ค้นว่าอยู่เล่มใด แล้วกด [ctrl]+f หรือใช้คำสั่งของเครื่องหาตำแหน่งในเล่มอีกทีนะครับ



จัดรูปหน้าใหม่
เพื่อความสะดวก และสวยงาม
(เฉพาะหน้าจอใหญ่ เช่น คอมพิวเตอร์)
กรุณาคลิก จัดรูปหน้าใหม่
เพื่อให้กรอบ
ค้นข้อความ ปรากฎที่ด้านซ้ายของหน้า

พระไตรปิฎกภาษาไทย
ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ๔๕ เล่ม (ปกสีฟ้า)
ทั้งออนไลน์และออฟไลน์
ที่มาของข้อมูล : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับ มจร.
MCUTRAI Version 1.0

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๐๒ วินัยปิฎกที่ ๐๒ มหาวิภังค์ ภาค ๒

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๑.จีรวรรค ๑.ปฐมกฐินสิกขาบท นิทานวัตถุ

พระวินัยปิฎก
มหาวิภังค์ ภาค ๒
___________
ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

๔. นิสสัคคิยกัณฑ์

ท่านทั้งหลาย ธรรมคือนิสสัคคิยปาจิตตีย์ ๓๐ สิกขาบทเหล่านี้ มาถึงวาระ
ที่จะยกขึ้นแสดงเป็นข้อ ๆ ตามลำดับ

๑. จีวรวรรค
หมวดว่าด้วยจีวร

๑. ปฐมกฐินสิกขาบท
ว่าด้วยกฐินเดาะข้อที่ ๑

เรื่องพระฉัพพัคคีย์

[๔๕๙] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ โคตมกเจดีย์ เขต
กรุงเวสาลี ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคได้ทรงอนุญาตไตรจีวรเพื่อภิกษุทั้งหลายแล้ว
พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ทราบว่าพระผู้มีพระภาคทรงอนุญาตไตรจีวร๑แล้ว จึงเข้าหมู่บ้าน

เชิงอรรถ :
๑ ไตรจีวร คือ อันตรวาสก (ผ้านุ่ง) อุตตราสงค์ (ผ้าห่ม) สังฆาฏิ (ผ้าห่มซ้อนนอก) (วิ.อ. ๒/๔๕๙/๑๓๙)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๑ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๑.จีรวรรค ๑.ปฐมกฐินสิกขาบท พระบัญญัติ
โดยครองไตรจีวร ๑ไตร อยู่ในอารามอีก ๑ ไตร สรงน้ำอีก ๑ ไตร บรรดาภิกษุผู้
มักน้อย สันโดษ มีความละอาย มีความระมัดระวัง ใฝ่การศึกษา พากันตำหนิ
ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพวกภิกษุฉัพพัคคีย์จึงทรงอติเรกจีวร๑เล่า” ครั้นภิกษุ
เหล่านั้นตำหนิพวกภิกษุฉัพพัคคีย์โดยประการต่าง ๆ แล้วจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูล
พระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ

ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามพวกภิกษุฉัพพัคคีย์ว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า พวกเธอทรงอติเรกจีวร
จริงหรือ” พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาค
พุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “โมฆบุรุษทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้ไม่สมควร ไม่คล้อย
ตาม ไม่เหมาะสม ไม่ใช่กิจของสมณะ ใช้ไม่ได้ ไม่ควรทำ ไฉนพวกเธอจึงทรงอติเรก
จีวรเล่า โมฆบุรุษทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส
หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ที่จริง กลับจะทำให้คนที่ไม่เลื่อมใส
ก็ไม่เลื่อมใสไปเลย คนที่เลื่อมใสอยู่แล้วบางพวกก็จะกลายเป็นอื่นไป ฯลฯ” แล้วจึง
รับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้

พระบัญญัติ
[๔๖๐] ก็ ภิกษุใดทรงอติเรกจีวร ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์๒
สิกขาบทนี้พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติไว้แก่ภิกษุทั้งหลายอย่างนี้
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ

เชิงอรรถ :
๑ อติเรกจีวร คือผ้าส่วนเกินที่เขาถวายภิกษุเพิ่มเข้ามาจากผ้าที่อธิษฐานเป็นไตรจีวร
๒ ที่แปลว่า “ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์” นี้เป็นไปตามนัยอธิบายแห่งอรรถกถาว่า “นิสฺสคฺคิยํ ปาจิตฺติยํ,
ตญฺจ จีวรํ นิสฺสคฺคิยํ โหติ, ปาจิตฺติยาปตฺติ จสฺส โหติ ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์ คือจีวรเป็น
นิสสัคคีย์ต้องสละ ภิกษุรูปนั้นต้องอาบัติปาจิตตีย์” (วิ.อ. ๒/๔๖๒-๔๖๓/๑๔๒, กงฺขา.อ. ๑๘๖)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๒ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๑.จีรวรรค ๑.ปฐมกฐินสิกขาบท พระอนุบัญญัติ
เรื่องพระอานนท์
[๔๖๑] สมัยนั้น อติเรกจีวรเกิดขึ้นแก่ท่านพระอานนท์ ท่านต้องการจะถวาย
อติเรกจีวรนั้นแก่ท่านพระสารีบุตร แต่ท่านพระสารีบุตรอยู่ที่เมืองสาเกต ทีนั้น ท่าน
พระอานนท์ได้มีความคิดว่า “พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติสิกขาบทไว้ว่า ‘ภิกษุไม่
พึงทรงอติเรกจีวร’ ก็อติเรกจีวรนี้เกิดขึ้นแก่เรา เราต้องการจะถวายท่านพระสารีบุตร
แต่ท่านอยู่ที่เมืองสาเกต เราพึงปฏิบัติอย่างไรหนอ” จึงได้นำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระ
ผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “อีกนานเพียงไร สารีบุตรจะกลับมา”
พระอานนท์กราบทูลว่า “อีก ๙ หรือ ๑๐ วันจึงจะกลับมา พระพุทธเจ้าข้า”

ทรงอนุญาตอติเรกจีวร
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมีกถาเพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ รับสั่ง
กับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลายเราอนุญาตให้ทรงอติเรกจีวรได้ ๑๐ วันเป็น
อย่างมาก” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้

พระอนุบัญญัติ
[๔๖๒] เมื่อจีวรของภิกษุสำเร็จแล้ว เมื่อกฐินเดาะแล้ว๑ ภิกษุพึงทรง
อติเรกจีวรไว้ได้ ๑๐ วันเป็นอย่างมาก ให้เกินกำหนดนั้นไป ต้องอาบัติ
นิสสัคคิยปาจิตตีย์๒

เรื่องพระอานนท์ จบ

เชิงอรรถ :
๑ คำว่า “กฐินเดาะ” ในที่นี้ตามศัพท์แปลว่า รื้อไม้สะดึง คือไม้แบบสำหรับขึงผ้า หมายถึงยกเลิกอานิสงส์
กฐินที่ภิกษุพึงได้รับ (ดูเหตุให้กฐินเดาะ เชิงอรรถข้อ ๔๖๓ หน้า ๔)
๒ นิสสัคคิยปาจิตตีย์ คืออาบัติปาจิตตีย์ที่ภิกษุผู้ต้องแล้วเมื่อจะแสดงเทสนาบัติ จะต้องทำการสละวัตถุ
ก่อน จึงจะถือว่าเป็นผู้บริสุทธิ์จากอาบัตินี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๓ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๑.จีรวรรค ๑.ปฐมกฐินสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์
สิกขาบทวิภังค์
[๔๖๓] คำว่า เมื่อจีวร...สำเร็จแล้ว หมายความว่า จีวรของภิกษุเสร็จแล้ว
สูญหายแล้ว ฉิบหายแล้ว ถูกไฟไหม้เสียแล้ว หรือภิกษุหมดหวังว่าจะได้ผ้ามาเย็บ
เป็นจีวร
คำว่า เมื่อกฐินเดาะแล้ว หมายความว่า กฐินเดาะด้วยมาติกาอย่างใด
อย่างหนึ่งในมาติกา ๘๑ หรือสงฆ์เดาะกฐินในระหว่าง๒
คำว่า ๑๐ วันเป็นอย่างมาก คือ ครอบครองไว้ได้ ๑๐ วันเป็นอย่างมาก
ชื่อว่า อติเรกจีวร ได้แก่ จีวรที่ไม่ได้อธิษฐาน๓ ไม่ได้วิกัป๔
ที่ชื่อว่า จีวร ได้แก่ จีวร ๖ ชนิด๕ อย่างใดอย่างหนึ่งซึ่งมีขนาดพอที่จะทำ
วิกัปได้เป็นอย่างต่ำ

เชิงอรรถ :
๑ มาติกา คือหัวข้อแห่งการเดาะกฐิน ๘ ประการ คือ (๑) ปักกมนันติกา กฐินเดาะกำหนดด้วยการที่ภิกษุ
หลีกไป ไม่คิดจะกลับ (๒) นิฏฐานันติกา กฐินเดาะกำหนดด้วยการที่ภิกษุนำผ้าไปนอกสีมาแล้วตัดเย็บ
จีวร ไม่คิดจะกลับ (๓) สันนิฏฐานันติกา กฐินเดาะกำหนดด้วยการที่ภิกษุนำผ้าไปนอกสีมาแล้วตกลงใจ
จะไม่ตัดเย็บจีวร และไม่คิดจะกลับ (๔) นาสนันติกา กฐินเดาะกำหนดด้วยการที่ภิกษุนำผ้าไปนอกสีมา
ตัดเย็บเป็นจีวร ไม่คิดจะกลับ ผ้าที่ตัดเย็บเป็นจีวรเสียหายไป (๕) สวนันติกา กฐินเดาะกำหนดด้วยการ
ที่ภิกษุนำผ้าไปนอกสีมา คิดว่าจะกลับ ตัดเย็บจีวรเสร็จแล้วได้ฟังข่าวว่า กฐินในวัดของตนเดาะเสียแล้ว
(๖) อาสาวัจเฉทิกา กฐินเดาะกำหนดด้วยการที่ภิกษุหลีกไปนอกสีมาด้วยหวังว่าจะได้ผ้า รอคอยผ้าจนหมด
หวัง (๗) สีมาติกกันติกา กฐินเดาะกำหนดด้วยการที่ภิกษุนำผ้าไปตัดเย็บจีวรอยู่นอกสีมา คิดจะกลับ แต่
อยู่นอกสีมาจนกระทั่งกฐินเดาะ (๘) สหุพภารา กฐินเดาะกำหนดด้วยการที่ภิกษุนำผ้าไปตัดเย็บจีวรอยู่
นอกสีมาคิดว่า จะกลับ จะกลับ แต่สงฆ์ในวัดของตนพร้อมใจกันเดาะกฐินเสียก่อน (วิ.ม. ๕/๓๑๐/๙๕)
๒ สงฆ์เดาะกฐินในระหว่าง คือสงฆ์กรานกฐินแล้ว ยังไม่พ้นเขตจีวรกาล มีทายกต้องการจะถวายอกาลจีวร
มาขอให้สงฆ์เดาะกฐิน คือยกเลิกอานิสงส์กฐินในระหว่างจีวรกาล (ก่อนหมดเขตอานิสงส์กฐิน) พระพุทธ
องค์ทรงอนุญาตให้เดาะกฐินได้ (วิ.ภิกขุนี. ๓/๙๒๕/๙๒๖/๑๒๑/๑๒๒)
๓ อธิษฐาน คือการตั้งเอาไว้หรือตั้งใจกำหนดเอาไว้ ได้แก่ ตั้งใจกำหนดเอาไว้ว่าจะเป็นของประจำตัวชนิด
นั้น ๆ เช่น ไตรจีวร บาตร วิธีอธิษฐาน ใช้กายคือมือสัมผัส หรือเปล่งวาจาก็ได้ (วิ.ป. ๘/๓๒๒/๒๖๑, วิ.อ.
๒/๔๖๙/๑๔๗)
๔ เรื่องเดียวกัน คำว่า วิกัป คือทำให้เป็นของสองเจ้าของ คือขอให้ภิกษุสามเณรรูปอื่นร่วมเป็นเจ้าของสิ่งที่
วิกัปนั้น ทำให้ไม่ต้องอาบัติ แม้จะเก็บไว้เกินกำหนด
๕ จีวร ๖ ชนิด คือ โขมะ(จีวรผ้าเปลือกไม้) กัปปาสิกะ (จีวรผ้าฝ้าย) โกเสยยะ (จีวรผ้าไหม) กัมพละ (จีวร
ผ้าขนสัตว์) สาณะ (จีวรผ้าป่าน) ภังคะ (จีวรผ้าผสม) (วิ.อ. ๒/๔๖๒-๔๖๓/๑๔๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๔ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๑.จีรวรรค ๑.ปฐมกฐินสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์
คำว่า ให้เกินกำหนดนั้นไป ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์ ความว่า เมื่อรุ่ง
อรุณวันที่ ๑๑ จีวรผืนนั้นเป็นนิสสัคคีย์ คือ เป็นของจำต้องสละแก่สงฆ์ แก่คณะ
หรือแก่บุคคล
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงสละจีวรที่เป็นนิสสัคคีย์อย่างนี้

วิธีสละจีวรที่เป็นนิสสัคคีย์
สละแก่สงฆ์
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง กราบเท้าภิกษุผู้
แก่พรรษา นั่งกระโหย่งประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านผู้เจริญ จีวรผืนนี้ของกระผม
เกินกำหนด ๑๐ วัน เป็นนิสสัคคีย์ กระผมสละจีวรผืนนี้แก่สงฆ์” ครั้นสละแล้วพึง
แสดงอาบัติ
ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงรับอาบัติ๑ พึงคืนจีวรที่เธอสละให้ด้วยญัตติกรรมวาจา
ว่า
[๔๖๔] “ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า จีวรผืนนี้ของภิกษุชื่อนี้เป็นนิสสัคคีย์
เธอสละแก่สงฆ์ ถ้าสงฆ์พร้อมกันแล้วพึงคืนจีวรผืนนี้แก่ภิกษุชื่อนี้”

สละแก่คณะ
[๔๖๕] ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุหลายรูป ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง
กราบเท้าภิกษุผู้แก่พรรษา นั่งกระโหย่งประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านผู้เจริญ
จีวรผืนนี้ของกระผมเกินกำหนด ๑๐ วัน เป็นนิสสัคคีย์ กระผมสละจีวรผืนนี้แก่ท่าน
ทั้งหลาย” ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ
ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงรับอาบัติ พึงคืนจีวรที่เธอสละให้ด้วยกล่าวว่า
[๔๖๖] “ท่านทั้งหลายจงฟังข้าพเจ้า จีวรผืนนี้ของภิกษุชื่อนี้เป็นนิสสัคคีย์ เธอ
สละแก่ท่านทั้งหลาย ถ้าท่านทั้งหลายพร้อมกันแล้วพึงให้จีวรผืนนี้แก่ภิกษุชื่อนี้”

เชิงอรรถ :
๑ คือรับการแสดงอาบัติ เพื่อให้ภิกษุผู้ต้องอาบัติพ้นจากอาบัติ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๕ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๑.จีรวรรค ๑.ปฐมกฐินสิกขาบท บทภาชนีย์
สละแก่บุคคล
[๔๖๗] ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุรูปหนึ่ง ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง
นั่งกระโหย่งประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านขอรับ จีวรผืนนี้ของกระผมเกินกำหนด
๑๐ วัน เป็นนิสสัคคีย์ กระผมสละจีวรผืนนี้แก่ท่าน” ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ
ภิกษุผู้รับสละนั้นพึงรับอาบัติแล้วคืนจีวรที่เธอสละให้ด้วยกล่าวว่า “กระผมคืน
จีวรผืนนี้ให้แก่ท่าน”

บทภาชนีย์
นิสสัคคิยปาจิตตีย์
[๔๖๘] จีวรเกินกำหนด ๑๐ วัน ภิกษุสำคัญว่าเกินกำหนดแล้ว ต้องอาบัติ
นิสสัคคิยปาจิตตีย์
จีวรเกินกำหนด ๑๐ วัน ภิกษุไม่แน่ใจ ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
จีวรเกินกำหนด ๑๐ วัน ภิกษุสำคัญว่ายังไม่เกินกำหนด ต้องอาบัติ
นิสสัคคิยปาจิตตีย์
จีวรยังไม่ได้อธิษฐาน ภิกษุสำคัญว่าอธิษฐานแล้ว ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
จีวรยังไม่ได้วิกัป ภิกษุสำคัญว่าวิกัปแล้ว ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
จีวรยังไม่ได้สละ ภิกษุสำคัญว่าสละแล้ว ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
จีวรยังไม่สูญหาย ภิกษุสำคัญว่าสูญหายแล้ว ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
จีวรยังไม่ฉิบหาย ภิกษุสำคัญว่าฉิบหายแล้ว ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
จีวรยังไม่ถูกไฟไหม้ ภิกษุสำคัญว่าถูกไฟไหม้แล้ว ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
จีวรที่ยังไม่ถูกโจรชิงเอาไป ภิกษุสำคัญว่าถูกโจรชิงเอาไปแล้ว ต้องอาบัติ
นิสสัคคิยปาจิตตีย์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๖ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๑.จีรวรรค ๑.ปฐมกฐินสิกขาบท อนาปัตติวาร
ติกทุกกฏ
จีวรที่เป็นนิสสัคคีย์ ภิกษุยังไม่ได้สละ ใช้สอย ต้องอาบัติทุกกฏ
จีวรยังไม่เกินกำหนด ๑๐ วัน ภิกษุสำคัญว่าเกินกำหนดแล้ว ใช้สอย ต้อง
อาบัติทุกกฏ
จีวรยังไม่เกินกำหนด ๑๐ วัน ภิกษุไม่แน่ใจ ใช้สอย ต้องอาบัติทุกกฏ
จีวรยังไม่เกินกำหนด ๑๐ วัน ภิกษุสำคัญว่ายังไม่เกินกำหนด ไม่ต้องอาบัติ

อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[๔๖๙] ๑. ภิกษุผู้อธิษฐานภายใน ๑๐ วัน
๒. ภิกษุผู้วิกัปไว้ภายใน ๑๐ วัน
๓. ภิกษุผู้สละให้ไปภายใน ๑๐ วัน
๔. ภิกษุผู้มีจีวรสูญหายภายใน ๑๐ วัน
๕. ภิกษุผู้มีจีวรฉิบหายภายใน ๑๐ วัน
๖. ภิกษุผู้มีจีวรถูกไฟไหม้ภายใน ๑๐ วัน
๗. ภิกษุผู้มีจีวรถูกโจรชิงเอาไปภายใน ๑๐ วัน
๘. ภิกษุผู้มีจีวรถูกถือเอาไปโดยวิสาสะภายใน ๑๐ วัน
๙. ภิกษุวิกลจริต
๑๐. ภิกษุต้นบัญญัติ
[๔๗๐] สมัยนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ไม่ยอมคืนจีวรที่มีผู้สละให้ บรรดาภิกษุ
ผู้มักน้อย ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพวกภิกษุฉัพพัคคีย์
จึงไม่ยอมคืนจีวรที่มีผู้สละให้เล่า” แล้วจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้
ทรงทราบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๗ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๑.จีรวรรค ๑.ปฐมกฐินสิกขาบท อนาปัตติวาร
ทรงสอบถามแล้วอนุญาตให้คืนจีวร
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงสอบถามพวกภิกษุฉัพพัคคีย์ว่า “ทราบว่า
พวกเธอไม่ยอมคืนจีวรที่มีผู้สละให้ จริงหรือ” พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ทูลรับว่า “จริง
พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ฯลฯ ไฉนพวกเธอจึงไม่
ยอมคืนจีวรที่มีผู้สละให้เล่า โมฆบุรุษทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่
เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ที่จริง กลับ
จะทำให้คนที่ไม่เลื่อมใสก็ไม่เลื่อมใสไปเลย คนที่เลื่อมใสอยู่แล้วบางพวกก็จะกลาย
เป็นอื่นไป ฯลฯ” ดังนี้ แล้วทรงแสดงธรรมีกถาแก่ภิกษุทั้งหลายให้เหมาะสมกับ
เรื่องนั้น แล้วรับสั่งกับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย จีวรที่ภิกษุสละแก่สงฆ์ แก่
คณะหรือแก่บุคคล จะไม่คืนไม่ได้ ภิกษุใดไม่คืนให้ ภิกษุนั้นต้องอาบัติทุกกฏ”

ปฐมกฐินสิกขาบทที่ ๑ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๘ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๑.จีรวรรค ๒.อุทโทสิตสิกขาบท นิทานวัตถุ
๑. จีวรวรรค
๒. อุทโทสิตสิกขาบท
ว่าด้วยภิกษุเก็บจีวรไว้ในโรงเก็บของ
(ว่าด้วยกฐินเดาะข้อที่ ๒)

เรื่องภิกษุหลายรูป
[๔๗๑] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุทั้งหลายฝากสังฆาฏิไว้กับ
พวกภิกษุมีเพียงอุตตราสงค์กับอันตรวาสกออกจาริกไปสู่ชนบท สังฆาฏิเหล่านั้นเก็บ
ไว้นานจึงขึ้นรา ภิกษุทั้งหลายจึงนำออกมาผึ่งแดด
ท่านพระอานนท์เที่ยวไปตามเสนาสนะ เห็นภิกษุกำลังผึ่งสังฆาฏิอยู่จึงเข้าไป
ถามภิกษุเหล่านั้นว่า “ท่านทั้งหลาย สังฆาฏิที่ขึ้นราเหล่านี้เป็นของใคร” ลำดับนั้น
ภิกษุเหล่านั้นบอกเรื่องนั้นให้พระอานนท์ทราบ
ท่านพระอานนท์ตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนภิกษุทั้งหลายจึงฝาก
สังฆาฏิไว้กับพวกภิกษุ มีเพียงอุตตราสงค์กับอันตรวาสกออกจาริกไปสู่ชนบทเล่า”
ครั้นท่านตำหนิภิกษุเหล่านั้นโดยประการต่าง ๆ แล้วจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มี
พระภาคให้ทรงทราบ

ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงสอบถามภิกษุเหล่านั้นว่า “ภิกษุทั้งหลาย
ทราบว่า พวกภิกษุฝากสังฆาฏิไว้กับพวกภิกษุ มีเพียงอุตตราสงค์กับอันตรวาสก
ออกจาริกไปสู่ชนบท จริงหรือ” ภิกษุเหล่านั้นทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระ
ผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ฯลฯ ภิกษุทั้งหลาย ไฉนพวกโมฆบุรุษเหล่านั้นจึง
ฝากจีวรไว้กับพวกภิกษุ มีเพียงอุตตราสงค์และอันตรวาสกออกจาริกไปสู่ชนบทเล่า
ภิกษุทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๙ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๑.จีรวรรค ๒.อุทโทสิตสิกขาบท พระบัญญัติ
เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ” ดังนี้แล้วรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลาย
ยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้

พระบัญญัติ
[๔๗๒] เมื่อจีวรของภิกษุสำเร็จแล้ว เมื่อกฐินเดาะแล้ว ถ้าภิกษุอยู่
ปราศจากไตรจีวรแม้สิ้นราตรีหนึ่ง ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
สิกขาบทนี้พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติไว้แก่ภิกษุทั้งหลายอย่างนี้
เรื่องภิกษุหลายรูป จบ

เรื่องภิกษุเป็นไข้
[๔๗๓] สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งเป็นไข้อยู่กรุงโกสัมพี พวกญาติส่งทูตไปสำนัก
ของภิกษุนั้นให้แจ้งข่าวว่า “นิมนต์พระคุณท่านมาเถิด พวกเราจะอุปัฏฐาก” ภิกษุ
ทั้งหลายก็กล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านไปเถิด พวกญาติจะอุปัฏฐากท่านเอง” ภิกษุนั้น
กล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติสิกขาบทไว้ว่า ‘ภิกษุไม่
พึงอยู่ปราศจากไตรจีวร’ กระผมเป็นไข้ไม่สามารถนำไตรจีวรไปได้ กระผมจะไม่ไป”
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ

ทรงอนุญาตให้สมมติติจีวราวิปวาส
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมีกถาเพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ รับสั่ง
กับภิกษุทั้งหลายว่า “เราอนุญาตให้สมมติเพื่อไม่เป็นการอยู่ปราศจากไตรจีวร เพื่อ
ภิกษุผู้เป็นไข้”
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงให้สมมติอย่างนี้

วิธีสมมติติจีวราวิปวาส
ภิกษุผู้เป็นไข้นั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง กราบเท้า
ภิกษุผู้แก่พรรษา นั่งกระโหย่งประนมมือ กล่าวว่า “ท่านผู้เจริญ กระผมเป็นไข้ไม่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๑๐ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๑.จีรวรรค ๒.อุทโทสิตสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์
สามารถนำไตรจีวรไปได้ กระผมขอให้สงฆ์สมมติเพื่อไม่เป็นการอยู่ปราศจากไตรจีวร
พึงกล่าวขออย่างนี้เป็นครั้งที่ ๒ พึงกล่าวขออย่างนี้เป็นครั้งที่ ๓
ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติทุติยกรรมวาจาว่า
[๔๗๔] ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุชื่อนี้เป็นไข้ ไม่สามารถนำไตร
จีวรไปได้เธอขอให้สงฆ์สมมติเพื่อไม่เป็นการอยู่ปราศจากไตรจีวรถ้าสงฆ์พร้อมกัน
แล้วพึงให้สมมติเพื่อไม่เป็นการอยู่ปราศจากไตรจีวรแก่ภิกษุชื่อนี้ นี่เป็นญัตติ
ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุชื่อนี้เป็นไข้ไม่สามารถนำไตรจีวรไปได้
เธอขอให้สงฆ์สมมติเพื่อไม่เป็นการอยู่ปราศจากไตรจีวร สงฆ์ให้สมมติเพื่อไม่เป็น
การอยู่ปราศจากไตรจีวรแก่ภิกษุชื่อนี้ ท่านรูปใดเห็นด้วยกับการให้สมมติเพื่อไม่
เป็นการอยู่ปราศจากไตรจีวรแก่ภิกษุชื่อนี้ ท่านรูปนั้นพึงนิ่ง ท่านรูปใดไม่เห็นด้วย
ท่านรูปนั้นพึงทักท้วง
การสมมติเพื่อไม่เป็นการอยู่ปราศจากไตรจีวร สงฆ์ให้แก่ภิกษุชื่อนี้แล้ว สงฆ์
เห็นชอบ เพราะฉะนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าขอถือความนิ่งนั้นเป็นมติอย่างนี้” แล้วจึงรับสั่ง
ให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้

พระอนุบัญญัติ
[๔๗๕] เมื่อจีวรของภิกษุสำเร็จแล้ว เมื่อกฐินเดาะแล้ว ถ้าภิกษุอยู่
ปราศจากไตรจีวรแม้สิ้นราตรีหนึ่ง ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์ เว้นแต่ภิกษุ
ได้รับสมมติ

สิกขาบทวิภังค์
[๔๗๖] คำว่า เมื่อจีวร...สำเร็จแล้ว หมายความว่า จีวรของภิกษุทำเสร็จ
แล้ว สูญหายแล้ว ฉิบหายแล้ว ถูกไฟไหม้แล้ว หรือภิกษุหมดหวังว่าจะได้ผ้ามา
เย็บเป็นจีวร


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๑๑ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๑.จีรวรรค ๒.อุทโทสิตสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์
คำว่า เมื่อกฐินเดาะแล้ว หมายความว่า กฐินเดาะด้วยมาติกาอย่างใดอย่าง
หนึ่งในมาติกา ๘ หรือสงฆ์เดาะภายในระหว่าง
คำว่า ถ้าภิกษุอยู่ปราศจากไตรจีวรแม้สิ้นราตรีหนึ่ง ความว่า ภิกษุอยู่
ปราศจากสังฆาฏิ อุตตราสงค์หรืออันตรวาสกผืนใดผืนหนึ่ง แม้คืนเดียว
คำว่า เว้นแต่ภิกษุได้รับสมมติ คือ ยกเว้นภิกษุผู้ได้รับสมมติ
คำว่า ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์ คือ จีวรเป็นนิสสัคคีย์พร้อมกับอรุณขึ้น
คือเป็นของจำต้องสละแก่สงฆ์ แก่คณะหรือแก่บุคคล
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงสละจีวรที่เป็นนิสสัคคีย์อย่างนี้

วิธีสละจีวรที่เป็นนิสสัคคีย์
สละแก่สงฆ์
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง กราบเท้าภิกษุผู้
แก่พรรษา นั่งกระโหย่งประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านผู้เจริญ จีวรผืนนี้ของกระผม
อยู่ปราศแล้วล่วงราตรี เว้นจากได้รับการสมมติ เป็นนิสสัคคีย์ กระผมสละจีวรผืนนี้
แก่สงฆ์” ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ
ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงรับอาบัติ พึงคืนจีวรที่เธอสละให้ด้วยญัตติกรรมวาจา
ว่า “ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า จีวรผืนนี้ของภิกษุชื่อนี้เป็นนิสสัคคีย์ เธอสละ
แก่สงฆ์ ถ้าสงฆ์พร้อมกันแล้วก็พึงให้จีวรผืนนี้แก่ภิกษุชื่อนี้”

สละแก่คณะ
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุหลายรูป ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง กราบ
เท้าภิกษุผู้แก่พรรษา นั่งกระโหย่งประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านผู้เจริญ จีวรผืนนี้
ของกระผมอยู่ปราศแล้วล่วงราตรี เว้นจากได้รับการสมมติ เป็นนิสสัคคีย์ กระผม
สละจีวรผืนนี้แก่ท่านทั้งหลาย” ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ
ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงรับอาบัติ พึงคืนจีวรที่เธอสละให้ด้วยกล่าวว่า “ท่าน
ทั้งหลายจงฟังข้าพเจ้า จีวรผืนนี้ของภิกษุชื่อนี้เป็นนิสสัคคีย์ เธอสละแก่ท่านทั้งหลาย
ถ้าท่านทั้งหลายพร้อมกันแล้วก็พึงให้จีวรผืนนี้แก่ภิกษุชื่อนี้”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๑๒ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๑.จีรวรรค ๒.อุทโทสิตสิกขาบท บทภาชนีย์
สละแก่บุคคล
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุรูปหนึ่ง ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง นั่ง
กระโหย่งประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านขอรับ จีวรผืนนี้ของกระผมอยู่ปราศแล้ว
ล่วงราตรี เว้นจากได้รับการสมมติ เป็นนิสสัคคีย์ กระผมสละจีวรผืนนี้แก่ท่าน”
ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ
ภิกษุผู้รับสละนั้นพึงรับอาบัติแล้วพึงคืนจีวรที่เธอสละให้ด้วยกล่าวว่า “กระผม
คืนจีวรผืนนี้ให้แก่ท่าน”

บทภาชนีย์
มาติกา
[๔๗๗] หมู่บ้าน มีอุปจารเดียวกัน๑ หมู่บ้าน มีอุปจารแยกกัน
เรือน มีอุปจารเดียวกัน เรือน มีอุปจารแยกกัน
โรงเก็บของ มีอุปจารเดียวกัน โรงเก็บของ มีอุปจารแยกกัน
ป้อม มีอุปจารเดียวกัน ป้อม มีอุปจารแยกกัน
เรือนยอดเดียว มีอุปจารเดียวกัน เรือนยอดเดียว มีอุปจารแยกกัน
ปราสาท มีอุปจารเดียวกัน ปราสาท มีอุปจารแยกกัน
เรือนโล้น๒ มีอุปจารเดียวกัน เรือนโล้น มีอุปจารแยกกัน
เรือ มีอุปจารเดียวกัน เรือ มีอุปจารแยกกัน
หมู่เกวียน มีอุปจารเดียวกัน หมู่เกวียน มีอุปจารแยกกัน

เชิงอรรถ :
๑ คำว่า “อุปจาร” คือที่ใกล้เคียงกันบริเวณรอบ ๆ ชานเช่นอุปจารเรือนคือบริเวณรอบ ๆ เรือนซึ่ง
กำหนดจุดที่อยู่นอกบริเวณชายคาของตัวเรือนออกไปถึงจุดที่แม่บ้านยืนอยู่ที่ประตูเรือนสาดน้ำล้างภาชนะ
ออกไปตก (วิ.อ. ๑/๙๒/๓๒๒)
๒ หัมมิยะ เรือนโล้น ได้แก่ ปราสาทหลังคาโล้น มีเรือนยอดตั้งอยู่ที่ดาดฟ้า มีชานชมแสงจันทร์ (วิ.อ.
๒/๔๘๒-๗/๑๕๙, วิ.อ. ๓/๒๙๔/๓๑๙, สารตฺถ.ฏีกา ๓/๗๑-๗๓/๒๘๕, วิมติ.ฏีกา ๒/๗๑-๗๓/๑๓๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๑๓ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๑.จีรวรรค ๒.อุทโทสิตสิกขาบท บทภาชนีย์
นา มีอุปจารเดียวกัน นา มีอุปจารแยกกัน
ลานนวดข้าว มีอุปจารเดียวกัน ลานนวดข้าว มีอุปจารแยกกัน
สวน มีอุปจารเดียวกัน สวน มีอุปจารแยกกัน
วิหาร มีอุปจารเดียวกัน วิหาร มีอุปจารแยกกัน
โคนไม้ มีอุปจารเดียวกัน โคนไม้ มีอุปจารแยกกัน
ที่กลางแจ้ง มีอุปจารเดียวกัน ที่กลางแจ้ง มีอุปจารแยกกัน
[๔๗๘] ที่ชื่อว่า หมู่บ้านมีอุปจารเดียวกัน คือ หมู่บ้านของตระกูลหนึ่งล้อม
รั้วไว้ด้วยกัน ภิกษุเก็บจีวรไว้ภายในหมู่บ้าน แล้วพึงอยู่ภายในหมู่บ้าน ที่ชื่อว่า หมู่
บ้านมีอุปจารแยกกัน๑ คือ หมู่บ้านของตระกูลหนึ่งไม่มีรั้วล้อม ภิกษุต้องอยู่ใน
เรือนที่ตนเก็บจีวรไว้หรือไม่ละหัตถบาส
[๔๗๙] หมู่บ้านของต่างตระกูลและล้อมรั้วไว้ด้วยกัน ภิกษุต้องอยู่ในเรือนที่
ตนเก็บจีวรไว้ ในหอประชุมหรือที่ริมประตู หรือไม่ละหัตถบาส เมื่อไปหอประชุม
ต้องเก็บจีวรไว้ในหัตถบาสแล้วอยู่ในหอประชุมหรือที่ริมประตู หรือไม่ละหัตถบาส
ภิกษุเก็บจีวรในหอประชุมต้องอยู่ในหอประชุมหรือที่ริมประตูหรือไม่ละหัตถบาส
หมู่บ้านไม่มีรั้วล้อม ภิกษุต้องอยู่ในเรือนที่ตนเก็บจีวรไว้หรือไม่ละหัตถบาส
[๔๘๐] เรือน ของตระกูลหนึ่งล้อมรั้วไว้ด้วยกัน มีห้องใหญ่ห้องเล็กหลายห้อง
ภิกษุเก็บจีวรไว้ภายในเรือน ต้องอยู่ภายในเรือน
เรือนไม่มีรั้วล้อม ภิกษุต้องอยู่ในห้องที่ตนเก็บจีวรไว้หรือไม่ละหัตถบาส
[๔๘๑] เรือน ของต่างตระกูลและล้อมรั้วไว้ด้วยกัน มีห้องใหญ่ห้องเล็กหลาย
ห้อง ภิกษุต้องอยู่ในห้องที่ตนเก็บจีวรไว้หรือที่ริมประตู หรือไม่ละหัตถบาส
เรือนไม่มีรั้วล้อม ภิกษุต้องอยู่ในห้องที่ตนเก็บจีวรไว้หรือไม่ละหัตถบาส

เชิงอรรถ :
๑ หมู่บ้านที่จัดว่ามีอุปจารเดียวกัน ท่านกำหนดด้วยล้อมรั้วไว้ด้วยกัน, ที่จัดว่า มีอุปจารแยกกัน ท่าน
กำหนดด้วยไม่มีรั้วล้อม (ปริกฺขิตฺโตติ... เอตฺตาวตา เอกกุลคามสฺส เอกูปจารตา ทสฺสิตา. ฯเปฯ
อปริกฺขิตฺโตติ อิมินา ตสฺเสว คามสฺส นานูปจารตา ทสฺสิตา - วิ.อ. ๒/๔๗๘/๑๕๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๑๔ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๑.จีรวรรค ๒.อุทโทสิตสิกขาบท บทภาชนีย์
[๔๘๒] โรงเก็บของ ของตระกูลหนึ่งล้อมรั้วไว้ด้วยกัน มีห้องใหญ่ห้องเล็ก
หลายห้อง ภิกษุต้องอยู่ในโรงเก็บของที่ตนเก็บจีวรไว้
โรงเก็บของไม่มีรั้วล้อม ภิกษุต้องอยู่ในห้องเก็บของที่ตนเก็บจีวรไว้หรือไม่ละ
หัตถบาส
[๔๘๓] โรงเก็บของ ของต่างตระกูลและล้อมรั้วไว้ด้วยกัน มีห้องใหญ่ห้อง
เล็กหลายห้อง ภิกษุต้องอยู่ในห้องที่ตนเก็บจีวรไว้หรือที่ริมประตู หรือไม่ละหัตถบาส
โรงเก็บของไม่มีรั้วล้อม ภิกษุต้องอยู่ในห้องที่ตนเก็บจีวรไว้หรือไม่ละหัตถบาส
[๔๘๔] ป้อม ของตระกูลหนึ่ง ภิกษุต้องอยู่ภายในป้อมที่ตนเก็บจีวรไว้
ป้อมของต่างตระกูล มีห้องใหญ่ห้องเล็กหลายห้อง ภิกษุต้องอยู่ในห้องที่ตน
เก็บจีวรไว้หรือที่ริมประตูหรือไม่ละหัตถบาส
[๔๘๕] เรือนยอดเดียว ของตระกูลหนึ่ง ภิกษุต้องอยู่ภายในเรือนยอดเดียว
ที่ตนเก็บจีวรไว้
เรือนยอดเดียวของต่างตระกูล มีห้องใหญ่ห้องเล็กหลายห้อง ภิกษุต้องอยู่ใน
ห้องที่ตนเก็บจีวรไว้หรือที่ริมประตู หรือไม่ละหัตถบาส
[๔๘๖] ปราสาท ของตระกูลหนึ่ง ภิกษุต้องอยู่ในปราสาทที่ตนเก็บจีวรไว้
ปราสาทของต่างตระกูล มีห้องใหญ่ห้องเล็กหลายห้อง ภิกษุต้องอยู่ในห้องที่
ตนเก็บจีวรไว้หรือที่ริมประตู หรือไม่ละหัตถบาส
[๔๘๗] เรือนโล้น ของตระกูลหนึ่ง ภิกษุต้องอยู่ภายในเรือนโล้นที่ตนเก็บ
จีวรไว้
เรือนโล้นของต่างตระกูล มีห้องใหญ่ห้องเล็กหลายห้อง ภิกษุต้องอยู่ในห้องที่
ตนเก็บจีวรไว้หรือที่ริมประตู หรือไม่ละหัตถบาส
[๔๘๘] เรือ ของตระกูลหนึ่ง ภิกษุต้องอยู่ภายในเรือที่ตนเก็บจีวรไว้
เรือของต่างตระกูล มีห้องใหญ่ห้องเล็กหลายห้อง ภิกษุต้องอยู่ในห้องที่ตน
เก็บจีวรไว้หรือที่ริมประตู หรือไม่ละหัตถบาส


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๑๕ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๑.จีรวรรค ๒.อุทโทสิตสิกขาบท บทภาชนีย์
[๔๘๙] หมู่เกวียน ของตระกูลหนึ่ง ภิกษุต้องไม่ละอัพภันดร๑ ด้านหน้า
หรือด้านหลัง ข้างละ ๗ อัพภันดร ด้านข้างด้านละ ๑ อัพภันดร
หมู่เกวียนของต่างตระกูล ภิกษุเก็บจีวรไว้ในหมู่เกวียน ต้องไม่ละหัตถบาส
[๔๙๐] นา ของตระกูลหนึ่งและล้อมรั้วไว้ด้วยกัน ภิกษุต้องอยู่ภายในนาที่
ตนเก็บจีวรไว้ นาไม่มีรั้วล้อม ภิกษุต้องไม่ละหัตถบาส
นาของต่างตระกูลและล้อมรั้วไว้ด้วยกัน ภิกษุเก็บจีวรไว้ภายในนา ต้องอยู่ที่ริม
ประตูหรือไม่ละหัตถบาส นาที่ไม่มีรั้วล้อม ต้องไม่ละหัตถบาส
[๔๙๑] ลานนวดข้าว ของตระกูลหนึ่งและล้อมรั้วไว้ด้วยกัน ภิกษุต้องอยู่
ภายในลานนวดข้าวที่ตนเก็บจีวรไว้ ลานนวดข้าวของตระกูลหนึ่งไม่มีรั้วล้อม ต้องไม่
ละหัตถบาส
ลานนวดข้าวของต่างตระกูลและล้อมรั้วไว้ด้วยกัน ภิกษุเก็บจีวรไว้ภายในลาน
นวดข้าว ต้องอยู่ที่ริมประตู หรือไม่ละหัตถบาส ลานนวดข้าวของต่างตระกูลไม่มีรั้ว
ล้อม ต้องไม่ละหัตถบาส
[๔๙๒] สวน ของตระกูลหนึ่งและล้อมรั้วไว้ด้วยกัน ภิกษุเก็บจีวรไว้ภายในสวน
ต้องอยู่ภายในสวน สวนที่ไม่มีรั้วล้อม ต้องไม่ละหัตถบาส
สวนของต่างตระกูลและล้อมรั้วไว้ด้วยกัน ภิกษุเก็บจีวรไว้ภายในสวน ต้องอยู่
ที่ริมประตู หรือไม่ละหัตถบาส สวนที่ไม่มีรั้วล้อม ต้องไม่ละหัตถบาส
[๔๙๓] วิหาร ของตระกูลหนึ่งและล้อมรั้วไว้ด้วยกัน ภิกษุเก็บจีวรไว้ในวิหาร
ต้องอยู่ภายในวิหาร วิหารของตระกูลหนึ่งไม่มีรั้วล้อม ต้องอยู่ในวิหารที่ตนเก็บจีวร
ไว้หรือไม่ละหัตถบาส
วิหารของต่างตระกูลและล้อมรั้วไว้ด้วยกัน ภิกษุต้องอยู่ในวิหารที่ตนเก็บจีวรไว้
หรือที่ริมประตู หรือไม่ละหัตถบาส วิหารของต่างตระกูลไม่มีรั้วล้อม ต้องอยู่ในวิหาร
ที่ตนเก็บจีวรไว้ หรือไม่ละหัตถบาส

เชิงอรรถ :
๑ คำว่า “อัพภันดร” เป็นมาตราวัดในภาษามคธ เทียบเท่า ๒๘ ศอก หรือ ๗ วา (เอตํ อพฺภนฺตรํ
อฏฺฐวีสติหตฺถํ โหติ - วิ.อ. ๒/๔๘๙/๑๕๙)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๑๖ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๑.จีรวรรค ๒.อุทโทสิตสิกขาบท บทภาชนีย์
[๔๙๔] โคนไม้ ของตระกูลหนึ่ง กำหนดเขตที่เงาแผ่ไปรอบ ๆ เวลาเที่ยงวัน
ภิกษุเก็บจีวรภายในเขตเงา ต้องอยู่ในเขตเงา
โคนไม้ของต่างตระกูล ต้องไม่ละหัตถบาส
ที่ชื่อว่าที่กลางแจ้งมีอุปจารเดียวกัน คือ ป่าไม่มีบ้าน กำหนด ๗ อัพภันดร
โดยรอบ เป็นอุปจารเดียว พ้นกำหนดนั้นเป็นอุปจารแยกกัน

นิสสัคคิยปาจิตตีย์
[๔๙๕] จีวรอยู่ปราศแล้ว ภิกษุสำคัญว่าอยู่ปราศแล้ว ต้องอาบัตินิสสัคคิย
ปาจิตตีย์ เว้นแต่ภิกษุได้รับสมมติ
จีวรอยู่ปราศแล้ว ภิกษุไม่แน่ใจ ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์ เว้นแต่ภิกษุได้
รับสมมติ
จีวรอยู่ปราศแล้ว ภิกษุสำคัญว่าไม่อยู่ปราศแล้ว ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
เว้นแต่ภิกษุได้รับสมมติ
จีวรยังไม่ได้ถอน ภิกษุสำคัญว่าถอนแล้ว ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์ เว้นแต่
ภิกษุได้รับสมมติ
จีวรยังไม่ได้สละให้ ภิกษุสำคัญว่าสละให้แล้ว ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
เว้นแต่ภิกษุได้รับสมมติ
จีวรยังไม่สูญหาย ภิกษุสำคัญว่าสูญหายแล้ว ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
เว้นแต่ภิกษุได้รับสมมติ
จีวรยังไม่ฉิบหาย ภิกษุสำคัญว่าฉิบหายแล้ว ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
เว้นแต่ภิกษุได้รับสมมติ
จีวรยังไม่ถูกไฟไหม้ ภิกษุสำคัญว่าถูกไฟไหม้แล้ว ต้องอาบัตินิสสัคคิย
ปาจิตตีย์ เว้นแต่ภิกษุได้รับสมมติ
จีวรยังไม่ถูกโจรชิง ภิกษุสำคัญว่าถูกโจรชิงไปแล้ว ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
เว้นแต่ภิกษุได้รับสมมติ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๑๗ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๑.จีรวรรค ๒. อุทโทสิตสิกขาบท อนาปัตติวาร
ติกทุกกฏ
จีวรเป็นนิสสัคคีย์ ภิกษุยังไม่สละ ใช้สอย ต้องอาบัติทุกกฏ
จีวรไม่อยู่ปราศ ภิกษุสำคัญว่าอยู่ปราศแล้ว ใช้สอย ต้องอาบัติทุกกฏ
จีวรไม่อยู่ปราศ ภิกษุไม่แน่ใจ ใช้สอย ต้องอาบัติทุกกฏ
จีวรไม่อยู่ปราศ ภิกษุสำคัญว่าไม่อยู่ปราศ ใช้สอย ไม่ต้องอาบัติ

อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[๔๙๖] ๑. ภิกษุผู้ถอนภายในอรุณ
๒. ภิกษุผู้สละให้ไป
๓. ภิกษุผู้มีจีวรสูญหาย
๔. ภิกษุผู้มีจีวรฉิบหาย
๕. ภิกษุผู้มีจีวรถูกไฟไหม้
๖. ภิกษุผู้มีจีวรถูกโจรชิงเอาไป
๗. ภิกษุผู้มีจีวรถูกถือเอาไปโดยวิสาสะ
๘. ภิกษุได้รับสมมติ
๙. ภิกษุวิกลจริต
๑๐. ภิกษุต้นบัญญัติ
อุทโทสิตสิกขาบทที่ ๒ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๑๘ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๑.จีรวรรค ๓.ตติยกฐินสิกขาบท นิทานวัตถุ
๑. จีวรวรรค

๓. ตติยกฐินสิกขาบท
ว่าด้วยกฐินเดาะข้อที่ ๓

เรื่องภิกษุรับอกาลจีวร
[๔๙๗] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น อกาลจีวร๑ ได้เกิดขึ้นแก่ภิกษุรูป
หนึ่ง ท่านจะทำจีวรแต่ผ้าไม่พอ จึงพยายามดึงผ้านั้นให้ยืดแล้วรีดเป็นหลายครั้ง
พระผู้มีพระภาคเสด็จไปตามเสนาสนะ ทอดพระเนตรเห็นเธอพยายามดึงผ้านั้นให้
ยืดแล้วรีดเป็นหลายครั้ง จึงเสด็จเข้าไปหาภิกษุรูปนั้น ครั้นถึงแล้วตรัสถามว่า “เธอ
พยายามดึงผ้านั้นให้ยืดแล้วรีดเป็นหลายครั้ง เพื่ออะไร”
ภิกษุนั้นกราบทูลว่า “ข้าพระองค์ได้ผ้าที่เป็นอกาลจีวร ครั้นจะทำจีวรผ้าไม่พอ
ดังนั้นจึงพยายามดึงผ้านั้นให้ยืดแล้วรีดเป็นหลายครั้ง พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “ภิกษุ เธอมีความหวังจะได้ผ้าสำหรับทำจีวร
อีกหรือ”
ภิกษุนั้นกราบทูลว่า “มีความหวัง พระพุทธเจ้าข้า”

ทรงอนุญาตอกาลจีวร
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมีกถาเพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ รับสั่ง
กับภิกษุทั้งหลายว่า “เราอนุญาตให้รับผ้าที่เป็นอกาลจีวรแล้วเก็บไว้โดยมีความหวัง
ว่าจะได้ผ้ามาเพิ่ม”

เชิงอรรถ :
๑ อกาลจีวร หมายถึงผ้าสำหรับทำจีวรที่เกิดขึ้นนอกฤดูกาล คือนอกกาลที่ภิกษุจะพึงรับผ้าผืนที่ ๔ นอก
จากไตรจีวรเก็บไว้ได้ (ดูเชิงอรรถ ข้อ ๕๐๐ หน้า ๒๑ ในเล่มนี้)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๑๙ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๑.จีรวรรค ๓.ตติยกฐินสิกขาบท พระบัญญัติ
[๔๙๘] ต่อมา ภิกษุทั้งหลายทราบว่า พระผู้มีพระภาคทรงอนุญาตให้รับผ้า
ที่เป็นอกาลจีวรเก็บไว้ได้โดยมีความหวังว่าจะได้ผ้ามาเพิ่ม จึงรับผ้าที่เป็นอกาลจีวร
เก็บไว้เกิน ๑ เดือน ผ้าเหล่านั้นถูกมัดรวมเป็นห่อ ๆ แขวนไว้ที่ราว
ท่านพระอานนท์เที่ยวไปตามเสนาสนะ เห็นผ้าเหล่านั้นถูกมัดรวมเป็นห่อ ๆ
แขวนไว้ที่ราว จึงถามภิกษุทั้งหลายว่า “ผ้าเหล่านั้นถูกมัดรวมเป็นห่อ ๆ แขวนไว้ที่
ราว เป็นของใคร”
ภิกษุทั้งหลายตอบว่า “ผ้าเหล่านี้เป็นอกาลจีวร พวกกระผมเก็บไว้โดยความ
หวังว่าจะได้ผ้ามาเพิ่ม”
พระอานนท์ถามว่า “เก็บไว้นานเท่าไร”
ภิกษุทั้งหลายตอบว่า “เก็บไว้เกิน ๑ เดือน ขอรับ”
พระอานนท์ตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนภิกษุทั้งหลายจึงรับผ้าที่เป็น
อกาลจีวรเก็บไว้เกิน ๑ เดือนเล่า” ครั้นท่านตำหนิภิกษุเหล่านั้นโดยประการต่าง ๆ
แล้วจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ

ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า ภิกษุทั้งหลายรับผ้าที่เป็น
อกาลจีวรเก็บไว้เกิน ๑ เดือน จริงหรือ” ภิกษุเหล่านั้นทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ฯลฯ ภิกษุทั้งหลาย ไฉนโมฆบุรุษเหล่านั้น
จึงรับผ้าที่เป็นอกาลจีวรแล้วเก็บไว้เกิน ๑ เดือนเล่า ภิกษุทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้
มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้
เลย ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้

พระบัญญัติ
[๔๙๙] เมื่อจีวรของภิกษุสำเร็จแล้ว เมื่อกฐินเดาะแล้ว อกาลจีวรเกิดขึ้น
แก่ภิกษุ ภิกษุต้องการก็พึงรับไว้ได้ ครั้นรับแล้วพึงรีบให้ทำเป็นจีวร ถ้าผ้านั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๒๐ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๑.จีรวรรค ๓.ตติยกฐินสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์
มีไม่พอ เมื่อมีความหวังว่าจะได้ผ้ามาเพิ่ม ภิกษุนั้นพึงเก็บผ้าสำหรับทำจีวรนั้น
ไว้ไม่เกิน ๑ เดือน เพื่อเพิ่มผ้าสำหรับทำจีวรที่ยังขาดให้ครบ ถ้าเก็บเกินกำหนด
นั้น แม้มีความหวังว่าจะได้ผ้ามาเพิ่ม ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
เรื่องภิกษุรับอกาลจีวร จบ

สิกขาบทวิภังค์
[๕๐๐] คำว่า เมื่อจีวร...สำเร็จแล้ว หมายความว่า จีวรของภิกษุทำเสร็จ
แล้ว สูญหายแล้ว ฉิบหายแล้ว ถูกไฟไหม้เสียแล้ว หรือภิกษุหมดหวังว่าจะได้ผ้ามา
เย็บเป็นจีวร
คำว่า เมื่อกฐินเดาะแล้ว หมายความว่า กฐินเดาะด้วยมาติกาอย่างใดอย่าง
หนึ่งในมาติกา ๘ หรือสงฆ์เดาะกฐินในระหว่าง
ที่ชื่อว่า อกาลจีวร ได้แก่ ผ้าที่เกิดขึ้นตลอด ๑๑ เดือน ในเมื่อไม่ได้กรานกฐิน
ผ้าที่เกิดขึ้นตลอด ๗ เดือน ในเมื่อได้กรานกฐินแล้ว แม้ผ้าที่เขาถวายเจาะจงในกาล
นี้ชื่อว่า อกาลจีวร๑
คำว่า เกิดขึ้น คือ เกิดจากสงฆ์ จากคณะ จากญาติ จากมิตร หรือที่เป็นผ้า
บังสุกุล หรือที่ได้มาด้วยทรัพย์ของตน
คำว่า ต้องการ คือ เมื่อต้องการก็รับไว้
คำว่า ครั้นรับแล้วพึงรีบให้ทำ คือ พึงให้ทำเสร็จภายใน ๑๐ วัน
คำว่า ถ้าผ้านั้นมีไม่พอ คือ ผ้าไม่เพียงพอที่จะทำเป็นไตรจีวรผืนใดผืนหนึ่ง
คำว่า ภิกษุนั้นพึงเก็บผ้าสำหรับทำจีวรนั้นไว้ไม่เกิน ๑ เดือน คือ เก็บไว้ได้
๑ เดือนเป็นอย่างมาก

เชิงอรรถ :
๑ คือ (๑) ตั้งแต่ แรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๒ ถึงขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ ของปีถัดไปสำหรับผู้ไม่ได้กรานกฐิน
รวมเป็น ๑๑ เดือน (๒) ตั้งแต่แรม ๑ ค่ำ เดือน ๔ ถึง ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ ในปีเดียวกัน สำหรับผู้ได้
กรานกฐิน รวมเป็น ๗ เดือน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๒๑ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๑.จีรวรรค ๓.ตติยกฐินสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์
คำว่า เพื่อเพิ่มผ้าสำหรับทำจีวรที่ยังขาดให้ครบ คือ เพื่อจะให้ผ้าที่ยังขาด
ครบบริบูรณ์
คำว่า เมื่อมีความหวังว่าจะได้ผ้ามาเพิ่ม คือ มีความหวังว่าจะได้จากสงฆ์
จากคณะ จากญาติ จากมิตร หรือที่เป็นผ้าบังสุกุล หรือที่ได้มาด้วยทรัพย์ของตน

จีวรที่มีความหวังว่าจะได้มา
คำว่า ถ้าเก็บเกินกำหนดนั้น แม้มีความหวังว่าจะได้ผ้ามาเพิ่ม อธิบายว่า
จีวรที่หวังเกิดขึ้นในวันที่จีวรผืนเดิมเกิดขึ้นแล้ว พึงทำให้เสร็จใน ๑๐ วัน
จีวรที่หวังเกิดขึ้นในเมื่อจีวรผืนเดิมเกิดขึ้นแล้วได้ ๒ วัน ... ในเมื่อจีวรผืนเดิม
เกิดขึ้นแล้วได้ ๓ วัน ... ในเมื่อจีวรผืนเดิมเกิดขึ้นแล้วได้ ๔ วัน ... ในเมื่อจีวรผืนเดิม
เกิดขึ้นแล้วได้ ๕ วัน ... ในเมื่อจีวรผืนเดิมเกิดขึ้นแล้วได้ ๖ วัน ... ในเมื่อจีวรผืนเดิม
เกิดขึ้นแล้วได้ ๗ วัน ... ในเมื่อจีวรผืนเดิมเกิดขึ้นแล้วได้ ๘ วัน ... ในเมื่อจีวรผืนเดิม
เกิดขึ้นแล้วได้ ๙ วัน ... ในเมื่อจีวรผืนเดิมเกิดขึ้นแล้วได้ ๑๐ วัน พึงทำให้เสร็จใน
๑๐ วัน
จีวรที่หวังเกิดขึ้นในเมื่อจีวรผืนเดิมเกิดขึ้นแล้วได้ ๑๑ วัน ... ในเมื่อจีวรผืนเดิม
เกิดขึ้นแล้วได้ ๑๒ วัน ... ในเมื่อจีวรผืนเดิมเกิดขึ้นแล้วได้ ๑๓ วัน ... ในเมื่อจีวรผืน
เดิมเกิดขึ้นแล้วได้ ๑๔ วัน ... ในเมื่อจีวรผืนเดิมเกิดขึ้นแล้วได้ ๑๕ วัน ... ในเมื่อจีวร
ผืนเดิมเกิดขึ้นแล้วได้ ๑๖ วัน ... ในเมื่อจีวรผืนเดิมเกิดขึ้นแล้วได้ ๑๗ วัน ... ในเมื่อ
จีวรผืนเดิมเกิดขึ้นแล้วได้ ๑๘ วัน ... ในเมื่อจีวรผืนเดิมเกิดขึ้นแล้วได้ ๑๙ วัน ... ใน
เมื่อจีวรผืนเดิมเกิดขึ้นแล้วได้ ๒๐ วัน พึงทำให้เสร็จใน ๑๐ วัน
จีวรที่หวังเกิดขึ้นในเมื่อจีวรผืนเดิมเกิดขึ้นแล้วได้ ๒๑ วัน พึงทำให้เสร็จใน ๙ วัน
จีวรที่หวังเกิดขึ้นในเมื่อจีวรผืนเดิมเกิดขึ้นแล้วได้ ๒๒ วัน พึงทำให้เสร็จใน ๘ วัน
จีวรที่หวังเกิดขึ้นในเมื่อจีวรผืนเดิมเกิดขึ้นแล้วได้ ๒๓ วัน พึงทำให้เสร็จใน ๗ วัน
จีวรที่หวังเกิดขึ้นในเมื่อจีวรผืนเดิมเกิดขึ้นแล้วได้ ๒๔ วัน พึงทำให้เสร็จใน ๖ วัน
จีวรที่หวังเกิดขึ้นในเมื่อจีวรผืนเดิมเกิดขึ้นแล้วได้ ๒๕ วัน พึงทำให้เสร็จใน ๕ วัน
จีวรที่หวังเกิดขึ้นในเมื่อจีวรผืนเดิมเกิดขึ้นแล้วได้ ๒๖ วัน พึงทำให้เสร็จใน ๔ วัน


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๒๒ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๑.จีรวรรค ๓.ตติยกฐินสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์
จีวรที่หวังเกิดขึ้นในเมื่อจีวรผืนเดิมเกิดขึ้นแล้วได้ ๒๗ วัน พึงทำให้เสร็จใน ๓ วัน
จีวรที่หวังเกิดขึ้นในเมื่อจีวรผืนเดิมเกิดขึ้นแล้วได้ ๒๘ วัน พึงทำให้เสร็จใน ๒ วัน
จีวรที่หวังเกิดขึ้นในเมื่อจีวรผืนเดิมเกิดขึ้นแล้วได้ ๒๙ วัน พึงทำให้เสร็จใน ๑ วัน
จีวรที่หวังเกิดขึ้นในเมื่อจีวรผืนเดิมเกิดขึ้นแล้วได้ ๓๐ วัน พึงอธิษฐาน วิกัป
สละให้ผู้อื่นในวันนั้น ถ้าไม่อธิษฐาน ไม่วิกัปหรือไม่สละให้ผู้อื่น เมื่อรุ่งอรุณวันที่ ๓๑
จีวรเป็นนิสสัคคีย์ คือ เป็นของจำต้องสละแก่สงฆ์ แก่คณะหรือแก่บุคคล
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงสละจีวรที่เป็นนิสสัคคีย์อย่างนี้

วิธีสละจีวรที่เป็นนิสสัคคีย์
สละแก่สงฆ์
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง กราบเท้าภิกษุผู้
แก่พรรษา นั่งกระโหย่งประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านผู้เจริญ อกาลจีวรผืนนี้ของ
กระผมเกิน ๑ เดือน เป็นนิสสัคคีย์ กระผมสละอกาลจีวรผืนนี้แก่สงฆ์” ครั้นสละแล้ว
พึงแสดงอาบัติ
ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงรับอาบัติ พึงคืนจีวรที่เธอสละให้ด้วยญัตติกรรมวาจา
ว่า “ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า จีวรผืนนี้ของภิกษุชื่อนี้เป็นนิสสัคคีย์ เธอสละ
แก่สงฆ์ ถ้าสงฆ์พร้อมกันแล้วก็พึงให้จีวรผืนนี้แก่ภิกษุชื่อนี้”

สละแก่คณะ
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุหลายรูป ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง กราบ
เท้าภิกษุผู้แก่พรรษา นั่งกระโหย่งประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านผู้เจริญ อกาลจีวร
ผืนนี้ของกระผมเกิน ๑ เดือน เป็นนิสสัคคีย์ กระผมสละอกาลจีวรผืนนี้แก่ท่านทั้ง
หลาย” ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ
ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงรับอาบัติ พึงคืนจีวรที่เธอสละให้ด้วยกล่าวว่า “ท่าน
ทั้งหลายจงฟังข้าพเจ้า จีวรผืนนี้ของภิกษุชื่อนี้เป็นนิสสัคคีย์ เธอสละแก่ท่าน
ทั้งหลาย ถ้าท่านทั้งหลายพร้อมกันแล้วก็พึงให้จีวรผืนนี้แก่ภิกษุชื่อนี้”


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๒๓ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๑.จีรวรรค ๓.ตติยกฐินสิกขาบท บทภาชนีย์
สละแก่บุคคล
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุรูปหนึ่ง ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง นั่ง
กระโหย่งประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านขอรับ อกาลจีวรผืนนี้ของกระผมเกิน ๑
เดือน เป็นนิสสัคคีย์ กระผมสละอกาลจีวรผืนนี้แก่ท่าน” ครั้นสละแล้วพึงแสดง
อาบัติ
ภิกษุผู้รับสละนั้นพึงรับอาบัติแล้วคืนจีวรที่เธอสละให้ด้วยกล่าวว่า “กระผม
คืนจีวรผืนนี้ให้แก่ท่าน”
จีวรที่หวังเกิดขึ้น เนื้อผ้าไม่เหมือนกับจีวรเดิมที่เกิดขึ้นแล้ว และวันคืนก็ยัง
เหลืออยู่ เมื่อไม่ต้องการจะทำ ก็ไม่ต้องทำ

บทภาชนีย์
นิสสัคคิยปาจิตตีย์
[๕๐๑] จีวรเก็บไว้เกิน ๑ เดือน ภิกษุสำคัญว่าเกินแล้ว ต้องอาบัตินิสสัคคิย
ปาจิตตีย์
จีวรเก็บไว้เกิน ๑ เดือน ภิกษุไม่แน่ใจ ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
จีวรเก็บไว้เกิน ๑ เดือน ภิกษุสำคัญว่ายังไม่เกิน ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
จีวรยังไม่ได้อธิษฐาน ภิกษุสำคัญว่าอธิษฐานแล้ว ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
จีวรยังไม่ได้วิกัป ภิกษุสำคัญว่าวิกัปแล้ว ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
จีวรยังไม่ได้สละให้ ภิกษุสำคัญว่าสละให้แล้ว ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
จีวรยังไม่สูญหาย ภิกษุสำคัญว่าสูญหายแล้ว ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
จีวรยังไม่ฉิบหาย ภิกษุสำคัญว่าฉิบหายแล้ว ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
จีวรยังไม่ถูกไฟไหม้ ภิกษุสำคัญว่าถูกไฟไหม้แล้ว ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
จีวรยังไม่ถูกโจรชิง ภิกษุสำคัญว่าถูกโจรชิงแล้ว ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๒๔ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๑.จีรวรรค ๓.ตติยกฐินสิกขาบท อนาปัตติวาร
ติกทุกกฏ
จีวรเป็นนิสสัคคีย์ ภิกษุไม่สละ ใช้สอย ต้องอาบัติทุกกฏ
จีวรยังไม่เกิน ๑ เดือน ภิกษุสำคัญว่าเกินแล้ว ต้องอาบัติทุกกฏ
จีวรที่ยังไม่เกิน ๑ เดือน ภิกษุไม่แน่ใจ ต้องอาบัติทุกกฏ
จีวรยังไม่เกิน ๑ เดือน ภิกษุสำคัญว่ายังไม่เกิน ไม่ต้องอาบัติ

อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[๕๐๒] ๑. ภิกษุอธิษฐานภายใน ๑ เดือน
๒. ภิกษุผู้วิกัปไว้
๓. ภิกษุผู้สละให้ไป
๔. ภิกษุผู้มีจีวรสูญหาย
๕. ภิกษุผู้มีจีวรฉิบหาย
๖. ภิกษุผู้มีจีวรถูกไฟไหม้
๗. ภิกษุผู้มีจีวรถูกโจรชิงเอาไป
๘. ภิกษุผู้มีจีวรถูกถือเอาไปโดยวิสาสะ
๙. ภิกษุวิกลจริต
๑๐. ภิกษุต้นบัญญัติ
ตติยกฐินสิกขาบทที่ ๓ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๒๕ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๑.จีรวรรค ๔.ปุราณจีวรสิกขาบท นิทานวัตถุ
๑. จีวรวรรค

๔. ปุราณจีวรสิกขาบท
ว่าด้วยการให้ซักจีวรเก่า

เรื่องพระอุทายีกับอดีตภรรยา
[๕๐๓] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น อดีตภรรยาของท่านพระอุทายีบวช
อยู่ในสำนักภิกษุณี นางมาหาท่านพระอุทายีอยู่เสมอ แม้ท่านพระอุทายีก็ไปหา
นางอยู่เสมอ ก็ในสมัยนั้น ท่านพระอุทายีกระทำภัตกิจในที่อยู่ของนาง
เช้าวันหนึ่ง ท่านพระอุทายีครองอันตรวาสกถือบาตรและจีวรไปหานางถึงที่อยู่
เมื่อเข้าไปถึงแล้วก็นั่งบนอาสนะเปิดองคชาตต่อหน้าภิกษุณีนั้น แม้ภิกษุณีนั้นก็นั่งบน
อาสนะเปิดองค์กำเนิดต่อหน้าท่านพระอุทายีเช่นกัน ท่านพระอุทายีเกิดความ
กำหนัดเพ่งมององค์กำเนิดของนาง น้ำอสุจิของท่านพระอุทายีนั้นเคลื่อน ครั้นแล้ว
ท่านพระอุทายีจึงกล่าวกับภิกษุณีนั้นดังนี้ว่า “น้องหญิง เธอจงไปหาน้ำมา ฉันจะ
ซักอันตรวาสก”
นางตอบว่า “โปรดส่งมาเถิด ดิฉันจะซักให้”
ครั้นแล้วนางใช้ปากดูดอสุจิส่วนหนึ่ง และสอดอสุจิอีกส่วนหนึ่งเข้าในองค์
กำเนิด เพราะเหตุนั้นนางจึงได้ตั้งครรภ์
พวกภิกษุณีพูดว่า “ภิกษุณีนั้นไม่ได้ประพฤติพรหมจรรย์จึงตั้งครรภ์”
นางตอบว่า “แม่เจ้า ไม่ใช่ว่าดิฉันไม่ได้ประพฤติพรหมจรรย์” แล้วบอกเรื่อง
นั้นให้ภิกษุณีทั้งหลายทราบ
พวกภิกษุณีพากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนท่านพระอุทายีจึงให้
ภิกษุณีซักจีวรเก่าให้เล่า” แล้วนำเรื่องนี้ไปบอกให้ภิกษุทั้งหลายทราบ
บรรดาภิกษุผู้มักน้อย ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉน
ท่านพระอุทายีจึงให้ภิกษุณีซักจีวรเก่าให้เล่า” ครั้นภิกษุเหล่านั้นตำหนิพระอุทายี
โดยประการ ต่าง ๆ แล้วจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๒๖ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๑.จีรวรรค ๔.ปุราณจีวรสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์
ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามท่านพระอุทายีว่า “อุทายี ทราบว่า เธอใช้ภิกษุณีซักจีวรเก่า จริงหรือ”
พระอุทายีทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระพุทธองค์ทรงถามว่า “อุทายี นางเป็น
ญาติของเธอหรือไม่ใช่ญาติ” พระอุทายีทูลตอบว่า “ไม่ใช่ญาติ พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคทรงตำหนิว่า “โมฆบุรุษ ชายผู้ไม่ใช่ญาติย่อมไม่รู้ความเหมาะสม
หรือไม่เหมาะสม ความน่าเลื่อมใสหรือไม่น่าเลื่อมใสของหญิงผู้ไม่ใช่ญาติ โมฆบุรุษ
เธอนั้น๑ ใช้ภิกษุณีผู้ที่ไม่ใช่ญาติให้ซักจีวรเก่า โมฆบุรุษ การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำ
คนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ”
แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้

พระบัญญัติ
[๕๐๔] ก็ ภิกษุใดใช้ภิกษุณีผู้ไม่ใช่ญาติให้ซัก ให้ย้อม หรือให้ทุบจีวรเก่า
ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
เรื่องพระอุทายีกับอดีตภรรยา จบ

สิกขาบทวิภังค์
[๕๐๕] คำว่า ก็...ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ก็...ใด
คำว่า ภิกษุ มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุ เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระ
ภาคทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุ ในความหมายนี้
ที่ชื่อว่า ผู้ไม่ใช่ญาติ คือ ไม่ใช่คนที่เกี่ยวเนื่องกันทางมารดาหรือทางบิดา
ตลอดเจ็ดชั่วคน๒

เชิงอรรถ :
๑ ตตฺถ เธอนั้น นี้เป็น ปจฺจตฺตกตฺวตฺถ หรือ กรณกตฺวตฺถ คือมีอรรถเป็นปฐมาวิภัตติ หรือตติยาวิภัตติ (ตตฺถ
นาม ตฺวนฺติ โส นาม ตฺวํ, ตาย นาม ตฺวนฺติ วา อตฺโถ - วิมติ. ฏีกา ๑/๕๐๓-๕/๔๑๗ แปลว่า เธอนั้น
หรือภิกษุณีนั้น ก็ได้)
๒ เจ็ดชั่วคน คือวงศ์สกุลที่สืบสายโลหิตกันมา นับตั้งแต่ตัวภิกษุขึ้นไป ๓ ชั้น คือชั้นพ่อ ชั้นปู่ และชั้นทวด
กับนับจากตัวภิกษุลงมาอีก ๓ ชั้น คือชั้นลูก ชั้นหลาน และชั้นเหลน รวมเป็นเจ็ดชั่วคน (วิ.อ. ๒/๕๐๓-๕/
๑๖๕-๑๖๖)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๒๗ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๑.จีรวรรค ๔.ปุราณจีวรสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์
ที่ชื่อว่า ภิกษุณี ได้แก่ มาตุคามที่อุปสมบทในสงฆ์ ๒ ฝ่าย
ที่ชื่อว่า จีวรเก่า ได้แก่ ผ้าที่นุ่งแล้วแม้เพียง ๑ ครั้ง ผ้าที่ห่มแล้วแม้เพียง ๑
ครั้ง
ภิกษุสั่งว่า “จงซัก” ต้องอาบัติทุกกฏ จีวรที่ภิกษุณีซักแล้วเป็นนิสสัคคีย์
ภิกษุสั่งว่า “จงย้อม” ต้องอาบัติทุกกฏ จีวรที่ภิกษุณีย้อมแล้วเป็นนิสสัคคีย์
ภิกษุสั่งว่า “จงทุบ” ต้องอาบัติทุกกฏ เมื่อภิกษุณีใช้มือหรือตะลุมพุกทุบเพียง
๑ ครั้ง จีวรเป็นนิสสัคคีย์ คือเป็นของจำต้องสละแก่สงฆ์ แก่คณะหรือแก่บุคคล
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงสละจีวรที่เป็นนิสสัคคีย์อย่างนี้

วิธีสละจีวรที่เป็นนิสสัคคีย์
สละแก่สงฆ์
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง กราบเท้าภิกษุ
ผู้แก่พรรษา นั่งกระโหย่งประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านผู้เจริญ จีวรเก่าผืนนี้
กระผมใช้ภิกษุณีผู้ไม่ใช่ญาติให้ซัก เป็นนิสสัคคีย์ กระผมสละจีวรผืนนี้แก่สงฆ์” ครั้น
สละแล้วพึงแสดงอาบัติ
ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงรับอาบัติ พึงคืนจีวรที่เธอสละให้ด้วยญัตติกรรมวาจา
ว่า “ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า จีวรผืนนี้ของภิกษุชื่อนี้เป็นนิสสัคคีย์ เธอสละ
แก่สงฆ์ ถ้าสงฆ์พร้อมกันแล้วก็พึงให้จีวรผืนนี้แก่ภิกษุชื่อนี้”

สละแก่คณะ
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุหลายรูป ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง กราบ
เท้าภิกษุผู้แก่พรรษา นั่งกระโหย่งประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านผู้เจริญ จีวรเก่า
ผืนนี้กระผมใช้ภิกษุณีผู้ไม่ใช่ญาติให้ซัก เป็นนิสสัคคีย์ กระผมสละจีวรเก่าผืนนี้แก่
ท่านทั้งหลาย” ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๒๘ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๑.จีรวรรค ๔.ปุราณจีวรสิกขาบท บทภาชนีย์
ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงรับอาบัติ พึงคืนจีวรที่เธอสละให้ด้วยกล่าวว่า “ท่าน
ทั้งหลายจงฟังข้าพเจ้า จีวรเก่าผืนนี้ของภิกษุชื่อนี้เป็นนิสสัคคีย์ เธอสละแก่ท่าน
ทั้งหลาย ถ้าท่านทั้งหลายพร้อมกันแล้วก็พึงให้จีวรผืนนี้แก่ภิกษุชื่อนี้”

สละแก่บุคคล
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุรูปหนึ่ง ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง นั่งกระโหย่ง
ประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านขอรับ จีวรเก่าผืนนี้กระผมใช้ภิกษุณีผู้ไม่ใช่ญาติให้
ซัก เป็นนิสสัคคีย์ กระผมสละจีวรผืนนี้แก่ท่าน” ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ
ภิกษุผู้รับสละนั้นพึงรับอาบัติแล้วคืนจีวรที่เธอสละให้ด้วยกล่าวว่า “กระผมคืน
จีวรเก่าผืนนี้ให้แก่ท่าน”

บทภาชนีย์
สำคัญว่าไม่ใช่ญาติ จตุกกะที่ ๑
[๕๐๖] ภิกษุณีที่ไม่ใช่ญาติ ภิกษุสำคัญว่าไม่ใช่ญาติ ใช้ให้ซักจีวรเก่า ต้อง
อาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
ภิกษุณีที่ไม่ใช่ญาติ ภิกษุสำคัญว่าไม่ใช่ญาติ ใช้ให้ซัก ใช้ให้ย้อมจีวรเก่า ต้อง
อาบัติทุกกฏกับอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
ภิกษุณีที่ไม่ใช่ญาติ ภิกษุสำคัญว่าไม่ใช่ญาติ ใช้ให้ซัก ใช้ให้ทุบจีวรเก่า ต้อง
อาบัติทุกกฏกับอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
ภิกษุณีที่ไม่ใช่ญาติ ภิกษุสำคัญว่าไม่ใช่ญาติ ใช้ให้ซัก ใช้ให้ย้อม ใช้ให้ทุบจีวร
เก่า ต้องอาบัติทุกกฏ ๒ ตัว กับอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์

สำคัญว่าไม่ใช่ญาติ จตุกกะที่ ๒
ภิกษุณีที่ไม่ใช่ญาติ ภิกษุสำคัญว่าไม่ใช่ญาติ ใช้ให้ย้อมจีวรเก่า ต้องอาบัติ
นิสสัคคิยปาจิตตีย์


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๒๙ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๑.จีรวรรค ๔.ปุราณจีวรสิกขาบท บทภาชนีย์
ภิกษุณีที่ไม่ใช่ญาติ ภิกษุสำคัญว่าไม่ใช่ญาติ ใช้ให้ย้อม ใช้ให้ทุบจีวรเก่า ต้อง
อาบัติทุกกฏกับอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
ภิกษุณีที่ไม่ใช่ญาติ ภิกษุสำคัญว่าไม่ใช่ญาติ ใช้ให้ย้อม ใช้ให้ซักจีวรเก่า ต้อง
อาบัติทุกกฏกับอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
ภิกษุณีที่ไม่ใช่ญาติ ภิกษุสำคัญว่าไม่ใช่ญาติ ใช้ให้ย้อม ใช้ให้ทุบ ใช้ให้ซัก
จีวรเก่า ต้องอาบัติทุกกฏ ๒ ตัว กับอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์

สำคัญว่าไม่ใช่ญาติ จตุกกะที่ ๓
ภิกษุณีที่ไม่ใช่ญาติ ภิกษุสำคัญว่าไม่ใช่ญาติ ใช้ให้ทุบจีวรเก่า ต้องอาบัติ
นิสสัคคิยปาจิตตีย์
ภิกษุณีที่ไม่ใช่ญาติ ภิกษุสำคัญว่าไม่ใช่ญาติ ใช้ให้ทุบ ใช้ให้ซักจีวรเก่า ต้อง
อาบัติทุกกฏกับอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
ภิกษุณีที่ไม่ใช่ญาติ ภิกษุสำคัญว่าไม่ใช่ญาติ ใช้ให้ทุบ ใช้ให้ย้อมจีวรเก่า ต้อง
อาบัติทุกกฏกับอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
ภิกษุณีที่ไม่ใช่ญาติ ภิกษุสำคัญว่าไม่ใช่ญาติ ใช้ให้ทุบ ใช้ให้ซัก ใช้ให้ย้อมจีวร
เก่า ต้องอาบัติทุกกฏ ๒ ตัว กับอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
ภิกษุณีที่ไม่ใช่ญาติ ภิกษุไม่แน่ใจ ฯลฯ
ภิกษุณีที่ไม่ใช่ญาติ ภิกษุสำคัญว่าเป็นญาติ ฯลฯ

ทุกกฏ
ภิกษุใช้ภิกษุณีให้ซักจีวรเก่าของภิกษุรูปอื่น ต้องอาบัติทุกกฏ
ภิกษุใช้ภิกษุณีให้ซักผ้าปูนั่งและผ้าปูนอน ต้องอาบัติทุกกฏ
ภิกษุใช้ภิกษุณีผู้อุปสมบทในสงฆ์ฝ่ายเดียวให้ซัก ต้องอาบัติทุกกฏ
ภิกษุณีที่เป็นญาติ ภิกษุสำคัญว่าไม่ใช่ญาติ ต้องอาบัติทุกกฏ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๓๐ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๑.จีรวรรค ๔.ปุราณจีวรสิกขาบท อนาปัตติวาร
ภิกษุณีที่เป็นญาติ ภิกษุไม่แน่ใจ ต้องอาบัติทุกกฏ
ภิกษุณีที่เป็นญาติ ภิกษุสำคัญว่าเป็นญาติ ไม่ต้องอาบัติ

อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[๕๐๗] ๑. ภิกษุผู้เป็นเจ้าของจีวรที่ภิกษุณีผู้เป็นญาติซักให้เอง โดยมีภิกษุณี
สหายผู้ไม่ใช่ญาติคอยช่วยเหลือ
๒. ภิกษุไม่ได้ใช้ ภิกษุณีไม่ใช่ญาติซักให้เอง
๓. ภิกษุใช้ซักจีวรที่ยังไม่ได้ใช้สอย
๔. ภิกษุใช้ภิกษุณีผู้ไม่ใช่ญาติให้ซักบริขารอย่างอื่น นอกจากจีวร
๕. ภิกษุใช้สิกขมานาให้ซัก
๖. ภิกษุใช้สามเณรีให้ซัก
๗. ภิกษุวิกลจริต
๘. ภิกษุต้นบัญญัติ

ปุราณจีวรสิกขาบทที่ ๔ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๓๑ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๑.จีรวรรค ๕.จีวรปฏิคคหณสิกขาบท นิทานวัตถุ
๑.จีวรวรรค

๕.จีวรปฏิคคหณสิกขาบท
ว่าด้วยการรับจีวร

เรื่องภิกษุณีอุบลวรรณา

[๕๐๘] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเวฬุวัน สถานที่
ให้เหยื่อกระแต เขตกรุงราชคฤห์ ครั้งนั้น ภิกษุณีอุบลวรรณาพักอยู่ ณ กรุงสาวัตถี
เวลาเช้า ภิกษุณีอุบลวรรณาครองอันตรวาสกถือบาตรและจีวร๑ เข้าไปบิณฑบาต
ในกรุงสาวัตถี กลับจากบิณฑบาตหลังจากฉันเสร็จแล้ว เข้าไปยังป่าอันธวันเพื่อ
พักผ่อนกลางวัน นั่งที่โคนไม้ต้นหนึ่ง
สมัยนั้น พวกโจรขโมยแม่โคมาฆ่าแล้วถือเอาเนื้อเข้าป่าอันธวัน หัวหน้าโจร
มองเห็นภิกษุณีอุบลวรรณานั่งพักกลางวัน ครั้นเห็นแล้วจึงคิดว่า “หากพวกลูกน้อง
เราพบเข้า จะประทุษร้ายนาง” จึงเลี่ยงเดินไปทางอื่น เมื่อปิ้งเนื้อสุก หัวหน้าโจร
เลือกเนื้อดี ๆ เอาใบไม้ห่อแขวนไว้ที่ต้นไม้ใกล้ภิกษุณีแล้วกล่าวว่า “เนื้อห่อนี้เรา
ให้แล้ว สมณะหรือพราหมณ์เห็นแล้วจงถือเอาไปเถิด”
ภิกษุณีออกจากสมาธิ ได้ยินคำที่หัวหน้าโจรพูด จึงถือเอาเนื้อไปที่พัก ครั้น
ราตรีผ่านไป นางจัดเนื้อชิ้นนั้นให้เรียบร้อยแล้วใช้อุตตราสงค์ห่อเหาะไปยังพระเวฬุวัน
วิหาร

เชิงอรรถ :
๑ คำว่า “ครองอันตรวาสกถือบาตรและจีวร” นี้ มิใช่ว่า ก่อนหน้านี้ภิกษุณีมิได้นุ่งอันตรวาสก มิใช่ว่า ท่าน
ถือบาตรและจีวรไปโดยเปลือยกายส่วนบน คำว่า “ครองอันตรวาสก” หมายถึงท่านผลัดเปลี่ยนสบง
หรือขยับสบงที่นุ่งอยู่ให้กระชับ คำว่า “ถือบาตรและจีวร” คือ ถือบาตรด้วยมือ ถือจีวรด้วยกาย หมาย
ความว่า “ห่มจีวรอุ้มบาตร” นั่นเอง (นิวาเสตฺวาติ ปริทหิตฺวา, วิหารนิวาสนปริวตฺตนวเสเนตํ เวทิตพฺพํ.
น หิ เต ตโต ปุพฺเพ อนิวตฺถา อเหสุํ. ปตฺตจีวรมาทายาติ ปตฺตํ หตฺเถหิ, จีวรํ กาเยน อาทิยิตฺวา,
สมฺปฏิจฺฉาเทตฺวา ธาเรตฺวาติ อตฺโถ- วิ. อ. ๑/๑๖/๑๘๐, วิหารนิวาสนปริวตฺตนวเสน นิวาสนํ ทฬฺหํ
นิวาเสตฺวา. ... จีวรํ ปารุปิตฺวา ปตฺตํ หตฺเถน คเหตฺวา - อุทาน. อ. ๖๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๓๒ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๑.จีรวรรค ๕.จีวรปฏิคคหณสิกขาบท นิทานวัตถุ
เช้าวันนั้น พระผู้มีพระภาคเสด็จไปบิณฑบาตในหมู่บ้าน เหลือท่านพระอุทายี
อยู่เฝ้าพระวิหาร ภิกษุณีอุบลวรรณาเข้าไปหาแล้วถามว่า “ท่านผู้เจริญ พระผู้มี
พระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ที่ไหน”
ท่านพระอุทายีตอบว่า “พระผู้มีพระภาคเสด็จไปบิณฑบาตในหมู่บ้าน”
ภิกษุณีกล่าวว่า “โปรดถวายเนื้อชิ้นนี้แด่พระผู้มีพระภาค”
ท่านพระอุทายีกล่าวว่า “น้องหญิง พระผู้มีพระภาคจะทรงอิ่มหนำด้วยเนื้อที่
ถวาย ถ้าเธอถวายอันตรวาสกแก่อาตมา อาตมาก็จะอิ่มหนำด้วยอันตรวาสกเช่นกัน”
ภิกษุณีกล่าวว่า “พระคุณเจ้า ความจริง ดิฉันเป็นมาตุคามหาลาภได้ยาก
ทั้งผ้าผืนนี้ก็เป็นจีวรผืนสุดท้ายที่จะครบ ๕ ผืน๑ ดิฉันถวายไม่ได้”
ท่านพระอุทายีกล่าวว่า “น้องหญิง เปรียบเหมือนบุรุษให้ช้างแล้วก็ควรสละ
สัปคับสำหรับช้างด้วย เธอก็เหมือนกัน ถวายชิ้นเนื้อแด่พระผู้มีพระภาคแล้วก็จงสละ
อันตรวาสกแก่อาตมาเถิด”
ครั้นถูกท่านพระอุทายีพูดรบเร้า นางจึงถวายอันตรวาสกแล้วกลับที่พัก
พวกภิกษุณีผู้คอยรับบาตรและจีวรถามนางว่า “อันตรวาสกของคุณแม่อยู่ที่
ไหน”
นางจึงบอกเรื่องนั้นให้ทราบ
ภิกษุณีทั้งหลายจึงตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนท่านพระอุทายีจึงรับ
จีวรจากมือภิกษุณีเล่า มาตุคามมีลาภน้อย” แล้วบอกเรื่องนี้ให้ภิกษุทั้งหลายทราบ
บรรดาภิกษุผู้มักน้อย ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉน
ท่านพระอุทายีจึงรับจีวรจากมือภิกษุณีเล่า” ครั้นภิกษุเหล่านั้นตำหนิท่านพระอุทายี
โดยประการต่าง ๆ แล้วจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ

เชิงอรรถ :
๑ ภิกษุณีใช้ผ้ากาสายะ ๕ ผืน คือ (๑) สังฆาฏิ ผ้าห่มซ้อนนอก (๒) อุตตราสงค์ ผ้าห่ม (๓) อันตรวาสก ผ้านุ่ง
(๔) อุทกสาฏิกา ผ้าอาบน้ำ (๕) สังกัจจิกา ผ้ารัดถัน (กงฺขา.อ. ๓๗๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๓๓ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๑.จีรวรรค ๕.จีวรปฏิคคหณสิกขาบท พระบัญญัติ
ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามท่านพระอุทายีว่า “อุทายี ทราบว่า เธอรับจีวรจากมือภิกษุณี จริงหรือ”
ท่านพระอุทายีทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้า” พระพุทธองค์ตรัสถามว่า “อุทายี
นางเป็นญาติของเธอหรือไม่ใช่ญาติ” พระอุทายีทูลรับว่า “ไม่ใช่ญาติ พระพุทธเจ้าข้า”
พระพุทธองค์ตรัสว่า “โมฆบุรุษ บุรุษผู้ไม่ใช่ญาติย่อมไม่รู้ความเหมาะสมหรือไม่
เหมาะสม ของที่มีอยู่หรือไม่มีของสตรีผู้ไม่ใช่ญาติ เธอนั้นรับจีวรจากมือภิกษุณีผู้
ไม่ใช่ญาติ โมฆบุรุษ การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำ
คนที่เลื่อมใส อยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยก
สิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้

พระบัญญัติ
[๕๐๙] ก็ ภิกษุใดรับจีวรจากมือภิกษุณีผู้ไม่ใช่ญาติ ต้องอาบัตินิสสัคคิย
ปาจิตตีย์
สิกขาบทนี้พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติไว้แก่ภิกษุทั้งหลายอย่างนี้
เรื่องภิกษุณีอุบลวรรณา จบ

เรื่องแลกเปลี่ยนจีวร
[๕๑๐] สมัยนั้น พวกภิกษุรังเกียจไม่ยอมรับจีวรแลกเปลี่ยนของพวกภิกษุณี
พวกภิกษุณีตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพวกพระคุณเจ้าจึงไม่ยอมรับจีวร
แลกเปลี่ยนของพวกเราเล่า” พวกภิกษุได้ยินคำตำหนิประณามโพนทะนาของพวก
ภิกษุณีจึงนำความนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๓๔ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๑.จีรวรรค ๕.จีวรปฏิคคหณสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์
ทรงอนุญาตให้รับจีวรแลกเปลี่ยนได้
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมีกถาเพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ รับสั่ง
กับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้สหธรรมิก ๕ คือ ภิกษุ ภิกษุณี
สิกขมานา สามเณร และสามเณรี แลกเปลี่ยนจีวรกันได้ ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาต
ให้รับสิ่งของแลกเปลี่ยนของสหธรรมิก ๕ เหล่านี้ได้” แล้วรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยก
สิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้

พระอนุบัญญัติ
[๕๑๑] อนึ่ง ภิกษุใดรับจีวรจากมือภิกษุณีผู้ไม่ใช่ญาติ ต้องอาบัติ
นิสสัคคิยปาจิตตีย์ เว้นไว้แต่แลกเปลี่ยน
เรื่องแลกเปลี่ยนจีวร จบ

สิกขาบทวิภังค์
[๕๑๒] คำว่า อนึ่ง...ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัส
ว่า อนึ่ง...ใด
คำว่า ภิกษุ มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุ เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระ
ภาคทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุ ในความหมายนี้
ที่ชื่อว่า ผู้ไม่ใช่ญาติ คือ ไม่ใช่คนที่เกี่ยวเนื่องกันทางมารดาหรือทางบิดา
ตลอดเจ็ดชั่วคน
ที่ชื่อว่า ภิกษุณี ได้แก่ มาตุคามที่อุปสมบทในสงฆ์ ๒ ฝ่าย
ที่ชื่อว่า จีวร ได้แก่ จีวร ๖ ชนิด อย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งมีขนาดพอที่จะทำ
วิกัปได้เป็นอย่างต่ำ
คำว่า เว้นไว้แต่แลกเปลี่ยน คือ ยกเว้นแลกเปลี่ยนกัน


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๓๕ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๑.จีรวรรค ๕.จีวรปฏิคคหณสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์
ภิกษุรับ ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะพยายาม๑ จีวรเป็นนิสสัคคีย์ เพราะได้มา คือ
เป็นของจำต้องสละแก่สงฆ์ แก่คณะหรือแก่บุคคล
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงสละจีวรที่เป็นนิสสัคคีย์อย่างนี้

วิธีสละจีวรที่เป็นนิสสัคคีย์
สละแก่สงฆ์
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง กราบเท้าภิกษุผู้
แก่พรรษา นั่งกระโหย่งประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านผู้เจริญ จีวรผืนนี้กระผมรับ
มาจากมือภิกษุณีผู้ไม่ใช่ญาติ โดยมิได้แลกเปลี่ยนกัน เป็นนิสสัคคีย์ กระผมสละจีวร
ผืนนี้แก่สงฆ์” ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ
ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงรับอาบัติ พึงคืนจีวรที่เธอสละให้ด้วยญัตติกรรมวาจา
ว่า “ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า จีวรผืนนี้ของภิกษุชื่อนี้เป็นนิสสัคคีย์ เธอสละ
แก่สงฆ์ ถ้าสงฆ์พร้อมกันแล้วก็พึงให้จีวรผืนนี้แก่ภิกษุชื่อนี้”

สละแก่คณะ
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุหลายรูป ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง กราบ
เท้าภิกษุผู้แก่พรรษา นั่งกระโหย่งประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านผู้เจริญ จีวร
ผืนนี้กระผมรับมาจากมือภิกษุณีผู้ไม่ใช่ญาติ โดยมิได้แลกเปลี่ยนกัน เป็นนิสสัคคีย์
กระผมสละจีวรผืนนี้แก่ท่านทั้งหลาย” ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ
ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงรับอาบัติ พึงคืนจีวรที่เธอสละให้ด้วยกล่าวว่า “ท่าน
ทั้งหลายจงฟังข้าพเจ้า จีวรผืนนี้ของภิกษุชื่อนี้เป็นนิสสัคคีย์ เธอสละแก่ท่าน
ทั้งหลาย ถ้าท่านทั้งหลายพร้อมกันแล้วก็พึงให้จีวรผืนนี้แก่ภิกษุชื่อนี้”

เชิงอรรถ :
๑ เพราะเหยียดมือรับเป็นต้น (คหณตฺถาย หตฺถปฺปสารณาทีสุ ทุกฺกฏํ - วิ.อ. ๒/๕๑๒/๑๗๐)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๓๖ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๑.จีรวรรค ๕.จีวรปฏิคคหณสิกขาบท บทภาชนีย์
สละแก่บุคคล
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุรูปหนึ่ง ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง นั่ง
กระโหย่งประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านขอรับ จีวรผืนนี้กระผมรับมาจากมือ
ภิกษุณีผู้ไม่ใช่ญาติ โดยมิได้แลกเปลี่ยนกัน เป็นนิสสัคคีย์ กระผมสละจีวรผืนนี้
แก่ท่าน” ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ
ภิกษุผู้รับสละนั้นพึงรับอาบัติแล้วคืนจีวรที่เธอสละให้ด้วยกล่าวว่า “กระผมคืน
จีวรผืนนี้ให้แก่ท่าน”

บทภาชนีย์
ติกนิสสัคคิยปาจิตตีย์
[๕๑๓] ภิกษุณีที่ไม่ใช่ญาติ ภิกษุสำคัญว่าไม่ใช่ญาติ รับจีวรจากมือ ต้อง
อาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์ เว้นไว้แต่แลกเปลี่ยนกัน
ภิกษุณีที่ไม่ใช่ญาติ ภิกษุไม่แน่ใจ รับจีวรจากมือ ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
เว้นไว้แต่แลกเปลี่ยนกัน
ภิกษุณีที่ไม่ใช่ญาติ ภิกษุสำคัญว่าเป็นญาติ รับจีวรจากมือ ต้องอาบัติ
นิสสัคคิยปาจิตตีย์ เว้นไว้แต่แลกเปลี่ยนกัน

ติกทุกกฏ
ภิกษุณีผู้อุปสมบทในสงฆ์ฝ่ายเดียว ภิกษุรับจีวรจากมือ ต้องอาบัติทุกกฏ เว้น
ไว้แต่แลกเปลี่ยนกัน
ภิกษุณีที่เป็นญาติ ภิกษุสำคัญว่าไม่ใช่ญาติ รับจีวรจากมือ ต้องอาบัติทุกกฏ
ภิกษุณีที่เป็นญาติ ภิกษุไม่แน่ใจ รับจีวรจากมือ ต้องอาบัติทุกกฏ
ภิกษุณีที่เป็นญาติ ภิกษุสำคัญว่าเป็นญาติ รับจีวรจากมือ ไม่ต้องอาบัติ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๓๗ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๑.จีรวรรค ๕. จีวรปฏิคคหณสิกขาบท นิทานวัตถุ
อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[๕๑๔] ๑. ภิกษุรับจีวรของภิกษุณีผู้เป็นญาติ
๒. ภิกษุแลกเปลี่ยน คือ เอาของที่มีค่าน้อยแลกกับของมีค่ามาก
หรือเอาของที่มีค่ามากแลกกับของมีค่าน้อย
๓. ภิกษุถือวิสาสะเอามา
๔. ภิกษุขอยืมจีวร
๕. ภิกษุรับบริขารอื่นนอกจากจีวร
๖. ภิกษุรับจีวรของสิกขมานา
๗. ภิกษุรับจีวรของสามเณรี
๘. ภิกษุวิกลจริต
๙. ภิกษุต้นบัญญัติ

จีวรปฏิคคหณสิกขาบทที่ ๕ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๓๘ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๑.จีรวรรค ๖.อัญญาตกวิญญัตติสิกขาบท นิทานวัตถุ
๑. จีวรวรรค

๖. อัญญาตกวิญญัตติสิกขาบท
ว่าด้วยการออกปากขอคฤหัสถ์ผู้ไม่ใช่ญาติ

เรื่องพระอุปนันทศากยบุตร
[๕๑๕] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น ท่านพระอุปนันทศากยบุตร
เชี่ยวชาญการแสดงธรรมีกถา บุตรเศรษฐีคนหนึ่งเข้าไปหาท่านถึงที่อยู่ ครั้นถึงแล้ว
จึงไหว้ท่าน นั่ง ณ ที่สมควร ลำดับนั้น ท่านพระอุปนันทศากยบุตรได้ชี้แจงให้บุตร
เศรษฐีเห็นชัด ชวนให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบ
ชโลมใจให้สดชื่นร่าเริงด้วยธรรมีกถา๑
บุตรเศรษฐีนั้นอันท่านพระอุปนันทศากยบุตรชี้แจงให้เห็นชัด ชวนให้อยากรับ
เอาไปปฏิบติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริงด้วยธรรมีกถา
แล้วจึงปวารณาท่านพระอุปนันทศากยบุตรว่า “ท่านผู้เจริญ พระคุณเจ้าพึงบอก
ปัจจัย ๔ คือ จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขารที่ท่านต้องการ
ซึ่งกระผมพอจะจัดหามาถวายได้”

เชิงอรรถ :
๑ เรียกว่า ลีลาการสอน หรือ เทศนาวิธี ๔ คือ (๑) สันทัสสนา ชี้แจงให้เห็นชัด (๒) สมาทปนา ชวนให้
อยากรับเอาไปปฏิบัติ (๓) สมุตเตชนา เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า (๔) สัมปหังสนา ปลอบชโลมใจ
ให้สดชื่นร่าเริง (มาในบาลีมากแห่ง วิ.มหา. ๑/๒๒-๒๔,๒๙๐/๑๓-๔,๒๒๒, วิ.ภิกฺขุนี. ๓/๗๘๓/๗๒-๓,
วิ.ม. ๔/๒๙,๘๙-๙๐,๑๐๕,๑๓๒,๑๓๗/๒๕,๑๐๖-๗,๑๒๐,๑๔๖,๑๕๐, วิ.ม. ๕/๒๗๐,๒๗๖,๒๘๐-๑, ๒๘๘,
๒๙๔,๒๙๘,๓๓๗/๓๘,๔๕,๕๐,๕๒,๖๕,๗๔,๘๑,๑๓๙, วิ.จู. ๖/๓๓,๑๙๒/๔๓-๔,๒๒๕, วิ.จู. ๗/๒๖๐,
๒๖๘-๙,๔๐๔,๔๔๕/๒๑,๓๓-๔,๒๓๗,๒๘๒, ที.สี. ๙/๓๔๔,๓๕๘/๑๔๐,๑๕๐, ที.ม. ๑๐/๑๖๑-๒,
๑๙๔/๘๗-๙,๑๑๗-๘, ที.ปา. ๑๑/๓๔,๒๙๙/๒๒,๑๘๙, ม.มู. ๑๒/๒๕๒,๒๕๕-๖,๒๘๙/๒๑๕-๒๑๗,
๒๕๓-๔, ม.ม. ๑๓/๒๒,๒๘๕,๓๗๑/๑๘,๒๖๑,๓๕๕, สํ.ส. ๑๕/๑๕๒-๓,๑๕๕,๑๘๕,๒๔๑/๑๓๕-๘,๑๘๗,
๒๕๓, สํ.นิ. ๑๖/๒๔๑/๒๖๕, สํ.ข. ๑๗/๘๑/๗๗, สํ.สฬา. ๑๘/๑๓๓/๑๑๔, องฺ.อฏฺฐก-นวก. ๒๓/๑๒,๒๔,
๗๘,๔/๑๕๖,๑๘๐,๒๗๓,๒๙๖, องฺ.ทสก. ๒๔/๙๓/๑๕๒, ขุ.อุ. ๒๕/๖๑,๗๑-๕/๒๐๓,๒๑๒-๕, ขุ.อิติ.
๒๕/๑๐๔/๓๒๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๓๙ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๑.จีรวรรค ๖.อัญญาตกวิญญัตติสิกขาบท นิทานวัตถุ
ท่านพระอุปนันทศากยบุตรกล่าวว่า “ถ้าโยมต้องการถวายแก่อาตมา ก็
จงถวายผ้าผืนหนึ่งจากผ้าที่โยมนุ่งห่มอยู่นี้”
เขากล่าวว่า “กระผมเป็นกุลบุตร จะนุ่งผ้าผืนเดียวเดินกลับบ้าน ดูจะไม่เหมาะ
นิมนต์รอให้กระผมกลับไปถึงบ้านก่อน แล้วกระผมจะส่งผ้า ๑ ผืนจาก ๒ ผืนนี้
หรือผ้าที่ดีกว่านี้มาถวาย”
ท่านพระอุปนันทศากยบุตรพูดเป็นครั้งที่ ๒ ว่า “ถ้าโยมต้องการถวายแก่
อาตมา ก็จงถวายผ้าผืนหนึ่งจากผ้าที่โยมนุ่งห่มอยู่นี้” บุตรเศรษฐีก็ยังกล่าวปฏิเสธ
อยู่เหมือนเดิมว่า “กระผมเป็นกุลบุตร จะนุ่งผ้าผืนเดียวเดินกลับบ้าน ดูจะไม่เหมาะ
นิมนต์ท่านรอให้กระผมกลับไปถึงบ้านก่อน แล้วกระผมจะส่งผ้า ๑ ผืนจาก ๒ ผืนนี้
หรือผ้าที่ดีกว่านี้มาถวาย” ท่านพระอุปนันทศากยบุตรก็พูดรบเร้าเป็นครั้งที่ ๓ ว่า
“ถ้าโยมต้องการถวายแก่อาตมา ก็จงถวายผ้าผืนหนึ่งจากผ้าที่โยมนุ่งห่มอยู่นี้” แต่
เขาก็คงพูดบ่ายเบี่ยงอยู่เหมือนเดิมว่า “กระผมเป็นกุลบุตร จะนุ่งผ้าผืนเดียวเดินกลับ
บ้าน ดูจะไม่เหมาะ นิมนต์ท่านรอให้กระผมกลับไปถึงบ้านก่อน แล้วกระผมจะส่ง
ผ้า ๑ ผืนจาก ๒ ผืนนี้หรือผ้าที่ดีกว่านี้มาถวาย”
ท่านพระอุปนันทศากยบุตรกล่าวว่า “ท่านไม่ต้องการถวาย ก็จะปวารณาไป
ทำไม ปวารณาแล้วไม่ถวาย จะมีประโยชน์อะไร”
เมื่อถูกท่านพระอุปนันทศากยบุตรพูดรบเร้า เขาจึงถวายผ้า ๑ ผืน แล้วกลับไป
ถูกชาวบ้านถามว่า “นาย ทำไมนุ่งผ้าผืนเดียวกลับมาเล่า” บุตรเศรษฐีนั้นจึงบอก
เรื่องนั้นให้ชาวบ้านเหล่านั้นทราบ
ชาวบ้านพากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “พระสมณะเชื้อสายศากยบุตร
มักมากไม่สันโดษ สมณะเหล่านี้แม้จะนิมนต์ตามธรรมเนียม ก็ไม่ใช่กระทำได้ง่าย
ไฉนเมื่อบุตรเศรษฐีทำการนิมนต์ตามธรรมเนียม พระสมณะทั้งหลายก็ยังจะรับเอา
ผ้าไปเล่า”
พวกภิกษุได้ยินชาวบ้านตำหนิ ประณาม โพนทะนา บรรดาภิกษุผู้มักน้อย
สันโดษ ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพระอุปนันทศากยบุตรจึง
ออกปากขอจีวรจากบุตรเศรษฐีเล่า” ครั้นภิกษุเหล่านั้นตำหนิท่านพระอุปนันทศากย
บุตร โดยประการต่าง ๆ แล้วจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๔๐ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๑.จีรวรรค ๖.อัญญาตกวิญญัตติสิกขาบท พระบัญญัติ
ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามท่านพระอุปนันทศากยบุตรว่า “อุปนันทะ ทราบว่า เธอออกปากขอจีวรจาก
บุตรเศรษฐี จริงหรือ” ท่านพระอุปนันทศากยบุตรทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “อุปนันทะ บุตรเศรษฐีเป็นญาติของเธอหรือไม่ใช่ญาติ”
ท่านพระอุปนันทศากยบุตรทูลตอบว่า “ไม่ใช่ญาติ พระพุทธเจ้าข้า” พระพุทธองค์
ทรงตำหนิว่า “โมฆบุรุษ คฤหัสถ์ผู้ไม่ใช่ญาติย่อมไม่รู้ความเหมาะสมหรือไม่เหมาะสม
ของที่มีอยู่หรือไม่มีของคนผู้ไม่ใช่ญาติ โมฆบุรุษ เธอนั้นออกปากขอจีวรจากบุตร
เศรษฐีผู้ไม่ใช่ญาติเชียวหรือ โมฆบุรุษ การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใส
ให้เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่ง
ให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้

พระบัญญัติ
[๕๑๖] ก็ ภิกษุใดออกปากขอจีวรจากคฤหัสถ์ชายหรือคฤหัสถ์หญิง
ผู้ไม่ใช่ญาติ ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
สิกขาบทนี้พระผู้มีพระภาคทรงบัญญติไว้แก่ภิกษุทั้งหลายอย่างนี้
เรื่องพระอุปนันทศากยบุตร จบ

เรื่องภิกษุถูกชิงจีวร
[๕๑๗] สมัยนั้น ภิกษุหลายรูปเดินทางไกลจากเมืองสาเกตไปกรุงสาวัตถี ใน
ระหว่างทาง พวกโจรออกมาปล้นภิกษุเหล่านั้น พวกเธอคิดว่า “การออกปากขอ
จีวรจากคฤหัสถ์ชายหรือคฤหัสถ์หญิง พระผู้มีพระภาคทรงห้ามไว้แล้ว” จึงรังเกียจ
ไม่ยอมออกปากขอจีวรเลย เปลือยกายไปถึงกรุงสาวัตถี ไหว้ภิกษุทั้งหลาย พวก
ภิกษุจึงกล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านทั้งหลาย พวกอาชีวกที่พากันไหว้ภิกษุเหล่านี้ เป็นพวก
อาชีวกที่ดี”


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๔๑ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๑.จีรวรรค ๖.อัญญาตกวิญญัตติสิกขาบท พระอนุบัญญัติ
ภิกษุชาวเมืองสาเกตกล่าวอย่างนี้ว่า “พวกกระผมไม่ใช่อาชีวก พวกกระผม
เป็นภิกษุ”
ภิกษุชาวกรุงสาวัตถีได้กล่าวกับพระอุบาลีว่า “ท่านอุบาลี นิมนต์ท่านไต่สวน
ภิกษุเหล่านี้เถิด” เมื่อภิกษุเหล่านั้นถูกพระอุบาลีไต่สวน จึงเล่าเรื่องนั้นให้ทราบ
ครั้นไต่สวนแล้ว พระอุบาลีแจ้งว่า “พวกเปลือยกายเหล่านี้เป็นภิกษุ จงให้จีวร
แก่พวกเธอ”
บรรดาภิกษุผู้มักน้อย ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนภิกษุ
ทั้งหลายจึงเปลือยกายเดินมาเล่า ตามธรรมดาภิกษุต้องใช้หญ้าหรือใบไม้ปกปิดเดิน
มา มิใช่หรือ” ครั้นภิกษุทั้งหลายตำหนิภิกษุเหล่านั้นโดยประการต่าง ๆ แล้วจึงนำ
เรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ

ทรงอนุญาตให้ขอจีวรได้
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมีกถาเพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ รับสั่ง
กับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุผู้ถูกโจรชิงจีวร หรือจีวรหาย
ออกปากขอจีวรจากคฤหัสถ์ชายหรือคฤหัสถ์หญิงผู้ไม่ใช่ญาติได้ ถ้าวัดที่ภิกษุไปถึง
ก่อน มีจีวรประจำวิหาร ผ้าปูเตียง ผ้าปูพื้นหรือผ้าปลอกฟูกของสงฆ์ ก็พึงถือเอา
ผ้าของสงฆ์ไปห่มโดยตั้งใจว่า ‘เมื่อเราได้จีวรแล้วจะนำมาคืน’ ดังนี้ก็ควร ถ้าไม่มีจีวร
ประจำวิหาร ผ้าปูเตียง ผ้าปูพื้นหรือผ้าปลอกฟูกของสงฆ์ ควรใช้หญ้าหรือใบไม้
ปกปิดมา อนึ่ง ภิกษุไม่พึงเปลือยกายเดินมา ภิกษุใดเปลือยกายเดินมา ต้องอาบัติ
ทุกกฏ” แล้วรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้

พระอนุบัญญัติ
[๕๑๘] อนึ่ง ภิกษุใดออกปากขอจีวรจากคฤหัสถ์ชายหรือคฤหัสถ์หญิงผู้
ไม่ใช่ญาติ นอกสมัย ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์ สมัยในข้อนั้น คือ ภิกษุถูก
ชิงจีวรไป หรือจีวรสูญหาย นี้เป็นสมัยในข้อนั้น
เรื่องภิกษุถูกชิงจีวร จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๔๒ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๑.จีรวรรค ๖.อัญญาตกวิญญัตติสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์
สิกขาบทวิภังค์
[๕๑๙] คำว่า อนึ่ง...ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
อนึ่ง...ใด
คำว่า ภิกษุ มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุ เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระ
ภาคทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุ ในความหมายนี้
ที่ชื่อว่า ผู้ไม่ใช่ญาติ คือ ไม่ใช่คนที่เกี่ยวเนื่องกันทางมารดาหรือทางบิดา
ตลอดเจ็ดชั่วคน
ที่ชื่อว่า คฤหัสถ์ชาย ได้แก่ บุรุษผู้ครองเรือน
ที่ชื่อว่า คฤหัสถ์หญิง ได้แก่ สตรีผู้ครองเรือน
ที่ชื่อว่า จีวร ได้แก่ จีวร ๖ ชนิด อย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งมีขนาดพอที่จะ
วิกัปได้เป็นอย่างต่ำ
คำว่า นอกสมัย คือ ยกเว้นสมัย
ที่ชื่อว่า ภิกษุถูกชิงจีวรไป ได้แก่ จีวรของภิกษุที่พระราชา โจร นักเลงหรือ
คนบางพวกชิงเอาไป
ที่ชื่อว่า จีวรสูญหาย ได้แก่ จีวรของภิกษุถูกไฟไหม้ น้ำพัด หนูหรือปลวกกัด
หรือที่ใช้สอยจนเก่า
ภิกษุออกปากขอนอกสมัย ต้องอาบัติทุกกฏเพราะพยายาม จีวรเป็นนิสสัคคีย์
เพราะได้มา คือเป็นของจำต้องสละแก่สงฆ์ แก่คณะหรือแก่บุคคล
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงสละจีวรที่เป็นนิสสัคคีย์อย่างนี้

วิธีสละจีวรที่เป็นนิสสัคคีย์
สละแก่สงฆ์
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง กราบเท้าภิกษุผู้
แก่พรรษา นั่งกระโหย่งประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านผู้เจริญ จีวรผืนนี้กระผม


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๔๓ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๑.จีรวรรค ๖.อัญญาตกวิญญัตติสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์
ออกปากขอจากคฤหัสถ์ผู้ไม่ใช่ญาติ นอกสมัย เป็นนิสสัคคีย์ กระผมสละจีวรผืนนี้
แก่สงฆ์” ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ
ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงรับอาบัติ พึงคืนจีวรที่เธอสละให้ด้วยญัตติกรรมวาจา
ว่า “ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า จีวรผืนนี้ของภิกษุชื่อนี้เป็นนิสสัคคีย์ เธอสละ
แก่สงฆ์ ถ้าสงฆ์พร้อมกันแล้วก็พึงให้จีวรผืนนี้แก่ภิกษุชื่อนี้”

สละแก่คณะ
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุหลายรูป ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง กราบ
เท้าภิกษุผู้แก่พรรษา นั่งกระโหย่งประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านผู้เจริญ จีวรผืนนี้
กระผมออกปากขอจากคฤหัสถ์ผู้ไม่ใช่ญาติ นอกสมัย เป็นนิสสัคคีย์ กระผมสละจีวร
ผืนนี้แก่ท่านทั้งหลาย” ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ
ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงรับอาบัติ พึงคืนจีวรที่เธอสละให้ด้วยกล่าวว่า “ท่าน
ทั้งหลายจงฟังข้าพเจ้า จีวรผืนนี้ของภิกษุชื่อนี้เป็นนิสสัคคีย์ เธอสละแก่ท่านทั้งหลาย
ถ้าท่านทั้งหลายพร้อมกันแล้วก็พึงให้จีวรผืนนี้แก่ภิกษุชื่อนี้”

สละแก่บุคคล
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุรูปหนึ่ง ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง นั่ง
กระโหย่งประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านขอรับ จีวรผืนนี้กระผมออกปากขอ
จากคฤหัสถ์ผู้ไม่ใช่ญาติ นอกสมัย เป็นนิสสัคคีย์ กระผมสละจีวรผืนนี้แก่ท่าน” ครั้น
สละแล้วพึงแสดงอาบัติ
ภิกษุผู้รับสละนั้นพึงรับอาบัติแล้วคืนจีวรที่เธอสละให้ด้วยกล่าวว่า “กระผม
คืนจีวรผืนนี้ให้แก่ท่าน”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๔๔ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๑.จีรวรรค ๖.อัญญาตกวิญญัตติสิกขาบท อนาปัตติวาร
บทภาชนีย์
ติกนิสสัคคิยปาจิตตีย์
[๕๒๐] คฤหัสถ์ที่ไม่ใช่ญาติ ภิกษุสำคัญว่าไม่ใช่ญาติ ขอจีวรนอกสมัย ต้อง
อาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
คฤหัสถ์ที่ไม่ใช่ญาติ ภิกษุไม่แน่ใจ ขอจีวรนอกสมัย ต้องอาบัตินิสสัคคิย
ปาจิตตีย์
คฤหัสถ์ที่ไม่ใช่ญาติ ภิกษุสำคัญว่าเป็นญาติ ขอจีวรนอกสมัย ต้องอาบัติ
นิสสัคคิยปาจิตตีย์

ทุกทุกกฏ
คฤหัสถ์ที่เป็นญาติ ภิกษุสำคัญว่าไม่ใช่ญาติ ขอจีวรนอกสมัย ต้องอาบัติทุกกฏ
คฤหัสถ์ที่เป็นญาติ ภิกษุไม่แน่ใจ ขอจีวรนอกสมัย ต้องอาบัติทุกกฏ
คฤหัสถ์ที่เป็นญาติ ภิกษุสำคัญว่าเป็นญาติ ขอจีวรนอกสมัย ไม่ต้องอาบัติ

อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[๕๒๑] ๑. ภิกษุออกปากขอในสมัย
๒. ภิกษุออกปากขอจากญาติ
๓. ภิกษุออกปากขอจากคนปวารณา
๔. ภิกษุออกปากขอเพื่อภิกษุรูปอื่น
๕. ภิกษุซื้อมาด้วยทรัพย์ของตน
๖. ภิกษุวิกลจริต
๗. ภิกษุต้นบัญญัติ
อัญญาตกวิญญัตติสิกขาบทที่ ๖ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๔๕ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๑.จีรวรรค ๗.ตตุตตริสิกขาบท นิทานวัตถุ
๑. จีวรวรรค

๗. ตตุตตริสิกขาบท
ว่าด้วยการออกปากขอจีวรเกิน

เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๕๒๒] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์เข้าไปหาภิกษุ
ที่ถูกโจรชิงจีวรไปแล้วกล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคทรงอนุญาตให้
ภิกษุที่ถูกโจรชิงจีวรไปหรือจีวรสูญหาย ออกปากขอจีวรจากคฤหัสถ์ชายหรือ
คฤหัสถ์หญิงผู้ไม่ใช่ญาติได้ พวกท่านจงขอจีวรเถิด”
ภิกษุเหล่านั้นกล่าวว่า “ไม่ล่ะ ขอรับ พวกกระผมได้จีวรครบแล้ว”
พวกภิกษุฉัพพัคคีย์กล่าวว่า “พวกเราจะออกปากขอเพื่อพวกท่าน”
ภิกษุเหล่านั้นกล่าวว่า “นิมนต์ออกปากขอเถิด ขอรับ”
ต่อจากนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์เข้าไปหาพวกคฤหัสถ์กล่าวว่า “ท่านทั้งหลาย
พวกภิกษุที่ถูกโจรชิงจีวรไปมาถึงแล้ว พวกท่านจงถวายจีวรแก่พวกเธอ” แล้วออก
ปากขอจีวรเป็นอันมาก
ก็สมัยนั้น ชายคนหนึ่งนั่งอยู่ในที่ประชุมบอกชายอีกคนหนึ่งว่า “พวกพระ
คุณเจ้าที่ถูกโจรชิงจีวรไปมาถึงแล้ว ข้าพเจ้าได้ถวายจีวรท่านเหล่านั้นไปแล้ว”
ชายแม้นั้นตอบว่า “ข้าพเจ้าก็ได้ถวายไปแล้ว”
ชายอีกคนหนึ่งก็กล่าวเช่นเดียวกันว่า “แม้ข้าพเจ้าก็ได้ถวายไปแล้ว”
พวกเขาตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพระสมณะเชื้อสายศากยบุตรจึง
ไม่รู้จักประมาณ ออกปากขอจีวรมากมายเล่า พวกเธอจะค้าผ้าหรือจัดตั้งร้านขาย
ผ้ากระมัง”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๔๖ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๑.จีรวรรค ๗.ตตุตตริสิกขาบท พระบัญญัติ
พวกภิกษุได้ยินคำตำหนิ ประณาม โพนทะนาของชาวบ้าน บรรดาภิกษุผู้
มักน้อย ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพวกภิกษุฉัพพัคคีย์จึงไม่รู้
จักประมาณ ออกปากขอจีวรเป็นอันมากเล่า” ครั้นภิกษุเหล่านั้นตำหนิพวก
ภิกษุฉัพพัคคีย์โดยประการต่าง ๆ แล้วจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้
ทรงทราบ

ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามพวกภิกษุฉัพพัคคีย์ว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า พวกเธอไม่รู้จักประมาณ
ขอจีวรเป็นอันมาก จริงหรือ” พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ฯลฯ โมฆบุรุษทั้งหลาย ไฉนพวกเธอจึงไม่
รู้จักประมาณขอจีวรจำนวนมากเล่า โมฆบุรุษทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำ
คนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย
ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้

พระบัญญัติ
[๕๒๓] ถ้าคฤหัสถ์ชายหรือคฤหัสถ์หญิงผู้ไม่ใช่ญาติ นำจีวรจำนวนมากมา
ปวารณาภิกษุนั้น๑ ภิกษุนั้นพึงยินดีจีวรมีอุตตราสงค์และอันตรวาสกเป็นอย่าง
มากจากจีวรที่เขานำมานั้น ถ้ายินดีเกินกว่านั้น ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ

เชิงอรรถ :
๑ พหูหิ จีวเรหิ อภิหฏฺฐุํ ปวาเรยฺย ที่แปลว่า “นำจีวรจำนวนมากมาปวารณา” เป็นไปตามกฎนี้ : อภิหฏฺฐุํ
อภิ+หร+ตฺวา (ตฺวาปัจจัย) โดยสูตรว่า กิจฺจตการตุํตฺวาทีนญฺจ รฏฺฐรฏฺฐุํรฏฺฐาเทสา - รูป. ๖๐๙ (แปลง
ต ในกิจจปัจจัยเป็น ฏฺฐ แปลง ตุํ-ตฺวา ปัจจัยเป็นต้นเป็น ฏฺฐุํ ฏฺฐ) อรรถกถาวินัยก็อธิบายทำนอง
นี้ว่า “อภิหฏฺฐุํ ปวาเรยฺยา”ติ อภิหริตฺวา ปวาเรยฺยาติ อตฺโถ. (คำว่า อภิหฏฺฐุํ ปวาเรยฺยา มีอธิบายว่า
นำมาปวารณา วิ.อ. ๒/๕๒๒-๔/๑๗๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๔๗ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๑.จีรวรรค ๗.ตตุตตริสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์
สิกขาบทวิภังค์
[๕๒๔] คำว่า ถ้า...ภิกษุนั้น ได้แก่ ภิกษุผู้ถูกโจรชิงจีวรไป
ที่ชื่อว่า ผู้ไม่ใช่ญาติ คือ ไม่ใช่คนที่เกี่ยวเนื่องกันทางมารดาหรือทางบิดา
ตลอดเจ็ดชั่วคน
ที่ชื่อว่า คฤหัสถ์ชาย ได้แก่ บุรุษผู้ครองเรือน
ที่ชื่อว่า คฤหัสถ์หญิง ได้แก่ สตรีผู้ครองเรือน
คำว่า จีวรจำนวนมาก คือ จีวรหลายผืน
คำว่า นำ...มาปวารณา คือ นำมาปวารณาว่า ท่านจงรับจีวรตามที่
ปรารถนาเถิด
คำว่า ภิกษุนั้นพึงยินดีจีวรมีอุตตราสงค์และอันตรวาสกเป็นอย่างมากจาก
จีวรที่เขานำมานั้น ความว่า ถ้าจีวรหาย ๓ ผืน เธอพึงยินดี ๒ ผืน จีวรหาย
๒ ผืน พึงยินดี ๑ ผืน หายผืนเดียวไม่พึงยินดี
คำว่า ถ้ายินดีเกินกว่านั้น ความว่า ภิกษุออกปากขอเกินกว่านั้น ต้องอาบัติ
ทุกกฏเพราะพยายาม จีวรเป็นนิสสัคคีย์เพราะได้มา คือเป็นของจำต้องสละแก่สงฆ์
แก่คณะหรือแก่บุคคล
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงสละจีวรที่เป็นนิสสัคคีย์อย่างนี้

วิธีสละจีวรที่เป็นนิสสัคคีย์
สละแก่สงฆ์
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง กราบเท้าภิกษุผู้
แก่พรรษา นั่งกระโหย่งประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านผู้เจริญ จีวรผืนนี้กระผม
เข้าไปหาคฤหัสถ์ผู้ไม่ใช่ญาติ แล้วออกปากขอเกินกำหนด เป็นนิสสัคคีย์ กระผมสละ
จีวรผืนนี้แก่สงฆ์” ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ
ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงรับอาบัติ พึงคืนจีวรที่เธอสละให้ด้วยญัตติกรรมวาจา
ว่า “ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า จีวรผืนนี้ของภิกษุชื่อนี้เป็นนิสสัคคีย์ เธอ
สละแก่สงฆ์ ถ้าสงฆ์พร้อมกันแล้วก็พึงให้จีวรผืนนี้แก่ภิกษุชื่อนี้”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๔๘ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๑.จีรวรรค ๗.ตตุตตริสิกขาบท บทภาชนีย์
สละแก่คณะ
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุหลายรูป ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง กราบ
เท้าภิกษุผู้แก่พรรษา นั่งกระโหย่งประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านผู้เจริญ จีวรผืน
นี้กระผมเข้าไปหาคฤหัสถ์ผู้ไม่ใช่ญาติ แล้วออกปากขอเกินกำหนด เป็นนิสสัคคีย์
กระผมสละจีวรผืนนี้แก่ท่านทั้งหลาย” ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ
ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงรับอาบัติ พึงคืนจีวรที่เธอสละให้ด้วยกล่าวว่า “ท่าน
ทั้งหลายจงฟังข้าพเจ้า จีวรผืนนี้ของภิกษุชื่อนี้เป็นนิสสัคคีย์ เธอสละแก่ท่าน
ทั้งหลาย ถ้าท่านทั้งหลายพร้อมกันแล้วก็พึงให้จีวรผืนนี้แก่ภิกษุชื่อนี้”

สละแก่บุคคล
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุรูปหนึ่ง ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง นั่ง
กระโหย่งประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านขอรับ จีวรผืนนี้กระผมเข้าไปหาคฤหัสถ์
ผู้ไม่ใช่ญาติ แล้วออกปากขอเกินกำหนด เป็นนิสสัคคีย์ กระผมสละจีวรผืนนี้แก่
ท่าน” ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ
ภิกษุผู้รับสละนั้นพึงรับอาบัติแล้วคืนจีวรที่เธอสละให้ด้วยกล่าวว่า “กระผมคืน
จีวรผืนนี้ให้แก่ท่าน”

บทภาชนีย์
ติกนิสสัคคิยปาจิตตีย์
[๕๒๕] คฤหัสถ์ที่ไม่ใช่ญาติ ภิกษุสำคัญว่าไม่ใช่ญาติ ขอจีวรเกินกำหนด
ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
คฤหัสถ์ที่ไม่ใช่ญาติ ภิกษุไม่แน่ใจ ขอจีวรเกินกำหนด ต้องอาบัตินิสสัคคิย
ปาจิตตีย์
คฤหัสถ์ที่ไม่ใช่ญาติ ภิกษุสำคัญว่าเป็นญาติ ขอจีวรเกินกำหนด ต้องอาบัติ
นิสสัคคิยปาจิตตีย์


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๔๙ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๑.จีรวรรค ๗.ตตุตตริสิกขาบท อนาปัตติวาร
ทุกทุกกฏ
คฤหัสถ์ที่เป็นญาติ ภิกษุสำคัญว่าไม่ใช่ญาติ ขอจีวรเกินกำหนด ต้องอาบัติ
ทุกกฏ
คฤหัสถ์ที่เป็นญาติ ภิกษุไม่แน่ใจ ขอจีวรเกินกำหนด ต้องอาบัติทุกกฏ
คฤหัสถ์ที่เป็นญาติ ภิกษุสำคัญว่าเป็นญาติ ขอจีวรเกินกำหนด ไม่ต้องอาบัติ

อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[๕๒๖] ๑. ภิกษุที่รับเอาไปเพราะคิดว่า จะนำจีวรที่เหลือมาคืน
๒. ภิกษุที่คฤหัสถ์ถวายด้วยถ้อยคำว่า “จีวรที่เหลือเป็นของท่าน
รูปเดียว”
๓. ภิกษุที่คฤหัสถ์ไม่ได้ถวายเพราะจีวรถูกชิงไป
๔. ภิกษุที่คฤหัสถ์ไม่ได้ถวายเพราะจีวรสูญหาย
๕. ภิกษุผู้ยินดีจีวรที่ญาติถวาย
๖. ภิกษุผู้ยินดีจีวรที่ทายกปวารณาถวาย
๗. ภิกษุผู้ยินดีจีวรที่ได้มาด้วยทรัพย์ของตน
๘. ภิกษุวิกลจริต
๙. ภิกษุต้นบัญญัติ
ตตุตตริสิกขาบทที่ ๗ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๕๐ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๑.จีรวรรค ๘.อุปักขฏสิกขาบท นิทานวัตถุ
๑. จีวรวรรค

๘. อุปักขฏสิกขาบท
ว่าด้วยคนตระเตรียมทรัพย์เป็นค่าจีวร

เรื่องพระอุปนันทศากยบุตร
[๕๒๗] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น ชายคนหนึ่งกล่าวกับภรรยาว่า
“ฉันจะนิมนต์พระคุณเจ้าอุปนันทะให้ครองจีวร”
ภิกษุผู้ถือเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตรรูปหนึ่งได้ยินชายคนนั้นกล่าว จึงเข้าไปหา
ท่านพระอุปนันทศากยบุตรถึงที่อยู่แล้วกล่าวว่า “ท่านอุปนันทะ ท่านมีบุญมาก ชาย
คนหนึ่งในที่โน้นกล่าวกับภรรยาว่า ‘จะนิมนต์พระคุณเจ้าอุปนันทะให้ครองจีวร”
ท่านพระอุปนันทะกล่าวว่า “ใช่ ขอรับ เขาเป็นอุปัฏฐากของกระผมเอง” ต่อมา
ท่านพระอุปนันทศากยบุตรได้เข้าไปหาผู้นั้นถึงที่อยู่ ครั้นถึงแล้วได้กล่าวว่า “ได้ทราบ
ว่า โยมต้องการจะนิมนต์อาตมาให้ครองจีวรจริงหรือ”
เขาตอบว่า “จริงครับท่าน กระผมมีความคิดว่าจะนิมนต์พระคุณเจ้าอุปนันทะ
ให้ครองจีวร”
ท่านพระอุปนันทะกล่าวว่า “หากท่านต้องการจะนิมนต์อาตมาให้ครองจีวร
ก็จงให้ครองจีวรชนิดนี้ จีวรที่อาตมาไม่ใช้ แม้นิมนต์อาตมาให้ครองก็จะมีประโยชน์
อะไร”
ทีนั้น บุรุษนั้นจึงตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “พระสมณะเชื้อสายศากยบุตร
มักมาก ไม่สันโดษ จะนิมนต์ให้ครองจีวร มิใช่จะทำได้ง่าย ไฉนพระคุณเจ้าอุปนันท
ศากยบุตรซึ่งเราไม่ได้ปวารณาไว้ก่อนจึงเข้ามากำหนดชนิดจีวรเล่า”
พวกภิกษุได้ยินคำตำหนิ ประณาม โพนทะนาของชาวบ้าน บรรดาภิกษุผู้
มักน้อย สันโดษ ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนท่านพระอุปนันท
ศากยบุตรซึ่งเขาไม่ได้ปวารณาไว้ก่อนจึงเข้าไปหาคฤหัสถ์กำหนดชนิดจีวรเล่า”


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๕๑ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๑.จีรวรรค ๘.อุปักขฏสิกขาบท พระบัญญัติ
ครั้นภิกษุเหล่านั้นตำหนิท่านพระอุปนันทศากยบุตรโดยประการต่าง ๆ แล้วจึงนำ
เรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ

ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามท่านพระอุปนันทศากยบุตรว่า “อุปนันทะ ทราบว่า เขาไม่ได้ปวารณาไว้ก่อน
แต่เธอเข้าไปหาคฤหัสถ์แล้วกำหนดชนิดจีวร จริงหรือ” พระอุปนันทศากยบุตรทูลรับ
ว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “อุปนันทะ เขาเป็นญาติของ
เธอหรือไม่ใช่ญาติ”
ท่านพระอุปนันทะทูลตอบว่า “ไม่ใช่ญาติ พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคทรงตำหนิว่า “โมฆบุรุษ คฤหัสถ์ผู้ไม่ใช่ญาติย่อมไม่รู้ความ
เหมาะสมหรือไม่เหมาะสม ของที่มีอยู่หรือไม่มีของคนผู้ไม่ใช่ญาติ โมฆบุรุษ เธอนั้น
ซึ่งพวกเขาไม่ได้ปวารณาไว้ก่อนเข้าไปหาคฤหัสถ์ผู้ไม่ใช่ญาติแล้วกำหนดชนิดจีวร
โมฆบุรุษ การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่
เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบท
นี้ขึ้นแสดงดังนี้

พระบัญญัติ
[๕๒๘] ก็ คฤหัสถ์ชายหรือคฤหัสถ์หญิงผู้ไม่ใช่ญาติ ตระเตรียมทรัพย์
เป็นค่าจีวร เจาะจงภิกษุว่า “เราจะซื้อจีวรด้วยทรัพย์เป็นค่าจีวรนี้แล้ว นิมนต์
ภิกษุชื่อนี้ให้ครองจีวร” ถ้าภิกษุนั้นซึ่งเขาไม่ได้ปวารณาไว้ก่อน เข้าไปกำหนด
ชนิดจีวรในที่ที่เขาเตรียมจีวรไว้ เพราะต้องการจีวรดีว่า “ดีละ ท่านจงซื้อจีวรเช่น
นั้นเช่นนี้ด้วยทรัพย์เป็นค่าจีวรนี้แล้วให้อาตมาครองเถิด” ต้องอาบัตินิสสัคคิย
ปาจิตตีย์
เรื่องพระอุปนันทศากยบุตร จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๕๒ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๑.จีรวรรค ๘.อุปักขฏสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์
สิกขาบทวิภังค์
[๕๒๙] คำว่า ก็...เจาะจงภิกษุ ได้แก่ เพื่อประโยชน์ของภิกษุ คือ มุ่ง
เฉพาะภิกษุ ปรารถนาจะให้ภิกษุครองจีวร
ที่ชื่อว่า ผู้ไม่ใช่ญาติ คือ ไม่ใช่คนที่เกี่ยวเนื่องกันทางมารดาหรือทางบิดา
ตลอดเจ็ดชั่วคน
ที่ชื่อว่า คฤหัสถ์ชาย ได้แก่ บุรุษผู้ครองเรือน
ที่ชื่อว่า คฤหัสถ์หญิง ได้แก่ สตรีผู้ครองเรือน
ที่ชื่อว่า ทรัพย์เป็นค่าจีวร ได้แก่ เงิน ทอง แก้วมุกดา แก้วมณี แก้วตาแมว
แก้วผลึก ผ้า ด้ายหรือฝ้าย
คำว่า ด้วยทรัพย์เป็นค่าจีวรนี้ คือ ทรัพย์ที่เขาจัดหาไว้เฉพาะ
คำว่า ซื้อ ได้แก่ แลกเปลี่ยน
คำว่า ให้...ครอง คือ ถวาย
คำว่า ถ้าภิกษุนั้น...ในที่ที่เขาเตรียมจีวรไว้ ได้แก่ ภิกษุรูปที่เขาตระเตรียม
ทรัพย์เป็นค่าจีวรไว้ถวายโดยเฉพาะ
คำว่า เขาไม่ได้ปวารณาไว้ก่อน คือ ทายกไม่ได้กล่าวไว้ก่อนว่า “ท่านผู้เจริญ
ท่านต้องการจีวรชนิดไหน กระผมจะซื้อจีวรชนิดไหนถวายท่าน”
คำว่า เข้าไป คือ ไปถึงเรือนแล้วเข้าไปหาที่ใดที่หนึ่ง
คำว่า กำหนดชนิดจีวร คือ กำหนดว่า ขอให้เป็นผ้ายาว กว้าง เนื้อแน่นหรือ
เนื้อละเอียด
คำว่า ด้วยทรัพย์เป็นค่าจีวรนี้ คือ ทรัพย์ที่เขาจัดหาไว้เฉพาะ
คำว่า เช่นนั้นเช่นนี้ คือ ยาวหรือกว้าง เนื้อแน่นหรือเนื้อละเอียด
คำว่า ซื้อ ได้แก่ แลกเปลี่ยน
คำว่า จงให้ครอง คือ จงถวาย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๕๓ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๑.จีรวรรค ๘.อุปักขฏสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์
คำว่า เพราะต้องการจีวรดี คือ ต้องการผ้าเนื้อดีหรือผ้าที่มีราคาแพง เขาซื้อ
จีวรผืนยาว กว้าง เนื้อแน่นหรือเนื้อละเอียดตามคำของภิกษุนั้น ต้องอาบัติทุกกฏ
เพราะพยายาม จีวรเป็นนิสสัคคีย์เพราะได้มา คือเป็นของจำต้องสละแก่สงฆ์ แก่
คณะหรือแก่บุคคล
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงสละจีวรที่เป็นนิสสัคคีย์อย่างนี้

วิธีสละจีวรที่เป็นนิสสัคคีย์
สละแก่สงฆ์
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง กราบเท้าภิกษุผู้
แก่พรรษา นั่งกระโหย่งประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านผู้เจริญ จีวรผืนนี้เขาไม่ได้
ปวารณาไว้ก่อน กระผมเข้าไปหาคฤหัสถ์ผู้ไม่ใช่ญาติ กำหนดชนิดจีวร เป็นนิสสัคคีย์
กระผมสละจีวรผืนนี้แก่สงฆ์” ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ
ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงรับอาบัติ พึงคืนจีวรที่เธอสละให้ด้วยญัตติกรรมวาจา
ว่า “ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า จีวรผืนนี้ของภิกษุชื่อนี้เป็นนิสสัคคีย์ เธอสละ
แก่สงฆ์ ถ้าสงฆ์พร้อมกันแล้วก็พึงให้จีวรผืนนี้แก่ภิกษุชื่อนี้”

สละแก่คณะ
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุหลายรูป ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง กราบ
เท้าภิกษุผู้แก่พรรษา นั่งกระโหย่งประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านผู้เจริญ จีวรผืนนี้
เขาไม่ได้ปวารณาไว้ก่อน กระผมเข้าไปหาคฤหัสถ์ผู้ไม่ใช่ญาติ กำหนดชนิดจีวร เป็น
นิสสัคคีย์ กระผมสละจีวรผืนนี้แก่ท่านทั้งหลาย” ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ
ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงรับอาบัติ พึงคืนจีวรที่เธอสละให้ด้วยกล่าวว่า “ท่าน
ทั้งหลายจงฟังข้าพเจ้า จีวรผืนนี้ของภิกษุชื่อนี้เป็นนิสสัคคีย์ เธอสละแก่ท่านทั้งหลาย
ถ้าท่านทั้งหลายพร้อมกันแล้วก็พึงให้จีวรผืนนี้แก่ภิกษุชื่อนี้”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๕๔ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๑.จีรวรรค ๘.อุปักขฏสิกขาบท บทภาชนีย์
สละแก่บุคคล
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุรูปหนึ่ง ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง นั่ง
กระโหย่งประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านขอรับ จีวรผืนนี้ เขาไม่ได้ปวารณาไว้ก่อน
กระผมเข้าไปหาคฤหัสถ์ผู้ไม่ใช่ญาติ กำหนดชนิดจีวร เป็นนิสสัคคีย์ กระผมสละจีวร
ผืนนี้แก่ท่าน” ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ
ภิกษุผู้รับสละนั้นพึงรับอาบัติแล้วคืนจีวรที่เธอสละให้ด้วยกล่าวว่า “กระผมคืน
จีวรผืนนี้ให้แก่ท่าน”

บทภาชนีย์
ติกนิสสัคคิยปาจิตตีย์
[๕๓๐] คฤหัสถ์ที่ไม่ใช่ญาติ ภิกษุสำคัญว่าไม่ใช่ญาติ เขาไม่ได้ปวารณาไว้
ก่อน เข้าไปหาคฤหัสถ์แล้วกำหนดชนิดจีวร ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
คฤหัสถ์ที่ไม่ใช่ญาติ ภิกษุไม่แน่ใจ เขาไม่ได้ปวารณาไว้ก่อน เข้าไปหาคฤหัสถ์
แล้วกำหนดชนิดจีวร ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
คฤหัสถ์ที่ไม่ใช่ญาติ ภิกษุสำคัญว่าเป็นญาติ เขาไม่ได้ปวารณาไว้ก่อน เข้าไป
หาคฤหัสถ์แล้วกำหนดชนิดจีวร ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์

ทุกทุกกฏ
คฤหัสถ์ที่เป็นญาติ ภิกษุสำคัญว่าไม่ใช่ญาติ เข้าไปกำหนดชนิดจีวร ต้อง
อาบัติทุกกฏ
คฤหัสถ์ที่เป็นญาติ ภิกษุไม่แน่ใจ เข้าไปกำหนดชนิดจีวร ต้องอาบัติทุกกฏ
คฤหัสถ์ที่เป็นญาติ ภิกษุสำคัญว่าเป็นญาติ เข้าไปกำหนดชนิดจีวร ไม่ต้อง
อาบัติ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๕๕ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๑.จีรวรรค ๘.อุปักขฏสิกขาบท อนาปัตติวาร
อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[๕๓๑] ๑. ภิกษุขอจากคฤหัสถ์ที่เป็นญาติ
๒. ภิกษุขอจากคฤหัสถ์ที่ปวารณา
๓. ภิกษุขอเพื่อภิกษุรูปอื่น
๔. ภิกษุซื้อมาด้วยทรัพย์ของตน
๕. ภิกษุผู้เมื่อคฤหัสถ์ผู้ต้องการซื้อจีวรราคาแพง ตนเองกลับให้ซื้อ
จีวรราคาถูก
๖. ภิกษุวิกลจริต
๗. ภิกษุต้นบัญญัติ

อุปักขฏสิกขาบทที่ ๘ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๕๖ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๑.จีรวรรค ๙.ทุติยอุปักขฏสิกขาบท นิทานวัตถุ
๑.จีรวรรค

๙. ทุติยอุปักขฏสิกขาบท
ว่าด้วยคนตระเตรียมทรัพย์เป็นค่าจีวร ข้อที่ ๒

เรื่องพระอุปนันทศากยบุตร
[๕๓๒] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น บุรุษคนหนึ่งกล่าวกับบุรุษอีกคน
หนึ่งว่า “กระผมจะนิมนต์พระคุณเจ้าอุปนันทะให้ครองจีวร” แม้บุรุษคนนั้นก็กล่าวว่า
“กระผมก็จะนิมนต์พระคุณเจ้าอุปนันทะให้ครองจีวร”
ภิกษุผู้ถือเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตรรูปหนึ่งได้ยินการสนทนาของบุรุษเหล่านั้น
จึงเข้าไปหาท่านพระอุปนันทะถึงที่อยู่แล้วกล่าวว่า “ท่านอุปนันทะ ท่านมีบุญมาก
บุรุษคนหนึ่งในที่โน้นกล่าวกับบุรุษอีกคนหนึ่งว่า ‘จะนิมนต์พระคุณเจ้าอุปนันทะให้ครอง
จีวร’ แม้บุรุษคนนั้นก็กล่าวว่า ‘กระผมก็จะนิมนต์พระคุณเจ้าอุปนันทะให้ครองจีวร”
ท่านพระอุปนันทะกล่าวว่า “ใช่ ขอรับ บุรุษทั้งสองเป็นอุปัฏฐากของกระผม
เอง” ต่อมา ท่านพระอุปนันทศากยบุตรไปหาบุรุษทั้งสองถึงที่อยู่ครั้นถึงแล้วจึงกล่าวว่า
“ได้ทราบว่า โยมทั้งสองต้องการจะนิมนต์อาตมาให้ครองจีวรหลายผืน จริงหรือ”
บุรุษทั้งสองตอบว่า “จริงครับท่าน พวกกระผมมีความคิดจะนิมนต์พระคุณเจ้า
อุปนันทะให้ครองจีวร”
ท่านพระอุปนันทะกล่าวว่า “ถ้าท่านทั้งสองต้องการจะนิมนต์อาตมาให้ครองจีวร
ก็จงให้ครองจีวรชนิดนี้ จีวรที่อาตมาไม่ใช้แม้นิมนต์อาตมาให้ครองก็จะมีประโยชน์
อะไร”
บุรุษทั้งสองตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “พระสมณะเชื้อสายศากยบุตร
มักมาก ไม่สันโดษ จะนิมนต์ให้ครองจีวร ก็ทำได้ยาก ไฉนพระคุณเจ้าอุปนันทะ
ซึ่งพวกเราไม่ได้ปวารณาไว้ก่อนจึงมากำหนดชนิดจีวรเล่า”


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๕๗ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๑.จีรวรรค ๙.ทุติยอุปักขฏสิกขาบท พระบัญญติ
พวกภิกษุได้ยินบุรุษทั้งสองตำหนิ ประณาม โพนทะนา บรรดาภิกษุผู้มักน้อย
ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนท่านพระอุปนันทศากยบุตรซึ่งเขา
ไม่ได้ปวารณาไว้ก่อนจึงเข้าไปหาพวกคฤหัสถ์กำหนดจีวรเล่า” ครั้นภิกษุเหล่านั้น
ตำหนิท่านอุปนันทศากยบุตรโดยประการต่าง ๆ แล้วจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มี
พระภาคให้ทรงทราบ

ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามท่านพระอุปนันทศากยบุตรว่า “อุปนันทะ ทราบว่า เขาไม่ได้ปวารณาไว้
ก่อน แต่เธอไปกำหนดชนิดจีวร จริงหรือ” ท่านพระอุปนันทศากยบุตรทูลรับว่า “จริง
พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “อุปนันทะ คนเหล่านั้นเป็นญาติของ
เธอหรือไม่ใช่ญาติ” พระอุปนันทะทูลตอบว่า “คนเหล่านั้นไม่ใช่ญาติ พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคทรงตำหนิว่า “โมฆบุรุษ คฤหัสถ์ผู้ไม่ใช่ญาติย่อมไม่รู้ความ
เหมาะสมหรือไม่เหมาะสม ของที่มีอยู่หรือไม่มีของคนผู้ไม่ใช่ญาติ โมฆบุรุษ เธอ
นั้นซึ่งเขาไม่ได้ปวารณาไว้ก่อน เข้าไปหาคฤหัสถ์ผู้ไม่ใช่ญาติแล้วกำหนดชนิดจีวร
โมฆบุรุษ การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่
เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบท
นี้ขึ้นแสดงดังนี้

พระบัญญัติ
[๕๓๓] ก็ คฤหัสถ์ชายหรือคฤหัสถ์หญิงผู้ไม่ใช่ญาติ ๒ คน ตระเตรียม
ทรัพย์เป็นค่าจีวรคนละผืน เจาะจงภิกษุว่า “พวกเราจะซื้อจีวรคนละผืนด้วย
ทรัพย์เป็นค่าจีวรคนละผืนนี้แล้วนิมนต์ภิกษุชื่อนี้ให้ครองจีวรหลายผืน” ถ้า
ภิกษุนั้นซึ่งพวกเขาไม่ได้ปวารณาไว้ก่อน เข้าไปกำหนดชนิดจีวรในที่ที่เขา
เตรียมจีวรไว้ เพราะต้องการจีวรดีว่า “ดีละ ท่านทั้งสองจงรวมกันซื้อจีวรเช่น
นั้นเช่นนี้ ด้วยทรัพย์เป็นค่าจีวรคนละผืนนี้ แล้วนิมนต์อาตมาให้ครองเถิด” ต้อง
อาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์

เรื่องพระอุปนันทศากยบุตร จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๕๘ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๑.จีรวรรค ๙.ทุติยอุปักขฏสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์
สิกขาบทวิภังค์
[๕๓๔] คำว่า ก็...เจาะจงภิกษุ ได้แก่ เพื่อประโยชน์ของภิกษุ คือ มุ่ง
เฉพาะภิกษุ ปรารถนาจะให้ภิกษุครองจีวร
คำว่า ๒ คน คือ มี ๒ คน
ที่ชื่อว่า ผู้ไม่ใช่ญาติ คือ ไม่ใช่คนที่เกี่ยวเนื่องกันทางมารดา หรือทางบิดา
ตลอดเจ็ดชั่วคน
ที่ชื่อว่า คฤหัสถ์ชาย ได้แก่ บุรุษผู้ครองเรือน
ที่ชื่อว่า คฤหัสถ์หญิง ได้แก่ สตรีผู้ครองเรือน
ที่ชื่อว่า ทรัพย์เป็นค่าจีวร ได้แก่ เงิน ทอง แก้วมุกดา แก้วมณี แก้วตาแมว
แก้วผลึก ผ้า ด้ายหรือฝ้าย
คำว่า ด้วยทรัพย์เป็นค่าจีวรคนละผืนนี้ คือ ทรัพย์ที่เขาจัดหาไว้เฉพาะ
คำว่า ซื้อ ได้แก่ แลกเปลี่ยน
คำว่า ให้...ครอง คือ ถวาย
คำว่า ถ้าภิกษุนั้น...ในที่ที่เขาเตรียมจีวรไว้ ได้แก่ ภิกษุรูปที่เขาทั้งสอง
ตระเตรียมทรัพย์เป็นค่าจีวรไว้ถวายโดยเฉพาะ
คำว่า เขาไม่ได้ปวารณาไว้ก่อน คือ ทายกทั้งสองไม่ได้กล่าวไว้ก่อนว่า “ท่าน
ผู้เจริญ ท่านต้องการจีวรชนิดไหน พวกผมจะซื้อจีวรชนิดไหนถวายท่าน”
คำว่า เข้าไป คือ ไปถึงเรือนแล้วเข้าไปหาที่ใดที่หนึ่ง
คำว่า กำหนดชนิดจีวร คือ กำหนดว่า ขอให้เป็นผ้ายาว กว้าง เนื้อแน่น
หรือเนื้อละเอียด
คำว่า ด้วยทรัพย์เป็นค่าจีวรคนละผืนนี้ คือ ทรัพย์ที่เขาจัดหาไว้เฉพาะ
คำว่า เช่นนั้นเช่นนี้ คือ ยาวหรือกว้าง เนื้อแน่นหรือเนื้อละเอียด
คำว่า ซื้อ ได้แก่ แลกเปลี่ยน

 


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๕๙ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๑.จีรวรรค ๙.ทุติยอุปักขฏสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์
คำว่า จงให้ครอง คือ จงถวาย
คำว่า ท่านทั้งสองจงรวมกัน คือ คน ๒ คนร่วมกัน
คำว่า เพราะต้องการจีวรดี คือ ต้องการผ้าเนื้อดี หรือผ้าราคาแพง
เขาซื้อจีวรผืนยาว กว้าง เนื้อแน่นหรือเนื้อละเอียดตามคำภิกษุนั้น ต้องอาบัติ
ทุกกฏเพราะพยายาม จีวรเป็นนิสสัคคีย์เพราะได้มา คือเป็นของจำต้องสละแก่สงฆ์
แก่คณะหรือแก่บุคคล
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงสละจีวรที่เป็นนิสสัคคีย์อย่างนี้

วิธีสละจีวรที่เป็นนิสสัคคีย์
สละแก่สงฆ์
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง กราบเท้าภิกษุผู้
แก่พรรษา นั่งกระโหย่งประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านผู้เจริญ จีวรผืนนี้เขาไม่ได้
ปวารณาไว้ก่อน กระผมเข้าไปหาคฤหัสถ์ผู้ไม่ใช่ญาติ กำหนดชนิดจีวร เป็น
นิสสัคคีย์ กระผมสละจีวรผืนนี้แก่สงฆ์” ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ
ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงรับอาบัติ พึงคืนจีวรที่เธอสละให้ด้วยญัตติกรรมวาจา
ว่า “ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า จีวรผืนนี้ของภิกษุชื่อนี้เป็นนิสสัคคีย์ เธอสละ
แก่สงฆ์ ถ้าสงฆ์พร้อมกันแล้วก็พึงให้จีวรผืนนี้แก่ภิกษุชื่อนี้”

สละแก่คณะ
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุหลายรูป ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง กราบ
เท้าภิกษุผู้แก่พรรษา นั่งกระโหย่งประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านผู้เจริญ จีวรผืนนี้
เขาไม่ได้ปวารณาไว้ก่อน กระผมเข้าไปหาคฤหัสถ์ผู้ไม่ใช่ญาติ กำหนดชนิดจีวร เป็น
นิสสัคคีย์ กระผมสละจีวรผืนนี้แก่ท่านทั้งหลาย” ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ
ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงรับอาบัติ พึงคืนจีวรที่เธอสละให้ด้วยกล่าวว่า “ท่าน
ทั้งหลายจงฟังข้าพเจ้า จีวรผืนนี้ของภิกษุชื่อนี้เป็นนิสสัคคีย์ เธอสละแก่ท่านทั้งหลาย
ถ้าท่านทั้งหลายพร้อมกันแล้วก็พึงให้จีวรผืนนี้แก่ภิกษุชื่อนี้”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๖๐ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๑.จีรวรรค ๙.ทุติยอุปักขฏสิกขาบท บทภาชนีย์
สละแก่บุคคล
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุรูปหนึ่ง ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง นั่งกระโหย่ง
ประนมมือ กล่าวว่า “ท่านขอรับ จีวรผืนนี้เขาไม่ได้ปวารณาไว้ก่อน กระผมเข้าไปหา
คฤหัสถ์ผู้ไม่ใช่ญาติ กำหนดชนิดจีวร เป็นนิสสัคคีย์ กระผมสละจีวรผืนนี้แก่ท่าน”
ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ
ภิกษุผู้รับสละนั้นพึงรับอาบัติแล้วคืนจีวรที่เธอสละให้ด้วยกล่าวว่า “กระผมคืน
จีวรผืนนี้ให้แก่ท่าน”

บทภาชนีย์
ติกนิสสัคคิยปาจิตตีย์
[๕๓๕] คฤหัสถ์ที่ไม่ใช่ญาติ ภิกษุสำคัญว่าไม่ใช่ญาติ เขาไม่ได้ปวารณาไว้
ก่อน เข้าไปหาพวกคฤหัสถ์แล้วกำหนดชนิดจีวร ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
คฤหัสถ์ที่ไม่ใช่ญาติ ภิกษุไม่แน่ใจ เขาไม่ได้ปวารณาไว้ก่อน เข้าไปหาพวก
คฤหัสถ์แล้วกำหนดชนิดจีวร ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
คฤหัสถ์ที่ไม่ใช่ญาติ ภิกษุสำคัญว่าเป็นญาติ เขาไม่ได้ปวารณาไว้ก่อน เข้าไป
หาพวกคฤหัสถ์แล้วกำหนดชนิดจีวร ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์

ทุกทุกกฏ
คฤหัสถ์ที่เป็นญาติ ภิกษุสำคัญว่าไม่ใช่ญาติ เข้าไปกำหนดชนิดจีวร ต้อง
อาบัติทุกกฏ
คฤหัสถ์ที่เป็นญาติ ภิกษุไม่แน่ใจ เข้าไปกำหนดชนิดจีวร ต้องอาบัติทุกกฏ
คฤหัสถ์ที่เป็นญาติ ภิกษุสำคัญว่าเป็นญาติ เข้าไปกำหนดชนิดจีวร ไม่ต้อง
อาบัติ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๖๑ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๑.จีรวรรค ๙.ทุติยอุปักขฏสิกขาบท อนาปัตติวาร
อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[๕๓๖] ๑. ภิกษุขอจากคฤหัสถ์ที่เป็นญาติ
๒. ภิกษุขอจากคฤหัสถ์ที่ปวารณา
๓. ภิกษุขอเพื่อภิกษุรูปอื่น
๔. ภิกษุซื้อมาด้วยทรัพย์ของตน
๕. ภิกษุผู้เมื่อพวกคฤหัสถ์ต้องการซื้อจีวรราคาแพง ตนเองกลับให้
ซื้อจีวรราคาถูก
๖. ภิกษุวิกลจริต
๗. ภิกษุต้นบัญญัติ

ทุติยอุปักขฏสิกขาบทที่ ๙ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๖๒ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๑.จีรวรรค ๑๐.ราชสิกขาบท นิทานวัตถุ
๑. จีวรวรรค

๑๐. ราชสิกขาบท
ว่าด้วยทรัพย์เป็นค่าจีวรที่พระราชาเป็นต้นให้ทูตนำมาถวาย

เรื่องพระอุปนันทศากยบุตร
[๕๓๗] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น มหาอมาตย์อุปัฏฐากของท่านพระ
อุปนันทศากยบุตรส่งทูตไปถวายทรัพย์เป็นค่าจีวร และสั่งว่า “เธอจงเอาทรัพย์ เป็น
ค่าจีวรนี้ซื้อจีวรแล้วนิมนต์พระคุณเจ้าอุปนันทะให้ครอง”
ต่อมา ทูตนั้นได้เข้าไปหาท่านพระอุปนันทศากยบุตรถึงที่อยู่ ครั้นถึงแล้วได้
กล่าวกับท่านว่า “ท่านผู้เจริญ กระผมนำทรัพย์เป็นค่าจีวรมาเจาะจงท่าน นิมนต์
ท่านรับทรัพย์เป็นค่าจีวรเถิด ขอรับ”
เมื่อทูตกล่าวอย่างนั้น ท่านพระอุปนันทศากยบุตรได้กล่าวว่า “อาตมารับ
ทรัพย์เป็นค่าจีวรไม่ได้ รับเฉพาะจีวรที่สมควรตามกาล”
เมื่อท่านกล่าวอย่างนั้น ทูตถามว่า “มีใครผู้เป็นไวยาวัจกรของท่านบ้างไหม”
ขณะนั้น อุบาสกคนหนึ่งมีธุระไปที่วัด ท่านพระอุปนันทศากยบุตรจึงกล่าวกับ
ทูตว่า “อุบาสกนี้เป็นไวยาวัจกรของภิกษุทั้งหลาย”
ทูตนั้นจึงตกลงกับอุบาสกแล้วเข้าไปหาท่านพระอุปนันทศากยบุตรถึงที่อยู่กล่าวว่า
“ท่านผู้เจริญ กระผมตกลงกับอุบาสกที่ท่านแนะนำว่าเป็นไวยาวัจกรแล้ว ท่านจงไป
หาในเวลาอันสมควร เขาจักนิมนต์ท่านให้ครองจีวร”
ต่อมา มหาอมาตย์ส่งทูตให้ไปหาท่านพระอุปนันทศากยบุตรให้กราบเรียนว่า
“ขอให้พระคุณเจ้าจงใช้สอยจีวรเถิด กระผมต้องการจะให้พระคุณเจ้าใช้จีวรนั้น”
ท่านพระอุปนันทศากยบุตรไม่กล่าวอะไรกับอุบาสกนั้น


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๖๓ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๑.จีรวรรค ๑๐.ราชสิกขาบท นิทานวัตถุ
แม้ครั้งที่ ๒ มหาอมาตย์ก็ส่งทูตให้ไปหาท่านพระอุปนันทศากยบุตร ให้กราบ
เรียนว่า “ขอให้พระคุณเจ้าจงใช้สอยจีวรเถิด กระผมต้องการจะให้พระคุณเจ้าใช้จีวรนั้น”
แม้ครั้งที่ ๒ ท่านพระอุปนันทศากยบุตรก็ยังไม่กล่าวอะไรกับอุบาสกนั้น
แม้ครั้งที่ ๓ มหาอมาตย์ก็ส่งทูตไปหาท่านพระอุปนันทศากยบุตร ให้กราบ
เรียนว่า “ขอให้พระคุณเจ้าจงใช้สอยจีวรเถิด กระผมต้องการจะให้พระคุณเจ้าใช้สอย
จีวรนั้น”
สมัยนั้นเป็นคราวประชุมของชาวนิคม ก็ชาวนิคมได้ตั้งกติกาไว้ว่า ผู้มาประชุม
ล่าช้าต้องถูกปรับ ๕๐ กหาปณะ
ต่อมา ท่านพระอุปนันทศากยบุตรไปหาอุบาสกถึงที่อยู่ ครั้นถึงแล้วได้กล่าวว่า
“อาตมาต้องการจีวร”
อุบาสกกล่าวว่า “โปรดรอสักวันหนึ่งเถิด ขอรับ วันนี้เป็นคราวประชุมของชาว
นิคม และชาวนิคมได้ตั้งกติกาว่า ผู้มาประชุมล่าช้าต้องถูกปรับ ๕๐ กหาปณะ”
ท่านพระอุปนันทศากยบุตรกล่าวว่า “จงถวายจีวรอาตมาวันนี้แหละ” แล้วยึด
ชายพกไว้
อุบาสกถูกท่านพระอุปนันทศากยบุตรรบเร้าจึงได้ซื้อจีวรถวายท่านพระอุปนันท
ศากยบุตรแล้วไปประชุมล่าช้า
ชาวบ้านถามว่า “เหตุไรท่านมาล่าช้า ท่านต้องเสียค่าปรับ ๕๐ กหาปณะ”
ทีนั้น อุบาสกจึงเล่าเรื่องนั้นให้ชาวบ้านเหล่านั้นทราบ พวกชาวบ้านพากัน
ตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “พระสมณะเชื้อสายศากยบุตรเหล่านี้มักมาก
ไม่สันโดษ ยากที่ใคร ๆ จะให้ความช่วยเหลือสมณะเหล่านั้นได้ ไฉนท่านพระอุปนันท
ศากยบุตร เมื่ออุบาสกกล่าวว่า ‘โปรดรอสักวันหนึ่งเถิด ขอรับ’ ก็ไม่ยอมรอ”
ภิกษุทั้งหลายได้ยินพวกชาวบ้านตำหนิ ประณาม โพนทะนา บรรดาภิกษุผู้
มักน้อย ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนท่านอุปนันทศากยบุตรผู้
ซึ่งอุบาสกขอร้องอยู่ว่า ‘ท่านผู้เจริญ โปรดรอสักวันหนึ่ง’ ก็ไม่ยอมรอ” ครั้นภิกษุ
เหล่านั้นตำหนิท่านพระอุปนันทศากยบุตรโดยประการต่าง ๆ แล้วจึงนำเรื่องนี้ไป
กราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๖๔ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๑.จีรวรรค ๑๐.ราชสิกขาบท พระบัญญัติ
ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามท่านพระอุปนันทศากยบุตรว่า “อุปนันทะ ทราบว่า อุบาสกกล่าวกับเธอ
ว่า ‘โปรดรอสักวันหนึ่งเถิดขอรับ’ เธอก็ไม่ยอมรอ จริงหรือ” ท่านพระอุปนันท
ศากยบุตรทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า
“ฯลฯ โมฆบุรุษ ไฉนเธอผู้ซึ่งอุบาสกกล่าวว่า ‘ท่านผู้เจริญ ท่านจงรอสักวันหนึ่งเถิด
ขอรับ’ ก็ไม่ยอมรอเล่า โมฆบุรุษ การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้
เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่งให้
ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้

พระบัญญัติ
[๕๓๘] ก็ พระราชา ราชอมาตย์ พราหมณ์หรือคหบดีผู้ใดผู้หนึ่งส่งทูตมา
ถวายทรัพย์เป็นค่าจีวรเจาะจงภิกษุพร้อมกับสั่งว่า “ท่านจงเอาทรัพย์เป็นค่าจีวร
นี้ซื้อจีวร แล้วนิมนต์ภิกษุชื่อนี้ให้ครองจีวร” ถ้าทูตนั้นเข้าไปหาภิกษุนั้นกล่าว
อย่างนี้ว่า “ท่านผู้เจริญ กระผมนำทรัพย์เป็นค่าจีวรนี้มาเจาะจงพระคุณเจ้า
พระคุณเจ้าจงรับทรัพย์เป็นค่าจีวรเถิด” ภิกษุนั้นพึงกล่าวกับทูตนั้นอย่างนี้ว่า
“พวกอาตมารับทรัพย์เป็นค่าจีวรไม่ได้ รับเฉพาะจีวรที่สมควรตามกาล” ถ้าทูต
นั้นพึงกล่าวกับภิกษุนั้นอย่างนี้ว่า “ก็มีใครผู้เป็นไวยาวัจกรของท่านบ้างไหม”
ภิกษุผู้ต้องการจีวรพึงแสดงคนวัดหรืออุบาสกให้เป็นไวยาวัจกรว่า “ผู้นี้เป็น
ไวยาวัจกรของภิกษุทั้งหลาย” ถ้าทูตตกลงกับไวยาวัจกรแล้วเข้าไปหาภิกษุนั้น
กล่าวอย่างนี้ว่า “ข้าพเจ้าตกลงกับคนที่ท่านแนะนำว่าเป็นไวยาวัจกรแล้ว ท่าน
จงไปหาในเวลาอันสมควร เขาจะนิมนต์ท่านให้ครองจีวร” ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุ
ต้องการจีวรพึงเข้าไปหาไวยาวัจกรแล้วทวงหรือเตือน ๒-๓ ครั้งว่า “อาตมา
ต้องการจีวร” เมื่อทวงหรือเตือน ๒-๓ ครั้ง ให้เขาจัดจีวรสำเร็จได้ นั่นเป็น
การดี ถ้าไม่สำเร็จ พึงไปยืนแสดงตนนิ่ง ๆ ถึง ๔ ครั้ง ๕ ครั้ง หรือ ๖ ครั้ง
เป็นอย่างมาก เมื่อยืนแสดงตนนิ่ง ๆ ถึง ๔ ครั้ง ๕ ครั้ง หรือ ๖ ครั้งเป็นอย่าง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๖๕ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๑.จีรวรรค ๑๐.ราชสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์
มากแล้วให้เขาจัดจีวรสำเร็จได้ นั่นเป็นการดี ถ้าพยายามเกินกว่านั้น ให้เขาจัด
จีวรสำเร็จได้ ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์ ถ้าไม่สำเร็จ พึงไปเองหรือส่งทูตไป
ในสำนักที่เขาส่งทรัพย์เป็นค่าจีวรมา กล่าวว่า “ทรัพย์เป็นค่าจีวรที่ท่านส่งไป
เจาะจงภิกษุรูปใดไม่ได้อำนวยประโยชน์อะไรแก่ภิกษุรูปนั้นเลย ท่านจงทวง
ทรัพย์ของท่านคืนมา ทรัพย์ของท่านอย่าเสียหายเลย” นี้เป็นการทำที่สมควร
ในเรื่องนั้น

เรื่องพระอุปนันทศากยบุตร จบ

สิกขาบทวิภังค์
[๕๓๙] คำว่า ก็...เจาะจงภิกษุ ได้แก่ เพื่อประโยชน์ของภิกษุ คือ มุ่ง
เฉพาะภิกษุ ปรารถนาจะให้ภิกษุครองจีวร
ที่ชื่อว่า พระราชา ได้แก่ ผู้ครองราชสมบัติ
ที่ชื่อว่า ราชอมาตย์ ได้แก่ ข้าราชการที่พระราชาทรงชุบเลี้ยง
ที่ชื่อว่า พราหมณ์ ได้แก่ พราหมณ์โดยกำเนิด
ที่ชื่อว่า คหบดี ได้แก่ คนที่เหลือ ยกเว้นพระราชา ราชอมาตย์ พราหมณ์
ชื่อว่าคหบดี
ที่ชื่อว่า ทรัพย์เป็นค่าจีวร ได้แก่ เงิน ทอง แก้วมณี แก้วมุกดา (แก้วตาแมว
หรือแก้วผลึก)
คำว่า ทรัพย์เป็นค่าจีวรนี้ คือ ทรัพย์ที่เขาจัดหาไว้เฉพาะ
คำว่า ซื้อ คือ แลกเปลี่ยน
คำว่า นิมนต์ให้ครอง คือ จงถวาย
ถ้าทูตนั้นเข้าไปหาภิกษุรูปนั้นพึงกล่าวว่า “ท่านผู้เจริญ กระผมนำทรัพย์เป็น
ค่าจีวรนี้มาเจาะจงท่าน ท่านจงรับทรัพย์เป็นค่าจีวรนี้เถิด” ภิกษุนั้นพึงกล่าวกับทูต
นั้นอย่างนี้ว่า “พวกอาตมารับทรัพย์เป็นค่าจีวรไม่ได้ รับเฉพาะจีวรที่สมควร
ตามกาล” ถ้าทูตกล่าวกับภิกษุนั้นอย่างนี้ว่า “มีใครผู้เป็นไวยาวัจกรของท่าน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๖๖ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๑.จีรวรรค ๑๐.ราชสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์
บ้างไหม” ภิกษุผู้ต้องการจีวรพึงแสดงคนวัดหรืออุบาสกให้เป็นไวยาวัจกรว่า “ผู้นั้น
เป็นไวยาวัจกรของภิกษุทั้งหลาย” ไม่พึงกล่าวว่า “จงให้แก่ผู้นั้น” หรือว่า “ผู้นั้นจะ
เก็บไว้” หรือ “ผู้นั้นจะแลก” หรือ “ผู้นั้นจักซื้อ”
ถ้าทูตตกลงกับไวยาวัจกรแล้วพึงเข้าไปหาภิกษุกล่าวอย่างนี้ว่า “กระผมตกลง
กับคนที่ท่านแนะว่าเป็นไวยาวัจกรแล้ว ท่านจงไปหาในเวลาอันสมควร เขาจะนิมนต์
ท่านให้ครองจีวร” ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุต้องการจีวรพึงเข้าไปหาไวยาวัจกรแล้วทวง
หรือเตือน ๒-๓ ครั้งว่า “อาตมาต้องการจีวร” ไม่พึงกล่าวกับเขาว่า “ท่านจงให้
จีวรแก่อาตมา นำจีวรมาให้อาตมา แลกจีวรให้อาตมา หรือจงซื้อจีวรให้อาตมา”
แม้ครั้งที่ ๒ ก็พึงกล่าวกับเขา แม้ครั้งที่ ๓ ก็พึงกล่าวกับเขา ถ้าให้เขาจัดการ
สำเร็จได้ นั้นเป็นการดี ถ้าไม่สำเร็จ พึงไปยืนแสดงตนนิ่ง ๆ ในที่นั้น ไม่พึงนั่งบน
อาสนะ ไม่พึงรับอามิส ไม่พึงกล่าวธรรม เมื่อเขาถามว่า “มาธุระอะไร” พึงกล่าว
กับเขาว่า “ท่านจงรู้เองเถิด” ถ้านั่งบนอาสนะ หรือรับอามิส หรือกล่าวธรรม ชื่อว่า
ตัดโอกาส๑ แม้ครั้งที่ ๒ ก็พึงยืน แม้ครั้งที่ ๓ ก็พึงยืน ทวง ๔ ครั้งพึงยืนได้ ๔ ครั้ง
ทวง ๕ ครั้งพึงยืนได้ ๒ ครั้ง ทวง ๖ ครั้งแล้วไม่พึงไปยืน๒ ถ้าเธอพยายามยิ่งกว่านั้น
ให้เขาจัดจีวรสำเร็จ ต้องอาบัติทุกกฏเพราะพยายาม จีวรเป็นนิสสัคคีย์เพราะได้มา
คือเป็นของจำต้องสละแก่สงฆ์ แก่คณะหรือแก่บุคคล
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงสละจีวรที่เป็นนิสสัคคีย์อย่างนี้

วิธีสละจีวรที่เป็นนิสสัคคีย์
สละแก่สงฆ์
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง กราบเท้าภิกษุผู้
แก่พรรษา นั่งกระโหย่งประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านผู้เจริญ จีวรผืนนี้กระผมให้
เขาจัดสำเร็จด้วยอาการทวงเกิน ๓ ครั้ง ยืนเกิน ๖ ครั้ง เป็นนิสสัคคีย์ กระผมสละ
จีวรผืนนี้แก่สงฆ์” ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ

เชิงอรรถ :
๑ ตัดโอกาส คือ ตัดเหตุแห่งการมา (อาคตการณํ ภฺชติ วิ.อ. ๒/๕๓๘-๕๓๙/๑๘๑)
๒ ทวง ๑ ครั้งมีค่าเท่ากับยืน ๒ ครั้ง (วิ.อ. ๒/๕๓๘-๕๓๙/๑๘๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๖๗ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๑.จีรวรรค ๑๐.ราชสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์
ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงรับอาบัติ พึงคืนจีวรที่เธอสละให้ด้วยญัตติกรรมวาจา
ว่า “ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า จีวรผืนนี้ของภิกษุชื่อนี้เป็นนิสสัคคีย์ เธอ
สละแก่สงฆ์ ถ้าสงฆ์พร้อมกันแล้วก็พึงให้จีวรผืนนี้แก่ภิกษุชื่อนี้”

สละแก่คณะ
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุหลายรูป ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง กราบ
เท้าภิกษุผู้แก่พรรษา นั่งกระโหย่งประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านผู้เจริญ จีวรผืน
นี้กระผมให้เขาจัดสำเร็จด้วยอาการทวงเกิน ๓ ครั้ง ยืนเกิน ๖ ครั้ง เป็นนิสสัคคีย์
กระผมสละจีวรผืนนี้แก่ท่านทั้งหลาย” ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ
ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงรับอาบัติ พึงคืนจีวรที่เธอสละให้ด้วยกล่าวว่า “ท่าน
ทั้งหลายจงฟังข้าพเจ้า จีวรผืนนี้ของภิกษุชื่อนี้เป็นนิสสัคคีย์ เธอสละแก่ท่านทั้งหลาย
ถ้าท่านทั้งหลายพร้อมกันแล้วก็พึงให้จีวรผืนนี้แก่ภิกษุชื่อนี้”

สละแก่บุคคล
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุรูปหนึ่ง ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง นั่งกระโหย่ง
ประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านขอรับ จีวรผืนนี้กระผมให้เขาจัดสำเร็จด้วยอาการ
ทวงเกิน ๓ ครั้ง ยืนเกิน ๖ ครั้ง เป็นนิสสัคคีย์ กระผมสละจีวรผืนนี้แก่ท่าน” ครั้น
สละแล้วพึงแสดงอาบัติ
ภิกษุผู้รับสละนั้นพึงรับอาบัติแล้วคืนจีวรที่เธอสละให้ด้วยกล่าวว่า “กระผมคืน
จีวรผืนนี้ให้แก่ท่าน”
ถ้าทำไม่สำเร็จ พึงไปเองหรือส่งทูตไปในสำนักที่เขาส่งทรัพย์เป็นค่าจีวรมา
กล่าวว่า “ทรัพย์ที่ท่านส่งไปเจาะจงภิกษุรูปใด ไม่ได้อำนวยประโยชน์อะไรแก่ภิกษุ
รูปนั้นเลย ท่านจงทวงทรัพย์ของท่านคืนมา ทรัพย์ของท่านอย่าฉิบหายเลย”
คำว่า นี้เป็นการทำที่สมควรในเรื่องนั้น คือ นี้เป็นความถูกต้องในเรื่องนั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๖๘ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๑.จีรวรรค ๑๐.ราชสิกขาบท อนาปัตติวาร
บทภาชนีย์
ติกนิสสัคคิยปาจิตตีย์
[๕๔๐] ทวงเกิน ๓ ครั้ง ยืนเกิน ๖ ครั้ง ภิกษุสำคัญว่าเกิน ให้เขาจัดจีวร
สำเร็จ ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
ทวงเกิน ๓ ครั้ง ยืนเกิน ๖ ครั้ง ภิกษุไม่แน่ใจ ให้เขาจัดจีวรสำเร็จ ต้องอาบัติ
นิสสัคคิยปาจิตตีย์
ทวงเกิน ๓ ครั้ง ยืนเกิน ๖ ครั้ง ภิกษุสำคัญว่าหย่อนกว่า ให้เขาจัดจีวรสำเร็จ
ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์

ทุกทุกกฏ
ทวงหย่อนกว่า ๓ ครั้ง ยืนหย่อนกว่า ๖ ครั้ง ภิกษุสำคัญว่าเกิน ต้องอาบัติ
ทุกกฏ
ทวงหย่อนกว่า ๓ ครั้ง ยืนหย่อนกว่า ๖ ครั้ง ภิกษุไม่แน่ใจ ต้องอาบัติทุกกฏ
ทวงหย่อนกว่า ๓ ครั้ง ยืนหย่อนกว่า ๖ ครั้ง ภิกษุสำคัญว่าหย่อนกว่า ไม่
ต้องอาบัติ

อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[๕๔๑] ๑. ภิกษุทวง ๓ ครั้ง ยืน ๖ ครั้ง
๒. ภิกษุทวงหย่อนกว่า ๓ ครั้ง ยืนหย่อนกว่า ๖ ครั้ง
๓. ภิกษุไม่ได้ทวง ไวยาวัจกรจัดถวายเอง
๔. ภิกษุรับจีวรที่เจ้าของทวงมาถวาย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๖๙ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๒.โกสิยวรรค ๑๐.ราชสิกขาบท รวมสิกขาบทที่มีในจีวรวรรค
๕. ภิกษุวิกลจริต
๖. ภิกษุต้นบัญญัติ

ราชสิกขาบทที่ ๑๐ จบ
จีวรวรรคที่ ๑ จบ

รวมสิกขาบทที่มีในจีวรวรรค
จีวรวรรคมี ๑๐ สิกขาบท คือ

๑. ปฐมกฐินสิกขาบท ว่าด้วยกฐินเดาะข้อที่ ๑
๒. อุทโทสิตสิกขาบท ว่าด้วยภิกษุเก็บจีวรไว้ในโรงเก็บของ
(ว่าด้วยกฐินเดาะข้อที่ ๒)
๓. ตติยกฐินสิกขาบท ว่าด้วยกฐินเดาะข้อที่ ๓
๔. ปุราณจีวรสิกขาบท ว่าด้วยการให้ซักจีวรเก่า
๕. จีวรปฏิคคหณสิกขาบท ว่าด้วยการรับจีวร
๖. อัญญาตกวิญญัตติสิกขาบท ว่าด้วยการออกปากขอคฤหัสถ์ผู้ไม่ใช่ญาติ
๗. ตตุตตริสิกขาบท ว่าด้วยการออกปากขอจีวรเกิน
๘. อุปักขฏสิกขาบท ว่าด้วยคนตระเตรียมทรัพย์เป็นค่าจีวร
๙. ทุติยอุปักขฏสิกขาบท ว่าด้วยคนตระเตรียมทรัพย์เป็นค่าจีวรข้อ
ที่ ๒
๑๐. ราชสิกขาบท ว่าด้วยทรัพย์เป็นค่าจีวรที่พระราชาเป็นต้น
ให้ทูตนำมาถวาย


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๗๐ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๒.โกสิยวรรค ๑.โกสิยสิกขาบท นิทานวัตถุ
๒. โกสิยวรรค
หมวดว่าด้วยสันถัตใยไหม

๑. โกสิยสิกขาบท
ว่าด้วยการทำสันถัตใยไหม

เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๕๔๒] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ อัคคาฬวเจดีย์ เขต
เมืองอาฬวี ครั้งนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์เข้าไปหาพวกช่างทอผ้าไหมแล้วกล่าวอย่าง
นี้ว่า “ท่านทั้งหลาย พวกท่านจงต้มตัวไหมจำนวนมากให้แก่พวกอาตมาบ้าง พวก
อาตมาต้องการจะทำสันถัตผสมใยไหม” พวกช่างทอผ้าไหมจึงพากันตำหนิ ประณาม
โพนทะนาว่า “ไฉนพระสมณะเชื้อสายศากยบุตรเข้ามาหาพวกเราแล้วกล่าวอย่างนี้ว่า
‘ท่านทั้งหลาย พวกท่านจงต้มตัวไหมจำนวนมากให้แก่อาตมาบ้าง พวกอาตมา
ต้องการจะทำสันถัตผสมใยไหม’ ดังนี้เล่า อนึ่ง ไม่ใช่ลาภของพวกเรา พวกเราได้ไม่
ดีที่ต้องฆ่าสัตว์เล็กสัตว์น้อยเป็นจำนวนมาก เพราะการครองชีพ เพราะต้องเลี้ยงดู
บุตรภรรยา”
ภิกษุได้ยินพวกช่างทอผ้าไหมตำหนิ ประณาม โพนทะนา บรรดาภิกษุผู้มักน้อย
ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพวกภิกษุฉัพพัคคีย์จึงเข้าไปหาช่าง
ทอผ้าไหมแล้วกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ท่านทั้งหลาย พวกท่านจงต้มตัวไหมจำนวนมากให้
แก่พวกอาตมาบ้าง พวกอาตมาต้องการจะทำสันถัตผสมใยไหม’ ดังนี้เล่า” ครั้น
ภิกษุเหล่านั้นตำหนิพวกภิกษุฉัพพัคคีย์โดยประการต่าง ๆ แล้วจึงนำเรื่องนี้ไปกราบ
ทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ

ทรงประฃุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามพวกภิกษุฉัพพัคคีย์ว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่าพวกเธอเข้าไปหาช่างทอผ้า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๗๑ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๒.โกสิยวรรค ๑.โกสิยสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์
ไหมแล้วกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ท่านทั้งหลาย พวกท่านจงต้มตัวไหมจำนวนมากให้แก่พวก
อาตมาบ้าง พวกอาตมาต้องการจะทำสันถัตผสมใยไหม’ ดังนี้ จริงหรือ” พวก
ภิกษุฉัพพัคคีย์ทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า
“ฯลฯ โมฆบุรุษทั้งหลาย ไฉนพวกเธอจึงเข้าไปหาช่างทอผ้าไหมแล้วกล่าวอย่างนี้ว่า
‘ท่านทั้งหลาย พวกท่านจงต้มตัวไหมจำนวนมากให้แก่พวกอาตมาบ้าง พวกอาตมา
ต้องการจะทำสันถัตผสมใยไหม’ ดังนี้ โมฆบุรุษทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำ
คนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ”
แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้

พระบัญญัติ
[๕๔๓] ก็ ภิกษุใดใช้ให้ทำสันถัตผสมใยไหม ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ

สิกขาบทวิภังค์
[๕๔๔] คำว่า ก็...ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ก็...ใด
คำว่า ภิกษุ มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุ เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระ
ภาคทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุ ในความหมายนี้
ที่ชื่อว่า สันถัต ได้แก่ ผ้ารองนั่งที่หล่อ ไม่ใช่ทอ๑
คำว่า ใช้ให้ทำ ความว่า ภิกษุทำเองหรือใช้ให้ทำ แซมด้วยเส้นไหมแม้เส้น
เดียว ต้องอาบัติทุกกฏเพราะพยายาม สันถัตเป็นนิสสัคคีย์เพราะได้มา คือเป็นของ
จำต้องสละแก่สงฆ์ แก่คณะหรือแก่บุคคล
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงสละสันถัตที่เป็นนิสสัคคีย์อย่างนี้

เชิงอรรถ :
๑ วิธีหล่อสันถัต ใช้ยางเหนียวเช่นน้ำข้าวเทลงบนพื้นที่เรียบแล้วเอาขนโปรยลาดลงบนยางเหนียว (วิ.อ.
๒/๕๔๒/๑๙๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๗๒ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๒.โกสิยวรรค ๑.โกสิยสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์
วิธีสละสันถัตที่เป็นนิสสัคคีย์
สละแก่สงฆ์
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง กราบเท้าภิกษุผู้
แก่พรรษา นั่งกระโหย่งประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านผู้เจริญ สันถัตผสมใยไหม
ผืนนี้กระผมใช้ให้ทำ เป็นนิสสัคคีย์ กระผมสละสันถัตนี้แก่สงฆ์” ครั้นสละแล้วพึง
แสดงอาบัติ
ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงรับอาบัติ พึงคืนสันถัตที่เธอสละให้ด้วยญัตติกรรม
วาจาว่า “ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า สันถัตผืนนี้ของภิกษุชื่อนี้เป็นนิสสัคคีย์
เธอสละแก่สงฆ์ ถ้าสงฆ์พร้อมกันแล้วก็พึงให้สันถัตผืนนี้แก่ภิกษุชื่อนี้”

สละแก่คณะ
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุหลายรูป ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง กราบ
เท้าภิกษุผู้แก่พรรษา นั่งกระโหย่งประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านผู้เจริญ สันถัต
ผสมใยไหมผืนนี้กระผมใช้ให้ทำ เป็นนิสสัคคีย์ กระผมสละสันถัตผืนนี้แก่ท่าน
ทั้งหลาย” ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ
ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงรับอาบัติ พึงคืนสันถัตที่เธอสละให้ด้วยกล่าวว่า “ท่าน
ทั้งหลายจงฟังข้าพเจ้า สันถัตผืนนี้ของภิกษุชื่อนี้เป็นนิสสัคคีย์ เธอสละแก่ท่าน
ทั้งหลาย ถ้าท่านทั้งหลายพร้อมกันแล้วก็พึงให้สันถัตผืนนี้แก่ภิกษุชื่อนี้”

สละแก่บุคคล
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุรูปหนึ่ง ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง นั่ง
กระโหย่งประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านขอรับ สันถัตผืนนี้กระผมใช้ให้ทำ
เป็นนิสสัคคีย์ กระผมสละสันถัตผืนนี้แก่ท่าน” ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ
ภิกษุผู้รับสละนั้นพึงรับอาบัติแล้วคืนสันถัตที่เธอสละให้ด้วยกล่าวว่า “กระผม
คืนสันถัตผืนนี้ให้แก่ท่าน”


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๗๓ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๒.โกสิยวรรค ๑.โกสิยสิกขาบท อนาปัตติวาร
บทภาชนีย์
นิสสัคคิยปาจิตตีย์
[๕๔๕] ภิกษุทำสันถัตที่ตนทำค้างไว้จนสำเร็จด้วยตนเอง ต้องอาบัตินิสสัคคิย
ปาจิตตีย์
ภิกษุใช้ผู้อื่นให้ทำสันถัตที่ตนทำค้างไว้จนสำเร็จ ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
ภิกษุทำสันถัตที่ผู้อื่นทำค้างไว้จนสำเร็จ ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
ภิกษุใช้ผู้อื่นให้ทำสันถัตที่ผู้อื่นทำค้างไว้จนสำเร็จ ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์

ทุกทุกกฏ
ภิกษุทำเองหรือใช้ผู้อื่นให้ทำ เพื่อประโยชน์แก่ผู้อื่น ต้องอาบัติทุกกฏ
ภิกษุได้สันถัตที่ผู้อื่นทำไว้มาใช้สอย ต้องอาบัติทุกกฏ

อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[๕๔๖] ๑. ภิกษุทำเป็นเพดาน เครื่องลาดพื้น ม่าน เปลือกฟูก หรือ
ปลอกหมอน
๒. ภิกษุวิกลจริต
๓. ภิกษุต้นบัญญัติ

โกสิยสิกขาบทที่ ๑ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๗๔ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๒.โกสิยวรรค ๒.สุทธกาฬกสิกขาบท นิทานวัตถุ
๒. โกสิยวรรค

๒. สุทธกาฬกสิกขาบท
ว่าด้วยการทำสันถัตโดยใช้ขนเจียมดำล้วน

เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๕๔๗] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ กูฏาคารศาลา
ป่ามหาวัน เขตกรุงเวสาลี ครั้งนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ใช้ให้ทำสันถัตขนเจียมดำล้วน๑
พวกชาวบ้านเที่ยวไปตามวิหารเห็นเข้าจึงพากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉน
พระสมณะเชื้อสายศากยบุตร จึงใช้ให้ทำสันถัตขนเจียมดำล้วนเหมือนคฤหัสถ์ที่ยัง
บริโภคกามเล่า”
ภิกษุทั้งหลายได้ยินพวกชาวบ้านตำหนิ ประณาม โพนทะนา บรรดาภิกษุผู้
มักน้อย ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพวกภิกษุฉัพพัคคีย์จึง
ใช้ให้ทำสันถัตขนเจียมดำล้วนเล่า” ครั้นภิกษุเหล่านั้นตำหนิพวกภิกษุฉัพพัคคีย์โดย
ประการต่าง ๆ แล้วจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ

ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามพวกภิกษุฉัพพัคคีย์ว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า พวกเธอใช้ให้ทำสันถัต
ขนเจียมดำล้วน จริงหรือ” พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระ
ผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ฯลฯ โมฆบุรุษทั้งหลาย ไฉนพวกเธอจึงใช้ให้ทำ
สันถัตขนเจียมดำล้วนเล่า โมฆบุรุษทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่
เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ” แล้ว
จึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้

เชิงอรรถ :
๑ คำว่า “ขนเจียม” ในที่นี้คือขนแพะหรือขนแกะ (เอฬกโลม)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๗๕ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๒.โกสิยวรรค ๒.สุทธกาฬกสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์
พระบัญญัติ
[๕๔๘] ก็ ภิกษุใดใช้ให้ทำสันถัตขนเจียมดำล้วน ต้องอาบัตินิสสัคคิย
ปาจิตตีย์
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ

สิกขาบทวิภังค์
[๕๔๙] คำว่า ก็...ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ก็...ใด
คำว่า ภิกษุ มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุ เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มี
พระภาคทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุ ในความหมายนี้
ที่ชื่อว่า สีดำ มี ๒ ชนิด คือ ดำตามธรรมชาติ หรือดำเพราะย้อม
ที่ชื่อว่า สันถัต ได้แก่ ผ้ารองนั่งที่หล่อ ไม่ใช่ทอ
คำว่า ใช้ให้ทำ ความว่า ภิกษุทำเองหรือใช้ให้ทำ ต้องอาบัติทุกกฏเพราะ
พยายาม สันถัตเป็นนิสสัคคีย์เพราะได้มา คือเป็นของจำต้องสละแก่สงฆ์ แก่คณะ
หรือแก่บุคคล
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงสละสันถัตที่เป็นนิสสัคคีย์อย่างนี้

วิธีสละสันถัตที่เป็นนิสสัคคีย์
สละแก่สงฆ์
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง กราบเท้าภิกษุผู้
แก่พรรษา นั่งกระโหย่งประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านผู้เจริญ สันถัตขนเจียม
ดำล้วนผืนนี้กระผมใช้ให้ทำ เป็นนิสสัคคีย์ กระผมสละสันถัตขนเจียมดำล้วนผืนนี้
แก่สงฆ์” ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ
ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงรับอาบัติ พึงคืนสันถัตที่เธอสละให้ด้วยญัตติกรรม
วาจาว่า “ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า สันถัตขนเจียมดำล้วนผืนนี้ของภิกษุชื่อ
นี้เป็นนิสสัคคีย์ เธอสละแก่สงฆ์ ถ้าสงฆ์พร้อมกันแล้วก็พึงให้สันถัตขนเจียมดำล้วน
ผืนนี้แก่ภิกษุชื่อนี้”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๗๖ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๒.โกสิยวรรค ๒.สุทธกาฬกสิกขาบท บทภาชนีย์
สละแก่คณะ
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุหลายรูป ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง กราบ
เท้าภิกษุผู้แก่พรรษา นั่งกระโหย่งประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านผู้เจริญ สันถัต
ขนเจียมดำล้วนผืนนี้กระผมใช้ให้ทำ เป็นนิสสัคคีย์ กระผมสละสันถัตขนเจียมดำ
ล้วนผืนนี้แก่ท่านทั้งหลาย” ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ
ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงรับอาบัติ พึงคืนสันถัตที่เธอสละให้ด้วยกล่าวว่า
“ท่านทั้งหลายจงฟังข้าพเจ้า สันถัตขนเจียมดำล้วนผืนนี้ของภิกษุชื่อนี้เป็นนิสสัคคีย์
เธอสละแก่ท่านทั้งหลาย ถ้าท่านทั้งหลายพร้อมกันแล้วก็พึงให้สันถัตขนเจียมดำล้วน
ผืนนี้แก่ภิกษุชื่อนี้”

สละแก่บุคคล
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุรูปหนึ่ง ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง นั่ง
กระโหย่งประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านขอรับ สันถัตขนเจียมดำล้วนผืนนี้
กระผมใช้ให้ทำ เป็นนิสสัคคีย์ กระผมสละสันถัตขนเจียมดำล้วนผืนนี้แก่ท่าน” ครั้น
สละแล้วพึงแสดงอาบัติ
ภิกษุผู้รับสละนั้นพึงรับอาบัติแล้วคืนสันถัตที่เธอสละให้ด้วยกล่าวว่า “กระผม
คืนสันถัตผืนนี้ให้แก่ท่าน”

บทภาชนีย์
นิสสัคคิยปาจิตตีย์
[๕๕๐] ภิกษุทำสันถัตที่ตนทำค้างไว้จนสำเร็จด้วยตนเอง ต้องอาบัตินิสสัคคิย
ปาจิตตีย์
ภิกษุใช้ผู้อื่นให้ทำสันถัตที่ตนทำค้างไว้จนสำเร็จ ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
ภิกษุทำสันถัตที่ผู้อื่นทำค้างไว้จนสำเร็จ ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
ภิกษุใช้ผู้อื่นให้ทำสันถัตที่ผู้อื่นทำค้างไว้จนสำเร็จ ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๗๗ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๒.โกสิยวรรค ๒.สุทธกาฬกสิกขาบท อนาปัตติวาร
ทุกทุกกฏ
ภิกษุทำเองหรือใช้ผู้อื่นให้ทำ เพื่อประโยชน์แก่ผู้อื่น ต้องอาบัติทุกกฏ
ภิกษุได้สันถัตที่ผู้อื่นทำไว้แล้ว ใช้สอย ต้องอาบัติทุกกฏ

อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[๕๕๑] ๑. ภิกษุทำเป็นเพดาน เครื่องลาดพื้น ม่าน เปลือกฟูก หรือ
ปลอกหมอน
๒. ภิกษุวิกลจริต
๓. ภิกษุต้นบัญญัติ

สุทธกาฬกสิกขาบทที่ ๒ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๗๘ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๒.โกสิยวรรค ๓.เทฺวภาคสิกขาบท นิทานวัตถุ
๒. โกสิยวรรค

๓. เทฺวภาคสิกขาบท
ว่าด้วยการทำสันถัตโดยใช้ขนเจียมดำ ๒ ส่วน

เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๕๕๒] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ทราบว่า “พระ
ผู้มีพระภาคทรงห้ามการทำสันถัตขนเจียมดำล้วน” จึงให้เอาขนเจียมขาวหน่อยหนึ่ง
ปนไว้ที่ชายสันถัต แล้วทำสันถัตขนเจียมดำล้วนอย่างเดิมนั่นแหละ
บรรดาภิกษุผู้มักน้อย ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉน
พวกภิกษุฉัพพัคคีย์จึงให้เอาขนเจียมขาวหน่อยหนึ่งปนไว้ที่ชายสันถัต แล้วทำสันถัต
ขนเจียมดำล้วนอย่างเดิมเล่า” ครั้นภิกษุเหล่านั้นตำหนิพวกภิกษุฉัพพัคคีย์โดย
ประการต่าง ๆ แล้วจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ

ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามพวกภิกษุฉัพพัคคีย์ว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า พวกเธอให้เอาขนเจียม
ขาวหน่อยหนึ่งปนไว้ที่ชายสันถัต แล้วทำสันถัตขนเจียมดำล้วนอย่างเดิม จริงหรือ”
พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรง
ตำหนิว่า “ฯลฯ โมฆบุรุษทั้งหลาย ไฉนพวกเธอจึงให้เอาขนเจียมขาวหน่อยหนึ่งปน
ไว้ที่ชายสันถัต แล้วทำสันถัตขนเจียมดำล้วนอย่างเดิมเล่า โมฆบุรุษทั้งหลาย การ
กระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้
เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๗๙ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๒.โกสิยวรรค ๓.เทฺวภาคสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์
พระบัญญัติ
[๕๕๓] ก็ ภิกษุผู้ใช้ให้ทำสันถัตใหม่ พึงเอาขนเจียมดำล้วน ๒ ส่วน ขน
เจียมขาวเป็นส่วนที่ ๓ ขนเจียมแดงเป็นส่วนที่ ๔ ถ้าเธอไม่เอาขนเจียมดำล้วน
๒ ส่วน ขนเจียมขาวเป็นส่วนที่ ๓ ขนเจียมแดงเป็นส่วนที่ ๔ แล้วให้ทำสันถัต
ใหม่ ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ

สิกขาบทวิภังค์
[๕๕๔] ที่ชื่อว่า ใหม่ พระองค์ตรัสมุ่งเอาการกระทำ
ที่ชื่อว่า สันถัต ได้แก่ ผ้ารองนั่งที่หล่อ ไม่ใช่ทอ
คำว่า ผู้ใช้ให้ทำ คือ ผู้ทำเองหรือใช้ให้ทำ
คำว่า เอาขนเจียมดำล้วน ๒ ส่วน ความว่า ชั่งแล้วเอาขนเจียมดำล้วน ๒ ชั่ง
คำว่า ขนเจียมขาวเป็นส่วนที่ ๓ คือ ขนเจียมขาว ๑ ชั่ง
คำว่า ขนเจียมแดงเป็นส่วนที่ ๔ คือ ขนเจียมแดง ๑ ชั่ง
คำว่า ถ้าเธอไม่เอาขนเจียมดำล้วน ๒ ส่วน ขนเจียมขาวเป็นส่วนที่ ๓ ขน
เจียมแดงเป็นส่วนที่ ๔ ความว่า ไม่เอาขนเจียมดำล้วน ๒ ชั่ง ขนเจียมขาว ๑ ชั่ง
ขนเจียมแดง ๑ ชั่ง ทำเองหรือใช้ให้ทำสันถัตใหม่ ต้องอาบัติทุกกฏเพราะพยายาม
สันถัตเป็นนิสสัคคีย์เพราะได้มา คือเป็นของจำต้องสละแก่สงฆ์ แก่คณะหรือแก่บุคคล
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงสละสันถัตที่เป็นนิสสัคคีย์อย่างนี้

วิธีสละสันถัตที่เป็นนิสสัคคีย์
สละแก่สงฆ์
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง กราบเท้าภิกษุ
ผู้แก่พรรษา นั่งกระโหย่งประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านผู้เจริญ สันถัตผืนนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๘๐ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๒.โกสิยวรรค ๓.เทฺวภาคสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์
กระผมไม่ได้เอาขนเจียมดำล้วน ๒ ชั่ง ขนเจียมขาว ๑ ชั่ง ขนเจียมแดง ๑ ชั่ง ใช้ให้
ทำ เป็นนิสสัคคีย์ กระผมสละสันถัตผืนนี้แก่สงฆ์” ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ
ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงรับอาบัติ พึงคืนสันถัตที่เธอสละให้ด้วยญัตติกรรมวาจา
ว่า “ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า สันถัตผืนนี้ของภิกษุชื่อนี้เป็นนิสสัคคีย์ เธอ
สละแก่สงฆ์ถ้าสงฆ์พร้อมกันแล้วก็พึงให้สันถัตผืนนี้แก่ภิกษุชื่อนี้”

สละแก่คณะ
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุหลายรูป ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง กราบ
เท้าภิกษุผู้แก่พรรษา นั่งกระโหย่งประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านผู้เจริญ สันถัต
ผืนนี้กระผมไม่ได้เอาขนเจียมดำล้วน ๒ ชั่ง ขนเจียมขาว ๑ ชั่ง ขนเจียมแดง ๑ ชั่ง
ใช้ให้ทำ เป็นนิสสัคคีย์ กระผมสละสันถัตผืนนี้แก่ท่านทั้งหลาย” ครั้นสละแล้ว
พึงแสดงอาบัติ
ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงรับอาบัติ พึงคืนสันถัตที่เธอสละให้ด้วยกล่าวว่า “ท่าน
ทั้งหลายจงฟังข้าพเจ้า สันถัตผืนนี้ของภิกษุชื่อนี้เป็นนิสสัคคีย์ เธอสละแก่ท่าน
ทั้งหลาย ถ้าท่านทั้งหลายพร้อมกันแล้วก็พึงให้สันถัตผืนนี้แก่ภิกษุชื่อนี้”

สละแก่บุคคล
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุรูปหนึ่ง ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง นั่ง
กระโหย่งประนมมือ กล่าวว่า “ท่านขอรับ สันถัตผืนนี้กระผมไม่ได้เอาขนเจียมดำ
ล้วน ๒ ชั่ง ขนเจียมขาว ๑ ชั่ง ขนเจียมแดง ๑ ชั่ง ใช้ให้ทำ เป็นนิสสัคคีย์
กระผมสละสันถัตผืนนี้แก่ท่าน” ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ
ภิกษุผู้รับสละนั้นพึงรับอาบัติแล้วคืนสันถัตที่เธอสละให้ด้วยกล่าวว่า “กระผม
คืนสันถัตผืนนี้ให้แก่ท่าน”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๘๑ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๒.โกสิยวรรค ๓.เทฺวภาคสิกขาบท อนาปัตติวาร
บทภาชนีย์
นิสสัคคิยปาจิตตีย์
[๕๕๕] ภิกษุทำสันถัตที่ตนทำค้างไว้จนสำเร็จด้วยตนเอง ต้องอาบัตินิสสัคคิย
ปาจิตตีย์
ภิกษุใช้ผู้อื่นให้ทำสันถัตที่ตนทำค้างไว้จนสำเร็จ ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
ภิกษุทำสันถัตที่ผู้อื่นทำค้างไว้จนสำเร็จ ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
ภิกษุใช้ผู้อื่นให้ทำสันถัตที่ผู้อื่นทำค้างไว้จนสำเร็จ ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์

ทุกทุกกฏ
ภิกษุทำเองหรือใช้ผู้อื่นให้ทำ เพื่อประโยชน์แก่ผู้อื่น ต้องอาบัติทุกกฏ
ภิกษุได้สันถัตที่ผู้อื่นทำไว้ ใช้สอย ต้องอาบัติทุกกฏ

อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[๕๕๖] ๑. ภิกษุเอาขนเจียมขาว ๑ ชั่ง ขนเจียมแดง ๑ ชั่ง ปนแล้วทำ
๒. ภิกษุเอาขนเจียมขาวมากกว่า ขนเจียมแดงมากกว่า ปนแล้วทำ
๓. ภิกษุเอาขนเจียมขาวล้วน ขนเจียมแดงล้วน ปนแล้วทำ
๔. ภิกษุทำเป็นเพดาน เครื่องลาดพื้น ม่าน เปลือกฟูก หรือ
ปลอกหมอน
๕. ภิกษุวิกลจริต
๖. ภิกษุต้นบัญญัติ

เทฺวภาคสิกขาบทที่ ๓ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๘๒ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๒.โกสิยวรรค ๔.ฉัพพัสสสิกขาบท นิทานวัตถุ
๒. โกสิยวรรค

๔. ฉัพพัสสสิกขาบท
ว่าด้วยการเก็บสันถัตไว้ ๖ ปี

เรื่องภิกษุหลายรูป
[๕๕๗] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุทั้งหลายใช้ให้ทำสันถัตทุก ๆ
ปี ภิกษุเหล่านั้นเป็นผู้มากไปด้วยการขอว่า “ท่านทั้งหลายจงให้ขนเจียม พวก
อาตมาต้องการขนเจียม”
พวกชาวบ้านพากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพระสมณะเชื้อสาย
ศากยบุตรจึงใช้ให้ทำสันถัตทุก ๆ ปี เป็นผู้มากไปด้วยการขอ เป็นผู้มากไปด้วยการ
ออกปากขอด้วยกล่าวว่า ‘ท่านทั้งหลายจงให้ขนเจียม พวกอาตมาต้องการขนเจียม’
ดังนี้เล่า สันถัตของพวกเราที่ทำครั้งเดียว ถูกเด็กถ่ายอุจจาระรดบ้าง ปัสสาวะรด
บ้าง หนูกัดเสียบ้าง ก็ยังใช้สอยได้ถึง ๕ ปีบ้าง ๖ ปีบ้าง แต่ภิกษุเหล่านี้ใช้ให้ทำ
สันถัตทุก ๆ ปี เป็นผู้มากไปด้วยการขอ เป็นผู้มากไปด้วยการออกปากขอด้วยกล่าว
ว่า ‘ท่านทั้งหลายจงให้ขนเจียม พวกอาตมาต้องการขนเจียม”
ภิกษุทั้งหลายได้ยินพวกชาวบ้านตำหนิ ประณาม โพนทะนา บรรดาภิกษุผู้
มักน้อย ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนภิกษุทั้งหลายจึงใช้ให้
ทำสันถัตทุก ๆ ปี เป็นผู้มากไปด้วยการขอ เป็นผู้มากไปด้วยการออกปากขอด้วย
กล่าวว่า ‘ท่านทั้งหลายจงให้ขนเจียม พวกอาตมาต้องการขนเจียม’ ดังนี้เล่า” ครั้น
ภิกษุทั้งหลายตำหนิภิกษุเหล่านั้นโดยประการต่าง ๆ แล้วจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูล
พระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ

ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามภิกษุเหล่านั้นว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า พวกเธอใช้ให้ทำสันถัตทุก ๆ ปี


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๘๓ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๒.โกสิยวรรค ๔.ฉัพพัสสสิกขาบท พระบัญญัติ
เป็นผู้มากไปด้วยการขอ เป็นผู้มากไปด้วยการออกปากขอด้วยกล่าวว่า ‘ท่าน
ทั้งหลายจงให้ขนเจียม พวกอาตมาต้องการขนเจียม’ ดังนี้ จริงหรือ” ภิกษุเหล่านั้น
ทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคพระพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย ไฉนโมฆบุรุษเหล่านั้นจึงใช้ให้ทำสันถัตทุก ๆ ปี เป็นผู้มากไปด้วยการ
ขอ เป็นผู้มากไปด้วยการออกปากขอด้วยกล่าวว่า ‘ท่านทั้งหลายจงให้ขนเจียม พวก
อาตมาต้องการขนเจียม’ ดังนี้เล่า ภิกษุทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยัง
ไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ”
แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้

พระบัญญัติ
[๕๕๘] ก็ ภิกษุใช้ให้ทำสันถัตใหม่แล้วพึงใช้สอยให้ได้ ๖ ปี ถ้าต่ำกว่า
๖ ปี เธอจะสละหรือไม่สละสันถัตนั้นก็ตาม ใช้ให้ทำสันถัตอื่นใหม่ ต้องอาบัติ
นิสสัคคิยปาจิตตีย์
สิกขาบทนี้พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติไว้แก่ภิกษุทั้งหลายอย่างนี้
เรื่องภิกษุหลายรูป จบ

เรื่องภิกษุเป็นไข้
[๕๕๙] สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งเป็นไข้อยู่กรุงโกสัมพี พวกญาติส่งทูตไปสำนัก
ของภิกษุนั้น ให้แจ้งข่าวว่า “นิมนต์พระคุณท่านมาเถิด พวกเราจักอุปัฏฐาก” ภิกษุ
ทั้งหลายกล่าวอย่างนี้ว่า “ไปเถิด ท่าน พวกญาติจะอุปัฏฐากท่านเอง”
ภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติสิกขาบท
ไว้ว่า ‘ภิกษุใช้ให้ทำสันถัตใหม่แล้วพึงใช้สอยให้ได้ ๖ ปี’ กระผมก็เป็นไข้อยู่ ไม่
สามารถนำสันถัตไปได้ ถ้าขาดสันถัตเสียแล้วกระผมจะไม่ผาสุก กระผมจะไม่ไป”
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๘๔ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๒.โกสิยวรรค ๔.ฉัพพัสสสิกขาบท พระอนุบัญญัติ
ทรงอนุญาตให้สมมติสันถัต
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมีกถาเพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ รับสั่ง
กับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้สมมติสันถัตเพื่อภิกษุผู้เป็นไข้
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงให้สมมติสันถัตอย่างนี้”

วิธีสมมติสันถัต
ภิกษุผู้เป็นไข้รูปนั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง กราบ
เท้าภิกษุผู้แก่พรรษา นั่งกระโหย่งประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า ‘ท่านผู้เจริญ กระผม
เป็นไข้ไม่สามารถนำสันถัตติดตัวไปได้ กระผมขอสมมติสันถัตกะสงฆ์’ พึงขอสมมติ
สันถัตแม้ครั้งที่ ๒ พึงขอสมมติสันถัตแม้ครั้งที่ ๓
ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติทุติยกรรมวาจาว่า
[๕๖๐] ‘ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุชื่อนี้เป็นไข้ไม่สามารถนำ
สันถัตติดตัวไปได้ ภิกษุนั้นขอสมมติสันถัตจากสงฆ์ ถ้าสงฆ์พร้อมแล้วก็พึงให้
สมมติสันถัตแก่ภิกษุชื่อนี้ นี่เป็นญัตติ
ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุชื่อนี้เป็นไข้ไม่สามารถนำสันถัตติดตัวไป
ได้ ภิกษุนั้นขอสมมติสันถัตจากสงฆ์ ถ้าสงฆ์พร้อมแล้วก็พึงให้สมมติสันถัตแก่ภิกษุ
ชื่อนี้ ท่านรูปใดเห็นด้วยกับการให้สมมติสันถัตแก่ภิกษุชื่อนี้ ท่านรูปนั้นพึงนิ่ง ท่าน
รูปใดไม่เห็นด้วย ท่านรูปนั้นพึงทักท้วง
การสมมติสันถัตสงฆ์ให้แล้วแก่ภิกษุชื่อนี้ สงฆ์เห็นด้วย เพราะฉะนั้นจึงนิ่ง
ข้าพเจ้าจะขอถือความนิ่งนั้นเป็นมติอย่างนี้”
แล้วรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้

พระอนุบัญญัติ
[๕๖๑] อนึ่ง ภิกษุใช้ให้ทำสันถัตใหม่แล้วพึงใช้สอยให้ได้ ๖ ปี ถ้าต่ำกว่า
๖ ปี เธอจะสละหรือไม่สละสันถัตนั้นก็ตาม ใช้ให้ทำสันถัตอื่นใหม่ ต้องอาบัติ
นิสสัคคิยปาจิตตีย์ เว้นไว้แต่ภิกษุผู้ได้สมมติ

เรื่องภิกษุเป็นไข้ จบ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๘๕ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๒.โกสิยวรรค ๔.ฉัพพัสสสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์
สิกขาบทวิภังค์
[๕๖๒] ที่ชื่อว่า ใหม่ พระองค์ตรัสมุ่งเอาการกระทำ
ที่ชื่อว่า สันถัต ได้แก่ ผ้ารองนั่งที่หล่อ ไม่ใช่ทอ
คำว่า ใช้ให้ทำแล้ว คือ ทำเองหรือใช้ให้ทำแล้ว
คำว่า พึงใช้สอยให้ได้ ๖ ปี คือ พึงใช้สอยให้ได้ ๖ ปีเป็นอย่างน้อย
คำว่า ถ้าต่ำกว่า ๖ ปี คือ หย่อนกว่า ๖ ปี
คำว่า สละสันถัตนั้น คือ ให้แก่ผู้อื่น
คำว่า ไม่สละ คือ ยังไม่ให้แก่ผู้อื่น
คำว่า เว้นไว้แต่ภิกษุผู้ได้สมมติ คือ ยกเว้นภิกษุผู้ได้รับสมมติ
ภิกษุทำเองหรือใช้ให้ทำสันถัตใหม่ ต้องอาบัติทุกกฏเพราะพยายาม สันถัต
เป็นนิสสัคคีย์เพราะได้มา คือเป็นของจำต้องสละแก่สงฆ์ แก่คณะหรือแก่บุคคล
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงสละสันถัตที่เป็นนิสสัคคีย์อย่างนี้

วิธีสละสันถัตที่เป็นนิสสัคคีย์
สละแก่สงฆ์
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง กราบเท้าภิกษุผู้
แก่พรรษา นั่งกระโหย่งประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านผู้เจริญ สันถัตผืนนี้ของ
กระผมใช้ให้ทำ หย่อนกว่า ๖ ปี เป็นนิสสัคคีย์ เว้นไว้แต่ภิกษุได้สมมติ กระผมสละ
สันถัตผืนนี้แก่สงฆ์” ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ
ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงรับอาบัติ พึงคืนสันถัตที่เธอสละให้ด้วยญัตติกรรมวาจา
ว่า “ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า สันถัตผืนนี้ของภิกษุชื่อนี้เป็นนิสสัคคีย์ เธอ
สละแก่สงฆ์ ถ้าสงฆ์พร้อมกันแล้วก็พึงให้สันถัตผืนนี้แก่ภิกษุชื่อนี้”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๘๖ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๒.โกสิยวรรค ๔.ฉัพพัสสสิกขาบท บทภาชนีย์
สละแก่คณะ
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุหลายรูป ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง กราบ
เท้าภิกษุผู้แก่พรรษา นั่งกระโหย่งประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านผู้เจริญ สันถัต
ผืนนี้กระผมใช้ให้ทำ หย่อนกว่า ๖ ปี เป็นนิสสัคคีย์ เว้นไว้แต่ภิกษุได้สมมติ กระผม
สละสันถัตผืนนี้แก่ท่านทั้งหลาย” ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ
ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงรับอาบัติ พึงคืนสันถัตที่เธอสละให้ด้วยกล่าวว่า “ท่าน
ทั้งหลายจงฟังข้าพเจ้า สันถัตผืนนี้ของภิกษุชื่อนี้เป็นนิสสัคคีย์ เธอสละแก่ท่าน
ทั้งหลาย ถ้าท่านทั้งหลายพร้อมกันแล้วก็พึงให้สันถัตผืนนี้แก่ภิกษุชื่อนี้”

สละแก่บุคคล
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุรูปหนึ่ง ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง นั่ง
กระโหย่งประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านขอรับ สันถัตผืนนี้กระผมใช้ให้ทำ หย่อน
กว่า ๖ ปี เป็นนิสสัคคีย์ เว้นไว้แต่ภิกษุได้สมมติ กระผมสละสันถัตผืนนี้แก่ท่าน”
ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ
ภิกษุผู้รับสละนั้นพึงรับอาบัติแล้วคืนสันถัตที่เธอสละให้ด้วยกล่าวว่า “กระผม
คืนสันถัตผืนนี้ให้แก่ท่าน”

บทภาชนีย์
นิสสัคคิยปาจิตตีย์
[๕๖๓] ภิกษุทำสันถัตที่ตนทำค้างไว้จนสำเร็จด้วยตนเอง ต้องอาบัตินิสสัคคิย
ปาจิตตีย์
ภิกษุใช้ผู้อื่นให้ทำสันถัตที่ตนทำค้างไว้จนสำเร็จ ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
ภิกษุทำสันถัตที่ผู้อื่นทำค้างไว้จนสำเร็จ ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
ภิกษุใช้ผู้อื่นให้ทำสันถัตที่ผู้อื่นทำค้างไว้จนสำเร็จ ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๘๗ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๒.โกสิยวรรค ๔.ฉัพพัสสสิกขาบท อนาปัตติวาร
อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[๕๖๔] ๑. ภิกษุทำใหม่ เมื่อใช้ครบ ๖ ปี
๒. ภิกษุทำใหม่ เมื่อใช้เกิน ๖ ปี
๓. ภิกษุทำเองหรือใช้ให้ทำเพื่อประโยชน์แก่ผู้อื่น
๔. ภิกษุได้สันถัตที่ผู้อื่นทำไว้มาใช้สอย
๕. ภิกษุทำเป็นเพดาน เครื่องลาดพื้น ม่าน เปลือกฟูก หรือ
ปลอกหมอน
๖. ภิกษุผู้ได้สมมติ
๗. ภิกษุวิกลจริต
๘. ภิกษุต้นบัญญัติ

ฉัพพัสสสิกขาบทที่ ๔ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๘๘ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๒.โกสิยวรรค ๕.นิสีทนสันถตสิกขาบท นิทานวัตถุ
๒. โกสิยวรรค

๕. นิสีทนสันถตสิกขาบท
ว่าด้วยการทำสันถัตสำหรับรองนั่ง

เรื่องพระอุปเสนวังคันตบุตร
[๕๖๕] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุ
ทั้งหลาย เราปรารถนาจะหลีกเร้นอยู่ผู้เดียวตลอดไตรมาส ใคร ๆ อย่าเข้าไปหาเรา
ยกเว้นภิกษุผู้นำภัตตาหารเข้าไปให้รูปเดียว”
ภิกษุทั้งหลายรับสนองพระพุทธดำรัสว่า “ได้ พระพุทธเจ้าข้า” ไม่มีใครเข้าไป
เฝ้าพระผู้มีพระภาคเลย นอกจากภิกษุผู้นำภัตตาหารเข้าไปถวายเพียงรูปเดียว
สมัยนั้น สงฆ์ในกรุงสาวัตถีตั้งกติกากันว่า “พระผู้มีพระภาคมีพระประสงค์
เสด็จหลีกเร้นอยู่ตลอดไตรมาส ใคร ๆ อย่าเข้าไปเฝ้าพระองค์ ยกเว้นภิกษุผู้นำ
ภัตตาหารเข้าไปถวายรูปเดียว ภิกษุรูปใดเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค พึงให้ภิกษุรูป
นั้นแสดงอาบัติปาจิตตีย์”
ต่อมา ท่านพระอุปเสนวังคันตบุตรพร้อมด้วยบริษัทเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค
ถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร

พุทธประเพณี
อันการที่พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทั้งหลายทรงปราศรัยกับพระอาคันตุกะทั้งหลาย
นั่นเป็นพุทธประเพณี
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสถามท่านพระอุปเสนวังคันตบุตรว่า “อุปเสนะ
เธอทั้งหลายยังสบายดีหรือ ยังพอเป็นอยู่ได้หรือ เดินทางมาโดยไม่ลำบากหรือ”
ท่านพระอุปเสนวังคันตบุตรกราบทูลว่า “สบายดี พระพุทธเจ้าข้า พอเป็นอยู่ได้
พระพุทธเจ้าข้า ข้าพระพุทธเจ้าเดินทางมาโดยไม่ลำบาก พระพุทธเจ้าข้า”


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๘๙ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๒.โกสิยวรรค ๕.นิสีทนสันถตสิกขาบท นิทานวัตถุ
ขณะนั้น ภิกษุสัทธิวิหาริกของท่านพระอุปเสนวังคันตบุตรนั่งอยู่ไม่ห่าง พระ
ผู้มีพระภาคตรัสถามภิกษุนั้นว่า “ภิกษุ ผ้าบังสุกุลของเธอน่าพอใจหรือ”
ภิกษุนั้นกราบทูลว่า “ผ้าบังสุกุลของข้าพระพุทธเจ้าไม่น่าพอใจ พระพุทธ
เจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “ภิกษุ แล้วทำไมเธอทรงผ้าบังสุกุลเล่า”
ภิกษุนั้นกราบทูลว่า “พระอุปัชฌาย์ของข้าพระพุทธเจ้าเป็นผู้ทรงผ้าบังสุกุล
แม้ข้าพระพุทธเจ้าก็ต้องเป็นผู้ทรงผ้าบังสุกุลตาม พระพุทธเจ้าข้า”
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสถามท่านพระอุปเสนวังคันตบุตรว่า “อุปเสนะ
บริษัทนี้ของเธอน่าเลื่อมใส เธอแนะนำบริษัทอย่างไร”
ท่านพระอุปเสนวังคันตบุตรกราบทูลว่า “ข้าพระพุทธเจ้าบอกผู้มาขออุปสมบท
กับข้าพระพุทธเจ้าว่า ‘ฉันถืออยู่ป่าเป็นวัตร ถือเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร ถือทรงผ้า
บังสุกุลเป็นวัตร ถ้าเธอจักถืออยู่ป่าเป็นวัตร ถือเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร ถือทรงผ้า
บังสุกุลเป็นวัตร ฉันก็จะให้เธออุปสมบท’ ถ้าเขารับคำของข้าพระพุทธเจ้า ข้า
พระพุทธเจ้าก็ให้อุปสมบท ถ้าไม่รับคำ ก็จะไม่ให้อุปสมบท ข้าพระพุทธเจ้าบอก
ภิกษุที่มาขอนิสัยว่า ‘ฉันถืออยู่ป่าเป็นวัตร ถือเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร ถือทรงผ้า
บังสุกุลเป็นวัตร ถ้าท่านจักถืออยู่ป่าเป็นวัตร ถือเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร ถือทรงผ้า
บังสุกุลเป็นวัตรบ้าง ฉันก็จะให้นิสัยแก่ท่าน’ ถ้าภิกษุนั้นรับคำของข้าพระพุทธเจ้า
ข้าพระพุทธเจ้าก็จะให้นิสัย ถ้าไม่รับคำ ก็จะไม่ให้นิสัย ข้าพระพุทธเจ้าแนะนำบริษัท
อย่างนี้ พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อุปเสนะ ดีแล้ว ๆ อุปเสนะ เธอแนะนำบริษัทดีแล้ว
เธอรู้กติกาสงฆ์ในกรุงสาวัตถีหรือ”
ท่านพระอุปเสนวังคันตบุตรกราบทูลว่า “ข้าพระพุทธเจ้าไม่รู้กติกาของสงฆ์ใน
กรุงสาวัตถี พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “สงฆ์ในกรุงสาวัตถีตั้งกติกากันว่า พระผู้มีพระภาคมี
พระประสงค์จะเสด็จหลีกเร้นอยู่ตลอดไตรมาส ใคร ๆ อย่าเข้าไปเฝ้าพระองค์ ยก
เว้นภิกษุผู้นำภัตตาหารเข้าไปถวายรูปเดียว ภิกษุรูปใดเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค
พึงให้ภิกษุรูปนั้นแสดงอาบัติปาจิตตีย์”

 


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๙๐ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๒.โกสิยวรรค ๕.นิสีทนสันถตสิกขาบท นิทานวัตถุ
ท่านพระอุปเสนวังคันตบุตรกราบทูลว่า “สงฆ์ในกรุงสาวัตถีจะเปิดเผยตนเอง
ออกมาด้วยกติกาของตน ข้าพระพุทธเจ้าจะไม่บัญญัติสิ่งที่พระองค์ไม่ได้ทรงบัญญัติ
ไว้ และไม่เพิกถอนสิ่งที่ทรงบัญญัติไว้แล้ว จะสมาทานประพฤติในสิกขาบทตามที่
ทรงบัญญัติไว้”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อุปเสนะ ดีแล้ว ๆ สงฆ์ไม่บัญญัติสิ่งที่เราไม่ได้บัญญัติ
และไม่พึงเพิกถอนสิ่งที่เราบัญญัติไว้ พึงสมาทานประพฤติในสิกขาบทตามที่เรา
บัญญัติไว้ อุปเสนะ เราอนุญาตให้ภิกษุผู้ถืออยู่ป่าเป็นวัตร ถือบิณฑบาตเป็นวัตร
ถือทรงผ้าบังสุกุลเป็นวัตร เข้ามาเยี่ยมเราได้ตามสะดวก”
[๕๖๖] สมัยนั้น ภิกษุหลายรูปยืนรออยู่นอกซุ้มประตู เพราะตั้งใจว่า “พวก
เราจะให้ท่านพระอุปเสนวังคันตบุตรแสดงอาบัติปาจิตตีย์” ครั้นท่านพระอุปเสน
วังคันตบุตรพร้อมกับบริษัทลุกขึ้นจากอาสนะ ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาค ทำประ
ทักษิณจากไป ภิกษุเหล่านั้นได้กล่าวกับท่านพระอุปเสนวังคันตบุตรว่า “ท่านทราบ
กติกาของสงฆ์ในกรุงสาวัตถีหรือ” ท่านพระอุปเสนวังคันตบุตรตอบว่า “แม้พระผู้มี
พระภาคก็ตรัสเช่นนี้กับผมอย่างนี้เหมือนกันว่า ‘อุปเสนะ เธอรู้กติกาของสงฆ์ในกรุง
สาวัตถีหรือ’ ผมก็ทูลตอบว่า ‘ข้าพระพุทธเจ้าไม่ทราบกติกาสงฆ์ในกรุงสาวัตถี
พระพุทธเจ้าข้า’ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ‘อุปเสนะ ก็กติกาที่สงฆ์ในกรุงสาวัตถีทำไว้ว่า
‘พระผู้มีพระภาคทรงประสงค์จะเสด็จหลีกเร้นอยู่พระองค์เดียวตลอดไตรมาส ใคร ๆ
อย่าเข้าไปเฝ้าพระองค์ ยกเว้นภิกษุผู้นำภัตตาหารไปถวาย ภิกษุใดเข้าไปเฝ้าพระผู้มี
พระภาค พึงให้ภิกษุรูปนั้นแสดงอาบัติปาจิตตีย์’ ผมก็กราบทูลว่า ‘พระสงฆ์ในกรุง
สาวัตถีจะเปิดเผยตนเองออกมาด้วยกติกาของตน ข้าพระพุทธเจ้าจะไม่บัญญัติสิ่งที่
พระพุทธองค์มิได้ทรงบัญญัติ และจะไม่ถอนสิ่งที่พระพุทธองค์ทรงบัญญัติไว้แล้ว จะ
สมาทานประพฤติในสิกขาบทที่พระพุทธองค์ทรงบัญญัติไว้แล้ว ดังนี้’ ท่านทั้งหลาย
พระผู้มีพระภาคทรงอนุญาตไว้แล้วว่า ‘ภิกษุผู้ถืออยู่ป่าเป็นวัตร ถือบิณฑบาตเป็น
วัตร ถือทรงผ้าบังสุกุลเป็นวัตร เข้าเยี่ยมเราได้ตามสะดวก”
ครั้งนั้น ภิกษุเหล่านั้นกล่าวว่า “ท่านพระอุปเสนวังคันตบุตรกล่าวจริง พระ
สงฆ์ไม่ควรบัญญัติสิ่งที่พระพุทธเจ้ายังไม่ได้ทรงบัญญัติไว้ ไม่ควรเพิกถอนสิ่งที่
พระองค์ทรงบัญญัติไว้ พึงสมาทานประพฤติในสิกขาบทที่พระพุทธองค์ทรงบัญญัติไว้”


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๙๑ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๒.โกสิยวรรค ๕.นิสีทนสันถตสิกขาบท นิทานวัตถุ
ภิกษุทั้งหลายพอทราบข่าวว่า “พระผู้มีพระภาคทรงอนุญาตให้ภิกษุผู้ถืออยู่
ป่าเป็นวัตร ถือบิณฑบาตเป็นวัตร ถือทรงผ้าบังสุกุลเป็นวัตร เข้าเฝ้าได้ตามสะดวก”
จึงปรารถนาเข้าเฝ้า ได้ละทิ้งสันถัตพากันสมาทานอารัญญิกธุดงค์ ปิณฑปาติกธุดงค์
และบังสุกูลิกธุดงค์๑
ต่อมา พระผู้มีพระภาคพร้อมภิกษุจำนวนมากเสด็จประพาสตามเสนาสนะ
ทอดพระเนตรเห็นสันถัตถูกทอดทิ้งไว้ในที่นั้น ๆ รับสั่งกับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุ
ทั้งหลาย สันถัตที่ถูกทอดทิ้งไว้ในที่นั้น ๆ เป็นของใคร” ภิกษุเหล่านั้นได้กราบทูล
เรื่องนั้นให้พระผู้มีพระภาคทรงทราบ

ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมีกถาเพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ รับสั่ง
กับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้น เราจะบัญญัติสิกขาบทแก่ภิกษุ
ทั้งหลายโดยอาศัยอำนาจประโยชน์ ๑๐ ประการ คือ
๑. เพื่อความรับว่าดีแห่งสงฆ์
๒. เพื่อความผาสุกแห่งสงฆ์
๓. เพื่อข่มบุคคลผู้เก้อยาก
๔. เพื่อความอยู่ผาสุกแห่งเหล่าภิกษุผู้มีศีลดีงาม
๕. เพื่อปิดกั้นอาสวะทั้งหลายอันจะบังเกิดในปัจจุบัน
๖. เพื่อกำจัดอาสวะทั้งหลายอันจะบังเกิดในอนาคต
๗. เพื่อความเลื่อมใสของคนที่ยังไม่เลื่อมใส
๘. เพื่อความเลื่อมใสยิ่งขึ้นไปของคนที่เลื่อมใสแล้ว
๙. เพื่อความตั้งมั่นแห่งสัทธรรม
๑๐. เพื่อเอื้อเฟื้อวินัย”
แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้

เชิงอรรถ :
๑ “อารัญญิกธุดงค์” คือข้อปฏิบัติขัดเกลากิเลสของผู้ถืออยู่ในป่า ห่างจากหมู่บ้านอย่างน้อย ๕๐๐ ชั่วธนู
คือประมาณ ๒๕ เส้น (ดูข้อ ๖๕๔ หน้า ๑๗๔) “บิณฑปาติกธุดงค์” ถือบิณฑบาตเป็นวัตร ไม่รับนิมนต์
“ปังสุกุลิกธุดงค์” ถือผ้าบังสุกุลเป็นวัตร ไม่รับถวายจีวร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๙๒ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๒.โกสิยวรรค ๕.นิสีทนสันถตสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์
พระบัญญัติ
[๕๖๗] ก็ ภิกษุผู้ใช้ให้ทำสันถัตรองนั่ง พึงเอาสันถัตเก่า ๑ คืบสุคตโดย
รอบมาปนเพื่อทำให้เสียสี ถ้าไม่เอาสันถัตเก่า ๑ คืบสุคตโดยรอบมาปนใช้ให้
ทำสันถัตรองนั่งใหม่ ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
เรื่องพระอุปเสนวังคันตบุตร จบ

สิกขาบทวิภังค์
[๕๖๘] ที่ชื่อว่า รองนั่ง พระองค์ตรัสมุ่งเอาผ้ามีชาย
ที่ชื่อว่า สันถัต ได้แก่ ผ้ารองนั่งที่หล่อ ไม่ใช่ทอ
คำว่า ผู้ใช้ให้ทำ คือ ทำเองหรือใช้ให้ทำ
ที่ชื่อว่า สันถัตเก่า คือ ที่ใช้ปูนั่งบ้าง ใช้ปูนอนบ้าง แม้คราวเดียว
คำว่า พึงเอาสันถัตเก่า ๑ คืบสุคตโดยรอบมาปนเพื่อทำให้เสียสี คือ ตัด
เป็นรูปทรงกลม หรือรูปสี่เหลี่ยม แล้วจึงลาดในส่วนหนึ่ง หรือสางออกแล้วจึงลาด
เพื่อความคงทน
คำว่า ถ้าไม่เอาสันถัตเก่า ๑ คืบสุคตโดยรอบมาปน ความว่า ไม่ถือเอา
สันถัตเก่า ๑ คืบสุคตโดยรอบ ทำเองหรือใช้ให้ผู้อื่นทำสันถัตรองนั่งใหม่ ต้องอาบัติ
ทุกกฏเพราะพยายาม สันถัตเป็นนิสสัคคีย์เพราะได้มา คือเป็นของจำต้องสละ
แก่สงฆ์ แก่คณะหรือแก่บุคคล
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงสละสันถัตที่เป็นนิสสัคคีย์อย่างนี้

วิธีสละสันถัตที่เป็นนิสสัคคีย์
สละแก่สงฆ์
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง กราบเท้าภิกษุ
ผู้แก่พรรษา นั่งกระโหย่งประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านผู้เจริญ สันถัตรองนั่งผืนนี้


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๙๓ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๒.โกสิยวรรค ๕.นิสีทนสันถตสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์
กระผมไม่ได้เอาสันถัตเก่า ๑ คืบสุคตโดยรอบมาปน ใช้ให้ทำ เป็นนิสสัคคีย์ กระผม
สละสันถัตผืนนี้แก่สงฆ์” ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ
ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงรับอาบัติ พึงคืนสันถัตที่เธอสละให้ด้วยญัตติกรรม
วาจาว่า “ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า สันถัตผืนนี้ของภิกษุชื่อนี้เป็นนิสสัคคีย์
เธอสละแก่สงฆ์ ถ้าสงฆ์พร้อมกันแล้วก็พึงให้สันถัตผืนนี้แก่ภิกษุชื่อนี้”

สละแก่คณะ
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุหลายรูป ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง กราบ
เท้าภิกษุผู้แก่พรรษา นั่งกระโหย่งประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านผู้เจริญ สันถัตรอง
นั่งผืนนี้กระผมไม่ได้เอาสันถัตเก่า ๑ คืบสุคตโดยรอบมาปน ใช้ให้ทำ เป็นนิสสัคคีย์
กระผมสละสันถัตผืนนี้แก่ท่านทั้งหลาย” ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ
ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงรับอาบัติ พึงคืนสันถัตที่เธอสละให้ด้วยกล่าวว่า “ท่าน
ทั้งหลายจงฟังข้าพเจ้า สันถัตผืนนี้ของภิกษุชื่อนี้เป็นนิสสัคคีย์ เธอสละแก่ท่าน
ทั้งหลาย ถ้าท่านทั้งหลายพร้อมกันแล้วก็พึงให้สันถัตผืนนี้แก่ภิกษุชื่อนี้”

สละแก่บุคคล
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุรูปหนึ่ง ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง นั่ง
กระโหย่งประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านขอรับ สันถัตรองนั่งผืนนี้กระผมไม่ได้เอา
สันถัตเก่า ๑ คืบสุคตโดยรอบมาปน ใช้ให้ทำ เป็นนิสสัคคีย์ กระผมสละสันถัตผืนนี้
แก่ท่าน” ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ
ภิกษุผู้รับสละนั้นพึงรับอาบัติแล้วคืนสันถัตที่เธอสละให้ด้วยกล่าวว่า “กระผม
คืนสันถัตผืนนี้ให้แก่ท่าน”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๙๔ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๒.โกสิยวรรค ๕.นิสีทนสันถตสิกขาบท อนาปัตติวาร
บทภาชนีย์
นิสสัคคิยปาจิตตีย์
[๕๖๙] ภิกษุทำสันถัตที่ตนทำค้างไว้จนสำเร็จด้วยตนเอง ต้องอาบัติ
นิสสัคคิยปาจิตตีย์
ภิกษุใช้ผู้อื่นให้ทำสันถัตที่ตนทำค้างไว้จนสำเร็จ ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
ภิกษุทำสันถัตที่ผู้อื่นทำค้างไว้จนสำเร็จด้วยตนเอง ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
ภิกษุใช้ผู้อื่นให้ทำสันถัตที่ผู้อื่นทำค้างไว้จนสำเร็จ ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์

ทุกกฏ
ภิกษุทำเองหรือใช้ผู้อื่นให้ทำ เพื่อประโยชน์แก่ผู้อื่น ต้องอาบัติทุกกฏ

อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[๕๗๐] ๑. ภิกษุเอาสันถัตเก่า ๑ คืบสุคตโดยรอบมาทำ
๒. ภิกษุหาสันถัตเก่าไม่ได้จึงเอาแต่น้อยมาทำ
๓. ภิกษุหาสันถัตเก่าไม่ได้เลยไม่เอามาทำ
๔. ภิกษุได้สันถัตที่ผู้อื่นทำไว้มาใช้สอย
๕. ภิกษุทำเป็นเพดาน เครื่องลาดพื้น ม่าน เปลือกฟูก หรือ
ปลอกหมอน
๖. ภิกษุวิกลจริต
๗. ภิกษุต้นบัญญัติ

นิสีทนสันถตสิกขาบทที่ ๕ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๙๕ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๒.โกสิยวรรค ๖.เอฬกโลมสิกขาบท นิทานวัตถุ
๒. โกสิยวรรค

๖. เอฬกโลมสิกขาบท
ว่าด้วยการรับขนเจียม๑

เรื่องภิกษุรูปใดรูปหนึ่งรับขนเจียมระหว่างทาง
[๕๗๑] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุรูปหนึ่งเดินทางไปกรุงสาวัตถี
ในชนบทแคว้นโกศล ระหว่างทาง ขนเจียมเกิดขึ้น เธอจึงใช้อุตตราสงค์ห่อขนเจียมไป
พวกชาวบ้านเห็นท่านจึงพูดสัพยอกว่า “ท่านซื้อขนเจียมมาราคาเท่าไร จะ
ขายมีกำไรเท่าไร”
ท่านถูกชาวบ้านพูดสัพยอกจึงเก้อเขิน ครั้นถึงกรุงสาวัตถี ได้โยนขนเจียม
เหล่านั้นทิ้งไป ทั้งที่ยืนอยู่นั่นแหละ
ภิกษุทั้งหลายกล่าวกับท่านอย่างนี้ว่า “ทำไมท่านจึงโยนขนเจียมเหล่านั้นทิ้ง
ทั้งที่ยืนอยู่เล่า”
ท่านตอบว่า “จริงอย่างนั้น ท่านทั้งหลาย กระผมถูกพวกชาวบ้านพูดสัพยอก
เพราะขนเจียมเหล่านี้”
ภิกษุทั้งหลายถามว่า “ท่านนำขนเจียมเหล่านี้มาไกลเท่าไร”
ภิกษุรูปนั้นตอบว่า “เกิน ๓ โยชน์ ขอรับ”
บรรดาภิกษุผู้มักน้อย ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนภิกษุ
จึงนำขนเจียมมาไกลเกิน ๓ โยชน์เล่า” ครั้นภิกษุทั้งหลายตำหนิภิกษุรูปนั้นโดย
ประการต่าง ๆ แล้วจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ

เชิงอรรถ :
๑ ขนเจียม คือ เอฬกโลม ขนแกะ ขนแพะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๙๖ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๒.โกสิยวรรค ๖.เอฬกโลมสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์
ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามภิกษุนั้นว่า “ภิกษุ ทราบว่าเธอนำขนเจียมมาไกลเกิน ๓ โยชน์ จริงหรือ”
ภิกษุนั้นทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า
“ฯลฯ โมฆบุรุษ ไฉนเธอจึงนำขนเจียมมาไกลเกิน ๓ โยชน์เล่า โมฆบุรุษ การกระทำ
อย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใส
ยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้

พระบัญญัติ
[๕๗๒] ก็ ขนเจียมเกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้เดินทางไกล ภิกษุต้องการก็พึงรับได้
ครั้นรับแล้ว เมื่อไม่มีคนนำไปให้ พึงนำไปเองตลอดระยะ ๓ โยชน์เป็นอย่าง
มาก ถ้าเมื่อไม่มีคนนำไปให้ นำไปไกลกว่านั้น ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
เรื่องภิกษุรูปใดรูปหนึ่งรับขนเจียมระหว่างทาง จบ

สิกขาบทวิภังค์
[๕๗๓] คำว่า ก็...แก่ภิกษุผู้เดินทางไกล ได้แก่ ภิกษุผู้เดินทาง
คำว่า ขนเจียมเกิดขึ้น คือ เกิดจากสงฆ์ จากคณะ จากญาติ จากมิตร
หรือที่เป็นของบังสุกุล หรือที่ได้มาด้วยทรัพย์ของตน
คำว่า ต้องการ คือ เมื่อต้องการก็รับไว้ได้
คำว่า ครั้นรับแล้ว... พึงนำไปเองตลอดระยะ ๓ โยชน์เป็นอย่างมาก คือ
นำไปเองได้ ๓ โยชน์
คำว่า เมื่อไม่มีคนนำไปให้ ความว่า ไม่มีคนอื่น คือ สตรี บุรุษ คฤหัสถ์
หรือบรรพชิต คอยช่วยนำไป
คำว่า ถ้าเมื่อไม่มีคนนำไปให้ นำไปไกลกว่านั้น อธิบายว่า ภิกษุย่างเท้าที่ ๑
ผ่าน ๓ โยชน์ไป ต้องอาบัติทุกกฏ ย่างเท้าที่ ๒ ผ่านไป ขนเจียมทั้งหลายเป็นนิสสัคคีย์


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๙๗ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๒.โกสิยวรรค ๖.เอฬกโลมสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์
ภิกษุยืนอยู่ภายในระยะ ๓ โยชน์ โยนขนเจียมออกนอกระยะ ๓ โยชน์ ขนเจียม
ทั้งหลายเป็นนิสสัคคีย์ ภิกษุซ่อนขนเจียมในยานพาหนะหรือในห่อของของผู้อื่นที่เขา
ไม่รู้ ย่างเท้าไปเกิน ๓ โยชน์ ขนเจียมทั้งหลายเป็นนิสสัคคีย์ คือเป็นของจำต้อง
สละแก่สงฆ์ แก่คณะหรือแก่บุคคล
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงสละขนเจียมที่เป็นนิสสัคคีย์อย่างนี้

วิธีสละขนเจียมที่เป็นนิสสัคคีย์
สละแก่สงฆ์
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง กราบเท้าภิกษุผู้
แก่พรรษา นั่งกระโหย่งประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านผู้เจริญ ขนเจียมเหล่านี้
กระผมนำไปเกิน ๓ โยชน์ เป็นนิสสัคคีย์ กระผมสละขนเจียมเหล่านี้แก่สงฆ์” ครั้น
สละแล้วพึงแสดงอาบัติ
ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงรับอาบัติ พึงคืนขนเจียมที่เธอสละให้ด้วยญัตติกรรม
วาจาว่า “ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ขนเจียมเหล่านี้ของภิกษุชื่อนี้เป็น
นิสสัคคีย์ เธอสละแก่สงฆ์ ถ้าสงฆ์พร้อมกันแล้วก็พึงให้ขนเจียมเหล่านี้แก่ภิกษุชื่อนี้”

สละแก่คณะ
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุหลายรูป ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง กราบ
เท้าภิกษุผู้แก่พรรษา นั่งกระโหย่งประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านผู้เจริญ ขนเจียม
เหล่านี้ กระผมนำไปเกิน ๓ โยชน์ เป็นนิสสัคคีย์ กระผมสละขนเจียมเหล่านี้แก่ท่าน
ทั้งหลาย” ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ
ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงรับอาบัติ พึงคืนขนเจียมที่เธอสละให้ด้วยกล่าวว่า
“ท่านทั้งหลายจงฟังข้าพเจ้า ขนเจียมเหล่านี้ของภิกษุชื่อนี้เป็นนิสสัคคีย์ เธอสละแก่
ท่านทั้งหลาย ถ้าท่านทั้งหลายพร้อมกันแล้วก็พึงให้ขนเจียมเหล่านี้แก่ภิกษุชื่อนี้”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๙๘ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๒.โกสิยวรรค ๖.เอฬกโลมสิกขาบท บทภาชนีย์
สละแก่บุคคล
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุรูปหนึ่ง ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง นั่ง
กระโหย่งประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านขอรับ ขนเจียมเหล่านี้ กระผมนำไปเกิน
๓ โยชน์ เป็นนิสสัคคีย์ กระผมสละขนเจียมเหล่านี้แก่ท่าน” ครั้นสละแล้วพึงแสดง
อาบัติ
ภิกษุผู้รับสละนั้นพึงรับอาบัติแล้วคืนขนเจียมที่เธอสละให้ด้วยกล่าวว่า “กระผม
คืนขนเจียมเหล่านี้ให้แก่ท่าน”

บทภาชนีย์
ติกนิสสัคคิยปาจิตตีย์
[๕๗๔] เกินระยะ ๓ โยชน์ ภิกษุสำคัญว่าเกิน นำไปเกิน ๓ โยชน์ ต้อง
อาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
เกินระยะ ๓ โยชน์ ภิกษุไม่แน่ใจ นำไปเกิน ๓ โยชน์ ต้องอาบัตินิสสัคคิย
ปาจิตตีย์
เกินระยะ ๓ โยชน์ ภิกษุสำคัญว่าหย่อนกว่า นำไปเกิน ๓ โยชน์ ต้องอาบัติ
นิสสัคคิยปาจิตตีย์

ทุกทุกกฏ
หย่อนกว่า ๓ โยชน์ ภิกษุสำคัญว่าเกิน ต้องอาบัติทุกกฏ
หย่อนกว่า ๓ โยชน์ ภิกษุไม่แน่ใจ ต้องอาบัติทุกกฏ
หย่อนกว่า ๓ โยชน์ ภิกษุสำคัญว่าหย่อนกว่า ไม่ต้องอาบัติ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๙๙ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๒.โกสิยวรรค ๖.เอฬกโลมสิกขาบท อนาปัตติวาร
อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[๕๗๕] ๑. ภิกษุนำไปเพียง ๓ โยชน์
๒. ภิกษุนำไปหย่อนกว่า ๓ โยชน์
๓. ภิกษุนำไปก็ดี นำกลับก็ดี เพียงระยะ ๓ โยชน์
๔. ภิกษุนำไปเพียงระยะ ๓ โยชน์ ประสงค์จะพักอาศัย แล้วนำไป
จากที่นั้น๑
๕. ภิกษุได้ขนเจียมที่ถูกชิงไปคืนมา แล้วนำไปอีก
๖. ภิกษุได้ขนเจียมที่สละไปคืนมา แล้วนำไปอีก
๗. ภิกษุใช้ให้ผู้อื่นช่วยนำไป
๘. ภิกษุนำขนเจียมที่ทำเป็นสิ่งของไป
๙. ภิกษุวิกลจริต
๑๐. ภิกษุต้นบัญญัติ

เอฬกโลมสิกขาบทที่ ๖ จบ

เชิงอรรถ :
๑ ประสงค์จะพักอาศัยอยู่ เพื่อศึกษาเล่าเรียน สอบถาม หรือเพื่อได้ปัจจัยเครื่องอาศัย แต่เพราะไม่ได้
สิ่งเหล่านั้น จึงจากที่นั้นไป (วิ.อ. ๒/๕๗๕/๑๙๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๑๐๐ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๒.โกสิยวรรค ๗.เอฬกโลมโธวาปนสิกขาบท นิทานวัตถุ
๒. โกสิยวรรค

๗. เอฬกโลมโธวาปนสิกขาบท
ว่าด้วยการให้ซักขนเจียม

เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๕๗๖] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ นิโครธาราม เขต
กรุงกบิลพัสดุ์ แคว้นสักกะ ครั้งนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ใช้พวกภิกษุณีให้ซักบ้าง
ให้ย้อมบ้าง สางบ้าง ซึ่งขนเจียม พวกภิกษุณีซัก ย้อม สาง ซึ่งขนเจียม จึงละเลย
อุทเทส ปริปุจฉา อธิศีล อธิจิต อธิปัญญา
สมัยนั้น พระนางมหาปชาบดีโคตมีเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ครั้น
ถึงแล้วได้ถวายอภิวาท แล้วประทับยืน ณ ที่สมควร พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกับ
พระนางมหาปชาบดีโคตมีผู้ยืนอยู่ว่า “โคตมี พวกภิกษุณีไม่ประมาท ยังมีความเพียร
มีความมุ่งมั่นอยู่หรือ”
พระนางกราบทูลว่า “พระพุทธเจ้าข้า ภิกษุณีทั้งหลายจะมีความไม่ประมาท
แต่ที่ไหน พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ใช้พวกภิกษุณีให้ซักบ้าง ให้ย้อมบ้าง ให้สางบ้าง ซึ่ง
ขนเจียม พวกภิกษุณีนั้นซัก ย้อม สาง ซึ่งขนเจียมอยู่ จึงละเลยอุทเทส ปริปุจฉา
อธิศีล อธิจิต อธิปัญญา”
พระผู้มีพระภาคทรงชี้แจงให้พระนางมหาปชาบดีเห็นชัด ชวนให้อยากรับเอา
ไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริงด้วยธรรมีกถา
ลำดับนั้น พระนางมหาปชาบดีโคตมี ครั้นพระผู้มีพระภาคทรงชี้แจงให้เห็นชัด
ชวนให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่น
ร่าเริงด้วยธรรมีกถาแล้ว จึงถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาค ทำประทักษิณแล้ว
จากไป


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๑๐๑ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๒.โกสิยวรรค ๗.เอฬกโลมโธวาปนสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์
ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามพวกภิกษุฉัพพัคคีย์ว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า พวกเธอใช้ภิกษุณีให้ซัก
บ้าง ให้ย้อมบ้าง ให้สางบ้าง ซึ่งขนเจียม จริงหรือ” พระฉัพพัคคีย์ทูลรับว่า “จริง
พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีเหล่านั้น
เป็นญาติของพวกเธอหรือว่าไม่ใช่ญาติ” พวกภิกษุฉัพพัคคีย์กราบทูลว่า “ไม่ใช่ญาติ
พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคทรงตำหนิว่า “โมฆบุรุษทั้งหลาย บุคคลผู้ไม่ใช่
ญาติย่อมไม่รู้ความเหมาะสมหรือไม่เหมาะสม ความน่าเลื่อมใสหรือไม่น่าเลื่อมใส
ของบุคคลผู้ไม่ใช่ญาติ โมฆบุรุษทั้งหลาย ไฉนพวกเธอจึงใช้ภิกษุณีให้ซักบ้าง ให้ย้อม
บ้าง ให้สางบ้างซึ่งขนเจียมเล่า โมฆบุรุษทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยัง
ไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ”
แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้

พระบัญญัติ
[๕๗๗] ก็ ภิกษุใดใช้ภิกษุณีผู้ไม่ใช่ญาติให้ซัก ให้ย้อม หรือให้สาง
ขนเจียม ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ

สิกขาบทวิภังค์
[๕๗๘] คำว่า ก็...ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ก็...ใด
คำว่า ภิกษุ มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุ เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระ
ภาคทรงประสงค์ว่า ภิกษุ ในความหมายนี้
ที่ชื่อว่า ผู้ไม่ใช่ญาติ คือ ไม่ใช่คนที่เกี่ยวเนื่องกันทางมารดาหรือทางบิดา
ตลอดเจ็ดชั่วคน


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๑๐๒ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๒.โกสิยวรรค ๗.เอฬกโลมโธวาปนสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์
ที่ชื่อว่า ภิกษุณี ได้แก่ มาตุคามที่อุปสมบทในสงฆ์ ๒ ฝ่าย
ภิกษุสั่งว่า “จงซัก” ต้องอาบัติทุกกฏ ขนเจียมที่ซักแล้ว เป็นนิสสัคคีย์
ภิกษุสั่งว่า “จงย้อม” ต้องอาบัติทุกกฏ ขนเจียมที่ย้อมแล้ว เป็นนิสสัคคีย์
ภิกษุสั่งว่า “จงสาง” ต้องอาบัติทุกกฏ ขนเจียมที่สางแล้ว เป็นนิสสัคคีย์ คือ
เป็นของจำต้องสละแก่สงฆ์ แก่คณะหรือแก่บุคคล
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงรับสละขนเจียมที่เป็นนิสสัคคีย์อย่างนี้

วิธีสละขนเจียมที่เป็นนิสสัคคีย์
สละแก่สงฆ์
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง กราบเท้าภิกษุผู้
แก่พรรษา นั่งกระโหย่งประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านผู้เจริญ ขนเจียมเหล่านี้
กระผมใช้ให้ภิกษุณีผู้ไม่ใช่ญาติซัก เป็นนิสสัคคีย์ กระผมสละขนเจียมเหล่านี้แก่สงฆ์”
ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ
ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงรับอาบัติ พึงคืนขนเจียมที่เธอสละให้ด้วยญัตติกรรม
วาจาว่า “ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ขนเจียมเหล่านี้ของภิกษุชื่อนี้เป็น
นิสสัคคีย์ เธอสละแก่สงฆ์ ถ้าสงฆ์พร้อมกันแล้วก็พึงให้ขนเจียมเหล่านี้แก่ภิกษุ
ชื่อนี้”

สละแก่คณะ
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุหลายรูป ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง กราบ
เท้าภิกษุผู้แก่พรรษา นั่งกระโหย่งประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านผู้เจริญ ขนเจียม
เหล่านี้กระผมใช้ภิกษุณีผู้ไม่ใช่ญาติให้ซัก เป็นนิสสัคคีย์ กระผมสละขนเจียมเหล่านี้
แก่ท่านทั้งหลาย” ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ
ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงรับอาบัติ พึงคืนขนเจียมที่เธอสละให้ด้วยกล่าวว่า
“ท่านทั้งหลายจงฟังข้าพเจ้า ขนเจียมเหล่านี้ของภิกษุชื่อนี้เป็นนิสสัคคีย์ เธอสละแก่
ท่านทั้งหลาย ถ้าท่านทั้งหลายพร้อมกันแล้วก็พึงให้ขนเจียมเหล่านี้แก่ภิกษุชื่อนี้”


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๑๐๓ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๒.โกสิยวรรค ๗.เอฬกโลมโธวาปนสิกขาบท บทภาชนีย์
สละแก่บุคคล
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุรูปหนึ่ง ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง นั่ง
กระโหย่งประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านขอรับ ขนเจียมเหล่านี้กระผมใช้
ภิกษุณีผู้ไม่ใช่ญาติให้ซัก เป็นนิสสัคคีย์ กระผมสละขนเจียมเหล่านี้แก่ท่าน” ครั้น
สละแล้วพึงแสดงอาบัติ
ภิกษุผู้รับสละนั้นพึงรับอาบัติ แล้วคืนขนเจียมที่เธอสละให้ด้วยกล่าวว่า
“กระผมคืนขนเจียมเหล่านี้ให้แก่ท่าน”

บทภาชนีย์
สำคัญว่าไม่ใช่ญาติ จตุกกะที่ ๑
[๕๗๙] ภิกษุณีที่ไม่ใช่ญาติ ภิกษุสำคัญว่าไม่ใช่ญาติ ใช้ให้ซักขนเจียม ต้อง
อาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
ภิกษุณีที่ไม่ใช่ญาติ ภิกษุสำคัญว่าไม่ใช่ญาติ ใช้ให้ซัก ใช้ให้ย้อมขนเจียม ต้อง
อาบัติทุกกฏกับอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
ภิกษุณีที่ไม่ใช่ญาติ ภิกษุสำคัญว่าไม่ใช่ญาติ ใช้ให้ซัก ใช้ให้สางขนเจียม ต้อง
อาบัติทุกกฏกับอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
ภิกษุณีที่ไม่ใช่ญาติ ภิกษุสำคัญว่าไม่ใช่ญาติ ใช้ให้ซัก ใช้ให้ย้อม ใช้ให้สางขน
เจียม ต้องอาบัติทุกกฏ ๒ ตัว กับอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์

สำคัญว่าไม่ใช่ญาติ จตุกกะที่ ๒
ภิกษุณีที่ไม่ใช่ญาติ ภิกษุสำคัญว่าไม่ใช่ญาติ ใช้ให้ย้อมขนเจียม ต้องอาบัติ
นิสสัคคิยปาจิตตีย์


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๑๐๔ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๒.โกสิยวรรค ๗.เอฬกโลมโธวาปนสิกขาบท บทภาชนีย์
ภิกษุณีที่ไม่ใช่ญาติ ภิกษุสำคัญว่าไม่ใช่ญาติ ใช้ให้ย้อม ใช้ให้สางขนเจียม
ต้องอาบัติทุกกฏกับอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
ภิกษุณีที่ไม่ใช่ญาติ ภิกษุสำคัญว่าไม่ใช่ญาติ ใช้ให้ย้อม ใช้ให้ซักขนเจียม ต้อง
อาบัติทุกกฏกับอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
ภิกษุณีที่ไม่ใช่ญาติ ภิกษุสำคัญว่าไม่ใช่ญาติ ใช้ให้ย้อม ใช้ให้สาง ใช้ให้ซักขน
เจียม ต้องอาบัติทุกกฏ ๒ ตัว กับอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์

สำคัญว่าไม่ใช่ญาติ จตุกกะที่ ๓
ภิกษุณีที่ไม่ใช่ญาติ ภิกษุสำคัญว่าไม่ใช่ญาติ ใช้ให้สางขนเจียม ต้องอาบัติ
นิสสัคคิยปาจิตตีย์
ภิกษุณีที่ไม่ใช่ญาติ ภิกษุสำคัญว่าไม่ใช่ญาติ ใช้ให้สาง ใช้ให้ซักขนเจียม ต้อง
อาบัติทุกกฏกับอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
ภิกษุณีที่ไม่ใช่ญาติ ภิกษุสำคัญว่าไม่ใช่ญาติ ใช้ให้สาง ใช้ให้ย้อมขนเจียม
ต้องอาบัติทุกกฏกับอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
ภิกษุณีที่ไม่ใช่ญาติ ภิกษุสำคัญว่าไม่ใช่ญาติ ใช้ให้สาง ใช้ให้ซัก ใช้ให้ย้อมขนเจียม
ต้องอาบัติทุกกฏ ๒ ตัว กับอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์

ไม่แน่ใจ ต้องอาบัติทุกกฏ
[๕๘๐] ภิกษุณีที่ไม่ใช่ญาติ ภิกษุไม่แน่ใจ ฯลฯ ภิกษุณีที่ไม่ใช่ญาติ ภิกษุ
สำคัญว่าเป็นญาติ ฯลฯ
ภิกษุใช้ภิกษุณีให้ซักขนเจียมของภิกษุอื่น ต้องอาบัติทุกกฏ
ภิกษุใช้ภิกษุณีผู้อุปสมบทจากสงฆ์ฝ่ายเดียวให้ซัก ต้องอาบัติทุกกฏ
ภิกษุณีที่ไม่ใช่ญาติ ภิกษุสำคัญว่าเป็นญาติ ต้องอาบัติทุกกฏ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๑๐๕ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๒.โกสิยวรรค ๗.เอฬกโลมโธวาปนสิกขาบท อนาปัตติวาร
ภิกษุณีที่เป็นญาติ ภิกษุไม่แน่ใจ ต้องอาบัติทุกกฏ
ภิกษุณีที่เป็นญาติ ภิกษุสำคัญว่าเป็นญาติ ไม่ต้องอาบัติ

อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[๕๘๑] ๑. ภิกษุณีผู้เป็นญาติซักให้ โดยมีเพื่อนภิกษุณีผู้ไม่ใช่ญาติคอยช่วยเหลือ
๒. ภิกษุเจ้าของขนเจียมที่ภิกษุณีอาสาซักให้
๓. ภิกษุใช้ให้ซักขนเจียมที่ทำเป็นสิ่งของซึ่งไม่ได้ใช้สอย
๔. ภิกษุใช้ให้สิกขมานาซัก
๕. ภิกษุใช้ให้สามเณรีซัก
๖. ภิกษุวิกลจริต
๗. ภิกษุต้นบัญญัติ

เอฬกโลมโธวาปนสิกขาบทที่ ๗ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๑๐๖ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๒.โกสิยวรรค ๘.รูปิยสิกขาบท นิทานวัตถุ
๒. โกสิยวรรค

๘. รูปิยสิกขาบท
ว่าด้วยการรับรูปิยะ

เรื่องพระอุปนันทศากยบุตร
[๕๘๒] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเวฬุวัน สถานที่
ให้เหยื่อกระแต เขตกรุงราชคฤห์ ครั้งนั้น ท่านพระอุปนันทศากยบุตรเป็นพระประจำ
ตระกูลของตระกูลหนึ่ง รับภัตตาหารอยู่เป็นประจำ หากของเคี้ยวของฉันอันใดเกิด
ขึ้นในตระกูลนั้น เขาก็จะเก็บของเคี้ยวของฉันอันนั้นไว้เพื่อท่านส่วนหนึ่ง
สมัยนั้น ในเวลาเย็น เนื้อเกิดขึ้นในตระกูลนั้น เขาได้เก็บเนื้อนั้นไว้เพื่อท่าน
พระอุปนันทศากยบุตรส่วนหนึ่ง เด็กในตระกูลนั้นตื่นเช้ามืด ร้องไห้อ้อนวอนว่า
“พวกท่านโปรดให้เนื้อแก่กระผม”
ทีนั้น สามีสั่งภรรยาว่า “เธอจงให้เนื้อส่วนของพระคุณเจ้าแก่เด็ก เราจะซื้อ
ของอื่นถวายท่าน”
ลำดับนั้น ท่านพระอุปนันทศากยบุตรครองอันตรวาสกถือบาตรและจีวรเข้าไป
ถึงตระกูลนั้น นั่งบนอาสนะที่เขาปูลาดไว้ ชายผู้นั้นเข้าไปหาท่านพระอุปนันทศากย
บุตรถึงอาสนะ ครั้นถึงแล้วไหว้ท่านแล้วนั่งลง ณ ที่สมควร กล่าวว่า “ท่านผู้เจริญ
เมื่อวันวานในเวลาเย็น ได้มีเนื้อเกิดขึ้น พวกข้าพเจ้าได้เก็บเนื้อนั้นไว้เพื่อพระคุณเจ้า
ส่วนหนึ่ง เด็กคนนี้ตื่นเช้ามืด ร้องไห้อ้อนวอนว่า ‘พวกท่านโปรดให้เนื้อแก่กระผม’
พวกเราจึงให้ส่วนของพระคุณเจ้าแก่เด็ก พระคุณเจ้าจะให้กระผมนำกหาปณะไป
แลกอะไรมา ขอรับ” ท่านพระอุปนันทศากยบุตรถามว่า “ท่านบริจาคทรัพย์ ๑
กหาปณะแก่อาตมาหรือ” เขาตอบว่า “ใช่ ขอรับ” ท่านพระอุปนันทศากยบุตร
กล่าวว่า “ท่านจงถวายกหาปณะนั้นแก่อาตมาเถิด”


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๑๐๗ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๒.โกสิยวรรค ๘.รูปิยสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์
ทีนั้น เขาถวายกหาปณะแก่ท่านพระอุปนันทศากยบุตรแล้วตำหนิ ประณาม
โพนทะนาว่า “พระสมณะเชื้อสายศากยบุตรเหล่านี้รับรูปิยะ๑ เหมือนพวกเรา”
พวกภิกษุได้ยินบุรุษนั้นตำหนิ ประณาม โพนทะนา บรรดาภิกษุผู้มักน้อย ฯลฯ
พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนท่านพระอุปนันทศากยบุตร จึงรับรูปิยะ
เล่า” ครั้นภิกษุเหล่านั้นตำหนิท่านพระอุปนันทศากยบุตรโดยประการต่าง ๆ แล้วจึง
นำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ

ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามท่านพระอุปนันทศากยบุตรว่า “อุปนันทะ ทราบว่า เธอรับรูปิยะจริงหรือ”
ท่านพระอุปนันทศากยบุตรทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า
ทรงตำหนิว่า “ฯลฯ โมฆบุรุษ ไฉนเธอจึงรับรูปิยะเล่า โมฆบุรุษ การกระทำอย่างนี้
มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้น
ได้เลย ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้

พระบัญญัติ
[๕๘๓] ก็ ภิกษุใดรับหรือใช้ให้ผู้อื่นรับทองและเงิน หรือยินดีทองและ
เงินที่เขาเก็บไว้ให้ ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
เรื่องพระอุปนันทศากยบุตร จบ

สิกขาบทวิภังค์
[๕๘๔] คำว่า ก็...ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ก็...ใด
คำว่า ภิกษุ มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุ เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระ
ภาคทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุ ในความหมายนี้

เชิงอรรถ :
๑ คำว่า “รูปิยะ” หมายถึงทองและเงิน (วิ.อ. ๒/๕๘๖/๒๐๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๑๐๘ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๒.โกสิยวรรค ๘.รูปิยสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์
ที่ชื่อว่า ทอง พระองค์ตรัสหมายถึงวัตถุที่มีสีดุจพระฉวีของพระศาสดา
ที่ชื่อว่า เงิน ได้แก่ กหาปณะ มาสกที่ทำด้วยโลหะ มาสกที่ทำด้วยไม้
มาสกที่ทำด้วยครั่ง ที่ใช้เป็นอัตราสำหรับแลกเปลี่ยนซื้อขายกัน
คำว่า รับ คือ ภิกษุรับเอง ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
คำว่า ใช้ให้ผู้อื่นรับ คือ ภิกษุให้คนอื่นรับแทน ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
คำว่า หรือยินดีทองและเงินที่เขาเก็บไว้ให้ ความว่า ภิกษุยินดีรูปิยะที่เขา
เก็บไว้ให้โดยบอกว่า “สิ่งนี้เป็นของท่าน” ดังนี้ รูปิยะนั้นเป็นนิสสัคคีย์ คือเป็นของ
จำต้องสละในท่ามกลางสงฆ์
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงสละรูปิยะที่เป็นนิสสัคคีย์อย่างนี้

วิธีสละรูปิยะที่เป็นนิสสัคคีย์
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง กราบเท้าภิกษุผู้
แก่พรรษา นั่งกระโหย่งประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านผู้เจริญ กระผมรับรูปิยะไว้
รูปิยะนี้ของกระผมเป็นนิสสัคคีย์ กระผมสละรูปิยะนี้แก่สงฆ์” ครั้นสละแล้วพึงแสดง
อาบัติ
ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงรับอาบัติ
ถ้าคนงานวัดหรืออุบาสกผ่านมา พึงบอกเขาว่า “ท่านจงรู้สิ่งนี้” ถ้าเขากล่าวว่า
“จะให้กระผมนำสิ่งนี้ไปแลกอะไรมา” ไม่ควรบอกเขาว่า “จงนำของนี้ ๆ มา” ควร
บอกแต่ของที่เป็นกัปปิยะ เช่น เนยใส น้ำมัน น้ำผึ้ง หรือน้ำอ้อย
ถ้าเขานำรูปิยะนั้นไปแลกของที่เป็นกัปปิยะมาถวาย ยกเว้นภิกษุผู้รับรูปิยะ
นอกนั้นทุกรูปฉันได้ ถ้าทำได้อย่างนี้ นั่นเป็นการดี ถ้าทำไม่ได้ พึงบอกเขาว่า “ท่าน
โปรดทิ้งของนี้” ถ้าเขาทิ้งให้ นั่นเป็นการดี ถ้าไม่ทิ้งให้ พึงแต่งตั้งภิกษุผู้ประกอบด้วย
คุณสมบัติ ๕ อย่างให้เป็นผู้ทิ้งรูปิยะ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๑๐๙ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๒.โกสิยวรรค ๘.รูปิยสิกขาบท บทภาชนีย์
คุณสมบัติของภิกษุผู้ทิ้งรูปิยะ ๕ อย่าง
๑. ไม่ลำเอียงเพราะชอบ
๒. ไม่ลำเอียงเพราะชัง
๓. ไม่ลำเอียงเพราะหลง
๔. ไม่ลำเอียงเพราะกลัว
๕. รู้วิธีว่าเป็นอันทิ้งหรือไม่เป็นอันทิ้งรูปิยะ

วิธีแต่งตั้งภิกษุผู้ทิ้งรูปิยะ และคำแต่งตั้ง
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงแต่งตั้งอย่างนี้ คือ เบื้องต้นพึงขอให้ภิกษุรับ ครั้นแล้ว
ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติทุติยกรรมวาจาว่า
[๕๘๕] ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ถ้าสงฆ์พร้อมกันแล้วพึงแต่งตั้ง
ภิกษุชื่อนี้ให้เป็นผู้ทิ้งรูปิยะ นี่เป็นญัตติ
ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า สงฆ์แต่งตั้งภิกษุชื่อนี้ให้เป็นผู้ทิ้งรูปิยะ ท่าน
รูปใดเห็นด้วยกับการแต่งตั้งภิกษุชื่อนี้ให้เป็นผู้ทิ้งรูปิยะ ท่านรูปนั้นพึงนิ่ง ท่านรูปใด
ไม่เห็นด้วย ท่านรูปนั้นพึงทักท้วง
ภิกษุชื่อนี้สงฆ์แต่งตั้งให้เป็นผู้ทิ้งรูปิยะ สงฆ์เห็นด้วย เพราะฉะนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้า
ขอถือความนิ่งนั้นเป็นมติอย่างนี้
ภิกษุผู้ได้รับแต่งตั้งนั้นพึงทิ้งรูปิยะไป อย่ากำหนดที่ตก ถ้าทิ้งโดยกำหนดที่ตก
ต้องอาบัติทุกกฏ

บทภาชนีย์
ติกนิสสัคคิยปาจิตตีย์
[๕๘๖] รูปิยะ ภิกษุสำคัญว่าเป็นรูปิยะ รับรูปิยะ ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
รูปิยะ ภิกษุไม่แน่ใจ รับรูปิยะ ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
รูปิยะ ภิกษุสำคัญว่าไม่ใช่รูปิยะ รับรูปิยะ ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๑๑๐ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๒.โกสิยวรรค ๘.รูปิยสิกขาบท อนาปัตติวาร
ทุกทุกกฏ
สิ่งที่ไม่ใช่รูปิยะ ภิกษุสำคัญว่าเป็นรูปิยะ ต้องอาบัติทุกกฏ
สิ่งที่ไม่ใช่รูปิยะ ภิกษุไม่แน่ใจ ต้องอาบัติทุกกฏ
สิ่งที่ไม่ใช่รูปิยะ ภิกษุสำคัญว่าไม่ใช่รูปิยะ ไม่ต้องอาบัติ

อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
๑. ภิกษุหยิบเองหรือใช้ให้คนอื่นหยิบรูปิยะตกในวัดหรือในที่อยู่ เก็บ
ไว้ด้วยตั้งใจว่า เจ้าของจะมาเอาไป
๒. ภิกษุวิกลจริต
๓. ภิกษุต้นบัญญัติ

รูปิยสิกขาบทที่ ๘ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๑๑๑ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๒.โกสิยวรรค ๙.รูปิยสังโวหารสิกขาบท นิทานวัตถุ
๒. โกสิยวรรค

๙. รูปิยสังโวหารสิกขาบท
ว่าด้วยการแลกเปลี่ยนรูปิยะ

เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๕๘๗] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ทำการแลก
เปลี่ยนกันด้วยรูปิยะชนิดต่าง ๆ พวกชาวบ้านพากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า
“ไฉนพระสมณะเชื้อสายศากยบุตรจึงทำการแลกเปลี่ยนกันด้วยรูปิยะชนิดต่าง ๆ เหมือน
พวกคฤหัสถ์ที่ยังบริโภคกามเล่า”
พวกภิกษุได้ยินชาวบ้านตำหนิ ประณาม โพนทะนา บรรดาภิกษุผู้มักน้อย ฯลฯ
พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพวกภิกษุฉัพพัคคีย์จึงทำการแลกเปลี่ยน
กันด้วยรูปิยะชนิดต่าง ๆ เล่า” ครั้นภิกษุเหล่านั้นตำหนิพวกภิกษุฉัพพัคคีย์โดย
ประการต่าง ๆ แล้วจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ

ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามพวกภิกษุฉัพพัคคีย์ว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า พวกเธอทำการแลก
เปลี่ยนกันด้วยรูปิยะชนิดต่าง ๆ จริงหรือ” พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ทูลรับว่า “จริง
พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ฯลฯ โมฆบุรุษทั้งหลาย ไฉน
พวกเธอจึงทำการแลกเปลี่ยนรูปิยะชนิดต่าง ๆ เล่า โมฆบุรุษทั้งหลาย การกระทำ
อย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใส
ยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๑๑๒ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๒.โกสิยวรรค ๙.รูปิยสังโวหารสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์
พระบัญญัติ
[๕๘๘] ก็ ภิกษุใดทำการแลกเปลี่ยนกันด้วยรูปิยะชนิดต่าง ๆ ต้องอาบัติ
นิสสัคคิยปาจิตตีย์
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ

สิกขาบทวิภังค์
[๕๘๙] คำว่า ก็...ใด คือ ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ก็...ใด
คำว่า ภิกษุ มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุ เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระ
ภาคทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุ ในความหมายนี้
ที่ชื่อว่า ชนิดต่าง ๆ คือ เป็นรูปพรรณบ้าง ไม่เป็นรูปพรรณบ้าง เป็นทั้ง
รูปพรรณและไม่เป็นรูปพรรณบ้าง
ที่ชื่อว่า เป็นรูปพรรณ ได้แก่ เครื่องประดับศีรษะ เครื่องประดับคอ เครื่อง
ประดับมือ เครื่องประดับเท้า เครื่องประดับสะเอว
ที่ชื่อว่า ไม่เป็นรูปพรรณ พระองค์ตรัสถึงรูปิยะที่ทำเป็นแท่ง
ที่ชื่อว่า เป็นทั้งรูปพรรณและไม่เป็นรูปพรรณ ได้แก่ เครื่องประดับทั้ง ๒
ประเภทนั้น
ที่ชื่อว่า รูปิยะ ได้แก่ วัตถุที่มีสีดุจพระฉวีของพระศาสดา กหาปณะ มาสก
ที่ทำด้วยโลหะ มาสกที่ทำด้วยไม้ มาสกที่ทำด้วยครั่ง ที่ใช้เป็นอัตราสำหรับ
แลกเปลี่ยนซื้อขายกัน
คำว่า ทำการ คือ เอารูปิยะที่เป็นรูปพรรณแลกเปลี่ยนกับรูปิยะที่เป็นรูปพรรณ
เป็นนิสสัคคีย์
เอารูปิยะที่เป็นรูปพรรณแลกเปลี่ยนกับรูปิยะที่ไม่เป็นรูปพรรณ เป็นนิสสัคคีย์


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๑๑๓ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๒.โกสิยวรรค ๙.รูปิยสังโวหารสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์
เอารูปิยะที่เป็นรูปพรรณแลกเปลี่ยนกับรูปิยะที่เป็นทั้งรูปพรรณและไม่เป็น
รูปพรรณ เป็นนิสสัคคีย์
เอารูปิยะที่ไม่เป็นรูปพรรณแลกเปลี่ยนกับรูปิยะที่เป็นรูปพรรณ เป็นนิสสัคคีย์
เอารูปิยะที่ไม่เป็นรูปพรรณแลกเปลี่ยนกับรูปิยะที่ไม่เป็นรูปพรรณ เป็นนิสสัคคีย์
เอารูปิยะที่ไม่เป็นรูปพรรณแลกเปลี่ยนกับรูปิยะที่เป็นทั้งรูปพรรณและไม่เป็น
รูปพรรณ เป็นนิสสัคคีย์
เอารูปิยะที่เป็นทั้งรูปพรรณและไม่เป็นรูปพรรณแลกเปลี่ยนกับรูปิยะที่เป็นรูป
พรรณ เป็นนิสสัคคีย์
เอารูปิยะที่เป็นทั้งรูปพรรณและไม่เป็นรูปพรรณแลกเปลี่ยนกับรูปิยะที่ไม่เป็น
รูปพรรณ เป็นนิสสัคคีย์
เอารูปิยะที่เป็นทั้งรูปพรรณและไม่เป็นรูปพรรณแลกเปลี่ยนกับรูปิยะที่เป็นทั้ง
รูปพรรณและไม่เป็นรูปพรรณ เป็นนิสสัคคีย์ คือเป็นของจำต้องสละในท่ามกลาง
สงฆ์
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงสละรูปิยะที่เป็นนิสสัคคีย์อย่างนี้

วิธีสละรูปิยะที่เป็นนิสสัคคีย์
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง กราบเท้าภิกษุผู้
แก่พรรษา นั่งกระโหย่งประนมมือ กล่าวว่า “ท่านผู้เจริญ กระผมทำการแลกเปลี่ยน
รูปิยะชนิดต่าง ๆ รูปิยะนี้ของกระผมเป็นนิสสัคคีย์ กระผมสละรูปิยะนี้แก่สงฆ์”
ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ
ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงรับอาบัติ
ถ้าคนวัดหรืออุบาสกผ่านมา พึงบอกเขาว่า “ท่านจงรู้ของนี้” ถ้าเขาถามว่า
“จะให้กระผมนำสิ่งนี้ไปแลกอะไรมา” ไม่ควรบอกเขาว่า “จงนำของนี้หรือของนี้มา”
ควรบอกเฉพาะของที่เป็นกัปปิยะ เช่น เนยใส น้ำมัน น้ำผึ้ง หรือน้ำอ้อย


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๑๑๔ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๒.โกสิยวรรค ๙.รูปิยสังโวหารสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์
ถ้าเขานำรูปิยะนั้นไปแลกของที่เป็นกัปปิยะมาถวาย ยกเว้นภิกษุผู้แลกเปลี่ยน
รูปิยะ ภิกษุนอกนั้นทุกรูปฉันได้ ถ้าทำได้อย่างนี้ นั่นเป็นการดี ถ้าทำไม่ได้
พึงบอกเขาว่า “โปรดทิ้งของนี้” ถ้าเขาทิ้งให้ นั่นเป็นการดี ถ้าไม่ทิ้งให้ พึงแต่งตั้ง
ภิกษุผู้ประกอบด้วยคุณสมบัติ ๕ อย่างให้เป็นผู้ทิ้งรูปิยะ คือ

คุณสมบัติของภิกษุผู้ทิ้งรูปิยะ ๕ อย่าง
๑. ไม่ลำเอียงเพราะชอบ
๒. ไม่ลำเอียงเพราะชัง
๓. ไม่ลำเอียงเพราะหลง
๔. ไม่ลำเอียงเพราะกลัว
๕. รู้วิธีว่าเป็นอันทิ้งหรือไม่เป็นอันทิ้ง

วิธีแต่งตั้งภิกษุผู้ทิ้งรูปิยะ และคำแต่งตั้ง
สงฆ์พึงแต่งตั้งอย่างนี้ คือ เบื้องต้นพึงขอให้ภิกษุรับ ครั้นแล้วภิกษุผู้ฉลาด
สามารถพึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติทุติยกรรมวาจาว่า
[๕๙๐] ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ถ้าสงฆ์พร้อมกันแล้วพึงแต่งตั้ง
ภิกษุชื่อนี้ให้เป็นผู้ทิ้งรูปิยะ นี่เป็นญัตติ
ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า สงฆ์แต่งตั้งภิกษุชื่อนี้ให้เป็นผู้ทิ้งรูปิยะ ท่าน
รูปใดเห็นด้วยกับการแต่งตั้งภิกษุชื่อนี้ให้เป็นผู้ทิ้งรูปิยะ ท่านรูปนั้นพึงนิ่ง ท่านรูปใด
ไม่เห็นด้วย ท่านรูปนั้นพึงทักท้วง
ภิกษุชื่อนี้สงฆ์แต่งตั้งให้เป็นผู้ทิ้งรูปิยะ สงฆ์เห็นด้วย เพราะฉะนั้นจึงนิ่ง
ข้าพเจ้าขอถือความนิ่งนั้นเป็นมติอย่างนี้
ภิกษุผู้ได้รับแต่งตั้งนั้นพึงทิ้งรูปิยะไป อย่ากำหนดที่ตก ถ้าทิ้งโดยกำหนดที่ตก
ต้องอาบัติทุกกฏ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๑๑๕ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๒.โกสิยวรรค ๙.รูปิยสังโวหารสิกขาบท อนาปัตติวาร
บทภาชนีย์
นิสสัคคิยปาจิตตีย์
[๕๙๑] รูปิยะ ภิกษุสำคัญว่าเป็นรูปิยะ แลกเปลี่ยนรูปิยะ ต้องอาบัติ
นิสสัคคิยปาจิตตีย์
รูปิยะ ภิกษุไม่แน่ใจ แลกเปลี่ยนรูปิยะ ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
รูปิยะ ภิกษุสำคัญว่าไม่ใช่รูปิยะ แลกเปลี่ยนรูปิยะ ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
สิ่งที่ไม่ใช่รูปิยะ ภิกษุสำคัญว่าเป็นรูปิยะ แลกเปลี่ยนรูปิยะ ต้องอาบัติ
นิสสัคคิยปาจิตตีย์
สิ่งที่ไม่ใช่รูปิยะ ภิกษุไม่แน่ใจ แลกเปลี่ยนรูปิยะ ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
สิ่งที่ไม่ใช่รูปิยะ ภิกษุสำคัญว่าไม่ใช่รูปิยะ แลกเปลี่ยนรูปิยะ ต้องอาบัติ
นิสสัคคิยปาจิตตีย์

ทุกทุกกฏ
สิ่งที่ไม่ใช่รูปิยะ ภิกษุสำคัญว่าเป็นรูปิยะ ต้องอาบัติทุกกฏ
สิ่งที่ไม่ใช่รูปิยะ ภิกษุไม่แน่ใจ ต้องอาบัติทุกกฏ
สิ่งที่ไม่ใช่รูปิยะ ภิกษุสำคัญว่าไม่ใช่รูปิยะ ไม่ต้องอาบัติ

อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[๕๙๒] ๑. ภิกษุวิกลจริต
๒. ภิกษุต้นบัญญัติ

รูปิยสังโวหารสิกขาบทที่ ๙ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๑๑๖ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๒.โกสิยวรรค ๑๐.กยวิกกยสิกขาบท นิทานวัตถุ
๒. โกสิยวรรค

๑๐. กยวิกกยสิกขาบท
ว่าด้วยการซื้อขาย

เรื่องพระอุปนันทศากยบุตร
[๕๙๓] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น ท่านพระอุปนันทศากยบุตรชำนาญ
การตัดเย็บจีวร ท่านได้เอาผ้าเก่า ๆ ทำสังฆาฏิแล้วย้อม จัดแต่งอย่างดีแล้วใช้ห่ม
สมัยนั้น ปริพาชกผู้หนึ่งห่มผ้าราคาแพงเข้าไปหาท่านพระอุปนันทศากยบุตร
ถึงที่อยู่ ครั้นถึงแล้วได้กล่าวกับท่านว่า “สังฆาฏิของท่านงามจริง ๆ แลกกับผ้าของ
เราเถิด”
ท่านพระอุปนันทศากยบุตรกล่าวว่า “ท่านจงรู้เองเถิด”
ปริพาชกตอบว่า “ข้าพเจ้ารู้ ขอรับ”
ท่านพระอุปนันทศากยบุตรตกลงให้ไป ปริพาชกห่มสังฆาฏิผืนนั้นไปปริพาชการาม
ปริพาชกทั้งหลายถามปริพาชกนั้นว่า “สังฆาฏิของท่านงามจริง ๆ ท่านได้มาแต่ไหน”
เขาตอบว่า “ข้าพเจ้าเอาผ้านั้นแลกมา”
พวกปริพาชกกล่าวว่า “สังฆาฏิผืนนี้จะทนอยู่ได้สักกี่วัน ผ้าผืนนั้นดีกว่า”
สมัยนั้น ปริพาชกนั้นคิดว่า “ปริพาชกทั้งหลายกล่าวจริง สังฆาฏิผืนนี้จะทนอยู่
ได้สักกี่วัน ผ้าผืนนั้นดีกว่า” จึงกลับไปหาท่านพระอุปนันทศากยบุตรถึงที่อยู่ ครั้นถึง
แล้วได้กล่าวกับท่านว่า “เอาสังฆาฏิของท่านไป จงให้ผ้าของเราคืนมา”
ท่านพระอุปนันทศากยบุตรกล่าวว่า “เรากล่าวกับท่านแล้วมิใช่หรือว่า ‘ท่าน
จงรู้เองเถิด’ เราจะไม่ให้”
ปริพาชกนั้นตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “แม้พวกคฤหัสถ์ยังคืนของให้
คฤหัสถ์ผู้เดือดร้อน บรรพชิตไม่ยอมคืนของให้บรรพชิตด้วยกันหรือ”


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๑๑๗ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๒.โกสิยวรรค ๑๐.กยวิกกยสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์
พวกภิกษุได้ยินปริพาชกนั้นตำหนิ ประณาม โพนทะนา บรรดาภิกษุผู้มักน้อย
ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนท่านพระอุปนันทศากยบุตรจึงทำ
การซื้อขายกับปริพาชกเล่า” ครั้นภิกษุเหล่านั้นตำหนิท่านพระอุปนันทศากยบุตร
โดยประการต่าง ๆ แล้วจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ

ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามท่านพระอุปนันทศากยบุตรว่า “อุปนันทะ ทราบว่าเธอทำการซื้อขายกับ
ปริพาชก จริงหรือ” ท่านพระอุปนันทศากยบุตรทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ฯลฯ โมฆบุรุษ ไฉนเธอจึงทำการซื้อขายกับ
ปริพาชกเล่า การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่
เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบท
นี้ขึ้นแสดงดังนี้

พระบัญญัติ
[๕๙๔] ก็ ภิกษุใดทำการซื้อขายมีประการต่าง ๆ ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
เรื่องพระอุปนันทศากยบุตร จบ

สิกขาบทวิภังค์
[๕๙๕] คำว่า ก็...ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ก็...ใด
คำว่า ภิกษุ มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุ เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระ
ภาคทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุ ในความหมายนี้
ที่ชื่อว่า มีประการต่าง ๆ ได้แก่ จีวร บิณฑบาต เสนาสนะและคิลานปัจจัย
เภสัชบริขาร โดยที่สุดกระทั่งก้อนจุรณ ไม้ชำระฟันหรือด้ายชายผ้า
คำว่า ทำการซื้อขาย คือ ภิกษุพูดเป็นเชิงบังคับว่า “ท่านจงให้ของสิ่งนี้
ด้วยของนี้ นำของสิ่งนี้มาด้วยของนี้ แลกเปลี่ยนของสิ่งนี้ด้วยของนี้ จ่ายของสิ่งนี้ด้วย
ของนี้” ดังนี้เป็นต้น ต้องอาบัติทุกกฏ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๑๑๘ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๒.โกสิยวรรค ๑๐.กยวิกกยสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์
ก็ต่อเมื่อสิ่งของของตนตกไปอยู่ในมือของคนอื่น และสิ่งของของคนอื่นตกมา
อยู่ในมือของตนจัดเป็นการซื้อขายกัน เป็นนิสสัคคีย์ คือเป็นของจำต้องสละแก่สงฆ์
แก่คณะหรือแก่บุคคล
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงสละของที่เป็นนิสสัคคีย์อย่างนี้

วิธีสละของที่เป็นนิสสัคคีย์
สละแก่สงฆ์
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง กราบเท้าภิกษุผู้
แก่พรรษา นั่งกระโหย่งประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านผู้เจริญ กระผมได้ทำการ
ซื้อขายมีประการต่าง ๆ สิ่งของนี้ของกระผมเป็นนิสสัคคีย์ กระผมสละสิ่งของนี้แก่
สงฆ์” ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ
ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงรับอาบัติ ครั้นรับอาบัติแล้ว พึงคืนสิ่งของที่เธอสละให้
ด้วยญัตติกรรมวาจาว่า “ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า สิ่งของนี้ของภิกษุชื่อนี้
เป็นนิสสัคคีย์ เธอสละแก่สงฆ์ ถ้าสงฆ์พร้อมกันแล้วก็พึงให้สิ่งของนี้แก่ภิกษุชื่อนี้”

สละแก่คณะ
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุหลายรูป ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง กราบ
เท้าภิกษุผู้แก่พรรษา นั่งกระโหย่งประนมมือ กล่าวว่า “ท่านผู้เจริญ กระผมทำการ
ซื้อขายมีประการต่าง ๆ สิ่งของนี้ของกระผมเป็นนิสสัคคีย์ กระผมสละสิ่งของนี้แก่
ท่านทั้งหลาย” ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ
ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงรับอาบัติ พึงคืนสิ่งของที่เธอสละให้ด้วยกล่าวว่า
“ท่านทั้งหลายจงฟังข้าพเจ้า สิ่งของนี้ของภิกษุชื่อนี้เป็นนิสสัคคีย์ เธอสละแก่ท่าน
ทั้งหลาย ถ้าท่านทั้งหลายพร้อมกันแล้วก็พึงให้สิ่งของนี้แก่ภิกษุชื่อนี้”

สละแก่บุคคล
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุรูปหนึ่ง ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง นั่ง
กระโหย่งประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านขอรับ กระผมทำการซื้อขายมีประการ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๑๑๙ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๒.โกสิยวรรค ๑๐.กยวิกกยสิกขาบท อนาปัตติวาร
ต่าง ๆ สิ่งของนี้ของกระผมเป็นนิสสัคคีย์ กระผมสละสิ่งของนี้แก่ท่าน” ครั้นสละ
แล้วพึงแสดงอาบัติ
ภิกษุผู้รับพึงรับอาบัติแล้วคืนสิ่งของที่เธอสละให้ด้วยกล่าวว่า “กระผมคืน
สิ่งของนี้ให้แก่ท่าน”

บทภาชนีย์
ติกนิสสัคคิยปาจิตตีย์
[๕๙๖] เป็นการซื้อขาย ภิกษุสำคัญว่าเป็นการซื้อขาย ต้องอาบัตินิสสัคคิย
ปาจิตตีย์
เป็นการซื้อขาย ภิกษุไม่แน่ใจ ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
เป็นการซื้อขาย ภิกษุสำคัญว่าไม่ได้เป็นการซื้อขาย ต้องอาบัตินิสสัคคิย
ปาจิตตีย์

ทุกทุกกฏ
ไม่ได้เป็นการซื้อขาย ภิกษุสำคัญว่าเป็นการซื้อขาย ต้องอาบัติทุกกฏ
ไม่ได้เป็นการซื้อขาย ภิกษุไม่แน่ใจ ต้องอาบัติทุกกฏ
ไม่ได้เป็นการซื้อขาย ภิกษุสำคัญว่าไม่ได้เป็นการซื้อขาย ไม่ต้องอาบัติ

อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[๕๙๗] ๑. ภิกษุถามราคา
๒. ภิกษุบอกกัปปิยการก
๓. ภิกษุกล่าวว่า “เรามีของนี้ แต่เราต้องการของนี้ และนี้”
๔. ภิกษุวิกลจริต
๕. ภิกษุต้นบัญญัติ
กยวิกกยสิกขาบทที่ ๑๐ จบ
โกสิยวรรคที่ ๒ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๑๒๐ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๒.โกสิยวรรค รวมสิกขาบทที่มีในโกสิยวรรค
รวมสิกขาบทที่มีในโกสิยวรรค
โกสิยวรรคมี ๑๐ สิกขาบท คือ

๑. โกสิยสิกขาบท ว่าด้วยการทำสันถัตใยไหม
๒. สุทธกาฬกสิกขาบท ว่าด้วยการทำสันถัตโดยใช้ขนเจียมดำล้วน
๓. เทฺวภาคสิกขาบท ว่าด้วยการทำสันถัตโดยใช้ขนเจียมดำ ๒ ส่วน
๔. ฉัพพัสสสิกขาบท ว่าด้วยการเก็บสันถัตไว้ ๖ ปี
๕. นิสีทนสันถตสิกขาบท ว่าด้วยการทำสันถัตสำหรับรองนั่ง
๖. เอฬกโลมสิกขาบท ว่าด้วยการรับขนเจียม
๗. เอฬกโลมโธวาปนสิกขาบท ว่าด้วยการให้ซักขนเจียม
๘. รูปิยสิกขาบท ว่าด้วยการรับรูปิยะ
๙. รูปิยสังโวหารสิกขาบท ว่าด้วยการแลกเปลี่ยนรูปิยะ
๑๐. กยวิกกยสิกขาบท ว่าด้วยการซื้อขาย


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๑๒๑ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๓.ปัตตวรรค ๑.ปัตติสิกขาบท นิทานวัตถุ
๓. ปัตตวรรค
หมวดว่าด้วยบาตร

๑. ปัตตสิกขาบท
ว่าด้วยบาตร

เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๕๙๘] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ทำการสะสม
บาตรไว้เป็นอันมาก พวกชาวบ้านเดินเที่ยวตามวิหารเห็นเข้าจึงตำหนิ ประณาม
โพนทะนาว่า “ไฉนพระสมณะเชื้อสายศากยบุตรจึงทำการสะสมบาตรไว้เป็นอันมาก
จะขายบาตรหรือตั้งร้านขายภาชนะดินเผาหรือ”
ภิกษุทั้งหลายได้ยินชาวบ้านตำหนิ ประณาม โพนทะนา บรรดาภิกษุผู้
มักน้อย ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพวกภิกษุฉัพพัคคีย์จึงทรง
อติเรกบาตร๑ เล่า” ครั้นภิกษุเหล่านั้นตำหนิพวกภิกษุฉัพพัคคีย์โดยประการต่าง ๆ
แล้วจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ

ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามพวกภิกษุฉัพพัคคีย์ว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่าพวกเธอทรงอติเรกบาตร
จริงหรือ” พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาค
พุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ฯลฯ โมฆบุรุษทั้งหลาย ไฉนพวกเธอจึงทรงอติเรกบาตรไว้เล่า
โมฆบุรุษทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือ
ทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลาย
ยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้

เชิงอรรถ :
๑ อติเรกบาตร คือบาตรนอกจากบาตรอธิฏฐานที่ภิกษุตั้งไว้เป็นบริขารใช้บิณฑบาตเพียงใบเดียว (ดูข้อ๖๐๒
หน้า ๑๒๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๑๒๒ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๓.ปัตตวรรค ๑.ปัตติสิกขาบท พระอนุบัญญัติ
พระบัญญัติ
[๕๙๙] ก็ ภิกษุใดทรงอติเรกบาตร ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
สิกขาบทนี้พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติไว้แก่ภิกษุทั้งหลายอย่างนี้
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ

เรื่องพระอานนท์
[๖๐๐] สมัยนั้น อติเรกบาตรเกิดขึ้นแก่ท่านพระอานนท์ ท่านพระอานนท์
ต้องการจะถวายอติเรกบาตรนั้นแก่ท่านพระสารีบุตร แต่ท่านพระสารีบุตรอยู่ที่เมือง
สาเกต ทีนั้น ท่านพระอานนท์ได้มีความคิดว่า “พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติ
สิกขาบทไว้ว่า ‘ภิกษุไม่พึงทรงอติเรกบาตร’ ก็อติเรกบาตรนี้เกิดขึ้นแก่เรา เรา
ต้องการจะถวายท่านพระสารีบุตร แต่ท่านอยู่ที่เมืองสาเกต เราจะพึงปฏิบัติอย่างไร
หนอ” จึงได้นำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “อีกนานเพียงไร สารีบุตรจะกลับมา”
พระอานนท์กราบทูลว่า “อีก ๙ หรือ ๑๐ วันจึงจะกลับมา พระพุทธเจ้าข้า”

ทรงอนุญาตอติเรกบาตร
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมีกถาเพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ รับสั่ง
กับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ทรงอติเรกบาตรไว้ได้ ๑๐ วันเป็น
อย่างมาก” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้

พระอนุบัญญัติ
[๖๐๑] ภิกษุพึงทรงอติเรกบาตรไว้ได้ ๑๐ วันเป็นอย่างมาก ให้เกิน
กำหนดนั้นไป ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
เรื่องพระอานนท์ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๑๒๓ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๓.ปัตตวรรค ๑.ปัตติสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์
สิกขาบทวิภังค์
[๖๐๒] คำว่า ๑๐ วันเป็นอย่างมาก คือ ครอบครองไว้ได้ ๑๐ วันเป็นอย่าง
มาก
ที่ชื่อว่า อติเรกบาตร ได้แก่ บาตรที่ไม่ได้อธิษฐาน ไม่ได้วิกัป
ที่ชื่อว่า บาตร ได้แก่บาตร ๒ ชนิด คือ บาตรเหล็ก และบาตรดินเผา

ขนาดบาตร
บาตรมี ๓ ขนาด คือ (๑) บาตรขนาดใหญ่ (๒) บาตรขนาดกลาง (๓) บาตร
ขนาดเล็ก
ที่ชื่อว่า บาตรขนาดใหญ่ จุข้าวสุกจากข้าวสาร ๒ ทะนาน จุของเคี้ยวเศษ
หนึ่งส่วนสี่๑ จุกับข้าวพอสมควรแก่ข้าวสุกนั้น
ที่ชื่อว่า บาตรขนาดกลาง จุข้าวสุกจากข้าวสาร ๑ ทะนาน จุของเคี้ยวเศษ
หนึ่งส่วนสี่ จุกับข้าวพอสมควรแก่ข้าวสุกนั้น
ที่ชื่อว่า บาตรขนาดเล็ก จุข้าวสุกจากข้าวสารครึ่งทะนาน จุของเคี้ยวเศษหนึ่ง
ส่วนสี่ จุกับข้าวพอสมควรแก่ข้าวสุกนั้น
บาตรมีขนาดใหญ่กว่านั้นเป็นบาตรที่ใช้ไม่ได้ บาตรมีขนาดเล็กกว่านั้นก็เป็น
บาตรที่ใช้ไม่ได้
คำว่า ให้เกินกำหนดนั้นไป ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์ ความว่า เมื่อรุ่ง
อรุณวันที่ ๑๑ บาตรใบนั้น เป็นนิสสัคคีย์ คือเป็นของจำต้องสละแก่สงฆ์ แก่คณะ
หรือแก่บุคคล
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงสละบาตรที่เป็นนิสสัคคีย์อย่างนี้

เชิงอรรถ :
๑ คือเศษหนึ่งส่วนสี่ของข้าวสุก (วิ.อ. ๒/๖๐๒/๒๑๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๑๒๔ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๓.ปัตตวรรค ๑.ปัตติสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์
วิธีสละบาตรที่เป็นนิสสัคคีย์
สละแก่สงฆ์
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง กราบเท้าภิกษุผู้
แก่พรรษา นั่งกระโหย่งประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านผู้เจริญ บาตรใบนี้ของ
กระผมเกินกำหนด ๑๐ วัน เป็นนิสสัคคีย์ กระผมสละบาตรใบนี้แก่สงฆ์” ครั้นสละ
แล้วพึงแสดงอาบัติ
ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงรับอาบัติ พึงคืนบาตรที่เธอสละให้ด้วยญัตติกรรมวาจาว่า
[๖๐๓] “ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า บาตรใบนี้ของภิกษุชื่อนี้ เป็น
นิสสัคคีย์ เธอสละแก่สงฆ์ ถ้าสงฆ์พร้อมกันแล้วพึงให้บาตรใบนี้แก่ภิกษุชื่อนี้”

สละแก่คณะ
[๖๐๔] ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุหลายรูป ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง
กราบเท้าภิกษุผู้แก่พรรษา นั่งกระโหย่งประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านผู้เจริญ
บาตรใบนี้ของกระผมเกินกำหนด ๑๐ วัน เป็นนิสสัคคีย์ กระผมสละบาตรใบนี้แก่
ท่านทั้งหลาย” ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ
ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงรับอาบัติ พึงคืนบาตรที่เธอสละให้ด้วยกล่าวว่า
[๖๐๕] “ท่านทั้งหลายจงฟังข้าพเจ้า บาตรใบนี้ของภิกษุชื่อนี้เป็นนิสสัคคีย์
เธอสละแล้วแก่ท่านทั้งหลาย ถ้าท่านทั้งหลายพร้อมกันแล้วพึงให้บาตรใบนี้แก่ภิกษุ
ชื่อนี้”

สละแก่บุคคล
[๖๐๖] ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุรูปหนึ่ง ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง
นั่งกระโหย่งประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านขอรับ บาตรใบนี้ของกระผมเกิน
กำหนด ๑๐ วัน เป็นนิสสัคคีย์ กระผมสละบาตรใบนี้แก่ท่าน” ครั้นสละแล้วพึง
แสดงอาบัติ
ภิกษุผู้รับสละนั้นพึงรับอาบัติแล้วคืนบาตรที่สละให้ด้วยกล่าวว่า “กระผมให้
บาตรใบนี้แก่ท่าน”


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๑๒๕ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๓.ปัตตวรรค ๑.ปัตติสิกขาบท บทภาชนีย์
บทภาชนีย์
นิสสัคคิยปาจิตตีย์
[๖๐๗] บาตรที่เกินกำหนด ๑๐ วัน ภิกษุสำคัญว่าเกินกำหนดแล้ว ต้อง
อาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
บาตรที่เกินกำหนด ๑๐ วัน ภิกษุไม่แน่ใจ ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
บาตรที่เกินกำหนด ๑๐ วัน ภิกษุสำคัญว่ายังไม่เกิน ต้องอาบัตินิสสัคคิย
ปาจิตตีย์
บาตรที่ยังไม่ได้อธิษฐาน ภิกษุสำคัญว่าอธิษฐานแล้ว ต้องอาบัตินิสสัคคิย
ปาจิตตีย์
บาตรที่ยังไม่ได้วิกัป ภิกษุสำคัญว่าวิกัปแล้ว ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
บาตรยังไม่ได้สละ ภิกษุสำคัญว่าสละแล้ว ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
บาตรยังไม่สูญหาย ภิกษุสำคัญว่าสูญหายแล้ว ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
บาตรยังไม่ฉิบหาย ภิกษุสำคัญว่าฉิบหายแล้ว ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
บาตรยังไม่แตก ภิกษุสำคัญว่าบาตรแตกแล้ว ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
บาตรยังไม่ถูกโจรชิงเอาไป ภิกษุสำคัญว่าถูกชิงเอาไป ต้องอาบัตินิสสัคคิย
ปาจิตตีย์

ติกทุกกฏ
บาตรที่เป็นนิสสัคคีย์ ภิกษุยังไม่สละ ใช้สอย ต้องอาบัติทุกกฏ
บาตรที่ยังไม่เกินกำหนด ๑๐ วัน ภิกษุสำคัญว่าเกินกำหนดแล้ว ใช้สอย ต้อง
อาบัติทุกกฏ
บาตรที่ยังไม่เกินกำหนด ๑๐ วัน ภิกษุไม่แน่ใจ ใช้สอย ต้องอาบัติทุกกฏ
บาตรที่ยังไม่เกินกำหนด ๑๐ วัน ภิกษุสำคัญว่ายังไม่เกินกำหนด ใช้สอย
ไม่ต้องอาบัติ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๑๒๖ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๓.ปัตตวรรค ๑.ปัตติสิกขาบท อนาปัตติวาร
อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[๖๐๘] ๑. ภิกษุผู้อธิษฐานภายใน ๑๐ วัน
๒. ภิกษุผู้วิกัปไว้ภายใน ๑๐ วัน
๓. ภิกษุผู้สละให้ไปภายใน ๑๐ วัน
๔. ภิกษุผู้มีบาตรสูญหายภายใน ๑๐ วัน
๕. ภิกษุผู้มีบาตรฉิบหายภายใน ๑๐ วัน
๖. ภิกษุผู้มีบาตรแตกภายใน ๑๐ วัน
๗. ภิกษุผู้มีบาตรถูกโจรชิงเอาไปภายใน ๑๐ วัน
๘. ภิกษุผู้มีบาตรถูกถือเอาไปโดยวิสาสะภายใน ๑๐ วัน
๙. ภิกษุวิกลจริต
๑๐. ภิกษุต้นบัญญัติ
สมัยนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ไม่ยอมคืนบาตรที่มีผู้สละให้ ภิกษุทั้งหลายจึงนำ
เรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์รับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย
บาตรที่ภิกษุสละให้แล้ว จะไม่คืนให้ไม่ได้ ภิกษุใดไม่คืน ต้องอาบัติทุกกฏ”

ปัตตสิกขาบทที่ ๑ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๑๒๗ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๓.ปัตตวรรค ๒.อูนปัญจพันธนสิกขาบท นิทานวัตถุ
๓. ปัตตวรรค

๒. อูนปัญจพันธนสิกขาบท
ว่าด้วยบาตรมีรอยซ่อมหย่อนกว่า ๕ แห่ง

เรื่องภิกษุหลายรูป
[๖๐๙] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ นิโครธาราม เขต
กรุงกบิลพัสดุ์ แคว้นสักกะ ครั้งนั้น นายช่างหม้อคนหนึ่งปวารณาภิกษุทั้งหลายไว้ว่า
“กระผมจะถวายบาตรแก่พระคุณเจ้าผู้ต้องการบาตร”
สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายไม่รู้ประมาณ ออกปากขอบาตรเป็นอันมาก พวกภิกษุ
ผู้มีบาตรขนาดเล็กก็ออกปากขอบาตรขนาดใหญ่ พวกภิกษุผู้มีบาตรขนาดใหญ่ก็
ออกปากขอบาตรขนาดเล็ก นายช่างมัวทำบาตรเป็นอันมากให้ภิกษุทั้งหลาย จนไม่
สามารถทำการค้าขายอย่างอื่น ตนเองก็หาเลี้ยงชีพไม่พอ ทั้งบุตรภรรยาก็พลอย
ลำบากไปด้วย พวกชาวบ้านตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพวกพระสมณะเชื้อ
สายศากยบุตรจึงไม่รู้ประมาณ ออกปากขอบาตรเป็นอันมากเล่า นายช่างมัวทำ
บาตรเป็นอันมากให้ภิกษุทั้งหลายจนไม่สามารถทำการค้าขายอย่างอื่น ตนเองก็หา
เลี้ยงชีพไม่พอ ทั้งบุตรภรรยาก็พลอยลำบากไปด้วย”
พวกภิกษุได้ยินชาวบ้านตำหนิ ประณาม โพนทะนา บรรดาภิกษุผู้มักน้อย
ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทนาว่า “ไฉนภิกษุทั้งหลายจึงไม่รู้ประมาณ
ออกปากขอบาตรเป็นอันมากเล่า” ครั้นภิกษุทั้งหลายตำหนิภิกษุเหล่านั้นโดย
ประการต่าง ๆ แล้วจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ

ทรงห้ามขอบาตร
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามภิกษุว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า พวกภิกษุไม่รู้ประมาณ ออกปากขอ
บาตรเป็นอันมาก จริงหรือ” ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๑๒๘ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๓.ปัตตวรรค ๒.อูนปัญจพันธนสิกขาบท นิทานวัตถุ
ผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ฯลฯ ภิกษุทั้งหลาย ไฉนโมฆบุรุษเหล่านั้นจึงไม่รู้
ประมาณ ออกปากขอบาตรเล่า ภิกษุทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยัง
ไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ”
ครั้นตำหนิแล้วจึงทรงแสดงธรรมีกถาแล้วตรัสกับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุไม่พึงออกปากขอบาตร รูปใดขอ ต้องอาบัติทุกกฏ”
เรื่องภิกษุหลายรูป จบ

ทรงอนุญาตให้ขอบาตรได้
[๖๑๐] สมัยนั้น บาตรของภิกษุรูปหนึ่งแตก เธอมีความยำเกรงว่า “พระผู้มี
พระภาคทรงห้ามการออกปากขอบาตร” จึงไม่ออกปากขอบาตร เที่ยวรับบิณฑบาต
ด้วยมือทั้งสอง พวกชาวบ้านจึงตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพวกพระสมณะ
เชื้อสายศากยบุตรจึงเที่ยวรับบิณฑบาตด้วยมือทั้งสองเหมือนพวกเดียรถีย์เล่า”
พวกภิกษุได้ยินชาวบ้านตำหนิ ประณาม โพนทะนา จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูล
พระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมีกถาเพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ รับสั่ง
กับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุผู้มีบาตรหายหรือบาตรแตก
ออกปากขอบาตรได้”

เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๖๑๑] สมัยนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ทราบว่า “พระผู้มีพระภาคทรงอนุญาต
ให้ภิกษุผู้มีบาตรหายหรือบาตรแตกออกปากขอบาตรได้” พวกเธอมีบาตรแตกเพียง
เล็กน้อยบ้าง บาตรกะเทาะเพียงเล็กน้อยบ้าง บาตรมีรอยขูดขีดเพียงเล็กน้อยบ้าง
ออกปากขอบาตรมาเป็นอันมาก
สมัยนั้น นายช่างหม้อมัวทำบาตรเป็นอันมากให้ภิกษุทั้งหลายอยู่อย่างนั้น จน
ไม่สามารถค้าขายอย่างอื่น ตนเองก็หาเลี้ยงชีพไม่พอ ทั้งบุตรภรรยาก็พลอยลำบาก
ไปด้วย พวกชาวบ้านจึงตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพวกพระสมณะเชื้อสาย
ศากยบุตรจึงไม่รู้ประมาณ ออกปากขอบาตรเป็นอันมากเล่า นายช่างหม้อมัวทำ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๑๒๙ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๓.ปัตตวรรค ๒.อูนปัญจพันธนสิกขาบท พระบัญญัติ
บาตรเป็นอันมากให้ภิกษุทั้งหลาย จนไม่สามารถทำการค้าขายอย่างอื่น ตนเองก็หา
เลี้ยงชีพไม่พอ ทั้งบุตรภรรยาก็พลอยลำบากไปด้วย”
พวกภิกษุได้ยินชาวบ้านตำหนิ ประณาม โพนทะนา บรรดาภิกษุผู้มักน้อย
ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพวกภิกษุฉัพพัคคีย์มีบาตรแตกเพียง
เล็กน้อยบ้าง บาตรกะเทาะเพียงเล็กน้อยบ้าง บาตรมีรอยขูดขีดเพียงเล็กน้อยบ้าง
ออกปากขอบาตรมาเป็นอันมากเล่า” ครั้นภิกษุเหล่านั้นตำหนิพวกภิกษุฉัพพัคคีย์
โดยประการต่าง ๆ แล้วจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ

ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามพวกภิกษุฉัพพัคคีย์ว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า พวกเธอมีบาตรแตกเพียง
เล็กน้อยบ้าง บาตรกะเทาะเพียงเล็กน้อยบ้าง บาตรมีรอยขูดขีดเพียงเล็กน้อยบ้าง ก็
ออกปากขอบาตรมาเป็นอันมาก จริงหรือ” พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ทูลรับว่า “จริง
พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ฯลฯ โมฆบุรุษทั้งหลาย
ไฉนพวกเธอทั้งที่มีบาตรแตกเพียงเล็กน้อยบ้าง บาตรกะเทาะเพียงเล็กน้อยบ้าง
บาตรมีรอยขูดขีดเพียงเล็กน้อยบ้าง ออกปากขอบาตรมาเป็นอันมากเล่า โมฆบุรุษ
ทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อม
ใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้
ขึ้นแสดงดังนี้

พระบัญญัติ
[๖๑๒] ก็ ภิกษุใดมีบาตรที่มีรอยซ่อมหย่อนกว่า ๕ แห่ง๑ ขอบาตรใหม่
ใบอื่น ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์ ภิกษุนั้นพึงสละบาตรใบนั้นในภิกษุบริษัท
บาตรใบสุดท้ายอันภิกษุบริษัทนั้นพึงมอบให้ภิกษุนั้นด้วยสั่งว่า “ภิกษุ บาตรนี้
เป็นของเธอ พึงใช้จนกว่าจะแตก” นี้เป็นการทำที่สมควรในเรื่องนั้น
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ

เชิงอรรถ :
๑ อูนปญฺจพนฺธเนน มีรอยซ่อมหย่อนกว่า ๕ แห่ง คือบาตรร้าวแล้วใช้เหล็กเจาะบาตรแล้วเอาเชือกด้าย
หรือลวดเย็บผูกแล้วอุดด้วยดีบุกหรือยาง (วิ.อ. ๒/๖๑๒-๓/๒๒๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๑๓๐ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๓.ปัตตวรรค ๒.อูนปัญจพันธนสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์
สิกขาบทวิภังค์
[๖๑๓] คำว่า ก็...ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ก็...ใด
คำว่า ภิกษุ มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุ เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระ
ภาคทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุ ในความหมายนี้
บาตรที่ชื่อว่า มีรอยซ่อมหย่อนกว่า ๕ แห่ง คือ บาตรไม่มีรอยซ่อม หรือ
มีรอยซ่อมเพียง ๑ แห่ง มีรอยซ่อมเพียง ๒ แห่ง มีรอยซ่อมเพียง ๓ แห่ง มีรอย
ซ่อมเพียง ๔ แห่ง
บาตรที่ชื่อว่า ไม่มีรอยซ่อม ได้แก่ บาตรไม่มีรอยร้าวถึง ๒ นิ้ว
บาตรที่ชื่อว่า มีรอยซ่อม ได้แก่ บาตรมีรอยร้าวยาว ๒ นิ้ว
บาตรที่ชื่อว่า ใหม่ พระผู้มีพระภาคตรัสมุ่งเอาการออกปากขอมา
คำว่า ขอ คือ ออกปากขอ ต้องอาบัติทุกกฏเพราะพยายาม บาตรเป็น
นิสสัคคีย์เพราะได้มา คือเป็นของจำต้องสละในท่ามกลางสงฆ์
ภิกษุทุกรูปพึงถือบาตรที่อธิษฐานไปประชุม ไม่ควรอธิษฐานบาตรคุณภาพไม่ดี
ด้วยคิดว่า “เราจะเอาบาตรมีค่ามาก” ถ้าอธิษฐานบาตรคุณภาพไม่ดีด้วยคิดว่า “เรา
จะเอาบาตรมีค่ามาก” ต้องอาบัติทุกกฏ
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงสละบาตรที่เป็นนิสสัคคีย์อย่างนี้

วิธีสละบาตรที่เป็นนิสสัคคีย์
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง กราบเท้าภิกษุผู้
แก่พรรษา นั่งกระโหย่งประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านผู้เจริญ กระผมมีบาตรมี
รอยซ่อมหย่อนกว่า ๕ แห่ง ขอบาตรใบนี้มา เป็นนิสสัคคีย์ กระผมสละบาตรใบนี้
แก่สงฆ์” ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ
ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงรับอาบัติ สงฆ์พึงแต่งตั้งภิกษุผู้ประกอบด้วยคุณสมบัติ
๕ อย่างให้เป็นผู้เปลี่ยนบาตร


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๑๓๑ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๓.ปัตตวรรค ๒.อูนปัญจพันธนสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์
คุณสมบัติของภิกษุผู้เปลี่ยนบาตร ๕ อย่าง
๑. ไม่ลำเอียงเพราะชอบ
๒. ไม่ลำเอียงเพราะชัง
๓. ไม่ลำเอียงเพราะหลง
๔. ไม่ลำเอียงเพราะกลัว
๕. รู้จักวิธีว่าเป็นอันเปลี่ยนหรือไม่เป็นอันเปลี่ยน

วิธีแต่งตั้งภิกษุผู้เปลี่ยนบาตร และกรรมวาจาแต่งตั้ง
สงฆ์พึงแต่งตั้งอย่างนี้ คือเบื้องต้น พึงขอให้ภิกษุรับ ครั้นแล้วภิกษุผู้ฉลาด
สามารถพึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติทุติยกรรมวาจาว่า
[๖๑๔] ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ถ้าสงฆ์พร้อมแล้วพึงสมมติภิกษุนี้
ให้เป็นผู้เปลี่ยนบาตร นี่เป็นญัตติ
ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า สงฆ์แต่งตั้งภิกษุชื่อนี้ให้เป็นผู้เปลี่ยนบาตร
ท่านรูปใดเห็นด้วยกับการแต่งตั้งภิกษุชื่อนี้ให้เป็นผู้เปลี่ยนบาตร ท่านรูปนั้นพึงนิ่ง
ท่านรูปใดไม่เห็นด้วย ท่านรูปนั้นพึงทักท้วง
ภิกษุชื่อนี้สงฆ์แต่งตั้งให้เป็นผู้เปลี่ยนบาตร สงฆ์เห็นด้วย เพราะฉะนั้นจึงนิ่ง
ข้าพเจ้าขอถือความนิ่งนั้นเป็นมติอย่างนี้
[๖๑๕] ภิกษุผู้ได้รับแต่งตั้งพึงให้เปลี่ยนบาตร พึงเรียนพระเถระว่า “ท่าน
ผู้เจริญ ท่านจงเปลี่ยนบาตร” ถ้าพระเถระเปลี่ยน ก็พึงถวายบาตรของพระเถระให้
พระเถระรูปที่ ๒ เปลี่ยน ภิกษุจะไม่เปลี่ยนเพราะความสงสารเธอไม่ได้ ภิกษุใดไม่
ยอมเปลี่ยน ต้องอาบัติทุกกฏ ไม่ควรให้ภิกษุผู้ไม่มีบาตรเปลี่ยน ควรให้เปลี่ยนเลื่อน
ลงมาโดยวิธีนี้จนถึงภิกษุใหม่ในสงฆ์ บาตรใบสุดท้ายท่ามกลางสงฆ์ควรมอบแก่ภิกษุ
นั้นด้วยสั่งว่า “บาตรนี้เป็นของเธอ พึงใช้จนกว่าจะแตก”
ภิกษุนั้นไม่ควรเก็บบาตรไว้ในที่ไม่ควร ไม่ควรใช้สอยโดยวิธีไม่เหมาะ และไม่
ควรทอดทิ้งโดยคิดว่า ‘ทำอย่างไรบาตรใบนี้จะหาย ฉิบหายหรือแตก’ ถ้าเธอเก็บไว้
ในที่ที่ไม่เหมาะ ใช้สอยไม่ถูกวิธีหรือปล่อยทิ้ง ต้องอาบัติทุกกฏ
คำว่า นี้เป็นการทำที่สมควรในเรื่องนั้น คือ นี้เป็นความถูกต้องในเรื่องนั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๑๓๒ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๓.ปัตตวรรค ๒.อูนปัญจพันธนสิกขาบท บทภาชนีย์
บทภาชนีย์
บาตรที่ไม่มีรอยซ่อม
[๖๑๖] ภิกษุมีบาตรที่ไม่มีรอยซ่อม ขอบาตรที่ไม่มีรอยซ่อม ต้องอาบัติ
นิสสัคคิยปาจิตตีย์
ภิกษุมีบาตรที่ไม่มีรอยซ่อม ขอบาตรที่มีรอยซ่อม ๑ แห่ง ต้องอาบัติ
นิสสัคคิยปาจิตตีย์
ภิกษุมีบาตรที่ไม่มีรอยซ่อม ขอบาตรที่มีรอยซ่อม ๒ แห่ง ต้องอาบัติ
นิสสัคคิยปาจิตตีย์
ภิกษุมีบาตรที่ไม่มีรอยซ่อม ขอบาตรที่มีรอยซ่อม ๓ แห่ง ต้องอาบัติ
นิสสัคคิยปาจิตตีย์
ภิกษุมีบาตรที่ไม่มีรอยซ่อม ขอบาตรที่มีรอยซ่อม ๔ แห่ง ต้องอาบัติ
นิสสัคคิยปาจิตตีย์

บาตรที่มีรอยซ่อม ๑ แห่ง
ภิกษุมีบาตรที่มีรอยซ่อม ๑ แห่ง ขอบาตรที่ไม่มีรอยซ่อม ต้องอาบัติ
นิสสัคคิยปาจิตตีย์
ภิกษุมีบาตรที่มีรอยซ่อม ๑ แห่ง ขอบาตรที่มีรอยซ่อม ๑ แห่ง ต้องอาบัติ
นิสสัคคิยปาจิตตีย์
ภิกษุมีบาตรที่มีรอยซ่อม ๑ แห่ง ขอบาตรที่มีรอยซ่อม ๒ แห่ง ต้องอาบัติ
นิสสัคคิยปาจิตตีย์
ภิกษุมีบาตรที่มีรอยซ่อม ๑ แห่ง ขอบาตรที่มีรอยซ่อม ๓ แห่ง ต้องอาบัติ
นิสสัคคิยปาจิตตีย์
ภิกษุมีบาตรที่มีรอยซ่อม ๑ แห่ง ขอบาตรที่มีรอยซ่อม ๔ แห่ง ต้องอาบัติ
นิสสัคคิยปาจิตตีย์


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๑๓๓ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๓.ปัตตวรรค ๒.อูนปัญจพันธนสิกขาบท บทภาชนีย์
บาตรที่มีรอยซ่อม ๒ แห่ง
ภิกษุมีบาตรที่มีรอยซ่อม ๒ แห่ง ขอบาตรที่ไม่มีรอยซ่อม ต้องอาบัติ
นิสสัคคิยปาจิตตีย์
ภิกษุมีบาตรที่มีรอยซ่อม ๒ แห่ง ขอบาตรที่มีรอยซ่อม ๑ แห่ง ต้องอาบัติ
นิสสัคคิยปาจิตตีย์
ภิกษุมีบาตรที่มีรอยซ่อม ๒ แห่ง ขอบาตรที่มีรอยซ่อม ๒ แห่ง ต้องอาบัติ
นิสสัคคิยปาจิตตีย์
ภิกษุมีบาตรที่มีรอยซ่อม ๒ แห่ง ขอบาตรที่มีรอยซ่อม ๓ แห่ง ต้องอาบัติ
นิสสัคคิยปาจิตตีย์
ภิกษุมีบาตรที่มีรอยซ่อม ๒ แห่ง ขอบาตรที่มีรอยซ่อม ๔ แห่ง ต้องอาบัติ
นิสสัคคิยปาจิตตีย์

บาตรที่มีรอยซ่อม ๓ แห่ง
ภิกษุมีบาตรที่มีรอยซ่อม ๓ แห่ง ขอบาตรที่ไม่มีรอยซ่อม ต้องอาบัตินิสสัคคิย
ปาจิตตีย์
ภิกษุมีบาตรที่มีรอยซ่อม ๓ แห่ง ขอบาตรที่มีรอยซ่อม ๑ แห่ง ต้องอาบัติ
นิสสัคคิยปาจิตตีย์
ภิกษุมีบาตรที่มีรอยซ่อม ๓ แห่ง ขอบาตรที่มีรอยซ่อม ๒ แห่ง ต้องอาบัติ
นิสสัคคิยปาจิตตีย์
ภิกษุมีบาตรที่มีรอยซ่อม ๓ แห่ง ขอบาตรที่มีรอยซ่อม ๓ แห่ง ต้องอาบัติ
นิสสัคคิยปาจิตตีย์
ภิกษุมีบาตรที่มีรอยซ่อม ๓ แห่ง ขอบาตรที่มีรอยซ่อม ๔ แห่ง ต้องอาบัติ
นิสสัคคิยปาจิตตีย์

บาตรที่มีรอยซ่อม ๔ แห่ง
ภิกษุมีบาตรที่มีรอยซ่อม ๔ แห่ง ขอบาตรที่ไม่มีรอยซ่อม ต้องอาบัติ
นิสสัคคิยปาจิตตีย์


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๑๓๔ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๓.ปัตตวรรค ๒.อูนปัญจพันธนสิกขาบท บทภาชนีย์
ภิกษุมีบาตรที่มีรอยซ่อม ๔ แห่ง ขอบาตรที่มีรอยซ่อม ๑ แห่ง ต้องอาบัติ
นิสสัคคิยปาจิตตีย์
ภิกษุมีบาตรที่มีรอยซ่อม ๔ แห่ง ขอบาตรที่มีรอยซ่อม ๒ แห่ง ต้องอาบัติ
นิสสัคคิยปาจิตตีย์
ภิกษุมีบาตรที่มีรอยซ่อม ๔ แห่ง ขอบาตรที่มีรอยซ่อม ๓ แห่ง ต้องอาบัติ
นิสสัคคิยปาจิตตีย์
ภิกษุมีบาตรที่มีรอยซ่อม ๔ แห่ง ขอบาตรที่มีรอยซ่อม ๔ แห่ง ต้องอาบัติ
นิสสัคคิยปาจิตตีย์

บาตรที่ไม่มีรอยซ่อม
ภิกษุมีบาตรที่ไม่มีรอยซ่อม ขอบาตรที่ยังไม่มีที่ซ่อม ต้องอาบัตินิสสัคคิย
ปาจิตตีย์
ภิกษุมีบาตรที่ไม่มีรอยซ่อม ขอบาตรที่มีที่ซ่อม ๑ แห่ง ... บาตรที่มีที่ซ่อม
๒ แห่ง ...บาตรที่มีที่ซ่อม ๓ แห่ง ...ภิกษุมีบาตรที่ไม่มีรอยซ่อม ขอบาตรที่มีที่ซ่อม
๔ แห่ง ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์

บาตรที่มีรอยซ่อม ๑ แห่ง
ภิกษุมีบาตรที่มีรอยซ่อม ๑ แห่ง ขอบาตรที่ยังไม่มีที่ซ่อม ...บาตรที่มีที่ซ่อม
๑ แห่ง ...บาตรที่มีที่ซ่อม ๒ แห่ง ...บาตรที่มีที่ซ่อม ๓ แห่ง ...ภิกษุมีบาตรที่มีรอย
ซ่อม ๑ แห่ง ขอบาตรที่มีที่ซ่อม ๔ แห่ง ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์

บาตรที่มีรอยซ่อม ๒ แห่ง
ภิกษุมีบาตรที่มีรอยซ่อม ๒ แห่ง ขอบาตรที่ยังไม่มีที่ซ่อม ...บาตรที่มีที่ซ่อม
๑ แห่ง ...บาตรที่มีที่ซ่อม ๒ แห่ง ...บาตรที่มีที่ซ่อม ๓ แห่ง ...ภิกษุมีบาตรที่มีรอย
ซ่อม ๒ แห่ง ขอบาตรที่มีที่ซ่อม ๔ แห่ง ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๑๓๕ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๓.ปัตตวรรค ๒.อูนปัญจพันธนสิกขาบท บทภาชนีย์
บาตรที่มีรอยซ่อม ๓ แห่ง
ภิกษุมีบาตรที่มีรอยซ่อม ๓ แห่ง ขอบาตรที่ยังไม่มีที่ซ่อม ...บาตรที่มีที่ซ่อม
๑ แห่ง ...บาตรที่มีที่ซ่อม ๒ แห่ง ...บาตรที่มีที่ซ่อม ๓ แห่ง ...ภิกษุมีบาตรที่มีรอย
ซ่อม ๓ แห่ง ขอบาตรที่มีที่ซ่อม ๔ แห่ง ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์

บาตรที่มีรอยซ่อม ๔ แห่ง
ภิกษุมีบาตรที่มีรอยซ่อม ๔ แห่ง ขอบาตรที่ยังไม่มีที่ซ่อม ...บาตรที่มีที่ซ่อม
๑ แห่ง ...บาตรที่มีที่ซ่อม ๒ แห่ง ...บาตรที่มีที่ซ่อม ๓ แห่ง ...ภิกษุมีบาตรที่มีรอย
ซ่อม ๔ แห่ง ขอบาตรที่มีที่ซ่อม ๔ แห่ง ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์

บาตรที่ยังไม่มีที่ซ่อม
ภิกษุมีบาตรที่ยังไม่มีที่ซ่อม ขอบาตรที่ไม่มีรอยซ่อม ต้องอาบัตินิสสัคคิย
ปาจิตตีย์ ภิกษุมีบาตรที่ยังไม่มีที่ซ่อม ขอบาตรมีรอยซ่อม ๑ แห่ง ...บาตรที่มีที่
ซ่อม ๒ แห่ง ...บาตรที่มีที่ซ่อม ๓ แห่ง ...ภิกษุมีบาตรที่ยังไม่มีที่ซ่อม ขอบาตรที่มี
ที่ซ่อม ๔ แห่ง ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์

บาตรที่มีที่ซ่อม ๑ แห่ง
ภิกษุมีบาตรที่มีที่ซ่อม ๑ แห่ง ขอบาตรที่ไม่มีรอยซ่อม ...บาตรที่มีรอยซ่อม ๑
แห่ง ...บาตรที่มีรอยซ่อม ๒ แห่ง ...บาตรที่มีรอยซ่อม ๓ แห่ง ...ภิกษุมีบาตรที่มีที่
ซ่อม ๑ แห่ง ขอบาตรที่มีรอยซ่อม ๔ แห่ง ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์

บาตรที่มีที่ซ่อม ๒ แห่ง
ภิกษุมีบาตรที่มีที่ซ่อม ๒ แห่ง ขอบาตรไม่มีรอยซ่อม ...บาตรที่มีรอยซ่อม ๑
แห่ง ...บาตรที่มีรอยซ่อม ๒ แห่ง ...บาตรที่มีรอยซ่อม ๓ แห่ง ...ภิกษุมีบาตรที่มีที่
ซ่อม ๒ แห่ง ขอบาตรที่มีรอยซ่อม ๔ แห่ง ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๑๓๖ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๓.ปัตตวรรค ๒.อูนปัญจพันธนสิกขาบท บทภาชนีย์
บาตรที่มีที่ซ่อม ๓ แห่ง
ภิกษุมีบาตรที่มีที่ซ่อม ๓ แห่ง ขอบาตรไม่มีรอยซ่อม ...บาตรมีรอยซ่อม ๑
แห่ง ...บาตรที่มีรอยซ่อม ๒ แห่ง ...บาตรที่มีรอยซ่อม ๓ แห่ง ...ภิกษุมีบาตรที่มีที่
ซ่อม ๓ แห่ง ขอบาตรที่มีรอยซ่อม ๔ แห่ง ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์

บาตรที่มีที่ซ่อม ๔ แห่ง
ภิกษุมีบาตรที่มีที่ซ่อม ๔ แห่ง ขอบาตรที่ไม่มีรอยซ่อม ...บาตรที่มีรอยซ่อม ๑
แห่ง ...บาตรที่มีรอยซ่อม ๒ แห่ง ...บาตรที่มีรอยซ่อม ๓ แห่ง ...ภิกษุมีบาตรที่มีรอย
ซ่อม ๔ แห่ง ขอบาตรที่มีรอยซ่อม ๔ แห่ง ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์

บาตรที่ไม่มีที่ซ่อม
ภิกษุมีบาตรที่ไม่มีที่ซ่อม ขอบาตรที่ไม่มีที่ซ่อม ...บาตรที่มีที่ซ่อม ๑ แห่ง
...บาตรที่มีรอยซ่อม ๒ แห่ง ...บาตรมีรอยซ่อม ๓ แห่ง ...ภิกษุมีบาตรที่ไม่มีที่ซ่อม
ขอบาตรที่มีที่ซ่อม ๔ แห่ง ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์

บาตรที่มีที่ซ่อม ๑ แห่ง
ภิกษุมีบาตรที่มีที่ซ่อม ๑ แห่ง ขอบาตรที่ไม่มีที่ซ่อม ...บาตรที่มีที่ซ่อม ๑ แห่ง
...บาตรที่มีที่ซ่อม ๒ แห่ง ...บาตรที่มีที่ซ่อม ๓ แห่ง ...ภิกษุมีบาตรที่มีที่ซ่อม ๑
แห่ง ขอบาตรที่มีที่ซ่อม ๔ แห่ง ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์

บาตรที่มีที่ซ่อม ๒ แห่ง
ภิกษุมีบาตรที่มีที่ซ่อม ๒ แห่ง ขอบาตรที่ไม่มีที่ซ่อม ...บาตรที่มีที่ซ่อม ๑ แห่ง
...บาตรที่มีที่ซ่อม ๒ แห่ง ...บาตรที่มีที่ซ่อม ๓ แห่ง ...ภิกษุมีบาตรที่มีที่ซ่อม ๒
แห่ง ขอบาตรที่มีที่ซ่อม ๔ แห่ง ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๑๓๗ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๓.ปัตตวรรค ๒.อูนปัญจพันธนสิกขาบท อนาปัตติวาร
บาตรที่มีที่ซ่อม ๓ แห่ง
ภิกษุมีบาตรที่มีที่ซ่อม ๓ แห่ง ขอบาตรที่ไม่มีที่ซ่อม ...บาตรที่มีที่ซ่อม ๑ แห่ง
...บาตรที่มีที่ซ่อม ๒ แห่ง ...บาตรที่มีที่ซ่อม ๓ แห่ง ...ภิกษุมีบาตรที่มีที่ซ่อม ๓
แห่ง ขอบาตรที่มีที่ซ่อม ๔ แห่ง ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์

บาตรที่มีที่ซ่อม ๔ แห่ง
ภิกษุมีบาตรที่มีที่ซ่อม ๔ แห่ง ขอบาตรที่ไม่มีที่ซ่อม ...บาตรที่มีที่ซ่อม ๑ แห่ง
...บาตรที่มีที่ซ่อม ๒ แห่ง ...บาตรที่มีที่ซ่อม ๓ แห่ง ...ภิกษุมีบาตรที่มีที่ซ่อม ๔
แห่ง ขอบาตรที่มีที่ซ่อม ๔ แห่ง ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์

อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[๖๑๗] ๑. ภิกษุมีบาตรสูญหาย
๒. ภิกษุมีบาตรแตก
๓. ภิกษุขอจากญาติ
๔. ภิกษุขอจากผู้ปวารณา
๕. ภิกษุขอเพื่อภิกษุอื่น
๖. ภิกษุซื้อมาด้วยทรัพย์ของตน
๗. ภิกษุวิกลจริต
๘. ภิกษุต้นบัญญัติ

อูนปัญจพันธนสิกขาบทที่ ๒ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๑๓๘ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๓.ปัตตวรรค ๓.เภสัชชสิกขาบท นิทานวัตถุ
๓. ปัตตวรรค

๓. เภสัชชสิกขาบท
ว่าด้วยเภสัช

เรื่องพระปิลินทวัจฉะ
[๖๑๘] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น ท่านพระปิลินทวัจฉะประสงค์จะทำ
ที่เร้นจึงให้ภิกษุทั้งหลายทำความสะอาดเงื้อมเขาในกรุงราชคฤห์ สมัยนั้น พระเจ้า
พิมพิสารจอมทัพมคธรัฐได้เสด็จเข้าไปหาท่านพระปิลินทวัจฉะถึงที่พัก ครั้นถึงแล้ว
ได้ทรงอภิวาทแล้วประทับนั่ง ณ ที่สมควร พระเจ้าพิมพิสารจอมทัพมคธรัฐผู้ประทับ
นั่ง ณ ที่สมควรแล้ว ได้ตรัสถามท่านพระปิลินทวัจฉะว่า “พระคุณเจ้าให้ภิกษุ
ทั้งหลายทำอะไร”
“ขอถวายพระพร อาตมภาพประสงค์จะทำที่เร้นจึงให้ภิกษุทั้งหลายทำความ
สะอาดเงื้อมเขา”
“พระคุณเจ้าต้องการคนวัดบ้างไหม”
“ขอถวายพระพร พระผู้มีพระภาคไม่ทรงอนุญาตให้มีคนวัด”
“ถ้าเช่นนั้น พระคุณเจ้าพึงทูลถามพระผู้มีพระภาคแล้วบอกโยมด้วย”
ท่านพระปิลินทวัจฉะทูลสนองพระดำรัสว่า “ขอถวายพระพร อาตมภาพจะทำ
อย่างนั้น” สมัยนั้น ท่านพระปิลินทวัจฉะได้ชี้แจงให้พระเจ้าพิมพิสารจอมทัพมคธรัฐ
เห็นชัด ชวนให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้
สดชื่นร่าเริงด้วยธรรมีกถา จากนั้น พระเจ้าพิมพิสารจอมทัพมคธรัฐซึ่งท่าน
พระปิลินทวัจฉะได้ชี้แจงให้เห็นชัด ชวนให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญ
แกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริงด้วยธรรมีกถาแล้ว ได้เสด็จลุกจากราชอาสน์
ทรงอภิวาทพระเถระ ทำประทักษิณแล้วเสด็จกลับไป


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๑๓๙ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๓.ปัตตวรรค ๓.เภสัชชสิกขาบท นิทานวัตถุ
ทรงอนุญาตให้มีคนทำงานวัด
[๖๑๙] สมัยนั้น ท่านพระปิลินทวัจฉะส่งทูตไปยังสำนักพระผู้มีพระภาค ให้
กราบทูลว่า “พระพุทธเจ้าข้า พระเจ้าพิมพิสารจอมทัพมคธรัฐมีพระราชประสงค์จะ
ทรงถวายคนวัด ข้าพระพุทธเจ้าจะพึงปฏิบัติอย่างไร” ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาค
รับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรงแสดงธรรมีกถา รับสั่งกับภิกษุ
ทั้งหลายว่า “เราอนุญาตให้มีคนวัด” แม้ครั้งที่ ๒ พระเจ้าพิมพิสารจอมทัพมคธรัฐ
เสด็จเข้าไปหาท่านพระปิลินทวัจฉะถึงที่พัก ครั้นถึงแล้วได้ทรงอภิวาทท่านพระ
ปิลินทวัจฉะแล้วประทับนั่ง ณ ที่สมควร พระเจ้าพิมพิสารจอมทัพมคธรัฐผู้ประทับ
นั่ง ณ ที่สมควรแล้ว ได้ตรัสถามท่านพระปิลินทวัจฉะว่า “พระคุณเจ้า พระผู้มีพระ
ภาคทรงอนุญาตให้มีคนวัดแล้วหรือ”
“ขอถวายพระพร ทรงอนุญาตแล้ว”
“ถ้าเช่นนั้น โยมจะถวายคนวัดแก่พระคุณเจ้า”
ท้าวเธอทรงให้สัญญาที่จะถวายคนวัดแก่พระเถระแต่ทรงลืม เมื่อเวลาผ่านไป
นานทรงระลึกได้ ตรัสถามมหาอมาตย์ผู้สนองราชกิจคนหนึ่งว่า “เราถวายคนวัด
ที่ให้สัญญาไว้แก่พระคุณเจ้าแล้วหรือ”
มหาอมาตย์กราบทูลว่า “ขอเดชะ ยังไม่ได้ถวายคนวัดแก่พระคุณเจ้าเลย”
“ผ่านมากี่วันแล้ว”
มหาอมาตย์นับราตรีแล้วกราบทูลว่า “ขอเดชะ ผ่านมา ๕๐๐ ราตรี” พระเจ้า
พิมพิสารจอมทัพมคธรัฐรับสั่งว่า “ถ้าอย่างนั้น จงถวายคนวัด ๕๐๐ คน แก่พระคุณ
เจ้า” มหาอมาตย์รับพระราชโองการแล้วจัดคนวัดไปถวายท่านพระปิลินทวัจฉะ
จำนวน ๕๐๐ คน ตั้งหมู่บ้านขึ้น มาต่างหากมีชื่อเรียกว่าอารามิกคามบ้าง
ปิลินทวัจฉคามบ้าง
[๖๒๐] สมัยนั้น ท่านพระปิลินทวัจฉะเป็นพระประจำตระกูลในหมู่บ้านนั้น
เช้าวันหนึ่ง ท่านทรงอันตรวาสกถือบาตรและจีวรเข้าไปบิณฑบาตในหมู่บ้านปิลินทวัจฉะ
สมัยนั้น ในหมู่บ้านนั้นกำลังมีมหรสพ พวกเด็กหญิงแต่งกายประดับดอกไม้เล่นอยู่
พอดีท่านพระปิลินทวัจฉะเที่ยวบิณฑบาตมาตามลำดับในหมู่บ้านปิลินทวัจฉะ มาถึง


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๑๔๐ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๓.ปัตตวรรค ๓.เภสัชชสิกขาบท นิทานวัตถุ
เรือนคนวัดคนหนึ่ง ครั้นถึงแล้วได้นั่งบนอาสนะที่เขาจัดถวาย ขณะนั้น ธิดาของสตรี
คนวัดเห็นพวกเด็กอื่นแต่งกายประดับดอกไม้จึงร้องไห้ ขอว่า “พ่อแม่โปรดให้
ดอกไม้ โปรดให้เครื่องประดับแก่หนู” พระเถระถามสตรีนั้นว่า “เด็กคนนี้อยากได้
อะไร” นางตอบว่า “ท่านผู้เจริญ เด็กคนนี้เห็นพวกเด็กอื่นแต่งกายประดับดอกไม้จึง
ร้องไห้ ขอพวงดอกไม้และเครื่องประดับว่า ‘พ่อแม่โปรดให้ดอกไม้ โปรดให้เครื่อง
ประดับแก่หนู’ เราคนจนจะได้ดอกไม้และเครื่องประดับมาจากไหนกัน”
ท่านพระปิลินทวัจฉะจึงหยิบเสวียนหญ้า๑ อันหนึ่งส่งให้พลางกล่าวว่า “ท่านจง
สวมเสวียนหญ้าอันนี้ที่ศีรษะเด็กหญิงนั้น” หญิงคนวัดหยิบเสวียนหญ้าสวมที่ศีรษะ
เด็กหญิง เสวียนหญ้ากลายเป็นพวงดอกไม้ทองคำงดงามน่าดูน่าชม พวงดอกไม้
ทองคำอย่างนี้แม้ในพระราชฐานก็ยังไม่มี พวกชาวบ้านกราบทูลพระเจ้าพิมพิสารว่า
“ขอเดชะ ที่เรือนคนวัดโน้นมีพวงดอกไม้ทองคำงดงามน่าดูน่าชม พวงดอกไม้ทองคำ
อย่างนี้แม้ในพระราชฐานก็ยังไม่มี เขาเป็นคนเข็ญใจจะได้มาจากไหน ชะรอยจะได้
มาเพราะทำโจรกรรมเป็นแน่แท้” พระเจ้าพิมพิสารรับสั่งให้จองจำตระกูลคนวัดนั้น
ต่อมา เช้าวันที่ ๒ ท่านพระปิลินทวัจฉะทรงอันตรวาสกถือบาตรและจีวรไป
บิณฑบาตที่ปิลินทวัจฉคามอีก เมื่อเที่ยวบิณฑบาตไปตามลำดับในหมู่บ้านปิลินท
วัจฉะ เดินผ่านไปทางที่อยู่คนวัดคนนั้น ถามคนคุ้นเคยว่า “ครอบครัวคนวัดนี้ไปไหน”
ชาวบ้านตอบว่า “ครอบครัวนี้ถูกจองจำเพราะเรื่องพวงดอกไม้ทองคำ เจ้าข้า”
[๖๒๑] สมัยนั้น ท่านพระปิลินทวัจฉะเข้าไปถึงพระราชนิเวศน์ของพระเจ้า
พิมพิสารจอมทัพมคธรัฐ ครั้นถึงแล้วได้นั่งบนอาสนะที่เขาจัดถวาย ลำดับนั้น พระ
เจ้าพิมพิสารจอมทัพมคธรัฐเสด็จเข้าไปหาพระเถระจนถึงที่นั่ง ทรงอภิวาทแล้ว
ประทับนั่ง ณ ที่สมควร ท่านพระปิลินทวัจฉะทูลถามพระเจ้าพิมพิสารจอมทัพมคธ
รัฐว่า “ขอถวายพระพร ครอบครัวคนวัดถูกจองจำเพราะเรื่องอะไร” พระเจ้า
พิมพิสารจอมทัพมคธรัฐตรัสว่า “ที่บ้าน เขามีพวงดอกไม้ทองคำงดงามน่าดูน่าชม
พวงดอกไม้ทองคำอย่างนี้แม้ในวังก็ยังไม่มี เขาเป็นคนจนจะได้มาจากไหน ชะรอยจะ

เชิงอรรถ :
๑ “เสวียน” คือของเป็นวงกลมสำหรับรองก้นหม้อ ทำด้วยหญ้าหรือหวายเป็นต้น, ของที่ทำเป็นวงกลม
สำหรับรองหรือรับสิ่งต่าง ๆ ดู พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน ๒๕๒๕, หน้า ๘๒๑

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๑๔๑ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๓.ปัตตวรรค ๓.เภสัชชสิกขาบท นิทานวัตถุ
ได้มาเพราะทำโจรกรรมเป็นแน่แท้” ทีนั้นท่านพระปิลินทวัจฉะได้อธิษฐานให้
ปราสาทของพระเจ้าพิมพิสารจอมทัพมคธรัฐเป็นทองคำ ปราสาทกลายเป็นทองคำไ
ปทั้งหลัง แล้วท่านก็ถวายพระพรว่า “ทองคำมากมาย มหาบพิตรได้มาจากไหน”
พระเจ้าพิมพิสารจอมทัพมคธรัฐตรัสว่า “โยมทราบแล้ว นี่เป็นฤทธานุภาพของพระ
คุณเจ้า” แล้วรับสั่งให้ปล่อยครอบครัวนั้น พวกชาวบ้านทราบข่าวว่า “พระคุณเจ้า
ปิลินทวัจฉะแสดงอิทธิปาฏิหาริย์อันเป็นอุตตริมนุสสธรรมในท่ามกลางราชบริษัท”
พากันพอใจเลื่อมใสนำเภสัช ๕ คือ เนยใส เนยข้น น้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อยมาถวาย
ตามปกติท่านพระปิลินทวัจฉะก็ได้เภสัช ๕ อยู่เสมอ ท่านจึงแบ่งเภสัชให้บริษัทของ
ท่าน แต่บริษัทของท่านมักมาก บรรจุเภสัชที่ได้มาแล้ว ๆ ไว้ในตุ่มบ้าง ในหม้อน้ำบ้าง
จนเต็มแล้วเก็บไว้บรรจุลงในหม้อกรองน้ำบ้าง ในถุงย่ามบ้าง แล้วแขวนไว้ที่หน้าต่าง
เภสัชเหล่านั้นไหลเยิ้มซึม จึงมีสัตว์จำพวกหนู ชุกชุมทั่ววิหาร พวกชาวบ้านเที่ยวไป
วิหารพบเข้าจึงพากันตำหนิประณาม โพนทะนาว่า “พวกพระสมณะเชื้อสายศากย
บุตรเหล่านี้มีเรือนคลังเก็บของเหมือนพระเจ้าพิมพิสารจอมทัพมคธรัฐ” พวกภิกษุ
ได้ยินชาวบ้านตำหนิ ประณาม โพนทะนา บรรดาภิกษุผู้มักน้อย ฯลฯ พากันตำหนิ
ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนภิกษุทั้งหลายจึงคิดเพื่อความมักมากเช่นนี้เล่า”
ครั้นภิกษุทั้งหลายตำหนิภิกษุเหล่านั้นโดยประการต่าง ๆ แล้วจึงนำเรื่องนี้ไปกราบ
ทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ

ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่าพวกภิกษุคิดเพื่อความมักมาก
จริงหรือ” ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า
ทรงตำหนิว่า “ฯลฯ ภิกษุทั้งหลาย ไฉนโมฆบุรุษเหล่านั้นจึงคิดเพื่อความมักมาก
เล่า การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใส
อยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้น
แสดงดังนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๑๔๒ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๓.ปัตตวรรค ๓.เภสัชชสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์
พระบัญญัติ
[๖๒๒] ก็ เภสัชใดควรลิ้มสำหรับภิกษุผู้เป็นไข้ คือ เนยใส เนยข้น น้ำมัน
น้ำผึ้ง น้ำอ้อย ภิกษุรับประเคนเภสัชนั้นแล้วเก็บไว้ฉันได้ ๗ วันเป็นอย่างมาก
ให้เกินกำหนดนั้นไป ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
เรื่องพระปิลินทวัจฉะ จบ

สิกขาบทวิภังค์
[๖๒๓] คำว่า เภสัชใดควรลิ้มสำหรับภิกษุผู้เป็นไข้ มีอธิบายดังนี้
ที่ชื่อว่า เนยใส ได้แก่ เนยใสทำจากน้ำนมโคบ้าง เนยใสทำจากน้ำนมแพะบ้าง
เนยใสทำจากน้ำนมกระบือบ้าง หรือเนยใสทำจากน้ำนมสัตว์ที่มีมังสะเป็นกัปปิยะ
ที่ชื่อว่า เนยข้น ได้แก่ เนยข้นทำจากน้ำนมสัตว์เหล่านั้นแหละ
ที่ชื่อว่า น้ำมัน ได้แก่ น้ำมันที่สกัดจากเมล็ดงา น้ำมันที่สกัดจากเมล็ดผักกาด
น้ำมันที่สกัดจากเมล็ดมะซาง น้ำมันที่สกัดจากเมล็ดละหุ่ง หรือน้ำมันไขสัตว์
ที่ชื่อว่า น้ำผึ้ง ได้แก่ น้ำรสหวานที่แมลงผึ้งทำ
ที่ชื่อว่า น้ำอ้อย ได้แก่ น้ำรสหวานที่เกิดจากอ้อย
คำว่า ภิกษุรับประเคนเภสัชนั้นแล้วเก็บไว้ฉันได้ ๗ วันเป็นอย่างมาก คือ
ภิกษุพึงฉันได้ ๗ วันเป็นอย่างมาก
คำว่า ให้เกินกำหนดนั้นไป ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์ ความว่า เมื่อรุ่ง
อรุณวันที่ ๘ เภสัชนั้นเป็นนิสสัคคีย์ คือเป็นของจำต้องสละแก่สงฆ์ แก่คณะหรือแก่
บุคคล
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงสละเภสัชที่เป็นนิสสัคคีย์อย่างนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๑๔๓ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๓.ปัตตวรรค ๓.เภสัชชสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์
วิธีสละเภสัชที่เป็นนิสสัคคีย์
สละแก่สงฆ์
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง กราบเท้าภิกษุผู้
แก่พรรษา นั่งกระโหย่งประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านผู้เจริญ เภสัชของกระผมนี้เ
กินกำหนด ๗ วัน เป็นนิสสัคคีย์ กระผมสละเภสัชนี้แก่สงฆ์” ครั้นสละแล้วพึงแสดง
อาบัติ
ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงรับอาบัติ พึงคืนเภสัชที่เธอสละให้ด้วยญัตติกรรมวาจา
ว่า “ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า เภสัชของภิกษุชื่อนี้เป็นนิสสัคคีย์ เธอสละ
แก่สงฆ์ ถ้าสงฆ์พร้อมกันแล้วก็พึงให้เภสัชนี้แก่ภิกษุชื่อนี้”

สละแก่คณะ
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุหลายรูป ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง กราบ
เท้าภิกษุผู้แก่พรรษา นั่งกระโหย่งประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านผู้เจริญ เภสัช
ของกระผมนี้เกินกำหนด ๗ วัน เป็นนิสสัคคีย์ กระผมสละเภสัชนี้แก่ท่านทั้งหลาย”
ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ
ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงรับอาบัติ พึงคืนเภสัชที่เธอสละให้ด้วยกล่าวว่า “ท่าน
ทั้งหลายจงฟังข้าพเจ้า เภสัชของภิกษุชื่อนี้เป็นนิสสัคคีย์ เธอสละแก่ท่านทั้งหลาย
ถ้าท่านทั้งหลายพร้อมกันแล้วก็พึงให้เภสัชนี้แก่ภิกษุชื่อนี้”

สละแก่บุคคล
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุรูปหนึ่ง ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง นั่ง
กระโหย่งประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านขอรับ เภสัชของกระผมนี้เกินกำหนด ๗
วัน เป็นนิสสัคคีย์ กระผมสละเภสัชนี้แก่ท่าน” ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ
ภิกษุผู้รับสละนั้นพึงรับอาบัติแล้วคืนเภสัชที่เธอสละให้ด้วยกล่าวว่า “กระผม
คืนเภสัชนี้ให้แก่ท่าน”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๑๔๔ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๓.ปัตตวรรค ๓.เภสัชชสิกขาบท บทภาชนีย์
บทภาชนีย์

นิสสัคคิยปาจิตตีย์
[๖๒๔] เภสัชที่เกินกำหนด ๗ วัน ภิกษุสำคัญว่าเกินกำหนดแล้ว ต้องอาบัติ
นิสสัคคิยปาจิตตีย์
เภสัชเกินกำหนด ๗ วัน ภิกษุไม่แน่ใจ ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
เภสัชเกินกำหนด ๗ วัน ภิกษุสำคัญว่ายังไม่เกินกำหนด ต้องอาบัตินิสสัคคิย
ปาจิตตีย์
เภสัชยังไม่ได้อธิษฐาน ภิกษุสำคัญว่าอธิษฐานแล้ว ต้องอาบัตินิสสัคคิย
ปาจิตตีย์
เภสัชยังไม่ได้สละ ภิกษุสำคัญว่าได้สละแล้ว ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
เภสัชยังไม่สูญหาย ภิกษุสำคัญว่าสูญหายแล้ว ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
เภสัชยังไม่ฉิบหาย ภิกษุสำคัญว่าฉิบหายแล้ว ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
เภสัชยังไม่ถูกไฟไหม้ ภิกษุสำคัญว่าถูกไฟไหม้แล้ว ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
เภสัชยังไม่ถูกชิงไป ภิกษุสำคัญว่าถูกชิงไปแล้ว ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
เภสัชที่สละแล้ว ภิกษุได้คืนมา ไม่พึงใช้ด้วยกิจที่เกี่ยวกับร่างกายและไม่ควร
ฉัน พึงน้อมเข้าไปในการตามประทีปหรือการผสมสี ภิกษุอื่นจะใช้ด้วยกิจที่เกี่ยวกับ
ร่างกายก็ได้ แต่ไม่ควรฉัน

ทุกทุกกฏ
เภสัชยังไม่เกินกำหนด ๗ วัน ภิกษุสำคัญว่าเกินกำหนดแล้ว ต้องอาบัติทุกกฏ
เภสัชยังไม่เกินกำหนด ๗ วัน ภิกษุไม่แน่ใจ ต้องอาบัติทุกกฏ
เภสัชยังไม่เกินกำหนด ๗ วัน ภิกษุสำคัญว่ายังไม่เกินกำหนด ไม่ต้องอาบัติ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๑๔๕ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๓.ปัตตวรรค ๓.เภสัชชสิกขาบท อนาปัตติวาร
อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[๖๒๕] ๑. ภิกษุอธิษฐานภายใน ๗ วัน
๒. ภิกษุสละให้ไป
๓. ภิกษุผู้มีเภสัชสูญหายภายใน ๗ วัน
๔. ภิกษุผู้มีเภสัชฉิบหายภายใน ๗ วัน
๕. ภิกษุผู้มีเภสัชถูกไฟไหม้ภายใน ๗ วัน
๖. ภิกษุผู้มีเภสัชถูกโจรชิงไปภายใน ๗ วัน
๗. ภิกษุผู้มีเภสัชถูกถือเอาไปโดยวิสาสะภายใน ๗ วัน
๘. ภิกษุผู้ไม่เยื่อใย ให้แก่อนุปสัมบันด้วยจิตสละละวางแล้วกลับได้
ของนั้นมาฉันอีก
๙. ภิกษุวิกลจริต
๑๐. ภิกษุต้นบัญญติ

เภสัชชสิกขาบทที่ ๓ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๑๔๖ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๓.ปัตตวรรค ๔.วัสสิกสาฏิกสิกขาบท นิทานวัตถุ
๓. ปัตตวรรค

๔. วัสสิกสาฏิกสิกขาบท
ว่าด้วยผ้าอาบน้ำฝน

เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๖๒๖] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคทรงอนุญาตผ้า
อาบน้ำฝนแก่ภิกษุทั้งหลาย พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ทราบว่า พระผู้มีพระภาคทรง
อนุญาตผ้าอาบน้ำฝน จึงแสวงหาผ้าอาบน้ำฝนก่อนบ้าง ทำนุ่งก่อนบ้าง เมื่อผ้า
อาบน้ำฝนเก่าคร่ำคร่าไปแล้วจึงเปลือยกายอาบน้ำฝน บรรดาภิกษุผู้มักน้อย ฯลฯ
พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพวกภิกษุฉัพพัคคีย์จึงแสวงหาผ้าอาบน้ำ
ฝนก่อนบ้าง ทำนุ่งล่วงหน้าก่อนบ้าง เมื่อผ้าอาบน้ำฝนเก่าคร่ำคร่าไปแล้วจึงเปลือย
กายอาบน้ำฝนเล่า” ครั้นภิกษุเหล่านั้นตำหนิพวกภิกษุฉัพพัคคีย์โดยประการต่าง ๆ
แล้วจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ

ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามพวกภิกษุฉัพพัคคีย์ว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า พวกเธอแสวงหาผ้าอาบ
น้ำฝนก่อนบ้าง ทำนุ่งก่อนบ้าง เมื่อผ้าอาบน้ำฝนเก่าคร่ำคร่าไปแล้วได้เปลือยกาย
อาบน้ำฝน จริงหรือ” พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มี
พระภาคทรงตำหนิว่า “ฯลฯ โมฆบุรุษทั้งหลาย ไฉนพวกเธอจึงแสวงหาผ้าอาบน้ำ
ฝนก่อนบ้าง ทำนุ่งล่วงหน้าก่อนบ้าง เมื่อผ้าอาบน้ำฝนเก่าคร่ำคร่าไปแล้วได้เปลือย
กายอาบน้ำฝนเล่า โมฆบุรุษทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใส
ให้เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่ง
ให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๑๔๗ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๓.ปัตตวรรค ๔.วัสสิกสาฏิกสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์
พระบัญญัติ
[๖๒๗] ภิกษุรู้ว่า “ฤดูร้อนยังเหลืออีก ๑ เดือน” พึงแสวงหาจีวรคือผ้า
อาบน้ำฝนได้ รู้ว่า “ฤดูร้อนยังเหลืออีกกึ่งเดือน” พึงทำนุ่งได้ ถ้ารู้ว่า “ยังไม่ถึง
เดือนสุดท้ายแห่งฤดูร้อน” พึงแสวงหาจีวรคือผ้าอาบน้ำฝน รู้ว่า “ยังไม่ถึงกึ่ง
เดือนสุดท้ายแห่งฤดูร้อน” พึงทำนุ่ง ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ

สิกขาบทวิภังค์
[๖๒๘] คำว่า ภิกษุรู้ว่า “ฤดูร้อนยังเหลืออีก ๑ เดือน” พึงแสวงหาจีวรคือ
ผ้าอาบน้ำฝนได้ อธิบายว่า ภิกษุเข้าไปหาพวกชาวบ้านที่เคยถวายผ้าอาบน้ำฝนพึง
กล่าวอย่างนี้ว่า “ถึงเวลาผ้าอาบน้ำฝนแล้ว ถึงคราวผ้าอาบน้ำฝนแล้ว พวกชาวบ้าน
แม้อื่นก็พากันถวายผ้าอาบน้ำฝน” แต่ไม่ควรกล่าวว่า “ท่านทั้งหลายจงถวายผ้า
อาบน้ำฝนแก่อาตมา จงนำผ้าอาบน้ำฝนมาให้อาตมา จงแลกเปลี่ยนผ้าอาบน้ำฝน
มาให้อาตมา จงซื้อผ้าอาบน้ำฝนมาให้อาตมา”
คำว่า รู้ว่า “ฤดูร้อนยังเหลืออีกกึ่งเดือน” พึงทำนุ่งได้ คือ เมื่อฤดูร้อนยัง
เหลืออยู่กึ่งเดือน ภิกษุพึงทำผ้าอาบน้ำฝนนุ่งได้
คำว่า ถ้ารู้ว่า “ยังไม่ถึงเดือนสุดท้ายแห่งฤดูร้อน” คือ เมื่อฤดูร้อนยังเหลือ
เกินกว่า ๑ เดือน ภิกษุแสวงหาผ้าอาบน้ำฝน ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
คำว่า รู้ว่า “ยังไม่ถึงกึ่งเดือนสุดท้ายแห่งฤดูร้อน” คือ เมื่อฤดูร้อนยังเหลือ
เกินกว่ากึ่งเดือน ภิกษุทำผ้าอาบน้ำฝนนุ่ง เป็นนิสสัคคีย์ คือเป็นของจำต้องสละแก่
สงฆ์ แก่คณะหรือแก่บุคคล
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงสละผ้าอาบน้ำฝนที่เป็นนิสสัคคีย์อย่างนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๑๔๘ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๓.ปัตตวรรค ๔.วัสสิกสาฏิกสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์
วิธีสละผ้าอาบน้ำฝนที่เป็นนิสสัคคีย์
สละแก่สงฆ์
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง กราบเท้าภิกษุผู้
แก่พรรษา นั่งกระโหย่งประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านผู้เจริญ ผ้าอาบน้ำฝนผืนนี้
เมื่อฤดูร้อนยังเหลือเกินกว่า ๑ เดือน กระผมแสวงหาแล้ว เมื่อฤดูร้อนยังเหลือเกิน
กว่ากึ่งเดือน ทำนุ่งแล้ว เป็นนิสสัคคีย์ กระผมสละผ้าอาบน้ำฝนผืนนี้แก่สงฆ์” ครั้น
สละแล้วพึงแสดงอาบัติ
ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงรับอาบัติ พึงคืนผ้าอาบน้ำฝนที่เธอสละให้ด้วย
ญัตติกรรมวาจาว่า “ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ผ้าอาบน้ำฝนของภิกษุชื่อนี้
เป็นนิสสัคคีย์ เธอสละแก่สงฆ์ ถ้าสงฆ์พร้อมกันแล้วก็พึงให้ผ้าอาบน้ำฝนผืนนี้แก่
ภิกษุชื่อนี้”

สละแก่คณะ
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุหลายรูป ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง กราบ
เท้าภิกษุผู้แก่พรรษา นั่งกระโหย่งประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านผู้เจริญ ผ้าอาบ
น้ำฝนผืนนี้ เมื่อฤดูร้อนยังเหลือเกินกว่า ๑ เดือน กระผมแสวงหาแล้ว เมื่อฤดูร้อน
ยังเหลือเกินกว่ากึ่งเดือน ทำนุ่งแล้ว เป็นนิสสัคคีย์ กระผมสละผ้าอาบน้ำฝนผืนนี้แก่
ท่านทั้งหลาย” ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ
ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงรับอาบัติ พึงคืนผ้าอาบน้ำฝนที่เธอสละให้ด้วยกล่าว
ว่า “ท่านทั้งหลายจงฟังข้าพเจ้า ผ้าอาบน้ำฝนของภิกษุชื่อนี้เป็นนิสสัคคีย์ เธอสละแก่
ท่านทั้งหลาย ถ้าท่านทั้งหลายพร้อมกันแล้วก็พึงให้ผ้าอาบน้ำฝนผืนนี้แก่ภิกษุชื่อนี้”

สละแก่บุคคล
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุรูปหนึ่ง ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง นั่ง
กระโหย่งประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านขอรับ ผ้าอาบน้ำฝนผืนนี้ เมื่อฤดูร้อนยัง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๑๔๙ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๓.ปัตตวรรค ๔.วัสสิกสาฏิกสิกขาบท บทภาชนีย์
เหลือเกินกว่า ๑ เดือน กระผมแสวงหาแล้ว เมื่อฤดูร้อนยังเหลือเกินกว่ากึ่งเดือน
ทำนุ่งแล้ว เป็นนิสสัคคีย์ กระผมสละผ้าอาบน้ำฝนผืนนี้แก่ท่าน” ครั้นสละแล้ว
พึงแสดงอาบัติ
ภิกษุผู้รับสละนั้นพึงรับอาบัติแล้วคืนผ้าอาบน้ำฝนที่เธอสละให้ด้วยกล่าวว่า
“กระผมคืนผ้าอาบน้ำฝนผืนนี้ให้แก่ท่าน”

บทภาชนีย์
ติกนิสสัคคิยปาจิตตีย์
[๖๒๙] ฤดูร้อนยังเหลือเกิน ๑ เดือน ภิกษุสำคัญว่าเกิน แสวงหาผ้าอาบ
น้ำฝน ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
ฤดูร้อนยังเหลือเกิน ๑ เดือน ภิกษุไม่แน่ใจ แสวงหาผ้าอาบน้ำฝน ต้องอาบัติ
นิสสัคคิยปาจิตตีย์
ฤดูร้อนยังเหลือเกิน ๑ เดือน ภิกษุสำคัญว่าหย่อนกว่า แสวงหาผ้าอาบน้ำฝน
ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์

ติกนิสสัคคิยปาจิตตีย์
ฤดูร้อนยังเหลือเกินกึ่งเดือน ภิกษุสำคัญว่าเกิน ทำนุ่ง ต้องอาบัตินิสสัคคิย
ปาจิตตีย์
ฤดูร้อนยังเหลือเกินกึ่งเดือน ภิกษุไม่แน่ใจ ทำนุ่ง ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
ฤดูร้อนยังเหลือเกินกึ่งเดือน ภิกษุสำคัญว่าหย่อนกว่า ทำนุ่ง ต้องอาบัติ
นิสสัคคิยปาจิตตีย์

ทุกกฏ
เมื่อมีผ้าอาบน้ำฝน ภิกษุเปลือยกายอาบน้ำฝน ต้องอาบัติทุกกฏ
ฤดูร้อนยังเหลือหย่อนกว่า ๑ เดือน ภิกษุสำคัญว่าเกิน ต้องอาบัติทุกกฏ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๑๕๐ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๓.ปัตตวรรค ๔.วัสสิกสาฏิกสิกขาบท อนาปัตติวาร
ฤดูร้อนยังเหลือหย่อนกว่า ๑ เดือน ภิกษุไม่แน่ใจ ต้องอาบัติทุกกฏ
ฤดูร้อนยังเหลือหย่อนกว่า ๑ เดือน ภิกษุสำคัญว่าหย่อนกว่า ไม่ต้องอาบัติ
ฤดูร้อนยังเหลือหย่อนกว่ากึ่งเดือน ภิกษุสำคัญว่าเกิน ต้องอาบัติทุกกฏ
ฤดูร้อนที่ยังเหลือหย่อนกว่ากึ่งเดือน ภิกษุไม่แน่ใจ ต้องอาบัติทุกกฏ
ฤดูร้อนยังเหลือหย่อนกว่ากึ่งเดือน ภิกษุสำคัญว่าหย่อนกว่า ไม่ต้องอาบัติ

อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[๖๓๐] ๑. ภิกษุรู้ว่า “ฤดูร้อนยังเหลืออีก ๑ เดือน” แสวงหาผ้าอาบน้ำฝน
๒. ภิกษุรู้ว่า “ฤดูร้อนยังเหลืออีกกึ่งเดือน” ทำผ้าอาบน้ำฝนนุ่ง
๓. ภิกษุรู้ว่า “ฤดูร้อนยังเหลือหย่อนกว่า ๑ เดือน” แสวงหาผ้าอาบ
น้ำฝน
๔. ภิกษุรู้ว่า “ฤดูร้อนยังเหลือหย่อนกว่ากึ่งเดือน” ทำผ้าอาบน้ำฝน
นุ่ง เมื่อภิกษุแสวงหาได้ผ้าอาบน้ำฝนแล้ว ฤดูฝนเลื่อนออกไป
เมื่อภิกษุทำผ้าอาบน้ำฝนนุ่งแล้ว ฤดูฝนเลื่อนออกไป ควรซัก
เก็บไว้ พึงนุ่งในสมัย
๕. ภิกษุถูกโจรชิงจีวรไป
๖. ภิกษุจีวรสูญหาย
๗. ภิกษุผู้ตกอยู่ในอันตราย
๘. ภิกษุวิกลจริต
๙. ภิกษุต้นบัญญัติ

วัสสิกสาฏิกสิกขาบทที่ ๔ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๑๕๑ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๓.ปัตตวรรค ๕.จีวรอัจฉินทนสิกขาบท นิทานวัตถุ
๓. ปัตตวรรค

๕. จีวรอัจฉินทนสิกขาบท
ว่าด้วยการให้จีวรแล้วชิงเอาคืน

เรื่องพระอุปนันทศากยบุตร
[๖๓๑] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น ท่านพระอุปนันทศากยบุตร
กล่าวชักชวนสัทธิวิหาริกของภิกษุผู้เป็นพี่ชายว่า “มานี่เถิด ท่าน พวกเราจักไปเที่ยว
ชนบทด้วยกัน” ภิกษุนั้นกล่าวตอบว่า “กระผมไม่ไป กระผมมีจีวรชำรุด” ท่านพระ
อุปนันทศากยบุตรกล่าวว่า “ไปเถิด ท่าน ผมจะถวายจีวรแก่ท่าน” แล้วถวายจีวรแก่
ภิกษุนั้น ภิกษุนั้นทราบข่าวว่า “พระผู้มีพระภาคจักเสด็จจาริกไปในชนบท” ทีนั้น
ท่านได้มีความคิดว่า ‘บัดนี้เราจักไม่ไปเที่ยวชนบทกับท่านพระอุปนันทศากยบุตร
แต่จะไปเที่ยวชนบทกับพระผู้มีพระภาค’ ครั้นท่านพระอุปนันทศากยบุตรกล่าวชัก
ชวนภิกษุนั้นว่า “มาเถิด ท่าน บัดนี้พวกเราจะไปเที่ยวชนบทด้วยกัน” ภิกษุนั้นปฏิเสธ
ว่า “กระผมไม่ไปเที่ยวชนบทกับท่านล่ะ กระผมจะไปเที่ยวชนบทกับพระผู้มีพระภาค”
ท่านพระอุปนันทศากยบุตรกล่าวว่า “เราถวายจีวรท่านเพราะตั้งใจว่า ‘จะไปเที่ยว
ชนบทด้วยกัน” จึงโกรธ ไม่พอใจ ชิงจีวรคืน
ต่อมา ภิกษุนั้นได้เล่าเรื่องนั้นให้ภิกษุทั้งหลายทราบ บรรดาภิกษุผู้มักน้อย
ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนท่านพระอุปนันทศากยบุตรให้
จีวรภิกษุเองแล้วโกรธ ไม่พอใจ ชิงเอาคืนมาเล่า” ครั้นภิกษุเหล่านั้นตำหนิท่าน
พระอุปนันทศากยบุตรโดยประการต่าง ๆ แล้วจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มี
พระภาคให้ทรงทราบ

ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามท่านพระอุปนันทศากยบุตรว่า “อุปนันทะ ทราบว่า เธอให้จีวรภิกษุเองแล้ว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๑๕๒ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๓.ปัตตวรรค ๕.จีวรอัจฉินทนสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์
โกรธ ไม่พอใจ ชิงเอาคืนมา จริงหรือ” ท่านพระอุปนันทศากยบุตรทูลรับว่า “จริง
พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ฯลฯ โมฆบุรุษ ไฉนเธอให้
จีวรภิกษุเองแล้วโกรธ ไม่พอใจ ชิงเอาคืนมาเล่า โมฆบุรุษ การกระทำอย่างนี้ มิได้
ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ”
แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้

พระบัญญัติ
[๖๓๒] ก็ ภิกษุใดให้จีวรแก่ภิกษุเองแล้วโกรธ ไม่พอใจ ชิงเอามาหรือใช้
ให้ชิงเอามา ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
เรื่องพระอุปนันทศากยบุตร จบ

สิกขาบทวิภังค์
[๖๓๓] คำว่า ก็...ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ก็...ใด
คำว่า ภิกษุ มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุ เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระ
ภาคทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุ ในความหมายนี้
คำว่า แก่ภิกษุ คือ แก่ภิกษุรูปอื่น
คำว่า เอง คือ ให้ด้วยตนเอง
ที่ชื่อว่า จีวร ได้แก่ จีวร ๖ ชนิด อย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งมีขนาดพอที่จะวิกัป
ได้เป็นอย่างต่ำ
คำว่า โกรธ ไม่พอใจ คือ ไม่ชอบใจ แค้นใจ เจ็บใจ
คำว่า ชิงเอามา คือ ยื้อแย่งเอามาด้วยตนเอง จีวรนั้นเป็นนิสสัคคีย์
คำว่า ใช้ให้ชิงเอามา คือ สั่งผู้อื่น ต้องอาบัติทุกกฏ
ภิกษุผู้รับคำสั่งครั้งเดียวแต่ชิงเอามาหลายครั้ง จีวรนั้นเป็นนิสสัคคีย์ คือเป็น
ของจำต้องสละแก่สงฆ์ แก่คณะหรือแก่บุคคล
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงสละจีวรที่เป็นนิสสัคคีย์อย่างนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๑๕๓ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๓.ปัตตวรรค ๕.จีวรอัจฉินทนสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์
วิธีสละจีวรที่เป็นนิสสัคคีย์
สละแก่สงฆ์
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง กราบเท้าภิกษุผู้
แก่พรรษา นั่งกระโหย่งประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านผู้เจริญ จีวรผืนนี้กระผม
ให้ภิกษุเองแล้วชิงคืนมา เป็นนิสสัคคีย์ กระผมสละจีวรผืนนี้แก่สงฆ์” ครั้นสละแล้ว
พึงแสดงอาบัติ
ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงรับอาบัติ พึงคืนจีวรที่เธอสละให้ด้วยญัตติกรรมวาจา
ว่า “ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า จีวรของภิกษุชื่อนี้เป็นนิสสัคคีย์ เธอสละ
แก่สงฆ์ ถ้าสงฆ์พร้อมกันแล้วก็พึงให้จีวรผืนนี้แก่ภิกษุชื่อนี้”

สละแก่คณะ
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุหลายรูป ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง กราบ
เท้าภิกษุผู้แก่พรรษา นั่งกระโหย่งประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านผู้เจริญ จีวรผืน
นี้กระผมให้ภิกษุเองแล้วชิงคืนมา เป็นนิสสัคคีย์ กระผมสละจีวรผืนนี้แก่ท่าน
ทั้งหลาย” ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ
ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงรับอาบัติ พึงคืนจีวรที่เธอสละให้ด้วยกล่าวว่า “ท่าน
ทั้งหลายจงฟังข้าพเจ้า จีวรของภิกษุชื่อนี้เป็นนิสสัคคีย์ เธอสละแก่ท่านทั้งหลาย
ถ้าท่านทั้งหลายพร้อมกันแล้วก็พึงให้จีวรผืนนี้แก่ภิกษุชื่อนี้”

สละแก่บุคคล
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุรูปหนึ่ง ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง นั่ง
กระโหย่งประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านขอรับ จีวรผืนนี้กระผมให้ภิกษุเองแล้วชิง
คืนมา เป็นนิสสัคคีย์ กระผมสละจีวรผืนนี้แก่ท่าน” ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ
ภิกษุผู้รับสละนั้นพึงรับอาบัติแล้วคืนจีวรที่เธอสละให้ด้วยกล่าวว่า “กระผมคืน
จีวรผืนนี้ให้แก่ท่าน”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๑๕๔ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๓.ปัตตวรรค ๕.จีวรอัจฉินทนสิกขาบท อนาปัตติวาร
บทภาชนีย์
ติกนิสสัคคิยปาจิตตีย์
[๖๓๔] อุปสัมบัน๑ ภิกษุสำคัญว่าเป็นอุปสัมบัน ให้จีวรเองแล้วโกรธ ไม่พอใจ
ชิงเอามาหรือใช้ให้ชิงเอามา ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
อุปสัมบัน ภิกษุไม่แน่ใจ ให้จีวรเองแล้วโกรธ ไม่พอใจ ชิงเอามาหรือใช้ให้ชิง
เอามา ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
อุปสัมบัน ภิกษุสำคัญว่าเป็นอนุปสัมบัน ให้จีวรเองแล้วโกรธ ไม่พอใจ ชิง
เอามาหรือใช้ให้ชิงเอามา ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์

ทุกกฏ
ภิกษุให้บริขารอย่างอื่นแล้วโกรธ ไม่พอใจ ชิงเอามาหรือใช้ให้ชิงเอามา ต้อง
อาบัติทุกกฏ
ภิกษุให้จีวรหรือบริขารอย่างอื่นแก่อนุปสัมบันแล้วโกรธ ไม่พอใจ ชิงเอามา
หรือใช้ให้ชิงเอามา ต้องอาบัติทุกกฏ
อนุปสัมบัน ภิกษุสำคัญว่าเป็นอุปสัมบัน ต้องอาบัติทุกกฏ
อนุปสัมบัน ภิกษุไม่แน่ใจ ต้องอาบัติทุกกฏ
อนุปสัมบัน ภิกษุสำคัญว่าเป็นอนุปสัมบัน ต้องอาบัติทุกกฏ

อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[๖๓๕] ๑. ภิกษุผู้เป็นเจ้าของเดิมรับจีวรที่เขาให้คืนเอง หรือถือเอาโดย
วิสาสะกับภิกษุผู้รับไป
๒. ภิกษุวิกลจริต
๓. ภิกษุต้นบัญญัติ
จีวรอัจฉินทนสิกขาบทที่ ๕ จบ

เชิงอรรถ :
๑ อุปสัมบัน ผู้ได้รับอุปสมบทด้วยญัตติจตุตถกรรมแล้ว หมายถึงภิกษุ (วิ.อ. ๑/๔๕/๒๕๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๑๕๕ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๓.ปัตตวรรค ๖.สุตตวิญญัตติสิกขาบท นิทานวัตถุ
๓. ปัตตวรรค

๖. สุตตวิญญัตติสิกขาบท
ว่าด้วยการออกปากขอด้าย

เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๖๓๖] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเวฬุวัน สถานที่
ให้เหยื่อกระแต เขตกรุงราชคฤห์ ครั้งนั้น เมื่อถึงคราวทำจีวร พวกภิกษุฉัพพัคคีย์
ออกปากขอด้ายมาเป็นอันมาก ครั้นทำจีวรเสร็จแล้ว ด้ายเหลืออยู่เป็นอันมาก ทีนั้น
พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ได้มีความคิดว่า “เอาเถิด พวกเราจะออกปากขอด้ายอื่นมาใช้
ช่างหูกให้ทอจีวร” ต่อมา พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ได้ไปขอด้ายเป็นอันมากมาใช้ช่างหูก
ทอจีวร เมื่อทอจีวรแล้ว ด้ายก็ยังเหลืออีกมาก แม้ครั้งที่ ๒ พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ได้
ไปออกปากขอด้ายอื่นอีกเป็นอันมากมาใช้ช่างหูกให้ทอจีวร เมื่อทอจีวรแล้ว ด้ายก็
ยังเหลืออยู่มาก แม้ครั้งที่ ๓ พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ได้ไปขอด้ายอื่นอีกเป็นอันมากมา
ให้ช่างหูกทอจีวร
พวกชาวบ้านพากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพวกพระสมณะเชื้อ
สายศากยบุตรจึงออกปากขอด้ายมาเองแล้วใช้ช่างหูกให้ทอจีวรเล่า”
พวกภิกษุได้ยินชาวบ้านตำหนิ ประณาม โพนทะนา บรรดาภิกษุผู้มักน้อย
ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพวกภิกษุฉัพพัคคีย์จึงออกปากขอ
ด้ายมาเองแล้วใช้ช่างหูกให้ทอจีวรเล่า” ครั้นภิกษุเหล่านั้นตำหนิพวกภิกษุฉัพพัคคีย์
โดยประการต่าง ๆ แล้วจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ

ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามพวกภิกษุฉัพพัคคีย์ว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า พวกเธอออกปากขอด้าย
มาเองแล้วใช้ช่างหูกให้ทอจีวร จริงหรือ” พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ทูลรับว่า “จริง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๑๕๖ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๓.ปัตตวรรค ๖.สุตตวิญญัตติสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์
พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคทรงตำหนิว่า “ฯลฯ โมฆบุรุษทั้งหลาย ไฉน
พวกเธอจึงออกปากขอด้ายมาเองแล้วใช้ช่างหูกให้ทอจีวรเล่า โมฆบุรุษทั้งหลาย
การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้ว
ให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง
ดังนี้

พระบัญญัติ
[๖๓๗] ก็ ภิกษุใดออกปากขอด้ายมาเองแล้วใช้ช่างหูกให้ทอจีวร ต้อง
อาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ

สิกขาบทวิภังค์
[๖๓๘] คำว่า ก็...ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ก็...ใด
คำว่า ภิกษุ มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุ เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระ
ภาคทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุ ในความหมายนี้
คำว่า เอง คือ ออกปากขอเขามาด้วยตนเอง
ที่ชื่อว่า ด้าย ได้แก่ ด้าย ๖ ชนิด คือ (๑) ด้ายที่ทำด้วยเปลือกไม้ (๒) ด้าย
ที่ทำด้วยฝ้าย (๓) ด้ายที่ทำด้วยไหม (๔) ด้ายที่ทำด้วยขนสัตว์ (๕) ด้ายที่ทำด้วย
ป่าน (๖) ด้ายที่ทำด้วยวัตถุทั้ง ๕ ชนิดผสมกัน
คำว่า ช่างหูก คือ ใช้ช่างหูกให้ทอ
ต้องอาบัติทุกกฏทุกขณะที่พยายาม จีวรเป็นนิสสัคคีย์เพราะได้มา คือเป็นของ
จำต้องสละแก่สงฆ์ แก่คณะหรือแก่บุคคล
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงสละจีวรที่เป็นนิสสัคคีย์อย่างนี้


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๑๕๗ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๓.ปัตตวรรค ๖.สุตตวิญญัตติสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์
วิธีสละจีวรที่เป็นนิสสัคคีย์
สละแก่สงฆ์
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง กราบเท้าภิกษุผู้
แก่พรรษา นั่งกระโหย่งประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านผู้เจริญ จีวรผืนนี้ของ
กระผมออกปากขอด้ายมาเองแล้วใช้ช่างหูกทอ เป็นนิสสัคคีย์ กระผมสละจีวรผืนนี้
แก่สงฆ์” ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ
ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงรับอาบัติ พึงคืนจีวรที่เธอสละให้ด้วยญัตติกรรมวาจาว่า
“ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า จีวรของภิกษุชื่อนี้เป็นนิสสัคคีย์ เธอสละแก่สงฆ์
ถ้าสงฆ์พร้อมกันแล้วก็พึงให้จีวรผืนนี้แก่ภิกษุชื่อนี้”

สละแก่คณะ
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุหลายรูป ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง กราบ
เท้าภิกษุผู้แก่พรรษา นั่งกระโหย่งประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านผู้เจริญ จีวรผืนนี้
กระผมออกปากขอด้ายมาเองแล้วใช้ช่างหูกให้ทอ เป็นนิสสัคคีย์ กระผมสละจีวรผืน
นี้แก่ท่านทั้งหลาย” ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ
ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงรับอาบัติ พึงคืนจีวรที่เธอสละให้ด้วยกล่าวว่า “ท่าน
ทั้งหลายจงฟังข้าพเจ้า จีวรของภิกษุชื่อนี้เป็นนิสสัคคีย์ เธอสละแก่ท่านทั้งหลาย
ถ้าท่านทั้งหลายพร้อมกันแล้วก็พึงให้จีวรผืนนี้แก่ภิกษุชื่อนี้”

สละแก่บุคคล
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุรูปหนึ่ง ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง นั่ง
กระโหย่งประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านขอรับ จีวรผืนนี้กระผมออกปากขอด้าย
มาเองแล้วใช้ช่างหูกให้ทอ เป็นนิสสัคคีย์ กระผมสละจีวรผืนนี้แก่ท่าน” ครั้นสละ
แล้วพึงแสดงอาบัติ
ภิกษุผู้รับสละนั้นพึงรับอาบัติแล้วคืนจีวรที่เธอสละให้ด้วยกล่าวว่า “กระผมคืน
จีวรผืนนี้ให้แก่ท่าน”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๑๕๘ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๓.ปัตตวรรค ๖.สุตตวิญญัตติสิกขาบท อนาปัตติวาร
บทภาชนีย์
ติกนิสสัคคิยปาจิตตีย์
[๖๓๙] จีวรที่ใช้เขาให้ทอ ภิกษุสำคัญว่าใช้เขาให้ทอ ต้องอาบัตินิสสัคคิย
ปาจิตตีย์
จีวรที่ใช้เขาให้ทอ ภิกษุไม่แน่ใจ ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
จีวรที่ใช้เขาให้ทอ ภิกษุสำคัญว่าไม่ได้ใช้เขาให้ทอ ต้องอาบัตินิสสัคคิย
ปาจิตตีย์

ทุกทุกกฏ
จีวรที่ไม่ได้ใช้เขาให้ทอ ภิกษุสำคัญว่าใช้เขาให้ทอ ต้องอาบัติทุกกฏ
จีวรที่ไม่ได้ใช้เขาให้ทอ ภิกษุไม่แน่ใจ ต้องอาบัติทุกกฏ
จีวรที่ไม่ได้ใช้เขาให้ทอ ภิกษุสำคัญว่าไม่ได้ใช้เขาให้ทอ ไม่ต้องอาบัติ

อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[๖๔๐] ๑. ภิกษุขอด้ายมาเย็บจีวร
๒. ภิกษุขอด้ายมาทำผ้ารัดเข่า
๓. ภิกษุขอด้ายมาทำประคดเอว
๔. ภิกษุขอด้ายมาทำผ้าอังสะ
๕. ภิกษุขอด้ายมาทำถุงบาตร
๖. ภิกษุขอด้ายมาทำผ้ากรองน้ำ
๗. ภิกษุขอจากญาติ
๘. ภิกษุขอจากคนปวารณา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๑๕๙ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๓.ปัตตวรรค ๖.สุตตวิญญัตติสิกขาบท อนาปัตติวาร
๙. ภิกษุขอเพื่อภิกษุอื่น
๑๐. ภิกษุซื้อมาด้วยทรัพย์ของตน
๑๑. ภิกษุวิกลจริต
๑๒. ภิกษุต้นบัญญัติ

สุตตวิญญัตติสิกขาบทที่ ๖ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๑๖๐ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๓.ปัตตวรรค ๗.มหาเปสการสิกขาบท นิทานวัตถุ
๓. ปัตตวรรค

๗. มหาเปสการสิกขาบท
ว่าด้วยการสั่งช่างหูกทอจีวร

เรื่องพระอุปนันทศากยบุตร
[๖๔๑] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น ชายคนหนึ่งจะไปค้างคืนต่างถิ่น
กล่าวกับภรรยาว่า “เธอจงกะด้ายแล้วมอบให้ช่างหูกชื่อโน้น ขอให้เขาทอจีวรเก็บไว้
ฉันกลับมาแล้วจะนิมนต์พระคุณเจ้าอุปนันทะให้ครองจีวร”
ภิกษุผู้ถือเที่ยวบิณทบาตเป็นวัตรรูปหนึ่งได้ยินชายคนนั้นกล่าว จึงเข้าไปหา
ท่านพระอุปนันทศากยบุตรถึงที่อยู่ ครั้นถึงแล้วได้กล่าวว่า “ท่านอุปนันทะ ท่านมี
บุญมาก ชายคนหนึ่งในที่โน้นเมื่อจะไปค้างคืนต่างถิ่น กล่าวกับภรรยาว่า ‘เธอจง
กะด้ายแล้วมอบให้ช่างหูกชื่อโน้น ขอให้เขาทอจีวรเก็บไว้ ฉันกลับมาแล้วจะนิมนต์
พระคุณเจ้าอุปนันทะให้ครองจีวร”
ท่านพระอุปนันทศากยบุตรกล่าวว่า “ใช่ ขอรับ เขาเป็นอุปัฏฐากของกระผม”
แม้ช่างหูกนั้นก็เป็นอุปัฏฐากของท่านพระอุปนันทศากยบุตร ต่อมา ท่านพระ
อุปนันทศากยบุตรได้เข้าไปหาช่างหูกนั้นถึงที่อยู่ ครั้นถึงแล้วได้กล่าวกับช่างหูกว่า
“จีวรผืนนี้เขาให้ท่านทอเจาะจงอาตมา ท่านจงทำให้ยาว ให้กว้าง ให้เนื้อแน่น ขึงให้ดี
ทอให้ดี สางให้ดี และกรีดให้ดี”
ช่างหูกกล่าวว่า “พระคุณเจ้า เขากะด้ายส่งมาให้เท่านี้ ทั้งสั่งกำชับว่า จงเอา
ด้ายนี้ทอจีวร’ กระผมไม่สามารถจะทำให้ยาว ให้กว้าง หรือให้เนื้อแน่นได้ แต่จะขึง
ให้ดี ทอให้ดี สางให้ดี และกรีดให้ดีได้ ขอรับ”
ท่านพระอุปนันทศากยบุตรกล่าวว่า “เอาเถอะ ท่านจงทำให้ยาว ให้กว้าง และ
ให้เนื้อแน่นเถิด ไม่ต้องกังวลเรื่องด้าย”


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๑๖๑ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๓.ปัตตวรรค ๗.มหาเปสการสิกขาบท นิทานวัตถุ
ครั้นช่างหูกนำด้ายตามที่เขาส่งมาเข้าเครื่องทอ จึงเข้าไปหาหญิงนั้นถึงที่อยู่
ครั้นถึงแล้วได้กล่าวกับหญิงนั้นว่า “กระผมต้องการด้าย ขอรับ”
หญิงนั้นกล่าวว่า “ดิฉันสั่งคุณแล้วมิใช่หรือว่า ‘จงเอาด้ายนี้ทอจีวร”
ช่างหูกตอบว่า “จริง ขอรับแม่เจ้า ท่านสั่งกระผมว่า ‘จงเอาด้ายนี้ทอจีวร’ แต่
พระคุณเจ้าอุปนันทศากยบุตรกล่าวอย่างนี้ว่า ‘เอาเถอะ ท่านจงทำให้ยาว ให้กว้าง
และให้เนื้อแน่น ไม่ต้องกังวลเรื่องด้าย” หญิงนั้นจึงให้ด้ายเพิ่มเท่ากับที่ให้คราวแรก
ท่านพระอุปนันทศากยบุตรทราบว่า “ชายคนนั้นกลับมาจากการค้างคืน
ต่างถิ่น” จึงเข้าไปหาถึงที่อยู่ ครั้นถึงแล้วจึงนั่งบนอาสนะที่เขาจัดไว้ ชายนั้นเข้าไป
หาท่านพระอุปนันทศากยบุตรถึงที่นั่ง ครั้นถึงแล้วจึงไหว้แล้วนั่ง ณ ที่สมควร ถาม
ภรรยาว่า “จีวรทอเสร็จแล้วหรือ” ภรรยาตอบว่า “เสร็จแล้ว” เขาสั่งว่า “เธอจงนำ
มา ฉันจะนิมนต์พระคุณเจ้าอุปนันทศากยบุตรให้ครองจีวร” ภรรยานำจีวรผืนนั้น
ออกมาให้สามีแล้วเล่าเรื่องให้ทราบ ชายนั้นถวายจีวรนั้นแก่ท่านพระอุปนันทศากย
บุตรแล้วตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “พระสมณะเชื้อสายศากยบุตรเหล่านี้มักมาก
ไม่สันโดษ จะนิมนต์ให้ครองจีวร มิใช่จะทำได้ง่าย ไฉนพระคุณเจ้าอุปนันทศากยบุตร
ที่เราไม่ได้ปวารณาไว้ก่อน จึงเข้าไปหาช่างหูกแล้วกำหนดจีวรเล่า”
ภิกษุทั้งหลายได้ยินบุรุษนั้นตำหนิ ประณาม โพนทะนา บรรดาภิกษุผู้มักน้อย
ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนท่านพระอุปนันทศากยบุตรที่เขาไม่ได้
ปวารณาไว้ก่อน จึงเข้าไปหาช่างหูกแล้วกำหนดจีวรเล่า” ครั้นภิกษุเหล่านั้นตำหนิ
ท่านอุปนันทศากยบุตรโดยประการต่าง ๆ แล้วจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระ
ภาคให้ทรงทราบ

ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามท่านพระอุปนันทศากยบุตรว่า “อุปนันทะ ทราบว่า เขาไม่ได้ปวารณาไว้ก่อน
แต่เธอเข้าไปหาช่างหูกของคฤหัสถ์แล้วกำหนดจีวร จริงหรือ” ท่านพระ
อุปนันทศากยบุตรทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า
“อุปนันทะ เขาเป็นญาติของเธอหรือไม่ใช่ญาติ” ท่านพระอุปนันทศากยบุตรทูลตอบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๑๖๒ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๓.ปัตตวรรค ๗.มหาเปสการสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์
ว่า “ไม่ใช่ญาติ พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคทรงตำหนิว่า “โมฆบุรุษ คฤหัสถ์ผู้
ไม่ใช่ญาติย่อมไม่รู้ความเหมาะสมหรือไม่เหมาะสม ของที่มีอยู่หรือไม่มีของผู้ไม่ใช่
ญาติ เธอนั้น๑ ซึ่งเขาไม่ได้ปวารณาไว้ก่อน เข้าไปหาช่างหูกของคฤหัสถ์ผู้ไม่ใช่
ญาติแล้ว กำหนดจีวรเล่า โมฆบุรุษ การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้
เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่งให้
ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้

พระบัญญัติ
[๖๔๒] ก็ คฤหัสถ์ชายหรือคฤหัสถ์หญิงผู้ไม่ใช่ญาติ สั่งช่างหูกให้ทอจีวร
เจาะจงภิกษุ ถ้าภิกษุนั้นเขาไม่ได้ปวารณาไว้ก่อน เข้าไปหาช่างหูกแล้วกำหนด
ชนิดจีวรในสำนักของเขาว่า “ท่าน จีวรผืนนี้เขาให้ทอเจาะจงอาตมา ท่านจง
ทำให้ยาว ท่านจงทำให้กว้าง ให้เนื้อแน่น ขึงให้ดี ทอให้ดี สางให้ดี และกรีดให้ดี
เอาเถอะ อาตมาจะให้ของเล็กน้อยเป็นรางวัลแก่ท่าน” ครั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว
ถ้าภิกษุนั้นให้ของเล็กน้อยเป็นรางวัล โดยที่สุดแม้แต่อาหารบิณฑบาต ต้อง
อาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
เรื่องพระอุปนันทศากยบุตร จบ

สิกขาบทวิภังค์
[๖๔๓] คำว่า ก็...เจาะจงภิกษุ ความว่า เพื่อประโยชน์ของภิกษุ คือ มุ่ง
เฉพาะภิกษุ ปรารถนาจะให้ภิกษุครองจีวร
ที่ชื่อว่า ผู้ไม่ใช่ญาติ คือ ไม่ใช่คนที่เกี่ยวเนื่องกันทางมารดาหรือทางบิดา
ตลอดเจ็ดชั่วคน
ที่ชื่อว่า คฤหัสถ์ชาย ได้แก่ บุรุษผู้ครองเรือน

เชิงอรรถ :
๑ ตตฺถ เธอนั้นนี้เป็น ปจฺจตฺตกตฺวตฺถ คือมีอรรถเป็นกัตตา ผู้กระทำ ปฐมาวิภัตติ (ตตฺถ นาม ตฺวนฺติ
โส นาม ตฺวํ - วิมติ. ฏีกา ๑/๕๐๓-๕/๔๑๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๑๖๓ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๓.ปัตตวรรค ๗.มหาเปสการสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์
ที่ชื่อว่า คฤหัสถ์หญิง ได้แก่ สตรีผู้ครองเรือน
ที่ชื่อว่า ช่างหูก ได้แก่ คนทอผ้า
ที่ชื่อว่า จีวร ได้แก่ จีวร ๖ ชนิด อย่างใดอย่างหนึ่งซึ่งมีขนาดพอที่จะทำวิกัป
ได้เป็นอย่างต่ำ
คำว่า สั่ง...ให้ทอ คือ ใช้ให้ทอ
คำว่า ถ้าภิกษุนั้น...ในสำนักของเขา ได้แก่ ภิกษุที่เขาสั่งให้ช่างหูกทอจีวร
เจาะจง
คำว่า เขาไม่ได้ปวารณาไว้ก่อน คือ ทายกไม่ได้กล่าวไว้ก่อนว่า “ท่านผู้เจริญ
ท่านต้องการจีวรชนิดไหน กระผมจะให้ทอจีวรชนิดไหนถวายท่าน”
คำว่า เข้าไปหาช่างหูก คือ ไปถึงเรือนแล้วเข้าไปหาที่ใดที่หนึ่ง
คำว่า กำหนดชนิดจีวร คือ กำหนดว่า “จีวรผืนนี้ทอเจาะจงอาตมา ท่าน
จงทำให้ยาว ให้กว้าง ให้เนื้อแน่น ขึงให้ดี ทอให้ดี สางให้ดี และกรีดให้ดี เอาเถอะ
อาตมาจะให้ของเล็กน้อยเป็นรางวัลแก่ท่าน”
คำว่า ครั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว ถ้าภิกษุนั้นให้ของเล็กน้อยเป็นรางวัลโดยที่สุด
แม้แต่อาหารบิณฑบาต มีความว่า ที่ชื่อว่าบิณฑบาต ได้แก่ ข้าวต้ม ข้าวสวย
ของเคี้ยว ก้อนจุรณ ไม้ชำระฟัน หรือด้ายชายผ้า โดยที่สุดกระทั่งกล่าวธรรม
ช่างหูกทำให้ยาว ให้กว้าง ให้เนื้อแน่นตามคำภิกษุ ต้องอาบัติทุกกฏเพราะ
พยายาม จีวรเป็นนิสสัคคีย์เพราะได้มา คือเป็นของจำต้องสละจีวรแก่สงฆ์ แก่คณะ
หรือแก่บุคคล
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงสละจีวรที่เป็นนิสสัคคีย์อย่างนี้

วิธีสละจีวรที่เป็นนิสสัคคีย์
สละแก่สงฆ์
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง กราบเท้าภิกษุ
ผู้แก่พรรษา นั่งกระโหย่งประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านผู้เจริญ จีวรผืนนี้เขา
ไม่ได้ปวารณาไว้ก่อน กระผมเข้าไปหาช่างหูกของคฤหัสถ์ผู้ไม่ใช่ญาติ กำหนดชนิด
จีวร เป็นนิสสัคคีย์ กระผมสละจีวรผืนนี้แก่สงฆ์” ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๑๖๔ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๓.ปัตตวรรค ๗.มหาเปสการสิกขาบท บทภาชนีย์
ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงรับอาบัติ พึงคืนจีวรที่เธอสละให้ด้วยญัตติกรรมวาจา
ว่า “ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า จีวรผืนนี้ของภิกษุชื่อนี้เป็นนิสสัคคีย์ เธอ
สละแก่สงฆ์ ถ้าสงฆ์พร้อมกันแล้วก็พึงให้จีวรผืนนี้แก่ภิกษุชื่อนี้”

สละแก่คณะ
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุหลายรูป ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง กราบ
เท้าภิกษุผู้แก่พรรษา นั่งกระโหย่งประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านผู้เจริญ จีวรผืนนี้
เขาไม่ได้ปวารณาไว้ก่อน กระผมเข้าไปหาช่างหูกของคฤหัสถ์ผู้ไม่ใช่ญาติ กำหนด
ชนิดจีวร เป็นนิสสัคคีย์ กระผมสละจีวรผืนนี้แก่ท่านทั้งหลาย” ครั้นสละแล้วพึง
แสดงอาบัติ
ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงรับอาบัติ พึงคืนจีวรที่เธอสละให้ด้วยกล่าวว่า “ท่าน
ทั้งหลายจงฟังข้าพเจ้า จีวรผืนนี้ของภิกษุชื่อนี้เป็นนิสสัคคีย์ เธอสละแก่ท่านทั้งหลาย
ถ้าท่านทั้งหลายพร้อมกันแล้วพึงให้จีวรผืนนี้แก่ภิกษุชื่อนี้”

สละแก่บุคคล
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุรูปหนึ่ง ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง นั่ง
กระโหย่งประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านขอรับ จีวรผืนนี้เขาไม่ได้ปวารณาไว้ก่อน
กระผมเข้าไปหาช่างหูกของคฤหัสถ์ผู้ไม่ใช่ญาติ กำหนดชนิดจีวร เป็นนิสสัคคีย์
กระผมสละจีวรผืนนี้แก่ท่าน” ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ
ภิกษุผู้รับสละนั้นพึงรับอาบัติแล้วคืนจีวรที่เธอสละให้ด้วยกล่าวว่า “กระผม
คืนจีวรผืนนี้ให้แก่ท่าน”

บทภาชนีย์
ติกนิสสัคคิยปาจิตตีย์
[๖๔๔] คฤหัสถ์ที่ไม่ใช่ญาติ ภิกษุสำคัญว่าไม่ใช่ญาติ เขาไม่ได้ปวารณาไว้
ก่อน เข้าไปหาช่างหูกของคฤหัสถ์กำหนดชนิดจีวร ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
คฤหัสถ์ที่ไม่ใช่ญาติ ภิกษุไม่แน่ใจ เขาไม่ได้ปวารณาไว้ก่อน เข้าไปหาช่างหูก
ของคฤหัสถ์กำหนดชนิดจีวร ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๑๖๕ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๓.ปัตตวรรค ๗.มหาเปสการสิกขาบท อนาปัตติวาร
คฤหัสถ์ที่ไม่ใช่ญาติ ภิกษุสำคัญว่าเป็นญาติ เขาไม่ได้ปวารณาไว้ก่อน เข้าไป
หาช่างหูกของคฤหัสถ์กำหนดชนิดจีวร ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์

ทุกทุกกฏ
คฤหัสถ์ที่เป็นญาติ ภิกษุสำคัญว่าไม่ใช่ญาติ เข้าไปกำหนดชนิดจีวร ต้องอาบัติ
ทุกกฏ
คฤหัสถ์ที่เป็นญาติ ภิกษุไม่แน่ใจ เข้าไปกำหนดชนิดจีวร ต้องอาบัติทุกกฏ
คฤหัสถ์ที่เป็นญาติ ภิกษุสำคัญว่าเป็นญาติ เข้าไปกำหนดชนิดจีวร ไม่ต้อง
อาบัติ

อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[๖๔๕] ๑. ภิกษุกำหนดชนิดจีวรกับช่างหูกของญาติ
๒. ภิกษุกำหนดชนิดจีวรกับช่างหูกของคนปวารณา
๓. ภิกษุกำหนดชนิดจีวรเพื่อภิกษุอื่น
๔. ภิกษุกำหนดชนิดจีวรด้วยทรัพย์ของตน
๕. คฤหัสถ์จะให้ทอจีวรราคาแพงแต่ภิกษุให้ทอจีวรราคาถูก
๖. ภิกษุวิกลจริต
๗. ภิกษุต้นบัญญติ

มหาเปสการสิกขาบทที่ ๗ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๑๖๖ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๓.ปัตตวรรค ๘.อัจเจกจีวรสิกขาบท นิทานวัตถุ
๓. ปัตตวรรค

๘. อัจเจกจีวรสิกขาบท
ว่าด้วยอัจเจกจีวร

เรื่องมหาอมาตย์ถวายผ้าจำนำพรรษา
[๖๔๖] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น มหาอมาตย์คนหนึ่งจะไปค้างคืน
ต่างถิ่น ส่งทูตไปหาภิกษุว่า “ขอพระคุณเจ้าทั้งหลายมาเถิด กระผมจะถวายผ้าจำนำ
พรรษา๑” ภิกษุทั้งหลายรังเกียจว่า “พระผู้มีพระภาคทรงอนุญาตผ้าจำนำพรรษาแก่
ภิกษุผู้อยู่จำพรรษา” จึงไม่ไป
มหาอมาตย์ตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ทำไมพระคุณเจ้าทั้งหลายเมื่อเรา
ส่งทูตไปจึงไม่มาเล่า เราจะเดินทางไปรบ จะเป็นจะตายก็ยากจะรู้ได้”
พวกภิกษุได้ทราบข่าวที่มหาอมาตย์ตำหนิ ประณาม โพนทะนา จึงนำเรื่องนี้
ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ

ทรงอนุญาตอัจเจกจีวร
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมีกถาเพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ รับสั่ง
กับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้รับอัจเจกจีวร๒ เก็บไว้ได้”
[๖๔๗] สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายทราบว่า “พระผู้มีพระภาคทรงอนุญาตให้รับ
อัจเจกจีวรเก็บไว้ได้” จึงรับอัจเจกจีวรเก็บไว้จนเกินสมัยจีวรกาล จีวรเหล่านั้นภิกษุ
ห่อแขวนไว้ที่สายระเดียง
ท่านพระอานนท์เที่ยวจาริกไปตามเสนาสนะเห็นจีวรเหล่านั้นแขวนอยู่ที่สาย
ระเดียง จึงกล่าวกับภิกษุทั้งหลายว่า “จีวรเหล่านี้ของใครแขวนไว้ที่สายระเดียง”

เชิงอรรถ :
๑ ผ้าจำนำพรรษา คือผ้าที่ทายกถวายแก่พระสงฆ์ผู้อยู่จำพรรษาแล้ว (ดูข้อ ๖๔๙ หน้า ๑๖๙ ประกอบ)
๒ อัจเจกจีวร หมายถึงจีวรรีบร้อนหรือผ้าจำนำพรรษาที่ทายกผู้มีเหตุรีบร้อนขอถวายก่อนกำหนดเวลาปกติ
มีพุทธานุญาตให้ภิกษุรับเก็บไว้ได้ แต่ต้องรับก่อนวันปวารณาไม่เกิน ๑๐ วัน (ดูข้อ ๖๔๙ หน้า ๑๖๙)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๑๖๗ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๓.ปัตตวรรค ๘.อัจเจกจีวรสิกขาบท พระบัญญัติ
ภิกษุทั้งหลายตอบว่า “อัจเจกจีวรของพวกกระผม”
ท่านพระอานนท์ถามว่า “ท่านทั้งหลาย พวกท่านเก็บจีวรเหล่านี้ไว้นานกี่
วันแล้ว” ภิกษุเหล่านั้นบอกพระอานนท์ตามที่ได้เก็บไว้
ท่านพระอานนท์ตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ทำไมภิกษุทั้งหลายรับอัจเจก
จีวรแล้วเก็บไว้จนเกินสมัยจีวรกาลเล่า” ครั้นพระอานนท์ตำหนิพวกภิกษุเหล่านั้น
โดยประการต่าง ๆ แล้วนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ

ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย พวกภิกษุรับอัจเจกจีวรเก็บไว้จนเกินสมัย
จีวรกาล จริงหรือ” ภิกษุเหล่านั้นทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาค
พุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “โมฆบุรุษทั้งหลาย ไฉนพวกเธอจึงรับอัจเจกจีวรเก็บไว้จนเกิน
สมัยจีวรกาลเล่า โมฆบุรุษทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้
เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่งให้
ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้

พระบัญญัติ
[๖๔๘] ก็ เมื่อยังเหลืออีก ๑๐ วันจึงจะถึงวันเพ็ญเดือน ๑๑ ซึ่งเป็นวัน
ครบไตรมาส๑ อัจเจกจีวรเกิดขึ้นแก่ภิกษุ ภิกษุรู้อยู่ว่าเป็นอัจเจกจีวรพึงรับไว้
ครั้นรับไว้แล้วควรเก็บไว้ได้ชั่วสมัยที่เป็นจีวรกาล ถ้าเก็บไว้เกินกำหนดนั้น ต้อง
อาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
เรื่องมหาอมาตย์ถวายผ้าจำนำพรรษา จบ

เชิงอรรถ :
๑ หมายถึง วันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ ซึ่งเป็นวันที่ครบ ๓ เดือน นับแต่วันเข้าพรรษา (ดูข้อ ๖๔๙ หน้า ๑๖๙)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๑๖๘ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๓.ปัตตวรรค ๘.อัจเจกจีวรสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์
สิกขาบทวิภังค์
[๖๔๙] คำว่า เมื่อยังเหลืออีก ๑๐ วัน คือ อีก ๑๐ วันจะถึงวันปวารณา
คำว่า วันเพ็ญเดือน ๑๑ ซึ่งเป็นวันครบไตรมาส ท่านกล่าวหมายเอาวัน
ปวารณาเดือน ๑๑
ที่ชื่อว่า อัจเจกจีวร อธิบายว่า ผู้ประสงค์จะไปในกองทัพ ประสงค์จะไป
พักแรมต่างถิ่น เจ็บไข้ สตรีมีครรภ์ ผู้ไม่มีศรัทธาได้เกิดศรัทธาขึ้นหรือผู้ไม่เลื่อมใส
ได้เกิดความเลื่อมใสขึ้น ถ้าเขาส่งทูตไปถึงภิกษุว่า “นิมนต์พระคุณเจ้าทั้งหลายมา
เถิด ข้าพเจ้าจะถวายผ้าจำนำพรรษา” ผ้าเช่นนี้ชื่อว่าอัจเจกจีวร
คำว่า รู้อยู่ว่าเป็นอัจเจกจีวรพึงรับไว้ ครั้นรับไว้แล้วควรเก็บไว้ได้ชั่วสมัยที่
เป็นจีวรกาล คือ ภิกษุพึงทำเครื่องหมายว่า “นี้คืออัจเจกจีวร” แล้วเก็บไว้
ที่ชื่อว่า สมัยที่เป็นจีวรกาล คือ เมื่อยังไม่ได้กรานกฐินมีเวลาท้ายฤดูฝน ๑
เดือน เมื่อกรานกฐินแล้ว ขยายเวลาออกไปอีกเป็น ๕ เดือน
คำว่า ถ้าเก็บไว้เกินกำหนดนั้น คือ เมื่อไม่กรานกฐิน ให้เกินวันสุดท้ายฤดูฝน
ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์ เมื่อได้กรานกฐินแล้วเก็บไว้เลยวันกฐินเดาะ เป็น
นิสสัคคีย์ คือเป็นของจำต้องสละแก่สงฆ์ แก่คณะหรือแก่บุคคล
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงสละอัจเจกจีวรที่เป็นนิสสัคคีย์อย่างนี้

วิธีสละอัจเจกจีวรที่เป็นนิสสัคคีย์
สละแก่สงฆ์
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง กราบเท้าภิกษุผู้
แก่พรรษา นั่งกระโหย่งประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านผู้เจริญ ผ้าอัจเจกจีวรผืนนี้
กระผมทำให้เกินสมัยที่เป็นจีวรกาล เป็นนิสสัคคีย์ กระผมสละอัจเจกจีวรผืนนี้แก่
สงฆ์” ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ
ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงรับอาบัติ พึงคืนอัจเจกจีวรที่เธอสละให้ด้วยญัตติกรรม
วาจาว่า “ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า อัจเจกจีวรผืนนี้ของภิกษุชื่อนี้เป็น
นิสสัคคีย์ เธอสละแก่สงฆ์ ถ้าสงฆ์พร้อมกันแล้วก็พึงให้อัจเจกจีวรผืนนี้แก่ภิกษุชื่อนี้”


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๑๖๙ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๓.ปัตตวรรค ๘.อัจเจกจีวรสิกขาบท บทภาชนีย์
สละแก่คณะ
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุหลายรูป ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง กราบ
เท้าภิกษุผู้แก่พรรษา นั่งกระโหย่งประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านผู้เจริญ ผ้า
อัจเจกจีวรผืนนี้กระผมทำให้เกินสมัยที่เป็นจีวรกาล เป็นนิสสัคคีย์ กระผมสละ
อัจเจกจีวรผืนนี้แก่ท่านทั้งหลาย” ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ
ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงรับอาบัติ ครั้นรับอาบัติแล้ว พึงคืนอัจเจกจีวรที่เธอ
สละให้ด้วยกล่าวว่า “ท่านทั้งหลายจงฟังข้าพเจ้า อัจเจกจีวรผืนนี้ของภิกษุชื่อนี้เป็น
นิสสัคคีย์ เธอสละแก่ท่านทั้งหลาย ถ้าท่านทั้งหลายพร้อมกันแล้วพึงให้อัจเจกจีวร
ผืนนี้แก่ภิกษุชื่อนี้”

สละแก่บุคคล
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุรูปหนึ่ง ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง นั่ง
กระโหย่งประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านผู้เจริญ ผ้าอัจเจกจีวรผืนนี้กระผมทำให้
เกินสมัยที่เป็นจีวรกาล เป็นนิสสัคคีย์ กระผมสละอัจเจกจีวรผืนนี้แก่ท่าน” ครั้นสละ
แล้วพึงแสดงอาบัติ
ภิกษุผู้รับสละนั้นพึงรับอาบัติ แล้วคืนอัจเจกจีวรที่เธอสละให้ด้วยกล่าวว่า
“กระผมคืนอัจเจกจีวรผืนนี้ให้แก่ท่าน”

บทภาชนีย์
นิสสัคคิยปาจิตตีย์
[๖๕๐] อัจเจกจีวร ภิกษุสำคัญว่าอัจเจกจีวร ทำให้เกินสมัยที่เป็นจีวรกาล
ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
อัจเจกจีวร ภิกษุไม่แน่ใจ ทำให้เกินสมัยที่เป็นจีวรกาล ต้องอาบัตินิสสัคคิย
ปาจิตตีย์
อัจเจกจีวร ภิกษุสำคัญว่าไม่ใช่อัจเจกจีวร ทำให้เกินสมัยที่เป็นจีวรกาล ต้อง
อาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๑๗๐ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๓.ปัตตวรรค ๘.อัจเจกจีวรสิกขาบท อนาปัตติวาร
จีวรที่ยังไม่ได้อธิษฐาน ภิกษุสำคัญว่าอธิษฐานแล้ว ต้องอาบัตินิสสัคคิย
ปาจิตตีย์
จีวรที่ยังไม่ได้วิกัป ภิกษุสำคัญว่าวิกัปแล้ว ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
จีวรที่ยังไม่ได้สละ ภิกษุสำคัญว่าสละแล้ว ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
จีวรที่ยังไม่สูญหาย ภิกษุสำคัญว่าสูญหายแล้ว ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
จีวรที่ยังไม่ฉิบหาย ภิกษุสำคัญว่าฉิบหายแล้ว ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
จีวรที่ยังไม่ถูกไฟไหม้ ภิกษุสำคัญว่าถูกไฟไหม้แล้ว ต้องอาบัตินิสสัคคิย
ปาจิตตีย์
จีวรที่ยังไม่ถูกโจรชิงไป ภิกษุสำคัญว่าถูกโจรชิงไปแล้ว ให้เกินสมัยที่เป็น
จีวรกาล ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์

ติกทุกกฏ
ภิกษุยังไม่ได้สละจีวรที่เป็นนิสสัคคีย์ ใช้สอย ต้องอาบัติทุกกฏ
จีวรที่ไม่ใช่อัจเจกจีวร ภิกษุสำคัญว่าอัจเจกจีวร ต้องอาบัติทุกกฏ
จีวรที่ไม่ใช่อัจเจกจีวร ภิกษุไม่แน่ใจ ต้องอาบัติทุกกฏ
จีวรที่ไม่ใช่อัจเจกจีวร ภิกษุสำคัญว่าไม่ใช่อัจเจกจีวร ไม่ต้องอาบัติ

อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[๖๕๑] ๑. ภิกษุอธิษฐานภายในเวลาที่กำหนด
๒. ภิกษุวิกัปไว้ภายในเวลาที่กำหนด
๓. ภิกษุสละให้ไปภายในเวลาที่กำหนด
๔. ภิกษุที่มีจีวรสูญหายภายในเวลาที่กำหนด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๑๗๑ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๓.ปัตตวรรค ๘.อัจเจกจีวรสิกขาบท อนาปัตติวาร
๕. ภิกษุที่มีจีวรฉิบหายภายในเวลาที่กำหนด
๖. ภิกษุที่มีจีวรถูกไฟไหม้
๗. ภิกษุที่มีจีวรถูกโจรชิงเอาไป
๘. ภิกษุผู้มีจีวรถูกถือเอาไปโดยวิสาสะ
๙. ภิกษุวิกลจริต
๑๐. ภิกษุต้นบัญญัติ

อัจเจกจีวรสิกขาบทที่ ๘ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๑๗๒ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๓.ปัตตวรรค ๙.สาสังกสิกขาบท นิทานวัตถุ
๓. ปัตตวรรค

๙. สาสังกสิกขาบท
ว่าด้วยเสนาสนะป่าที่น่าหวาดระแวง

เรื่องภิกษุหลายรูป
[๖๕๒] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุทั้งหลายเมื่อออกพรรษา
ปวารณาแล้วยังอยู่ในเสนาสนะป่า กลุ่มกัตติกโจร๑ เข้าใจว่า “พวกภิกษุมีลาภ” จึง
เข้าปล้น พวกภิกษุได้นำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ

ทรงอนุญาตภิกษุให้เก็บจีวรไว้ในละแวกบ้าน
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมีกถาเพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ รับสั่ง
กับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุผู้อยู่ในเสนาสนะป่าเก็บไตร
จีวรผืนใดผืนหนึ่งไว้ในละแวกบ้านได้”
สมัยนั้น พวกภิกษุทราบว่า “พระผู้มีพระภาคทรงอนุญาตให้ภิกษุผู้อยู่ใน
เสนาสนะป่าเก็บไตรจีวรผืนใดผืนหนึ่งไว้ในละแวกบ้านได้” จึงเก็บไตรจีวรผืนใดผืน
หนึ่งไว้ในละแวกบ้านอยู่ปราศเกิน ๖ คืน จีวรเหล่านั้นสูญหายบ้าง ฉิบหายบ้าง
ถูกไฟไหม้บ้าง ถูกหนูกัดบ้าง ภิกษุเหล่านั้นมีผ้าไม่ดี มีแต่จีวรเก่า ๆ ภิกษุทั้งหลาย
กล่าวอย่างนี้ว่า “เหตุใดพวกท่านมีผ้าไม่ดี มีแต่จีวรเก่า ๆ ” ทีนั้น ภิกษุเหล่านั้นจึง
บอกเรื่องนั้นให้ทราบ
บรรดาภิกษุผู้มักน้อย ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนภิกษุ
ทั้งหลายจึงเก็บไตรจีวรผืนใดผืนหนึ่งไว้ในละแวกบ้าน แล้วอยู่ปราศเกิน ๖ คืนเล่า”
ครั้นภิกษุทั้งหลายตำหนิภิกษุเหล่านั้นโดยประการต่าง ๆ แล้วจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูล
พระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ

เชิงอรรถ :
๑ กตฺติกโจรกาติ กตฺติกมาเส โจรา หมายถึงพวกโจรเดือน ๑๒ (วิ.อ. ๒/๖๕๒/๒๔๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๑๗๓ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๓.ปัตตวรรค ๙.สาสังกสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์
ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า พวกภิกษุเก็บไตรจีวรผืนใด
ผืนหนึ่งไว้ในละแวกบ้านแล้วอยู่ปราศเกิน ๖ คืน จริงหรือ” ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า
“จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ภิกษุทั้งหลาย ไฉน
โมฆบุรุษเหล่านั้นจึงเก็บไตรจีวรผืนใดผืนหนึ่งไว้ในละแวกบ้านแล้วอยู่ปราศเกิน ๖ คืน
ภิกษุทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่
เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้ ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบท
นี้ขึ้นแสดงดังนี้

พระบัญญัติ
[๖๕๓] ก็ ภิกษุจำพรรษาแล้วหวังจะอยู่ในเสนาสนะป่าที่รู้กันว่าน่าหวาด
ระแวง มีภัยน่ากลัวเช่นนั้น จนถึงวันเพ็ญเดือน ๑๒ พึงเก็บไตรจีวรผืนใดผืน
หนึ่งไว้ในละแวกบ้านได้ และภิกษุนั้นควรมีปัจจัยบางอย่างเพื่อการอยู่ปราศ
จากจีวรนั้น ภิกษุนั้นพึงอยู่ปราศจากจีวรนั้นได้ ๖ คืนเป็นอย่างมาก ถ้าอยู่ปราศ
เกินกว่ากำหนดนั้น ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์ เว้นไว้แต่ภิกษุผู้ได้รับสมมติ
เรื่องภิกษุหลายรูป จบ

สิกขาบทวิภังค์
[๖๕๔] คำว่า ก็...จำพรรษาแล้ว คือ ออกพรรษาแล้ว
คำว่า วันเพ็ญเดือน ๑๒ พระผู้มีพระภาคตรัสว่าตรงกับวันปุรณมีดิถีที่ ๔
ในกัตติกามาส
คำว่า เสนาสนะป่า ความว่า เสนาสนะที่ชื่อว่าป่า มีระยะ ๕๐๐ ชั่วธนู
เป็นอย่างต่ำ
ที่ชื่อว่า น่าหวาดระแวง คือ ในอาราม อุปจารแห่งอาราม ปรากฏที่อยู่
ปรากฏที่กิน ปรากฏที่ยืน ปรากฏที่นั่ง ปรากฏที่นอนของพวกโจร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๑๗๔ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๓.ปัตตวรรค ๙.สาสังกสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์
ที่ชื่อว่า มีภัยน่ากลัว คือ ในอาราม อุปจารแห่งอาราม ปรากฏมีมนุษย์
ถูกพวกโจรฆ่า ปรากฏมีมนุษย์ถูกปล้น ปรากฏมีมนุษย์ถูกทุบตี
คำว่า ภิกษุ...จะอยู่ในเสนาสนะป่าเช่นนั้น ความว่า ภิกษุยับยั้งอยู่ใน
เสนาสนะเช่นนั้น
คำว่า หวัง คือ ปรารถนา
คำว่า ไตรจีวรผืนใดผืนหนึ่ง ได้แก่ สังฆาฏิ อุตตราสงค์หรืออันตรวาสก
คำว่า พึงเก็บไว้ในละแวกบ้านได้ คือ เก็บไว้ในโคจรคามโดยรอบ
คำว่า ภิกษุนั้นควรมีปัจจัยบางอย่างเพื่อการอยู่ปราศจากจีวรนั้น คือ มี
เหตุผลหรือกรณียกิจ
คำว่า ภิกษุพึงอยู่ปราศจากจีวรนั้นได้ ๖ คืนเป็นอย่างมาก ความว่า อยู่
ปราศได้เพียง ๖ คืนเป็นอย่างมาก
คำว่า เว้นไว้แต่ภิกษุผู้ได้รับสมมติ คือ ยกเว้นภิกษุที่ได้รับสมมติ
คำว่า ถ้าอยู่ปราศเกินกว่ากำหนดนั้น ความว่า เมื่อรุ่งอรุณวันที่ ๗ มาถึง
จีวรนั้นเป็นนิสสัคคีย์ คือเป็นของจำต้องสละแก่สงฆ์ แก่คณะหรือแก่บุคคล
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงสละจีวรที่เป็นนิสสัคคีย์อย่างนี้

วิธีสละจีวรที่เป็นนิสสัคคีย์
สละแก่สงฆ์
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง กราบเท้าภิกษุผู้
แก่พรรษา นั่งกระโหย่งประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านผู้เจริญ จีวรผืนนี้ของ
กระผมอยู่ปราศเกิน ๖ คืน เป็นนิสสัคคีย์ กระผมสละจีวรผืนนี้แก่สงฆ์” ครั้นสละ
แล้วพึงแสดงอาบัติ
ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงรับอาบัติ พึงคืนจีวรที่เธอสละให้ด้วยญัตติกรรมวาจา
ว่า “ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า จีวรของภิกษุชื่อนี้เป็นนิสสัคคีย์ เธอสละ
แก่สงฆ์ ถ้าสงฆ์พร้อมกันแล้วก็พึงให้จีวรผืนนี้แก่ภิกษุชื่อนี้”


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๑๗๕ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๓.ปัตตวรรค ๙.สาสังกสิกขาบท บทภาชนีย์
สละแก่คณะ
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุหลายรูป ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง กราบ
เท้าภิกษุผู้แก่พรรษา นั่งกระโหย่งประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านผู้เจริญ จีวรผืนนี้
ของกระผมอยู่ปราศเกิน ๖ คืน เป็นนิสสัคคีย์ กระผมสละจีวรผืนนี้แก่ท่าน
ทั้งหลาย” ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ
ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงรับอาบัติ พึงคืนจีวรที่เธอสละให้ด้วยกล่าวว่า “ท่าน
ทั้งหลายจงฟังข้าพเจ้า จีวรผืนนี้ของภิกษุชื่อนี้เป็นนิสสัคคีย์ เธอสละแก่ท่านทั้งหลาย
ถ้าท่านทั้งหลายพร้อมกันแล้วก็พึงให้จีวรผืนนี้แก่ภิกษุชื่อนี้”

สละแก่บุคคล
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุรูปหนึ่ง ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง นั่ง
กระโหย่งประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านขอรับ จีวรผืนนี้ของกระผมอยู่ปราศเกิน
๖ คืน เป็นนิสสัคคีย์ กระผมสละจีวรผืนนี้แก่ท่าน” ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ
ภิกษุผู้รับสละนั้นพึงรับอาบัติแล้วคืนจีวรที่เธอสละให้ด้วยกล่าวว่า “กระผม
คืนจีวรผืนนี้ให้แก่ท่าน”

บทภาชนีย์
นิสสัคคิยปาจิตตีย์
[๖๕๕] จีวรเกิน ๖ คืน ภิกษุสำคัญว่าเกิน อยู่ปราศ ต้องอาบัตินิสสัคคิย
ปาจิตตีย์ เว้นไว้แต่ภิกษุได้สมมติ
จีวรเกิน ๖ คืน ภิกษุไม่แน่ใจ อยู่ปราศ ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์ เว้นไว้
แต่ภิกษุได้สมมติ
จีวรเกิน ๖ คืน ภิกษุสำคัญว่าหย่อนกว่า อยู่ปราศ ต้องอาบัตินิสสัคคิย
ปาจิตตีย์ เว้นไว้แต่ภิกษุได้สมมติ
จีวรยังไม่ได้ถอน ภิกษุสำคัญว่าถอนแล้ว ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๑๗๖ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๓.ปัตตวรรค ๙.สาสังกสิกขาบท อนาปัตติวาร
จีวรยังไม่ได้สละ ภิกษุสำคัญว่าสละแล้ว ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
จีวรยังไม่สูญหาย ภิกษุสำคัญว่าสูญหายแล้ว ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
จีวรยังไม่ฉิบหาย ภิกษุสำคัญว่าฉิบหายแล้ว ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
จีวรยังไม่ถูกไฟไหม้ ภิกษุสำคัญว่าถูกไฟไหม้แล้ว ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
จีวรยังไม่ถูกชิงเอาไป ภิกษุสำคัญว่าถูกโจรชิงเอาไปแล้ว อยู่ปราศ ต้องอาบัติ
นิสสัคคิยปาจิตตีย์ เว้นไว้แต่ภิกษุได้สมมติ

ติกทุกกฏ
ภิกษุไม่ได้สละจีวรเป็นนิสสัคคีย์ ใช้สอย ต้องอาบัติทุกกฏ
จีวรหย่อนกว่า ๖ ราตรี ภิกษุสำคัญว่าเกินแล้ว ต้องอาบัติทุกกฏ
จีวรหย่อนกว่า ๖ ราตรี ภิกษุไม่แน่ใจ ต้องอาบัติทุกกฏ
จีวรหย่อนกว่า ๖ ราตรี ภิกษุสำคัญว่าหย่อนกว่า ใช้สอย ไม่ต้องอาบัติ

อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[๖๕๖] ๑. ภิกษุอยู่ปราศ ๖ ราตรี
๒. ภิกษุอยู่ปราศหย่อนกว่า ๖ ราตรี
๓. ภิกษุอยู่ปราศ ๖ ราตรี แล้วกลับมาคามสีมาแล้วจากไป
๔. ภิกษุถอนผ้าภายใน ๖ ราตรี
๕. ภิกษุสละให้ภายใน ๖ ราตรี
๖. ภิกษุที่มีจีวรสูญหายภายใน ๖ ราตรี
๗. ภิกษุที่มีจีวรฉิบหายภายใน ๖ ราตรี
๘. ภิกษุที่มีจีวรถูกไฟไหม้ภายใน ๖ ราตรี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๑๗๗ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๓.ปัตตวรรค ๙.สาสังกสิกขาบท อนาปัตติวาร
๙. ภิกษุที่มีจีวรถูกโจรชิงเอาไปภายใน ๖ ราตรี
๑๐. ภิกษุผู้มีจีวรถูกถือเอาไปโดยวิสาสะภายใน ๖ ราตรี
๑๑. ภิกษุได้สมมติ
๑๒. ภิกษุวิกลจริต
๑๓. ภิกษุต้นบัญญัติ

สาสังกสิกขาบทที่ ๙ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๑๗๘ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๓.ปัตตวรรค ๑๐.ปริณตสิกขาบท นิทานวัตถุ
๓. ปัตตวรรค

๑๐. ปริณตสิกขาบท
ว่าด้วยการน้อมลาภ

เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๖๕๗] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น สมาคม๑ หนึ่งในกรุงสาวัตถีเตรียม
ภัตตาหารพร้อมจีวรไว้ถวายสงฆ์ด้วยตั้งใจว่า “พวกเราจักนิมนต์ภิกษุให้ฉันแล้วให้
ครองจีวร” ต่อมา พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ได้เข้าไปหาสมาคมนั้นถึงที่อยู่ ครั้นถึงแล้วได้
กล่าวกับสมาคมนั้นดังนี้ว่า “ท่านทั้งหลาย พวกท่านโปรดถวายจีวรแก่พวกอาตมา”
สมาคมนั้นกล่าวว่า “ท่านผู้เจริญ พวกเราจะไม่ถวาย พวกเราจัดภิกษาหาร
พร้อมกับจีวรไว้ถวายสงฆ์เป็นประจำทุกปี”
พวกภิกษุฉัพพัคคีย์กล่าวว่า “ท่านทั้งหลาย ทายกของสงฆ์มีหลายคน
ภัตตาหารของสงฆ์ก็มีจำนวนมาก พวกอาตมาอาศัยพวกท่าน เห็นแก่พวกท่าน
จึงอยู่ที่นี่ ถ้าพวกท่านไม่ถวายแก่พวกอาตมา คราวนี้ ใครเล่าจะถวายแก่พวก
อาตมา พวกท่านโปรดถวายจีวรแก่พวกอาตมาเถิด”
ลำดับนั้น เมื่อถูกพวกภิกษุฉัพพัคคีย์รบเร้า สมาคมนั้นจึงถวายจีวรตามที่จัด
ไว้แล้วแก่พวกภิกษุฉัพพัคคีย์แล้วประเคนสงฆ์เฉพาะภัตตาหาร
พวกภิกษุที่ทราบว่า “สมาคมจัดอาหารและจีวรไว้ถวายสงฆ์” แต่ไม่ทราบว่า
“พวกเขาถวายพวกภิกษุฉัพพัคคีย์ไปแล้ว” จึงกล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านทั้งหลาย พวก
ท่านจงถวายจีวรแก่สงฆ์”

เชิงอรรถ :
๑ ปูคสฺสาติ สมูหสฺส, ธมฺมคณสฺส หมู่ชน คือคณะผู้ปฏิบัติธรรม หมายถึงสมาคม (วิ.อ.๒/๖๕๗/๒๔๙)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๑๗๙ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๓.ปัตตวรรค ๑๐.ปริณตสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์
สมาคมนั้นกล่าวว่า “ท่านผู้เจริญ ไม่มีจีวรตามที่เคยจัดไว้ พระคุณเจ้า
ฉัพพัคคีย์น้อมไปเพื่อตนแล้ว”
บรรดาภิกษุผู้มักน้อย ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพวก
ภิกษุฉัพพัคคีย์รู้อยู่จึงน้อมลาภที่เขาน้อมไว้เป็นของจะถวายสงฆ์มาเพื่อตนเล่า” ครั้น
ภิกษุเหล่านั้นตำหนิพวกภิกษุฉัพพัคคีย์โดยประการต่าง ๆ แล้วจึงนำเรื่องนี้ไปกราบ
ทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ

ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามพวกภิกษุฉัพพัคคีย์ว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า พวกเธอรู้อยู่ น้อมลาภ
ที่เขาน้อมไว้เป็นของจะถวายสงฆ์มาเพื่อตน จริงหรือ” พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ทูลรับว่า
“จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “โมฆบุรุษทั้งหลาย
ไฉนพวกเธอรู้อยู่จึงน้อมลาภที่เขาน้อมไว้เป็นของจะถวายสงฆ์มาเพื่อตนเล่า
โมฆบุรุษทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำ
คนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยก
สิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้

พระบัญญัติ
[๖๕๘] ก็ ภิกษุใดรู้อยู่ น้อมลาภที่เขาน้อมไว้เป็นของจะถวายสงฆ์มาเพื่อ
ตน ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ

สิกขาบทวิภังค์
[๖๕๙] คำว่า ก็...ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ก็...ใด


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๑๘๐ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๓.ปัตตวรรค ๑๐.ปริณตสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์
คำว่า ภิกษุ มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุ เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มี
พระภาคทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุ ในความหมายนี้
ที่ชื่อว่า รู้อยู่ คือ ภิกษุรู้เอง คนเหล่าอื่นบอกภิกษุนั้น หรือคนนั้นบอกเธอ
ที่ชื่อว่า เป็นของจะถวายสงฆ์ ได้แก่ เป็นของที่เขาถวายหรือบริจาคแล้ว
แก่สงฆ์
ที่ชื่อว่า ลาภ ได้แก่ จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร
โดยที่สุดกระทั่งก้อนจุรณ ไม้ชำระฟัน หรือด้ายชายผ้า
ที่ชื่อว่า น้อมไว้ คือ เขาเปล่งวาจาว่า “เราจะถวาย จะกระทำ”
ภิกษุน้อมมาเพื่อตน ต้องอาบัติทุกกฏเพราะพยายาม เป็นนิสสัคคีย์เพราะ
ได้มา คือเป็นของจำต้องสละแก่สงฆ์ แก่คณะหรือแก่บุคคล
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงสละลาภที่เป็นนิสสัคคีย์อย่างนี้

วิธีสละลาภที่เป็นนิสสัคคีย์
สละแก่สงฆ์
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง กราบเท้าภิกษุผู้
แก่พรรษา นั่งกระโหย่งประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านผู้เจริญ ลาภนี้เขาน้อมไว้
เป็นของจะถวายสงฆ์ กระผมรู้อยู่ น้อมมาเพื่อตน เป็นนิสสัคคีย์ กระผมสละลาภนี้
แก่สงฆ์” ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ
ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงรับอาบัติ พึงคืนลาภที่เธอสละให้ด้วยญัตติกรรมวาจา
ว่า “ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ลาภนี้ของภิกษุชื่อนี้เป็นนิสสัคคีย์ เธอสละ
แก่สงฆ์ ถ้าสงฆ์พร้อมกันแล้วก็พึงให้ลาภนี้แก่ภิกษุชื่อนี้”

สละแก่คณะ
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุหลายรูป ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง กราบ
เท้าภิกษุผู้แก่พรรษา นั่งกระโหย่งประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านผู้เจริญ ลาภนี้


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๑๘๑ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๓.ปัตตวรรค ๑๐.ปริณตสิกขาบท บทภาชนีย์
เขาน้อมไว้เป็นของจะถวายสงฆ์ กระผมรู้อยู่ น้อมมาเพื่อตน เป็นนิสสัคคีย์ กระผม
สละลาภนี้แก่ท่านทั้งหลาย” ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ
ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงรับอาบัติ พึงคืนลาภที่เธอสละให้ด้วยกล่าวว่า “ท่าน
ทั้งหลายจงฟังข้าพเจ้า ลาภของภิกษุชื่อนี้เป็นนิสสัคคีย์ เธอสละแก่ท่านทั้งหลาย
ถ้าท่านทั้งหลายพร้อมกันแล้วพึงให้ลาภนี้แก่ภิกษุชื่อนี้”

สละแก่บุคคล
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุรูปหนึ่ง ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง นั่ง
กระโหย่งประนมมือ กล่าวว่า “ท่านขอรับ ลาภนี้เขาน้อมไว้เป็นของจะถวายสงฆ์
กระผมรู้อยู่ น้อมมาเพื่อตน เป็นนิสสัคคีย์ กระผมสละลาภนี้แก่ท่าน” ครั้นสละแล้ว
พึงแสดงอาบัติ
ภิกษุผู้รับสละนั้นพึงรับอาบัติแล้วคืนลาภที่เธอสละให้ด้วยกล่าวว่า “กระผม
คืนลาภนี้ให้แก่ท่าน”

บทภาชนีย์
นิสสัคคิยปาจิตตีย์
[๖๖๐] ลาภที่เขาน้อมไว้แล้ว ภิกษุสำคัญว่าเขาน้อมไว้แล้ว น้อมมาเพื่อตน
ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์

ทุกกฏ
ลาภที่เขาน้อมไว้แล้ว ภิกษุไม่แน่ใจ น้อมมาเพื่อตน ต้องอาบัติทุกกฏ
ลาภที่เขาน้อมไว้แล้ว ภิกษุสำคัญว่าเขาไม่ได้น้อมไว้ น้อมมาเพื่อตน ไม่ต้อง
อาบัติ
ลาภที่เขาน้อมไว้เพื่อสงฆ์ ภิกษุน้อมมาเพื่อสงฆ์อื่น หรือเพื่อเจดีย์ ต้องอาบัติ
ทุกกฏ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๑๘๒ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๓.ปัตตวรรค ๑๐.ปริณตสิกขาบท อนาปัตติวาร
ลาภที่เขาน้อมไว้เพื่อเจดีย์ ภิกษุน้อมมาเพื่อเจดีย์อื่น เพื่อสงฆ์ เพื่อคณะหรือ
เพื่อบุคคล ต้องอาบัติทุกกฏ
ลาภที่เขาน้อมไว้เพื่อบุคคล ภิกษุน้อมมาเพื่อบุคคลอื่น เพื่อสงฆ์ เพื่อคณะ
หรือเพื่อเจดีย์ ต้องอาบัติทุกกฏ
ลาภที่เขาไม่ได้น้อมไว้ ภิกษุสำคัญว่าเขาน้อมไว้ ต้องอาบัติทุกกฏ
ลาภที่เขาไม่ได้น้อมไว้ ภิกษุไม่แน่ใจ ต้องอาบัติทุกกฏ
ลาภที่เขาไม่ได้น้อมไว้ ภิกษุสำคัญว่าเขาไม่ได้น้อมไว้ ไม่ต้องอาบัติ

อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[๖๖๑] ๑. ภิกษุถูกทายกถามว่า “จะถวายที่ไหน” จึงแนะนำว่า “ไทยธรรม
ของพวกท่านพึงได้รับการใช้สอย ได้รับการปฏิสังขรณ์ หรืออยู่
ได้นานในที่ใด หรือท่านมีจิตเลื่อมใสในที่ใด จงถวายในที่นั้นเถิด”
๒. ภิกษุวิกลจริต
๓. ภิกษุต้นบัญญัติ

ปริณตสิกขาบทที่ ๑๐ จบ
ปัตตวรรคที่ ๓ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๑๘๓ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] บทสรุป
รวมสิกขาบทที่มีในปัตตวรรค คือ
ปัตตวรรคมี ๑๐ สิกขาบท คือ

๑. ปัตตสิกขาบท ว่าด้วยบาตร
๒. อูนปัญจพันธนสิกขาบท ว่าด้วยบาตรมีรอยซ่อมหย่อนกว่า ๕ แห่ง
๓. เภสัชชสิกขาบท ว่าด้วยเภสัช
๔. วัสสิกสาฏิกสิกขาบท ว่าด้วยผ้าอาบน้ำฝน
๕. จีวรอัจฉินทนสิกขาบท ว่าด้วยการให้จีวรแล้วชิงเอาคืน
๖. สุตตวิญญัตติสิกขาบท ว่าด้วยการออกปากขอด้าย
๗. มหาเปสการสิกขาบท ว่าด้วยการสั่งช่างหูกทอจีวร
๘. อัจเจกจีวรสิกขาบท ว่าด้วยอัจเจกจีวร
๙. สาสังกสิกขาบท ว่าด้วยเสนาสนะป่าที่น่าหวาดระแวง
๑๐. ปริณตสิกขาบท ว่าด้วยการน้อมลาภ

บทสรุป
[๖๖๒] ท่านทั้งหลาย ธรรมคือนิสสัคคิยปาจิตตีย์ ๓๐ สิกขาบท ข้าพเจ้า
ยกขึ้นแสดงแล้ว
ข้าพเจ้าขอถามท่านทั้งหลายในนิสสัคคิยปาจิตตีย์ ๓๐ สิกขาบทเหล่านั้นว่า
ท่านทั้งหลายบริสุทธิ์แล้วหรือ
ข้าพเจ้าขอถามเป็นครั้งที่ ๒ ว่า “ท่านทั้งหลายบริสุทธิ์แล้วหรือ”
ข้าพเจ้าขอถามเป็นครั้งที่ ๓ ว่า “ท่านทั้งหลายบริสุทธิ์แล้วหรือ”
ท่านทั้งหลายบริสุทธิ์แล้วในนิสสัคคิยปาจิตตีย์ ๓๐ สิกขาบทนี้ เพราะฉะนั้น
จึงนิ่ง
ข้าพเจ้าขอถือความนิ่งนั้นเป็นมติอย่างนี้

นิสสัคคิยกัณฑ์ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๑๘๔ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๑.มุสาวาทวรรค ๑.มุสาวาทสิกขาบท นิทานวัตถุ
๕. ปาจิตติยกัณฑ์
ท่านทั้งหลาย ธรรมคือปาจิตตีย์ ๙๒ สิกขาบทเหล่านี้ มาถึงวาระที่จะยกขึ้น
แสดงเป็นข้อ ๆ ตามลำดับ

๑. มุสาวาทวรรค
หมวดว่าด้วยการกล่าวเท็จ

๑. มุสาวาทสิกขาบท
ว่าด้วยการกล่าวเท็จ

เรื่องพระหัตถกศากยบุตร
[๑] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี สมัยนั้น พระหัตถกศากยบุตรเป็นนักโต้
วาทะ๑ เมื่อท่านเจรจากับพวกเดียรถีย์ ปฏิเสธแล้วรับ รับแล้วปฏิเสธ เอาเรื่องหนึ่ง
มากล่าวกลบเกลื่อนอีกเรื่องหนึ่ง กล่าวเท็จทั้งที่รู้ นัดหมายแล้วทำให้คลาดเคลื่อน
พวกเดียรถีย์จึงพากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพระหัตถกศากยบุตร
เมื่อเจรจากับพวกเรา จึงปฏิเสธแล้วรับ รับแล้วปฏิเสธ เอาเรื่องหนึ่งมากล่าวกลบ
เกลื่อนอีกเรื่องหนึ่ง กล่าวเท็จทั้งที่รู้ นัดหมายแล้วทำให้คลาดเคลื่อนเล่า”
พวกภิกษุได้ยินพวกเดียรถีย์ตำหนิ ประณาม โพนทะนา จึงเข้าไปหาพระ
หัตถกศากยบุตรถึงที่อยู่ ครั้นถึงแล้วได้กล่าวกับพระหัตถกศากยบุตรดังนี้ว่า “ท่าน

เชิงอรรถ :
๑ วาทกฺขิตฺต ที่แปลว่า “เป็นนักโต้วาทะ” นั้น ตามอธิบายแห่งอรรถกถาว่า “วาทํ กริสฺสามี”ติ เอวํ
ปริวิตกฺกิเตน วาเทน ปรวาทีสนฺติกํ ขิตฺโต ปกฺขิตฺโต, ปหิโต เปสิโตติ อตฺโถ วาทมฺหิ วา สเกน จิตฺเตน
ขิตฺโต, ยตฺร ยตฺร วาโท ตตฺร ตตฺเรว สนฺทิสฺสตีติปิ วาทกฺขิตฺโต ถูกวาทะที่กำหนดไว้ว่า เราจักโต้วาทะ
เหวี่ยงไป ไสไป ส่งไปยังสำนักปรวาที อีกประการหนึ่ง คือถูกจิตของตนส่งไปในสถานที่โต้วาทะ คือในที่ใดๆ
มีการโต้วาทะกัน ย่อมไปปรากฏตัวในที่นั้นๆ (วิ.อ. ๒/๑/๒๕๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๑๘๕ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๑.มุสาวาทวรรค ๑.มุสาวาทสิกขาบท พระบัญญัติ
หัตถกะ ได้ทราบว่า เมื่อท่านเจรจากับพวกเดียรถีย์ ปฏิเสธแล้วรับ รับแล้วปฏิเสธ
เอาเรื่องหนึ่งมากล่าวกลบเกลื่อนอีกเรื่องหนึ่ง กล่าวเท็จทั้งที่รู้ นัดหมายแล้วทำให้
คลาดเคลื่อน จริงหรือ”
พระหัตถกศากยบุตรตอบว่า “เราต้องเอาชนะพวกเดียรถีย์เหล่านั้นด้วยวิธีใด
วิธีหนึ่ง พวกเราไม่ควรให้ชัยชนะแก่พวกเดียรถีย์เหล่านั้น”
บรรดาภิกษุผู้มักน้อย ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉน
พระหัตถกศากยบุตรเมื่อเจรจากับพวกเดียรถีย์ จึงปฏิเสธแล้วรับ รับแล้วปฏิเสธ
เอาเรื่องหนึ่งมากล่าวกลบเกลื่อนอีกเรื่องหนึ่ง กล่าวเท็จทั้งที่รู้ นัดหมายแล้วทำให้
คลาดเคลื่อนเล่า” ครั้นภิกษุเหล่านั้นตำหนิพระหัตถกศากยบุตรโดยประการต่าง ๆ
แล้วจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ

ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามพระหัตถกศากยบุตรว่า “หัตถกะ ทราบว่า เมื่อเธอเจรจากับพวกเดียรถีย์
ปฏิเสธแล้วรับ รับแล้วปฏิเสธ เอาเรื่องหนึ่งมากล่าวกลบเกลื่อนอีกเรื่องหนึ่ง กล่าว
เท็จทั้งที่รู้ นัดหมายแล้วทำให้คลาดเคลื่อน จริงหรือ” พระหัตถกศากยบุตรทูลรับว่า
“จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “โมฆบุรุษ ไฉนเธอ
เมื่อเจรจากับพวกเดียรถีย์ จึงปฏิเสธแล้วรับ รับแล้วปฏิเสธ เอาเรื่องหนึ่งมากล่าว
กลบเกลื่อนอีกเรื่องหนึ่ง กล่าวเท็จทั้งที่รู้ นัดหมายแล้วทำให้คลาดเคลื่อนเล่า โมฆ
บุรุษ การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใส
อยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้
ขึ้นแสดงดังนี้

พระบัญญัติ
[๒] ภิกษุต้องอาบัติปาจิตตีย์ เพราะกล่าวเท็จทั้งที่รู้
เรื่องพระหัตถกศากยบุตร จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๑๘๖ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๑.มุสาวาทวรรค ๑.มุสาวาทสิกขาบท บทภาชนีย์
สิกขาบทวิภังค์
[๓] ที่ชื่อว่า กล่าวเท็จทั้งที่รู้ ได้แก่ วาจา เสียงที่เปล่งออก คำเป็นทาง
วจีเภท เจตนาที่ให้รู้ทางวาจาของผู้มุ่งจะกล่าวให้คลาดความจริง ได้แก่ ถ้อยคำ
ของอนารยชน ๘ อย่าง คือ

๑. ไม่ได้เห็น แต่กล่าวว่า ข้าพเจ้าได้เห็น
๒. ไม่ได้ยิน แต่กล่าวว่า ข้าพเจ้าได้ยิน
๓. ไม่ทราบ แต่กล่าวว่า ข้าพเจ้าทราบ
๔. ไม่รู้ แต่กล่าวว่า ข้าพเจ้ารู้
๕. ได้เห็น แต่กล่าวว่า ข้าพเจ้าไม่ได้เห็น
๖. ได้ยิน แต่กล่าวว่า ข้าพเจ้าไม่ได้ยิน
๗. ทราบ แต่กล่าวว่า ข้าพเจ้าไม่ทราบ
๘. รู้ แต่กล่าวว่า ข้าพเจ้าไม่รู้

บทภาชนีย์
๑. ที่ชื่อว่า ไม่ได้เห็น คือ ไม่ได้เห็นด้วยตา
๒. ที่ชื่อว่า ไม่ได้ยิน คือ ไม่ได้ยินด้วยหู
๓. ที่ชื่อว่า ไม่ทราบ คือ ไม่ได้สูดดมด้วยจมูก ไม่ได้ลิ้มด้วยลิ้น ไม่ได้
สัมผัสด้วยกาย
๔. ที่ชื่อว่า ไม่รู้ คือ ไม่รู้ด้วยใจ
๕. ที่ชื่อว่า ได้เห็น คือ ได้เห็นด้วยตา
๖. ที่ชื่อว่า ได้ยิน คือ ได้ยินด้วยหู
๗. ที่ชื่อว่า ทราบ คือ ได้สูดดมด้วยจมูก ได้ลิ้มด้วยลิ้น ได้สัมผัสด้วยกาย
๘. ที่ชื่อว่า รู้ คือ รู้ด้วยใจ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๑๘๗ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๑.มุสาวาทวรรค ๑.มุสาวาทสิกขาบท บทภาชนีย์
อาการกล่าวเท็จทั้งที่รู้
๑. ไม่ได้เห็น แต่กล่าวว่าได้เห็น
[๔] ไม่ได้เห็น ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า “ข้าพเจ้าได้เห็นแล้ว” ด้วยอาการ ๓
อย่าง คือ (๑) เบื้องต้นเธอรู้ว่าจักกล่าวเท็จ (๒) กำลังกล่าวก็รู้ว่ากำลังกล่าวเท็จ
(๓) ครั้นกล่าวแล้วก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ต้องอาบัติปาจิตตีย์
ไม่ได้เห็น ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า “ข้าพเจ้าได้เห็นแล้ว” ด้วยอาการ ๔ อย่าง
คือ (๑) เบื้องต้นเธอรู้ว่าจักกล่าวเท็จ (๒) กำลังกล่าวก็รู้ว่ากำลังกล่าวเท็จ (๓) ครั้น
กล่าวแล้วก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว (๔) อำพรางความเห็น ต้องอาบัติปาจิตตีย์
ไม่ได้เห็น ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า “ข้าพเจ้าได้เห็นแล้ว” ด้วยอาการ ๕ อย่าง
คือ (๑) เบื้องต้นเธอรู้ว่าจักกล่าวเท็จ (๒) กำลังกล่าวก็รู้ว่ากำลังกล่าวเท็จ (๓) ครั้น
กล่าวแล้วก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว (๔) อำพรางความเห็น (๕) อำพรางความเห็นชอบ
ต้องอาบัติปาจิตตีย์
ไม่ได้เห็น ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า “ข้าพเจ้าได้เห็นแล้ว” ด้วยอาการ ๖ อย่าง
คือ (๑) เบื้องต้นเธอรู้ว่าจักกล่าวเท็จ (๒) กำลังกล่าวก็รู้ว่ากำลังกล่าวเท็จ (๓)
ครั้นกล่าวแล้วก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว (๔) อำพรางความเห็น (๕) อำพรางความ
เห็นชอบ (๖) อำพรางความพอใจ ต้องอาบัติปาจิตตีย์
ไม่ได้เห็น ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า “ข้าพเจ้าได้เห็นแล้ว” ด้วยอาการ ๗ อย่าง
คือ (๑) เบื้องต้นเธอรู้ว่าจักกล่าวเท็จ (๒) กำลังกล่าวก็รู้ว่ากำลังกล่าวเท็จ (๓)
ครั้นกล่าวแล้วก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว (๔) อำพรางความเห็น (๕) อำพรางความเห็น
ชอบ (๖) อำพรางความพอใจ (๗) อำพรางความประสงค์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์

๒. ไม่ได้ยิน แต่กล่าวว่าได้ยิน
[๕] ไม่ได้ยิน ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า “ข้าพเจ้าได้ยินแล้ว” ด้วยอาการ
๓ อย่าง ... ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ฯลฯ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๑๘๘ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๑.มุสาวาทวรรค ๑.มุสาวาทสิกขาบท บทภาชนีย์
๓. ไม่ทราบ แต่กล่าวว่าทราบ
ไม่ทราบ ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า “ข้าพเจ้าทราบแล้ว” ด้วยอาการ ๓ อย่าง ...
ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ฯลฯ

๔. ไม่รู้ แต่กล่าวว่ารู้
ไม่รู้ ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า “ข้าพเจ้ารู้แล้ว” ด้วยอาการ ๓ อย่าง คือ
(๑) เบื้องต้นเธอรู้ว่าจักกล่าวเท็จ (๒) กำลังกล่าวก็รู้ว่ากำลังกล่าวเท็จ (๓) ครั้น
กล่าวแล้วก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ต้องอาบัติปาจิตตีย์
ไม่รู้ ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า “ข้าพเจ้ารู้แล้ว” ด้วยอาการ ๔ อย่าง ฯลฯ
ด้วยอาการ ๕ อย่าง ฯลฯ ด้วยอาการ ๖ อย่าง ฯลฯ ด้วยอาการ ๗ อย่าง คือ
(๑) เบื้องต้นเธอรู้ว่าจักกล่าวเท็จ (๒) กำลังกล่าวก็รู้ว่ากำลังกล่าวเท็จ (๓) ครั้น
กล่าวแล้วก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว (๔) อำพรางความเห็น (๕) อำพรางความเห็นชอบ
(๖) อำพรางความพอใจ (๗) อำพรางความประสงค์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์

ไม่ได้เห็น แต่กล่าวว่าได้เห็นและได้ยิน
[๖] ไม่ได้เห็น ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า “ข้าพเจ้าได้เห็นแล้วและได้ยินแล้ว”
ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ฯลฯ

ไม่ได้เห็น แต่กล่าวว่าได้เห็นและทราบ
ไม่ได้เห็น ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า “ข้าพเจ้าได้เห็นแล้วและทราบแล้ว” ด้วย
อาการ ๓ อย่าง ... ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ฯลฯ

ไม่ได้เห็น แต่กล่าวว่าได้เห็นและรู้
ไม่ได้เห็น ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า “ข้าพเจ้าได้เห็นแล้วและรู้แล้ว” ด้วย
อาการ ๓ อย่าง ... ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ฯลฯ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๑๘๙ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๑.มุสาวาทวรรค ๑.มุสาวาทสิกขาบท บทภาชนีย์
ไม่ได้เห็น แต่กล่าวว่าได้เห็น ได้ยิน และทราบ
ไม่ได้เห็น ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า “ข้าพเจ้าได้เห็นแล้ว ได้ยินแล้ว และทราบ
แล้ว” ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ฯลฯ

ไม่ได้เห็น แต่กล่าวว่าได้เห็น ได้ยิน และรู้
ไม่ได้เห็น ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า “ข้าพเจ้าได้เห็นแล้ว ได้ยินแล้ว และรู้แล้ว”
ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ฯลฯ

ไม่ได้เห็น แต่กล่าวว่าได้เห็น ได้ยิน ทราบ และรู้
ไม่ได้เห็น ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า “ข้าพเจ้าได้เห็นแล้ว ได้ยินแล้ว ทราบแล้ว
และรู้แล้ว” ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ฯลฯ

ไม่ได้ยิน แต่กล่าวว่าได้ยินและทราบ
ไม่ได้ยิน ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า “ข้าพเจ้าได้ยินแล้วและทราบแล้ว” ด้วย
อาการ ๓ อย่าง ... ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ฯลฯ

ไม่ได้ยิน แต่กล่าวว่าได้ยินและรู้
ไม่ได้ยิน ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า “ข้าพเจ้าได้ยินแล้วและรู้แล้ว” ด้วยอาการ
๓ อย่าง ... ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ฯลฯ
ไม่ได้ยิน แต่กล่าวว่าได้ยินและได้เห็น
ไม่ได้ยิน ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า “ข้าพเจ้าได้ยินแล้วและได้เห็นแล้ว” ด้วย
อาการ ๓ อย่าง ... ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ฯลฯ

ไม่ได้ยิน แต่กล่าวว่าได้ยิน ทราบ และรู้
ไม่ได้ยิน ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า “ข้าพเจ้าได้ยินแล้ว ทราบแล้ว และรู้แล้ว”
ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ฯลฯ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๑๙๐ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๑.มุสาวาทวรรค ๑.มุสาวาทสิกขาบท บทภาชนีย์
ไม่ได้ยิน แต่กล่าวว่าได้ยิน ทราบ และได้เห็น
ไม่ได้ยิน ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า “ข้าพเจ้าได้ยินแล้ว ทราบแล้ว และได้
เห็นแล้ว” ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ฯลฯ

ไม่ได้ยิน แต่กล่าวว่าได้ยิน ทราบ รู้ และได้เห็น
ไม่ได้ยิน ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า “ข้าพเจ้าได้ยิน ทราบแล้ว รู้แล้ว และได้
เห็นแล้ว” ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ฯลฯ

ไม่ทราบ แต่กล่าวว่าทราบและรู้
ไม่ทราบ ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า “ข้าพเจ้าทราบแล้วและรู้แล้ว” ด้วยอาการ
๓ อย่าง ... ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ฯลฯ

ไม่ทราบ แต่กล่าวว่าทราบและได้เห็น
ไม่ทราบ ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า “ข้าพเจ้าทราบแล้วและได้เห็นแล้ว” ด้วย
อาการ ๓ อย่าง ... ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ฯลฯ

ไม่ทราบ แต่กล่าวว่าทราบและได้ยิน
ไม่ทราบ ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า “ข้าพเจ้าทราบแล้วและได้ยินแล้ว” ด้วย
อาการ ๓ อย่าง ... ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ฯลฯ

ไม่ทราบ แต่กล่าวว่าทราบ รู้ และได้เห็น
ไม่ทราบ ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า “ข้าพเจ้าทราบแล้ว รู้แล้ว และได้เห็นแล้ว”
ด้วยอาการ ๓ อย่าง ฯลฯ ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ฯลฯ

ไม่ทราบ แต่กล่าวว่าทราบ รู้ และได้ยิน
ไม่ทราบ ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า “ข้าพเจ้าทราบแล้ว รู้แล้ว และได้ยินแล้ว”
ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ฯลฯ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๑๙๑ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๑.มุสาวาทวรรค ๑.มุสาวาทสิกขาบท บทภาชนีย์
ไม่ทราบ แต่กล่าวว่าทราบ รู้ เห็น และได้ยิน
ไม่ทราบ ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า “ข้าพเจ้าทราบแล้ว รู้แล้ว ได้เห็นแล้ว และ
ได้ยินแล้ว” ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ฯลฯ

ไม่รู้ แต่กล่าวว่ารู้และได้เห็น
ไม่รู้ ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า “ข้าพเจ้ารู้แล้วและได้เห็นแล้ว” ด้วยอาการ
๓ อย่าง ... ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ฯลฯ

ไม่รู้ แต่กล่าวว่ารู้และได้ยิน
ไม่รู้ ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า “ข้าพเจ้ารู้แล้วและได้ยินแล้ว” ด้วยอาการ
๓ อย่าง ... ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ฯลฯ

ไม่รู้ แต่กล่าวว่ารู้และทราบ
ไม่รู้ ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า “ข้าพเจ้ารู้แล้วและทราบแล้ว” ด้วยอาการ
๓ อย่าง ... ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ฯลฯ

ไม่รู้ แต่กล่าวว่ารู้ ได้เห็น และได้ยิน
ไม่รู้ ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า “ข้าพเจ้ารู้แล้ว ได้เห็นแล้ว และได้ยินแล้ว”
ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ฯลฯ

ไม่รู้ แต่กล่าวว่ารู้ ได้เห็น และทราบ
ไม่รู้ ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า “ข้าพเจ้ารู้แล้ว ได้เห็นแล้ว และทราบแล้ว” ด้วย
อาการ ๓ อย่าง ... ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ฯลฯ

ไม่รู้ แต่กล่าวว่ารู้ ได้เห็น ได้ยินและทราบ
ไม่รู้ ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า “ข้าพเจ้ารู้แล้ว ได้เห็นแล้ว ได้ยินแล้ว และทราบ
แล้ว” ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ฯลฯ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๑๙๒ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๑.มุสาวาทวรรค ๑.มุสาวาทสิกขาบท บทภาชนีย์
๕. ได้เห็น แต่กล่าวว่าไม่ได้เห็น
[๗] ได้เห็น ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า “ข้าพเจ้าไม่ได้เห็นแล้ว” ด้วยอาการ ๓
อย่าง คือ (๑) เบื้องต้นเธอรู้ว่าจักกล่าวเท็จ (๒) กำลังกล่าวก็รู้ว่ากำลังกล่าวเท็จ
(๓) ครั้นกล่าวแล้วก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ต้องอาบัติปาจิตตีย์
ได้เห็น ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า “ข้าพเจ้าไม่ได้เห็นแล้ว” ด้วยอาการ ๔ อย่าง
ฯลฯ ด้วยอาการ ๕ อย่าง ฯลฯ ด้วยอาการ ๖ อย่าง ฯลฯ ด้วยอาการ ๗ อย่าง
คือ (๑) เบื้องต้นเธอรู้ว่าจักกล่าวเท็จ (๒) กำลังกล่าวก็รู้ว่ากำลังกล่าวเท็จ (๓) ครั้น
กล่าวแล้วก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว (๔) อำพรางความเห็น (๕) อำพรางความเห็นชอบ
(๖) อำพรางความพอใจ (๗) อำพรางความประสงค์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์

๖. ได้ยิน แต่กล่าวว่าไม่ได้ยิน
ได้ยิน ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า “ข้าพเจ้าไม่ได้ยินแล้ว” ด้วยอาการ ๓ อย่าง
... ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ฯลฯ

๗. ทราบ แต่กล่าวว่าไม่ทราบ
ทราบ ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า “ข้าพเจ้าไม่ทราบแล้ว” ด้วยอาการ ๓ อย่าง ...
ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ฯลฯ

๘. รู้ แต่กล่าวว่าไม่รู้
รู้ ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า “ข้าพเจ้าไม่รู้แล้ว” ด้วยอาการ ๓ อย่าง คือ
(๑) เบื้องต้นเธอรู้ว่าจักกล่าวเท็จ (๒) กำลังกล่าวก็รู้ว่ากำลังกล่าวเท็จ (๓) ครั้น
กล่าวแล้วก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ต้องอาบัติปาจิตตีย์
รู้ ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า “ข้าพเจ้าไม่รู้แล้ว” ด้วยอาการ ๔ อย่าง ฯลฯ
ด้วยอาการ ๕ อย่าง ฯลฯ ด้วยอาการ ๖ อย่าง ฯลฯ ด้วยอาการ ๗ อย่าง คือ
(๑) เบื้องต้นเธอรู้ว่าจักกล่าวเท็จ (๒) กำลังกล่าวก็รู้ว่ากำลังกล่าวเท็จ (๓) ครั้น
กล่าวแล้วก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว (๔) อำพรางความเห็น (๕) อำพรางความเห็นชอบ
(๖) อำพรางความพอใจ (๗) อำพรางความประสงค์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๑๙๓ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๑.มุสาวาทวรรค ๑.มุสาวาทสิกขาบท บทภาชนีย์
ได้เห็น แต่กล่าวว่าได้ยิน
[๘] ได้เห็น ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า “ข้าพเจ้าได้ยินแล้ว” ด้วยอาการ ๓
อย่าง ... ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ฯลฯ

ได้เห็น แต่กล่าวว่าทราบ
ได้เห็น ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า “ข้าพเจ้าทราบแล้ว” ด้วยอาการ ๓ อย่าง ...
ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ฯลฯ

ได้เห็น แต่กล่าวว่ารู้
ได้เห็น ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า “ข้าพเจ้ารู้แล้ว” ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ต้อง
อาบัติปาจิตตีย์ ฯลฯ

ได้เห็น แต่กล่าวว่าได้ยินและทราบ
ได้เห็น ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า “ข้าพเจ้าได้ยินแล้วและทราบแล้ว” ด้วย
อาการ ๓ อย่าง ... ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ฯลฯ

ได้เห็น แต่กล่าวว่าได้ยินและรู้
ได้เห็น ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า “ข้าพเจ้าได้ยินแล้วและรู้แล้ว” ด้วยอาการ
๓ อย่าง ... ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ฯลฯ

ได้เห็น แต่กล่าวว่าได้ยิน ทราบและรู้
ได้เห็น ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า “ข้าพเจ้าได้ยินแล้ว” ทราบแล้วและรู้แล้ว
ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ฯลฯ

ได้ยิน แต่กล่าวว่าทราบ
ได้ยิน ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า “ข้าพเจ้าทราบแล้ว” ด้วยอาการ ๓ อย่าง
... ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ฯลฯ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๑๙๔ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๑.มุสาวาทวรรค ๑.มุสาวาทสิกขาบท บทภาชนีย์
ได้ยิน แต่กล่าวว่ารู้
ได้ยิน ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า “ข้าพเจ้ารู้แล้ว” ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ต้อง
อาบัติปาจิตตีย์ ฯลฯ

ได้ยิน แต่กล่าวว่าได้เห็น
ได้ยิน ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า “ข้าพเจ้าได้เห็นแล้ว” ด้วยอาการ ๓ อย่าง ...
ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ฯลฯ

ได้ยิน แต่กล่าวว่าทราบและรู้
ได้ยิน ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า “ข้าพเจ้าทราบแล้วและรู้แล้ว” ด้วยอาการ
๓ อย่าง ... ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ฯลฯ

ได้ยิน แต่กล่าวว่าทราบและได้เห็น
ได้ยิน ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า “ข้าพเจ้าทราบแล้วและได้เห็นแล้ว” ด้วยอาการ
๓ อย่าง ... ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ฯลฯ

ได้ยิน แต่กล่าวว่าทราบ รู้ และได้เห็น
ได้ยิน ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า “ข้าพเจ้าทราบแล้ว รู้แล้วและได้เห็นแล้ว”
ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ฯลฯ

ทราบ แต่กล่าวว่ารู้
ทราบ ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า “ข้าพเจ้ารู้แล้ว” ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ต้อง
อาบัติปาจิตตีย์ ฯลฯ

ทราบ แต่กล่าวว่าได้เห็น
ทราบ ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า “ข้าพเจ้าได้เห็นแล้ว” ด้วยอาการ ๓ อย่าง ...
ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ฯลฯ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๑๙๕ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๑.มุสาวาทวรรค ๑.มุสาวาทสิกขาบท บทภาชนีย์
ทราบ แต่กล่าวว่าได้ยิน
ทราบ ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า “ข้าพเจ้าได้ยินแล้ว” ด้วยอาการ ๓ อย่าง ...
ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ฯลฯ

ทราบ แต่กล่าวว่ารู้และได้เห็น
ทราบ ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า “ข้าพเจ้ารู้แล้วและได้เห็นแล้ว” ด้วยอาการ ๓
อย่าง ... ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ฯลฯ

ทราบ แต่กล่าวว่ารู้และได้ยิน
ทราบ ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า “ข้าพเจ้ารู้แล้วและได้ยินแล้ว” ด้วยอาการ ๓
อย่าง ... ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ฯลฯ

ทราบ แต่กล่าวว่ารู้ ได้เห็น และได้ยิน
ทราบ ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า “ข้าพเจ้ารู้แล้ว ได้เห็นแล้วและได้ยินแล้ว”
ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ฯลฯ

รู้ แต่กล่าวว่าได้เห็น
รู้ ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า “ข้าพเจ้าได้เห็นแล้ว” ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ต้อง
อาบัติปาจิตตีย์ ฯลฯ

รู้ แต่กล่าวว่าได้ยิน
รู้ ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า “ข้าพเจ้าได้ยินแล้ว” ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ต้อง
อาบัติปาจิตตีย์ ฯลฯ

รู้ แต่กล่าวว่าทราบ
รู้ ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า “ข้าพเจ้าทราบแล้ว” ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ต้อง
อาบัติปาจิตตีย์ ฯลฯ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๑๙๖ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๑.มุสาวาทวรรค ๑.มุสาวาทสิกขาบท บทภาชนีย์
รู้ แต่กล่าวว่าได้เห็นและได้ยิน
รู้ ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า “ข้าพเจ้าได้เห็นแล้วและได้ยินแล้ว” ด้วยอาการ
๓ อย่าง ... ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ฯลฯ

รู้ แต่กล่าวว่าได้เห็นและทราบ
รู้ ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า “ข้าพเจ้าได้เห็นแล้วและทราบแล้ว” ด้วยอาการ
๓ อย่าง ... ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ฯลฯ

รู้ แต่กล่าวว่าได้เห็น ได้ยินและทราบ
รู้ ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า “ข้าพเจ้าได้เห็นแล้ว ได้ยินแล้วและทราบแล้ว”
ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ฯลฯ

ได้เห็น - แต่ไม่แน่ใจ
[๙] ภิกษุไม่แน่ใจสิ่งที่ได้เห็น กำหนดสิ่งที่ได้เห็นไม่ได้ จำสิ่งที่ได้เห็นไม่ได้
หลงลืมสิ่งที่ได้เห็น กล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า “ข้าพเจ้าได้เห็นแล้วและได้ยินแล้ว” ด้วย
อาการ ๓ อย่าง ... ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ฯลฯ
ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า “ข้าพเจ้าได้เห็นแล้ว ได้ยินแล้ว ทราบแล้ว และรู้แล้ว”
ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ฯลฯ

ได้ยิน - แต่ไม่แน่ใจ
ภิกษุไม่แน่ใจสิ่งที่ได้ยิน กำหนดสิ่งที่ได้ยินไม่ได้ จำสิ่งที่ได้ยินไม่ได้ หลงลืมสิ่ง
ที่ได้ยิน ฯลฯ

ทราบ - แต่ไม่แน่ใจ
ภิกษุไม่แน่ใจสิ่งที่ได้ทราบ กำหนดสิ่งที่ได้ทราบไม่ได้ จำสิ่งที่ได้ทราบไม่ได้
หลงลืมสิ่งที่ได้ทราบ ฯลฯ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๑๙๗ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๑.มุสาวาทวรรค ๑.มุสาวาทสิกขาบท อนาปัตติวาร
รู้ - แต่ไม่แน่ใจ เป็นต้น
ภิกษุไม่แน่ใจสิ่งที่ได้รู้ กำหนดสิ่งที่ได้รู้ไม่ได้ จำสิ่งที่ได้รู้ไม่ได้ หลงลืมสิ่งที่ได้รู้
กล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า “ข้าพเจ้ารู้แล้วและได้เห็นแล้ว” ด้วยอาการ ๓ อย่าง ฯลฯ หลง
ลืมสิ่งที่ได้รู้ กล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า “ข้าพเจ้ารู้แล้วและได้ยินแล้ว” ฯลฯ หลงลืมสิ่งที่ได้รู้
กล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า “ข้าพเจ้ารู้แล้วและทราบแล้ว” ฯลฯ หลงลืมสิ่งที่ได้รู้ กล่าวเท็จ
ทั้งที่รู้ว่า “ข้าพเจ้ารู้แล้ว ได้เห็นแล้ว และได้ยินแล้ว” ฯลฯ หลงลืมสิ่งที่ได้รู้ กล่าว
เท็จทั้งที่รู้ว่า “ข้าพเจ้ารู้แล้ว ได้เห็นแล้ว และทราบแล้ว” ฯลฯ หลงลืมสิ่งที่ได้รู้
กล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า “ข้าพเจ้ารู้แล้ว ได้เห็นแล้ว ได้ยินแล้ว และทราบแล้ว” ด้วย
อาการ ๓ อย่าง คือ (๑) เบื้องต้นเธอรู้ว่าจักกล่าวเท็จ (๒) กำลังกล่าวก็รู้ว่ากำลัง
กล่าวเท็จ (๓) ครั้นกล่าวแล้วก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ต้องอาบัติปาจิตตีย์
[๑๐] ภิกษุไม่แน่ใจสิ่งที่ได้รู้ กำหนดสิ่งที่ได้รู้ไม่ได้ จำสิ่งที่ได้รู้ไม่ได้ หลงลืม
สิ่งที่ได้รู้ กล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า “ข้าพเจ้ารู้แล้ว ได้เห็นแล้ว ได้ยินแล้ว และทราบแล้ว”
ด้วยอาการ ๔ อย่าง ฯลฯ ด้วยอาการ ๕ อย่าง ฯลฯ ด้วยอาการ ๖ อย่าง ฯลฯ
ด้วยอาการ ๗ อย่าง คือ (๑) เบื้องต้นเธอรู้ว่าจักกล่าวเท็จ (๒) กำลังกล่าวก็รู้
ว่ากำลังกล่าวเท็จ (๓) ครั้นกล่าวแล้วก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว (๔) อำพรางความเห็น
(๕) อำพรางความเห็นชอบ (๖) อำพรางความพอใจ (๗) อำพรางความประสงค์
ต้องอาบัติปาจิตตีย์

อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[๑๑] ๑. ภิกษุกล่าวพลั้ง
๒. ภิกษุกล่าวพลาด
๓. ภิกษุวิกลจริต
๔. ภิกษุต้นบัญญัติ

มุสาวาทสิกขาบทที่ ๑ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๑๙๘ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๑.มุสาวาทวรรค ๒.โอมสวาทสิกขาบท นิทานวัตถุ
๑. มุสาวาทวรรค

๒. โอมสวาทสิกขาบท
ว่าด้วยการกล่าวเสียดสี

เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๑๒] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี สมัยนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ทะเลาะ
กับพวกภิกษุผู้มีศีลดีงาม กล่าวเสียดสีภิกษุผู้มีศีลดีงาม ด่า สบประมาทด้วยชาติ
กำเนิดบ้าง ด้วยชื่อบ้าง ด้วยตระกูลบ้าง ด้วยหน้าที่การงานบ้าง ด้วยศิลปวิทยาบ้าง
ด้วยความเจ็บไข้บ้าง ด้วยรูปลักษณ์บ้าง ด้วยกิเลสบ้าง ด้วยอาบัติบ้าง ด้วยคำด่าที่
หยาบบ้าง บรรดาภิกษุผู้มักน้อย ฯลฯ จึงตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพวก
ภิกษุฉัพพัคคีย์จึงทะเลาะกับพวกภิกษุผู้มีศีลดีงาม กล่าวเสียดสีภิกษุผู้มีศีลดีงาม
ด่า สบประมาทด้วยชาติกำเนิดบ้าง ด้วยชื่อบ้าง ด้วยตระกูลบ้าง ด้วยหน้าที่การงาน
บ้าง ด้วยศิลปวิทยาบ้าง ด้วยความเจ็บไข้บ้าง ด้วยรูปลักษณ์บ้าง ด้วยกิเลสบ้าง
ด้วยอาบัติบ้าง ด้วยคำด่าที่หยาบบ้างเล่า” ครั้นภิกษุเหล่านั้นตำหนิพวกภิกษุ
ฉัพพัคคีย์โดยประการต่าง ๆ แล้วจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรง
ทราบ

ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามพวกภิกษุฉัพพัคคีย์ว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า พวกเธอทะเลาะกับพวก
ภิกษุผู้มีศีลดีงาม กล่าวเสียดสีภิกษุผู้มีศีลดีงาม ด่า สบประมาทด้วยชาติกำเนิดบ้าง
ด้วยชื่อบ้าง ด้วยตระกูลบ้าง ด้วยหน้าที่การงานบ้าง ด้วยศิลปวิทยาบ้าง ด้วยความ
เจ็บไข้บ้าง ด้วยรูปลักษณ์บ้าง ด้วยกิเลสบ้าง ด้วยอาบัติบ้าง ด้วยคำด่าที่หยาบบ้าง
จริงหรือ” พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคทรง


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๑๙๙ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๑.มุสาวาทวรรค ๒.โอมสวาทสิกขาบท นิทานวัตถุ
ตำหนิว่า “โมฆบุรุษทั้งหลาย ไฉนพวกเธอจึงทะเลาะกับพวกภิกษุผู้มีศีลดีงาม
กล่าวเสียดสีภิกษุผู้มีศีลดีงาม ด่า สบประมาทด้วยชาติกำเนิดบ้าง ด้วยชื่อบ้าง ด้วย
ตระกูลบ้าง ด้วยหน้าที่การงานบ้าง ด้วยศิลปวิทยาบ้าง ด้วยความเจ็บไข้บ้าง ด้วย
รูปลักษณ์บ้าง ด้วยกิเลสบ้าง ด้วยอาบัติบ้าง ด้วยคำด่าที่หยาบบ้างเล่า โมฆบุรุษ
ทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อม
ใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ” ครั้นทรงตำหนิแล้วทรงแสดงธรรมีกถารับ
สั่งกับภิกษุทั้งหลายว่า

โคนันทิวิสาล
[๑๓] ภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว พราหมณ์คนหนึ่งในเมืองตักกสิลา
มีโคถึกชื่อนันทิวิสาล ภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล โคถึกชื่อนันทิวิสาลได้กล่าวกับ
พราหมณ์นั้นดังนี้ว่า “ท่านพราหมณ์ ท่านจงไปทำการพนันเอาทรัพย์ ๑,๐๐๐
กหาปณะกับเศรษฐีว่า โคถึกของเราจะลากเกวียน ๑๐๐ เล่มที่ผูกติดกันไปได้”
ภิกษุทั้งหลาย ทีนั้น พราหมณ์ได้ไปทำการพนันเอาทรัพย์ ๑,๐๐๐ กหาปณะ
กับเศรษฐีด้วยกล่าวว่า “โคถึกของเราจะลากเกวียน ๑๐๐ เล่มที่ผูกติดกันไปได้”
ภิกษุทั้งหลาย ครั้นแล้วพราหมณ์นั้นก็ผูกเกวียน ๑๐๐ เล่มเทียมโคถึกนันทิวิสาล
แล้วจึงได้กล่าวดังนี้ว่า “เจ้าโคโกง แกจงฉุด เจ้าโคโกง แกจงลากไป”
ครั้งนั้นแล โคถึกนันทิวิสาลได้ยืนนิ่งเฉยอยู่ ณ ที่นั้นเอง พราหมณ์นั้นแพ้พนัน
เสียทรัพย์ ๑,๐๐๐ กหาปณะ เศร้าซึมไป
ต่อมา โคถึกนันทิวิสาลได้กล่าวกับพราหมณ์นั้นดังนี้ว่า “ท่านพราหมณ์ เหตุ
ไรท่านจึงเศร้าซึม”
พราหมณ์ตอบว่า “ก็เพราะเจ้าทำให้เราต้องแพ้เสียทรัพย์ไปถึง ๑,๐๐๐
กหาปณะ”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๒๐๐ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๑.มุสาวาทวรรค ๒.โอมสวาทสิกขาบท พระบัญญัติ
โคถึกนันทิวิสาลกล่าวว่า “ท่านพราหมณ์ ท่านเรียกข้าพเจ้าผู้ไม่โกงด้วยคำว่า
โกงทำไมเล่า ท่านจงไปทำการพนันเอาทรัพย์ ๒,๐๐๐ กหาปณะกับเศรษฐีด้วย
กล่าวว่า ‘โคถึกของเราจะลากเกวียน ๑๐๐ เล่มที่ผูกติดกันไปได้’ แต่ท่านอย่าเรียก
ข้าพเจ้าผู้ไม่โกงด้วยคำว่าโกง”
พราหมณ์จึงไปพนันเอาทรัพย์ ๒,๐๐๐ กหาปณะกับเศรษฐีด้วยกล่าวว่า
“โคถึกของเราจะลากเกวียน ๑๐๐ เล่มที่ผูกติดกันไปได้” ภิกษุทั้งหลาย ครั้นแล้ว
พราหมณ์นั้นก็ผูกเกวียน ๑๐๐ เล่ม เทียมโคนันทิวิสาลแล้ว จึงได้กล่าวดังนี้ว่า
“พ่อมหาจำเริญ เชิญฉุดไป พ่อมหาจำเริญ เชิญลากไปเถิด” ครั้งนั้นแล โคถึก
นันทิวิสาลได้ลากเกวียน ๑๐๐ เล่มที่ผูกติดกันไปแล้ว
บุคคลพึงกล่าวคำไพเราะ
ไม่พึงกล่าวคำไม่ไพเราะ ไม่ว่าในกาลไหน ๆ
เมื่อพราหมณ์กล่าวคำไพเราะ
โคถึกโคนันทิวิสาลก็ลากเกวียนหนักไปได้
ทำให้พราหมณ์ได้ทรัพย์
ตนเองก็ดีใจที่พราหมณ์ได้ทรัพย์
เพราะการกระทำของตนนั้น๑
ภิกษุทั้งหลาย คำด่า คำสบประมาทไม่เป็นที่พอใจของเราแม้ในกาลนั้น
ไฉนบัดนี้ คำด่า คำสบประมาทจะเป็นที่พอใจเล่า ภิกษุทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้
มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส ฯลฯ แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบท
นี้ขึ้นแสดงดังนี้

พระบัญญัติ
[๑๔] ภิกษุต้องอาบัติปาจิตตีย์ เพราะกล่าวเสียดสี
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ

เชิงอรรถ :
๑ ขุ.ชา. ๒๗/๒๘/๗

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๒๐๑ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๑.มุสาวาทวรรค ๒.โอมสวาทสิกขาบท บทภาชนีย์
สิกขาบทวิภังค์
[๑๕] ที่ชื่อว่า กล่าวเสียดสี ได้แก่ ภิกษุกล่าวเสียดสีด้วยอาการ ๑๐ อย่าง
คือ (๑) ชาติกำเนิดบ้าง (๒) ชื่อบ้าง (๓) ตระกูลบ้าง (๔) หน้าที่การงานบ้าง
(๕) ศิลปวิทยาบ้าง (๖) ความเจ็บไข้บ้าง (๗) รูปลักษณ์บ้าง (๘) กิเลสบ้าง
(๙) อาบัติบ้าง (๑๐) คำด่าบ้าง

บทภาชนีย์
ที่ชื่อว่า ชาติกำเนิด ได้แก่ ชาติกำเนิด ๒ อย่าง คือ (๑) ชาติกำเนิดต่ำ
(๒) ชาติกำเนิดสูง
ที่ชื่อว่า ชาติกำเนิดต่ำ ได้แก่ ชาติกำเนิดคนจัณฑาล ชาติกำเนิดคนจักสาน
ชาติกำเนิดนายพราน ชาติกำเนิดช่างรถ ชาติกำเนิดคนเทขยะ๑ นี้จัดเป็นชาติกำเนิด
ต่ำ
ที่ชื่อว่า ชาติกำเนิดสูง ได้แก่ ชาติกำเนิดกษัตริย์ ชาติกำเนิดพราหมณ์ นี้
จัดเป็นชาติกำเนิดสูง
ที่ชื่อว่า ชื่อ ได้แก่ ชื่อ ๒ อย่าง คือ (๑) ชื่อที่เลว (๒) ชื่อที่ดี
ที่ชื่อว่า ชื่อที่เลว ได้แก่ ชื่ออวกัณณกะ ชื่อชวกัณณกะ ชื่อธนิฏฐกะ
ชื่อสวิฏฐกะ ชื่อกุลวัฑฒกะ๒ อีกอย่างหนึ่ง ชื่อที่เขาเย้ยหยัน เหยียดหยาม
เกลียดชัง ดูหมิ่น ไม่นับถือกันในท้องถิ่นนั้น ๆ นี้จัดเป็นชื่อที่เลว

เชิงอรรถ :
๑ ปุกฺกุส คนเทขยะ ในโยชนาว่า “คนเทอุจจาระ” (ปุ วุจฺจติ กรีสํ, ตํ กุสติ อปเนตีติ ปุกฺกุโส, ปุปฺผํ
วุจฺจติ กรีสํ, กุสุมํ วา, ตํ ฉฑฺเฑตีติ ปุปฺผฉฑฺฑโก อุจจาระท่านเรียกว่า “ปุ” ผู้ที่นำปุ คืออุจจาระนั้นไปทิ้ง
ชื่อว่า ปุกกุสะ อุจจาระท่านเรียกว่า ปุปผะ(ดอกไม้) ผู้ที่ขนดอกไม้คืออุจจาระนั้นทิ้ง ชื่อว่า ปุปผฉัฑฑกะ
(ปาจิตฺยาทิโยนา ๔ ม.)
ในที่นี้ ปุกกุสศัพท์เป็นไวพจน์ของปุปผฉัฑฑกศัพท์ (ปุกฺกุสชาตีติ ปุปฺผฉฑฺฑกชาติ - วิ.อ. ๒/๑๕/๒๕๗)
จะแปลว่า “คนเทอุจจาระ” ก็ได้
๒ ชื่อทั้ง ๕ นี้ คือ (๑) อวกัณณกะ (๒) ชวกัณณกะ (๓) ธนิฏฐกะ (๔) สวิฏฐกะ (๕) กุลวัฑฒกะ เป็นชื่อ
ของพวกทาสถือเป็นชื่อชั้นต่ำ เป็นชื่อที่เลว (วิ.อ. ๒/๑๕/๒๕๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๒๐๒ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๑.มุสาวาทวรรค ๒.โอมสวาทสิกขาบท บทภาชนีย์
ที่ชื่อว่า ชื่อที่ดี ได้แก่ ชื่อที่เกี่ยวกับพระพุทธ ที่เกี่ยวกับพระธรรม ที่เกี่ยวกับ
พระสงฆ์ อีกอย่างหนึ่ง ชื่อที่เขาไม่เย้ยหยัน ไม่เหยียดหยาม ไม่เกลียดชัง ไม่ดูหมิ่น
นับถือกันในท้องถิ่นนั้น ๆ นี้จัดเป็นชื่อที่ดี
ที่ชื่อว่า ตระกูล ได้แก่ ตระกูล ๒ อย่าง คือ (๑) ตระกูลชั้นต่ำ (๒) ตระกูลชั้นสูง
ที่ชื่อว่า ตระกูลชั้นต่ำ ได้แก่ ตระกูลโกสิยะ ตระกูลภารทวาชะ อีกอย่างหนึ่ง
ตระกูลที่เขาเย้ยหยัน เหยียดหยาม เกลียดชัง ดูหมิ่น ไม่นับถือกันในท้องถิ่นนั้น ๆ
นี้จัดเป็นตระกูลชั้นต่ำ
ที่ชื่อว่า ตระกูลชั้นสูง ได้แก่ ตระกูลโคตมะ ตระกูลโมคคัลลานะ ตระกูล
กัจจายนะ ตระกูลวาเสฏฐะ อีกอย่างหนึ่ง ตระกูลที่เขาไม่เย้ยหยัน ไม่เหยียดหยาม
ไม่เกลียดชัง ไม่ดูหมิ่น นับถือกันในท้องถิ่นนั้น ๆ นี้จัดเป็นตระกูลชั้นสูง
ที่ชื่อว่า หน้าที่การงาน ได้แก่ หน้าที่การงาน ๒ อย่าง คือ (๑) หน้าที่การงาน
ชั้นต่ำ (๒) หน้าที่การงานชั้นสูง
ที่ชื่อว่า หน้าที่การงานชั้นต่ำ ได้แก่ งานช่างถากไม้ งานเทขยะ๑ อีกอย่างหนึ่ง
การงานที่เขาเย้ยหยัน เหยียดหยาม เกลียดชัง ดูหมิ่น ไม่นับถือกันในท้องถิ่น
นั้น ๆ นี้จัดเป็นการงานชั้นต่ำ
ที่ชื่อว่า หน้าที่การงานชั้นสูง ได้แก่ ทำนา ค้าขาย เลี้ยงโค อีกอย่างหนึ่ง
การงานที่เขาไม่เย้ยหยัน ไม่เหยียดหยาม ไม่เกลียดชัง ไม่ดูหมิ่น นับถือกันใน
ท้องถิ่นนั้น ๆ นี้จัดเป็นการงานชั้นสูง
ที่ชื่อว่า ศิลปวิทยา ได้แก่ ศิลปวิทยา ๒ อย่าง คือ (๑) ศิลปวิทยาชั้นต่ำ
(๒) ศิลปวิทยาชั้นสูง
ที่ชื่อว่า ศิลปวิทยาชั้นต่ำ ได้แก่ วิชาช่างจักสาน วิชาช่างหม้อ วิชาช่างหูก
วิชาช่างหนัง วิชาช่างกัลบก อีกอย่างหนึ่ง ศิลปวิทยาที่เขาเย้ยหยัน เหยียดหยาม
เกลียดชัง ดูหมิ่น ไม่นับถือกันในท้องถิ่นนั้น ๆ นี้จัดเป็นศิลปวิทยาชั้นต่ำ

เชิงอรรถ :
๑ ปุปฺผฉฑฺฑกกมฺมํ งานเทขยะ หรือเทอุจจาระ (ดูเชิงอรรถ ข้อ ๑๕ หน้า ๒๐๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๒๐๓ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๑.มุสาวาทวรรค ๒.โอมสวาทสิกขาบท บทภาชนีย์
ที่ชื่อว่า ศิลปวิทยาชั้นสูง ได้แก่ วิชานับ วิชาคำนวณ วิชาเขียน อีกอย่างหนึ่ง
ศิลปวิทยาที่เขาไม่เย้ยหยัน ไม่เหยียดหยาม ไม่เกลียดชัง ไม่ดูหมิ่น นับถือกัน
ในท้องถิ่นนั้น ๆ นี้จัดเป็นศิลปวิทยาชั้นสูง
ความเจ็บไข้ ทุกชนิดจัดเป็นสิ่งที่เลว ส่วนโรคเบาหวาน๑ จัดเป็นโรคที่ดี
ที่ชื่อว่า รูปลักษณ์ ได้แก่ รูปลักษณ์ ๒ อย่าง คือ (๑) รูปลักษณ์ที่เลว
(๒) รูปลักษณ์ที่ดี
ที่ชื่อว่า รูปลักษณ์ที่เลว คือ สูงเกินไป เตี้ยเกินไป ดำเกินไป ขาวเกินไป นี้
จัดเป็นรูปลักษณ์ที่เลว
ที่ชื่อว่า รูปลักษณ์ที่ดี คือ ไม่สูงนัก ไม่เตี้ยนัก ไม่ดำนัก ไม่ขาวนัก นี้จัด
เป็นรูปลักษณ์ที่ดี
กิเลส ทั้งปวง ชื่อว่าเลว
อาบัติ (โทษทางพระวินัย) ทุกอย่างเป็นเรื่องที่เลว แต่โสดาบัติ (การเข้าถึง
กระแสธรรม) สมาบัติ (การเข้าฌาน) เป็นเรื่องที่ดี
ที่ชื่อว่า คำด่า ได้แก่ คำด่า ๒ อย่าง คือ (๑) คำด่าหยาบ (๒) คำด่าสุภาพ
ที่ชื่อว่า คำด่าหยาบ ได้แก่ คำด่าว่า ท่านเป็นอูฐ ท่านเป็นแพะ ท่านเป็นโค
ท่านเป็นลา ท่านเป็นสัตว์ดิรัจฉาน ท่านเป็นสัตว์นรก ท่านไม่มีสุคติ หวังได้แต่ทุคติ
เท่านั้น คำด่าที่เกี่ยวกับการร่วมประเวณี๒ หรือคำด่าที่เกี่ยวกับอวัยวะของชายหญิง
นี้จัดเป็นคำด่าหยาบ
ที่ชื่อว่า คำด่าสุภาพ ได้แก่ คำด่าว่า ท่านเป็นบัณฑิต ท่านเป็นคนฉลาด
ท่านเป็นนักปราชญ์ ท่านเป็นพหูสูต ท่านเป็นธรรมกถึก ท่านไม่มีทุคติ หวังได้
แต่สุคติเท่านั้น นี้จัดเป็นคำด่าสุภาพ

เชิงอรรถ :
๑ มธุเมโห อาพาโธ โรคเบาหวาน บางอาจารย์ว่าโรคอ้วน (ถูลกายสฺส มํสูปจโยติ เอเก-วชิร.ฏีกา ๓๗๐)
๒ คำว่า “การร่วมประเวณี” แปลมาจากคำว่า ยกาเรน ภกาเรน (ยภ เมถุเน. มิถุนสฺส ชนทฺวยสฺส อิทํ
กมฺมํ เมถุนํ, ตสฺมึ เมถุเน ยภธาตุ วตฺตติ ยภ-ธาตุใช้ในความหมายว่าเมถุนธรรม คือด่าด้วยคำว่า
ยภ หมายถึงด่าถึงเรื่องของคน ๒ คน คือชายกับหญิงมีเพศสัมพันธ์กัน (นีติธาตุ ๑๖๙, วชิร. ฏีกา ๓๗๐,
สารตฺถ. ฏีกา ๓/๑๕/๔, วิมติ.ฏีกา ๒/๑๕/๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๒๐๔ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๑.มุสาวาทวรรค ๒.โอมสวาทสิกขาบท บทภาชนีย์
อุปสัมบันกล่าวเสียดสีอุปสัมบัน
๑. กล่าวเสียดสีด้วยชาติกำเนิดต่ำ
[๑๖] อุปสัมบันต้องการจะด่า ต้องการจะสบประมาท ต้องการจะทำให้
อุปสัมบันเก้อเขิน กล่าวกับอุปสัมบันชาติกำเนิดต่ำด้วย(คำบ่งถึง)ชาติกำเนิดต่ำ คือ
กล่าวกับอุปสัมบันผู้เป็นคนจัณฑาล กับอุปสัมบันผู้เป็นคนจักสาน กับอุปสัมบันผู้
เป็นนายพราน กับอุปสัมบันผู้เป็นช่างรถ กับอุปสัมบันผู้เป็นคนเทขยะว่า “ท่าน
เป็นคนจัณฑาล ท่านเป็นคนจักสาน ท่านเป็นนายพราน ท่านเป็นช่างรถ ท่าน
เป็นคนเทขยะ” ต้องอาบัติปาจิตตีย์ทุก ๆ คำพูด
อุปสัมบันต้องการจะด่า ต้องการจะสบประมาท ต้องการจะทำให้อุปสัมบัน
เก้อเขิน กล่าวกับอุปสัมบันชาติกำเนิดสูงด้วย(คำบ่งถึง)ชาติกำเนิดต่ำ คือ กล่าว
กับอุปสัมบันผู้เป็นกษัตริย์ กับอุปสัมบันผู้เป็นพราหมณ์ว่า “ท่านเป็นคนจัณฑาล
ท่านเป็นคนจักสาน ท่านเป็นนายพราน ท่านเป็นช่างรถ ท่านเป็นคนเทขยะ” ต้อง
อาบัติปาจิตตีย์ทุก ๆ คำพูด

กล่าวเสียดสีด้วยชาติกำเนิดสูง
อุปสัมบันต้องการจะด่า ต้องการจะสบประมาท ต้องการจะทำให้อุปสัมบัน
เก้อเขิน กล่าวกับอุปสัมบันชาติกำเนิดต่ำด้วย(คำบ่งถึง)ชาติกำเนิดสูง คือ กล่าว
กับอุปสัมบันผู้เป็นจัณฑาล กับอุปสัมบันผู้เป็นคนจักสาน กับอุปสัมบันผู้เป็น
นายพราน กับอุปสัมบันผู้เป็นช่างรถ กับอุปสัมบันผู้เป็นคนเทขยะว่า “ท่านกษัตริย์
ท่านพราหมณ์” ต้องอาบัติปาจิตตีย์ทุก ๆ คำพูด
อุปสัมบันต้องการจะด่า ต้องการจะสบประมาท ต้องการจะทำให้อุปสัมบัน
เก้อเขิน กล่าวกับอุปสัมบันชาติกำเนิดสูงด้วย(คำบ่งถึง)ชาติกำเนิดสูง คือ กล่าวกับ
อุปสัมบันผู้เป็นกษัตริย์ กับอุปสัมบันผู้เป็นพราหมณ์ว่า “ท่านกษัตริย์ ท่าน
พราหมณ์” ต้องอาบัติปาจิตตีย์ทุก ๆ คำพูด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๒๐๕ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๑.มุสาวาทวรรค ๒.โอมสวาทสิกขาบท บทภาชนีย์
๒. กล่าวเสียดสีด้วยชื่อที่เลว
[๑๗] อุปสัมบันต้องการจะด่า ต้องการจะสบประมาท ต้องการจะทำให้
อุปสัมบันเก้อเขิน กล่าวกับอุปสัมบันมีชื่อเลวด้วยชื่อที่เลว คือ กล่าวกับอุปสัมบัน
ชื่ออวกัณณกะ กับอุปสัมบันชื่อชวกัณณกะ กับอุปสัมบันชื่อธนิฏฐกะ กับอุปสัมบัน
ชื่อสวิฏฐกะ กับอุปสัมบันชื่อกุลวัฑฒกะว่า “ท่านอวกัณณกะ ท่านชวกัณณกะ
ท่านธนิฏฐกะ ท่านสวิฏฐกะ ท่านกุลวัฑฒกะ” ต้องอาบัติปาจิตตีย์ทุก ๆ คำพูด
อุปสัมบันต้องการจะด่า ต้องการจะสบประมาท ต้องการจะทำให้อุปสัมบัน
เก้อเขิน กล่าวกับอุปสัมบันมีชื่อที่ดีด้วยชื่อที่เลว คือ กล่าวกับอุปสัมบันชื่อพุทธรักขิต
กับอุปสัมบันชื่อธัมมรักขิต กับอุปสัมบันชื่อสังฆรักขิตว่า “ท่านอวกัณณกะ ท่าน
ชวกัณณกะ ท่านธนิฏฐกะ ท่านสวิฏฐกะ ท่านกุลวัฑฒกะ” ต้องอาบัติปาจิตตีย์
ทุก ๆ คำพูด

กล่าวเสียดสีด้วยชื่อที่ดี
อุปสัมบันต้องการจะด่า ต้องการจะสบประมาท ต้องการจะทำให้อุปสัมบัน
เก้อเขิน กล่าวกับอุปสัมบันมีชื่อที่เลวด้วยชื่อที่ดี คือ กล่าวกับอุปสัมบันชื่ออวกัณณกะ
กับอุปสัมบันชื่อชวกัณณกะ กับอุปสัมบันชื่อธนิฏฐกะ กับอุปสัมบันชื่อสวิฏฐกะ
กับอุปสัมบันชื่อกุลวัฑฒกะว่า “ท่านพุทธรักขิต ท่านธัมมรักขิต ท่านสังฆรักขิต”
ต้องอาบัติปาจิตตีย์ทุก ๆ คำพูด
อุปสัมบันต้องการจะด่า ต้องการจะสบประมาท ต้องการจะทำให้อุปสัมบัน
เก้อเขิน กล่าวกับอุปสัมบันมีชื่อที่ดีด้วยชื่อที่ดี คือ กล่าวกับอุปสัมบันชื่อพุทธรักขิต
กับอุปสัมบันชื่อธัมมรักขิต กับอุปสัมบันชื่อสังฆรักขิตว่า “ท่านพุทธรักขิต ท่าน
ธัมมรักขิต ท่านสังฆรักขิต” ต้องอาบัติปาจิตตีย์ทุก ๆ คำพูด

๓. กล่าวเสียดสีด้วยตระกูลชั้นต่ำ
[๑๘] อุปสัมบันต้องการจะด่า ต้องการจะสบประมาท ต้องการจะทำให้
อุปสัมบันเก้อเขิน กล่าวกับอุปสัมบันผู้มีตระกูลชั้นต่ำด้วย(คำบ่งถึง)ตระกูลชั้นต่ำ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๒๐๖ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๑.มุสาวาทวรรค ๒.โอมสวาทสิกขาบท บทภาชนีย์
คือ กล่าวกับอุปสัมบันตระกูลโกสิยะ กับอุปสัมบันตระกูลภารทวาชะว่า “ท่านเป็น
คนตระกูลโกสิยะ ท่านเป็นคนตระกูลภารทวาชะ” ต้องอาบัติปาจิตตีย์ทุก ๆ คำพูด
อุปสัมบันต้องการจะด่า ต้องการจะสบประมาท ต้องการจะทำให้อุปสัมบัน
เก้อเขิน กล่าวกับอุปสัมบันตระกูลชั้นสูงด้วย(คำบ่งถึง)ตระกูลชั้นต่ำ คือ กล่าวกับ
อุปสัมบันตระกูลโคตมะ กับอุปสัมบันตระกูลโมคคัลลานะ กับอุปสัมบันตระกูล
กัจจายนะ กับอุปสัมบันตระกูลวาเสฏฐะว่า “ท่านเป็นคนตระกูลโกสิยะ ท่านเป็นคน
ตระกูลภารทวาชะ” ต้องอาบัติปาจิตตีย์ทุก ๆ คำพูด

กล่าวเสียดสีด้วยตระกูลชั้นสูง
อุปสัมบันต้องการจะด่า ต้องการจะสบประมาท ต้องการจะทำให้อุปสัมบัน
เก้อเขิน กล่าวกับอุปสัมบันผู้มีตระกูลชั้นต่ำด้วย(คำบ่งถึง)ตระกูลชั้นสูง คือ กล่าว
กับอุปสัมบันตระกูลโกสิยะ กับอุปสัมบันตระกูลภารทวาชะว่า “ท่านเป็นคนตระกูล
โคตมะ ท่านเป็นคนตระกูลโมคคัลลานะ ท่านเป็นคนตระกูลกัจจายนะ ท่านเป็นคน
ตระกูลวาเสฏฐะ” ต้องอาบัติปาจิตตีย์ทุก ๆ คำพูด
อุปสัมบันต้องการจะด่า ต้องการจะสบประมาท ต้องการจะทำให้อุปสัมบัน
เก้อเขิน กล่าวกับอุปสัมบันผู้มีตระกูลชั้นสูงด้วย(คำบ่งถึง)ตระกูลชั้นสูง คือ กล่าว
กับอุปสัมบันตระกูลโคตมะ กับอุปสัมบันตระกูลโมคคัลลานะ กับอุปสัมบันตระกูล
กัจจายนะ กับอุปสัมบันตระกูลวาเสฏฐะว่า “ท่านเป็นคนตระกูลโคตมะ ท่านเป็นคน
ตระกูลโมคคัลลานะ ท่านเป็นคนตระกูลกัจจายนะ ท่านเป็นคนตระกูลวาเสฏฐะ”
ต้องอาบัติปาจิตตีย์ทุก ๆ คำพูด

๔. กล่าวเสียดสีด้วยหน้าที่การงานชั้นต่ำ
[๑๙] อุปสัมบันต้องการจะด่า ต้องการจะสบประมาท ต้องการจะทำให้
อุปสัมบันเก้อเขิน กล่าวกับอุปสัมบันมีหน้าที่การงานชั้นต่ำด้วย(คำบ่งถึง)หน้าที่
การงานชั้นต่ำ คือ กล่าวกับอุปสัมบันผู้เป็นช่างถากไม้ กับอุปสัมบันผู้เป็นคนเทขยะ
ว่า “ท่านเป็นช่างถากไม้ ท่านเป็นคนเทขยะ” ต้องอาบัติปาจิตตีย์ทุก ๆ คำพูด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๒๐๗ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๑.มุสาวาทวรรค ๒.โอมสวาทสิกขาบท บทภาชนีย์
อุปสัมบันต้องการจะด่า ต้องการจะสบประมาท ต้องการจะทำให้อุปสัมบัน
เก้อเขิน กล่าวกับอุปสัมบันมีหน้าที่การงานชั้นสูงด้วย(คำบ่งถึง)หน้าที่การงาน
ชั้นต่ำ คือ กล่าวกับอุปสัมบันผู้เป็นชาวนา กับอุปสัมบันผู้เป็นพ่อค้า กับอุปสัมบัน
ผู้เป็นคนเลี้ยงโคว่า “ท่านเป็นช่างถากไม้ ท่านเป็นคนเทขยะ” ต้องอาบัติปาจิตตีย์
ทุก ๆ คำพูด

กล่าวเสียดสีด้วยหน้าที่การงานชั้นสูง
อุปสัมบันต้องการจะด่า ต้องการจะสบประมาท ต้องการจะทำให้อุปสัมบัน
เก้อเขิน กล่าวกับอุปสัมบันมีหน้าที่การงานชั้นต่ำด้วย(คำบ่งถึง)หน้าที่การงานชั้น
สูง คือ กล่าวกับอุปสัมบันผู้เป็นช่างถากไม้ กับอุปสัมบันผู้เป็นคนเทขยะว่า “ท่าน
เป็นชาวนา ท่านเป็นพ่อค้า ท่านเป็นคนเลี้ยงโค” ต้องอาบัติปาจิตตีย์ทุก ๆ คำพูด
อุปสัมบันต้องการจะด่า ต้องการจะสบประมาท ต้องการจะทำให้อุปสัมบัน
เก้อเขิน กล่าวกับอุปสัมบันมีหน้าที่การงานชั้นสูงด้วย(คำบ่งถึง)หน้าที่การงานชั้น
สูง คือ กล่าวกับอุปสัมบันผู้เป็นชาวนา กับอุปสัมบันผู้เป็นพ่อค้า กับอุปสัมบันผู้
เป็นคนเลี้ยงโคว่า “ท่านเป็นชาวนา ท่านเป็นพ่อค้า ท่านเป็นคนเลี้ยงโค” ต้องอาบัติ
ปาจิตตีย์ทุก ๆ คำพูด

๕. กล่าวเสียดสีด้วยศิลปวิทยาชั้นต่ำ
[๒๐] อุปสัมบันต้องการจะด่า ต้องการจะสบประมาท ต้องการจะทำให้
อุปสัมบันเก้อเขิน กล่าวกับอุปสัมบันมีศิลปวิทยาชั้นต่ำด้วย(คำบ่งถึง)ศิลปวิทยาชั้น
ต่ำ คือ กล่าวกับอุปสัมบันผู้เป็นช่างจักสาน กับอุปสัมบันผู้เป็นช่างหม้อ กับ
อุปสัมบันผู้เป็นช่างหูก กับอุปสัมบันผู้เป็นช่างหนัง กับอุปสัมบันผู้เป็นช่างกัลบกว่า
“ท่านเป็นช่างจักสาน ท่านเป็นช่างหม้อ ท่านเป็นช่างหูก ท่านเป็นช่างหนัง ท่านเป็น
ช่างกัลบก” ต้องอาบัติปาจิตตีย์ทุก ๆ คำพูด
อุปสัมบันต้องการจะด่า ต้องการจะสบประมาท ต้องการจะทำให้อุปสัมบัน
เก้อเขิน กล่าวกับอุปสัมบันมีศิลปวิทยาชั้นสูงด้วย(คำบ่งถึง)ศิลปวิทยาชั้นต่ำ คือ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๒๐๘ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๑.มุสาวาทวรรค ๒.โอมสวาทสิกขาบท บทภาชนีย์
กล่าวกับอุปสัมบันผู้เป็นช่างนับ กับอุปสัมบันผู้เป็นนักคำนวณ กับอุปสัมบันผู้เป็น
นักเขียนว่า “ท่านเป็นช่างจักสาน ท่านเป็นช่างหม้อ ท่านเป็นช่างหูก ท่านเป็น
ช่างหนัง ท่านเป็นช่างกัลบก” ต้องอาบัติปาจิตตีย์ทุก ๆ คำพูด

กล่าวเสียดสีด้วยศิลปวิทยาชั้นสูง
อุปสัมบันต้องการจะด่า ต้องการจะสบประมาท ต้องการจะทำให้อุปสัมบัน
เก้อเขิน กล่าวกับอุปสัมบันมีศิลปวิทยาชั้นต่ำด้วย(คำบ่งถึง)ศิลปวิทยาชั้นสูง คือ
กล่าวกับอุปสัมบันผู้เป็นช่างจักสาน กับอุปสัมบันผู้เป็นช่างหม้อ กับอุปสัมบันผู้เป็น
ช่างหูก กับอุปสัมบันผู้เป็นช่างหนัง กับอุปสัมบันผู้เป็นช่างกัลบกว่า “ท่านเป็นช่าง
นับ ท่านเป็นนักคำนวณ ท่านเป็นนักเขียน” ต้องอาบัติปาจิตตีย์ทุก ๆ คำพูด
อุปสัมบันต้องการจะด่า ต้องการจะสบประมาทต้องการจะทำให้อุปสัมบันเก้อเขิน
กล่าวกับอุปสัมบันมีศิลปวิทยาชั้นสูงด้วย(คำบ่งถึง)ศิลปวิทยาชั้นสูง คือ กล่าวกับ
อุปสัมบันผู้เป็นช่างนับ กับอุปสัมบันผู้เป็นนักคำนวณ กับอุปสัมบันผู้เป็นนักเขียน
ว่า “ท่านเป็นช่างนับ ท่านเป็นนักคำนวณ ท่านเป็นนักเขียน” ต้องอาบัติปาจิตตีย์
ทุก ๆ คำพูด

๖. กล่าวเสียดสีด้วยความเจ็บไข้
[๒๑] อุปสัมบันต้องการจะด่า ต้องการจะสบประมาท ต้องการจะทำให้
อุปสัมบันเก้อเขิน กล่าวกับอุปสัมบันผู้เป็นโรคที่เลวด้วย(คำบ่งถึง)โรคที่เลว คือ
กล่าวกับอุปสัมบันผู้เป็นโรคเรื้อน กับอุปสัมบันผู้เป็นโรคฝี กับอุปสัมบันผู้เป็นโรค
กลาก กับอุปสัมบันผู้เป็นโรคมองคร่อ กับอุปสัมบันผู้เป็นโรคลมบ้าหมูว่า “ท่าน
เป็นโรคเรื้อน ท่านเป็นโรคฝี ท่านเป็นโรคกลาก ท่านเป็นโรคมองคร่อ ท่านเป็นโรค
ลมบ้าหมู” ต้องอาบัติปาจิตตีย์ทุก ๆ คำพูด
อุปสัมบันต้องการจะด่า ต้องการจะสบประมาท ต้องการจะทำให้อุปสัมบันเก้อ
เขิน กล่าวกับอุปสัมบันผู้เป็นโรคที่ดีด้วย(คำบ่งถึง)โรคที่เลว คือ กล่าวกับอุปสัมบัน
ผู้เป็นโรคเบาหวานว่า “ท่านเป็นโรคเรื้อน ท่านเป็นโรคฝี ท่านเป็นโรคกลาก ท่าน
เป็นโรคมองคร่อ ท่านเป็นโรคลมบ้าหมู” ต้องอาบัติปาจิตตีย์ทุก ๆ คำพูด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๒๐๙ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๑.มุสาวาทวรรค ๒.โอมสวาทสิกขาบท บทภาชนีย์
อุปสัมบันต้องการจะด่า ต้องการจะสบประมาท ต้องการจะทำให้อุปสัมบัน
เก้อเขิน กล่าวกับอุปสัมบันผู้เป็นโรคที่เลวด้วย(คำบ่งถึง)โรคที่ดี คือ กล่าวกับ
อุปสัมบันผู้เป็นโรคเรื้อน กับอุปสัมบันผู้เป็นโรคฝี กับอุปสัมบันผู้เป็นโรคกลาก
กับอุปสัมบันผู้เป็นโรคมองคร่อ กับอุปสัมบันผู้เป็นโรคลมบ้าหมูว่า “ท่านเป็นโรค
เบาหวาน” ต้องอาบัติปาจิตตีย์ทุก ๆ คำพูด
อุปสัมบันต้องการจะด่า ต้องการจะสบประมาท ต้องการจะทำให้อุปสัมบัน
เก้อเขิน กล่าวกับอุปสัมบันผู้เป็นโรคที่ดีด้วย(คำบ่งถึง)โรคที่ดี คือ กล่าวกับ
อุปสัมบันผู้เป็นโรคเบาหวานว่า “ท่านเป็นโรคเบาหวาน” ต้องอาบัติปาจิตตีย์
ทุก ๆ คำพูด

๗. กล่าวเสียดสีด้วยรูปลักษณ์ที่เลว
[๒๒] อุปสัมบันต้องการจะด่า ต้องการจะสบประมาท ต้องการจะทำให้
อุปสัมบันเก้อเขิน กล่าวกับอุปสัมบันมีรูปลักษณ์ที่เลวด้วย(คำบ่งถึง)รูปลักษณ์ที่เลว
คือ กล่าวกับอุปสัมบันผู้สูงเกินไป กับอุปสัมบันผู้เตี้ยเกินไป กับอุปสัมบันผู้ดำเกินไป
กับอุปสัมบันผู้ขาวเกินไปว่า “ท่านเป็นคนสูงเกินไป ท่านเป็นคนเตี้ยเกินไป ท่านเป็น
คนดำเกินไป ท่านเป็นคนขาวเกินไป” ต้องอาบัติปาจิตตีย์ทุก ๆ คำพูด
อุปสัมบันต้องการจะด่า ต้องการจะสบประมาท ต้องการจะทำให้อุปสัมบัน
เก้อเขิน กล่าวกับอุปสัมบันมีรูปลักษณ์ที่ดีด้วย(คำบ่งถึง)รูปลักษณ์ที่เลว คือ กล่าว
กับอุปสัมบันผู้ไม่สูงนัก กับอุปสัมบันผู้ไม่เตี้ยนัก กับอุปสัมบันผู้ไม่ดำนัก กับ
อุปสัมบันผู้ไม่ขาวนักว่า “ท่านเป็นคนสูงเกินไป ท่านเป็นคนเตี้ยเกินไป ท่านเป็นคน
ดำเกินไป ท่านเป็นคนขาวเกินไป” ต้องอาบัติปาจิตตีย์ทุก ๆ คำพูด

กล่าวเสียดสีด้วยรูปลักษณ์ที่ดี
อุปสัมบันต้องการจะด่า ต้องการจะสบประมาท ต้องการจะทำให้อุปสัมบัน
เก้อเขิน กล่าวกับอุปสัมบันมีรูปลักษณ์ที่เลวด้วย(คำบ่งถึง)รูปลักษณ์ที่ดี คือ กล่าว
กับอุปสัมบันผู้สูงเกินไป กับอุปสัมบันผู้เตี้ยเกินไป กับอุปสัมบันผู้ดำเกินไป กับ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๒๑๐ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๑.มุสาวาทวรรค ๒.โอมสวาทสิกขาบท บทภาชนีย์
อุปสัมบันผู้ขาวเกินไปว่า “ท่านเป็นคนไม่สูงนัก ท่านเป็นคนไม่เตี้ยนักท่านเป็นคนไม่ดำนัก
ท่านเป็นคนไม่ขาวนัก” ต้องอาบัติปาจิตตีย์ทุก ๆ คำพูด
อุปสัมบันต้องการจะด่า ต้องการจะสบประมาท ต้องการจะทำให้อุปสัมบัน
เก้อเขิน กล่าวกับอุปสัมบันมีรูปลักษณ์ที่ดีด้วย(คำบ่งถึง)รูปลักษณ์ที่ดี คือ กล่าวกับ
อุปสัมบันผู้ไม่สูงเกินไป กับอุปสัมบันผู้ไม่เตี้ยเกินไป กับอุปสัมบันผู้ไม่ดำเกินไป กับ
อุปสัมบันผู้ไม่ขาวเกินไปว่า “ท่านเป็นคนไม่สูงนัก ท่านเป็นคนไม่เตี้ยนัก ท่านเป็น
คนไม่ดำนัก ท่านเป็นคนไม่ขาวนัก” ต้องอาบัติปาจิตตีย์ทุก ๆ คำพูด

๘. กล่าวเสียดสีด้วยกิเลส
[๒๓] อุปสัมบันต้องการจะด่า ต้องการจะสบประมาท ต้องการจะทำให้
อุปสัมบันเก้อเขิน กล่าวกับอุปสัมบันผู้มีกิเลสที่เลวด้วย(คำบ่งถึง)กิเลสที่เลว คือ
กล่าวกับอุปสัมบันผู้ถูกราคะกลุ้มรุม กับอุปสัมบันผู้ถูกโทสะกลุ้มรุม กับอุปสัมบันผู้
ถูกโมหะกลุ้มรุมว่า “ท่านเป็นผู้ถูกราคะกลุ้มรุม ท่านเป็นผู้ถูกโทสะกลุ้มรุม ท่าน
เป็นผู้ถูกโมหะกลุ้มรุม” ต้องอาบัติปาจิตตีย์ทุก ๆ คำพูด
อุปสัมบันต้องการจะด่า ต้องการจะสบประมาท ต้องการจะทำให้อุปสัมบัน
เก้อเขิน กล่าวกับอุปสัมบันผู้มีภาวะไร้กิเลสด้วย(คำบ่งถึง)กิเลสที่เลว คือ กล่าวกับ
อุปสัมบันผู้ปราศจากราคะ กับอุปสัมบันผู้ปราศจากโทสะ กับอุปสัมบันผู้ปราศจาก
โมหะว่า “ท่านเป็นผู้ถูกราคะกลุ้มรุม ท่านเป็นผู้ถูกโทสะกลุ้มรุม ท่านเป็นผู้ถูกโมหะ
กลุ้มรุม” ต้องอาบัติปาจิตตีย์ทุก ๆ คำพูด
อุปสัมบันต้องการจะด่า ต้องการจะสบประมาท ต้องการจะทำให้อุปสัมบัน
เก้อเขิน กล่าวกับอุปสัมบันผู้มีกิเลสที่เลวด้วย(คำบ่งถึง)ภาวะไร้กิเลส คือ กล่าวกับ
อุปสัมบันผู้ถูกราคะกลุ้มรุม กับอุปสัมบันผู้ถูกโทสะกลุ้มรุม กับอุปสัมบันผู้ถูกโมหะ
กลุ้มรุมว่า “ท่านเป็นผู้ปราศจากราคะ ท่านเป็นผู้ปราศจากโทสะ ท่านเป็นผู้ปราศ
จากโมหะ” ต้องอาบัติปาจิตตีย์ทุก ๆ คำพูด
อุปสัมบันต้องการจะด่า ต้องการจะสบประมาท ต้องการจะทำให้อุปสัมบัน
เก้อเขิน กล่าวกับอุปสัมบันผู้มีภาวะไร้กิเลสด้วย(คำบ่งถึง)ภาวะไร้กิเลส คือ กล่าว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๒๑๑ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๑.มุสาวาทวรรค ๒.โอมสวาทสิกขาบท บทภาชนีย์
กับอุปสัมบันผู้ปราศจากราคะ กับอุปสัมบันผู้ปราศจากโทสะ กับอุปสัมบันผู้
ปราศจากโมหะว่า “ท่านเป็นผู้ปราศจากราคะ ท่านเป็นผู้ปราศจากโทสะ ท่านเป็น
ผู้ปราศจากโมหะ” ต้องอาบัติปาจิตตีย์ทุก ๆ คำพูด

๙. กล่าวเสียดสีด้วยอาบัติ
[๒๔] อุปสัมบันต้องการจะด่า ต้องการจะสบประมาท ต้องการจะทำให้
อุปสัมบันเก้อเขิน กล่าวกับอุปสัมบันที่เลวด้วยเรื่องที่เลว คือ กล่าวกับอุปสัมบันผู้
ต้องอาบัติปาราชิก กับอุปสัมบันผู้ต้องอาบัติสังฆาทิเสส กับอุปสัมบันผู้ต้องอาบัติ
ถุลลัจจัย กับอุปสัมบันผู้ต้องอาบัติปาจิตตีย์ กับอุปสัมบันผู้ต้องอาบัติปาฏิเทสนียะ
กับอุปสัมบันผู้ต้องอาบัติทุกกฏ กับอุปสัมบันผู้ต้องอาบัติทุพภาสิตว่า “ท่านต้อง
อาบัติปาราชิก ท่านต้องอาบัติสังฆาทิเสส ท่านต้องอาบัติถุลลัจจัย ท่านต้อง
อาบัติปาจิตตีย์ ท่านต้องอาบัติปาฏิเทสนียะ ท่านต้องอาบัติทุกกฏ ท่านต้องอาบัติ
ทุพภาสิต” ต้องอาบัติปาจิตตีย์ทุก ๆ คำพูด
อุปสัมบันต้องการจะด่า ต้องการจะสบประมาท ต้องการจะทำให้อุปสัมบัน
เก้อเขิน กล่าวกับอุปสัมบันผู้มีคุณธรรมสูงด้วยเรื่องที่เลว คือ กล่าวกับอุปสัมบัน
ผู้เป็นโสดาบันว่า “ท่านต้องอาบัติปาราชิก ฯลฯ ท่านต้องอาบัติทุพภาสิต” ต้อง
อาบัติปาจิตตีย์ทุก ๆ คำพูด
อุปสัมบันต้องการจะด่า ต้องการจะสบประมาท ต้องการจะทำให้อุปสัมบัน
เก้อเขิน กล่าวกับอุปสัมบันที่เลวด้วย(คำบ่งถึง)คุณธรรมสูง คือ กล่าวกับอุปสัมบัน
ผู้ต้องอาบัติปาราชิก ฯลฯ อุปสัมบันผู้ต้องอาบัติทุพภาสิตว่า “ท่านเป็นโสดาบัน”
ต้องอาบัติปาจิตตีย์ทุก ๆ คำพูด
อุปสัมบันต้องการจะด่า ต้องการจะสบประมาท ต้องการจะทำให้อุปสัมบัน
เก้อเขิน กล่าวกับอุปสัมบันผู้มีคุณธรรมชั้นสูงด้วย(คำบ่งถึง)คุณธรรมชั้นสูง คือ
กล่าวกับอุปสัมบันผู้เป็นโสดาบันว่า “ท่านเป็นโสดาบัน” ต้องอาบัติปาจิตตีย์ทุก ๆ
คำพูด


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๒๑๒ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๑.มุสาวาทวรรค ๒.โอมสวาทสิกขาบท บทภาชนีย์
๑๐. กล่าวเสียดสีด้วยคำด่าหยาบ
[๒๕] อุปสัมบันต้องการจะด่า ต้องการจะสบประมาท ต้องการจะทำให้
อุปสัมบันเก้อเขิน กล่าวกับอุปสัมบันมีความประพฤติเลวด้วยคำด่าที่หยาบ คือ
กล่าวกับอุปสัมบันผู้มีความประพฤติดังอูฐ กับอุปสัมบันผู้มีความประพฤติดังแพะ
กับอุปสัมบันผู้มีความประพฤติดังโค กับอุปสัมบันผู้มีความประพฤติดังลา กับ
อุปสัมบันผู้มีความประพฤติดังสัตว์ดิรัจฉาน กับอุปสัมบันผู้มีความประพฤติดังสัตว์
นรกว่า “ท่านเป็นอูฐ ท่านเป็นแพะ ท่านเป็นโค ท่านเป็นลา ท่านเป็นสัตว์ดิรัจฉาน
ท่านเป็นสัตว์นรก ท่านไม่มีสุคติ หวังได้เพียงทุคติเท่านั้น” ต้องอาบัติปาจิตตีย์
ทุก ๆ คำพูด
อุปสัมบันต้องการจะด่า ต้องการจะสบประมาท ต้องการจะทำให้อุปสัมบัน
เก้อเขิน กล่าวกับอุปสัมบันผู้มีคุณสมบัติชั้นสูงด้วยคำด่าที่หยาบ คือ กล่าวกับ
อุปสัมบันผู้เป็นบัณฑิต กับอุปสัมบันผู้ฉลาด กับอุปสัมบันผู้เป็นนักปราชญ์ กับ
อุปสัมบันผู้เป็นพหูสูต กับอุปสัมบันผู้เป็นธรรมกถึกว่า “ท่านเป็นอูฐ ท่านเป็นแพะ
ท่านเป็นโค ท่านเป็นลา ท่านเป็นสัตว์ดิรัจฉาน ท่านเป็นสัตว์นรก ท่านไม่มีสุคติ
หวังได้เพียงทุคติเท่านั้น” ต้องอาบัติปาจิตตีย์ทุก ๆ คำพูด

กล่าวเสียดสีประชดด้วยคำด่าสุภาพ
อุปสัมบันต้องการจะด่า ต้องการจะสบประมาท ต้องการจะทำให้อุปสัมบัน
เก้อเขิน กล่าวกับอุปสัมบันผู้มีความประพฤติเลวด้วยคำด่าสุภาพ คือ กล่าวกับ
อุปสัมบันผู้มีความประพฤติดังอูฐ กับอุปสัมบันผู้มีความประพฤติดังแพะ กับ
อุปสัมบันผู้มีความประพฤติดังโค กับอุปสัมบันผู้มีความประพฤติดังลา กับอุปสัมบัน
ผู้มีความประพฤติดังสัตว์ดิรัจฉาน กับอุปสัมบันผู้มีความประพฤติดังสัตว์นรกว่า
“ท่านเป็นบัณฑิต ท่านเป็นคนฉลาด ท่านเป็นนักปราชญ์ ท่านเป็นพหูสูต ท่านเป็น
ธรรมกถึก ท่านไม่มีทุคติ หวังได้แต่สุคติเท่านั้น” ต้องอาบัติปาจิตตีย์ทุก ๆ คำพูด
อุปสัมบันต้องการจะด่า ต้องการจะสบประมาท ต้องการจะทำให้อุปสัมบัน
เก้อเขิน กล่าวกับอุปสัมบันผู้มีคุณสมบัติสูงด้วยคำด่าสุภาพ คือ กล่าวกับอุปสัมบัน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๒๑๓ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๑.มุสาวาทวรรค ๒.โอมสวาทสิกขาบท บทภาชนีย์
ผู้เป็นบัณฑิต กับอุปสัมบันผู้ฉลาด กับอุปสัมบันผู้เป็นนักปราชญ์ กับอุปสัมบันผู้
เป็นพหูสูต กับอุปสัมบันผู้เป็นธรรมกถึกว่า “ท่านเป็นบัณฑิต ท่านเป็นคนฉลาด
ท่านเป็นนักปราชญ์ ท่านเป็นพหูสูต ท่านเป็นธรรมกถึก ท่านไม่มีทุคติ หวังได้แต่
สุคติเท่านั้น” ต้องอาบัติปาจิตตีย์ทุก ๆ คำพูด

๑. กล่าวเสียดสีด้วยชาติกำเนิดต่ำ
[๒๖] อุปสัมบันต้องการจะด่า ต้องการจะสบประมาท ต้องการจะทำให้
อุปสัมบันเก้อเขิน กล่าวอย่างนี้ว่า “ในพระธรรมวินัยนี้ มีภิกษุบางพวกเป็นคน
จัณฑาล เป็นคนจักสาน เป็นนายพราน เป็นช่างรถ เป็นคนเทขยะ” ต้องอาบัติ
ทุกกฏทุก ๆ คำพูด

กล่าวเสียดสีด้วยชาติกำเนิดสูง
อุปสัมบันต้องการจะด่า ต้องการจะสบประมาท ต้องการจะทำให้อุปสัมบัน
เก้อเขิน กล่าวอย่างนี้ว่า “ในพระธรรมวินัยนี้ มีภิกษุบางพวกเป็นกษัตริย์ เป็น
พราหมณ์” ต้องอาบัติทุกกฏทุก ๆ คำพูด

๒. กล่าวเสียดสีด้วยชื่อที่เลว
[๒๗] อุปสัมบันต้องการจะด่า ต้องการจะสบประมาท ต้องการจะทำให้
อุปสัมบันเก้อเขิน กล่าวอย่างนี้ว่า “ในพระธรรมวินัยนี้ มีภิกษุบางพวกชื่ออวกัณณกะ
ชื่อชวกัณณกะ ชื่อธนิฏฐกะ ชื่อสวิฏฐกะ ชื่อกุลวัฑฒกะ” ต้องอาบัติทุกกฏทุก ๆ
คำพูด ฯลฯ

กล่าวเสียดสีด้วยชื่อที่ดี
กล่าวอย่างนี้ว่า “ในพระธรรมวินัยนี้ มีภิกษุบางพวกชื่อพุทธรักขิต ชื่อธัมม
รักขิต ชื่อสังฆรักขิต” ต้องอาบัติทุกกฏทุก ๆ คำพูด ฯลฯ

๓. กล่าวเสียดสีด้วยตระกูลชั้นต่ำ
กล่าวอย่างนี้ว่า “ในพระธรรมวินัยนี้ มีภิกษุบางพวกตระกูลโกสิยะ ตระกูล
ภารทวาชะ ฯลฯ”


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๒๑๔ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๑.มุสาวาทวรรค ๒.โอมสวาทสิกขาบท บทภาชนีย์
กล่าวเสียดสีด้วยตระกูลชั้นสูง
กล่าวอย่างนี้ว่า “ในพระธรรมวินัยนี้ มีภิกษุบางพวกตระกูลโคตมะ ตระกูล
โมคคัลลานะ ตระกูลกัจจายนะ ตระกูลวาเสฏฐะ ฯลฯ”

๔. กล่าวเสียดสีด้วยหน้าที่การงานชั้นต่ำ
กล่าวอย่างนี้ว่า “ในพระธรรมวินัยนี้ มีภิกษุบางพวกเป็นช่างถากไม้ เป็นคน
เทขยะ ฯลฯ”

กล่าวเสียดสีด้วยหน้าที่การงานชั้นสูง
กล่าวอย่างนี้ว่า “ในพระธรรมวินัยนี้ มีภิกษุบางพวกเป็นชาวนา เป็นพ่อค้า
เป็นคนเลี้ยงโค ฯลฯ”

๕. กล่าวเสียดสีด้วยศิลปวิทยาชั้นต่ำ
กล่าวอย่างนี้ว่า “ในพระธรรมวินัยนี้ มีภิกษุบางพวกเป็นช่างจักสาน เป็นช่าง
หม้อ เป็นช่างหูก เป็นช่างหนัง เป็นช่างกัลบก ฯลฯ”

กล่าวเสียดสีด้วยศิลปวิทยาชั้นสูง
กล่าวอย่างนี้ว่า “ในพระธรรมวินัยนี้ มีภิกษุบางพวกเป็นช่างนับ เป็นนัก
คำนวณ เป็นนักเขียน ฯลฯ”

๖. กล่าวเสียดสีด้วยความเจ็บไข้
กล่าวอย่างนี้ว่า “ในพระธรรมวินัยนี้ มีภิกษุบางพวกเป็นโรคเรื้อน เป็นโรคฝี
เป็นโรคกลาก เป็นโรคมองคร่อ เป็นโรคลมบ้าหมู ฯลฯ”
กล่าวอย่างนี้ว่า “ในพระธรรมวินัยนี้ มีภิกษุบางพวกเป็นโรคเบาหวาน
ฯลฯ”


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๒๑๕ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๑.มุสาวาทวรรค ๒.โอมสวาทสิกขาบท บทภาชนีย์
๗. กล่าวเสียดสีด้วยรูปลักษณ์ที่เลว
กล่าวอย่างนี้ว่า “ในพระธรรมวินัยนี้ มีภิกษุบางพวกเป็นคนสูงเกินไป เป็นคน
เตี้ยเกินไป เป็นคนดำเกินไป เป็นคนขาวเกินไป ฯลฯ”

กล่าวเสียดสีด้วยรูปลักษณ์ที่ดี
กล่าวอย่างนี้ว่า “ในพระธรรมวินัยนี้ มีภิกษุบางพวกเป็นคนไม่สูงนัก เป็นคน
ไม่เตี้ยนัก เป็นคนไม่ดำนัก เป็นคนไม่ขาวนัก ฯลฯ”

๘. กล่าวเสียดสีด้วยกิเลส
กล่าวอย่างนี้ว่า “ในพระธรรมวินัยนี้ มีภิกษุบางพวกถูกราคะกลุ้มรุม ถูก
โทสะกลุ้มรุม ถูกโมหะกลุ้มรุม ฯลฯ”
กล่าวอย่างนี้ว่า “ในพระธรรมวินัยนี้ มีภิกษุบางพวกที่ปราศจากราคะ ปราศ
จากโทสะ ปราศจากโมหะ ฯลฯ”

๙. กล่าวเสียดสีด้วยอาบัติ
กล่าวอย่างนี้ว่า “ในพระธรรมวินัยนี้ มีภิกษุบางพวกต้องอาบัติปาราชิก ฯลฯ
ต้องอาบัติทุพภาสิต ฯลฯ”
กล่าวอย่างนี้ว่า “ในพระธรรมวินัยนี้ มีภิกษุบางพวกเป็นโสดาบัน ฯลฯ”

๑๐. กล่าวเสียดสีด้วยคำด่าที่หยาบ
กล่าวอย่างนี้ว่า “ในพระธรรมวินัยนี้ มีภิกษุบางพวกมีความประพฤติดังอูฐ
มีความประพฤติดังแพะ มีความประพฤติดังโค มีความประพฤติดังลา มีความ
ประพฤติดังสัตว์ดิรัจฉาน มีความประพฤติดังสัตว์นรก ภิกษุเหล่านั้นไม่มีสุคติ หวัง
ได้เพียงทุคติเท่านั้น” ต้องอาบัติทุกกฏทุก ๆ คำพูด


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๒๑๖ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๑.มุสาวาทวรรค ๒.โอมสวาทสิกขาบท บทภาชนีย์
กล่าวเสียดสีด้วยคำด่าที่สุภาพ
[๒๘] อุปสัมบันต้องการจะด่า ต้องการจะสบประมาท ต้องการจะทำให้
อุปสัมบันเก้อเขิน กล่าวอย่างนี้ว่า “ในพระธรรมวินัยนี้ มีภิกษุบางพวก เป็นบัณฑิต
เป็นคนฉลาด เป็นนักปราชญ์ เป็นพหูสูต เป็นธรรมกถึก ภิกษุเหล่านั้นไม่มีทุคติ
หวังได้แต่สุคติเท่านั้น” ต้องอาบัติทุกกฏทุก ๆ คำพูด

๑. กล่าวเสียดสีด้วยชาติกำเนิดต่ำ
[๒๙] อุปสัมบันต้องการจะด่า ต้องการจะสบประมาท ต้องการจะทำให้
อุปสัมบันเก้อเขิน กล่าวอย่างนี้ว่า “ภิกษุพวกใดกันแน่เป็นคนจัณฑาล เป็นคน
จักสาน เป็นนายพราน เป็นช่างรถ เป็นคนเทขยะ” ต้องอาบัติทุกกฏทุก ๆ
คำพูด ฯลฯ๑

๑๐. กล่าวเสียดสีด้วยคำด่าที่สุภาพ
อุปสัมบันต้องการจะด่า ต้องการจะสบประมาท ต้องการจะทำให้อุปสัมบัน
เก้อเขิน กล่าวอย่างนี้ว่า “ภิกษุพวกใดกันแน่เป็นบัณฑิต เป็นคนฉลาด เป็นนัก
ปราชญ์ เป็นพหูสูต เป็นธรรมกถึก ภิกษุเหล่านั้นไม่มีทุคติ หวังได้แต่สุคติเท่านั้น”
ต้องอาบัติทุกกฏทุก ๆ คำพูด

๑. กล่าวเสียดสีด้วยชาติกำเนิดต่ำ
[๓๐] อุปสัมบันต้องการจะด่า ต้องการจะสบประมาท ต้องการจะทำให้
อุปสัมบันเก้อเขิน กล่าวอย่างนี้ว่า “พวกเราไม่ใช่คนจัณฑาล คนจักสาน นายพราน
ช่างรถ คนเทขยะ ฯลฯ๑

๑๐. กล่าวเสียดสีด้วยคำด่าที่สุภาพ
“พวกเราไม่ใช่บัณฑิต คนฉลาด นักปราชญ์ พหูสูต ธรรมกถึก พวกเรา
ไม่มีทุคติ หวังได้แต่สุคติเท่านั้น” ต้องอาบัติทุกกฏทุก ๆ คำพูด

เชิงอรรถ :
๑ ดูความพิสดาร ข้อ ๑๖-๒๕ หน้า ๒๐๕-๒๑๔

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๒๑๗ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๑.มุสาวาทวรรค ๒.โอมสวาทสิกขาบท บทภาชนีย์
อุปสัมบันกล่าวเสียดสีอนุปสัมบัน๑
๑. กล่าวเสียดสีด้วยชาติกำเนิด
[๓๑] อุปสัมบันต้องการจะด่า ต้องการจะสบประมาท ต้องการจะทำให้
อนุปสัมบันเก้อเขิน กล่าวกับอนุปสัมบันชาติกำเนิดต่ำด้วย(คำบ่งถึง)ชาติกำเนิดต่ำ
ฯลฯ กล่าวกับอนุปสัมบันชาติกำเนิดสูงด้วย(คำบ่งถึง)ชาติกำเนิดต่ำ ฯลฯ กล่าวกับ
อนุปสัมบันชาติกำเนิดต่ำด้วย(คำบ่งถึง)ชาติกำเนิดสูง ฯลฯ

๑๐. กล่าวเสียดสีด้วยคำด่า
กล่าวกับอนุปสัมบันผู้มีคุณสมบัติสูงด้วยคำด่าสุภาพ คือ กล่าวกับอนุปสัมบัน
ผู้เป็นบัณฑิต กับอนุปสัมบันผู้ฉลาด กับอนุปสัมบันผู้เป็นนักปราชญ์ กับอนุปสัมบัน
ผู้เป็นพหูสูต กับอนุปสัมบันผู้เป็นธรรมกถึกว่า “ท่านเป็นบัณฑิต ท่านเป็นคนฉลาด
ท่านเป็นนักปราชญ์ ท่านเป็นพหูสูต ท่านเป็นธรรมกถึก ท่านไม่มีทุคติ หวังได้แต่
สุคติเท่านั้น” ต้องอาบัติทุกกฏทุก ๆ คำพูด

๑. กล่าวเสียดสีด้วยชาติกำเนิดต่ำ
อุปสัมบันต้องการจะด่า ต้องการจะสบประมาท ต้องการจะทำให้อนุปสัมบัน
เก้อเขิน กล่าวอย่างนี้ว่า “ในพระธรรมวินัยนี้ มีอนุปสัมบันบางพวกเป็น คนจัณฑาล
เป็นคนจักสาน เป็นนายพราน เป็นช่างรถ เป็นคนเทขยะ ฯลฯ”

๑๐. กล่าวเสียดสีด้วยคำด่า
“ในพระธรรมวินัยนี้ มีอนุปสัมบันบางพวกเป็นบัณฑิต เป็นคนฉลาด เป็น
นักปราชญ์ เป็นพหูสูต เป็นธรรมกถึก พวกเขาไม่มีทุคติ หวังได้แต่สุคติเท่านั้น”
ต้องอาบัติทุกกฏทุก ๆ คำพูด

เชิงอรรถ :
๑ อนุปสัมบันของภิกษุ คือผู้มิได้อุปสมบทเป็นภิกษุ ได้แก่ ภิกษุณี สามเณร สามเณรี สิกขมานา
คฤหัสถ์ชาย-หญิง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๒๑๘ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๑.มุสาวาทวรรค ๒.โอมสวาทสิกขาบท บทภาชนีย์
อุปสัมบันต้องการจะด่า ต้องการจะสบประมาท ต้องการจะทำให้อนุปสัมบัน
เก้อเขิน กล่าวอย่างนี้ว่า “อนุปสัมบันพวกใดกันแน่เป็นคนจัณฑาล เป็นคนจักสาน
เป็นนายพราน เป็นช่างรถ เป็นคนเทขยะ” ต้องอาบัติทุกกฏทุก ๆ คำพูด ฯลฯ
“อนุปสัมบันพวกใดกันแน่เป็นบัณฑิต เป็นคนฉลาด เป็นนักปราชญ์ เป็นพหูสูต
เป็นธรรมกถึก” ต้องอาบัติทุกกฏ ทุก ๆ คำพูด
อุปสัมบันต้องการจะด่า ต้องการจะสบประมาท ต้องการจะทำให้อนุปสัมบัน
เก้อเขิน กล่าวอย่างนี้ว่า “พวกเราไม่ใช่คนจัณฑาล คนจักสาน นายพราน ช่างรถ
คน เทขยะ ฯลฯ
พวกเราไม่ใช่บัณฑิต คนฉลาด นักปราชญ์ พหูสูต ธรรมกถึก พวกเราไม่มี
ทุคติ หวังได้แต่สุคติเท่านั้น” ต้องอาบัติทุกกฏทุก ๆ คำพูด

๑. กล่าวเสียดสีด้วยชาติกำเนิดต่ำ
[๓๒] อุปสัมบันไม่ต้องการจะด่า ไม่ต้องการจะสบประมาท ไม่ต้องการจะทำ
ให้อุปสัมบันเก้อเขิน แต่ต้องการจะเล่น กล่าวกับอุปสัมบันชาติกำเนิดต่ำด้วย
(คำบ่งถึง)ชาติกำเนิดต่ำ คือ กล่าวกับอุปสัมบันผู้เป็นคนจัณฑาล กับอุปสัมบันผู้เป็น
คนจักสาน กับอุปสัมบันผู้เป็นนายพราน กับอุปสัมบันผู้เป็นช่างรถ กับอุปสัมบัน
ผู้เป็นคนเทขยะว่า “ท่านเป็นคนจัณฑาล ท่านเป็นคนจักสาน ท่านเป็นนายพราน
ท่านเป็นช่างรถ ท่านเป็นคนเทขยะ” ต้องอาบัติทุพภาสิตทุก ๆ คำพูด
อุปสัมบันไม่ต้องการจะด่า ไม่ต้องการจะสบประมาท ไม่ต้องการจะทำให้
อุปสัมบันเก้อเขิน แต่ต้องการจะเล่น กล่าวกับอุปสัมบันชาติกำเนิดสูงด้วย(คำบ่ง
ถึง)ชาติกำเนิดต่ำ คือ กล่าวกับอุปสัมบันชาติกำเนิดกษัตริย์ ชาติกำเนิดพราหมณ์ว่า
“ท่านเป็นคนจัณฑาล ท่านเป็นคนจักสาน ท่านเป็นนายพราน ท่านเป็นช่างรถ ท่าน
เป็นคนเทขยะ” ต้องอาบัติทุพภาสิตทุก ๆ คำพูด

กล่าวเสียดสีด้วยชาติกำเนิดสูง
อุปสัมบันไม่ต้องการจะด่า ไม่ต้องการจะสบประมาท ไม่ต้องการจะทำให้
อุปสัมบันเก้อเขิน แต่ต้องการจะเล่น กล่าวกับอุปสัมบันชาติกำเนิดต่ำด้วย(คำบ่ง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๒๑๙ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๑.มุสาวาทวรรค ๒.โอมสวาทสิกขาบท บทภาชนีย์
ถึง)ชาติกำเนิดสูง คือ กล่าวกับอุปสัมบันผู้เป็นจัณฑาล กับอุปสัมบันผู้เป็นคนจัก
สาน กับอุปสัมบันผู้เป็นนายพราน กับอุปสัมบันผู้เป็นช่างรถ กับอุปสัมบันผู้เป็นคน
เทขยะว่า “ท่านเป็นกษัตริย์ ท่านเป็นพราหมณ์” ต้องอาบัติทุพภาสิตทุก ๆ คำพูด
อุปสัมบันไม่ต้องการจะด่า ไม่ต้องการจะสบประมาท ไม่ต้องการจะทำให้
อุปสัมบันเก้อเขิน แต่ต้องการจะเล่น กล่าวกับอุปสัมบันชาติกำเนิดสูงด้วย(คำบ่งถึง)
ชาติกำเนิดสูง คือ กล่าวกับอุปสัมบันผู้เป็นกษัตริย์ กับอุปสัมบันผู้เป็นพราหมณ์ว่า
“ท่านเป็นกษัตริย์ ท่านเป็นพราหมณ์” ต้องอาบัติทุพภาสิตทุก ๆ คำพูด

๒. กล่าวเสียดสีด้วยชื่อ
อุปสัมบันไม่ต้องการจะด่า ไม่ต้องการจะสบประมาท ไม่ต้องการจะทำให้
อุปสัมบันเก้อเขิน แต่ต้องการจะเล่น กล่าวกับอุปสัมบันมีชื่อเลวด้วยชื่อที่เลว ฯลฯ
กล่าวกับอุปสัมบันมีชื่อดีด้วยชื่อที่เลว ฯลฯ กล่าวกับอุปสัมบันมีชื่อที่เลวด้วยชื่อที่ดี
ฯลฯ กล่าวกับอุปสัมบันมีชื่อดีด้วยชื่อที่ดี ฯลฯ

๑๐. กล่าวเสียดสีด้วยคำด่า
กล่าวกับอุปสัมบันผู้เป็นบัณฑิต กับอุปสัมบันผู้ฉลาด กับอุปสัมบันผู้เป็นนัก
ปราชญ์ กับอุปสัมบันผู้เป็นพหูสูต กับอุปสัมบันผู้เป็นธรรมกถึกว่า “ท่านเป็น
บัณฑิต ท่านเป็นคนฉลาด ท่านเป็นนักปราชญ์ ท่านเป็นพหูสูต ท่านเป็นธรรมกถึก
ท่านไม่มีทุคติ หวังได้แต่สุคติเท่านั้น” ต้องอาบัติทุพภาสิตทุก ๆ คำพูด

๑. กล่าวเสียดสีด้วยชาติกำเนิดต่ำ
[๓๓] อุปสัมบันไม่ต้องการจะด่า ไม่ต้องการจะสบประมาท ไม่ต้องการจะทำ
ให้อุปสัมบันเก้อเขิน แต่ต้องการจะเล่น กล่าวอย่างนี้ว่า “ในพระธรรมวินัยนี้ มี
ภิกษุบางพวกเป็นคนจัณฑาล เป็นคนจักสาน เป็นนายพราน เป็นช่างรถ เป็นคน
เทขยะ” ฯลฯ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๒๒๐ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๑.มุสาวาทวรรค ๒.โอมสวาทสิกขาบท บทภาชนีย์
๑๐. กล่าวเสียดสีด้วยคำด่า
“ในพระธรรมวินัยนี้ มีภิกษุบางพวกเป็นบัณฑิต เป็นคนฉลาด เป็นนักปราชญ์
เป็นพหูสูต เป็นธรรมกถึก พวกเธอไม่มีทุคติ หวังได้แต่สุคติเท่านั้น” ต้องอาบัติ
ทุพภาสิตทุก ๆ คำพูด

๑. กล่าวเสียดสีด้วยชาติกำเนิดต่ำ
อุปสัมบันไม่ต้องการจะด่า ไม่ต้องการจะสบประมาท ไม่ต้องการจะทำให้
อุปสัมบันเก้อเขิน แต่ต้องการจะเล่น กล่าวอย่างนี้ว่า “ภิกษุพวกใดกันแน่เป็นคน
จัณฑาล เป็นคนจักสาน เป็นนายพราน เป็นช่างรถ เป็นคนเทขยะ” ฯลฯ

๑๐. กล่าวเสียดสีด้วยคำด่า
“ภิกษุพวกใดกันแน่เป็นบัณฑิต เป็นคนฉลาด เป็นนักปราชญ์ เป็นพหูสูต เป็น
ธรรมกถึก” ต้องอาบัติทุพภาสิตทุก ๆ คำพูด

๑. กล่าวเสียดสีด้วยชาติกำเนิด
อุปสัมบันไม่ต้องการจะด่า ไม่ต้องการจะสบประมาท ไม่ต้องการจะทำให้
อุปสัมบันเก้อเขิน แต่ต้องการจะเล่น กล่าวอย่างนี้ว่า “พวกเราไม่ใช่คนจัณฑาล
คนจักสาน นายพราน ช่างรถ คนเทขยะ” ฯลฯ

๑๐. กล่าวเสียดสีด้วยคำด่า
“พวกเราไม่ใช่บัณฑิต คนฉลาด นักปราชญ์ พหูสูต ธรรมกถึก พวกเรา
ไม่มีทุคติ หวังได้แต่สุคติเท่านั้น” ต้องอาบัติทุพภาสิตทุก ๆ คำพูด

อุปสัมบันกล่าวเสียดสีอนุปสัมบัน
๑. กล่าวเสียดสีด้วยชาติกำเนิด
[๓๔] อุปสัมบันไม่ต้องการจะด่า ไม่ต้องการจะสบประมาท ไม่ต้องการจะ
ทำให้อนุปสัมบันเก้อเขิน แต่ต้องการจะเล่น กล่าวกับอนุปสัมบันชาติกำเนิดต่ำด้วย
(คำบ่งถึง)ชาติกำเนิดต่ำ ฯลฯ กล่าวกับอนุปสัมบันชาติกำเนิดสูงด้วยชาติกำเนิดต่ำ
ฯลฯ กล่าวกับอนุปสัมบันชาติกำเนิดต่ำด้วยชาติกำเนิดสูง ฯลฯ กล่าวกับอนุปสัมบัน
ชาติกำเนิดสูงด้วยชาติกำเนิดสูง ฯลฯ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๒๒๑ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๑.มุสาวาทวรรค ๒.โอมสวาทสิกขาบท บทภาชนีย์
๑๐. กล่าวเสียดสีด้วยคำด่า
กล่าวกับอนุปสัมบันผู้มีคุณสมบัติสูงด้วยคำด่าสุภาพ คือ กล่าวกับอนุปสัมบัน
ผู้เป็นบัณฑิต กับอนุปสัมบันผู้เป็นคนฉลาด กับอนุปสัมบันผู้เป็นนักปราชญ์ กับ
อนุปสัมบันผู้เป็นพหูสูต กับอนุปสัมบันผู้เป็นธรรมกถึกว่า “ท่านเป็นบัณฑิต ท่าน
เป็นคนฉลาด ท่านเป็นนักปราชญ์ ท่านเป็นพหูสูต ท่านเป็นธรรมกถึก ท่านไม่มีทุคติ
หวังได้แต่สุคติเท่านั้น” ต้องอาบัติทุพภาสิตทุก ๆ คำพูด

๑. กล่าวเสียดสีด้วยชาติกำเนิด
อุปสัมบันไม่ต้องการจะด่า ไม่ต้องการจะสบประมาท ไม่ต้องการจะทำให้
อนุปสัมบันเก้อเขิน แต่ต้องการจะเล่น กล่าวอย่างนี้ว่า “ในพระธรรมวินัยนี้ มี
อนุปสัมบันบางพวกเป็นคนจัณฑาล เป็นคนจักสาน เป็นนายพราน เป็นช่างรถ
เป็นคนเทขยะ” ฯลฯ

๑๐. กล่าวเสียดสีด้วยคำด่า
“ในพระธรรมวินัยนี้ มีอนุปสัมบันบางพวกเป็นบัณฑิต เป็นคนฉลาด เป็นนัก
ปราชญ์ เป็นพหูสูต เป็นธรรมกถึก พวกเขาไม่มีทุคติ หวังได้แต่สุคติเท่านั้น” ต้อง
อาบัติทุพภาสิตทุก ๆ คำพูด

๑. กล่าวเสียดสีด้วยชาติกำเนิด
อุปสัมบันไม่ต้องการจะด่า ไม่ต้องการจะสบประมาท ไม่ต้องการจะทำให้
อนุปสัมบันเก้อเขิน แต่ต้องการจะเล่น กล่าวอย่างนี้ว่า “อนุปสัมบันพวกใดกันแน่
เป็นคนจัณฑาล เป็นคนจักสาน เป็นนายพราน เป็นช่างรถ เป็นคนเทขยะ” ฯลฯ

๑๐. กล่าวเสียดสีด้วยคำด่า
“อนุปสัมบันพวกใดกันแน่เป็นบัณฑิต เป็นคนฉลาด เป็นนักปราชญ์ เป็นพหูสูต
เป็นธรรมกถึก” ต้องอาบัติทุพภาสิตทุก ๆ คำพูด


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๒๒๒ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๑.มุสาวาทวรรค ๒.โอมสวาทสิกขาบท อนาปัตติวาร
๑. กล่าวเสียดสีด้วยชาติกำเนิด
อุปสัมบันไม่ต้องการจะด่า ไม่ต้องการจะสบประมาท ไม่ต้องการจะทำให้
อนุปสัมบันเก้อเขิน แต่ต้องการจะเล่น กล่าวอย่างนี้ว่า “พวกเราไม่ใช่คนจัณฑาล
คนจักสาน นายพราน ช่างรถ คนเทขยะ” ฯลฯ

๑๐. กล่าวเสียดสีด้วยคำด่า
“พวกเราไม่ใช่บัณฑิต เป็นคนฉลาด เป็นนักปราชญ์ เป็นพหูสูต เป็นธรรมกถึก
พวกเราไม่มีทุคติ หวังได้แต่สุคติเท่านั้น” ต้องอาบัติทุพภาสิตทุก ๆ คำพูด

อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[๓๕] ๑. ภิกษุมุ่งอรรถ
๒. ภิกษุมุ่งธรรม
๓. ภิกษุมุ่งพร่ำสอน
๔. ภิกษุวิกลจริต
๕. ภิกษุผู้มีจิตฟุ้งซ่าน
๖. ภิกษุผู้กระสับกระส่ายเพราะเวทนา
๗. ภิกษุต้นบัญญัติ

โอมสวาทสิกขาบทที่ ๒ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๒๒๓ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๑.มุสาวาทวรรค ๓.เปสุญญสิกขาบท นิทานวัตถุ
๑. มุสาวาทวรรค

๓. เปสุญญสิกขาบท
ว่าด้วยการกล่าวส่อเสียด

เรื่องพระฉัพพัคคีย์

[๓๖] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี สมัยนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ไปยุแหย่พวก
ภิกษุผู้บาดหมางกัน ทะเลาะกัน วิวาทกัน คือฟังเรื่องข้างนี้แล้วไปบอกข้างโน้น
เพื่อทำลายข้างนี้ ฟังเรื่องข้างโน้นแล้วมาบอกข้างนี้เพื่อทำลายข้างโน้น ด้วยเหตุ
นั้น ความบาดหมางที่ยังไม่เกิดก็เกิดขึ้น และความบาดหมางที่เกิดขึ้นแล้วก็รุนแรง
ยิ่งขึ้น
ภิกษุผู้มักน้อยสันโดษ ฯลฯ จึงพากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉน
พวกภิกษุฉัพพัคคีย์จึงไปยุแหย่พวกภิกษุผู้บาดหมางกัน ทะเลาะกัน วิวาทกัน คือฟัง
เรื่องข้างนี้แล้วไปบอกข้างโน้นเพื่อทำลายข้างนี้ ฟังเรื่องข้างโน้นแล้วมาบอกข้างนี้
เพื่อทำลายข้างโน้น ด้วยเหตุนั้น ความบาดหมางที่ยังไม่เกิดก็เกิดขึ้น และความ
บาดหมางที่เกิดขึ้นแล้วก็รุนแรงยิ่งขึ้น” ครั้นภิกษุเหล่านั้นตำหนิพวกภิกษุฉัพพัคคีย์
โดยประการต่าง ๆ แล้วจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ

ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามพวกภิกษุฉัพพัคคีย์ว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า พวกเธอไปยุแหย่พวก
ภิกษุผู้บาดหมางกัน ทะเลาะกัน วิวาทกัน คือฟังเรื่องข้างนี้แล้วไปบอกข้างโน้นเพื่อ
ทำลายข้างนี้ ฟังเรื่องข้างโน้นแล้วมาบอกข้างนี้เพื่อทำลายข้างโน้น ด้วยเหตุนั้น
ความบาดหมางที่ยังไม่เกิดก็เกิดขึ้น และความบาดหมางที่เกิดขึ้นแล้วก็รุนแรงยิ่งขึ้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๒๒๔ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๑.มุสาวาทวรรค ๓.เปสุญญสิกขาบท บทภาชนีย์
จริงหรือ” พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคพุทธ
เจ้าทรงตำหนิว่า “ฯลฯ โมฆบุรุษทั้งหลาย ไฉนพวกเธอจึงไปยุแหย่พวกภิกษุผู้
บาดหมางกัน ทะเลาะกัน วิวาทกัน คือฟังเรื่องข้างนี้แล้วไปบอกข้างโน้นเพื่อทำลาย
ข้างนี้ ฟังเรื่องข้างโน้นแล้วมาบอกข้างนี้เพื่อทำลายข้างโน้น ด้วยเหตุนั้น ความ
บาดหมางที่ยังไม่เกิดก็เกิดขึ้น และความบาดหมางที่เกิดขึ้นแล้วก็รุนแรงยิ่งขึ้น
โมฆบุรุษทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำ
คนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยก
สิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้

พระบัญญัติ
[๓๗] ภิกษุต้องอาบัติปาจิตตีย์ เพราะส่อเสียดภิกษุ
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ

สิกขาบทวิภังค์
[๓๘] ที่ชื่อว่า ส่อเสียด ได้แก่ คำส่อสียดด้วยอาการ ๒ อย่าง คือ (๑) ต้อง
การให้ผู้อื่นชอบตน (๒) ต้องการให้ผู้อื่นแตกกัน
ภิกษุกล่าวส่อเสียดด้วยอาการ ๑๐ อย่าง คือ (๑) ชาติกำเนิดบ้าง (๒) ชื่อบ้าง
(๓) ตระกูลบ้าง (๔) หน้าที่การงานบ้าง (๕) ศิลปวิทยาบ้าง (๖) ความเจ็บไข้บ้าง
(๗) รูปลักษณ์บ้าง (๘) กิเลสบ้าง (๙) อาบัติบ้าง (๑๐) คำด่าบ้าง

บทภาชนีย์
ที่ชื่อว่า ชาติกำเนิด ได้แก่ ชาติกำเนิด ๒ อย่าง คือ (๑) ชาติกำเนิดต่ำ
(๒) ชาติกำเนิดสูง


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๒๒๕ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๑.มุสาวาทวรรค ๓.เปสุญญสิกขาบท บทภาชนีย์
ที่ชื่อว่า ชาติกำเนิดต่ำ ได้แก่ ชาติกำเนิดคนจัณฑาล ชาติกำเนิดคนจักสาน
ชาติกำเนิดนายพราน ชาติกำเนิดช่างรถ ชาติกำเนิดคนเทขยะ๑ นี้จัดเป็นชาติ
กำเนิดต่ำ
ที่ชื่อว่า ชาติกำเนิดสูง ได้แก่ ชาติกำเนิดกษัตริย์ ชาติกำเนิดพราหมณ์ นี้จัด
เป็นชาติกำเนิดสูง ฯลฯ๒
ที่ชื่อว่า คำด่า ได้แก่ คำด่า ๒ อย่าง คือ (๑) คำด่าหยาบ (๒) คำด่าสุภาพ
ที่ชื่อว่า คำด่าหยาบ ได้แก่ คำด่าว่า ท่านเป็นอูฐ ท่านเป็นแพะ ท่านเป็นโค
ท่านเป็นลา ท่านเป็นสัตว์ดิรัจฉาน ท่านเป็นสัตว์นรก ท่านไม่มีสุคติ หวังได้แต่ทุคติ
เท่านั้น คำด่าที่เกี่ยวกับการร่วมประเวณี หรือคำด่าที่เกี่ยวกับอวัยวะของชายหญิง
นี้จัดเป็นคำด่าหยาบ
ที่ชื่อว่า คำด่าสุภาพ ได้แก่ คำด่าว่า ท่านเป็นบัณฑิต ท่านเป็นคนฉลาด
ท่านเป็นนักปราชญ์ ท่านเป็นพหูสูต ท่านเป็นธรรมกถึก ท่านไม่มีทุคติ หวังได้แต่
สุคติเท่านั้น นี้จัดเป็นคำด่าสุภาพ

อุปสัมบันกล่าวส่อเสียดอุปสัมบัน
๑. กล่าวส่อเสียดด้วยชาติกำเนิดต่ำ
[๓๙] อุปสัมบันฟังคำของอุปสัมบัน แล้วไปกล่าวยุแหย่อุปสัมบันว่า “ภิกษุ
ชื่อนี้กล่าวถึงท่านว่า คนจัณฑาล คนจักสาน นายพราน ช่างรถ คนเทขยะ” ต้อง
อาบัติปาจิตตีย์ทุก ๆ คำพูด

กล่าวส่อเสียดด้วยชาติกำเนิดสูง
อุปสัมบันฟังคำของอุปสัมบัน แล้วไปกล่าวยุแหย่อุปสัมบันว่า ภิกษุชื่อนี้กล่าว
ถึงท่านว่า “ท่านกษัตริย์ ท่านพราหมณ์” ต้องอาบัติปาจิตตีย์ทุก ๆ คำพูด

เชิงอรรถ :
๑ คนเทขยะ หรือคนเทอุจจาระ ดูเชิงอรรถ ข้อ ๑๕ หน้า ๒๐๒
๒ ดูความพิสดาร ข้อ ๑๕ หน้า ๒๐๒-๒๐๔

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๒๒๖ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๑.มุสาวาทวรรค ๓.เปสุญญสิกขาบท บทภาชนีย์
๒. กล่าวส่อเสียดด้วยชื่อที่เลว
อุปสัมบันฟังคำของอุปสัมบัน แล้วไปกล่าวยุแหย่อุปสัมบันว่า “ภิกษุชื่อนี้
กล่าวถึงท่านว่า ท่านอวกัณณกะ ท่านชวกัณณกะ ท่านธนิฏฐกะ ท่านสวิฏฐกะ
ท่านกุลวัฑฒกะ” ต้องอาบัติปาจิตตีย์ทุก ๆ คำพูด

กล่าวส่อเสียดด้วยชื่อที่ดี
อุปสัมบันฟังคำของอุปสัมบัน แล้วไปกล่าวยุแหย่อุปสัมบันว่า “ภิกษุชื่อนี้
กล่าวถึงท่านว่า ท่านพุทธรักขิต ท่านธัมมรักขิต ท่านสังฆรักขิต” ต้องอาบัติ
ปาจิตตีย์ทุก ๆ คำพูด

๓. กล่าวส่อเสียดด้วยตระกูลชั้นต่ำ
อุปสัมบันฟังคำของอุปสัมบัน แล้วไปกล่าวยุแหย่อุปสัมบันว่า “ภิกษุชื่อนี้
กล่าวถึงท่านว่า ท่านเป็นคนตระกูลโกสิยะ ท่านเป็นคนตระกูลภารทวาชะ” ต้อง
อาบัติปาจิตตีย์ทุก ๆ คำพูด

กล่าวส่อเสียดด้วยตระกูลชั้นสูง
อุปสัมบันฟังคำของอุปสัมบัน แล้วไปกล่าวยุแหย่อุปสัมบันว่า “ภิกษุชื่อนี้
กล่าวถึงท่านว่า ท่านเป็นคนตระกูลโคตมะ ท่านเป็นคนตระกูลโมคคัลลานะ ท่าน
เป็นคนตระกูลกัจจายนะ ท่านเป็นคนตระกูลวาเสฏฐะ” ต้องอาบัติปาจิตตีย์ทุก ๆ
คำพูด

๔. กล่าวส่อเสียดด้วยหน้าที่การงานชั้นต่ำ
อุปสัมบันฟังคำของอุปสัมบัน แล้วไปกล่าวยุแหย่อุปสัมบันว่า “ภิกษุชื่อนี้
กล่าวถึงท่านว่า ท่านเป็นช่างถากไม้ ท่านเป็นคนเทขยะ” ต้องอาบัติปาจิตตีย์ทุก ๆ
คำพูด


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๒๒๗ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๑.มุสาวาทวรรค ๓.เปสุญญสิกขาบท บทภาชนีย์
กล่าวส่อเสียดด้วยหน้าที่การงานชั้นสูง
อุปสัมบันฟังคำของอุปสัมบัน แล้วไปกล่าวยุแหย่อุปสัมบันว่า “ภิกษุชื่อนี้
กล่าวถึงท่านว่า ท่านเป็นชาวนา ท่านเป็นพ่อค้า ท่านเป็นคนเลี้ยงโค” ต้องอาบัติ
ปาจิตตีย์ทุก ๆ คำพูด

๕. กล่าวส่อเสียดด้วยศิลปวิทยาชั้นต่ำ
อุปสัมบันฟังคำของอุปสัมบัน แล้วไปกล่าวยุแหย่อุปสัมบันว่า “ภิกษุชื่อนี้
กล่าวถึงท่านว่า ท่านเป็นช่างจักสาน ท่านเป็นช่างหม้อ ท่านเป็นช่างหูก ท่านเป็น
ช่างหนัง ท่านเป็นช่างกัลบก” ต้องอาบัติปาจิตตีย์ทุก ๆ คำพูด

กล่าวส่อเสียดด้วยศิลปวิทยาชั้นสูง
อุปสัมบันฟังคำของอุปสัมบัน แล้วไปกล่าวยุแหย่อุปสัมบันว่า “ภิกษุชื่อนี้
กล่าวถึงท่านว่า ท่านเป็นช่างนับ ท่านเป็นนักคำนวณ ท่านเป็นนักเขียน” ต้องอาบัติ
ปาจิตตีย์ทุก ๆ คำพูด

๖. กล่าวส่อเสียดด้วยความเจ็บไข้
[๔๐] อุปสัมบันฟังคำของอุปสัมบัน แล้วไปกล่าวยุแหย่อุปสัมบันว่า “ภิกษุ
ชื่อนี้กล่าวถึงท่านว่า ท่านเป็นโรคเรื้อน ท่านเป็นโรคฝี ท่านเป็นโรคกลาก ท่านเป็น
โรคมองคร่อ ท่านเป็นโรคลมบ้าหมู” ต้องอาบัติปาจิตตีย์ทุก ๆ คำพูด
อุปสัมบันฟังคำของอุปสัมบัน แล้วไปกล่าวยุแหย่อุปสัมบันว่า “ภิกษุชื่อนี้
กล่าวถึงท่านว่า ท่านเป็นโรคเบาหวาน” ต้องอาบัติปาจิตตีย์ทุก ๆ คำพูด

๗. กล่าวส่อเสียดด้วยรูปลักษณ์ที่เลว
อุปสัมบันฟังคำของอุปสัมบัน แล้วไปกล่าวยุแหย่อุปสัมบันว่า “ภิกษุชื่อนี้
กล่าวถึงท่านว่า ท่านเป็นคนสูงเกินไป ท่านเป็นคนเตี้ยเกินไป ท่านเป็นคนดำเกินไป
ท่านเป็นคนขาวเกินไป” ต้องอาบัติปาจิตตีย์ทุก ๆ คำพูด


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๒๒๘ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๑.มุสาวาทวรรค ๓.เปสุญญสิกขาบท บทภาชนีย์
กล่าวส่อเสียดด้วยรูปลักษณ์ที่ดี
อุปสัมบันฟังคำของอุปสัมบัน แล้วไปกล่าวยุแหย่อุปสัมบันว่า “ภิกษุชื่อนี้
กล่าวถึงท่านว่า ท่านเป็นคนไม่สูงนัก ท่านเป็นคนไม่เตี้ยนัก ท่านเป็นคนไม่ดำนัก
ท่านเป็นคนไม่ขาวนัก” ต้องอาบัติปาจิตตีย์ทุก ๆ คำพูด

๘. กล่าวส่อเสียดด้วยกิเลส
อุปสัมบันฟังคำของอุปสัมบัน แล้วไปกล่าวยุแหย่อุปสัมบันว่า “ภิกษุชื่อนี้
กล่าวถึงท่านว่า ท่านเป็นผู้ถูกราคะกลุ้มรุม ท่านเป็นผู้ถูกโทสะกลุ้มรุม ท่านเป็นผู้ถูก
โมหะกลุ้มรุม” ต้องอาบัติปาจิตตีย์ทุก ๆ คำพูด
อุปสัมบันฟังคำของอุปสัมบัน แล้วไปกล่าวยุแหย่อุปสัมบันว่า “ภิกษุชื่อนี้
กล่าวถึงท่านว่า ท่านเป็นผู้ปราศจากราคะ ท่านเป็นผู้ปราศจากโทสะ ท่านเป็น
ผู้ปราศจากโมหะ” ต้องอาบัติปาจิตตีย์ทุก ๆ คำพูด

๙. กล่าวส่อเสียดด้วยอาบัติ
อุปสัมบันฟังคำของอุปสัมบัน แล้วไปกล่าวยุแหย่อุปสัมบันว่า “ภิกษุชื่อนี้
กล่าวถึงท่านว่า ท่านต้องอาบัติปาราชิก ท่านต้องอาบัติสังฆาทิเสส ท่านต้องอาบัติ
ถุลลัจจัย ท่านต้องอาบัติปาจิตตีย์ ท่านต้องอาบัติปาฏิเทสนียะ ท่านต้องอาบัติ
ทุกกฏ ท่านต้องอาบัติทุพภาสิต” ต้องอาบัติปาจิตตีย์ทุก ๆ คำพูด
อุปสัมบันฟังคำของอุปสัมบัน แล้วไปกล่าวยุแหย่อุปสัมบันว่า “ภิกษุชื่อนี้
กล่าวถึงท่านว่า ท่านเป็นโสดาบัน” ต้องอาบัติปาจิตตีย์ทุก ๆ คำพูด

๑๐. กล่าวส่อเสียดด้วยคำด่าหยาบ
อุปสัมบันฟังคำของอุปสัมบัน แล้วไปกล่าวยุแหย่อุปสัมบันว่า “ภิกษุชื่อนี้
กล่าวถึงท่านว่า ท่านเป็นอูฐ ท่านเป็นแพะ ท่านเป็นโค ท่านเป็นลา ท่านเป็น
สัตว์ดิรัจฉาน ท่านเป็นสัตว์นรก ท่านไม่มีสุคติ หวังได้แต่ทุคติเท่านั้น” ต้องอาบัติ
ปาจิตตีย์ทุก ๆ คำพูด


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๒๒๙ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๑.มุสาวาทวรรค ๓.เปสุญญสิกขาบท บทภาชนีย์
กล่าวส่อเสียดด้วยคำด่าสุภาพ
อุปสัมบันฟังคำของอุปสัมบัน แล้วไปกล่าวยุแหย่อุปสัมบันว่า “ภิกษุชื่อนี้
กล่าวถึงท่านว่า ท่านเป็นบัณฑิต ท่านเป็นคนฉลาด ท่านเป็นนักปราชญ์ ท่านเป็น
พหูสูต ท่านเป็นธรรมกถึก ท่านไม่มีทุคติ หวังได้แต่สุคติเท่านั้น” ต้องอาบัติปาจิตตีย์
ทุก ๆ คำพูด

๑. กล่าวส่อเสียดด้วยชาติกำเนิดชั้นต่ำ
[๔๑] อุปสัมบันฟังคำของอุปสัมบัน แล้วไปกล่าวยุแหย่อุปสัมบันว่า “ภิกษุ
ชื่อนี้กล่าวว่า ในพระธรรมวินัย มีภิกษุบางพวกเป็นคนจัณฑาล เป็นคนจักสาน
เป็นนายพราน เป็นช่างรถ เป็นคนเทขยะ ภิกษุนั้นไม่กล่าวถึงคนอื่นแต่กล่าวถึง
ท่าน” ต้องอาบัติทุกกฏทุก ๆ คำพูด

กล่าวส่อเสียดด้วยชาติกำเนิดชั้นสูง
อุปสัมบันฟังคำของอุปสัมบัน แล้วไปกล่าวยุแหย่อุปสัมบันว่า “ภิกษุชื่อนี้
กล่าวว่า ในพระธรรมวินัย มีภิกษุบางพวกเป็นกษัตริย์ เป็นพราหมณ์ ภิกษุนั้นไม่
กล่าวถึงคนอื่นแต่กล่าวถึงท่าน” ต้องอาบัติทุกกฏทุก ๆ คำพูด ฯลฯ๑

๑๐. กล่าวส่อเสียดด้วยคำด่าสุภาพ
อุปสัมบันฟังคำของอุปสัมบัน แล้วไปกล่าวยุแหย่อุปสัมบันว่า “ภิกษุชื่อนี้
กล่าวว่า ในพระธรรมวินัย มีภิกษุบางพวกเป็นบัณฑิต เป็นคนฉลาด เป็นนักปราชญ์
เป็นพหูสูต เป็นธรรมกถึก ภิกษุเหล่านั้นไม่มีทุคติ หวังสุคติแน่นอน ภิกษุนั้นไม่
กล่าวถึงคนอื่นแต่กล่าวถึงท่าน” ต้องอาบัติทุกกฏทุก ๆ คำพูด

๑. กล่าวส่อเสียดด้วยชาติกำเนิดต่ำ
อุปสัมบันฟังคำของอุปสัมบัน แล้วไปกล่าวยุแหย่อุปสัมบันว่า “ภิกษุชื่อ
นี้กล่าวว่า ภิกษุพวกใดกันแน่เป็นคนจัณฑาล เป็นคนจักสาน เป็นนายพราน

เชิงอรรถ :
๑ ดูความพิสดาร ข้อ ๓๙-๔๐ หน้า ๒๒๖-๒๓๐

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๒๓๐ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๑.มุสาวาทวรรค ๓.เปสุญญสิกขาบท บทภาชนีย์
เป็นช่างรถ เป็นคนเทขยะ ภิกษุนั้นไม่กล่าวถึงคนอื่นแต่กล่าวถึงท่าน” ต้องอาบัติ
ทุกกฏทุก ๆ คำพูด ฯลฯ

๑๐. กล่าวส่อเสียดด้วยคำด่าสุภาพ
อุปสัมบันฟังคำของอุปสัมบัน แล้วไปกล่าวยุแหย่อุปสัมบันว่า “ภิกษุชื่อนี้
กล่าวว่า ภิกษุพวกใดกันแน่เป็นบัณฑิต เป็นคนฉลาด เป็นนักปราชญ์ เป็นพหูสูต
เป็นธรรมกถึก พวกเธอไม่มีทุคติ หวังสุคติได้แน่นอน ภิกษุนั้นไม่กล่าวถึงคนอื่น
แต่กล่าวถึงท่าน” ต้องอาบัติทุกกฏทุก ๆ คำพูด

๑. กล่าวส่อเสียดด้วยชาติกำเนิดชั้นต่ำ
อุปสัมบันฟังคำของอุปสัมบัน แล้วไปกล่าวยุแหย่อุปสัมบันว่า “ภิกษุชื่อนี้
กล่าวว่า พวกเราไม่ใช่คนจัณฑาล คนจักสาน นายพราน ช่างรถ คนเทขยะ ภิกษุ
นั้นไม่กล่าวถึงคนอื่นแต่กล่าวถึงท่าน” ต้องอาบัติทุกกฏทุก ๆ คำพูด ฯลฯ

๑๐. กล่าวส่อเสียดด้วยคำด่าสุภาพ
อุปสัมบันฟังคำของอุปสัมบัน แล้วไปกล่าวยุแหย่อุปสัมบันว่า “ภิกษุชื่อนี้
กล่าวว่า พวกเราไม่ใช่บัณฑิต คนฉลาด นักปราชญ์ เป็นพหูสูต เป็นธรรมกถึก
พวกเราไม่มีทุคติ หวังได้แต่สุคติเท่านั้น ภิกษุนั้นไม่กล่าวถึงคนอื่นแต่กล่าวถึงท่าน”
ต้องอาบัติทุกกฏทุก ๆ คำพูด

เป็นอาบัติตามวัตถุ
[๔๒] อุปสัมบันฟังคำของอุปสัมบัน แล้วไปกล่าวยุแหย่อุปสัมบัน ต้อง
อาบัติปาจิตตีย์ทุก ๆ คำพูด
อุปสัมบันฟังคำของอุปสัมบัน แล้วไปกล่าวยุแหย่อนุปสัมบัน ต้องอาบัติทุกกฏ
อุปสัมบันฟังคำของอนุปสัมบัน แล้วไปกล่าวยุแหย่อุปสัมบัน ต้องอาบัติทุกกฏ
อุปสัมบันฟังคำของอนุปสัมบัน แล้วไปกล่าวยุแหย่อนุปสัมบัน ต้องอาบัติทุกกฏ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๒๓๑ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๑.มุสาวาทวรรค ๓.เปสุญญสิกขาบท อนาปัตติวาร
อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[๔๓] ๑. ภิกษุไม่ต้องการให้ผู้อื่นชอบตน
๒. ภิกษุไม่ต้องการให้ผู้อื่นแตกกัน
๓. ภิกษุวิกลจริต
๔. ภิกษุต้นบัญญัติ

เปสุญญสิกขาบทที่ ๓ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๒๓๒ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๑.มุสาวาทวรรค ๔.ปทโสธัมมสิกขาบท นิทานวัตถุ
๑. มุสาวาทวรรค

๔. ปทโสธัมมสิกขาบท
ว่าด้วยการให้กล่าวธรรมเป็นบท ๆ

เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๔๔] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี สมัยนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์สอนอุบาสก
ให้กล่าวธรรมแข่งกันเป็นบท ๆ พวกอุบาสกจึงไม่เคารพ ไม่ยำเกรง ไม่ปฏิบัติให้
เหมาะสมในภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุผู้มักน้อยสันโดษ ฯลฯ จึงพากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉน
พวกภิกษุฉัพพัคคีย์จึงสอนอุบาสกให้กล่าวธรรมแข่งกันเป็นบท ๆ เล่า พวกอุบาสก
จึงไม่เคารพ ไม่ยำเกรง ไม่ปฏิบัติให้เหมาะสมในภิกษุทั้งหลาย” ครั้นภิกษุเหล่านั้น
ตำหนิพวกภิกษุฉัพพัคคีย์โดยประการต่าง ๆ แล้วจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มี
พระภาคให้ทรงทราบ

ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามพวกภิกษุฉัพพัคคีย์ว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า พวกเธอสอนอุบาสกให้
กล่าวธรรมแข่งกันเป็นบท ๆ พวกอุบาสกจึงไม่เคารพ ไม่ยำเกรง ไม่ปฏิบัติให้เหมาะ
สมในภิกษุทั้งหลาย จริงหรือ” พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ฯลฯ ภิกษุทั้งหลาย ไฉนพวกเธอจึงสอน
อุบาสกให้กล่าวธรรมแข่งกันเป็นบท ๆ เล่า พวกอุบาสกจึงไม่เคารพ ไม่ยำเกรง
ไม่ปฏิบัติให้เหมาะสมในภิกษุทั้งหลาย ภิกษุทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำ
คนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้น
แสดงดังนี้


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๒๓๓ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๑.มุสาวาทวรรค ๔.ปทโสธัมมสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์
พระบัญญัติ
[๔๕] ก็ ภิกษุใดสอนอนุปสัมบันให้กล่าวธรรมเป็นบท ๆ ต้องอาบัติ
ปาจิตตีย์
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ

สิกขาบทวิภังค์
[๔๖] คำว่า ก็...ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ก็...ใด
คำว่า ภิกษุ มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุ เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มี
พระภาคทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุ ในความหมายนี้
ที่ชื่อว่า อนุปสัมบัน คือ ยกเว้นภิกษุและภิกษุณี นอกนั้นชื่อว่าอนุปสัมบัน
ที่ชื่อว่า เป็นบท ๆ ได้แก่ กล่าวเป็นบท กล่าวเป็นอนุบท กล่าวเป็นอนุอักขระ
กล่าวเป็นอนุพยัญชนะ
ที่ชื่อว่า กล่าวเป็นบท คือ ภิกษุกับอนุปสัมบันเริ่มสวดพร้อมกัน จบลง
พร้อมกัน
ที่ชื่อว่า กล่าวเป็นอนุบท คือ เริ่มสวดแยกกัน แต่จบลงพร้อมกัน
ที่ชื่อว่า กล่าวเป็นอนุอักขระ คือ เมื่อภิกษุสอนว่า “รูปํ อนิจฺจํ” แต่
อนุปสัมบันสวดพร้อมกันว่า๑ “รู” แล้วหยุด
ที่ชื่อว่า กล่าวเป็นอนุพยัญชนะ คือ ภิกษุสอนให้ว่า “รูปํ อนิจฺจํ” แต่
อนุปสัมบันเปล่งเสียงรับพร้อมกัน๑ว่า “เวทนา อนิจฺจา”
บท อนุบท อนุอักขระ อนุพยัญชนะ ทั้งหมดนี้ชื่อว่าธรรมเป็นบท ๆ
ที่ชื่อว่า ธรรม ได้แก่ พุทธภาษิต สาวกภาษิต ฤๅษีภาษิต เทวดาภาษิต ที่
ประกอบด้วยอรรถ ที่ประกอบด้วยธรรม

เชิงอรรถ :
๑ คือเปล่งเสียงรับพร้อมกันกับภิกษุผู้สอน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๒๓๔ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๑.มุสาวาทวรรค ๔.ปทโสธัมมสิกขาบท อนาปัตติวาร
คำว่า สอนให้กล่าว คือ สอนให้กล่าวเป็นบท ๆ ต้องอาบัติปาจิตตีย์ทุก ๆ
บท สอนให้กล่าวเป็นอักษร ๆ ต้องอาบัติปาจิตตีย์ทุก ๆ อักษร

บทภาชนีย์
ติกปาจิตตีย์
[๔๗] อนุปสัมบัน ภิกษุสำคัญว่าเป็นอนุปสัมบัน สอนให้กล่าวธรรมเป็น
บท ๆ ต้องอาบัติปาจิตตีย์
อนุปสัมบัน ภิกษุไม่แน่ใจ สอนให้กล่าวธรรมเป็นบท ๆ ต้องอาบัติปาจิตตีย์
อนุปสัมบัน ภิกษุสำคัญว่าเป็นอุปสัมบัน สอนให้กล่าวธรรมเป็นบท ๆ ต้อง
อาบัติปาจิตตีย์

ทุกทุกกฏ
อุปสัมบัน ภิกษุสำคัญว่าเป็นอนุปสัมบัน สอนให้กล่าวธรรมเป็นบท ๆ ต้อง
อาบัติทุกกฏ
อุปสัมบัน ภิกษุไม่แน่ใจ สอนให้กล่าวธรรมเป็นบท ๆ ต้องอาบัติทุกกฏ
อุปสัมบัน ภิกษุสำคัญว่าเป็นอุปสัมบัน สอนให้กล่าวธรรมเป็นบท ๆ ไม่ต้อง
อาบัติ

อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[๔๘] ๑. ภิกษุผู้เรียนพระพุทธพจนะที่อาจารย์สอนให้ว่าพระพุทธวจนะพร้อม
กันกับอนุปสัมบัน
๒. ภิกษุผู้สาธยายพร้อมกัน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๒๓๕ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๑.มุสาวาทวรรค ๔.ปทโสธัมมสิกขาบท อนาปัตติวาร
๓. ภิกษุผู้ช่วยอนุปสัมบันผู้สวดคัมภีร์ที่คล่องส่วนมาก๑ สวด(ส่วนที่
ไม่คล่อง)พร้อมกันกับตน
๔. ภิกษุผู้ให้อนุปสัมบันที่สวดคลาดเคลื่อนไปสวดใหม่พร้อมกันกับตน
๕. ภิกษุวิกลจริต
๖. ภิกษุต้นบัญญติ
ปทโสธัมมสิกขาบทที่ ๔ จบ

เชิงอรรถ :
๑ เยภุยฺเยน ปคุณํ คนฺถํ คัมภีร์ที่คล่องส่วนมาก หมายถึงว่า “ถ้าคาถา ๑ คาถา จำไม่ได้เสีย ๑ บาท
ส่วนบาทที่เหลือจำได้” (สเจ เอกคาถาย เอโก ปาโท นาคจฺฉติ, อวเสสา อาคจฺฉนฺติ, อยํ เยภุยฺเยน
ปคุณคนฺโถ นาม - กงฺขา. ฏีกา ๓๗๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๒๓๖ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๑.มุสาวาทวรรค ๕.สหเสยยสิกขาบท นิทานวัตถุ
๑.มุสาวาทวรรค

๕. สหเสยยสิกขาบท
ว่าด้วยการนอนร่วมกัน

เรื่องภิกษุบวชใหม่
[๔๙] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ อัคคาฬวเจดีย์ เขต
เมืองอาฬวี สมัยนั้น พวกอุบาสกมาฟังธรรมที่อาราม เมื่อพระธรรมกถึกแสดง
ธรรมแล้ว พระภิกษุเถระทั้งหลายกลับไปที่อยู่ พวกภิกษุบวชใหม่นอนร่วมกันกับ
อุบาสกในโรงฉัน ขาดสติสัมปชัญญะเปลือยกายละเมอ กรน พวกอุบาสกพากัน
ตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพระคุณเจ้าทั้งหลายจึงนอนขาดสติสัมปชัญญะ
เปลือยกายละเมอ กรน เล่า”
ภิกษุทั้งหลายได้ยินพวกอุบาสกตำหนิ ประณาม โพนทะนาแล้ว บรรดาภิกษุ
ผู้มักน้อยสันโดษ ฯลฯ จึงพากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพวกภิกษุ
จึงนอนขาดสติสัมปชัญญะเปลือยกายละเมอ กรน เล่า” ครั้นภิกษุเหล่านั้นตำหนิ
พวกภิกษุบวชใหม่โดยประการต่าง ๆ แล้วจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้
ทรงทราบ

ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า พวกภิกษุนอนร่วมกันกับอนุปสัมบัน
จริงหรือ” ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคทรง
ตำหนิว่า “ฯลฯ ภิกษุทั้งหลาย ไฉนโมฆบุรุษเหล่านั้นจึงนอนร่วมกับอนุปสัมบันเล่า
ภิกษุทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส ฯลฯ” แล้ว
จึงรับสั่ง ให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๒๓๗ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๑.มุสาวาทวรรค ๕.สหเสยยสิกขาบท พระบัญญัติ
พระบัญญัติ
ก็ ภิกษุใดนอนร่วมกันกับอนุปสัมบัน ต้องอาบัติปาจิตตีย์
สิกขาบทนี้พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติไว้แก่ภิกษุทั้งหลายอย่างนี้
เรื่องภิกษุบวชใหม่ จบ

เรื่องสามเณรราหุล
[๕๐] ครั้นพระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ เมืองอาฬวี ตามพระอัธยาศัยแล้ว
ได้เสด็จจาริกไปทางกรุงโกสัมพี เสด็จจาริกไปโดยลำดับจนถึงกรุงโกสัมพี ทราบว่า
พระองค์ประทับอยู่ ณ พทริการาม เขตกรุงโกสัมพีนั้น
ภิกษุทั้งหลายได้กล่าวกับท่านราหุล๑ ดังนี้ว่า “ท่าน พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติ
สิกขาบทไว้ว่า ภิกษุไม่พึงนอนร่วมกันกับอนุปสัมบัน ท่านราหุล ท่านจงหาที่นอน”
คืนนั้น ท่านราหุลหาที่นอนไม่ได้จึงไปนอนในวัจกุฎี๒
ครั้นเวลาใกล้รุ่ง พระผู้มีพระภาคทรงตื่นบรรทมเสด็จไปวัจกุฎี ครั้นถึงแล้วจึง
ทรงพระกาสะ แม้ท่านราหุลก็กระแอมรับ
“ใครอยู่ในที่นี่”
“ข้าพระพุทธเจ้าราหุล พระพุทธเจ้าข้า”
“ราหุล เธอมานอนที่นี่ทำไม”
ทีนั้น ท่านราหุลจึงกราบทูลเรื่องนั้นให้ทรงทราบ
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมีกถาเพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ รับสั่ง
กับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุนอนร่วมกันกับอนุปสัมบัน
ได้ ๒-๓ คืน” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้

เชิงอรรถ :
๑ พระราหุลยังบวชเป็นสามเณรอยู่
๒ “วัจกุฎี” คือห้องสุขา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๒๓๘ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๑.มุสาวาทวรรค ๕.สหเสยยสิกขาบท บทภาชนีย์
พระอนุบัญญัติ
[๕๑] อนึ่ง ภิกษุใดนอนร่วมกันกับอนุปสัมบันเกิน ๒-๓ คืน ต้องอาบัติ
ปาจิตตีย์
เรื่องสามเณรราหุล จบ

สิกขาบทวิภังค์
[๕๒] คำว่า อนึ่ง...ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
อนึ่ง...ใด
คำว่า ภิกษุ มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุ เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มี
พระภาคทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุ ในความหมายนี้
ที่ชื่อว่า อนุปสัมบัน คือ ยกเว้นภิกษุ นอกนั้นชื่อว่าอนุปสัมบัน
คำว่า เกิน ๒-๓ คืน คือ มากกว่า ๒-๓ คืน
คำว่า ร่วมกัน คือ ด้วยกัน
ที่ชื่อว่า ที่นอน ได้แก่ ที่นอนมีเครื่องมุงทั้งหมด มีเครื่องบังทั้งหมด หรือ
มีเครื่องมุงส่วนมาก มีเครื่องบังส่วนมาก
คำว่า นอน ความว่า เมื่อดวงอาทิตย์อัสดงในวันที่ ๔ เมื่ออนุปสัมบันนอน
ภิกษุก็นอน ต้องอาบัติปาจิตตีย์ เมื่อภิกษุนอนอนุปสัมบันก็นอน ต้องอาบัติปาจิตตีย์
หรือทั้งภิกษุและอนุปสัมบันนอน ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ภิกษุลุกขึ้นแล้วกลับไปนอน
อีก ต้องอาบัติปาจิตตีย์

บทภาชนีย์
ติกปาจิตตีย์
[๕๓] อนุปสัมบัน ภิกษุสำคัญว่าเป็นอนุปสัมบัน นอนร่วมกันเกิน ๒-๓
คืน ต้องอาบัติปาจิตตีย์
อนุปสัมบัน ภิกษุไม่แน่ใจ นอนร่วมกันเกิน ๒-๓ คืน ต้องอาบัติปาจิตตีย์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๒๓๙ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๑.มุสาวาทวรรค ๕.สหเสยยสิกขาบท อนาปัตติวาร
อนุปสัมบัน ภิกษุสำคัญว่าเป็นอุปสัมบัน นอนร่วมกันเกิน ๒-๓ คืน ต้อง
อาบัติปาจิตตีย์
ติกทุกกฏ
ที่นอนมีเครื่องมุงครึ่งเดียว มีเครื่องบังครึ่งเดียว ต้องอาบัติทุกกฏ
อุปสัมบัน ภิกษุสำคัญว่าเป็นอนุปสัมบัน ต้องอาบัติทุกกฏ
อุปสัมบัน ภิกษุไม่แน่ใจ นอนร่วมกันเกิน ๒-๓ คืน ต้องอาบัติทุกกฏ
อุปสัมบัน ภิกษุสำคัญว่าเป็นอุปสัมบัน นอนร่วมกันเกิน ๒-๓ คืน ไม่ต้อง
อาบัติ

อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[๕๔] ๑. ภิกษุนอนพัก ๒-๓ คืน
๒. ภิกษุพักต่ำกว่า ๒-๓ คืน
๓. ภิกษุพัก ๒ คืน พอคืนที่ ๓ ออกไปก่อนอรุณขึ้นแล้วกลับเข้ามา
๔. ภิกษุนอนร่วมกันในที่นอนมีเครื่องมุงทั้งหมด แต่ไม่มีเครื่องบัง
ทั้งหมด
๕. ภิกษุนอนร่วมกันในที่นอนมีเครื่องบังทั้งหมด แต่ไม่มีเครื่องมุง
ทั้งหมด
๖. ภิกษุนอนร่วมกันในที่นอนไม่มีเครื่องมุงส่วนมาก ไม่มีเครื่องบัง
ส่วนมาก
๗. ภิกษุนั่งในเมื่ออนุปสัมบันนอน
๘. ภิกษุนอน อนุปสัมบันนั่ง
๙. ภิกษุนั่งและอนุปสัมบันก็นั่ง
๑๐. ภิกษุวิกลจริต
๑๑. ภิกษุต้นบัญญัติ
สหเสยยสิกขาบทที่ ๕ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๒๔๐ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๑.มุสาวาทวรรค ๖.ทุติยสหเสยยสิกขาบท นิทานวัตถุ
๑. มุสาวาทวรรค

๖. ทุติยสหเสยยสิกขาบท
ว่าด้วยการนอนร่วมกันข้อที่ ๒

เรื่องพระอนุรุทธะ
[๕๕] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของ
อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี สมัยนั้น ท่านพระอนุรุทธะเดินทางไปกรุงสาวัตถี
แคว้นโกศล ถึงหมู่บ้านตำบลหนึ่งในเวลาเย็น สมัยนั้น มีหญิงคนหนึ่งจัดสร้างเรือน
พักแรมไว้ในหมู่บ้านนั้น ครั้งนั้น ท่านพระอนุรุทธะเข้าไปหาหญิงนั้นถึงที่อยู่ ครั้นถึง
แล้วได้กล่าวกับหญิงนั้นดังนี้ว่า “น้องหญิง ถ้าเธอไม่ลำบากใจ อาตมาขอพักใน
เรือนพักแรมสัก ๑ คืน”
นางกล่าวว่า “นิมนต์ท่านพักเถิด เจ้าข้า”
ฝ่ายพวกคนเดินทางเหล่าอื่นก็ได้เข้าไปหาหญิงนั้นถึงที่อยู่ ครั้นถึงแล้วได้กล่าว
กับหญิงนั้นดังนี้ว่า “คุณนายขอรับ หากคุณนายไม่ลำบากใจ พวกเราขอพักในเรือน
พักแรมสัก ๑ คืน”
นางกล่าวว่า “หากพระคุณเจ้าผู้เข้ามาก่อนอนุญาต ก็เชิญพวกท่านพักแรมได้”
พวกคนเดินทางจึงเข้าไปหาท่านพระอนุรุทธะถึงที่พัก ครั้นถึงแล้วจึงกล่าวกับ
ท่านพระอนุรุทธะดังนี้ว่า “ท่านขอรับ ถ้าท่านไม่ลำบากใจ พวกกระผมขอพักใน
เรือนพักแรมสัก ๑ คืน”
ท่านพระอนุรุทธะกล่าวว่า “เชิญท่านทั้งหลายพักเถิด”
ครั้งนั้นแล หญิงนั้นมีจิตรักใคร่ในท่านพระอนุรุทธะตั้งแต่แรกเห็น ดังนั้น นาง
จึงเข้าไปหาพระเถระถึงที่พัก ครั้นถึงแล้วจึงกล่าวกับท่านว่า “พระคุณเจ้าอยู่ปะปน
กับคนพวกนี้ไม่สะดวก ทางที่ดี ดิฉันควรจัดเตียงข้างในห้องถวายพระคุณเจ้า”
ท่านพระอนุรุทธะรับนิมนต์โดยดุษณีภาพ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๒๔๑ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๑.มุสาวาทวรรค ๖.ทุติยสหเสยยสิกขาบท นิทานวัตถุ
ครั้นแล้ว นางจึงจัดเตียงข้างในห้องถวายด้วยตนเอง แล้วแต่งตัว ประพรม
เครื่องหอม เข้าไปหาพระเถระถึงที่พัก ครั้นถึงแล้วจึงกล่าวกับท่านพระอนุรุทธะนั้น
ดังนี้ว่า “พระคุณเจ้า พระคุณเจ้ารูปงาม น่าดู น่าชม ส่วนดิฉันก็รูปงาม น่าดู
น่าชม ทางที่ดี ดิฉันควรเป็นภรรยาของพระคุณเจ้า” เมื่อนางกล่าวอย่างนี้ ท่าน
พระอนุรุทธะได้นิ่งเสีย แม้ครั้งที่ ๒ ฯลฯ แม้ครั้งที่ ๓ หญิงนั้นก็กล่าวกับท่าน
พระอนุรุทธะนั้นดังนี้ว่า “พระคุณเจ้า พระคุณเจ้ารูปงาม น่าดู น่าชม ส่วนดิฉัน
ก็รูปงาม น่าดู น่าชม ทางที่ดี ขอให้พระคุณเจ้ารับตัวดิฉันและสมบัติทั้งปวงเถิด”
แม้ครั้งที่ ๓ ท่านพระอนุรุทธะก็ได้นิ่งเสีย
ลำดับนั้น นางจึงเปลื้องผ้าออก เดินบ้าง ยืนบ้าง นั่งบ้าง นอนบ้างต่อหน้า
พระเถระ
ทีนั้น พระเถระสำรวมอินทรีย์ ไม่แลดู ไม่พูดกับนาง
หญิงนั้นคิดว่า น่าอัศจรรย์ ไม่เคยมี คนส่วนมากส่งทรัพย์มาให้เรา ๑๐๐
กหาปณะบ้าง ๑,๐๐๐ กหาปณะบ้าง แต่พระสมณะรูปนี้เราอ้อนวอน ก็ยังไม่
ปรารถนาที่จะรับตัวเราและสมบัติทั้งปวง จึงนุ่งผ้าแล้วน้อมศีรษะลงแทบเท้าท่าน
พระอนุรุทธะขอขมาว่า “พระคุณเจ้า ดิฉันได้กระทำความผิดเพราะความโง่เขลาเบา
ปัญญา ที่ได้กระทำอย่างนี้ ขอพระคุณเจ้าจงให้อภัยโทษแก่ดิฉันเพื่อสำรวมต่อไป”
พระเถระกล่าวว่า “น้องหญิง เอาเถิด การที่เธอได้ทำความผิดไปเพราะความโง่
เขลาเบาปัญญา ที่ได้กระทำอย่างนี้เพราะเหตุที่เห็นความผิดเป็นความผิด แล้วแก้ไข
ให้ถูกต้อง ข้อนั้นอาตมายอมรับ เพราะการที่บุคคลเห็นความผิดเป็นความผิดแล้ว
แก้ไขให้ถูกต้องและสำรวมต่อไป นี้เป็นความเจริญในวินัยของพระอริยะ”
ครั้นราตรีนั้นผ่านพ้นไป หญิงนั้นได้เอาของเคี้ยวของฉันอย่างดีประเคนท่าน
พระอนุรุทธะด้วยตนเอง กระทั่งท่านพระอนุรุทธะฉันเสร็จ ละมือจากบาตร จึง
อภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ท่านพระอนุรุทธะได้ชี้แจงให้หญิงนั้นผู้นั่งอยู่ ณ ที่สมควร
เห็นชัด ชวนให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๒๔๒ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๑.มุสาวาทวรรค ๖.ทุติยสหเสยยสิกขาบท พระบัญญัติ
ให้สดชื่นร่าเริงด้วยธรรมีกถา ลำดับนั้น หญิงนั้นซึ่งท่านพระอนุรุทธะได้ชี้แจงให้เห็น
ชัด ชวนให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้
สดชื่นร่าเริงด้วยธรรมีกถาแล้ว ได้กล่าวกับท่านพระอนุรุทธะว่า “พระคุณเจ้า ภาษิต
ของท่านชัดเจนไพเราะยิ่งนัก พระคุณเจ้า ภาษิตของท่านชัดเจนไพเราะยิ่งนัก พระ
คุณเจ้าประกาศธรรมแจ่มแจ้งโดยประการต่าง ๆ เปรียบเหมือนบุคคลหงายของที่คว่ำ
เปิดของที่ปิด บอกทางแก่ผู้หลงทาง หรือตามประทีปในที่มืดด้วยตั้งใจว่า คนมีตาดี
จักเห็นรูป พระคุณเจ้า ดิฉันนี้ขอถึงพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นพร้อมทั้งพระธรรม
และพระสงฆ์เป็นสรณะ ขอพระคุณเจ้าจงทรงจำดิฉันว่าเป็นอุบาสิกาผู้ถึงสรณะ ตั้ง
แต่วันนี้เป็นต้นไปจนตลอดชีวิต”
จากนั้นพระเถระเดินทางไปกรุงสาวัตถีแล้วแจ้งเรื่องนั้นให้ภิกษุทั้งหลายทราบ
บรรดาภิกษุผู้มักน้อย ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนท่าน
พระอนุรุทธะจึงนอนร่วมกับมาตุคามเล่า” ครั้นภิกษุเหล่านั้นตำหนิท่านพระอนุรุทธะ
โดยประการต่าง ๆ แล้วจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ

ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามท่านพระอนุรุทธะว่า “อนุรุทธะ ทราบว่า เธอนอนร่วมกับมาตุคาม จริง
หรือ” ท่านพระอนุรุทธะทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า
ทรงตำหนิว่า “ฯลฯ อนุรุทธะ ไฉนเธอจึงนอนร่วมกับมาตุคามเล่า อนุรุทธะ การ
กระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุ
ทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้

พระบัญญัติ
[๕๖] ก็ ภิกษุใดนอนร่วมกันกับมาตุคาม ต้องอาบัติปาจิตตีย์
เรื่องพระอนุรุทธะ จบ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๒๔๓ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๑.มุสาวาทวรรค ๖.ทุติยสหเสยยสิกขาบท บทภาชนีย์
สิกขาบทวิภังค์
[๕๗] คำว่า ก็...ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ก็...ใด
คำว่า ภิกษุ มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุ เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระ
ภาคทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุ ในความหมายนี้
ที่ชื่อว่า มาตุคาม ได้แก่ หญิงมนุษย์ ไม่ใช่นางยักษ์ ไม่ใช่นางเปรต ไม่ใช่
สัตว์ดิรัจฉานตัวเมีย หญิงมนุษน์นั้นโดยที่สุดกระทั่งเด็กหญิงซึ่งเกิดในวันนั้น หญิง
โตกว่านี้ไม่ต้องกล่าวถึง
คำว่า ร่วมกัน คือ ด้วยกัน
ที่ชื่อว่า ที่นอน ได้แก่ ที่นอนมีเครื่องมุงทั้งหมด มีเครื่องบังทั้งหมด หรือมี
เครื่องมุงส่วนมาก มีเครื่องบังส่วนมาก
คำว่า นอน ความว่า เมื่อดวงอาทิตย์อัสดง เมื่อมาตุคามนอน ภิกษุก็นอน
ต้องอาบัติปาจิตตีย์ เมื่อภิกษุนอน มาตุคามก็นอน ต้องอาบัติปาจิตตีย์ หรือทั้ง
ภิกษุและมาตุคามนอน ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ภิกษุลุกขึ้นแล้วกลับไปนอนอีก ต้อง
อาบัติปาจิตตีย์

บทภาชนีย์
ติกปาจิตตีย์
[๕๘] มาตุคาม ภิกษุสำคัญว่าเป็นมาตุคาม นอนร่วมกัน ต้องอาบัติปาจิตตีย์
มาตุคาม ภิกษุไม่แน่ใจ นอนร่วมกัน ต้องอาบัติปาจิตตีย์
มาตุคาม ภิกษุสำคัญว่าไม่ใช่มาตุคาม นอนร่วมกัน ต้องอาบัติปาจิตตีย์

ทุกกฏ
ที่นอนมีเครื่องมุงครึ่งเดียว มีเครื่องบังครึ่งเดียว ภิกษุนอนร่วมกัน ต้องอาบัติ
ทุกกฏ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๒๔๔ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๑.มุสาวาทวรรค ๖.ทุติยสหเสยยสิกขาบท อนาปัตติวาร
ภิกษุนอนร่วมกันกับนางยักษ์ นางเปรต บัณเฑาะก์ หรือสัตว์ดิรัจฉานตัวเมีย
ต้องอาบัติทุกกฏ
ไม่ใช่มาตุคาม ภิกษุสำคัญว่าเป็นมาตุคาม ต้องอาบัติทุกกฏ
ไม่ใช่มาตุคาม ภิกษุไม่แน่ใจ ต้องอาบัติทุกกฏ
ไม่ใช่มาตุคาม ภิกษุสำคัญว่าไม่ใช่มาตุคาม ไม่ต้องอาบัติ

อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[๕๙] ๑. ภิกษุนอนร่วมกันในที่นอนมีเครื่องมุงทั้งหมด แต่ไม่มีเครื่องบัง
ทั้งหมด
๒. ภิกษุนอนร่วมกันในที่นอนมีเครื่องบังทั้งหมด แต่ไม่มีเครื่องมุง
ทั้งหมด
๓. ภิกษุนอนร่วมกันในที่นอนไม่มีเครื่องมุงส่วนมาก ไม่มีเครื่องบัง
ส่วนมาก
๔. ภิกษุนั่ง ในเมื่อมาตุคามนอน
๕. ภิกษุนอน มาตุคามนั่ง
๖. ภิกษุนั่งและมาตุคามก็นั่ง
๗. ภิกษุวิกลจริต
๘. ภิกษุต้นบัญญัติ

ทุติยสหเสยยสิกขาบทที่ ๖ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๒๔๕ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๑.มุสาวาทวรรค ๗.ธัมมเทสนาสิกขาบท นิทานวัตถุ
๑. มุสาวาทวรรค

๗. ธัมมเทสนาสิกขาบท
ว่าด้วยการแสดงธรรม

เรื่องพระอุทายี
[๖๐] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี สมัยนั้น ท่านพระอุทายีเป็นพระประจำ
ตระกูลในกรุงสาวัตถีเข้าไปหาตระกูลหลายตระกูล เช้าวันหนึ่ง ท่านครองอันตรวาสก
ถือบาตรจีวรเข้าไปยังตระกูลหนึ่ง
สมัยนั้น หญิงแม่เรือนนั่งอยู่ที่ประตูเรือน ลูกสะใภ้นั่งอยู่ที่ประตูห้องนอน
ท่านพระอุทายีเข้าไปหาหญิงแม่เรือนนั้นถึงตัว ครั้นถึงแล้วได้แสดงธรรมใกล้
หูนาง
ขณะนั้นลูกสะใภ้เกิดความคิดขึ้นมาว่า สมณะรูปนี้เป็นชายชู้ของแม่ผัว หรือ
พูดเกี้ยวแม่ผัว
ครั้นท่านพระอุทายีแสดงธรรมใกล้หูหญิงแม่เรือนแล้ว จึงเข้าไปหาหญิงสะใภ้
ถึงตัว ครั้นถึงแล้วจึงแสดงธรรมใกล้หูนาง
ขณะนั้น หญิงแม่เรือนเกิดความคิดขึ้นมาว่า สมณะรูปนี้เป็นชายชู้ของลูกสะใภ้
หรือพูดเกี้ยวลูกสะใภ้
ครั้นท่านพระอุทายีแสดงธรรมใกล้หูลูกสะใภ้แล้วก็จากไป
ทีนั้น หญิงแม่เรือนได้กล่าวกับลูกสะใภ้ว่า “นี่แน่นางตัวดี สมณะรูปนั้นกล่าว
อะไรกับแก”
หญิงสะใภ้ตอบว่า “ท่านแสดงธรรม เจ้าค่ะ แล้วคุณแม่ล่ะ พระคุณเจ้าพูดอะไร”
หญิงแม่เรือนตอบว่า “ท่านก็แสดงธรรมแก่แม่เหมือนกัน”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๒๔๖ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๑.มุสาวาทวรรค ๗.ธัมมเทสนาสิกขาบท พระบัญญัติ
หญิงแม่เรือนกับลูกสะใภ้นั้นจึงตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพระ
คุณเจ้าอุทายีจึงแสดงธรรมใกล้หูมาตุคามเล่า พระธรรมกถึกควรแสดงธรรมเสียง
ชัดเจนเปิดเผย มิใช่หรือ”
พวกภิกษุได้ยินหญิงทั้งสองตำหนิ ประณาม โพนทะนา บรรดาภิกษุผู้มักน้อย
ฯลฯ จึงตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนท่านพระอุทายีจึงแสดงธรรมแก่
มาตุคามเล่า” ครั้นภิกษุเหล่านั้นตำหนิท่านพระอุทายีโดยประการต่าง ๆ แล้วจึง
นำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ

ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามท่านพระอุทายีว่า “อุทายี ทราบว่า เธอแสดงธรรมแก่มาตุคาม จริงหรือ”
ท่านพระอุทายีทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิ
ว่า “ฯลฯ โมฆบุรุษ ไฉนเธอจึงแสดงธรรมแก่มาตุคามเล่า การกระทำอย่างนี้ มิได้
ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้
ขึ้นแสดงดังนี้

พระบัญญัติ
ก็ ภิกษุใดแสดงธรรมแก่มาตุคาม ต้องอาบัติปาจิตตีย์
สิกขาบทนี้พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติไว้แก่ภิกษุทั้งหลายอย่างนี้
เรื่องพระอุทายี จบ

เรื่องอุบาสิกา
[๖๑] สมัยนั้น พวกอุบาสิกาพบภิกษุแล้วนิมนต์ว่า “พระคุณเจ้า ขอนิมนต์
พระคุณเจ้าแสดงธรรมเถิด”
ภิกษุทั้งหลายกล่าวว่า “น้องหญิง การแสดงธรรมแก่มาตุคามไม่เหมาะ”


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๒๔๗ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๑.มุสาวาทวรรค ๗.ธัมมเทสนาสิกขาบท พระอนุบัญญัติ
พวกอุบาสิกากล่าวว่า “ขอนิมนต์พระคุณเจ้าทั้งหลายโปรดแสดงธรรมสัก
๕-๖ คำก็ได้ แม้เพียงเท่านี้พวกดิฉันอาจเข้าใจธรรมได้”
พวกภิกษุก็ยังปฏิเสธว่า “น้องหญิง การแสดงธรรมแก่มาตุคามไม่เหมาะ”
พากันยำเกรงอยู่จึงไม่ยอมแสดงธรรม
พวกอุบาสิกาจึงพากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพระคุณเจ้า
ทั้งหลายพวกเราอาราธนาอยู่ยังไม่ยอมแสดงธรรม”
พวกภิกษุได้ยินอุบาสิกาตำหนิ ประณาม โพนทะนา จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูล
พระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมีกถาเพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ แล้ว
รับสั่งกับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้แสดงธรรมแก่มาตุคามได้
๕-๖ คำ” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้

พระอนุบัญญัติ
อนึ่ง ภิกษุใดแสดงธรรมแก่มาตุคามเกิน ๕-๖ คำ ต้องอาบัติปาจิตตีย์
สิกขาบทนี้พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติไว้แก่ภิกษุทั้งหลายอย่างนี้
เรื่องอุบาสิกา จบ

เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๖๒] สมัยนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ ทราบว่า พระผู้มีพระภาคทรงอนุญาตให้
แสดงธรรมแก่มาตุคามได้ ๕-๖ คำ จึงให้บุรุษไม่รู้เดียงสานั่งใกล้ ๆ แล้วแสดงธรรม
แก่มาตุคามเกิน ๕-๖ คำ
พวกภิกษุผู้มักน้อย ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพวก
ภิกษุฉัพพัคคีย์จึงให้บุรุษไม่รู้เดียงสานั่งใกล้ ๆ แล้วแสดงธรรมแก่มาตุคามเกิน ๕-๖

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๒๔๘ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๑.มุสาวาทวรรค ๗.ธัมมเทสนาสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์
คำเล่า” ครั้นภิกษุเหล่านั้นตำหนิพวกภิกษุฉัพพัคคีย์โดยประการต่าง ๆ แล้วจึงนำ
เรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ

ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามพวกภิกษุพระฉัพพัคคีย์ว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า พวกเธอให้บุรุษไม่
รู้เดียงสานั่งใกล้ ๆ แล้วแสดงธรรมแก่มาตุคามเกิน ๕-๖ คำ จริงหรือ” พวก
ภิกษุฉัพพัคคีย์ทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิ
ว่า “โมฆบุรษทั้งหลาย ไฉนพวกเธอจึงให้บุรุษไม่รู้เดียงสานั่งใกล้ ๆ แล้วแสดงธรรม
แก่มาตุคามเกิน ๕-๖ คำเล่า โมฆบุรุษทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยัง
ไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง
ดังนี้

พระอนุบัญญัติ
[๖๓] อนึ่ง ภิกษุใดแสดงธรรมแก่มาตุคามเกิน ๕-๖ คำ ต้องอาบัติ
ปาจิตตีย์ เว้นไว้แต่มีบุรุษรู้เดียงสาอยู่
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ

สิกขาบทวิภังค์
[๖๔] คำว่า อนึ่ง...ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
อนึ่ง...ใด
คำว่า ภิกษุ มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุ เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระ
ภาคทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุ ในความหมายนี้
ที่ชื่อว่า มาตุคาม ได้แก่ หญิงมนุษย์ ไม่ใช่นางยักษ์ ไม่ใช่นางเปรต ไม่ใช่
สัตว์ดิรัจฉานตัวเมีย แต่เป็นหญิงที่รู้เดียงสา สามารถรับรู้ถ้อยคำสุภาษิตและคำ
ทุพภาษิต คำหยาบและคำสุภาพ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๒๔๙ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๑.มุสาวาทวรรค ๗.ธัมมเทสนาสิกขาบท บทภาชนีย์
ที่ชื่อว่า เกิน ๕-๖ คำ ได้แก่ เกินกว่า ๕-๖ คำ
ที่ชื่อว่า ธรรม ได้แก่ พุทธภาษิต สาวกภาษิต ฤๅษีภาษิต เทวดาภาษิต
ที่ประกอบด้วยอรรถ ที่ประกอบด้วยธรรม
คำว่า แสดง คือ แสดงเป็นบท ต้องอาบัติปาจิตตีย์ทุก ๆ บท แสดงเป็น
อักษร ต้องอาบัติปาจิตตีย์ทุก ๆ อักษร
คำว่า เว้นไว้แต่มีบุรุษรู้เดียงสาอยู่ คือ ยกเว้นไว้แต่มีบุรุษผู้รู้ความอยู่ด้วย
บุรุษที่ชื่อว่า เป็นผู้รู้เดียงสา คือ สามารถรับรู้ถ้อยคำสุภาษิต ทุพภาษิต
คำหยาบและคำสุภาพ

บทภาชนีย์
ติกปาจิตตีย์
[๖๕] มาตุคาม ภิกษุสำคัญว่าเป็นมาตุคาม แสดงธรรมเกิน ๕-๖ คำ ต้อง
อาบัติปาจิตตีย์ เว้นไว้แต่มีบุรุษรู้เดียงสาอยู่
มาตุคาม ภิกษุไม่แน่ใจ แสดงธรรมเกิน ๕-๖ คำ ต้องอาบัติปาจิตตีย์
เว้นไว้แต่มีบุรุษรู้เดียงสาอยู่
มาตุคาม ภิกษุสำคัญว่าไม่ใช่มาตุคาม แสดงธรรมเกิน ๕-๖ คำ ต้องอาบัติ
ปาจิตตีย์ เว้นไว้แต่มีบุรุษรู้เดียงสาอยู่

ติกทุกกฏ
ภิกษุแสดงธรรมแก่นางยักษ์ นางเปรต บัณเฑาะก์ หรือสัตว์ดิรัจฉานตัวเมียซึ่ง
แปลงร่างเป็นหญิงมากกว่า ๕-๖ คำ ต้องอาบัติทุกกฏ เว้นไว้แต่มีบุรุษรู้เดียงสาอยู่
ไม่ใช่มาตุคาม ภิกษุสำคัญว่ามาตุคาม ต้องอาบัติทุกกฏ
ไม่ใช่มาตุคาม ภิกษุไม่แน่ใจ ต้องอาบัติทุกกฏ
ไม่ใช่มาตุคาม ภิกษุสำคัญว่าไม่ใช่มาตุคาม ไม่ต้องอาบัติ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๒๕๐ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๑.มุสาวาทวรรค ๗.ธัมมเทสนาสิกขาบท อนาปัตติวาร
อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[๖๖] ๑. ภิกษุที่แสดงธรรมโดยมีบุรุษรู้เดียงสาอยู่ด้วย
๒. ภิกษุแสดงธรรมเพียง ๕-๖ คำ
๓. ภิกษุแสดงธรรมต่ำกว่า ๕-๖ คำ
๔. ภิกษุลุกขึ้นแล้วมานั่งแสดงธรรมต่อไปอีก
๕. ภิกษุแสดงธรรมในที่ที่มาตุคามลุกขึ้นแล้วนั่งลงอีก
๖. ภิกษุแสดงธรรมแก่มาตุคามอื่นต่อ
๗. ภิกษุถูกถามปัญหาแล้วแสดงธรรมแก่มาตุคามผู้ถาม
๘. ภิกษุแสดงธรรมเพื่อคนอื่นแต่มีมาตุคามฟังอยู่ด้วย
๙. ภิกษุวิกลจริต
๑๐. ภิกษุต้นบัญญัติ

ธัมมเทสนาสิกขาบทที่ ๗ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๒๕๑ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๑.มุสาวาทวรรค ๘.ภูตาโรจนสิกขาบท นิทานวัตถุ
๑. มุสาวาทวรรค

๘. ภูตาโรจนสิกขาบท
ว่าด้วยการบอกอุตตริมนุสสธรรมที่มีจริง

เรื่องภิกษุชาวฝั่งแม่น้ำวัคคุมุทา๑
[๖๗] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ กูฏาคารศาลา
ป่ามหาวัน เขตเมืองเวสาลี ครั้งนั้น ภิกษุจำนวนมากเป็นเพื่อนเคยเห็นเคยคบกันมา
จำพรรษาอยู่ใกล้ฝั่งแม่น้ำวัคคุมุทา คราวนั้น แคว้นวัชชีเกิดข้าวยากหมากแพง
ประชาชนมีความเป็นอยู่แร้นแค้น ใช้สลากปันส่วนซื้ออาหาร ล้มตายกันกระดูกขาว
เกลื่อน ยากที่พระอริยะจะบิณฑบาตยังชีพได้ ภิกษุเหล่านั้นได้มีความคิดว่า “บัดนี้
แคว้นวัชชีเกิดข้าวยากหมากแพง ประชาชนมีความเป็นอยู่แร้นแค้น ใช้สลากปันส่วน
ซื้ออาหาร ล้มตายกันกระดูกขาวเกลื่อน ยากที่พระอริยะจะบิณฑบาตยังชีพได้ ทำ
อย่างไรหนอ พวกเราจึงจะพร้อมเพรียงกัน ร่วมใจกัน ไม่ทะเลาะกัน อยู่จำพรรษา
อย่างผาสุก และบิณฑบาตไม่ลำบาก”
ภิกษุบางพวกเสนอว่า “ท่านทั้งหลาย ถ้าเช่นนั้น พวกเรามาช่วยกันทำงาน
ของพวกคฤหัสถ์ เมื่อช่วยทำงาน พวกเขาก็คงจะพอใจถวายบิณฑบาตแก่พวกเรา
โดยวิธีนี้แหละ พวกเราก็จะพร้อมเพรียงกัน ร่วมใจกัน ไม่ทะเลาะกัน อยู่จำพรรษา
อย่างผาสุก และบิณฑบาตไม่ลำบาก”
ภิกษุอีกพวกเสนอว่า “อย่าเลย ท่านทั้งหลาย ทำไมพวกเราจะต้องไปช่วยกัน
ทำงานของพวกคฤหัสถ์ ขอให้พวกเรามาช่วยกันทำหน้าที่ทูตนำข่าวสารให้พวก
คฤหัสถ์จะดีกว่า เมื่อทำอย่างนี้ พวกคฤหัสถ์ก็คงจะพอใจถวายบิณฑบาตแก่พวก
เรา โดยวิธีนี้แหละพวกเราก็จะพร้อมเพรียงกัน ร่วมใจกัน ไม่ทะเลาะกัน อยู่จำ
พรรษาอย่างผาสุก และบิณฑบาตไม่ลำบาก”

เชิงอรรถ :
๑ พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์แปล เล่ม ๑ ข้อ ๑๙๓ หน้า ๑๗๗ ว่าด้วยการอวดอุตตริมนุสสธรรมที่ไม่มีในตน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๒๕๒ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๑.มุสาวาทวรรค ๘.ภูตาโรจนสิกขาบท นิทานวัตถุ
ภิกษุอีกพวกเสนอว่า “อย่าเลย ท่านทั้งหลาย ทำไมพวกเราจะต้องไปช่วยกัน
ทำงานหรือทำหน้าที่ทูตนำข่าวสารให้พวกคฤหัสถ์ ทางที่ดี พวกเรามากล่าวอวด
อุตตริมนุสสธรรมของกันและกันให้พวกคฤหัสถ์ฟังว่า ‘ภิกษุรูปโน้นได้ปฐมฌาน รูป
โน้นได้ทุติยฌาน รูปโน้นได้ตติยฌาน รูปโน้นได้จตุตถฌาน รูปโน้นเป็นพระโสดาบัน
รูปโน้นเป็นพระสกทาคามี รูปโน้นเป็นพระอนาคามี รูปโน้นเป็นพระอรหันต์ รูปโน้น
ได้วิชชา ๓ รูปโน้นได้อภิญญา ๖’ เมื่อพูดอย่างนี้ พวกคฤหัสถ์ก็คงจะพอใจถวาย
บิณฑบาตแก่พวกเรา โดยวิธีนี้พวกเราจะพร้อมเพรียงกัน ร่วมใจกัน ไม่ทะเลาะกัน
อยู่จำพรรษาอย่างผาสุก และบิณฑบาตไม่ลำบาก”
ในที่สุด ภิกษุเหล่านั้นทั้งหมดตกลงกันว่า “ท่านทั้งหลาย วิธีที่พวกเราพากัน
กล่าวอวดอุตตริมนุสสธรรมของกันและกันให้พวกคฤหัสถ์ฟังเป็นวิธีที่ดีกว่าวิธีอื่น”
ต่อมา ภิกษุเหล่านั้นได้พากันกล่าวอวดอุตตริมนุสสธรรมของกันและกันให้
พวกคฤหัสถ์ฟังว่า “ภิกษุรูปโน้นได้ปฐมฌาน ฯลฯ รูปโน้นได้จตุตถฌาน รูปโน้นเป็น
พระโสดาบัน ฯลฯ รูปโน้นได้อภิญญา ๖”
ครั้งนั้นแล ประชาชนก็พากันยินดีว่า “เป็นลาภของพวกเราหนอ พวกเราได้ดี
แล้วหนอที่มีภิกษุทั้งหลายเช่นนี้มาอยู่จำพรรษา เพราะแต่ก่อนนี้พวกเราไม่มีภิกษุ
ทั้งหลายที่มีคุณสมบัติเหมือนอย่างภิกษุผู้มีศีลมีกัลยาณธรรมเหล่านี้มาอยู่จำพรรษา
เลย” โภชนะ (อาหาร) ... ขาทนียะ (ของเคี้ยว) ... สายนียะ (ของลิ้ม) ... ปานะ
(เครื่องดื่ม) ชนิดที่พวกเขาจะถวายแก่ภิกษุเหล่านั้น พวกเขาไม่รับประทาน ไม่ขบ
เคี้ยว ไม่ลิ้ม ไม่ดื่มด้วยตนเอง ทั้งไม่ให้แก่มารดาบิดา บุตร ภรรยา คนรับใช้ กรรมกร
มิตร อมาตย์ ญาติสาโลหิต ภิกษุเหล่านั้นจึงเป็นผู้มีน้ำมีนวล มีอินทรีย์ผ่องใส มีใบ
หน้าเอิบอิ่ม มีผิวพรรณผุดผ่อง
[๖๘] มีประเพณีอยู่ว่า เมื่อภิกษุทั้งหลายออกพรรษาแล้วจะไปเข้าเฝ้าพระผู้
มีพระภาค ครั้นภิกษุเหล่านั้นจำพรรษาครบ ๓ เดือนแล้วจึงเก็บเสนาสนะ ถือบาตร
และจีวรออกเดินทางมุ่งไปสู่กรุงเวสาลี จาริกไปโดยลำดับ ถึงกรุงเวสาลี ผ่านป่า


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๒๕๓ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๑.มุสาวาทวรรค ๘.ภูตาโรจนสิกขาบท นิทานวัตถุ
มหาวัน ไปถึงกูฏาคารศาลา แล้วเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ครั้นถึงแล้วจึง
ถวายอภิวาท แล้วนั่งลงอยู่ ณ ที่สมควร

ภิกษุต่างทิศมาเข้าเฝ้า
สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายที่จำพรรษาอยู่ในทิศต่าง ๆ ดูซูบผอม ซอมซ่อ มี
ผิวพรรณหมองคล้ำ ซีด เหลือง เส้นเอ็นขึ้นสะพรั่ง ส่วนภิกษุชาวฝั่งแม่น้ำวัคคุมุทา
กลับมีน้ำมีนวล มีอินทรีย์ผ่องใส มีใบหน้าเอิบอิ่ม มีผิวพรรณผุดผ่อง อนึ่ง การที่
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทั้งหลายทรงปราศรัยกับพระอาคันตุกะทั้งหลาย นั่นก็เป็น
พุทธประเพณี
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสถามพวกภิกษุชาวฝั่งแม่น้ำวัคคุมุทาว่า “ภิกษุ
ทั้งหลาย เธอทั้งหลายยังสบายดีหรือ ยังพอเป็นอยู่ได้หรือ พวกเธอเป็นผู้พร้อม
เพรียงกัน ร่วมใจกัน ไม่ทะเลาะกัน อยู่จำพรรษาเป็นผาสุกหรือ และบิณฑบาตไม่
ลำบากหรือ”
ภิกษุเหล่านั้นกราบทูลว่า “ยังสบายดี พระพุทธเจ้าข้า ยังพอเป็นอยู่ได้
พระพุทธเจ้าข้า อนึ่ง พวกข้าพระพุทธเจ้าเป็นผู้พร้อมเพรียงกัน ร่วมใจกัน ไม่ทะเลาะ
กัน อยู่จำพรรษาเป็นผาสุก และบิณฑบาตไม่ลำบาก พระพุทธเจ้าข้า”

พุทธประเพณี
พระตถาคตเจ้าทั้งหลายทรงทราบเรื่อง ตรัสถามก็มี ไม่ตรัสถามก็มี ทรงทราบ
กาลอันควร ตรัสถามก็มี ไม่ตรัสถามก็มี ตรัสถามเรื่องที่เป็นประโยชน์ ไม่ตรัสถาม
เรื่องที่ไม่เป็นประโยชน์ เพราะพระตถาคตเจ้าทั้งหลายทรงขจัดเรื่องที่ไม่เป็น
ประโยชน์เสียด้วยอริยมรรคแล้ว
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทั้งหลายสอบถามภิกษุทั้งหลายด้วยเหตุ ๒ ประการ
คือ จะทรงแสดงธรรมอย่างหนึ่ง จะทรงบัญญัติสิกขาบทแก่พระสาวกอย่างหนึ่ง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๒๕๔ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๑.มุสาวาทวรรค ๘.ภูตาโรจนสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสถามภิกษุชาวฝั่งแม่น้ำวัคคุมุทาว่า “ทำ
อย่างไร เธอทั้งหลายจึงพร้อมเพรียงกัน ร่วมใจกัน ไม่ทะเลาะกัน อยู่จำพรรษาผาสุก
และบิณฑบาตไม่ลำบาก”
ลำดับนั้น ภิกษุเหล่านั้นจึงได้กราบทูลเรื่องนั้นให้พระผู้มีพระภาคทรงทราบ
พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอมีคุณวิเศษนั่น จริงหรือ” ภิกษุ
เหล่านั้นกราบทูลว่า “มีจริง พระพุทธเจ้าข้า”

ทรงบัญญัติสิกขาบท
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ฯลฯ ภิกษุทั้งหลาย ไฉนพวกเธอจึง
พากันกล่าวอวดอุตตริมนุสสธรรมของกันและกันให้พวกคฤหัสถ์ฟังเพราะเห็นแก่ปาก
แก่ท้องเล่า ภิกษุทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส
ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้

พระบัญญัติ
[๖๙] ก็ ภิกษุใดบอกอุตตริมนุสสธรรมที่มีจริงแก่อนุปสัมบัน ต้องอาบัติ
ปาจิตตีย์
เรื่องภิกษุชาวฝั่งแม่น้ำวัคคุมุทา จบ

สิกขาบทวิภังค์
[๗๐] คำว่า ก็...ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ก็...ใด
คำว่า ภิกษุ มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุ เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มี
พระภาคทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุ ในความหมายนี้
ที่ชื่อว่า อนุปสัมบัน ได้แก่ ยกเว้นภิกษุ ภิกษุณี นอกนั้นชื่อว่าอนุปสัมบัน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๒๕๕ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๑.มุสาวาทวรรค ๘.ภูตาโรจนสิกขาบท บทภาชนีย์
บทภาชนีย์
ที่ชื่อว่า อุตตริมนุสสธรรม ได้แก่ ฌาน วิโมกข์ สมาธิ สมาบัติ ญาณทัสสนะ
มรรคภาวนา การทำผลให้แจ้ง การละกิเลส ภาวะที่จิตปลอดจากกิเลส ความยินดี
ในเรือนว่าง
คำว่า ฌาน ได้แก่ ปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน
คำว่า วิโมกข์ ได้แก่ สุญญตวิโมกข์ อนิมิตตวิโมกข์ อัปปณิหิตวิโมกข์
คำว่า สมาธิ ได้แก่ สุญญตสมาธิ อนิมิตตสมาธิ อัปปณิหิตสมาธิ
คำว่า สมาบัติ ได้แก่ สุญญตสมาบัติ อนิมิตตสมาบัติ อัปปณิหิตสมาบัติ
คำว่า ญาณทัสสนะ ได้แก่ วิชชา ๓
คำว่า มรรคภาวนา ได้แก่ สติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔
อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ อริยมรรคมีองค์ ๘
คำว่า การทำผลให้แจ้ง ได้แก่ การทำโสดาปัตติผลให้แจ้ง การทำ
สกทาคามิผลให้แจ้ง การทำอนาคามิผลให้แจ้ง การทำอรหัตตผลให้แจ้ง
คำว่า การละกิเลส ได้แก่ การละราคะ การละโทสะ การละโมหะ
คำว่า ภาวะที่จิตปลอดจากกิเลส ได้แก่ ภาวะที่จิตปลอดจากราคะ ภาวะ
ที่จิตปลอดจากโทสะ ภาวะที่จิตปลอดจากโมหะ
คำว่า ความยินดีในเรือนว่าง ได้แก่ ความยินดีในเรือนว่างด้วยปฐมฌาน
ความยินดีในเรือนว่างด้วยทุติยฌาน ความยินดีในเรือนว่างด้วยตติยฌาน ความ
ยินดีในเรือนว่างด้วยจตุตถฌาน

กล่าวอวดปฐมฌาน
[๗๑] คำว่า บอก คือ ภิกษุกล่าวแก่อนุปสัมบันว่า “ข้าพเจ้าเข้าปฐมฌาน
แล้ว” ต้องอาบัติปาจิตตีย์


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๒๕๖ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๑.มุสาวาทวรรค ๘.ภูตาโรจนสิกขาบท บทภาชนีย์
คำว่า บอก คือ ภิกษุกล่าวแก่อนุปสัมบันว่า “ข้าพเจ้าเข้าปฐมฌานอยู่”
ต้องอาบัติปาจิตตีย์
คำว่า บอก คือ ภิกษุกล่าวแก่อนุปสัมบันว่า “ข้าพเจ้าเป็นผู้เข้าปฐมฌาน
แล้ว” ต้องอาบัติปาจิตตีย์
คำว่า บอก คือ ภิกษุกล่าวแก่อนุปสัมบันว่า “ข้าพเจ้าเป็นผู้ได้ปฐมฌาน”
ต้องอาบัติปาจิตตีย์
คำว่า บอก คือ ภิกษุกล่าวแก่อนุปสัมบันว่า “ข้าพเจ้าเป็นผู้ชำนาญใน
ปฐมฌาน” ต้องอาบัติปาจิตตีย์
คำว่า บอก คือ ภิกษุกล่าวแก่อนุปสัมบันว่า “ข้าพเจ้าทำปฐมฌานให้แจ้ง
แล้ว” ต้องอาบัติปาจิตตีย์

บอกทุติยฌาน - จตุตถฌาน
คำว่า บอก คือ ภิกษุกล่าวแก่อนุปสัมบันว่า “ข้าพเจ้าเข้าทุติยฌานแล้ว
ฯลฯ ข้าพเจ้าเข้าตติยฌาน...จตุตถฌานแล้ว... ข้าพเจ้าเข้าอยู่... ข้าพเจ้าเป็นผู้เข้า
แล้ว... ข้าพเจ้าเป็นผู้ได้จตุตถฌาน ข้าพเจ้าเป็นผู้ชำนาญ... ข้าพเจ้าทำจตุตถฌานให้
แจ้งแล้ว” ต้องอาบัติปาจิตตีย์

บอกสุญญตวิโมกข์ - อัปปณิหิตสมาธิ
คำว่า บอก คือ ภิกษุกล่าวแก่อนุปสัมบันว่า “ข้าพเจ้าเข้าสุญญตวิโมกข์แล้ว
ฯลฯ ข้าพเจ้าเข้าอนิมิตตวิโมกข์ ...อัปปณิหิตวิโมกข์ ...สุญญตสมาธิ ...อนิมิตตสมาธิ
...อัปปณิหิตสมาธิแล้ว... ข้าพเจ้าเข้าอยู่... ข้าพเจ้าเป็นผู้เข้าแล้ว... ข้าพเจ้าเป็นผู้ได้
อัปปณิหิตสมาธิ... ข้าพเจ้าเป็นผู้ชำนาญ... ข้าพเจ้าทำอัปปณิหิตสมาธิให้แจ้งแล้ว”
ต้องอาบัติปาจิตตีย์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๒๕๗ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๑.มุสาวาทวรรค ๘.ภูตาโรจนสิกขาบท บทภาชนีย์
บอกสุญญตสมาบัติ - อัปปณิหิตสมาบัติ
คำว่า บอก คือ ภิกษุกล่าวแก่อนุปสัมบันว่า “ข้าพเจ้าเข้าสุญญตสมาบัติ
...อนิมิตตสมาบัติ ...อัปปณิหิตสมาบัติแล้ว... ข้าพเจ้าเข้าอยู่... ข้าพเจ้าเป็นผู้เข้าแล้ว...
ข้าพเจ้าเป็นผู้ได้อัปปณิหิตสมาบัติ... ข้าพเจ้าเป็นผู้ชำนาญ... ข้าพเจ้าทำอัปปณิหิต
สมาบัติให้แจ้งแล้ว” ต้องอาบัติปาจิตตีย์

บอกวิชชา ๓
คำว่า บอก คือภิกษุกล่าวแก่อนุปสัมบันว่า “ข้าพเจ้าเข้าวิชชา ๓ แล้ว...
ข้าพเจ้าเข้าอยู่... ข้าพเจ้าเป็นผู้เข้าแล้ว... ข้าพเจ้าเป็นผู้ได้วิชชา ๓ ... ข้าพเจ้าเป็น
ผู้ชำนาญ... ข้าพเจ้าทำวิชชา ๓ ให้แจ้งแล้ว” ต้องอาบัติปาจิตตีย์

บอกสติปัฏฐาน ๔ - อิทธิบาท ๔
คำว่า บอก คือ ภิกษุกล่าวแก่อนุปสัมบันว่า “ข้าพเจ้าเข้าสติปัฏฐาน ๔ ฯลฯ
...สัมมัปปธาน ๔ ...อิทธิบาท ๔ แล้ว... ข้าพเจ้าเข้าอยู่... ข้าพเจ้าเป็นผู้เข้าแล้ว...
ข้าพเจ้าเป็นผู้ได้อิทธิบาท ๔ ... ข้าพเจ้าเป็นผู้ชำนาญ... ข้าพเจ้าทำอิทธิบาท ๔ ให้
แจ้งแล้ว” ต้องอาบัติปาจิตตีย์

บอกอินทรีย์ ๕ - พละ ๕
คำว่า บอก คือ ภิกษุกล่าวแก่อนุปสัมบันว่า “ข้าพเจ้าเข้าอินทรีย์ ๕ ฯลฯ
พละ ๕ แล้ว... ข้าพเจ้าเข้าอยู่... ข้าพเจ้าเป็นผู้เข้าแล้ว... ข้าพเจ้าเป็นผู้ได้พละ ๕ ...
ข้าพเจ้าเป็นผู้ชำนาญ... ข้าพเจ้าทำพละ ๕ ให้แจ้งแล้ว” ต้องอาบัติปาจิตตีย์

บอกโพชฌงค์ ๗
คำว่า บอก คือ ภิกษุกล่าวแก่อนุปสัมบันว่า “ข้าพเจ้าเข้าโพชฌงค์ ๗
แล้ว... ข้าพเจ้าเข้าอยู่... ข้าพเจ้าเป็นผู้เข้าแล้ว... ข้าพเจ้าเป็นผู้ได้โพชฌงค์ ๗ ...
ข้าพเจ้าเป็นผู้ชำนาญ... ข้าพเจ้าทำโพชฌงค์ ๗ ให้แจ้งแล้ว” ต้องอาบัติปาจิตตีย์


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๒๕๘ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๑.มุสาวาทวรรค ๘.ภูตาโรจนสิกขาบท บทภาชนีย์
บอกอริยมรรคมีองค์ ๘
คำว่า บอก คือ ภิกษุกล่าวแก่อนุปสัมบันว่า “ข้าพเจ้าเข้าอริยมรรคมี
องค์ ๘ แล้ว... ข้าพเจ้าเข้าอยู่... ข้าพเจ้าเป็นผู้เข้าแล้ว... ข้าพเจ้าเป็นผู้ได้อริยมรรค
มีองค์ ๘ ... ข้าพเจ้าเป็นผู้ชำนาญ... ข้าพเจ้าทำอริยมรรคมีองค์ ๘ ให้แจ้งแล้ว”
ต้องอาบัติปาจิตตีย์

บอกโสดาปัตติผล - อรหัตตผล
คำว่า บอก คือ ภิกษุกล่าวแก่อนุปสัมบันว่า “ข้าพเจ้าเข้าโสดาปัตติผล...
สกทาคามิผล... อนาคามิผล... อรหัตตผลแล้ว... ข้าพเจ้าเข้าอยู่... ข้าพเจ้าเป็นผู้เข้า
แล้ว... ข้าพเจ้าเป็นผู้ได้อรหัตตผล... ข้าพเจ้าเป็นผู้ชำนาญ... ข้าพเจ้าทำอรหัตตผล
ให้แจ้งแล้ว” ต้องอาบัติปาจิตตีย์

บอกการสละราคะ โทสะ และโมหะ
คำว่า บอก คือ ภิกษุกล่าวแก่อนุปสัมบันว่า “ข้าพเจ้าสละราคะแล้ว ฯลฯ
ข้าพเจ้าสละโทสะแล้ว ข้าพเจ้าสละ คาย พ้น ละ สลัด เพิก ถอนโมหะขึ้นแล้ว”
ต้องอาบัติปาจิตตีย์

บอกว่าจิตปลอดจากราคะ โทสะ และโมหะ
คำว่า บอก คือ ภิกษุกล่าวแก่อนุปสัมบันว่า “จิตของข้าพเจ้าปลอดจากราคะ
ฯลฯ จิตของข้าพเจ้าปลอดจากโทสะ จิตของข้าพเจ้าปลอดจากโมหะ” ต้องอาบัติ
ปาจิตตีย์

บอกปฐมฌาน - จตุตถฌานในเรือนว่าง
คำว่า บอก คือ ภิกษุกล่าวแก่อนุปสัมบันว่า “ข้าพเจ้าเข้าปฐมฌาน ฯลฯ
ทุติยฌาน... ตติยฌาน... จตุตถฌานในเรือนว่างแล้ว... ข้าพเจ้าเข้าอยู่... ข้าพเจ้า
เป็นผู้เข้าแล้ว... ข้าพเจ้าเป็นผู้ได้จตุตถฌาน ... ข้าพเจ้าเป็นผู้ชำนาญ... ข้าพเจ้าทำ
จตุตถฌานให้แจ้งแล้ว” ต้องอาบัติปาจิตตีย์


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๒๕๙ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๑.มุสาวาทวรรค ๘.ภูตาโรจนสิกขาบท บทภาชนีย์
บอกปฐมฌานและทุติยฌาน
[๗๒] คำว่า บอก คือ ภิกษุกล่าวแก่อนุปสัมบันว่า “ข้าพเจ้าเข้าปฐมฌาน
และทุติยฌานแล้ว ... ข้าพเจ้าเข้าอยู่... ข้าพเจ้าเป็นผู้เข้าแล้ว... ข้าพเจ้าเป็นผู้ได้
ปฐมฌานและทุติยฌาน... ข้าพเจ้าเป็นผู้ชำนาญ... ข้าพเจ้าทำปฐมฌานและ
ทุติยฌานให้แจ้งแล้ว” ต้องอาบัติปาจิตตีย์

บอกปฐมฌานและตติยฌาน - จตุตถฌาน
คำว่า บอก คือ ภิกษุกล่าวแก่อนุปสัมบันว่า “ข้าพเจ้าเข้าปฐมฌานและ
ตติยฌาน ฯลฯ ปฐมฌานและจตุตถฌานแล้ว ... ข้าพเจ้าเข้าอยู่... ข้าพเจ้าเป็นผู้เข้า
แล้ว... ข้าพเจ้าเป็นผู้ได้ปฐมฌานและจตุตถฌาน... ข้าพเจ้าเป็นผู้ชำนาญ... ข้าพเจ้า
ทำปฐมฌานและจตุตถฌานให้แจ้งแล้ว” ต้องอาบัติปาจิตตีย์

บอกปฐมฌานและสุญญตวิโมกข์ - อัปปณิหิตสมาธิ
คำว่า บอก คือ ภิกษุกล่าวแก่อนุปสัมบันว่า “ข้าพเจ้าเข้าปฐมฌานและ
สุญญตวิโมกข์ ฯลฯ อนิมิตตวิโมกข์... อัปปณิหิตวิโมกข์... สุญญตสมาธิ...
อนิมิตตสมาธิ... อัปปณิหิตสมาธิแล้ว... ข้าพเจ้าเข้าอยู่... ข้าพเจ้าเป็นผู้เข้าแล้ว...
ข้าพเจ้าเป็นผู้ได้ปฐมฌานและอัปปณิหิตสมาธิ... ข้าพเจ้าเป็นผู้ชำนาญ... ข้าพเจ้าทำ
ปฐมฌานและอัปปณิหิตสมาธิให้แจ้งแล้ว” ต้องอาบัติปาจิตตีย์

บอกปฐมฌานและสุญญตสมาบัติ - อัปปณิหิตสมาบัติ
คำว่า บอก คือ ภิกษุกล่าวแก่อนุปสัมบันว่า “ข้าพเจ้าเข้าปฐมฌานและ
สุญญตสมาบัติ ฯลฯ อนิมิตตสมาบัติ... อัปปณิหิตสมาบัติแล้ว... ข้าพเจ้าเข้าอยู่...
ข้าพเจ้าเป็นผู้เข้าแล้ว... ข้าพเจ้าเป็นผู้ได้ปฐมฌานและอัปปณิหิตสมาบัติ... ข้าพเจ้า
เป็นผู้ชำนาญ... ข้าพเจ้าทำปฐมฌานและอัปปณิหิตสมาบัติให้แจ้งแล้ว” ต้องอาบัติ
ปาจิตตีย์


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๒๖๐ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๑.มุสาวาทวรรค ๘.ภูตาโรจนสิกขาบท บทภาชนีย์
บอกปฐมฌานและวิชชา ๓
คำว่า บอก คือ ภิกษุกล่าวแก่อนุปสัมบันว่า “ข้าพเจ้าเข้าปฐมฌานและวิชชา
๓ แล้ว... ข้าพเจ้าเข้าอยู่... ข้าพเจ้าเป็นผู้เข้าแล้ว... ข้าพเจ้าเป็นผู้ได้ปฐมฌานและ
วิชชา ๓ ... ข้าพเจ้าเป็นผู้ชำนาญ... ข้าพเจ้าทำปฐมฌานและวิชชา ๓ ให้แจ้งแล้ว”
ต้องอาบัติปาจิตตีย์

บอกปฐมฌานและสติปัฏฐาน ๔ - อิทธิบาท ๔
คำว่า บอก คือ ภิกษุกล่าวแก่อนุปสัมบันว่า “ข้าพเจ้าเข้าปฐมฌานและ
สติปัฏฐาน ๔ ...สัมมัปปธาน ๔ ...อิทธิบาท ๔ แล้ว... ข้าพเจ้าเข้าอยู่... ข้าพเจ้า
เป็นผู้เข้าแล้ว... ข้าพเจ้าเป็นผู้ได้ปฐมฌานและอิทธิบาท ๔ ... ข้าพเจ้าเป็นผู้ชำนาญ...
ข้าพเจ้าทำปฐมฌานและอิทธิบาท ๔ ให้แจ้งแล้ว” ต้องอาบัติปาจิตตีย์

บอกปฐมฌานและอินทรีย์ ๕ - พละ ๕
คำว่า บอก คือ ภิกษุกล่าวแก่อนุปสัมบันว่า “ข้าพเจ้าเข้าปฐมฌานและ
อินทรีย์ ๕ ฯลฯ พละ ๕ แล้ว... ข้าพเจ้าเข้าอยู่... ข้าพเจ้าเป็นผู้เข้าแล้ว... ข้าพเจ้า
เป็นผู้ได้ปฐมฌานและพละ ๕ ... ข้าพเจ้าเป็นผู้ชำนาญ... ข้าพเจ้าทำปฐมฌานและ
พละ ๕ ให้แจ้งแล้ว” ต้องอาบัติปาจิตตีย์

บอกปฐมฌานและโพชฌงค์ ๗
คำว่า บอก คือ ภิกษุกล่าวแก่อนุปสัมบันว่า “ข้าพเจ้าเข้าปฐมฌานและ
โพชฌงค์ ๗ แล้ว... ข้าพเจ้าเข้าอยู่... ข้าพเจ้าเป็นผู้เข้าแล้ว... ข้าพเจ้าเป็นผู้ได้
ปฐมฌานและโพชฌงค์ ๗ ... ข้าพเจ้าเป็นผู้ชำนาญ... ข้าพเจ้าทำปฐมฌานและ
โพชฌงค์ ๗ ให้แจ้งแล้ว” ต้องอาบัติปาจิตตีย์

บอกปฐมฌานและอริยมรรคมีองค์ ๘
คำว่า บอก คือ ภิกษุกล่าวแก่อนุปสัมบันว่า “ข้าพเจ้าเข้าปฐมฌานและ
อริยมรรคมีองค์ ๘ แล้ว... ข้าพเจ้าเข้าอยู่... ข้าพเจ้าเป็นผู้เข้าแล้ว... ข้าพเจ้าเป็น


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๒๖๑ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๑.มุสาวาทวรรค ๘.ภูตาโรจนสิกขาบท บทภาชนีย์
ผู้ได้ปฐมฌานและอริยมรรคมีองค์ ๘ ... ข้าพเจ้าเป็นผู้ชำนาญ... ข้าพเจ้าทำ
ปฐมฌานและอริยมรรคมีองค์ ๘ ให้แจ้งแล้ว” ต้องอาบัติปาจิตตีย์

บอกปฐมฌานและโสดาปัตติผล - อรหัตตผล
คำว่า บอก คือ ภิกษุกล่าวแก่อนุปสัมบันว่า “ข้าพเจ้าเข้าปฐมฌานและ
โสดาปัตติผล ฯลฯ สกทาคามิผล... อนาคามิผล... อรหัตผลแล้ว... ข้าพเจ้าเข้าอยู่...
ข้าพเจ้าเป็นผู้เข้าแล้ว... ข้าพเจ้าเป็นผู้ได้ปฐมฌานและอรหัตตผล... ข้าพเจ้าเป็นผู้
ชำนาญ... ข้าพเจ้าทำปฐมฌานและอรหัตตผลให้แจ้งแล้ว” ต้องอาบัติปาจิตตีย์

บอกปฐมฌาน - สละราคะ โทสะ และโมหะ
คำว่า บอก คือ ภิกษุกล่าวแก่อนุปสัมบันว่า “ข้าพเจ้าเข้าปฐมฌาน ข้าพเจ้า
สละราคะ ข้าพเจ้าสละโทสะแล้ว ข้าพเจ้าสละ คาย พ้น ละ สลัด เพิก ถอนโมหะ
ขึ้นแล้ว” ต้องอาบัติปาจิตตีย์

บอกปฐมฌาน-จิตปลอดจากราคะ โทสะ และโมหะ
คำว่า บอก คือ ภิกษุกล่าวแก่อนุปสัมบันว่า “ข้าพเจ้าเข้าปฐมฌานแล้ว...
ข้าพเจ้าเข้าอยู่... ข้าพเจ้าเป็นผู้เข้าแล้ว... จิตของข้าพเจ้าปลอดจากราคะ จิตของ
ข้าพเจ้าปลอดจากโทสะ จิตของข้าพเจ้าปลอดจากโมหะ” ต้องอาบัติปาจิตตีย์

บอกทุติยฌานและจตุตถฌาน
[๗๓] คำว่า บอก คือ ภิกษุกล่าวแก่อนุปสัมบันว่า “ข้าพเจ้าเข้าทุติยฌาน
และตติยฌาน ทุติยฌานและจตุตถฌานแล้ว... ข้าพเจ้าเข้าอยู่... ข้าพเจ้าเป็นผู้เข้าแล้ว...
ข้าพเจ้าเป็นผู้ได้ทุติยฌานและจตุตถฌาน... ข้าพเจ้าเป็นผู้ชำนาญ... ข้าพเจ้าทำ
ทุติยฌานและจตุตถฌานให้แจ้งแล้ว” ต้องอาบัติปาจิตตีย์

บอกทุติยฌานและสุญญตวิโมกข์
คำว่า บอก คือ ภิกษุกล่าวแก่อนุปสัมบันว่า “ข้าพเจ้าเข้าทุติยฌานและ
สุญญตวิโมกข์แล้ว ฯลฯ และจิตของข้าพเจ้าปลอดจากโมหะ” ต้องอาบัติปาจิตตีย์


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๒๖๒ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๑.มุสาวาทวรรค ๘.ภูตาโรจนสิกขาบท บทภาชนีย์
บอกทุติยฌานและปฐมฌาน
คำว่า บอก คือ ภิกษุกล่าวแก่อนุปสัมบันว่า “ข้าพเจ้าเข้าทุติยฌานและ
ปฐมฌานแล้ว... ข้าพเจ้าเข้าอยู่... ข้าพเจ้าเป็นผู้เข้าแล้ว... ข้าพเจ้าเป็นผู้ได้
ทุติยฌานและปฐมฌาน... ข้าพเจ้าเป็นผู้ชำนาญ... ข้าพเจ้าทำทุติยฌานและ
ปฐมฌานให้แจ้งแล้ว” ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ฯลฯ
(มูลนัยท่านย่อไว้แล้ว)

บอกว่าจิตปลอดจากโมหะและปฐมฌาน
คำว่า บอก คือ ภิกษุกล่าวแก่อนุปสัมบันว่า “จิตของข้าพเจ้าปลอดจากโมหะ
และข้าพเจ้าเข้าปฐมฌานแล้ว... ข้าพเจ้าเข้าอยู่... ข้าพเจ้าเป็นผู้เข้าแล้ว... จิตของ
ข้าพเจ้าปลอดจากโมหะ และข้าพเจ้าเป็นผู้ได้ปฐมฌาน ข้าพเจ้าเป็นผู้ชำนาญ
จิตของข้าพเจ้าปลอดจากโมหะ และข้าพเจ้าทำปฐมฌานให้แจ้งแล้ว” ต้องอาบัติ
ปาจิตตีย์ ฯลฯ

บอกว่าจิตปลอดจากโมหะและโทสะ
คำว่า บอก คือ ภิกษุกล่าวแก่อนุปสัมบันว่า “จิตของข้าพเจ้าปลอดจาก
โมหะและจิตของข้าพเจ้าปลอดจากโทสะ” ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ฯลฯ

บอกปฐมฌาน - จิตปลอดจากราคะ โทสะ และโมหะ
คำว่า บอก คือ ภิกษุกล่าวแก่อนุปสัมบันว่า “ข้าพเจ้าเข้าปฐมฌาน ทุติย
ฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน สุญญตวิโมกข์ อนิมิตตวิโมกข์ อัปปณิหิตวิโมกข์
สุญญตสมาธิ อนิมิตตสมาธิ อัปปณิหิตสมาธิ สุญญตสมาบัติ อนิมิตตสมาบัติ
อัปปณิหิตสมาบัติ วิชชา ๓ สติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕
พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ อริยมรรคมีองค์ ๘ โสดาปัตติผล สกทาคามิผล อนาคามิผล
และอรหัตตผล ฯลฯ ข้าพเจ้าสละราคะแล้ว ข้าพเจ้าสละโทสะแล้ว และสละ คาย
พ้น ละ สลัด เพิก ถอนโมหะขึ้นแล้ว” ต้องอาบัติปาจิตตีย์


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๒๖๓ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๑.มุสาวาทวรรค ๘.ภูตาโรจนสิกขาบท บทภาชนีย์
วัตตุกามวารกถา
ประสงค์จะบอกปฐมฌาน
[๗๔] คำว่า บอก คือ ภิกษุประสงค์จะกล่าวแก่อนุปสัมบันว่า “ข้าพเจ้า
เข้าปฐมฌานแล้ว” แต่กล่าวว่า “ข้าพเจ้าเข้าทุติยฌานแล้ว” เมื่อผู้อื่นเข้าใจ ต้อง
อาบัติปาจิตตีย์ เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติทุกกฏ

ประสงค์จะบอกปฐมฌาน - จิตปลอดจากราคะ โทสะ และโมหะ
คำว่า บอก คือ ภิกษุประสงค์จะกล่าวแก่อนุปสัมบันว่า “ข้าพเจ้าเข้าปฐมฌาน
แล้ว” แต่กล่าวว่า “ข้าพเจ้าเข้าตติยฌาน ฯลฯ จตุตถฌาน สุญญตวิโมกข์
อนิมิตตวิโมกข์ อัปปณิหิตวิโมกข์ สุญญตสมาธิ อนิมิตตสมาธิ อัปปณิหิตสมาธิ
สุญญตสมาบัติ อนิมิตตสมาบัติ อัปปณิหิตสมาบัติ วิชชา ๓ สติปัฏฐาน ๔
สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ อริยมรรคมีองค์ ๘
โสดาปัตติผล สกทาคามิผล อนาคามิผล และอรหัตตผลแล้ว ฯลฯ ข้าพเจ้าสละ
ราคะแล้ว ข้าพเจ้าสละโทสะแล้ว และข้าพเจ้าสละ คาย พ้น ละ สลัด เพิก ถอนโมหะ
ขึ้นแล้ว” เมื่อผู้อื่นเข้าใจ ต้องอาบัติปาจิตตีย์ เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติทุกกฏ

ประสงค์จะบอกทุติยฌาน - จิตปลอดจากโมหะ
คำว่า บอก คือ ภิกษุประสงค์จะกล่าวแก่อนุปสัมบันว่า “ข้าพเจ้าเข้าทุติย
ฌานแล้ว” แต่กล่าวว่า จิตของข้าพเจ้าปลอดจากโมหะ” เมื่อผู้อื่นเข้าใจ ต้องอาบัติ
ปาจิตตีย์ เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติทุกกฏ

ประสงค์จะบอกทุติยฌาน
คำว่า บอก คือ ภิกษุต้องการจะกล่าวแก่อนุปสัมบันว่า “ข้าพเจ้าเข้าทุติย
ฌานแล้ว” แต่กล่าวว่า “ข้าพเจ้าเข้าปฐมฌานแล้ว” เมื่อผู้อื่นเข้าใจ ต้องอาบัติ
ปาจิตตีย์ เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติทุกกฏ
(มูลนัยท่านย่อไว้แล้ว)


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๒๖๔ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๑.มุสาวาทวรรค ๘.ภูตาโรจนสิกขาบท บทภาชนีย์
ประสงค์จะบอกว่าจิตปลอดจากโมหะ
คำว่า บอก คือ ภิกษุประสงค์จะกล่าวแก่อนุปสัมบันว่า “จิตของข้าพเจ้า
ปลอดจากโมหะ” แต่กล่าวว่า “ข้าพเจ้าเข้าปฐมฌานแล้ว” เมื่อผู้อื่นเข้าใจ ต้อง
อาบัติปาจิตตีย์ เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติทุกกฏ
คำว่า บอก คือ ภิกษุต้องการจะกล่าวแก่อนุปสัมบันว่า “จิตของข้าพเจ้า
ปลอดจากโมหะ” แต่กล่าวว่า “จิตของข้าพเจ้าปลอดจากโทสะ” เมื่อผู้อื่นเข้าใจ
ต้องอาบัติปาจิตตีย์ เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติทุกกฏ

ประสงค์จะบอกปฐมฌาน ฯลฯ
คำว่า บอก คือ ภิกษุประสงค์จะกล่าวแก่อนุปสัมบันว่า “ข้าพเจ้าเข้าปฐมฌาน
ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌานแล้ว ฯลฯ จิตของข้าพเจ้าปลอดจากโมหะ”
แต่กล่าวว่า “ข้าพเจ้าเข้าปฐมฌานแล้ว” เมื่อผู้อื่นเข้าใจ ต้องอาบัติปาจิตตีย์ เมื่อ
เขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติทุกกฏ

ประสงค์จะบอกทุติยฌาน ฯลฯ
คำว่า บอก คือ ภิกษุประสงค์จะกล่าวแก่อนุปสัมบันว่า “ข้าพเจ้าเข้าทุติย
ฌาน ตติยฌาน จตุตถฌานแล้ว ฯลฯ จิตของข้าพเจ้าปลอดจากโมหะ” แต่กล่าวว่า
“ข้าพเจ้าเข้าปฐมฌานแล้ว” เมื่อผู้อื่นเข้าใจ ต้องอาบัติปาจิตตีย์ เมื่อเขาไม่เข้าใจ
ต้องอาบัติทุกกฏ

บอกว่าภิกษุอื่นเข้าปฐมฌาน
[๗๕] คำว่า บอก คือ ภิกษุกล่าวแก่อนุปสัมบันว่า “ภิกษุรูปใดอยู่ในวิหาร
ของท่าน ภิกษุรูปนั้นเข้าปฐมฌานแล้ว... ภิกษุรูปนั้นเข้าอยู่... ภิกษุรูปนั้นเป็น
ผู้เข้าแล้ว... ภิกษุรูปนั้นเป็นผู้ได้ปฐมฌาน... ภิกษุรูปนั้นเป็นผู้ชำนาญ... ภิกษุรูปนั้น
ทำปฐมฌานให้แจ้งแล้ว” ต้องอาบัติทุกกฏ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๒๖๕ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๑.มุสาวาทวรรค ๘.ภูตาโรจนสิกขาบท บทภาชนีย์
บอกว่าภิกษุอื่นเข้าทุติยฌาน ฯลฯ
คำว่า บอก คือ ภิกษุกล่าวแก่อนุปสัมบันว่า “ภิกษุรูปใดอยู่ในวิหารของ
ท่าน ภิกษุรูปนั้นเข้าทุติยฌาน ฯลฯ ตติยฌาน... จตุตถฌานแล้ว... ภิกษุรูปนั้น
เข้าอยู่... ภิกษุรูปนั้นเป็นผู้เข้าแล้ว... ภิกษุรูปนั้นเป็นผู้ได้ทุติยฌาน... ภิกษุรูปนั้น
เป็นผู้ชำนาญ... ภิกษุรูปนั้นทำจตุตถฌานให้แจ้งแล้ว” ต้องอาบัติทุกกฏ

บอกว่าภิกษุอื่นเข้าสุญญตวิโมกข์ ฯลฯ
คำว่า บอก คือ ภิกษุกล่าวแก่อนุปสัมบันว่า “ภิกษุรูปใดอยู่ในวิหารของท่าน
ภิกษุรูปนั้นเข้าสุญญตวิโมกข์ ฯลฯ อนิมิตตวิโมกข์ อัปปณิหิตวิโมกข์ สุญญตสมาธิ
อนิมิตตสมาธิ อัปปณิหิตสมาธิแล้ว ...ภิกษุรูปนั้นเข้าอยู่... ภิกษุรูปนั้นเป็นผู้เข้าแล้ว...
ภิกษุรูปนั้นเป็นผู้ได้อัปปณิหิตสมาธิ... ภิกษุรูปนั้นเป็นผู้ชำนาญ... ภิกษุรูปนั้นทำ
อัปปณิหิตสมาธิให้แจ้งแล้ว” ต้องอาบัติทุกกฏ

บอกว่าภิกษุอื่นเข้าสุญญตสมาบัติ ฯลฯ
คำว่า บอก คือ ภิกษุกล่าวแก่อนุปสัมบันว่า “ภิกษุรูปใดอยู่ในวิหารของ
ท่าน ภิกษุรูปนั้นเข้าสุญญตสมาบัติ ฯลฯ อนิมิตตสมาบัติ อัปปณิหิตสมาบัติแล้ว...
ภิกษุรูปนั้นเข้าอยู่... ภิกษุรูปนั้นเป็นผู้เข้าแล้ว... ภิกษุรูปนั้นเป็นผู้ได้อัปปณิหิตสมาบัติ
... ภิกษุรูปนั้นเป็นผู้ชำนาญ... ภิกษุรูปนั้นทำอัปปณิหิตสมาบัติให้แจ้งแล้ว” ต้อง
อาบัติทุกกฏ

บอกว่าภิกษุอื่นเข้าวิชชา ๓ ฯลฯ
คำว่า บอก คือ ภิกษุกล่าวอวดอนุปสัมบันว่า “ภิกษุรูปใดอยู่ในวิหารของ
ท่าน ภิกษุรูปนั้นเข้าวิชชา ๓ ฯลฯ สติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔
อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ อริยมรรคมีองค์ ๘ โสดาปัตติผล สกทาคามิผล
อนาคามิผล และอรหัตตผลแล้ว... ภิกษุรูปนั้นเข้าอยู่... ภิกษุรูปนั้นเป็นผู้เข้าแล้ว...
ภิกษุรูปนั้นสละราคะแล้ว ภิกษุรูปนั้นสละโทสะแล้ว ภิกษุรูปนั้นสละ คาย พ้น ละ
สลัด เพิก ถอนโมหะขึ้นแล้ว จิตของภิกษุรูปนั้นปลอดจากราคะ จิตของภิกษุรูปนั้น
ปลอดจากโทสะ จิตของภิกษุรูปนั้นปลอดจากโมหะ” ต้องอาบัติทุกกฏ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๒๖๖ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๑.มุสาวาทวรรค ๘.ภูตาโรจนสิกขาบท บทภาชนีย์
บอกว่าภิกษุอื่นเข้าปฐมฌานในเรือนว่าง ฯลฯ
คำว่า บอก คือ ภิกษุกล่าวแก่อนุปสัมบันว่า “ภิกษุรูปใดอยู่ในวิหารของท่าน
ภิกษุรูปนั้นเข้าปฐมฌาน ฯลฯ ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌานในเรือนว่างแล้ว
ฯลฯ ภิกษุรูปนั้นเข้าอยู่... ภิกษุรูปนั้นเป็นผู้เข้าแล้ว... ภิกษุรูปนั้นเป็นผู้ได้... ภิกษุรูป
นั้นเป็นผู้ชำนาญ...ภิกษุรูปนั้นทำจตุตถฌานให้แจ้งในเรือนว่างแล้ว” ต้องอาบัติทุกกฏ

บอกว่าภิกษุอื่นเข้าจตุตถฌานในเรือนว่าง
คำว่า บอก คือ ภิกษุกล่าวแก่อนุปสัมบันว่า “ภิกษุรูปใดใช้สอยจีวรของท่าน
ภิกษุรูปใดฉันบิณฑบาตของท่าน ภิกษุรูปใดใช้สอยเสนาสนะของท่าน ภิกษุรูปใด
บริโภคคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร๑ของท่าน ภิกษุรูปนั้นเข้าจตุตถฌานในเรือนว่าง
แล้ว... ภิกษุรูปนั้นเข้าอยู่... ภิกษุรูปนั้นเป็นผู้เข้าแล้ว... ภิกษุรูปนั้นเป็นผู้ได้... ภิกษุ
รูปนั้นเป็นผู้ชำนาญ... ภิกษุรูปนั้นทำจตุตถฌานให้แจ้งในเรือนว่างแล้ว” ต้องอาบัติ
ทุกกฏ
[๗๖] คำว่า บอก คือ ภิกษุกล่าวแก่อนุปสัมบันว่า “วิหารของท่านภิกษุรูปใด
ใช้สอยแล้ว จีวรของท่านภิกษุรูปใดใช้สอยแล้ว บิณฑบาตของท่านภิกษุรูปใดฉันแล้ว
เสนาสนะของท่านภิกษุรูปใดใช้สอยแล้ว คิลานปัจจัยเภสัชบริขารของท่านภิกษุรูปใด
บริโภคแล้ว ภิกษุรูปนั้นเข้าจตุตถฌานในเรือนว่างแล้ว... ภิกษุรูปนั้นเข้าอยู่... ภิกษุ
รูปนั้นเป็นผู้เข้าแล้ว... ภิกษุรูปนั้นเป็นผู้ได้... ภิกษุรูปนั้นเป็นผู้ชำนาญ... ภิกษุรูปนั้น
ทำจตุตถฌานให้แจ้งในเรือนว่างแล้ว” ต้องอาบัติทุกกฏ

เชิงอรรถ :
๑ คิลานปัจจัยเภสัชบริขาร คือเภสัชทั้ง ๕ ได้แก่ เนยใส เนยข้น นํ้ามัน นํ้าผึ้ง นํ้าอ้อย (วิ.อ. ๒/๒๙๐/๔๐,
สารตฺถ. ฏีกา ๒/๒๙๐/๓๙๓) เป็นสิ่งสัปปายะสำหรับภิกษุผู้เจ็บไข้ จัดว่าเป็นบริขาร คือบริวารของชีวิต
ดุจกำแพงล้อมพระนคร เพราะคอยป้องกันรักษาไม่ให้อาพาธที่จะบั่นรอนชีวิตได้ช่องเกิดขึ้น และเป็น
สัมภาระของชีวิต คอยประคับประคองชีวิตให้ดำรงอยู่นาน (วิ.อ. ๒/๒๙๐/๔๐-๔๑, ม.มู.อ. ๑/๑๙๑/๓๙๗,
ม.มู ฏีกา ๑/๒๓/๒๑๓)
เป็นเครื่องป้องกันโรค บำบัดโรคที่ให้เกิดทุกขเวทนา เนื่องจากธาตุกำเริบให้หายไป (สารตฺถ. ฏีกา ๒/
๒๙๐/๓๙๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๒๖๗ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๑.มุสาวาทวรรค ๘.ภูตาโรจนสิกขาบท อนาปัตติวาร
คำว่า บอก คือ ภิกษุกล่าวแก่อนุปสัมบันว่า “ท่านอาศัยภิกษุรูปใดแล้วได้
ถวายวิหาร ได้ถวายจีวร ได้ถวายบิณฑบาต ได้ถวายเสนาสนะ ได้ถวายคิลานปัจจัย
เภสัชบริขาร ภิกษุรูปนั้นเข้าแล้ว กำลังเข้า เป็นผู้เข้าจตุตถฌานในเรือนว่าง ภิกษุรูป
นั้นเป็นผู้ได้ เป็นผู้ชำนาญ ทำให้แจ้งจตุตถฌานในเรือนว่างแล้ว” ต้องอาบัติทุกกฏ

อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[๗๗] ๑. ภิกษุบอกอุตตริมนุสสธรรมที่มีจริงแก่อุปสัมบัน
๒. ภิกษุต้นบัญญัติ

ภูตาโรจนสิกขาบทที่ ๘ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๒๖๘ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๑.มุสาวาทวรรค ๙.ทุฏฐุลลาโรจนสิกขาบท นิทานวัตถุ
๑. มุสาวาทวรรค

๙. ทุฏฐุลลาโรจนสิกขาบท
ว่าด้วยการบอกอาบัติชั่วหยาบ

เรื่องพระอุปนันทศากยบุตร
[๗๘] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของ
อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี สมัยนั้น ท่านพระอุปนันทศากยบุตรทะเลาะกับ
พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ ท่านต้องอาบัติสังฆาทิเสสข้อจงใจทำน้ำอสุจิให้เคลื่อน จึงขอ
สงฆ์อยู่ปริวาสเพื่อออกจากอาบัตินั้น สงฆ์ให้ท่านอยู่ปริวาสเพื่อออกจากอาบัตินั้น
สมัยนั้น ในกรุงสาวัตถีมีสังฆภัตของสมาคมหนึ่งเกิดขึ้น ท่านพระอุปนันท
ศากยบุตรกำลังอยู่ปริวาส จึงนั่ง ณ อาสนะสุดท้ายในโรงอาหาร
พวกภิกษุฉัพพัคคีย์กล่าวกับอุบาสกเหล่านั้นว่า “ท่านพระอุปนันทศากยบุตร
เป็นพระประจำตระกูลที่พวกท่านยกย่อง ใช้มือที่เปิบข้าวที่เขาถวายด้วยศรัทธา
พยายามทำน้ำอสุจิให้เคลื่อน ท่านต้องอาบัติข้อจงใจทำน้ำอสุจิให้เคลื่อน จึงขอสงฆ์
อยู่ปริวาสเพื่อออกจากอาบัตินั้น สงฆ์ให้ท่านอยู่ปริวาสเพื่อออกจากอาบัตินั้น ท่าน
กำลังอยู่ปริวาสจึงนั่ง ณ อาสนะสุดท้าย”
บรรดาภิกษุผู้มักน้อย ฯลฯ จึงตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉน
พวกภิกษุฉัพพัคคีย์จึงบอกอาบัติชั่วหยาบของภิกษุแก่อนุปสัมบันเล่า” ครั้นภิกษุ
เหล่านั้นตำหนิพวกภิกษุฉัพพัคคีย์โดยประการต่าง ๆ แล้วจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูล
พระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ

ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามพวกภิกษุฉัพพัคคีย์ว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า พวกเธอบอกอาบัติชั่ว


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๒๖๙ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๑.มุสาวาทวรรค ๙.ทุฏฐุลลาโรจนสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์
หยาบของภิกษุแก่อนุปสัมบัน จริงหรือ” พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ทูลรับว่า “จริง พระ
พุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ฯลฯ โมฆบุรุษทั้งหลาย ไฉน
พวกเธอจึงบอกอาบัติชั่วหยาบของภิกษุแก่อนุปสัมบันเล่า โมฆบุรุษทั้งหลาย การ
กระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้
เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง
ดังนี้

พระบัญญัติ
[๗๙] ก็ ภิกษุใดบอกอาบัติชั่วหยาบของภิกษุแก่อนุปสัมบัน ต้องอาบัติ
ปาจิตตีย์ เว้นไว้แต่ภิกษุได้รับสมมติ
เรื่องพระอุปนันทศากยบุตร จบ

สิกขาบทวิภังค์
[๘๐] คำว่า ก็...ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ก็...ใด
คำว่า ภิกษุ มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุ เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มี
พระภาคทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุ ในความหมายนี้
คำว่า ของภิกษุ คือ ของภิกษุรูปอื่น
อาบัติที่ชื่อว่า ชั่วหยาบ ได้แก่ อาบัติปาราชิก ๔ สิกขาบท และอาบัติ
สังฆาทิเสส ๑๓ สิกขาบท
ที่ชื่อว่า อนุปสัมบัน คือ ยกเว้นภิกษุและภิกษุณี นอกนั้นชื่อว่าอนุปสัมบัน
คำว่า บอก คือ บอกแก่สตรีหรือแก่บุรุษ แก่คฤหัสถ์หรือแก่บรรพชิต
คำว่า เว้นไว้แต่ภิกษุได้รับสมมติ คือ ยกเว้นภิกษุที่ได้รับมอบหมายจาก
สงฆ์๑

เชิงอรรถ :
๑ คือมอบหมายให้เป็นผู้บอกอาบัติ (ดู หน้า ๒๗๑-๒๗๒ ประกอบ)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๒๗๐ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๑.มุสาวาทวรรค ๙.ทุฏฐุลลาโรจนสิกขาบท บทภาชนีย์
บทภาชนีย์
ภิกษุที่ได้รับสมมติให้บอก กำหนดอาบัติ ไม่กำหนดตระกูลก็มี
ภิกษุที่ได้รับสมมติให้บอก กำหนดตระกูล ไม่กำหนดอาบัติก็มี
ภิกษุที่ได้รับสมมติให้บอก กำหนดอาบัติและกำหนดตระกูลก็มี
ภิกษุที่ได้รับสมมติให้บอก ไม่กำหนดอาบัติและไม่กำหนดตระกูลก็มี
ที่ชื่อว่า กำหนดอาบัติ คือ สงฆ์กำหนดอาบัติว่า พึงบอกตามจำนวนอาบัติเท่านี้
ที่ชื่อว่า กำหนดตระกูล คือ สงฆ์กำหนดตระกูลว่า พึงบอกในตระกูลมี
ประมาณเท่านี้
ที่ชื่อว่า กำหนดอาบัติและกำหนดตระกูล คือ สงฆ์กำหนดอาบัติและ
กำหนดตระกูลไว้ว่า พึงบอกตามจำนวนอาบัติเท่านี้ ในตระกูลมีประมาณเท่านี้
ที่ชื่อว่า ไม่กำหนดอาบัติและไม่กำหนดตระกูล คือ สงฆ์ไม่กำหนดอาบัติและ
ไม่กำหนดตระกูลไว้ว่า พึงบอกตามจำนวนอาบัติเท่านี้ ในตระกูลมีประมาณเท่านี้
[๘๑] ในการกำหนดอาบัติ ภิกษุบอกอาบัติอื่นนอกจากอาบัติที่สงฆ์กำหนด
ไว้ ต้องอาบัติปาจิตตีย์
ในการกำหนดตระกูล ภิกษุบอกในตระกูลอื่นนอกจากตระกูลที่สงฆ์กำหนดไว้
ต้องอาบัติปาจิตตีย์
ในการกำหนดอาบัติและในการกำหนดตระกูล ภิกษุบอกอาบัติอื่น นอกจาก
อาบัติที่สงฆ์กำหนดไว้ และในตระกูลอื่นนอกจากตระกูลที่สงฆ์กำหนดไว้ ต้องอาบัติ
ปาจิตตีย์
ในกรณีที่ไม่ได้กำหนดอาบัติและในกรณีที่ไม่ได้กำหนดตระกูล ไม่ต้องอาบัติ

ติกปาจิตตีย์
[๘๒] อาบัติชั่วหยาบ ภิกษุสำคัญว่าเป็นอาบัติชั่วหยาบ บอกแก่อนุปสัมบัน
ต้องอาบัติปาจิตตีย์ เว้นไว้แต่ภิกษุได้รับสมมติ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๒๗๑ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๑.มุสาวาทวรรค ๙.ทุฏฐุลลาโรจนสิกขาบท อนาปัตติวาร
อาบัติชั่วหยาบ ภิกษุไม่แน่ใจ บอกแก่อนุปสัมบัน ต้องอาบัติปาจิตตีย์ เว้น
ไว้แต่ภิกษุได้รับสมมติ
อาบัติชั่วหยาบ ภิกษุสำคัญว่าไม่เป็นอาบัติชั่วหยาบ บอกแก่อนุปสัมบัน
ต้องอาบัติปาจิตตีย์ เว้นไว้แต่ภิกษุได้รับสมมติ

ทุกกฏ
ภิกษุบอกอาบัติไม่ชั่วหยาบ ต้องอาบัติทุกกฏ
ภิกษุบอกความประพฤติชั่วหยาบหรือไม่ชั่วหยาบแก่อนุปสัมบัน ต้องอาบัติ
ทุกกฏ
อาบัติไม่ชั่วหยาบ ภิกษุสำคัญว่าเป็นอาบัติชั่วหยาบ ต้องอาบัติทุกกฏ
อาบัติไม่ชั่วหยาบ ภิกษุไม่แน่ใจ ต้องอาบัติทุกกฏ
อาบัติไม่ชั่วหยาบ ภิกษุสำคัญว่าเป็นอาบัติไม่ชั่วหยาบ ต้องอาบัติทุกกฏ

อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[๘๓] ๑. ภิกษุบอกเรื่องที่เกิดแต่ไม่บอกอาบัติ
๒. ภิกษุบอกอาบัติแต่ไม่บอกเรื่องที่เกิด
๓. ภิกษุผู้ได้รับสมมติ
๔. ภิกษุวิกลจริต
๕. ภิกษุต้นบัญญัติ

ทุฏฐุลลาโรจนสิกขาบทที่ ๙ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๒๗๒ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๑.มุสาวาทวรรค ๑๐.ปฐวีขณนสิกขาบท นิทานวัตถุ
๑. มุสาวาทวรรค

๑๐. ปฐวีขณนสิกขาบท
ว่าด้วยการขุดดิน

เรื่องภิกษุชาวเมืองอาฬวี
[๘๔] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ อัคคาฬวเจดีย์ เขต
เมืองอาฬวี สมัยนั้น พวกภิกษุชาวเมืองอาฬวีช่วยกันก่อสร้าง ขุดบ้าง ใช้ให้ขุดบ้าง
ซึ่งดิน พวกชาวบ้านจึงพากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพระสมณะเชื้อสาย
ศากยบุตรจึงขุดบ้าง ใช้ให้ขุดบ้างซึ่งดินเล่า พระสมณะเชื้อสายศากยบุตรเบียดเบียน
ชีวะซึ่งมีอินทรีย์เดียว”
พวกภิกษุได้ยินพวกชาวบ้านตำหนิ ประณาม โพนทะนา บรรดาภิกษุผู้มักน้อย
ฯลฯ จึงตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพวกภิกษุชาวเมืองอาฬวี จึงขุดบ้าง
ใช้ให้ขุดบ้างซึ่งดินเล่า” ครั้นภิกษุเหล่านั้นตำหนิพวกภิกษุชาวเมืองอาฬวีโดยประการ
ต่าง ๆ แล้วจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ

ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า พวกเธอขุดบ้าง ใช้ให้ขุดบ้างซึ่ง
ดินจริงหรือ” ภิกษุชาวเมืองอาฬวีทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาค
พุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ฯลฯ โมฆบุรุษทั้งหลาย ไฉนพวกเธอจึงขุดบ้าง ใช้ให้ขุดบ้าง
ซึ่งดินเล่า โมฆบุรุษทั้งหลาย พวกชาวบ้านสำคัญว่าดินมีชีวะ โมฆบุรุษทั้งหลาย
การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้ว
ให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง
ดังนี้


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๒๗๓ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๑.มุสาวาทวรรค ๑๐.ปฐวีขณนสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์
พระบัญญัติ
[๘๕] ก็ ภิกษุใดขุด หรือใช้ให้ขุดซึ่งดิน ต้องอาบัติปาจิตตีย์
เรื่องภิกษุชาวเมืองอาฬวี จบ

สิกขาบทวิภังค์
[๘๖] คำว่า ก็...ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ก็...ใด
คำว่า ภิกษุ มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุ เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มี
พระภาคทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุ ในความหมายนี้
ที่ชื่อว่า ดิน ได้แก่ ดิน ๒ ชนิด คือ (๑) ดินแท้ (๒) ดินไม่แท้
ที่ชื่อว่า ดินแท้ คือ ดินร่วนล้วน ดินเหนียวล้วน ดินมีหินผสมนิดหน่อย
ดินมีกรวดผสมนิดหน่อย ดินมีกระเบื้องผสมนิดหน่อย ดินมีแร่ผสมนิดหน่อย ดิน
มีทรายผสมนิดหน่อย ดินร่วนเป็นส่วนมาก ดินเหนียวเป็นส่วนมาก แม้ดินที่ยังไม่
เผาไฟก็เรียกว่า ดินแท้
กองดินร่วนหรือดินเหนียวที่ฝนตกรดเกิน ๔ เดือนก็เรียกว่า ดินแท้
ที่ชื่อว่า ดินไม่แท้ คือ หินล้วน ดินมีกรวดล้วน ดินมีกระเบื้องล้วน ดินมี
แร่ล้วน ดินมีทรายล้วน ดินมีดินร่วนผสมนิดหน่อย ดินมีดินเหนียวผสมนิดหน่อย
ดินมีหินมาก ดินมีกรวดมาก ดินมีกระเบื้องมาก ดินมีแร่มาก ดินมีทรายมาก
แม้ดินที่เผาไฟแล้วก็เรียกว่า ดินไม่แท้
กองดินร่วนหรือดินเหนียวที่ฝนตกรดยังไม่ถึง ๔ เดือนก็เรียกว่า ดินไม่แท้
คำว่า ขุด คือ ภิกษุขุดเอง ต้องอาบัติปาจิตตีย์
คำว่า ใช้ให้ขุด คือ ภิกษุใช้ผู้อื่นให้ขุด ต้องอาบัติปาจิตตีย์
ภิกษุสั่งครั้งเดียว เขาขุดหลายครั้ง ต้องอาบัติปาจิตตีย์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๒๗๔ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๑.มุสาวาทวรรค ๑๐.ปฐวีขณนสิกขาบท อนาปัตติวาร
บทภาชนีย์
[๘๗] ดิน ภิกษุสำคัญว่าเป็นดิน ขุดหรือใช้ให้ขุด ทำลายหรือใช้ให้ทำลาย
เผาหรือใช้ให้เผา ต้องอาบัติปาจิตตีย์
ดิน ภิกษุไม่แน่ใจ ขุดหรือใช้ให้ขุด ทำลายหรือใช้ให้ทำลาย เผาหรือใช้ให้เผา
ต้องอาบัติทุกกฏ
ดิน ภิกษุสำคัญว่าไม่ใช่ดิน ขุดหรือใช้ให้ขุด ทำลายหรือใช้ให้ทำลาย เผา
หรือใช้ให้เผา ไม่ต้องอาบัติ
ไม่ใช่ดิน ภิกษุสำคัญว่าเป็นดิน ต้องอาบัติทุกกฏ
ไม่ใช่ดิน ภิกษุไม่แน่ใจ ต้องอาบัติทุกกฏ
ไม่ใช่ดิน ภิกษุสำคัญว่าไม่ใช่ดิน ไม่ต้องอาบัติ

อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[๘๘] ๑. ภิกษุกล่าวว่า “ท่านจงรู้ จงให้ จงนำสิ่งนี้มา เราต้องการสิ่งนี้
ท่านจงทำสิ่งนี้ให้เป็นกัปปิยะ”๑
๒. ภิกษุไม่จงใจ
๓. ภิกษุไม่มีสติ
๔. ภิกษุไม่รู้
๕. ภิกษุวิกลจริต
๖. ภิกษุต้นบัญญัติ
ปฐวีขณนสิกขาบทที่ ๑๐ จบ
มุสาวาทวรรคที่ ๑ จบ

เชิงอรรถ :
๑ คือ ใช้ให้ผู้อื่นทำด้วยกล่าวว่า ท่านจงรู้หลุมเสา จงรู้ดินเหนียวมาก จงรู้ดินเหนียวผสมแกลบ ท่านจง
ให้ดินเหนียวมาก จงให้ดินเหนียวผสมแกลบ ท่านจงนำดินเหนียวมา จงนำฝุ่นมา ต้องการดินเหนียว
ต้องการฝุ่น ท่านจงทำหลุมเสานี้ให้เป็นกัปปิยะ จงทำดินเหนียวนี้ให้เป็นกัปปิยะ จงทำฝุ่นนี้ให้เป็นกัปปิยะ
คือให้เป็นของที่ควรใช้ (วิ.อ. ๒/๘๘/๒๘๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๒๗๕ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๑.มุสาวาทวรรค รวมสิกขาบทที่มีในมุสาวาทวรรค
รวมสิกขาบทที่มีในมุสาวาทวรรค
มุสาวาทวรรคมี ๑๐ สิกขาบท คือ

๑. มุสาวาทสิกขาบท ว่าด้วยการกล่าวเท็จ
๒. โอมสวาทสิกขาบท ว่าด้วยการกล่าวเสียดสี
๓. เปสุญญสิกขาบท ว่าด้วยการกล่าวส่อเสียด
๔. ปทโสธัมมสิกขาบท ว่าด้วยการให้กล่าวธรรมเป็นบท ๆ
๕. สหเสยยสิกขาบท ว่าด้วยการนอนร่วมกัน
๖. ทุติยสหเสยยสิกขาบท ว่าด้วยการนอนร่วมกันข้อที่ ๒
๗. ธัมมเทสนาสิกขาบท ว่าด้วยการแสดงธรรม
๘. ภูตาโรจนสิกขาบท ว่าด้วยการบอกอุตตริมนุสสธรรมที่มีจริง
๙. ทุฏฐุลลาโรจนสิกขาบท ว่าด้วยการบอกอาบัติชั่วหยาบ
๑๐. ปฐวีขณนสิกขาบท ว่าด้วยการการขุดดิน


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๒๗๖ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๒.ภูตคามวรรค ๑.ภูตคามสิกขาบท นิทานวัตถุ
๒. ภูตคามวรรค
หมวดว่าด้วยภูตคาม

๑. ภูตคามสิกขาบท
ว่าด้วยการพรากภูตคาม

เรื่องภิกษุชาวเมืองอาฬวี
[๘๙] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ อัคคาฬวเจดีย์ เขต
เมืองอาฬวี ครั้งนั้น พวกภิกษุชาวเมืองอาฬวีทำการก่อสร้าง ตัดบ้าง ใช้ให้ตัดบ้างซึ่ง
ต้นไม้ ภิกษุชาวเมืองอาฬวีรูปหนึ่งกำลังตัดต้นไม้ เทวดาผู้สิงอยู่ที่ต้นไม้ได้กล่าวกับ
ภิกษุนั้นว่า “ท่านผู้เจริญ ท่านต้องการจะสร้างที่อยู่ของท่านก็โปรดอย่าตัดต้นไม้ที่
เป็นที่อยู่ของข้าพเจ้าเลย” ภิกษุนั้นไม่เชื่อฟังยังขืนตัด ได้ฟันถูกแขนลูกของเทวดา
ทีนั้น เทวดาได้มีความคิดว่า “เราฆ่าภิกษุนี้ในที่นี้จะดีไหม” แต่แล้วได้มีความ
คิดว่า “การที่เราจะฆ่าภิกษุในที่นี้ไม่สมควร ทางที่ดี เราควรนำเรื่องนี้ไปกราบทูล
พระผู้มีพระภาค” จึงไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ครั้นถึงแล้วได้กราบทูลเรื่อง
นั้นให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาคประทานสาธุการว่า “เทวดา ดีแล้ว ดีนักหนาที่ท่านไม่ฆ่าภิกษุ
ถ้าท่านฆ่าภิกษุในวันนี้ ท่านจะประสบบาปมาก เทวดา ไปเถิด ท่านจงไปอยู่ที่
ต้นไม้ว่างในที่โน้น”
พวกชาวบ้านพากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพระสมณะเชื้อสาย
ศากยบุตรจึงตัดบ้าง ใช้ให้ตัดบ้างซึ่งต้นไม้เล่า พระสมณะเชื้อสายศากยบุตร
เบียดเบียนชีวะซึ่งมีอินทรีย์เดียว”
พวกภิกษุได้ยินชาวบ้านตำหนิ ประณาม โพนทะนา บรรดาภิกษุผู้มักน้อย
ฯลฯ จึงตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพวกภิกษุชาวเมืองอาฬวีจึงตัดบ้าง ใช้ให้


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๒๗๗ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๒.ภูตคามวรรค ๑.ภูตคามสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์
ตัดบ้างซึ่งต้นไม้เล่า” ครั้นภิกษุเหล่านั้นตำหนิพวกภิกษุชาวเมืองอาฬวีโดยประการ
ต่าง ๆ แล้วจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ

ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามพวกภิกษุชาวเมืองอาฬวีว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า พวกเธอตัดบ้าง ใช้ให้
ตัดบ้าง ซึ่งต้นไม้ จริงหรือ” พวกภิกษุชาวเมืองอาฬวีทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ฯลฯ โมฆบุรุษทั้งหลาย ไฉนพวกเธอจึงตัด
บ้าง ใช้ให้ตัดบ้างซึ่งต้นไม้เล่า โมฆบุรุษทั้งหลาย เพราะพวกชาวบ้านมีความสำคัญ
ว่าต้นไม้มีชีวะ โมฆบุรุษทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้
เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่งให้
ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้

พระบัญญัติ
[๙๐] ภิกษุต้องอาบัติปาจิตตีย์ เพราะพรากภูตคาม๑
เรื่องภิกษุชาวเมืองอาฬวี จบ

สิกขาบทวิภังค์
[๙๑] ที่ชื่อว่า ภูตคาม ได้แก่ พืชพันธุ์ ๕ ชนิด คือ (๑) พืชพันธุ์เกิดจากเหง้า
(๒) พืชพันธุ์เกิดจากลำต้น (๓) พืชพันธุ์เกิดจากตา (๔) พืชพันธุ์เกิดจากยอด
(๕) พืชพันธุ์เกิดจากเมล็ด

เชิงอรรถ :
๑ ภูตคาม กลุ่มแห่งพืชพันธุ์ที่จะงอกได้ ที่เจริญเติบโตแล้ว เป็นชื่อเรียกต้นไม้ยืนต้นและหญ้าเขียวสด (วิ.อ.
๒/๙๐-๙๑/๒๘๓-๒๘๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๒๗๘ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๒.ภูตคามวรรค ๑.ภูตคามสิกขาบท บทภาชนีย์
ที่ชื่อว่า พืชพันธุ์เกิดจากเหง้า ได้แก่ ขมิ้น ขิง ว่านน้ำ ว่านเปราะ อุตพิด
ข่า แฝก แห้วหมู หรือพืชพันธุ์อย่างอื่นซึ่งเกิดที่เหง้า งอกที่เหง้า นี้ชื่อว่าพืชพันธุ์เกิด
จากเหง้า
ที่ชื่อว่า พืชพันธุ์เกิดจากลำต้น ได้แก่ ต้นโพ ต้นไทร ต้นดีปลี ต้นมะเดื่อ
ต้นเต่าร้าง ต้นมะขวิด หรือพืชพันธุ์อย่างอื่นซึ่งเกิดที่ลำต้น งอกที่ลำต้น นี้ชื่อว่า
พืชพันธุ์เกิดจากลำต้น
ที่ชื่อว่า พืชพันธุ์เกิดจากตา ได้แก่ อ้อย ไม้ไผ่ ไม้อ้อ หรือพืชพันธุ์อย่างอื่น
ซึ่งเกิดที่ตา งอกที่ตา นี้ชื่อว่าพืชพันธุ์เกิดจากตา
ที่ชื่อว่า พืชพันธุ์เกิดจากยอด ได้แก่ ผักบุ้งล้อม แมงลัก เถาหญ้านาง หรือ
พืชพันธุ์อย่างอื่นซึ่งเกิดที่ยอด งอกที่ยอด นี้ชื่อว่าพืชพันธุ์เกิดจากยอด
ที่ชื่อว่า พืชพันธุ์เกิดจากเมล็ด ได้แก่ ข้าว ถั่ว งา หรือพืชพันธุ์อย่างอื่นซึ่ง
เกิดที่เมล็ด งอกที่เมล็ด นี้ชื่อว่าพืชพันธุ์เกิดจากเมล็ด

บทภาชนีย์
[๙๒] พืชพันธุ์ ภิกษุสำคัญว่าเป็นพืชพันธุ์ ตัด หรือใช้ให้ตัด ทำลาย หรือ
ใช้ให้ทำลาย ต้ม หรือใช้ให้ต้ม ต้องอาบัติปาจิตตีย์
พืชพันธุ์ ภิกษุไม่แน่ใจ ตัด หรือใช้ให้ตัด ทำลาย หรือใช้ให้ทำลาย ต้ม หรือ
ใช้ให้ต้ม ต้องอาบัติทุกกฏ
พืชพันธุ์ ภิกษุสำคัญว่าไม่ใช่พืชพันธุ์ ตัด หรือใช้ให้ตัด ทำลาย หรือใช้ให้
ทำลาย ต้ม หรือใช้ให้ต้ม ไม่ต้องอาบัติ
ไม่ใช่พืชพันธุ์ ภิกษุสำคัญว่าเป็นพืชพันธุ์ ต้องอาบัติทุกกฏ
ไม่ใช่พืชพันธุ์ ภิกษุไม่แน่ใจ ต้องอาบัติทุกกฏ
ไม่ใช่พืชพันธุ์ ภิกษุสำคัญว่าไม่ใช่พืชพันธุ์ ไม่ต้องอาบัติ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๒๗๙ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๒.ภูตคามวรรค ๑.ภูตคามสิกขาบท อนาปัตติวาร
อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[๙๓] ๑. ภิกษุกล่าวว่า “ท่านจงรู้ จงให้ จงนำสิ่งนี้มา เราต้องการสิ่งนี้
ท่านจงทำสิ่งนี้ให้เป็นกัปปิยะ”๑
๒. ภิกษุไม่จงใจ
๓. ภิกษุไม่มีสติ
๔. ภิกษุผู้ไม่รู้
๕. ภิกษุวิกลจริต
๖. ภิกษุต้นบัญญัติ

ภูตคามสิกขาบทที่ ๑ จบ

เชิงอรรถ :
๑ คือ ใช้ให้ผู้อื่นทำด้วยกล่าวว่า ท่านจงรู้พืชพันธุ์เกิดจากเหง้านี้ ท่านจงให้เหง้า หรือใบไม้นี้ ท่านจงนำต้น
ไม้หรือเถาวัลย์นี้มา ต้องการดอกไม้ ผลไม้ หรือใบไม้นี้ ท่านจงทำต้นไม้ เถาวัลย์ หรือผลไม้นี้ให้เป็นกัปปิยะ
คือให้เป็นของที่ควรใช้ (วิ.อ. ๒/๙๓/๒๙๐)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๒๘๐ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๒.ภูตคามวรรค ๒.อัญญวาทกสิกขาบท นิทานวัตถุ
๒. ภูตคามวรรค
๒. อัญญวาทกสิกขาบท
ว่าด้วยการกล่าวกลบเกลื่อน

เรื่องพระฉันนะ
[๙๔] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ โฆสิตาราม เขตกรุง
โกสัมพี สมัยนั้น ท่านพระฉันนะประพฤติไม่เหมาะสม ถูกพระวินัยธรไต่สวนอาบัติ
ท่ามกลางสงฆ์ กลับนำเอาเรื่องอื่นมากล่าวกลบเกลื่อนอีกเรื่องหนึ่งว่า “ใครต้อง
ต้องอะไร ต้องในเรื่องอะไร ต้องอย่างไร พวกท่านกล่าวถึงใคร กล่าวเรื่องอะไร”
บรรดาภิกษุผู้มักน้อย ฯลฯ ตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนท่านพระ
ฉันนะถูกพระวินัยธรไต่สวนอาบัติท่ามกลางสงฆ์ กลับนำเอาเรื่องอื่นมากล่าวกลบ
เกลื่อนอีกเรื่องหนึ่งว่า “ใครต้อง ต้องอะไร ต้องในเรื่องอะไร ต้องอย่างไร พวกท่าน
กล่าวถึงใคร กล่าวเรื่องอะไร” ครั้นภิกษุเหล่านั้นตำหนิท่านพระฉันนะโดยประการ
ต่าง ๆ แล้วจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ

ทรงสอบถามพระฉันนะ
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงสอบถามท่านพระฉันนะว่า “ฉันนะ ทราบว่า
เมื่อเธอถูกไต่สวนอาบัติท่ามกลางสงฆ์ กลับนำเอาเรื่องอื่นมากล่าวกลบเกลื่อนอีก
เรื่องหนึ่งว่า ‘ใครต้อง ต้องอะไร ต้องในเรื่องอะไร ต้องอย่างไร พวกท่านกล่าวถึงใคร
กล่าวเรื่องอะไร’ จริงหรือ” ท่านพระฉันนะทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มี
พระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ฯลฯ โมฆบุรุษ ไฉนเธอ เมื่อถูกไต่สวนอาบัติท่าม
กลางสงฆ์ กลับนำเอาเรื่องอื่นมากล่าวกลบเกลื่อนอีกเรื่องหนึ่งว่า ใครต้อง ฯลฯ
พวกท่านกล่าวเรื่องอะไรเล่า โมฆบุรุษ การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใส


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๒๘๑ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๒.ภูตคามวรรค ๒.อัญญวาทกสิกขาบท นิทานวัตถุ
ให้เลื่อมใส ฯลฯ” ครั้นทรงตำหนิแล้วได้ทรงแสดงธรรมีกถารับสั่งกับภิกษุทั้งหลาย
ว่า ภิกษุทั้งหลาย ถ้าเช่นนั้น สงฆ์จงลงอัญญวาทกกรรม๑ แก่ภิกษุฉันนะ
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงลงอัญญวาทกกรรมอย่างนี้ ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึง
ประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติทุติยกรรมวาจาว่า

กรรมวาจา
[๙๕] ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุชื่อฉันนะนี้ถูกไต่สวนอาบัติ
ท่ามกลางสงฆ์ กลับนำเอาเรื่องอื่นมากล่าวกลบเกลื่อนอีกเรื่องหนึ่ง ถ้าสงฆ์พร้อม
กันแล้ว พึงลงอัญญวาทกกรรมแก่ภิกษุชื่อฉันนะ นี่เป็นญัตติ
ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุชื่อฉันนะนี้ถูกไต่สวนอาบัติท่ามกลาง
สงฆ์ กลับนำเอาเรื่องอื่นมากล่าวกลบเกลื่อนอีกเรื่องหนึ่ง สงฆ์จึงลงอัญญวาทกกรรม
แก่ภิกษุชื่อฉันนะ ท่านรูปใดเห็นด้วยกับการลงอัญญวาทกกรรมแก่ภิกษุชื่อฉันนะ
ท่านรูปนั้นพึงนิ่ง ท่านรูปใดไม่เห็นด้วย ท่านรูปนั้นพึงทักท้วง
อัญญวาทกกรรมสงฆ์ลงแก่ภิกษุชื่อฉันนะแล้ว สงฆ์เห็นด้วย เพราะฉะนั้นจึงนิ่ง
ข้าพเจ้าขอถือความนิ่งนั้นเป็นมติอย่างนี้

ทรงบัญญัติสิกขาบท
ทีนั้น ครั้นพระผู้มีพระภาคทรงตำหนิท่านพระฉันนะโดยประการต่าง ๆ แล้วได้
ตรัสโทษแห่งความเป็นคนเลี้ยงยาก ฯลฯ แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้
ขึ้นแสดงดังนี้

เชิงอรรถ :
๑ คำว่า “อัญญวาทกกรรม” ได้แก่ การลงโทษภิกษุที่แกล้งยกเรื่องอื่น ๆ มาพูดกลบเกลื่อนข้อหาที่ถูก
โจทไม่ให้การตามตรงเมื่อถูกสงฆ์สอบสวน เช่น ถูกพระวินัยธรถามว่า “ท่านต้องอาบัตินี้หรือ” ก็กล่าวว่า
“กระผมไปกรุงปาฏลีบุตรมา” เมื่อพระวินัยธรกล่าวอีกว่า “ไม่ได้ถามท่านเรื่องไปกรุงปาฏลีบุตร แต่ถาม
เรื่องอาบัติ” ก็กล่าวว่า “ต่อจากกรุงปาฏลีบุตร กระผมก็ไปกรุงราชคฤห์” (วิ.อ. ๒/๙๔/๒๙๓, สารตฺถ.
ฏีกา ๓/๙๔-๙๘/๒๘-๒๙)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๒๘๒ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๒.ภูตคามวรรค ๒.อัญญวาทกสิกขาบท พระบัญญัติ
พระบัญญัติ
ภิกษุต้องอาบัติปาจิตตีย์ เพราะนำเอาเรื่องอื่นมากล่าวกลบเกลื่อน
สิกขาบทนี้พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติไว้แก่ภิกษุทั้งหลายอย่างนี้
[๙๖] สมัยนั้น ท่านพระฉันนะถูกไต่สวนอาบัติท่ามกลางสงฆ์ คิดว่า “เมื่อเรา
นำเอาเรื่องอื่นมากล่าวกลบเกลื่อนอีกเรื่องหนึ่งต้องอาบัติ” จึงนิ่งเฉย ทำสงฆ์ให้
ลำบาก
บรรดาภิกษุผู้มักน้อย ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนท่าน
พระฉันนะเมื่อถูกไต่สวนอาบัติท่ามกลางสงฆ์ จึงนิ่งเสีย ทำสงฆ์ให้ลำบากเล่า” ครั้น
ภิกษุเหล่านั้นตำหนิท่านพระฉันนะโดยประการต่าง ๆ แล้วจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูล
พระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ

ทรงสอบถามพระฉันนะ
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงสอบถามท่านพระฉันนะว่า “ฉันนะ ทราบว่า
เธอเมื่อถูกไต่สวนอาบัติท่ามกลางสงฆ์ กลับนิ่งเฉย ทำสงฆ์ให้ลำบากจริงหรือ” ท่าน
พระฉันนะทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า
“ฯลฯ โมฆบุรุษ ไฉนเธอเมื่อถูกไต่สวนอาบัติท่ามกลางสงฆ์ จึงนิ่ง ทำสงฆ์ให้ลำบาก
เล่า โมฆบุรุษ การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส ฯลฯ” ครั้น
ทรงตำหนิแล้วได้ทรงแสดงธรรมีกถารับสั่งกับภิกษุทั้งหลายว่า ภิกษุทั้งหลาย ถ้า
เช่นนั้น สงฆ์จงลงวิเหสกกรรม๑ แก่ภิกษุฉันนะ
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงลงวิเหสกกรรมอย่างนี้ ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงประกาศ
ให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติทุติยกรรมวาจาว่า

เชิงอรรถ :
๑ คำว่า “วิเหสกกรรม” ได้แก่ การลงโทษภิกษุผู้ทำสงฆ์ให้ลำบาก คือภิกษุประพฤติไม่สมควร สงฆ์เรียกตัว
มาถามกลับนิ่งเฉยไม่ตอบ สงฆ์จึงสวดประกาศการที่เธอทำตัวเช่นนั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๒๘๓ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๒.ภูตคามวรรค ๒.อัญญวาทกสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์
กรรมวาจา
[๙๗] ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุชื่อฉันนะนี้ถูกไต่สวนอาบัติ
ท่ามกลางสงฆ์ ได้นิ่งเฉย ทำสงฆ์ให้ลำบาก ถ้าสงฆ์พร้อมกันแล้วพึงลงวิเหสกกรรม
แก่ภิกษุชื่อฉันนะ นี่เป็นญัตติ
ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุชื่อฉันนะนี้ถูกไต่สวนอาบัติท่ามกลาง
สงฆ์ ได้นิ่งเฉย ทำสงฆ์ให้ลำบาก สงฆ์จึงลงวิเหสกกรรมแก่ภิกษุชื่อฉันนะ ท่านรูป
ใดเห็นด้วยกับการลงวิเหสกกรรมแก่ภิกษุชื่อฉันนะ ท่านรูปนั้นพึงนิ่ง ท่านรูปใดไม่
เห็นด้วย ท่านรูปนั้นพึงทักท้วง
วิเหสกกรรมสงฆ์ลงแก่ภิกษุชื่อฉันนะแล้ว สงฆ์เห็นด้วย เพราะฉะนั้นจึงนิ่ง
ข้าพเจ้าขอถือความนิ่งนั้นเป็นมติอย่างนี้

ทรงบัญญัติสิกขาบท
ทีนั้น ครั้นพระผู้มีพระภาคทรงตำหนิท่านพระฉันนะโดยประการต่าง ๆ แล้วได้
ตรัสโทษแห่งความเป็นคนเลี้ยงยาก ฯลฯ แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบท
นี้ขึ้นแสดงดังนี้

พระอนุบัญญัติ
[๙๘] ภิกษุต้องอาบัติปาจิตตีย์ เพราะนำเอาเรื่องอื่นมากล่าวกลบเกลื่อน
เพราะทำสงฆ์ให้ลำบาก
เรื่องพระฉันนะ จบ

สิกขาบทวิภังค์
[๙๙] ที่ชื่อว่า นำเอาเรื่องอื่นมากล่าวกลบเกลื่อน คือ ภิกษุเมื่อถูกไต่สวน
วัตถุ๑ หรืออาบัติท่ามกลางสงฆ์ ไม่ต้องการจะบอก ไม่ต้องการจะเปิดเผยเรื่องนั้น

เชิงอรรถ :
๑ คำว่า “วัตถุ” ในที่นี้หมายถึงเรื่องที่ถูกสงฆ์นำมาสอบสวน กรณีที่สงฆ์ยกขึ้นมาสอบสวน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๒๘๔ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๒.ภูตคามวรรค ๒.อัญญวาทกสิกขาบท บทภาชนีย์
กลับนำเอาเรื่องอื่นมากล่าวกลบเกลื่อนอีกเรื่องหนึ่งว่า “ใครต้อง ต้องอะไร ต้อง
ในเรื่องอะไร ต้องอย่างไร พวกท่านกล่าวถึงใคร กล่าวเรื่องอะไร” นี้ชื่อว่านำเอา
เรื่องอื่นมากล่าวกลบเกลื่อน
ที่ชื่อว่า ทำสงฆ์ให้ลำบาก คือ ภิกษุเมื่อถูกไต่สวนวัตถุหรืออาบัติท่ามกลาง
สงฆ์ ไม่ต้องการจะบอก ไม่ต้องการจะเปิดเผยเรื่องนั้น จึงนิ่งเฉย นี้ชื่อว่าทำสงฆ์ให้
ลำบาก

บทภาชนีย์
[๑๐๐] เมื่อสงฆ์ยังไม่ลงอัญญวาทกกรรม ภิกษุถูกไต่สวนวัตถุหรืออาบัติท่าม
กลางสงฆ์ ไม่ต้องการจะบอก ไม่ต้องการจะเปิดเผยเรื่องนั้น กลับนำเอาเรื่องอื่นมา
กล่าวกลบเกลื่อนอีกเรื่องหนึ่งว่า “ใครต้อง ต้องอะไร ต้องในเรื่องอะไร ต้อง
อย่างไร พวกท่านกล่าวถึงใคร กล่าวเรื่องอะไร” ต้องอาบัติทุกกฏ
เมื่อสงฆ์ยังไม่ลงวิเหสกกรรม ภิกษุถูกไต่สวนวัตถุหรืออาบัติท่ามกลางสงฆ์
ไม่ต้องการจะบอก ไม่ต้องการจะเปิดเผยเรื่องนั้น จึงนิ่งเฉยทำสงฆ์ให้ลำบาก ต้อง
อาบัติทุกกฏ
เมื่อสงฆ์ลงอัญญวาทกกรรม ภิกษุถูกไต่สวนวัตถุหรืออาบัติท่ามกลางสงฆ์
ไม่ต้องการจะบอก ไม่ต้องการจะเปิดเผยเรื่องนั้น กลับนำเอาเรื่องอื่นมากล่าวกลบ
เกลื่อนอีกเรื่องหนึ่งว่า “ใครต้อง ฯลฯ พวกท่านกล่าวเรื่องอะไร” ต้องอาบัติปาจิตตีย์
เมื่อสงฆ์ลงวิเหสกกรรม ภิกษุถูกไต่สวนวัตถุหรืออาบัติท่ามกลางสงฆ์ ไม่
ต้องการจะบอก ไม่ต้องการจะเปิดเผยเรื่องนั้น จึงนิ่งเฉย ทำสงฆ์ให้ลำบาก ต้อง
อาบัติปาจิตตีย์

ติกปาจิตตีย์
[๑๐๑] กรรมที่ทำถูกต้อง๑ ภิกษุสำคัญว่าเป็นกรรมที่ทำถูกต้อง ต้องอาบัติ
ปาจิตตีย์ เพราะนำเอาเรื่องอื่นมากล่าวกลบเกลื่อน เพราะทำสงฆ์ให้ลำบาก

เชิงอรรถ :
๑ หมายถึงอัญญวาทกกรรมและวิเหสกกรรม (วิ.อ. ๒/๑๐๑/๒๙๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๒๘๕ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๒.ภูตคามวรรค ๒.อัญญวาทกสิกขาบท อนาปัตติวาร
กรรมที่ทำถูกต้อง ภิกษุไม่แน่ใจ ต้องอาบัติปาจิตตีย์ เพราะนำเอาเรื่องอื่นมา
กล่าวกลบเกลื่อน เพราะทำสงฆ์ให้ลำบาก
กรรมที่ทำถูกต้อง ภิกษุสำคัญว่าเป็นกรรมที่ทำไม่ถูกต้อง ต้องอาบัติปาจิตตีย์
เพราะนำเอาเรื่องอื่นมากล่าวกลบเกลื่อน เพราะทำสงฆ์ให้ลำบาก

ติกทุกกฏ
กรรมที่ทำไม่ถูกต้อง ภิกษุสำคัญว่าเป็นกรรมที่ทำถูกต้อง ต้องอาบัติทุกกฏ
กรรมที่ทำไม่ถูกต้อง ภิกษุไม่แน่ใจ ต้องอาบัติทุกกฏ
กรรมที่ทำไม่ถูกต้อง ภิกษุสำคัญว่าเป็นกรรมที่ทำไม่ถูกต้อง ต้องอาบัติทุกกฏ

อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[๑๐๒] ๑. ภิกษุไม่เข้าใจจึงถาม
๒. ภิกษุเป็นไข้ให้การไม่ได้
๓. ภิกษุไม่ยอมกล่าวเพราะคิดว่า สงฆ์จะมีความบาดหมางกัน
ทะเลาะกัน ขัดแย้งกัน หรือวิวาทกัน
๔. ภิกษุไม่ยอมกล่าวเพราะคิดว่า สงฆ์จักแตกแยก หรือสงฆ์จะ
ร้าวฉาน
๕. ภิกษุไม่ยอมกล่าวเพราะคิดว่า สงฆ์จักทำกรรมที่ไม่ถูกต้อง จะ
แยกพวกกันทำ หรือจะลงโทษภิกษุผู้ไม่ควรลงโทษ
๖. ภิกษุวิกลจริต
๗. ภิกษุต้นบัญญัติ

อัญญวาทกสิกขาบทที่ ๒ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๒๘๖ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๒.ภูตคามวรรค ๓.อุชฌาปนกสิกขาบท นิทานวัตถุ
๒. ภูตคามวรรค
๓. อุชฌาปนกสิกขาบท
ว่าด้วยการกล่าวให้เพ่งโทษ

เรื่องพระทัพพมัลลบุตร
[๑๐๓] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเวฬุวัน สถานที่
ให้เหยื่อกระแต เขตกรุงราชคฤห์ ครั้งนั้น ท่านพระทัพพมัลลบุตรจัดแจงเสนาสนะ
และแจกภัตตาหารสงฆ์
สมัยนั้น พระเมตติยะและพระภุมมชกะ๑ เป็นพระบวชใหม่ มีบุญน้อย
เสนาสนะของสงฆ์ชั้นเลว ภัตตาหารก็ชั้นเลว ตกถึงท่านทั้งสอง ท่านเหล่านั้นจึงกล่าว
ให้ภิกษุทั้งหลายเพ่งโทษ๒ท่านพระทัพพมัลลบุตรว่า “พระทัพพมัลลบุตรจัดแจง
เสนาสนะด้วยความชอบพอกัน๓ และแจกภัตตาหารด้วยความชอบพอกัน”
บรรดาภิกษุผู้มักน้อย ฯลฯ จึงตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพระเมตติยะ
และพระภุมมชกะจึงกล่าวให้ภิกษุทั้งหลายเพ่งโทษท่านพระทัพพมัลลบุตรเล่า” ครั้น
ภิกษุเหล่านั้นตำหนิพระเมตติยะและพระภุมมชกะโดยประการต่าง ๆ แล้วจึงนำเรื่อง
นี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ

ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามพระเมตติยะและพระภุมมชกะว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า พวกเธอกล่าว

เชิงอรรถ :
๑ อยู่ในกลุ่มพระ ๖ รูป ซึ่งเรียกว่า “ภิกษุฉัพพัคคีย์” ได้แก่ (๑) พระปัณฑุกะ (๒) พระโลหิตกะ (๓) พระ
เมตติยะ (๔) พระภุมมชกะ (๕) พระอัสสชิ (๖) พระปุนัพพสุกะ (ม.ม.อ ๑๗๕/๑๓๘)
๒ กล่าวให้ผู้อื่นเพ่งโทษ คือกล่าวให้ภิกษุทั้งหลายดูหมิ่นพระทัพพมัลลบุตร มองดูพระทัพพมัลลบุตร
อย่างดูหมิ่น หรือกล่าวให้คิดในทางไม่ดีในพระทัพพมัลลบุตร (วิ.อ. ๒/๑๐๓/๒๙๕)
๓ คือจัดเสนาสนะที่ประณีตเพื่อเพื่อนภิกษุที่คบหาสนิทสนมกับตน (วิ.อ. ๒/๑๐๓/๒๙๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๒๘๗ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๒.ภูตคามวรรค ๓.อุชฌาปนกสิกขาบท พระบัญญัติ
ให้ภิกษุทั้งหลายเพ่งโทษทัพพมัลลบุตร จริงหรือ” พระเมตติยะและพระภุมมชกะ
ทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ฯลฯ
โมฆบุรุษทั้งหลาย ไฉนพวกเธอจึงกล่าวให้ภิกษุทั้งหลายเพ่งโทษทัพพมัลลบุตรเล่า
โมฆบุรุษทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส ฯลฯ”
แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้

พระบัญญัติ
ภิกษุต้องอาบัติปาจิตตีย์ เพราะกล่าวให้ผู้อื่นเพ่งโทษ
สิกขาบทนี้พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติไว้แก่ภิกษุทั้งหลายอย่างนี้

[๑๐๔] สมัยนั้น พระเมตติยะและพระภุมมชกะคิดว่า ภิกษุทั้งหลายเชื่อฟัง
พระบัญญัติว่า พระผู้มีพระภาคทรงห้ามการกล่าวให้ผู้อื่นเพ่งโทษ จึงบ่นว่าท่านพระ
ทัพพมัลลบุตรใกล้ ๆ ภิกษุทั้งหลายว่า “พระทัพพมัลลบุตรจัดแจงเสนาสนะด้วย
ความชอบพอกัน และแจกภัตตาหารด้วยความชอบพอกัน”
บรรดาภิกษุผู้มักน้อย ฯลฯ จึงตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพระ
เมตติยะและพระภุมมชกะจึงบ่นว่าท่านพระทัพพมัลลบุตรเล่า” ครั้นภิกษุเหล่านั้น
ตำหนิพระเมตติยะและพระภุมมชกะโดยประการต่าง ๆ แล้วจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูล
พระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ

ทรงบัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงสอบถามพระเมตติยะและพระภุมมชกะว่า
“ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า พวกเธอบ่นว่าทัพพมัลลบุตร จริงหรือ” ท่านทั้ง ๒ ทูลรับ
ว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ฯลฯ โมฆบุรุษ
ทั้งหลาย ไฉนพวกเธอจึงบ่นว่าทัพพมัลลบุตรเล่า โมฆบุรุษทั้งหลาย การกระทำ
อย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยก
สิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๒๘๘ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๒.ภูตคามวรรค ๓.อุชฌาปนกสิกขาบท บทภาชนีย์
พระอนุบัญญัติ
[๑๐๕] ภิกษุต้องอาบัติปาจิตตีย์ เพราะกล่าวให้ผู้อื่นเพ่งโทษ เพราะ
บ่นว่า
เรื่องพระทัพพมัลลบุตร จบ

สิกขาบทวิภังค์
[๑๐๖] ที่ชื่อว่า กล่าวให้ผู้อื่นเพ่งโทษ คือ ภิกษุต้องการจะทำให้เสียชื่อ
ต้องการจะทำให้อัปยศ ต้องการจะทำให้เก้อเขิน จึงกล่าวให้ภิกษุทั้งหลายเพ่งโทษ
หรือบ่นว่าอุปสัมบันที่สงฆ์แต่งตั้งให้เป็นเจ้าหน้าที่จัดแจงเสนาสนะ แจกภัตตาหาร
แจกข้าวต้ม แจกผลไม้ แจกของเคี้ยวหรือแจกของเล็กน้อย ต้องอาบัติปาจิตตีย์

บทภาชนีย์
ติกปาจิตตีย์
กรรมที่ทำถูกต้อง๑ ภิกษุสำคัญว่าเป็นกรรมที่ทำถูกต้อง ต้องอาบัติปาจิตตีย์
เพราะกล่าวให้ผู้อื่นเพ่งโทษ เพราะบ่นว่า
กรรมที่ทำถูกต้อง ภิกษุไม่แน่ใจ ต้องอาบัติปาจิตตีย์ เพราะกล่าวให้ผู้อื่นเพ่ง
โทษ เพราะบ่นว่า
กรรมที่ทำถูกต้อง ภิกษุสำคัญว่าเป็นกรรมที่ทำไม่ถูกต้อง ต้องอาบัติปาจิตตีย์
เพราะกล่าวให้ผู้อื่นเพ่งโทษ เพราะบ่นว่า

ทุกกฏ
ภิกษุกล่าวให้ผู้อื่นเพ่งโทษหรือบ่นว่าอนุปสัมบัน ต้องอาบัติทุกกฏ

เชิงอรรถ :
๑ กรรม คือการสมมติภิกษุให้ทำหน้าที่เป็นผู้จัดแจงเสนาสนะเป็นต้น (วิ.อ. ๒/๑๐๖/๒๙๖)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๒๘๙ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๒.ภูตคามวรรค ๓.อุชฌาปนกสิกขาบท อนาปัตติวาร
ภิกษุต้องการจะทำให้เสียชื่อ ต้องการจะทำให้อัปยศ ต้องการจะทำอุปสัมบัน
ที่สงฆ์ไม่ได้แต่งตั้งให้เป็นเจ้าหน้าที่จัดแจงเสนาสนะ แจกภัตตาหาร แจกข้าวต้ม แจก
ผลไม้ แจกของเคี้ยว หรือแจกของเล็กน้อย ให้เก้อเขิน จึงกล่าวให้ภิกษุทั้งหลาย
เพ่งโทษหรือบ่นว่าอุปสัมบันหรืออนุปสัมบัน ต้องอาบัติทุกกฏ
ภิกษุต้องการจะทำให้เสียชื่อ ต้องการจะทำให้อัปยศ ต้องการจะทำอนุปสัมบัน
ที่สงฆ์แต่งตั้งก็ตาม ไม่ได้แต่งตั้งก็ตาม ให้เป็นเจ้าหน้าที่จัดแจงเสนาสนะ แจก
ภัตตาหาร แจกข้าวต้ม แจกผลไม้ แจกของเคี้ยวหรือแจกของเล็กน้อย ให้เก้อเขิน
จึงกล่าวให้ภิกษุทั้งหลายเพ่งโทษหรือบ่นว่าอุปสัมบันหรืออนุปสัมบัน ต้องอาบัติ
ทุกกฏ
กรรมที่ทำไม่ถูกต้อง ภิกษุสำคัญว่าเป็นกรรมที่ทำถูกต้อง ต้องอาบัติทุกกฏ
กรรมที่ทำไม่ถูกต้อง ภิกษุไม่แน่ใจ ต้องอาบัติทุกกฏ
กรรมที่ทำไม่ถูกต้อง ภิกษุสำคัญว่าเป็นกรรมที่ทำไม่ถูกกต้อง ต้องอาบัติทุกกฏ

อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[๑๐๗] ๑. ภิกษุผู้กล่าวให้ผู้อื่นเพ่งโทษ หรือบ่นว่าภิกษุผู้มักทำด้วยความชอบ
ด้วยความชัง ด้วยความหลง ด้วยความกลัว
๒. ภิกษุวิกลจริต
๓. ภิกษุต้นบัญญัติ

อุชฌาปนกสิกขาบทที่ ๓ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๒๙๐ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๒.ภูตคามวรรค ๔.ปฐมเสนาสนสิกขาบท นิทานวัตถุ
๒. ภูตคามวรรค

๔. ปฐมเสนาสนสิกขาบท
ว่าด้วยเสนาสนะข้อที่ ๑

เรื่องภิกษุหลายรูป
[๑๐๘] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี สมัยนั้น ในฤดูหนาว ภิกษุทั้งหลาย
จัดตั้งเสนาสนะในที่กลางแจ้งผึ่งกายกัน ครั้นเขาบอกเวลาภัตตาหาร เมื่อจะจากไป
ไม่เก็บ ไม่ใช้ให้เก็บเสนาสนะนั้น ไม่บอกมอบหมายพากันจากไปแล้ว เสนาสนะจึง
ถูกนํ้าค้างและฝนตกรด
บรรดาภิกษุผู้มักน้อย ฯลฯ จึงตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนภิกษุ
ทั้งหลายจัดตั้งเสนาสนะในที่กลางแจ้ง เมื่อจะจากไปจึงไม่เก็บ ไม่ใช้ให้เก็บเสนาสนะ
นั้น ไม่บอกมอบหมายพากันจากไปเล่า เสนาสนะถูกนํ้าค้างและฝนตกรด” ครั้น
ภิกษุทั้งหลายตำหนิภิกษุเหล่านั้นโดยประการต่าง ๆ แล้วจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูล
พระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ

ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า ภิกษุทั้งหลายจัดตั้งเสนาสนะใน
ที่กลางแจ้ง เมื่อจะจากไปไม่เก็บ ไม่ใช้ให้เก็บเสนาสนะนั้น ไม่บอกมอบหมายพากัน
จากไป เสนาสนะถูกนํ้าค้างและฝนตกรด จริงหรือ” ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า “จริง
พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ฯลฯ ภิกษุทั้งหลาย ไฉน
โมฆบุรุษเหล่านั้น จัดตั้งเสนาสนะไว้ในที่กลางแจ้งแล้ว เมื่อจะจากไป จึงไม่เก็บเอง
ไม่ใช้ให้เก็บเสนาสนะนั้น ไม่บอกมอบหมาย พากันจากไป จนเสนาสนะถูกนํ้าค้าง
และฝนตกรดเล่า ภิกษุทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้
เลื่อมใส ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๒๙๑ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๒.ภูตคามวรรค ๔.ปฐมเสนาสนสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์
พระบัญญัติ
[๑๐๙] ก็ ภิกษุใดวางไว้ หรือใช้ให้วางไว้ซึ่งเสนาสนะ คือ เตียง ตั่ง ฟูก
หรือเก้าอี้ของสงฆ์ในที่กลางแจ้ง เมื่อจะจากไป ไม่เก็บ หรือไม่ใช้ให้เก็บ
เสนาสนะนั้น หรือไม่บอกมอบหมาย ไปเสีย ต้องอาบัติปาจิตตีย์
สิกขาบทนี้พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติไว้แก่ภิกษุทั้งหลายอย่างนี้
เรื่องภิกษุหลายรูป จบ

ทรงอนุญาตให้เก็บเสนาสนะ
[๑๑๐] สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายอยู่ในที่กลางแจ้ง รีบเก็บเสนาสนะก่อนเวลา
อันสมควร พระผู้มีพระภาคทอดพระเนตรเห็นภิกษุเหล่านั้นรีบเก็บเสนาสนะก่อน
เวลาอันสมควร ครั้นแล้วทรงแสดงธรรมีกถาเพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ รับสั่งกับภิกษุ
ทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้เก็บเสนาสนะไว้ในมณฑป โคนไม้ หรือใน
ที่ซึ่งกาหรือเหยี่ยวจะไม่ถ่ายมูลรดได้ตลอด ๘ เดือนที่ไม่ใช่ฤดูฝน”

สิกขาบทวิภังค์
[๑๑๑] คำว่า ก็...ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ก็...ใด
คำว่า ภิกษุ มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุ เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระ
ภาคทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุ ในความหมายนี้
ที่ชื่อว่า ของสงฆ์ ได้แก่ ของที่มีผู้ถวาย บริจาคแก่สงฆ์
ที่ชื่อว่า เตียง ได้แก่ เตียง ๔ ชนิด คือ (๑) เตียงมีแม่แคร่สอดเข้าในขา
(๒) เตียงมีแคร่ติดกับขา (๓) เตียงมีขาดังก้ามปู (๔) เตียงมีขาจดแม่แคร่
ที่ชื่อว่า ตั่ง ได้แก่ตั่ง ๔ ชนิด คือ (๑) ตั่งมีแม่แคร่สอดเข้าในขา (๒) ตั่งมี
แม่แคร่ติดกับขา (๓) ตั่งมีขาดังก้ามปู (๔) ตั่งมีขาจดแม่แคร่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๒๙๒ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๒.ภูตคามวรรค ๔.ปฐมเสนาสนสิกขาบท บทภาชนีย์
ที่ชื่อว่า ฟูก ได้แก่ ฟูก ๕ ชนิด คือ (๑) ฟูกขนสัตว์ (๒) ฟูกเศษผ้า
(๓) ฟูกเปลือกไม้ (๔) ฟูกหญ้า (๕) ฟูกใบไม้
ที่ชื่อว่า เก้าอี้ ได้แก่ เก้าอี้ที่เขาถักพื้นสำหรับนั่งภายใน ทำด้วยเปลือกไม้ก็มี
ทำด้วยหญ้าแฝกก็มี ทำด้วยหญ้ามุงกระต่ายก็มี ทำด้วยหญ้าปล้องก็มี
คำว่า วางไว้ คือ วางไว้ด้วยตนเอง
คำว่า ใช้ให้วางไว้ คือ ใช้ให้ผู้อื่นให้วางไว้
ภิกษุใช้อนุปสัมบันให้วางไว้ เป็นภาระของภิกษุนั้น ใช้อุปสัมบันให้วางไว้ เป็น
ภาระของผู้วางไว้
คำว่า เมื่อจะจากไปไม่เก็บ...เสนาสนะนั้น คือ ไม่เก็บด้วยตนเอง
คำว่า ไม่ใช้ให้เก็บ คือ ไม่ใช้ให้ผู้อื่นเก็บ
คำว่า หรือไม่บอกมอบหมาย ไปเสีย ความว่า ภิกษุไม่บอกมอบหมาย
ภิกษุ สามเณรหรือคนวัด เดินล่วงเลฑฑุบาต๑ ของบุรุษมีกำลังปานกลางไป ต้อง
อาบัติปาจิตตีย์

บทภาชนีย์
ติกปาจิตตีย์
[๑๑๒] เสนาสนะของสงฆ์ ภิกษุสำคัญว่าเป็นของสงฆ์ วางไว้หรือใช้ให้วางไว้
ในที่กลางแจ้ง เมื่อจะจากไป ไม่เก็บ หรือไม่ใช้ให้เก็บเสนาสนะนั้น หรือไม่บอก
มอบหมาย ไปเสีย ต้องอาบัติปาจิตตีย์
เสนาสนะของสงฆ์ ภิกษุไม่แน่ใจ วางไว้ หรือใช้ให้วางไว้ในที่กลางแจ้ง เมื่อ
จะจากไป ไม่เก็บ หรือไม่ใช้ให้เก็บเสนาสนะนั้น หรือไม่บอกมอบหมาย ไปเสีย
ต้องอาบัติปาจิตตีย์

เชิงอรรถ :
๑ คำว่า “เลฑฑุบาต” ได้แก่ ระยะโยนหรือขว้างก้อนดินไปตก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๒๙๓ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๒.ภูตคามวรรค ๔.ปฐมเสนาสนสิกขาบท อนาปัตติวาร
เสนาสนะของสงฆ์ ภิกษุสำคัญว่าเป็นของส่วนบุคคล วางไว้ หรือใช้ให้วางไว้
ในที่กลางแจ้ง เมื่อจะจากไป ไม่เก็บ หรือไม่ใช้ให้เก็บเสนาสนะนั้น หรือไม่บอก
มอบหมาย ไปเสีย ต้องอาบัติปาจิตตีย์

ทุกกฏ
ภิกษุวางไว้ หรือใช้ให้วางผ้าปูรักษาผิวพื้น ผ้าปูเตียง ผ้าปูพื้น เสื่ออ่อน
ท่อนหนัง ที่เช็ดเท้า ตั่งกระดานไว้ในที่กลางแจ้ง เมื่อจะจากไป ไม่เก็บ หรือไม่ใช้
ให้เก็บผ้าปูรักษาผิวเป็นต้นนั้น หรือไม่บอกมอบหมาย ไปเสีย ต้องอาบัติทุกกฏ
เสนาสนะส่วนบุคคล ภิกษุสำคัญว่าเป็นของสงฆ์ ต้องอาบัติทุกกฏ
เสนาสนะส่วนบุคคล ภิกษุไม่แน่ใจ ต้องอาบัติทุกกฏ
เสนาสนะส่วนบุคคล ภิกษุสำคัญว่าเป็นของส่วนบุคคล ต้องอาบัติทุกกฏ
เพราะเป็นของส่วนบุคคลของผู้อื่น เสนาสนะเป็นของส่วนบุคคลของตน ไม่
ต้องอาบัติ

อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[๑๑๓] ๑. ภิกษุเก็บไว้แล้วจึงไป
๒. ภิกษุใช้ให้เก็บไว้แล้วจึงไป
๓. ภิกษุบอกมอบหมายไว้แล้วจึงไป
๔. ภิกษุนำออกผึ่งแดดไว้ จากไปด้วยคิดว่าจะกลับมาเก็บ
๕. ภิกษุผู้มีเหตุบางอย่างขัดขวาง
๖. ภิกษุผู้มีเหตุขัดข้อง
๗. ภิกษุวิกลจริต
๘. ภิกษุต้นบัญญัติ

ปฐมเสนาสนสิกขาบทที่ ๔ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๒๙๔ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๒.ภูตคามวรรค ๕.ทุติยเสนาสนสิกขาบท นิทานวัตถุ
๒. ภูตคามวรรค

๕. ทุติยเสนาสนสิกขาบท
ว่าด้วยเสนาสนะข้อที่ ๒

เรื่องพระสัตตรสวัคคีย์
[๑๑๔] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี สมัยนั้น พวกภิกษุสัตตรสวัคคีย์เป็นสหาย
กัน ภิกษุเหล่านั้นเมื่อจะอยู่ก็อยู่ด้วยกัน เมื่อจะจากไปก็จากไปพร้อมกัน พวกท่านปู
ที่นอนในวิหารของสงฆ์แห่งหนึ่ง เมื่อจะจากไป ไม่เก็บ ไม่ใช้ให้เก็บที่นอนนั้น ไม่
บอกมอบหมาย พากันจากไป เสนาสนะถูกตัวปลวกกัด บรรดาภิกษุผู้มักน้อย ฯลฯ
จึงตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพวกภิกษุสัตตรสวัคคีย์ปูที่นอนในวิหารของ
สงฆ์แล้ว เมื่อจะจากไปไม่เก็บ ไม่ใช้ให้เก็บที่นอนนั้น ไม่บอกมอบหมาย พากันจาก
ไปจนเสนาสนะถูกตัวปลวกกัดเล่า” ครั้นภิกษุเหล่านั้นตำหนิพวกภิกษุสัตตรสวัคคีย์
โดยประการต่าง ๆ แล้วจึงนำเรื่องนั้นไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ

ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า พวกภิกษุสัตตรสวัคคีย์ปูที่นอน
ในวิหารของสงฆ์แล้วเมื่อจะจากไป ไม่เก็บ ไม่ใช้ให้เก็บที่นอนนั้น ไม่บอกมอบหมาย
พากันจากไป จนเสนาสนะถูกตัวปลวกกัด จริงหรือ” ภิกษุเหล่านั้นทูลรับว่า “จริง
พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ฯลฯ ภิกษุทั้งหลาย ไฉน
โมฆบุรุษเหล่านั้นปูที่นอนในวิหารของสงฆ์แล้ว เมื่อจะจากไป จึงไม่เก็บ ไม่ใช้ให้เก็บ
ไม่บอกมอบหมาย พากันจากไปจนเสนาสนะถูกตัวปลวกกัดเล่า ภิกษุทั้งหลาย การ
กระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุ
ทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๒๙๕ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๒.ภูตคามวรรค ๕.ทุติยเสนาสนสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์
พระบัญญัติ
[๑๑๕] ก็ ภิกษุใดปูหรือใช้ให้ปูที่นอนในวิหารของสงฆ์ เมื่อจะจากไป
ไม่เก็บ หรือไม่ใช้ให้เก็บที่นอนนั้น หรือไม่บอกมอบหมาย ไปเสีย ต้องอาบัติ
ปาจิตตีย์
เรื่องพระสัตตรสวัคคีย์ จบ

สิกขาบทวิภังค์
[๑๑๖] คำว่า ก็...ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ก็...ใด
คำว่า ภิกษุ มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุ เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระ
ภาคทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุ ในความหมายนี้
วิหารที่ชื่อว่า ของสงฆ์ ได้แก่ วิหารที่มีผู้ถวาย บริจาคแก่สงฆ์
ที่ชื่อว่า ที่นอน ได้แก่ ฟูก ผ้าปูรักษาผิวพื้น ผ้าปูเตียง ผ้าปูพื้น เสื่ออ่อน
ท่อนหนัง ผ้าปูนั่ง ผ้าปูนอน เครื่องปูทำด้วยหญ้า เครื่องปูทำด้วยใบไม้
คำว่า ปู คือ ปูด้วยตนเอง
คำว่า ใช้ให้ปู คือ ใช้ผู้อื่นให้ปู
คำว่า เมื่อจะจากไปไม่เก็บ...ที่นอนนั้น คือ ไม่เก็บด้วยตนเอง
คำว่า ไม่ใช้ให้เก็บ คือ ไม่ใช้ผู้อื่นให้เก็บ
คำว่า หรือไม่บอกมอบหมาย ไปเสีย ความว่า ภิกษุไม่บอกมอบหมาย
ภิกษุ สามเณรหรือคนวัด เดินล่วงเลยเครื่องล้อมอารามที่มีรั้วล้อมไว้ ต้องอาบัติ
ปาจิตตีย์ เดินล่วงเลยอุปจารอารามที่ไม่มีรั้วล้อมไว้ ต้องอาบัติปาจิตตีย์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๒๙๖ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๒.ภูตคามวรรค ๕.ทุติยเสนาสนสิกขาบท บทภาชนีย์
บทภาชนีย์
ติกปาจิตตีย์
วิหารของสงฆ์ ภิกษุสำคัญว่าเป็นของสงฆ์ ปูหรือใช้ให้ปูที่นอน เมื่อจะจาก
ไป ไม่เก็บ หรือไม่ใช้ให้เก็บที่นอนนั้น หรือไม่บอกมอบหมาย ไปเสีย ต้องอาบัติ
ปาจิตตีย์
วิหารของสงฆ์ ภิกษุไม่แน่ใจ ปูหรือใช้ให้ปูที่นอน เมื่อจะจากไป ไม่เก็บ หรือ
ไม่ใช้ให้เก็บที่นอนนั้น หรือไม่บอกมอบหมาย ไปเสีย ต้องอาบัติปาจิตตีย์
วิหารของสงฆ์ ภิกษุสำคัญว่าเป็นของส่วนบุคคล ปูหรือใช้ให้ปูที่นอน เมื่อจะ
จากไป ไม่เก็บ หรือไม่ใช้ให้เก็บที่นอนนั้น หรือไม่บอกมอบหมาย ไปเสีย ต้องอาบัติ
ปาจิตตีย์

ทุกกฏ
[๑๑๗] ภิกษุปูหรือใช้ให้ปูที่นอนไว้ ในอุปจารวิหาร ในโรงฉัน ในมณฑป
หรือที่โคนไม้ เมื่อจะจากไป ไม่เก็บ หรือไม่ใช้ให้เก็บที่นอนนั้น หรือไม่บอกมอบ
หมาย ไปเสีย ต้องอาบัติทุกกฏ
ภิกษุจัดตั้งไว้ หรือใช้ให้จัดตั้งเตียงหรือตั่งไว้ในวิหาร ในอุปจารวิหาร ในโรงฉัน
ในมณฑป หรือที่โคนไม้ เมื่อจะจากไป ไม่เก็บ หรือไม่ใช้ให้เก็บเตียงหรือตั่งนั้น
หรือไม่บอกมอบหมาย ไปเสีย ต้องอาบัติทุกกฏ
วิหารส่วนบุคคล ภิกษุสำคัญว่าเป็นของสงฆ์ ต้องอาบัติทุกกฏ
วิหารส่วนบุคคล ภิกษุไม่แน่ใจ ต้องอาบัติทุกกฏ
วิหารส่วนบุคคล ภิกษุสำคัญว่าเป็นของส่วนบุคคล ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะ
เป็นของส่วนบุคคลของผู้อื่น วิหารเป็นของส่วนบุคคลของตน ไม่ต้องอาบัติ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๒๙๗ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๒.ภูตคามวรรค ๕.ทุติยเสนาสนสิกขาบท อนาปัตติวาร
อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[๑๑๘] ๑. ภิกษุเก็บไว้แล้วจึงไป
๒. ภิกษุใช้ให้เก็บไว้แล้วจึงไป
๓. ภิกษุบอกมอบหมายไว้แล้วจึงไป
๔. ภิกษุผู้ไม่เก็บเสนาสนะที่มีเหตุบางอย่างขัดขวาง
๕. ภิกษุเกิดห่วงใยไปยืนในที่นั้นบอกมอบหมาย
๖. ภิกษุผู้มีเหตุบางอย่างขัดขวาง
๗. ภิกษุผู้มีเหตุขัดข้อง
๘. ภิกษุวิกลจริต
๙. ภิกษุต้นบัญญัติ

ทุติยเสนาสนสิกขาบทที่ ๕ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๒๙๘ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๒.ภูตคามวรรค ๖.อนุปขัชชสิกขาบท นิทานวัตถุ
๒. ภูตคามวรรค

๖. อนุปขัชชสิกขาบท
ว่าด้วยการเข้าไปแทรกแซง

เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๑๑๙] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์กีดกันที่นอน
ดี ๆ เอาไว้ ให้ย้ายภิกษุผู้เป็นเถระออกไป ทีนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ได้มีความคิด
ว่า “พวกเราจะจำพรรษาในที่นี้ด้วยอุบายอย่างไรหนอ” ลำดับนั้น พวกภิกษุ
ฉัพพัคคีย์จึงเข้าไปนอนแทรกแซงภิกษุผู้เป็นเถระด้วยตั้งใจว่า เมื่อท่านมีความคับใจ
ก็จักจากไปเอง
บรรดาภิกษุผู้มักน้อย ฯลฯ จึงตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพวก
ภิกษุฉัพพัคคีย์จึงเข้าไปนอนแทรกแซงภิกษุผู้เป็นเถระเล่า” ครั้นภิกษุเหล่านั้นตำหนิ
พวกภิกษุฉัพพัคคีย์โดยประการต่าง ๆ แล้วจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาค
ให้ทรงทราบ

ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามพวกภิกษุฉัพพัคคีย์ว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า พวกเธอเข้าไปนอนแทรก
แซงภิกษุผู้เป็นเถระจริงหรือ” พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ฯลฯ โมฆบุรุษทั้งหลาย ไฉนพวกเธอจึง
เข้าไปนอนแทรกแซงภิกษุผู้เป็นเถระเล่า โมฆบุรุษทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้ มิได้
ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้น
แสดงดังนี้


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๒๙๙ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๒.ภูตคามวรรค ๖.อนุปขัชชสิกขาบท บทภาชนีย์
พระบัญญัติ
[๑๒๐] ก็ ภิกษุใดรู้อยู่ เข้าไปนอนแทรกแซงภิกษุผู้เข้าไปอยู่ในวิหาร
ของสงฆ์ก่อนด้วยประสงค์ว่า “ท่านมีความคับใจก็จักจากไปเอง” ประสงค์เพียง
เท่านี้ไม่มีอะไรอื่น ต้องอาบัติปาจิตตีย์
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ

สิกขาบทวิภังค์
[๑๒๑] คำว่า ก็...ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ก็...ใด
คำว่า ภิกษุ มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุ เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มี
พระภาคทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุ ในความหมายนี้
วิหารที่ชื่อว่า ของสงฆ์ ได้แก่ วิหารที่มีผู้ถวาย บริจาคแก่สงฆ์
ที่ชื่อว่า รู้ คือ รู้ว่า “เป็นภิกษุผู้เฒ่า” รู้ว่า “เป็นภิกษุผู้เป็นไข้” หรือรู้ว่า
“เป็นภิกษุที่สงฆ์มอบวิหารให้”
คำว่า เข้าไปแทรกแซง คือ เข้าไปเบียดเสียด
คำว่า นอน ความว่า ภิกษุปูไว้หรือใช้ให้ปูที่นอนไว้ในอุปจารเตียง ตั่งหรือ
ประตูเข้าออก ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุนั่งหรือนอน ต้องอาบัติปาจิตตีย์
คำว่า ประสงค์เพียงเท่านี้ ความว่า ไม่มีเหตุผลอย่างอื่นในการเข้าไปนอน
แทรกแซง

บทภาชนีย์
ติกปาจิตตีย์
[๑๒๒] วิหารของสงฆ์ ภิกษุสำคัญว่าเป็นของสงฆ์ เข้าไปนอนแทรกแซง
ต้องอาบัติปาจิตตีย์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๓๐๐ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๒.ภูตคามวรรค ๖.อนุปขัชชสิกขาบท อนาปัตติวาร
วิหารของสงฆ์ ภิกษุไม่แน่ใจ เข้าไปนอนแทรกแซง ต้องอาบัติปาจิตตีย์
วิหารของสงฆ์ ภิกษุสำคัญว่าเป็นของส่วนบุคคล เข้าไปนอนแทรกแซง ต้อง
อาบัติปาจิตตีย์

ทุกกฏ
ภิกษุปูหรือใช้ให้ปูที่นอน เว้นอุปจารเตียง ตั่งหรือประตูเข้าออก ต้องอาบัติ
ทุกกฏ ภิกษุนั่งหรือนอน ต้องอาบัติทุกกฏ
ภิกษุปูหรือใช้ให้ปูที่นอนในอุปจารวิหาร ในโรงฉัน ในมณฑป ที่โคนไม้หรือ
ในที่กลางแจ้ง ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุนั่งหรือนอน ต้องอาบัติทุกกฏ
วิหารส่วนบุคคล ภิกษุสำคัญว่าเป็นของสงฆ์ ต้องอาบัติทุกกฏ
วิหารส่วนบุคคล ภิกษุไม่แน่ใจ ต้องอาบัติทุกกฏ
วิหารส่วนบุคคล ภิกษุสำคัญว่าเป็นของส่วนบุคคล ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะ
เป็นของส่วนบุคคลของผู้อื่น วิหารเป็นส่วนบุคคลของตน ไม่ต้องอาบัติ

อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[๑๒๓] ๑. ภิกษุผู้เป็นไข้เข้าไปอยู่
๒. ภิกษุถูกความหนาวหรือความร้อนเบียดเบียนแล้วเข้าไปอยู่
๓. ภิกษุผู้มีเหตุขัดข้อง
๔. ภิกษุวิกลจริต
๕. ภิกษุต้นบัญญัติ

อนุปขัชชสิกขาบทที่ ๖ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๓๐๑ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๒.ภูตคามวรรค ๗.นิกกัฑฒนสิกขาบท นิทานวัตถุ
๒. ภูตคามวรรค

๗. นิกกัฑฒนสิกขาบท
ว่าด้วยการฉุดลากออก

เรื่องพระสัตตรสวัคคีย์
[๑๒๔] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พวกภิกษุสัตตรสวัคคีย์ซ่อมแซม
วิหารหลังใหญ่แห่งหนึ่งอยู่สุดเขตอารามด้วยหมายใจว่า พวกเราจักจำพรรษาในที่นี้
พวกภิกษุฉัพพัคคีย์เห็นพวกภิกษุสัตตรสวัคคีย์ซ่อมแซมวิหาร ครั้นเห็นแล้ว
จึงกล่าวกันอย่างนี้ว่า “ท่านทั้งหลาย พวกภิกษุสัตตรสวัคคีย์เหล่านี้ซ่อมแซมวิหาร
กัน มาเถิด พวกเราจักขับไล่ภิกษุเหล่านั้นออกไป”
ภิกษุบางพวกกล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านทั้งหลาย โปรดรอให้ภิกษุเหล่านั้นซ่อม
แซมวิหารเถิด เมื่อซ่อมแซมเสร็จแล้ว พวกเราจึงขับไล่ออกไป”
เมื่อพวกภิกษุสัตตรสวัคคีย์ซ่อมแซมวิหารเสร็จ พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ได้กล่าว
กับพวกภิกษุสัตตรสวัคคีย์ดังนี้ว่า “พวกท่านจงย้ายออกไป วิหารเป็นของพวกเรา”
พวกภิกษุสัตตรสวัคคีย์กล่าวว่า “ท่านทั้งหลาย พวกท่านน่าจะบอกก่อน
พวกเราจะได้ซ่อมแซมวิหารหลังอื่น”
พวกภิกษุฉัพพัคคีย์กล่าวว่า “ท่านทั้งหลาย วิหารเป็นของสงฆ์มิใช่หรือ”
พวกภิกษุสัตตรสวัคคีย์ตอบว่า “ใช่ ท่านทั้งหลาย วิหารเป็นของสงฆ์”
พวกภิกษุฉัพพัคคีย์กล่าวว่า “พวกท่านจงย้ายออกไป วิหารเป็นของพวกเรา”
พวกภิกษุสัตตรสวัคคีย์กล่าวว่า “วิหารหลังใหญ่ พวกท่านก็อยู่ได้ พวกเรา
ก็อยู่ได้”
พวกภิกษุฉัพพัคคีย์กล่าวว่า “พวกท่านจงย้ายออกไป วิหารเป็นของพวกเรา”
แล้วโกรธ ไม่พอใจ จับคอลากออกไป

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๓๐๒ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๒.ภูตคามวรรค ๗.นิกกัฑฒนสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์
พวกภิกษุสัตตรสวัคคีย์เหล่านั้นเมื่อถูกลากออกไป ก็ร้องไห้ ภิกษุทั้งหลาย
กล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านทั้งหลาย พวกท่านร้องไห้ทำไม”
พวกภิกษุสัตตรสวัคคีย์กล่าวว่า “ท่านทั้งหลาย พวกภิกษุฉัพพัคคีย์โกรธ ไม่
พอใจ ฉุดลากพวกกระผมออกจากวิหารของสงฆ์”
บรรดาภิกษุผู้มักน้อย ฯลฯ จึงตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพวก
ภิกษุฉัพพัคคีย์จึงโกรธ ไม่พอใจ ฉุดลากภิกษุทั้งหลายออกจากวิหารของสงฆ์เล่า”
ครั้นภิกษุเหล่านั้นตำหนิพวกภิกษุฉัพพัคคีย์โดยประการต่าง ๆ แล้วจึงนำเรื่องนี้ไป
กราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ

ทรงบัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงสอบถามพวกภิกษุฉัพพัคคีย์ว่า “ภิกษุทั้งหลาย
ทราบว่า พวกเธอโกรธ ไม่พอใจ ฉุดลากภิกษุทั้งหลายออกจากวิหารของสงฆ์ จริง
หรือ” พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า
ทรงตำหนิว่า “ฯลฯ โมฆบุรุษทั้งหลาย ไฉนพวกเธอจึงโกรธ ไม่พอใจ ฉุดลากภิกษุ
ทั้งหลายออกจากวิหารของสงฆ์เล่า โมฆบุรุษทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำ
คนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้น
แสดงดังนี้

พระบัญญัติ
[๑๒๕] ก็ ภิกษุใดโกรธ ไม่พอใจ ฉุดลาก หรือใช้ให้ฉุดลากภิกษุออกจาก
วิหารของสงฆ์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์
เรื่องพระสัตตรสวัคคีย์ จบ

สิกขาบทวิภังค์
[๑๒๖] คำว่า ก็...ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ก็...ใด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๓๐๓ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๒.ภูตคามวรรค ๗.นิกกัฑฒนสิกขาบท บทภาชนีย์
คำว่า ภิกษุ มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุ เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระ
ภาคทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุ ในความหมายนี้
คำว่า ภิกษุ ได้แก่ ภิกษุอื่น
คำว่า โกรธ ไม่พอใจ คือ ไม่ชอบใจ แค้นใจ เจ็บใจ
วิหารที่ชื่อว่า ของสงฆ์ ได้แก่ วิหารที่มีผู้ถวาย บริจาคแก่สงฆ์
คำว่า ฉุดลาก คือ จับในห้องฉุดลากออกไปไว้หน้าห้อง ต้องอาบัติปาจิตตีย์
จับที่หน้าห้องฉุดลากออกไปข้างนอก ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ภิกษุฉุดลากพ้นประตู
หลายประตูด้วยความพยายามครั้งเดียว ต้องอาบัติปาจิตตีย์
คำว่า ใช้ให้ฉุดลาก ความว่า ภิกษุสั่งผู้อื่น ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ผู้รับคำสั่ง
ครั้งเดียว แต่ฉุดลากออกไปพ้นหลายประตู ภิกษุผู้สั่ง ต้องอาบัติปาจิตตีย์

บทภาชนีย์
ติกปาจิตตีย์
[๑๒๗] วิหารของสงฆ์ ภิกษุสำคัญว่าเป็นของสงฆ์ โกรธ ไม่พอใจ ฉุดลาก
หรือใช้ให้ฉุดลาก ต้องอาบัติปาจิตตีย์
วิหารของสงฆ์ ภิกษุไม่แน่ใจ โกรธ ไม่พอใจ ฉุดลาก หรือใช้ให้ฉุดลาก
ต้องอาบัติปาจิตตีย์
วิหารของสงฆ์ ภิกษุสำคัญว่าเป็นของส่วนบุคคล โกรธ ไม่พอใจ ฉุดลาก
หรือใช้ให้ฉุดลาก ต้องอาบัติปาจิตตีย์

ทุกกฏ
ภิกษุฉุดลาก หรือใช้ให้ฉุดลากบริขารของภิกษุนั้น ต้องอาบัติทุกกฏ
ภิกษุฉุดลาก หรือใช้ให้ฉุดลากออกจากอุปจารวิหาร จากโรงฉัน จากมณฑป
จากโคนไม้ หรือจากที่กลางแจ้ง ต้องอาบัติทุกกฏ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๓๐๔ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๒.ภูตคามวรรค ๗.นิกกัฑฒนสิกขาบท อนาปัตติวาร
ภิกษุฉุดลาก หรือใช้ให้ฉุดลากบริขารของภิกษุนั้น ต้องอาบัติทุกกฏ
ภิกษุฉุดลาก หรือใช้ให้ฉุดลากอนุปสัมบันออกจากวิหาร จากอุปจารวิหาร
จากโรงฉัน จากมณฑป จากโคนไม้ หรือจากที่กลางแจ้ง ต้องอาบัติทุกกฏ
ภิกษุฉุดลาก หรือใช้ให้ฉุดลากบริขารของอนุปสัมบันนั้น ต้องอาบัติทุกกฏ
วิหารของส่วนบุคคล ภิกษุสำคัญว่าเป็นของสงฆ์ ต้องอาบัติทุกกฏ
วิหารของส่วนบุคคล ภิกษุไม่แน่ใจ ต้องอาบัติทุกกฏ
วิหารของส่วนบุคคล ภิกษุสำคัญว่าเป็นของส่วนบุคคล ต้องอาบัติทุกกฏ
เพราะเป็นของส่วนบุคคลของผู้อื่น วิหารส่วนบุคคลของตน ไม่ต้องอาบัติ

อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[๑๒๘] ๑. ภิกษุฉุดลาก หรือใช้ให้ฉุดลากภิกษุอลัชชี
๒. ภิกษุฉุดลาก หรือใช้ให้ฉุดลากบริขารของภิกษุอลัชชี
๓. ภิกษุฉุดลาก หรือใช้ให้ฉุดลากภิกษุวิกลจริต
๔. ภิกษุฉุดลาก หรือใช้ให้ฉุดลากบริขารของภิกษุวิกลจริต
๕. ภิกษุฉุดลาก หรือใช้ให้ฉุดลากภิกษุผู้ก่อความบาดหมาง ก่อ
ความทะเลาะ ก่อการวิวาท ก่อให้เกิดการทุ่มเถียง หรือก่อ
อธิกรณ์ในสงฆ์
๖. ภิกษุฉุดลาก หรือใช้ให้ฉุดลากบริขารของภิกษุผู้ก่อเหตุเหล่านั้น
๗. ภิกษุฉุดลาก หรือใช้ให้ฉุดลากอันเตวาสิกหรือสัทธิวิหาริกผู้ไม่
ประพฤติโดยชอบ
๘. ภิกษุฉุดลาก หรือใช้ให้ฉุดลากบริขารของอันเตวาสิกหรือ
สัทธิวิหาริกผู้เช่นนั้น
๙. ภิกษุวิกลจริต
๑๐. ภิกษุต้นบัญญัติ

นิกกัฑฒนสิกขาบทที่ ๗ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๓๐๕ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๒.ภูตคามวรรค ๘.เวหาสกุฏิสิกขาบท นิทานวัตถุ
๒. ภูตคามวรรค

๘. เวหาสกุฏิสิกขาบท
ว่าด้วยกุฎีชั้นลอย

เรื่องภิกษุ ๒ รูป
[๑๒๙] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุ ๒ รูปอยู่บนกุฎีชั้นลอย๑ ใน
วิหารของสงฆ์ รูปหนึ่งอยู่ชั้นล่าง อีกรูปหนึ่งอยู่ชั้นบน รูปที่อยู่ชั้นบนนั่งอย่างแรงบน
เตียงชนิดที่มีเท้าเสียบ(ไม่มีลิ่มสลัก) เท้าเตียงตกโดนศีรษะรูปที่นั่งอยู่ชั้นล่างจนท่าน
ร้องลั่น ภิกษุทั้งหลายวิ่งเข้าไปหาแล้วได้กล่าวดังนี้ว่า “ท่าน ท่านส่งเสียงทำไม”
ภิกษุรูปที่นั่งอยู่ชั้นล่างจึงบอกเรื่องนั้นให้ภิกษุทั้งหลายทราบ
บรรดาภิกษุผู้มักน้อย ฯลฯ จึงตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนภิกษุจึงนั่ง
อย่างแรงบนเตียงมีเท้าเสียบบนกุฎีชั้นลอยในวิหารของสงฆ์เล่า” ครั้นภิกษุทั้งหลาย
ตำหนิภิกษุนั้นโดยประการต่าง ๆ แล้วจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้
ทรงทราบ

ทรงบัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงสอบถามภิกษุนั้นว่า “ภิกษุ ทราบว่า เธอนั่ง
อย่างแรงบนเตียงมีเท้าเสียบบนกุฎีชั้นลอยในวิหารของสงฆ์จริงหรือ” ภิกษุนั้นทูลรับ
ว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ฯลฯ โมฆบุรุษ
ไฉนเธอจึงนั่งอย่างแรงบนเตียงมีเท้าเสียบบนกุฎีชั้นลอยในวิหารของสงฆ์เล่า โมฆบุรุษ
การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุ
ทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้

เชิงอรรถ :
๑ กุฎีชั้นลอย คือกุฎีมีพื้น ๒ ชั้นหรือ ๓ ชั้น แต่มิได้ปูพื้นชั้นบน รอดที่คานสูงพอพ้นศีรษะ (วิ.อ. ๒/
๑๒๙-๑๓๑/๓๐๙-๓๑๐), ภิกษุเอาเตียงซึ่งมิได้ใส่เดือยสลักเท้าเตียงวางพาด เมื่อนั่งอย่างแรง เท้าเตียง
จึงหลุดใส่ศีรษะภิกษุที่อยู่ชั้นล่าง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๓๐๖ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๒.ภูตคามวรรค ๘.เวหาสกุฏิสิกขาบท บทภาชนีย์
พระบัญญัติ
[๑๓๐] ก็ ภิกษุใดนั่ง หรือนอนบนเตียง หรือบนตั่งอันมีเท้าเสียบ บนกุฎี
ชั้นลอยในวิหารของสงฆ์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์
เรื่องภิกษุ ๒ รูป จบ

สิกขาบทวิภังค์
[๑๓๑] คำว่า ก็...ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ก็...ใด
คำว่า ภิกษุ มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุ เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระ
ภาคทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุ ในความหมายนี้
วิหารที่ชื่อว่า ของสงฆ์ ได้แก่ วิหารที่มีผู้ถวาย บริจาคแก่สงฆ์
ที่ชื่อว่า กุฎีชั้นลอย ได้แก่ กุฎีชั้นลอยสูงจนศีรษะบุรุษกลางคนไม่กระทบ
เตียงที่ชื่อว่า มีเท้าเสียบ คือ สอดเท้าเสียบติดไว้ในตัวเตียง
ตั่งที่ชื่อว่า มีเท้าเสียบ คือ สอดเท้าเสียบติดไว้ในตัวตั่ง
คำว่า นั่ง คือ ภิกษุนั่งบนเตียงหรือบนตั่งนั้น ต้องอาบัติปาจิตตีย์
คำว่า นอน คือ ภิกษุนอนบนเตียงหรือบนตั่งนั้น ต้องอาบัติปาจิตตีย์

บทภาชนีย์
ติกปาจิตตีย์
[๑๓๒] วิหารของสงฆ์ ภิกษุสำคัญว่าเป็นของสงฆ์ นั่ง หรือนอนบนเตียงหรือ
บนตั่งมีเท้าเสียบบนกุฎีชั้นลอย ต้องอาบัติปาจิตตีย์
วิหารของสงฆ์ ภิกษุไม่แน่ใจ นั่ง หรือนอนบนเตียงหรือบนตั่งมีเท้าเสียบบนกุฎี
ชั้นลอย ต้องอาบัติปาจิตตีย์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๓๐๗ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๒.ภูตคามวรรค ๘.เวหาสกุฏิสิกขาบท อนาปัตติวาร
วิหารของสงฆ์ ภิกษุสำคัญว่าเป็นของส่วนบุคคล นั่ง หรือนอนบนเตียงหรือ
บนตั่งมีเท้าเสียบบนกุฎีชั้นลอย ต้องอาบัติปาจิตตีย์

ติกทุกกฏ
วิหารส่วนบุคคล ภิกษุสำคัญว่าเป็นของสงฆ์ ต้องอาบัติทุกกฏ
วิหารส่วนบุคคล ภิกษุไม่แน่ใจ ต้องอาบัติทุกกฏ
วิหารส่วนบุคคล ภิกษุสำคัญว่าเป็นของส่วนบุคคล ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะ
เป็นของส่วนบุคคลของผู้อื่น วิหารส่วนบุคคลของตน ไม่ต้องอาบัติ

อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[๑๓๓] ๑. ภิกษุนั่งบนที่ที่ไม่ใช่กุฎีชั้นลอย
๒. ภิกษุนั่งบนกุฎีชั้นลอยสูงพอกระทบศีรษะ
๓. ภิกษุนั่งบนที่ที่ข้างล่างไม่เป็นที่อยู่
๔. ภิกษุนั่งบนกุฎีชั้นลอยปูพื้นไว้
๕. ภิกษุนั่งบนกุฎีชั้นลอยมีเท้าเตียงหรือเท้าตั่งตรึงสลักกับตัว
๖. ภิกษุยืนบนเตียงหรือตั่งหยิบหรือพาดจีวรได้
๗. ภิกษุวิกลจริต
๘. ภิกษุต้นบัญญัติ

เวหาสกุฏิสิกขาบทที่ ๘ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๓๐๘ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๒.ภูตคามวรรค ๙.มหัลลกวิหารสิกขาบท นิทานวัตถุ
๒. ภูตคามวรรค

๙. มหัลลกวิหารสิกขาบท
ว่าด้วยการสร้างวิหารใหญ่

เรื่องพระฉันนะ
[๑๓๔] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ โฆสิตาราม เขต
กรุงโกสัมพี ครั้งนั้น มหาอมาตย์ผู้เป็นอุปัฏฐากของท่านพระฉันนะ สร้างวิหารถวาย
ท่านพระฉันนะ ทีนั้น ท่านพระฉันนะสั่งให้มุงให้ฉาบทาวิหารที่สร้างเสร็จแล้วหลาย ๆ
ครั้ง วิหารมีน้ำหนักมากจึงพังลงมา ต่อมา ท่านพระฉันนะจึงหาเก็บหญ้าและไม้ ทำ
ให้นาข้าวเหนียวของพราหมณ์คนหนึ่งเสียหาย พราหมณ์นั้นตำหนิ ประณาม
โพนทะนาว่า “ไฉนพระคุณเจ้าทั้งหลายจึงทำนาข้าวเหนียวของเราให้เสียหายเล่า”
ภิกษุทั้งหลาย ได้ยินพราหมณ์ตำหนิ ประณาม โพนทะนา บรรดาภิกษุผู้
มักน้อย ฯลฯ จึงตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนท่านพระฉันนะจึงให้มุง
ให้ฉาบทาวิหารที่สร้างเสร็จแล้วหลาย ๆ ครั้งเล่า วิหารมีน้ำหนักมาก จึงพังลงมา”
ครั้นภิกษุเหล่านั้นตำหนิท่านพระฉันนะโดยประการต่าง ๆ แล้วจึงนำเรื่องนี้ไปกราบ
ทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ

ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามท่านพระฉันนะว่า “ฉันนะ ทราบว่า เธอให้มุงให้ฉาบทาวิหารที่สร้างเสร็จ
แล้วหลาย ๆ ครั้ง วิหารมีน้ำหนักมาก จึงพังลงมา จริงหรือ” ท่านพระฉันนะทูลรับว่า
“จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ฯลฯ โมฆบุรุษ ไฉน
เธอจึงให้มุงให้ฉาบทาวิหารที่สร้างเสร็จแล้วหลาย ๆ ครั้ง จนวิหารรับน้ำหนักมาก
พังลงมาเล่า โมฆบุรุษ การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส ฯลฯ”
แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๓๐๙ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๒.ภูตคามวรรค ๙.มหัลลกวิหารสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์
พระบัญญัติ
[๑๓๕] ก็ ภิกษุจะสร้างวิหารหลังใหญ่ จะติดตั้งบานประตูใกล้วงกบประตู
และตบแต่งบานหน้าต่าง๑ ควรยืนในที่ที่ปราศจากของเขียว ดำเนินการมุง
หลังคาได้ ๒-๓ ชั้น๒ ถ้าเธอดำเนินการเกินกว่านั้น แม้จะยืนในที่ที่ปราศจาก
ของเขียว ต้องอาบัติปาจิตตีย์
เรื่องพระฉันนะ จบ

สิกขาบทวิภังค์
[๑๓๖] วิหารที่ชื่อว่า หลังใหญ่ ท่านกล่าวถึงวิหารที่มีเจ้าของ
ที่ชื่อว่า วิหาร ได้แก่ ที่อยู่ซึ่งโบกฉาบภายในหรือภายนอก หรือโบกฉาบ
ทั้งภายในภายนอก
คำว่า สร้าง คือ สร้างเอง หรือใช้คนอื่นสร้าง
คำว่า ใกล้วงกบประตู คือ ชั่วระยะหัตถบาสรอบวงกบ
คำว่า จะติดตั้งบานประตู คือ วางบานประตู
คำว่า ตบแต่งบานหน้าต่าง คือ ฉาบทาบานหน้าต่างให้มีสีขาว ให้มีสีดำ
ให้มีสียางไม้ เขียนลวดลายดอกไม้ เขียนลวดลายเถาวัลย์ จักเป็นฟันมังกร หรือ
เขียนลวดลายดอกจอก

เชิงอรรถ :
๑ บานประตูและบานหน้าต่างวิหาร ต้องเปิด-ปิด เมื่อเปิดจะกระทบฝาผนังวิหาร เมื่อปิดจะกระทบวงกบ ทำ
ให้ฝาผนังสั่นสะเทือนจนดินเหนียวที่พอกฝาผนังกะเทาะตกลงมา พระผู้มีพระภาคทรงอนุญาตให้ฉาบทา
พอกฝาผนังบริเวณใกล้ ๆ บานประตู บานหน้าต่างวิหารได้ เพื่อทำให้คงทนถาวร (วิ.อ. ๒/๑๓/๓๑๑-๓๑๒,
กงฺขา.อ. ๒๔๔) เมื่อภิกษุพอกฝาผนังนอกจากบริเวณใกล้ ๆ บานประตูและบานหน้าต่างซ้ำเกิน ๓ ครั้ง
ต้องอาบัติปาจิตตีย์ (สารตฺถ.ฏีกา ๓/๑๓๕/๔๐, วิมติ.ฏีกา ๒/๑๓๕/๒๓, กงฺขา.ฏีกา ๓๙๒)
๒ ในการมุงหลังคาก็เช่นกัน ภิกษุเข้าใจว่า เมื่อมุงหลายครั้ง จะป้องกันฝนรั่วรดได้นาน จึงใช้อิฐ ศิลา
ปูนขาว หญ้า หรือใบไม้มุงหลังคา แต่จะมุงได้ไม่เกิน ๓ ชั้น (วิ.อ. ๒/๑๓๕-๑๓๖/๓๑๒-๓๑๓, สารตฺถ.
ฏีกา ๓/๑๓๕-๑๓๖/๔๐-๔๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๓๑๐ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๒.ภูตคามวรรค ๙.มหัลลกวิหารสิกขาบท บทภาชนีย์
คำว่า ยืนในที่ที่ปราศจากของเขียวดำเนินการมุงหลังคาได้ ๒-๓ ชั้น
ความว่า ที่ชื่อว่าของเขียว ได้แก่ บุพพัณชาติและอปรัณชาติ๑
ถ้าภิกษุยืนดำเนินการในที่ที่มีของเขียว ต้องอาบัติทุกกฏ
ภิกษุเมื่อจะมุงตามแนว พึงดำเนินการ ๒ แนว สั่งแนวที่ ๓ แล้วจากไป
ภิกษุเมื่อจะมุงเป็นชั้น พึงดำเนินการ ๒ รอบ สั่งรอบที่ ๓ แล้วจากไป
[๑๓๗] คำว่า ถ้าเธอดำเนินการเกินว่านั้น แม้จะยืนในที่ที่ปราศจากของ
เขียว ความว่า ภิกษุเมื่อมุงด้วยอิฐ ต้องอาบัติปาจิตตีย์ทุก ๆ ก้อน เมื่อมุง
ด้วยแผ่นศิลา ต้องอาบัติปาจิตตีย์ทุก ๆ ก้อน เมื่อมุงด้วยปูนขาว ต้องอาบัติ
ปาจิตตีย์ทุก ๆ ก้อน เมื่อมุงด้วยหญ้า ต้องอาบัติปาจิตตีย์ทุก ๆ กำหญ้า เมื่อ
มุงด้วยใบไม้ ต้องอาบัติปาจิตตีย์ทุก ๆ ใบ

บทภาชนีย์
ติกปาจิตตีย์
เกิน ๒-๓ ชั้น ภิกษุสำคัญว่าเกิน ดำเนินการ ต้องอาบัติปาจิตตีย์
เกิน ๒-๓ ชั้น ภิกษุไม่แน่ใจ ดำเนินการ ต้องอาบัติปาจิตตีย์
เกิน ๒-๓ ชั้น ภิกษุสำคัญว่าหย่อนกว่า ดำเนินการ ต้องอาบัติปาจิตตีย์

ทุกทุกกฏ
หย่อนกว่า ๒-๓ ชั้น ภิกษุสำคัญว่าเกิน ต้องอาบัติทุกกฏ
หย่อนกว่า ๒-๓ ชั้น ภิกษุไม่แน่ใจ ต้องอาบัติทุกกฏ
หย่อนกว่า ๒-๓ ชั้น ภิกษุสำคัญว่าหย่อนกว่า ไม่ต้องอาบัติ

เชิงอรรถ :
๑ บุพพัณชาติ ได้แก่ ธัญชาติ ๗ อย่าง คือ ข้าวสาลี ข้าวเจ้า หญ้ากับแก้ ข้าวละมาน ลูกเดือย ข้าวเหนียว
และข้าวฟ่าง อปรัณชาติ ได้แก่ ถั่วเขียว ถั่วราชมาส งา พืชผักที่กินหลังอาหาร (วิ.อ. ๑/๑๐๔/๓๖๘,
สารตฺถ.ฏีกา ๒/๑๐๔/๑๗๖)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๓๑๑ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๒.ภูตคามวรรค ๙.มหัลลกวิหารสิกขาบท อนาปปัตติวาร
อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[๑๓๘] ๑. ภิกษุมุงเพียง ๒-๓ ชั้น
๒. ภิกษุมุงหย่อนกว่า ๒-๓ ชั้น
๓. ภิกษุมุงเงื้อมผามีประตู
๔. ภิกษุตบแต่งถ้ำ
๕. ภิกษุมุงกุฎีหญ้า
๖. ภิกษุมุงกุฎีเพื่อภิกษุอื่น
๗. ภิกษุมุงด้วยทรัพย์ตนเอง
๘. ภิกษุมุงอาคารนอกจากนั้น๑ ยกเว้นอาคารที่พักของตน
๙. ภิกษุวิกลจริต
๑๐. ภิกษุต้นบัญญัติ

มหัลลกวิหารสิกขาบทที่ ๙ จบ

เชิงอรรถ :
๑ อาคารนอกจากนั้น คือ โรงอุโบสถ เรือนไผ โรงฉัน โรงไฟ (วิ.อ. ๒/๓๖๔/๖๙)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๓๑๒ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๒.ภูตคามวรรค ๑๐.สัปปาณกสิกขาบท นิทานวัตถุ
๒. ภูตคามวรรค

๑๐. สัปปาณกสิกขาบท
ว่าด้วยสิ่งมีชีวิต

เรื่องภิกษุชาวเมืองอาฬวี
[๑๓๙] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ อัคคาฬวเจดีย์ เขต
เมืองอาฬาวี ครั้งนั้น พวกภิกษุชาวเมืองอาฬวีกำลังช่วยกันก่อสร้าง รู้อยู่ว่าน้ำมีสิ่ง
มีชีวิต รดหญ้าบ้าง ดินบ้าง ใช้ให้รดหญ้าบ้าง ดินบ้าง
บรรดาภิกษุผู้มักน้อย ฯลฯ จึงตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพวกภิกษุ
ชาวเมืองอาฬวีรู้อยู่ว่าน้ำมีสิ่งมีชีวิต รดหญ้าบ้าง ดินบ้าง ใช้ให้รดหญ้าบ้าง ดินบ้าง
เล่า” ครั้นภิกษุเหล่านั้นตำหนิพวกภิกษุชาวเมืองอาฬวีโดยประการต่าง ๆ แล้วจึงนำ
เรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ

ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามพวกภิกษุชาวเมืองอาฬวีว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า พวกเธอรู้อยู่ว่าน้ำมี
สิ่งมีชีวิต รดหญ้าบ้าง ดินบ้าง ใช้ให้รดหญ้าบ้าง ดินบ้าง จริงหรือ” ภิกษุเหล่านั้น
ทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ฯลฯ
โมฆบุรุษทั้งหลาย ไฉนพวกเธอรู้อยู่ว่าน้ำมีสิ่งมีชีวิต จึงรดหญ้าบ้าง ดินบ้าง ใช้ให้
รดหญ้าบ้าง ดินบ้างเล่า โมฆบุรุษทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่
เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ” แล้ว
จึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๓๑๓ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๒.ภูตคามวรรค ๑๐. สัปปาณกสิกขาบท บชภาชนีย์
พระบัญญัติ
[๑๔๐] ก็ ภิกษุใดรู้อยู่ว่าน้ำมีสิ่งมีชีวิต รด หรือใช้ให้รดหญ้าหรือดิน
ต้องอาบัติปาจิตตีย์
เรื่องภิกษุชาวเมืองอาฬวี จบ

สิกขาบทวิภังค์
[๑๔๑] คำว่า ก็...ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ก็...ใด
คำว่า ภิกษุ มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุ เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระ
ภาคทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุ ในความหมายนี้
ที่ชื่อว่า รู้อยู่ ได้แก่ ภิกษุนั้นรู้เอง หรือผู้อื่นบอกให้ภิกษุนั้นรู้
คำว่า รด คือ ภิกษุรดเอง ต้องอาบัติปาจิตตีย์
คำว่า ใช้ให้รด คือ ภิกษุใช้ผู้อื่นให้รด ต้องอาบัติปาจิตตีย์
ผู้รับคำสั่งครั้งเดียวแต่รดหลายครั้ง ภิกษุผู้สั่งต้องอาบัติปาจิตตีย์

บทภาชนีย์
[๑๔๒] น้ำมีสิ่งมีชีวิต ภิกษุสำคัญว่ามีสิ่งมีชีวิต รด หรือใช้ให้รดหญ้าหรือดิน
ต้องอาบัติปาจิตตีย์
น้ำมีสิ่งมีชีวิต ภิกษุไม่แน่ใจ รด หรือใช้ให้รดหญ้าหรือดิน ต้องอาบัติทุกกฏ
น้ำมีสิ่งมีชีวิต ภิกษุสำคัญว่าไม่มีสิ่งมีชีวิต รด หรือใช้ให้รดหญ้าหรือดิน ไม่
ต้องอาบัติ
น้ำไม่มีสิ่งมีชีวิต ภิกษุสำคัญว่ามีสิ่งมีชีวิต ต้องอาบัติทุกกฏ
น้ำไม่มีสิ่งมีชีวิต ภิกษุไม่แน่ใจ ต้องอาบัติทุกกฏ
น้ำไม่มีสิ่งมีชีวิต ภิกษุสำคัญว่าไม่มีสิ่งมีชีวิต ไม่ต้องอาบัติ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๓๑๔ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๒.ภูตคามวรรค รวมสิกขาบทที่มีในภูตคามวรรค
อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[๑๔๓] ๑. ภิกษุไม่จงใจ
๒. ภิกษุไม่มีสติ
๓. ภิกษุผู้ไม่รู้
๔. ภิกษุวิกลจริต
๕. ภิกษุต้นบัญญัติ

สัปปาณกสิกขาบทที่ ๑๐ จบ
ภูตคามวรรคที่ ๒ จบ

รวมสิกขาบทที่มีในภูตคามวรรค
ภูตคามวรรคมี ๑๐ สิกขาบท คือ

๑. ภูตคามสิกขาบท ว่าด้วยการพรากภูตคาม
๒. อัญญวาทกสิกขาบท ว่าด้วยการกล่าวกลบเกลื่อน
๓. อุชฌาปนกสิกขาบท ว่าด้วยการกล่าวให้เพ่งโทษ
๔. ปฐมเสนาสนสิกขาบท ว่าด้วยเสนาสนะข้อที่ ๑
๕. ทุติยเสนาสนสิกขาบท ว่าด้วยเสนาสนะข้อที่ ๒
๖. อนุปขัชชสิกขาบท ว่าด้วยการเข้าไปแทรกแซง
๗. นิกกัฑฒนสิกขาบท ว่าด้วยการฉุดลากออก
๘. เวหาสกุฏิสิกขาบท ว่าด้วยกุฎีชั้นลอย
๙. มหัลลกวิหารสิกขาบท ว่าด้วยการสร้างวิหารใหญ่
๑๐. สัปปาณกสิกขาบท ว่าด้วยสิ่งมีชีวิต


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๓๑๕ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๓.โอวาทวรรค ๑.โอวาทสิกขาบท นิทานวัตถุ
๓. โอวาทวรรค
หมวดว่าด้วยโอวาท

๑. โอวาทสิกขาบท
ว่าด้วยการสั่งสอนภิกษุณี

เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๑๔๔] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุผู้เป็นเถระทั้งหลายสั่งสอน
พวกภิกษุณี ย่อมได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร
ทีนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ได้มีการปรึกษากันดังนี้ว่า “ท่านทั้งหลาย บัดนี้ภิกษุ
ผู้เป็นเถระทั้งหลายสั่งสอนพวกภิกษุณี ย่อมได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และ
คิลานปัจจัยเภสัชบริขาร ท่านทั้งหลาย มาเถิด แม้พวกเราก็จะสั่งสอนพวกภิกษุณี
บ้าง” ครั้นแล้วพวกภิกษุฉัพพัคคีย์จึงได้เข้าไปหาพวกภิกษุณี แล้วได้กล่าวดังนี้ว่า
“มาเถิด น้องหญิงทั้งหลาย พวกเธอจงเข้าไปหาพวกอาตมาบ้าง พวกอาตมาจักสั่ง
สอนให้บ้าง”
หลังจากนั้น พวกภิกษุณีเหล่านั้นได้พากันเข้าไปหาพวกภิกษุฉัพพัคคีย์ถึงที่อยู่
ครั้นถึงแล้วได้ไหว้พวกภิกษุฉัพพัคคีย์แล้วนั่ง ณ ที่สมควร ทีนั้นพวกภิกษุฉัพพัคคีย์
ได้แสดงธรรมีกถาเพียงเล็กน้อยแก่พวกภิกษุณี แล้วให้วันเวลาผ่านไปด้วยการ
สนทนาเกี่ยวกับดิรัจฉานกถา๑ แล้วส่งกลับด้วยกล่าวว่า “พวกเธอกลับไปเถิด น้อง
หญิงทั้งหลาย”

เชิงอรรถ :
๑ ดิรัจฉานกถา คือถ้อยคำที่ขัดขวางทางไปสู่สวรรค์นิพพาน ภิกษุไม่ควรนำมาเป็นข้อถกเถียงสนทนากัน
(วิ.อ. ๒/๑๔๔/๓๑๕, สารตฺถ.ฏีกา ๓/๑๔๔/๔๓) มี ๒๘ อย่าง (วิ.ม. ๕/๒๕๐/๑๓-๑๔, ที.สี. ๙/๑๗/๘,
ที.ปา. ๑๑/๕๐/๓๐, ม.ม. ๑๓/๒๒๓/๑๙๗, สํ.ม. ๑๙/๑๐๘๐/๓๖๕-๓๖๖, องฺ. ทสก. ๒๔/๖๙/๑๐๒, ขุ.ม.
๒๙/๑๕๗/๓๐๖) ดู รตนวรรค สิกขาบทที่ ๓ ข้อ ๕๐๘ หน้า ๕๙๙ (ในเล่มนี้)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๓๑๖ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๓.โอวาทวรรค ๑.โอวาทสิกขาบท นิทานวัตถุ
ต่อมา พวกภิกษุณีเหล่านั้นเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ครั้นถึงแล้ว
ได้ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคแล้วได้ยืน ณ ที่สมควร พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกับ
พวกภิกษุณีผู้ยืนอยู่ ณ ที่สมควรเหล่านั้นดังนี้ว่า “การสั่งสอนพวกภิกษุณีสัมฤทธิผล
ดีหรือ”
พวกภิกษุณีกราบทูลว่า “การสั่งสอนจะสัมฤทธิผลได้แต่ที่ไหนกัน พระพุทธ
เจ้าข้า พระคุณเจ้าฉัพพัคคีย์แสดงธรรมีกถาเพียงเล็กน้อย แล้วให้วันเวลาผ่านไป
ด้วยการสนทนาเกี่ยวกับดิรัจฉานกถา แล้วส่งให้กลับ”
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงชี้แจงให้พวกภิกษุณีเหล่านั้นเห็นชัด ชวนให้
อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริง
ด้วยธรรมีกถา ภิกษุณีเหล่านั้นครั้นพระผู้มีพระภาคทรงชี้แจงให้เห็นชัด ชวน
ให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริง
ด้วยธรรมีกถา แล้วจึงลุกจากอาสนะ ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคแล้วทำประทักษิณ
จากไป

ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามพวกภิกษุฉัพพัคคีย์ว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า พวกเธอแสดงธรรมีกถา
เพียงเล็กน้อยแก่พวกภิกษุณี แล้วให้วันเวลาผ่านไปด้วยการสนทนาเกี่ยวกับ
ดิรัจฉานกถาแล้วส่งให้กลับ จริงหรือ” พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ทูลรับว่า “จริง พระพุทธ
เจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ฯลฯ โมฆบุรุษทั้งหลาย ไฉนพวก
เธอจึงแสดงธรรมีกถาเพียงเล็กน้อยแก่พวกภิกษุณี แล้วให้วันเวลาผ่านไปด้วยการ
สนทนาเกี่ยวกับดิรัจฉานกถาแล้วส่งให้กลับเล่า โมฆบุรุษทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้
มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้
เลย ฯลฯ” ครั้นทรงตำหนิแล้วได้ทรงแสดงธรรมีกถา แล้วจึงรับสั่งกับภิกษุทั้งหลาย
ว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้แต่งตั้งภิกษุเป็นผู้สั่งสอนภิกษุณี”
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงแต่งตั้งภิกษุเป็นผู้สั่งสอนภิกษุณีอย่างนี้


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๓๑๗ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๓.โอวาทวรรค ๑.โอวาทสิกขาบท พระบัญญัติ
วิธีแต่งตั้งและกรรมวาจาแต่งตั้งภิกษุสั่งสอนภิกษุณี
เบื้องต้นพึงขอให้ภิกษุรับ ครั้นแล้วภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงประกาศให้สงฆ์
ทราบด้วยญัตติจตุตถกรรมวาจาว่า
[๑๔๕] ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ถ้าสงฆ์พร้อมกันแล้วพึงแต่งตั้ง
ภิกษุชื่อนี้ให้เป็นผู้สั่งสอนภิกษุณี นี่เป็นญัตติ
ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า สงฆ์แต่งตั้งภิกษุชื่อนี้ให้เป็นผู้สั่งสอนภิกษุณี
ท่านรูปใดเห็นด้วยกับการแต่งตั้งภิกษุชื่อนี้ให้เป็นผู้สั่งสอนภิกษุณี ท่านรูปนั้นพึงนิ่ง
ท่านรูปใดไม่เห็นด้วย ท่านรูปนั้นพึงทักท้วง
ข้าพเจ้ากล่าวความนี้เป็นครั้งที่ ๒ ฯลฯ ข้าพเจ้ากล่าวความนี้เป็นครั้งที่ ๓
ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า สงฆ์แต่งตั้งภิกษุชื่อนี้ให้เป็นผู้สั่งสอนภิกษุณี
ท่านรูปใดเห็นด้วยกับการแต่งตั้งภิกษุชื่อนี้ให้เป็นผู้สั่งสอนภิกษุณี ท่านรูปนั้นพึงนิ่ง
ท่านรูปใดไม่เห็นด้วย ท่านรูปนั้นพึงทักท้วง
ภิกษุชื่อนี้สงฆ์แต่งตั้งให้เป็นผู้สั่งสอนภิกษุณีแล้ว สงฆ์เห็นด้วย เพราะฉะนั้น
จึงนิ่ง ข้าพเจ้าขอถือความนิ่งนั้นเป็นมติอย่างนี้
ครั้นพระผู้มีพระภาคทรงตำหนิพวกภิกษุฉัพพัคคีย์โดยประการต่าง ๆ แล้วจึง
ตรัสโทษความเป็นคนเลี้ยงยาก ฯลฯ แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้น
แสดงดังนี้

พระบัญญัติ
[๑๔๖] ก็ ภิกษุใดไม่ได้รับแต่งตั้ง พึงสั่งสอนภิกษุณีทั้งหลาย ต้องอาบัติ
ปาจิตตีย์
สิกขาบทนี้พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติไว้แก่ภิกษุทั้งหลายอย่างนี้

เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๑๔๗] สมัยนั้น ภิกษุผู้เป็นเถระทั้งหลายผู้ได้รับแต่งตั้งแล้วสั่งสอนพวก
ภิกษุณียังได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขารอยู่เหมือนเดิม

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๓๑๘ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๓.โอวาทวรรค ๑.โอวาทสิกขาบท พระบัญญัติ
ครั้งนั้นพวกภิกษุฉัพพัคคีย์ได้มีการปรึกษากันดังนี้ว่า “ท่านทั้งหลาย บัดนี้ ภิกษุ
ผู้เป็นเถระทั้งหลายผู้ได้รับแต่งตั้งแล้วสั่งสอนพวกภิกษุณียังได้จีวร บิณฑบาต
เสนาสนะและคิลานปัจจัยเภสัชบริขารอยู่เหมือนเดิม ท่านทั้งหลาย มาเถิด แม้
พวกเราก็จะไปนอกสีมา แต่งตั้งกันและกันให้เป็นผู้สั่งสอนภิกษุณี แล้วสั่งสอนพวก
ภิกษุณีบ้าง” ครั้นแล้วพวกภิกษุฉัพพัคคีย์จึงได้พากันไปนอกสีมา ได้แต่งตั้งกันและ
กันให้เป็นผู้สั่งสอนภิกษุณีแล้วเข้าไปหาภิกษุณีทั้งหลาย ได้กล่าวดังนี้ว่า “น้องหญิง
ทั้งหลาย พวกอาตมาได้รับแต่งตั้งแล้ว พวกเธอจงเข้าไปหาพวกอาตมาบ้าง พวก
อาตมาจักสั่งสอนให้บ้าง”
ต่อมา พวกภิกษุณีเหล่านั้นได้พากันเข้าไปหาพวกภิกษุฉัพพัคคีย์ถึงที่อยู่ ครั้น
ถึงแล้วได้ไหว้พวกภิกษุฉัพพัคคีย์แล้วนั่ง ณ ที่สมควร ทีนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ได้
แสดงธรรมีกถาเพียงเล็กน้อยแก่พวกภิกษุณี แล้วให้วันเวลาผ่านไปด้วยการสนทนา
เกี่ยวกับดิรัจฉานกถา แล้วส่งกลับด้วยกล่าวว่า “พวกเธอกลับไปเถิด น้องหญิง
ทั้งหลาย”
ต่อมา พวกภิกษุณีเหล่านั้นได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ครั้นถึง
แล้วได้ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคแล้วได้ยืน ณ ที่สมควร พระผู้มีพระภาคได้ตรัส
กับพวกภิกษุณีผู้ยืนอยู่ ณ ที่สมควรเหล่านั้นดังนี้ว่า “การสั่งสอนพวกภิกษุณีสัมฤทธิผล
ดีหรือ”
พวกภิกษุณีกราบทูลว่า “การสั่งสอนจะสัมฤทธิผลได้แต่ที่ไหนกัน พระ
พุทธเจ้าข้า พระคุณเจ้าฉัพพัคคีย์แสดงธรรมีกถาเพียงเล็กน้อย แล้วให้วันเวลาผ่าน
ไปด้วยการสนทนาเกี่ยวกับดิรัจฉานกถา แล้วส่งให้กลับ”
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงชี้แจงให้พวกภิกษุณีเหล่านั้นเห็นชัด ชวนให้
อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริง
ด้วยธรรมีกถา ภิกษุณีเหล่านั้นครั้นพระผู้มีพระภาคทรงชี้แจงให้เห็นชัด ชวน
ให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริง
ด้วยธรรมีกถาแล้วจึงลุกจากอาสนะ ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคแล้วทำประทักษิณ
จากไป

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๓๑๙ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๓.โอวาทวรรค ๑.โอวาทสิกขาบท พระบัญญัติ
ทรงประชุมสงฆ์แต่งตั้งภิกษุสั่งสอนภิกษุณี
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามพวกภิกษุฉัพพัคคีย์ว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า พวกเธอแสดงธรรมีกถา
เพียงเล็กน้อยแก่พวกภิกษุณี แล้วให้วันเวลาผ่านไปด้วยการสนทนาเกี่ยวกับดิรัจฉาน
กถา แล้วส่งให้กลับ จริงหรือ” พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ฯลฯ โมฆบุรุษทั้งหลาย ไฉนพวกเธอจึง
แสดงธรรมีกถาเพียงเล็กน้อยแก่พวกภิกษุณี แล้วให้วันเวลาผ่านไปด้วยการสนทนา
เกี่ยวกับดิรัจฉานกถา แล้วส่งให้กลับเล่า โมฆบุรุษทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้ มิได้
ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย
ฯลฯ” ครั้นทรงตำหนิแล้วได้ทรงแสดงธรรมีกถาแล้วจึงรับสั่งกับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุ
ทั้งหลาย เราอนุญาตให้แต่งตั้งภิกษุผู้มีคุณสมบัติ ๘ อย่าง เป็นผู้สั่งสอนภิกษุณี คือ

คุณสมบัติของภิกษุผู้สั่งสอนภิกษุณี ๘ อย่าง
๑. เป็นผู้มีศีล สำรวมในปาติโมกขสังวรศีล ถึงพร้อมด้วยอาจาระและโคจร
เห็นภัยในความผิดแม้เพียงเล็กน้อย สมาทานศึกษาสิกขาบททั้งหลาย
๒. เป็นพหูสูต เป็นผู้ทรงสุตะ (จำสิ่งที่ได้เล่าเรียนมา) สั่งสมสุตะ (สั่งสมสิ่งที่ได้
เล่าเรียนมา) เธอได้ยินได้ฟังธรรมอันงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งาม
ในที่สุด อันประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถะ พร้อมทั้งพยัญชนะ ครบ
ถ้วน บริบูรณ์มาก ทรงจำได้ คล่องปาก ขึ้นใจ แทงตลอดแล้วด้วยทิฏฐิ
๓. เป็นผู้ชำนาญปาติโมกข์ทั้งสอง แจกแจงได้ถูกต้อง คล่องแคล่ว วินิจฉัยได้
เรียบร้อยทั้งโดยสูตรและโดยอนุพยัญชนะ๑
๔. เป็นผู้มีวาจาสละสลวย มีเสียงไพเราะ

เชิงอรรถ :
๑ คำว่า “โดยสูตร” ในที่นี้หมายถึงคัมภีร์ขันธกะและบริวารแห่งพระวินัยปิฎก คำว่า “อนุพยัญชนะ” คือ
บทอักษรบริบูรณ์ไม่ตกหล่น (วิ.อ. ๒/๑๕๔-๗/๓๑๙)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๓๒๐ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๓.โอวาทวรรค ๑.โอวาทสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์
๕. เป็นที่นิยมชมชอบของพวกภิกษุณีโดยส่วนมาก
๖. เป็นผู้สามารถสั่งสอนพวกภิกษุณีได้
๗. เป็นผู้ไม่เคยประพฤติล่วงครุธรรมในสตรีผู้นุ่งห่มผ้ากาสายะบวชอุทิศพระ
ผู้มีพระภาคพระองค์นั้น๑
๘. เป็นผู้มีพรรษา ๒๐ หรือเกินกว่า ๒๐
ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้แต่งตั้งภิกษุผู้มีคุณสมบัติ ๘ อย่างนี้ เป็นผู้สั่ง
สอนภิกษุณี”

เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ

สิกขาบทวิภังค์
[๑๔๘] คำว่า ก็...ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ก็...ใด
คำว่า ภิกษุ มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุ เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มี
พระภาคทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุ ในความหมายนี้
ที่ชื่อว่า ไม่ได้รับแต่งตั้ง คือ สงฆ์ยังไม่ได้แต่งตั้งด้วยญัตติจตุตถกรรม
ที่ชื่อว่า ภิกษุณีทั้งหลาย ได้แก่ มาตุคามที่อุปสมบทในสงฆ์ ๒ ฝ่าย
คำว่า สั่งสอน ความว่า ภิกษุสั่งสอนครุธรรม ๘ อย่าง ต้องอาบัติปาจิตตีย์
สั่งสอนธรรมอย่างอื่น ต้องอาบัติทุกกฏ สั่งสอนภิกษุณีที่อุปสมบทในสงฆ์ฝ่ายเดียว
ต้องอาบัติทุกกฏ
[๑๔๙] ภิกษุผู้ได้รับแต่งตั้งแล้วนั้นพึงกวาดบริเวณ ตั้งน้ำฉันน้ำใช้ ปูอาสนะ
ไว้ ชวนเพื่อนภิกษุไปนั่งด้วย
ภิกษุณีทั้งหลายพึงไปที่นั้น แล้วไหว้ภิกษุนั้น แล้วนั่ง ณ ที่สมควร

เชิงอรรถ :
๑ ในสมัยที่เป็นคฤหัสถ์ก่อนบวช ไม่เคยจับต้องกายกับภิกษุณี ไม่เคยประพฤติผิดทางประเวณีกับสิกขมานา
หรือสามเณรี (วิ.อ. ๒/๑๔๕-๑๔๗/๓๑๙)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๓๒๑ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๓.โอวาทวรรค ๑.โอวาทสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์
ภิกษุผู้ได้รับแต่งตั้งแล้วนั้นพึงถามภิกษุณีทั้งหลายว่า “น้องหญิงทั้งหลาย
พวกเธอพร้อมเพรียงกันแล้วหรือ”
ถ้าพวกภิกษุณีตอบว่า “พวกดิฉันพร้อมเพรียงกันแล้ว เจ้าข้า”
พึงถามว่า “น้องหญิงทั้งหลาย ครุธรรม ๘ ข้อยังจำกันได้อยู่หรือ”
ถ้าพวกภิกษุณีตอบว่า “ยังจำกันได้อยู่ เจ้าข้า”
พึงกล่าวว่า “น้องหญิงทั้งหลาย ธรรมนี่เป็นโอวาท” แล้วพึงมอบหมาย
ถ้าพวกภิกษุณีตอบว่า “จำกันไม่ได้ เจ้าข้า”
พึงสวดครุธรรมดังนี้ว่า

ครุธรรม ๘ ข้อ
๑. ภิกษุณีถึงจะบวชได้ ๑๐๐ พรรษา ก็ต้องทำการกราบไหว้ ต้อนรับ ทำ
อัญชลีกรรม ทำสามีจิกรรมแก่ภิกษุผู้บวชแม้ในวันนั้น ธรรมข้อนี้ภิกษุณี
พึงสักการะ เคารพ นับถือ บูชา ไม่พึงล่วงละเมิดจนตลอดชีวิต
๒. ภิกษุณีไม่พึงอยู่จำพรรษาในอาวาสที่ไม่มีภิกษุ ธรรมข้อนี้ภิกษุณีพึง
สักการะ เคารพ นับถือ บูชา ไม่พึงล่วงละเมิดจนตลอดชีวิต
๓. ภิกษุณีพึงหวังธรรม ๒ อย่าง คือ ถามอุโบสถและไปรับโอวาทจากภิกษุ
สงฆ์ทุกกึ่งเดือน ธรรมข้อนี้ภิกษุณีพึงสักการะ เคารพ นับถือ บูชา ไม่
พึงล่วงละเมิดจนตลอดชีวิต
๔. ภิกษุณีจำพรรษาแล้วพึงปวารณาในสงฆ์ ๒ ฝ่าย โดยสถาน ๓ คือ ได้เห็น
ได้ฟัง หรือได้นึกสงสัย ธรรมข้อนี้ภิกษุณีพึงสักการะ เคารพ นับถือ บูชา
ไม่พึงล่วงละเมิดจนตลอดชีวิต
๕. ภิกษุณีต้องครุธรรมแล้วพึงประพฤติปักขมานัตในสงฆ์ ๒ ฝ่าย ธรรมข้อนี้
ภิกษุณีพึงสักการะ เคารพ นับถือ บูชา ไม่พึงล่วงละเมิดจนตลอดชีวิต
๖. ภิกษุณีพึงแสวงหาการอุปสมบทในสงฆ์ ๒ ฝ่ายให้แก่สิกขมานาที่ศึกษา
ธรรม ๖ ข้อตลอด ๒ ปีแล้ว ธรรมข้อนี้ภิกษุณีพึงสักการะ เคารพ นับถือ
บูชา ไม่พึงล่วงละเมิดจนตลอดชีวิต

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๓๒๒ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๓.โอวาทวรรค ๑.โอวาทสิกขาบท บทภาชนีย์
๗. ภิกษุณีไม่พึงด่า ไม่พึงบริภาษภิกษุ ไม่ว่ากรณีใดๆ ธรรมข้อนี้ภิกษุณี
พึงสักการะ เคารพ นับถือ บูชา ไม่พึงล่วงละเมิดจนตลอดชีวิต
๘. ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ห้ามภิกษุณีสั่งสอนภิกษุ แต่ไม่ห้ามภิกษุสั่งสอน
ภิกษุณี ธรรมข้อนี้ภิกษุณีพึงสักการะ เคารพ นับถือ บูชา ไม่พึงล่วง
ละเมิดจนตลอดชีวิต
ถ้าพวกภิกษุณีตอบว่า “พวกดิฉันพร้อมเพรียงกันแล้ว เจ้าข้า” ภิกษุผู้ได้รับ
แต่งตั้งแล้ว สั่งสอนธรรมอื่น ต้องอาบัติทุกกฏ
ถ้าพวกภิกษุณีตอบว่า “พวกดิฉันยังไม่พร้อมเพรียงกัน เจ้าข้า” ภิกษุผู้ได้รับ
แต่งตั้งแล้ว สั่งสอนครุธรรม ๘ ข้อ ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุไม่ให้โอวาท สั่งสอนธรรม
อื่น ต้องอาบัติทุกกฏ

บทภาชนีย์
[๑๕๐] กรรม๑ ที่ทำไม่ถูกต้อง ภิกษุสำคัญว่าเป็นกรรมที่ทำไม่ถูกต้อง
ภิกษุณีสงฆ์ยังไม่พร้อมเพรียงกัน ภิกษุสำคัญว่ายังไม่พร้อมเพรียงกัน สั่งสอน ต้อง
อาบัติปาจิตตีย์
กรรมที่ทำไม่ถูกต้อง ภิกษุสำคัญว่าเป็นกรรมที่ทำไม่ถูกต้อง ภิกษุณีสงฆ์ยังไม่
พร้อมเพรียงกัน ภิกษุไม่แน่ใจ สั่งสอน ต้องอาบัติปาจิตตีย์
กรรมที่ทำไม่ถูกต้อง ภิกษุสำคัญว่าเป็นกรรมที่ทำไม่ถูกต้อง ภิกษุณีสงฆ์ยังไม่
พร้อมเพรียงกัน ภิกษุสำคัญว่าพร้อมเพรียงกันแล้ว สั่งสอน ต้องอาบัติปาจิตตีย์
กรรมที่ทำไม่ถูกต้อง ภิกษุไม่แน่ใจ ภิกษุณีสงฆ์ยังไม่พร้อมเพรียงกัน ภิกษุ
สำคัญว่ายังไม่พร้อมเพรียงกัน สั่งสอน ฯลฯ ภิกษุไม่แน่ใจ สั่งสอน ฯลฯ ภิกษุ
สำคัญว่าพร้อมเพรียงกันแล้ว สั่งสอน ต้องอาบัติปาจิตตีย์

เชิงอรรถ :
๑ กรรม คือการแต่งตั้งภิกษุสั่งสอนภิกษุณี (วิ.อ. ๒/๑๕๐/๓๓๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๓๒๓ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๓.โอวาทวรรค ๑.โอวาทสิกขาบท บทภาชนีย์
กรรมที่ทำไม่ถูกต้อง ภิกษุสำคัญว่าเป็นกรรมที่ทำถูกต้อง ภิกษุณีสงฆ์ยังไม่
พร้อมเพรียงกัน ภิกษุสำคัญว่ายังไม่พร้อมเพรียงกัน สั่งสอน ฯลฯ ภิกษุไม่แน่ใจ
สั่งสอน ฯลฯ ภิกษุสำคัญว่าพร้อมเพรียงกันแล้ว สั่งสอน ต้องอาบัติปาจิตตีย์
กรรมที่ทำไม่ถูกต้อง ภิกษุสำคัญว่าเป็นกรรมที่ทำไม่ถูกต้อง ภิกษุณีสงฆ์พร้อม
เพรียงกันแล้ว ภิกษุสำคัญว่ายังไม่พร้อมเพรียงกัน สั่งสอน ฯลฯ ภิกษุไม่แน่ใจ
สั่งสอน ฯลฯ ภิกษุสำคัญว่าพร้อมเพรียงกันแล้ว สั่งสอน ต้องอาบัติปาจิตตีย์
กรรมที่ทำไม่ถูกต้อง ภิกษุไม่แน่ใจ ภิกษุณีสงฆ์พร้อมเพรียงกันแล้ว ภิกษุ
สำคัญว่ายังไม่พร้อมเพรียงกัน สั่งสอน ฯลฯ ภิกษุไม่แน่ใจ สั่งสอน ฯลฯ ภิกษุ
สำคัญว่าพร้อมเพรียงกันแล้วสั่งสอน ต้องอาบัติปาจิตตีย์
กรรมที่ทำไม่ถูกต้อง ภิกษุสำคัญว่าเป็นกรรมที่ทำถูกต้อง ภิกษุณีสงฆ์พร้อม
เพรียงกันแล้ว ภิกษุสำคัญว่ายังไม่พร้อมเพรียงกัน สั่งสอน ฯลฯ ภิกษุไม่แน่ใจ
สั่งสอน ฯลฯ ภิกษุสำคัญว่าพร้อมเพรียงกันแล้ว สั่งสอน ต้องอาบัติปาจิตตีย์
[๑๕๑] กรรมที่ทำถูกต้อง ภิกษุสำคัญว่าเป็นกรรมที่ทำไม่ถูกต้อง ภิกษุณี
สงฆ์ยังไม่พร้อมเพรียงกัน ภิกษุสำคัญว่ายังไม่พร้อมเพรียงกัน สั่งสอน ต้องอาบัติ
ทุกกฏ
กรรมที่ทำถูกต้อง ภิกษุสำคัญว่าเป็นกรรมที่ทำไม่ถูกต้อง ภิกษุณีสงฆ์ยังไม่
พร้อมเพรียงกัน ภิกษุไม่แน่ใจ สั่งสอน ต้องอาบัติทุกกฏ
กรรมที่ทำถูกต้อง ภิกษุสำคัญว่าเป็นกรรมที่ทำไม่ถูกต้อง ภิกษุณีสงฆ์ยังไม่
พร้อมเพรียงกัน ภิกษุสำคัญว่าพร้อมเพรียงกันแล้ว สั่งสอน ต้องอาบัติทุกกฏ
กรรมที่ทำถูกต้อง ภิกษุไม่แน่ใจ ภิกษุณีสงฆ์ยังไม่พร้อมเพรียงกัน ภิกษุสำคัญ
ว่ายังไม่พร้อมเพรียงกัน สั่งสอน ฯลฯ ภิกษุไม่แน่ใจ สั่งสอน ฯลฯ ภิกษุสำคัญว่า
พร้อมเพรียงกันแล้ว สั่งสอน ต้องอาบัติทุกกฏ
กรรมที่ทำถูกต้อง ภิกษุสำคัญว่าเป็นกรรมที่ทำถูกต้อง ภิกษุณีสงฆ์ยังไม่
พร้อมเพรียงกัน ภิกษุสำคัญว่ายังไม่พร้อมเพรียงกัน สั่งสอน ฯลฯ ภิกษุไม่แน่ใจ
สั่งสอน ฯลฯ ภิกษุสำคัญว่าพร้อมเพรียงกันแล้ว สั่งสอน ต้องอาบัติทุกกฏ
กรรมที่ทำถูกต้อง ภิกษุสำคัญว่าเป็นกรรมที่ทำไม่ถูกต้อง ภิกษุณีสงฆ์พร้อม
เพรียงกันแล้ว ภิกษุสำคัญว่ายังไม่พร้อมเพรียงกัน สั่งสอน ฯลฯ ภิกษุไม่แน่ใจ
สั่งสอน ฯลฯ ภิกษุสำคัญว่าพร้อมเพรียงกันแล้ว สั่งสอน ต้องอาบัติทุกกฏ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๓๒๔ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๓.โอวาทวรรค ๑.โอวาทสิกขาบท อนาปัตติวาร
กรรมที่ทำถูกต้อง ภิกษุไม่แน่ใจ ภิกษุณีสงฆ์พร้อมเพรียงกันแล้ว ภิกษุสำคัญ
ว่ายังไม่พร้อมเพรียงกัน สั่งสอน ฯลฯ ภิกษุไม่แน่ใจ สั่งสอน ฯลฯ ภิกษุสำคัญว่า
พร้อมเพรียงกันแล้ว สั่งสอน ต้องอาบัติทุกกฏ
กรรมที่ทำถูกต้อง ภิกษุสำคัญว่าเป็นกรรมที่ทำถูกต้อง ภิกษุณีสงฆ์พร้อม
เพรียงกันแล้ว ภิกษุสำคัญว่ายังไม่พร้อมเพรียงกัน สั่งสอน ต้องอาบัติทุกกฏ
กรรมที่ทำถูกต้อง ภิกษุสำคัญว่าเป็นกรรมที่ทำถูกต้อง ภิกษุณีสงฆ์พร้อม
เพรียงกันแล้ว ภิกษุไม่แน่ใจ สั่งสอน ต้องอาบัติทุกกฏ
กรรมที่ทำถูกต้อง ภิกษุสำคัญว่าเป็นกรรมที่ทำถูกต้อง ภิกษุณีสงฆ์พร้อม
เพรียงกันแล้ว ภิกษุสำคัญว่าพร้อมเพรียงกันแล้ว สั่งสอน ไม่ต้องอาบัติ

อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[๑๕๒] ๑. ภิกษุให้อุทเทส
๒. ภิกษุให้ปริปุจฉา๑
๓. ภิกษุที่ภิกษุณีกล่าวขอว่า “นิมนต์พระคุณเจ้าสวดเถิด” สวดอยู่
๔. ภิกษุถามปัญหา
๕. ภิกษุถูกถามปัญหาแล้วตอบปัญหา
๖. ภิกษุสั่งสอนผู้อื่นแต่มีภิกษุณีฟังอยู่ด้วย
๗. ภิกษุสั่งสอนสิกขมานา
๘. ภิกษุสั่งสอนสามเณรี
๙. ภิกษุวิกลจริต
๑๐. ภิกษุต้นบัญญัติ
โอวาทสิกขาบทที่ ๑ จบ

เชิงอรรถ :
๑ ให้อุทเทส คือ สอนพระบาลีครุธรรม ๘ ให้ปริปุจฉา คือ สอนคำอธิบายพระบาลีครุธรรม ๘ (วิ.อ.
๒/๑๕๒/๓๓๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๓๒๕ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๓.โอวาทวรรค ๒.อัตถังคตสิกขาบท นิทานวัตถุ
๓. โอวาทวรรค

๒. อัตถังคตสิกขาบท
ว่าด้วยการสั่งสอนภิกษุณีในเวลาที่ดวงอาทิตย์อัสดงแล้ว

เรื่องพระจูฬปันถก
[๑๕๓] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พวกภิกษุผู้เป็นเถระผลัดเปลี่ยนกัน
สั่งสอนพวกภิกษุณี
ครั้งนั้น ถึงวาระที่ท่านพระจูฬปันถกจะสั่งสอนพวกภิกษุณี พวกภิกษุณี
กล่าวกันอย่างนี้ว่า “วันนี้เห็นทีการสั่งสอนจะไม่สัมฤทธิผล ประเดี๋ยวพระคุณเจ้า
จูฬปันถกก็คงจะเปล่งอุทานซ้ำซากเหมือนเดิม” ครั้นแล้วพวกภิกษุณีได้พากันไปหา
พระจูฬปันถกถึงที่อยู่ ครั้นถึงแล้วได้ไหว้ท่านพระจูฬบันถกแล้วนั่ง ณ ที่สมควร
ท่านพระจูฬปันถกได้กล่าวกับพวกภิกษุณีผู้นั่ง ณ ที่สมควรแล้วดังนี้ว่า
“น้องหญิงทั้งหลาย พวกเธอพร้อมเพรียงกันแล้วหรือ”
พวกภิกษุณีตอบว่า “พวกดิฉันพร้อมเพรียงกันแล้ว เจ้าข้า”
พระจูฬปันถกถามว่า “น้องหญิงทั้งหลาย ครุธรรม ๘ ข้อ ยังจำกันได้อยู่หรือ”
พวกภิกษุณีตอบว่า “ยังจำกันได้อยู่ เจ้าข้า”
พระจูฬปันถกมอบหมายว่า “น้องหญิงทั้งหลาย ธรรมนี่เป็นโอวาท” แล้ว
เปล่งอุทานซ้ำว่า
“มุนีผู้มีจิตมั่นคง ไม่ประมาท ศึกษาทางแห่งความเป็นมุนี๑
ผู้คงที่ สงบ มีสติทุกขณะ ย่อมเป็นผู้ไม่เศร้าโศก”๒

เชิงอรรถ :
๑ ทางแห่งความเป็นมุนี หมายถึงโพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการ หรือไตรสิกขา (วิ.อ. ๒/๑๕๓/๓๓๒)
๒ ขุ.ธ. ๒๕/๓๗/๑๕๒, ขุ.เถร. ๒๖/๖๘/๒๗๔

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๓๒๖ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๓.โอวาทวรรค ๒.อัตถังคตสิกขาบท นิทานวัตถุ
พวกภิกษุณีกล่าวอย่างนี้ว่า “พวกเราได้กล่าวแล้วมิใช่หรือว่า วันนี้เห็นทีการ
สั่งสอนจะไม่สัมฤทธิผล ประเดี๋ยวพระคุณเจ้าจูฬปันถกก็คงจะเปล่งอุทานซ้ำซาก
เหมือนเดิม”
ท่านพระจูฬปันถกได้ยินคำสนทนานี้ของพวกภิกษุณีเหล่านั้นแล้ว จึงเหาะขึ้น
ไปสู่อากาศ จงกรมบ้าง ยืนบ้าง นั่งบ้าง นอนบ้าง บันดาลให้ควันฟุ้งตลบบ้าง
บันดาลให้ไฟโพลงบ้าง หายตัวบ้าง ในอากาศ เปล่งอุทานนั้นนั่นแหละ และกล่าว
พระพุทธพจน์อื่น ๆ เป็นอันมาก
พวกภิกษุณีพากันกล่าวอย่างนี้ว่า “น่าอัศจรรย์ ไม่เคยมี การสั่งสอนก่อนหน้า
นี้ไม่เคยสัมฤทธิผลแก่พวกเราเหมือนการสั่งสอนของพระคุณเจ้าจูฬปันถกเลย”
คราวนั้น ท่านพระจูฬปันถกสั่งสอนพวกภิกษุณีอยู่จนพลบค่ำแล้วส่งกลับด้วย
กล่าวว่า “พวกเธอกลับไปเถิด น้องหญิงทั้งหลาย”
ครั้งนั้น เมื่อเจ้าหน้าที่ปิดประตูเมืองแล้ว พวกภิกษุณีได้พักแรมอยู่นอกเมือง
รุ่งเช้าจึงพากันเข้าเมือง
พวกชาวบ้านตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ภิกษุณีพวกนี้เป็นผู้ไม่ประพฤติ
พรหมจรรย์ พักแรมกับพวกภิกษุในอารามเพิ่งจะกลับเข้าเมืองเดี๋ยวนี้เอง”
พวกภิกษุได้ยินพวกชาวบ้านตำหนิ ประณาม โพนทะนา บรรดาภิกษุผู้มักน้อย
ฯลฯ จึงตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “เมื่อดวงอาทิตย์อัสดงแล้ว ไฉนท่านพระ
จูฬปันถกยังสั่งสอนพวกภิกษุณีอยู่เล่า” ครั้นภิกษุเหล่านั้นตำหนิท่านพระจูฬบันถก
โดยประการต่าง ๆ แล้วจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ

ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามท่านพระจูฬปันถกว่า “จูฬปันถก ทราบว่า เมื่อดวงอาทิตย์อัสดงแล้ว เธอ
ยังสั่งสอนพวกภิกษุณีอยู่ จริงหรือ” ท่านพระจูฬปันถกทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้า
ข้า” พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ฯลฯ จูฬปันถก ไฉนเมื่อดวงอาทิตย์
อัสดงแล้ว เธอจึงยังสั่งสอนพวกภิกษุณีอยู่เล่า จูฬปันถก การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๓๒๗ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๓.โอวาทวรรค ๒.อัตถังคตสิกขาบท บทภาชนีย์
คนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้น
แสดงดังนี้

พระบัญญัติ
[๑๕๔] ถ้าภิกษุแม้ได้รับการแต่งตั้งแล้ว เมื่อดวงอาทิตย์อัสดงแล้ว ยัง
สั่งสอนภิกษุณีทั้งหลายอยู่ ต้องอาบัติปาจิตตีย์
เรื่องพระจูฬปันถก จบ

สิกขาบทวิภังค์
[๑๕๕] ภิกษุที่ชื่อว่า ได้รับการแต่งตั้งแล้ว คือได้รับการแต่งตั้งด้วยญัตติ
จตุตถกรรมวาจาแล้ว
คำว่า เมื่อดวงอาทิตย์อัสดงแล้ว คือ เมื่อดวงอาทิตย์ตกแล้ว
ที่ชื่อว่า ภิกษุณีทั้งหลาย ได้แก่ มาตุคามผู้ที่อุปสมบทในสงฆ์ ๒ ฝ่าย
คำว่า สั่งสอน ความว่า ภิกษุสั่งสอนครุธรรม ๘ อย่าง หรือธรรมอย่างอื่น
ต้องอาบัติปาจิตตีย์

บทภาชนีย์
ติกปาจิตตีย์
[๑๕๖] ดวงอาทิตย์อัสดงแล้ว ภิกษุสำคัญว่าอัสดงแล้ว สั่งสอน ต้องอาบัติ
ปาจิตตีย์
ดวงอาทิตย์อัสดงแล้ว ภิกษุไม่แน่ใจ สั่งสอน ต้องอาบัติปาจิตตีย์
ดวงอาทิตย์อัสดงแล้ว ภิกษุสำคัญว่ายังไม่อัสดง สั่งสอน ต้องอาบัติปาจิตตีย์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๓๒๘ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๓.โอวาทวรรค ๒.อัตถังคตสิกขาบท อนาปัตติวาร
ติกทุกกฏ
ภิกษุสั่งสอนภิกษุณีที่อุปสมบทในสงฆ์ฝ่ายเดียว ต้องอาบัติทุกกฏ
ดวงอาทิตย์ยังไม่อัสดง ภิกษุสำคัญว่าอัสดงแล้ว สั่งสอน ต้องอาบัติทุกกฏ
ดวงอาทิตย์ยังไม่อัสดง ภิกษุไม่แน่ใจ ต้องอาบัติทุกกฏ
ดวงอาทิตย์ยังไม่อัสดง ภิกษุสำคัญว่ายังไม่อัสดง ไม่ต้องอาบัติ

อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[๑๕๗] ๑. ภิกษุให้อุทเทส
๒. ภิกษุให้ปริปุจฉา
๓. ภิกษุที่ภิกษุณีกล่าวขอว่า “นิมนต์พระคุณเจ้าสวดเถิด” สวดอยู่
๔. ภิกษุถามปัญหา
๕. ภิกษุถูกถามปัญหาแล้วตอบปัญหา
๖. ภิกษุสั่งสอนผู้อื่นแต่มีภิกษุณีฟังอยู่ด้วย
๗. ภิกษุสั่งสอนสิกขมานา
๘. ภิกษุสั่งสอนสามเณรี
๙. ภิกษุวิกลจริต
๑๐. ภิกษุต้นบัญญัติ

อัตถังคตสิกขาบทที่ ๒ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๓๒๙ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๓.โอวาทวรรค ๓.ภิกขุนูปัสสยสิกขาบท นิทานวัตถุ
๓. โอวาทวรรค

๓. ภิกขุนูปัสสยสิกขาบท
ว่าด้วยการไปสั่งสอนภิกษุณีถึงที่สำนัก

เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๑๕๘] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ นิโครธาราม เขต
กรุงกบิลพัสดุ์ แคว้นสักกะ ครั้งนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์เข้าไปที่สำนักของภิกษุณี
สั่งสอนพวกภิกษุณีฉัพพัคคีย์
พวกภิกษุณีได้กล่าวกับพวกภิกษุณีฉัพพัคคีย์ดังนี้ว่า “มาเถิด แม่คุณทั้งหลาย
พวกเราจะไปรับโอวาทกัน”
พวกภิกษุณีฉัพพัคคีย์กล่าวว่า “ทำไมพวกเราจะต้องไปรับโอวาท พวกพระ
คุณเจ้าฉัพพัคคีย์มาสั่งสอนพวกเราถึงที่นี่ทีเดียว”
พวกภิกษุณีจึงพากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพวกภิกษุฉัพพัคคีย์
จึงเข้าไปที่สำนักภิกษุณีแล้วสั่งสอนภิกษุณีทั้งหลายเล่า” แล้วแจ้งเรื่องนี้ให้ภิกษุ
ทั้งหลายทราบ
บรรดาภิกษุผู้มักน้อย ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพวก
ภิกษุฉัพพัคคีย์จึงเข้าไปที่สำนักภิกษุณีแล้วสั่งสอนภิกษุณีทั้งหลายเล่า” ครั้นภิกษุ
เหล่านั้นตำหนิพวกภิกษุฉัพพัคคีย์โดยประการต่าง ๆ แล้วจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูล
พระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ

ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามพวกภิกษุฉัพพัคคีย์ว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า พวกเธอเข้าไปที่สำนัก
ภิกษุณีแล้วสั่งสอนภิกษุณีทั้งหลาย จริงหรือ” พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ทูลรับว่า “จริง
พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ฯลฯ โมฆบุรุษทั้งหลาย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๓๓๐ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๓.โอวาทวรรค ๓.ภิกขุนูปัสสยสิกขาบท พระบัญญัติ
ไฉนพวกเธอจึงเข้าไปที่สำนักภิกษุณีแล้วสั่งสอนภิกษุณีทั้งหลายเล่า โมฆบุรุษ
ทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส ฯลฯ” แล้วจึง
รับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้

พระบัญญัติ
ก็ ภิกษุใดเข้าไปที่สำนักภิกษุณีแล้วสั่งสอนภิกษุณีทั้งหลาย ต้องอาบัติ
ปาจิตตีย์
สิกขาบทนี้พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติไว้แก่ภิกษุทั้งหลายอย่างนี้
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ

เรื่องพระนางมหาปชาบดีโคตมีเป็นไข้
[๑๕๙] สมัยนั้น พระนางมหาปชาบดีโคตมีเป็นไข้ ภิกษุผู้เป็นเถระทั้งหลาย
เข้าไปเยี่ยมถึงที่อยู่ ครั้นถึงแล้วได้กล่าวกับพระนางมหาปชาบดีโคตมีดังนี้ว่า “ท่าน
ยังสบายดีหรือ ยังพอเป็นอยู่ได้หรือ”
พระนางมหาปชาบดีโคตมีตอบว่า “พระคุณเจ้าทั้งหลาย ดิฉันกำลังไม่สบาย
จะเป็นอยู่ไม่ได้แล้ว ขอนิมนต์พระคุณเจ้าทั้งหลายแสดงธรรมเถิดเจ้าข้า”
พระเถระทั้งหลายกล่าวว่า “การเข้ามาที่สำนักภิกษุณีแล้วแสดงธรรมแก่
ภิกษุณีไม่สมควร” พากันมีความยำเกรงอยู่ไม่แสดงธรรม
ครั้นเวลาเช้า พระผู้มีพระภาคทรงครองอันตรวาสก ถือบาตรและจีวรเสด็จ
เข้าไปเยี่ยมพระนางมหาปชาบดีถึงที่อยู่ ครั้นถึงแล้วได้ประทับนั่งบนอาสนะที่เขาจัด
ไว้แล้ว ครั้นพระผู้มีพระภาคประทับนั่งแล้ว ได้ตรัสกับพระนางมหาปชาบดีโคตมีนั้น
ดังนี้ว่า “โคตมี ท่านสบายดีหรือ ยังพอเป็นอยู่ได้หรือ”
พระนางมหาปชาบดีโคตมีกราบทูลว่า “เมื่อก่อน ภิกษุผู้เป็นเถระทั้งหลายมา
แสดงธรรม หม่อมฉันจึงมีความผาสุก แต่บัดนี้ภิกษุทั้งหลายกล่าวว่า ‘พระองค์
ทรงห้าม’ มีความยำเกรงอยู่ไม่แสดงธรรม เหตุนั้นหม่อมฉันจึงไม่มีความผาสุก
พระพุทธเจ้าข้า”


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๓๓๑ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๓.โอวาทวรรค ๓.ภิกขุนูปัสสยสิกขาบท พระอนุบัญญัติ
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงชี้แจงให้พระนางมหาปชาบดีโคตมีเห็นชัด ชวน
ให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริง
ด้วยธรรมีกถา แล้วทรงลุกจากอาสนะเสด็จไป
ต่อมาพระผู้มีพระภาค ทรงแสดงธรรมีกถาเพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ แล้วรับสั่ง
กับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้เข้าไปที่สำนักภิกษุณีแล้วสั่งสอน
ภิกษุณีเป็นไข้ได้” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้

พระอนุบัญญัติ
[๑๖๐] อนึ่ง ภิกษุใดเข้าไปที่สำนักภิกษุณีแล้วสั่งสอนภิกษุณีทั้งหลาย
นอกสมัย ต้องอาบัติปาจิตตีย์ สมัยในข้อนั้น คือ ภิกษุณีเป็นไข้ นี้เป็นสมัย
ในข้อนั้น
เรื่องพระนางมหาปชาบดีโคตมี จบ

[๑๖๑] คำว่า อนึ่ง...ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
อนึ่ง...ใด
คำว่า ภิกษุ มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุ เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระ
ภาคทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุ ในความหมายนี้
ที่ชื่อว่า ที่สำนักภิกษุณี ได้แก่ สถานที่ที่ภิกษุณีพักแม้คืนเดียว
คำว่า เข้าไป คือ ไปในที่นั้น
ที่ชื่อว่า ภิกษุณีทั้งหลาย ได้แก่ มาตุคามที่อุปสมบทในสงฆ์ ๒ ฝ่าย
คำว่า สั่งสอน ความว่า ภิกษุสั่งสอนครุธรรม ๘ อย่าง ต้องอาบัติปาจิตตีย์
คำว่า นอกสมัย คือ ยกเว้นสมัย
ที่ชื่อว่า ภิกษุณีเป็นไข้ ได้แก่ ภิกษุณีไม่สามารถไปรับโอวาทหรือร่วม
ประชุมได้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๓๓๒ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๓.โอวาทวรรค ๓.ภิกขุนูปัสสยสิกขาบท อนาปัตติวาร
บทภาชนีย์
ติกปาจิตตีย์
[๑๖๒] อุปสัมบัน๑ ภิกษุสำคัญว่าเป็นอุปสัมบัน เข้าไปที่สำนักภิกษุณีแล้ว
สั่งสอนนอกสมัย ต้องอาบัติปาจิตตีย์
อุปสัมบัน ภิกษุไม่แน่ใจ เข้าไปที่สำนักภิกษุณีแล้วสั่งสอนนอกสมัย ต้องอาบัติ
ปาจิตตีย์
อุปสัมบัน ภิกษุสำคัญว่าอนุปสัมบัน๒ เข้าไปที่สำนักภิกษุณีแล้ว สั่งสอนนอก
สมัย ต้องอาบัติปาจิตตีย์

ทุกกฏ
ภิกษุสั่งสอนธรรมอย่างอื่น ต้องอาบัติทุกกฏ
ภิกษุสั่งสอนภิกษุณีที่อุปสมบทในสงฆ์ฝ่ายเดียว ต้องอาบัติทุกกฏ
อนุปสัมบัน ภิกษุสำคัญว่าเป็นอุปสัมบัน ต้องอาบัติทุกกฏ
อนุปสัมบัน ภิกษุไม่แน่ใจ ต้องอาบัติทุกกฏ
อนุปสัมบัน ภิกษุสำคัญว่าเป็นอนุปสัมบัน ไม่ต้องอาบัติ

อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[๑๖๓] ๑. ภิกษุสอนในสมัย
๒. ภิกษุให้อุทเทส
๓. ภิกษุให้ปริปุจฉา

เชิงอรรถ :
๑ คำว่า “อุปสัมบัน” ในที่นี้หมายถึงภิกษุณี
๒ คือสำคัญว่ามิใช่ภิกษุณี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๓๓๓ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๓.โอวาทวรรค อนาปัตติวาร
๔. ภิกษุที่ภิกษุณีกล่าวขอว่า “นิมนต์พระคุณเจ้าสวดเถิด” สวดอยู่
๕. ภิกษุถามปัญหา
๖. ภิกษุถูกถามปัญหาแล้วตอบปัญหา
๗. ภิกษุสั่งสอนผู้อื่นแต่มีภิกษุณีฟังอยู่ด้วย
๘. ภิกษุสั่งสอนสิกขมานา
๙. ภิกษุสั่งสอนสามเณรี
๑๐. ภิกษุวิกลจริต
๑๑. ภิกษุต้นบัญญัติ

ภิกขุนูปัสสยสิกขาบทที่ ๓ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๓๓๔ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๓.โอวาทวรรค ๔.อามิสสิกขาบท นิทานวัตถุ
๓. โอวาทวรรค

๔. อามิสสิกขาบท
ว่าด้วยการสั่งสอนภิกษุณีเพราะเห็นแก่อามิส

เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๑๖๔] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุผู้เป็นเถระทั้งหลายสั่งสอน
พวกภิกษุณี ย่อมได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร
พวกภิกษุฉัพพัคคีย์กล่าวอย่างนี้ว่า “ภิกษุผู้เป็นเถระทั้งหลายไม่ตั้งใจสั่งสอน
ภิกษุณีทั้งหลาย ภิกษุผู้เป็นเถระทั้งหลายสั่งสอนภิกษุณีทั้งหลายก็เพราะเห็นแก่
อามิส”
บรรดาภิกษุผู้มักน้อย ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพวก
ภิกษุฉัพพัคคีย์จึงกล่าวอย่างนี้ว่า ภิกษุผู้เป็นเถระทั้งหลายไม่ตั้งใจสั่งสอนภิกษุณี
ทั้งหลาย ภิกษุผู้เป็นเถระทั้งหลายสั่งสอนภิกษุณีทั้งหลายก็เพราะเห็นแก่อามิสเล่า”
ครั้นภิกษุเหล่านั้นตำหนิพวกภิกษุฉัพพัคคีย์โดยประการต่าง ๆ แล้วจึงนำเรื่องนี้ไป
กราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ

ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามพวกภิกษุฉัพพัคคีย์ว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า พวกเธอกล่าวอย่างนี้ว่า
ภิกษุผู้เป็นเถระทั้งหลายไม่ตั้งใจสั่งสอนภิกษุณีทั้งหลาย ภิกษุผู้เป็นเถระทั้งหลาย
สั่งสอนภิกษุณีทั้งหลายก็เพราะเห็นแก่อามิส จริงหรือ” พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ทูลรับ
ว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ฯลฯ โมฆบุรุษ
ทั้งหลาย ไฉนพวกเธอจึงกล่าวอย่างนี้ว่า ภิกษุผู้เป็นเถระทั้งหลายไม่ตั้งใจสั่งสอน
ภิกษุณีทั้งหลาย ภิกษุผู้เป็นเถระทั้งหลายสั่งสอนภิกษุณีทั้งหลายก็เพราะเห็นแก่


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๓๓๕ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๓.โอวาทวรรค ๔.อามิสสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์
อามิสเล่า โมฆบุรุษทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส
ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้

พระบัญญัติ
[๑๖๕] ก็ ภิกษุใดกล่าวอย่างนี้ว่า ภิกษุ(ผู้เป็นเถระ)ทั้งหลายสั่งสอน
ภิกษุณีทั้งหลายเพราะเห็นแก่อามิส ต้องอาบัติปาจิตตีย์
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ

สิกขาบทวิภังค์
[๑๖๖] คำว่า ก็...ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ก็...ใด
คำว่า ภิกษุ มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุ เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระ
ภาคทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุ ในความหมายนี้
คำว่า เพราะเห็นแก่อามิส คือ เพราะเห็นแก่จีวร เพราะเห็นแก่บิณฑบาต
เพราะเห็นแก่เสนาสนะ เพราะเห็นแก่คิลานปัจจัยเภสัชบริขาร เพราะเห็นแก่สักการะ
เพราะเห็นแก่ความเคารพ เพราะเห็นแก่ความนับถือ เพราะเห็นแก่การกราบไหว้
เพราะเห็นแก่การบูชา
คำว่า กล่าวอย่างนี้ ความว่า ภิกษุต้องการจะทำให้เสียชื่อ ต้องการจะทำให้
อัปยศ ต้องการจะทำอุปสัมบันที่สงฆ์แต่งตั้งให้เป็นผู้สั่งสอนภิกษุณีให้เก้อเขิน จึง
กล่าวหาอย่างนี้ว่า “ภิกษุนั้นสั่งสอนเพราะเห็นแก่จีวร เพราะเห็นแก่บิณฑบาต
เพราะเห็นแก่เสนาสนะ เพราะเห็นแก่คิลานปัจจัยเภสัชบริขาร เพราะเห็นแก่
สักการะ เพราะเห็นแก่ความเคารพ เพราะเห็นแก่ความนับถือ เพราะเห็นแก่การ
กราบไหว้ เพราะเห็นแก่การบูชา” ต้องอาบัติปาจิตตีย์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๓๓๖ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๓.โอวาทวรรค ๔.อามิสสิกขาบท บทภาชนีย์
บทภาชนีย์
ติกปาจิตตีย์
[๑๖๗] กรรม๑ ที่ทำถูกต้อง ภิกษุสำคัญว่าเป็นกรรมที่ทำถูกต้อง กล่าวอย่าง
นี้ ต้องอาบัติปาจิตตีย์
กรรมที่ทำถูกต้อง ภิกษุไม่แน่ใจ กล่าวอย่างนี้ ต้องอาบัติปาจิตตีย์
กรรมที่ทำถูกต้อง ภิกษุสำคัญว่าเป็นกรรมที่ทำไม่ถูกต้อง กล่าวอย่างนี้ ต้อง
อาบัติปาจิตตีย์

ทุกทุกกฏ
ภิกษุต้องการจะทำให้เสียชื่อ ต้องการจะทำให้อัปยศ ต้องการจะทำอุปสัมบันที่
สงฆ์ไม่ได้แต่งตั้งให้เป็นผู้สั่งสอนภิกษุณีให้เก้อเขิน จึงกล่าวหาอย่างนี้ว่า “ภิกษุ
นั้นสั่งสอนเพราะเห็นแก่จีวร เพราะเห็นแก่บิณฑบาต เพราะเห็นแก่เสนาสนะ เพราะ
เห็นแก่คิลานปัจจัยเภสัชบริขาร เพราะเห็นแก่สักการะ เพราะเห็นแก่ความเคารพ
เพราะเห็นแก่ความนับถือ เพราะเห็นแก่การกราบไหว้ เพราะเห็นแก่การบูชา” ต้อง
อาบัติทุกกฏ
ภิกษุต้องการจะทำให้เสียชื่อ ต้องการจะทำให้อัปยศ ต้องการจะทำ
อนุปสัมบันที่สงฆ์แต่งตั้งหรือไม่ได้แต่งตั้งให้เป็นผู้สั่งสอนภิกษุณีให้เก้อเขิน จึงกล่าว
หาอย่างนี้ว่า “อนุปสัมบันนั้นสั่งสอนเพราะเห็นแก่จีวร เพราะเห็นแก่บิณฑบาต
เพราะเห็นแก่เสนาสนะ เพราะเห็นแก่คิลานปัจจัยเภสัชบริขาร เพราะเห็นแก่สักการะ
เพราะเห็นแก่ความเคารพ เพราะเห็นแก่ความนับถือ เพราะเห็นแก่การกราบไหว้
เพราะเห็นแก่การบูชา” ต้องอาบัติทุกกฏ

เชิงอรรถ :
๑ กรรม คือการแต่งตั้งภิกษุสั่งสอนพวกภิกษุณี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๓๓๗ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๓.โอวาทวรรค ๔.อามิสสิกขาบท อนาปัตติวาร
ติกทุกกฏ
กรรมที่ทำไม่ถูกต้อง ภิกษุสำคัญว่าเป็นกรรมที่ทำถูกต้อง กล่าวอย่างนี้ ต้อง
อาบัติทุกกฏ
กรรมที่ทำไม่ถูกต้อง ภิกษุไม่แน่ใจ กล่าวอย่างนี้ ต้องอาบัติทุกกฏ
กรรมที่ทำไม่ถูกต้อง ภิกษุสำคัญว่าเป็นกรรมที่ทำไม่ถูกต้อง กล่าวอย่างนี้
ต้องอาบัติทุกกฏ

อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[๑๖๘] ๑. ภิกษุกล่าวหาภิกษุผู้สั่งสอนเพราะเห็นแก่จีวร เพราะเห็นแก่
บิณฑบาต เพราะเห็นแก่เสนาสนะ เพราะเห็นแก่คิลานปัจจัย
เภสัชบริขาร เพราะเห็นแก่สักการะ เพราะเห็นแก่ความเคารพ
เพราะเห็นแก่ความนับถือ เพราะเห็นแก่การกราบไหว้ เพราะ
เห็นแก่การบูชาตามปกติ
๒. ภิกษุวิกลจริต
๓. ภิกษุต้นบัญญัติ

อามิสสิกขาบทที่ ๔ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๓๓๘ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๓.โอวาทวรรค ๕.จีวรทานสิกขาบท นิทานวัตถุ
๓. โอวาทวรรค

๕. จีวรทานสิกขาบท
ว่าด้วยการถวายจีวร

เรื่องภิกษุรูปหนึ่ง
[๑๖๙] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุรูปหนึ่งเที่ยวบิณฑบาตไป
ตามถนนสายหนึ่ง ภิกษุณีรูปหนึ่งก็เที่ยวบิณฑบาตไปตามถนนสายเดียวกันนั้น
ทีนั้น ภิกษุได้กล่าวกับภิกษุณีรูปนั้นดังนี้ว่า “ไปเถิด น้องหญิง ที่โน้นมีผู้ถวาย
ภิกษา” ภิกษุณีก็กล่าวอย่างนี้ว่า “ไปเถิด พระคุณเจ้า ที่โน้นมีผู้ถวายภิกษา” ภิกษุ
และภิกษุณีทั้ง ๒ รูปนั้นจึงเป็นเพื่อนกัน เพราะพบกันอยู่เนือง ๆ
ต่อมา ภิกษุผู้เป็นเจ้าหน้าที่แจกจีวรกำลังแจกจีวรของสงฆ์ ภิกษุณีรูปนั้นไปรับ
โอวาท แล้วเข้าไปหาภิกษุรูปนั้นถึงที่อยู่ ครั้นถึงแล้วได้ไหว้ภิกษุรูปนั้น แล้วยืน ณ
ที่สมควร
ภิกษุผู้เป็นเพื่อนรูปนั้นได้กล่าวกับภิกษุณีรูปนั้นผู้ยืนอยู่ ณ ที่สมควรว่า “น้อง
หญิง นี้จีวรส่วนแบ่งของเรา เธอจะรับหรือไม่”
ภิกษุณีตอบว่า “รับ เจ้าข้า เพราะดิฉันมีจีวรเก่า”
ทีนั้น ภิกษุนั้นจึงได้ให้จีวรแก่ภิกษุณีรูปนั้น ส่วนตนเองก็ยังคงใช้จีวรเก่า
ภิกษุทั้งหลายได้กล่าวกับภิกษุนั้นดังนี้ว่า “ท่าน บัดนี้ท่านจงตัดเย็บจีวรของ
ท่าน”
ลำดับนั้น ภิกษุรูปนั้นจึงบอกเรื่องนั้นให้ภิกษุทั้งหลายทราบ
บรรดาภิกษุผู้มักน้อย ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนภิกษุ
จึงให้จีวรแก่ภิกษุณีเล่า” ครั้นภิกษุเหล่านั้นตำหนิภิกษุนั้นโดยประการต่าง ๆ แล้ว
จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๓๓๙ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๓.โอวาทวรรค ๕.จีวรทานสิกขาบท พระบัญญัติ
ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามภิกษุนั้นว่า “ภิกษุ ทราบว่า เธอให้จีวรแก่ภิกษุณีจริงหรือ” ภิกษุนั้นทูล
รับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “ภิกษุ ภิกษุณีนั้นเป็น
ญาติของเธอหรือไม่ใช่ญาติ” ภิกษุนั้นทูลรับว่า “ไม่ใช่ญาติ พระพุทธเจ้าข้า” พระ
ผู้มีพระภาคทรงตำหนิว่า “โมฆบุรุษ ภิกษุผู้ไม่ใช่ญาติย่อมไม่รู้ความเหมาะสมหรือ
ไม่เหมาะสม ความน่าเลื่อมใสหรือไม่น่าเลื่อมใส ของที่มีอยู่หรือไม่มีอยู่ของภิกษุณี
ผู้ไม่ใช่ญาติ โมฆบุรุษ ไฉนเธอจึงให้จีวรแก่ภิกษุณีผู้ไม่ใช่ญาติเล่า โมฆบุรุษ การ
กระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุ
ทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้

พระบัญญัติ
ก็ ภิกษุใดให้จีวรแก่ภิกษุณีผู้ไม่ใช่ญาติ ต้องอาบัติปาจิตตีย์
สิกขาบทนี้พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติไว้แก่ภิกษุทั้งหลายอย่างนี้
เรื่องภิกษุรูปหนึ่ง จบ

เรื่องภิกษุหลายรูป
[๑๗๐] สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายพากันมีความยำเกรง จึงไม่ยอมให้จีวรแลก
เปลี่ยนกับภิกษุณีทั้งหลาย ภิกษุณีทั้งหลายจึงพากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า
“ไฉนภิกษุทั้งหลายจึงไม่ยอมให้จีวรแลกเปลี่ยนกับพวกเราเล่า”
ภิกษุทั้งหลายได้ยินภิกษุณีทั้งหลายตำหนิ ประณาม โพนทะนา จึงนำเรื่องนี้ไป
กราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ

ทรงอนุญาตให้แลกเปลี่ยนจีวรได้
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมีกถาเพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ รับสั่ง
กับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้สหธรรมิก ๕ คือ ภิกษุ ภิกษุณี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๓๔๐ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๓.โอวาทวรรค ๕.จีวรทานสิกขาบท บทภาชนีย์
สิกขมานา สามเณร สามเณรี ให้จีวรแลกเปลี่ยนกันได้ ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาต
ให้สหธรรมิก ๕ เหล่านี้ ให้จีวรแลกเปลี่ยนกันได้” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยก
สิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้

พระอนุบัญญัติ
[๑๗๑] อนึ่ง ภิกษุใดให้จีวรแก่ภิกษุณีผู้ไม่ใช่ญาติ ต้องอาบัติปาจิตตีย์
เว้นไว้แต่แลกเปลี่ยนกัน
เรื่องภิกษุหลายรูป จบ

สิกขาบทวิภังค์
[๑๗๒] คำว่า อนึ่ง...ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัส
ว่า อนึ่ง...ใด
คำว่า ภิกษุ มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุ เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระ
ภาคทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุ ในความหมายนี้
ที่ชื่อว่า ผู้ไม่ใช่ญาติ คือ ไม่ใช่คนที่เกี่ยวเนื่องกันทางมารดาหรือทางบิดา
ตลอดเจ็ดชั่วคน
ที่ชื่อว่า ภิกษุณี ได้แก่ มาตุคามที่อุปสมบทในสงฆ์ ๒ ฝ่าย
ที่ชื่อว่า จีวร ได้แก่ จีวร ๖ ชนิด อย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งมีขนาดพอที่จะทำ
วิกัปได้เป็นอย่างต่ำ
คำว่า เว้นไว้แต่แลกเปลี่ยนกัน คือ ภิกษุให้ ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ยกเว้น
แลกเปลี่ยนกัน

บทภาชนีย์
ติกปาจิตตีย์
[๑๗๓] ภิกษุณีที่ไม่ใช่ญาติ ภิกษุสำคัญว่าไม่ใช่ญาติ ให้จีวร ต้องอาบัติ
ปาจิตตีย์ เว้นไว้แต่แลกเปลี่ยนกัน


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๓๔๑ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๓.โอวาทวรรค ๕.จีวรทานสิกขาบท อนาปัตติวาร
ภิกษุณีที่ไม่ใช่ญาติ ภิกษุไม่แน่ใจ ให้จีวร ต้องอาบัติปาจิตตีย์ เว้นไว้แต่แลก
เปลี่ยนกัน
ภิกษุณีที่ไม่ใช่ญาติ ภิกษุสำคัญว่าเป็นญาติ ให้จีวร ต้องอาบัติปาจิตตีย์ เว้น
ไว้แต่แลกเปลี่ยนกัน

ติกทุกกฏ
ภิกษุณีที่อุปสมบทในสงฆ์ฝ่ายเดียว ภิกษุให้จีวร ต้องอาบัติทุกกฏ เว้นไว้แต่
แลกเปลี่ยนกัน
ภิกษุณีที่เป็นญาติ ภิกษุสำคัญว่าไม่ใช่ญาติ ให้จีวร ต้องอาบัติทุกกฏ
ภิกษุณีที่เป็นญาติ ภิกษุไม่แน่ใจ ให้จีวร ต้องอาบัติทุกกฏ
ภิกษุณีที่เป็นญาติ ภิกษุสำคัญว่าเป็นญาติ ให้จีวร ไม่ต้องอาบัติ

อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[๑๗๔] ๑. ภิกษุผู้ให้แก่ภิกษุณีที่เป็นญาติ
๒. ภิกษุแลก คือ เอาจีวรราคาถูกแลกจีวรราคาแพง หรือจีวรราคา
แพงแลกจีวรราคาถูก
๓. ภิกษุเจ้าของจีวรที่ภิกษุณีถือวิสาสะเอาไป
๔. ภิกษุเจ้าของจีวรที่ภิกษุณีขอยืมไป
๕. ภิกษุให้บริขารอื่น นอกจากจีวร
๖. ภิกษุให้แก่สิกขมานา
๗. ภิกษุให้แก่สามเณรี
๘. ภิกษุวิกลจริต
๙. ภิกษุต้นบัญญัติ

จีวรทานสิกขาบทที่ ๕ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๓๔๒ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๓.โอวาทวรรค ๖.จีวรสิพพนสิกขาบท นิทานวัตถุ
๓. โอวาทวรรค

๖. จีวรสิพพนสิกขาบท
ว่าด้วยการเย็บจีวรให้ภิกษุณี

เรื่องพระอุทายี
[๑๗๕] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น ท่านพระอุทายีเป็นผู้ชำนาญ
การตัดเย็บจีวร ภิกษุณีรูปหนึ่งเข้าไปหาท่านพระอุทายีถึงที่อยู่ ครั้นถึงแล้วได้กล่าว
กับท่านพระอุทายีดังนี้ว่า “พระคุณเจ้า ดิฉันขอโอกาส พระคุณเจ้า ช่วยเย็บจีวร
ให้ด้วยเถิด เจ้าข้า”
ทีนั้น ท่านพระอุทายีจึงได้เย็บจีวรให้นางภิกษุณีนั้น ย้อมอย่างดี เรียบร้อยดี
เขียนภาพตามจินตนาการตรงกลางแล้วพับเก็บไว้
ครั้งนั้น ภิกษุณีรูปนั้นได้เข้าไปหาท่านพระอุทายีถึงที่อยู่ ครั้นถึงแล้วได้กล่าว
กับท่านพระอุทายีดังนี้ว่า “พระคุณเจ้า จีวรนั้นอยู่ที่ไหน เจ้าค่ะ”
ท่านพระอุทายีตอบว่า “น้องหญิง มาเถิด เธอนำจีวรผืนนี้ไปตามที่พับเก็บไว้
แล้ว จงห่มจีวรผืนนี้เดินตามหลังภิกษุณีสงฆ์มาในเวลาที่ภิกษุณีสงฆ์มารับโอวาท”
ครั้งนั้น ภิกษุณีรูปนั้นได้นำจีวรไปเก็บไว้ตามที่พับ แล้วได้ห่มจีวรผืนนั้นเดิน
ตามหลังภิกษุณีสงฆ์มาในเวลาที่ภิกษุณีสงฆ์มารับโอวาท
พวกชาวบ้านพากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “พวกภิกษุณีไม่กลัวบาป
ใจถึง ไร้ยางอาย จนถึงกับได้เขียนภาพตามจินตนาการไว้ที่จีวร”
ภิกษุณีทั้งหลายกล่าวอย่างนี้ว่า “ภาพนี้ใครเขียน”
ภิกษุณีนั้นตอบว่า “พระคุณเจ้าอุทายี”
ภิกษุณีทั้งหลายกล่าวว่า “ภาพตามจินตนาการประเภทนี้ ถึงพวกนักเลง
ตัดช่องย่องเบา ไม่กลัวบาป ก็ยังไม่เห็นว่างาม ไฉนพระคุณเจ้าอุทายีจึงเห็นว่างาม
เล่า” ครั้นแล้วภิกษุณีเหล่านั้นจึงบอกเรื่องนี้ให้ภิกษุทั้งหลายทราบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๓๔๓ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๓.โอวาทวรรค ๖.จีวรสิพพนสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์
บรรดาภิกษุผู้มักน้อย ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนท่าน
พระอุทายีจึงเย็บจีวรให้ภิกษุณีเล่า” ครั้นภิกษุเหล่านั้นตำหนิท่านพระอุทายีโดย
ประการต่าง ๆ แล้วจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ

ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามท่านพระอุทายีว่า “อุทายี ทราบว่า เธอเย็บจีวรให้ภิกษุณี จริงหรือ” ท่าน
พระอุทายีทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “อุทายี
ภิกษุณีนั้นเป็นญาติของเธอหรือไม่ใช่ญาติ” ท่านพระอุทายีกราบทูลว่า “ไม่ใช่ญาติ
พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคทรงตำหนิว่า “โมฆบุรุษ ภิกษุผู้ไม่ใช่ญาติย่อมไม่รู้
ความเหมาะสมหรือไม่เหมาะสม ความน่าเลื่อมใสหรือไม่น่าเลื่อมใสของภิกษุณีผู้
ไม่ใช่ญาติ โมฆบุรุษ ไฉนเธอจึงเย็บจีวรให้แก่ภิกษุณีผู้ไม่ใช่ญาติเล่า โมฆบุรุษ การ
กระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุ
ทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้

พระบัญญัติ
[๑๗๖] ก็ ภิกษุใดเย็บหรือใช้ให้เย็บจีวรให้ภิกษุณีผู้ไม่ใช่ญาติ ต้องอาบัติ
ปาจิตตีย์
เรื่องพระอุทายี จบ

สิกขาบทวิภังค์
[๑๗๗] คำว่า ก็...ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ก็...ใด
คำว่า ภิกษุ มีอธิบายว่า ที่ชื่อว่าภิกษุ เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มี
พระภาคทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุ ในความหมายนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๓๔๔ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๓.โอวาทวรรค ๖.จีวรสิพพนสิกขาบท บทภาชนีย์
ที่ชื่อว่า ผู้ไม่ใช่ญาติ คือ ไม่ใช่คนที่เกี่ยวเนื่องกันทางมารดาหรือทางบิดา
ตลอดเจ็ดชั่วคน
ที่ชื่อว่า ภิกษุณี ได้แก่ มาตุคามที่อุปสมบทในสงฆ์ ๒ ฝ่าย
ที่ชื่อว่า จีวร ได้แก่ จีวร ๖ ชนิด อย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งมีขนาดพอที่จะทำ
วิกัปได้เป็นอย่างต่ำ
คำว่า เย็บ คือ ภิกษุเย็บให้เอง ต้องอาบัติปาจิตตีย์ทุก ๆ รอยเข็ม
คำว่า ใช้ให้เย็บ คือ ภิกษุใช้ให้ผู้อื่นเย็บให้ ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ผู้รับคำสั่ง
ครั้งเดียว แต่เย็บมากครั้ง ภิกษุผู้สั่งต้องอาบัติปาจิตตีย์

บทภาชนีย์
ติกปาจิตตีย์
[๑๗๘] ภิกษุณีที่ไม่ใช่ญาติ ภิกษุสำคัญว่าไม่ใช่ญาติ เย็บหรือใช้ให้เย็บจีวร
ให้ ต้องอาบัติปาจิตตีย์
ภิกษุณีที่ไม่ใช่ญาติ ภิกษุไม่แน่ใจ เย็บหรือใช้ให้เย็บจีวรให้ ต้องอาบัติปาจิตตีย์
ภิกษุณีที่ไม่ใช่ญาติ ภิกษุสำคัญว่าเป็นญาติ เย็บหรือใช้ให้เย็บจีวรให้ ต้อง
อาบัติปาจิตตีย์

ติกทุกกฏ
ภิกษุณีที่อุปสมบทในสงฆ์ฝ่ายเดียว ภิกษุเย็บหรือใช้ให้เย็บจีวรให้ ต้องอาบัติ
ทุกกฏ
ภิกษุณีที่เป็นญาติ ภิกษุสำคัญว่าไม่ใช่ญาติ เย็บหรือให้เย็บจีวรให้ ต้องอาบัติ
ทุกกฏ
ภิกษุณีที่เป็นญาติ ภิกษุไม่แน่ใจ เย็บหรือใช้ให้เย็บจีวรให้ ต้องอาบัติทุกกฏ
ภิกษุณีที่เป็นญาติ ภิกษุสำคัญว่าเป็นญาติ เย็บหรือใช้ให้เย็บจีวร ไม่ต้องอาบัติ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๓๔๕ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๓.โอวาทวรรค ๖.จีวรสิพพนสิกขาบท อนาปัตติวาร
อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[๑๗๙] ๑. ภิกษุเย็บจีวรให้ภิกษุณีผู้เป็นญาติ
๒. ภิกษุเย็บหรือใช้ให้เย็บบริขารอื่นให้ นอกจากจีวร
๓. ภิกษุเย็บจีวรให้สิกขมานา
๔. ภิกษุเย็บจีวรให้สามเณรี
๕. ภิกษุวิกลจริต
๖. ภิกษุต้นบัญญัติ

จีวรสิพพนสิกขาบทที่ ๖ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๓๔๖ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๓.โอวาทวรรค ๗.สังวิธานสิกขาบท นิทานวัตถุ
๓. โอวาทวรรค

๗. สังวิธานสิกขาบท
ว่าด้วยการชักชวนเดินทางร่วมกัน

เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๑๘๐] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ชักชวนกันเดิน
ทางไกลร่วมกันกับภิกษุณีทั้งหลาย พวกชาวบ้านพากันตำหนิ ประณาม โพนทะนา
ว่า “พระสมณะเชื้อสายศากยบุตรเที่ยวไปกับภิกษุณีทั้งหลาย เหมือนพวกเรากับ
ภรรยาเที่ยวไปด้วยกัน”
พวกภิกษุได้ยินชาวบ้านตำหนิ ประณาม โพนทะนา บรรดาภิกษุผู้มักน้อย
ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพวกภิกษุฉัพพัคคีย์จึงชักชวนกันเดิน
ทางไกลร่วมกันกับภิกษุณีทั้งหลายเล่า” ครั้นภิกษุเหล่านั้นตำหนิพวกภิกษุฉัพพัคคีย์
โดยประการต่าง ๆ แล้วจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ

ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามพวกภิกษุฉัพพัคคีย์ว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า พวกเธอชักชวนกันเดินทาง
ไกลร่วมกันกับภิกษุณีทั้งหลาย จริงหรือ” พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ทูลรับว่า “จริง พระ
พุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ฯลฯ โมฆบุรุษทั้งหลาย ไฉน
พวกเธอจึงชักชวนกันเดินทางไกลร่วมกันกับภิกษุณีทั้งหลายเล่า โมฆบุรุษทั้งหลาย
การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุ
ทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๓๔๗ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๓.โอวาทวรรค ๗.สังวิธานสิกขาบท พระบัญญัติ
พระบัญญัติ
ก็ ภิกษุใดชักชวนกันเดินทางไกลร่วมกันกับภิกษุณี โดยที่สุดแม้ชั่วละแวก
หมู่บ้านหนึ่ง ต้องอาบัติปาจิตตีย์
สิกขาบทนี้พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติไว้แก่ภิกษุทั้งหลายอย่างนี้
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ

เรื่องภิกษุและภิกษุณีหลายรูป
[๑๘๑] สมัยนั้น พวกภิกษุและพวกภิกษุณีหลายรูปจะเดินทางไกลจากเมือง
สาเกตไปกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุณีเหล่านั้นได้กล่าวกับภิกษุเหล่านั้นดังนี้ว่า
“พวกดิฉันจะขอเดินทางไปกับพระคุณเจ้าทั้งหลาย”
ภิกษุทั้งหลายกล่าวว่า “น้องหญิงทั้งหลาย การชักชวนกันเดินทางไกลร่วมกัน
กับภิกษุณีไม่สมควร พวกเธอจักไปก่อน หรือพวกเราจักไปก่อน”
ภิกษุณีทั้งหลายตอบว่า “พระคุณเจ้าทั้งหลายเป็นบุรุษผู้ล้ำเลิศ นิมนต์ล่วง
หน้าไปก่อนเถิด เจ้าข้า”
ครั้งนั้น เมื่อภิกษุณีเหล่านั้นเดินทางไปภายหลัง พวกโจรจึงปล้นและทำร้ายใน
ระหว่างทาง ทีนั้น ครั้นภิกษุณีเหล่านั้นเดินทางถึงกรุงสาวัตถีจึงบอกเรื่องนั้นแก่
ภิกษุณีทั้งหลาย ภิกษุณีเหล่านั้นจึงบอกเรื่องนั้นแก่ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นได้
นำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ

ทรงอนุญาตให้เดินทางร่วมกัน
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมีกถาเพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ แล้ว
รับสั่งกับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย หนทางที่จะพึงไปด้วยกองเกวียน ที่รู้กัน
ว่าน่าหวาดระแวง มีภัยน่ากลัว เราอนุญาตให้ชักชวนกันเดินทางไกลร่วมกันกับ
ภิกษุณีได้” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๓๔๘ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๓.โอวาทวรรค ๗.สังวิธานสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์
พระอนุบัญญัติ
[๑๘๒] อนึ่ง ภิกษุใดชักชวนกันเดินทางไกลร่วมกันกับภิกษุณี โดยที่สุด
แม้ชั่วละแวกหมู่บ้านหนึ่ง นอกสมัย ต้องอาบัติปาจิตตีย์ สมัยในข้อนั้น คือ
เป็นหนทางที่จะพึงไปด้วยกองเกวียน ที่รู้กันว่าน่าหวาดระแวง มีภัยน่ากลัว นี้
เป็นสมัยในข้อนั้น
เรื่องภิกษุและนางภิกษุณีหลายรูป จบ

สิกขาบทวิภังค์
[๑๘๓] คำว่า อนึ่ง...ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัส
ว่า อนึ่ง...ใด
คำว่า ภิกษุ มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุ เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระ
ภาคทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุ ในความหมายนี้
ที่ชื่อว่า ภิกษุณี ได้แก่ มาตุคามที่อุปสมบทในสงฆ์ ๒ ฝ่าย
คำว่า กับ คือ โดยความเป็นอันเดียวกัน
คำว่า ชักชวนกัน คือ ชักชวนกันว่า พวกเราไปกันเถิด น้องหญิง พวกเรา
ไปกันเถิด พระคุณเจ้า ไปกันเถิด พระคุณเจ้า พวกเราไปกันเถิด น้องหญิง พวก
เราจะไปวันนี้ พรุ่งนี้ หรือวันมะรืนนี้ ต้องอาบัติทุกกฏ
คำว่า โดยที่สุดแม้ชั่วละแวกหมู่บ้านหนึ่ง คือ หมู่บ้านหนึ่งกำหนดชั่วไก่บิน
ตก ต้องอาบัติปาจิตตีย์ทุก ๆ ละแวกหมู่บ้าน ในป่าที่ไม่มีหมู่บ้าน ต้องอาบัติ
ปาจิตตีย์ทุก ๆ กึ่งโยชน์
คำว่า นอกสมัย คือ ยกเว้นสมัย
ที่ชื่อว่า หนทางที่จะพึงไปด้วยกองเกวียน คือ ไม่สามารถจะไปได้ เว้นไว้
แต่ไปด้วยกองเกวียน


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๓๔๙ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๓.โอวาทวรรค ๗.สังวิธานสิกขาบท บทภาชนีย์
ที่ชื่อว่า น่าหวาดระแวง คือ ในหนทางนั้น ปรากฏที่อยู่ ปรากฏที่กิน
ปรากฏที่ยืน ปรากฏที่นั่ง ปรากฏที่นอนของพวกโจร
ที่ชื่อว่า มีภัยน่ากลัว คือ ในหนทางนั้น ปรากฏมีมนุษย์ถูกพวกโจรฆ่า
ปรากฏมีมนุษย์ถูกปล้น ปรากฏมีมนุษย์ถูกทุบตี
ภิกษุพาไปตลอดทางที่มีภัยน่ากลัว พอเห็นที่ปลอดภัยพึงส่งภิกษุณีทั้งหลาย
ไปด้วยกล่าวว่า “พวกเธอจงไปเถิด”

บทภาชนีย์
ติกปาจิตตีย์
[๑๘๔] ชักชวนกันแล้ว ภิกษุสำคัญว่าชักชวนกันแล้ว เดินทางไกลด้วยกัน
โดยที่สุดแม้ชั่วระยะหมู่บ้านหนึ่ง นอกสมัย ต้องอาบัติปาจิตตีย์
ชักชวนกันแล้ว ภิกษุไม่แน่ใจ เดินทางไกลด้วยกันโดยที่สุดแม้ชั่วระยะหมู่บ้าน
หนึ่ง นอกสมัย ต้องอาบัติปาจิตตีย์
ชักชวนกันแล้ว ภิกษุสำคัญว่าไม่ได้ชักชวน เดินทางไกลด้วยกันโดยที่สุดแม้
ชั่วระยะหมู่บ้านหนึ่ง นอกสมัย ต้องอาบัติปาจิตตีย์

ติกทุกกฏ
ภิกษุชักชวน ภิกษุณีไม่ได้ชักชวน ต้องอาบัติทุกกฏ
ไม่ได้ชักชวน ภิกษุสำคัญว่าชักชวน ต้องอาบัติทุกกฏ
ไม่ได้ชักชวน ภิกษุไม่แน่ใจ ต้องอาบัติทุกกฏ
ไม่ได้ชักชวน ภิกษุสำคัญว่าไม่ได้ชักชวน ไม่ต้องอาบัติ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๓๕๐ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๓.โอวาทวรรค ๗.สังวิธานสิกขาบท อนาปัตติวาร
อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[๑๘๕] ๑. ภิกษุและภิกษุณีไปในสมัยที่ทรงอนุญาต
๒. ภิกษุและภิกษุณีไม่ได้ชักชวนกันไป
๓. ภิกษุไม่ได้ชักชวนแต่ภิกษุณีชักชวน
๔. ภิกษุและภิกษุณีไปด้วยกันโดยมิได้นัดหมายกัน
๕. ภิกษุและภิกษุณีไปในคราวมีเหตุขัดข้อง
๖. ภิกษุวิกลจริต
๗. ภิกษุต้นบัญญัติ

สังวิธานสิกขาบทที่ ๗ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๓๕๑ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๓.โอวาทวรรค ๘.นาวาภิรูหนสิกขาบท นิทานวัตถุ
๓. โอวาทวรรค

๘. นาวาภิรูหนสิกขาบท
ว่าด้วยการโดยสารเรือลำเดียวกัน

เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๑๘๖] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ชักชวนภิกษุณี
ทั้งหลายโดยสารเรือลำเดียวกัน
พวกชาวบ้านพากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “พระสมณะเชื้อสายศากย
บุตรเหล่านี้ชักชวนภิกษุณีทั้งหลายเล่นเรือลำเดียวกัน เหมือนพวกเรากับภรรยาเล่น
เรือลำเดียวกัน”
พวกภิกษุได้ยินชาวบ้านตำหนิ ประณาม โพนทะนา บรรดาภิกษุผู้มักน้อย
ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพวกภิกษุฉัพพัคคีย์จึงชักชวน
ภิกษุณีทั้งหลายโดยสารเรือลำเดียวกันเล่า” ครั้นแล้วภิกษุเหล่านั้นจึงนำเรื่องนี้ไป
กราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ

ทรงบัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงสอบถามพวกภิกษุฉัพพัคคีย์ว่า “ภิกษุทั้งหลาย
ทราบว่า พวกเธอชักชวนภิกษุณีทั้งหลายโดยสารเรือลำเดียวกัน จริงหรือ” พวก
ภิกษุฉัพพัคคีย์ทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิ
ว่า “ฯลฯ โมฆบุรุษทั้งหลาย ไฉนพวกเธอจึงชักชวนภิกษุณีทั้งหลายโดยสารเรือ
ลำเดียวกันเล่า โมฆบุรุษทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้
เลื่อมใส ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๓๕๒ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๓.โอวาทวรรค ๘.นาวาภิรูหนสิกขาบท พระบัญญัติ
พระบัญญัติ
ก็ ภิกษุใดชักชวนภิกษุณีโดยสารเรือลำเดียวกัน ไปทวนน้ำก็ตาม ไปตาม
น้ำก็ตาม ต้องอาบัติปาจิตตีย์
สิกขาบทนี้พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติไว้แก่ภิกษุทั้งหลายอย่างนี้
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ

เรื่องภิกษุและภิกษุณีหลายรูป
[๑๘๗] สมัยนั้น พวกภิกษุและพวกภิกษุณีหลายรูปจะเดินทางไกลจากเมือง
สาเกตไปกรุงสาวัตถี ระหว่างทางมีแม่น้ำที่ต้องข้าม ครั้งนั้น ภิกษุณีเหล่านั้นได้กล่าว
กับภิกษุเหล่านั้นดังนี้ว่า “พวกดิฉันจะขอข้ามไปพร้อมกับพระคุณเจ้าทั้งหลาย”
ภิกษุทั้งหลายกล่าวว่า “น้องหญิงทั้งหลาย การชักชวนภิกษุณีโดยสารเรือ
ลำเดียวกันไม่สมควร พวกเธอจักข้ามไปก่อน หรือพวกเราจักข้ามไปก่อน”
ภิกษุณีทั้งหลายตอบว่า “พระคุณเจ้าทั้งหลายเป็นบุรุษผู้ล้ำเลิศ นิมนต์ข้ามไป
ก่อนเถิด เจ้าข้า”
ครั้งนั้น เมื่อภิกษุณีเหล่านั้นข้ามไปภายหลัง พวกโจรจึงปล้นและทำร้าย
ในระหว่างทาง ทีนั้น ครั้นภิกษุณีเหล่านั้นเดินทางถึงกรุงสาวัตถีจึงบอกเรื่องนั้น
แก่ภิกษุณีทั้งหลาย ภิกษุณีเหล่านั้นจึงบอกเรื่องนั้นแก่ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้น
ได้นำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ

ทรงอนุญาตให้โดยสารเรือลำเดียวกันข้ามฟาก
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมีกถาเพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ แล้ว
รับสั่งกับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ในการข้ามฟาก เราอนุญาตให้ชักชวน
ภิกษุณีโดยสารเรือลำเดียวกันได้” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้น
แสดงดังนี้


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๓๕๓ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๓.โอวาทวรรค ๘.นาวาภิรูหนสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์
พระอนุบัญญัติ
[๑๘๘] อนึ่ง ภิกษุใดชักชวนภิกษุณีโดยสารเรือลำเดียวกัน ไปทวนน้ำ
ก็ตาม ไปตามน้ำก็ตาม ต้องอาบัติปาจิตตีย์ เว้นไว้แต่ข้ามฟาก
เรื่องภิกษุและภิกษุณีหลายรูป จบ

สิกขาบทวิภังค์
[๑๘๙] คำว่า อนึ่ง...ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัส
ว่า อนึ่ง...ใด
คำว่า ภิกษุ มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุ เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระ
ภาคทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุ ในความหมายนี้
ที่ชื่อว่า ภิกษุณี ได้แก่ มาตุคามที่อุปสมบทในสงฆ์ ๒ ฝ่าย
คำว่า กับ คือ รวมกันโดยความเป็นอันเดียวกัน
คำว่า ชักชวนกัน คือ ชักชวนกันว่า ไปโดยสารเรือกันเถิด น้องหญิง ไปโดย
สารเรือกันเถิด พระคุณเจ้า ไปโดยสารเรือกันเถิด เจ้าค่ะ ไปโดยสารเรือกันเถิดจ้ะ
พวกเราจะไปโดยสารเรือกันวันนี้ พรุ่งนี้ หรือวันมะรืนนี้ ต้องอาบัติทุกกฏ
เมื่อภิกษุณีโดยสาร ภิกษุโดยสาร ต้องอาบัติปาจิตตีย์
เมื่อภิกษุโดยสาร ภิกษุณีโดยสาร ต้องอาบัติปาจิตตีย์
ภิกษุและภิกษุณีทั้งสองโดยสาร ต้องอาบัติปาจิตตีย์
คำว่า ไปทวนน้ำ คือ แล่นทวนกระแสน้ำ
คำว่า ไปตามน้ำ คือ แล่นตามกระแสน้ำ
คำว่า เว้นไว้แต่ข้ามฟาก คือ ยกเว้นแต่ข้ามฝั่งน้ำ
หมู่บ้านหนึ่งกำหนดชั่วไก่บินตก ต้องอาบัติปาจิตตีย์ทุก ๆ ละแวกหมู่บ้าน ใน
ป่าที่ไม่มีหมู่บ้าน ต้องอาบัติปาจิตตีย์ทุก ๆ กึ่งโยชน์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๓๕๔ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๓.โอวาทวรรค ๘.นาวาภิรูหนสิกขาบท อนาปัตติวาร
บทภาชนีย์
ติกปาจิตตีย์
[๑๙๐] ชักชวนกันแล้ว ภิกษุสำคัญว่าชักชวนกันแล้ว โดยสารเรือลำเดียวกัน
ไปทวนน้ำก็ตาม ไปตามน้ำก็ตาม ต้องอาบัติปาจิตตีย์ เว้นไว้แต่ข้ามฟาก
ชักชวนกันแล้ว ภิกษุไม่แน่ใจ โดยสารเรือลำเดียวกัน ไปทวนน้ำก็ตาม
ไปตามน้ำก็ตาม ต้องอาบัติปาจิตตีย์ เว้นไว้แต่ข้ามฟาก
ชักชวนกันแล้ว ภิกษุสำคัญว่าไม่ได้ชักชวน โดยสารเรือลำเดียวกัน ไปทวนน้ำ
ก็ตาม ไปตามน้ำก็ตาม ต้องอาบัติปาจิตตีย์ เว้นไว้แต่ข้ามฟาก

ติกทุกกฏ
ภิกษุชักชวน ภิกษุณีไม่ได้ชักชวน ต้องอาบัติทุกกฏ
ไม่ได้ชักชวน ภิกษุสำคัญว่าชักชวนกันแล้ว ต้องอาบัติทุกกฏ
ไม่ได้ชักชวน ภิกษุไม่แน่ใจ ต้องอาบัติทุกกฏ
ไม่ได้ชักชวน ภิกษุสำคัญว่าไม่ได้ชักชวน ไม่ต้องอาบัติ

อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[๑๙๑] ๑. ภิกษุและภิกษุณีโดยสารเรือข้ามฟาก
๒. ภิกษุและภิกษุณีไม่ได้ชักชวนกันโดยสารเรือ
๓. ภิกษุไม่ได้ชักชวน แต่ภิกษุณีชักชวน
๔. ภิกษุและภิกษุณีโดยสารเรือโดยมิได้นัดหมายกัน
๕. ภิกษุและภิกษุณีไปในคราวมีเหตุขัดข้อง
๖. ภิกษุวิกลจริต
๗. ภิกษุต้นบัญญัติ

นาวาภิรูหนสิกขาบทที่ ๘ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๓๕๕ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๓.โอวาทวรรค ๙.ปริปาจิตสิกขาบท นิทานวัตถุ
๓. โอวาทวรรค

๙. ปริปาจิตสิกขาบท
ว่าด้วยการฉันบิณฑบาตที่ภิกษุณีแนะนำให้จัดเตรียม

เรื่องภิกษุณีถุลลนันทา
[๑๙๒] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเวฬุวัน สถานที่
ให้เหยื่อกระแต เขตกรุงราชคฤห์ ครั้งนั้น ภิกษุณีชื่อถุลลนันทาเป็นผู้ใกล้ชิดตระกูล
ของตระกูลหนึ่งรับภัตตาหารประจำ คหบดีนั้นนิมนต์ภิกษุผู้เป็นเถระหลายรูปไว้
ครั้งนั้น ในเวลาเช้า ภิกษุณีชื่อถุลลนันทาครองอันตรวาสกถือบาตรและจีวร
เข้าไปถึงตระกูลนั้น ครั้นถึงแล้วได้กล่าวกับคหบดีนั้นดังนี้ว่า “คหบดี ทำไมท่าน
จึงเตรียมของเคี้ยวของฉันไว้มากมาย”
คหบดีตอบว่า “แม่เจ้า กระผมนิมนต์พระเถระทั้งหลายไว้ ขอรับ”
ภิกษุณีชื่อถุลลนันทาถามว่า “คหบดี พระเถระเหล่านั้น ใครบ้าง”
คหบดีตอบว่า “คือ พระคุณเจ้าสารีบุตร พระคุณเจ้ามหาโมคคัลลานะ พระ
คุณเจ้ามหากัจจายนะ พระคุณเจ้ามหาโกฏฐิตะ พระคุณเจ้ามหากัปปินะ พระคุณเจ้า
มหาจุนทะ พระคุณเจ้าอนุรุทธะ พระคุณเจ้าเรวตะ พระคุณเจ้าอุบาลี พระคุณเจ้า
อานนท์ พระคุณเจ้าราหุล”
ภิกษุณีถุลลนันทาถามว่า “คหบดี เมื่อมีพระเถระผู้ใหญ่ ทำไมท่านจึงนิมนต์
พระผู้น้อยเล่า”
“พระเถระผู้ใหญ่ของท่าน มีใครบ้าง ขอรับ”
“พระคุณเจ้าเทวทัต พระคุณเจ้าโกกาลิกะ พระคุณเจ้ากตโมรกติสสกะ๑ พระ
คุณเจ้าขัณฑเทวีบุตร พระคุณเจ้าสมุทททัต”

เชิงอรรถ :
๑ วินัยปิฎกเล่ม ๑ เป็น กฏโมรกติสสกะ (วิ.มหา. ๑/๔๐๙/๓๐๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๓๕๖ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๓.โอวาทวรรค ๙.ปริปาจิตสิกขาบท พระบัญญัติ
ในขณะที่ภิกษุณีชื่อถุลลนันทากล่าวค้างอยู่นี้ พอดีกับที่พระเถระเหล่านั้นเข้า
มา นางกลับพูดว่า “ถูกแล้ว คหบดี ท่านนิมนต์พระเถระผู้ใหญ่ทั้งนั้น”
คหบดีกล่าวว่า “เมื่อสักครู่นี่เอง ท่านกล่าวว่าพระคุณเจ้าทั้งหลายเป็นพระ
ผู้น้อย แต่เดี๋ยวนี้กลับกล่าวว่าเป็นพระเถระผู้ใหญ่” จึงขับนางออกจากเรือนและงด
ภัตตาหารที่ถวายประจำ
บรรดาภิกษุผู้มักน้อย ฯลฯ จึงพากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉน
พระเทวทัตรู้อยู่จึงฉันบิณฑบาตที่ภิกษุณีแนะนำให้จัดเตรียมเล่า” ครั้นภิกษุเหล่านั้น
ตำหนิพระเทวทัตโดยประการต่าง ๆ แล้วจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้
ทรงทราบ

ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามพระเทวทัตว่า “เทวทัต ทราบว่า เธอรู้อยู่ฉันบิณฑบาตที่ภิกษุณีแนะ
นำให้จัดเตรียม จริงหรือ” พระเทวทัตทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มี
พระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ฯลฯ โมฆบุรุษ ไฉนเธอรู้อยู่จึงฉันบิณฑบาตที่
ภิกษุณีแนะนำให้จัดเตรียมเล่า โมฆบุรุษ การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่
เลื่อมใสให้เลื่อมใส ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้

พระบัญญัติ
ก็ ภิกษุใดรู้อยู่ ฉันบิณฑบาตที่ภิกษุณีแนะนำให้จัดเตรียม ต้องอาบัติ
ปาจิตตีย์
สิกขาบทนี้พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติไว้แก่ภิกษุทั้งหลายอย่างนี้
เรื่องภิกษุณีถุลลนันทา จบ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๓๕๗ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๓.โอวาทวรรค ๙.ปริปาจิตสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์
เรื่องภิกษุรูปหนึ่ง
[๑๙๓] สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งบวชจากกรุงราชคฤห์ ได้เดินทางไปตระกูลญาติ
พวกชาวบ้านถวายภัตตาหารด้วยความดีใจว่า นาน ๆ พระคุณเจ้าจึงมา ภิกษุณีผู้
ใกล้ชิดตระกูลของตระกูลนั้นได้กล่าวกับพวกชาวบ้านดังนี้ว่า “ท่านทั้งหลายจงถวาย
ภัตตาหารแก่พระคุณเจ้า”
ทีนั้น ภิกษุนั้นมีความยำเกรงว่า พระผู้มีพระภาคทรงห้ามภิกษุผู้รู้อยู่ฉัน
บิณฑบาตที่ภิกษุณีแนะนำให้จัดเตรียม จึงไม่ยอมรับประเคน ไม่สามารถไปเที่ยว
บิณฑบาต ได้อดอาหาร ครั้นไปอารามจึงบอกเรื่องนั้นแก่ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้น
จึงได้นำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ

ทรงอนุญาตให้ฉันบิณฑบาตที่คฤหัสถ์ปรารภไว้ก่อน
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมีกถาเพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ รับสั่ง
กับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย เมื่อคฤหัสถ์ปรารภไว้ก่อน เราอนุญาตให้ภิกษุ
ผู้รู้อยู่ฉันบิณฑบาตที่ภิกษุณีแนะนำให้จัดเตรียมได้” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลาย
ยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้

พระอนุบัญญัติ
[๑๙๔] อนึ่ง ภิกษุใดรู้อยู่ ฉันบิณฑบาตที่ภิกษุณีแนะนำให้จัดเตรียม
ต้องอาบัติปาจิตตีย์ เว้นไว้แต่ภัตตาหารที่คฤหัสถ์ปรารภไว้ก่อน
เรื่องภิกษุรูปหนึ่ง จบ

สิกขาบทวิภังค์
[๑๙๕] คำว่า อนึ่ง...ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
อนึ่ง...ใด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๓๕๘ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๓.โอวาทวรรค ๙.ปริปาจิตสิกขาบท บทภาชนีย์
คำว่า ภิกษุ มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุ เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระ
ภาคทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุ ในความหมายนี้
ที่ชื่อว่า รู้อยู่ คือ รู้เอง ผู้อื่นบอกให้ภิกษุนั้นรู้ หรือภิกษุณีบอก
ที่ชื่อว่า ภิกษุณี ได้แก่ มาตุคามที่อุปสมบทในสงฆ์ ๒ ฝ่าย
ที่ชื่อว่า แนะนำให้จัดเตรียม คือ เขาไม่ประสงค์จะถวาย หรือไม่ประสงค์
จะกระทำแต่แรก ภิกษุณีกล่าวว่า “พระคุณเจ้าเป็นนักสวด พระคุณเจ้าเป็นพหูสูต
พระคุณเจ้าเป็นผู้ชำนาญพระสูตร พระคุณเจ้าเป็นผู้ทรงวินัย พระคุณเจ้าเป็น
ธรรมกถึก ท่านทั้งหลายจงถวายแก่พระคุณเจ้า จงทำถวายแก่พระคุณเจ้า” อย่างนี้
ชื่อว่าแนะนำให้จัดเตรียม
ที่ชื่อว่า บิณฑบาต ได้แก่ โภชนะ ๕ อย่าง อย่างใดอย่างหนึ่ง
คำว่า เว้นไว้แต่ภัตตาหารที่คฤหัสถ์ปรารภไว้ก่อน คือ ยกเว้นที่คฤหัสถ์
ริเริ่มไว้
ที่ชื่อว่า คฤหัสถ์ปรารภไว้ คือ เขาเป็นญาติ เป็นผู้ปวารณาภิกษุไว้ หรือ
ของเขาจัดแจงไว้ตามปกติ
[๑๙๖] ภิกษุรับประเคนด้วยตั้งใจว่าจะฉัน ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุฉัน
ต้องอาบัติปาจิตตีย์ทุก ๆ คำกลืน เว้นไว้แต่ภัตตาหารที่คฤหัสถ์ปรารภไว้ก่อน

บทภาชนีย์
บิณฑบาตที่ภิกษุณีแนะนำให้จัดเตรียม ภิกษุสำคัญว่าภิกษุณีแนะนำให้จัด
เตรียม ฉัน ต้องอาบัติปาจิตตีย์ เว้นไว้แต่ภัตตาหารที่คฤหัสถ์ปรารภไว้ก่อน
บิณฑบาตที่ภิกษุณีแนะนำให้จัดเตรียม ภิกษุไม่แน่ใจ ฉัน ต้องอาบัติทุกกฏ
เว้นไว้แต่ภัตตาหารที่คฤหัสถ์ปรารภไว้ก่อน
บิณฑบาตที่ภิกษุณีแนะนำให้จัดเตรียม ภิกษุสำคัญว่าไม่ได้แนะนำให้จัดเตรียม
ฉัน ไม่ต้องอาบัติ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๓๕๙ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๓.โอวาทวรรค ๙.ปริปาจิตสิกขาบท อนาปัตติวาร
ภิกษุฉันบิณฑบาตที่ภิกษุณีผู้อุปสมบทในสงฆ์ฝ่ายเดียวแนะนำให้จัดเตรียม
ต้องอาบัติทุกกฏ เว้นไว้แต่ภัตตาหารที่คฤหัสถ์ปรารภไว้ก่อน
บิณฑบาตที่ภิกษุณีไม่ได้แนะนำให้จัดเตรียม ภิกษุสำคัญว่าภิกษุณีแนะนำให้
จัดเตรียม ฉัน ต้องอาบัติทุกกฏ
บิณฑบาตที่ภิกษุณีไม่ได้แนะนำให้จัดเตรียม ภิกษุไม่แน่ใจ ฉัน ต้องอาบัติ
ทุกกฏ
บิณฑบาตที่ภิกษุณีไม่ได้แนะนำให้จัดเตรียม ภิกษุสำคัญว่าไม่ได้แนะนำให้จัดเตรียม
ไม่ต้องอาบัติ

อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[๑๙๗] ๑. ภิกษุฉันบิณฑบาตที่คฤหัสถ์ปรารภไว้ก่อน
๒. ภิกษุฉันบิณฑบาตที่สิกขมานาแนะนำให้จัดเตรียม
๓. ภิกษุฉันบิณฑบาตที่สามเณรีแนะนำให้จัดเตรียม
๔. ภิกษุฉันอาหารทุกชนิด ยกเว้นโภชนะ ๕๑
๕. ภิกษุวิกลจริต
๖. ภิกษุต้นบัญญัติ

ปริปาจิตสิกขาบทที่ ๙ จบ

เชิงอรรถ :
๑ โภชนะ ๕ คือ ข้าวสุก ขนมสด ข้าวตู ปลา เนื้อ (ดู ข้อ ๒๓๙ หน้า ๓๙๗ ในเล่มนี้)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๓๖๐ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๓.โอวาทวรรค ๑๐.รโหนิสัชชสิกขาบท นิทานวัตถุ
๓. โอวาทวรรค

๑๐. รโหนิสัชชสิกขาบท
ว่าด้วยการนั่งในที่ลับ

เรื่องพระอุทายี
[๑๙๘] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น อดีตภรรยาของท่านพระอุทายี
บวชในสำนักภิกษุณีทั้งหลาย ภิกษุณีนั้นมาที่สำนักท่านพระอุทายีเป็นประจำ ท่าน
พระอุทายีก็ไปสำนักของภิกษุณีนั้นเป็นประจำ สมัยนั้น ท่านพระอุทายีนั่งในที่ลับ
กับภิกษุณีนั้นสองต่อสอง
บรรดาภิกษุผู้มักน้อย ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนท่าน
พระอุทายีจึงนั่งในที่ลับกับภิกษุณีสองต่อสองเล่า” ครั้นภิกษุเหล่านั้นตำหนิท่านพระ
อุทายีโดยประการต่าง ๆ แล้วจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ

ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามท่านพระอุทายีว่า “อุทายี ทราบว่า เธอนั่งในที่ลับกับภิกษุณีสองต่อสอง
จริงหรือ” ท่านพระอุทายีทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า
ทรงตำหนิว่า “ฯลฯ โมฆบุรุษ ไฉนเธอจึงนั่งอยู่ในที่ลับกับภิกษุณีสองต่อสองเล่า
โมฆบุรุษ การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่
เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบท
นี้ขึ้นแสดงดังนี้

พระบัญญัติ
[๑๙๙] ก็ ภิกษุใดนั่งในที่ลับกับภิกษุณีสองต่อสอง ต้องอาบัติปาจิตตีย์
เรื่องพระอุทายี จบ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๓๖๑ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๓.โอวาทวรรค ๑๐.รโหนิสัชชสิกขาบท บทภาชนีย์
สิกขาบทวิภังค์
[๒๐๐] คำว่า ก็...ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ก็...ใด
คำว่า ภิกษุ มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุ เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระ
ภาคทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุ ในความหมายนี้
ที่ชื่อว่า ภิกษุณี ได้แก่ มาตุคามที่อุปสมบทในสงฆ์ ๒ ฝ่าย
คำว่า กับ คือ โดยความเป็นอันเดียวกัน
คำว่า สองต่อสอง ได้แก่ ภิกษุกับภิกษุณี
ที่ชื่อว่า ที่ลับ ได้แก่ ที่ลับตา ที่ลับหู
ที่ชื่อว่า ที่ลับตา หมายถึง ที่ซึ่งเมื่อบุคคลขยิบตา ยักคิ้ว หรือผงกศีรษะขึ้น
ใคร ๆ ก็ไม่สามารถแลเห็นได้
ที่ชื่อว่า ที่ลับหู หมายถึง ที่ซึ่งไม่มีใครสามารถจะได้ยินถ้อยคำที่พูดกันตาม
ปกติ
คำว่า นั่ง หมายความว่า เมื่อภิกษุณีนั่ง ภิกษุนั่งใกล้ หรือนอนใกล้กัน
ต้องอาบัติปาจิตตีย์
[๒๐๑] เมื่อภิกษุนั่ง ภิกษุณีนั่งใกล้หรือนอนใกล้ ภิกษุต้องอาบัติปาจิตตีย์
ภิกษุและภิกษุณีทั้งสองนั่งใกล้หรือนอนใกล้กัน ภิกษุต้องอาบัติปาจิตตีย์

บทภาชนีย์
ติกปาจิตตีย์
ที่ลับ ภิกษุสำคัญว่าเป็นที่ลับ นั่งสองต่อสอง ต้องอาบัติปาจิตตีย์
ที่ลับ ภิกษุไม่แน่ใจ นั่งสองต่อสอง ต้องอาบัติปาจิตตีย์
ที่ลับ ภิกษุสำคัญว่าไม่ใช่ที่ลับ นั่งสองต่อสอง ต้องอาบัติปาจิตตีย์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๓๖๒ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๓.โอวาทวรรค ๑๐.รโหนิสัชชสิกขาบท อนาปัตติวาร
ทุกทุกกฏ
ไม่ใช่ที่ลับ ภิกษุสำคัญว่าเป็นที่ลับ นั่งสองต่อสอง ต้องอาบัติทุกกฏ
ไม่ใช่ที่ลับ ภิกษุไม่แน่ใจ นั่งสองต่อสอง ต้องอาบัติทุกกฏ
ไม่ใช่ที่ลับ ภิกษุสำคัญว่าไม่ใช่ที่ลับ ไม่ต้องอาบัติ

อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[๒๐๒] ๑. ภิกษุมีบุรุษรู้เดียงสาอยู่เป็นเพื่อน
๒. ภิกษุยืน ไม่ได้นั่ง
๓. ภิกษุไม่ได้มุ่งว่าเป็นที่ลับ
๔. ภิกษุนั่งคิดเรื่องอื่น
๕. ภิกษุวิกลจริต
๖. ภิกษุต้นบัญญัติ

รโหนิสัชชสิกขาบทที่ ๑๐ จบ

โอวาทวรรคที่ ๓ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๓๖๓ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๓.โอวาทวรรค รวมสิกขาบทที่มีในโอวาสวรรค
รวมสิกขาบทที่มีในโอวาทวรรค
โอวาทวรรคมี ๑๐ สิกขาบท คือ

๑. โอวาทสิกขาบท ว่าด้วยการสั่งสอนภิกษุณี
๒. อัตถังคตสิกขาบท ว่าด้วยการสั่งสอนภิกษุณีในเวลาที่ดวง
อาทิตย์อัสดงแล้ว
๓. ภิกขุนูปัสสยสิกขาบท ว่าด้วยการไปสั่งสอนภิกษุณีถึงที่สำนัก
๔. อามิสสิกขาบท ว่าด้วยการสั่งสอนภิกษุณีเพราะเห็นแก่อามิส
๕. จีวรทานสิกขาบท ว่าด้วยการถวายจีวร
๖. จีวรสิพพนสิกขาบท ว่าด้วยการเย็บจีวรให้ภิกษุณี
๗. สังวิธานสิกขาบท ว่าด้วยการชักชวนเดินทางร่วมกัน
๘. นาวาภิรูหนสิกขาบท ว่าด้วยการโดยสารเรือลำเดียวกัน
๙. ปริปาจิตสิกขาบท ว่าด้วยการฉันบิณฑบาตที่ภิกษุณีแนะนำ
ให้จัดเตรียม
๑๐. รโหนิสัชชสิกขาบท ว่าด้วยการนั่งในที่ลับ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๓๖๔ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๔.โภชนวรรค ๑.อาวสถปิณฑสิกขาบท นิทานวัตถุ
๔. โภชนวรรค
หมวดว่าด้วยโภชนะ

๑. อาวสถปิณฑสิกขาบท๑
ว่าด้วยการฉันภัตตาหารในที่พักแรม

เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๒๐๓] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น ในที่ไม่ไกลกรุงสาวัตถี มีสมาคม
หนึ่งจัดตั้งภัตตาหารไว้ในที่พักแรม ในเวลาเช้า พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ครองอันตรวาสก
แล้วถือบาตรและจีวรเข้าไปบิณฑบาตในกรุงสาวัตถี เมื่อไม่ได้ภัตตาหารจึงได้ไปยังที่
พักแรม
พวกชาวบ้านถวายภัตตาหารด้วยความดีใจว่า นาน ๆ พระคุณเจ้าจึงมา
ครั้งนั้น แม้ในวันที่ ๒ พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ ฯลฯ แม้ในวันที่ ๓ พวกภิกษุ
ฉัพพัคคีย์ครองอันตรวาสก แล้วถือบาตรและจีวรเข้าไปบิณฑบาตในกรุงสาวัตถี เมื่อ
ไม่ได้ภัตตาหารจึงได้ไปยังที่พักแรม แล้วฉันภัตตาหาร ครั้งนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์
ได้ปรึกษากันดังนี้ว่า “พวกเราจะกลับไปอารามทำไมกัน พรุ่งนี้ก็ต้องมาที่นี่อีก” จึง
อยู่ฉันภัตตาหารในที่พักแรมเป็นประจำ พวกเดียรถีย์จึงพากันจากไป
พวกชาวบ้านพากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพระสมณะเชื้อสาย
ศากยบุตรจึงอยู่ฉันภัตตาหารในที่พักแรมเป็นประจำเล่า ภัตตาหารในที่พักแรมเขา
ไม่ได้จัดไว้เพื่อท่านเหล่านี้เท่านั้น แต่ภัตตาหารในที่พักแรมเขาจัดไว้เพื่อสาธารณชน
ต่างหาก”

เชิงอรรถ :
๑ คำว่า “อาวสถ” ท่านอธิบายไว้ว่า “อาคนฺตฺวา วสนฺติ เอตฺถ อาคนฺตุกาติ อาวสโถ คือสถานที่สำหรับ
คนจรมาพักอาศัย (สารตฺถ.ฏีกา ๓/๒๘๕/๓๖๙), อาวสโถ นาม กวาฏพทฺโธ วุจฺจติ ท่านหมายเอาที่พัก
อาศัยติดบานประตู (วิ.ภิกฺขุนี. ๓/๑๐๑๐/๑๔๙), อาวสถนฺติ กวาฏพทฺธวิหารํ ที่พักอาศัย คือที่พักอาศัย
ติดบานประตู (กงฺขา.อ. ๓๘๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๓๖๕ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๔.โภชนวรรค ๑.อาวสถปิณฑสิกขาบท พระบัญญัติ
พวกภิกษุได้ยินพวกชาวบ้านตำหนิ ประณาม โพนทะนา บรรดาภิกษุผู้มักน้อย
ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพวกภิกษุฉัพพัคคีย์จึงอยู่ฉัน
ภัตตาหารในที่พักแรมเป็นประจำเล่า” ครั้นภิกษุเหล่านั้นตำหนิพวกภิกษุฉัพพัคคีย์
โดยประการต่าง ๆ แล้วจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ

ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามพวกภิกษุฉัพพัคคีย์ว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า พวกเธออยู่ฉันภัตตาหาร
ในที่พักแรมเป็นประจำ จริงหรือ” พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ทูลรับว่า “จริง พระพุทธ
เจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ฯลฯ โมฆบุรุษทั้งหลาย ไฉนพวก
เธอจึงอยู่ฉันภัตตาหารในที่พักแรมเป็นประจำเล่า โมฆบุรุษทั้งหลาย การกระทำ
อย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใส
ยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้

พระบัญญัติ
ภิกษุฉันภัตตาหารในที่พักแรม๑ ได้มื้อเดียว ถ้าฉันเกินกว่านั้น ต้องอาบัติ
ปาจิตตีย์
สิกขาบทนี้พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติไว้แก่ภิกษุทั้งหลายอย่างนี้
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ

เรื่องพระสารีบุตร
[๒๐๔] สมัยนั้น ท่านพระสารีบุตรเดินทางไปกรุงสาวัตถี ในแคว้นโกศล
เข้าไปยังที่พักแรมแห่งหนึ่ง พวกชาวบ้านถวายภัตตาหารด้วยความดีใจว่า นานๆ
พระคุณเจ้าจึงมา

เชิงอรรถ :
๑ อาวสถปิณฺฑ ภัตตาหารในที่พักแรมคืออาหารที่ทายกผู้ต้องการบุญจัดไว้ในที่พักแรมซึ่งสร้างไว้มีรั้วล้อมรอบ
มีห้องหลายห้องมีหน้ามุข ตั้งเตียงตั่งไว้สำหรับคนเดินทาง คนไข้ หญิงมีครรภ์ และบรรพชิต (วิ.อ.๒/๒๐๓/๓๔๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๓๖๖ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๔.โภชนวรรค ๑.อาวสถปิณฑสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์
ครั้นพระสารีบุตรฉันภัตตาหารเสร็จแล้ว เกิดเป็นไข้อย่างหนักจนไม่สามารถ
จะออกไปจากที่พักแรมนั้นได้ ครั้นในวันที่ ๒ พวกชาวบ้านได้กราบเรียนท่าน
พระสารีบุตรดังนี้ว่า “นิมนต์ฉันเถิด พระคุณเจ้า”
ครั้งนั้น ท่านพระสารีบุตรมีความยำเกรงอยู่ว่า “พระผู้มีพระภาคทรงห้ามการ
อยู่ฉันภัตตาหารในที่พักแรมเป็นประจำ” จึงไม่รับ ยอมอดอาหาร ครั้นท่านพระ
สารีบุตรเดินทางถึงกรุงสาวัตถี ได้เล่าเรื่องนั้นให้ภิกษุทั้งหลายทราบ ภิกษุเหล่านั้น
ได้นำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ

ทรงอนุญาตภิกษุเป็นไข้ให้ฉันอาหารในที่พักแรมได้
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมีกถาเพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ รับสั่ง
กับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุเป็นไข้พักอยู่ฉันภัตตาหาร
ในที่พักแรมเป็นประจำได้” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้

พระอนุบัญญัติ
[๒๐๕] ภิกษุไม่เป็นไข้ พึงอยู่ฉันภัตตาหารในที่พักแรมได้มื้อเดียว๑ ถ้า
ฉันเกินกว่านั้น ต้องอาบัติปาจิตตีย์
เรื่องพระสารีบุตร จบ

สิกขาบทวิภังค์
[๒๐๖] ที่ชื่อว่า ภิกษุไม่เป็นไข้ คือ ภิกษุที่สามารถจะหลีกออกไปจากที่
พักแรมนั้นได้

เชิงอรรถ :
๑ คำว่า “มื้อเดียว” ท่านอธิบายไว้ว่า “เอโกติ เอกทิวสิโก มื้อเดียว คือเพียงวันเดียว (กงฺขา.อ. ๒๕๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๓๖๗ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๔.โภชนวรรค ๑.อาวสถปิณฑสิกขาบท บทภาชนีย์
ที่ชื่อว่า เป็นไข้ คือ ภิกษุที่ไม่สามารถจะหลีกออกไปจากที่พักแรมนั้นได้
ที่ชื่อว่า ภัตตาหารในที่พักแรม ได้แก่ โภชนะ ๕ อย่าง อย่างใดอย่างหนึ่ง
ที่เขาจัดไว้ที่ศาลา ที่มณฑป ที่โคนไม้ หรือที่กลางแจ้ง อย่างเพียงพอ มิได้เจาะจง
ผู้ใด
ภิกษุไม่เป็นไข้พึงฉันได้มื้อเดียว หากรับประเคนเกินกว่านั้นด้วยคิดว่า จะฉัน
ต้องอาบัติทุกกฏ ฉัน ต้องอาบัติปาจิตตีย์ทุก ๆ คำกลืน

บทภาชนีย์
ติกปาจิตตีย์
[๒๐๗] ไม่เป็นไข้ ภิกษุสำคัญว่าไม่เป็นไข้ ฉันภัตตาหารในที่พักแรมเกินกว่า
นั้น ต้องอาบัติปาจิตตีย์
ไม่เป็นไข้ ภิกษุไม่แน่ใจ ฉันภัตตาหารในที่พักแรมเกินกว่านั้น ต้องอาบัติ
ปาจิตตีย์
ไม่เป็นไข้ ภิกษุสำคัญว่าเป็นไข้ ฉันภัตตาหารในที่พักแรมเกินกว่านั้น ต้อง
อาบัติปาจิตตีย์

ทุกทุกกฏ
เป็นไข้ ภิกษุสำคัญว่าไม่เป็นไข้ ฉันภัตตาหารในที่พักแรมเกินกว่านั้น ต้อง
อาบัติทุกกฏ
เป็นไข้ ภิกษุไม่แน่ใจ ฉันภัตตาหารในที่พักแรมเกินกว่านั้น ต้องอาบัติทุกกฏ
เป็นไข้ ภิกษุสำคัญว่าเป็นไข้ ฉันภัตตาหารในที่พักแรมเกินกว่านั้น ไม่ต้อง
อาบัติ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๓๖๘ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๔.โภชนวรรค ๑.อาวสถปิณฑสิกขาบท อนาปัตติวาร
อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[๒๐๘] ๑. ภิกษุเป็นไข้
๒. ภิกษุไม่เป็นไข้ฉันมื้อเดียว
๓. ภิกษุเดินทางไปหรือมาแล้วแวะฉัน
๔. ภิกษุที่เจ้าของทานนิมนต์ให้ฉัน
๕. ภิกษุฉันภัตตาหารที่เขาจัดไว้จำเพาะ
๖. ภิกษุฉันภัตตาหารที่เขาไม่ได้จัดไว้อย่างเพียงพอ
๗. ภิกษุฉันภัตตาหารทุกชนิดยกเว้นโภชนะ ๕
๘. ภิกษุวิกลจริต
๙. ภิกษุต้นบัญญัติ

อาวสถปิณฑสิกขาบทที่ ๑ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๓๖๙ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๔.โภชนวรรค ๒.คณโภชนสิกขาบท นิทานวัตถุ
๔. โภชนวรรค

๒. คณโภชนสิกขาบท
ว่าด้วยการฉันคณโภชนะ

เรื่องพระเทวทัต
[๒๐๙] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเวฬุวัน สถานที่
ให้เหยื่อกระแต เขตกรุงราชคฤห์ ครั้งนั้น พระเทวทัตพร้อมกับบริษัทเสื่อมลาภ
สักการะ จึงพากันออกปากขอภัตตาหารในตระกูลทั้งหลายมาฉัน
พวกชาวบ้านพากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพวกพระสมณะเชื้อ
สายศากยบุตรจึงเที่ยวออกปากขอภัตตาหารในตระกูลทั้งหลายมาฉันเล่า ภัตตาหาร
ที่ดีใครจะไม่พอใจ ภัตตาหารอร่อยใครจะไม่ชอบเล่า”
พวกภิกษุได้ยินพวกชาวบ้านตำหนิ ประณาม โพนทะนา บรรดาภิกษุผู้
มักน้อย ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพระเทวทัตพร้อมกับ
บริษัทจึงเที่ยวออกปากขอภัตตาหารในตระกูลทั้งหลายมาฉันเล่า” ครั้นภิกษุเหล่านั้น
ตำหนิพระเทวทัตโดยประการต่าง ๆ แล้วจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้
ทรงทราบ

ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามพระเทวทัตว่า “เทวทัต ทราบว่า เธอพร้อมกับบริษัทเที่ยวออกปากขอ
ภัตตาหารในตระกูลทั้งหลายมาฉัน จริงหรือ” พระเทวทัตทูลรับว่า “จริง พระพุทธ
เจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “โมฆบุรุษ ไฉนเธอพร้อมกับบริษัท
จึงเที่ยวออกปากขอภัตตาหารในตระกูลทั้งหลายมาฉันเล่า โมฆบุรุษ การกระทำ
อย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใส
ยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๓๗๐ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๔.โภชนวรรค ๒.คณโภชนสิกขาบท พระอนุบัญญัติ
พระบัญญัติ
ภิกษุต้องอาบัติปาจิตตีย์ เพราะฉันคณโภชนะ๑
สิกขาบทนี้พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติไว้แก่ภิกษุทั้งหลายอย่างนี้
เรื่องพระเทวทัต จบ

เรื่องภิกษุเป็นไข้
[๒๑๐] สมัยนั้น พวกชาวบ้านนิมนต์พวกภิกษุเป็นไข้ฉันภัตตาหาร ภิกษุ
เหล่านั้นมีความยำเกรงอยู่ว่า “พระผู้มีพระภาคทรงห้ามการฉันคณโภชนะ” จึงไม่รับ
นิมนต์ ภิกษุทั้งหลายนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ

ทรงอนุญาตให้ฉันคณโภชนะได้ในสมัยที่เป็นไข้
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมีกถาเพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ รับสั่ง
กับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุเป็นไข้ฉันคณโภชนะได้”
แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้

พระอนุบัญญัติ
ภิกษุ ต้องอาบัติปาจิตตีย์ เพราะฉันคณโภชนะนอกสมัย สมัยในข้อนั้น
คือ สมัยที่เป็นไข้ นี้เป็นสมัยในข้อนั้น
สิกขาบทนี้พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติไว้แก่ภิกษุทั้งหลายอย่างนี้
เรื่องภิกษุเป็นไข้ จบ

เชิงอรรถ :
๑ การฉันคณโภชนะ มีได้ ๒ กรณี (๑) ทายกนิมนต์ไปฉัน (๒) ภิกษุออกปากขอภัตตาหารมาฉัน (วิ.ป.๘/
๓๒๒/๒๖๑) คือทายกนิมนต์ภิกษุตั้งแต่ ๔ รูปขึ้นไปพร้อมกันไปฉันโดยออกชื่ออาหาร ภิกษุไปพร้อมกัน
รับประเคนพร้อมกัน ฉันพร้อมกัน แต่ถือการรับประเคนพร้อมกันเป็นประมาณ ถ้ารับประเคนแยกกัน
ไม่ต้องอาบัติ นี้จัดเป็นคณโภชนะโดยทายกนิมนต์ และอีกกรณีหนึ่ง ภิกษุตั้งแต่ ๔ รูปขึ้นไป ยืนหรือนั่ง
อยู่ด้วยกันเห็นอุบาสกแล้วออกปากขอว่า ท่านจงถวายภัตตาหารแก่อาตมาทั้ง ๔ รูป หรือเห็นต่างคราว
กัน แล้วต่างออกปากขอร่วมกัน หรือต่างคราวกันว่า ท่านจงถวายภัตตาหารแก่อาตมา ท่านจงถวาย
ภัตตาหารแก่อาตมา แล้วจะไปพร้อมกัน หรือไปแยกกัน จะรับประเคนภัตตาหารแล้วฉันพร้อมกัน หรือ
แยกกันฉันก็ตาม ต้องอาบัติเพราะถือการรับประเคนพร้อมกันเป็นประมาณ นี้จัดเป็นคณโภชนะโดยการ
ออกปากขอ (วิ.อ.๒/๒๑๗-๘/๓๔๖-๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๓๗๑ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๔.โภชนวรรค ๒.คณโภชนสิกขาบท พระอนุบัญญัติ
ทรงอนุญาตให้ฉันคณโภชนะได้ในสมัยที่ถวายจีวร
[๒๑๑] สมัยนั้น พวกชาวบ้านตระเตรียมภัตตาหารพร้อมจีวรในสมัยที่จะ
ถวายจีวร แล้วนิมนต์ภิกษุทั้งหลายด้วยตั้งใจว่า “พวกเรานิมนต์ภิกษุทั้งหลายฉัน
แล้วจะให้ครองจีวร”
ภิกษุทั้งหลายมีความยำเกรงอยู่ว่า “พระผู้มีพระภาคทรงห้ามการฉันคณโภชนะ”
ไม่รับนิมนต์ จึงได้จีวรเพียงเล็กน้อย ภิกษุทั้งหลายนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระ
ภาคให้ทรงทราบ
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมีกถาเพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ รับสั่ง
กับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ฉันคณโภชนะได้ในสมัยที่ถวาย
จีวร” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้

พระอนุบัญญัติ
ภิกษุต้องอาบัติปาจิตตีย์ เพราะฉันคณโภชนะนอกสมัย สมัยในข้อนั้น คือ
สมัยที่เป็นไข้ สมัยที่ถวายจีวร นี้เป็นสมัยในข้อนั้น
สิกขาบทนี้พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติไว้แก่ภิกษุทั้งหลายอย่างนี้

เรื่องทรงอนุญาตให้ฉันคณโภชนะได้ในสมัยที่ทำจีวร
[๒๑๒] สมัยนั้น พวกชาวบ้านนิมนต์พวกภิกษุผู้ทำจีวรฉันภัตตาหาร ภิกษุ
ทั้งหลายมีความยำเกรงอยู่ว่า “พระผู้มีพระภาคทรงห้ามการฉันคณโภชนะ” จึงไม่
รับนิมนต์ ภิกษุทั้งหลายนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมีกถาเพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ รับสั่ง
กับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ฉันคณโภชนะได้ในสมัยที่ทำ
จีวร” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๓๗๒ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๔.โภชนวรรค ๒.คณโภชนสิกขาบท พระอนุบัญญัติ
พระอนุบัญญัติ
ภิกษุต้องอาบัติปาจิตตีย์ เพราะฉันคณโภชนะนอกสมัย สมัยในข้อนั้น
คือ สมัยที่เป็นไข้ สมัยที่ถวายจีวร สมัยที่ทำจีวร นี้เป็นสมัยในข้อนั้น
สิกขาบทนี้พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติไว้แก่ภิกษุทั้งหลายอย่างนี้

ทรงอนุญาตให้ฉันคณโภชนะได้ในสมัยที่เดินทางไกล
[๒๑๓] สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายเดินทางไกลไปกับพวกชาวบ้าน ครั้งนั้น
ภิกษุเหล่านั้นได้กล่าวกับพวกชาวบ้านเหล่านั้นดังนี้ว่า “ท่านทั้งหลาย พวกท่าน
โปรดรอสักครู่ พวกอาตมาจะไปบิณฑบาต”
พวกชาวบ้านได้กล่าวกับภิกษุเหล่านั้นอย่างนี้ว่า “พระคุณเจ้าทั้งหลาย นิมนต์
พวกท่านฉันที่นี่แหละ”
ภิกษุทั้งหลายมีความยำเกรงอยู่ว่า “พระผู้มีพระภาคทรงห้ามการฉันคณโภชนะ”
จึงไม่รับแล้วได้นำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมีกถาเพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ รับสั่ง
กับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ฉันคณโภชนะได้ในสมัยที่เดินทาง
ไกล” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้

พระอนุบัญญัติ
ภิกษุต้องอาบัติปาจิตตีย์ เพราะฉันคณโภชนะนอกสมัย สมัยในข้อนั้น
คือ สมัยที่เป็นไข้ สมัยที่ถวายจีวร สมัยที่ทำจีวร สมัยที่เดินทางไกล นี้เป็น
สมัยในข้อนั้น
สิกขาบทนี้พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติไว้แก่ภิกษุทั้งหลายอย่างนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๓๗๓ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๔.โภชนวรรค ๒.คณโภชนสิกขาบท พระอนุบัญญัติ
เรื่องทรงอนุญาตให้ฉันคณโภชนะได้ในสมัยที่โดยสารเรือ
[๒๑๔] สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายโดยสารเรือไปกับพวกชาวบ้านครั้งนั้นภิกษุ
เหล่านั้นได้กล่าวกับพวกชาวบ้านเหล่านั้นอย่างนี้ว่า “ท่านทั้งหลาย พวกท่านโปรด
นำเรือเข้าเทียบที่ฝั่งสักครู่ พวกอาตมาจะไปบิณฑบาต”
พวกชาวบ้านเหล่านั้นจึงกล่าวอย่างนี้ว่า “พระคุณเจ้าทั้งหลาย นิมนต์พวก
ท่านฉันที่นี่แหละ”
ภิกษุทั้งหลายมีความยำเกรงอยู่ว่า “พระผู้มีพระภาคทรงห้ามการฉันคณ โภชนะ”
จึงไม่รับ แล้วได้นำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมีกถาเพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ รับสั่ง
กับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ฉันคณโภชนะได้ในสมัยที่โดยสาร
เรือ” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้

พระอนุบัญญัติ
ภิกษุต้องอาบัติปาจิตตีย์ เพราะฉันคณโภชนะนอกสมัย สมัยในข้อนั้น
คือ สมัยที่เป็นไข้ สมัยที่ถวายจีวร สมัยที่ทำจีวร สมัยที่เดินทางไกล สมัยที่โดย
สารเรือ นี้เป็นสมัยในข้อนั้น
สิกขาบทนี้พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติไว้แก่ภิกษุทั้งหลายอย่างนี้

เรื่องทรงอนุญาตให้ฉันคณโภชนะได้ในมหาสมัย
[๒๑๕] สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายในถิ่นต่าง ๆ ออกพรรษาแล้ว ได้เดินทางมา
เฝ้าพระผู้มีพระภาคที่กรุงราชคฤห์ พวกชาวบ้านเห็นภิกษุทั้งหลายผู้มาจากต่างถิ่น
จึงนิมนต์ฉันภัตตาหาร
ภิกษุทั้งหลายมีความยำเกรงอยู่ว่า “พระผู้มีพระภาคทรงห้ามการฉันคณโภชนะ”
จึงไม่รับนิมนต์ แล้วได้นำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๓๗๔ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๔.โภชนวรรค ๒.คณโภชนสิกขาบท พระอนุบัญญัติ
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมีกถาเพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ รับสั่ง
กับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ฉันคณโภชนะได้ในมหาสมัย”
แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้

พระอนุบัญญัติ
ภิกษุต้องอาบัติปาจิตตีย์ เพราะฉันคณโภชนะนอกสมัย สมัยในข้อนั้น คือ
สมัยที่เป็นไข้ สมัยที่ถวายจีวร สมัยที่ทำจีวร สมัยที่เดินทางไกล สมัยที่โดย
สารเรือ มหาสมัย นี้เป็นสมัยในข้อนั้น
สิกขาบทนี้พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติไว้แก่ภิกษุทั้งหลายอย่างนี้

ทรงอนุญาตให้ฉันคณโภชนะได้ในสมัยที่เป็นภัตตาหารของสมณะ
[๒๑๖] สมัยนั้น พระญาติร่วมสายโลหิตของพระเจ้าพิมพิสารจอมทัพมคธ
รัฐทรงผนวชในสำนักของอาชีวกทั้งหลาย ครั้งนั้น อาชีวกนั้นได้เข้าไปเฝ้าพระเจ้า
พิมพิสารถึงพระราชสำนัก ครั้นถึงแล้วได้ถวายพระพรพระเจ้าพิมพิสารจอมทัพมคธ
รัฐดังนี้ว่า “มหาบพิตร อาตมาปรารถนาจะจัดภัตตาหารถวายนักบวชผู้เป็นเจ้าลัทธิ
ทั้งหมด”
พระเจ้าพิมพิสารจอมทัพมคธตรัสว่า “พระคุณเจ้า ถ้าท่านนิมนต์ภิกษุสงฆ์มี
พระพุทธเจ้าเป็นประมุขให้มาฉันก่อน โยมจึงจะจัดถวาย”
ครั้งนั้น อาชีวกนั้นส่งทูตไปหาภิกษุทั้งหลายให้อาราธนาว่า “ขอนิมนต์ภิกษุ
ทั้งหลายรับภัตตาหารของข้าพเจ้าเพื่อฉันในวันพรุ่งนี้”
ภิกษุทั้งหลายมีความยำเกรงอยู่ว่า “พระผู้มีพระภาคทรงห้ามการฉันคณโภชนะ”
จึงไม่รับนิมนต์
ครั้งนั้น อาชีวกนั้นจึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ครั้นถึงแล้วได้
สนทนาปราศรัยกับพระผู้มีพระภาคพอเป็นที่บรรเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกัน แล้วได้
ยืนอยู่ ณ ที่สมควร อาชีวกผู้ยืนอยู่ ณ ที่สมควรนั้นได้กราบทูลพระผู้มีพระภาค

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๓๗๕ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๔.โภชนวรรค ๒.คณโภชนสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์
ดังนี้ว่า “ท่านพระโคดมก็เป็นบรรพชิต ข้าพเจ้าก็เป็นบรรพชิต บรรพชิตควรจะรับ
ภัตตาหารของบรรพชิต ขอท่านพระโคดมพร้อมกับภิกษุสงฆ์โปรดรับภัตตาหารของ
ข้าพเจ้าเพื่อฉันในวันพรุ่งนี้เถิด”
พระผู้มีพระภาคทรงรับนิมนต์โดยดุษณีภาพ ครั้นอาชีวกทราบว่าพระผู้มี
พระภาคทรงรับนิมนต์แล้ว จึงถวายอภิวาทแล้วจากไป
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมีกถาเพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ รับสั่ง
กับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลายเราอนุญาตให้ฉันคณโภชนะได้ในสมัยที่เป็น
ภัตตาหารของสมณะ” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้

พระอนุบัญญัติ
[๒๑๗] ภิกษุต้องอาบัติปาจิตตีย์ เพราะฉันคณโภชนะนอกสมัย สมัยใน
ข้อนั้น คือ สมัยที่เป็นไข้ สมัยที่ถวายจีวร สมัยที่ทำจีวร สมัยที่เดินทางไกล
สมัยที่โดยสารเรือ มหาสมัย สมัยที่เป็นภัตตาหารของสมณะ นี้เป็นสมัยใน
ข้อนั้น

สิกขาบทวิภังค์
[๒๑๘] ที่ชื่อว่า ฉันคณโภชนะ คือ ภิกษุ ๔ รูปที่เขานิมนต์ด้วยโภชนะ ๕
อย่าง อย่างใดอย่างหนึ่ง แล้วไปฉัน นี้ชื่อว่าฉันคณโภชนะ๑
คำว่า นอกสมัย คือ ยกเว้นสมัย
ที่ชื่อว่า สมัยที่เป็นไข้ คือ ที่สุดแม้กระทั่งเท้าแตก ภิกษุคิดว่า เป็นสมัยที่
เป็นไข้ พึงฉันได้
ที่ชื่อว่า สมัยที่ถวายจีวร คือ เมื่อยังไม่ได้กรานกฐิน กำหนดเอาเดือนสุดท้าย
แห่งฤดูฝน เมื่อกรานกฐินแล้วมีกำหนดเวลา ๕ เดือน ภิกษุคิดว่า เป็นสมัยที่ถวาย
จีวร พึงฉันได้

เชิงอรรถ :
๑ คณโภชนํ ฉันคณโภชนะ คือ คณสฺส โภชเน ฉันโภชนะ(อาหาร)ของคณะ (วิ.อ. ๒/๒๑๗-๒๑๘/๓๔๖),
คเณน ลทฺธตฺตา คณสฺส สนฺตเก โภชเน ฉันโภชนะที่เป็นของคณะซึ่งคณะได้มา (กงฺขา.ฏีกา ๔๐๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๓๗๖ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๔.โภชนวรรค ๒.คณโภชนสิกขาบท บทภาชนีย์
ที่ชื่อว่า สมัยที่ทำจีวร คือ เมื่อภิกษุกำลังทำจีวร ภิกษุคิดว่า เป็นสมัยที่ทำ
จีวร พึงฉันได้
ที่ชื่อว่า สมัยที่เดินทางไกล คือ ภิกษุคิดว่า เราจะเดินทางครึ่งโยชน์ พึงฉัน
ได้ เมื่อภิกษุนั้นไป พึงฉันได้ กลับมาถึงแล้ว พึงฉันได้
ที่ชื่อว่า สมัยที่โดยสารเรือ คือ ภิกษุคิดว่า เราจะโดยสารเรือ พึงฉันได้
เมื่อภิกษุนั้นโดยสารไป พึงฉันได้ ขากลับ พึงฉันได้
ที่ชื่อว่า มหาสมัย คือ คราวมีภิกษุ ๒-๓ รูปเที่ยวบิณฑบาตพอเลี้ยงกัน เมื่อ
มีภิกษุรูปที่ ๔ มารวมด้วย ไม่พอเลี้ยงกัน ภิกษุคิดว่า เป็นมหาสมัย พึงฉันได้
ที่ชื่อว่า สมัยที่เป็นภัตตาหารของสมณะ คือ ในคราวมีปริพาชกจัดภัตตาหาร
ถวาย ภิกษุคิดว่า เป็นสมัยที่เป็นภัตตาหารของสมณะ พึงฉันได้
ภิกษุรับด้วยคิดว่า “จะฉัน” นอกสมัย ต้องอาบัติทุกกฏ ฉัน ต้องอาบัติ
ปาจิตตีย์ทุก ๆ คำกลืน

บทภาชนีย์
ติกปาจิตตีย์
[๒๑๙] คณโภชนะ ภิกษุสำคัญว่าคณโภชนะ ฉันนอกสมัย ต้องอาบัติ
ปาจิตตีย์
คณโภชนะ ภิกษุไม่แน่ใจ ฉันนอกสมัย ต้องอาบัติปาจิตตีย์
คณโภชนะ ภิกษุสำคัญว่าไม่ใช่คณโภชนะ ฉันนอกสมัย ต้องอาบัติปาจิตตีย์

ทุกทุกกฏ
ไม่ใช่คณโภชนะ ภิกษุสำคัญว่าคณโภชนะ ฉันนอกสมัย ต้องอาบัติทุกกฏ
ไม่ใช่คณโภชนะ ภิกษุไม่แน่ใจ ฉันนอกสมัย ต้องอาบัติทุกกฏ
ไม่ใช่คณโภชนะ ภิกษุสำคัญว่าไม่ใช่คณโภชนะ ฉันนอกสมัย ไม่ต้อง
อาบัติ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๓๗๗ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๔.โภชนวรรค ๒.คณโภชนสิกขาบท อนาปัตติวาร
อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[๒๒๐] ๑. ภิกษุฉันในสมัย
๒. ภิกษุ ๒-๓ รูปฉันร่วมกัน
๓. ภิกษุหลายรูปเที่ยวบิณฑบาตแล้วประชุมฉันร่วมกัน
๔. ภิกษุฉันภัตตาหารที่เขาถวายเป็นนิตย์
๕. ภิกษุฉันภัตตาหารที่เขาถวายตามสลาก
๖. ภิกษุฉันภัตตาหารที่เขาถวายในปักษ์
๗. ภิกษุฉันภัตตาหารที่เขาถวายในวันอุโบสถ
๘. ภิกษุฉันภัตตาหารที่เขาถวายในวันปาฏิบท๑
๙. ภิกษุฉันภัตตาหารทุกชนิด ยกเว้นโภชนะ ๕
๑๐. ภิกษุวิกลจริต
๑๑. ภิกษุต้นบัญญัติ

คณโภชนสิกขาบทที่ ๒ จบ

เชิงอรรถ :
๑ วันปาฏิบท คือวันแรม ๑ ค่ำ ทายกคิดว่าวันอุโบสถมีผู้ศรัทธาเลื่อมใสถวายภัตตาหารกันมาก ส่วนวันแรม
๑ ค่ำ ภิกษุทั้งหลายลำบากเรื่องภัตตาหาร ทานที่ถวายในวันปาฏิบท เป็นการถวายภิกษาหารที่หาได้ยาก
อีกประการหนึ่ง ภิกษุสงฆ์ลงปาติโมกข์แล้ววันรุ่งขึ้นจึงมีศีลบริสุทธิ์ การถวายทานแก่ท่านย่อมมีผลานิสงส์
มาก การถวายทานในวันปาฏิบท คือถวายถัดจากวันขึ้น ๑๕ ค่ำ ไปหนึ่งวัน (วิ.อ.๓/๓๗๗-๓๗๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๓๗๘ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๔.โภชนวรรค ๓.ปรัมปรโภชนสิกขาบท นิทานวัตถุ
๔. โภชนวรรค

๓. ปรัมปรโภชนสิกขาบท
ว่าด้วยการฉันปรัมปรโภชนะ

เรื่องชายกรรมกรผู้ยากจน
[๒๒๑] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ กูฏาคารศาลา ป่า
มหาวัน เขตกรุงเวสาลี ครั้งนั้น พวกชาวบ้านจัดลำดับวาระถวายภัตตาหารอย่าง
ประณีตไว้ใน กรุงเวสาลี ครั้งนั้น ชายกรรมกรยากจนคนหนึ่งได้มีความคิดดังนี้ว่า
ทานนี้ไม่ใช่เป็นของต่ำต้อย๑ เพราะพวกชาวบ้านเหล่านี้ได้ช่วยกันจัดภัตตาหารโดย
เคารพ เอาเถิด แม้ตัวเราก็พึงจัดภัตตาหารบ้าง
ครั้งนั้น ชายกรรมกรผู้ยากจนคนนั้นได้เข้าไปหานายจ้างชื่อกิรปติกะถึงที่อยู่
ครั้นถึงแล้วได้กล่าวกับนายกิรปติกะดังนี้ว่า “นายท่าน กระผมต้องการจัดภัตตาหาร
ถวายภิกษุสงฆ์ซึ่งมีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข ท่านกรุณาให้ค่าจ้างแก่กระผมด้วย”
นายกิรปติกะมีศรัทธาเลื่อมใสอยู่แล้วจึงได้ให้ค่าจ้างแก่เขามากกว่าปกติ
ครั้งนั้น ชายกรรมกรผู้ยากจนคนนั้นได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
ครั้นถึงแล้วได้ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาค แล้วนั่ง ณ ที่สมควร ชายกรรมกรผู้
ยากจนคนนั้นผู้นั่ง ณ ที่สมควรแล้วได้กราบอาราธนาพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ขอ
พระผู้มีพระภาคพร้อมกับภิกษุสงฆ์โปรดรับภัตตาหารของข้าพระพุทธเจ้าเพื่อฉันใน
วันพรุ่งนี้เถิด พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อุบาสก ภิกษุสงฆ์มีจำนวนมาก ท่านจงทราบ”
ชายกรรมกรผู้ยากจนกราบทูลว่า “พระองค์ผู้เจริญ ถึงภิกษุสงฆ์มีจำนวนมาก
ก็ไม่เป็นไร ข้าพระพุทธเจ้าจัดเตรียมผลพุทราไว้มากมาย น้ำพุทรามีเพียงพอ”

เชิงอรรถ :
๑ อีกนัยหนึ่ง ศาสนานี้หรือการถวายทานพระสงฆ์ซึ่งมีพระพุทธเจ้าเป็นประมุขนี้ มิใช่เรื่องต่ำต้อย คือมิใช่
เรื่องเล็กน้อยเลวทราม (วิ.อ. ๒/๒๒๑/๓๕๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๓๗๙ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๔.โภชนวรรค ๓.ปรัมปรโภชนสิกขาบท นิทานวัตถุ
พระผู้มีพระภาคทรงรับนิมนต์โดยดุษณีภาพ
ครั้นชายกรรมกรผู้ยากจนทราบว่าพระผู้มีพระภาคทรงรับนิมนต์แล้วจึงลุกขึ้น
จากอาสนะ ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาค ทำประทักษิณแล้วจากไป
ภิกษุทั้งหลายได้ทราบข่าวว่า ชายกรรมกรผู้ยากจนนิมนต์ภิกษุสงฆ์มีพระ
พุทธเจ้าเป็นประมุขเพื่อฉันภัตตาหารในวันพรุ่งนี้ น้ำพุทรามีเพียงพอ ภิกษุเหล่านั้น
ได้เที่ยวบิณฑบาตแล้วฉันแต่เช้าตรู่ทีเดียว
พวกชาวบ้านได้ทราบข่าวว่า ชายกรรมกรผู้ยากจนนิมนต์ภิกษุสงฆ์มีพระ
พุทธเจ้าเป็นประมุข พวกชาวบ้านเหล่านั้นจึงได้นำขาทนียโภชนียาหารจำนวนมาก
ไปให้ชายกรรมกรผู้ยากจน
ครั้งนั้นแล ตลอดราตรีนั้น ชายกรรมกรผู้ยากจนได้จัดเตรียมขาทนีย
โภชนียาหารอย่างประณีต ให้คนไปกราบทูลภัตตกาลว่า “ได้เวลาแล้ว พระพุทธ
เจ้าข้า ภัตตาหารเสร็จแล้ว พระพุทธเจ้าข้า”
ครั้นเวลาเช้า พระผู้มีพระภาคทรงครองอันตรวาสก ถือบาตรและจีวรเสด็จไป
ถึงที่อยู่ของชายกรรมกรผู้ยากจน ครั้นถึงแล้วได้ประทับนั่งบนอาสนะที่เขาจัดถวาย
พร้อมภิกษุสงฆ์ ทีนั้น ชายกรรมกรผู้ยากจนถวายภัตตาหารภิกษุทั้งหลายที่หอฉัน
ภิกษุทั้งหลายได้กล่าวอย่างนี้ว่า “อุบาสก จงถวายแต่น้อยเถิด อุบาสก จงถวาย
แต่น้อยเถิด”
ชายกรรมกรผู้ยากจนกล่าวว่า “พระคุณเจ้าทั้งหลาย พวกพระคุณเจ้าอย่า
เข้าใจว่าผู้นี้เป็นกรรมกรยากจน แล้วรับแต่น้อย ๆ เลย กระผมได้จัดเตรียมขาทนีย
โภชนียาหารไว้อย่างเพียงพอ พระคุณเจ้าทั้งหลายโปรดรับให้พอแก่ความ
ต้องการเถิด”
ภิกษุทั้งหลายกล่าวว่า “พวกอาตมาขอรับแต่น้อย ไม่ใช่เพราะเหตุนั้น แต่
พวกอาตมาได้เที่ยวบิณฑบาตฉันมาแต่เช้าแล้วต่างหาก ดังนั้น พวกอาตมาจึงขอ
รับแต่น้อยๆ”
ลำดับนั้น ชายกรรมกรผู้ยากจนจึงตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉน
พระคุณเจ้าทั้งหลายที่เรานิมนต์ไว้แล้ว จึงได้ไปฉันในที่อีกแห่งหนึ่งเล่า เราไม่
สามารถจะถวายให้พอแก่ความต้องการหรือ”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๓๘๐ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๔.โภชนวรรค ๓.ปรัมปรโภชนสิกขาบท พระบัญญัติ
ภิกษุทั้งหลายได้ยินชายกรรมกรผู้ยากจนตำหนิ ประณาม โพนทะนา บรรดา
ภิกษุผู้มักน้อย ฯลฯ จึงพากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนภิกษุทั้งหลาย
รับนิมนต์ไว้ที่หนึ่งแล้วจึงไปฉันในที่อีกแห่งหนึ่งเล่า” ครั้นภิกษุทั้งหลายตำหนิภิกษุ
เหล่านั้นโดยประการต่าง ๆ แล้วจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ

ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามภิกษุเหล่านั้นว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า ภิกษุทั้งหลายรับนิมนต์ไว้ที่หนึ่ง
แล้วไปฉันอีกในที่อีกแห่งหนึ่ง จริงหรือ” ภิกษุเหล่านั้นทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ภิกษุทั้งหลาย ไฉนโมฆบุรุษเหล่านั้นจึงรับ
นิมนต์ไว้ที่หนึ่งแล้วไปฉันในที่อีกแห่งหนึ่งเล่า ภิกษุทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้ มิได้
ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ”
แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้

พระบัญญัติ
ภิกษุต้องอาบัติปาจิตตีย์ เพราะฉันปรัมปรโภชนะ๑
สิกขาบทนี้พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติไว้แก่ภิกษุทั้งหลายอย่างนี้
เรื่องชายกรรมกรผู้ยากจน จบ

เรื่องภิกษุเป็นไข้
[๒๒๒] สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งเป็นไข้ ภิกษุอีกรูปหนึ่งนำบิณฑบาตไปถึงที่อยู่
ครั้นถึงแล้ว ได้กล่าวกับภิกษุรูปที่เป็นไข้นั้นดังนี้ว่า “นิมนต์ท่านฉันเถิด ขอรับ”
ภิกษุเป็นไข้ตอบว่า “ไม่ล่ะขอรับ กระผมมีภัตตาหารที่หวังว่าจะได้”

เชิงอรรถ :
๑ ฉันปรัมปรโภชนะ คือภิกษุรับนิมนต์ฉันภัตตาหารของทายกรายหนึ่งแล้ว ไปฉันภัตตาหารของทายกราย
อื่นก่อนแล้วกลับมาฉันรายแรกภายหลัง โดยมิได้ยกนิมนต์รายแรกให้ภิกษุรูปอื่น (กงฺขา.อ. ๒๕๖)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๓๘๑ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๔.โภชนวรรค ๓.ปรัมปรโภชนสิกขาบท พระอนุบัญญัติ
ทายกนำบิณฑบาตมาถวายภิกษุเป็นไข้รูปนั้น ในเวลาสาย ภิกษุเป็นไข้รูป
นั้นฉันไม่ได้ตามที่คิดไว้ ภิกษุทั้งหลายได้นำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรง
ทราบ

ทรงอนุญาตให้ฉันปรัมปรโภชนะได้ในสมัยที่เป็นไข้
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมีกถาเพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ รับสั่ง
กับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุเป็นไข้ฉันปรัมปรโภชนะได้”
แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้

พระอนุบัญญัติ
ภิกษุต้องอาบัติปาจิตตีย์ เพราะฉันปรัมปรโภชนะนอกสมัย สมัยในข้อ
นั้น คือ สมัยที่เป็นไข้ นี้เป็นสมัยในข้อนั้น
สิกขาบทนี้พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติไว้แก่ภิกษุทั้งหลายอย่างนี้
เรื่องภิกษุเป็นไข้ จบ

ทรงอนุญาตให้ฉันปรัมปรโภชนะได้ในสมัยที่ถวายจีวร
[๒๒๓] สมัยนั้น พวกชาวบ้านตระเตรียมภัตตาหารพร้อมจีวรในสมัยที่จะ
ถวายจีวร แล้วนิมนต์ภิกษุทั้งหลายด้วยตั้งใจว่า พวกเรานิมนต์ภิกษุทั้งหลายฉันแล้ว
จะให้ครองจีวร
ภิกษุทั้งหลายมีความยำเกรงอยู่ว่า “พระผู้มีพระภาคทรงห้ามการฉัน
ปรัมปรโภชนะ” ไม่รับนิมนต์ จึงได้จีวรเพียงเล็กน้อย ภิกษุทั้งหลายนำเรื่องนี้ไป
กราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมีกถาเพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ รับสั่ง
กับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ฉันปรัมปรโภชนะได้ในสมัย
ที่ถวายจีวร” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๓๘๒ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๔.โภชนวรรค ๓.ปรัมปรโภชนสิกขาบท พระอนุบัญญัติ
พระอนุบัญญัติ
ภิกษุต้องอาบัติปาจิตตีย์ เพราะฉันปรัมปรโภชนะนอกสมัย สมัยในข้อ
นั้น คือ สมัยที่เป็นไข้ สมัยที่ถวายจีวร นี้เป็นสมัยในข้อนั้น
สิกขาบทนี้พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติไว้แก่ภิกษุทั้งหลายอย่างนี้

เรื่องทรงอนุญาตให้ฉันปรัมปรโภชนะได้ในสมัยที่ทำจีวร
[๒๒๔] สมัยนั้น พวกชาวบ้านนิมนต์พวกภิกษุผู้ทำจีวรฉันภัตตาหาร ภิกษุ
ทั้งหลายมีความยำเกรงอยู่ว่า “พระผู้มีพระภาคทรงห้ามการฉันปรัมปรโภชนะ” จึง
ไม่รับนิมนต์ ภิกษุทั้งหลายนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมีกถาเพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ รับสั่ง
กับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ฉันปรัมปรโภชนะได้ในสมัยที่ทำ
จีวร” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้

พระอนุบัญญัติ
[๒๒๕] ภิกษุต้องอาบัติปาจิตตีย์ เพราะฉันปรัมปรโภชนะนอกสมัย สมัย
ในข้อนั้น คือ สมัยที่เป็นไข้ สมัยที่ถวายจีวร สมัยที่ทำจีวร นี้เป็นสมัยในข้อนั้น
สิกขาบทนี้พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติไว้แก่ภิกษุทั้งหลายอย่างนี้

เรื่องวิกัปอาหารที่หวังว่าจะได้
[๒๒๖] ครั้งนั้น ในเวลาเช้า พระผู้มีพระภาคทรงครองอันตรวาสกถือบาตร
และจีวร มีท่านพระอานนท์เป็นปัจฉาสมณะเสด็จเข้าไปตระกูลหนึ่ง ครั้นถึงแล้วได้
ประทับนั่งบนอาสนะที่เขาจัดถวาย
ลำดับนั้น พวกชาวบ้านได้ถวายโภชนาหารแด่พระผู้มีพระภาคและท่านพระ
อานนท์ ท่านพระอานนท์มีความยำเกรงอยู่จึงไม่รับประเคน
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “รับเถิด อานนท์”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๓๘๓ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๔.โภชนวรรค ๓.ปรัมปรโภชนสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์
ท่านพระอานนท์กราบทูลว่า “อย่าเลย พระพุทธเจ้าข้า ข้าพระพุทธเจ้ามี
ภัตตาหารที่หวังว่าจะได้”
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “อานนท์ ถ้าเช่นนั้น เธอจงวิกัปไว้แล้วรับ”๑
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมีกถาเพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ แล้ว
รับสั่งกับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้วิกัปภัตตาหารที่หวังว่าจะ
ได้แล้วฉันปรัมปรโภชนะ” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายวิกัปภัตตาหารที่หวังว่าจะได้
อย่างนี้

คำวิกัปอาหาร
กระผมถวายภัตตาหารที่กระผมหวังว่าจะได้แก่ภิกษุชื่อนี้๒
เรื่องวิกัปอาหารที่หวังว่าจะได้ จบ

สิกขาบทวิภังค์
[๒๒๗] ที่ชื่อว่า ปรัมปรโภชนะ คือ ภิกษุที่ทายกนิมนต์ด้วยโภชนะ ๕ อย่าง
อย่างใดอย่างหนึ่งไว้ งดเว้นโภชนะนั้น ไปฉันโภชนะ ๕ อย่าง อย่างใดอย่างหนึ่ง อื่น
จากที่ตนรับนิมนต์ไว้ อย่างนี้ชื่อว่าปรัมปรโภชนะ
คำว่า นอกสมัย คือ ยกเว้นสมัย
ที่ชื่อว่า สมัยที่เป็นไข้ คือ นั่ง ณ อาสนะแห่งเดียว ไม่อาจจะฉันให้พอแก่
ความต้องการได้ ภิกษุคิดว่า เป็นสมัยที่เป็นไข้ พึงฉันได้
ที่ชื่อว่า สมัยที่ถวายจีวร คือ เมื่อยังไม่ได้กรานกฐิน กำหนดเอาเดือนสุดท้าย
แห่งฤดูฝน เมื่อกรานกฐินแล้ว มีกำหนดเวลา ๕ เดือน ภิกษุคิดว่า เป็นสมัยที่
ถวายจีวร พึงฉันได้

เชิงอรรถ :
๑ วิกัปภัตตาหาร คือยกภัตตาหารที่รับนิมนต์ไว้ก่อนให้ภิกษุรูปอื่น
๒ ในคัมภีร์บริวารและคัมภีร์ฎีกานับการวิกัปภัตตาหารเป็นพระอนุบัญญัติ (วิ.ป. ๘/๘๖/๓๔, สารตฺถ.ฏีกา
๓/๒๒๖/๗๐, วิมติ. ฏีกา ๒/๒๒๑/๓๘, กงฺขา. ฏีกา ๔๐๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๓๘๔ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๔.โภชนวรรค ๓.ปรัมปรโภชนสิกขาบท อนาปัตติวาร
ที่ชื่อว่า สมัยที่ทำจีวร คือ เมื่อภิกษุกำลังทำจีวร ภิกษุคิดว่า เป็นสมัยที่ทำ
จีวร พึงฉันได้
ภิกษุรับด้วยคิดว่า “จะฉัน” นอกสมัย ต้องอาบัติทุกกฏ ฉัน ต้องอาบัติ
ปาจิตตีย์ทุก ๆ คำกลืน

บทภาชนีย์
ติกปาจิตตีย์
[๒๒๘] ปรัมปรโภชนะ ภิกษุสำคัญว่าปรัมปรโภชนะ ฉันนอกสมัย ต้องอาบัติ
ปาจิตตีย์
ปรัมปรโภชนะ ภิกษุไม่แน่ใจ ฉันนอกสมัย ต้องอาบัติปาจิตตีย์
ปรัมปรโภชนะ ภิกษุสำคัญว่าไม่ใช่ปรัมปรโภชนะ ฉันนอกสมัย ต้องอาบัติ
ปาจิตตีย์

ทุกทุกกฏ
ไม่ใช่ปรัมปรโภชนะ ภิกษุสำคัญว่าปรัมปรโภชนะ ต้องอาบัติทุกกฏ
ไม่ใช่ปรัมปรโภชนะ ภิกษุไม่แน่ใจ ต้องอาบัติทุกกฏ
ไม่ใช่ปรัมปรโภชนะ ภิกษุสำคัญว่าไม่ใช่ปรัมปรโภชนะ ไม่ต้องอาบัติ

อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[๒๒๙] ๑. ภิกษุฉันในสมัย
๒. ภิกษุวิกัปแล้วฉัน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๓๘๕ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๔.โภชนวรรค ๓.ปรัมปรโภชนสิกขาบท อนาปัตติวาร
๓. ภิกษุฉันบิณฑบาตที่รับนิมนต์ไว้ ๒-๓ แห่งรวมกัน
๔. ภิกษุฉันตามลำดับที่รับนิมนต์
๕. ภิกษุที่ชาวตำบลทั้งหมดนิมนต์แล้วฉันในที่แห่งหนึ่งในตำบลนั้น
๖. ภิกษุที่สมาคมทั้งหมดนิมนต์แล้วฉันในที่แห่งหนึ่งในสมาคมนั้น
๗. ภิกษุรับนิมนต์แต่บอกว่าจะรับภิกษา
๘. ภิกษุฉันภัตตาหารที่เขาถวายเป็นนิตย์
๙. ภิกษุฉันภัตตาหารที่เขาถวายตามสลาก
๑๐. ภิกษุฉันภัตตาหารที่เขาถวายในปักษ์
๑๑. ภิกษุฉันภัตตาหารที่เขาถวายในวันอุโบสถ
๑๒. ภิกษุฉันภัตตาหารที่เขาถวายในวันปาฏิบท
๑๓. ภิกษุฉันอาหารทุกชนิดยกเว้นโภชนะ ๕
๑๔. ภิกษุวิกลจริต
๑๕. ภิกษุต้นบัญญัติ

ปรัมปรโภชนสิกขาบทที่ ๓ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๓๘๖ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๔.โภชนวรรค ๔.กาณมาตุสิกขาบท นิทานวัตถุ
๔. โภชนวรรค

๔. กาณมาตุสิกขาบท
ว่าด้วยมารดาของนางกาณา

เรื่องอุบาสิกามารดาของนางกาณา
[๒๓๐] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น อุบาสิกามารดาของนางกาณา
เป็นผู้มีศรัทธาเลื่อมใส นางได้ยกธิดาชื่อกาณาให้ชายหนุ่มผู้หนึ่งในหมู่บ้านแห่งหนึ่ง
ต่อมา นางกาณาได้มาบ้านมารดาด้วยกรณียกิจบางอย่าง ฝ่ายสามีของนางกาณาส่ง
ข่าวมาถึงนางกาณาว่า “จงกลับมาเถิด กาณา ฉันต้องการให้กาณากลับ”
ครั้งนั้น มารดาของนางกาณาคิดว่า “การที่กาณากลับไปมือเปล่า ดูกระไรอยู่”
จึงทอดขนมให้ เมื่อขนมสุก ภิกษุผู้ถือเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตรรูปหนึ่งเข้ามาถึงบ้าน
มารดาของนางกาณา มารดาของนางกาณาจึงสั่งให้ถวายขนมแก่ภิกษุรูปนั้น ภิกษุ
รูปนั้นได้ออกไปบอกภิกษุรูปอื่น มารดาของนางกาณาก็สั่งให้ถวายขนมแก่ภิกษุรูป
นั้น ภิกษุรูปนั้นได้ออกไปบอกภิกษุรูปอื่น มารดาของนางกาณาก็สั่งให้ถวายขนมแก่
ภิกษุรูปนั้นจนกระทั่งขนมที่เตรียมไว้หมดสิ้นไป
แม้ครั้งที่ ๒ สามีของนางกาณาก็ได้ส่งข่าวมาถึงนางกาณาว่า “จงกลับมาเถิด
กาณา ฉันต้องการให้กาณากลับ”
แม้ครั้งที่ ๒ มารดาของนางกาณาคิดว่า “การที่กาณากลับไปมือเปล่า ดู
กระไรอยู่” จึงทอดขนมให้ เมื่อขนมสุก ภิกษุผู้ถือเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตรรูปหนึ่งเข้า
มาถึงบ้านมารดาของนางกาณา มารดาของนางกาณาจึงสั่งให้ถวายขนมแก่ภิกษุรูป
นั้น ภิกษุรูปนั้นได้ออกไปบอกภิกษุรูปอื่น มารดาของนางกาณาก็สั่งให้ถวายขนมแก่
ภิกษุรูปนั้น ภิกษุรูปนั้นได้ออกไปบอกภิกษุรูปอื่น มารดาของนางกาณาก็สั่งให้
ถวายขนมแก่ภิกษุรูปนั้นจนกระทั่งขนมที่เตรียมไว้หมดสิ้นไป


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๓๘๗ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๔.โภชนวรรค ๔.กาณมาตุสิกขาบท นิทานวัตถุ
แม้ครั้งที่ ๓ สามีของนางกาณาก็ได้ส่งข่าวมาถึงนางกาณาว่า “จงกลับมาเถิด
กาณา ฉันต้องการให้กาณากลับ หากกาณาไม่กลับ ฉันจะพาหญิงอื่นมาเป็นภรรยา”
แม้ครั้งที่ ๓ มารดาของนางกาณาคิดว่า “การที่กาณากลับไปมือเปล่า ดูกระไร
อยู่” จึงทอดขนมให้ เมื่อขนมสุก ภิกษุผู้ถือเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตรรูปหนึ่งเข้ามาถึง
บ้านมารดาของนางกาณา มารดาของนางกาณาจึงสั่งให้ถวายขนมแก่ภิกษุรูปนั้น
ภิกษุรูปนั้นได้ออกไปบอกภิกษุรูปอื่น มารดาของนางกาณาก็สั่งให้ถวายขนมแก่
ภิกษุรูปนั้น ภิกษุรูปนั้นได้ออกไปบอกภิกษุรูปอื่น มารดาของนางกาณาก็สั่งให้
ถวายขนมแก่ภิกษุรูปนั้นจนกระทั่งขนมที่เตรียมไว้หมดสิ้นไป
ครั้งนั้น สามีของนางกาณาได้พาหญิงอื่นมาเป็นภรรยา นางกาณาได้ทราบข่าว
ว่าสามีของตนได้พาหญิงอื่นมาเป็นภรรยา จึงได้ยืนร้องไห้
ครั้งนั้น ในเวลาเช้า พระผู้มีพระภาคทรงครองอันตรวาสกถือบาตรและจีวร
เสด็จไปถึงบ้านของอุบาสิกามารดาของนางกาณา ครั้นถึงแล้วได้ประทับนั่งบน
อาสนะที่เขาจัดถวาย
ลำดับนั้น มารดาของนางกาณาเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงอาสนะ ครั้น
ถึงแล้วได้ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาค แล้วนั่ง ณ ที่สมควร พระผู้มีพระภาคได้ตรัส
กับมารดาของนางกาณาผู้นั่ง ณ ที่สมควรดังนี้ว่า “นางกาณาร้องไห้ทำไม” อุบาสิกา
มารดาของนางกาณาจึงกราบทูลเรื่องราวนั้นให้ทรงทราบ ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาค
ทรง ชี้แจงให้มารดาของนางกาณาเห็นชัด ชวนให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้
อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริงด้วยธรรมีกถา แล้วทรงลุกจาก
อาสนะเสด็จไป
เรื่องอุบาสิกามารดาของนางกาณา จบ

เรื่องพ่อค้าเกวียน
[๒๓๑] สมัยนั้น พ่อค้าเกวียนกลุ่มหนึ่งต้องการจะเดินทางจากกรุงราชคฤห์
ไปถิ่นย้อนแสง๑ ภิกษุผู้ถือเที่ยวบิณฑบาตรูปหนึ่งเข้าไปบิณฑบาตถึงหมู่เกวียน

เชิงอรรถ :
๑ ปฏิยาโลกํ ถิ่นย้อนแสง คือ สูริยาโลกสฺส ปฏิมุขํ ย้อนแสงตะวัน ได้แก่ ปจฺฉิมทิสํ ทิศตะวันตก (วิ.อ.
๒/๔๐๗/๔๑๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๓๘๘ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๔.โภชนวรรค ๔.กาณมาตุสิกขาบท นิทานวัตถุ
อุบาสกคนหนึ่งได้ให้ถวายข้าวตูแก่ภิกษุรูปนั้น ภิกษุรูปนั้นได้ออกไปบอกภิกษุรูปอื่น
อุบาสกได้ให้ถวายข้าวตูแก่ภิกษุรูปนั้น ภิกษุรูปนั้นได้ออกไปบอกภิกษุรูปอื่น อุบาสก
ก็ได้ให้ถวายข้าวตูแม้แก่ภิกษุรูปนั้นจนกระทั่งเสบียงที่จัดไว้หมดสิ้นไป
ครั้งนั้น อุบาสกนั้นได้กล่าวกับพวกพ่อค้าดังนี้ว่า “วันนี้ พวกท่านโปรดรอก่อน
เสบียงที่จัดเตรียมไว้กระผมถวายพระคุณเจ้าทั้งหลายไปแล้ว กระผมจะจัดเตรียมเสบียง”
พวกพ่อค้าเกวียนกล่าวว่า “ท่านครับ พวกเราไม่สามารถจะรอได้ พ่อค้า
เกวียนออกเดินทางแล้ว” ได้ไปแล้ว
เมื่ออุบาสกจัดเตรียมเสบียงเสร็จแล้วเดินทางไปภายหลังจึงถูกพวกโจรปล้น
พวกพ่อค้าพากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพระสมณะเชื้อสายศากย
บุตรจึงรับโดยไม่รู้ประมาณ อุบาสกคนนี้ซึ่งเมื่อถวายเสบียงแก่พระสมณะเชื้อสาย
ศากยบุตรเหล่านี้แล้วเดินทางไปภายหลังได้ถูกโจรปล้น”
พวกภิกษุได้ยินพวกพ่อค้าตำหนิ ประณาม โพนทะนา ครั้นแล้วภิกษุเหล่านั้น
จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ

ทรงบัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมีกถาเพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ รับสั่ง
กับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้น เราจะบัญญัติสิกขาบทแก่ภิกษุ
ทั้งหลาย โดยอาศัยอำนาจประโยชน์ ๑๐ ประการ คือ
๑. เพื่อความรับว่าดีแห่งสงฆ์
๒. เพื่อความผาสุกแห่งสงฆ์
ฯลฯ
๑๐. เพื่อเอื้อเฟื้อวินัย๑
แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้

เชิงอรรถ :
๑ ดูความพิสดาร ข้อ ๕๖๖ หน้า ๙๒ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๓๘๙ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๔.โภชนวรรค ๔.กาณมาตุสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์
พระบัญญัติ
[๒๓๒] ก็ ทายกนำขนมหรือข้าวตู๑ มาปวารณาภิกษุผู้เข้าไปถึงตระกูล
ภิกษุผู้ต้องการพึงรับได้เต็ม ๒-๓ บาตร ถ้ารับเกินกว่านั้น ต้องอาบัติปาจิตตีย์
ครั้นรับเต็ม ๒-๓ บาตรแล้ว เมื่อนำออกจากที่นั้นแล้วพึงแบ่งปันกับภิกษุ
ทั้งหลาย นี้เป็นการทำที่สมควรในเรื่องนั้น
เรื่องพ่อค้าเกวียน จบ

สิกขาบทวิภังค์
[๒๓๓] คำว่า ก็...ภิกษุผู้เข้าไปถึงตระกูล ที่ชื่อว่าตระกูล ได้แก่ ตระกูล ๔
คือ ตระกูลกษัตริย์ ตระกูลพราหมณ์ ตระกูลแพศย์ ตระกูลศูทร
คำว่า ผู้เข้าไปถึง คือ ผู้เข้าไปในตระกูลนั้น
ที่ชื่อว่า ขนม ได้แก่ ของกินอย่างใดอย่างหนึ่งที่เขาจัดเตรียมเพื่อส่งไปเป็น
ของกำนัล
ที่ชื่อว่า ข้าวตู ได้แก่ ของกินอย่างใดอย่างหนึ่งที่เขาจัดเตรียมเป็นเสบียงทาง
คำว่า ทายกนำมาปวารณา คือ เขานำมาปวารณาว่า “ท่านโปรดรับตาม
ต้องการ”
คำว่า ผู้ต้องการ คือ ผู้ปรารถนาได้

เชิงอรรถ :
๑ มนฺถ ข้าวตู หมายถึง อพทฺธสตฺตุนา จ ... พทฺธสตฺตุนา จ ข้าวตูก้อน ข้าวตูป่น (วิ.อ. ๓/๑๑) สตฺตุ
นาม สาลิวีหิยเวหิ กตสตฺตุ. กงฺคุวรกกุทฺรูสกสีสานิปิ ภชฺชิตฺวา อีสกํ โกฏฺเฏตฺวา ถุเส ปลาเปตฺวา
ปุน ทฬฺหํ โกฏฺเฏตฺวา จุณฺณํ กโรนฺติ. สเจปิ ตํ อลฺลตฺตา เอกาพทฺธํ โหติ สตฺตุสงฺคหเมว คจฺฉติ.
ขรปากภชฺชิตานํ วีหีนํ ตณฺฑุเล โกฏฺเฏตฺวา เทนฺติ, ตมฺปิ จุณฺณํ สตฺตุสงฺคหเมว คจฺฉติ. ข้าวตู หรือ
ข้าวสัตตุ ทำด้วยข้าวเจ้าและข้าวเหนียว ที่เขาเด็ดรวงธัญชาติ ๓ อย่าง คือ ข้าวฟ่าง ลูกเดือย หญ้ากับแก้
มาตำนิดหน่อยแล้วฝัดแกลบออกแล้วตำอีกจนป่น ซึ่งถ้ายังชุ่มอยู่จะจับเป็นก้อน นี้ก็จัดเป็นข้าวตูเหมือน
กัน และที่เขาตำข้าวเปลือกแก่เป็นข้าวสารจนป่น นี้ก็จัดเป็นข้าวตูเช่นกัน (วิ.อ. ๒/๒๓๒/๓๖๐)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๓๙๐ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๔.โภชนวรรค ๔.กาณมาตุสิกขาบท บทภาชนีย์
คำว่า พึงรับได้เต็ม ๒-๓ บาตร ความว่า ภิกษุพึงรับได้เต็ม ๒-๓ บาตร
คำว่า ถ้ารับเกินกว่านั้น ความว่า รับเกินกำหนดนั้น ต้องอาบัติปาจิตตีย์
ครั้นรับเต็ม ๒-๓ บาตร แล้วเมื่อออกจากที่นั้นไปพบภิกษุรูปอื่นพึงบอก
ว่า “กระผมรับเต็ม ๒-๓ บาตร ในที่โน้น ท่านอย่ารับในที่นั้น” ถ้าพบภิกษุรูป
อื่นแล้วไม่บอก ต้องอาบัติทุกกฏ เมื่อบอกแล้ว ภิกษุรูปนั้นยังไปรับ ต้องอาบัติ
ทุกกฏ
คำว่า เมื่อนำออกจากที่นั้นแล้วพึงแบ่งปันกับภิกษุทั้งหลาย คือ ภิกษุพึง
นำกลับไปแล้วแบ่งกัน
คำว่า นี้เป็นการทำที่สมควรในเรื่องนั้น คือ นี้เป็นความถูกต้องในเรื่องนั้น

บทภาชนีย์
ติกปาจิตตีย์
[๒๓๔] ของเต็มเกิน ๒-๓ บาตร ภิกษุสำคัญว่าเกิน รับ ต้องอาบัติ
ปาจิตตีย์
ของเต็มเกิน ๒-๓ บาตร ภิกษุไม่แน่ใจ รับ ต้องอาบัติปาจิตตีย์
ของเต็มเกิน ๒-๓ บาตร ภิกษุสำคัญว่ายังไม่เต็ม รับ ต้องอาบัติปาจิตตีย์

ทุกทุกกฏ
ของยังไม่เต็ม ๒-๓ บาตร ภิกษุสำคัญว่าเกิน ต้องอาบัติทุกกฏ
ของยังไม่เต็ม ๒-๓ บาตร ภิกษุไม่แน่ใจ ต้องอาบัติทุกกฏ
ของยังไม่เต็ม ๒-๓ บาตร ภิกษุสำคัญว่ายังไม่เต็ม ไม่ต้องอาบัติ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๓๙๑ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๔.โภชนวรรค ๔.กาณมาตุสิกขาบท อนาปัตติวาร
อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[๒๓๕] ๑. ภิกษุรับเต็ม ๒-๓ บาตร
๒. ภิกษุรับไม่เต็ม ๒-๓ บาตร
๓. ภิกษุผู้รับของที่เขาไม่ได้จัดเตรียมไว้เพื่อส่งไปเป็นของกำนัล
๔. ภิกษุผู้รับของที่เขาไม่ได้จัดเตรียมเป็นเสบียงเดินทาง
๕. ภิกษุผู้รับของที่เหลือจากที่เขาจัดเตรียมไว้เพื่อส่งไปเป็นของ
กำนัลหรือเพื่อเป็นเสบียงเดินทาง
๖. ภิกษุผู้รับของที่ทายกถวายเมื่อเขาระงับการไปแล้ว
๗. ภิกษุรับของญาติ
๘. ภิกษุรับของคนปวารณา
๙. ภิกษุรับเพื่อภิกษุอื่น
๑๐. ภิกษุรับของที่จ่ายมาด้วยทรัพย์ของตน
๑๑. ภิกษุวิกลจริต
๑๒. ภิกษุต้นบัญญัติ

กาณมาตุสิกขาบทที่ ๔ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๓๙๒ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๔.โภชนวรรค ๕.ปฐมปวารณาสิกขาบท นิทานวัตถุ
๔. โภชนวรรค

๕. ปฐมปวารณาสิกขาบท
ว่าด้วยการบอกห้ามภัตตาหารข้อที่ ๑

เรื่องภิกษุหลายรูป
[๒๓๖] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พราหมณ์คนหนึ่งนิมนต์ภิกษุ
ทั้งหลายให้ฉันภัตตาหาร ภิกษุฉันแล้ว บอกห้ามภัตตาหารแล้วพากันไปตระกูลญาติ
ภิกษุบางพวกยังฉันอีก บางพวกก็ยังรับบิณฑบาตกลับไป
ต่อมา พราหมณ์ได้กล่าวกับเพื่อนบ้านผู้คุ้นเคยดังนี้ว่า “นายทั้งหลาย เราเลี้ยง
ภิกษุทั้งหลายให้อิ่มหนำแล้ว เชิญมาเถิด เราจะเลี้ยงพวกท่านให้อิ่มหนำบ้าง”
เพื่อนบ้านผู้คุ้นเคยเหล่านั้นกล่าวอย่างนี้ว่า “นาย ท่านจะเลี้ยงพวกเราให้อิ่ม
หนำได้อย่างไร แม้พวกภิกษุที่ท่านนิมนต์แล้วก็ยังต้องไปที่เรือนพวกเรา บางพวกยัง
ฉันอีก บางพวกก็ยังรับบิณฑบาตกลับไป”
ครั้งนั้น พราหมณ์นั้นได้ตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพระคุณเจ้า
ทั้งหลายฉันที่เรือนเราแล้วจึงไปฉันที่อื่นอีกเล่า เราไม่สามารถจะถวายให้พอแก่
ความต้องการหรือ”
ภิกษุทั้งหลายได้ยินพราหมณ์ตำหนิ ประณาม โพนทะนา บรรดาภิกษุผู้มักน้อย
ฯลฯ จึงพากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนภิกษุทั้งหลายฉันแล้ว บอกห้าม
ภัตตาหารแล้วไปฉันต่อที่อื่นอีกเล่า” ครั้นภิกษุเหล่านั้นตำหนิภิกษุทั้งหลายโดย
ประการต่าง ๆ แล้วจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ

ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า พวกภิกษุฉันแล้ว บอก
ห้ามภัตตาหารแล้วไปฉันต่อที่อื่นอีก จริงหรือ” ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า “จริง

 


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๓๙๓ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๔.โภชนวรรค ๕.ปฐมปวารณาสิกขาบท พระบัญญัติ
พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ฯลฯ ภิกษุทั้งหลาย ไฉน
โมฆบุรุษเหล่านั้นฉันแล้ว บอกห้ามภัตตาหารแล้วไปฉันต่อที่อื่นอีกเล่า การ
กระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้
เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้

พระบัญญัติ
ก็ ภิกษุใดฉันแล้ว บอกห้ามภัตตาหารแล้ว เคี้ยวของเคี้ยวหรือฉันของฉัน
ต้องอาบัติปาจิตตีย์
สิกขาบทนี้พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติไว้แก่ภิกษุทั้งหลายอย่างนี้
เรื่องภิกษุหลายรูป จบ

เรื่องภัตตาหารที่เป็นเดน
[๒๓๗] สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายนำบิณฑบาตอย่างประณีตไปถวายพวกภิกษุ
ผู้เป็นไข้ พวกภิกษุเป็นไข้ฉันภัตตาหารไม่ได้สมใจ ภิกษุทั้งหลายจึงทิ้งบิณฑบาต
เหล่านั้น
พระผู้มีพระภาคทรงได้สดับนกกาส่งเสียงร้องดังเซ็งแซ่ ครั้นได้ทรงสดับแล้ว
จึงได้ตรัสกับท่านพระอานนท์ว่า “อานนท์ ทำไมนกกาจึงส่งเสียงร้องดังเซ็งแซ่”
ลำดับนั้น ท่านพระอานนท์ได้กราบทูลเรื่องนั้นให้พระผู้มีพระภาคทรงทราบ
พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “อานนท์ ภิกษุทั้งหลายได้ฉันภัตตาหารที่เป็น
เดนภิกษุไข้หรือ”
ท่านพระอานนท์กราบทูลว่า “ไม่ได้ฉัน พระพุทธเจ้าข้า”

ทรงอนุญาตให้ฉันภัตตาหารที่เป็นเดนภิกษุเป็นไข้
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมีกถาเพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ แล้ว
รับสั่งกับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ฉันภัตตาหารที่เป็น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๓๙๔ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๔.โภชนวรรค ๕.ปฐมปวารณาสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์
เดนภิกษุผู้เป็นไข้และภิกษุผู้ไม่เป็นไข้ ภิกษุทั้งหลายพึงทำภัตตาหารให้เป็นเดนด้วย
การกล่าวอย่างนี้ว่า “ทั้งหมดนั่นพอแล้ว” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบท
นี้ขึ้นแสดงดังนี้

พระอนุบัญญัติ
[๒๓๘] อนึ่ง ภิกษุใดฉันแล้ว บอกห้ามภัตตาหารแล้ว เคี้ยวของเคี้ยว
หรือฉันของฉันที่ไม่เป็นเดน๑ ต้องอาบัติปาจิตตีย์
เรื่องภัตตาหารที่เป็นเดน จบ

สิกขาบทวิภังค์
[๒๓๙] คำว่า อนึ่ง...ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
อนึ่ง...ใด
คำว่า ภิกษุ มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุ เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระ
ภาคทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุ ในความหมายนี้
ที่ชื่อว่า ฉันแล้ว คือ ภิกษุฉันโภชนะ ๕ อย่าง อย่างใดอย่างหนึ่ง โดย
ที่สุดแม้ฉันด้วยปลายหญ้าคาแตะ

ลักษณะการบอกห้ามภัตตาหาร
ที่ชื่อว่า บอกห้ามภัตตาหาร คือ (๑) ภิกษุกำลังฉัน (๒) ทายกนำโภชนะมา
ถวาย (๓) ทายกอยู่ในหัตถบาสน้อมถวาย (๔) ภิกษุบอกห้าม

เชิงอรรถ :
๑ อนติริตฺตํ โภชนะที่ไม่เป็นเดน, โภชนะที่ไม่เหลือเฟือ, โภชนะที่ยังมิได้ทำอติเรกวินัย คือพระวินัยธรยังมิ
ได้ทำให้เป็นเดนว่า “อลเมตํ สพฺพํ ทั้งหมดนั่นพอแล้ว” (วิ.อ. ๒/๓๖๖, วชิร.ฏีกา ๔๐๘), อติเรโก โหตีติ
อติริตฺโต โหติ อติริตฺต ที่เป็นเดน หมายถึงเหลือเฟือ (ปฏิสํ.อ. ๒/๓๐๗) อนติริตฺต ที่ไม่เป็นเดน จึง
หมายถึงไม่เหลือเฟือ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๓๙๕ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๔.โภชนวรรค ๕.ปฐมปวารณาสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์
ของที่ไม่เป็นเดน
ที่ชื่อว่า ที่ไม่เป็นเดน คือ (๑) ของที่ภิกษุยังมิได้ทำให้เป็นกัปปิยะ (๒) ของ
ที่ภิกษุยังมิได้รับประเคน (๓) ของที่ภิกษุยังมิได้ยกขึ้นส่งให้ (๔) ของที่อยู่นอก
หัตถบาส (๕) ของที่ภิกษุยังมิได้ฉัน (๖) ของที่ภิกษุฉันแล้วบอกห้าม ลุกจาก
อาสนะแล้ว (๗) ของที่ภิกษุยังมิได้กล่าวว่า “ทั้งหมดนั่นพอแล้ว” (๘) ของไม่เป็น
เดนภิกษุเป็นไข้ นี้ชื่อว่าที่ไม่เป็นเดน

ของที่เป็นเดน
ที่ชื่อว่า ที่เป็นเดน คือ (๑) ของที่ภิกษุทำให้เป็นกัปปิยะแล้ว (๒) ของที่ภิกษุ
รับประเคนแล้ว (๓) ของที่ภิกษุยกขึ้นส่งให้แล้ว (๔) ของที่อยู่ในหัตถบาส (๕) ของ
ที่ภิกษุฉันแล้ว (๖) ของที่ภิกษุฉันแล้วบอกห้าม แต่ยังไม่ลุกจากอาสนะ (๗) ของที่
ภิกษุกล่าวว่า “ทั้งหมดนั่นพอแล้ว” (๘) ของเป็นเดนภิกษุเป็นไข้ นี้ชื่อว่าที่เป็นเดน

ของเคี้ยว
ที่ชื่อว่า ของเคี้ยว คือ ยกเว้นโภชนะ ๕ ๑ยามกาลิก สัตตาหกาลิก และ
ยาวชีวิก นอกนั้นชื่อว่าของเคี้ยว

เชิงอรรถ :
๑ ยามกาลิก ของที่ภิกษุรับประเคนไว้แล้วฉันได้ชั่ววันหนึ่งกับคืนหนึ่งก่อนอรุณของวันใหม่ คือ นํ้าปานะ ได้แก่
นํ้าคั้นผลไม้ที่ทรงอนุญาต ๘ อย่าง คือ (๑) อัมพปานะ นํ้ามะม่วง (๒) ชัมพุปานะ นํ้าหว้า (๓) โจจปานะ
นํ้ากล้วยมีเมล็ด (๔) โมจปานะ นํ้ากล้วยไม่มีเมล็ด (๕) มธุกปานะ นํ้ามะทราง (๖) มุททิกปานะ นํ้าผล
จันทน์หรือนํ้าองุ่น (๗) สาลูกปานะ นํ้าเหง้าบัว (๘) ผารุสกปาน นํ้าผลมะปรางหรือนํ้าลิ้นจี่ และนํ้าผลไม้
ทุกชนิด เว้นนํ้าต้มเมล็ดข้าวเปลือก, นํ้าใบไม้ทุกชนิด เว้นนํ้าผักดอง, นํ้าดอกไม้ทุกชนิด เว้นนํ้าดอกมะทราง,
นํ้าอ้อยสด ฉันได้ (วิ.ม. ๕/๓๐๐/๘๔, วิ.อ. ๒/๒๕๕-๖/๓๗๘)
สัตตาหกาลิก ของที่ภิกษุรับประเคนไว้แล้วฉันได้ภายใน ๗ วัน คือ เภสัชทั้ง ๕ ได้แก่ (๑) สัปปิ เนยใส
(๒) นวนีตะ เนยข้น (๓) เตละ นํ้ามัน (๔) มธุ นํ้าผึ้ง (๕) ผาณิต นํ้าอ้อย (วิ.ม. ๕/๒๖๐/๒๗)
ยาวชีวิก ของที่ภิกษุรับประเคนไว้แล้ว ฉันได้ตลอดไป ไม่จำกัดเวลา คือ ของที่ใช้ปรุงเป็นยา ได้แก่
หลิททะ ขมิ้น, สิงคิเวระ ขิง, วจะ ว่านนํ้า, วจัตถะ ว่านเปราะ, อติวิสะ อุตพิด, กฏุกโรหิณี ข่า, อุสีระ
แฝก, ภัททมุตตกะ แห้วหมู เป็นต้น (วิ.ม. ๕/๒๖๓/๒๙) ดูเชิงอรรถ ข้อ ๒๕๖ หน้า ๔๐๙

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๓๙๖ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๔.โภชนวรรค ๕.ปฐมปวารณาสิกขาบท อนาปัตติวาร
ของฉัน
ที่ชื่อว่า ของฉัน ได้แก่ โภชนะ ๕ คือ ข้าวสุก ขนมสด ข้าวตู ปลา เนื้อ
ภิกษุรับประเคนด้วยตั้งใจว่า “จะเคี้ยว จะฉัน” ต้องอาบัติทุกกฏ ฉัน ต้อง
อาบัติปาจิตตีย์ทุก ๆ คำกลืน

บทภาชนีย์
ติกปาจิตตีย์
[๒๔๐] ของที่ไม่เป็นเดน ภิกษุสำคัญว่าเป็นของที่ไม่เป็นเดน เคี้ยวของเคี้ยว
หรือฉันของฉัน ต้องอาบัติปาจิตตีย์
ของที่ไม่เป็นเดน ภิกษุไม่แน่ใจ เคี้ยวของเคี้ยว หรือฉันของฉัน ต้องอาบัติ
ปาจิตตีย์
ของที่ไม่เป็นเดน ภิกษุสำคัญว่าเป็นของที่เป็นเดน เคี้ยวของเคี้ยว หรือฉัน
ของฉัน ต้องอาบัติปาจิตตีย์

ติกทุกกฏ
ภิกษุรับประเคนยามกาลิก สัตตาหกาลิก ยาวชีวิก เพื่อเป็นอาหาร ต้อง
อาบัติทุกกฏ ฉัน ต้องอาบัติทุกกฏทุก ๆ คำกลืน
ของที่เป็นเดน ภิกษุสำคัญว่าเป็นของที่ไม่เป็นเดน ต้องอาบัติทุกกฏ
ของที่เป็นเดน ภิกษุไม่แน่ใจ ต้องอาบัติทุกกฏ
ของที่เป็นเดน ภิกษุสำคัญว่าเป็นของที่เป็นเดน ไม่ต้องอาบัติ

อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[๒๔๑] ๑. ภิกษุให้ทำเป็นของที่เป็นเดนแล้วฉัน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๓๙๗ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๔.โภชนวรรค ๕.ปฐมปวารณาสิกขาบท อนาปัตติวาร
๒. ภิกษุรับประเคนด้วยตั้งใจว่า จะให้ทำเป็นของที่เป็นเดนก่อนจึงฉัน
๓. ภิกษุรับไปเพื่อภิกษุอื่น
๔. ภิกษุฉันภัตตาหารที่เหลือของภิกษุผู้เป็นไข้
๕. ภิกษุฉันของที่เป็นยามกาลิก สัตตาหกาลิก และยาวชีวิก เมื่อมี
เหตุผลที่สมควร
๖. ภิกษุวิกลจริต
๗. ภิกษุต้นบัญญัติ

ปฐมปวารณาสิกขาบทที่ ๕ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๓๙๘ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๔.โภชนวรรค ๖.ทุติยปวารณาสิกขาบท นิทานวัตถุ
๔. โภชนวรรค

๖. ทุติยปวารณาสิกขาบท
ว่าด้วยการบอกห้ามภัตตาหารข้อที่ ๒

เรื่องภิกษุ ๒ รูป
[๒๔๒] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุ ๒ รูปเดินทางไกลไปกรุง
สาวัตถี แคว้นโกศล ภิกษุรูปหนึ่งประพฤติอนาจาร ภิกษุผู้เป็นเพื่อนได้กล่าวกับ
ภิกษุรูปนั้นดังนี้ว่า “ท่านอย่าได้กระทำอย่างนี้ การกระทำอย่างนี้ไม่สมควร”
ภิกษุรูปนั้นแค้นเคืองภิกษุผู้เป็นเพื่อนนั้น ครั้นภิกษุเหล่านั้นถึงกรุงสาวัตถี ครั้ง
นั้น มีสังฆภัตของสมาคมหนึ่ง ภิกษุผู้เป็นเพื่อนฉันแล้ว บอกห้ามภัตตาหารแล้ว
ภิกษุรูปที่แค้นเคืองไปตระกูลญาตินำบิณฑบาตมา แล้วเข้าไปหาภิกษุผู้เป็นเพื่อนถึง
ที่พัก ครั้นถึงแล้วได้กล่าวกับภิกษุนั้นดังนี้ว่า “เชิญท่านฉันเถิด ขอรับ”
ภิกษุผู้เป็นเพื่อนปฏิเสธว่า “ไม่ล่ะขอรับ กระผมบริบูรณ์แล้ว”
ภิกษุผู้แค้นเคืองนั้นรบเร้าว่า “บิณฑบาตอร่อย ฉันเถิด ขอรับ”
ครั้นภิกษุผู้เป็นเพื่อนถูกรบเร้าจึงฉันบิณฑบาตนั้น
ภิกษุผู้แค้นเคืองได้กล่าวกับภิกษุนั้นดังนี้ว่า “ท่านเข้าใจว่ากระผมเป็นผู้ที่ควร
ว่ากล่าว ท่านเองฉันแล้วบอกห้ามภัตตาหารแล้วก็ยังฉันโภชนะที่ไม่เป็นเดนอีก”
ภิกษุผู้เป็นเพื่อนกล่าวว่า “ท่านควรบอกเรื่องนี้มิใช่หรือ”
ภิกษุผู้แค้นเคืองกล่าวว่า “ท่านควรถามก่อนมิใช่หรือ”
ต่อมา ภิกษุนั้นได้แจ้งเรื่องนี้ให้ภิกษุทั้งหลายทราบ บรรดาภิกษุผู้มักน้อย ฯลฯ
พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนภิกษุจึงนำโภชนะที่ไม่เป็นเดนไป


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๓๙๙ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๔.โภชนวรรค ๖.ทุติยปวารณาสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์
ปวารณาภิกษุผู้ฉันแล้วบอกห้ามภัตตาหารแล้วเล่า” ครั้นภิกษุทั้งหลายตำหนิภิกษุ
นั้นโดยประการต่าง ๆ แล้วจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ

ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามภิกษุนั้นว่า “ภิกษุ ทราบว่า เธอนำโภชนะที่ไม่เป็นเดนไปปวารณาภิกษุผู้
ฉันแล้วบอกห้ามภัตตาหารแล้ว จริงหรือ” ภิกษุนั้นทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ฯลฯ โมฆบุรุษ ไฉนเธอจึงนำโภชนะที่ไม่เป็น
เดนไปปวารณาภิกษุผู้ฉันแล้วบอกห้ามภัตตาหารแล้วเล่า โมฆบุรุษ การกระทำอย่าง
นี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้
เลย ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้

พระบัญญัติ
[๒๔๓] ก็ ภิกษุใดรู้อยู่ แต่ต้องการจะจับผิด นำของเคี้ยวหรือของฉันที่
ไม่เป็นเดนไปปวารณา ภิกษุผู้ฉันแล้วบอกห้ามภัตตาหารแล้ว โดยกล่าว
รบเร้าว่า “นิมนต์เถิดขอรับ ท่านจงเคี้ยวหรือจงฉันก็ได้” เมื่อเธอฉันแล้ว ภิกษุ
นั้นต้องอาบัติปาจิตตีย์
เรื่องภิกษุ ๒ รูป จบ

สิกขาบทวิภังค์
[๒๔๔] คำว่า ก็...ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ก็...ใด
คำว่า ภิกษุ มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุ เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระ
ภาคทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุ ในความหมายนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๔๐๐ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๔.โภชนวรรค ๖.ทุติยปวารณาสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์
คำว่า ภิกษุ หมายถึง ภิกษุรูปอื่น
ที่ชื่อว่า ฉันแล้ว คือ ภิกษุฉันโภชนะ ๕ อย่าง อย่างใดอย่างหนึ่งโดยที่สุดแม้
ฉันด้วยปลายหญ้าคาแตะ๑

ลักษณะห้ามภัตร
ที่ชื่อว่า บอกห้ามภัตตาหาร คือ (๑) ภิกษุกำลังฉัน (๒) ทายกนำโภชนะมา
ถวาย (๓) ทายกอยู่ในหัตถบาสน้อมถวาย (๔) ภิกษุบอกห้าม

ของที่ไม่เป็นเดน
ที่ชื่อว่า ที่ไม่เป็นเดน คือ (๑) ของที่ยังมิได้ทำให้เป็นกัปปิยะ (๒) ของที่ภิกษุ
ยังมิได้รับประเคน (๓) ของที่ภิกษุยังมิได้ยกขึ้นส่งให้ (๔) ของที่อยู่นอกหัตถบาส
(๕) ของที่ภิกษุยังมิได้ลงมือฉัน (๖) ของที่ภิกษุลงมือฉันแล้วบอกห้าม ลุกจาก
อาสนะแล้ว (๗) ของที่ภิกษุยังมิได้กล่าวว่า “ทั้งหมดนั่นพอแล้ว” (๘) ของไม่เป็น
เดนภิกษุเป็นไข้ นี้ชื่อว่าที่ไม่เป็นเดน

ของเคี้ยว
ที่ชื่อว่า ของเคี้ยว คือ ยกเว้นโภชนะ ๕ ยามกาลิก สัตตาหกาลิก และ
ยาวชีวิก นอกนั้นชื่อว่าของเคี้ยว
ของฉัน
ที่ชื่อว่า ของฉัน ได้แก่ โภชนะ ๕ คือ ข้าวสุก ขนมสด ข้าวตู ปลา เนื้อ
คำว่า นำมาปวารณา คือ นำมาปวารณาว่า “ท่านโปรดรับตามต้องการ”
ที่ชื่อว่า รู้อยู่ คือ ภิกษุรู้เอง คนเหล่าอื่นบอกท่าน หรือคนนั้นบอก

เชิงอรรถ :
๑ ฉันด้วยปลายหญ้าคาแตะ คือเกลี่ยอาหารที่ได้มาในภาชนะใบเดียวกันคลุกเคล้าให้เข้ากันจนเป็นรส
เดียวกันแล้วเอาปลายหญ้าคาแตะเพียงหยดเดียวแล้ววางที่ปลายลิ้น กลืนกิน (วิ.อ. ๒/๒๖๐/๓๘๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๔๐๑ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๔.โภชนวรรค ๖.ทุติยปวารณาสิกขาบท บทภาชนีย์
ที่ชื่อว่า ต้องการจะจับผิด คือ ภิกษุเพ่งเล็งว่า เราจะท้วง เราจะเตือน
เราจะทักท้วง เราจะตักเตือน เราจะทำภิกษุนี้ให้เก้อเขินด้วยวิธีนี้ นำไป ต้องอาบัติ
ทุกกฏ
ภิกษุรับไว้ตามคำของภิกษุนั้นด้วยตั้งใจว่า จะฉัน ภิกษุผู้นำไป ต้องอาบัติ
ทุกกฏ
ภิกษุผู้รับฉัน ภิกษุผู้นำไป ต้องอาบัติทุกกฏทุก ๆ คำกลืน
เมื่อภิกษุผู้รับนั้นฉันเสร็จ ภิกษุผู้นำไป ต้องอาบัติปาจิตตีย์

บทภาชนีย์
[๒๔๕] บอกห้ามภัตตาหารแล้วภิกษุสำคัญว่าบอกห้ามภัตตาหารแล้ว นำ
ของเคี้ยวหรือของฉันที่ไม่เป็นเดนไปปวารณา ต้องอาบัติปาจิตตีย์
บอกห้ามภัตตาหารแล้ว ภิกษุไม่แน่ใจ นำของเคี้ยวหรือของฉันที่ไม่เป็นเดนไป
ปวารณา ต้องอาบัติทุกกฏ
บอกห้ามภัตตาหารแล้ว ภิกษุสำคัญว่ายังไม่ได้บอกห้ามภัตตาหารนำของ
เคี้ยวหรือของฉันที่ไม่เป็นเดนไปปวารณา ไม่ต้องอาบัติ
ภิกษุนำยามกาลิก สัตตาหกาลิก ยาวชีวิกไปเป็นอาหาร ต้องอาบัติทุกกฏ
ภิกษุรับไว้ตามคำของภิกษุผู้นำไปนั้นด้วยตั้งใจว่า จะฉัน ภิกษุผู้นำไป ต้อง
อาบัติทุกกฏ
ภิกษุผู้รับฉัน ภิกษุผู้นำไป ต้องอาบัติทุกกฏทุก ๆ คำกลืน
ยังมิได้บอกห้ามภัตตาหาร ภิกษุสำคัญว่าบอกห้ามภัตตาหารแล้ว ต้องอาบัติ
ทุกกฏ
ยังมิได้บอกห้ามภัตตาหาร ภิกษุไม่แน่ใจ ต้องอาบัติทุกกฏ
ยังมิได้บอกห้ามภัตตาหาร ภิกษุสำคัญว่ายังมิได้บอกห้ามภัตตาหาร ไม่ต้อง
อาบัติ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๔๐๒ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๔.โภชนวรรค ๖.ทุติยปวารณาสิกขาบท อนาปัตติวาร
อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[๒๔๖] ๑. ภิกษุให้ทำเป็นของที่เป็นเดนแล้วให้
๒. ภิกษุให้ด้วยกล่าวว่า ท่านจงให้ทำเป็นของที่เป็นเดนก่อนจึงฉัน
๓. ภิกษุให้ด้วยกล่าวว่า ท่านจงนำไปเพื่อภิกษุอื่น
๔. ภิกษุให้ภัตตาหารที่เหลือของภิกษุเป็นไข้
๕. ภิกษุให้ของที่เป็นยามกาลิก สัตตาหกาลิก ยาวชีวิก ด้วย
กล่าวว่า ท่านจงฉันเมื่อมีเหตุสมควร
๖. ภิกษุวิกลจริต
๗. ภิกษุต้นบัญญัติ

ทุติยปวารณาสิกขาบทที่ ๖ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๔๐๓ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๔.โภชนวรรค ๗.วิกาลโภชนสิกขาบท นิทานวัตถุ
๔.โภชนวรรค

๗. วิกาลโภชนสิกขาบท
ว่าด้วยการฉันโภชนะในเวลาวิกาล

เรื่องพระสัตตรสวัคคีย์
[๒๔๗] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเวฬุวัน สถานที่
ให้เหยื่อกระแต เขตกรุงราชคฤห์ ครั้งนั้น ในกรุงราชคฤห์ มีมหรสพบนยอดเขา
พวกภิกษุสัตตรสวัคคีย์ได้ไปชมมหรสพ พวกชาวบ้านเห็นพวกภิกษุสัตตรสวัคคีย์
แล้วจึงนิมนต์ให้สรงน้ำ ให้ลูบไล้ของหอม ให้ฉันภัตตาหารแล้วถวายของเคี้ยวพวก
ภิกษุสัตตรสวัคคีย์นำของเคี้ยวไปอาราม แล้วได้กล่าวกับพวกภิกษุฉัพพัคคีย์ดังนี้ว่า
“ท่านทั้งหลาย นิมนต์พวกท่านรับแล้วจงฉันของเคี้ยวเถิด ขอรับ”
พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ถามว่า “พวกท่านได้ของเคี้ยวมาจากไหน”
พวกภิกษุสัตตรสวัคคีย์จึงแจ้งเรื่องนั้นให้พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ทราบ
พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ถามว่า “พวกท่านฉันอาหารในเวลาวิกาลหรือ”
พวกภิกษุสัตตรสวัคคีย์ตอบว่า “ใช่ ขอรับ”
พวกภิกษุฉัพพัคคีย์พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพวกภิกษุ
สัตตรสวัคคีย์จึงฉันภัตตาหารในเวลาวิกาลเล่า” แล้วพวกภิกษุฉัพพัคคีย์จึงแจ้งเรื่อง
นี้ให้ภิกษุทั้งหลายทราบ บรรดาภิกษุผู้มักน้อย ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม
โพนทะนาว่า “ไฉนพวกภิกษุสัตตรสวัคคีย์จึงฉันภัตตาหารในเวลาวิกาลเล่า”ครั้น
ภิกษุทั้งหลายตำหนิพวกภิกษุสัตตรสวัคคีย์โดยประการต่าง ๆ แล้วจึงนำเรื่องนี้ไป
กราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ

ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามพวกภิกษุสัตตรสวัคคีย์ว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า พวกเธอฉันภัตตาหาร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๔๐๔ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๔.โภชนวรรค ๗.วิกาลโภชนสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์
ในเวลาวิกาล จริงหรือ” พวกภิกษุสัตตรสวัคคีย์ทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ฯลฯ โมฆบุรุษทั้งหลาย ไฉนพวกเธอจึงฉัน
ภัตตาหารในเวลาวิกาลเล่า โมฆบุรุษทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่
เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ” แล้ว
จึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้

พระบัญญัติ
[๒๔๘] ก็ ภิกษุใดเคี้ยวของเคี้ยว หรือฉันของฉันในเวลาวิกาล ต้องอาบัติ
ปาจิตตีย์
เรื่องพระสัตตรสวัคคีย์ จบ

สิกขาบทวิภังค์
[๒๔๙] คำว่า ก็...ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ก็...ใด
คำว่า ภิกษุ มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุ เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระ
ภาคทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุ ในความหมายนี้
ที่ชื่อว่า เวลาวิกาล หมายเอาเวลาเมื่อเที่ยงวันล่วงไปจนถึงอรุณขึ้น
ที่ชื่อว่า ของเคี้ยว คือ ยกเว้นโภชนะ ๕ ยามกาลิก สัตตาหกาลิก และ
ยาวชีวิก นอกนั้นชื่อว่าของเคี้ยว
ที่ชื่อว่า ของฉัน ได้แก่ โภชนะ ๕ คือ ข้าวสุก ขนมกุมมาส ข้าวตู ปลา เนื้อ
ภิกษุรับประเคนด้วยตั้งใจว่า “จะเคี้ยว จะฉัน” ต้องอาบัติทุกกฏ ฉัน ต้อง
อาบัติปาจิตตีย์ทุก ๆ คำกลืน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๔๐๕ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๔.โภชนวรรค ๗.วิกาลโภชนสิกขาบท อนาปัตติวาร
บทภาชนีย์
ติกปาจิตตีย์
[๒๕๐] เวลาวิกาล ภิกษุสำคัญว่าเป็นวิกาล เคี้ยวของเคี้ยวหรือฉันของฉัน
ต้องอาบัติปาจิตตีย์
เวลาวิกาล ภิกษุไม่แน่ใจ เคี้ยวของเคี้ยวหรือฉันของฉัน ต้องอาบัติปาจิตตีย์
เวลาวิกาล ภิกษุสำคัญว่าเป็นกาล เคี้ยวของเคี้ยวหรือฉันของฉัน ต้องอาบัติ
ปาจิตตีย์

ติกทุกกฏ
ภิกษุรับประเคนยามกาลิก สัตตาหกาลิก ยาวชีวิกไว้เป็นอาหาร ต้องอาบัติ
ทุกกฏ ฉัน ต้องอาบัติทุกกฏทุก ๆ คำกลืน
กาล ภิกษุสำคัญว่าเป็นวิกาล ต้องอาบัติทุกกฏ
กาล ภิกษุไม่แน่ใจ ต้องอาบัติทุกกฏ
กาล ภิกษุสำคัญว่าเป็นกาล ไม่ต้องอาบัติ

อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[๒๕๑] ๑. ภิกษุฉันของที่เป็นยามกาลิก สัตตาหกาลิก และยาวชีวิก เมื่อมี
เหตุผลที่สมควร
๒. ภิกษุวิกลจริต
๓. ภิกษุต้นบัญญัติ

วิกาลโภชนสิกขาบทที่ ๗ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๔๐๖ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๔.โภชนวรรค ๘.สันนิธิการกสิกขาบท นิทานวัตถุ
๔. โภชนวรรค

๘. สันนิธิการกสิกขาบท
ว่าด้วยการสะสมโภชนะ

เรื่องพระเวฬัฏฐสีสะ
[๒๕๒] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น ท่านพระเวฬัฏฐสีสะ พระอุปัชฌาย์
ของท่านพระอานนท์อยู่ในป่า ท่านเที่ยวบิณฑบาตได้มากมาย เอาข้าวสุกเปล่าไป
ตากแห้งเก็บไว้ที่อาราม คราวที่ต้องการภัตตาหารก็นำมาแช่น้ำแล้วฉัน นาน ๆ จึง
จะเข้าไปบิณฑบาตในหมู่บ้าน
ภิกษุทั้งหลายได้กล่าวกับท่านพระเวฬัฏฐสีสะดังนี้ว่า “ท่าน ทำไมนาน ๆ
ท่านจึงเข้าไปบิณฑบาตในหมู่บ้าน” ลำดับนั้น ท่านพระเวฬัฏฐสีสะจึงแจ้งเรื่องนั้นให้
ภิกษุทั้งหลายทราบ
ภิกษุทั้งหลายถามว่า “ท่าน ท่านฉันอาหารที่เก็บสะสมไว้หรือ”
ท่านตอบว่า “ใช่ ขอรับ”
บรรดาภิกษุผู้มักน้อย ฯลฯ จึงพากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า“ไฉนท่าน
พระเวฬัฏฐสีสะจึงฉันโภชนะที่เก็บสะสมไว้เล่า” ครั้นภิกษุทั้งหลายตำหนิท่านพระ
เวฬัฏฐสีสะโดยประการต่าง ๆ แล้วจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ

ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุทรง
สอบถามท่านพระเวฬัฏฐสีสะว่า “เวฬัฏฐสีสะ ทราบว่า เธอฉันโภชนะที่เก็บสะสมไว้
จริงหรือ” พระเถระทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า
ทรงตำหนิว่า “ฯลฯ เวฬัฏฐสีสะ ไฉนเธอจึงฉันโภชนะที่เก็บสะสมไว้เล่า เวฬัฏฐสีสะ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๔๐๗ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๔.โภชนวรรค ๘.สันนิธิการกสิกขาบท บทภาชนีย์
การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้
เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้

พระบัญญัติ
[๒๕๓] ก็ ภิกษุใดเคี้ยวของเคี้ยวหรือฉันของฉันที่เก็บสะสมไว้ ต้องอาบัติ
ปาจิตตีย์
เรื่องพระเวฬัฏฐสีสะ จบ

สิกขาบทวิภังค์
[๒๕๔] คำว่า ก็...ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ก็...ใด
คำว่า ภิกษุ มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุ เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระ
ภาคทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุ ในความหมายนี้
ที่ชื่อว่า ของที่เก็บสะสมไว้ คือ ของที่ภิกษุรับประเคนในวันนี้แล้วฉันในวันอื่น
ที่ชื่อว่า ของเคี้ยว คือ ยกเว้นโภชนะ ๕ ยามกาลิก สัตตาหกาลิก และ
ยาวชีวิก นอกนั้นชื่อว่าของเคี้ยว
ที่ชื่อว่า ของฉัน ได้แก่ โภชนะ ๕ คือ ข้าวสุก ขนมกุมมาส ข้าวตู ปลา เนื้อ
ภิกษุรับประเคนด้วยตั้งใจว่า “จะเคี้ยว จะฉัน” ต้องอาบัติทุกกฏ ฉัน ต้อง
อาบัติปาจิตตีย์ทุก ๆ คำกลืน

บทภาชนีย์
ติกปาจิตตีย์
[๒๕๕] ของเก็บสะสมไว้ ภิกษุสำคัญว่าเป็นของเก็บสะสมไว้ เคี้ยวของเคี้ยว
หรือฉันของฉัน ต้องอาบัติปาจิตตีย์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๔๐๘ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๔.โภชนวรรค ๘.สันนิธิการกสิกขาบท อนาปัตติวาร
ของเก็บสะสมไว้ ภิกษุไม่แน่ใจ เคี้ยวของเคี้ยวหรือฉันของฉัน ต้องอาบัติ
ปาจิตตีย์
ของเก็บสะสมไว้ ภิกษุสำคัญว่ามิใช่ของเก็บสะสมไว้ เคี้ยวของเคี้ยวหรือฉัน
ของฉัน ต้องอาบัติปาจิตตีย์

ทุกกฏ
ภิกษุรับประเคนยามกาลิก สัตตาหกาลิก ยาวชีวิกไว้เป็นอาหาร ต้องอาบัติ
ทุกกฏ ภิกษุฉัน ต้องอาบัติทุกกฏทุก ๆ คำกลืน
มิใช่ของเก็บสะสมไว้ ภิกษุสำคัญว่าเป็นของเก็บสะสมไว้ ต้องอาบัติทุกกฏ
มิใช่ของเก็บสะสมไว้ ภิกษุไม่แน่ใจ ต้องอาบัติทุกกฏ
มิใช่ของเก็บสะสมไว้ ภิกษุสำคัญว่ามิใช่เป็นของเก็บสะสมไว้ ไม่ต้องอาบัติ

อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[๒๕๖] ๑. ภิกษุเก็บของที่เป็นยาวกาลิกไว้ฉันชั่วกาล
๒. ภิกษุเก็บของที่เป็นยามกาลิกไว้ฉันชั่วยาม๑
๓. ภิกษุเก็บของที่เป็นสัตตาหกาลิกไว้ฉันชั่วสัปดาห์
๔. ภิกษุฉันของที่เป็นยาวชีวิกเมื่อมีเหตุผลสมควร
๕. ภิกษุวิกลจริต
๖. ภิกษุต้นบัญญัติ

สันนิธิการกสิกขาบทที่ ๘ จบ

เชิงอรรถ :
๑ ชั่วกาล คือชั่วเวลาเที่ยงวัน,ชั่วยาม คือชั่วปัจฉิมยาม (วิ.อ. ๒/๒๕๖/๓๗๘, ดูเชิงอรรถ ข้อ ๒๓๙ หน้า ๓๙๖)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๔๐๙ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๔.โภชนวรรค ๙.ปณีตโภชนสิกขาบท นิทานวัตถุ
๔. โภชนวรรค

๙. ปณีตโภชนสิกขาบท
ว่าด้วยการออกปากขอโภชนะอันประณีต

เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๒๕๗] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ออกปากขอ
โภชนะอันประณีตมาเพื่อตนแล้วฉัน พวกชาวบ้านพากันตำหนิ ประณาม โพนทะนา
ว่า “ไฉนพระสมณะเชื้อสายศากยบุตรจึงออกปากขอโภชนะอันประณีตมาเพื่อตนแล้ว
ฉันเล่า ภัตตาหารที่ดีใครจะไม่พอใจ ภัตตาหารอร่อยใครจะไม่ชอบเล่า”
ภิกษุทั้งหลายได้ยินพวกชาวบ้านตำหนิ ประณาม โพนทะนา บรรดาภิกษุผู้
มักน้อย ฯลฯ จึงพากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพวกภิกษุฉัพพัคคีย์จึง
ออกปากขอโภชนะอันประณีตมาเพื่อตนแล้วฉันเล่า” ครั้นภิกษุทั้งหลายตำหนิพวก
ภิกษุฉัพพัคคีย์โดยประการต่าง ๆ แล้วจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้
ทรงทราบ

ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามพวกภิกษุฉัพพัคคีย์ว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า พวกเธอออกปากขอ
โภชนะอันประณีตมาเพื่อตนแล้วฉันจริงหรือ” พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ทูลรับว่า “จริง
พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ฯลฯ โมฆบุรุษทั้งหลาย
ไฉนพวกเธอจึงออกปากขอโภชนะอันประณีตมาเพื่อตนแล้วฉันเล่า โมฆบุรุษ
ทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่
เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบท
นี้ขึ้นแสดงดังนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๔๑๐ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๔.โภชนวรรค ๙.ปณีตโภชนสิกขาบท พระอนุบัญญัติ
พระบัญญัติ
ก็ ภิกษุใดออกปากขอโภชนะอันประณีตเช่นนี้ คือ เนยใส เนยข้น น้ำมัน
น้ำผึ้ง น้ำอ้อย ปลา เนื้อ นมสด นมส้ม มาเพื่อตนแล้วฉัน ต้องอาบัติปาจิตตีย์
สิกขาบทนี้พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติไว้แก่ภิกษุทั้งหลายอย่างนี้
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ

เรื่องภิกษุเป็นไข้
[๒๕๘] สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายเป็นไข้ พวกภิกษุผู้มีหน้าที่สอบถามอาการ
ไข้ ได้กล่าวกับพวกภิกษุผู้เป็นไข้ดังนี้ว่า “ท่านทั้งหลายสบายดีหรือ ยังพอเป็นอยู่ได้
หรือ”
พวกภิกษุเป็นไข้ตอบว่า “เมื่อก่อนพวกกระผมออกปากขอโภชนะอันประณีต
มาเพื่อตนแล้วฉัน ดังนั้นจึงมีความผาสุก แต่เดี๋ยวนี้พวกกระผมมีความยำเกรงอยู่ว่า
“พระผู้มีพระภาคทรงห้ามไว้” จึงไม่ออกปากขอ ดังนั้นจึงไม่มีความผาสุก”
ภิกษุทั้งหลายได้นำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ

ทรงอนุญาตให้ภิกษุเป็นไข้ออกปากขอโภชนะอันประณีตได้
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมีกถาเพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ รับสั่ง
กับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุเป็นไข้ออกปากขอโภชนะ
อันประณีตมาเพื่อตนแล้วฉันได้” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง
ดังนี้
พระอนุบัญญัติ
[๒๕๙] อนึ่ง ภิกษุใดไม่เป็นไข้ ออกปากขอโภชนะอันประณีตเช่นนี้
คือ เนยใส เนยข้น น้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อย ปลา เนื้อ นมสด นมส้ม มาเพื่อ
ตนแล้วฉัน ต้องอาบัติปาจิตตีย์

เรื่องภิกษุเป็นไข้ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๔๑๑ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๔.โภชนวรรค ๙.ปณีตโภชนสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์
สิกขาบทวิภังค์
[๒๖๐] คำว่า โภชนะอันประณีต ความว่า ที่ชื่อว่า เนยใส ได้แก่ เนยใสที่
ทำจากน้ำนมโค เนยใสที่ทำจากน้ำนมแพะ เนยใสที่ทำจากน้ำนมกระบือ หรือเนยใส
ที่ทำจากน้ำนมสัตว์ที่มีเนื้อเป็นกัปปิยะ
ที่ชื่อว่า เนยข้น ได้แก่ เนยข้นที่ทำจากน้ำนมสัตว์เหล่านั้น
ที่ชื่อว่า น้ำมัน ได้แก่ น้ำมันที่สกัดจากเมล็ดงา น้ำมันที่สกัดจากเมล็ดพันธุ์
ผักกาด น้ำมันที่สกัดจากเมล็ดมะซาง น้ำมันที่สกัดจากเมล็ดละหุ่ง น้ำมันที่ทำจาก
เปลวสัตว์
ที่ชื่อว่า น้ำผึ้ง ได่แก่ น้ำหวานของแมลงผึ้ง
ที่ชื่อว่า น้ำอ้อย ได้แก่ น้ำหวานที่เกิดจากอ้อย
ที่ชื่อว่า ปลา ท่านกล่าวถึงสัตว์ที่เที่ยวไปในน้ำ
ที่ชื่อว่า เนื้อ ได้แก่ เนื้อของสัตว์บกที่มีเนื้อเป็นกัปปิยะ
ที่ชื่อว่า นมสด ได้แก่ น้ำนมโค น้ำนมแพะ น้ำนมกระบือหรือน้ำนมของสัตว์
ที่มีเนื้อเป็นกัปปิยะ
ที่ชื่อว่า นมส้ม ได้แก่ นมส้มที่ทำจากน้ำนมของสัตว์เหล่านั้น
คำว่า อนึ่ง...ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า อนึ่ง...ใด
คำว่า ภิกษุ มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุ เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาค
ทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุ ในความหมายนี้
คำว่า โภชนะอันประณีตเช่นนี้ ได้แก่ โภชนะอันประณีตดังกล่าว
ที่ชื่อว่า ไม่เป็นไข้ คือ ผู้ที่เว้นโภชนะอันประณีต ก็เป็นอยู่ผาสุก
ที่ชื่อว่า ผู้เป็นไข้ คือ ผู้ที่เว้นโภชนะอันประณีต จะไม่มีความผาสุก
ภิกษุไม่เป็นไข้ออกปากขอมาเพื่อตน ต้องอาบัติทุกกฏทุก ๆ ครั้งที่พยายาม
ภิกษุรับไว้ด้วยตั้งใจว่า จะฉันของที่ได้ ต้องอาบัติทุกกฏ
ภิกษุฉัน ต้องอาบัติปาจิตตีย์ทุก ๆ คำกลืน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๔๑๒ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๔.โภชนวรรค ๙.ปณีตโภชนสิกขาบท อนาปัตติวาร
บทภาชนีย์
ติกปาจิตตีย์
[๒๖๑] ไม่เป็นไข้ ภิกษุสำคัญว่าไม่เป็นไข้ ออกปากขอโภชนะอันประณีต
มาเพื่อตนแล้วฉัน ต้องอาบัติปาจิตตีย์
ไม่เป็นไข้ ภิกษุไม่แน่ใจ ออกปากขอโภชนะอันประณีตมาเพื่อตนแล้วฉัน ต้อง
อาบัติปาจิตตีย์
ไม่เป็นไข้ ภิกษุสำคัญว่าเป็นไข้ ออกปากขอโภชนะอันประณีตมาเพื่อตนแล้ว
ฉัน ต้องอาบัติปาจิตตีย์

ทุกทุกกฏ
เป็นไข้ ภิกษุสำคัญว่าไม่เป็นไข้ ต้องอาบัติทุกกฏ
เป็นไข้ ภิกษุไม่แน่ใจ ต้องอาบัติทุกกฏ
เป็นไข้ ภิกษุสำคัญว่าเป็นไข้ ไม่ต้องอาบัติ

อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[๒๖๒] ๑. ภิกษุเป็นไข้
๒. ภิกษุเป็นไข้ออกปากขอมาแล้วหายเป็นไข้จึงฉัน
๓. ภิกษุฉันโภชนะที่เหลือของภิกษุเป็นไข้
๔. ภิกษุออกปากขอจากญาติ
๕. ภิกษุออกปากขอจากคนปวารณา
๖. ภิกษุออกปากขอเพื่อภิกษุอื่น
๗. ภิกษุจ่ายมาด้วยทรัพย์ของตน
๘. ภิกษุวิกลจริต
๙. ภิกษุต้นบัญญัติ

ปณีตโภชนสิกขาบทที่ ๙ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๔๑๓ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๔.โภชนวรรค ๑๐.ทันตโปนสิกขาบท นิทานวัตถุ
๔. โภชนวรรค

๑๐. ทันตโปนสิกขาบท
ว่าด้วยการรับประเคนอาหารนอกจากน้ำและไม้ชำระฟัน

เรื่องภิกษุรูปหนึ่ง
[๒๖๓] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ กูฏาคารศาลา ป่า
มหาวัน เขตกรุงเวสาลี ครั้งนั้น ภิกษุรูปหนึ่งผู้ถือว่าทุกอย่างเป็นของบังสุกุล พักอยู่
ในป่าช้า ท่านไม่ปรารถนารับภัตตาหารที่พวกชาวบ้านถวาย เที่ยวถือเอาเครื่องเซ่น
ตามป่าช้าโคนไม้หรือธรณีประตูมาฉัน
พวกชาวบ้านพากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนภิกษุนี้จึงถือเอาเครื่อง
เซ่นของพวกเราไปฉันเองเล่า ภิกษุนี้อ้วนล่ำเห็นทีจะฉันเนื้อมนุษย์กระมัง”
พวกภิกษุได้ยินพวกชาวบ้านตำหนิ ประณาม โพนทะนา บรรดาภิกษุผู้
มักน้อย ฯลฯ จึงพากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนภิกษุจึงกลืนอาหารที่ยัง
ไม่มีผู้ถวายให้ล่วงลำคอเล่า” ครั้นภิกษุทั้งหลายตำหนิภิกษุนั้นโดยประการต่าง ๆ
แล้วจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ

ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามภิกษุนั้นว่า “ภิกษุ ทราบว่า เธอฉันอาหารที่ยังไม่มีผู้ถวายให้ล่วงลำคอ
จริงหรือ” ภิกษุนั้นทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรง
ตำหนิว่า “ฯลฯ โมฆบุรุษ ไฉนเธอจึงกลืนอาหารที่ยังไม่มีผู้ถวายให้ล่วงลำคอเล่า
โมฆบุรุษ การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่
เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบท
นี้ขึ้นแสดงดังนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๔๑๔ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๔.โภชนวรรค ๑๐.ทันตโปนสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์
พระบัญญัติ
ก็ ภิกษุใดกลืนอาหารที่ยังไม่มีผู้ถวายให้ล่วงลำคอ ต้องอาบัติปาจิตตีย์
สิกขาบทนี้พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติไว้แก่ภิกษุทั้งหลายอย่างนี้
เรื่องภิกษุรูปหนึ่ง จบ

ทรงอนุญาตน้ำและไม้ชำระฟัน
[๒๖๔] สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายมีความยำเกรง ไม่ยอมหยิบน้ำและไม้ชำระ
ฟันใช้ ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระผู้มี
พระภาคทรงอนุญาตว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ถือเอาน้ำและไม้ชำระฟันมา
ใช้เองได้” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้

พระอนุบัญญัติ
[๒๖๕] อนึ่ง ภิกษุใดกลืนอาหารที่ยังไม่มีผู้ถวายให้ล่วงลำคอ นอกจาก
น้ำและไม้ชำระฟัน ต้องอาบัติปาจิตตีย์

สิกขาบทวิภังค์
[๒๖๖] คำว่า อนึ่ง...ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
อนึ่ง...ใด
คำว่า ภิกษุ มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุ เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระ
ภาคทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุ ในความหมายนี้
ที่ชื่อว่า ที่ยังไม่มีผู้ถวาย ท่านกล่าวถึงของที่ยังไม่ได้รับประเคน


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๔๑๕ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๔.โภชนวรรค ๑๐.ทันตโปนสิกขาบท บทภาชนีย์
ลักษณะการรับประเคน
ที่ชื่อว่า มีผู้ถวาย คือ (๑) เขาถวายด้วยกาย ด้วยของเนื่องด้วยกาย หรือ
ด้วยโยนให้ (๒) เขาอยู่ในหัตถบาส (๓) ภิกษุรับประเคนด้วยกายหรือด้วยของ
เนื่องด้วยกาย นี้ชื่อว่ามีผู้ถวาย
ที่ชื่อว่า อาหาร ได้แก่ ของที่ฉันได้ ยกเว้นน้ำและไม้ชำระฟัน นี้ชื่อว่าอาหาร
คำว่า นอกจากน้ำและไม้ชำระฟัน คือ ยกเว้นน้ำและไม้ชำระฟัน
ภิกษุถือเอาด้วยตั้งใจว่า จะเคี้ยว จะฉัน ต้องอาบัติทุกกฏ
ภิกษุฉัน ต้องอาบัติปาจิตตีย์ทุก ๆ คำกลืน

บทภาชนีย์
ติกปาจิตตีย์
[๒๖๗] อาหารที่ยังไม่ได้รับประเคน ภิกษุสำคัญว่ายังไม่รับประเคน ฉัน
อาหารที่ยังไม่มีผู้ถวายให้ล่วงลำคอ นอกจากน้ำและไม้ชำระฟัน ต้องอาบัติปาจิตตีย์
อาหารที่ยังไม่ได้รับประเคน ภิกษุไม่แน่ใจ ฉันอาหารที่ไม่มีผู้ถวายให้ล่วง
ลำคอ นอกจากน้ำและไม้ชำระฟัน ต้องปาจิตตีย์
อาหารที่ยังไม่ได้รับประเคน ภิกษุสำคัญว่ารับประเคน ฉันอาหารที่ไม่มีผู้
ถวาย นอกจากน้ำและไม้ชำระฟัน ต้องอาบัติปาจิตตีย์

ทุกทุกกฏ
อาหารที่รับประเคน ภิกษุสำคัญว่ายังไม่ได้รับประเคน ต้องอาบัติทุกกฏ
อาหารที่รับประเคน ภิกษุไม่แน่ใจ ต้องอาบัติทุกกฏ
อาหารที่รับประเคน ภิกษุสำคัญว่ารับประเคน ไม่ต้องอาบัติ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๔๑๖ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๔.โภชนวรรค รวมสิกขาบทที่มีในโภชนวรรค
อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[๒๖๘] ๑. ภิกษุใช้น้ำและไม้ชำระฟัน
๒. ภิกษุหยิบยามหาวิกัติ ๔ ฉันเอง๑ เมื่อมีเหตุผลที่สมควร ในเมื่อ
ไม่มีกัปปิยการกถวาย
๓. ภิกษุวิกลจริต
๔. ภิกษุต้นบัญญัติ
ทันตโปนสิกขาบทที่ ๑๐ จบ
โภชนวรรคที่ ๔ จบ

รวมสิกขาบทที่มีในโภชนวรรค
โภชนวรรคมี ๑๐ สิกขาบท คือ

๑. อาวสถปิณฑสิกขาบท ว่าด้วยการฉันภัตตาหารในที่พักแรม
๒. คณโภชนสิกขาบท ว่าด้วยการฉันคณโภชนะ
๓. ปรัมปรโภชนสิกขาบท ว่าด้วยการฉันปรัมปรโภชนะ
๔. กาณมาตุสิกขาบท ว่าด้วยมารดาของนางกาณา
๕. ปฐมปวารณาสิกขาบท ว่าด้วยการบอกห้ามภัตตาหารข้อที่ ๑
๖. ทุติยปวารณาสิกขาบท ว่าด้วยการบอกห้ามภัตตาหารข้อที่ ๒
๗. วิกาลโภชนสิกขาบท ว่าด้วยการฉันโภชนะในเวลาวิกาล
๘. สันนิธิการกสิกขาบท ว่าด้วยการสะสมโภชนะ
๙. ปณีตโภชนสิกขาบท ว่าด้วยการออกปากขอโภชนะอันประณีต
๑๐. ทันตโปนสิกขาบท ว่าด้วยการรับประเคนอาหารนอกจากน้ำ
และไม้ชำระฟัน


เชิงอรรถ :
๑ ยามหาวิกัติ ๔ คือ คูถ มูตร เถ้า ดิน (วิ.ม. ๕/๒๖๘/๓๖) ภิกษุอาพาธหรือถูกสัตว์มีพิษกัดต่อย หยิบฉัน
ได้โดยไม่ต้องรับประเคน ถ้าไม่อาพาธก็ควรจะรับประเคน (วิ.อ. ๓/๒๖๘/๑๗๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๔๑๗ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๕.อเจลกวรรค ๑.อเจลกสิกขาบท นิทานวัตถุ
๕. อเจลกวรรค
หมวดว่าด้วยนักบวชเปลือย

๑. อเจลกสิกขาบท
ว่าด้วยนักบวชเปลือย

เรื่องพระอานนท์
[๒๖๙] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ กูฏาคารศาลา ป่า
มหาวัน เขตกรุงเวสาลี ครั้งนั้น พระสงฆ์มีของเคี้ยวเหลือเฟือ ทีนั้น ท่านพระ
อานนท์ได้นำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาครับสั่ง
ว่า “อานนท์ ถ้าเช่นนั้น เธอจงแจกขนมเป็นทานแก่พวกคนกินเดน”
ท่านพระอานนท์ทูลรับสนองพระดำรัสของพระผู้มีพระภาค แล้วจัดพวกคนกิน
เดนให้นั่งตามลำดับ แจกขนมให้คนละชิ้น แจกขนมให้ปริพาชิกาคนหนึ่ง ๒ ชิ้นด้วย
สำคัญว่าเป็นชิ้นเดียว
พวกปริพาชิกาที่อยู่ใกล้ ๆ ได้กล่าวกับปริพาชิกานั้นดังนี้ว่า “สมณะรูปนั้นเป็น
คู่รักของเธอหรือ”
ปริพาชิกานั้นตอบว่า “สมณะรูปนั้นไม่ใช่คู่รักของดิฉัน ท่านแจกให้ ๒ ชิ้นด้วย
สำคัญว่าเป็นชิ้นเดียว”
แม้ครั้งที่ ๒ ท่านพระอานนท์ก็แจกขนมให้ปริพาชิกานั้น ๒ ชิ้นด้วยสำคัญว่า
เป็นชิ้นเดียว พวกปริพาชิกาที่อยู่ใกล้ ๆ ได้กล่าวกับปริพาชิกานั้น ดังนี้ว่า “สมณะ
รูปนั้นเป็นคู่รักของเธอหรือ”
ปริพาชิกานั้นตอบว่า “สมณะรูปนั้นไม่ใช่คู่รักของดิฉัน ท่านแจกให้ ๒ ชิ้นด้วย
สำคัญว่าเป็นชิ้นเดียว”
แม้ครั้งที่ ๓ ท่านพระอานนท์ก็แจกขนมให้ปริพาชิกานั้น ๒ ชิ้นด้วยสำคัญว่า
เป็นชิ้นเดียว พวกปริพาชิกาที่อยู่ใกล้ ๆ ได้กล่าวกับปริพาชิกานั้นดังนี้ว่า “สมณะรูป
นั้นเป็นคู่รักของเธอหรือ”


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๔๑๘ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๕.อเจลกวรรค ๑.อเจลกสิกขาบท นิทานวัตถุ
ปริพาชิกานั้นตอบว่า “สมณะรูปนั้นไม่ใช่คู่รักของดิฉัน ท่านแจกให้ ๒ ชิ้นด้วย
สำคัญว่าเป็นชิ้นเดียว”
พวกปริพาชิกาเหล่านั้นโต้เถียงกันว่า “เป็นคู่รัก ไม่ใช่คู่รัก”
อาชีวกอีกคนหนึ่งได้เข้าไปที่ที่เลี้ยงอาหาร ภิกษุรูปหนึ่งคลุกข้าวกับเนยใส
จำนวนมาก ได้แจกข้าวก้อนใหญ่แก่อาชีวกนั้น ครั้นแล้ว อาชีวกนั้นได้ถือก้อนข้าว
นั้นไป อาชีวกอีกคนหนึ่งได้กล่าวกับอาชีวกนั้นดังนี้ว่า “ท่านได้ก้อนข้าวมาจาก
ที่ไหน”
อาชีวกนั้นตอบว่า “ข้าพเจ้าได้มาจากที่เลี้ยงอาหารของคหบดีโล้นสมณโคดม”
พวกอุบาสกได้ยินอาชีวกเหล่านั้นสนทนากัน ลำดับนั้น อุบาสกเหล่านั้นได้
เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ครั้นถึงแล้ว ได้ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาค
แล้วนั่ง ณ ที่สมควร อุบาสกเหล่านั้นผู้นั่ง ณ ที่สมควรแล้วได้กราบทูลพระผู้มี
พระภาคดังนี้ว่า “พระพุทธเจ้าข้า พวกเดียรถีย์เหล่านี้ต้องการติเตียนพระพุทธ
ต้องการติเตียนพระธรรม ต้องการติเตียนพระสงฆ์ ขอประทานวโรกาสเถิด
พระพุทธเจ้าข้า พระคุณเจ้าทั้งหลายโปรดอย่าให้สิ่งของแก่พวกเดียรถีย์ด้วยมือตน
เองเลย”
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคได้ทรงชี้แจงให้อุบาสกเหล่านั้นเห็นชัด ชวนให้
อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริง
ด้วยธรรมีกถา จากนั้น อุบาสกเหล่านั้นซึ่งพระผู้มีพระภาคได้ทรงชี้แจงให้เห็นชัด
ชวนให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่น
ร่าเริงธรรมีกถาแล้วได้ลุกจากอาสนะ ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคทำประทักษิณ
แล้วจากไป
ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
แสดงธรรมีกถาแก่ภิกษุทั้งหลายให้สมควรให้เหมาะสมกับเรื่องนั้น แล้วรับสั่งกับ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๔๑๙ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๕.อเจลกวรรค ๑.อเจลกสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์
ภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้น เราจะบัญญัติสิกขาบทแก่ภิกษุ
ทั้งหลายโดยอาศัยอำนาจประโยชน์ ๑๐ ประการ คือ
๑. เพื่อความรับว่าดีแห่งสงฆ์
๒. เพื่อความผาสุกแห่งสงฆ์
ฯลฯ
๑๐. เพื่อเอื้อเฟื้อวินัย”๑
แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้

พระบัญญัติ
[๒๗๐] ก็ ภิกษุใดให้ของเคี้ยวหรือของฉันแก่อเจลก ปริพาชกหรือ
ปริพาชิกาด้วยมือตน ต้องอาบัติปาจิตตีย์
เรื่องพระอานนท์ จบ

สิกขาบทวิภังค์
[๒๗๑] คำว่า ก็...ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ก็...ใด
คำว่า ภิกษุ มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุ เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระ
ภาคทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุ ในความหมายนี้
ที่ชื่อว่า อเจลก ได้แก่ ชีเปลือยคนใดคนหนึ่งอยู่ในลัทธิปริพาชก
ที่ชื่อว่า ปริพาชก ได้แก่ นักบวชคนใดคนหนึ่งอยู่ในลัทธิปริพาชก ยกเว้น
ภิกษุและสามเณร

เชิงอรรถ :
๑ ดูความพิสดาร ข้อ ๕๖๖ หน้า ๙๒ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๔๒๐ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๕.อเจลกวรรค ๑.อเจลกสิกขาบท บทภาชนีย์
ที่ชื่อว่า ปริพาชิกา ได้แก่ นักบวชหญิงคนใดคนหนึ่งนับเนื่องในลัทธิปริพาชก
ยกเว้นภิกษุณี สิกขมานาและสามเณรี
ที่ชื่อว่า ของเคี้ยว คือ ยกเว้นโภชนะ ๕ อย่าง น้ำและไม้ชำระฟัน นอกนั้น
ชื่อว่าของเคี้ยว
ที่ชื่อว่า ของฉัน ได้แก่ โภชนะ ๕ อย่างคือ ข้าวสุก ขนมสด ข้าวตู ปลา
เนื้อ
คำว่า ให้ คือ ภิกษุให้ด้วยกาย ด้วยของเนื่องด้วยกาย หรือด้วยโยนให้
ต้องอาบัติปาจิตตีย์

บทภาชนีย์
ติกปาจิตตีย์
[๒๗๒] เดียรถีย์๑ ภิกษุสำคัญว่าเป็นเดียรถีย์ ให้ของเคี้ยวหรือของฉันด้วย
มือตน ต้องอาบัติปาจิตตีย์
เดียรถีย์ ภิกษุไม่แน่ใจ ให้ของเคี้ยวหรือของฉันด้วยมือตน ต้องอาบัติ
ปาจิตตีย์
เดียรถีย์ ภิกษุสำคัญว่าไม่ใช่เดียรถีย์ให้ของเคี้ยวหรือของฉันด้วยมือตน ต้อง
อาบัติปาจิตตีย์

ติกทุกกฏ
ภิกษุให้น้ำและไม้ชำระฟัน ต้องอาบัติทุกกฏ
ไม่ใช่เดียรถีย์ ภิกษุสำคัญว่าเป็นเดียรถีย์ ต้องอาบัติทุกกฏ
ไม่ใช่เดียรถีย์ ภิกษุไม่แน่ใจ ต้องอาบัติทุกกฏ
ไม่ใช่เดียรถีย์ ภิกษุสำคัญว่าไม่ใช่เดียรถีย์ ไม่ต้องอาบัติ

เชิงอรรถ :
๑ เดียรถีย์ คือผู้ถือลัทธินอกพระพุทธศาสนา เป็นนักบวชผู้ถือลัทธิอื่น (วิ.อ. ๓/๑๓๒/๑๐๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๔๒๑ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๕.อเจลกวรรค ๑.อเจลกสิกขาบท อนาปัตติวาร
อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[๒๗๓] ๑. ภิกษุใช้ให้ผู้อื่นให้ มิได้ให้เอง
๒. ภิกษุวางให้
๓. ภิกษุให้ของไล้ทาภายนอก
๔. ภิกษุวิกลจริต
๕. ภิกษุต้นบัญญัติ

อเจลกสิกขาบทที่ ๑ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๔๒๒ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๕.อเจลกวรรค ๒.อุยโยชนสิกขาบท นิทานวัตถุ
๕. อเจลกวรรค

๒. อุยโยชนสิกขาบท
ว่าด้วยการส่งกลับ

เรื่องพระอุปนันทศากยบุตร
[๒๗๔] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น ท่านพระอุปนันทศากยบุตรได้
กล่าวชักชวนสัทธิวิหาริกของพระพี่ชายว่า “ท่านจงมาเถิด พวกเราจะไปบิณฑบาต
ในหมู่บ้าน” แล้วไม่ได้ให้ทายกถวายอะไรแก่เธอ นิมนต์กลับด้วยกล่าวว่า “ท่านจง
กลับไปเถิด พูดหรือนั่งกับท่าน ไม่ทำให้เราสบาย เราพูดหรือนั่งคนเดียวสบายกว่า”
เมื่อใกล้เวลาฉันแล้ว ภิกษุนั้นไม่สามารถหาบิณฑบาตฉันได้ทัน แม้ไปรับ
ภัตตาหารที่เขาแจกในโรงฉันก็ไม่ทัน จึงไม่ได้ฉันภัตตาหาร ครั้นภิกษุนั้นไปถึงอาราม
จึงเล่าเรื่องนั้นให้ภิกษุทั้งหลายทราบ
บรรดาภิกษุผู้มักน้อย ฯลฯ จึงพากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนท่าน
พระอุปนันทศากยบุตรกล่าวชักชวนภิกษุว่า ‘ท่านจงมาเถิด พวกเราจะไปบิณฑบาต
ในหมู่บ้าน แล้วไม่ได้ให้ทายกถวายอะไรแก่เธอ แล้วนิมนต์กลับเล่า” ครั้นภิกษุ
ทั้งหลายตำหนิท่านพระอุปนันทศากยบุตรโดยประการต่าง ๆ แล้วจึงนำเรื่องนี้ไป
กราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ

ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุทรง
สอบถามท่านพระอุปนันทศากยบุตรว่า “อุปนันทะ ทราบว่า เธอกล่าวชักชวนภิกษุ
ว่า ท่านจงมาเถิด พวกเราจะไปบิณฑบาตในหมู่บ้าน แล้วไม่ได้ให้ทายกถวายอะไร
แก่เธอ แล้วนิมนต์กลับ จริงหรือ” ท่านพระอุปนันทศากยบุตรทูลรับว่า “จริง
พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ฯลฯ โมฆบุรุษ ไฉนเธอจึง


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๔๒๓ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๕.อเจลกวรรค ๒.อุยโยชนสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์
กล่าวชักชวนภิกษุว่า ท่านจงมาเถิด พวกเราจะไปบิณฑบาตในหมู่บ้านแล้วไม่ได้ให้
ทายกถวายอะไรแก่เธอแล้วนิมนต์กลับเล่า โมฆบุรุษ การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่
ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ”
แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้

พระบัญญัติ
[๒๗๕] ก็ ภิกษุใดกล่าวชักชวนภิกษุว่า “ท่านจงมาเถิด พวกเราจะไป
บิณทบาตในหมู่บ้านหรือในนิคม” แล้วให้ทายกถวายหรือไม่ให้ทายกถวายแก่
เธอแล้วนิมนต์กลับด้วยกล่าวว่า “ท่านจงกลับไปเถิด พูดหรือนั่งกับท่านไม่
ทำให้เราสบาย เราพูดหรือนั่งคนเดียวสบายกว่า” มีเหตุผลเพียงเท่านี้ ไม่มี
อะไรอื่น ต้องอาบัติปาจิตตีย์
เรื่องพระอุปนันทศากยบุตร จบ

สิกขาบทวิภังค์
[๒๗๖] คำว่า ก็...ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ก็...ใด
คำว่า ภิกษุ มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุ เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระ
ภาคทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุ ในความหมายนี้
คำว่า ภิกษุ หมายถึง ภิกษุรูปอื่น
คำว่า ท่านจงมาเถิด...ในหมู่บ้านหรือในนิคม คือ หมู่บ้านก็ดี นิคมก็ดี
เมืองก็ดี ชื่อว่าหมู่บ้านและนิคม
คำว่า ให้ทายกถวายแก่เธอ คือ ให้เขาถวายข้าวต้ม ข้าวสวย ของเคี้ยว
หรือของฉัน
คำว่า ไม่ให้ทายกถวาย คือ ไม่ให้ทายกถวายอะไร ๆ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๔๒๔ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๕.อเจลกวรรค ๒.อุยโยชนสิกขาบท บทภาชนีย์
คำว่า นิมนต์กลับ ความว่า ภิกษุปรารถนาจะกระซิกกระซี้ ปรารถนาจะ
หยอกเย้า ปรารถนาจะนั่งในที่ลับ หรือปรารถนาจะประพฤติอนาจารกับมาตุคาม
กล่าวนิมนต์กลับอย่างนี้ว่า “ท่านจงกลับไปเถิด พูดหรือนั่งกับท่าน ไม่ทำให้เรา
สบาย เราพูดหรือนั่งคนเดียวสบายกว่า” ต้องอาบัติทุกกฏ เมื่อเธอไปถึงระยะที่มอง
ไม่เห็นหรือไม่ได้ยินเสียง ภิกษุรูปที่นิมนต์กลับต้องอาบัติทุกกฏ เมื่อเธอไปจนพ้น
ต้องอาบัติปาจิตตีย์
คำว่า มีเหตุผลเพียงเท่านี้ไม่มีอะไรอื่น ความว่า ไม่มีเหตุผลอย่างอื่นเพื่อ
ส่งกลับ

บทภาชนีย์
ติกปาจิตตีย์
[๒๗๗] อุปสัมบัน ภิกษุสำคัญว่าเป็นอุปสัมบัน นิมนต์กลับ ต้องอาบัติ
ปาจิตตีย์
อุปสัมบัน ภิกษุไม่แน่ใจ นิมนต์กลับ ต้องอาบัติปาจิตตีย์
อุปสัมบัน ภิกษุสำคัญว่าเป็นอนุปสัมบัน นิมนต์กลับ ต้องอาบัติปาจิตตีย์

ทุกกฏ
ภิกษุทำเป็นโกรธ นิมนต์กลับ ต้องอาบัติทุกกฏ
ภิกษุนิมนต์อนุปสัมบันกลับ ต้องอาบัติทุกกฏ
ภิกษุทำเป็นโกรธ นิมนต์กลับ ต้องอาบัติทุกกฏ
อนุปสัมบัน ภิกษุสำคัญว่าเป็นอุปสัมบัน ต้องอาบัติทุกกฏ
อนุปสัมบัน ภิกษุไม่แน่ใจ ต้องอาบัติทุกกฏ
อนุปสัมบัน ภิกษุสำคัญว่าเป็นอนุปสัมบัน ต้องอาบัติทุกกฏ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๔๒๕ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๕.อเจลกวรรค ๒.อุยโยชนสิกขาบท อนาปัตติวาร
อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[๒๗๘] ๑. ภิกษุนิมนต์กลับด้วยคิดว่า เราสองรูปฉันด้วยกัน ภัตตาหาร
จะไม่พอ
๒. ภิกษุนิมนต์กลับด้วยคิดว่า รูปนั้นพบของมีค่าแล้วจะเกิดความ
โลภ
๓. ภิกษุนิมนต์กลับด้วยคิดว่า รูปนั้นเห็นมาตุคามแล้วจะเกิดความ
กำหนัด
๔. ภิกษุนิมนต์กลับด้วยสั่งว่า เธอจงนำข้าวต้ม ข้าวสวย หรือของ
เคี้ยวของฉันไปถวายภิกษุเป็นไข้ ภิกษุผู้ตกค้างอยู่ หรือภิกษุ
ผู้เฝ้าวิหาร
๕. ภิกษุไม่ประสงค์จะประพฤติอนาจารแต่มีธุระจำเป็นจึงส่งกลับ
๖. ภิกษุวิกลจริต
๗. ภิกษุต้นบัญญัติ

อุยโยชนสิกขาบทที่ ๒ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๔๒๖ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๕.อเจลกวรรค ๓.สโภชนสิกขาบท นิทานวัตถุ
๕. อเจลกวรรค

๓. สโภชนสิกขาบท
ว่าด้วยการเข้าไปแทรกแซงในที่ที่มีคน ๒ คน

เรื่องพระอุปนันทศากยบุตร
[๒๗๙] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น ท่านพระอุปนันทศากยบุตรได้ไป
เรือนของสหายแล้วได้นั่งในห้องนอนกับภรรยาของสหาย ทีนั้น สหายนั้นได้เข้าไปหา
ท่านพระอุปนันทศากยบุตรถึงอาสนะ ครั้นถึงแล้วได้ไหว้ท่านพระอุปนันทศากยบุตร
แล้วนั่ง ณ ที่สมควร สหายนั้นผู้นั่ง ณ ที่สมควรแล้วได้กล่าวกับภรรยาดังนี้ว่า “เธอ
จงถวายภิกษาหารแด่พระคุณเจ้า” ลำดับนั้น ภรรยาของสหายนั้นได้ถวายภิกษาหาร
แก่ท่านอุปนันทศากยบุตรแล้ว
ครั้งนั้น สหายนั้นได้กล่าวกับท่านพระอุปนันทศากยบุตรดังนี้ว่า “นิมนต์พระ
คุณเจ้ากลับไปเถิด ขอรับ เพราะได้ถวายภิกษาหารแด่พระคุณเจ้าแล้ว”
ภรรยาของสหายนั้นกำหนดรู้ว่าสามีถูกราคะกลุ้มรุมแล้ว จึงได้กล่าวกับท่าน
พระอุปนันทศากยบุตรดังนี้ว่า “พระคุณเจ้า นิมนต์ท่านนั่งอยู่เถิด อย่าเพิ่งกลับ”
แม้ครั้งที่ ๒ สหายนั้น ฯลฯ
แม้ครั้งที่ ๓ สหายนั้นได้กล่าวกับท่านพระอุปนันทศากยบุตรดังนี้ว่า “นิมนต์
พระคุณเจ้ากลับไปเถิด ขอรับ เพราะได้ถวายภิกษาหารแด่พระคุณเจ้าแล้ว”
แม้ครั้งที่ ๓ ภรรยาของสหายนั้น ก็ได้กล่าวกับท่านพระอุปนันทศากยบุตร
ดังนี้ว่า “พระคุณเจ้า นิมนต์ท่านนั่งอยู่เถิด อย่าเพิ่งกลับ”
ครั้งนั้น สหายของท่านพระอุปนันทศากยบุตร ได้ออกไปเที่ยวฟ้องภิกษุทั้งหลาย
ว่า “พระคุณเจ้าอุปนันทศากยบุตรรูปนี้นั่งในห้องนอนกับภรรยาของกระผม กระผม
นิมนต์ให้ท่านกลับ ก็ไม่ปรารถนาจะกลับ พวกกระผมมีกิจมาก มีงานที่ต้องทำมาก”


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๔๒๗ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๕.อเจลกวรรค ๓.สโภชนสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์
บรรดาภิกษุผู้มักน้อย ฯลฯ จึงพากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนท่าน
พระอุปนันทศากยบุตรจึงเข้านั่งแทรกแซงในตระกูลที่มีคน ๒ คนเล่า” ครั้นภิกษุ
ทั้งหลายตำหนิท่านพระอุปนันทศากยบุตรโดยประการต่าง ๆ แล้วจึงนำเรื่องนี้ไป
กราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ

ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามท่านพระอุปนันทศากยบุตรว่า “อุปนันทะ ทราบว่า เธอนั่งแทรกแซงใน
ตระกูลที่มีคน ๒ คน จริงหรือ” ท่านพระอุปนันทศากยบุตรทูลรับว่า “จริง พระ
พุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ฯลฯ โมฆบุรุษ ไฉนเธอจึง
เข้าไปนั่งแทรกแซงในตระกูลที่มีคน ๒ คนเล่า โมฆบุรุษ การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำ
คนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ”
แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้

พระบัญญัติ
[๒๘๐] ก็ ภิกษุใดเข้าไปนั่งแทรกแซงในตระกูลที่มีคน ๒ คน ต้อง
อาบัติปาจิตตีย์
เรื่องพระอุปนันทศากยบุตร จบ

สิกขาบทวิภังค์
[๒๘๑] คำว่า ก็...ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ก็...ใด
คำว่า ภิกษุ มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุ เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระ
ภาคทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุ ในความหมายนี้
สกุลที่ชื่อว่า มีคน ๒ คน คือ สตรีกับบุรุษอยู่ด้วยกัน สตรีและบุรุษยังไม่
แยกออกจากกัน ทั้ง ๒ คนยังไม่ปราศจากราคะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๔๒๘ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๕.อเจลกวรรค ๓.สโภชนสิกขาบท บทภาชนีย์
คำว่า เข้าไปแทรกแซง คือ เข้าไปข้างใน
คำว่า นั่ง ความว่า ในเรือนใหญ่ ภิกษุนั่งละหัตถบาสบานประตู๑ ต้องอาบัติ
ปาจิตตีย์
ในเรือนเล็ก ภิกษุนั่งล้ำตรงกลางห้องนอน ต้องอาบัติปาจิตตีย์

บทภาชนีย์
ติกปาจิตตีย์
[๒๘๒] ห้องนอน ภิกษุสำคัญว่าเป็นห้องนอน เข้าไปนั่งแทรกแซงในตระกูลที่
มีคน ๒ คน ต้องอาบัติปาจิตตีย์
ห้องนอน ภิกษุไม่แน่ใจ เข้าไปนั่งแทรกแซงในตระกูลที่มีคน ๒ คน ต้อง
อาบัติปาจิตตีย์
ห้องนอน ภิกษุสำคัญว่าไม่ใช่ห้องนอน เข้าไปนั่งแทรกแซงในตระกูลที่มีคน ๒
คน ต้องอาบัติปาจิตตีย์

ทุกทุกกฏ
ไม่ใช่ห้องนอน ภิกษุสำคัญว่าเป็นห้องนอน ต้องอาบัติทุกกฏ
ไม่ใช่ห้องนอน ภิกษุไม่แน่ใจ ต้องอาบัติทุกกฏ
ไม่ใช่ห้องนอน ภิกษุสำคัญว่าไม่ใช่ห้องนอน ไม่ต้องอาบัติ

เชิงอรรถ :
๑ นั่งละหัตถบาสบานประตู หมายความว่า นั่งห่างชั่วระยะเหยียดแขนออกไปจับตัวคนที่นั่งใกล้ได้ เท่ากับ ๒
ศอกคืบ (วิ.อ. ๒/๔๗๗-๘/๑๕๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๔๒๙ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๕.อเจลกวรรค ๓.สโภชนสิกขาบท อนาปัตติวาร
อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[๒๘๓] ๑. ภิกษุนั่งในเรือนใหญ่ห่างจากบานประตูไม่เกินหัตถบาส
๒. ภิกษุนั่งในเรือนเล็กไม่ล้ำตรงกลางห้องนอน
๓. ภิกษุมีเพื่อนอยู่ด้วย
๔. ภิกษุนั่งในเรือนที่คนทั้งสองออกไปแล้ว
๕. ภิกษุนั่งในเรือนที่คนทั้งสองสร่างจากราคะ
๖. ภิกษุนั่งในที่ไม่ใช่ห้องนอน
๗. ภิกษุวิกลจริต
๘. ภิกษุต้นบัญญัติ

สโภชนสิกขาบทที่ ๓ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๔๓๐ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๕.อเจลกวรรค ๔.รโหปฏิจฉันนสิกขาบท นิทานวัตถุ
๕. อเจลกวรรค

๔. รโหปฏิจฉันนสิกขาบท
ว่าด้วยการนั่งในที่ลับมีสิ่งกำบัง

เรื่องพระอุปนันทศากยบุตร
[๒๘๔] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น ท่านพระอุปนันทศากยบุตรได้ไป
เรือนของสหายแล้วได้นั่งบนอาสนะที่กำบังในที่ลับกับภรรยาของสหาย
ครั้งนั้น สหายนั้นได้ตำหนิ ประณาม โพนทนาว่า “ไฉนพระคุณเจ้าอุปนันท
ศากยบุตรจึงนั่งบนอาสนะที่กำบังในที่ลับกับภรรยาของกระผมเล่า”
ภิกษุทั้งหลายได้ยินสหายของท่านพระอุปนันทศากยบุตรนั้นตำหนิ ประณาม
โพนทะนา บรรดาภิกษุผู้มักน้อย ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉน
ท่านพระอุปนันทศากยบุตรจึงนั่งบนอาสนะที่กำบังในที่ลับกับมาตุคามเล่า” ครั้น
ภิกษุทั้งหลายตำหนิท่านพระอุปนันทศากยบุตรโดยประการต่าง ๆ แล้วจึงนำเรื่องนี้
ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ

ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามท่านพระอุปนันทศากยบุตรว่า “อุปนันทะ ทราบว่า เธอนั่งบนอาสนะที่
กำบังในที่ลับกับมาตุคาม จริงหรือ” ท่านพระอุปนันทศากยบุตรทูลรับว่า “จริง
พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ฯลฯ โมฆบุรุษ ไฉนเธอจึง
นั่งบนอาสนะที่กำบังในที่ลับกับมาตุคามเล่า โมฆบุรุษ การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำ
คนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ”
แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๔๓๑ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๕.อเจลกวรรค ๔.รโหปฏิจฉันนสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์
พระบัญญัติ
[๒๘๕] ก็ ภิกษุใดนั่งบนอาสนะที่กำบังในที่ลับกับมาตุคาม ต้องอาบัติ
ปาจิตตีย์
เรื่องพระอุปนันทศากยบุตร จบ

สิกขาบทวิภังค์
[๒๘๖] คำว่า ก็...ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ก็...ใด
คำว่า ภิกษุ มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุ เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระ
ภาคทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุ ในความหมายนี้
ที่ชื่อว่า มาตุคาม ได้แก่ หญิงมนุษย์ ไม่ใช่นางยักษ์ ไม่ใช่นางเปรต ไม่ใช่
สัตว์ดิรัจฉานตัวเมีย หญิงมนุษย์นั้นโดยที่สุดกระทั่งเด็กหญิงซึ่งเกิดในวันนั้น หญิง
โตกว่านี้ไม่ต้องกล่าวถึง
คำว่า กับ คือ โดยความเป็นอันเดียวกัน
ที่ชื่อว่า ที่ลับ ได้แก่ ที่ลับตาและที่ลับหู
ที่ชื่อว่า ที่ลับตา หมายถึง สถานที่ซึ่งเมื่อบุคคลขยิบตา ยักคิ้วหรือผงกศีรษะ
ขึ้น ใคร ๆ ก็ไม่สามารถแลเห็นได้
ที่ชื่อว่า ที่ลับหู หมายถึง ที่ซึ่งไม่มีใครสามารถจะได้ยินถ้อยคำที่พูดกันตาม
ปกติได้
อาสนะที่ชื่อว่า ที่กำบัง คือ อาสนะที่กำบังด้วยฝา บานประตู เสื่อลำแพน
ม่าน ต้นไม้ เสา หรือพ้อมอย่างใดอย่างหนึ่ง
คำว่า นั่ง หมายความว่า เมื่อมาตุคามนั่ง ภิกษุนั่งใกล้ หรือนอนใกล้ ต้อง
อาบัติปาจิตตีย์
เมื่อภิกษุนั่ง มาตุคามนั่งใกล้หรือนอนใกล้ ภิกษุต้องอาบัติปาจิตตีย์
ทั้งภิกษุและมาตุคามนั่งหรือนอน ภิกษุต้องอาบัติปาจิตตีย์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๔๓๒ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๕.อเจลกวรรค ๔.รโหปฏิจฉันนสิกขาบท อนาปัตติวาร
บทภาชนีย์
ติกปาจิตตีย์
[๒๘๗] มาตุคาม ภิกษุสำคัญว่าเป็นมาตุคาม นั่งบนอาสนะที่กำบังในที่ลับ
ต้องอาบัติปาจิตตีย์
มาตุคาม ภิกษุไม่แน่ใจ นั่งบนอาสนะที่กำบังในที่ลับ ต้องอาบัติปาจิตตีย์
มาตุคาม ภิกษุสำคัญว่าไม่ใช่มาตุคาม นั่งบนอาสนะที่กำบังในที่ลับ ต้อง
อาบัติปาจิตตีย์

ติกทุกกฏ
ภิกษุนั่งบนอาสนะที่กำบังในที่ลับกับนางยักษ์ นางเปรต บัณเฑาะก์ หรือสัตว์
ดิรัจฉานมีกายเป็นมนุษย์ผู้หญิง ต้องอาบัติทุกกฏ
ไม่ใช่มาตุคาม ภิกษุสำคัญว่าเป็นมาตุคาม ต้องอาบัติทุกกฏ
ไม่ใช่มาตุคาม ภิกษุไม่แน่ใจ ต้องอาบัติทุกกฏ
ไม่ใช่มาตุคาม ภิกษุสำคัญว่าไม่ใช่มาตุคาม ไม่ต้องอาบัติ

อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[๒๘๘] ๑. ภิกษุนั่งในที่ที่มีบุรุษรู้เดียงสาคนหนึ่งอยู่เป็นเพื่อน
๒. ภิกษุยืนไม่ได้นั่ง
๓. ภิกษุไม่ได้มุ่งให้เป็นที่ลับ
๔. ภิกษุนั่งคิดเรื่องอื่น
๕. ภิกษุวิกลจริต
๖. ภิกษุต้นบัญญัติ

รโหปฏิจฉันนสิกขาบทที่ ๔ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๔๓๓ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๕.อเจลกวรรค ๕.รโหนิสัชชสิกขาบท นิทานวัตถุ
๕. อเจลกวรรค

๕. รโหนิสัชชสิกขาบท
ว่าด้วยการนั่งในที่ลับ

เรื่องพระอุปนันทศากยบุตร
[๒๘๙] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น ท่านพระอุปนันทศากยบุตรได้ไป
เรือนของสหายแล้วได้นั่งในที่ลับกับภรรยาของสหายนั้นสองต่อสอง
ครั้งนั้น สหายนั้นได้ตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพระคุณเจ้าอุปนันท
ศากยบุตรจึงนั่งในที่ลับกับภรรยาของกระผมสองต่อสองเล่า”
ภิกษุทั้งหลายได้ยินสหายของท่านพระอุปนันทศากยบุตรนั้นตำหนิ ประณาม
โพนทะนา บรรดาภิกษุผู้มักน้อย ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉน
ท่านพระอุปนันทศากยบุตรจึงนั่งในที่ลับกับมาตุคามสองต่อสองเล่า” ครั้นภิกษุ
ทั้งหลายตำหนิท่านพระอุปนันทศากยบุตรโดยประการต่าง ๆ แล้วจึงนำเรื่องนี้ไป
กราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ

ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามท่านพระอุปนันทศากยบุตรว่า “อุปนันทะ ทราบว่า เธอนั่งในที่ลับกับ
มาตุคามสองต่อสอง จริงหรือ” ท่านพระอุปนันทะทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ฯลฯ โมฆบุรุษ ไฉนเธอจึงนั่งในที่ลับกับ
มาตุคามสองต่อสองเล่า โมฆบุรุษ การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใส
ให้เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่ง
ให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๔๓๔ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๕.อเจลกวรรค ๕.รโหนิสัชชสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์
พระบัญญัติ
[๒๙๐] ก็ ภิกษุใดนั่งในที่ลับกับมาตุคามสองต่อสอง ต้องอาบัติปาจิตตีย์
เรื่องพระอุปนันทศากยบุตร จบ

สิกขาบทวิภังค์
[๒๙๑] คำว่า ก็...ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ก็...ใด
คำว่า ภิกษุ มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุ เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระ
ภาคทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุ ในความหมายนี้
ที่ชื่อว่า มาตุคาม ได้แก่ หญิงมนุษย์ ไม่ใช่นางยักษ์ ไม่ใช่นางเปรต ไม่ใช่
สัตว์ดิรัจฉานตัวเมีย แต่เป็นหญิงที่รู้เดียงสา สามารถรับรู้ถ้อยคำสุภาษิต ทุพภาษิต
คำหยาบและคำสุภาพ
คำว่า กับ คือ โดยความเป็นอันเดียวกัน
คำว่า สองต่อสอง ได้แก่ ภิกษุกับมาตุคาม
ที่ชื่อว่า ที่ลับ ได้แก่ ที่ลับตาและที่ลับหู
ที่ชื่อว่า ที่ลับตา หมายถึง สถานที่ซึ่งเมื่อบุคคลขยิบตา ยักคิ้วหรือผงกศีรษะ
ขึ้น ใคร ๆ ก็ไม่สามารถเห็นได้
ที่ชื่อว่า ที่ลับหู หมายถึง ที่ซึ่งไม่มีใครสามารถจะได้ยินถ้อยคำที่พูดกันตาม
ปกติได้
คำว่า นั่ง หมายความว่า เมื่อมาตุคามนั่ง ภิกษุนั่งใกล้ หรือนอนใกล้
ต้อง อาบัติปาจิตตีย์
เมื่อภิกษุนั่ง มาตุคามนั่งใกล้หรือนอนใกล้ ภิกษุต้องอาบัติปาจิตตีย์
ทั้งภิกษุและมาตุคามนั่งหรือนอน ภิกษุต้องอาบัติปาจิตตีย์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๔๓๕ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๕.อเจลกวรรค ๕.รโหนิสัชชสิกขาบท อนาปัตติวาร
บทภาชนีย์
ติกปาจิตตีย์
[๒๙๒] มาตุคาม ภิกษุสำคัญว่าเป็นมาตุคาม นั่งในที่ลับสองต่อสอง ต้อง
อาบัติปาจิตตีย์
มาตุคาม ภิกษุไม่แน่ใจ นั่งในที่ลับสองต่อสอง ต้องอาบัติปาจิตตีย์
มาตุคาม ภิกษุสำคัญว่าไม่ใช่มาตุคาม นั่งในที่ลับสองต่อสอง ต้องอาบัติ
ปาจิตตีย์

ติกทุกกฏ
ภิกษุนั่งในที่ลับกับนางยักษ์ นางเปรต บัณเฑาะก์ หรือสัตว์ดิรัจฉานมีกาย
เป็นมนุษย์ผู้หญิงสองต่อสอง ต้องอาบัติทุกกฏ
ไม่ใช่มาตุคาม ภิกษุสำคัญว่าเป็นมาตุคาม ต้องอาบัติทุกกฏ
ไม่ใช่มาตุคาม ภิกษุไม่แน่ใจ ต้องอาบัติทุกกฏ
ไม่ใช่มาตุคาม ภิกษุสำคัญว่าไม่ใช่มาตุคาม ไม่ต้องอาบัติ

อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[๒๙๓] ๑. ภิกษุนั่งในที่ที่มีบุรุษรู้เดียงสาคนหนึ่งอยู่เป็นเพื่อน
๒. ภิกษุยืนไม่ได้นั่ง
๓. ภิกษุไม่ได้มุ่งที่ลับ
๔. ภิกษุนั่งคิดเรื่องอื่น
๕. ภิกษุวิกลจริต
๖. ภิกษุต้นบัญญัติ

รโหนิสัชชสิกขาบทที่ ๕ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๔๓๖ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๕.อเจลกวรรค ๖.จาริตตสิกขาบท นิทานวัตถุ
๕. อเจลกวรรค

๖. จาริตตสิกขาบท
ว่าด้วยการเที่ยวสัญจรไป

เรื่องพระอุปนันทศากยบุตร
[๒๙๔] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเวฬุวัน สถานที่
ให้เหยื่อกระแต เขตกรุงราชคฤห์ ครั้งนั้น ตระกูลอุปัฏฐากของท่านพระอุปนันท
ศากยบุตรนิมนต์ท่านฉันภัตตาหาร แม้ภิกษุเหล่าอื่นตระกูลอุปัฏฐากของท่านพระ
อุปนันทศากยบุตรก็ได้นิมนต์ฉันภัตตาหาร ครั้งนั้น ก่อนถึงเวลาฉันภัตตาหาร ท่าน
พระอุปนันทศากยบุตรเข้าไปเยี่ยมเยียนตระกูลทั้งหลาย
ลำดับนั้น ภิกษุทั้งหลายได้กล่าวกับทายกเหล่านั้นดังนี้ว่า “อุบาสกทั้งหลาย
พวกท่านจงถวายภัตตาหารเถิด”
พวกทายกกล่าวว่า “นิมนต์พระคุณเจ้าทั้งหลายโปรดรอจนกว่าพระคุณเจ้า
อุปนันทศากยบุตรจะมาเถิด”
แม้ครั้งที่ ๒ ภิกษุทั้งหลายได้กล่าวกับทายกเหล่านั้นดังนี้ว่า “อุบาสกทั้งหลาย
พวกท่านจงถวายภัตตาหารเถิด”
พวกทายกกล่าวว่า “นิมนต์พระคุณเจ้าทั้งหลายโปรดรอจนกว่าพระคุณเจ้า
อุปนันทศากยบุตรจะมา”
พอครั้งที่ ๓ ภิกษุทั้งหลายได้กล่าวกับทายกเหล่านั้นดังนี้ว่า “อุบาสกทั้งหลาย
พวกท่านจงถวายภัตตาหารเถิด ก่อนที่เวลาจะล่วงเลยไปเสีย”
พวกทายกตอบว่า “พระคุณเจ้าทั้งหลาย พวกโยมจัดภัตตาหารเพราะเหตุแห่ง
พระคุณเจ้าอุปนันทศากยบุตร นิมนต์พระคุณเจ้าทั้งหลายโปรดรอจนกว่าพระคุณเจ้า
อุปนันทศากยบุตรจะมาเถิด”
ครั้นท่านพระอุปนันทศากยบุตรเข้าไปเยี่ยมเยียนตระกูลทั้งหลายก่อนถึงเวลา
ฉันภัตตาหารแล้วกลับใกล้เวลาฉัน ภิกษุทั้งหลายจึงฉันภัตตาหารไม่ได้สมใจ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๔๓๗ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๕.อเจลกวรรค ๖.จาริตตสิกขาบท พระบัญญัติ
บรรดาภิกษุผู้มักน้อย ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนท่าน
พระอุปนันทศากยบุตรรับนิมนต์ไว้แล้ว มีภัตตาหารแล้ว จึงยังเที่ยวสัญจรไปใน
ตระกูลทั้งหลายก่อนถึงเวลาฉันภัตตาหารเล่า” ครั้นภิกษุทั้งหลายตำหนิท่านพระ
อุปนันทศากยบุตรโดยประการต่าง ๆ แล้วจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้
ทรงทราบ

ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามท่านพระอุปนันทศากยบุตรว่า “อุปนันทะ ทราบว่า เธอรับนิมนต์ไว้แล้ว มี
ภัตตาหารแล้ว ยังเที่ยวสัญจรไปในตระกูลทั้งหลายก่อนถึงเวลาฉันภัตตาหาร จริง
หรือ” ท่านพระอุปนันทศากยบุตรทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาค
พุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ฯลฯ โมฆบุรุษ ไฉนเธอรับนิมนต์ไว้แล้ว มีภัตตาหารแล้ว ยัง
เที่ยวสัญจรไปในตระกูลทั้งหลายก่อนถึงเวลาฉันภัตตาหารเล่า โมฆบุรุษ การกระทำ
อย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใส
ยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้

พระบัญญัติ
ก็ ภิกษุใดรับนิมนต์ไว้แล้ว มีภัตตาหารอยู่แล้ว๑ เที่ยวสัญจรไปในตระกูล
ทั้งหลายก่อนเวลาฉันภัตตาหาร ต้องอาบัติปาจิตตีย์
สิกขาบทนี้พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติไว้แก่ภิกษุทั้งหลายอย่างนี้
[๒๙๕] สมัยนั้น ตระกูลอุปัฏฐากของท่านพระอุปนันทศากยบุตรส่งของ
เคี้ยวไปถวายสงฆ์ด้วยสั่งว่า “ขอมอบให้พระคุณเจ้าอุปนันทศากยบุตรเป็นผู้ถวาย
สงฆ์” ครั้งนั้น ท่านพระอุปนันทศากยบุตรกำลังไปบิณฑบาตในหมู่บ้าน พอดีพวก
ชาวบ้านไปถึงอารามถามภิกษุทั้งหลายว่า “พระคุณเจ้าทั้งหลาย พระคุณเจ้า
อุปนันทศากยบุตรไปไหน”

เชิงอรรถ :
๑ คือที่ทายกจัดเตรียมไว้ถวาย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๔๓๘ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๕.อเจลกวรรค ๖.จาริตตสิกขาบท พระบัญญัติ
ภิกษุทั้งหลายตอบว่า “อุบาสกทั้งหลาย ท่านพระอุปนันทะไปบิณฑบาตใน
หมู่บ้าน”
พวกชาวบ้านเรียนว่า “พระคุณเจ้าทั้งหลาย ของเคี้ยวนี้มอบให้พระคุณเจ้า
อุปนันทะเป็นผู้ถวายสงฆ์”
ภิกษุทั้งหลายนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ ลำดับนั้น
พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมีกถาเพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ รับสั่งกับภิกษุทั้งหลาย
ว่า “ภิกษุทั้งหลาย ถ้าเช่นนั้น พวกเธอจงรับประเคนแล้วเก็บไว้จนกว่าอุปนันทะ
จะกลับมา”
ฝ่ายท่านพระอุปนันทศากยบุตรคิดว่า “พระผู้มีพระภาคทรงห้ามการเที่ยว
สัญจรไปในตระกูลทั้งหลายก่อนเวลาฉันภัตตาหาร” จึงเข้าไปเยี่ยมเยียนตระกูล
ทั้งหลายภายหลังเวลาฉันภัตตาหาร กลับออกมาเวลาบ่าย ของฉันถูกส่งคืน
บรรดาภิกษุผู้มักน้อย ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนท่าน
พระอุปนันทศากยบุตรจึงเที่ยวสัญจรไปในตระกูลทั้งหลายภายหลังเวลาภัตตาหาร
เล่า” ครั้นภิกษุทั้งหลายตำหนิท่านพระอุปนันทศากยบุตรโดยประการต่าง ๆ แล้วจึง
นำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ

ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามท่านพระอุปนันทศากยบุตรว่า “อุปนันทะ ทราบว่า เธอเที่ยวสัญจรไปใน
ตระกูลทั้งหลายภายหลังเวลาฉันภัตตาหาร จริงหรือ” ท่านพระอุปนันทศากยบุตร
ทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ฯลฯ
โมฆบุรุษ ไฉนเธอจึงเที่ยวสัญจรไปในตระกูลทั้งหลายภายหลังเวลาฉันภัตตาหารเล่า
โมฆบุรุษ การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่
เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบท
นี้ขึ้นแสดงดังนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๔๓๙ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๕.อเจลกวรรค ๖.จาริตตสิกขาบท พระอนุบัญญัติ
พระอนุบัญญัติ
อนึ่ง ภิกษุใดรับนิมนต์ไว้แล้ว มีภัตตาหารอยู่แล้ว เที่ยวสัญจรไปใน
ตระกูลทั้งหลายก่อนเวลาฉันภัตตาหาร หรือหลังเวลาฉันภัตตาหาร ต้องอาบัติ
ปาจิตตีย์
สิกขาบทนี้พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติไว้แก่ภิกษุทั้งหลายอย่างนี้
เรื่องพระอุปนันทศากยบุตร จบ

ทรงอนุญาตให้เข้าตระกูลได้ในสมัยที่ถวายจีวร
[๒๙๖] สมัยนั้น พวกภิกษุมีความยำเกรงอยู่จึงไม่เข้าไปหาตระกูลทั้งหลาย
ในสมัยที่ถวายจีวรจึงได้จีวรเพียงเล็กน้อย ภิกษุทั้งหลายนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระ
ผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมีกถาเพราะเรื่อง
นี้เป็นต้นเหตุแล้วรับสั่งกับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้เข้าไปหา
ตระกูลทั้งหลายได้ในสมัยที่ถวายจีวร” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้
ขึ้นแสดงดังนี้

พระอนุบัญญัติ
อนึ่ง ภิกษุใดรับนิมนต์ไว้แล้ว มีภัตตาหารอยู่แล้ว เที่ยวสัญจรไปใน
ตระกูลทั้งหลายก่อนเวลาฉันภัตตาหาร หรือหลังเวลาฉันภัตตาหาร นอกสมัย
ต้องอาบัติปาจิตตีย์ สมัยในข้อนั้น คือ สมัยที่ถวายจีวร นี้เป็นสมัยในข้อนั้น
สิกขาบทนี้พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติไว้แก่ภิกษุทั้งหลายอย่างนี้

ทรงอนุญาตให้เข้าตระกูลได้ในสมัยที่ทำจีวร
[๒๙๗] สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายตัดเย็บจีวรอยู่ต้องการเข็มบ้าง ด้ายบ้าง
มีดบ้าง แต่มีความยำเกรงอยู่จึงไม่เข้าไปหาตระกูลทั้งหลาย ภิกษุทั้งหลายได้นำเรื่อง


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๔๔๐ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๕.อเจลกวรรค ๖.จาริตตสิกขาบท พระอนุบัญญัติ
นี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงแสดง
ธรรมีกถาเพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุแล้วรับสั่งกับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย เรา
อนุญาตให้เข้าไปหาตระกูลทั้งหลายได้ในสมัยที่ทำจีวร” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลาย
ยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้

พระอนุบัญญัติ
อนึ่ง ภิกษุใดรับนิมนต์ไว้แล้ว มีภัตตาหารอยู่แล้ว เที่ยวสัญจรไปใน
ตระกูลทั้งหลายก่อนเวลาฉันภัตตาหาร หรือหลังเวลาฉันภัตตาหาร นอกสมัย
ต้องอาบัติปาจิตตีย์ สมัยในข้อนั้น คือ สมัยที่ถวายจีวร สมัยที่ทำจีวร นี้เป็น
สมัยในข้อนั้น
สิกขาบทนี้พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติไว้แก่ภิกษุทั้งหลายอย่างนี้

ทรงอนุญาตให้บอกลาก่อนเข้าตระกูล
[๒๙๘] สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายเป็นไข้ต้องการเภสัช แต่มีความยำเกรง
อยู่จึงไม่เข้าไปหาตระกูลทั้งหลาย ภิกษุทั้งหลายได้นำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มี
พระภาคให้ทรงทราบ ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมีกถาเพราะเรื่องนี้
เป็นต้นเหตุแล้วรับสั่งกับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้บอกลา
ภิกษุที่มีอยู่แล้วเข้าไปในตระกูลทั้งหลายได้” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขา
บทนี้ขึ้นแสดงดังนี้

พระอนุบัญญัติ
อนึ่ง ภิกษุใดรับนิมนต์ไว้แล้ว มีภัตตาหารอยู่แล้ว ไม่บอกลาภิกษุที่มีอยู่
เที่ยวสัญจรไปในตระกูลทั้งหลายก่อนเวลาฉันภัตตาหาร หรือหลังเวลาฉัน
ภัตตาหาร นอกสมัย ต้องอาบัติปาจิตตีย์ สมัยในข้อนั้น คือ สมัยที่ถวายจีวร
สมัยที่ทำจีวร นี้เป็นสมัยในข้อนั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๔๔๑ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๕.อเจลกวรรค ๖.จาริตตสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์
สิกขาบทวิภังค์
[๓๐๐] คำว่า อนึ่ง...ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
อนึ่ง...ใด
คำว่า ภิกษุ มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุ เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาค
ทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุ ในความหมายนี้
ที่ชื่อว่า รับนิมนต์ไว้แล้ว คือ ภิกษุรับนิมนต์ฉันโภชนะ ๕ อย่าง อย่างใด
อย่างหนึ่ง
ที่ชื่อว่า มีภัตตาหารอยู่แล้ว คือ ภิกษุมีอาหารที่รับนิมนต์ไว้
ที่ชื่อว่า ภิกษุมีอยู่ คือ ภิกษุที่อาจบอกลาก่อนเข้าบ้านได้
ที่ชื่อว่า ภิกษุไม่มีอยู่ คือ ภิกษุที่ไม่อาจบอกลาก่อนเข้าบ้านได้
ที่ชื่อว่า ก่อนเวลาฉันภัตตาหาร คือ ภิกษุยังไม่ได้ฉันภัตตาหารที่รับนิมนต์ไว้
ที่ชื่อว่า หลังเวลาฉันภัตตาหาร คือ ภิกษุฉันภัตตาหารที่รับนิมนต์ไว้ โดย
ที่สุดฉันด้วยใช้ปลายหญ้าคาแตะ
ที่ชื่อว่า ตระกูล หมายถึง ตระกูล ๔ ได้แก่ ตระกูลกษัตริย์ ตระกูลพราหมณ์
ตระกูลแพศย์ และตระกูลศูทร
คำว่า เที่ยวสัญจรไปในตระกูลทั้งหลาย ความว่า ภิกษุก้าวเข้าอุปจารเรือน
ของผู้อื่น ต้องอาบัติทุกกฏ ก้าวเท้าที่ ๑ ล่วงธรณีประตู ต้องอาบัติทุกกฏ ก้าวเท้า
ที่ ๒ ต้องอาบัติปาจิตตีย์
คำว่า นอกสมัย คือ ยกเว้นสมัย
ที่ชื่อว่า สมัยที่ถวายจีวร คือ เมื่อยังไม่ได้กรานกฐิน กำหนดเอาเดือนท้าย
แห่งฤดูฝน เมื่อกรานกฐินแล้ว มีกำหนดเวลา ๕ เดือน
ที่ชื่อว่า สมัยที่ทำจีวร คือ เมื่อภิกษุกำลังทำจีวร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๔๔๒ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๕.อเจลกวรรค ๖.จาริตตสิกขาบท อนาปัตติวาร
บทภาชนีย์
ติกปาจิตตีย์
[๓๐๑] รับนิมนต์ไว้แล้ว ภิกษุสำคัญว่ารับนิมนต์ไว้แล้ว ไม่บอกลาภิกษุที่
มีอยู่ เที่ยวสัญจรไปในตระกูลทั้งหลายก่อนเวลาฉันภัตตาหารหรือหลังเวลาฉัน
ภัตตาหาร นอกสมัย ต้องอาบัติปาจิตตีย์
รับนิมนต์ไว้แล้ว ภิกษุไม่แน่ใจ ไม่บอกลาภิกษุที่มีอยู่ เที่ยวสัญจรไปในตระกูล
ทั้งหลายก่อนเวลาฉันภัตตาหารหรือหลังเวลาฉันภัตตาหาร นอกสมัย ต้องอาบัติ
ปาจิตตีย์
รับนิมนต์ไว้แล้ว ภิกษุสำคัญว่าไม่ได้รับนิมนต์ไว้ ไม่บอกลาภิกษุที่มีอยู่ เที่ยว
สัญจรไปในตระกูลทั้งหลายก่อนเวลาฉันภัตตาหารหรือหลังเวลาฉันภัตตาหาร นอก
สมัย ต้องอาบัติปาจิตตีย์

ทุกทุกกฏ
ไม่ได้รับนิมนต์ไว้ ภิกษุสำคัญว่ารับนิมนต์ไว้ ต้องอาบัติทุกกฏ
ไม่ได้รับนิมนต์ไว้ ภิกษุไม่แน่ใจ ต้องอาบัติทุกกฏ
ไม่ได้รับนิมนต์ไว้ ภิกษุสำคัญว่าไม่ได้รับนิมนต์ไว้ ไม่ต้องอาบัติ

อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[๓๐๒] ๑. ภิกษุฉันในสมัย
๒. ภิกษุบอกลาภิกษุที่มีอยู่แล้วจึงเข้าไป
๓. ภิกษุไม่บอกลาภิกษุที่ไม่มีอยู่เข้าไป
๔. ภิกษุเดินไปตามทางที่ผ่านเรือนผู้อื่น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๔๔๓ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๕.อเจลกวรรค ๖.จาริตตสิกขาบท อนาปัตติวาร
๕. ภิกษุเดินไปตามทางที่ผ่านใกล้เรือน
๖. ภิกษุไปอารามอื่น
๗. ภิกษุไปสำนักภิกษุณี
๘. ภิกษุไปสำนักเดียรถีย์
๙. ภิกษุไปโรงฉัน
๑๐. ภิกษุไปเรือนที่เขานิมนต์
๑๑. ภิกษุไปในคราวมีเหตุขัดข้อง
๑๒. ภิกษุวิกลจริต
๑๓. ภิกษุต้นบัญญัติ

จาริตตสิกขาบทที่ ๖ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๔๔๔ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๕.อเจลกวรรค ๗.มหานามสิกขาบท นิทานวัตถุ
๕. อเจลกวรรค

๗. มหานามสิกขาบท
ว่าด้วยพระเจ้ามหานามศากยะ

เรื่องพระเจ้ามหานามศากยะ
[๓๐๓] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ นิโครธาราม เขต
กรุงกบิลพัสดุ์ แคว้นสักกะ ครั้งนั้น พระเจ้ามหานามศากยะมีเภสัชเหลือเฟือ ลำดับ
นั้น พระเจ้ามหานามศากยะจึงได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ครั้นถึงแล้ว
ได้ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาค แล้วนั่ง ณ ที่สมควร พระเจ้ามหานามศากยะผู้นั่ง
ณ ที่สมควรแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “หม่อมฉันประสงค์จะปวารณา
สงฆ์ด้วยเภสัชตลอด ๔ เดือน พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “สาธุ สาธุ มหานามะ ถ้าเช่นนั้น เธอจงปวารณา
สงฆ์ด้วยเภสัชตลอด ๔ เดือนเถิด”
พวกภิกษุมีความยำเกรงอยู่จึงไม่รับปวารณา ภิกษุทั้งหลายได้นำเรื่องนี้ไป
กราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมีกถา
เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุแล้วรับสั่งกับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาต
ให้ยินดีการปวารณาด้วยปัจจัยตลอด ๔ เดือน”
[๓๐๔] สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายออกปากขอเภสัชกะพระเจ้ามหานามศากยะ
เพียงเล็กน้อย เภสัชของพระเจ้ามหานามศากยะก็ยังมีเหลือเฟืออยู่เหมือนเดิม
แม้ครั้งที่ ๒ พระเจ้ามหานามศากยะก็ได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
ครั้นถึงแล้วได้ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาค แล้วนั่ง ณ ที่สมควร พระเจ้ามหานาม
ศากยะผู้นั่ง ณ ที่สมควรแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “หม่อมฉันประสงค์
จะปวารณาสงฆ์ด้วยเภสัชต่อไปอีก ๔ เดือน พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “สาธุ สาธุ มหานามะ ถ้าเช่นนั้น เธอจงปวารณา
สงฆ์ด้วยเภสัชต่อไปอีก ๔ เดือนเถิด”


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๔๔๕ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๕.อเจลกวรรค ๗.มหานามสิกขาบท นิทานวัตถุ
พวกภิกษุมีความยำเกรงอยู่จึงไม่รับปวารณา ภิกษุทั้งหลายนำเรื่องนี้ไปกราบ
ทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมีกถา
เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ แล้วรับสั่งกับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาต
ให้ยินดีการปวารณาต่อไปอีก”
[๓๐๕] สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายออกปากขอเภสัชกะพระเจ้ามหานามศากยะ
เพียงเล็กน้อย เภสัชของพระเจ้ามหานามศากยะก็ยังมีเหลือเฟืออยู่เหมือนเดิม
แม้ครั้งที่ ๓ พระเจ้ามหานามศากยะก็ได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
ครั้นถึงแล้วได้ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาค แล้วนั่ง ณ ที่สมควร พระเจ้ามหานาม
ศากยะผู้นั่ง ณ ที่สมควรแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “หม่อมฉันประสงค์
จะปวารณาสงฆ์ด้วยเภสัชตลอดชีวิต พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “สาธุ สาธุ มหานามะ ถ้าเช่นนั้นเธอจงปวารณาสงฆ์
ด้วยเภสัชตลอดชีวิตเถิด”
พวกภิกษุมีความยำเกรงอยู่จึงไม่รับปวารณา ภิกษุทั้งหลายนำเรื่องนี้ไปกราบ
ทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมีกถา
เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ แล้วรับสั่งกับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาต
ให้ยินดีการปวารณาเป็นนิตย์”
สมัยนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์นุ่งไม่เรียบร้อย ห่มไม่เรียบร้อย อากัปกิริยาไม่
เรียบร้อย พระเจ้ามหานามศากยะจึงว่ากล่าวว่า “พระคุณเจ้าทั้งหลาย ทำไมพวก
ท่านจึงนุ่งไม่เรียบร้อย ห่มไม่เรียบร้อย อากัปกิริยาไม่เรียบร้อยเล่า ธรรมเนียม
บรรพชิตต้องนุ่งให้เรียบร้อย ห่มให้เรียบร้อย และมีอากัปกิริยาเรียบร้อย มิใช่หรือ”
พวกภิกษุฉัพพัคคีย์แค้นเคืองพระเจ้ามหานามศากยะ ทีนั้น พวกภิกษุ
ฉัพพัคคีย์ได้ปรึกษากันว่า “พวกเราจะทำให้พระเจ้ามหานามศากยะได้รับความ
เก้อเขินด้วยวิธีไหน” จึงปรึกษากันว่า “ท่านทั้งหลาย พระเจ้ามหานามศากยะ
ปวารณาสงฆ์ด้วยเภสัช พวกเราจะไปออกปากขอเนยใสกะพระเจ้ามหานามศากยะ”
ลำดับนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ได้เข้าไปหาพระเจ้ามหานามศากยะถึงพระตำหนัก
ครั้นถึงแล้วได้กล่าวกับพระเจ้ามหานามศากยะดังนี้ว่า “โยม พวกอาตมาต้องการ
เนยใส ๑ ทะนาน”


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๔๔๖ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๕.อเจลกวรรค ๗.มหานามสิกขาบท นิทานวัตถุ
พระเจ้ามหานามศากยะรับสั่งว่า “พระคุณเจ้าทั้งหลาย วันนี้พระคุณเจ้าโปรด
รอก่อน พวกคนงานกำลังไปที่คอกเพื่อจะนำเนยใสมา พวกเขาจะนำมาให้ทันเวลา”
แม้ในครั้งที่ ๒ ฯลฯ
แม้ในครั้งที่ ๓ พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ก็ได้กล่าวกับพระเจ้ามหานามศากยะดังนี้ว่า
“โยม พวกอาตมาต้องการเนยใส ๑ ทะนาน”
พระเจ้ามหานามศากยะรับสั่งว่า “พระคุณเจ้าทั้งหลาย วันนี้พระคุณเจ้าโปรด
รอก่อน พวกคนงานกำลังไปที่คอกเพื่อจะนำเนยใสมา พวกเขาจะนำมาให้ทันเวลา”
พวกภิกษุฉัพพัคคีย์กล่าวว่า “โยม ท่านไม่ต้องการถวายแล้วปวารณาจะมี
ประโยชน์อะไร ปวารณาแล้วไม่ถวาย”
ครั้งนั้น พระเจ้ามหานามศากยะได้ตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “พระ
คุณเจ้าทั้งหลาย ไฉนเมื่อข้าพเจ้าขอร้องว่า พระคุณเจ้าทั้งหลาย วันนี้พระคุณเจ้า
โปรดรอก่อน จึงรอไม่ได้เล่า”
พวกภิกษุได้ยินพระเจ้ามหานามศากยะตำหนิ ประณาม โพนทะนา บรรดา
ภิกษุผู้มักน้อย ฯลฯพากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “พระเจ้ามหานามศากยะ
ขอร้องพวกภิกษุฉัพพัคคีย์ว่า พระคุณเจ้าทั้งหลาย วันนี้พระคุณเจ้าโปรดรอก่อน
ไฉนจึงรอไม่ได้เล่า” ครั้นภิกษุทั้งหลายตำหนิพวกภิกษุฉัพพัคคีย์โดยประการต่าง ๆ
แล้วได้นำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ

ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามพวกภิกษุฉัพพัคคีย์ว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า พระเจ้ามหานามะขอร้อง
พวกเธอว่า ‘พระคุณเจ้าทั้งหลาย วันนี้ พระคุณเจ้าโปรดรอก่อน’ แล้วรอไม่ได้ จริง
หรือ” พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า
ทรงตำหนิว่า “ฯลฯ โมฆบุรุษทั้งหลาย ไฉนพวกเธอเมื่อพระเจ้ามหานามศากยะ
ขอร้องว่า พระคุณเจ้าทั้งหลาย วันนี้พระคุณเจ้าโปรดรอก่อน ก็รอไม่ได้เล่า โมฆบุรุษ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๔๔๗ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๕.อเจลกวรรค ๗.มหานามสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์
ทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่
เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบท
นี้ขึ้นแสดงดังนี้

พระบัญญัติ
[๓๐๖] ภิกษุไม่เป็นไข้ พึงยินดีการปวารณาด้วยปัจจัยเพียง ๔ เดือน
เว้นไว้แต่ปวารณาอีก เว้นไว้แต่ปวารณาเป็นนิตย์ ถ้ายินดีเกินกว่ากำหนดนั้น
ต้องอาบัติปาจิตตีย์
เรื่องพระเจ้ามหานามศากยะ จบ

สิกขาบทวิภังค์
[๓๐๗] คำว่า ภิกษุไม่เป็นไข้พึงยินดีการปวารณาด้วยปัจจัยเพียง ๔
เดือน ความว่า พึงยินดีการปวารณาเพียงคิลานปัจจัย
แม้เขาปวารณาอีก พึงยินดีว่า เราจะออกปากขอในเวลาที่เราเจ็บไข้
แม้เขาปวารณาไว้เป็นนิตย์ พึงยินดีว่า เราจะออกปากขอในเวลาที่เราเจ็บไข้
คำว่า ถ้ายินดีเกินกว่ากำหนดนั้น ความว่า การปวารณากำหนดเภสัชไม่
กำหนดราตรีก็มี การปวารณากำหนดราตรีไม่กำหนดเภสัชก็มี การปวารณากำหนด
ทั้งเภสัชทั้งราตรีก็มี การปวารณาไม่กำหนดเภสัชไม่กำหนดราตรีก็มี
ที่ชื่อว่า กำหนดเภสัช คือ เขากำหนดเภสัชไว้ว่า ข้าพเจ้าปวารณาด้วยเภสัช
เพียงเท่านี้
ที่ชื่อว่า กำหนดราตรี คือ เขากำหนดราตรีไว้ว่า ข้าพเจ้าปวารณาในราตรี
เพียงเท่านี้
ที่ชื่อว่า กำหนดทั้งเภสัชกำหนดทั้งราตรี คือ เขากำหนดเภสัชและกำหนด
ราตรีไว้ว่า ข้าพเจ้าปวารณาด้วยเภสัชเท่านี้ในราตรีเพียงเท่านี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๔๔๘ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๕.อเจลกวรรค ๗.มหานามสิกขาบท บทภาชนีย์
ที่ชื่อว่า ไม่กำหนดเภสัชและไม่กำหนดราตรี คือ เขาไม่ได้กำหนดเภสัช
และไม่ได้กำหนดราตรีไว้

บทภาชนีย์
ปาจิตตีย์
[๓๐๘] ในการกำหนดเภสัช ภิกษุออกปากขอเภสัชอื่นนอกจากเภสัชที่เขา
ปวารณาไว้ ต้องอาบัติปาจิตตีย์
ในการกำหนดราตรี ภิกษุออกปากขอในราตรีอื่นนอกจากราตรีที่เขาปวารณา
ไว้ ต้องอาบัติปาจิตตีย์
ในการกำหนดทั้งเภสัชและกำหนดราตรี ภิกษุออกปากขอเภสัชอื่นนอก
จากเภสัชที่เขาปวารณาไว้ในราตรีอื่นนอกจากราตรีที่เขาปวารณาไว้ ต้องอาบัติ
ปาจิตตีย์
ในการไม่กำหนดเภสัชไม่กำหนดราตรี ไม่ต้องอาบัติ
[๓๐๙] เมื่อไม่มีความจำเป็นด้วยเภสัช ภิกษุออกปากขอเภสัช ต้องอาบัติ
ปาจิตตีย์
เมื่อมีความจำเป็นด้วยเภสัชอย่างหนึ่ง ภิกษุออกปากขอเภสัชอีกอย่างหนึ่ง ต้อง
อาบัติปาจิตตีย์
เกินกว่ากำหนดนั้น ภิกษุสำคัญว่าเกินกว่ากำหนดนั้น ออกปากขอเภสัช ต้อง
อาบัติปาจิตตีย์
เกินกว่ากำหนดนั้น ภิกษุไม่แน่ใจ ออกปากขอเภสัช ต้องอาบัติปาจิตตีย์
เกินกว่ากำหนดนั้น ภิกษุสำคัญว่าไม่เกินกว่ากำหนดนั้น ออกปากขอเภสัช
ต้องอาบัติปาจิตตีย์

 


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๔๔๙ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๕.อเจลกวรรค ๗.มหานามสิกขาบท อนาปัตติวาร
ทุกทุกกฏ
ไม่เกินกว่ากำหนดนั้น ภิกษุสำคัญว่าเกินกว่ากำหนดนั้น ต้องอาบัติทุกกฏ
ไม่เกินกว่ากำหนดนั้น ภิกษุไม่แน่ใจ ต้องอาบัติทุกกฏ
ไม่เกินกว่ากำหนดนั้น ภิกษุสำคัญว่าไม่เกินกว่ากำหนดนั้น ไม่ต้องอาบัติ

อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[๓๑๐] ๑. ภิกษุออกปากขอเภสัชตามที่เขาปวารณาไว้
๒. ภิกษุออกปากขอเภสัชในราตรีตามที่เขาปวารณาไว้
๓. ภิกษุออกปากขอเภสัชว่า ท่านปวารณาพวกอาตมาด้วยเภสัช
เหล่านี้และพวกอาตมาก็ต้องการเภสัชนี้และนี้
๔. ภิกษุออกปากขอเภสัชว่า ราตรีที่ท่านปวารณาผ่านไปแล้ว แต่
เรายังต้องการเภสัช
๕. ภิกษุออกปากขอเภสัชจากญาติ
๖. ภิกษุออกปากขอเภสัชจากคนปวารณา
๗. ภิกษุออกปากขอเภสัชเพื่อภิกษุอื่น
๘. ภิกษุออกปากขอเภสัชที่จ่ายมาด้วยทรัพย์ของตน
๙. ภิกษุวิกลจริต
๑๐. ภิกษุต้นบัญญัติ

มหานามสิกขาบทที่ ๗ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๔๕๐ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๕.อเจลกวรรค ๘.อุยยุตตเสนาสิกขาบท นิทานวัตถุ
๕. อเจลกวรรค

๘. อุยยุตตเสนาสิกขาบท
ว่าด้วยกองทัพที่เคลื่อนขบวนออกรบ

เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๓๑๑] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พระเจ้าปเสนทิโกศลทรงยกกองทัพ
ออกรบ พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ก็ออกไปเพื่อชมกองทัพที่กำลังเคลื่อนขบวนออกรบ
พระเจ้าปเสนทิโกศลได้ทอดพระเนตรเห็นพวกภิกษุฉัพพัคคีย์กำลังเดินมาแต่ไกล
ครั้นทอดพระเนตรเห็นแล้วจึงรับสั่งให้นิมนต์มา แล้วตรัสถามดังนี้ว่า “พระคุณเจ้า
ทั้งหลาย พวกท่านมาทำไมกัน”
พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ถวายพระพรว่า “พวกอาตมาต้องการจะมาเยี่ยมมหาบพิตร”
พระเจ้าปเสนทิโกศลรับสั่งว่า “พระคุณเจ้าทั้งหลาย ไม่มีประโยชน์ใดเลยที่
ท่านมาเยี่ยมโยมผู้ใฝ่ในการรบ พวกท่านควรไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคมิใช่หรือ”
พวกพลรบตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพวกพระสมณะเชื้อสายศากย
บุตรจึงมาดูกองทัพที่เคลื่อนขบวนออกรบเล่า ไม่ใช่เป็นลาภของพวกเรา พวกเราได้
ไม่ดี ที่พวกเรามาอยู่ในกองทัพก็เพราะการครองชีพ เพราะต้องเลี้ยงดูบุตรภรรยา”
ภิกษุทั้งหลายได้ยินพวกพลรบตำหนิ ประณาม โพนทะนา บรรดาภิกษุผู้
มักน้อย ฯลฯ จึงพากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพวกภิกษุฉัพพัคคีย์จึงไป
ดูกองทัพที่เคลื่อนขบวนออกรบเล่า” ครั้นภิกษุทั้งหลายตำหนิพวกภิกษุฉัพพัคคีย์
โดยประการต่าง ๆ แล้วจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ

ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามพวกภิกษุฉัพพัคคีย์ว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า พวกเธอไปดูกองทัพที่


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๔๕๑ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๕.อเจลกวรรค ๘.อุยยุตตเสนาสิกขาบท พระบัญญัติ
เคลื่อนขบวนออกรบ จริงหรือ” พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ฯลฯ โมฆบุรุษทั้งหลาย ไฉนพวกเธอจึงไปดู
กองทัพที่เคลื่อนขบวนออกรบเล่า โมฆบุรุษทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคน
ที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ”
แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้

พระบัญญัติ
ก็ ภิกษุใดไปดูกองทัพที่เคลื่อนขบวนออกรบ ต้องอาบัติปาจิตตีย์
สิกขาบทนี้พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติไว้แก่ภิกษุทั้งหลายอย่างนี้
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ

เรื่องภิกษุรูปหนึ่ง
[๓๑๒] สมัยนั้น ลุงของภิกษุรูปหนึ่งป่วยอยู่ในกองทัพ เขาส่งข่าวไปถึงภิกษุ
นั้นว่า “ลุงกำลังป่วยอยู่ในกองทัพ นิมนต์ท่านมา ลุงปรารถนาให้ท่านมาเยี่ยม”
ภิกษุนั้นได้มีความคิดดังนี้ว่า พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติสิกขาบทว่า ภิกษุไม่
พึงไปดูกองทัพที่เคลื่อนขบวนออกรบ นี่ลุงของเราป่วยอยู่ในกองทัพ เราจะพึง
ปฏิบัติอย่างไรดีเล่า ภิกษุทั้งหลายนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรง
ทราบ

ทรงอนุญาตให้ไปในกองทัพได้เมื่อมีเหตุผลที่สมควร
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมีกถาเพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ รับสั่ง
กับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ไปในกองทัพได้เมื่อมีเหตุผลเช่น
นั้น” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๔๕๒ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๕.อเจลกวรรค ๘.อุยยุตตเสนาสิกขาบท บทภาชนีย์
พระอนุบัญญัติ
[๓๑๓] อนึ่ง ภิกษุใดไปดูกองทัพที่เคลื่อนขบวนออกรบ นอกจากมีเหตุผล
ที่สมควร ต้องอาบัติปาจิตตีย์
เรื่องภิกษุรูปหนึ่ง จบ

สิกขาบทวิภังค์
[๓๑๔] คำว่า อนึ่ง...ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
อนึ่ง...ใด
คำว่า ภิกษุ มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุ เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระ
ภาคทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุ ในความหมายนี้
ที่ชื่อว่า เคลื่อนขบวนออกรบ ได้แก่ กองทัพที่เคลื่อนออกจากหมู่บ้านแล้ว
ตั้งค่ายพักแรมหรือเคลื่อนขบวนต่อไป
ที่ชื่อว่า กองทัพ ได้แก่ กองทัพช้าง กองทัพม้า กองทัพรถ กองทัพพลเดินเท้า
ช้าง ๑ เชือก มีทหารประจำอยู่ ๑๒ นาย ม้า ๑ ตัว มีทหารประจำอยู่ ๓
นาย รถ ๑ คัน มีทหารประจำอยู่ ๔ นาย พลเดินเท้ามีทหารแม่นธนู ๔ นาย
ภิกษุไปเพื่อจะดูกองทัพนั้น ต้องอาบัติทุกกฏ ยืนดูในระยะที่พอมองเห็น ต้องอาบัติ
ปาจิตตีย์ พ้นวิสัยที่จะเห็น แต่พยายามดูจนเห็น ต้องอาบัติปาจิตตีย์
คำว่า นอกจากมีเหตุผลที่สมควร คือ ยกเว้นเมื่อมีเหตุผลที่สมควร

บทภาชนีย์
ติกปาจิตตีย์
[๓๑๕] กองทัพเคลื่อนขบวนออกรบ ภิกษุสำคัญว่าเคลื่อนขบวนออกรบ ไป
เพื่อจะดู นอกจากมีเหตุผลที่สมควร ต้องอาบัติปาจิตตีย์


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๔๕๓ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๕.อเจลกวรรค ๘.อุยยุตตเสนาสิกขาบท อนาปัตติวาร
กองทัพเคลื่อนขบวนออกรบ ภิกษุไม่แน่ใจ ไปเพื่อจะดู นอกจากมีเหตุผลที่
สมควร ต้องอาบัติปาจิตตีย์
กองทัพเคลื่อนขบวนออกรบ ภิกษุสำคัญว่ายังไม่ได้เคลื่อนขบวนออกรบ ไป
เพื่อจะดู นอกจากมีเหตุผลที่สมควร ต้องอาบัติปาจิตตีย์

ทุกกฏ
ภิกษุไปเพื่อจะดูกองทัพแต่ละกอง ต้องอาบัติทุกกฏ
ภิกษุยืนดูในระยะที่พอมองเห็น ต้องอาบัติทุกกฏ
ภิกษุอยู่พ้นวิสัยที่จะเห็น แต่พยายามดูจนเห็น ต้องอาบัติทุกกฏ
กองทัพยังไม่ได้เคลื่อนขบวนออกรบ ภิกษุสำคัญว่าเคลื่อนขบวนออกรบ ต้อง
อาบัติทุกกฏ
กองทัพยังไม่ได้เคลื่อนขบวนออกรบ ภิกษุไม่แน่ใจ ต้องอาบัติทุกกฏ
กองทัพยังไม่ได้เคลื่อนขบวนออกรบ ภิกษุสำคัญว่ายังไม่ได้เคลื่อนขบวนออก
รบ ไม่ต้องอาบัติ

อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[๓๑๖] ๑. ภิกษุยืนดูอยู่ในอาราม
๒. ภิกษุดูกองทัพที่ยกผ่านมายังที่ที่ภิกษุยืน ที่ภิกษุนั่ง หรือที่ภิกษุ
นอน
๓. ภิกษุเดินสวนทางไปเห็น
๔. ภิกษุดูเมื่อมีเหตุผลที่สมควร
๕. ภิกษุดูเมื่อคราวมีเหตุขัดข้อง
๖. ภิกษุวิกลจริต
๗. ภิกษุต้นบัญญัติ

อุยยุตตเสนาสิกขาบทที่ ๘ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๔๕๔ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๕.อเจลกวรรค ๙.เสนาวาสสิกขาบท นิทานวัตถุ
๕. อเจลกวรรค

๙. เสนาวาสสิกขาบท
ว่าด้วยการพักอยู่ในกองทัพ

เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๓๑๗] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์มีธุระต้องเดิน
ผ่านกองทัพ ได้พักแรมอยู่ในกองทัพเกิน ๓ คืน พวกพลรบตำหนิ ประณาม
โพนทะนาว่า “ไฉนพวกสมณะเชื้อสายศากยบุตรจึงพักแรมอยู่ในกองทัพเกิน
๓ คืนเล่า ไม่ใช่เป็นลาภของพวกเรา พวกเราได้ไม่ดี ที่พวกเรามาพักแรมอยู่ใน
กองทัพก็เพราะการครองชีพ เพราะต้องเลี้ยงดูบุตรภรรยา” ภิกษุทั้งหลายได้ยินพวก
พลรบเหล่านั้นตำหนิ ประณาม โพนทะนา บรรดาภิกษุผู้มักน้อย ฯลฯ พากัน
ตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพวกภิกษุฉัพพัคคีย์จึงพักแรมอยู่ในกองทัพ
เกิน ๓ ราตรีเล่า” ครั้นภิกษุทั้งหลายตำหนิพวกภิกษุฉัพพัคคีย์โดยประการต่าง ๆ
แล้วจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ

ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามพวกภิกษุฉัพพัคคีย์ว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า พวกเธอพักแรมอยู่ใน
กองทัพเกิน ๓ คืน จริงหรือ” พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ฯลฯ โมฆบุรุษทั้งหลาย ไฉนพวกเธอจึง
พักแรมอยู่ในกองทัพเกิน ๓ ราตรีเล่า โมฆบุรุษทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้ มิได้
ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย
ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๔๕๕ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๕.อเจลกวรรค ๙.เสนาวาสสิกขาบท บทภาชนีย์
พระบัญญัติ
[๓๑๘] ก็ เมื่อภิกษุมีเหตุผลจำเป็นต้องไปในกองทัพ ภิกษุนั้นพึงพักแรม
อยู่ในกองทัพได้เพียง ๒-๓ คืน ถ้าพักแรมอยู่เกินกำหนดนั้น ต้องอาบัติ
ปาจิตตีย์
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ

สิกขาบทวิภังค์
[๓๑๙] คำว่า ก็ เมื่อภิกษุมีเหตุผลจำเป็นต้องไปในกองทัพ คือ มีเหตุผล
จำเป็น มีธุระจำเป็น
คำว่า ภิกษุนั้นพึงพักแรมอยู่ในกองทัพได้เพียง ๒-๓ คืน คือ ภิกษุอยู่ได้
๒ - ๓ คืน
คำว่า ถ้าพักแรมอยู่เกินกำหนดนั้น ความว่า เมื่อดวงอาทิตย์อัสดงในวันที่ ๔
ภิกษุยังพักแรมอยู่ในกองทัพ ต้องอาบัติปาจิตตีย์

บทภาชนีย์
ติกปาจิตตีย์
[๓๒๐] เกิน ๓ คืน ภิกษุสำคัญว่าเกิน พักอยู่ในกองทัพ ต้องอาบัติปาจิตตีย์
เกิน ๓ คืน ภิกษุไม่แน่ใจ พักอยู่ในกองทัพ ต้องอาบัติปาจิตตีย์
เกิน ๓ คืน ภิกษุสำคัญว่าหย่อนกว่า พักอยู่ในกองทัพ ต้องอาบัติปาจิตตีย์

ทุกทุกกฏ
หย่อนกว่า ๓ คืน ภิกษุสำคัญว่าเกิน ต้องอาบัติทุกกฏ
หย่อนกว่า ๓ คืน ภิกษุไม่แน่ใจ ต้องอาบัติทุกกฏ
หย่อนกว่า ๓ คืน ภิกษุสำคัญว่ายังไม่เกิน ไม่ต้องอาบัติ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๔๕๖ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๕.อเจลกวรรค ๙.เสนาวาสสิกขาบท อนาปัตติวาร
อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[๓๒๑] ๑. ภิกษุพักอยู่ ๒-๓ คืน
๒. ภิกษุพักอยู่หย่อนกว่า ๒-๓ คืน
๓. ภิกษุพักอยู่ ๒ คืน แต่ออกไปก่อนอรุณของวันที่ ๓ แล้วกลับ
มาอยู่อีก
๔. ภิกษุเจ็บไข้พักอยู่
๕. ภิกษุอยู่ด้วยธุระของผู้เป็นไข้
๖. ภิกษุอยู่ในกองทัพที่ถูกข้าศึกล้อม
๗. ภิกษุถูกใครคนใดคนหนึ่งรบกวน
๘. ภิกษุพักอยู่ในคราวมีเหตุขัดข้อง
๙. ภิกษุวิกลจริต
๑๐. ภิกษุต้นบัญญัติ

เสนาวาสสิกขาบทที่ ๙ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๔๕๗ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๕.อเจลกวรรค ๑๐.อุยโยธิกสิกขาบท นิทานวัตถุ
๕. อเจลกวรรค

๑๐. อุยโยธิกสิกขาบท
ว่าด้วยการไปดูสนามรบ

เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๓๒๒] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์พักแรมอยู่ใน
กองทัพ ๒-๓ คืน ไปที่สนามรบบ้าง ที่พักพลบ้าง ที่จัดขบวนทัพบ้าง ไปดูกองทัพที่
จัดเป็นขบวนแล้วบ้าง ภิกษุฉัพพัคคีย์รูปหนึ่งไปที่สนามรบ ถูกยิงด้วยลูกศร
พวกชาวบ้านพากันเยาะเย้ยว่า “เป็นอย่างไรพระคุณเจ้า ท่านรบสนุกไหม
ท่านชนะได้กี่แต้ม”
ภิกษุนั้นถูกเยาะเย้ยจนเก้อเขิน
พวกพลรบตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพวกพระสมณะเชื้อสาย
ศากยบุตรจึงเที่ยวดูสนามรบเล่า ไม่ใช่เป็นลาภของพวกเรา พวกเราได้ไม่ดี ที่พวก
เรามาสนามรบก็เพราะการครองชีพ เพราะต้องเลี้ยงดูบุตรภรรยา”
ภิกษุทั้งหลายได้ยินพวกพลรบตำหนิ ประณาม โพนทะนา บรรดาภิกษุผู้
มักน้อย ฯลฯ จึงพากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพวกภิกษุฉัพพัคคีย์จึง
ไปเที่ยวดูสนามรบเล่า” ครั้นภิกษุทั้งหลายตำหนิพวกภิกษุฉัพพัคคีย์โดยประการ
ต่าง ๆ แล้วจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ

ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามพวกภิกษุฉัพพัคคีย์ว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า พวกเธอไปเที่ยวดูสนาม
รบ จริงหรือ” พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาค
พุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ฯลฯ โมฆบุรุษทั้งหลาย ไฉนพวกเธอจึงเที่ยวไปดูสนามรบเล่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๔๕๘ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๕.อเจลกวรรค ๑๐.อุยโยธิกสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์
โมฆบุรุษทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำ
คนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยก
สิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้

พระบัญญัติ
[๓๒๓] ถ้าภิกษุพักอยู่ในกองทัพ ๒-๓ คืน เที่ยวไปในสนามรบก็ดี ที่
พักพลก็ดี ที่จัดขบวนทัพก็ดี ไปดูกองทัพที่จัดเป็นขบวนแล้วก็ดี ต้องอาบัติ
ปาจิตตีย์
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ

สิกขาบทวิภังค์
[๓๒๔] คำว่า ถ้าภิกษุพักอยู่ในกองทัพ ๒-๓ คืน คือ ภิกษุพักแรมอยู่
๒-๓ คืน
ที่ชื่อว่า สนามรบ ได้แก่ สถานที่รบซึ่งปรากฏอยู่
ที่ชื่อว่า ที่พักพล ได้แก่ กองช้างประมาณเท่านี้ กองม้าประมาณเท่านี้
กองรถประมาณเท่านี้ กองพลเดินเท้าประมาณเท่านี้
ที่ชื่อว่า ที่จัดขบวนทัพ ได้แก่ กองช้างจงอยู่ทางนี้ กองม้าจงอยู่ทางนี้
กองรถจงอยู่ทางนี้ กองพลเดินเท้าจงอยู่ทางนี้
ที่ชื่อว่า กองทัพ ได้แก่ กองทัพช้าง กองทัพม้า กองทัพรถ กองทัพพล
เดินเท้า
กองทัพช้างมีช้าง ๓ เชือกเป็นอย่างน้อย กองทัพม้ามีม้า ๓ ตัวเป็นอย่างน้อย
กองทัพรถมีรถ ๓ คันเป็นอย่างน้อย กองทัพพลเดินเท้ามีทหารถือธนู ๔ นายเป็น
อย่างน้อย


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๔๕๙ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๕.อเจลกวรรค ๑๐.อุยโยธิกสิกขาบท อนาปัตติวาร
บทภาชนีย์
ภิกษุไปเพื่อจะดู ต้องอาบัติทุกกฏ
ภิกษุยืนดูในระยะที่พอมองเห็น ต้องอาบัติปาจิตตีย์
พ้นวิสัยจะเห็น แต่ภิกษุยังมองดูอีก ต้องอาบัติปาจิตตีย์
ภิกษุไปเพื่อจะดูกองทัพแต่ละกอง ต้องอาบัติทุกกฏ
ภิกษุยืนดูในระยะที่พอมองเห็น ต้องอาบัติทุกกฏ
พ้นวิสัยที่จะเห็น แต่ภิกษุยังมองดูอีก ต้องอาบัติทุกกฏ

อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[๓๒๕] ๑. ภิกษุยืนดูอยู่ในอาราม
๒. ภิกษุดูการรบพุ่งที่ผ่านมายังที่ที่ภิกษุยืน ที่ภิกษุนั่ง หรือที่ภิกษุ
นอน
๓. ภิกษุเดินสวนทางไปพบ
๔. ภิกษุมีธุระเดินไปพบ
๕. ภิกษุดูในคราวมีเหตุขัดข้อง
๖. ภิกษุวิกลจริต
๗. ภิกษุต้นบัญญัติ

อุยโยธิกสิกขาบทที่ ๑๐ จบ
อเจลกวรรคที่ ๕ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๔๖๐ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๕.อเจลกวรรค รวมสิกขาบทที่มีในอเจลกวรรค
รวมสิกขาบทที่มีในอเจลกวรรค
อเจลกวรรคมี ๑๐ สิกขาบท คือ

๑. อเจลกสิกขาบท ว่าด้วยนักบวชเปลือย
๒. อุยโยชนสิกขาบท ว่าด้วยการส่งกลับ
๓. สโภชนสิกขาบท ว่าด้วยการเข้าไปแทรกแซงในที่ที่มีคน ๒ คน
๔. รโหปฏิจฉันนสิกขาบท ว่าด้วยการนั่งในที่ลับมีสิ่งกำบัง
๕. รโหนิสัชชสิกขาบท ว่าด้วยการนั่งในที่ลับ
๖. จาริตตสิกขาบท ว่าด้วยการเที่ยวสัญจรไป
๗. มหานามสิกขาบท ว่าด้วยพระเจ้ามหานามศากยะ
๘. อุยยุตตเสนาสิกขาบท ว่าด้วยกองทัพที่เคลื่อนขบวนออกรบ
๙. เสนาวาสสิกขาบท ว่าด้วยการพักอยู่ในกองทัพ
๑๐. อุยโยธิกสิกขาบท ว่าด้วยการไปดูสนามรบ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๔๖๑ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๖.สุราปานวรรค ๑.สุราปานสิกขาบท นิทานวัตถุ
๖. สุราปานวรรค
หมวดว่าด้วยการดื่มสุรา

๑. สุราปานสิกขาบท
ว่าด้วยการดื่มสุราและเมรัย

เรื่องพระสาคตะ
[๓๒๖] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าเสด็จจาริกอยู่ในแคว้นเจตีย์ เสด็จ
ไปทางหมู่บ้านภัททวดี พวกคนเลี้ยงโค พวกคนเลี้ยงปศุสัตว์ พวกชาวนา พวกคน
เดินทางได้เห็นพระผู้มีพระภาคทรงดำเนินมาแต่ไกล ครั้นเห็นแล้ว จึงได้กราบทูล
พระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “พระองค์ผู้เจริญ พระองค์อย่าเสด็จไปที่ท่าอัมพติตถะเลย
นาคมีฤทธิ์ มีพิษที่เขี้ยว๑ มีพิษกล้า อาศัยอยู่ที่อาศรมของชฎิล ที่ท่าอัมพติตถะ
นาคนั้นอย่าทำร้ายพระผู้มีพระภาคเลย พระพุทธเจ้าข้า”
เมื่อพวกเขากราบทูลเช่นนั้น พระผู้มีพระภาคได้ทรงนิ่ง แม้ครั้งที่ ๒ ฯลฯ แม้
ครั้งที่ ๓ พวกคนเลี้ยงโค พวกคนเลี้ยงปศุสัตว์ พวกชาวนา พวกคนเดินทางก็ได้กราบ
ทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “พระองค์ผู้เจริญ พระองค์อย่าเสด็จไปที่ท่าอัมพติตถะ
เลย นาคมีฤทธิ์ มีพิษที่เขี้ยว อาศัยอยู่ที่อาศรมของชฎิล ที่ท่าอัมพติตถะ นาคนั้น
อย่าทำร้ายพระผู้มีพระภาคเลย”
แม้ครั้งที่ ๓ พระผู้มีพระภาคก็ได้ทรงนิ่ง
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเสด็จจาริกไปโดยลำดับจนถึงหมู่บ้านภัททวดี ประทับ
อยู่ ณ หมู่บ้านภัททวดีนั้น

เชิงอรรถ :
๑ อาสีวิโส มีพิษที่เขี้ยว หรือมีพิษแล่นเร็ว ท่านอธิบายไว้ดังนี้ อาสุ สีฆํ เอตสฺส วิสํ อาคจฺฉตีติ อาสีวิโส
พิษของนาคนั้นย่อมแล่นเร็ว คือด่วน ดังนี้ จึงชื่อว่าอาสีวิสะ มีพิษแล่นเร็ว (วิ.อ. ๑/๓๙/๒๓๐), อาสีติ
ทาฐา วุจฺจติ, ตตฺถ สนฺนิหิตวิโสติ อาสีวิโส อีกอย่างหนึ่ง คำว่า อาสิ ท่านหมายถึงเขี้ยว ที่เขี้ยว
นั้นมีพิษฝังอยู่ จึงชื่อว่าอาสีวิสะ มีพิษที่เขี้ยว (สารตฺถ.ฏีกา ๒/๓๙/๒๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๔๖๒ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๖.สุราปานวรรค ๑.สุราปานสิกขาบท นิทานวัตถุ
ครั้งนั้น ท่านพระสาคตะเดินเข้าไปที่ท่าอัมพติตถะจนถึงอาศรมของชฎิล
ครั้นถึงแล้วได้เข้าไปในโรงบูชาไฟ ปูเครื่องลาดหญ้าแล้วจึงนั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง
ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า
พอนาคนั้นเห็นท่านพระสาคตะเข้ามาแล้ว ก็เป็นทุกข์ เสียใจ จึงทำให้ควัน
ตลบขึ้น
แม้ท่านพระสาคตะก็ทำให้ควันตลบขึ้นบ้าง นาคนั้นทนการลบหลู่ไม่ได้
จึงพ่นไฟสู้ แม้ท่านพระสาคตะก็เข้าเตโชกสิณพ่นไฟสู้บ้าง ทีนั้น ท่านพระสาคตะ
ครั้นปราบเดชของนาคนั้นได้แล้ว จึงเดินไปทางหมู่บ้านภัททวดี
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ หมู่บ้านภัททวดีตามพระอัธยาศัยแล้ว
จึงเสด็จจาริกไปทางกรุงโกสัมพี พวกอุบาสกอุบาสิกาชาวกรุงโกสัมพีทราบข่าวว่า
พระสาคตะต่อสู้กับนาคที่ท่าอัมพติตถะ
สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคเสด็จจาริกไปโดยลำดับจนถึงกรุงโกสัมพี ทีนั้น พวก
อุบาสกและอุบาสิกาชาวกรุงโกสัมพีพากันรับเสด็จพระผู้มีพระภาคแล้วเข้าไปหา
ท่านพระสาคตะ ไหว้แล้วยืนอยู่ ณ ที่สมควร พวกอุบาสกอุบาสิกาชาวกรุงโกสัมพีผู้
ยืนอยู่ ณที่สมควร ได้กล่าวกับท่านพระสาคตะดังนี้ว่า “ท่านผู้เจริญ สิ่งที่หาได้ยาก
และเป็นที่ชอบใจของพระคุณท่านมีอะไรบ้าง พวกข้าพเจ้าจะจัดเตรียมอะไร ”
เมื่ออุบาสกอุบาสิกากล่าวอย่างนี้ พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ได้กล่าวกับพวกอุบาสก
อุบาสิกาชาวกรุงโกสัมพีดังนี้ว่า “มีอยู่ท่านทั้งหลาย หัวเชื้อสุราชื่อกาโปติกะ๑หายาก
เป็นที่ชอบใจของภิกษุทั้งหลาย พวกท่านจงจัดเตรียมหัวเชื้อสุราชื่อกาโปติกะนั้นไว้”

เชิงอรรถ :
๑ กาโปติกาติ กโปตปาทสมวณฺณรตฺโตภาสา. ปสนฺนาติ สุรามณฺฑสฺเสตํ อธิวจนํ แปลสรุปความได้ว่า
หัวเชื้อสุราที่มีสีแดงเหมือนเท้านกพิราบ (วิ.อ. ๒/๓๒๖/๔๐๔)
คำว่า ปสนฺน หัวเชื้อสุรา ในที่นี้มิได้หมายถึงนํ้าใส แต่หมายถึงนํ้าหัว (ตสฺสาเยวกิณฺ-
ปกฺขิตฺตาย มณฺเฑ คหิเต เมื่อใส่หัวเชื้อในสุรานั้นแล้ว จนจับตัวเป็นฝา - วิ.อ. ๒/๓๒๘/๔๐๕) รสานํ
สพฺพรสานํ อคฺคมฺหิ รเส มณฺฑสทฺโท มัณฑศัพท์ หมายถึงนํ้าที่สุดยอดกว่านํ้าทั้งหมด (ดู อภิธา.
และ อภิธา.ฏีกา คาถา ๔๖๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๔๖๓ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๖.สุราปานวรรค ๑.สุราปานสิกขาบท นิทานวัตถุ
ครั้งนั้น พวกอุบาสกอุบาสิกาชาวกรุงโกสัมพีจัดเตรียมหัวเชื้อสุราชื่อกาโปติกะ
ไว้ทุกครัวเรือน พอเห็นท่านพระสาคตะเดินบิณฑบาตจึงได้กล่าวกับท่านพระสาคตะ
ดังนี้ว่า “พระคุณเจ้า ขอนิมนต์พระคุณเจ้าสาคตะดื่มหัวเชื้อสุราชื่อกาโปติกะเถิด
พระคุณเจ้า ขอนิมนต์พระคุณเจ้าสาคตะดื่มหัวเชื้อสุราชื่อกาโปติกะเถิด”
ครั้นท่านพระสาคตะดื่มหัวเชื้อสุราชื่อกาโปติกะทุก ๆ ครัวเรือนแล้วออกจากเมือง
ได้ล้มกลิ้งที่ประตูเมือง ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเสด็จออกมาพร้อมภิกษุหลายรูป
ได้ทอดพระเนตรเห็นท่านพระสาคตะนอนกลิ้งอยู่ที่ประตูเมือง ครั้นเห็นแล้วจึงรับสั่ง
ว่า “ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงพาสาคตะไป”
ภิกษุทั้งหลายรับสนองพระพุทธดำรัสแล้ว ช่วยกันนำท่านพระสาคตะไปที่
อาราม ให้นอนหันศีรษะไปทางพระผู้มีพระภาค แต่ท่านพระสาคตะพลิกกลับนอน
หันเท้าไปทางพระผู้มีพระภาค
ทีนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งกับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ก็ก่อนนี้
สาคตะเคยมีความเคารพยำเกรงตถาคตมิใช่หรือ”
ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า “อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “ภิกษุทั้งหลาย บัดนี้สาคตะยังมีความเคารพ
ยำเกรงตถาคตอยู่อีกหรือ”
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า “ไม่มีเลย พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “ภิกษุทั้งหลาย สาคตะต่อสู้กับนาคที่ท่า
อัมพติตถะ มิใช่หรือ”
ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า “เป็นเช่นนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “ภิกษุทั้งหลาย บัดนี้สาคตะพอจะต่อสู้แม้กับ
งูนํ้าได้ละหรือ”
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า “สู้ไม่ได้เลย พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “น้ำที่ดื่มเข้าไปแล้วทำให้ความจำได้หมายรู้
วิปริตไปนั้น ควรจะดื่มหรือ”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๔๖๔ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๖.สุราปานวรรค ๑.สุราปานสิกขาบท บทภาชนีย์
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า “ไม่ควรดื่มเลย พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย การกระทำของสาคตะนั้นไม่สมควร
ไม่คล้อยตาม ไม่เหมาะสม ไม่ใช่กิจของสมณะ ใช้ไม่ได้ ไม่ควรทำ ไฉนสาคตะจึง
ดื่มนํ้าเมาเล่า ภิกษุทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้
เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่งให้
ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้

พระบัญญัติ
[๓๒๗] ภิกษุต้องอาบัติปาจิตตีย์ เพราะดื่มสุราและเมรัย
เรื่องพระสาคตะ จบ

สิกขาบทวิภังค์
[๓๒๘] ที่ชื่อว่า สุรา ได้แก่ สุราที่ทำจากแป้ง สุราที่ทำจากขนม สุราที่ทำ
จากข้าวสุก สุราหมักแป้งเชื้อเหล้า สุราที่ผสมเครื่องปรุงหลายชนิด
ที่ชื่อว่า เมรัย ได้แก่ น้ำหมักดองดอกไม้ น้ำหมักดองผลไม้ น้ำหมักดอง
น้ำผึ้ง น้ำหมักดองนํ้าอ้อยงบ น้ำหมักดองที่ผสมเครื่องปรุงหลายชนิด
คำว่า ดื่ม คือ ภิกษุดื่ม โดยที่สุดแม้ดื่มด้วยปลายหญ้าคาแตะ ต้องอาบัติ
ปาจิตตีย์

บทภาชนีย์
ติกปาจิตตีย์
น้ำเมา ภิกษุสำคัญว่าเป็นน้ำเมา ดื่ม ต้องอาบัติปาจิตตีย์
น้ำเมา ภิกษุไม่แน่ใจ ดื่ม ต้องอาบัติปาจิตตีย์
น้ำเมา ภิกษุสำคัญว่าไม่ใช่น้ำเมา ดื่ม ต้องอาบัติปาจิตตีย์


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๔๖๕ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๖.สุราปานวรรค ๑.สุราปานสิกขาบท อนาปัตติวาร
ทุกทุกกฏ
ไม่ใช่น้ำเมา ภิกษุสำคัญว่าเป็นน้ำเมา ต้องอาบัติทุกกฏ
ไม่ใช่น้ำเมา ภิกษุไม่แน่ใจ ต้องอาบัติทุกกฏ
ไม่ใช่น้ำเมา ภิกษุสำคัญว่าไม่ใช่น้ำเมา ไม่ต้องอาบัติ

อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[๓๒๙] ๑. ภิกษุดื่มยาดองที่มีสี กลิ่น รส เหมือนน้ำเมาแต่ไม่ใช่น้ำเมา
๒. ภิกษุดื่มน้ำเมาเจือในแกง
๓. ภิกษุดื่มน้ำเมาเจือในเนื้อ
๔. ภิกษุดื่มน้ำเมาเจือในน้ำมัน
๕. ภิกษุดื่มน้ำเมาเจือน้ำอ้อยดองมะขามป้อม
๖. ภิกษุดื่มยาดองอริฏฐะ๑ซึ่งไม่ใช่นํ้าเมา
๗. ภิกษุวิกลจริต
๘. ภิกษุต้นบัญญัติ

สุราปานสิกขาบทที่ ๑ จบ

เชิงอรรถ :
๑ ยาดองอริฏฐะ นั้นดองด้วยนํ้ามะขามป้อมเป็นต้น สี กลิ่น และรสคล้ายนํ้าเมา แต่ไม่ใช่นํ้าเมา (วิ.อ.๒/
๓๒๙/๔๐๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๔๖๖ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๖.สุราปานวรรค ๒.อังคุลิปโตทกสิกขาบท นิทานวัตถุ
๖. สุราปานวรรค

๒. อังคุลิปโตทกสิกขาบท
ว่าด้วยการใช้นิ้วมือจี้กันและกัน

เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๓๓๐] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ใช้นิ้วมือจี้
ภิกษุรูปหนึ่งในกลุ่มภิกษุสัตตรสวัคคีย์ให้หัวเราะ ภิกษุนั้นหัวเราะจนเหนื่อย หายใจ
ไม่ทันถึงแก่มรณภาพ
บรรดาภิกษุผู้มักน้อย ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉน
พวกภิกษุฉัพพัคคีย์จึงใช้นิ้วมือจี้ภิกษุให้หัวเราะเล่า” ครั้นภิกษุเหล่านั้นตำหนิพวก
ภิกษุฉัพพัคคีย์โดยประการต่าง ๆ แล้วจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้
ทรงทราบ

ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามพวกภิกษุฉัพพัคคีย์ว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า พวกเธอใช้นิ้วมือจี้
ภิกษุให้หัวเราะ จริงหรือ” พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระ
ผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ฯลฯ โมฆบุรุษทั้งหลาย ไฉนพวกเธอจึงใช้นิ้วมือ
จี้ภิกษุให้หัวเราะเล่า โมฆบุรุษทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใส
ให้เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่ง
ให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้

พระบัญญัติ
[๓๓๑] ภิกษุต้องอาบัติปาจิตตีย์ เพราะใช้นิ้วมือจี้
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๔๖๗ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๖.สุราปานวรรค ๒.อังคุลิปโตทกสิกขาบท บทภาชนีย์
สิกขาบทวิภังค์
[๓๓๒] ที่ชื่อว่า ใช้นิ้วมือจี้ คือ ภิกษุจี้ด้วยนิ้วมือ
อุปสัมบันประสงค์จะให้อุปสัมบันหัวเราะ ใช้กายจับต้องกาย ต้องอาบัติ
ปาจิตตีย์

บทภาชนีย์
ติกปาจิตตีย์
อุปสัมบัน ภิกษุสำคัญว่าเป็นอุปสัมบัน ใช้นิ้วมือจี้ให้หัวเราะ ต้องอาบัติ
ปาจิตตีย์
อุปสัมบัน ภิกษุไม่แน่ใจ ใช้นิ้วมือจี้ให้หัวเราะ ต้องอาบัติปาจิตตีย์
อุปสัมบัน ภิกษุสำคัญว่าเป็นอนุปสัมบัน ใช้นิ้วมือจี้ให้หัวเราะ ต้องอาบัติ
ปาจิตตีย์

ทุกกฏ
ภิกษุใช้กายจับต้องของที่เนื่องด้วยกาย ต้องอาบัติทุกกฏ
ภิกษุใช้ของเนื่องด้วยกายถูกต้องกาย ต้องอาบัติทุกกฏ
ภิกษุใช้ของที่เนื่องด้วยกายถูกต้องของเนื่องด้วยกาย ต้องอาบัติทุกกฏ
ภิกษุใช้ของโยนไปถูกต้องกาย ต้องอาบัติทุกกฏ
ภิกษุใช้ของโยนไปถูกต้องของที่เนื่องด้วยกาย ต้องอาบัติทุกกฏ
ภิกษุใช้ของโยนไปถูกต้องของที่โยนมา ต้องอาบัติทุกกฏ
[๓๓๓] ภิกษุใช้กายจับต้องกายอนุปสัมบัน ต้องอาบัติทุกกฏ
ภิกษุใช้กายจับต้องของเนื่องด้วยกาย ต้องอาบัติทุกกฏ
ภิกษุใช้ของที่เนื่องด้วยกายถูกต้องกาย ต้องอาบัติทุกกฏ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๔๖๘ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๖.สุราปานวรรค ๒.อังคุลิปโตทกสิกขาบท อนาปัตติวาร
ภิกษุใช้ของที่เนื่องด้วยกายถูกต้องของที่เนื่องด้วยกาย ต้องอาบัติทุกกฏ
ภิกษุใช้ของโยนไปถูกต้องกาย ต้องอาบัติทุกกฏ
ภิกษุใช้ของโยนไปถูกต้องของที่เนื่องด้วยกาย ต้องอาบัติทุกกฏ
ภิกษุใช้ของโยนไปถูกต้องของที่โยนมา ต้องอาบัติทุกกฏ
อนุปสัมบัน ภิกษุสำคัญว่าเป็นอุปสัมบัน ต้องอาบัติทุกกฏ
อนุปสัมบัน ภิกษุไม่แน่ใจ ต้องอาบัติทุกกฏ
อนุปสัมบัน ภิกษุสำคัญว่าเป็นอนุปสัมบัน ต้องอาบัติทุกกฏ

อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[๓๓๔] ๑. ภิกษุไม่ประสงค์จะให้หัวเราะ จับต้องกายเมื่อมีเหตุจำเป็น
๒. ภิกษุวิกลจริต
๓. ภิกษุต้นบัญญัติ

อังคุลิปโตทกสิกขาบทที่ ๒ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๔๖๙ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๖.สุราปานวรรค ๓.หัสสธัมมสิกขาบท นิทานวัตถุ
๖. สุราปานวรรค

๓. หัสสธัมมสิกขาบท
ว่าด้วยการเล่นนํ้า

เรื่องพระสัตตรสวัคคีย์
[๓๓๕] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พวกภิกษุสัตตรสวัคคีย์เล่นนํ้าใน
แม่นํ้าอจิรวดี เวลานั้น พระเจ้าปเสนทิโกศลประทับอยู่ที่ปราสาทชั้นบนกับพระนาง
มัลลิกาเทวี พระองค์ได้ทอดพระเนตรเห็นพวกภิกษุสัตตรสวัคคีย์เล่นนํ้าอยู่ใน
แม่นํ้าอจิรวดี ครั้นทอดพระเนตรเห็นแล้ว จึงรับสั่งกับพระนางมัลลิกาเทวีดังนี้ว่า
“น้องมัลลิกา นั่นพระอรหันต์เหล่านั้นกำลังเล่นนํ้า”
พระนางกราบทูลว่า “พระผู้มีพระภาคคงจะยังมิได้ทรงบัญญัติสิกขาบท หรือ
ภิกษุเหล่านั้นยังไม่รอบรู้พระบัญญัติเป็นแน่ พระพุทธเจ้าข้า”
ทีนั้น พระเจ้าปเสนทิโกศลได้ทรงมีพระดำริดังนี้ว่า “ด้วยอุบายอย่างไรหนอ
ที่ทำให้เราไม่ต้องกราบทูลพระผู้มีพระภาค และพระผู้มีพระภาคจะทรงทราบได้ว่า
ภิกษุเหล่านี้เล่นนํ้ากัน” ครั้นแล้วพระเจ้าปเสนทิโกศลจึงรับสั่งให้นิมนต์พวก
ภิกษุสัตตรสวัคคีย์มา แล้วพระราชทานนํ้าอ้อยงบเป็นอันมากแก่ภิกษุเหล่านั้นด้วย
รับสั่งว่า “พระคุณเจ้าผู้เจริญ ขอพระคุณเจ้าทั้งหลายโปรดถวายนํ้าอ้อยงบนี้แด่
พระผู้มีพระภาค”
พวกภิกษุสัตตรสวัคคีย์นำน้ำอ้อยงบนั้นเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
ครั้นถึงแล้วได้กราบทูลดังนี้ว่า “พระเจ้าปเสนทิโกศลถวายนํ้าอ้อยงบนี้แด่พระผู้มี
พระภาค พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “ภิกษุทั้งหลาย พระราชาพบพวกเธอที่ไหน”
พวกภิกษุสัตตรสวัคคีย์กราบทูลว่า “พระราชาพบพวกข้าพระพุทธเจ้ากำลัง
เล่นน้ำอยู่ในแม่น้ำอจิรวดี พระพุทธเจ้าข้า”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๔๗๐ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๖.สุราปานวรรค ๓.หัสสธัมมสิกขาบท บทภาชนีย์
ทรงตำหนิแล้วบัญญัติสิกขาบท
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ฯลฯ โมฆบุรุษทั้งหลาย ไฉนพวก
เธอจึงเล่นนํ้าเล่า โมฆบุรุษทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้
เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่งให้
ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้

พระบัญญัติ
[๓๓๖] ภิกษุต้องอาบัติปาจิตตีย์ เพราะเล่นน้ำ
เรื่องพระสัตตรสวัคคีย์ จบ

สิกขาบทวิภังค์
[๓๓๗] ที่ชื่อว่า เล่นน้ำ คือ ภิกษุประสงค์จะเล่นน้ำจึงดำลง ผุดขึ้น หรือ
ลอยในนํ้าลึกพอท่วมข้อเท้า ต้องอาบัติปาจิตตีย์

บทภาชนีย์
ติกปาจิตตีย์
[๓๓๘] เล่นน้ำ ภิกษุสำคัญว่าเล่น ต้องอาบัติปาจิตตีย์
เล่นน้ำ ภิกษุไม่แน่ใจ ต้องอาบัติปาจิตตีย์
เล่นน้ำ ภิกษุสำคัญว่าไม่ได้เล่น ต้องอาบัติปาจิตตีย์

ทุกกฏ
ภิกษุเล่นน้ำตื้นใต้ข้อเท้า ต้องอาบัติทุกกฏ
ภิกษุนั่งเรือเล่นในนํ้า ต้องอาบัติทุกกฏ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๔๗๑ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๖.สุราปานวรรค ๓.หัสสธัมมสิกขาบท อนาปัตติวาร
ภิกษุใช้มือ ใช้เท้า ใช้ไม้ หรือใช้กระเบื้องตีน้ำ ต้องอาบัติทุกกฏ
ภิกษุเล่นน้ำ น้ำซาวข้าว น้ำนม เปรียง น้ำย้อม น้ำปัสสาวะ หรือน้ำโคลน
ที่ขังในภาชนะ ต้องอาบัติทุกกฏ
ไม่ได้เล่นน้ำ ภิกษุสำคัญว่าเล่น ต้องอาบัติทุกกฏ
ไม่ได้เล่นน้ำ ภิกษุไม่แน่ใจ ต้องอาบัติทุกกฏ
ไม่ได้เล่นน้ำ ภิกษุสำคัญว่าไม่ได้เล่น ไม่ต้องอาบัติ

อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[๓๓๙] ๑. ภิกษุไม่ประสงค์จะเล่นน้ำ
๒. ภิกษุลงน้ำแล้วดำลง ผุดขึ้น หรือลอยในนํ้าเมื่อมีเหตุจำเป็น
๓. ภิกษุจะข้ามฟากจึงดำลง ผุดขึ้น หรือลอยในนํ้า
๔. ภิกษุผู้ว่ายน้ำในคราวมีเหตุขัดข้อง
๕. ภิกษุวิกลจริต
๖. ภิกษุต้นบัญญัติ

หัสสธัมมสิกขาบทที่ ๓ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๔๗๒ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๖.สุราปานวรรค ๔.อนาทริยสิกขาบท นิทานวัตถุ
๖. สุราปานวรรค

๔. อนาทริยสิกขาบท
ว่าด้วยความไม่เอื้อเฟื้อต่อคำตักเตือน

เรื่องพระฉันนะ
[๓๔๐] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ โฆสิตาราม เขต
กรุงโกสัมพี ครั้งนั้น ท่านพระฉันนะประพฤติไม่สมควร ภิกษุทั้งหลายกล่าวตักเตือน
อย่างนี้ว่า “ท่านฉันนะ ท่านอย่ากระทำอย่างนั้น การกระทำเช่นนี้ไม่สมควร” ท่าน
ไม่เอื้อเฟื้อยังขืนทำเหมือนเดิม
บรรดาภิกษุผู้มักน้อย ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนท่าน
พระฉันนะจึงไม่เอื้อเฟื้อเล่า” ครั้นภิกษุเหล่านั้นตำหนิท่านพระฉันนะโดยประการ
ต่าง ๆ แล้วจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ

ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามท่านพระฉันนะว่า “ฉันนะ ทราบว่า เธอไม่เอื้อเฟื้อ จริงหรือ” ท่านพระ
ฉันนะทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ฯลฯ
โมฆบุรุษ ไฉนเธอจึงไม่เอื้อเฟื้อเล่า โมฆบุรุษ การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่
เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ” แล้ว
จึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้

พระบัญญัติ
[๓๔๑] ภิกษุต้องอาบัติปาจิตตีย์ เพราะไม่เอื้อเฟื้อ
เรื่องพระฉันนะ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๔๗๓ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๖.สุราปานวรรค ๔.อนาทริยสิกขาบท บทภาชนีย์
สิกขาบทวิภังค์
[๓๔๒] ที่ชื่อว่า ความไม่เอื้อเฟื้อ ได้แก่ ความไม่เอื้อเฟื้อ ๒ อย่าง คือ
(๑) ความไม่เอื้อเฟื้อต่อบุคคล (๒) ความไม่เอื้อเฟื้อต่อธรรม
ที่ชื่อว่า ความไม่เอื้อเฟื้อต่อบุคคล ได้แก่ ภิกษุถูกอุปสัมบันตักเตือนด้วยพระ
บัญญัติ ไม่เอื้อเฟื้อด้วยกล่าวว่า “ผู้นี้ถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรม ถูกสงฆ์ดูหมิ่นหรือ
ถูกสงฆ์ตำหนิ คำพูดของผู้นี้ไม่น่าทำตาม” ต้องอาบัติปาจิตตีย์
ที่ชื่อว่า ความไม่เอื้อเฟื้อต่อธรรม ได้แก่ ภิกษุถูกอุปสัมบันตักเตือนด้วย
พระบัญญัติ ไม่เอื้อเฟื้อด้วยกล่าวว่า “จะทำอย่างไร ธรรมข้อนี้พึงเสื่อม พึงสูญ
หรือพึงอันตรธานไป” หรือว่าเธอไม่ประสงค์จะศึกษาพระบัญญัตินั้น จึงไม่เอื้อเฟื้อ
ต้องอาบัติปาจิตตีย์

บทภาชนีย์
ติกปาจิตตีย์
[๓๔๓] อุปสัมบัน ภิกษุสำคัญว่าเป็นอุปสัมบัน ไม่เอื้อเฟื้อ ต้องอาบัติ
ปาจิตตีย์
อุปสัมบัน ภิกษุไม่แน่ใจ ไม่เอื้อเฟื้อ ต้องอาบัติปาจิตตีย์
อุปสัมบัน ภิกษุสำคัญว่าเป็นอนุปสัมบัน ไม่เอื้อเฟื้อ ต้องอาบัติปาจิตตีย์

ทุกกฏ
ภิกษุอันอุปสัมบันตักเตือนด้วยเรื่องที่ไม่ใช่พระบัญญัติ ไม่เอื้อเฟื้อด้วยกล่าวว่า
“เรื่องนี้ไม่เป็นไปเพื่อความขัดเกลา ไม่เป็นไปเพื่อความกำจัด ไม่เป็นไปเพื่อความเป็น
ผู้น่าเลื่อมใส ไม่เป็นไปเพื่อความไม่ก่อ๑ ไม่เป็นไปเพื่อปรารภความเพียร” ต้องอาบัติ
ทุกกฏ

เชิงอรรถ :
๑ อปจยายาติ สพฺพสฺสปิ วฏฺฏสฺส อปจยตฺถาย, นิพฺพานายาติ อตฺโถ ความไม่ก่อ คือ ไม่ก่อวัฏฏะ ได้แก่
เพื่อนิพพาน (สารตฺถ.ฏีกา ๓/๔๐๖/๕๓๐)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๔๗๔ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๖.สุราปานวรรค ๔.อนาทริยสิกขาบท อนาปัตติวาร
ภิกษุอันอนุปสัมบันตักเตือนด้วยพระบัญญัติหรือไม่ใช่พระบัญญัติ ไม่เอื้อเฟื้อ
ด้วยกล่าวว่า “เรื่องนี้ไม่เป็นไปเพื่อความขัดเกลา ไม่เป็นไปเพื่อความกำจัด ไม่เป็น
ไปเพื่อความเป็นผู้น่าเลื่อมใส ไม่เป็นไปเพื่อความไม่ก่อ ไม่เป็นไปเพื่อปรารภความ
เพียร” ต้องอาบัติทุกกฏ
อนุปสัมบัน ภิกษุสำคัญว่าเป็นอุปสัมบัน ต้องอาบัติทุกกฏ
อนุปสัมบัน ภิกษุไม่แน่ใจ ต้องอาบัติทุกกฏ
อนุปสัมบัน ภิกษุสำคัญว่าเป็นอนุปสัมบัน ต้องอาบัติทุกกฏ

อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[๓๔๔] ๑. ภิกษุผู้กล่าวว่า “อาจารย์ของพวกเราเรียนกันมา สอบถามกัน
มาอย่างนี้”
๒. ภิกษุวิกลจริต
๓. ภิกษุต้นบัญญัติ

อนาทริยสิกขาบทที่ ๔ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๔๗๕ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๖.สุราปานวรรค ๕.ภิงสาปนสิกขาบท นิทานวัตถุ
๖. สุราปานวรรค

๕. ภิงสาปนสิกขาบท
ว่าด้วยการทำให้ตกใจ

เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๓๔๕] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ทำให้พวก
ภิกษุสัตตรสวัคคีย์ตกใจ พวกภิกษุเหล่านั้นถูกทำให้ตกใจ จึงร้องไห้ ภิกษุทั้งหลาย
กล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านทั้งหลาย พวกท่านร้องไห้ทำไม” พวกภิกษุสัตตรสวัคคีย์
ตอบว่า “พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ทำให้พวกผมตกใจ ขอรับ”
บรรดาภิกษุผู้มักน้อย ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพวก
ภิกษุฉัพพัคคีย์จึงทำให้ภิกษุตกใจเล่า” ครั้นภิกษุเหล่านั้นตำหนิพวกภิกษุฉัพพัคคีย์
โดยประการต่าง ๆ แล้วจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ

ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามพวกภิกษุฉัพพัคคีย์ว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า พวกเธอทำให้ภิกษุตกใจ
จริงหรือ” พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาค
พุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ฯลฯ โมฆบุรุษทั้งหลาย ไฉนพวกเธอจึงทำให้ภิกษุตกใจเล่า
โมฆบุรุษทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำ
คนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยก
สิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้

พระบัญญัติ
[๓๔๖] ภิกษุใดทำให้ภิกษุตกใจ ต้องอาบัติปาจิตตีย์
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๔๗๖ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๖.สุราปานวรรค ๕.ภิงสาปนสิกขาบท บทภาขนีย์
สิกขาบทวิภังค์
[๓๔๗] คำว่า ก็...ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ก็...ใด
คำว่า ภิกษุ มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุ เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระ
ภาคทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุ ในความหมายนี้
คำว่า ภิกษุ ได้แก่ ภิกษุอื่น
คำว่า ทำให้...ตกใจ ความว่า อุปสัมบันต้องการจะทำให้อุปสัมบันตกใจ นำ
รูป เสียง กลิ่น รส หรือโผฏฐัพพะเข้าไปใกล้๑ ภิกษุผู้ถูกทำให้ตกใจนั้นจะกลัวหรือ
ไม่กลัวก็ตาม ต้องอาบัติปาจิตตีย์
อุปสัมบันต้องการจะทำให้อุปสัมบันตกใจ บอกทางกันดารเพราะมีโจร กันดาร
เพราะมีสัตว์ร้าย หรือกันดารเพราะมีปีศาจ ภิกษุผู้ถูกทำให้ตกใจจะกลัวหรือไม่กลัว
ก็ตาม ต้องอาบัติปาจิตตีย์

บทภาชนีย์
ติกปาจิตตีย์
[๓๔๘] อุปสัมบัน ภิกษุสำคัญว่าเป็นอุปสัมบัน ทำให้ตกใจ ต้องอาบัติ
ปาจิตตีย์
อุปสัมบัน ภิกษุไม่แน่ใจ ทำให้ตกใจ ต้องอาบัติปาจิตตีย์
อุปสัมบัน ภิกษุสำคัญว่าเป็นอนุปสัมบัน ทำให้ตกใจ ต้องอาบัติปาจิตตีย์

ทุกกฏ
อุปสัมบันต้องการจะทำให้อนุปสัมบันตกใจ จึงนำรูป เสียง กลิ่น รส หรือ
โผฏฐัพพะเข้าไปใกล้ อนุปสัมปันผู้ถูกทำให้ตกใจนั้นจะกลัวหรือไม่กลัวก็ตาม ต้อง
อาบัติทุกกฏ

เชิงอรรถ :
๑ นำรูป เสียง กลิ่น รส หรือโผฏฐัพพะที่น่ากลัวเข้าไปใกล้ (ดู พระวินัยปิฎกแปล เล่ม ๑ ข้อ ๑๗๘
หน้า ๑๔๗-๙)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๔๗๗ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๖.สุราปานวรรค ๕.ภิงสาปนสิกขาบท อนาปัตติวาร
อุปสัมบันต้องการจะทำให้อนุปสัมบันตกใจ บอกทางกันดารเพราะมีโจร
กันดารเพราะมีสัตว์ร้าย หรือกันดารเพราะมีปีศาจ อนุปสัมบันผู้ถูกทำให้ตกใจนั้น
จะกลัวหรือไม่กลัวก็ตาม ต้องอาบัติทุกกฏ
อนุปสัมบัน ภิกษุสำคัญว่าเป็นอุปสัมบัน ต้องอาบัติทุกกฏ
อนุปสัมบัน ภิกษุไม่แน่ใจ ต้องอาบัติทุกกฏ
อนุปสัมบัน ภิกษุสำคัญว่าเป็นอนุปสัมบัน ต้องอาบัติทุกกฏ

อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[๓๔๙] ๑. ภิกษุไม่ต้องการจะทำให้ตกใจ นำรูป เสียง กลิ่น รส หรือ
โผฏฐัพพะเข้าไปใกล้
๒. ภิกษุไม่ต้องการจะทำให้ตกใจ บอกทางกันดารเพราะมีโจร
กันดารเพราะมีสัตว์ร้าย หรือกันดารเพราะมีปีศาจ
๓. ภิกษุวิกลจริต
๔. ภิกษุต้นบัญญัติ

ภิงสาปนสิกขาบทที่ ๕ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๔๗๘ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๖.สุราปานวรรค ๖.โชติกสิกขาบท นิทานวัตถุ
๖. สุราปานวรรค

๖. โชติกสิกขาบท
ว่าด้วยการก่อไฟผิง

เรื่องภิกษุหลายรูป
[๓๕๐] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ เภสกฬามฤคทายวัน
เขตเมืองสุงสุมารคิระ แคว้นภัคคะ ครั้งนั้นในฤดูหนาว พวกภิกษุก่อไฟที่ขอนไม้ใหญ่
ขอนหนึ่งซึ่งมีโพรงแล้วผิง งูเห่าในโพรงไม้นั้น พอถูกไฟร้อน ได้เลื้อยออกมาไล่
พวกภิกษุ ภิกษุทั้งหลายวิ่งหนีไปในที่นั้น ๆ
บรรดาภิกษุผู้มักน้อย ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนภิกษุ
ทั้งหลายจึงก่อไฟผิงเล่า” ครั้นภิกษุทั้งหลายตำหนิภิกษุเหล่านั้นโดยประการต่าง ๆ
แล้วจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ

ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามภิกษุเหล่านั้นว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่าภิกษุทั้งหลายก่อไฟผิง จริงหรือ”
พวกภิกษุทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า
“ฯลฯ ภิกษุทั้งหลาย ไฉนพวกโมฆบุรุษเหล่านั้นจึงก่อไฟผิงเล่า ภิกษุทั้งหลาย การ
กระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้
เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้

พระบัญญัติ
ก็ ภิกษุใดต้องการผิงไฟ ก่อหรือใช้ให้ก่อไฟ ต้องอาบัติปาจิตตีย์
สิกขาบทนี้พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติไว้แก่ภิกษุทั้งหลายอย่างนี้
เรื่องภิกษุหลายรูป จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๔๗๙ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๖.สุราปานวรรค ๖.โชติกสิกขาบท พระอนุบัญญัติ
ทรงอนุญาตให้ภิกษุเป็นไข้ผิงไฟได้
[๓๕๑] สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายเป็นไข้ พวกภิกษุผู้มีหน้าที่สอบถามอาการไข้
ได้กล่าวกับพวกภิกษุเป็นไข้ดังนี้ว่า “ท่านทั้งหลายสบายดีหรือ ยังพอเป็นอยู่ได้
หรือ” พวกภิกษุตอบว่า “เมื่อก่อนพวกกระผมก่อไฟผิง ดังนั้นจึงมีความผาสุก
แต่เดี๋ยวนี้พวกกระผมมีความยำเกรงอยู่ว่า ‘พระผู้มีพระภาคทรงห้ามไว้’ จึงไม่ผิงไฟ
ดังนั้นจึงไม่มีความผาสุก”
ภิกษุทั้งหลายได้นำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระผู้มีพระ
ภาครับสั่งกับภิกษุทั้งหลายว่า “ฯลฯ ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุผู้เป็นไข้ก่อ
ไฟหรือใช้ให้ก่อไฟผิงได้” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้

พระอนุบัญญัติ
อนึ่ง ภิกษุใดไม่เป็นไข้ ต้องการผิงไฟ ก่อหรือใช้ให้ก่อไฟ ต้องอาบัติ
ปาจิตตีย์
สิกขาบทนี้พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติไว้แก่ภิกษุทั้งหลายอย่างนี้

ทรงอนุญาตให้ตามประทีป
[๓๕๒] สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายมีความยำเกรงการตามประทีปบ้าง การก่อไฟ
บ้าง การติดไฟในเรือนไฟบ้าง จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งกับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ก่อไฟหรือ
ใช้ให้ก่อไฟเพราะมีเหตุผลที่สมควร” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้น
แสดงดังนี้

พระอนุบัญญัติ
[๓๕๓] อนึ่ง ภิกษุใดไม่เป็นไข้ ต้องการผิงไฟ ก่อหรือใช้ให้ก่อไฟ ต้อง
อาบัติปาจิตตีย์ เว้นไว้แต่มีเหตุผลที่สมควร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๔๘๐ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๖.สุราปานวรรค ๖.โชติกสิกขาบท บทภาชนีย์
สิกขาบทวิภังค์
[๓๕๔] คำว่า อนึ่ง...ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
อนึ่ง...ใด
คำว่า ภิกษุ มีอธิบายว่า ชื่อว่า ภิกษุ เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาค
ทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุ ในความหมายนี้
ที่ชื่อว่า ไม่เป็นไข้ คือ ภิกษุผู้เว้นจากไฟก็มีความผาสุก
ที่ชื่อว่า เป็นไข้ คือ ภิกษุผู้เว้นจากไฟจะไม่มีความผาสุก
คำว่า ต้องการผิงไฟ คือ ต้องการให้ร่างกายอบอุ่น
ที่ชื่อว่า ไฟ พระผู้มีพระภาคตรัสหมายถึงอัคคี
คำว่า ก่อ คือ ภิกษุก่อเอง ต้องอาบัติปาจิตตีย์
คำว่า ใช้ให้ก่อ คือ ภิกษุสั่งผู้อื่น ต้องอาบัติปาจิตตีย์
ภิกษุผู้รับคำสั่งครั้งเดียวแต่ก่อไฟหลายครั้ง ภิกษุผู้สั่ง ต้องอาบัติปาจิตตีย์
คำว่า เว้นไว้แต่มีเหตุผลเช่นนั้น คือ ยกไว้แต่มีเหตุผลที่สมควร

บทภาชนีย์
ติกปาจิตตีย์
[๓๕๕] ไม่เป็นไข้ ภิกษุสำคัญว่าไม่เป็นไข้ ต้องการผิงไฟ ก่อหรือใช้ให้ก่อไฟ
ต้องอาบัติปาจิตตีย์ เว้นไว้แต่มีเหตุผลเช่นนั้น
ไม่เป็นไข้ ภิกษุไม่แน่ใจ ต้องการผิงไฟ ก่อหรือใช้ให้ก่อไฟ ต้องอาบัติปาจิตตีย์
เว้นไว้แต่มีเหตุผลเช่นนั้น
ไม่เป็นไข้ ภิกษุสำคัญว่าเป็นไข้ ต้องการผิงไฟ ก่อหรือใช้ให้ก่อไฟ ต้องอาบัติ
ปาจิตตีย์ เว้นไว้แต่มีเหตุผลเช่นนั้น


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๔๘๑ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๖.สุราปานวรรค ๖.โชติกสิกขาบท อนาปัตติวาร
ติกทุกกฏ
ภิกษุเก็บดุ้นไฟที่ตกเข้าที่เดิม ต้องอาบัติทุกกฏ
เป็นไข้ ภิกษุสำคัญว่าไม่เป็นไข้ ต้องอาบัติทุกกฏ
เป็นไข้ ภิกษุไม่แน่ใจ ต้องอาบัติทุกกฏ
เป็นไข้ ภิกษุสำคัญว่าเป็นไข้ ไม่ต้องอาบัติ

อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[๓๕๖] ๑. ภิกษุเป็นไข้
๒. ภิกษุผิงไฟที่ผู้อื่นก่อไว้
๓. ภิกษุผิงไฟถ่านที่ไม่มีเปลว
๔. ภิกษุตามประทีป ก่อไฟหรือติดไฟในเรือนไฟเพราะมีเหตุผลเช่นนั้น
๕. ภิกษุผู้ก่อไฟในคราวมีเหตุขัดข้อง๑
๖. ภิกษุวิกลจริต
๗. ภิกษุต้นบัญญัติ

โชติกสิกขาบทที่ ๖ จบ

เชิงอรรถ :
๑ “เหตุขัดข้อง” ในที่นี้หมายถึงจะมีสัตว์ร้าย เนื้อร้าย และอมนุษย์มาทำร้าย (วิ.อ. ๒/๓๕๖/๔๐๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๔๘๒ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๖.สุราปานวรรค ๗.นหานสิกขาบท นิทานวัตถุ
๖. สุราปานวรรค

๗. นหานสิกขาบท
ว่าด้วยการสรงน้ำนอกสมัย

เรื่องพระเจ้าพิมพิสาร
[๓๕๗] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเวฬุวัน สถานที่
ให้เหยื่อกระแต เขตกรุงราชคฤห์ ครั้งนั้น ภิกษุทั้งหลายสรงน้ำในแม่น้ำตโปทา๑ ทีนั้น
พระเจ้าพิมพิสารจอมทัพมคธรัฐเสด็จไปแม่น้ำตโปทาด้วยมีพระราชประสงค์จะทรง
สนานพระเศียร ประทับรออยู่ด้านหนึ่ง ด้วยพระดำริว่า “เราจะสนานต่อเมื่อพระคุณ
เจ้าทั้งหลายสรงน้ำเสร็จแล้ว” ภิกษุสรงน้ำจนพลบค่ำ ครั้งนั้นพระเจ้าพิมพิสารจอม
ทัพมคธรัฐต้องทรงสนานพระเศียรในเวลาพลบคํ่า เมื่อประตูเมืองปิดจำต้องประทับ
แรมอยู่นอกเมือง เช้าตรู่จึงเสด็จเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับทั้ง ๆ ที่
เครื่องประทินในพระวรกายยังไม่จางหายเลย ครั้นถึงแล้วได้ถวายอภิวาทพระผู้มี
พระภาคแล้วประทับ ณ ที่สมควร
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสถามพระเจ้าพิมพิสารจอมทัพมคธรัฐผู้ประทับนั่ง ณ ที่
สมควรดังนี้ว่า “เหตุไรพระองค์จึงเสด็จมาแต่เช้าทั้ง ๆ ที่เครื่องประทินในพระวรกาย
ยังไม่จางหาย” ลำดับนั้น พระเจ้าพิมพิสารจอมทัพมคธรัฐกราบทูลเรื่องนั้นให้พระผู้
มีพระภาคทรงทราบ ทีนั้น พระผู้มีพระภาคทรงชี้แจงให้พระเจ้าพิมพิสารจอมทัพ
มคธรัฐเห็นชัด ชวนให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบ
ชโลมใจให้สดชื่นร่าเริงด้วยธรรมีกถา ลำดับนั้น พระเจ้าพิมพิสารจอมทัพมคธรัฐผู้
ซึ่งพระผู้มีพระภาคทรงชี้แจงให้เห็นชัด ชวนให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้

เชิงอรรถ :
๑ แม่น้ำตโปทา คือแม่นํ้าสายนี้มีนํ้าร้อนเดือดพล่าน ต้นกำเนิดไหลมาจากแอ่งทะเลสาบใต้ภูเขาเวภารบรรพต
ไหลตัดผ่านพระนครราชคฤห์ นํ้าในแอ่งต้นกำเนิดใสเย็น แต่พอไหลเป็นสายแม่นํ้าแล้วกลายเป็นนํ้าร้อน
อรรถกถาอธิบายว่า สาเหตุที่นํ้าในแม่นํ้ามีความร้อนนั้น เพราะไหลผ่านมาระหว่างมหานรก ๒ ขุม (ดู
พระวินัยปิฎกแปล เล่ม ๑ ข้อ ๒๓๑ หน้า ๒๔๕, สํ.อ. ๑/๒๐/๓๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๔๘๓ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๖.สุราปานวรรค ๗.นหานสิกขาบท พระบัญญัติ
อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริงด้วยธรรมีกถาแล้ว ทรงลุกขึ้นจาก
อาสนะ ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคแล้ว ทำประทักษิณแล้วเสด็จไป

ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า พวกเธอเห็นพระราชาก็ยัง
อาบน้ำไม่รู้ความพอดี จริงหรือ” ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ฯลฯ ภิกษุทั้งหลาย ไฉนพวกโมฆบุรุษ
เหล่านั้นเห็นพระราชาแล้วก็ยังอาบน้ำไม่รู้ความพอดีเล่า ภิกษุทั้งหลาย การกระทำ
อย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใส
ยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้

พระบัญญัติ
ก็ ภิกษุใด ยังไม่ถึงครึ่งเดือน อาบน้ำ ต้องอาบัติปาจิตตีย์
สิกขาบทนี้พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติไว้แก่ภิกษุทั้งหลายอย่างนี้
เรื่องพระเจ้าพิมพิสาร จบ

ทรงอนุญาตให้ภิกษุอาบนํ้าได้ในสมัยที่ร้อน
[๓๕๘] สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายมีความยำเกรง ไม่ยอมอาบนํ้าในสมัยที่ร้อน
ในสมัยที่อบอ้าว จำวัดทั้ง ๆ ที่เนื้อตัวยังชุ่มเหงื่อ จีวรก็ดี เสนาสนะก็ดีเสียหาย
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระผู้มีพระ
ภาครับสั่งกับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ยังไม่ถึงครึ่งเดือน เราอนุญาตให้อาบ
นํ้าในสมัยที่ร้อน ในสมัยที่อบอ้าวได้” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้น
แสดงดังนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๔๘๔ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๖.สุราปานวรรค ๗.นหานสิกขาบท พระอนุบัญญัติ
พระอนุบัญญัติ
อนึ่ง ภิกษุใด ยังไม่ถึงครึ่งเดือน อาบน้ำ ต้องอาบัติปาจิตตีย์ เว้นไว้แต่
ในสมัย สมัยในข้อนั้น คือ ท้ายฤดูร้อน ๑ เดือนครึ่ง และเดือนแรกแห่งฤดูฝน
รวมเป็น ๒ เดือนครึ่ง เป็นสมัยที่ร้อน เป็นสมัยที่อบอ้าว นี้เป็นสมัยในข้อนั้น
สิกขาบทนี้พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติไว้แก่ภิกษุทั้งหลายอย่างนี้

ทรงอนุญาตให้ภิกษุอาบนํ้าได้ในสมัยที่เป็นไข้
[๓๕๙] สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายเป็นไข้ พวกภิกษุผู้มีหน้าที่สอบถามอาการ
ไข้ ได้กล่าวกับพวกภิกษุเป็นไข้ดังนี้ว่า “ท่านทั้งหลายสบายดีหรือ ยังพอเป็นอยู่ได้
หรือ”
พวกภิกษุผู้เป็นไข้ตอบว่า “เมื่อก่อนยังไม่ถึงครึ่งเดือน พวกกระผมอาบนํ้า
กันได้ ดังนั้นจึงมีความผาสุก แต่เดี๋ยวนี้พวกกระผมมีความยำเกรงอยู่ว่า ‘พระผู้มี
พระภาคทรงห้ามไว้’ จึงไม่ได้อาบนํ้า ดังนั้นจึงไม่มีความผาสุก’’
ภิกษุทั้งหลายได้นำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระผู้มี
พระภาครับสั่งกับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ยังไม่ถึงครึ่งเดือน เราอนุญาต
ให้ภิกษุผู้เป็นไข้อาบนํ้าได้” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้

พระอนุบัญญัติ
อนึ่ง ภิกษุใด ยังไม่ถึงครึ่งเดือน อาบนํ้า ต้องอาบัติปาจิตตีย์ เว้นไว้แต่
ในสมัย สมัยในข้อนั้น คือ (๑) ท้ายฤดูร้อน ๑ เดือนครึ่ง และเดือนแรกแห่ง
ฤดูฝน รวมเป็น ๒ เดือนครึ่ง เป็นสมัยที่ร้อน เป็นสมัยที่อบอ้าว (๒) สมัยที่เป็น
ไข้ นี้เป็นสมัยในข้อนั้น
สิกขาบทนี้พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติไว้แก่ภิกษุทั้งหลายอย่างนี้

ทรงอนุญาตให้ภิกษุอาบนํ้าได้ในสมัยที่ทำงาน
[๓๖๐] สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายทำงาน มีความยำเกรง จึงไม่อาบนํ้า จำวัด
ทั้ง ๆ ที่เนื้อตัวยังชุ่มเหงื่อ จีวรก็ดี เสนาสนะก็ดีเสียหาย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๔๘๕ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๖.สุราปานวรรค ๗.นหานสิกขาบท พระอนุบัญญัติ
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ ฯลฯ พระ
ผู้มีพระภาครับสั่งกับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ยังไม่ถึงครึ่งเดือน เรา
อนุญาตให้อาบนํ้าได้ในสมัยที่ทำงาน” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้
ขึ้นแสดงดังนี้

พระอนุบัญญัติ
อนึ่ง ภิกษุใด ยังไม่ถึงครึ่งเดือน อาบนํ้า ต้องอาบัติปาจิตตีย์ เว้นไว้แต่
ในสมัย สมัยในข้อนั้น คือ (๑) ท้ายฤดูร้อน ๑ เดือนครึ่ง และเดือนแรกแห่งฤดู
ฝน รวมเป็น ๒ เดือนครึ่ง เป็นสมัยที่ร้อน เป็นสมัยที่อบอ้าว (๒) สมัยที่เป็นไข้
(๓) สมัยที่ทำงาน นี้เป็นสมัยในข้อนั้น
สิกขาบทนี้พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติไว้แก่ภิกษุทั้งหลายอย่างนี้

ทรงอนุญาตให้ภิกษุอาบนํ้าได้ในสมัยที่เดินทางไกล
[๓๖๑] สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายเดินทางไกล มีความยำเกรง จึงไม่อาบนํ้า
จำวัดทั้ง ๆ ที่เนื้อตัวยังชุ่มเหงื่อ จีวรก็ดี เสนาสนะก็ดีเสียหาย
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ ฯลฯ พระ
ผู้มีพระภาครับสั่งกับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ยังไม่ถึงครึ่งเดือน เรา
อนุญาตให้อาบนํ้าได้ในสมัยที่เดินทางไกล” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบท
นี้ขึ้นแสดงดังนี้

พระอนุบัญญัติ
อนึ่ง ภิกษุใด ยังไม่ถึงครึ่งเดือน อาบนํ้า ต้องอาบัติปาจิตตีย์ เว้นไว้แต่ใน
สมัย สมัยในข้อนั้น คือ (๑) ท้ายฤดูร้อน ๑ เดือนครึ่ง และเดือนแรกแห่งฤดูฝน
รวมเป็น ๒ เดือนครึ่ง เป็นสมัยที่ร้อน เป็นสมัยที่อบอ้าว (๒) สมัยที่เป็นไข้
(๓) สมัยที่ทำงาน (๔) สมัยที่เดินทางไกล นี้เป็นสมัยในข้อนั้น
สิกขาบทนี้พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติไว้แก่ภิกษุทั้งหลายอย่างนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๔๘๖ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๖.สุราปานวรรค ๗.นหานสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์
ทรงอนุญาตให้ภิกษุอาบนํ้าได้ในสมัยที่มีพายุฝุ่น
[๓๖๒] สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายตัดเย็บจีวรอยู่กลางแจ้ง ถูกลมฝุ่นเปรอะเปื้อน
ฝนก็ตกประปราย พวกภิกษุมีความยำเกรง จึงไม่อาบนํ้า จำวัดทั้ง ๆ ที่เนื้อตัวยัง
เปรอะเปื้อน จีวรก็ดี เสนาสนะก็ดีเสียหาย
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ ฯลฯ พระ
ผู้มีพระภาครับสั่งกับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ยังไม่ถึงครึ่งเดือน เรา
อนุญาตให้อาบนํ้าในสมัยที่มีพายุฝุ่นได้” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้
ขึ้นแสดงดังนี้

พระอนุบัญญัติ
[๓๖๓] อนึ่ง ภิกษุใด ยังไม่ถึงครึ่งเดือน อาบน้ำ ต้องอาบัติปาจิตตีย์เว้น
ไว้แต่ในสมัย สมัยในข้อนั้น คือ (๑) ท้ายฤดูร้อน ๑ เดือนครึ่ง และเดือนแรก
แห่งฤดูฝน รวมเป็น ๒ เดือนครึ่ง เป็นสมัยที่ร้อน เป็นสมัยที่อบอ้าว (๒) สมัย
ที่เป็นไข้ (๓) สมัยที่ทำงาน (๔) สมัยที่เดินทางไกล (๕) สมัยที่มีพายุฝุ่น นี้
เป็นสมัยในข้อนั้น

สิกขาบทวิภังค์
[๓๖๔] คำว่า อนึ่ง...ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
อนึ่ง...ใด
คำว่า ภิกษุ มีอธิบายว่า ฯลฯ ชื่อว่าภิกษุ เพราะว่าเป็นผู้ขอ นี้ที่พระผู้มี
พระภาคประสงค์เอาว่า ภิกษุ ในความหมายนี้
คำว่า ยังไม่ถึงครึ่งเดือน คือ หย่อนกว่าครึ่งเดือน
คำว่า อาบน้ำ ได้แก่ ภิกษุอาบน้ำถูตัวด้วยจุรณหรือดินเหนียว ต้องอาบัติ
ทุกกฏ ทุก ๆ ครั้งที่ถู อาบเสร็จ ต้องอาบัติปาจิตตีย์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๔๘๗ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๖.สุราปานวรรค ๗.นหานสิกขาบท บทภาชนีย์
คำว่า เว้นไว้แต่ในสมัย คือ ยกเว้นแต่ในสมัย
ที่ชื่อว่า สมัยที่ร้อน คือ ท้ายฤดูร้อน ๑ เดือนครึ่ง
ที่ชื่อว่า สมัยที่อบอ้าว คือ เดือนแรกแห่งฤดูฝน ภิกษุพึงอาบนํ้าได้เพราะ
ถือว่า ๒ เดือนครึ่งนี้เป็นสมัยที่ร้อน เป็นสมัยที่อบอ้าว
ที่ชื่อว่า สมัยที่เป็นไข้ คือ ภิกษุใดไม่ได้อาบนํ้าจะไม่มีความผาสุก ภิกษุพึง
อาบนํ้าได้เพราะถือว่า เป็นสมัยที่เป็นไข้
ที่ชื่อว่า สมัยที่ทำงาน คือ โดยที่สุดแม้การกวาดบริเวณ ภิกษุพึงอาบนํ้าได้
เพราะถือว่า เป็นสมัยที่ทำงาน
ที่ชื่อว่า สมัยที่เดินทางไกล คือ ภิกษุคิดว่า “เราจะเดินทางครึ่งโยชน์” พึง
อาบนํ้าได้ ภิกษุนั้นเมื่อจะไปพึงอาบนํ้าได้ ไปแล้วพึงอาบนํ้าได้
ที่ชื่อว่า สมัยที่มีพายุฝุ่น คือ ภิกษุทั้งหลายถูกลมฝุ่นเปรอะเปื้อนหรือหยาด
ฝนตกถูกกาย ๒-๓ หยด ภิกษุพึงอาบนํ้าได้เพราะถือว่า เป็นสมัยที่มีพายุฝุ่น

บทภาชนีย์
ติกปาจิตตีย์
[๓๖๕] หย่อนกว่าครึ่งเดือน ภิกษุสำคัญว่าหย่อนกว่า อาบน้ำ ต้องอาบัติ
ปาจิตตีย์ เว้นไว้แต่ในสมัย
หย่อนกว่าครึ่งเดือน ภิกษุไม่แน่ใจ อาบน้ำ ต้องอาบัติปาจิตตีย์ เว้นไว้แต่
ในสมัย
หย่อนกว่าครึ่งเดือน ภิกษุสำคัญว่าเกินกว่า อาบน้ำ ต้องอาบัติปาจิตตีย์
เว้นไว้แต่ในสมัย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๔๘๘ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๖.สุราปานวรรค ๗.นหานสิกขาบท อนาปัตติวาร
ทุกทุกกฏ
เกินกว่าครึ่งเดือน ภิกษุสำคัญว่าหย่อนกว่า ต้องอาบัติทุกกฏ
เกินกว่าครึ่งเดือน ภิกษุไม่แน่ใจ ต้องอาบัติทุกกฏ
เกินกว่าครึ่งเดือน ภิกษุสำคัญว่าเกินกว่า ไม่ต้องอาบัติ

อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[๓๖๖] ๑. ภิกษุอาบน้ำในสมัย
๒. ภิกษุอาบน้ำช่วงครึ่งเดือน
๓. ภิกษุอาบน้ำช่วงเกินกว่าครึ่งเดือน
๔. ภิกษุผู้ข้ามฝั่งจึงอาบน้ำ
๕. ภิกษุอาบน้ำในปัจจันตชนบททุกแห่ง
๖. ภิกษุผู้มีเหตุขัดข้อง
๗. ภิกษุวิกลจริต
๘. ภิกษุต้นบัญญัติ

นหานสิกขาบทที่ ๗ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๔๘๙ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๖.สุราปานวรรค ๘.ทุพพัณณกรณสิกขาบท นิทานวัตถุ
๖. สุราปานวรรค

๘. ทุพพัณณกรณสิกขาบท
ว่าด้วยการทำจีวรใหม่ให้เสียสี

เรื่องภิกษุหลายรูป
[๓๖๗] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุและปริพาชกจำนวนมาก
ต่างเดินทางไกลจากเมืองสาเกตไปกรุงสาวัตถี ระหว่างทาง โจรทั้งหลายออกมา
ปล้น พวกเจ้าหน้าที่ในกรุงสาวัตถีจับโจรเหล่านั้นได้พร้อมของกลาง จึงส่งข่าวถึง
ภิกษุทั้งหลายว่า “นิมนต์พระคุณเจ้ามาเถิด ถ้าจำได้ นิมนต์รับเอาจีวรของตน ๆ
คืนไป” ภิกษุทั้งหลายจำจีวรของตนไม่ได้ คนทั้งหลายจึงตำหนิ ประณาม โพนทะนา
ว่า “ไฉนพระคุณเจ้าทั้งหลายจึงจำจีวรของตนไม่ได้เล่า”
ภิกษุทั้งหลายได้ยินคนเหล่านั้นตำหนิ ประณาม โพนทะนา จึงนำเรื่องนี้ไป
กราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ

ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
แสดงธรรมีกถาให้เหมาะสม ให้คล้อยตามกับเรื่องนั้นแก่พวกภิกษุแล้วรับสั่งกับ
ภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้น เราจะบัญญัติสิกขาบทแก่ภิกษุทั้ง
หลายโดยอาศัยอำนาจประโยชน์ ๑๐ ประการ คือ
๑. เพื่อความรับว่าดีแห่งสงฆ์
๒. เพื่อความผาสุกแห่งสงฆ์
ฯลฯ
๑๐. เพื่อเอื้อเฟื้อวินัย๑
แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้

เชิงอรรถ :
๑ ดู ข้อ ๕๖๖ หน้า ๙๒ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๔๙๐ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๖.สุราปานวรรค ๘.ทุพพัณณกรณสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์
พระบัญญัติ
[๓๖๘] ก็ภิกษุได้จีวรใหม่ พึงใช้วัตถุที่ทำให้เสียสี ๓ ชนิดอย่างใดอย่าง
หนึ่งคือ สีเขียว สีตม หรือสีดำคลํ้า มาทำให้เสียสี ถ้าภิกษุไม่ใช้วัตถุที่ทำให้
เสียสี ๓ ชนิด อย่างใดอย่างหนึ่ง มาทำให้เสียสี ใช้สอยจีวรใหม่ ต้องอาบัติ
ปาจิตตีย์
เรื่องภิกษุหลายรูป จบ

สิกขาบทวิภังค์
[๓๖๙] ที่ชื่อว่า ใหม่ พระผู้มีพระภาคตรัสหมายถึงผ้าที่ยังไม่ทำพินทุกัปปะ๑
ที่ชื่อว่า จีวร ได้แก่ จีวร ๖ ชนิด อย่างใดอย่างหนึ่ง
คำว่า ภิกษุพึงใช้วัตถุที่ทำให้เสียสี ๓ ชนิด อย่างใดอย่างหนึ่ง มาทำให้
เสียสี คือ โดยที่สุดภิกษุพึงทำให้เสียสีแม้ด้วยปลายหญ้าคาแตะ
ที่ชื่อว่า สีเขียว ได้แก่ สีเขียว ๒ อย่าง คือ เขียวสำริด สีเขียวใบไม้
ที่ชื่อว่า สีตม พระผู้มีพระภาคตรัสหมายถึงสีน้ำโคลน
ที่ชื่อว่า สีดำคล้ำ ได้แก่ สีดำคล้ำอย่างใดอย่างหนึ่ง
ที่ชื่อว่า ถ้าภิกษุไม่ใช้วัตถุที่ทำให้เสียสี ๓ ชนิด อย่างใดอย่างหนึ่ง มา
ทำให้เสียสี ความว่า โดยที่สุดภิกษุไม่เอาปลายหญ้าคาแตะวัตถุที่ทำให้เสียสี ๓
ชนิด อย่างใดอย่างหนึ่ง มาทำให้เสียสี แล้วใช้สอยจีวรใหม่ ต้องอาบัติปาจิตตีย์

เชิงอรรถ :
๑ คำว่า “พินทุกัปปะ” หมายถึงการทำจุดเป็นวงกลมอย่างใหญ่เท่าแววตานกยูง อย่างเล็กเท่าหลังตัวเรือด
ที่มุมจีวร ด้วยสีเขียว สีตม หรือสีดำคลํ้า เพื่อทำให้จีวรเสียสีหรือมีตำหนิ (วิ.อ. ๒/๓๖๘-๙/๔๑๐)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๔๙๑ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๖.สุราปานวรรค ๘.ทุพพัณณกรณสิกขาบท อนาปัตติวาร
บทภาชนีย์
ติกปาจิตตีย์
[๓๗๐] ยังไม่ได้ทำให้เสียสี ภิกษุสำคัญว่ายังไม่ได้ทำให้เสียสี ใช้สอย ต้อง
อาบัติปาจิตตีย์
ยังไม่ได้ทำให้เสียสี ภิกษุไม่แน่ใจ ใช้สอย ต้องอาบัติปาจิตตีย์
ยังไม่ได้ทำให้เสียสี ภิกษุสำคัญว่าทำให้เสียสีแล้ว ใช้สอย ต้องอาบัติปาจิตตีย์

ทุกทุกกฏ
ทำให้เสียสีแล้ว ภิกษุสำคัญว่ายังไม่ได้ทำให้เสียสี ต้องอาบัติทุกกฏ
ทำให้เสียสีแล้ว ภิกษุไม่แน่ใจ ต้องอาบัติทุกกฏ
ทำให้เสียสีแล้ว ภิกษุสำคัญว่าใช้ ไม่ต้องอาบัติ

อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[๓๗๑] ๑. ภิกษุทำให้เสียสีแล้วนุ่งห่ม
๒. ภิกษุห่มจีวรที่พินทุกัปปะเสียหายไป
๓. ภิกษุห่มจีวรที่ทำพินทุกัปปะไว้ แต่เก่าคร่ำคร่า
๔. ภิกษุห่มจีวรที่ไม่ได้ทำพินทุกัปปะไว้ แต่เย็บติดกับจีวรที่ทำ
พินทุกัปปะไว้
๕. ภิกษุนุ่งห่มผ้าปะ
๖. ภิกษุนุ่งห่มผ้าทาบ
๗. ภิกษุใช้ผ้าดาม
๘. ภิกษุวิกลจริต
๙. ภิกษุต้นบัญญัติ

ทุพพัณณกรณสิกขาบทที่ ๘ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๔๙๒ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๖.สุราปานวรรค ๙.วิกัปปนสิกขาบท นิทานวัตถุ
๖. สุราปานวรรค

๙. วิกัปปนสิกขาบท
ว่าด้วยการวิกัปปจีวร

เรื่องพระอุปนันทศากยบุตร
[๓๗๒] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น ท่านพระอุปนันทศากยบุตรวิกัป๑
จีวรด้วยตนเองแก่ภิกษุสัทธิวิหาริกของภิกษุผู้เป็นพี่น้องกันแล้วใช้สอยจีวรที่ยังไม่ได้
ปัจจุทธรณ์๒ ลำดับนั้น ภิกษุนั้นได้แจ้งเรื่องนี้ให้ภิกษุทั้งหลายทราบว่า “ท่านทั้งหลาย
ท่านพระอุปนันทศากยบุตรวิกัปจีวรด้วยตนเองแก่กระผมแล้วใช้สอยจีวรที่ยังไม่ได้
ปัจจุทธรณ์”
บรรดาภิกษุผู้มักน้อย ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนท่าน
พระอุปนันทศากยบุตรวิกัปจีวรด้วยตนเองแก่ภิกษุแล้ว จึงใช้สอยจีวรที่ยังมิได้
ปัจจุธรณ์เล่า” ครั้นภิกษุเหล่านั้นตำหนิท่านพระอุปนันทศากยบุตรโดยประการ
ต่าง ๆ แล้วจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ

ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามท่านพระอุปนันทศากยบุตรว่า “อุปนันทะ ทราบว่า เธอวิกับจีวรด้วยตน

เชิงอรรถ :
๑ วิกัป เป็นวินัยกรรม คือวิธีการทางพระวินัย เพื่อป้องกันอาบัติ ตามปกติภิกษุจะใช้สอยผ้านุ่งห่มเพียง
๓ ผืน คือ ผ้าสังฆาฏิ ผ้าอุตตราสงค์ ผ้าอันตรวาสก ผ้านอกจากนี้เรียกว่า ผ้าอติเรกจีวร เก็บไว้ใช้สอยได้
ไม่เกิน ๑๐ วัน ถ้าต้องการจะใช้สอยตลอดไป ต้องวิกัป คือ ยกให้แก่ผู้อื่น ให้ผู้อื่นมีกรรมสิทธิ์ร่วม ผู้ที่
รับไป ต้องให้คืนไว้ใช้สอย นี้เป็นวินัยกรรม ในกรณีนี้ถ้าเป็นสมัยจีวรกาล ไม่ต้องวิกัป ใช้ได้ตลอดจน
กว่าจะหมดจีวรกาล (ดู นิสสัคคีย์ สิกขาบทที่ ๑ ข้อ ๔๖๐-๔๗๐ หน้า ๒-๘ ในเล่มนี้ และ วิ.ม. ๕/
๓๕๘/๑๖๐, วิ.อ. ๒/๔๖๙/๑๔๖-๑๕๕)
๒ คำว่า “ปัจจุทธรณ์” แปลว่า ถอนคืน คือถอนผ้าที่วิกัปไว้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๔๙๓ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๖.สุราปานวรรค ๙.วิกัปปนสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์
เองแก่ภิกษุแล้วใช้สอยจีวรที่ยังมิได้ปัจจุทธรณ์ จริงหรือ” ท่านพระอุปนันทศากยบุตร
ทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ฯลฯ
โมฆบุรุษ ไฉนเธอ เมื่อวิกัปจีวรด้วยตนเองแก่ภิกษุแล้ว จึงใช้สอยจีวรที่ยังมิได้
ปัจจุทธรณ์เล่า โมฆบุรุษ การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส
หรือทำคนที่เลื่อมใส อยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลาย
ยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้

พระบัญญัติ
[๓๗๓] ก็ ภิกษุใดวิกัปจีวรด้วยตนเองแก่ภิกษุ หรือแก่ภิกษุณี หรือแก่
สิกขมานา หรือแก่สามเณร หรือแก่สามเณรี แล้วใช้สอยจีวรที่ยังมิได้ปัจจุทธรณ์
ต้องอาบัติปาจิตตีย์
เรื่องพระอุปนันทศากยบุตร จบ

สิกขาบทวิภังค์
[๓๗๔] คำว่า ก็...ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ก็...ใด
คำว่า ภิกษุ มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุ เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระ
ภาคทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุ ในความหมายนี้
คำว่า แก่ภิกษุ คือ ภิกษุรูปอื่น
ที่ชื่อว่า ภิกษุณี ได้แก่ สตรีที่อุปสมบทในสงฆ์ ๒ ฝ่าย
ที่ชื่อว่า สิกขมานา ได้แก่ สตรีผู้ศึกษาสิกขาธรรม ๖ ข้อตลอด ๒ ปี
ที่ชื่อว่า สามเณร ได้แก่ บุรุษผู้ถือสิกขาบท ๑๐ ข้อ
ที่ชื่อว่า สามเณรี ได้แก่ สตรีผู้ถือสิกขาบท ๑๐ ข้อ
คำว่า ด้วยตนเอง คือ วิกัปเอง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๔๙๔ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๖.สุราปานวรรค ๙.วิกัปปนสิกขาบท บทภาชนีย์
ที่ชื่อว่า จีวร ได้แก่ จีวร ๖ ชนิด อย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งมีขนาดพอที่จะวิกัป
ได้เป็นอย่างตํ่า
ที่ชื่อว่า วิกัป มี ๒ อย่าง คือ (๑) วิกัปต่อหน้า (๒) วิกัปลับหลัง
ที่ชื่อว่า วิกัปต่อหน้า คือ ภิกษุกล่าวว่า “ข้าพเจ้าวิกัปจีวรผืนนี้แก่ท่าน
หรือข้าพเจ้าวิกัปจีวรผืนนี้แก่ภิกษุนี้”
ที่ชื่อว่า วิกัปลับหลัง คือ ภิกษุกล่าวว่า “ข้าพเจ้าให้จีวรผืนนี้แก่ท่านเพื่อวิกัป”
ภิกษุผู้รับวิกัปถามภิกษุผู้วิกัปว่า “ใครเป็นมิตรหรือเพื่อนของท่าน”
พึงตอบว่า “ภิกษุชื่อนี้และภิกษุชื่อนี้”
ภิกษุผู้รับวิกัปพึงกล่าวกับภิกษุผู้วิกัปว่า “ข้าพเจ้าให้แก่ภิกษุเหล่านั้น จีวร
ผืนนี้เป็นของภิกษุเหล่านั้น ท่านจงใช้สอย จงสละ หรือจงทำตามเหตุผลเถิด”
ที่ชื่อว่า ที่ยังมิได้ปัจจุทธรณ์ คือ จีวรที่ผู้รับวิกัปยังไม่ได้คืนให้๑ หรือภิกษุผู้
วิกัปใช้สอยจีวรโดยไม่คุ้นเคยกับภิกษุผู้รับวิกัปนั้น ต้องอาบัติปาจิตตีย์

บทภาชนีย์
ติกปาจิตตีย์
[๓๗๕] จีวรยังไม่ได้ปัจจุทธรณ์ ภิกษุสำคัญว่ายังมิได้ปัจจุทธรณ์ ใช้สอย
ต้องอาบัติปาจิตตีย์
จีวรยังไม่ได้ปัจจุทธรณ์ ภิกษุไม่แน่ใจ ใช้สอย ต้องอาบัติปาจิตตีย์
จีวรยังไม่ได้ปัจจุทธรณ์ ภิกษุสำคัญว่าปัจจุทธรณ์แล้ว ใช้สอย ต้องอาบัติ
ปาจิตตีย์

เชิงอรรถ :
๑ คือภิกษุผู้รับวิกัปยังมิได้ให้คืนด้วยกล่าวว่า “ท่านจะใช้สอย จะสละ หรือจะทำตามเหตุผลก็ได้”
ปัจจุทธรณ์ คือถอนวิกัปนั่นเอง (วิ.อ. ๒/๓๗๔/๔๑๐)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๔๙๕ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๖.สุราปานวรรค ๙.วิกัปปนสิกขาบท อนาปัตติวาร
ติกทุกกฏ
ภิกษุอธิษฐานหรือสละ ต้องอาบัติทุกกฏ
จีวรปัจจุทธรณ์แล้ว ภิกษุสำคัญว่ายังไม่ได้ปัจจุทธรณ์ ต้องอาบัติทุกกฏ
จีวรปัจจุทธรณ์แล้ว ภิกษุไม่แน่ใจ ต้องอาบัติทุกกฏ
จีวรปัจจุทธรณ์แล้ว ภิกษุสำคัญว่าปัจจุทธรณ์แล้ว ไม่เป็นอาบัติ

อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[๓๗๖] ๑. ภิกษุใช้สอยจีวรที่ผู้รับวิกัปคืนให้หรือใช้สอยจีวรด้วยความคุ้น
เคยกับภิกษุผู้รับวิกัป
๒. ภิกษุวิกลจริต
๓. ภิกษุต้นบัญญัติ

วิกัปปนสิกขาบทที่ ๙ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๔๙๖ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๖.สุราปานวรรค ๑๐.จีวรอปนิธานสิกขาบท นิทานวัตถุ
๖. สุราปานวรรค

๑๐. จีวรอปนิธานสิกขาบท
ว่าด้วยการซ่อนจีวร

เรื่องพระสัตตรสวัคคีย์
[๓๗๗] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พวกภิกษุสัตตรสวัคคีย์ไม่เก็บ
บริขาร พวกภิกษุฉัพพัคคีย์จึงเอาบาตรบ้าง จีวรบ้างของพวกภิกษุสัตตรสวัคคีย์ไป
ซ่อน พวกภิกษุสัตตรสวัคคีย์ได้กล่าวกับพวกภิกษุฉัพพัคคีย์ดังนี้ว่า “ท่านทั้งหลาย
พวกท่านโปรดคืนบาตรบ้างจีวรบ้างให้แก่พวกเราเถิด” พวกภิกษุฉัพพัคคีย์พากัน
หัวเราะ พวกภิกษุสัตตรสวัคคีย์พากันร้องไห้
ภิกษุทั้งหลายถามว่า “พวกท่านร้องไห้ทำไม”
พวกภิกษุสัตตรสวัคคีย์กล่าวว่า “ท่านทั้งหลาย พวกภิกษุฉัพพัคคีย์เอาบาตร
บ้าง จีวรบ้างของพวกกระผมไปซ่อน”
บรรดาภิกษุผู้มักน้อย ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพวก
ภิกษุฉัพพัคคีย์จึงเอาบาตรบ้าง จีวรบ้างของภิกษุทั้งหลายไปซ่อนเล่า” ครั้นภิกษุ
เหล่านั้นตำหนิพวกภิกษุฉัพพัคคีย์โดยประการต่าง ๆ แล้วจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูล
พระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ

ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามพวกภิกษุฉัพพัคคีย์ว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า พวกเธอเอาบาตรบ้าง
จีวรบ้างของภิกษุทั้งหลายไปซ่อน จริงหรือ” พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ทูลรับว่า “จริง
พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคทรงตำหนิว่า “ฯลฯ โมฆบุรุษทั้งหลาย ไฉนเธอ
จึงเอาบาตรบ้าง จีวรบ้างของพวกภิกษุไปซ่อนเล่า โมฆบุรุษทั้งหลาย การกระทำ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๔๙๗ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๖.สุราปานวรรค ๑๐.จีวรอปนิธานสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์
อย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใส
ยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้

พระบัญญัติ
[๓๗๘] ก็ ภิกษุใดเอาบาตรหรือจีวร ผ้าปูนั่ง กล่องเข็มหรือประคดเอว
ของภิกษุไปซ่อน ใช้ให้เอาไปซ่อน โดยที่สุดแม้มุ่งจะล้อเล่น ต้องอาบัติ
ปาจิตตีย์
เรื่องพระสัตตรสวัคคีย์ จบ

สิกขาบทวิภังค์
[๓๗๙] คำว่า ก็...ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ก็.....ใด
คำว่า ภิกษุ มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุ เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระ
ภาคทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุ ในความหมายนี้
คำว่า ของภิกษุ คือ ของภิกษุอื่น
ที่ชื่อว่า บาตร ได้แก่ บาตร ๒ ชนิด คือ (๑) บาตรเหล็ก (๒) บาตรดิน
ที่ชื่อว่า จีวร ได้แก่ จีวร ๖ ชนิด อย่างใดอย่างหนึ่งซึ่งมีขนาดพอที่จะ
วิกัปได้เป็นอย่างต่ำ
ที่ชื่อว่า ผ้าปูนั่ง พระผู้มีพระภาคตรัสหมายถึงผ้าปูนั่งมีชาย
ที่ชื่อว่า กล่องเข็ม ได้แก่ กล่องที่มีเข็มหรือไม่มีเข็มก็ตาม
ที่ชื่อว่า ประคดเอว ได้แก่ ประคดเอว ๒ ชนิด คือ (๑) ประคดเอวผ้า
(๒) ประคดเอวไส้สุกร
คำว่า เอาไปซ่อน คือ ภิกษุเอาไปซ่อนเอง ต้องอาบัติปาจิตตีย์
คำว่า ใช้ให้เอาไปซ่อน คือ ภิกษุใช้ผู้อื่นให้เอาไปซ่อน ต้องอาบัติปาจิตตีย์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๔๙๘ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๖.สุราปานวรรค ๑๐.จีวรอปนิธานสิกขาบท บทภาชนีย์
ภิกษุผู้รับคำสั่งครั้งเดียวแต่ซ่อนหลายครั้ง ภิกษุผู้สั่งต้องอาบัติปาจิตตีย์
คำว่า โดยที่สุดแม้มุ่งจะล้อเล่น คือ ภิกษุประสงค์จะเล่น

บทภาชนีย์
ติกปาจิตตีย์
[๓๘๐] อุปสัมบัน ภิกษุสำคัญว่าเป็นอุปสัมบัน เอาบาตร หรือจีวร หรือ
ผ้าปูนั่ง หรือกล่องเข็ม หรือประคดเอวไปซ่อน หรือใช้ให้เอาไปซ่อน โดยที่สุดแม้
มุ่งจะล้อเล่น ต้องอาบัติปาจิตตีย์
อุปสัมบัน ภิกษุไม่แน่ใจ เอาบาตร หรือจีวร หรือผ้าปูนั่ง หรือกล่องเข็ม
หรือประคดเอวไปซ่อน หรือใช้ให้เอาไปซ่อน โดยที่สุดแม้มุ่งจะล้อเล่น ต้องอาบัติ
ปาจิตตีย์
อุปสัมบัน ภิกษุสำคัญว่าเป็นอนุปสัมบัน เอาบาตร หรือจีวร หรือผ้าปูนั่ง
หรือกล่องเข็ม หรือประคดเอวไปซ่อน หรือใช้ให้เอาไปซ่อน โดยที่สุดแม้มุ่งจะล้อเล่น
ต้องอาบัติปาจิตตีย์

ทุกกฏ
ภิกษุเอาบริขารอื่นไปซ่อน หรือใช้ให้เอาไปซ่อน โดยที่สุดแม้มุ่งจะล้อเล่น
ต้องอาบัติทุกกฏ
ภิกษุเอาบาตร หรือจีวร หรือบริขารอื่นของอนุปสัมบันไปซ่อน หรือใช้ให้เอา
ไปซ่อน โดยที่สุดแม้มุ่งจะล้อเล่น ต้องอาบัติทุกกฏ
อนุปสัมบัน ภิกษุสำคัญว่าเป็นอุปสัมบัน ต้องอาบัติทุกกฏ
อนุปสัมบัน ภิกษุไม่แน่ใจ ต้องอาบัติทุกกฏ
อนุปสัมบัน ภิกษุสำคัญว่าเป็นอนุปสัมบัน ต้องอาบัติทุกกฏ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๔๙๙ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๖.สุราปานวรรค รวมสิกขาบทที่มีในสุราปานวรรค
อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[๓๘๑] ๑. ภิกษุไม่ประสงค์จะล้อเล่น
๒. ภิกษุเก็บบริขารที่ผู้อื่นวางไว้ไม่ดี
๓. ภิกษุเก็บไว้ด้วยหวังจะสั่งสอนแล้วคืนให้
๔. ภิกษุวิกลจริต
๕. ภิกษุต้นบัญญัติ

จีวรอปนิธานสิกขาบทที่ ๑๐ จบ
สุราปานวรรคที่ ๖ จบ

รวมสิกขาบทที่มีในสุราปานวรรค
สุราปานวรรคมี ๑๐ สิกขาบท คือ

๑. สุราปานสิกขาบท ว่าด้วยการดื่มสุราและเมรัย
๒. อังคุลิปโตทกสิกขาบท ว่าด้วยการใช้นิ้วมือจี้กันและกัน
๓. หัสสธัมมสิกขาบท ว่าด้วยการเล่นน้ำ
๔. อนาทริยสิกขาบท ว่าด้วยความไม่เอื้อเฟื้อต่อคำตักเตือน
๕. ภิงสาปนสิกขาบท ว่าด้วยการทำให้ตกใจ
๖. โชติกสิกขาบท ว่าด้วยการก่อไฟผิง
๗. นหานสิกขาบท ว่าด้วยการสรงน้ำนอกสมัย
๘. ทุพพัณณกรณสิกขาบท ว่าด้วยการทำจีวรใหม่ให้เสียสี
๙. วิกัปปนสิกขาบท ว่าด้วยการวิกัปจีวร
๑๐. จีวรอปนิธานสิกขาบท ว่าด้วยการซ่อนจีวร


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๕๐๐ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๗.สัปปาณกวรรค ๑.สัญจิจจสิกขาบท นิทานวัตถุ
๗. สัปปาณกวรรค
หมวดว่าด้วยสัตว์มีชีวิต

๑. สัญจิจจสิกขาบท
ว่าด้วยความจงใจปลงชีวิตสัตว์

เรื่องพระอุทายี
[๓๘๒] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น ท่านพระอุทายีเป็นนักยิงธนู๑
และท่านไม่ชอบอีกา ท่านจึงยิงอีกาทั้งหลายแล้วตัดหัวมาเสียบหลาวเรียงไว้
ภิกษุทั้งหลายกล่าวอย่างนี้ว่า “ท่าน ใครฆ่าอีกาเหล่านี้”
ท่านพระอุทายีตอบว่า “ท่านทั้งหลาย กระผมเอง กระผมไม่ชอบอีกา”
บรรดาภิกษุผู้มักน้อย ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนท่าน
พระอุทายีจึงจงใจปลงชีวิตสัตว์เล่า ฯลฯ” ครั้นภิกษุทั้งหลายตำหนิท่านพระอุทายี
โดยประการต่าง ๆ แล้วจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ

ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามท่านพระอุทายีว่า “อุทายี ทราบว่า เธอจงใจปลงชีวิตสัตว์ จริงหรือ” ท่าน
พระอุทายีทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า
“ฯลฯ โมฆบุรุษ ไฉนเธอจึงจงใจปลงชีวิตสัตว์เล่า โมฆบุรุษ การกระทำอย่างนี้ มิ
ได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย
ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้

เชิงอรรถ :
๑ สมัยเป็นคฤหัสถ์ ท่านพระอุทายีเป็นนักแม่นธนู เชี่ยวชาญในศิลปะการใช้ธนู และเป็นอาจารย์ของนัก
แม่นธนูด้วย (วิ.อ. ๒/๓๘๒/๔๑๑, สารตฺถ.ฏีกา ๓/๓๘๒/๑๐๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๕๐๑ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๗.สัปปาณกวรรค ๑.สัญจิจจสิกขาบท บทภาชนีย์
พระบัญญัติ
[๓๘๓] ก็ ภิกษุใดจงใจปลงชีวิตสัตว์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์
เรื่องพระอุทายี จบ

สิกขาบทวิภังค์
[๓๘๔] คำว่า ก็...ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ก็...ใด
คำว่า ภิกษุ มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุ เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระ
ภาคทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุ ในความหมายนี้
คำว่า จงใจ ได้แก่ รู้อยู่ รู้ดีอยู่ จงใจ ฝ่าฝืน ล่วงละเมิด
ที่ชื่อว่า สัตว์มีชีวิต พระผู้มีพระภาคตรัสหมายถึงสัตว์ดิรัจฉาน
คำว่า ปลงชีวิต ได้แก่ ตัดทำลายชีวิตินทรีย์ ตัดความสืบต่อ ต้องอาบัติ
ปาจิตตีย์

บทภาชนีย์
ปาจิตตีย์
[๓๘๕] สัตว์มีชีวิต ภิกษุสำคัญว่าเป็นสัตว์มีชีวิต ปลงชีวิต ต้องอาบัติ
ปาจิตตีย์
สัตว์มีชีวิต ภิกษุไม่แน่ใจ ปลงชีวิต ต้องอาบัติปาจิตตีย์
สัตว์มีชีวิต ภิกษุสำคัญว่าไม่ใช่สัตว์มีชีวิต ปลงชีวิต ไม่ต้องอาบัติ

ทุกกฏ
ไม่ใช่สัตว์มีชีวิต ภิกษุสำคัญว่าเป็นสัตว์มีชีวิต ต้องอาบัติทุกกฏ
ไม่ใช่สัตว์มีชีวิต ภิกษุไม่แน่ใจ ต้องอาบัติทุกกฏ
ไม่ใช่สัตว์มีชีวิต ภิกษุสำคัญว่าไม่ใช่สัตว์มีชีวิต ไม่ต้องอาบัติ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๕๐๒ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๗.สัปปาณกวรรค ๑.สัญจิจจสิกขาบท อนาปัตติวาร
อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[๓๘๖] ๑. ภิกษุไม่จงใจจะปลงชีวิตสัตว์
๒. ภิกษุไม่มีสติปลงชีวิตสัตว์
๓. ภิกษุผู้ไม่รู้ตัว
๔. ภิกษุไม่ประสงค์จะฆ่า
๕. ภิกษุวิกลจริต
๖. ภิกษุต้นบัญญัติ

สัญจิจจสิกขาบทที่ ๑ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๕๐๓ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๗.สัปปาณกวรรค ๒.สัปปาณกสิกขาบท นิทานวัตถุ
๗. สัปปาณกวรรค

๒. สัปปาณกสิกขาบท
ว่าด้วยการบริโภคน้ำที่มีสัตว์มีชีวิต

เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๓๘๗] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์รู้อยู่ว่านํ้ามี
สัตว์มีชีวิต ก็ยังบริโภค๑
บรรดาภิกษุผู้มักน้อย ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพวก
ภิกษุฉัพพัคคีย์รู้อยู่ว่านํ้ามีสัตว์มีชีวิต ก็ยังบริโภคเล่า” ครั้นภิกษุทั้งหลายตำหนิพวก
ภิกษุฉัพพัคคีย์โดยประการต่าง ๆ แล้วจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้
ทรงทราบ

ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามพวกภิกษุฉัพพัคคีย์ว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า พวกเธอรู้อยู่ว่านํ้ามีสัตว์
มีชีวิต ก็ยังบริโภค จริงหรือ” พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ฯลฯ โมฆบุรุษทั้งหลาย ไฉนพวกเธอรู้อยู่
ว่านํ้ามีสัตว์มีชีวิต ก็ยังบริโภคเล่า โมฆบุรุษทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่
ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ”
แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้

พระบัญญัติ
[๓๘๘] ก็ ภิกษุใดรู้อยู่ว่าน้ำมีสัตว์มีชีวิต ก็ยังบริโภค ต้องอาบัติปาจิตตีย์
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ

เชิงอรรถ :
๑ คำว่า “บริโภค” หมายถึง ดื่ม ใช้ล้างบาตร เอาบาตรข้าวต้มร้อนแช่ให้เย็น อาบ หรือแม้ลงไปลุยนํ้าใน
ตระพัง ในสระโบกขรณี ทำให้เกิดคลื่น (วิ.อ. ๒/๓๘๗/๔๑๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๕๐๔ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๗.สัปปาณกวรรค ๒.สัปปาณกสิกขาบท อนาปัตติวาร
สิกขาบทวิภังค์
[๓๘๙] คำว่า ก็...ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ก็...ใด
คำว่า ภิกษุ มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุ เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระ
ภาคทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุ ในความหมายนี้
ที่ชื่อว่า รู้อยู่ ได้แก่ ภิกษุรู้เอง หรือคนเหล่าอื่นบอกให้ภิกษุนั้นรู้
ภิกษุรู้อยู่ว่า “นํ้ามีสัตว์มีชีวิต” รู้อยู่ว่า “สัตว์มีชีวิตจะตายเพราะการบริโภค”
ก็ยังบริโภค ต้องอาบัติปาจิตตีย์

บทภาชนีย์
[๓๙๐] นํ้ามีสัตว์มีชีวิต ภิกษุสำคัญว่ามีสัตว์มีชีวิต บริโภค ต้องอาบัติปาจิตตีย์
นํ้ามีสัตว์มีชีวิต ภิกษุไม่แน่ใจ บริโภค ต้องอาบัติทุกกฏ
นํ้ามีสัตว์มีชีวิต ภิกษุสำคัญว่าไม่มีสัตว์มีชีวิต บริโภค ไม่ต้องอาบัติ
นํ้าไม่มีสัตว์มีชีวิต ภิกษุสำคัญว่ามีสัตว์มีชีวิต ต้องอาบัติทุกกฏ
นํ้าไม่มีสัตว์มีชีวิต ภิกษุไม่แน่ใจ ต้องอาบัติทุกกฏ
นํ้าไม่มีสัตว์มีชีวิต ภิกษุสำคัญว่าไม่มีสัตว์มีชีวิต ไม่ต้องอาบัติ

อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[๓๙๑] ๑. ภิกษุไม่รู้ว่า “น้ำมีสัตว์มีชีวิต”
๒. ภิกษุรู้ว่า “น้ำไม่มีสัตว์มีชีวิต”
๓. ภิกษุรู้อยู่ว่า “สัตว์มีชีวิตจะไม่ตายเพราะการบริโภค”
๔. ภิกษุวิกลจริต
๕. ภิกษุต้นบัญญัติ

สัปปาณกสิกขาบทที่ ๒ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๕๐๕ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๗.สัปปาณกวรรค ๓.อุกโกฏนสิกขาบท นิทานวัตถุ
๗. สัปปาณวรรค

๓. อุกโกฏนสิกขาบท
ว่าด้วยการรื้อฟื้นอธิกรณ์ขึ้นมาพิจารณาใหม่

เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๓๙๒] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์รู้อยู่ รื้อฟื้น
อธิกรณ์ที่ได้ตัดสินไปแล้วอย่างถูกต้องเพื่อพิจารณาใหม่ด้วยกล่าวว่า “กรรมยังไม่ได้ทำ
กรรมทำไม่ดี พึงทำใหม่ กรรมนั้นยังไม่ได้ตัดสิน กรรมนั้นตัดสินไม่ดี พึงตัดสินใหม่”
บรรดาภิกษุผู้มักน้อย ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพวก
ภิกษุฉัพพัคคีย์รู้อยู่ยังขืนรื้อฟื้นอธิกรณ์ที่ตัดสินไปแล้วอย่างถูกต้องเพื่อพิจารณาใหม่
เล่า” ครั้นภิกษุทั้งหลายตำหนิพวกภิกษุฉัพพัคคีย์โดยประการต่าง ๆ แล้วจึงนำเรื่อง
นี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ

ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามพวกภิกษุฉัพพัคคีย์ว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า พวกเธอรู้อยู่ รื้อฟื้น
อธิกรณ์ที่ตัดสินไปแล้วอย่างถูกต้องเพื่อพิจารณาใหม่ จริงหรือ” พวกภิกษุฉัพพัคคีย์
ทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ฯลฯ
โมฆบุรุษทั้งหลาย ไฉนพวกเธอรู้อยู่ยังขืนรื้อฟื้นอธิกรณ์ที่ตัดสินไปแล้วอย่างถูกต้อง
เพื่อพิจารณาใหม่เล่า โมฆบุรุษทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่
เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ” แล้วจึง
รับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๕๐๖ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๗.สัปปาณกวรรค ๓.อุกโกฏนสิกขาบท บทภาชนีย์
พระบัญญัติ
[๓๙๓] ก็ ภิกษุใดรู้อยู่ รื้อฟื้นอธิกรณ์ที่ตัดสินไปแล้วอย่างถูกต้อง เพื่อ
พิจารณาใหม่ ต้องอาบัติปาจิตตีย์
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ

สิกขาบทวิภังค์
[๓๙๔] คำว่า ก็...ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ก็...ใด
คำว่า ภิกษุ มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุ เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระ
ภาคทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุ ในความหมายนี้
ที่ชื่อว่า รู้อยู่ ได้แก่ ภิกษุรู้เอง คนเหล่าอื่นบอกภิกษุนั้น หรือคนนั้นบอก
ที่ชื่อว่า อย่างถูกต้อง คือ อธิกรณ์ที่ตัดสินโดยธรรม โดยวินัย โดยสัตถุศาสน์
ที่ชื่อว่า อธิกรณ์ ได้แก่ อธิกรณ์ ๔ คือ (๑) วิวาทาธิกรณ์ (๒) อนุวาทาธิกรณ์
(๓) อาปัตตาธิกรณ์ (๔) กิจจาธิกรณ์
คำว่า รื้อฟื้น...เพื่อพิจารณาใหม่ คือ ภิกษุรื้อฟื้นด้วยกล่าวว่า “กรรมยัง
ไม่ได้ทำ กรรมทำไม่ดี พึงทำใหม่ กรรมนั้นยังไม่ได้ตัดสิน กรรมนั้นตัดสินไม่ดี พึง
ตัดสินใหม่” ต้องอาบัติปาจิตตีย์

บทภาชนีย์
[๓๙๕] กรรมที่ทำถูกต้อง ภิกษุสำคัญว่าเป็นกรรมที่ทำถูกต้อง รื้อฟื้น ต้อง
อาบัติปาจิตตีย์
กรรมที่ทำถูกต้อง ภิกษุไม่แน่ใจ รื้อฟื้น ต้องอาบัติทุกกฏ
กรรมที่ทำถูกต้อง ภิกษุสำคัญว่าเป็นกรรมที่ทำไม่ถูกต้อง รื้อฟื้น ไม่ต้องอาบัติ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๕๐๗ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๗.สัปปาณกวรรค ๓.อุกโกฏนสิกขาบท อนาปัตติวาร
กรรมที่ทำไม่ถูกต้อง ภิกษุสำคัญว่าเป็นกรรมที่ทำถูกต้อง ต้องอาบัติทุกกฏ
กรรมที่ทำไม่ถูกต้อง ภิกษุไม่แน่ใจ ต้องอาบัติทุกกฏ
กรรมที่ทำไม่ถูกต้อง ภิกษุสำคัญว่าเป็นกรรมที่ทำไม่ถูกต้อง ไม่ต้องอาบัติ

อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[๓๙๖] ๑. ภิกษุรู้ว่า “กรรมนั้นทำไม่ถูกต้อง แยกกันทำหรือทำแก่ผู้ไม่ควร
แก่กรรม” จึงรื้อฟื้น
๒. ภิกษุวิกลจริต
๓. ภิกษุต้นบัญญัติ

อุกโกฏนสิกขาบทที่ ๓ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๕๐๘ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๗.สัปปาณกวรรค ๔.ทุฏฐุลลสิกขาบท นิทานวัตถุ
๗. สัปปาณกวรรค

๔. ทุฏฐุลลสิกขาบท
ว่าด้วยการปกปิดอาบัติชั่วหยาบ

เรื่องพระอุปนันทศากยบุตร
[๓๙๗] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น ท่านพระอุปนันทศากยบุตร
ต้อง อาบัติชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ๑ จึงบอกภิกษุสัทธิวิหาริกผู้เป็นพี่น้องกันว่า
“ท่าน ผมต้องอาบัติชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ท่านโปรดอย่าบอกใคร ๆ” ต่อมา
ภิกษุรูปหนึ่งก็ต้องอาบัติชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ได้ขอสงฆ์อยู่ปริวาสเพื่อ(จะออก
จาก)อาบัตินั้น สงฆ์ได้ให้ปริวาสเพื่อ(ออกจาก)อาบัตินั้นแก่ภิกษุนั้น ภิกษุผู้กำลัง
อยู่ปริวาสนั้นพบภิกษุนั้นจึงได้กล่าวดังนี้ว่า “ท่าน ผมต้องอาบัติชื่อสัญเจตนิกา
สุกกวิสัฏฐิ จึงได้ขอสงฆ์อยู่ปริวาส สงฆ์ได้ให้ผมอยู่ปริวาสเพื่อ(ออกจาก)อาบัติแล้ว
ผมกำลังอยู่ปริวาส ขอบอกให้ทราบ ท่านจงจำผมไว้ว่า ‘บอกให้ทราบแล้ว”
ภิกษุนั้นถามว่า “ภิกษุอื่นผู้ต้องอาบัตินี้ก็ต้องทำอย่างนี้หรือ”
ภิกษุผู้อยู่ปริวาสตอบว่า “ใช่ ต้องทำอย่างนี้”
ภิกษุนั้นกล่าวว่า “ท่านพระอุปนันทศากยบุตรนี้ต้องอาบัติชื่อสัญเจตนิกา
สุกกวิสัฏฐิ ได้บอกผมว่า ‘ท่าน ผมต้องอาบัติชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ท่านโปรด
อย่าบอกใคร ๆ”
ภิกษุผู้อยู่ปริวาสถามว่า “ท่านปกปิดอาบัติไว้หรือ”
ภิกษุนั้นตอบว่า “ใช่ ขอรับ”
ภิกษุผู้อยู่ปริวาสจึงบอกเรื่องนี้ให้ภิกษุทั้งหลายทราบ

เชิงอรรถ :
๑ คำว่า “สัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ” แปลว่า มีความจงใจ มีเจตนาทำนํ้าอสุจิให้เคลื่อน เป็นชื่อสังฆาทิเสส
สิกขาบทที่ ๑ (ดู พระวินัยปิฎแปล เล่ม ๑ ข้อ ๒๓๔ หน้า ๒๔๙-๒๕๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๕๐๙ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๗.สัปปาณกวรรค ๔.ทุฏฐุลลสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์
บรรดาภิกษุผู้มักน้อย ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉน
ภิกษุรู้อยู่ จึงปกปิดอาบัติชั่วหยาบของภิกษุเล่า” ครั้นภิกษุเหล่านั้นตำหนิภิกษุผู้
ปกปิดอาบัตินั้นโดยประการต่าง ๆ แล้วจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้
ทรงทราบ

ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามภิกษุผู้ปกปิดอาบัตินั้นว่า “ภิกษุ ทราบว่า เธอรู้อยู่ ยังปกปิดอาบัติชั่ว
หยาบของภิกษุจริงหรือ” ภิกษุนั้นทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาค
พุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “โมฆบุรุษ ไฉนเธอรู้อยู่ จึงปกปิดอาบัติชั่วหยาบของภิกษุเล่า
โมฆบุรุษ การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่
เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบท
นี้ขึ้นแสดงดังนี้

พระบัญญัติ
[๓๙๘] ก็ ภิกษุใดรู้อยู่ ปกปิดอาบัติชั่วหยาบของภิกษุ ต้องอาบัติปาจิตตีย์
เรื่องพระอุปนันทศากยบุตร จบ

สิกขาบทวิภังค์
[๓๙๙] คำว่า ก็...ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ก็...ใด
คำว่า ภิกษุ มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุ เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระ
ภาคทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุ ในความหมายนี้
คำว่า ของภิกษุ คือ ของภิกษุรูปอื่น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๕๑๐ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๗.สัปปาณกวรรค ๔.ทุฏฐุลลสิกขาบท บทภาชนีย์
ที่ชื่อว่า รู้อยู่ คือ ภิกษุรู้เอง คนเหล่าอื่นบอกภิกษุนั้น หรือภิกษุผู้ต้องอาบัติ
ชั่วหยาบนั้นบอก
ที่ชื่อว่า อาบัติชั่วหยาบ ได้แก่ อาบัติปาราชิก ๔ สิกขาบท และอาบัติ
สังฆาทิเสส ๑๓ สิกขาบท
คำว่า ปกปิด ความว่า เมื่อภิกษุคิดว่า “ภิกษุทั้งหลายรู้แล้วจะโจท จะ
ตักเตือน จะขู่ จะบังคับ จะทำให้เก้อเขิน เราจะไม่บอก” พอทอดธุระ ต้องอาบัติ
ปาจิตตีย์

บทภาชนีย์
[๔๐๐] อาบัติชั่วหยาบ ภิกษุสำคัญว่าเป็นอาบัติชั่วหยาบ ปกปิดไว้ ต้อง
อาบัติปาจิตตีย์
อาบัติชั่วหยาบ ภิกษุไม่แน่ใจ ปกปิดไว้ ต้องอาบัติทุกกฏ
อาบัติชั่วหยาบ ภิกษุสำคัญว่าเป็นอาบัติไม่ชั่วหยาบ ปกปิดไว้ ต้องอาบัติ
ทุกกฏ
ภิกษุปกปิดอาบัติไม่ชั่วหยาบ ต้องอาบัติทุกกฏ
ภิกษุปกปิดความประพฤติชั่วหยาบหรือไม่ชั่วหยาบของอนุปสัมบัน ต้อง
อาบัติทุกกฏ
อาบัติไม่ชั่วหยาบ ภิกษุสำคัญว่าเป็นอาบัติชั่วหยาบ ต้องอาบัติทุกกฏ
อาบัติไม่ชั่วหยาบ ภิกษุไม่แน่ใจ ต้องอาบัติทุกกฏ
อาบัติไม่ชั่วหยาบ ภิกษุสำคัญว่าเป็นอาบัติไม่ชั่วหยาบ ปกปิดไว้ ต้องอาบัติ
ทุกกฏ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๕๑๑ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๗.สัปปาณกวรรค ๔.ทุฏฐุลลสิกขาบท อนาปัตติวาร
อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[๔๐๑] ๑. ภิกษุคิดว่า “สงฆ์จะบาดหมาง จะทะเลาะ จะขัดแย้ง หรือจะ
วิวาทกัน” จึงไม่บอก
๒. ภิกษุคิดว่า “สงฆ์จะแตกแยก หรือจะร้าวราน” จึงไม่บอก
๓. ภิกษุคิดว่า “ผู้นี้กักขฬะ หยาบคาย จะทำอันตรายแก่ชีวิตหรือ
อันตรายแก่พรหมจรรย์” จึงไม่บอก
๔. ภิกษุไม่พบภิกษุเหล่าอื่นที่สมควรจึงไม่ได้บอก
๕. ภิกษุไม่ต้องการจะปกปิด แต่ยังไม่ได้บอก
๖. ภิกษุคิดว่า “เขาจักปรากฏด้วยกรรมของตนเอง” จึงไม่บอก
๗. ภิกษุวิกลจริต
๘. ภิกษุต้นบัญญัติ

ทุฏฐุลลสิกขาบทที่ ๔ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๕๑๒ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๗.สัปปาณกวรรค ๕.อูนวีสติวัสสสิกขาบท นิทานวัตถุ
๗. สัปปาณกวรรค

๕. อูนวีสติวัสสสิกขาบท
ว่าด้วยการอุปสมบทให้บุคคลมีอายุหย่อนกว่า ๒๐ ปี

เรื่องเด็กชายอุบาลี๑
[๔๐๒] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเวฬุวัน สถานที่
ให้เหยื่อกระแต เขตกรุงราชคฤห์ ครั้งนั้น ในกรุงราชคฤห์ มีเด็กชายผู้เป็นเพื่อนกัน
๑๗ คน เด็กชายอุบาลีเป็นหัวหน้าของเด็กเหล่านั้น ทีนั้น มารดาบิดาของเด็กชาย
อุบาลีได้ปรึกษากันดังนี้ว่า “เมื่อพวกเราล่วงลับไป เจ้าอุบาลีจะอยู่สุขสบายและไม่
ลำบากด้วยวิธีใดหนอ” ลำดับนั้น มารดาบิดาของเด็กชายอุบาลีได้ปรึกษากันอีกว่า
“ถ้าเจ้าอุบาลีเรียนเขียนหนังสือด้วยวิธีอย่างนี้ เมื่อพวกเราล่วงลับไป เจ้าอุบาลีจะ
อยู่สุขสบายและไม่ลำบาก” แต่ก็วิตกไปว่า “ถ้าเจ้าอุบาลีเรียนเขียนหนังสือ นิ้วมือจะ
ระบม ถ้าเจ้าอุบาลีเรียนวิชาคำนวณด้วยวิธีอย่างนี้ เมื่อพวกเราล่วงลับไป เจ้าอุบาลี
จะอยู่สุขสบายและไม่ลำบาก” และวิตกอีกว่า “ถ้าเจ้าอุบาลีเรียนวิชาคำนวณก็จะแน่น
หน้าอก ถ้าเจ้าอุบาลีเรียนวิชาเกี่ยวกับการเงิน๒ ด้วยวิธีอย่างนี้ เมื่อพวกเราล่วงลับ
ไป เจ้าอุบาลีจะอยู่สุขสบายและไม่ลำบาก” แต่ก็วิตกอีกว่า “ถ้าเจ้าอุบาลีเรียนวิชา
เกี่ยวกับการเงิน นัยน์ตาของเขาจะปวด พระสมณะเชื้อสายศากยบุตรเหล่านี้มี
ลักษณะนิสัยดี ประพฤติเรียบร้อย บริโภคอาหารดี นอนในห้องมิดชิด ถ้าเจ้าอุบาลี
ได้บวชในสำนักพระสมณะเชื้อสายศากยบุตรด้วยวิธีอย่างนี้ เมื่อพวกเราล่วงลับไป
เจ้าอุบาลีจะอยู่สุขสบายและไม่ลำบาก”

เด็กชายอุบาลีออกบวช
เด็กชายอุบาลีได้ยินคำสนทนาของมารดาบิดา ครั้นแล้วเด็กชายอุบาลีจึงได้ไป
หาพวกเด็ก ๆ ถึงที่พัก ครั้นถึงแล้วได้กล่าวกับพวกเด็ก ๆ เหล่านั้นดังนี้ว่า “เพื่อน
ทั้งหลาย มาเถิด พวกเราจะไปบวชในสำนักพระสมณะเชื้อสายศากยบุตร”

เชิงอรรถ :
๑ วิ.ม. ๔/๙๙/๑๑๑-๑๑๓
๒ เป็นวิชาการทำบัญชี แลกเปลี่ยนเงินตรา เป็นเหรัญญิก (วิ.อ. ๒/๔๐๒/๔๑๕, สารตฺถ.ฏีกา ๓/๔๐๒/๑๐๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๕๑๓ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๗.สัปปาณกวรรค ๕.อูนวีสติวัสสสิกขาบท นิทานวัตถุ
เด็กเหล่านั้นกล่าวว่า “เพื่อนเอ๋ย ถ้าเจ้าบวช พวกเราก็จะบวชเช่นกัน” ครั้น
แล้วเด็ก ๆ เหล่านั้นต่างคนต่างก็เข้าไปหามารดาบิดาของตน แล้วได้กล่าวขอ
อนุญาตดังนี้ว่า “พ่อแม่โปรดอนุญาตให้พวกลูก ๆ ออกจากเรือนไปบวชเป็น
อนาคาริกเถิด”
มารดาบิดาของเด็กเหล่านั้นอนุญาตด้วยคิดว่า “เด็กพวกนี้ต่างพร้อมใจ มี
ความปรารถนาสิ่งที่ดีงามทุกคน” พวกเด็กเหล่านั้นจึงเข้าไปหาภิกษุทั้งหลาย ขอ
บรรพชา ภิกษุทั้งหลายให้เด็กพวกนั้นบรรพชาอุปสมบทแล้ว
ครั้นเวลาใกล้รุ่งแห่งราตรี ภิกษุใหม่เหล่านั้นลุกขึ้นร้องไห้ว่า “ท่านทั้งหลาย
โปรดให้ข้าวต้ม โปรดให้ข้าวสวย โปรดให้ของเคี้ยว”
ภิกษุทั้งหลายกล่าวอย่างนี้ว่า “เธอทั้งหลายรอให้สว่างเสียก่อน ถ้ามีข้าวต้ม
พวกเธอจะได้ฉัน ถ้ามีข้าวสวย พวกเธอจะได้ฉัน ถ้ามีของเคี้ยว พวกเธอก็จะได้เคี้ยว
แต่ถ้าข้าวต้ม ข้าวสวย หรือของเคี้ยวไม่มี พวกเธอต้องเที่ยวบิณฑบาตมาฉัน”
ภิกษุใหม่เหล่านั้นอันภิกษุทั้งหลายกล่าวอยู่อย่างนี้ ก็ยังพากันร้องไห้ว่า
“ท่านทั้งหลายโปรดให้ข้าวต้ม โปรดให้ข้าวสวย โปรดให้ของเคี้ยวเถิด” พากันถ่าย
อุจจาระบ้าง ถ่ายปัสสาวะบ้าง รดเสนาสนะ
พระผู้มีพระภาคทรงตื่นบรรทมเวลาใกล้รุ่งแห่งราตรี ได้ทรงสดับเสียงเด็ก
ครั้นได้ทรงสดับแล้วจึงตรัสกับท่านพระอานนท์ว่า “อานนท์ เสียงเด็กร้องไห้เพราะ
สาเหตุใดหรือ”
ทีนั้น ท่านพระอานนท์ได้กราบทูลเรื่องนั้นให้พระผู้มีพระภาคทรงทราบ

ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า พวกภิกษุรู้อยู่ก็ยังอุปสมบทให้
บุคคลอายุหย่อนกว่า ๒๐ ปี จริงหรือ” ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ฯลฯ ภิกษุทั้งหลาย ไฉนโมฆบุรุษเหล่านั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๕๑๔ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๗.สัปปาณกวรรค ๕.อูนวีสติวัสสสิกขาบท พระบัญญัติ
รู้อยู่ก็ยังอุปสมบทให้บุคคลผู้มีอายุหย่อนกว่า ๒๐ ปีเล่า ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้มี
อายุหย่อนกว่า ๒๐ ปี ยังไม่อดทน ไม่อดกลั้นต่อความเย็น ความร้อน ความหิว
ความกระหาย สัมผัสจากเหลือบ ยุง ลม แดด สัตว์เลื้อยคลาน คำกล่าวร้าย คำที่
ฟังแล้วไม่ดี ความรู้สึกทางกายที่เกิดขึ้นเป็นทุกข์ แสนสาหัส รุนแรง เผ็ดร้อน ไม่น่า
ยินดี ไม่น่าพอใจ แทบจะคร่าชีวิต ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้มีอายุครบ ๒๐ ปี๑ จึงจะ
อดทน อดกลั้นต่อความเย็น ความร้อน ความหิว ความกระหาย สัมผัสจากเหลือบ
ยุง ลม แดด สัตว์เลื้อยคลาน คำกล่าวร้าย คำที่ฟังแล้วไม่ดี ความรู้สึกทางกายที่
เกิดขึ้นเป็นทุกข์ แสนสาหัส รุนแรง เผ็ดร้อน ไม่น่ายินดี ไม่น่าพอใจ แทบจะคร่าชีวิต
ได้ ภิกษุทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำ
คนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลาย
ยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้

พระบัญญัติ
[๔๐๓] ก็ ภิกษุใดรู้อยู่ อุปสมบทให้บุคคลผู้มีอายุหย่อนกว่า ๒๐ ปี บุคคล
นั้นไม่เป็นอันอุปสมบท และภิกษุเหล่านั้นควรถูกตำหนิ ภิกษุนั้นต้องอาบัติ
ปาจิตตีย์นี้๒
เรื่องเด็กชายอุบาลี จบ

เชิงอรรถ :
๑ ที่ชื่อว่า อายุครบ ๒๐ ปี นั้นกำหนดนับเอาตั้งแต่วันที่ถือปฏิสนธิ จิตดวงแรกเกิดในครรภ์มารดา (วิ.อ.
๒/๔๐๔/๔๑๕-๖)
๒ โส จ ปุคฺคโล อนุปสมฺปนฺโนติ ชานนฺเตนาปิ อชานนฺเตนาปิ อุปสมฺปาทิโต อนุปสมฺปนฺโนว. เต จ ภิกฺขู
คารยฺหาติ ฐเปตฺวา อุปชฺฌายํ อวเสสา คารยฺหา โหนฺติ, สพฺเพ ทุกฺกฏํ อาปชฺชติ. อิทํ ตสฺมึ ปาจิตฺติยนฺติ
โย ปน อุปชฺฌาโย หุตฺวา อุปสมฺปาเทติ, ตสฺมึเยว ปุคฺคเล อิทํ ปาจิตฺติยํ เวทิตพฺพํ
คำว่า “บุคคลนั้นไม่เป็นอันอุปสมบท” คือ ผู้ที่พระอุปัชฌาย์พร้อมการกสงฆ์ ซึ่งรู้อยู่ก็ดี ไม่รู้ก็ดี
อุปสมบทให้แล้ว ก็ไม่เป็นอันได้รับการอุปสมบทเลย คำว่า “และภิกษุเหล่านั้นควรได้รับการตำหนิ” คือ ยก
เว้นพระอุปัชฌาย์แล้ว ภิกษุที่เหลือสมควรถูกตำหนิ ทุกรูปต้องอาบัติทุกกฏ คำว่า “ภิกษุนั้นต้องอาบัติ
ปาจิตตีย์นี้” คือ ภิกษุรูปที่เป็นพระอุปัชฌาย์อุปสมบทให้นั่นแหละต้องอาบัติปาจิตตีย์ (กงฺขา.อ. ๒๘๙)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๕๑๕ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๗.สัปปาณกวรรค ๕.อูนวีสติวัสสสิกขาบท บทภาชนีย์
สิกขาบทวิภังค์
[๔๐๔] คำว่า ก็...ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ก็...ใด
คำว่า ภิกษุ มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุ เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระ
ภาคทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุ ในความหมายนี้
ที่ชื่อว่า รู้อยู่ ได้แก่ ภิกษุรู้เอง ผู้อื่นบอกให้ภิกษุนั้นรู้ หรือบุคคลผู้มีอายุไม่
ครบ ๒๐ ปีนั้นบอก
ที่ชื่อว่า มีอายุหย่อนกว่า ๒๐ ปี คือ ผู้มีอายุไม่ถึง ๒๐ ปี
ภิกษุตั้งใจว่า “จะอุปสมบทให้” แสวงหาคณะ อาจารย์ บาตร หรือจีวร
หรือสมมติสีมา ต้องอาบัติทุกกฏ จบญัตติ ต้องอาบัติทุกกฏ จบกรรมวาจา ๒
ครั้ง ต้องอาบัติทุกกฏ ๒ ตัว จบกรรมวาจาครั้งสุดท้าย พระอุปัชฌาย์ต้องอาบัติ
ปาจิตตีย์ คณะ และอาจารย์ต้องอาบัติทุกกฏ

บทภาชนีย์
[๔๐๕] บุคคลอายุหย่อนกว่า ๒๐ ปี ภิกษุสำคัญว่าอายุหย่อนกว่า ๒๐ ปี
อุปสมบทให้ ต้องอาบัติปาจิตตีย์
บุคคลอายุหย่อนกว่า ๒๐ ปี ภิกษุไม่แน่ใจ อุปสมบทให้ ต้องอาบัติทุกกฏ
บุคคลอายุหย่อนกว่า ๒๐ ปี ภิกษุสำคัญว่าอายุครบ ๒๐ ปี อุปสมบทให้
ไม่ต้องอาบัติ
บุคคลอายุครบ ๒๐ ปี ภิกษุสำคัญว่าอายุหย่อนกว่า ๒๐ ปี อุปสมบทให้
ต้องอาบัติทุกกฏ
บุคคลอายุครบ ๒๐ ปี ภิกษุไม่แน่ใจ อุปสมบทให้ ต้องอาบัติทุกกฏ
บุคคลอายุครบ ๒๐ ปี ภิกษุสำคัญว่าอายุครบ ๒๐ ปี อุปสมบทให้ ไม่
ต้องอาบัติ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๕๑๖ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๗.สัปปาณกวรรค ๕.อูนวีสติวัสสสิกขาบท อนาปัตติวาร
อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[๔๐๖] ๑. ภิกษุสำคัญบุคคลอายุหย่อนกว่า ๒๐ ปี ว่าอายุครบ ๒๐ ปี จึง
อุปสมบทให้
๒. ภิกษุสำคัญบุคคลอายุครบ ๒๐ ปี ว่าอายุครบ ๒๐ ปี จึง
อุปสมบทให้
๓. ภิกษุวิกลจริต
๔. ภิกษุต้นบัญญัติ

อูนวีสติวัสสสิกขาบทที่ ๕ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๕๑๗ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๗.สัปปาณกวรรค ๖.เถยยสัตถสิกขาบท นิทานวัตถุ
๗. สัปปาณกวรรค

๖. เถยยสัตถสิกขาบท
ว่าด้วยการเดินทางไกลร่วมกับพ่อค้าเกวียนผู้เป็นโจร

เรื่องภิกษุรูปหนึ่ง
[๔๐๗] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พ่อค้าเกวียนกลุ่มหนึ่งต้องการ
จะเดินทางจากกรุงราชคฤห์ไปถิ่นย้อนแสง๑ ภิกษุรูปหนึ่งได้กล่าวกับคนเหล่านั้น
ดังนี้ว่า “อาตมาจะเดินทางร่วมไปกับพวกท่าน”
พวกพ่อค้าเกวียนกล่าวว่า “พระคุณเจ้า พวกกระผมจะเลี่ยงภาษีขอรับ”
เจ้าหน้าที่เก็บภาษีทราบข่าวว่า “พวกพ่อค้าเกวียนจะเลี่ยงภาษี” จึงดักซุ่มใน
หนทาง ครั้นเจ้าหน้าที่เก็บภาษีจับพวกพ่อค้าเกวียนหมู่นั้น ริบของแล้วได้กล่าวกับ
ภิกษุนั้นว่า “พระคุณเจ้า ท่านรู้อยู่ เหตุไรจึงเดินทางร่วมกันกับกลุ่มพ่อค้าเกวียนผู้
เป็นโจรเล่า” ไต่สวนแล้วปล่อยไป ครั้นภิกษุนั้นไปถึงกรุงสาวัตถีจึงแจ้งเรื่องนี้ให้ภิกษุ
ทั้งหลายทราบ
บรรดาภิกษุผู้มักน้อย ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉน
ภิกษุรู้อยู่จึงชักชวนกันเดินทางไกลร่วมกันกับกลุ่มพ่อค้าเกวียนผู้เป็นโจรเล่า” ครั้น
ภิกษุทั้งหลายตำหนิภิกษุนั้นโดยประการต่าง ๆ แล้วจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มี
พระภาคให้ทรงทราบ

เชิงอรรถ :
๑ ปฏิยาโลกํ ถิ่นย้อนแสง สูริยาโลกํ ปฏิมุขํ คือ ย้อนแสงตะวัน ปจฺฉิมทิสํ ได้แก่ ทิศตะวันตก (วิ.อ.
๒/ ๔๐๗/๔๑๗) พระวินัยปิฎกฉบับ “PALI TEXT SOCIETY” แปลว่า ถิ่นที่อยู่ทางทิศใต้กรุงราชคฤห์(The
Book of the Discipline, Vol. III, P. 15.)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๕๑๘ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๗.สัปปาณกวรรค ๖.เถยยสัตถสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์
ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามภิกษุนั้นว่า “ภิกษุ ทราบว่า เธอรู้อยู่ชักชวนกันเดินทางไกลร่วมกันกับ
กลุ่มพ่อค้าเกวียนผู้เป็นโจร จริงหรือ” ภิกษุนั้นทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ฯลฯ โมฆบุรุษ ไฉนเธอรู้อยู่ยังชักชวนกัน
เดินทางไกลร่วมกันกับกลุ่มพ่อค้าเกวียนผู้เป็นโจรเล่า โมฆบุรุษ การกระทำอย่างนี้
มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย
ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้

พระบัญญัติ
[๔๐๘] ก็ ภิกษุใดรู้อยู่ ชักชวนกันเดินทางไกลร่วมกันกับกลุ่มพ่อค้าเกวียน
ผู้เป็นโจร โดยที่สุดแม้ชั่วละแวกหมู่บ้านหนึ่ง ต้องอาบัติปาจิตตีย์
เรื่องภิกษุรูปหนึ่ง จบ

สิกขาบทวิภังค์
[๔๐๙] คำว่า ก็...ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ก็...ใด
คำว่า ภิกษุ มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุ เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระ
ภาคทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุ ในความหมายนี้
ที่ชื่อว่า รู้อยู่ ได้แก่ ภิกษุรู้เอง คนเหล่าอื่นบอกภิกษุนั้น
ที่ชื่อว่า กลุ่มพ่อค้าเกวียนผู้เป็นโจร ได้แก่ พวกโจรผู้เคยทำการปล้นแล้ว
หรือยังไม่เคยทำการปล้น ผู้ลักของหลวงหรือเลี่ยงภาษี
คำว่า กับ คือ โดยความเป็นอันเดียวกัน
คำว่า ชักชวนกัน คือ ชักชวนว่า “พวกเราไปกันเถิด ท่าน พวกเราไปกัน
เถิด ท่านผู้เจริญ ไปกันเถิด ท่านผู้เจริญ พวกเราไปกันเถิด ท่าน พวกเราจะไปวันนี้
พรุ่งนี้ หรือมะรืนนี้” ต้องอาบัติทุกกฏ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๕๑๙ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๗.สัปปาณกวรรค ๖.เถยยสัตถสิกขาบท อนาปัตติวาร
คำว่า โดยที่สุดแม้ชั่วละแวกหมู่บ้านหนึ่ง คือ หมู่บ้านหนึ่งกำหนดชั่วไก่
บินตก ภิกษุต้องอาบัติปาจิตตีย์ทุก ๆ ละแวกหมู่บ้าน ในป่าที่ไม่มีหมู่บ้าน ภิกษุ
ต้องอาบัติปาจิตตีย์ทุก ๆ ระยะกึ่งโยชน์

บทภาชนีย์
[๔๑๐] กลุ่มพ่อค้าเกวียนผู้เป็นโจร ภิกษุสำคัญว่าเป็นกลุ่มพ่อค้าเกวียนผู้
เป็นโจร ชักชวนกันเดินทางไกลร่วมกันโดยที่สุดแม้ชั่วละแวกหมู่บ้านหนึ่ง ต้องอาบัติ
ปาจิตตีย์
กลุ่มพ่อค้าเกวียนผู้เป็นโจร ภิกษุไม่แน่ใจ ชักชวนกันเดินทางไกลร่วมกันโดย
ที่สุดแม้ชั่วละแวกหมู่บ้านหนึ่ง ต้องอาบัติทุกกฏ
กลุ่มพ่อค้าเกวียนผู้เป็นโจร ภิกษุสำคัญว่าไม่ใช่กลุ่มพ่อค้าเกวียนผู้เป็นโจร ชัก
ชวนกันเดินทางไกลร่วมกันโดยที่สุดแม้ชั่วละแวกหมู่บ้านหนึ่ง ไม่ต้องอาบัติ
ภิกษุชักชวน คนทั้งหลายไม่ได้ชักชวน ภิกษุต้องอาบัติทุกกฏ
ไม่ใช่กลุ่มพ่อค้าเกวียนผู้เป็นโจร ภิกษุสำคัญว่ากลุ่มพ่อค้าเกวียนผู้เป็นโจร
ต้องอาบัติทุกกฏ
ไม่ใช่กลุ่มพ่อค้าเกวียนผู้เป็นโจร ภิกษุไม่แน่ใจ ต้องอาบัติทุกกฏ
ไม่ใช่กลุ่มพ่อค้าเกวียนผู้เป็นโจร ภิกษุสำคัญว่าไม่ใช่กลุ่มพ่อค้าเกวียนผู้เป็น
โจร ไม่ต้องอาบัติ

อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[๔๑๑] ๑. ภิกษุเดินทางโดยไม่ได้ชักชวน
๒. คนทั้งหลายชักชวน แต่ภิกษุไม่ได้ชักชวน
๓. ภิกษุไปผิดเวลานัดหมาย
๔. ภิกษุผู้เดินทางกับพ่อค้าเกวียนผู้เป็นโจรในคราวมีเหตุขัดข้อง
๕. ภิกษุวิกลจริต
๖. ภิกษุต้นบัญญัติ

เถยยสัตถสิกขาบทที่ ๖ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๕๒๐ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๗.สัปปาณกวรรค ๗.สังวิธานสิกขาบท นิทานวัตถุ
๗. สัปปาณกวรรค

๗. สังวิธานสิกขาบท
ว่าด้วยการชักชวนเดินทางไกลร่วมกับมาตุคาม

เรื่องภิกษุรูปหนึ่ง
[๔๑๒] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุรูปหนึ่งเดินทางไปกรุงสาวัตถี
ในแคว้นโกศล ผ่านทางประตูหมู่บ้านแห่งหนึ่ง หญิงคนหนึ่งทะเลาะกับสามี ออก
จากหมู่บ้านพบภิกษุนั้นแล้วได้กล่าวดังนี้ว่า “พระคุณเจ้าผู้เจริญจะไปไหน”
ภิกษุนั้นตอบว่า “น้องหญิง อาตมาจะไปกรุงสาวัตถี”
หญิงนั้นกล่าวว่า “ดิฉันขอเดินทางไปกับพระคุณเจ้าด้วย”
ภิกษุนั้นกล่าวว่า “ไปเถิด น้องหญิง”
ครั้งนั้น สามีของหญิงนั้นออกจากบ้านแล้วถามพวกชาวบ้านว่า “เจ้านาย
พวกท่านเห็นหญิงรูปร่างอย่างนี้บ้างไหม”
พวกชาวบ้านตอบว่า “นาย หญิงรูปร่างอย่างนั้นเดินทางไปกับบรรพชิต”
ลำดับนั้น ชายคนนั้นได้ติดตามไปจับภิกษุนั้นได้ทุบตีแล้วปล่อยไป ครั้งนั้น
ภิกษุนั้นนั่งบ่นอยู่ที่โคนต้นไม้แห่งหนึ่ง
ทีนั้น หญิงนั้นได้กล่าวกับสามีดังนี้ว่า “นาย ภิกษุนั้นไม่ได้พาดิฉันไป ดิฉัน
เองเป็นฝ่ายไปกับภิกษุนั้น ภิกษุนั้นไม่ใช่ตัวการ ท่านจงไปขอขมาภิกษุนั้น”
ครั้งนั้น ชายคนนั้นได้ไปขอขมาภิกษุนั้น
ครั้นภิกษุนั้นไปถึงกรุงสาวัตถีแล้วจึงเล่าเรื่องนั้นให้ภิกษุทั้งหลายทราบ
บรรดาภิกษุผู้มักน้อย ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนภิกษุ
จึงชักชวนกันเดินทางไกลร่วมกันกับมาตุคามเล่า” ครั้นภิกษุทั้งหลายตำหนิภิกษุนั้น
โดยประการต่าง ๆ แล้วจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๕๒๑ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๗.สัปปาณกวรรค ๗.สังวิธานสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์
ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามภิกษุนั้นว่า “ภิกษุ ทราบว่า เธอชักชวนกันเดินทางไกลร่วมกันกับมาตุคาม
จริงหรือ” ภิกษุนั้นทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรง
ตำหนิว่า “ฯลฯ โมฆบุรุษ ไฉนเธอจึงชักชวนกันเดินทางไกลร่วมกันกับมาตุคาม
เล่า โมฆบุรุษ การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่
เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบท
นี้ขึ้นแสดงดังนี้”

พระบัญญัติ
[๔๑๓] ก็ ภิกษุใดชักชวนกันเดินทางไกลร่วมกันกับมาตุคาม โดยที่สุดแม้
ชั่วละแวกหมู่บ้านหนึ่ง ต้องอาบัติปาจิตตีย์
เรื่องภิกษุรูปหนึ่ง จบ

สิกขาบทวิภังค์
[๔๑๔] คำว่า ก็...ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ก็...ใด
คำว่า ภิกษุ มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุ เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระ
ภาคทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุ ในความหมายนี้
ที่ชื่อว่า มาตุคาม ได้แก่ หญิงมนุษย์ ไม่ใช่นางยักษ์ ไม่ใช่นางเปรต ไม่ใช่
สัตว์ดิรัจฉานตัวเมีย แต่เป็นหญิงที่รู้เดียงสา สามารถรับรู้ถ้อยคำสุภาษิต ทุพภาษิต
คำหยาบและคำสุภาพ
คำว่า กับ คือ โดยความเป็นอันเดียวกัน
คำว่า ชักชวนกัน คือ ชักชวนว่า “พวกเราไปกันเถิด น้องหญิง พวกเรา
ไปกันเถิด พระคุณเจ้า ไปกันเถิด พระคุณเจ้า พวกเราไปกันเถิด น้องหญิง พวก
เราจะไปวันนี้ พรุ่งนี้ หรือมะรืนนี้” ต้องอาบัติทุกกฏ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๕๒๒ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๗.สัปปาณกวรรค ๗.สังวิธานสิกขาบท บทภาชนีย์
คำว่า โดยที่สุดแม้ชั่วละแวกหมู่บ้านหนึ่ง คือ หมู่บ้านหนึ่งกำหนดชั่วไก่
บินตก ภิกษุต้องอาบัติปาจิตตีย์ทุก ๆ ละแวกหมู่บ้าน ในป่าที่ไม่มีหมู่บ้าน ภิกษุต้อง
อาบัติปาจิตตีย์ทุก ๆ ระยะกึ่งโยชน์

บทภาชนีย์
ติกปาจิตตีย์
[๔๑๕] มาตุคาม ภิกษุสำคัญว่าเป็นมาตุคาม ชักชวนกันเดินทางไกลร่วมกัน
โดยที่สุดแม้ชั่วละแวกหมู่บ้านหนึ่ง ต้องอาบัติปาจิตตีย์
มาตุคาม ภิกษุไม่แน่ใจ ชักชวนกันเดินทางไกลร่วมกันโดยที่สุดแม้ชั่วละแวก
หมู่บ้านหนึ่ง ต้องอาบัติปาจิตตีย์
มาตุคาม ภิกษุสำคัญว่าไม่ใช่มาตุคาม ชักชวนกันเดินทางไกลร่วมกันโดย
ที่สุดแม้ชั่วละแวกหมู่บ้านหนึ่ง ต้องอาบัติปาจิตตีย์

ทุกกฏ
ภิกษุชักชวน มาตุคามไม่ได้ชักชวน ภิกษุต้องอาบัติทุกกฏ
ภิกษุชักชวนกันเดินทางไกลร่วมกันกับนางยักษ์ นางเปรต บัณเฑาะก์ หรือ
สัตว์ดิรัจฉานมีกายเป็นมนุษย์ผู้หญิง โดยที่สุดแม้ชั่วละแวกหมู่บ้านหนึ่ง ต้องอาบัติ
ทุกกฏ
ไม่ใช่มาตุคาม ภิกษุสำคัญว่าเป็นมาตุคาม ต้องอาบัติทุกกฏ
ไม่ใช่มาตุคาม ภิกษุไม่แน่ใจ ต้องอาบัติทุกกฏ
ไม่ใช่มาตุคาม ภิกษุสำคัญว่าไม่ใช่มาตุคาม ไม่ต้องอาบัติ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๕๒๓ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๗.สัปปาณกวรรค ๗.สังวิธานสิกขาบ อนาปัตติวาร
อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[๔๑๖] ๑. ภิกษุเดินทางโดยไม่ได้ชักชวน
๒. มาตุคามชักชวน แต่ภิกษุไม่ได้ชักชวน
๓. ภิกษุไปผิดเวลานัดหมาย
๔. ภิกษุผู้เดินทางกับมาตุคามในคราวมีเหตุขัดข้อง
๕. ภิกษุวิกลจริต
๖. ภิกษุต้นบัญญัติ

สังวิธานสิกขาบทที่ ๗ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๕๒๔ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๗.สัปปาณกวรรค ๘.อริฏฐสิกขาบท นิทานวัตถุ
๗. สัปปาณกวรรค

๘. อริฏฐสิกขาบท
ว่าด้วยพระอริฏฐะกล่าวตู่พระผู้มีพระภาค

เรื่องพระอริฏฐะ
[๔๑๗] ๑สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น ทิฏฐิบาปเช่นนี้ได้เกิดขึ้นแก่พระ
อริฏฐะ ผู้มีบรรพบุรุษเป็นพรานฆ่านกแร้ง๒ ว่า “เรารู้ทั่วถึงธรรมที่พระผู้มีพระภาค
ทรงแสดงแล้วจนกระทั่งว่าธรรมตามที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่าเป็นธรรมก่ออันตราย
ก็หาสามารถก่ออันตรายแก่ผู้ซ่องเสพได้จริงไม่”๓
ภิกษุหลายรูปได้ทราบข่าวว่า “ทิฏฐิบาปเช่นนี้ได้เกิดขึ้นแก่พระอริฏฐะผู้มี
บรรพบุรุษเป็นพรานฆ่านกแร้งว่า เรารู้ทั่วถึงธรรมที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงแล้ว
จนกระทั่งว่าธรรมตามที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่าเป็นธรรมก่ออันตรายก็หาสามารถ

เชิงอรรถ :
๑ วิ.จูฬ. ๖/๖๕/๘๒-๔, ม.มู. ๑๒/๒๓๔/๑๙๖-๑๙๙
๒ คทฺธาธิปุพฺโพ ผู้มีบรรพบุรุษเป็นพรานฆ่านกแร้ง อรรถกถาอธิบายว่า คทฺเธ พาธยึสูติ คทฺธพาธิโน,
คทฺธพาธิโน ปุพฺพปุริสา อสฺสาติ คทฺธพาธิปุพฺโพ. ...คิชฺฌฆาฏกกุลปฺปสูตสฺส พรานฆ่านกแร้งเป็นบรรพ
บุรุษของเขา เหตุนั้น เขาจึงชื่อว่าเป็นผู้มีบรรพบุรุษเป็นพรานฆ่านกแร้ง หมายความว่า เป็นคนเกิดใน
ตระกูลพรานฆ่านกแร้ง (วิ.อ. ๒/๔๑๗/๔๑๘)
๓ พระอริฏฐะ รูปนี้เป็นพหูสูต เป็นธรรมกถึก รู้แต่อันตรายิกธรรมบางส่วน เพราะเหตุที่ท่านไม่ฉลาดเรื่อง
วินัย จึงไม่รู้เรื่องอันตรายิกธรรมแห่งการล่วงละเมิดพระวินัยบัญญัติ ดังนั้น ครั้งที่ท่านอยู่ในที่หลีกเร้นจึง
ได้เกิดความคิดอย่างนี้ว่า พวกคฤหัสถ์ที่ยุ่งกี่ยวอยู่กับกามคุณ ที่เป็นโสดาบันก็มี เป็นสกทาคามีก็มี เป็น
อนาคามีก็มี ส่วนพวกภิกษุก็ยังเห็นรูปที่จะพึงรู้ด้วยจักษุ ฯลฯ ยังถูกต้องสิ่งสัมผัสที่จะพึงรู้ด้วยกาย ยังใช้
สอยผ้าปูผ้าห่มอ่อนนุ่ม สิ่งนี้ทั้งหมดถือว่าควร ทำไมรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัสของหญิงจะไม่ควร สิ่ง
เหล่านั้นต้องควรแน่นอน ท่านเกิดทิฏฐิบาปขึ้นมาแล้ว ขัดแย้งกับพระสัพพัญุตญาณว่า “ทำไมพระผู้มี
พระผู้มีพระภาคจึงบัญญัติปฐมปาราชิกอย่างกวดขัน ประดุจกั้นมหาสมุทรฉะนั้น ในข้อนี้ไม่มีโทษ” ตัด
ความหวังของเหล่าภัพพบุคคล คัดค้านพระเวสารัชญาณ ใส่ตอและหนามในอริยมรรค ประหารอาณาจักร
ของพระชินเจ้าด้วยกล่าวว่า “เมถุนธรรม ไม่มีโทษ” (วิ.อ. ๒/๔๑๗/๔๑๘-๔๑๙, ม.มู.อ. ๒/๒๓๔/๙-๑๐)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๕๒๕ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๗.สัปปาณกวรรค ๘.อริฏฐสิกขาบท นิทานวัตถุ
ก่ออันตรายแก่ผู้ซ่องเสพได้จริงไม่” ครั้นแล้วภิกษุเหล่านั้นจึงเข้าไปหาพระอริฏฐะผู้
มีบรรพบุรุษเป็นพรานฆ่านกแร้งถึงที่อยู่ ครั้นถึงแล้วได้กล่าวกับพระอริฏฐะผู้มีบรรพ
บุรุษเป็นพรานฆ่านกแร้งดังนี้ว่า “ท่านอริฏฐะ ได้ทราบว่า ทิฏฐิบาปเช่นนี้ได้เกิดขึ้น
แก่ท่านว่า ‘เรารู้ทั่วถึงธรรมที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงแล้วจนกระทั่งว่าธรรมตามที่
พระผู้มีพระภาคตรัสว่าเป็นธรรมก่ออันตรายก็หาสามารถก่ออันตรายแก่ผู้ซ่องเสพ
ได้จริงไม่’ จริงหรือ”
พระอริฏฐะผู้มีบรรพบุรุษเป็นพรานฆ่านกแร้งกล่าวว่า “เหมือนจะเป็นอย่างนั้น
ท่านทั้งหลาย เรารู้ทั่วถึงธรรมที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงแล้วจนกระทั่งว่าธรรม
ตามที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่าเป็นธรรมก่ออันตรายก็หาสามารถก่ออันตรายแก่ผู้
ซ่องเสพได้จริงไม่”
ภิกษุทั้งหลายได้กล่าวว่า “ท่านอริฏฐะ ท่านอย่าได้กล่าวอย่างนี้ อย่ากล่าวตู่
พระผู้มีพระภาค การกล่าวตู่พระผู้มีพระภาคไม่ดีเลย เพราะพระผู้มีพระภาคไม่ได้
ตรัสอย่างนั้น ท่านอริฏฐะ พระผู้มีพระภาคตรัสธรรมที่ก่ออันตรายว่าเป็นธรรมก่อ
อันตรายไว้โดยประการต่าง ๆ และธรรมเหล่านั้นก็สามารถก่ออันตรายให้แก่ผู้ซ่อง
เสพได้จริง พระผู้มีพระภาคตรัสว่ากามทั้งหลายมีความยินดีน้อย มีทุกข์มาก มี
ความคับแค้นมาก ในกามนี้มีโทษอย่างยิ่ง พระผู้มีพระภาคตรัสว่ากามทั้งหลาย
เปรียบเหมือนร่างโครงกระดูก มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก ในกามนี้มีโทษอย่าง
ยิ่ง พระผู้มีพระภาคตรัสว่ากามทั้งหลายเปรียบเหมือนชิ้นเนื้อ ฯลฯ พระผู้มีพระภาค
ตรัสว่ากามทั้งหลายเปรียบเหมือนคบเพลิงหญ้า ฯลฯ พระผู้มีพระภาคตรัสว่ากาม
ทั้งหลายเปรียบเหมือนหลุมถ่านเพลิง ฯลฯ พระผู้มีพระภาคตรัสว่ากามทั้งหลาย
เปรียบเหมือนความฝัน ฯลฯ พระผู้มีพระภาคตรัสว่ากามทั้งหลายเปรียบเหมือน
ของที่ยืมมา ฯลฯ พระผู้มีพระภาคตรัสว่ากามทั้งหลายเปรียบเหมือนผลไม้คาต้น๑

เชิงอรรถ :
๑ วิสรุกฺขผลูปมา สพฺพงฺคปจฺจงฺคปลิภฺชนฏฺเŸน เปรียบเหมือนผลไม้มีพิษ เพราะบั่นทอนร่างกาย
(ม.มู.อ. ๒/๒๓๔/๑๐)
อีกนัยหนึ่ง คนที่ต้องการผลไม้ เที่ยวแสวงหาผลไม้ เมื่อพบต้นไม้ผลดกจึงปีนขึ้นไปเก็บกิน เก็บใส่ห่อ
อีกคนหนึ่งก็ต้องการผลไม้เช่นกัน เที่ยวแสวงหา พบเห็นต้นไม้ผลดกต้นเดียวกันนั้น แต่แทนที่จะปีนขึ้น
ไปเก็บผลไม้กิน กลับเอาขวานตัดต้นไม้ผลดกนั้นในขณะที่คนแรกยังอยู่บนต้นไม้ อันตรายจึงเกิดขึ้นแก่
เขา (ดู ม.ม. ๑๓/๔๘/๓๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๕๒๖ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๗.สัปปาณกวรรค ๘.อริฏฐสิกขาบท นิทานวัตถุ
ฯลฯ พระผู้มีพระภาคตรัสว่ากามทั้งหลายเปรียบเหมือนเขียงหั่นเนื้อ ฯลฯ พระ
ผู้มีพระภาคตรัสว่ากามทั้งหลายเปรียบเหมือนหอกหลาว ฯลฯ พระผู้มีพระภาค
ตรัสว่ากามทั้งหลายเปรียบเหมือนหัวงู มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก ในกามนี้มี
โทษอย่างยิ่ง”
พระอริฏฐะถูกภิกษุเหล่านั้นตักเตือนแต่ก็ยังกล่าวด้วยความยึดมั่นถือมั่นทิฏฐิ
บาปนั้นอยู่อย่างนั้นว่า “เหมือนจะเป็นอย่างนั้น ท่านทั้งหลาย เรารู้ทั่วถึงธรรมที่
พระผู้มีพระภาคทรงแสดงแล้จนกระทั่งว่าธรรมตามที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่าเป็นธรรม
ก่ออันตรายก็หาสามารถก่ออันตรายแก่ผู้ซ่องเสพได้จริงไม่”
ภิกษุเหล่านั้นไม่อาจจะปลดเปลื้องพระอริฏฐะผู้มีบรรพบุรุษเป็นพรานฆ่านก
แร้งจากทิฏฐิบาปนั้นได้ ครั้นแล้วภิกษุทั้งหลายจึงพากันเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค
ถึงที่ประทับ ครั้นถึงแล้วจึงกราบทูลเรื่องนี้ให้พระผู้มีพระภาคทรงทราบ

ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามพระอริฏฐะว่า “อริฏฐะ ทราบว่า ทิฏฐิบาปเช่นนี้ได้เกิดขึ้นแก่เธอว่า ‘เรารู้
ทั่วถึงธรรมที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงแล้วจนกระทั่งว่าธรรมตามที่พระผู้มีพระภาค
ตรัสว่าเป็นธรรมก่ออันตรายก็หาสามารถก่ออันตรายแก่ผู้ซ่องเสพได้จริงไม่’ จริง
หรือ” พระอริฏฐะทูลรับว่า “เหมือนจะเป็นอย่างนั้นพระพุทธเจ้าข้า ข้าพระองค์รู้ทั่ว
ถึงธรรมที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงแล้วจนกระทั่งว่าธรรมตามที่พระผู้มีพระภาค
ตรัสว่าเป็นธรรมก่ออันตรายก็หาสามารถก่ออันตรายแก่ผู้ซ่องเสพได้จริงไม่”
พระผู้มีพระภาคทรงตำหนิว่า “โมฆบุรุษ เธอรู้ทั่วถึงธรรมที่เราแสดงแล้วได้
อย่างไร โมฆบุรุษ เรากล่าวธรรมที่ก่ออันตรายว่าเป็นธรรมก่ออันตรายไว้โดยประการ
ต่าง ๆ และธรรมเหล่านั้นก็สามารถก่ออันตรายให้แก่ผู้ซ่องเสพได้จริง มิใช่หรือ เรา
กล่าวว่ากามทั้งหลายมีความยินดีน้อย มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก ในกามนี้
มีโทษอย่างยิ่ง เรากล่าวว่ากามทั้งหลายเปรียบเหมือนร่างโครงกระดูก มีทุกข์มาก
มีความคับแค้นมาก ในกามนี้มีโทษอย่างยิ่ง เรากล่าวว่ากามทั้งหลายเปรียบเหมือน


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๕๒๗ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๗.สัปปาณกวรรค ๘.อริฏฐสิกขาบท พระบัญญัติ
ชิ้นเนื้อ ฯลฯ เรากล่าวว่ากามทั้งหลายเปรียบเหมือนคบเพลิงหญ้า ฯลฯ เรากล่าว
ว่ากามทั้งหลายเปรียบเหมือนหลุมถ่านเพลิง ฯลฯ เรากล่าวว่ากามทั้งหลายเปรียบ
เหมือนความฝัน ฯลฯ เรากล่าวว่ากามทั้งหลายเปรียบเหมือนของที่ยืมมา ฯลฯ เรา
กล่าวว่ากามทั้งหลายเปรียบเหมือนผลไม้คาต้น ฯลฯ เรากล่าวว่ากามทั้งหลาย
เปรียบเหมือนเขียงหั่นเนื้อ ฯลฯ เรากล่าวว่ากามทั้งหลายเปรียบเหมือนหอกหลาว
ฯลฯ เรากล่าวว่ากามทั้งหลายเปรียบเหมือนหัวงู มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก
ในกามนี้มีโทษอย่างยิ่ง โมฆบุรุษ ก็เมื่อเป็นเช่นนี้ เธอชื่อว่ากล่าวตู่เราด้วยทิฏฐิที่ยึด
ถือไว้ผิด ชื่อว่าทำลายตนเองและชื่อว่าประสบสิ่งมิใช่บุญเป็นอันมาก โมฆบุรุษ ข้อ
นั้นจักเป็นไปเพื่อความไม่เกื้อกูล เพื่อความทุกข์แก่เธอตลอดกาลนาน โมฆบุรุษ การ
กระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้
เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ” แล้วจึงสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้

พระบัญญัติ
[๔๑๘] ก็ ภิกษุใดกล่าวอย่างนี้ว่า “เรารู้ทั่วถึงธรรมที่พระผู้มีพระภาคทรง
แสดงแล้วจนกระทั่งว่าธรรมตามที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่าเป็นธรรมก่ออันตราย
ก็หาสามารถก่ออันตรายแก่ผู้ซ่องเสพได้จริงไม่” ภิกษุนั้นอันภิกษุทั้งหลายพึง
ว่ากล่าวตักเตือนอย่างนี้ว่า “ท่านอย่าได้กล่าวอย่างนี้ อย่ากล่าวตู่พระผู้มีพระภาค
การกล่าวตู่พระผู้มีพระภาคไม่ดีเลย เพราะพระผู้มีพระภาคไม่ได้ตรัสอย่างนั้น
ท่าน พระผู้มีพระภาคตรัสธรรมที่ก่ออันตรายว่าเป็นธรรมก่ออันตรายไว้โดย
ประการต่างๆ และธรรมเหล่านั้นก็สามารถก่ออันตรายแก่ผู้ซ่องเสพได้จริง”
ภิกษุนั้นอันภิกษุทั้งหลายว่ากล่าวตักเตือนอยู่อย่างนี้ ก็ยังยืนยันอยู่อย่างนั้น
ภิกษุนั้นอันภิกษุทั้งหลายพึงสวดสมนุภาสน์จนครบ ๓ ครั้ง เพื่อให้สละทิฏฐินั้น
ถ้าเธอกำลังถูกสวดสมนุภาสน์กว่าจะครบ ๓ ครั้ง สละทิฏฐินั้นได้ นั่นเป็นการดี
ถ้าไม่สละ ต้องอาบัติปาจิตตีย์

เรื่องพระอริฏฐะ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๕๒๘ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๗.สัปปาณกวรรค ๘.อริฏฐสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์
สิกขาบทวิภังค์
[๔๑๙] คำว่า ก็...ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ก็...ใด
คำว่า ภิกษุ มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุ เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มี
พระภาคทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุ ในความหมายนี้
คำว่า กล่าวอย่างนี้ ความว่า ภิกษุกล่าวว่า “เรารู้ทั่วถึงธรรมที่พระผู้มีพระ
ภาคทรงแสดงแล้วจนกระทั่งว่าธรรมตามที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่าเป็นธรรมก่อ
อันตรายก็หาสามารถก่ออันตรายแก่ผู้ซ่องเสพได้จริงไม่”
คำว่า ภิกษุนั้น ได้แก่ ภิกษุผู้กล่าวอย่างนั้น
คำว่า อันภิกษุทั้งหลาย ได้แก่ อันภิกษุเหล่าอื่น
พวกภิกษุที่ได้เห็น ได้ยิน พึงว่ากล่าวตักเตือนภิกษุนั้นว่า “ท่านอย่าได้กล่าว
อย่างนี้ อย่ากล่าวตู่พระผู้มีพระภาค การกล่าวตู่พระผู้มีพระภาคไม่ดีเลย เพราะพระ
ผู้มีพระภาคไม่ได้ตรัสอย่างนั้น ท่าน พระผู้มีพระภาคตรัสธรรมที่ก่ออันตรายว่าเป็น
ธรรมก่ออันตรายไว้โดยประการต่าง ๆ และธรรมเหล่านั้นก็สามารถก่ออันตรายแก่ผู้
ซ่องเสพได้จริง” พึงว่ากล่าวตักเตือนเธอแม้ครั้งที่ ๒ พึงว่ากล่าวตักเตือนเธอแม้
ครั้งที่ ๓ ถ้าภิกษุนั้นสละได้ นั่นเป็นการดี ถ้าไม่สละ ต้องอาบัติทุกกฏ
ภิกษุทั้งหลายทราบเรื่องแล้วไม่ตักเตือน ต้องอาบัติทุกกฏ
ภิกษุทั้งหลายพึงนำตัวภิกษุนั้นมาท่ามกลางสงฆ์แล้วว่ากล่าวตักเตือนว่า
“ท่านอย่าได้กล่าวอย่างนี้ อย่ากล่าวตู่พระผู้มีพระภาค การกล่าวตู่พระผู้มีพระภาค
ไม่ดีเลย เพราะพระผู้มีพระภาคไม่ได้ตรัสอย่างนั้น ท่าน พระผู้มีพระภาคตรัสธรรม
ที่ก่ออันตรายว่าเป็นธรรมก่ออันตรายไว้โดยประการต่าง ๆ และธรรมเหล่านั้นก็
สามารถก่ออันตรายให้แก่ผู้ซ่องเสพได้จริง” พึงว่ากล่าวตักเตือนเธอแม้ครั้งที่ ๒ พึง
ว่ากล่าวตักเตือนเธอแม้ครั้งที่ ๓ ถ้าภิกษุนั้นสละได้ นั่นเป็นการดี ถ้าไม่สละ ต้อง
อาบัติทุกกฏ ภิกษุทั้งหลายพึงสวดสมนุภาสน์ภิกษุนั้น


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๕๒๙ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๗.สัปปาณกวรรค ๘.อริฏฐสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์
วิธีสวดสมนุภาสน์และกรรมวาจาสวดสมนุภาสน์
ภิกษุทั้งหลายพึงสวดสมนุภาสน์ภิกษุนั้นอย่างนี้ คือ ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึง
ประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติจตุตถกรรมวาจาว่า
[๔๒๐] “ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ทิฏฐิบาปเช่นนี้ได้เกิดขึ้นแก่ภิกษุ
ชื่อนี้ว่า ‘เรารู้ทั่วถึงธรรมที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงแล้วจนกระทั่งว่าธรรมตามที่
พระผู้มีพระภาคตรัสว่าเป็นธรรมก่ออันตรายก็หาสามารถก่ออันตรายแก่ผู้ซ่องเสพ
ได้จริงไม่’ ภิกษุนั้นไม่สละทิฏฐินั้น ถ้าสงฆ์พร้อมกันแล้วก็พึงสวดสมนุภาสน์ภิกษุชื่อ
นี้เพื่อให้สละทิฏฐินั้น นี่เป็นญัตติ
ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ทิฏฐิบาปเช่นนี้ได้เกิดขึ้นแก่ภิกษุชื่อนี้ว่า
‘เรารู้ทั่วถึงธรรมที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงแล้วจนกระทั่งว่าธรรมตามที่พระผู้มีพระ
ภาคตรัสว่าเป็นธรรมก่ออันตรายก็หาสามารถก่ออันตรายแก่ผู้ซ่องเสพได้จริงไม่’
ภิกษุนั้นไม่สละทิฏฐินั้น สงฆ์สวดสมนุภาสน์ภิกษุชื่อนี้เพื่อให้สละทิฏฐินั้น ท่านรูปใด
เห็นด้วยกับการสวดสมนุภาสน์ภิกษุชื่อนี้เพื่อให้สละทิฏฐินั้น ท่านรูปนั้นพึงนิ่ง ท่าน
รูปใดไม่เห็นด้วย ท่านรูปนั้นถึงทักท้วง
แม้ครั้งที่ ๒ ข้าพเจ้าก็ขอกล่าวความนี้ ฯลฯ แม้ครั้งที่ ๓ ข้าพเจ้าก็ขอกล่าว
ความนี้ว่า
ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ทิฏฐิบาปเช่นนี้ได้เกิดขึ้นแก่ภิกษุชื่อนี้
อย่างนี้ว่า ‘เรารู้ทั่วถึงธรรมที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงแล้วจนกระทั่งว่าธรรมตามที่
พระผู้มีพระภาคตรัสว่าเป็นธรรมก่ออันตรายก็หาสามารถก่ออันตรายแก่ผู้ซ่องเสพ
ได้จริงไม่’ ภิกษุนั้นไม่สละทิฏฐินั้น สงฆ์สวดสมนุภาสน์ภิกษุชื่อนี้เพื่อให้สละทิฏฐินั้น
ท่านรูปใดเห็นด้วยกับการสวดสมนุภาสน์ภิกษุชื่อนี้เพื่อให้สละทิฏฐินั้น ท่านรูปนั้น
พึงนิ่ง ท่านรูปใดไม่เห็นด้วย ท่านรูปนั้นพึงทักท้วง
ภิกษุชื่อนี้ สงฆ์สวดสมนุภาสน์แล้วเพื่อให้สละทิฏฐินั้น สงฆ์เห็นด้วย เพราะ
ฉะนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าขอถือเอาความนิ่งนั้นเป็นมติอย่างนี้”
จบญัตติ ต้องอาบัติทุกกฏ จบกรรมวาจา ๒ ครั้ง ต้องอาบัติทุกกฏ ๒ ตัว
จบกรรมวาจาครั้งสุดท้าย ต้องอาบัติปาจิตตีย์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๕๓๐ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๗.สัปปาณกวรรค ๘.อริฏฐสิกขาบท อนาบัติวาร
บทภาชนีย์
ติกปาจิตตีย์
[๔๒๑] กรรมที่ทำถูกต้อง ภิกษุสำคัญว่าเป็นกรรมที่ทำถูกต้อง ไม่สละ
ต้องอาบัติปาจิตตีย์
กรรมที่ทำถูกต้อง ภิกษุไม่แน่ใจ ไม่สละ ต้องอาบัติปาจิตตีย์
กรรมที่ทำถูกต้อง ภิกษุสำคัญว่าเป็นกรรมที่ทำไม่ถูกต้อง ไม่สละ ต้องอาบัติ
ปาจิตตีย์

ติกทุกกฏ
กรรมที่ทำไม่ถูกต้อง ภิกษุสำคัญว่าเป็นกรรมที่ทำถูกต้อง ต้องอาบัติทุกกฏ
กรรมที่ทำไม่ถูกต้อง ภิกษุไม่แน่ใจ ต้องอาบัติทุกกฏ
กรรมที่ทำไม่ถูกต้อง ภิกษุสำคัญว่าเป็นกรรมที่ทำไม่ถูกต้อง ต้องอาบัติทุกกฏ

อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[๔๒๒] ๑. ภิกษุยังไม่ถูกสวดสมนุภาสน์
๒. ภิกษุผู้สละ
๓. ภิกษุวิกลจริต
๔. ภิกษุต้นบัญญัติ

อริฏฐสิกขาบทที่ ๘ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๕๓๑ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๗.สัปปาณกวรรค ๙.อุกขิตตสัมโภคสิกขาบท นิทานวัตถุ
๗. สัปปาณกวรรค

๙. อุกขิตตสัมโภคสิกขาบท
ว่าด้วยการคบหาภิกษุที่ถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรม

เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๔๒๓] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์รู้อยู่ก็ยัง
คบหาบ้าง อยู่ร่วมบ้าง นอนร่วมบ้างกับภิกษุชื่ออริฏฐะผู้กล่าวตู่อย่างนั้น ผู้ที่สงฆ์ยัง
มิได้ทำธรรมอันสมควร๑ ยังไม่ยอมสละทิฏฐินั้น๒
บรรดาภิกษุผู้มักน้อย ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพวก
ภิกษุฉัพพัคคีย์รู้อยู่ยังคบหาบ้าง อยู่ร่วมบ้าง นอนร่วมบ้างกับภิกษุชื่ออริฏฐะ
ผู้กล่าวตู่อย่างนั้น ผู้ที่สงฆ์ยังมิได้ทำธรรมอันสมควร ยังไม่ยอมสละทิฏฐินั้นเล่า”
ครั้นภิกษุทั้งหลายตำหนิพวกภิกษุฉัพพัคคีย์โดยประการต่าง ๆ แล้วจึงนำเรื่องนี้ไป
กราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ

ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามพวกภิกษุฉัพพัคคีย์ว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า พวกเธอรู้อยู่ก็ยังคบหา
บ้าง อยู่ร่วมบ้าง นอนร่วมบ้างกับภิกษุอริฏฐะผู้กล่าวตู่อย่างนั้น ผู้ที่สงฆ์ยังมิได้ทำ
ธรรมอันสมควร ยังไม่ยอมสละทิฏฐินั้น จริงหรือ” พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ทูลรับว่า
“จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “โมฆบุรุษทั้งหลาย

เชิงอรรถ :
๑ คำว่า “ผู้ที่สงฆ์ยังมิได้ทำธรรมอันสมควร” หมายถึงพระอริฏฐถูกสงฆ์ลงโทษโดยการยกออกจากหมู่
จากชุมนุมสงฆ์ ที่เรียกว่า “ลงอุกเขปนียกรรม” สงฆ์ยังไม่ได้ยกเลิกโทษนั้น (วิ.อ. ๒/๔๒๔-๕/๔๒๐)
๒ พระอริฏฐะกล่าวตู่พระธรรมวินัยในสิกขาบทที่ ๘ สัปปาณกวรรค ข้อ ๔๑๗ หน้า ๕๒๕

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๕๓๒ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๗.สัปปาณกวรรค ๙.อุกขิตตสัมโภคสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์
ไฉนพวกเธอรู้อยู่ก็ยังคบหาบ้าง อยู่ร่วมบ้าง นอนร่วมบ้างกับภิกษุอริฏฐะผู้กล่าว
ตู่อย่างนั้น ผู้ที่สงฆ์ยังมิได้ทำธรรมอันสมควร ยังไม่ยอมสละทิฏฐินั้นเล่า โมฆบุรุษ
ทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อม
ใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้
ขึ้นแสดงดังนี้

พระบัญญัติ
[๔๒๔] ก็ ภิกษุใดรู้อยู่ก็ยังคบหา อยู่ร่วม หรือนอนร่วมกับภิกษุผู้กล่าว
ตู่อย่างนั้น ผู้ที่สงฆ์ยังมิได้ทำธรรมอันสมควร ยังไม่ยอมสละทิฏฐินั้น ต้องอาบัติ
ปาจิตตีย์
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ

สิกขาบทวิภังค์
[๔๒๕] คำว่า ก็...ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ก็...ใด
คำว่า ภิกษุ มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุ เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มี
พระภาคทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุ ในความหมายนี้
ที่ชื่อว่า รู้อยู่ คือ ภิกษุรู้เอง คนเหล่าอื่นบอกภิกษุนั้น หรือภิกษุรูปที่กล่าวตู่
นั้นบอก
คำว่า ผู้กล่าวตู่อย่างนั้น คือ ภิกษุผู้กล่าวอย่างนี้ว่า “เรารู้ทั่วถึงธรรมที่
พระผู้มีพระภาคทรงแสดงแล้วจนกระทั่งว่าธรรมตามที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่าเป็นธรรม
ก่ออันตรายก็หาสามารถก่ออันตรายแก่ผู้ซ่องเสพได้จริงไม่”
ที่ชื่อว่า ผู้ที่สงฆ์ยังมิได้ทำธรรมอันสมควร คือ ภิกษุนั้นถูกสงฆ์ลงอุกเขปนีย
กรรมแล้ว แต่สงฆ์ยังมิได้เรียกเข้าหมู่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๕๓๓ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๗.สัปปาณกวรรค ๙.อุกขิตตสัมโภคสิกขาบท บทภาชนีย์
คำว่า กับ...ยังไม่ยอมสละทิฏฐินั้น คือ ร่วมกับผู้ที่ยังไม่ยอมสละความเห็นนั้น
คำว่า คบหา อธิบายว่า ที่เรียกว่าคบหา ได้แก่ การคบหา ๒ อย่างคือ
(๑) คบหาทางอามิส (๒) คบหาทางธรรม
ที่ชื่อว่า คบหาทางอามิส คือ ภิกษุให้อามิสหรือรับอามิส ต้องอาบัติปาจิตตีย์
ที่ชื่อว่า คบหาทางธรรม คือ ภิกษุยกธรรมขึ้นแสดงหรือให้ยกธรรมขึ้นแสดง
ภิกษุยกธรรมขึ้นแสดงหรือให้ยกธรรมขึ้นแสดงเป็นบท ต้องอาบัติปาจิตตีย์
ทุก ๆ บท
ภิกษุยกธรรมขึ้นแสดงหรือให้ยกธรรมขึ้นแสดงเป็นอักษร ต้องอาบัติปาจิตตีย์
ทุก ๆ อักษร
คำว่า อยู่ร่วม ความว่า ภิกษุทำอุโบสถ ปวารณา หรือสังฆกรรมร่วมกับ
ภิกษุผู้ถูกสงฆ์อุกเขปนียกรรม ต้องอาบัติปาจิตตีย์
คำว่า นอนร่วมกับ อธิบายว่า ในที่ที่มีหลังคาเดียวกัน เมื่อภิกษุผู้ถูกสงฆ์ลง
อุกเขปนียกรรมนอน ภิกษุก็นอน ต้องอาบัติปาจิตตีย์ เมื่อภิกษุนอน ภิกษุ
ผู้ถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรมก็นอน ภิกษุที่นอนด้วย ต้องอาบัติปาจิตตีย์ หรือนอน
ทั้ง ๒ รูป ก็ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ภิกษุลุกขึ้นแล้วกลับนอนอีก ต้องอาบัติปาจิตตีย์

บทภาชนีย์
[๔๒๖] ภิกษุถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรม ภิกษุสำคัญว่าเป็นภิกษุถูกสงฆ์ลง
อุกเขปนียกรรม คบหา อยู่ร่วม หรือนอนร่วม ต้องอาบัติปาจิตตีย์
ภิกษุถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรม ภิกษุไม่แน่ใจ คบหา อยู่ร่วม หรือนอนร่วม
ต้องอาบัติทุกกฏ
ภิกษุถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรม ภิกษุสำคัญว่าไม่ใช่ภิกษุที่ถูกสงฆ์ลงอุกเขปนีย
กรรม คบหา อยู่ร่วม หรือนอนร่วม ไม่ต้องอาบัติ
ภิกษุไม่ได้ถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรม ภิกษุสำคัญว่าเป็นภิกษุที่ถูกสงฆ์ลง
อุกเขปนียกรรม ต้องอาบัติทุกกฏ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๕๓๔ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๗.สัปปาณกวรรค ๙.อุกขิตตสัมโภคสิกขาบท อนาปัตติวาร
ภิกษุไม่ได้ถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรม ภิกษุไม่แน่ใจ ต้องอาบัติทุกกฏ
ภิกษุไม่ได้ถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรม ภิกษุสำคัญว่าไม่ใช่ภิกษุที่ถูกสงฆ์ลง
อุกเขปนียกรรม ไม่ต้องอาบัติ

อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[๔๒๗] ๑. ภิกษุรู้ว่า ภิกษุนั้นไม่ได้ถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรม
๒. ภิกษุรู้ว่า “ภิกษุนั้นถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรม แต่สงฆ์เรียกเข้า
หมู่แล้ว”
๓. ภิกษุรู้ว่า “ภิกษุนั้น ยอมสละทิฏฐินั้นแล้ว”
๔. ภิกษุวิกลจริต
๕. ภิกษุต้นบัญญัติ

อุกขิตตสัมโภคสิกขาบทที่ ๙ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๕๓๕ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๗.สัปปาณกวรรค ๑๐.กัณฏกสิกขาบท นิทานวัตถุ
๗. สัปปาณกวรรค

๑๐. กัณฏกสิกขาบท
ว่าด้วยสมณุทเทสชื่อกัณฏกะถูกสงฆ์นาสนะ

เรื่องสมณุทเทสชื่อกัณฏกะ
[๔๒๘] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น ทิฏฐิบาปเช่นนี้ได้เกิดขึ้นแก่
สมณุทเทสชื่อกัณฏกะว่า “เรารู้ทั่วถึงธรรมที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงแล้วจนกระทั่ง
ว่าธรรมตามที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่าเป็นธรรมก่ออันตรายก็หาสามารถก่ออันตราย
แก่ผู้ซ่องเสพได้จริงไม่”
ภิกษุหลายรูปได้ทราบข่าวว่า “ทิฏฐิบาปเช่นนี้ได้เกิดขึ้นแก่สมณุทเทสชื่อ
กัณฏกะว่า เรารู้ทั่วถึงธรรมที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงแล้วจนกระทั่งว่าธรรมตามที่
พระผู้มีพระภาคตรัสว่าเป็นธรรมก่ออันตรายก็หาสามารถก่ออันตรายแก่ผู้ซ่องเสพ
ได้จริงไม่” ครั้นแล้วภิกษุเหล่านั้นจึงเข้าไปหาสมณุทเทสชื่อกัณฏกะถึงที่อยู่ ครั้นถึง
แล้วได้กล่าวกับสมณุทเทสชื่อกัณฏกะดังนี้ว่า “กัณฏกะ ได้ทราบว่า ทิฏฐิบาปเช่นนี้
ได้เกิดขึ้นแก่เธอว่า ‘เรารู้ทั่วถึงธรรมที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงแล้วจนกระทั่งว่า
ธรรมตามที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่าเป็นธรรมว่าก่ออันตรายก็หาสามารถก่ออันตราย
แก่ผู้ซ่องเสพได้จริงไม่’ จริงหรือ”
สมณุทเทสชื่อกัณฏกะกล่าวว่า “เหมือนจะเป็นอย่างนั้น ท่านผู้เจริญทั้งหลาย
กระผมรู้ทั่วถึงธรรมที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงแล้วจนกระทั่งว่าธรรมตามที่พระผู้มี
พระภาคตรัสว่าเป็นธรรมก่ออันตรายก็หาสามารถก่ออันตรายแก่ผู้ซ่องเสพได้จริงไม่”
ภิกษุทั้งหลาย ได้กล่าวว่า “กัณฏกะ เธออย่าได้กล่าวอย่างนี้ อย่ากล่าวตู่พระ
ผู้มีพระภาค การกล่าวตู่พระผู้มีพระภาคไม่ดีเลย เพราะพระผู้มีพระภาคไม่ได้ตรัส
อย่างนั้น กัณฏกะ พระผู้มีพระภาคตรัสธรรมที่ก่ออันตรายว่าเป็นธรรมก่ออันตราย
ไว้โดยประการต่าง ๆ และธรรมเหล่านั้นก็สามารถก่ออันตรายให้แก่ผู้ซ่องเสพได้จริง


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๕๓๖ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๗.สัปปาณกวรรค ๑๐.กัณฏกสิกขาบท นิทานวัตถุ
พระผู้มีพระภาคตรัสว่ากามทั้งหลายมีความยินดีน้อย มีทุกข์มาก มีความคับแค้น
มาก ในกามนี้มีโทษอย่างยิ่ง พระผู้มีพระภาคตรัสว่ากามทั้งหลายเปรียบเหมือนร่าง
โครงกระดูก ฯลฯ พระผู้มีพระภาคตรัสว่ากามทั้งหลายเปรียบเหมือนชิ้นเนื้อ ฯลฯ
พระผู้มีพระภาคตรัสว่ากามทั้งหลายเปรียบเหมือนคบเพลิงหญ้า ฯลฯ พระผู้มีพระ
ภาคตรัสว่ากามทั้งหลายเปรียบเหมือนหลุมถ่านเพลิง ฯลฯ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
กามทั้งหลายเปรียบเหมือนความฝัน ฯลฯ พระผู้มีพระภาคตรัสว่ากามทั้งหลาย
เปรียบเหมือนของที่ยืมมา ฯลฯ พระผู้มีพระภาคตรัสว่ากามทั้งหลายเปรียบเหมือน
ผลไม้คาต้น ฯลฯ พระผู้มีพระภาคตรัสว่ากามทั้งหลายเปรียบเหมือนเขียงหั่นเนื้อ
ฯลฯ พระผู้มีพระภาคตรัสว่ากามทั้งหลายเปรียบเหมือนหอกหลาว ฯลฯ พระผู้มี
พระภาคตรัสว่ากามทั้งหลายเปรียบเหมือนหัวงู มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก ใน
กามนี้มีโทษอย่างยิ่ง”
สมณุทเทสชื่อว่ากัณฏกะถูกภิกษุเหล่านั้นตักเตือน แต่ก็ยังกล่าวด้วยความยึด
มั่นถือมั่นทิฏฐิบาปนั้นอยู่อย่างนั้นว่า “เหมือนจะเป็นอย่างนั้น ท่านทั้งหลาย กระผม
รู้ทั่วถึงธรรมที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงแล้วจนกระทั่งว่าธรรมตามที่พระผู้มีพระภาค
ตรัสว่าเป็นธรรมก่ออันตรายก็หาสามารถก่ออันตรายให้แก่ผู้ซ่องเสพได้จริงไม่”
ภิกษุเหล่านั้นไม่อาจปลดเปลื้องสมณุทเทสชื่อกัณฏกะจากทิฏฐิบาปนั้นได้ ครั้น
แล้วภิกษุทั้งหลายจึงพากันเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ครั้นถึงแล้วจึง
กราบทูลเรื่องนี้ให้พระผู้มีพระภาคทรงทราบ

ทรงประชุมสงฆ์สั่งนาสนะกัณฏกสมณุทเทส
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามสมณุทเทสชื่อกัณฏกะว่า “กัณฏกะ ทราบว่า ทิฏฐิบาปเช่นนี้ได้เกิดขึ้นแก่
เธอว่า เรารู้ทั่วถึงธรรมที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงแล้วจนกระทั่งว่าธรรมตามที่พระ
ผู้มีพระภาคตรัสว่าเป็นธรรมก่ออันตรายก็หาสามารถก่ออันตรายให้แก่ผู้ซ่องเสพได้
จริงไม่ จริงหรือ” สมณุทเทสชื่อกัณฏกะทูลรับว่า “เหมือนจะเป็นอย่างนั้น พระพุทธ
เจ้าข้า ข้าพระองค์รู้ทั่วถึงธรรมที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงแล้วจนกระทั่งว่าธรรม
ตามที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่าเป็นธรรมก่ออันตรายก็หาสามารถก่ออันตรายให้แก่ผู้
ซ่องเสพได้จริงไม่”


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๕๓๗ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๗.สัปปาณกวรรค ๑๐.กัณฏกสิกขาบท นิทานวัตถุ
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “โมฆบุรุษ เธอรู้ทั่วถึงธรรมที่เราแสดงแล้วได้อย่างไร
โมฆบุรุษ เรากล่าวธรรมที่ก่ออันตรายว่าเป็นธรรมก่ออันตรายไว้โดยประการต่าง ๆ
และธรรมเหล่านั้นก็สามารถก่ออันตรายให้แก่ผู้ซ่องเสพได้จริง มิใช่หรือ เรากล่าวว่า
กามทั้งหลายมีความยินดีน้อย มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก ในกามนี้มีโทษอย่าง
ยิ่ง เรากล่าวว่ากามทั้งหลายเปรียบเหมือนร่างโครงกระดูก ฯลฯ เรากล่าวว่ากาม
ทั้งหลายเปรียบเหมือนชิ้นเนื้อ ฯลฯ เรากล่าวว่ากามทั้งหลายเปรียบเหมือนคบเพลิง
หญ้า ฯลฯ เรากล่าวว่ากามทั้งหลายเปรียบเหมือนหลุมถ่านเพลิง ฯลฯ เรากล่าว
ว่ากามทั้งหลายเปรียบเหมือนความฝัน ฯลฯ เรากล่าวว่ากามทั้งหลายเปรียบ
เหมือนของที่ยืมมา ฯลฯ เรากล่าวว่ากามทั้งหลายเปรียบเหมือนผลไม้คาต้น ฯลฯ
เรากล่าวว่ากามทั้งหลายเปรียบเหมือนเขียงหั่นเนื้อ ฯลฯ เรากล่าวว่ากามทั้งหลาย
เปรียบเหมือนหอกหลาว ฯลฯ เรากล่าวว่ากามทั้งหลายเปรียบเหมือนหัวงู มีทุกข์
มาก มีความคับแค้นมาก ในกามนี้มีโทษอย่างยิ่ง โมฆบุรุษ ก็เมื่อเป็นเช่นนี้ เธอชื่อ
ว่ากล่าวตู่เราด้วยทิฏฐิที่ยึดถือไว้ผิด ชื่อว่าทำลายตนเองและชื่อว่าประสบสิ่งมิใช่บุญ
เป็นอันมาก โมฆบุรุษ ข้อนั้นจักเป็นไปเพื่อความไม่เกื้อกูล เพื่อความทุกข์แก่เธอ
ตลอดกาลนาน โมฆบุรุษ การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส
หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย” ครั้นทรงตำหนิแล้วจึงทรงแสดง
ธรรมีกถาแล้วรับสั่งกับภิกษุทั้งหลายว่า ภิกษุทั้งหลาย ถ้าอย่างนั้น สงฆ์จงนาสนะ๑
สมณุทเทสชื่อกัณฏกะ ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงนาสนะ สมณุทเทสชื่อกัณฏกะอย่างนี้
ว่า “กัณฏกะ ตั้งแต่วันนี้เธอไม่พึงอ้างพระผู้มีพระภาคว่าเป็นศาสดา และเธอจะไม่
มีการนอนร่วมกัน ๒-๓ คืนกับภิกษุทั้งหลายเหมือนสมณุทเทสเหล่าอื่นได้ เธอจงไปที่
อื่น เธอจงไปให้พ้น” ดังนี้ ครั้งนั้นแล สงฆ์ได้นาสนะสมณุทเทสชื่อกัณฏกะแล้ว
สมัยนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์รู้อยู่ ก็ยังปลอบโยนสมณุทเทสชื่อกัณฏกะที่ถูก
สงฆ์นาสนะอย่างนั้นแล้วบ้าง ใช้เธอให้อุปัฏฐากบ้าง คบหาบ้าง นอนร่วมบ้าง

เชิงอรรถ :
๑ คำว่า “นาสนะ” แปลว่า ให้ฉิบหาย ได้แก่ การลงโทษภิกษุ มี ๓ วิธี คือ (๑) ลิงคนาสนะ ให้สึก
(๒) ทัณฑกรรมนาสนะ ไล่ออกจากสำนัก (๓) สังวาสนาสนะ ยกออกจากหมู่ สมณุทเทสชื่อกัณฏกะนี้
ถูกลงโทษโดยการไล่ออกจากสำนัก (วิ.อ. ๒/๔๒๘/๔๒๐-๔๒๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๕๓๘ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๗.สัปปาณกวรรค ๑๐.กัณฏกสิกขาบท พระบัญญัติ
บรรดาภิกษุผู้มักน้อย ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพวก
ภิกษุฉัพพัคคีย์รู้อยู่ จึงปลอบโยนสมณุทเทสชื่อกัณฏกะที่ถูกสงฆ์นาสนะอย่างนั้น
แล้วบ้าง ใช้เธอให้อุปัฏฐากบ้าง คบหาบ้าง นอนร่วมบ้างเล่า” ครั้นภิกษุหล่านั้น
ตำหนิพวกภิกษุฉัพพัคคีย์โดยประการต่าง ๆ แล้วจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มี
พระภาคให้ทรงทราบ

ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบพวกภิกษุฉัพพัคคีย์ว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า พวกเธอรู้อยู่ยังปลอบโยน
สมณุทเทสชื่อกัณฏกะที่ถูกสงฆ์นาสนะอย่างนั้นแล้วบ้าง ใช้เธอให้อุปัฏฐากบ้าง
คบหาบ้าง นอนร่วมบ้าง จริงหรือ” พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ทูลรับว่า “จริง พระพุทธ
เจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ฯลฯ โมฆบุรุษทั้งหลาย ไฉนพวก
เธอรู้อยู่ ยังปลอบโยนสมณุทเทสชื่อกัณฏกะที่ถูกสงฆ์นาสนะอย่างนั้นแล้วบ้าง ใช้
เธอให้อุปัฏฐากบ้าง คบหาบ้าง นอนร่วมบ้างเล่า โมฆบุรุษทั้งหลาย การกระทำอย่าง
นี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เสื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้น
ได้เลย ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้

พระบัญญัติ
[๔๒๙] ถ้าสมณุทเทสกล่าวอย่างนี้ว่า “เรารู้ทั่วถึงธรรมที่พระผู้มีพระภาค
ทรงแสดงแล้วจนกระทั่งว่าธรรมตามที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่าเป็นธรรมก่อ
อันตรายก็หาสามารถก่ออันตรายแก่ผู้ซ่องเสพได้จริงไม่” สมณุทเทสนั้นอันภิกษุ
ทั้งหลายพึงว่ากล่าวตักเตือนว่า “เธออย่าได้กล่าวอย่างนี้ อย่ากล่าวตู่พระผู้มี
พระภาค การกล่าวตู่พระผู้มีพระภาคไม่ดีเลย เพราะพระผู้มีพระภาคไม่ได้ตรัส
อย่างนั้น สมณุทเทส พระผู้มีพระภาคตรัสธรรมที่ก่ออันตรายว่าเป็นธรรมก่อ
อันตรายไว้โดยประการต่าง ๆ และธรรมเหล่านั้นก็สามารถก่ออันตรายให้แก่ผู้ซ่อง
เสพได้จริง” สมณุทเทสนั้นอันภิกษุทั้งหลายว่ากล่าวตักเตือนอยู่อย่างนี้ ก็ยังคง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๕๓๙ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๗.สัปปาณกวรรค ๑๐.กัณฏกสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์
ยืนยันอยู่อย่างนั้น สมณุทเทสนั้นอันภิกษุทั้งหลายพึงว่ากล่าวตักเตือนว่า
“สมณุทเทส ตั้งแต่วันนี้เธอไม่พึงอ้างพระผู้มีพระภาคว่าเป็นศาสดา และเธอจะ
ไม่มีการนอนร่วมกัน ๒-๓ คืนกับภิกษุทั้งหลายเหมือนสมณุทเทสเหล่าอื่นได้
เธอจงไปที่อื่น๑ เธอจงไปให้พ้น” ก็ ภิกษุใดรู้อยู่ก็ยังปลอบโยนสมณุทเทสผู้ถูก
สงฆ์นาสนะแล้วอย่างนั้น ใช้เธอให้อุปัฏฐาก คบหา หรือนอนร่วม ต้องอาบัติ
ปาจิตตีย์
เรื่องสมณุทเทสชื่อกัณฏกะ จบ

สิกขาบทวิภังค์
[๔๓๐] ที่ชื่อว่า สมณุทเทส พระผู้มีพระภาคตรัสหมายถึงสามเณร
คำว่า กล่าวอย่างนี้ คือ สมณุทเทสกล่าวว่า “เรารู้ทั่วถึงธรรมที่พระผู้มีพระ
ภาคทรงแสดงแล้วจนกระทั่งว่าธรรมตามที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่าเป็นธรรมก่อ
อันตรายก็หาสามารถก่ออันตรายแก่ผู้ซ่องเสพได้จริงไม่”
คำว่า สมณุทเทสนั้น ได้แก่ สมณุทเทสผู้กล่าวอย่างนั้น
คำว่า อันภิกษุทั้งหลาย ได้แก่ อันภิกษุเหล่าอื่น
พวกภิกษุที่ได้เห็นได้ยิน พึงว่ากล่าวตักเตือนสมณุทเทสนั้นว่า “สมณุทเทส
เธออย่าได้กล่าวอย่างนี้ อย่ากล่าวตู่พระผู้มีพระภาค การกล่าวตู่พระผู้มีพระภาค
ไม่ดีเลย เพราะพระผู้มีพระภาคไม่ได้ตรัสอย่างนั้น สมณุทเทส พระผู้มีพระภาคตรัส
ธรรมที่ก่ออันตรายว่าเป็นธรรมก่ออันตรายไว้โดยประการต่าง ๆ และธรรมเหล่านั้น
ก็สามารถก่ออันตรายแก่ผู้ซ่องเสพได้จริง” พึงว่ากล่าวตักเตือนเธอแม้ครั้งที่ ๒ พึง
ว่ากล่าวตักเตือนเธอแม้ครั้งที่ ๓ ถ้าเธอสละได้เป็นการดี ถ้าไม่สละ สมณุทเทสนั้น

เชิงอรรถ :
๑ คำว่า “จงไปที่อื่น” แปลมาจากคำว่า “จร ปิเร” ตามนัยฎีกาว่า จร ปิเรติ ปรโต คจฺฉ, มา อิธ ติฏฺฐ
(สารตฺถ.ฏีกา ๓/๔๒๘/๑๑๑) จงไปทางอื่น อย่าอยู่ที่นี้, อีกนัยหนึ่งว่า ปิเรติ ปร อมามก (วิ.อ. ๒/๔๒๘/
๔๒๑) อมฺหากํ อนชฺฌตฺติกภูต (สารตฺถ.ฏีกา ๓/๔๒๘/๑๑๐) โอวาทสฺส อปฏิคฺคหเณน
อติกฺกมเนน อมามกา ปเร นาม (ขุ.ธ.อ. ๑/๕/๕๘) เธอเป็นคนอื่นผู้ไม่นับถือพระรัตนตรัย, มิได้อยู่
ในวงศ์ของพวกเรา เพราะไม่รับโอวาท เพราะล่วงละเมิดโอวาท

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๕๔๐ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๗.สัปปาณกวรรค ๑๐.กัณฏกสิกขาบท บทภาชนีย์
อันภิกษุทั้งหลายพึงว่ากล่าวตักเตือนอย่างนี้ว่า “สมณุทเทส ตั้งแต่วันนี้เธอไม่พึง
อ้างพระผู้มีพระภาคว่าเป็นศาสดา และเธอจะไม่มีการนอนร่วมกัน ๒-๓ คืนกับภิกษุ
ทั้งหลายเหมือนสมณุทเทสเหล่าอื่นได้ เธอจงไปที่อื่น เธอจงไปให้พ้น”
คำว่า ก็...ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ก็...ใด
คำว่า ภิกษุ มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุ เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระ
ภาคทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุ ในความหมายนี้
ที่ชื่อว่า รู้อยู่ คือ ภิกษุรู้เอง คนเหล่าอื่นบอกภิกษุนั้น หรือสมณุทเทส
นั้นบอก
คำว่า ผู้ถูกสงฆ์นาสนะแล้วอย่างนั้น คือ ถูกสงฆ์ให้ฉิบหายแล้วอย่างนั้น
ที่ชื่อว่า สมณุทเทส พระผู้มีพระภาคตรัสหมายถึงสามเณร
คำว่า ปลอบโยน คือ ภิกษุปลอบโยนว่า “เราจะให้บาตร จีวร อุทเทส
หรือปริปุจฉาแก่สมณุทเทสนั้น” ต้องอาบัติปาจิตตีย์
คำว่า ใช้เธอให้อุปัฏฐาก คือ ภิกษุยินดีจุรณ ดินเหนียว ไม้สีฟัน หรือ
น้ำบ้วนปากของสมณุทเทสนั้น ต้องอาบัติปาจิตตีย์
คำว่า คบหา อธิบายว่า ที่เรียกว่าคบหา ได้แก่ การคบหา ๒ อย่าง คือ
(๑) คบหาทางอามิส (๒) คบหาทางธรรม
ที่ชื่อว่า คบหาทางอามิส คือ ภิกษุให้อามิสหรือรับอามิส ต้องอาบัติปาจิตตีย์
ที่ชื่อว่า คบหาทางธรรม คือ ภิกษุยกธรรมขึ้นแสดงหรือให้ยกธรรมขึ้นแสดง
ภิกษุยกธรรมขึ้นแสดงหรือให้ยกธรรมขึ้นแสดง เป็นบท ต้องอาบัติปาจิตตีย์
ทุก ๆ บท
ภิกษุยกธรรมขึ้นแสดงหรือให้ยกธรรมขึ้นแสดง เป็นอักษร ต้องอาบัติ
ปาจิตตีย์ทุก ๆ อักษร
คำว่า นอนร่วม อธิบายว่า ในที่ที่มีหลังคาเดียวกัน เมื่อสมณุทเทสผู้ถูกสงฆ์
นาสนะนอน ภิกษุก็นอน ต้องอาบัติปาจิตตีย์ เมื่อภิกษุนอน สมณุทเทสผู้ถูกสงฆ์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๕๔๑ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๗.สัปปาณกวรรค ๑๐.กัณฏกสิกขาบท อนาปัตติวาร
นาสนะก็นอน ภิกษุที่นอนด้วย ต้องอาบัติปาจิตตีย์ หรือนอนทั้ง ๒ รูป ก็ต้องอาบัติ
ปาจิตตีย์ ทั้ง ๒ ลุกขึ้นแล้ว กลับนอนอีก ต้องอาบัติปาจิตตีย์

บทภาชนีย์
[๔๓๑] สมณุทเทสที่ถูกสงฆ์นาสนะแล้ว ภิกษุสำคัญว่าถูกสงฆ์นาสนะแล้ว
ปลอบโยน ใช้เธอให้อุปัฏฐาก คบหา หรือนอนร่วม ต้องอาบัติปาจิตตีย์
สมณุทเทสที่ถูกสงฆ์นาสนะแล้ว ภิกษุไม่แน่ใจ ปลอบโยน ใช้เธอให้อุปัฏฐาก
คบหา หรือนอนร่วม ต้องอาบัติทุกกฏ
สมณุทเทสที่ถูกสงฆ์นาสนะแล้ว ภิกษุสำคัญว่าไม่ได้ถูกสงฆ์นาสนะ ปลอบโยน
ใช้เธอให้อุปัฏฐาก คบหา หรือนอนร่วม ไม่ต้องอาบัติ
สมณุทเทสที่ไม่ถูกสงฆ์นาสนะ ภิกษุสำคัญว่าถูกสงฆ์นาสนะ ต้องอาบัติ
ทุกกฏ
สมณุทเทสที่ไม่ถูกสงฆ์นาสนะ ภิกษุไม่แน่ใจ ต้องอาบัติทุกกฏ
สมณุทเทสที่ไม่ถูกสงฆ์นาสนะ ภิกษุสำคัญว่าไม่ถูกสงฆ์นาสนะ ไม่ต้องอาบัติ

อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[๔๓๒] ๑. ภิกษุรู้อยู่ว่า “สมณุทเทสไม่ถูกสงฆ์นาสนะ”
๒. ภิกษุรู้อยู่ว่า “สมณุทเทสสละทิฏฐินั้นแล้ว”
๓. ภิกษุวิกลจริต
๔. ภิกษุต้นบัญญัติ

กัณฏกสิกขาบทที่ ๑๐ จบ
สัปปาณกวรรคที่ ๗ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๕๔๒ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๗.สัปปาณกวรรค รวมสิกขาบทที่มีในสัปปาณกวรรค
รวมสิกขาบทที่มีในสัปปาณกวรรค
สัปปาณกวรรคมี ๑๐ สิกขาบท คือ

๑. สัญจิจจสิกขาบท ว่าด้วยความจงใจฆ่าสัตว์มีชีวิต
๒. สัปปาณกสิกขาบท ว่าด้วยการบริโภคนํ้าที่มีสัตว์มีชีวิต
๓. อุกโกฏนสิกขาบท ว่าด้วยการรื้อฟื้นอธิกรณ์ขึ้นมาพิจารณา
ใหม่
๔. ทุฏฐุลลสิกขาบท ว่าด้วยการปกปิดอาบัติชั่วหยาบ
๕. อูนวีสติวัสสสิกขาบท ว่าด้วยการอุปสมบทให้บุคคลมีอายุหย่อน
กว่า ๒๐ ปี
๖. เถยยสัตถสิกขาบท ว่าด้วยการเดินทางไกลร่วมกับพ่อค้าเกวียน
ผู้เป็นโจร
๗. สังวิธานสิกขาบท ว่าด้วยการชักชวนเดินทางไกลร่วมกับ
มาตุคาม
๘. อริฏฐสิกขาบท ว่าด้วยพระอริฏฐะกล่าวตู่พระผู้มีพระภาค
๙. อุกขิตตสัมโภคสิกขาบท ว่าด้วยการคบหาภิกษุที่ถูกสงฆ์ลงอุกเขปนีย
กรรม
๑๐. กัณฏกสิกขาบท ว่าด้วยสมณุทเทสชื่อกัณฏกะถูกสงฆ์นาสนะ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๕๔๓ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๘.สหธรรมิกวรรค ๑.สหธรรมิกสิกขาบท นิทานวัตถุ
๘. สหธรรมิกวรรค
หมวดว่าด้วยผู้ร่วมประพฤติธรรม

๑. สหธรรมิกสิกขาบท
ว่าด้วยการกล่าวตักเตือนผู้ร่วมประพฤติธรรมโดยชอบธรรม

เรื่องพระฉันนะ
[๔๓๓] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ โฆสิตาราม เขต
กรุงโกสัมพี ครั้งนั้น ท่านพระฉันนะประพฤติไม่สมควร ภิกษุทั้งหลายกล่าวอย่างนี้
ว่า “ท่านฉันนะ ท่านอย่าได้กระทำอย่างนี้ การกระทำอย่างนี้ไม่สมควร” ท่านพระ
ฉันนะนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านทั้งหลาย กระผมจะยังไม่ศึกษาในสิกขาบทนี้ จน
กว่าจะได้สอบถามภิกษุรูปอื่นผู้ฉลาด ผู้เป็นพระวินัยธร”
บรรดาภิกษุผู้มักน้อย ฯลฯ พากันตำหนิ ประฌาม โพนทะนาว่า “ไฉนท่าน
พระฉันนะอันภิกษุทั้งหลายว่ากล่าวตักเตือนโดยชอบธรรม จึงกล่าวอย่างนี้ว่า
ท่านทั้งหลาย กระผมจะยังไม่ศึกษาในสิกขาบทนี้ จนกว่าจะได้สอบถามภิกษุรูปอื่น
ผู้ฉลาด ผู้เป็นพระวินัยธรเล่า” ครั้นภิกษุทั้งหลายตำหนิท่านพระฉันนะโดยประการ
ต่าง ๆ แล้วจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ

ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามท่านพระฉันนะว่า “ฉันนะ ทราบว่า เธออันภิกษุทั้งหลายว่ากล่าวตักเตือน
โดยชอบธรรมก็กล่าวอย่างนี้ว่า ‘ท่านทั้งหลาย กระผมจะยังไม่ศึกษาในสิกขาบทนี้
จนกว่าจะได้สอบถามภิกษุรูปอื่น ผู้ฉลาด ผู้เป็นพระวินัยธร’ จริงหรือ” ท่าน
พระฉันนะทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า
“ฯลฯ โมฆบุรุษ ไฉนเธออันภิกษุทั้งหลายว่ากล่าวตักเตือนโดยชอบธรรมก็กล่าว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๕๔๔ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๘.สหธรรมิกวรรค ๑.สหธรรมิกสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์
อย่างนี้ว่า ‘ท่านทั้งหลาย กระผมจะยังไม่ศึกษาในสิกขาบทนี้ จนกว่าจะได้สอบถาม
ภิกษุรูปอื่นผู้ฉลาด ผู้เป็นพระวินัยธร’ เล่า โมฆบุรุษ การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคน
ที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ”
แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้

พระบัญญัติ
[๔๓๔] ก็ ภิกษุใดอันภิกษุทั้งหลายว่ากล่าวตักเตือนโดยชอบธรรม กล่าว
อย่างนี้ว่า “กระผมจะยังไม่ศึกษาในสิกขาบทนี้ จนกว่าจะได้สอบถามภิกษุรูปอื่น
ผู้ฉลาด ผู้เป็นวินัยธร” ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ศึกษาพึงรู้
พึงสอบถาม พึงพิจารณา นี้เป็นการทำที่สมควรในเรื่องนั้น
เรื่องพระฉันนะ จบ

สิกขาบทวิภังค์
[๔๓๕] คำว่า ก็...ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ก็...ใด
คำว่า ภิกษุ มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุ เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มี
พระภาคทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุ ในความหมายนี้
คำว่า อันภิกษุทั้งหลาย ได้แก่ อันภิกษุเหล่าอื่น
ที่ชื่อว่า โดยชอบธรรม คือ สิกขาบทใดที่พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติไว้
นี้ชื่อว่าโดยชอบธรรม
ภิกษุนั้นอันภิกษุทั้งหลายว่ากล่าวตักเตือนด้วยพระบัญญัติโดยชอบธรรมนั้น
กล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านทั้งหลาย กระผมจะยังไม่ศึกษาในสิกขาบทนี้ จนกว่าจะได้
สอบถามภิกษุรูปอื่นผู้ฉลาด ผู้เป็นพระวินัยธร ผู้เป็นบัณฑิต ผู้มีปัญญา ผู้เป็น
พหูสูต ผู้เป็นพระธรรมกถึก” ดังนี้ ต้องอาบัติปาจิตตีย์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๕๔๕ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๘.สหธรรมิกวรรค ๑.สหธรรมิกสิกขาบท บทภาชนีย์
บทภาชนีย์
ติกปาจิตตีย์
[๔๓๖] อุปสัมบัน ภิกษุสำคัญว่าเป็นอุปสัมบัน กล่าวอย่างนั้น ต้องอาบัติ
ปาจิตตีย์
อุปสัมบัน ภิกษุไม่แน่ใจ กล่าวอย่างนั้น ต้องอาบัติปาจิตตีย์
อุปสัมบัน ภิกษุสำคัญว่าเป็นอนุปสัมบัน กล่าวอย่างนั้น ต้องอาบัติปาจิตตีย์

ทุกกฏ
ภิกษุนั้นอันอุปสัมบันว่ากล่าวตักเตือนด้วยเรื่องที่ไม่ใช่พระบัญญัติ กล่าวว่า
“เรื่องนี้ไม่เป็นไปเพื่อความขัดเกลา ไม่เป็นไปเพื่อความกำจัด ไม่เป็นไปเพื่อความ
เป็นผู้น่าเลื่อมใส ไม่เป็นไปเพื่อความไม่ก่อ ไม่เป็นไปเพื่อปรารภความเพียร” กล่าว
ว่า “ท่านทั้งหลาย กระผมจะยังไม่ศึกษาในสิกขาบทนี้ จนกว่าจะได้สอบถามภิกษุรูป
อื่นผู้ฉลาด ผู้เป็นพระวินัยธร ผู้เป็นบัณฑิต ผู้มีปัญญา ผู้เป็นพหูสูต ผู้เป็นพระ
ธรรมกถึก” ดังนี้ ต้องอาบัติทุกกฏ
ภิกษุนั้นอันอนุปสัมบันว่ากล่าวตักเตือนด้วยพระบัญญัติ หรือไม่ใช่พระบัญญัติ
กล่าวว่า “เรื่องนี้ไม่เป็นไปเพื่อความขัดเกลา ไม่เป็นไปเพื่อความกำจัด ไม่เป็นไป
เพื่อความเป็นผู้น่าเลื่อมใส ไม่เป็นไปเพื่อความไม่ก่อ ไม่เป็นไปเพื่อปรารภความ
เพียร” กล่าวว่า “ท่านทั้งหลาย กระผมจะยังไม่ศึกษาในสิกขาบทนี้ จนกว่าจะได้
สอบถามภิกษุรูปอื่นผู้ฉลาด ผู้เป็นพระวินัยธร ผู้เป็นบัณฑิต ผู้มีปัญญา ผู้เป็น
พหูสูต ผู้เป็นพระธรรมกถึก” ดังนี้ ต้องอาบัติทุกกฏ
อนุปสัมบัน ภิกษุสำคัญว่าเป็นอุปสัมบัน ต้องอาบัติทุกกฏ
อนุปสัมบัน ภิกษุไม่แน่ใจ ต้องอาบัติทุกกฏ
อนุปสัมบัน ภิกษุสำคัญว่าเป็นอนุปสัมบัน ต้องอาบัติทุกกฏ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๕๔๖ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๘.สหธรรมิกวรรค ๑.สหธรรมิกสิกขาบท อนาปัตติวาร
คำว่า ผู้ศึกษา คือ ผู้ใคร่สำเหนียก
คำว่า พึงรู้ คือ พึงทราบ
คำว่า พึงสอบถาม คือ พึงสอบถามว่า “ท่านผู้เจริญ สิกขาบทนี้เป็นอย่างไร
หรือสิกขาบทนี้มีเนื้อความว่าอย่างไร”
คำว่า พึงพิจารณา คือ พึงคิด พึงไตร่ตรอง
คำว่า นี้เป็นการทำที่สมควรในเรื่องนั้น คือ นี้เป็นความถูกต้องในเรื่องนั้น

อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[๔๓๗] ๑. ภิกษุกล่าวว่า “เราจักรู้ จักศึกษา”
๒. ภิกษุวิกลจริต
๓. ภิกษุต้นบัญญัติ

สหธรรมิกสิกขาบทที่ ๑ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๕๔๗ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๘.สหธรรมิกวรรค ๒วิเลขนสิกขาบท นิทานวัตถุ
๘. สหธรรมิกวรรค

๒. วิเลขนสิกขาบท
ว่าด้วยความยุ่งยากแห่งสิกขาบท

เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๔๓๘] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสวินัยกถา ทรง
พรรณนาคุณแห่งพระวินัย ตรัสสรรเสริญการเรียนพระวินัย ทรงพรรณนาคุณพระ
อุบาลีโดยประการต่าง ๆ
ภิกษุทั้งหลายกล่าวว่า “พระผู้มีพระภาคตรัสวินัยกถา ทรงพรรณนาคุณแห่ง
พระวินัย ตรัสสรรเสริญการเรียนพระวินัย ทรงพรรณนาคุณท่านพระอุบาลี
โดยประการต่าง ๆ อย่ากระนั้นเลย ท่านทั้งหลาย พวกเราจะเรียนพระวินัยในสำนัก
ท่านพระอุบาลี”
ภิกษุเหล่านั้นจำนวนมาก เป็นเถระก็มี เป็นนวกะก็มี เป็นมัชฌิมะก็มี ต่างพา
กันเล่าเรียนพระวินัยในสำนักท่านพระอุบาลี
ครั้งนั้นแล พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ได้ปรึกษากันว่า “ท่านทั้งหลาย บัดนี้ ภิกษุ
จำนวนมากเป็นเถระก็มี เป็นนวกะก็มี เป็นมัชฌิมะก็มี ต่างพากันเล่าเรียนพระวินัย
ในสำนักท่านพระอุบาลี ถ้าภิกษุเหล่านี้รอบรู้พระบัญญัติในพระวินัย ก็จักชักจูงชี้นำ
พวกเราได้ตามที่ปรารถนาในคราวที่ปรารถนาจนพอแก่ความปรารถนา อย่า
กระนั้นเลย ท่านทั้งหลาย พวกเราจะดูหมิ่นพระวินัย” ครั้นแล้วพวกภิกษุฉัพพัคคีย์
จึงเข้าไปหาภิกษุทั้งหลายแล้วกล่าวอย่างนี้ว่า “สิกขาบทเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่ยกขึ้น
แสดงเหล่านี้จะมีประโยชน์อะไร ย่อมเป็นไปเพื่อความรำคาญ เพื่อความลำบาก เพื่อ
ความยุ่งยาก”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๕๔๘ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๘.สหธรรมิกวรรค ๒.วิเลขนสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์
บรรดาภิกษุผู้มักน้อย ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพวก
ภิกษุฉัพพัคคีย์จึงดูหมิ่นพระวินัยเล่า” ครั้นภิกษุทั้งหลายตำหนิพวกภิกษุฉัพพัคคีย์
โดยประการต่าง ๆ แล้วจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ

ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามพวกภิกษุฉัพพัคคีย์ว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า พวกเธอดูหมิ่นวินัย จริง
หรือ” พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า
ทรงตำหนิว่า “ฯลฯ โมฆบุรุษทั้งหลาย ไฉนพวกเธอจึงดูหมิ่นวินัยเล่า โมฆบุรุษ
ทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่
เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบท
นี้ขึ้นแสดงดังนี้

พระบัญญัติ
[๔๓๙] ก็ ภิกษุใด เมื่อมีผู้ยกปาติโมกข์ขึ้นแสดงอยู่ กล่าวอย่างนี้ว่า
“สิกขาบทเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่ยกขึ้นแสดงเหล่านี้ จะมีประโยชน์อะไร ย่อมเป็น
ไปเพื่อความรำคาญ เพื่อความลำบาก เพื่อความยุ่งยาก” ต้องอาบัติปาจิตตีย์
เพราะดูหมิ่นสิกขาบท
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ

สิกขาบทวิภังค์
[๔๔๐] คำว่า ก็...ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ก็...ใด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๕๔๙ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๘.สหธรรมิกวรรค ๒.วิเลขนสิกขาบท บทภาชนีย์
คำว่า ภิกษุ มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุ เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มี
พระภาคทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุ ในความหมายนี้
คำว่า เมื่อมีผู้ยกปาติโมกข์ขึ้นแสดงอยู่ ความว่า เมื่อมีผู้ใดผู้หนึ่งยกขึ้น
แสดงเอง ใช้ผู้อื่นให้ยกขึ้นแสดงอยู่ หรือกำลังท่องปาติโมกข์
คำว่า กล่าวอย่างนี้ ความว่า “สิกขาบทเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่ยกขึ้นแสดงเหล่านี้
จะมีประโยชน์อะไร ย่อมเป็นไปเพื่อความรำคาญ เพื่อความลำบาก เพื่อความยุ่งยาก”
คือ ดูหมิ่นพระวินัยให้อุปสัมบันฟังว่า “พวกภิกษุที่เล่าเรียนพระวินัยนี้จะมีความ
รำคาญ มีความลำบาก มีความยุ่งยาก พวกภิกษุที่ไม่เล่าเรียนพระวินัยนี้จะไม่มี
ความรำคาญ ไม่มีความลำบาก ไม่มีความยุ่งยาก สิกขาบทนี้พวกท่านไม่ยกขึ้น
แสดงจะดีกว่า ไม่ศึกษาจะดีกว่า ไม่เล่าเรียนจะดีกว่า ไม่ทรงจำจะดีกว่า พระวินัย
จงอันตรธานไป หรือภิกษุพวกนี้จงเป็นผู้ไม่รอบรู้พระบัญญัติ” ต้องอาบัติปาจิตตีย์

บทภาชนีย์
ติกปาจิตตีย์
[๔๔๑] อุปสัมบัน ภิกษุสำคัญว่าเป็นอุปสัมบัน ดูหมิ่นพระวินัย ต้องอาบัติ
ปาจิตตีย์
อุปสัมบัน ภิกษุไม่แน่ใจ ดูหมิ่นพระวินัย ต้องอาบัติปาจิตตีย์
อุปสัมบัน ภิกษุสำคัญว่าเป็นอนุปสัมบัน ดูหมิ่นพระวินัย ต้องอาบัติปาจิตตีย์

ทุกกฎ
ภิกษุดูหมิ่นธรรมอย่างอื่น ต้องอาบัติทุกกฏ
ภิกษุดูหมิ่นพระวินัยหรือธรรมอย่างอื่นให้อนุปสัมบันฟัง ต้องอาบัติทุกกฏ
อนุปสัมบัน ภิกษุสำคัญว่าเป็นอุปสัมบัน ต้องอาบัติทุกกฏ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๕๕๐ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๘.สหธรรมิกวรรค ๒.วิเลขนสิกขาบท อนาปัตติวาร
อนุปสัมบัน ภิกษุไม่แน่ใจ ต้องอาบัติทุกกฏ
อนุปสัมบัน ภิกษุสำคัญว่าเป็นอนุปสัมบัน ต้องอาบัติทุกกฏ

อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[๔๔๒] ๑. ภิกษุไม่ประสงค์จะดูหมิ่นกล่าวตามเหตุว่า “นิมนต์ท่านเรียน
พระสูตร พระคาถา หรือพระอภิธรรมไปก่อน ภายหลังจึงเรียน
พระวินัย”
๒. ภิกษุวิกลจริต
๓. ภิกษุต้นบัญญัติ

วิเลขนสิกขาบทที่ ๒ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๕๕๑ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๘.สหธรรมิกวรรค ๓.โมหนสิกขาบท นิทานวัตถุ
๘. สหธรรมิกวรรค

๓. โมหนสิกขาบท
ว่าด้วยการทำให้ผู้อื่นหลง

เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๔๔๓] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ประพฤติไม่
สมควรแล้ว ตั้งใจอยู่ว่า “ขอภิกษุทั้งหลายจงทราบว่า พวกเราต้องอาบัติเพราะ
ความไม่รู้ ” เมื่อภิกษุยกปาติโมกข์ขึ้นแสดงอยู่ก็กล่าวอย่างนี้ว่า “พวกกระผมเพิ่ง
ทราบเดี๋ยวนี้เองว่า ทราบว่า ธรรมแม้นี้มาในพระสูตร๑ อยู่ในพระสูตร มีการยกขึ้น
แสดงทุกกึ่งเดือน”
บรรดาภิกษุผู้มักน้อย ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉน
พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ เมื่อภิกษุยกปาติโมกข์ขึ้นแสดงอยู่ จึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘พวก
กระผมเพิ่งทราบเดี๋ยวนี้เองว่า ทราบว่า ธรรมแม้นี้มาในพระสูตร อยู่ในพระสูตร
มีการยกขึ้นแสดงทุกกึ่งเดือน” ครั้นภิกษุทั้งหลายตำหนิพวกภิกษุฉัพพัคคีย์โดย
ประการต่าง ๆ แล้วจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ

ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามพวกภิกษุฉัพพัคคีย์ว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า พวกเธอ เมื่อภิกษุยก
ปาติโมกข์ขึ้นแสดงอยู่ ก็กล่าวอย่างนี้ว่า พวกกระผมเพิ่งทราบเดี๋ยวนี้เองว่า ทราบว่า
ธรรมแม้นี้มาในพระสูตร อยู่ในพระสูตร มีการยกขึ้นแสดงทุกกึ่งเดือน จริงหรือ”
พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรง

เชิงอรรถ :
๑ คำว่า “ธรรม” หมายถึงสิกขาบท คำว่า “พระสูตร” หมายถึงพระปาติโมกข์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๕๕๒ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๘.สหธรรมิกวรรค ๓.โมหนสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์
ตำหนิว่า “ฯลฯ โมฆบุรุษทั้งหลาย ไฉนพวกเธอ เมื่อภิกษุยกปาติโมกข์ขึ้นแสดงอยู่
จึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘พวกกระผมเพิ่งทราบเดี๋ยวนี้เองว่า ‘ทราบว่า ธรรมแม้นี้มาใน
พระสูตร อยู่ในพระสูตร มีการยกขึ้นแสดงทุกกึ่งเดือน’ เล่า โมฆบุรุษทั้งหลาย การ
กระทำอย่างนี้มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้
เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้

พระบัญญัติ
[๔๔๔] ก็ ภิกษุใด เมื่อภิกษุยกปาติโมกข์ขึ้นแสดงอยู่ทุกกึ่งเดือน กล่าว
อย่างนี้ว่า “กระผมเพิ่งทราบเดี๋ยวนี้เองว่า ‘ทราบว่า ธรรมแม้นี้มาในพระสูตร
อยู่ในพระสูตร มีการยกขึ้นแสดงทุกกึ่งเดือน” ถ้าภิกษุเหล่าอื่นจำภิกษุนั้นได้ว่า
“เมื่อภิกษุยกปาติโมกข์ขึ้นแสดงอยู่ ภิกษุนี้เคยนั่งอยู่ ๒-๓ ครั้งมาแล้ว
ไม่จำต้องกล่าวถึงมากครั้งยิ่งกว่า” ภิกษุนั้นย่อมไม่พ้นเพราะความไม่รู้ แต่
ภิกษุนั้นจะต้องอาบัติใดเพราะประพฤติไม่เหมาะสมนั้น พึงปรับอาบัตินั้นตาม
ธรรม และพึงยกโมหาโรปนกรรมขึ้นมาปรับเพิ่มให้ยิ่งขึ้นไปอีกว่า “ท่าน ไม่ใช่
ลาภของท่าน ท่านได้ไม่ดี ที่เมื่อภิกษุยกปาติโมกข์ขึ้นแสดงอยู่ ท่านไม่
ใส่ใจฟังให้สำเร็จประโยชน์ด้วยดี” ต้องอาบัติปาจิตตีย์ เพราะแสร้งทำผู้อื่นให้
หลงนั้น
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ

สิกขาบทวิภังค์
[๔๔๕] คำว่า ก็...ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ก็...ใด
คำว่า ภิกษุ มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุ เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระ
ภาคทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุ ในความหมายนี้
คำว่า ทุกกึ่งเดือน คือ ทุกวันอุโบสถ
คำว่า เมื่อภิกษุยกปาติโมกข์ขึ้นแสดงอยู่ คือ เมื่อภิกษุกำลังแสดงปาติโมกข์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๕๕๓ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๘.สหธรรมิกวรรค ๓.โมหนสิกขาบท บทภาชนีย์
คำว่า กล่าวอย่างนี้ ความว่า ภิกษุประพฤติไม่สมควรแล้ว ตั้งใจอยู่ว่า “ขอ
ภิกษุทั้งหลายจงทราบว่า ‘พวกเราต้องอาบัติเพราะความไม่รู้ เมื่อภิกษุยกปาติโมกข์
ขึ้นแสดงอยู่ ก็กล่าวอย่างนี้ว่า “กระผมเพิ่งทราบเดี๋ยวนี้เองว่า ‘ทราบว่า ธรรมแม้
นี้มาในพระสูตร อยู่ในพระสูตร มีการยกขึ้นแสดงทุกกึ่งเดือน” ต้องอาบัติทุกกฏ
ถ้าภิกษุเหล่าอื่นจำภิกษุผู้ประสงค์จะทำให้หลงนั้นได้ว่า “เมื่อภิกษุยกปาติโมกข์
ขึ้นแสดงอยู่ภิกษุนี้เคยนั่งอยู่ ๒-๓ ครั้งมาแล้ว ไม่จำต้องกล่าวถึงมากครั้งยิ่งกว่า”
ภิกษุนั้นย่อมไม่พ้นเพราะความไม่รู้ ภิกษุนั้นจะต้องอาบัติใดเพราะประพฤติไม่เหมาะ
สมนั้น พึงปรับอาบัตินั้นตามธรรม และพึงยกโมหาโรปนกรรมขึ้นมาปรับเพิ่มให้ยิ่ง
ขึ้นไปอีก
ภิกษุทั้งหลายพึงยกโมหาโรปนกรรมขึ้นปรับอย่างนี้ คือ ภิกษุผู้ฉลาดสามารถ
พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติทุติยกรรมวาจาว่า

กรรมวาจาลงโมหาโรปนกรรม
[๔๔๖] ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุชื่อนี้เมื่อภิกษุยกปาติโมกข์
ขึ้นแสดงอยู่ ไม่ใส่ใจฟังให้สำเร็จประโยชน์ด้วยดี ถ้าสงฆ์พร้อมกันแล้ว ก็พึงยก
โมหาโรปนกรรมขึ้นปรับภิกษุชื่อนี้ นี่เป็นญัตติ
ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุชื่อนี้เมื่อภิกษุยกปาติโมกข์ขึ้นแสดง
อยู่ไม่ใส่ใจฟังให้สำเร็จประโยชน์ด้วยดี สงฆ์ยกโมหาโรปนกรรมขึ้นปรับภิกษุชื่อนี้
ท่านรูปใดเห็นด้วยกับการยกโมหาโรปนกรรมขึ้นปรับภิกษุชื่อนี้ ท่านรูปนั้นพึงนิ่ง
ท่านรูปใดไม่เห็นด้วย ท่านรูปนั้นพึงทักท้วง
โมหาโรปนกรรมอันสงฆ์ยกขึ้นปรับภิกษุชื่อนี้แล้ว สงฆ์เห็นด้วย เพราะฉะนั้น
จึงนิ่ง ข้าพเจ้าขอถือเอาความนิ่งนั้นเป็นมติอย่างนี้

บทภาชนีย์
เมื่อสงฆ์ยังไม่ยกโมหาโรปนกรรมขึ้นปรับ ภิกษุทำผู้อื่นให้หลง ต้องอาบัติทุกกฏ
เมื่อสงฆ์ยกโมหาโรปนกรรมขึ้นปรับแล้ว ภิกษุทำผู้อื่นให้หลง ต้องอาบัติปาจิตตีย์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๕๕๔ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๘.สหธรรมิกวรรค ๓.โมหนสิกขาบท อนาปัตติวาร
ติกปาจิตตีย์
[๔๔๗] กรรมที่ทำถูกต้อง๑ ภิกษุสำคัญว่าเป็นกรรมที่ทำถูกต้อง ทำผู้อื่นให้
หลง ต้องอาบัติปาจิตตีย์
กรรมที่ทำถูกต้อง ภิกษุไม่แน่ใจ ทำผู้อื่นให้หลง ต้องอาบัติปาจิตตีย์
กรรมที่ทำถูกต้อง ภิกษุสำคัญว่าเป็นกรรมที่ทำไม่ถูกต้อง ทำผู้อื่นให้หลง
ต้องอาบัติปาจิตตีย์

ติกทุกกฏ
กรรมที่ทำไม่ถูกต้อง ภิกษุสำคัญว่าเป็นกรรมที่ทำถูกต้อง ต้องอาบัติทุกกฏ
กรรมที่ทำไม่ถูกต้อง ภิกษุไม่แน่ใจ ต้องอาบัติทุกกฏ
กรรมที่ทำไม่ถูกต้อง ภิกษุสำคัญว่าเป็นกรรมที่ทำไม่ถูกต้อง ต้องอาบัติทุกกฏ

อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[๔๔๘] ๑. ภิกษุยังไม่ได้ฟังพระปาติโมกข์โดยพิสดาร
๒. ภิกษุฟังพระปาติโมกข์โดยพิสดาร แต่ไม่ถึง ๒-๓ ครั้ง
๓. ภิกษุไม่ประสงค์จะทำผู้อื่นให้หลง
๔. ภิกษุวิกลจริต
๕. ภิกษุต้นบัญญัติ

โมหนสิกขาบทที่ ๓ จบ

เชิงอรรถ :
๑ หมายถึงโมหาโรปนกรรม (วิ.อ. ๒/๔๔๗/๔๒๙)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๕๕๕ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๘.สหธรรมิกวรรค ๔.ปหารสิกขาบท นิทานวัตถุ
๘. สหธรรมิกวรรค

๔. ปหารสิกขาบท
ว่าด้วยการทำร้ายเพื่อนภิกษุ

เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๔๔๙] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์โกรธ ไม่พอใจ
ทำร้ายพวกภิกษุสัตตรสวัคคีย์ พวกภิกษุสัตตรสวัคคีย์ร้องไห้ ภิกษุทั้งหลายถาม
อย่างนี้ว่า “ท่านทั้งหลาย พวกท่านร้องไห้ทำไม”
พวกภิกษุสัตตรสวัคคีย์ตอบว่า “ท่านทั้งหลาย พวกภิกษุฉัพพัคคีย์โกรธ ไม่
พอใจ ทำร้ายพวกกระผม ขอรับ”
บรรดาภิกษุผู้มักน้อย ฯลฯ พากันตำหนิ ประฌาม โพนทะนาว่า “ไฉนพวก
ภิกษุฉัพพัคคีย์จึงโกรธ ไม่พอใจ ทำร้ายภิกษุทั้งหลายเล่า” ครั้นภิกษุทั้งหลาย
ตำหนิพวกภิกษุฉัพพัคคีย์โดยประการต่าง ๆ แล้วจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มี
พระภาคให้ทรงทราบ

ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามพวกภิกษุฉัพพัคคีย์ว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า พวกเธอโกรธ ไม่พอใจ
ทำร้ายภิกษุทั้งหลายจริงหรือ” พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ฯลฯ โมฆบุรุษทั้งหลาย ไฉนพวกเธอจึงโกรธ
ไม่พอใจ ทำร้ายภิกษุทั้งหลายเล่า โมฆบุรุษทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคน
ที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ”
แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๕๕๖ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๘.สหธรรมิกวรรค ๔.ปหารสิกขาบท บทภาชนีย์
พระบัญญัติ
[๔๕๐] ก็ ภิกษุใดโกรธ ไม่พอใจ ทำร้ายภิกษุ ต้องอาบัติปาจิตตีย์
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ

สิกขาบทวิภังค์
[๔๕๑] คำว่า ก็...ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ก็...ใด
คำว่า ภิกษุ มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุ เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระ
ภาคทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุ ในความหมายนี้
คำว่า ภิกษุ คือ ภิกษุอื่น
คำว่า โกรธ ไม่พอใจ คือ ไม่ชอบใจ แค้นใจ เจ็บใจ
คำว่า ทำร้าย ความว่า ภิกษุทำร้ายด้วยกาย ด้วยของเนื่องด้วยกาย หรือ
ด้วยของที่โยนไป โดยที่สุดแม้ด้วยกลีบอุบล ต้องอาบัติปาจิตตีย์

บทภาชนีย์
ติกปาจิตตีย์
[๔๕๒] อุปสัมบัน ภิกษุสำคัญว่าเป็นอุปสัมบัน โกรธ ไม่พอใจ ทำร้าย
ต้องอาบัติปาจิตตีย์
อุปสัมบัน ภิกษุไม่แน่ใจ โกรธ ไม่พอใจ ทำร้าย ต้องอาบัติปาจิตตีย์
อุปสัมบัน ภิกษุสำคัญว่าเป็นอนุปสัมบัน โกรธ ไม่พอใจ ทำร้าย ต้องอาบัติ
ปาจิตตีย์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๕๕๗ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๘.สหธรรมิกวรรค ๔.ปหารสิกขาบท อนาปัตติวาร
ทุกกฏ
ภิกษุ โกรธ ไม่พอใจ ทำร้ายอนุปสัมบัน ต้องอาบัติทุกกฏ
อนุปสัมบัน ภิกษุสำคัญว่าเป็นอุปสัมบัน ต้องอาบัติทุกกฏ
อนุปสัมบัน ภิกษุไม่แน่ใจ ต้องอาบัติทุกกฏ
อนุปสัมบัน ภิกษุสำคัญว่าเป็นอนุปสัมบัน ต้องอาบัติทุกกฏ

อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[๔๕๓] ๑. ภิกษุถูกใคร ๆ เบียดเบียน ประสงค์จะพ้น จึงทำร้าย
๒. ภิกษุวิกลจริต
๓. ภิกษุต้นบัญญัติ

ปหารสิกขาบทที่ ๔ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๕๕๘ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๘.สหธรรมิกวรรค ๕.ตลสัตติกสิกขาบท นิทานวัตถุ
๘. สหธรรมิกวรรค

๕. ตลสัตติกสิกขาบท
ว่าด้วยการเงื้อหอกคือฝ่ามือขึ้นทำทีว่าจะทำร้าย

เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๔๕๔] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์โกรธ ไม่
พอใจเงื้อหอกคือฝ่ามือ(จะทำร้าย)๑พวกภิกษุสัตตรสวัคคีย์ พวกภิกษุสัตตรสวัคคีย์
เหล่านั้นกลัวการทำร้ายจึงร้องไห้ ภิกษุทั้งหลายถามอย่างนี้ว่า “ท่านทั้งหลาย
พวกท่านร้องไห้ทำไม”
พวกภิกษุสัตตรสวัคคีย์ตอบว่า “ท่านทั้งหลาย พวกภิกษุฉัพพัคคีย์โกรธ
ไม่พอใจ เงื้อหอกคือฝ่ามือให้พวกกระผม ขอรับ”
บรรดาภิกษุผู้มักน้อย ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพวก
ภิกษุฉัพพัคคีย์จึงโกรธ ไม่พอใจ เงื้อหอกคือฝ่ามือให้ภิกษุทั้งหลายเล่า” ครั้นภิกษุ
ทั้งหลายตำหนิพวกภิกษุฉัพพัคคีย์โดยประการต่าง ๆ แล้วจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูล
พระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ

ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามพวกภิกษุฉัพพัคคีย์ว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า พวกเธอโกรธ ไม่พอใจ
เงื้อหอกคือฝ่ามือให้ภิกษุทั้งหลาย จริงหรือ” พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ทูลรับว่า “จริง
พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ฯลฯ โมฆบุรุษทั้งหลาย
ไฉนพวกเธอจึงโกรธ ไม่พอใจ เงื้อหอกคือฝ่ามือให้ภิกษุเล่า โมฆบุรุษทั้งหลาย การ

เชิงอรรถ :
๑ ปหารทานาการํ ทสฺเสตฺวา คือแสดงอาการจะทำร้าย (วิ.อ. ๒/๔๕๔/๔๓๐)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๕๕๙ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๘.สหธรรมิกวรรค ๕.ตลสัตติกสิกขาบท บทภาชนีย์
กระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้
เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้

พระบัญญัติ
[๔๕๕] ก็ ภิกษุใดโกรธ ไม่พอใจ เงื้อหอกคือฝ่ามือให้ภิกษุ ต้องอาบัติ
ปาจิตตีย์
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ

สิกขาบทวิภังค์
[๔๕๖] คำว่า ก็...ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ก็...ใด
คำว่า ภิกษุ มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุ เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระ
ภาคทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุ ในความหมายนี้
คำว่า ภิกษุ คือ ภิกษุอื่น
คำว่า โกรธ ไม่พอใจ คือ ไม่ชอบใจ แค้นใจ เจ็บใจ
คำว่า เงื้อหอกคือฝ่ามือ ความว่า ภิกษุเงื้อกาย ของเนื่องด้วยกาย หรือโดย
ที่สุดแม้ด้วยกลีบอุบล ต้องอาบัติปาจิตตีย์

บทภาชนีย์
ติกปาจิตตีย์
[๔๕๗] อุปสัมบัน ภิกษุสำคัญว่าอุปสัมบัน โกรธ ไม่พอใจ เงื้อหอกคือ
ฝ่ามือ ต้องอาบัติปาจิตตีย์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๕๖๐ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๘.สหธรรมิกวรรค ๕.ตลสัตติกสิกขาบท อนาปัตติวาร
อุปสัมบัน ภิกษุไม่แน่ใจ โกรธ ไม่พอใจ เงื้อหอกคือฝ่ามือ ต้องอาบัติ
ปาจิตตีย์
อุปสัมบัน ภิกษุสำคัญว่าเป็นอนุปสัมบัน โกรธ ไม่พอใจ เงื้อหอกคือฝ่ามือ
ต้องอาบัติปาจิตตีย์

ทุกกฏ
ภิกษุโกรธ ไม่พอใจ เงื้อหอกคือฝ่ามือให้อนุปสัมบัน ต้องอาบัติทุกกฏ
อนุปสัมบัน ภิกษุสำคัญว่าเป็นอุปสัมบัน ต้องอาบัติทุกกฏ
อนุปสัมบัน ภิกษุไม่แน่ใจ ต้องอาบัติทุกกฏ
อนุปสัมบัน ภิกษุสำคัญว่าเป็นอนุปสัมบัน ต้องอาบัติทุกกฏ

อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[๔๕๘] ๑. ภิกษุถูกใคร ๆ เบียดเบียน ประสงค์จะพ้นจึงเงื้อหอกคือฝ่ามือ
๒. ภิกษุวิกลจริต
๓. ภิกษุต้นบัญญัติ
ตลสัตติกสิกขาบทที่ ๕ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๕๖๑ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๘.สหธรรมิกวรรค ๖.อมูลกสิกขาบท นิทานวัตถุ
๘. สหธรรมิกวรรค

๖. อมูลกสิกขาบท
ว่าด้วยการใส่ความด้วยอาบัติสังฆาทิเสสที่ไม่มีมูล

เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๔๕๙] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ใส่ความภิกษุ
ด้วยอาบัติสังฆาทิเสสไม่มีมูล
บรรดาภิกษุผู้มักน้อย ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพวก
ภิกษุฉัพพัคคีย์จึงใส่ความภิกษุด้วยอาบัติสังฆาทิเสสไม่มีมูลเล่า” ครั้นภิกษุทั้งหลาย
ตำหนิพวกภิกษุฉัพพัคคีย์โดยประการต่าง ๆ แล้วจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มี
พระภาคให้ทรงทราบ

ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามพวกภิกษุฉัพพัคคีย์ว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า พวกเธอใส่ความภิกษุ
ด้วยอาบัติสังฆาทิเสสไม่มีมูล จริงหรือ” พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ทูลรับว่า “จริง พระ
พุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ฯลฯ โมฆบุรุษทั้งหลาย ไฉน
พวกเธอจึงใส่ความภิกษุด้วยอาบัติสังฆาทิเสสไม่มีมูลเล่า โมฆบุรุษทั้งหลาย การ
กระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้
เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้

พระบัญญัติ
[๔๖๐] ก็ ภิกษุใดใส่ความภิกษุด้วยอาบัติสังฆาทิเสสที่ไม่มีมูล ต้องอาบัติ
ปาจิตตีย์
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๕๖๒ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๘.สหธรรมิกวรรค ๖.อมูลกสิกขาบท บทภาชนีย์
สิกขาบทวิภังค์
[๔๖๑] คำว่า ก็...ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ก็...ใด
คำว่า ภิกษุ มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุ เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระ
ภาคทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุ ในความหมายนี้
คำว่า ภิกษุ คือ ภิกษุอื่น
ที่ชื่อว่า ไม่มีมูล คือ ไม่ได้เห็น ไม่ได้ยิน ไม่ได้นึกสงสัย
คำว่า อาบัติสังฆาทิเสส คือ ด้วยสังฆาทิเสส ๑๓ สิกขาบท ข้อใดข้อหนึ่ง
คำว่า ใส่ความ ได้แก่ ภิกษุโจทเอง หรือสั่งผู้อื่นให้โจท ต้องอาบัติปาจิตตีย์

บทภาชนีย์
ติกปาจิตตีย์
[๔๖๒] อุปสัมบัน ภิกษุสำคัญว่าเป็นอุปสัมบัน ใส่ความด้วยอาบัติสังฆาทิเสส
ที่ไม่มีมูล ต้องอาบัติปาจิตตีย์
อุปสัมบัน ภิกษุไม่แน่ใจ ใส่ความด้วยอาบัติสังฆาทิเสสที่ไม่มีมูล ต้องอาบัติ
ปาจิตตีย์
อุปสัมบัน ภิกษุสำคัญว่าเป็นอนุปสัมบัน ใส่ความด้วยอาบัติสังฆาทิเสสที่ไม่มี
มูล ต้องอาบัติปาจิตตีย์

ทุกกฏ
ภิกษุใส่ความด้วยอาจารวิบัติหรือทิฏฐิวิบัติ๑ ต้องอาบัติทุกกฏ
ภิกษุใส่ความอนุปสัมบัน ต้องอาบัติทุกกฏ

เชิงอรรถ :
๑ “อาจารวิบัติ” คือมีความประพฤติเสียหาย ต้องอาบัติเล็กน้อย คืออาบัติถุลลัจจัย ปาจิตตีย์ ปาฏิเทสนียะ
ทุกกฏ ทุพภาสิต “ทิฏŸิวิบัติ” คือความเห็นที่คลาดเคลื่อนผิดธรรมผิดวินัย (วิ.อ. ๓/๘๔/๔๘-๔๙)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๕๖๓ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๘.สหธรรมิกวรรค ๖.อมูลกสิกขาบท อนาปัตติวาร
อนุปสัมบัน ภิกษุสำคัญว่าเป็นอุปสัมบัน ต้องอาบัติทุกกฏ
อนุปสัมบัน ภิกษุไม่แน่ใจ ต้องอาบัติทุกกฏ
อนุปสัมบัน ภิกษุสำคัญว่าเป็นอนุปสัมบัน ต้องอาบัติทุกกฏ

อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[๔๖๓] ๑. ภิกษุสำคัญว่าเป็นเรื่องจริง โจทเองหรือใช้ผู้อื่นให้โจท
๒. ภิกษุวิกลจริต
๓. ภิกษุต้นบัญญัติ

อมูลกสิกขาบทที่ ๖ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๕๖๔ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๘.สหธรรมิกวรรค ๗.สัญจิจจสิกขาบท นิทานวัตถุ
๘. สหธรรมิกวรรค

๗. สัญจิจจสิกขาบท
ว่าด้วยการจงใจก่อความรำคาญ

เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๔๖๔] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์จงใจก่อความ
รำคาญให้แก่พวกภิกษุสัตตรสวัคคีย์ด้วยกล่าวว่า “ท่านทั้งหลาย พระผู้มีพระภาค
ทรงบัญญัติสิกขาบทไว้ว่า ‘สงฆ์ไม่พึงอุปสมบทให้บุคคลอายุหย่อนกว่า ๒๐ ปี’
พวกท่านอายุหย่อนกว่า ๒๐ ปี อุปสมบทแล้ว พวกท่านคงจะยังเป็นอนุปสัมบันของ
พวกเรากระมัง” พวกภิกษุสัตตรสวัคคีย์เหล่านั้นพากันร้องไห้
ภิกษุทั้งหลายถามอย่างนี้ว่า “ท่านทั้งหลาย พวกท่านร้องไห้ทำไม”
พวกภิกษุสัตตรสวัคคีย์ตอบว่า “ท่านทั้งหลาย พวกภิกษุฉัพพัคคีย์เหล่านี้
จงใจก่อความรำคาญให้แก่พวกกระผม ขอรับ”
บรรดาภิกษุผู้มักน้อย ฯลฯ พากันตำหนิ ประฌาม โพนทะนาว่า “ไฉน
ภิกษุฉัพพัคคีย์จึงจงใจก่อความรำคาญให้แก่ภิกษุทั้งหลายเล่า” ครั้นภิกษุทั้งหลาย
ตำหนิพวกภิกษุฉัพพัคคีย์โดยประการต่าง ๆ แล้วจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มี
พระภาคให้ทรงทราบ

ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามพวกภิกษุฉัพพัคคีย์ว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า พวกเธอจงใจก่อความ
รำคาญให้แก่ภิกษุทั้งหลาย จริงหรือ” พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้า
ข้า” พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ฯลฯ โมฆบุรุษทั้งหลาย ไฉนพวกเธอจึง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๕๖๕ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๘.สหธรรมิกวรรค ๗.สัญจิจจสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์
จงใจก่อความรำคาญให้แก่ภิกษุทั้งหลายเล่า โมฆบุรุษทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้
มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้น
ได้เลย ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้

พระบัญญัติ
[๔๖๕] ก็ ภิกษุใดจงใจก่อความรำคาญให้แก่ภิกษุด้วยหวังว่า “เธอจักไม่
มีความผาสุกแม้ชั่วครู่ด้วยอุบายนี้” ประสงค์เพียงเท่านี้ ไม่มีอะไรอื่น ต้อง
อาบัติปาจิตตีย์
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ

สิกขาบทวิภังค์
[๔๖๖] คำว่า ก็...ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ก็...ใด
คำว่า ภิกษุ มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุ เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มี
พระภาคทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุ ในความหมายนี้
คำว่า ภิกษุ คือ ภิกษุอื่น
ที่ชื่อว่า จงใจ คือ รู้อยู่ รู้ดีอยู่ จงใจ ฝ่าฝืนล่วงละเมิด
คำว่า ก่อความรำคาญ ความว่า ภิกษุก่อความรำคาญกล่าวว่า “ท่านคง
จะอายุหย่อนกว่า ๒๐ ปี อุปสมบทแล้ว ท่านคงจะฉันอาหารในเวลาวิกาล ท่านคง
จะดื่มนํ้าเมา ท่านคงจะนั่งในที่ลับกับมาตุคาม” ต้องอาบัติปาจิตตีย์
คำว่า ประสงค์เพียงเท่านี้ ไม่มีอะไรอื่น คือ ไม่มีเหตุอื่นที่จะก่อความ
รำคาญให้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๕๖๖ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๘.สหธรรมิกวรรค ๗.สัญจิจจสิกขาบท อนาปัตติวาร
บทภาชนีย์
ติกปาจิตตีย์
[๔๖๗] อุปสัมบัน ภิกษุสำคัญว่าเป็นอุปสัมบัน จงใจก่อความรำคาญ ต้อง
อาบัติปาจิตตีย์
อุปสัมบัน ภิกษุไม่แน่ใจ จงใจก่อความรำคาญ ต้องอาบัติปาจิตตีย์
อุปสัมบัน ภิกษุสำคัญว่าเป็นอนุปสัมบัน จงใจก่อความรำคาญ ต้องอาบัติ
ปาจิตตีย์

ทุกกฏ
ภิกษุจงใจก่อความรำคาญให้แก่อนุปสัมบัน ต้องอาบัติทุกกฏ
อนุปสัมบัน ภิกษุสำคัญว่าเป็นอุปสัมบัน ต้องอาบัติทุกกฏ
อนุปสัมบัน ภิกษุไม่แน่ใจ ต้องอาบัติทุกกฏ
อนุปสัมบัน ภิกษุสำคัญว่าเป็นอนุปสัมบัน ต้องอาบัติทุกกฏ

อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[๔๖๘] ๑. ภิกษุไม่ประสงค์จะก่อความรำคาญ กล่าวว่า “ท่านคงจะอายุ
หย่อนกว่า ๒๐ ปี อุปสมบทแล้ว ท่านคงจะฉันอาหารเวลาวิกาล
ท่านคงจะดื่มน้ำเมา ท่านคงจะนั่งในที่ลับกับมาตุคาม ท่านจงรู้
เถิด อย่าได้มีความรำคาญภายหลังเลย”
๒. ภิกษุวิกลจริต
๓. ภิกษุต้นบัญญัติ
สัญจิจจสิกขาบทที่ ๗ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๕๖๗ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๘.สหธรรมิกวรรค ๘.อุปัสสุติสิกขาบท นิทานวัตถุ
๘. สหธรรมิกวรรค

๘. อุปัสสุติสิกขาบท
ว่าด้วยการแอบฟังภิกษุทะเลาะกัน

เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๔๖๙] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ทะเลาะกับ
ภิกษุผู้มีศีลดีงาม พวกภิกษุผู้มีศีลดีงามกล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านทั้งหลาย พวกภิกษุ
ฉัพพัคคีย์ไม่มีความละอาย พวกเราไม่อาจทะเลาะกับภิกษุพวกนี้”
พวกภิกษุฉัพพัคคีย์กล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านทั้งหลาย เหตุไรพวกท่านจึงกล่าวหา
พวกเราว่าไม่มีความละอาย”
ภิกษุผู้มีศีลดีงาม “ท่านทั้งหลาย พวกท่านได้ยินมาจากที่ไหน”
พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ตอบว่า “พวกเรายืนแอบฟังพวกท่าน”
บรรดาภิกษุผู้มักน้อย ฯลฯ พากันตำหนิ ประฌาม โพนทะนาว่า “ไฉนพวก
ภิกษุฉัพพัคคีย์จึงยืนแอบฟังพวกภิกษุผู้บาดหมาง ทะเลาะ วิวาทกันเล่า” ครั้น
ภิกษุทั้งหลายตำหนิพวกภิกษุฉัพพัคคีย์โดยประการต่าง ๆ แล้วจึงนำเรื่องนี้ไปกราบ
ทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ

ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามพวกภิกษุฉัพพัคคีย์ว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า พวกเธอยืนแอบฟังพวก
ภิกษุผู้บาดหมาง ทะเลาะ วิวาทกัน จริงหรือ” พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ทูลรับว่า “จริง พระ
พุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ฯลฯ โมฆบุรุษทั้งหลาย ไฉนพวก
เธอจึงยืนแอบฟังพวกภิกษุผู้บาดหมาง ทะเลาะ วิวาทกันเล่า โมฆบุรุษทั้งหลาย การ
กระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้
เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๕๖๘ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๘.สหธรรมิกวรรค ๘.อุปัสสุติสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์
พระบัญญัติ
[๔๗๐] ก็ ภิกษุใดยืนแอบฟังภิกษุผู้บาดหมาง ทะเลาะ วิวาทกัน ด้วย
ตั้งใจว่า “เราจะฟังคำที่ภิกษุพวกนี้กล่าว” ประสงค์เพียงเท่านี้ ไม่มีอะไรอื่น
ต้องอาบัติปาจิตตีย์
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ

สิกขาบทวิภังค์
[๔๗๑] คำว่า ก็...ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ก็...ใด
คำว่า ภิกษุ มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุ เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาค
ทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุ ในความหมายนี้
คำว่า ภิกษุ ได้แก่ ภิกษุพวกอื่น
คำว่า บาดหมาง ทะเลาะ วิวาทกัน คือ ผู้เกิดอธิกรณ์
คำว่า ยืนแอบฟัง คือ ภิกษุเดินไปด้วยตั้งใจว่า “เราจะฟังภิกษุเหล่านี้แล้ว
จักโจท ตักเตือน ว่ากล่าวตำหนิ ให้สำนึก หรือทำให้เก้อเขิน” ต้องอาบัติทุกกฏ
ยืนในที่ที่จะได้ยิน ต้องอาบัติปาจิตตีย์
ภิกษุเดินอยู่ข้างหลัง รีบเดินให้ทันด้วยตั้งใจว่า “จะฟัง” ต้องอาบัติทุกกฏ ยืน
อยู่ในที่ที่จะได้ยิน ต้องอาบัติปาจิตตีย์
ภิกษุเดินไปข้างหน้า กลับเดินให้ช้าลงด้วยตั้งใจว่า “จะฟัง” ต้องอาบัติทุกกฏ
ยืนอยู่ในที่ที่จะได้ยิน ต้องอาบัติปาจิตตีย์
เมื่อภิกษุอื่นปรึกษากันเดินผ่านมายังที่ที่ภิกษุยืน ที่ที่ภิกษุนั่ง หรือที่ที่ภิกษุ
นอน ต้องกระแอมให้รู้ตัว ถ้าไม่กระแอมหรือไม่ให้เขารู้ตัว ต้องอาบัติปาจิตตีย์
คำว่า ประสงค์เพียงเท่านี้ ไม่มีอะไรอื่น ความว่า ไม่มีเหตุผลอื่นที่จะยืน
แอบฟัง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๕๖๙ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๘.สหธรรมิกวรรค ๘.อุปัสสุติสิกขาบท อนาปัตติวาร
บทภาชนีย์
ติกปาจิตตีย์
[๔๗๒] อุปสัมบัน ภิกษุสำคัญว่าเป็นอุปสัมบัน ยืนแอบฟัง ต้องอาบัติ
ปาจิตตีย์
อุปสัมบัน ภิกษุไม่แน่ใจ ยืนแอบฟัง ต้องอาบัติปาจิตตีย์
อุปสัมบัน ภิกษุสำคัญว่าเป็นอนุปสัมบัน ยืนแอบฟัง ต้องอาบัติปาจิตตีย์

ทุกกฏ
ภิกษุยืนแอบฟังอนุปสัมบัน ต้องอาบัติทุกกฏ
อนุปสัมบัน ภิกษุสำคัญว่าเป็นอุปสัมบัน ต้องอาบัติทุกกฏ
อนุปสัมบัน ภิกษุไม่แน่ใจ ต้องอาบัติทุกกฏ
อนุปสัมบัน ภิกษุสำคัญว่าเป็นอนุปสัมบัน ต้องอาบัติทุกกฏ

อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[๔๗๓] ๑. ภิกษุเดินไปด้วยหมายใจว่า “จักฟังคำของภิกษุเหล่านี้แล้ว จัก
งด จักเว้น จักระงับ จักปลดเปลื้องตัว”
๒. ภิกษุวิกลจริต
๓. ภิกษุต้นบัญญัติ

อุปัสสุติสิกขาบทที่ ๘ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๕๗๐ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๘.สหธรรมิกวรรค ๙.กัมมปฏิพาหนสิกขาบท นิทานวัตถุ
๘. สหธรรมิกวรรค

๙. กัมมปฏิพาหนสิกขาบท
ว่าด้วยการคัดค้านกรรมที่ถูกต้อง

เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๔๗๔] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ประพฤติไม่
สมควร เมื่อสงฆ์กำลังทำกรรมแก่ภิกษุแต่ละรูป ได้พากันคัดค้าน ครั้งนั้น สงฆ์
ประชุมกันด้วยกรณียกิจบางอย่าง พวกภิกษุฉัพพัคคีย์มัวตัดเย็บจีวรอยู่ จึงได้มอบ
ฉันทะให้ภิกษุรูปหนึ่งไป ทีนั้น สงฆ์กล่าวว่า “ท่านทั้งหลาย ภิกษุนี้อยู่ในกลุ่ม
ภิกษุฉัพพัคคีย์มาเพียงรูปเดียว พวกเราจะทำกรรมแก่เธอ” แล้วได้ทำกรรมแก่
ภิกษุฉัพพัคคีย์รูปนั้น ต่อมา ภิกษุนั้นเข้าไปหาพวกภิกษุฉัพพัคคีย์ถึงที่อยู่ พวก
ภิกษุฉัพพัคคีย์ได้กล่าวกับภิกษุนั้นดังนี้ว่า “ท่าน สงฆ์ทำอะไร”
ภิกษุนั้นตอบว่า “สงฆ์ทำกรรมแก่กระผมขอรับ”
พวกภิกษุฉัพพัคคีย์กล่าวว่า “ท่าน พวกเราไม่ได้ให้ฉันทะเพื่อจะให้สงฆ์ทำ
กรรมแก่ท่าน ถ้าพวกเราทราบว่าสงฆ์จะทำกรรมแก่ท่าน ก็จะไม่ยอมให้ฉันทะไป”
บรรดาภิกษุผู้มักน้อย ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพวก
ภิกษุฉัพพัคคีย์เมื่อให้ฉันทะเพื่อกรรมที่ทำถูกต้องแล้วกลับติเตียนในภายหลังเล่า”
ครั้นภิกษุทั้งหลายตำหนิพวกภิกษุฉัพพัคคีย์โดยประการต่าง ๆ แล้วจึงนำเรื่องนี้ไป
กราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ

ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามพวกภิกษุฉัพพัคคีย์ว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า พวกเธอให้ฉันทะเพื่อ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๕๗๑ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๘.สหธรรมิกวรรค ๙.กัมมปฏิพาหนสิกขาบท บทภาชนีย์
กรรมที่ทำถูกต้องแล้วกลับติเตียนในภายหลัง จริงหรือ” พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ทูลรับ
ว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ฯลฯ โมฆบุรุษ
ทั้งหลาย ไฉนพวกเธอให้ฉันทะเพื่อกรรมที่ทำถูกต้องแล้วกลับติเตียนในภายหลังเล่า
โมฆบุรุษทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใสหรือทำ
คนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยก
สิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้

พระบัญญัติ
[๔๗๕] ก็ ภิกษุใดให้ฉันทะเพื่อกรรมที่ทำถูกต้องแล้ว กลับติเตียนใน
ภายหลัง ต้องอาบัติปาจิตตีย์
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ

สิกขาบทวิภังค์
[๔๗๖] คำว่า ก็...ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ก็...ใด
คำว่า ภิกษุ มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุ เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระ
ภาคทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุ ในความหมายนี้
ที่ชื่อว่า กรรมที่ทำถูกต้อง ได้แก่ อปโลกนกรรม ญัตติกรรม ญัตติทุติยกรรม
และญัตติจตุตถกรรม ที่สงฆ์ทำโดยธรรม โดยวินัย โดยสัตถุศาสน์ นี้ชื่อว่ากรรม
ที่ทำถูกต้อง
ภิกษุให้ฉันทะไปแล้วกลับติเตียน ต้องอาบัติปาจิตตีย์

บทภาชนีย์
[๔๗๗] กรรมที่ทำถูกต้อง ภิกษุสำคัญว่าเป็นกรรมที่ทำถูกต้อง ให้ฉันทะไป
แล้วกลับติเตียน ต้องอาบัติปาจิตตีย์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๕๗๒ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๘.สหธรรมิกวรรค ๙.กัมมปฏิพาหนสิกขาบท อนาปัตติวาร
กรรมที่ทำถูกต้อง ภิกษุไม่แน่ใจ ให้ฉันทะไปแล้วกลับติเตียน ต้องอาบัติทุกกฏ
กรรมที่ทำถูกต้อง ภิกษุสำคัญว่าเป็นกรรมที่ทำไม่ถูกต้อง ให้ฉันทะไปแล้ว
กลับติเตียน ไม่ต้องอาบัติ
กรรมที่ทำไม่ถูกต้อง ภิกษุสำคัญว่าเป็นกรรมที่ทำถูกต้อง ต้องอาบัติทุกกฏ
กรรมที่ทำไม่ถูกต้อง ภิกษุไม่แน่ใจ ต้องอาบัติทุกกฏ
กรรมที่ทำไม่ถูกต้อง ภิกษุสำคัญว่าเป็นกรรมที่ทำไม่ถูกต้อง ไม่ต้องอาบัติ

อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[๔๗๘] ๑. ภิกษุรู้อยู่ว่า “สงฆ์ทำกรรมไม่ชอบธรรม แยกกันทำ หรือทำแก่
ภิกษุผู้ไม่ควรแก่กรรม” จึงติเตียน
๒. ภิกษุวิกลจริต
๓. ภิกษุต้นบัญญัติ

กัมมปฏิพาหนสิกขาบทที่ ๙ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๕๗๓ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๘.สหธรรมิกวรรค ๑๐.ฉันทอทัตวาคมนสิกขาบท นิทานวัตถุ
๘. สหธรรมิกวรรค

๑๐. ฉันทอทัตวาคมนสิกขาบท
ว่าด้วยการไม่ให้ฉันทะแล้วไปเสีย

เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๔๗๙] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น สงฆ์ประชุมกันด้วยกรณียกิจบาง
อย่าง พวกภิกษุฉัพพัคคีย์มัวตัดเย็บจีวรอยู่ จึงได้มอบฉันทะให้ภิกษุรูปหนึ่งไป ต่อมา
สงฆ์ตั้งญัตติว่า “สงฆ์ประชุมกันเพื่อประโยชน์แก่กรรมใด พวกเราจักทำกรรมนั้น”
ลำดับนั้น ภิกษุรูปนั้นได้กล่าวว่า “ภิกษุเหล่านี้ทำกรรมแก่ภิกษุแต่ละรูป
อย่างนี้ พวกท่านจะทำกรรมแก่ใครกันเล่า” ไม่ให้ฉันทะแล้วลุกจากอาสนะจากไป
บรรดาภิกษุผู้มักน้อย ฯลฯ พากันตำหนิ ประฌาม โพนทะนาว่า “ไฉนภิกษุ
เมื่อยังมีเรื่องที่ต้องวินิจฉัยอยู่ในสงฆ์ จึงไม่ให้ฉันทะแล้วลุกจากอาสนะจากไปเล่า”
ครั้นภิกษุทั้งหลายตำหนิภิกษุนั้นโดยประการต่าง ๆ แล้วจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระ
ผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ

ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามภิกษุนั้นว่า “ภิกษุ ทราบว่า เธอเมื่อยังมีเรื่องที่ต้องวินิจฉัยอยู่ในสงฆ์
ไม่ให้ฉันทะแล้วลุกจากอาสนะจากไป จริงหรือ” ภิกษุนั้นทูลรับว่า “จริง พระ
พุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ฯลฯ โมฆบุรุษ ไฉนเธอ เมื่อ
ยังมีเรื่องที่ต้องวินิจฉัยอยู่ในสงฆ์ จึงไม่ให้ฉันทะแล้วลุกจากอาสนะจากไปเล่า
โมฆบุรุษ การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใส
อยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้น
แสดงดังนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๕๗๔ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๘.สหธรรมิกวรรค ๑๐.ฉันทอทัตวาคมนสิกขาบท บทภาชนีย์
พระบัญญัติ
[๔๘๐] ก็ ภิกษุใด เมื่อยังมีเรื่องที่ต้องวินิจฉัยในสงฆ์ ไม่ให้ฉันทะแล้ว
ลุกจากอาสนะจากไป ต้องอาบัติปาจิตตีย์
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ

สิกขาบทวิภังค์
[๔๘๑] คำว่า ก็...ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ก็...ใด
คำว่า ภิกษุ มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุ เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระ
ภาคทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุ ในความหมายนี้
ที่ชื่อว่า เรื่องที่ต้องวินิจฉัยในสงฆ์ ได้แก่ (๑) เรื่องที่โจทก์แจ้งไว้ แต่ยังไม่ได้
วินิจฉัย (๒) เรื่องที่ตั้งญัตติไว้แล้ว (๓) กรรมวาจายังสวดค้างอยู่
คำว่า ไม่ให้ฉันทะแล้วลุกจากอาสนะจากไป คือ ภิกษุไปด้วยตั้งใจว่า
“ทำอย่างไร กรรมนี้พึงเสียหาย จะพึงแยกพวกกัน พึงทำไม่ได้” ต้องอาบัติทุกกฏ
กำลังละหัตถบาสที่ชุมนุมสงฆ์ ต้องอาบัติทุกกฏ ละหัตถบาสไปแล้ว ต้องอาบัติ
ปาจิตตีย์

บทภาชนีย์
[๔๘๒] กรรมที่ทำถูกต้อง ภิกษุสำคัญว่าเป็นกรรมที่ทำถูกต้อง ไม่ให้ฉันทะ
ลุกจากอาสนะจากไป ต้องอาบัติปาจิตตีย์
กรรมที่ทำถูกต้อง ภิกษุไม่แน่ใจ ไม่ให้ฉันทะ ลุกจากอาสนะจากไป ต้องอาบัติ
ปาจิตตีย์


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๕๗๕ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๘.สหธรรมิกวรรค ๑๐.ฉันทอทัตวาคมนสิกขาบท อนาปัตติวาร
กรรมที่ทำถูกต้อง ภิกษุสำคัญว่าเป็นกรรมที่ทำไม่ถูกต้อง ไม่ให้ฉันทะ ลุก
จากอาสนะจากไป ไม่ต้องอาบัติ

ทุกกฎ
กรรมที่ทำไม่ถูกต้อง ภิกษุสำคัญว่าเป็นกรรมที่ทำถูกต้อง ต้องอาบัติทุกกฏ
กรรมที่ทำไม่ถูกต้อง ภิกษุไม่แน่ใจ ต้องอาบัติทุกกฏ
กรรมที่ทำไม่ถูกต้อง ภิกษุสำคัญว่าเป็นกรรมที่ทำไม่ถูกต้อง ไม่ต้องอาบัติ

อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[๔๘๓] ๑. ภิกษุจากไปด้วยคิดว่า “สงฆ์จักมีความบาดหมาง ทะเลาะ
ขัดแย้งหรือวิวาทกัน”
๒. ภิกษุจากไปด้วยคิดว่า “สงฆ์จักแตกแยก จักร้าวราน”
๓. ภิกษุจากไปด้วยคิดว่า “สงฆ์จักทำกรรมโดยไม่เป็นธรรม แยก
พวกกันทำ หรือทำแก่ภิกษุผู้ไม่ควรแก่กรรม”
๔. ภิกษุเป็นไข้จึงจากไป
๕. ภิกษุจากไปด้วยกิจที่จำเป็นของภิกษุผู้เป็นไข้
๖. ภิกษุปวดอุจจาระปวดปัสสาวะแล้วจากไป
๗. ภิกษุไม่ตั้งใจทำให้กรรมเสีย จากไปด้วยคิดว่าจะกลับมาอีก
๘. ภิกษุวิกลจริต
๙. ภิกษุต้นบัญญัติ

ฉันทอทัตวาคมนสิกขาบทที่ ๑๐ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๕๗๖ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๘.สหธรรมิกวรรค ๑๑.ทัพพสิกขาบท นิทานวัตถุ
๘. สหธรรมิกวรรค

๑๑. ทัพพสิกขาบท
ว่าด้วยการถวายจีวรแก่พระทัพพมัลลบุตร

เรื่องพระทัพพมัลลบุตร
[๔๘๔] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเวฬุวัน สถานที่
ให้เหยื่อกระแต เขตกรุงราชคฤห์ ครั้งนั้น ท่านพระทัพพมัลลบุตรจัดแจงเสนาสนะ
และแจกภัตตาหารแก่สงฆ์ ท่านมีจีวรเก่า คราวนั้น จีวรผืนหนึ่งได้เกิดขึ้นแก่สงฆ์
ครั้นแล้วสงฆ์ได้ถวายจีวรนั้นแก่ท่านพระทัพพมัลลบุตร
พวกภิกษุฉัพพัคคีย์พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “พวกภิกษุน้อมลาภ
สงฆ์ไปตามความคุ้นเคยกัน”
บรรดาภิกษุผู้มักน้อย ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพวก
ภิกษุฉัพพัคคีย์ร่วมกับสงฆ์ผู้พร้อมเพรียงกันให้จีวรไปแล้วกลับตำหนิในภายหลัง
เล่า” ครั้นภิกษุทั้งหลายตำหนิพวกภิกษุฉัพพัคคีย์โดยประการต่าง ๆ แล้วจึงนำเรื่อง
นี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ

ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามพวกภิกษุฉัพพัคคีย์ว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า พวกเธอร่วมกับสงฆ์
ผู้พร้อมเพรียงกันให้จีวรไปแล้ว กลับตำหนิในภายหลัง จริงหรือ” พวกภิกษุ
ฉัพพัคคีย์ทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า
“ฯลฯ โมฆบุรุษทั้งหลาย ไฉนพวกเธอร่วมกับสงฆ์ผู้พร้อมเพรียงกันให้จีวรไปแล้ว
กลับตำหนิในภายหลังเล่า โมฆบุรุษทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่
เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ” แล้ว
จึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๕๗๗ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๘.สหธรรมิกวรรค ๑๑.ทัพพสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์
พระบัญญัติ
[๔๘๕] ก็ ภิกษุใดร่วมกับสงฆ์ผู้พร้อมเพรียงกัน ให้จีวรไปแล้วกลับ
ติเตียนในภายหลังว่า “พวกภิกษุน้อมลาภที่เป็นของสงฆ์ไปตามความคุ้นเคย
กัน” ต้องอาบัติปาจิตตีย์
เรื่องพระทัพพมัลลบุตร จบ

สิกขาบทวิภังค์
[๔๘๖] คำว่า ก็...ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ก็...ใด
คำว่า ภิกษุ มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุ เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาค
ทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุ ในความหมายนี้
สงฆ์ที่ชื่อว่า พร้อมเพรียงกัน คือ มีสังวาสเสมอกัน อยู่ในสมานสังวาสสีมา
เดียวกัน
ที่ชื่อว่า จีวร ได้แก่ บรรดาจีวร ๖ ชนิด อย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งมีขนาดพอ
ที่จะวิกัปได้เป็นอย่างตํ่า
คำว่า ให้ คือ ให้เอง
ที่ชื่อว่า ตามความคุ้นเคยกัน คือ ตามความเป็นมิตร ตามความเป็นเพื่อน
ตามความใกล้ชิด ตามที่เป็นผู้ร่วมพระอุปัชฌาย์ ตามที่เป็นผู้ร่วมพระอาจารย์กันมา
ที่ชื่อว่า ที่เป็นของสงฆ์ คือ ที่เขาถวาย ที่เขาบริจาคแล้วแก่สงฆ์
ที่ชื่อว่า ลาภ ได้แก่ จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร
โดยที่สุดแม้ก้อนจุรณ ไม้สีฟัน หรือด้ายชายผ้า
คำว่า ภายหลังกลับติเตียน ความว่า ภิกษุเมื่อให้จีวรแก่อุปสัมบันที่สงฆ์
แต่งตั้งให้เป็นเจ้าหน้าที่จัดแจงเสนาสนะ แจกอาหาร แจกข้าวต้ม แจกผลไม้ แจก
ของเคี้ยว หรือแจกของเล็ก ๆ น้อย ๆ กลับติเตียน ต้องอาบัติปาจิตตีย์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๕๗๘ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๘.สหธรรมิกวรรค ๑๑.ทัพพสิกขาบท บทภาชนีย์
บทภาชนีย์
ติกปาจิตตีย์
[๔๘๗] กรรมที่ทำถูกต้อง ภิกษุสำคัญว่าเป็นกรรมที่ทำถูกต้อง ให้จีวรไปแล้ว
กลับติเตียน ต้องอาบัติปาจิตตีย์
กรรมที่ทำถูกต้อง ภิกษุไม่แน่ใจ ให้จีวรไปแล้วกลับติเตียน ต้องอาบัติ
ปาจิตตีย์
กรรมที่ทำถูกต้อง ภิกษุสำคัญว่าเป็นกรรมที่ทำไม่ถูกต้อง ให้จีวรไปแล้วกลับ
ติเตียน ไม่ต้องอาบัติ

ทุกกฏ
ภิกษุให้บริขารอย่างอื่นไปแล้วกลับติเตียน ต้องอาบัติทุกกฏ
ภิกษุให้จีวรหรือบริขารอย่างอื่นแก่อุปสัมบันที่สงฆ์ไม่ได้แต่งตั้งให้เป็นเจ้าหน้าที่
จัดแจงเสนาสนะ แจกอาหาร แจกข้าวต้ม แจกผลไม้ แจกของเคี้ยว หรือแจกของ
เล็ก ๆ น้อย ๆ แล้วกลับติเตียน ต้องอาบัติทุกกฏ
ภิกษุให้จีวรหรือบริขารอย่างอื่นแก่อนุปสัมบันที่สงฆ์แต่งตั้งหรือไม่ได้แต่งตั้ง
ให้เป็นเจ้าหน้าที่จัดแจงเสนาสนะ แจกอาหาร แจกข้าวต้ม แจกผลไม้ แจกของเคี้ยว
หรือแจกของเล็ก ๆ น้อย ๆ แล้วกลับติเตียน ต้องอาบัติทุกกฏ
กรรมที่ทำไม่ถูกต้อง ภิกษุสำคัญว่าเป็นกรรมที่ทำถูกต้อง ต้องอาบัติทุกกฏ
กรรมที่ทำไม่ถูกต้อง ภิกษุไม่แน่ใจ ต้องอาบัติทุกกฏ
กรรมที่ทำไม่ถูกต้อง ภิกษุสำคัญว่าเป็นกรรมที่ทำไม่ถูกต้อง ไม่ต้องอาบัติ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๕๗๙ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๘.สหธรรมิกวรรค ๑๑.ทัพพสิกขาบท อนาปัตติวาร
อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[๔๘๘] ๑. ภิกษุติเตียนสงฆ์ที่มักทำไปด้วยความลำเอียงเพราะชอบ ลำเอียง
เพราะชัง ลำเอียงเพราะหลง ลำเอียงเพราะกลัวว่า “ลาภที่สงฆ์
ให้แก่ภิกษุนั้นไปจะมีประโยชน์อะไร ท่านได้ไปก็จะเอาไปทิ้ง ไม่
ใช้สอยในทางที่ชอบ”
๒. ภิกษุวิกลจริต
๓. ภิกษุต้นบัญญัติ

ทัพพสิกขาบทที่ ๑๑ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๕๘๐ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๘.สหธรรมิกวรรค ๑๒.ปริณามนสิกขาบท นิทานวัตถุ
๘. สหธรรมิกวรรค

๑๒. ปริณามนสิกขาบท
ว่าด้วยการน้อมลาภที่เป็นของสงฆ์ไปเพื่อบุคคล

เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๔๘๙] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น สมาคมหนึ่งในกรุงสาวัตถี
เตรียมภัตตาหารพร้อมจีวรไว้ถวายสงฆ์ด้วยตั้งใจว่า “พวกเราจักนิมนต์ภิกษุให้ฉัน
แล้วให้ครองจีวร”
ต่อมา พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ได้เข้าไปหาสมาคมนั้นถึงที่อยู่ ครั้นถึงแล้วได้
กล่าวกับสมาคมนั้นดังนี้ว่า “ท่านทั้งหลาย พวกท่านโปรดถวายจีวรแก่ภิกษุ
เหล่านี้”
สมาคมนั้นกล่าวว่า “ท่านผู้เจริญ พวกเราจะไม่ถวาย พวกเราจัดภิกษาหาร
พร้อมกับจีวรไว้ถวายสงฆ์เป็นประจำทุกปี”
พวกภิกษุฉัพพัคคีย์กล่าวว่า “ท่านทั้งหลาย ทายกของสงฆ์มีหลายคน
ภัตตาหารของสงฆ์ก็มีจำนวนมาก ภิกษุเหล่านี้อาศัยพวกท่าน เห็นแก่พวกท่าน
จึงอยู่ที่นี้ ถ้าพวกท่านไม่ถวายแก่ภิกษุเหล่านี้แล้ว คราวนี้ ใครเล่าจะถวายแก่ภิกษุ
เหล่านี้ พวกท่านโปรดถวายจีวรแก่ภิกษุเหล่านี้เถิด”
ลำดับนั้น เมื่อถูกพวกภิกษุฉัพพัคคีย์รบเร้า สมาคมนั้นจึงถวายจีวรตามที่จัด
ไว้แล้วแก่พวกภิกษุฉัพพัคคีย์แล้วประเคนสงฆ์เฉพาะภัตตาหาร
พวกภิกษุที่ทราบว่า “สมาคมจัดภัตตาหารพร้อมกับจีวรไว้ถวายสงฆ์” แต่
ไม่ทราบว่า “พวกเขาถวายพวกภิกษุฉัพพัคคีย์ไปแล้ว” จึงกล่าวอย่างนี้ว่า “ท่าน
ทั้งหลาย พวกท่านจงน้อมถวายจีวรแก่สงฆ์เถิด”


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๕๘๑ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๘.สหธรรมิกวรรค ๑๒.ปริณามนสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์
สมาคมนั้นกล่าวว่า “ท่านผู้เจริญ ไม่มีจีวรตามที่เคยจัดไว้ พระคุณเจ้า
ฉัพพัคคีย์น้อมไปเพื่อพระคุณเจ้าฉัพพัคคีย์ด้วยกันแล้ว”
บรรดาภิกษุผู้มักน้อย ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพวก
ภิกษุฉัพพัคคีย์รู้อยู่จึงน้อมลาภที่เขาน้อมไว้เป็นของจะถวายสงฆ์ไปเพื่อบุคคลเล่า”
ครั้นภิกษุทั้งหลายตำหนิพวกภิกษุฉัพพัคคีย์โดยประการต่าง ๆ แล้วจึงนำเรื่องนี้ไป
กราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ

ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามพวกภิกษุฉัพพัคคีย์ว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า พวกเธอรู้อยู่ น้อมลาภ
ที่เขาน้อมไว้เป็นของจะถวายสงฆ์ไปเพื่อบุคคล จริงหรือ” พวกภิกษุฉัพพัคคีย์
ทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ฯลฯ
โมฆบุรุษทั้งหลาย ไฉนพวกเธอรู้อยู่จึงน้อมลาภที่เขาน้อมไว้เป็นของจะถวายสงฆ์ไป
เพื่อบุคคลเล่า โมฆบุรุษทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้
เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่งให้
ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้

พระบัญญัติ
[๔๙๐] ก็ ภิกษุใดรู้อยู่ น้อมลาภที่เขาน้อมไว้เป็นของจะถวายสงฆ์ไปเพื่อ
บุคคล ต้องอาบัติปาจิตตีย์
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ

สิกขาบทวิภังค์
[๔๙๑] คำว่า ก็...ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ก็...ใด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๕๘๒ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๘.สหธรรมิกวรรค ๑๒.ปริณามนสิกขาบท บทภาชนีย์
คำว่า ภิกษุ มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุ เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระ
ภาคทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุ ในความหมายนี้
ที่ชื่อว่า รู้อยู่ คือ ภิกษุรู้เอง คนเหล่าอื่นบอกภิกษุนั้น หรือคนนั้นบอก
ที่ชื่อว่า เป็นของจะถวายสงฆ์ ได้แก่ เป็นของที่เขาถวายหรือบริจาคแล้วแก่
สงฆ์
ที่ชื่อว่า ลาภ ได้แก่ จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร
โดยที่สุดกระทั่งก้อนจุรณ ไม้สีฟัน หรือด้ายชายผ้า
ที่ชื่อว่า น้อมไว้ คือ เขาเปล่งวาจาว่า “เราจะถวาย จะกระทำ” ภิกษุน้อม
ลาภนั้นไปเพื่อบุคคล ต้องอาบัติปาจิตตีย์

บทภาชนีย์
[๔๙๒] ลาภที่เขาน้อมไว้แล้ว ภิกษุสำคัญว่าเขาน้อมไว้แล้ว น้อมไปเพื่อบุคคล
ต้องอาบัติปาจิตตีย์
ลาภที่เขาน้อมไว้แล้ว ภิกษุไม่แน่ใจ น้อมไปเพื่อบุคคล ต้องอาบัติทุกกฏ
ลาภที่เขาน้อมไว้แล้ว ภิกษุสำคัญว่าเขาไม่ได้น้อมไว้แล้ว น้อมไปเพื่อบุคคล
ไม่เป็นอาบัติ
ลาภที่เขาน้อมไว้เพื่อสงฆ์ ภิกษุน้อมไปเพื่อสงฆ์หมู่อื่นหรือเพื่อเจดีย์ ต้อง
อาบัติทุกกฏ
ลาภที่เขาน้อมไว้เพื่อเจดีย์ ภิกษุน้อมไปเพื่อเจดีย์อื่น เพื่อสงฆ์ หรือเพื่อ
บุคคล ต้องอาบัติทุกกฏ
ลาภที่เขาน้อมไว้เพื่อบุคคล ภิกษุน้อมไปเพื่อบุคคลอื่น เพื่อสงฆ์ หรือเพื่อเจดีย์
ต้องอาบัติทุกกฏ
ลาภที่เขายังไม่ได้น้อมไว้ ภิกษุสำคัญว่าเขาน้อมไว้ ต้องอาบัติทุกกฏ
ลาภที่เขายังไม่ได้น้อมไว้ ภิกษุไม่แน่ใจ ต้องอาบัติทุกกฏ
ลาภที่เขายังไม่ได้น้อมไว้ ภิกษุสำคัญว่าเขายังไม่ได้น้อมไว้ ไม่ต้องอาบัติ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๕๘๓ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๙.รตนวรรค รวมสิกขาบทที่มีในสหธรรมิกวรรค
อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[๔๙๓] ๑. ภิกษุถูกทายกถามว่า “จะถวายที่ไหน” จึงแนะนำว่า “ไทยธรรม
ของพวกท่านพึงได้รับการใช้สอย ได้รับการปฏิสังขรณ์ หรืออยู่
นานในที่ใด หรือท่านมีจิตเลื่อมใสในที่ใด จงถวายในที่นั้นเถิด”
๒. ภิกษุวิกลจริต
๓. ภิกษุต้นบัญญัติ
ปริณามนสิกขาบทที่ ๑๒ จบ
สหธรรมิกวรรคที่ ๘ จบ

รวมสิกขาบทที่มีในสหธรรมิกวรรค
สหธรรมิกวรรคมี ๑๒ สิกขาบท คือ

๑. สหธรรมิกสิกขาบท ว่าด้วยการกล่าวตักเตือนผู้ร่วมประพฤติ
ธรรมโดยชอบธรรม
๒. วิเลขนสิกขาบท ว่าด้วยความยุ่งยากแห่งสิกขาบท
๓. โมหนสิกขาบท ว่าด้วยการทำให้ผู้อื่นหลง
๔. ปหารสิกขาบท ว่าด้วยการทำร้ายเพื่อนภิกษุ
๕. ตลสัตติกสิกขาบท ว่าด้วยการเงื้อหอกคือฝ่ามือขึ้นทำทีว่าจะ
ทำร้าย
๖. อมูลกสิกขาบท ว่าด้วยการใส่ความด้วยอาบัติสังฆาทิเสส
ที่ไม่มีมูล
๗. สัญจิจจสิกขาบท ว่าด้วยการจงใจก่อความรำคาญ
๘. อุปัสสุติสิกขาบท ว่าด้วยการแอบฟังภิกษุทะเลาะกัน
๙. กัมมปฏิพาหนสิกขาบท ว่าด้วยการคัดค้านกรรมที่ถูกต้อง
๑๐. ฉันทอทัตวาคมนสิกขาบท ว่าด้วยการไม่ให้ฉันทะแล้วไปเสีย
๑๑. ทัพพสิกขาบท ว่าด้วยการถวายจีวรแก่พระทัพพมัลลบุตร
๑๒. ปริณามนสิกขาบท ว่าด้วยการน้อมลาภที่เป็นของสงฆ์ไปเพื่อ
บุคคล


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๕๘๔ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๙.รตนวรรค ๑.อันเตปุรสิกขาบท นิทานวัตถุ
๙. รตนวรรค
หมวดว่าด้วยรัตนะ

๑. อันเตปุรสิกขาบท
ว่าด้วยการเข้าเขตพระราชฐานชั้นใน

เรื่องพระเจ้าปเสนทิโกศล
[๔๙๔] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พระเจ้าปเสนทิโกศลรับสั่งกับ
เจ้าหน้าที่เฝ้าพระราชอุทยานว่า “พนาย ท่านจงไปทำความสะอาดอุทยาน เราจักไป
อุทยาน”
เจ้าหน้าที่เฝ้าพระราชอุทยานรับสนองพระราชโองการแล้วจึงไปทำความสะอาด
พระราชอุทยาน ได้เห็นพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับนั่งอยู่ ณ ควงไม้ต้นหนึ่ง
ครั้นเห็นแล้วจึงเข้าไปเฝ้าพระเจ้าปเสนทิโกศลถึงที่ประทับ ครั้นถึงแล้วได้กราบทูล
พระเจ้าปเสนทิโกศลดังนี้ว่า “ขอเดชะ พระราชอุทยานสะอาดแล้ว พระผู้มีพระภาค
พุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระราชอุทยานนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
ท้าวเธอรับสั่งว่า “ช่างเถิด พนาย พวกเราจะไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค” ครั้นแล้ว
พระเจ้าปเสนทิโกศลได้เสด็จไปพระราชอุทยานแล้วเสด็จเข้าไปทางที่พระผู้มีพระภาค
ประทับอยู่
ขณะนั้น อุบาสกคนหนึ่งนั่งเฝ้าอยู่ใกล้พระผู้มีพระภาค พระเจ้าปเสนทิโกศลได้
ทอดพระเนตรเห็นอุบาสกผู้นั่งเฝ้าอยู่ใกล้พระผู้มีพระภาค ครั้นทอดพระเนตรเห็น
แล้วได้ประทับยืนตกพระทัย ทีนั้น พระเจ้าปเสนทิโกศลได้ทรงมีพระดำริดังนี้ว่า
“ชายคนนี้คงไม่ใช่คนเลว เขาถึงได้เข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคอยู่ใกล้ ๆ ได้” จึงเสด็จเข้าไปเฝ้า
พระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ครั้นถึงแล้วได้ถวายอภิวาทพรระผู้มีพระภาคแล้วประทับ
นั่ง ณ ที่สมควร


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๕๘๕ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๙.รตนวรรค ๑.อันเตปุรสิกขาบท นิทานวัตถุ
ขณะนั้นอุบาสกนั้นไม่ถวายบังคม ไม่ลุกรับเสด็จพระเจ้าปเสนทิโกศล เพราะ
มีความเคารพต่อพระผู้มีพระภาค
ลำดับนั้น พระเจ้าปเสนทิโกศลไม่ทรงพอพระทัยว่า “ไฉนชายคนนี้ เมื่อเรามา
ถึงจึงไม่ถวายบังคม ไม่ต้อนรับเล่า”
พระผู้มีพระภาคทรงทราบว่าพระเจ้าปเสนทิโกศลไม่ทรงพอพระทัย จึงได้ตรัส
กับพระเจ้าปเสนทิโกศลดังนี้ว่า “มหาบพิตร อุบาสกคนนี้เป็นพหูสูต จำสิ่งที่ได้
เล่าเรียนมาได้ ปราศจากความกำหนัดในกามทั้งหลาย”
ขณะนั้น พระเจ้าปเสนทิโกศลได้ทรงพระดำริดังนี้ว่า “อุบาสกนี้ไม่ใช่คน
ตํ่าต้อย แม้พระผู้มีพระภาคยังตรัสพรรณนาคุณของอุบาสกนี้” จึงได้รับสั่งกับ
อุบาสกนั้นดังนี้ว่า “อุบาสก ท่านพูดสิ่งที่จะก่อให้เกิดประโยชน์เถิด”
อุบาสกกราบทูลว่า “เป็นพระมหากรุณาธิคุณอย่างล้นเกล้าฯ พระพุทธเจ้าข้า”
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงชี้แจงให้พระเจ้าปเสนทิโกศลเห็นชัด ชวนให้อยาก
รับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริงด้วย
ธรรมีกถา ลำดับนั้น พระเจ้าปเสนทิโกศลผู้ซึ่งพระผู้มีพระภาคทรงชี้แจงให้เห็นชัด
ชวนให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่น
ร่าเริงด้วยธรรมีกถาแล้ว จึงเสด็จลุกจากอาสนะ ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาค ทำ
ประทักษิณแล้วเสด็จไป
[๔๙๕] ครั้งนั้น พระเจ้าปเสนทิโกศลประทับอยู่บนปราสาทชั้นบน ได้ทอด
พระเนตรเห็นอุบาสกนั้นเดินกั้นร่มไปตามถนน ครั้นเห็นแล้วจึงรับสั่งให้เชิญมาเฝ้า
แล้วได้ตรัสกับอุบาสกนั้นดังนี้ว่า “อุบาสก ทราบว่า เธอเป็นพหูสูต จำสิ่งที่ได้
เล่าเรียนมาได้ อุบาสก เธอช่วยสอนธรรมในตำหนักของเราด้วยเถิด”
อุบาสกกราบทูลว่า “ขอเดชะ ข้าพระพุทธเจ้ารู้ธรรมจากพระคุณเจ้าทั้งหลาย
พระคุณเจ้าทั้งหลายเท่านั้นจักสอนธรรมพระสนมของพระองค์ได้”
ลำดับนั้น พระเจ้าปเสนทิโกศลจึงรับสั่งว่า “อุบาสกกล่าวจริง” จึงเข้าไปเฝ้า
พระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ครั้นถึงแล้วได้ถวายอภิวาทแล้วประทับนั่ง ณ ที่สมควร


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๕๘๖ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๙.รตนวรรค ๑.อันเตปุรสิกขาบท นิทานวัตถุ
พระเจ้าปเสนทิโกศลผู้ประทับนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ขอประทานวโรกาสเถิด พระพุทธเจ้าข้า ขอพระองค์ทรงพระกรุณาโปรดให้ภิกษุรูป
หนึ่งไปสอนธรรมในตำหนักนางสนมของหม่อมฉัน”
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคทรงชี้แจงให้พระเจ้าปเสนทิโกศลเห็นชัด ชวนให้
อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริง
ด้วยธรรมีกถา ลำดับนั้น พระเจ้าปเสนทิโกศลผู้ซึ่งพระผู้มีพระภาคทรงชี้แจงให้เห็น
ชัด ชวนให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สด
ชื่นร่าเริงด้วยธรรมีกถาแล้ว จึงเสด็จลุกจากอาสนะ ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาค ทำ
ประทักษิณแล้วเสด็จไป

ทรงแต่งตั้งพระอานนท์เป็นครูสอนธรรม
ต่อมา พระผู้มีพระภาครับสั่งกับท่านพระอานนท์ว่า “อานนท์ เธอจงไปสอน
ธรรมในตำหนักพระสนมของพระราชา”
ท่านพระอานนท์ทูลรับสนองพระพุทธดำรัส ได้เข้าไปสอนธรรม ณ ตำหนัก
พระสนมตามกาลอันควร ครั้งนั้น ในเวลาเช้า ท่านพระอานนท์ครองอันตรวาสก
ถือบาตรและจีวรเข้าไปถึงพระราชนิเวศน์
[๔๙๖] ครั้งนั้น พระเจ้าปเสนทิโกศลประทับอยู่ในห้องบรรทมกับพระนาง
มัลลิกาเทวี พระนางมัลลิกาเทวีได้ทอดพระเนตรเห็นท่านพระอานนท์มาแต่ไกล
ครั้นทอดพระเนตรเห็นแล้วจึงรีบลุกขึ้น พระภูษาทรงเกลี้ยงสีเหลืองจึงเลื่อนหลุด
ทีนั้น ท่านพระอานนท์จึงกลับแต่ไกล ไปถึงอารามแล้วจึงแจ้งเรื่องนี้ให้ภิกษุทั้งหลาย
ทราบ
บรรดาภิกษุผู้มักน้อย ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนท่าน
พระอานนท์ไม่ได้รับแจ้งล่วงหน้าจึงเข้าไปพระราชฐานชั้นในเล่า” ครั้นภิกษุทั้งหลาย
ตำหนิท่านพระอานนท์โดยประการต่าง ๆ แล้วจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาค
ให้ทรงทราบ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๕๘๗ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๙.รตนวรรค ๑.อันเตปุรสิกขาบท นิทานวัตถุ
ทรงสอบถาม
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามท่านพระอานนท์ว่า “อานนท์ ทราบว่า เธอไม่ได้รับแจ้งล่วงหน้า เข้าไป
พระราชฐานชั้นใน จริงหรือ” ท่านพระอานนท์ทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ฯลฯ อานนท์ ไฉนเธอยังไม่ได้รับแจ้งล่วงหน้า
จึงเข้าไปพระราชฐานชั้นในเล่า อานนท์ การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่
เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ” ครั้น
ทรงตำหนิแล้วจึงแสดงธรรมีกถาแล้วรับสั่งกับภิกษุทั้งหลายว่า

การเข้าเขตพระราชฐานชั้นในมีโทษ ๑๐ อย่าง
[๔๙๗] “ภิกษุทั้งหลาย ในการเข้าไปยังพระราชฐานชั้นใน มีโทษ ๑๐ อย่าง
นี้ คือ
(๑) ภิกษุทั้งหลาย พระราชาประทับอยู่กับพระมเหสีในพระราชฐานชั้นในนี้
ภิกษุเข้าไปในพระราชฐานชั้นในนั้น พระมเหสีเห็นภิกษุแล้วทรงยิ้มให้ หรือภิกษุเห็น
พระมเหสีแล้วยิ้มให้ ในข้อนั้นพระราชาจะทรงพระดำริอย่างนี้ว่า “คนทั้ง ๒ นี้ได้ทำ
อะไรกันแล้ว หรือจักทำอะไรกันแน่นอน” ภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นโทษข้อที่ ๑ ในการ
เข้าไปยังพระราชฐานชั้นใน
(๒) ภิกษุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก พระราชาทรงมีพระราชกิจมาก มีพระ
กรณียกิจมาก เสด็จไปหาพระสนมคนหนึ่งแล้วทรงลืม พระสนมนั้นตั้งครรภ์เพราะ
การที่พระราชาเสด็จไปหานั้น ในข้อนั้นพระราชาจะทรงพระดำริอย่างนี้ว่า “ในที่นี้
นอกจากบรรพชิต ไม่มีใครอื่นเข้ามาได้ คงจะเป็นการกระทำของบรรพชิต” ภิกษุ
ทั้งหลาย นี้เป็นโทษข้อที่ ๒ ในการเข้าไปยังพระราชฐานชั้นใน
(๓) ภิกษุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก ของมีค่าอย่างใดอย่างหนึ่ง ในพระราชฐาน
ชั้นในสูญหายไป ในข้อนั้นพระราชาจะทรงพระดำริอย่างนี้ว่า “ในที่นี้ นอกจาก
บรรพชิต ไม่มีใครอื่นเข้ามาได้ คงจะเป็นการกระทำของบรรพชิต” ภิกษุทั้งหลาย นี้
เป็นโทษข้อที่ ๓ ในการเข้าไปยังพระราชฐานชั้นใน


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๕๘๘ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๙.รตนวรรค ๑.อันเตปุรสิกขาบท นิทานวัตถุ
(๔) ภิกษุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก เมื่อความลับทางราชการที่ปรึกษาในพระ
ราชฐานชั้นในรั่วไหลออกไปภายนอก ในข้อนั้นพระราชาจะทรงพระดำริอย่างนี้ว่า
“ในที่นี้ นอกจากบรรพชิต ไม่มีใครอื่นเข้ามาได้ คงจะเป็นการกระทำของบรรพชิต”
ภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นโทษข้อที่ ๔ ในการเข้าไปยังพระราชฐานชั้นใน
(๕) ภิกษุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก ในพระราชฐานชั้นใน พระราชโอรส
ปรารถนา(ที่จะปลงพระชนม์)พระราชบิดา๑ หรือพระราชบิดาปรารถนา(ที่จะปลง
พระชนม์)พระราชโอรส ทั้ง ๒ พระองค์จะทรงพระดำริอย่างนี้ว่า “ในที่นี้ นอกจาก
บรรพชิต ไม่มีใครอื่นเข้ามาได้ คงจะเป็นการกระทำของบรรพชิต” ภิกษุทั้งหลาย นี้
เป็นโทษข้อที่ ๕ ในการเข้าไปยังพระราชฐานชั้นใน
(๖) ภิกษุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก พระราชาทรงเลื่อนข้าราชการตำแหน่งตํ่าขึ้น
ตำแหน่งสูง พวกที่ไม่พอใจเรื่องนี้จะมีความคิดอย่างนี้ว่า “พระราชาทรงคลุกคลีอยู่
กับบรรพชิต คงจะเป็นการกระทำของบรรพชิต” ภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นโทษข้อที่ ๖
ในการเข้าไปยังพระราชฐานชั้นใน
(๗) ภิกษุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก พระราชาทรงลดตำแหน่งข้าราชการที่อยู่ใน
ตำแหน่งสูงลงตำแหน่งตํ่า พวกที่ไม่พอใจเรื่องนี้จะมีความคิดอย่างนี้ว่า “พระราชา
ทรงคลุกคลีอยู่กับบรรพชิต คงจะเป็นการกระทำของบรรพชิต” ภิกษุทั้งหลาย นี้เป็น
โทษข้อที่ ๗ ในการเข้าไปยังพระราชฐานชั้นใน
(๘) ภิกษุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก พระราชารับสั่งให้ยกกองทัพไปในเวลาไม่ควร
พวกที่ไม่พอใจเรื่องนี้จะมีความคิดอย่างนี้ว่า “พระราชาทรงคลุกคลีอยู่กับบรรพชิต
คงจะเป็นการกระทำของบรรพชิต” ภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นโทษข้อที่ ๘ ในการเข้าไปยัง
พระราชฐานชั้นใน
(๙) ภิกษุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก พระราชารับสั่งให้ยกกองทัพไปในเวลาอัน
ควรแล้วรับสั่งให้ยกทัพกลับเสียในระหว่างทาง พวกที่ไม่พอใจเรื่องนี้จะมีความคิด

เชิงอรรถ :
๑ ปรารถนาพระราชบิดา อรรถกถาอธิบายว่า ปิตรํ ปตฺเถตีติ อนฺตรํ ปสฺสิตฺวา ฆาเตตุํ อิจฺฉติ แปลว่า
ต้องการหาช่องทางปลงพระชนม์พระราชบิดา (วิ.อ.๒/๔๙๗/๔๓๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๕๘๙ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๙.รตนวรรค ๑.อันเตปุรสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์
อย่างนี้ว่า “พระราชาทรงคลุกคลีอยู่กับบรรพชิต คงจะเป็นการกระทำของบรรพชิต”
ภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นโทษข้อที่ ๙ ในการเข้าไปยังพระราชฐานชั้นใน
(๑๐) ภิกษุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก พระราชฐานชั้นในเป็นสถานที่คับคั่งด้วย
ช้าง เป็นสถานที่คับคั่งด้วยม้า เป็นสถานที่คับคั่งด้วยรถ เป็นสถานที่มีรูป เสียง กลิ่น
รส โผฏฐัพพะที่เป็นเหตุแห่งความกำหนัด ไม่เหมาะแก่บรรพชิต ภิกษุทั้งหลาย
นี้เป็นโทษข้อที่ ๑๐ ในการเข้าไปยังพระราชฐานชั้นใน
ภิกษุทั้งหลาย ในการเข้าไปยังพระราชฐานชั้นใน มีโทษ ๑๐ อย่างนี้แล”

ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ครั้งนั้น ครั้นพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิท่านพระอานนท์โดยประการ
ต่าง ๆ แล้วตรัสโทษแห่งความเป็นผู้เลี้ยงยาก ความเป็นผู้บำรุงยาก ฯลฯ แล้วจึง
รับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้

พระบัญญัติ
[๔๙๘] ก็ ภิกษุใดไม่ได้รับแจ้งล่วงหน้า ก้าวล่วงธรณีประตูเข้าไปใน
ตำหนักที่บรรทมของพระราชาผู้เป็นกษัตริย์ที่ได้รับมูรธาภิเษกแล้ว ที่พระราชา
ยังไม่เสด็จออก ที่นางรัตนะยังไม่เสด็จออก ต้องอาบัติปาจิตตีย์
เรื่องพระเจ้าปเสนทิโกศล จบ

สิกขาบทวิภังค์
[๔๙๙] คำว่า ก็...ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ก็...ใด
คำว่า ภิกษุ มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุ เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระ
ภาคทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุ ในความหมายนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๕๙๐ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๙.รตนวรรค ๑.อันเตปุรสิกขาบท บทภาชนีย์
ที่ชื่อว่า กษัตริย์ คือ ได้แก่ กษัตริย์ผู้ประสูติมาดีทั้งฝ่ายพระมารดาและพระ
บิดา ทรงถือกำเนิดบริสุทธิ์ตลอดเจ็ดชั่วบรรพบุรุษ ไม่มีใครตำหนิชาติกำเนิดได้
ที่ชื่อว่า ได้รับมูรธาภิเษกแล้ว คือ ผู้ได้รับอภิเษกโดยการอภิเษกเป็นกษัตริย์
คำว่า ที่พระราชายังไม่ได้เสด็จออก คือ พระราชายังไม่เสด็จออกจาก
ตำหนักที่บรรทม
คำว่า ที่นางรัตนะยังไม่เสด็จออก คือ พระมเหสียังไม่เสด็จออกจากตำหนัก
ที่บรรทม หรือทั้ง ๒ พระองค์ยังไม่เสด็จออก
คำว่า ไม่ได้รับแจ้งล่วงหน้า คือ ไม่ได้เรียกมาล่วงหน้า
ที่ชื่อว่า ธรณีประตู พระผู้มีพระภาคตรัสหมายถึงธรณีประตูตำหนักที่บรรทม
ที่ชื่อว่า ตำหนักที่บรรทม ได้แก่ ที่บรรทมของพระราชาซึ่งเจ้าพนักงานจัดไว้
ในที่ใดที่หนึ่ง โดยที่สุดแม้วงด้วยพระวิสูตร
คำว่า ก้าวล่วงธรณีประตูเข้าไป คือ ภิกษุยกเท้าแรกก้าวข้ามธรณีประตูเข้าไป
ต้องอาบัติทุกกฏ ยกเท้าที่ ๒ ก้าวข้ามธรณีประตูเข้าไป ต้องอาบัติปาจิตตีย์

บทภาชนีย์
ติกปาจิตตีย์
[๕๐๐] ยังไม่ได้รับแจ้ง ภิกษุสำคัญว่ายังไม่ได้รับแจ้ง ก้าวล่วงธรณีประตูเข้าไป
ต้องอาบัติปาจิตตีย์
ยังไม่ได้รับแจ้ง ภิกษุไม่แน่ใจ ก้าวล่วงธรณีประตูเข้าไป ต้องอาบัติปาจิตตีย์
ยังไม่ได้รับแจ้ง ภิกษุสำคัญว่าได้รับแจ้งแล้ว ก้าวล่วงธรณีประตูเข้าไป ต้อง
อาบัติปาจิตตีย์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๕๙๑ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๙.รตนวรรค ๑.อันเตปุรสิกขาบท อนาปัตติวาร
ทุกกฏ
ได้รับแจ้งแล้ว ภิกษุสำคัญว่ายังไม่ได้รับแจ้ง ต้องอาบัติทุกกฏ
ได้รับแจ้งแล้ว ภิกษุสำคัญว่ายังไม่ได้รับแจ้ง ต้องอาบัติทุกกฏ
ได้รับแจ้งแล้ว ภิกษุสำคัญว่าได้รับแจ้งแล้ว ไม่ต้องอาบัติ

อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[๕๐๑] ๑. ภิกษุผู้ได้รับแจ้งแล้ว
๒. ภิกษุเข้าไปในที่ที่ผู้อยู่ไม่ได้เป็นกษัตริย์
๓. ภิกษุเข้าไปในที่ที่ผู้อยู่ยังไม่ได้รับอภิเษกเป็นกษัตริย์
๔. ภิกษุเข้าไปในที่ที่พระราชาเสด็จออกจากตำหนักที่บรรทม
๕. ภิกษุเข้าไปในที่ที่พระมเหสีเสด็จออกจากตำหนักที่บรรทม
๖. ภิกษุเข้าไปในที่ที่ทั้ง ๒ พระองค์เสด็จออกจากตำหนักที่บรรทม
๗. ภิกษุเข้าไปในที่ที่ไม่ใช่ตำหนักที่บรรทม
๘. ภิกษุวิกลจริต
๙. ภิกษุต้นบัญญัติ

อันเตปุรสิกขาบทที่ ๑ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๕๙๒ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๙.รตนวรรค ๒.รตนสิกขาบท นิทานวัตถุ
๙. รตนวรรค

๒. รตนสิกขาบท
ว่าด้วยการเก็บรัตนะที่เจ้าของลืมไว้

เรื่องพระรูปหนึ่ง
[๕๐๒] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุรูปหนึ่งสรงนํ้าในแม่นํ้า
อจิรวดี พราหมณ์คนหนึ่งวางถุงทรัพย์ ๕๐๐ กหาปณะไว้บนบกแล้วลงอาบนํ้าใน
แม่นํ้าอจิรวดี แล้วลืมถุงทรัพย์ได้ไปแล้ว ทีนั้น ภิกษุนั้นได้เก็บไว้ด้วยคิดว่า “ถุงทรัพย์
ของพราหมณ์นี้อย่าสูญหายไป” ฝ่ายพราหมณ์พอนึกขึ้นได้ก็รีบวิ่งมาถึงแล้ว ได้
กล่าวกับภิกษุนั้นดังนี้ว่า “ท่านผู้เจริญ ท่านเห็นถุงทรัพย์ของกระผมบ้างไหม”
ภิกษุนั้นได้คืนให้พร้อมกล่าวว่า “เชิญท่านรับไปเถิด พราหมณ์”
ครั้งนั้น พราหมณ์นั้นได้เกิดความคิดดังนี้ว่า “ด้วยอุบายอย่างไร เราจึงไม่
ต้องให้ค่าไถ่แก่ภิกษุนี้” จึงยึดตัวแล้วกล่าวว่า “ท่าน ทรัพย์ของกระผมไม่ใช่ ๕๐๐
กหาปณะ แต่มี ๑,๐๐๐ กหาปณะต่างหาก” แล้วปล่อยตัวไป
ครั้นภิกษุนั้นไปถึงอารามแล้วจึงบอกเรื่องนี้ให้ภิกษุทั้งหลายทราบ
บรรดาภิกษุผู้มักน้อย ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนภิกษุ
จึงเก็บรัตนะไว้เล่า” ครั้นภิกษุทั้งหลายตำหนิภิกษุนั้นโดยประการต่าง ๆ แล้วจึงนำ
เรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ

ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามภิกษุนั้นว่า “ภิกษุ ทราบว่า เธอเก็บรัตนะไว้จริงหรือ” ภิกษุนั้นทูลรับว่า
“จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ฯลฯ โมฆบุรุษ ไฉน


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๕๙๓ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๙.รตนวรรค ๒.รตนสิกขาบท พระบัญญัติ
เธอจึงเก็บรัตนะไว้เล่า โมฆบุรุษ การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใส ให้เลื่อมใส
หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้ง
หลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้

พระบัญญัติ
ก็ภิกษุใด เก็บหรือใช้ให้เก็บรัตนะหรือของที่สมมติว่าเป็นรัตนะ ต้องอาบัติ
ปาจิตตีย์
สิกขาบทนี้พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติไว้แก่ภิกษุทั้งหลายอย่างนี้
เรื่องพระรูปหนึ่ง จบ

เรื่องนางวิสาขา
[๕๐๓] ครั้งนั้น ในกรุงสาวัตถี มีมหรสพ ประชาชนแต่งตัวไปเที่ยวอุทยาน
แม้นางวิสาขามิคารมาตาก็แต่งตัวออกจากบ้านจะไปเที่ยวชมอุทยาน แต่คิดว่า
“เราจะไปเที่ยวอุทยานทำไม ไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคดีกว่า” แล้วเปลื้องเครื่องประดับ
ออก เอาผ้าห่มห่อไว้มอบให้สาวใช้ด้วยกล่าวว่า “แม่สาวใช้ เธอถือห่อเครื่องประดับ
นี้ไว้” ครั้นแล้วนางวิสาขามิคารมาตาก็ได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ครั้น
ถึงแล้วได้ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาค แล้วนั่ง ณ ที่สมควร
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคทรงชี้แจงนางวิสาขามิคารมาตาผู้นั่ง ณ ที่สมควรให้
เห็นชัด ชวนให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้
สดชื่นร่าเริงด้วยธรรมีกถา ลำดับนั้น นางวิสาขามิคารมาตาผู้ซึ่งพระผู้มีพระภาคทรง
ชี้แจงให้เห็นชัด ชวนให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลม
ใจให้สดชื่นร่าเริงด้วยธรรมีกถาแล้ว จึงลุกจากอาสนะ ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาค
ทำประทักษิณแล้วจากไป ฝ่ายสาวใช้นั้นลืมห่อเครื่องประดับนั้นได้กลับไปแล้ว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๕๙๔ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๙.รตนวรรค ๒.รตนสิกขาบท พระอนุบัญญัติ
ภิกษุทั้งหลายพบเข้า จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระองค์รับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ถ้าเช่นนั้น เธอทั้งหลายจงยกไปเก็บรักษาไว้เถิด”

ทรงอนุญาตให้เก็บรัตนะได้
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมีกถาเพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ แล้ว
รับสั่งกับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้เก็บ หรือใช้ให้เก็บรัตนะ
หรือของที่สมมติว่าเป็นรัตนะในวัดที่อยู่แล้วรักษาไว้ด้วยตั้งใจว่า ‘เจ้าของจะรับคืนไป”
แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้

พระอนุบัญญัติ
อนึ่ง ภิกษุใดเก็บ หรือใช้ให้เก็บรัตนะหรือของที่สมมติว่าเป็นรัตนะ ต้อง
อาบัติปาจิตตีย์ เว้นไว้แต่ในอาราม
สิกขาบทนี้พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติไว้แก่ภิกษุทั้งหลายอย่างนี้
เรื่องนางวิสาขา จบ

เรื่องคนรับใช้ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี
[๕๐๔] สมัยนั้น อนาถบิณฑิกคหบดีมีบ้านพักคนงานอยู่ในแคว้นกาสี
คหบดีนั้นสั่งบุรุษคนรับใช้ไว้ว่า “ถ้าพระคุณเจ้าทั้งหลายมาถึง เธอพึงจัดเตรียม
ภัตตาหาร” ครั้นต่อมา ภิกษุหลายรูปเที่ยวจาริกไปในแคว้นกาสี ผ่านไปถึงบ้านพัก
คนงานของท่านอนาถบิณฑิกคหบดีนั้น บุรุษนั้นแลเห็นภิกษุทั้งหลายเดินมาแต่ไกล
ครั้นเห็นแล้วจึงเข้าไปหาภิกษุเหล่านั้นถึงที่อยู่ ครั้นถึงแล้วได้กราบอาราธนาดังนี้ว่า
“พระคุณเจ้าผู้เจริญทั้งหลาย พระคุณเจ้าทั้งหลายโปรดรับนิมนต์เพื่อฉันภัตตาหาร
ของคหบดีในวันพรุ่งนี้”
ภิกษุเหล่านั้นรับนิมนต์โดยดุษณีภาพ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๕๙๕ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๙.รตนวรรค ๒.รตนสิกขาบท พระอนุบัญญัติ
ครั้นล่วง ราตรีนั้นทั้งราตรี บุรุษนั้นสั่งให้จัดเตรียมของเคี้ยวของฉันอันประณีต
แล้วส่งคนไปบอกเวลา ถอดแหวนวางไว้ เอาภัตตาหารประเคนภิกษุเหล่านั้น พลาง
กล่าวว่า “นิมนต์พระคุณเจ้าทั้งหลายฉันแล้วค่อยกลับ กระผมจะไปทำงาน” ลืม
แหวนไว้ไปแล้ว
ภิกษุทั้งหลายพบเข้าจึงกล่าวว่า “ถ้าพวกเราไป แหวนนี้จะหาย” จึงอยู่ในที่
นั้นเอง
ครั้นบุรุษนั้นกลับมาจากทำงานเห็นภิกษุเหล่านั้น จึงได้กล่าวดังนี้ว่า “พระ
คุณเจ้าผู้เจริญทั้งหลาย เหตุไรพระคุณเจ้าทั้งหลายจึงยังอยู่ในที่นี้เล่า”
ครั้นแล้วภิกษุเหล่านั้นจึงเล่าเรื่องนั้นให้บุรุษนั้นทราบ ครั้นไปถึงกรุงสาวัตถี
แล้วจึงได้บอกเรื่องนี้ให้ภิกษุทั้งหลายทราบ ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูล
พระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ

พระพุทธานุญาตพิเศษ
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมีกถาเพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ แล้ว
รับสั่งกับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้เก็บหรือใช้ให้เก็บรัตนะหรือ
ของที่สมมติว่าเป็นรัตนะในอารามหรือในที่พักแล้วรักษาไว้ด้วยตั้งใจว่า ‘เจ้าของจะรับ
คืนไป” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้

พระอนุบัญญัติ
[๕๐๕] อนึ่ง ภิกษุใดเก็บหรือใช้ให้เก็บรัตนะหรือของที่สมมติว่าเป็นรัตนะ
ต้องอาบัติปาจิตตีย์ เว้นไว้แต่ในอารามหรือในที่พัก อนึ่ง ภิกษุพึงเก็บหรือใช้ให้
เก็บรัตนะหรือของที่สมมติว่าเป็นรัตนะในอารามหรือในที่พักแล้วรักษาไว้ด้วย
ตั้งใจว่า ‘เจ้าของจะรับคืนไป’ นี้เป็นการทำที่สมควรในเรื่องนั้น
เรื่องคนรับใช้ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๕๙๖ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๙.รตนวรรค ๒.รตนสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์
สิกขาบทวิภังค์
[๕๐๖] คำว่า อนึ่ง...ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
อนึ่ง...ใด
คำว่า ภิกษุ มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุ เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระ
ภาคทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุ ในความหมายนี้
ที่ชื่อว่า รัตนะ ได้แก่ แก้วมุกดา แก้วมณี ไพฑูรย์ สังข์ ศิลา ประพาฬ
เงิน ทอง ทับทิม แก้วตาแมว นี้ชื่อว่ารัตนะ
ที่ชื่อว่า ของที่สมมติว่าเป็นรัตนะ ได้แก่ เครื่องอุปโภคบริโภคของมนุษย์ นี้
ชื่อว่าของที่สมมติว่าเป็นรัตนะ
คำว่า เว้นไว้แต่ในอารามหรือในที่พัก คือ ยกเว้นแต่ในอารามหรือในที่พัก
ที่ชื่อว่า ในอาราม คือ สำหรับอารามที่มีรั้วล้อม กำหนดเอาภายในอาราม
สำหรับอารามที่ไม่มีรั้วล้อม กำหนดเอาอุปจาร
ที่ชื่อว่า ในที่พัก คือ สำหรับที่พักมีรั้วล้อม กำหนดเอาภายในที่พัก สำหรับ
ที่พักที่ไม่มีรั้วล้อม กำหนดเอาอุปจาร
คำว่า เก็บ คือ ภิกษุถือเอาเอง ต้องอาบัติปาจิตตีย์
คำว่า ใช้ให้เก็บ คือ ภิกษุใช้ให้ผู้อื่นถือเอา ต้องอาบัติปาจิตตีย์
คำว่า อนึ่ง ภิกษุพึงเก็บหรือใช้ให้เก็บรัตนะหรือของที่สมมติว่าเป็นรัตนะ
ในอารามหรือในที่พักแล้วรักษาไว้ ความว่า ภิกษุพึงกำหนดหมายรูปพรรณ
หรือตำหนิแล้วเก็บรักษาไว้ แล้วประกาศว่า “ผู้ใดของหาย ผู้นั้นจงมารับเอาไป”
ถ้าเขามาในที่นั้นพึงถามเขาว่า “สิ่งของของท่านเป็นเช่นไร” ถ้าเขาบอกรูปพรรณ
หรือตำหนิ ถูกต้อง พึงให้คืน ถ้าบอกไม่ถูกต้อง พึงบอกเขาว่า “ท่านจงค้นดูเถิด”
เมื่อจะจากไปจากอาวาสนั้น พึงมอบไว้แก่ภิกษุผู้เหมาะสมในอาวาสนั้นแล้ว
ค่อยจากไป ถ้าไม่มีภิกษุที่น่าเชื่อถือ พึงมอบไว้แก่คหบดีผู้เหมาะสมในที่นั้นแล้ว
ค่อยจากไป
คำว่า นี้เป็นการทำที่สมควรในเรื่องนั้น คือ นี้เป็นความถูกต้องในเรื่องนั้น

 


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๕๙๗ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๙.รตนวรรค ๒.รตนสิกขาบท อนาปัตติวาร
อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[๕๐๗] ๑. ภิกษุเก็บหรือใช้ให้เก็บรัตนะ หรือของที่สมมติว่าเป็นรัตนะใน
อารามหรือในที่พักแล้วเก็บรักษาไว้ด้วยตั้งใจว่า “เจ้าของจะรับ
คืนไป”
๒. ภิกษุถือวิสาสะเก็บของที่สมมติว่าเป็นรัตนะ
๓. ภิกษุถือเอาไปเป็นของยืม
๔. ภิกษุเข้าใจว่าเป็นของบังสุกุล
๕. ภิกษุวิกลจริต
๖. ภิกษุต้นบัญญัติ

รตนสิกขาบทที่ ๒ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๕๙๘ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๙.รตนวรรค ๓.วิกาลคามปเวสนสิกขาบท นิทานวัตถุ
๙. รตนวรรค

๓. วิกาลคามปเวสนสิกขาบท
ว่าด้วยการเข้าหมู่บ้านในเวลาวิกาล

เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๕๐๘] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
องอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์เข้าหมู่บ้านใน
เวลาวิกาล นั่งในที่ชุมนุม สนทนาดิรัจฉานกถาต่าง ๆ คือ (๑) ราชกถา เรื่องพระ
ราชา (๒) โจรกถา เรื่องโจร (๓) มหามัตตกถา เรื่องมหาอมาตย์ (๔) เสนากถา
เรื่องกองทัพ (๕) ภยกถา เรื่องภัย (๖) ยุทธกถา เรื่องการรบ (๗) อันนกถา
เรื่องข้าว (๘) ปานกถา เรื่องนํ้า (๙) วัตถกถา เรื่องผ้า (๑๐) สยนกถา เรื่องที่นอน
(๑๑) มาลากถา เรื่องพวงดอกไม้ (๑๒) คันธกถา เรื่องของหอม (๑๓) ญาติกถา
เรื่องญาติ (๑๔) ยานกถา เรื่องยาน (๑๕) คามกถา เรื่องบ้าน (๑๖) นิคมกถา
เรื่องนิคม (๑๗) นครกถา เรื่องเมือง (๑๘) ชนปทกถา เรื่องชนบท (๑๙) อิตถีกถา
เรื่องสตรี (๒๐) ปุริสกถา เรื่องบุรุษ (๒๑) สูรกถา เรื่องคนกล้าหาญ (๒๒) วิสิขากถา
เรื่องตรอก (๒๓) กุมภัฏฐานกถา เรื่องท่านํ้า (๒๔) ปุพพเปตกถา เรื่องคนที่
ล่วงลับไปแล้ว (๒๕) นานัตตกถา เรื่องเบ็ดเตล็ด (๒๖) โลกักขายิกะ เรื่องโลก
(๒๗) สมุททักขายิกะ เรื่องทะเล (๒๘) อิติภวาภวกถา เรื่องความเจริญและ
ความเสื่อม๑
คนทั้งหลายพากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพระสมณะเชื้อสาย
ศากยบุตรจึงเข้าหมู่บ้านในเวลาวิกาล นั่งในที่ชุมนุม สนทนาดิรัจฉานกถาต่าง ๆ
คือ (๑) ราชกถา เรื่องพระราชา (๒) โจรกถา เรื่องโจร (๓) มหามัตตกถา เรื่อง
มหาอมาตย์ (๔) เสนากถา เรื่องกองทัพ (๕) ภยกถา เรื่องภัย (๖) ยุทธกถา

เชิงอรรถ :
๑ วิ.ม. ๕/๒๕๐/๑๓-๑๔, ที.สี. ๙/๑๗/๘, ที.ปา. ๑๑/๕๐/๓๐, ม.ม. ๑๓/๒๒๓/๑๙๗, สํ.ม. ๑๙/๑๐๘๐/๓๖๕,
องฺ.ทสก. ๒๔/๖๙/๑๐๒, ขุ.ม. ๒๙/๑๕๗/๓๐๖

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๕๙๙ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๙.รตนวรรค ๓.วิกาลคามปเวสนสิกขาบท นิทานวัตถุ
เรื่องการรบ (๗) อันนกถา เรื่องข้าว (๘) ปานกถา เรื่องนํ้า (๙) วัตถกถา เรื่องผ้า
(๑๐) สยนกถา เรื่องที่นอน (๑๑) มาลากถา เรื่องพวงดอกไม้ (๑๒) คันธกถา
เรื่องของหอม (๑๓) ญาติกถา เรื่องญาติ (๑๔) ยานกถา เรื่องยาน (๑๕) คามกถา
เรื่องหมู่บ้าน (๑๖) นิคมกถา เรื่องนิคม (๑๗) นครกถา เรื่องเมือง (๑๘) ชนปทกถา
เรื่องชนบท (๑๙) อิตถีกถา เรื่องสตรี (๒๐) ปุริสกถา เรื่องบุรุษ (๒๑) สูรกถา
เรื่องคนกล้าหาญ (๒๒) วิสิขากถา เรื่องตรอก (๒๓) กุมภัฏฐานกถา เรื่องท่านํ้า
(๒๔) ปุพพเปตกถา เรื่องคนที่ล่วงลับไปแล้ว (๒๕) นานัตตกถา เรื่องเบ็ดเตล็ด
(๒๖) โลกักขายิก เรื่องการคาดเกี่ยวกับโลก (๒๗) สมุททักขายิก เรื่องการคาดเดา
เกี่ยวกับทะเล (๒๘) อิติภวาภวกถา เรื่องความเจริญและความเสื่อม เหมือนพวก
คฤหัสถ์ที่ยังบริโภคกามเล่า”
ภิกษุทั้งหลายได้ยินชาวบ้านตำหนิ ประณาม โพนทะนา บรรดาภิกษุผู้มักน้อย
ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพวกภิกษุฉัพพัคคีย์จึงเข้าหมู่บ้าน
เวลาวิกาล นั่งในที่ชุมนุม สนทนาดิรัจฉานกถาต่าง ๆ คือ เรื่องพระราชา ฯลฯ เรื่อง
ความเจริญและความเสื่อมเล่า” ครั้นภิกษุทั้งหลายตำหนิพวกภิกษุฉัพพัคคีย์โดย
ประการต่าง ๆ แล้วจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ

ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามพวกภิกษุฉัพพัคคีย์ว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า พวกเธอเข้าบ้านในเวลา
วิกาล นั่งในที่ชุมนุม สนทนาดิรัจฉานกถาต่าง ๆ คือ (๑) ราชกถา เรื่องพระราชา
ฯลฯ (๒๘) อิติภวาภวกถา เรื่องความเจริญและความเสื่อม จริงหรือ” พวกภิกษุ
ฉัพพัคคีย์ทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า
“ฯลฯ โมฆบุรุษทั้งหลาย ไฉนพวกเธอจึงเข้าหมู่บ้านในเวลาวิกาลแล้ว นั่งในที่ชุมนุม
สนทนาดิรัจฉานกถาต่าง ๆ คือ (๑) ราชกถา เรื่องพระราชา ฯลฯ (๒๘) อิติภวาภว
กถา เรื่องความเจริญและความเสื่อมเล่า โมฆบุรุษทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้ มิได้
ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย
ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๖๐๐ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๙.รตนวรรค ๓.วิกาลคามปเวสนสิกขาบท พระบัญญัติ
พระบัญญัติ
ก็ ภิกษุใดเข้าหมู่บ้านในเวลาวิกาล ต้องอาบัติปาจิตตีย์
สิกขาบทนี้พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติไว้แก่ภิกษุทั้งหลายอย่างนี้
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ

เรื่องภิกษุหลายรูป
[๕๐๙] สมัยนั้น ภิกษุหลายรูปเดินทางไปกรุงสาวัตถี แคว้นโกศล เข้าไปหมู่
บ้านตำบลหนึ่งในเวลาเย็น คนทั้งหลายเห็นภิกษุเหล่านั้นจึงได้อาราธนาดังนี้ว่า
“ท่านผู้เจริญ นิมนต์ท่านทั้งหลายเข้าไปเถิด” ครั้งนั้น ภิกษุเหล่านั้นมีความยำเกรงว่า
“พระผู้มีพระภาคทรงห้ามการเข้าหมู่บ้านในเวลาวิกาล” จึงไม่ยอมเข้าไป พวกโจร
ได้ปล้นภิกษุเหล่านั้น ครั้นภิกษุเหล่านั้นไปถึงกรุงสาวัตถี ได้แจ้งเรื่องนั้นให้ภิกษุ
ทั้งหลายทราบ ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ

ทรงอนุญาตให้เข้าหมู่บ้าน
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมีกถาเพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ แล้ว
รับสั่งกับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้บอกลาแล้วเข้าหมู่บ้านใน
เวลาวิกาลได้” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้
อนึ่ง ภิกษุใดไม่บอกลาแล้วเข้าหมู่บ้านในเวลาวิกาล ต้องอาบัติปาจิตตีย์
สิกขาบทนี้พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติไว้แก่ภิกษุทั้งหลายอย่างนี้
เรื่องภิกษุหลายรูป จบ

เรื่องภิกษุรูปหนึ่ง
[๕๑๐] สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งเดินทางไปกรุงสาวัตถี แคว้นโกศล เข้าไปหมู่
บ้านตำบลหนึ่งในเวลาเย็น คนทั้งหลายเห็นภิกษุนั้นจึงได้อาราธนาดังนี้ว่า “ท่าน


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๖๐๑ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๙.รตนวรรค ๓.วิกาลคามปเวสนสิกขาบท พระอนุบัญญัติ
ผู้เจริญ นิมนต์ท่านทั้งหลายเข้าไปเถิด” ครั้งนั้น ภิกษุนั้นมีความยำเกรงว่า “พระผู้มี
พระภาคทรงห้ามการเข้าหมู่บ้านในเวลาวิกาลโดยมิได้บอกลา” จึงไม่ยอมเข้าไป
พวกโจรได้ปล้นภิกษุนั้น ครั้นภิกษุนั้นไปถึงกรุงสาวัตถี ได้แจ้งเรื่องนั้นให้ภิกษุทั้งหลาย
ทราบ ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ

พระพุทธานุญาตพิเศษ
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมีกถาเพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ แล้วรับ
สั่งกับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้บอกลาภิกษุที่มีอยู่แล้วเข้า
หมู่บ้านในเวลาวิกาลได้” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้

พระอนุบัญญัติ
อนึ่ง ภิกษุใดไม่บอกลาภิกษุที่มีอยู่แล้วเข้าหมู่บ้านในเวลาวิกาล ต้อง
อาบัติปาจิตตีย์
สิกขาบทนี้พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติไว้แก่ภิกษุทั้งหลายอย่างนี้
เรื่องภิกษุรูปหนึ่ง จบ

เรื่องภิกษุถูกงูกัด
[๕๑๑] สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งถูกงูกัด ภิกษุอีกรูปหนึ่งจะเข้าหมู่บ้านด้วยคิดว่า
“จะไปนำไฟมา” แต่ครั้นแล้วมีความยำเกรงอยู่ว่า “พระผู้มีพระภาคทรงห้ามการไม่
บอกลาภิกษุที่มีอยู่แล้วเข้าหมู่บ้านในเวลาวิกาล” จึงไม่ยอมเข้าไปแล้วนำเรื่องนี้ไป
กราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ

พระพุทธานุญาตพิเศษ
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมีกถาเพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ แล้ว
รับสั่งกับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตเมื่อมีธุระรีบด่วนเช่นนี้ ไม่ต้อง
บอกลาภิกษุที่มีอยู่แล้วเข้าหมู่บ้านในเวลาวิกาล” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยก
สิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๖๐๒ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๙.รตนวรรค ๓.วิกาลคามปเวสนสิกขาบท บทภาชนีย์
พระอนุบัญญัติ
[๕๑๒] อนึ่ง ภิกษุใดไม่บอกลาภิกษุที่มีอยู่แล้ว เข้าหมู่บ้านในเวลาวิกาล
ต้องอาบัติปาจิตตีย์ เว้นไว้แต่มีเหตุจำเป็นรีบด่วนเช่นนั้น
เรื่องภิกษุถูกงูกัด จบ

สิกขาบทวิภังค์
[๕๑๓] คำว่า อนึ่ง...ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
อนึ่ง...ใด
คำว่า ภิกษุ มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุ เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มี
พระภาคทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุ ในความหมายนี้
ภิกษุที่ชื่อว่า มีอยู่ คือ ภิกษุที่ตนสามารถจะบอกลาแล้วเข้าหมู่บ้านได้
ภิกษุที่ชื่อว่า ไม่มีอยู่ คือ ภิกษุที่ตนไม่สามารถจะบอกลาแล้วเข้าหมู่บ้านได้
ที่ชื่อว่า เวลาวิกาล หมายเอาเวลาเมื่อเที่ยงวันล่วงไปแล้วจนถึงอรุณขึ้น
คำว่า เข้าหมู่บ้าน ความว่า เมื่อภิกษุก้าวเลยเข้าเขตรั้วล้อมของหมู่บ้านที่มี
รั้วล้อม ต้องอาบัติปาจิตตีย์ เมื่อภิกษุก้าวเข้าเขตอุปจารของหมู่บ้านที่ไม่มีรั้วล้อม
ต้องอาบัติปาจิตตีย์
คำว่า เว้นไว้แต่มีเหตุจำเป็นรีบด่วนเช่นนั้น คือ ยกเว้นแต่มีเหตุจำเป็นรีบ
ด่วนเช่นนั้น

บทภาชนีย์
ติกปาจิตตีย์
[๕๑๔] เวลาวิกาล ภิกษุสำคัญว่าเป็นเวลาวิกาล ไม่บอกลาภิกษุที่มีอยู่แล้ว
เข้าหมู่บ้าน ต้องอาบัติปาจิตตีย์ เว้นไว้แต่มีเหตุจำเป็นรีบด่วนเช่นนั้น


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๖๐๓ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๙.รตนวรรค ๓.วิกาลคามปเวสนสิกขาบท อนาปัตติวาร
เวลาวิกาล ภิกษุไม่แน่ใจ ไม่บอกลาภิกษุที่มีอยู่แล้วเข้าหมู่บ้าน ต้องอาบัติ
ปาจิตตีย์ เว้นไว้แต่มีเหตุจำเป็นรีบด่วนที่สมควร
เวลาวิกาล ภิกษุสำคัญว่าเป็นกาล ไม่บอกลาภิกษุที่มีอยู่แล้วเข้าหมู่บ้าน ต้อง
อาบัติปาจิตตีย์ เว้นไว้แต่มีเหตุจำเป็นรีบด่วนที่สมควร

ทุกกฏ
กาล ภิกษุสำคัญว่าเป็นเวลาวิกาล ต้องอาบัติทุกกฏ
กาล ภิกษุไม่แน่ใจ ต้องอาบัติทุกกฏ
กาล ภิกษุสำคัญว่าเป็นกาล ไม่ต้องอาบัติ

อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[๕๑๕] ๑. ภิกษุเข้าบ้านเมื่อมีเหตุจำเป็นรีบด่วนที่สมควร
๒. ภิกษุบอกลาภิกษุที่มีอยู่แล้วเข้าไป
๓. ภิกษุไม่ได้บอกลาเพราะภิกษุไม่มีแล้วเข้าไป
๔. ภิกษุไปอารามอื่น
๕. ภิกษุไปสำนักภิกษุณี
๖. ภิกษุไปสำนักเดียรถีย์
๗. ภิกษุไปโรงฉัน
๘. ภิกษุเดินตามทางที่ผ่านหมู่บ้าน
๙. ภิกษุเข้าไปในคราวมีเหตุขัดข้อง
๑๐. ภิกษุวิกลจริต
๑๑. ภิกษุต้นบัญญัติ

วิกาลคามปเวสนสิกขาบทที่ ๓ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๖๐๔ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๙.รตนวรรค ๔.สูจิฆรสิกขาบท นิทานวัตถุ
๙. รตนวรรค

๔. สูจิฆรสิกขาบท
ว่าด้วยการทำกล่องเข็มด้วยกระดูกเป็นต้น

เรื่องภิกษุหลายรูป
[๕๑๖] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ นิโครธาราม เขต
กรุงกบิลพัสดุ์ แคว้นสักกะ ครั้งนั้น นายช่างแกะสลักงาช้างคนหนึ่งปวารณาภิกษุ
ทั้งหลายไว้ว่า “กระผมจะถวายกล่องเข็มแก่พระคุณเจ้าผู้ต้องการกล่องเข็ม” ครั้นแล้ว
ภิกษุเหล่านั้นจึงออกปากขอกล่องเข็มเป็นอันมาก พวกภิกษุผู้มีกล่องเข็มขนาดเล็ก
ก็ออกปากขอกล่องเข็มขนาดใหญ่ พวกภิกษุผู้มีกล่องเข็มขนาดใหญ่ ก็ออกปากขอ
กล่องเข็มขนาดเล็ก นายช่างมัวทำกล่องเข็มเป็นอันมากให้ภิกษุทั้งหลายจนไม่
สามารถทำการค้าขายอย่างอื่น ตนเองก็หาเลี้ยงชีพก็ไม่พอ ทั้งบุตรภรรยาก็พลอย
ลำบากไปด้วย
คนทั้งหลายจึงตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพวกสมณะเชื้อสายศากย
บุตรจึงไม่รู้ประมาณ ออกปากขอกล่องเข็มเป็นอันมากเล่า นายช่างมัวทำกล่องเข็ม
เป็นอันมากให้ภิกษุเหล่านี้จนไม่สามารถทำการค้าขายอย่างอื่น ตนเองก็หาเลี้ยงชีพ
ก็ไม่พอ ทั้งบุตรภรรยาก็พลอยลำบากไปด้วย”
พวกภิกษุได้ยินคนเหล่านั้นตำหนิ ประณาม โพนทะนา บรรดาภิกษุผู้มักน้อย
ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนภิกษุทั้งหลาย จึงไม่รู้จักประมาณ
ออกปากขอกล่องเข็มเป็นอันมากเล่า” ครั้นภิกษุทั้งหลาย ตำหนิภิกษุเหล่านั้นโดย
ประการต่าง ๆ แล้วจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ

ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า พวกภิกษุไม่รู้จักประมาณ ออก


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๖๐๕ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๙.รตนวรรค ๔.สูจิฆรสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์
ปากขอกล่องเข็มเป็นอันมากจริงหรือ” ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ฯลฯ ภิกษุทั้งหลาย ไฉนโมฆบุรุษเหล่านั้น
จึงไม่รู้จักประมาณ ออกปากขอกล่องเข็มเป็นอันมากเล่า ภิกษุทั้งหลาย การกระทำ
อย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใส
ยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้

พระบัญญัติ
[๕๑๗] ก็ ภิกษุใดทำกล่องเข็มด้วยกระดูก ด้วยงา หรือด้วยเขา ต้อง
อาบัติปาจิตตีย์ที่ชื่อว่าเภทนกะ๑
เรื่องภิกษุหลายรูป จบ

สิกขาบทวิภังค์
[๕๑๘] คำว่า ก็...ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ก็...ใด
คำว่า ภิกษุ มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุ เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มี
พระภาคทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุ ในความหมายนี้
ที่ชื่อว่า กระดูก ได้แก่ กระดูกชนิดใดชนิดหนึ่ง
ที่ชื่อว่า งา พระผู้มีพระภาคตรัสหมายถึงงาช้าง
ที่ชื่อว่า เขา ได้แก่ เขาชนิดใดชนิดหนึ่ง
คำว่า ทำ คือ ภิกษุทำเอง หรือใช้ให้ทำ ต้องอาบัติทุกกฏในขณะที่ทำ
ต้องอาบัติปาจิตตีย์เพราะได้มา ต้องทำลายแล้วแสดงอาบัติ

เชิงอรรถ :
๑ คำว่า “เภทนกะ” เป็นชื่อเฉพาะอาบัติปาจิตตีย์สิกขาบทนี้ แปลว่า มีการทำลาย คือต้องทำลายวัตถุก่อน
จึงแสดงอาบัติตก (วิ.อ. ๒/๕๑๘/๔๓๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๖๐๖ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๙.รตนวรรค ๔.สูจิฆรสิกขาบท อนาปัตติวาร
บทภาชนีย์
ปาจิตตีย์
[๕๑๙] ภิกษุทำกล่องเข็มที่ตนทำค้างไว้ต่อจนสำเร็จด้วยตนเอง ต้องอาบัติ
ปาจิตตีย์
ภิกษุใช้ผู้อื่นให้ทำกล่องเข็มที่ตนทำค้างไว้ต่อจนสำเร็จ ต้องอาบัติปาจิตตีย์
ภิกษุทำกล่องเข็มที่ผู้อื่นทำค้างไว้ต่อจนสำเร็จด้วยตนเอง ต้องอาบัติปาจิตตีย์
ภิกษุใช้ผู้อื่นให้ทำกล่องเข็มที่ผู้อื่นทำค้างไว้ต่อจนสำเร็จ ต้องอาบัติปาจิตตีย์

ทุกกฏ
ภิกษุทำเองหรือใช้ผู้อื่นให้ทำเพื่อประโยชน์แก่ผู้อื่น ต้องอาบัติทุกกฏ
ภิกษุได้กล่องเข็มที่ผู้อื่นทำไว้มาใช้สอย ต้องอาบัติทุกกฏ

อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[๕๒๐] ๑. ภิกษุทำลูกดุม
๒. ภิกษุทำตะบันไฟ
๓. ภิกษุทำลูกถวิน (ห่วงร้อยสายประคด)
๔. ภิกษุทำกลักยาตา
๕. ภิกษุทำไม้ป้ายยาตา
๖. ภิกษุทำฝักมีด
๗. ภิกษุทำกระบอกกรองน้ำ
๘. ภิกษุวิกลจริต
๙. ภิกษุต้นบัญญัติ

สูจิฆรสิกขาบทที่ ๔ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๖๐๗ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๙.รตนวรรค ๕.มัญจปีฐสิกขาบท นิทานวัตถุ
๙. รตนวรรค

๕. มัญจปีฐสิกขาบท
ว่าด้วยการทำเตียงและตั่ง

เรื่องพระอุปนันทศากยบุตร
[๕๒๑] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น ท่านพระอุปนันทศากยบุตรนอน
บนเตียงสูง คราวนั้น พระผู้มีพระภาคเสด็จจาริกตามเสนาสนะพร้อมภิกษุหลายรูป
ผ่านไปทางที่อยู่ของท่านอุปนันทศากบุตร ท่านได้เห็นพระผู้มีพระภาคเสด็จมา
แต่ไกล ครั้นเห็นแล้วได้เข้าไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ขอเชิญเสด็จทอด
พระเนตรเตียงนอนของข้าพระองค์เถิด พระพุทธเจ้าข้า”
ครั้นแล้ว พระผู้มีพระภาคได้เสด็จกลับจากที่นั้นแล้วรับสั่งกับภิกษุทั้งหลายว่า
“ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอพึงรู้จักโมฆบุรุษเพราะที่อยู่อาศัย” ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาค
ได้ทรงตำหนิท่านพระอุปนันทศากยบุตรโดยประการต่าง ๆ แล้วตรัสโทษแห่งความ
เป็นผู้เลี้ยงยาก ฯลฯ แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้

พระบัญญัติ
[๕๒๒] ก็ ภิกษุผู้จะทำเตียงหรือตั่งใหม่ พึงทำให้มีเท้าเพียง ๘ นิ้ว โดย
นิ้วสุคต๑ นับแต่แม่แคร่ลงมา ทำให้เกินกว่ากำหนดนั้น ต้องอาบัติปาจิตตีย์
ที่ชื่อว่าเฉทนกะ๒
เรื่องพระอุปนันทศากยบุตร จบ

เชิงอรรถ :
๑ ๑ นิ้วสุคต เท่ากับ ๓ นิ้วของคนปานกลางในบัดนี้ (สุคตงฺคลํ นาม อิทานิ มชฺฌิมสฺส ปุริสสฺส ตีณิ
องฺคุลานิ -กงฺขา.ฏีกา ๒๙๗)
๒ คำว่า “เฉทนกะ” เป็นชื่อเฉพาะของอาบัติปาจิตตีย์สิกขาบทนี้ แปลว่า มีการตัดออก คือต้องตัดวัตถุก่อน
จึงแสดงอาบัติตก (วิ.อ. ๒/๕๒๒/๔๓๙)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๖๐๘ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๙.รตนวรรค ๕.มัญจปีฐสิกขาบท บทภาชนีย์
สิกขาบทวิภังค์
[๕๒๓] ที่ชื่อว่า ใหม่ พระผู้มีพระภาคตรัสหมายถึงการทำขึ้นมา(ใหม่)
ที่ชื่อว่า เตียง ได้แก่ เตียง ๔ ชนิด คือ (๑) เตียงมีแม่แคร่สอดเข้าในขา๑
(๒) เตียงมีแม่แคร่ติดอยู่กับขา (๓) เตียงมีขาดังก้ามปู (๔) เตียงมีขาจดแม่แคร่
ที่ชื่อว่า ตั่ง มี ๔ ชนิด คือ (๑) ตั่งมีแม่แคร่สอดเข้าในขา (๒) ตั่งมีแม่แคร่
ติดอยู่กับขา (๓) ตั่งมีขาดังก้ามปู (๔) ตั่งมีขาจดแม่แคร่
คำว่า ผู้จะทำ คือ ภิกษุทำเองหรือใช้คนอื่นให้ทำ
คำว่า พึงทำให้มีเท้าเพียง ๘ นิ้ว โดยนิ้วสุคต นับแต่แม่แคร่ลงมา คือ เว้น
ระยะใต้แม่แคร่ลงมาภิกษุทำเองหรือใช้ผู้อื่นให้ทำเกินกำหนดนั้น ต้องอาบัติทุกกฏ
ในขณะที่ทำ ต้องอาบัติปาจิตตีย์เพราะได้มา ต้องตัดออกแล้วแสดงอาบัติ

บทภาชนีย์
ปาจิตตีย์
[๕๒๔] ภิกษุทำเตียงหรือตั่งที่ตนทำค้างไว้ต่อจนสำเร็จด้วยตนเอง ต้องอาบัติ
ปาจิตตีย์
ภิกษุใช้ผู้อื่นให้ทำเตียงหรือตั่งที่ตนทำค้างไว้ต่อจนสำเร็จ ต้องอาบัติปาจิตตีย์
ภิกษุทำเตียงหรือตั่งที่ผู้อื่นทำค้างไว้ต่อจนสำเร็จ ต้องอาบัติปาจิตตีย์
ภิกษุใช้ผู้อื่นให้ทำเตียงหรือตั่งที่ผู้อื่นทำค้างไว้ต่อจนสำเร็จ ต้องอาบัติ
ปาจิตตีย์

เชิงอรรถ :
๑ เตียงมีแม่แคร่สอดเข้าในขา เท่ากับภาษาอังกฤษว่า “Long one - เตียงยาว” เตียงมีแม่แคร่ติดอยู่กับขา
คือ “One with slats - เตียงแผ่นไม้ระแนง” เตียงมีขาดังก้ามปู “One with curved legs - เตียงมีขาโค้ง”
เตียงมีขาจดแม่แคร่ คือ “One with removable legs - เตียงมีขาถอดได้” (ดู The Book of the Discipline,
VoL. III, P. 91, PTS.)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๖๐๙ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๙.รตนวรรค ๕.มัญจปีฐสิกขาบท อนาปัตติวาร
ทุกกฏ
ภิกษุทำเองหรือใช้ผู้อื่นให้ทำเพื่อประโยชน์แก่ผู้อื่น ต้องอาบัติทุกกฏ
ภิกษุได้เตียงหรือตั่งที่ผู้อื่นทำเสร็จแล้วมาใช้สอย ต้องอาบัติทุกกฏ

อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[๕๒๕] ๑. ภิกษุทำเตียงตั่งได้ขนาด
๒. ภิกษุทำเตียงตั่งต่ำกว่าขนาด
๓. ภิกษุได้เตียงตั่งที่ผู้อื่นทำเกินขนาดมาตัดให้ได้ขนาดก่อนแล้วใช้
๔. ภิกษุวิกลจริต
๕. ภิกษุต้นบัญญัติ

มัญจปีฐสิกขาบทที่ ๕ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๖๑๐ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๙.รตนวรรค ๖.ตูโลนัทธสิกขาบท นิทานวัตถุ
๙. รตนวรรค

๖. ตูโลนัทธสิกขาบท
ว่าด้วยการทำเตียงตั่งหุ้มนุ่น

เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๕๒๖] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ใช้ให้ทำเตียง
หุ้มนุ่นบ้าง ตั่งหุ้มนุ่นบ้าง๑ คนทั้งหลายไปเที่ยวจาริกไปตามวิหารเห็น จึงตำหนิ
ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพระสมณะเชื้อสายศากยบุตรจึงใช้ให้ทำเตียงหุ้มนุ่นบ้าง
ตั่งหุ้มนุ่นบ้าง เหมือนพวกคฤหัสถ์ที่บริโภคกามเล่า”
ภิกษุทั้งหลายได้ยินคนเหล่านั้นตำหนิ ประณาม โพนทะนา บรรดาภิกษุผู้
มักน้อย ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพวกภิกษุฉัพพัคคีย์
จึงใช้ให้ทำเตียงหุ้มนุ่นบ้าง ตั่งหุ้มนุ่นบ้างเล่า” ครั้นภิกษุทั้งหลายตำหนิพวก
ภิกษุฉัพพัคคีย์โดยประการต่าง ๆ แล้วจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้
ทรงทราบ

ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามพวกภิกษุฉัพพัคคีย์ว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า พวกเธอใช้ให้ทำเตียงบ้าง
ตั่งบ้างหุ้มนุ่นจริงหรือ” พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระ
ผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ฯลฯ โมฆบุรุษทั้งหลาย ไฉนพวกเธอจึงใช้ให้ทำ
เตียงหุ้มนุ่นบ้าง ตั่งหุ้มนุ่นบ้างเล่า โมฆบุรุษทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำ
คนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ”

เชิงอรรถ :
๑ ตูโลนทฺธํ, ตูลํ ปกฺขิปิตฺวา อุปริ จิมิลิกาย โอนทฺธํ ที่ชื่อว่าหุ้มนุ่น คือใส่นุ่นแล้วหุ้มด้านบนด้วยผ้ารองพื้น
(วิ.อ.๒/๕๒๖/๔๓๙)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๖๑๑ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๙.รตนวรรค ๖.ตูโลนัทธสิกขาบท บทภาชนีย์
พระบัญญัติ
[๕๒๗] ก็ ภิกษุใดทำเตียง หรือตั่งหุ้มนุ่น ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ที่ชื่อว่า
อุททาลนกะ๑
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ

สิกขาบทวิภังค์
[๕๒๘] คำว่า ก็...ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ก็...ใด
คำว่า ภิกษุ มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุ เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาค
ทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุ ในความหมายนี้
ที่ชื่อว่า เตียง ได้แก่ เตียง ๔ ชนิด คือ (๑) เตียงมีแม่แคร่สอดเข้าในขา
(๒) เตียงมีแม่แคร่ติดอยู่กับขา (๓) เตียงมีขาดังก้ามปู (๔) เตียงมีขาจดแม่แคร่
ที่ชื่อว่า ตั่ง ได้แก่ ตั่ง ๔ ชนิด คือ (๑) ตั่งมีแม่แคร่สอดเข้าในขา (๒) ตั่งมี
แม่แคร่ติดอยู่กับขา (๓) ตั่งมีขาดังก้ามปู (๔) ตั่งมีขาจดแม่แคร่
ที่ชื่อว่า นุ่น ได้แก่ นุ่น ๓ ชนิด คือ (๑) นุ่นจากต้นไม้ (๒) นุ่นจากเถาวัลย์
(๓) นุ่นจากหญ้าเลา
คำว่า ทำ คือ ภิกษุทำเองหรือใช้ผู้อื่นให้ทำ ต้องอาบัติทุกกฏ ในขณะที่ทำ
ต้องอาบัติปาจิตตีย์เพราะได้มา ต้องรื้อเสียก่อนแล้วแสดงอาบัติ

บทภาชนีย์
ปาจิตตีย์
[๕๒๙] ภิกษุทำเตียงหรือตั่งหุ้มนุ่นที่ตนทำค้างไว้ต่อจนสำเร็จด้วยตนเอง ต้อง
อาบัติปาจิตตีย์

เชิงอรรถ :
๑ คำว่า “อุททาลนกะ” เป็นชื่อเฉพาะของอาบัติปาจิตตีย์สิกขาบทนี้ แปลว่า มีการรื้อออก คือ ต้องรื้อออก
เสียก่อนจึงแสดงอาบัติตก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๖๑๒ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๙.รตนวรรค ๖.ตูโลนัทธสิกขาบท อนาปัตติวาร
ภิกษุใช้ผู้อื่นให้ทำเตียงหรือตั่งหุ้มนุ่นที่ตนทำค้างไว้ต่อจนสำเร็จ ต้องอาบัติ
ปาจิตตีย์
ภิกษุทำเตียงหรือตั่งหุ้มนุ่นที่ผู้อื่นทำค้างไว้ต่อจนสำเร็จด้วยตนเอง ต้องอาบัติ
ปาจิตตีย์
ภิกษุใช้ผู้อื่นให้ทำเตียงหรือตั่งหุ้มนุ่นที่ผู้อื่นทำค้างไว้ต่อจนสำเร็จ ต้องอาบัติ
ปาจิตตีย์

ทุกกฏ
ภิกษุทำเองหรือใช้ผู้อื่นให้ทำเพื่อประโยชน์แก่ผู้อื่น ต้องอาบัติทุกกฏ
ภิกษุได้เตียงตั่งที่ผู้อื่นทำสำเร็จแล้วมาใช้สอย ต้องอาบัติทุกกฏ

อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[๕๓๐] ๑. ภิกษุทำสายรัดเข่าหุ้มนุ่น
๒. ภิกษุทำประคดเอวหุ้มนุ่น
๓. ภิกษุทำสายโยกบาตรหุ้มนุ่น
๔. ภิกษุทำถุงบาตรหุ้มนุ่น
๕. ภิกษุทำผ้ากรองน้ำหุ้มนุ่น
๖. ภิกษุทำหมอนหุ้มนุ่น
๗. ภิกษุได้เตียงตั่งหุ้มนุ่นที่ผู้อื่นทำสำเร็จแล้วมาทำลายก่อนใช้
๘. ภิกษุวิกลจริต
๙. ภิกษุต้นบัญญัติ

ตูโลนัทธสิกขาบทที่ ๖ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๖๑๓ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๙.รตนวรรค ๗.นิสีทนสิกขาบท นิทานวัตถุ
๙. รตนวรรค

๗. นิสีทนสิกขาบท
ว่าด้วยการทำผ้ารองนั่ง

เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๕๓๑] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคทรงอนุญาตผ้า
รองนั่งสำหรับภิกษุทั้งหลาย พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ทราบว่า “พระผู้มีพระภาคทรง
อนุญาตผ้ารองนั่ง” จึงใช้ผ้ารองนั่งไม่ได้ขนาด เมื่อปูบนเตียงบ้าง บนตั่งบ้าง จึงห้อย
ข้างหน้าบ้าง ข้างหลังบ้าง
บรรดาภิกษุผู้มักน้อย ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพวก
ภิกษุฉัพพัคคีย์จึงใช้ผ้ารองนั่งไม่ได้ขนาดเล่า” ครั้นภิกษุทั้งหลายตำหนิพวก
ภิกษุฉัพพัคคีย์โดยประการต่าง ๆ แล้วจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้
ทรงทราบ

ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามพวกภิกษุฉัพพัคคีย์ว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า พวกเธอใช้ผ้ารองนั่งไม่ได้
ขนาดจริงหรือ” พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาค
พุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ฯลฯ โมฆบุรุษทั้งหลาย ไฉนพวกเธอจึงใช้ผ้ารองนั่งไม่ได้
ขนาดเล่า โมฆบุรุษทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส
หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุ
ทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๖๑๔ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๙.รตนวรรค ๗.นิสีทนสิกขาบท พระอนุบัญญัติ
พระบัญญัติ
ก็ ภิกษุผู้จะทำผ้ารองนั่ง พึงทำให้ได้ขนาด ขนาดในข้อนั้น คือ ยาว ๒
คืบ กว้างคืบครึ่ง โดยคืบสุคต๑ ทำให้เกินขนาดนั้น ต้องอาบัติปาจิตตีย์ที่ชื่อว่า
เฉทนกะ
สิกขาบทนี้พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติไว้แก่ภิกษุทั้งหลายอย่างนี้
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ

เรื่องพระอุทายี
[๕๓๒] สมัยนั้น ท่านพระอุทายีรูปร่างใหญ่ ปูผ้ารองนั่งเบื้องพระพักตร์พระผู้
มีพระภาคแล้วนั่งดึงชายผ้าออกรอบ ๆ พระผู้มีพระภาคได้ตรัสถามท่านพระอุทายีดังนี้
ว่า “อุทายี เพราะเหตุไร เธอจึงปูผ้ารองนั่งแล้วดึงชายผ้าออกรอบ ๆ เหมือนช่าง
ทำหนังเก่าเล่า”
ท่านพระอุทายีกราบทูลว่า “จริงดังนั้น พระพุทธเจ้าข้า ก็พระผู้มีพระภาคทรง
อนุญาตผ้ารองนั่งสำหรับภิกษุเล็กเกินไป”

พระพุทธานุญาตพิเศษ
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมีกถาเพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ แล้วรับ
สั่งกับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตชายผ้ารองนั่งเพิ่มอีก ๑ คืบ”
แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้

พระอนุบัญญัติ
[๕๓๓] อนึ่ง ภิกษุผู้จะทำผ้ารองนั่ง พึงทำให้ได้ขนาด ขนาดในข้อนั้น
คือ ยาว ๒ คืบ กว้างคืบครึ่ง ชายคืบหนึ่ง โดยคืบสุคต ทำให้เกินขนาดนั้น ต้อง
อาบัติปาจิตตีย์ที่ชื่อว่าเฉทนกะ
เรื่องพระอุทายี จบ

เชิงอรรถ :
๑ คืบสุคต เท่ากับ ๓ คืบของคนปานกลางในบัดนี้ หรือเท่ากับ ๑ ศอกคืบของช่างไม้ (วิ.อ. ๒/๓๔๘-๙/๖๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๖๑๕ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๙.รตนวรรค ๗.นิสีทนสิกขาบท อนาปัตติวาร
สิกขาบทวิภังค์
[๕๓๔] ที่ชื่อว่า ผ้ารองนั่ง พระผู้มีพระภาคตรัสหมายถึงผ้ารองนั่งที่มีชาย
คำว่า ผู้จะทำ คือ ภิกษุทำเองหรือใช้ผู้อื่นให้ทำ ต้องให้ทำให้ได้ขนาด ขนาด
ในข้อนั้น คือ ยาว ๒ คืบ กว้างคืบครึ่ง ชายคืบหนึ่ง โดยคืบสุคต ภิกษุทำเอง
หรือใช้ให้ผู้อื่นทำเกินขนาดนั้น ต้องอาบัติทุกกฏเพราะทำ ต้องอาบัติปาจิตตีย์เพราะ
ได้มา ต้องตัดเสียก่อนแล้วแสดงอาบัติ

บทภาชนีย์
ปาจิตตีย์
[๕๓๕] ภิกษุทำผ้ารองนั่ง(ที่เกินขนาด)ที่ตนทำค้างไว้ต่อจนสำเร็จด้วยตนเอง
ต้องอาบัติปาจิตตีย์
ภิกษุใช้ผู้อื่นให้ทำผ้ารองนั่งที่ตนทำค้างไว้ต่อจนสำเร็จ ต้องอาบัติปาจิตตีย์
ภิกษุทำผ้ารองนั่งที่ผู้อื่นทำค้างไว้ต่อจนสำเร็จด้วยตนเอง ต้องอาบัติปาจิตตีย์
ภิกษุใช้ผู้อื่นให้ทำผ้ารองนั่งที่ผู้อื่นทำค้างไว้ต่อจนสำเร็จ ต้องอาบัติปาจิตตีย์

ทุกกฏ
ภิกษุทำเองหรือใช้ผู้อื่นให้ทำผ้ารองนั่ง เพื่อประโยชน์แก่ผู้อื่น ต้องอาบัติทุกกฏ
ภิกษุได้ผ้ารองนั่งที่ผู้อื่นทำสำเร็จแล้วมาใช้สอย ต้องอาบัติทุกกฏ

อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[๕๓๖] ๑. ภิกษุทำผ้ารองนั่งได้ขนาด
๒. ภิกษุทำผ้ารองนั่งต่ำกว่าขนาด
๓. ภิกษุได้ผ้ารองนั่งที่ผู้อื่นทำเกินขนาดมาตัดแล้วใช้
๔. ภิกษุทำเป็นผ้าเพดาน ผ้าปูพื้น ผ้าม่าน เปลือกฟูกหรือปลอกหมอน
๕. ภิกษุวิกลจริต
๖. ภิกษุต้นบัญญัติ

นิสีทนสิกขาบทที่ ๗ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๖๑๖ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๙.รตนวรรค ๘.กัณฑุปฏิจฉาทิสิกขาบท นิทานวัตถุ
๙. รตนวรรค

๘. กัณฑุปฏิจฉาทิสิกขาบท
ว่าด้วยการทำผ้าปิดฝี

เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๕๓๗] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคทรงอนุญาต
ผ้าปิดฝีสำหรับภิกษุทั้งหลาย พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ทราบว่า “พระผู้มีพระภาค
ทรงอนุญาตผ้าปิดฝี” จึงใช้ผ้าปิดฝีไม่ได้ขนาด ปล่อยห้อยข้างหน้าบ้าง ข้างหลังบ้าง
เที่ยวไป
บรรดาภิกษุผู้มักน้อย ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพวก
ภิกษุฉัพพัคคีย์จึงใช้ผ้าปิดฝีไม่ได้ขนาดเล่า” ครั้นภิกษุทั้งหลายตำหนิพวกภิกษุ
ฉัพพัคคีย์โดยประการต่าง ๆ แล้วจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรง
ทราบ

ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามพวกภิกษุฉัพพัคคีย์ว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า พวกเธอใช้ผ้าปิดฝีไม่ได้
ขนาดจริงหรือ” พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระ
ภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ฯลฯ โมฆบุรุษทั้งหลาย ไฉนพวกเธอจึงใช้ผ้าปิดฝีไม่ได้
ขนาดเล่า โมฆบุรุษทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส
หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้ง
หลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๖๑๗ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๙.รตนวรรค ๘.กัณฑุปฏิจฉาทิสิกขาบท บทภาชนีย์
พระบัญญัติ
[๕๓๘] ก็ ภิกษุผู้ทำผ้าปิดฝี ต้องทำให้ได้ขนาด ขนาดในข้อนั้น คือ
ยาว ๔ คืบ กว้าง ๒ คืบ โดยคืบสุคต ทำให้เกินขนาดนั้น ต้องอาบัติปาจิตตีย์
ที่ชื่อว่าเฉทนกะ
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ

สิกขาบทวิภังค์
[๕๓๙] ที่ชื่อว่า ผ้าปิดฝี ได้แก่ ผ้าที่ทรงอนุญาตสำหรับภิกษุผู้อาพาธ คือ
เป็นโรคฝีสุกใส โรคมีน้ำหนอง โรคน้ำเหลือง หรือโรคฝีดาษ ใต้สะดือลงไปเหนือ
หัวเข่าขึ้นมา เพื่อใช้ปิดแผล
คำว่า ผู้จะทำ คือ ภิกษุทำเองหรือใช้ผู้อื่นให้ทำ พึงให้ทำให้ได้ขนาด ขนาดใน
ข้อนั้น คือ ยาว ๔ คืบ กว้าง ๒ คืบ โดยคืบสุคต
ภิกษุทำเองหรือใช้ผู้อื่นให้ทำเกินขนาดนั้น ต้องอาบัติทุกกฏ ในขณะที่ทำ
ต้องอาบัติปาจิตตีย์เพราะได้มา ต้องตัดออกเสียก่อนแล้วแสดงอาบัติ

บทภาชนีย์
ปาจิตตีย์
[๕๔๐] ภิกษุทำผ้าปิด(เกินขนาด)ฝีที่ตนทำค้างไว้ต่อจนสำเร็จเอง ต้องอาบัติ
ปาจิตตีย์
ภิกษุใช้ผู้อื่นให้ทำผ้าปิดฝีที่ตนทำค้างไว้ต่อจนสำเร็จ ต้องอาบัติปาจิตตีย์
ภิกษุทำผ้าปิดฝีที่ผู้อื่นทำค้างไว้ต่อจนสำเร็จด้วยตนเอง ต้องอาบัติปาจิตตีย์
ภิกษุใช้ผู้อื่นให้ทำผ้าปิดฝีที่ผู้อื่นทำค้างไว้ทำต่อจนสำเร็จ ต้องอาบัติปาจิตตีย์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๖๑๘ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๙.รตนวรรค ๘.กัณฑุปฏิจฉาทิสิกขาบท อนาปัตติวาร
ทุกกฏ
ภิกษุทำเองหรือใช้ผู้อื่นให้ทำ เพื่อประโยชน์แก่ผู้อื่น ต้องอาบัติทุกกฏ
ภิกษุได้ผ้าปิดฝีที่ผู้อื่นทำไว้มาใช้สอย ต้องอาบัติทุกกฏ

อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[๕๔๑] ๑. ภิกษุทำผ้าปิดฝีได้ขนาด
๒. ภิกษุทำผ้าปิดฝีต่ำกว่าขนาด
๓. ภิกษุได้ผ้าปิดฝีที่ผู้อื่นทำไว้เกินขนาดมาตัดแล้วใช้
๔. ภิกษุทำเป็นผ้าเพดาน ผ้าปูพื้น ผ้าม่าน เปลือกฟูก หรือ
ปลอกหมอน
๕. ภิกษุวิกลจริต
๖. ภิกษุต้นบัญญัติ

กัณฑุปฏิจฉาทิสิกขาบทที่ ๘ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๖๑๙ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๙.รตนวรรค ๙.วัสสิกสาฏิกาสิกขาบท นิทานวัตถุ
๙. รตนวรรค

๙. วัสสิกสาฏิกาสิกขาบท
ว่าด้วยการทำผ้าอาบนํ้าฝน

เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๕๔๒] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคทรงอนุญาตผ้า
อาบนํ้าฝนสำหรับภิกษุทั้งหลาย พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ทราบว่า “พระผู้มีพระภาคทรง
อนุญาตผ้าอาบน้ำฝน” จึงใช้ผ้าอาบน้ำฝนไม่ได้ขนาด ปล่อยห้อยข้างหน้าบ้าง
ข้างหลังบ้าง เที่ยวไป
บรรดาภิกษุผู้มักน้อย ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพวก
ภิกษุฉัพพัคคีย์จึงใช้ผ้าอาบน้ำฝนไม่ได้ขนาดเล่า” ครั้นภิกษุทั้งหลายตำหนิพวก
ภิกษุฉัพพัคคีย์โดยประการต่าง ๆ แล้วจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้
ทรงทราบ

ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามพวกภิกษุฉัพพัคคีย์ว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า พวกเธอใช้ผ้าอาบน้ำฝน
ไม่ได้ขนาด จริงหรือ” พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มี
พระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ฯลฯ โมฆบุรุษทั้งหลาย ไฉนพวกเธอจึงใช้ผ้าอาบน้ำ
ฝนไม่ได้ขนาดเล่า โมฆบุรุษทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใส
ให้เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่ง
ให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๖๒๐ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๙.รตนวรรค ๙.วัสสิกสาฏิกาสิกขาบท บทภาชนีย์
พระบัญญัติ
[๕๔๓] ก็ ภิกษุผู้จะทำผ้าอาบน้ำฝน พึงทำให้ได้ขนาด ขนาดในข้อนั้น
คือ ยาว ๖ คืบ กว้าง ๒ คืบครึ่ง โดยคืบสุคต ทำให้เกินขนาดนั้น ต้อง
อาบัติปาจิตตีย์ที่ชื่อว่าเฉทนกะ
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ

สิกขาบทวิภังค์
[๕๔๔] ที่ชื่อว่า ผ้าอาบน้ำฝน ได้แก่ ผ้าที่ทรงอนุญาตไว้ให้ใช้ได้ตลอด ๔
เดือนในฤดูฝน
คำว่า ผู้จะทำ คือ ภิกษุทำเองหรือใช้ผู้อื่นให้ทำ ต้องให้ทำให้ได้ขนาด คือ
ยาว ๖ คืบ กว้าง ๒ คืบครึ่ง โดยคืบสุคต
ภิกษุทำเองหรือใช้ผู้อื่นให้ทำเกินขนาดนั้น ต้องอาบัติทุกกฏในขณะที่ทำ ต้อง
อาบัติปาจิตตีย์เพราะได้มา ต้องตัดออกแล้วแสดงอาบัติ

บทภาชนีย์
ปาจิตตีย์
[๕๔๕] ภิกษุทำผ้าอาบนํ้าฝน(เกินขนาด)ที่ตนทำค้างไว้ต่อจนสำเร็จด้วยตนเอง
ต้องอาบัติปาจิตตีย์
ภิกษุใช้ผู้อื่นให้ทำผ้าอาบนํ้าฝนที่ตนทำค้างไว้ต่อจนสำเร็จ ต้องอาบัติปาจิตตีย์
ภิกษุทำผ้าอาบนํ้าฝนที่ผู้อื่นทำค้างไว้ต่อจนสำเร็จด้วยตนเอง ต้องอาบัติปาจิตตีย์
ภิกษุใช้ผู้อื่นให้ทำผ้าอาบนํ้าฝนที่ผู้อื่นทำค้างไว้ต่อจนสำเร็จ ต้องอาบัติปาจิตตีย์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๖๒๑ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๙.รตนวรรค ๙.วัสสิกสาฏิกาสิกขาบท อนาปัตติวาร
ทุกกฏ
ภิกษุทำเองหรือใช้ผู้อื่นให้ทำเพื่อประโยชน์แก่ผู้อื่น ต้องอาบัติทุกกฏ
ภิกษุได้ผ้าอาบนํ้าฝนที่ผู้อื่นทำไว้มาใช้สอย ต้องอาบัติทุกกฏ

อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[๕๔๖] ๑. ภิกษุทำผ้าอาบน้ำฝนได้ขนาด
๒. ภิกษุทำผ้าอาบน้ำฝนต่ำกว่าขนาด
๓. ภิกษุได้ผ้าอาบน้ำฝนที่ผู้อื่นทำเกินขนาดมาตัดแล้วใช้
๔. ภิกษุทำเป็นผ้าเพดาน ผ้าปูพื้น ผ้าม่าน เปลือกฟูกหรือ
ปลอกหมอน
๕. ภิกษุวิกลจริต
๖. ภิกษุต้นบัญญัติ

วัสสิกสาฏิกาสิกขาบทที่ ๙ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๖๒๒ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๙.รตนวรรค ๑๐.นันทสิกขาบท นิทานวัตถุ
๙. รตนวรรค

๑๐. นันทสิกขาบท
ว่าด้วยพระนันทะ

เรื่องพระนันทะ
[๕๔๗] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น ท่านพระนันทะ โอรสพระมาตุจฉา
ของพระผู้มีพระภาค มีรูปงาม น่าดู น่าชม ร่างตํ่ากว่าพระผู้มีพระภาค ๔ องคุลี
ท่านพระนันทะนั้นห่มจีวรมีขนาดเท่าจีวรพระสุคต ภิกษุทั้งหลายผู้เป็นพระเถระได้
เห็นท่านพระนันทะเดินมาแต่ไกล ครั้นเห็นแล้วจึงลุกขึ้นจากอาสนะด้วยคิดว่า “พระ
ผู้มีพระภาคเสด็จมา” เมื่อท่านพระนันทะเข้ามาใกล้ จึงจำได้ แล้วพากันตำหนิ
ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนท่านพระนันทะจึงห่มจีวรมีขนาดเท่าจีวรพระสุคตเล่า”
ครั้นภิกษุทั้งหลายตำหนิท่านพระนันทะโดยประการต่าง ๆ แล้วจึงนำเรื่องนี้ไปกราบ
ทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ

ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามท่านพระนันทะว่า “นันทะ ทราบว่า เธอห่มจีวรมีขนาดเท่าสุคตจีวร
จริงหรือ” ท่านพระนันทะทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า
ทรงตำหนิว่า “ฯลฯ นันทะ ไฉนเธอจึงห่มจีวรมีขนาดเท่าสุคตจีวรเล่า นันทะ
การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้ว
ให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง
ดังนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๖๒๓ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๙.รตนวรรค ๑๐.นันทสิกขาบท บทภาชนีย์
พระบัญญัติ
[๕๔๘] ก็ ภิกษุทำจีวรมีขนาดเท่ากับสุคตจีวร หรือใหญ่กว่า ต้องอาบัติ
ปาจิตตีย์ที่ชื่อว่าเฉทนกะ ขนาดเท่าสุคตจีวรของสุคตในข้อนั้น คือ ยาว ๙ คืบ
กว้าง ๖ คืบ โดยคืบสุคต นี้เป็นขนาดเท่าสุคตจีวรของพระสุคต
เรื่องพระนันทะ จบ

สิกขาบทวิภังค์
[๕๔๙] คำว่า ก็...ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ก็...ใด
คำว่า ภิกษุ มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุ เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระ
ภาคทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุ ในความหมายนี้
ที่ชื่อว่า ขนาดเท่าสุคตจีวร คือ ยาว ๙ คืบ กว้าง ๖ คืบ โดยคืบสุคต
คำว่า ทำ คือ ภิกษุทำเองหรือใช้ผู้อื่นให้ทำ ต้องอาบัติทุกกฏ ในขณะที่ทำ
ต้องอาบัติปาจิตตีย์เพราะได้มา ต้องตัดออกเสียก่อนแล้วแสดงอาบัติ

บทภาชนีย์
ปาจิตตีย์
[๕๕๐] ภิกษุทำจีวร(เท่าสุคตจีวร)ที่ตนทำค้างไว้ต่อจนสำเร็จด้วยตนเอง ต้อง
อาบัติปาจิตตีย์
ภิกษุใช้ผู้อื่นให้ทำจีวรที่ตนทำค้างไว้ต่อจนสำเร็จ ต้องอาบัติปาจิตตีย์
ภิกษุทำจีวรที่ผู้อื่นทำค้างไว้ต่อจนสำเร็จด้วยตนเอง ต้องอาบัติปาจิตตีย์
ภิกษุใช้ผู้อื่นให้ทำจีวรที่ผู้อื่นทำค้างไว้ต่อจนสำเร็จ ต้องอาบัติปาจิตตีย์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๖๒๔ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๙.รตนวรรค รวมสิกขาบทที่มีในรตนวรรค
ทุกกฏ
ภิกษุทำเองหรือใช้ผู้อื่นให้ทำ เพื่อประโยชน์แก่ผู้อื่น ต้องอาบัติทุกกฏ
ภิกษุได้จีวรที่ผู้อื่นทำสำเร็จแล้วมาใช้สอย ต้องอาบัติทุกกฏ

อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[๕๕๑] ๑. ภิกษุทำจีวรต่ำกว่าขนาด
๒. ภิกษุได้จีวรที่ผู้อื่นทำเสร็จมาตัดแล้วใช้
๓. ภิกษุทำเป็นผ้าเพดาน ผ้าปูพื้น ผ้าม่าน เปลือกฟูกหรือ
ปลอกหมอน
๔. ภิกษุวิกลจริต
๕. ภิกษุต้นบัญญัติ
นันทสิกขาบทที่ ๑๐ จบ
รตนวรรคที่ ๙ จบ

รวมสิกขาบทที่มีในรตนวรรค
รตนวรรคมี ๑๐ สิกขาบท คือ

๑. อันเตปุรสิกขาบท ว่าด้วยการเข้าเขตพระราชฐานชั้นใน
๒. รตนสิกขาบท ว่าด้วยการเก็บรัตนะที่เจ้าของลืมไว้
๓. วิกาลคามปเวสนสิกขาบท ว่าด้วยการเข้าบ้านในเวลาวิกาล
๔. สูจิฆรสิกขาบท ว่าด้วยการทำกล่องเข็มด้วยกระดูกเป็นต้น
๕. มัญจปีฐสิกขาบท ว่าด้วยการทำเตียงและตั่ง


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๖๒๕ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] บทสรุป

๖. ตูโลนัทธสิกขาบท ว่าด้วยการทำเตียงและตั่งหุ้มนุ่น
๗. นิสีทนสิกขาบท ว่าด้วยการทำผ้ารองนั่ง
๘. กัณฑุปฏิจฉาทิสิกขาบท ว่าด้วยการทำผ้าปิดฝี
๙. วัสสิกสาฏิกาสิกขาบท ว่าด้วยการทำผ้าอาบน้ำฝน
๑๐. นันทสิกขาบท ว่าด้วยท่านพระนันทะ

บทสรุป
ท่านทั้งหลาย ธรรมคือปาจิตตีย์ ๙๒ สิกขาบท ข้าพเจ้ายกขึ้นแสดงแล้ว
ข้าพเจ้าขอถามท่านทั้งหลาย ในธรรมคือปาจิตตีย์ ๙๒ สิกขาบทเหล่านี้ว่า
“ท่านทั้งหลายบริสุทธิ์แล้วหรือ”
ข้าพเจ้าขอถามเป็นครั้งที่ ๒ ว่า “ท่านทั้งหลายบริสุทธิ์แล้วหรือ”
ข้าพเจ้าขอถามเป็นครั้งที่ ๓ ว่า “ท่านทั้งหลายบริสุทธิ์แล้วหรือ”
ท่านทั้งหลายบริสุทธิ์แล้วในธรรมคือปาจิตตีย์ ๙๒ สิกขาบทนี้ เพราะฉะนั้น
จึงนิ่ง ข้าพเจ้าขอถือความนิ่งนั้นเป็นมติอย่างนี้

ขุททกสิกขาบท จบบริบูรณ์
ปาจิตติยกัณฑ์ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๖๒๖ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๖.ปาฏิเทสนียกัณฑ์] ๑.ปฐมปาฏิเทสนียสิกขาบท นิทานวัตถุ
๖. ปาฏิเทสนียกัณฑ์
ท่านทั้งหลาย ธรรมคือปาฏิเทสนียะ ๔ สิกขาบทเหล่านี้มาถึงวาระที่ยกขึ้น
แสดงเป็นข้อ ๆ ตามลำดับ

๑. ปฐมปาฏิเทสนียสิกขาบท
ว่าด้วยการรับของเคี้ยวของฉันจากมือภิกษุณีผู้ไม่ใช่ญาติ

เรื่องภิกษุณีรูปหนึ่ง
[๕๕๒] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุณีรูปหนึ่งเที่ยวบิณฑบาตใน
กรุงสาวัตถี เวลากลับ พบภิกษุรูปหนึ่งจึงได้กล่าวดังนี้ว่า “พระคุณเจ้า นิมนต์ท่าน
รับภิกษาหารเถิด”
ภิกษุนั้นตอบว่า “ดีละ น้องหญิง” แล้วรับภิกษาหารทั้งหมด
เมื่อใกล้เวลาฉันแล้ว ภิกษุณีนั้นไม่สามารถเที่ยวบิณฑบาตได้ทัน จึงไม่ได้ฉัน
ภัตตาหาร
ต่อมา แม้ในวันที่ ๒ ภิกษุณีนั้น ฯลฯ แม้ในวันที่ ๓ ภิกษุณีนั้นก็เที่ยว
บิณฑบาตในกรุงสาวัตถี เวลากลับ พบภิกษุรูปนั้นจึงได้กล่าวดังนี้ว่า “พระคุณเจ้า
นิมนต์ท่านรับภิกษาหารเถิด”
ภิกษุนั้นตอบว่า “ดีละ น้องหญิง” แล้วรับภิกษาหารทั้งหมด
เมื่อใกล้เวลาฉันแล้ว ภิกษุณีนั้นไม่สามารถเที่ยวบิณฑบาตได้ทัน จึงไม่ได้ฉัน
ภัตตาหาร
ครั้นในวันที่ ๔ ภิกษุณีนั้นเดินซวนเซไปตามถนน เศรษฐีคหบดีนั่งรถสวนทาง
มา ได้กล่าวกับภิกษุณีนั้นดังนี้ว่า “แม่เจ้า นิมนต์ท่านหลีกทาง” เธอเมื่อกำลังหลีก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๖๒๗ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๖.ปาฏิเทสนียกัณฑ์] ๑.ปฐมปาฏิเทสนียสิกขาบท นิทานวัตถุ
ล้มลงในที่นั้นเอง เศรษฐีคหบดีขอขมาภิกษุณีนั้นว่า “แม่เจ้า ท่านโปรดยกโทษ
กระผมทำให้ท่านล้ม”
ภิกษุณีตอบว่า “คหบดี ท่านไม่ได้ทำให้ดิฉันล้ม ดิฉันมีกำลังไม่ดีต่างหาก”
เศรษฐีถามว่า “แม่เจ้า เพราะเหตุใดท่านจึงมีกำลังไม่ดี”
ทีนั้น ภิกษุณีนั้นจึงเล่าเรื่องนั้นให้เศรษฐีคหบดีทราบ เศรษฐีคหบดีพาภิกษุณี
นั้นไปฉันที่เรือน แล้วตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพระคุณเจ้าทั้งหลาย
จึงรับอามิสจากมือของภิกษุณีเล่า มาตุคามหาลาภได้ยาก”
พวกภิกษุได้ยินเศรษฐีคหบดีตำหนิ ประณาม โพนทะนา บรรดาภิกษุผู้มักน้อย
ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนภิกษุจึงรับอามิสจากมือของ
ภิกษุณีเล่า” ครั้นภิกษุทั้งหลายตำหนิภิกษุนั้นโดยประการต่าง ๆ แล้วจึงนำเรื่องนี้ไป
กราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ

ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามภิกษุนั้นว่า “ภิกษุ ทราบว่าเธอรับอามิสจากมือของภิกษุณี จริงหรือ”
ภิกษุนั้นทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระองค์ตรัสถามว่า “ภิกษุ ภิกษุณีนั้น
เป็นญาติของเธอหรือไม่ใช่ญาติ” ภิกษุนั้นทูลตอบว่า “ไม่ใช่ญาติ พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “โมฆบุรุษ ภิกษุผู้ ไม่ใช่ญาติย่อมไม่รู้สิ่งที่เหมาะสมหรือ
ไม่เหมาะสม ของที่มีอยู่หรือไม่มีอยู่ ของภิกษุณีผู้ ไม่ใช่ญาติ โมฆบุรุษ ไฉนเธอจึงรับ
อามิสจากมือของภิกษุณีผู้ไม่ใช่ญาติเล่า โมฆบุรุษ การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคน
ที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ”
แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๖๒๘ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๖.ปาฏิเทสนียกัณฑ์] ๑.ปฐมปาฏิเทสนียสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์
พระบัญญัติ
[๕๕๓] ก็ ภิกษุใดรับของเคี้ยวหรือของฉันด้วยมือตนเองจากมือของ
ภิกษุณีผู้ไม่ใช่ญาติผู้เข้าไปในละแวกบ้าน เคี้ยวหรือฉัน ภิกษุนั้นพึงแสดงคืนว่า
“ท่าน กระผมต้องธรรมคือปาฏิเทสนียะ เป็นธรรมที่น่าตำหนิ ไม่เป็นสัปปายะ
กระผมขอแสดงคืนธรรมนั้น”
เรื่องภิกษุณีรูปหนึ่ง จบ

สิกขาบทวิภังค์
[๕๕๔] คำว่า ก็...ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ก็...ใด
คำว่า ภิกษุ มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุ เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระ
ภาคทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุ ในความหมายนี้
ที่ชื่อว่า ผู้ไม่ใช่ญาติ คือ ไม่ใช่คนที่เกี่ยวเนื่องกันทางมารดาหรือทางบิดา
ตลอดเจ็ดชั่วคน
ที่ชื่อว่า ภิกษุณี ได้แก่ มาตุคามที่อุปสมบทในสงฆ์ ๒ ฝ่าย
ที่ชื่อว่า ละแวกบ้าน ได้แก่ ถนน ตรอกตัน ทางสี่แยก เรือน
ที่ชื่อว่า ของเคี้ยว คือ ยกเว้นโภชนะ ๕ ยามกาลิก สัตตาหกาลิก และ
ยาวชีวิก นอกนั้นชื่อว่าของเคี้ยว
ที่ชื่อว่า ของฉัน ได้แก่ โภชนะ ๕ คือ ข้าวสุก ขนมกุมมาส ข้าวตู ปลา
เนื้อ
ภิกษุรับประเคนไว้ด้วยตั้งใจว่า “จะเคี้ยว จะฉัน” ต้องอาบัติทุกกฏ ฉัน ต้อง
อาบัติปาฏิเทสนียะทุก ๆ คำกลืน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๖๒๙ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๖.ปาฏิเทสนียกัณฑ์] ๑.ปฐมปาฏิเทสนียสิกขาบท อนาปัตติวาร
บทภาชนีย์
ติกปาฏิเทสนียะ
[๕๕๕] ภิกษุณีไม่ใช่ญาติ ภิกษุสำคัญว่าไม่ใช่ญาติ รับของเคี้ยวหรือของฉัน
ด้วยมือตนเองจากมือของภิกษุณีผู้ไม่ใช่ญาติ ผู้เข้าไปในละแวกบ้าน แล้วเคี้ยวหรือ
ฉัน ต้องอาบัติปาฏิเทสนียะ
ภิกษุณีไม่ใช่ญาติ ภิกษุไม่แน่ใจ รับของเคี้ยวหรือของฉันด้วยมือตนเองจาก
มือของภิกษุณีผู้ไม่ใช่ญาติ ผู้เข้าไปในละแวกบ้าน แล้วเคี้ยวหรือฉัน ต้องอาบัติ
ปาฏิเทสนียะ
ภิกษุณีไม่ใช่ญาติ ภิกษุสำคัญว่าเป็นญาติ รับของเคี้ยวหรือของฉันด้วยมือตน
เองจากมือของภิกษุณีผู้ไม่ใช่ญาติ ผู้เข้าไปในละแวกบ้าน แล้วเคี้ยวหรือฉัน ต้อง
อาบัติปาฏิเทสนียะ

ทุกกฏ
ภิกษุรับของเป็นยามกาลิก สัตตาหกาลิก ยาวชีวิกเพื่อเป็นอาหาร ต้องอาบัติ
ทุกกฏ ฉัน ต้องอาบัติทุกกฏทุก ๆ คำกลืน
ภิกษุรับของเคี้ยวหรือของฉันจากมือของภิกษุณีผู้อุปสมบทในสงฆ์ฝ่ายเดียว
ด้วยตั้งใจว่า “จะเคี้ยว จะฉัน” ต้องอาบัติทุกกฏ ฉัน ต้องอาบัติทุกกฏทุก ๆ
คำกลืน
ภิกษุณีเป็นญาติ ภิกษุสำคัญว่าไม่ใช่ญาติ ต้องอาบัติทุกกฏ
ภิกษุณีเป็นญาติ ภิกษุไม่แน่ใจ ต้องอาบัติทุกกฏ
ภิกษุณีเป็นญาติ ภิกษุสำคัญว่าเป็นญาติ ไม่ต้องอาบัติ

อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[๕๕๖] ๑. ภิกษุรับของเคี้ยวหรือของฉันจากมือของภิกษุณีที่เป็นญาติ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๖๓๐ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๖.ปาฏิเทสนียกัณฑ์] ๑.ปฐมปาฏิเทสนียสิกขาบท อนาปัตติวาร
๒. ภิกษุรับของเคี้ยวหรือของฉันที่ภิกษุณีผู้ไม่ใช่ญาติสั่งให้ถวาย ไม่
ได้ถวายเอง
๓. ภิกษุรับของเคี้ยวหรือของฉันที่ภิกษุณีถวายโดยวางไว้
๔. ภิกษุรับของเคี้ยวหรือของฉันที่ภิกษุณีถวายในอาราม
๕. ภิกษุรับของเคี้ยวหรือของฉันที่ภิกษุณีถวายในสำนักภิกษุณี
๖. ภิกษุรับของเคี้ยวหรือของฉันที่ภิกษุณีถวายในสำนักเดียรถีย์
๗. ภิกษุรับของเคี้ยวหรือของฉันที่ภิกษุณีถวายในโรงอาหาร๑
๘. ภิกษุรับของเคี้ยวหรือของฉันที่ภิกษุณีนำออกจากบ้านแล้วถวาย
๙. ภิกษุรับยามกาลิก สัตตาหกาลิก ยาวชีวิก ที่ภิกษุณีถวายด้วยสั่ง
ว่า เมื่อมีเหตุผล นิมนต์ฉันได้
๑๐. ภิกษุรับของเคี้ยวหรือของฉันที่สิกขมานาถวาย
๑๑. ภิกษุรับของเคี้ยวหรือของฉันที่สามเณรีถวาย
๑๒. ภิกษุวิกลจริต
๑๓. ภิกษุต้นบัญญัติ

ปฐมปาฏิเทสนียสิกขาบทที่ ๑ จบ

เชิงอรรถ :
๑ ปฏิกฺกมน โรงอาหาร (ปฏิกฺกมนํ นีหริตฺวาติ อาสนสาลํ หริตฺวา - วิ.อ. ๒/๒๓๓/๓๕๖, ปฏิกฺกมเนปีติ
อาสนสาลายมฺปิ - วิ.อ. ๒/๒๗๔/๓๙๘, ปฏิกฺกมนนฺติ อาสนสาลา - กงฺขา. ฏีกา ๔๒๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๖๓๑ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๖.ปาฏิเทสนียกัณฑ์] ๒.ทุติยปาฏิเทสนียสิกขาบท นิทานวัตถุ
๒. ทุติยปาฏิเทสนียสิกขาบท
ว่าด้วยการไม่ห้ามภิกษุณีผู้คอยบงการ

เรื่องภิกษุณีฉัพพัคคีย์
[๕๕๗] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเวฬุวัน สถานที่
ให้เหยื่อกระแต เขตกรุงราชคฤห์ ครั้งนั้น ภิกษุทั้งหลายต่างรับนิมนต์ฉันในตระกูล
พวกภิกษุณีฉัพพัคคีย์มายืนบงการเพื่อพวกภิกษุฉัพพัคคีย์ว่า “พวกท่านจงถวายแกง
ที่นี้จงถวายข้าวสุกที่นี้” พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ได้ฉันตามต้องการ ภิกษุเหล่าอื่นไม่ได้
ฉันตามที่คิดไว้
บรรดาภิกษุผู้มักน้อย ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพวก
ภิกษุฉัพพัคคีย์จึงไม่ห้ามพวกภิกษุณีผู้คอยบงการเล่า” ครั้นภิกษุทั้งหลายตำหนิ
พวกภิกษุฉัพพัคคีย์โดยประการต่าง ๆ แล้วจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาค
ให้ทรงทราบ

ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามพวกภิกษุฉัพพัคคีย์ว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า พวกเธอไม่ห้ามภิกษุณี
ผู้คอยบงการ จริงหรือ” พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระ
ผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ฯลฯ โมฆบุรุษทั้งหลาย ไฉนพวกเธอจึงไม่ห้าม
ภิกษุณีผู้คอยบงการเล่า โมฆบุรุษทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่
เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ” แล้ว
จึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้

พระบัญญัติ
[๕๕๘] ก็ ภิกษุรับนิมนต์ฉันในตระกูล ถ้าภิกษุณีมายืนบงการในที่นั้นว่า
“พวกท่านจงถวายแกงที่นี้ ถวายข้าวสุกที่นี้” ภิกษุเหล่านั้นพึงไล่ภิกษุณีนั้นออก
ไปด้วยกล่าวว่า “น้องหญิง เธอจงหลีกไปตราบเท่าที่ภิกษุทั้งหลายยังฉันอยู่”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๖๓๒ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๖.ปาฏิเทสนียกัณฑ์] ๒.ทุติยปาฏิเทสนียสิกขาบท บทภาชนีย์
ถ้าไม่มีภิกษุแม้รูปหนึ่งว่ากล่าวเพื่อจะไล่ภิกษุณีนั้นว่า “น้องหญิง เธอจงหลีก
ไปตราบเท่าที่ภิกษุทั้งหลายยังฉันอยู่” ภิกษุเหล่านั้นพึงแสดงคืนว่า “ท่าน
ทั้งหลาย พวกกระผมต้องธรรมคือปาฏิเทสนียะ เป็นธรรมที่น่าตำหนิ ไม่เป็น
สัปปายะ กระผมขอแสดงคืนธรรมนั้น”
เรื่องพวกภิกษุณีฉัพพัคคีย์ จบ

สิกขาบทวิภังค์
[๕๕๙] คำว่า ก็ ภิกษุรับนิมนต์ฉันในตระกูล ความว่า ที่ชื่อว่าตระกูล หมาย
ถึงตระกูล ๔ ได้แก่ ตระกูลกษัตริย์ ตระกูลพราหมณ์ ตระกูลแพศย์ ตระกูลศูทร
คำว่า รับนิมนต์ฉัน คือ ภิกษุรับนิมนต์ฉันโภชนะ ๕ อย่างใดอย่างหนึ่ง
ที่ชื่อว่า ภิกษุณี ได้แก่ มาตุคามที่อุปสมบทในสงฆ์ ๒ ฝ่าย
ที่ชื่อว่า บงการ คือ ภิกษุณีคอยบงการว่า “พวกท่านจงถวายแกงที่นี้ ถวาย
ข้าวสุกที่นี้” ตามความเป็นมิตร ตามความเป็นเพื่อน ตามความใกล้ชิด ตามที่เป็น
ผู้ร่วมพระอุปัชฌาย์ ตามที่เป็นผู้ร่วมพระอาจารย์กันมา นี้ชื่อว่าผู้บงการ
คำว่า ภิกษุเหล่านั้น ได้แก่ ภิกษุผู้กำลังฉัน
คำว่า ภิกษุณีนั้น ได้แก่ ภิกษุณีผู้บงการ
ภิกษุเหล่านั้นพึงไล่ภิกษุณีนั้นไปด้วยกล่าวว่า “น้องหญิง เธอจงหลีกไปตราบ
เท่าที่ภิกษุทั้งหลายยังฉันอยู่ ๋ ถ้าไม่มีภิกษุแม้รูปหนึ่งว่ากล่าว ภิกษุรับมาด้วยคิดว่า
“จะเคี้ยว จะฉัน” ต้องอาบัติทุกกฏ ฉัน ต้องอาบัติปาฏิเทสนียะทุก ๆ คำกลืน

บทภาชนีย์
ติกปาฏิเทสนียะ
[๕๖๐] มาตุคามผู้เป็นอุปสัมบัน ภิกษุสำคัญว่าเป็นอุปสัมบัน ไม่ห้ามเธอ
ผู้บงการ ต้องอาบัติปาฏิเทสนียะ
มาตุคามผู้เป็นอุปสัมบัน ภิกษุไม่แน่ใจ ไม่ห้ามเธอผู้บงการ ต้องอาบัติ
ปาฏิเทสนียะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๖๓๓ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๖.ปาฏิเทสนียกัณฑ์] ๒.ทุติยปาฏิเทสนียสิกขาบท อนาปัตติวาร
มาตุคามผู้เป็นอุปสัมบัน ภิกษุสำคัญว่าเป็นอนุปสัมบัน ไม่ห้ามเธอผู้บงการ
ต้องอาบัติปาฏิเทสนียะ

ทุกกฏ
มาตุคามผู้อุปสมบทในสงฆ์ฝ่ายเดียวบงการ ภิกษุไม่ห้าม ต้องอาบัติทุกกฏ
มาตุคามผู้เป็นอนุปสัมบัน ภิกษุสำคัญว่าเป็นอุปสัมบัน ต้องอาบัติทุกกฏ
มาตุคามผู้เป็นอนุปสัมบัน ภิกษุไม่แน่ใจ ต้องอาบัติทุกกฏ
มาตุคามผู้เป็นอนุปสัมบัน ภิกษุสำคัญว่าเป็นอนุปสัมบัน ไม่ต้องอาบัติ

อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[๕๖๑] ๑. ภิกษุรับแล้วฉันภัตตาหารที่ภิกษุณีใช้ให้ถวายของของตน แต่ไม่
ได้ถวายด้วยตนเอง
๒. ภิกษุรับแล้วฉันภัตตาหารที่ภิกษุณีถวายของของผู้อื่น ไม่ได้ใช้ให้
ถวาย
๓. ภิกษุรับแล้วฉันภัตตาหารที่เขายังไม่ถวาย แต่ภิกษุณีใช้ให้ถวาย
๔. ภิกษุรับแล้วฉันภัตตาหารในที่ที่เขายังไม่ถวาย แต่ภิกษุณีใช้ให้
ถวาย
๕. ภิกษุรับแล้วฉันภัตตาหารที่ภิกษุณีใช้ให้ถวายเท่า ๆ กันทุกรูป
๖. ภิกษุรับแล้วฉันภัตตาหารที่สิกขมานาบงการ
๗. ภิกษุรับแล้วฉันภัตตาหารที่สามเณรีบงการ
๘. ภิกษุรับแล้วฉันภัตตาหารทุกอย่างยกเว้นโภชนะ ๕ ไม่ต้องอาบัติ
๙. ภิกษุวิกลจริต
๑๐. ภิกษุต้นบัญญัติ

ทุติยปาฏิเทสนียสิกขาบที่ ๒ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๖๓๔ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๖.ปาฏิเทสนียกัณฑ์] ๓.ตติยปาฏิเสนียสิกขาบท นิทานวัตถุ
๓. ตติยปาฏิเทสนียสิกขาบท
ว่าด้วยการรับของเคี้ยวของฉันในที่ที่ไม่ได้รับนิมนต์ไว้ก่อน

เรื่องตระกูลหนึ่ง
[๕๖๒] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น ในกรุงสาวัตถี ตระกูลหนึ่งทั้ง ๒
ฝ่าย๑ มีความเลื่อมใส เจริญด้วยศรัทธา แต่ขาดแคลนทรัพย์ พวกเขาสละของเคี้ยว
ของบริโภคทั้งหมดที่เกิดขึ้นในตระกูลนั้นถวายแก่ภิกษุทั้งหลายจนบางครั้งถึงกับไม่
ได้กินอาหาร
คนทั้งหลายตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพระสมณะเชื้อสายศากยบุตร
จึงรับภัตตาหารโดยไม่รู้จักประมาณเล่า คนเหล่านี้ถวายแก่พระสมณะเชื้อสาย
ศากยบุตรเหล่านี้จนบางครั้งตนเองถึงกับไม่ได้กินอาหาร”
พวกภิกษุได้ยินคนเหล่านั้นตำหนิ ประณาม โพนทะนา ครั้นแล้วจึงนำเรื่องนี้
ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ

พระพุทธานุญาตพิเศษ
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมีกถาเพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ รับสั่ง
กับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้สมมติตระกูลที่เจริญด้วยศรัทธา
แต่ขาดแคลนทรัพย์ให้เป็นตระกูลเสขะ ด้วยญัตติทุติยกรรม ภิกษุทั้งหลายพึง
ให้เสขสมมติอย่างนี้ คือ
ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติทุติยกรรมวาจาว่า

เชิงอรรถ :
๑ คำว่า “ทั้ง ๒ ฝ่าย” คือทั้งอุบาสกและอุบาสิกาเป็นผู้เลื่อมใสในพระรัตนตรัย เป็นโสดาบัน
(วิ.อ. ๒/๕๖๒/๔๔๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๖๓๕ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๖.ปาฏิเทสนียกัณฑ์] ๓.ตติยปาฏิเสนียสิกขาบท พระบัญญัติ
กรรมวาจาให้เสขสมมติ
[๕๖๓] ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ตระกูลชื่อนี้เจริญด้วยศรัทธาแต่
ขาดแคลนทรัพย์ ถ้าสงฆ์พร้อมกันแล้วก็พึงให้เสขสมมติแก่ตระกูลชื่อนี้ นี่เป็นญัตติ
ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ตระกูลชื่อนี้เจริญด้วยศรัทธาแต่ขาดแคลน
ทรัพย์ สงฆ์ให้เสขสมมติแก่ตระกูลชื่อนี้ ท่านรูปใดเห็นด้วยกับการให้เสขสมมติแก่
ตระกูลชื่อนี้ ท่านรูปนั้นพึงนิ่ง ท่านรูปใดไม่เห็นด้วย ท่านรูปนั้นพึงทักท้วง
เสขสมมติสงฆ์ให้แก่ตระกูลนี้แล้ว สงฆ์เห็นด้วย เพราะฉะนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าขอ
ถือเอาความนิ่งนั้นเป็นมติอย่างนี้” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้น
แสดงดังนี้

พระบัญญัติ
ก็ภิกษุใดรับของเคี้ยวหรือของฉันในตระกูลที่ได้รับสมมติเป็นเสขะเช่นนั้น
ด้วยมือตนเอง แล้วเคี้ยวหรือฉัน ภิกษุนั้นพึงแสดงคืนว่า “ท่านทั้งหลาย กระผม
ต้องธรรมคือปาฏิเทสนียะ เป็นธรรมที่น่าตำหนิ ไม่เป็นสัปปายะ กระผมขอ
แสดงคืนธรรมนั้น”
สิกขาบทนี้พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติไว้แก่ภิกษุทั้งหลายอย่างนี้
เรื่องตระกูลหนึ่ง จบ

เรื่องภิกษุหลายรูป
[๕๖๔] สมัยนั้น มีมหรสพในกรุงสาวัตถี คนทั้งหลายนิมนต์ภิกษุไปฉัน แม้
ตระกูลนั้นก็ได้นิมนต์ภิกษุเช่นกัน ภิกษุทั้งหลายมีความยำเกรง จึงไม่รับนิมนต์ด้วย
คิดว่า “พระผู้มีพระภาคทรงห้ามการรับของเคี้ยวของฉันในตระกูลที่ได้รับสมมติเป็น
เสขะด้วยมือของตนแล้วฉัน”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๖๓๖ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๖.ปาฏิเทสนียกัณฑ์] ๓.ตติยปาฏิเสนียสิกขาบท พระอนุบัญญัติ
คนเหล่านั้นจึงพากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “พวกเราจะมีชีวิตอยู่ไป
ทำไม เพราะพระคุณเจ้าทั้งหลายไม่รับนิมนต์พวกเรา”
พวกภิกษุได้ยินคนเหล่านั้นตำหนิ ประณาม โพนทะนา ครั้นแล้วจึงนำเรื่องนี้
ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ

พระพุทธานุญาตพิเศษ
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมีกถาเพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ รับสั่ง
กับภิกษุทั้งหลาย “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุที่ทายกนิมนต์แล้วรับของเคี้ยว
หรือของฉันในตระกูลที่ได้รับสมมติเป็นเสขะด้วยมือตนเองแล้วเคี้ยวฉันได้” แล้วจึง
รับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้

พระอนุบัญญัติ
อนึ่ง ภิกษุใดไม่ได้รับนิมนต์ไว้ก่อน รับของเคี้ยวหรือของฉันในตระกูลที่
ได้รับสมมติเป็นเสขะเช่นนั้น ด้วยมือตนเองแล้วเคี้ยวหรือฉัน ภิกษุนั้นพึงแสดง
คืนว่า “ท่านทั้งหลาย กระผมต้องธรรมคือปาฏิเทสนียะ เป็นธรรมที่น่าตำหนิ
ไม่เป็นสัปปายะ กระผมขอแสดงคืนธรรมนั้น”
สิกขาบทนี้พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติไว้แก่ภิกษุทั้งหลายอย่างนี้
เรื่องภิกษุหลายรูป จบ

เรื่องภิกษุรูปหนึ่ง
[๕๖๕] สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งเป็นพระประจำตระกูลของตระกูลนั้น ครั้นเวลา
เช้า เธอครองอันตรวาสกถือบาตรและจีวรเข้าไปถึงตระกูลนั้น ครั้นถึงแล้วจึงนั่งบน
อาสนะที่เขาจัดถวาย ทีนั้น ภิกษุนั้นเป็นไข้ พวกชาวบ้านได้กล่าวอาราธนาภิกษุนั้น
ดังนี้ว่า “พระคุณเจ้า นิมนต์ท่านฉันเถิด”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๖๓๗ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๖.ปาฏิเทสนียกัณฑ์] ๓.ตติยปาฏิเสนียสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์
ครั้งนั้น ภิกษุนั้นมีความยำเกรงอยู่ว่า “พระผู้มีพระภาคทรงห้ามภิกษุที่ทายก
ไม่ได้นิมนต์ไว้ก่อนรับของเคี้ยวของฉันในตระกูลที่ได้สมมติเป็นเสขะ” จึงไม่รับ ภิกษุ
นั้นไม่สามารถหาบิณฑบาตฉันได้ทัน จึงไม่ได้ฉันภัตตาหาร ครั้นไปวัดจึงบอก
เรื่องนี้ให้ภิกษุทั้งหลายทราบ ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาค
ให้ทรงทราบ

พระพุทธานุญาตพิเศษ
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมีกถาเพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ รับสั่ง
กับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุผู้เป็นไข้รับของเคี้ยวหรือ
ของฉันในตระกูลที่ได้รับสมมติเป็นเสขะด้วยมือตนเองแล้วเคี้ยวฉันได้” แล้วจึง
รับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้

พระอนุบัญญัติ
[๕๖๖] อนึ่ง ภิกษุใดไม่ได้รับนิมนต์ไว้ก่อน ไม่เป็นไข้ รับของเคี้ยวหรือ
ของฉันในตระกูลที่ได้รับสมมติเป็นเสขะเช่นนั้นด้วยมือตนเองแล้วเคี้ยวหรือฉัน
ภิกษุนั้นพึงแสดงคืนว่า “ท่านทั้งหลาย กระผมต้องธรรมคือปาฏิเทสนียะ เป็น
ธรรมที่น่าตำหนิ ไม่เป็นสัปปายะ กระผมขอแสดงคืนธรรมนั้น”
เรื่องภิกษุรูปหนึ่ง จบ

สิกขาบทวิภังค์
[๕๖๗] คำว่า ตระกูลที่ได้รับสมมติเป็นเสขะ ความว่า ตระกูลที่ชื่อว่าอัน
สงฆ์สมมติว่าเป็นเสขะ ได้แก่ ตระกูลมีศรัทธาแต่ขาดแคลนทรัพย์ สงฆ์ย่อมให้สมมติ
ตระกูลเช่นนี้เป็นเสขะด้วยญัตติทุติยกรรม

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๖๓๘ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๖.ปาฏิเทสนียกัณฑ์] ๓.ตติยปาฏิเสนียสิกขาบท บทภาชนีย์
คำว่า อนึ่ง...ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า อนึ่ง...ใด
คำว่า ภิกษุ มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุ เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระ
ภาคทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุ ในความหมายนี้
คำว่า ในตระกูลที่ได้รับสมมติเป็นเสขะเช่นนั้น คือ ในตระกูลที่ได้รับ
สมมติเป็นเสขะเช่นนี้
ที่ชื่อว่า ไม่ได้รับนิมนต์ไว้ คือ ภิกษุที่เขาไม่ได้นิมนต์เพื่อฉันในวันนี้หรือพรุ่งนี้
แต่เขานิมนต์เมื่อภิกษุเดินผ่านอุปจารเรือนเข้าไปแล้ว นี้ชื่อว่าไม่ได้รับนิมนต์ไว้
ที่ชื่อว่า ได้รับนิมนต์ คือ ภิกษุที่เขานิมนต์เพื่อฉันในวันนี้ หรือพรุ่งนี้ คือเขา
นิมนต์ขณะที่ภิกษุยังไม่ได้เดินผ่านอุปจารเข้าไป นี้ชื่อว่าได้รับนิมนต์ไว้
ที่ชื่อว่า ไม่เป็นไข้ คือ ภิกษุที่สามารถไปบิณฑบาตได้
ที่ชื่อว่า ของเคี้ยว คือ ยกเว้นโภชนะ ๕ ยามกาลิก สัตตาหกาลิก และ
ยาวชีวิก นอกนั้นชื่อว่าของเคี้ยว
ที่ชื่อว่า ของฉัน ได้แก่ โภชนะ ๕ คือ ข้าวสุก ขนมกุมมาส ข้าวตู ปลา
เนื้อ
ภิกษุไม่ได้รับนิมนต์ไว้ ไม่เป็นไข้ รับไว้ด้วยคิดว่า “จะเคี้ยว จะฉัน” ต้อง
อาบัติทุกกฏ ฉัน ต้องอาบัติปาฏิเทสนียะทุก ๆ คำกลืน

บทภาชนีย์
ติกปาฏิเทสนียะ
[๕๖๘] ตระกูลที่ได้รับสมมติเป็นเสขะ ภิกษุสำคัญว่าเป็นตระกูลที่ได้รับสมมติ
เป็นเสขะ ไม่ได้รับนิมนต์ไว้ ไม่เป็นไข้ รับของเคี้ยวหรือของฉันด้วยมือตนเองแล้ว
เคี้ยวหรือฉัน ต้องอาบัติปาฏิเทสนียะ
ตระกูลที่ได้รับสมมติเป็นเสขะ ภิกษุไม่แน่ใจ ไม่ได้รับนิมนต์ไว้ ไม่เป็นไข้ รับ
ของเคี้ยวหรือของฉันด้วยมือตนเองแล้วเคี้ยวหรือฉัน ต้องอาบัติปาฏิเทสนียะ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๖๓๙ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๖.ปาฏิเทสนียกัณฑ์] ๓.ตติยปาฏิเสนียสิกขาบท อนาปัตติวาร
ตระกูลที่ได้รับสมมติเป็นเสขะ ภิกษุสำคัญว่าไม่ใช่ตระกูลที่ได้รับสมมติเป็น
เสขะ ไม่ได้รับนิมนต์ ไม่เป็นไข้ รับของเคี้ยวหรือของฉันด้วยมือตนเองแล้วเคี้ยวหรือ
ฉัน ต้องอาบัติปาฏิเทสนียะ

ทุกกฏ
ภิกษุรับของที่เป็นยามกาลิก สัตตาหกาลิก ยาวชีวิก เพื่อเป็นอาหาร ต้อง
อาบัติทุกกฏ ฉัน ต้องอาบัติทุกกฏทุก ๆ คำกลืน
ไม่ใช่ตระกูลที่ได้รับสมมติเป็นเสขะ ภิกษุสำคัญว่าเป็นตระกูลที่ได้รับสมมติ
เป็นเสขะ ต้องอาบัติทุกกฏ
ไม่ใช่ตระกูลที่ได้รับสมมติเป็นเสขะ ภิกษุไม่แน่ใจ ต้องอาบัติทุกกฏ
ไม่ใช่ตระกูลที่ได้รับสมมติเป็นเสขะ ภิกษุสำคัญว่าไม่ใช่ตระกูลที่ได้รับสมมติ
เป็นเสขะ ไม่ต้องอาบัติ

อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[๕๖๙] ๑. ภิกษุรับนิมนต์ไว้
๒. ภิกษุผู้เป็นไข้
๓. ภิกษุฉันของเป็นเดนของภิกษุผู้รับนิมนต์ไว้หรือของภิกษุผู้เป็นไข้
๔. ภิกษุฉันอาหารที่เขาจัดไว้เพื่อภิกษุอื่น ๆ
๕. ภิกษุฉันอาหารที่เขานำจากเรือนไปถวาย
๖. ภิกษุฉันนิตยภัต
๗. ภิกษุฉันสลากภัต

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๖๔๐ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๖.ปาฏิเทสนียกัณฑ์] ๓.ตติยปาฏิเสนียสิกขาบท อนาปัตติวาร
๘. ภิกษุฉันปักขิกภัต๑
๙. ภิกษุฉันอุโบสถิกภัต๒
๑๐. ภิกษุฉันปาฏิปทิกภัต๓
๑๑. ภิกษุฉันยามกาลิก สัตตาหกาลิก หรือยาวชีวิก ที่เขาถวายบอก
ว่าเมื่อมีเหตุจำเป็นก็นิมนต์ฉันเถิด
๑๒. ภิกษุวิกลจริต
๑๓. ภิกษุต้นบัญญัติ

ปาฏิเทสนียสิกขาบทที่ ๓ จบ

เชิงอรรถ :
๑ ปักขิกภัต คืออาหารที่เขาถวาย ๑๕ วันครั้งหนึ่ง
๒ อุโบสถิกภัต คืออาหารที่เขาถวายในวันอุโบสถ คือวันพระนั้นเอง
๓ ปาฏิปทิกภัต คืออาหารที่เขาถวายในวันขึ้น-แรม ๑ ค่ำ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๖๔๑ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๖.ปาฏิเทสนียกัณฑ์] ๔.จตุตถปาฏิเทสนียสิกขาบท นิทานวัตถุ
๔. จตุตถปาฏิเทสนียสิกขาบท
ว่าด้วยการรับของเคี้ยวของฉันจากทายกที่ไม่ได้แจ้งไว้ก่อน

เรื่องคนรับใช้ของเจ้าศากยะ
[๕๗๐] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ นิโครธาราม เขต
กรุงกบิลพัสดุ์ แคว้นสักกะ ครั้งนั้น พวกทาสของเจ้าศากยะก่อการร้าย พวก
เจ้าหญิงศากยะปรารถนาจะจัดภัตตาหารไว้ถวายภิกษุผู้อยู่ในเสนาสนะป่า พวกทาส
ของเจ้าศากยะได้ฟังข่าวว่า พวกเจ้าหญิงศากยะปรารถนาจะจัดภัตตาหารไว้ถวาย
ภิกษุผู้อยู่ในเสนาสนะป่า จึงไปดักซุ่มที่หนทาง พวกเจ้าหญิงศากยะนำของเคี้ยวของ
ฉันอันประณีตไปยังเสนาสนะป่า พวกทาสของเจ้าศากยะจึงออกมาปล้นและทำร้าย
เจ้าหญิงศากยะ
พวกเจ้าศากยะออกไปจับพวกโจรได้พร้อมของกลางแล้วตำหนิ ประณาม
โพนทะนาว่า “ไฉนพระคุณเจ้าทั้งหลายจึงไม่บอกว่ามีพวกโจรอยู่ในอารามเล่า”
ภิกษุทั้งหลายได้ยินพวกเจ้าศากยะตำหนิ ประณาม โพนทะนา ครั้นแล้วจึงนำ
เรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ

ทรงบัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมีกถาเพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ แล้ว
รับสั่งกับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้น เราจะบัญญัติสิกขาบทแก่
ภิกษุทั้งหลาย โดยอาศัยอำนาจประโยชน์ ๑๐ ประการ คือ
๑. เพื่อความรับว่าดีแห่งสงฆ์
ฯลฯ
๙. เพื่อความตั้งมั่นแห่งสัทธรรม
๑๐. เพื่อเอื้อเฟื้อวินัย๑
แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้

เชิงอรรถ :
๑ ดูข้อ ๕๖๖ หน้า ๙๒ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๖๔๒ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๖.ปาฏิเทสนียกัณฑ์] ๔.จตุตถปาฏิเทสนียสิกขาบท พระบัญญัติ
พระบัญญัติ
ก็ ภิกษุใดอยู่ในเสนาสนะป่าที่รู้กันว่าน่าหวาดระแวง มีภัยน่ากลัวเช่นนั้น
ไม่ได้รับแจ้งไว้ก่อนรับของเคี้ยวหรือของฉันด้วยมือตนเองในอารามแล้วฉัน
ภิกษุนั้นพึงแสดงคืนว่า “ท่านทั้งหลาย กระผมต้องธรรมคือปาฏิเทสนียะ เป็น
ธรรมที่น่าตำหนิ ไม่เป็นสัปปายะ กระผมขอแสดงคืนธรรมนั้น”
สิกขาบทนี้พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติไว้แก่ภิกษุทั้งหลายอย่างนี้
เรื่องคนรับใช้ของเจ้าศากยะ จบ

เรื่องภิกษุผู้เป็นไข้
[๕๗๑] สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งผู้เป็นไข้อยู่ในเสนาสนะป่า พวกชาวบ้านนำ
ของเคี้ยวของฉันไปถวาย ครั้นแล้วได้กล่าวอาราธนาภิกษุนั้นดังนี้ว่า “นิมนต์ฉันเถิด
ขอรับ” ทีนั้น ภิกษุนั้นมีความยำเกรงอยู่ว่า “พระผู้มีพระภาคทรงห้ามการรับของ
เคี้ยวของฉันในเสนาสนะป่าด้วยมือตนเองแล้วเคี้ยวฉัน” จึงไม่ยอมรับ ท่านไม่
สามารถเที่ยวบิณฑบาตได้ทัน จึงไม่ได้ฉันภัตตาหาร ท่านได้แจ้งเรื่องนั้นให้ภิกษุ
ทั้งหลายทราบ ครั้นแล้วภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้
ทรงทราบ

พระพุทธานุญาตพิเศษ
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมีกถาเพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ รับสั่ง
กับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุผู้เป็นไข้รับของเคี้ยวของฉัน
ในเสนาสนะป่าด้วยมือตนเองแล้วเคี้ยวฉันได้” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยก
สิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๖๔๓ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๖.ปาฏิเทสนียกัณฑ์] ๔.จตุตถปาฏิเทสนียสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์
พระอนุบัญญัติ
[๕๗๒] อนึ่ง ภิกษุใดไม่เป็นไข้อยู่ในเสนาสนะป่าที่รู้กันว่าน่าหวาดระแวง
มีภัยน่ากลัวเช่นนั้น ไม่ได้รับแจ้งไว้ก่อนรับของเคี้ยวหรือของฉันด้วยมือตนเอง
ในอารามแล้วฉัน ภิกษุนั้นพึงแสดงคืนว่า “ท่านทั้งหลาย กระผมต้องธรรมคือ
ปาฏิเทสนียะ เป็นธรรมที่น่าตำหนิ ไม่เป็นสัปปายะ กระผมขอแสดงคืน
ธรรมนั้น”
เรื่องภิกษุผู้ป็นไข้ จบ

สิกขาบทวิภังค์
[๕๗๓] คำว่า เสนาสนะป่า ความว่า เสนาสนะที่ชื่อว่าป่า ได้แก่ เสนาสนะ๑
มีระยะ ๕๐๐ ชั่วธนูเป็นอย่างตํ่า
ที่ชื่อว่า น่าหวาดระแวง คือ ในอาราม อุปจารแห่งอาราม ปรากฏที่อยู่
ปรากฏที่กิน ปรากฏที่ยืน ปรากฏที่นั่ง ปรากฏที่นอนของพวกโจร
ที่ชื่อว่า มีภัยน่ากลัว คือ ในอาราม อุปจารแห่งอาราม ปรากฏมีมนุษย์ถูก
พวกโจรฆ่า ปรากฏมีมนุษย์ถูกพวกโจรปล้น ปรากฏมีมนุษย์ถูกพวกโจรทุบตี
คำว่า ก็...ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ก็...ใด
คำว่า ภิกษุ มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุ เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระ
ภาคทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุ ในความหมายนี้
คำว่า ในเสนาสนะเช่นนั้น คือ เสนาสนะเช่นนี้
ที่ชื่อว่า ไม่ได้รับแจ้งไว้ก่อน คือ ถึงจะแจ้งแก่สหธรรมิกทั้ง ๕ นี้ชื่อว่าไม่
ได้รับแจ้งไว้
แจ้ง(ในที่อื่น) เว้นอาราม อุปจารแห่งอาราม นี่ก็ชื่อว่าไม่ได้รับแจ้งไว้

เชิงอรรถ :
๑ หมายถึงเสนาสนะที่อยู่ห่างจากหมู่บ้านประมาณ ๒๕ เส้น (ดู เชิงอรรถ ข้อ ๕๖๖ หน้า ๙๒ ในเล่มนี้)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๖๔๔ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๖.ปาฏิเทสนียกัณฑ์] ๔.จตุตถปาฏิเทสนียสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์
ที่ชื่อว่า รับแจ้งไว้ คือ ผู้ใดผู้หนึ่งจะเป็นหญิงหรือชายก็ตาม มาที่อารามหรือ
อุปจารแห่งอารามแล้วบอกว่า “พระคุณเจ้า ทายกทายิกาจะนำของเคี้ยวหรือของฉัน
มาถวายภิกษุชื่อนี้”
ถ้าที่นั้นน่าหวาดระแวง ภิกษุพึงบอกว่า “น่าหวาดระแวง” ถ้าที่นั้นมีภัยน่ากลัว
ภิกษุพึงบอกว่า “มีภัยน่ากลัว”
ถ้าเขาบอกว่า “ไม่เป็นไร ขอรับ เขาจักนำมาเอง” ภิกษุต้องบอกพวกโจรว่า
“พวกชาวบ้านจะเข้ามาที่นี้ พวกท่านจงหลบไป”
เมื่อภิกษุได้รับแจ้งด้วยข้าวต้มแล้ว เขานำเครื่องบริวารข้าวต้มนั้นมาด้วย นี้ชื่อ
ว่าได้รับแจ้งไว้
เมื่อภิกษุได้รับแจ้งด้วยภัตตาหารแล้ว เขานำเครื่องบริวารภัตตาหารนั้นมา
ด้วย นี้ก็ชื่อว่าได้รับแจ้งไว้
เมื่อภิกษุได้รับแจ้งด้วยของเคี้ยวแล้ว เขานำเครื่องบริวารของเคี้ยวนั้นมาด้วย
นี้ก็ชื่อว่าได้รับแจ้งไว้
เมื่อภิกษุได้รับแจ้งเฉพาะตระกูล พวกคนในตระกูลนั้นนำของเคี้ยวของฉันมา
ถวาย นี้ก็ชื่อว่าได้รับแจ้งไว้
เมื่อภิกษุได้รับแจ้งเฉพาะหมู่บ้าน พวกคนในหมู่บ้านนั้นนำของเคี้ยวของฉัน
มาถวาย นี้ก็ชื่อว่าได้รับแจ้งไว้
เมื่อภิกษุได้รับแจ้งเฉพาะสมาคม พวกคนในสมาคมนั้นนำของเคี้ยวของฉัน
มาถวาย นี้ก็ชื่อว่าได้รับแจ้งไว้
ที่ชื่อว่า ของเคี้ยว คือ ยกเว้นโภชนะ ๕ ยามกาลิก สัตตาหกาลิก และ
ยาวชีวิก นอกนั้นชื่อว่าของเคี้ยว
ที่ชื่อว่า ของฉัน ได้แก่ โภชนะ ๕ คือ ข้าวสุก ขนมกุมมาส ข้าวตู ปลา
เนื้อ
ที่ชื่อว่า ในอาราม ได้แก่ สำหรับอารามที่มีรั้วล้อม กำหนดเอาภายใน
อาราม สำหรับอารามที่ไม่มีรั้วล้อม กำหนดเอาอุปจารอาราม


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๖๔๕ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๖.ปาฏิเทสนียกัณฑ์] ๔.จตุตถปาฏิเทสนียสิกขาบท บทภาชนีย์
ที่ชื่อว่า ไม่เป็นไข้ คือ ภิกษุผู้สามารถไปบิณฑบาตฉันได้
ที่ชื่อว่า ผู้เป็นไข้ คือ ภิกษุผู้ไม่สามารถไปบิณฑบาตได้
ภิกษุไม่เป็นไข้ไม่ได้รับแจ้ง รับประเคนด้วยตั้งใจว่า “จะเคี้ยว จะฉัน” ต้องอาบัติ
ทุกกฏ ฉัน ต้องอาบัติปาฏิเทสนียะทุก ๆ คำกลืน

บทภาชนีย์
ติกปาฏิเทสนียะ
[๕๗๔] ไม่ได้รับแจ้งไว้ ภิกษุสำคัญว่าไม่ได้รับแจ้งไว้ ไม่เป็นไข้ รับของเคี้ยว
หรือของฉันด้วยมือตนเองในอาราม เคี้ยวหรือฉัน ต้องอาบัติปาฏิเทสนียะ
ไม่ได้รับแจ้งไว้ ภิกษุไม่แน่ใจ ไม่เป็นไข้ รับของเคี้ยวหรือของฉันด้วยมือตนเอง
ในอาราม เคี้ยวหรือฉัน ต้องอาบัติปาฏิเทสนียะ
ไม่ได้รับแจ้งไว้ ภิกษุสำคัญว่าไม่ได้รับแจ้งไว้ ไม่เป็นไข้ รับของเคี้ยวหรือของ
ฉันด้วยมือตนเองในอาราม เคี้ยวหรือฉัน ต้องอาบัติปาฏิเทสนียะ

ทุกกฏ
ภิกษุรับประเคนยามกาลิก สัตตาหกาลิก ยาวชีวิก เพื่อเป็นอาหาร ต้องอาบัติ
ทุกกฏ ฉัน ต้องอาบัติทุกกฏทุก ๆ คำกลืน
ได้รับแจ้งไว้แล้ว ภิกษุสำคัญว่าไม่ได้รับแจ้งไว้ ต้องอาบัติทุกกฏ
ได้รับแจ้งไว้แล้ว ภิกษุไม่แน่ใจ ต้องอาบัติทุกกฏ
ได้รับแจ้งไว้แล้ว ภิกษุสำคัญว่าได้รับแจ้งไว้ ไม่ต้องอาบัติ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๖๔๖ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๖.ปาฏิเทสนียกัณฑ์] บทสรุป
อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[๕๗๕] ๑. ภิกษุที่ได้รับแจ้งไว้ก่อน
๒. ภิกษุผู้เป็นไข้
๓. ภิกษุที่ได้รับแจ้งไว้หรือภิกษุฉันของเป็นเดน ของภิกษุผู้เป็นไข้
๔. ภิกษุรับของนอกอารามมาฉันในอาราม
๕. ภิกษุฉันรากไม้ เปลือกไม้ ใบไม้ ดอกไม้ หรือผลไม้ที่เกิดในที่นั้น
๖. ภิกษุฉันของเป็นยามกาลิก สัตตาหกาลิก และยาวชีวิก เมื่อมี
เหตุจำเป็น
๗. ภิกษุวิกลจริต
๘. ภิกษุต้นบัญญัติ
ปาฏิเทสนียะสิกขาบทที่ ๔ จบ

บทสรุป
ท่านทั้งหลาย ธรรมคือปาฏิเทสนียะ ๔ สิกขาบท ข้าพเจ้ายกขึ้นแสดงแล้ว
ข้าพเจ้าขอถามท่านทั้งหลาย ในธรรมคือปาฏิเทสนียะ ๔ สิกขาบทเหล่านั้นว่า
“ท่านทั้งหลายบริสุทธิ์แล้วหรือ”
ข้าพเจ้าขอถามเป็นครั้งที่ ๒ ว่า “ท่านทั้งหลายบริสุทธิ์แล้วหรือ”
ข้าพเจ้าขอถามเป็นครั้งที่ ๓ ว่า “ท่านทั้งหลายบริสุทธิ์แล้วหรือ”
ท่านทั้งหลายบริสุทธิ์แล้วในธรรมคือปาฏิเทสนียะ ๔ สิกขาบทนี้ เพราะฉะนั้น
จึงนิ่ง ข้าพเจ้าขอถือความนิ่งนั้นเป็นมติอย่างนี้

ปาฏิเทสนียกัณฑ์ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๖๔๗ }





หน้าว่าง




{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๖๔๘ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๗.เสขิยกัณฑ์] ๑.ปริมัณฑลวรรค สิกขาบทที่ ๑
๗. เสขิยกัณฑ์
ท่านทั้งหลาย ธรรมคือเสขิยะทั้งหลายเหล่านี้มาถึงวาระที่จะยกขึ้นแสดงเป็น
ข้อ ๆ ตามลำดับ

๑. ปริมัณฑลวรรค
หมวดว่าด้วยการนุ่งห่มเรียบร้อย

สิกขาบทที่ ๑

เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๕๗๖] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ครอง
อันตรวาสกย้อยข้างหน้าบ้าง ข้างหลังบ้าง พวกชาวบ้านพากันตำหนิ ประณาม
โพนทะนาว่า “ไฉนพระสมณะเชื้อสายศากยบุตรจึงครองอันตรวาสกย้อยข้างหน้า
บ้าง ข้างหลังบ้าง เหมือนพวกคฤหัสถ์ผู้บริโภคกามเล่า”
ภิกษุทั้งหลายได้ยินพวกชาวบ้านตำหนิ ประณาม โพนทะนา บรรดาภิกษุผู้
มักน้อย ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพวกภิกษุฉัพพัคคีย์
จึงครองอันตรวาสกย้อยข้างหน้าบ้าง ข้างหลังบ้างเล่า” ครั้นภิกษุทั้งหลายตำหนิ
พวกภิกษุฉัพพัคคีย์โดยประการต่าง ๆ แล้วจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาค
ให้ทรงทราบ

ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมีกถาเพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ แล้ว
รับสั่งให้ประชุมสงฆ์ ตรัสถามพวกภิกษุฉัพพัคคีย์ว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า พวก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๖๔๙ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๗.เสขิยกัณฑ์] ๑.ปริมัณฑลวรรค สิกขาบทที่ ๑
เธอครองอันตรวาสกย้อยข้างหน้าบ้าง ข้างหลังบ้าง จริงหรือ” พวกภิกษุฉัพพัคคีย์
ทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “โมฆบุรุษ
ทั้งหลาย ไฉนพวกเธอจึงครองอันตรวาสกย้อยข้างหน้าบ้าง ข้างหลังบ้างเล่า
โมฆบุรุษทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำ
คนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยก
สิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้

พระบัญญัติ
๑. พึงทำความสำเหนียกว่า เราจักครองอันตรวาสกให้เรียบร้อย
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ

สิกขาบทวิภังค์
ภิกษุพึงครองอันตรวาสกให้เรียบร้อย คือปิดบริเวณสะดือ บริเวณเข่า
ภิกษุใดไม่เอื้อเฟื้อ ครองอันตรวาสกย้อยข้างหน้าบ้าง ข้างหลังบ้าง ต้อง
อาบัติทุกกฏ

อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ

๑. ภิกษุไม่จงใจ ๒. ภิกษุไม่มีสติ
๓. ภิกษุผู้ไม่รู้ ๔. ภิกษุผู้เป็นไข้
๕. ภิกษุผู้มีเหตุขัดข้อง ๖. ภิกษุวิกลจริต
๗. ภิกษุต้นบัญญัติ

สิกขาบทที่ ๑ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๖๕๐ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๗.เสขิยกัณฑ์] ๑.ปริมัณฑลวรรค สิกขาบทที่ ๒
สิกขาบทที่ ๒

เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๕๗๗] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ครอง
อุตตราสงค์ย้อยข้างหน้าบ้าง ข้างหลังบ้าง ฯลฯ๑

พระบัญญัติ
๒. พึงทำความสำเหนียกว่า เราจักครองอุตตราสงค์ให้เรียบร้อย
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ

สิกขาบทวิภังค์
ภิกษุพึงครองอุตตราสงค์ให้เรียบร้อย คือ ทำชายจีวรทั้งสองให้เสมอกัน
ภิกษุใดไม่เอื้อเฟื้อ ครองอุตตราสงค์ย้อยข้างหน้าบ้าง ย้อยข้างหลังบ้าง ต้อง
อาบัติทุกกฏ

อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ

๑. ภิกษุไม่จงใจ ๒. ภิกษุไม่มีสติ
๓. ภิกษุผู้ไม่รู้ ๔. ภิกษุผู้เป็นไข้
๕. ภิกษุผู้มีเหตุขัดข้อง ๖. ภิกษุวิกลจริต
๗. ภิกษุต้นบัญญัติ

สิกขาบทที่ ๒ จบ

เชิงอรรถ :
๑ ข้อความที่ย่อไว้มีความเต็มเหมือนปริมัณฑลวรรค สิกขาบทที่ ๑ ข้อ ๕๗๖ เปลี่ยนแต่เนื้อความเฉพาะ
ของแต่ละสิกขาบท

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๖๕๑ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๗.เสขิยกัณฑ์] ๑.ปริมัณฑลวรรค สิกขาบทที่ ๓
สิกขาบทที่ ๓

เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๕๗๘] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์เดินเปิดกาย
ไปในละแวกบ้าน ฯลฯ

พระบัญญัติ
๓. พึงสำเหนียกว่า เราจักปกปิดกายให้ดี ไปในละแวกบ้าน
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ

สิกขาบทวิภังค์
ภิกษุพึงปกปิดกายให้ดี ไปในละแวกบ้าน
ภิกษุใดไม่เอื้อเฟื้อ เดินเปิดกายไปในละแวกบ้าน ต้องอาบัติทุกกฏ

อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ

๑. ภิกษุไม่จงใจ ๒. ภิกษุไม่มีสติ
๓. ภิกษุผู้ไม่รู้ ๔. ภิกษุผู้เป็นไข้
๕. ภิกษุผู้มีเหตุขัดข้อง ๖. ภิกษุวิกลจริต
๗. ภิกษุต้นบัญญัติ

สิกขาบทที่ ๓ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๖๕๒ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๗.เสขิยกัณฑ์] ๑.ปริมัณฑลวรรค สิกขาบทที่ ๔
สิกขาบทที่ ๔

เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๕๗๙] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์นั่งเปิดกาย
ในละแวกบ้าน ฯลฯ

พระบัญญัติ
๔. พึงทำความสำเหนียกว่า เราจักปกปิดกายให้ดี นั่งในละแวกบ้าน
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ

สิกขาบทวิภังค์
ภิกษุพึงปกปิดกายให้ดีนั่งในละแวกบ้าน
ภิกษุใดไม่เอื้อเฟื้อ นั่งเปิดกายในละแวกบ้าน ต้องอาบัติทุกกฏ

อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ

๑. ภิกษุไม่จงใจ ๒. ภิกษุไม่มีสติ
๓. ภิกษุผู้ไม่รู้ ๔. ภิกษุผู้เป็นไข้
๕. ภิกษุอยู่ในที่พัก ๖. ภิกษุผู้มีเหตุขัดข้อง
๗. ภิกษุวิกลจริต ๘. ภิกษุต้นบัญญัติ

สิกขาบทที่ ๔ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๖๕๓ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๗.เสขิยกัณฑ์] ๑.ปริมัณฑลวรรค สิกขาบทที่ ๕
สิกขาบทที่ ๕

เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๕๘๐] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์เดินคะนอง
มือบ้าง คะนองเท้าบ้าง ไปในละแวกบ้าน ฯลฯ

พระบัญญัติ
๕. พึงทำความสำเหนียกว่า เราจักสำรวมดี ไปในละแวกบ้าน
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ

สิกขาบทวิภังค์
ภิกษุพึงสำรวมดี ไปในละแวกบ้าน
ภิกษุใดไม่เอื้อเฟื้อ คะนองมือบ้าง คะนองเท้าบ้าง ไปในละแวกบ้าน ต้อง
อาบัติทุกกฏ

อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ

๑. ภิกษุไม่จงใจ ๒. ภิกษุไม่มีสติ
๓. ภิกษุผู้ไม่รู้ ๔. ภิกษุผู้เป็นไข้
๕. ภิกษุผู้มีเหตุขัดข้อง ๖. ภิกษุวิกลจริต
๗. ภิกษุต้นบัญญัติ

สิกขาบทที่ ๕ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๖๕๔ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๗.เสขิยกัณฑ์] ๑.ปริมัณฑลวรรค สิกขาบทที่ ๖
สิกขาบทที่ ๖

เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๕๘๑] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์คะนองมือบ้าง
คะนองเท้าบ้าง นั่งในละแวกบ้าน ฯลฯ

พระบัญญัติ
๖. พึงทำความสำเหนียกว่า เราจักสำรวมดี นั่งในละแวกบ้าน
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ

สิกขาบทวิภังค์
ภิกษุพึงสำรวมดี นั่งในละแวกบ้าน
ภิกษุใดไม่เอื้อเฟื้อ คะนองมือบ้าง คะนองเท้าบ้าง นั่งในละแวกบ้าน ต้อง
อาบัติทุกกฏ

อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ

๑. ภิกษุไม่จงใจ ๒. ภิกษุไม่มีสติ
๓. ภิกษุผู้ไม่รู้ ๔. ภิกษุผู้เป็นไข้
๕. ภิกษุผู้มีเหตุขัดข้อง ๖. ภิกษุวิกลจริต
๗. ภิกษุต้นบัญญัติ

สิกขาบทที่ ๖ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๖๕๕ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๗.เสขิยกัณฑ์] ๑.ปริมัณฑลวรรค สิกขาบทที่ ๗
สิกขาบทที่ ๗

เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๕๘๒] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์เดินมองดูที่
นั้น ๆ ไปในละแวกบ้าน ฯลฯ

พระบัญญัติ
๗. พึงทำความสำเหนียกว่า เราจักทอดจักษุลง ไปในละแวกบ้าน
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ

สิกขาบทวิภังค์
ภิกษุพึงทอดจักษุลง มองดูชั่วแอก ไปในละแวกบ้าน
ภิกษุใดไม่เอื้อเฟื้อ เดินมองดูที่นั้น ๆ ไปในละแวกบ้าน ต้องอาบัติทุกกฏ

อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ

๑. ภิกษุไม่จงใจ ๒. ภิกษุไม่มีสติ
๓. ภิกษุผู้ไม่รู้ ๔. ภิกษุผู้เป็นไข้
๕. ภิกษุผู้มีเหตุขัดข้อง ๖. ภิกษุวิกลจริต
๗. ภิกษุต้นบัญญัติ

สิกขาบทที่ ๗ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๖๕๖ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๗.เสขิยกัณฑ์] ๑.ปริมัณฑลวรรค สิกขาบทที่ ๘
สิกขาบทที่ ๘

เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๕๘๓] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์นั่งมองดูที่
นั้น ๆ ในละแวกบ้าน ฯลฯ

พระบัญญัติ
๘. พึงสำเหนียกว่า เราจักมีจักษุทอดลง นั่งในละแวกบ้าน
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ

สิกขาบทวิภังค์
ภิกษุพึงมีจักษุทอดลง มองดูชั่วแอก นั่งในละแวกบ้าน
ภิกษุใดไม่เอื้อเฟื้อ นั่งมองดูที่นั้น ๆ ในละแวกบ้าน ต้องอาบัติทุกกฏ

อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ

๑. ภิกษุไม่จงใจ ๒. ภิกษุไม่มีสติ
๓. ภิกษุผู้ไม่รู้ ๔. ภิกษุผู้เป็นไข้
๕. ภิกษุผู้มีเหตุขัดข้อง ๖. ภิกษุวิกลจริต
๗. ภิกษุต้นบัญญัติ

สิกขาบทที่ ๘ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๖๕๗ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๗.เสขิยกัณฑ์] ๑.ปริมัณฑลวรรค สิกขาบทที่ ๙
สิกขาบทที่ ๙

เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๕๘๔] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์เดินเวิกผ้า
ไปในละแวกบ้าน ฯลฯ

พระบัญญัติ
๙. พึงทำความสำเหนียกว่า เราจักไม่เวิกผ้า ไปในละแวกบ้าน
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ

สิกขาบทวิภังค์
ภิกษุไม่พึงเวิกผ้า ไปในละแวกบ้าน
ภิกษุใดไม่เอื้อเฟื้อ เวิกผ้าขึ้นข้างเดียวหรือทั้งสองข้าง ไปในละแวกบ้าน ต้อง
อาบัติทุกกฏ

อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ

๑. ภิกษุไม่จงใจ ๒. ภิกษุไม่มีสติ
๓. ภิกษุผู้ไม่รู้ ๔. ภิกษุผู้เป็นไข้
๕. ภิกษุผู้มีเหตุขัดข้อง ๖. ภิกษุวิกลจริต
๗. ภิกษุต้นบัญญัติ

สิกขาบทที่ ๙ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๖๕๘ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๗.เสขิยกัณฑ์] ๑.ปริมัณฑลวรรค สิกขาบทที่ ๑๐
สิกขาบทที่ ๑๐

เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๕๘๕] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์นั่งเวิกผ้าใน
ละแวกบ้าน ฯลฯ

พระบัญญัติ
๑๐. พึงทำความสำเหนียกว่า เราจักไม่นั่งเวิกผ้าในละแวกบ้าน
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ

สิกขาบทวิภังค์
ภิกษุไม่พึงนั่งเวิกผ้าในละแวกบ้าน
ภิกษุใดไม่เอื้อเฟื้อ นั่งเวิกผ้าขึ้นข้างเดียวหรือทั้งสองข้างในละแวกบ้าน ต้อง
อาบัติทุกกฏ

อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ

๑. ภิกษุไม่จงใจ ๒. ภิกษุไม่มีสติ
๓. ภิกษุผู้ไม่รู้ ๔. ภิกษุผู้เป็นไข้
๕. ภิกษุอยู่ในที่พัก ๖. ภิกษุผู้มีเหตุขัดข้อง
๗. ภิกษุวิกลจริต ๘. ภิกษุต้นบัญญัติ

สิกขาบทที่ ๑๐ จบ
ปริมัณฑลวรรคที่ ๑ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๖๕๙ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๗.เสขิยกัณฑ์] ๒.อุชชัคฆิกวรรค สิกขาบทที่ ๑
๒. อุชชัคฆิกวรรค
หมวดว่าด้วยการหัวเราะ

สิกขาบทที่ ๑

เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๕๘๖] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์หัวเราะดังไปใน
ละแวกบ้าน ฯลฯ

พระบัญญัติ
๑. พึงทำความสำเหนียกว่า เราจักไม่หัวเราะดัง ไปในละแวกบ้าน
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ

สิกขาบทวิภังค์
ภิกษุไม่พึงหัวเราะดัง ไปในละแวกบ้าน
ภิกษุใดไม่เอื้อเฟื้อ หัวเราะดัง ไปในละแวกบ้าน ต้องอาบัติทุกกฏ

อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ

๑. ภิกษุไม่จงใจ ๒. ภิกษุไม่มีสติ
๓. ภิกษุผู้ไม่รู้ ๔. ภิกษุผู้เป็นไข้
๕. ภิกษุเพียงยิ้มแย้มเมื่อมีเรื่องขบขัน ๖. ภิกษุผู้มีเหตุขัดข้อง
๗. ภิกษุวิกลจริต ๘. ภิกษุต้นบัญญัติ

สิกขาบทที่ ๑ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๖๖๐ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๗.เสขิยกัณฑ์] ๒.อุชชัคฆิกวรรค สิกขาบทที่ ๒
สิกขาบทที่ ๒

เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๕๘๗] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์นั่งหัวเราะดังใน
ละแวกบ้าน ฯลฯ

พระบัญญัติ
๒. พึงทำความสำเหนียกว่า เราจักไม่นั่งหัวเราะดังในละแวกบ้าน
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ

สิกขาบทวิภังค์
ภิกษุไม่พึงนั่งหัวเราะดังในละแวกบ้าน
ภิกษุใดไม่เอื้อเฟื้อ นั่งหัวเราะดังในละแวกบ้าน ต้องอาบัติทุกกฏ

อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ

๑. ภิกษุไม่จงใจ ๒. ภิกษุไม่มีสติ
๓. ภิกษุผู้ไม่รู้ ๔. ภิกษุผู้เป็นไข้
๕. ภิกษุเพียงยิ้มแย้มเมื่อมีเรื่องขบขัน ๖. ภิกษุผู้มีเหตุขัดข้อง
๗. ภิกษุวิกลจริต ๘. ภิกษุต้นบัญญัติ

สิกขาบทที่ ๒ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๖๖๑ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๗.เสขิยกัณฑ์] ๒.อุชชัคฆิกวรรค สิกขาบทที่ ๓
สิกขาบทที่ ๓

เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๕๘๘] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ตะโกนเสียงดัง
ไปในละแวกบ้าน ฯลฯ

พระบัญญัติ
๓. พึงทำความสำเหนียกว่า เราจักพูดเสียงเบา ไปในละแวกบ้าน
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ

สิกขาบทวิภังค์
ภิกษุพึงพูดเสียงเบาไปในละแวกบ้าน
ภิกษุใดไม่เอื้อเฟื้อ ตะโกนเสียงดังไปในละแวกบ้าน ต้องอาบัติทุกกฏ

อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ

๑. ภิกษุไม่จงใจ ๒. ภิกษุไม่มีสติ
๓. ภิกษุผู้ไม่รู้ ๔. ภิกษุผู้เป็นไข้
๕. ภิกษุผู้มีเหตุขัดข้อง ๖. ภิกษุวิกลจริต
๗. ภิกษุต้นบัญญัติ

สิกขาบทที่ ๓ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๖๖๒ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๗.เสขิยกัณฑ์] ๒.อุชชัคฆิกวรรค สิกขาบทที่ ๔
สิกขาบทที่ ๔

เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๕๘๙] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์นั่งตะโกนเสียง
ดังในละแวกบ้าน ฯลฯ

พระบัญญัติ
๔. พึงทำความสำเหนียกว่า เราจักนั่งพูดเสียงเบาในละแวกบ้าน
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ

สิกขาบทวิภังค์
ภิกษุพึงนั่งพูดเสียงเบาในละแวกบ้าน
ภิกษุใดไม่เอื้อเฟื้อ นั่งตะโกนเสียงดังในละแวกบ้าน ต้องอาบัติทุกกฏ

อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ ไม่ต้องอาบัติ คือ

๑. ภิกษุไม่จงใจ ๒. ภิกษุไม่มีสติ
๓. ภิกษุผู้ไม่รู้ ๔. ภิกษุผู้เป็นไข้
๕. ภิกษุผู้มีเหตุขัดข้อง ๖. ภิกษุวิกลจริต
๗. ภิกษุต้นบัญญัติ

สิกขาบทที่ ๔ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๖๖๓ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๗.เสขิยกัณฑ์] ๒.อุชชัคฆิกวรรค สิกขาบทที่ ๕
สิกขาบทที่ ๕

เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๕๙๐] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์เดินโคลงกาย
ไปในละแวกบ้าน ฯลฯ

พระบัญญัติ
๕. พึงทำความสำเหนียกว่า เราจักไม่เดินโคลงกายไปในละแวกบ้าน
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ

สิกขาบทวิภังค์
ภิกษุไม่พึงเดินโคลงกายไป พึงเดินประคองกาย๑ ไปในละแวกบ้าน
ภิกษุใดไม่เอื้อเฟื้อ เดินโคลงกายไปในละแวกบ้าน ต้องอาบัติทุกกฏ

อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ

๑. ภิกษุไม่จงใจ ๒. ภิกษุไม่มีสติ
๓. ภิกษุผู้ไม่รู้ ๔. ภิกษุผู้เป็นไข้
๕. ภิกษุผู้มีเหตุขัดข้อง ๖. ภิกษุวิกลจริต
๗. ภิกษุต้นบัญญัติ

สิกขาบทที่ ๕ จบ

เชิงอรรถ :
๑ ประคองกาย คือไม่เดินไหวกาย เดินกายตรง ไปด้วยอิริยาบถสม่ำเสมอ (วิ.อ. ๒/๕๙๐/๔๕๐)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๖๖๔ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๗.เสขิยกัณฑ์] ๒.อุชชัคฆิกวรรค สิกขาบทที่ ๖
สิกขาบทที่ ๖

เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๕๙๑] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์นั่งโคลงกาย
ในละแวกบ้าน ฯลฯ

พระบัญญัติ
๖. พึงทำความสำเหนียกว่า เราจักไม่นั่งโคลงกายในละแวกบ้าน
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ

สิกขาบทวิภังค์
ภิกษุไม่พึงนั่งโคลงกาย พึงนั่งประคองกาย๑ ในละแวกบ้าน
ภิกษุใดไม่เอื้อเฟื้อ นั่งโคลงกายในละแวกบ้าน ต้องอาบัติทุกกฏ

อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ ไม่ต้องอาบัติ คือ

๑. ภิกษุไม่จงใจ ๒. ภิกษุไม่มีสติ
๓. ภิกษุผู้ไม่รู้ ๔. ภิกษุผู้เป็นไข้
๕. ภิกษุอยู่ในที่พัก ๖. ภิกษุผู้มีเหตุขัดข้อง
๗. ภิกษุวิกลจริต ๘. ภิกษุต้นบัญญัติ

สิกขาบทที่ ๖ จบ

เชิงอรรถ :
๑ นั่งประคองกาย คือไม่นั่งไหวกาย นั่งกายตรง นั่งด้วยอิริยาบถสม่ำเสมอ (วิ.อ. ๒/๕๙๐/๔๕๐)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๖๖๕ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๗.เสขิยกัณฑ์] ๒.อุชชัคฆิกวรรค สิกขาบทที่ ๗
สิกขาบทที่ ๗

เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๕๙๒] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์เดินแกว่งแขน
ห้อยแขนไปในละแวกบ้าน ฯลฯ

พระบัญญัติ
๗. พึงทำความสำเหนียกว่า เราจักไม่เดินแกว่งแขนไปในละแวกบ้าน
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ

สิกขาบทวิภังค์
ภิกษุไม่พึงแกว่งแขนไป พึงเดินประคองแขน๑ ไปในละแวกบ้าน
ภิกษุใดไม่เอื้อเฟื้อ แกว่งแขน เดินห้อยแขนไปในละแวกบ้าน ต้องอาบัติทุกกฏ

อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ

๑. ภิกษุไม่จงใจ ๒. ภิกษุไม่มีสติ
๓. ภิกษุผู้ไม่รู้ ๔. ภิกษุผู้เป็นไข้
๕. ภิกษุผู้มีเหตุขัดข้อง ๖. ภิกษุวิกลจริต
๗. ภิกษุต้นบัญญัติ

สิกขาบทที่ ๗ จบ

เชิงอรรถ :
๑ เดินประคองแขน คือไม่เดินกระดิกแขน (วิ.อ. ๒/๕๙๒/๔๕๐)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๖๖๖ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๗.เสขิยกัณฑ์] ๒.อุชชัคฆิกวรรค สิกขาบทที่ ๘
สิกขาบทที่ ๘

เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๕๙๓] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์นั่งแกว่งแขน
ห้อยแขนในละแวกบ้าน ฯลฯ

พระบัญญัติ
๘. พึงทำความสำเหนียกว่า เราจักไม่นั่งแกว่งแขนในละแวกบ้าน
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ

สิกขาบทวิภังค์
ภิกษุไม่พึงนั่งแกว่งแขน พึงนั่งประคองแขนในละแวกบ้าน
ภิกษุใดไม่เอื้อเฟื้อ นั่งแกว่งแขนห้อยแขนในละแวกบ้าน ต้องอาบัติทุกกฏ

อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ

๑. ภิกษุไม่จงใจ ๒. ภิกษุไม่มีสติ
๓. ภิกษุผู้ไม่รู้ ๔. ภิกษุผู้เป็นไข้
๕. ภิกษุอยู่ในที่พัก ๖. ภิกษุผู้มีเหตุขัดข้อง
๗. ภิกษุวิกลจริต ๘. ภิกษุต้นบัญญัติ

สิกขาบทที่ ๘ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๖๖๗ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๗.เสขิยกัณฑ์] ๒.อุชชัคฆิกวรรค สิกขาบทที่ ๙
สิกขาบทที่ ๙

เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๕๙๔] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์เดินโคลง
ศีรษะทำคอพับไปในละแวกบ้าน ฯลฯ

พระบัญญัติ
๙. พึงทำความสำเหนียกว่า เราจักไม่เดินโคลงศีรษะไปในละแวกบ้าน
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ

สิกขาบทวิภังค์
ภิกษุไม่พึงเดินโคลงศีรษะไป พึงเดินประคองศีรษะ๑ ไปในละแวกบ้าน
ภิกษุใดไม่เอื้อเฟื้อ เดินโคลงศีรษะทำคอพับไปในละแวกบ้าน ต้องอาบัติทุกกฏ

อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ

๑. ภิกษุไม่จงใจ ๒. ภิกษุไม่มีสติ
๓. ภิกษุผู้ไม่รู้ ๔. ภิกษุผู้เป็นไข้
๕. ภิกษุผู้มีเหตุขัดข้อง ๖. ภิกษุวิกลจริต
๗. ภิกษุต้นบัญญัติ

สิกขาบทที่ ๙ จบ

เชิงอรรถ :
๑ ประคองศีรษะ คือตั้งศีรษะตรง ไม่ไหวเอน (วิ.อ. ๒/๕๙๔/๔๕๐)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๖๖๘ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๗.เสขิยกัณฑ์] ๒.อุชชัคฆิกวรรค สิกขาบทที่ ๑๐
สิกขาบทที่ ๑๐

เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๕๙๕] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์นั่งโคลงศีรษะ
ทำคอพับในละแวกบ้าน ฯลฯ

พระบัญญัติ
๑๐. พึงทำความสำเหนียกว่า เราจักไม่นั่งโคลงศีรษะในละแวกบ้าน
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ

สิกขาบทวิภังค์
ภิกษุไม่พึงนั่งโคลงศีรษะ พึงนั่งประคองศีรษะในละแวกบ้าน
ภิกษุใดไม่เอื้อเฟื้อ นั่งโคลงศีรษะทำคอพับในละแวกบ้าน ต้องอาบัติทุกกฏ

อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ

๑. ภิกษุไม่จงใจ ๒. ภิกษุไม่มีสติ
๓. ภิกษุผู้ไม่รู้ ๔. ภิกษุผู้เป็นไข้
๕. ภิกษุอยู่ในที่พัก ๖. ภิกษุผู้มีเหตุขัดข้อง
๗. ภิกษุวิกลจริต ๘. ภิกษุต้นบัญญัติ

สิกขาบทที่ ๑๐ จบ
อุชชัคฆิกวรรคที่ ๒ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๖๖๙ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๗.เสขิยกัณฑ์] ๓.ขัมภตกวรรค สิกขาบทที่ ๑
๓. ขัมภตกวรรค
หมวดว่าด้วยการเท้าสะเอว

สิกขาบทที่ ๑

เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๕๙๖] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์เดินเท้าสะเอว
ไปในละแวกบ้าน ฯล

พระบัญญัติ
๑. พึงทำความสำเหนียกว่า เราจักไม่เดินเท้าสะเอวไปในละแวกบ้าน
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ

สิกขาบทวิภังค์
ภิกษุไม่พึงเดินเท้าสะเอวไปในละแวกบ้าน
ภิกษุใดไม่เอื้อเฟื้อ เดินเท้าสะเอวข้างเดียวหรือสองข้างไปในละแวกบ้าน ต้อง
อาบัติทุกกฏ

อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ

๑. ภิกษุไม่จงใจ ๒. ภิกษุไม่มีสติ
๓. ภิกษุผู้ไม่รู้ ๔. ภิกษุผู้เป็นไข้
๕. ภิกษุผู้มีเหตุขัดข้อง ๖. ภิกษุวิกลจริต
๗. ภิกษุต้นบัญญัติ

สิกขาบทที่ ๑ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๖๗๐ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๗.เสขิยกัณฑ์] ๓.ขัมภตกวรรค สิกขาบทที่ ๒
สิกขาบทที่ ๒

เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๕๙๗] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์นั่งเท้าสะเอว
ในละแวกบ้าน ฯลฯ

พระบัญญัติ
๒. พึงทำความสำเหนียกว่า เราจักไม่นั่งเท้าสะเอวในละแวกบ้าน
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ

สิกขาบทวิภังค์
ภิกษุไม่พึงนั่งเท้าสะเอวในละแวกบ้าน
ภิกษุใดไม่เอื้อเฟื้อ นั่งเท้าสะเอวข้างเดียวหรือสองข้างในละแวกบ้าน ต้องอาบัติ
ทุกกฏ

อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ

๑. ภิกษุไม่จงใจ ๒. ภิกษุไม่มีสติ
๓. ภิกษุผู้ไม่รู้ ๔. ภิกษุผู้เป็นไข้
๕. ภิกษุอยู่ในที่พัก ๖. ภิกษุผู้มีเหตุขัดข้อง
๗. ภิกษุวิกลจริต ๘. ภิกษุต้นบัญญัติ

สิกขาบทที่ ๒ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๖๗๑ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๗.เสขิยกัณฑ์] ๓.ขัมภตกวรรค สิกขาบทที่ ๓
สิกขาบทที่ ๓

เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๕๙๘] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์เดินคลุมศีรษะ
ไปในละแวกบ้าน ฯลฯ

พระบัญญัติ
๓. พึงทำความสำเหนียกว่า เราจักไม่เดินคลุมศีรษะไปในละแวกบ้าน
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ

สิกขาบทวิภังค์
ภิกษุไม่พึงเดินคลุมศีรษะไปในละแวกบ้าน
ภิกษุใดไม่เอื้อเฟื้อ เดินคลุมศีรษะไปในละแวกบ้าน ต้องอาบัติทุกกฏ

อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ

๑. ภิกษุไม่จงใจ ๒. ภิกษุไม่มีสติ
๓. ภิกษุผู้ไม่รู้ ๔. ภิกษุผู้เป็นไข้
๕. ภิกษุผู้มีเหตุขัดข้อง ๖. ภิกษุวิกลจริต
๗. ภิกษุต้นบัญญัติ

สิกขาบทที่ ๓ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๖๗๒ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๗.เสขิยกัณฑ์] ๓.ขัมภตกวรรค สิกขาบทที่ ๔
สิกขาบทที่ ๔

เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๕๙๙] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์นั่งคลุมศีรษะ
ในละแวกบ้าน ฯลฯ

พระบัญญัติ
๔. พึงทำความสำเหนียกว่า เราจักไม่นั่งคลุมศีรษะในละแวกบ้าน
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ

สิกขาบทวิภังค์
ภิกษุไม่พึงนั่งคลุมศีรษะในละแวกบ้าน
ภิกษุใดไม่เอื้อเฟื้อ นั่งคลุมศีรษะในละแวกบ้าน ต้องอาบัติทุกกฏ

อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ

๑. ภิกษุไม่จงใจ ๒. ภิกษุไม่มีสติ
๓. ภิกษุผู้ไม่รู้ ๔. ภิกษุผู้เป็นไข้
๕. ภิกษุอยู่ในที่พัก ๖. ภิกษุผู้มีเหตุขัดข้อง
๗. ภิกษุวิกลจริต ๘. ภิกษุต้นบัญญัติ

สิกขาบทที่ ๔ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๖๗๓ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๗.เสขิยกัณฑ์] ๓.ขัมภตกวรรค สิกขาบทที่ ๕
สิกขาบทที่ ๕

เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๖๐๐] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์เดินกระโหย่ง
ไปในละแวกบ้าน ฯลฯ

พระบัญญัติ
๕. พึงทำความสำเหนียกว่า เราจักไม่เดินกระโหย่งไปในละแวกบ้าน
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ

สิกขาบทวิภังค์
ภิกษุไม่พึงเดินกระโหย่งไปในละแวกบ้าน
ภิกษุใดไม่เอื้อเฟื้อ เดินกระโหย่งไปในละแวกบ้าน ต้องอาบัติทุกกฏ

อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ

๑. ภิกษุไม่จงใจ ๒. ภิกษุไม่มีสติ
๓. ภิกษุผู้ไม่รู้ ๔. ภิกษุผู้เป็นไข้
๕. ภิกษุอยู่ในที่พัก ๖. ภิกษุผู้มีเหตุขัดข้อง
๗. ภิกษุวิกลจริต ๘. ภิกษุต้นบัญญัติ

สิกขาบทที่ ๕ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๖๗๔ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๗.เสขิยกัณฑ์] ๓.ขัมภตกวรรค สิกขาบทที่ ๖
สิกขาบทที่ ๖

เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๖๐๑] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์นั่งรัดเข่าใน
ละแวกบ้าน ฯลฯ

พระบัญญัติ
๖. พึงทำความสำเหนียกว่า เราจักไม่นั่งรัดเข่าในละแวกบ้าน
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ

สิกขาบทวิภังค์
ภิกษุไม่พึงนั่งรัดเข่าในละแวกบ้าน
ภิกษุใดไม่เอื้อเฟื้อ นั่งรัดเข่าด้วยมือหรือด้วยผ้าในละแวกบ้าน ต้องอาบัติ
ทุกกฏ

อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ

๑. ภิกษุไม่จงใจ ๒. ภิกษุไม่มีสติ
๓. ภิกษุผู้ไม่รู้ ๔. ภิกษุผู้เป็นไข้
๕. ภิกษุอยู่ในที่พัก ๖. ภิกษุผู้มีเหตุขัดข้อง
๗. ภิกษุวิกลจริต ๘. ภิกษุต้นบัญญัติ

สิกขาบทที่ ๖ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๖๗๕ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๗.เสขิยกัณฑ์] ๓.ขัมภตกวรรค สิกขาบทที่ ๗
สิกขาบทที่ ๗

เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๖๐๒] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์รับบิณฑบาต
โดยไม่ให้ความสำคัญ ทำทีเหมือนจะทิ้ง ฯลฯ

พระบัญญัติ
๗. พึงทำความสำเหนียกว่า เราจักรับบิณฑบาตโดยเคารพ
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ

สิกขาบทวิภังค์
ภิกษุพึงรับบิณฑบาตโดยเคารพ
ภิกษุใดไม่เอื้อเฟื้อ รับบิณฑบาตโดยไม่เคารพ ทำเหมือนจะทิ้ง ต้องอาบัติ
ทุกกฏ

อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ

๑. ภิกษุไม่จงใจ ๒. ภิกษุไม่มีสติ
๓. ภิกษุผู้ไม่รู้ ๔. ภิกษุผู้เป็นไข้
๕. ภิกษุผู้มีเหตุขัดข้อง ๖. ภิกษุวิกลจริต
๗. ภิกษุต้นบัญญัติ

สิกขาบทที่ ๗ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๖๗๖ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๗.เสขิยกัณฑ์] ๓.ขัมภตกวรรค สิกขาบทที่ ๘
สิกขาบทที่ ๘

เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๖๐๓] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์รับบิณฑบาต
มองดูที่นั้น ๆ เมื่อเขากำลังเกลี่ย(บิณฑบาต)บ้าง เสร็จไปแล้วบ้าง ก็ยังไม่รู้สึกตัว
ฯลฯ

พระบัญญัติ
๘. พึงทำความสำเหนียกว่า เราจักให้ความสำคัญในบาตรขณะรับบิณฑบาต
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ

สิกขาบทวิภังค์
ภิกษุพึงให้ความสำคัญในบาตรขณะรับบิณฑบาต
ภิกษุใดไม่เอื้อเฟื้อ รับบิณฑบาตมองดูที่นั้น ๆ ต้องอาบัติทุกกฏ

อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ

๑. ภิกษุไม่จงใจ ๒. ภิกษุไม่มีสติ
๓. ภิกษุผู้ไม่รู้ ๔. ภิกษุผู้เป็นไข้
๕. ภิกษุผู้มีเหตุขัดข้อง ๖. ภิกษุวิกลจริต
๗. ภิกษุต้นบัญญัติ

สิกขาบทที่ ๘ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๖๗๗ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๗.เสขิยกัณฑ์] ๓.ขัมภตกวรรค สิกขาบทที่ ๙
สิกขาบทที่ ๙

เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๖๐๔] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์เมื่อรับ
บิณฑบาต รับเอาแต่แกงเท่านั้น ฯลฯ

พระบัญญัติ
๙. พึงทำความสำเหนียกว่า เราจักรับบิณฑบาตพอเหมาะกับแกง๑
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ

สิกขาบทวิภังค์
ที่ชื่อว่า แกง ได้แก่ แกง ๒ ชนิด คือ (๑) แกงถั่วเขียว (๒) แกงถั่วเหลือง
ที่ใช้มือหยิบได้
ภิกษุพึงรับบิณฑบาตพอเหมาะกับแกง
ภิกษุใดไม่เอื้อเฟื้อ เลือกรับเฉพาะแกงมาก ต้องอาบัติทุกกฏ

อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ

เชิงอรรถ :
๑ บิณฑบาต คือ ภัตตาหารที่มีแกงผสมอยู่ประมาณ ๑ ใน ๔ ส่วน คือ บิณฑบาต ๓ ส่วน แกง ๑ ส่วน ชื่อว่า
บิณฑบาตพอเหมาะกับแกง (วิ.อ. ๒/๖๐๔/๔๕๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๖๗๘ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๗.เสขิยกัณฑ์] ๓.ขัมภตกวรรค สิกขาบทที่ ๙

๑. ภิกษุไม่จงใจ ๒. ภิกษุไม่มีสติ
๓. ภิกษุผู้ไม่รู้ ๔. ภิกษุผู้เป็นไข้
๕. ภิกษุรับแกงหลายอย่าง ๖. ภิกษุรับของญาติ
๗. ภิกษุรับของผู้ปวารณา ๘. ภิกษุรับเพื่อผู้อื่น
๙. ภิกษุจ่ายมาด้วยทรัพย์ของตน ๑๐. ภิกษุผู้มีเหตุขัดข้อง
๑๑. ภิกษุวิกลจริต ๑๒. ภิกษุต้นบัญญัติ

สิกขาบทที่ ๙ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๖๗๙ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๗.เสขิยกัณฑ์] ๓.ขัมภตกวรรค สิกขาบทที่ ๑๐
สิกขาบทที่ ๑๐

เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๖๐๕] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์รับบิณฑบาต
ล้นขอบปากบาตร ฯลฯ

พระบัญญัติ
๑๐. พึงทำความสำเหนียกว่า เราจักรับบิณฑบาตเสมอขอบปากบาตร
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ

สิกขาบทวิภังค์
ภิกษุพึงรับบิณฑบาตเสมอขอบปากบาตร
ภิกษุใดไม่เอื้อเฟื้อ รับบิณฑบาตจนล้นขอบปากบาตร ต้องอาบัติทุกกฏ

อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ ไม่ต้องอาบัติ คือ

๑. ภิกษุไม่จงใจ ๒. ภิกษุไม่มีสติ
๓. ภิกษุผู้ไม่รู้ ๔. ภิกษุผู้มีเหตุขัดข้อง
๕. ภิกษุวิกลจริต ๖. ภิกษุต้นบัญญัติ

สิกขาบทที่ ๑๐ จบ
ขัมภกตวรรคที่ ๓ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๖๘๐ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๗.เสขิยกัณฑ์] ๔.สักกัจจวรรค สิกขาบทที่ ๑
๔. สักกัจจวรรค
หมวดว่าด้วยความเคารพ

สิกขาบทที่ ๑

เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๖๐๖] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ฉันบิณฑบาต
โดยไม่เคารพ ทำเหมือนไม่อยากจะฉัน ฯลฯ

พระบัญญัติ
๑. พึงทำความสำเหนียกว่า เราจักฉันบิณฑบาตโดยเคารพ
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ

สิกขาบทวิภังค์
ภิกษุพึงฉันบิณฑบาตโดยเคารพ
ภิกษุใดไม่เอื้อเฟื้อ ฉันบิณฑบาตโดยไม่เคารพ ทำเหมือนไม่อยากจะฉัน ต้อง
อาบัติทุกกฏ

อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ

๑. ภิกษุไม่จงใจ ๒. ภิกษุไม่มีสติ
๓. ภิกษุผู้ไม่รู้ ๔. ภิกษุผู้เป็นไข้
๕. ภิกษุผู้มีเหตุขัดข้อง ๖. ภิกษุวิกลจริต
๗. ภิกษุต้นบัญญัติ

สิกขาบทที่ ๑ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๖๘๑ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๗.เสขิยกัณฑ์] ๔.สักกัจจวรรค สิกขาบทที่ ๒
สิกขาบทที่ ๒

เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๖๐๗] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ฉันบิณฑบาต
มองดูไปที่นั้น ๆ เมื่อเขากำลังเกลี่ย(บิณฑบาต) เสร็จไปแล้วบ้าง ก็ยังไม่รู้สึก
ตัว ฯลฯ

พระบัญญัติ
๒. พึงทำความสำเหนียกว่า เราจักให้ความสำคัญในบาตรขณะฉันบิณฑบาต
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ

สิกขาบทวิภังค์
ภิกษุพึงให้ความสำคัญในบาตร ขณะฉันบิณฑบาต
ภิกษุใดไม่เอื้อเฟื้อ ฉันบิณฑบาตมองดูไปที่นั้น ๆ ต้องอาบัติทุกกฏ

อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ

๑. ภิกษุไม่จงใจ ๒. ภิกษุไม่มีสติ
๓. ภิกษุผู้ไม่รู้ ๔. ภิกษุผู้เป็นไข้
๕. ภิกษุผู้มีเหตุขัดข้อง ๖. ภิกษุวิกลจริต
๗. ภิกษุต้นบัญญัติ

สิกขาบทที่ ๒ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๖๘๒ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๗.เสขิยกัณฑ์] ๔.สักกัจจวรรค สิกขาบทที่ ๓
สิกขาบทที่ ๓

เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๖๐๘] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ฉันบิณฑบาต
เจาะลงในที่นั้น ๆ ฯลฯ

พระบัญญัติ
๓. พึงทำความสำเหนียกว่า เราจักฉันบิณฑบาตไปตามลำดับ
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ

สิกขาบทวิภังค์
ภิกษุพึงฉันบิณฑบาตไปตามลำดับ
ภิกษุใดไม่เอื้อเฟื้อ ฉันบิณฑบาตเจาะลงในที่นั้น ๆ ต้องอาบัติทุกกฏ

อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ

๑. ภิกษุไม่จงใจ ๒. ภิกษุไม่มีสติ
๓. ภิกษุผู้ไม่รู้ ๔. ภิกษุผู้เป็นไข้
๕. ภิกษุตักให้ผู้อื่นจึงเว้าแหว่ง ๖. ภิกษุตักเกลี่ยลงในภาชนะอื่น
จึงเว้าแหว่ง
๗. ภิกษุตักแกงอ่อม ๘. ภิกษุผู้มีเหตุขัดข้อง
๙. ภิกษุวิกลจริต ๑๐. ภิกษุต้นบัญญัติ

สิกขาบทที่ ๓ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๖๘๓ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๗.เสขิยกัณฑ์] ๔.สักกัจจวรรค สิกขาบทที่ ๔
สิกขาบทที่ ๔

เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๖๐๙] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์เมื่อฉัน
บิณฑบาต ฉันเฉพาะแกงมาก ฯลฯ

พระบัญญัติ
๔. พึงทำความสำเหนียกว่า เราจักฉันบิณฑบาตพอเหมาะกับแกง
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ

สิกขาบทวิภังค์
ที่ชื่อว่า แกง ได้แก่ ๒ ชนิด คือ (๑) แกงถั่วเขียว (๒) แกงถั่วเหลืองที่ใช้มือ
หยิบได้
ภิกษุพึงฉันบิณฑบาตพอเหมาะกับแกง
ภิกษุใดไม่เอื้อเฟื้อ ฉันเฉพาะแกงมาก ต้องอาบัติทุกกฏ

อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ

๑. ภิกษุไม่จงใจ ๒. ภิกษุไม่มีสติ
๓. ภิกษุผู้ไม่รู้ ๔. ภิกษุผู้เป็นไข้
๕. ภิกษุฉันแกงหลายอย่าง ๖. ภิกษุฉันของญาติ
๗. ภิกษุฉันของผู้ปวารณา ๘. ภิกษุฉันเพื่อผู้อื่น
๙. ภิกษุจ่ายมาด้วยทรัพย์ของตน ๑๐. ภิกษุผู้มีเหตุขัดข้อง
๑๑. ภิกษุวิกลจริต ๑๒. ภิกษุต้นบัญญัติ

สิกขาบทที่ ๔ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๖๘๔ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๗.เสขิยกัณฑ์] ๔.สักกัจจวรรค สิกขาบทที่ ๕
สิกขาบทที่ ๕

เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๖๑๐] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ฉันบิณฑบาต
ขยุ้มลงแต่ยอด ฯลฯ

พระบัญญัติ
๕. พึงทำความสำเหนียกว่า เราจักไม่ฉันบิณฑบาตขยุ้มลงแต่ยอด
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ

สิกขาบทวิภังค์
ภิกษุไม่พึงฉันบิณฑบาตขยุ้มลงแต่ยอด
ภิกษุใดไม่เอื้อเฟื้อ ฉันบิณฑบาตขยุ้มลงแต่ยอด ต้องอาบัติทุกกฏ

อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
๑. ภิกษุไม่จงใจ ๒. ภิกษุไม่มีสติ
๓. ภิกษุผู้ไม่รู้ ๔. ภิกษุผู้เป็นไข้
๕. ภิกษุกวาดตะล่อมข้าวที่เหลือรวมเป็นคำแล้วฉัน

๖. ภิกษุผู้มีเหตุขัดข้อง
๗. ภิกษุวิกลจริต ๘. ภิกษุต้นบัญญัติ

สิกขาบทที่ ๕ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๖๘๕ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๗.เสขิยกัณฑ์] ๔.สักกัจจวรรค สิกขาบทที่ ๖
สิกขาบทที่ ๖

เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๖๑๑] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ใช้ข้าวสุกกลบ
แกงบ้าง กับข้าวบ้าง เพราะอยากได้มาก ฯลฯ

พระบัญญัติ
๖. พึงทำความสำเหนียกว่า เราจักไม่ใช้ข้าวสุกกลบแกงหรือกับข้าว
เพราะอยากได้มาก
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ

สิกขาบทวิภังค์
ภิกษุไม่พึงใช้ข้าวสุกกลบแกงหรือกับข้าว เพราะอยากได้มาก
ภิกษุใดไม่เอื้อเฟื้อ ใช้ข้าวสุกกลบแกงหรือกับข้าว เพราะอยากได้มาก ต้อง
อาบัติทุกกฏ

อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ

๑. ภิกษุไม่จงใจ ๒. ภิกษุไม่มีสติ
๓. ภิกษุผู้ไม่รู้ ๔. เจ้าของกลบไว้ถวาย
๕. ภิกษุมิได้มุ่งกลบเพราะโลภมาก ๖. ภิกษุผู้มีเหตุขัดข้อง
๗. ภิกษุวิกลจริต ๘. ภิกษุต้นบัญญัติ

สิกขาบทที่ ๖ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๖๘๖ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๗.เสขิยกัณฑ์] ๔.สักกัจจวรรค สิกขาบทที่ ๗
สิกขาบทที่ ๗

เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๖๑๒] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ออกปากขอ
แกงบ้าง ข้าวสุกบ้าง มาฉันส่วนตัว พวกชาวบ้านตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า
“ไฉนพระสมณะเชื้อสายศากยบุตรจึงออกปากขอแกงบ้าง ข้าวสุกบ้าง มาฉันส่วน
ตัวเล่า ภัตตาหารที่ดีใครจะไม่พอใจ ภัตตาหารอร่อยใครจะไม่ชอบเล่า”
ภิกษุทั้งหลายได้ยินพวกชาวบ้านตำหนิ ประณาม โพนทะนา บรรดาภิกษุผู้
มักน้อย ฯลฯ จึงพากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพวกภิกษุฉัพพัคคีย์จึง
ออกปากขอแกงบ้าง ข้าวสุกบ้าง มาฉันส่วนตัวเล่า” ครั้นภิกษุทั้งหลายตำหนิพวก
ภิกษุฉัพพัคคีย์โดยประการต่าง ๆ แล้วจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้
ทรงทราบ

ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามพวกภิกษุฉัพพัคคีย์ว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า พวกเธอขอแกงบ้าง ข้าว
สุกบ้างมาฉันส่วนตัวจริงหรือ” พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ฯลฯ โมฆบุรุษทั้งหลาย ไฉนพวกเธอจึงออก
ปากขอแกงบ้าง ข้าวสุกบ้าง มาฉันส่วนตัวเล่า โมฆบุรุษทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้
มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้น
ได้เลย ฯลฯ” แล้วรึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้

พระบัญญัติ
๗. พึงทำความสำเหนียกว่า เราจักไม่ออกปากขอแกง หรือข้าวสุก มาฉัน
ส่วนตัว
สิกขาบทนี้พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติไว้แก่ภิกษุทั้งหลายอย่างนี้
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๖๘๗ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๗.เสขิยกัณฑ์] ๔.สักกัจจวรรค สิกขาบทที่ ๗
เรื่องภิกษุผู้เป็นไข้
[๖๑๓] สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายผู้เป็นไข้ พวกภิกษุผู้มีหน้าที่สอบถามอาการ
ไข้ ได้กล่าวกับพวกภิกษุผู้เป็นไข้ดังนี้ว่า “ท่านทั้งหลายสบายดีหรือ ยังพอเป็นอยู่
ได้หรือ”
พวกภิกษุผู้เป็นไข้ตอบว่า “เมื่อก่อนพวกกระผมออกปากขอแกงบ้าง ข้าวสุก
บ้างมาฉันส่วนตัว ดังนั้นจึงมีความผาสุก แต่เดี๋ยวนี้พวกกระผมมีความยำเกรงอยู่ว่า
‘พระผู้มีพระภาคทรงห้ามไว้’ จึงไม่ออกปากขอ ดังนั้นจึงไม่มีความผาสุก” พวกภิกษุ
ได้นำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ

ทรงอนุญาตให้ภิกษุผู้เป็นไข้ขอได้
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมีกถาเพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ รับสั่ง
กับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุผู้เป็นไข้ออกปากขอแกง หรือ
ข้าวสุกมาฉันส่วนตัวได้” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้

พระอนุบัญญัติ
พึงทำความสำเหนียกว่า เราไม่เป็นไข้ จักไม่ออกปากขอแกงหรือข้าวสุก
มาฉันส่วนตัว
เรื่องพระผู้เป็นไข้ จบ

สิกขาบทวิภังค์
ภิกษุไม่เป็นไข้ ไม่พึงออกปากขอแกงหรือข้าวสุกมาฉันส่วนตัว
ภิกษุใดไม่เอื้อเฟื้อ ไม่เป็นไข้ ออกปากขอแกงหรือข้าวสุกมาฉันส่วนตัว ต้อง
อาบัติทุกกฏ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๖๘๘ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๗.เสขิยกัณฑ์] ๔.สักกัจจวรรค สิกขาบทที่ ๗
อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ

๑. ภิกษุไม่จงใจ ๒. ภิกษุไม่มีสติ
๓. ภิกษุผู้ไม่รู้ ๔. ภิกษุผู้เป็นไข้
๕. ภิกษุขอจากญาติ ๖. ภิกษุขอจากคนปวารณา
๗. ภิกษุขอเพื่อผู้อื่น ๘. ภิกษุจ่ายมาด้วยทรัพย์ของตน
๙. ภิกษุผู้มีเหตุขัดข้อง ๑๐. ภิกษุวิกลจริต
๑๑. ภิกษุต้นบัญญัติ

สิกขาบทที่ ๗ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๖๘๙ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๗.เสขิยกัณฑ์] ๔.สักกัจจวรรค สิกขาบทที่ ๘
สิกขาบทที่ ๘

เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๖๑๔] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์มุ่งตำหนิ จึง
มองดูบาตรของภิกษุเหล่าอื่น ฯลฯ

พระบัญญัติ
๘. พึงทำความสำเหนียกว่า เราจักไม่มุ่งตำหนิ มองดูบาตรของภิกษุเหล่าอื่น
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ

สิกขาบทวิภังค์
ภิกษุไม่พึงมุ่งตำหนิ มองดูบาตรของภิกษุเหล่าอื่น
ภิกษุใดไม่เอื้อเฟื้อ มุ่งตำหนิ มองดูบาตรของภิกษุเหล่าอื่น ต้องอาบัติทุกกฏ

อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ

๑. ภิกษุไม่จงใจ ๒. ภิกษุไม่มีสติ
๓. ภิกษุผู้ไม่รู้ ๔. ภิกษุแลดูด้วยตั้งใจว่าจะเติมของฉัน
ให้ หรือสั่งให้เขาเติมถวาย
๕. ภิกษุไม่มุ่งจะตำหนิ ๖. ภิกษุผู้มีเหตุขัดข้อง
๗. ภิกษุวิกลจริต ๘. ภิกษุต้นบัญญัติ

สิกขาบทที่ ๘ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๖๙๐ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๗.เสขิยกัณฑ์] ๔.สักกัจจวรรค สิกขาบทที่ ๙
สิกขาบทที่ ๙

เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๖๑๕] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ทำคำข้าวใหญ่
ฯลฯ

พระบัญญัติ
๙. พึงทำความสำเหนียกว่า เราจักไม่ทำคำข้าวให้ใหญ่เกิน
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ

สิกขาบทวิภังค์
ภิกษุไม่พึงทำคำข้าวให้ใหญ่เกิน
ภิกษุใดไม่เอื้อเฟื้อ ทำคำข้าวให้ใหญ่เกิน ต้องอาบัติทุกกฏ

อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ

๑. ภิกษุไม่จงใจ ๒. ภิกษุไม่มีสติ
๓. ภิกษุผู้ไม่รู้ ๔. ภิกษุผู้เป็นไข้
๕. ภิกษุฉันของเคี้ยว ๖. ภิกษุฉันผลไม้ต่าง ๆ
๗. ภิกษุฉันแกงอ่อม ๘. ภิกษุผู้มีเหตุขัดข้อง
๙. ภิกษุวิกลจริต ๑๐. ภิกษุต้นบัญญัติ

สิกขาบทที่ ๙ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๖๙๑ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๗.เสขิยกัณฑ์] ๔.สักกัจจวรรค สิกขาบทที่ ๑๐
สิกขาบทที่ ๑๐

เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๖๑๖] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ทำคำข้าว
ยาว ฯลฯ

พระบัญญัติ
๑๐. พึงทำความสำเหนียกว่า เราจักทำคำข้าวให้กลม
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ

สิกขาบทวิภังค์
ภิกษุพึงทำคำข้าวให้กลม
ภิกษุใดไม่เอื้อเฟื้อ ทำคำข้าวยาว ต้องอาบัติทุกกฏ

อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ

๑. ภิกษุไม่จงใจ ๒. ภิกษุไม่มีสติ
๓. ภิกษุผู้ไม่รู้ ๔. ภิกษุผู้เป็นไข้
๕. ภิกษุฉันของเคี้ยว ๖. ภิกษุฉันผลไม้ต่าง ๆ
๗. ภิกษุฉันแกงอ่อม ๘. ภิกษุผู้มีเหตุขัดข้อง
๙. ภิกษุวิกลจริต ๑๐. ภิกษุต้นบัญญัติ

สิกขาบทที่ ๑๐ จบ
สักกัจจวรรคที่ ๔ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๖๙๒ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๗.เสขิยกัณฑ์] ๕.กพฬวรรค สิกขาบทที่ ๑
๕. กพฬวรรค
หมวดว่าด้วยคำข้าว

สิกขาบทที่ ๑

เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๖๑๗] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน
อารามของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ อ้าปาก
รอคำข้าวที่ยังไม่ถึงปาก ฯลฯ

พระบัญญัติ
๑. พึงทำความสำเหนียกว่า เราจักไม่อ้าปากรอคำข้าวที่ยังไม่ถึงปาก
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ

สิกขาบทวิภังค์
ภิกษุไม่พึงอ้าปากรอคำข้าวที่ยังไม่ถึงปาก
ภิกษุใดไม่เอื้อเฟื้อ อ้าปากรอคำข้าวที่ยังไม่ถึงปาก ต้องอาบัติทุกกฏ

อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ

๑. ภิกษุไม่จงใจ ๒. ภิกษุไม่มีสติ
๓. ภิกษุผู้ไม่รู้ ๔. ภิกษุผู้เป็นไข้
๕. ภิกษุผู้มีเหตุขัดข้อง ๖. ภิกษุวิกลจริต
๗. ภิกษุต้นบัญญัติ

สิกขาบทที่ ๑ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๖๙๓ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๗.เสขิยกัณฑ์] ๕.กพฬวรรค สิกขาบทที่ ๒
สิกขาบทที่ ๒

เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๖๑๘] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ขณะกำลัง
ฉัน สอดมือทั้งหมดเข้าในปาก ฯลฯ

พระบัญญัติ
๒. พึงทำความสำเหนียกว่า ขณะกำลังฉัน เราจักไม่สอดมือทั้งหมดเข้า
ในปาก
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ

สิกขาบทวิภังค์
ภิกษุขณะกำลังฉัน ไม่พึงสอดมือทั้งหมดเข้าในปาก
ภิกษุใดไม่เอื้อเฟื้อ ขณะกำลังฉันสอดมือทั้งหมดเข้าไปในปาก ต้องอาบัติทุกกฏ

อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ

๑. ภิกษุไม่จงใจ ๒. ภิกษุไม่มีสติ
๓. ภิกษุผู้ไม่รู้ ๔. ภิกษุผู้เป็นไข้
๕. ภิกษุผู้มีเหตุขัดข้อง ๖. ภิกษุวิกลจริต
๗. ภิกษุต้นบัญญัติ

สิกขาบทที่ ๒ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๖๙๔ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๗.เสขิยกัณฑ์] ๕.กพฬวรรค สิกขาบทที่ ๓
สิกขาบทที่ ๓

เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๖๑๙] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์พูดคุยทั้ง ๆ ที่
ในปากมีคำข้าว ฯลฯ

พระบัญญัติ
๓. พึงทำความสำเหนียกว่า ขณะที่ในปากมีคำข้าว เราจักไม่พูดคุย
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ

สิกขาบทวิภังค์
ภิกษุไม่พึงพูดคุย ขณะที่ในปากมีคำข้าว
ภิกษุใดไม่เอื้อเฟื้อ พูดคุยขณะที่ในปากมีคำข้าว ต้องอาบัติทุกกฏ

อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ

๑. ภิกษุไม่จงใจ ๒. ภิกษุไม่มีสติ
๓. ภิกษุผู้ไม่รู้ ๔. ภิกษุผู้เป็นไข้
๕. ภิกษุผู้มีเหตุขัดข้อง ๖. ภิกษุวิกลจริต
๗. ภิกษุต้นบัญญัติ

สิกขาบทที่ ๓ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๖๙๕ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๗.เสขิยกัณฑ์] ๕.กพฬวรรค สิกขาบทที่ ๔
สิกขาบทที่ ๔

เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๖๒๐] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ฉันโยน
คำข้าว ฯลฯ

พระบัญญัติ
๔. พึงทำความสำเหนียกว่า เราจักไม่ฉันโยนคำข้าว
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ

สิกขาบทวิภังค์
ภิกษุไม่พึงฉันโยนคำข้าว
ภิกษุใดไม่เอื้อเฟื้อ ฉันโยนคำข้าว ต้องอาบัติทุกกฏ

อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ

๑. ภิกษุไม่จงใจ ๒. ภิกษุไม่มีสติ
๓. ภิกษุผู้ไม่รู้ ๔. ภิกษุผู้เป็นไข้
๕. ภิกษุฉันของเคี้ยว ๖. ภิกษุฉันผลไม้
๗. ภิกษุผู้มีเหตุขัดข้อง ๘. ภิกษุวิกลจริต
๙. ภิกษุต้นบัญญัติ

สิกขาบทที่ ๔ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๖๙๖ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๗.เสขิยกัณฑ์] ๕.กพฬวรรค สิกขาบทที่ ๕
สิกขาบทที่ ๕

เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๖๒๑] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ฉันกัด
คำข้าว ฯลฯ

พระบัญญัติ
๕. พึงทำความสำเหนียกว่า เราจักไม่ฉันกัดคำข้าว
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ

สิกขาบทวิภังค์
ภิกษุไม่พึงฉันกัดคำข้าว
ภิกษุใดไม่เอื้อเฟื้อ ฉันกัดคำข้าว ต้องอาบัติทุกกฏ

อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ

๑. ภิกษุไม่จงใจ ๒. ภิกษุไม่มีสติ
๓. ภิกษุผู้ไม่รู้ ๔. ภิกษุผู้เป็นไข้
๕. ภิกษุฉันอาหารเป็นก้อน ๖. ภิกษุฉันผลไม้ต่าง ๆ
๗. ภิกษุฉันแกงอ่อม ๘. ภิกษุผู้มีเหตุขัดข้อง
๙. ภิกษุวิกลจริต ๑๐. ภิกษุต้นบัญญัติ

สิกขาบทที่ ๕ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๖๙๗ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๗.เสขิยกัณฑ์] ๕.กพฬวรรค สิกขาบทที่ ๖
สิกขาบทที่ ๖

เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๖๒๒] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ฉันอาหารทำ
กระพุ้งแก้มตุ่ย ฯลฯ

พระบัญญัติ
๖. พึงทำความสำเหนียกว่า เราจักไม่ฉันอาหารทำกระพุ้งแก้มตุ่ย
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ

สิกขาบทวิภังค์
ภิกษุไม่พึงฉันทำกระพุ้งแก้มตุ่ย
ภิกษุใดไม่เอื้อเฟื้อ ฉันทำกระพุ้งแก้มตุ่ยข้างเดียวหรือทั้งสองข้าง ต้องอาบัติ
ทุกกฏ

อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
๑. ภิกษุไม่จงใจ ๒. ภิกษุไม่มีสติ
๓. ภิกษุผู้ไม่รู้ ๔. ภิกษุผู้เป็นไข้
๕. ภิกษุฉันผลไม้ต่าง ๆ ๖. ภิกษุผู้มีเหตุขัดข้อง
๗. ภิกษุวิกลจริต ๘. ภิกษุต้นบัญญัติ
สิกขาบทที่ ๖ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๖๙๘ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๗.เสขิยกัณฑ์] ๕.กพฬวรรค สิกขาบทที่ ๗
สิกขาบทที่ ๗

เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๖๒๓] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ฉันสลัด
มือ ฯลฯ

พระบัญญัติ
๗. พึงทำความสำเหนียกว่า เราจักไม่ฉันสลัดมือ
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ

สิกขาบทวิภังค์
ภิกษุไม่พึงฉันสลัดมือ
ภิกษุใดไม่เอื้อเฟื้อ ฉันสลัดมือ ต้องอาบัติทุกกฏ

อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ

๑. ภิกษุไม่จงใจ ๒. ภิกษุไม่มีสติ
๓. ภิกษุผู้ไม่รู้ ๔. ภิกษุผู้เป็นไข้
๕. ภิกษุสลัดมือทิ้งเศษอาหาร ๖. ภิกษุผู้มีเหตุขัดข้อง
๗. ภิกษุวิกลจริต ๘. ภิกษุต้นบัญญัติ

สิกขาบทที่ ๗ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๖๙๙ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๗.เสขิยกัณฑ์] ๕.กพฬวรรค สิกขาบทที่ ๘
สิกขาบทที่ ๘

เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๖๒๔] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ฉันโปรยเมล็ดข้าว
ฯลฯ

พระบัญญัติ
๘. พึงทำความสำเหนียกว่า เราจักไม่ฉันโปรยเมล็ดข้าว
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ

สิกขาบทวิภังค์
ภิกษุไม่พึงฉันโปรยเมล็ดข้าว
ภิกษุใดไม่เอื้อเฟื้อ ฉันโปรยเมล็ดข้าว ต้องอาบัติทุกกฏ

อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ

๑. ภิกษุไม่จงใจ ๒. ภิกษุไม่มีสติ
๓. ภิกษุผู้ไม่รู้ ๔. ภิกษุผู้เป็นไข้
๕. ภิกษุทิ้งเศษผงเมล็ดข้าวติดไปด้วย ๖. ภิกษุผู้มีเหตุขัดข้อง
๗. ภิกษุวิกลจริต ๘. ภิกษุต้นบัญญัติ

สิกขาบทที่ ๘ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๗๐๐ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๗.เสขิยกัณฑ์] ๕.กพฬวรรค สิกขาบทที่ ๙
สิกขาบทที่ ๙

เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๖๒๕] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ฉัน
แลบลิ้น ฯลฯ

พระบัญญัติ
๙. พึงทำความสำเหนียกว่า เราจักไม่ฉันแลบลิ้น
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ

สิกขาบทวิภังค์
ภิกษุไม่พึงฉันแลบลิ้น
ภิกษุใดไม่เอื้อเฟื้อ ฉันแลบลิ้น ต้องอาบัติทุกกฏ

อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ

๑. ภิกษุไม่จงใจ ๒. ภิกษุไม่มีสติ
๓. ภิกษุผู้ไม่รู้ ๔. ภิกษุผู้เป็นไข้
๕. ภิกษุผู้มีเหตุขัดข้อง ๖. ภิกษุวิกลจริต
๗. ภิกษุต้นบัญญัติ

สิกขาบทที่ ๙ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๗๐๑ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๗.เสขิยกัณฑ์] ๕.กพฬวรรค สิกขาบทที่ ๑๐
สิกขาบทที่ ๑๐

เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๖๒๖] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ฉันทำเสียงดัง
จั๊บ ๆ ฯลฯ

พระบัญญัติ
๑๐. พึงทำความสำเหนียกว่า เราจักไม่ฉันทำเสียงดังจั๊บๆ
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ

สิกขาบทวิภังค์
ภิกษุไม่พึงฉันทำเสียงดังจั๊บ ๆ
ภิกษุใดไม่เอื้อเฟื้อ ฉันทำเสียงดังจั๊บ ๆ ต้องอาบัติทุกกฏ

อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
๑. ภิกษุไม่จงใจ ๒. ภิกษุไม่มีสติ
๓. ภิกษุผู้ไม่รู้ ๔. ภิกษุผู้เป็นไข้
๕. ภิกษุผู้มีเหตุขัดข้อง ๖. ภิกษุวิกลจริต
๗. ภิกษุต้นบัญญัติ
สิกขาบทที่ ๑๐ จบ
กพฬวรรคที่ ๕ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๗๐๒ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๗.เสขิยกัณฑ์] ๖.สุรุสุรุวรรค สิกขาบทที่ ๑
๖. สุรุสุรุวรรค
หมวดว่าด้วยการฉันดังซู้ด ๆ

สิกขาบทที่ ๑

เรื่องพระรูปหนึ่ง
[๖๒๗] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ โฆสิตาราม เขตกรุง
โกสัมพี ครั้งนั้น พราหมณ์คนหนึ่งปรุงนํ้านมถวายสงฆ์ ภิกษุทั้งหลายดื่มนํ้านมเสียง
ดังซู้ด ๆ ภิกษุผู้เคยเป็นนักฟ้อนรูปหนึ่งกล่าวอย่างนี้ว่า “สงฆ์นี้ทั้งหมด คงจะหนาว
กระมัง”
บรรดาภิกษุผู้มักน้อย ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนภิกษุ
จึงล้อเลียนสงฆ์เล่า” ครั้นภิกษุทั้งหลายตำหนิภิกษุนั้นโดยประการต่าง ๆ แล้วจึงนำ
เรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ

ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามภิกษุนั้นว่า “ภิกษุ ทราบว่า เธอล้อเลียนสงฆ์ จริงหรือ” ภิกษุนั้นทูลรับ
ว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ฯลฯ โมฆบุรุษ
ไฉนเธอจึงล้อเลียนสงฆ์เล่า โมฆบุรุษ การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้
เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ” ครั้นทรงตำหนิแล้ว
จึงทรงแสดงธรรมีกถา แล้วรับสั่งกับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงทำ
การล้อเลียนปรารภพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ภิกษุใดพึงทำ ต้องอาบัติทุกกฏ”
ทีนั้น ครั้นพระผู้มีพระภาคทรงตำหนิภิกษุนั้นโดยประการต่าง ๆ แล้ว ตรัสโทษแห่ง
ความเป็นคนเลี้ยงยาก ฯลฯ แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง
ดังนี้


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๗๐๓ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๗.เสขิยกัณฑ์] ๖.สุรุสุรุวรรค สิกขาบทที่ ๑
พระบัญญัติ
๑. พึงทำความสำเหนียกว่า เราจักไม่ฉันทำเสียงดังซู้ดๆ
เรื่องพระรูปหนึ่ง จบ

สิกขาบทวิภังค์
ภิกษุไม่พึงฉันทำเสียงดังซู้ดๆ
ภิกษุใดไม่เอื้อเฟื้อ ฉันทำเสียงดังซู้ดๆ ต้องอาบัติทุกกฏ

อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ

๑. ภิกษุไม่จงใจ ๒. ภิกษุไม่มีสติ
๓. ภิกษุผู้ไม่รู้ ๔. ภิกษุผู้เป็นไข้
๕. ภิกษุผู้มีเหตุขัดข้อง ๖. ภิกษุวิกลจริต
๗. ภิกษุต้นบัญญัติ

สิกขาบทที่ ๑ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๗๐๔ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๗.เสขิยกัณฑ์] ๖.สุรุสุรุวรรค สิกขาบทที่ ๒
สิกขาบทที่ ๒

เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๖๒๘] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ฉันเลียมือ
ฯลฯ

พระบัญญัติ
๒. พึงทำความสำเหนียกว่า เราจักไม่ฉันเลียมือ
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ

สิกขาบทวิภังค์
ภิกษุไม่พึงฉันเลียมือ
ภิกษุใดไม่เอื้อเฟื้อ ฉันเลียมือ ต้องอาบัติทุกกฏ

อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ

๑. ภิกษุไม่จงใจ ๒. ภิกษุไม่มีสติ
๓. ภิกษุผู้ไม่รู้ ๔. ภิกษุผู้เป็นไข้
๕. ภิกษุผู้มีเหตุขัดข้อง ๖. ภิกษุวิกลจริต
๗. ภิกษุต้นบัญญัติ

สิกขาบทที่ ๒ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๗๐๕ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๗.เสขิยกัณฑ์] ๖.สุรุสุรุวรรค สิกขาบทที่ ๓
สิกขาบทที่ ๓

เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๖๒๙] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ฉันเลียบาตร
ฯลฯ

พระบัญญัติ
๓. พึงทำความสำเหนียกว่า เราจักไม่ฉันเลียบาตร
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ

สิกขาบทวิภังค์
ภิกษุไม่พึงฉันเลียบาตร
ภิกษุใดไม่เอื้อเฟื้อ ฉันเลียบาตร ต้องอาบัติทุกกฏ

อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
๑. ภิกษุไม่จงใจ ๒. ภิกษุไม่มีสติ
๓. ภิกษุผู้ไม่รู้ ๔. ภิกษุผู้เป็นไข้
๕. ภิกษุกวาดข้าวสุกที่เหลือน้อยรวมกันแล้วฉัน

๖. ภิกษุผู้มีเหตุขัดข้อง
๗. ภิกษุวิกลจริต ๘. ภิกษุต้นบัญญัติ

สิกขาบทที่ ๓ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๗๐๖ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๗.เสขิยกัณฑ์] ๖.สุรุสุรุวรรค สิกขาบทที่ ๔
สิกขาบทที่ ๔

เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๖๓๐] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ฉันเลียริม
ฝีปาก ฯลฯ

พระบัญญัติ
๔. พึงทำความสำเหนียกว่า เราจักไม่ฉันเลียริมฝีปาก
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ

สิกขาบทวิภังค์
ภิกษุไม่พึงฉันเลียริมฝีปาก
ภิกษุใดไม่เอื้อเฟื้อ ฉันเลียริมฝีปาก ต้องอาบัติทุกกฏ

อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ

๑. ภิกษุไม่จงใจ ๒. ภิกษุไม่มีสติ
๓. ภิกษุผู้ไม่รู้ ๔. ภิกษุผู้เป็นไข้
๕. ภิกษุผู้มีเหตุขัดข้อง ๖. ภิกษุวิกลจริต
๗. ภิกษุต้นบัญญัติ

สิกขาบทที่ ๔ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๗๐๗ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๗.เสขิยกัณฑ์] ๖.สุรุสุรุวรรค สิกขาบทที่ ๕
สิกขาบทที่ ๕

เรื่องพระหลายรูป
[๖๓๑] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ เภสกฬามฤคทายวัน
เขตเมืองสุงสุมารคิระ แคว้นภัคคะ ครั้งนั้น ภิกษุใช้มือเปื้อนอาหารจับภาชนะนํ้าดื่ม
ที่ปราสาทโกกนท พวกชาวบ้านตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพระสมณะ
เชื้อสายศากยบุตรจึงใช้มือเปื้อนอาหารจับภาชนะนํ้าดื่ม เหมือนคฤหัสถ์ผู้บริโภค
กามเล่า”
ภิกษุทั้งหลายได้ยินพวกชาวบ้านตำหนิ ประณาม โพนทะนา บรรดาภิกษุผู้
มักน้อย ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนภิกษุจึงใช้มือเปื้อนอาหาร
จับภาชนะนํ้าดื่มเล่า” ครั้นภิกษุทั้งหลายตำหนิภิกษุเหล่านั้นโดยประการต่าง ๆ แล้ว
จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ

ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า พวกภิกษุใช้มือเปื้อนอาหารจับ
ภาชนะนํ้าดื่มจริงหรือ” ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระ
ภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ฯลฯ ภิกษุทั้งหลาย ไฉนโมฆบุรุษเหล่านั้น จึงใช้มือ
เปื้อนอาหารจับภาชนะนํ้าดื่มเล่า ภิกษุทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยัง
ไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ”
แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้

พระบัญญัติ
๕. พึงทำความสำเหนียกว่า เราจักไม่จับภาชนะน้ำดื่มด้วยมือเปื้อนอาหาร
เรื่องพระหลายรูป จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๗๐๘ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๗.เสขิยกัณฑ์] ๖.สุรุสุรุวรรค สิกขาบทที่ ๕
สิกขาบทวิภังค์
ภิกษุไม่พึงจับภาชนะนํ้าดื่มด้วยมือเปื้อนอาหาร
ภิกษุใดไม่เอื้อเฟื้อ จับภาชนะนํ้าดื่มด้วยมือเปื้อนอาหาร ต้องอาบัติทุกกฏ

อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
๑. ภิกษุไม่จงใจ ๒. ภิกษุไม่มีสติ
๓. ภิกษุผู้ไม่รู้ ๔. ภิกษุผู้เป็นไข้
๕. ภิกษุรับประเคนไว้เพราะคิดจะล้างเองหรือใช้ผู้อื่นล้าง

๖. ภิกษุผู้มีเหตุขัดข้อง
๗. ภิกษุวิกลจริต ๘. ภิกษุต้นบัญญัติ

สิกขาบทที่ ๕ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๗๐๙ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๗.เสขิยกัณฑ์] ๖.สุรุสุรุวรรค สิกขาบทที่ ๖
สิกขาบทที่ ๖

เรื่องพระหลายรูป
[๖๓๒] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ เภสกฬามฤคทายวัน
เขตเมืองสุงสุมารคิระ แคว้นภัคคะ ครั้งนั้น ภิกษุทั้งหลายเทนํ้าล้างบาตรที่มีเมล็ดข้าว
ในละแวกบ้าน ใกล้โกกนทปราสาท พวกชาวบ้านพากันตำหนิ ประณาม โพนทะนา
ว่า “ไฉนพระสมณะเชื้อสายศากยบุตรจึงเทนํ้าล้างบาตรที่มีเมล็ดข้าวในละแวกบ้าน
เหมือนคฤหัสถ์ผู้บริโภคกามเล่า”
พวกภิกษุได้ยินชาวบ้านตำหนิ ประณาม โพนทะนา บรรดาภิกษุผู้มักน้อย
ฯลฯ จึงพากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนภิกษุทั้งหลายจึงเทนํ้าล้างบาตร
ที่มีเมล็ดข้าวในละแวกบ้านเล่า” ครั้นภิกษุทั้งหลายตำหนิภิกษุเหล่านั้นโดยประการ
ต่าง ๆ แล้วจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ

ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า พวกภิกษุเทนํ้าล้างบาตรมี
เมล็ดข้าวในละแวกบ้าน จริงหรือ” ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ฯลฯ ภิกษุทั้งหลาย ไฉนโมฆบุรุษเหล่านั้น
จึงเทนํ้าล้างบาตรที่มีเมล็ดข้าวในละแวกบ้านเล่า ภิกษุทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้
มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย
ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้

พระบัญญัติ
๖. พึงทำความสำเหนียกว่า เราจักไม่เทน้ำล้างบาตรที่มีเมล็ดข้าวใน
ละแวกบ้าน
เรื่องพระหลายรูป จบ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๗๑๐ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๗.เสขิยกัณฑ์] ๖.สุรุสุรุวรรค สิกขาบทที่ ๖
สิกขาบทวิภังค์
ภิกษุไม่พึงเทน้ำล้างบาตรมีเมล็ดข้าวในละแวกบ้าน
ภิกษุใดไม่เอื้อเฟื้อ เทน้ำล้างบาตรมีเมล็ดข้าวในละแวกบ้าน ต้องอาบัติทุกกฏ

อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
๑. ภิกษุไม่จงใจ ๒. ภิกษุไม่มีสติ
๓. ภิกษุผู้ไม่รู้ ๔. ภิกษุผู้เป็นไข้
๕. ภิกษุเก็บเมล็ดข้าวออก แล้วเทน้ำล้างบาตรหรือขยี้เมล็ดข้าวให้
ละลายหรือเทน้ำล้างบาตรในกระโถนนำไปเทข้างนอก

๖. ภิกษุผู้มีเหตุขัดข้อง
๗. ภิกษุวิกลจริต ๘. ภิกษุต้นบัญญัติ

สิกขาบทที่ ๖ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๗๑๑ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๗.เสขิยกัณฑ์] ๖.สุรุสุรุวรรค สิกขาบทที่ ๗
สิกขาบทที่ ๗

เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๖๓๓] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์แสดงธรรมแก่
คนผู้กั้นร่ม บรรดาภิกษุผู้มักน้อย ฯลฯ ตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพวก
ภิกษุฉัพพัคคีย์จึงแสดงธรรมแก่คนผู้กั้นร่มเล่า” ครั้นภิกษุทั้งหลายตำหนิพวก
ภิกษุฉัพพัคคีย์โดยประการต่าง ๆ แล้วจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้
ทรงทราบ

ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามพวกภิกษุฉัพพัคคีย์ว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า พวกเธอแสดงธรรมแก่
คนผู้กั้นร่มจริงหรือ” พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระ
ผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ฯลฯ โมฆบุรุษทั้งหลาย ไฉนพวกเธอจึงแสดง
ธรรมแก่คนผู้กั้นร่มเล่า โมฆบุรุษทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่
เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ” แล้ว
จึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้

พระบัญญัติ
๗. พึงทำความสำเหนียกว่า เราจักไม่แสดงธรรมแก่คนกั้นร่ม
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ

เรื่องภิกษุหลายรูป
[๖๓๔] สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายยำเกรงที่จะแสดงธรรมแก่คนไข้ผู้กั้นร่ม พวก
ชาวบ้านจึงพากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพระสมณะเชื้อสายศากยบุตร
จึงไม่แสดงธรรมแก่คนไข้ผู้กั้นร่มเล่า” พวกภิกษุได้ยินชาวบ้านตำหนิ ประณาม
โพนทะนา ครั้นแล้วภิกษุเหล่านั้นจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๗๑๒ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๗.เสขิยกัณฑ์] ๖.สุรุสุรุวรรค สิกขาบทที่ ๗
ทรงอนุญาตให้แสดงธรรมแก่คนไข้
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมีกถาเพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ รับสั่ง
กับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้แสดงธรรมแก่คนไข้ผู้กั้นร่มได้”
แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้

พระอนุบัญญัติ
พึงทำความสำเหนียกว่า เราจักไม่แสดงธรรมแก่คนที่ไม่เป็นไข้ผู้กั้นร่ม
เรื่องภิกษุหลายรูป จบ

สิกขาบทวิภังค์
ที่ชื่อว่า ร่ม ได้แก่ ร่ม ๓ ชนิด คือ (๑) ร่มผ้าขาว (๒) ร่มเสื่อลำแพน (๓) ร่ม
ใบไม้ที่เย็บเป็นวงผูกติดกับซี่
ที่ชื่อว่า ธรรม ได้แก่ พุทธภาษิต สาวกภาษิต ฤๅษีภาษิต เทวดาภาษิตที่
ประกอบด้วยอรรถ ที่ประกอบด้วยธรรม
บทว่า แสดง คือ ภิกษุแสดงเป็นบท ต้องอาบัติทุกกฏทุก ๆ บท แสดงเป็น
อักษร ต้องอาบัติทุกกฏทุก ๆ อักษร
ภิกษุไม่พึงแสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ผู้กั้นร่ม
ภิกษุใดไม่เอื้อเฟื้อ แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ผู้กั้นร่ม ต้องอาบัติทุกกฏ

อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ

๑. ภิกษุไม่จงใจ ๒. ภิกษุไม่มีสติ
๓. ภิกษุผู้ไม่รู้ ๔. ภิกษุผู้เป็นไข้
๕. ภิกษุผู้มีเหตุขัดข้อง ๖. ภิกษุวิกลจริต
๗. ภิกษุต้นบัญญัติ

สิกขาบทที่ ๗ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๗๑๓ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๗.เสขิยกัณฑ์] ๖.สุรุสุรุวรรค สิกขาบทที่ ๘
สิกขาบทที่ ๘

เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๖๓๕] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์แสดงธรรม
แก่คนถือไม้พลอง ฯลฯ

พระบัญญัติ
๘. พึงทำความสำเหนียกว่า เราจักไม่แสดงธรรมแก่คนที่ไม่เป็นไข้ผู้ถือ
ไม้พลอง
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ

สิกขาบทวิภังค์
ที่ชื่อว่า ไม้พลอง ได้แก่ ไม้พลองยาว ๔ ศอก ขนาดศอกของคนสัณฐาน
ปานกลาง ยาวกว่านั้นไม่ใช่ไม้พลอง สั้นกว่านั้น ก็ไม่ใช่ไม้พลอง
ภิกษุไม่พึงแสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ผู้ถือไม้พลอง
ภิกษุใดไม่เอื้อเฟื้อ แสดงธรรมแก่คนที่ไม่เป็นไข้ผู้ถือไม้พลอง ต้องอาบัติทุกกฏ

อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ

๑. ภิกษุไม่จงใจ ๒. ภิกษุไม่มีสติ
๓. ภิกษุผู้ไม่รู้ ๔. ภิกษุผู้เป็นไข้
๕. ภิกษุผู้มีเหตุขัดข้อง ๖. ภิกษุวิกลจริต
๗. ภิกษุต้นบัญญัติ

สิกขาบทที่ ๘ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๗๑๔ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๗.เสขิยกัณฑ์] ๖.สุรุสุรุวรรค สิกขาบทที่ ๙
สิกขาบทที่ ๙

เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๖๓๖] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์แสดงธรรมแก่
คนถือศัสตรา ฯลฯ

พระบัญญัติ
๙. พึงทำความสำเหนียกว่า เราจักไม่แสดงธรรมแก่คนที่ไม่เป็นไข้ผู้ถือ
ศัสตรา
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ

สิกขาบทวิภังค์
ที่ชื่อว่า ศัสตรา ได้แก่ เครื่องประหารมีคมข้างเดียว มีคม ๒ ข้าง
ภิกษุไม่พึงแสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ผู้ถือศัสตรา
ภิกษุใดไม่เอื้อเฟื้อ แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ผู้ถือศัสตรา ต้องอาบัติทุกกฏ

อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ

๑. ภิกษุไม่จงใจ ๒. ภิกษุไม่มีสติ
๓. ภิกษุผู้ไม่รู้ ๔. ภิกษุผู้เป็นไข้
๕. ภิกษุผู้มีเหตุขัดข้อง ๖. ภิกษุวิกลจริต
๗. ภิกษุต้นบัญญัติ

สิกขาบทที่ ๙ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๗๑๕ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๗.เสขิยกัณฑ์] ๖.สุรุสุรุวรรค สิกขาบทที่ ๑๐
สิกขาบทที่ ๑๐

เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๖๓๗] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์แสดงธรรมแก่
คนที่ไม่เป็นไข้ผู้ถืออาวุธ ฯลฯ

พระบัญญัติ
๑๐. พึงทำความสำเหนียกว่า เราจักไม่แสดงธรรมแก่คนที่ไม่เป็นไข้ผู้ถือ
อาวุธ
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ

สิกขาบทวิภังค์
ภิกษุไม่พึงแสดงธรรมแก่คนที่ไม่เป็นไข้ผู้ถืออาวุธ
ภิกษุใดไม่เอื้อเฟื้อ แสดงธรรมแก่คนที่ไม่เป็นไข้ผู้ถืออาวุธ ต้องอาบัติทุกกฏ

อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ

๑. ภิกษุไม่จงใจ ๒. ภิกษุไม่มีสติ
๓. ภิกษุผู้ไม่รู้ ๔. ภิกษุผู้เป็นไข้
๕. ภิกษุผู้มีเหตุขัดข้อง ๖. ภิกษุวิกลจริต
๗. ภิกษุต้นบัญญัติ

สิกขาบทที่ ๑๐ จบ
สุรุสุรุวรรคที่ ๖ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๗๑๖ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๗.เสขิยกัณฑ์] ๗.ปาทุกาวรรค สิกขาบทที่ ๑
๗. ปาทุกาวรรค
หมวดว่าด้วยเขียงเท้า

สิกขาบทที่ ๑

เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๖๓๘] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์แสดงธรรม
แก่คนผู้สวมเขียงเท้า ฯลฯ

พระบัญญัติ
๑. พึงทำความสำเหนียกว่า เราจักไม่แสดงธรรมแก่คนที่ไม่เป็นไข้ผู้สวม
เขียงเท้า๑
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ

สิกขาบทวิภังค์
ภิกษุไม่พึงแสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ผู้สวมเขียงเท้า
ภิกษุใดไม่เอื้อเฟื้อ แสดงธรรมแก่คนที่ไม่เป็นไข้ ผู้เหยียบเขียงเท้า สวมเขียง
เท้าหรือสวมเขียงเท้าหุ้มส้น ต้องอาบัติทุกกฏ

อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ

๑. ภิกษุไม่จงใจ ๒. ภิกษุไม่มีสติ
๓. ภิกษุผู้ไม่รู้ ๔. ภิกษุผู้เป็นไข้
๕. ภิกษุผู้มีเหตุขัดข้อง ๖. ภิกษุวิกลจริต
๗. ภิกษุต้นบัญญัติ

สิกขาบทที่ ๑ จบ

เชิงอรรถ :
๑ เขียงเท้า คือรองเท้าไม้ สำหรับสวมในบ้าน, เกี๊ยะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๗๑๗ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๗.เสขิยกัณฑ์] ๗.ปาทุกาวรรค สิกขาบทที่ ๒
สิกขาบทที่ ๒

เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๖๓๙] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์แสดงธรรมแก่
คนสวมรองเท้า ฯลฯ

พระบัญญัติ
๒. พึงทำความสำเหนียกว่า เราจักไม่แสดงธรรมแก่คนที่ไม่เป็นไข้ผู้
สวมรองเท้า
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ

สิกขาบทวิภังค์
ภิกษุไม่พึงแสดงธรรมแก่คนที่ไม่เป็นไข้ผู้สวมรองเท้า
ภิกษุใดไม่เอื้อเฟื้อ แสดงธรรมแก่คนที่ไม่เป็นไข้ ที่เหยียบบนรองเท้า สวมรอง
เท้า หรือสวมรองเท้าหุ้มส้น ต้องอาบัติทุกกฏ

อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ

๑. ภิกษุไม่จงใจ ๒. ภิกษุไม่มีสติ
๓. ภิกษุผู้ไม่รู้ ๔. ภิกษุผู้เป็นไข้
๕. ภิกษุผู้มีเหตุขัดข้อง ๖. ภิกษุวิกลจริต
๗. ภิกษุต้นบัญญัติ

สิกขาบทที่ ๒ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๗๑๘ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๗.เสขิยกัณฑ์] ๗.ปาทุกาวรรค สิกขาบทที่ ๓
สิกขาบทที่ ๓

เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๖๔๐] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์แสดงธรรม
แก่คนอยู่ในยาน ฯลฯ

พระบัญญัติ
๓. พึงทำความสำเหนียกว่า เราจักไม่แสดงธรรมแก่คนที่ไม่เป็นไข้ผู้อยู่
ในยาน๑
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ

สิกขาบทวิภังค์
ที่ชื่อว่า ยาน ได้แก่ คานหาม รถ เกวียน เตียงหาม วอ เปลหาม
ภิกษุไม่พึงแสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ผู้อยู่ในยาน
ภิกษุใดไม่เอื้อเฟื้อ แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ผู้อยู่ในยาน ต้องอาบัติทุกกฏ

อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ

๑. ภิกษุไม่จงใจ ๒. ภิกษุไม่มีสติ
๓. ภิกษุผู้ไม่รู้ ๔. ภิกษุผู้เป็นไข้
๕. ภิกษุผู้มีเหตุขัดข้อง ๖. ภิกษุวิกลจริต
๗. ภิกษุต้นบัญญัติ

สิกขาบทที่ ๓ จบ

เชิงอรรถ :
๑ ผู้อยู่ในยาน หมายเอาบุคคลผู้นั่งบนคานหาม บนวอ ถูกอุ้มไป ถูกแบกใส่บ่าไป นั่งบนยานที่ไม่ได้เทียมม้า
หรือแม้นั่งบนล้อที่แยกส่วนออกมา ถือว่านั่งอยู่ในยานทั้งสิ้น แต่ถ้าอยู่ในยานด้วยกันทั้งภิกษุผู้แสดงธรรม
และอุบาสกผู้รับธรรมเทศนา ภิกษุแสดงธรรมแก่คนที่ไปในยานด้วยกันได้ ถ้าภิกษุผู้แสดงธรรมนั่งอยู่ข้าง
หน้าในที่สูงกว่าหรือเสมอกันกับอุบาสกผู้ฟัง ไม่ต้องอาบัติ (วิ.อ. ๒/๖๔๐/๔๕๖)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๗๑๙ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๗.เสขิยกัณฑ์] ๗.ปาทุกาวรรค สิกขาบทที่ ๔
สิกขาบทที่ ๔

เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๖๔๑] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์แสดงธรรมแก่
คนผู้อยู่บนที่นอน ฯลฯ

พระบัญญัติ
๔. พึงทำความสำเหนียกว่า เราจักไม่แสดงธรรมแก่คนที่ไม่เป็นไข้ผู้อยู่
บนที่นอน
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ

สิกขาบทวิภังค์
ภิกษุไม่พึงแสดงธรรมแก่คนที่ไม่เป็นไข้ผู้อยู่บนที่นอน
ภิกษุใดไม่เอื้อเฟื้อ แสดงธรรมแก่คนที่ไม่เป็นไข้ผู้อยู่บนที่นอน โดยที่สุดผู้นอน
บนพื้นดิน ต้องอาบัติทุกกฏ

อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ

๑. ภิกษุไม่จงใจ ๒. ภิกษุไม่มีสติ
๓. ภิกษุผู้ไม่รู้ ๔. ภิกษุผู้เป็นไข้
๕. ภิกษุผู้มีเหตุขัดข้อง ๖. ภิกษุวิกลจริต
๗. ภิกษุต้นบัญญัติ

สิกขาบทที่ ๔ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๗๒๐ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๗.เสขิยกัณฑ์] ๗.ปาทุกาวรรค สิกขาบทที่ ๕
สิกขาบทที่ ๕

เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๖๔๒] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์แสดงธรรมแก่
คนที่นั่งรัดเข่า ฯลฯ

พระบัญญัติ
๕. พึงทำความสำเหนียกว่า เราจักไม่แสดงธรรมแก่คนที่ไม่เป็นไข้ผู้นั่ง
รัดเข่า
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ

สิกขาบทวิภังค์
ภิกษุไม่พึงแสดงธรรมแก่คนที่ไม่เป็นไข้ผู้นั่งรัดเข่า
ภิกษุใดไม่เอื้อเฟื้อ แสดงธรรมแก่คนที่ไม่เป็นไข้ผู้นั่งรัดเข่าด้วยมือ ต้องอาบัติ
ทุกกฏ

อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ

๑. ภิกษุไม่จงใจ ๒. ภิกษุไม่มีสติ
๓. ภิกษุผู้ไม่รู้ ๔. ภิกษุผู้เป็นไข้
๕. ภิกษุผู้มีเหตุขัดข้อง ๖. ภิกษุวิกลจริต
๗. ภิกษุต้นบัญญัติ

สิกขาบทที่ ๕ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๗๒๑ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๗.เสขิยกัณฑ์] ๗.ปาทุกาวรรค สิกขาบทที่ ๖
สิกขาบทที่ ๖

เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๖๔๓] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์แสดงธรรม
แก่คนผู้โพกศีรษะ ฯลฯ

พระบัญญัติ
๖. พึงทำความสำเหนียกว่า เราจักไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ผู้โพก
ศีรษะ
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ

สิกขาบทวิภังค์
ที่ชื่อว่า ผู้โพกศีรษะ คือ พันไม่ให้เห็นปลายผม
ภิกษุไม่พึงแสดงธรรมแก่คนที่ไม่เป็นไข้ผู้โพกศีรษะ
ภิกษุใดไม่เอื้อเฟื้อ แสดงธรรมแก่คนที่ไม่เป็นไข้ผู้โพกศีรษะ ต้องอาบัติทุกกฏ

อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
๑. ภิกษุไม่จงใจ ๒. ภิกษุไม่มีสติ
๓. ภิกษุผู้ไม่รู้ ๔. ภิกษุผู้เป็นไข้
๕. ภิกษุให้เขาเปิดปลายมวยผมแล้วจึงแสดง

๖. ภิกษุผู้มีเหตุขัดข้อง
๗. ภิกษุวิกลจริต ๘. ภิกษุต้นบัญญัติ

สิกขาบทที่ ๖ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๗๒๒ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๗.เสขิยกัณฑ์] ๗.ปาทุกาวรรค สิกขาบทที่ ๗
สิกขาบทที่ ๗

เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๖๔๔] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์แสดงธรรมแก่
คนผู้คลุมศีรษะ ฯลฯ

พระบัญญัติ
๗. พึงทำความสำเหนียกว่า เราจักไม่แสดงธรรมแก่คนที่ไม่เป็นไข้ผู้คลุม
ศีรษะ
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ

สิกขาบทวิภังค์
ที่ชื่อว่า คลุมศีรษะ คือ ท่านกล่าวถึงผู้ห่มผ้าคลุมตลอดศีรษะ
ภิกษุไม่พึงแสดงธรรมแก่คนที่ไม่เป็นไข้ผู้คลุมศีรษะ
ภิกษุใดไม่เอื้อเฟื้อ แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ผู้คลุมศีรษะ ต้องอาบัติทุกกฏ

อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ

๑. ภิกษุไม่จงใจ ๒. ภิกษุไม่มีสติ
๓. ภิกษุผู้ไม่รู้ ๔. ภิกษุผู้เป็นไข้
๕. ภิกษุให้เขาเปิดผ้าคลุมศีรษะแล้วจึงแสดง ๖. ภิกษุผู้มีเหตุขัดข้อง
๗. ภิกษุวิกลจริต ๘. ภิกษุต้นบัญญัติ

สิกขาบทที่ ๗ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๗๒๓ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๗.เสขิยกัณฑ์] ๗.ปาทุกาวรรค สิกขาบทที่ ๘
สิกขาบทที่ ๘

เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๖๔๕] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์นั่งบนพื้นดิน
แสดงธรรมแก่คนผู้นั่งบนอาสนะ ฯลฯ

พระบัญญัติ
๘. พึงทำความสำเหนียกว่า เรานั่งที่พื้นดินจักไม่แสดงธรรมแก่คนที่ไม่
เป็นไข้ผู้นั่งบนอาสนะ
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ

สิกขาบทวิภังค์
ภิกษุนั่งอยู่บนพื้นดินไม่พึงแสดงธรรมแก่คนที่ไม่เป็นไข้ผู้นั่งบนอาสนะ
ภิกษุใดไม่เอื้อเฟื้อ นั่งบนพื้นดินแสดงธรรมแก่คนที่ไม่เป็นไข้ผู้นั่งบนอาสนะ
ต้องอาบัติทุกกฏ

อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ

๑. ภิกษุไม่จงใจ ๒. ภิกษุไม่มีสติ
๓. ภิกษุผู้ไม่รู้ ๔. ภิกษุผู้เป็นไข้
๕. ภิกษุผู้มีเหตุขัดข้อง ๖. ภิกษุวิกลจริต
๗. ภิกษุต้นบัญญัติ

สิกขาบทที่ ๘ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๗๒๔ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๗.เสขิยกัณฑ์] ๗.ปาทุกาวรรค สิกขาบทที่ ๙
สิกขาบทที่ ๙

เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๖๔๖] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์นั่งบนอาสนะ
ต่ำ แสดงธรรมแก่คนผู้นั่งบนอาสนะสูง บรรดาภิกษุผู้มักน้อย ฯลฯ จึงพากันตำหนิ
ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพวกภิกษุฉัพพัคคีย์จึงนั่งบนอาสนะตํ่าแสดงธรรม
แก่คนผู้นั่งบนอาสนะสูงเล่า” ครั้นภิกษุเหล่านั้นตำหนิพวกภิกษุฉัพพัคคีย์โดย
ประการต่าง ๆ แล้วจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ

ทรงประชุมสงฆ์แสดงธรรมีกถา
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามพวกภิกษุฉัพพัคคีย์ว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า พวกเธอนั่งบนอาสนะตํ่า
แสดงธรรมแก่คนผู้นั่งบนอาสนะสูง จริงหรือ” พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ทูลรับว่า “จริง
พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ฯลฯ โมฆบุรุษทั้งหลาย
ไฉนพวกเธอจึงนั่งบนอาสนะตํ่าแสดงธรรมแก่คนผู้นั่งบนอาสนะสูงเล่า โมฆบุรุษ
ทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่
เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ” ครั้นทรงตำหนิแล้วทรงแสดงธรรมีกถา
รับสั่งกับภิกษุทั้งหลายว่า

เรื่องภรรยาของบุรุษจัณฑาล
[๖๔๗] “ภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว ภรรยาของบุรุษจัณฑาลคนหนึ่ง
ในกรุงพาราณสี มีครรภ์ ครั้นแล้วนางจึงได้กล่าวกับสามีว่า “นาย ดิฉันกำลังตั้ง
ครรภ์ อยากกินมะม่วง”
สามีตอบว่า ‘มะม่วงไม่มีเพราะไม่ใช่ฤดูมะม่วง’
นางกล่าวว่า ‘ถ้าไม่ได้ ดิฉันต้องตาย’


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๗๒๕ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๗.เสขิยกัณฑ์] ๗.ปาทุกาวรรค สิกขาบทที่ ๙
ครั้งนั้น มีต้นมะม่วงของหลวงให้ผลทุกฤดูอยู่ต้นหนึ่ง ภิกษุทั้งหลาย ครั้นแล้ว
บุรุษจัณฑาลจึงไปถึงที่ต้นมะม่วง ครั้นถึงแล้วได้ขึ้นไปแฝงกายอยู่บนต้น พอดี
พระราชาเสด็จไปถึงที่ต้นมะม่วงพร้อมกับพราหมณ์ปุโรหิต ครั้นถึงแล้วจึงประทับนั่ง
บนอาสนะแล้วทรงเรียนมนต์
ภิกษุทั้งหลาย ทีนั้น บุรุษจัณฑาลได้มีความคิดดังนี้ว่า ‘พระราชาองค์นี้ประทับ
นั่งบนอาสนะสูงเรียนมนต์ ชื่อว่ามิใช่พระราชาผู้ทรงธรรม พราหมณ์คนนี้ที่นั่งบน
อาสนะตํ่าสอนมนต์แก่ผู้นั่งบนอาสนะสูง ก็ชื่อว่ามิใช่ผู้ประพฤติธรรม และเราผู้ที่
ลักมะม่วงของหลวงเพราะภรรยาเป็นเหตุ ก็ชื่อว่ามิใช่ผู้ประพฤติธรรม แท้จริง การ
กระทำดังนี้ล้วนตํ่าทราม’ จึงไต่ลงมา ณ ที่นั้นกล่าวว่า
‘คนทั้ง ๒ คือ พราหมณ์ผู้สอนมนต์
และพระราชาผู้ทรงเรียนมนต์โดยไม่เคารพธรรม
ย่อมไม่รู้อรรถและไม่เห็นธรรม
พราหมณ์กล่าวว่า
‘เพราะเรากินข้าวสาลีผสมแกงเนื้อที่สะอาด ฉะนั้น
จึงไม่ประพฤติธรรมที่พระอริยเจ้าสรรเสริญ’
บุรุษจัณฑาลกล่าวว่า
‘เราตำหนิการได้ทรัพย์และการได้เกียรติยศเพราะ
พฤติกรรมเช่นนั้น
นั่นเป็นวิถีชีวิตอันเป็นเหตุให้ตกตํ่า
และเป็นการครองชีพโดยมิชอบ
การครองชีพอย่างนั้นไม่มีประโยชน์
ท่านมหาพราหมณ์ ท่านรีบไปเสียเถิด
แม้คนเหล่าอื่นก็ยังรู้จักหุงหากินได้
ความอาธรรม์ที่ท่านประพฤติอย่าได้ทำลายท่าน
เหมือนหม้อนํ้าแตก’๑
เรื่องภรรยาของบุรุษจันฑาล จบ

เชิงอรรถ :
๑ อรรถกถาอธิบายว่า “ถ้าท่านไม่หนีไปจากที่นี้ ยังจะประพฤติความไม่ชอบธรรมอยู่ ท่านผู้ประพฤติความ
ไม่ชอบธรรมนั่นแหละจะแตก เหมือนก้อนหิน(หล่น)ทับหม้อนํ้าแตก (วิ.อ. ๒/๖๔๗/๔๕๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๗๒๖ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๗.เสขิยกัณฑ์] ๗.ปาทุกาวรรค สิกขาบทที่ ๙
ทรงตำหนิแล้วบัญญัติสิกขาบท
ภิกษุทั้งหลาย แม้ในกาลนั้น พราหมณ์นั่งบนอาสนะตํ่า สอนมนต์พระราชา
ผู้ประทับนั่งบนอาสนะสูง ยังไม่เป็นที่พอใจของเรา ไฉนบัดนี้ การที่ภิกษุนั่งบนอาสนะ
ตํ่าแสดงธรรมแก่คนผู้นั่งบนอาสนะสูง จึงจักเป็นที่พอใจของเราเล่า” แล้วจึงรับสั่งให้
ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้

พระบัญญัติ
๙. พึงทำความสำเหนียกว่า เรานั่งบนอาสนะต่ำ จักไม่แสดงธรรมแก่คน
ที่ไม่เป็นไข้ผู้นั่งบนอาสนะสูง
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ

สิกขาบทวิภังค์
ภิกษุนั่งบนอาสนะต่ำ ไม่พึงแสดงธรรมแก่คนที่ไม่เป็นไข้ผู้นั่งบนอาสนะสูง
ภิกษุใดไม่เอื้อเฟื้อ นั่งบนอาสนะต่ำ แสดงธรรมแก่คนที่ไม่เป็นไข้ผู้นั่งบน
อาสนะสูง ต้องอาบัติทุกกฏ

อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ

๑. ภิกษุไม่จงใจ ๒. ภิกษุไม่มีสติ
๓. ภิกษุผู้ไม่รู้ ๔. ภิกษุผู้เป็นไข้
๕. ภิกษุผู้มีเหตุขัดข้อง ๖. ภิกษุวิกลจริต
๗. ภิกษุต้นบัญญัติ

สิกขาบทที่ ๙ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๗๒๗ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๗.เสขิยกัณฑ์] ๗.ปาทุกาวรรค สิกขาบทที่ ๑๐
สิกขาบทที่ ๑๐

เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๖๔๘] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ยืนแสดงธรรม
แก่คนผู้นั่งอยู่ ฯลฯ

พระบัญญัติ
๑๐. พึงทำความสำเหนียกว่า เรายืนอยู่จักไม่แสดงธรรมแก่คนที่ไม่เป็น
ไข้ผู้นั่งอยู่
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ

สิกขาบทวิภังค์
ภิกษุยืนอยู่ ไม่พึงแสดงธรรมแก่คนที่ไม่เป็นไข้ผู้นั่งอยู่
ภิกษุใดไม่เอื้อเฟื้อ ยืนอยู่แสดงธรรมแก่คนที่ไม่เป็นไข้ผู้นั่งอยู่ ต้องอาบัติทุกกฏ

อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ

๑. ภิกษุไม่จงใจ ๒. ภิกษุไม่มีสติ
๓. ภิกษุผู้ไม่รู้ ๔. ภิกษุผู้เป็นไข้
๕. ภิกษุผู้มีเหตุขัดข้อง ๖. ภิกษุวิกลจริต
๗. ภิกษุต้นบัญญัติ

สิกขาบทที่ ๑๐ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๗๒๘ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๗.เสขิยกัณฑ์] ๗.ปาทุกาวรรค สิกขาบทที่ ๑๑
สิกขาบทที่ ๑๑

เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๖๔๙] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์เดินอยู่
ข้างหลัง แสดงธรรมแก่คนผู้เดินไปข้างหน้า ฯลฯ

พระบัญญัติ
๑๑. พึงทำความสำเหนียกว่า เราเดินอยู่ข้างหลัง จักไม่แสดงธรรมแก่คน
ที่ไม่เป็นไข้ผู้เดินไปข้างหน้า
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ

สิกขาบทวิภังค์
ภิกษุเดินอยู่ข้างหลัง ไม่พึงแสดงธรรมแก่คนที่ไม่เป็นไข้ผู้เดินไปข้างหน้า
ภิกษุใดไม่เอื้อเฟื้อ เดินอยู่ข้างหลัง แสดงธรรมแก่คนที่ไม่เป็นไข้ผู้เดินไปข้าง
หน้า ต้องอาบัติทุกกฏ

อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ

๑. ภิกษุไม่จงใจ ๒. ภิกษุไม่มีสติ
๓. ภิกษุผู้ไม่รู้ ๔. ภิกษุผู้เป็นไข้
๕. ภิกษุผู้มีเหตุขัดข้อง ๖. ภิกษุวิกลจริต
๗. ภิกษุต้นบัญญัติ

สิกขาบทที่ ๑๑ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๗๒๙ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๗.เสขิยกัณฑ์] ๗.ปาทุกาวรรค สิกขาบทที่ ๑๒
สิกขาบทที่ ๑๒

เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๖๕๐] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์เดินอยู่นอกทาง
แสดงธรรมแก่คนผู้เดินไปในทาง ฯลฯ

พระบัญญัติ
๑๒. พึงทำความสำเหนียกว่า เราเดินไปนอกทางจักไม่แสดงธรรมแก่คน
ที่ไม่เป็นไข้ผู้เดินในทาง
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ

สิกขาบทวิภังค์
ภิกษุเดินไปนอกทาง ไม่พึงแสดงธรรมแก่คนที่ไม่เป็นไข้ผู้เดินไปในทาง
ภิกษุใดไม่เอื้อเฟื้อ เดินอยู่นอกทาง แสดงธรรมแก่คนที่ไม่เป็นไข้ผู้เดินไปในทาง
ต้องอาบัติทุกกฏ

อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ

๑. ภิกษุไม่จงใจ ๒. ภิกษุไม่มีสติ
๓. ภิกษุผู้ไม่รู้ ๔. ภิกษุผู้เป็นไข้
๕. ภิกษุผู้มีเหตุขัดข้อง ๖. ภิกษุวิกลจริต
๗. ภิกษุต้นบัญญัติ

สิกขาบทที่ ๑๒ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๗๓๐ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๗.เสขิยกัณฑ์] ๗.ปาทุกาวรรค สิกขาบทที่ ๑๓
สิกขาบทที่ ๑๓

เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๖๕๑] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ยืนถ่ายอุจจาระ
บ้าง ถ่ายปัสสาวะบ้าง ฯลฯ

พระบัญญัติ
๑๓. พึงทำความสำเหนียกว่า เราไม่เป็นไข้ จักไม่ยืนถ่ายอุจจาระหรือ
ปัสสาวะ
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ

สิกขาบทวิภังค์
ภิกษุไม่เป็นไข้ ไม่พึงยืนถ่ายอุจจาระหรือปัสสาวะ
ภิกษุใดไม่เอื้อเฟื้อ ไม่เป็นไข้ยืนถ่ายอุจจาระหรือปัสสาวะ ต้องอาบัติทุกกฏ

อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ

๑. ภิกษุไม่จงใจ ๒. ภิกษุไม่มีสติ
๓. ภิกษุผู้ไม่รู้ ๔. ภิกษุผู้เป็นไข้
๕. ภิกษุผู้มีเหตุขัดข้อง ๖. ภิกษุวิกลจริต
๗. ภิกษุต้นบัญญัติ

สิกขาบทที่ ๑๓ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๗๓๑ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๗.เสขิยกัณฑ์] ๗.ปาทุกาวรรค สิกขาบทที่ ๑๔
สิกขาบทที่ ๑๔

เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๖๕๒] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ถ่ายอุจจาระ
บ้าง ปัสสาวะบ้าง บ้วนน้ำลายบ้าง ลงบนของเขียว ฯลฯ

พระบัญญัติ
๑๔. พึงทำความสำเหนียกว่า เราไม่เป็นไข้จักไม่ถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ
หรือบ้วนนํ้าลาย ลงบนของเขียว
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ

สิกขาบทวิภังค์
ภิกษุไม่เป็นไข้ไม่พึงถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ หรือบ้วนน้ำลายลงบนของเขียว
ภิกษุใดไม่เอื้อเฟื้อ ไม่เป็นไข้ ถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ หรือบ้วนน้ำลายลงบน
ของเขียว ต้องอาบัติทุกกฏ

อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
๑. ภิกษุไม่จงใจ ๒. ภิกษุไม่มีสติ
๓. ภิกษุผู้ไม่รู้ ๔. ภิกษุผู้เป็นไข้
๕. ภิกษุถ่ายลงในที่ไม่มีของเขียวแต่ไหลไปรดของเขียว

๖. ภิกษุผู้มีเหตุขัดข้อง
๗. ภิกษุวิกลจริต ๘. ภิกษุต้นบัญญัติ

สิกขาบทที่ ๑๔ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๗๓๒ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๗.เสขิยกัณฑ์] ๗.ปาทุกาวรรค สิกขาบทที่ ๑๕
สิกขาบทที่ ๑๕

เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๖๕๓] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ถ่ายอุจจาระ
บ้าง ปัสสาวะบ้าง บ้วนนํ้าลายบ้าง ลงในนํ้า พวกชาวบ้านจึงพากันตำหนิ ประณาม
โพนทะนาว่า “ไฉนพระสมณะเชื้อสายศากยบุตรจึงถ่ายอุจจาระบ้าง ปัสสาวะบ้าง
บ้วนนํ้าลายบ้างลงในนํ้า เหมือนพวกคฤหัสถ์ผู้บริโภคกามเล่า”
พวกภิกษุได้ยินชาวบ้านตำหนิ ประณาม โพนทะนา บรรดาภิกษุผู้มักน้อย
สันโดษ จึงพากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพวกภิกษุฉัพพัคคีย์จึงถ่าย
อุจจาระบ้าง ถ่ายปัสสาวะบ้าง บ้วนนํ้าลายบ้าง ลงในนํ้าเล่า” ครั้นภิกษุทั้งหลาย
ตำหนิพวกภิกษุฉัพพัคคีย์โดยประการต่าง ๆ แล้วจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มี
พระภาคให้ทรงทราบ

ทรงสอบถามแล้วบัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามพวกภิกษุฉัพพัคคีย์ว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า พวกเธอถ่ายอุจจาระบ้าง
ปัสสาวะบ้าง บ้วนนํ้าลายบ้าง ลงในนํ้า จริงหรือ” พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ทูลรับว่า “จริง
พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ฯลฯ โมฆบุรุษทั้งหลาย การ
กระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้
เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้

พระบัญญัติ
๑๕. พึงทำความสำเหนียกว่า เราจักไม่ถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ หรือบ้วน
น้ำลาย ลงในน้ำ
สิกขาบทนี้พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติไว้แก่ภิกษุทั้งหลายอย่างนี้
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๗๓๓ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๗.เสขิยกัณฑ์] บทสรุป
เรื่องภิกษุผู้เป็นไข้
[๖๕๔] สมัยนั้น พวกภิกษุผู้เป็นไข้ยำเกรงอยู่ที่จะถ่ายอุจจาระบ้าง ปัสสาวะ
บ้าง บ้วนนํ้าลายบ้าง ลงในนํ้า จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ

ทรงอนุญาตภิกษุผู้เป็นไข้
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมีกถาเพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ แล้วรับ
สั่งกับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุผู้เป็นไข้ถ่ายอุจาระบ้าง
ปัสสาวะบ้าง บ้วนนํ้าลายบ้าง ลงในนํ้าได้” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขา
บทนี้ขึ้นแสดงดังนี้

พระอนุบัญญัติ
พึงทำความสำเหนียกว่า เราไม่เป็นไข้ จักไม่ถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ หรือ
บ้วนน้ำลายลงในน้ำ
เรื่องภิกษุผู้เป็นไข้ จบ

สิกขาบทวิภังค์
ภิกษุไม่เป็นไข้ ไม่พึงถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ หรือบ้วนน้ำลายลงในน้ำ
ภิกษุใดไม่เอื้อเฟื้อ ไม่เป็นไข้ ถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ หรือบ้วนน้ำลายลงในน้ำ
ต้องอาบัติทุกกฏ

อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ

๑. ภิกษุไม่จงใจ ๒. ภิกษุไม่มีสติ
๓. ภิกษุผู้ไม่รู้ ๔. ภิกษุผู้เป็นไข้
๕. ภิกษุถ่ายบนบก แต่ไหลลงน้ำ ๖. ภิกษุผู้มีเหตุขัดข้อง
๗. ภิกษุวิกลจริต ๘. ภิกษุจิตฟุ้งซ่าน
๙. ภิกษุถูกเวทนาบีบคั้น ๑๐. ภิกษุต้นบัญญัติ

สิกขาบทที่ ๑๕ จบ
ปาทุกาวรรคที่ ๗ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๗๓๔ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๗.เสขิยกัณฑ์] บทสรุป
บทสรุป
ท่านทั้งหลาย ธรรมคือเสขิยะทั้งหลาย ข้าพเจ้ายกขึ้นแสดงแล้ว
ข้าพเจ้าขอถามท่านทั้งหลาย ในธรรมคือเสขิยะเหล่านั้นว่า
“ท่านทั้งหลายบริสุทธิ์แล้วหรือ”
ข้าพเจ้าขอถามเป็นครั้งที่ ๒ “ท่านทั้งหลายบริสุทธิ์แล้วหรือ”
ข้าพเจ้าขอถามเป็นครั้งที่ ๓ “ท่านทั้งหลายบริสุทธิ์แล้วหรือ”
ท่านทั้งหลายบริสุทธิ์แล้วในธรรมคือเสขิยะเหล่านี้ เพราะฉะนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้า
ขอถือความนิ่งนั้นเป็นมติอย่างนี้

เสขิยะ จบ
เสขิยกัณฑ์ จบ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๗๓๕ }


๘. อธิกรณสมถะ
ท่านทั้งหลาย ธรรมคืออธิกรณสมถะ ๗ เหล่านี้มาถึงวาระที่จะยกขึ้นแสดงเป็น
ข้อ ๆ ตามลำดับ
(ธรรมเป็นเครื่องระงับอธิกรณ์ ๗ อย่าง คือ)
[๖๕๕] เพื่อระงับอธิกรณ์ที่เกิดขึ้นแล้ว ๆ (๑) พึงให้สัมมุขาวินัย๑ (๒) พึงให้
สติวินัย๒ (๓) พึงให้อมูฬหวินัย๓ (๔) พึงให้ปฏิญญาตกรณะ๔ (๕) พึงให้เยภุยยสิกา๕
(๖) พึงให้ตัสสปาปิยสิกา๖ (๗) พึงให้ติณวัตถารกะ๗

บทสรุป
ท่านทั้งหลาย ธรรมคืออธิกรณสมถะ ๗ อย่าง ข้าพเจ้ายกขึ้นแสดงแล้ว
ข้าพเจ้าขอถามท่านทั้งหลาย ในธรรมคืออธิกรณสมถะเหล่านั้นว่า
“ท่านทั้งหลายบริสุทธิ์แล้วหรือ”
ข้าพเจ้าขอถามเป็นครั้งที่ ๒ “ท่านทั้งหลายบริสุทธิ์แล้วหรือ”
ข้าพเจ้าขอถามเป็นครั้งที่ ๓ “ท่านทั้งหลายบริสุทธิ์แล้วหรือ”
ท่านทั้งหลายบริสุทธิ์แล้วในธรรมคืออธิกรณสมถะ ๗ เหล่านี้ เพราะเหตุนั้น
จึงนิ่ง ข้าพเจ้าขอถือความนิ่งนั้นเป็นมติอย่างนี้
อธิกรณสมถะ จบ

เชิงอรรถ :
๑ สัมมุขาวินัย คือวิธีตัดสินที่พึงทำในที่พร้อมหน้าสงฆ์ ธรรม และวัตถุ
๒ สติวินัย คือวิธีตัดสินที่ยกสติขึ้นเป็นหลัก
๓ อมูฬหวินัย คือวิธีตัดสินที่ให้แก่ภิกษุผู้หายเป็นบ้าแล้ว
๔ ปฏิญญาตกรณะ คือวิธีตัดสินโดยปรับโทษตามคำสารภาพ
๕ เยภุยยสิกา คือวิธีตัดสินโดยอาศัยเสียงข้างมาก
๖ ตัสสปาปิยสิกา คือวิธีตัดสินโดยปรับโทษแก่ผู้ทำความผิด
๗ ติณวัตถารกะ คือวิธีตัดสินโดยวิธียอมความ ตามศัพท์แปลว่า ระเบียบดังกลบไว้ด้วยหญ้า
(นัย วิ.จู. ๖/๑๘๕-๒๑๓/๒๑๘-๒๔๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๗๓๖ }


คำนิคม
คำนิคม
ท่านทั้งหลาย นิทาน ข้าพเจ้ายกขึ้นแสดงแล้ว
ธรรม คือ ปาราชิก ๔ สิกขาบท ข้าพเจ้ายกขึ้นแสดงแล้ว
ธรรม คือ สังฆาทิเสส ๑๓ สิกขาบท ข้าพเจ้ายกขึ้นแสดงแล้ว
ธรรม คือ อนิยต ๒ สิกขาบท ข้าพเจ้ายกขึ้นแสดงแล้ว
ธรรม คือ นิสสัคคิยปาจิตตีย์ ๓๐ สิกขาบท ข้าพเจ้ายกขึ้นแสดงแล้ว
ธรรม คือ ปาจิตตีย์ ๙๒ สิกขาบท ข้าพเจ้ายกขึ้นแสดงแล้ว
ธรรม คือ ปาฏิเทสนียะ ๔ สิกขาบท ข้าพเจ้ายกขึ้นแสดงแล้ว
ธรรม คือ เสขิยะทั้งหลาย ข้าพเจ้ายกขึ้นแสดงแล้ว
ธรรม คือ อธิกรณสมถะ ๗ ข้าพเจ้ายกขึ้นแสดงแล้ว
สิกขาบทของพระผู้มีพระภาคนั้นมีเท่านี้ มาในสูตร๑ นับเนื่องในสูตร มาสู่วาระ
ที่จะพึงยกขึ้นแสดงเป็นข้อ ๆ ตามลำดับทุกกึ่งเดือน
พวกเราทั้งหมดพึงพร้อมเพรียงกัน ร่วมใจกัน ไม่วิวาทกัน ศึกษาในพระสูตร
นั้นเทอญ

มหาวิภังค์ จบ


เชิงอรรถ :
๑ คำว่า “พระสูตร” หมายถึงพระปาติโมกข์นั่นเอง


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๗๓๗ }


พระไตรปิฎกเล่มที่ ๐๒ วินัยปิฎกที่ ๐๒ มหาวิภังค์ ภาค ๒ จบ





eXTReMe Tracker