ค้นว่าอยู่เล่มใด แล้วกด [ctrl]+f หรือใช้คำสั่งของเครื่องหาตำแหน่งในเล่มอีกทีนะครับ



จัดรูปหน้าใหม่
เพื่อความสะดวก และสวยงาม
(เฉพาะหน้าจอใหญ่ เช่น คอมพิวเตอร์)
กรุณาคลิก จัดรูปหน้าใหม่
เพื่อให้กรอบ
ค้นข้อความ ปรากฎที่ด้านซ้ายของหน้า

พระไตรปิฎกภาษาไทย
ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ๔๕ เล่ม (ปกสีฟ้า)
ทั้งออนไลน์และออฟไลน์
ที่มาของข้อมูล : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับ มจร.
MCUTRAI Version 1.0

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๐๒-๔ วินัยปิฎกที่ ๐๒ มหาวิภังค์ ภาค ๒

พระวินัยปิฎก
มหาวิภังค์ ภาค ๒
___________
ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๘.สหธรรมิกวรรค ๓.โมหนสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์
ตำหนิว่า “ฯลฯ โมฆบุรุษทั้งหลาย ไฉนพวกเธอ เมื่อภิกษุยกปาติโมกข์ขึ้นแสดงอยู่
จึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘พวกกระผมเพิ่งทราบเดี๋ยวนี้เองว่า ‘ทราบว่า ธรรมแม้นี้มาใน
พระสูตร อยู่ในพระสูตร มีการยกขึ้นแสดงทุกกึ่งเดือน’ เล่า โมฆบุรุษทั้งหลาย การ
กระทำอย่างนี้มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้
เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้

พระบัญญัติ
[๔๔๔] ก็ ภิกษุใด เมื่อภิกษุยกปาติโมกข์ขึ้นแสดงอยู่ทุกกึ่งเดือน กล่าว
อย่างนี้ว่า “กระผมเพิ่งทราบเดี๋ยวนี้เองว่า ‘ทราบว่า ธรรมแม้นี้มาในพระสูตร
อยู่ในพระสูตร มีการยกขึ้นแสดงทุกกึ่งเดือน” ถ้าภิกษุเหล่าอื่นจำภิกษุนั้นได้ว่า
“เมื่อภิกษุยกปาติโมกข์ขึ้นแสดงอยู่ ภิกษุนี้เคยนั่งอยู่ ๒-๓ ครั้งมาแล้ว
ไม่จำต้องกล่าวถึงมากครั้งยิ่งกว่า” ภิกษุนั้นย่อมไม่พ้นเพราะความไม่รู้ แต่
ภิกษุนั้นจะต้องอาบัติใดเพราะประพฤติไม่เหมาะสมนั้น พึงปรับอาบัตินั้นตาม
ธรรม และพึงยกโมหาโรปนกรรมขึ้นมาปรับเพิ่มให้ยิ่งขึ้นไปอีกว่า “ท่าน ไม่ใช่
ลาภของท่าน ท่านได้ไม่ดี ที่เมื่อภิกษุยกปาติโมกข์ขึ้นแสดงอยู่ ท่านไม่
ใส่ใจฟังให้สำเร็จประโยชน์ด้วยดี” ต้องอาบัติปาจิตตีย์ เพราะแสร้งทำผู้อื่นให้
หลงนั้น
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ

สิกขาบทวิภังค์
[๔๔๕] คำว่า ก็...ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ก็...ใด
คำว่า ภิกษุ มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุ เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระ
ภาคทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุ ในความหมายนี้
คำว่า ทุกกึ่งเดือน คือ ทุกวันอุโบสถ
คำว่า เมื่อภิกษุยกปาติโมกข์ขึ้นแสดงอยู่ คือ เมื่อภิกษุกำลังแสดงปาติโมกข์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๕๕๓ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๘.สหธรรมิกวรรค ๓.โมหนสิกขาบท บทภาชนีย์
คำว่า กล่าวอย่างนี้ ความว่า ภิกษุประพฤติไม่สมควรแล้ว ตั้งใจอยู่ว่า “ขอ
ภิกษุทั้งหลายจงทราบว่า ‘พวกเราต้องอาบัติเพราะความไม่รู้ เมื่อภิกษุยกปาติโมกข์
ขึ้นแสดงอยู่ ก็กล่าวอย่างนี้ว่า “กระผมเพิ่งทราบเดี๋ยวนี้เองว่า ‘ทราบว่า ธรรมแม้
นี้มาในพระสูตร อยู่ในพระสูตร มีการยกขึ้นแสดงทุกกึ่งเดือน” ต้องอาบัติทุกกฏ
ถ้าภิกษุเหล่าอื่นจำภิกษุผู้ประสงค์จะทำให้หลงนั้นได้ว่า “เมื่อภิกษุยกปาติโมกข์
ขึ้นแสดงอยู่ภิกษุนี้เคยนั่งอยู่ ๒-๓ ครั้งมาแล้ว ไม่จำต้องกล่าวถึงมากครั้งยิ่งกว่า”
ภิกษุนั้นย่อมไม่พ้นเพราะความไม่รู้ ภิกษุนั้นจะต้องอาบัติใดเพราะประพฤติไม่เหมาะ
สมนั้น พึงปรับอาบัตินั้นตามธรรม และพึงยกโมหาโรปนกรรมขึ้นมาปรับเพิ่มให้ยิ่ง
ขึ้นไปอีก
ภิกษุทั้งหลายพึงยกโมหาโรปนกรรมขึ้นปรับอย่างนี้ คือ ภิกษุผู้ฉลาดสามารถ
พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติทุติยกรรมวาจาว่า

กรรมวาจาลงโมหาโรปนกรรม
[๔๔๖] ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุชื่อนี้เมื่อภิกษุยกปาติโมกข์
ขึ้นแสดงอยู่ ไม่ใส่ใจฟังให้สำเร็จประโยชน์ด้วยดี ถ้าสงฆ์พร้อมกันแล้ว ก็พึงยก
โมหาโรปนกรรมขึ้นปรับภิกษุชื่อนี้ นี่เป็นญัตติ
ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุชื่อนี้เมื่อภิกษุยกปาติโมกข์ขึ้นแสดง
อยู่ไม่ใส่ใจฟังให้สำเร็จประโยชน์ด้วยดี สงฆ์ยกโมหาโรปนกรรมขึ้นปรับภิกษุชื่อนี้
ท่านรูปใดเห็นด้วยกับการยกโมหาโรปนกรรมขึ้นปรับภิกษุชื่อนี้ ท่านรูปนั้นพึงนิ่ง
ท่านรูปใดไม่เห็นด้วย ท่านรูปนั้นพึงทักท้วง
โมหาโรปนกรรมอันสงฆ์ยกขึ้นปรับภิกษุชื่อนี้แล้ว สงฆ์เห็นด้วย เพราะฉะนั้น
จึงนิ่ง ข้าพเจ้าขอถือเอาความนิ่งนั้นเป็นมติอย่างนี้

บทภาชนีย์
เมื่อสงฆ์ยังไม่ยกโมหาโรปนกรรมขึ้นปรับ ภิกษุทำผู้อื่นให้หลง ต้องอาบัติทุกกฏ
เมื่อสงฆ์ยกโมหาโรปนกรรมขึ้นปรับแล้ว ภิกษุทำผู้อื่นให้หลง ต้องอาบัติปาจิตตีย์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๕๕๔ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๘.สหธรรมิกวรรค ๓.โมหนสิกขาบท อนาปัตติวาร
ติกปาจิตตีย์
[๔๔๗] กรรมที่ทำถูกต้อง๑ ภิกษุสำคัญว่าเป็นกรรมที่ทำถูกต้อง ทำผู้อื่นให้
หลง ต้องอาบัติปาจิตตีย์
กรรมที่ทำถูกต้อง ภิกษุไม่แน่ใจ ทำผู้อื่นให้หลง ต้องอาบัติปาจิตตีย์
กรรมที่ทำถูกต้อง ภิกษุสำคัญว่าเป็นกรรมที่ทำไม่ถูกต้อง ทำผู้อื่นให้หลง
ต้องอาบัติปาจิตตีย์

ติกทุกกฏ
กรรมที่ทำไม่ถูกต้อง ภิกษุสำคัญว่าเป็นกรรมที่ทำถูกต้อง ต้องอาบัติทุกกฏ
กรรมที่ทำไม่ถูกต้อง ภิกษุไม่แน่ใจ ต้องอาบัติทุกกฏ
กรรมที่ทำไม่ถูกต้อง ภิกษุสำคัญว่าเป็นกรรมที่ทำไม่ถูกต้อง ต้องอาบัติทุกกฏ

อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[๔๔๘] ๑. ภิกษุยังไม่ได้ฟังพระปาติโมกข์โดยพิสดาร
๒. ภิกษุฟังพระปาติโมกข์โดยพิสดาร แต่ไม่ถึง ๒-๓ ครั้ง
๓. ภิกษุไม่ประสงค์จะทำผู้อื่นให้หลง
๔. ภิกษุวิกลจริต
๕. ภิกษุต้นบัญญัติ

โมหนสิกขาบทที่ ๓ จบ

เชิงอรรถ :
๑ หมายถึงโมหาโรปนกรรม (วิ.อ. ๒/๔๔๗/๔๒๙)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๕๕๕ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๘.สหธรรมิกวรรค ๔.ปหารสิกขาบท นิทานวัตถุ
๘. สหธรรมิกวรรค

๔. ปหารสิกขาบท
ว่าด้วยการทำร้ายเพื่อนภิกษุ

เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๔๔๙] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์โกรธ ไม่พอใจ
ทำร้ายพวกภิกษุสัตตรสวัคคีย์ พวกภิกษุสัตตรสวัคคีย์ร้องไห้ ภิกษุทั้งหลายถาม
อย่างนี้ว่า “ท่านทั้งหลาย พวกท่านร้องไห้ทำไม”
พวกภิกษุสัตตรสวัคคีย์ตอบว่า “ท่านทั้งหลาย พวกภิกษุฉัพพัคคีย์โกรธ ไม่
พอใจ ทำร้ายพวกกระผม ขอรับ”
บรรดาภิกษุผู้มักน้อย ฯลฯ พากันตำหนิ ประฌาม โพนทะนาว่า “ไฉนพวก
ภิกษุฉัพพัคคีย์จึงโกรธ ไม่พอใจ ทำร้ายภิกษุทั้งหลายเล่า” ครั้นภิกษุทั้งหลาย
ตำหนิพวกภิกษุฉัพพัคคีย์โดยประการต่าง ๆ แล้วจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มี
พระภาคให้ทรงทราบ

ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามพวกภิกษุฉัพพัคคีย์ว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า พวกเธอโกรธ ไม่พอใจ
ทำร้ายภิกษุทั้งหลายจริงหรือ” พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ฯลฯ โมฆบุรุษทั้งหลาย ไฉนพวกเธอจึงโกรธ
ไม่พอใจ ทำร้ายภิกษุทั้งหลายเล่า โมฆบุรุษทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคน
ที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ”
แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๕๕๖ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๘.สหธรรมิกวรรค ๔.ปหารสิกขาบท บทภาชนีย์
พระบัญญัติ
[๔๕๐] ก็ ภิกษุใดโกรธ ไม่พอใจ ทำร้ายภิกษุ ต้องอาบัติปาจิตตีย์
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ

สิกขาบทวิภังค์
[๔๕๑] คำว่า ก็...ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ก็...ใด
คำว่า ภิกษุ มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุ เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระ
ภาคทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุ ในความหมายนี้
คำว่า ภิกษุ คือ ภิกษุอื่น
คำว่า โกรธ ไม่พอใจ คือ ไม่ชอบใจ แค้นใจ เจ็บใจ
คำว่า ทำร้าย ความว่า ภิกษุทำร้ายด้วยกาย ด้วยของเนื่องด้วยกาย หรือ
ด้วยของที่โยนไป โดยที่สุดแม้ด้วยกลีบอุบล ต้องอาบัติปาจิตตีย์

บทภาชนีย์
ติกปาจิตตีย์
[๔๕๒] อุปสัมบัน ภิกษุสำคัญว่าเป็นอุปสัมบัน โกรธ ไม่พอใจ ทำร้าย
ต้องอาบัติปาจิตตีย์
อุปสัมบัน ภิกษุไม่แน่ใจ โกรธ ไม่พอใจ ทำร้าย ต้องอาบัติปาจิตตีย์
อุปสัมบัน ภิกษุสำคัญว่าเป็นอนุปสัมบัน โกรธ ไม่พอใจ ทำร้าย ต้องอาบัติ
ปาจิตตีย์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๕๕๗ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๘.สหธรรมิกวรรค ๔.ปหารสิกขาบท อนาปัตติวาร
ทุกกฏ
ภิกษุ โกรธ ไม่พอใจ ทำร้ายอนุปสัมบัน ต้องอาบัติทุกกฏ
อนุปสัมบัน ภิกษุสำคัญว่าเป็นอุปสัมบัน ต้องอาบัติทุกกฏ
อนุปสัมบัน ภิกษุไม่แน่ใจ ต้องอาบัติทุกกฏ
อนุปสัมบัน ภิกษุสำคัญว่าเป็นอนุปสัมบัน ต้องอาบัติทุกกฏ

อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[๔๕๓] ๑. ภิกษุถูกใคร ๆ เบียดเบียน ประสงค์จะพ้น จึงทำร้าย
๒. ภิกษุวิกลจริต
๓. ภิกษุต้นบัญญัติ

ปหารสิกขาบทที่ ๔ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๕๕๘ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๘.สหธรรมิกวรรค ๕.ตลสัตติกสิกขาบท นิทานวัตถุ
๘. สหธรรมิกวรรค

๕. ตลสัตติกสิกขาบท
ว่าด้วยการเงื้อหอกคือฝ่ามือขึ้นทำทีว่าจะทำร้าย

เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๔๕๔] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์โกรธ ไม่
พอใจเงื้อหอกคือฝ่ามือ(จะทำร้าย)๑พวกภิกษุสัตตรสวัคคีย์ พวกภิกษุสัตตรสวัคคีย์
เหล่านั้นกลัวการทำร้ายจึงร้องไห้ ภิกษุทั้งหลายถามอย่างนี้ว่า “ท่านทั้งหลาย
พวกท่านร้องไห้ทำไม”
พวกภิกษุสัตตรสวัคคีย์ตอบว่า “ท่านทั้งหลาย พวกภิกษุฉัพพัคคีย์โกรธ
ไม่พอใจ เงื้อหอกคือฝ่ามือให้พวกกระผม ขอรับ”
บรรดาภิกษุผู้มักน้อย ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพวก
ภิกษุฉัพพัคคีย์จึงโกรธ ไม่พอใจ เงื้อหอกคือฝ่ามือให้ภิกษุทั้งหลายเล่า” ครั้นภิกษุ
ทั้งหลายตำหนิพวกภิกษุฉัพพัคคีย์โดยประการต่าง ๆ แล้วจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูล
พระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ

ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามพวกภิกษุฉัพพัคคีย์ว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า พวกเธอโกรธ ไม่พอใจ
เงื้อหอกคือฝ่ามือให้ภิกษุทั้งหลาย จริงหรือ” พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ทูลรับว่า “จริง
พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ฯลฯ โมฆบุรุษทั้งหลาย
ไฉนพวกเธอจึงโกรธ ไม่พอใจ เงื้อหอกคือฝ่ามือให้ภิกษุเล่า โมฆบุรุษทั้งหลาย การ

เชิงอรรถ :
๑ ปหารทานาการํ ทสฺเสตฺวา คือแสดงอาการจะทำร้าย (วิ.อ. ๒/๔๕๔/๔๓๐)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๕๕๙ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๘.สหธรรมิกวรรค ๕.ตลสัตติกสิกขาบท บทภาชนีย์
กระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้
เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้

พระบัญญัติ
[๔๕๕] ก็ ภิกษุใดโกรธ ไม่พอใจ เงื้อหอกคือฝ่ามือให้ภิกษุ ต้องอาบัติ
ปาจิตตีย์
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ

สิกขาบทวิภังค์
[๔๕๖] คำว่า ก็...ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ก็...ใด
คำว่า ภิกษุ มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุ เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระ
ภาคทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุ ในความหมายนี้
คำว่า ภิกษุ คือ ภิกษุอื่น
คำว่า โกรธ ไม่พอใจ คือ ไม่ชอบใจ แค้นใจ เจ็บใจ
คำว่า เงื้อหอกคือฝ่ามือ ความว่า ภิกษุเงื้อกาย ของเนื่องด้วยกาย หรือโดย
ที่สุดแม้ด้วยกลีบอุบล ต้องอาบัติปาจิตตีย์

บทภาชนีย์
ติกปาจิตตีย์
[๔๕๗] อุปสัมบัน ภิกษุสำคัญว่าอุปสัมบัน โกรธ ไม่พอใจ เงื้อหอกคือ
ฝ่ามือ ต้องอาบัติปาจิตตีย์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๕๖๐ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๘.สหธรรมิกวรรค ๕.ตลสัตติกสิกขาบท อนาปัตติวาร
อุปสัมบัน ภิกษุไม่แน่ใจ โกรธ ไม่พอใจ เงื้อหอกคือฝ่ามือ ต้องอาบัติ
ปาจิตตีย์
อุปสัมบัน ภิกษุสำคัญว่าเป็นอนุปสัมบัน โกรธ ไม่พอใจ เงื้อหอกคือฝ่ามือ
ต้องอาบัติปาจิตตีย์

ทุกกฏ
ภิกษุโกรธ ไม่พอใจ เงื้อหอกคือฝ่ามือให้อนุปสัมบัน ต้องอาบัติทุกกฏ
อนุปสัมบัน ภิกษุสำคัญว่าเป็นอุปสัมบัน ต้องอาบัติทุกกฏ
อนุปสัมบัน ภิกษุไม่แน่ใจ ต้องอาบัติทุกกฏ
อนุปสัมบัน ภิกษุสำคัญว่าเป็นอนุปสัมบัน ต้องอาบัติทุกกฏ

อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[๔๕๘] ๑. ภิกษุถูกใคร ๆ เบียดเบียน ประสงค์จะพ้นจึงเงื้อหอกคือฝ่ามือ
๒. ภิกษุวิกลจริต
๓. ภิกษุต้นบัญญัติ
ตลสัตติกสิกขาบทที่ ๕ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๕๖๑ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๘.สหธรรมิกวรรค ๖.อมูลกสิกขาบท นิทานวัตถุ
๘. สหธรรมิกวรรค

๖. อมูลกสิกขาบท
ว่าด้วยการใส่ความด้วยอาบัติสังฆาทิเสสที่ไม่มีมูล

เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๔๕๙] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ใส่ความภิกษุ
ด้วยอาบัติสังฆาทิเสสไม่มีมูล
บรรดาภิกษุผู้มักน้อย ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพวก
ภิกษุฉัพพัคคีย์จึงใส่ความภิกษุด้วยอาบัติสังฆาทิเสสไม่มีมูลเล่า” ครั้นภิกษุทั้งหลาย
ตำหนิพวกภิกษุฉัพพัคคีย์โดยประการต่าง ๆ แล้วจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มี
พระภาคให้ทรงทราบ

ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามพวกภิกษุฉัพพัคคีย์ว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า พวกเธอใส่ความภิกษุ
ด้วยอาบัติสังฆาทิเสสไม่มีมูล จริงหรือ” พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ทูลรับว่า “จริง พระ
พุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ฯลฯ โมฆบุรุษทั้งหลาย ไฉน
พวกเธอจึงใส่ความภิกษุด้วยอาบัติสังฆาทิเสสไม่มีมูลเล่า โมฆบุรุษทั้งหลาย การ
กระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้
เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้

พระบัญญัติ
[๔๖๐] ก็ ภิกษุใดใส่ความภิกษุด้วยอาบัติสังฆาทิเสสที่ไม่มีมูล ต้องอาบัติ
ปาจิตตีย์
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๕๖๒ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๘.สหธรรมิกวรรค ๖.อมูลกสิกขาบท บทภาชนีย์
สิกขาบทวิภังค์
[๔๖๑] คำว่า ก็...ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ก็...ใด
คำว่า ภิกษุ มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุ เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระ
ภาคทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุ ในความหมายนี้
คำว่า ภิกษุ คือ ภิกษุอื่น
ที่ชื่อว่า ไม่มีมูล คือ ไม่ได้เห็น ไม่ได้ยิน ไม่ได้นึกสงสัย
คำว่า อาบัติสังฆาทิเสส คือ ด้วยสังฆาทิเสส ๑๓ สิกขาบท ข้อใดข้อหนึ่ง
คำว่า ใส่ความ ได้แก่ ภิกษุโจทเอง หรือสั่งผู้อื่นให้โจท ต้องอาบัติปาจิตตีย์

บทภาชนีย์
ติกปาจิตตีย์
[๔๖๒] อุปสัมบัน ภิกษุสำคัญว่าเป็นอุปสัมบัน ใส่ความด้วยอาบัติสังฆาทิเสส
ที่ไม่มีมูล ต้องอาบัติปาจิตตีย์
อุปสัมบัน ภิกษุไม่แน่ใจ ใส่ความด้วยอาบัติสังฆาทิเสสที่ไม่มีมูล ต้องอาบัติ
ปาจิตตีย์
อุปสัมบัน ภิกษุสำคัญว่าเป็นอนุปสัมบัน ใส่ความด้วยอาบัติสังฆาทิเสสที่ไม่มี
มูล ต้องอาบัติปาจิตตีย์

ทุกกฏ
ภิกษุใส่ความด้วยอาจารวิบัติหรือทิฏฐิวิบัติ๑ ต้องอาบัติทุกกฏ
ภิกษุใส่ความอนุปสัมบัน ต้องอาบัติทุกกฏ

เชิงอรรถ :
๑ “อาจารวิบัติ” คือมีความประพฤติเสียหาย ต้องอาบัติเล็กน้อย คืออาบัติถุลลัจจัย ปาจิตตีย์ ปาฏิเทสนียะ
ทุกกฏ ทุพภาสิต “ทิฏ�ิวิบัติ” คือความเห็นที่คลาดเคลื่อนผิดธรรมผิดวินัย (วิ.อ. ๓/๘๔/๔๘-๔๙)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๕๖๓ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๘.สหธรรมิกวรรค ๖.อมูลกสิกขาบท อนาปัตติวาร
อนุปสัมบัน ภิกษุสำคัญว่าเป็นอุปสัมบัน ต้องอาบัติทุกกฏ
อนุปสัมบัน ภิกษุไม่แน่ใจ ต้องอาบัติทุกกฏ
อนุปสัมบัน ภิกษุสำคัญว่าเป็นอนุปสัมบัน ต้องอาบัติทุกกฏ

อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[๔๖๓] ๑. ภิกษุสำคัญว่าเป็นเรื่องจริง โจทเองหรือใช้ผู้อื่นให้โจท
๒. ภิกษุวิกลจริต
๓. ภิกษุต้นบัญญัติ

อมูลกสิกขาบทที่ ๖ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๕๖๔ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๘.สหธรรมิกวรรค ๗.สัญจิจจสิกขาบท นิทานวัตถุ
๘. สหธรรมิกวรรค

๗. สัญจิจจสิกขาบท
ว่าด้วยการจงใจก่อความรำคาญ

เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๔๖๔] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์จงใจก่อความ
รำคาญให้แก่พวกภิกษุสัตตรสวัคคีย์ด้วยกล่าวว่า “ท่านทั้งหลาย พระผู้มีพระภาค
ทรงบัญญัติสิกขาบทไว้ว่า ‘สงฆ์ไม่พึงอุปสมบทให้บุคคลอายุหย่อนกว่า ๒๐ ปี’
พวกท่านอายุหย่อนกว่า ๒๐ ปี อุปสมบทแล้ว พวกท่านคงจะยังเป็นอนุปสัมบันของ
พวกเรากระมัง” พวกภิกษุสัตตรสวัคคีย์เหล่านั้นพากันร้องไห้
ภิกษุทั้งหลายถามอย่างนี้ว่า “ท่านทั้งหลาย พวกท่านร้องไห้ทำไม”
พวกภิกษุสัตตรสวัคคีย์ตอบว่า “ท่านทั้งหลาย พวกภิกษุฉัพพัคคีย์เหล่านี้
จงใจก่อความรำคาญให้แก่พวกกระผม ขอรับ”
บรรดาภิกษุผู้มักน้อย ฯลฯ พากันตำหนิ ประฌาม โพนทะนาว่า “ไฉน
ภิกษุฉัพพัคคีย์จึงจงใจก่อความรำคาญให้แก่ภิกษุทั้งหลายเล่า” ครั้นภิกษุทั้งหลาย
ตำหนิพวกภิกษุฉัพพัคคีย์โดยประการต่าง ๆ แล้วจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มี
พระภาคให้ทรงทราบ

ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามพวกภิกษุฉัพพัคคีย์ว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า พวกเธอจงใจก่อความ
รำคาญให้แก่ภิกษุทั้งหลาย จริงหรือ” พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้า
ข้า” พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ฯลฯ โมฆบุรุษทั้งหลาย ไฉนพวกเธอจึง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๕๖๕ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๘.สหธรรมิกวรรค ๗.สัญจิจจสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์
จงใจก่อความรำคาญให้แก่ภิกษุทั้งหลายเล่า โมฆบุรุษทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้
มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้น
ได้เลย ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้

พระบัญญัติ
[๔๖๕] ก็ ภิกษุใดจงใจก่อความรำคาญให้แก่ภิกษุด้วยหวังว่า “เธอจักไม่
มีความผาสุกแม้ชั่วครู่ด้วยอุบายนี้” ประสงค์เพียงเท่านี้ ไม่มีอะไรอื่น ต้อง
อาบัติปาจิตตีย์
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ

สิกขาบทวิภังค์
[๔๖๖] คำว่า ก็...ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ก็...ใด
คำว่า ภิกษุ มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุ เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มี
พระภาคทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุ ในความหมายนี้
คำว่า ภิกษุ คือ ภิกษุอื่น
ที่ชื่อว่า จงใจ คือ รู้อยู่ รู้ดีอยู่ จงใจ ฝ่าฝืนล่วงละเมิด
คำว่า ก่อความรำคาญ ความว่า ภิกษุก่อความรำคาญกล่าวว่า “ท่านคง
จะอายุหย่อนกว่า ๒๐ ปี อุปสมบทแล้ว ท่านคงจะฉันอาหารในเวลาวิกาล ท่านคง
จะดื่มนํ้าเมา ท่านคงจะนั่งในที่ลับกับมาตุคาม” ต้องอาบัติปาจิตตีย์
คำว่า ประสงค์เพียงเท่านี้ ไม่มีอะไรอื่น คือ ไม่มีเหตุอื่นที่จะก่อความ
รำคาญให้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๕๖๖ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๘.สหธรรมิกวรรค ๗.สัญจิจจสิกขาบท อนาปัตติวาร
บทภาชนีย์
ติกปาจิตตีย์
[๔๖๗] อุปสัมบัน ภิกษุสำคัญว่าเป็นอุปสัมบัน จงใจก่อความรำคาญ ต้อง
อาบัติปาจิตตีย์
อุปสัมบัน ภิกษุไม่แน่ใจ จงใจก่อความรำคาญ ต้องอาบัติปาจิตตีย์
อุปสัมบัน ภิกษุสำคัญว่าเป็นอนุปสัมบัน จงใจก่อความรำคาญ ต้องอาบัติ
ปาจิตตีย์

ทุกกฏ
ภิกษุจงใจก่อความรำคาญให้แก่อนุปสัมบัน ต้องอาบัติทุกกฏ
อนุปสัมบัน ภิกษุสำคัญว่าเป็นอุปสัมบัน ต้องอาบัติทุกกฏ
อนุปสัมบัน ภิกษุไม่แน่ใจ ต้องอาบัติทุกกฏ
อนุปสัมบัน ภิกษุสำคัญว่าเป็นอนุปสัมบัน ต้องอาบัติทุกกฏ

อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[๔๖๘] ๑. ภิกษุไม่ประสงค์จะก่อความรำคาญ กล่าวว่า “ท่านคงจะอายุ
หย่อนกว่า ๒๐ ปี อุปสมบทแล้ว ท่านคงจะฉันอาหารเวลาวิกาล
ท่านคงจะดื่มน้ำเมา ท่านคงจะนั่งในที่ลับกับมาตุคาม ท่านจงรู้
เถิด อย่าได้มีความรำคาญภายหลังเลย”
๒. ภิกษุวิกลจริต
๓. ภิกษุต้นบัญญัติ
สัญจิจจสิกขาบทที่ ๗ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๕๖๗ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๘.สหธรรมิกวรรค ๘.อุปัสสุติสิกขาบท นิทานวัตถุ
๘. สหธรรมิกวรรค

๘. อุปัสสุติสิกขาบท
ว่าด้วยการแอบฟังภิกษุทะเลาะกัน

เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๔๖๙] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ทะเลาะกับ
ภิกษุผู้มีศีลดีงาม พวกภิกษุผู้มีศีลดีงามกล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านทั้งหลาย พวกภิกษุ
ฉัพพัคคีย์ไม่มีความละอาย พวกเราไม่อาจทะเลาะกับภิกษุพวกนี้”
พวกภิกษุฉัพพัคคีย์กล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านทั้งหลาย เหตุไรพวกท่านจึงกล่าวหา
พวกเราว่าไม่มีความละอาย”
ภิกษุผู้มีศีลดีงาม “ท่านทั้งหลาย พวกท่านได้ยินมาจากที่ไหน”
พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ตอบว่า “พวกเรายืนแอบฟังพวกท่าน”
บรรดาภิกษุผู้มักน้อย ฯลฯ พากันตำหนิ ประฌาม โพนทะนาว่า “ไฉนพวก
ภิกษุฉัพพัคคีย์จึงยืนแอบฟังพวกภิกษุผู้บาดหมาง ทะเลาะ วิวาทกันเล่า” ครั้น
ภิกษุทั้งหลายตำหนิพวกภิกษุฉัพพัคคีย์โดยประการต่าง ๆ แล้วจึงนำเรื่องนี้ไปกราบ
ทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ

ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามพวกภิกษุฉัพพัคคีย์ว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า พวกเธอยืนแอบฟังพวก
ภิกษุผู้บาดหมาง ทะเลาะ วิวาทกัน จริงหรือ” พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ทูลรับว่า “จริง พระ
พุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ฯลฯ โมฆบุรุษทั้งหลาย ไฉนพวก
เธอจึงยืนแอบฟังพวกภิกษุผู้บาดหมาง ทะเลาะ วิวาทกันเล่า โมฆบุรุษทั้งหลาย การ
กระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้
เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๕๖๘ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๘.สหธรรมิกวรรค ๘.อุปัสสุติสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์
พระบัญญัติ
[๔๗๐] ก็ ภิกษุใดยืนแอบฟังภิกษุผู้บาดหมาง ทะเลาะ วิวาทกัน ด้วย
ตั้งใจว่า “เราจะฟังคำที่ภิกษุพวกนี้กล่าว” ประสงค์เพียงเท่านี้ ไม่มีอะไรอื่น
ต้องอาบัติปาจิตตีย์
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ

สิกขาบทวิภังค์
[๔๗๑] คำว่า ก็...ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ก็...ใด
คำว่า ภิกษุ มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุ เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาค
ทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุ ในความหมายนี้
คำว่า ภิกษุ ได้แก่ ภิกษุพวกอื่น
คำว่า บาดหมาง ทะเลาะ วิวาทกัน คือ ผู้เกิดอธิกรณ์
คำว่า ยืนแอบฟัง คือ ภิกษุเดินไปด้วยตั้งใจว่า “เราจะฟังภิกษุเหล่านี้แล้ว
จักโจท ตักเตือน ว่ากล่าวตำหนิ ให้สำนึก หรือทำให้เก้อเขิน” ต้องอาบัติทุกกฏ
ยืนในที่ที่จะได้ยิน ต้องอาบัติปาจิตตีย์
ภิกษุเดินอยู่ข้างหลัง รีบเดินให้ทันด้วยตั้งใจว่า “จะฟัง” ต้องอาบัติทุกกฏ ยืน
อยู่ในที่ที่จะได้ยิน ต้องอาบัติปาจิตตีย์
ภิกษุเดินไปข้างหน้า กลับเดินให้ช้าลงด้วยตั้งใจว่า “จะฟัง” ต้องอาบัติทุกกฏ
ยืนอยู่ในที่ที่จะได้ยิน ต้องอาบัติปาจิตตีย์
เมื่อภิกษุอื่นปรึกษากันเดินผ่านมายังที่ที่ภิกษุยืน ที่ที่ภิกษุนั่ง หรือที่ที่ภิกษุ
นอน ต้องกระแอมให้รู้ตัว ถ้าไม่กระแอมหรือไม่ให้เขารู้ตัว ต้องอาบัติปาจิตตีย์
คำว่า ประสงค์เพียงเท่านี้ ไม่มีอะไรอื่น ความว่า ไม่มีเหตุผลอื่นที่จะยืน
แอบฟัง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๕๖๙ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๘.สหธรรมิกวรรค ๘.อุปัสสุติสิกขาบท อนาปัตติวาร
บทภาชนีย์
ติกปาจิตตีย์
[๔๗๒] อุปสัมบัน ภิกษุสำคัญว่าเป็นอุปสัมบัน ยืนแอบฟัง ต้องอาบัติ
ปาจิตตีย์
อุปสัมบัน ภิกษุไม่แน่ใจ ยืนแอบฟัง ต้องอาบัติปาจิตตีย์
อุปสัมบัน ภิกษุสำคัญว่าเป็นอนุปสัมบัน ยืนแอบฟัง ต้องอาบัติปาจิตตีย์

ทุกกฏ
ภิกษุยืนแอบฟังอนุปสัมบัน ต้องอาบัติทุกกฏ
อนุปสัมบัน ภิกษุสำคัญว่าเป็นอุปสัมบัน ต้องอาบัติทุกกฏ
อนุปสัมบัน ภิกษุไม่แน่ใจ ต้องอาบัติทุกกฏ
อนุปสัมบัน ภิกษุสำคัญว่าเป็นอนุปสัมบัน ต้องอาบัติทุกกฏ

อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[๔๗๓] ๑. ภิกษุเดินไปด้วยหมายใจว่า “จักฟังคำของภิกษุเหล่านี้แล้ว จัก
งด จักเว้น จักระงับ จักปลดเปลื้องตัว”
๒. ภิกษุวิกลจริต
๓. ภิกษุต้นบัญญัติ

อุปัสสุติสิกขาบทที่ ๘ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๕๗๐ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๘.สหธรรมิกวรรค ๙.กัมมปฏิพาหนสิกขาบท นิทานวัตถุ
๘. สหธรรมิกวรรค

๙. กัมมปฏิพาหนสิกขาบท
ว่าด้วยการคัดค้านกรรมที่ถูกต้อง

เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๔๗๔] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ประพฤติไม่
สมควร เมื่อสงฆ์กำลังทำกรรมแก่ภิกษุแต่ละรูป ได้พากันคัดค้าน ครั้งนั้น สงฆ์
ประชุมกันด้วยกรณียกิจบางอย่าง พวกภิกษุฉัพพัคคีย์มัวตัดเย็บจีวรอยู่ จึงได้มอบ
ฉันทะให้ภิกษุรูปหนึ่งไป ทีนั้น สงฆ์กล่าวว่า “ท่านทั้งหลาย ภิกษุนี้อยู่ในกลุ่ม
ภิกษุฉัพพัคคีย์มาเพียงรูปเดียว พวกเราจะทำกรรมแก่เธอ” แล้วได้ทำกรรมแก่
ภิกษุฉัพพัคคีย์รูปนั้น ต่อมา ภิกษุนั้นเข้าไปหาพวกภิกษุฉัพพัคคีย์ถึงที่อยู่ พวก
ภิกษุฉัพพัคคีย์ได้กล่าวกับภิกษุนั้นดังนี้ว่า “ท่าน สงฆ์ทำอะไร”
ภิกษุนั้นตอบว่า “สงฆ์ทำกรรมแก่กระผมขอรับ”
พวกภิกษุฉัพพัคคีย์กล่าวว่า “ท่าน พวกเราไม่ได้ให้ฉันทะเพื่อจะให้สงฆ์ทำ
กรรมแก่ท่าน ถ้าพวกเราทราบว่าสงฆ์จะทำกรรมแก่ท่าน ก็จะไม่ยอมให้ฉันทะไป”
บรรดาภิกษุผู้มักน้อย ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพวก
ภิกษุฉัพพัคคีย์เมื่อให้ฉันทะเพื่อกรรมที่ทำถูกต้องแล้วกลับติเตียนในภายหลังเล่า”
ครั้นภิกษุทั้งหลายตำหนิพวกภิกษุฉัพพัคคีย์โดยประการต่าง ๆ แล้วจึงนำเรื่องนี้ไป
กราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ

ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามพวกภิกษุฉัพพัคคีย์ว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า พวกเธอให้ฉันทะเพื่อ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๕๗๑ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๘.สหธรรมิกวรรค ๙.กัมมปฏิพาหนสิกขาบท บทภาชนีย์
กรรมที่ทำถูกต้องแล้วกลับติเตียนในภายหลัง จริงหรือ” พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ทูลรับ
ว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ฯลฯ โมฆบุรุษ
ทั้งหลาย ไฉนพวกเธอให้ฉันทะเพื่อกรรมที่ทำถูกต้องแล้วกลับติเตียนในภายหลังเล่า
โมฆบุรุษทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใสหรือทำ
คนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยก
สิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้

พระบัญญัติ
[๔๗๕] ก็ ภิกษุใดให้ฉันทะเพื่อกรรมที่ทำถูกต้องแล้ว กลับติเตียนใน
ภายหลัง ต้องอาบัติปาจิตตีย์
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ

สิกขาบทวิภังค์
[๔๗๖] คำว่า ก็...ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ก็...ใด
คำว่า ภิกษุ มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุ เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระ
ภาคทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุ ในความหมายนี้
ที่ชื่อว่า กรรมที่ทำถูกต้อง ได้แก่ อปโลกนกรรม ญัตติกรรม ญัตติทุติยกรรม
และญัตติจตุตถกรรม ที่สงฆ์ทำโดยธรรม โดยวินัย โดยสัตถุศาสน์ นี้ชื่อว่ากรรม
ที่ทำถูกต้อง
ภิกษุให้ฉันทะไปแล้วกลับติเตียน ต้องอาบัติปาจิตตีย์

บทภาชนีย์
[๔๗๗] กรรมที่ทำถูกต้อง ภิกษุสำคัญว่าเป็นกรรมที่ทำถูกต้อง ให้ฉันทะไป
แล้วกลับติเตียน ต้องอาบัติปาจิตตีย์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๕๗๒ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๘.สหธรรมิกวรรค ๙.กัมมปฏิพาหนสิกขาบท อนาปัตติวาร
กรรมที่ทำถูกต้อง ภิกษุไม่แน่ใจ ให้ฉันทะไปแล้วกลับติเตียน ต้องอาบัติทุกกฏ
กรรมที่ทำถูกต้อง ภิกษุสำคัญว่าเป็นกรรมที่ทำไม่ถูกต้อง ให้ฉันทะไปแล้ว
กลับติเตียน ไม่ต้องอาบัติ
กรรมที่ทำไม่ถูกต้อง ภิกษุสำคัญว่าเป็นกรรมที่ทำถูกต้อง ต้องอาบัติทุกกฏ
กรรมที่ทำไม่ถูกต้อง ภิกษุไม่แน่ใจ ต้องอาบัติทุกกฏ
กรรมที่ทำไม่ถูกต้อง ภิกษุสำคัญว่าเป็นกรรมที่ทำไม่ถูกต้อง ไม่ต้องอาบัติ

อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[๔๗๘] ๑. ภิกษุรู้อยู่ว่า “สงฆ์ทำกรรมไม่ชอบธรรม แยกกันทำ หรือทำแก่
ภิกษุผู้ไม่ควรแก่กรรม” จึงติเตียน
๒. ภิกษุวิกลจริต
๓. ภิกษุต้นบัญญัติ

กัมมปฏิพาหนสิกขาบทที่ ๙ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๕๗๓ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๘.สหธรรมิกวรรค ๑๐.ฉันทอทัตวาคมนสิกขาบท นิทานวัตถุ
๘. สหธรรมิกวรรค

๑๐. ฉันทอทัตวาคมนสิกขาบท
ว่าด้วยการไม่ให้ฉันทะแล้วไปเสีย

เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๔๗๙] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น สงฆ์ประชุมกันด้วยกรณียกิจบาง
อย่าง พวกภิกษุฉัพพัคคีย์มัวตัดเย็บจีวรอยู่ จึงได้มอบฉันทะให้ภิกษุรูปหนึ่งไป ต่อมา
สงฆ์ตั้งญัตติว่า “สงฆ์ประชุมกันเพื่อประโยชน์แก่กรรมใด พวกเราจักทำกรรมนั้น”
ลำดับนั้น ภิกษุรูปนั้นได้กล่าวว่า “ภิกษุเหล่านี้ทำกรรมแก่ภิกษุแต่ละรูป
อย่างนี้ พวกท่านจะทำกรรมแก่ใครกันเล่า” ไม่ให้ฉันทะแล้วลุกจากอาสนะจากไป
บรรดาภิกษุผู้มักน้อย ฯลฯ พากันตำหนิ ประฌาม โพนทะนาว่า “ไฉนภิกษุ
เมื่อยังมีเรื่องที่ต้องวินิจฉัยอยู่ในสงฆ์ จึงไม่ให้ฉันทะแล้วลุกจากอาสนะจากไปเล่า”
ครั้นภิกษุทั้งหลายตำหนิภิกษุนั้นโดยประการต่าง ๆ แล้วจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระ
ผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ

ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามภิกษุนั้นว่า “ภิกษุ ทราบว่า เธอเมื่อยังมีเรื่องที่ต้องวินิจฉัยอยู่ในสงฆ์
ไม่ให้ฉันทะแล้วลุกจากอาสนะจากไป จริงหรือ” ภิกษุนั้นทูลรับว่า “จริง พระ
พุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ฯลฯ โมฆบุรุษ ไฉนเธอ เมื่อ
ยังมีเรื่องที่ต้องวินิจฉัยอยู่ในสงฆ์ จึงไม่ให้ฉันทะแล้วลุกจากอาสนะจากไปเล่า
โมฆบุรุษ การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใส
อยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้น
แสดงดังนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๕๗๔ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๘.สหธรรมิกวรรค ๑๐.ฉันทอทัตวาคมนสิกขาบท บทภาชนีย์
พระบัญญัติ
[๔๘๐] ก็ ภิกษุใด เมื่อยังมีเรื่องที่ต้องวินิจฉัยในสงฆ์ ไม่ให้ฉันทะแล้ว
ลุกจากอาสนะจากไป ต้องอาบัติปาจิตตีย์
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ

สิกขาบทวิภังค์
[๔๘๑] คำว่า ก็...ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ก็...ใด
คำว่า ภิกษุ มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุ เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระ
ภาคทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุ ในความหมายนี้
ที่ชื่อว่า เรื่องที่ต้องวินิจฉัยในสงฆ์ ได้แก่ (๑) เรื่องที่โจทก์แจ้งไว้ แต่ยังไม่ได้
วินิจฉัย (๒) เรื่องที่ตั้งญัตติไว้แล้ว (๓) กรรมวาจายังสวดค้างอยู่
คำว่า ไม่ให้ฉันทะแล้วลุกจากอาสนะจากไป คือ ภิกษุไปด้วยตั้งใจว่า
“ทำอย่างไร กรรมนี้พึงเสียหาย จะพึงแยกพวกกัน พึงทำไม่ได้” ต้องอาบัติทุกกฏ
กำลังละหัตถบาสที่ชุมนุมสงฆ์ ต้องอาบัติทุกกฏ ละหัตถบาสไปแล้ว ต้องอาบัติ
ปาจิตตีย์

บทภาชนีย์
[๔๘๒] กรรมที่ทำถูกต้อง ภิกษุสำคัญว่าเป็นกรรมที่ทำถูกต้อง ไม่ให้ฉันทะ
ลุกจากอาสนะจากไป ต้องอาบัติปาจิตตีย์
กรรมที่ทำถูกต้อง ภิกษุไม่แน่ใจ ไม่ให้ฉันทะ ลุกจากอาสนะจากไป ต้องอาบัติ
ปาจิตตีย์


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๕๗๕ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๘.สหธรรมิกวรรค ๑๐.ฉันทอทัตวาคมนสิกขาบท อนาปัตติวาร
กรรมที่ทำถูกต้อง ภิกษุสำคัญว่าเป็นกรรมที่ทำไม่ถูกต้อง ไม่ให้ฉันทะ ลุก
จากอาสนะจากไป ไม่ต้องอาบัติ

ทุกกฎ
กรรมที่ทำไม่ถูกต้อง ภิกษุสำคัญว่าเป็นกรรมที่ทำถูกต้อง ต้องอาบัติทุกกฏ
กรรมที่ทำไม่ถูกต้อง ภิกษุไม่แน่ใจ ต้องอาบัติทุกกฏ
กรรมที่ทำไม่ถูกต้อง ภิกษุสำคัญว่าเป็นกรรมที่ทำไม่ถูกต้อง ไม่ต้องอาบัติ

อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[๔๘๓] ๑. ภิกษุจากไปด้วยคิดว่า “สงฆ์จักมีความบาดหมาง ทะเลาะ
ขัดแย้งหรือวิวาทกัน”
๒. ภิกษุจากไปด้วยคิดว่า “สงฆ์จักแตกแยก จักร้าวราน”
๓. ภิกษุจากไปด้วยคิดว่า “สงฆ์จักทำกรรมโดยไม่เป็นธรรม แยก
พวกกันทำ หรือทำแก่ภิกษุผู้ไม่ควรแก่กรรม”
๔. ภิกษุเป็นไข้จึงจากไป
๕. ภิกษุจากไปด้วยกิจที่จำเป็นของภิกษุผู้เป็นไข้
๖. ภิกษุปวดอุจจาระปวดปัสสาวะแล้วจากไป
๗. ภิกษุไม่ตั้งใจทำให้กรรมเสีย จากไปด้วยคิดว่าจะกลับมาอีก
๘. ภิกษุวิกลจริต
๙. ภิกษุต้นบัญญัติ

ฉันทอทัตวาคมนสิกขาบทที่ ๑๐ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๕๗๖ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๘.สหธรรมิกวรรค ๑๑.ทัพพสิกขาบท นิทานวัตถุ
๘. สหธรรมิกวรรค

๑๑. ทัพพสิกขาบท
ว่าด้วยการถวายจีวรแก่พระทัพพมัลลบุตร

เรื่องพระทัพพมัลลบุตร
[๔๘๔] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเวฬุวัน สถานที่
ให้เหยื่อกระแต เขตกรุงราชคฤห์ ครั้งนั้น ท่านพระทัพพมัลลบุตรจัดแจงเสนาสนะ
และแจกภัตตาหารแก่สงฆ์ ท่านมีจีวรเก่า คราวนั้น จีวรผืนหนึ่งได้เกิดขึ้นแก่สงฆ์
ครั้นแล้วสงฆ์ได้ถวายจีวรนั้นแก่ท่านพระทัพพมัลลบุตร
พวกภิกษุฉัพพัคคีย์พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “พวกภิกษุน้อมลาภ
สงฆ์ไปตามความคุ้นเคยกัน”
บรรดาภิกษุผู้มักน้อย ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพวก
ภิกษุฉัพพัคคีย์ร่วมกับสงฆ์ผู้พร้อมเพรียงกันให้จีวรไปแล้วกลับตำหนิในภายหลัง
เล่า” ครั้นภิกษุทั้งหลายตำหนิพวกภิกษุฉัพพัคคีย์โดยประการต่าง ๆ แล้วจึงนำเรื่อง
นี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ

ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามพวกภิกษุฉัพพัคคีย์ว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า พวกเธอร่วมกับสงฆ์
ผู้พร้อมเพรียงกันให้จีวรไปแล้ว กลับตำหนิในภายหลัง จริงหรือ” พวกภิกษุ
ฉัพพัคคีย์ทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า
“ฯลฯ โมฆบุรุษทั้งหลาย ไฉนพวกเธอร่วมกับสงฆ์ผู้พร้อมเพรียงกันให้จีวรไปแล้ว
กลับตำหนิในภายหลังเล่า โมฆบุรุษทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่
เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ” แล้ว
จึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๕๗๗ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๘.สหธรรมิกวรรค ๑๑.ทัพพสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์
พระบัญญัติ
[๔๘๕] ก็ ภิกษุใดร่วมกับสงฆ์ผู้พร้อมเพรียงกัน ให้จีวรไปแล้วกลับ
ติเตียนในภายหลังว่า “พวกภิกษุน้อมลาภที่เป็นของสงฆ์ไปตามความคุ้นเคย
กัน” ต้องอาบัติปาจิตตีย์
เรื่องพระทัพพมัลลบุตร จบ

สิกขาบทวิภังค์
[๔๘๖] คำว่า ก็...ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ก็...ใด
คำว่า ภิกษุ มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุ เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาค
ทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุ ในความหมายนี้
สงฆ์ที่ชื่อว่า พร้อมเพรียงกัน คือ มีสังวาสเสมอกัน อยู่ในสมานสังวาสสีมา
เดียวกัน
ที่ชื่อว่า จีวร ได้แก่ บรรดาจีวร ๖ ชนิด อย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งมีขนาดพอ
ที่จะวิกัปได้เป็นอย่างตํ่า
คำว่า ให้ คือ ให้เอง
ที่ชื่อว่า ตามความคุ้นเคยกัน คือ ตามความเป็นมิตร ตามความเป็นเพื่อน
ตามความใกล้ชิด ตามที่เป็นผู้ร่วมพระอุปัชฌาย์ ตามที่เป็นผู้ร่วมพระอาจารย์กันมา
ที่ชื่อว่า ที่เป็นของสงฆ์ คือ ที่เขาถวาย ที่เขาบริจาคแล้วแก่สงฆ์
ที่ชื่อว่า ลาภ ได้แก่ จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร
โดยที่สุดแม้ก้อนจุรณ ไม้สีฟัน หรือด้ายชายผ้า
คำว่า ภายหลังกลับติเตียน ความว่า ภิกษุเมื่อให้จีวรแก่อุปสัมบันที่สงฆ์
แต่งตั้งให้เป็นเจ้าหน้าที่จัดแจงเสนาสนะ แจกอาหาร แจกข้าวต้ม แจกผลไม้ แจก
ของเคี้ยว หรือแจกของเล็ก ๆ น้อย ๆ กลับติเตียน ต้องอาบัติปาจิตตีย์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๕๗๘ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๘.สหธรรมิกวรรค ๑๑.ทัพพสิกขาบท บทภาชนีย์
บทภาชนีย์
ติกปาจิตตีย์
[๔๘๗] กรรมที่ทำถูกต้อง ภิกษุสำคัญว่าเป็นกรรมที่ทำถูกต้อง ให้จีวรไปแล้ว
กลับติเตียน ต้องอาบัติปาจิตตีย์
กรรมที่ทำถูกต้อง ภิกษุไม่แน่ใจ ให้จีวรไปแล้วกลับติเตียน ต้องอาบัติ
ปาจิตตีย์
กรรมที่ทำถูกต้อง ภิกษุสำคัญว่าเป็นกรรมที่ทำไม่ถูกต้อง ให้จีวรไปแล้วกลับ
ติเตียน ไม่ต้องอาบัติ

ทุกกฏ
ภิกษุให้บริขารอย่างอื่นไปแล้วกลับติเตียน ต้องอาบัติทุกกฏ
ภิกษุให้จีวรหรือบริขารอย่างอื่นแก่อุปสัมบันที่สงฆ์ไม่ได้แต่งตั้งให้เป็นเจ้าหน้าที่
จัดแจงเสนาสนะ แจกอาหาร แจกข้าวต้ม แจกผลไม้ แจกของเคี้ยว หรือแจกของ
เล็ก ๆ น้อย ๆ แล้วกลับติเตียน ต้องอาบัติทุกกฏ
ภิกษุให้จีวรหรือบริขารอย่างอื่นแก่อนุปสัมบันที่สงฆ์แต่งตั้งหรือไม่ได้แต่งตั้ง
ให้เป็นเจ้าหน้าที่จัดแจงเสนาสนะ แจกอาหาร แจกข้าวต้ม แจกผลไม้ แจกของเคี้ยว
หรือแจกของเล็ก ๆ น้อย ๆ แล้วกลับติเตียน ต้องอาบัติทุกกฏ
กรรมที่ทำไม่ถูกต้อง ภิกษุสำคัญว่าเป็นกรรมที่ทำถูกต้อง ต้องอาบัติทุกกฏ
กรรมที่ทำไม่ถูกต้อง ภิกษุไม่แน่ใจ ต้องอาบัติทุกกฏ
กรรมที่ทำไม่ถูกต้อง ภิกษุสำคัญว่าเป็นกรรมที่ทำไม่ถูกต้อง ไม่ต้องอาบัติ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๕๗๙ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๘.สหธรรมิกวรรค ๑๑.ทัพพสิกขาบท อนาปัตติวาร
อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[๔๘๘] ๑. ภิกษุติเตียนสงฆ์ที่มักทำไปด้วยความลำเอียงเพราะชอบ ลำเอียง
เพราะชัง ลำเอียงเพราะหลง ลำเอียงเพราะกลัวว่า “ลาภที่สงฆ์
ให้แก่ภิกษุนั้นไปจะมีประโยชน์อะไร ท่านได้ไปก็จะเอาไปทิ้ง ไม่
ใช้สอยในทางที่ชอบ”
๒. ภิกษุวิกลจริต
๓. ภิกษุต้นบัญญัติ

ทัพพสิกขาบทที่ ๑๑ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๕๘๐ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๘.สหธรรมิกวรรค ๑๒.ปริณามนสิกขาบท นิทานวัตถุ
๘. สหธรรมิกวรรค

๑๒. ปริณามนสิกขาบท
ว่าด้วยการน้อมลาภที่เป็นของสงฆ์ไปเพื่อบุคคล

เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๔๘๙] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น สมาคมหนึ่งในกรุงสาวัตถี
เตรียมภัตตาหารพร้อมจีวรไว้ถวายสงฆ์ด้วยตั้งใจว่า “พวกเราจักนิมนต์ภิกษุให้ฉัน
แล้วให้ครองจีวร”
ต่อมา พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ได้เข้าไปหาสมาคมนั้นถึงที่อยู่ ครั้นถึงแล้วได้
กล่าวกับสมาคมนั้นดังนี้ว่า “ท่านทั้งหลาย พวกท่านโปรดถวายจีวรแก่ภิกษุ
เหล่านี้”
สมาคมนั้นกล่าวว่า “ท่านผู้เจริญ พวกเราจะไม่ถวาย พวกเราจัดภิกษาหาร
พร้อมกับจีวรไว้ถวายสงฆ์เป็นประจำทุกปี”
พวกภิกษุฉัพพัคคีย์กล่าวว่า “ท่านทั้งหลาย ทายกของสงฆ์มีหลายคน
ภัตตาหารของสงฆ์ก็มีจำนวนมาก ภิกษุเหล่านี้อาศัยพวกท่าน เห็นแก่พวกท่าน
จึงอยู่ที่นี้ ถ้าพวกท่านไม่ถวายแก่ภิกษุเหล่านี้แล้ว คราวนี้ ใครเล่าจะถวายแก่ภิกษุ
เหล่านี้ พวกท่านโปรดถวายจีวรแก่ภิกษุเหล่านี้เถิด”
ลำดับนั้น เมื่อถูกพวกภิกษุฉัพพัคคีย์รบเร้า สมาคมนั้นจึงถวายจีวรตามที่จัด
ไว้แล้วแก่พวกภิกษุฉัพพัคคีย์แล้วประเคนสงฆ์เฉพาะภัตตาหาร
พวกภิกษุที่ทราบว่า “สมาคมจัดภัตตาหารพร้อมกับจีวรไว้ถวายสงฆ์” แต่
ไม่ทราบว่า “พวกเขาถวายพวกภิกษุฉัพพัคคีย์ไปแล้ว” จึงกล่าวอย่างนี้ว่า “ท่าน
ทั้งหลาย พวกท่านจงน้อมถวายจีวรแก่สงฆ์เถิด”


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๕๘๑ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๘.สหธรรมิกวรรค ๑๒.ปริณามนสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์
สมาคมนั้นกล่าวว่า “ท่านผู้เจริญ ไม่มีจีวรตามที่เคยจัดไว้ พระคุณเจ้า
ฉัพพัคคีย์น้อมไปเพื่อพระคุณเจ้าฉัพพัคคีย์ด้วยกันแล้ว”
บรรดาภิกษุผู้มักน้อย ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพวก
ภิกษุฉัพพัคคีย์รู้อยู่จึงน้อมลาภที่เขาน้อมไว้เป็นของจะถวายสงฆ์ไปเพื่อบุคคลเล่า”
ครั้นภิกษุทั้งหลายตำหนิพวกภิกษุฉัพพัคคีย์โดยประการต่าง ๆ แล้วจึงนำเรื่องนี้ไป
กราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ

ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามพวกภิกษุฉัพพัคคีย์ว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า พวกเธอรู้อยู่ น้อมลาภ
ที่เขาน้อมไว้เป็นของจะถวายสงฆ์ไปเพื่อบุคคล จริงหรือ” พวกภิกษุฉัพพัคคีย์
ทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ฯลฯ
โมฆบุรุษทั้งหลาย ไฉนพวกเธอรู้อยู่จึงน้อมลาภที่เขาน้อมไว้เป็นของจะถวายสงฆ์ไป
เพื่อบุคคลเล่า โมฆบุรุษทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้
เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่งให้
ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้

พระบัญญัติ
[๔๙๐] ก็ ภิกษุใดรู้อยู่ น้อมลาภที่เขาน้อมไว้เป็นของจะถวายสงฆ์ไปเพื่อ
บุคคล ต้องอาบัติปาจิตตีย์
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ

สิกขาบทวิภังค์
[๔๙๑] คำว่า ก็...ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ก็...ใด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๕๘๒ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๘.สหธรรมิกวรรค ๑๒.ปริณามนสิกขาบท บทภาชนีย์
คำว่า ภิกษุ มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุ เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระ
ภาคทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุ ในความหมายนี้
ที่ชื่อว่า รู้อยู่ คือ ภิกษุรู้เอง คนเหล่าอื่นบอกภิกษุนั้น หรือคนนั้นบอก
ที่ชื่อว่า เป็นของจะถวายสงฆ์ ได้แก่ เป็นของที่เขาถวายหรือบริจาคแล้วแก่
สงฆ์
ที่ชื่อว่า ลาภ ได้แก่ จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร
โดยที่สุดกระทั่งก้อนจุรณ ไม้สีฟัน หรือด้ายชายผ้า
ที่ชื่อว่า น้อมไว้ คือ เขาเปล่งวาจาว่า “เราจะถวาย จะกระทำ” ภิกษุน้อม
ลาภนั้นไปเพื่อบุคคล ต้องอาบัติปาจิตตีย์

บทภาชนีย์
[๔๙๒] ลาภที่เขาน้อมไว้แล้ว ภิกษุสำคัญว่าเขาน้อมไว้แล้ว น้อมไปเพื่อบุคคล
ต้องอาบัติปาจิตตีย์
ลาภที่เขาน้อมไว้แล้ว ภิกษุไม่แน่ใจ น้อมไปเพื่อบุคคล ต้องอาบัติทุกกฏ
ลาภที่เขาน้อมไว้แล้ว ภิกษุสำคัญว่าเขาไม่ได้น้อมไว้แล้ว น้อมไปเพื่อบุคคล
ไม่เป็นอาบัติ
ลาภที่เขาน้อมไว้เพื่อสงฆ์ ภิกษุน้อมไปเพื่อสงฆ์หมู่อื่นหรือเพื่อเจดีย์ ต้อง
อาบัติทุกกฏ
ลาภที่เขาน้อมไว้เพื่อเจดีย์ ภิกษุน้อมไปเพื่อเจดีย์อื่น เพื่อสงฆ์ หรือเพื่อ
บุคคล ต้องอาบัติทุกกฏ
ลาภที่เขาน้อมไว้เพื่อบุคคล ภิกษุน้อมไปเพื่อบุคคลอื่น เพื่อสงฆ์ หรือเพื่อเจดีย์
ต้องอาบัติทุกกฏ
ลาภที่เขายังไม่ได้น้อมไว้ ภิกษุสำคัญว่าเขาน้อมไว้ ต้องอาบัติทุกกฏ
ลาภที่เขายังไม่ได้น้อมไว้ ภิกษุไม่แน่ใจ ต้องอาบัติทุกกฏ
ลาภที่เขายังไม่ได้น้อมไว้ ภิกษุสำคัญว่าเขายังไม่ได้น้อมไว้ ไม่ต้องอาบัติ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๕๘๓ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๙.รตนวรรค รวมสิกขาบทที่มีในสหธรรมิกวรรค
อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[๔๙๓] ๑. ภิกษุถูกทายกถามว่า “จะถวายที่ไหน” จึงแนะนำว่า “ไทยธรรม
ของพวกท่านพึงได้รับการใช้สอย ได้รับการปฏิสังขรณ์ หรืออยู่
นานในที่ใด หรือท่านมีจิตเลื่อมใสในที่ใด จงถวายในที่นั้นเถิด”
๒. ภิกษุวิกลจริต
๓. ภิกษุต้นบัญญัติ
ปริณามนสิกขาบทที่ ๑๒ จบ
สหธรรมิกวรรคที่ ๘ จบ

รวมสิกขาบทที่มีในสหธรรมิกวรรค
สหธรรมิกวรรคมี ๑๒ สิกขาบท คือ

๑. สหธรรมิกสิกขาบท ว่าด้วยการกล่าวตักเตือนผู้ร่วมประพฤติ
ธรรมโดยชอบธรรม
๒. วิเลขนสิกขาบท ว่าด้วยความยุ่งยากแห่งสิกขาบท
๓. โมหนสิกขาบท ว่าด้วยการทำให้ผู้อื่นหลง
๔. ปหารสิกขาบท ว่าด้วยการทำร้ายเพื่อนภิกษุ
๕. ตลสัตติกสิกขาบท ว่าด้วยการเงื้อหอกคือฝ่ามือขึ้นทำทีว่าจะ
ทำร้าย
๖. อมูลกสิกขาบท ว่าด้วยการใส่ความด้วยอาบัติสังฆาทิเสส
ที่ไม่มีมูล
๗. สัญจิจจสิกขาบท ว่าด้วยการจงใจก่อความรำคาญ
๘. อุปัสสุติสิกขาบท ว่าด้วยการแอบฟังภิกษุทะเลาะกัน
๙. กัมมปฏิพาหนสิกขาบท ว่าด้วยการคัดค้านกรรมที่ถูกต้อง
๑๐. ฉันทอทัตวาคมนสิกขาบท ว่าด้วยการไม่ให้ฉันทะแล้วไปเสีย
๑๑. ทัพพสิกขาบท ว่าด้วยการถวายจีวรแก่พระทัพพมัลลบุตร
๑๒. ปริณามนสิกขาบท ว่าด้วยการน้อมลาภที่เป็นของสงฆ์ไปเพื่อ
บุคคล


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๕๘๔ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๙.รตนวรรค ๑.อันเตปุรสิกขาบท นิทานวัตถุ
๙. รตนวรรค
หมวดว่าด้วยรัตนะ

๑. อันเตปุรสิกขาบท
ว่าด้วยการเข้าเขตพระราชฐานชั้นใน

เรื่องพระเจ้าปเสนทิโกศล
[๔๙๔] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พระเจ้าปเสนทิโกศลรับสั่งกับ
เจ้าหน้าที่เฝ้าพระราชอุทยานว่า “พนาย ท่านจงไปทำความสะอาดอุทยาน เราจักไป
อุทยาน”
เจ้าหน้าที่เฝ้าพระราชอุทยานรับสนองพระราชโองการแล้วจึงไปทำความสะอาด
พระราชอุทยาน ได้เห็นพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับนั่งอยู่ ณ ควงไม้ต้นหนึ่ง
ครั้นเห็นแล้วจึงเข้าไปเฝ้าพระเจ้าปเสนทิโกศลถึงที่ประทับ ครั้นถึงแล้วได้กราบทูล
พระเจ้าปเสนทิโกศลดังนี้ว่า “ขอเดชะ พระราชอุทยานสะอาดแล้ว พระผู้มีพระภาค
พุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระราชอุทยานนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
ท้าวเธอรับสั่งว่า “ช่างเถิด พนาย พวกเราจะไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค” ครั้นแล้ว
พระเจ้าปเสนทิโกศลได้เสด็จไปพระราชอุทยานแล้วเสด็จเข้าไปทางที่พระผู้มีพระภาค
ประทับอยู่
ขณะนั้น อุบาสกคนหนึ่งนั่งเฝ้าอยู่ใกล้พระผู้มีพระภาค พระเจ้าปเสนทิโกศลได้
ทอดพระเนตรเห็นอุบาสกผู้นั่งเฝ้าอยู่ใกล้พระผู้มีพระภาค ครั้นทอดพระเนตรเห็น
แล้วได้ประทับยืนตกพระทัย ทีนั้น พระเจ้าปเสนทิโกศลได้ทรงมีพระดำริดังนี้ว่า
“ชายคนนี้คงไม่ใช่คนเลว เขาถึงได้เข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคอยู่ใกล้ ๆ ได้” จึงเสด็จเข้าไปเฝ้า
พระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ครั้นถึงแล้วได้ถวายอภิวาทพรระผู้มีพระภาคแล้วประทับ
นั่ง ณ ที่สมควร


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๕๘๕ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๙.รตนวรรค ๑.อันเตปุรสิกขาบท นิทานวัตถุ
ขณะนั้นอุบาสกนั้นไม่ถวายบังคม ไม่ลุกรับเสด็จพระเจ้าปเสนทิโกศล เพราะ
มีความเคารพต่อพระผู้มีพระภาค
ลำดับนั้น พระเจ้าปเสนทิโกศลไม่ทรงพอพระทัยว่า “ไฉนชายคนนี้ เมื่อเรามา
ถึงจึงไม่ถวายบังคม ไม่ต้อนรับเล่า”
พระผู้มีพระภาคทรงทราบว่าพระเจ้าปเสนทิโกศลไม่ทรงพอพระทัย จึงได้ตรัส
กับพระเจ้าปเสนทิโกศลดังนี้ว่า “มหาบพิตร อุบาสกคนนี้เป็นพหูสูต จำสิ่งที่ได้
เล่าเรียนมาได้ ปราศจากความกำหนัดในกามทั้งหลาย”
ขณะนั้น พระเจ้าปเสนทิโกศลได้ทรงพระดำริดังนี้ว่า “อุบาสกนี้ไม่ใช่คน
ตํ่าต้อย แม้พระผู้มีพระภาคยังตรัสพรรณนาคุณของอุบาสกนี้” จึงได้รับสั่งกับ
อุบาสกนั้นดังนี้ว่า “อุบาสก ท่านพูดสิ่งที่จะก่อให้เกิดประโยชน์เถิด”
อุบาสกกราบทูลว่า “เป็นพระมหากรุณาธิคุณอย่างล้นเกล้าฯ พระพุทธเจ้าข้า”
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงชี้แจงให้พระเจ้าปเสนทิโกศลเห็นชัด ชวนให้อยาก
รับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริงด้วย
ธรรมีกถา ลำดับนั้น พระเจ้าปเสนทิโกศลผู้ซึ่งพระผู้มีพระภาคทรงชี้แจงให้เห็นชัด
ชวนให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่น
ร่าเริงด้วยธรรมีกถาแล้ว จึงเสด็จลุกจากอาสนะ ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาค ทำ
ประทักษิณแล้วเสด็จไป
[๔๙๕] ครั้งนั้น พระเจ้าปเสนทิโกศลประทับอยู่บนปราสาทชั้นบน ได้ทอด
พระเนตรเห็นอุบาสกนั้นเดินกั้นร่มไปตามถนน ครั้นเห็นแล้วจึงรับสั่งให้เชิญมาเฝ้า
แล้วได้ตรัสกับอุบาสกนั้นดังนี้ว่า “อุบาสก ทราบว่า เธอเป็นพหูสูต จำสิ่งที่ได้
เล่าเรียนมาได้ อุบาสก เธอช่วยสอนธรรมในตำหนักของเราด้วยเถิด”
อุบาสกกราบทูลว่า “ขอเดชะ ข้าพระพุทธเจ้ารู้ธรรมจากพระคุณเจ้าทั้งหลาย
พระคุณเจ้าทั้งหลายเท่านั้นจักสอนธรรมพระสนมของพระองค์ได้”
ลำดับนั้น พระเจ้าปเสนทิโกศลจึงรับสั่งว่า “อุบาสกกล่าวจริง” จึงเข้าไปเฝ้า
พระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ครั้นถึงแล้วได้ถวายอภิวาทแล้วประทับนั่ง ณ ที่สมควร


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๕๘๖ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๙.รตนวรรค ๑.อันเตปุรสิกขาบท นิทานวัตถุ
พระเจ้าปเสนทิโกศลผู้ประทับนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ขอประทานวโรกาสเถิด พระพุทธเจ้าข้า ขอพระองค์ทรงพระกรุณาโปรดให้ภิกษุรูป
หนึ่งไปสอนธรรมในตำหนักนางสนมของหม่อมฉัน”
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคทรงชี้แจงให้พระเจ้าปเสนทิโกศลเห็นชัด ชวนให้
อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริง
ด้วยธรรมีกถา ลำดับนั้น พระเจ้าปเสนทิโกศลผู้ซึ่งพระผู้มีพระภาคทรงชี้แจงให้เห็น
ชัด ชวนให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สด
ชื่นร่าเริงด้วยธรรมีกถาแล้ว จึงเสด็จลุกจากอาสนะ ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาค ทำ
ประทักษิณแล้วเสด็จไป

ทรงแต่งตั้งพระอานนท์เป็นครูสอนธรรม
ต่อมา พระผู้มีพระภาครับสั่งกับท่านพระอานนท์ว่า “อานนท์ เธอจงไปสอน
ธรรมในตำหนักพระสนมของพระราชา”
ท่านพระอานนท์ทูลรับสนองพระพุทธดำรัส ได้เข้าไปสอนธรรม ณ ตำหนัก
พระสนมตามกาลอันควร ครั้งนั้น ในเวลาเช้า ท่านพระอานนท์ครองอันตรวาสก
ถือบาตรและจีวรเข้าไปถึงพระราชนิเวศน์
[๔๙๖] ครั้งนั้น พระเจ้าปเสนทิโกศลประทับอยู่ในห้องบรรทมกับพระนาง
มัลลิกาเทวี พระนางมัลลิกาเทวีได้ทอดพระเนตรเห็นท่านพระอานนท์มาแต่ไกล
ครั้นทอดพระเนตรเห็นแล้วจึงรีบลุกขึ้น พระภูษาทรงเกลี้ยงสีเหลืองจึงเลื่อนหลุด
ทีนั้น ท่านพระอานนท์จึงกลับแต่ไกล ไปถึงอารามแล้วจึงแจ้งเรื่องนี้ให้ภิกษุทั้งหลาย
ทราบ
บรรดาภิกษุผู้มักน้อย ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนท่าน
พระอานนท์ไม่ได้รับแจ้งล่วงหน้าจึงเข้าไปพระราชฐานชั้นในเล่า” ครั้นภิกษุทั้งหลาย
ตำหนิท่านพระอานนท์โดยประการต่าง ๆ แล้วจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาค
ให้ทรงทราบ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๕๘๗ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๙.รตนวรรค ๑.อันเตปุรสิกขาบท นิทานวัตถุ
ทรงสอบถาม
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามท่านพระอานนท์ว่า “อานนท์ ทราบว่า เธอไม่ได้รับแจ้งล่วงหน้า เข้าไป
พระราชฐานชั้นใน จริงหรือ” ท่านพระอานนท์ทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ฯลฯ อานนท์ ไฉนเธอยังไม่ได้รับแจ้งล่วงหน้า
จึงเข้าไปพระราชฐานชั้นในเล่า อานนท์ การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่
เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ” ครั้น
ทรงตำหนิแล้วจึงแสดงธรรมีกถาแล้วรับสั่งกับภิกษุทั้งหลายว่า

การเข้าเขตพระราชฐานชั้นในมีโทษ ๑๐ อย่าง
[๔๙๗] “ภิกษุทั้งหลาย ในการเข้าไปยังพระราชฐานชั้นใน มีโทษ ๑๐ อย่าง
นี้ คือ
(๑) ภิกษุทั้งหลาย พระราชาประทับอยู่กับพระมเหสีในพระราชฐานชั้นในนี้
ภิกษุเข้าไปในพระราชฐานชั้นในนั้น พระมเหสีเห็นภิกษุแล้วทรงยิ้มให้ หรือภิกษุเห็น
พระมเหสีแล้วยิ้มให้ ในข้อนั้นพระราชาจะทรงพระดำริอย่างนี้ว่า “คนทั้ง ๒ นี้ได้ทำ
อะไรกันแล้ว หรือจักทำอะไรกันแน่นอน” ภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นโทษข้อที่ ๑ ในการ
เข้าไปยังพระราชฐานชั้นใน
(๒) ภิกษุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก พระราชาทรงมีพระราชกิจมาก มีพระ
กรณียกิจมาก เสด็จไปหาพระสนมคนหนึ่งแล้วทรงลืม พระสนมนั้นตั้งครรภ์เพราะ
การที่พระราชาเสด็จไปหานั้น ในข้อนั้นพระราชาจะทรงพระดำริอย่างนี้ว่า “ในที่นี้
นอกจากบรรพชิต ไม่มีใครอื่นเข้ามาได้ คงจะเป็นการกระทำของบรรพชิต” ภิกษุ
ทั้งหลาย นี้เป็นโทษข้อที่ ๒ ในการเข้าไปยังพระราชฐานชั้นใน
(๓) ภิกษุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก ของมีค่าอย่างใดอย่างหนึ่ง ในพระราชฐาน
ชั้นในสูญหายไป ในข้อนั้นพระราชาจะทรงพระดำริอย่างนี้ว่า “ในที่นี้ นอกจาก
บรรพชิต ไม่มีใครอื่นเข้ามาได้ คงจะเป็นการกระทำของบรรพชิต” ภิกษุทั้งหลาย นี้
เป็นโทษข้อที่ ๓ ในการเข้าไปยังพระราชฐานชั้นใน


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๕๘๘ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๙.รตนวรรค ๑.อันเตปุรสิกขาบท นิทานวัตถุ
(๔) ภิกษุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก เมื่อความลับทางราชการที่ปรึกษาในพระ
ราชฐานชั้นในรั่วไหลออกไปภายนอก ในข้อนั้นพระราชาจะทรงพระดำริอย่างนี้ว่า
“ในที่นี้ นอกจากบรรพชิต ไม่มีใครอื่นเข้ามาได้ คงจะเป็นการกระทำของบรรพชิต”
ภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นโทษข้อที่ ๔ ในการเข้าไปยังพระราชฐานชั้นใน
(๕) ภิกษุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก ในพระราชฐานชั้นใน พระราชโอรส
ปรารถนา(ที่จะปลงพระชนม์)พระราชบิดา๑ หรือพระราชบิดาปรารถนา(ที่จะปลง
พระชนม์)พระราชโอรส ทั้ง ๒ พระองค์จะทรงพระดำริอย่างนี้ว่า “ในที่นี้ นอกจาก
บรรพชิต ไม่มีใครอื่นเข้ามาได้ คงจะเป็นการกระทำของบรรพชิต” ภิกษุทั้งหลาย นี้
เป็นโทษข้อที่ ๕ ในการเข้าไปยังพระราชฐานชั้นใน
(๖) ภิกษุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก พระราชาทรงเลื่อนข้าราชการตำแหน่งตํ่าขึ้น
ตำแหน่งสูง พวกที่ไม่พอใจเรื่องนี้จะมีความคิดอย่างนี้ว่า “พระราชาทรงคลุกคลีอยู่
กับบรรพชิต คงจะเป็นการกระทำของบรรพชิต” ภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นโทษข้อที่ ๖
ในการเข้าไปยังพระราชฐานชั้นใน
(๗) ภิกษุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก พระราชาทรงลดตำแหน่งข้าราชการที่อยู่ใน
ตำแหน่งสูงลงตำแหน่งตํ่า พวกที่ไม่พอใจเรื่องนี้จะมีความคิดอย่างนี้ว่า “พระราชา
ทรงคลุกคลีอยู่กับบรรพชิต คงจะเป็นการกระทำของบรรพชิต” ภิกษุทั้งหลาย นี้เป็น
โทษข้อที่ ๗ ในการเข้าไปยังพระราชฐานชั้นใน
(๘) ภิกษุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก พระราชารับสั่งให้ยกกองทัพไปในเวลาไม่ควร
พวกที่ไม่พอใจเรื่องนี้จะมีความคิดอย่างนี้ว่า “พระราชาทรงคลุกคลีอยู่กับบรรพชิต
คงจะเป็นการกระทำของบรรพชิต” ภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นโทษข้อที่ ๘ ในการเข้าไปยัง
พระราชฐานชั้นใน
(๙) ภิกษุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก พระราชารับสั่งให้ยกกองทัพไปในเวลาอัน
ควรแล้วรับสั่งให้ยกทัพกลับเสียในระหว่างทาง พวกที่ไม่พอใจเรื่องนี้จะมีความคิด

เชิงอรรถ :
๑ ปรารถนาพระราชบิดา อรรถกถาอธิบายว่า ปิตรํ ปตฺเถตีติ อนฺตรํ ปสฺสิตฺวา ฆาเตตุํ อิจฺฉติ แปลว่า
ต้องการหาช่องทางปลงพระชนม์พระราชบิดา (วิ.อ.๒/๔๙๗/๔๓๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๕๘๙ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๙.รตนวรรค ๑.อันเตปุรสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์
อย่างนี้ว่า “พระราชาทรงคลุกคลีอยู่กับบรรพชิต คงจะเป็นการกระทำของบรรพชิต”
ภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นโทษข้อที่ ๙ ในการเข้าไปยังพระราชฐานชั้นใน
(๑๐) ภิกษุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก พระราชฐานชั้นในเป็นสถานที่คับคั่งด้วย
ช้าง เป็นสถานที่คับคั่งด้วยม้า เป็นสถานที่คับคั่งด้วยรถ เป็นสถานที่มีรูป เสียง กลิ่น
รส โผฏฐัพพะที่เป็นเหตุแห่งความกำหนัด ไม่เหมาะแก่บรรพชิต ภิกษุทั้งหลาย
นี้เป็นโทษข้อที่ ๑๐ ในการเข้าไปยังพระราชฐานชั้นใน
ภิกษุทั้งหลาย ในการเข้าไปยังพระราชฐานชั้นใน มีโทษ ๑๐ อย่างนี้แล”

ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ครั้งนั้น ครั้นพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิท่านพระอานนท์โดยประการ
ต่าง ๆ แล้วตรัสโทษแห่งความเป็นผู้เลี้ยงยาก ความเป็นผู้บำรุงยาก ฯลฯ แล้วจึง
รับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้

พระบัญญัติ
[๔๙๘] ก็ ภิกษุใดไม่ได้รับแจ้งล่วงหน้า ก้าวล่วงธรณีประตูเข้าไปใน
ตำหนักที่บรรทมของพระราชาผู้เป็นกษัตริย์ที่ได้รับมูรธาภิเษกแล้ว ที่พระราชา
ยังไม่เสด็จออก ที่นางรัตนะยังไม่เสด็จออก ต้องอาบัติปาจิตตีย์
เรื่องพระเจ้าปเสนทิโกศล จบ

สิกขาบทวิภังค์
[๔๙๙] คำว่า ก็...ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ก็...ใด
คำว่า ภิกษุ มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุ เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระ
ภาคทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุ ในความหมายนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๕๙๐ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๙.รตนวรรค ๑.อันเตปุรสิกขาบท บทภาชนีย์
ที่ชื่อว่า กษัตริย์ คือ ได้แก่ กษัตริย์ผู้ประสูติมาดีทั้งฝ่ายพระมารดาและพระ
บิดา ทรงถือกำเนิดบริสุทธิ์ตลอดเจ็ดชั่วบรรพบุรุษ ไม่มีใครตำหนิชาติกำเนิดได้
ที่ชื่อว่า ได้รับมูรธาภิเษกแล้ว คือ ผู้ได้รับอภิเษกโดยการอภิเษกเป็นกษัตริย์
คำว่า ที่พระราชายังไม่ได้เสด็จออก คือ พระราชายังไม่เสด็จออกจาก
ตำหนักที่บรรทม
คำว่า ที่นางรัตนะยังไม่เสด็จออก คือ พระมเหสียังไม่เสด็จออกจากตำหนัก
ที่บรรทม หรือทั้ง ๒ พระองค์ยังไม่เสด็จออก
คำว่า ไม่ได้รับแจ้งล่วงหน้า คือ ไม่ได้เรียกมาล่วงหน้า
ที่ชื่อว่า ธรณีประตู พระผู้มีพระภาคตรัสหมายถึงธรณีประตูตำหนักที่บรรทม
ที่ชื่อว่า ตำหนักที่บรรทม ได้แก่ ที่บรรทมของพระราชาซึ่งเจ้าพนักงานจัดไว้
ในที่ใดที่หนึ่ง โดยที่สุดแม้วงด้วยพระวิสูตร
คำว่า ก้าวล่วงธรณีประตูเข้าไป คือ ภิกษุยกเท้าแรกก้าวข้ามธรณีประตูเข้าไป
ต้องอาบัติทุกกฏ ยกเท้าที่ ๒ ก้าวข้ามธรณีประตูเข้าไป ต้องอาบัติปาจิตตีย์

บทภาชนีย์
ติกปาจิตตีย์
[๕๐๐] ยังไม่ได้รับแจ้ง ภิกษุสำคัญว่ายังไม่ได้รับแจ้ง ก้าวล่วงธรณีประตูเข้าไป
ต้องอาบัติปาจิตตีย์
ยังไม่ได้รับแจ้ง ภิกษุไม่แน่ใจ ก้าวล่วงธรณีประตูเข้าไป ต้องอาบัติปาจิตตีย์
ยังไม่ได้รับแจ้ง ภิกษุสำคัญว่าได้รับแจ้งแล้ว ก้าวล่วงธรณีประตูเข้าไป ต้อง
อาบัติปาจิตตีย์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๕๙๑ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๙.รตนวรรค ๑.อันเตปุรสิกขาบท อนาปัตติวาร
ทุกกฏ
ได้รับแจ้งแล้ว ภิกษุสำคัญว่ายังไม่ได้รับแจ้ง ต้องอาบัติทุกกฏ
ได้รับแจ้งแล้ว ภิกษุสำคัญว่ายังไม่ได้รับแจ้ง ต้องอาบัติทุกกฏ
ได้รับแจ้งแล้ว ภิกษุสำคัญว่าได้รับแจ้งแล้ว ไม่ต้องอาบัติ

อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[๕๐๑] ๑. ภิกษุผู้ได้รับแจ้งแล้ว
๒. ภิกษุเข้าไปในที่ที่ผู้อยู่ไม่ได้เป็นกษัตริย์
๓. ภิกษุเข้าไปในที่ที่ผู้อยู่ยังไม่ได้รับอภิเษกเป็นกษัตริย์
๔. ภิกษุเข้าไปในที่ที่พระราชาเสด็จออกจากตำหนักที่บรรทม
๕. ภิกษุเข้าไปในที่ที่พระมเหสีเสด็จออกจากตำหนักที่บรรทม
๖. ภิกษุเข้าไปในที่ที่ทั้ง ๒ พระองค์เสด็จออกจากตำหนักที่บรรทม
๗. ภิกษุเข้าไปในที่ที่ไม่ใช่ตำหนักที่บรรทม
๘. ภิกษุวิกลจริต
๙. ภิกษุต้นบัญญัติ

อันเตปุรสิกขาบทที่ ๑ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๕๙๒ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๙.รตนวรรค ๒.รตนสิกขาบท นิทานวัตถุ
๙. รตนวรรค

๒. รตนสิกขาบท
ว่าด้วยการเก็บรัตนะที่เจ้าของลืมไว้

เรื่องพระรูปหนึ่ง
[๕๐๒] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุรูปหนึ่งสรงนํ้าในแม่นํ้า
อจิรวดี พราหมณ์คนหนึ่งวางถุงทรัพย์ ๕๐๐ กหาปณะไว้บนบกแล้วลงอาบนํ้าใน
แม่นํ้าอจิรวดี แล้วลืมถุงทรัพย์ได้ไปแล้ว ทีนั้น ภิกษุนั้นได้เก็บไว้ด้วยคิดว่า “ถุงทรัพย์
ของพราหมณ์นี้อย่าสูญหายไป” ฝ่ายพราหมณ์พอนึกขึ้นได้ก็รีบวิ่งมาถึงแล้ว ได้
กล่าวกับภิกษุนั้นดังนี้ว่า “ท่านผู้เจริญ ท่านเห็นถุงทรัพย์ของกระผมบ้างไหม”
ภิกษุนั้นได้คืนให้พร้อมกล่าวว่า “เชิญท่านรับไปเถิด พราหมณ์”
ครั้งนั้น พราหมณ์นั้นได้เกิดความคิดดังนี้ว่า “ด้วยอุบายอย่างไร เราจึงไม่
ต้องให้ค่าไถ่แก่ภิกษุนี้” จึงยึดตัวแล้วกล่าวว่า “ท่าน ทรัพย์ของกระผมไม่ใช่ ๕๐๐
กหาปณะ แต่มี ๑,๐๐๐ กหาปณะต่างหาก” แล้วปล่อยตัวไป
ครั้นภิกษุนั้นไปถึงอารามแล้วจึงบอกเรื่องนี้ให้ภิกษุทั้งหลายทราบ
บรรดาภิกษุผู้มักน้อย ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนภิกษุ
จึงเก็บรัตนะไว้เล่า” ครั้นภิกษุทั้งหลายตำหนิภิกษุนั้นโดยประการต่าง ๆ แล้วจึงนำ
เรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ

ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามภิกษุนั้นว่า “ภิกษุ ทราบว่า เธอเก็บรัตนะไว้จริงหรือ” ภิกษุนั้นทูลรับว่า
“จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ฯลฯ โมฆบุรุษ ไฉน


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๕๙๓ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๙.รตนวรรค ๒.รตนสิกขาบท พระบัญญัติ
เธอจึงเก็บรัตนะไว้เล่า โมฆบุรุษ การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใส ให้เลื่อมใส
หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้ง
หลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้

พระบัญญัติ
ก็ภิกษุใด เก็บหรือใช้ให้เก็บรัตนะหรือของที่สมมติว่าเป็นรัตนะ ต้องอาบัติ
ปาจิตตีย์
สิกขาบทนี้พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติไว้แก่ภิกษุทั้งหลายอย่างนี้
เรื่องพระรูปหนึ่ง จบ

เรื่องนางวิสาขา
[๕๐๓] ครั้งนั้น ในกรุงสาวัตถี มีมหรสพ ประชาชนแต่งตัวไปเที่ยวอุทยาน
แม้นางวิสาขามิคารมาตาก็แต่งตัวออกจากบ้านจะไปเที่ยวชมอุทยาน แต่คิดว่า
“เราจะไปเที่ยวอุทยานทำไม ไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคดีกว่า” แล้วเปลื้องเครื่องประดับ
ออก เอาผ้าห่มห่อไว้มอบให้สาวใช้ด้วยกล่าวว่า “แม่สาวใช้ เธอถือห่อเครื่องประดับ
นี้ไว้” ครั้นแล้วนางวิสาขามิคารมาตาก็ได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ครั้น
ถึงแล้วได้ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาค แล้วนั่ง ณ ที่สมควร
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคทรงชี้แจงนางวิสาขามิคารมาตาผู้นั่ง ณ ที่สมควรให้
เห็นชัด ชวนให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้
สดชื่นร่าเริงด้วยธรรมีกถา ลำดับนั้น นางวิสาขามิคารมาตาผู้ซึ่งพระผู้มีพระภาคทรง
ชี้แจงให้เห็นชัด ชวนให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลม
ใจให้สดชื่นร่าเริงด้วยธรรมีกถาแล้ว จึงลุกจากอาสนะ ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาค
ทำประทักษิณแล้วจากไป ฝ่ายสาวใช้นั้นลืมห่อเครื่องประดับนั้นได้กลับไปแล้ว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๕๙๔ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๙.รตนวรรค ๒.รตนสิกขาบท พระอนุบัญญัติ
ภิกษุทั้งหลายพบเข้า จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระองค์รับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ถ้าเช่นนั้น เธอทั้งหลายจงยกไปเก็บรักษาไว้เถิด”

ทรงอนุญาตให้เก็บรัตนะได้
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมีกถาเพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ แล้ว
รับสั่งกับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้เก็บ หรือใช้ให้เก็บรัตนะ
หรือของที่สมมติว่าเป็นรัตนะในวัดที่อยู่แล้วรักษาไว้ด้วยตั้งใจว่า ‘เจ้าของจะรับคืนไป”
แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้

พระอนุบัญญัติ
อนึ่ง ภิกษุใดเก็บ หรือใช้ให้เก็บรัตนะหรือของที่สมมติว่าเป็นรัตนะ ต้อง
อาบัติปาจิตตีย์ เว้นไว้แต่ในอาราม
สิกขาบทนี้พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติไว้แก่ภิกษุทั้งหลายอย่างนี้
เรื่องนางวิสาขา จบ

เรื่องคนรับใช้ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี
[๕๐๔] สมัยนั้น อนาถบิณฑิกคหบดีมีบ้านพักคนงานอยู่ในแคว้นกาสี
คหบดีนั้นสั่งบุรุษคนรับใช้ไว้ว่า “ถ้าพระคุณเจ้าทั้งหลายมาถึง เธอพึงจัดเตรียม
ภัตตาหาร” ครั้นต่อมา ภิกษุหลายรูปเที่ยวจาริกไปในแคว้นกาสี ผ่านไปถึงบ้านพัก
คนงานของท่านอนาถบิณฑิกคหบดีนั้น บุรุษนั้นแลเห็นภิกษุทั้งหลายเดินมาแต่ไกล
ครั้นเห็นแล้วจึงเข้าไปหาภิกษุเหล่านั้นถึงที่อยู่ ครั้นถึงแล้วได้กราบอาราธนาดังนี้ว่า
“พระคุณเจ้าผู้เจริญทั้งหลาย พระคุณเจ้าทั้งหลายโปรดรับนิมนต์เพื่อฉันภัตตาหาร
ของคหบดีในวันพรุ่งนี้”
ภิกษุเหล่านั้นรับนิมนต์โดยดุษณีภาพ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๕๙๕ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๙.รตนวรรค ๒.รตนสิกขาบท พระอนุบัญญัติ
ครั้นล่วง ราตรีนั้นทั้งราตรี บุรุษนั้นสั่งให้จัดเตรียมของเคี้ยวของฉันอันประณีต
แล้วส่งคนไปบอกเวลา ถอดแหวนวางไว้ เอาภัตตาหารประเคนภิกษุเหล่านั้น พลาง
กล่าวว่า “นิมนต์พระคุณเจ้าทั้งหลายฉันแล้วค่อยกลับ กระผมจะไปทำงาน” ลืม
แหวนไว้ไปแล้ว
ภิกษุทั้งหลายพบเข้าจึงกล่าวว่า “ถ้าพวกเราไป แหวนนี้จะหาย” จึงอยู่ในที่
นั้นเอง
ครั้นบุรุษนั้นกลับมาจากทำงานเห็นภิกษุเหล่านั้น จึงได้กล่าวดังนี้ว่า “พระ
คุณเจ้าผู้เจริญทั้งหลาย เหตุไรพระคุณเจ้าทั้งหลายจึงยังอยู่ในที่นี้เล่า”
ครั้นแล้วภิกษุเหล่านั้นจึงเล่าเรื่องนั้นให้บุรุษนั้นทราบ ครั้นไปถึงกรุงสาวัตถี
แล้วจึงได้บอกเรื่องนี้ให้ภิกษุทั้งหลายทราบ ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูล
พระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ

พระพุทธานุญาตพิเศษ
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมีกถาเพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ แล้ว
รับสั่งกับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้เก็บหรือใช้ให้เก็บรัตนะหรือ
ของที่สมมติว่าเป็นรัตนะในอารามหรือในที่พักแล้วรักษาไว้ด้วยตั้งใจว่า ‘เจ้าของจะรับ
คืนไป” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้

พระอนุบัญญัติ
[๕๐๕] อนึ่ง ภิกษุใดเก็บหรือใช้ให้เก็บรัตนะหรือของที่สมมติว่าเป็นรัตนะ
ต้องอาบัติปาจิตตีย์ เว้นไว้แต่ในอารามหรือในที่พัก อนึ่ง ภิกษุพึงเก็บหรือใช้ให้
เก็บรัตนะหรือของที่สมมติว่าเป็นรัตนะในอารามหรือในที่พักแล้วรักษาไว้ด้วย
ตั้งใจว่า ‘เจ้าของจะรับคืนไป’ นี้เป็นการทำที่สมควรในเรื่องนั้น
เรื่องคนรับใช้ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๕๙๖ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๙.รตนวรรค ๒.รตนสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์
สิกขาบทวิภังค์
[๕๐๖] คำว่า อนึ่ง...ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
อนึ่ง...ใด
คำว่า ภิกษุ มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุ เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระ
ภาคทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุ ในความหมายนี้
ที่ชื่อว่า รัตนะ ได้แก่ แก้วมุกดา แก้วมณี ไพฑูรย์ สังข์ ศิลา ประพาฬ
เงิน ทอง ทับทิม แก้วตาแมว นี้ชื่อว่ารัตนะ
ที่ชื่อว่า ของที่สมมติว่าเป็นรัตนะ ได้แก่ เครื่องอุปโภคบริโภคของมนุษย์ นี้
ชื่อว่าของที่สมมติว่าเป็นรัตนะ
คำว่า เว้นไว้แต่ในอารามหรือในที่พัก คือ ยกเว้นแต่ในอารามหรือในที่พัก
ที่ชื่อว่า ในอาราม คือ สำหรับอารามที่มีรั้วล้อม กำหนดเอาภายในอาราม
สำหรับอารามที่ไม่มีรั้วล้อม กำหนดเอาอุปจาร
ที่ชื่อว่า ในที่พัก คือ สำหรับที่พักมีรั้วล้อม กำหนดเอาภายในที่พัก สำหรับ
ที่พักที่ไม่มีรั้วล้อม กำหนดเอาอุปจาร
คำว่า เก็บ คือ ภิกษุถือเอาเอง ต้องอาบัติปาจิตตีย์
คำว่า ใช้ให้เก็บ คือ ภิกษุใช้ให้ผู้อื่นถือเอา ต้องอาบัติปาจิตตีย์
คำว่า อนึ่ง ภิกษุพึงเก็บหรือใช้ให้เก็บรัตนะหรือของที่สมมติว่าเป็นรัตนะ
ในอารามหรือในที่พักแล้วรักษาไว้ ความว่า ภิกษุพึงกำหนดหมายรูปพรรณ
หรือตำหนิแล้วเก็บรักษาไว้ แล้วประกาศว่า “ผู้ใดของหาย ผู้นั้นจงมารับเอาไป”
ถ้าเขามาในที่นั้นพึงถามเขาว่า “สิ่งของของท่านเป็นเช่นไร” ถ้าเขาบอกรูปพรรณ
หรือตำหนิ ถูกต้อง พึงให้คืน ถ้าบอกไม่ถูกต้อง พึงบอกเขาว่า “ท่านจงค้นดูเถิด”
เมื่อจะจากไปจากอาวาสนั้น พึงมอบไว้แก่ภิกษุผู้เหมาะสมในอาวาสนั้นแล้ว
ค่อยจากไป ถ้าไม่มีภิกษุที่น่าเชื่อถือ พึงมอบไว้แก่คหบดีผู้เหมาะสมในที่นั้นแล้ว
ค่อยจากไป
คำว่า นี้เป็นการทำที่สมควรในเรื่องนั้น คือ นี้เป็นความถูกต้องในเรื่องนั้น

 


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๕๙๗ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๙.รตนวรรค ๒.รตนสิกขาบท อนาปัตติวาร
อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[๕๐๗] ๑. ภิกษุเก็บหรือใช้ให้เก็บรัตนะ หรือของที่สมมติว่าเป็นรัตนะใน
อารามหรือในที่พักแล้วเก็บรักษาไว้ด้วยตั้งใจว่า “เจ้าของจะรับ
คืนไป”
๒. ภิกษุถือวิสาสะเก็บของที่สมมติว่าเป็นรัตนะ
๓. ภิกษุถือเอาไปเป็นของยืม
๔. ภิกษุเข้าใจว่าเป็นของบังสุกุล
๕. ภิกษุวิกลจริต
๖. ภิกษุต้นบัญญัติ

รตนสิกขาบทที่ ๒ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๕๙๘ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๙.รตนวรรค ๓.วิกาลคามปเวสนสิกขาบท นิทานวัตถุ
๙. รตนวรรค

๓. วิกาลคามปเวสนสิกขาบท
ว่าด้วยการเข้าหมู่บ้านในเวลาวิกาล

เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๕๐๘] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
องอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์เข้าหมู่บ้านใน
เวลาวิกาล นั่งในที่ชุมนุม สนทนาดิรัจฉานกถาต่าง ๆ คือ (๑) ราชกถา เรื่องพระ
ราชา (๒) โจรกถา เรื่องโจร (๓) มหามัตตกถา เรื่องมหาอมาตย์ (๔) เสนากถา
เรื่องกองทัพ (๕) ภยกถา เรื่องภัย (๖) ยุทธกถา เรื่องการรบ (๗) อันนกถา
เรื่องข้าว (๘) ปานกถา เรื่องนํ้า (๙) วัตถกถา เรื่องผ้า (๑๐) สยนกถา เรื่องที่นอน
(๑๑) มาลากถา เรื่องพวงดอกไม้ (๑๒) คันธกถา เรื่องของหอม (๑๓) ญาติกถา
เรื่องญาติ (๑๔) ยานกถา เรื่องยาน (๑๕) คามกถา เรื่องบ้าน (๑๖) นิคมกถา
เรื่องนิคม (๑๗) นครกถา เรื่องเมือง (๑๘) ชนปทกถา เรื่องชนบท (๑๙) อิตถีกถา
เรื่องสตรี (๒๐) ปุริสกถา เรื่องบุรุษ (๒๑) สูรกถา เรื่องคนกล้าหาญ (๒๒) วิสิขากถา
เรื่องตรอก (๒๓) กุมภัฏฐานกถา เรื่องท่านํ้า (๒๔) ปุพพเปตกถา เรื่องคนที่
ล่วงลับไปแล้ว (๒๕) นานัตตกถา เรื่องเบ็ดเตล็ด (๒๖) โลกักขายิกะ เรื่องโลก
(๒๗) สมุททักขายิกะ เรื่องทะเล (๒๘) อิติภวาภวกถา เรื่องความเจริญและ
ความเสื่อม๑
คนทั้งหลายพากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพระสมณะเชื้อสาย
ศากยบุตรจึงเข้าหมู่บ้านในเวลาวิกาล นั่งในที่ชุมนุม สนทนาดิรัจฉานกถาต่าง ๆ
คือ (๑) ราชกถา เรื่องพระราชา (๒) โจรกถา เรื่องโจร (๓) มหามัตตกถา เรื่อง
มหาอมาตย์ (๔) เสนากถา เรื่องกองทัพ (๕) ภยกถา เรื่องภัย (๖) ยุทธกถา

เชิงอรรถ :
๑ วิ.ม. ๕/๒๕๐/๑๓-๑๔, ที.สี. ๙/๑๗/๘, ที.ปา. ๑๑/๕๐/๓๐, ม.ม. ๑๓/๒๒๓/๑๙๗, สํ.ม. ๑๙/๑๐๘๐/๓๖๕,
องฺ.ทสก. ๒๔/๖๙/๑๐๒, ขุ.ม. ๒๙/๑๕๗/๓๐๖

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๕๙๙ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๙.รตนวรรค ๓.วิกาลคามปเวสนสิกขาบท นิทานวัตถุ
เรื่องการรบ (๗) อันนกถา เรื่องข้าว (๘) ปานกถา เรื่องนํ้า (๙) วัตถกถา เรื่องผ้า
(๑๐) สยนกถา เรื่องที่นอน (๑๑) มาลากถา เรื่องพวงดอกไม้ (๑๒) คันธกถา
เรื่องของหอม (๑๓) ญาติกถา เรื่องญาติ (๑๔) ยานกถา เรื่องยาน (๑๕) คามกถา
เรื่องหมู่บ้าน (๑๖) นิคมกถา เรื่องนิคม (๑๗) นครกถา เรื่องเมือง (๑๘) ชนปทกถา
เรื่องชนบท (๑๙) อิตถีกถา เรื่องสตรี (๒๐) ปุริสกถา เรื่องบุรุษ (๒๑) สูรกถา
เรื่องคนกล้าหาญ (๒๒) วิสิขากถา เรื่องตรอก (๒๓) กุมภัฏฐานกถา เรื่องท่านํ้า
(๒๔) ปุพพเปตกถา เรื่องคนที่ล่วงลับไปแล้ว (๒๕) นานัตตกถา เรื่องเบ็ดเตล็ด
(๒๖) โลกักขายิก เรื่องการคาดเกี่ยวกับโลก (๒๗) สมุททักขายิก เรื่องการคาดเดา
เกี่ยวกับทะเล (๒๘) อิติภวาภวกถา เรื่องความเจริญและความเสื่อม เหมือนพวก
คฤหัสถ์ที่ยังบริโภคกามเล่า”
ภิกษุทั้งหลายได้ยินชาวบ้านตำหนิ ประณาม โพนทะนา บรรดาภิกษุผู้มักน้อย
ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพวกภิกษุฉัพพัคคีย์จึงเข้าหมู่บ้าน
เวลาวิกาล นั่งในที่ชุมนุม สนทนาดิรัจฉานกถาต่าง ๆ คือ เรื่องพระราชา ฯลฯ เรื่อง
ความเจริญและความเสื่อมเล่า” ครั้นภิกษุทั้งหลายตำหนิพวกภิกษุฉัพพัคคีย์โดย
ประการต่าง ๆ แล้วจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ

ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามพวกภิกษุฉัพพัคคีย์ว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า พวกเธอเข้าบ้านในเวลา
วิกาล นั่งในที่ชุมนุม สนทนาดิรัจฉานกถาต่าง ๆ คือ (๑) ราชกถา เรื่องพระราชา
ฯลฯ (๒๘) อิติภวาภวกถา เรื่องความเจริญและความเสื่อม จริงหรือ” พวกภิกษุ
ฉัพพัคคีย์ทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า
“ฯลฯ โมฆบุรุษทั้งหลาย ไฉนพวกเธอจึงเข้าหมู่บ้านในเวลาวิกาลแล้ว นั่งในที่ชุมนุม
สนทนาดิรัจฉานกถาต่าง ๆ คือ (๑) ราชกถา เรื่องพระราชา ฯลฯ (๒๘) อิติภวาภว
กถา เรื่องความเจริญและความเสื่อมเล่า โมฆบุรุษทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้ มิได้
ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย
ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๖๐๐ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๙.รตนวรรค ๓.วิกาลคามปเวสนสิกขาบท พระบัญญัติ
พระบัญญัติ
ก็ ภิกษุใดเข้าหมู่บ้านในเวลาวิกาล ต้องอาบัติปาจิตตีย์
สิกขาบทนี้พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติไว้แก่ภิกษุทั้งหลายอย่างนี้
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ

เรื่องภิกษุหลายรูป
[๕๐๙] สมัยนั้น ภิกษุหลายรูปเดินทางไปกรุงสาวัตถี แคว้นโกศล เข้าไปหมู่
บ้านตำบลหนึ่งในเวลาเย็น คนทั้งหลายเห็นภิกษุเหล่านั้นจึงได้อาราธนาดังนี้ว่า
“ท่านผู้เจริญ นิมนต์ท่านทั้งหลายเข้าไปเถิด” ครั้งนั้น ภิกษุเหล่านั้นมีความยำเกรงว่า
“พระผู้มีพระภาคทรงห้ามการเข้าหมู่บ้านในเวลาวิกาล” จึงไม่ยอมเข้าไป พวกโจร
ได้ปล้นภิกษุเหล่านั้น ครั้นภิกษุเหล่านั้นไปถึงกรุงสาวัตถี ได้แจ้งเรื่องนั้นให้ภิกษุ
ทั้งหลายทราบ ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ

ทรงอนุญาตให้เข้าหมู่บ้าน
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมีกถาเพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ แล้ว
รับสั่งกับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้บอกลาแล้วเข้าหมู่บ้านใน
เวลาวิกาลได้” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้
อนึ่ง ภิกษุใดไม่บอกลาแล้วเข้าหมู่บ้านในเวลาวิกาล ต้องอาบัติปาจิตตีย์
สิกขาบทนี้พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติไว้แก่ภิกษุทั้งหลายอย่างนี้
เรื่องภิกษุหลายรูป จบ

เรื่องภิกษุรูปหนึ่ง
[๕๑๐] สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งเดินทางไปกรุงสาวัตถี แคว้นโกศล เข้าไปหมู่
บ้านตำบลหนึ่งในเวลาเย็น คนทั้งหลายเห็นภิกษุนั้นจึงได้อาราธนาดังนี้ว่า “ท่าน


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๖๐๑ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๙.รตนวรรค ๓.วิกาลคามปเวสนสิกขาบท พระอนุบัญญัติ
ผู้เจริญ นิมนต์ท่านทั้งหลายเข้าไปเถิด” ครั้งนั้น ภิกษุนั้นมีความยำเกรงว่า “พระผู้มี
พระภาคทรงห้ามการเข้าหมู่บ้านในเวลาวิกาลโดยมิได้บอกลา” จึงไม่ยอมเข้าไป
พวกโจรได้ปล้นภิกษุนั้น ครั้นภิกษุนั้นไปถึงกรุงสาวัตถี ได้แจ้งเรื่องนั้นให้ภิกษุทั้งหลาย
ทราบ ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ

พระพุทธานุญาตพิเศษ
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมีกถาเพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ แล้วรับ
สั่งกับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้บอกลาภิกษุที่มีอยู่แล้วเข้า
หมู่บ้านในเวลาวิกาลได้” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้

พระอนุบัญญัติ
อนึ่ง ภิกษุใดไม่บอกลาภิกษุที่มีอยู่แล้วเข้าหมู่บ้านในเวลาวิกาล ต้อง
อาบัติปาจิตตีย์
สิกขาบทนี้พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติไว้แก่ภิกษุทั้งหลายอย่างนี้
เรื่องภิกษุรูปหนึ่ง จบ

เรื่องภิกษุถูกงูกัด
[๕๑๑] สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งถูกงูกัด ภิกษุอีกรูปหนึ่งจะเข้าหมู่บ้านด้วยคิดว่า
“จะไปนำไฟมา” แต่ครั้นแล้วมีความยำเกรงอยู่ว่า “พระผู้มีพระภาคทรงห้ามการไม่
บอกลาภิกษุที่มีอยู่แล้วเข้าหมู่บ้านในเวลาวิกาล” จึงไม่ยอมเข้าไปแล้วนำเรื่องนี้ไป
กราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ

พระพุทธานุญาตพิเศษ
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมีกถาเพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ แล้ว
รับสั่งกับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตเมื่อมีธุระรีบด่วนเช่นนี้ ไม่ต้อง
บอกลาภิกษุที่มีอยู่แล้วเข้าหมู่บ้านในเวลาวิกาล” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยก
สิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๖๐๒ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๙.รตนวรรค ๓.วิกาลคามปเวสนสิกขาบท บทภาชนีย์
พระอนุบัญญัติ
[๕๑๒] อนึ่ง ภิกษุใดไม่บอกลาภิกษุที่มีอยู่แล้ว เข้าหมู่บ้านในเวลาวิกาล
ต้องอาบัติปาจิตตีย์ เว้นไว้แต่มีเหตุจำเป็นรีบด่วนเช่นนั้น
เรื่องภิกษุถูกงูกัด จบ

สิกขาบทวิภังค์
[๕๑๓] คำว่า อนึ่ง...ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
อนึ่ง...ใด
คำว่า ภิกษุ มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุ เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มี
พระภาคทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุ ในความหมายนี้
ภิกษุที่ชื่อว่า มีอยู่ คือ ภิกษุที่ตนสามารถจะบอกลาแล้วเข้าหมู่บ้านได้
ภิกษุที่ชื่อว่า ไม่มีอยู่ คือ ภิกษุที่ตนไม่สามารถจะบอกลาแล้วเข้าหมู่บ้านได้
ที่ชื่อว่า เวลาวิกาล หมายเอาเวลาเมื่อเที่ยงวันล่วงไปแล้วจนถึงอรุณขึ้น
คำว่า เข้าหมู่บ้าน ความว่า เมื่อภิกษุก้าวเลยเข้าเขตรั้วล้อมของหมู่บ้านที่มี
รั้วล้อม ต้องอาบัติปาจิตตีย์ เมื่อภิกษุก้าวเข้าเขตอุปจารของหมู่บ้านที่ไม่มีรั้วล้อม
ต้องอาบัติปาจิตตีย์
คำว่า เว้นไว้แต่มีเหตุจำเป็นรีบด่วนเช่นนั้น คือ ยกเว้นแต่มีเหตุจำเป็นรีบ
ด่วนเช่นนั้น

บทภาชนีย์
ติกปาจิตตีย์
[๕๑๔] เวลาวิกาล ภิกษุสำคัญว่าเป็นเวลาวิกาล ไม่บอกลาภิกษุที่มีอยู่แล้ว
เข้าหมู่บ้าน ต้องอาบัติปาจิตตีย์ เว้นไว้แต่มีเหตุจำเป็นรีบด่วนเช่นนั้น


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๖๐๓ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๙.รตนวรรค ๓.วิกาลคามปเวสนสิกขาบท อนาปัตติวาร
เวลาวิกาล ภิกษุไม่แน่ใจ ไม่บอกลาภิกษุที่มีอยู่แล้วเข้าหมู่บ้าน ต้องอาบัติ
ปาจิตตีย์ เว้นไว้แต่มีเหตุจำเป็นรีบด่วนที่สมควร
เวลาวิกาล ภิกษุสำคัญว่าเป็นกาล ไม่บอกลาภิกษุที่มีอยู่แล้วเข้าหมู่บ้าน ต้อง
อาบัติปาจิตตีย์ เว้นไว้แต่มีเหตุจำเป็นรีบด่วนที่สมควร

ทุกกฏ
กาล ภิกษุสำคัญว่าเป็นเวลาวิกาล ต้องอาบัติทุกกฏ
กาล ภิกษุไม่แน่ใจ ต้องอาบัติทุกกฏ
กาล ภิกษุสำคัญว่าเป็นกาล ไม่ต้องอาบัติ

อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[๕๑๕] ๑. ภิกษุเข้าบ้านเมื่อมีเหตุจำเป็นรีบด่วนที่สมควร
๒. ภิกษุบอกลาภิกษุที่มีอยู่แล้วเข้าไป
๓. ภิกษุไม่ได้บอกลาเพราะภิกษุไม่มีแล้วเข้าไป
๔. ภิกษุไปอารามอื่น
๕. ภิกษุไปสำนักภิกษุณี
๖. ภิกษุไปสำนักเดียรถีย์
๗. ภิกษุไปโรงฉัน
๘. ภิกษุเดินตามทางที่ผ่านหมู่บ้าน
๙. ภิกษุเข้าไปในคราวมีเหตุขัดข้อง
๑๐. ภิกษุวิกลจริต
๑๑. ภิกษุต้นบัญญัติ

วิกาลคามปเวสนสิกขาบทที่ ๓ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๖๐๔ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๙.รตนวรรค ๔.สูจิฆรสิกขาบท นิทานวัตถุ
๙. รตนวรรค

๔. สูจิฆรสิกขาบท
ว่าด้วยการทำกล่องเข็มด้วยกระดูกเป็นต้น

เรื่องภิกษุหลายรูป
[๕๑๖] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ นิโครธาราม เขต
กรุงกบิลพัสดุ์ แคว้นสักกะ ครั้งนั้น นายช่างแกะสลักงาช้างคนหนึ่งปวารณาภิกษุ
ทั้งหลายไว้ว่า “กระผมจะถวายกล่องเข็มแก่พระคุณเจ้าผู้ต้องการกล่องเข็ม” ครั้นแล้ว
ภิกษุเหล่านั้นจึงออกปากขอกล่องเข็มเป็นอันมาก พวกภิกษุผู้มีกล่องเข็มขนาดเล็ก
ก็ออกปากขอกล่องเข็มขนาดใหญ่ พวกภิกษุผู้มีกล่องเข็มขนาดใหญ่ ก็ออกปากขอ
กล่องเข็มขนาดเล็ก นายช่างมัวทำกล่องเข็มเป็นอันมากให้ภิกษุทั้งหลายจนไม่
สามารถทำการค้าขายอย่างอื่น ตนเองก็หาเลี้ยงชีพก็ไม่พอ ทั้งบุตรภรรยาก็พลอย
ลำบากไปด้วย
คนทั้งหลายจึงตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพวกสมณะเชื้อสายศากย
บุตรจึงไม่รู้ประมาณ ออกปากขอกล่องเข็มเป็นอันมากเล่า นายช่างมัวทำกล่องเข็ม
เป็นอันมากให้ภิกษุเหล่านี้จนไม่สามารถทำการค้าขายอย่างอื่น ตนเองก็หาเลี้ยงชีพ
ก็ไม่พอ ทั้งบุตรภรรยาก็พลอยลำบากไปด้วย”
พวกภิกษุได้ยินคนเหล่านั้นตำหนิ ประณาม โพนทะนา บรรดาภิกษุผู้มักน้อย
ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนภิกษุทั้งหลาย จึงไม่รู้จักประมาณ
ออกปากขอกล่องเข็มเป็นอันมากเล่า” ครั้นภิกษุทั้งหลาย ตำหนิภิกษุเหล่านั้นโดย
ประการต่าง ๆ แล้วจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ

ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า พวกภิกษุไม่รู้จักประมาณ ออก


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๖๐๕ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๙.รตนวรรค ๔.สูจิฆรสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์
ปากขอกล่องเข็มเป็นอันมากจริงหรือ” ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ฯลฯ ภิกษุทั้งหลาย ไฉนโมฆบุรุษเหล่านั้น
จึงไม่รู้จักประมาณ ออกปากขอกล่องเข็มเป็นอันมากเล่า ภิกษุทั้งหลาย การกระทำ
อย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใส
ยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้

พระบัญญัติ
[๕๑๗] ก็ ภิกษุใดทำกล่องเข็มด้วยกระดูก ด้วยงา หรือด้วยเขา ต้อง
อาบัติปาจิตตีย์ที่ชื่อว่าเภทนกะ๑
เรื่องภิกษุหลายรูป จบ

สิกขาบทวิภังค์
[๕๑๘] คำว่า ก็...ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ก็...ใด
คำว่า ภิกษุ มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุ เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มี
พระภาคทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุ ในความหมายนี้
ที่ชื่อว่า กระดูก ได้แก่ กระดูกชนิดใดชนิดหนึ่ง
ที่ชื่อว่า งา พระผู้มีพระภาคตรัสหมายถึงงาช้าง
ที่ชื่อว่า เขา ได้แก่ เขาชนิดใดชนิดหนึ่ง
คำว่า ทำ คือ ภิกษุทำเอง หรือใช้ให้ทำ ต้องอาบัติทุกกฏในขณะที่ทำ
ต้องอาบัติปาจิตตีย์เพราะได้มา ต้องทำลายแล้วแสดงอาบัติ

เชิงอรรถ :
๑ คำว่า “เภทนกะ” เป็นชื่อเฉพาะอาบัติปาจิตตีย์สิกขาบทนี้ แปลว่า มีการทำลาย คือต้องทำลายวัตถุก่อน
จึงแสดงอาบัติตก (วิ.อ. ๒/๕๑๘/๔๓๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๖๐๖ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๙.รตนวรรค ๔.สูจิฆรสิกขาบท อนาปัตติวาร
บทภาชนีย์
ปาจิตตีย์
[๕๑๙] ภิกษุทำกล่องเข็มที่ตนทำค้างไว้ต่อจนสำเร็จด้วยตนเอง ต้องอาบัติ
ปาจิตตีย์
ภิกษุใช้ผู้อื่นให้ทำกล่องเข็มที่ตนทำค้างไว้ต่อจนสำเร็จ ต้องอาบัติปาจิตตีย์
ภิกษุทำกล่องเข็มที่ผู้อื่นทำค้างไว้ต่อจนสำเร็จด้วยตนเอง ต้องอาบัติปาจิตตีย์
ภิกษุใช้ผู้อื่นให้ทำกล่องเข็มที่ผู้อื่นทำค้างไว้ต่อจนสำเร็จ ต้องอาบัติปาจิตตีย์

ทุกกฏ
ภิกษุทำเองหรือใช้ผู้อื่นให้ทำเพื่อประโยชน์แก่ผู้อื่น ต้องอาบัติทุกกฏ
ภิกษุได้กล่องเข็มที่ผู้อื่นทำไว้มาใช้สอย ต้องอาบัติทุกกฏ

อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[๕๒๐] ๑. ภิกษุทำลูกดุม
๒. ภิกษุทำตะบันไฟ
๓. ภิกษุทำลูกถวิน (ห่วงร้อยสายประคด)
๔. ภิกษุทำกลักยาตา
๕. ภิกษุทำไม้ป้ายยาตา
๖. ภิกษุทำฝักมีด
๗. ภิกษุทำกระบอกกรองน้ำ
๘. ภิกษุวิกลจริต
๙. ภิกษุต้นบัญญัติ

สูจิฆรสิกขาบทที่ ๔ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๖๐๗ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๙.รตนวรรค ๕.มัญจปีฐสิกขาบท นิทานวัตถุ
๙. รตนวรรค

๕. มัญจปีฐสิกขาบท
ว่าด้วยการทำเตียงและตั่ง

เรื่องพระอุปนันทศากยบุตร
[๕๒๑] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น ท่านพระอุปนันทศากยบุตรนอน
บนเตียงสูง คราวนั้น พระผู้มีพระภาคเสด็จจาริกตามเสนาสนะพร้อมภิกษุหลายรูป
ผ่านไปทางที่อยู่ของท่านอุปนันทศากบุตร ท่านได้เห็นพระผู้มีพระภาคเสด็จมา
แต่ไกล ครั้นเห็นแล้วได้เข้าไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ขอเชิญเสด็จทอด
พระเนตรเตียงนอนของข้าพระองค์เถิด พระพุทธเจ้าข้า”
ครั้นแล้ว พระผู้มีพระภาคได้เสด็จกลับจากที่นั้นแล้วรับสั่งกับภิกษุทั้งหลายว่า
“ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอพึงรู้จักโมฆบุรุษเพราะที่อยู่อาศัย” ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาค
ได้ทรงตำหนิท่านพระอุปนันทศากยบุตรโดยประการต่าง ๆ แล้วตรัสโทษแห่งความ
เป็นผู้เลี้ยงยาก ฯลฯ แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้

พระบัญญัติ
[๕๒๒] ก็ ภิกษุผู้จะทำเตียงหรือตั่งใหม่ พึงทำให้มีเท้าเพียง ๘ นิ้ว โดย
นิ้วสุคต๑ นับแต่แม่แคร่ลงมา ทำให้เกินกว่ากำหนดนั้น ต้องอาบัติปาจิตตีย์
ที่ชื่อว่าเฉทนกะ๒
เรื่องพระอุปนันทศากยบุตร จบ

เชิงอรรถ :
๑ ๑ นิ้วสุคต เท่ากับ ๓ นิ้วของคนปานกลางในบัดนี้ (สุคตงฺคลํ นาม อิทานิ มชฺฌิมสฺส ปุริสสฺส ตีณิ
องฺคุลานิ -กงฺขา.ฏีกา ๒๙๗)
๒ คำว่า “เฉทนกะ” เป็นชื่อเฉพาะของอาบัติปาจิตตีย์สิกขาบทนี้ แปลว่า มีการตัดออก คือต้องตัดวัตถุก่อน
จึงแสดงอาบัติตก (วิ.อ. ๒/๕๒๒/๔๓๙)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๖๐๘ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๙.รตนวรรค ๕.มัญจปีฐสิกขาบท บทภาชนีย์
สิกขาบทวิภังค์
[๕๒๓] ที่ชื่อว่า ใหม่ พระผู้มีพระภาคตรัสหมายถึงการทำขึ้นมา(ใหม่)
ที่ชื่อว่า เตียง ได้แก่ เตียง ๔ ชนิด คือ (๑) เตียงมีแม่แคร่สอดเข้าในขา๑
(๒) เตียงมีแม่แคร่ติดอยู่กับขา (๓) เตียงมีขาดังก้ามปู (๔) เตียงมีขาจดแม่แคร่
ที่ชื่อว่า ตั่ง มี ๔ ชนิด คือ (๑) ตั่งมีแม่แคร่สอดเข้าในขา (๒) ตั่งมีแม่แคร่
ติดอยู่กับขา (๓) ตั่งมีขาดังก้ามปู (๔) ตั่งมีขาจดแม่แคร่
คำว่า ผู้จะทำ คือ ภิกษุทำเองหรือใช้คนอื่นให้ทำ
คำว่า พึงทำให้มีเท้าเพียง ๘ นิ้ว โดยนิ้วสุคต นับแต่แม่แคร่ลงมา คือ เว้น
ระยะใต้แม่แคร่ลงมาภิกษุทำเองหรือใช้ผู้อื่นให้ทำเกินกำหนดนั้น ต้องอาบัติทุกกฏ
ในขณะที่ทำ ต้องอาบัติปาจิตตีย์เพราะได้มา ต้องตัดออกแล้วแสดงอาบัติ

บทภาชนีย์
ปาจิตตีย์
[๕๒๔] ภิกษุทำเตียงหรือตั่งที่ตนทำค้างไว้ต่อจนสำเร็จด้วยตนเอง ต้องอาบัติ
ปาจิตตีย์
ภิกษุใช้ผู้อื่นให้ทำเตียงหรือตั่งที่ตนทำค้างไว้ต่อจนสำเร็จ ต้องอาบัติปาจิตตีย์
ภิกษุทำเตียงหรือตั่งที่ผู้อื่นทำค้างไว้ต่อจนสำเร็จ ต้องอาบัติปาจิตตีย์
ภิกษุใช้ผู้อื่นให้ทำเตียงหรือตั่งที่ผู้อื่นทำค้างไว้ต่อจนสำเร็จ ต้องอาบัติ
ปาจิตตีย์

เชิงอรรถ :
๑ เตียงมีแม่แคร่สอดเข้าในขา เท่ากับภาษาอังกฤษว่า “Long one - เตียงยาว” เตียงมีแม่แคร่ติดอยู่กับขา
คือ “One with slats - เตียงแผ่นไม้ระแนง” เตียงมีขาดังก้ามปู “One with curved legs - เตียงมีขาโค้ง”
เตียงมีขาจดแม่แคร่ คือ “One with removable legs - เตียงมีขาถอดได้” (ดู The Book of the Discipline,
VoL. III, P. 91, PTS.)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๖๐๙ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๙.รตนวรรค ๕.มัญจปีฐสิกขาบท อนาปัตติวาร
ทุกกฏ
ภิกษุทำเองหรือใช้ผู้อื่นให้ทำเพื่อประโยชน์แก่ผู้อื่น ต้องอาบัติทุกกฏ
ภิกษุได้เตียงหรือตั่งที่ผู้อื่นทำเสร็จแล้วมาใช้สอย ต้องอาบัติทุกกฏ

อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[๕๒๕] ๑. ภิกษุทำเตียงตั่งได้ขนาด
๒. ภิกษุทำเตียงตั่งต่ำกว่าขนาด
๓. ภิกษุได้เตียงตั่งที่ผู้อื่นทำเกินขนาดมาตัดให้ได้ขนาดก่อนแล้วใช้
๔. ภิกษุวิกลจริต
๕. ภิกษุต้นบัญญัติ

มัญจปีฐสิกขาบทที่ ๕ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๖๑๐ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๙.รตนวรรค ๖.ตูโลนัทธสิกขาบท นิทานวัตถุ
๙. รตนวรรค

๖. ตูโลนัทธสิกขาบท
ว่าด้วยการทำเตียงตั่งหุ้มนุ่น

เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๕๒๖] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ใช้ให้ทำเตียง
หุ้มนุ่นบ้าง ตั่งหุ้มนุ่นบ้าง๑ คนทั้งหลายไปเที่ยวจาริกไปตามวิหารเห็น จึงตำหนิ
ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพระสมณะเชื้อสายศากยบุตรจึงใช้ให้ทำเตียงหุ้มนุ่นบ้าง
ตั่งหุ้มนุ่นบ้าง เหมือนพวกคฤหัสถ์ที่บริโภคกามเล่า”
ภิกษุทั้งหลายได้ยินคนเหล่านั้นตำหนิ ประณาม โพนทะนา บรรดาภิกษุผู้
มักน้อย ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพวกภิกษุฉัพพัคคีย์
จึงใช้ให้ทำเตียงหุ้มนุ่นบ้าง ตั่งหุ้มนุ่นบ้างเล่า” ครั้นภิกษุทั้งหลายตำหนิพวก
ภิกษุฉัพพัคคีย์โดยประการต่าง ๆ แล้วจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้
ทรงทราบ

ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามพวกภิกษุฉัพพัคคีย์ว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า พวกเธอใช้ให้ทำเตียงบ้าง
ตั่งบ้างหุ้มนุ่นจริงหรือ” พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระ
ผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ฯลฯ โมฆบุรุษทั้งหลาย ไฉนพวกเธอจึงใช้ให้ทำ
เตียงหุ้มนุ่นบ้าง ตั่งหุ้มนุ่นบ้างเล่า โมฆบุรุษทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำ
คนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ”

เชิงอรรถ :
๑ ตูโลนทฺธํ, ตูลํ ปกฺขิปิตฺวา อุปริ จิมิลิกาย โอนทฺธํ ที่ชื่อว่าหุ้มนุ่น คือใส่นุ่นแล้วหุ้มด้านบนด้วยผ้ารองพื้น
(วิ.อ.๒/๕๒๖/๔๓๙)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๖๑๑ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๙.รตนวรรค ๖.ตูโลนัทธสิกขาบท บทภาชนีย์
พระบัญญัติ
[๕๒๗] ก็ ภิกษุใดทำเตียง หรือตั่งหุ้มนุ่น ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ที่ชื่อว่า
อุททาลนกะ๑
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ

สิกขาบทวิภังค์
[๕๒๘] คำว่า ก็...ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ก็...ใด
คำว่า ภิกษุ มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุ เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาค
ทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุ ในความหมายนี้
ที่ชื่อว่า เตียง ได้แก่ เตียง ๔ ชนิด คือ (๑) เตียงมีแม่แคร่สอดเข้าในขา
(๒) เตียงมีแม่แคร่ติดอยู่กับขา (๓) เตียงมีขาดังก้ามปู (๔) เตียงมีขาจดแม่แคร่
ที่ชื่อว่า ตั่ง ได้แก่ ตั่ง ๔ ชนิด คือ (๑) ตั่งมีแม่แคร่สอดเข้าในขา (๒) ตั่งมี
แม่แคร่ติดอยู่กับขา (๓) ตั่งมีขาดังก้ามปู (๔) ตั่งมีขาจดแม่แคร่
ที่ชื่อว่า นุ่น ได้แก่ นุ่น ๓ ชนิด คือ (๑) นุ่นจากต้นไม้ (๒) นุ่นจากเถาวัลย์
(๓) นุ่นจากหญ้าเลา
คำว่า ทำ คือ ภิกษุทำเองหรือใช้ผู้อื่นให้ทำ ต้องอาบัติทุกกฏ ในขณะที่ทำ
ต้องอาบัติปาจิตตีย์เพราะได้มา ต้องรื้อเสียก่อนแล้วแสดงอาบัติ

บทภาชนีย์
ปาจิตตีย์
[๕๒๙] ภิกษุทำเตียงหรือตั่งหุ้มนุ่นที่ตนทำค้างไว้ต่อจนสำเร็จด้วยตนเอง ต้อง
อาบัติปาจิตตีย์

เชิงอรรถ :
๑ คำว่า “อุททาลนกะ” เป็นชื่อเฉพาะของอาบัติปาจิตตีย์สิกขาบทนี้ แปลว่า มีการรื้อออก คือ ต้องรื้อออก
เสียก่อนจึงแสดงอาบัติตก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๖๑๒ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๙.รตนวรรค ๖.ตูโลนัทธสิกขาบท อนาปัตติวาร
ภิกษุใช้ผู้อื่นให้ทำเตียงหรือตั่งหุ้มนุ่นที่ตนทำค้างไว้ต่อจนสำเร็จ ต้องอาบัติ
ปาจิตตีย์
ภิกษุทำเตียงหรือตั่งหุ้มนุ่นที่ผู้อื่นทำค้างไว้ต่อจนสำเร็จด้วยตนเอง ต้องอาบัติ
ปาจิตตีย์
ภิกษุใช้ผู้อื่นให้ทำเตียงหรือตั่งหุ้มนุ่นที่ผู้อื่นทำค้างไว้ต่อจนสำเร็จ ต้องอาบัติ
ปาจิตตีย์

ทุกกฏ
ภิกษุทำเองหรือใช้ผู้อื่นให้ทำเพื่อประโยชน์แก่ผู้อื่น ต้องอาบัติทุกกฏ
ภิกษุได้เตียงตั่งที่ผู้อื่นทำสำเร็จแล้วมาใช้สอย ต้องอาบัติทุกกฏ

อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[๕๓๐] ๑. ภิกษุทำสายรัดเข่าหุ้มนุ่น
๒. ภิกษุทำประคดเอวหุ้มนุ่น
๓. ภิกษุทำสายโยกบาตรหุ้มนุ่น
๔. ภิกษุทำถุงบาตรหุ้มนุ่น
๕. ภิกษุทำผ้ากรองน้ำหุ้มนุ่น
๖. ภิกษุทำหมอนหุ้มนุ่น
๗. ภิกษุได้เตียงตั่งหุ้มนุ่นที่ผู้อื่นทำสำเร็จแล้วมาทำลายก่อนใช้
๘. ภิกษุวิกลจริต
๙. ภิกษุต้นบัญญัติ

ตูโลนัทธสิกขาบทที่ ๖ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๖๑๓ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๙.รตนวรรค ๗.นิสีทนสิกขาบท นิทานวัตถุ
๙. รตนวรรค

๗. นิสีทนสิกขาบท
ว่าด้วยการทำผ้ารองนั่ง

เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๕๓๑] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคทรงอนุญาตผ้า
รองนั่งสำหรับภิกษุทั้งหลาย พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ทราบว่า “พระผู้มีพระภาคทรง
อนุญาตผ้ารองนั่ง” จึงใช้ผ้ารองนั่งไม่ได้ขนาด เมื่อปูบนเตียงบ้าง บนตั่งบ้าง จึงห้อย
ข้างหน้าบ้าง ข้างหลังบ้าง
บรรดาภิกษุผู้มักน้อย ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพวก
ภิกษุฉัพพัคคีย์จึงใช้ผ้ารองนั่งไม่ได้ขนาดเล่า” ครั้นภิกษุทั้งหลายตำหนิพวก
ภิกษุฉัพพัคคีย์โดยประการต่าง ๆ แล้วจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้
ทรงทราบ

ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามพวกภิกษุฉัพพัคคีย์ว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า พวกเธอใช้ผ้ารองนั่งไม่ได้
ขนาดจริงหรือ” พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาค
พุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ฯลฯ โมฆบุรุษทั้งหลาย ไฉนพวกเธอจึงใช้ผ้ารองนั่งไม่ได้
ขนาดเล่า โมฆบุรุษทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส
หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุ
ทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๖๑๔ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๙.รตนวรรค ๗.นิสีทนสิกขาบท พระอนุบัญญัติ
พระบัญญัติ
ก็ ภิกษุผู้จะทำผ้ารองนั่ง พึงทำให้ได้ขนาด ขนาดในข้อนั้น คือ ยาว ๒
คืบ กว้างคืบครึ่ง โดยคืบสุคต๑ ทำให้เกินขนาดนั้น ต้องอาบัติปาจิตตีย์ที่ชื่อว่า
เฉทนกะ
สิกขาบทนี้พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติไว้แก่ภิกษุทั้งหลายอย่างนี้
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ

เรื่องพระอุทายี
[๕๓๒] สมัยนั้น ท่านพระอุทายีรูปร่างใหญ่ ปูผ้ารองนั่งเบื้องพระพักตร์พระผู้
มีพระภาคแล้วนั่งดึงชายผ้าออกรอบ ๆ พระผู้มีพระภาคได้ตรัสถามท่านพระอุทายีดังนี้
ว่า “อุทายี เพราะเหตุไร เธอจึงปูผ้ารองนั่งแล้วดึงชายผ้าออกรอบ ๆ เหมือนช่าง
ทำหนังเก่าเล่า”
ท่านพระอุทายีกราบทูลว่า “จริงดังนั้น พระพุทธเจ้าข้า ก็พระผู้มีพระภาคทรง
อนุญาตผ้ารองนั่งสำหรับภิกษุเล็กเกินไป”

พระพุทธานุญาตพิเศษ
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมีกถาเพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ แล้วรับ
สั่งกับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตชายผ้ารองนั่งเพิ่มอีก ๑ คืบ”
แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้

พระอนุบัญญัติ
[๕๓๓] อนึ่ง ภิกษุผู้จะทำผ้ารองนั่ง พึงทำให้ได้ขนาด ขนาดในข้อนั้น
คือ ยาว ๒ คืบ กว้างคืบครึ่ง ชายคืบหนึ่ง โดยคืบสุคต ทำให้เกินขนาดนั้น ต้อง
อาบัติปาจิตตีย์ที่ชื่อว่าเฉทนกะ
เรื่องพระอุทายี จบ

เชิงอรรถ :
๑ คืบสุคต เท่ากับ ๓ คืบของคนปานกลางในบัดนี้ หรือเท่ากับ ๑ ศอกคืบของช่างไม้ (วิ.อ. ๒/๓๔๘-๙/๖๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๖๑๕ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๙.รตนวรรค ๗.นิสีทนสิกขาบท อนาปัตติวาร
สิกขาบทวิภังค์
[๕๓๔] ที่ชื่อว่า ผ้ารองนั่ง พระผู้มีพระภาคตรัสหมายถึงผ้ารองนั่งที่มีชาย
คำว่า ผู้จะทำ คือ ภิกษุทำเองหรือใช้ผู้อื่นให้ทำ ต้องให้ทำให้ได้ขนาด ขนาด
ในข้อนั้น คือ ยาว ๒ คืบ กว้างคืบครึ่ง ชายคืบหนึ่ง โดยคืบสุคต ภิกษุทำเอง
หรือใช้ให้ผู้อื่นทำเกินขนาดนั้น ต้องอาบัติทุกกฏเพราะทำ ต้องอาบัติปาจิตตีย์เพราะ
ได้มา ต้องตัดเสียก่อนแล้วแสดงอาบัติ

บทภาชนีย์
ปาจิตตีย์
[๕๓๕] ภิกษุทำผ้ารองนั่ง(ที่เกินขนาด)ที่ตนทำค้างไว้ต่อจนสำเร็จด้วยตนเอง
ต้องอาบัติปาจิตตีย์
ภิกษุใช้ผู้อื่นให้ทำผ้ารองนั่งที่ตนทำค้างไว้ต่อจนสำเร็จ ต้องอาบัติปาจิตตีย์
ภิกษุทำผ้ารองนั่งที่ผู้อื่นทำค้างไว้ต่อจนสำเร็จด้วยตนเอง ต้องอาบัติปาจิตตีย์
ภิกษุใช้ผู้อื่นให้ทำผ้ารองนั่งที่ผู้อื่นทำค้างไว้ต่อจนสำเร็จ ต้องอาบัติปาจิตตีย์

ทุกกฏ
ภิกษุทำเองหรือใช้ผู้อื่นให้ทำผ้ารองนั่ง เพื่อประโยชน์แก่ผู้อื่น ต้องอาบัติทุกกฏ
ภิกษุได้ผ้ารองนั่งที่ผู้อื่นทำสำเร็จแล้วมาใช้สอย ต้องอาบัติทุกกฏ

อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[๕๓๖] ๑. ภิกษุทำผ้ารองนั่งได้ขนาด
๒. ภิกษุทำผ้ารองนั่งต่ำกว่าขนาด
๓. ภิกษุได้ผ้ารองนั่งที่ผู้อื่นทำเกินขนาดมาตัดแล้วใช้
๔. ภิกษุทำเป็นผ้าเพดาน ผ้าปูพื้น ผ้าม่าน เปลือกฟูกหรือปลอกหมอน
๕. ภิกษุวิกลจริต
๖. ภิกษุต้นบัญญัติ

นิสีทนสิกขาบทที่ ๗ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๖๑๖ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๙.รตนวรรค ๘.กัณฑุปฏิจฉาทิสิกขาบท นิทานวัตถุ
๙. รตนวรรค

๘. กัณฑุปฏิจฉาทิสิกขาบท
ว่าด้วยการทำผ้าปิดฝี

เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๕๓๗] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคทรงอนุญาต
ผ้าปิดฝีสำหรับภิกษุทั้งหลาย พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ทราบว่า “พระผู้มีพระภาค
ทรงอนุญาตผ้าปิดฝี” จึงใช้ผ้าปิดฝีไม่ได้ขนาด ปล่อยห้อยข้างหน้าบ้าง ข้างหลังบ้าง
เที่ยวไป
บรรดาภิกษุผู้มักน้อย ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพวก
ภิกษุฉัพพัคคีย์จึงใช้ผ้าปิดฝีไม่ได้ขนาดเล่า” ครั้นภิกษุทั้งหลายตำหนิพวกภิกษุ
ฉัพพัคคีย์โดยประการต่าง ๆ แล้วจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรง
ทราบ

ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามพวกภิกษุฉัพพัคคีย์ว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า พวกเธอใช้ผ้าปิดฝีไม่ได้
ขนาดจริงหรือ” พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระ
ภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ฯลฯ โมฆบุรุษทั้งหลาย ไฉนพวกเธอจึงใช้ผ้าปิดฝีไม่ได้
ขนาดเล่า โมฆบุรุษทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส
หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้ง
หลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๖๑๗ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๙.รตนวรรค ๘.กัณฑุปฏิจฉาทิสิกขาบท บทภาชนีย์
พระบัญญัติ
[๕๓๘] ก็ ภิกษุผู้ทำผ้าปิดฝี ต้องทำให้ได้ขนาด ขนาดในข้อนั้น คือ
ยาว ๔ คืบ กว้าง ๒ คืบ โดยคืบสุคต ทำให้เกินขนาดนั้น ต้องอาบัติปาจิตตีย์
ที่ชื่อว่าเฉทนกะ
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ

สิกขาบทวิภังค์
[๕๓๙] ที่ชื่อว่า ผ้าปิดฝี ได้แก่ ผ้าที่ทรงอนุญาตสำหรับภิกษุผู้อาพาธ คือ
เป็นโรคฝีสุกใส โรคมีน้ำหนอง โรคน้ำเหลือง หรือโรคฝีดาษ ใต้สะดือลงไปเหนือ
หัวเข่าขึ้นมา เพื่อใช้ปิดแผล
คำว่า ผู้จะทำ คือ ภิกษุทำเองหรือใช้ผู้อื่นให้ทำ พึงให้ทำให้ได้ขนาด ขนาดใน
ข้อนั้น คือ ยาว ๔ คืบ กว้าง ๒ คืบ โดยคืบสุคต
ภิกษุทำเองหรือใช้ผู้อื่นให้ทำเกินขนาดนั้น ต้องอาบัติทุกกฏ ในขณะที่ทำ
ต้องอาบัติปาจิตตีย์เพราะได้มา ต้องตัดออกเสียก่อนแล้วแสดงอาบัติ

บทภาชนีย์
ปาจิตตีย์
[๕๔๐] ภิกษุทำผ้าปิด(เกินขนาด)ฝีที่ตนทำค้างไว้ต่อจนสำเร็จเอง ต้องอาบัติ
ปาจิตตีย์
ภิกษุใช้ผู้อื่นให้ทำผ้าปิดฝีที่ตนทำค้างไว้ต่อจนสำเร็จ ต้องอาบัติปาจิตตีย์
ภิกษุทำผ้าปิดฝีที่ผู้อื่นทำค้างไว้ต่อจนสำเร็จด้วยตนเอง ต้องอาบัติปาจิตตีย์
ภิกษุใช้ผู้อื่นให้ทำผ้าปิดฝีที่ผู้อื่นทำค้างไว้ทำต่อจนสำเร็จ ต้องอาบัติปาจิตตีย์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๖๑๘ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๙.รตนวรรค ๘.กัณฑุปฏิจฉาทิสิกขาบท อนาปัตติวาร
ทุกกฏ
ภิกษุทำเองหรือใช้ผู้อื่นให้ทำ เพื่อประโยชน์แก่ผู้อื่น ต้องอาบัติทุกกฏ
ภิกษุได้ผ้าปิดฝีที่ผู้อื่นทำไว้มาใช้สอย ต้องอาบัติทุกกฏ

อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[๕๔๑] ๑. ภิกษุทำผ้าปิดฝีได้ขนาด
๒. ภิกษุทำผ้าปิดฝีต่ำกว่าขนาด
๓. ภิกษุได้ผ้าปิดฝีที่ผู้อื่นทำไว้เกินขนาดมาตัดแล้วใช้
๔. ภิกษุทำเป็นผ้าเพดาน ผ้าปูพื้น ผ้าม่าน เปลือกฟูก หรือ
ปลอกหมอน
๕. ภิกษุวิกลจริต
๖. ภิกษุต้นบัญญัติ

กัณฑุปฏิจฉาทิสิกขาบทที่ ๘ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๖๑๙ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๙.รตนวรรค ๙.วัสสิกสาฏิกาสิกขาบท นิทานวัตถุ
๙. รตนวรรค

๙. วัสสิกสาฏิกาสิกขาบท
ว่าด้วยการทำผ้าอาบนํ้าฝน

เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๕๔๒] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคทรงอนุญาตผ้า
อาบนํ้าฝนสำหรับภิกษุทั้งหลาย พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ทราบว่า “พระผู้มีพระภาคทรง
อนุญาตผ้าอาบน้ำฝน” จึงใช้ผ้าอาบน้ำฝนไม่ได้ขนาด ปล่อยห้อยข้างหน้าบ้าง
ข้างหลังบ้าง เที่ยวไป
บรรดาภิกษุผู้มักน้อย ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพวก
ภิกษุฉัพพัคคีย์จึงใช้ผ้าอาบน้ำฝนไม่ได้ขนาดเล่า” ครั้นภิกษุทั้งหลายตำหนิพวก
ภิกษุฉัพพัคคีย์โดยประการต่าง ๆ แล้วจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้
ทรงทราบ

ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามพวกภิกษุฉัพพัคคีย์ว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า พวกเธอใช้ผ้าอาบน้ำฝน
ไม่ได้ขนาด จริงหรือ” พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มี
พระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ฯลฯ โมฆบุรุษทั้งหลาย ไฉนพวกเธอจึงใช้ผ้าอาบน้ำ
ฝนไม่ได้ขนาดเล่า โมฆบุรุษทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใส
ให้เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่ง
ให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๖๒๐ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๙.รตนวรรค ๙.วัสสิกสาฏิกาสิกขาบท บทภาชนีย์
พระบัญญัติ
[๕๔๓] ก็ ภิกษุผู้จะทำผ้าอาบน้ำฝน พึงทำให้ได้ขนาด ขนาดในข้อนั้น
คือ ยาว ๖ คืบ กว้าง ๒ คืบครึ่ง โดยคืบสุคต ทำให้เกินขนาดนั้น ต้อง
อาบัติปาจิตตีย์ที่ชื่อว่าเฉทนกะ
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ

สิกขาบทวิภังค์
[๕๔๔] ที่ชื่อว่า ผ้าอาบน้ำฝน ได้แก่ ผ้าที่ทรงอนุญาตไว้ให้ใช้ได้ตลอด ๔
เดือนในฤดูฝน
คำว่า ผู้จะทำ คือ ภิกษุทำเองหรือใช้ผู้อื่นให้ทำ ต้องให้ทำให้ได้ขนาด คือ
ยาว ๖ คืบ กว้าง ๒ คืบครึ่ง โดยคืบสุคต
ภิกษุทำเองหรือใช้ผู้อื่นให้ทำเกินขนาดนั้น ต้องอาบัติทุกกฏในขณะที่ทำ ต้อง
อาบัติปาจิตตีย์เพราะได้มา ต้องตัดออกแล้วแสดงอาบัติ

บทภาชนีย์
ปาจิตตีย์
[๕๔๕] ภิกษุทำผ้าอาบนํ้าฝน(เกินขนาด)ที่ตนทำค้างไว้ต่อจนสำเร็จด้วยตนเอง
ต้องอาบัติปาจิตตีย์
ภิกษุใช้ผู้อื่นให้ทำผ้าอาบนํ้าฝนที่ตนทำค้างไว้ต่อจนสำเร็จ ต้องอาบัติปาจิตตีย์
ภิกษุทำผ้าอาบนํ้าฝนที่ผู้อื่นทำค้างไว้ต่อจนสำเร็จด้วยตนเอง ต้องอาบัติปาจิตตีย์
ภิกษุใช้ผู้อื่นให้ทำผ้าอาบนํ้าฝนที่ผู้อื่นทำค้างไว้ต่อจนสำเร็จ ต้องอาบัติปาจิตตีย์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๖๒๑ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๙.รตนวรรค ๙.วัสสิกสาฏิกาสิกขาบท อนาปัตติวาร
ทุกกฏ
ภิกษุทำเองหรือใช้ผู้อื่นให้ทำเพื่อประโยชน์แก่ผู้อื่น ต้องอาบัติทุกกฏ
ภิกษุได้ผ้าอาบนํ้าฝนที่ผู้อื่นทำไว้มาใช้สอย ต้องอาบัติทุกกฏ

อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[๕๔๖] ๑. ภิกษุทำผ้าอาบน้ำฝนได้ขนาด
๒. ภิกษุทำผ้าอาบน้ำฝนต่ำกว่าขนาด
๓. ภิกษุได้ผ้าอาบน้ำฝนที่ผู้อื่นทำเกินขนาดมาตัดแล้วใช้
๔. ภิกษุทำเป็นผ้าเพดาน ผ้าปูพื้น ผ้าม่าน เปลือกฟูกหรือ
ปลอกหมอน
๕. ภิกษุวิกลจริต
๖. ภิกษุต้นบัญญัติ

วัสสิกสาฏิกาสิกขาบทที่ ๙ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๖๒๒ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๙.รตนวรรค ๑๐.นันทสิกขาบท นิทานวัตถุ
๙. รตนวรรค

๑๐. นันทสิกขาบท
ว่าด้วยพระนันทะ

เรื่องพระนันทะ
[๕๔๗] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น ท่านพระนันทะ โอรสพระมาตุจฉา
ของพระผู้มีพระภาค มีรูปงาม น่าดู น่าชม ร่างตํ่ากว่าพระผู้มีพระภาค ๔ องคุลี
ท่านพระนันทะนั้นห่มจีวรมีขนาดเท่าจีวรพระสุคต ภิกษุทั้งหลายผู้เป็นพระเถระได้
เห็นท่านพระนันทะเดินมาแต่ไกล ครั้นเห็นแล้วจึงลุกขึ้นจากอาสนะด้วยคิดว่า “พระ
ผู้มีพระภาคเสด็จมา” เมื่อท่านพระนันทะเข้ามาใกล้ จึงจำได้ แล้วพากันตำหนิ
ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนท่านพระนันทะจึงห่มจีวรมีขนาดเท่าจีวรพระสุคตเล่า”
ครั้นภิกษุทั้งหลายตำหนิท่านพระนันทะโดยประการต่าง ๆ แล้วจึงนำเรื่องนี้ไปกราบ
ทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ

ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามท่านพระนันทะว่า “นันทะ ทราบว่า เธอห่มจีวรมีขนาดเท่าสุคตจีวร
จริงหรือ” ท่านพระนันทะทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า
ทรงตำหนิว่า “ฯลฯ นันทะ ไฉนเธอจึงห่มจีวรมีขนาดเท่าสุคตจีวรเล่า นันทะ
การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้ว
ให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง
ดังนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๖๒๓ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๙.รตนวรรค ๑๐.นันทสิกขาบท บทภาชนีย์
พระบัญญัติ
[๕๔๘] ก็ ภิกษุทำจีวรมีขนาดเท่ากับสุคตจีวร หรือใหญ่กว่า ต้องอาบัติ
ปาจิตตีย์ที่ชื่อว่าเฉทนกะ ขนาดเท่าสุคตจีวรของสุคตในข้อนั้น คือ ยาว ๙ คืบ
กว้าง ๖ คืบ โดยคืบสุคต นี้เป็นขนาดเท่าสุคตจีวรของพระสุคต
เรื่องพระนันทะ จบ

สิกขาบทวิภังค์
[๕๔๙] คำว่า ก็...ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ก็...ใด
คำว่า ภิกษุ มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุ เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระ
ภาคทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุ ในความหมายนี้
ที่ชื่อว่า ขนาดเท่าสุคตจีวร คือ ยาว ๙ คืบ กว้าง ๖ คืบ โดยคืบสุคต
คำว่า ทำ คือ ภิกษุทำเองหรือใช้ผู้อื่นให้ทำ ต้องอาบัติทุกกฏ ในขณะที่ทำ
ต้องอาบัติปาจิตตีย์เพราะได้มา ต้องตัดออกเสียก่อนแล้วแสดงอาบัติ

บทภาชนีย์
ปาจิตตีย์
[๕๕๐] ภิกษุทำจีวร(เท่าสุคตจีวร)ที่ตนทำค้างไว้ต่อจนสำเร็จด้วยตนเอง ต้อง
อาบัติปาจิตตีย์
ภิกษุใช้ผู้อื่นให้ทำจีวรที่ตนทำค้างไว้ต่อจนสำเร็จ ต้องอาบัติปาจิตตีย์
ภิกษุทำจีวรที่ผู้อื่นทำค้างไว้ต่อจนสำเร็จด้วยตนเอง ต้องอาบัติปาจิตตีย์
ภิกษุใช้ผู้อื่นให้ทำจีวรที่ผู้อื่นทำค้างไว้ต่อจนสำเร็จ ต้องอาบัติปาจิตตีย์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๖๒๔ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๙.รตนวรรค รวมสิกขาบทที่มีในรตนวรรค
ทุกกฏ
ภิกษุทำเองหรือใช้ผู้อื่นให้ทำ เพื่อประโยชน์แก่ผู้อื่น ต้องอาบัติทุกกฏ
ภิกษุได้จีวรที่ผู้อื่นทำสำเร็จแล้วมาใช้สอย ต้องอาบัติทุกกฏ

อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[๕๕๑] ๑. ภิกษุทำจีวรต่ำกว่าขนาด
๒. ภิกษุได้จีวรที่ผู้อื่นทำเสร็จมาตัดแล้วใช้
๓. ภิกษุทำเป็นผ้าเพดาน ผ้าปูพื้น ผ้าม่าน เปลือกฟูกหรือ
ปลอกหมอน
๔. ภิกษุวิกลจริต
๕. ภิกษุต้นบัญญัติ
นันทสิกขาบทที่ ๑๐ จบ
รตนวรรคที่ ๙ จบ

รวมสิกขาบทที่มีในรตนวรรค
รตนวรรคมี ๑๐ สิกขาบท คือ

๑. อันเตปุรสิกขาบท ว่าด้วยการเข้าเขตพระราชฐานชั้นใน
๒. รตนสิกขาบท ว่าด้วยการเก็บรัตนะที่เจ้าของลืมไว้
๓. วิกาลคามปเวสนสิกขาบท ว่าด้วยการเข้าบ้านในเวลาวิกาล
๔. สูจิฆรสิกขาบท ว่าด้วยการทำกล่องเข็มด้วยกระดูกเป็นต้น
๕. มัญจปีฐสิกขาบท ว่าด้วยการทำเตียงและตั่ง


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๖๒๕ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] บทสรุป

๖. ตูโลนัทธสิกขาบท ว่าด้วยการทำเตียงและตั่งหุ้มนุ่น
๗. นิสีทนสิกขาบท ว่าด้วยการทำผ้ารองนั่ง
๘. กัณฑุปฏิจฉาทิสิกขาบท ว่าด้วยการทำผ้าปิดฝี
๙. วัสสิกสาฏิกาสิกขาบท ว่าด้วยการทำผ้าอาบน้ำฝน
๑๐. นันทสิกขาบท ว่าด้วยท่านพระนันทะ

บทสรุป
ท่านทั้งหลาย ธรรมคือปาจิตตีย์ ๙๒ สิกขาบท ข้าพเจ้ายกขึ้นแสดงแล้ว
ข้าพเจ้าขอถามท่านทั้งหลาย ในธรรมคือปาจิตตีย์ ๙๒ สิกขาบทเหล่านี้ว่า
“ท่านทั้งหลายบริสุทธิ์แล้วหรือ”
ข้าพเจ้าขอถามเป็นครั้งที่ ๒ ว่า “ท่านทั้งหลายบริสุทธิ์แล้วหรือ”
ข้าพเจ้าขอถามเป็นครั้งที่ ๓ ว่า “ท่านทั้งหลายบริสุทธิ์แล้วหรือ”
ท่านทั้งหลายบริสุทธิ์แล้วในธรรมคือปาจิตตีย์ ๙๒ สิกขาบทนี้ เพราะฉะนั้น
จึงนิ่ง ข้าพเจ้าขอถือความนิ่งนั้นเป็นมติอย่างนี้

ขุททกสิกขาบท จบบริบูรณ์
ปาจิตติยกัณฑ์ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๖๒๖ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๖.ปาฏิเทสนียกัณฑ์] ๑.ปฐมปาฏิเทสนียสิกขาบท นิทานวัตถุ
๖. ปาฏิเทสนียกัณฑ์
ท่านทั้งหลาย ธรรมคือปาฏิเทสนียะ ๔ สิกขาบทเหล่านี้มาถึงวาระที่ยกขึ้น
แสดงเป็นข้อ ๆ ตามลำดับ

๑. ปฐมปาฏิเทสนียสิกขาบท
ว่าด้วยการรับของเคี้ยวของฉันจากมือภิกษุณีผู้ไม่ใช่ญาติ

เรื่องภิกษุณีรูปหนึ่ง
[๕๕๒] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุณีรูปหนึ่งเที่ยวบิณฑบาตใน
กรุงสาวัตถี เวลากลับ พบภิกษุรูปหนึ่งจึงได้กล่าวดังนี้ว่า “พระคุณเจ้า นิมนต์ท่าน
รับภิกษาหารเถิด”
ภิกษุนั้นตอบว่า “ดีละ น้องหญิง” แล้วรับภิกษาหารทั้งหมด
เมื่อใกล้เวลาฉันแล้ว ภิกษุณีนั้นไม่สามารถเที่ยวบิณฑบาตได้ทัน จึงไม่ได้ฉัน
ภัตตาหาร
ต่อมา แม้ในวันที่ ๒ ภิกษุณีนั้น ฯลฯ แม้ในวันที่ ๓ ภิกษุณีนั้นก็เที่ยว
บิณฑบาตในกรุงสาวัตถี เวลากลับ พบภิกษุรูปนั้นจึงได้กล่าวดังนี้ว่า “พระคุณเจ้า
นิมนต์ท่านรับภิกษาหารเถิด”
ภิกษุนั้นตอบว่า “ดีละ น้องหญิง” แล้วรับภิกษาหารทั้งหมด
เมื่อใกล้เวลาฉันแล้ว ภิกษุณีนั้นไม่สามารถเที่ยวบิณฑบาตได้ทัน จึงไม่ได้ฉัน
ภัตตาหาร
ครั้นในวันที่ ๔ ภิกษุณีนั้นเดินซวนเซไปตามถนน เศรษฐีคหบดีนั่งรถสวนทาง
มา ได้กล่าวกับภิกษุณีนั้นดังนี้ว่า “แม่เจ้า นิมนต์ท่านหลีกทาง” เธอเมื่อกำลังหลีก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๖๒๗ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๖.ปาฏิเทสนียกัณฑ์] ๑.ปฐมปาฏิเทสนียสิกขาบท นิทานวัตถุ
ล้มลงในที่นั้นเอง เศรษฐีคหบดีขอขมาภิกษุณีนั้นว่า “แม่เจ้า ท่านโปรดยกโทษ
กระผมทำให้ท่านล้ม”
ภิกษุณีตอบว่า “คหบดี ท่านไม่ได้ทำให้ดิฉันล้ม ดิฉันมีกำลังไม่ดีต่างหาก”
เศรษฐีถามว่า “แม่เจ้า เพราะเหตุใดท่านจึงมีกำลังไม่ดี”
ทีนั้น ภิกษุณีนั้นจึงเล่าเรื่องนั้นให้เศรษฐีคหบดีทราบ เศรษฐีคหบดีพาภิกษุณี
นั้นไปฉันที่เรือน แล้วตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพระคุณเจ้าทั้งหลาย
จึงรับอามิสจากมือของภิกษุณีเล่า มาตุคามหาลาภได้ยาก”
พวกภิกษุได้ยินเศรษฐีคหบดีตำหนิ ประณาม โพนทะนา บรรดาภิกษุผู้มักน้อย
ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนภิกษุจึงรับอามิสจากมือของ
ภิกษุณีเล่า” ครั้นภิกษุทั้งหลายตำหนิภิกษุนั้นโดยประการต่าง ๆ แล้วจึงนำเรื่องนี้ไป
กราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ

ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามภิกษุนั้นว่า “ภิกษุ ทราบว่าเธอรับอามิสจากมือของภิกษุณี จริงหรือ”
ภิกษุนั้นทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระองค์ตรัสถามว่า “ภิกษุ ภิกษุณีนั้น
เป็นญาติของเธอหรือไม่ใช่ญาติ” ภิกษุนั้นทูลตอบว่า “ไม่ใช่ญาติ พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “โมฆบุรุษ ภิกษุผู้ ไม่ใช่ญาติย่อมไม่รู้สิ่งที่เหมาะสมหรือ
ไม่เหมาะสม ของที่มีอยู่หรือไม่มีอยู่ ของภิกษุณีผู้ ไม่ใช่ญาติ โมฆบุรุษ ไฉนเธอจึงรับ
อามิสจากมือของภิกษุณีผู้ไม่ใช่ญาติเล่า โมฆบุรุษ การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคน
ที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ”
แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๖๒๘ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๖.ปาฏิเทสนียกัณฑ์] ๑.ปฐมปาฏิเทสนียสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์
พระบัญญัติ
[๕๕๓] ก็ ภิกษุใดรับของเคี้ยวหรือของฉันด้วยมือตนเองจากมือของ
ภิกษุณีผู้ไม่ใช่ญาติผู้เข้าไปในละแวกบ้าน เคี้ยวหรือฉัน ภิกษุนั้นพึงแสดงคืนว่า
“ท่าน กระผมต้องธรรมคือปาฏิเทสนียะ เป็นธรรมที่น่าตำหนิ ไม่เป็นสัปปายะ
กระผมขอแสดงคืนธรรมนั้น”
เรื่องภิกษุณีรูปหนึ่ง จบ

สิกขาบทวิภังค์
[๕๕๔] คำว่า ก็...ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ก็...ใด
คำว่า ภิกษุ มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุ เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระ
ภาคทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุ ในความหมายนี้
ที่ชื่อว่า ผู้ไม่ใช่ญาติ คือ ไม่ใช่คนที่เกี่ยวเนื่องกันทางมารดาหรือทางบิดา
ตลอดเจ็ดชั่วคน
ที่ชื่อว่า ภิกษุณี ได้แก่ มาตุคามที่อุปสมบทในสงฆ์ ๒ ฝ่าย
ที่ชื่อว่า ละแวกบ้าน ได้แก่ ถนน ตรอกตัน ทางสี่แยก เรือน
ที่ชื่อว่า ของเคี้ยว คือ ยกเว้นโภชนะ ๕ ยามกาลิก สัตตาหกาลิก และ
ยาวชีวิก นอกนั้นชื่อว่าของเคี้ยว
ที่ชื่อว่า ของฉัน ได้แก่ โภชนะ ๕ คือ ข้าวสุก ขนมกุมมาส ข้าวตู ปลา
เนื้อ
ภิกษุรับประเคนไว้ด้วยตั้งใจว่า “จะเคี้ยว จะฉัน” ต้องอาบัติทุกกฏ ฉัน ต้อง
อาบัติปาฏิเทสนียะทุก ๆ คำกลืน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๖๒๙ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๖.ปาฏิเทสนียกัณฑ์] ๑.ปฐมปาฏิเทสนียสิกขาบท อนาปัตติวาร
บทภาชนีย์
ติกปาฏิเทสนียะ
[๕๕๕] ภิกษุณีไม่ใช่ญาติ ภิกษุสำคัญว่าไม่ใช่ญาติ รับของเคี้ยวหรือของฉัน
ด้วยมือตนเองจากมือของภิกษุณีผู้ไม่ใช่ญาติ ผู้เข้าไปในละแวกบ้าน แล้วเคี้ยวหรือ
ฉัน ต้องอาบัติปาฏิเทสนียะ
ภิกษุณีไม่ใช่ญาติ ภิกษุไม่แน่ใจ รับของเคี้ยวหรือของฉันด้วยมือตนเองจาก
มือของภิกษุณีผู้ไม่ใช่ญาติ ผู้เข้าไปในละแวกบ้าน แล้วเคี้ยวหรือฉัน ต้องอาบัติ
ปาฏิเทสนียะ
ภิกษุณีไม่ใช่ญาติ ภิกษุสำคัญว่าเป็นญาติ รับของเคี้ยวหรือของฉันด้วยมือตน
เองจากมือของภิกษุณีผู้ไม่ใช่ญาติ ผู้เข้าไปในละแวกบ้าน แล้วเคี้ยวหรือฉัน ต้อง
อาบัติปาฏิเทสนียะ

ทุกกฏ
ภิกษุรับของเป็นยามกาลิก สัตตาหกาลิก ยาวชีวิกเพื่อเป็นอาหาร ต้องอาบัติ
ทุกกฏ ฉัน ต้องอาบัติทุกกฏทุก ๆ คำกลืน
ภิกษุรับของเคี้ยวหรือของฉันจากมือของภิกษุณีผู้อุปสมบทในสงฆ์ฝ่ายเดียว
ด้วยตั้งใจว่า “จะเคี้ยว จะฉัน” ต้องอาบัติทุกกฏ ฉัน ต้องอาบัติทุกกฏทุก ๆ
คำกลืน
ภิกษุณีเป็นญาติ ภิกษุสำคัญว่าไม่ใช่ญาติ ต้องอาบัติทุกกฏ
ภิกษุณีเป็นญาติ ภิกษุไม่แน่ใจ ต้องอาบัติทุกกฏ
ภิกษุณีเป็นญาติ ภิกษุสำคัญว่าเป็นญาติ ไม่ต้องอาบัติ

อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[๕๕๖] ๑. ภิกษุรับของเคี้ยวหรือของฉันจากมือของภิกษุณีที่เป็นญาติ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๖๓๐ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๖.ปาฏิเทสนียกัณฑ์] ๑.ปฐมปาฏิเทสนียสิกขาบท อนาปัตติวาร
๒. ภิกษุรับของเคี้ยวหรือของฉันที่ภิกษุณีผู้ไม่ใช่ญาติสั่งให้ถวาย ไม่
ได้ถวายเอง
๓. ภิกษุรับของเคี้ยวหรือของฉันที่ภิกษุณีถวายโดยวางไว้
๔. ภิกษุรับของเคี้ยวหรือของฉันที่ภิกษุณีถวายในอาราม
๕. ภิกษุรับของเคี้ยวหรือของฉันที่ภิกษุณีถวายในสำนักภิกษุณี
๖. ภิกษุรับของเคี้ยวหรือของฉันที่ภิกษุณีถวายในสำนักเดียรถีย์
๗. ภิกษุรับของเคี้ยวหรือของฉันที่ภิกษุณีถวายในโรงอาหาร๑
๘. ภิกษุรับของเคี้ยวหรือของฉันที่ภิกษุณีนำออกจากบ้านแล้วถวาย
๙. ภิกษุรับยามกาลิก สัตตาหกาลิก ยาวชีวิก ที่ภิกษุณีถวายด้วยสั่ง
ว่า เมื่อมีเหตุผล นิมนต์ฉันได้
๑๐. ภิกษุรับของเคี้ยวหรือของฉันที่สิกขมานาถวาย
๑๑. ภิกษุรับของเคี้ยวหรือของฉันที่สามเณรีถวาย
๑๒. ภิกษุวิกลจริต
๑๓. ภิกษุต้นบัญญัติ

ปฐมปาฏิเทสนียสิกขาบทที่ ๑ จบ

เชิงอรรถ :
๑ ปฏิกฺกมน โรงอาหาร (ปฏิกฺกมนํ นีหริตฺวาติ อาสนสาลํ หริตฺวา - วิ.อ. ๒/๒๓๓/๓๕๖, ปฏิกฺกมเนปีติ
อาสนสาลายมฺปิ - วิ.อ. ๒/๒๗๔/๓๙๘, ปฏิกฺกมนนฺติ อาสนสาลา - กงฺขา. ฏีกา ๔๒๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๖๓๑ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๖.ปาฏิเทสนียกัณฑ์] ๒.ทุติยปาฏิเทสนียสิกขาบท นิทานวัตถุ
๒. ทุติยปาฏิเทสนียสิกขาบท
ว่าด้วยการไม่ห้ามภิกษุณีผู้คอยบงการ

เรื่องภิกษุณีฉัพพัคคีย์
[๕๕๗] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเวฬุวัน สถานที่
ให้เหยื่อกระแต เขตกรุงราชคฤห์ ครั้งนั้น ภิกษุทั้งหลายต่างรับนิมนต์ฉันในตระกูล
พวกภิกษุณีฉัพพัคคีย์มายืนบงการเพื่อพวกภิกษุฉัพพัคคีย์ว่า “พวกท่านจงถวายแกง
ที่นี้จงถวายข้าวสุกที่นี้” พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ได้ฉันตามต้องการ ภิกษุเหล่าอื่นไม่ได้
ฉันตามที่คิดไว้
บรรดาภิกษุผู้มักน้อย ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพวก
ภิกษุฉัพพัคคีย์จึงไม่ห้ามพวกภิกษุณีผู้คอยบงการเล่า” ครั้นภิกษุทั้งหลายตำหนิ
พวกภิกษุฉัพพัคคีย์โดยประการต่าง ๆ แล้วจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาค
ให้ทรงทราบ

ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามพวกภิกษุฉัพพัคคีย์ว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า พวกเธอไม่ห้ามภิกษุณี
ผู้คอยบงการ จริงหรือ” พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระ
ผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ฯลฯ โมฆบุรุษทั้งหลาย ไฉนพวกเธอจึงไม่ห้าม
ภิกษุณีผู้คอยบงการเล่า โมฆบุรุษทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่
เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ” แล้ว
จึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้

พระบัญญัติ
[๕๕๘] ก็ ภิกษุรับนิมนต์ฉันในตระกูล ถ้าภิกษุณีมายืนบงการในที่นั้นว่า
“พวกท่านจงถวายแกงที่นี้ ถวายข้าวสุกที่นี้” ภิกษุเหล่านั้นพึงไล่ภิกษุณีนั้นออก
ไปด้วยกล่าวว่า “น้องหญิง เธอจงหลีกไปตราบเท่าที่ภิกษุทั้งหลายยังฉันอยู่”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๖๓๒ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๖.ปาฏิเทสนียกัณฑ์] ๒.ทุติยปาฏิเทสนียสิกขาบท บทภาชนีย์
ถ้าไม่มีภิกษุแม้รูปหนึ่งว่ากล่าวเพื่อจะไล่ภิกษุณีนั้นว่า “น้องหญิง เธอจงหลีก
ไปตราบเท่าที่ภิกษุทั้งหลายยังฉันอยู่” ภิกษุเหล่านั้นพึงแสดงคืนว่า “ท่าน
ทั้งหลาย พวกกระผมต้องธรรมคือปาฏิเทสนียะ เป็นธรรมที่น่าตำหนิ ไม่เป็น
สัปปายะ กระผมขอแสดงคืนธรรมนั้น”
เรื่องพวกภิกษุณีฉัพพัคคีย์ จบ

สิกขาบทวิภังค์
[๕๕๙] คำว่า ก็ ภิกษุรับนิมนต์ฉันในตระกูล ความว่า ที่ชื่อว่าตระกูล หมาย
ถึงตระกูล ๔ ได้แก่ ตระกูลกษัตริย์ ตระกูลพราหมณ์ ตระกูลแพศย์ ตระกูลศูทร
คำว่า รับนิมนต์ฉัน คือ ภิกษุรับนิมนต์ฉันโภชนะ ๕ อย่างใดอย่างหนึ่ง
ที่ชื่อว่า ภิกษุณี ได้แก่ มาตุคามที่อุปสมบทในสงฆ์ ๒ ฝ่าย
ที่ชื่อว่า บงการ คือ ภิกษุณีคอยบงการว่า “พวกท่านจงถวายแกงที่นี้ ถวาย
ข้าวสุกที่นี้” ตามความเป็นมิตร ตามความเป็นเพื่อน ตามความใกล้ชิด ตามที่เป็น
ผู้ร่วมพระอุปัชฌาย์ ตามที่เป็นผู้ร่วมพระอาจารย์กันมา นี้ชื่อว่าผู้บงการ
คำว่า ภิกษุเหล่านั้น ได้แก่ ภิกษุผู้กำลังฉัน
คำว่า ภิกษุณีนั้น ได้แก่ ภิกษุณีผู้บงการ
ภิกษุเหล่านั้นพึงไล่ภิกษุณีนั้นไปด้วยกล่าวว่า “น้องหญิง เธอจงหลีกไปตราบ
เท่าที่ภิกษุทั้งหลายยังฉันอยู่ ๋ ถ้าไม่มีภิกษุแม้รูปหนึ่งว่ากล่าว ภิกษุรับมาด้วยคิดว่า
“จะเคี้ยว จะฉัน” ต้องอาบัติทุกกฏ ฉัน ต้องอาบัติปาฏิเทสนียะทุก ๆ คำกลืน

บทภาชนีย์
ติกปาฏิเทสนียะ
[๕๖๐] มาตุคามผู้เป็นอุปสัมบัน ภิกษุสำคัญว่าเป็นอุปสัมบัน ไม่ห้ามเธอ
ผู้บงการ ต้องอาบัติปาฏิเทสนียะ
มาตุคามผู้เป็นอุปสัมบัน ภิกษุไม่แน่ใจ ไม่ห้ามเธอผู้บงการ ต้องอาบัติ
ปาฏิเทสนียะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๖๓๓ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๖.ปาฏิเทสนียกัณฑ์] ๒.ทุติยปาฏิเทสนียสิกขาบท อนาปัตติวาร
มาตุคามผู้เป็นอุปสัมบัน ภิกษุสำคัญว่าเป็นอนุปสัมบัน ไม่ห้ามเธอผู้บงการ
ต้องอาบัติปาฏิเทสนียะ

ทุกกฏ
มาตุคามผู้อุปสมบทในสงฆ์ฝ่ายเดียวบงการ ภิกษุไม่ห้าม ต้องอาบัติทุกกฏ
มาตุคามผู้เป็นอนุปสัมบัน ภิกษุสำคัญว่าเป็นอุปสัมบัน ต้องอาบัติทุกกฏ
มาตุคามผู้เป็นอนุปสัมบัน ภิกษุไม่แน่ใจ ต้องอาบัติทุกกฏ
มาตุคามผู้เป็นอนุปสัมบัน ภิกษุสำคัญว่าเป็นอนุปสัมบัน ไม่ต้องอาบัติ

อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[๕๖๑] ๑. ภิกษุรับแล้วฉันภัตตาหารที่ภิกษุณีใช้ให้ถวายของของตน แต่ไม่
ได้ถวายด้วยตนเอง
๒. ภิกษุรับแล้วฉันภัตตาหารที่ภิกษุณีถวายของของผู้อื่น ไม่ได้ใช้ให้
ถวาย
๓. ภิกษุรับแล้วฉันภัตตาหารที่เขายังไม่ถวาย แต่ภิกษุณีใช้ให้ถวาย
๔. ภิกษุรับแล้วฉันภัตตาหารในที่ที่เขายังไม่ถวาย แต่ภิกษุณีใช้ให้
ถวาย
๕. ภิกษุรับแล้วฉันภัตตาหารที่ภิกษุณีใช้ให้ถวายเท่า ๆ กันทุกรูป
๖. ภิกษุรับแล้วฉันภัตตาหารที่สิกขมานาบงการ
๗. ภิกษุรับแล้วฉันภัตตาหารที่สามเณรีบงการ
๘. ภิกษุรับแล้วฉันภัตตาหารทุกอย่างยกเว้นโภชนะ ๕ ไม่ต้องอาบัติ
๙. ภิกษุวิกลจริต
๑๐. ภิกษุต้นบัญญัติ

ทุติยปาฏิเทสนียสิกขาบที่ ๒ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๖๓๔ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๖.ปาฏิเทสนียกัณฑ์] ๓.ตติยปาฏิเสนียสิกขาบท นิทานวัตถุ
๓. ตติยปาฏิเทสนียสิกขาบท
ว่าด้วยการรับของเคี้ยวของฉันในที่ที่ไม่ได้รับนิมนต์ไว้ก่อน

เรื่องตระกูลหนึ่ง
[๕๖๒] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น ในกรุงสาวัตถี ตระกูลหนึ่งทั้ง ๒
ฝ่าย๑ มีความเลื่อมใส เจริญด้วยศรัทธา แต่ขาดแคลนทรัพย์ พวกเขาสละของเคี้ยว
ของบริโภคทั้งหมดที่เกิดขึ้นในตระกูลนั้นถวายแก่ภิกษุทั้งหลายจนบางครั้งถึงกับไม่
ได้กินอาหาร
คนทั้งหลายตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพระสมณะเชื้อสายศากยบุตร
จึงรับภัตตาหารโดยไม่รู้จักประมาณเล่า คนเหล่านี้ถวายแก่พระสมณะเชื้อสาย
ศากยบุตรเหล่านี้จนบางครั้งตนเองถึงกับไม่ได้กินอาหาร”
พวกภิกษุได้ยินคนเหล่านั้นตำหนิ ประณาม โพนทะนา ครั้นแล้วจึงนำเรื่องนี้
ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ

พระพุทธานุญาตพิเศษ
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมีกถาเพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ รับสั่ง
กับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้สมมติตระกูลที่เจริญด้วยศรัทธา
แต่ขาดแคลนทรัพย์ให้เป็นตระกูลเสขะ ด้วยญัตติทุติยกรรม ภิกษุทั้งหลายพึง
ให้เสขสมมติอย่างนี้ คือ
ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติทุติยกรรมวาจาว่า

เชิงอรรถ :
๑ คำว่า “ทั้ง ๒ ฝ่าย” คือทั้งอุบาสกและอุบาสิกาเป็นผู้เลื่อมใสในพระรัตนตรัย เป็นโสดาบัน
(วิ.อ. ๒/๕๖๒/๔๔๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๖๓๕ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๖.ปาฏิเทสนียกัณฑ์] ๓.ตติยปาฏิเสนียสิกขาบท พระบัญญัติ
กรรมวาจาให้เสขสมมติ
[๕๖๓] ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ตระกูลชื่อนี้เจริญด้วยศรัทธาแต่
ขาดแคลนทรัพย์ ถ้าสงฆ์พร้อมกันแล้วก็พึงให้เสขสมมติแก่ตระกูลชื่อนี้ นี่เป็นญัตติ
ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ตระกูลชื่อนี้เจริญด้วยศรัทธาแต่ขาดแคลน
ทรัพย์ สงฆ์ให้เสขสมมติแก่ตระกูลชื่อนี้ ท่านรูปใดเห็นด้วยกับการให้เสขสมมติแก่
ตระกูลชื่อนี้ ท่านรูปนั้นพึงนิ่ง ท่านรูปใดไม่เห็นด้วย ท่านรูปนั้นพึงทักท้วง
เสขสมมติสงฆ์ให้แก่ตระกูลนี้แล้ว สงฆ์เห็นด้วย เพราะฉะนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าขอ
ถือเอาความนิ่งนั้นเป็นมติอย่างนี้” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้น
แสดงดังนี้

พระบัญญัติ
ก็ภิกษุใดรับของเคี้ยวหรือของฉันในตระกูลที่ได้รับสมมติเป็นเสขะเช่นนั้น
ด้วยมือตนเอง แล้วเคี้ยวหรือฉัน ภิกษุนั้นพึงแสดงคืนว่า “ท่านทั้งหลาย กระผม
ต้องธรรมคือปาฏิเทสนียะ เป็นธรรมที่น่าตำหนิ ไม่เป็นสัปปายะ กระผมขอ
แสดงคืนธรรมนั้น”
สิกขาบทนี้พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติไว้แก่ภิกษุทั้งหลายอย่างนี้
เรื่องตระกูลหนึ่ง จบ

เรื่องภิกษุหลายรูป
[๕๖๔] สมัยนั้น มีมหรสพในกรุงสาวัตถี คนทั้งหลายนิมนต์ภิกษุไปฉัน แม้
ตระกูลนั้นก็ได้นิมนต์ภิกษุเช่นกัน ภิกษุทั้งหลายมีความยำเกรง จึงไม่รับนิมนต์ด้วย
คิดว่า “พระผู้มีพระภาคทรงห้ามการรับของเคี้ยวของฉันในตระกูลที่ได้รับสมมติเป็น
เสขะด้วยมือของตนแล้วฉัน”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๖๓๖ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๖.ปาฏิเทสนียกัณฑ์] ๓.ตติยปาฏิเสนียสิกขาบท พระอนุบัญญัติ
คนเหล่านั้นจึงพากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “พวกเราจะมีชีวิตอยู่ไป
ทำไม เพราะพระคุณเจ้าทั้งหลายไม่รับนิมนต์พวกเรา”
พวกภิกษุได้ยินคนเหล่านั้นตำหนิ ประณาม โพนทะนา ครั้นแล้วจึงนำเรื่องนี้
ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ

พระพุทธานุญาตพิเศษ
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมีกถาเพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ รับสั่ง
กับภิกษุทั้งหลาย “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุที่ทายกนิมนต์แล้วรับของเคี้ยว
หรือของฉันในตระกูลที่ได้รับสมมติเป็นเสขะด้วยมือตนเองแล้วเคี้ยวฉันได้” แล้วจึง
รับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้

พระอนุบัญญัติ
อนึ่ง ภิกษุใดไม่ได้รับนิมนต์ไว้ก่อน รับของเคี้ยวหรือของฉันในตระกูลที่
ได้รับสมมติเป็นเสขะเช่นนั้น ด้วยมือตนเองแล้วเคี้ยวหรือฉัน ภิกษุนั้นพึงแสดง
คืนว่า “ท่านทั้งหลาย กระผมต้องธรรมคือปาฏิเทสนียะ เป็นธรรมที่น่าตำหนิ
ไม่เป็นสัปปายะ กระผมขอแสดงคืนธรรมนั้น”
สิกขาบทนี้พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติไว้แก่ภิกษุทั้งหลายอย่างนี้
เรื่องภิกษุหลายรูป จบ

เรื่องภิกษุรูปหนึ่ง
[๕๖๕] สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งเป็นพระประจำตระกูลของตระกูลนั้น ครั้นเวลา
เช้า เธอครองอันตรวาสกถือบาตรและจีวรเข้าไปถึงตระกูลนั้น ครั้นถึงแล้วจึงนั่งบน
อาสนะที่เขาจัดถวาย ทีนั้น ภิกษุนั้นเป็นไข้ พวกชาวบ้านได้กล่าวอาราธนาภิกษุนั้น
ดังนี้ว่า “พระคุณเจ้า นิมนต์ท่านฉันเถิด”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๖๓๗ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๖.ปาฏิเทสนียกัณฑ์] ๓.ตติยปาฏิเสนียสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์
ครั้งนั้น ภิกษุนั้นมีความยำเกรงอยู่ว่า “พระผู้มีพระภาคทรงห้ามภิกษุที่ทายก
ไม่ได้นิมนต์ไว้ก่อนรับของเคี้ยวของฉันในตระกูลที่ได้สมมติเป็นเสขะ” จึงไม่รับ ภิกษุ
นั้นไม่สามารถหาบิณฑบาตฉันได้ทัน จึงไม่ได้ฉันภัตตาหาร ครั้นไปวัดจึงบอก
เรื่องนี้ให้ภิกษุทั้งหลายทราบ ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาค
ให้ทรงทราบ

พระพุทธานุญาตพิเศษ
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมีกถาเพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ รับสั่ง
กับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุผู้เป็นไข้รับของเคี้ยวหรือ
ของฉันในตระกูลที่ได้รับสมมติเป็นเสขะด้วยมือตนเองแล้วเคี้ยวฉันได้” แล้วจึง
รับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้

พระอนุบัญญัติ
[๕๖๖] อนึ่ง ภิกษุใดไม่ได้รับนิมนต์ไว้ก่อน ไม่เป็นไข้ รับของเคี้ยวหรือ
ของฉันในตระกูลที่ได้รับสมมติเป็นเสขะเช่นนั้นด้วยมือตนเองแล้วเคี้ยวหรือฉัน
ภิกษุนั้นพึงแสดงคืนว่า “ท่านทั้งหลาย กระผมต้องธรรมคือปาฏิเทสนียะ เป็น
ธรรมที่น่าตำหนิ ไม่เป็นสัปปายะ กระผมขอแสดงคืนธรรมนั้น”
เรื่องภิกษุรูปหนึ่ง จบ

สิกขาบทวิภังค์
[๕๖๗] คำว่า ตระกูลที่ได้รับสมมติเป็นเสขะ ความว่า ตระกูลที่ชื่อว่าอัน
สงฆ์สมมติว่าเป็นเสขะ ได้แก่ ตระกูลมีศรัทธาแต่ขาดแคลนทรัพย์ สงฆ์ย่อมให้สมมติ
ตระกูลเช่นนี้เป็นเสขะด้วยญัตติทุติยกรรม

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๖๓๘ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๖.ปาฏิเทสนียกัณฑ์] ๓.ตติยปาฏิเสนียสิกขาบท บทภาชนีย์
คำว่า อนึ่ง...ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า อนึ่ง...ใด
คำว่า ภิกษุ มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุ เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระ
ภาคทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุ ในความหมายนี้
คำว่า ในตระกูลที่ได้รับสมมติเป็นเสขะเช่นนั้น คือ ในตระกูลที่ได้รับ
สมมติเป็นเสขะเช่นนี้
ที่ชื่อว่า ไม่ได้รับนิมนต์ไว้ คือ ภิกษุที่เขาไม่ได้นิมนต์เพื่อฉันในวันนี้หรือพรุ่งนี้
แต่เขานิมนต์เมื่อภิกษุเดินผ่านอุปจารเรือนเข้าไปแล้ว นี้ชื่อว่าไม่ได้รับนิมนต์ไว้
ที่ชื่อว่า ได้รับนิมนต์ คือ ภิกษุที่เขานิมนต์เพื่อฉันในวันนี้ หรือพรุ่งนี้ คือเขา
นิมนต์ขณะที่ภิกษุยังไม่ได้เดินผ่านอุปจารเข้าไป นี้ชื่อว่าได้รับนิมนต์ไว้
ที่ชื่อว่า ไม่เป็นไข้ คือ ภิกษุที่สามารถไปบิณฑบาตได้
ที่ชื่อว่า ของเคี้ยว คือ ยกเว้นโภชนะ ๕ ยามกาลิก สัตตาหกาลิก และ
ยาวชีวิก นอกนั้นชื่อว่าของเคี้ยว
ที่ชื่อว่า ของฉัน ได้แก่ โภชนะ ๕ คือ ข้าวสุก ขนมกุมมาส ข้าวตู ปลา
เนื้อ
ภิกษุไม่ได้รับนิมนต์ไว้ ไม่เป็นไข้ รับไว้ด้วยคิดว่า “จะเคี้ยว จะฉัน” ต้อง
อาบัติทุกกฏ ฉัน ต้องอาบัติปาฏิเทสนียะทุก ๆ คำกลืน

บทภาชนีย์
ติกปาฏิเทสนียะ
[๕๖๘] ตระกูลที่ได้รับสมมติเป็นเสขะ ภิกษุสำคัญว่าเป็นตระกูลที่ได้รับสมมติ
เป็นเสขะ ไม่ได้รับนิมนต์ไว้ ไม่เป็นไข้ รับของเคี้ยวหรือของฉันด้วยมือตนเองแล้ว
เคี้ยวหรือฉัน ต้องอาบัติปาฏิเทสนียะ
ตระกูลที่ได้รับสมมติเป็นเสขะ ภิกษุไม่แน่ใจ ไม่ได้รับนิมนต์ไว้ ไม่เป็นไข้ รับ
ของเคี้ยวหรือของฉันด้วยมือตนเองแล้วเคี้ยวหรือฉัน ต้องอาบัติปาฏิเทสนียะ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๖๓๙ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๖.ปาฏิเทสนียกัณฑ์] ๓.ตติยปาฏิเสนียสิกขาบท อนาปัตติวาร
ตระกูลที่ได้รับสมมติเป็นเสขะ ภิกษุสำคัญว่าไม่ใช่ตระกูลที่ได้รับสมมติเป็น
เสขะ ไม่ได้รับนิมนต์ ไม่เป็นไข้ รับของเคี้ยวหรือของฉันด้วยมือตนเองแล้วเคี้ยวหรือ
ฉัน ต้องอาบัติปาฏิเทสนียะ

ทุกกฏ
ภิกษุรับของที่เป็นยามกาลิก สัตตาหกาลิก ยาวชีวิก เพื่อเป็นอาหาร ต้อง
อาบัติทุกกฏ ฉัน ต้องอาบัติทุกกฏทุก ๆ คำกลืน
ไม่ใช่ตระกูลที่ได้รับสมมติเป็นเสขะ ภิกษุสำคัญว่าเป็นตระกูลที่ได้รับสมมติ
เป็นเสขะ ต้องอาบัติทุกกฏ
ไม่ใช่ตระกูลที่ได้รับสมมติเป็นเสขะ ภิกษุไม่แน่ใจ ต้องอาบัติทุกกฏ
ไม่ใช่ตระกูลที่ได้รับสมมติเป็นเสขะ ภิกษุสำคัญว่าไม่ใช่ตระกูลที่ได้รับสมมติ
เป็นเสขะ ไม่ต้องอาบัติ

อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[๕๖๙] ๑. ภิกษุรับนิมนต์ไว้
๒. ภิกษุผู้เป็นไข้
๓. ภิกษุฉันของเป็นเดนของภิกษุผู้รับนิมนต์ไว้หรือของภิกษุผู้เป็นไข้
๔. ภิกษุฉันอาหารที่เขาจัดไว้เพื่อภิกษุอื่น ๆ
๕. ภิกษุฉันอาหารที่เขานำจากเรือนไปถวาย
๖. ภิกษุฉันนิตยภัต
๗. ภิกษุฉันสลากภัต

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๖๔๐ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๖.ปาฏิเทสนียกัณฑ์] ๓.ตติยปาฏิเสนียสิกขาบท อนาปัตติวาร
๘. ภิกษุฉันปักขิกภัต๑
๙. ภิกษุฉันอุโบสถิกภัต๒
๑๐. ภิกษุฉันปาฏิปทิกภัต๓
๑๑. ภิกษุฉันยามกาลิก สัตตาหกาลิก หรือยาวชีวิก ที่เขาถวายบอก
ว่าเมื่อมีเหตุจำเป็นก็นิมนต์ฉันเถิด
๑๒. ภิกษุวิกลจริต
๑๓. ภิกษุต้นบัญญัติ

ปาฏิเทสนียสิกขาบทที่ ๓ จบ

เชิงอรรถ :
๑ ปักขิกภัต คืออาหารที่เขาถวาย ๑๕ วันครั้งหนึ่ง
๒ อุโบสถิกภัต คืออาหารที่เขาถวายในวันอุโบสถ คือวันพระนั้นเอง
๓ ปาฏิปทิกภัต คืออาหารที่เขาถวายในวันขึ้น-แรม ๑ ค่ำ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๖๔๑ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๖.ปาฏิเทสนียกัณฑ์] ๔.จตุตถปาฏิเทสนียสิกขาบท นิทานวัตถุ
๔. จตุตถปาฏิเทสนียสิกขาบท
ว่าด้วยการรับของเคี้ยวของฉันจากทายกที่ไม่ได้แจ้งไว้ก่อน

เรื่องคนรับใช้ของเจ้าศากยะ
[๕๗๐] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ นิโครธาราม เขต
กรุงกบิลพัสดุ์ แคว้นสักกะ ครั้งนั้น พวกทาสของเจ้าศากยะก่อการร้าย พวก
เจ้าหญิงศากยะปรารถนาจะจัดภัตตาหารไว้ถวายภิกษุผู้อยู่ในเสนาสนะป่า พวกทาส
ของเจ้าศากยะได้ฟังข่าวว่า พวกเจ้าหญิงศากยะปรารถนาจะจัดภัตตาหารไว้ถวาย
ภิกษุผู้อยู่ในเสนาสนะป่า จึงไปดักซุ่มที่หนทาง พวกเจ้าหญิงศากยะนำของเคี้ยวของ
ฉันอันประณีตไปยังเสนาสนะป่า พวกทาสของเจ้าศากยะจึงออกมาปล้นและทำร้าย
เจ้าหญิงศากยะ
พวกเจ้าศากยะออกไปจับพวกโจรได้พร้อมของกลางแล้วตำหนิ ประณาม
โพนทะนาว่า “ไฉนพระคุณเจ้าทั้งหลายจึงไม่บอกว่ามีพวกโจรอยู่ในอารามเล่า”
ภิกษุทั้งหลายได้ยินพวกเจ้าศากยะตำหนิ ประณาม โพนทะนา ครั้นแล้วจึงนำ
เรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ

ทรงบัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมีกถาเพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ แล้ว
รับสั่งกับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้น เราจะบัญญัติสิกขาบทแก่
ภิกษุทั้งหลาย โดยอาศัยอำนาจประโยชน์ ๑๐ ประการ คือ
๑. เพื่อความรับว่าดีแห่งสงฆ์
ฯลฯ
๙. เพื่อความตั้งมั่นแห่งสัทธรรม
๑๐. เพื่อเอื้อเฟื้อวินัย๑
แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้

เชิงอรรถ :
๑ ดูข้อ ๕๖๖ หน้า ๙๒ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๖๔๒ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๖.ปาฏิเทสนียกัณฑ์] ๔.จตุตถปาฏิเทสนียสิกขาบท พระบัญญัติ
พระบัญญัติ
ก็ ภิกษุใดอยู่ในเสนาสนะป่าที่รู้กันว่าน่าหวาดระแวง มีภัยน่ากลัวเช่นนั้น
ไม่ได้รับแจ้งไว้ก่อนรับของเคี้ยวหรือของฉันด้วยมือตนเองในอารามแล้วฉัน
ภิกษุนั้นพึงแสดงคืนว่า “ท่านทั้งหลาย กระผมต้องธรรมคือปาฏิเทสนียะ เป็น
ธรรมที่น่าตำหนิ ไม่เป็นสัปปายะ กระผมขอแสดงคืนธรรมนั้น”
สิกขาบทนี้พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติไว้แก่ภิกษุทั้งหลายอย่างนี้
เรื่องคนรับใช้ของเจ้าศากยะ จบ

เรื่องภิกษุผู้เป็นไข้
[๕๗๑] สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งผู้เป็นไข้อยู่ในเสนาสนะป่า พวกชาวบ้านนำ
ของเคี้ยวของฉันไปถวาย ครั้นแล้วได้กล่าวอาราธนาภิกษุนั้นดังนี้ว่า “นิมนต์ฉันเถิด
ขอรับ” ทีนั้น ภิกษุนั้นมีความยำเกรงอยู่ว่า “พระผู้มีพระภาคทรงห้ามการรับของ
เคี้ยวของฉันในเสนาสนะป่าด้วยมือตนเองแล้วเคี้ยวฉัน” จึงไม่ยอมรับ ท่านไม่
สามารถเที่ยวบิณฑบาตได้ทัน จึงไม่ได้ฉันภัตตาหาร ท่านได้แจ้งเรื่องนั้นให้ภิกษุ
ทั้งหลายทราบ ครั้นแล้วภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้
ทรงทราบ

พระพุทธานุญาตพิเศษ
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมีกถาเพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ รับสั่ง
กับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุผู้เป็นไข้รับของเคี้ยวของฉัน
ในเสนาสนะป่าด้วยมือตนเองแล้วเคี้ยวฉันได้” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยก
สิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๖๔๓ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๖.ปาฏิเทสนียกัณฑ์] ๔.จตุตถปาฏิเทสนียสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์
พระอนุบัญญัติ
[๕๗๒] อนึ่ง ภิกษุใดไม่เป็นไข้อยู่ในเสนาสนะป่าที่รู้กันว่าน่าหวาดระแวง
มีภัยน่ากลัวเช่นนั้น ไม่ได้รับแจ้งไว้ก่อนรับของเคี้ยวหรือของฉันด้วยมือตนเอง
ในอารามแล้วฉัน ภิกษุนั้นพึงแสดงคืนว่า “ท่านทั้งหลาย กระผมต้องธรรมคือ
ปาฏิเทสนียะ เป็นธรรมที่น่าตำหนิ ไม่เป็นสัปปายะ กระผมขอแสดงคืน
ธรรมนั้น”
เรื่องภิกษุผู้ป็นไข้ จบ

สิกขาบทวิภังค์
[๕๗๓] คำว่า เสนาสนะป่า ความว่า เสนาสนะที่ชื่อว่าป่า ได้แก่ เสนาสนะ๑
มีระยะ ๕๐๐ ชั่วธนูเป็นอย่างตํ่า
ที่ชื่อว่า น่าหวาดระแวง คือ ในอาราม อุปจารแห่งอาราม ปรากฏที่อยู่
ปรากฏที่กิน ปรากฏที่ยืน ปรากฏที่นั่ง ปรากฏที่นอนของพวกโจร
ที่ชื่อว่า มีภัยน่ากลัว คือ ในอาราม อุปจารแห่งอาราม ปรากฏมีมนุษย์ถูก
พวกโจรฆ่า ปรากฏมีมนุษย์ถูกพวกโจรปล้น ปรากฏมีมนุษย์ถูกพวกโจรทุบตี
คำว่า ก็...ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ก็...ใด
คำว่า ภิกษุ มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุ เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระ
ภาคทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุ ในความหมายนี้
คำว่า ในเสนาสนะเช่นนั้น คือ เสนาสนะเช่นนี้
ที่ชื่อว่า ไม่ได้รับแจ้งไว้ก่อน คือ ถึงจะแจ้งแก่สหธรรมิกทั้ง ๕ นี้ชื่อว่าไม่
ได้รับแจ้งไว้
แจ้ง(ในที่อื่น) เว้นอาราม อุปจารแห่งอาราม นี่ก็ชื่อว่าไม่ได้รับแจ้งไว้

เชิงอรรถ :
๑ หมายถึงเสนาสนะที่อยู่ห่างจากหมู่บ้านประมาณ ๒๕ เส้น (ดู เชิงอรรถ ข้อ ๕๖๖ หน้า ๙๒ ในเล่มนี้)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๖๔๔ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๖.ปาฏิเทสนียกัณฑ์] ๔.จตุตถปาฏิเทสนียสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์
ที่ชื่อว่า รับแจ้งไว้ คือ ผู้ใดผู้หนึ่งจะเป็นหญิงหรือชายก็ตาม มาที่อารามหรือ
อุปจารแห่งอารามแล้วบอกว่า “พระคุณเจ้า ทายกทายิกาจะนำของเคี้ยวหรือของฉัน
มาถวายภิกษุชื่อนี้”
ถ้าที่นั้นน่าหวาดระแวง ภิกษุพึงบอกว่า “น่าหวาดระแวง” ถ้าที่นั้นมีภัยน่ากลัว
ภิกษุพึงบอกว่า “มีภัยน่ากลัว”
ถ้าเขาบอกว่า “ไม่เป็นไร ขอรับ เขาจักนำมาเอง” ภิกษุต้องบอกพวกโจรว่า
“พวกชาวบ้านจะเข้ามาที่นี้ พวกท่านจงหลบไป”
เมื่อภิกษุได้รับแจ้งด้วยข้าวต้มแล้ว เขานำเครื่องบริวารข้าวต้มนั้นมาด้วย นี้ชื่อ
ว่าได้รับแจ้งไว้
เมื่อภิกษุได้รับแจ้งด้วยภัตตาหารแล้ว เขานำเครื่องบริวารภัตตาหารนั้นมา
ด้วย นี้ก็ชื่อว่าได้รับแจ้งไว้
เมื่อภิกษุได้รับแจ้งด้วยของเคี้ยวแล้ว เขานำเครื่องบริวารของเคี้ยวนั้นมาด้วย
นี้ก็ชื่อว่าได้รับแจ้งไว้
เมื่อภิกษุได้รับแจ้งเฉพาะตระกูล พวกคนในตระกูลนั้นนำของเคี้ยวของฉันมา
ถวาย นี้ก็ชื่อว่าได้รับแจ้งไว้
เมื่อภิกษุได้รับแจ้งเฉพาะหมู่บ้าน พวกคนในหมู่บ้านนั้นนำของเคี้ยวของฉัน
มาถวาย นี้ก็ชื่อว่าได้รับแจ้งไว้
เมื่อภิกษุได้รับแจ้งเฉพาะสมาคม พวกคนในสมาคมนั้นนำของเคี้ยวของฉัน
มาถวาย นี้ก็ชื่อว่าได้รับแจ้งไว้
ที่ชื่อว่า ของเคี้ยว คือ ยกเว้นโภชนะ ๕ ยามกาลิก สัตตาหกาลิก และ
ยาวชีวิก นอกนั้นชื่อว่าของเคี้ยว
ที่ชื่อว่า ของฉัน ได้แก่ โภชนะ ๕ คือ ข้าวสุก ขนมกุมมาส ข้าวตู ปลา
เนื้อ
ที่ชื่อว่า ในอาราม ได้แก่ สำหรับอารามที่มีรั้วล้อม กำหนดเอาภายใน
อาราม สำหรับอารามที่ไม่มีรั้วล้อม กำหนดเอาอุปจารอาราม


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๖๔๕ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๖.ปาฏิเทสนียกัณฑ์] ๔.จตุตถปาฏิเทสนียสิกขาบท บทภาชนีย์
ที่ชื่อว่า ไม่เป็นไข้ คือ ภิกษุผู้สามารถไปบิณฑบาตฉันได้
ที่ชื่อว่า ผู้เป็นไข้ คือ ภิกษุผู้ไม่สามารถไปบิณฑบาตได้
ภิกษุไม่เป็นไข้ไม่ได้รับแจ้ง รับประเคนด้วยตั้งใจว่า “จะเคี้ยว จะฉัน” ต้องอาบัติ
ทุกกฏ ฉัน ต้องอาบัติปาฏิเทสนียะทุก ๆ คำกลืน

บทภาชนีย์
ติกปาฏิเทสนียะ
[๕๗๔] ไม่ได้รับแจ้งไว้ ภิกษุสำคัญว่าไม่ได้รับแจ้งไว้ ไม่เป็นไข้ รับของเคี้ยว
หรือของฉันด้วยมือตนเองในอาราม เคี้ยวหรือฉัน ต้องอาบัติปาฏิเทสนียะ
ไม่ได้รับแจ้งไว้ ภิกษุไม่แน่ใจ ไม่เป็นไข้ รับของเคี้ยวหรือของฉันด้วยมือตนเอง
ในอาราม เคี้ยวหรือฉัน ต้องอาบัติปาฏิเทสนียะ
ไม่ได้รับแจ้งไว้ ภิกษุสำคัญว่าไม่ได้รับแจ้งไว้ ไม่เป็นไข้ รับของเคี้ยวหรือของ
ฉันด้วยมือตนเองในอาราม เคี้ยวหรือฉัน ต้องอาบัติปาฏิเทสนียะ

ทุกกฏ
ภิกษุรับประเคนยามกาลิก สัตตาหกาลิก ยาวชีวิก เพื่อเป็นอาหาร ต้องอาบัติ
ทุกกฏ ฉัน ต้องอาบัติทุกกฏทุก ๆ คำกลืน
ได้รับแจ้งไว้แล้ว ภิกษุสำคัญว่าไม่ได้รับแจ้งไว้ ต้องอาบัติทุกกฏ
ได้รับแจ้งไว้แล้ว ภิกษุไม่แน่ใจ ต้องอาบัติทุกกฏ
ได้รับแจ้งไว้แล้ว ภิกษุสำคัญว่าได้รับแจ้งไว้ ไม่ต้องอาบัติ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๖๔๖ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๖.ปาฏิเทสนียกัณฑ์] บทสรุป
อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[๕๗๕] ๑. ภิกษุที่ได้รับแจ้งไว้ก่อน
๒. ภิกษุผู้เป็นไข้
๓. ภิกษุที่ได้รับแจ้งไว้หรือภิกษุฉันของเป็นเดน ของภิกษุผู้เป็นไข้
๔. ภิกษุรับของนอกอารามมาฉันในอาราม
๕. ภิกษุฉันรากไม้ เปลือกไม้ ใบไม้ ดอกไม้ หรือผลไม้ที่เกิดในที่นั้น
๖. ภิกษุฉันของเป็นยามกาลิก สัตตาหกาลิก และยาวชีวิก เมื่อมี
เหตุจำเป็น
๗. ภิกษุวิกลจริต
๘. ภิกษุต้นบัญญัติ
ปาฏิเทสนียะสิกขาบทที่ ๔ จบ

บทสรุป
ท่านทั้งหลาย ธรรมคือปาฏิเทสนียะ ๔ สิกขาบท ข้าพเจ้ายกขึ้นแสดงแล้ว
ข้าพเจ้าขอถามท่านทั้งหลาย ในธรรมคือปาฏิเทสนียะ ๔ สิกขาบทเหล่านั้นว่า
“ท่านทั้งหลายบริสุทธิ์แล้วหรือ”
ข้าพเจ้าขอถามเป็นครั้งที่ ๒ ว่า “ท่านทั้งหลายบริสุทธิ์แล้วหรือ”
ข้าพเจ้าขอถามเป็นครั้งที่ ๓ ว่า “ท่านทั้งหลายบริสุทธิ์แล้วหรือ”
ท่านทั้งหลายบริสุทธิ์แล้วในธรรมคือปาฏิเทสนียะ ๔ สิกขาบทนี้ เพราะฉะนั้น
จึงนิ่ง ข้าพเจ้าขอถือความนิ่งนั้นเป็นมติอย่างนี้

ปาฏิเทสนียกัณฑ์ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๖๔๗ }





หน้าว่าง




{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๖๔๘ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๗.เสขิยกัณฑ์] ๑.ปริมัณฑลวรรค สิกขาบทที่ ๑
๗. เสขิยกัณฑ์
ท่านทั้งหลาย ธรรมคือเสขิยะทั้งหลายเหล่านี้มาถึงวาระที่จะยกขึ้นแสดงเป็น
ข้อ ๆ ตามลำดับ

๑. ปริมัณฑลวรรค
หมวดว่าด้วยการนุ่งห่มเรียบร้อย

สิกขาบทที่ ๑

เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๕๗๖] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ครอง
อันตรวาสกย้อยข้างหน้าบ้าง ข้างหลังบ้าง พวกชาวบ้านพากันตำหนิ ประณาม
โพนทะนาว่า “ไฉนพระสมณะเชื้อสายศากยบุตรจึงครองอันตรวาสกย้อยข้างหน้า
บ้าง ข้างหลังบ้าง เหมือนพวกคฤหัสถ์ผู้บริโภคกามเล่า”
ภิกษุทั้งหลายได้ยินพวกชาวบ้านตำหนิ ประณาม โพนทะนา บรรดาภิกษุผู้
มักน้อย ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพวกภิกษุฉัพพัคคีย์
จึงครองอันตรวาสกย้อยข้างหน้าบ้าง ข้างหลังบ้างเล่า” ครั้นภิกษุทั้งหลายตำหนิ
พวกภิกษุฉัพพัคคีย์โดยประการต่าง ๆ แล้วจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาค
ให้ทรงทราบ

ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมีกถาเพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ แล้ว
รับสั่งให้ประชุมสงฆ์ ตรัสถามพวกภิกษุฉัพพัคคีย์ว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า พวก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๖๔๙ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๗.เสขิยกัณฑ์] ๑.ปริมัณฑลวรรค สิกขาบทที่ ๑
เธอครองอันตรวาสกย้อยข้างหน้าบ้าง ข้างหลังบ้าง จริงหรือ” พวกภิกษุฉัพพัคคีย์
ทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “โมฆบุรุษ
ทั้งหลาย ไฉนพวกเธอจึงครองอันตรวาสกย้อยข้างหน้าบ้าง ข้างหลังบ้างเล่า
โมฆบุรุษทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำ
คนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยก
สิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้

พระบัญญัติ
๑. พึงทำความสำเหนียกว่า เราจักครองอันตรวาสกให้เรียบร้อย
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ

สิกขาบทวิภังค์
ภิกษุพึงครองอันตรวาสกให้เรียบร้อย คือปิดบริเวณสะดือ บริเวณเข่า
ภิกษุใดไม่เอื้อเฟื้อ ครองอันตรวาสกย้อยข้างหน้าบ้าง ข้างหลังบ้าง ต้อง
อาบัติทุกกฏ

อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ

๑. ภิกษุไม่จงใจ ๒. ภิกษุไม่มีสติ
๓. ภิกษุผู้ไม่รู้ ๔. ภิกษุผู้เป็นไข้
๕. ภิกษุผู้มีเหตุขัดข้อง ๖. ภิกษุวิกลจริต
๗. ภิกษุต้นบัญญัติ

สิกขาบทที่ ๑ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๖๕๐ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๗.เสขิยกัณฑ์] ๑.ปริมัณฑลวรรค สิกขาบทที่ ๒
สิกขาบทที่ ๒

เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๕๗๗] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ครอง
อุตตราสงค์ย้อยข้างหน้าบ้าง ข้างหลังบ้าง ฯลฯ๑

พระบัญญัติ
๒. พึงทำความสำเหนียกว่า เราจักครองอุตตราสงค์ให้เรียบร้อย
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ

สิกขาบทวิภังค์
ภิกษุพึงครองอุตตราสงค์ให้เรียบร้อย คือ ทำชายจีวรทั้งสองให้เสมอกัน
ภิกษุใดไม่เอื้อเฟื้อ ครองอุตตราสงค์ย้อยข้างหน้าบ้าง ย้อยข้างหลังบ้าง ต้อง
อาบัติทุกกฏ

อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ

๑. ภิกษุไม่จงใจ ๒. ภิกษุไม่มีสติ
๓. ภิกษุผู้ไม่รู้ ๔. ภิกษุผู้เป็นไข้
๕. ภิกษุผู้มีเหตุขัดข้อง ๖. ภิกษุวิกลจริต
๗. ภิกษุต้นบัญญัติ

สิกขาบทที่ ๒ จบ

เชิงอรรถ :
๑ ข้อความที่ย่อไว้มีความเต็มเหมือนปริมัณฑลวรรค สิกขาบทที่ ๑ ข้อ ๕๗๖ เปลี่ยนแต่เนื้อความเฉพาะ
ของแต่ละสิกขาบท

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๖๕๑ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๗.เสขิยกัณฑ์] ๑.ปริมัณฑลวรรค สิกขาบทที่ ๓
สิกขาบทที่ ๓

เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๕๗๘] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์เดินเปิดกาย
ไปในละแวกบ้าน ฯลฯ

พระบัญญัติ
๓. พึงสำเหนียกว่า เราจักปกปิดกายให้ดี ไปในละแวกบ้าน
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ

สิกขาบทวิภังค์
ภิกษุพึงปกปิดกายให้ดี ไปในละแวกบ้าน
ภิกษุใดไม่เอื้อเฟื้อ เดินเปิดกายไปในละแวกบ้าน ต้องอาบัติทุกกฏ

อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ

๑. ภิกษุไม่จงใจ ๒. ภิกษุไม่มีสติ
๓. ภิกษุผู้ไม่รู้ ๔. ภิกษุผู้เป็นไข้
๕. ภิกษุผู้มีเหตุขัดข้อง ๖. ภิกษุวิกลจริต
๗. ภิกษุต้นบัญญัติ

สิกขาบทที่ ๓ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๖๕๒ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๗.เสขิยกัณฑ์] ๑.ปริมัณฑลวรรค สิกขาบทที่ ๔
สิกขาบทที่ ๔

เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๕๗๙] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์นั่งเปิดกาย
ในละแวกบ้าน ฯลฯ

พระบัญญัติ
๔. พึงทำความสำเหนียกว่า เราจักปกปิดกายให้ดี นั่งในละแวกบ้าน
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ

สิกขาบทวิภังค์
ภิกษุพึงปกปิดกายให้ดีนั่งในละแวกบ้าน
ภิกษุใดไม่เอื้อเฟื้อ นั่งเปิดกายในละแวกบ้าน ต้องอาบัติทุกกฏ

อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ

๑. ภิกษุไม่จงใจ ๒. ภิกษุไม่มีสติ
๓. ภิกษุผู้ไม่รู้ ๔. ภิกษุผู้เป็นไข้
๕. ภิกษุอยู่ในที่พัก ๖. ภิกษุผู้มีเหตุขัดข้อง
๗. ภิกษุวิกลจริต ๘. ภิกษุต้นบัญญัติ

สิกขาบทที่ ๔ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๖๕๓ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๗.เสขิยกัณฑ์] ๑.ปริมัณฑลวรรค สิกขาบทที่ ๕
สิกขาบทที่ ๕

เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๕๘๐] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์เดินคะนอง
มือบ้าง คะนองเท้าบ้าง ไปในละแวกบ้าน ฯลฯ

พระบัญญัติ
๕. พึงทำความสำเหนียกว่า เราจักสำรวมดี ไปในละแวกบ้าน
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ

สิกขาบทวิภังค์
ภิกษุพึงสำรวมดี ไปในละแวกบ้าน
ภิกษุใดไม่เอื้อเฟื้อ คะนองมือบ้าง คะนองเท้าบ้าง ไปในละแวกบ้าน ต้อง
อาบัติทุกกฏ

อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ

๑. ภิกษุไม่จงใจ ๒. ภิกษุไม่มีสติ
๓. ภิกษุผู้ไม่รู้ ๔. ภิกษุผู้เป็นไข้
๕. ภิกษุผู้มีเหตุขัดข้อง ๖. ภิกษุวิกลจริต
๗. ภิกษุต้นบัญญัติ

สิกขาบทที่ ๕ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๖๕๔ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๗.เสขิยกัณฑ์] ๑.ปริมัณฑลวรรค สิกขาบทที่ ๖
สิกขาบทที่ ๖

เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๕๘๑] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์คะนองมือบ้าง
คะนองเท้าบ้าง นั่งในละแวกบ้าน ฯลฯ

พระบัญญัติ
๖. พึงทำความสำเหนียกว่า เราจักสำรวมดี นั่งในละแวกบ้าน
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ

สิกขาบทวิภังค์
ภิกษุพึงสำรวมดี นั่งในละแวกบ้าน
ภิกษุใดไม่เอื้อเฟื้อ คะนองมือบ้าง คะนองเท้าบ้าง นั่งในละแวกบ้าน ต้อง
อาบัติทุกกฏ

อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ

๑. ภิกษุไม่จงใจ ๒. ภิกษุไม่มีสติ
๓. ภิกษุผู้ไม่รู้ ๔. ภิกษุผู้เป็นไข้
๕. ภิกษุผู้มีเหตุขัดข้อง ๖. ภิกษุวิกลจริต
๗. ภิกษุต้นบัญญัติ

สิกขาบทที่ ๖ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๖๕๕ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๗.เสขิยกัณฑ์] ๑.ปริมัณฑลวรรค สิกขาบทที่ ๗
สิกขาบทที่ ๗

เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๕๘๒] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์เดินมองดูที่
นั้น ๆ ไปในละแวกบ้าน ฯลฯ

พระบัญญัติ
๗. พึงทำความสำเหนียกว่า เราจักทอดจักษุลง ไปในละแวกบ้าน
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ

สิกขาบทวิภังค์
ภิกษุพึงทอดจักษุลง มองดูชั่วแอก ไปในละแวกบ้าน
ภิกษุใดไม่เอื้อเฟื้อ เดินมองดูที่นั้น ๆ ไปในละแวกบ้าน ต้องอาบัติทุกกฏ

อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ

๑. ภิกษุไม่จงใจ ๒. ภิกษุไม่มีสติ
๓. ภิกษุผู้ไม่รู้ ๔. ภิกษุผู้เป็นไข้
๕. ภิกษุผู้มีเหตุขัดข้อง ๖. ภิกษุวิกลจริต
๗. ภิกษุต้นบัญญัติ

สิกขาบทที่ ๗ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๖๕๖ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๗.เสขิยกัณฑ์] ๑.ปริมัณฑลวรรค สิกขาบทที่ ๘
สิกขาบทที่ ๘

เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๕๘๓] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์นั่งมองดูที่
นั้น ๆ ในละแวกบ้าน ฯลฯ

พระบัญญัติ
๘. พึงสำเหนียกว่า เราจักมีจักษุทอดลง นั่งในละแวกบ้าน
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ

สิกขาบทวิภังค์
ภิกษุพึงมีจักษุทอดลง มองดูชั่วแอก นั่งในละแวกบ้าน
ภิกษุใดไม่เอื้อเฟื้อ นั่งมองดูที่นั้น ๆ ในละแวกบ้าน ต้องอาบัติทุกกฏ

อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ

๑. ภิกษุไม่จงใจ ๒. ภิกษุไม่มีสติ
๓. ภิกษุผู้ไม่รู้ ๔. ภิกษุผู้เป็นไข้
๕. ภิกษุผู้มีเหตุขัดข้อง ๖. ภิกษุวิกลจริต
๗. ภิกษุต้นบัญญัติ

สิกขาบทที่ ๘ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๖๕๗ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๗.เสขิยกัณฑ์] ๑.ปริมัณฑลวรรค สิกขาบทที่ ๙
สิกขาบทที่ ๙

เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๕๘๔] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์เดินเวิกผ้า
ไปในละแวกบ้าน ฯลฯ

พระบัญญัติ
๙. พึงทำความสำเหนียกว่า เราจักไม่เวิกผ้า ไปในละแวกบ้าน
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ

สิกขาบทวิภังค์
ภิกษุไม่พึงเวิกผ้า ไปในละแวกบ้าน
ภิกษุใดไม่เอื้อเฟื้อ เวิกผ้าขึ้นข้างเดียวหรือทั้งสองข้าง ไปในละแวกบ้าน ต้อง
อาบัติทุกกฏ

อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ

๑. ภิกษุไม่จงใจ ๒. ภิกษุไม่มีสติ
๓. ภิกษุผู้ไม่รู้ ๔. ภิกษุผู้เป็นไข้
๕. ภิกษุผู้มีเหตุขัดข้อง ๖. ภิกษุวิกลจริต
๗. ภิกษุต้นบัญญัติ

สิกขาบทที่ ๙ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๖๕๘ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๗.เสขิยกัณฑ์] ๑.ปริมัณฑลวรรค สิกขาบทที่ ๑๐
สิกขาบทที่ ๑๐

เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๕๘๕] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์นั่งเวิกผ้าใน
ละแวกบ้าน ฯลฯ

พระบัญญัติ
๑๐. พึงทำความสำเหนียกว่า เราจักไม่นั่งเวิกผ้าในละแวกบ้าน
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ

สิกขาบทวิภังค์
ภิกษุไม่พึงนั่งเวิกผ้าในละแวกบ้าน
ภิกษุใดไม่เอื้อเฟื้อ นั่งเวิกผ้าขึ้นข้างเดียวหรือทั้งสองข้างในละแวกบ้าน ต้อง
อาบัติทุกกฏ

อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ

๑. ภิกษุไม่จงใจ ๒. ภิกษุไม่มีสติ
๓. ภิกษุผู้ไม่รู้ ๔. ภิกษุผู้เป็นไข้
๕. ภิกษุอยู่ในที่พัก ๖. ภิกษุผู้มีเหตุขัดข้อง
๗. ภิกษุวิกลจริต ๘. ภิกษุต้นบัญญัติ

สิกขาบทที่ ๑๐ จบ
ปริมัณฑลวรรคที่ ๑ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๖๕๙ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๗.เสขิยกัณฑ์] ๒.อุชชัคฆิกวรรค สิกขาบทที่ ๑
๒. อุชชัคฆิกวรรค
หมวดว่าด้วยการหัวเราะ

สิกขาบทที่ ๑

เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๕๘๖] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์หัวเราะดังไปใน
ละแวกบ้าน ฯลฯ

พระบัญญัติ
๑. พึงทำความสำเหนียกว่า เราจักไม่หัวเราะดัง ไปในละแวกบ้าน
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ

สิกขาบทวิภังค์
ภิกษุไม่พึงหัวเราะดัง ไปในละแวกบ้าน
ภิกษุใดไม่เอื้อเฟื้อ หัวเราะดัง ไปในละแวกบ้าน ต้องอาบัติทุกกฏ

อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ

๑. ภิกษุไม่จงใจ ๒. ภิกษุไม่มีสติ
๓. ภิกษุผู้ไม่รู้ ๔. ภิกษุผู้เป็นไข้
๕. ภิกษุเพียงยิ้มแย้มเมื่อมีเรื่องขบขัน ๖. ภิกษุผู้มีเหตุขัดข้อง
๗. ภิกษุวิกลจริต ๘. ภิกษุต้นบัญญัติ

สิกขาบทที่ ๑ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๖๖๐ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๗.เสขิยกัณฑ์] ๒.อุชชัคฆิกวรรค สิกขาบทที่ ๒
สิกขาบทที่ ๒

เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๕๘๗] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์นั่งหัวเราะดังใน
ละแวกบ้าน ฯลฯ

พระบัญญัติ
๒. พึงทำความสำเหนียกว่า เราจักไม่นั่งหัวเราะดังในละแวกบ้าน
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ

สิกขาบทวิภังค์
ภิกษุไม่พึงนั่งหัวเราะดังในละแวกบ้าน
ภิกษุใดไม่เอื้อเฟื้อ นั่งหัวเราะดังในละแวกบ้าน ต้องอาบัติทุกกฏ

อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ

๑. ภิกษุไม่จงใจ ๒. ภิกษุไม่มีสติ
๓. ภิกษุผู้ไม่รู้ ๔. ภิกษุผู้เป็นไข้
๕. ภิกษุเพียงยิ้มแย้มเมื่อมีเรื่องขบขัน ๖. ภิกษุผู้มีเหตุขัดข้อง
๗. ภิกษุวิกลจริต ๘. ภิกษุต้นบัญญัติ

สิกขาบทที่ ๒ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๖๖๑ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๗.เสขิยกัณฑ์] ๒.อุชชัคฆิกวรรค สิกขาบทที่ ๓
สิกขาบทที่ ๓

เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๕๘๘] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ตะโกนเสียงดัง
ไปในละแวกบ้าน ฯลฯ

พระบัญญัติ
๓. พึงทำความสำเหนียกว่า เราจักพูดเสียงเบา ไปในละแวกบ้าน
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ

สิกขาบทวิภังค์
ภิกษุพึงพูดเสียงเบาไปในละแวกบ้าน
ภิกษุใดไม่เอื้อเฟื้อ ตะโกนเสียงดังไปในละแวกบ้าน ต้องอาบัติทุกกฏ

อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ

๑. ภิกษุไม่จงใจ ๒. ภิกษุไม่มีสติ
๓. ภิกษุผู้ไม่รู้ ๔. ภิกษุผู้เป็นไข้
๕. ภิกษุผู้มีเหตุขัดข้อง ๖. ภิกษุวิกลจริต
๗. ภิกษุต้นบัญญัติ

สิกขาบทที่ ๓ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๖๖๒ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๗.เสขิยกัณฑ์] ๒.อุชชัคฆิกวรรค สิกขาบทที่ ๔
สิกขาบทที่ ๔

เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๕๘๙] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์นั่งตะโกนเสียง
ดังในละแวกบ้าน ฯลฯ

พระบัญญัติ
๔. พึงทำความสำเหนียกว่า เราจักนั่งพูดเสียงเบาในละแวกบ้าน
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ

สิกขาบทวิภังค์
ภิกษุพึงนั่งพูดเสียงเบาในละแวกบ้าน
ภิกษุใดไม่เอื้อเฟื้อ นั่งตะโกนเสียงดังในละแวกบ้าน ต้องอาบัติทุกกฏ

อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ ไม่ต้องอาบัติ คือ

๑. ภิกษุไม่จงใจ ๒. ภิกษุไม่มีสติ
๓. ภิกษุผู้ไม่รู้ ๔. ภิกษุผู้เป็นไข้
๕. ภิกษุผู้มีเหตุขัดข้อง ๖. ภิกษุวิกลจริต
๗. ภิกษุต้นบัญญัติ

สิกขาบทที่ ๔ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๖๖๓ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๗.เสขิยกัณฑ์] ๒.อุชชัคฆิกวรรค สิกขาบทที่ ๕
สิกขาบทที่ ๕

เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๕๙๐] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์เดินโคลงกาย
ไปในละแวกบ้าน ฯลฯ

พระบัญญัติ
๕. พึงทำความสำเหนียกว่า เราจักไม่เดินโคลงกายไปในละแวกบ้าน
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ

สิกขาบทวิภังค์
ภิกษุไม่พึงเดินโคลงกายไป พึงเดินประคองกาย๑ ไปในละแวกบ้าน
ภิกษุใดไม่เอื้อเฟื้อ เดินโคลงกายไปในละแวกบ้าน ต้องอาบัติทุกกฏ

อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ

๑. ภิกษุไม่จงใจ ๒. ภิกษุไม่มีสติ
๓. ภิกษุผู้ไม่รู้ ๔. ภิกษุผู้เป็นไข้
๕. ภิกษุผู้มีเหตุขัดข้อง ๖. ภิกษุวิกลจริต
๗. ภิกษุต้นบัญญัติ

สิกขาบทที่ ๕ จบ

เชิงอรรถ :
๑ ประคองกาย คือไม่เดินไหวกาย เดินกายตรง ไปด้วยอิริยาบถสม่ำเสมอ (วิ.อ. ๒/๕๙๐/๔๕๐)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๖๖๔ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๗.เสขิยกัณฑ์] ๒.อุชชัคฆิกวรรค สิกขาบทที่ ๖
สิกขาบทที่ ๖

เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๕๙๑] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์นั่งโคลงกาย
ในละแวกบ้าน ฯลฯ

พระบัญญัติ
๖. พึงทำความสำเหนียกว่า เราจักไม่นั่งโคลงกายในละแวกบ้าน
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ

สิกขาบทวิภังค์
ภิกษุไม่พึงนั่งโคลงกาย พึงนั่งประคองกาย๑ ในละแวกบ้าน
ภิกษุใดไม่เอื้อเฟื้อ นั่งโคลงกายในละแวกบ้าน ต้องอาบัติทุกกฏ

อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ ไม่ต้องอาบัติ คือ

๑. ภิกษุไม่จงใจ ๒. ภิกษุไม่มีสติ
๓. ภิกษุผู้ไม่รู้ ๔. ภิกษุผู้เป็นไข้
๕. ภิกษุอยู่ในที่พัก ๖. ภิกษุผู้มีเหตุขัดข้อง
๗. ภิกษุวิกลจริต ๘. ภิกษุต้นบัญญัติ

สิกขาบทที่ ๖ จบ

เชิงอรรถ :
๑ นั่งประคองกาย คือไม่นั่งไหวกาย นั่งกายตรง นั่งด้วยอิริยาบถสม่ำเสมอ (วิ.อ. ๒/๕๙๐/๔๕๐)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๖๖๕ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๗.เสขิยกัณฑ์] ๒.อุชชัคฆิกวรรค สิกขาบทที่ ๗
สิกขาบทที่ ๗

เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๕๙๒] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์เดินแกว่งแขน
ห้อยแขนไปในละแวกบ้าน ฯลฯ

พระบัญญัติ
๗. พึงทำความสำเหนียกว่า เราจักไม่เดินแกว่งแขนไปในละแวกบ้าน
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ

สิกขาบทวิภังค์
ภิกษุไม่พึงแกว่งแขนไป พึงเดินประคองแขน๑ ไปในละแวกบ้าน
ภิกษุใดไม่เอื้อเฟื้อ แกว่งแขน เดินห้อยแขนไปในละแวกบ้าน ต้องอาบัติทุกกฏ

อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ

๑. ภิกษุไม่จงใจ ๒. ภิกษุไม่มีสติ
๓. ภิกษุผู้ไม่รู้ ๔. ภิกษุผู้เป็นไข้
๕. ภิกษุผู้มีเหตุขัดข้อง ๖. ภิกษุวิกลจริต
๗. ภิกษุต้นบัญญัติ

สิกขาบทที่ ๗ จบ

เชิงอรรถ :
๑ เดินประคองแขน คือไม่เดินกระดิกแขน (วิ.อ. ๒/๕๙๒/๔๕๐)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๖๖๖ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๗.เสขิยกัณฑ์] ๒.อุชชัคฆิกวรรค สิกขาบทที่ ๘
สิกขาบทที่ ๘

เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๕๙๓] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์นั่งแกว่งแขน
ห้อยแขนในละแวกบ้าน ฯลฯ

พระบัญญัติ
๘. พึงทำความสำเหนียกว่า เราจักไม่นั่งแกว่งแขนในละแวกบ้าน
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ

สิกขาบทวิภังค์
ภิกษุไม่พึงนั่งแกว่งแขน พึงนั่งประคองแขนในละแวกบ้าน
ภิกษุใดไม่เอื้อเฟื้อ นั่งแกว่งแขนห้อยแขนในละแวกบ้าน ต้องอาบัติทุกกฏ

อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ

๑. ภิกษุไม่จงใจ ๒. ภิกษุไม่มีสติ
๓. ภิกษุผู้ไม่รู้ ๔. ภิกษุผู้เป็นไข้
๕. ภิกษุอยู่ในที่พัก ๖. ภิกษุผู้มีเหตุขัดข้อง
๗. ภิกษุวิกลจริต ๘. ภิกษุต้นบัญญัติ

สิกขาบทที่ ๘ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๖๖๗ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๗.เสขิยกัณฑ์] ๒.อุชชัคฆิกวรรค สิกขาบทที่ ๙
สิกขาบทที่ ๙

เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๕๙๔] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์เดินโคลง
ศีรษะทำคอพับไปในละแวกบ้าน ฯลฯ

พระบัญญัติ
๙. พึงทำความสำเหนียกว่า เราจักไม่เดินโคลงศีรษะไปในละแวกบ้าน
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ

สิกขาบทวิภังค์
ภิกษุไม่พึงเดินโคลงศีรษะไป พึงเดินประคองศีรษะ๑ ไปในละแวกบ้าน
ภิกษุใดไม่เอื้อเฟื้อ เดินโคลงศีรษะทำคอพับไปในละแวกบ้าน ต้องอาบัติทุกกฏ

อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ

๑. ภิกษุไม่จงใจ ๒. ภิกษุไม่มีสติ
๓. ภิกษุผู้ไม่รู้ ๔. ภิกษุผู้เป็นไข้
๕. ภิกษุผู้มีเหตุขัดข้อง ๖. ภิกษุวิกลจริต
๗. ภิกษุต้นบัญญัติ

สิกขาบทที่ ๙ จบ

เชิงอรรถ :
๑ ประคองศีรษะ คือตั้งศีรษะตรง ไม่ไหวเอน (วิ.อ. ๒/๕๙๔/๔๕๐)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๖๖๘ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๗.เสขิยกัณฑ์] ๒.อุชชัคฆิกวรรค สิกขาบทที่ ๑๐
สิกขาบทที่ ๑๐

เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๕๙๕] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์นั่งโคลงศีรษะ
ทำคอพับในละแวกบ้าน ฯลฯ

พระบัญญัติ
๑๐. พึงทำความสำเหนียกว่า เราจักไม่นั่งโคลงศีรษะในละแวกบ้าน
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ

สิกขาบทวิภังค์
ภิกษุไม่พึงนั่งโคลงศีรษะ พึงนั่งประคองศีรษะในละแวกบ้าน
ภิกษุใดไม่เอื้อเฟื้อ นั่งโคลงศีรษะทำคอพับในละแวกบ้าน ต้องอาบัติทุกกฏ

อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ

๑. ภิกษุไม่จงใจ ๒. ภิกษุไม่มีสติ
๓. ภิกษุผู้ไม่รู้ ๔. ภิกษุผู้เป็นไข้
๕. ภิกษุอยู่ในที่พัก ๖. ภิกษุผู้มีเหตุขัดข้อง
๗. ภิกษุวิกลจริต ๘. ภิกษุต้นบัญญัติ

สิกขาบทที่ ๑๐ จบ
อุชชัคฆิกวรรคที่ ๒ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๖๖๙ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๗.เสขิยกัณฑ์] ๓.ขัมภตกวรรค สิกขาบทที่ ๑
๓. ขัมภตกวรรค
หมวดว่าด้วยการเท้าสะเอว

สิกขาบทที่ ๑

เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๕๙๖] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์เดินเท้าสะเอว
ไปในละแวกบ้าน ฯล

พระบัญญัติ
๑. พึงทำความสำเหนียกว่า เราจักไม่เดินเท้าสะเอวไปในละแวกบ้าน
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ

สิกขาบทวิภังค์
ภิกษุไม่พึงเดินเท้าสะเอวไปในละแวกบ้าน
ภิกษุใดไม่เอื้อเฟื้อ เดินเท้าสะเอวข้างเดียวหรือสองข้างไปในละแวกบ้าน ต้อง
อาบัติทุกกฏ

อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ

๑. ภิกษุไม่จงใจ ๒. ภิกษุไม่มีสติ
๓. ภิกษุผู้ไม่รู้ ๔. ภิกษุผู้เป็นไข้
๕. ภิกษุผู้มีเหตุขัดข้อง ๖. ภิกษุวิกลจริต
๗. ภิกษุต้นบัญญัติ

สิกขาบทที่ ๑ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๖๗๐ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๗.เสขิยกัณฑ์] ๓.ขัมภตกวรรค สิกขาบทที่ ๒
สิกขาบทที่ ๒

เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๕๙๗] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์นั่งเท้าสะเอว
ในละแวกบ้าน ฯลฯ

พระบัญญัติ
๒. พึงทำความสำเหนียกว่า เราจักไม่นั่งเท้าสะเอวในละแวกบ้าน
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ

สิกขาบทวิภังค์
ภิกษุไม่พึงนั่งเท้าสะเอวในละแวกบ้าน
ภิกษุใดไม่เอื้อเฟื้อ นั่งเท้าสะเอวข้างเดียวหรือสองข้างในละแวกบ้าน ต้องอาบัติ
ทุกกฏ

อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ

๑. ภิกษุไม่จงใจ ๒. ภิกษุไม่มีสติ
๓. ภิกษุผู้ไม่รู้ ๔. ภิกษุผู้เป็นไข้
๕. ภิกษุอยู่ในที่พัก ๖. ภิกษุผู้มีเหตุขัดข้อง
๗. ภิกษุวิกลจริต ๘. ภิกษุต้นบัญญัติ

สิกขาบทที่ ๒ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๖๗๑ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๗.เสขิยกัณฑ์] ๓.ขัมภตกวรรค สิกขาบทที่ ๓
สิกขาบทที่ ๓

เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๕๙๘] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์เดินคลุมศีรษะ
ไปในละแวกบ้าน ฯลฯ

พระบัญญัติ
๓. พึงทำความสำเหนียกว่า เราจักไม่เดินคลุมศีรษะไปในละแวกบ้าน
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ

สิกขาบทวิภังค์
ภิกษุไม่พึงเดินคลุมศีรษะไปในละแวกบ้าน
ภิกษุใดไม่เอื้อเฟื้อ เดินคลุมศีรษะไปในละแวกบ้าน ต้องอาบัติทุกกฏ

อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ

๑. ภิกษุไม่จงใจ ๒. ภิกษุไม่มีสติ
๓. ภิกษุผู้ไม่รู้ ๔. ภิกษุผู้เป็นไข้
๕. ภิกษุผู้มีเหตุขัดข้อง ๖. ภิกษุวิกลจริต
๗. ภิกษุต้นบัญญัติ

สิกขาบทที่ ๓ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๖๗๒ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๗.เสขิยกัณฑ์] ๓.ขัมภตกวรรค สิกขาบทที่ ๔
สิกขาบทที่ ๔

เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๕๙๙] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์นั่งคลุมศีรษะ
ในละแวกบ้าน ฯลฯ

พระบัญญัติ
๔. พึงทำความสำเหนียกว่า เราจักไม่นั่งคลุมศีรษะในละแวกบ้าน
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ

สิกขาบทวิภังค์
ภิกษุไม่พึงนั่งคลุมศีรษะในละแวกบ้าน
ภิกษุใดไม่เอื้อเฟื้อ นั่งคลุมศีรษะในละแวกบ้าน ต้องอาบัติทุกกฏ

อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ

๑. ภิกษุไม่จงใจ ๒. ภิกษุไม่มีสติ
๓. ภิกษุผู้ไม่รู้ ๔. ภิกษุผู้เป็นไข้
๕. ภิกษุอยู่ในที่พัก ๖. ภิกษุผู้มีเหตุขัดข้อง
๗. ภิกษุวิกลจริต ๘. ภิกษุต้นบัญญัติ

สิกขาบทที่ ๔ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๖๗๓ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๗.เสขิยกัณฑ์] ๓.ขัมภตกวรรค สิกขาบทที่ ๕
สิกขาบทที่ ๕

เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๖๐๐] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์เดินกระโหย่ง
ไปในละแวกบ้าน ฯลฯ

พระบัญญัติ
๕. พึงทำความสำเหนียกว่า เราจักไม่เดินกระโหย่งไปในละแวกบ้าน
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ

สิกขาบทวิภังค์
ภิกษุไม่พึงเดินกระโหย่งไปในละแวกบ้าน
ภิกษุใดไม่เอื้อเฟื้อ เดินกระโหย่งไปในละแวกบ้าน ต้องอาบัติทุกกฏ

อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ

๑. ภิกษุไม่จงใจ ๒. ภิกษุไม่มีสติ
๓. ภิกษุผู้ไม่รู้ ๔. ภิกษุผู้เป็นไข้
๕. ภิกษุอยู่ในที่พัก ๖. ภิกษุผู้มีเหตุขัดข้อง
๗. ภิกษุวิกลจริต ๘. ภิกษุต้นบัญญัติ

สิกขาบทที่ ๕ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๖๗๔ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๗.เสขิยกัณฑ์] ๓.ขัมภตกวรรค สิกขาบทที่ ๖
สิกขาบทที่ ๖

เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๖๐๑] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์นั่งรัดเข่าใน
ละแวกบ้าน ฯลฯ

พระบัญญัติ
๖. พึงทำความสำเหนียกว่า เราจักไม่นั่งรัดเข่าในละแวกบ้าน
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ

สิกขาบทวิภังค์
ภิกษุไม่พึงนั่งรัดเข่าในละแวกบ้าน
ภิกษุใดไม่เอื้อเฟื้อ นั่งรัดเข่าด้วยมือหรือด้วยผ้าในละแวกบ้าน ต้องอาบัติ
ทุกกฏ

อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ

๑. ภิกษุไม่จงใจ ๒. ภิกษุไม่มีสติ
๓. ภิกษุผู้ไม่รู้ ๔. ภิกษุผู้เป็นไข้
๕. ภิกษุอยู่ในที่พัก ๖. ภิกษุผู้มีเหตุขัดข้อง
๗. ภิกษุวิกลจริต ๘. ภิกษุต้นบัญญัติ

สิกขาบทที่ ๖ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๖๗๕ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๗.เสขิยกัณฑ์] ๓.ขัมภตกวรรค สิกขาบทที่ ๗
สิกขาบทที่ ๗

เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๖๐๒] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์รับบิณฑบาต
โดยไม่ให้ความสำคัญ ทำทีเหมือนจะทิ้ง ฯลฯ

พระบัญญัติ
๗. พึงทำความสำเหนียกว่า เราจักรับบิณฑบาตโดยเคารพ
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ

สิกขาบทวิภังค์
ภิกษุพึงรับบิณฑบาตโดยเคารพ
ภิกษุใดไม่เอื้อเฟื้อ รับบิณฑบาตโดยไม่เคารพ ทำเหมือนจะทิ้ง ต้องอาบัติ
ทุกกฏ

อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ

๑. ภิกษุไม่จงใจ ๒. ภิกษุไม่มีสติ
๓. ภิกษุผู้ไม่รู้ ๔. ภิกษุผู้เป็นไข้
๕. ภิกษุผู้มีเหตุขัดข้อง ๖. ภิกษุวิกลจริต
๗. ภิกษุต้นบัญญัติ

สิกขาบทที่ ๗ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๖๗๖ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๗.เสขิยกัณฑ์] ๓.ขัมภตกวรรค สิกขาบทที่ ๘
สิกขาบทที่ ๘

เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๖๐๓] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์รับบิณฑบาต
มองดูที่นั้น ๆ เมื่อเขากำลังเกลี่ย(บิณฑบาต)บ้าง เสร็จไปแล้วบ้าง ก็ยังไม่รู้สึกตัว
ฯลฯ

พระบัญญัติ
๘. พึงทำความสำเหนียกว่า เราจักให้ความสำคัญในบาตรขณะรับบิณฑบาต
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ

สิกขาบทวิภังค์
ภิกษุพึงให้ความสำคัญในบาตรขณะรับบิณฑบาต
ภิกษุใดไม่เอื้อเฟื้อ รับบิณฑบาตมองดูที่นั้น ๆ ต้องอาบัติทุกกฏ

อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ

๑. ภิกษุไม่จงใจ ๒. ภิกษุไม่มีสติ
๓. ภิกษุผู้ไม่รู้ ๔. ภิกษุผู้เป็นไข้
๕. ภิกษุผู้มีเหตุขัดข้อง ๖. ภิกษุวิกลจริต
๗. ภิกษุต้นบัญญัติ

สิกขาบทที่ ๘ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๖๗๗ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๗.เสขิยกัณฑ์] ๓.ขัมภตกวรรค สิกขาบทที่ ๙
สิกขาบทที่ ๙

เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๖๐๔] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์เมื่อรับ
บิณฑบาต รับเอาแต่แกงเท่านั้น ฯลฯ

พระบัญญัติ
๙. พึงทำความสำเหนียกว่า เราจักรับบิณฑบาตพอเหมาะกับแกง๑
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ

สิกขาบทวิภังค์
ที่ชื่อว่า แกง ได้แก่ แกง ๒ ชนิด คือ (๑) แกงถั่วเขียว (๒) แกงถั่วเหลือง
ที่ใช้มือหยิบได้
ภิกษุพึงรับบิณฑบาตพอเหมาะกับแกง
ภิกษุใดไม่เอื้อเฟื้อ เลือกรับเฉพาะแกงมาก ต้องอาบัติทุกกฏ

อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ

เชิงอรรถ :
๑ บิณฑบาต คือ ภัตตาหารที่มีแกงผสมอยู่ประมาณ ๑ ใน ๔ ส่วน คือ บิณฑบาต ๓ ส่วน แกง ๑ ส่วน ชื่อว่า
บิณฑบาตพอเหมาะกับแกง (วิ.อ. ๒/๖๐๔/๔๕๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๖๗๘ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๗.เสขิยกัณฑ์] ๓.ขัมภตกวรรค สิกขาบทที่ ๙

๑. ภิกษุไม่จงใจ ๒. ภิกษุไม่มีสติ
๓. ภิกษุผู้ไม่รู้ ๔. ภิกษุผู้เป็นไข้
๕. ภิกษุรับแกงหลายอย่าง ๖. ภิกษุรับของญาติ
๗. ภิกษุรับของผู้ปวารณา ๘. ภิกษุรับเพื่อผู้อื่น
๙. ภิกษุจ่ายมาด้วยทรัพย์ของตน ๑๐. ภิกษุผู้มีเหตุขัดข้อง
๑๑. ภิกษุวิกลจริต ๑๒. ภิกษุต้นบัญญัติ

สิกขาบทที่ ๙ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๖๗๙ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๗.เสขิยกัณฑ์] ๓.ขัมภตกวรรค สิกขาบทที่ ๑๐
สิกขาบทที่ ๑๐

เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๖๐๕] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์รับบิณฑบาต
ล้นขอบปากบาตร ฯลฯ

พระบัญญัติ
๑๐. พึงทำความสำเหนียกว่า เราจักรับบิณฑบาตเสมอขอบปากบาตร
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ

สิกขาบทวิภังค์
ภิกษุพึงรับบิณฑบาตเสมอขอบปากบาตร
ภิกษุใดไม่เอื้อเฟื้อ รับบิณฑบาตจนล้นขอบปากบาตร ต้องอาบัติทุกกฏ

อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ ไม่ต้องอาบัติ คือ

๑. ภิกษุไม่จงใจ ๒. ภิกษุไม่มีสติ
๓. ภิกษุผู้ไม่รู้ ๔. ภิกษุผู้มีเหตุขัดข้อง
๕. ภิกษุวิกลจริต ๖. ภิกษุต้นบัญญัติ

สิกขาบทที่ ๑๐ จบ
ขัมภกตวรรคที่ ๓ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๖๘๐ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๗.เสขิยกัณฑ์] ๔.สักกัจจวรรค สิกขาบทที่ ๑
๔. สักกัจจวรรค
หมวดว่าด้วยความเคารพ

สิกขาบทที่ ๑

เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๖๐๖] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ฉันบิณฑบาต
โดยไม่เคารพ ทำเหมือนไม่อยากจะฉัน ฯลฯ

พระบัญญัติ
๑. พึงทำความสำเหนียกว่า เราจักฉันบิณฑบาตโดยเคารพ
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ

สิกขาบทวิภังค์
ภิกษุพึงฉันบิณฑบาตโดยเคารพ
ภิกษุใดไม่เอื้อเฟื้อ ฉันบิณฑบาตโดยไม่เคารพ ทำเหมือนไม่อยากจะฉัน ต้อง
อาบัติทุกกฏ

อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ

๑. ภิกษุไม่จงใจ ๒. ภิกษุไม่มีสติ
๓. ภิกษุผู้ไม่รู้ ๔. ภิกษุผู้เป็นไข้
๕. ภิกษุผู้มีเหตุขัดข้อง ๖. ภิกษุวิกลจริต
๗. ภิกษุต้นบัญญัติ

สิกขาบทที่ ๑ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๖๘๑ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๗.เสขิยกัณฑ์] ๔.สักกัจจวรรค สิกขาบทที่ ๒
สิกขาบทที่ ๒

เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๖๐๗] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ฉันบิณฑบาต
มองดูไปที่นั้น ๆ เมื่อเขากำลังเกลี่ย(บิณฑบาต) เสร็จไปแล้วบ้าง ก็ยังไม่รู้สึก
ตัว ฯลฯ

พระบัญญัติ
๒. พึงทำความสำเหนียกว่า เราจักให้ความสำคัญในบาตรขณะฉันบิณฑบาต
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ

สิกขาบทวิภังค์
ภิกษุพึงให้ความสำคัญในบาตร ขณะฉันบิณฑบาต
ภิกษุใดไม่เอื้อเฟื้อ ฉันบิณฑบาตมองดูไปที่นั้น ๆ ต้องอาบัติทุกกฏ

อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ

๑. ภิกษุไม่จงใจ ๒. ภิกษุไม่มีสติ
๓. ภิกษุผู้ไม่รู้ ๔. ภิกษุผู้เป็นไข้
๕. ภิกษุผู้มีเหตุขัดข้อง ๖. ภิกษุวิกลจริต
๗. ภิกษุต้นบัญญัติ

สิกขาบทที่ ๒ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๖๘๒ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๗.เสขิยกัณฑ์] ๔.สักกัจจวรรค สิกขาบทที่ ๓
สิกขาบทที่ ๓

เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๖๐๘] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ฉันบิณฑบาต
เจาะลงในที่นั้น ๆ ฯลฯ

พระบัญญัติ
๓. พึงทำความสำเหนียกว่า เราจักฉันบิณฑบาตไปตามลำดับ
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ

สิกขาบทวิภังค์
ภิกษุพึงฉันบิณฑบาตไปตามลำดับ
ภิกษุใดไม่เอื้อเฟื้อ ฉันบิณฑบาตเจาะลงในที่นั้น ๆ ต้องอาบัติทุกกฏ

อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ

๑. ภิกษุไม่จงใจ ๒. ภิกษุไม่มีสติ
๓. ภิกษุผู้ไม่รู้ ๔. ภิกษุผู้เป็นไข้
๕. ภิกษุตักให้ผู้อื่นจึงเว้าแหว่ง ๖. ภิกษุตักเกลี่ยลงในภาชนะอื่น
จึงเว้าแหว่ง
๗. ภิกษุตักแกงอ่อม ๘. ภิกษุผู้มีเหตุขัดข้อง
๙. ภิกษุวิกลจริต ๑๐. ภิกษุต้นบัญญัติ

สิกขาบทที่ ๓ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๖๘๓ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๗.เสขิยกัณฑ์] ๔.สักกัจจวรรค สิกขาบทที่ ๔
สิกขาบทที่ ๔

เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๖๐๙] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์เมื่อฉัน
บิณฑบาต ฉันเฉพาะแกงมาก ฯลฯ

พระบัญญัติ
๔. พึงทำความสำเหนียกว่า เราจักฉันบิณฑบาตพอเหมาะกับแกง
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ

สิกขาบทวิภังค์
ที่ชื่อว่า แกง ได้แก่ ๒ ชนิด คือ (๑) แกงถั่วเขียว (๒) แกงถั่วเหลืองที่ใช้มือ
หยิบได้
ภิกษุพึงฉันบิณฑบาตพอเหมาะกับแกง
ภิกษุใดไม่เอื้อเฟื้อ ฉันเฉพาะแกงมาก ต้องอาบัติทุกกฏ

อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ

๑. ภิกษุไม่จงใจ ๒. ภิกษุไม่มีสติ
๓. ภิกษุผู้ไม่รู้ ๔. ภิกษุผู้เป็นไข้
๕. ภิกษุฉันแกงหลายอย่าง ๖. ภิกษุฉันของญาติ
๗. ภิกษุฉันของผู้ปวารณา ๘. ภิกษุฉันเพื่อผู้อื่น
๙. ภิกษุจ่ายมาด้วยทรัพย์ของตน ๑๐. ภิกษุผู้มีเหตุขัดข้อง
๑๑. ภิกษุวิกลจริต ๑๒. ภิกษุต้นบัญญัติ

สิกขาบทที่ ๔ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๖๘๔ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๗.เสขิยกัณฑ์] ๔.สักกัจจวรรค สิกขาบทที่ ๕
สิกขาบทที่ ๕

เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๖๑๐] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ฉันบิณฑบาต
ขยุ้มลงแต่ยอด ฯลฯ

พระบัญญัติ
๕. พึงทำความสำเหนียกว่า เราจักไม่ฉันบิณฑบาตขยุ้มลงแต่ยอด
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ

สิกขาบทวิภังค์
ภิกษุไม่พึงฉันบิณฑบาตขยุ้มลงแต่ยอด
ภิกษุใดไม่เอื้อเฟื้อ ฉันบิณฑบาตขยุ้มลงแต่ยอด ต้องอาบัติทุกกฏ

อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
๑. ภิกษุไม่จงใจ ๒. ภิกษุไม่มีสติ
๓. ภิกษุผู้ไม่รู้ ๔. ภิกษุผู้เป็นไข้
๕. ภิกษุกวาดตะล่อมข้าวที่เหลือรวมเป็นคำแล้วฉัน

๖. ภิกษุผู้มีเหตุขัดข้อง
๗. ภิกษุวิกลจริต ๘. ภิกษุต้นบัญญัติ

สิกขาบทที่ ๕ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๖๘๕ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๗.เสขิยกัณฑ์] ๔.สักกัจจวรรค สิกขาบทที่ ๖
สิกขาบทที่ ๖

เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๖๑๑] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ใช้ข้าวสุกกลบ
แกงบ้าง กับข้าวบ้าง เพราะอยากได้มาก ฯลฯ

พระบัญญัติ
๖. พึงทำความสำเหนียกว่า เราจักไม่ใช้ข้าวสุกกลบแกงหรือกับข้าว
เพราะอยากได้มาก
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ

สิกขาบทวิภังค์
ภิกษุไม่พึงใช้ข้าวสุกกลบแกงหรือกับข้าว เพราะอยากได้มาก
ภิกษุใดไม่เอื้อเฟื้อ ใช้ข้าวสุกกลบแกงหรือกับข้าว เพราะอยากได้มาก ต้อง
อาบัติทุกกฏ

อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ

๑. ภิกษุไม่จงใจ ๒. ภิกษุไม่มีสติ
๓. ภิกษุผู้ไม่รู้ ๔. เจ้าของกลบไว้ถวาย
๕. ภิกษุมิได้มุ่งกลบเพราะโลภมาก ๖. ภิกษุผู้มีเหตุขัดข้อง
๗. ภิกษุวิกลจริต ๘. ภิกษุต้นบัญญัติ

สิกขาบทที่ ๖ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๖๘๖ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๗.เสขิยกัณฑ์] ๔.สักกัจจวรรค สิกขาบทที่ ๗
สิกขาบทที่ ๗

เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๖๑๒] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ออกปากขอ
แกงบ้าง ข้าวสุกบ้าง มาฉันส่วนตัว พวกชาวบ้านตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า
“ไฉนพระสมณะเชื้อสายศากยบุตรจึงออกปากขอแกงบ้าง ข้าวสุกบ้าง มาฉันส่วน
ตัวเล่า ภัตตาหารที่ดีใครจะไม่พอใจ ภัตตาหารอร่อยใครจะไม่ชอบเล่า”
ภิกษุทั้งหลายได้ยินพวกชาวบ้านตำหนิ ประณาม โพนทะนา บรรดาภิกษุผู้
มักน้อย ฯลฯ จึงพากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพวกภิกษุฉัพพัคคีย์จึง
ออกปากขอแกงบ้าง ข้าวสุกบ้าง มาฉันส่วนตัวเล่า” ครั้นภิกษุทั้งหลายตำหนิพวก
ภิกษุฉัพพัคคีย์โดยประการต่าง ๆ แล้วจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้
ทรงทราบ

ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามพวกภิกษุฉัพพัคคีย์ว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า พวกเธอขอแกงบ้าง ข้าว
สุกบ้างมาฉันส่วนตัวจริงหรือ” พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ฯลฯ โมฆบุรุษทั้งหลาย ไฉนพวกเธอจึงออก
ปากขอแกงบ้าง ข้าวสุกบ้าง มาฉันส่วนตัวเล่า โมฆบุรุษทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้
มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้น
ได้เลย ฯลฯ” แล้วรึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้

พระบัญญัติ
๗. พึงทำความสำเหนียกว่า เราจักไม่ออกปากขอแกง หรือข้าวสุก มาฉัน
ส่วนตัว
สิกขาบทนี้พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติไว้แก่ภิกษุทั้งหลายอย่างนี้
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๖๘๗ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๗.เสขิยกัณฑ์] ๔.สักกัจจวรรค สิกขาบทที่ ๗
เรื่องภิกษุผู้เป็นไข้
[๖๑๓] สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายผู้เป็นไข้ พวกภิกษุผู้มีหน้าที่สอบถามอาการ
ไข้ ได้กล่าวกับพวกภิกษุผู้เป็นไข้ดังนี้ว่า “ท่านทั้งหลายสบายดีหรือ ยังพอเป็นอยู่
ได้หรือ”
พวกภิกษุผู้เป็นไข้ตอบว่า “เมื่อก่อนพวกกระผมออกปากขอแกงบ้าง ข้าวสุก
บ้างมาฉันส่วนตัว ดังนั้นจึงมีความผาสุก แต่เดี๋ยวนี้พวกกระผมมีความยำเกรงอยู่ว่า
‘พระผู้มีพระภาคทรงห้ามไว้’ จึงไม่ออกปากขอ ดังนั้นจึงไม่มีความผาสุก” พวกภิกษุ
ได้นำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ

ทรงอนุญาตให้ภิกษุผู้เป็นไข้ขอได้
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมีกถาเพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ รับสั่ง
กับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุผู้เป็นไข้ออกปากขอแกง หรือ
ข้าวสุกมาฉันส่วนตัวได้” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้

พระอนุบัญญัติ
พึงทำความสำเหนียกว่า เราไม่เป็นไข้ จักไม่ออกปากขอแกงหรือข้าวสุก
มาฉันส่วนตัว
เรื่องพระผู้เป็นไข้ จบ

สิกขาบทวิภังค์
ภิกษุไม่เป็นไข้ ไม่พึงออกปากขอแกงหรือข้าวสุกมาฉันส่วนตัว
ภิกษุใดไม่เอื้อเฟื้อ ไม่เป็นไข้ ออกปากขอแกงหรือข้าวสุกมาฉันส่วนตัว ต้อง
อาบัติทุกกฏ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๖๘๘ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๗.เสขิยกัณฑ์] ๔.สักกัจจวรรค สิกขาบทที่ ๗
อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ

๑. ภิกษุไม่จงใจ ๒. ภิกษุไม่มีสติ
๓. ภิกษุผู้ไม่รู้ ๔. ภิกษุผู้เป็นไข้
๕. ภิกษุขอจากญาติ ๖. ภิกษุขอจากคนปวารณา
๗. ภิกษุขอเพื่อผู้อื่น ๘. ภิกษุจ่ายมาด้วยทรัพย์ของตน
๙. ภิกษุผู้มีเหตุขัดข้อง ๑๐. ภิกษุวิกลจริต
๑๑. ภิกษุต้นบัญญัติ

สิกขาบทที่ ๗ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๖๘๙ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๗.เสขิยกัณฑ์] ๔.สักกัจจวรรค สิกขาบทที่ ๘
สิกขาบทที่ ๘

เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๖๑๔] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์มุ่งตำหนิ จึง
มองดูบาตรของภิกษุเหล่าอื่น ฯลฯ

พระบัญญัติ
๘. พึงทำความสำเหนียกว่า เราจักไม่มุ่งตำหนิ มองดูบาตรของภิกษุเหล่าอื่น
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ

สิกขาบทวิภังค์
ภิกษุไม่พึงมุ่งตำหนิ มองดูบาตรของภิกษุเหล่าอื่น
ภิกษุใดไม่เอื้อเฟื้อ มุ่งตำหนิ มองดูบาตรของภิกษุเหล่าอื่น ต้องอาบัติทุกกฏ

อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ

๑. ภิกษุไม่จงใจ ๒. ภิกษุไม่มีสติ
๓. ภิกษุผู้ไม่รู้ ๔. ภิกษุแลดูด้วยตั้งใจว่าจะเติมของฉัน
ให้ หรือสั่งให้เขาเติมถวาย
๕. ภิกษุไม่มุ่งจะตำหนิ ๖. ภิกษุผู้มีเหตุขัดข้อง
๗. ภิกษุวิกลจริต ๘. ภิกษุต้นบัญญัติ

สิกขาบทที่ ๘ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๖๙๐ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๗.เสขิยกัณฑ์] ๔.สักกัจจวรรค สิกขาบทที่ ๙
สิกขาบทที่ ๙

เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๖๑๕] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ทำคำข้าวใหญ่
ฯลฯ

พระบัญญัติ
๙. พึงทำความสำเหนียกว่า เราจักไม่ทำคำข้าวให้ใหญ่เกิน
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ

สิกขาบทวิภังค์
ภิกษุไม่พึงทำคำข้าวให้ใหญ่เกิน
ภิกษุใดไม่เอื้อเฟื้อ ทำคำข้าวให้ใหญ่เกิน ต้องอาบัติทุกกฏ

อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ

๑. ภิกษุไม่จงใจ ๒. ภิกษุไม่มีสติ
๓. ภิกษุผู้ไม่รู้ ๔. ภิกษุผู้เป็นไข้
๕. ภิกษุฉันของเคี้ยว ๖. ภิกษุฉันผลไม้ต่าง ๆ
๗. ภิกษุฉันแกงอ่อม ๘. ภิกษุผู้มีเหตุขัดข้อง
๙. ภิกษุวิกลจริต ๑๐. ภิกษุต้นบัญญัติ

สิกขาบทที่ ๙ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๖๙๑ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๗.เสขิยกัณฑ์] ๔.สักกัจจวรรค สิกขาบทที่ ๑๐
สิกขาบทที่ ๑๐

เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๖๑๖] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ทำคำข้าว
ยาว ฯลฯ

พระบัญญัติ
๑๐. พึงทำความสำเหนียกว่า เราจักทำคำข้าวให้กลม
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ

สิกขาบทวิภังค์
ภิกษุพึงทำคำข้าวให้กลม
ภิกษุใดไม่เอื้อเฟื้อ ทำคำข้าวยาว ต้องอาบัติทุกกฏ

อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ

๑. ภิกษุไม่จงใจ ๒. ภิกษุไม่มีสติ
๓. ภิกษุผู้ไม่รู้ ๔. ภิกษุผู้เป็นไข้
๕. ภิกษุฉันของเคี้ยว ๖. ภิกษุฉันผลไม้ต่าง ๆ
๗. ภิกษุฉันแกงอ่อม ๘. ภิกษุผู้มีเหตุขัดข้อง
๙. ภิกษุวิกลจริต ๑๐. ภิกษุต้นบัญญัติ

สิกขาบทที่ ๑๐ จบ
สักกัจจวรรคที่ ๔ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๖๙๒ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๗.เสขิยกัณฑ์] ๕.กพฬวรรค สิกขาบทที่ ๑
๕. กพฬวรรค
หมวดว่าด้วยคำข้าว

สิกขาบทที่ ๑

เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๖๑๗] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน
อารามของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ อ้าปาก
รอคำข้าวที่ยังไม่ถึงปาก ฯลฯ

พระบัญญัติ
๑. พึงทำความสำเหนียกว่า เราจักไม่อ้าปากรอคำข้าวที่ยังไม่ถึงปาก
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ

สิกขาบทวิภังค์
ภิกษุไม่พึงอ้าปากรอคำข้าวที่ยังไม่ถึงปาก
ภิกษุใดไม่เอื้อเฟื้อ อ้าปากรอคำข้าวที่ยังไม่ถึงปาก ต้องอาบัติทุกกฏ

อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ

๑. ภิกษุไม่จงใจ ๒. ภิกษุไม่มีสติ
๓. ภิกษุผู้ไม่รู้ ๔. ภิกษุผู้เป็นไข้
๕. ภิกษุผู้มีเหตุขัดข้อง ๖. ภิกษุวิกลจริต
๗. ภิกษุต้นบัญญัติ

สิกขาบทที่ ๑ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๖๙๓ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๗.เสขิยกัณฑ์] ๕.กพฬวรรค สิกขาบทที่ ๒
สิกขาบทที่ ๒

เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๖๑๘] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ขณะกำลัง
ฉัน สอดมือทั้งหมดเข้าในปาก ฯลฯ

พระบัญญัติ
๒. พึงทำความสำเหนียกว่า ขณะกำลังฉัน เราจักไม่สอดมือทั้งหมดเข้า
ในปาก
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ

สิกขาบทวิภังค์
ภิกษุขณะกำลังฉัน ไม่พึงสอดมือทั้งหมดเข้าในปาก
ภิกษุใดไม่เอื้อเฟื้อ ขณะกำลังฉันสอดมือทั้งหมดเข้าไปในปาก ต้องอาบัติทุกกฏ

อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ

๑. ภิกษุไม่จงใจ ๒. ภิกษุไม่มีสติ
๓. ภิกษุผู้ไม่รู้ ๔. ภิกษุผู้เป็นไข้
๕. ภิกษุผู้มีเหตุขัดข้อง ๖. ภิกษุวิกลจริต
๗. ภิกษุต้นบัญญัติ

สิกขาบทที่ ๒ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๖๙๔ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๗.เสขิยกัณฑ์] ๕.กพฬวรรค สิกขาบทที่ ๓
สิกขาบทที่ ๓

เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๖๑๙] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์พูดคุยทั้ง ๆ ที่
ในปากมีคำข้าว ฯลฯ

พระบัญญัติ
๓. พึงทำความสำเหนียกว่า ขณะที่ในปากมีคำข้าว เราจักไม่พูดคุย
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ

สิกขาบทวิภังค์
ภิกษุไม่พึงพูดคุย ขณะที่ในปากมีคำข้าว
ภิกษุใดไม่เอื้อเฟื้อ พูดคุยขณะที่ในปากมีคำข้าว ต้องอาบัติทุกกฏ

อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ

๑. ภิกษุไม่จงใจ ๒. ภิกษุไม่มีสติ
๓. ภิกษุผู้ไม่รู้ ๔. ภิกษุผู้เป็นไข้
๕. ภิกษุผู้มีเหตุขัดข้อง ๖. ภิกษุวิกลจริต
๗. ภิกษุต้นบัญญัติ

สิกขาบทที่ ๓ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๖๙๕ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๗.เสขิยกัณฑ์] ๕.กพฬวรรค สิกขาบทที่ ๔
สิกขาบทที่ ๔

เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๖๒๐] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ฉันโยน
คำข้าว ฯลฯ

พระบัญญัติ
๔. พึงทำความสำเหนียกว่า เราจักไม่ฉันโยนคำข้าว
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ

สิกขาบทวิภังค์
ภิกษุไม่พึงฉันโยนคำข้าว
ภิกษุใดไม่เอื้อเฟื้อ ฉันโยนคำข้าว ต้องอาบัติทุกกฏ

อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ

๑. ภิกษุไม่จงใจ ๒. ภิกษุไม่มีสติ
๓. ภิกษุผู้ไม่รู้ ๔. ภิกษุผู้เป็นไข้
๕. ภิกษุฉันของเคี้ยว ๖. ภิกษุฉันผลไม้
๗. ภิกษุผู้มีเหตุขัดข้อง ๘. ภิกษุวิกลจริต
๙. ภิกษุต้นบัญญัติ

สิกขาบทที่ ๔ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๖๙๖ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๗.เสขิยกัณฑ์] ๕.กพฬวรรค สิกขาบทที่ ๕
สิกขาบทที่ ๕

เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๖๒๑] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ฉันกัด
คำข้าว ฯลฯ

พระบัญญัติ
๕. พึงทำความสำเหนียกว่า เราจักไม่ฉันกัดคำข้าว
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ

สิกขาบทวิภังค์
ภิกษุไม่พึงฉันกัดคำข้าว
ภิกษุใดไม่เอื้อเฟื้อ ฉันกัดคำข้าว ต้องอาบัติทุกกฏ

อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ

๑. ภิกษุไม่จงใจ ๒. ภิกษุไม่มีสติ
๓. ภิกษุผู้ไม่รู้ ๔. ภิกษุผู้เป็นไข้
๕. ภิกษุฉันอาหารเป็นก้อน ๖. ภิกษุฉันผลไม้ต่าง ๆ
๗. ภิกษุฉันแกงอ่อม ๘. ภิกษุผู้มีเหตุขัดข้อง
๙. ภิกษุวิกลจริต ๑๐. ภิกษุต้นบัญญัติ

สิกขาบทที่ ๕ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๖๙๗ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๗.เสขิยกัณฑ์] ๕.กพฬวรรค สิกขาบทที่ ๖
สิกขาบทที่ ๖

เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๖๒๒] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ฉันอาหารทำ
กระพุ้งแก้มตุ่ย ฯลฯ

พระบัญญัติ
๖. พึงทำความสำเหนียกว่า เราจักไม่ฉันอาหารทำกระพุ้งแก้มตุ่ย
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ

สิกขาบทวิภังค์
ภิกษุไม่พึงฉันทำกระพุ้งแก้มตุ่ย
ภิกษุใดไม่เอื้อเฟื้อ ฉันทำกระพุ้งแก้มตุ่ยข้างเดียวหรือทั้งสองข้าง ต้องอาบัติ
ทุกกฏ

อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
๑. ภิกษุไม่จงใจ ๒. ภิกษุไม่มีสติ
๓. ภิกษุผู้ไม่รู้ ๔. ภิกษุผู้เป็นไข้
๕. ภิกษุฉันผลไม้ต่าง ๆ ๖. ภิกษุผู้มีเหตุขัดข้อง
๗. ภิกษุวิกลจริต ๘. ภิกษุต้นบัญญัติ
สิกขาบทที่ ๖ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๖๙๘ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๗.เสขิยกัณฑ์] ๕.กพฬวรรค สิกขาบทที่ ๗
สิกขาบทที่ ๗

เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๖๒๓] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ฉันสลัด
มือ ฯลฯ

พระบัญญัติ
๗. พึงทำความสำเหนียกว่า เราจักไม่ฉันสลัดมือ
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ

สิกขาบทวิภังค์
ภิกษุไม่พึงฉันสลัดมือ
ภิกษุใดไม่เอื้อเฟื้อ ฉันสลัดมือ ต้องอาบัติทุกกฏ

อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ

๑. ภิกษุไม่จงใจ ๒. ภิกษุไม่มีสติ
๓. ภิกษุผู้ไม่รู้ ๔. ภิกษุผู้เป็นไข้
๕. ภิกษุสลัดมือทิ้งเศษอาหาร ๖. ภิกษุผู้มีเหตุขัดข้อง
๗. ภิกษุวิกลจริต ๘. ภิกษุต้นบัญญัติ

สิกขาบทที่ ๗ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๖๙๙ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๗.เสขิยกัณฑ์] ๕.กพฬวรรค สิกขาบทที่ ๘
สิกขาบทที่ ๘

เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๖๒๔] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ฉันโปรยเมล็ดข้าว
ฯลฯ

พระบัญญัติ
๘. พึงทำความสำเหนียกว่า เราจักไม่ฉันโปรยเมล็ดข้าว
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ

สิกขาบทวิภังค์
ภิกษุไม่พึงฉันโปรยเมล็ดข้าว
ภิกษุใดไม่เอื้อเฟื้อ ฉันโปรยเมล็ดข้าว ต้องอาบัติทุกกฏ

อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ

๑. ภิกษุไม่จงใจ ๒. ภิกษุไม่มีสติ
๓. ภิกษุผู้ไม่รู้ ๔. ภิกษุผู้เป็นไข้
๕. ภิกษุทิ้งเศษผงเมล็ดข้าวติดไปด้วย ๖. ภิกษุผู้มีเหตุขัดข้อง
๗. ภิกษุวิกลจริต ๘. ภิกษุต้นบัญญัติ

สิกขาบทที่ ๘ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๗๐๐ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๗.เสขิยกัณฑ์] ๕.กพฬวรรค สิกขาบทที่ ๙
สิกขาบทที่ ๙

เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๖๒๕] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ฉัน
แลบลิ้น ฯลฯ

พระบัญญัติ
๙. พึงทำความสำเหนียกว่า เราจักไม่ฉันแลบลิ้น
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ

สิกขาบทวิภังค์
ภิกษุไม่พึงฉันแลบลิ้น
ภิกษุใดไม่เอื้อเฟื้อ ฉันแลบลิ้น ต้องอาบัติทุกกฏ

อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ

๑. ภิกษุไม่จงใจ ๒. ภิกษุไม่มีสติ
๓. ภิกษุผู้ไม่รู้ ๔. ภิกษุผู้เป็นไข้
๕. ภิกษุผู้มีเหตุขัดข้อง ๖. ภิกษุวิกลจริต
๗. ภิกษุต้นบัญญัติ

สิกขาบทที่ ๙ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๗๐๑ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๗.เสขิยกัณฑ์] ๕.กพฬวรรค สิกขาบทที่ ๑๐
สิกขาบทที่ ๑๐

เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๖๒๖] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ฉันทำเสียงดัง
จั๊บ ๆ ฯลฯ

พระบัญญัติ
๑๐. พึงทำความสำเหนียกว่า เราจักไม่ฉันทำเสียงดังจั๊บๆ
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ

สิกขาบทวิภังค์
ภิกษุไม่พึงฉันทำเสียงดังจั๊บ ๆ
ภิกษุใดไม่เอื้อเฟื้อ ฉันทำเสียงดังจั๊บ ๆ ต้องอาบัติทุกกฏ

อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
๑. ภิกษุไม่จงใจ ๒. ภิกษุไม่มีสติ
๓. ภิกษุผู้ไม่รู้ ๔. ภิกษุผู้เป็นไข้
๕. ภิกษุผู้มีเหตุขัดข้อง ๖. ภิกษุวิกลจริต
๗. ภิกษุต้นบัญญัติ
สิกขาบทที่ ๑๐ จบ
กพฬวรรคที่ ๕ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๗๐๒ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๗.เสขิยกัณฑ์] ๖.สุรุสุรุวรรค สิกขาบทที่ ๑
๖. สุรุสุรุวรรค
หมวดว่าด้วยการฉันดังซู้ด ๆ

สิกขาบทที่ ๑

เรื่องพระรูปหนึ่ง
[๖๒๗] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ โฆสิตาราม เขตกรุง
โกสัมพี ครั้งนั้น พราหมณ์คนหนึ่งปรุงนํ้านมถวายสงฆ์ ภิกษุทั้งหลายดื่มนํ้านมเสียง
ดังซู้ด ๆ ภิกษุผู้เคยเป็นนักฟ้อนรูปหนึ่งกล่าวอย่างนี้ว่า “สงฆ์นี้ทั้งหมด คงจะหนาว
กระมัง”
บรรดาภิกษุผู้มักน้อย ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนภิกษุ
จึงล้อเลียนสงฆ์เล่า” ครั้นภิกษุทั้งหลายตำหนิภิกษุนั้นโดยประการต่าง ๆ แล้วจึงนำ
เรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ

ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามภิกษุนั้นว่า “ภิกษุ ทราบว่า เธอล้อเลียนสงฆ์ จริงหรือ” ภิกษุนั้นทูลรับ
ว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ฯลฯ โมฆบุรุษ
ไฉนเธอจึงล้อเลียนสงฆ์เล่า โมฆบุรุษ การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้
เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ” ครั้นทรงตำหนิแล้ว
จึงทรงแสดงธรรมีกถา แล้วรับสั่งกับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงทำ
การล้อเลียนปรารภพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ภิกษุใดพึงทำ ต้องอาบัติทุกกฏ”
ทีนั้น ครั้นพระผู้มีพระภาคทรงตำหนิภิกษุนั้นโดยประการต่าง ๆ แล้ว ตรัสโทษแห่ง
ความเป็นคนเลี้ยงยาก ฯลฯ แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง
ดังนี้


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๗๐๓ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๗.เสขิยกัณฑ์] ๖.สุรุสุรุวรรค สิกขาบทที่ ๑
พระบัญญัติ
๑. พึงทำความสำเหนียกว่า เราจักไม่ฉันทำเสียงดังซู้ดๆ
เรื่องพระรูปหนึ่ง จบ

สิกขาบทวิภังค์
ภิกษุไม่พึงฉันทำเสียงดังซู้ดๆ
ภิกษุใดไม่เอื้อเฟื้อ ฉันทำเสียงดังซู้ดๆ ต้องอาบัติทุกกฏ

อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ

๑. ภิกษุไม่จงใจ ๒. ภิกษุไม่มีสติ
๓. ภิกษุผู้ไม่รู้ ๔. ภิกษุผู้เป็นไข้
๕. ภิกษุผู้มีเหตุขัดข้อง ๖. ภิกษุวิกลจริต
๗. ภิกษุต้นบัญญัติ

สิกขาบทที่ ๑ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๗๐๔ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๗.เสขิยกัณฑ์] ๖.สุรุสุรุวรรค สิกขาบทที่ ๒
สิกขาบทที่ ๒

เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๖๒๘] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ฉันเลียมือ
ฯลฯ

พระบัญญัติ
๒. พึงทำความสำเหนียกว่า เราจักไม่ฉันเลียมือ
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ

สิกขาบทวิภังค์
ภิกษุไม่พึงฉันเลียมือ
ภิกษุใดไม่เอื้อเฟื้อ ฉันเลียมือ ต้องอาบัติทุกกฏ

อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ

๑. ภิกษุไม่จงใจ ๒. ภิกษุไม่มีสติ
๓. ภิกษุผู้ไม่รู้ ๔. ภิกษุผู้เป็นไข้
๕. ภิกษุผู้มีเหตุขัดข้อง ๖. ภิกษุวิกลจริต
๗. ภิกษุต้นบัญญัติ

สิกขาบทที่ ๒ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๗๐๕ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๗.เสขิยกัณฑ์] ๖.สุรุสุรุวรรค สิกขาบทที่ ๓
สิกขาบทที่ ๓

เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๖๒๙] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ฉันเลียบาตร
ฯลฯ

พระบัญญัติ
๓. พึงทำความสำเหนียกว่า เราจักไม่ฉันเลียบาตร
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ

สิกขาบทวิภังค์
ภิกษุไม่พึงฉันเลียบาตร
ภิกษุใดไม่เอื้อเฟื้อ ฉันเลียบาตร ต้องอาบัติทุกกฏ

อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
๑. ภิกษุไม่จงใจ ๒. ภิกษุไม่มีสติ
๓. ภิกษุผู้ไม่รู้ ๔. ภิกษุผู้เป็นไข้
๕. ภิกษุกวาดข้าวสุกที่เหลือน้อยรวมกันแล้วฉัน

๖. ภิกษุผู้มีเหตุขัดข้อง
๗. ภิกษุวิกลจริต ๘. ภิกษุต้นบัญญัติ

สิกขาบทที่ ๓ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๗๐๖ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๗.เสขิยกัณฑ์] ๖.สุรุสุรุวรรค สิกขาบทที่ ๔
สิกขาบทที่ ๔

เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๖๓๐] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ฉันเลียริม
ฝีปาก ฯลฯ

พระบัญญัติ
๔. พึงทำความสำเหนียกว่า เราจักไม่ฉันเลียริมฝีปาก
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ

สิกขาบทวิภังค์
ภิกษุไม่พึงฉันเลียริมฝีปาก
ภิกษุใดไม่เอื้อเฟื้อ ฉันเลียริมฝีปาก ต้องอาบัติทุกกฏ

อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ

๑. ภิกษุไม่จงใจ ๒. ภิกษุไม่มีสติ
๓. ภิกษุผู้ไม่รู้ ๔. ภิกษุผู้เป็นไข้
๕. ภิกษุผู้มีเหตุขัดข้อง ๖. ภิกษุวิกลจริต
๗. ภิกษุต้นบัญญัติ

สิกขาบทที่ ๔ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๗๐๗ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๗.เสขิยกัณฑ์] ๖.สุรุสุรุวรรค สิกขาบทที่ ๕
สิกขาบทที่ ๕

เรื่องพระหลายรูป
[๖๓๑] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ เภสกฬามฤคทายวัน
เขตเมืองสุงสุมารคิระ แคว้นภัคคะ ครั้งนั้น ภิกษุใช้มือเปื้อนอาหารจับภาชนะนํ้าดื่ม
ที่ปราสาทโกกนท พวกชาวบ้านตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพระสมณะ
เชื้อสายศากยบุตรจึงใช้มือเปื้อนอาหารจับภาชนะนํ้าดื่ม เหมือนคฤหัสถ์ผู้บริโภค
กามเล่า”
ภิกษุทั้งหลายได้ยินพวกชาวบ้านตำหนิ ประณาม โพนทะนา บรรดาภิกษุผู้
มักน้อย ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนภิกษุจึงใช้มือเปื้อนอาหาร
จับภาชนะนํ้าดื่มเล่า” ครั้นภิกษุทั้งหลายตำหนิภิกษุเหล่านั้นโดยประการต่าง ๆ แล้ว
จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ

ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า พวกภิกษุใช้มือเปื้อนอาหารจับ
ภาชนะนํ้าดื่มจริงหรือ” ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระ
ภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ฯลฯ ภิกษุทั้งหลาย ไฉนโมฆบุรุษเหล่านั้น จึงใช้มือ
เปื้อนอาหารจับภาชนะนํ้าดื่มเล่า ภิกษุทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยัง
ไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ”
แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้

พระบัญญัติ
๕. พึงทำความสำเหนียกว่า เราจักไม่จับภาชนะน้ำดื่มด้วยมือเปื้อนอาหาร
เรื่องพระหลายรูป จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๗๐๘ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๗.เสขิยกัณฑ์] ๖.สุรุสุรุวรรค สิกขาบทที่ ๕
สิกขาบทวิภังค์
ภิกษุไม่พึงจับภาชนะนํ้าดื่มด้วยมือเปื้อนอาหาร
ภิกษุใดไม่เอื้อเฟื้อ จับภาชนะนํ้าดื่มด้วยมือเปื้อนอาหาร ต้องอาบัติทุกกฏ

อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
๑. ภิกษุไม่จงใจ ๒. ภิกษุไม่มีสติ
๓. ภิกษุผู้ไม่รู้ ๔. ภิกษุผู้เป็นไข้
๕. ภิกษุรับประเคนไว้เพราะคิดจะล้างเองหรือใช้ผู้อื่นล้าง

๖. ภิกษุผู้มีเหตุขัดข้อง
๗. ภิกษุวิกลจริต ๘. ภิกษุต้นบัญญัติ

สิกขาบทที่ ๕ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๗๐๙ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๗.เสขิยกัณฑ์] ๖.สุรุสุรุวรรค สิกขาบทที่ ๖
สิกขาบทที่ ๖

เรื่องพระหลายรูป
[๖๓๒] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ เภสกฬามฤคทายวัน
เขตเมืองสุงสุมารคิระ แคว้นภัคคะ ครั้งนั้น ภิกษุทั้งหลายเทนํ้าล้างบาตรที่มีเมล็ดข้าว
ในละแวกบ้าน ใกล้โกกนทปราสาท พวกชาวบ้านพากันตำหนิ ประณาม โพนทะนา
ว่า “ไฉนพระสมณะเชื้อสายศากยบุตรจึงเทนํ้าล้างบาตรที่มีเมล็ดข้าวในละแวกบ้าน
เหมือนคฤหัสถ์ผู้บริโภคกามเล่า”
พวกภิกษุได้ยินชาวบ้านตำหนิ ประณาม โพนทะนา บรรดาภิกษุผู้มักน้อย
ฯลฯ จึงพากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนภิกษุทั้งหลายจึงเทนํ้าล้างบาตร
ที่มีเมล็ดข้าวในละแวกบ้านเล่า” ครั้นภิกษุทั้งหลายตำหนิภิกษุเหล่านั้นโดยประการ
ต่าง ๆ แล้วจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ

ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า พวกภิกษุเทนํ้าล้างบาตรมี
เมล็ดข้าวในละแวกบ้าน จริงหรือ” ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ฯลฯ ภิกษุทั้งหลาย ไฉนโมฆบุรุษเหล่านั้น
จึงเทนํ้าล้างบาตรที่มีเมล็ดข้าวในละแวกบ้านเล่า ภิกษุทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้
มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย
ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้

พระบัญญัติ
๖. พึงทำความสำเหนียกว่า เราจักไม่เทน้ำล้างบาตรที่มีเมล็ดข้าวใน
ละแวกบ้าน
เรื่องพระหลายรูป จบ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๗๑๐ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๗.เสขิยกัณฑ์] ๖.สุรุสุรุวรรค สิกขาบทที่ ๖
สิกขาบทวิภังค์
ภิกษุไม่พึงเทน้ำล้างบาตรมีเมล็ดข้าวในละแวกบ้าน
ภิกษุใดไม่เอื้อเฟื้อ เทน้ำล้างบาตรมีเมล็ดข้าวในละแวกบ้าน ต้องอาบัติทุกกฏ

อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
๑. ภิกษุไม่จงใจ ๒. ภิกษุไม่มีสติ
๓. ภิกษุผู้ไม่รู้ ๔. ภิกษุผู้เป็นไข้
๕. ภิกษุเก็บเมล็ดข้าวออก แล้วเทน้ำล้างบาตรหรือขยี้เมล็ดข้าวให้
ละลายหรือเทน้ำล้างบาตรในกระโถนนำไปเทข้างนอก

๖. ภิกษุผู้มีเหตุขัดข้อง
๗. ภิกษุวิกลจริต ๘. ภิกษุต้นบัญญัติ

สิกขาบทที่ ๖ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๗๑๑ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๗.เสขิยกัณฑ์] ๖.สุรุสุรุวรรค สิกขาบทที่ ๗
สิกขาบทที่ ๗

เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๖๓๓] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์แสดงธรรมแก่
คนผู้กั้นร่ม บรรดาภิกษุผู้มักน้อย ฯลฯ ตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพวก
ภิกษุฉัพพัคคีย์จึงแสดงธรรมแก่คนผู้กั้นร่มเล่า” ครั้นภิกษุทั้งหลายตำหนิพวก
ภิกษุฉัพพัคคีย์โดยประการต่าง ๆ แล้วจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้
ทรงทราบ

ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามพวกภิกษุฉัพพัคคีย์ว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า พวกเธอแสดงธรรมแก่
คนผู้กั้นร่มจริงหรือ” พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระ
ผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ฯลฯ โมฆบุรุษทั้งหลาย ไฉนพวกเธอจึงแสดง
ธรรมแก่คนผู้กั้นร่มเล่า โมฆบุรุษทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่
เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ” แล้ว
จึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้

พระบัญญัติ
๗. พึงทำความสำเหนียกว่า เราจักไม่แสดงธรรมแก่คนกั้นร่ม
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ

เรื่องภิกษุหลายรูป
[๖๓๔] สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายยำเกรงที่จะแสดงธรรมแก่คนไข้ผู้กั้นร่ม พวก
ชาวบ้านจึงพากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพระสมณะเชื้อสายศากยบุตร
จึงไม่แสดงธรรมแก่คนไข้ผู้กั้นร่มเล่า” พวกภิกษุได้ยินชาวบ้านตำหนิ ประณาม
โพนทะนา ครั้นแล้วภิกษุเหล่านั้นจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๗๑๒ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๗.เสขิยกัณฑ์] ๖.สุรุสุรุวรรค สิกขาบทที่ ๗
ทรงอนุญาตให้แสดงธรรมแก่คนไข้
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมีกถาเพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ รับสั่ง
กับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้แสดงธรรมแก่คนไข้ผู้กั้นร่มได้”
แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้

พระอนุบัญญัติ
พึงทำความสำเหนียกว่า เราจักไม่แสดงธรรมแก่คนที่ไม่เป็นไข้ผู้กั้นร่ม
เรื่องภิกษุหลายรูป จบ

สิกขาบทวิภังค์
ที่ชื่อว่า ร่ม ได้แก่ ร่ม ๓ ชนิด คือ (๑) ร่มผ้าขาว (๒) ร่มเสื่อลำแพน (๓) ร่ม
ใบไม้ที่เย็บเป็นวงผูกติดกับซี่
ที่ชื่อว่า ธรรม ได้แก่ พุทธภาษิต สาวกภาษิต ฤๅษีภาษิต เทวดาภาษิตที่
ประกอบด้วยอรรถ ที่ประกอบด้วยธรรม
บทว่า แสดง คือ ภิกษุแสดงเป็นบท ต้องอาบัติทุกกฏทุก ๆ บท แสดงเป็น
อักษร ต้องอาบัติทุกกฏทุก ๆ อักษร
ภิกษุไม่พึงแสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ผู้กั้นร่ม
ภิกษุใดไม่เอื้อเฟื้อ แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ผู้กั้นร่ม ต้องอาบัติทุกกฏ

อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ

๑. ภิกษุไม่จงใจ ๒. ภิกษุไม่มีสติ
๓. ภิกษุผู้ไม่รู้ ๔. ภิกษุผู้เป็นไข้
๕. ภิกษุผู้มีเหตุขัดข้อง ๖. ภิกษุวิกลจริต
๗. ภิกษุต้นบัญญัติ

สิกขาบทที่ ๗ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๗๑๓ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๗.เสขิยกัณฑ์] ๖.สุรุสุรุวรรค สิกขาบทที่ ๘
สิกขาบทที่ ๘

เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๖๓๕] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์แสดงธรรม
แก่คนถือไม้พลอง ฯลฯ

พระบัญญัติ
๘. พึงทำความสำเหนียกว่า เราจักไม่แสดงธรรมแก่คนที่ไม่เป็นไข้ผู้ถือ
ไม้พลอง
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ

สิกขาบทวิภังค์
ที่ชื่อว่า ไม้พลอง ได้แก่ ไม้พลองยาว ๔ ศอก ขนาดศอกของคนสัณฐาน
ปานกลาง ยาวกว่านั้นไม่ใช่ไม้พลอง สั้นกว่านั้น ก็ไม่ใช่ไม้พลอง
ภิกษุไม่พึงแสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ผู้ถือไม้พลอง
ภิกษุใดไม่เอื้อเฟื้อ แสดงธรรมแก่คนที่ไม่เป็นไข้ผู้ถือไม้พลอง ต้องอาบัติทุกกฏ

อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ

๑. ภิกษุไม่จงใจ ๒. ภิกษุไม่มีสติ
๓. ภิกษุผู้ไม่รู้ ๔. ภิกษุผู้เป็นไข้
๕. ภิกษุผู้มีเหตุขัดข้อง ๖. ภิกษุวิกลจริต
๗. ภิกษุต้นบัญญัติ

สิกขาบทที่ ๘ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๗๑๔ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๗.เสขิยกัณฑ์] ๖.สุรุสุรุวรรค สิกขาบทที่ ๙
สิกขาบทที่ ๙

เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๖๓๖] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์แสดงธรรมแก่
คนถือศัสตรา ฯลฯ

พระบัญญัติ
๙. พึงทำความสำเหนียกว่า เราจักไม่แสดงธรรมแก่คนที่ไม่เป็นไข้ผู้ถือ
ศัสตรา
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ

สิกขาบทวิภังค์
ที่ชื่อว่า ศัสตรา ได้แก่ เครื่องประหารมีคมข้างเดียว มีคม ๒ ข้าง
ภิกษุไม่พึงแสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ผู้ถือศัสตรา
ภิกษุใดไม่เอื้อเฟื้อ แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ผู้ถือศัสตรา ต้องอาบัติทุกกฏ

อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ

๑. ภิกษุไม่จงใจ ๒. ภิกษุไม่มีสติ
๓. ภิกษุผู้ไม่รู้ ๔. ภิกษุผู้เป็นไข้
๕. ภิกษุผู้มีเหตุขัดข้อง ๖. ภิกษุวิกลจริต
๗. ภิกษุต้นบัญญัติ

สิกขาบทที่ ๙ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๗๑๕ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๗.เสขิยกัณฑ์] ๖.สุรุสุรุวรรค สิกขาบทที่ ๑๐
สิกขาบทที่ ๑๐

เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๖๓๗] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์แสดงธรรมแก่
คนที่ไม่เป็นไข้ผู้ถืออาวุธ ฯลฯ

พระบัญญัติ
๑๐. พึงทำความสำเหนียกว่า เราจักไม่แสดงธรรมแก่คนที่ไม่เป็นไข้ผู้ถือ
อาวุธ
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ

สิกขาบทวิภังค์
ภิกษุไม่พึงแสดงธรรมแก่คนที่ไม่เป็นไข้ผู้ถืออาวุธ
ภิกษุใดไม่เอื้อเฟื้อ แสดงธรรมแก่คนที่ไม่เป็นไข้ผู้ถืออาวุธ ต้องอาบัติทุกกฏ

อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ

๑. ภิกษุไม่จงใจ ๒. ภิกษุไม่มีสติ
๓. ภิกษุผู้ไม่รู้ ๔. ภิกษุผู้เป็นไข้
๕. ภิกษุผู้มีเหตุขัดข้อง ๖. ภิกษุวิกลจริต
๗. ภิกษุต้นบัญญัติ

สิกขาบทที่ ๑๐ จบ
สุรุสุรุวรรคที่ ๖ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๗๑๖ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๗.เสขิยกัณฑ์] ๗.ปาทุกาวรรค สิกขาบทที่ ๑
๗. ปาทุกาวรรค
หมวดว่าด้วยเขียงเท้า

สิกขาบทที่ ๑

เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๖๓๘] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์แสดงธรรม
แก่คนผู้สวมเขียงเท้า ฯลฯ

พระบัญญัติ
๑. พึงทำความสำเหนียกว่า เราจักไม่แสดงธรรมแก่คนที่ไม่เป็นไข้ผู้สวม
เขียงเท้า๑
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ

สิกขาบทวิภังค์
ภิกษุไม่พึงแสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ผู้สวมเขียงเท้า
ภิกษุใดไม่เอื้อเฟื้อ แสดงธรรมแก่คนที่ไม่เป็นไข้ ผู้เหยียบเขียงเท้า สวมเขียง
เท้าหรือสวมเขียงเท้าหุ้มส้น ต้องอาบัติทุกกฏ

อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ

๑. ภิกษุไม่จงใจ ๒. ภิกษุไม่มีสติ
๓. ภิกษุผู้ไม่รู้ ๔. ภิกษุผู้เป็นไข้
๕. ภิกษุผู้มีเหตุขัดข้อง ๖. ภิกษุวิกลจริต
๗. ภิกษุต้นบัญญัติ

สิกขาบทที่ ๑ จบ

เชิงอรรถ :
๑ เขียงเท้า คือรองเท้าไม้ สำหรับสวมในบ้าน, เกี๊ยะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๗๑๗ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๗.เสขิยกัณฑ์] ๗.ปาทุกาวรรค สิกขาบทที่ ๒
สิกขาบทที่ ๒

เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๖๓๙] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์แสดงธรรมแก่
คนสวมรองเท้า ฯลฯ

พระบัญญัติ
๒. พึงทำความสำเหนียกว่า เราจักไม่แสดงธรรมแก่คนที่ไม่เป็นไข้ผู้
สวมรองเท้า
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ

สิกขาบทวิภังค์
ภิกษุไม่พึงแสดงธรรมแก่คนที่ไม่เป็นไข้ผู้สวมรองเท้า
ภิกษุใดไม่เอื้อเฟื้อ แสดงธรรมแก่คนที่ไม่เป็นไข้ ที่เหยียบบนรองเท้า สวมรอง
เท้า หรือสวมรองเท้าหุ้มส้น ต้องอาบัติทุกกฏ

อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ

๑. ภิกษุไม่จงใจ ๒. ภิกษุไม่มีสติ
๓. ภิกษุผู้ไม่รู้ ๔. ภิกษุผู้เป็นไข้
๕. ภิกษุผู้มีเหตุขัดข้อง ๖. ภิกษุวิกลจริต
๗. ภิกษุต้นบัญญัติ

สิกขาบทที่ ๒ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๗๑๘ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๗.เสขิยกัณฑ์] ๗.ปาทุกาวรรค สิกขาบทที่ ๓
สิกขาบทที่ ๓

เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๖๔๐] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์แสดงธรรม
แก่คนอยู่ในยาน ฯลฯ

พระบัญญัติ
๓. พึงทำความสำเหนียกว่า เราจักไม่แสดงธรรมแก่คนที่ไม่เป็นไข้ผู้อยู่
ในยาน๑
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ

สิกขาบทวิภังค์
ที่ชื่อว่า ยาน ได้แก่ คานหาม รถ เกวียน เตียงหาม วอ เปลหาม
ภิกษุไม่พึงแสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ผู้อยู่ในยาน
ภิกษุใดไม่เอื้อเฟื้อ แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ผู้อยู่ในยาน ต้องอาบัติทุกกฏ

อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ

๑. ภิกษุไม่จงใจ ๒. ภิกษุไม่มีสติ
๓. ภิกษุผู้ไม่รู้ ๔. ภิกษุผู้เป็นไข้
๕. ภิกษุผู้มีเหตุขัดข้อง ๖. ภิกษุวิกลจริต
๗. ภิกษุต้นบัญญัติ

สิกขาบทที่ ๓ จบ

เชิงอรรถ :
๑ ผู้อยู่ในยาน หมายเอาบุคคลผู้นั่งบนคานหาม บนวอ ถูกอุ้มไป ถูกแบกใส่บ่าไป นั่งบนยานที่ไม่ได้เทียมม้า
หรือแม้นั่งบนล้อที่แยกส่วนออกมา ถือว่านั่งอยู่ในยานทั้งสิ้น แต่ถ้าอยู่ในยานด้วยกันทั้งภิกษุผู้แสดงธรรม
และอุบาสกผู้รับธรรมเทศนา ภิกษุแสดงธรรมแก่คนที่ไปในยานด้วยกันได้ ถ้าภิกษุผู้แสดงธรรมนั่งอยู่ข้าง
หน้าในที่สูงกว่าหรือเสมอกันกับอุบาสกผู้ฟัง ไม่ต้องอาบัติ (วิ.อ. ๒/๖๔๐/๔๕๖)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๗๑๙ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๗.เสขิยกัณฑ์] ๗.ปาทุกาวรรค สิกขาบทที่ ๔
สิกขาบทที่ ๔

เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๖๔๑] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์แสดงธรรมแก่
คนผู้อยู่บนที่นอน ฯลฯ

พระบัญญัติ
๔. พึงทำความสำเหนียกว่า เราจักไม่แสดงธรรมแก่คนที่ไม่เป็นไข้ผู้อยู่
บนที่นอน
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ

สิกขาบทวิภังค์
ภิกษุไม่พึงแสดงธรรมแก่คนที่ไม่เป็นไข้ผู้อยู่บนที่นอน
ภิกษุใดไม่เอื้อเฟื้อ แสดงธรรมแก่คนที่ไม่เป็นไข้ผู้อยู่บนที่นอน โดยที่สุดผู้นอน
บนพื้นดิน ต้องอาบัติทุกกฏ

อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ

๑. ภิกษุไม่จงใจ ๒. ภิกษุไม่มีสติ
๓. ภิกษุผู้ไม่รู้ ๔. ภิกษุผู้เป็นไข้
๕. ภิกษุผู้มีเหตุขัดข้อง ๖. ภิกษุวิกลจริต
๗. ภิกษุต้นบัญญัติ

สิกขาบทที่ ๔ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๗๒๐ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๗.เสขิยกัณฑ์] ๗.ปาทุกาวรรค สิกขาบทที่ ๕
สิกขาบทที่ ๕

เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๖๔๒] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์แสดงธรรมแก่
คนที่นั่งรัดเข่า ฯลฯ

พระบัญญัติ
๕. พึงทำความสำเหนียกว่า เราจักไม่แสดงธรรมแก่คนที่ไม่เป็นไข้ผู้นั่ง
รัดเข่า
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ

สิกขาบทวิภังค์
ภิกษุไม่พึงแสดงธรรมแก่คนที่ไม่เป็นไข้ผู้นั่งรัดเข่า
ภิกษุใดไม่เอื้อเฟื้อ แสดงธรรมแก่คนที่ไม่เป็นไข้ผู้นั่งรัดเข่าด้วยมือ ต้องอาบัติ
ทุกกฏ

อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ

๑. ภิกษุไม่จงใจ ๒. ภิกษุไม่มีสติ
๓. ภิกษุผู้ไม่รู้ ๔. ภิกษุผู้เป็นไข้
๕. ภิกษุผู้มีเหตุขัดข้อง ๖. ภิกษุวิกลจริต
๗. ภิกษุต้นบัญญัติ

สิกขาบทที่ ๕ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๗๒๑ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๗.เสขิยกัณฑ์] ๗.ปาทุกาวรรค สิกขาบทที่ ๖
สิกขาบทที่ ๖

เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๖๔๓] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์แสดงธรรม
แก่คนผู้โพกศีรษะ ฯลฯ

พระบัญญัติ
๖. พึงทำความสำเหนียกว่า เราจักไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ผู้โพก
ศีรษะ
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ

สิกขาบทวิภังค์
ที่ชื่อว่า ผู้โพกศีรษะ คือ พันไม่ให้เห็นปลายผม
ภิกษุไม่พึงแสดงธรรมแก่คนที่ไม่เป็นไข้ผู้โพกศีรษะ
ภิกษุใดไม่เอื้อเฟื้อ แสดงธรรมแก่คนที่ไม่เป็นไข้ผู้โพกศีรษะ ต้องอาบัติทุกกฏ

อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
๑. ภิกษุไม่จงใจ ๒. ภิกษุไม่มีสติ
๓. ภิกษุผู้ไม่รู้ ๔. ภิกษุผู้เป็นไข้
๕. ภิกษุให้เขาเปิดปลายมวยผมแล้วจึงแสดง

๖. ภิกษุผู้มีเหตุขัดข้อง
๗. ภิกษุวิกลจริต ๘. ภิกษุต้นบัญญัติ

สิกขาบทที่ ๖ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๗๒๒ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๗.เสขิยกัณฑ์] ๗.ปาทุกาวรรค สิกขาบทที่ ๗
สิกขาบทที่ ๗

เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๖๔๔] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์แสดงธรรมแก่
คนผู้คลุมศีรษะ ฯลฯ

พระบัญญัติ
๗. พึงทำความสำเหนียกว่า เราจักไม่แสดงธรรมแก่คนที่ไม่เป็นไข้ผู้คลุม
ศีรษะ
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ

สิกขาบทวิภังค์
ที่ชื่อว่า คลุมศีรษะ คือ ท่านกล่าวถึงผู้ห่มผ้าคลุมตลอดศีรษะ
ภิกษุไม่พึงแสดงธรรมแก่คนที่ไม่เป็นไข้ผู้คลุมศีรษะ
ภิกษุใดไม่เอื้อเฟื้อ แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ผู้คลุมศีรษะ ต้องอาบัติทุกกฏ

อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ

๑. ภิกษุไม่จงใจ ๒. ภิกษุไม่มีสติ
๓. ภิกษุผู้ไม่รู้ ๔. ภิกษุผู้เป็นไข้
๕. ภิกษุให้เขาเปิดผ้าคลุมศีรษะแล้วจึงแสดง ๖. ภิกษุผู้มีเหตุขัดข้อง
๗. ภิกษุวิกลจริต ๘. ภิกษุต้นบัญญัติ

สิกขาบทที่ ๗ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๗๒๓ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๗.เสขิยกัณฑ์] ๗.ปาทุกาวรรค สิกขาบทที่ ๘
สิกขาบทที่ ๘

เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๖๔๕] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์นั่งบนพื้นดิน
แสดงธรรมแก่คนผู้นั่งบนอาสนะ ฯลฯ

พระบัญญัติ
๘. พึงทำความสำเหนียกว่า เรานั่งที่พื้นดินจักไม่แสดงธรรมแก่คนที่ไม่
เป็นไข้ผู้นั่งบนอาสนะ
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ

สิกขาบทวิภังค์
ภิกษุนั่งอยู่บนพื้นดินไม่พึงแสดงธรรมแก่คนที่ไม่เป็นไข้ผู้นั่งบนอาสนะ
ภิกษุใดไม่เอื้อเฟื้อ นั่งบนพื้นดินแสดงธรรมแก่คนที่ไม่เป็นไข้ผู้นั่งบนอาสนะ
ต้องอาบัติทุกกฏ

อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ

๑. ภิกษุไม่จงใจ ๒. ภิกษุไม่มีสติ
๓. ภิกษุผู้ไม่รู้ ๔. ภิกษุผู้เป็นไข้
๕. ภิกษุผู้มีเหตุขัดข้อง ๖. ภิกษุวิกลจริต
๗. ภิกษุต้นบัญญัติ

สิกขาบทที่ ๘ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๗๒๔ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๗.เสขิยกัณฑ์] ๗.ปาทุกาวรรค สิกขาบทที่ ๙
สิกขาบทที่ ๙

เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๖๔๖] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์นั่งบนอาสนะ
ต่ำ แสดงธรรมแก่คนผู้นั่งบนอาสนะสูง บรรดาภิกษุผู้มักน้อย ฯลฯ จึงพากันตำหนิ
ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพวกภิกษุฉัพพัคคีย์จึงนั่งบนอาสนะตํ่าแสดงธรรม
แก่คนผู้นั่งบนอาสนะสูงเล่า” ครั้นภิกษุเหล่านั้นตำหนิพวกภิกษุฉัพพัคคีย์โดย
ประการต่าง ๆ แล้วจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ

ทรงประชุมสงฆ์แสดงธรรมีกถา
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามพวกภิกษุฉัพพัคคีย์ว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า พวกเธอนั่งบนอาสนะตํ่า
แสดงธรรมแก่คนผู้นั่งบนอาสนะสูง จริงหรือ” พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ทูลรับว่า “จริง
พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ฯลฯ โมฆบุรุษทั้งหลาย
ไฉนพวกเธอจึงนั่งบนอาสนะตํ่าแสดงธรรมแก่คนผู้นั่งบนอาสนะสูงเล่า โมฆบุรุษ
ทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่
เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ” ครั้นทรงตำหนิแล้วทรงแสดงธรรมีกถา
รับสั่งกับภิกษุทั้งหลายว่า

เรื่องภรรยาของบุรุษจัณฑาล
[๖๔๗] “ภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว ภรรยาของบุรุษจัณฑาลคนหนึ่ง
ในกรุงพาราณสี มีครรภ์ ครั้นแล้วนางจึงได้กล่าวกับสามีว่า “นาย ดิฉันกำลังตั้ง
ครรภ์ อยากกินมะม่วง”
สามีตอบว่า ‘มะม่วงไม่มีเพราะไม่ใช่ฤดูมะม่วง’
นางกล่าวว่า ‘ถ้าไม่ได้ ดิฉันต้องตาย’


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๗๒๕ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๗.เสขิยกัณฑ์] ๗.ปาทุกาวรรค สิกขาบทที่ ๙
ครั้งนั้น มีต้นมะม่วงของหลวงให้ผลทุกฤดูอยู่ต้นหนึ่ง ภิกษุทั้งหลาย ครั้นแล้ว
บุรุษจัณฑาลจึงไปถึงที่ต้นมะม่วง ครั้นถึงแล้วได้ขึ้นไปแฝงกายอยู่บนต้น พอดี
พระราชาเสด็จไปถึงที่ต้นมะม่วงพร้อมกับพราหมณ์ปุโรหิต ครั้นถึงแล้วจึงประทับนั่ง
บนอาสนะแล้วทรงเรียนมนต์
ภิกษุทั้งหลาย ทีนั้น บุรุษจัณฑาลได้มีความคิดดังนี้ว่า ‘พระราชาองค์นี้ประทับ
นั่งบนอาสนะสูงเรียนมนต์ ชื่อว่ามิใช่พระราชาผู้ทรงธรรม พราหมณ์คนนี้ที่นั่งบน
อาสนะตํ่าสอนมนต์แก่ผู้นั่งบนอาสนะสูง ก็ชื่อว่ามิใช่ผู้ประพฤติธรรม และเราผู้ที่
ลักมะม่วงของหลวงเพราะภรรยาเป็นเหตุ ก็ชื่อว่ามิใช่ผู้ประพฤติธรรม แท้จริง การ
กระทำดังนี้ล้วนตํ่าทราม’ จึงไต่ลงมา ณ ที่นั้นกล่าวว่า
‘คนทั้ง ๒ คือ พราหมณ์ผู้สอนมนต์
และพระราชาผู้ทรงเรียนมนต์โดยไม่เคารพธรรม
ย่อมไม่รู้อรรถและไม่เห็นธรรม
พราหมณ์กล่าวว่า
‘เพราะเรากินข้าวสาลีผสมแกงเนื้อที่สะอาด ฉะนั้น
จึงไม่ประพฤติธรรมที่พระอริยเจ้าสรรเสริญ’
บุรุษจัณฑาลกล่าวว่า
‘เราตำหนิการได้ทรัพย์และการได้เกียรติยศเพราะ
พฤติกรรมเช่นนั้น
นั่นเป็นวิถีชีวิตอันเป็นเหตุให้ตกตํ่า
และเป็นการครองชีพโดยมิชอบ
การครองชีพอย่างนั้นไม่มีประโยชน์
ท่านมหาพราหมณ์ ท่านรีบไปเสียเถิด
แม้คนเหล่าอื่นก็ยังรู้จักหุงหากินได้
ความอาธรรม์ที่ท่านประพฤติอย่าได้ทำลายท่าน
เหมือนหม้อนํ้าแตก’๑
เรื่องภรรยาของบุรุษจันฑาล จบ

เชิงอรรถ :
๑ อรรถกถาอธิบายว่า “ถ้าท่านไม่หนีไปจากที่นี้ ยังจะประพฤติความไม่ชอบธรรมอยู่ ท่านผู้ประพฤติความ
ไม่ชอบธรรมนั่นแหละจะแตก เหมือนก้อนหิน(หล่น)ทับหม้อนํ้าแตก (วิ.อ. ๒/๖๔๗/๔๕๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๗๒๖ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๗.เสขิยกัณฑ์] ๗.ปาทุกาวรรค สิกขาบทที่ ๙
ทรงตำหนิแล้วบัญญัติสิกขาบท
ภิกษุทั้งหลาย แม้ในกาลนั้น พราหมณ์นั่งบนอาสนะตํ่า สอนมนต์พระราชา
ผู้ประทับนั่งบนอาสนะสูง ยังไม่เป็นที่พอใจของเรา ไฉนบัดนี้ การที่ภิกษุนั่งบนอาสนะ
ตํ่าแสดงธรรมแก่คนผู้นั่งบนอาสนะสูง จึงจักเป็นที่พอใจของเราเล่า” แล้วจึงรับสั่งให้
ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้

พระบัญญัติ
๙. พึงทำความสำเหนียกว่า เรานั่งบนอาสนะต่ำ จักไม่แสดงธรรมแก่คน
ที่ไม่เป็นไข้ผู้นั่งบนอาสนะสูง
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ

สิกขาบทวิภังค์
ภิกษุนั่งบนอาสนะต่ำ ไม่พึงแสดงธรรมแก่คนที่ไม่เป็นไข้ผู้นั่งบนอาสนะสูง
ภิกษุใดไม่เอื้อเฟื้อ นั่งบนอาสนะต่ำ แสดงธรรมแก่คนที่ไม่เป็นไข้ผู้นั่งบน
อาสนะสูง ต้องอาบัติทุกกฏ

อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ

๑. ภิกษุไม่จงใจ ๒. ภิกษุไม่มีสติ
๓. ภิกษุผู้ไม่รู้ ๔. ภิกษุผู้เป็นไข้
๕. ภิกษุผู้มีเหตุขัดข้อง ๖. ภิกษุวิกลจริต
๗. ภิกษุต้นบัญญัติ

สิกขาบทที่ ๙ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๗๒๗ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๗.เสขิยกัณฑ์] ๗.ปาทุกาวรรค สิกขาบทที่ ๑๐
สิกขาบทที่ ๑๐

เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๖๔๘] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ยืนแสดงธรรม
แก่คนผู้นั่งอยู่ ฯลฯ

พระบัญญัติ
๑๐. พึงทำความสำเหนียกว่า เรายืนอยู่จักไม่แสดงธรรมแก่คนที่ไม่เป็น
ไข้ผู้นั่งอยู่
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ

สิกขาบทวิภังค์
ภิกษุยืนอยู่ ไม่พึงแสดงธรรมแก่คนที่ไม่เป็นไข้ผู้นั่งอยู่
ภิกษุใดไม่เอื้อเฟื้อ ยืนอยู่แสดงธรรมแก่คนที่ไม่เป็นไข้ผู้นั่งอยู่ ต้องอาบัติทุกกฏ

อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ

๑. ภิกษุไม่จงใจ ๒. ภิกษุไม่มีสติ
๓. ภิกษุผู้ไม่รู้ ๔. ภิกษุผู้เป็นไข้
๕. ภิกษุผู้มีเหตุขัดข้อง ๖. ภิกษุวิกลจริต
๗. ภิกษุต้นบัญญัติ

สิกขาบทที่ ๑๐ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๗๒๘ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๗.เสขิยกัณฑ์] ๗.ปาทุกาวรรค สิกขาบทที่ ๑๑
สิกขาบทที่ ๑๑

เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๖๔๙] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์เดินอยู่
ข้างหลัง แสดงธรรมแก่คนผู้เดินไปข้างหน้า ฯลฯ

พระบัญญัติ
๑๑. พึงทำความสำเหนียกว่า เราเดินอยู่ข้างหลัง จักไม่แสดงธรรมแก่คน
ที่ไม่เป็นไข้ผู้เดินไปข้างหน้า
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ

สิกขาบทวิภังค์
ภิกษุเดินอยู่ข้างหลัง ไม่พึงแสดงธรรมแก่คนที่ไม่เป็นไข้ผู้เดินไปข้างหน้า
ภิกษุใดไม่เอื้อเฟื้อ เดินอยู่ข้างหลัง แสดงธรรมแก่คนที่ไม่เป็นไข้ผู้เดินไปข้าง
หน้า ต้องอาบัติทุกกฏ

อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ

๑. ภิกษุไม่จงใจ ๒. ภิกษุไม่มีสติ
๓. ภิกษุผู้ไม่รู้ ๔. ภิกษุผู้เป็นไข้
๕. ภิกษุผู้มีเหตุขัดข้อง ๖. ภิกษุวิกลจริต
๗. ภิกษุต้นบัญญัติ

สิกขาบทที่ ๑๑ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๗๒๙ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๗.เสขิยกัณฑ์] ๗.ปาทุกาวรรค สิกขาบทที่ ๑๒
สิกขาบทที่ ๑๒

เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๖๕๐] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์เดินอยู่นอกทาง
แสดงธรรมแก่คนผู้เดินไปในทาง ฯลฯ

พระบัญญัติ
๑๒. พึงทำความสำเหนียกว่า เราเดินไปนอกทางจักไม่แสดงธรรมแก่คน
ที่ไม่เป็นไข้ผู้เดินในทาง
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ

สิกขาบทวิภังค์
ภิกษุเดินไปนอกทาง ไม่พึงแสดงธรรมแก่คนที่ไม่เป็นไข้ผู้เดินไปในทาง
ภิกษุใดไม่เอื้อเฟื้อ เดินอยู่นอกทาง แสดงธรรมแก่คนที่ไม่เป็นไข้ผู้เดินไปในทาง
ต้องอาบัติทุกกฏ

อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ

๑. ภิกษุไม่จงใจ ๒. ภิกษุไม่มีสติ
๓. ภิกษุผู้ไม่รู้ ๔. ภิกษุผู้เป็นไข้
๕. ภิกษุผู้มีเหตุขัดข้อง ๖. ภิกษุวิกลจริต
๗. ภิกษุต้นบัญญัติ

สิกขาบทที่ ๑๒ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๗๓๐ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๗.เสขิยกัณฑ์] ๗.ปาทุกาวรรค สิกขาบทที่ ๑๓
สิกขาบทที่ ๑๓

เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๖๕๑] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ยืนถ่ายอุจจาระ
บ้าง ถ่ายปัสสาวะบ้าง ฯลฯ

พระบัญญัติ
๑๓. พึงทำความสำเหนียกว่า เราไม่เป็นไข้ จักไม่ยืนถ่ายอุจจาระหรือ
ปัสสาวะ
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ

สิกขาบทวิภังค์
ภิกษุไม่เป็นไข้ ไม่พึงยืนถ่ายอุจจาระหรือปัสสาวะ
ภิกษุใดไม่เอื้อเฟื้อ ไม่เป็นไข้ยืนถ่ายอุจจาระหรือปัสสาวะ ต้องอาบัติทุกกฏ

อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ

๑. ภิกษุไม่จงใจ ๒. ภิกษุไม่มีสติ
๓. ภิกษุผู้ไม่รู้ ๔. ภิกษุผู้เป็นไข้
๕. ภิกษุผู้มีเหตุขัดข้อง ๖. ภิกษุวิกลจริต
๗. ภิกษุต้นบัญญัติ

สิกขาบทที่ ๑๓ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๗๓๑ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๗.เสขิยกัณฑ์] ๗.ปาทุกาวรรค สิกขาบทที่ ๑๔
สิกขาบทที่ ๑๔

เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๖๕๒] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ถ่ายอุจจาระ
บ้าง ปัสสาวะบ้าง บ้วนน้ำลายบ้าง ลงบนของเขียว ฯลฯ

พระบัญญัติ
๑๔. พึงทำความสำเหนียกว่า เราไม่เป็นไข้จักไม่ถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ
หรือบ้วนนํ้าลาย ลงบนของเขียว
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ

สิกขาบทวิภังค์
ภิกษุไม่เป็นไข้ไม่พึงถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ หรือบ้วนน้ำลายลงบนของเขียว
ภิกษุใดไม่เอื้อเฟื้อ ไม่เป็นไข้ ถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ หรือบ้วนน้ำลายลงบน
ของเขียว ต้องอาบัติทุกกฏ

อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
๑. ภิกษุไม่จงใจ ๒. ภิกษุไม่มีสติ
๓. ภิกษุผู้ไม่รู้ ๔. ภิกษุผู้เป็นไข้
๕. ภิกษุถ่ายลงในที่ไม่มีของเขียวแต่ไหลไปรดของเขียว

๖. ภิกษุผู้มีเหตุขัดข้อง
๗. ภิกษุวิกลจริต ๘. ภิกษุต้นบัญญัติ

สิกขาบทที่ ๑๔ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๗๓๒ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๗.เสขิยกัณฑ์] ๗.ปาทุกาวรรค สิกขาบทที่ ๑๕
สิกขาบทที่ ๑๕

เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๖๕๓] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ถ่ายอุจจาระ
บ้าง ปัสสาวะบ้าง บ้วนนํ้าลายบ้าง ลงในนํ้า พวกชาวบ้านจึงพากันตำหนิ ประณาม
โพนทะนาว่า “ไฉนพระสมณะเชื้อสายศากยบุตรจึงถ่ายอุจจาระบ้าง ปัสสาวะบ้าง
บ้วนนํ้าลายบ้างลงในนํ้า เหมือนพวกคฤหัสถ์ผู้บริโภคกามเล่า”
พวกภิกษุได้ยินชาวบ้านตำหนิ ประณาม โพนทะนา บรรดาภิกษุผู้มักน้อย
สันโดษ จึงพากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพวกภิกษุฉัพพัคคีย์จึงถ่าย
อุจจาระบ้าง ถ่ายปัสสาวะบ้าง บ้วนนํ้าลายบ้าง ลงในนํ้าเล่า” ครั้นภิกษุทั้งหลาย
ตำหนิพวกภิกษุฉัพพัคคีย์โดยประการต่าง ๆ แล้วจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มี
พระภาคให้ทรงทราบ

ทรงสอบถามแล้วบัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามพวกภิกษุฉัพพัคคีย์ว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า พวกเธอถ่ายอุจจาระบ้าง
ปัสสาวะบ้าง บ้วนนํ้าลายบ้าง ลงในนํ้า จริงหรือ” พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ทูลรับว่า “จริง
พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ฯลฯ โมฆบุรุษทั้งหลาย การ
กระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้
เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้

พระบัญญัติ
๑๕. พึงทำความสำเหนียกว่า เราจักไม่ถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ หรือบ้วน
น้ำลาย ลงในน้ำ
สิกขาบทนี้พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติไว้แก่ภิกษุทั้งหลายอย่างนี้
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๗๓๓ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๗.เสขิยกัณฑ์] บทสรุป
เรื่องภิกษุผู้เป็นไข้
[๖๕๔] สมัยนั้น พวกภิกษุผู้เป็นไข้ยำเกรงอยู่ที่จะถ่ายอุจจาระบ้าง ปัสสาวะ
บ้าง บ้วนนํ้าลายบ้าง ลงในนํ้า จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ

ทรงอนุญาตภิกษุผู้เป็นไข้
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมีกถาเพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ แล้วรับ
สั่งกับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุผู้เป็นไข้ถ่ายอุจาระบ้าง
ปัสสาวะบ้าง บ้วนนํ้าลายบ้าง ลงในนํ้าได้” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขา
บทนี้ขึ้นแสดงดังนี้

พระอนุบัญญัติ
พึงทำความสำเหนียกว่า เราไม่เป็นไข้ จักไม่ถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ หรือ
บ้วนน้ำลายลงในน้ำ
เรื่องภิกษุผู้เป็นไข้ จบ

สิกขาบทวิภังค์
ภิกษุไม่เป็นไข้ ไม่พึงถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ หรือบ้วนน้ำลายลงในน้ำ
ภิกษุใดไม่เอื้อเฟื้อ ไม่เป็นไข้ ถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ หรือบ้วนน้ำลายลงในน้ำ
ต้องอาบัติทุกกฏ

อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ

๑. ภิกษุไม่จงใจ ๒. ภิกษุไม่มีสติ
๓. ภิกษุผู้ไม่รู้ ๔. ภิกษุผู้เป็นไข้
๕. ภิกษุถ่ายบนบก แต่ไหลลงน้ำ ๖. ภิกษุผู้มีเหตุขัดข้อง
๗. ภิกษุวิกลจริต ๘. ภิกษุจิตฟุ้งซ่าน
๙. ภิกษุถูกเวทนาบีบคั้น ๑๐. ภิกษุต้นบัญญัติ

สิกขาบทที่ ๑๕ จบ
ปาทุกาวรรคที่ ๗ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๗๓๔ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๗.เสขิยกัณฑ์] บทสรุป
บทสรุป
ท่านทั้งหลาย ธรรมคือเสขิยะทั้งหลาย ข้าพเจ้ายกขึ้นแสดงแล้ว
ข้าพเจ้าขอถามท่านทั้งหลาย ในธรรมคือเสขิยะเหล่านั้นว่า
“ท่านทั้งหลายบริสุทธิ์แล้วหรือ”
ข้าพเจ้าขอถามเป็นครั้งที่ ๒ “ท่านทั้งหลายบริสุทธิ์แล้วหรือ”
ข้าพเจ้าขอถามเป็นครั้งที่ ๓ “ท่านทั้งหลายบริสุทธิ์แล้วหรือ”
ท่านทั้งหลายบริสุทธิ์แล้วในธรรมคือเสขิยะเหล่านี้ เพราะฉะนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้า
ขอถือความนิ่งนั้นเป็นมติอย่างนี้

เสขิยะ จบ
เสขิยกัณฑ์ จบ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๗๓๕ }


๘. อธิกรณสมถะ
ท่านทั้งหลาย ธรรมคืออธิกรณสมถะ ๗ เหล่านี้มาถึงวาระที่จะยกขึ้นแสดงเป็น
ข้อ ๆ ตามลำดับ
(ธรรมเป็นเครื่องระงับอธิกรณ์ ๗ อย่าง คือ)
[๖๕๕] เพื่อระงับอธิกรณ์ที่เกิดขึ้นแล้ว ๆ (๑) พึงให้สัมมุขาวินัย๑ (๒) พึงให้
สติวินัย๒ (๓) พึงให้อมูฬหวินัย๓ (๔) พึงให้ปฏิญญาตกรณะ๔ (๕) พึงให้เยภุยยสิกา๕
(๖) พึงให้ตัสสปาปิยสิกา๖ (๗) พึงให้ติณวัตถารกะ๗

บทสรุป
ท่านทั้งหลาย ธรรมคืออธิกรณสมถะ ๗ อย่าง ข้าพเจ้ายกขึ้นแสดงแล้ว
ข้าพเจ้าขอถามท่านทั้งหลาย ในธรรมคืออธิกรณสมถะเหล่านั้นว่า
“ท่านทั้งหลายบริสุทธิ์แล้วหรือ”
ข้าพเจ้าขอถามเป็นครั้งที่ ๒ “ท่านทั้งหลายบริสุทธิ์แล้วหรือ”
ข้าพเจ้าขอถามเป็นครั้งที่ ๓ “ท่านทั้งหลายบริสุทธิ์แล้วหรือ”
ท่านทั้งหลายบริสุทธิ์แล้วในธรรมคืออธิกรณสมถะ ๗ เหล่านี้ เพราะเหตุนั้น
จึงนิ่ง ข้าพเจ้าขอถือความนิ่งนั้นเป็นมติอย่างนี้
อธิกรณสมถะ จบ

เชิงอรรถ :
๑ สัมมุขาวินัย คือวิธีตัดสินที่พึงทำในที่พร้อมหน้าสงฆ์ ธรรม และวัตถุ
๒ สติวินัย คือวิธีตัดสินที่ยกสติขึ้นเป็นหลัก
๓ อมูฬหวินัย คือวิธีตัดสินที่ให้แก่ภิกษุผู้หายเป็นบ้าแล้ว
๔ ปฏิญญาตกรณะ คือวิธีตัดสินโดยปรับโทษตามคำสารภาพ
๕ เยภุยยสิกา คือวิธีตัดสินโดยอาศัยเสียงข้างมาก
๖ ตัสสปาปิยสิกา คือวิธีตัดสินโดยปรับโทษแก่ผู้ทำความผิด
๗ ติณวัตถารกะ คือวิธีตัดสินโดยวิธียอมความ ตามศัพท์แปลว่า ระเบียบดังกลบไว้ด้วยหญ้า
(นัย วิ.จู. ๖/๑๘๕-๒๑๓/๒๑๘-๒๔๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๗๓๖ }


คำนิคม
คำนิคม
ท่านทั้งหลาย นิทาน ข้าพเจ้ายกขึ้นแสดงแล้ว
ธรรม คือ ปาราชิก ๔ สิกขาบท ข้าพเจ้ายกขึ้นแสดงแล้ว
ธรรม คือ สังฆาทิเสส ๑๓ สิกขาบท ข้าพเจ้ายกขึ้นแสดงแล้ว
ธรรม คือ อนิยต ๒ สิกขาบท ข้าพเจ้ายกขึ้นแสดงแล้ว
ธรรม คือ นิสสัคคิยปาจิตตีย์ ๓๐ สิกขาบท ข้าพเจ้ายกขึ้นแสดงแล้ว
ธรรม คือ ปาจิตตีย์ ๙๒ สิกขาบท ข้าพเจ้ายกขึ้นแสดงแล้ว
ธรรม คือ ปาฏิเทสนียะ ๔ สิกขาบท ข้าพเจ้ายกขึ้นแสดงแล้ว
ธรรม คือ เสขิยะทั้งหลาย ข้าพเจ้ายกขึ้นแสดงแล้ว
ธรรม คือ อธิกรณสมถะ ๗ ข้าพเจ้ายกขึ้นแสดงแล้ว
สิกขาบทของพระผู้มีพระภาคนั้นมีเท่านี้ มาในสูตร๑ นับเนื่องในสูตร มาสู่วาระ
ที่จะพึงยกขึ้นแสดงเป็นข้อ ๆ ตามลำดับทุกกึ่งเดือน
พวกเราทั้งหมดพึงพร้อมเพรียงกัน ร่วมใจกัน ไม่วิวาทกัน ศึกษาในพระสูตร
นั้นเทอญ

มหาวิภังค์ จบ


เชิงอรรถ :
๑ คำว่า “พระสูตร” หมายถึงพระปาติโมกข์นั่นเอง


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๗๓๗ }


พระไตรปิฎกเล่มที่ ๐๒ วินัยปิฎกที่ ๐๒ มหาวิภังค์ ภาค ๒ จบ





eXTReMe Tracker