย ฯลฯ อมูฬหวินัย ฯลฯ ปฏิญญาตกรณะ ฯลฯ เยภุยยสิกา ฯลฯ
ตัสสปาปิยสิกา ฯลฯ
ติณวัตถารกะ มีอะไรเป็นนิทาน มีอะไรเป็นสมุทัย มีอะไรเป็นชาติ มีอะไรเป็น
แดนเกิดก่อน มีอะไรเป็นองค์ มีอะไรเป็นสมุฏฐาน
ตอบ : สัมมุขาวินัย มีปัจจัยเป็นนิทาน มีปัจจัยเป็นสมุทัย มีปัจจัยเป็นชาติ
มีปัจจัยเป็นแดนเกิดก่อน มีปัจจัยเป็นองค์ มีปัจจัยเป็นสมุฏฐาน
สติวินัย ฯลฯ อมูฬหวินัย ฯลฯ ปฏิญญาตกรณะ ฯลฯ เยภุยยสิกา ฯลฯ
ตัสสปาปิยสิกา ฯลฯ
ติณวัตถารกะ มีปัจจัยเป็นนิทาน มีปัจจัยเป็นสมุทัย มีปัจจัยเป็นชาติ มีปัจจัย
เป็นแดนเกิดก่อน มีปัจจัยเป็นองค์ มีปัจจัยเป็นสมุฏฐาน

ว่าด้วยมูลเหตุ และสมุฏฐานแห่งสมถะ
[๓๕๓] ถาม : สมถะ ๗ มีมูลเหตุเท่าไร มีสมุฏฐานเท่าไร
ตอบ : สมถะ ๗ มีมูลเหตุ ๒๖ มีสมุฏฐาน ๓๖
ถาม : สมถะ ๗ มีมูลเหตุ ๒๖ อะไรบ้าง
ตอบ : สัมมุขาวินัย มีมูลเหตุ ๔ คือ ความพร้อมหน้าสงฆ์ ๑ ความพร้อม
หน้าธรรม ๑ ความพร้อมหน้าวินัย ๑ ความพร้อมหน้าบุคคล ๑

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๕๓๓ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [อธิกรณเภท] ๑๐. สัตตสมถนานัตถาทิ
สติวินัย มีมูลเหตุ ๔ อมูฬหวินัย มีมูลเหตุ ๔ ปฏิญญาตกรณะ มีมูลเหตุ ๒
คือ (๑) ผู้แสดง (๒) ผู้รับ เยภุยยสิกา มีมูลเหตุ ๔ ตัสสปาปิยสิกา มีมูลเหตุ ๔
ติณวัตถารกะ มีมูลเหตุ ๔ คือ (๑) ความพร้อมหน้าสงฆ์ (๒) ความพร้อมหน้าธรรม
(๓) ความพร้อมหน้าวินัย (๔) ความพร้อมหน้าบุคคล
สมถะ ๗ มีมูลเหตุ ๒๖ นี้
ถาม : สมถะ ๗ มีสมุฏฐาน ๓๖ อะไรบ้าง
ตอบ : การประกอบ การกระทำ การเข้าถึง การขอร้อง กิริยาที่ยอมรับ ไม่
คัดค้าน กรรม คือ สติวินัย
การประกอบ การกระทำ การเข้าถึง การขอร้อง กิริยาที่ยอมรับ ไม่คัดค้าน
กรรม คือ อมูฬหวินัย
การประกอบ การกระทำ การเข้าถึง การขอร้อง กิริยาที่ยอมรับ ไม่คัดค้าน
กรรม คือ ปฏิญญาตกรณะ
การประกอบ การกระทำ การเข้าถึง การขอร้อง กิริยาที่ยอมรับ ไม่คัดค้าน
กรรม คือ เยภุยยสิกา
การประกอบ การกระทำ การเข้าถึง การขอร้อง กิริยาที่ยอมรับ ไม่คัดค้าน
กรรม คือ ตัสสปาปิยสิกา
การประกอบ การกระทำ การเข้าถึง การขอร้อง กิริยาที่ยอมรับ ไม่คัดค้าน
กรรม คือ ติณวัตถารกะ
สมถะ ๗ มีสมุฏฐาน ๓๖ นี้

๑๐. สัตตสมถนานัตถาทิ
ว่าด้วยสมถะ ๗ มีอรรถต่างกัน เป็นต้น
[๓๕๔] ถาม : ธรรมเหล่านี้คือ สัมมุขาวินัยก็ดี สติวินัยก็ดี มีอรรถต่างกัน มี
พยัญชนะต่างกัน หรือมีอรรถอย่างเดียวกัน แต่พยัญชนะต่างกัน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๕๓๔ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [อธิกรณเภท] ๑๐. สัตตสมถนานัตถาทิ
ธรรมเหล่านี้คือ สัมมุขาวินัยก็ดี อมูฬหวินัยก็ดี ฯลฯ
ธรรมเหล่านี้คือ สัมมุขาวินัยก็ดี ปฏิญญาตกรณะก็ดี ฯลฯ
ธรรมเหล่านี้คือ สัมมุขาวินัยก็ดี เยภุยยสิกาก็ดี ฯลฯ
ธรรมเหล่านี้คือ สัมมุขาวินัยก็ดี ตัสสปาปิยสิกาก็ดี ฯลฯ
ธรรมเหล่านี้คือ สัมมุขาวินัยก็ดี ติณวัตถารกะก็ดี มีอรรถต่างกัน มีพยัญชนะ
ต่างกัน หรือมีอรรถอย่างเดียวกัน แต่พยัญชนะต่างกัน
ตอบ : ธรรมเหล่านี้คือ สัมมุขาวินัยก็ดี สติวินัยก็ดี มีอรรถต่างกัน มีพยัญชนะ
ต่างกัน หรือมีอรรถอย่างเดียวกัน แต่พยัญชนะต่างกัน
ธรรมเหล่านี้คือ สัมมุขาวินัยก็ดี อมูฬหวินัยก็ดี ฯลฯ
ธรรมเหล่านี้คือ สัมมุขาวินัยก็ดี ปฏิญญาตกรณะก็ดี ฯลฯ
ธรรมเหล่านี้คือ สัมมุขาวินัยก็ดี เยภุยยสิกาก็ดี ฯลฯ
ธรรมเหล่านี้คือ สัมมุขาวินัยก็ดี ตัสสปาปิยสิกาก็ดี ฯลฯ
ธรรมเหล่านี้คือ สัมมุขาวินัยก็ดี ติณวัตถารกะก็ดี ก็มีอรรถต่างกัน มีพยัญชนะ
ต่างกัน

วิวาทาธิกรณ์
[๓๕๕] วิวาทเป็นวิวาทาธิกรณ์ วิวาทไม่เป็นอธิกรณ์ อธิกรณ์ไม่เป็นวิวาท เป็น
อธิกรณ์ด้วย เป็นวิวาทด้วย วิวาทเป็นวิวาทาธิกรณ์ก็มี วิวาทไม่เป็นอธิกรณ์ก็มี อธิกรณ์
ไม่เป็นวิวาทก็มี เป็นอธิกรณ์ด้วย เป็นวิวาทด้วยก็มี
ในข้อนั้น วิวาทอย่างไรเป็นวิวาทาธิกรณ์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้วิวาทกันว่า นี้เป็น
ธรรม นี้ไม่เป็นธรรม ฯลฯ
นี้อาบัติชั่วหยาบ นี้อาบัติไม่ชั่วหยาบ
ความบาดหมาง ความทะเลาะ ความแก่งแย่ง ความวิวาท การกล่าวต่างกัน
การกล่าวโดยประการอื่น การพูดเพื่อความกลัดกลุ้ม ความหมายมั่นในเรื่องนั้น วิวาท
นี้เป็นวิวาทาธิกรณ์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๕๓๕ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [อธิกรณเภท] ๑๐. สัตตสมถนานัตถาทิ
ในข้อนั้น วิวาทอย่างไรไม่จัดเป็นอธิกรณ์ มารดาทะเลาะกับบุตรบ้าง บุตร
ทะเลาะกับมารดาบ้าง บิดาทะเลาะกับบุตรบ้าง บุตรทะเลาะกับบิดาบ้าง พี่ชายทะเลาะ
กับน้องชายบ้าง น้องชายทะเลาะกับพี่สาวบ้าง พี่สาวทะเลาะกับน้องสาวบ้าง เพื่อน
ทะเลาะกับเพื่อนบ้าง วิวาทนี้ไม่เป็นอธิกรณ์
ในข้อนั้น อธิกรณ์อย่างไหนไม่เป็นวิวาท อนุวาทาธิกรณ์ อาปัตตาธิกรณ์
กิจจาธิกรณ์ อธิกรณ์นี้ไม่เป็นวิวาท
ในข้อนั้น อย่างไหนเป็นอธิกรณ์ด้วย เป็นวิวาทด้วย วิวาทาธิกรณ์
เป็นอธิกรณ์ด้วย เป็นวิวาทด้วย

อนุวาทาธิกรณ์
[๓๕๖] การโจทเป็นอนุวาทาธิกรณ์ การโจทไม่เป็นอธิกรณ์ อธิกรณ์ไม่เป็น
การโจท เป็นอธิกรณ์ด้วย เป็นการโจทด้วย การโจทเป็นอนุวาทาธิกรณ์ก็มี การโจท
ไม่เป็นอธิกรณ์ก็มี อธิกรณ์ไม่เป็นการโจทก็มี เป็นอธิกรณ์ด้วย เป็นการโจทด้วยก็มี
ในข้อนั้น การโจทอย่างไรเป็นอนุวาทาธิกรณ์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ย่อมโจทภิกษุ
ด้วยสีลวิบัติหรืออาจารวิบัติ ทิฏฐิวิบัติหรืออาชีววิบัติ การโจท การกล่าวหา
การฟ้องร้อง การประท้วง ความเป็นผู้คล้อยตาม การทำความพยายามโจท
การให้กำลังสนับสนุนในเรื่องนั้น การโจทนี้เป็นอนุวาทาธิกรณ์
ในข้อนั้น การโจทอย่างไรไม่เป็นอธิกรณ์ มารดาฟ้องบุตรบ้าง บุตรฟ้องมารดาบ้าง
บิดาฟ้องบุตรบ้าง บุตรฟ้องบิดาบ้าง พี่ชายฟ้องน้องชายบ้าง น้องชายฟ้องพี่สาวบ้าง
พี่สาวฟ้องน้องชายบ้าง เพื่อนฟ้องเพื่อนบ้าง การโจทนี้ไม่เป็นอธิกรณ์
ในข้อนั้น อธิกรณ์อย่างไหนไม่เป็นการโจท อาปัตตาธิกรณ์ กิจจาธิกรณ์
วิวาทาธิกรณ์ อธิกรณ์นี้ไม่เป็นการโจท
ในข้อนั้น อย่างไหนเป็นอธิกรณ์ด้วย เป็นการโจทด้วย อนุวาทาธิกรณ์ เป็น
อธิกรณ์ด้วย เป็นการโจทด้วย


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๕๓๖ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [อธิกรณเภท] ๑๐. สัตตสมถนานัตถาทิ
อาปัตตาธิกรณ์
[๓๕๗] อาบัติเป็นอาปัตตาธิกรณ์ อาบัติไม่เป็นอธิกรณ์ อธิกรณ์ไม่เป็นอาบัติ
เป็นอธิกรณ์ด้วย เป็นอาบัติด้วย อาบัติเป็นอาปัตตาธิกรณ์ก็มี อาบัติไม่เป็นอธิกรณ์ก็มี
อธิกรณ์ไม่เป็นอาบัติก็มี เป็นอธิกรณ์ด้วย เป็นอาบัติด้วยก็มี
ในข้อนั้น อาบัติอย่างไหนเป็นอาปัตตาธิกรณ์ อาบัติทั้ง ๕ กอง เป็นอาปัตตา-
ธิกรณ์ อาบัติทั้ง ๗ กอง เป็นอาปัตตาธิกรณ์ อาบัตินี้เป็นอาปัตตาธิกรณ์
ในข้อนั้น อาบัติอย่างไหนไม่เป็นอธิกรณ์
โสดาบัติ สมาบัติ อาบัตินี้ไม่เป็นอธิกรณ์
ในข้อนั้น อธิกรณ์อย่างไหนไม่เป็นอาบัติ
กิจจาธิกรณ์ วิวาทาธิกรณ์ อนุวาทาธิกรณ์ อาปัตตาธิกรณ์ อธิกรณ์นี้ไม่เป็น
อาบัติ
ในข้อนั้น อย่างไหนเป็นอธิกรณ์ด้วย เป็นอาบัติด้วย อาปัตตาธิกรณ์เป็น
อธิกรณ์ด้วย เป็นอาบัติด้วย

กิจจาธิกรณ์
[๓๕๘] กิจเป็นกิจจาธิกรณ์ กิจไม่เป็นอธิกรณ์ อธิกรณ์ไม่เป็นกิจ เป็นอธิกรณ์ด้วย
เป็นกิจด้วย กิจเป็นกิจจาธิกรณ์ก็มี กิจไม่เป็นอธิกรณ์ก็มี อธิกรณ์ไม่เป็นกิจก็มี เป็น
อธิกรณ์ด้วย เป็นกิจด้วยก็มี
ในข้อนั้น กิจอย่างไหนเป็นกิจจาธิกรณ์
ความที่สงฆ์มีกิจ ความที่สงฆ์มีกิจอันจะพึงทำ คือ อปโลกนกรรม ญัตติกรรม
ญัตติทุติยกรรม ญัตติจตุตถกรรม กิจนี้เป็นกิจจาธิกรณ์
ในข้อนั้น กิจอย่างไหนไม่เป็นอธิกรณ์
กิจที่พึงทำแก่พระอาจารย์ กิจที่พึงทำแก่พระอุปัชฌาย์ กิจที่พึงทำแก่ภิกษุ
ปูนอุปัชฌาย์ กิจที่พึงทำแก่ภิกษุปูนอาจารย์ กิจนี้ไม่เป็นอธิกรณ์


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๕๓๗ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [อธิกรณเภท] หัวข้อประจำเรื่อง
ในข้อนั้น อธิกรณ์อย่างไหน ไม่เป็นกิจ
วิวาทาธิกรณ์ อนุวาทาธิกรณ์ อาปัตตาธิกรณ์ อธิกรณ์นี้ไม่เป็นกิจ
ในข้อนั้น กิจอย่างไหนเป็นอธิกรณ์ด้วย เป็นกิจด้วย
กิจจาธิกรณ์เป็นอธิกรณ์ด้วย เป็นกิจด้วย
อธิกรณเภท จบ

หัวข้อประจำเรื่อง
การรื้อฟื้น อธิกรณ์ รื้อฟื้นด้วยอาการเท่าไร
บุคคลรื้อฟื้น มีอะไรเป็นนิทาน
เหตุ ปัจจัย มูล สมุฏฐาน เป็นอาบัติ
มีอธิกรณ์ ในที่ใด แยกจากกัน มีนิทาน เหตุ ปัจจัย
มูล สมุฏฐาน มีพยัญชนะ วิวาท อธิกรณ์
ดังที่กล่าวมานี้ จัดลงในประเภทอธิกรณ์ ด้วยประการฉะนี้แล

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๕๓๘ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [อปรคาถาสังคณิกะ] ๑. โจทนาทิปุจฉาวิสัชชนา
อปรคาถาสังคณิกะ
ว่าด้วยกลุ่มคาถาอีกกลุ่มหนึ่ง
๑. โจทนาทิปุจฉาวิสัชชนา
ว่าด้วยคำถาม และคำตอบการโจท เป็นต้น
[๓๕๙] ท่านพระอุบาลีทูลถามว่า
“การโจทเพื่อประโยชน์อะไร การสอบสวนเพื่อเหตุอะไร
สงฆ์เพื่อประโยชน์อะไร ส่วนการลงมติเพื่อเหตุอะไร”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
“การโจทเพื่อประโยชน์ให้ระลึก การสอบสวนเพื่อประโยชน์จะข่ม
สงฆ์เพื่อประโยชน์จะช่วยกันพิจารณา
ส่วนการลงมติเพื่อช่วยกันวินิจฉัยแต่ละเรื่อง
ถ้าเธอเป็นผู้วินิจฉัยอธิกรณ์ อย่าด่วนพูด
อย่าพูดด้วยความเกรี้ยวกราด
อย่ายั่วความโกรธ อย่าพูดโดยผลุนผลัน
อย่ากล่าวถ้อยคำชวนวิวาทไม่ประกอบด้วยประโยชน์
วัตรคือการซักถามอันอนุโลมแก่สิกขาบท
ที่พระพุทธเจ้าผู้เฉียบแหลมมีพระปัญญาทรงวางไว้
ตรัสไว้ดีแล้วในพระสูตร ในพระวินัย
ในอนุโลม ในพระบัญญัติ และอนุโลมิกะ๑
เธอจงพิจารณาวัตรคือการซักถามนั้น
อย่าให้เสียคติที่เป็นไปในสัมปรายภพ เป็นผู้ไฝ่หาประโยชน์
จงซักถามถ้อยคำที่ประกอบด้วยประโยชน์โดยกาล

เชิงอรรถ :
๑ พระสูตร คืออุภโตวิภังค์ พระวินัย คือขันธกะ อนุโลม คือปริวาร พระบัญญัติ คือพระวินัยปิฎก
อนุโลมิกะ คือมหาปเทส (วิ.อ. ๓/๓๕๙/๔๙๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๕๓๙ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [อปรคาถาสังคณิกะ] ๑. โจทนาทิปุจฉาวิสัชชนา
สำนวนที่กล่าวโดยผลุนผลันของจำเลยและโจทก์
เธออย่าเชื่อถือ โจทก็ฟ้องว่าต้องอาบัติ
แต่จำเลยปฏิเสธว่าไม่ได้ต้องอาบัติ เธอต้องสอบสวนทั้งสองฝ่าย
พึงปรับตามคำรับสารภาพ และถ้อยคำสำนวน
คำรับสารภาพ เรากล่าวไว้ในหมู่ลัชชี
แต่ข้อนั้น ไม่มีในหมู่อลัชชี อนึ่ง ภิกษุอลัชชีพูดมาก
เธอพึงปรับตามถ้อยคำสำนวนดังกล่าวแล้ว”

อลัชชีบุคคล
พระอุบาลีกราบทูลว่า
“อลัชชี เป็นคนเช่นไร คำรับสารภาพของผู้ใดฟังไม่ขึ้น
ข้าพระพุทธเจ้าทูลถามพระองค์ถึงข้อนั้น
คนเช่นไร พระพุทธองค์ตรัสเรียกว่า อลัชชีบุคคล”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
“ผู้ที่จงใจต้องอาบัติ ปกปิดอาบัติ และถึงความลำเอียง
คนเช่นนี้ เราเรียกว่า อลัชชีบุคคล”

ลัชชีบุคคล
พระอุบาลีกราบทูลว่า
“จริง พระพุทธเจ้าข้า แม้ข้าพระพุทธเจ้าก็ทราบแล้วว่า
คนเช่นนี้เป็นอลัชชีบุคคล
ข้าพระพุทธเจ้าขอทูลถามพระองค์ถึงข้ออื่น
คนเช่นไร พระพุทธองค์ตรัสเรียกว่า ลัชชีบุคคล”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
“ผู้ที่ไม่จงใจต้องอาบัติ ไม่ปกปิดอาบัติ ไม่ถึงความลำเอียง
คนเช่นนี้ เราเรียกว่า ลัชชีบุคคล”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๕๔๐ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [อปรคาถาสังคณิกะ] ๑. โจทนาทิปุจฉาวิสัชชนา
บุคคลผู้โจทก์ไม่เป็นธรรม
พระอุบาลีกราบทูลว่า
“จริง พระพุทธเจ้าข้า แม้ข้าพระพุทธเจ้าก็ทราบแล้วว่า
คนเช่นนี้ตรัสเรียกว่า ลัชชีบุคคล
ข้าพระพุทธเจ้าขอทูลถามพระองค์ถึงข้ออื่น
คนเช่นไร ตรัสเรียกว่า ผู้โจทก์ไม่เป็นธรรม”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
“ภิกษุโจทโดยกาลไม่ควร โจทด้วยเรื่องไม่เป็นจริง โจทด้วยคำหยาบ
โจทด้วยคำไม่ประกอบด้วยประโยชน์ มุ่งร้ายโจท ไม่มีเมตตาจิตโจท
คนเช่นนี้ เราเรียกว่า ผู้โจทก์ไม่เป็นธรรม”

บุคคลผู้โจทก์เป็นธรรม
พระอุบาลีกราบทูลว่า
“จริง พระพุทธเจ้าข้า แม้ข้าพระพุทธเจ้าก็ทราบแล้วว่า
คนเช่นนี้ตรัสเรียกว่า ผู้โจทก์ไม่เป็นธรรม
ข้าพระพุทธเจ้าขอทูลถามพระองค์ถึงข้ออื่น
คนเช่นไร ตรัสเรียกว่า ผู้โจทก์เป็นธรรม”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
“ภิกษุโจทโดยกาล โจทด้วยเรื่องจริง โจทด้วยคำสุภาพ
โจทด้วยคำประกอบด้วยประโยชน์ มีเมตตาจิต ไม่มุ่งร้ายโจท
คนเช่นนี้ เราเรียกว่า ผู้โจทก์เป็นธรรม”

คนโจทก์ผู้โง่เขลา
พระอุบาลีกราบทูลว่า
“จริง พระพุทธเจ้าข้า แม้ข้าพระพุทธเจ้าก็ทราบแล้วว่า
คนเช่นนี้ตรัสเรียกว่า ผู้โจทก์เป็นธรรม
ข้าพระพุทธเจ้าขอทูลถามพระองค์ถึงข้ออื่น
คนเช่นไร ตรัสเรียกว่า โจทก์ผู้โง่เขลา”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๕๔๑ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [อปรคาถาสังคณิกะ] ๑. โจทนาทิปุจฉาวิสัชชนา
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
“บุคคลไม่รู้คำต้นและคำหลัง ไม่ฉลาดในคำต้นและคำหลัง
ไม่รู้ทางแห่งถ้อยคำสำนวน ไม่ฉลาดในถ้อยคำสำนวน
คนเช่นนี้ เราเรียกว่า โจทก์ผู้โง่เขลา”

คนโจทก์ผู้ฉลาด
พระอุบาลีกราบทูลว่า
“จริง พระพุทธเจ้าข้า แม้ข้าพระพุทธเจ้าก็ทราบแล้วว่า
คนเช่นนี้ตรัสเรียกว่า โจทก์ผู้เขลา
ข้าพระพุทธเจ้าขอทูลถามพระองค์ถึงข้ออื่น
คนเช่นไร ตรัสเรียกว่า โจทก์ผู้ฉลาด
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
“บุคคลรู้คำต้นและคำหลัง ฉลาดในคำต้นและคำหลัง
รู้ทางแห่งถ้อยคำสำนวน ฉลาดในถ้อยคำสำนวน
คนเช่นนี้ เราเรียกว่า โจทก์ผู้ฉลาด”

การโจท
พระอุบาลีกราบทูลว่า
“จริง พระพุทธเจ้าข้า แม้ข้าพระพุทธเจ้าก็ทราบแล้วว่า
คนเช่นนี้ตรัสเรียกว่า โจทก์ผู้ฉลาด
ข้าพระพุทธเจ้าขอทูลถามพระองค์ถึงข้ออื่น
กิริยาเช่นไร พระองค์ตรัสเรียกว่า การโจท”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
“กิริยาที่ถูกโจทด้วยสีลวิบัติ ด้วยอาจารวิบัติ ด้วยทิฏฐิวิบัติ
และแม้ด้วยอาชีววิบัติ ฉะนั้น เราจึงเรียกว่า การโจท”
อปรคาถาสังคณิกะ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๕๔๒ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [โจทนากัณฑ์] ๑. อนุวิชชกอนุโยค
โจทนากัณฑ์
ว่าด้วยหมวดการโจท
๑. อนุวิชชกอนุโยค
ว่าด้วยข้อซักถามของภิกษุผู้วินิจฉัยอธิกรณ์
[๓๖๐] ภิกษุผู้วินิจฉัยอธิกรณ์ พึงถามโจทก์ว่า อาวุโส ข้อที่ท่านโจทภิกษุ
รูปนี้นั้น โจทเพราะเรื่องอะไร ท่านโจทด้วยสีลวิบัติ โจทด้วยอาจารวิบัติ หรือโจท
ด้วยทิฏฐิวิบัติ ถ้าโจทก์นั้นตอบอย่างนี้ว่า ข้าพเจ้าโจทด้วยสีลวิบัติ โจทด้วย
อาจารวิบัติ หรือโจทด้วยทิฏฐิวิบัติ ภิกษุผู้วินิจฉัยอธิกรณ์พึงซักถามโจทก์
อย่างนี้ว่า ท่านรู้สีลวิบัติ รู้อาจารวิบัติ รู้ทิฏฐิวิบัติหรือ
ถ้าโจทก์ตอบอย่างนี้ว่า อาวุโส ข้าพเจ้ารู้สีลวิบัติ รู้อาจารวิบัติ รู้ทิฏฐิวิบัติ
ภิกษุผู้วินิจฉัยอธิกรณ์พึงซักถามโจทก์อย่างนี้ว่า อาวุโส ก็ สีลวิบัติเป็นไฉน
อาจารวิบัติเป็นไฉน ทิฏฐิวิบัติเป็นไฉน
ถ้าโจทก์นั้นตอบอย่างนี้ว่า ปาราชิก ๔ สังฆาทิเสส ๑๓ นี้จัดเป็นสีลวิบัติ
ถุลลัจจัย ปาจิตตีย์ ปาฏิเทสนียะ ทุกกฏ ทุพภาสิต นี้จัดเป็นอาจารวิบัติ มิจฉาทิฏฐิ
อันตคาหิกทิฏฐิ นี้จัดเป็นทิฏฐิวิบัติ
ภิกษุผู้วินิจฉัยอธิกรณ์พึงซักถามโจทก์อย่างนี้ว่า อาวุโส ข้อที่ท่านโจทภิกษุ
รูปนี้นั้น ท่านโจทด้วยเรื่องที่ได้เห็น ด้วยเรื่องที่ได้ยิน หรือด้วยเรื่องที่นึกสงสัย
ถ้าโจทก์นั้นตอบอย่างนี้ว่า ข้าพเจ้าโจทด้วยเรื่องที่เห็น ด้วยเรื่องที่ได้ยิน หรือ
ด้วยเรื่องที่นึกสงสัย
ภิกษุผู้วินิจฉัยอธิกรณ์พึงซักถามโจทก์อย่างนี้ว่า อาวุโส ข้อที่ท่านโจทภิกษุ
รูปนี้ด้วยเรื่องที่ได้เห็นนั้น ท่านเห็นอะไร เห็นอย่างไร เห็นเมื่อไร เห็นที่ไหน ท่าน
เห็นภิกษุรูปนี้ต้องอาบัติปาราชิก หรือท่านเห็นภิกษุรูปนี้ต้องอาบัติสังฆาทิเสส

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๕๔๓ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [โจทนากัณฑ์] ๑. อนุวิชชกอนุโยค
ถุลลัจจัย ปาจิตตีย์ ปาฏิเทสนียะ ทุกกฏ ทุพภาสิตหรือ อนึ่ง ท่านอยู่ที่ไหน และ
ภิกษุรูปนี้อยู่ที่ไหน ท่านทำอะไรอยู่ ภิกษุรูปนี้ทำอะไรอยู่
ถ้าโจทก์ตอบอย่างนี้ว่า อาวุโส ข้าพเจ้ามิได้โจทภิกษุรูปนี้ด้วยเรื่องที่ได้เห็น
แต่ข้าพเจ้าโจทด้วยเรื่องที่ได้ยิน
ภิกษุผู้วินิจฉัยอธิกรณ์พึงซักถามอย่างนี้ว่า อาวุโส ข้อที่ท่านโจทภิกษุรูปนี้
ด้วยเรื่องที่ได้ยินนั้น ท่านได้ยินอะไร ได้ยินอย่างไร ได้ยินเมื่อไร ได้ยินที่ไหน
ท่านได้ยินว่าภิกษุรูปนี้ต้องอาบัติปาราชิก หรือท่านได้ยินว่าภิกษุรูปนี้ต้องอาบัติ
สังฆาทิเสส ถุลลัจจัย ปาจิตตีย์ ปาฏิเทสนียะ ทุกกฏ ทุพภาสิต หรือท่านได้ยินจาก
ภิกษุ หรือได้ยินจากภิกษุณี สิกขมานา สามเณร สามเณรี อุบาสก อุบาสิกา
พระราชา ราชมหาอมาตย์ เดียรถีย์ สาวกของเดียรถีย์ หรือ
ถ้าโจทก์ตอบอย่างนี้ว่า อาวุโส ข้าพเจ้ามิได้โจทภิกษุรูปนี้ด้วยเรื่องที่ได้ยิน
แต่ว่าโจทด้วยเรื่องที่นึกสงสัย
ภิกษุผู้วินิจฉัยอธิกรณ์พึงซักถามอย่างนี้ว่า อาวุโส ข้อที่ท่านโจทภิกษุรูปนี้
ด้วยเรื่องที่นึกสงสัยนั้น ท่านนึกสงสัยอะไร นึกสงสัยอย่างไร นึกสงสัยเมื่อไร
นึกสงสัยที่ไหน ท่านนึกสงสัยว่าภิกษุรูปนี้ต้องอาบัติปาราชิก หรือท่านนึกสงสัยว่า
ภิกษุรูปนี้ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ถุลลัจจัย ปาจิตตีย์ ปาฏิเทสนียะ ทุกกฏ ทุพภาสิต
หรือท่านได้ยินจากภิกษุแล้วนึกสงสัย หรือได้ยินจากภิกษุณี สิกขมานา สามเณร
สามเณรี อุบาสก อุบาสิกา พระราชา ราชมหาอมาตย์ เดียรถีย์ สาวกของเดียรถีย์
แล้วนึกสงสัยหรือ

เปรียบเทียบอธิกรณ์
[๓๖๑] เรื่องที่ได้เห็นสมด้วยเรื่องที่ได้เห็น
เรื่องที่ได้เห็นเทียบกันได้กับเรื่องที่ได้เห็น
แต่บุคคลนั้นไม่ยอมรับ เพราะอาศัยการเห็น
บุคคลนั้นถูกสงสัยว่าไม่บริสุทธิ์ พึงปรับอาบัติตามปฏิญญา
พึงทำอุโบสถกับบุคคลนั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๕๔๔ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [โจทนากัณฑ์] ๑. อนุวิชชกอนุโยค
เรื่องที่ได้ยินสมด้วยเรื่องที่ได้ยิน
เรื่องที่ได้ยินเทียบกันได้กับเรื่องที่ได้ยิน
แต่บุคคลนั้นไม่ยอมรับ เพราะอาศัยการได้ยิน
บุคคลนั้นถูกสงสัยว่าไม่บริสุทธิ์ พึงปรับอาบัติตามปฏิญญา
พึงทำอุโบสถกับบุคคลนั้น
เรื่องที่ได้ทราบสมด้วยเรื่องที่ได้ทราบ
เรื่องที่ได้ทราบเทียบกันได้กับเรื่องที่ได้ทราบ
แต่บุคคลนั้นไม่ยอมรับ เพราะอาศัยการได้ทราบ
บุคคลนั้นถูกสงสัยว่าไม่บริสุทธิ์ พึงปรับอาบัติตามปฏิญญา
พึงทำอุโบสถกับบุคคลนั้นเถิด

ข้อซักถามของภิกษุผู้วินิจฉัยอธิกรณ์
[๓๖๒] ถาม : การโจทมีอะไรเป็นเบื้องต้น มีอะไรเป็นท่ามกลาง มีอะไรเป็นที่สุด
ตอบ : การโจทมีโอกาสเป็นเบื้องต้น มีการทำเป็นท่ามกลาง มีการระงับเป็นที่สุด
ถาม : การโจทมีมูลเท่าไร มีวัตถุเท่าไร มีภูมิเท่าไร โจทด้วยอาการเท่าไร
ตอบ : การโจทมีมูล ๒ มีวัตถุ ๓ มีภูมิ ๕ โจทด้วยอาการ ๒ อย่าง
ถาม : การโจทมีมูล ๒ เป็นไฉน
ตอบ : การโจทมีมูล การโจทไม่มีมูล นี้การโจทมีมูล ๒
ถาม : การโจทมีวัตถุ ๓ เป็นไฉน
ตอบ : เรื่องที่ได้เห็น เรื่องที่ได้ยิน เรื่องที่นึกสงสัย นี้การโจทมีวัตถุ ๓
ถาม : การโจทมีภูมิ ๕ เป็นไฉน
ตอบ : ๑. จักโจทโดยกาลที่สมควร จักไม่โจทโดยกาลไม่ควร
๒. จักโจทด้วยเรื่องจริง จักไม่โจทด้วยเรื่องไม่จริง
๓. จักโจทด้วยคำสุภาพ จักไม่โจทด้วยคำหยาบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๕๔๕ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [โจทนากัณฑ์] ๒. โจทกาทิปฏิปัตติ
๔. จักโจทด้วยเรื่องที่เป็นประโยชน์ จักไม่โจทด้วยเรื่องที่ไม่เป็นประโยชน์
๕. จักมีเมตตาจิตโจท จักไม่มุ่งร้ายโจท
นี้การโจทมีภูมิ ๕
ถาม : โจทด้วยอาการ ๒ อย่าง เป็นไฉน
ตอบ : โจทด้วยกาย โจทด้วยวาจา นี้โจทด้วยอาการ ๒ อย่าง

๒. โจทกาทิปฏิปัตติ
ว่าด้วยข้อปฏิบัติของโจทก์ เป็นต้น
[๓๖๓] โจทก์พึงปฏิบัติอย่างไร จำเลยพึงปฏิบัติอย่างไร สงฆ์พึงปฏิบัติ
อย่างไร ภิกษุผู้วินิจฉัยอธิกรณ์พึงปฏิบัติอย่างไร
ถาม : โจทก์พึงปฏิบัติอย่างไร
ตอบ : โจทก์พึงตั้งอยู่ในธรรม ๕ อย่าง แล้วจึงโจทผู้อื่น คือ
๑. จักโจทโดยกาลที่สมควร จักไม่โจทโดยกาลไม่ควร
๒. จักโจทด้วยเรื่องจริง จักไม่โจทด้วยเรื่องไม่จริง
๓. จักโจทด้วยคำสุภาพ จักไม่โจทด้วยคำหยาบ
๔. จักโจทด้วยเรื่องที่เป็นประโยชน์ จักไม่โจด้วยเรื่องที่ไม่เป็นประโยชน์
๕. จักมีเมตตาจิตโจท จักไม่มุ่งร้ายโจท
โจทก์พึงปฏิบัติอย่างนี้
ถาม : จำเลยพึงปฏิบัติอย่างไร
ตอบ : จำเลยพึงตั้งอยู่ในธรรม ๒ ประการ คือ
๑. ในความสัตย์ ๒. ในความไม่ขุ่นเคือง
จำเลยพึงปฏิบัติอย่างนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๕๔๖ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [โจทนากัณฑ์] ๒. โจทกาทิปฏิปัตติ
ถาม : สงฆ์พึงปฏิบัติอย่างไร
ตอบ : สงฆ์พึงรู้คำที่เข้าประเด็นและไม่เข้าประเด็น สงฆ์พึงปฏิบัติอย่างนี้
ถาม : ภิกษุผู้วินิจฉัยอธิกรณ์ควรปฏิบัติอย่างไร
ตอบ : ภิกษุผู้วินิจฉัยอธิกรณ์พึงระงับอธิกรณ์นั้น โดยประการที่อธิกรณ์นั้นจะ
ระงับโดยธรรม โดยวินัย โดยสัตถุศาสน์ ภิกษุผู้วินิจฉัยอธิกรณ์พึงปฏิบัติอย่างนี้

ว่าด้วยอุโบสถ เป็นต้น
[๓๖๔] ถาม : อุโบสถเพื่อประโยชน์อะไร ปวารณาเพื่อเหตุอะไร
ปริวาสเพื่อประโยชน์อะไร การชักเข้าหาอาบัติเดิมเพื่อเหตุอะไร
มานัตเพื่อประโยชน์อะไร อัพภานเพื่อเหตุอะไร
ตอบ : อุโบสถเพื่อประโยชน์แก่ความพร้อมเพรียง
ปวารณาเพื่อประโยชน์แก่ความหมดจด
ปริวาสเพื่อประโยชน์แก่มานัต
การชักเข้าหาอาบัติเดิมเพื่อประโยชน์แก่นิคคหะ
มานัตเพื่อประโยชน์แก่อัพภาน
อัพภานเพื่อประโยชน์แก่ความหมดจด
ภิกษุผู้วินิจฉัยอธิกรณ์มีปัญญาทราม
โง่เขลา และไม่มีความเคารพในสิกขาบริภาษพระเถระ
ลำเอียงเพราะชอบ ลำเอียงเพราะชัง
ลำเอียงเพราะกลัว ลำเอียงเพราะหลง
เป็นผู้ขุดตนกำจัดอินทรีย์แล้ว เพราะกายแตกย่อมเข้านรก
ภิกษุผู้วินิจฉัยอธิกรณ์ไม่พึงเห็นแก่อามิส
และไม่พึงเห็นแก่บุคคล ควรเว้นสองอย่างนั้นแล้ว
ทำตามที่เป็นธรรม

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๕๔๗ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [โจทนากัณฑ์] ๓. โจทกัสสอัตตฌาปนะ
๓. โจทกัสสอัตตฌาปนะ
ว่าด้วยการเผาตนของภิกษุผู้เป็นโจทก์
โจทก์เป็นผู้มักโกรธ มักถือโกรธ ดุร้าย มักกล่าวบริภาษ
ย่อมปลูกอนาบัติว่าเป็นอาบัติ โจทก์เช่นนั้นชื่อว่าย่อมเผาตน
โจทก์กระซิบใกล้หูคอยจับผิด ทำให้บกพร่อง
เสพทางผิด ย่อมปลูกอนาบัติว่าเป็นอาบัติ
โจทก์เช่นนั้นชื่อว่าย่อมเผาตน
โจทก์โจทโดยกาลอันไม่ควร โจทด้วยคำไม่จริง
โจทด้วยคำหยาบ โจทด้วยคำไม่ประกอบด้วยประโยชน์
มุ่งร้ายโจทไม่มีเมตตาจิตโจท ปลูกอนาบัติว่าเป็นอาบัติ
โจทก์เช่นนั้นชื่อว่าย่อมเผาตน
โจทก์ไม่รู้ธรรมและอธรรม ไม่ฉลาดในธรรมและอธรรม
ปลูกอนาบัติว่าเป็นอาบัติ โจทก์เช่นนั้นชื่อว่าย่อมเผาตน
โจทก์ไม่รู้วินัยและมิใช่วินัย ไม่ฉลาดในวินัยและมิใช่วินัย
ปลูกอนาบัติว่าอาบัติ โจทก์เช่นนั้นชื่อว่าย่อมเผาตน
โจทก์ไม่รู้สิ่งที่พระตถาคตภาษิตไว้และมิได้ภาษิตไว้
ไม่ฉลาดในสิ่งที่พระตถาคตภาษิตไว้และมิได้ภาษิตไว้
ปลูกอนาบัติว่าเป็นอาบัติ โจทก์เช่นนั้นชื่อว่าย่อมเผาตน
โจทก์ไม่รู้สิ่งที่พระตถาคตทรงประพฤติมาและมิได้ทรงประพฤติมา
ไม่ฉลาดในสิ่งที่พระตถาคตทรงประพฤติมาและมิได้ทรงประพฤติมา
ปลูกอนาบัติว่าเป็นอาบัติ โจทก์เช่นนั้นชื่อว่าย่อมเผาตน
โจทก์ไม่รู้สิ่งที่พระตถาคตทรงบัญญัติไว้และมิได้ทรงบัญญัติไว้
ไม่ฉลาดในสิ่งที่พระตถาคตทรงบัญญัติไว้และมิได้ทรงบัญญัติไว้
ปลูกอนาบัติว่าเป็นอาบัติ โจทก์เช่นนั้นชื่อว่าย่อมเผาตน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๕๔๘ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [โจทนากัณฑ์] หัวข้อประจำกัณฑ์
โจทก์ไม่รู้อาบัติและอนาบัติ ไม่ฉลาดในอาบัติและอนาบัติ
ปลูกอนาบัติว่าเป็นอาบัติ โจทก์เช่นนั้นชื่อว่าย่อมเผาตน
โจทก์ไม่รู้อาบัติเบาและอาบัติหนัก
ไม่ฉลาดในอาบัติเบาและอาบัติหนัก
ปลูกอนาบัติว่าเป็นอาบัติ โจทก์เช่นนั้นชื่อว่าย่อมเผาตน
โจทก์ไม่รู้อาบัติมีส่วนเหลือและอาบัติไม่มีส่วนหลือ
ไม่ฉลาดในอาบัติมีส่วนเหลือและอาบัติไม่มีส่วนหลือ
ปลูกอนาบัติว่าเป็นอาบัติ โจทก์เช่นนั้นชื่อว่าย่อมเผาตน
โจทก์ไม่รู้อาบัติชั่วหยาบและอาบัติไม่ชั่วหยาบ
ไม่ฉลาดในอาบัติชั่วหยาบและอาบัติไม่ชั่วหยาบ
ปลูกอนาบัติว่าเป็นอาบัติ โจทก์เช่นนั้นชื่อว่าย่อมเผาตน
โจทก์ไม่รู้คำต้นและคำหลัง ไม่ฉลาดในคำต้นและคำหลัง
ปลูกอนาบัติว่าเป็นอาบัติ โจทก์เช่นนั้นชื่อว่าย่อมเผาตน
โจทก์ไม่รู้ทางถ้อยคำอันต่อเนื่องกัน
ไม่ฉลาดต่อทางถ้อยคำอันต่อเนื่องกัน
ปลูกอนาบัติว่าเป็นอาบัติ โจทก์เช่นนั้นชื่อว่าย่อมเผาตน แล
โจทนากัณฑ์ จบ

หัวข้อประจำกัณฑ์
การโจท ภิกษุผู้วินิจฉัยอธิกรณ์ เป็นเบื้องต้น มีมูล
อุโบสถ คติ เป็นคำสั่งสอนที่คงอยู่ในโจทนากัณฑ์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๕๔๙ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [จูฬสงคราม] ๑. อนุวิชชกัสสปฏิปัตติ
จูฬสงคราม
ว่าด้วยภิกษุผู้เข้าสู่จูฬสงคราม
๑. อนุวิชชกัสสปฏิปัตติ
ว่าด้วยข้อปฏิบัติของภิกษุผู้วินิจฉัยอธิกรณ์
[๓๖๕] อันภิกษุผู้เข้าสงครามเมื่อเข้าหาสงฆ์พึงเป็นผู้มีจิตยำเกรง มีจิตเสมอด้วย
ผ้าเช็ดธุลี เข้าหาสงฆ์ พึงเป็นผู้รู้จักที่นั่ง รู้จักการนั่งไม่เบียดภิกษุผู้เถระ ไม่เบียด
อาสนะภิกษุผู้อ่อนกว่า พึงนั่งอาสนะตามสมควร ไม่พึงพูดเรื่องต่าง ๆ ไม่พึงพูดเรื่อง
ดิรัจฉานกถา พึงกล่าวธรรมเอง หรือเชื้อเชิญภิกษุรูปอื่น ไม่พึงดูหมิ่นอริยดุษณีภาพ
อันภิกษุผู้วินิจฉัยอธิกรณ์ที่สงฆ์อนุมัติแล้ว มีประสงค์จะวินิจฉัยอธิกรณ์ ไม่พึง
ถามถึงอุปัชฌาย์ ไม่พึงถามถึงอาจารย์ ไม่พึงถามถึงสัทธิวิหาริก ไม่พึงถามถึงอันเตวาสิก
ไม่พึงถามถึงภิกษุปูนอุปัชฌาย์ ไม่พึงถามถึงภิกษุปูนอาจารย์ ไม่พึงถามถึงชาติ
ไม่พึงถามถึงชื่อ ไม่พึงถามถึงโคตร ไม่พึงถามถึงอาคม ไม่พึงถามถึงชั้นแห่งตระกูล
ไม่พึงถามถึงชาติภูมิ เพราะเหตุไร เพราะความรักหรือความชังจะพึงมีในบุคคลนั้น
เมื่อมีความรักหรือความชัง พึงลำเอียงเพราะความชอบบ้าง พึงลำเอียงเพราะความ
ชังบ้าง พึงลำเอียงเพราะความหลงบ้าง พึงลำเอียงเพราะความกลัวบ้าง
อันภิกษุผู้วินิจฉัยอธิกรณ์ที่สงฆ์อนุมัติแล้ว มีประสงค์จะวินิจฉัยอธิกรณ์ พึงเป็น
ผู้หนักในสงฆ์ ไม่พึงเป็นผู้หนักในบุคคล พึงเป็นผู้หนักในพระสัทธรรม ไม่พึงเป็นผู้
หนักในอามิส พึงเป็นผู้ไปตามอำนาจแห่งคดี ไม่พึงเป็นผู้เห็นแก่บริษัท พึงวินิจฉัย
โดยกาลอันควร ไม่พึงวินิจฉัยโดยกาลไม่ควร พึงวินิจฉัยด้วยคำจริง ไม่พึงวินิจฉัยด้วย
คำไม่จริง พึงวินิจฉัยด้วยคำสุภาพ ไม่พึงวินิจฉัยด้วยคำหยาบ พึงวินิจฉัยด้วยคำ
ประกอบด้วยประโยชน์ ไม่พึงวินิจฉัยด้วยคำไม่ประกอบด้วยประโยชน์ พึงเป็นผู้มี
เมตตาจิตวินิจฉัย ไม่พึงเป็นผู้มุ่งร้ายวินิจฉัย ไม่พึงเป็นผู้กระซิบที่หู ไม่พึงคอยจับผิด
ไม่พึงขยิบตา ไม่พึงเลิกคิ้ว ไม่พึงชะเง้อศีรษะ ไม่พึงทำวิการแห่งมือ ไม่พึงใช้มือ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๕๕๐ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [จูฬสงคราม] ๑. อนุวิชชกัสสปฏิปัตติ
แสดงท่าทาง พึงเป็นผู้รู้จักที่นั่ง พึงเป็นผู้รู้จักการนั่ง พึงนั่งบนอาสนะของตน
ทอดตาชั่วแอก เพ่งเนื้อความและไม่ลุกจากอาสนะไปข้างไหน ไม่พึงยังการวินิจฉัย
ให้บกพร่อง ไม่พึงเสพทางผิด ไม่พึงพูดสัดส่าย พึงเป็นผู้ไม่รีบด่วน ไม่ผลุนผลัน
ไม่ดุดัน เป็นผู้อดทนได้ต่อถ้อยคำ พึงเป็นผู้มีเมตตาจิต คิดเอ็นดูเพื่อประโยชน์ พึงเป็น
ผู้มีกรุณาขวนขวาย เพื่อประโยชน์ พึงเป็นผู้ไม่พูดพล่อย เป็นผู้พูดมีที่สุด พึงเป็นผู้
ไม่ผูกเวร ไม่ขัดเคือง พึงรู้จักตน พึงรู้จักผู้อื่น พึงสังเกตโจทก์ พึงสังเกตจำเลย
พึงกำหนดรู้ผู้โจทก์ไม่เป็นธรรม พึงกำหนดรู้ผู้ถูกโจทไม่เป็นธรรม พึงกำหนดรู้ผู้โจทก์
เป็นธรรม พึงกำหนดรู้ผู้ถูกโจทเป็นธรรม พึงกำหนดข้อความพึงเปิดเผยผู้ไม่สะอาด ที่
๒ ฝ่ายกล่าวมิให้ตกหล่น ไม่แซมข้อความอันเขาไม่ได้กล่าว พึงจำบทพยัญชนะอัน
เข้าประเด็นไว้เป็นอย่างดีสอบสวนจำเลย แล้วพึงปรับตามคำรับสารภาพ โจทก์หรือ
จำเลยประหม่าพึงพูดเอาใจ เป็นผู้ฉลาด พึงพูดปลอบ พึงเป็นผู้ดุห้ามเสีย พึงเป็นผู้
ตรงกับผู้ประพฤติอ่อนโยน ไม่พึงลำเอียงเพราะชอบ ไม่พึงลำเอียงเพราะชัง ไม่พึง
ลำเอียงเพราะหลง ไม่พึงลำเอียงเพราะกลัว พึงวางตนเป็นกลาง ทั้งในธรรม ทั้งใน
บุคคล
ก็แล ภิกษุผู้วินิจฉัยอธิกรณ์ เมื่อวินิจฉัยอธิกรณ์ด้วยอาการอย่างนี้ ชื่อว่าเป็นผู้
ทำตามคำสอนของพระศาสดา เป็นที่รักที่ชอบใจที่เคารพ ที่สรรเสริญแห่งสพรหมจารี
ทั้งหลายผู้เป็นวิญญู

ว่าด้วยประโยชน์แห่งสูตร เป็นต้น
[๓๖๖] สูตรเพื่อประโยชน์แก่การเทียบเคียง ข้ออุปมาเพื่อประโยชน์แก่การชี้แจง
เนื้อความเพื่อประโยชน์ที่จะให้เขาเข้าใจ การย้อนถามเพื่อประโยชน์แก่ความดำรงอยู่
การขอโอกาสเพื่อประโยชน์แก่การโจท การโจทเพื่อประโยชน์แก่การให้จำเลยระลึก
การให้ระลึกเพื่อประโยชน์แก่ความเป็นผู้มีถ้อยคำอันจะพึงกล่าว ความเป็นผู้มี
ถ้อยคำอันจะพึงกล่าวเพื่อประโยชน์แก่ปลิโพธ ปลิโพธเพื่อประโยชน์แก่การวินิจฉัย
การวินิจฉัยเพื่อประโยชน์แก่การพิจารณา การพิจารณาเพื่อประโยชน์แก่การรู้ฐานะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๕๕๑ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [จูฬสงคราม] ๑. อนุวิชชกัสสปฏิปัตติ
และมิใช่ฐานะ การรู้ฐานะและมิใช่ฐานะเพื่อประโยชน์แก่การข่มบุคคลผู้เก้อยาก
เพื่อประโยชน์แก่การยกย่องเหล่าภิกษุมีศีลดีงาม สงฆ์เพื่อประโยชน์แก่การสอดส่อง
และรับรอง บุคคลที่สงฆ์อนุมัติแล้ว ตั้งอยู่ในตำแหน่งเฉพาะ ตั้งอยู่ในตำแหน่งผู้ไม่
กล่าวให้คลาดเคลื่อน

ประโยชน์แห่งวินัย เป็นต้น
วินัยเพื่อประโยชน์แก่ความสำรวม ความสำรวมเพื่อประโยชน์แก่ความไม่
เดือดร้อน ความไม่เดือดร้อนเพื่อประโยชน์แก่ความปราโมทย์ ความปราโมทย์เพื่อ
ประโยชน์แก่ความปีติ ความปีติ เพื่อประโยชน์แก่ปัสสัทธิ ปัสสัทธิเพื่อประโยชน์แก่
ความสุข ความสุขเพื่อประโยชน์แก่สมาธิ สมาธิเพื่อประโยชน์แก่ความรู้เห็นตาม
เป็นจริง ความรู้เห็นตามเป็นจริงเพื่อประโยชน์แก่ความเบื่อหน่าย ความเบื่อหน่าย
เพื่อประโยชน์แก่ความคลายกำหนัด ความคลายกำหนัด เพื่อประโยชน์แก่วิมุตติ
วิมุตติเพื่อประโยชน์แก่วิมุตติญาณทัสสนะ วิมุตติญาณทัสสนะเพื่อประโยชน์แก่
อนุปาทาปรินิพพาน การกล่าวมีอนุปาทานิพพานนั้นเป็นประโยชน์ การปรึกษามี
อนุปาทานิพพานนั้นเป็นประโยชน์ ความเป็นปัจจัยกันมีอนุปาทานิพพานนั้น
เป็นประโยชน์ ความเงี่ยโสตสดับมีอนุปาทานิพพานนั้นเป็นประโยชน์ คือ ความพ้น
วิเศษแห่งจิตเพราะไม่ยึดมั่น

อนุโยควัตร(วัตรในการซักถาม)
[๓๖๗] เธอจงพิจารณาวัตร ในการซักถาม อนุโลมแก่สิกขาบท
อันพระพุทธเจ้า ผู้ฉลาด มีพระปัญญาทรงวางไว้
ตรัสไว้ดีแล้ว อย่าให้เสียคติที่เป็นไปในสัมปรายภพ
ภิกษุใดไม่รู้วัตถุ วิบัติ อาบัติ นิทาน คำต้น คำหลัง
สิ่งที่ทำแล้วและยังไม่ได้ทำ โดยเสมอ และเป็นผู้ไม่เข้าใจอาการ
ภิกษุผู้เช่นนั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสว่าไม่ควรเลือก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๕๕๒ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [จูฬสงคราม] หัวข้อประจำเรื่อง
อนึ่ง ภิกษุใดไม่รู้กรรม อธิกรณ์ และไม่เข้าใจสมถะ
เป็นผู้กำหนัดขัดเคือง และหลง ย่อมลำเอียงเพราะกลัว
เพราะหลง ไม่ฉลาดในสัญญัติ ไม่ฉลาดในการพินิจ
เป็นผู้ได้พรรคพวก ไม่มีความละอาย มีกรรมดำ ไม่เอื้อเฟื้อ
ภิกษุผู้เช่นนั้น ๆ แล พระผู้มีพระภาคตรัสว่าไม่ควรเลือก
ภิกษุใดรู้วัตถุ วิบัติ อาบัติ นิทาน คำต้น คำหลัง
สิ่งที่ทำแล้วและยังไม่ได้ทำโดยเสมอ และเป็นผู้เข้าใจอาการ
ภิกษุผู้เช่นนั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสว่าควรเลือก
อนึ่ง ภิกษุใดรู้กรรม อธิกรณ์ และเข้าใจสมถะ เป็นผู้ไม่กำหนัด
ไม่ขัดเคืองและไม่หลง ไม่ลำเอียงเพราะกลัว เพราะหลง
ฉลาดในสัญญัติ ฉลาดในการพินิจ เป็นผู้ได้พรรคพวก
มีความละอาย มีกรรมขาว มีความเคารพ
ภิกษุผู้เช่นนั้น ๆ แล พระผู้มีพระภาคตรัสว่าควรเลือก
จูฬสงคราม จบ

หัวข้อประจำเรื่อง
ภิกษุผู้เข้าสงครามพึงมีจิตยำเกรงถาม หนักในสงฆ์
ไม่หนักในบุคคล สูตรเพื่อประโยชน์แก่การเทียบเคียง
วินัยเพื่ออนุเคราะห์ หัวข้อตามที่กล่าวนี้มีอุทเทสอย่างเดียวกัน
ท่านจัดไว้ในจูฬสงครามแล

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๕๕๓ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [มหาสงคราม] ๑. โวหรันเตนชานิตัพพาทิ
มหาสงคราม
ว่าด้วยภิกษุผู้เข้าสู่มหาสงคราม
๑. โวหรันเตนชานิตัพพาทิ
ว่าด้วยข้อปฏิบัติที่ภิกษุผู้กล่าวพึงรู้ เป็นต้น
[๓๖๘] อันภิกษุผู้เข้าสงคราม เมื่อกล่าวในสงฆ์พึงรู้วัตถุ พึงรู้วิบัติ พึงรู้อาบัติ
พึงรู้นิทาน พึงรู้อาการ พึงรู้คำต้นและคำหลัง พึงรู้สิ่งที่ทำแล้วและยังไม่ได้ทำ พึงรู้กรรม
พึงรู้อธิกรณ์ พึงรู้สมถะ ไม่พึงลำเอียงเพราะชอบ ไม่พึงลำเอียงเพราะชัง ไม่พึง
ลำเอียงเพราะหลง ไม่พึงลำเอียงเพราะกลัว พึงชี้แจงในฐานะที่ควรชี้แจง พึงพิจารณา
ในฐานะที่ควรพิจารณา พึงเพ่งเล็งในฐานะที่ควรเพ่งเล็ง พึงเลื่อมใสในฐานะที่ควรเลื่อมใส
ไม่พึงดูหมิ่นฝ่ายอื่นด้วยเข้าใจว่าเราได้พวกแล้ว ไม่พึงดูหมิ่นผู้มีสุตะน้อยด้วยเข้าใจว่า
เรามีสุตะมาก ไม่พึงดูหมิ่นภิกษุผู้อ่อนกว่าด้วยเข้าใจว่าเราเป็นผู้แก่กว่า ไม่พึงพูดเรื่อง
ที่ยังมาไม่ถึง ไม่พึงให้เรื่องที่มาถึงแล้วเสื่อมไปจากพระธรรมวินัย อธิกรณ์นั้นจะระงับ
ด้วยธรรมใด ด้วยวินัยใด ด้วยสัตถุศาสน์ใด พึงให้อธิกรณ์นั้นระงับด้วยวิธีนั้น

ว่าด้วยการรู้วัตถุ
[๓๖๙] คำว่า พึงรู้วัตถุ นั้น คือ พึงรู้วัตถุแห่งปาราชิก ๘ สิกขาบท พึงรู้วัตถุ
แห่งสังฆาทิเสส ๒๓ สิกขาบท พึงรู้วัตถุแห่งอนิยต ๒ สิกขาบท พึงรู้วัตถุแห่งนิสสัคคีย์
๔๒ สิกขาบท พึงรู้วัตถุแห่งปาจิตตีย์ ๑๘๘ สิกขาบท พึงรู้วัตถุแห่งปาฏิเทสนียะ
๑๒ สิกขาบท พึงรู้วัตถุแห่งทุกกฏ พึงรู้วัตถุแห่งทุพภาสิต

ว่าด้วยการรู้วิบัติ
[๓๗๐] คำว่า พึงรู้วิบัติ นั้น คือ พึงรู้สีลวิบัติ พึงรู้อาจารวิบัติ พึงรู้ทิฏฐิวิบัติ
พึงรู้อาชีววิบัติ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๕๕๔ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [มหาสงคราม] ๑. โวหรันเตนชานิตัพพาทิ
ว่าด้วยการรู้อาบัติ
[๓๗๑] คำว่า พึงรู้อาบัติ นั้น คือ พึงรู้อาบัติปาราชิก พึงรู้อาบัติสังฆาทิเสส
พึงรู้อาบัติถุลลัจจัย พึงรู้อาบัติปาจิตตีย์ พึงรู้อาบัติปาฏิเทสนียะ พึงรู้อาบัติทุกกฏ
พึงรู้อาบัติทุพภาสิต

ว่าด้วยการรู้นิทาน
[๓๗๒] คำว่า พึงรู้นิทาน นั้น คือ พึงรู้นิทานแห่งปาราชิก ๘ สิกขาบท
พึงรู้นิทานแห่งสังฆาทิเสส ๒๓ สิกขาบท พึงรู้นิทานแห่งอนิยต ๒ สิกขาบท พึงรู้
นิทานแห่งนิสสัคคีย์ ๔๒ สิกขาบท พึงรู้นิทานแห่งปาจิตตีย์ ๑๘๘ สิกขาบท พึงรู้
นิทานแห่งปาฏิเทสนียะ ๑๒ สิกขาบท พึงรู้นิทานแห่งทุกกฏ พึงรู้นิทานแห่ง
ทุพภาสิต

ว่าด้วยการรู้อาการ
[๓๗๓] คำว่า พึงรู้อาการ นั้น คือ พึงรู้สงฆ์โดยอาการ พึงรู้คณะโดยอาการ
พึงรู้บุคคลโดยอาการ พึงรู้โจทก์โดยอาการ พึงรู้จำเลยโดยอาการ
ข้อว่า พึงรู้สงฆ์โดยอาการ นั้น คือ พึงรู้สงฆ์โดยอาการอย่างนี้ว่า สงฆ์หมู่นี้
จะสามารถระงับอธิกรณ์นี้ได้โดยธรรม โดยวินัย โดยสัตถุศาสน์ หรือไม่หนอ
ข้อว่า พึงรู้คณะโดยอาการ นั้น คือ พึงรู้คณะโดยอาการอย่างนี้ว่า คณะนี้จะ
สามารถระงับอธิกรณ์นี้ได้โดยธรรม โดยวินัย โดยสัตถุศาสน์ หรือไม่หนอ
ข้อว่า พึงรู้บุคคลโดยอาการ นั้น คือ พึงรู้บุคคลโดยอาการอย่างนี้ว่า
บุคคลนี้จะสามารถระงับอธิกรณ์นี้ได้โดยธรรม โดยวินัย โดยสัตถุศาสน์ หรือไม่หนอ
ข้อว่า พึงรู้โจทก์โดยอาการ นั้น คือ พึงรู้โจทก์โดยอาการอย่างนี้ว่า ท่านผู้นี้
จะตั้งอยู่ในธรรม ๕ ประการ แล้วโจทผู้อื่น หรือไม่หนอ
ข้อว่า พึงรู้จำเลยโดยอาการ นั้น คือ พึงรู้จำเลยโดยอาการอย่างนี้ว่า ท่านผู้นี้จะ
ตั้งอยู่ในธรรม ๒ ข้อ คือ ให้การตามจริงและไม่โกรธ หรือไม่หนอ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๕๕๕ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [มหาสงคราม] ๑. โวหรันเตนชานิตัพพาทิ
ว่าด้วยการรู้คำต้นและคำหลัง
[๓๗๔] คำว่า พึงรู้คำต้นและคำหลัง นั้น คือ พึงรู้คำต้นและคำหลังอย่างนี้ว่า
ท่านผู้นี้ย้ายวัตถุจากวัตถุ ย้ายวิบัติจากวิบัติ ย้ายอาบัติจากอาบัติ ปฏิเสธแล้วกลับ
ปฏิญาณ ปฏิญาณแล้วกลับปฏิเสธ หรือสับเรื่องอื่นด้วยเรื่องอื่น หรือไม่หนอ

ว่าด้วยการรู้สิ่งที่ทำแล้วและยังไม่ได้ทำ
[๓๗๕] คำว่า พึงรู้สิ่งที่ทำแล้วและยังไม่ได้ทำ นั้น คือ พึงรู้เมถุนธรรม พึง
รู้ข้ออนุโลมแก่เมถุนธรรม พึงรู้บุพพภาคแห่งเมถุนธรรม
ข้อว่า พึงรู้เมถุนธรรม นั้น คือ พึงรู้กิจที่กระทำกันสองต่อสอง
ข้อว่า พึงรู้ข้ออนุโลมแก่เมถุนธรรม นั้น คือ (พึงรู้เรื่อง)ภิกษุอมองคชาตของ
ภิกษุอื่นด้วยปากของตน
ข้อว่า พึงรู้บุพพภาคแห่งเมถุนธรรม นั้น คือ พึงรู้สีมิใช่สี๑ การถูกต้องกาย
วาจาชั่วหยาบ การบำเรอความใคร่ของตน การใช้คำชักชวน๒

ว่าด้วยการรู้กรรม
[๓๗๖] คำว่า พึงรู้กรรม นั้น คือ พึงรู้กรรม ๑๖ อย่าง คือ อปโลกนกรรม
๔ ญัตติกรรม ๔ ญัตติทุติยกรรม ๔ ญัตติจตุตถกรรม ๔

ว่าด้วยการรู้อธิกรณ์
[๓๗๗] คำว่า พึงรู้อธิกรณ์ นั้น คือ พึงรู้อธิกรณ์ ๔ คือ (๑) วิวาทาธิกรณ์
(๒) อนุวาทาธิกรณ์ (๓) อาปัตตาธิกรณ์ (๔) กิจจาธิกรณ์

เชิงอรรถ :
๑ พึงรู้สี คือพึงรู้สีของอสุจิ มิใช่สี คือพึงรู้ว่าไม่เกี่ยวกับสีอสุจิ แต่ภิกษุพยายามเพื่อความหายโรค น้ำอสุจิ
เคลื่อน (วิ.อ. ๓/๓๗๕/๕๐๗, สารตฺถ.ฏีกา. ๓/๓๗๕/๕๘๐. ดู วิ.มหา. (แปล) ๑/๒๔๐/๒๕๕-๒๕๖ ประกอบ)
๒ การใช้คำชักชวน หมายถึงการทำหน้าที่ชักสื่อ (วิ.อ. ๓/๓๗๕/๕๐๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๕๕๖ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [มหาสงคราม] ๒. อคติอคันตัพพะ
ว่าด้วยการรู้สมถะ
[๓๗๘] คำว่า พึงรู้สมถะ นั้น คือ พึงรู้สมถะ ๗ คือ (๑) สัมมุขาวินัย
(๒) เยภุยยสิกา (๓) สติวินัย (๔) อมูฬหวินัย (๕) ปฏิญญาตกรณะ
(๖) ตัสสปาปิยสิกา (๗) ติณวัตถารกะ

๒. อคติอคันตัพพะ
ว่าด้วยภิกษุไม่พึงลำเอียง
ไม่ลำเอียงเพราะชอบ
[๓๗๙] คำว่า ไม่พึงลำเอียงเพราะชอบ นั้น คือ ภิกษุผู้ลำเอียงเพราะชอบ
อย่างไรจึงชื่อว่าลำเอียงเพราะชอบ ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ คิดว่า ท่านผู้นี้เป็น
อุปัชฌาย์ เป็นอาจารย์ เป็นสัทธิวิหาริก เป็นอันเตวาสิก เป็นผู้ร่วมอุปัชฌาย์
เป็นผู้ร่วมอาจารย์ เป็นผู้เคยเห็นกันมา เป็นผู้เคยร่วมคบกันมา หรือเป็นญาติ
สาโลหิตของเรา ดังนี้แล้ว เพื่ออนุเคราะห์ผู้นั้น เพื่อตามอารักขาท่านผู้นั้น จึง
๑. แสดงอธรรมว่า เป็นธรรม
๒. แสดงธรรมว่า เป็นอธรรม
๓. แสดงสิ่งที่มิใช่วินัยว่า เป็นวินัย
๔. แสดงวินัยว่า เป็นสิ่งที่มิใช่วินัย
๕. แสดงสิ่งที่พระตถาคตมิได้ภาษิตไว้ มิได้ตรัสไว้ว่า พระตถาคตได้
ภาษิตไว้ ได้ตรัสไว้
๖. แสดงสิ่งที่พระตถาคตได้ภาษิตไว้ ได้ตรัสไว้ว่า พระตถาคตมิได้ภาษิตไว้
มิได้ตรัสไว้
๗. แสดงจริยาวัตรที่พระตถาคตไม่ได้ทรงประพฤติมาว่า พระตถาคตได้
ทรงประพฤติมา
๘. แสดงจริยาวัตรที่พระตถาคตได้ทรงประพฤติมาว่า พระตถาคตไม่ได้
ทรงประพฤติมา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๕๕๗ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [มหาสงคราม] ๒. อคติอคันตัพพะ
๙. แสดงสิ่งที่พระตถาคตไม่ได้ทรงบัญญัติไว้ว่า พระตถาคตได้ทรงบัญญัติ
๑๐. แสดงสิ่งที่พระตถาคตได้ทรงบัญญัติไว้ว่า พระตถาคตไม่ได้ทรง
บัญญัติไว้
๑๑. แสดงอนาบัติว่า เป็นอาบัติ
๑๒. แสดงอาบัติว่า เป็นอนาบัติ
๑๓. แสดงอาบัติเบาว่า เป็นอาบัติหนัก
๑๔. แสดงอาบัติหนักว่า เป็นอาบัติเบา
๑๕. แสดงอาบัติที่มีส่วนเหลือว่า เป็นอาบัติที่ไม่มีส่วนเหลือ
๑๖. แสดงอาบัติที่ไม่มีส่วนเหลือว่า เป็นอาบัติที่มีส่วนเหลือ
๑๗. แสดงอาบัติชั่วหยาบว่า เป็นอาบัติไม่ชั่วหยาบ
๑๘. แสดงอาบัติไม่ชั่วหยาบว่า เป็นอาบัติชั่วหยาบ
ภิกษุผู้ลำเอียงเพราะชอบด้วยวัตถุ ๑๘ อย่างนี้ ย่อมปฏิบัติเพื่อไม่เกื้อกูลแก่
ชนหมู่มาก เพื่อความไม่เป็นสุขแก่ชนหมู่มาก เพื่อความพินาศแก่ชนหมู่มาก เพื่อ
ความไม่เกื้อกูล เพื่อความทุกข์แก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ภิกษุผู้ลำเอียงเพราะ
ชอบด้วยวัตถุ ๑๘ อย่างนี้ ย่อมบริหารตนให้เป็นผู้ถูกขุด ถูกกำจัด เป็นผู้ประกอบ
ด้วยโทษ อันวิญญูชนพึงตำหนิ และย่อมประสบสิ่งมิใช่บุญเป็นอันมาก ภิกษุผู้
ลำเอียงเพราะชอบ ย่อมลำเอียงเพราะชอบอย่างนี้

ว่าด้วยไม่ลำเอียงเพราะชัง๑
[๓๘๐] คำว่า ไม่พึงลำเอียงเพราะชัง นั้น คือ ภิกษุผู้ลำเอียงเพราะชัง
อย่างไรจึงชื่อว่าลำเอียงเพราะชัง ภิกษุบางรูปในพระธรรมวินัยนี้ ผูกอาฆาตว่า
๑. ผู้นี้ได้ทำสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่เรา
๒. ผู้นี้กำลังทำสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่เรา
๓. ผู้นี้จักทำสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่เรา

เชิงอรรถ :
๑ ที.ปา. (แปล) ๑๑/๓๔๐/๓๕๒, องฺ.นวก. (แปล) ๒๓/๒๙/๔๙๑, องฺ.ทสก. (แปล) ๒๔/๗๙/๑๗๗, อภิ.วิ.
(แปล) ๓๕/๙๖๗/๖๑๙

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๕๕๘ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [มหาสงคราม] ๒. อคติอคันตัพพะ
๔. ผู้นี้ได้ทำสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่คนผู้เป็นที่รักที่ชอบพอของเรา
๕. ผู้นี้กำลังทำสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่คนผู้เป็นที่รักที่ชอบพอของเรา
๖. ผู้นี้จักทำสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่คนผู้เป็นที่รักที่ชอบพอของเรา
๗. ผู้นี้ได้ทำสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่คนผู้ไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่ชอบพอของเรา
๘. ผู้นี้กำลังทำสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่คนผู้ไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่ชอบพอ
ของเรา
๙. ผู้นี้จักทำสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่คนผู้ไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่ชอบพอของเรา
ภิกษุอาฆาต ปองร้าย ขุ่นเคือง ถูกความโกรธครอบงำด้วยวัตถุอาฆาต ๙ อย่างนี้
ย่อมแสดงอธรรมว่าเป็นธรรม แสดงธรรมว่าเป็นอธรรม ฯลฯ แสดงอาบัติชั่วหยาบ
ว่าต้องอาบัติไม่ชั่วหยาบ แสดงอาบัติไม่ชั่วหยาบว่าต้องอาบัติชั่วหยาบ
ภิกษุผู้ลำเอียงเพราะชังด้วยวัตถุ ๑๘ อย่างนี้ ย่อมปฏิบัติเพื่อไม่เกื้อกูลแก่ชน
หมู่มาก เพื่อความไม่เป็นสุขแก่ชนหมู่มาก เพื่อความพินาศแก่ชนหมู่มาก เพื่อความ
ไม่เกื้อกูล เพื่อความทุกข์แก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ภิกษุผู้ลำเอียงเพราะชังด้วย
วัตถุ ๑๘ อย่างนี้ ย่อมบริหารตนให้เป็นผู้ถูกขุด ถูกกำจัด เป็นผู้ประกอบด้วยโทษ
อันวิญญูชนพึงตำหนิ และย่อมประสบสิ่งมิใช่บุญเป็นอันมาก ภิกษุผู้ลำเอียงเพราะชัง
ย่อมลำเอียงเพราะชังอย่างนี้

ไม่ลำเอียงเพราะหลง
[๓๘๑] คำว่า ไม่พึงลำเอียงเพราะหลง นั้น คือ ภิกษุผู้ลำเอียงเพราะหลง
อย่างไรจึงชื่อว่าลำเอียงเพราะหลง ภิกษุเป็นผู้กำหนัดย่อมลำเอียงด้วยอำนาจความ
กำหนัด เป็นผู้ขุ่นเคืองย่อมลำเอียงด้วยอำนาจความขุ่นเคือง เป็นผู้หลงย่อมลำเอียง
ด้วยอำนาจความหลง เป็นผู้ถูกทิฏฐิลูบคลำย่อมลำเอียงด้วยอำนาจทิฏฐิ ภิกษุเป็นผู้
หลงงมงาย อันความหลงครอบงำ ย่อมแสดงอธรรมว่าเป็นธรรม แสดงธรรมว่าเป็น
อธรรม ฯลฯ แสดงอาบัติชั่วหยาบ ว่าเป็นอาบัติไม่ชั่วหยาบ แสดงอาบัติไม่ชั่วหยาบ
ว่าเป็นอาบัติชั่วหยาบ ภิกษุผู้ลำเอียง เพราะหลงด้วยวัตถุ ๑๘ อย่างนี้ ย่อมปฏิบัติ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๕๕๙ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [มหาสงคราม] ๒. อคติอคันตัพพะ
เพื่อไม่เกื้อกูลแก่ชนหมู่มาก เพื่อความไม่เป็นสุขแก่ชนหมู่มาก เพื่อความพินาศแก่ชน
หมู่มาก เพื่อความไม่เกื้อกูล เพื่อความทุกข์แก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
ภิกษุผู้ลำเอียงเพราะหลงด้วยวัตถุ ๑๘ อย่างนี้ ย่อมบริหารตนให้เป็นผู้ถูกขุด
ถูกกำจัด เป็นผู้ประกอบด้วยโทษ อันวิญญูชนพึงตำหนิ และย่อมประสบสิ่งมิใช่บุญ
เป็นอันมาก ภิกษุผู้ลำเอียงเพราะหลง ย่อมลำเอียงเพราะหลงอย่างนี้

ไม่ลำเอียงเพราะกลัว
[๓๘๒] คำว่า ไม่พึงลำเอียงเพราะกลัว นั้น คือ ภิกษุผู้ลำเอียงเพราะกลัว
อย่างไรจึงชื่อว่าลำเอียงเพราะกลัว ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ คิดว่า ผู้นี้อาศัยความ
ประพฤติไม่เรียบร้อย อาศัยความยึดถือ อาศัยพรรคพวกมีกำลัง เป็นผู้ร้ายกาจ
หยาบคาย จักทำอันตรายแก่ชีวิต หรืออันตรายแก่พรหมจรรย์ ดังนี้ จึงกลัวภัยจาก
ผู้นั้น ย่อมแสดงอธรรมว่าเป็นธรรม แสดงธรรมว่าเป็นอธรรม ฯลฯ แสดงอาบัติชั่ว
หยาบว่าเป็นอาบัติไม่ชั่วหยาบ แสดงอาบัติไม่ชั่วหยาบว่าเป็นอาบัติชั่วหยาบ
ภิกษุผู้ลำเอียงเพราะกลัวด้วยวัตถุ ๑๘ อย่างนี้ ย่อมปฏิบัติเพื่อไม่เกื้อกูลแก่ชน
หมู่มาก เพื่อความไม่เป็นสุขแก่ชนหมู่มาก เพื่อความพินาศแก่ชนหมู่มาก เพื่อความ
ไม่เกื้อกูล เพื่อความทุกข์แก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ภิกษุผู้ลำเอียงเพราะกลัวด้วย
วัตถุ ๑๘ อย่างนี้ ย่อมบริหารตนให้เป็นผู้ถูกขุด ถูกกำจัด เป็นผู้ประกอบด้วยโทษ
อันวิญญูชนพึงตำหนิและย่อมประสบสิ่งมิใช่บุญเป็นอันมาก ภิกษุผู้ลำเอียงเพราะกลัว
ย่อมลำเอียงเพราะกลัวอย่างนี้

นิคมคาถา
ผู้ใดประพฤติล่วงธรรมเพราะชอบ เพราะชัง
เพราะกลัว เพราะหลง ยศของผู้นั้น ย่อมเสื่อม
เหมือนดวงจันทร์ในวันข้างแรม ฉะนั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๕๖๐ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [มหาสงคราม] ๓. อคติอคมนะ
๓. อคติอคมนะ
ว่าด้วยการไม่ลำเอียง

ไม่ลำเอียงเพราะชอบ
[๓๘๓] ถาม : อย่างไรชื่อว่า ไม่ลำเอียงเพราะชอบ
ตอบ : ภิกษุเมื่อแสดงอธรรมว่าเป็นอธรรม ชื่อว่าไม่ลำเอียงเพราะชอบ
เมื่อแสดงธรรมว่าเป็นธรรม ชื่อว่าไม่ลำเอียงเพราะชอบ
เมื่อแสดงสิ่งมิใช่วินัยว่ามิใช่วินัย ชื่อว่าไม่ลำเอียงเพราะชอบ
เมื่อแสดงวินัยว่าเป็นวินัย ชื่อว่าไม่ลำเอียงเพราะชอบ
เมื่อแสดงสิ่งที่พระตถาคตไม่ได้ภาษิตไว้ไม่ได้ตรัสไว้ว่า พระตถาคตไม่ได้ภาษิตไว้
ไม่ได้ตรัสไว้ ชื่อว่าไม่ลำเอียงเพราะชอบ
เมื่อแสดงสิ่งที่พระตถาคตได้ภาษิตไว้ได้ตรัสไว้ว่า พระตถาคตได้ภาษิตไว้ ได้
ตรัสไว้ ชื่อว่าไม่ลำเอียงเพราะชอบ
เมื่อแสดงจริยาวัตรที่พระตถาคตไม่ได้ทรงประพฤติว่า พระตถาคตไม่ได้ทรง
ประพฤติมา ชื่อว่าไม่ลำเอียงเพราะชอบ
เมื่อแสดงจริยาวัตรที่พระตถาคตได้ทรงประพฤติว่า พระตถาคตได้ทรงประพฤติมา
ชื่อว่าไม่ลำเอียงเพราะชอบ
เมื่อแสดงสิ่งที่พระตถาคตไม่ได้ทรงบัญญัติไว้ว่า พระตถาคตไม่ได้ทรงบัญญัติไว้
ชื่อว่าไม่ลำเอียงเพราะชอบ
เมื่อแสดงสิ่งที่พระตถาคตได้ทรงบัญญัติไว้ว่า พระตถาคตได้ทรงบัญญัติไว้
ชื่อว่าไม่ลำเอียงเพราะชอบ
เมื่อแสดงอนาบัติว่าเป็นอนาบัติ ชื่อว่าไม่ลำเอียงเพราะชอบ
เมื่อแสดงอาบัติว่าเป็นอาบัติ ชื่อว่าไม่ลำเอียงเพราะชอบ
เมื่อแสดงอาบัติเบาว่าเป็นอาบัติเบา ชื่อว่าไม่ลำเอียงเพราะชอบ
แสดงอาบัติหนักว่าเป็นอาบัติหนัก ชื่อว่าไม่ลำเอียงเพราะชอบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๕๖๑ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [มหาสงคราม] ๓. อคติอคมนะ
เมื่อแสดงอาบัติที่มีส่วนเหลือว่าเป็นอาบัติมีส่วนเหลือ ชื่อว่าไม่ลำเอียงเพราะชอบ
เมื่อแสดงอาบัติไม่มีส่วนเหลือว่าเป็นอาบัติไม่มีส่วนเหลือ ชื่อว่าไม่ลำเอียง
เพราะชอบ
เมื่อแสดงอาบัติชั่วหยาบว่าเป็นอาบัติชั่วหยาบ ชื่อว่าไม่ลำเอียงเพราะชอบ
เมื่อแสดงอาบัติไม่ชั่วหยาบว่าเป็นอาบัติไม่ชั่วหยาบ ชื่อว่าไม่ลำเอียงเพราะชอบ
ภิกษุชื่อว่าไม่ลำเอียงเพราะชอบ ด้วยอาการอย่างนี้

ไม่ลำเอียงเพราะชัง
[๓๘๔] ถาม : อย่างไรชื่อว่า ไม่ลำเอียงเพราะชัง
ตอบ : ภิกษุเมื่อแสดงอธรรมว่าเป็นอธรรม ชื่อว่าไม่ลำเอียงเพราะชัง
เมื่อแสดงธรรมว่าเป็นธรรม ชื่อว่าไม่ลำเอียงเพราะชัง ฯลฯ
เมื่อแสดงอาบัติชั่วหยาบว่าเป็นอาบัติชั่วหยาบ ชื่อว่าไม่ลำเอียงเพราะชัง
เมื่อแสดงอาบัติไม่ชั่วหยาบว่าเป็นอาบัติไม่ชั่วหยาบ ชื่อว่าไม่ลำเอียงเพราะชัง
ภิกษุชื่อว่าไม่ลำเอียงเพราะชัง ด้วยอาการอย่างนี้

ไม่ลำเอียงเพราะหลง
[๓๘๕] ถาม : อย่างไรชื่อว่า ไม่ลำเอียงเพราะหลง
ตอบ : ภิกษุเมื่อแสดงอธรรมว่าเป็นอธรรม ชื่อว่าไม่ลำเอียงเพราะหลง
เมื่อแสดงธรรมว่าเป็นธรรม ชื่อว่าไม่ลำเอียงเพราะหลง ฯลฯ
เมื่อแสดงอาบัติชั่วหยาบว่าเป็นอาบัติชั่วหยาบ ชื่อว่าไม่ลำเอียงเพราะหลง
เมื่อแสดงอาบัติไม่ชั่วหยาบว่าเป็นอาบัติไม่ชั่วหยาบ ชื่อว่าไม่ลำเอียงเพราะหลง
ภิกษุชื่อว่าไม่ลำเอียงเพราะหลง ด้วยอาการอย่างนี้

ไม่ลำเอียงเพราะกลัว
[๓๘๕] ถาม : อย่างไรชื่อว่า ไม่ลำเอียงเพราะกลัว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๕๖๒ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [มหาสงคราม] ๔. สัญญาปนียาทิ
ตอบ : ภิกษุเมื่อแสดงอธรรมว่าเป็นอธรรม ชื่อว่าไม่ลำเอียงเพราะกลัว
เมื่อแสดงธรรมว่าเป็นธรรม ชื่อว่าไม่ลำเอียงเพราะกลัว ฯลฯ
เมื่อแสดงอาบัติชั่วหยาบว่าเป็นอาบัติชั่วหยาบ ชื่อว่าไม่ลำเอียงเพราะกลัว
เมื่อแสดงอาบัติไม่ชั่วหยาบว่าเป็นอาบัติไม่ชั่วหยาบ ชื่อว่าไม่ลำเอียงเพราะกลัว
ภิกษุชื่อว่าไม่ลำเอียงเพราะกลัว ด้วยอาการอย่างนี้

นิคมคาถา
ผู้ใดไม่ประพฤติล่วงธรรมเพราะชอบ เพราะชัง
เพราะกลัว เพราะหลง ยศของผู้นั้นย่อมเต็มเปี่ยม
เหมือนดวงจันทร์ในวันข้างขึ้น ฉะนั้น

๔. สัญญาปนียาทิ
ว่าด้วยการชี้แจง เป็นต้น
[๓๘๗] ถาม : อย่างไรชื่อว่า ชี้แจงในฐานะที่ควรชี้แจง
ตอบ : ภิกษุเมื่อแสดงอธรรมว่าเป็นอธรรม ชื่อว่าชี้แจงในฐานะที่ควรชี้แจง
เมื่อแสดงธรรมว่าเป็นธรรม ชื่อว่าชี้แจงในฐานะที่ควรชี้แจง ฯลฯ
เมื่อแสดงอาบัติชั่วหยาบว่าเป็นอาบัติชั่วหยาบ ชื่อว่าชี้แจงในฐานะที่ควรชี้แจง
เมื่อแสดงอาบัติไม่ชั่วหยาบว่าเป็นอาบัติไม่ชั่วหยาบ ชื่อว่าชี้แจงในฐานะที่ควรชี้แจง
ภิกษุชื่อว่าชี้แจงในฐานะที่ควรชี้แจง ด้วยอาการอย่างนี้

ว่าด้วยการพิจารณา
[๓๘๘] ถาม : อย่างไรชื่อว่า พิจารณาในฐานะที่ควรพิจารณา
ตอบ : ภิกษุเมื่อแสดงอธรรมว่าเป็นอธรรม ชื่อว่าพิจารณาในฐานะที่ควรพิจารณา
เมื่อแสดงธรรมว่าเป็นธรรม ชื่อว่าพิจารณาในฐานะที่ควรพิจารณา ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๕๖๓ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [มหาสงคราม] ๔. สัญญาปนียาทิ
เมื่อแสดงอาบัติชั่วหยาบว่าเป็นอาบัติชั่วหยาบ ชื่อว่าพิจารณาในฐานะที่ควรพิจารณา
เมื่อแสดงอาบัติไม่ชั่วหยาบว่าเป็นอาบัติไม่ชั่วหยาบ ชื่อว่าพิจารณาในฐานะที่
ควรพิจารณา
ภิกษุชื่อว่าพิจารณาในฐานะที่ควรพิจารณา ด้วยอาการอย่างนี้

ว่าด้วยการเพ่งเล็ง
[๓๘๙] ถาม : อย่างไรชื่อว่า เพ่งเล็งในฐานะที่ควรเพ่งเล็ง
ตอบ : ภิกษุเมื่อแสดงอธรรมว่าเป็นอธรรม ชื่อว่าเพ่งเล็งในฐานะที่ควรเพ่งเล็ง
เมื่อแสดงธรรมว่าเป็นธรรม ชื่อว่าเพ่งเล็งในฐานะที่ควรเพ่งเล็ง ฯลฯ
เมื่อแสดงอาบัติชั่วหยาบว่าเป็นอาบัติชั่วหยาบ ชื่อว่าเพ่งเล็งในฐานะที่ควรเพ่งเล็ง
เมื่อแสดงอาบัติไม่ชั่วหยาบว่าเป็นอาบัติไม่ชั่วหยาบ ชื่อว่าเพ่งเล็งในฐานะที่ควร
เพ่งเล็ง
ภิกษุชื่อว่าเพ่งเล็งในฐานะที่ควรเพ่งเล็ง ด้วยอาการอย่างนี้

ว่าด้วยการเลื่อมใส
[๓๙๐] ถาม : อย่างไรชื่อว่า เลื่อมใสในฐานะที่ควรเลื่อมใส
ตอบ : ภิกษุเมื่อแสดงอธรรมว่าเป็นอธรรม ชื่อว่าเลื่อมใสในฐานะที่ควร
เลื่อมใส
เมื่อแสดงธรรมว่าเป็นธรรม ชื่อว่าเลื่อมใสในฐานะที่ควรเลื่อมใส ฯลฯ
เมื่อแสดงอาบัติชั่วหยาบว่าเป็นอาบัติชั่วหยาบ ชื่อว่าเลื่อมใสในฐานะที่ควรเลื่อมใส
เมื่อแสดงอาบัติไม่ชั่วหยาบว่าเป็นอาบัติไม่ชั่วหยาบ ชื่อว่าเลื่อมใสในฐานะที่ควร
เลื่อมใส
ภิกษุชื่อว่าเลื่อมใสในฐานะที่ควรเลื่อมใส ด้วยอาการอย่างนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๕๖๔ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [มหาสงคราม] ๕. ปรปักขาทิอวชานนะ
๕. ปรปักขาทิอวชานนะ
ว่าด้วยการดูหมิ่นฝ่ายอื่น เป็นต้น
[๓๙๑] ถาม : อย่างไรชื่อว่า ดูหมิ่นฝ่ายอื่นด้วยเข้าใจว่า เราได้พวกแล้ว
ตอบ : ภิกษุบางรูปในพระธรรมวินัยนี้ ได้พวก ได้บริวารแล้ว มีพวก มีญาติ
จึงคิดว่า ผู้นี้ไม่ได้พวก ไม่ได้บริวาร ไม่มีพวก ไม่มีญาติ ดังนี้ จึงดูหมิ่นภิกษุนั้น
ย่อมแสดงอธรรมว่าเป็นธรรม แสดงธรรมว่าเป็นอธรรม ฯลฯ แสดงอาบัติชั่วหยาบ
ว่าเป็นอาบัติไม่ชั่วหยาบ แสดงอาบัติไม่ชั่วหยาบว่าเป็นอาบัติชั่วหยาบ
ภิกษุชื่อว่าดูหมิ่นฝ่ายอื่นด้วยเข้าใจว่า เราได้พวกแล้ว ด้วยอาการอย่างนี้

ว่าด้วยดูหมิ่นภิกษุมีสุตะน้อย
[๓๙๒] ถาม : อย่างไรชื่อว่า ดูหมิ่นผู้มีสุตะน้อยด้วยเข้าใจว่า เรามีสุตะมาก
ตอบ : ภิกษุบางรูปในพระธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีสุตะมาก ทรงจำสุตะ สั่งสมสุตะ
ดูหมิ่นภิกษุนั้นว่า ท่านผู้นี้มีสุตะน้อย มีอาคมน้อย ทรงจำไว้ได้น้อย ย่อมแสดง
อธรรมว่าเป็นธรรม แสดงธรรมว่าเป็นอธรรม ฯลฯ แสดงอาบัติชั่วหยาบว่าเป็นอาบัติ
ไม่ชั่วหยาบ แสดงอาบัติไม่ชั่วหยาบว่าเป็นอาบัติชั่วหยาบ
ภิกษุชื่อว่าดูหมิ่นผู้มีสุตะน้อยด้วยเข้าใจว่า เรามีสุตะมาก ด้วยอาการอย่างนี้

ว่าด้วยดูหมิ่นภิกษุผู้อ่อนพรรษากว่า
[๓๙๓] ถาม : อย่างไรชื่อว่า ดูหมิ่นภิกษุผู้อ่อนกว่าด้วยเข้าใจว่า เราเป็นผู้แก่กว่า
ตอบ : ภิกษุบางรูปในพระธรรมวินัยนี้ เป็นเถระรู้ราตรี บวชนาน ดูหมิ่นภิกษุ
นั้นว่า ท่านผู้นี้เป็นผู้อ่อนกว่า ไม่มีชื่อเสียง มีสุตะน้อย ไม่รู้สิ่งที่ทำไปแล้ว ถ้อยคำ
ของผู้นี้จักเป็นถ้อยคำที่ทำไม่ได้ ดังนี้ ย่อมแสดงอธรรมว่าเป็นธรรม แสดงธรรมว่า
เป็นอธรรม ฯลฯ แสดงอาบัติชั่วหยาบว่าเป็นอาบัติไม่ชั่วหยาบ แสดงอาบัติไม่ชั่ว
หยาบว่าเป็นอาบัติชั่วหยาบ
ภิกษุชื่อว่าดูหมิ่นภิกษุผู้อ่อนกว่าด้วยเข้าใจว่า เราเป็นผู้แก่กว่า ด้วยอาการอย่างนี้


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๕๖๕ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [มหาสงคราม] ๖. อนุวิชชกัสสอนุโยคะ
ว่าด้วยไม่พึงพูดเรื่องที่ยังมาไม่ถึง
[๓๙๔] คำว่า ไม่พึงพูดเรื่องที่ยังมาไม่ถึง นั้น คือ ไม่นำคำพูดที่ไม่เข้า
ประเด็นมา
คำว่า ไม่พึงให้เรื่องที่มาถึงแล้วเสื่อมไปจากพระธรรมวินัย นั้น คือ ไม่พึง
ทำประโยชน์ที่สงฆ์ประชุมกันแล้วให้เสื่อมไปจากพระธรรม จากพระวินัย

ว่าด้วยธรรมวินัยสัตถุศาสน์
[๓๙๕] คำว่า ด้วยธรรมใด คือ ด้วยเรื่องจริง
คำว่า ด้วยวินัยใด คือ โจทแล้วให้จำเลยให้การ
คำว่า ด้วยสัตถุศาสน์ใด คือ ด้วยญัตติสัมปทา ด้วยอนุสาวนสัมปทา
อธิกรณ์นั้น ย่อมระงับด้วยธรรมใด ด้วยวินัยใด ด้วยสัตถุศาสน์ใด พึงให้
อธิกรณ์นั้นระงับด้วยวิธีนั้น

๖. อนุวิชชกัสสอนุโยคะ
ว่าด้วยข้อซักถามของภิกษุผู้วินิจฉัยอธิกรณ์
[๓๙๖] อันภิกษุผู้วินิจฉัยอธิกรณ์พึงถามโจทก์ว่า อาวุโส ข้อที่ท่านงดปวารณา
แก่ภิกษุรูปนี้นั้น ท่านงดเพราะเรื่องอะไร ท่านงดด้วยสีลวิบัติ ท่านงดด้วยอาจารวิบัติ
หรือท่านงดด้วยทิฏฐิวิบัติ
ถ้าโจทก์นั้นตอบอย่างนี้ว่า ข้าพเจ้างดด้วยสีลวิบัติ งดด้วยอาจารวิบัติ หรืองด
ด้วยทิฏฐิวิบัติ
ภิกษุผู้วินิจฉัยอธิกรณ์นั้น พึงซักถามโจทก์อย่างนี้ว่า ท่านรู้สีลวิบัติ รู้อาจารวิบัติ
รู้ทิฏฐิวิบัติหรือ
ถ้าโจทก์นั้นตอบอย่างนี้ว่า อาวุโส ข้าพเจ้ารู้สีลวิบัติ รู้อาจารวิบัติ รู้ทิฏฐิวิบัติ
ภิกษุผู้วินิจฉัยอธิกรณ์ พึงซักถามโจทก์อย่างนี้ว่า อาวุโส ก็สีลวิบัติเป็นไฉน
อาจารวิบัติเป็นไฉน ทิฏฐิวิบัติเป็นไฉน


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๕๖๖ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [มหาสงคราม] ๖. อนุวิชชกัสสอนุโยคะ
ถ้าโจทก์นั้นตอบอย่างนี้ว่า ปาราชิก ๔ สังฆาทิเสส ๑๓ นี้จัดเป็นสีลวิบัติ
ถุลลัจจัย ปาจิตตีย์ ปาฏิเทสนียะ ทุกกฏ ทุพภาสิต นี้จัดเป็นอาจารวิบัติ มิจฉาทิฏฐิ
อันตคาหิกทิฏฐิ นี้จัดเป็นทิฏฐิวิบัติ
ภิกษุผู้วินิจฉัยอธิกรณ์ พึงซักถามโจทก์อย่างนี้ว่า อาวุโส ข้อที่ท่านงดปวารณา
แก่ภิกษุรูปนี้นั้น ท่านงดด้วยเรื่องที่ได้เห็น ด้วยเรื่องที่ได้ยิน หรือด้วยเรื่องที่นึกสงสัย
ถ้าโจทก์นั้นตอบอย่างนี้ว่า ข้าพเจ้างดด้วยเรื่องที่ได้เห็น ด้วยเรื่องที่ได้ยิน
หรือด้วยเรื่องที่นึกสงสัย
ภิกษุผู้วินิจฉัยอธิกรณ์ พึงซักถามโจทก์อย่างนี้ว่า อาวุโส ข้อที่ท่านงดปวารณา
แก่ภิกษุรูปนี้ ท่านงดด้วยเรื่องที่ได้เห็นนั้น ท่านเห็นอะไร ท่านเห็นอย่างไร เห็นเมื่อไร
เห็นที่ไหน ท่านเห็นภิกษุรูปนี้ต้องอาบัติปาราชิก ท่านเห็นภิกษุรูปนี้ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
ถุลลัจจัย ปาจิตตีย์ ปาฏิเทสนียะ ทุกกฏ ทุพภาสิต หรือ อนึ่ง ท่านอยู่ที่ไหน และ
ภิกษุรูปนี้อยู่ที่ไหน ท่านทำอะไรอยู่ ภิกษุรูปนี้ทำอะไรอยู่
ถ้าโจทก์ตอบอย่างนี้ว่า อาวุโส ข้าพเจ้ามิได้งดปวารณาแก่ภิกษุรูปนี้ด้วยเรื่องที่
ได้เห็น แต่ข้าพเจ้างดปวารณาด้วยเรื่องที่ได้ยิน
ผู้วินิจฉัยอธิกรณ์พึงซักถามโจทก์อย่างนี้ว่า อาวุโส ข้อที่ท่านงดปวารณาแก่
ภิกษุรูปนี้ด้วยเรื่องที่ได้ยินนั้น ท่านได้ยินอะไร ได้ยินอย่างไร ได้ยินเมื่อไร ได้ยินที่ไหน
ท่านได้ยินว่า ภิกษุรูปนี้ต้องอาบัติปาราชิก หรือท่านได้ยินว่า ภิกษุรูปนี้ต้องอาบัติ
สังฆาทิเสส ถุลลัจจัย ปาจิตตีย์ ปาฏิเทสนียะ ทุกกฏ ทุพภาสิต หรือท่านได้ยินจาก
ภิกษุ หรือได้ยินจากภิกษุณี สิกขมานา สามเณร สามเณรี อุบาสก อุบาสิกา
พระราชา ราชมหาอมาตย์ เดียรถีย์ สาวกของเดียรถีย์หรือ
ถ้าโจทก์ตอบอย่างนี้ว่า อาวุโส ข้าพเจ้าไม่ได้งดปวารณาแก่ภิกษุรูปนี้ด้วยเรื่อง
ที่ได้ยิน แต่ข้าพเจ้างดปวารณาด้วยเรื่องที่นึกสงสัยต่างหาก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๕๖๗ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [มหาสงคราม] ๗. ปุจฉาวิภาค
ผู้วินิจฉัยอธิกรณ์พึงซักถามอย่างนี้ว่า อาวุโส ข้อที่ท่านงดปวารณาแก่ภิกษุ
รูปนี้ด้วยเรื่องที่นึกสงสัยนั้น ท่านนึกสงสัยอะไร นึกสงสัยอย่างไร นึกสงสัยเมื่อไร
นึกสงสัยที่ไหน ท่านนึกสงสัยว่าภิกษุรูปนี้ต้องอาบัติปาราชิก หรือท่านนึกสงสัยว่า
ภิกษุรูปนี้ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ถุลลัจจัย ปาจิตตีย์ ปาฏิเทสนียะ ทุกกฏ ทุพภาสิต
หรือท่านได้ยินจากภิกษุ หรือได้ยินจากภิกษุณี สิกขมานา สามเณร สามเณรี อุบาสก
อุบาสิกา พระราชา ราชมหาอมาตย์ เดียรถีย์ สาวกของเดียรถีย์แล้วนึกสงสัยหรือ

เปรียบเทียบอธิกรณ์
[๓๙๗] เรื่องที่ได้เห็นสมด้วยเรื่องที่ได้เห็น
เรื่องที่ได้เห็นเทียบกับเรื่องที่ได้เห็น
แต่บุคคลนั้นไม่ยอมรับ เพราะอาศัยเรื่องที่ได้เห็น
บุคคลนั้นถูกสงสัยว่าไม่บริสุทธิ์ พึงปรับอาบัติตามปฏิญญา
พึงทำปวารณากับบุคคลนั้น
เรื่องที่ได้ยินสมด้วยเรื่องที่ได้ยิน เรื่องที่ได้ยินเทียบกับเรื่องที่ได้ยิน
แต่บุคคลนั้นไม่ยอมรับ เพราะอาศัยการได้ยิน
บุคคลนั้นถูกสงสัยว่าไม่บริสุทธิ์ พึงปรับอาบัติตามปฏิญญา
พึงทำปวารณากับบุคคลนั้น
เรื่องที่ได้ทราบสมด้วยเรื่องที่ได้ทราบ
เรื่องที่ได้ทราบเทียบกับเรื่องที่ได้ทราบ
แต่บุคคลนั้นไม่ยอมรับ เพราะอาศัยการได้ทราบ
บุคคลนั้นถูกสงสัยว่าไม่บริสุทธิ์
พึงปรับอาบัติตามปฏิญญา พึงทำปวารณากับบุคคลนั้น

๗. ปุจฉาวิภาค
ว่าด้วยการจำแนกคำถาม
[๓๙๘] คำว่า ท่านเห็นอะไร นั้น ถามถึงอะไร
คำว่า ท่านเห็นว่าอย่างไร นั้น ถามถึงอะไร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๕๖๘ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [มหาสงคราม] ๗. ปุจฉาวิภาค
คำว่า ท่านเห็นเมื่อไร นั้น ถามถึงอะไร
คำว่า ท่านเห็นที่ไหน นั้น ถามถึงอะไร
[๓๙๙] คำว่า ท่านเห็นอะไร นั้น ได้แก่ ถามถึงวัตถุ ถามถึงวิบัติ ถามถึงอาบัติ
ถามถึงอัชฌาจาร
คำว่า ถามถึงวัตถุ นั้น ได้แก่ ถามถึงวัตถุแห่งปาราชิก ๘ ถามถึงวัตถุแห่ง
สังฆาทิเสส ๒๓ ถามถึงวัตถุแห่งอนิยต ๒ ถามถึงวัตถุแห่งนิสสัคคีย์ ๔๒ ถามถึง
วัตถุแห่งปาจิตตีย์ ๑๘๘ ถามถึงวัตถุแห่งปาฏิเทสนียะ ๑๒ ถามถึงวัตถุแห่งทุกกฏ
ถามถึงวัตถุแห่งทุพภาสิต
คำว่า ถามถึงวิบัติ นั้น ได้แก่ ถามถึงสีลวิบัติ ถามถึงอาจารวิบัติ ถามถึง
ทิฏฐิวิบัติ ถามถึงอาชีววิบัติ
คำว่า ถามถึงอาบัติ นั้น ได้แก่ ถามถึงอาบัติปาราชิก ถามถึงอาบัติสังฆาทิเสส
ถามถึงอาบัติถุลลัจจัย ถามถึงอาบัติปาจิตตีย์ ถามถึงอาบัติปาฏิเทสนียะ ถามถึง
อาบัติทุกกฏ ถามถึงอาบัติทุพพภาสิต
คำว่า ถามถึงอัชฌาจาร นั้น ได้แก่ ถามถึงกิจที่ทำกันสองต่อสอง
[๔๐๐] คำว่า ท่านเห็นว่าอย่างไร นั้น ได้แก่ ถามถึงเพศ ถามถึงอิริยาบถ
ถามถึงอาการ ถามถึงประการอันแปลก
คำว่า ถามถึงเพศ นั้น หมายถึง สูงหรือเตี้ย ดำหรือขาว
คำว่า ถามถึงอิริยาบถ นั้น หมายถึง เดินหรือยืน นั่งหรือนอน
คำว่า ถามอาการ นั้น หมายถึง เพศคฤหัสถ์ เพศเดียรถีย์ หรือเพศบรรพชิต
คำว่า ถามประการอันแปลก นั้น หมายถึง เดินหรือยืน นั่งหรือนอน
[๔๐๑] คำว่า ท่านเห็นเมื่อไร นั้น ได้แก่ ถามถึงกาล ถามถึงสมัย ถามถึงวัน
ถามถึงฤดู
คำว่า ถามถึงกาล นั้น หมายถึง เวลาเช้า เวลาเที่ยง หรือเวลาเย็น
คำว่า ถามถึงสมัย นั้น หมายถึง สมัยเช้า สมัยเที่ยง หรือสมัยเย็น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๕๖๙ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [มหาสงคราม] หัวข้อประจำเรื่อง
คำว่า ถามถึงวัน นั้น หมายถึง ก่อนอาหารหรือหลังอาหาร กลางคืนหรือ
กลางวัน ข้างแรมหรือข้างขึ้น
คำว่า ถามถึงฤดู นั้น หมายถึง ฤดูหนาว ฤดูร้อน หรือฤดูฝน
[๔๐๒] คำว่า ท่านเห็นที่ไหน นั้น ได้แก่ ถามถึงสถานที่ ถามถึงพื้นที่ ถาม
ถึงโอกาส ถามถึงประเทศ
คำว่า ถามถึงสถานที่ นั้น หมายถึง พื้นที่หรือแผ่นดิน ธรณีหรือทางเดิน
คำว่า ถามถึงพื้นที่ นั้น หมายถึง พื้นที่ แผ่นดิน ภูเขา หิน หรือปราสาท
คำว่า ถามถึงโอกาส นั้น หมายถึง โอกาสด้านตะวันออกหรือโอกาสด้านตะวันตก
โอกาสด้านเหนือหรือโอกาสด้านใต้
คำว่า ถามถึงประเทศ นั้น หมายถึง ประเทศด้านตะวันออกหรือประเทศด้าน
ตะวันตก ประเทศด้านเหนือหรือประเทศด้านใต้
มหาสงคราม จบ

หัวข้อประจำเรื่อง
วัตถุ นิทาน อาการ คำต้นและคำหลัง
สิ่งที่ทำแล้วและสิ่งที่ยังไม่ได้ทำ กรรม อธิกรณ์ สมถะ
ลำเอียงเพราะชอบ ลำเอียงเพราะชัง ลำเอียงเพราะหลง
ลำเอียงเพราะกลัว ชี้แจงในฐานะที่ควรชี้แจง
พิจารณาในฐานะที่ควรพิจารณา เพ่งเล็งในฐานะที่ควรเพ่งเล็ง
เลื่อมใสในฐานะที่ควรเลื่อมใส
ได้พรรคพวกแล้วดูหมิ่นฝ่ายอื่น มีสุตะแล้วดูหมิ่นฝ่ายอื่น
แก่กว่าแล้วดูหมิ่นฝ่ายอื่น
ไม่พูดเรื่องที่ยังมาไม่ถึง ไม่พึงให้เรื่องที่มาถึงแล้วเสื่อม
อธิกรณ์ระงับด้วยธรรม ด้วยวินัย ด้วยสัตถุศาสน์
เรื่องมหาสงคราม

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๕๗๐ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [กฐินเภท] ๑. กฐินอัตถตาทิ
กฐินเภท
ว่าด้วยประเภทแห่งกฐิน
๑. กฐินอัตถตาทิ
ว่าด้วยกรานกฐิน เป็นต้น
[๔๐๓] ใครไม่ได้กรานกฐิน ใครได้กรานกฐิน อย่างไรกฐินไม่เป็นอันกราน
อย่างไรกฐินเป็นอันกราน

ไม่ได้กรานกฐิน
คำว่า ใครไม่ได้กรานกฐิน นั้น คือ บุคคล ๒ พวก ได้แก่ ภิกษุผู้ไม่ได้กราน
ภิกษุผู้ไม่ได้อนุโมทนา ไม่ได้กรานกฐิน บุคคล ๒ พวกนี้ ไม่ได้กรานกฐิน

ได้กรานกฐิน
คำว่า ใครได้กรานกฐิน นั้น คือ บุคคล ๒ พวก ได้แก่ ภิกษุผู้กราน ภิกษุ
ผู้อนุโมทนา ได้กรานกฐิน บุคคล ๒ พวกนี้ ได้กรานกฐิน

เหตุกฐินไม่เป็นอันกราน
คำว่า อย่างไรกฐินไม่เป็นอันกราน นั้น ได้แก่ กฐินไม่เป็นอันกรานด้วยอาการ
๒๔ อย่าง คือ
๑. กฐินไม่เป็นอันกรานด้วยอาการเพียงมีรอยขีด
๒. กฐินไม่เป็นอันกรานด้วยอาการเพียงซักผ้า
๓. กฐินไม่เป็นอันกรานด้วยอาการเพียงกะผ้า
๔. กฐินไม่เป็นอันกรานด้วยอาการเพียงตัดผ้า
๕. กฐินไม่เป็นอันกรานด้วยอาการเพียงเนาผ้า
๖. กฐินไม่เป็นอันกรานด้วยอาการเพียงเย็บผ้า
๗. กฐินไม่เป็นอันกรานด้วยอาการเพียงทำลูกดุม

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๕๗๑ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [กฐินเภท] ๑. กฐินอัตถตาทิ
๘. กฐินไม่เป็นอันกรานด้วยอาการเพียงทำรังดุม
๙. กฐินไม่เป็นอันกรานด้วยอาการเพียงติดผ้าอนุวาต
๑๐. กฐินไม่เป็นอันกรานด้วยอาการเพียงติดผ้าอนุวาตด้านหน้า
๑๑. กฐินไม่เป็นอันกรานด้วยอาการเพียงดามผ้า
๑๒. กฐินไม่เป็นอันกรานด้วยอาการเพียงย้อมผ้าเป็นสีหม่น
๑๓. กฐินไม่เป็นอันกรานด้วยผ้าที่ทำนิมิตได้มา
๑๔. กฐินไม่เป็นอันกรานด้วยผ้าที่พูดเลียบเคียงได้มา
๑๕. กฐินไม่เป็นอันกรานด้วยผ้าที่ยืมเขามา
๑๖. กฐินไม่เป็นอันกรานด้วยผ้าที่เก็บไว้ค้างคืน
๑๗. กฐินไม่เป็นอันกรานด้วยผ้าที่เป็นนิสสัคคีย์
๑๘. กฐินไม่เป็นอันกรานด้วยผ้าที่ไม่ได้ทำกัปปพินทุ
๑๙. กฐินไม่เป็นอันกรานด้วยผ้าเว้นจากสังฆาฏิ
๒๐. กฐินไม่เป็นอันกรานด้วยผ้าเว้นจากอุตตราสงค์
๒๑. กฐินไม่เป็นอันกรานด้วยผ้าเว้นจากอันตรวาสก
๒๒. กฐินไม่เป็นอันกรานเว้นจากจีวรมีขันธ์ ๕ หรือเกินกว่า ๕ ซึ่งตัด
ทำให้มีมณฑลเสร็จในวันนั้น
๒๓. กฐินไม่เป็นอันกรานเพราะเว้นจากบุคคลกราน
๒๔. กฐินไม่เป็นอันกรานโดยชอบ ถ้าภิกษุผู้อยู่นอกสีมาอนุโมทนากฐินนั้น
กฐินไม่เป็นอันกราน แม้ด้วยอาการอย่างนี้

อธิบายเหตุที่ไม่เป็นอันกรานบางข้อ
ที่ชื่อว่า ทำนิมิต คือ ภิกษุทำนิมิตว่า เราจักกรานกฐินด้วยผ้าผืนนี้
ที่ชื่อว่า พูดเลียบเคียง คือ ภิกษุพูดเลียบเคียงด้วยคิดว่า เราจักให้ผ้ากฐิน
เกิดด้วยการพูดเลียบเคียงนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๕๗๒ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [กฐินเภท] ๑. กฐินอัตถตาทิ
ผ้าที่ไม่ได้ยกให้ เรียกว่า ผ้ายืมเขามา
ที่ชื่อว่า ผ้าเก็บไว้ค้างคืน มี ๒ อย่าง คือ
๑. ผ้าทำค้างคืน ๒. ผ้าเก็บไว้ค้างคืน
ที่ชื่อว่า ผ้าเป็นนิสสัคคีย์ คือ เมื่อภิกษุกำลังทำอยู่ อรุณขึ้นมา
กฐินไม่เป็นอันกรานด้วยอาการ ๒๔ อย่างนี้

เหตุกฐินเป็นอันกราน
คำว่า อย่างไรกฐินเป็นอันกราน นั้น ได้แก่ กฐินเป็นอันกรานด้วยอาการ
๑๗ อย่าง คือ
๑. กฐินเป็นอันกรานด้วยผ้าใหม่
๒. กฐินเป็นอันกรานด้วยผ้าเทียมใหม่
๓. กฐินเป็นอันกรานด้วยผ้าเก่า
๔. กฐินเป็นอันกรานด้วยผ้าบังสุกุล
๕. กฐินเป็นอันกรานด้วยผ้าตกตามร้าน
๖. กฐินเป็นอันกรานด้วยผ้าที่ไม่ได้ทำนิมิตได้มา
๗. กฐินเป็นอันกรานด้วยผ้าที่ไม่ได้พูดเลียบเคียงได้มา
๘. กฐินเป็นอันกรานด้วยผ้าที่ไม่ได้ยืมเขามา
๙. กฐินเป็นอันกรานด้วยผ้าที่ไม่ได้เก็บไว้ค้างคืน
๑๐. กฐินเป็นอันกรานด้วยผ้าที่ไม่เป็นนิสสัคคีย์
๑๑. กฐินเป็นอันกรานด้วยผ้าที่ทำกัปปพินทุ
๑๒. กฐินเป็นอันกรานด้วยผ้าสังฆาฏิ
๑๓. กฐินเป็นอันกรานด้วยผ้าอุตตราสงค์
๑๔. กฐินเป็นอันกรานด้วยผ้าอันตรวาสก
๑๕. กฐินเป็นอันกรานด้วยจีวรมีขันธ์ ๕ หรือเกินกว่า ๕ ที่ตัดดีแล้ว
ทำให้มีมณฑลเสร็จในวันนั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๕๗๓ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [กฐินเภท] ๒. กฐินอนันตรปัจจยาทิ
๑๖. กฐินเป็นอันกราน เพราะมีบุคคลกราน
๑๗. กฐินเป็นอันกรานโดยชอบ ถ้าภิกษุอยู่ในสีมาอนุโมทนากฐินนั้น
กฐินเป็นอันกราน แม้ด้วยอาการอย่างนี้ กฐินเป็นอันกราน ด้วยอาการ ๑๗
อย่างนี้

ธรรมที่เกิดพร้อมกัน
ถาม : ธรรมเท่าไร ย่อมเกิดพร้อมกับการกรานกฐิน
ตอบ : ธรรม ๑๕ อย่าง ย่อมเกิดพร้อมกับการกรานกฐิน คือ มาติกา ๘
ปลิโพธ ๒ อานิสงส์ ๕
ธรรม ๑๕ อย่างนี้ ย่อมเกิดพร้อมกับการกรานกฐิน

๒. กฐินอนันตรปัจจยาทิ
ว่าด้วยอนันตรปัจจัยแห่งกฐิน เป็นต้น
[๔๐๔] ประโยคมีธรรมเหล่าไหน เป็นปัจจัยโดยอนันตรปัจจัย โดยสมนันตร
ปัจจัย โดยนิสสยปัจจัย โดยอุปนิสสยปัจจัย โดยปุเรชาตปัจจัย โดยปัจฉาชาต
ปัจจัย โดยสหชาตปัจจัย
บุพพกรณ์ ฯลฯ การถอนผ้า ฯลฯ การอธิษฐานผ้า ฯลฯ การกราน ฯลฯ
มาติกาและปลิโพธ ฯลฯ
วัตถุมีธรรมเหล่าไหน เป็นปัจจัยโดยอนันตรปัจจัย โดยสมนันตรปัจจัย โดยนิสสย
ปัจจัย โดยอุปนิสสยปัจจัย โดยปุเรชาตปัจจัย โดยปัจฉาชาตปัจจัย โดยสหชาตปัจจัย

บุพพกรณ์เป็นปัจจัย
ประโยคมีบุพพกรณ์เป็นปัจจัยโดยอนันตรปัจจัย โดยสมนันตรปัจจัย โดยนิสสย
ปัจจัย โดยอุปนิสสยปัจจัย บุพพกรณ์มีประโยคเป็นปัจจัย โดยปุเรชาตปัจจัย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๕๗๔ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [กฐินเภท] ๒. กฐินอนันตรปัจจยาทิ
ประโยคมีบุพพกรณ์เป็นปัจจัยโดยปัจฉาชาตปัจจัย ธรรม ๑๕ อย่างเป็นปัจจัย
โดยสหชาตปัจจัย

การถอนผ้าเป็นปัจจัย
บุพพกรณ์มีการถอนผ้าเป็นปัจจัยโดยอนันตรปัจจัย โดยสมนันตรปัจจัย โดย
นิสสยปัจจัย โดยอุปนิสสยปัจจัย การถอนผ้ามีบุพพกรณ์เป็นปัจจัย โดยปุเรชาต
ปัจจัย บุพพกรณ์มีการถอนผ้าเป็นปัจจัยโดยปัจฉาชาตปัจจัย ธรรม ๑๕ อย่างเป็น
ปัจจัย โดยสหชาตปัจจัย

การอธิษฐานผ้าเป็นปัจจัย
การถอนผ้ามีการอธิษฐานผ้าเป็นปัจจัยโดยอนันตรปัจจัย โดยสมนันตรปัจจัย
โดยนิสสยปัจจัย โดยอุปนิสสยปัจจัย การอธิษฐานผ้ามีการถอนผ้าเป็นปัจจัย โดย
ปุเรชาตปัจจัย การถอนผ้ามีการอธิษฐานผ้าเป็นปัจจัยโดยปัจฉาชาตปัจจัย ธรรม
๑๕ อย่างเป็นปัจจัย โดยสหชาตปัจจัย

การกรานผ้าเป็นปัจจัย
การอธิษฐานผ้ามีการกรานเป็นปัจจัยโดยอนันตรปัจจัย โดยสมนันตรปัจจัย
โดยนิสสยปัจจัย โดยอุปนิสสยปัจจัย การกรานมีการอธิษฐานผ้าเป็นปัจจัย โดย
ปุเรชาตปัจจัย การอธิษฐานผ้ามีการกรานเป็นปัจจัยโดยปัจฉาชาตปัจจัย ธรรม ๑๕
อย่างเป็นปัจจัย โดยสหชาตปัจจัย

มาติกาและปลิโพธเป็นปัจจัย
การกรานมีมาติกาและปลิโพธเป็นปัจจัยโดยอนันตรปัจจัย โดยสมนันตรปัจจัย
โดยนิสสยปัจจัย โดยอุปนิสสยปัจจัย มาติกาและปลิโพธ มีการกรานเป็นปัจจัย โดย
ปุเรชาตปัจจัย การกรานมีมาติกาและปลิโพธเป็นปัจจัย โดยปัจฉาชาตปัจจัย ธรรม
๑๕ อย่างเป็นปัจจัย โดยสหชาตปัจจัย
วัตถุมีความหวังและสิ้นหวังเป็นปัจจัยโดยอนันตรปัจจัย โดยสมนันตรปัจจัย
โดยนิสสยปัจจัย โดยอุปนิสสยปัจจัย ความหวังและสิ้นหวังมีวัตถุเป็นปัจจัย โดย


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๕๗๕ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [กฐินเภท] ๓. ปุพพกรณนิทานาทิวิภาค
ปุเรชาตปัจจัย วัตถุมีความหวังและสิ้นหวังเป็นปัจจัยโดยปัจฉาชาตปัจจัย ธรรม ๑๕
อย่างเป็นปัจจัย โดยสหชาตปัจจัย

๓. ปุพพกรณนิทานาทิวิภาค
ว่าด้วยการจำแนกนิทานแห่งบุพพกรณ์ เป็นต้น
[๔๐๕] ถาม : บุพพกรณ์มีอะไรเป็นนิทาน มีอะไรเป็นสมุทัย มีอะไรเป็นชาติ
มีอะไรเป็นแดนเกิดก่อน มีอะไรเป็นองค์ มีอะไรเป็นสมุฏฐาน
การถอนผ้ามีอะไรเป็นนิทาน มีอะไรเป็นสมุทัย มีอะไรเป็นชาติ มีอะไรเป็นแดน
เกิดก่อน มีอะไรเป็นองค์ มีอะไรเป็นสมุฏฐาน
การอธิษฐานผ้ามีอะไรเป็นนิทาน มีอะไรเป็นสมุทัย มีอะไรเป็นชาติ มีอะไรเป็น
แดนเกิดก่อน มีอะไรเป็นองค์ มีอะไรเป็นสมุฏฐาน
การกรานมีอะไรเป็นนิทาน มีอะไรเป็นสมุทัย มีอะไรเป็นชาติ มีอะไรเป็นแดน
เกิดก่อน มีอะไรเป็นองค์ มีอะไรเป็นสมุฏฐาน
มาติกาและปลิโพธมีอะไรเป็นนิทาน มีอะไรเป็นสมุทัย มีอะไรเป็นชาติ มีอะไร
เป็นแดนเกิดก่อน มีอะไรเป็นองค์ มีอะไรเป็นสมุฏฐาน
ความหวังและความสิ้นหวังมีอะไรเป็นนิทาน มีอะไรเป็นสมุทัย มีอะไรเป็นชาติ
มีอะไรเป็นแดนเกิดก่อน มีอะไรเป็นองค์ มีอะไรเป็นสมุฏฐาน
ตอบ : บุพพกรณ์มีประโยคเป็นนิทาน มีประโยคเป็นสมุทัย มีประโยคเป็นชาติ
มีประโยคเป็นแดนเกิดก่อน มีประโยคเป็นองค์ มีประโยคเป็นสมุฏฐาน
การถอนผ้ามีบุพพกรณ์เป็นนิทาน มีบุพพกรณ์เป็นสมุทัย มีบุพพกรณ์เป็นชาติ
มีบุพพกรณ์เป็นแดนเกิดก่อน มีบุพพกรณ์เป็นองค์ มีบุพพกรณ์เป็นสมุฏฐาน
การอธิษฐานผ้ามีการถอนผ้าเป็นนิทาน มีการถอนผ้าเป็นสมุทัย มีการถอนผ้า
เป็นชาติ มีการถอนผ้าเป็นแดนเกิดก่อน มีการถอนผ้าเป็นองค์ มีการถอนผ้าเป็น
สมุฏฐาน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๕๗๖ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [กฐินเภท] ๓. ปุพพกรณนิทานาทิวิภาค
การกรานมีการอธิษฐานผ้าเป็นนิทาน มีการอธิษฐานผ้าเป็นสมุทัย มีการ
อธิษฐานผ้าเป็นชาติ มีการอธิษฐานผ้าเป็นแดนเกิดก่อน มีการอธิษฐานผ้าเป็นองค์
มีการอธิษฐานผ้าเป็นสมุฏฐาน
มาติกาและปลิโพธมีการกรานเป็นนิทาน มีการกรานเป็นสมุทัย มีการกราน
เป็นชาติ มีการกรานเป็นแดนเกิดก่อน มีการกรานเป็นองค์ มีการกรานเป็นสมุฏฐาน
ความหวังและความสิ้นหวังมีวัตถุเป็นนิทาน มีวัตถุเป็นสมุทัย มีวัตถุเป็นชาติ
มีวัตถุเป็นแดนเกิดก่อน มีวัตถุเป็นองค์ มีวัตถุเป็นสมุฏฐาน
[๔๐๖] ถาม : ประโยคมีอะไรเป็นนิทาน มีอะไรเป็นสมุทัย มีอะไรเป็นชาติ
มีอะไรเป็นแดนเกิดก่อน มีอะไรเป็นองค์ มีอะไรเป็นสมุฏฐาน
บุพพกรณ์ ฯลฯ การถอนผ้า ฯลฯ การอธิษฐานผ้า ฯลฯ การกราน ฯลฯ
มาติกาและปลิโพธ ฯลฯ วัตถุ ฯลฯ
ความหวังและความสิ้นหวังมีอะไรเป็นนิทาน มีอะไรเป็นสมุทัย มีอะไรเป็นชาติ
มีอะไรเป็นแดนเกิดก่อน มีอะไรเป็นองค์ มีอะไรเป็นสมุฏฐาน
ตอบ : ประโยคมีเหตุเป็นนิทาน มีเหตุเป็นสมุทัย มีเหตุเป็นชาติ มีเหตุเป็น
แดนเกิดก่อน มีเหตุเป็นองค์ มีเหตุเป็นสมุฏฐาน
บุพพกรณ์ ฯลฯ การถอนผ้า ฯลฯ การอธิษฐานผ้า ฯลฯ การกราน ฯลฯ
มาติกาและปลิโพธ ฯลฯ วัตถุ ฯลฯ
ความหวังและความสิ้นหวังมีเหตุเป็นนิทาน มีเหตุเป็นสมุทัย มีเหตุเป็นชาติ
มีเหตุเป็นแดนเกิดก่อน มีเหตุเป็นองค์ มีเหตุเป็นสมุฏฐาน
[๔๐๗] ถาม : ประโยคมีอะไรเป็นนิทาน มีอะไรเป็นสมุทัย มีอะไรเป็นชาติ
มีอะไรเป็นแดนเกิดก่อน มีอะไรเป็นองค์ มีอะไรเป็นสมุฏฐาน
บุพพกรณ์ ฯลฯ การถอนผ้า ฯลฯ การอธิษฐานผ้า ฯลฯ การกราน ฯลฯ
มาติกาและปลิโพธ ฯลฯ วัตถุ ฯลฯ
ความหวังและความสิ้นหวังมีอะไรเป็นนิทาน มีอะไรเป็นสมุทัย มีอะไรเป็นชาติ
มีอะไรเป็นแดนเกิดก่อน มีอะไรเป็นองค์ มีอะไรเป็นสมุฏฐาน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๕๗๗ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [กฐินเภท] ๓. ปุพพกรณนิทานาทิวิภาค
ตอบ : ประโยคมีปัจจัยเป็นนิทาน มีปัจจัยเป็นสมุทัย มีปัจจัยเป็นชาติ มีปัจจัย
เป็นแดนเกิดก่อน มีปัจจัยเป็นองค์ มีปัจจัยเป็นสมุฏฐาน
บุพพกรณ์ ฯลฯ การถอนผ้า ฯลฯ การอธิษฐานผ้า ฯลฯ การกราน ฯลฯ
มาติกาและปลิโพธ ฯลฯ วัตถุ ฯลฯ
ความหวังและความสิ้นหวังมีปัจจัยเป็นนิทาน มีปัจจัยเป็นสมุทัย มีปัจจัยเป็น
ชาติ มีปัจจัยเป็นแดนเกิดก่อน มีปัจจัยเป็นองค์ มีปัจจัยเป็นสมุฏฐาน

สงเคราะห์ธรรม
[๔๐๘] ถาม : บุพพกรณ์สงเคราะห์ด้วยธรรมเท่าไร
ตอบ : บุพพกรณ์สงเคราะห์ด้วยธรรม ๗ อย่าง คือ

๑. ซักผ้า ๒. กะผ้า
๓. ตัดผ้า ๔. ผูกผ้า
๕. เย็บผ้า ๖. ย้อมผ้า
๗. ทำกัปปพินทุ

บุพพกรณ์สงเคราะห์ด้วยธรรม ๗ อย่างนี้
ถาม : การถอนผ้าจัดเข้าธรรมเท่าไร
ตอบ : การถอนผ้าจัดเข้าธรรม ๓ อย่าง คือ
๑. ผ้าสังฆาฏิ ๒. ผ้าอุตตราสงค์
๓. ผ้าอันตรวาสก
ถาม : การอธิษฐานผ้าสงเคราะห์ด้วยธรรมเท่าไร
ตอบ : การอธิษฐานผ้าสงเคราะห์ด้วยธรรม ๓ อย่าง คือ
๑. ผ้าสังฆาฏิ ๒. ผ้าอุตตราสงค์
๓. ผ้าอันตรวาสก
ถาม : การกรานสงเคราะห์ด้วยธรรมเท่าไร
ตอบ : การกรานสงเคราะห์ด้วยธรรมอย่างเดียว คือ เปล่งวาจา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๕๗๘ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [กฐินเภท] ๓. ปุพพกรณนิทานาทิวิภาค
มูลเหตุแห่งกฐิน เป็นต้น
ถาม : กฐินมีมูลเหตุเท่าไร มีวัตถุเท่าไร มีภูมิเท่าไร
ตอบ : กฐินมีมูลเหตุอย่างเดียว คือ สงฆ์ มีวัตถุ ๓ คือ
๑. ผ้าสังฆาฏิ ๒. ผ้าอุตตราสงค์
๓. ผ้าอันตรวาสก
มีภูมิ ๖ คือ

๑. ผ้าทำด้วยเปลือกไม้ ๒. ผ้าทำด้วยฝ้าย
๓. ผ้าทำด้วยไหม ๔. ผ้าทำด้วยขนสัตว์
๕. ผ้าทำด้วยป่าน ๖. ผ้าทำด้วยสัมภาระเจือกัน

เบื้องต้นแห่งกฐิน
ถาม : กฐินมีอะไรเป็นเบื้องต้น มีอะไรเป็นท่ามกลาง มีอะไรเป็นที่สุด
ตอบ : กฐินมีบุพพกรณ์เป็นเบื้องต้น มีการกระทำเป็นท่ามกลาง มีการกราน
เป็นที่สุด

องค์ของภิกษุผู้กรานกฐิน
[๔๐๙] ถาม : ภิกษุประกอบด้วยองค์เท่าไรไม่ควรกรานกฐิน ภิกษุประกอบ
ด้วยองค์เท่าไรควรกรานกฐิน
ตอบ : ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๘ ไม่ควรกรานกฐิน ภิกษุประกอบด้วยองค์
๘ ควรกรานกฐิน
ถาม : ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๘ เป็นไฉน ไม่ควรกรานกฐิน
ตอบ :

๑. ภิกษุไม่รู้บุพพกรณ์ ๒. ไม่รู้การถอนผ้า
๓. ไม่รู้การอธิษฐาน ๔. ไม่รู้การกราน
๕. ไม่รู้มาติกา ๖. ไม่รู้ปลิโพธ
๗. ไม่รู้การเดาะกฐิน ๘. ไม่รู้อานิสงส์

ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๘ นี้ ไม่ควรกรานกฐิน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๕๗๙ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [กฐินเภท] ๓. ปุพพกรณนิทานาทิวิภาค
ถาม : ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๘ เป็นไฉน ควรกรานกฐิน
ตอบ :

๑. ภิกษุรู้บุพพกรณ์ ๒. รู้การถอนผ้า
๓. รู้การอธิษฐาน ๔. รู้การกราน
๕. รู้มาติกา ๖. รู้ปลิโพธ
๗. รู้การเดาะกฐิน ๘. รู้อานิสงส์

ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๘ นี้ ควรกรานกฐิน

การกรานกฐิน
[๔๑๐] ถาม : ภิกษุพวกไหนกรานกฐินไม่ขึ้น ภิกษุพวกไหนกรานกฐินขึ้น
ตอบ : ภิกษุ ๓ พวกกรานกฐินไม่ขึ้น ภิกษุ ๓ พวกกรานกฐินขึ้น
ถาม : ภิกษุ ๓ พวกไหนกรานกฐินไม่ขึ้น
ตอบ :
๑. ภิกษุผู้อยู่นอกสีมาอนุโมทนา
๒. เมื่ออนุโมทนากลับไม่เปล่งวาจา
๓. เมื่อเปล่งวาจากลับไม่ยอมให้ผู้อื่นรู้
ภิกษุ ๓ พวกนี้กรานกฐินไม่ขึ้น
ถาม : ภิกษุ ๓ พวกไหนกรานกฐินขึ้น
ตอบ :
๑. ภิกษุผู้อยู่ในสีมาอนุโมทนา
๒. เมื่ออนุโมทนาก็เปล่งวาจา
๓. เมื่อเปล่งวาจาก็ให้ผู้อื่นรู้
ภิกษุ ๓ พวกนี้กรานกฐินขึ้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๕๘๐ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [กฐินเภท] ๔. กฐินาทิชานิตัพพวิภาค
วัตถุวิบัติ เป็นต้น
[๔๑๑] ถาม : การกรานกฐินเท่าไรไม่ขึ้น การกรานกฐินเท่าไรขึ้น
ตอบ : การกรานกฐิน ๓ อย่าง ไม่ขึ้น การกรานกฐิน ๓ อย่าง ขึ้น
ถาม : การกรานกฐิน ๓ อย่างไหน ไม่ขึ้น
ตอบ :
๑. ผ้าวิบัติโดยวัตถุ ๒. วิบัติโดยกาล
๓. วิบัติโดยการกระทำ
การกรานกฐิน ๓ อย่างนี้ ไม่ขึ้น
ถาม : การกรานกฐิน ๓ อย่างไหน ขึ้น
ตอบ :
๑. ผ้าถึงพร้อมด้วยวัตถุ ๒. ผ้าถึงพร้อมด้วยกาล
๓. ผ้าถึงพร้อมด้วยการกระทำ
การกรานกฐิน ๓ อย่างนี้ ขึ้น

๔. กฐินาทิชานิตัพพวิภาค
ว่าด้วยการจำแนกข้อควรรู้มีกฐิน เป็นต้น
[๔๑๒] พึงรู้กฐิน พึงรู้การกรานกฐิน พึงรู้เดือนที่กรานกฐิน พึงรู้วิบัติแห่งการ
กรานกฐิน พึงรู้สมบัติแห่งการกรานกฐิน พึงรู้การทำนิมิต พึงรู้การพูดเลียบเคียง
พึงรู้ผ้าที่ยืมเขามา พึงรู้ผ้าที่เก็บไว้ค้างคืน พึงรู้ผ้าที่เป็นนิสสัคคีย์

ควรรู้กฐิน เป็นต้น
คำว่า พึงรู้กฐิน นั้น คือ การรวบรวม การประชุม ชื่อ การตั้งชื่อ การเรียกชื่อ
ภาษา พยัญชนะ การกล่าวธรรมเหล่านั้นแล รวมเรียกว่า กฐิน
คำว่า พึงรู้เดือนที่กรานกฐิน นั้น คือ รู้จักเดือนสุดท้ายแห่งฤดูฝน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๕๘๑ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [กฐินเภท] ๔. กฐินาทิชานิตัพพวิภาค
คำว่า พึงรู้วิบัติแห่งการกรานกฐิน ได้แก่ พึงรู้จักวิบัติแห่งการกรานกฐินด้วย
อาการ ๒๔ อย่าง
คำว่า พึงรู้สมบัติแห่งการกรานกฐิน ได้แก่ พึงรู้จักสมบัติแห่งการกรานกฐิน
ด้วยอาการ ๑๗ อย่าง
คำว่า พึงรู้การทำนิมิต คือ ทำนิมิตว่า เราจักกรานกฐินด้วยผ้าผืนนี้
คำว่า พึงรู้การพูดเลียบเคียง คือ ทำการพูดเลียบเคียงด้วยคิดว่า เราจักให้
ผ้ากฐินเกิดด้วยการพูดเลียบเคียงนี้
คำว่า พึงรู้ผ้าที่ยืมเขามา คือ รู้ผ้าที่ไม่ได้ยกให้
คำว่า พึงรู้ผ้าที่เก็บไว้ค้างคืน คือ พึงรู้ผ้าที่เก็บไว้ค้างคืน ๒ อย่าง คือ
๑. ทำค้างคืน ๒. เก็บไว้ค้างคืน
คำว่า พึงรู้ผ้าที่เป็นนิสสัคคีย์ คือ เมื่อภิกษุกำลังตัดเย็บผ้าอยู่ อรุณขึ้นมา
คำว่า พึงรู้การกรานกฐิน ความว่า ถ้าผ้ากฐินเกิดขึ้นแก่สงฆ์ สงฆ์ควรปฏิบัติ
อย่างไร ภิกษุผู้กรานควรปฏิบัติอย่างไร ภิกษุผู้อนุโมทนาควรปฏิบัติอย่างไร

อธิบายการกรานกฐิน
[๔๑๓] สงฆ์พึงให้ผ้ากฐินแก่ภิกษุผู้กรานกฐิน ด้วยญัตติทุติยกรรม
ภิกษุผู้กรานกฐินนั้น ควรซักขยี้ให้สะอาดแล้วกะ ตัด เย็บ ย้อม ทำกัปปะ
พินทุ แล้วกรานกฐินในวันนั้นเลย ถ้าประสงค์จะกรานกฐินด้วยผ้าสังฆาฏิ ควรถอน
ผ้าสังฆาฏิผืนเก่าเสีย ควรอธิษฐานผ้าสังฆาฏิผืนใหม่ เปล่งวาจาว่า ข้าพเจ้าจะกราน
กฐินด้วยผ้าสังฆาฏิผืนนี้ ถ้าประสงค์จะกรานกฐินด้วยผ้าอุตตราสงค์ ควรถอนผ้า
อุตตราสงค์ผืนเก่าเสีย ควรอธิษฐานผ้าอุตตราสงค์ผืนใหม่ เปล่งวาจาว่า ข้าพเจ้า
จะกรานกฐินด้วยผ้าอุตตราสงค์ผืนนี้ ถ้าประสงค์จะกรานกฐินด้วยผ้าอันตรวาสก
ควรถอน ผ้าอันตรวาสกผืนเก่าเสีย ควรอธิษฐานผ้าอันตรวาสกผืนใหม่ เปล่งวาจาว่า
ข้าพเจ้าจะกรานกฐินด้วยผ้าอันตรวาสกผืนนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๕๘๒ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [กฐินเภท] ๕. ปุคคลัสเสวกฐินัตถาร
ภิกษุผู้กรานกฐินนั้น พึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มผ้าอุตตราสงค์เฉวียงบ่า ประคองอัญชลี
แล้วกล่าวอย่างนี้ว่า ท่านเจ้าข้า กฐินของสงฆ์กรานเสร็จแล้ว การกรานกฐิน
เป็นธรรม ขอท่านทั้งหลายอนุโมทนาเถิด
ภิกษุผู้อนุโมทนาเหล่านั้น ห่มผ้าอุตตราสงค์เฉวียงบ่า ประคองอัญชลี แล้ว
กล่าวอย่างนี้ว่า ผู้มีอายุ กฐินของสงฆ์กรานเสร็จแล้ว การกรานกฐินเป็นธรรม เรา
ทั้งหลายอนุโมทนา
ภิกษุผู้กรานกฐินนั้น พึงเข้าไปหาภิกษุหลายรูป ห่มผ้าอุตตราสงค์เฉวียงบ่า
ประคองอัญชลี แล้วกล่าวอย่างนี้ว่า ท่านเจ้าข้า กฐินของสงฆ์กรานเสร็จแล้ว การ
กรานกฐินเป็นธรรม ขอท่านทั้งหลายอนุโมทนาเถิด
ภิกษุผู้อนุโมทนาเหล่านั้น ห่มผ้าอุตตราสงค์เฉวียงบ่า ประคองอัญชลี แล้ว
กล่าวอย่างนี้ว่า ผู้มีอายุ กฐินของสงฆ์กรานเสร็จแล้ว การกรานกฐินเป็นธรรม เรา
ทั้งหลายอนุโมทนา
ภิกษุผู้กรานกฐินนั้น พึงเข้าไปหาภิกษุรูปหนึ่ง ห่มผ้าอุตตราสงค์เฉวียงบ่า
ประคองอัญชลี แล้วกล่าวอย่างนี้ว่า ท่านเจ้าข้า กฐินของสงฆ์กรานเสร็จแล้ว การ
กรานกฐินเป็นธรรม ขอท่านอนุโมทนาเถิด
ภิกษุผู้อนุโมทนานั้น ห่มผ้าอุตตราสงค์เฉวียงบ่า ประคองอัญชลี แล้วกล่าวอย่างนี้
ว่า ผู้มีอายุ กฐินของสงฆ์กรานเสร็จแล้ว การกรานกฐินเป็นธรรม ข้าพเจ้าอนุโมทนา

๕. ปุคคลัสเสวกฐินัตถาร
ว่าด้วยบุคคลกรานกฐินเท่านั้น
[๔๑๔] ถาม : สงฆ์กรานกฐิน คณะกรานกฐิน บุคคลกรานกฐิน หรือ
ตอบ : สงฆ์หาได้กรานกฐินไม่ คณะหาได้กรานกฐินไม่ แต่บุคคลกรานกฐิน
หากสงฆ์หาได้กรานกฐินไม่ คณะหาได้กรานกฐินไม่ แต่บุคคลกรานกฐิน จึงชื่อว่า
สงฆ์ไม่ได้กรานกฐิน คณะไม่ได้กรานกฐิน แต่บุคคลกรานกฐิน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๕๘๓ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [กฐินเภท] ๖. ปลิโพธปัญหาพยากรณ์
ถาม : สงฆ์สวดปาติโมกข์ คณะสวดปาติโมกข์ บุคคลสวดปาติโมกข์ หรือ
ตอบ : สงฆ์หาได้สวดปาติโมกข์ไม่ คณะหาได้สวดปาติโมกข์ไม่ แต่บุคคลสวด
ปาติโมกข์ หากสงฆ์หาได้สวดปาติโมกข์ไม่ คณะหาได้สวดปาติโมกข์ไม่ แต่บุคคล
สวดปาติโมกข์ จึงชื่อว่า สงฆ์ไม่ได้สวดปาติโมกข์ คณะไม่สวดปาติโมกข์ แต่บุคคล
สวดปาติโมกข์ เพราะความสามัคคีแห่งสงฆ์ เพราะความสามัคคีแห่งคณะ เพราะ
บุคคลสวด จึงชื่อว่า สงฆ์สวดปาติโมกข์ คณะสวดปาติโมกข์ บุคคลสวดปาติโมกข์
สงฆ์จึงหาได้กรานกฐินไม่ คณะหาได้กรานกฐินไม่ แต่บุคคลกรานกฐิน ด้วยอาการ
อย่างนี้แล เพราะสงฆ์อนุโมทนา เพราะคณะอนุโมทนา เพราะบุคคลกราน จึงชื่อว่า
สงฆ์กรานกฐิน คณะกรานกฐิน บุคคลกรานกฐิน

๖. ปลิโพธปัญหาพยากรณ์
ว่าด้วยการแก้ปัญหาปลิโพธ
[๔๑๕] ท่านมหากัสสปะถามว่า “การเดาะกฐินกำหนดด้วยการหลีกไป
อันพระผู้มีพระภาคผู้เป็นเผ่าพันธุ์แห่งพระราชาผู้สูงศักดิ์ตรัสไว้แล้ว
ก็ข้าพเจ้าขอถามท่านถึงการเดาะกฐินนั้น ปลิโพธอย่างไหนขาดก่อน”
ท่านพระอุบาลีตอบว่า “การเดาะกฐินกำหนดด้วยการหลีกไป
อันพระผู้มีพระภาคผู้เป็นเผ่าพันธุ์แห่งพระราชาผู้สูงศักดิ์ตรัสไว้แล้ว
ก็เมื่อภิกษุหลีกไปด้วยคิดว่า จักทิ้งอาวาสนี้เสีย
ปลิโพธในจีวรขาดก่อน ปลิโพธในอาวาสขาดพร้อมกับภิกษุนั้น
ไปนอกสีมา” (๑)
ท่านมหากัสสปะถามว่า “การเดาะกฐินกำหนดด้วยทำจีวรเสร็จ
อันพระผู้มีพระภาคผู้เป็นเผ่าพันธุ์แห่งพระราชาผู้สูงศักดิ์ตรัสไว้แล้ว
ก็ข้าพเจ้าขอถามท่านถึงการเดาะกฐินนั้น ปลิโพธอย่างไหนขาดก่อน”
ท่านพระอุบาลีตอบว่า “การเดาะกฐินกำหนดด้วยทำจีวรเสร็จ
อันพระผู้มีพระภาคผู้เป็นเผ่าพันธุ์แห่งพระราชาผู้สูงศักดิ์ตรัสไว้แล้ว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๕๘๔ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [กฐินเภท] ๖. ปลิโพธปัญหาพยากรณ์
ก็เมื่อภิกษุหลีกไปด้วยคิดว่า จักทิ้งอาวาสนี้เสีย
ปลิโพธในอาวาสขาดก่อน เมื่อทำจีวรสำเร็จ ปลิโพธในจีวรขาด” (๒)
ท่านมหากัสสปะถามว่า “การเดาะกฐินกำหนดด้วยการตกลงใจ
อันพระผู้มีพระภาคผู้เป็นเผ่าพันธุ์แห่งพระราชาผู้สูงศักดิ์ตรัสไว้แล้ว
ก็ข้าพเจ้าขอถามท่านถึงการเดาะกฐินนั้น ปลิโพธอย่างไหนขาดก่อน”
ท่านพระอุบาลีตอบว่า “การเดาะกฐินกำหนดด้วยตกลงใจ
อันพระผู้มีพระภาคผู้เป็นเผ่าพันธุ์แห่งพระราชาผู้สูงศักดิ์ตรัสไว้แล้ว
ก็เมื่อภิกษุหลีกไปด้วยคิดว่า จักทิ้งอาวาสนี้เสีย
ปลิโพธทั้ง ๒ ขาดพร้อมกัน” (๓)
ท่านมหากัสสปะถามว่า “การเดาะกฐินกำหนดด้วยผ้าเสียหาย
อันพระผู้มีพระภาคผู้เป็นเผ่าพันธุ์แห่งพระราชาผู้สูงศักดิ์ตรัสไว้แล้ว
ก็ข้าพเจ้าขอถามท่านถึงการเดาะกฐินนั้น ปลิโพธอย่างไหนขาดก่อน”
ท่านพระอุบาลีตอบว่า “การเดาะกฐินกำหนดด้วยผ้าเสียหาย
อันพระผู้มีพระภาคผู้เป็นเผ่าพันธุ์แห่งพระราชาผู้สูงศักดิ์ตรัสไว้แล้ว
ก็เมื่อภิกษุหลีกไปด้วยคิดว่า จักทิ้งอาวาสนี้เสีย
ปลิโพธในอาวาสขาดก่อน ปลิโพธในจีวรขาดเมื่อผ้าเสียหาย” (๔)
ท่านมหากัสสปะถามว่า “การเดาะกฐินกำหนดด้วยได้ทราบข่าว
อันพระผู้มีพระภาคผู้เป็นเผ่าพันธุ์แห่งพระราชาผู้สูงศักดิ์ตรัสไว้แล้ว
ก็ข้าพเจ้าขอถามท่านถึงการเดาะกฐินนั้น ปลิโพธอย่างไหนขาดก่อน”
ท่านพระอุบาลีตอบว่า “การเดาะกฐินกำหนดด้วยได้ทราบข่าว
อันพระผู้มีพระภาคผู้เป็นเผ่าพันธุ์แห่งพระราชาผู้สูงศักดิ์ตรัสไว้แล้ว
ก็เมื่อภิกษุหลีกไปด้วยคิดว่า จักทิ้งอาวาสนี้เสีย
ปลิโพธในจีวรขาดก่อน
ปลิโพธในอาวาสขาดพร้อมกับการได้ทราบข่าวของภิกษุนั้น” (๕)
ท่านมหากัสสปะถามว่า “การเดาะกฐินกำหนดด้วยสิ้นหวัง
อันพระผู้มีพระภาคผู้เป็นเผ่าพันธุ์แห่งพระราชาผู้สูงศักดิ์ตรัสไว้แล้ว
ก็ข้าพเจ้าขอถามท่านถึงการเดาะกฐินนั้น ปลิโพธอย่างไหนขาดก่อน”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๕๘๕ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [กฐินเภท] ๖. ปลิโพธปัญหาพยากรณ์
ท่านพระอุบาลีตอบว่า “การเดาะกฐินกำหนดด้วยสิ้นหวัง
อันพระผู้มีพระภาคผู้เป็นเผ่าพันธุ์แห่งพระราชาผู้สูงศักดิ์ตรัสไว้แล้ว
ก็เมื่อภิกษุหลีกไปด้วยคิดว่า จักทิ้งอาวาสนี้เสีย
ปลิโพธในอาวาสขาดก่อน ปลิโพธในจีวรขาดต่อเมื่อสิ้นหวังในผ้านั้น” (๖)
ท่านมหากัสสปะถามว่า “การเดาะกฐินกำหนดด้วยล่วงเขต
อันพระผู้มีพระภาคผู้เป็นเผ่าพันธุ์แห่งพระราชาผู้สูงศักดิ์ตรัสไว้แล้ว
ก็ข้าพเจ้าขอถามท่านถึงการเดาะกฐินนั้น ปลิโพธอย่างไหนขาดก่อน”
ท่านพระอุบาลีตอบว่า “การเดาะกฐินกำหนดด้วยล่วงเขต
อันพระผู้มีพระภาคผู้เป็นเผ่าพันธุ์แห่งพระราชาผู้สูงศักดิ์ตรัสไว้แล้ว
ก็เมื่อภิกษุหลีกไปด้วยคิดว่า จักทิ้งอาวาสนี้เสีย
ปลิโพธในจีวรขาดก่อน ปลิโพธในอาวาสขาดเมื่อภิกษุนั้นไปนอกสีมา” (๗)
ท่านมหากัสสปะถามว่า “การเดาะกฐินกำหนดด้วยเดาะพร้อมกัน
อันพระผู้มีพระภาคผู้เป็นเผ่าพันธุ์แห่งพระราชาผู้สูงศักดิ์ตรัสไว้แล้ว
ก็ข้าพเจ้าขอถามท่านถึงการเดาะกฐินนั้น ปลิโพธอย่างไหนขาดก่อน”
ท่านพระอุบาลีตอบว่า “การเดาะกฐินกำหนดด้วยเดาะพร้อมกัน
อันพระผู้มีพระภาคผู้เป็นเผ่าพันธุ์แห่งพระราชาผู้สูงศักดิ์ตรัสไว้แล้ว
ก็เมื่อภิกษุหลีกไปด้วยคิดว่า จักทิ้งอาวาสนี้เสีย
ปลิโพธทั้ง ๒ อย่าง ขาดพร้อมกัน” (๘)

การเดาะกฐิน
[๔๑๖] ถาม : การเดาะกฐินที่สงฆ์เป็นใหญ่มีเท่าไร การเดาะกฐินที่บุคคลเป็น
ใหญ่มีเท่าไร การเดาะกฐินที่สงฆ์ไม่เป็นใหญ่ บุคคลไม่เป็นใหญ่มีเท่าไร
ตอบ : การเดาะกฐินที่สงฆ์เป็นใหญ่มีอย่างเดียว คือ การเดาะในระหว่าง
การเดาะกฐินที่บุคคลเป็นใหญ่มี ๔ อย่าง คือ การเดาะกฐินกำหนดด้วยการ
หลีกไป การเดาะกฐินกำหนดด้วยทำจีวรเสร็จ การเดาะกฐินกำหนดด้วยตกลงใจ
การเดาะกฐินกำหนดด้วยล่วงเขต

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๕๘๖ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [กฐินเภท] ๖. ปลิโพธปัญหาพยากรณ์
การเดาะกฐินที่สงฆ์ไม่เป็นใหญ่ บุคคลไม่เป็นใหญ่มี ๔ อย่าง คือ การเดาะ
กฐินกำหนดด้วยผ้าเสียหาย การเดาะกฐินกำหนดด้วยทราบข่าว การเดาะกฐิน
กำหนดด้วยสิ้นหวัง การเดาะกฐินกำหนดด้วยเดาะพร้อมกัน

การเดาะกฐินภายในสีมา เป็นต้น
ถาม : การเดาะกฐินเท่าไร เดาะภายในสีมา การเดาะกฐินเท่าไร เดาะภาย
นอกสีมา การเดาะกฐินมีเท่าไร เดาะภายในสีมาก็มี เดาะภายนอกสีมาก็มี
ตอบ : การเดาะกฐิน ๒ อย่าง เดาะภายในสีมา คือ
๑. เดาะในระหว่าง ๒. เดาะพร้อมกัน
การเดาะกฐิน ๓ อย่าง เดาะภายนอกสีมา คือ
๑. เดาะกฐินกำหนดด้วยหลีกไป ๒. กำหนดด้วยได้ทราบข่าว
๓. กำหนดด้วยล่วงเขต
การเดาะกฐิน ๔ อย่าง เดาะภายในสีมาก็มี เดาะภายนอกสีมาก็มี คือ
๑. เดาะกฐินกำหนดด้วยทำจีวรเสร็จ
๒. กำหนดด้วยตกลงใจเป็นที่สุด
๓. เดาะกฐินกำหนดด้วยจีวรเสียหาย
๔. กำหนดด้วยสิ้นหวัง

การเดาะกฐินเกิดขึ้นพร้อมกัน เป็นต้น
ถาม : การเดาะกฐินเท่าไร เกิดด้วยกัน ดับด้วยกัน การเดาะกฐินเท่าไร
เกิดด้วยกัน ดับต่างกัน
ตอบ : การเดาะกฐิน ๒ อย่าง เกิดด้วยกัน ดับด้วยกัน คือ
๑. เดาะในระหว่าง ๒. เดาะพร้อมกัน
การเดาะกฐินนอกนั้น เกิดด้วยกัน ดับต่างกัน
กฐินเภท จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๕๘๗ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [กฐินเภท] หัวข้อประจำเรื่อง
หัวข้อประจำเรื่อง
ใครไม่ได้กรานกฐิน ได้กรานกฐิน อย่างไรกฐินไม่เป็นอันกราน
ธรรม ๑๕ อย่าง เกิดพร้อมกับการกรานกฐิน
บุพพกรณ์มีอะไรเป็นนิทาน ประโยคมีเหตุเป็นนิทาน
มีปัจจัยเป็นนิทาน บุพพกรณ์สงเคราะห์ด้วยธรรมเท่าไร
กฐินมีมูลเท่าไร กฐินมีอะไรเป็นเบื้องต้น
ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๘ ควรกรานกฐินและไม่ควรกรานกฐิน
ภิกษุ ๓ จำพวกกรานกฐินไม่ขึ้นและกรานกฐินขึ้น
การกรานกฐิน ๓ อย่างไม่ขึ้น
พึงรู้การกรานกฐินกับการสวด พึงรู้ปลิโพธ
พึงรู้การเดาะกฐินที่มีสงฆ์เป็นใหญ่
พึงรู้การเดาะกฐินภายในสีมา
พึงรู้การเดาะกฐินที่เกิดขึ้นด้วยกันที่ดับด้วยกัน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๕๘๘ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [อุปาลิปัญจกะ] ๑. อนิสสิตวรรค
อุปาลิปัญจกะ
ว่าด้วยเรื่องพระอุบาลี ๕ หมวด
๑. อนิสสิตวรรค
หมวดว่าด้วยการไม่ถือนิสัย
[๔๑๗] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน
อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น ท่านพระอุบาลีเข้าไปเฝ้า
พระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ครั้นถึงแล้วถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคแล้วนั่ง ณ
ที่สมควรแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ภิกษุประกอบด้วยองค์เท่าไร
หนอแล จะพึงอยู่โดยไม่ถือนิสัยตลอดชีวิตไม่ได้ พระพุทธเจ้าข้า”

องค์ของภิกษุผู้ต้องถือนิสัย
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ จะพึงอยู่โดยไม่ถือ
นิสัยตลอดชีวิตไม่ได้ องค์ ๕ คือ

๑. ไม่รู้อุโบสถ ๒. ไม่รู้อุโบสถกรรม
๓. ไม่รู้ปาติโมกข์ ๔. ไม่รู้ปาติโมกขุทเทส
๕. มีพรรษาหย่อน ๕

อุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล จะพึงอยู่โดยไม่ถือนิสัยตลอดชีวิตไม่ได้

องค์ของภิกษุผู้ไม่ต้องถือนิสัย
อุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ พึงอยู่โดยไม่ต้องถือนิสัยตลอดชีวิตได้ องค์ ๕ คือ

๑. รู้อุโบสถ ๒. รู้อุโบสถกรรม
๓. รู้ปาติโมกข์ ๔. รู้ปาติโมกขุทเทส
๕. มีพรรษาครบ ๕ หรือมีพรรษาเกิน ๕

อุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล พึงอยู่โดยไม่ต้องถือนิสัยตลอดชีวิตได้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๕๘๙ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [อุปาลิปัญจกะ] ๑. อนิสสิตวรรค
องค์ของภิกษุผู้ต้องถือนิสัยอีกนัยหนึ่ง
อุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อีกอย่าง จะพึงอยู่โดยไม่ถือนิสัยตลอด
ชีวิตไม่ได้ องค์ ๕ อะไรบ้าง คือ

๑. ไม่รู้ปวารณา ๒. ไม่รู้ปวารณากรรม
๓. ไม่รู้ปาติโมกข์ ๔. ไม่รู้ปาติโมกขุทเทส
๕. มีพรรษาหย่อน ๕

อุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล จะพึงอยู่โดยไม่ถือนิสัยตลอดชีวิตไม่ได้

องค์ของภิกษุผู้ไม่ต้องถือนิสัย
อุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ พึงอยู่โดยไม่ต้องถือนิสัยตลอดชีวิตได้
องค์ ๕ คือ

๑. รู้ปวารณา ๒. รู้ปวารณากรรม
๓. รู้ปาติโมกข์ ๔. รู้ปาติโมกขุทเทส
๕. มีพรรษาครบ ๕ หรือมีพรรษาเกิน ๕

อุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล พึงอยู่โดยไม่ต้องถือนิสัยตลอดชีวิตได้

องค์ของภิกษุผู้ต้องถือนิสัยอีกนัยหนึ่ง
อุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อีกอย่าง จะพึงอยู่โดยไม่ถือนิสัยตลอด
ชีวิตไม่ได้ องค์ ๕ คือ

๑. ไม่รู้อาบัติและอนาบัติ ๒. ไม่รู้อาบัติเบาและอาบัติหนัก
๓. ไม่รู้อาบัติมีส่วนเหลือและ ๔. ไม่รู้อาบัติชั่วหยาบและอาบัติ
อาบัติไม่มีส่วนเหลือ ไม่ชั่วหยาบ
๕. มีพรรษาหย่อน ๕

อุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล จะพึงอยู่โดยไม่ถือนิสัยตลอดชีวิตไม่ได้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๕๙๐ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [อุปาลิปัญจกะ] ๑. อนิสสิตวรรค
องค์ของภิกษุผู้ไม่ต้องถือนิสัย
อุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ พึงอยู่โดยไม่ต้องถือนิสัยตลอดชีวิตได้ องค์
๕ คือ
๑. รู้อาบัติและอนาบัติ
๒. รู้อาบัติเบาและอาบัติหนัก
๓. รู้อาบัติมีส่วนเหลือและอาบัติไม่มีส่วนเหลือ
๔. รู้อาบัติชั่วหยาบและอาบัติไม่ชั่วหยาบ
๕. มีพรรษาครบ ๕ หรือมีพรรษาเกิน ๕
อุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล พึงอยู่โดยไม่ต้องถือนิสัยตลอดชีวิตได้”

ภิกษุที่ไม่พึงให้อุปสมบท เป็นต้น
[๔๑๘] ท่านพระอุบาลีทูลถามว่า “ภิกษุประกอบด้วยองค์เท่าไรหนอแล ไม่พึง
ให้อุปสมบท ไม่พึงให้นิสัย ไม่พึงใช้สามเณรอุปัฏฐาก พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ ไม่พึงให้อุปสมบท
ไม่พึงให้นิสัย ไม่พึงใช้สามเณรอุปัฏฐาก องค์ ๕ คือ
๑. ไม่สามารถพยาบาลเองหรือใช้ให้ผู้อื่นพยาบาลอันเตวาสิกหรือ
สัทธิวิหาริกผู้เป็นไข้
๒. ไม่สามารถระงับเองหรือใช้ให้ผู้อื่นช่วยระงับความกระสัน
๓. ไม่สามารถบรรเทาเองหรือใช้ให้ผู้อื่นช่วยบรรเทาความเบื่อหน่ายที่
เกิดขึ้นโดยธรรม
๔. ไม่สามารถแนะนำในอภิธรรม
๕. ไม่สามารถแนะนำในอภิวินัย
อุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ไม่พึงให้อุปสมบท ไม่พึงให้นิสัย
ไม่พึงใช้สามเณรอุปัฏฐาก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๕๙๑ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [อุปาลิปัญจกะ] ๑. อนิสสิตวรรค
ภิกษุที่พึงให้อุปสมบท เป็นต้น
อุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ พึงให้อุปสมบท พึงให้นิสัย พึงใช้สามเณรอุปัฏฐาก
องค์ ๕ คือ
๑. สามารถพยาบาลเองหรือใช้ให้ผู้อื่นพยาบาลอันเตวาสิกหรือสัทธิ-
วิหาริกผู้เป็นไข้
๒. สามารถระงับเองหรือใช้ให้ผู้อื่นช่วยระงับความกระสัน
๓. สามารถบรรเทาเองหรือใช้ให้ผู้อื่นช่วยบรรเทาความเบื่อหน่ายอัน
เกิดขึ้นโดยธรรม
๔. สามารถแนะนำในอภิธรรม
๕. สามารถแนะนำในอภิวินัย
อุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล พึงให้อุปสมบท พึงให้นิสัย พึงใช้
สามเณรอุปัฏฐาก

ภิกษุที่ไม่พึงให้อุปสมบท เป็นต้น อีกนัยหนึ่ง
อุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อีกอย่าง ไม่พึงให้อุปสมบท ไม่พึงให้นิสัย
ไม่พึงใช้สามเณรอุปัฏฐาก องค์ ๕ คือ
๑. ไม่สามารถฝึกปรืออันเตวาสิกหรือสัทธิวิหาริกในอภิสมาจาริกาสิกขา
๒. ไม่สามารถแนะนำในอาทิพรหมจาริยกาสิกขา
๓. ไม่สามารถแนะนำในอธิศีล
๔. ไม่สามารถแนะนำในอธิจิต
๕. ไม่สามารถแนะนำในอธิปัญญา
อุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ไม่พึงให้อุปสมบท ไม่พึงให้นิสัย
ไม่พึงใช้สามเณรอุปัฏฐาก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๕๙๒ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [อุปาลิปัญจกะ] ๑. อนิสสิตวรรค
ภิกษุที่พึงให้อุปสมบท เป็นต้น
อุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ พึงให้อุปสมบท พึงให้นิสัย พึงใช้
สามเณรอุปัฏฐาก องค์ ๕ คือ
๑. สามารถฝึกปรืออันเตวาสิกหรือสัทธิวิหาริกในอภิสมาจาริกาสิกขา
๒. สามารถแนะนำในอาทิพรหมจาริยกาสิกขา
๓. สามารถแนะนำในอธิศีล
๔. สามารถแนะนำในอธิจิต
๕. สามารถแนะนำในอธิปัญญา
อุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล พึงให้อุปสมบท พึงให้นิสัย พึงใช้
สามเณรอุปัฏฐาก

องค์ ๕ ของภิกษุผู้ถูกลงโทษ
[๔๑๙] ท่านพระอุบาลีทูลถามว่า “สงฆ์พึงลงโทษภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์
เท่าไรหนอแล พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อุบาลี สงฆ์พึงลงโทษภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ คือ

๑. เป็นอลัชชี ๒. เป็นคนโง่เขลา
๓. ไม่ใช่เป็นปกตัตตะ ๔. เป็นมิจฉาทิฏฐิ
๕. มีอาชีววิบัติ

อุบาลี สงฆ์พึงลงโทษภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล
อุบาลี สงฆ์พึงลงโทษภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อีกอย่าง องค์ ๕ คือ

๑. เป็นผู้มีสีลวิบัติในอธิศีล ๒. เป็นผู้มีอาจารวิบัติในอัชฌาจาร
๓. เป็นผู้มีทิฏฐิวิบัติในอติทิฏฐิ ๔. เป็นมิจฉาทิฏฐิ
๕. มีอาชีววิบัติ

อุบาลี สงฆ์พึงลงโทษภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๕๙๓ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [อุปาลิปัญจกะ] ๑. อนิสสิตวรรค
อุบาลี สงฆ์พึงลงโทษภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อีกอย่าง องค์ ๕ คือ

๑. เล่นคะนองกาย ๒. เล่นคะนองวาจา
๓. เล่นคะนองทั้งกายและวาจา ๔. เป็นมิจฉาทิฏฐิ
๕. มีอาชีววิบัติ

อุบาลี สงฆ์พึงลงโทษภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล
อุบาลี สงฆ์พึงลงโทษภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อีกอย่าง องค์ ๕ คือ

๑. ประพฤติไม่สมควรทางกาย ๒. ประพฤติไม่สมควรทางวาจา
๓. ประพฤติไม่สมควรทั้งกาย ๔. เป็นมิจฉาทิฏฐิ
และทางวาจา
๕. มีอาชีววิบัติ

อุบาลี สงฆ์พึงลงโทษภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล
อุบาลี สงฆ์พึงลงโทษภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อีกอย่าง องค์ ๕ คือ

๑. ทำลายพระบัญญัติทางกาย ๒. ทำลายพระบัญญัติทางวาจา
๓. ทำลายพระบัญญัติทั้งทางกาย ๔. เป็นมิจฉาทิฏฐิ
และทางวาจา
๕. มีอาชีววิบัติ

อุบาลี สงฆ์พึงลงโทษภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล
อุบาลี สงฆ์พึงลงโทษภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อีกอย่าง องค์ ๕ คือ

๑. ประกอบมิจฉาชีพทางกาย ๒. ประกอบมิจฉาชีพทางวาจา
๓. ประกอบมิจฉาชีพทางกาย ๔. เป็นมิจฉาทิฏฐิ
และทางวาจา
๕. มีอาชีววิบัติ

อุบาลี สงฆ์พึงลงโทษภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๕๙๔ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [อุปาลิปัญจกะ] หัวข้อประจำวรรค
อุบาลี สงฆ์พึงลงโทษภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อีกอย่าง องค์ ๕ คือ
๑. ต้องอาบัติแล้วถูกลงโทษ ๒. ให้นิสัย
แต่ยังให้อุปสมบท
๓. ใช้สามเณรอุปัฏฐาก ๔. รับแต่งตั้งเป็นผู้สั่งสอนภิกษุณี
๕. แม้ได้รับแต่งตั้งแล้ว ก็ยังสั่งสอนภิกษุณี
อุบาลี สงฆ์พึงลงโทษภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล
อุบาลี สงฆ์พึงลงโทษภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อีกอย่าง องค์ ๕ คือ

๑. ต้องอาบัติที่เป็นเหตุ ๒. ต้องอาบัติอื่นทำนองเดียวกัน
ให้ถูกสงฆ์ลงโทษ
๓. ต้องอาบัติที่เลวทรามกว่านั้น ๔. ตำหนิกรรม
๕. ตำหนิภิกษุผู้ทำกรรม

อุบาลี สงฆ์พึงลงโทษภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล
อุบาลี สงฆ์พึงลงโทษภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อีกอย่าง องค์ ๕ คือ
๑. กล่าวติเตียนพระพุทธ ๒. กล่าวติเตียนพระธรรม
๓. กล่าวติเตียนพระสงฆ์ ๔. เป็นมิจฉาทิฏฐิ
๕. มีอาชีววิบัติ
อุบาลี สงฆ์พึงลงโทษภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล”
อนิสสิตวรรคที่ ๑ จบ

หัวข้อประจำวรรค
ไม่รู้อุโบสถ ไม่รู้ปวารณา ไม่รู้อาบัติ
ไม่สามารถพยาบาลภิกษุไข้ ไม่สามารถฝึกในอภิสมาจาร
สงฆ์พึงลงโทษภิกษุผู้เป็นอลัชชี มีสีลวิบัติในอธิศีล เล่นคะนอง
ประพฤติไม่สมควร ทำลายพระบัญญัติ เป็นมิจฉาทิฏฐิ
ต้องอาบัติที่เป็นเหตุให้ถูกลงโทษ ตำหนิพระพุทธเจ้า
รวมเป็นวรรคที่ ๑ แล

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๕๙๕ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [อุปาลิปัญจกะ] ๒. นัปปฏิปัสสัมภนวรรค
๒. นัปปฏิปัสสัมภนวรรค
หมวดว่าด้วยการไม่ระงับกรรม
[๔๒๐] ท่านพระอุบาลีทูลถามว่า “ภิกษุประกอบด้วยองค์เท่าไรหนอแล สงฆ์ไม่
ควรระงับกรรม พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ สงฆ์ไม่ควรระงับ
กรรม องค์ ๕ คือ

๑. ต้องอาบัติแล้วถูกลงโทษ ๒. ให้นิสัย
แต่ยังให้อุปสมบท
๓. ใช้สามเณรอุปัฏฐาก ๔. รับแต่งตั้งเป็นผู้สั่งสอนภิกษุณี

๕. แม้ได้รับแต่งตั้งแล้ว ก็ยังสั่งสอนภิกษุณี
อุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล สงฆ์ไม่ควรระงับกรรม
อุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อีกอย่าง สงฆ์ไม่ควรระงับกรรม องค์ ๕
คือ

๑. ต้องอาบัติที่เป็นเหตุ ๒. ต้องอาบัติอื่นทำนองเดียวกัน
ให้ถูกสงฆ์ลงโทษ
๓. ต้องอาบัติที่เลวทรามกว่านั้น ๔. ตำหนิกรรม
๕. ตำหนิภิกษุผู้ทำกรรม

อุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล สงฆ์ไม่ควรระงับกรรม
อุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อีกอย่าง สงฆ์ไม่ควรระงับกรรม องค์ ๕
คือ

๑. กล่าวติเตียนพระพุทธเจ้า ๒. กล่าวติเตียนพระธรรม
๓. กล่าวติเตียนพระสงฆ์ ๔. เป็นมิจฉาทิฏฐิ
๕. มีอาชีววิบัติ

อุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล สงฆ์ไม่ควรระงับกรรม

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๕๙๖ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [อุปาลิปัญจกะ] ๒. นัปปฏิปัสสัมภนวรรค
อุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อีกอย่าง สงฆ์ไม่ควรระงับกรรม องค์
๕ คือ

๑. เป็นอลัชชี ๒. เป็นคนโง่เขลา
๓. ไม่ใช่เป็นปกตัตตะ ๔. ทำการย่ำยีข้อปฏิบัติ
๕. ไม่ทำข้อวัตรและสิกขาให้บริบูรณ์

อุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล สงฆ์ไม่ควรระงับกรรม”

คุณสมบัติของภิกษุผู้เข้าสงคราม
[๔๒๑] ท่านพระอุบาลีทูลถามว่า “ภิกษุผู้เข้าสงคราม เมื่อเข้าหาสงฆ์พึงตั้ง
ธรรมเท่าไรไว้ในตน แล้วเข้าหาสงฆ์ พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อุบาลี ภิกษุผู้เข้าสงคราม เมื่อเข้าหาสงฆ์พึงตั้งธรรม
๕ ประการไว้ในตน แล้วเข้าหาสงฆ์ ธรรม ๕ ประการ คือ
ภิกษุผู้เข้าสงคราม เมื่อเข้าหาสงฆ์
๑. พึงมีจิตยำเกรง มีจิตเสมอด้วยผ้าเช็ดธุลี เข้าหาสงฆ์
๒. พึงเป็นผู้รู้จักที่นั่ง รู้จักการนั่ง
๓. ไม่เบียดภิกษุผู้เถระ ไม่ห้ามภิกษุผู้อ่อนกว่าด้วยอาสนะ พึงนั่ง
อาสนะตามสมควร
๔. ไม่พึงพูดเรื่องต่าง ๆ ไม่พึงพูดดิรัจฉานกถา
๕. พึงกล่าวธรรมเองหรือเชื้อเชิญภิกษุรูปอื่น ไม่พึงดูหมิ่นอริยดุษณีภาพ
อุบาลี ถ้าสงฆ์ทำกรรมที่ควรพร้อมเพรียงกันทำ หากภิกษุไม่ชอบใจในกรรมนั้น
จะทำความคิดเห็นขัดแย้งกันก็ได้ แต่ควรควบคุมความสามัคคีไว้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะเธอคิดว่า เราไม่ควรแตกต่างจากสงฆ์เลย
อุบาลี ภิกษุผู้เข้าสู่สงคราม เมื่อเข้าหาสงฆ์ พึงตั้งธรรม ๕ ประการนี้ไว้ในตน
แล้วเข้าหาสงฆ์”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๕๙๗ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [อุปาลิปัญจกะ] ๒. นัปปฏิปัสสัมภนวรรค
องค์ของภิกษุผู้พูดในสงฆ์
[๔๒๒] ท่านพระอุบาลีทูลถามว่า “ภิกษุประกอบด้วยองค์เท่าไรหนอแล เมื่อ
พูดในสงฆ์ย่อมไม่เป็นที่ปรารถนา ไม่เป็นที่พอใจ และไม่เป็นที่ชอบใจของชนหมู่มาก
พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ เมื่อพูดในสงฆ์
ย่อมไม่เป็นที่ปรารถนา ไม่เป็นที่พอใจ และไม่เป็นที่ชอบใจของชนหมู่มาก องค์ ๕
คือ

๑. เป็นผู้มีความคิดมืดมน ๒. กล่าวอ้างผู้อื่น
๓. ไม่ฉลาดในถ้อยคำที่เชื่อมถึงกัน ๔. ไม่โจทตามอาบัติในธรรมและ
วินัยอันสมควร

๕. ไม่ปรับตามอาบัติในธรรมและวินัยอันสมควร
อุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล เมื่อพูดในสงฆ์ย่อมไม่เป็นที่ปรารถนา
ไม่เป็นที่พอใจ และไม่เป็นที่ชอบใจของชนหมู่มาก
อุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ เมื่อพูดในสงฆ์ย่อมเป็นที่ปรารถนา เป็นที่พอใจ
และเป็นที่ชอบใจของชนหมู่มาก องค์ ๕ คือ

๑. ไม่เป็นผู้มีความคิดมืดมน ๒. ไม่กล่าวอ้างผู้อื่น
๓. ฉลาดในถ้อยคำที่เชื่อมถึงกัน ๔. โจทตามอาบัติในธรรมและ
วินัยอันสมควร

๕. ปรับตามอาบัติในธรรมและวินัยอันสมควร
อุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล เมื่อพูดในสงฆ์ย่อมเป็นที่ปรารถนา
เป็นที่พอใจ และเป็นที่ชอบใจของชนหมู่มาก

องค์ของภิกษุผู้พูดในสงฆ์ อีกนัยหนึ่ง
อุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อีกอย่าง เมื่อพูดในสงฆ์ย่อมไม่เป็นที่ปรารถนา
ไม่เป็นที่พอใจ และไม่เป็นที่ชอบใจของชนหมู่มาก องค์ ๕ คือ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๕๙๘ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [อุปาลิปัญจกะ] ๒. นัปปฏิปัสสัมภนวรรค

๑. เป็นผู้อวดอ้าง ๒. เป็นผู้รุกราน
๓. ยึดถืออธรรม ๔. ค้านธรรม

๕. กล่าวถ้อยคำที่ไร้ประโยชน์มากมาย
อุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล เมื่อพูดในสงฆ์ย่อมไม่เป็นที่ปรารถนา
ไม่เป็นที่พอใจ และไม่เป็นที่ชอบใจของชนหมู่มาก
อุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ เมื่อพูดในสงฆ์ย่อมเป็นที่ปรารถนา เป็นที่พอใจ
และเป็นที่ชอบใจของชนหมู่มาก องค์ ๕ คือ

๑. ไม่เป็นผู้อวดอ้าง ๒. ไม่เป็นผู้รุกราน
๓. ยึดถือธรรม ๔. ค้านอธรรม

๕. ไม่กล่าวถ้อยคำที่ไร้ประโยชน์มากมาย
อุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล เมื่อพูดในสงฆ์ย่อมเป็นที่ปรารถนา
เป็นที่พอใจ และเป็นที่ชอบใจของชนหมู่มาก

องค์ของภิกษุผู้พูดในสงฆ์ อีกนัยหนึ่ง
อุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อีกอย่าง เมื่อพูดในสงฆ์ย่อมไม่เป็นที่
ปรารถนา ไม่เป็นที่พอใจ และไม่เป็นที่ชอบใจของชนหมู่มาก องค์ ๕ คือ

๑. กล่าวข่มขู่ ๒. กล่าวไม่ให้โอกาสผู้อื่น
๓. ไม่โจทตามอาบัติ ในธรรม ๔. ไม่ปรับตามอาบัติในธรรมและ
และวินัยอันสมควร วินัยอันสมควร
๕. ไม่ชี้แจงตามความเห็น

อุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล เมื่อพูดในสงฆ์ย่อมไม่เป็นที่ปรารถนา
ไม่เป็นที่พอใจ และไม่เป็นที่ชอบใจของชนหมู่มาก
อุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ เมื่อพูดในสงฆ์ย่อมเป็นที่ปรารถนา เป็นที่พอใจ
และเป็นที่ชอบใจของชนหมู่มาก องค์ ๕ คือ
๑. ไม่กล่าวข่มขู่ ๒. กล่าวให้โอกาสผู้อื่น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๕๙๙ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [อุปาลิปัญจกะ] หัวข้อประจำวรรค
๓. โจทตามอาบัติ ในธรรมและวินัยอันสมควร
๔. ปรับตามอาบัติ ในธรรมและวินัยอันสมควร
๕. ชี้แจงตามความเห็น
อุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล เมื่อพูดในสงฆ์ย่อมเป็นที่ปรารถนา
เป็นที่พอใจ และเป็นที่ชอบใจของชนหมู่มาก”

อานิสงส์ในการเรียนวินัย
[๔๒๓] ท่านพระอุบาลีทูลถามว่า “ในการเรียนวินัย มีอานิสงส์เท่าไรหนอแล
พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อุบาลี ในการเรียนวินัย มีอานิสงส์ ๕ ประการนี้ คือ
๑. เป็นอันคุ้มครองรักษากองศีลของตนไว้ดีแล้ว
๒. ผู้ที่ถูกความรังเกียจครอบงำย่อมหวนระลึกได้
๓. กล้าพูดในท่ามกลางสงฆ์
๔. ข่มด้วยดีซึ่งข้าศึกโดยสหธรรม
๕. เป็นผู้ปฏิบัติเพื่อความตั้งมั่นแห่งพระสัทธรรม
อุบาลี ในการเรียนวินัย มีอานิสงส์ ๕ ประการนี้แล”
นัปปฏิปัสสัมภนวรรคที่ ๒ จบ

หัวข้อประจำวรรค
ภิกษุต้องอาบัติที่เป็นเหตุให้ถูกลงโทษกล่าวตำหนิกรรม
สงฆ์ไม่ควรระงับกรรมภิกษุผู้เป็นอลัชชี
ภิกษุผู้เข้าสงคราม ภิกษุผู้มีความคิดมืดมน
เป็นผู้อวดอ้าง กล่าวข่มขู่ ย่อมไม่เป็นที่ปรารถนา
อานิสงส์การเรียนวินัย
พระบัญญัติคู่ที่ ๑ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๖๐๐ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [อุปาลิปัญจกะ] ๓. โวหารวรรค
๓. โวหารวรรค
หมวดว่าด้วยการใช้โวหาร

ภิกษุไม่ควรพูดในสงฆ์
[๔๒๔] ท่านพระอุบาลีทูลถามว่า “ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์เท่าไรหนอแล ไม่ควร
พูดในสงฆ์ พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ ไม่ควรพูดในสงฆ์
องค์ ๕ คือ

๑. ไม่รู้อาบัติ ๒. ไม่รู้สมุฏฐานอาบัติ
๓. ไม่รู้ประโยคอาบัติ๑ ๔. ไม่รู้ความระงับอาบัติ
๕. ไม่ฉลาดในการวินิจฉัยอาบัติ

อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ไม่ควรพูดในสงฆ์

ภิกษุควรพูดในสงฆ์
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ ควรพูดในสงฆ์ องค์ ๕ คือ

๑. รู้อาบัติ ๒. รู้สมุฏฐานอาบัติ
๓. รู้ประโยคอาบัติ ๔. รู้ความระงับอาบัติ
๕. ฉลาดในการวินิจฉัยอาบัติ

อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ควรพูดในสงฆ์

ภิกษุไม่ควรพูดในสงฆ์ อีกนัยหนึ่ง
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อีกอย่าง ไม่ควรพูดในสงฆ์ องค์ ๕ คือ
๑. ไม่รู้อธิกรณ์ ๒. ไม่รู้สมุฏฐานอธิกรณ์

เชิงอรรถ :
๑ ไม่รู้ประโยคอาบัติ คือไม่รู้ว่า อาบัตินี้เกิดจากความพยายามทางกาย อาบัตินี้เกิดจากความพยายามทาง
วาจา (วิ.อ. ๓/๔๒๔/๕๑๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๖๐๑ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [อุปาลิปัญจกะ] ๓. โวหารวรรค
๓. ไม่รู้ประโยคอธิกรณ์ ๔. ไม่รู้ความระงับอธิกรณ์
๕. ไม่ฉลาดในการวินิจฉัยอธิกรณ์
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ไม่ควรพูดในสงฆ์

ภิกษุควรพูดในสงฆ์
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ ควรพูดในสงฆ์ องค์ ๕ คือ

๑. รู้อธิกรณ์ ๒. รู้สมุฏฐานอธิกรณ์
๓. รู้ประโยคอธิกรณ์ ๔. รู้ความระงับอธิกรณ์
๕. ฉลาดในการวินิจฉัยอธิกรณ์

อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ควรพูดในสงฆ์

ภิกษุไม่ควรพูดในสงฆ์ อีกนัยหนึ่ง
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อีกอย่าง ไม่ควรพูดในสงฆ์ องค์ ๕ คือ
๑. กล่าวข่มขู่
๒. กล่าวไม่ให้โอกาสผู้อื่น
๓. ไม่โจทตามอาบัติ ในธรรมและวินัยอันสมควร
๔. ไม่ปรับตามอาบัติ ในธรรมและวินัยอันสมควร
๕. ไม่ชี้แจงตามความเห็น
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ไม่ควรพูดในสงฆ์

ภิกษุควรพูดในสงฆ์
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ ควรพูดในสงฆ์ องค์ ๕ คือ
๑. ไม่กล่าวข่มขู่
๒. กล่าวให้โอกาสผู้อื่น
๓. โจทตามอาบัติ ในธรรมและวินัยอันสมควร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๖๐๒ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [อุปาลิปัญจกะ] ๓. โวหารวรรค
๔. ปรับตามอาบัติ ในธรรมและวินัยอันสมควร
๕. ชี้แจงตามความเห็น
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ควรพูดในสงฆ์

ภิกษุไม่ควรพูดในสงฆ์ อีกนัยหนึ่ง
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อีกอย่าง ไม่ควรพูดในสงฆ์ องค์ ๕ คือ
๑. ไม่รู้อาบัติและอนาบัติ
๒. ไม่รู้อาบัติเบาและอาบัติหนัก
๓. ไม่รู้อาบัติมีส่วนเหลือและอาบัติไม่มีส่วนเหลือ
๔. ไม่รู้อาบัติชั่วหยาบและอาบัติไม่ชั่วหยาบ
๕. ไม่รู้อาบัติที่ทำคืนได้และทำคืนไม่ได้
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ไม่ควรพูดในสงฆ์

ภิกษุควรพูดในสงฆ์
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ ควรพูดในสงฆ์ องค์ ๕ คือ
๑. รู้อาบัติและอนาบัติ
๒. รู้อาบัติเบาและอาบัติหนัก
๓. รู้อาบัติมีส่วนเหลือและอาบัติไม่มีส่วนเหลือ
๔. รู้อาบัติชั่วหยาบและอาบัติไม่ชั่วหยาบ
๕. รู้อาบัติที่ทำคืนได้และทำคืนไม่ได้
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ควรพูดในสงฆ์

ภิกษุไม่ควรพูดในสงฆ์ อีกนัยหนึ่ง
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อีกอย่าง ไม่ควรพูดในสงฆ์ องค์ ๕ คือ
๑. ไม่รู้กรรม ๒. ไม่รู้การทำกรรม

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๖๐๓ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [อุปาลิปัญจกะ] ๓. โวหารวรรค
๓. ไม่รู้วัตถุของกรรม ๔. ไม่รู้วัตรของกรรม
๕. ไม่รู้ความระงับกรรม
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ไม่ควรพูดในสงฆ์

ภิกษุควรพูดในสงฆ์
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ ควรพูดในสงฆ์ องค์ ๕ คือ

๑. รู้กรรม ๒. รู้การทำกรรม
๓. รู้วัตถุของกรรม ๔. รู้วัตรของกรรม
๕. รู้ความระงับกรรม

อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ควรพูดในสงฆ์

ภิกษุไม่ควรพูดในสงฆ์ อีกนัยหนึ่ง
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อีกอย่าง ไม่ควรพูดในสงฆ์ องค์ ๕ คือ

๑. ไม่รู้วัตถุ ๒. ไม่รู้นิทาน
๓. ไม่รู้บัญญัติ ๔. ไม่รู้บทที่ตกหล่นในภายหลัง
๕. ไม่รู้ถ้อยคำอันเกี่ยวเนื่องกัน

อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ไม่ควรพูดในสงฆ์

ภิกษุควรพูดในสงฆ์
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ ควรพูดในสงฆ์ องค์ ๕ คือ

๑. รู้วัตถุ ๒. รู้นิทาน
๓. รู้บัญญัติ ๔. รู้บทที่ตกหล่นในภายหลัง
๕. รู้ถ้อยคำอันเกี่ยวเนื่องกัน

อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ควรพูดในสงฆ์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๖๐๔ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [อุปาลิปัญจกะ] ๓. โวหารวรรค
ภิกษุไม่ควรพูดในสงฆ์ อีกนัยหนึ่ง
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อีกอย่าง ไม่ควรพูดในสงฆ์ องค์ ๕ คือ

๑. ลำเอียงเพราะชอบ ๒. ลำเอียงเพราะชัง
๓. ลำเอียงเพราะหลง ๔. ลำเอียงเพราะกลัว
๕. เป็นอลัชชี

อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ไม่ควรพูดในสงฆ์

ภิกษุควรพูดในสงฆ์
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ ควรพูดในสงฆ์ องค์ ๕ คือ

๑. ไม่ลำเอียงเพราะชอบ ๒. ไม่ลำเอียงเพราะชัง
๓. ไม่ลำเอียงเพราะหลง ๔. ไม่ลำเอียงเพราะกลัว
๕. เป็นลัชชี

อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ควรพูดในสงฆ์

ภิกษุไม่ควรพูดในสงฆ์ อีกนัยหนึ่ง
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อีกอย่าง ไม่ควรพูดในสงฆ์ องค์ ๕ คือ

๑. ลำเอียงเพราะชอบ ๒. ลำเอียงเพราะชัง
๓. ลำเอียงเพราะหลง ๔. ลำเอียงเพราะกลัว
๕. ไม่ฉลาดในพระวินัย

อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ไม่ควรพูดในสงฆ์

ภิกษุควรพูดในสงฆ์
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ ควรพูดในสงฆ์ องค์ ๕ คือ

๑. ไม่ลำเอียงเพราะชอบ ๒. ไม่ลำเอียงเพราะชัง
๓. ไม่ลำเอียงเพราะหลง ๔. ไม่ลำเอียงเพราะกลัว
๕. ฉลาดในพระวินัย

อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ควรพูดในสงฆ์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๖๐๕ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [อุปาลิปัญจกะ] ๓. โวหารวรรค
ภิกษุไม่ควรพูดในสงฆ์ อีกนัยหนึ่ง
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อีกอย่าง ไม่ควรพูดในสงฆ์ องค์ ๕ คือ

๑. ไม่รู้ญัตติ ๒. ไม่รู้การทำญัตติ
๓. ไม่รู้อนุสาวนาแห่งญัตติ ๔. ไม่รู้สมถะแห่งญัตติ
๕. ไม่รู้ความระงับแห่งญัตติ

อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ไม่ควรพูดในสงฆ์

ภิกษุควรพูดในสงฆ์
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ ควรพูดในสงฆ์ องค์ ๕ คือ

๑. รู้ญัตติ ๒. รู้การทำญัตติ
๓. รู้อนุสาวนาแห่งญัตติ ๔. รู้สมถะแห่งญัตติ
๕. รู้ความระงับแห่งญัตติ

อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ควรพูดในสงฆ์

ภิกษุไม่ควรพูดในสงฆ์ อีกนัยหนึ่ง
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อีกอย่าง ไม่ควรพูดในสงฆ์ องค์ ๕ คือ

๑. ไม่รู้พระสูตร ๒. ไม่รู้ข้ออนุโลมพระสูตร
๓. ไม่รู้พระวินัย ๔. ไม่รู้ข้ออนุโลมพระวินัย

๕. ไม่ฉลาดในฐานะอันควรและฐานะอันไม่ควร
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ไม่ควรพูดในสงฆ์

ภิกษุควรพูดในสงฆ์
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ ควรพูดในสงฆ์ องค์ ๕ คือ

๑. รู้พระสูตร ๒. รู้ข้ออนุโลมพระสูตร
๓. รู้พระวินัย ๔. รู้ข้ออนุโลมพระวินัย

๕. ฉลาดในฐานะอันควรและฐานะอันไม่ควร
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ควรพูดในสงฆ์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๖๐๖ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [อุปาลิปัญจกะ] หัวข้อประจำวรรค
ภิกษุไม่ควรพูดในสงฆ์ อีกนัยหนึ่ง
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อีกอย่าง ไม่ควรพูดในสงฆ์ องค์ ๕ คือ

๑. ไม่รู้พระธรรม ๒. ไม่รู้ข้ออนุโลมพระธรรม
๓. ไม่รู้พระวินัย ๔. ไม่รู้ข้ออนุโลมพระวินัย
๕. ไม่ฉลาดในคำต้นและคำหลัง

อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ไม่ควรพูดในสงฆ์

ภิกษุควรพูดในสงฆ์
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ ควรพูดในสงฆ์ องค์ ๕ คือ

๑. รู้พระธรรม ๒. รู้ข้ออนุโลมพระธรรม
๓. รู้พระวินัย ๔. รู้ข้ออนุโลมพระวินัย
๕. ฉลาดในคำต้นและคำหลัง

อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ควรพูดในสงฆ์”
โวหารวรรคที่ ๓ จบ

หัวข้อประจำวรรค
ภิกษุไม่รู้อาบัติ ไม่รู้อธิกรณ์ กล่าวข่มขู่ ไม่ควรพูดในสงฆ์
ภิกษุรู้อาบัติ กรรม วัตถุ ควรพูดในสงฆ์
ภิกษุเป็นอลัชชี ไม่ฉลาดในญัตติ ไม่รู้พระสูตร
ไม่รู้พระธรรมไม่ควรพูดในสงฆ์
จัดเป็นวรรคที่ ๓ แล

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๖๐๗ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [อุปาลิปัญจกะ] ๔. ทิฏฐาวิกัมมวรรค
๔. ทิฏฐาวิกัมมวรรค
หมวดว่าด้วยการเปิดเผยความเห็น

ความเห็นที่ไม่ชอบธรรม
[๔๒๕] ท่านพระอุบาลีทูลถามว่า “การเปิดเผยความเห็นที่ไม่ชอบธรรมมีเท่าไร
หนอแล พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อุบาลี การเปิดเผยความเห็นที่ไม่ชอบธรรมมี ๕
อย่าง คือ
๑. การเปิดเผยความเห็นในอนาบัติ
๒. การเปิดเผยความเห็นในอาบัติที่เป็นอเทสนาคามินี
๓. การเปิดเผยความเห็นในอาบัติที่แสดงแล้ว
๔. การเปิดเผยความเห็นพร้อมกัน ๔-๕ รูป
๕. การเปิดเผยความเห็นด้วยนึกในใจ
อุบาลี การเปิดเผยความเห็น ๕ อย่างนี้แล ที่ไม่ชอบธรรม

ความเห็นที่ชอบธรรม
อุบาลี การเปิดเผยความเห็นที่ชอบธรรมมี ๕ อย่าง คือ
๑. การเปิดเผยความเห็นในอาบัติ
๒. การเปิดเผยความเห็นในอาบัติที่เป็นเทสนาคามินี
๓. การเปิดเผยความเห็นในอาบัติที่ยังไม่ได้แสดง
๔. การไม่เปิดเผยความเห็นพร้อมกัน ๔-๕ รูป
๕. การไม่เปิดเผยความเห็นด้วยนึกในใจ
อุบาลี การเปิดเผยความเห็น ๕ อย่างนี้แล ที่ชอบธรรม

ความเห็นที่ไม่ชอบธรรม อีกนัยหนึ่ง
อุบาลี การเปิดเผยความเห็นที่ไม่ชอบธรรมแม้อื่นอีก ๕ อย่าง คือ
๑. การเปิดเผยความเห็นในสำนักภิกษุนานาสังวาส
๒. การเปิดเผยความเห็นในสำนักภิกษุผู้อยู่ในสีมาต่างกัน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๖๐๘ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [อุปาลิปัญจกะ] ๔. ทิฏฐาวิกัมมวรรค
๓. การเปิดเผยความเห็นในสำนักภิกษุมิใช่ปกตัตตะ
๔. การเปิดเผยความเห็นพร้อมกัน ๔-๕ รูป
๕. การเปิดเผยความเห็นด้วยนึกในใจ
อุบาลี การเปิดเผยความเห็น ๕ อย่างนี้แล ที่ไม่ชอบธรรม

ความเห็นที่ชอบธรรม
อุบาลี การเปิดเผยความเห็นที่ชอบธรรมนี้มี ๕ อย่าง คือ
๑. การเปิดเผยความเห็นในสำนักภิกษุสมานสังวาส
๒. การเปิดเผยความเห็นในสำนักภิกษุผู้อยู่ในสีมาเดียวกัน
๓. การเปิดเผยความเห็นในสำนักภิกษุผู้เป็นปกตัตตะ
๔. การไม่เปิดเผยความเห็นพร้อมกัน ๔-๕ รูป
๕. การไม่เปิดเผยความเห็นด้วยนึกในใจ
อุบาลี การเปิดเผยความเห็น ๕ อย่างนี้แล ที่ชอบธรรม”

การรับประเคนที่ใช้ไม่ได้
[๔๒๖] ท่านพระอุบาลีทูลถามว่า “การรับประเคนที่ไม่ถูกต้อง มีเท่าไรหนอ
แล พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อุบาลี การรับประเคนที่ใช้ไม่ได้มี ๕ อย่าง คือ
๑. ของเขาให้ด้วยกาย ไม่รับประเคนด้วยกาย
๒. ของเขาให้ด้วยกาย ไม่รับประเคนด้วยของเนื่องด้วยกาย
๓. ของเขาให้ด้วยของเนื่องด้วยกาย ไม่รับประเคนด้วยกาย
๔. ของเขาให้ด้วยของเนื่องด้วยกาย ไม่รับประเคนด้วยของเนื่องด้วยกาย
๕. ของเขาให้ด้วยการโยนให้ ไม่รับประเคนด้วยกายหรือด้วยของเนื่อง
ด้วยกาย
อุบาลี การรับประเคน ๕ อย่างนี้แล ใช้ไม่ได้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๖๐๙ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [อุปาลิปัญจกะ] ๔. ทิฏฐาวิกัมมวรรค
การรับประเคนที่ใช้ได้
อุบาลี การรับประเคนที่ใช้ได้นี้มี ๕ อย่าง คือ
๑. ของเขาให้ด้วยกาย รับประเคนด้วยกาย
๒. ของเขาให้ด้วยกาย รับประเคนด้วยของเนื่องด้วยกาย
๓. ของเขาให้ด้วยของเนื่องด้วยกาย รับประเคนด้วยกาย
๔. ของเขาให้ด้วยของเนื่องด้วยกาย รับประเคนด้วยของเนื่องด้วยกาย
๕. ของเขาให้ด้วยการโยนให้ รับประเคนด้วยกายหรือด้วยของเนื่องด้วยกาย
อุบาลี การรับประเคน ๕ อย่างนี้แล ใช้ได้”

ของที่ไม่เป็นเดน
[๔๒๗] ท่านพระอุบาลีทูลถามว่า “ของที่ไม่เป็นเดนมีเท่าไรหนอแล พระพุทธ-
เจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อุบาลี ของที่ไม่เป็นเดนมี ๕ อย่าง คือ
๑. ของที่ภิกษุยังมิได้ทำให้เป็น ๒. ของที่ภิกษุยังมิได้รับประเคน
กัปปิยะ
๓. ของที่ภิกษุยังมิได้ยกขึ้นส่งให้ ๔. ของที่อยู่นอกหัตถบาส
๕. ของที่ภิกษุยังมิได้กล่าวว่า ‘ทั้งหมดนั่นพอแล้ว’
อุบาลี ของที่ไม่เป็นเดนนี้มี ๕ อย่างแล

ของที่เป็นเดน
อุบาลี ของที่เป็นเดนมี ๕ อย่าง คือ

๑. ของที่ภิกษุทำให้เป็นกัปปิยะแล้ว ๒. ของที่ภิกษุรับประเคนแล้ว
๓. ของที่ภิกษุยกขึ้นส่งให้แล้ว ๔. ของที่อยู่ในหัตถบาส

๕. ของที่ภิกษุกล่าวว่า ‘ทั้งหมดนั่นพอแล้ว’
อุบาลี ของที่เป็นเดนนี้มี ๕ อย่างแล”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๖๑๐ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [อุปาลิปัญจกะ] ๔. ทิฏฐาวิกัมมวรรค
การห้ามภัตร
[๔๒๘] ท่านพระอุบาลีทูลถามว่า “การห้ามภัตรย่อมปรากฏด้วยอาการเท่าไร
หนอแล พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อุบาลี การห้ามภัตรย่อมปรากฏด้วยอาการ ๕
อย่าง คือ

๑. ภิกษุกำลังฉัน ๒. ทายกนำโภชนะมาถวาย
๓. ทายกอยู่ในหัตถบาส ๔. ทายกน้อมของถวาย
๕. ภิกษุบอกห้าม

อุบาลี การห้ามภัตรย่อมปรากฏด้วยอาการ ๕ อย่างนี้แล”

ปฏิญญาตกรณะที่ไม่ชอบธรรม
[๔๒๙] ท่านพระอุบาลีทูลถามว่า “ปฏิญญาตกรณะที่ไม่ชอบธรรมมีเท่าไร
หนอแล พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อุบาลี ปฏิญญาตกรณะที่ไม่ชอบธรรมนี้มี ๕ อย่าง คือ
๑. ภิกษุต้องอาบัติปาราชิก ถูกโจทด้วยอาบัติปาราชิก แต่ปฏิญญา
ว่าต้องอาบัติสังฆาทิเสส สงฆ์ปรับอาบัติสังฆาทิเสสภิกษุนั้น ชื่อว่า
ปฏิญญาตกรณะไม่ชอบธรรม
๒. ภิกษุต้องอาบัติปาราชิก ถูกโจทด้วยอาบัติปาราชิก แต่ปฏิญญา
ว่าต้องอาบัติปาจิตตีย์ สงฆ์ปรับอาบัติปาจิตตีย์ภิกษุนั้น ชื่อว่า
ปฏิญญาตกรณะไม่ชอบธรรม
๓. ภิกษุต้องอาบัติปาฏิเทสนียะ ถูกโจทด้วยอาบัติปาฏิเทสนียะ แต่
ปฏิญญาว่าต้องอาบัติทุกกฏ สงฆ์ปรับอาบัติทุกกฏภิกษุนั้น ชื่อว่า
ปฏิญญาตกรณะไม่ชอบธรรม
๔. ภิกษุต้องอาบัติสังฆาทิเสส ปาจิตตีย์ ปาฏิเทสนียะ ทุกกฏ ถูก
โจทด้วยอาบัติทุกกฏ แต่ปฏิญญาว่าต้องอาบัติปาราชิก สงฆ์ปรับ
อาบัติปาราชิกภิกษุนั้น ชื่อว่าปฏิญญาตกรณะไม่ชอบธรรม

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๖๑๑ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [อุปาลิปัญจกะ] ๔. ทิฏฐาวิกัมมวรรค
๕. ภิกษุต้องอาบัติทุกกฏ ถูกโจทด้วยอาบัติทุกกฏ แต่ปฏิญญาว่า
ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ปาจิตตีย์ ปาฏิเทสนียะ สงฆ์ปรับอาบัติ
ปาฏิเทสนียะภิกษุนั้น ชื่อว่าปฏิญญาตกรณะไม่ชอบธรรม
อุบาลี ปฏิญญาตกรณะ ๕ อย่างนี้แล ไม่ชอบธรรม

ปฏิญญาตกรณะที่ชอบธรรม
อุบาลี ปฏิญญาตกรณะที่ชอบธรรมนี้มี ๕ อย่าง คือ
๑. ภิกษุต้องอาบัติปาราชิก ถูกโจทด้วยอาบัติปาราชิก ปฏิญญาว่า
ต้องอาบัติปาราชิก สงฆ์ปรับอาบัติปาราชิกภิกษุนั้น ชื่อว่า
ปฏิญญาตกรณะที่ชอบธรรม
๒. ภิกษุต้องอาบัติสังฆาทิเสส ถูกโจทด้วยอาบัติสังฆาทิเสส ปฏิญญา
ว่าต้องอาบัติสังฆาทิเสส สงฆ์ปรับอาบัติสังฆาทิเสสภิกษุนั้น ชื่อว่า
ปฏิญญาตกรณะที่ชอบธรรม
๓. ภิกษุต้องอาบัติปาจิตตีย์ ถูกโจทด้วยอาบัติปาจิตตีย์ ปฏิญญาว่า
ต้องอาบัติปาจิตตีย์ สงฆ์ปรับอาบัติปาจิตตีย์ภิกษุนั้น ชื่อว่า
ปฏิญญาตกรณะที่ชอบธรรม
๔. ภิกษุต้องอาบัติปาฏิเทสนียะ ถูกโจทด้วยอาบัติปาฏิเทสนียะ
ปฏิญญาว่าต้องอาบัติปาฏิเทสนียะ สงฆ์ปรับอาบัติปาฏิเทสนียะ
ภิกษุนั้น ชื่อว่าปฏิญญาตกรณะที่ชอบธรรม
๕. ภิกษุต้องอาบัติทุกกฏ ถูกโจทด้วยอาบัติทุกกฏ ปฏิญญาว่าต้อง
อาบัติทุกกฏ สงฆ์ปรับอาบัติทุกกฏภิกษุนั้น ชื่อว่าปฏิญญาต-
กรณะที่ชอบธรรม
อุบาลี ปฏิญญาตกรณะ ๕ อย่างนี้แล ที่ชอบธรรม”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๖๑๒ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [อุปาลิปัญจกะ] ๔. ทิฏฐาวิกัมมวรรค
ไม่ควรทำโอกาส
[๔๓๐] ท่านพระอุบาลีทูลถามว่า “ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์เท่าไรหนอแล ขอ
ให้ทำโอกาส สงฆ์ไม่ควรทำโอกาส พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ ขอให้ทำโอกาส
สงฆ์ไม่ควรทำโอกาส องค์ ๕ คือ

๑. เป็นอลัชชี ๒. เป็นคนโง่เขลา
๓. ไม่ใช่ปกตัตตะ ๔. เป็นผู้กล่าวประสงค์จะให้เคลื่อน
จากศาสนา

๕. ไม่เป็นผู้กล่าวประสงค์จะให้ออกจากอาบัติ
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ขอให้ทำโอกาส สงฆ์ไม่ควรทำโอกาส

ควรทำโอกาส
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ ขอให้ทำโอกาส สงฆ์ควรทำโอกาส องค์
๕ คือ

๑. เป็นลัชชี ๒. เป็นบัณฑิต
๓. เป็นปกตัตตะ ๔. เป็นผู้กล่าวประสงค์จะให้ออก
จากอาบัติ

๕. ไม่เป็นผู้กล่าวประสงค์จะให้เคลื่อนจากศาสนา
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ขอให้ทำโอกาส สงฆ์ควรทำโอกาส”

ไม่ควรสนทนาวินัย
[๔๓๑] ท่านพระอุบาลีทูลถามว่า “ภิกษุทั้งหลายไม่ควรสนทนาวินัยกับภิกษุ
ผู้ประกอบด้วยองค์เท่าไรหนอแล พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อุบาลี ภิกษุทั้งหลายไม่ควรสนทนาวินัยกับผู้ประกอบ
ด้วยองค์ ๕ องค์ ๕ คือ
๑. ไม่รู้วัตถุ ๒. ไม่รู้นิทาน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๖๑๓ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [อุปาลิปัญจกะ] ๔. ทิฏฐาวิกัมมวรรค
๓. ไม่รู้พระบัญญัติ ๔. ไม่รู้บทที่ตกหล่นในภายหลัง
๕. ไม่รู้ถ้อยคำอันเกี่ยวเนื่องกัน
อุบาลี ภิกษุทั้งหลายไม่ควรสนทนาวินัยกับภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล

ควรสนทนาวินัย
อุบาลี ภิกษุทั้งหลายควรสนทนาวินัยกับภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ องค์ ๕
คือ

๑. รู้วัตถุ ๒. รู้นิทาน
๓. รู้บัญญัติ ๔. รู้บทที่ตกหล่นในภายหลัง
๕. รู้ถ้อยคำอันเกี่ยวเนื่องกัน

อุบาลี ภิกษุทั้งหลายควรสนทนาวินัยกับภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล”

เหตุที่ถามปัญหา ๕ อย่าง
[๔๓๒] ท่านพระอุบาลีทูลถามว่า “การถามปัญหามีเท่าไรหนอแล พระ
พุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อุบาลี การถามปัญหานี้มี ๕ อย่าง คือ
๑. ภิกษุถามปัญหาเพราะความเป็นผู้โง่เขลา งมงาย
๒. เป็นผู้ปรารถนาเลวทราม ถูกความอยากครอบงำ จึงถามปัญหา
๓. ถามปัญหาเพราะดูหมิ่น
๔. เป็นผู้ไม่ประสงค์จะรู้จึงถามปัญหา
๕. ถามปัญหาด้วยคำนึงว่า ถ้าเราถามปัญหาแล้ว ภิกษุจักพยากรณ์
ได้ถูกต้อง การพยากรณ์ดังนี้นั้นเป็นสิ่งดี แต่ถ้าเราถามปัญหาแล้ว
เธอจักพยากรณ์ไม่ถูกต้อง เราก็จักพยากรณ์แก่เธออย่างถูกต้อง
อุบาลี การถามปัญหามี ๕ อย่างนี้แล”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๖๑๔ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [อุปาลิปัญจกะ] ๔. ทิฏฐาวิกัมมวรรค
การอวดอ้างมรรคผล
[๔๓๓] ท่านพระอุบาลีทูลถามว่า “การอวดอ้างมรรคผลมีเท่าไรหนอแล พระ
พุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อุบาลี การอวดอ้างมรรคผลมี ๕ อย่าง คือ
๑. ภิกษุอวดอ้างมรรคผลเพราะความเป็นผู้โง่เขลา งมงาย
๒. เป็นผู้ปรารถนาเลวทราม ถูกความอยากครอบงำ จึงอวดอ้าง
มรรคผล
๓. อวดอ้างมรรคผลเพราะวิกลจริต มีจิตฟุ้งซ่าน
๔. อวดอ้างมรรคผลเพราะสำคัญว่าได้บรรลุ
๕. อวดอ้างมรรคผลที่เป็นจริง
อุบาลี การอวดอ้างมรรคผลมี ๕ อย่างนี้แล”

วิสุทธิ
[๔๓๔] ท่านพระอุบาลีทูลถามว่า “วิสุทธิมีเท่าไรหนอแล พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อุบาลี วิสุทธินี้มี ๕ แบบ คือ
๑. ยกนิทานขึ้นแสดงจบแล้ว พึงสวดอุทเทสที่เหลือด้วยสุตบท นี้จัด
เป็นวิสุทธิแบบที่ ๑
๒. ยกนิทานขึ้นแสดง ยกปาราชิก ๔ ขึ้นแสดงจบแล้วพึงสวดอุทเทส
ที่เหลือด้วยสุตบท นี้เป็นวิสุทธิแบบที่ ๒
๓. ยกนิทานขึ้นแสดง ยกปาราชิก ๔ ขึ้นแสดง ยกสังฆาทิเสส ๑๓
ขึ้นแสดงจบแล้ว พึงสวดอุทเทสที่เหลือด้วยสุตบท นี้เป็นวิสุทธิแบบที่ ๓
๔. ยกนิทานขึ้นแสดง ยกปาราชิก ๔ ขึ้นแสดง ยกสังฆาทิเสส ๑๓
ขึ้นแสดง ยกอนิยต ๒ ขึ้นแสดงจบแล้ว พึงสวดอุทเทสที่เหลือ
ด้วยสุตบท นี้เป็นวิสุทธิแบบที่ ๔
๕. ยกขึ้นแสดงโดยพิสดารทั้งหมด เป็นวิสุทธิแบบที่ ๕
อุบาลี วิสุทธิมี ๕ แบบนี้แล”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๖๑๕ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [อุปาลิปัญจกะ] ๕. อัตตาทานวรรค
โภชนะ ๕
[๔๓๕] ท่านพระอุบาลีทูลถามว่า “โภชนะมีเท่าไรหนอแล พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อุบาลี โภชนะนี้มี ๕ อย่าง คือ
๑. ข้าวสุก ๒. ขนมสด
๓. ขนมแห้ง ๔. ปลา
๕. เนื้อ
อุบาลี โภชนะมี ๕ อย่างนี้แล”
ทิฏฐาวิกัมมวรรคที่ ๔ จบ

หัวข้อประจำวรรค
การเปิดเผยความเห็นในอนาบัติ การเปิดเผยความเห็นในอาบัติ
การรับประเคน ของที่เป็นเดน การห้ามภัตร ปฏิญญาตกรณะ
การขอโอกาส การสนทนา การถามปัญหา
การอวดอ้างมรรคผล วิสุทธิ โภชนะ

๕. อัตตาทานวรรค
หมวดว่าด้วยการรับหน้าที่เป็นโจทก์

คุณสมบัติที่ผู้โจทก์พึงพิจารณา๑
[๔๓๖] ท่านพระอุบาลีทูลถามว่า “ภิกษุผู้โจทก์ประสงค์จะโจทผู้อื่น พึงพิจารณา
คุณสมบัติภายในตนเท่าไร จึงจะโจทผู้อื่นได้ พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อุบาลี ภิกษุผู้โจทก์ประสงค์จะโจทผู้อื่น พึงพิจารณา
คุณสมบัติภายในตน ๕ อย่างแล้วจึงจะโจทผู้อื่น ธรรม ๕ อย่าง คือ

เชิงอรรถ :
๑ วิ.จู. (แปล) ๗/๓๙๙/๒๒๔, องฺ.ทสก. (แปล) ๒๔/๔๔/๖๒

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๖๑๖ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [อุปาลิปัญจกะ] ๕. อัตตาทานวรรค
๑. ภิกษุผู้โจทก์ประสงค์จะโจทผู้อื่น พึงพิจารณาอย่างนี้ว่า ‘เรามีความ
ประพฤติทางกายบริสุทธิ์หรือหนอ เราประกอบด้วยความประพฤติ
ทางกายที่บริสุทธิ์ ไม่เสียหาย ไม่บกพร่อง คุณสมบัติข้อนี้เรามี
อยู่หรือไม่มีหนอ’ ถ้าภิกษุไม่ใช่ผู้มีความประพฤติทางกายบริสุทธิ์
ประกอบด้วยความประพฤติทางกายที่บริสุทธิ์ ไม่เสียหาย ไม่บกพร่อง
ภิกษุผู้โจทก์นั้นย่อมถูกตอบโต้ว่า ‘เชิญท่านสำเหนียกความประพฤติ
ทางกายเสียก่อนเถิด’ ภิกษุผู้โจทก์นั้นย่อมจะถูกตอบโต้อย่างนี้
๒. อนึ่ง ภิกษุผู้โจทก์ประสงค์จะโจทผู้อื่น พึงพิจารณาอย่างนี้ ‘เรามี
ความประพฤติทางวาจาบริสุทธิ์หรือหนอ เราประกอบด้วยความ
ประพฤติทางวาจาบริสุทธิ์ ไม่เสียหาย ไม่บกพร่อง คุณสมบัติ
ข้อนี้เรามีหรือไม่มีหนอ’ ถ้าภิกษุไม่ใช่ผู้มีความประพฤติทางวาจา
บริสุทธิ์ ประกอบด้วยความประพฤติทางวาจาบริสุทธิ์ ไม่เสียหาย
ไม่บกพร่อง ภิกษุผู้โจทก์นั้นย่อมถูกตอบโต้ว่า ‘เชิญท่านสำเหนียก
ความประพฤติทางวาจาเสียก่อนเถิด’ ภิกษุผู้โจทก์นั้นย่อมจะถูกตอบ
โต้อย่างนี้
๓. อนึ่ง ภิกษุผู้โจทก์ประสงค์จะโจทผู้อื่น พึงพิจารณาอย่างนี้ ‘เรามี
เมตตาจิต ไม่อาฆาตพยาบาทเพื่อนพรหมจารีหรือหนอ คุณสมบัติ
ข้อนี้เรามีหรือไม่มีหนอ’ ถ้าภิกษุไม่ใช่ผู้มีเมตตาจิต ไม่อาฆาต
พยาบาทเพื่อนพรหมจารี ภิกษุผู้โจทก์นั้นย่อมถูกตอบโต้ว่า ‘เชิญ
ท่านมีเมตตาจิตในเพื่อนพรหมจารีเสียก่อนเถิด’ ภิกษุผู้โจทก์นั้น
ย่อมจะถูกตอบโต้อย่างนี้
๔. อนึ่ง ภิกษุผู้โจทก์ประสงค์จะโจทผู้อื่น พึงพิจารณาอย่างนี้ ‘เรา
เป็นพหูสูต ทรงสุตะ มีการสั่งสมสุตะหรือหนอ เราได้สดับมาก
ทรงจำได้แม่นยำ คล่องปาก ขึ้นใจ รู้ชัดด้วยปัญญาซึ่งธรรมงาม
เบื้องต้น งามท่ามกลาง งามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์ พร้อมทั้ง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๖๑๗ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [อุปาลิปัญจกะ] ๕. อัตตาทานวรรค
อรรถ พร้อมทั้งพยัญชนะบริสุทธิ์บริบูรณ์ครบถ้วนหรือไม่หนอ
คุณสมบัติข้อนี้เรามีหรือไม่มีหนอ’ ถ้าภิกษุไม่ได้เป็นพหูสูต ทรงสุตะ
มีการสั่งสมสุตะ ได้สดับมาก ทรงจำได้แม่นยำ คล่องปาก ขึ้นใจ
รู้ชัดด้วยปัญญาซึ่งธรรมงามเบื้องต้น งามท่ามกลาง งามในที่สุด
ประกาศพรหมจรรย์ พร้อมทั้งอรรถ พร้อมทั้งพยัญชนะบริสุทธิ์
บริบูรณ์ครบถ้วน ภิกษุผู้โจทก์นั้นย่อมจะถูกตอบโต้ว่า ‘เชิญท่าน
ศึกษาพระปริยัติเสียก่อนเถิด’ ภิกษุผู้โจทก์นั้นย่อมจะถูกตอบโต้อย่างนี้
๕. อนึ่ง ภิกษุผู้โจทก์ประสงค์จะโจทผู้อื่น พึงพิจารณาอย่างนี้ ‘เรา
ทรงจำปาติโมกข์ทั้งสองได้แม่นยำโดยพิสดาร จำแนกถูกต้อง จัด
ระเบียบถูกต้อง วินิจฉัยถูกต้องโดยสุตตะโดยอนุพยัญชนะหรือหนอ
คุณสมบัติข้อนี้เรามีหรือไม่มีหนอ’ ถ้าภิกษุไม่ใช่ผู้ทรงจำปาติโมกข์
ทั้งสองได้แม่นยำโดยพิสดาร จำแนกถูกต้อง จัดระเบียบถูกต้อง
วินิจฉัยถูกต้องโดยสุตตะโดยอนุพยัญชนะ(ตามข้อ ตามอักษร) ภิกษุ
ผู้โจทก์นั้นย่อมจะถูกตอบโต้ว่า ‘เชิญท่านศึกษาพระวินัยให้ชำนาญ
เสียก่อนเถิด’ ภิกษุผู้โจทก์นั้นย่อมจะถูกตอบโต้อย่างนี้
อุบาลี ภิกษุผู้โจทก์ประสงค์จะโจทผู้อื่น พึงพิจารณาคุณสมบัติภายในตน ๕
อย่างนี้ จึงโจทผู้อื่น”

คุณสมบัติที่โจทก์พึงตั้งไว้ในตน๑
[๔๓๗] ท่านพระอุบาลีทูลถามว่า “ภิกษุผู้โจทก์ประสงค์จะโจทผู้อื่น พึงตั้ง
คุณสมบัติเท่าไรไว้ในตน พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อุบาลี ภิกษุผู้โจทก์ประสงค์จะโจทผู้อื่น พึงตั้ง
คุณสมบัติ ๕ อย่างไว้ในตน คุณสมบัติ ๕ อย่าง คือ

เชิงอรรถ :
๑ วิ.จู. (แปล) ๗/๔๐๐/๓๐๔, ที.ปา. (แปล) ๑๑/๓๑๖/๓๐๖, องฺ.ปญฺจก. (แปล) ๒๒/๑๖๗/๒๗๗, องฺ.ทสก.
(แปล) ๒๔/๔๔/๙๖

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๖๑๘ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [อุปาลิปัญจกะ] ๕. อัตตาทานวรรค
๑. เราจักโจทโดยกาลที่ควร จักไม่โจทโดยกาลไม่ควร
๒. เราจักโจทด้วยเรื่องจริง จักไม่โจทด้วยเรื่องไม่จริง
๓. เราจักโจทด้วยคำสุภาพ จักไม่โจทด้วยคำหยาบ
๔. เราจักโจทด้วยเรื่องที่เป็นประโยชน์ จักไม่โจทด้วยเรื่องที่ไม่เป็น
ประโยชน์
๕. เราจักมีเมตตาจิตโจท จักไม่มุ่งร้ายโจท
อุบาลี ภิกษุผู้โจทก์ประสงค์จะโจทผู้อื่น ควรตั้งคุณสมบัติ ๕ ประการนี้
ไว้ในตนจึงโจทผู้อื่น”

โจทก์ควรใฝ่ใจถึงธรรม
[๔๓๘] ท่านพระอุบาลีทูลถามว่า “ภิกษุผู้โจทก์ประสงค์จะโจท ผู้อื่นควรใฝ่ใจ
ธรรมเท่าไรไว้ในตนแล้วโจทผู้อื่น พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อุบาลี ภิกษุผู้โจทก์ประสงค์จะโจทผู้อื่น ควรใฝ่ใจ
ธรรม ๕ อย่าง ไว้ในตนแล้วโจทผู้อื่น ธรรม ๕ อย่าง คือ
๑. มีความการุญ ๒. มุ่งประโยชน์
๓. มีความเอ็นดู ๔. มุ่งออกจากอาบัติ
๕. ยึดพระวินัยไว้เป็นแนวทาง
อุบาลี ภิกษุผู้โจทก์ประสงค์จะโจทผู้อื่น ควรใฝ่ใจธรรม ๕ อย่างนี้ไว้ในตนแล้ว
โจทผู้อื่น”

องค์ของภิกษุผู้ไม่ควรให้ทำโอกาส
[๔๓๙] ท่านพระอุบาลีทูลถามว่า “ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์เท่าไรหนอแล
ขอให้ทำโอกาส สงฆ์ไม่ควรทำโอกาส พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ ขอให้ทำโอกาส
สงฆ์ไม่ควรทำโอกาส องค์ ๕ คือ
๑. เป็นผู้มีความประพฤติทางกายไม่บริสุทธิ์
๒. เป็นผู้มีความประพฤติทางวาจาไม่บริสุทธิ์
๓. เป็นผู้มีอาชีวะไม่บริสุทธิ์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๖๑๙ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [อุปาลิปัญจกะ] ๕. อัตตาทานวรรค
๔. เป็นผู้โง่เขลา ไม่ฉลาด
๕. ถูกซักถาม ไม่อาจตอบข้อซักถาม
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ขอให้ทำโอกาส สงฆ์ไม่ควรทำโอกาส

องค์ของภิกษุผู้ควรให้ทำโอกาส
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ ขอให้ทำโอกาส สงฆ์ควรทำโอกาส องค์
๕ คือ
๑. เป็นผู้มีความประพฤติทางกายบริสุทธิ์
๒. เป็นผู้มีความประพฤติทางวาจาบริสุทธิ์
๓. เป็นผู้มีอาชีวะบริสุทธิ์
๔. เป็นบัณฑิต ฉลาด
๕. ถูกซักถามเข้า อาจตอบข้อซักถาม
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ขอให้ทำโอกาส สงฆ์ควรทำโอกาส”

องค์แห่งอธิกรณ์ที่ตนพึงรับ๑
[๔๔๐] ท่านพระอุบาลีทูลถามว่า “ภิกษุผู้ประสงค์จะรับอธิกรณ์ พึงรับ
อธิกรณ์ประกอบด้วยองค์เท่าไร พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อุบาลี ภิกษุผู้ประสงค์จะรับอธิกรณ์ พึงรับอธิกรณ์
ประกอบด้วยองค์ ๕ คือ
๑. ภิกษุผู้ประสงค์จะรับอธิกรณ์ พึงพิจารณาอย่างนี้ว่า ‘ข้อที่เราประสงค์
จะรับอธิกรณ์นี้ ถึงเวลาที่จะรับอธิกรณ์นี้หรือไม่ถึงหนอ’ ถ้าภิกษุ
พิจารณารู้อย่างนี้ว่า ‘ยังไม่ใช่เวลาที่จะรับอธิกรณนี้ ถึงเวลาหา
มิได้’ ก็ไม่ควรรับอธิกรณ์นั้น

เชิงอรรถ :
๑ วิ.จู. (แปล) ๗/๓๙๘/๓๐๐-๓๐๒

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๖๒๐ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [อุปาลิปัญจกะ] ๕. อัตตาทานวรรค
๒. อนึ่ง ถ้าภิกษุพิจารณารู้อย่างนี้ว่า ‘ถึงเวลาที่จะรับอธิกรณ์นี้ ไม่
ใช่ยังไม่ถึงเวลา’ ภิกษุนั้นพึงพิจารณายิ่งขึ้นอีกว่า ‘ข้อที่เราประสงค์
จะรับอธิกรณ์นี้ อธิกรณ์ที่เราจะรับนี้เป็นเรื่องจริงหรือไม่จริง’ ถ้า
ภิกษุพิจารณารู้อย่างนี้ว่า ‘อธิกรณ์ที่จะรับนี้ไม่จริง ไม่ใช่เรื่องจริง’
ก็ไม่ควรรับอธิกรณ์นั้น
๓. อนึ่ง ถ้าภิกษุพิจารณารู้อย่างนี้ว่า ‘อธิกรณ์นี้เป็นเรื่องจริง ไม่ใช่
เรื่องไม่จริง’ ภิกษุนั้นพึงพิจารณายิ่งขึ้นอีกว่า ‘ข้อที่เราประสงค์จะ
รับอธิกรณ์นี้ อธิกรณ์นี้มีประโยชน์หรือไม่มี’ ถ้าภิกษุพิจารณารู้
อย่างนี้ว่า ‘อธิกรณ์นี้ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ไม่ใช่ประกอบด้วย
ประโยชน์’ ก็ไม่ควรรับอธิกรณ์นั้น
๔. อนึ่ง ถ้าภิกษุพิจารณารู้อย่างนี้ว่า ‘อธิกรณ์นี้ประกอบด้วยประโยชน์
ไม่ใช่ไม่ประกอบด้วยประโยชน์’ ภิกษุนั้นพึงพิจารณายิ่งขึ้นอีกว่า
‘เราเมื่อรับอธิกรณ์นี้จะได้ภิกษุผู้เคยพบเห็น เคยคบหากันมาเป็น
พวกโดยชอบธรรม โดยชอบด้วยวินัยหรือไม่’ ถ้าภิกษุพิจารณารู้
อย่างนี้ว่า ‘เราเมื่อรับอธิกรณ์นี้ไว้เราจะไม่ได้ภิกษุผู้เคยพบเห็นเคย
คบหากันมาเป็นพวกโดยชอบธรรม โดยชอบด้วยวินัย’ ก็ไม่ควร
รับอธิกรณ์นั้น
๕. อนึ่ง ถ้าภิกษุพิจารณารู้อย่างนี้ว่า ‘เราเมื่อรับอธิกรณ์นี้ไว้ เราจะ
ได้ภิกษุผู้เคยพบเห็นเคยคบหากันมาเป็นพวกโดยชอบธรรม โดยชอบ
ด้วยวินัย’ ภิกษุนั้นพึงพิจารณายิ่งขึ้นอีกว่า ‘เราเมื่อรับอธิกรณ์นี้ไว้
อธิกรณ์นั้นจะเป็นเหตุให้สงฆ์บาดหมาง ทะเลาะแก่งแย่ง วิวาท
สงฆ์แตกกัน สงฆ์ร้าวราน สงฆ์แบ่งแยก สงฆ์เป็นต่าง ๆ กันหรือไม่’
ถ้าภิกษุพิจารณารู้อย่างนี้ว่า ‘เราเมื่อรับอธิกรณ์นี้ไว้ อธิกรณ์นั้น
จะเป็นเหตุให้สงฆ์บาดหมาง ทะเลาะแก่งแย่ง วิวาทกัน สงฆ์แตกกัน
สงฆ์ร้าวราน สงฆ์แบ่งแยก สงฆ์เป็นต่าง ๆ กัน’ ก็ไม่ควรรับอธิกรณ์นั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๖๒๑ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [อุปาลิปัญจกะ] ๕. อัตตาทานวรรค
อนึ่ง ถ้าภิกษุพิจารณารู้อย่างนี้ว่า ‘เราเมื่อรับอธิกรณ์นี้ไว้ อธิกรณ์นั้นจะไม่
เป็นเหตุให้สงฆ์บาดหมาง ทะเลาะแก่งแย่ง วิวาท สงฆ์แตกกัน สงฆ์ร้าวราน สงฆ์
แบ่งแยกสงฆ์เป็นต่าง ๆ กัน’ ควรรับอธิกรณ์นั้น
อุบาลี อธิกรณ์ซึ่งประกอบด้วยองค์ ๕ ที่ภิกษุรับแล้วจักไม่กระทำให้เดือดร้อน
ในภายหลัง ด้วยประการฉะนี้”

องค์ของภิกษุผู้มีอุปการะมาก
[๔๔๑] ท่านพระอุบาลีทูลถามว่า “ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์เท่าไรหนอแล
เป็นผู้มีอุปการะมากแก่พวกภิกษุก่ออธิกรณ์ พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ เป็นผู้มีอุปการะ
มากแก่พวกภิกษุก่ออธิกรณ์ องค์ ๕ คือ
๑. เป็นผู้มีศีล สำรวมด้วยการสังวรในปาติโมกข์ เพียบพร้อมด้วย
อาจาระและโคจรอยู่ มีปกติเห็นภัยในโทษแม้เล็กน้อย สมาทาน
ศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย
๒. เป็นพหูสูต ทรงสุตะ สั่งสมสุตะ ธรรมเหล่านั้นใดที่งามในเบื้องต้น
งามในท่ามกลาง และงามในที่สุด ย่อมสรรเสริญพรหมจรรย์พร้อม
ทั้งอรรถพร้อมทั้งพยัญชนะ ธรรมทั้งหลายเห็นปานนี้ ย่อมเป็นอัน
เธอสดับมาก ทรงไว้ สั่งสมด้วยวาจาเข้าไปเพ่งด้วยใจ ประจักษ์ชัดดี
แล้วด้วยทิฏฐิ
๓. จำปาติโมกข์ทั้ง ๒ โดยพิสดารได้ดี จำแนกได้ดี คล่องแคล่วดี
วินิจฉัยโดยสุตตะ โดยอนุพยัญชนะได้ดี
๔. เป็นผู้ตั้งมั่นในพระวินัย ไม่คลอนแคลน
๕. เป็นผู้อาจชี้แจงให้คู่ต่อสู้ในอธิกรณ์ยินยอมเข้าใจ เพ่ง เห็น เลื่อมใส
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล เป็นผู้มีอุปการะมากแก่ภิกษุพวกก่อ
อธิกรณ์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๖๒๒ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [อุปาลิปัญจกะ] ๕. อัตตาทานวรรค
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อีกอย่าง เป็นผู้มีอุปการะมากแก่
พวกภิกษุก่ออธิกรณ์ องค์ ๕ คือ
๑. เป็นผู้มีความประพฤติทางกายบริสุทธิ์
๒. เป็นผู้มีความประพฤติทางวาจาบริสุทธิ์
๓. เป็นผู้มีอาชีวะบริสุทธิ์
๔. เป็นบัณฑิต ฉลาด
๕. ถูกซักถาม อาจให้คำตอบข้อซักถาม
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล เป็นผู้มีอุปการะมากแก่พวกภิกษุก่อ
อธิกรณ์
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อีกอย่าง เป็นผู้มีอุปการะมากแก่พวก
ภิกษุก่ออธิกรณ์ องค์ ๕ คือ

๑. รู้วัตถุ ๒. รู้นิทาน
๓. รู้พระบัญญัติ ๔. รู้บทที่ตกหล่นในภายหลัง
๕. รู้ถ้อยคำอันเกี่ยวเนื่องกันได้

อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล เป็นผู้มีอุปการะมากแก่พวกภิกษุ
ก่ออธิกรณ์”

องค์ของภิกษุผู้ไม่ควรซักถาม
[๔๔๒] ท่านพระอุบาลีทูลถามว่า “ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์เท่าไรหนอแล
ไม่ควรซักถาม พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ ไม่ควรซักถาม
องค์ ๕ คือ

๑. ไม่รู้พระสูตร ๒. ไม่รู้ข้ออนุโลมพระสูตร
๓. ไม่รู้พระวินัย ๔. ไม่รู้ข้ออนุโลมพระวินัย

๕. ไม่ฉลาดในฐานะอันควรและฐานะอันไม่ควร
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ไม่ควรซักถาม

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๖๒๓ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [อุปาลิปัญจกะ] ๕. อัตตาทานวรรค
องค์ของภิกษุผู้ควรซักถาม
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ ควรซักถาม องค์ ๕ คือ
๑. รู้พระสูตร ๒. รู้ข้ออนุโลมพระสูตร
๓. รู้พระวินัย ๔. รู้ข้ออนุโลมพระวินัย
๕. ฉลาดในฐานะอันควรและฐานะอันไม่ควร
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ควรซักถาม

องค์ของภิกษุผู้ไม่ควรซักถาม อีกนัยหนึ่ง
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อีกอย่าง ไม่ควรซักถาม องค์ ๕ คือ
๑. ไม่รู้พระธรรม ๒. ไม่รู้ข้ออนุโลมพระธรรม
๓. ไม่รู้พระวินัย ๔. ไม่รู้ข้ออนุโลมพระวินัย
๕. ไม่ฉลาดในคำต้นและคำหลัง
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ไม่ควรซักถาม

องค์ของภิกษุผู้ควรซักถาม
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ ควรซักถาม องค์ ๕ คือ
๑. รู้พระธรรม ๒. รู้ข้ออนุโลมพระธรรม
๓. รู้พระวินัย ๔. รู้ข้ออนุโลมพระวินัย
๕. ฉลาดในคำต้นและคำหลัง
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ควรซักถาม

องค์ของภิกษุผู้ไม่ควรซักถาม อีกนัยหนึ่ง
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อีกอย่าง ไม่ควรซักถาม องค์ ๕ คือ

๑. ไม่รู้วัตถุ ๒. ไม่รู้นิทาน
๓. ไม่รู้พระบัญญัติ ๔. ไม่รู้บทที่ตกหล่นในภายหลัง
๕. ไม่รู้ถ้อยคำอันเกี่ยวเนื่องกันได้

อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ไม่ควรซักถาม

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๖๒๔ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [อุปาลิปัญจกะ] ๕. อัตตาทานวรรค
องค์ของภิกษุผู้ควรซักถาม
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ ควรซักถาม องค์ ๕ คือ
๑. รู้วัตถุ ๒. รู้นิทาน
๓. รู้บัญญัติ ๔. รู้บทที่ตกหล่นในภายหลัง
๕. รู้ถ้อยคำอันเกี่ยวเนื่องกันได้
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ควรซักถาม

องค์ของภิกษุผู้ไม่ควรซักถาม อีกนัยหนึ่ง
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อีกอย่าง ไม่ควรซักถาม องค์ ๕ คือ

๑. ไม่รู้อาบัติ ๒. ไม่รู้สมุฏฐานแห่งอาบัติ
๓. ไม่รู้ประโยคแห่งอาบัติ ๔. ไม่รู้ความระงับอาบัติ
๕. ไม่ฉลาดในการวินิจฉัยอาบัติ

อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ไม่ควรซักถาม

องค์ของภิกษุผู้ควรซักถาม
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ ควรซักถาม องค์ ๕ คือ

๑. รู้อาบัติ ๒. รู้สมุฏฐานแห่งอาบัติ
๓. รู้ประโยคแห่งอาบัติ ๔. รู้ความระงับอาบัติ
๕. ฉลาดในการวินิจฉัยอาบัติ

อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ควรซักถาม

องค์ของภิกษุผู้ไม่ควรซักถาม อีกนัยหนึ่ง
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อีกอย่าง ไม่ควรซักถาม องค์ ๕ คือ

๑. ไม่รู้อธิกรณ์ ๒. ไม่รู้สมุฏฐานแห่งอธิกรณ์
๓. ไม่รู้ประโยคแห่งอธิกรณ์ ๔. ไม่รู้ความระงับอธิกรณ์
๕. ไม่ฉลาดในการวินิจฉัยอธิกรณ์

อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ไม่ควรซักถาม

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๖๒๕ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [อุปาลิปัญจกะ] ๖. ธุดงควรรค
องค์ของภิกษุผู้ควรซักถาม
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ ควรซักถาม องค์ ๕ คือ

๑. รู้อธิกรณ์ ๒. รู้สมุฏฐานแห่งอธิกรณ์
๓. รู้ประโยคแห่งอธิกรณ์ ๔. รู้ความระงับอธิกรณ์
๕. ฉลาดในการวินิจฉัยอธิกรณ์

อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ควรซักถาม”
อัตตาทานวรรคที่ ๕ จบ

หัวข้อประจำวรรค
ภิกษุผู้มีความประพฤติทางกาย วาจาบริสุทธิ์
ภิกษุผู้กล่าวโดยกาล มีความการุญ ควรเป็นผู้โจทก์
การทำโอกาส การรับอธิกรณ์ อธิกรณ์และการรับอธิกรณ์อีกนัยหนึ่ง
ภิกษุผู้รู้วัตถุ รู้พระสูตร รู้ธรรม รู้วัตถุอีกนัยหนึ่ง รู้อาบัติ รู้อธิกรณ์

๖. ธุดงควรรค
หมวดว่าด้วยธุดงค์

ถืออยู่ป่า เป็นต้น
[๔๔๓] ท่านพระอุบาลีทูลถามว่า “ภิกษุผู้ถืออยู่ป่ามีเท่าไรหนอแล พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อุบาลี ภิกษุผู้ถืออยู่ป่านี้มี ๕ จำพวก คือ
๑. เพราะเป็นผู้โง่เขลางมงาย จึงอยู่ป่า
๒. เป็นผู้มีความปรารถนาเลวทราม ถูกความอยากครอบงำ จึงอยู่ป่า
๓. เพราะมัวเมา จิตฟุ้งซ่าน จึงอยู่ป่า
๔. เพราะเข้าใจว่า พระพุทธเจ้า พระสาวกพระพุทธเจ้าสรรเสริญ จึงอยู่ป่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๖๒๖ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [อุปาลิปัญจกะ] ๖. ธุดงควรรค
๕. เพราะอาศัยความมักน้อย สันโดษ ขัดเกลา ความเงียบสงัดและ
เพราะอาศัยว่า การอยู่ป่ามีประโยชน์ด้วยการปฏิบัติอันงามนี้ จึงอยู่ป่า
อุบาลี ภิกษุผู้ถืออยู่ป่ามี ๕ จำพวก นี้แล
ท่านพระอุบาลีทูลถามว่า “ภิกษุผู้ถือเที่ยวบิณฑบาตมีเท่าไรหนอแล พระ
พุทธเจ้าข้า ฯลฯ ภิกษุผู้ถือผ้าบังสุกุลมีเท่าไรหนอแล พระพุทธเจ้าข้า ฯลฯ ภิกษุ
ผู้ถืออยู่โคนไม้มีเท่าไรหนอแล พระพุทธเจ้าข้า ฯลฯ ภิกษุผู้ถืออยู่ป่าช้ามีเท่าไรหนอแล
พระพุทธเจ้าข้า ฯลฯ ภิกษุผู้ถืออยู่กลางแจ้งมีเท่าไรหนอแล พระพุทธเจ้าข้า ฯลฯ
ภิกษุผู้ถือทรงผ้า ๓ ผืนมีเท่าไรหนอแล พระพุทธเจ้าข้า ฯลฯ ภิกษุผู้ถือเที่ยวตาม
แถวมีเท่าไรหนอแล พระพุทธเจ้าข้า ฯลฯ ภิกษุผู้ถือการนั่งมีเท่าไรหนอแล พระ
พุทธเจ้าข้า ฯลฯ ภิกษุผู้ถืออยู่ในอาสนะตามที่จัดไว้มีเท่าไรหนอแล พระพุทธเจ้าข้า
ฯลฯ ภิกษุผู้ถือนั่งฉัน ณ อาสนะแห่งเดียวมีเท่าไรหนอแล พระพุทธเจ้าข้า ฯลฯ
ภิกษุผู้ถือการห้ามภัตรที่เขานำมาถวายเมื่อภายหลังมีเท่าไรหนอแล พระพุทธเจ้าข้า
ฯลฯ ภิกษุผู้ถือการฉันเฉพาะในบาตรมีเท่าไรหนอแล พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อุบาลี ภิกษุผู้ถือการฉันเฉพาะในบาตรนี้มี ๕ จำพวก
๕ จำพวก คือ
๑. เพราะเป็นผู้โง่เขลา งมงาย จึงถือการฉันเฉพาะในบาตร
๒. เป็นผู้มีความปรารถนาเลวทราม ถูกความอยากครอบงำ จึงถือ
การฉันเฉพาะในบาตร
๓. เพราะมัวเมา จิตฟุ้งซ่าน จึงถือการฉันเฉพาะในบาตร
๔. เพราะเข้าใจว่า พระพุทธเจ้า พระสาวกของพระพุทธเจ้าสรรเสริญ
จึงถือการฉันเฉพาะในบาตร
๕. เพราะอาศัยความมักน้อย สันโดษ ขัดเกลา ความเงียบสงัดและ
เพราะอาศัยว่า การฉันเฉพาะในบาตร มีประโยชน์อันงามนี้ จึงถือ
การฉันเฉพาะในบาตร
อุบาลี ภิกษุผู้ถือการฉันเฉพาะในบาตรมี ๕ จำพวก นี้แล”
ธุดงควรรคที่ ๖ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๖๒๗ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [อุปาลิปัญจกะ] ๗. มุสาวาทวรรค
หัวข้อประจำวรรค
ภิกษุถืออยู่ป่า ถือเที่ยวบิณฑบาต ถือผ้าบังสุกุล ถืออยู่โคนไม้
ถืออยู่ป่าช้า ถืออยู่ในที่กลางแจ้ง ถือทรงผ้า ๓ ผืน
ถือเที่ยวตามแถว ถือการนั่ง ถืออยู่ในอาสนะตามที่จัดไว้
ถือนั่งฉัน ณ อาสนะแห่งเดียว ถือการห้ามภัตรที่เขานำมาถวาย
เมื่อภายหลัง ถือฉันเฉพาะในบาตร

๗. มุสาวาทวรรค
หมวดว่าด้วยมุสาวาท
[๔๔๔] ท่านพระอุบาลีทูลถามว่า “มุสาวาทมีเท่าไรหนอแล พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อุบาลี มุสาวาทนี้มี ๕ อย่าง คือ
๑. มุสาวาทที่ถึงขั้นอาบัติปาราชิกมีอยู่
๒. มุสาวาทที่ถึงขั้นอาบัติสังฆาทิเสสมีอยู่
๓. มุสาวาทที่ถึงขั้นอาบัติถุลลัจจัยมีอยู่
๔. มุสาวาทที่ถึงขั้นอาบัติปาจิตตีย์มีอยู่
๕. มุสาวาทที่ถึงขั้นอาบัติทุกกฏมีอยู่
อุบาลี มุสาวาทมี ๕ อย่าง นี้แล”

งดอุโบสถหรือปวารณา
[๔๔๕] ท่านพระอุบาลีทูลถามว่า “ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์เท่าไรหนอแล
งดอุโบสถหรือปวารณาในท่ามกลางสงฆ์ สงฆ์พึงกล่าวห้ามว่า ‘พอที ภิกษุ อย่า
ทุ่มเถียงกัน อย่าทะเลาะกัน อย่าแก่งแย่งกัน อย่าวิวาทกัน’ ดังนี้ แล้วจึงทำ
อุโบสถหรือปวารณา พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ งดอุโบสถหรือ
ปวารณาในท่ามกลางสงฆ์ สงฆ์พึงกล่าวห้ามว่า ‘พอที ภิกษุ อย่าทุ่มเถียงกัน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๖๒๘ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [อุปาลิปัญจกะ] ๗. มุสาวาทวรรค
อย่าทะเลาะกัน อย่าแก่งแย่งกัน อย่าวิวาทกัน’ ดังนี้ แล้วทำอุโบสถหรือปวารณา
องค์ ๕ คือ

๑. เป็นอลัชชี ๒. เป็นคนโง่เขลา
๓. ไม่ใช่เป็นปกตัตตะ ๔. เป็นผู้กล่าวประสงค์จะให้เคลื่อน
จากศาสนา

๕. ไม่เป็นผู้กล่าวประสงค์จะให้ออกจากอาบัติ
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล งดอุโบสถหรือปวารณาในท่ามกลางสงฆ์
สงฆ์พึงกล่าวห้ามว่า ‘พอที ภิกษุ อย่าทุ่มเถียงกัน อย่าทะเลาะกัน อย่าแก่งแย่งกัน
อย่าวิวาทกัน’ ดังนี้ แล้วทำอุโบสถหรือปวารณา
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อีกอย่าง งดอุโบสถหรือปวารณาในท่าม
กลางสงฆ์ สงฆ์พึงกล่าวห้ามว่า ‘พอที ภิกษุ อย่าทุ่มเถียงกัน อย่าทะเลาะกัน
อย่าแก่งแย่งกัน อย่าวิวาทกัน’ ดังนี้ แล้วทำอุโบสถหรือปวารณา องค์ ๕ คือ
๑. เป็นผู้มีความประพฤติทางกายไม่บริสุทธิ์
๒. เป็นผู้มีความประพฤติทางวาจาไม่บริสุทธิ์
๓. เป็นผู้มีอาชีวะไม่บริสุทธิ์
๔. เป็นคนโง่เขลา ไม่ฉลาด
๕. เป็นผู้ก่อความบาดหมาง ก่อความทะเลาะ
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล งดอุโบสถหรือปวารณาในท่ามกลางสงฆ์
สงฆ์พึงกล่าวห้ามว่า ‘พอที ภิกษุ อย่าทุ่มเถียงกัน อย่าทะเลาะกัน อย่าแก่งแย่งกัน
อย่าวิวาทกัน’ ดังนี้ แล้วทำอุโบสถหรือปวารณา”

องค์ของภิกษุผู้ไม่ควรให้คำซักถาม
[๔๔๖] ท่านพระอุบาลีทูลถามว่า “ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์เท่าไรหนอแล สงฆ์
ไม่ควรให้คำซักถาม พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ สงฆ์ไม่ควรให้
คำซักถาม องค์ ๕ คือ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๖๒๙ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [อุปาลิปัญจกะ] ๗. มุสาวาทวรรค
๑. ไม่รู้อาบัติและอนาบัติ
๒. ไม่รู้อาบัติเบาและอาบัติหนัก
๓. ไม่รู้อาบัติมีส่วนเหลือและอาบัติไม่มีส่วนเหลือ
๔. ไม่รู้อาบัติชั่วหยาบและอาบัติไม่ชั่วหยาบ
๕. ไม่รู้อาบัติที่ทำคืนได้และทำคืนไม่ได้
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล สงฆ์ไม่ควรให้คำซักถาม

องค์ของภิกษุผู้ควรให้คำซักถาม
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ สงฆ์ควรให้คำซักถาม องค์ ๕ คือ
๑. รู้อาบัติและอนาบัติ
๒. รู้อาบัติเบาและอาบัติหนัก
๓. รู้อาบัติมีส่วนเหลือและอาบัติไม่มีส่วนเหลือ
๔. รู้อาบัติชั่วหยาบและอาบัติไม่ชั่วหยาบ
๕. รู้อาบัติที่ทำคืนได้และทำคืนไม่ได้
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล สงฆ์ควรให้คำซักถาม”

ภิกษุต้องอาบัติด้วยอาการ ๕ อย่าง
[๔๔๗] ท่านพระอุบาลีทูลถามว่า “ภิกษุต้องอาบัติด้วยอาการเท่าไรหนอแล
พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อุบาลี ภิกษุต้องอาบัติด้วยอาการ ๕ อย่าง คือ

๑. เพราะไม่ละอาย ๒. เพราะไม่รู้
๓. เพราะสงสัยแล้วขืนทำ ๔. เพราะสำคัญในของที่ไม่ควร
ว่าควร
๕. เพราะสำคัญในของที่ควรว่าไม่ควร

อุบาลี ภิกษุต้องอาบัติด้วยอาการ ๕ นี้แล

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๖๓๐ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [อุปาลิปัญจกะ] ๗. มุสาวาทวรรค
อุบาลี ภิกษุต้องอาบัติด้วยอาการแม้อื่นอีก ๕ อย่าง คือ

๑. ไม่ได้เห็น ๒. ไม่ได้ฟัง
๓. หลับ ๔. เข้าใจว่าเป็นเช่นนั้น
๕. ลืมสติ

อุบาลี ภิกษุต้องอาบัติด้วยอาการ ๕ นี้แล”

เวร ๕๑
[๔๔๘] ท่านพระอุบาลีทูลถามว่า “เวรมีเท่าไรหนอแล พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อุบาลี เวรนี้มี ๕ อย่าง คือ

๑. ฆ่าสัตว์มีชีวิต ๒. ถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ให้
๓. ประพฤติผิดในกาม ๔. พูดเท็จ

๕. ดื่มน้ำเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นเหตุแห่งความประมาท
อุบาลี เวร ๕ นี้แล”

งดเว้นเวร ๕๒
ท่านพระอุบาลีทูลถามว่า “เจตนางดเว้นจากเวรมีเท่าไรหนอแล พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อุบาลี เจตนางดเว้นจากเวรนี้มี ๕ คือ
๑. เจตนางดเว้นจากฆ่าสัตว์มีชีวิต
๒. เจตนางดเว้นจากถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ให้
๓. เจตนางดเว้นจากประพฤติผิดในกาม
๔. เจตนางดเว้นจากพูดเท็จ
๕. เจตนางดเว้นจากเหตุเป็นที่ตั้งความประมาท เพราะดื่มน้ำเมาคือสุรา
และเมรัย
อุบาลี เจตนางดเว้นจากเวร ๕ นี้แล”

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ องฺ.ปญฺจก. (แปล) ๒๒/๑๗๔/๒๙๐
๒ ที.ปา. (แปล) ๑๑/๓๑๕/๓๐๒-๓๐๓

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๖๓๑ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [อุปาลิปัญจกะ] หัวข้อประจำวรรค
ความเสื่อม ๕
[๔๔๙] ท่านพระอุบาลีทูลถามว่า “ความเสื่อมมีเท่าไรหนอแล พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อุบาลี ความเสื่อมนี้มี ๕ อย่าง คือ

๑. ความเสื่อมญาติ ๒. ความเสื่อมโภคสมบัติ
๓. ความเสื่อมคือโรค ๔. ความเสื่อมศีล
๕. ความเสื่อมทิฏฐิ

อุบาลี ความเสื่อมมี ๕ อย่างนี้แล”

สัมปทา ๕
ท่านพระอุบาลีทูลถามว่า “ความถึงพร้อมมีเท่าไรหนอแล พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อุบาลี ความถึงพร้อมนี้มี ๕ อย่าง คือ
๑. ญาติสัมปทา(ความถึงพร้อมแห่งญาติ)
๒. โภคสัมปทา(ความถึงพร้อมแห่งโภคะ)
๓. อาโรคยสัมปทา(ความถึงพร้อมแห่งความไม่มีโรค)
๔. สีลสัมปทา(ความถึงพร้อมแห่งศีล)
๕. ทิฏฐิสัมปทา(ความถึงพร้อมแห่งความเห็น)
อุบาลี ความถึงพร้อมมี ๕ อย่างนี้แล”
มุสาวาทวรรคที่ ๗ จบ

หัวข้อประจำวรรค
การกล่าวมุสาวาท การกล่าวห้าม การกล่าวห้าม
อีกนัยหนึ่ง คำซักถาม อาบัติ อาบัติอีกนัยหนึ่ง
เวร เจตนางดเว้นจากเวร ความเสื่อม สัมปทา
จัดเป็นวรรคที่ ๗

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๖๓๒ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [อุปาลิปัญจกะ] ๘. ภิกขุโนวาทวรรค
๘. ภิกขุโนวาทวรรค
หมวดว่าด้วยการให้โอวาทภิกษุณี

องค์สำหรับลงโทษ
[๔๕๐] ท่านพระอุบาลีทูลถามว่า “ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์เท่าไรหนอแล
ภิกษุณีสงฆ์ฝ่ายเดียวพึงลงโทษได้ พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ ภิกษุณีสงฆ์ฝ่าย
เดียวพึงลงโทษ คือภิกษุณีสงฆ์ไม่พึงไหว้ภิกษุนั้น องค์ ๕ คือ
๑. เปิดกายแสดงแก่ภิกษุณีทั้งหลาย
๒. เปิดขาอ่อนแสดงแก่ภิกษุณีทั้งหลาย
๓. เปิดองคชาตแสดงแก่ภิกษุณีทั้งหลาย
๔. เปิดไหล่ทั้งสองแสดงแก่ภิกษุณีทั้งหลาย
๕. ชักชวนคฤหัสถ์ให้มาคบหารักกับภิกษุณี
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ภิกษุณีสงฆ์ฝ่ายเดียวพึงลงโทษ
คือภิกษุณีสงฆ์ไม่พึงไหว้ภิกษุนั้น
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อื่นอีก ภิกษุณีสงฆ์ฝ่ายเดียวพึงลงโทษ
คือภิกษุณีสงฆ์ไม่พึงไหว้ภิกษุนั้น องค์ ๕ คือ
๑. ขวนขวายเพื่อไม่ใช่ลาภของภิกษุณีทั้งหลาย
๒. ขวนขวายเพื่อไม่ใช่ประโยชน์ของภิกษุณีทั้งหลาย
๓. ขวนขวายเพื่อความอยู่ไม่ได้ของภิกษุณีทั้งหลาย
๔. ด่าบริภาษภิกษุณีทั้งหลาย
๕. ยุยงภิกษุณีทั้งหลายให้แตกกัน
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ภิกษุณีสงฆ์ฝ่ายเดียวพึงลงโทษ คือ
ภิกษุณีสงฆ์ไม่พึงไหว้ภิกษุนั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๖๓๓ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [อุปาลิปัญจกะ] ๘. ภิกขุโนวาทวรรค
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อื่นอีก ภิกษุณีสงฆ์ฝ่ายเดียวพึงลงโทษ
คือภิกษุณีสงฆ์ไม่พึงไหว้ภิกษุนั้น องค์ ๕ คือ
๑. ขวนขวายเพื่อไม่ใช่ลาภของภิกษุณีทั้งหลาย
๒. ขวนขวายเพื่อไม่ใช่ประโยชน์ของภิกษุณีทั้งหลาย
๓. ขวนขวายเพื่อความอยู่ไม่ได้ของภิกษุณีทั้งหลาย
๔. ด่าบริภาษภิกษุณีทั้งหลาย
๕. ชักชวนภิกษุให้มาคบหารักกับภิกษุณี
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ภิกษุณีสงฆ์ฝ่ายเดียวพึงลงโทษ คือ
ภิกษุณีสงฆ์ไม่พึงไหว้ภิกษุนั้น”

องค์สำหรับลงโทษภิกษุณี
[๔๕๑] ท่านพระอุบาลีทูลถามว่า “ภิกษุณีประกอบด้วยองค์เท่าไรหนอแล สงฆ์
พึงลงโทษได้ พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อุบาลี ภิกษุณีประกอบด้วยองค์ ๕ สงฆ์พึงลงโทษ
องค์ ๕ คือ
๑. เปิดกายแสดงแก่ภิกษุทั้งหลาย
๒. เปิดขาอ่อนแสดงแก่ภิกษุทั้งหลาย
๓. เปิดองค์กำเนิดแสดงแก่ภิกษุทั้งหลาย
๔. เปิดไหล่ทั้งสองแสดงแก่ภิกษุทั้งหลาย
๕. ชักชวนสตรีคฤหัสถ์ให้มาคบหารักกับภิกษุ
อุบาลี สงฆ์พึงลงโทษภิกษุณีประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล
อุบาลี สงฆ์พึงลงโทษภิกษุณีประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อื่นอีก องค์ ๕ คือ
๑. ขวนขวายเพื่อไม่ใช่ลาภของภิกษุทั้งหลาย
๒. ขวนขวายเพื่อไม่ใช่ประโยชน์ของภิกษุทั้งหลาย
๓. ขวนขวายเพื่อความอยู่ไม่ได้ของภิกษุทั้งหลาย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๖๓๔ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [อุปาลิปัญจกะ] ๘. ภิกขุโนวาทวรรค
๔. ด่าบริภาษภิกษุทั้งหลาย
๕. ยุยงภิกษุทั้งหลายให้แตกกัน
อุบาลี สงฆ์พึงลงโทษภิกษุณีประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล
อุบาลี สงฆ์พึงลงโทษภิกษุณีประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อื่นอีก คือ
๑. ขวนขวายเพื่อไม่ใช่ลาภของภิกษุทั้งหลาย
๒. ขวนขวายเพื่อไม่ใช่ประโยชน์ของภิกษุทั้งหลาย
๓. ขวนขวายเพื่อความอยู่ไม่ได้ของภิกษุทั้งหลาย
๔. ด่าบริภาษภิกษุทั้งหลาย
๕. ชักชวนภิกษุณีให้มาคบหารักกับภิกษุ
อุบาลี สงฆ์พึงลงโทษภิกษุณีประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล”

องค์ของภิกษุไม่ควรให้โอวาท
[๔๕๒] ท่านพระอุบาลีทูลถามว่า “ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์เท่าไรหนอแล ไม่ควร
ให้โอวาทแก่ภิกษุณีทั้งหลาย พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ ไม่ควรให้โอวาท
แก่ภิกษุณีทั้งหลาย องค์ ๕ คือ

๑. เป็นอลัชชี ๒. เป็นคนโง่เขลา
๓. ไม่ใช่เป็นปกตัตตะ ๔. เป็นผู้กล่าวประสงค์จะให้เคลื่อน
จากศาสนา

๕. ไม่เป็นผู้กล่าวประสงค์จะให้ออกจากอาบัติ
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ไม่ควรให้โอวาทแก่ภิกษุณีทั้งหลาย
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อื่นอีก ไม่ควรให้โอวาทแก่ภิกษุณีทั้งหลาย
องค์ ๕ คือ
๑. เป็นผู้มีความประพฤติทางกายไม่บริสุทธิ์
๒. เป็นผู้มีความประพฤติทางวาจาไม่บริสุทธิ์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๖๓๕ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [อุปาลิปัญจกะ] ๘. ภิกขุโนวาทวรรค
๓. เป็นผู้มีอาชีวะไม่บริสุทธิ์
๔. เป็นคนโง่เขลา ไม่ฉลาด
๕. ถูกซักถาม ไม่อาจตอบข้อซักถาม
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ไม่ควรให้โอวาทแก่ภิกษุณีทั้งหลาย
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อื่นอีก ไม่ควรให้โอวาทแก่ภิกษุณีทั้งหลาย
องค์ ๕ คือ

๑. ประพฤติไม่สมควรทางกาย ๒. ประพฤติไม่สมควรทางวาจา
๓. ประพฤติไม่สมควรทั้งทางกาย ๔. ด่าบริภาษภิกษุณีทั้งหลาย
และวาจา

๕. เป็นผู้อยู่คลุกคลีกับภิกษุณีทั้งหลายด้วยการคลุกคลีอันไม่สมควร
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ไม่ควรให้โอวาทแก่ภิกษุณีทั้งหลาย
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อื่นอีก ไม่ควรให้โอวาทแก่ภิกษุณีทั้งหลาย
องค์ ๕ คือ

๑. เป็นอลัชชี ๒. เป็นคนโง่เขลา
๓. ไม่ใช่เป็นปกตัตตะ ๔. เป็นผู้ก่อความบาดหมาง ก่อ
ความทะเลาะ
๕. เป็นผู้ไม่ทำสิกขาให้บริบูรณ์

อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ไม่ควรให้โอวาทแก่ภิกษุณีทั้งหลาย

องค์ของภิกษุผู้ไม่ควรรับให้โอวาท
[๔๕๓] ท่านพระอุบาลีทูลถามว่า “ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์เท่าไรหนอแล ไม่
ควรรับให้โอวาทแก่ภิกษุณทั้งหลาย พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ ไม่ควรรับให้
โอวาทแก่ภิกษุณีทั้งหลาย องค์ ๕ คือ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๖๓๖ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [อุปาลิปัญจกะ] ๘. ภิกขุโนวาทวรรค

๑. ประพฤติไม่สมควรทางกาย ๒. ประพฤติไม่สมควรทางวาจา
๓. ประพฤติไม่สมควรทั้งทางกาย ๔. ด่าบริภาษภิกษุณีทั้งหลาย
และวาจา

๕. เป็นผู้อยู่คลุกคลีกับภิกษุณีทั้งหลายด้วยการคลุกคลีอันไม่สมควร
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ไม่ควรรับให้โอวาทแก่ภิกษุณีทั้งหลาย
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อื่นอีก ไม่ควรรับให้โอวาทแก่ภิกษุณี
ทั้งหลาย องค์ ๕ คือ

๑. เป็นอลัชชี ๒. เป็นคนโง่เขลา
๓. ไม่ใช่เป็นปกตัตตะ ๔. เป็นผู้กำลังจะเดินทาง
๕. เป็นไข้

อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ไม่ควรรับให้โอวาทแก่ภิกษุณีทั้งหลาย

องค์ของภิกษุผู้ไม่ควรสนทนาด้วย
[๔๕๔] ท่านพระอุบาลีทูลถามว่า “ภิกษุทั้งหลายไม่ควรสนทนากับภิกษุผู้
ประกอบด้วยองค์เท่าไรหนอแล พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อุบาลี ภิกษุทั้งหลายไม่ควรสนทนากับภิกษุผู้ประกอบ
ด้วยองค์ ๕ องค์ ๕ คือ
๑. ไม่ประกอบด้วยสีลขันธ์อันเป็นอเสขะ
๒. ไม่ประกอบด้วยสมาธิขันธ์อันเป็นอเสขะ
๓. ไม่ประกอบด้วยปัญญาขันธ์อันเป็นอเสขะ
๔. ไม่ประกอบด้วยวิมุตติขันธ์อันเป็นอเสขะ
๕. ไม่ประกอบด้วยวิมุตติญาณทัสสนขันธ์อันเป็นอเสขะ
อุบาลี ภิกษุทั้งหลายไม่ควรสนทนากับภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๖๓๗ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [อุปาลิปัญจกะ] ๘. ภิกขุโนวาทวรรค
องค์ของภิกษุผู้ควรสนทนาด้วย
ท่านพระอุบาลีทูลถามว่า “ภิกษุทั้งหลายควรสนทนากับภิกษุผู้ประกอบด้วย
องค์เท่าไรหนอแล พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อุบาลี ภิกษุทั้งหลายควรสนทนากับภิกษุผู้ประกอบ
ด้วยองค์ ๕ องค์ ๕ คือ
๑. ประกอบด้วยสีลขันธ์อันเป็นอเสขะ
๒. ประกอบด้วยสมาธิขันธ์อันเป็นอเสขะ
๓. ประกอบด้วยปัญญาขันธ์อันเป็นอเสขะ
๔. ประกอบด้วยวิมุตติขันธ์อันเป็นอเสขะ
๕. ประกอบด้วยวิมุตติญาณทัสสนขันธ์อันเป็นอเสขะ
อุบาลี ภิกษุทั้งหลายควรสนทนากับภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล

องค์ของภิกษุผู้ไม่ควรสนทนาด้วย อีกนัยหนึ่ง
อุบาลี ภิกษุทั้งหลายไม่ควรสนทนากับภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อีกอย่าง
องค์ ๕ คือ
๑. ไม่เป็นผู้บรรลุอัตถปฏิสัมภิทา(ปัญญาแตกฉานในอรรถ)
๒. ไม่เป็นผู้บรรลุธัมมปฏิสัมภิทา(ปัญญาแตกฉานในธรรม)
๓. ไม่เป็นผู้บรรลุนิรุตติปฏิสัมภิทา(ปัญญาแตกฉานในนิรุกติ)
๔. ไม่เป็นผู้บรรลุปฏิภาณปฏิสัมภิทา(ปัญญาแตกฉานในปฏิภาณ)
๕. ไม่พิจารณาจิตตามที่หลุดพ้นแล้ว
อุบาลี ภิกษุทั้งหลายไม่ควรสนทนากับภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล

องค์ของภิกษุผู้ควรสนทนาด้วย
อุบาลี ภิกษุทั้งหลายควรสนทนากับภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ องค์ ๕ คือ
๑. เป็นผู้บรรลุอัตถปฏิสัมภิทา
๒. เป็นผู้บรรลุธัมมปฏิสัมภิทา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๖๓๘ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [อุปาลิปัญจกะ] ๙. อุพพาหิกวรรค
๓. เป็นผู้บรรลุนิรุตติปฏิสัมภิทา
๔. เป็นผู้บรรลุปฏิภาณปฏิสัมภิทา
๕. พิจารณาจิตตามที่หลุดพ้นแล้ว
อุบาลี ภิกษุทั้งหลายควรสนทนากับภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล”
ภิกขุโนวาทวรรคที่ ๘ จบ

หัวข้อประจำวรรค
ภิกษุณีสงฆ์ฝ่ายเดียวพึงลงโทษ ภิกษุณีพึงลงโทษอีก ๒ นัย
ลงโทษภิกษุณี ๓ นัย ไม่ให้โอวาท
ไม่ให้โอวาทอีก ๒ นัย ไม่รับให้โอวาทที่ตรัสไว้ ๒ นัย
ภิกษุผู้ควรสนทนาที่ตรัสไว้ ๒ นัย

๙. อุพพาหิกวรรค
หมวดว่าด้วยอุพพาหิกสมมติ

ไม่แต่งตั้งด้วยอุพพาหิกา
[๔๕๕] ท่านพระอุบาลีทูลถามว่า “ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์เท่าไรหนอแล
สงฆ์ไม่พึงแต่งตั้งด้วยอุพพาหิกา พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ สงฆ์ไม่พึงแต่งตั้ง
ด้วยอุพพาหิกา องค์ ๕ คือ

๑. ไม่ฉลาดในอรรถ ๒. ไม่ฉลาดในธรรม
๓. ไม่ฉลาดในการกล่าวด้วยภาษา ๔. ไม่ฉลาดในกระบวนอักษร
๕. ไม่ฉลาดในคำต้นและคำหลัง

อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล สงฆ์ไม่พึงแต่งตั้งด้วยอุพพาหิกา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๖๓๙ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [อุปาลิปัญจกะ] ๙. อุพพาหิกวรรค
แต่งตั้งด้วยอุพพาหิกา
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ สงฆ์พึงแต่งตั้งด้วยอุพพาหิกา องค์ ๕ คือ

๑. ฉลาดในอรรถ ๒. ฉลาดในธรรม
๓. ฉลาดในการกล่าวด้วยภาษา ๔. ฉลาดในกระบวนอักษร
๕. ฉลาดในคำต้นและคำหลัง

อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล สงฆ์พึงแต่งตั้งด้วยอุพพาหิกา

ไม่แต่งตั้งด้วยอุพพาหิกา อีกนัยหนึ่ง
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อื่นอีก สงฆ์ไม่พึงแต่งตั้งด้วยอุพพาหิกา องค์ ๕ คือ
๑. เป็นผู้มักโกรธ ถูกความโกรธครอบงำ
๒. เป็นผู้ลบหลู่ ถูกความลบหลู่ครอบงำ
๓. เป็นผู้ตีเสมอ ถูกความตีเสมอครอบงำ
๔. เป็นผู้มีปกติริษยา ถูกความริษยาครอบงำ
๕. เป็นผู้ยึดมั่นทิฏฐิของตน มีความถือรั้น สละสิ่งที่ตนยึดมั่นได้ยาก
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล สงฆ์ไม่พึงแต่งตั้งด้วยอุพพาหิกา

แต่งตั้งด้วยอุพพาหิกา
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ สงฆ์พึงแต่งตั้งด้วยอุพพาหิกา องค์ ๕ คือ
๑. ไม่เป็นผู้มักโกรธ ไม่ถูกความโกรธครอบงำ
๒. ไม่เป็นผู้ลบหลู่ ไม่ถูกความลบหลู่ครอบงำ
๓. ไม่เป็นผู้ตีเสมอ ไม่ถูกความตีเสมอครอบงำ
๔. ไม่เป็นผู้มีปกติริษยา ไม่ถูกความริษยาครอบงำ
๕. ไม่เป็นผู้ยึดมั่นทิฏฐิของตน ไม่มีความถือรั้น สละสิ่งที่ตนยึดมั่น
ได้ง่าย
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล สงฆ์พึงแต่งตั้งด้วยอุพพาหิกา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๖๔๐ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [อุปาลิปัญจกะ] ๙. อุพพาหิกวรรค
ไม่แต่งตั้งด้วยอุพพาหิกา อีกนัยหนึ่ง
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อีกอย่าง สงฆ์ไม่พึงแต่งตั้งด้วย
อุพพาหิกา องค์ ๕ คือ

๑. โกรธ ๒. พยาบาท
๓. เบียดเบียน ๔. ยั่วให้โกรธ
๕. ไม่อดทน ไม่รับอนุสาสนีโดยเคารพ

อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล สงฆ์ไม่พึงแต่งตั้งด้วยอุพพาหิกา

แต่งตั้งด้วยอุพพาหิกา
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ สงฆ์พึงแต่งตั้งด้วยอุพพาหิกา องค์ ๕ คือ

๑. ไม่โกรธ ๒. ไม่พยาบาท
๓. ไม่เบียดเบียน ๔. ไม่ยั่วให้โกรธ
๕. อดทน ไม่รับอนุสาสนีโดยเคารพ

อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล สงฆ์พึงแต่งตั้งด้วยอุพพาหิกา

ไม่แต่งตั้งด้วยอุพพาหิกา อีกนัยหนึ่ง
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อื่นอีก สงฆ์ไม่พึงแต่งตั้งด้วยอุพพาหิกา
องค์ ๕ คือ
๑. เป็นผู้ให้หลงงมงาย ระลึกไม่ได้
๒. เป็นผู้พูดไม่เปิดโอกาส
๓. ไม่เป็นผู้โจทก์ตามอาบัติในธรรมและวินัยที่สมควร
๔. ไม่เป็นผู้ปรับตามอาบัติในธรรมและวินัยที่สมควร
๕. ไม่ชี้แจงตามความเห็น
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล สงฆ์ไม่พึงแต่งตั้งด้วยอุพพาหิกา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๖๔๑ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [อุปาลิปัญจกะ] ๙. อุพพาหิกวรรค
แต่งตั้งด้วยอุพพาหิกา
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ สงฆ์พึงแต่งตั้งด้วยอุพพาหิกา องค์ ๕ คือ
๑. เป็นผู้เตือนให้ระลึก ไม่ให้หลงงมงาย
๒. เป็นผู้พูดเปิดโอกาส
๓. เป็นผู้โจทก์ตามอาบัติในธรรมและวินัยที่สมควร
๔. เป็นผู้ปรับตามอาบัติในธรรมและวินัยที่สมควร
๕. ชี้แจงตามความเห็น
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล สงฆ์พึงแต่งตั้งด้วยอุพพาหิกา

ไม่แต่งตั้งด้วยอุพพาหิกา อีกนัยหนึ่ง
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อื่นอีก สงฆ์ไม่พึงแต่งตั้งด้วยอุพพาหิกา
องค์ ๕ คือ

๑. ลำเอียงเพราะชอบ ๒. ลำเอียงเพราะชัง
๓. ลำเอียงเพราะหลง ๔. ลำเอียงเพราะกลัว
๕. เป็นอลัชชี

อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล สงฆ์ไม่พึงแต่งตั้งด้วยอุพพาหิกา

แต่งตั้งด้วยอุพพาหิกา
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ สงฆ์พึงแต่งตั้งด้วยอุพพาหิกา องค์ ๕ คือ

๑. ไม่ลำเอียงเพราะชอบ ๒. ไม่ลำเอียงเพราะชัง
๓. ไม่ลำเอียงเพราะหลง ๔. ไม่ลำเอียงเพราะกลัว
๕. เป็นลัชชี

อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล สงฆ์พึงแต่งตั้งด้วยอุพพาหิกา

ไม่แต่งตั้งด้วยอุพพาหิกา อีกนัยหนึ่ง
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อื่นอีก สงฆ์ไม่พึงแต่งตั้งด้วยอุพพาหิกา
องค์ ๕ คือ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๖๔๒ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [อุปาลิปัญจกะ] ๙. อุพพาหิกวรรค
๑. ลำเอียงเพราะชอบ ๒. ลำเอียงเพราะชัง
๓. ลำเอียงเพราะหลง ๔. ลำเอียงเพราะกลัว
๕. ไม่ฉลาดในพระวินัย
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล สงฆ์ไม่พึงแต่งตั้งด้วยอุพพาหิกา

แต่งตั้งด้วยอุพพาหิกา
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ สงฆ์พึงแต่งตั้งด้วยอุพพาหิกา องค์ ๕ คือ
๑. ไม่ลำเอียงเพราะชอบ ๒. ไม่ลำเอียงเพราะชัง
๓. ไม่ลำเอียงเพราะหลง ๔. ไม่ลำเอียงเพราะกลัว
๕. ฉลาดในพระวินัย
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล สงฆ์พึงแต่งตั้งด้วยอุพพาหิกา”

องค์ของภิกษุผู้โง่เขลา
[๔๕๖] ท่านพระอุบาลีทูลถามว่า “ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์เท่าไรหนอแล นับ
ว่าเป็นผู้โง่เขลาโดยแท้ พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นับว่าเป็นผู้โง่
เขลาโดยแท้ องค์ ๕ คือ
๑. ไม่รู้พระสูตร ๒. ไม่รู้ข้ออนุโลมพระสูตร
๓. ไม่รู้พระวินัย ๔. ไม่รู้ข้ออนุโลมพระวินัย
๕. ไม่ฉลาดในฐานะอันควรและฐานะอันไม่ควร
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล นับว่าโง่เขลาโดยแท้

องค์ของภิกษุผู้ฉลาด
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นับว่าฉลาดโดยแท้ องค์ ๕ คือ
๑. รู้พระสูตร ๒. รู้ข้ออนุโลมพระสูตร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๖๔๓ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [อุปาลิปัญจกะ] ๙. อุพพาหิกวรรค
๓. รู้พระวินัย ๔. รู้ข้ออนุโลมพระวินัย
๕. ฉลาดในฐานะอันควรและฐานะอันไม่ควร
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล นับว่าฉลาดโดยแท้

องค์ของภิกษุผู้โง่เขลา อีกนัยหนึ่ง
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อื่นอีก นับว่าโง่เขลาโดยแท้ องค์ ๕ คือ
๑. ไม่รู้พระธรรม ๒. ไม่รู้ข้ออนุโลมพระธรรม
๓. ไม่รู้พระวินัย ๔. ไม่รู้ข้ออนุโลมพระวินัย
๕. ไม่ฉลาดในคำต้นและคำหลัง
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล นับว่าโง่เขลาโดยแท้

องค์ของภิกษุผู้ฉลาด
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นับว่าฉลาดโดยแท้ องค์ ๕ คือ
๑. รู้พระธรรม ๒. รู้ข้ออนุโลมพระธรรม
๓. รู้พระวินัย ๔. รู้ข้ออนุโลมพระวินัย
๕. ฉลาดในคำต้นและคำหลัง
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล นับว่าฉลาดโดยแท้

องค์ของภิกษุผู้โง่เขลา อีกนัยหนึ่ง
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อื่นอีก นับว่าโง่เขลาโดยแท้ องค์ ๕ คือ

๑. ไม่รู้วัตถุ ๒. ไม่รู้นิทาน
๓. ไม่รู้พระบัญญัติ ๔. ไม่รู้บทที่ตกหล่นในภายหลัง
๕. ไม่รู้ถ้อยคำอันเกี่ยวเนื่องกันได้

อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล นับว่าโง่เขลาโดยแท้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๖๔๔ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [อุปาลิปัญจกะ] ๙. อุพพาหิกวรรค
องค์ของภิกษุผู้ฉลาด
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นับว่าฉลาดโดยแท้ องค์ ๕ คือ

๑. รู้วัตถุ ๒. รู้นิทาน
๓. รู้พระบัญญัติ ๔. รู้บทที่ตกหล่นในภายหลัง
๕. รู้ถ้อยคำอันเกี่ยวเนื่องกันได้

อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล นับว่าฉลาดโดยแท้

องค์ของภิกษุผู้โง่เขลา อีกนัยหนึ่ง
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อื่นอีก นับว่าโง่เขลาโดยแท้ องค์ ๕ คือ

๑. ไม่รู้อาบัติ ๒. ไม่รู้สมุฏฐานแห่งอาบัติ
๓. ไม่รู้ประโยคแห่งอาบัติ ๔. ไม่รู้ความระงับอาบัติ
๕. ไม่ฉลาดในการวินิจฉัยอาบัติ

อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล นับว่าโง่เขลาโดยแท้

องค์ของภิกษุผู้ฉลาด
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นับว่าฉลาดโดยแท้ องค์ ๕ คือ

๑. รู้อาบัติ ๒. รู้สมุฏฐานแห่งอาบัติ
๓. รู้ประโยคแห่งอาบัติ ๔. รู้ความระงับอาบัติ
๕. ฉลาดในการวินิจฉัยอาบัติ

อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล นับว่าฉลาดโดยแท้

องค์ของภิกษุผู้โง่เขลา อีกนัยหนึ่ง
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อื่นอีก นับว่าโง่เขลาโดยแท้ องค์ ๕ คือ
๑. ไม่รู้อธิกรณ์ ๒. ไม่รู้สมุฏฐานแห่งอธิกรณ์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๖๔๕ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [อุปาลิปัญจกะ] ๑๐. อธิกรณวูปสมวรรค
๓. ไม่รู้ประโยคแห่งอธิกรณ์ ๔. ไม่รู้ความระงับอธิกรณ์
๕. ไม่ฉลาดในการวินิจฉัยอธิกรณ์
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล นับว่าโง่เขลาโดยแท้

องค์ของภิกษุผู้ฉลาด
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นับว่าฉลาดโดยแท้ องค์ ๕ คือ

๑. รู้อธิกรณ์ ๒. รู้สมุฏฐานแห่งอธิกรณ์
๓. รู้ประโยคแห่งอธิกรณ์ ๔. รู้ความระงับอธิกรณ์
๕. ฉลาดในการวินิจฉัยอธิกรณ์

อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล นับว่าฉลาดโดยแท้”
อุพพาหิกวรรคที่ ๙ จบ

หัวข้อประจำวรรค
ภิกษุไม่ฉลาดในอรรถ มักโกรธ ยั่วให้โกรธ ไม่หลงงมงาย
ลำเอียงเพราะชอบ ไม่ฉลาด ไม่ฉลาดอีก สุตะ ธรรม
วัตถุ อาบัติ อธิกรณ์ ทั้งสองฝ่ายท่านประกาศไว้หมดแล้ว
ขอท่านทั้งหลายจงเข้าใจทั้งฝ่ายดำ และฝ่ายขาว เทอญ

๑๐. อธิกรณวูปสมวรรค
หมวดว่าด้วยการระงับอธิกรณ์

องค์ของภิกษุผู้ไม่ควรระงับอธิกรณ์
[๔๕๗] ท่านพระอุบาลีทูลถามว่า “ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์เท่าไรหนอแล ไม่
ควรระงับอธิกรณ์ พระพุทธเจ้าข้า”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๖๔๖ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [อุปาลิปัญจกะ] ๑๐. อธิกรณวูปสมวรรค
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ ไม่ควรระงับอธิกรณ์
องค์ ๕ คือ

๑. ไม่รู้อาบัติ ๒. ไม่รู้สมุฏฐานแห่งอาบัติ
๓. ไม่รู้ประโยคแห่งอาบัติ ๔. ไม่รู้ความระงับอาบัติ
๕. ไม่ฉลาดในการวินิจฉัยอาบัติ

อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ไม่ควรระงับอธิกรณ์

องค์ของภิกษุผู้ควรระงับอธิกรณ์
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ ควรระงับอธิกรณ์ องค์ ๕ คือ

๑. รู้อาบัติ ๒. รู้สมุฏฐานแห่งอาบัติ
๓. รู้ประโยคแห่งอาบัติ ๔. รู้ความระงับอาบัติ
๕. ฉลาดในการวินิจฉัยอาบัติ

อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ควรระงับอธิกรณ์

องค์ของภิกษุผู้ไม่ควรระงับอธิกรณ์ อีกนัยหนึ่ง
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อื่นอีก ไม่ควรระงับอธิกรณ์ องค์ ๕ คือ

๑. ไม่รู้อธิกรณ์ ๒. ไม่รู้สมุฏฐานแห่งอธิกรณ์
๓. ไม่รู้ประโยคแห่งอธิกรณ์ ๔. ไม่รู้ความระงับอธิกรณ์
๕. ไม่ฉลาดในการวินิจฉัยอธิกรณ์

อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ไม่ควรระงับอธิกรณ์

องค์ของภิกษุผู้ควรระงับอธิกรณ์
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ ควรระงับอธิกรณ์ องค์ ๕ คือ
๑. รู้อธิกรณ์ ๒. รู้สมุฏฐานแห่งอธิกรณ์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๖๔๗ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [อุปาลิปัญจกะ] ๑๐. อธิกรณวูปสมวรรค
๓. รู้ประโยคแห่งอธิกรณ์ ๔. รู้ความระงับอธิกรณ์
๕. ฉลาดในการวินิจฉัยอธิกรณ์
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ควรระงับอธิกรณ์

องค์ของภิกษุผู้ไม่ควรระงับอธิกรณ์ อีกนัยหนึ่ง
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อื่นอีก ไม่ควรระงับอธิกรณ์ องค์ ๕ คือ

๑. ลำเอียงเพราะชอบ ๒. ลำเอียงเพราะชัง
๓. ลำเอียงเพราะหลง ๔. ลำเอียงเพราะกลัว
๕. เป็นอลัชชี

อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ไม่ควรระงับอธิกรณ์

องค์ของภิกษุผู้ควรระงับอธิกรณ์
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ ควรระงับอธิกรณ์ องค์ ๕ คือ
๑. ไม่ลำเอียงเพราะชอบ ๒. ไม่ลำเอียงเพราะชัง
๓. ไม่ลำเอียงเพราะหลง ๔. ไม่ลำเอียงเพราะกลัว
๕. เป็นลัชชี
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ควรระงับอธิกรณ์

องค์ของภิกษุผู้ไม่ควรระงับอธิกรณ์ อีกนัยหนึ่ง
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อื่นอีก ไม่ควรระงับอธิกรณ์ องค์ ๕ คือ

๑. ลำเอียงเพราะชอบ ๒. ลำเอียงเพราะชัง
๓. ลำเอียงเพราะหลง ๔. ลำเอียงเพราะกลัว
๕. ได้ยินได้ฟังน้อย

อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ไม่ควรระงับอธิกรณ์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๖๔๘ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [อุปาลิปัญจกะ] ๑๐. อธิกรณวูปสมวรรค
องค์ของภิกษุผู้ควรระงับอธิกรณ์
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ ควรระงับอธิกรณ์ องค์ ๕ คือ
๑. ไม่ลำเอียงเพราะชอบ ๒. ไม่ลำเอียงเพราะชัง
๓. ไม่ลำเอียงเพราะหลง ๔. ไม่ลำเอียงเพราะกลัว
๕. เป็นพหูสูต
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ควรระงับอธิกรณ์

องค์ของภิกษุผู้ไม่ควรระงับอธิกรณ์ อีกนัยหนึ่ง
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อื่นอีก ไม่ควรระงับอธิกรณ์ องค์ ๕ คือ

๑. ไม่รู้วัตถุ ๒. ไม่รู้นิทาน
๓. ไม่รู้พระบัญญัติ ๔. ไม่รู้บทที่ตกหล่นในภายหลัง
๕. ไม่รู้ถ้อยคำอันเกี่ยวเนื่องกันได้

อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ไม่ควรระงับอธิกรณ์

องค์ของภิกษุผู้ควรระงับอธิกรณ์
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ ควรระงับอธิกรณ์ องค์ ๕ คือ
๑. รู้วัตถุ ๒. รู้นิทาน
๓. รู้พระบัญญัติ ๔. รู้บทที่ตกหล่นในภายหลัง
๕. รู้ถ้อยคำอันเกี่ยวเนื่องกันได้
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ควรระงับอธิกรณ์

องค์ของภิกษุผู้ไม่ควรระงับอธิกรณ์ อีกนัยหนึ่ง
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อื่นอีก ไม่ควรระงับอธิกรณ์ องค์ ๕ คือ
๑. ลำเอียงเพราะชอบ ๒. ลำเอียงเพราะชัง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๖๔๙ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [อุปาลิปัญจกะ] ๑๐. อธิกรณวูปสมวรรค
๓. ลำเอียงเพราะหลง ๔. ลำเอียงเพราะกลัว
๕. ไม่ฉลาดในพระวินัย
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ไม่ควรระงับอธิกรณ์

องค์ของภิกษุผู้ควรระงับอธิกรณ์
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ ควรระงับอธิกรณ์ องค์ ๕ คือ
๑. ไม่ลำเอียงเพราะชอบ ๒. ไม่ลำเอียงเพราะชัง
๓. ไม่ลำเอียงเพราะหลง ๔. ไม่ลำเอียงเพราะกลัว
๕. ฉลาดในพระวินัย
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ควรระงับอธิกรณ์

องค์ของภิกษุผู้ไม่ควรระงับอธิกรณ์ อีกนัยหนึ่ง
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อื่นอีก ไม่ควรระงับอธิกรณ์ องค์ ๕ คือ
๑. ลำเอียงเพราะชอบ ๒. ลำเอียงเพราะชัง
๓. ลำเอียงเพราะหลง ๔. ลำเอียงเพราะกลัว
๕. หนักในบุคคล ไม่หนักในสงฆ์
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ไม่ควรระงับอธิกรณ์

องค์ของภิกษุผู้ควรระงับอธิกรณ์
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ ควรระงับอธิกรณ์ องค์ ๕ คือ
๑. ไม่ลำเอียงเพราะชอบ ๒. ไม่ลำเอียงเพราะชัง
๓. ไม่ลำเอียงเพราะหลง ๔. ไม่ลำเอียงเพราะกลัว
๕. หนักในสงฆ์ ไม่หนักในบุคคล
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ควรระงับอธิกรณ์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๖๕๐ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [อุปาลิปัญจกะ] ๑๐. อธิกรณวูปสมวรรค
องค์ของภิกษุผู้ไม่ควรระงับอธิกรณ์ อีกนัยหนึ่ง
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อื่นอีก ไม่ควรระงับอธิกรณ์ องค์ ๕ คือ
๑. ลำเอียงเพราะชอบ ๒. ลำเอียงเพราะชัง
๓. ลำเอียงเพราะหลง ๔. ลำเอียงเพราะกลัว
๕. หนักในอามิส ไม่หนักในสัทธรรม
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ไม่ควรระงับอธิกรณ์

องค์ของภิกษุผู้ควรระงับอธิกรณ์
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ ควรระงับอธิกรณ์ องค์ ๕ คือ
๑. ไม่ลำเอียงเพราะชอบ ๒. ไม่ลำเอียงเพราะชัง
๓. ไม่ลำเอียงเพราะหลง ๔. ไม่ลำเอียงเพราะกลัว
๕. หนักในสัทธรรม ไม่หนักในอามิส
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ควรระงับอธิกรณ์”

สงฆ์แตกกัน
[๔๕๘] ท่านพระอุบาลีทูลถามว่า “สงฆ์แตกกันด้วยอาการเท่าไรหนอแล
พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อุบาลี สงฆ์แตกกันด้วยอาการ ๕ อย่าง อาการ
๕ อย่าง คือ
๑. กรรม ๒. อุทเทส
๓. ชี้แจง ๔. สวดประกาศ
๕. ให้จับสลาก
อุบาลี สงฆ์แตกกันด้วยอาการ ๕ นี้แล”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๖๕๑ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [อุปาลิปัญจกะ] ๑๐. อธิกรณวูปสมวรรค
สังฆราชี และสังฆเภท
ท่านพระอุบาลีทูลถามว่า “ที่เรียกว่า ‘สังฆราชี สังฆราชี’ ด้วยอาการเพียง
ไรจึงเป็นสังฆราชี แต่ไม่เป็นสังฆเภท และก็ด้วยอาการเพียงไร เป็นทั้งสังฆราชี
และสังฆเภท พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อุบาลี อาคันตุกวัตรนั้นเราบัญญัติไว้แล้วสำหรับภิกษุ
อาคันตุกะทั้งหลาย เมื่อสิกขาบทอันเราบัญญัติไว้เรียบร้อยอย่างนี้แล้ว ภิกษุอาคันตุกะ
ทั้งหลายก็ยังไม่ประพฤติในอาคันตุกวัตร อุบาลี แม้อย่างนี้แลเป็นสังฆราชี แต่ไม่
เป็นสังฆเภท
อุบาลี อาวาสิกวัตรนั้นเราบัญญัติไว้แล้วสำหรับภิกษุผู้อยู่ประจำในอาวาส
ทั้งหลาย เมื่อสิกขาบทอันเราบัญญัติไว้เรียบร้อยอย่างนี้แล้ว ภิกษุผู้อยู่ประจำใน
อาวาสทั้งหลาย ก็ยังไม่ประพฤติในอาวาสิกวัตร อุบาลี แม้อย่างนี้แลเป็นสังฆราชี
แต่ไม่เป็นสังฆเภท
อุบาลี ภัตตัคควัตรนั้นเราบัญญัติไว้แล้วสำหรับภิกษุทั้งหลายตามลำดับผู้แก่กว่า
ตามลำดับราตรี ตามสมควร คือ อาสนะอันเลิศ น้ำอันเลิศ บิณฑบาตอันเลิศ
เมื่อสิกขาบทอันเราบัญญัติไว้เรียบร้อยอย่างนี้แล้ว ภิกษุนวกะทั้งหลายก็ยังพากัน
กีดกันอาสนะในโรงภัตรสำหรับพระเถระเสีย อุบาลี แม้อย่างนี้แลเป็นสังฆราชี
แต่ไม่เป็นสังฆเภท
อุบาลี เสนาสนวัตรในเสนาสนะนั้นเราบัญญัติไว้แล้วสำหรับภิกษุทั้งหลายตาม
ลำดับผู้แก่กว่า ตามลำดับราตรี ตามสมควร เมื่อสิกขาบทอันเราบัญญัติไว้เรียบร้อย
อย่างนี้แล้ว ภิกษุนวกะทั้งหลายก็ยังพากันกีดกันเสนาสนะสำหรับพระเถระเสีย อุบาลี
แม้อย่างนี้แลเป็นสังฆราชี แต่ไม่เป็นสังฆเภท
อุบาลี อุโบสถอย่างเดียวกัน ปวารณาอย่างเดียวกัน สังฆกรรมอย่างเดียวกัน
กรรมน้อยใหญ่อย่างเดียวกัน ภายในสีมานั้น เราบัญญัติไว้แล้วแก่ภิกษุทั้งหลาย
เมื่อสิกขาบทอันเราบัญญัติไว้เรียบร้อยอย่างนี้แล้ว ภิกษุทั้งหลายทำความแตกแยก
กันแล้ว แบ่งเป็นกลุ่มแยกกันทำอุโบสถ แยกกันทำปวารณา แยกกันทำสังฆกรรม

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๖๕๒ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [อุปาลิปัญจกะ] ๑๑. สังฆเภทกวรรค
แยกกันทำกรรมใหญ่น้อย ภายในสีมานั้นเอง อุบาลี แม้อย่างนี้แลเป็นทั้งสังฆราชี
และสังฆเภท”
อธิกรณวูปสมวรรคที่ ๑๐ จบ

หัวข้อประจำวรรค
ภิกษุรู้อาบัติ อธิกรณ์ ภิกษุลำเอียงเพราะชอบ
ภิกษุได้ยินได้ฟังน้อย ภิกษุไม่รู้วัตถุ ไม่ฉลาด
ภิกษุไม่หนักในบุคคล ภิกษุไม่หนักในอามิส สงฆ์แตกกัน
สังฆราชี และสังฆเภท

๑๑. สังฆเภทกวรรค
หมวดว่าด้วยภิกษุผู้ทำลายสงฆ์

องค์ของภิกษุผู้ทำลายสงฆ์มีโทษ
[๔๕๙] ท่านพระอุบาลีทูลถามว่า “ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์ประกอบด้วยองค์เท่าไรหนอแล
ต้องไปเกิดในอบาย ต้องไปเกิดในนรก ดำรงอยู่ชั่วกัป แก้ไขไม่ได้ พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อุบาลี ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์ประกอบด้วยองค์ ๕ ต้อง
ไปเกิดในอบาย ต้องไปเกิดในนรก ดำรงอยู่ชั่วกัป แก้ไขไม่ได้ องค์ ๕ คือ
๑. แสดงอธรรมว่าเป็นธรรม
๒. แสดงธรรมว่าเป็นอธรรม
๓. แสดงสิ่งที่มิใช่วินัยว่าเป็นวินัย
๔. แสดงวินัยว่าเป็นสิ่งที่มิใช่วินัย
๕. อำพรางความเห็นด้วยกรรม
อุบาลี ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ต้องไปเกิดในอบาย
ต้องไปเกิดในนรก ดำรงอยู่ชั่วกัป แก้ไขไม่ได้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๖๕๓ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [อุปาลิปัญจกะ] ๑๑. สังฆเภทกวรรค
อุบาลี ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์ประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อื่นอีก ต้องไปเกิดในอบาย
ต้องไปเกิดในนรก ดำรงอยู่ชั่วกัป แก้ไขไม่ได้ องค์ ๕ คือ
๑. แสดงอธรรมว่าเป็นธรรม
๒. แสดงธรรมว่าเป็นอธรรม
๓. แสดงสิ่งมิใช่วินัยว่าเป็นวินัย
๔. แสดงวินัยว่าเป็นสิ่งมิใช่วินัย
๕. อำพรางความเห็นด้วยอุทเทส
อุบาลี ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ต้องไปเกิดในอบาย
ต้องไปเกิดในนรก ดำรงอยู่ชั่วกัป แก้ไขไม่ได้
อุบาลี ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์ประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อื่นอีก ต้องไปเกิดในอบาย
ต้องไปเกิดในนรก ดำรงอยู่ชั่วกัป แก้ไขไม่ได้ องค์ ๕ คือ
๑. แสดงอธรรมว่าเป็นธรรม
๒. แสดงธรรมว่าเป็นอธรรม
๓. แสดงสิ่งมิใช่วินัยว่าเป็นวินัย
๔. แสดงวินัยว่าเป็นสิ่งมิใช่วินัย
๕. ชี้แจงอำพรางความเห็น
อุบาลี ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ต้องไปเกิดในอบาย
ต้องไปเกิดในนรก ดำรงอยู่ชั่วกัป แก้ไขไม่ได้
อุบาลี ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์ประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อื่นอีก ต้องไปเกิดในอบาย
ต้องไปเกิดในนรก ดำรงอยู่ชั่วกัป แก้ไขไม่ได้ องค์ ๕ คือ
๑. แสดงอธรรมว่าเป็นธรรม
๒. แสดงธรรมว่าเป็นอธรรม
๓. แสดงสิ่งที่มิใช่วินัยว่าเป็นวินัย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๖๕๔ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [อุปาลิปัญจกะ] ๑๑. สังฆเภทกวรรค
๔. แสดงวินัยว่าเป็นสิ่งที่มิใช่วินัย
๕. อำพรางความเห็นด้วยสวดประกาศ
อุบาลี ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ต้องไปเกิดในอบาย
ต้องไปเกิดในนรก ดำรงอยู่ชั่วกัป แก้ไขไม่ได้
อุบาลี ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์ประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อื่นอีก ต้องไปเกิดใน
อบาย ต้องไปเกิดในนรก ดำรงอยู่ชั่วกัป แก้ไขไม่ได้ องค์ ๕ คือ
๑. แสดงอธรรมว่าเป็นธรรม
๒. แสดงธรรมว่าเป็นอธรรม
๓. แสดงสิ่งมิใช่วินัยว่าเป็นวินัย
๔. แสดงวินัยว่าเป็นสิ่งมิใช่วินัย
๕. อำพรางความเห็นด้วยการให้จับสลาก
อุบาลี ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ต้องไปเกิดในอบาย
ต้องไปเกิดในนรก ดำรงอยู่ชั่วกัป แก้ไขไม่ได้
อุบาลี ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์ประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อื่นอีก ต้องไปเกิดในอบาย
ต้องไปเกิดในนรก ดำรงอยู่ชั่วกัป แก้ไขไม่ได้ องค์ ๕ คือ
๑. แสดงอธรรมว่าเป็นธรรม
๒. แสดงธรรมว่าเป็นอธรรม
๓. แสดงสิ่งที่มิใช่วินัยว่าเป็นวินัย
๔. แสดงวินัยว่าเป็นสิ่งที่มิใช่วินัย
๕. อำพรางความเห็นชอบด้วยกรรม
ฯลฯ อำพรางความเห็นชอบด้วยอุทเทส ฯลฯ ชี้แจงอำพรางความเห็นชอบ
ฯลฯ อำพรางความเห็นชอบด้วยสวดประกาศ ฯลฯ อำพรางความเห็นชอบด้วย
การให้จับสลาก
อุบาลี ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ต้องไปเกิดในอบาย
ต้องไปเกิดในนรก ดำรงอยู่ชั่วกัป แก้ไขไม่ได้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๖๕๕ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [อุปาลิปัญจกะ] ๑๑. สังฆเภทกวรรค
อุบาลี ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์ประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อื่นอีก ต้องไปเกิดในอบาย
ต้องไปเกิดในนรก ดำรงอยู่ชั่วกัป แก้ไขไม่ได้ องค์ ๕ คือ
๑. แสดงอธรรมว่าเป็นธรรม
๒. แสดงธรรมว่าเป็นอธรรม
๓. แสดงสิ่งที่มิใชวินัยว่าเป็นวินัย
๔. แสดงวินัยว่าเป็นสิ่งที่มิใชวินัย
๕. อำพรางความพอใจด้วยกรรม
ฯลฯ อำพรางความพอใจด้วยอุทเทส ฯลฯ ชี้แจงอำพรางความพอใจ ฯลฯ
อำพรางความพอใจด้วยสวดประกาศ ฯลฯ อำพรางความพอใจด้วยการให้จับสลาก
อุบาลี ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ต้องไปเกิดในอบาย
ต้องไปเกิดในนรก ดำรงอยู่ชั่วกัป แก้ไขไม่ได้
อุบาลี ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์ประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อื่นอีก ต้องไปเกิดในอบาย
ต้องไปเกิดในนรก ดำรงอยู่ชั่วกัป แก้ไขไม่ได้ องค์ ๕ คือ
๑. แสดงอธรรมว่าเป็นธรรม
๒. แสดงธรรมว่าเป็นอธรรม
๓. แสดงสิ่งที่มิใชวินัยว่าเป็นวินัย
๔. แสดงวินัยว่าเป็นสิ่งที่มิใช่วินัย
๕. อำพรางสัญญาด้วยกรรม
ฯลฯ อำพรางสัญญาด้วยอุทเทส ฯลฯ ชี้แจงอำพรางสัญญา ฯลฯ อำพราง
สัญญาด้วยสวดประกาศ ฯลฯ อำพรางสัญญาด้วยการให้จับสลาก
อุบาลี ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ต้องไปเกิดในอบาย
ต้องไปเกิดในนรก ดำรงอยู่ชั่วกัป แก้ไขไม่ได้”
สังฆเภทกวรรคที่ ๑๑ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๖๕๖ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [อุปาลิปัญจกะ] ๑๒. ทุติยสังฆเภทกวรรค
หัวข้อประจำวรรค
ภิกษุอำพรางความเห็นด้วยกรรม ด้วยอุทเทส
ด้วยการชี้แจง ด้วยการสวดประกาศ ด้วยการให้จับสลาก นี้ รวมเป็น ๕
อิงความเห็น ความเห็นชอบ ความพอใจ
และสัญญา ๓ อย่างนั้น มีนัย แยกเป็น ๕ นัยแล

๑๒. ทุติยสังฆเภทกวรรค
หมวดว่าด้วยภิกษุผู้ทำลายสงฆ์ หมวดที่ ๒

องค์ของภิกษุผู้ทำลายสงฆ์ไม่มีโทษ
[๔๖๐] ท่านพระอุบาลีทูลถามว่า “ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์ประกอบด้วยองค์เท่าไร
หนอแล ไม่ต้องไปเกิดในอบาย ไม่ต้องไปเกิดในนรก ไม่ต้องดำรงอยู่ชั่วกัป มิใช่
แก้ไขไม่ได้ พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อุบาลี ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์ประกอบด้วยองค์ ๕
ไม่ต้องไปเกิดในอบาย ไม่ต้องไปเกิดในนรก ไม่ต้องดำรงอยู่ชั่วกัป มิใช่แก้ไขไม่ได้
องค์ ๕ คือ
๑. แสดงอธรรมว่าเป็นธรรม
๒. แสดงธรรมว่าเป็นอธรรม
๓. แสดงสิ่งที่มิใช่วินัยว่าเป็นวินัย
๔. แสดงวินัยว่าเป็นสิ่งที่มิใช่วินัย
๕. ไม่อำพรางความเห็นด้วยกรรม
อุบาลี ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ไม่ต้องไปเกิดในอบาย
ไม่ต้องไปเกิดในนรก ไม่ต้องดำรงอยู่ชั่วกัป มิใช่แก้ไขไม่ได้
อุบาลี ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์ประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อีกอย่าง ไม่ต้องไปเกิดใน
อบาย ไม่ต้องไปเกิดในนรก ไม่ต้องดำรงอยู่ชั่วกัป มิใช่แก้ไขไม่ได้ องค์ ๕ คือ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๖๕๗ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [อุปาลิปัญจกะ] ๑๒. ทุติยสังฆเภทกวรรค
๑. แสดงอธรรมว่าเป็นธรรม
๒. แสดงธรรมว่าเป็นอธรรม
๓. แสดงสิ่งที่มิใช่วินัยว่าเป็นวินัย
๔. แสดงวินัยว่าเป็นสิ่งที่มิใช่วินัย
๕. ไม่อำพรางความเห็นด้วยอุทเทส
อุบาลี ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ไม่ต้องไปเกิดในอบาย
ไม่ต้องไปเกิดในนรก ไม่ต้องดำรงอยู่ชั่วกัป มิใช่แก้ไขไม่ได้
อุบาลี ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์ประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อื่นอีก ไม่ต้องไปเกิดในอบาย
ไม่ต้องไปเกิดในนรก ไม่ต้องดำรงอยู่ชั่วกัป มิใช่แก้ไขไม่ได้ องค์ ๕ คือ
๑. แสดงอธรรมว่าเป็นธรรม
๒. แสดงธรรมว่าเป็นอธรรม
๓. แสดงสิ่งที่มิใช่วินัยว่าเป็นวินัย
๔. แสดงวินัยว่าเป็นสิ่งที่มิใช่วินัย
๕. ชี้แจงไม่อำพรางความเห็น
อุบาลี ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ไม่ต้องไปเกิดในอบาย
ไม่ต้องไปเกิดในนรก ไม่ต้องดำรงอยู่ชั่วกัป มิใช่แก้ไขไม่ได้
อุบาลี ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์ประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อื่นอีก ไม่ต้องไปเกิดในอบาย
ไม่ต้องไปเกิดในนรก ไม่ต้องดำรงอยู่ชั่วกัป มิใช่แก้ไขไม่ได้ องค์ ๕ คือ
๑. แสดงอธรรมว่าเป็นธรรม
๒. แสดงธรรมว่าเป็นอธรรม
๓. แสดงสิ่งที่มิใช่วินัยว่าเป็นวินัย
๔. แสดงวินัยว่าเป็นสิ่งที่มิใช่วินัย
๕. ไม่อำพรางความเห็นด้วยสวดประกาศ
อุบาลี ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ไม่ต้องไปเกิดในอบาย
ไม่ต้องไปเกิดในนรก ไม่ต้องดำรงอยู่ชั่วกัป มิใช่แก้ไขไม่ได้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๖๕๘ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [อุปาลิปัญจกะ] ๑๒. ทุติยสังฆเภทกวรรค
อุบาลี ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์ประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อื่นอีก ไม่ต้องไปเกิดในอบาย
ไม่ต้องไปเกิดในนรก ไม่ต้องดำรงอยู่ชั่วกัป มิใช่แก้ไขไม่ได้ องค์ ๕ คือ
๑. แสดงอธรรมว่าเป็นธรรม
๒. แสดงธรรมว่าเป็นอธรรม
๓. แสดงสิ่งที่มิใช่วินัยว่าเป็นวินัย
๔. แสดงวินัยว่าเป็นสิ่งที่มิใช่วินัย
๕. ไม่อำพรางความเห็นด้วยการให้จับสลาก
อุบาลี ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ไม่ต้องไปเกิดในอบาย
ไม่ต้องไปเกิดในนรก ไม่ต้องดำรงอยู่ชั่วกัป มิใช่แก้ไขไม่ได้
อุบาลี ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์ประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อื่นอีก ไม่ต้องไปเกิดในอบาย
ไม่ต้องไปเกิดในนรก ไม่ต้องดำรงอยู่ชั่วกัป มิใช่แก้ไขไม่ได้ องค์ ๕ คือ
๑. แสดงอธรรมว่าเป็นธรรม
๒. แสดงธรรมว่าเป็นอธรรม
๓. แสดงสิ่งที่มิใช่วินัยว่าเป็นวินัย
๔. แสดงวินัยว่าเป็นสิ่งที่มิใช่วินัย
๕. ไม่อำพรางความเห็นชอบด้วยกรรม
ฯลฯ ไม่อำพรางความเห็นชอบด้วยอุทเทส ฯลฯ ไม่ชี้แจงอำพรางความเห็น
ชอบ ฯลฯ ไม่อำพรางความเห็นชอบด้วยสวดประกาศ ฯลฯ ไม่อำพรางความเห็น
ชอบด้วยการให้จับสลาก
อุบาลี ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ไม่ต้องไปเกิดในอบาย
ไม่ต้องไปเกิดในนรก ไม่ต้องดำรงอยู่ชั่วกัป มิใช่แก้ไขไม่ได้
อุบาลี ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์ประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อื่นอีก ไม่ต้องไปเกิดในอบาย
ไม่ต้องไปเกิดในนรก ไม่ต้องดำรงอยู่ชั่วกัป มิใช่แก้ไขไม่ได้ องค์ ๕ คือ
๑. แสดงอธรรมว่าเป็นธรรม
๒. แสดงธรรมว่าเป็นอธรรม

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๖๕๙ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [อุปาลิปัญจกะ] ๑๒. ทุติยสังฆเถทกวรรค
๓. แสดงสิ่งที่มิใช่วินัยว่าเป็นวินัย
๔. แสดงวินัยว่าเป็นสิ่งที่มิใช่วินัย
๕. ไม่อำพรางความพอใจด้วยกรรม
ฯลฯ ไม่อำพรางความพอใจด้วยอุทเทส ฯลฯ ไม่ชี้แจงอำพรางความพอใจ
ฯลฯ ไม่อำพรางความพอใจด้วยสวดประกาศ ฯลฯ ไม่อำพรางความพอใจด้วยการ
ให้จับสลาก
อุบาลี ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ไม่ต้องไปเกิดในอบาย
ไม่ต้องไปเกิดในนรก ไม่ต้องดำรงอยู่ชั่วกัป มิใช่แก้ไขไม่ได้
อุบาลี ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์ประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อื่นอีก ไม่ต้องไปเกิดในอบาย
ไม่ต้องไปเกิดในนรก ไม่ต้องดำรงอยู่ชั่วกัป มิใช่แก้ไขไม่ได้ องค์ ๕ คือ
๑. แสดงอธรรมว่าเป็นธรรม
๒. แสดงธรรมว่าเป็นอธรรม
๓. แสดงสิ่งที่มิใช่วินัยว่าเป็นวินัย
๔. แสดงวินัยว่าเป็นสิ่งที่มิใช่วินัย
๕. ไม่อำพรางสัญญาด้วยกรรม
ฯลฯ ไม่อำพรางสัญญาด้วยอุทเทส ฯลฯ ไม่ชี้แจงไม่อำพรางสัญญา ฯลฯ ไม่
อำพรางสัญญาด้วยสวดประกาศ ฯลฯ ไม่อำพรางสัญญาด้วยการให้จับสลาก
อุบาลี ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ไม่ต้องไปเกิดในอบาย
ไม่ต้องไปเกิดในนรก ไม่ต้องดำรงอยู่ชั่วกัป มิใช่แก้ไขไม่ได้”
ทุติยสังฆเภทกวรรคที่ ๑๒ จบ

หัวข้อประจำวรรค
ภิกษุไม่อำพรางความเห็นด้วยกรรม ด้วยอุทเทส ด้วยการชี้แจง
ด้วยการสวดประกาศ ด้วยการให้จับสลาก นี้รวมเป็น ๕ อิงความเห็น
ความเห็นชอบ ความพอใจ และสัญญา ๓ อย่างนั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๖๖๐ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [อุปาลิปัญจกะ] ๑๓. อาวาสิกวรรค
มีนัยแยกเป็น ๕ นัยแล ขอท่านทั้งหลายจงรู้ ๒๐ วิธีถ้วน
ในฝ่ายขาว เหมือน ๒๐ วิธีถ้วนในฝ่ายดำข้างหลัง เทอญ

๑๓. อาวาสิกวรรค
หมวดว่าด้วยภิกษุผู้อยู่ในอาวาส

องค์ของภิกษุผู้อยู่ในอาวาส
[๔๖๑] ท่านพระอุบาลีทูลถามว่า “ภิกษุผู้อยู่ประจำในอาวาสประกอบด้วย
องค์เท่าไรหนอแล เก็บของสงฆ์ตามที่นำมาเก็บไว้ เหมือนถูกโยนลงนรก พระ
พุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อุบาลี ภิกษุผู้อยู่ประจำในอาวาสประกอบด้วยองค์
๕ เก็บของสงฆ์ตามที่นำมาเก็บไว้ เหมือนถูกโยนลงนรก องค์ ๕ คือ

๑. ลำเอียงเพราะชอบ ๒. ลำเอียงเพราะชัง
๓. ลำเอียงเพราะหลง ๔. ลำเอียงเพราะกลัว
๕. ใช้สอยของสงฆ์ดุจของส่วนตัว

อุบาลี ภิกษุผู้อยู่ในอาวาสประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล เก็บของสงฆ์ตามที่นำ
มาเก็บไว้ เหมือนถูกโยนลงนรก
อุบาลี ภิกษุผู้อยู่ในอาวาสประกอบด้วยองค์ ๕ เก็บของสงฆ์ตามที่นำมาเก็บไว้
เหมือนถูกส่งขึ้นสวรรค์ องค์ ๕ คือ

๑. ไม่ลำเอียงเพราะชอบ ๒. ไม่ลำเอียงเพราะชัง
๓. ไม่ลำเอียงเพราะหลง ๔. ไม่ลำเอียงเพราะกลัว
๕. ไม่ใช้สอยของสงฆ์ดุจของส่วนตัว

อุบาลี ภิกษุผู้อยู่ในอาวาสประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล เก็บของสงฆ์ตามที่นำ
มาเก็บไว้ เหมือนถูกส่งขึ้นสวรรค์”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๖๖๑ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [อุปาลิปัญจกะ] ๑๓. อาวาสิกวรรค
การชี้แจงพระวินัยไม่ชอบธรรม
[๔๖๒] ท่านพระอุบาลีทูลถามว่า “การชี้แจงพระวินัยที่ไม่ชอบธรรมมีเท่าไร
หนอแล พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อุบาลี การชี้แจงพระวินัยที่ไม่ชอบธรรมมี ๕ อย่าง คือ
อุบาลี ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. กำหนดอธรรมว่าเป็นธรรม
๒. กำหนดธรรมว่าเป็นอธรรม
๓. กำหนดสิ่งที่มิใช่วินัยว่าเป็นวินัย
๔. กำหนดวินัยว่าเป็นสิ่งที่มิใช่วินัย
๕. บัญญัติสิ่งที่ไม่ได้ทรงบัญญัติ ถอนข้อที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติไว้
อุบาลี การชี้แจงพระวินัย ๕ อย่างนี้แล ไม่ชอบธรรม
อุบาลี การชี้แจงพระวินัยที่ชอบธรรมมี ๕ อย่าง ๕ อย่าง มีอะไรบ้าง คือ
อุบาลี ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. กำหนดอธรรมว่าเป็นอธรรม
๒. กำหนดธรรมว่าเป็นธรรม
๓. กำหนดสิ่งที่มิใช่วินัยว่าเป็นสิ่งที่มิใช่วินัย
๔. กำหนดวินัยว่าเป็นวินัย
๕. ไม่บัญญัติสิ่งที่ไม่ได้ทรงบัญญัติ ไม่ถอนพระบัญญัติที่พระพุทธเจ้า
ทรงบัญญัติไว้
อุบาลี การชี้แจงพระวินัย ๕ อย่างนี้แล ชอบธรรม”

องค์ของภิกษุผู้แจกภัตร
[๔๖๓] ท่านพระอุบาลีทูลถามว่า “ภิกษุผู้แจกภัตรประกอบด้วยองค์เท่าไร
หนอแล เก็บของสงฆ์ตามที่นำมาเก็บไว้ เหมือนถูกโยนลงนรก พระพุทธเจ้าข้า”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๖๖๒ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [อุปาลิปัญจกะ] ๑๓. อาวาสิกวรรค
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อุบาลี ภิกษุผู้แจกภัตรประกอบด้วยองค์ ๕ เก็บของ
สงฆ์ตามที่นำมาเก็บไว้ เหมือนถูกโยนลงนรก องค์ ๕ คือ
๑. ลำเอียงเพราะชอบ ๒. ลำเอียงเพราะชัง
๓. ลำเอียงเพราะหลง ๔. ลำเอียงเพราะกลัว
๕. ไม่รู้จักอาหารที่แจกและอาหารที่ยังไม่ได้แจก
อุบาลี ภิกษุผู้แจกภัตรประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล เก็บของสงฆ์ตามที่นำมา
เก็บไว้ เหมือนถูกโยนลงนรก
อุบาลี ภิกษุผู้แจกภัตรประกอบด้วยองค์ ๕ เก็บของสงฆ์ตามที่นำมาเก็บไว้
เหมือนถูกส่งขึ้นสวรรค์ องค์ ๕ คือ
๑. ไม่ลำเอียงเพราะชอบ ๒. ไม่ลำเอียงเพราะชัง
๓. ไม่ลำเอียงเพราะหลง ๔. ไม่ลำเอียงเพราะกลัว
๕. รู้จักอาหารที่แจกและอาหารที่ยังไม่ได้แจก
อุบาลี ภิกษุผู้แจกภัตรประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล เก็บของสงฆ์ตามที่นำมา
เก็บไว้ เหมือนถูกส่งขึ้นสวรรค์”

องค์ของภิกษุผู้แต่งตั้งเสนาสนะ เป็นต้น
[๔๖๔] ท่านพระอุบาลีทูลถามว่า “ภิกษุผู้แต่งตั้งเสนาสนะประกอบด้วยองค์เท่าไร
หนอแล พระพุทธเจ้าข้า
ภิกษุผู้รักษาคลังเก็บพัสดุ ฯลฯ ภิกษุผู้รับจีวร ฯลฯ ภิกษุผู้แจกจีวร ฯลฯ
ภิกษุผู้แจกยาคู ฯลฯ ภิกษุผู้แจกผลไม้ ฯลฯ ภิกษุผู้แจกของเคี้ยว ฯลฯ ภิกษุ
ผู้แจกของเล็กน้อย ฯลฯ ภิกษุผู้ให้รับผ้าสาฎก ฯลฯ ภิกษุผู้ให้รับบาตร ฯลฯ
ภิกษุผู้ใช้คนทำงานวัด ฯลฯ
ภิกษุผู้ใช้สามเณรประกอบด้วยองค์เท่าไรหนอแล เก็บของสงฆ์ตามที่นำมาเก็บไว้
เหมือนถูกโยนลงนรก”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๖๖๓ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [อุปาลิปัญจกะ] หัวข้อประจำวรรค
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อุบาลี ภิกษุผู้ใช้สามเณรประกอบด้วยองค์ ๕
เก็บของสงฆ์ตามที่นำมาเก็บไว้ เหมือนถูกโยนลงนรก องค์ ๕ คือ
๑. ลำเอียงเพราะชอบ ๒. ลำเอียงเพราะชัง
๓. ลำเอียงเพราะหลง ๔. ลำเอียงเพราะกลัว
๕. ไม่รู้จักงานที่ควรใช้และงานที่ยังไม่ได้ใช้
อุบาลี ภิกษุผู้ใช้สามเณรประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล เก็บของสงฆ์ตามที่นำมา
เก็บไว้ เหมือนถูกโยนลงนรก
อุบาลี ภิกษุผู้ใช้สามเณรประกอบด้วยองค์ ๕ เก็บของสงฆ์ตามที่นำมาเก็บไว้
เหมือนถูกส่งขึ้นสวรรค์ องค์ ๕ คือ
๑. ไม่ลำเอียงเพราะชอบ ๒. ไม่ลำเอียงเพราะชัง
๓. ไม่ลำเอียงเพราะหลง ๔. ไม่ลำเอียงเพราะกลัว
๕. รู้จักงานที่ควรใช้และงานที่ยังไม่ได้ใช้
อุบาลี ภิกษุผู้ใช้สามเณรประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล เก็บของสงฆ์ตามที่นำมา
เก็บไว้ เหมือนถูกส่งขึ้นสวรรค์”
อาวาสิกวรรคที่ ๑๓ จบ

หัวข้อประจำวรรค
ภิกษุผู้อยู่ในอาวาส ชี้แจงพระวินัย ภิกษุผู้แจกภัตร
ภิกษุผู้แต่งตั้งเสนาสนะ ภิกษุผู้รักษาคลังเก็บพัสดุ
ภิกษุผู้รับจีวร ภิกษุผู้แจกจีวร ภิกษุผู้แจกยาคู
ผู้แจกผลไม้ ผู้แจกของเคี้ยว ผู้แจกของเล็กน้อย
ภิกษุผู้ให้รับผ้าสาฎก ภิกษุผู้ให้รับบาตร
ภิกษุผู้ใช้คนทำงานวัด ภิกษุผู้ใช้สามเณร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๖๖๔ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [อุปาลิปัญจกะ] ๑๔. กฐินัตถารวรรค
๑๔. กฐินัตถารวรรค
หมวดว่าด้วยการกรานกฐิน

อานิสงส์กรานกฐิน
[๔๖๕] ท่านพระอุบาลีทูลถามว่า “การกรานกฐินมีอานิสงส์เท่าไรหนอแล
พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อุบาลี การกรานกฐินมีอานิสงส์ ๕ อย่างนี้ คือ

๑. เที่ยวไปไม่ต้องบอกลา ๒. ไม่ต้องถือไตรจีวรไปครบสำรับ
๓. ฉันคณโภชนะได้ ๔. ทรงอติเรกจีวรไว้ได้ตามต้องการ

๕. พวกเธอจะได้จีวรที่เกิดขึ้นในที่นั้น
อุบาลี การกรานกฐินมีอานิสงส์ ๕ อย่างนี้แล”

โทษของการนอนลืมสติ
[๔๖๖] ท่านพระอุบาลีทูลถามว่า “บุคคลผู้นอนหลับลืมสติไม่รู้ตัวมีโทษเท่าไร
หนอแล พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อุบาลี บุคคลผู้นอนหลับลืมสติไม่รู้ตัวมีโทษ ๕
อย่างนี้ คือ

๑. หลับเป็นทุกข์ ๒. ตื่นเป็นทุกข์
๓. เห็นความฝันเลวทราม ๔. เทวดาไม่รักษา
๕. น้ำอสุจิเคลื่อน

อุบาลี บุคคลผู้นอนหลับลืมสติไม่รู้ตัวมีโทษ ๕ อย่างนี้แล

อานิสงส์ของการนอนมีสติ
อุบาลี บุคคลผู้นอนหลับมีสติรู้สึกตัว มีอานิสงส์ ๕ อย่างนี้ คือ
๑. หลับเป็นสุข ๒. ตื่นเป็นสุข

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๖๖๕ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [อุปาลิปัญจกะ] ๑๔. กฐินัตถารวรรค
๓. ไม่เห็นความฝันเลวทราม ๔. เทวดารักษา
๕. น้ำอสุจิไม่เคลื่อน
อุบาลี บุคคลผู้นอนหลับมีสติรู้สึกตัว มีอานิสงส์ ๕ อย่างนี้แล”

บุคคลไม่ควรไหว้
[๔๖๗] ท่านพระอุบาลีทูลถามว่า “ภิกษุที่ไม่ควรไหว้มีเท่าไรหนอแล พระ
พุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อุบาลี ภิกษุที่ไม่ควรไหว้นี้มี ๕ จำพวก คือ

๑. ไม่ควรไหว้ภิกษุผู้เข้าไป ๒. ไม่ควรไหว้ภิกษุผู้เข้าไปสู่ถนน
สู่ละแวกบ้าน
๓. ไม่ควรไหว้ภิกษุผู้อยู่ในที่มืด ๔. ไม่ควรไหว้ภิกษุผู้ไม่ได้สนใจ
๕. ไม่ควรไหว้ภิกษุผู้หลับอยู่

อุบาลี ภิกษุ ๕ จำพวกนี้แล ที่ไม่ควรไหว้
อุบาลี ภิกษุที่ไม่ควรไหว้แม้อื่นอีก ๕ จำพวก คือ

๑. ไม่ควรไหว้ภิกษุในเวลาที่ดื่มยาคู ๒. ไม่ควรไหว้ภิกษุในโรงภัตร
๓. ไม่ควรไหว้ภิกษุผู้เป็นศัตรู ๔. ไม่ควรไหว้ภิกษุผู้กำลังคิด
เรื่องอื่น
๕. ไม่ควรไหว้ภิกษุผู้กำลังเปลือยกาย

อุบาลี ภิกษุ ๕ จำพวกนี้แล ที่ไม่ควรไหว้
อุบาลี ภิกษุที่ไม่ควรไหว้แม้อื่นอีก ๕ จำพวก คือ

๑. ไม่ควรไหว้ภิกษุผู้กำลังเคี้ยวอยู่ ๒. ไม่ควรไหว้ภิกษุผู้กำลังฉันอยู่
๓. ไม่ควรไหว้ภิกษุผู้กำลัง ๔. ไม่ควรไหว้ภิกษุผู้กำลังถ่าย
ถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ
๕. ไม่ควรไหว้ภิกษุผู้ถูกสงฆ์ยกวัตร

อุบาลี ภิกษุ ๕ จำพวกนี้แล ที่ไม่ควรไหว้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๖๖๖ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [อุปาลิปัญจกะ] ๑๔. กฐินัตถารวรรค
อุบาลี บุคคลที่ไม่ควรไหว้แม้อื่นอีก ๕ จำพวก คือ
๑. ผู้อุปสมบทก่อนไม่ควรไหว้ผู้อุปสมบททีหลัง
๒. ไม่ควรไหว้อนุปสัมบัน
๓. ไม่ควรไหว้ภิกษุนานาสังวาส มีพรรษาแก่กว่า เป็นอธรรมวาที
๔. ไม่ควรไหว้มาตุคาม
๕. ไม่ควรไหว้บัณเฑาะก์
อุบาลี บุคคล ๕ จำพวกนี้แล ที่ไม่ควรไหว้
อุบาลี ภิกษุที่ไม่ควรไหว้แม้อื่นอีก ๕ จำพวก คือ
๑. ไม่ควรไหว้ภิกษุผู้กำลังอยู่ปริวาส
๒. ไม่ควรไหว้ภิกษุผู้ควรชักเข้าหาอาบัติเดิม
๓. ไม่ควรไหว้ภิกษุผู้ควรแก่มานัต
๔. ไม่ควรไหว้ภิกษุผู้กำลังประพฤติมานัต
๕. ไม่ควรไหว้ภิกษุผู้ควรแก่อัพภาน
อุบาลี ภิกษุ ๕ จำพวกนี้แล ที่ไม่ควรไหว้”

บุคคลควรไหว้
[๔๖๘] ท่านพระอุบาลีทูลถามว่า “ภิกษุที่ควรไหว้มีเท่าไรหนอแล พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อุบาลี ภิกษุที่ควรไหว้นี้มี ๕ จำพวก คือ
๑. ผู้อุปสมบทหลังควรไหว้ผู้อุปสมบทก่อน
๒. ควรไหว้ภิกษุนานาสังวาส ผู้มีพรรษาแก่กว่า เป็นธรรมวาที
๓. ควรไหว้พระอาจารย์
๔. ควรไหว้พระอุปัชฌาย์
๕. ควรไหว้พระตถาคตผู้เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบในโลก
พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณะ
พราหมณ์เทวดาและมนุษย์
อุบาลี ภิกษุ ๕ จำพวกนี้แล ที่ควรไหว้”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๖๖๗ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [อุปาลิปัญจกะ] หัวข้อบอกวรรค
ข้อปฏิบัติของภิกษุผู้อ่อนกว่า
[๔๖๙] ท่านพระอุบาลีทูลถามว่า “ภิกษุผู้อ่อนกว่า เมื่อไหว้เท้าของภิกษุผู้
แก่กว่า ควรตั้งธรรมเท่าไรไว้ในตน แล้วจึงไหว้เท้า พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อุบาลี ภิกษุผู้อ่อนกว่า เมื่อไหว้เท้าของภิกษุผู้แก่กว่า
ควรตั้งธรรม ๕ อย่าง ไว้ในตน แล้วจึงไหว้เท้า ธรรม ๕ อย่าง คือ
อุบาลี ภิกษุผู้อ่อนกว่า เมื่อไหว้เท้าของภิกษุผู้แก่กว่า

๑. ควรห่มผ้าเฉวียงบ่า ๒. ประคองอัญชลี
๓. นวดเท้าด้วยฝ่ามือทั้งสอง ๔. มีความรัก
๕. มีความเคารพ แล้วจึงไหว้เท้า

อุบาลี ภิกษุผู้อ่อนกว่า เมื่อไหว้เท้าของภิกษุผู้แก่กว่า ควรตั้งธรรม ๕ อย่างนี้แล
ไว้ในตน แล้วจึงไหว้เท้า”
กฐินัตถารวรรคที่ ๑๔ จบ

หัวข้อประจำวรรค
การกรานกฐิน การหลับเป็นสุข
ไม่ควรไหว้ภิกษุผู้เข้าสู่ละแวกบ้าน
ดื่มยาคู เคี้ยว อุปสมบทก่อน อยู่ปริวาส
บุคคลควรไหว้ ภิกษุอ่อนกว่าไหว้ภิกษุแก่กว่า
อุปาลิปัญจกะ จบ

หัวข้อบอกวรรค
อนิสสิตวรรค กัมมวรรค๑ โวหารวรรค
ทิฏฐาวิกัมมวรรค โจทนาวรรค๒ ธุดงควรรค

เชิงอรรถ :
๑ นัปปฏิปัสสัมภนวรรค (๔๒๐/๕๙๕)
๒ อัตตาทานวรรค (๔๓๖/๖๑๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๖๖๘ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [อุปาลิปัญจกะ] หัวข้อบอกวรรค
มุสาวาทวรรค ภิกขุโนวาทวรรค อุพพาหิกวรรค
อธิกรณวูปสมวรรค สังฆเภทกวรรค
สังฆเภท ๕ อย่างเหมือนก่อน๑
อาวาสิกวรรค กฐินัตถารวรรค
รวม ๑๔ วรรค ท่านประกาศไว้ดีแล้วแล

เชิงอรรถ :
๑ ทุติยสังฆเภทกวรรค (๔๖๐/๖๕๖)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๖๖๙ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [อัตถาปัตติสมุฏฐาน] ๑. ปาราชิก
อัตถาปัตติสมุฏฐาน
ว่าด้วยสมุฏฐานอาบัติที่มีอยู่
๑. ปาราชิก
ว่าด้วยอาบัติปาราชิก
[๔๗๐] อาบัติที่ภิกษุไม่จงใจต้อง แต่จงใจออก มีอยู่
อาบัติที่ภิกษุจงใจต้อง แต่ไม่จงใจออก มีอยู่
อาบัติที่ภิกษุไม่จงใจต้อง ไม่จงใจออก มีอยู่
อาบัติที่ภิกษุจงใจต้อง จงใจออก มีอยู่
อาบัติที่ภิกษุมีจิตเป็นกุศลต้อง มีจิตเป็นกุศลออก มีอยู่
อาบัติที่ภิกษุมีจิตเป็นกุศลต้อง แต่มีจิตเป็นอกุศลออก มีอยู่
อาบัติที่ภิกษุมีจิตเป็นกุศลต้อง แต่มีจิตเป็นอัพยากฤตออก มีอยู่
อาบัติที่ภิกษุมีจิตเป็นอกุศลต้อง แต่มีจิตเป็นกุศลออก มีอยู่
อาบัติที่ภิกษุมีจิตเป็นอกุศลต้อง มีจิตเป็นอกุศลออก มีอยู่
อาบัติที่ภิกษุมีจิตเป็นอกุศลต้อง แต่มีจิตเป็นอัพยากฤตออก มีอยู่
อาบัติที่ภิกษุมีจิตเป็นอัพยากฤตต้อง มีจิตเป็นกุศลออก มีอยู่
อาบัติที่ภิกษุมีจิตเป็นอัพยากฤตต้อง แต่มีจิตเป็นอกุศลออก มีอยู่
อาบัติที่ภิกษุมีจิตเป็นอัพยากฤตต้อง แต่มีจิตเป็นอัพยากฤตออก มีอยู่

สิกขาบทที่ ๑
ถาม : ปาราชิกสิกขาบทที่ ๑ เกิดด้วยสมุฏฐานเท่าไร
ตอบ : ปาราชิกสิกขาบทที่ ๑ เกิดด้วยสมุฏฐาน ๑ สมุฏฐาน คือ เกิด
ทางกายกับวาจา มิใช่เกิดทางจิต

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๖๗๐ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [อัตถาปัตติสมุฏฐาน] ๒. สังฆาทิเลส
สิกขาบทที่ ๒
ถาม : ปาราชิกสิกขาบทที่ ๒ เกิดด้วยสมุฏฐานเท่าไร
ตอบ : ปาราชิกสิกขาบทที่ ๒ เกิดด้วยสมุฏฐาน ๓ สมุฏฐาน คือ (๑) เกิด
ทางกายกับจิต มิใช่เกิดทางวาจา (๒) เกิดทางวาจากับจิต มิใช่เกิดทางกาย (๓) เกิด
ทางกายวาจากับจิต

สิกขาบทที่ ๓
ถาม : ปาราชิกสิกขาบทที่ ๓ เกิดด้วยสมุฏฐานเท่าไร
ตอบ : ปาราชิกสิกขาบทที่ ๓ เกิดด้วยสมุฏฐาน ๓ สมุฏฐาน คือ (๑) เกิด
ทางกายกับจิต มิใช่เกิดทางวาจา (๒) เกิดทางวาจากับจิต มิใช่เกิดทางกาย
(๓) เกิดทางกายวาจากับจิต

สิกขาบทที่ ๔
ถาม : ปาราชิกสิกขาบทที่ ๔ เกิดด้วยสมุฏฐานเท่าไร
ตอบ : ปาราชิกสิกขาบทที่ ๔ เกิดด้วยสมุฏฐาน ๓ สมุฏฐาน คือ (๑) เกิด
ทางกายกับจิต มิใช่เกิดทางวาจา (๒) เกิดทางวาจากับจิต มิใช่เกิดทางกาย
(๓) เกิดทางกายวาจากับจิต
ปาราชิก ๔ สิกขาบท จบ

๒. สังฆาทิเสส
ว่าด้วยอาบัติสังฆาทิเสส

สิกขาบทที่ ๑
[๔๗๑] ถาม : สังฆาทิเสสของภิกษุผู้จงใจทำน้ำอสุจิให้เคลื่อน เกิดด้วยสมุฏฐาน
เท่าไร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๖๗๑ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [อัตถาปัตติสมุฏฐาน] ๒. สังฆาทิเลส
ตอบ : สังฆาทิเสสของภิกษุผู้จงใจทำน้ำอสุจิให้เคลื่อน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๑
สมุฏฐาน คือ เกิดทางกายกับจิต มิใช่เกิดทางวาจา

สิกขาบทที่ ๒
ถาม : สังฆาทิเสสของภิกษุผู้ถูกต้องกายกับมาตุคาม เกิดด้วยสมุฏฐานเท่าไร
ตอบ : สังฆาทิเสสของภิกษุผู้ถูกต้องกายกับมาตุคาม เกิดด้วยสมุฏฐาน ๑
สมุฏฐาน คือ เกิดทางกายกับจิต มิใช่เกิดทางวาจา

สิกขาบทที่ ๓
ถาม : สังฆาทิเสสของภิกษุผู้พูดเกี้ยวมาตุคามด้วยวาจาชั่วหยาบ เกิดด้วย
สมุฏฐานเท่าไร
ตอบ : สังฆาทิเสสของภิกษุผู้พูดเกี้ยวมาตุคามด้วยวาจาชั่วหยาบ เกิดด้วย
สมุฏฐาน ๓ สมุฏฐาน คือ (๑) เกิดทางกายกับจิต แต่มิใช่เกิดทางวาจา (๒) เกิด
ทางวาจากับจิต แต่มิใช่เกิดทางกาย (๓) เกิดทางกายวาจากับจิต

สิกขาบทที่ ๔
ถาม : สังฆาทิเสสของภิกษุผู้กล่าวสรรเสริญการบำเรอความใคร่ของตนต่อ
หน้ามาตุคาม เกิดด้วยสมุฏฐานเท่าไร
ตอบ : สังฆาทิเสสของภิกษุผู้กล่าวสรรเสริญการบำเรอความใคร่ของตนต่อ
หน้ามาตุคาม เกิดด้วยสมุฏฐาน ๓ สมุฏฐาน ฯลฯ

สิกขาบทที่ ๕
ถาม : สังฆาทิเสสของภิกษุผู้ทำหน้าที่ชักสื่อ เกิดด้วยสมุฏฐานเท่าไร
ตอบ : สังฆาทิเสสของภิกษุผู้ทำหน้าที่ชักสื่อ เกิดด้วยสมุฏฐาน ๖ สมุฏฐาน
คือ (๑) เกิดทางกาย มิใช่เกิดทางวาจา มิใช่เกิดทางจิต (๒) เกิดทางวาจา มิใช่
เกิดทางกาย มิใช่เกิดทางจิต (๓) เกิดทางกายกับวาจา มิใช่เกิดทางจิต (๔) เกิด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๖๗๒ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [อัตถาปัตติสมุฏฐาน] ๒. สังฆาทิเลส
ทางกายกับจิต มิใช่เกิดทางวาจา (๕) เกิดทางวาจากับจิต มิใช่เกิดทางกาย
(๖) เกิดทางกายวาจากับจิต

สิกขาบทที่ ๖
ถาม : สังฆาทิเสสของภิกษุผู้ให้สร้างกุฎีด้วยการขอเอาเอง เกิดด้วยสมุฏฐาน
เท่าไร
ตอบ : สังฆาทิเสสของภิกษุผู้ให้สร้างกุฎีด้วยการขอเอาเอง เกิดด้วยสมุฏฐาน
๖ สมุฏฐาน ฯลฯ

สิกขาบทที่ ๗
ถาม : สังฆาทิเสสของภิกษุผู้ให้สร้างวิหารใหญ่ เกิดด้วยสมุฏฐานเท่าไร
ตอบ : สังฆาทิเสสของภิกษุผู้ให้สร้างวิหารใหญ่ เกิดด้วยสมุฏฐาน ๖ สมุฏฐาน
ฯลฯ

สิกขาบทที่ ๘
ถาม : สังฆาทิเสสของภิกษุผู้ใส่ความภิกษุด้วยอาบัติปาราชิกที่ไม่มีมูล เกิด
ด้วยสมุฏฐานเท่าไร
ตอบ : สังฆาทิเสสของภิกษุผู้ใส่ความภิกษุด้วยอาบัติปาราชิกที่ไม่มีมูล เกิด
ด้วยสมุฏฐาน ๓ สมุฏฐาน ฯลฯ

สิกขาบทที่ ๙
ถาม : สังฆาทิเสสของภิกษุผู้อ้างเอาบางส่วนแห่งอธิกรณ์เรื่องอื่นเป็นเลศใส่
ความภิกษุด้วยอาบัติปาราชิก เกิดด้วยสมุฏฐานเท่าไร
ตอบ : สังฆาทิเสสของภิกษุผู้อ้างเอาบางส่วนแห่งอธิกรณ์เรื่องอื่นเป็นเลศ
แล้วใส่ความภิกษุด้วยอาบัติปาราชิก เกิดด้วยสมุฏฐาน ๓ สมุฏฐาน ฯลฯ

สิกขาบทที่ ๑๐
ถาม : สังฆาทิเสสของภิกษุผู้ทำลายสงฆ์ ไม่ยอมสละกรรม กระทั่งสงฆ์สวด
สมนุภาสน์ ครบ ๓ ครั้งเกิดด้วยสมุฏฐานเท่าไร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๖๗๓ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [อัตถาปัตติสมุฏฐาน] ๒. สังฆาทิเสส
ตอบ : สังฆาทิเสสของภิกษุผู้ทำลายสงฆ์ ไม่ยอมสละกรรม กระทั่งสงฆ์สวด
สมนุภาสน์ ครบ ๓ ครั้ง เกิดด้วยสมุฏฐาน ๑ สมุฏฐาน คือ เกิดทางกายวาจา
กับจิต

สิกขาบทที่ ๑๑
ถาม : สังฆาทิเสสของภิกษุผู้ประพฤติตามภิกษุผู้ทำลายสงฆ์ ไม่ยอมสละกรรม
กระทั่งสงฆ์สวดสมนุภาสน์ครบ ๓ ครั้ง เกิดด้วยสมุฏฐานเท่าไร
ตอบ : สังฆาทิเสสของภิกษุผู้ประพฤติตามภิกษุผู้ทำลายสงฆ์ ไม่ยอมสละกรรม
กระทั่งสงฆ์สวดสมนุภาสน์ครบ ๓ ครั้ง เกิดด้วยสมุฏฐาน ๑ สมุฏฐาน คือ เกิด
ทางกายวาจากับจิต

สิกขาบทที่ ๑๒
ถาม : สังฆาทิเสสของภิกษุผู้ว่ายาก ไม่ยอมสละกรรม จนกระทั่งสงฆ์สวด
สมนุภาสน์ครบ ๓ ครั้ง เกิดด้วยสมุฏฐานเท่าไร
ตอบ : สังฆาทิเสสของภิกษุผู้ว่ายาก ไม่ยอมสละกรรม จนกระทั่งสงฆ์สวด
สมนุภาสน์ครบ ๓ ครั้ง เกิดด้วยสมุฏฐาน ๑ สมุฏฐาน คือ เกิดทางกายวาจากับจิต

สิกขาบทที่ ๑๓
ถาม : สังฆาทิเสสของภิกษุผู้ประทุษร้ายสกุล ไม่ยอมสละกรรม จนกระทั่ง
สงฆ์สวดสมนุภาสน์ครบ ๓ ครั้ง เกิดด้วยสมุฏฐานเท่าไร
ตอบ : สังฆาทิเสสของภิกษุผู้ประทุษร้ายสกุล ไม่ยอมสละกรรม จนกระทั่ง
สงฆ์สวดสมนุภาสน์ครบ ๓ ครั้ง เกิดด้วยสมุฏฐาน ๑ สมุฏฐาน คือ เกิดทางกาย
วาจากับจิต
สังฆาทิเสส ๑๓ สิกขาบท จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๖๗๔ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [อัตถาปัตติสมุฏฐาน] ๓. ปาราชิกาทิ
เสขิยวัตร
ฯลฯ
สิกขาบทที่ ๑๕
[๔๗๒] ถาม : ทุกกฏของภิกษุผู้อาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ ถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ
หรือบ้วนน้ำลายลงในน้ำ เกิดด้วยสมุฏฐานเท่าไร
ตอบ : ทุกกฏของภิกษุผู้อาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ ถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ หรือ
บ้วนน้ำลายลงในน้ำ เกิดด้วยสมุฏฐาน ๑ สมุฏฐาน คือ เกิดทางกายกับจิต
มิใช่เกิดทางวาจา
เสขิยวัตร จบ

๓. ปาราชิกาทิ
ว่าด้วยอาบัติปาราชิก เป็นต้น
ปาราชิก ๔
[๔๗๓] ถาม : ปาราชิก ๔ สิกขาบท เกิดด้วยสมุฏฐานเท่าไร
ตอบ : ปาราชิก ๔ สิกขาบท เกิดด้วยสมุฏฐาน ๓ สมุฏฐาน คือ (๑) เกิด
ทางกายกับจิต มิใช่เกิดทางวาจา (๒) เกิดทางวาจากับจิต มิใช่เกิดทางกาย
(๓) เกิดทางกายวาจากับจิต

สังฆาทิเสส ๑๓
ถาม : สังฆาทิเสส ๑๓ สิกขาบท เกิดด้วยสมุฏฐานเท่าไร
ตอบ : สังฆาทิเสส ๑๓ สิกขาบท เกิดด้วยสมุฏฐาน ๖ สมุฏฐาน คือ
(๑) เกิดทางกาย มิใช่เกิดทางวาจา มิใช่เกิดทางจิต (๒) เกิดทางวาจา มิใช่เกิดทาง
กาย มิใช่เกิดทางจิต (๓) เกิดทางกายกับวาจา มิใช่เกิดทางจิต (๔) เกิดทางกาย
กับจิต มิใช่เกิดทางวาจา (๕) เกิดทางวาจากับจิต มิใช่เกิดทางกาย (๖) เกิดทางกาย
วาจากับจิต

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๖๗๕ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [อัตถาปัตติสมุฏฐาน] ๓. ปาราชิกาทิ
อนิยต ๒
ถาม : อนิยต ๒ สิกขาบท เกิดด้วยสมุฏฐานเท่าไร
ตอบ : อนิยต ๒ สิกขาบท เกิดด้วยสมุฏฐาน ๓ สมุฏฐาน คือ (๑) เกิดทาง
กายกับจิต มิใช่เกิดทางวาจา (๒) เกิดทางวาจากับจิต มิใช่เกิดทางกาย (๓) เกิด
ทางกายวาจากับจิต

นิสสัคคิยปาจิตตีย์ ๓๐
ถาม : นิสสัคคิยปาจิตตีย์ ๓๐ สิกขาบท เกิดด้วยสมุฏฐานเท่าไร
ตอบ : นิสสัคคิยปาจิตตีย์ ๓๐ สิกขาบท เกิดด้วยสมุฏฐาน ๖ สมุฏฐาน คือ
(๑) เกิดทางกาย มิใช่เกิดทางวาจา มิใช่เกิดทางจิต (๒) เกิดทางวาจา มิใช่เกิดทาง
กาย มิใช่เกิดทางจิต (๓) เกิดทางกายกับวาจา มิใช่เกิดทางจิต (๔) เกิดทาง
กายกับจิต มิใช่เกิดทางวาจา (๕) เกิดทางวาจากับจิต มิใช่เกิดทางกาย (๖) เกิด
ทางกายวาจากับจิต

ปาจิตตีย์ ๙๒
ถาม : ปาจิตตีย์ ๙๒ สิกขาบท เกิดด้วยสมุฏฐานเท่าไร
ตอบ : ปาจิตตีย์ ๙๒ สิกขาบท เกิดด้วยสมุฏฐาน ๖ สมุฏฐาน คือ
(๑) เกิดทางกาย มิใช่เกิดทางวาจา มิใช่เกิดทางจิต (๒) เกิดทางวาจา มิใช่เกิดทาง
กาย มิใช่เกิดทางจิต (๓) เกิดทางกายกับวาจา มิใช่เกิดทางจิต (๔) เกิดทาง
กายกับจิต มิใช่เกิดทางวาจา (๕) เกิดทางวาจากับจิต มิใช่เกิดทางกาย (๖) เกิด
ทางกายวาจากับจิต

ปาฏิเทสนียะ ๔
ถาม : ปาฏิเทสนียะ ๔ สิกขาบท เกิดด้วยสมุฏฐานเท่าไร
ตอบ : ปาฏิเทสนียะ ๔ สิกขาบท เกิดด้วยสมุฏฐาน ๔ สมุฏฐาน คือ
(๑) เกิดทางกาย มิใช่เกิดทางวาจา มิใช่เกิดทางจิต (๒) เกิดทางกายกับวาจา มิใช่
เกิดทางจิต (๓) เกิดทางกายกับจิต มิใช่เกิดทางวาจา (๔) เกิดทางกายวาจากับจิต

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๖๗๖ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [อัตถาปัตติสมุฏฐาน] หัวข้อประจำเรื่อง
เสขิยะ ๗๕
ถาม : เสขิยะ ๗๕ สิกขาบท เกิดด้วยสมุฏฐานเท่าไร
ตอบ : เสขิยะ ๗๕ สิกขาบท เกิดด้วยสมุฏฐาน ๓ สมุฏฐาน คือ (๑) เกิด
ทางกายกับจิต มิใช่เกิดทางวาจา (๒) เกิดทางวาจากับจิต มิใช่เกิดทางกาย
(๓) เกิดทางกายวาจากับจิต
สมุฏฐาน จบ

หัวข้อประจำเรื่อง
ภิกษุไม่จงใจ มีจิตเป็นกุศล สมุฏฐานทุกสิกขาบท
ขอท่านทั้งหลาย จงเข้าใจสมุฏฐานโดยรู้ตามธรรมเทอญ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๖๗๗ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ทุติยคาถาสังคณิกะ] ๑. กายิกาทิอาปัตติ
ทุติยคาถาสังคณิกะ
ว่าด้วยกลุ่มคาถา กลุ่มที่ ๒
๑. กายิกาทิอาปัตติ
ว่าด้วยอาบัติทางกาย เป็นต้น
[๔๗๔] ถาม : อาบัติทางกายจัดไว้เท่าไร ทางวาจาจัดไว้เท่าไร
เมื่อปกปิดต้องอาบัติเท่าไร อาบัติที่มีการเคล้าคลึงเป็นปัจจัยมีเท่าไร
ตอบ : อาบัติทางกายจัดไว้ ๖ ทางวาจาจัดไว้ ๖
เมื่อปกปิดต้องอาบัติ ๓ อย่าง อาบัติที่มีการเคล้าคลึง
เป็นปัจจัยมี ๕

ต้องอาบัติเมื่ออรุณขึ้น เป็นต้น
ถาม : ต้องอาบัติเมื่ออรุณขึ้นมีเท่าไร อาบัติชื่อยาวตติยกา
มีเท่าไร อาบัติชื่ออัฏฐวัตถุกาในศาสนานี้มีเท่าไร
จัดสิกขาบทและปาติโมกขุทเทสทั้งมวล เข้าในอุทเทสเท่าไร
ตอบ : ต้องอาบัติเมื่ออรุณขึ้นมี ๓ อาบัติชื่อยาวตติยกามี ๒
อาบัติชื่ออัฏฐวัตถุกาในศาสนานี้มี ๑
จัดสิกขาบทและปาติโมกขุทเทสทั้งมวลเข้าในนิทานุทเทสอย่างเดียว

มูลแห่งพระวินัย เป็นต้น
ถาม : มูลแห่งพระวินัยที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติไว้มีเท่าไร
อาบัติหนักในฝ่ายพระวินัยที่ตรัสไว้มีเท่าไร
อาบัติเพราะปิดโทษชั่วหยาบมีเท่าไร
ตอบ : มูลแห่งพระวินัยที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติไว้มี ๒
อาบัติหนักในฝ่ายพระวินัยที่ตรัสไว้มี ๒
อาบัติเพราะปิดโทษชั่วหยาบมี ๒

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๖๗๘ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ทุติยคาถาสังคณิกะ] ๒. เทสนาคามินิยาทิอาปัตติ
ต้องอาบัติในละแวกบ้าน เป็นต้น
ถาม : อาบัติในละแวกบ้านมีเท่าไร
อาบัติมีฝั่งนทีเป็นปัจจัยมีเท่าไร ต้องอาบัติถุลลัจจัย
เพราะเนื้อกี่ชนิด ต้องอาบัติทุกกฏเพราะเนื้อกี่ชนิด
ตอบ : อาบัติในละแวกบ้านมี ๔ อาบัติมีฝั่งนทีเป็นปัจจัยมี ๔
ต้องอาบัติถุลลัจจัยเพราะเนื้อชนิดเดียว
ต้องอาบัติทุกกฏเพราะเนื้อ ๙ ชนิด

ต้องอาบัติทางวาจาในกลางคืน เป็นต้น
ถาม : อาบัติทางวาจาในกลางคืนมีเท่าไร อาบัติทางวาจา
ในกลางวันมีเท่าไร เมื่อให้ต้องอาบัติเท่าไร เมื่อรับต้องอาบัติเท่าไร
ตอบ : อาบัติทางวาจาในกลางคืนมี ๒
อาบัติทางวาจาในกลางวันมี ๒ เมื่อให้ต้องอาบัติ ๓
เมื่อรับต้องอาบัติ ๔

๒. เทสนาคามินิยาทิอาปัตติ
ว่าด้วยอาบัติเป็นเทสนาคามินี เป็นต้น
[๔๗๕] ถาม : อาบัติเป็นเทสนาคามินีมีเท่าไร
อาบัติที่แก้ไขได้จัดไว้เท่าไร อาบัติที่ทำคืนไม่ได้ในศาสนานี้พระพุทธเจ้า
ผู้เป็นเผ่าพันธุ์แห่งพระราชาผู้สูงศักดิ์ตรัสไว้เท่าไร
ตอบ : อาบัติเป็นเทสนาคามินีมี ๕
อาบัติที่ทำคืนได้จัดไว้ ๖ อาบัติที่ทำคืนไม่ได้ในศาสนานี้พระพุทธเจ้า
ผู้เป็นเผ่าพันธุ์แห่งพระราชาผู้สูงศักดิ์ตรัสไว้อย่างเดียว

ต้องอาบัติหนักในฝ่ายพระวินัย เป็นต้น
ถาม : อาบัติหนักในฝ่ายพระวินัยเป็นไปทางกายและวาจา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๖๗๙ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ทุติยคาถาสังคณิกะ] ๒. เทสนาคามินิยาทิอาปัตติ
ตรัสไว้เท่าไร ธัญญรสในเวลาวิกาลมีเท่าไร
สมมติด้วยญัตติจตุตถกรรมวาจามีเท่าไร
ตอบ : อาบัติหนักในฝ่ายพระวินัยเป็นไปทางกายและวาจาตรัสไว้ ๒
ธัญญรสในเวลาวิกาลมีอย่างเดียว
สมมติด้วยญัตติจตุตถกรรมวาจามีอย่างเดียว

อาบัติปาราชิกทางกาย เป็นต้น
ถาม : อาบัติปาราชิกทางกายมีเท่าไร ภูมิของภิกษุผู้มีสังวาส
มีเท่าไร รัตติเฉทของภิกษุกี่พวก และพระบัญญัติเรื่อง ๒ นิ้วมีเท่าไร
ตอบ : อาบัติปาราชิกทางกายมี ๒
ภูมิของภิกษุผู้มีสังวาสมี ๒ รัตติเฉทของภิกษุมี ๒ พวก
และพระบัญญัติเรื่อง ๒ นิ้วมี ๒

ต้องอาบัติเพราะทำร้ายตัวเอง เป็นต้น
ถาม : เพราะทำร้ายตัวเองต้องอาบัติเท่าไร
สงฆ์แตกกันด้วยอาการเท่าไร อาบัติชื่อปฐมาปัตติกา
ในศาสนานี้มีเท่าไร การทำญัตติมีเท่าไร
ตอบ : เพราะทำร้ายตัวเองต้องอาบัติมี ๒
สงฆ์แตกกันด้วยอาการ ๒
อาบัติชื่อปฐมาปัตติกาในศาสนานี้มี ๒ ทำญัตติมี ๒

ต้องอาบัติเพราะปาณาติบาต เป็นต้น
ถาม : อาบัติเพราะปาณาติบาตมีเท่าไร อาบัติปาราชิก
เนื่องด้วยวาจามีเท่าไร อาบัติเกี่ยวด้วยพูดเชิญชวนตรัสไว้เท่าไร
อาบัติเกี่ยวด้วยเที่ยวเป็นพ่อสื่อตรัสไว้เท่าไร
ตอบ : อาบัติเพราะปาณาติบาตมี ๓
อาบัติปาราชิกเนื่องด้วยวาจามี ๓ อาบัติเกี่ยวด้วยพูดเชิญชวนตรัสไว้ ๓
และอาบัติเกี่ยวด้วยเที่ยวเป็นพ่อสื่อตรัสไว้ ๓

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๖๘๐ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ทุติยคาถาสังคณิกะ] ๒. เทสนาคามินิยาทิอาปัตติ
บุคคลไม่ควรให้อุปสมบท เป็นต้น
ถาม : บุคคลไม่ควรให้อุปสมบทมีเท่าไร
กรรมสังคหะมีเท่าไร บุคคลถูกนาสนะตรัสไว้เท่าไร
อนุสาวนาเดียวกันสำหรับบุคคลจำนวนเท่าไร
ตอบ : บุคคลไม่ควรให้อุปสมบทมี ๓ พวก
กรรมสังคหะมี ๓ อย่าง บุคคลที่ถูกนาสนะตรัสไว้ ๓ พวก
อนุสาวนาเดียวกันสำหรับบุคคลจำนวน ๓ คน

ต้องอาบัติเพราะอทินนาทาน เป็นต้น
ถาม : ต้องอาบัติเพราะอทินนาทานมีเท่าไร
อาบัติเพราะเสพเมถุนธรรมเป็นปัจจัยมีเท่าไร
เมื่อตัด(ต้นไม้)ต้องอาบัติเท่าไร อาบัติเพราะวัตถุที่ทิ้งเป็นปัจจัยมีเท่าไร
ตอบ : ต้องอาบัติเพราะอทินนาทานมี ๓
อาบัติเพราะเสพเมถุนธรรมเป็นปัจจัยมี ๔
เมื่อตัดต้องอาบัติ ๓ อาบัติเพราะวัตถุที่ทิ้งเป็นปัจจัยมี ๕

ปรับอาบัติควบกัน เป็นต้น
ถาม : ในภิกขุโนวาทกวรรค อาบัติทุกกฏกับปาจิตตีย์
ที่ตรัสไว้หมวดที่ ๙ ในสิกขาบทที่ ๑ นั้นมีเท่าไร
ภิกษุณีกี่จำพวกเป็นเหตุให้ภิกษุต้องอาบัติ เพราะจีวรเป็นเหตุ
ตอบ : ในภิกขุโนวาทกวรรค อาบัติทุกกฏกับปาจิตตีย์
ที่ตรัสไว้หมวดที่ ๙ ในสิกขาบทที่ ๑ นั้นมี ๔
ภิกษุณี ๒ พวกเป็นเหตุให้ภิกษุต้องอาบัติ
เพราะจีวรเป็นเหตุ

ต้องอาบัติปาฏิเทสนียะ เป็นต้น
ถาม : อาบัติปาฏิเทสนียะที่ตรัสไว้แก่ภิกษุณีมีเท่าไร
เพราะขอข้าวเปลือกมาฉัน ปรับอาบัติทุกกฏกับปาจิตตีย์หรือ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๖๘๑ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ทุติยคาถาสังคณิกะ] ๓. ปาจิตติยะ
ตอบ : อาบัติปาฏิเทสนียะที่ตรัสไว้แก่ภิกษุณี
ปรับอาบัติไว้ ๘ เพราะขอข้าวเปลือกมาฉัน
ปรับอาบัติทุกกฏกับปาจิตตีย์

ต้องอาบัติเพราะเดิน เป็นต้น
ถาม : ผู้เดินต้องอาบัติเท่าไร ผู้ยืนต้องอาบัติเท่าไร
ผู้นั่งต้องอาบัติเท่าไร และผู้นอนต้องอาบัติเท่าไร
ตอบ : ผู้เดินต้องอาบัติ ๔ ผู้ยืนต้องอาบัติ ๔ เท่ากัน
ผู้นั่งต้องอาบัติ ๔ และผู้นอนต้องอาบัติ ๔ เท่ากัน

๓. ปาจิตติยะ
ว่าด้วยอาบัติปาจิตตีย์ต้องอาบัติในเขตเดียวกัน
[๔๗๖] ถาม : อาบัติปาจิตตีย์ทั้งหมดที่มีวัตถุต่างกัน มีเท่าไร
ภิกษุพึงต้องในขณะเดียวกัน ไม่ก่อน ไม่หลัง
ตอบ : อาบัติปาจิตตีย์ทั้งหมดที่มีวัตถุต่างกัน
มี ๕ ภิกษุพึงต้องในขณะเดียวกัน ไม่ก่อน ไม่หลัง
ถาม : อาบัติปาจิตตีย์ทั้งหมดที่มีวัตถุต่างกัน มีเท่าไร
ภิกษุพึงต้องในขณะเดียวกัน ไม่ก่อน ไม่หลัง
ตอบ : อาบัติปาจิตตีย์ทั้งหมดที่มีวัตถุต่างกัน มี ๙
ภิกษุพึงต้องในขณะเดียวกัน ไม่ก่อน ไม่หลัง

วิธีแสดงอาบัติ
ถาม : อาบัติปาจิตตีย์ทั้งหมดที่มีวัตถุต่างกัน มีเท่าไร
อันพระพุทธเจ้าผู้เป็นเผ่าพันธุ์แห่งพระราชาผู้สูงศักดิ์ตรัสไว้แล้ว
ภิกษุพึงแสดงด้วยวาจาเท่าไร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๖๘๒ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ทุติยคาถาสังคณิกะ] ๓. ปาจิตติยะ
ตอบ : อาบัติปาจิตตีย์ทั้งหมดที่มีวัตถุต่างกัน มี ๕
อันพระพุทธเจ้าผู้เป็นเผ่าพันธุ์แห่งพระราชาผู้สูงศักดิ์ตรัสไว้แล้ว
ภิกษุพึงแสดงด้วยวาจาอย่างเดียว
ถาม : อาบัติปาจิตตีย์ทั้งหมดที่มีวัตถุต่างกัน มีเท่าไร
อันพระพุทธเจ้าผู้เป็นเผ่าพันธุ์แห่งพระราชาผู้สูงศักดิ์ตรัสไว้แล้ว
ภิกษุพึงแสดงด้วยวาจาเท่าไร
ตอบ : อาบัติปาจิตตีย์ทั้งหมดที่มีวัตถุต่างกัน มี ๙
อันพระพุทธเจ้าผู้เป็นเผ่าพันธุ์แห่งพระราชาผู้สูงศักดิ์ตรัสไว้แล้ว
ภิกษุพึงแสดงด้วยวาจาอย่างเดียว
ถาม : อาบัติปาจิตตีย์ทั้งหมดที่มีวัตถุต่างกัน มีเท่าไร
อันพระพุทธเจ้าผู้เป็นเผ่าพันธุ์แห่งพระราชาผู้สูงศักดิ์ตรัสไว้แล้ว
ภิกษุพึงแสดงระบุอะไร
ตอบ : อาบัติปาจิตตีย์ทั้งหมดที่มีวัตถุต่างกัน มี ๕
อันพระพุทธเจ้าผู้เป็นเผ่าพันธุ์แห่งพระราชาผู้สูงศักดิ์ตรัสไว้แล้ว
ภิกษุพึงแสดงระบุวัตถุ
ถาม : อาบัติปาจิตตีย์ทั้งหมดที่มีวัตถุต่างกัน มีเท่าไร
อันพระพุทธเจ้าผู้เป็นเผ่าพันธุ์แห่งพระราชาผู้สูงศักดิ์ตรัสไว้แล้ว
ภิกษุพึงแสดงระบุอะไร
ตอบ : อาบัติปาจิตตีย์ทั้งหมดที่มีวัตถุต่างกัน มี ๙
อันพระพุทธเจ้าผู้เป็นเผ่าพันธุ์แห่งพระราชาผู้สูงศักดิ์ตรัสไว้แล้ว
ภิกษุพึงแสดงระบุวัตถุ

ยาวตติยกาบัติ เป็นต้น
ถาม : เพราะสวดสมนุภาสน์ครบ ๓ ครั้ง ต้องอาบัติเท่าไร
เพราะการกล่าวเป็นปัจจัย ต้องอาบัติเท่าไร
ภิกษุเคี้ยวต้องอาบัติเท่าไร เพราะโภชนะเป็นปัจจัย ต้องอาบัติเท่าไร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๖๘๓ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ทุติยคาถาสังคณิกะ] ๓. ปาจิตติยะ
ตอบ : เพราะสวดสมนุภาสน์ครบ ๓ ครั้ง ต้องอาบัติ ๓
เพราะการกล่าวเป็นปัจจัย ต้องอาบัติ ๖
ภิกษุเคี้ยวต้องอาบัติ ๓ เพราะโภชนะเป็นปัจจัย ต้องอาบัติ ๕

ฐานะแห่งยาวตติยกาบัติ เป็นต้น
ถาม : ยาวตติยกาบัติทั้งหมดย่อมถึงฐานะเท่าไร
อาบัติมีแก่คนกี่พวก และอธิกรณ์มีแก่คนกี่พวก
ตอบ : ยาวตติยกาบัติทั้งหมดย่อมถึงฐานะ ๕
อาบัติมีแก่สหธรรมิก ๕ และอธิกรณ์มีแก่สหธรรมิก ๕

วินิจฉัย เป็นต้น
ถาม : วินิจฉัยมีแก่คนกี่พวก การระงับมีแก่คนกี่พวก
บุคคลกี่พวกไม่ต้องอาบัติ และภิกษุย่อมงามด้วยฐานะเท่าไร
ตอบ : วินิจฉัยมีแก่สหธรรมิก ๕ การระงับมีแก่
สหธรรมิก ๕ ไม่ต้องอาบัติ และภิกษุย่อมงามด้วย ๓ ฐานะ

อาบัติทางกายในราตรี เป็นต้น
ถาม : อาบัติทางกายในกลางคืนมีเท่าไร อาบัติทางกาย
ในกลางวันมีเท่าไร ภิกษุเพ่งดูต้องอาบัติเท่าไร
เพราะบิณฑบาตเป็นปัจจัย ต้องอาบัติเท่าไร
ตอบ : อาบัติทางกายในกลางคืนมี ๒ อาบัติทางกาย
ในกลางวันมี ๒ ภิกษุเพ่งดูต้องอาบัติกองเดียว
เพราะบิณฑบาตเป็นปัจจัย ต้องอาบัติกองเดียว

ภิกษุที่สงฆ์ยกวัตร เป็นต้น
ถาม : ภิกษุเห็นอานิสงส์เท่าไรจึงแสดงเพราะเชื่อคนอื่น
ภิกษุถูกยกวัตรตรัสไว้เท่าไร ความประพฤติชอบมีเท่าไร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๖๘๔ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ทุติยคาถาสังคณิกะ] ๓. ปาจิตติยะ
ตอบ : ภิกษุเห็นอานิสงส์ ๘ อย่างจึงแสดง
เพราะเชื่อคนอื่น ภิกษุถูกยกวัตรตรัสไว้ ๓ พวก
ความประพฤติชอบมี ๔๓ ข้อ

มุสาวาท เป็นต้น
ถาม : มุสาวาทถึงฐานะเท่าไร ที่ตรัสว่าอย่างยิ่งมีเท่าไร
ปาฏิเทสนียะมีกี่สิกขาบท และการแสดงโทษของบุคคลกี่พวก
ตอบ : มุสาวาทถึงฐานะ ๕ ที่ตรัสว่าอย่างยิ่งมี ๑๔ สิกขาบท
ปาฏิเทสนียะมี ๑๒ สิกขาบท
และการแสดงโทษของบุคคล ๔ พวก

องค์ของมุสาวาท เป็นต้น
ถาม : มุสาวาทมีองค์เท่าไร องค์อุโบสถมีเท่าไร
องค์ที่เอื้อต่อการเป็นทูตมีเท่าไร ติตถิยวัตรมีเท่าไร
ตอบ : มุสาวาทมีองค์ ๘ องค์อุโบสถมี ๘ องค์
ที่เอื้อต่อการเป็นทูตมี ๘ ติตถิยวัตรมี ๘

อุปสัมปทา เป็นต้น
ถาม : อุปสัมปทามีวาจาเท่าไร ภิกษุณีพึงลุกรับภิกษุณี
กี่พวก พึงให้อาสนะแก่ภิกษุณีกี่พวก
ภิกษุผู้สั่งสอนภิกษุณีประกอบด้วยคุณสมบัติเท่าไร
ตอบ : อุปสัมปทามีวาจา ๘ ภิกษุณีพึงลุกรับภิกษุณี ๘ พวก
พึงให้อาสนะแก่ภิกษุณี ๘ พวก
ภิกษุผู้สั่งสอนภิกษุณีประกอบด้วยคุณสมบัติ ๘ ข้อ

ความขาด เป็นต้น
ถาม : ความขาดมีแก่บุคคลเท่าไร อาบัติถุลลัจจัย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๖๘๕ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ทุติยคาถาสังคณิกะ] ๔. อวันทนียปุคคลาทิ
มีแก่บุคคลเท่าไร บุคคลเท่าไรไม่ต้องอาบัติ
อาบัติและอนาบัติของคนทั้งหมดมีวัตถุอย่างเดียวกันหรือ
ตอบ : ความขาดมีแก่บุคคลผู้เดียว อาบัติถุลลัจจัย
มีแก่บุคคล ๔ พวก บุคคล ๔ พวกไม่ต้องอาบัติ
อาบัติและอนาบัติของคนทั้งหมดมีวัตถุอย่างเดียวกัน

กรรมเนื่องด้วยญัตติ เป็นต้น
ถาม : อาฆาตวัตถุมีเท่าไร สงฆ์แตกกันด้วยเหตุเท่าไร
อาบัติชื่อปฐมาปัตติกา ในศาสนานี้มีเท่าไร การทำด้วยญัตติมีเท่าไร
ตอบ : อาฆาตวัตถุมี ๙ สงฆ์แตกกันด้วยเหตุ ๙ อย่าง
อาบัติชื่อปฐมาปัตติกาในศาสนานี้มี ๙ อย่าง
การทำด้วยญัตติมี ๙ อย่าง

๔. อวันทนียปุคคลาทิ
ว่าด้วยบุคคลไม่ควรไหว้ เป็นต้น
[๔๗๗] ถาม : บุคคลเท่าไรอันภิกษุไม่ควรกราบไหว้
ไม่ควรทำอัญชลีกรรมและสามีจิกรรม ทำแก่บุคคลกี่พวก
ต้องอาบัติทุกกฏ การทรงจีวรมีกำหนดเท่าไร
ตอบ : บุคคล ๑๐ จำพวก อันภิกษุไม่ควรกราบไหว้
ไม่ควรทำอัญชลีกรรม และสามีจิกรรม
ทำแก่บุคคล ๑๐ จำพวก ต้องอาบัติทุกกฏ
การทรงจีวรมีกำหนด ๑๐ วัน

ให้จีวร เป็นต้น
ถาม : จีวรควรให้แก่บุคคลในศาสนานี้ผู้อยู่จำพรรษาแล้ว
กี่พวก เมื่อมีผู้รับแทน ควรให้แก่บุคคลกี่พวก
และไม่ควรให้แก่บุคคลกี่พวก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๖๘๖ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ทุติยคาถาสังคณิกะ] ๔. อวันทนียปุคคลาทิ
ตอบ : จีวรควรให้แก่สหธรรมิก ๕ ในศาสนานี้ผู้อยู่จำพรรษาแล้ว
เมื่อมีผู้รับแทน ควรให้แก่บุคคล ๗ จำพวก
และไม่ควรให้แก่บุคคล ๑๖ จำพวก

ภิกษุอยู่ปริวาส
ถาม : ชั่ว ๑๐๐ ราตรี ภิกษุอยู่ปริวาสปิดอาบัติไว้กี่ร้อย
ต้องอยู่ปริวาสกี่ราตรีจึงจะพ้น
ตอบ : ชั่ว ๑๐๐ ราตรี ภิกษุอยู่ปริวาสปิดอาบัติไว้ ๑,๐๐๐ ราตรี
ต้องอยู่ปริวาส ๑๐ ราตรีจึงจะพ้น

โทษแห่งกรรม
ถาม : โทษแห่งกรรมอันพระพุทธเจ้าผู้เป็นเผ่าพันธุ์
แห่งพระราชาผู้สูงศักดิ์ตรัสไว้เท่าไร กรรมที่ไม่ชอบธรรมทั้งหมด
ที่ตรัสไว้ในเรื่องพระวินัยในพระนครจัมปามีเท่าไร
ตอบ : โทษแห่งกรรมอันพระพุทธเจ้าผู้เป็นเผ่าพันธุ์
แห่งพระราชาผู้สูงศักดิ์ตรัสไว้มี ๑๒ กรรม
กรรมที่ตรัสไว้ในเรื่องพระวินัยในพระนครจัมปาล้วนไม่ชอบธรรม

กรรมสมบัติ
ถาม : กรรมสมบัติอันพระพุทธเจ้าผู้เป็นเผ่าพันธุ์
แห่งพระราชาผู้สูงศักดิ์ตรัสไว้เท่าไร กรรมที่ชอบธรรมทั้งหมด
ที่ตรัสไว้ในเรื่องพระวินัยในพระนครจัมปามีเท่าไร
ตอบ : กรรมสมบัติอันพระพุทธเจ้าผู้เป็นเผ่าพันธุ์
แห่งพระราชาผู้สูงศักดิ์ตรัสไว้มี ๔ ประการ
กรรมที่ตรัสไว้ในเรื่องพระวินัยในพระนครจัมปาล้วนชอบธรรม

กรรม ๖ อย่าง
ถาม : กรรมอันพระพุทธเจ้าผู้เป็นเผ่าพันธุ์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๖๘๗ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ทุติยคาถาสังคณิกะ] ๔. อวันทนียปุคคลาทิ
แห่งพระราชาผู้สูงศักดิ์ตรัสไว้เท่าไร
กรรมที่ตรัสไว้ในเรื่องพระวินัยในพระนครจัมปา
ที่ชอบธรรมมีเท่าไร ที่ไม่ชอบธรรมมีเท่าไร
ตอบ : กรรมอันพระพุทธเจ้าผู้เป็นเผ่าพันธุ์
แห่งพระราชาผู้สูงศักดิ์ตรัสไว้มี ๖ อย่าง ในกรรม ๖ อย่างนี้
กรรมอันพระพุทธเจ้าผู้เป็นเผ่าพันธุ์แห่งพระราชาผู้สูงศักดิ์
ตรัสไว้ในเรื่องพระวินัยในพระนครจัมปา ที่ชอบธรรมมีอย่างเดียว
ที่ไม่ชอบธรรมมี ๕ อย่าง

กรรม ๔ อย่าง
ถาม : กรรมอันพระพุทธเจ้าผู้เป็นเผ่าพันธุ์
แห่งพระราชาผู้สูงศักดิ์ตรัสไว้เท่าไร กรรมที่ตรัสไว้ในเรื่องพระวินัย
ในพระนครจัมปา ที่ชอบธรรมมีเท่าไร ที่ไม่ชอบธรรมมีเท่าไร
ตอบ : กรรมอันพระพุทธเจ้าผู้เป็นเผ่าพันธุ์
แห่งพระราชาผู้สูงศักดิ์ตรัสไว้มี ๔ อย่าง
ในกรรม ๔ อย่างนี้ กรรมอันพระพุทธเจ้าผู้เป็นเผ่าพันธุ์
แห่งพระราชาผู้สูงศักดิ์ตรัสไว้ในเรื่องพระวินัยในพระนครจัมปา
ที่ชอบธรรมมีอย่างเดียว ที่ไม่ชอบธรรมมี ๓ อย่าง

อาบัติระงับ และไม่ระงับ
ถาม : ในกองอาบัติที่พระอนันตชินเจ้าผู้คงที่
ผู้ทรงเห็นวิเวก ทรงแสดงแล้วนั้น กองอาบัติกี่กอง
เว้นสมถะเสียก็ระงับได้ ท่านผู้ฉลาดในวิภังค์
ข้าพเจ้าถามข้อนั้น ขอท่านจงบอก
ตอบ : ในกองอาบัติที่พระอนันตชินเจ้าผู้คงที่
ผู้ทรงเห็นวิเวก ทรงแสดงแล้วนั้น กองอาบัติกองเดียว
เว้นสมถะเสียก็ระงับได้ ท่านผู้ฉลาดในวิภังค์
ข้าพเจ้าขอบอกข้อนั้นแก่ท่าน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๖๘๘ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ทุติยคาถาสังคณิกะ] ๔. อวันทนียปุคคลาทิ
ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์ไปสู่อบาย
ถาม : ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์ไปสู่อบาย อันพระพุทธเจ้า
ผู้เป็นเผ่าพันธุ์แห่งพระราชาผู้สูงศักดิ์ตรัสไว้เท่าไร
ข้าพเจ้าทั้งหลายขอฟังวิสัยของท่านผู้รู้แจ้งพระวินัย
ตอบ : ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์ไปสู่อบาย ตกนรกอยู่ชั่วกัป
อันพระพุทธเจ้าผู้เป็นเผ่าพันธุ์แห่งพระราชา
ผู้สูงศักดิ์ตรัสไว้ ๑๔๔ พวก
ขอท่านจงฟังวิสัยของข้าพเจ้าผู้รู้แจ้งพระวินัย

ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์ไม่ไปสู่อบาย
ถาม : ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์ไม่ไปสู่อบาย
อันพระพุทธเจ้าผู้เป็นเผ่าพันธุ์แห่งพระราชาผู้สูงศักดิ์ตรัสไว้เท่าไร
ข้าพเจ้าทั้งหลายขอฟังวิสัยของท่านผู้รู้แจ้งพระวินัย
ตอบ : ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์ไม่ไปสู่อบาย
อันพระพุทธเจ้าผู้เป็นเผ่าพันธุ์แห่ง
พระราชาผู้สูงศักดิ์ตรัสไว้ ๑๘ พวก
ขอท่านจงฟังวิสัยของข้าพเจ้าผู้รู้แจ้งพระวินัย

หมวด ๘
ถาม : หมวด ๘ อันพระพุทธเจ้าผู้เป็นเผ่าพันธุ์
แห่งพระราชาผู้สูงศักดิ์ตรัสไว้เท่าไร
ข้าพเจ้าทั้งหลายขอฟังวิสัยของท่านผู้รู้แจ้งพระวินัย
ตอบ : หมวด ๘ อันพระพุทธเจ้าผู้เป็นเผ่าพันธุ์
แห่งพระราชาผู้สูงศักดิ์ตรัสไว้ ๑๘ หมวด
ขอท่านจงฟังวิสัยของข้าพเจ้าผู้รู้แจ้งพระวินัย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๖๘๙ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ทุติยคาถาสังคณิกะ] ๕. โสฬสกัมมาทิ
๕. โสฬสกัมมาทิ
ว่าด้วยกรรม ๑๖ อย่าง เป็นต้น
[๔๗๘] ถาม : กรรมอันพระพุทธเจ้าผู้เป็นเผ่าพันธุ์
แห่งพระราชาผู้สูงศักดิ์ตรัสไว้เท่าไร
ข้าพเจ้าทั้งหลายขอฟังวิสัยของท่านผู้รู้แจ้งพระวินัย
ตอบ : กรรมอันพระพุทธเจ้าผู้เป็นเผ่าพันธุ์
แห่งพระราชาผู้สูงศักดิ์ตรัสไว้ ๑๖ อย่าง
ขอท่านจงฟังวิสัยของข้าพเจ้าผู้รู้แจ้งพระวินัย

โทษแห่งกรรม
ถาม : โทษแห่งกรรมอันพระพุทธเจ้าผู้เป็นเผ่าพันธุ์
แห่งพระราชาผู้สูงศักดิ์ตรัสไว้เท่าไร
ข้าพเจ้าทั้งหลายขอฟังวิสัยของท่านผู้รู้แจ้งพระวินัย
ตอบ : โทษแห่งกรรมอันพระพุทธเจ้าผู้เป็นเผ่าพันธุ์
แห่งพระราชาผู้สูงศักดิ์ตรัสไว้ ๑๒ อย่าง
ขอท่านจงฟังวิสัยของข้าพเจ้าผู้รู้แจ้งพระวินัย

กรรมสมบัติ
ถาม : กรรมสมบัติอันพระพุทธเจ้าผู้เป็นเผ่าพันธุ์
แห่งพระราชาผู้สูงศักดิ์ตรัสไว้เท่าไร
ข้าพเจ้าทั้งหลายขอฟังวิสัยของท่านผู้รู้แจ้งพระวินัย
ตอบ : กรรมสมบัติอันพระพุทธเจ้าผู้เป็นเผ่าพันธุ์
แห่งพระราชาผู้สูงศักดิ์ตรัสไว้ ๔ อย่าง
ขอท่านจงฟังวิสัยของข้าพเจ้าผู้รู้แจ้งพระวินัย

กรรม ๖
ถาม : กรรมอันพระพุทธเจ้าผู้เป็นเผ่าพันธุ์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๖๙๐ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ทุติยคาถาสังคณิกะ] ๕. โสฬสกัมมาทิ
แห่งพระราชาผู้สูงศักดิ์ตรัสไว้เท่าไร
ข้าพเจ้าทั้งหลายขอฟังวิสัยของท่านผู้รู้แจ้งพระวินัย
ตอบ : กรรมอันพระพุทธเจ้าผู้เป็นเผ่าพันธุ์
แห่งพระราชาผู้สูงศักดิ์ตรัสไว้ ๖ อย่าง
ขอท่านจงฟังวิสัยของข้าพเจ้าผู้รู้แจ้งพระวินัย

กรรม ๔
ถาม : กรรมอันพระพุทธเจ้าผู้เป็นเผ่าพันธุ์
แห่งพระราชาผู้สูงศักดิ์ตรัสไว้เท่าไร
ข้าพเจ้าทั้งหลายขอฟังวิสัยของท่านผู้รู้แจ้งพระวินัย
ตอบ : กรรมอันพระพุทธเจ้าผู้เป็นเผ่าพันธุ์
แห่งพระราชาผู้สูงศักดิ์ตรัสไว้ ๔ อย่าง
ขอท่านจงฟังวิสัยของข้าพเจ้าผู้รู้แจ้งพระวินัย

ปาราชิก ๘
ถาม : ปาราชิกอันพระพุทธเจ้าผู้เป็นเผ่าพันธุ์
แห่งพระราชาผู้สูงศักดิ์ตรัสไว้เท่าไร
ข้าพเจ้าทั้งหลายขอฟังวิสัยของท่านผู้รู้แจ้งพระวินัย
ตอบ : ปาราชิกอันพระพุทธเจ้าผู้เป็นเผ่าพันธุ์
แห่งพระราชาผู้สูงศักดิ์ตรัสไว้ ๘ อย่าง
ขอท่านจงฟังวิสัยของข้าพเจ้าผู้รู้แจ้งพระวินัย

สังฆาทิเสส ๒๓
ถาม : สังฆาทิเสสอันพระพุทธเจ้าผู้เป็นเผ่าพันธุ์
แห่งพระราชาผู้สูงศักดิ์ตรัสไว้เท่าไร
ข้าพเจ้าทั้งหลายขอฟังวิสัยของท่านผู้รู้แจ้งพระวินัย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๖๙๑ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ทุติยคาถาสังคณิกะ] ๕. โสฬสกัมมาทิ
ตอบ : สังฆาทิเสสอันพระพุทธเจ้าผู้เป็นเผ่าพันธุ์
แห่งพระราชาผู้สูงศักดิ์ตรัสไว้ ๒๓ อย่าง
ขอท่านจงฟังวิสัยของข้าพเจ้าผู้รู้แจ้งพระวินัย

อนิยต ๒
ถาม : อนิยตอันพระพุทธเจ้าผู้เป็นเผ่าพันธุ์
แห่งพระราชาผู้สูงศักดิ์ตรัสไว้เท่าไร
ข้าพเจ้าทั้งหลายขอฟังวิสัยของท่านผู้รู้แจ้งพระวินัย
ตอบ : อนิยตอันพระพุทธเจ้าผู้เป็นเผ่าพันธุ์
แห่งพระราชาผู้สูงศักดิ์ตรัสไว้ ๒ สิกขาบท
ขอท่านจงฟังวิสัยของข้าพเจ้าผู้รู้แจ้งพระวินัย

นิสสัคคีย์ ๔๒
ถาม : นิสสัคคีย์อันพระพุทธเจ้าผู้เป็นเผ่าพันธุ์
แห่งพระราชาผู้สูงศักดิ์ตรัสไว้เท่าไร
ข้าพเจ้าทั้งหลายขอฟังวิสัยของท่านผู้รู้แจ้งพระวินัย
ตอบ : นิสสัคคีย์อันพระพุทธเจ้าผู้เป็นเผ่าพันธุ์
แห่งพระราชาผู้สูงศักดิ์ตรัสไว้ ๔๒ สิกขาบท
ขอท่านจงฟังวิสัยของข้าพเจ้าผู้รู้แจ้งพระวินัย

ปาจิตตีย์ ๑๘๘
ถาม : ปาจิตตีย์อันพระพุทธเจ้าผู้เป็นเผ่าพันธุ์
แห่งพระราชาผู้สูงศักดิ์ตรัสไว้เท่าไร
ข้าพเจ้าทั้งหลายขอฟังวิสัยของท่านผู้รู้แจ้งพระวินัย
ตอบ : ปาจิตตีย์อันพระพุทธเจ้าผู้เป็นเผ่าพันธุ์
แห่งพระราชาผู้สูงศักดิ์ตรัสไว้ ๑๘๘ สิกขาบท
ขอท่านจงฟังวิสัยของข้าพเจ้าผู้รู้แจ้งพระวินัย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๖๙๒ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ทุติยคาถาสังคณิกะ] ๕. โสฬสกัมมาทิ
ปาฏิเทสนียะ ๑๒
ถาม : ปาฏิเทสนียะอันพระพุทธเจ้าผู้เป็นเผ่าพันธุ์
แห่งพระราชาผู้สูงศักดิ์ตรัสไว้เท่าไร
ข้าพเจ้าทั้งหลายขอฟังวิสัยของท่านผู้รู้แจ้งพระวินัย
ตอบ : ปาฏิเทสนียะอันพระพุทธเจ้าผู้เป็นเผ่าพันธุ์
แห่งพระราชาผู้สูงศักดิ์ตรัสไว้ ๑๒ สิกขาบท
ขอท่านจงฟังวิสัยของข้าพเจ้าผู้รู้แจ้งพระวินัย

เสขิยะ ๗๕
ถาม : เสขิยะอันพระพุทธเจ้าผู้เป็นเผ่าพันธุ์
แห่งพระราชาผู้สูงศักดิ์ตรัสไว้เท่าไร
ข้าพเจ้าทั้งหลายขอฟังวิสัยของท่านผู้รู้แจ้งพระวินัย
ตอบ : เสขิยะอันพระพุทธเจ้าผู้เป็นเผ่าพันธุ์
แห่งพระราชาผู้สูงศักดิ์ตรัสไว้ ๗๕ สิกขาบท
ขอท่านจงฟังวิสัยของข้าพเจ้าผู้รู้แจ้งพระวินัย
ปัญหาข้อใด ท่านถามแล้วด้วยดีเพียงใด
ปัญหาข้อนั้นข้าพเจ้าก็ตอบแล้วด้วยดี เพียงนั้น
อนึ่ง ในคำถามและคำตอบจะไม่อ้างถึงสูตรอะไร ไม่มีแล
ทุติยคาถาสังคณิกะ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๖๙๓ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [เสทโมจนคาถา] ๑. อวิปปวาสปัญหา
เสทโมจนคาถา
ว่าด้วยคาถาที่ทำให้เหงื่อแตก
๑. อวิปปวาสปัญหา
ปัญหาว่าด้วยการไม่อยู่ปราศ
[๔๗๙] ภิกษุทั้งหลายไม่อยู่ร่วมกับภิกษุณีทั้งหลาย
ความสนิทชิดเชื้อบางอย่างในบุคคลนั้นทำไม่ได้
เพราะไม่อยู่ปราศไม่ต้องอาบัติ
ปัญหาข้อนี้ ท่านผู้ฉลาดทั้งหลายคิดกันแล้ว
ครุภัณฑ์ที่ไม่พึงสละ ไม่พึงแจก อันพระผู้มีพระภาค
ผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ตรัสไว้ ๕ หมวด
ภิกษุผู้สละใช้สอยไม่ต้องอาบัติ
ปัญหาข้อนี้ ท่านผู้ฉลาดทั้งหลายคิดกันแล้ว
ข้าพเจ้าไม่กล่าวถึงบุคคล ๑๐ จำพวก
บุคคลที่พึงเว้น ๑๑ จำพวก
ภิกษุไหว้ผู้แก่กว่าต้องอาบัติ
ปัญหาข้อนี้ ท่านผู้ฉลาดทั้งหลายคิดกันแล้ว
ภิกษุไม่ถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรม และมิได้อยู่ปริวาส
ไม่เป็นผู้ทำลายสงฆ์ และไม่เป็นผู้ไปเข้ารีด
ดำรงอยู่ในภูมิของภิกษุผู้มีสังวาสเสมอกัน
ไฉนหนอจึงไม่ทั่วไปแก่สิกขา
ปัญหาข้อนี้ ท่านผู้ฉลาดทั้งหลายคิดกันแล้ว
บุคคลเข้าถึงธรรม สอบถามถึงกุศลที่ประกอบด้วยประโยชน์
มิใช่ผู้มีชีวิต มิใช่ผู้ตาย มิใช่ผู้ดับ
ท่านผู้รู้ทั้งหลายเรียกบุคคลนั้นว่าอย่างไร
ปัญหาข้อนี้ ท่านผู้ฉลาดทั้งหลายคิดกันแล้ว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๖๙๔ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [เสทโมจนคาถา] ๑. อวิปปวาสปัญหา
ข้าพเจ้าไม่กล่าวถึงอวัยวะเหนือบริเวณรากขวัญขึ้นไป
เว้นอวัยวะบริเวณใต้สะดือลงมา ภิกษุพึงเป็นปาราชิก
เพราะเมถุนธรรมเป็นปัจจัยได้อย่างไร
ปัญหาข้อนี้ ท่านผู้ฉลาดทั้งหลายคิดกันแล้ว
ภิกษุสร้างกุฎีด้วยการขอเอาเอง ไม่ได้ให้สงฆ์แสดงพื้นที่
เกินขนาด ซึ่งเป็นพื้นที่มีอันตราย
เป็นพื้นที่ไม่มีบริเวณโดยรอบ ไม่ต้องอาบัติ
ปัญหาข้อนี้ ท่านผู้ฉลาดทั้งหลายคิดกันแล้ว
ภิกษุสร้างกุฎีด้วยการขอเอาเอง ให้สงฆ์แสดงพื้นที่ ได้ขนาด
เป็นพื้นที่ไม่มีอันตราย เป็นพื้นที่ไม่มีบริเวณโดยรอบ ต้องอาบัติ
ปัญหาข้อนี้ ท่านผู้ฉลาดทั้งหลายคิดกันแล้ว
ภิกษุไม่พยายามอะไรทางกาย และไม่พูดกับผู้อื่นทางวาจา
แต่ต้องอาบัติหนักซึ่งเป็นมูลแห่งการตัดขาด
ปัญหาข้อนี้ ท่านผู้ฉลาดทั้งหลายคิดกันแล้ว
สัตบุรุษไม่ทำความชั่วอะไรทางกาย ทางวาจา
และแม้ทางใจ ถูกสงฆ์นาสนะแล้ว ชื่อว่าถูกนาสนะด้วยดี
เพราะเหตุไร ปัญหาข้อนี้ ท่านผู้ฉลาดทั้งหลายคิดกันแล้ว
ภิกษุไม่เจรจากับมนุษย์ไร ๆ ด้วยวาจา
และไม่กล่าวถ้อยคำกับผู้อื่น
ต้องอาบัติทางวาจา ไม่ต้องอาบัติทางกาย
ปัญหาข้อนี้ ท่านผู้ฉลาดทั้งหลายคิดกันแล้ว
สิกขาบททั้งหลาย อันพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐ
พรรณาไว้แล้ว สังฆาทิเสส ๔ สิกขาบท
ภิกษุณีต้องทั้งหมด ด้วยความพยายามครั้งเดียวกัน
ปัญหาข้อนี้ ท่านผู้ฉลาดทั้งหลายคิดกันแล้ว
ภิกษุณี ๒ รูป อุปสมบทแต่สงฆ์ฝ่ายเดียว
ภิกษุรับจีวรจากมือของภิกษุณี ๒ รูป ต้องอาบัติต่างกัน
ปัญหาข้อนี้ ท่านผู้ฉลาดทั้งหลายคิดกันแล้ว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๖๙๕ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [เสทโมจนคาถา] ๒. ปาราชิกาทิปัญหา
ภิกษุ ๔ รูป ชวนกันไปลักครุภัณฑ์ ๓ รูป ต้องอาบัติปาราชิก
อีก ๑ รูป ไม่ต้องอาบัติปาราชิก
ปัญหาข้อนี้ ท่านผู้ฉลาดทั้งหลายคิดกันแล้ว

๒. ปาราชิกาทิปัญหา
ปัญหาว่าด้วยอาบัติปาราชิก เป็นต้น
[๔๘๐] สตรีอยู่ข้างในและภิกษุอยู่ข้างนอก ช่องในเรือนนั้นก็ไม่มี
ภิกษุจะพึงต้องอาบัติปาราชิกเพราะเมถุนธรรมเป็นปัจจัยได้อย่างไร
ปัญหาข้อนี้ ท่านผู้ฉลาดทั้งหลายคิดกันแล้ว
เมื่อภิกษุรับประเคนน้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อยและเนยใส
ด้วยตนเองแล้วเก็บไว้ เมื่อยังไม่ล่วง ๗ วัน
เมื่อปัจจัยมีอยู่จึงฉัน ต้องอาบัติ
ปัญหาข้อนี้ ท่านผู้ฉลาดทั้งหลายคิดกันแล้ว
อาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์ อาบัติสุทธิกปาจิตตีย์
ภิกษุต้องพร้อมกัน
ปัญหาข้อนี้ ท่านผู้ฉลาดทั้งหลายคิดกันแล้ว
ภิกษุ ๒๐ รูป มาประชุมกัน สำคัญว่าพร้อมเพรียงจึงทำกรรม
ภิกษุอยู่ไกล ๑๒ โยชน์ พึงยังกรรมนั้นให้เสียได้
เพราะการแบ่งพวกเป็นปัจจัย
ปัญหาข้อนี้ ท่านผู้ฉลาดทั้งหลายคิดกันแล้ว
ภิกษุต้องครุกาบัติที่ทำคืนได้ทั้งหมด ๖๔ คราวเดียวกัน
ด้วยอาการเพียงย่างเท้า และด้วยกล่าววาจา
ปัญหาข้อนี้ ท่านผู้ฉลาดทั้งหลายคิดกันแล้ว
ภิกษุนุ่งผ้าอันตรวาสก ห่มผ้าสังฆาฏิ ๒ ชั้น
ผ้าทั้งหมดนั้นเป็นนิสสัคคีย์
ปัญหาข้อนี้ ท่านผู้ฉลาดทั้งหลายคิดกันแล้ว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๖๙๖ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [เสทโมจนคาถา] ๒. ปาราชิกาทิปัญหา
ญัตติก็ไม่ได้สวด กรรมวาจาก็ไม่ได้สวด
พระชินเจ้าก็มิได้รับสั่งว่า เธอจงมาเป็นภิกษุเถิด
ไตรสรณคมณ์เขาก็ไม่ได้รับ
แต่อุปสัมปทกรรมของบุคคลนั้นไม่เสีย
ปัญหาข้อนี้ ท่านผู้ฉลาดทั้งหลายคิดกันแล้ว
บุคคลผู้โง่เขลาฆ่าสตรีซึ่งมิใช่มารดา และฆ่าบุรุษซึ่งมิใช่บิดา
ฆ่าบุคคลผู้มิใช่อริยะ แต่ต้องอนันตริยกรรมเพราะโทษนั้น
ปัญหาข้อนี้ ท่านผู้ฉลาดทั้งหลายคิดกันแล้ว
บุคคลผู้โง่เขลาฆ่าสตรีผู้เป็นมารดา และฆ่าบุรุษผู้เป็นบิดา
ครั้นฆ่ามารดาบิดาแล้ว ไม่ต้องอนันตริยกรรมเพราะโทษนั้น
ปัญหาข้อนี้ ท่านผู้ฉลาดทั้งหลายคิดกันแล้ว
ภิกษุไม่โจท ไม่สอบสวน แล้วทำกรรมแก่บุคคลผู้อยู่ลับหลัง
และกรรมที่ทำแล้ว เป็นอันทำชอบแล้ว
ทั้งการกสงฆ์ก็ไม่ต้องอาบัติ
ปัญหาข้อนี้ ท่านผู้ฉลาดทั้งหลายคิดกันแล้ว
ภิกษุโจท สอบสวนแล้ว พึงทำกรรมแก่บุคคลผู้อยู่ต่อหน้า
และกรรมที่ทำแล้ว ไม่เป็นอันทำ ทั้งการกสงฆ์ก็ต้องอาบัติ
ปัญหาข้อนี้ ท่านผู้ฉลาดทั้งหลายคิดกันแล้ว
ภิกษุตัดต้องอาบัติก็มี ไม่ต้องอาบัติก็มี
ภิกษุปกปิดต้องอาบัติก็มี ไม่ต้องอาบัติก็มี
ปัญหาข้อนี้ ท่านผู้ฉลาดทั้งหลายคิดกันแล้ว
ภิกษุพูดจริงต้องอาบัติหนัก พูดเท็จต้องอาบัติเบา
พูดเท็จต้องอาบัติหนัก และพูดจริงต้องอาบัติเบา
ปัญหาข้อนี้ ท่านผู้ฉลาดทั้งหลายคิดกันแล้ว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๖๙๗ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [เสทโมจนคาถา] ๓. ปาจิตติยาทิปัญหา
๓. ปาจิตติยาทิปัญหา
ปัญหาว่าด้วยอาบัติปาจิตตีย์ เป็นต้น
[๔๘๑] ภิกษุใช้สอยจีวรที่อธิษฐานแล้ว ย้อมด้วยน้ำย้อม
แม้กัปปะก็ทำแล้ว ยังต้องอาบัติ
ปัญหาข้อนี้ ท่านผู้ฉลาดทั้งหลายคิดกันแล้ว
เมื่อพระอาทิตย์อัสดงแล้ว ภิกษุฉันเนื้อ ไม่ใช่ผู้วิกลจริต
ไม่ใช่ผู้มีจิตฟุ้งซ่าน และไม่ใช่ผู้กระสับกระส่ายเพราะเวทนา
แต่ไม่ต้องอาบัติ และธรรมข้อนั้นพระสุคตทรงแสดงไว้แล้ว
ปัญหาข้อนี้ ท่านผู้ฉลาดทั้งหลายคิดกันแล้ว
ภิกษุไม่ใช่ผู้มีจิตกำหนัด ไม่ใช่ผู้มีจิตคิดลัก
และแม้ผู้อื่นภิกษุนั้นก็ไม่ได้คิดจะฆ่า ความขาดย่อมมีแก่ภิกษุนั้นผู้ให้สลาก
เมื่อภิกษุจับต้องอาบัติถุลลัจจัย
ปัญหาข้อนี้ ท่านผู้ฉลาดทั้งหลายคิดกันแล้ว
ไม่ใช่เสนาสนะป่าที่รู้กันว่าน่าหวาดระแวง
และไม่ใช่สงฆ์ให้สมมติ ทั้งกฐินภิกษุนั้นก็ไม่ได้กราน
ภิกษุนั้นเก็บจีวรไว้ ณ ที่นั้นเอง แล้วไปไกลถึงครึ่งโยชน์
เมื่ออรุณขึ้น ไม่ต้องอาบัติในเรื่องนั้นนั่นเล
ปัญหาข้อนี้ ท่านผู้ฉลาดทั้งหลายคิดกันแล้ว
อาบัติทั้งมวลที่เกิดทางกาย มิใช่เกิดทางวาจา
มีวัตถุต่างกัน ภิกษุต้องในขณะเดียวกัน ไม่ก่อนไม่หลัง
ปัญหาข้อนี้ ท่านผู้ฉลาดทั้งหลายคิดกันแล้ว
อาบัติทั้งมวลที่เกิดทางวาจา มิใช่เกิดทางกาย
มีวัตถุต่างกัน ภิกษุต้องในขณะเดียวกัน ไม่ก่อนไม่หลัง
ปัญหาข้อนี้ ท่านผู้ฉลาดทั้งหลายคิดกันแล้ว
ไม่มีการเสพเมถุนธรรมในสตรี ๓ จำพวก บุรุษ ๓ จำพวก
คนไม่ประเสริฐ ๓ จำพวก และบัณเฑาะก์ ๓ จำพวก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๖๙๘ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [เสทโมจนคาถา] ๓. ปาจิตติยาทิปัญหา
และไม่มีการเสพเมถุนธรรมในอวัยวะที่ปรากฏ แต่มีมูลแห่งการตัดขาด
เพราะเมถุนธรรมเป็นปัจจัย
ปัญหาข้อนี้ ท่านผู้ฉลาดทั้งหลายคิดกันแล้ว
ภิกษุขอจีวรกับมารดา และไม่ได้น้อมลาภไปเพื่อสงฆ์
เพราะเหตุไร ภิกษุนั้นจึงต้องอาบัติ
แต่ไม่ต้องอาบัติเพราะบุคคลผู้เป็นญาติ
ปัญหาข้อนี้ ท่านผู้ฉลาดทั้งหลายคิดกันแล้ว
ผู้โกรธย่อมให้สงฆ์ยินดี ผู้โกรธย่อมถูกสงฆ์ติเตียน
ก็ธรรมที่เป็นเหตุให้สงฆ์สรรเสริญผู้โกรธนั้น ชื่ออะไร
ปัญหาข้อนี้ ท่านผู้ฉลาดทั้งหลายคิดกันแล้ว
ผู้แช่มชื่นย่อมให้สงฆ์ยินดี ผู้แช่มชื่นย่อมถูกสงฆ์ติเตียน
ก็ธรรมที่เป็นเหตุให้สงฆ์ติเตียนผู้แช่มชื่นนั้น ชื่ออะไร
ปัญหาข้อนี้ ท่านผู้ฉลาดทั้งหลายคิดกันแล้ว
ภิกษุต้องอาบัติสังฆาทิเสส ถุลลัจจัย ปาจิตตีย์
ปาฏิเทสนียะ และทุกกฏในขณะเดียวกัน
ปัญหาข้อนี้ ท่านผู้ฉลาดทั้งหลายคิดกันแล้ว
ทั้ง ๒ มีอายุครบ ๒๐ ปี ทั้ง ๒ มีพระอุปัชฌาย์รูปเดียวกัน
มีอาจารย์รูปเดียวกัน สวดกรรมวาจาเดียวกัน
คนหนึ่งเป็นอุปสัมบัน คนหนึ่งเป็นอนุปสัมบัน
ปัญหาข้อนี้ ท่านผู้ฉลาดทั้งหลายคิดกันแล้ว
ผ้าที่ไม่ได้ทำกัปปะและไม่ได้ย้อมด้วยน้ำย้อม
ภิกษุนุ่งห่มเดินทางไปตามปรารถนา และภิกษุนั้นไม่ต้องอาบัติ
ธรรมนั้นพระสุคตทรงแสดงแล้ว
ปัญหาข้อนี้ ท่านผู้ฉลาดทั้งหลายคิดกันแล้ว
ภิกษุณีไม่ให้ ไม่รับ การรับไม่มีด้วยเหตุนั้น
แต่ต้องอาบัติหนัก ไม่ต้องอาบัติเบา และต้องอาบัตินั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๖๙๙ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [เสทโมจนคาถา] ๓. ปาจิตติยาทิปัญหา
เพราะการใช้สอยเป็นปัจจัย
ปัญหาข้อนี้ ท่านผู้ฉลาดทั้งหลายคิดกันแล้ว
ภิกษุณีไม่ให้ ไม่รับ การรับไม่มีด้วยเหตุนั้น
แต่ต้องอาบัติเบา ไม่ต้องอาบัติหนัก และต้องอาบัตินั้น
เพราะการใช้สอยเป็นปัจจัย
ปัญหาข้อนี้ ท่านผู้ฉลาดทั้งหลายคิดกันแล้ว
ภิกษุณีต้องอาบัติหนักมีส่วนเหลือ ปกปิดไว้
เพราะอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ
ผู้ไม่ใช่ภิกษุณีก็ไม่ต้องโทษ
ปัญหาข้อนี้ ท่านผู้ฉลาดทั้งหลายคิดกันแล้ว
เสทโมจนคาถา จบ

หัวข้อประจำเรื่อง
ไม่อยู่ร่วมกัน ไม่สละ บุคคล ๑๐ จำพวก
ไม่ถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรม เข้าถึงธรรม อวัยวะเหนือบริเวณรากขวัญ
จากนั้นสร้างกุฎีด้วยการขอเอาเอง ๒ สิกขาบท
ไม่พยายามทางกาย แต่ต้องอาบัติหนัก ไม่ทำความชั่วทางกาย
แต่ถูกสงฆ์นาสนะชอบแล้ว ไม่เจรจา สิกขาบท
ชน ๒ คน และชน ๔ คน
สตรี น้ำมัน นิสสัคคีย์ ภิกษุ ก้าวเท้าเดิน
นุ่งผ้า ไม่สวดญัตติ ฆ่าสตรีมิใช่มารดา ฆ่าบุรุษมิใช่บิดา
ไม่โจท โจท ตัด พูดจริง ผ้าที่อธิษฐาน
พระอาทิตย์อัสดงคตแล้ว ไม่กำหนัด มิใช่เสนาสนะป่า
อาบัติทางกาย ทางวาจา สตรี ๓ พวก มารดา
โกรธแล้วให้ยินดี แช่มชื่น ต้องสังฆาทิเสส
สองคน ผ้าไม่ได้ทำกัปปะ ไม่ให้ ต้องอาบัติหนัก
คาถาที่คิดจนเหงื่อไหล เป็นปัญหาที่ท่านผู้รู้ได้ชี้แจงไว้แล้วแล

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๗๐๐ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ปัญจวรรค] ๑. กรรมวรรค
ปัญจวรรค
ว่าด้วยหมวด ๕ หมวด
๑. กรรมวรรค
หมวดว่าด้วยเรื่องกรรม
กรรม ๔
[๔๘๒] กรรม(สังฆกรรม) ๔ อย่าง คือ

๑. อปโลกนกรรม ๒. ญัตติกรรม
๓. ญัตติทุติยกรรม ๔. ญัตติจตุตถกรรม

ถาม : กรรม ๔ อย่างนี้ ย่อมวิบัติโดยอาการเท่าไร
ตอบ : กรรม ๔ อย่างนี้ ย่อมวิบัติโดยอาการ ๕ อย่าง คือ

๑. โดยวัตถุ ๒. โดยญัตติ
๓. โดยอนุสาวนา ๔. โดยสีมา
๕. โดยบริษัท

วัตถุวิบัติ
[๔๘๓] ถาม : กรรมย่อมชื่อว่าวิบัติโดยวัตถุอย่างไร
ตอบ : กรรมย่อมชื่อว่าวิบัติโดยวัตถุอย่างนี้ คือ กรรมที่ควรทำพร้อมหน้า
แต่สงฆ์ทำลับหลัง กรรมไม่ชอบธรรม ชื่อว่าวิบัติโดยวัตถุ
กรรมที่ควรสอบถามก่อนทำ แต่สงฆ์ไม่สอบถามก่อนทำ กรรมไม่ชอบธรรม
ชื่อว่าวิบัติโดยวัตถุ
กรรมที่ควรทำตามปฏิญญา แต่สงฆ์ไม่ทำตามปฏิญญา กรรมไม่ชอบธรรม ชื่อว่า
วิบัติโดยวัตถุ
สงฆ์ให้อมูฬหวินัยแก่ภิกษุผู้ควรสติวินัย กรรมไม่ชอบธรรม ชื่อว่าวิบัติโดยวัตถุ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๗๐๑ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ปัญจวรรค] ๑. กรรมวรรค
สงฆ์ทำตัสสปาปิยสิกากรรมแก่ภิกษุผู้ควรอมูฬหวินัย กรรมไม่ชอบธรรม ชื่อ
ว่าวิบัติโดยวัตถุ
สงฆ์ทำตัชชนียกรรมแก่ภิกษุผู้ควรตัสสปาปิยสิกากรรม กรรมไม่ชอบธรรม
ชื่อว่าวิบัติโดยวัตถุ
สงฆ์ทำนิยสกรรมแก่ภิกษุผู้ควรตัชชนียกรรม กรรมไม่ชอบธรรม ชื่อว่าวิบัติ
โดยวัตถุ
สงฆ์ทำปัพพาชนียกรรมแก่ภิกษุผู้ควรนิยสกรรม กรรมไม่ชอบธรรม ชื่อว่าวิบัติ
โดยวัตถุ
สงฆ์ทำปฏิสารณียกรรมแก่ภิกษุผู้ควรปัพพาชนียกรรม กรรมไม่ชอบธรรม ชื่อว่า
วิบัติโดยวัตถุ
สงฆ์ทำอุกเขปนียกรรมแก่ภิกษุผู้ควรปฏิสารณียกรรม กรรมไม่ชอบธรรม ชื่อว่า
วิบัติโดยวัตถุ
สงฆ์ให้ปริวาสแก่ภิกษุผู้ควรอุกเขปนียกรรม กรรมไม่ชอบธรรม ชื่อว่าวิบัติโดยวัตถุ
สงฆ์ชักภิกษุผู้ควรปริวาสเข้าหาอาบัติเดิม กรรมไม่ชอบธรรม ชื่อว่าวิบัติโดยวัตถุ
สงฆ์ให้มานัตแก่ภิกษุผู้ควรชักเข้าหาอาบัติเดิม กรรมไม่ชอบธรรม ชื่อว่าวิบัติ
โดยวัตถุ
สงฆ์อัพภานภิกษุผู้ควรมานัต กรรมไม่ชอบธรรม ชื่อว่าวิบัติโดยวัตถุ
สงฆ์ให้ภิกษุผู้ควรอัพภานอุปสมบท กรรมไม่ชอบธรรม ชื่อว่าวิบัติโดยวัตถุ
สงฆ์ทำอุโบสถในวันมิใช่วันอุโบสถ กรรมไม่ชอบธรรม ชื่อว่าวิบัติโดยวัตถุ
สงฆ์ปวารณาในวันมิใช่วันปวารณา กรรมไม่ชอบธรรม ชื่อว่าวิบัติโดยวัตถุ
อย่างนี้ กรรมย่อมชื่อว่าวิบัติโดยวัตถุ

ญัตติวิบัติ
[๔๘๔] ถาม : กรรมย่อมวิบัติโดยญัตติอย่างไร
ตอบ : กรรมย่อมวิบัติโดยญัตติด้วยอาการ ๕ อย่าง คือ
๑. ไม่ระบุวัตถุ ๒. ไม่ระบุสงฆ์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๗๐๒ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ปัญจวรรค] ๑. กรรมวรรค
๓. ไม่ระบุบุคคล ๔. ไม่ระบุญัตติ
๕. ตั้งญัตติภายหลัง
กรรมย่อมวิบัติโดยญัตติด้วยอาการ ๕ อย่างนี้

อนุสาวนาวิบัติ
[๔๘๕] ถาม : กรรมย่อมวิบัติโดยอนุสาวนาอย่างไร
ตอบ : กรรมย่อมวิบัติโดยอนุสาวนาด้วยอาการ ๕ อย่าง คือ

๑. ไม่ระบุวัตถุ ๒. ไม่ระบุสงฆ์
๓. ไม่ระบุบุคคล ๔. ทิ้งวาจาประกาศ
๕. สวดในกาลไม่ควร

กรรมย่อมวิบัติโดยอนุสาวนาด้วยอาการ ๕ อย่างนี้

สีมาวิบัติ
[๔๘๖] ถาม : กรรมย่อมวิบัติโดยสีมาอย่างไร
ตอบ : กรรมย่อมวิบัติโดยสีมาด้วยอาการ ๑๑ อย่าง คือ

๑. สมมติสีมาเล็กเกิน ๒. สมมติสีมาใหญ่เกิน
๓. สมมติสีมามีนิมิตขาด ๔. สมมติสีมาใช้เงาเป็นนิมิต
๕. สมมติสีมาไม่มีนิมิต ๖. ภิกษุอยู่ภายนอกสีมาสมมติ
สีมา
๗. สมมติสีมาในแม่น้ำ ๘. สมมติสีมาในทะเล
๙. สมมติสีมาในสระเกิดเอง ๑๐. คาบเกี่ยวสีมาด้วยสีมา
๑๑. ทับสีมาด้วยสีมา

กรรมย่อมวิบัติโดยสีมาด้วยอาการ ๑๑ อย่างนี้
บริษัทวิบัติ
[๔๘๗] ถาม : กรรมย่อมวิบัติโดยบริษัทอย่างไร
ตอบ : กรรมย่อมวิบัติโดยบริษัทด้วยอาการ ๑๒ อย่าง คือ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๗๐๓ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ปัญจวรรค] ๑. กรรมวรรค
๑. ในกรรมที่สงฆ์จตุวรรคพึงทำ ภิกษุทั้งหลายที่เข้ากรรมมีจำนวนเท่าไร
ที่ยังไม่มา ไม่นำฉันทะของภิกษุผู้ควรฉันทะมา ภิกษุพร้อมเพรียงกัน
คัดค้าน
๒. ในกรรมที่สงฆ์จตุวรรคพึงทำ ภิกษุทั้งหลายที่เข้ากรรมมีจำนวนเท่าไร
ที่มาแล้ว แต่ไม่นำฉันทะของภิกษุผู้ควรฉันทะมา ภิกษุพร้อมเพรียง
กันคัดค้าน
๓. ในกรรมที่สงฆ์จตุวรรคพึงทำ ภิกษุทั้งหลายที่เข้ากรรมมีจำนวนเท่าไร
ที่มาแล้ว นำฉันทะของภิกษุผู้ควรฉันทะมา แต่ภิกษุพร้อมเพรียงกัน
คัดค้าน
๔. ในกรรมที่สงฆ์ปัญจวรรคพึงทำ ฯลฯ
๕. ในกรรมที่สงฆ์ปัญจวรรคพึงทำ ฯลฯ
๖. ในกรรมที่สงฆ์ปัญจวรรคพึงทำ ฯลฯ
๗. ในกรรมที่สงฆ์ทสวรรคพึงทำ ฯลฯ
๘. ในกรรมที่สงฆ์ทสวรรคพึงทำ ฯลฯ
๙. ในกรรมที่สงฆ์ทสวรรคพึงทำ ฯลฯ
๑๐. ในกรรมที่สงฆ์วีสติวรรคพึงทำ ภิกษุทั้งหลายที่เข้ากรรมมีจำนวน
เท่าไร ที่ยังไม่มา ไม่นำฉันทะของภิกษุผู้ควรฉันทะมา ภิกษุพร้อม
เพรียงกันคัดค้าน
๑๑. ในกรรมที่สงฆ์วีสติวรรคพึงทำ ภิกษุทั้งหลายที่เข้ากรรมมีจำนวน
เท่าไร ที่มาแล้ว แต่ไม่นำฉันทะของภิกษุผู้ควรฉันทะมา ภิกษุ
พร้อมเพรียงกันคัดค้าน
๑๒. ในกรรมที่สงฆ์วีสติวรรคพึงทำ ภิกษุทั้งหลายที่เข้ากรรมมีจำนวน
เท่าไร ที่มาแล้ว นำฉันทะของภิกษุผู้ควรฉันทะมา แต่ภิกษุพร้อม
เพรียงกันคัดค้าน
กรรมย่อมวิบัติโดยบริษัทด้วยอาการ ๑๒ อย่างนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๗๐๔ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ปัญจวรรค] ๑. กรรมวรรค
กรรมอันสงฆ์จตุวรรคพึงทำ เป็นต้น
[๔๘๘] ในกรรมที่สงฆ์จตุวรรคพึงทำ ภิกษุปกตัตตะ ๔ รูป เป็นผู้เข้ากรรม
ปกตัตตะที่เหลือเป็นผู้ควรฉันทะ ภิกษุรูปที่สงฆ์ทำกรรมนั้น ไม่ใช่เป็นผู้เข้ากรรมและ
ไม่ควรฉันทะ แต่เป็นผู้ควรแก่กรรม
ในกรรมที่สงฆ์ปัญจวรรคพึงทำ ภิกษุปกตัตตะ ๕ รูป เป็นผู้เข้ากรรม ปกตัตตะ
ที่เหลือเป็นผู้ควรฉันทะ ภิกษุรูปที่สงฆ์ทำกรรมนั้น ไม่ใช่เป็นผู้เข้ากรรมและไม่ควรฉันทะ
แต่เป็นผู้ควรแก่กรรม
ในกรรมที่สงฆ์ทสวรรคพึงทำ ภิกษุปกตัตตะ ๑๐ รูป เป็นผู้เข้ากรรม ปกตัตตะ
ที่เหลือเป็นผู้ควรฉันทะ ภิกษุรูปที่สงฆ์ทำกรรมนั้น ไม่ใช่เป็นผู้เข้ากรรมและไม่ควรฉันทะ
แต่เป็นผู้ควรแก่กรรม
ในกรรมที่สงฆ์วีสติวรรคพึงทำ ภิกษุปกตัตตะ ๒๐ รูป เป็นผู้เข้ากรรม
ปกตัตตะที่เหลือเป็นผู้ควรฉันทะ ภิกษุรูปที่สงฆ์ทำกรรมนั้น ไม่ใช่เป็นผู้เข้ากรรม
และไม่ควรฉันทะ แต่เป็นผู้ควรแก่กรรม

กรรม ๔
[๔๘๙] กรรม ๔ อย่าง คือ (๑) อปโลกนกรรม (๒) ญัตติกรรม
(๓) ญัตติทุติยกรรม (๔) ญัตติจตุตถกรรม
ถาม : กรรม ๔ อย่างนี้ ย่อมวิบัติโดยอาการเท่าไร
ตอบ : กรรม ๔ อย่างนี้ ย่อมวิบัติโดยอาการ ๕ อย่าง คือ

๑. โดยวัตถุ ๒. โดยญัตติ
๓. โดยอนุสาวนา ๔. โดยสีมา
๕. โดยบริษัท

วัตถุวิบัติ
[๔๙๐] ถาม : กรรมย่อมชื่อว่าวิบัติโดยวัตถุอย่างไร
ตอบ : กรรมย่อมชื่อว่าวิบัติโดยวัตถุอย่างนี้ คือ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๗๐๕ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ปัญจวรรค] ๑. กรรมวรรค
สงฆ์ให้บัณเฑาะก์อุปสมบท กรรมไม่ชอบธรรม ชื่อว่าวิบัติโดยวัตถุ
สงฆ์ให้คนไถยสังวาสอุปสมบท กรรมไม่ชอบธรรม ชื่อว่าวิบัติโดยวัตถุ
สงฆ์ให้คนผู้เข้ารีดเดียรถีย์อุปสมบท กรรมไม่ชอบธรรม ชื่อว่าวิบัติโดยวัตถุ
สงฆ์ให้สัตว์ดิรัจฉานอุปสมบท กรรมไม่ชอบธรรม ชื่อว่าวิบัติโดยวัตถุ
สงฆ์ให้คนผู้ฆ่ามารดาอุปสมบท กรรมไม่ชอบธรรม ชื่อว่าวิบัติโดยวัตถุ
สงฆ์ให้คนผู้ฆ่าบิดาอุปสมบท กรรมไม่ชอบธรรม ชื่อว่าวิบัติโดยวัตถุ
สงฆ์ให้คนผู้ฆ่าพระอรหันต์อุปสมบท กรรมไม่ชอบธรรม ชื่อว่าวิบัติโดยวัตถุ
สงฆ์ให้คนผู้ประทุษร้ายภิกษุณีอุปสมบท กรรมไม่ชอบธรรม ชื่อว่าวิบัติโดยวัตถุ
สงฆ์ให้คนผู้ทำลายสงฆ์อุปสมบท กรรมไม่ชอบธรรม ชื่อว่าวิบัติโดยวัตถุ
สงฆ์ให้คนผู้ยังพระโลหิตห้ออุปสมบท กรรมไม่ชอบธรรม ชื่อว่าวิบัติโดยวัตถุ
สงฆ์ให้คนสองเพศอุปสมบท กรรมไม่ชอบธรรม ชื่อว่าวิบัติโดยวัตถุ
สงฆ์ให้คนมีอายุไม่ถึง ๒๐ ปี อุปสมบท กรรมไม่ชอบธรรม ชื่อว่าวิบัติโดยวัตถุ
อย่างนี้ กรรมชื่อว่าย่อมวิบัติโดยวัตถุ

ญัตติวิบัติ
[๔๙๑] ถาม : กรรมย่อมวิบัติโดยญัตติอย่างไร
ตอบ : กรรมย่อมวิบัติโดยญัตติด้วยอาการ ๕ อย่าง คือ

๑. ไม่ระบุวัตถุ ๒. ไม่ระบุสงฆ์
๓. ไม่ระบุบุคคล ๔. ไม่ระบุญัตติ
๕. ตั้งญัตติภายหลัง

กรรมย่อมวิบัติโดยญัตติด้วยอาการ ๕ อย่างนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๗๐๖ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ปัญจวรรค] ๑. กรรมวรรค
อนุสาวนาวิบัติ
[๔๙๒] ถาม : กรรมย่อมวิบัติโดยอนุสาวนาอย่างไร
ตอบ : กรรมย่อมวิบัติโดยอนุสาวนาด้วยอาการ ๕ อย่าง คือ

๑. ไม่ระบุวัตถุ ๒. ไม่ระบุสงฆ์
๓. ไม่ระบุบุคคล ๔. ไม่ระบุญัตติ
๕. ตั้งญัตติภายหลัง

กรรมย่อมวิบัติโดยอนุสาวนาด้วยอาการ ๕ อย่างนี้

สีมาวิบัติ
[๔๙๓] ถาม : กรรมย่อมวิบัติโดยสีมาอย่างไร
ตอบ : กรรมย่อมวิบัติโดยสีมาด้วยอาการ ๑๑ อย่าง คือ

๑. สมมติสีมาเล็กเกิน ๒. สมมติสีมาใหญ่เกิน
๓. สมมติสีมามีนิมิตขาด ๔. สมมติสีมาใช้เงาเป็นนิมิต
๕. สมมติสีมาไม่มีนิมิต ๖. ภิกษุอยู่ภายนอกสีมาสมมติ
สีมา
๗. สมมติสีมาในแม่น้ำ ๘. สมมติสีมาในทะเล
๙. สมมติสีมาในสระเกิดเอง ๑๐. คาบเกี่ยวสีมาด้วยสีมา
๑๑. ทับสีมาด้วยสีมา

กรรมย่อมวิบัติโดยสีมาด้วยอาการ ๑๑ อย่างนี้

บริษัทวิบัติ
[๔๙๔] ถาม : กรรมย่อมวิบัติโดยบริษัท อย่างไร
ตอบ : กรรมย่อมวิบัติโดยบริษัทด้วยอาการ ๑๒ อย่าง คือ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๗๐๗ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ปัญจวรรค] ๑. กรรมวรรค
๑. ในกรรมที่สงฆ์จตุวรรคพึงทำ ภิกษุทั้งหลายที่เข้าร่วมกรรมมีจำนวน
เท่าไร ที่ยังไม่มา ไม่นำฉันทะของภิกษุผู้ควรฉันทะมา ภิกษุพร้อม
เพรียงกันคัดค้าน
๒. ในกรรมที่สงฆ์จตุวรรคพึงทำ ภิกษุทั้งหลายที่เข้าร่วมกรรมมีจำนวน
เท่าไร ที่มาแล้ว แต่ไม่นำฉันทะของภิกษุผู้ควรฉันทะมา ภิกษุพร้อม
เพรียงกันคัดค้าน
๓. ในกรรมที่สงฆ์จตุวรรคพึงทำ ภิกษุทั้งหลายที่เข้าร่วมกรรมมีจำนวน
เท่าไร ที่มาแล้ว นำฉันทะของภิกษุผู้ควรฉันทะมา แต่ภิกษุพร้อม
เพรียงกันคัดค้าน
๔. ในกรรมที่สงฆ์ปัญจวรรคพึงทำ ฯลฯ
๕. ในกรรมที่สงฆ์ปัญจวรรคพึงทำ ฯลฯ
๖. ในกรรมที่สงฆ์ปัญจวรรคพึงทำ ฯลฯ
๗. ในกรรมที่สงฆ์ทสวรรคพึงทำ ฯลฯ
๘. ในกรรมที่สงฆ์ทสวรรคพึงทำ ฯลฯ
๙. ในกรรมที่สงฆ์ทสวรรคพึงทำ ฯลฯ
๑๐. ในกรรมที่สงฆ์วีสติวรรคพึงทำ ภิกษุทั้งหลายที่เข้าร่วมกรรมมี
จำนวนเท่าไร ที่ยังไม่มา ไม่นำฉันทะของภิกษุผู้ควรฉันทะมา ภิกษุ
พร้อมเพรียงกันคัดค้าน
๑๑. ในกรรมที่สงฆ์วีสติวรรคพึงทำ ภิกษุทั้งหลายที่เข้าร่วมกรรมมี
จำนวนเท่าไร ที่มาแล้ว แต่ไม่นำฉันทะของภิกษุผู้ควรฉันทะมา
ภิกษุพร้อมเพรียงกันคัดค้าน
๑๒. ในกรรมที่สงฆ์วีสติวรรคพึงทำ ภิกษุทั้งหลายที่เข้าร่วมกรรมมี
จำนวนเท่าไร ที่มาแล้ว นำฉันทะของภิกษุผู้ควรฉันทะมา แต่
ภิกษุพร้อมเพรียงกันคัดค้าน
กรรมย่อมวิบัติโดยบริษัทด้วยอาการ ๑๒ อย่างนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๗๐๘ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ปัญจวรรค] ๑. กรรมวรรค
อปโลกนกรรม เป็นต้น
[๔๙๕] ถาม : อปโลกนกรรมย่อมถึงฐานะเท่าไร ญัตติกรรมย่อมถึงฐานะเท่าไร
ญัตติทุติยกรรมย่อมถึงฐานะเท่าไร ญัตติจตุตถกรรมย่อมถึงฐานะเท่าไร
ตอบ : อปโลกนกรรมย่อมถึงฐานะ ๕ อย่าง ญัตติกรรมย่อมถึงฐานะ ๙ อย่าง
ญัตติทุติยกรรมย่อมถึงฐานะ ๗ อย่าง ญัตติจตุตถกรรมย่อมถึงฐานะ ๗ อย่าง

ฐานะแห่งอปโลกนกรรม
[๔๙๖] ถาม : อปโลกนกรรมย่อมถึงฐานะ ๕ เหล่าไหน
ตอบ : ฐานะ ๕ เหล่านี้ คือ โอสารณา นิสสารณา ภัณฑุกรรม พรหมทัณฑ์
ทั้งกรรมลักษณะเป็นคำรบ ๕
อปโลกนกรรมย่อมถึงฐานะ ๕ เหล่านี้

ฐานะแห่งญัตติกรรม
ถาม : ญัตติกรรมย่อมถึงฐานะ ๙ เหล่าไหน
ตอบ : ฐานะ ๙ เหล่านี้ คือ โอสารณา นิสสารณา อุโบสถ ปวารณา
สมมติ การให้ การรับ การเลื่อนปวารณาออกไป ทั้งกรรมลักษณะเป็นคำรบ ๙
ญัตติกรรมย่อมถึงฐานะ ๙ เหล่านี้

ฐานะแห่งญัตติทุติยกรรม
ถาม : ญัตติทุติยกรรมย่อมถึงฐานะ ๗ เหล่าไหน
ตอบ : ฐานะ ๗ เหล่านี้ คือ โอสารณา นิสสารณา สมมติ การให้ การถอน
การแสดง ทั้งกรรมลักษณะเป็นคำรบ ๗
ญัตติทุติยกรรมย่อมถึงฐานะ ๗ เหล่านี้

ฐานะแห่งญัตติจตุตถกรรม
ถาม : ญัตติจตุตถกรรมย่อมถึงฐานะ ๗ เหล่าไหน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๗๐๙ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ปัญจวรรค] ๒. อัตถวสมวรรค
ตอบ : ฐานะ ๗ เหล่านี้ คือ โอสารณา นิสสารณา สมมติ การให้ นิคคหะ
สมนุภาสน์ ทั้งกรรมลักษณะเป็นคำรบ ๗
ญัตติจตุตถกรรมย่อมถึงฐานะ ๗ เหล่านี้

กรรมอันสงฆ์จตุวรรคพึงทำ เป็นต้น
[๔๙๗] ในกรรมที่สงฆ์จตุวรรคพึงทำ ภิกษุปกตัตตะ ๔ รูป เป็นผู้เข้ากรรม
ปกตัตตะที่เหลือเป็นผู้ควรฉันทะ ภิกษุรูปที่สงฆ์ทำกรรมนั้น ไม่ใช่เป็นผู้เข้ากรรมและ
ไม่ใช่เป็นผู้ควรฉันทะ แต่เป็นผู้ควรแก่กรรม
ในกรรมที่สงฆ์ปัญจวรรคพึงทำ ฯลฯ ในกรรมที่สงฆ์ทสวรรคพึงทำ ฯลฯ
ในกรรมที่สงฆ์วีสติวรรคพึงทำ ภิกษุปกตัตตะ ๒๐ รูป เป็นผู้เข้ากรรม
ปกตัตตะที่เหลือเป็นผู้ควรฉันทะ ภิกษุรูปที่สงฆ์ทำกรรมนั้น ไม่ใช่เป็นผู้เข้ากรรม
และไม่ใช่เป็นผู้ควรฉันทะ แต่เป็นผู้ควรแก่กรรม
กรรมวรรคที่ ๑ จบ

๒. อัตถวสวรรค
หมวดว่าด้วยอำนาจประโยชน์ทรงบัญญัติสิกขาบท
[๔๙๘] พระตถาคตทรงบัญญัติสิกขาบทแก่สาวกทั้งหลาย โดยอาศัยอำนาจ
ประโยชน์ ๒ ประการ คือ
๑. เพื่อการยอมรับว่าดีแห่งพระสงฆ์
๒. เพื่อความผาสุกแห่งพระสงฆ์
พระตถาคตทรงบัญญัติสิกขาบทแก่สาวกทั้งหลาย โดยอาศัยอำนาจประโยชน์
๒ ประการนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๗๑๐ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ปัญจวรรค] ๒. อัตถวสมวรรค
พระตถาคตทรงบัญญัติสิกขาบทแก่สาวกทั้งหลาย โดยอาศัยอำนาจประโยชน์
๒ ประการ คือ
๑. เพื่อข่มบุคคลผู้เก้อยาก
๒. เพื่อความอยู่ผาสุกแห่งเหล่าภิกษุผู้มีศีลดีงาม
พระตถาคตทรงบัญญัติสิกขาบทแก่สาวกทั้งหลาย โดยอาศัยอำนาจประโยชน์
๒ ประการนี้
พระตถาคตทรงบัญญัติสิกขาบทแก่สาวกทั้งหลาย โดยอาศัยอำนาจประโยชน์
๒ ประการ คือ
๑. เพื่อปิดกั้นอาสวะทั้งหลายอันจะบังเกิดในปัจจุบัน
๒. เพื่อกำจัดอาสวะทั้งหลายอันจะบังเกิดในอนาคต
พระตถาคตทรงบัญญัติสิกขาบทแก่สาวกทั้งหลาย โดยอาศัยอำนาจประโยชน์
๒ ประการนี้
พระตถาคตทรงบัญญัติสิกขาบทแก่สาวกทั้งหลาย โดยอาศัยอำนาจประโยชน์
๒ ประการ คือ
๑. เพื่อปิดกั้นเวรทั้งหลายอันจะบังเกิดในปัจจุบัน
๒. เพื่อกำจัดเวรทั้งหลายอันจะบังเกิดในอนาคต
พระตถาคตทรงบัญญัติสิกขาบทแก่สาวกทั้งหลาย โดยอาศัยอำนาจประโยชน์
๒ ประการนี้
พระตถาคตทรงบัญญัติสิกขาบทแก่สาวกทั้งหลาย โดยอาศัยอำนาจประโยชน์
๒ ประการ คือ
๑. เพื่อปิดกั้นโทษทั้งหลายอันจะบังเกิดในปัจจุบัน
๒. เพื่อกำจัดโทษทั้งหลายอันจะบังเกิดในอนาคต
พระตถาคตทรงบัญญัติสิกขาบทแก่สาวกทั้งหลาย โดยอาศัยอำนาจประโยชน์
๒ ประการนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๗๑๑ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ปัญจวรรค] ๒. อัตถวสวรรค
พระตถาคตทรงบัญญัติสิกขาบทแก่สาวกทั้งหลาย โดยอาศัยอำนาจประโยชน์
๒ ประการ คือ
๑. เพื่อปิดกั้นภัยทั้งหลายอันจะบังเกิดในปัจจุบัน
๒. เพื่อกำจัดภัยทั้งหลายอันจะบังเกิดในอนาคต
พระตถาคตทรงบัญญัติสิกขาบทแก่สาวกทั้งหลาย โดยอาศัยอำนาจประโยชน์
๒ ประการนี้
พระตถาคตทรงบัญญัติสิกขาบทแก่สาวกทั้งหลาย โดยอาศัยอำนาจประโยชน์
๒ ประการ คือ
๑. เพื่อปิดกั้นอกุศลธรรมทั้งหลายอันจะบังเกิดในปัจจุบัน
๒. เพื่อกำจัดอกุศลธรรมทั้งหลายอันจะบังเกิดในอนาคต
พระตถาคตทรงบัญญัติสิกขาบทแก่สาวกทั้งหลาย โดยอาศัยอำนาจประโยชน์
๒ ประการนี้
พระตถาคตทรงบัญญัติสิกขาบทแก่สาวกทั้งหลาย โดยอาศัยอำนาจประโยชน์
๒ ประการ คือ
๑. เพื่ออนุเคราะห์คฤหัสถ์ทั้งหลาย
๒. เพื่อทำลายการแบ่งเป็นพรรคเป็นพวก ของภิกษุผู้มีความปรารถนา
เลวทรามทั้งหลาย
พระตถาคตทรงบัญญัติสิกขาบทแก่สาวกทั้งหลาย โดยอาศัยอำนาจประโยชน์
๒ ประการนี้
พระตถาคตทรงบัญญัติสิกขาบทแก่สาวกทั้งหลาย โดยอาศัยอำนาจประโยชน์
๒ ประการ คือ
๑. เพื่อความเลื่อมใสของเหล่าชนที่ยังไม่เลื่อมใส
๒. เพื่อความเลื่อมใสยิ่งขึ้นไปของเหล่าชนที่เลื่อมใสแล้ว
พระตถาคตทรงบัญญัติสิกขาบทแก่สาวกทั้งหลาย โดยอาศัยอำนาจประโยชน์
๒ ประการนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๗๑๒ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ปัญจวรรค] ๓. ปัญญัตตวรรค
พระตถาคตทรงบัญญัติสิกขาบทแก่สาวกทั้งหลาย โดยอาศัยอำนาจ
ประโยชน์ ๒ ประการ คือ
๑. เพื่อความตั้งมั่นแห่งพระสัทธรรม
๒. เพื่อเอื้อเฟื้อพระวินัย
พระตถาคตทรงบัญญัติสิกขาบทแก่สาวกทั้งหลาย โดยอาศัยอำนาจ
ประโยชน์ ๒ ประการนี้
อัตถวสวรรคที่ ๒ จบ

๓. ปัญญัตตวรรค
หมวดว่าด้วยเรื่องที่ทรงบัญญัติ

ทรงบัญญัติปาติโมกข์ เป็นต้น
[๔๙๙] พระตถาคตทรงบัญญัติปาติโมกข์แก่สาวกทั้งหลาย โดยอาศัยอำนาจ
ประโยชน์ ๒ ประการ ฯลฯ ทรงบัญญัติปาติโมกขุทเทส ฯลฯ ทรงบัญญัติการงด
ปาติโมกข์ ฯลฯ ทรงบัญญัติปวารณา ฯลฯ ทรงบัญญัติการงดปวารณา ฯลฯ
ทรงบัญญัติตัชชนียกรรม ฯลฯ ทรงบัญญัตินิยสกรรม ฯลฯ ทรงบัญญัติปัพพาชนีย
กรรม ฯลฯ ทรงบัญญัติปฏิสารณียกรรม ฯลฯ ทรงบัญญัติอุกเขปนียกรรม ฯลฯ
ทรงบัญญัติการให้ปริวาส ฯลฯ ทรงบัญญัติการชักเข้าหาอาบัติเดิม ฯลฯ ทรง
บัญญัติการให้มานัต ฯลฯ ทรงบัญญัติอัพภาน ฯลฯ ทรงบัญญัติโอสารณียกรรม
ฯลฯ ทรงบัญญัตินิสสารณียกรรม ฯลฯ ทรงบัญญัติการอุปสมบท ฯลฯ ทรงบัญญัติ
อปโลกนกรรม ฯลฯ ทรงบัญญัติญัตติกรรม ฯลฯ ทรงบัญญัติญัตติทุติยกรรม ฯลฯ
ทรงบัญญัติญัตติจตุตถกรรม ฯลฯ
ปัญญัตตวรรคที่ ๓ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๗๑๓ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ปัญจวรรค] ๔. อปัญญัตเตปัญญัตตวรรค
๔. อปัญญัตเตปัญญัตตวรรค
หมวดว่าด้วยทรงบัญญัติในเมื่อยังมิได้บัญญัติ
[๕๐๐] ฯลฯ พระตถาคตทรงบัญญัติสิกขาบทที่ยังมิได้บัญญัติ ทรงบัญญัติ
เพิ่มเติมสิกขาบทที่ทรงบัญญัติไว้แล้ว ฯลฯ ทรงบัญญัติสัมมุขาวินัย ฯลฯ ทรงบัญญัติ
สติวินัย ฯลฯ ทรงบัญญัติอมูฬหวินัย ฯลฯ ทรงบัญญัติปฏิญญาตกรณะ ฯลฯ ทรง
บัญญัติเยภุยยสิกา ฯลฯ ทรงบัญญัติตัสสปาปิยสิกา ฯลฯ ทรงบัญญัติติณวัตถารกะ
แก่สาวกทั้งหลาย เพราะอาศัยอำนาจประโยชน์ ๒ ประการ คือ
๑. เพื่อความยอมรับว่าดีแห่งพระสงฆ์
๒. เพื่อความผาสุกแห่งพระสงฆ์
พระตถาคตทรงบัญญัติติณวัตถารกะแก่สาวกทั้งหลาย โดยอาศัยอำนาจประโยชน์
๒ ประการนี้
พระตถาคตทรงบัญญัติติณวัตถารกะแก่สาวกทั้งหลาย โดยอาศัยอำนาจประโยชน์
๒ ประการ คือ
๑. เพื่อข่มบุคคลผู้เก้อยาก
๒. เพื่อความอยู่ผาสุกแห่งเหล่าภิกษุผู้มีศีลดีงาม
พระตถาคตทรงบัญญัติติณวัตถารกะแก่สาวกทั้งหลาย โดยอาศัยอำนาจประโยชน์
๒ ประการนี้
พระตถาคตทรงบัญญัติติณวัตถารกะแก่สาวกทั้งหลาย โดยอาศัยอำนาจประโยชน์
๒ ประการ คือ
๑. เพื่อปิดกั้นอาสวะทั้งหลายอันจะบังเกิดในปัจจุบัน
๒. เพื่อกำจัดอาสวะอันจะบังเกิดในอนาคต
พระตถาคตทรงบัญญัติติณวัตถารกะแก่สาวกทั้งหลาย โดยอาศัยอำนาจประโยชน์
๒ ประการนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๗๑๔ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ปัญจวรรค] ๔. อปัญญัตเตปัญญัตตวรรค
พระตถาคตทรงบัญญัติติณวัตถารกะแก่สาวกทั้งหลาย โดยอาศัยอำนาจประโยชน์
๒ ประการ คือ
๑. เพื่อปิดกั้นเวรทั้งหลายอันจะบังเกิดในปัจจุบัน
๒. เพื่อกำจัดเวรทั้งหลายอันจะบังเกิดในอนาคต
พระตถาคตทรงบัญญัติติณวัตถารกะแก่สาวกทั้งหลาย โดยอาศัยอำนาจประโยชน์
๒ ประการนี้
พระตถาคตทรงบัญญัติติณวัตถารกะแก่สาวกทั้งหลาย โดยอาศัยอำนาจประโยชน์
๒ ประการ คือ
๑. เพื่อปิดกั้นโทษทั้งหลายอันจะบังเกิดในปัจจุบัน
๒. เพื่อกำจัดโทษทั้งหลายอันจะบังเกิดในอนาคต
พระตถาคตทรงบัญญัติติณวัตถารกะแก่สาวกทั้งหลาย โดยอาศัยอำนาจประโยชน์
๒ ประการนี้
พระตถาคตทรงบัญญัติติณวัตถารกะแก่สาวกทั้งหลาย โดยอาศัยอำนาจประโยชน์
๒ ประการ คือ
๑. เพื่อปิดกั้นภัยทั้งหลายอันจะบังเกิดในปัจจุบัน
๒. เพื่อกำจัดภัยทั้งหลายอันจะบังเกิดในอนาคต
พระตถาคตทรงบัญญัติติณวัตถารกะแก่สาวกทั้งหลาย โดยอาศัยอำนาจประโยชน์
๒ ประการนี้
พระตถาคตทรงบัญญัติติณวัตถารกะแก่สาวกทั้งหลาย โดยอาศัยอำนาจประโยชน์
๒ ประการ คือ
๑. เพื่อปิดกั้นอกุศลธรรมทั้งหลายอันจะบังเกิดในปัจจุบัน
๒. เพื่อกำจัดอกุศลธรรมทั้งหลายอันจะบังเกิดในอนาคต
พระตถาคตทรงบัญญัติติณวัตถารกะแก่สาวกทั้งหลาย โดยอาศัยอำนาจประโยชน์
๒ ประการนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๗๑๕ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ปัญจวรรค] ๔. อปัญญัตเตปัญญัตตวรรค
พระตถาคตทรงบัญญัติติณวัตถารกะแก่สาวกทั้งหลาย โดยอาศัยอำนาจประโยชน์
๒ ประการ คือ
๑. เพื่ออนุเคราะห์คฤหัสถ์ทั้งหลาย
๒. เพื่อทำลายการแบ่งเป็นพรรคเป็นพวกของภิกษุผู้มีความปรารถนา
เลวทรามทั้งหลาย
พระตถาคตทรงบัญญัติติณวัตถารกะแก่สาวกทั้งหลาย โดยอาศัยอำนาจประโยชน์
๒ ประการนี้
พระตถาคตทรงบัญญัติติณวัตถารกะแก่สาวกทั้งหลาย โดยอาศัยอำนาจประโยชน์
๒ ประการ คือ
๑. เพื่อความเลื่อมใสของเหล่าชนที่ยังไม่เลื่อมใส
๒. เพื่อความเลื่อมใสยิ่งขึ้นไปของเหล่าชนที่เลื่อมใสแล้ว
พระตถาคตทรงบัญญัติติณวัตถารกะแก่สาวกทั้งหลาย โดยอาศัยอำนาจประโยชน์
๒ ประการนี้
พระตถาคตทรงบัญญัติติณวัตถารกะแก่สาวกทั้งหลาย โดยอาศัยอำนาจประโยชน์
๒ ประการ คือ
๑. เพื่อความตั้งมั่นแห่งพระสัทธรรม
๒. เพื่อเอื้อเฟื้อพระวินัย
พระตถาคตทรงบัญญัติติณวัตถารกะแก่สาวกทั้งหลาย โดยอาศัยอำนาจประโยชน์
๒ ประการนี้
อปัญญัตเตปัญญัตตวรรคที่ ๔ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๗๑๖ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ปัญจวรรค] ๕. นวสังคหวรรค
๕. นวสังคหวรรค
หมวดว่าด้วยสังคหะ ๙

สังคหะ ๙ อย่าง
[๕๐๑] สังคหะ มี ๙ อย่าง คือ

๑. วัตถุสังคหะ ๒. วิบัติสังคหะ
๓. อาบัติสังคหะ ๔. นิทานสังคหะ
๕. บุคคลสังคหะ ๖. ขันธสังคหะ
๗. สมุฏฐานสังคหะ ๘. อธิกรณสังคหะ
๙. สมถสังคหะ

ให้บอกเรื่อง
เมื่ออธิกรณ์เกิดขึ้นแล้ว ถ้าคู่ความทั้งสองมาถึง สงฆ์พึงให้ทั้งสองบอกเรื่อง
ครั้นให้ทั้งสองบอกเรื่องแล้ว พึงฟังปฏิญญาของทั้งสอง ครั้นฟังปฏิญญาของทั้งสองแล้ว
พึงพูดกับคู่ความทั้งสองว่า เมื่อพวกเราระงับอธิกรณ์นี้แล้ว ท่านทั้งสองจักยินดีหรือ
ถ้าทั้งสองรับว่า ข้าพเจ้าทั้งสองจักยินดี สงฆ์พึงรับอธิกรณ์นั้นไว้ ถ้าบริษัทมีอลัชชีมาก
สงฆ์พึงระงับด้วยอุพพาหิกา ถ้าบริษัทมีคนเลวมาก สงฆ์พึงแสวงหาพระวินัยธร
อธิกรณ์นั้นจะระงับโดยธรรม โดยวินัย โดยสัตถุศาสน์ใด สงฆ์พึงระงับอธิกรณ์นั้น
โดยอย่างนั้น

พึงรู้วัตถุ เป็นต้น
พึงรู้วัตถุ พึงรู้โคตร พึงรู้ชื่อ พึงรู้อาบัติ
คำว่า เมถุนธรรม เป็นทั้งวัตถุ เป็นทั้งโคตร
คำว่า ปาราชิก เป็นทั้งชื่อ เป็นทั้งอาบัติ
คำว่า อทินนาทาน เป็นทั้งวัตถุ เป็นทั้งโคตร
คำว่า ปาราชิก เป็นทั้งชื่อ เป็นทั้งอาบัติ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๗๑๗ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ปัญจวรรค] ๕. นวสังคหวรรค
คำว่า มนุสสวิคคหะ เป็นทั้งวัตถุ เป็นทั้งโคตร
คำว่า ปาราชิก เป็นทั้งชื่อ เป็นทั้งอาบัติ
คำว่า อุตตริมนุสสธรรม เป็นทั้งวัตถุ เป็นทั้งโคตร
คำว่า ปาราชิก เป็นทั้งชื่อ เป็นทั้งอาบัติ
คำว่า สุกกวิสัฏฐิ เป็นทั้งวัตถุ เป็นทั้งโคตร
คำว่า สังฆาทิเสส เป็นทั้งชื่อ เป็นทั้งอาบัติ
คำว่า กายสังสัคคะ เป็นทั้งวัตถุ เป็นทั้งโคตร
คำว่า สังฆาทิเสส เป็นทั้งชื่อ เป็นทั้งอาบัติ
คำว่า ทุฏฐุลลวาจา เป็นทั้งวัตถุ เป็นทั้งโคตร
คำว่า สังฆาทิเสส เป็นทั้งชื่อ เป็นทั้งอาบัติ
คำว่า อัตตกาม เป็นทั้งวัตถุ เป็นทั้งโคตร
คำว่า สังฆาทิเสส เป็นทั้งชื่อ เป็นทั้งอาบัติ
คำว่า สัญจริตตะ เป็นทั้งวัตถุ เป็นทั้งโคตร
คำว่า สังฆาทิเสส เป็นทั้งชื่อ เป็นทั้งอาบัติ
คำว่า ให้สร้างกุฎีด้วยการขอเอาเอง เป็นทั้งวัตถุ เป็นทั้งโคตร
คำว่า สังฆาทิเสส เป็นทั้งชื่อ เป็นทั้งอาบัติ
คำว่า ให้สร้างวิหารใหญ่ เป็นทั้งวัตถุ เป็นทั้งโคตร
คำว่า สังฆาทิเสส เป็นทั้งชื่อ เป็นทั้งอาบัติ
คำว่า ตามกำจัดภิกษุด้วยธรรมมีโทษถึงปาราชิกอันไม่มีมูล เป็นทั้งวัตถุ
เป็นทั้งโคตร
คำว่า สังฆาทิเสส เป็นทั้งชื่อ เป็นทั้งอาบัติ
คำว่า อ้างเลสบางอย่างแห่งอธิกรณ์เรื่องอื่นแล้ว ตามกำจัดภิกษุด้วยธรรมมี
โทษถึงปาราชิก เป็นทั้งวัตถุ เป็นทั้งโคตร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๗๑๘ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ปัญจวรรค] หัวข้อประจำวรรค
คำว่า สังฆาทิเสส เป็นทั้งชื่อ เป็นทั้งอาบัติ
คำว่า ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์ไม่ยอมสละกรรม เพราะการสวดสมนุภาสน์ครบ ๓ ครั้ง
เป็นทั้งวัตถุ เป็นทั้งโคตร
คำว่า สังฆาทิเสส เป็นทั้งชื่อ เป็นทั้งอาบัติ
คำว่า ภิกษุผู้ประพฤติตามภิกษุผู้ทำลายสงฆ์ไม่ยอมสละกรรม เพราะการสวด
สมนุภาสน์ครบ ๓ ครั้ง เป็นทั้งวัตถุ เป็นทั้งโคตร
คำว่า สังฆาทิเสส เป็นทั้งชื่อ เป็นทั้งอาบัติ
คำว่า ภิกษุผู้ว่ายากไม่ยอมสละกรรม เพราะการสวดสมนุภาสน์ครบ ๓ ครั้ง
เป็นทั้งวัตถุ เป็นทั้งโคตร
คำว่า สังฆาทิเสส เป็นทั้งชื่อ เป็นทั้งอาบัติ
คำว่า ภิกษุผู้ประทุษร้ายสกุลไม่ยอมสละกรรม เพราะการสวดสมนุภาสน์ครบ
๓ ครั้ง เป็นทั้งวัตถุ เป็นทั้งโคตร
คำว่า สังฆาทิเสส เป็นทั้งชื่อ เป็นทั้งอาบัติ ฯลฯ
คำว่า อาศัยความไม่สนใจถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ หรือบ้วนน้ำลายลงในน้ำ
เป็นทั้งวัตถุ เป็นทั้งโคตร
คำว่า ทุกกฏ เป็นทั้งชื่อ เป็นทั้งอาบัติ
นวสังคหวรรคที่ ๕ จบ

หัวข้อประจำวรรค
อปโลกนกรรม ญัตติกรรม ญัตติทุติยกรรม
ญัตติจตุตถกรรม วัตถุ ญัตติ อนุสาวนา สีมา บริษัท
พร้อมเพรียง สอบถาม ปฏิญญา ควรสติวินัย
วัตถุ สงฆ์ บุคคล ญัตติ ตั้งญัตติภายหลัง
วัตถุ สงฆ์ บุคคล สวดประกาศ
สวดในกาลไม่ควร สีมาเล็กเกิน สีมาใหญ่เกิน
สีมามีนิมิตขาด สีมาใช้เงาเป็นนิมิต สีมาไม่มีนิมิต

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๗๑๙ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ปัญจวรรค] หัวข้อประจำวรรค
อยู่นอกสีมาสมมติสีมา สมมติสีมาในแม่น้ำ
ในทะเล ในสระเกิดเอง คาบเกี่ยวสีมา
ทับสีมาด้วยสีมา กรรมที่สงฆ์จตุวรรคพึงทำ
กรรมที่สงฆ์ปัญจวรรคพึงทำ
กรรมที่สงฆ์ทสวรรคพึงทำ กรรมที่สงฆ์วีสติวรรคพึงทำ
ไม่นำฉันทะมา นำฉันทะมา ผู้เข้ากรรม
ผู้ควรฉันทะ ผู้ควรแก่กรรม
อปโลกนกรรม ๕ ฐานะ ญัตติกรรม ๙ ฐานะ
ญัตติทุติยกรรม ๗ ฐานะ ญัตติจตุตถกรรม ๗ ฐานะ
ยอมรับว่าดี ความผาสุก บุคคลผู้หน้าด้าน
ภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รัก อาสวะ
เวร โทษ ภัย อกุศลธรรม คฤหัสถ์
ผู้ปรารถนาเลวทราม ชุมชนผู้ยังไม่เลื่อมใส
ชุมชนผู้เลื่อมใสแล้ว ความตั้งอยู่แห่งพระสัทธรรม
เอื้อเฟื้อพระวินัย ปาติโมกขุทเทส
งดปาติโมกข์ งดปวารณา ตัชชนียกรรม นิยสกรรม
ปัพพาชนียกรรม ปฏิสารณียกรรม อุกเขปนียกรรม ปริวาส
อาบัติเดิม มานัต อัพภาน โอสารณา นิสสารณา อุปสมบท
อปโลกนกรรม ญัตติกรรม ญัตติทุติยกรรม ญัตติจตุตถกรรม
ยังมิได้ทรงบัญญัติ ทรงบัญญัติซ้ำ สัมมุขาวินัย สติวินัย
อมูฬหวินัย ปฏิญญาตกรณะ เยภุยยสิกา
ตัสสปาปิยสิกา ติณวัตถารกะ วัตถุ
วิบัติ อาบัติ นิทาน บุคคล
ขันธ์ สมุฏฐาน อธิกรณ์ สมถะ
สังคหะ ชื่อ อาบัติ ดังนี้แล
คัมภีร์ปริวาร จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๗๒๐ }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [ปัญจวรรค] ปริโยสานคาถา
ปริโยสานคาถา
ก็พระวินัยธร ผู้เรืองนาม มีปัญญามาก ทรงสุตะ
มีวิจารณญาณ ถามแนวทางของท่านบูรพาจารย์ในที่นั้น ๆ
คิดแล้วให้เขียนข้อพิสดารและสังเขปนี้ไว้ในสายกลาง
ตามแนวทางที่วางไว้ ซึ่งจะนำความสะดวกมาให้แก่เหล่าศิษย์
คัมภีร์นี้เรียกว่า “ปริวาร” มีทุกเรื่องพร้อมทั้งลักษณะ
มีอรรถโดยอรรถในสัทธรรม มีธรรมโดยธรรมในบัญญัติ
ห้อมล้อมพระศาสนา ดุจสาครล้อมรอบชมพูทวีป ฉะนั้น
พระวินัยธรเมื่อไม่รู้คัมภีร์ปริวาร ไฉนจะวินิจฉัยธรรมได้
ความเคลือบแคลงของพระวินัยธรที่เกิดในวิบัติ วัตถุ บัญญัติ
อนุบัญญัติ บุคคล เอกโตบัญญัติ อุภโตบัญญัติ โลกวัชชะ
และปัณณัตติวัชชะ ย่อมขาดสิ้นไปด้วยคัมภีร์ปริวาร
พระเจ้าจักรพรรดิสง่างามในกองทัพ ฉันใด
ไกรสรสง่างามในท่ามกลางฝูงมฤค ฉันใด
พระอาทิตย์แผ่สร้านด้วยรัศมีเจิดจ้า ฉันใด
พระจันทร์ส่องสว่างงดงามในหมู่ดาว ฉันใด
พระพรหมสง่างามในหมู่พรหม ฉันใด
ท่านผู้นำสง่างามในท่ามกลางหมู่ชน ฉันใด
พระสัทธรรมและพระวินัยย่อมสง่างามด้วยคัมภีร์ปริวาร ฉันนั้นแล
จบบริบูรณ์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๗๒๑ }


พระไตรปิฎกเล่มที่ ๐๘ วินัยปิฎกที่ ๐๘ ปริวาร จบ





eXTReMe Tracker