ค้นว่าอยู่เล่มใด แล้วกด [ctrl]+f หรือใช้คำสั่งของเครื่องหาตำแหน่งในเล่มอีกทีนะครับ



จัดรูปหน้าใหม่
เพื่อความสะดวก และสวยงาม
(เฉพาะหน้าจอใหญ่ เช่น คอมพิวเตอร์)
กรุณาคลิก จัดรูปหน้าใหม่
เพื่อให้กรอบ
ค้นข้อความ ปรากฎที่ด้านซ้ายของหน้า

พระไตรปิฎกภาษาไทย
ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ๔๕ เล่ม (ปกสีฟ้า)
ทั้งออนไลน์และออฟไลน์
ที่มาของข้อมูล : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับ มจร.
MCUTRAI Version 1.0

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๐๒-๑ วินัยปิฎกที่ ๐๒ มหาวิภังค์ ภาค ๒

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๑.จีรวรรค ๑.ปฐมกฐินสิกขาบท นิทานวัตถุ

พระวินัยปิฎก
มหาวิภังค์ ภาค ๒
___________
ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

๔. นิสสัคคิยกัณฑ์

ท่านทั้งหลาย ธรรมคือนิสสัคคิยปาจิตตีย์ ๓๐ สิกขาบทเหล่านี้ มาถึงวาระ
ที่จะยกขึ้นแสดงเป็นข้อ ๆ ตามลำดับ

๑. จีวรวรรค
หมวดว่าด้วยจีวร

๑. ปฐมกฐินสิกขาบท
ว่าด้วยกฐินเดาะข้อที่ ๑

เรื่องพระฉัพพัคคีย์

[๔๕๙] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ โคตมกเจดีย์ เขต
กรุงเวสาลี ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคได้ทรงอนุญาตไตรจีวรเพื่อภิกษุทั้งหลายแล้ว
พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ทราบว่าพระผู้มีพระภาคทรงอนุญาตไตรจีวร๑แล้ว จึงเข้าหมู่บ้าน

เชิงอรรถ :
๑ ไตรจีวร คือ อันตรวาสก (ผ้านุ่ง) อุตตราสงค์ (ผ้าห่ม) สังฆาฏิ (ผ้าห่มซ้อนนอก) (วิ.อ. ๒/๔๕๙/๑๓๙)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๑ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๑.จีรวรรค ๑.ปฐมกฐินสิกขาบท พระบัญญัติ
โดยครองไตรจีวร ๑ไตร อยู่ในอารามอีก ๑ ไตร สรงน้ำอีก ๑ ไตร บรรดาภิกษุผู้
มักน้อย สันโดษ มีความละอาย มีความระมัดระวัง ใฝ่การศึกษา พากันตำหนิ
ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพวกภิกษุฉัพพัคคีย์จึงทรงอติเรกจีวร๑เล่า” ครั้นภิกษุ
เหล่านั้นตำหนิพวกภิกษุฉัพพัคคีย์โดยประการต่าง ๆ แล้วจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูล
พระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ

ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามพวกภิกษุฉัพพัคคีย์ว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า พวกเธอทรงอติเรกจีวร
จริงหรือ” พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาค
พุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “โมฆบุรุษทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้ไม่สมควร ไม่คล้อย
ตาม ไม่เหมาะสม ไม่ใช่กิจของสมณะ ใช้ไม่ได้ ไม่ควรทำ ไฉนพวกเธอจึงทรงอติเรก
จีวรเล่า โมฆบุรุษทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส
หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ที่จริง กลับจะทำให้คนที่ไม่เลื่อมใส
ก็ไม่เลื่อมใสไปเลย คนที่เลื่อมใสอยู่แล้วบางพวกก็จะกลายเป็นอื่นไป ฯลฯ” แล้วจึง
รับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้

พระบัญญัติ
[๔๖๐] ก็ ภิกษุใดทรงอติเรกจีวร ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์๒
สิกขาบทนี้พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติไว้แก่ภิกษุทั้งหลายอย่างนี้
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ

เชิงอรรถ :
๑ อติเรกจีวร คือผ้าส่วนเกินที่เขาถวายภิกษุเพิ่มเข้ามาจากผ้าที่อธิษฐานเป็นไตรจีวร
๒ ที่แปลว่า “ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์” นี้เป็นไปตามนัยอธิบายแห่งอรรถกถาว่า “นิสฺสคฺคิยํ ปาจิตฺติยํ,
ตญฺจ จีวรํ นิสฺสคฺคิยํ โหติ, ปาจิตฺติยาปตฺติ จสฺส โหติ ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์ คือจีวรเป็น
นิสสัคคีย์ต้องสละ ภิกษุรูปนั้นต้องอาบัติปาจิตตีย์” (วิ.อ. ๒/๔๖๒-๔๖๓/๑๔๒, กงฺขา.อ. ๑๘๖)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๒ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๑.จีรวรรค ๑.ปฐมกฐินสิกขาบท พระอนุบัญญัติ
เรื่องพระอานนท์
[๔๖๑] สมัยนั้น อติเรกจีวรเกิดขึ้นแก่ท่านพระอานนท์ ท่านต้องการจะถวาย
อติเรกจีวรนั้นแก่ท่านพระสารีบุตร แต่ท่านพระสารีบุตรอยู่ที่เมืองสาเกต ทีนั้น ท่าน
พระอานนท์ได้มีความคิดว่า “พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติสิกขาบทไว้ว่า ‘ภิกษุไม่
พึงทรงอติเรกจีวร’ ก็อติเรกจีวรนี้เกิดขึ้นแก่เรา เราต้องการจะถวายท่านพระสารีบุตร
แต่ท่านอยู่ที่เมืองสาเกต เราพึงปฏิบัติอย่างไรหนอ” จึงได้นำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระ
ผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “อีกนานเพียงไร สารีบุตรจะกลับมา”
พระอานนท์กราบทูลว่า “อีก ๙ หรือ ๑๐ วันจึงจะกลับมา พระพุทธเจ้าข้า”

ทรงอนุญาตอติเรกจีวร
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมีกถาเพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ รับสั่ง
กับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลายเราอนุญาตให้ทรงอติเรกจีวรได้ ๑๐ วันเป็น
อย่างมาก” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้

พระอนุบัญญัติ
[๔๖๒] เมื่อจีวรของภิกษุสำเร็จแล้ว เมื่อกฐินเดาะแล้ว๑ ภิกษุพึงทรง
อติเรกจีวรไว้ได้ ๑๐ วันเป็นอย่างมาก ให้เกินกำหนดนั้นไป ต้องอาบัติ
นิสสัคคิยปาจิตตีย์๒

เรื่องพระอานนท์ จบ

เชิงอรรถ :
๑ คำว่า “กฐินเดาะ” ในที่นี้ตามศัพท์แปลว่า รื้อไม้สะดึง คือไม้แบบสำหรับขึงผ้า หมายถึงยกเลิกอานิสงส์
กฐินที่ภิกษุพึงได้รับ (ดูเหตุให้กฐินเดาะ เชิงอรรถข้อ ๔๖๓ หน้า ๔)
๒ นิสสัคคิยปาจิตตีย์ คืออาบัติปาจิตตีย์ที่ภิกษุผู้ต้องแล้วเมื่อจะแสดงเทสนาบัติ จะต้องทำการสละวัตถุ
ก่อน จึงจะถือว่าเป็นผู้บริสุทธิ์จากอาบัตินี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๓ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๑.จีรวรรค ๑.ปฐมกฐินสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์
สิกขาบทวิภังค์
[๔๖๓] คำว่า เมื่อจีวร...สำเร็จแล้ว หมายความว่า จีวรของภิกษุเสร็จแล้ว
สูญหายแล้ว ฉิบหายแล้ว ถูกไฟไหม้เสียแล้ว หรือภิกษุหมดหวังว่าจะได้ผ้ามาเย็บ
เป็นจีวร
คำว่า เมื่อกฐินเดาะแล้ว หมายความว่า กฐินเดาะด้วยมาติกาอย่างใด
อย่างหนึ่งในมาติกา ๘๑ หรือสงฆ์เดาะกฐินในระหว่าง๒
คำว่า ๑๐ วันเป็นอย่างมาก คือ ครอบครองไว้ได้ ๑๐ วันเป็นอย่างมาก
ชื่อว่า อติเรกจีวร ได้แก่ จีวรที่ไม่ได้อธิษฐาน๓ ไม่ได้วิกัป๔
ที่ชื่อว่า จีวร ได้แก่ จีวร ๖ ชนิด๕ อย่างใดอย่างหนึ่งซึ่งมีขนาดพอที่จะทำ
วิกัปได้เป็นอย่างต่ำ

เชิงอรรถ :
๑ มาติกา คือหัวข้อแห่งการเดาะกฐิน ๘ ประการ คือ (๑) ปักกมนันติกา กฐินเดาะกำหนดด้วยการที่ภิกษุ
หลีกไป ไม่คิดจะกลับ (๒) นิฏฐานันติกา กฐินเดาะกำหนดด้วยการที่ภิกษุนำผ้าไปนอกสีมาแล้วตัดเย็บ
จีวร ไม่คิดจะกลับ (๓) สันนิฏฐานันติกา กฐินเดาะกำหนดด้วยการที่ภิกษุนำผ้าไปนอกสีมาแล้วตกลงใจ
จะไม่ตัดเย็บจีวร และไม่คิดจะกลับ (๔) นาสนันติกา กฐินเดาะกำหนดด้วยการที่ภิกษุนำผ้าไปนอกสีมา
ตัดเย็บเป็นจีวร ไม่คิดจะกลับ ผ้าที่ตัดเย็บเป็นจีวรเสียหายไป (๕) สวนันติกา กฐินเดาะกำหนดด้วยการ
ที่ภิกษุนำผ้าไปนอกสีมา คิดว่าจะกลับ ตัดเย็บจีวรเสร็จแล้วได้ฟังข่าวว่า กฐินในวัดของตนเดาะเสียแล้ว
(๖) อาสาวัจเฉทิกา กฐินเดาะกำหนดด้วยการที่ภิกษุหลีกไปนอกสีมาด้วยหวังว่าจะได้ผ้า รอคอยผ้าจนหมด
หวัง (๗) สีมาติกกันติกา กฐินเดาะกำหนดด้วยการที่ภิกษุนำผ้าไปตัดเย็บจีวรอยู่นอกสีมา คิดจะกลับ แต่
อยู่นอกสีมาจนกระทั่งกฐินเดาะ (๘) สหุพภารา กฐินเดาะกำหนดด้วยการที่ภิกษุนำผ้าไปตัดเย็บจีวรอยู่
นอกสีมาคิดว่า จะกลับ จะกลับ แต่สงฆ์ในวัดของตนพร้อมใจกันเดาะกฐินเสียก่อน (วิ.ม. ๕/๓๑๐/๙๕)
๒ สงฆ์เดาะกฐินในระหว่าง คือสงฆ์กรานกฐินแล้ว ยังไม่พ้นเขตจีวรกาล มีทายกต้องการจะถวายอกาลจีวร
มาขอให้สงฆ์เดาะกฐิน คือยกเลิกอานิสงส์กฐินในระหว่างจีวรกาล (ก่อนหมดเขตอานิสงส์กฐิน) พระพุทธ
องค์ทรงอนุญาตให้เดาะกฐินได้ (วิ.ภิกขุนี. ๓/๙๒๕/๙๒๖/๑๒๑/๑๒๒)
๓ อธิษฐาน คือการตั้งเอาไว้หรือตั้งใจกำหนดเอาไว้ ได้แก่ ตั้งใจกำหนดเอาไว้ว่าจะเป็นของประจำตัวชนิด
นั้น ๆ เช่น ไตรจีวร บาตร วิธีอธิษฐาน ใช้กายคือมือสัมผัส หรือเปล่งวาจาก็ได้ (วิ.ป. ๘/๓๒๒/๒๖๑, วิ.อ.
๒/๔๖๙/๑๔๗)
๔ เรื่องเดียวกัน คำว่า วิกัป คือทำให้เป็นของสองเจ้าของ คือขอให้ภิกษุสามเณรรูปอื่นร่วมเป็นเจ้าของสิ่งที่
วิกัปนั้น ทำให้ไม่ต้องอาบัติ แม้จะเก็บไว้เกินกำหนด
๕ จีวร ๖ ชนิด คือ โขมะ(จีวรผ้าเปลือกไม้) กัปปาสิกะ (จีวรผ้าฝ้าย) โกเสยยะ (จีวรผ้าไหม) กัมพละ (จีวร
ผ้าขนสัตว์) สาณะ (จีวรผ้าป่าน) ภังคะ (จีวรผ้าผสม) (วิ.อ. ๒/๔๖๒-๔๖๓/๑๔๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๔ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๑.จีรวรรค ๑.ปฐมกฐินสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์
คำว่า ให้เกินกำหนดนั้นไป ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์ ความว่า เมื่อรุ่ง
อรุณวันที่ ๑๑ จีวรผืนนั้นเป็นนิสสัคคีย์ คือ เป็นของจำต้องสละแก่สงฆ์ แก่คณะ
หรือแก่บุคคล
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงสละจีวรที่เป็นนิสสัคคีย์อย่างนี้

วิธีสละจีวรที่เป็นนิสสัคคีย์
สละแก่สงฆ์
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง กราบเท้าภิกษุผู้
แก่พรรษา นั่งกระโหย่งประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านผู้เจริญ จีวรผืนนี้ของกระผม
เกินกำหนด ๑๐ วัน เป็นนิสสัคคีย์ กระผมสละจีวรผืนนี้แก่สงฆ์” ครั้นสละแล้วพึง
แสดงอาบัติ
ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงรับอาบัติ๑ พึงคืนจีวรที่เธอสละให้ด้วยญัตติกรรมวาจา
ว่า
[๔๖๔] “ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า จีวรผืนนี้ของภิกษุชื่อนี้เป็นนิสสัคคีย์
เธอสละแก่สงฆ์ ถ้าสงฆ์พร้อมกันแล้วพึงคืนจีวรผืนนี้แก่ภิกษุชื่อนี้”

สละแก่คณะ
[๔๖๕] ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุหลายรูป ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง
กราบเท้าภิกษุผู้แก่พรรษา นั่งกระโหย่งประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านผู้เจริญ
จีวรผืนนี้ของกระผมเกินกำหนด ๑๐ วัน เป็นนิสสัคคีย์ กระผมสละจีวรผืนนี้แก่ท่าน
ทั้งหลาย” ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ
ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงรับอาบัติ พึงคืนจีวรที่เธอสละให้ด้วยกล่าวว่า
[๔๖๖] “ท่านทั้งหลายจงฟังข้าพเจ้า จีวรผืนนี้ของภิกษุชื่อนี้เป็นนิสสัคคีย์ เธอ
สละแก่ท่านทั้งหลาย ถ้าท่านทั้งหลายพร้อมกันแล้วพึงให้จีวรผืนนี้แก่ภิกษุชื่อนี้”

เชิงอรรถ :
๑ คือรับการแสดงอาบัติ เพื่อให้ภิกษุผู้ต้องอาบัติพ้นจากอาบัติ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๕ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๑.จีรวรรค ๑.ปฐมกฐินสิกขาบท บทภาชนีย์
สละแก่บุคคล
[๔๖๗] ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุรูปหนึ่ง ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง
นั่งกระโหย่งประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านขอรับ จีวรผืนนี้ของกระผมเกินกำหนด
๑๐ วัน เป็นนิสสัคคีย์ กระผมสละจีวรผืนนี้แก่ท่าน” ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ
ภิกษุผู้รับสละนั้นพึงรับอาบัติแล้วคืนจีวรที่เธอสละให้ด้วยกล่าวว่า “กระผมคืน
จีวรผืนนี้ให้แก่ท่าน”

บทภาชนีย์
นิสสัคคิยปาจิตตีย์
[๔๖๘] จีวรเกินกำหนด ๑๐ วัน ภิกษุสำคัญว่าเกินกำหนดแล้ว ต้องอาบัติ
นิสสัคคิยปาจิตตีย์
จีวรเกินกำหนด ๑๐ วัน ภิกษุไม่แน่ใจ ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
จีวรเกินกำหนด ๑๐ วัน ภิกษุสำคัญว่ายังไม่เกินกำหนด ต้องอาบัติ
นิสสัคคิยปาจิตตีย์
จีวรยังไม่ได้อธิษฐาน ภิกษุสำคัญว่าอธิษฐานแล้ว ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
จีวรยังไม่ได้วิกัป ภิกษุสำคัญว่าวิกัปแล้ว ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
จีวรยังไม่ได้สละ ภิกษุสำคัญว่าสละแล้ว ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
จีวรยังไม่สูญหาย ภิกษุสำคัญว่าสูญหายแล้ว ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
จีวรยังไม่ฉิบหาย ภิกษุสำคัญว่าฉิบหายแล้ว ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
จีวรยังไม่ถูกไฟไหม้ ภิกษุสำคัญว่าถูกไฟไหม้แล้ว ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
จีวรที่ยังไม่ถูกโจรชิงเอาไป ภิกษุสำคัญว่าถูกโจรชิงเอาไปแล้ว ต้องอาบัติ
นิสสัคคิยปาจิตตีย์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๖ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๑.จีรวรรค ๑.ปฐมกฐินสิกขาบท อนาปัตติวาร
ติกทุกกฏ
จีวรที่เป็นนิสสัคคีย์ ภิกษุยังไม่ได้สละ ใช้สอย ต้องอาบัติทุกกฏ
จีวรยังไม่เกินกำหนด ๑๐ วัน ภิกษุสำคัญว่าเกินกำหนดแล้ว ใช้สอย ต้อง
อาบัติทุกกฏ
จีวรยังไม่เกินกำหนด ๑๐ วัน ภิกษุไม่แน่ใจ ใช้สอย ต้องอาบัติทุกกฏ
จีวรยังไม่เกินกำหนด ๑๐ วัน ภิกษุสำคัญว่ายังไม่เกินกำหนด ไม่ต้องอาบัติ

อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[๔๖๙] ๑. ภิกษุผู้อธิษฐานภายใน ๑๐ วัน
๒. ภิกษุผู้วิกัปไว้ภายใน ๑๐ วัน
๓. ภิกษุผู้สละให้ไปภายใน ๑๐ วัน
๔. ภิกษุผู้มีจีวรสูญหายภายใน ๑๐ วัน
๕. ภิกษุผู้มีจีวรฉิบหายภายใน ๑๐ วัน
๖. ภิกษุผู้มีจีวรถูกไฟไหม้ภายใน ๑๐ วัน
๗. ภิกษุผู้มีจีวรถูกโจรชิงเอาไปภายใน ๑๐ วัน
๘. ภิกษุผู้มีจีวรถูกถือเอาไปโดยวิสาสะภายใน ๑๐ วัน
๙. ภิกษุวิกลจริต
๑๐. ภิกษุต้นบัญญัติ
[๔๗๐] สมัยนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ไม่ยอมคืนจีวรที่มีผู้สละให้ บรรดาภิกษุ
ผู้มักน้อย ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพวกภิกษุฉัพพัคคีย์
จึงไม่ยอมคืนจีวรที่มีผู้สละให้เล่า” แล้วจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้
ทรงทราบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๗ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๑.จีรวรรค ๑.ปฐมกฐินสิกขาบท อนาปัตติวาร
ทรงสอบถามแล้วอนุญาตให้คืนจีวร
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงสอบถามพวกภิกษุฉัพพัคคีย์ว่า “ทราบว่า
พวกเธอไม่ยอมคืนจีวรที่มีผู้สละให้ จริงหรือ” พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ทูลรับว่า “จริง
พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ฯลฯ ไฉนพวกเธอจึงไม่
ยอมคืนจีวรที่มีผู้สละให้เล่า โมฆบุรุษทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่
เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ที่จริง กลับ
จะทำให้คนที่ไม่เลื่อมใสก็ไม่เลื่อมใสไปเลย คนที่เลื่อมใสอยู่แล้วบางพวกก็จะกลาย
เป็นอื่นไป ฯลฯ” ดังนี้ แล้วทรงแสดงธรรมีกถาแก่ภิกษุทั้งหลายให้เหมาะสมกับ
เรื่องนั้น แล้วรับสั่งกับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย จีวรที่ภิกษุสละแก่สงฆ์ แก่
คณะหรือแก่บุคคล จะไม่คืนไม่ได้ ภิกษุใดไม่คืนให้ ภิกษุนั้นต้องอาบัติทุกกฏ”

ปฐมกฐินสิกขาบทที่ ๑ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๘ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๑.จีรวรรค ๒.อุทโทสิตสิกขาบท นิทานวัตถุ
๑. จีวรวรรค
๒. อุทโทสิตสิกขาบท
ว่าด้วยภิกษุเก็บจีวรไว้ในโรงเก็บของ
(ว่าด้วยกฐินเดาะข้อที่ ๒)

เรื่องภิกษุหลายรูป
[๔๗๑] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุทั้งหลายฝากสังฆาฏิไว้กับ
พวกภิกษุมีเพียงอุตตราสงค์กับอันตรวาสกออกจาริกไปสู่ชนบท สังฆาฏิเหล่านั้นเก็บ
ไว้นานจึงขึ้นรา ภิกษุทั้งหลายจึงนำออกมาผึ่งแดด
ท่านพระอานนท์เที่ยวไปตามเสนาสนะ เห็นภิกษุกำลังผึ่งสังฆาฏิอยู่จึงเข้าไป
ถามภิกษุเหล่านั้นว่า “ท่านทั้งหลาย สังฆาฏิที่ขึ้นราเหล่านี้เป็นของใคร” ลำดับนั้น
ภิกษุเหล่านั้นบอกเรื่องนั้นให้พระอานนท์ทราบ
ท่านพระอานนท์ตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนภิกษุทั้งหลายจึงฝาก
สังฆาฏิไว้กับพวกภิกษุ มีเพียงอุตตราสงค์กับอันตรวาสกออกจาริกไปสู่ชนบทเล่า”
ครั้นท่านตำหนิภิกษุเหล่านั้นโดยประการต่าง ๆ แล้วจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มี
พระภาคให้ทรงทราบ

ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงสอบถามภิกษุเหล่านั้นว่า “ภิกษุทั้งหลาย
ทราบว่า พวกภิกษุฝากสังฆาฏิไว้กับพวกภิกษุ มีเพียงอุตตราสงค์กับอันตรวาสก
ออกจาริกไปสู่ชนบท จริงหรือ” ภิกษุเหล่านั้นทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระ
ผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ฯลฯ ภิกษุทั้งหลาย ไฉนพวกโมฆบุรุษเหล่านั้นจึง
ฝากจีวรไว้กับพวกภิกษุ มีเพียงอุตตราสงค์และอันตรวาสกออกจาริกไปสู่ชนบทเล่า
ภิกษุทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๙ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๑.จีรวรรค ๒.อุทโทสิตสิกขาบท พระบัญญัติ
เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ” ดังนี้แล้วรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลาย
ยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้

พระบัญญัติ
[๔๗๒] เมื่อจีวรของภิกษุสำเร็จแล้ว เมื่อกฐินเดาะแล้ว ถ้าภิกษุอยู่
ปราศจากไตรจีวรแม้สิ้นราตรีหนึ่ง ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
สิกขาบทนี้พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติไว้แก่ภิกษุทั้งหลายอย่างนี้
เรื่องภิกษุหลายรูป จบ

เรื่องภิกษุเป็นไข้
[๔๗๓] สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งเป็นไข้อยู่กรุงโกสัมพี พวกญาติส่งทูตไปสำนัก
ของภิกษุนั้นให้แจ้งข่าวว่า “นิมนต์พระคุณท่านมาเถิด พวกเราจะอุปัฏฐาก” ภิกษุ
ทั้งหลายก็กล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านไปเถิด พวกญาติจะอุปัฏฐากท่านเอง” ภิกษุนั้น
กล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติสิกขาบทไว้ว่า ‘ภิกษุไม่
พึงอยู่ปราศจากไตรจีวร’ กระผมเป็นไข้ไม่สามารถนำไตรจีวรไปได้ กระผมจะไม่ไป”
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ

ทรงอนุญาตให้สมมติติจีวราวิปวาส
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมีกถาเพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ รับสั่ง
กับภิกษุทั้งหลายว่า “เราอนุญาตให้สมมติเพื่อไม่เป็นการอยู่ปราศจากไตรจีวร เพื่อ
ภิกษุผู้เป็นไข้”
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงให้สมมติอย่างนี้

วิธีสมมติติจีวราวิปวาส
ภิกษุผู้เป็นไข้นั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง กราบเท้า
ภิกษุผู้แก่พรรษา นั่งกระโหย่งประนมมือ กล่าวว่า “ท่านผู้เจริญ กระผมเป็นไข้ไม่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๑๐ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๑.จีรวรรค ๒.อุทโทสิตสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์
สามารถนำไตรจีวรไปได้ กระผมขอให้สงฆ์สมมติเพื่อไม่เป็นการอยู่ปราศจากไตรจีวร
พึงกล่าวขออย่างนี้เป็นครั้งที่ ๒ พึงกล่าวขออย่างนี้เป็นครั้งที่ ๓
ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติทุติยกรรมวาจาว่า
[๔๗๔] ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุชื่อนี้เป็นไข้ ไม่สามารถนำไตร
จีวรไปได้เธอขอให้สงฆ์สมมติเพื่อไม่เป็นการอยู่ปราศจากไตรจีวรถ้าสงฆ์พร้อมกัน
แล้วพึงให้สมมติเพื่อไม่เป็นการอยู่ปราศจากไตรจีวรแก่ภิกษุชื่อนี้ นี่เป็นญัตติ
ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุชื่อนี้เป็นไข้ไม่สามารถนำไตรจีวรไปได้
เธอขอให้สงฆ์สมมติเพื่อไม่เป็นการอยู่ปราศจากไตรจีวร สงฆ์ให้สมมติเพื่อไม่เป็น
การอยู่ปราศจากไตรจีวรแก่ภิกษุชื่อนี้ ท่านรูปใดเห็นด้วยกับการให้สมมติเพื่อไม่
เป็นการอยู่ปราศจากไตรจีวรแก่ภิกษุชื่อนี้ ท่านรูปนั้นพึงนิ่ง ท่านรูปใดไม่เห็นด้วย
ท่านรูปนั้นพึงทักท้วง
การสมมติเพื่อไม่เป็นการอยู่ปราศจากไตรจีวร สงฆ์ให้แก่ภิกษุชื่อนี้แล้ว สงฆ์
เห็นชอบ เพราะฉะนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าขอถือความนิ่งนั้นเป็นมติอย่างนี้” แล้วจึงรับสั่ง
ให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้

พระอนุบัญญัติ
[๔๗๕] เมื่อจีวรของภิกษุสำเร็จแล้ว เมื่อกฐินเดาะแล้ว ถ้าภิกษุอยู่
ปราศจากไตรจีวรแม้สิ้นราตรีหนึ่ง ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์ เว้นแต่ภิกษุ
ได้รับสมมติ

สิกขาบทวิภังค์
[๔๗๖] คำว่า เมื่อจีวร...สำเร็จแล้ว หมายความว่า จีวรของภิกษุทำเสร็จ
แล้ว สูญหายแล้ว ฉิบหายแล้ว ถูกไฟไหม้แล้ว หรือภิกษุหมดหวังว่าจะได้ผ้ามา
เย็บเป็นจีวร


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๑๑ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๑.จีรวรรค ๒.อุทโทสิตสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์
คำว่า เมื่อกฐินเดาะแล้ว หมายความว่า กฐินเดาะด้วยมาติกาอย่างใดอย่าง
หนึ่งในมาติกา ๘ หรือสงฆ์เดาะภายในระหว่าง
คำว่า ถ้าภิกษุอยู่ปราศจากไตรจีวรแม้สิ้นราตรีหนึ่ง ความว่า ภิกษุอยู่
ปราศจากสังฆาฏิ อุตตราสงค์หรืออันตรวาสกผืนใดผืนหนึ่ง แม้คืนเดียว
คำว่า เว้นแต่ภิกษุได้รับสมมติ คือ ยกเว้นภิกษุผู้ได้รับสมมติ
คำว่า ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์ คือ จีวรเป็นนิสสัคคีย์พร้อมกับอรุณขึ้น
คือเป็นของจำต้องสละแก่สงฆ์ แก่คณะหรือแก่บุคคล
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงสละจีวรที่เป็นนิสสัคคีย์อย่างนี้

วิธีสละจีวรที่เป็นนิสสัคคีย์
สละแก่สงฆ์
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง กราบเท้าภิกษุผู้
แก่พรรษา นั่งกระโหย่งประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านผู้เจริญ จีวรผืนนี้ของกระผม
อยู่ปราศแล้วล่วงราตรี เว้นจากได้รับการสมมติ เป็นนิสสัคคีย์ กระผมสละจีวรผืนนี้
แก่สงฆ์” ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ
ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงรับอาบัติ พึงคืนจีวรที่เธอสละให้ด้วยญัตติกรรมวาจา
ว่า “ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า จีวรผืนนี้ของภิกษุชื่อนี้เป็นนิสสัคคีย์ เธอสละ
แก่สงฆ์ ถ้าสงฆ์พร้อมกันแล้วก็พึงให้จีวรผืนนี้แก่ภิกษุชื่อนี้”

สละแก่คณะ
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุหลายรูป ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง กราบ
เท้าภิกษุผู้แก่พรรษา นั่งกระโหย่งประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านผู้เจริญ จีวรผืนนี้
ของกระผมอยู่ปราศแล้วล่วงราตรี เว้นจากได้รับการสมมติ เป็นนิสสัคคีย์ กระผม
สละจีวรผืนนี้แก่ท่านทั้งหลาย” ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ
ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงรับอาบัติ พึงคืนจีวรที่เธอสละให้ด้วยกล่าวว่า “ท่าน
ทั้งหลายจงฟังข้าพเจ้า จีวรผืนนี้ของภิกษุชื่อนี้เป็นนิสสัคคีย์ เธอสละแก่ท่านทั้งหลาย
ถ้าท่านทั้งหลายพร้อมกันแล้วก็พึงให้จีวรผืนนี้แก่ภิกษุชื่อนี้”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๑๒ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๑.จีรวรรค ๒.อุทโทสิตสิกขาบท บทภาชนีย์
สละแก่บุคคล
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุรูปหนึ่ง ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง นั่ง
กระโหย่งประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านขอรับ จีวรผืนนี้ของกระผมอยู่ปราศแล้ว
ล่วงราตรี เว้นจากได้รับการสมมติ เป็นนิสสัคคีย์ กระผมสละจีวรผืนนี้แก่ท่าน”
ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ
ภิกษุผู้รับสละนั้นพึงรับอาบัติแล้วพึงคืนจีวรที่เธอสละให้ด้วยกล่าวว่า “กระผม
คืนจีวรผืนนี้ให้แก่ท่าน”

บทภาชนีย์
มาติกา
[๔๗๗] หมู่บ้าน มีอุปจารเดียวกัน๑ หมู่บ้าน มีอุปจารแยกกัน
เรือน มีอุปจารเดียวกัน เรือน มีอุปจารแยกกัน
โรงเก็บของ มีอุปจารเดียวกัน โรงเก็บของ มีอุปจารแยกกัน
ป้อม มีอุปจารเดียวกัน ป้อม มีอุปจารแยกกัน
เรือนยอดเดียว มีอุปจารเดียวกัน เรือนยอดเดียว มีอุปจารแยกกัน
ปราสาท มีอุปจารเดียวกัน ปราสาท มีอุปจารแยกกัน
เรือนโล้น๒ มีอุปจารเดียวกัน เรือนโล้น มีอุปจารแยกกัน
เรือ มีอุปจารเดียวกัน เรือ มีอุปจารแยกกัน
หมู่เกวียน มีอุปจารเดียวกัน หมู่เกวียน มีอุปจารแยกกัน

เชิงอรรถ :
๑ คำว่า “อุปจาร” คือที่ใกล้เคียงกันบริเวณรอบ ๆ ชานเช่นอุปจารเรือนคือบริเวณรอบ ๆ เรือนซึ่ง
กำหนดจุดที่อยู่นอกบริเวณชายคาของตัวเรือนออกไปถึงจุดที่แม่บ้านยืนอยู่ที่ประตูเรือนสาดน้ำล้างภาชนะ
ออกไปตก (วิ.อ. ๑/๙๒/๓๒๒)
๒ หัมมิยะ เรือนโล้น ได้แก่ ปราสาทหลังคาโล้น มีเรือนยอดตั้งอยู่ที่ดาดฟ้า มีชานชมแสงจันทร์ (วิ.อ.
๒/๔๘๒-๗/๑๕๙, วิ.อ. ๓/๒๙๔/๓๑๙, สารตฺถ.ฏีกา ๓/๗๑-๗๓/๒๘๕, วิมติ.ฏีกา ๒/๗๑-๗๓/๑๓๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๑๓ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๑.จีรวรรค ๒.อุทโทสิตสิกขาบท บทภาชนีย์
นา มีอุปจารเดียวกัน นา มีอุปจารแยกกัน
ลานนวดข้าว มีอุปจารเดียวกัน ลานนวดข้าว มีอุปจารแยกกัน
สวน มีอุปจารเดียวกัน สวน มีอุปจารแยกกัน
วิหาร มีอุปจารเดียวกัน วิหาร มีอุปจารแยกกัน
โคนไม้ มีอุปจารเดียวกัน โคนไม้ มีอุปจารแยกกัน
ที่กลางแจ้ง มีอุปจารเดียวกัน ที่กลางแจ้ง มีอุปจารแยกกัน
[๔๗๘] ที่ชื่อว่า หมู่บ้านมีอุปจารเดียวกัน คือ หมู่บ้านของตระกูลหนึ่งล้อม
รั้วไว้ด้วยกัน ภิกษุเก็บจีวรไว้ภายในหมู่บ้าน แล้วพึงอยู่ภายในหมู่บ้าน ที่ชื่อว่า หมู่
บ้านมีอุปจารแยกกัน๑ คือ หมู่บ้านของตระกูลหนึ่งไม่มีรั้วล้อม ภิกษุต้องอยู่ใน
เรือนที่ตนเก็บจีวรไว้หรือไม่ละหัตถบาส
[๔๗๙] หมู่บ้านของต่างตระกูลและล้อมรั้วไว้ด้วยกัน ภิกษุต้องอยู่ในเรือนที่
ตนเก็บจีวรไว้ ในหอประชุมหรือที่ริมประตู หรือไม่ละหัตถบาส เมื่อไปหอประชุม
ต้องเก็บจีวรไว้ในหัตถบาสแล้วอยู่ในหอประชุมหรือที่ริมประตู หรือไม่ละหัตถบาส
ภิกษุเก็บจีวรในหอประชุมต้องอยู่ในหอประชุมหรือที่ริมประตูหรือไม่ละหัตถบาส
หมู่บ้านไม่มีรั้วล้อม ภิกษุต้องอยู่ในเรือนที่ตนเก็บจีวรไว้หรือไม่ละหัตถบาส
[๔๘๐] เรือน ของตระกูลหนึ่งล้อมรั้วไว้ด้วยกัน มีห้องใหญ่ห้องเล็กหลายห้อง
ภิกษุเก็บจีวรไว้ภายในเรือน ต้องอยู่ภายในเรือน
เรือนไม่มีรั้วล้อม ภิกษุต้องอยู่ในห้องที่ตนเก็บจีวรไว้หรือไม่ละหัตถบาส
[๔๘๑] เรือน ของต่างตระกูลและล้อมรั้วไว้ด้วยกัน มีห้องใหญ่ห้องเล็กหลาย
ห้อง ภิกษุต้องอยู่ในห้องที่ตนเก็บจีวรไว้หรือที่ริมประตู หรือไม่ละหัตถบาส
เรือนไม่มีรั้วล้อม ภิกษุต้องอยู่ในห้องที่ตนเก็บจีวรไว้หรือไม่ละหัตถบาส

เชิงอรรถ :
๑ หมู่บ้านที่จัดว่ามีอุปจารเดียวกัน ท่านกำหนดด้วยล้อมรั้วไว้ด้วยกัน, ที่จัดว่า มีอุปจารแยกกัน ท่าน
กำหนดด้วยไม่มีรั้วล้อม (ปริกฺขิตฺโตติ... เอตฺตาวตา เอกกุลคามสฺส เอกูปจารตา ทสฺสิตา. ฯเปฯ
อปริกฺขิตฺโตติ อิมินา ตสฺเสว คามสฺส นานูปจารตา ทสฺสิตา - วิ.อ. ๒/๔๗๘/๑๕๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๑๔ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๑.จีรวรรค ๒.อุทโทสิตสิกขาบท บทภาชนีย์
[๔๘๒] โรงเก็บของ ของตระกูลหนึ่งล้อมรั้วไว้ด้วยกัน มีห้องใหญ่ห้องเล็ก
หลายห้อง ภิกษุต้องอยู่ในโรงเก็บของที่ตนเก็บจีวรไว้
โรงเก็บของไม่มีรั้วล้อม ภิกษุต้องอยู่ในห้องเก็บของที่ตนเก็บจีวรไว้หรือไม่ละ
หัตถบาส
[๔๘๓] โรงเก็บของ ของต่างตระกูลและล้อมรั้วไว้ด้วยกัน มีห้องใหญ่ห้อง
เล็กหลายห้อง ภิกษุต้องอยู่ในห้องที่ตนเก็บจีวรไว้หรือที่ริมประตู หรือไม่ละหัตถบาส
โรงเก็บของไม่มีรั้วล้อม ภิกษุต้องอยู่ในห้องที่ตนเก็บจีวรไว้หรือไม่ละหัตถบาส
[๔๘๔] ป้อม ของตระกูลหนึ่ง ภิกษุต้องอยู่ภายในป้อมที่ตนเก็บจีวรไว้
ป้อมของต่างตระกูล มีห้องใหญ่ห้องเล็กหลายห้อง ภิกษุต้องอยู่ในห้องที่ตน
เก็บจีวรไว้หรือที่ริมประตูหรือไม่ละหัตถบาส
[๔๘๕] เรือนยอดเดียว ของตระกูลหนึ่ง ภิกษุต้องอยู่ภายในเรือนยอดเดียว
ที่ตนเก็บจีวรไว้
เรือนยอดเดียวของต่างตระกูล มีห้องใหญ่ห้องเล็กหลายห้อง ภิกษุต้องอยู่ใน
ห้องที่ตนเก็บจีวรไว้หรือที่ริมประตู หรือไม่ละหัตถบาส
[๔๘๖] ปราสาท ของตระกูลหนึ่ง ภิกษุต้องอยู่ในปราสาทที่ตนเก็บจีวรไว้
ปราสาทของต่างตระกูล มีห้องใหญ่ห้องเล็กหลายห้อง ภิกษุต้องอยู่ในห้องที่
ตนเก็บจีวรไว้หรือที่ริมประตู หรือไม่ละหัตถบาส
[๔๘๗] เรือนโล้น ของตระกูลหนึ่ง ภิกษุต้องอยู่ภายในเรือนโล้นที่ตนเก็บ
จีวรไว้
เรือนโล้นของต่างตระกูล มีห้องใหญ่ห้องเล็กหลายห้อง ภิกษุต้องอยู่ในห้องที่
ตนเก็บจีวรไว้หรือที่ริมประตู หรือไม่ละหัตถบาส
[๔๘๘] เรือ ของตระกูลหนึ่ง ภิกษุต้องอยู่ภายในเรือที่ตนเก็บจีวรไว้
เรือของต่างตระกูล มีห้องใหญ่ห้องเล็กหลายห้อง ภิกษุต้องอยู่ในห้องที่ตน
เก็บจีวรไว้หรือที่ริมประตู หรือไม่ละหัตถบาส


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๑๕ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๑.จีรวรรค ๒.อุทโทสิตสิกขาบท บทภาชนีย์
[๔๘๙] หมู่เกวียน ของตระกูลหนึ่ง ภิกษุต้องไม่ละอัพภันดร๑ ด้านหน้า
หรือด้านหลัง ข้างละ ๗ อัพภันดร ด้านข้างด้านละ ๑ อัพภันดร
หมู่เกวียนของต่างตระกูล ภิกษุเก็บจีวรไว้ในหมู่เกวียน ต้องไม่ละหัตถบาส
[๔๙๐] นา ของตระกูลหนึ่งและล้อมรั้วไว้ด้วยกัน ภิกษุต้องอยู่ภายในนาที่
ตนเก็บจีวรไว้ นาไม่มีรั้วล้อม ภิกษุต้องไม่ละหัตถบาส
นาของต่างตระกูลและล้อมรั้วไว้ด้วยกัน ภิกษุเก็บจีวรไว้ภายในนา ต้องอยู่ที่ริม
ประตูหรือไม่ละหัตถบาส นาที่ไม่มีรั้วล้อม ต้องไม่ละหัตถบาส
[๔๙๑] ลานนวดข้าว ของตระกูลหนึ่งและล้อมรั้วไว้ด้วยกัน ภิกษุต้องอยู่
ภายในลานนวดข้าวที่ตนเก็บจีวรไว้ ลานนวดข้าวของตระกูลหนึ่งไม่มีรั้วล้อม ต้องไม่
ละหัตถบาส
ลานนวดข้าวของต่างตระกูลและล้อมรั้วไว้ด้วยกัน ภิกษุเก็บจีวรไว้ภายในลาน
นวดข้าว ต้องอยู่ที่ริมประตู หรือไม่ละหัตถบาส ลานนวดข้าวของต่างตระกูลไม่มีรั้ว
ล้อม ต้องไม่ละหัตถบาส
[๔๙๒] สวน ของตระกูลหนึ่งและล้อมรั้วไว้ด้วยกัน ภิกษุเก็บจีวรไว้ภายในสวน
ต้องอยู่ภายในสวน สวนที่ไม่มีรั้วล้อม ต้องไม่ละหัตถบาส
สวนของต่างตระกูลและล้อมรั้วไว้ด้วยกัน ภิกษุเก็บจีวรไว้ภายในสวน ต้องอยู่
ที่ริมประตู หรือไม่ละหัตถบาส สวนที่ไม่มีรั้วล้อม ต้องไม่ละหัตถบาส
[๔๙๓] วิหาร ของตระกูลหนึ่งและล้อมรั้วไว้ด้วยกัน ภิกษุเก็บจีวรไว้ในวิหาร
ต้องอยู่ภายในวิหาร วิหารของตระกูลหนึ่งไม่มีรั้วล้อม ต้องอยู่ในวิหารที่ตนเก็บจีวร
ไว้หรือไม่ละหัตถบาส
วิหารของต่างตระกูลและล้อมรั้วไว้ด้วยกัน ภิกษุต้องอยู่ในวิหารที่ตนเก็บจีวรไว้
หรือที่ริมประตู หรือไม่ละหัตถบาส วิหารของต่างตระกูลไม่มีรั้วล้อม ต้องอยู่ในวิหาร
ที่ตนเก็บจีวรไว้ หรือไม่ละหัตถบาส

เชิงอรรถ :
๑ คำว่า “อัพภันดร” เป็นมาตราวัดในภาษามคธ เทียบเท่า ๒๘ ศอก หรือ ๗ วา (เอตํ อพฺภนฺตรํ
อฏฺฐวีสติหตฺถํ โหติ - วิ.อ. ๒/๔๘๙/๑๕๙)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๑๖ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๑.จีรวรรค ๒.อุทโทสิตสิกขาบท บทภาชนีย์
[๔๙๔] โคนไม้ ของตระกูลหนึ่ง กำหนดเขตที่เงาแผ่ไปรอบ ๆ เวลาเที่ยงวัน
ภิกษุเก็บจีวรภายในเขตเงา ต้องอยู่ในเขตเงา
โคนไม้ของต่างตระกูล ต้องไม่ละหัตถบาส
ที่ชื่อว่าที่กลางแจ้งมีอุปจารเดียวกัน คือ ป่าไม่มีบ้าน กำหนด ๗ อัพภันดร
โดยรอบ เป็นอุปจารเดียว พ้นกำหนดนั้นเป็นอุปจารแยกกัน

นิสสัคคิยปาจิตตีย์
[๔๙๕] จีวรอยู่ปราศแล้ว ภิกษุสำคัญว่าอยู่ปราศแล้ว ต้องอาบัตินิสสัคคิย
ปาจิตตีย์ เว้นแต่ภิกษุได้รับสมมติ
จีวรอยู่ปราศแล้ว ภิกษุไม่แน่ใจ ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์ เว้นแต่ภิกษุได้
รับสมมติ
จีวรอยู่ปราศแล้ว ภิกษุสำคัญว่าไม่อยู่ปราศแล้ว ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
เว้นแต่ภิกษุได้รับสมมติ
จีวรยังไม่ได้ถอน ภิกษุสำคัญว่าถอนแล้ว ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์ เว้นแต่
ภิกษุได้รับสมมติ
จีวรยังไม่ได้สละให้ ภิกษุสำคัญว่าสละให้แล้ว ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
เว้นแต่ภิกษุได้รับสมมติ
จีวรยังไม่สูญหาย ภิกษุสำคัญว่าสูญหายแล้ว ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
เว้นแต่ภิกษุได้รับสมมติ
จีวรยังไม่ฉิบหาย ภิกษุสำคัญว่าฉิบหายแล้ว ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
เว้นแต่ภิกษุได้รับสมมติ
จีวรยังไม่ถูกไฟไหม้ ภิกษุสำคัญว่าถูกไฟไหม้แล้ว ต้องอาบัตินิสสัคคิย
ปาจิตตีย์ เว้นแต่ภิกษุได้รับสมมติ
จีวรยังไม่ถูกโจรชิง ภิกษุสำคัญว่าถูกโจรชิงไปแล้ว ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
เว้นแต่ภิกษุได้รับสมมติ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๑๗ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๑.จีรวรรค ๒. อุทโทสิตสิกขาบท อนาปัตติวาร
ติกทุกกฏ
จีวรเป็นนิสสัคคีย์ ภิกษุยังไม่สละ ใช้สอย ต้องอาบัติทุกกฏ
จีวรไม่อยู่ปราศ ภิกษุสำคัญว่าอยู่ปราศแล้ว ใช้สอย ต้องอาบัติทุกกฏ
จีวรไม่อยู่ปราศ ภิกษุไม่แน่ใจ ใช้สอย ต้องอาบัติทุกกฏ
จีวรไม่อยู่ปราศ ภิกษุสำคัญว่าไม่อยู่ปราศ ใช้สอย ไม่ต้องอาบัติ

อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[๔๙๖] ๑. ภิกษุผู้ถอนภายในอรุณ
๒. ภิกษุผู้สละให้ไป
๓. ภิกษุผู้มีจีวรสูญหาย
๔. ภิกษุผู้มีจีวรฉิบหาย
๕. ภิกษุผู้มีจีวรถูกไฟไหม้
๖. ภิกษุผู้มีจีวรถูกโจรชิงเอาไป
๗. ภิกษุผู้มีจีวรถูกถือเอาไปโดยวิสาสะ
๘. ภิกษุได้รับสมมติ
๙. ภิกษุวิกลจริต
๑๐. ภิกษุต้นบัญญัติ
อุทโทสิตสิกขาบทที่ ๒ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๑๘ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๑.จีรวรรค ๓.ตติยกฐินสิกขาบท นิทานวัตถุ
๑. จีวรวรรค

๓. ตติยกฐินสิกขาบท
ว่าด้วยกฐินเดาะข้อที่ ๓

เรื่องภิกษุรับอกาลจีวร
[๔๙๗] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น อกาลจีวร๑ ได้เกิดขึ้นแก่ภิกษุรูป
หนึ่ง ท่านจะทำจีวรแต่ผ้าไม่พอ จึงพยายามดึงผ้านั้นให้ยืดแล้วรีดเป็นหลายครั้ง
พระผู้มีพระภาคเสด็จไปตามเสนาสนะ ทอดพระเนตรเห็นเธอพยายามดึงผ้านั้นให้
ยืดแล้วรีดเป็นหลายครั้ง จึงเสด็จเข้าไปหาภิกษุรูปนั้น ครั้นถึงแล้วตรัสถามว่า “เธอ
พยายามดึงผ้านั้นให้ยืดแล้วรีดเป็นหลายครั้ง เพื่ออะไร”
ภิกษุนั้นกราบทูลว่า “ข้าพระองค์ได้ผ้าที่เป็นอกาลจีวร ครั้นจะทำจีวรผ้าไม่พอ
ดังนั้นจึงพยายามดึงผ้านั้นให้ยืดแล้วรีดเป็นหลายครั้ง พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “ภิกษุ เธอมีความหวังจะได้ผ้าสำหรับทำจีวร
อีกหรือ”
ภิกษุนั้นกราบทูลว่า “มีความหวัง พระพุทธเจ้าข้า”

ทรงอนุญาตอกาลจีวร
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมีกถาเพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ รับสั่ง
กับภิกษุทั้งหลายว่า “เราอนุญาตให้รับผ้าที่เป็นอกาลจีวรแล้วเก็บไว้โดยมีความหวัง
ว่าจะได้ผ้ามาเพิ่ม”

เชิงอรรถ :
๑ อกาลจีวร หมายถึงผ้าสำหรับทำจีวรที่เกิดขึ้นนอกฤดูกาล คือนอกกาลที่ภิกษุจะพึงรับผ้าผืนที่ ๔ นอก
จากไตรจีวรเก็บไว้ได้ (ดูเชิงอรรถ ข้อ ๕๐๐ หน้า ๒๑ ในเล่มนี้)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๑๙ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๑.จีรวรรค ๓.ตติยกฐินสิกขาบท พระบัญญัติ
[๔๙๘] ต่อมา ภิกษุทั้งหลายทราบว่า พระผู้มีพระภาคทรงอนุญาตให้รับผ้า
ที่เป็นอกาลจีวรเก็บไว้ได้โดยมีความหวังว่าจะได้ผ้ามาเพิ่ม จึงรับผ้าที่เป็นอกาลจีวร
เก็บไว้เกิน ๑ เดือน ผ้าเหล่านั้นถูกมัดรวมเป็นห่อ ๆ แขวนไว้ที่ราว
ท่านพระอานนท์เที่ยวไปตามเสนาสนะ เห็นผ้าเหล่านั้นถูกมัดรวมเป็นห่อ ๆ
แขวนไว้ที่ราว จึงถามภิกษุทั้งหลายว่า “ผ้าเหล่านั้นถูกมัดรวมเป็นห่อ ๆ แขวนไว้ที่
ราว เป็นของใคร”
ภิกษุทั้งหลายตอบว่า “ผ้าเหล่านี้เป็นอกาลจีวร พวกกระผมเก็บไว้โดยความ
หวังว่าจะได้ผ้ามาเพิ่ม”
พระอานนท์ถามว่า “เก็บไว้นานเท่าไร”
ภิกษุทั้งหลายตอบว่า “เก็บไว้เกิน ๑ เดือน ขอรับ”
พระอานนท์ตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนภิกษุทั้งหลายจึงรับผ้าที่เป็น
อกาลจีวรเก็บไว้เกิน ๑ เดือนเล่า” ครั้นท่านตำหนิภิกษุเหล่านั้นโดยประการต่าง ๆ
แล้วจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ

ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า ภิกษุทั้งหลายรับผ้าที่เป็น
อกาลจีวรเก็บไว้เกิน ๑ เดือน จริงหรือ” ภิกษุเหล่านั้นทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ฯลฯ ภิกษุทั้งหลาย ไฉนโมฆบุรุษเหล่านั้น
จึงรับผ้าที่เป็นอกาลจีวรแล้วเก็บไว้เกิน ๑ เดือนเล่า ภิกษุทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้
มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้
เลย ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้

พระบัญญัติ
[๔๙๙] เมื่อจีวรของภิกษุสำเร็จแล้ว เมื่อกฐินเดาะแล้ว อกาลจีวรเกิดขึ้น
แก่ภิกษุ ภิกษุต้องการก็พึงรับไว้ได้ ครั้นรับแล้วพึงรีบให้ทำเป็นจีวร ถ้าผ้านั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๒๐ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๑.จีรวรรค ๓.ตติยกฐินสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์
มีไม่พอ เมื่อมีความหวังว่าจะได้ผ้ามาเพิ่ม ภิกษุนั้นพึงเก็บผ้าสำหรับทำจีวรนั้น
ไว้ไม่เกิน ๑ เดือน เพื่อเพิ่มผ้าสำหรับทำจีวรที่ยังขาดให้ครบ ถ้าเก็บเกินกำหนด
นั้น แม้มีความหวังว่าจะได้ผ้ามาเพิ่ม ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
เรื่องภิกษุรับอกาลจีวร จบ

สิกขาบทวิภังค์
[๕๐๐] คำว่า เมื่อจีวร...สำเร็จแล้ว หมายความว่า จีวรของภิกษุทำเสร็จ
แล้ว สูญหายแล้ว ฉิบหายแล้ว ถูกไฟไหม้เสียแล้ว หรือภิกษุหมดหวังว่าจะได้ผ้ามา
เย็บเป็นจีวร
คำว่า เมื่อกฐินเดาะแล้ว หมายความว่า กฐินเดาะด้วยมาติกาอย่างใดอย่าง
หนึ่งในมาติกา ๘ หรือสงฆ์เดาะกฐินในระหว่าง
ที่ชื่อว่า อกาลจีวร ได้แก่ ผ้าที่เกิดขึ้นตลอด ๑๑ เดือน ในเมื่อไม่ได้กรานกฐิน
ผ้าที่เกิดขึ้นตลอด ๗ เดือน ในเมื่อได้กรานกฐินแล้ว แม้ผ้าที่เขาถวายเจาะจงในกาล
นี้ชื่อว่า อกาลจีวร๑
คำว่า เกิดขึ้น คือ เกิดจากสงฆ์ จากคณะ จากญาติ จากมิตร หรือที่เป็นผ้า
บังสุกุล หรือที่ได้มาด้วยทรัพย์ของตน
คำว่า ต้องการ คือ เมื่อต้องการก็รับไว้
คำว่า ครั้นรับแล้วพึงรีบให้ทำ คือ พึงให้ทำเสร็จภายใน ๑๐ วัน
คำว่า ถ้าผ้านั้นมีไม่พอ คือ ผ้าไม่เพียงพอที่จะทำเป็นไตรจีวรผืนใดผืนหนึ่ง
คำว่า ภิกษุนั้นพึงเก็บผ้าสำหรับทำจีวรนั้นไว้ไม่เกิน ๑ เดือน คือ เก็บไว้ได้
๑ เดือนเป็นอย่างมาก

เชิงอรรถ :
๑ คือ (๑) ตั้งแต่ แรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๒ ถึงขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ ของปีถัดไปสำหรับผู้ไม่ได้กรานกฐิน
รวมเป็น ๑๑ เดือน (๒) ตั้งแต่แรม ๑ ค่ำ เดือน ๔ ถึง ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ ในปีเดียวกัน สำหรับผู้ได้
กรานกฐิน รวมเป็น ๗ เดือน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๒๑ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๑.จีรวรรค ๓.ตติยกฐินสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์
คำว่า เพื่อเพิ่มผ้าสำหรับทำจีวรที่ยังขาดให้ครบ คือ เพื่อจะให้ผ้าที่ยังขาด
ครบบริบูรณ์
คำว่า เมื่อมีความหวังว่าจะได้ผ้ามาเพิ่ม คือ มีความหวังว่าจะได้จากสงฆ์
จากคณะ จากญาติ จากมิตร หรือที่เป็นผ้าบังสุกุล หรือที่ได้มาด้วยทรัพย์ของตน

จีวรที่มีความหวังว่าจะได้มา
คำว่า ถ้าเก็บเกินกำหนดนั้น แม้มีความหวังว่าจะได้ผ้ามาเพิ่ม อธิบายว่า
จีวรที่หวังเกิดขึ้นในวันที่จีวรผืนเดิมเกิดขึ้นแล้ว พึงทำให้เสร็จใน ๑๐ วัน
จีวรที่หวังเกิดขึ้นในเมื่อจีวรผืนเดิมเกิดขึ้นแล้วได้ ๒ วัน ... ในเมื่อจีวรผืนเดิม
เกิดขึ้นแล้วได้ ๓ วัน ... ในเมื่อจีวรผืนเดิมเกิดขึ้นแล้วได้ ๔ วัน ... ในเมื่อจีวรผืนเดิม
เกิดขึ้นแล้วได้ ๕ วัน ... ในเมื่อจีวรผืนเดิมเกิดขึ้นแล้วได้ ๖ วัน ... ในเมื่อจีวรผืนเดิม
เกิดขึ้นแล้วได้ ๗ วัน ... ในเมื่อจีวรผืนเดิมเกิดขึ้นแล้วได้ ๘ วัน ... ในเมื่อจีวรผืนเดิม
เกิดขึ้นแล้วได้ ๙ วัน ... ในเมื่อจีวรผืนเดิมเกิดขึ้นแล้วได้ ๑๐ วัน พึงทำให้เสร็จใน
๑๐ วัน
จีวรที่หวังเกิดขึ้นในเมื่อจีวรผืนเดิมเกิดขึ้นแล้วได้ ๑๑ วัน ... ในเมื่อจีวรผืนเดิม
เกิดขึ้นแล้วได้ ๑๒ วัน ... ในเมื่อจีวรผืนเดิมเกิดขึ้นแล้วได้ ๑๓ วัน ... ในเมื่อจีวรผืน
เดิมเกิดขึ้นแล้วได้ ๑๔ วัน ... ในเมื่อจีวรผืนเดิมเกิดขึ้นแล้วได้ ๑๕ วัน ... ในเมื่อจีวร
ผืนเดิมเกิดขึ้นแล้วได้ ๑๖ วัน ... ในเมื่อจีวรผืนเดิมเกิดขึ้นแล้วได้ ๑๗ วัน ... ในเมื่อ
จีวรผืนเดิมเกิดขึ้นแล้วได้ ๑๘ วัน ... ในเมื่อจีวรผืนเดิมเกิดขึ้นแล้วได้ ๑๙ วัน ... ใน
เมื่อจีวรผืนเดิมเกิดขึ้นแล้วได้ ๒๐ วัน พึงทำให้เสร็จใน ๑๐ วัน
จีวรที่หวังเกิดขึ้นในเมื่อจีวรผืนเดิมเกิดขึ้นแล้วได้ ๒๑ วัน พึงทำให้เสร็จใน ๙ วัน
จีวรที่หวังเกิดขึ้นในเมื่อจีวรผืนเดิมเกิดขึ้นแล้วได้ ๒๒ วัน พึงทำให้เสร็จใน ๘ วัน
จีวรที่หวังเกิดขึ้นในเมื่อจีวรผืนเดิมเกิดขึ้นแล้วได้ ๒๓ วัน พึงทำให้เสร็จใน ๗ วัน
จีวรที่หวังเกิดขึ้นในเมื่อจีวรผืนเดิมเกิดขึ้นแล้วได้ ๒๔ วัน พึงทำให้เสร็จใน ๖ วัน
จีวรที่หวังเกิดขึ้นในเมื่อจีวรผืนเดิมเกิดขึ้นแล้วได้ ๒๕ วัน พึงทำให้เสร็จใน ๕ วัน
จีวรที่หวังเกิดขึ้นในเมื่อจีวรผืนเดิมเกิดขึ้นแล้วได้ ๒๖ วัน พึงทำให้เสร็จใน ๔ วัน


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๒๒ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๑.จีรวรรค ๓.ตติยกฐินสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์
จีวรที่หวังเกิดขึ้นในเมื่อจีวรผืนเดิมเกิดขึ้นแล้วได้ ๒๗ วัน พึงทำให้เสร็จใน ๓ วัน
จีวรที่หวังเกิดขึ้นในเมื่อจีวรผืนเดิมเกิดขึ้นแล้วได้ ๒๘ วัน พึงทำให้เสร็จใน ๒ วัน
จีวรที่หวังเกิดขึ้นในเมื่อจีวรผืนเดิมเกิดขึ้นแล้วได้ ๒๙ วัน พึงทำให้เสร็จใน ๑ วัน
จีวรที่หวังเกิดขึ้นในเมื่อจีวรผืนเดิมเกิดขึ้นแล้วได้ ๓๐ วัน พึงอธิษฐาน วิกัป
สละให้ผู้อื่นในวันนั้น ถ้าไม่อธิษฐาน ไม่วิกัปหรือไม่สละให้ผู้อื่น เมื่อรุ่งอรุณวันที่ ๓๑
จีวรเป็นนิสสัคคีย์ คือ เป็นของจำต้องสละแก่สงฆ์ แก่คณะหรือแก่บุคคล
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงสละจีวรที่เป็นนิสสัคคีย์อย่างนี้

วิธีสละจีวรที่เป็นนิสสัคคีย์
สละแก่สงฆ์
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง กราบเท้าภิกษุผู้
แก่พรรษา นั่งกระโหย่งประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านผู้เจริญ อกาลจีวรผืนนี้ของ
กระผมเกิน ๑ เดือน เป็นนิสสัคคีย์ กระผมสละอกาลจีวรผืนนี้แก่สงฆ์” ครั้นสละแล้ว
พึงแสดงอาบัติ
ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงรับอาบัติ พึงคืนจีวรที่เธอสละให้ด้วยญัตติกรรมวาจา
ว่า “ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า จีวรผืนนี้ของภิกษุชื่อนี้เป็นนิสสัคคีย์ เธอสละ
แก่สงฆ์ ถ้าสงฆ์พร้อมกันแล้วก็พึงให้จีวรผืนนี้แก่ภิกษุชื่อนี้”

สละแก่คณะ
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุหลายรูป ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง กราบ
เท้าภิกษุผู้แก่พรรษา นั่งกระโหย่งประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านผู้เจริญ อกาลจีวร
ผืนนี้ของกระผมเกิน ๑ เดือน เป็นนิสสัคคีย์ กระผมสละอกาลจีวรผืนนี้แก่ท่านทั้ง
หลาย” ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ
ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงรับอาบัติ พึงคืนจีวรที่เธอสละให้ด้วยกล่าวว่า “ท่าน
ทั้งหลายจงฟังข้าพเจ้า จีวรผืนนี้ของภิกษุชื่อนี้เป็นนิสสัคคีย์ เธอสละแก่ท่าน
ทั้งหลาย ถ้าท่านทั้งหลายพร้อมกันแล้วก็พึงให้จีวรผืนนี้แก่ภิกษุชื่อนี้”


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๒๓ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๑.จีรวรรค ๓.ตติยกฐินสิกขาบท บทภาชนีย์
สละแก่บุคคล
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุรูปหนึ่ง ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง นั่ง
กระโหย่งประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านขอรับ อกาลจีวรผืนนี้ของกระผมเกิน ๑
เดือน เป็นนิสสัคคีย์ กระผมสละอกาลจีวรผืนนี้แก่ท่าน” ครั้นสละแล้วพึงแสดง
อาบัติ
ภิกษุผู้รับสละนั้นพึงรับอาบัติแล้วคืนจีวรที่เธอสละให้ด้วยกล่าวว่า “กระผม
คืนจีวรผืนนี้ให้แก่ท่าน”
จีวรที่หวังเกิดขึ้น เนื้อผ้าไม่เหมือนกับจีวรเดิมที่เกิดขึ้นแล้ว และวันคืนก็ยัง
เหลืออยู่ เมื่อไม่ต้องการจะทำ ก็ไม่ต้องทำ

บทภาชนีย์
นิสสัคคิยปาจิตตีย์
[๕๐๑] จีวรเก็บไว้เกิน ๑ เดือน ภิกษุสำคัญว่าเกินแล้ว ต้องอาบัตินิสสัคคิย
ปาจิตตีย์
จีวรเก็บไว้เกิน ๑ เดือน ภิกษุไม่แน่ใจ ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
จีวรเก็บไว้เกิน ๑ เดือน ภิกษุสำคัญว่ายังไม่เกิน ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
จีวรยังไม่ได้อธิษฐาน ภิกษุสำคัญว่าอธิษฐานแล้ว ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
จีวรยังไม่ได้วิกัป ภิกษุสำคัญว่าวิกัปแล้ว ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
จีวรยังไม่ได้สละให้ ภิกษุสำคัญว่าสละให้แล้ว ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
จีวรยังไม่สูญหาย ภิกษุสำคัญว่าสูญหายแล้ว ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
จีวรยังไม่ฉิบหาย ภิกษุสำคัญว่าฉิบหายแล้ว ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
จีวรยังไม่ถูกไฟไหม้ ภิกษุสำคัญว่าถูกไฟไหม้แล้ว ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
จีวรยังไม่ถูกโจรชิง ภิกษุสำคัญว่าถูกโจรชิงแล้ว ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๒๔ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๑.จีรวรรค ๓.ตติยกฐินสิกขาบท อนาปัตติวาร
ติกทุกกฏ
จีวรเป็นนิสสัคคีย์ ภิกษุไม่สละ ใช้สอย ต้องอาบัติทุกกฏ
จีวรยังไม่เกิน ๑ เดือน ภิกษุสำคัญว่าเกินแล้ว ต้องอาบัติทุกกฏ
จีวรที่ยังไม่เกิน ๑ เดือน ภิกษุไม่แน่ใจ ต้องอาบัติทุกกฏ
จีวรยังไม่เกิน ๑ เดือน ภิกษุสำคัญว่ายังไม่เกิน ไม่ต้องอาบัติ

อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[๕๐๒] ๑. ภิกษุอธิษฐานภายใน ๑ เดือน
๒. ภิกษุผู้วิกัปไว้
๓. ภิกษุผู้สละให้ไป
๔. ภิกษุผู้มีจีวรสูญหาย
๕. ภิกษุผู้มีจีวรฉิบหาย
๖. ภิกษุผู้มีจีวรถูกไฟไหม้
๗. ภิกษุผู้มีจีวรถูกโจรชิงเอาไป
๘. ภิกษุผู้มีจีวรถูกถือเอาไปโดยวิสาสะ
๙. ภิกษุวิกลจริต
๑๐. ภิกษุต้นบัญญัติ
ตติยกฐินสิกขาบทที่ ๓ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๒๕ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๑.จีรวรรค ๔.ปุราณจีวรสิกขาบท นิทานวัตถุ
๑. จีวรวรรค

๔. ปุราณจีวรสิกขาบท
ว่าด้วยการให้ซักจีวรเก่า

เรื่องพระอุทายีกับอดีตภรรยา
[๕๐๓] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น อดีตภรรยาของท่านพระอุทายีบวช
อยู่ในสำนักภิกษุณี นางมาหาท่านพระอุทายีอยู่เสมอ แม้ท่านพระอุทายีก็ไปหา
นางอยู่เสมอ ก็ในสมัยนั้น ท่านพระอุทายีกระทำภัตกิจในที่อยู่ของนาง
เช้าวันหนึ่ง ท่านพระอุทายีครองอันตรวาสกถือบาตรและจีวรไปหานางถึงที่อยู่
เมื่อเข้าไปถึงแล้วก็นั่งบนอาสนะเปิดองคชาตต่อหน้าภิกษุณีนั้น แม้ภิกษุณีนั้นก็นั่งบน
อาสนะเปิดองค์กำเนิดต่อหน้าท่านพระอุทายีเช่นกัน ท่านพระอุทายีเกิดความ
กำหนัดเพ่งมององค์กำเนิดของนาง น้ำอสุจิของท่านพระอุทายีนั้นเคลื่อน ครั้นแล้ว
ท่านพระอุทายีจึงกล่าวกับภิกษุณีนั้นดังนี้ว่า “น้องหญิง เธอจงไปหาน้ำมา ฉันจะ
ซักอันตรวาสก”
นางตอบว่า “โปรดส่งมาเถิด ดิฉันจะซักให้”
ครั้นแล้วนางใช้ปากดูดอสุจิส่วนหนึ่ง และสอดอสุจิอีกส่วนหนึ่งเข้าในองค์
กำเนิด เพราะเหตุนั้นนางจึงได้ตั้งครรภ์
พวกภิกษุณีพูดว่า “ภิกษุณีนั้นไม่ได้ประพฤติพรหมจรรย์จึงตั้งครรภ์”
นางตอบว่า “แม่เจ้า ไม่ใช่ว่าดิฉันไม่ได้ประพฤติพรหมจรรย์” แล้วบอกเรื่อง
นั้นให้ภิกษุณีทั้งหลายทราบ
พวกภิกษุณีพากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนท่านพระอุทายีจึงให้
ภิกษุณีซักจีวรเก่าให้เล่า” แล้วนำเรื่องนี้ไปบอกให้ภิกษุทั้งหลายทราบ
บรรดาภิกษุผู้มักน้อย ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉน
ท่านพระอุทายีจึงให้ภิกษุณีซักจีวรเก่าให้เล่า” ครั้นภิกษุเหล่านั้นตำหนิพระอุทายี
โดยประการ ต่าง ๆ แล้วจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๒๖ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๑.จีรวรรค ๔.ปุราณจีวรสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์
ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามท่านพระอุทายีว่า “อุทายี ทราบว่า เธอใช้ภิกษุณีซักจีวรเก่า จริงหรือ”
พระอุทายีทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระพุทธองค์ทรงถามว่า “อุทายี นางเป็น
ญาติของเธอหรือไม่ใช่ญาติ” พระอุทายีทูลตอบว่า “ไม่ใช่ญาติ พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคทรงตำหนิว่า “โมฆบุรุษ ชายผู้ไม่ใช่ญาติย่อมไม่รู้ความเหมาะสม
หรือไม่เหมาะสม ความน่าเลื่อมใสหรือไม่น่าเลื่อมใสของหญิงผู้ไม่ใช่ญาติ โมฆบุรุษ
เธอนั้น๑ ใช้ภิกษุณีผู้ที่ไม่ใช่ญาติให้ซักจีวรเก่า โมฆบุรุษ การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำ
คนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ”
แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้

พระบัญญัติ
[๕๐๔] ก็ ภิกษุใดใช้ภิกษุณีผู้ไม่ใช่ญาติให้ซัก ให้ย้อม หรือให้ทุบจีวรเก่า
ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
เรื่องพระอุทายีกับอดีตภรรยา จบ

สิกขาบทวิภังค์
[๕๐๕] คำว่า ก็...ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ก็...ใด
คำว่า ภิกษุ มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุ เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระ
ภาคทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุ ในความหมายนี้
ที่ชื่อว่า ผู้ไม่ใช่ญาติ คือ ไม่ใช่คนที่เกี่ยวเนื่องกันทางมารดาหรือทางบิดา
ตลอดเจ็ดชั่วคน๒

เชิงอรรถ :
๑ ตตฺถ เธอนั้น นี้เป็น ปจฺจตฺตกตฺวตฺถ หรือ กรณกตฺวตฺถ คือมีอรรถเป็นปฐมาวิภัตติ หรือตติยาวิภัตติ (ตตฺถ
นาม ตฺวนฺติ โส นาม ตฺวํ, ตาย นาม ตฺวนฺติ วา อตฺโถ - วิมติ. ฏีกา ๑/๕๐๓-๕/๔๑๗ แปลว่า เธอนั้น
หรือภิกษุณีนั้น ก็ได้)
๒ เจ็ดชั่วคน คือวงศ์สกุลที่สืบสายโลหิตกันมา นับตั้งแต่ตัวภิกษุขึ้นไป ๓ ชั้น คือชั้นพ่อ ชั้นปู่ และชั้นทวด
กับนับจากตัวภิกษุลงมาอีก ๓ ชั้น คือชั้นลูก ชั้นหลาน และชั้นเหลน รวมเป็นเจ็ดชั่วคน (วิ.อ. ๒/๕๐๓-๕/
๑๖๕-๑๖๖)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๒๗ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๑.จีรวรรค ๔.ปุราณจีวรสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์
ที่ชื่อว่า ภิกษุณี ได้แก่ มาตุคามที่อุปสมบทในสงฆ์ ๒ ฝ่าย
ที่ชื่อว่า จีวรเก่า ได้แก่ ผ้าที่นุ่งแล้วแม้เพียง ๑ ครั้ง ผ้าที่ห่มแล้วแม้เพียง ๑
ครั้ง
ภิกษุสั่งว่า “จงซัก” ต้องอาบัติทุกกฏ จีวรที่ภิกษุณีซักแล้วเป็นนิสสัคคีย์
ภิกษุสั่งว่า “จงย้อม” ต้องอาบัติทุกกฏ จีวรที่ภิกษุณีย้อมแล้วเป็นนิสสัคคีย์
ภิกษุสั่งว่า “จงทุบ” ต้องอาบัติทุกกฏ เมื่อภิกษุณีใช้มือหรือตะลุมพุกทุบเพียง
๑ ครั้ง จีวรเป็นนิสสัคคีย์ คือเป็นของจำต้องสละแก่สงฆ์ แก่คณะหรือแก่บุคคล
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงสละจีวรที่เป็นนิสสัคคีย์อย่างนี้

วิธีสละจีวรที่เป็นนิสสัคคีย์
สละแก่สงฆ์
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง กราบเท้าภิกษุ
ผู้แก่พรรษา นั่งกระโหย่งประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านผู้เจริญ จีวรเก่าผืนนี้
กระผมใช้ภิกษุณีผู้ไม่ใช่ญาติให้ซัก เป็นนิสสัคคีย์ กระผมสละจีวรผืนนี้แก่สงฆ์” ครั้น
สละแล้วพึงแสดงอาบัติ
ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงรับอาบัติ พึงคืนจีวรที่เธอสละให้ด้วยญัตติกรรมวาจา
ว่า “ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า จีวรผืนนี้ของภิกษุชื่อนี้เป็นนิสสัคคีย์ เธอสละ
แก่สงฆ์ ถ้าสงฆ์พร้อมกันแล้วก็พึงให้จีวรผืนนี้แก่ภิกษุชื่อนี้”

สละแก่คณะ
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุหลายรูป ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง กราบ
เท้าภิกษุผู้แก่พรรษา นั่งกระโหย่งประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านผู้เจริญ จีวรเก่า
ผืนนี้กระผมใช้ภิกษุณีผู้ไม่ใช่ญาติให้ซัก เป็นนิสสัคคีย์ กระผมสละจีวรเก่าผืนนี้แก่
ท่านทั้งหลาย” ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๒๘ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๑.จีรวรรค ๔.ปุราณจีวรสิกขาบท บทภาชนีย์
ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงรับอาบัติ พึงคืนจีวรที่เธอสละให้ด้วยกล่าวว่า “ท่าน
ทั้งหลายจงฟังข้าพเจ้า จีวรเก่าผืนนี้ของภิกษุชื่อนี้เป็นนิสสัคคีย์ เธอสละแก่ท่าน
ทั้งหลาย ถ้าท่านทั้งหลายพร้อมกันแล้วก็พึงให้จีวรผืนนี้แก่ภิกษุชื่อนี้”

สละแก่บุคคล
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุรูปหนึ่ง ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง นั่งกระโหย่ง
ประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านขอรับ จีวรเก่าผืนนี้กระผมใช้ภิกษุณีผู้ไม่ใช่ญาติให้
ซัก เป็นนิสสัคคีย์ กระผมสละจีวรผืนนี้แก่ท่าน” ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ
ภิกษุผู้รับสละนั้นพึงรับอาบัติแล้วคืนจีวรที่เธอสละให้ด้วยกล่าวว่า “กระผมคืน
จีวรเก่าผืนนี้ให้แก่ท่าน”

บทภาชนีย์
สำคัญว่าไม่ใช่ญาติ จตุกกะที่ ๑
[๕๐๖] ภิกษุณีที่ไม่ใช่ญาติ ภิกษุสำคัญว่าไม่ใช่ญาติ ใช้ให้ซักจีวรเก่า ต้อง
อาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
ภิกษุณีที่ไม่ใช่ญาติ ภิกษุสำคัญว่าไม่ใช่ญาติ ใช้ให้ซัก ใช้ให้ย้อมจีวรเก่า ต้อง
อาบัติทุกกฏกับอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
ภิกษุณีที่ไม่ใช่ญาติ ภิกษุสำคัญว่าไม่ใช่ญาติ ใช้ให้ซัก ใช้ให้ทุบจีวรเก่า ต้อง
อาบัติทุกกฏกับอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
ภิกษุณีที่ไม่ใช่ญาติ ภิกษุสำคัญว่าไม่ใช่ญาติ ใช้ให้ซัก ใช้ให้ย้อม ใช้ให้ทุบจีวร
เก่า ต้องอาบัติทุกกฏ ๒ ตัว กับอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์

สำคัญว่าไม่ใช่ญาติ จตุกกะที่ ๒
ภิกษุณีที่ไม่ใช่ญาติ ภิกษุสำคัญว่าไม่ใช่ญาติ ใช้ให้ย้อมจีวรเก่า ต้องอาบัติ
นิสสัคคิยปาจิตตีย์


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๒๙ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๑.จีรวรรค ๔.ปุราณจีวรสิกขาบท บทภาชนีย์
ภิกษุณีที่ไม่ใช่ญาติ ภิกษุสำคัญว่าไม่ใช่ญาติ ใช้ให้ย้อม ใช้ให้ทุบจีวรเก่า ต้อง
อาบัติทุกกฏกับอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
ภิกษุณีที่ไม่ใช่ญาติ ภิกษุสำคัญว่าไม่ใช่ญาติ ใช้ให้ย้อม ใช้ให้ซักจีวรเก่า ต้อง
อาบัติทุกกฏกับอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
ภิกษุณีที่ไม่ใช่ญาติ ภิกษุสำคัญว่าไม่ใช่ญาติ ใช้ให้ย้อม ใช้ให้ทุบ ใช้ให้ซัก
จีวรเก่า ต้องอาบัติทุกกฏ ๒ ตัว กับอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์

สำคัญว่าไม่ใช่ญาติ จตุกกะที่ ๓
ภิกษุณีที่ไม่ใช่ญาติ ภิกษุสำคัญว่าไม่ใช่ญาติ ใช้ให้ทุบจีวรเก่า ต้องอาบัติ
นิสสัคคิยปาจิตตีย์
ภิกษุณีที่ไม่ใช่ญาติ ภิกษุสำคัญว่าไม่ใช่ญาติ ใช้ให้ทุบ ใช้ให้ซักจีวรเก่า ต้อง
อาบัติทุกกฏกับอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
ภิกษุณีที่ไม่ใช่ญาติ ภิกษุสำคัญว่าไม่ใช่ญาติ ใช้ให้ทุบ ใช้ให้ย้อมจีวรเก่า ต้อง
อาบัติทุกกฏกับอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
ภิกษุณีที่ไม่ใช่ญาติ ภิกษุสำคัญว่าไม่ใช่ญาติ ใช้ให้ทุบ ใช้ให้ซัก ใช้ให้ย้อมจีวร
เก่า ต้องอาบัติทุกกฏ ๒ ตัว กับอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
ภิกษุณีที่ไม่ใช่ญาติ ภิกษุไม่แน่ใจ ฯลฯ
ภิกษุณีที่ไม่ใช่ญาติ ภิกษุสำคัญว่าเป็นญาติ ฯลฯ

ทุกกฏ
ภิกษุใช้ภิกษุณีให้ซักจีวรเก่าของภิกษุรูปอื่น ต้องอาบัติทุกกฏ
ภิกษุใช้ภิกษุณีให้ซักผ้าปูนั่งและผ้าปูนอน ต้องอาบัติทุกกฏ
ภิกษุใช้ภิกษุณีผู้อุปสมบทในสงฆ์ฝ่ายเดียวให้ซัก ต้องอาบัติทุกกฏ
ภิกษุณีที่เป็นญาติ ภิกษุสำคัญว่าไม่ใช่ญาติ ต้องอาบัติทุกกฏ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๓๐ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๑.จีรวรรค ๔.ปุราณจีวรสิกขาบท อนาปัตติวาร
ภิกษุณีที่เป็นญาติ ภิกษุไม่แน่ใจ ต้องอาบัติทุกกฏ
ภิกษุณีที่เป็นญาติ ภิกษุสำคัญว่าเป็นญาติ ไม่ต้องอาบัติ

อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[๕๐๗] ๑. ภิกษุผู้เป็นเจ้าของจีวรที่ภิกษุณีผู้เป็นญาติซักให้เอง โดยมีภิกษุณี
สหายผู้ไม่ใช่ญาติคอยช่วยเหลือ
๒. ภิกษุไม่ได้ใช้ ภิกษุณีไม่ใช่ญาติซักให้เอง
๓. ภิกษุใช้ซักจีวรที่ยังไม่ได้ใช้สอย
๔. ภิกษุใช้ภิกษุณีผู้ไม่ใช่ญาติให้ซักบริขารอย่างอื่น นอกจากจีวร
๕. ภิกษุใช้สิกขมานาให้ซัก
๖. ภิกษุใช้สามเณรีให้ซัก
๗. ภิกษุวิกลจริต
๘. ภิกษุต้นบัญญัติ

ปุราณจีวรสิกขาบทที่ ๔ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๓๑ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๑.จีรวรรค ๕.จีวรปฏิคคหณสิกขาบท นิทานวัตถุ
๑.จีวรวรรค

๕.จีวรปฏิคคหณสิกขาบท
ว่าด้วยการรับจีวร

เรื่องภิกษุณีอุบลวรรณา

[๕๐๘] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเวฬุวัน สถานที่
ให้เหยื่อกระแต เขตกรุงราชคฤห์ ครั้งนั้น ภิกษุณีอุบลวรรณาพักอยู่ ณ กรุงสาวัตถี
เวลาเช้า ภิกษุณีอุบลวรรณาครองอันตรวาสกถือบาตรและจีวร๑ เข้าไปบิณฑบาต
ในกรุงสาวัตถี กลับจากบิณฑบาตหลังจากฉันเสร็จแล้ว เข้าไปยังป่าอันธวันเพื่อ
พักผ่อนกลางวัน นั่งที่โคนไม้ต้นหนึ่ง
สมัยนั้น พวกโจรขโมยแม่โคมาฆ่าแล้วถือเอาเนื้อเข้าป่าอันธวัน หัวหน้าโจร
มองเห็นภิกษุณีอุบลวรรณานั่งพักกลางวัน ครั้นเห็นแล้วจึงคิดว่า “หากพวกลูกน้อง
เราพบเข้า จะประทุษร้ายนาง” จึงเลี่ยงเดินไปทางอื่น เมื่อปิ้งเนื้อสุก หัวหน้าโจร
เลือกเนื้อดี ๆ เอาใบไม้ห่อแขวนไว้ที่ต้นไม้ใกล้ภิกษุณีแล้วกล่าวว่า “เนื้อห่อนี้เรา
ให้แล้ว สมณะหรือพราหมณ์เห็นแล้วจงถือเอาไปเถิด”
ภิกษุณีออกจากสมาธิ ได้ยินคำที่หัวหน้าโจรพูด จึงถือเอาเนื้อไปที่พัก ครั้น
ราตรีผ่านไป นางจัดเนื้อชิ้นนั้นให้เรียบร้อยแล้วใช้อุตตราสงค์ห่อเหาะไปยังพระเวฬุวัน
วิหาร

เชิงอรรถ :
๑ คำว่า “ครองอันตรวาสกถือบาตรและจีวร” นี้ มิใช่ว่า ก่อนหน้านี้ภิกษุณีมิได้นุ่งอันตรวาสก มิใช่ว่า ท่าน
ถือบาตรและจีวรไปโดยเปลือยกายส่วนบน คำว่า “ครองอันตรวาสก” หมายถึงท่านผลัดเปลี่ยนสบง
หรือขยับสบงที่นุ่งอยู่ให้กระชับ คำว่า “ถือบาตรและจีวร” คือ ถือบาตรด้วยมือ ถือจีวรด้วยกาย หมาย
ความว่า “ห่มจีวรอุ้มบาตร” นั่นเอง (นิวาเสตฺวาติ ปริทหิตฺวา, วิหารนิวาสนปริวตฺตนวเสเนตํ เวทิตพฺพํ.
น หิ เต ตโต ปุพฺเพ อนิวตฺถา อเหสุํ. ปตฺตจีวรมาทายาติ ปตฺตํ หตฺเถหิ, จีวรํ กาเยน อาทิยิตฺวา,
สมฺปฏิจฺฉาเทตฺวา ธาเรตฺวาติ อตฺโถ- วิ. อ. ๑/๑๖/๑๘๐, วิหารนิวาสนปริวตฺตนวเสน นิวาสนํ ทฬฺหํ
นิวาเสตฺวา. ... จีวรํ ปารุปิตฺวา ปตฺตํ หตฺเถน คเหตฺวา - อุทาน. อ. ๖๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๓๒ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๑.จีรวรรค ๕.จีวรปฏิคคหณสิกขาบท นิทานวัตถุ
เช้าวันนั้น พระผู้มีพระภาคเสด็จไปบิณฑบาตในหมู่บ้าน เหลือท่านพระอุทายี
อยู่เฝ้าพระวิหาร ภิกษุณีอุบลวรรณาเข้าไปหาแล้วถามว่า “ท่านผู้เจริญ พระผู้มี
พระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ที่ไหน”
ท่านพระอุทายีตอบว่า “พระผู้มีพระภาคเสด็จไปบิณฑบาตในหมู่บ้าน”
ภิกษุณีกล่าวว่า “โปรดถวายเนื้อชิ้นนี้แด่พระผู้มีพระภาค”
ท่านพระอุทายีกล่าวว่า “น้องหญิง พระผู้มีพระภาคจะทรงอิ่มหนำด้วยเนื้อที่
ถวาย ถ้าเธอถวายอันตรวาสกแก่อาตมา อาตมาก็จะอิ่มหนำด้วยอันตรวาสกเช่นกัน”
ภิกษุณีกล่าวว่า “พระคุณเจ้า ความจริง ดิฉันเป็นมาตุคามหาลาภได้ยาก
ทั้งผ้าผืนนี้ก็เป็นจีวรผืนสุดท้ายที่จะครบ ๕ ผืน๑ ดิฉันถวายไม่ได้”
ท่านพระอุทายีกล่าวว่า “น้องหญิง เปรียบเหมือนบุรุษให้ช้างแล้วก็ควรสละ
สัปคับสำหรับช้างด้วย เธอก็เหมือนกัน ถวายชิ้นเนื้อแด่พระผู้มีพระภาคแล้วก็จงสละ
อันตรวาสกแก่อาตมาเถิด”
ครั้นถูกท่านพระอุทายีพูดรบเร้า นางจึงถวายอันตรวาสกแล้วกลับที่พัก
พวกภิกษุณีผู้คอยรับบาตรและจีวรถามนางว่า “อันตรวาสกของคุณแม่อยู่ที่
ไหน”
นางจึงบอกเรื่องนั้นให้ทราบ
ภิกษุณีทั้งหลายจึงตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนท่านพระอุทายีจึงรับ
จีวรจากมือภิกษุณีเล่า มาตุคามมีลาภน้อย” แล้วบอกเรื่องนี้ให้ภิกษุทั้งหลายทราบ
บรรดาภิกษุผู้มักน้อย ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉน
ท่านพระอุทายีจึงรับจีวรจากมือภิกษุณีเล่า” ครั้นภิกษุเหล่านั้นตำหนิท่านพระอุทายี
โดยประการต่าง ๆ แล้วจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ

เชิงอรรถ :
๑ ภิกษุณีใช้ผ้ากาสายะ ๕ ผืน คือ (๑) สังฆาฏิ ผ้าห่มซ้อนนอก (๒) อุตตราสงค์ ผ้าห่ม (๓) อันตรวาสก ผ้านุ่ง
(๔) อุทกสาฏิกา ผ้าอาบน้ำ (๕) สังกัจจิกา ผ้ารัดถัน (กงฺขา.อ. ๓๗๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๓๓ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๑.จีรวรรค ๕.จีวรปฏิคคหณสิกขาบท พระบัญญัติ
ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามท่านพระอุทายีว่า “อุทายี ทราบว่า เธอรับจีวรจากมือภิกษุณี จริงหรือ”
ท่านพระอุทายีทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้า” พระพุทธองค์ตรัสถามว่า “อุทายี
นางเป็นญาติของเธอหรือไม่ใช่ญาติ” พระอุทายีทูลรับว่า “ไม่ใช่ญาติ พระพุทธเจ้าข้า”
พระพุทธองค์ตรัสว่า “โมฆบุรุษ บุรุษผู้ไม่ใช่ญาติย่อมไม่รู้ความเหมาะสมหรือไม่
เหมาะสม ของที่มีอยู่หรือไม่มีของสตรีผู้ไม่ใช่ญาติ เธอนั้นรับจีวรจากมือภิกษุณีผู้
ไม่ใช่ญาติ โมฆบุรุษ การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำ
คนที่เลื่อมใส อยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยก
สิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้

พระบัญญัติ
[๕๐๙] ก็ ภิกษุใดรับจีวรจากมือภิกษุณีผู้ไม่ใช่ญาติ ต้องอาบัตินิสสัคคิย
ปาจิตตีย์
สิกขาบทนี้พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติไว้แก่ภิกษุทั้งหลายอย่างนี้
เรื่องภิกษุณีอุบลวรรณา จบ

เรื่องแลกเปลี่ยนจีวร
[๕๑๐] สมัยนั้น พวกภิกษุรังเกียจไม่ยอมรับจีวรแลกเปลี่ยนของพวกภิกษุณี
พวกภิกษุณีตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพวกพระคุณเจ้าจึงไม่ยอมรับจีวร
แลกเปลี่ยนของพวกเราเล่า” พวกภิกษุได้ยินคำตำหนิประณามโพนทะนาของพวก
ภิกษุณีจึงนำความนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๓๔ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๑.จีรวรรค ๕.จีวรปฏิคคหณสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์
ทรงอนุญาตให้รับจีวรแลกเปลี่ยนได้
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมีกถาเพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ รับสั่ง
กับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้สหธรรมิก ๕ คือ ภิกษุ ภิกษุณี
สิกขมานา สามเณร และสามเณรี แลกเปลี่ยนจีวรกันได้ ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาต
ให้รับสิ่งของแลกเปลี่ยนของสหธรรมิก ๕ เหล่านี้ได้” แล้วรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยก
สิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้

พระอนุบัญญัติ
[๕๑๑] อนึ่ง ภิกษุใดรับจีวรจากมือภิกษุณีผู้ไม่ใช่ญาติ ต้องอาบัติ
นิสสัคคิยปาจิตตีย์ เว้นไว้แต่แลกเปลี่ยน
เรื่องแลกเปลี่ยนจีวร จบ

สิกขาบทวิภังค์
[๕๑๒] คำว่า อนึ่ง...ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัส
ว่า อนึ่ง...ใด
คำว่า ภิกษุ มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุ เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระ
ภาคทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุ ในความหมายนี้
ที่ชื่อว่า ผู้ไม่ใช่ญาติ คือ ไม่ใช่คนที่เกี่ยวเนื่องกันทางมารดาหรือทางบิดา
ตลอดเจ็ดชั่วคน
ที่ชื่อว่า ภิกษุณี ได้แก่ มาตุคามที่อุปสมบทในสงฆ์ ๒ ฝ่าย
ที่ชื่อว่า จีวร ได้แก่ จีวร ๖ ชนิด อย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งมีขนาดพอที่จะทำ
วิกัปได้เป็นอย่างต่ำ
คำว่า เว้นไว้แต่แลกเปลี่ยน คือ ยกเว้นแลกเปลี่ยนกัน


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๓๕ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๑.จีรวรรค ๕.จีวรปฏิคคหณสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์
ภิกษุรับ ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะพยายาม๑ จีวรเป็นนิสสัคคีย์ เพราะได้มา คือ
เป็นของจำต้องสละแก่สงฆ์ แก่คณะหรือแก่บุคคล
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงสละจีวรที่เป็นนิสสัคคีย์อย่างนี้

วิธีสละจีวรที่เป็นนิสสัคคีย์
สละแก่สงฆ์
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง กราบเท้าภิกษุผู้
แก่พรรษา นั่งกระโหย่งประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านผู้เจริญ จีวรผืนนี้กระผมรับ
มาจากมือภิกษุณีผู้ไม่ใช่ญาติ โดยมิได้แลกเปลี่ยนกัน เป็นนิสสัคคีย์ กระผมสละจีวร
ผืนนี้แก่สงฆ์” ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ
ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงรับอาบัติ พึงคืนจีวรที่เธอสละให้ด้วยญัตติกรรมวาจา
ว่า “ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า จีวรผืนนี้ของภิกษุชื่อนี้เป็นนิสสัคคีย์ เธอสละ
แก่สงฆ์ ถ้าสงฆ์พร้อมกันแล้วก็พึงให้จีวรผืนนี้แก่ภิกษุชื่อนี้”

สละแก่คณะ
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุหลายรูป ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง กราบ
เท้าภิกษุผู้แก่พรรษา นั่งกระโหย่งประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านผู้เจริญ จีวร
ผืนนี้กระผมรับมาจากมือภิกษุณีผู้ไม่ใช่ญาติ โดยมิได้แลกเปลี่ยนกัน เป็นนิสสัคคีย์
กระผมสละจีวรผืนนี้แก่ท่านทั้งหลาย” ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ
ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงรับอาบัติ พึงคืนจีวรที่เธอสละให้ด้วยกล่าวว่า “ท่าน
ทั้งหลายจงฟังข้าพเจ้า จีวรผืนนี้ของภิกษุชื่อนี้เป็นนิสสัคคีย์ เธอสละแก่ท่าน
ทั้งหลาย ถ้าท่านทั้งหลายพร้อมกันแล้วก็พึงให้จีวรผืนนี้แก่ภิกษุชื่อนี้”

เชิงอรรถ :
๑ เพราะเหยียดมือรับเป็นต้น (คหณตฺถาย หตฺถปฺปสารณาทีสุ ทุกฺกฏํ - วิ.อ. ๒/๕๑๒/๑๗๐)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๓๖ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๑.จีรวรรค ๕.จีวรปฏิคคหณสิกขาบท บทภาชนีย์
สละแก่บุคคล
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุรูปหนึ่ง ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง นั่ง
กระโหย่งประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านขอรับ จีวรผืนนี้กระผมรับมาจากมือ
ภิกษุณีผู้ไม่ใช่ญาติ โดยมิได้แลกเปลี่ยนกัน เป็นนิสสัคคีย์ กระผมสละจีวรผืนนี้
แก่ท่าน” ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ
ภิกษุผู้รับสละนั้นพึงรับอาบัติแล้วคืนจีวรที่เธอสละให้ด้วยกล่าวว่า “กระผมคืน
จีวรผืนนี้ให้แก่ท่าน”

บทภาชนีย์
ติกนิสสัคคิยปาจิตตีย์
[๕๑๓] ภิกษุณีที่ไม่ใช่ญาติ ภิกษุสำคัญว่าไม่ใช่ญาติ รับจีวรจากมือ ต้อง
อาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์ เว้นไว้แต่แลกเปลี่ยนกัน
ภิกษุณีที่ไม่ใช่ญาติ ภิกษุไม่แน่ใจ รับจีวรจากมือ ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
เว้นไว้แต่แลกเปลี่ยนกัน
ภิกษุณีที่ไม่ใช่ญาติ ภิกษุสำคัญว่าเป็นญาติ รับจีวรจากมือ ต้องอาบัติ
นิสสัคคิยปาจิตตีย์ เว้นไว้แต่แลกเปลี่ยนกัน

ติกทุกกฏ
ภิกษุณีผู้อุปสมบทในสงฆ์ฝ่ายเดียว ภิกษุรับจีวรจากมือ ต้องอาบัติทุกกฏ เว้น
ไว้แต่แลกเปลี่ยนกัน
ภิกษุณีที่เป็นญาติ ภิกษุสำคัญว่าไม่ใช่ญาติ รับจีวรจากมือ ต้องอาบัติทุกกฏ
ภิกษุณีที่เป็นญาติ ภิกษุไม่แน่ใจ รับจีวรจากมือ ต้องอาบัติทุกกฏ
ภิกษุณีที่เป็นญาติ ภิกษุสำคัญว่าเป็นญาติ รับจีวรจากมือ ไม่ต้องอาบัติ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๓๗ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๑.จีรวรรค ๕. จีวรปฏิคคหณสิกขาบท นิทานวัตถุ
อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[๕๑๔] ๑. ภิกษุรับจีวรของภิกษุณีผู้เป็นญาติ
๒. ภิกษุแลกเปลี่ยน คือ เอาของที่มีค่าน้อยแลกกับของมีค่ามาก
หรือเอาของที่มีค่ามากแลกกับของมีค่าน้อย
๓. ภิกษุถือวิสาสะเอามา
๔. ภิกษุขอยืมจีวร
๕. ภิกษุรับบริขารอื่นนอกจากจีวร
๖. ภิกษุรับจีวรของสิกขมานา
๗. ภิกษุรับจีวรของสามเณรี
๘. ภิกษุวิกลจริต
๙. ภิกษุต้นบัญญัติ

จีวรปฏิคคหณสิกขาบทที่ ๕ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๓๘ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๑.จีรวรรค ๖.อัญญาตกวิญญัตติสิกขาบท นิทานวัตถุ
๑. จีวรวรรค

๖. อัญญาตกวิญญัตติสิกขาบท
ว่าด้วยการออกปากขอคฤหัสถ์ผู้ไม่ใช่ญาติ

เรื่องพระอุปนันทศากยบุตร
[๕๑๕] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น ท่านพระอุปนันทศากยบุตร
เชี่ยวชาญการแสดงธรรมีกถา บุตรเศรษฐีคนหนึ่งเข้าไปหาท่านถึงที่อยู่ ครั้นถึงแล้ว
จึงไหว้ท่าน นั่ง ณ ที่สมควร ลำดับนั้น ท่านพระอุปนันทศากยบุตรได้ชี้แจงให้บุตร
เศรษฐีเห็นชัด ชวนให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบ
ชโลมใจให้สดชื่นร่าเริงด้วยธรรมีกถา๑
บุตรเศรษฐีนั้นอันท่านพระอุปนันทศากยบุตรชี้แจงให้เห็นชัด ชวนให้อยากรับ
เอาไปปฏิบติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริงด้วยธรรมีกถา
แล้วจึงปวารณาท่านพระอุปนันทศากยบุตรว่า “ท่านผู้เจริญ พระคุณเจ้าพึงบอก
ปัจจัย ๔ คือ จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขารที่ท่านต้องการ
ซึ่งกระผมพอจะจัดหามาถวายได้”

เชิงอรรถ :
๑ เรียกว่า ลีลาการสอน หรือ เทศนาวิธี ๔ คือ (๑) สันทัสสนา ชี้แจงให้เห็นชัด (๒) สมาทปนา ชวนให้
อยากรับเอาไปปฏิบัติ (๓) สมุตเตชนา เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า (๔) สัมปหังสนา ปลอบชโลมใจ
ให้สดชื่นร่าเริง (มาในบาลีมากแห่ง วิ.มหา. ๑/๒๒-๒๔,๒๙๐/๑๓-๔,๒๒๒, วิ.ภิกฺขุนี. ๓/๗๘๓/๗๒-๓,
วิ.ม. ๔/๒๙,๘๙-๙๐,๑๐๕,๑๓๒,๑๓๗/๒๕,๑๐๖-๗,๑๒๐,๑๔๖,๑๕๐, วิ.ม. ๕/๒๗๐,๒๗๖,๒๘๐-๑, ๒๘๘,
๒๙๔,๒๙๘,๓๓๗/๓๘,๔๕,๕๐,๕๒,๖๕,๗๔,๘๑,๑๓๙, วิ.จู. ๖/๓๓,๑๙๒/๔๓-๔,๒๒๕, วิ.จู. ๗/๒๖๐,
๒๖๘-๙,๔๐๔,๔๔๕/๒๑,๓๓-๔,๒๓๗,๒๘๒, ที.สี. ๙/๓๔๔,๓๕๘/๑๔๐,๑๕๐, ที.ม. ๑๐/๑๖๑-๒,
๑๙๔/๘๗-๙,๑๑๗-๘, ที.ปา. ๑๑/๓๔,๒๙๙/๒๒,๑๘๙, ม.มู. ๑๒/๒๕๒,๒๕๕-๖,๒๘๙/๒๑๕-๒๑๗,
๒๕๓-๔, ม.ม. ๑๓/๒๒,๒๘๕,๓๗๑/๑๘,๒๖๑,๓๕๕, สํ.ส. ๑๕/๑๕๒-๓,๑๕๕,๑๘๕,๒๔๑/๑๓๕-๘,๑๘๗,
๒๕๓, สํ.นิ. ๑๖/๒๔๑/๒๖๕, สํ.ข. ๑๗/๘๑/๗๗, สํ.สฬา. ๑๘/๑๓๓/๑๑๔, องฺ.อฏฺฐก-นวก. ๒๓/๑๒,๒๔,
๗๘,๔/๑๕๖,๑๘๐,๒๗๓,๒๙๖, องฺ.ทสก. ๒๔/๙๓/๑๕๒, ขุ.อุ. ๒๕/๖๑,๗๑-๕/๒๐๓,๒๑๒-๕, ขุ.อิติ.
๒๕/๑๐๔/๓๒๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๓๙ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๑.จีรวรรค ๖.อัญญาตกวิญญัตติสิกขาบท นิทานวัตถุ
ท่านพระอุปนันทศากยบุตรกล่าวว่า “ถ้าโยมต้องการถวายแก่อาตมา ก็
จงถวายผ้าผืนหนึ่งจากผ้าที่โยมนุ่งห่มอยู่นี้”
เขากล่าวว่า “กระผมเป็นกุลบุตร จะนุ่งผ้าผืนเดียวเดินกลับบ้าน ดูจะไม่เหมาะ
นิมนต์รอให้กระผมกลับไปถึงบ้านก่อน แล้วกระผมจะส่งผ้า ๑ ผืนจาก ๒ ผืนนี้
หรือผ้าที่ดีกว่านี้มาถวาย”
ท่านพระอุปนันทศากยบุตรพูดเป็นครั้งที่ ๒ ว่า “ถ้าโยมต้องการถวายแก่
อาตมา ก็จงถวายผ้าผืนหนึ่งจากผ้าที่โยมนุ่งห่มอยู่นี้” บุตรเศรษฐีก็ยังกล่าวปฏิเสธ
อยู่เหมือนเดิมว่า “กระผมเป็นกุลบุตร จะนุ่งผ้าผืนเดียวเดินกลับบ้าน ดูจะไม่เหมาะ
นิมนต์ท่านรอให้กระผมกลับไปถึงบ้านก่อน แล้วกระผมจะส่งผ้า ๑ ผืนจาก ๒ ผืนนี้
หรือผ้าที่ดีกว่านี้มาถวาย” ท่านพระอุปนันทศากยบุตรก็พูดรบเร้าเป็นครั้งที่ ๓ ว่า
“ถ้าโยมต้องการถวายแก่อาตมา ก็จงถวายผ้าผืนหนึ่งจากผ้าที่โยมนุ่งห่มอยู่นี้” แต่
เขาก็คงพูดบ่ายเบี่ยงอยู่เหมือนเดิมว่า “กระผมเป็นกุลบุตร จะนุ่งผ้าผืนเดียวเดินกลับ
บ้าน ดูจะไม่เหมาะ นิมนต์ท่านรอให้กระผมกลับไปถึงบ้านก่อน แล้วกระผมจะส่ง
ผ้า ๑ ผืนจาก ๒ ผืนนี้หรือผ้าที่ดีกว่านี้มาถวาย”
ท่านพระอุปนันทศากยบุตรกล่าวว่า “ท่านไม่ต้องการถวาย ก็จะปวารณาไป
ทำไม ปวารณาแล้วไม่ถวาย จะมีประโยชน์อะไร”
เมื่อถูกท่านพระอุปนันทศากยบุตรพูดรบเร้า เขาจึงถวายผ้า ๑ ผืน แล้วกลับไป
ถูกชาวบ้านถามว่า “นาย ทำไมนุ่งผ้าผืนเดียวกลับมาเล่า” บุตรเศรษฐีนั้นจึงบอก
เรื่องนั้นให้ชาวบ้านเหล่านั้นทราบ
ชาวบ้านพากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “พระสมณะเชื้อสายศากยบุตร
มักมากไม่สันโดษ สมณะเหล่านี้แม้จะนิมนต์ตามธรรมเนียม ก็ไม่ใช่กระทำได้ง่าย
ไฉนเมื่อบุตรเศรษฐีทำการนิมนต์ตามธรรมเนียม พระสมณะทั้งหลายก็ยังจะรับเอา
ผ้าไปเล่า”
พวกภิกษุได้ยินชาวบ้านตำหนิ ประณาม โพนทะนา บรรดาภิกษุผู้มักน้อย
สันโดษ ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพระอุปนันทศากยบุตรจึง
ออกปากขอจีวรจากบุตรเศรษฐีเล่า” ครั้นภิกษุเหล่านั้นตำหนิท่านพระอุปนันทศากย
บุตร โดยประการต่าง ๆ แล้วจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๔๐ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๑.จีรวรรค ๖.อัญญาตกวิญญัตติสิกขาบท พระบัญญัติ
ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามท่านพระอุปนันทศากยบุตรว่า “อุปนันทะ ทราบว่า เธอออกปากขอจีวรจาก
บุตรเศรษฐี จริงหรือ” ท่านพระอุปนันทศากยบุตรทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “อุปนันทะ บุตรเศรษฐีเป็นญาติของเธอหรือไม่ใช่ญาติ”
ท่านพระอุปนันทศากยบุตรทูลตอบว่า “ไม่ใช่ญาติ พระพุทธเจ้าข้า” พระพุทธองค์
ทรงตำหนิว่า “โมฆบุรุษ คฤหัสถ์ผู้ไม่ใช่ญาติย่อมไม่รู้ความเหมาะสมหรือไม่เหมาะสม
ของที่มีอยู่หรือไม่มีของคนผู้ไม่ใช่ญาติ โมฆบุรุษ เธอนั้นออกปากขอจีวรจากบุตร
เศรษฐีผู้ไม่ใช่ญาติเชียวหรือ โมฆบุรุษ การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใส
ให้เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่ง
ให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้

พระบัญญัติ
[๕๑๖] ก็ ภิกษุใดออกปากขอจีวรจากคฤหัสถ์ชายหรือคฤหัสถ์หญิง
ผู้ไม่ใช่ญาติ ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
สิกขาบทนี้พระผู้มีพระภาคทรงบัญญติไว้แก่ภิกษุทั้งหลายอย่างนี้
เรื่องพระอุปนันทศากยบุตร จบ

เรื่องภิกษุถูกชิงจีวร
[๕๑๗] สมัยนั้น ภิกษุหลายรูปเดินทางไกลจากเมืองสาเกตไปกรุงสาวัตถี ใน
ระหว่างทาง พวกโจรออกมาปล้นภิกษุเหล่านั้น พวกเธอคิดว่า “การออกปากขอ
จีวรจากคฤหัสถ์ชายหรือคฤหัสถ์หญิง พระผู้มีพระภาคทรงห้ามไว้แล้ว” จึงรังเกียจ
ไม่ยอมออกปากขอจีวรเลย เปลือยกายไปถึงกรุงสาวัตถี ไหว้ภิกษุทั้งหลาย พวก
ภิกษุจึงกล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านทั้งหลาย พวกอาชีวกที่พากันไหว้ภิกษุเหล่านี้ เป็นพวก
อาชีวกที่ดี”


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๔๑ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๑.จีรวรรค ๖.อัญญาตกวิญญัตติสิกขาบท พระอนุบัญญัติ
ภิกษุชาวเมืองสาเกตกล่าวอย่างนี้ว่า “พวกกระผมไม่ใช่อาชีวก พวกกระผม
เป็นภิกษุ”
ภิกษุชาวกรุงสาวัตถีได้กล่าวกับพระอุบาลีว่า “ท่านอุบาลี นิมนต์ท่านไต่สวน
ภิกษุเหล่านี้เถิด” เมื่อภิกษุเหล่านั้นถูกพระอุบาลีไต่สวน จึงเล่าเรื่องนั้นให้ทราบ
ครั้นไต่สวนแล้ว พระอุบาลีแจ้งว่า “พวกเปลือยกายเหล่านี้เป็นภิกษุ จงให้จีวร
แก่พวกเธอ”
บรรดาภิกษุผู้มักน้อย ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนภิกษุ
ทั้งหลายจึงเปลือยกายเดินมาเล่า ตามธรรมดาภิกษุต้องใช้หญ้าหรือใบไม้ปกปิดเดิน
มา มิใช่หรือ” ครั้นภิกษุทั้งหลายตำหนิภิกษุเหล่านั้นโดยประการต่าง ๆ แล้วจึงนำ
เรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ

ทรงอนุญาตให้ขอจีวรได้
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมีกถาเพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ รับสั่ง
กับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุผู้ถูกโจรชิงจีวร หรือจีวรหาย
ออกปากขอจีวรจากคฤหัสถ์ชายหรือคฤหัสถ์หญิงผู้ไม่ใช่ญาติได้ ถ้าวัดที่ภิกษุไปถึง
ก่อน มีจีวรประจำวิหาร ผ้าปูเตียง ผ้าปูพื้นหรือผ้าปลอกฟูกของสงฆ์ ก็พึงถือเอา
ผ้าของสงฆ์ไปห่มโดยตั้งใจว่า ‘เมื่อเราได้จีวรแล้วจะนำมาคืน’ ดังนี้ก็ควร ถ้าไม่มีจีวร
ประจำวิหาร ผ้าปูเตียง ผ้าปูพื้นหรือผ้าปลอกฟูกของสงฆ์ ควรใช้หญ้าหรือใบไม้
ปกปิดมา อนึ่ง ภิกษุไม่พึงเปลือยกายเดินมา ภิกษุใดเปลือยกายเดินมา ต้องอาบัติ
ทุกกฏ” แล้วรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้

พระอนุบัญญัติ
[๕๑๘] อนึ่ง ภิกษุใดออกปากขอจีวรจากคฤหัสถ์ชายหรือคฤหัสถ์หญิงผู้
ไม่ใช่ญาติ นอกสมัย ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์ สมัยในข้อนั้น คือ ภิกษุถูก
ชิงจีวรไป หรือจีวรสูญหาย นี้เป็นสมัยในข้อนั้น
เรื่องภิกษุถูกชิงจีวร จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๔๒ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๑.จีรวรรค ๖.อัญญาตกวิญญัตติสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์
สิกขาบทวิภังค์
[๕๑๙] คำว่า อนึ่ง...ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
อนึ่ง...ใด
คำว่า ภิกษุ มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุ เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระ
ภาคทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุ ในความหมายนี้
ที่ชื่อว่า ผู้ไม่ใช่ญาติ คือ ไม่ใช่คนที่เกี่ยวเนื่องกันทางมารดาหรือทางบิดา
ตลอดเจ็ดชั่วคน
ที่ชื่อว่า คฤหัสถ์ชาย ได้แก่ บุรุษผู้ครองเรือน
ที่ชื่อว่า คฤหัสถ์หญิง ได้แก่ สตรีผู้ครองเรือน
ที่ชื่อว่า จีวร ได้แก่ จีวร ๖ ชนิด อย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งมีขนาดพอที่จะ
วิกัปได้เป็นอย่างต่ำ
คำว่า นอกสมัย คือ ยกเว้นสมัย
ที่ชื่อว่า ภิกษุถูกชิงจีวรไป ได้แก่ จีวรของภิกษุที่พระราชา โจร นักเลงหรือ
คนบางพวกชิงเอาไป
ที่ชื่อว่า จีวรสูญหาย ได้แก่ จีวรของภิกษุถูกไฟไหม้ น้ำพัด หนูหรือปลวกกัด
หรือที่ใช้สอยจนเก่า
ภิกษุออกปากขอนอกสมัย ต้องอาบัติทุกกฏเพราะพยายาม จีวรเป็นนิสสัคคีย์
เพราะได้มา คือเป็นของจำต้องสละแก่สงฆ์ แก่คณะหรือแก่บุคคล
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงสละจีวรที่เป็นนิสสัคคีย์อย่างนี้

วิธีสละจีวรที่เป็นนิสสัคคีย์
สละแก่สงฆ์
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง กราบเท้าภิกษุผู้
แก่พรรษา นั่งกระโหย่งประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านผู้เจริญ จีวรผืนนี้กระผม


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๔๓ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๑.จีรวรรค ๖.อัญญาตกวิญญัตติสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์
ออกปากขอจากคฤหัสถ์ผู้ไม่ใช่ญาติ นอกสมัย เป็นนิสสัคคีย์ กระผมสละจีวรผืนนี้
แก่สงฆ์” ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ
ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงรับอาบัติ พึงคืนจีวรที่เธอสละให้ด้วยญัตติกรรมวาจา
ว่า “ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า จีวรผืนนี้ของภิกษุชื่อนี้เป็นนิสสัคคีย์ เธอสละ
แก่สงฆ์ ถ้าสงฆ์พร้อมกันแล้วก็พึงให้จีวรผืนนี้แก่ภิกษุชื่อนี้”

สละแก่คณะ
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุหลายรูป ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง กราบ
เท้าภิกษุผู้แก่พรรษา นั่งกระโหย่งประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านผู้เจริญ จีวรผืนนี้
กระผมออกปากขอจากคฤหัสถ์ผู้ไม่ใช่ญาติ นอกสมัย เป็นนิสสัคคีย์ กระผมสละจีวร
ผืนนี้แก่ท่านทั้งหลาย” ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ
ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงรับอาบัติ พึงคืนจีวรที่เธอสละให้ด้วยกล่าวว่า “ท่าน
ทั้งหลายจงฟังข้าพเจ้า จีวรผืนนี้ของภิกษุชื่อนี้เป็นนิสสัคคีย์ เธอสละแก่ท่านทั้งหลาย
ถ้าท่านทั้งหลายพร้อมกันแล้วก็พึงให้จีวรผืนนี้แก่ภิกษุชื่อนี้”

สละแก่บุคคล
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุรูปหนึ่ง ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง นั่ง
กระโหย่งประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านขอรับ จีวรผืนนี้กระผมออกปากขอ
จากคฤหัสถ์ผู้ไม่ใช่ญาติ นอกสมัย เป็นนิสสัคคีย์ กระผมสละจีวรผืนนี้แก่ท่าน” ครั้น
สละแล้วพึงแสดงอาบัติ
ภิกษุผู้รับสละนั้นพึงรับอาบัติแล้วคืนจีวรที่เธอสละให้ด้วยกล่าวว่า “กระผม
คืนจีวรผืนนี้ให้แก่ท่าน”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๔๔ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๑.จีรวรรค ๖.อัญญาตกวิญญัตติสิกขาบท อนาปัตติวาร
บทภาชนีย์
ติกนิสสัคคิยปาจิตตีย์
[๕๒๐] คฤหัสถ์ที่ไม่ใช่ญาติ ภิกษุสำคัญว่าไม่ใช่ญาติ ขอจีวรนอกสมัย ต้อง
อาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
คฤหัสถ์ที่ไม่ใช่ญาติ ภิกษุไม่แน่ใจ ขอจีวรนอกสมัย ต้องอาบัตินิสสัคคิย
ปาจิตตีย์
คฤหัสถ์ที่ไม่ใช่ญาติ ภิกษุสำคัญว่าเป็นญาติ ขอจีวรนอกสมัย ต้องอาบัติ
นิสสัคคิยปาจิตตีย์

ทุกทุกกฏ
คฤหัสถ์ที่เป็นญาติ ภิกษุสำคัญว่าไม่ใช่ญาติ ขอจีวรนอกสมัย ต้องอาบัติทุกกฏ
คฤหัสถ์ที่เป็นญาติ ภิกษุไม่แน่ใจ ขอจีวรนอกสมัย ต้องอาบัติทุกกฏ
คฤหัสถ์ที่เป็นญาติ ภิกษุสำคัญว่าเป็นญาติ ขอจีวรนอกสมัย ไม่ต้องอาบัติ

อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[๕๒๑] ๑. ภิกษุออกปากขอในสมัย
๒. ภิกษุออกปากขอจากญาติ
๓. ภิกษุออกปากขอจากคนปวารณา
๔. ภิกษุออกปากขอเพื่อภิกษุรูปอื่น
๕. ภิกษุซื้อมาด้วยทรัพย์ของตน
๖. ภิกษุวิกลจริต
๗. ภิกษุต้นบัญญัติ
อัญญาตกวิญญัตติสิกขาบทที่ ๖ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๔๕ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๑.จีรวรรค ๗.ตตุตตริสิกขาบท นิทานวัตถุ
๑. จีวรวรรค

๗. ตตุตตริสิกขาบท
ว่าด้วยการออกปากขอจีวรเกิน

เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๕๒๒] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์เข้าไปหาภิกษุ
ที่ถูกโจรชิงจีวรไปแล้วกล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคทรงอนุญาตให้
ภิกษุที่ถูกโจรชิงจีวรไปหรือจีวรสูญหาย ออกปากขอจีวรจากคฤหัสถ์ชายหรือ
คฤหัสถ์หญิงผู้ไม่ใช่ญาติได้ พวกท่านจงขอจีวรเถิด”
ภิกษุเหล่านั้นกล่าวว่า “ไม่ล่ะ ขอรับ พวกกระผมได้จีวรครบแล้ว”
พวกภิกษุฉัพพัคคีย์กล่าวว่า “พวกเราจะออกปากขอเพื่อพวกท่าน”
ภิกษุเหล่านั้นกล่าวว่า “นิมนต์ออกปากขอเถิด ขอรับ”
ต่อจากนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์เข้าไปหาพวกคฤหัสถ์กล่าวว่า “ท่านทั้งหลาย
พวกภิกษุที่ถูกโจรชิงจีวรไปมาถึงแล้ว พวกท่านจงถวายจีวรแก่พวกเธอ” แล้วออก
ปากขอจีวรเป็นอันมาก
ก็สมัยนั้น ชายคนหนึ่งนั่งอยู่ในที่ประชุมบอกชายอีกคนหนึ่งว่า “พวกพระ
คุณเจ้าที่ถูกโจรชิงจีวรไปมาถึงแล้ว ข้าพเจ้าได้ถวายจีวรท่านเหล่านั้นไปแล้ว”
ชายแม้นั้นตอบว่า “ข้าพเจ้าก็ได้ถวายไปแล้ว”
ชายอีกคนหนึ่งก็กล่าวเช่นเดียวกันว่า “แม้ข้าพเจ้าก็ได้ถวายไปแล้ว”
พวกเขาตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพระสมณะเชื้อสายศากยบุตรจึง
ไม่รู้จักประมาณ ออกปากขอจีวรมากมายเล่า พวกเธอจะค้าผ้าหรือจัดตั้งร้านขาย
ผ้ากระมัง”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๔๖ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๑.จีรวรรค ๗.ตตุตตริสิกขาบท พระบัญญัติ
พวกภิกษุได้ยินคำตำหนิ ประณาม โพนทะนาของชาวบ้าน บรรดาภิกษุผู้
มักน้อย ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพวกภิกษุฉัพพัคคีย์จึงไม่รู้
จักประมาณ ออกปากขอจีวรเป็นอันมากเล่า” ครั้นภิกษุเหล่านั้นตำหนิพวก
ภิกษุฉัพพัคคีย์โดยประการต่าง ๆ แล้วจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้
ทรงทราบ

ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามพวกภิกษุฉัพพัคคีย์ว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า พวกเธอไม่รู้จักประมาณ
ขอจีวรเป็นอันมาก จริงหรือ” พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ฯลฯ โมฆบุรุษทั้งหลาย ไฉนพวกเธอจึงไม่
รู้จักประมาณขอจีวรจำนวนมากเล่า โมฆบุรุษทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำ
คนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย
ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้

พระบัญญัติ
[๕๒๓] ถ้าคฤหัสถ์ชายหรือคฤหัสถ์หญิงผู้ไม่ใช่ญาติ นำจีวรจำนวนมากมา
ปวารณาภิกษุนั้น๑ ภิกษุนั้นพึงยินดีจีวรมีอุตตราสงค์และอันตรวาสกเป็นอย่าง
มากจากจีวรที่เขานำมานั้น ถ้ายินดีเกินกว่านั้น ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ

เชิงอรรถ :
๑ พหูหิ จีวเรหิ อภิหฏฺฐุํ ปวาเรยฺย ที่แปลว่า “นำจีวรจำนวนมากมาปวารณา” เป็นไปตามกฎนี้ : อภิหฏฺฐุํ
อภิ+หร+ตฺวา (ตฺวาปัจจัย) โดยสูตรว่า กิจฺจตการตุํตฺวาทีนญฺจ รฏฺฐรฏฺฐุํรฏฺฐาเทสา - รูป. ๖๐๙ (แปลง
ต ในกิจจปัจจัยเป็น ฏฺฐ แปลง ตุํ-ตฺวา ปัจจัยเป็นต้นเป็น ฏฺฐุํ ฏฺฐ) อรรถกถาวินัยก็อธิบายทำนอง
นี้ว่า “อภิหฏฺฐุํ ปวาเรยฺยา”ติ อภิหริตฺวา ปวาเรยฺยาติ อตฺโถ. (คำว่า อภิหฏฺฐุํ ปวาเรยฺยา มีอธิบายว่า
นำมาปวารณา วิ.อ. ๒/๕๒๒-๔/๑๗๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๔๗ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๑.จีรวรรค ๗.ตตุตตริสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์
สิกขาบทวิภังค์
[๕๒๔] คำว่า ถ้า...ภิกษุนั้น ได้แก่ ภิกษุผู้ถูกโจรชิงจีวรไป
ที่ชื่อว่า ผู้ไม่ใช่ญาติ คือ ไม่ใช่คนที่เกี่ยวเนื่องกันทางมารดาหรือทางบิดา
ตลอดเจ็ดชั่วคน
ที่ชื่อว่า คฤหัสถ์ชาย ได้แก่ บุรุษผู้ครองเรือน
ที่ชื่อว่า คฤหัสถ์หญิง ได้แก่ สตรีผู้ครองเรือน
คำว่า จีวรจำนวนมาก คือ จีวรหลายผืน
คำว่า นำ...มาปวารณา คือ นำมาปวารณาว่า ท่านจงรับจีวรตามที่
ปรารถนาเถิด
คำว่า ภิกษุนั้นพึงยินดีจีวรมีอุตตราสงค์และอันตรวาสกเป็นอย่างมากจาก
จีวรที่เขานำมานั้น ความว่า ถ้าจีวรหาย ๓ ผืน เธอพึงยินดี ๒ ผืน จีวรหาย
๒ ผืน พึงยินดี ๑ ผืน หายผืนเดียวไม่พึงยินดี
คำว่า ถ้ายินดีเกินกว่านั้น ความว่า ภิกษุออกปากขอเกินกว่านั้น ต้องอาบัติ
ทุกกฏเพราะพยายาม จีวรเป็นนิสสัคคีย์เพราะได้มา คือเป็นของจำต้องสละแก่สงฆ์
แก่คณะหรือแก่บุคคล
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงสละจีวรที่เป็นนิสสัคคีย์อย่างนี้

วิธีสละจีวรที่เป็นนิสสัคคีย์
สละแก่สงฆ์
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง กราบเท้าภิกษุผู้
แก่พรรษา นั่งกระโหย่งประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านผู้เจริญ จีวรผืนนี้กระผม
เข้าไปหาคฤหัสถ์ผู้ไม่ใช่ญาติ แล้วออกปากขอเกินกำหนด เป็นนิสสัคคีย์ กระผมสละ
จีวรผืนนี้แก่สงฆ์” ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ
ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงรับอาบัติ พึงคืนจีวรที่เธอสละให้ด้วยญัตติกรรมวาจา
ว่า “ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า จีวรผืนนี้ของภิกษุชื่อนี้เป็นนิสสัคคีย์ เธอ
สละแก่สงฆ์ ถ้าสงฆ์พร้อมกันแล้วก็พึงให้จีวรผืนนี้แก่ภิกษุชื่อนี้”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๔๘ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๑.จีรวรรค ๗.ตตุตตริสิกขาบท บทภาชนีย์
สละแก่คณะ
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุหลายรูป ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง กราบ
เท้าภิกษุผู้แก่พรรษา นั่งกระโหย่งประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านผู้เจริญ จีวรผืน
นี้กระผมเข้าไปหาคฤหัสถ์ผู้ไม่ใช่ญาติ แล้วออกปากขอเกินกำหนด เป็นนิสสัคคีย์
กระผมสละจีวรผืนนี้แก่ท่านทั้งหลาย” ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ
ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงรับอาบัติ พึงคืนจีวรที่เธอสละให้ด้วยกล่าวว่า “ท่าน
ทั้งหลายจงฟังข้าพเจ้า จีวรผืนนี้ของภิกษุชื่อนี้เป็นนิสสัคคีย์ เธอสละแก่ท่าน
ทั้งหลาย ถ้าท่านทั้งหลายพร้อมกันแล้วก็พึงให้จีวรผืนนี้แก่ภิกษุชื่อนี้”

สละแก่บุคคล
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุรูปหนึ่ง ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง นั่ง
กระโหย่งประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านขอรับ จีวรผืนนี้กระผมเข้าไปหาคฤหัสถ์
ผู้ไม่ใช่ญาติ แล้วออกปากขอเกินกำหนด เป็นนิสสัคคีย์ กระผมสละจีวรผืนนี้แก่
ท่าน” ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ
ภิกษุผู้รับสละนั้นพึงรับอาบัติแล้วคืนจีวรที่เธอสละให้ด้วยกล่าวว่า “กระผมคืน
จีวรผืนนี้ให้แก่ท่าน”

บทภาชนีย์
ติกนิสสัคคิยปาจิตตีย์
[๕๒๕] คฤหัสถ์ที่ไม่ใช่ญาติ ภิกษุสำคัญว่าไม่ใช่ญาติ ขอจีวรเกินกำหนด
ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
คฤหัสถ์ที่ไม่ใช่ญาติ ภิกษุไม่แน่ใจ ขอจีวรเกินกำหนด ต้องอาบัตินิสสัคคิย
ปาจิตตีย์
คฤหัสถ์ที่ไม่ใช่ญาติ ภิกษุสำคัญว่าเป็นญาติ ขอจีวรเกินกำหนด ต้องอาบัติ
นิสสัคคิยปาจิตตีย์


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๔๙ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๑.จีรวรรค ๗.ตตุตตริสิกขาบท อนาปัตติวาร
ทุกทุกกฏ
คฤหัสถ์ที่เป็นญาติ ภิกษุสำคัญว่าไม่ใช่ญาติ ขอจีวรเกินกำหนด ต้องอาบัติ
ทุกกฏ
คฤหัสถ์ที่เป็นญาติ ภิกษุไม่แน่ใจ ขอจีวรเกินกำหนด ต้องอาบัติทุกกฏ
คฤหัสถ์ที่เป็นญาติ ภิกษุสำคัญว่าเป็นญาติ ขอจีวรเกินกำหนด ไม่ต้องอาบัติ

อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[๕๒๖] ๑. ภิกษุที่รับเอาไปเพราะคิดว่า จะนำจีวรที่เหลือมาคืน
๒. ภิกษุที่คฤหัสถ์ถวายด้วยถ้อยคำว่า “จีวรที่เหลือเป็นของท่าน
รูปเดียว”
๓. ภิกษุที่คฤหัสถ์ไม่ได้ถวายเพราะจีวรถูกชิงไป
๔. ภิกษุที่คฤหัสถ์ไม่ได้ถวายเพราะจีวรสูญหาย
๕. ภิกษุผู้ยินดีจีวรที่ญาติถวาย
๖. ภิกษุผู้ยินดีจีวรที่ทายกปวารณาถวาย
๗. ภิกษุผู้ยินดีจีวรที่ได้มาด้วยทรัพย์ของตน
๘. ภิกษุวิกลจริต
๙. ภิกษุต้นบัญญัติ
ตตุตตริสิกขาบทที่ ๗ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๕๐ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๑.จีรวรรค ๘.อุปักขฏสิกขาบท นิทานวัตถุ
๑. จีวรวรรค

๘. อุปักขฏสิกขาบท
ว่าด้วยคนตระเตรียมทรัพย์เป็นค่าจีวร

เรื่องพระอุปนันทศากยบุตร
[๕๒๗] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น ชายคนหนึ่งกล่าวกับภรรยาว่า
“ฉันจะนิมนต์พระคุณเจ้าอุปนันทะให้ครองจีวร”
ภิกษุผู้ถือเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตรรูปหนึ่งได้ยินชายคนนั้นกล่าว จึงเข้าไปหา
ท่านพระอุปนันทศากยบุตรถึงที่อยู่แล้วกล่าวว่า “ท่านอุปนันทะ ท่านมีบุญมาก ชาย
คนหนึ่งในที่โน้นกล่าวกับภรรยาว่า ‘จะนิมนต์พระคุณเจ้าอุปนันทะให้ครองจีวร”
ท่านพระอุปนันทะกล่าวว่า “ใช่ ขอรับ เขาเป็นอุปัฏฐากของกระผมเอง” ต่อมา
ท่านพระอุปนันทศากยบุตรได้เข้าไปหาผู้นั้นถึงที่อยู่ ครั้นถึงแล้วได้กล่าวว่า “ได้ทราบ
ว่า โยมต้องการจะนิมนต์อาตมาให้ครองจีวรจริงหรือ”
เขาตอบว่า “จริงครับท่าน กระผมมีความคิดว่าจะนิมนต์พระคุณเจ้าอุปนันทะ
ให้ครองจีวร”
ท่านพระอุปนันทะกล่าวว่า “หากท่านต้องการจะนิมนต์อาตมาให้ครองจีวร
ก็จงให้ครองจีวรชนิดนี้ จีวรที่อาตมาไม่ใช้ แม้นิมนต์อาตมาให้ครองก็จะมีประโยชน์
อะไร”
ทีนั้น บุรุษนั้นจึงตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “พระสมณะเชื้อสายศากยบุตร
มักมาก ไม่สันโดษ จะนิมนต์ให้ครองจีวร มิใช่จะทำได้ง่าย ไฉนพระคุณเจ้าอุปนันท
ศากยบุตรซึ่งเราไม่ได้ปวารณาไว้ก่อนจึงเข้ามากำหนดชนิดจีวรเล่า”
พวกภิกษุได้ยินคำตำหนิ ประณาม โพนทะนาของชาวบ้าน บรรดาภิกษุผู้
มักน้อย สันโดษ ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนท่านพระอุปนันท
ศากยบุตรซึ่งเขาไม่ได้ปวารณาไว้ก่อนจึงเข้าไปหาคฤหัสถ์กำหนดชนิดจีวรเล่า”


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๕๑ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๑.จีรวรรค ๘.อุปักขฏสิกขาบท พระบัญญัติ
ครั้นภิกษุเหล่านั้นตำหนิท่านพระอุปนันทศากยบุตรโดยประการต่าง ๆ แล้วจึงนำ
เรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ

ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามท่านพระอุปนันทศากยบุตรว่า “อุปนันทะ ทราบว่า เขาไม่ได้ปวารณาไว้ก่อน
แต่เธอเข้าไปหาคฤหัสถ์แล้วกำหนดชนิดจีวร จริงหรือ” พระอุปนันทศากยบุตรทูลรับ
ว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “อุปนันทะ เขาเป็นญาติของ
เธอหรือไม่ใช่ญาติ”
ท่านพระอุปนันทะทูลตอบว่า “ไม่ใช่ญาติ พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคทรงตำหนิว่า “โมฆบุรุษ คฤหัสถ์ผู้ไม่ใช่ญาติย่อมไม่รู้ความ
เหมาะสมหรือไม่เหมาะสม ของที่มีอยู่หรือไม่มีของคนผู้ไม่ใช่ญาติ โมฆบุรุษ เธอนั้น
ซึ่งพวกเขาไม่ได้ปวารณาไว้ก่อนเข้าไปหาคฤหัสถ์ผู้ไม่ใช่ญาติแล้วกำหนดชนิดจีวร
โมฆบุรุษ การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่
เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบท
นี้ขึ้นแสดงดังนี้

พระบัญญัติ
[๕๒๘] ก็ คฤหัสถ์ชายหรือคฤหัสถ์หญิงผู้ไม่ใช่ญาติ ตระเตรียมทรัพย์
เป็นค่าจีวร เจาะจงภิกษุว่า “เราจะซื้อจีวรด้วยทรัพย์เป็นค่าจีวรนี้แล้ว นิมนต์
ภิกษุชื่อนี้ให้ครองจีวร” ถ้าภิกษุนั้นซึ่งเขาไม่ได้ปวารณาไว้ก่อน เข้าไปกำหนด
ชนิดจีวรในที่ที่เขาเตรียมจีวรไว้ เพราะต้องการจีวรดีว่า “ดีละ ท่านจงซื้อจีวรเช่น
นั้นเช่นนี้ด้วยทรัพย์เป็นค่าจีวรนี้แล้วให้อาตมาครองเถิด” ต้องอาบัตินิสสัคคิย
ปาจิตตีย์
เรื่องพระอุปนันทศากยบุตร จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๕๒ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๑.จีรวรรค ๘.อุปักขฏสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์
สิกขาบทวิภังค์
[๕๒๙] คำว่า ก็...เจาะจงภิกษุ ได้แก่ เพื่อประโยชน์ของภิกษุ คือ มุ่ง
เฉพาะภิกษุ ปรารถนาจะให้ภิกษุครองจีวร
ที่ชื่อว่า ผู้ไม่ใช่ญาติ คือ ไม่ใช่คนที่เกี่ยวเนื่องกันทางมารดาหรือทางบิดา
ตลอดเจ็ดชั่วคน
ที่ชื่อว่า คฤหัสถ์ชาย ได้แก่ บุรุษผู้ครองเรือน
ที่ชื่อว่า คฤหัสถ์หญิง ได้แก่ สตรีผู้ครองเรือน
ที่ชื่อว่า ทรัพย์เป็นค่าจีวร ได้แก่ เงิน ทอง แก้วมุกดา แก้วมณี แก้วตาแมว
แก้วผลึก ผ้า ด้ายหรือฝ้าย
คำว่า ด้วยทรัพย์เป็นค่าจีวรนี้ คือ ทรัพย์ที่เขาจัดหาไว้เฉพาะ
คำว่า ซื้อ ได้แก่ แลกเปลี่ยน
คำว่า ให้...ครอง คือ ถวาย
คำว่า ถ้าภิกษุนั้น...ในที่ที่เขาเตรียมจีวรไว้ ได้แก่ ภิกษุรูปที่เขาตระเตรียม
ทรัพย์เป็นค่าจีวรไว้ถวายโดยเฉพาะ
คำว่า เขาไม่ได้ปวารณาไว้ก่อน คือ ทายกไม่ได้กล่าวไว้ก่อนว่า “ท่านผู้เจริญ
ท่านต้องการจีวรชนิดไหน กระผมจะซื้อจีวรชนิดไหนถวายท่าน”
คำว่า เข้าไป คือ ไปถึงเรือนแล้วเข้าไปหาที่ใดที่หนึ่ง
คำว่า กำหนดชนิดจีวร คือ กำหนดว่า ขอให้เป็นผ้ายาว กว้าง เนื้อแน่นหรือ
เนื้อละเอียด
คำว่า ด้วยทรัพย์เป็นค่าจีวรนี้ คือ ทรัพย์ที่เขาจัดหาไว้เฉพาะ
คำว่า เช่นนั้นเช่นนี้ คือ ยาวหรือกว้าง เนื้อแน่นหรือเนื้อละเอียด
คำว่า ซื้อ ได้แก่ แลกเปลี่ยน
คำว่า จงให้ครอง คือ จงถวาย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๕๓ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๑.จีรวรรค ๘.อุปักขฏสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์
คำว่า เพราะต้องการจีวรดี คือ ต้องการผ้าเนื้อดีหรือผ้าที่มีราคาแพง เขาซื้อ
จีวรผืนยาว กว้าง เนื้อแน่นหรือเนื้อละเอียดตามคำของภิกษุนั้น ต้องอาบัติทุกกฏ
เพราะพยายาม จีวรเป็นนิสสัคคีย์เพราะได้มา คือเป็นของจำต้องสละแก่สงฆ์ แก่
คณะหรือแก่บุคคล
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงสละจีวรที่เป็นนิสสัคคีย์อย่างนี้

วิธีสละจีวรที่เป็นนิสสัคคีย์
สละแก่สงฆ์
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง กราบเท้าภิกษุผู้
แก่พรรษา นั่งกระโหย่งประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านผู้เจริญ จีวรผืนนี้เขาไม่ได้
ปวารณาไว้ก่อน กระผมเข้าไปหาคฤหัสถ์ผู้ไม่ใช่ญาติ กำหนดชนิดจีวร เป็นนิสสัคคีย์
กระผมสละจีวรผืนนี้แก่สงฆ์” ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ
ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงรับอาบัติ พึงคืนจีวรที่เธอสละให้ด้วยญัตติกรรมวาจา
ว่า “ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า จีวรผืนนี้ของภิกษุชื่อนี้เป็นนิสสัคคีย์ เธอสละ
แก่สงฆ์ ถ้าสงฆ์พร้อมกันแล้วก็พึงให้จีวรผืนนี้แก่ภิกษุชื่อนี้”

สละแก่คณะ
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุหลายรูป ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง กราบ
เท้าภิกษุผู้แก่พรรษา นั่งกระโหย่งประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านผู้เจริญ จีวรผืนนี้
เขาไม่ได้ปวารณาไว้ก่อน กระผมเข้าไปหาคฤหัสถ์ผู้ไม่ใช่ญาติ กำหนดชนิดจีวร เป็น
นิสสัคคีย์ กระผมสละจีวรผืนนี้แก่ท่านทั้งหลาย” ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ
ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงรับอาบัติ พึงคืนจีวรที่เธอสละให้ด้วยกล่าวว่า “ท่าน
ทั้งหลายจงฟังข้าพเจ้า จีวรผืนนี้ของภิกษุชื่อนี้เป็นนิสสัคคีย์ เธอสละแก่ท่านทั้งหลาย
ถ้าท่านทั้งหลายพร้อมกันแล้วก็พึงให้จีวรผืนนี้แก่ภิกษุชื่อนี้”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๕๔ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๑.จีรวรรค ๘.อุปักขฏสิกขาบท บทภาชนีย์
สละแก่บุคคล
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุรูปหนึ่ง ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง นั่ง
กระโหย่งประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านขอรับ จีวรผืนนี้ เขาไม่ได้ปวารณาไว้ก่อน
กระผมเข้าไปหาคฤหัสถ์ผู้ไม่ใช่ญาติ กำหนดชนิดจีวร เป็นนิสสัคคีย์ กระผมสละจีวร
ผืนนี้แก่ท่าน” ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ
ภิกษุผู้รับสละนั้นพึงรับอาบัติแล้วคืนจีวรที่เธอสละให้ด้วยกล่าวว่า “กระผมคืน
จีวรผืนนี้ให้แก่ท่าน”

บทภาชนีย์
ติกนิสสัคคิยปาจิตตีย์
[๕๓๐] คฤหัสถ์ที่ไม่ใช่ญาติ ภิกษุสำคัญว่าไม่ใช่ญาติ เขาไม่ได้ปวารณาไว้
ก่อน เข้าไปหาคฤหัสถ์แล้วกำหนดชนิดจีวร ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
คฤหัสถ์ที่ไม่ใช่ญาติ ภิกษุไม่แน่ใจ เขาไม่ได้ปวารณาไว้ก่อน เข้าไปหาคฤหัสถ์
แล้วกำหนดชนิดจีวร ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
คฤหัสถ์ที่ไม่ใช่ญาติ ภิกษุสำคัญว่าเป็นญาติ เขาไม่ได้ปวารณาไว้ก่อน เข้าไป
หาคฤหัสถ์แล้วกำหนดชนิดจีวร ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์

ทุกทุกกฏ
คฤหัสถ์ที่เป็นญาติ ภิกษุสำคัญว่าไม่ใช่ญาติ เข้าไปกำหนดชนิดจีวร ต้อง
อาบัติทุกกฏ
คฤหัสถ์ที่เป็นญาติ ภิกษุไม่แน่ใจ เข้าไปกำหนดชนิดจีวร ต้องอาบัติทุกกฏ
คฤหัสถ์ที่เป็นญาติ ภิกษุสำคัญว่าเป็นญาติ เข้าไปกำหนดชนิดจีวร ไม่ต้อง
อาบัติ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๕๕ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๑.จีรวรรค ๘.อุปักขฏสิกขาบท อนาปัตติวาร
อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[๕๓๑] ๑. ภิกษุขอจากคฤหัสถ์ที่เป็นญาติ
๒. ภิกษุขอจากคฤหัสถ์ที่ปวารณา
๓. ภิกษุขอเพื่อภิกษุรูปอื่น
๔. ภิกษุซื้อมาด้วยทรัพย์ของตน
๕. ภิกษุผู้เมื่อคฤหัสถ์ผู้ต้องการซื้อจีวรราคาแพง ตนเองกลับให้ซื้อ
จีวรราคาถูก
๖. ภิกษุวิกลจริต
๗. ภิกษุต้นบัญญัติ

อุปักขฏสิกขาบทที่ ๘ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๕๖ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๑.จีรวรรค ๙.ทุติยอุปักขฏสิกขาบท นิทานวัตถุ
๑.จีรวรรค

๙. ทุติยอุปักขฏสิกขาบท
ว่าด้วยคนตระเตรียมทรัพย์เป็นค่าจีวร ข้อที่ ๒

เรื่องพระอุปนันทศากยบุตร
[๕๓๒] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น บุรุษคนหนึ่งกล่าวกับบุรุษอีกคน
หนึ่งว่า “กระผมจะนิมนต์พระคุณเจ้าอุปนันทะให้ครองจีวร” แม้บุรุษคนนั้นก็กล่าวว่า
“กระผมก็จะนิมนต์พระคุณเจ้าอุปนันทะให้ครองจีวร”
ภิกษุผู้ถือเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตรรูปหนึ่งได้ยินการสนทนาของบุรุษเหล่านั้น
จึงเข้าไปหาท่านพระอุปนันทะถึงที่อยู่แล้วกล่าวว่า “ท่านอุปนันทะ ท่านมีบุญมาก
บุรุษคนหนึ่งในที่โน้นกล่าวกับบุรุษอีกคนหนึ่งว่า ‘จะนิมนต์พระคุณเจ้าอุปนันทะให้ครอง
จีวร’ แม้บุรุษคนนั้นก็กล่าวว่า ‘กระผมก็จะนิมนต์พระคุณเจ้าอุปนันทะให้ครองจีวร”
ท่านพระอุปนันทะกล่าวว่า “ใช่ ขอรับ บุรุษทั้งสองเป็นอุปัฏฐากของกระผม
เอง” ต่อมา ท่านพระอุปนันทศากยบุตรไปหาบุรุษทั้งสองถึงที่อยู่ครั้นถึงแล้วจึงกล่าวว่า
“ได้ทราบว่า โยมทั้งสองต้องการจะนิมนต์อาตมาให้ครองจีวรหลายผืน จริงหรือ”
บุรุษทั้งสองตอบว่า “จริงครับท่าน พวกกระผมมีความคิดจะนิมนต์พระคุณเจ้า
อุปนันทะให้ครองจีวร”
ท่านพระอุปนันทะกล่าวว่า “ถ้าท่านทั้งสองต้องการจะนิมนต์อาตมาให้ครองจีวร
ก็จงให้ครองจีวรชนิดนี้ จีวรที่อาตมาไม่ใช้แม้นิมนต์อาตมาให้ครองก็จะมีประโยชน์
อะไร”
บุรุษทั้งสองตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “พระสมณะเชื้อสายศากยบุตร
มักมาก ไม่สันโดษ จะนิมนต์ให้ครองจีวร ก็ทำได้ยาก ไฉนพระคุณเจ้าอุปนันทะ
ซึ่งพวกเราไม่ได้ปวารณาไว้ก่อนจึงมากำหนดชนิดจีวรเล่า”


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๕๗ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๑.จีรวรรค ๙.ทุติยอุปักขฏสิกขาบท พระบัญญติ
พวกภิกษุได้ยินบุรุษทั้งสองตำหนิ ประณาม โพนทะนา บรรดาภิกษุผู้มักน้อย
ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนท่านพระอุปนันทศากยบุตรซึ่งเขา
ไม่ได้ปวารณาไว้ก่อนจึงเข้าไปหาพวกคฤหัสถ์กำหนดจีวรเล่า” ครั้นภิกษุเหล่านั้น
ตำหนิท่านอุปนันทศากยบุตรโดยประการต่าง ๆ แล้วจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มี
พระภาคให้ทรงทราบ

ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามท่านพระอุปนันทศากยบุตรว่า “อุปนันทะ ทราบว่า เขาไม่ได้ปวารณาไว้
ก่อน แต่เธอไปกำหนดชนิดจีวร จริงหรือ” ท่านพระอุปนันทศากยบุตรทูลรับว่า “จริง
พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “อุปนันทะ คนเหล่านั้นเป็นญาติของ
เธอหรือไม่ใช่ญาติ” พระอุปนันทะทูลตอบว่า “คนเหล่านั้นไม่ใช่ญาติ พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคทรงตำหนิว่า “โมฆบุรุษ คฤหัสถ์ผู้ไม่ใช่ญาติย่อมไม่รู้ความ
เหมาะสมหรือไม่เหมาะสม ของที่มีอยู่หรือไม่มีของคนผู้ไม่ใช่ญาติ โมฆบุรุษ เธอ
นั้นซึ่งเขาไม่ได้ปวารณาไว้ก่อน เข้าไปหาคฤหัสถ์ผู้ไม่ใช่ญาติแล้วกำหนดชนิดจีวร
โมฆบุรุษ การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่
เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบท
นี้ขึ้นแสดงดังนี้

พระบัญญัติ
[๕๓๓] ก็ คฤหัสถ์ชายหรือคฤหัสถ์หญิงผู้ไม่ใช่ญาติ ๒ คน ตระเตรียม
ทรัพย์เป็นค่าจีวรคนละผืน เจาะจงภิกษุว่า “พวกเราจะซื้อจีวรคนละผืนด้วย
ทรัพย์เป็นค่าจีวรคนละผืนนี้แล้วนิมนต์ภิกษุชื่อนี้ให้ครองจีวรหลายผืน” ถ้า
ภิกษุนั้นซึ่งพวกเขาไม่ได้ปวารณาไว้ก่อน เข้าไปกำหนดชนิดจีวรในที่ที่เขา
เตรียมจีวรไว้ เพราะต้องการจีวรดีว่า “ดีละ ท่านทั้งสองจงรวมกันซื้อจีวรเช่น
นั้นเช่นนี้ ด้วยทรัพย์เป็นค่าจีวรคนละผืนนี้ แล้วนิมนต์อาตมาให้ครองเถิด” ต้อง
อาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์

เรื่องพระอุปนันทศากยบุตร จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๕๘ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๑.จีรวรรค ๙.ทุติยอุปักขฏสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์
สิกขาบทวิภังค์
[๕๓๔] คำว่า ก็...เจาะจงภิกษุ ได้แก่ เพื่อประโยชน์ของภิกษุ คือ มุ่ง
เฉพาะภิกษุ ปรารถนาจะให้ภิกษุครองจีวร
คำว่า ๒ คน คือ มี ๒ คน
ที่ชื่อว่า ผู้ไม่ใช่ญาติ คือ ไม่ใช่คนที่เกี่ยวเนื่องกันทางมารดา หรือทางบิดา
ตลอดเจ็ดชั่วคน
ที่ชื่อว่า คฤหัสถ์ชาย ได้แก่ บุรุษผู้ครองเรือน
ที่ชื่อว่า คฤหัสถ์หญิง ได้แก่ สตรีผู้ครองเรือน
ที่ชื่อว่า ทรัพย์เป็นค่าจีวร ได้แก่ เงิน ทอง แก้วมุกดา แก้วมณี แก้วตาแมว
แก้วผลึก ผ้า ด้ายหรือฝ้าย
คำว่า ด้วยทรัพย์เป็นค่าจีวรคนละผืนนี้ คือ ทรัพย์ที่เขาจัดหาไว้เฉพาะ
คำว่า ซื้อ ได้แก่ แลกเปลี่ยน
คำว่า ให้...ครอง คือ ถวาย
คำว่า ถ้าภิกษุนั้น...ในที่ที่เขาเตรียมจีวรไว้ ได้แก่ ภิกษุรูปที่เขาทั้งสอง
ตระเตรียมทรัพย์เป็นค่าจีวรไว้ถวายโดยเฉพาะ
คำว่า เขาไม่ได้ปวารณาไว้ก่อน คือ ทายกทั้งสองไม่ได้กล่าวไว้ก่อนว่า “ท่าน
ผู้เจริญ ท่านต้องการจีวรชนิดไหน พวกผมจะซื้อจีวรชนิดไหนถวายท่าน”
คำว่า เข้าไป คือ ไปถึงเรือนแล้วเข้าไปหาที่ใดที่หนึ่ง
คำว่า กำหนดชนิดจีวร คือ กำหนดว่า ขอให้เป็นผ้ายาว กว้าง เนื้อแน่น
หรือเนื้อละเอียด
คำว่า ด้วยทรัพย์เป็นค่าจีวรคนละผืนนี้ คือ ทรัพย์ที่เขาจัดหาไว้เฉพาะ
คำว่า เช่นนั้นเช่นนี้ คือ ยาวหรือกว้าง เนื้อแน่นหรือเนื้อละเอียด
คำว่า ซื้อ ได้แก่ แลกเปลี่ยน

 


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๕๙ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๑.จีรวรรค ๙.ทุติยอุปักขฏสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์
คำว่า จงให้ครอง คือ จงถวาย
คำว่า ท่านทั้งสองจงรวมกัน คือ คน ๒ คนร่วมกัน
คำว่า เพราะต้องการจีวรดี คือ ต้องการผ้าเนื้อดี หรือผ้าราคาแพง
เขาซื้อจีวรผืนยาว กว้าง เนื้อแน่นหรือเนื้อละเอียดตามคำภิกษุนั้น ต้องอาบัติ
ทุกกฏเพราะพยายาม จีวรเป็นนิสสัคคีย์เพราะได้มา คือเป็นของจำต้องสละแก่สงฆ์
แก่คณะหรือแก่บุคคล
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงสละจีวรที่เป็นนิสสัคคีย์อย่างนี้

วิธีสละจีวรที่เป็นนิสสัคคีย์
สละแก่สงฆ์
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง กราบเท้าภิกษุผู้
แก่พรรษา นั่งกระโหย่งประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านผู้เจริญ จีวรผืนนี้เขาไม่ได้
ปวารณาไว้ก่อน กระผมเข้าไปหาคฤหัสถ์ผู้ไม่ใช่ญาติ กำหนดชนิดจีวร เป็น
นิสสัคคีย์ กระผมสละจีวรผืนนี้แก่สงฆ์” ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ
ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงรับอาบัติ พึงคืนจีวรที่เธอสละให้ด้วยญัตติกรรมวาจา
ว่า “ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า จีวรผืนนี้ของภิกษุชื่อนี้เป็นนิสสัคคีย์ เธอสละ
แก่สงฆ์ ถ้าสงฆ์พร้อมกันแล้วก็พึงให้จีวรผืนนี้แก่ภิกษุชื่อนี้”

สละแก่คณะ
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุหลายรูป ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง กราบ
เท้าภิกษุผู้แก่พรรษา นั่งกระโหย่งประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านผู้เจริญ จีวรผืนนี้
เขาไม่ได้ปวารณาไว้ก่อน กระผมเข้าไปหาคฤหัสถ์ผู้ไม่ใช่ญาติ กำหนดชนิดจีวร เป็น
นิสสัคคีย์ กระผมสละจีวรผืนนี้แก่ท่านทั้งหลาย” ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ
ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงรับอาบัติ พึงคืนจีวรที่เธอสละให้ด้วยกล่าวว่า “ท่าน
ทั้งหลายจงฟังข้าพเจ้า จีวรผืนนี้ของภิกษุชื่อนี้เป็นนิสสัคคีย์ เธอสละแก่ท่านทั้งหลาย
ถ้าท่านทั้งหลายพร้อมกันแล้วก็พึงให้จีวรผืนนี้แก่ภิกษุชื่อนี้”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๖๐ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๑.จีรวรรค ๙.ทุติยอุปักขฏสิกขาบท บทภาชนีย์
สละแก่บุคคล
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุรูปหนึ่ง ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง นั่งกระโหย่ง
ประนมมือ กล่าวว่า “ท่านขอรับ จีวรผืนนี้เขาไม่ได้ปวารณาไว้ก่อน กระผมเข้าไปหา
คฤหัสถ์ผู้ไม่ใช่ญาติ กำหนดชนิดจีวร เป็นนิสสัคคีย์ กระผมสละจีวรผืนนี้แก่ท่าน”
ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ
ภิกษุผู้รับสละนั้นพึงรับอาบัติแล้วคืนจีวรที่เธอสละให้ด้วยกล่าวว่า “กระผมคืน
จีวรผืนนี้ให้แก่ท่าน”

บทภาชนีย์
ติกนิสสัคคิยปาจิตตีย์
[๕๓๕] คฤหัสถ์ที่ไม่ใช่ญาติ ภิกษุสำคัญว่าไม่ใช่ญาติ เขาไม่ได้ปวารณาไว้
ก่อน เข้าไปหาพวกคฤหัสถ์แล้วกำหนดชนิดจีวร ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
คฤหัสถ์ที่ไม่ใช่ญาติ ภิกษุไม่แน่ใจ เขาไม่ได้ปวารณาไว้ก่อน เข้าไปหาพวก
คฤหัสถ์แล้วกำหนดชนิดจีวร ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
คฤหัสถ์ที่ไม่ใช่ญาติ ภิกษุสำคัญว่าเป็นญาติ เขาไม่ได้ปวารณาไว้ก่อน เข้าไป
หาพวกคฤหัสถ์แล้วกำหนดชนิดจีวร ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์

ทุกทุกกฏ
คฤหัสถ์ที่เป็นญาติ ภิกษุสำคัญว่าไม่ใช่ญาติ เข้าไปกำหนดชนิดจีวร ต้อง
อาบัติทุกกฏ
คฤหัสถ์ที่เป็นญาติ ภิกษุไม่แน่ใจ เข้าไปกำหนดชนิดจีวร ต้องอาบัติทุกกฏ
คฤหัสถ์ที่เป็นญาติ ภิกษุสำคัญว่าเป็นญาติ เข้าไปกำหนดชนิดจีวร ไม่ต้อง
อาบัติ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๖๑ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๑.จีรวรรค ๙.ทุติยอุปักขฏสิกขาบท อนาปัตติวาร
อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[๕๓๖] ๑. ภิกษุขอจากคฤหัสถ์ที่เป็นญาติ
๒. ภิกษุขอจากคฤหัสถ์ที่ปวารณา
๓. ภิกษุขอเพื่อภิกษุรูปอื่น
๔. ภิกษุซื้อมาด้วยทรัพย์ของตน
๕. ภิกษุผู้เมื่อพวกคฤหัสถ์ต้องการซื้อจีวรราคาแพง ตนเองกลับให้
ซื้อจีวรราคาถูก
๖. ภิกษุวิกลจริต
๗. ภิกษุต้นบัญญัติ

ทุติยอุปักขฏสิกขาบทที่ ๙ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๖๒ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๑.จีรวรรค ๑๐.ราชสิกขาบท นิทานวัตถุ
๑. จีวรวรรค

๑๐. ราชสิกขาบท
ว่าด้วยทรัพย์เป็นค่าจีวรที่พระราชาเป็นต้นให้ทูตนำมาถวาย

เรื่องพระอุปนันทศากยบุตร
[๕๓๗] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น มหาอมาตย์อุปัฏฐากของท่านพระ
อุปนันทศากยบุตรส่งทูตไปถวายทรัพย์เป็นค่าจีวร และสั่งว่า “เธอจงเอาทรัพย์ เป็น
ค่าจีวรนี้ซื้อจีวรแล้วนิมนต์พระคุณเจ้าอุปนันทะให้ครอง”
ต่อมา ทูตนั้นได้เข้าไปหาท่านพระอุปนันทศากยบุตรถึงที่อยู่ ครั้นถึงแล้วได้
กล่าวกับท่านว่า “ท่านผู้เจริญ กระผมนำทรัพย์เป็นค่าจีวรมาเจาะจงท่าน นิมนต์
ท่านรับทรัพย์เป็นค่าจีวรเถิด ขอรับ”
เมื่อทูตกล่าวอย่างนั้น ท่านพระอุปนันทศากยบุตรได้กล่าวว่า “อาตมารับ
ทรัพย์เป็นค่าจีวรไม่ได้ รับเฉพาะจีวรที่สมควรตามกาล”
เมื่อท่านกล่าวอย่างนั้น ทูตถามว่า “มีใครผู้เป็นไวยาวัจกรของท่านบ้างไหม”
ขณะนั้น อุบาสกคนหนึ่งมีธุระไปที่วัด ท่านพระอุปนันทศากยบุตรจึงกล่าวกับ
ทูตว่า “อุบาสกนี้เป็นไวยาวัจกรของภิกษุทั้งหลาย”
ทูตนั้นจึงตกลงกับอุบาสกแล้วเข้าไปหาท่านพระอุปนันทศากยบุตรถึงที่อยู่กล่าวว่า
“ท่านผู้เจริญ กระผมตกลงกับอุบาสกที่ท่านแนะนำว่าเป็นไวยาวัจกรแล้ว ท่านจงไป
หาในเวลาอันสมควร เขาจักนิมนต์ท่านให้ครองจีวร”
ต่อมา มหาอมาตย์ส่งทูตให้ไปหาท่านพระอุปนันทศากยบุตรให้กราบเรียนว่า
“ขอให้พระคุณเจ้าจงใช้สอยจีวรเถิด กระผมต้องการจะให้พระคุณเจ้าใช้จีวรนั้น”
ท่านพระอุปนันทศากยบุตรไม่กล่าวอะไรกับอุบาสกนั้น


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๖๓ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๑.จีรวรรค ๑๐.ราชสิกขาบท นิทานวัตถุ
แม้ครั้งที่ ๒ มหาอมาตย์ก็ส่งทูตให้ไปหาท่านพระอุปนันทศากยบุตร ให้กราบ
เรียนว่า “ขอให้พระคุณเจ้าจงใช้สอยจีวรเถิด กระผมต้องการจะให้พระคุณเจ้าใช้จีวรนั้น”
แม้ครั้งที่ ๒ ท่านพระอุปนันทศากยบุตรก็ยังไม่กล่าวอะไรกับอุบาสกนั้น
แม้ครั้งที่ ๓ มหาอมาตย์ก็ส่งทูตไปหาท่านพระอุปนันทศากยบุตร ให้กราบ
เรียนว่า “ขอให้พระคุณเจ้าจงใช้สอยจีวรเถิด กระผมต้องการจะให้พระคุณเจ้าใช้สอย
จีวรนั้น”
สมัยนั้นเป็นคราวประชุมของชาวนิคม ก็ชาวนิคมได้ตั้งกติกาไว้ว่า ผู้มาประชุม
ล่าช้าต้องถูกปรับ ๕๐ กหาปณะ
ต่อมา ท่านพระอุปนันทศากยบุตรไปหาอุบาสกถึงที่อยู่ ครั้นถึงแล้วได้กล่าวว่า
“อาตมาต้องการจีวร”
อุบาสกกล่าวว่า “โปรดรอสักวันหนึ่งเถิด ขอรับ วันนี้เป็นคราวประชุมของชาว
นิคม และชาวนิคมได้ตั้งกติกาว่า ผู้มาประชุมล่าช้าต้องถูกปรับ ๕๐ กหาปณะ”
ท่านพระอุปนันทศากยบุตรกล่าวว่า “จงถวายจีวรอาตมาวันนี้แหละ” แล้วยึด
ชายพกไว้
อุบาสกถูกท่านพระอุปนันทศากยบุตรรบเร้าจึงได้ซื้อจีวรถวายท่านพระอุปนันท
ศากยบุตรแล้วไปประชุมล่าช้า
ชาวบ้านถามว่า “เหตุไรท่านมาล่าช้า ท่านต้องเสียค่าปรับ ๕๐ กหาปณะ”
ทีนั้น อุบาสกจึงเล่าเรื่องนั้นให้ชาวบ้านเหล่านั้นทราบ พวกชาวบ้านพากัน
ตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “พระสมณะเชื้อสายศากยบุตรเหล่านี้มักมาก
ไม่สันโดษ ยากที่ใคร ๆ จะให้ความช่วยเหลือสมณะเหล่านั้นได้ ไฉนท่านพระอุปนันท
ศากยบุตร เมื่ออุบาสกกล่าวว่า ‘โปรดรอสักวันหนึ่งเถิด ขอรับ’ ก็ไม่ยอมรอ”
ภิกษุทั้งหลายได้ยินพวกชาวบ้านตำหนิ ประณาม โพนทะนา บรรดาภิกษุผู้
มักน้อย ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนท่านอุปนันทศากยบุตรผู้
ซึ่งอุบาสกขอร้องอยู่ว่า ‘ท่านผู้เจริญ โปรดรอสักวันหนึ่ง’ ก็ไม่ยอมรอ” ครั้นภิกษุ
เหล่านั้นตำหนิท่านพระอุปนันทศากยบุตรโดยประการต่าง ๆ แล้วจึงนำเรื่องนี้ไป
กราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๖๔ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๑.จีรวรรค ๑๐.ราชสิกขาบท พระบัญญัติ
ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามท่านพระอุปนันทศากยบุตรว่า “อุปนันทะ ทราบว่า อุบาสกกล่าวกับเธอ
ว่า ‘โปรดรอสักวันหนึ่งเถิดขอรับ’ เธอก็ไม่ยอมรอ จริงหรือ” ท่านพระอุปนันท
ศากยบุตรทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า
“ฯลฯ โมฆบุรุษ ไฉนเธอผู้ซึ่งอุบาสกกล่าวว่า ‘ท่านผู้เจริญ ท่านจงรอสักวันหนึ่งเถิด
ขอรับ’ ก็ไม่ยอมรอเล่า โมฆบุรุษ การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้
เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่งให้
ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้

พระบัญญัติ
[๕๓๘] ก็ พระราชา ราชอมาตย์ พราหมณ์หรือคหบดีผู้ใดผู้หนึ่งส่งทูตมา
ถวายทรัพย์เป็นค่าจีวรเจาะจงภิกษุพร้อมกับสั่งว่า “ท่านจงเอาทรัพย์เป็นค่าจีวร
นี้ซื้อจีวร แล้วนิมนต์ภิกษุชื่อนี้ให้ครองจีวร” ถ้าทูตนั้นเข้าไปหาภิกษุนั้นกล่าว
อย่างนี้ว่า “ท่านผู้เจริญ กระผมนำทรัพย์เป็นค่าจีวรนี้มาเจาะจงพระคุณเจ้า
พระคุณเจ้าจงรับทรัพย์เป็นค่าจีวรเถิด” ภิกษุนั้นพึงกล่าวกับทูตนั้นอย่างนี้ว่า
“พวกอาตมารับทรัพย์เป็นค่าจีวรไม่ได้ รับเฉพาะจีวรที่สมควรตามกาล” ถ้าทูต
นั้นพึงกล่าวกับภิกษุนั้นอย่างนี้ว่า “ก็มีใครผู้เป็นไวยาวัจกรของท่านบ้างไหม”
ภิกษุผู้ต้องการจีวรพึงแสดงคนวัดหรืออุบาสกให้เป็นไวยาวัจกรว่า “ผู้นี้เป็น
ไวยาวัจกรของภิกษุทั้งหลาย” ถ้าทูตตกลงกับไวยาวัจกรแล้วเข้าไปหาภิกษุนั้น
กล่าวอย่างนี้ว่า “ข้าพเจ้าตกลงกับคนที่ท่านแนะนำว่าเป็นไวยาวัจกรแล้ว ท่าน
จงไปหาในเวลาอันสมควร เขาจะนิมนต์ท่านให้ครองจีวร” ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุ
ต้องการจีวรพึงเข้าไปหาไวยาวัจกรแล้วทวงหรือเตือน ๒-๓ ครั้งว่า “อาตมา
ต้องการจีวร” เมื่อทวงหรือเตือน ๒-๓ ครั้ง ให้เขาจัดจีวรสำเร็จได้ นั่นเป็น
การดี ถ้าไม่สำเร็จ พึงไปยืนแสดงตนนิ่ง ๆ ถึง ๔ ครั้ง ๕ ครั้ง หรือ ๖ ครั้ง
เป็นอย่างมาก เมื่อยืนแสดงตนนิ่ง ๆ ถึง ๔ ครั้ง ๕ ครั้ง หรือ ๖ ครั้งเป็นอย่าง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๖๕ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๑.จีรวรรค ๑๐.ราชสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์
มากแล้วให้เขาจัดจีวรสำเร็จได้ นั่นเป็นการดี ถ้าพยายามเกินกว่านั้น ให้เขาจัด
จีวรสำเร็จได้ ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์ ถ้าไม่สำเร็จ พึงไปเองหรือส่งทูตไป
ในสำนักที่เขาส่งทรัพย์เป็นค่าจีวรมา กล่าวว่า “ทรัพย์เป็นค่าจีวรที่ท่านส่งไป
เจาะจงภิกษุรูปใดไม่ได้อำนวยประโยชน์อะไรแก่ภิกษุรูปนั้นเลย ท่านจงทวง
ทรัพย์ของท่านคืนมา ทรัพย์ของท่านอย่าเสียหายเลย” นี้เป็นการทำที่สมควร
ในเรื่องนั้น

เรื่องพระอุปนันทศากยบุตร จบ

สิกขาบทวิภังค์
[๕๓๙] คำว่า ก็...เจาะจงภิกษุ ได้แก่ เพื่อประโยชน์ของภิกษุ คือ มุ่ง
เฉพาะภิกษุ ปรารถนาจะให้ภิกษุครองจีวร
ที่ชื่อว่า พระราชา ได้แก่ ผู้ครองราชสมบัติ
ที่ชื่อว่า ราชอมาตย์ ได้แก่ ข้าราชการที่พระราชาทรงชุบเลี้ยง
ที่ชื่อว่า พราหมณ์ ได้แก่ พราหมณ์โดยกำเนิด
ที่ชื่อว่า คหบดี ได้แก่ คนที่เหลือ ยกเว้นพระราชา ราชอมาตย์ พราหมณ์
ชื่อว่าคหบดี
ที่ชื่อว่า ทรัพย์เป็นค่าจีวร ได้แก่ เงิน ทอง แก้วมณี แก้วมุกดา (แก้วตาแมว
หรือแก้วผลึก)
คำว่า ทรัพย์เป็นค่าจีวรนี้ คือ ทรัพย์ที่เขาจัดหาไว้เฉพาะ
คำว่า ซื้อ คือ แลกเปลี่ยน
คำว่า นิมนต์ให้ครอง คือ จงถวาย
ถ้าทูตนั้นเข้าไปหาภิกษุรูปนั้นพึงกล่าวว่า “ท่านผู้เจริญ กระผมนำทรัพย์เป็น
ค่าจีวรนี้มาเจาะจงท่าน ท่านจงรับทรัพย์เป็นค่าจีวรนี้เถิด” ภิกษุนั้นพึงกล่าวกับทูต
นั้นอย่างนี้ว่า “พวกอาตมารับทรัพย์เป็นค่าจีวรไม่ได้ รับเฉพาะจีวรที่สมควร
ตามกาล” ถ้าทูตกล่าวกับภิกษุนั้นอย่างนี้ว่า “มีใครผู้เป็นไวยาวัจกรของท่าน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๖๖ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๑.จีรวรรค ๑๐.ราชสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์
บ้างไหม” ภิกษุผู้ต้องการจีวรพึงแสดงคนวัดหรืออุบาสกให้เป็นไวยาวัจกรว่า “ผู้นั้น
เป็นไวยาวัจกรของภิกษุทั้งหลาย” ไม่พึงกล่าวว่า “จงให้แก่ผู้นั้น” หรือว่า “ผู้นั้นจะ
เก็บไว้” หรือ “ผู้นั้นจะแลก” หรือ “ผู้นั้นจักซื้อ”
ถ้าทูตตกลงกับไวยาวัจกรแล้วพึงเข้าไปหาภิกษุกล่าวอย่างนี้ว่า “กระผมตกลง
กับคนที่ท่านแนะว่าเป็นไวยาวัจกรแล้ว ท่านจงไปหาในเวลาอันสมควร เขาจะนิมนต์
ท่านให้ครองจีวร” ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุต้องการจีวรพึงเข้าไปหาไวยาวัจกรแล้วทวง
หรือเตือน ๒-๓ ครั้งว่า “อาตมาต้องการจีวร” ไม่พึงกล่าวกับเขาว่า “ท่านจงให้
จีวรแก่อาตมา นำจีวรมาให้อาตมา แลกจีวรให้อาตมา หรือจงซื้อจีวรให้อาตมา”
แม้ครั้งที่ ๒ ก็พึงกล่าวกับเขา แม้ครั้งที่ ๓ ก็พึงกล่าวกับเขา ถ้าให้เขาจัดการ
สำเร็จได้ นั้นเป็นการดี ถ้าไม่สำเร็จ พึงไปยืนแสดงตนนิ่ง ๆ ในที่นั้น ไม่พึงนั่งบน
อาสนะ ไม่พึงรับอามิส ไม่พึงกล่าวธรรม เมื่อเขาถามว่า “มาธุระอะไร” พึงกล่าว
กับเขาว่า “ท่านจงรู้เองเถิด” ถ้านั่งบนอาสนะ หรือรับอามิส หรือกล่าวธรรม ชื่อว่า
ตัดโอกาส๑ แม้ครั้งที่ ๒ ก็พึงยืน แม้ครั้งที่ ๓ ก็พึงยืน ทวง ๔ ครั้งพึงยืนได้ ๔ ครั้ง
ทวง ๕ ครั้งพึงยืนได้ ๒ ครั้ง ทวง ๖ ครั้งแล้วไม่พึงไปยืน๒ ถ้าเธอพยายามยิ่งกว่านั้น
ให้เขาจัดจีวรสำเร็จ ต้องอาบัติทุกกฏเพราะพยายาม จีวรเป็นนิสสัคคีย์เพราะได้มา
คือเป็นของจำต้องสละแก่สงฆ์ แก่คณะหรือแก่บุคคล
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงสละจีวรที่เป็นนิสสัคคีย์อย่างนี้

วิธีสละจีวรที่เป็นนิสสัคคีย์
สละแก่สงฆ์
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง กราบเท้าภิกษุผู้
แก่พรรษา นั่งกระโหย่งประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านผู้เจริญ จีวรผืนนี้กระผมให้
เขาจัดสำเร็จด้วยอาการทวงเกิน ๓ ครั้ง ยืนเกิน ๖ ครั้ง เป็นนิสสัคคีย์ กระผมสละ
จีวรผืนนี้แก่สงฆ์” ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ

เชิงอรรถ :
๑ ตัดโอกาส คือ ตัดเหตุแห่งการมา (อาคตการณํ ภ�ฺชติ วิ.อ. ๒/๕๓๘-๕๓๙/๑๘๑)
๒ ทวง ๑ ครั้งมีค่าเท่ากับยืน ๒ ครั้ง (วิ.อ. ๒/๕๓๘-๕๓๙/๑๘๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๖๗ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๑.จีรวรรค ๑๐.ราชสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์
ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงรับอาบัติ พึงคืนจีวรที่เธอสละให้ด้วยญัตติกรรมวาจา
ว่า “ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า จีวรผืนนี้ของภิกษุชื่อนี้เป็นนิสสัคคีย์ เธอ
สละแก่สงฆ์ ถ้าสงฆ์พร้อมกันแล้วก็พึงให้จีวรผืนนี้แก่ภิกษุชื่อนี้”

สละแก่คณะ
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุหลายรูป ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง กราบ
เท้าภิกษุผู้แก่พรรษา นั่งกระโหย่งประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านผู้เจริญ จีวรผืน
นี้กระผมให้เขาจัดสำเร็จด้วยอาการทวงเกิน ๓ ครั้ง ยืนเกิน ๖ ครั้ง เป็นนิสสัคคีย์
กระผมสละจีวรผืนนี้แก่ท่านทั้งหลาย” ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ
ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงรับอาบัติ พึงคืนจีวรที่เธอสละให้ด้วยกล่าวว่า “ท่าน
ทั้งหลายจงฟังข้าพเจ้า จีวรผืนนี้ของภิกษุชื่อนี้เป็นนิสสัคคีย์ เธอสละแก่ท่านทั้งหลาย
ถ้าท่านทั้งหลายพร้อมกันแล้วก็พึงให้จีวรผืนนี้แก่ภิกษุชื่อนี้”

สละแก่บุคคล
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุรูปหนึ่ง ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง นั่งกระโหย่ง
ประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านขอรับ จีวรผืนนี้กระผมให้เขาจัดสำเร็จด้วยอาการ
ทวงเกิน ๓ ครั้ง ยืนเกิน ๖ ครั้ง เป็นนิสสัคคีย์ กระผมสละจีวรผืนนี้แก่ท่าน” ครั้น
สละแล้วพึงแสดงอาบัติ
ภิกษุผู้รับสละนั้นพึงรับอาบัติแล้วคืนจีวรที่เธอสละให้ด้วยกล่าวว่า “กระผมคืน
จีวรผืนนี้ให้แก่ท่าน”
ถ้าทำไม่สำเร็จ พึงไปเองหรือส่งทูตไปในสำนักที่เขาส่งทรัพย์เป็นค่าจีวรมา
กล่าวว่า “ทรัพย์ที่ท่านส่งไปเจาะจงภิกษุรูปใด ไม่ได้อำนวยประโยชน์อะไรแก่ภิกษุ
รูปนั้นเลย ท่านจงทวงทรัพย์ของท่านคืนมา ทรัพย์ของท่านอย่าฉิบหายเลย”
คำว่า นี้เป็นการทำที่สมควรในเรื่องนั้น คือ นี้เป็นความถูกต้องในเรื่องนั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๖๘ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๑.จีรวรรค ๑๐.ราชสิกขาบท อนาปัตติวาร
บทภาชนีย์
ติกนิสสัคคิยปาจิตตีย์
[๕๔๐] ทวงเกิน ๓ ครั้ง ยืนเกิน ๖ ครั้ง ภิกษุสำคัญว่าเกิน ให้เขาจัดจีวร
สำเร็จ ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
ทวงเกิน ๓ ครั้ง ยืนเกิน ๖ ครั้ง ภิกษุไม่แน่ใจ ให้เขาจัดจีวรสำเร็จ ต้องอาบัติ
นิสสัคคิยปาจิตตีย์
ทวงเกิน ๓ ครั้ง ยืนเกิน ๖ ครั้ง ภิกษุสำคัญว่าหย่อนกว่า ให้เขาจัดจีวรสำเร็จ
ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์

ทุกทุกกฏ
ทวงหย่อนกว่า ๓ ครั้ง ยืนหย่อนกว่า ๖ ครั้ง ภิกษุสำคัญว่าเกิน ต้องอาบัติ
ทุกกฏ
ทวงหย่อนกว่า ๓ ครั้ง ยืนหย่อนกว่า ๖ ครั้ง ภิกษุไม่แน่ใจ ต้องอาบัติทุกกฏ
ทวงหย่อนกว่า ๓ ครั้ง ยืนหย่อนกว่า ๖ ครั้ง ภิกษุสำคัญว่าหย่อนกว่า ไม่
ต้องอาบัติ

อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[๕๔๑] ๑. ภิกษุทวง ๓ ครั้ง ยืน ๖ ครั้ง
๒. ภิกษุทวงหย่อนกว่า ๓ ครั้ง ยืนหย่อนกว่า ๖ ครั้ง
๓. ภิกษุไม่ได้ทวง ไวยาวัจกรจัดถวายเอง
๔. ภิกษุรับจีวรที่เจ้าของทวงมาถวาย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๖๙ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๒.โกสิยวรรค ๑๐.ราชสิกขาบท รวมสิกขาบทที่มีในจีวรวรรค
๕. ภิกษุวิกลจริต
๖. ภิกษุต้นบัญญัติ

ราชสิกขาบทที่ ๑๐ จบ
จีวรวรรคที่ ๑ จบ

รวมสิกขาบทที่มีในจีวรวรรค
จีวรวรรคมี ๑๐ สิกขาบท คือ

๑. ปฐมกฐินสิกขาบท ว่าด้วยกฐินเดาะข้อที่ ๑
๒. อุทโทสิตสิกขาบท ว่าด้วยภิกษุเก็บจีวรไว้ในโรงเก็บของ
(ว่าด้วยกฐินเดาะข้อที่ ๒)
๓. ตติยกฐินสิกขาบท ว่าด้วยกฐินเดาะข้อที่ ๓
๔. ปุราณจีวรสิกขาบท ว่าด้วยการให้ซักจีวรเก่า
๕. จีวรปฏิคคหณสิกขาบท ว่าด้วยการรับจีวร
๖. อัญญาตกวิญญัตติสิกขาบท ว่าด้วยการออกปากขอคฤหัสถ์ผู้ไม่ใช่ญาติ
๗. ตตุตตริสิกขาบท ว่าด้วยการออกปากขอจีวรเกิน
๘. อุปักขฏสิกขาบท ว่าด้วยคนตระเตรียมทรัพย์เป็นค่าจีวร
๙. ทุติยอุปักขฏสิกขาบท ว่าด้วยคนตระเตรียมทรัพย์เป็นค่าจีวรข้อ
ที่ ๒
๑๐. ราชสิกขาบท ว่าด้วยทรัพย์เป็นค่าจีวรที่พระราชาเป็นต้น
ให้ทูตนำมาถวาย


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๗๐ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๒.โกสิยวรรค ๑.โกสิยสิกขาบท นิทานวัตถุ
๒. โกสิยวรรค
หมวดว่าด้วยสันถัตใยไหม

๑. โกสิยสิกขาบท
ว่าด้วยการทำสันถัตใยไหม

เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๕๔๒] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ อัคคาฬวเจดีย์ เขต
เมืองอาฬวี ครั้งนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์เข้าไปหาพวกช่างทอผ้าไหมแล้วกล่าวอย่าง
นี้ว่า “ท่านทั้งหลาย พวกท่านจงต้มตัวไหมจำนวนมากให้แก่พวกอาตมาบ้าง พวก
อาตมาต้องการจะทำสันถัตผสมใยไหม” พวกช่างทอผ้าไหมจึงพากันตำหนิ ประณาม
โพนทะนาว่า “ไฉนพระสมณะเชื้อสายศากยบุตรเข้ามาหาพวกเราแล้วกล่าวอย่างนี้ว่า
‘ท่านทั้งหลาย พวกท่านจงต้มตัวไหมจำนวนมากให้แก่อาตมาบ้าง พวกอาตมา
ต้องการจะทำสันถัตผสมใยไหม’ ดังนี้เล่า อนึ่ง ไม่ใช่ลาภของพวกเรา พวกเราได้ไม่
ดีที่ต้องฆ่าสัตว์เล็กสัตว์น้อยเป็นจำนวนมาก เพราะการครองชีพ เพราะต้องเลี้ยงดู
บุตรภรรยา”
ภิกษุได้ยินพวกช่างทอผ้าไหมตำหนิ ประณาม โพนทะนา บรรดาภิกษุผู้มักน้อย
ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพวกภิกษุฉัพพัคคีย์จึงเข้าไปหาช่าง
ทอผ้าไหมแล้วกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ท่านทั้งหลาย พวกท่านจงต้มตัวไหมจำนวนมากให้
แก่พวกอาตมาบ้าง พวกอาตมาต้องการจะทำสันถัตผสมใยไหม’ ดังนี้เล่า” ครั้น
ภิกษุเหล่านั้นตำหนิพวกภิกษุฉัพพัคคีย์โดยประการต่าง ๆ แล้วจึงนำเรื่องนี้ไปกราบ
ทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ

ทรงประฃุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามพวกภิกษุฉัพพัคคีย์ว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่าพวกเธอเข้าไปหาช่างทอผ้า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๗๑ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๒.โกสิยวรรค ๑.โกสิยสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์
ไหมแล้วกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ท่านทั้งหลาย พวกท่านจงต้มตัวไหมจำนวนมากให้แก่พวก
อาตมาบ้าง พวกอาตมาต้องการจะทำสันถัตผสมใยไหม’ ดังนี้ จริงหรือ” พวก
ภิกษุฉัพพัคคีย์ทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า
“ฯลฯ โมฆบุรุษทั้งหลาย ไฉนพวกเธอจึงเข้าไปหาช่างทอผ้าไหมแล้วกล่าวอย่างนี้ว่า
‘ท่านทั้งหลาย พวกท่านจงต้มตัวไหมจำนวนมากให้แก่พวกอาตมาบ้าง พวกอาตมา
ต้องการจะทำสันถัตผสมใยไหม’ ดังนี้ โมฆบุรุษทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำ
คนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ”
แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้

พระบัญญัติ
[๕๔๓] ก็ ภิกษุใดใช้ให้ทำสันถัตผสมใยไหม ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ

สิกขาบทวิภังค์
[๕๔๔] คำว่า ก็...ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ก็...ใด
คำว่า ภิกษุ มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุ เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระ
ภาคทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุ ในความหมายนี้
ที่ชื่อว่า สันถัต ได้แก่ ผ้ารองนั่งที่หล่อ ไม่ใช่ทอ๑
คำว่า ใช้ให้ทำ ความว่า ภิกษุทำเองหรือใช้ให้ทำ แซมด้วยเส้นไหมแม้เส้น
เดียว ต้องอาบัติทุกกฏเพราะพยายาม สันถัตเป็นนิสสัคคีย์เพราะได้มา คือเป็นของ
จำต้องสละแก่สงฆ์ แก่คณะหรือแก่บุคคล
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงสละสันถัตที่เป็นนิสสัคคีย์อย่างนี้

เชิงอรรถ :
๑ วิธีหล่อสันถัต ใช้ยางเหนียวเช่นน้ำข้าวเทลงบนพื้นที่เรียบแล้วเอาขนโปรยลาดลงบนยางเหนียว (วิ.อ.
๒/๕๔๒/๑๙๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๗๒ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๒.โกสิยวรรค ๑.โกสิยสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์
วิธีสละสันถัตที่เป็นนิสสัคคีย์
สละแก่สงฆ์
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง กราบเท้าภิกษุผู้
แก่พรรษา นั่งกระโหย่งประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านผู้เจริญ สันถัตผสมใยไหม
ผืนนี้กระผมใช้ให้ทำ เป็นนิสสัคคีย์ กระผมสละสันถัตนี้แก่สงฆ์” ครั้นสละแล้วพึง
แสดงอาบัติ
ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงรับอาบัติ พึงคืนสันถัตที่เธอสละให้ด้วยญัตติกรรม
วาจาว่า “ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า สันถัตผืนนี้ของภิกษุชื่อนี้เป็นนิสสัคคีย์
เธอสละแก่สงฆ์ ถ้าสงฆ์พร้อมกันแล้วก็พึงให้สันถัตผืนนี้แก่ภิกษุชื่อนี้”

สละแก่คณะ
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุหลายรูป ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง กราบ
เท้าภิกษุผู้แก่พรรษา นั่งกระโหย่งประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านผู้เจริญ สันถัต
ผสมใยไหมผืนนี้กระผมใช้ให้ทำ เป็นนิสสัคคีย์ กระผมสละสันถัตผืนนี้แก่ท่าน
ทั้งหลาย” ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ
ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงรับอาบัติ พึงคืนสันถัตที่เธอสละให้ด้วยกล่าวว่า “ท่าน
ทั้งหลายจงฟังข้าพเจ้า สันถัตผืนนี้ของภิกษุชื่อนี้เป็นนิสสัคคีย์ เธอสละแก่ท่าน
ทั้งหลาย ถ้าท่านทั้งหลายพร้อมกันแล้วก็พึงให้สันถัตผืนนี้แก่ภิกษุชื่อนี้”

สละแก่บุคคล
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุรูปหนึ่ง ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง นั่ง
กระโหย่งประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านขอรับ สันถัตผืนนี้กระผมใช้ให้ทำ
เป็นนิสสัคคีย์ กระผมสละสันถัตผืนนี้แก่ท่าน” ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ
ภิกษุผู้รับสละนั้นพึงรับอาบัติแล้วคืนสันถัตที่เธอสละให้ด้วยกล่าวว่า “กระผม
คืนสันถัตผืนนี้ให้แก่ท่าน”


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๗๓ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๒.โกสิยวรรค ๑.โกสิยสิกขาบท อนาปัตติวาร
บทภาชนีย์
นิสสัคคิยปาจิตตีย์
[๕๔๕] ภิกษุทำสันถัตที่ตนทำค้างไว้จนสำเร็จด้วยตนเอง ต้องอาบัตินิสสัคคิย
ปาจิตตีย์
ภิกษุใช้ผู้อื่นให้ทำสันถัตที่ตนทำค้างไว้จนสำเร็จ ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
ภิกษุทำสันถัตที่ผู้อื่นทำค้างไว้จนสำเร็จ ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
ภิกษุใช้ผู้อื่นให้ทำสันถัตที่ผู้อื่นทำค้างไว้จนสำเร็จ ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์

ทุกทุกกฏ
ภิกษุทำเองหรือใช้ผู้อื่นให้ทำ เพื่อประโยชน์แก่ผู้อื่น ต้องอาบัติทุกกฏ
ภิกษุได้สันถัตที่ผู้อื่นทำไว้มาใช้สอย ต้องอาบัติทุกกฏ

อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[๕๔๖] ๑. ภิกษุทำเป็นเพดาน เครื่องลาดพื้น ม่าน เปลือกฟูก หรือ
ปลอกหมอน
๒. ภิกษุวิกลจริต
๓. ภิกษุต้นบัญญัติ

โกสิยสิกขาบทที่ ๑ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๗๔ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๒.โกสิยวรรค ๒.สุทธกาฬกสิกขาบท นิทานวัตถุ
๒. โกสิยวรรค

๒. สุทธกาฬกสิกขาบท
ว่าด้วยการทำสันถัตโดยใช้ขนเจียมดำล้วน

เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๕๔๗] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ กูฏาคารศาลา
ป่ามหาวัน เขตกรุงเวสาลี ครั้งนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ใช้ให้ทำสันถัตขนเจียมดำล้วน๑
พวกชาวบ้านเที่ยวไปตามวิหารเห็นเข้าจึงพากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉน
พระสมณะเชื้อสายศากยบุตร จึงใช้ให้ทำสันถัตขนเจียมดำล้วนเหมือนคฤหัสถ์ที่ยัง
บริโภคกามเล่า”
ภิกษุทั้งหลายได้ยินพวกชาวบ้านตำหนิ ประณาม โพนทะนา บรรดาภิกษุผู้
มักน้อย ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพวกภิกษุฉัพพัคคีย์จึง
ใช้ให้ทำสันถัตขนเจียมดำล้วนเล่า” ครั้นภิกษุเหล่านั้นตำหนิพวกภิกษุฉัพพัคคีย์โดย
ประการต่าง ๆ แล้วจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ

ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามพวกภิกษุฉัพพัคคีย์ว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า พวกเธอใช้ให้ทำสันถัต
ขนเจียมดำล้วน จริงหรือ” พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระ
ผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ฯลฯ โมฆบุรุษทั้งหลาย ไฉนพวกเธอจึงใช้ให้ทำ
สันถัตขนเจียมดำล้วนเล่า โมฆบุรุษทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่
เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ” แล้ว
จึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้

เชิงอรรถ :
๑ คำว่า “ขนเจียม” ในที่นี้คือขนแพะหรือขนแกะ (เอฬกโลม)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๗๕ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๒.โกสิยวรรค ๒.สุทธกาฬกสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์
พระบัญญัติ
[๕๔๘] ก็ ภิกษุใดใช้ให้ทำสันถัตขนเจียมดำล้วน ต้องอาบัตินิสสัคคิย
ปาจิตตีย์
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ

สิกขาบทวิภังค์
[๕๔๙] คำว่า ก็...ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ก็...ใด
คำว่า ภิกษุ มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุ เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มี
พระภาคทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุ ในความหมายนี้
ที่ชื่อว่า สีดำ มี ๒ ชนิด คือ ดำตามธรรมชาติ หรือดำเพราะย้อม
ที่ชื่อว่า สันถัต ได้แก่ ผ้ารองนั่งที่หล่อ ไม่ใช่ทอ
คำว่า ใช้ให้ทำ ความว่า ภิกษุทำเองหรือใช้ให้ทำ ต้องอาบัติทุกกฏเพราะ
พยายาม สันถัตเป็นนิสสัคคีย์เพราะได้มา คือเป็นของจำต้องสละแก่สงฆ์ แก่คณะ
หรือแก่บุคคล
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงสละสันถัตที่เป็นนิสสัคคีย์อย่างนี้

วิธีสละสันถัตที่เป็นนิสสัคคีย์
สละแก่สงฆ์
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง กราบเท้าภิกษุผู้
แก่พรรษา นั่งกระโหย่งประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านผู้เจริญ สันถัตขนเจียม
ดำล้วนผืนนี้กระผมใช้ให้ทำ เป็นนิสสัคคีย์ กระผมสละสันถัตขนเจียมดำล้วนผืนนี้
แก่สงฆ์” ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ
ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงรับอาบัติ พึงคืนสันถัตที่เธอสละให้ด้วยญัตติกรรม
วาจาว่า “ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า สันถัตขนเจียมดำล้วนผืนนี้ของภิกษุชื่อ
นี้เป็นนิสสัคคีย์ เธอสละแก่สงฆ์ ถ้าสงฆ์พร้อมกันแล้วก็พึงให้สันถัตขนเจียมดำล้วน
ผืนนี้แก่ภิกษุชื่อนี้”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๗๖ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๒.โกสิยวรรค ๒.สุทธกาฬกสิกขาบท บทภาชนีย์
สละแก่คณะ
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุหลายรูป ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง กราบ
เท้าภิกษุผู้แก่พรรษา นั่งกระโหย่งประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านผู้เจริญ สันถัต
ขนเจียมดำล้วนผืนนี้กระผมใช้ให้ทำ เป็นนิสสัคคีย์ กระผมสละสันถัตขนเจียมดำ
ล้วนผืนนี้แก่ท่านทั้งหลาย” ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ
ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงรับอาบัติ พึงคืนสันถัตที่เธอสละให้ด้วยกล่าวว่า
“ท่านทั้งหลายจงฟังข้าพเจ้า สันถัตขนเจียมดำล้วนผืนนี้ของภิกษุชื่อนี้เป็นนิสสัคคีย์
เธอสละแก่ท่านทั้งหลาย ถ้าท่านทั้งหลายพร้อมกันแล้วก็พึงให้สันถัตขนเจียมดำล้วน
ผืนนี้แก่ภิกษุชื่อนี้”

สละแก่บุคคล
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุรูปหนึ่ง ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง นั่ง
กระโหย่งประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านขอรับ สันถัตขนเจียมดำล้วนผืนนี้
กระผมใช้ให้ทำ เป็นนิสสัคคีย์ กระผมสละสันถัตขนเจียมดำล้วนผืนนี้แก่ท่าน” ครั้น
สละแล้วพึงแสดงอาบัติ
ภิกษุผู้รับสละนั้นพึงรับอาบัติแล้วคืนสันถัตที่เธอสละให้ด้วยกล่าวว่า “กระผม
คืนสันถัตผืนนี้ให้แก่ท่าน”

บทภาชนีย์
นิสสัคคิยปาจิตตีย์
[๕๕๐] ภิกษุทำสันถัตที่ตนทำค้างไว้จนสำเร็จด้วยตนเอง ต้องอาบัตินิสสัคคิย
ปาจิตตีย์
ภิกษุใช้ผู้อื่นให้ทำสันถัตที่ตนทำค้างไว้จนสำเร็จ ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
ภิกษุทำสันถัตที่ผู้อื่นทำค้างไว้จนสำเร็จ ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
ภิกษุใช้ผู้อื่นให้ทำสันถัตที่ผู้อื่นทำค้างไว้จนสำเร็จ ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๗๗ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๒.โกสิยวรรค ๒.สุทธกาฬกสิกขาบท อนาปัตติวาร
ทุกทุกกฏ
ภิกษุทำเองหรือใช้ผู้อื่นให้ทำ เพื่อประโยชน์แก่ผู้อื่น ต้องอาบัติทุกกฏ
ภิกษุได้สันถัตที่ผู้อื่นทำไว้แล้ว ใช้สอย ต้องอาบัติทุกกฏ

อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[๕๕๑] ๑. ภิกษุทำเป็นเพดาน เครื่องลาดพื้น ม่าน เปลือกฟูก หรือ
ปลอกหมอน
๒. ภิกษุวิกลจริต
๓. ภิกษุต้นบัญญัติ

สุทธกาฬกสิกขาบทที่ ๒ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๗๘ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๒.โกสิยวรรค ๓.เทฺวภาคสิกขาบท นิทานวัตถุ
๒. โกสิยวรรค

๓. เทฺวภาคสิกขาบท
ว่าด้วยการทำสันถัตโดยใช้ขนเจียมดำ ๒ ส่วน

เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๕๕๒] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ทราบว่า “พระ
ผู้มีพระภาคทรงห้ามการทำสันถัตขนเจียมดำล้วน” จึงให้เอาขนเจียมขาวหน่อยหนึ่ง
ปนไว้ที่ชายสันถัต แล้วทำสันถัตขนเจียมดำล้วนอย่างเดิมนั่นแหละ
บรรดาภิกษุผู้มักน้อย ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉน
พวกภิกษุฉัพพัคคีย์จึงให้เอาขนเจียมขาวหน่อยหนึ่งปนไว้ที่ชายสันถัต แล้วทำสันถัต
ขนเจียมดำล้วนอย่างเดิมเล่า” ครั้นภิกษุเหล่านั้นตำหนิพวกภิกษุฉัพพัคคีย์โดย
ประการต่าง ๆ แล้วจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ

ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามพวกภิกษุฉัพพัคคีย์ว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า พวกเธอให้เอาขนเจียม
ขาวหน่อยหนึ่งปนไว้ที่ชายสันถัต แล้วทำสันถัตขนเจียมดำล้วนอย่างเดิม จริงหรือ”
พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรง
ตำหนิว่า “ฯลฯ โมฆบุรุษทั้งหลาย ไฉนพวกเธอจึงให้เอาขนเจียมขาวหน่อยหนึ่งปน
ไว้ที่ชายสันถัต แล้วทำสันถัตขนเจียมดำล้วนอย่างเดิมเล่า โมฆบุรุษทั้งหลาย การ
กระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้
เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๗๙ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๒.โกสิยวรรค ๓.เทฺวภาคสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์
พระบัญญัติ
[๕๕๓] ก็ ภิกษุผู้ใช้ให้ทำสันถัตใหม่ พึงเอาขนเจียมดำล้วน ๒ ส่วน ขน
เจียมขาวเป็นส่วนที่ ๓ ขนเจียมแดงเป็นส่วนที่ ๔ ถ้าเธอไม่เอาขนเจียมดำล้วน
๒ ส่วน ขนเจียมขาวเป็นส่วนที่ ๓ ขนเจียมแดงเป็นส่วนที่ ๔ แล้วให้ทำสันถัต
ใหม่ ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ

สิกขาบทวิภังค์
[๕๕๔] ที่ชื่อว่า ใหม่ พระองค์ตรัสมุ่งเอาการกระทำ
ที่ชื่อว่า สันถัต ได้แก่ ผ้ารองนั่งที่หล่อ ไม่ใช่ทอ
คำว่า ผู้ใช้ให้ทำ คือ ผู้ทำเองหรือใช้ให้ทำ
คำว่า เอาขนเจียมดำล้วน ๒ ส่วน ความว่า ชั่งแล้วเอาขนเจียมดำล้วน ๒ ชั่ง
คำว่า ขนเจียมขาวเป็นส่วนที่ ๓ คือ ขนเจียมขาว ๑ ชั่ง
คำว่า ขนเจียมแดงเป็นส่วนที่ ๔ คือ ขนเจียมแดง ๑ ชั่ง
คำว่า ถ้าเธอไม่เอาขนเจียมดำล้วน ๒ ส่วน ขนเจียมขาวเป็นส่วนที่ ๓ ขน
เจียมแดงเป็นส่วนที่ ๔ ความว่า ไม่เอาขนเจียมดำล้วน ๒ ชั่ง ขนเจียมขาว ๑ ชั่ง
ขนเจียมแดง ๑ ชั่ง ทำเองหรือใช้ให้ทำสันถัตใหม่ ต้องอาบัติทุกกฏเพราะพยายาม
สันถัตเป็นนิสสัคคีย์เพราะได้มา คือเป็นของจำต้องสละแก่สงฆ์ แก่คณะหรือแก่บุคคล
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงสละสันถัตที่เป็นนิสสัคคีย์อย่างนี้

วิธีสละสันถัตที่เป็นนิสสัคคีย์
สละแก่สงฆ์
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง กราบเท้าภิกษุ
ผู้แก่พรรษา นั่งกระโหย่งประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านผู้เจริญ สันถัตผืนนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๘๐ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๒.โกสิยวรรค ๓.เทฺวภาคสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์
กระผมไม่ได้เอาขนเจียมดำล้วน ๒ ชั่ง ขนเจียมขาว ๑ ชั่ง ขนเจียมแดง ๑ ชั่ง ใช้ให้
ทำ เป็นนิสสัคคีย์ กระผมสละสันถัตผืนนี้แก่สงฆ์” ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ
ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงรับอาบัติ พึงคืนสันถัตที่เธอสละให้ด้วยญัตติกรรมวาจา
ว่า “ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า สันถัตผืนนี้ของภิกษุชื่อนี้เป็นนิสสัคคีย์ เธอ
สละแก่สงฆ์ถ้าสงฆ์พร้อมกันแล้วก็พึงให้สันถัตผืนนี้แก่ภิกษุชื่อนี้”

สละแก่คณะ
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุหลายรูป ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง กราบ
เท้าภิกษุผู้แก่พรรษา นั่งกระโหย่งประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านผู้เจริญ สันถัต
ผืนนี้กระผมไม่ได้เอาขนเจียมดำล้วน ๒ ชั่ง ขนเจียมขาว ๑ ชั่ง ขนเจียมแดง ๑ ชั่ง
ใช้ให้ทำ เป็นนิสสัคคีย์ กระผมสละสันถัตผืนนี้แก่ท่านทั้งหลาย” ครั้นสละแล้ว
พึงแสดงอาบัติ
ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงรับอาบัติ พึงคืนสันถัตที่เธอสละให้ด้วยกล่าวว่า “ท่าน
ทั้งหลายจงฟังข้าพเจ้า สันถัตผืนนี้ของภิกษุชื่อนี้เป็นนิสสัคคีย์ เธอสละแก่ท่าน
ทั้งหลาย ถ้าท่านทั้งหลายพร้อมกันแล้วก็พึงให้สันถัตผืนนี้แก่ภิกษุชื่อนี้”

สละแก่บุคคล
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุรูปหนึ่ง ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง นั่ง
กระโหย่งประนมมือ กล่าวว่า “ท่านขอรับ สันถัตผืนนี้กระผมไม่ได้เอาขนเจียมดำ
ล้วน ๒ ชั่ง ขนเจียมขาว ๑ ชั่ง ขนเจียมแดง ๑ ชั่ง ใช้ให้ทำ เป็นนิสสัคคีย์
กระผมสละสันถัตผืนนี้แก่ท่าน” ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ
ภิกษุผู้รับสละนั้นพึงรับอาบัติแล้วคืนสันถัตที่เธอสละให้ด้วยกล่าวว่า “กระผม
คืนสันถัตผืนนี้ให้แก่ท่าน”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๘๑ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๒.โกสิยวรรค ๓.เทฺวภาคสิกขาบท อนาปัตติวาร
บทภาชนีย์
นิสสัคคิยปาจิตตีย์
[๕๕๕] ภิกษุทำสันถัตที่ตนทำค้างไว้จนสำเร็จด้วยตนเอง ต้องอาบัตินิสสัคคิย
ปาจิตตีย์
ภิกษุใช้ผู้อื่นให้ทำสันถัตที่ตนทำค้างไว้จนสำเร็จ ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
ภิกษุทำสันถัตที่ผู้อื่นทำค้างไว้จนสำเร็จ ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
ภิกษุใช้ผู้อื่นให้ทำสันถัตที่ผู้อื่นทำค้างไว้จนสำเร็จ ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์

ทุกทุกกฏ
ภิกษุทำเองหรือใช้ผู้อื่นให้ทำ เพื่อประโยชน์แก่ผู้อื่น ต้องอาบัติทุกกฏ
ภิกษุได้สันถัตที่ผู้อื่นทำไว้ ใช้สอย ต้องอาบัติทุกกฏ

อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[๕๕๖] ๑. ภิกษุเอาขนเจียมขาว ๑ ชั่ง ขนเจียมแดง ๑ ชั่ง ปนแล้วทำ
๒. ภิกษุเอาขนเจียมขาวมากกว่า ขนเจียมแดงมากกว่า ปนแล้วทำ
๓. ภิกษุเอาขนเจียมขาวล้วน ขนเจียมแดงล้วน ปนแล้วทำ
๔. ภิกษุทำเป็นเพดาน เครื่องลาดพื้น ม่าน เปลือกฟูก หรือ
ปลอกหมอน
๕. ภิกษุวิกลจริต
๖. ภิกษุต้นบัญญัติ

เทฺวภาคสิกขาบทที่ ๓ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๘๒ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๒.โกสิยวรรค ๔.ฉัพพัสสสิกขาบท นิทานวัตถุ
๒. โกสิยวรรค

๔. ฉัพพัสสสิกขาบท
ว่าด้วยการเก็บสันถัตไว้ ๖ ปี

เรื่องภิกษุหลายรูป
[๕๕๗] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุทั้งหลายใช้ให้ทำสันถัตทุก ๆ
ปี ภิกษุเหล่านั้นเป็นผู้มากไปด้วยการขอว่า “ท่านทั้งหลายจงให้ขนเจียม พวก
อาตมาต้องการขนเจียม”
พวกชาวบ้านพากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพระสมณะเชื้อสาย
ศากยบุตรจึงใช้ให้ทำสันถัตทุก ๆ ปี เป็นผู้มากไปด้วยการขอ เป็นผู้มากไปด้วยการ
ออกปากขอด้วยกล่าวว่า ‘ท่านทั้งหลายจงให้ขนเจียม พวกอาตมาต้องการขนเจียม’
ดังนี้เล่า สันถัตของพวกเราที่ทำครั้งเดียว ถูกเด็กถ่ายอุจจาระรดบ้าง ปัสสาวะรด
บ้าง หนูกัดเสียบ้าง ก็ยังใช้สอยได้ถึง ๕ ปีบ้าง ๖ ปีบ้าง แต่ภิกษุเหล่านี้ใช้ให้ทำ
สันถัตทุก ๆ ปี เป็นผู้มากไปด้วยการขอ เป็นผู้มากไปด้วยการออกปากขอด้วยกล่าว
ว่า ‘ท่านทั้งหลายจงให้ขนเจียม พวกอาตมาต้องการขนเจียม”
ภิกษุทั้งหลายได้ยินพวกชาวบ้านตำหนิ ประณาม โพนทะนา บรรดาภิกษุผู้
มักน้อย ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนภิกษุทั้งหลายจึงใช้ให้
ทำสันถัตทุก ๆ ปี เป็นผู้มากไปด้วยการขอ เป็นผู้มากไปด้วยการออกปากขอด้วย
กล่าวว่า ‘ท่านทั้งหลายจงให้ขนเจียม พวกอาตมาต้องการขนเจียม’ ดังนี้เล่า” ครั้น
ภิกษุทั้งหลายตำหนิภิกษุเหล่านั้นโดยประการต่าง ๆ แล้วจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูล
พระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ

ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามภิกษุเหล่านั้นว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า พวกเธอใช้ให้ทำสันถัตทุก ๆ ปี


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๘๓ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๒.โกสิยวรรค ๔.ฉัพพัสสสิกขาบท พระบัญญัติ
เป็นผู้มากไปด้วยการขอ เป็นผู้มากไปด้วยการออกปากขอด้วยกล่าวว่า ‘ท่าน
ทั้งหลายจงให้ขนเจียม พวกอาตมาต้องการขนเจียม’ ดังนี้ จริงหรือ” ภิกษุเหล่านั้น
ทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคพระพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย ไฉนโมฆบุรุษเหล่านั้นจึงใช้ให้ทำสันถัตทุก ๆ ปี เป็นผู้มากไปด้วยการ
ขอ เป็นผู้มากไปด้วยการออกปากขอด้วยกล่าวว่า ‘ท่านทั้งหลายจงให้ขนเจียม พวก
อาตมาต้องการขนเจียม’ ดังนี้เล่า ภิกษุทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยัง
ไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ”
แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้

พระบัญญัติ
[๕๕๘] ก็ ภิกษุใช้ให้ทำสันถัตใหม่แล้วพึงใช้สอยให้ได้ ๖ ปี ถ้าต่ำกว่า
๖ ปี เธอจะสละหรือไม่สละสันถัตนั้นก็ตาม ใช้ให้ทำสันถัตอื่นใหม่ ต้องอาบัติ
นิสสัคคิยปาจิตตีย์
สิกขาบทนี้พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติไว้แก่ภิกษุทั้งหลายอย่างนี้
เรื่องภิกษุหลายรูป จบ

เรื่องภิกษุเป็นไข้
[๕๕๙] สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งเป็นไข้อยู่กรุงโกสัมพี พวกญาติส่งทูตไปสำนัก
ของภิกษุนั้น ให้แจ้งข่าวว่า “นิมนต์พระคุณท่านมาเถิด พวกเราจักอุปัฏฐาก” ภิกษุ
ทั้งหลายกล่าวอย่างนี้ว่า “ไปเถิด ท่าน พวกญาติจะอุปัฏฐากท่านเอง”
ภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติสิกขาบท
ไว้ว่า ‘ภิกษุใช้ให้ทำสันถัตใหม่แล้วพึงใช้สอยให้ได้ ๖ ปี’ กระผมก็เป็นไข้อยู่ ไม่
สามารถนำสันถัตไปได้ ถ้าขาดสันถัตเสียแล้วกระผมจะไม่ผาสุก กระผมจะไม่ไป”
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๘๔ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๒.โกสิยวรรค ๔.ฉัพพัสสสิกขาบท พระอนุบัญญัติ
ทรงอนุญาตให้สมมติสันถัต
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมีกถาเพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ รับสั่ง
กับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้สมมติสันถัตเพื่อภิกษุผู้เป็นไข้
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงให้สมมติสันถัตอย่างนี้”

วิธีสมมติสันถัต
ภิกษุผู้เป็นไข้รูปนั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง กราบ
เท้าภิกษุผู้แก่พรรษา นั่งกระโหย่งประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า ‘ท่านผู้เจริญ กระผม
เป็นไข้ไม่สามารถนำสันถัตติดตัวไปได้ กระผมขอสมมติสันถัตกะสงฆ์’ พึงขอสมมติ
สันถัตแม้ครั้งที่ ๒ พึงขอสมมติสันถัตแม้ครั้งที่ ๓
ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติทุติยกรรมวาจาว่า
[๕๖๐] ‘ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุชื่อนี้เป็นไข้ไม่สามารถนำ
สันถัตติดตัวไปได้ ภิกษุนั้นขอสมมติสันถัตจากสงฆ์ ถ้าสงฆ์พร้อมแล้วก็พึงให้
สมมติสันถัตแก่ภิกษุชื่อนี้ นี่เป็นญัตติ
ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุชื่อนี้เป็นไข้ไม่สามารถนำสันถัตติดตัวไป
ได้ ภิกษุนั้นขอสมมติสันถัตจากสงฆ์ ถ้าสงฆ์พร้อมแล้วก็พึงให้สมมติสันถัตแก่ภิกษุ
ชื่อนี้ ท่านรูปใดเห็นด้วยกับการให้สมมติสันถัตแก่ภิกษุชื่อนี้ ท่านรูปนั้นพึงนิ่ง ท่าน
รูปใดไม่เห็นด้วย ท่านรูปนั้นพึงทักท้วง
การสมมติสันถัตสงฆ์ให้แล้วแก่ภิกษุชื่อนี้ สงฆ์เห็นด้วย เพราะฉะนั้นจึงนิ่ง
ข้าพเจ้าจะขอถือความนิ่งนั้นเป็นมติอย่างนี้”
แล้วรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้

พระอนุบัญญัติ
[๕๖๑] อนึ่ง ภิกษุใช้ให้ทำสันถัตใหม่แล้วพึงใช้สอยให้ได้ ๖ ปี ถ้าต่ำกว่า
๖ ปี เธอจะสละหรือไม่สละสันถัตนั้นก็ตาม ใช้ให้ทำสันถัตอื่นใหม่ ต้องอาบัติ
นิสสัคคิยปาจิตตีย์ เว้นไว้แต่ภิกษุผู้ได้สมมติ

เรื่องภิกษุเป็นไข้ จบ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๘๕ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๒.โกสิยวรรค ๔.ฉัพพัสสสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์
สิกขาบทวิภังค์
[๕๖๒] ที่ชื่อว่า ใหม่ พระองค์ตรัสมุ่งเอาการกระทำ
ที่ชื่อว่า สันถัต ได้แก่ ผ้ารองนั่งที่หล่อ ไม่ใช่ทอ
คำว่า ใช้ให้ทำแล้ว คือ ทำเองหรือใช้ให้ทำแล้ว
คำว่า พึงใช้สอยให้ได้ ๖ ปี คือ พึงใช้สอยให้ได้ ๖ ปีเป็นอย่างน้อย
คำว่า ถ้าต่ำกว่า ๖ ปี คือ หย่อนกว่า ๖ ปี
คำว่า สละสันถัตนั้น คือ ให้แก่ผู้อื่น
คำว่า ไม่สละ คือ ยังไม่ให้แก่ผู้อื่น
คำว่า เว้นไว้แต่ภิกษุผู้ได้สมมติ คือ ยกเว้นภิกษุผู้ได้รับสมมติ
ภิกษุทำเองหรือใช้ให้ทำสันถัตใหม่ ต้องอาบัติทุกกฏเพราะพยายาม สันถัต
เป็นนิสสัคคีย์เพราะได้มา คือเป็นของจำต้องสละแก่สงฆ์ แก่คณะหรือแก่บุคคล
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงสละสันถัตที่เป็นนิสสัคคีย์อย่างนี้

วิธีสละสันถัตที่เป็นนิสสัคคีย์
สละแก่สงฆ์
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง กราบเท้าภิกษุผู้
แก่พรรษา นั่งกระโหย่งประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านผู้เจริญ สันถัตผืนนี้ของ
กระผมใช้ให้ทำ หย่อนกว่า ๖ ปี เป็นนิสสัคคีย์ เว้นไว้แต่ภิกษุได้สมมติ กระผมสละ
สันถัตผืนนี้แก่สงฆ์” ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ
ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงรับอาบัติ พึงคืนสันถัตที่เธอสละให้ด้วยญัตติกรรมวาจา
ว่า “ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า สันถัตผืนนี้ของภิกษุชื่อนี้เป็นนิสสัคคีย์ เธอ
สละแก่สงฆ์ ถ้าสงฆ์พร้อมกันแล้วก็พึงให้สันถัตผืนนี้แก่ภิกษุชื่อนี้”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๘๖ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๒.โกสิยวรรค ๔.ฉัพพัสสสิกขาบท บทภาชนีย์
สละแก่คณะ
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุหลายรูป ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง กราบ
เท้าภิกษุผู้แก่พรรษา นั่งกระโหย่งประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านผู้เจริญ สันถัต
ผืนนี้กระผมใช้ให้ทำ หย่อนกว่า ๖ ปี เป็นนิสสัคคีย์ เว้นไว้แต่ภิกษุได้สมมติ กระผม
สละสันถัตผืนนี้แก่ท่านทั้งหลาย” ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ
ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงรับอาบัติ พึงคืนสันถัตที่เธอสละให้ด้วยกล่าวว่า “ท่าน
ทั้งหลายจงฟังข้าพเจ้า สันถัตผืนนี้ของภิกษุชื่อนี้เป็นนิสสัคคีย์ เธอสละแก่ท่าน
ทั้งหลาย ถ้าท่านทั้งหลายพร้อมกันแล้วก็พึงให้สันถัตผืนนี้แก่ภิกษุชื่อนี้”

สละแก่บุคคล
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุรูปหนึ่ง ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง นั่ง
กระโหย่งประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านขอรับ สันถัตผืนนี้กระผมใช้ให้ทำ หย่อน
กว่า ๖ ปี เป็นนิสสัคคีย์ เว้นไว้แต่ภิกษุได้สมมติ กระผมสละสันถัตผืนนี้แก่ท่าน”
ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ
ภิกษุผู้รับสละนั้นพึงรับอาบัติแล้วคืนสันถัตที่เธอสละให้ด้วยกล่าวว่า “กระผม
คืนสันถัตผืนนี้ให้แก่ท่าน”

บทภาชนีย์
นิสสัคคิยปาจิตตีย์
[๕๖๓] ภิกษุทำสันถัตที่ตนทำค้างไว้จนสำเร็จด้วยตนเอง ต้องอาบัตินิสสัคคิย
ปาจิตตีย์
ภิกษุใช้ผู้อื่นให้ทำสันถัตที่ตนทำค้างไว้จนสำเร็จ ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
ภิกษุทำสันถัตที่ผู้อื่นทำค้างไว้จนสำเร็จ ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
ภิกษุใช้ผู้อื่นให้ทำสันถัตที่ผู้อื่นทำค้างไว้จนสำเร็จ ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๘๗ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๒.โกสิยวรรค ๔.ฉัพพัสสสิกขาบท อนาปัตติวาร
อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[๕๖๔] ๑. ภิกษุทำใหม่ เมื่อใช้ครบ ๖ ปี
๒. ภิกษุทำใหม่ เมื่อใช้เกิน ๖ ปี
๓. ภิกษุทำเองหรือใช้ให้ทำเพื่อประโยชน์แก่ผู้อื่น
๔. ภิกษุได้สันถัตที่ผู้อื่นทำไว้มาใช้สอย
๕. ภิกษุทำเป็นเพดาน เครื่องลาดพื้น ม่าน เปลือกฟูก หรือ
ปลอกหมอน
๖. ภิกษุผู้ได้สมมติ
๗. ภิกษุวิกลจริต
๘. ภิกษุต้นบัญญัติ

ฉัพพัสสสิกขาบทที่ ๔ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๘๘ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๒.โกสิยวรรค ๕.นิสีทนสันถตสิกขาบท นิทานวัตถุ
๒. โกสิยวรรค

๕. นิสีทนสันถตสิกขาบท
ว่าด้วยการทำสันถัตสำหรับรองนั่ง

เรื่องพระอุปเสนวังคันตบุตร
[๕๖๕] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุ
ทั้งหลาย เราปรารถนาจะหลีกเร้นอยู่ผู้เดียวตลอดไตรมาส ใคร ๆ อย่าเข้าไปหาเรา
ยกเว้นภิกษุผู้นำภัตตาหารเข้าไปให้รูปเดียว”
ภิกษุทั้งหลายรับสนองพระพุทธดำรัสว่า “ได้ พระพุทธเจ้าข้า” ไม่มีใครเข้าไป
เฝ้าพระผู้มีพระภาคเลย นอกจากภิกษุผู้นำภัตตาหารเข้าไปถวายเพียงรูปเดียว
สมัยนั้น สงฆ์ในกรุงสาวัตถีตั้งกติกากันว่า “พระผู้มีพระภาคมีพระประสงค์
เสด็จหลีกเร้นอยู่ตลอดไตรมาส ใคร ๆ อย่าเข้าไปเฝ้าพระองค์ ยกเว้นภิกษุผู้นำ
ภัตตาหารเข้าไปถวายรูปเดียว ภิกษุรูปใดเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค พึงให้ภิกษุรูป
นั้นแสดงอาบัติปาจิตตีย์”
ต่อมา ท่านพระอุปเสนวังคันตบุตรพร้อมด้วยบริษัทเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค
ถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร

พุทธประเพณี
อันการที่พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทั้งหลายทรงปราศรัยกับพระอาคันตุกะทั้งหลาย
นั่นเป็นพุทธประเพณี
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสถามท่านพระอุปเสนวังคันตบุตรว่า “อุปเสนะ
เธอทั้งหลายยังสบายดีหรือ ยังพอเป็นอยู่ได้หรือ เดินทางมาโดยไม่ลำบากหรือ”
ท่านพระอุปเสนวังคันตบุตรกราบทูลว่า “สบายดี พระพุทธเจ้าข้า พอเป็นอยู่ได้
พระพุทธเจ้าข้า ข้าพระพุทธเจ้าเดินทางมาโดยไม่ลำบาก พระพุทธเจ้าข้า”


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๘๙ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๒.โกสิยวรรค ๕.นิสีทนสันถตสิกขาบท นิทานวัตถุ
ขณะนั้น ภิกษุสัทธิวิหาริกของท่านพระอุปเสนวังคันตบุตรนั่งอยู่ไม่ห่าง พระ
ผู้มีพระภาคตรัสถามภิกษุนั้นว่า “ภิกษุ ผ้าบังสุกุลของเธอน่าพอใจหรือ”
ภิกษุนั้นกราบทูลว่า “ผ้าบังสุกุลของข้าพระพุทธเจ้าไม่น่าพอใจ พระพุทธ
เจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “ภิกษุ แล้วทำไมเธอทรงผ้าบังสุกุลเล่า”
ภิกษุนั้นกราบทูลว่า “พระอุปัชฌาย์ของข้าพระพุทธเจ้าเป็นผู้ทรงผ้าบังสุกุล
แม้ข้าพระพุทธเจ้าก็ต้องเป็นผู้ทรงผ้าบังสุกุลตาม พระพุทธเจ้าข้า”
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสถามท่านพระอุปเสนวังคันตบุตรว่า “อุปเสนะ
บริษัทนี้ของเธอน่าเลื่อมใส เธอแนะนำบริษัทอย่างไร”
ท่านพระอุปเสนวังคันตบุตรกราบทูลว่า “ข้าพระพุทธเจ้าบอกผู้มาขออุปสมบท
กับข้าพระพุทธเจ้าว่า ‘ฉันถืออยู่ป่าเป็นวัตร ถือเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร ถือทรงผ้า
บังสุกุลเป็นวัตร ถ้าเธอจักถืออยู่ป่าเป็นวัตร ถือเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร ถือทรงผ้า
บังสุกุลเป็นวัตร ฉันก็จะให้เธออุปสมบท’ ถ้าเขารับคำของข้าพระพุทธเจ้า ข้า
พระพุทธเจ้าก็ให้อุปสมบท ถ้าไม่รับคำ ก็จะไม่ให้อุปสมบท ข้าพระพุทธเจ้าบอก
ภิกษุที่มาขอนิสัยว่า ‘ฉันถืออยู่ป่าเป็นวัตร ถือเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร ถือทรงผ้า
บังสุกุลเป็นวัตร ถ้าท่านจักถืออยู่ป่าเป็นวัตร ถือเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร ถือทรงผ้า
บังสุกุลเป็นวัตรบ้าง ฉันก็จะให้นิสัยแก่ท่าน’ ถ้าภิกษุนั้นรับคำของข้าพระพุทธเจ้า
ข้าพระพุทธเจ้าก็จะให้นิสัย ถ้าไม่รับคำ ก็จะไม่ให้นิสัย ข้าพระพุทธเจ้าแนะนำบริษัท
อย่างนี้ พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อุปเสนะ ดีแล้ว ๆ อุปเสนะ เธอแนะนำบริษัทดีแล้ว
เธอรู้กติกาสงฆ์ในกรุงสาวัตถีหรือ”
ท่านพระอุปเสนวังคันตบุตรกราบทูลว่า “ข้าพระพุทธเจ้าไม่รู้กติกาของสงฆ์ใน
กรุงสาวัตถี พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “สงฆ์ในกรุงสาวัตถีตั้งกติกากันว่า พระผู้มีพระภาคมี
พระประสงค์จะเสด็จหลีกเร้นอยู่ตลอดไตรมาส ใคร ๆ อย่าเข้าไปเฝ้าพระองค์ ยก
เว้นภิกษุผู้นำภัตตาหารเข้าไปถวายรูปเดียว ภิกษุรูปใดเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค
พึงให้ภิกษุรูปนั้นแสดงอาบัติปาจิตตีย์”

 


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๙๐ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๒.โกสิยวรรค ๕.นิสีทนสันถตสิกขาบท นิทานวัตถุ
ท่านพระอุปเสนวังคันตบุตรกราบทูลว่า “สงฆ์ในกรุงสาวัตถีจะเปิดเผยตนเอง
ออกมาด้วยกติกาของตน ข้าพระพุทธเจ้าจะไม่บัญญัติสิ่งที่พระองค์ไม่ได้ทรงบัญญัติ
ไว้ และไม่เพิกถอนสิ่งที่ทรงบัญญัติไว้แล้ว จะสมาทานประพฤติในสิกขาบทตามที่
ทรงบัญญัติไว้”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อุปเสนะ ดีแล้ว ๆ สงฆ์ไม่บัญญัติสิ่งที่เราไม่ได้บัญญัติ
และไม่พึงเพิกถอนสิ่งที่เราบัญญัติไว้ พึงสมาทานประพฤติในสิกขาบทตามที่เรา
บัญญัติไว้ อุปเสนะ เราอนุญาตให้ภิกษุผู้ถืออยู่ป่าเป็นวัตร ถือบิณฑบาตเป็นวัตร
ถือทรงผ้าบังสุกุลเป็นวัตร เข้ามาเยี่ยมเราได้ตามสะดวก”
[๕๖๖] สมัยนั้น ภิกษุหลายรูปยืนรออยู่นอกซุ้มประตู เพราะตั้งใจว่า “พวก
เราจะให้ท่านพระอุปเสนวังคันตบุตรแสดงอาบัติปาจิตตีย์” ครั้นท่านพระอุปเสน
วังคันตบุตรพร้อมกับบริษัทลุกขึ้นจากอาสนะ ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาค ทำประ
ทักษิณจากไป ภิกษุเหล่านั้นได้กล่าวกับท่านพระอุปเสนวังคันตบุตรว่า “ท่านทราบ
กติกาของสงฆ์ในกรุงสาวัตถีหรือ” ท่านพระอุปเสนวังคันตบุตรตอบว่า “แม้พระผู้มี
พระภาคก็ตรัสเช่นนี้กับผมอย่างนี้เหมือนกันว่า ‘อุปเสนะ เธอรู้กติกาของสงฆ์ในกรุง
สาวัตถีหรือ’ ผมก็ทูลตอบว่า ‘ข้าพระพุทธเจ้าไม่ทราบกติกาสงฆ์ในกรุงสาวัตถี
พระพุทธเจ้าข้า’ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ‘อุปเสนะ ก็กติกาที่สงฆ์ในกรุงสาวัตถีทำไว้ว่า
‘พระผู้มีพระภาคทรงประสงค์จะเสด็จหลีกเร้นอยู่พระองค์เดียวตลอดไตรมาส ใคร ๆ
อย่าเข้าไปเฝ้าพระองค์ ยกเว้นภิกษุผู้นำภัตตาหารไปถวาย ภิกษุใดเข้าไปเฝ้าพระผู้มี
พระภาค พึงให้ภิกษุรูปนั้นแสดงอาบัติปาจิตตีย์’ ผมก็กราบทูลว่า ‘พระสงฆ์ในกรุง
สาวัตถีจะเปิดเผยตนเองออกมาด้วยกติกาของตน ข้าพระพุทธเจ้าจะไม่บัญญัติสิ่งที่
พระพุทธองค์มิได้ทรงบัญญัติ และจะไม่ถอนสิ่งที่พระพุทธองค์ทรงบัญญัติไว้แล้ว จะ
สมาทานประพฤติในสิกขาบทที่พระพุทธองค์ทรงบัญญัติไว้แล้ว ดังนี้’ ท่านทั้งหลาย
พระผู้มีพระภาคทรงอนุญาตไว้แล้วว่า ‘ภิกษุผู้ถืออยู่ป่าเป็นวัตร ถือบิณฑบาตเป็น
วัตร ถือทรงผ้าบังสุกุลเป็นวัตร เข้าเยี่ยมเราได้ตามสะดวก”
ครั้งนั้น ภิกษุเหล่านั้นกล่าวว่า “ท่านพระอุปเสนวังคันตบุตรกล่าวจริง พระ
สงฆ์ไม่ควรบัญญัติสิ่งที่พระพุทธเจ้ายังไม่ได้ทรงบัญญัติไว้ ไม่ควรเพิกถอนสิ่งที่
พระองค์ทรงบัญญัติไว้ พึงสมาทานประพฤติในสิกขาบทที่พระพุทธองค์ทรงบัญญัติไว้”


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๙๑ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๒.โกสิยวรรค ๕.นิสีทนสันถตสิกขาบท นิทานวัตถุ
ภิกษุทั้งหลายพอทราบข่าวว่า “พระผู้มีพระภาคทรงอนุญาตให้ภิกษุผู้ถืออยู่
ป่าเป็นวัตร ถือบิณฑบาตเป็นวัตร ถือทรงผ้าบังสุกุลเป็นวัตร เข้าเฝ้าได้ตามสะดวก”
จึงปรารถนาเข้าเฝ้า ได้ละทิ้งสันถัตพากันสมาทานอารัญญิกธุดงค์ ปิณฑปาติกธุดงค์
และบังสุกูลิกธุดงค์๑
ต่อมา พระผู้มีพระภาคพร้อมภิกษุจำนวนมากเสด็จประพาสตามเสนาสนะ
ทอดพระเนตรเห็นสันถัตถูกทอดทิ้งไว้ในที่นั้น ๆ รับสั่งกับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุ
ทั้งหลาย สันถัตที่ถูกทอดทิ้งไว้ในที่นั้น ๆ เป็นของใคร” ภิกษุเหล่านั้นได้กราบทูล
เรื่องนั้นให้พระผู้มีพระภาคทรงทราบ

ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมีกถาเพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ รับสั่ง
กับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้น เราจะบัญญัติสิกขาบทแก่ภิกษุ
ทั้งหลายโดยอาศัยอำนาจประโยชน์ ๑๐ ประการ คือ
๑. เพื่อความรับว่าดีแห่งสงฆ์
๒. เพื่อความผาสุกแห่งสงฆ์
๓. เพื่อข่มบุคคลผู้เก้อยาก
๔. เพื่อความอยู่ผาสุกแห่งเหล่าภิกษุผู้มีศีลดีงาม
๕. เพื่อปิดกั้นอาสวะทั้งหลายอันจะบังเกิดในปัจจุบัน
๖. เพื่อกำจัดอาสวะทั้งหลายอันจะบังเกิดในอนาคต
๗. เพื่อความเลื่อมใสของคนที่ยังไม่เลื่อมใส
๘. เพื่อความเลื่อมใสยิ่งขึ้นไปของคนที่เลื่อมใสแล้ว
๙. เพื่อความตั้งมั่นแห่งสัทธรรม
๑๐. เพื่อเอื้อเฟื้อวินัย”
แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้

เชิงอรรถ :
๑ “อารัญญิกธุดงค์” คือข้อปฏิบัติขัดเกลากิเลสของผู้ถืออยู่ในป่า ห่างจากหมู่บ้านอย่างน้อย ๕๐๐ ชั่วธนู
คือประมาณ ๒๕ เส้น (ดูข้อ ๖๕๔ หน้า ๑๗๔) “บิณฑปาติกธุดงค์” ถือบิณฑบาตเป็นวัตร ไม่รับนิมนต์
“ปังสุกุลิกธุดงค์” ถือผ้าบังสุกุลเป็นวัตร ไม่รับถวายจีวร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๙๒ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๒.โกสิยวรรค ๕.นิสีทนสันถตสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์
พระบัญญัติ
[๕๖๗] ก็ ภิกษุผู้ใช้ให้ทำสันถัตรองนั่ง พึงเอาสันถัตเก่า ๑ คืบสุคตโดย
รอบมาปนเพื่อทำให้เสียสี ถ้าไม่เอาสันถัตเก่า ๑ คืบสุคตโดยรอบมาปนใช้ให้
ทำสันถัตรองนั่งใหม่ ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
เรื่องพระอุปเสนวังคันตบุตร จบ

สิกขาบทวิภังค์
[๕๖๘] ที่ชื่อว่า รองนั่ง พระองค์ตรัสมุ่งเอาผ้ามีชาย
ที่ชื่อว่า สันถัต ได้แก่ ผ้ารองนั่งที่หล่อ ไม่ใช่ทอ
คำว่า ผู้ใช้ให้ทำ คือ ทำเองหรือใช้ให้ทำ
ที่ชื่อว่า สันถัตเก่า คือ ที่ใช้ปูนั่งบ้าง ใช้ปูนอนบ้าง แม้คราวเดียว
คำว่า พึงเอาสันถัตเก่า ๑ คืบสุคตโดยรอบมาปนเพื่อทำให้เสียสี คือ ตัด
เป็นรูปทรงกลม หรือรูปสี่เหลี่ยม แล้วจึงลาดในส่วนหนึ่ง หรือสางออกแล้วจึงลาด
เพื่อความคงทน
คำว่า ถ้าไม่เอาสันถัตเก่า ๑ คืบสุคตโดยรอบมาปน ความว่า ไม่ถือเอา
สันถัตเก่า ๑ คืบสุคตโดยรอบ ทำเองหรือใช้ให้ผู้อื่นทำสันถัตรองนั่งใหม่ ต้องอาบัติ
ทุกกฏเพราะพยายาม สันถัตเป็นนิสสัคคีย์เพราะได้มา คือเป็นของจำต้องสละ
แก่สงฆ์ แก่คณะหรือแก่บุคคล
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงสละสันถัตที่เป็นนิสสัคคีย์อย่างนี้

วิธีสละสันถัตที่เป็นนิสสัคคีย์
สละแก่สงฆ์
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง กราบเท้าภิกษุ
ผู้แก่พรรษา นั่งกระโหย่งประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านผู้เจริญ สันถัตรองนั่งผืนนี้


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๙๓ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๒.โกสิยวรรค ๕.นิสีทนสันถตสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์
กระผมไม่ได้เอาสันถัตเก่า ๑ คืบสุคตโดยรอบมาปน ใช้ให้ทำ เป็นนิสสัคคีย์ กระผม
สละสันถัตผืนนี้แก่สงฆ์” ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ
ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงรับอาบัติ พึงคืนสันถัตที่เธอสละให้ด้วยญัตติกรรม
วาจาว่า “ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า สันถัตผืนนี้ของภิกษุชื่อนี้เป็นนิสสัคคีย์
เธอสละแก่สงฆ์ ถ้าสงฆ์พร้อมกันแล้วก็พึงให้สันถัตผืนนี้แก่ภิกษุชื่อนี้”

สละแก่คณะ
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุหลายรูป ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง กราบ
เท้าภิกษุผู้แก่พรรษา นั่งกระโหย่งประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านผู้เจริญ สันถัตรอง
นั่งผืนนี้กระผมไม่ได้เอาสันถัตเก่า ๑ คืบสุคตโดยรอบมาปน ใช้ให้ทำ เป็นนิสสัคคีย์
กระผมสละสันถัตผืนนี้แก่ท่านทั้งหลาย” ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ
ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงรับอาบัติ พึงคืนสันถัตที่เธอสละให้ด้วยกล่าวว่า “ท่าน
ทั้งหลายจงฟังข้าพเจ้า สันถัตผืนนี้ของภิกษุชื่อนี้เป็นนิสสัคคีย์ เธอสละแก่ท่าน
ทั้งหลาย ถ้าท่านทั้งหลายพร้อมกันแล้วก็พึงให้สันถัตผืนนี้แก่ภิกษุชื่อนี้”

สละแก่บุคคล
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุรูปหนึ่ง ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง นั่ง
กระโหย่งประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านขอรับ สันถัตรองนั่งผืนนี้กระผมไม่ได้เอา
สันถัตเก่า ๑ คืบสุคตโดยรอบมาปน ใช้ให้ทำ เป็นนิสสัคคีย์ กระผมสละสันถัตผืนนี้
แก่ท่าน” ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ
ภิกษุผู้รับสละนั้นพึงรับอาบัติแล้วคืนสันถัตที่เธอสละให้ด้วยกล่าวว่า “กระผม
คืนสันถัตผืนนี้ให้แก่ท่าน”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๙๔ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๒.โกสิยวรรค ๕.นิสีทนสันถตสิกขาบท อนาปัตติวาร
บทภาชนีย์
นิสสัคคิยปาจิตตีย์
[๕๖๙] ภิกษุทำสันถัตที่ตนทำค้างไว้จนสำเร็จด้วยตนเอง ต้องอาบัติ
นิสสัคคิยปาจิตตีย์
ภิกษุใช้ผู้อื่นให้ทำสันถัตที่ตนทำค้างไว้จนสำเร็จ ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
ภิกษุทำสันถัตที่ผู้อื่นทำค้างไว้จนสำเร็จด้วยตนเอง ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
ภิกษุใช้ผู้อื่นให้ทำสันถัตที่ผู้อื่นทำค้างไว้จนสำเร็จ ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์

ทุกกฏ
ภิกษุทำเองหรือใช้ผู้อื่นให้ทำ เพื่อประโยชน์แก่ผู้อื่น ต้องอาบัติทุกกฏ

อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[๕๗๐] ๑. ภิกษุเอาสันถัตเก่า ๑ คืบสุคตโดยรอบมาทำ
๒. ภิกษุหาสันถัตเก่าไม่ได้จึงเอาแต่น้อยมาทำ
๓. ภิกษุหาสันถัตเก่าไม่ได้เลยไม่เอามาทำ
๔. ภิกษุได้สันถัตที่ผู้อื่นทำไว้มาใช้สอย
๕. ภิกษุทำเป็นเพดาน เครื่องลาดพื้น ม่าน เปลือกฟูก หรือ
ปลอกหมอน
๖. ภิกษุวิกลจริต
๗. ภิกษุต้นบัญญัติ

นิสีทนสันถตสิกขาบทที่ ๕ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๙๕ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๒.โกสิยวรรค ๖.เอฬกโลมสิกขาบท นิทานวัตถุ
๒. โกสิยวรรค

๖. เอฬกโลมสิกขาบท
ว่าด้วยการรับขนเจียม๑

เรื่องภิกษุรูปใดรูปหนึ่งรับขนเจียมระหว่างทาง
[๕๗๑] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุรูปหนึ่งเดินทางไปกรุงสาวัตถี
ในชนบทแคว้นโกศล ระหว่างทาง ขนเจียมเกิดขึ้น เธอจึงใช้อุตตราสงค์ห่อขนเจียมไป
พวกชาวบ้านเห็นท่านจึงพูดสัพยอกว่า “ท่านซื้อขนเจียมมาราคาเท่าไร จะ
ขายมีกำไรเท่าไร”
ท่านถูกชาวบ้านพูดสัพยอกจึงเก้อเขิน ครั้นถึงกรุงสาวัตถี ได้โยนขนเจียม
เหล่านั้นทิ้งไป ทั้งที่ยืนอยู่นั่นแหละ
ภิกษุทั้งหลายกล่าวกับท่านอย่างนี้ว่า “ทำไมท่านจึงโยนขนเจียมเหล่านั้นทิ้ง
ทั้งที่ยืนอยู่เล่า”
ท่านตอบว่า “จริงอย่างนั้น ท่านทั้งหลาย กระผมถูกพวกชาวบ้านพูดสัพยอก
เพราะขนเจียมเหล่านี้”
ภิกษุทั้งหลายถามว่า “ท่านนำขนเจียมเหล่านี้มาไกลเท่าไร”
ภิกษุรูปนั้นตอบว่า “เกิน ๓ โยชน์ ขอรับ”
บรรดาภิกษุผู้มักน้อย ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนภิกษุ
จึงนำขนเจียมมาไกลเกิน ๓ โยชน์เล่า” ครั้นภิกษุทั้งหลายตำหนิภิกษุรูปนั้นโดย
ประการต่าง ๆ แล้วจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ

เชิงอรรถ :
๑ ขนเจียม คือ เอฬกโลม ขนแกะ ขนแพะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๙๖ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๒.โกสิยวรรค ๖.เอฬกโลมสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์
ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามภิกษุนั้นว่า “ภิกษุ ทราบว่าเธอนำขนเจียมมาไกลเกิน ๓ โยชน์ จริงหรือ”
ภิกษุนั้นทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า
“ฯลฯ โมฆบุรุษ ไฉนเธอจึงนำขนเจียมมาไกลเกิน ๓ โยชน์เล่า โมฆบุรุษ การกระทำ
อย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใส
ยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้

พระบัญญัติ
[๕๗๒] ก็ ขนเจียมเกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้เดินทางไกล ภิกษุต้องการก็พึงรับได้
ครั้นรับแล้ว เมื่อไม่มีคนนำไปให้ พึงนำไปเองตลอดระยะ ๓ โยชน์เป็นอย่าง
มาก ถ้าเมื่อไม่มีคนนำไปให้ นำไปไกลกว่านั้น ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
เรื่องภิกษุรูปใดรูปหนึ่งรับขนเจียมระหว่างทาง จบ

สิกขาบทวิภังค์
[๕๗๓] คำว่า ก็...แก่ภิกษุผู้เดินทางไกล ได้แก่ ภิกษุผู้เดินทาง
คำว่า ขนเจียมเกิดขึ้น คือ เกิดจากสงฆ์ จากคณะ จากญาติ จากมิตร
หรือที่เป็นของบังสุกุล หรือที่ได้มาด้วยทรัพย์ของตน
คำว่า ต้องการ คือ เมื่อต้องการก็รับไว้ได้
คำว่า ครั้นรับแล้ว... พึงนำไปเองตลอดระยะ ๓ โยชน์เป็นอย่างมาก คือ
นำไปเองได้ ๓ โยชน์
คำว่า เมื่อไม่มีคนนำไปให้ ความว่า ไม่มีคนอื่น คือ สตรี บุรุษ คฤหัสถ์
หรือบรรพชิต คอยช่วยนำไป
คำว่า ถ้าเมื่อไม่มีคนนำไปให้ นำไปไกลกว่านั้น อธิบายว่า ภิกษุย่างเท้าที่ ๑
ผ่าน ๓ โยชน์ไป ต้องอาบัติทุกกฏ ย่างเท้าที่ ๒ ผ่านไป ขนเจียมทั้งหลายเป็นนิสสัคคีย์


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๙๗ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๒.โกสิยวรรค ๖.เอฬกโลมสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์
ภิกษุยืนอยู่ภายในระยะ ๓ โยชน์ โยนขนเจียมออกนอกระยะ ๓ โยชน์ ขนเจียม
ทั้งหลายเป็นนิสสัคคีย์ ภิกษุซ่อนขนเจียมในยานพาหนะหรือในห่อของของผู้อื่นที่เขา
ไม่รู้ ย่างเท้าไปเกิน ๓ โยชน์ ขนเจียมทั้งหลายเป็นนิสสัคคีย์ คือเป็นของจำต้อง
สละแก่สงฆ์ แก่คณะหรือแก่บุคคล
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงสละขนเจียมที่เป็นนิสสัคคีย์อย่างนี้

วิธีสละขนเจียมที่เป็นนิสสัคคีย์
สละแก่สงฆ์
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง กราบเท้าภิกษุผู้
แก่พรรษา นั่งกระโหย่งประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านผู้เจริญ ขนเจียมเหล่านี้
กระผมนำไปเกิน ๓ โยชน์ เป็นนิสสัคคีย์ กระผมสละขนเจียมเหล่านี้แก่สงฆ์” ครั้น
สละแล้วพึงแสดงอาบัติ
ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงรับอาบัติ พึงคืนขนเจียมที่เธอสละให้ด้วยญัตติกรรม
วาจาว่า “ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ขนเจียมเหล่านี้ของภิกษุชื่อนี้เป็น
นิสสัคคีย์ เธอสละแก่สงฆ์ ถ้าสงฆ์พร้อมกันแล้วก็พึงให้ขนเจียมเหล่านี้แก่ภิกษุชื่อนี้”

สละแก่คณะ
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุหลายรูป ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง กราบ
เท้าภิกษุผู้แก่พรรษา นั่งกระโหย่งประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านผู้เจริญ ขนเจียม
เหล่านี้ กระผมนำไปเกิน ๓ โยชน์ เป็นนิสสัคคีย์ กระผมสละขนเจียมเหล่านี้แก่ท่าน
ทั้งหลาย” ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ
ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงรับอาบัติ พึงคืนขนเจียมที่เธอสละให้ด้วยกล่าวว่า
“ท่านทั้งหลายจงฟังข้าพเจ้า ขนเจียมเหล่านี้ของภิกษุชื่อนี้เป็นนิสสัคคีย์ เธอสละแก่
ท่านทั้งหลาย ถ้าท่านทั้งหลายพร้อมกันแล้วก็พึงให้ขนเจียมเหล่านี้แก่ภิกษุชื่อนี้”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๙๘ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๒.โกสิยวรรค ๖.เอฬกโลมสิกขาบท บทภาชนีย์
สละแก่บุคคล
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุรูปหนึ่ง ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง นั่ง
กระโหย่งประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านขอรับ ขนเจียมเหล่านี้ กระผมนำไปเกิน
๓ โยชน์ เป็นนิสสัคคีย์ กระผมสละขนเจียมเหล่านี้แก่ท่าน” ครั้นสละแล้วพึงแสดง
อาบัติ
ภิกษุผู้รับสละนั้นพึงรับอาบัติแล้วคืนขนเจียมที่เธอสละให้ด้วยกล่าวว่า “กระผม
คืนขนเจียมเหล่านี้ให้แก่ท่าน”

บทภาชนีย์
ติกนิสสัคคิยปาจิตตีย์
[๕๗๔] เกินระยะ ๓ โยชน์ ภิกษุสำคัญว่าเกิน นำไปเกิน ๓ โยชน์ ต้อง
อาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
เกินระยะ ๓ โยชน์ ภิกษุไม่แน่ใจ นำไปเกิน ๓ โยชน์ ต้องอาบัตินิสสัคคิย
ปาจิตตีย์
เกินระยะ ๓ โยชน์ ภิกษุสำคัญว่าหย่อนกว่า นำไปเกิน ๓ โยชน์ ต้องอาบัติ
นิสสัคคิยปาจิตตีย์

ทุกทุกกฏ
หย่อนกว่า ๓ โยชน์ ภิกษุสำคัญว่าเกิน ต้องอาบัติทุกกฏ
หย่อนกว่า ๓ โยชน์ ภิกษุไม่แน่ใจ ต้องอาบัติทุกกฏ
หย่อนกว่า ๓ โยชน์ ภิกษุสำคัญว่าหย่อนกว่า ไม่ต้องอาบัติ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๙๙ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๒.โกสิยวรรค ๖.เอฬกโลมสิกขาบท อนาปัตติวาร
อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[๕๗๕] ๑. ภิกษุนำไปเพียง ๓ โยชน์
๒. ภิกษุนำไปหย่อนกว่า ๓ โยชน์
๓. ภิกษุนำไปก็ดี นำกลับก็ดี เพียงระยะ ๓ โยชน์
๔. ภิกษุนำไปเพียงระยะ ๓ โยชน์ ประสงค์จะพักอาศัย แล้วนำไป
จากที่นั้น๑
๕. ภิกษุได้ขนเจียมที่ถูกชิงไปคืนมา แล้วนำไปอีก
๖. ภิกษุได้ขนเจียมที่สละไปคืนมา แล้วนำไปอีก
๗. ภิกษุใช้ให้ผู้อื่นช่วยนำไป
๘. ภิกษุนำขนเจียมที่ทำเป็นสิ่งของไป
๙. ภิกษุวิกลจริต
๑๐. ภิกษุต้นบัญญัติ

เอฬกโลมสิกขาบทที่ ๖ จบ

เชิงอรรถ :
๑ ประสงค์จะพักอาศัยอยู่ เพื่อศึกษาเล่าเรียน สอบถาม หรือเพื่อได้ปัจจัยเครื่องอาศัย แต่เพราะไม่ได้
สิ่งเหล่านั้น จึงจากที่นั้นไป (วิ.อ. ๒/๕๗๕/๑๙๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๑๐๐ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๒.โกสิยวรรค ๗.เอฬกโลมโธวาปนสิกขาบท นิทานวัตถุ
๒. โกสิยวรรค

๗. เอฬกโลมโธวาปนสิกขาบท
ว่าด้วยการให้ซักขนเจียม

เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๕๗๖] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ นิโครธาราม เขต
กรุงกบิลพัสดุ์ แคว้นสักกะ ครั้งนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ใช้พวกภิกษุณีให้ซักบ้าง
ให้ย้อมบ้าง สางบ้าง ซึ่งขนเจียม พวกภิกษุณีซัก ย้อม สาง ซึ่งขนเจียม จึงละเลย
อุทเทส ปริปุจฉา อธิศีล อธิจิต อธิปัญญา
สมัยนั้น พระนางมหาปชาบดีโคตมีเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ครั้น
ถึงแล้วได้ถวายอภิวาท แล้วประทับยืน ณ ที่สมควร พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกับ
พระนางมหาปชาบดีโคตมีผู้ยืนอยู่ว่า “โคตมี พวกภิกษุณีไม่ประมาท ยังมีความเพียร
มีความมุ่งมั่นอยู่หรือ”
พระนางกราบทูลว่า “พระพุทธเจ้าข้า ภิกษุณีทั้งหลายจะมีความไม่ประมาท
แต่ที่ไหน พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ใช้พวกภิกษุณีให้ซักบ้าง ให้ย้อมบ้าง ให้สางบ้าง ซึ่ง
ขนเจียม พวกภิกษุณีนั้นซัก ย้อม สาง ซึ่งขนเจียมอยู่ จึงละเลยอุทเทส ปริปุจฉา
อธิศีล อธิจิต อธิปัญญา”
พระผู้มีพระภาคทรงชี้แจงให้พระนางมหาปชาบดีเห็นชัด ชวนให้อยากรับเอา
ไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริงด้วยธรรมีกถา
ลำดับนั้น พระนางมหาปชาบดีโคตมี ครั้นพระผู้มีพระภาคทรงชี้แจงให้เห็นชัด
ชวนให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่น
ร่าเริงด้วยธรรมีกถาแล้ว จึงถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาค ทำประทักษิณแล้ว
จากไป


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๑๐๑ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๒.โกสิยวรรค ๗.เอฬกโลมโธวาปนสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์
ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามพวกภิกษุฉัพพัคคีย์ว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า พวกเธอใช้ภิกษุณีให้ซัก
บ้าง ให้ย้อมบ้าง ให้สางบ้าง ซึ่งขนเจียม จริงหรือ” พระฉัพพัคคีย์ทูลรับว่า “จริง
พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีเหล่านั้น
เป็นญาติของพวกเธอหรือว่าไม่ใช่ญาติ” พวกภิกษุฉัพพัคคีย์กราบทูลว่า “ไม่ใช่ญาติ
พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคทรงตำหนิว่า “โมฆบุรุษทั้งหลาย บุคคลผู้ไม่ใช่
ญาติย่อมไม่รู้ความเหมาะสมหรือไม่เหมาะสม ความน่าเลื่อมใสหรือไม่น่าเลื่อมใส
ของบุคคลผู้ไม่ใช่ญาติ โมฆบุรุษทั้งหลาย ไฉนพวกเธอจึงใช้ภิกษุณีให้ซักบ้าง ให้ย้อม
บ้าง ให้สางบ้างซึ่งขนเจียมเล่า โมฆบุรุษทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยัง
ไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ”
แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้

พระบัญญัติ
[๕๗๗] ก็ ภิกษุใดใช้ภิกษุณีผู้ไม่ใช่ญาติให้ซัก ให้ย้อม หรือให้สาง
ขนเจียม ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ

สิกขาบทวิภังค์
[๕๗๘] คำว่า ก็...ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ก็...ใด
คำว่า ภิกษุ มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุ เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระ
ภาคทรงประสงค์ว่า ภิกษุ ในความหมายนี้
ที่ชื่อว่า ผู้ไม่ใช่ญาติ คือ ไม่ใช่คนที่เกี่ยวเนื่องกันทางมารดาหรือทางบิดา
ตลอดเจ็ดชั่วคน


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๑๐๒ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๒.โกสิยวรรค ๗.เอฬกโลมโธวาปนสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์
ที่ชื่อว่า ภิกษุณี ได้แก่ มาตุคามที่อุปสมบทในสงฆ์ ๒ ฝ่าย
ภิกษุสั่งว่า “จงซัก” ต้องอาบัติทุกกฏ ขนเจียมที่ซักแล้ว เป็นนิสสัคคีย์
ภิกษุสั่งว่า “จงย้อม” ต้องอาบัติทุกกฏ ขนเจียมที่ย้อมแล้ว เป็นนิสสัคคีย์
ภิกษุสั่งว่า “จงสาง” ต้องอาบัติทุกกฏ ขนเจียมที่สางแล้ว เป็นนิสสัคคีย์ คือ
เป็นของจำต้องสละแก่สงฆ์ แก่คณะหรือแก่บุคคล
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงรับสละขนเจียมที่เป็นนิสสัคคีย์อย่างนี้

วิธีสละขนเจียมที่เป็นนิสสัคคีย์
สละแก่สงฆ์
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง กราบเท้าภิกษุผู้
แก่พรรษา นั่งกระโหย่งประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านผู้เจริญ ขนเจียมเหล่านี้
กระผมใช้ให้ภิกษุณีผู้ไม่ใช่ญาติซัก เป็นนิสสัคคีย์ กระผมสละขนเจียมเหล่านี้แก่สงฆ์”
ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ
ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงรับอาบัติ พึงคืนขนเจียมที่เธอสละให้ด้วยญัตติกรรม
วาจาว่า “ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ขนเจียมเหล่านี้ของภิกษุชื่อนี้เป็น
นิสสัคคีย์ เธอสละแก่สงฆ์ ถ้าสงฆ์พร้อมกันแล้วก็พึงให้ขนเจียมเหล่านี้แก่ภิกษุ
ชื่อนี้”

สละแก่คณะ
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุหลายรูป ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง กราบ
เท้าภิกษุผู้แก่พรรษา นั่งกระโหย่งประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านผู้เจริญ ขนเจียม
เหล่านี้กระผมใช้ภิกษุณีผู้ไม่ใช่ญาติให้ซัก เป็นนิสสัคคีย์ กระผมสละขนเจียมเหล่านี้
แก่ท่านทั้งหลาย” ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ
ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงรับอาบัติ พึงคืนขนเจียมที่เธอสละให้ด้วยกล่าวว่า
“ท่านทั้งหลายจงฟังข้าพเจ้า ขนเจียมเหล่านี้ของภิกษุชื่อนี้เป็นนิสสัคคีย์ เธอสละแก่
ท่านทั้งหลาย ถ้าท่านทั้งหลายพร้อมกันแล้วก็พึงให้ขนเจียมเหล่านี้แก่ภิกษุชื่อนี้”


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๑๐๓ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๒.โกสิยวรรค ๗.เอฬกโลมโธวาปนสิกขาบท บทภาชนีย์
สละแก่บุคคล
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุรูปหนึ่ง ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง นั่ง
กระโหย่งประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านขอรับ ขนเจียมเหล่านี้กระผมใช้
ภิกษุณีผู้ไม่ใช่ญาติให้ซัก เป็นนิสสัคคีย์ กระผมสละขนเจียมเหล่านี้แก่ท่าน” ครั้น
สละแล้วพึงแสดงอาบัติ
ภิกษุผู้รับสละนั้นพึงรับอาบัติ แล้วคืนขนเจียมที่เธอสละให้ด้วยกล่าวว่า
“กระผมคืนขนเจียมเหล่านี้ให้แก่ท่าน”

บทภาชนีย์
สำคัญว่าไม่ใช่ญาติ จตุกกะที่ ๑
[๕๗๙] ภิกษุณีที่ไม่ใช่ญาติ ภิกษุสำคัญว่าไม่ใช่ญาติ ใช้ให้ซักขนเจียม ต้อง
อาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
ภิกษุณีที่ไม่ใช่ญาติ ภิกษุสำคัญว่าไม่ใช่ญาติ ใช้ให้ซัก ใช้ให้ย้อมขนเจียม ต้อง
อาบัติทุกกฏกับอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
ภิกษุณีที่ไม่ใช่ญาติ ภิกษุสำคัญว่าไม่ใช่ญาติ ใช้ให้ซัก ใช้ให้สางขนเจียม ต้อง
อาบัติทุกกฏกับอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
ภิกษุณีที่ไม่ใช่ญาติ ภิกษุสำคัญว่าไม่ใช่ญาติ ใช้ให้ซัก ใช้ให้ย้อม ใช้ให้สางขน
เจียม ต้องอาบัติทุกกฏ ๒ ตัว กับอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์

สำคัญว่าไม่ใช่ญาติ จตุกกะที่ ๒
ภิกษุณีที่ไม่ใช่ญาติ ภิกษุสำคัญว่าไม่ใช่ญาติ ใช้ให้ย้อมขนเจียม ต้องอาบัติ
นิสสัคคิยปาจิตตีย์


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๑๐๔ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๒.โกสิยวรรค ๗.เอฬกโลมโธวาปนสิกขาบท บทภาชนีย์
ภิกษุณีที่ไม่ใช่ญาติ ภิกษุสำคัญว่าไม่ใช่ญาติ ใช้ให้ย้อม ใช้ให้สางขนเจียม
ต้องอาบัติทุกกฏกับอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
ภิกษุณีที่ไม่ใช่ญาติ ภิกษุสำคัญว่าไม่ใช่ญาติ ใช้ให้ย้อม ใช้ให้ซักขนเจียม ต้อง
อาบัติทุกกฏกับอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
ภิกษุณีที่ไม่ใช่ญาติ ภิกษุสำคัญว่าไม่ใช่ญาติ ใช้ให้ย้อม ใช้ให้สาง ใช้ให้ซักขน
เจียม ต้องอาบัติทุกกฏ ๒ ตัว กับอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์

สำคัญว่าไม่ใช่ญาติ จตุกกะที่ ๓
ภิกษุณีที่ไม่ใช่ญาติ ภิกษุสำคัญว่าไม่ใช่ญาติ ใช้ให้สางขนเจียม ต้องอาบัติ
นิสสัคคิยปาจิตตีย์
ภิกษุณีที่ไม่ใช่ญาติ ภิกษุสำคัญว่าไม่ใช่ญาติ ใช้ให้สาง ใช้ให้ซักขนเจียม ต้อง
อาบัติทุกกฏกับอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
ภิกษุณีที่ไม่ใช่ญาติ ภิกษุสำคัญว่าไม่ใช่ญาติ ใช้ให้สาง ใช้ให้ย้อมขนเจียม
ต้องอาบัติทุกกฏกับอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
ภิกษุณีที่ไม่ใช่ญาติ ภิกษุสำคัญว่าไม่ใช่ญาติ ใช้ให้สาง ใช้ให้ซัก ใช้ให้ย้อมขนเจียม
ต้องอาบัติทุกกฏ ๒ ตัว กับอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์

ไม่แน่ใจ ต้องอาบัติทุกกฏ
[๕๘๐] ภิกษุณีที่ไม่ใช่ญาติ ภิกษุไม่แน่ใจ ฯลฯ ภิกษุณีที่ไม่ใช่ญาติ ภิกษุ
สำคัญว่าเป็นญาติ ฯลฯ
ภิกษุใช้ภิกษุณีให้ซักขนเจียมของภิกษุอื่น ต้องอาบัติทุกกฏ
ภิกษุใช้ภิกษุณีผู้อุปสมบทจากสงฆ์ฝ่ายเดียวให้ซัก ต้องอาบัติทุกกฏ
ภิกษุณีที่ไม่ใช่ญาติ ภิกษุสำคัญว่าเป็นญาติ ต้องอาบัติทุกกฏ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๑๐๕ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๒.โกสิยวรรค ๗.เอฬกโลมโธวาปนสิกขาบท อนาปัตติวาร
ภิกษุณีที่เป็นญาติ ภิกษุไม่แน่ใจ ต้องอาบัติทุกกฏ
ภิกษุณีที่เป็นญาติ ภิกษุสำคัญว่าเป็นญาติ ไม่ต้องอาบัติ

อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[๕๘๑] ๑. ภิกษุณีผู้เป็นญาติซักให้ โดยมีเพื่อนภิกษุณีผู้ไม่ใช่ญาติคอยช่วยเหลือ
๒. ภิกษุเจ้าของขนเจียมที่ภิกษุณีอาสาซักให้
๓. ภิกษุใช้ให้ซักขนเจียมที่ทำเป็นสิ่งของซึ่งไม่ได้ใช้สอย
๔. ภิกษุใช้ให้สิกขมานาซัก
๕. ภิกษุใช้ให้สามเณรีซัก
๖. ภิกษุวิกลจริต
๗. ภิกษุต้นบัญญัติ

เอฬกโลมโธวาปนสิกขาบทที่ ๗ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๑๐๖ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๒.โกสิยวรรค ๘.รูปิยสิกขาบท นิทานวัตถุ
๒. โกสิยวรรค

๘. รูปิยสิกขาบท
ว่าด้วยการรับรูปิยะ

เรื่องพระอุปนันทศากยบุตร
[๕๘๒] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเวฬุวัน สถานที่
ให้เหยื่อกระแต เขตกรุงราชคฤห์ ครั้งนั้น ท่านพระอุปนันทศากยบุตรเป็นพระประจำ
ตระกูลของตระกูลหนึ่ง รับภัตตาหารอยู่เป็นประจำ หากของเคี้ยวของฉันอันใดเกิด
ขึ้นในตระกูลนั้น เขาก็จะเก็บของเคี้ยวของฉันอันนั้นไว้เพื่อท่านส่วนหนึ่ง
สมัยนั้น ในเวลาเย็น เนื้อเกิดขึ้นในตระกูลนั้น เขาได้เก็บเนื้อนั้นไว้เพื่อท่าน
พระอุปนันทศากยบุตรส่วนหนึ่ง เด็กในตระกูลนั้นตื่นเช้ามืด ร้องไห้อ้อนวอนว่า
“พวกท่านโปรดให้เนื้อแก่กระผม”
ทีนั้น สามีสั่งภรรยาว่า “เธอจงให้เนื้อส่วนของพระคุณเจ้าแก่เด็ก เราจะซื้อ
ของอื่นถวายท่าน”
ลำดับนั้น ท่านพระอุปนันทศากยบุตรครองอันตรวาสกถือบาตรและจีวรเข้าไป
ถึงตระกูลนั้น นั่งบนอาสนะที่เขาปูลาดไว้ ชายผู้นั้นเข้าไปหาท่านพระอุปนันทศากย
บุตรถึงอาสนะ ครั้นถึงแล้วไหว้ท่านแล้วนั่งลง ณ ที่สมควร กล่าวว่า “ท่านผู้เจริญ
เมื่อวันวานในเวลาเย็น ได้มีเนื้อเกิดขึ้น พวกข้าพเจ้าได้เก็บเนื้อนั้นไว้เพื่อพระคุณเจ้า
ส่วนหนึ่ง เด็กคนนี้ตื่นเช้ามืด ร้องไห้อ้อนวอนว่า ‘พวกท่านโปรดให้เนื้อแก่กระผม’
พวกเราจึงให้ส่วนของพระคุณเจ้าแก่เด็ก พระคุณเจ้าจะให้กระผมนำกหาปณะไป
แลกอะไรมา ขอรับ” ท่านพระอุปนันทศากยบุตรถามว่า “ท่านบริจาคทรัพย์ ๑
กหาปณะแก่อาตมาหรือ” เขาตอบว่า “ใช่ ขอรับ” ท่านพระอุปนันทศากยบุตร
กล่าวว่า “ท่านจงถวายกหาปณะนั้นแก่อาตมาเถิด”


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๑๐๗ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๒.โกสิยวรรค ๘.รูปิยสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์
ทีนั้น เขาถวายกหาปณะแก่ท่านพระอุปนันทศากยบุตรแล้วตำหนิ ประณาม
โพนทะนาว่า “พระสมณะเชื้อสายศากยบุตรเหล่านี้รับรูปิยะ๑ เหมือนพวกเรา”
พวกภิกษุได้ยินบุรุษนั้นตำหนิ ประณาม โพนทะนา บรรดาภิกษุผู้มักน้อย ฯลฯ
พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนท่านพระอุปนันทศากยบุตร จึงรับรูปิยะ
เล่า” ครั้นภิกษุเหล่านั้นตำหนิท่านพระอุปนันทศากยบุตรโดยประการต่าง ๆ แล้วจึง
นำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ

ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามท่านพระอุปนันทศากยบุตรว่า “อุปนันทะ ทราบว่า เธอรับรูปิยะจริงหรือ”
ท่านพระอุปนันทศากยบุตรทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า
ทรงตำหนิว่า “ฯลฯ โมฆบุรุษ ไฉนเธอจึงรับรูปิยะเล่า โมฆบุรุษ การกระทำอย่างนี้
มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้น
ได้เลย ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้

พระบัญญัติ
[๕๘๓] ก็ ภิกษุใดรับหรือใช้ให้ผู้อื่นรับทองและเงิน หรือยินดีทองและ
เงินที่เขาเก็บไว้ให้ ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
เรื่องพระอุปนันทศากยบุตร จบ

สิกขาบทวิภังค์
[๕๘๔] คำว่า ก็...ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ก็...ใด
คำว่า ภิกษุ มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุ เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระ
ภาคทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุ ในความหมายนี้

เชิงอรรถ :
๑ คำว่า “รูปิยะ” หมายถึงทองและเงิน (วิ.อ. ๒/๕๘๖/๒๐๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๑๐๘ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๒.โกสิยวรรค ๘.รูปิยสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์
ที่ชื่อว่า ทอง พระองค์ตรัสหมายถึงวัตถุที่มีสีดุจพระฉวีของพระศาสดา
ที่ชื่อว่า เงิน ได้แก่ กหาปณะ มาสกที่ทำด้วยโลหะ มาสกที่ทำด้วยไม้
มาสกที่ทำด้วยครั่ง ที่ใช้เป็นอัตราสำหรับแลกเปลี่ยนซื้อขายกัน
คำว่า รับ คือ ภิกษุรับเอง ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
คำว่า ใช้ให้ผู้อื่นรับ คือ ภิกษุให้คนอื่นรับแทน ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
คำว่า หรือยินดีทองและเงินที่เขาเก็บไว้ให้ ความว่า ภิกษุยินดีรูปิยะที่เขา
เก็บไว้ให้โดยบอกว่า “สิ่งนี้เป็นของท่าน” ดังนี้ รูปิยะนั้นเป็นนิสสัคคีย์ คือเป็นของ
จำต้องสละในท่ามกลางสงฆ์
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงสละรูปิยะที่เป็นนิสสัคคีย์อย่างนี้

วิธีสละรูปิยะที่เป็นนิสสัคคีย์
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง กราบเท้าภิกษุผู้
แก่พรรษา นั่งกระโหย่งประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านผู้เจริญ กระผมรับรูปิยะไว้
รูปิยะนี้ของกระผมเป็นนิสสัคคีย์ กระผมสละรูปิยะนี้แก่สงฆ์” ครั้นสละแล้วพึงแสดง
อาบัติ
ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงรับอาบัติ
ถ้าคนงานวัดหรืออุบาสกผ่านมา พึงบอกเขาว่า “ท่านจงรู้สิ่งนี้” ถ้าเขากล่าวว่า
“จะให้กระผมนำสิ่งนี้ไปแลกอะไรมา” ไม่ควรบอกเขาว่า “จงนำของนี้ ๆ มา” ควร
บอกแต่ของที่เป็นกัปปิยะ เช่น เนยใส น้ำมัน น้ำผึ้ง หรือน้ำอ้อย
ถ้าเขานำรูปิยะนั้นไปแลกของที่เป็นกัปปิยะมาถวาย ยกเว้นภิกษุผู้รับรูปิยะ
นอกนั้นทุกรูปฉันได้ ถ้าทำได้อย่างนี้ นั่นเป็นการดี ถ้าทำไม่ได้ พึงบอกเขาว่า “ท่าน
โปรดทิ้งของนี้” ถ้าเขาทิ้งให้ นั่นเป็นการดี ถ้าไม่ทิ้งให้ พึงแต่งตั้งภิกษุผู้ประกอบด้วย
คุณสมบัติ ๕ อย่างให้เป็นผู้ทิ้งรูปิยะ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๑๐๙ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๒.โกสิยวรรค ๘.รูปิยสิกขาบท บทภาชนีย์
คุณสมบัติของภิกษุผู้ทิ้งรูปิยะ ๕ อย่าง
๑. ไม่ลำเอียงเพราะชอบ
๒. ไม่ลำเอียงเพราะชัง
๓. ไม่ลำเอียงเพราะหลง
๔. ไม่ลำเอียงเพราะกลัว
๕. รู้วิธีว่าเป็นอันทิ้งหรือไม่เป็นอันทิ้งรูปิยะ

วิธีแต่งตั้งภิกษุผู้ทิ้งรูปิยะ และคำแต่งตั้ง
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงแต่งตั้งอย่างนี้ คือ เบื้องต้นพึงขอให้ภิกษุรับ ครั้นแล้ว
ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติทุติยกรรมวาจาว่า
[๕๘๕] ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ถ้าสงฆ์พร้อมกันแล้วพึงแต่งตั้ง
ภิกษุชื่อนี้ให้เป็นผู้ทิ้งรูปิยะ นี่เป็นญัตติ
ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า สงฆ์แต่งตั้งภิกษุชื่อนี้ให้เป็นผู้ทิ้งรูปิยะ ท่าน
รูปใดเห็นด้วยกับการแต่งตั้งภิกษุชื่อนี้ให้เป็นผู้ทิ้งรูปิยะ ท่านรูปนั้นพึงนิ่ง ท่านรูปใด
ไม่เห็นด้วย ท่านรูปนั้นพึงทักท้วง
ภิกษุชื่อนี้สงฆ์แต่งตั้งให้เป็นผู้ทิ้งรูปิยะ สงฆ์เห็นด้วย เพราะฉะนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้า
ขอถือความนิ่งนั้นเป็นมติอย่างนี้
ภิกษุผู้ได้รับแต่งตั้งนั้นพึงทิ้งรูปิยะไป อย่ากำหนดที่ตก ถ้าทิ้งโดยกำหนดที่ตก
ต้องอาบัติทุกกฏ

บทภาชนีย์
ติกนิสสัคคิยปาจิตตีย์
[๕๘๖] รูปิยะ ภิกษุสำคัญว่าเป็นรูปิยะ รับรูปิยะ ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
รูปิยะ ภิกษุไม่แน่ใจ รับรูปิยะ ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
รูปิยะ ภิกษุสำคัญว่าไม่ใช่รูปิยะ รับรูปิยะ ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๑๑๐ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๒.โกสิยวรรค ๘.รูปิยสิกขาบท อนาปัตติวาร
ทุกทุกกฏ
สิ่งที่ไม่ใช่รูปิยะ ภิกษุสำคัญว่าเป็นรูปิยะ ต้องอาบัติทุกกฏ
สิ่งที่ไม่ใช่รูปิยะ ภิกษุไม่แน่ใจ ต้องอาบัติทุกกฏ
สิ่งที่ไม่ใช่รูปิยะ ภิกษุสำคัญว่าไม่ใช่รูปิยะ ไม่ต้องอาบัติ

อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
๑. ภิกษุหยิบเองหรือใช้ให้คนอื่นหยิบรูปิยะตกในวัดหรือในที่อยู่ เก็บ
ไว้ด้วยตั้งใจว่า เจ้าของจะมาเอาไป
๒. ภิกษุวิกลจริต
๓. ภิกษุต้นบัญญัติ

รูปิยสิกขาบทที่ ๘ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๑๑๑ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๒.โกสิยวรรค ๙.รูปิยสังโวหารสิกขาบท นิทานวัตถุ
๒. โกสิยวรรค

๙. รูปิยสังโวหารสิกขาบท
ว่าด้วยการแลกเปลี่ยนรูปิยะ

เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๕๘๗] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ทำการแลก
เปลี่ยนกันด้วยรูปิยะชนิดต่าง ๆ พวกชาวบ้านพากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า
“ไฉนพระสมณะเชื้อสายศากยบุตรจึงทำการแลกเปลี่ยนกันด้วยรูปิยะชนิดต่าง ๆ เหมือน
พวกคฤหัสถ์ที่ยังบริโภคกามเล่า”
พวกภิกษุได้ยินชาวบ้านตำหนิ ประณาม โพนทะนา บรรดาภิกษุผู้มักน้อย ฯลฯ
พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพวกภิกษุฉัพพัคคีย์จึงทำการแลกเปลี่ยน
กันด้วยรูปิยะชนิดต่าง ๆ เล่า” ครั้นภิกษุเหล่านั้นตำหนิพวกภิกษุฉัพพัคคีย์โดย
ประการต่าง ๆ แล้วจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ

ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามพวกภิกษุฉัพพัคคีย์ว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า พวกเธอทำการแลก
เปลี่ยนกันด้วยรูปิยะชนิดต่าง ๆ จริงหรือ” พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ทูลรับว่า “จริง
พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ฯลฯ โมฆบุรุษทั้งหลาย ไฉน
พวกเธอจึงทำการแลกเปลี่ยนรูปิยะชนิดต่าง ๆ เล่า โมฆบุรุษทั้งหลาย การกระทำ
อย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใส
ยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๑๑๒ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๒.โกสิยวรรค ๙.รูปิยสังโวหารสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์
พระบัญญัติ
[๕๘๘] ก็ ภิกษุใดทำการแลกเปลี่ยนกันด้วยรูปิยะชนิดต่าง ๆ ต้องอาบัติ
นิสสัคคิยปาจิตตีย์
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ

สิกขาบทวิภังค์
[๕๘๙] คำว่า ก็...ใด คือ ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ก็...ใด
คำว่า ภิกษุ มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุ เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระ
ภาคทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุ ในความหมายนี้
ที่ชื่อว่า ชนิดต่าง ๆ คือ เป็นรูปพรรณบ้าง ไม่เป็นรูปพรรณบ้าง เป็นทั้ง
รูปพรรณและไม่เป็นรูปพรรณบ้าง
ที่ชื่อว่า เป็นรูปพรรณ ได้แก่ เครื่องประดับศีรษะ เครื่องประดับคอ เครื่อง
ประดับมือ เครื่องประดับเท้า เครื่องประดับสะเอว
ที่ชื่อว่า ไม่เป็นรูปพรรณ พระองค์ตรัสถึงรูปิยะที่ทำเป็นแท่ง
ที่ชื่อว่า เป็นทั้งรูปพรรณและไม่เป็นรูปพรรณ ได้แก่ เครื่องประดับทั้ง ๒
ประเภทนั้น
ที่ชื่อว่า รูปิยะ ได้แก่ วัตถุที่มีสีดุจพระฉวีของพระศาสดา กหาปณะ มาสก
ที่ทำด้วยโลหะ มาสกที่ทำด้วยไม้ มาสกที่ทำด้วยครั่ง ที่ใช้เป็นอัตราสำหรับ
แลกเปลี่ยนซื้อขายกัน
คำว่า ทำการ คือ เอารูปิยะที่เป็นรูปพรรณแลกเปลี่ยนกับรูปิยะที่เป็นรูปพรรณ
เป็นนิสสัคคีย์
เอารูปิยะที่เป็นรูปพรรณแลกเปลี่ยนกับรูปิยะที่ไม่เป็นรูปพรรณ เป็นนิสสัคคีย์


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๑๑๓ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๒.โกสิยวรรค ๙.รูปิยสังโวหารสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์
เอารูปิยะที่เป็นรูปพรรณแลกเปลี่ยนกับรูปิยะที่เป็นทั้งรูปพรรณและไม่เป็น
รูปพรรณ เป็นนิสสัคคีย์
เอารูปิยะที่ไม่เป็นรูปพรรณแลกเปลี่ยนกับรูปิยะที่เป็นรูปพรรณ เป็นนิสสัคคีย์
เอารูปิยะที่ไม่เป็นรูปพรรณแลกเปลี่ยนกับรูปิยะที่ไม่เป็นรูปพรรณ เป็นนิสสัคคีย์
เอารูปิยะที่ไม่เป็นรูปพรรณแลกเปลี่ยนกับรูปิยะที่เป็นทั้งรูปพรรณและไม่เป็น
รูปพรรณ เป็นนิสสัคคีย์
เอารูปิยะที่เป็นทั้งรูปพรรณและไม่เป็นรูปพรรณแลกเปลี่ยนกับรูปิยะที่เป็นรูป
พรรณ เป็นนิสสัคคีย์
เอารูปิยะที่เป็นทั้งรูปพรรณและไม่เป็นรูปพรรณแลกเปลี่ยนกับรูปิยะที่ไม่เป็น
รูปพรรณ เป็นนิสสัคคีย์
เอารูปิยะที่เป็นทั้งรูปพรรณและไม่เป็นรูปพรรณแลกเปลี่ยนกับรูปิยะที่เป็นทั้ง
รูปพรรณและไม่เป็นรูปพรรณ เป็นนิสสัคคีย์ คือเป็นของจำต้องสละในท่ามกลาง
สงฆ์
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงสละรูปิยะที่เป็นนิสสัคคีย์อย่างนี้

วิธีสละรูปิยะที่เป็นนิสสัคคีย์
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง กราบเท้าภิกษุผู้
แก่พรรษา นั่งกระโหย่งประนมมือ กล่าวว่า “ท่านผู้เจริญ กระผมทำการแลกเปลี่ยน
รูปิยะชนิดต่าง ๆ รูปิยะนี้ของกระผมเป็นนิสสัคคีย์ กระผมสละรูปิยะนี้แก่สงฆ์”
ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ
ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงรับอาบัติ
ถ้าคนวัดหรืออุบาสกผ่านมา พึงบอกเขาว่า “ท่านจงรู้ของนี้” ถ้าเขาถามว่า
“จะให้กระผมนำสิ่งนี้ไปแลกอะไรมา” ไม่ควรบอกเขาว่า “จงนำของนี้หรือของนี้มา”
ควรบอกเฉพาะของที่เป็นกัปปิยะ เช่น เนยใส น้ำมัน น้ำผึ้ง หรือน้ำอ้อย


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๑๑๔ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๒.โกสิยวรรค ๙.รูปิยสังโวหารสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์
ถ้าเขานำรูปิยะนั้นไปแลกของที่เป็นกัปปิยะมาถวาย ยกเว้นภิกษุผู้แลกเปลี่ยน
รูปิยะ ภิกษุนอกนั้นทุกรูปฉันได้ ถ้าทำได้อย่างนี้ นั่นเป็นการดี ถ้าทำไม่ได้
พึงบอกเขาว่า “โปรดทิ้งของนี้” ถ้าเขาทิ้งให้ นั่นเป็นการดี ถ้าไม่ทิ้งให้ พึงแต่งตั้ง
ภิกษุผู้ประกอบด้วยคุณสมบัติ ๕ อย่างให้เป็นผู้ทิ้งรูปิยะ คือ

คุณสมบัติของภิกษุผู้ทิ้งรูปิยะ ๕ อย่าง
๑. ไม่ลำเอียงเพราะชอบ
๒. ไม่ลำเอียงเพราะชัง
๓. ไม่ลำเอียงเพราะหลง
๔. ไม่ลำเอียงเพราะกลัว
๕. รู้วิธีว่าเป็นอันทิ้งหรือไม่เป็นอันทิ้ง

วิธีแต่งตั้งภิกษุผู้ทิ้งรูปิยะ และคำแต่งตั้ง
สงฆ์พึงแต่งตั้งอย่างนี้ คือ เบื้องต้นพึงขอให้ภิกษุรับ ครั้นแล้วภิกษุผู้ฉลาด
สามารถพึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติทุติยกรรมวาจาว่า
[๕๙๐] ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ถ้าสงฆ์พร้อมกันแล้วพึงแต่งตั้ง
ภิกษุชื่อนี้ให้เป็นผู้ทิ้งรูปิยะ นี่เป็นญัตติ
ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า สงฆ์แต่งตั้งภิกษุชื่อนี้ให้เป็นผู้ทิ้งรูปิยะ ท่าน
รูปใดเห็นด้วยกับการแต่งตั้งภิกษุชื่อนี้ให้เป็นผู้ทิ้งรูปิยะ ท่านรูปนั้นพึงนิ่ง ท่านรูปใด
ไม่เห็นด้วย ท่านรูปนั้นพึงทักท้วง
ภิกษุชื่อนี้สงฆ์แต่งตั้งให้เป็นผู้ทิ้งรูปิยะ สงฆ์เห็นด้วย เพราะฉะนั้นจึงนิ่ง
ข้าพเจ้าขอถือความนิ่งนั้นเป็นมติอย่างนี้
ภิกษุผู้ได้รับแต่งตั้งนั้นพึงทิ้งรูปิยะไป อย่ากำหนดที่ตก ถ้าทิ้งโดยกำหนดที่ตก
ต้องอาบัติทุกกฏ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๑๑๕ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๒.โกสิยวรรค ๙.รูปิยสังโวหารสิกขาบท อนาปัตติวาร
บทภาชนีย์
นิสสัคคิยปาจิตตีย์
[๕๙๑] รูปิยะ ภิกษุสำคัญว่าเป็นรูปิยะ แลกเปลี่ยนรูปิยะ ต้องอาบัติ
นิสสัคคิยปาจิตตีย์
รูปิยะ ภิกษุไม่แน่ใจ แลกเปลี่ยนรูปิยะ ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
รูปิยะ ภิกษุสำคัญว่าไม่ใช่รูปิยะ แลกเปลี่ยนรูปิยะ ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
สิ่งที่ไม่ใช่รูปิยะ ภิกษุสำคัญว่าเป็นรูปิยะ แลกเปลี่ยนรูปิยะ ต้องอาบัติ
นิสสัคคิยปาจิตตีย์
สิ่งที่ไม่ใช่รูปิยะ ภิกษุไม่แน่ใจ แลกเปลี่ยนรูปิยะ ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
สิ่งที่ไม่ใช่รูปิยะ ภิกษุสำคัญว่าไม่ใช่รูปิยะ แลกเปลี่ยนรูปิยะ ต้องอาบัติ
นิสสัคคิยปาจิตตีย์

ทุกทุกกฏ
สิ่งที่ไม่ใช่รูปิยะ ภิกษุสำคัญว่าเป็นรูปิยะ ต้องอาบัติทุกกฏ
สิ่งที่ไม่ใช่รูปิยะ ภิกษุไม่แน่ใจ ต้องอาบัติทุกกฏ
สิ่งที่ไม่ใช่รูปิยะ ภิกษุสำคัญว่าไม่ใช่รูปิยะ ไม่ต้องอาบัติ

อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[๕๙๒] ๑. ภิกษุวิกลจริต
๒. ภิกษุต้นบัญญัติ

รูปิยสังโวหารสิกขาบทที่ ๙ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๑๑๖ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๒.โกสิยวรรค ๑๐.กยวิกกยสิกขาบท นิทานวัตถุ
๒. โกสิยวรรค

๑๐. กยวิกกยสิกขาบท
ว่าด้วยการซื้อขาย

เรื่องพระอุปนันทศากยบุตร
[๕๙๓] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น ท่านพระอุปนันทศากยบุตรชำนาญ
การตัดเย็บจีวร ท่านได้เอาผ้าเก่า ๆ ทำสังฆาฏิแล้วย้อม จัดแต่งอย่างดีแล้วใช้ห่ม
สมัยนั้น ปริพาชกผู้หนึ่งห่มผ้าราคาแพงเข้าไปหาท่านพระอุปนันทศากยบุตร
ถึงที่อยู่ ครั้นถึงแล้วได้กล่าวกับท่านว่า “สังฆาฏิของท่านงามจริง ๆ แลกกับผ้าของ
เราเถิด”
ท่านพระอุปนันทศากยบุตรกล่าวว่า “ท่านจงรู้เองเถิด”
ปริพาชกตอบว่า “ข้าพเจ้ารู้ ขอรับ”
ท่านพระอุปนันทศากยบุตรตกลงให้ไป ปริพาชกห่มสังฆาฏิผืนนั้นไปปริพาชการาม
ปริพาชกทั้งหลายถามปริพาชกนั้นว่า “สังฆาฏิของท่านงามจริง ๆ ท่านได้มาแต่ไหน”
เขาตอบว่า “ข้าพเจ้าเอาผ้านั้นแลกมา”
พวกปริพาชกกล่าวว่า “สังฆาฏิผืนนี้จะทนอยู่ได้สักกี่วัน ผ้าผืนนั้นดีกว่า”
สมัยนั้น ปริพาชกนั้นคิดว่า “ปริพาชกทั้งหลายกล่าวจริง สังฆาฏิผืนนี้จะทนอยู่
ได้สักกี่วัน ผ้าผืนนั้นดีกว่า” จึงกลับไปหาท่านพระอุปนันทศากยบุตรถึงที่อยู่ ครั้นถึง
แล้วได้กล่าวกับท่านว่า “เอาสังฆาฏิของท่านไป จงให้ผ้าของเราคืนมา”
ท่านพระอุปนันทศากยบุตรกล่าวว่า “เรากล่าวกับท่านแล้วมิใช่หรือว่า ‘ท่าน
จงรู้เองเถิด’ เราจะไม่ให้”
ปริพาชกนั้นตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “แม้พวกคฤหัสถ์ยังคืนของให้
คฤหัสถ์ผู้เดือดร้อน บรรพชิตไม่ยอมคืนของให้บรรพชิตด้วยกันหรือ”


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๑๑๗ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๒.โกสิยวรรค ๑๐.กยวิกกยสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์
พวกภิกษุได้ยินปริพาชกนั้นตำหนิ ประณาม โพนทะนา บรรดาภิกษุผู้มักน้อย
ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนท่านพระอุปนันทศากยบุตรจึงทำ
การซื้อขายกับปริพาชกเล่า” ครั้นภิกษุเหล่านั้นตำหนิท่านพระอุปนันทศากยบุตร
โดยประการต่าง ๆ แล้วจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ

ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามท่านพระอุปนันทศากยบุตรว่า “อุปนันทะ ทราบว่าเธอทำการซื้อขายกับ
ปริพาชก จริงหรือ” ท่านพระอุปนันทศากยบุตรทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ฯลฯ โมฆบุรุษ ไฉนเธอจึงทำการซื้อขายกับ
ปริพาชกเล่า การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่
เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบท
นี้ขึ้นแสดงดังนี้

พระบัญญัติ
[๕๙๔] ก็ ภิกษุใดทำการซื้อขายมีประการต่าง ๆ ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
เรื่องพระอุปนันทศากยบุตร จบ

สิกขาบทวิภังค์
[๕๙๕] คำว่า ก็...ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ก็...ใด
คำว่า ภิกษุ มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุ เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระ
ภาคทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุ ในความหมายนี้
ที่ชื่อว่า มีประการต่าง ๆ ได้แก่ จีวร บิณฑบาต เสนาสนะและคิลานปัจจัย
เภสัชบริขาร โดยที่สุดกระทั่งก้อนจุรณ ไม้ชำระฟันหรือด้ายชายผ้า
คำว่า ทำการซื้อขาย คือ ภิกษุพูดเป็นเชิงบังคับว่า “ท่านจงให้ของสิ่งนี้
ด้วยของนี้ นำของสิ่งนี้มาด้วยของนี้ แลกเปลี่ยนของสิ่งนี้ด้วยของนี้ จ่ายของสิ่งนี้ด้วย
ของนี้” ดังนี้เป็นต้น ต้องอาบัติทุกกฏ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๑๑๘ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๒.โกสิยวรรค ๑๐.กยวิกกยสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์
ก็ต่อเมื่อสิ่งของของตนตกไปอยู่ในมือของคนอื่น และสิ่งของของคนอื่นตกมา
อยู่ในมือของตนจัดเป็นการซื้อขายกัน เป็นนิสสัคคีย์ คือเป็นของจำต้องสละแก่สงฆ์
แก่คณะหรือแก่บุคคล
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงสละของที่เป็นนิสสัคคีย์อย่างนี้

วิธีสละของที่เป็นนิสสัคคีย์
สละแก่สงฆ์
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง กราบเท้าภิกษุผู้
แก่พรรษา นั่งกระโหย่งประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านผู้เจริญ กระผมได้ทำการ
ซื้อขายมีประการต่าง ๆ สิ่งของนี้ของกระผมเป็นนิสสัคคีย์ กระผมสละสิ่งของนี้แก่
สงฆ์” ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ
ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงรับอาบัติ ครั้นรับอาบัติแล้ว พึงคืนสิ่งของที่เธอสละให้
ด้วยญัตติกรรมวาจาว่า “ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า สิ่งของนี้ของภิกษุชื่อนี้
เป็นนิสสัคคีย์ เธอสละแก่สงฆ์ ถ้าสงฆ์พร้อมกันแล้วก็พึงให้สิ่งของนี้แก่ภิกษุชื่อนี้”

สละแก่คณะ
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุหลายรูป ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง กราบ
เท้าภิกษุผู้แก่พรรษา นั่งกระโหย่งประนมมือ กล่าวว่า “ท่านผู้เจริญ กระผมทำการ
ซื้อขายมีประการต่าง ๆ สิ่งของนี้ของกระผมเป็นนิสสัคคีย์ กระผมสละสิ่งของนี้แก่
ท่านทั้งหลาย” ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ
ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงรับอาบัติ พึงคืนสิ่งของที่เธอสละให้ด้วยกล่าวว่า
“ท่านทั้งหลายจงฟังข้าพเจ้า สิ่งของนี้ของภิกษุชื่อนี้เป็นนิสสัคคีย์ เธอสละแก่ท่าน
ทั้งหลาย ถ้าท่านทั้งหลายพร้อมกันแล้วก็พึงให้สิ่งของนี้แก่ภิกษุชื่อนี้”

สละแก่บุคคล
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุรูปหนึ่ง ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง นั่ง
กระโหย่งประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านขอรับ กระผมทำการซื้อขายมีประการ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๑๑๙ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๒.โกสิยวรรค ๑๐.กยวิกกยสิกขาบท อนาปัตติวาร
ต่าง ๆ สิ่งของนี้ของกระผมเป็นนิสสัคคีย์ กระผมสละสิ่งของนี้แก่ท่าน” ครั้นสละ
แล้วพึงแสดงอาบัติ
ภิกษุผู้รับพึงรับอาบัติแล้วคืนสิ่งของที่เธอสละให้ด้วยกล่าวว่า “กระผมคืน
สิ่งของนี้ให้แก่ท่าน”

บทภาชนีย์
ติกนิสสัคคิยปาจิตตีย์
[๕๙๖] เป็นการซื้อขาย ภิกษุสำคัญว่าเป็นการซื้อขาย ต้องอาบัตินิสสัคคิย
ปาจิตตีย์
เป็นการซื้อขาย ภิกษุไม่แน่ใจ ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
เป็นการซื้อขาย ภิกษุสำคัญว่าไม่ได้เป็นการซื้อขาย ต้องอาบัตินิสสัคคิย
ปาจิตตีย์

ทุกทุกกฏ
ไม่ได้เป็นการซื้อขาย ภิกษุสำคัญว่าเป็นการซื้อขาย ต้องอาบัติทุกกฏ
ไม่ได้เป็นการซื้อขาย ภิกษุไม่แน่ใจ ต้องอาบัติทุกกฏ
ไม่ได้เป็นการซื้อขาย ภิกษุสำคัญว่าไม่ได้เป็นการซื้อขาย ไม่ต้องอาบัติ

อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[๕๙๗] ๑. ภิกษุถามราคา
๒. ภิกษุบอกกัปปิยการก
๓. ภิกษุกล่าวว่า “เรามีของนี้ แต่เราต้องการของนี้ และนี้”
๔. ภิกษุวิกลจริต
๕. ภิกษุต้นบัญญัติ
กยวิกกยสิกขาบทที่ ๑๐ จบ
โกสิยวรรคที่ ๒ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๑๒๐ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๒.โกสิยวรรค รวมสิกขาบทที่มีในโกสิยวรรค
รวมสิกขาบทที่มีในโกสิยวรรค
โกสิยวรรคมี ๑๐ สิกขาบท คือ

๑. โกสิยสิกขาบท ว่าด้วยการทำสันถัตใยไหม
๒. สุทธกาฬกสิกขาบท ว่าด้วยการทำสันถัตโดยใช้ขนเจียมดำล้วน
๓. เทฺวภาคสิกขาบท ว่าด้วยการทำสันถัตโดยใช้ขนเจียมดำ ๒ ส่วน
๔. ฉัพพัสสสิกขาบท ว่าด้วยการเก็บสันถัตไว้ ๖ ปี
๕. นิสีทนสันถตสิกขาบท ว่าด้วยการทำสันถัตสำหรับรองนั่ง
๖. เอฬกโลมสิกขาบท ว่าด้วยการรับขนเจียม
๗. เอฬกโลมโธวาปนสิกขาบท ว่าด้วยการให้ซักขนเจียม
๘. รูปิยสิกขาบท ว่าด้วยการรับรูปิยะ
๙. รูปิยสังโวหารสิกขาบท ว่าด้วยการแลกเปลี่ยนรูปิยะ
๑๐. กยวิกกยสิกขาบท ว่าด้วยการซื้อขาย


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๑๒๑ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๓.ปัตตวรรค ๑.ปัตติสิกขาบท นิทานวัตถุ
๓. ปัตตวรรค
หมวดว่าด้วยบาตร

๑. ปัตตสิกขาบท
ว่าด้วยบาตร

เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๕๙๘] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ทำการสะสม
บาตรไว้เป็นอันมาก พวกชาวบ้านเดินเที่ยวตามวิหารเห็นเข้าจึงตำหนิ ประณาม
โพนทะนาว่า “ไฉนพระสมณะเชื้อสายศากยบุตรจึงทำการสะสมบาตรไว้เป็นอันมาก
จะขายบาตรหรือตั้งร้านขายภาชนะดินเผาหรือ”
ภิกษุทั้งหลายได้ยินชาวบ้านตำหนิ ประณาม โพนทะนา บรรดาภิกษุผู้
มักน้อย ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพวกภิกษุฉัพพัคคีย์จึงทรง
อติเรกบาตร๑ เล่า” ครั้นภิกษุเหล่านั้นตำหนิพวกภิกษุฉัพพัคคีย์โดยประการต่าง ๆ
แล้วจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ

ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามพวกภิกษุฉัพพัคคีย์ว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่าพวกเธอทรงอติเรกบาตร
จริงหรือ” พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาค
พุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ฯลฯ โมฆบุรุษทั้งหลาย ไฉนพวกเธอจึงทรงอติเรกบาตรไว้เล่า
โมฆบุรุษทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือ
ทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลาย
ยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้

เชิงอรรถ :
๑ อติเรกบาตร คือบาตรนอกจากบาตรอธิฏฐานที่ภิกษุตั้งไว้เป็นบริขารใช้บิณฑบาตเพียงใบเดียว (ดูข้อ๖๐๒
หน้า ๑๒๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๑๒๒ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๓.ปัตตวรรค ๑.ปัตติสิกขาบท พระอนุบัญญัติ
พระบัญญัติ
[๕๙๙] ก็ ภิกษุใดทรงอติเรกบาตร ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
สิกขาบทนี้พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติไว้แก่ภิกษุทั้งหลายอย่างนี้
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ

เรื่องพระอานนท์
[๖๐๐] สมัยนั้น อติเรกบาตรเกิดขึ้นแก่ท่านพระอานนท์ ท่านพระอานนท์
ต้องการจะถวายอติเรกบาตรนั้นแก่ท่านพระสารีบุตร แต่ท่านพระสารีบุตรอยู่ที่เมือง
สาเกต ทีนั้น ท่านพระอานนท์ได้มีความคิดว่า “พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติ
สิกขาบทไว้ว่า ‘ภิกษุไม่พึงทรงอติเรกบาตร’ ก็อติเรกบาตรนี้เกิดขึ้นแก่เรา เรา
ต้องการจะถวายท่านพระสารีบุตร แต่ท่านอยู่ที่เมืองสาเกต เราจะพึงปฏิบัติอย่างไร
หนอ” จึงได้นำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “อีกนานเพียงไร สารีบุตรจะกลับมา”
พระอานนท์กราบทูลว่า “อีก ๙ หรือ ๑๐ วันจึงจะกลับมา พระพุทธเจ้าข้า”

ทรงอนุญาตอติเรกบาตร
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมีกถาเพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ รับสั่ง
กับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ทรงอติเรกบาตรไว้ได้ ๑๐ วันเป็น
อย่างมาก” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้

พระอนุบัญญัติ
[๖๐๑] ภิกษุพึงทรงอติเรกบาตรไว้ได้ ๑๐ วันเป็นอย่างมาก ให้เกิน
กำหนดนั้นไป ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
เรื่องพระอานนท์ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๑๒๓ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๓.ปัตตวรรค ๑.ปัตติสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์
สิกขาบทวิภังค์
[๖๐๒] คำว่า ๑๐ วันเป็นอย่างมาก คือ ครอบครองไว้ได้ ๑๐ วันเป็นอย่าง
มาก
ที่ชื่อว่า อติเรกบาตร ได้แก่ บาตรที่ไม่ได้อธิษฐาน ไม่ได้วิกัป
ที่ชื่อว่า บาตร ได้แก่บาตร ๒ ชนิด คือ บาตรเหล็ก และบาตรดินเผา

ขนาดบาตร
บาตรมี ๓ ขนาด คือ (๑) บาตรขนาดใหญ่ (๒) บาตรขนาดกลาง (๓) บาตร
ขนาดเล็ก
ที่ชื่อว่า บาตรขนาดใหญ่ จุข้าวสุกจากข้าวสาร ๒ ทะนาน จุของเคี้ยวเศษ
หนึ่งส่วนสี่๑ จุกับข้าวพอสมควรแก่ข้าวสุกนั้น
ที่ชื่อว่า บาตรขนาดกลาง จุข้าวสุกจากข้าวสาร ๑ ทะนาน จุของเคี้ยวเศษ
หนึ่งส่วนสี่ จุกับข้าวพอสมควรแก่ข้าวสุกนั้น
ที่ชื่อว่า บาตรขนาดเล็ก จุข้าวสุกจากข้าวสารครึ่งทะนาน จุของเคี้ยวเศษหนึ่ง
ส่วนสี่ จุกับข้าวพอสมควรแก่ข้าวสุกนั้น
บาตรมีขนาดใหญ่กว่านั้นเป็นบาตรที่ใช้ไม่ได้ บาตรมีขนาดเล็กกว่านั้นก็เป็น
บาตรที่ใช้ไม่ได้
คำว่า ให้เกินกำหนดนั้นไป ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์ ความว่า เมื่อรุ่ง
อรุณวันที่ ๑๑ บาตรใบนั้น เป็นนิสสัคคีย์ คือเป็นของจำต้องสละแก่สงฆ์ แก่คณะ
หรือแก่บุคคล
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงสละบาตรที่เป็นนิสสัคคีย์อย่างนี้

เชิงอรรถ :
๑ คือเศษหนึ่งส่วนสี่ของข้าวสุก (วิ.อ. ๒/๖๐๒/๒๑๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๑๒๔ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๓.ปัตตวรรค ๑.ปัตติสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์
วิธีสละบาตรที่เป็นนิสสัคคีย์
สละแก่สงฆ์
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง กราบเท้าภิกษุผู้
แก่พรรษา นั่งกระโหย่งประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านผู้เจริญ บาตรใบนี้ของ
กระผมเกินกำหนด ๑๐ วัน เป็นนิสสัคคีย์ กระผมสละบาตรใบนี้แก่สงฆ์” ครั้นสละ
แล้วพึงแสดงอาบัติ
ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงรับอาบัติ พึงคืนบาตรที่เธอสละให้ด้วยญัตติกรรมวาจาว่า
[๖๐๓] “ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า บาตรใบนี้ของภิกษุชื่อนี้ เป็น
นิสสัคคีย์ เธอสละแก่สงฆ์ ถ้าสงฆ์พร้อมกันแล้วพึงให้บาตรใบนี้แก่ภิกษุชื่อนี้”

สละแก่คณะ
[๖๐๔] ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุหลายรูป ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง
กราบเท้าภิกษุผู้แก่พรรษา นั่งกระโหย่งประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านผู้เจริญ
บาตรใบนี้ของกระผมเกินกำหนด ๑๐ วัน เป็นนิสสัคคีย์ กระผมสละบาตรใบนี้แก่
ท่านทั้งหลาย” ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ
ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงรับอาบัติ พึงคืนบาตรที่เธอสละให้ด้วยกล่าวว่า
[๖๐๕] “ท่านทั้งหลายจงฟังข้าพเจ้า บาตรใบนี้ของภิกษุชื่อนี้เป็นนิสสัคคีย์
เธอสละแล้วแก่ท่านทั้งหลาย ถ้าท่านทั้งหลายพร้อมกันแล้วพึงให้บาตรใบนี้แก่ภิกษุ
ชื่อนี้”

สละแก่บุคคล
[๖๐๖] ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุรูปหนึ่ง ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง
นั่งกระโหย่งประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านขอรับ บาตรใบนี้ของกระผมเกิน
กำหนด ๑๐ วัน เป็นนิสสัคคีย์ กระผมสละบาตรใบนี้แก่ท่าน” ครั้นสละแล้วพึง
แสดงอาบัติ
ภิกษุผู้รับสละนั้นพึงรับอาบัติแล้วคืนบาตรที่สละให้ด้วยกล่าวว่า “กระผมให้
บาตรใบนี้แก่ท่าน”


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๑๒๕ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๓.ปัตตวรรค ๑.ปัตติสิกขาบท บทภาชนีย์
บทภาชนีย์
นิสสัคคิยปาจิตตีย์
[๖๐๗] บาตรที่เกินกำหนด ๑๐ วัน ภิกษุสำคัญว่าเกินกำหนดแล้ว ต้อง
อาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
บาตรที่เกินกำหนด ๑๐ วัน ภิกษุไม่แน่ใจ ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
บาตรที่เกินกำหนด ๑๐ วัน ภิกษุสำคัญว่ายังไม่เกิน ต้องอาบัตินิสสัคคิย
ปาจิตตีย์
บาตรที่ยังไม่ได้อธิษฐาน ภิกษุสำคัญว่าอธิษฐานแล้ว ต้องอาบัตินิสสัคคิย
ปาจิตตีย์
บาตรที่ยังไม่ได้วิกัป ภิกษุสำคัญว่าวิกัปแล้ว ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
บาตรยังไม่ได้สละ ภิกษุสำคัญว่าสละแล้ว ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
บาตรยังไม่สูญหาย ภิกษุสำคัญว่าสูญหายแล้ว ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
บาตรยังไม่ฉิบหาย ภิกษุสำคัญว่าฉิบหายแล้ว ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
บาตรยังไม่แตก ภิกษุสำคัญว่าบาตรแตกแล้ว ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
บาตรยังไม่ถูกโจรชิงเอาไป ภิกษุสำคัญว่าถูกชิงเอาไป ต้องอาบัตินิสสัคคิย
ปาจิตตีย์

ติกทุกกฏ
บาตรที่เป็นนิสสัคคีย์ ภิกษุยังไม่สละ ใช้สอย ต้องอาบัติทุกกฏ
บาตรที่ยังไม่เกินกำหนด ๑๐ วัน ภิกษุสำคัญว่าเกินกำหนดแล้ว ใช้สอย ต้อง
อาบัติทุกกฏ
บาตรที่ยังไม่เกินกำหนด ๑๐ วัน ภิกษุไม่แน่ใจ ใช้สอย ต้องอาบัติทุกกฏ
บาตรที่ยังไม่เกินกำหนด ๑๐ วัน ภิกษุสำคัญว่ายังไม่เกินกำหนด ใช้สอย
ไม่ต้องอาบัติ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๑๒๖ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๓.ปัตตวรรค ๑.ปัตติสิกขาบท อนาปัตติวาร
อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[๖๐๘] ๑. ภิกษุผู้อธิษฐานภายใน ๑๐ วัน
๒. ภิกษุผู้วิกัปไว้ภายใน ๑๐ วัน
๓. ภิกษุผู้สละให้ไปภายใน ๑๐ วัน
๔. ภิกษุผู้มีบาตรสูญหายภายใน ๑๐ วัน
๕. ภิกษุผู้มีบาตรฉิบหายภายใน ๑๐ วัน
๖. ภิกษุผู้มีบาตรแตกภายใน ๑๐ วัน
๗. ภิกษุผู้มีบาตรถูกโจรชิงเอาไปภายใน ๑๐ วัน
๘. ภิกษุผู้มีบาตรถูกถือเอาไปโดยวิสาสะภายใน ๑๐ วัน
๙. ภิกษุวิกลจริต
๑๐. ภิกษุต้นบัญญัติ
สมัยนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ไม่ยอมคืนบาตรที่มีผู้สละให้ ภิกษุทั้งหลายจึงนำ
เรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์รับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย
บาตรที่ภิกษุสละให้แล้ว จะไม่คืนให้ไม่ได้ ภิกษุใดไม่คืน ต้องอาบัติทุกกฏ”

ปัตตสิกขาบทที่ ๑ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๑๒๗ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๓.ปัตตวรรค ๒.อูนปัญจพันธนสิกขาบท นิทานวัตถุ
๓. ปัตตวรรค

๒. อูนปัญจพันธนสิกขาบท
ว่าด้วยบาตรมีรอยซ่อมหย่อนกว่า ๕ แห่ง

เรื่องภิกษุหลายรูป
[๖๐๙] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ นิโครธาราม เขต
กรุงกบิลพัสดุ์ แคว้นสักกะ ครั้งนั้น นายช่างหม้อคนหนึ่งปวารณาภิกษุทั้งหลายไว้ว่า
“กระผมจะถวายบาตรแก่พระคุณเจ้าผู้ต้องการบาตร”
สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายไม่รู้ประมาณ ออกปากขอบาตรเป็นอันมาก พวกภิกษุ
ผู้มีบาตรขนาดเล็กก็ออกปากขอบาตรขนาดใหญ่ พวกภิกษุผู้มีบาตรขนาดใหญ่ก็
ออกปากขอบาตรขนาดเล็ก นายช่างมัวทำบาตรเป็นอันมากให้ภิกษุทั้งหลาย จนไม่
สามารถทำการค้าขายอย่างอื่น ตนเองก็หาเลี้ยงชีพไม่พอ ทั้งบุตรภรรยาก็พลอย
ลำบากไปด้วย พวกชาวบ้านตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพวกพระสมณะเชื้อ
สายศากยบุตรจึงไม่รู้ประมาณ ออกปากขอบาตรเป็นอันมากเล่า นายช่างมัวทำ
บาตรเป็นอันมากให้ภิกษุทั้งหลายจนไม่สามารถทำการค้าขายอย่างอื่น ตนเองก็หา
เลี้ยงชีพไม่พอ ทั้งบุตรภรรยาก็พลอยลำบากไปด้วย”
พวกภิกษุได้ยินชาวบ้านตำหนิ ประณาม โพนทะนา บรรดาภิกษุผู้มักน้อย
ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทนาว่า “ไฉนภิกษุทั้งหลายจึงไม่รู้ประมาณ
ออกปากขอบาตรเป็นอันมากเล่า” ครั้นภิกษุทั้งหลายตำหนิภิกษุเหล่านั้นโดย
ประการต่าง ๆ แล้วจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ

ทรงห้ามขอบาตร
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามภิกษุว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า พวกภิกษุไม่รู้ประมาณ ออกปากขอ
บาตรเป็นอันมาก จริงหรือ” ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๑๒๘ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๓.ปัตตวรรค ๒.อูนปัญจพันธนสิกขาบท นิทานวัตถุ
ผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ฯลฯ ภิกษุทั้งหลาย ไฉนโมฆบุรุษเหล่านั้นจึงไม่รู้
ประมาณ ออกปากขอบาตรเล่า ภิกษุทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยัง
ไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ”
ครั้นตำหนิแล้วจึงทรงแสดงธรรมีกถาแล้วตรัสกับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุไม่พึงออกปากขอบาตร รูปใดขอ ต้องอาบัติทุกกฏ”
เรื่องภิกษุหลายรูป จบ

ทรงอนุญาตให้ขอบาตรได้
[๖๑๐] สมัยนั้น บาตรของภิกษุรูปหนึ่งแตก เธอมีความยำเกรงว่า “พระผู้มี
พระภาคทรงห้ามการออกปากขอบาตร” จึงไม่ออกปากขอบาตร เที่ยวรับบิณฑบาต
ด้วยมือทั้งสอง พวกชาวบ้านจึงตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพวกพระสมณะ
เชื้อสายศากยบุตรจึงเที่ยวรับบิณฑบาตด้วยมือทั้งสองเหมือนพวกเดียรถีย์เล่า”
พวกภิกษุได้ยินชาวบ้านตำหนิ ประณาม โพนทะนา จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูล
พระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมีกถาเพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ รับสั่ง
กับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุผู้มีบาตรหายหรือบาตรแตก
ออกปากขอบาตรได้”

เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๖๑๑] สมัยนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ทราบว่า “พระผู้มีพระภาคทรงอนุญาต
ให้ภิกษุผู้มีบาตรหายหรือบาตรแตกออกปากขอบาตรได้” พวกเธอมีบาตรแตกเพียง
เล็กน้อยบ้าง บาตรกะเทาะเพียงเล็กน้อยบ้าง บาตรมีรอยขูดขีดเพียงเล็กน้อยบ้าง
ออกปากขอบาตรมาเป็นอันมาก
สมัยนั้น นายช่างหม้อมัวทำบาตรเป็นอันมากให้ภิกษุทั้งหลายอยู่อย่างนั้น จน
ไม่สามารถค้าขายอย่างอื่น ตนเองก็หาเลี้ยงชีพไม่พอ ทั้งบุตรภรรยาก็พลอยลำบาก
ไปด้วย พวกชาวบ้านจึงตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพวกพระสมณะเชื้อสาย
ศากยบุตรจึงไม่รู้ประมาณ ออกปากขอบาตรเป็นอันมากเล่า นายช่างหม้อมัวทำ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๑๒๙ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๓.ปัตตวรรค ๒.อูนปัญจพันธนสิกขาบท พระบัญญัติ
บาตรเป็นอันมากให้ภิกษุทั้งหลาย จนไม่สามารถทำการค้าขายอย่างอื่น ตนเองก็หา
เลี้ยงชีพไม่พอ ทั้งบุตรภรรยาก็พลอยลำบากไปด้วย”
พวกภิกษุได้ยินชาวบ้านตำหนิ ประณาม โพนทะนา บรรดาภิกษุผู้มักน้อย
ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพวกภิกษุฉัพพัคคีย์มีบาตรแตกเพียง
เล็กน้อยบ้าง บาตรกะเทาะเพียงเล็กน้อยบ้าง บาตรมีรอยขูดขีดเพียงเล็กน้อยบ้าง
ออกปากขอบาตรมาเป็นอันมากเล่า” ครั้นภิกษุเหล่านั้นตำหนิพวกภิกษุฉัพพัคคีย์
โดยประการต่าง ๆ แล้วจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ

ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามพวกภิกษุฉัพพัคคีย์ว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า พวกเธอมีบาตรแตกเพียง
เล็กน้อยบ้าง บาตรกะเทาะเพียงเล็กน้อยบ้าง บาตรมีรอยขูดขีดเพียงเล็กน้อยบ้าง ก็
ออกปากขอบาตรมาเป็นอันมาก จริงหรือ” พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ทูลรับว่า “จริง
พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ฯลฯ โมฆบุรุษทั้งหลาย
ไฉนพวกเธอทั้งที่มีบาตรแตกเพียงเล็กน้อยบ้าง บาตรกะเทาะเพียงเล็กน้อยบ้าง
บาตรมีรอยขูดขีดเพียงเล็กน้อยบ้าง ออกปากขอบาตรมาเป็นอันมากเล่า โมฆบุรุษ
ทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อม
ใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้
ขึ้นแสดงดังนี้

พระบัญญัติ
[๖๑๒] ก็ ภิกษุใดมีบาตรที่มีรอยซ่อมหย่อนกว่า ๕ แห่ง๑ ขอบาตรใหม่
ใบอื่น ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์ ภิกษุนั้นพึงสละบาตรใบนั้นในภิกษุบริษัท
บาตรใบสุดท้ายอันภิกษุบริษัทนั้นพึงมอบให้ภิกษุนั้นด้วยสั่งว่า “ภิกษุ บาตรนี้
เป็นของเธอ พึงใช้จนกว่าจะแตก” นี้เป็นการทำที่สมควรในเรื่องนั้น
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ

เชิงอรรถ :
๑ อูนปญฺจพนฺธเนน มีรอยซ่อมหย่อนกว่า ๕ แห่ง คือบาตรร้าวแล้วใช้เหล็กเจาะบาตรแล้วเอาเชือกด้าย
หรือลวดเย็บผูกแล้วอุดด้วยดีบุกหรือยาง (วิ.อ. ๒/๖๑๒-๓/๒๒๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๑๓๐ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๓.ปัตตวรรค ๒.อูนปัญจพันธนสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์
สิกขาบทวิภังค์
[๖๑๓] คำว่า ก็...ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ก็...ใด
คำว่า ภิกษุ มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุ เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระ
ภาคทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุ ในความหมายนี้
บาตรที่ชื่อว่า มีรอยซ่อมหย่อนกว่า ๕ แห่ง คือ บาตรไม่มีรอยซ่อม หรือ
มีรอยซ่อมเพียง ๑ แห่ง มีรอยซ่อมเพียง ๒ แห่ง มีรอยซ่อมเพียง ๓ แห่ง มีรอย
ซ่อมเพียง ๔ แห่ง
บาตรที่ชื่อว่า ไม่มีรอยซ่อม ได้แก่ บาตรไม่มีรอยร้าวถึง ๒ นิ้ว
บาตรที่ชื่อว่า มีรอยซ่อม ได้แก่ บาตรมีรอยร้าวยาว ๒ นิ้ว
บาตรที่ชื่อว่า ใหม่ พระผู้มีพระภาคตรัสมุ่งเอาการออกปากขอมา
คำว่า ขอ คือ ออกปากขอ ต้องอาบัติทุกกฏเพราะพยายาม บาตรเป็น
นิสสัคคีย์เพราะได้มา คือเป็นของจำต้องสละในท่ามกลางสงฆ์
ภิกษุทุกรูปพึงถือบาตรที่อธิษฐานไปประชุม ไม่ควรอธิษฐานบาตรคุณภาพไม่ดี
ด้วยคิดว่า “เราจะเอาบาตรมีค่ามาก” ถ้าอธิษฐานบาตรคุณภาพไม่ดีด้วยคิดว่า “เรา
จะเอาบาตรมีค่ามาก” ต้องอาบัติทุกกฏ
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงสละบาตรที่เป็นนิสสัคคีย์อย่างนี้

วิธีสละบาตรที่เป็นนิสสัคคีย์
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง กราบเท้าภิกษุผู้
แก่พรรษา นั่งกระโหย่งประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านผู้เจริญ กระผมมีบาตรมี
รอยซ่อมหย่อนกว่า ๕ แห่ง ขอบาตรใบนี้มา เป็นนิสสัคคีย์ กระผมสละบาตรใบนี้
แก่สงฆ์” ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ
ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงรับอาบัติ สงฆ์พึงแต่งตั้งภิกษุผู้ประกอบด้วยคุณสมบัติ
๕ อย่างให้เป็นผู้เปลี่ยนบาตร


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๑๓๑ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๓.ปัตตวรรค ๒.อูนปัญจพันธนสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์
คุณสมบัติของภิกษุผู้เปลี่ยนบาตร ๕ อย่าง
๑. ไม่ลำเอียงเพราะชอบ
๒. ไม่ลำเอียงเพราะชัง
๓. ไม่ลำเอียงเพราะหลง
๔. ไม่ลำเอียงเพราะกลัว
๕. รู้จักวิธีว่าเป็นอันเปลี่ยนหรือไม่เป็นอันเปลี่ยน

วิธีแต่งตั้งภิกษุผู้เปลี่ยนบาตร และกรรมวาจาแต่งตั้ง
สงฆ์พึงแต่งตั้งอย่างนี้ คือเบื้องต้น พึงขอให้ภิกษุรับ ครั้นแล้วภิกษุผู้ฉลาด
สามารถพึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติทุติยกรรมวาจาว่า
[๖๑๔] ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ถ้าสงฆ์พร้อมแล้วพึงสมมติภิกษุนี้
ให้เป็นผู้เปลี่ยนบาตร นี่เป็นญัตติ
ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า สงฆ์แต่งตั้งภิกษุชื่อนี้ให้เป็นผู้เปลี่ยนบาตร
ท่านรูปใดเห็นด้วยกับการแต่งตั้งภิกษุชื่อนี้ให้เป็นผู้เปลี่ยนบาตร ท่านรูปนั้นพึงนิ่ง
ท่านรูปใดไม่เห็นด้วย ท่านรูปนั้นพึงทักท้วง
ภิกษุชื่อนี้สงฆ์แต่งตั้งให้เป็นผู้เปลี่ยนบาตร สงฆ์เห็นด้วย เพราะฉะนั้นจึงนิ่ง
ข้าพเจ้าขอถือความนิ่งนั้นเป็นมติอย่างนี้
[๖๑๕] ภิกษุผู้ได้รับแต่งตั้งพึงให้เปลี่ยนบาตร พึงเรียนพระเถระว่า “ท่าน
ผู้เจริญ ท่านจงเปลี่ยนบาตร” ถ้าพระเถระเปลี่ยน ก็พึงถวายบาตรของพระเถระให้
พระเถระรูปที่ ๒ เปลี่ยน ภิกษุจะไม่เปลี่ยนเพราะความสงสารเธอไม่ได้ ภิกษุใดไม่
ยอมเปลี่ยน ต้องอาบัติทุกกฏ ไม่ควรให้ภิกษุผู้ไม่มีบาตรเปลี่ยน ควรให้เปลี่ยนเลื่อน
ลงมาโดยวิธีนี้จนถึงภิกษุใหม่ในสงฆ์ บาตรใบสุดท้ายท่ามกลางสงฆ์ควรมอบแก่ภิกษุ
นั้นด้วยสั่งว่า “บาตรนี้เป็นของเธอ พึงใช้จนกว่าจะแตก”
ภิกษุนั้นไม่ควรเก็บบาตรไว้ในที่ไม่ควร ไม่ควรใช้สอยโดยวิธีไม่เหมาะ และไม่
ควรทอดทิ้งโดยคิดว่า ‘ทำอย่างไรบาตรใบนี้จะหาย ฉิบหายหรือแตก’ ถ้าเธอเก็บไว้
ในที่ที่ไม่เหมาะ ใช้สอยไม่ถูกวิธีหรือปล่อยทิ้ง ต้องอาบัติทุกกฏ
คำว่า นี้เป็นการทำที่สมควรในเรื่องนั้น คือ นี้เป็นความถูกต้องในเรื่องนั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๑๓๒ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๓.ปัตตวรรค ๒.อูนปัญจพันธนสิกขาบท บทภาชนีย์
บทภาชนีย์
บาตรที่ไม่มีรอยซ่อม
[๖๑๖] ภิกษุมีบาตรที่ไม่มีรอยซ่อม ขอบาตรที่ไม่มีรอยซ่อม ต้องอาบัติ
นิสสัคคิยปาจิตตีย์
ภิกษุมีบาตรที่ไม่มีรอยซ่อม ขอบาตรที่มีรอยซ่อม ๑ แห่ง ต้องอาบัติ
นิสสัคคิยปาจิตตีย์
ภิกษุมีบาตรที่ไม่มีรอยซ่อม ขอบาตรที่มีรอยซ่อม ๒ แห่ง ต้องอาบัติ
นิสสัคคิยปาจิตตีย์
ภิกษุมีบาตรที่ไม่มีรอยซ่อม ขอบาตรที่มีรอยซ่อม ๓ แห่ง ต้องอาบัติ
นิสสัคคิยปาจิตตีย์
ภิกษุมีบาตรที่ไม่มีรอยซ่อม ขอบาตรที่มีรอยซ่อม ๔ แห่ง ต้องอาบัติ
นิสสัคคิยปาจิตตีย์

บาตรที่มีรอยซ่อม ๑ แห่ง
ภิกษุมีบาตรที่มีรอยซ่อม ๑ แห่ง ขอบาตรที่ไม่มีรอยซ่อม ต้องอาบัติ
นิสสัคคิยปาจิตตีย์
ภิกษุมีบาตรที่มีรอยซ่อม ๑ แห่ง ขอบาตรที่มีรอยซ่อม ๑ แห่ง ต้องอาบัติ
นิสสัคคิยปาจิตตีย์
ภิกษุมีบาตรที่มีรอยซ่อม ๑ แห่ง ขอบาตรที่มีรอยซ่อม ๒ แห่ง ต้องอาบัติ
นิสสัคคิยปาจิตตีย์
ภิกษุมีบาตรที่มีรอยซ่อม ๑ แห่ง ขอบาตรที่มีรอยซ่อม ๓ แห่ง ต้องอาบัติ
นิสสัคคิยปาจิตตีย์
ภิกษุมีบาตรที่มีรอยซ่อม ๑ แห่ง ขอบาตรที่มีรอยซ่อม ๔ แห่ง ต้องอาบัติ
นิสสัคคิยปาจิตตีย์


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๑๓๓ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๓.ปัตตวรรค ๒.อูนปัญจพันธนสิกขาบท บทภาชนีย์
บาตรที่มีรอยซ่อม ๒ แห่ง
ภิกษุมีบาตรที่มีรอยซ่อม ๒ แห่ง ขอบาตรที่ไม่มีรอยซ่อม ต้องอาบัติ
นิสสัคคิยปาจิตตีย์
ภิกษุมีบาตรที่มีรอยซ่อม ๒ แห่ง ขอบาตรที่มีรอยซ่อม ๑ แห่ง ต้องอาบัติ
นิสสัคคิยปาจิตตีย์
ภิกษุมีบาตรที่มีรอยซ่อม ๒ แห่ง ขอบาตรที่มีรอยซ่อม ๒ แห่ง ต้องอาบัติ
นิสสัคคิยปาจิตตีย์
ภิกษุมีบาตรที่มีรอยซ่อม ๒ แห่ง ขอบาตรที่มีรอยซ่อม ๓ แห่ง ต้องอาบัติ
นิสสัคคิยปาจิตตีย์
ภิกษุมีบาตรที่มีรอยซ่อม ๒ แห่ง ขอบาตรที่มีรอยซ่อม ๔ แห่ง ต้องอาบัติ
นิสสัคคิยปาจิตตีย์

บาตรที่มีรอยซ่อม ๓ แห่ง
ภิกษุมีบาตรที่มีรอยซ่อม ๓ แห่ง ขอบาตรที่ไม่มีรอยซ่อม ต้องอาบัตินิสสัคคิย
ปาจิตตีย์
ภิกษุมีบาตรที่มีรอยซ่อม ๓ แห่ง ขอบาตรที่มีรอยซ่อม ๑ แห่ง ต้องอาบัติ
นิสสัคคิยปาจิตตีย์
ภิกษุมีบาตรที่มีรอยซ่อม ๓ แห่ง ขอบาตรที่มีรอยซ่อม ๒ แห่ง ต้องอาบัติ
นิสสัคคิยปาจิตตีย์
ภิกษุมีบาตรที่มีรอยซ่อม ๓ แห่ง ขอบาตรที่มีรอยซ่อม ๓ แห่ง ต้องอาบัติ
นิสสัคคิยปาจิตตีย์
ภิกษุมีบาตรที่มีรอยซ่อม ๓ แห่ง ขอบาตรที่มีรอยซ่อม ๔ แห่ง ต้องอาบัติ
นิสสัคคิยปาจิตตีย์

บาตรที่มีรอยซ่อม ๔ แห่ง
ภิกษุมีบาตรที่มีรอยซ่อม ๔ แห่ง ขอบาตรที่ไม่มีรอยซ่อม ต้องอาบัติ
นิสสัคคิยปาจิตตีย์


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๑๓๔ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๓.ปัตตวรรค ๒.อูนปัญจพันธนสิกขาบท บทภาชนีย์
ภิกษุมีบาตรที่มีรอยซ่อม ๔ แห่ง ขอบาตรที่มีรอยซ่อม ๑ แห่ง ต้องอาบัติ
นิสสัคคิยปาจิตตีย์
ภิกษุมีบาตรที่มีรอยซ่อม ๔ แห่ง ขอบาตรที่มีรอยซ่อม ๒ แห่ง ต้องอาบัติ
นิสสัคคิยปาจิตตีย์
ภิกษุมีบาตรที่มีรอยซ่อม ๔ แห่ง ขอบาตรที่มีรอยซ่อม ๓ แห่ง ต้องอาบัติ
นิสสัคคิยปาจิตตีย์
ภิกษุมีบาตรที่มีรอยซ่อม ๔ แห่ง ขอบาตรที่มีรอยซ่อม ๔ แห่ง ต้องอาบัติ
นิสสัคคิยปาจิตตีย์

บาตรที่ไม่มีรอยซ่อม
ภิกษุมีบาตรที่ไม่มีรอยซ่อม ขอบาตรที่ยังไม่มีที่ซ่อม ต้องอาบัตินิสสัคคิย
ปาจิตตีย์
ภิกษุมีบาตรที่ไม่มีรอยซ่อม ขอบาตรที่มีที่ซ่อม ๑ แห่ง ... บาตรที่มีที่ซ่อม
๒ แห่ง ...บาตรที่มีที่ซ่อม ๓ แห่ง ...ภิกษุมีบาตรที่ไม่มีรอยซ่อม ขอบาตรที่มีที่ซ่อม
๔ แห่ง ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์

บาตรที่มีรอยซ่อม ๑ แห่ง
ภิกษุมีบาตรที่มีรอยซ่อม ๑ แห่ง ขอบาตรที่ยังไม่มีที่ซ่อม ...บาตรที่มีที่ซ่อม
๑ แห่ง ...บาตรที่มีที่ซ่อม ๒ แห่ง ...บาตรที่มีที่ซ่อม ๓ แห่ง ...ภิกษุมีบาตรที่มีรอย
ซ่อม ๑ แห่ง ขอบาตรที่มีที่ซ่อม ๔ แห่ง ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์

บาตรที่มีรอยซ่อม ๒ แห่ง
ภิกษุมีบาตรที่มีรอยซ่อม ๒ แห่ง ขอบาตรที่ยังไม่มีที่ซ่อม ...บาตรที่มีที่ซ่อม
๑ แห่ง ...บาตรที่มีที่ซ่อม ๒ แห่ง ...บาตรที่มีที่ซ่อม ๓ แห่ง ...ภิกษุมีบาตรที่มีรอย
ซ่อม ๒ แห่ง ขอบาตรที่มีที่ซ่อม ๔ แห่ง ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๑๓๕ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๓.ปัตตวรรค ๒.อูนปัญจพันธนสิกขาบท บทภาชนีย์
บาตรที่มีรอยซ่อม ๓ แห่ง
ภิกษุมีบาตรที่มีรอยซ่อม ๓ แห่ง ขอบาตรที่ยังไม่มีที่ซ่อม ...บาตรที่มีที่ซ่อม
๑ แห่ง ...บาตรที่มีที่ซ่อม ๒ แห่ง ...บาตรที่มีที่ซ่อม ๓ แห่ง ...ภิกษุมีบาตรที่มีรอย
ซ่อม ๓ แห่ง ขอบาตรที่มีที่ซ่อม ๔ แห่ง ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์

บาตรที่มีรอยซ่อม ๔ แห่ง
ภิกษุมีบาตรที่มีรอยซ่อม ๔ แห่ง ขอบาตรที่ยังไม่มีที่ซ่อม ...บาตรที่มีที่ซ่อม
๑ แห่ง ...บาตรที่มีที่ซ่อม ๒ แห่ง ...บาตรที่มีที่ซ่อม ๓ แห่ง ...ภิกษุมีบาตรที่มีรอย
ซ่อม ๔ แห่ง ขอบาตรที่มีที่ซ่อม ๔ แห่ง ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์

บาตรที่ยังไม่มีที่ซ่อม
ภิกษุมีบาตรที่ยังไม่มีที่ซ่อม ขอบาตรที่ไม่มีรอยซ่อม ต้องอาบัตินิสสัคคิย
ปาจิตตีย์ ภิกษุมีบาตรที่ยังไม่มีที่ซ่อม ขอบาตรมีรอยซ่อม ๑ แห่ง ...บาตรที่มีที่
ซ่อม ๒ แห่ง ...บาตรที่มีที่ซ่อม ๓ แห่ง ...ภิกษุมีบาตรที่ยังไม่มีที่ซ่อม ขอบาตรที่มี
ที่ซ่อม ๔ แห่ง ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์

บาตรที่มีที่ซ่อม ๑ แห่ง
ภิกษุมีบาตรที่มีที่ซ่อม ๑ แห่ง ขอบาตรที่ไม่มีรอยซ่อม ...บาตรที่มีรอยซ่อม ๑
แห่ง ...บาตรที่มีรอยซ่อม ๒ แห่ง ...บาตรที่มีรอยซ่อม ๓ แห่ง ...ภิกษุมีบาตรที่มีที่
ซ่อม ๑ แห่ง ขอบาตรที่มีรอยซ่อม ๔ แห่ง ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์

บาตรที่มีที่ซ่อม ๒ แห่ง
ภิกษุมีบาตรที่มีที่ซ่อม ๒ แห่ง ขอบาตรไม่มีรอยซ่อม ...บาตรที่มีรอยซ่อม ๑
แห่ง ...บาตรที่มีรอยซ่อม ๒ แห่ง ...บาตรที่มีรอยซ่อม ๓ แห่ง ...ภิกษุมีบาตรที่มีที่
ซ่อม ๒ แห่ง ขอบาตรที่มีรอยซ่อม ๔ แห่ง ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๑๓๖ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๓.ปัตตวรรค ๒.อูนปัญจพันธนสิกขาบท บทภาชนีย์
บาตรที่มีที่ซ่อม ๓ แห่ง
ภิกษุมีบาตรที่มีที่ซ่อม ๓ แห่ง ขอบาตรไม่มีรอยซ่อม ...บาตรมีรอยซ่อม ๑
แห่ง ...บาตรที่มีรอยซ่อม ๒ แห่ง ...บาตรที่มีรอยซ่อม ๓ แห่ง ...ภิกษุมีบาตรที่มีที่
ซ่อม ๓ แห่ง ขอบาตรที่มีรอยซ่อม ๔ แห่ง ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์

บาตรที่มีที่ซ่อม ๔ แห่ง
ภิกษุมีบาตรที่มีที่ซ่อม ๔ แห่ง ขอบาตรที่ไม่มีรอยซ่อม ...บาตรที่มีรอยซ่อม ๑
แห่ง ...บาตรที่มีรอยซ่อม ๒ แห่ง ...บาตรที่มีรอยซ่อม ๓ แห่ง ...ภิกษุมีบาตรที่มีรอย
ซ่อม ๔ แห่ง ขอบาตรที่มีรอยซ่อม ๔ แห่ง ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์

บาตรที่ไม่มีที่ซ่อม
ภิกษุมีบาตรที่ไม่มีที่ซ่อม ขอบาตรที่ไม่มีที่ซ่อม ...บาตรที่มีที่ซ่อม ๑ แห่ง
...บาตรที่มีรอยซ่อม ๒ แห่ง ...บาตรมีรอยซ่อม ๓ แห่ง ...ภิกษุมีบาตรที่ไม่มีที่ซ่อม
ขอบาตรที่มีที่ซ่อม ๔ แห่ง ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์

บาตรที่มีที่ซ่อม ๑ แห่ง
ภิกษุมีบาตรที่มีที่ซ่อม ๑ แห่ง ขอบาตรที่ไม่มีที่ซ่อม ...บาตรที่มีที่ซ่อม ๑ แห่ง
...บาตรที่มีที่ซ่อม ๒ แห่ง ...บาตรที่มีที่ซ่อม ๓ แห่ง ...ภิกษุมีบาตรที่มีที่ซ่อม ๑
แห่ง ขอบาตรที่มีที่ซ่อม ๔ แห่ง ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์

บาตรที่มีที่ซ่อม ๒ แห่ง
ภิกษุมีบาตรที่มีที่ซ่อม ๒ แห่ง ขอบาตรที่ไม่มีที่ซ่อม ...บาตรที่มีที่ซ่อม ๑ แห่ง
...บาตรที่มีที่ซ่อม ๒ แห่ง ...บาตรที่มีที่ซ่อม ๓ แห่ง ...ภิกษุมีบาตรที่มีที่ซ่อม ๒
แห่ง ขอบาตรที่มีที่ซ่อม ๔ แห่ง ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๑๓๗ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๓.ปัตตวรรค ๒.อูนปัญจพันธนสิกขาบท อนาปัตติวาร
บาตรที่มีที่ซ่อม ๓ แห่ง
ภิกษุมีบาตรที่มีที่ซ่อม ๓ แห่ง ขอบาตรที่ไม่มีที่ซ่อม ...บาตรที่มีที่ซ่อม ๑ แห่ง
...บาตรที่มีที่ซ่อม ๒ แห่ง ...บาตรที่มีที่ซ่อม ๓ แห่ง ...ภิกษุมีบาตรที่มีที่ซ่อม ๓
แห่ง ขอบาตรที่มีที่ซ่อม ๔ แห่ง ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์

บาตรที่มีที่ซ่อม ๔ แห่ง
ภิกษุมีบาตรที่มีที่ซ่อม ๔ แห่ง ขอบาตรที่ไม่มีที่ซ่อม ...บาตรที่มีที่ซ่อม ๑ แห่ง
...บาตรที่มีที่ซ่อม ๒ แห่ง ...บาตรที่มีที่ซ่อม ๓ แห่ง ...ภิกษุมีบาตรที่มีที่ซ่อม ๔
แห่ง ขอบาตรที่มีที่ซ่อม ๔ แห่ง ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์

อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[๖๑๗] ๑. ภิกษุมีบาตรสูญหาย
๒. ภิกษุมีบาตรแตก
๓. ภิกษุขอจากญาติ
๔. ภิกษุขอจากผู้ปวารณา
๕. ภิกษุขอเพื่อภิกษุอื่น
๖. ภิกษุซื้อมาด้วยทรัพย์ของตน
๗. ภิกษุวิกลจริต
๘. ภิกษุต้นบัญญัติ

อูนปัญจพันธนสิกขาบทที่ ๒ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๑๓๘ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๓.ปัตตวรรค ๓.เภสัชชสิกขาบท นิทานวัตถุ
๓. ปัตตวรรค

๓. เภสัชชสิกขาบท
ว่าด้วยเภสัช

เรื่องพระปิลินทวัจฉะ
[๖๑๘] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น ท่านพระปิลินทวัจฉะประสงค์จะทำ
ที่เร้นจึงให้ภิกษุทั้งหลายทำความสะอาดเงื้อมเขาในกรุงราชคฤห์ สมัยนั้น พระเจ้า
พิมพิสารจอมทัพมคธรัฐได้เสด็จเข้าไปหาท่านพระปิลินทวัจฉะถึงที่พัก ครั้นถึงแล้ว
ได้ทรงอภิวาทแล้วประทับนั่ง ณ ที่สมควร พระเจ้าพิมพิสารจอมทัพมคธรัฐผู้ประทับ
นั่ง ณ ที่สมควรแล้ว ได้ตรัสถามท่านพระปิลินทวัจฉะว่า “พระคุณเจ้าให้ภิกษุ
ทั้งหลายทำอะไร”
“ขอถวายพระพร อาตมภาพประสงค์จะทำที่เร้นจึงให้ภิกษุทั้งหลายทำความ
สะอาดเงื้อมเขา”
“พระคุณเจ้าต้องการคนวัดบ้างไหม”
“ขอถวายพระพร พระผู้มีพระภาคไม่ทรงอนุญาตให้มีคนวัด”
“ถ้าเช่นนั้น พระคุณเจ้าพึงทูลถามพระผู้มีพระภาคแล้วบอกโยมด้วย”
ท่านพระปิลินทวัจฉะทูลสนองพระดำรัสว่า “ขอถวายพระพร อาตมภาพจะทำ
อย่างนั้น” สมัยนั้น ท่านพระปิลินทวัจฉะได้ชี้แจงให้พระเจ้าพิมพิสารจอมทัพมคธรัฐ
เห็นชัด ชวนให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้
สดชื่นร่าเริงด้วยธรรมีกถา จากนั้น พระเจ้าพิมพิสารจอมทัพมคธรัฐซึ่งท่าน
พระปิลินทวัจฉะได้ชี้แจงให้เห็นชัด ชวนให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญ
แกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริงด้วยธรรมีกถาแล้ว ได้เสด็จลุกจากราชอาสน์
ทรงอภิวาทพระเถระ ทำประทักษิณแล้วเสด็จกลับไป


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๑๓๙ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๓.ปัตตวรรค ๓.เภสัชชสิกขาบท นิทานวัตถุ
ทรงอนุญาตให้มีคนทำงานวัด
[๖๑๙] สมัยนั้น ท่านพระปิลินทวัจฉะส่งทูตไปยังสำนักพระผู้มีพระภาค ให้
กราบทูลว่า “พระพุทธเจ้าข้า พระเจ้าพิมพิสารจอมทัพมคธรัฐมีพระราชประสงค์จะ
ทรงถวายคนวัด ข้าพระพุทธเจ้าจะพึงปฏิบัติอย่างไร” ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาค
รับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรงแสดงธรรมีกถา รับสั่งกับภิกษุ
ทั้งหลายว่า “เราอนุญาตให้มีคนวัด” แม้ครั้งที่ ๒ พระเจ้าพิมพิสารจอมทัพมคธรัฐ
เสด็จเข้าไปหาท่านพระปิลินทวัจฉะถึงที่พัก ครั้นถึงแล้วได้ทรงอภิวาทท่านพระ
ปิลินทวัจฉะแล้วประทับนั่ง ณ ที่สมควร พระเจ้าพิมพิสารจอมทัพมคธรัฐผู้ประทับ
นั่ง ณ ที่สมควรแล้ว ได้ตรัสถามท่านพระปิลินทวัจฉะว่า “พระคุณเจ้า พระผู้มีพระ
ภาคทรงอนุญาตให้มีคนวัดแล้วหรือ”
“ขอถวายพระพร ทรงอนุญาตแล้ว”
“ถ้าเช่นนั้น โยมจะถวายคนวัดแก่พระคุณเจ้า”
ท้าวเธอทรงให้สัญญาที่จะถวายคนวัดแก่พระเถระแต่ทรงลืม เมื่อเวลาผ่านไป
นานทรงระลึกได้ ตรัสถามมหาอมาตย์ผู้สนองราชกิจคนหนึ่งว่า “เราถวายคนวัด
ที่ให้สัญญาไว้แก่พระคุณเจ้าแล้วหรือ”
มหาอมาตย์กราบทูลว่า “ขอเดชะ ยังไม่ได้ถวายคนวัดแก่พระคุณเจ้าเลย”
“ผ่านมากี่วันแล้ว”
มหาอมาตย์นับราตรีแล้วกราบทูลว่า “ขอเดชะ ผ่านมา ๕๐๐ ราตรี” พระเจ้า
พิมพิสารจอมทัพมคธรัฐรับสั่งว่า “ถ้าอย่างนั้น จงถวายคนวัด ๕๐๐ คน แก่พระคุณ
เจ้า” มหาอมาตย์รับพระราชโองการแล้วจัดคนวัดไปถวายท่านพระปิลินทวัจฉะ
จำนวน ๕๐๐ คน ตั้งหมู่บ้านขึ้น มาต่างหากมีชื่อเรียกว่าอารามิกคามบ้าง
ปิลินทวัจฉคามบ้าง
[๖๒๐] สมัยนั้น ท่านพระปิลินทวัจฉะเป็นพระประจำตระกูลในหมู่บ้านนั้น
เช้าวันหนึ่ง ท่านทรงอันตรวาสกถือบาตรและจีวรเข้าไปบิณฑบาตในหมู่บ้านปิลินทวัจฉะ
สมัยนั้น ในหมู่บ้านนั้นกำลังมีมหรสพ พวกเด็กหญิงแต่งกายประดับดอกไม้เล่นอยู่
พอดีท่านพระปิลินทวัจฉะเที่ยวบิณฑบาตมาตามลำดับในหมู่บ้านปิลินทวัจฉะ มาถึง


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๑๔๐ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๓.ปัตตวรรค ๓.เภสัชชสิกขาบท นิทานวัตถุ
เรือนคนวัดคนหนึ่ง ครั้นถึงแล้วได้นั่งบนอาสนะที่เขาจัดถวาย ขณะนั้น ธิดาของสตรี
คนวัดเห็นพวกเด็กอื่นแต่งกายประดับดอกไม้จึงร้องไห้ ขอว่า “พ่อแม่โปรดให้
ดอกไม้ โปรดให้เครื่องประดับแก่หนู” พระเถระถามสตรีนั้นว่า “เด็กคนนี้อยากได้
อะไร” นางตอบว่า “ท่านผู้เจริญ เด็กคนนี้เห็นพวกเด็กอื่นแต่งกายประดับดอกไม้จึง
ร้องไห้ ขอพวงดอกไม้และเครื่องประดับว่า ‘พ่อแม่โปรดให้ดอกไม้ โปรดให้เครื่อง
ประดับแก่หนู’ เราคนจนจะได้ดอกไม้และเครื่องประดับมาจากไหนกัน”
ท่านพระปิลินทวัจฉะจึงหยิบเสวียนหญ้า๑ อันหนึ่งส่งให้พลางกล่าวว่า “ท่านจง
สวมเสวียนหญ้าอันนี้ที่ศีรษะเด็กหญิงนั้น” หญิงคนวัดหยิบเสวียนหญ้าสวมที่ศีรษะ
เด็กหญิง เสวียนหญ้ากลายเป็นพวงดอกไม้ทองคำงดงามน่าดูน่าชม พวงดอกไม้
ทองคำอย่างนี้แม้ในพระราชฐานก็ยังไม่มี พวกชาวบ้านกราบทูลพระเจ้าพิมพิสารว่า
“ขอเดชะ ที่เรือนคนวัดโน้นมีพวงดอกไม้ทองคำงดงามน่าดูน่าชม พวงดอกไม้ทองคำ
อย่างนี้แม้ในพระราชฐานก็ยังไม่มี เขาเป็นคนเข็ญใจจะได้มาจากไหน ชะรอยจะได้
มาเพราะทำโจรกรรมเป็นแน่แท้” พระเจ้าพิมพิสารรับสั่งให้จองจำตระกูลคนวัดนั้น
ต่อมา เช้าวันที่ ๒ ท่านพระปิลินทวัจฉะทรงอันตรวาสกถือบาตรและจีวรไป
บิณฑบาตที่ปิลินทวัจฉคามอีก เมื่อเที่ยวบิณฑบาตไปตามลำดับในหมู่บ้านปิลินท
วัจฉะ เดินผ่านไปทางที่อยู่คนวัดคนนั้น ถามคนคุ้นเคยว่า “ครอบครัวคนวัดนี้ไปไหน”
ชาวบ้านตอบว่า “ครอบครัวนี้ถูกจองจำเพราะเรื่องพวงดอกไม้ทองคำ เจ้าข้า”
[๖๒๑] สมัยนั้น ท่านพระปิลินทวัจฉะเข้าไปถึงพระราชนิเวศน์ของพระเจ้า
พิมพิสารจอมทัพมคธรัฐ ครั้นถึงแล้วได้นั่งบนอาสนะที่เขาจัดถวาย ลำดับนั้น พระ
เจ้าพิมพิสารจอมทัพมคธรัฐเสด็จเข้าไปหาพระเถระจนถึงที่นั่ง ทรงอภิวาทแล้ว
ประทับนั่ง ณ ที่สมควร ท่านพระปิลินทวัจฉะทูลถามพระเจ้าพิมพิสารจอมทัพมคธ
รัฐว่า “ขอถวายพระพร ครอบครัวคนวัดถูกจองจำเพราะเรื่องอะไร” พระเจ้า
พิมพิสารจอมทัพมคธรัฐตรัสว่า “ที่บ้าน เขามีพวงดอกไม้ทองคำงดงามน่าดูน่าชม
พวงดอกไม้ทองคำอย่างนี้แม้ในวังก็ยังไม่มี เขาเป็นคนจนจะได้มาจากไหน ชะรอยจะ

เชิงอรรถ :
๑ “เสวียน” คือของเป็นวงกลมสำหรับรองก้นหม้อ ทำด้วยหญ้าหรือหวายเป็นต้น, ของที่ทำเป็นวงกลม
สำหรับรองหรือรับสิ่งต่าง ๆ ดู พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน ๒๕๒๕, หน้า ๘๒๑

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๑๔๑ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๓.ปัตตวรรค ๓.เภสัชชสิกขาบท นิทานวัตถุ
ได้มาเพราะทำโจรกรรมเป็นแน่แท้” ทีนั้นท่านพระปิลินทวัจฉะได้อธิษฐานให้
ปราสาทของพระเจ้าพิมพิสารจอมทัพมคธรัฐเป็นทองคำ ปราสาทกลายเป็นทองคำไ
ปทั้งหลัง แล้วท่านก็ถวายพระพรว่า “ทองคำมากมาย มหาบพิตรได้มาจากไหน”
พระเจ้าพิมพิสารจอมทัพมคธรัฐตรัสว่า “โยมทราบแล้ว นี่เป็นฤทธานุภาพของพระ
คุณเจ้า” แล้วรับสั่งให้ปล่อยครอบครัวนั้น พวกชาวบ้านทราบข่าวว่า “พระคุณเจ้า
ปิลินทวัจฉะแสดงอิทธิปาฏิหาริย์อันเป็นอุตตริมนุสสธรรมในท่ามกลางราชบริษัท”
พากันพอใจเลื่อมใสนำเภสัช ๕ คือ เนยใส เนยข้น น้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อยมาถวาย
ตามปกติท่านพระปิลินทวัจฉะก็ได้เภสัช ๕ อยู่เสมอ ท่านจึงแบ่งเภสัชให้บริษัทของ
ท่าน แต่บริษัทของท่านมักมาก บรรจุเภสัชที่ได้มาแล้ว ๆ ไว้ในตุ่มบ้าง ในหม้อน้ำบ้าง
จนเต็มแล้วเก็บไว้บรรจุลงในหม้อกรองน้ำบ้าง ในถุงย่ามบ้าง แล้วแขวนไว้ที่หน้าต่าง
เภสัชเหล่านั้นไหลเยิ้มซึม จึงมีสัตว์จำพวกหนู ชุกชุมทั่ววิหาร พวกชาวบ้านเที่ยวไป
วิหารพบเข้าจึงพากันตำหนิประณาม โพนทะนาว่า “พวกพระสมณะเชื้อสายศากย
บุตรเหล่านี้มีเรือนคลังเก็บของเหมือนพระเจ้าพิมพิสารจอมทัพมคธรัฐ” พวกภิกษุ
ได้ยินชาวบ้านตำหนิ ประณาม โพนทะนา บรรดาภิกษุผู้มักน้อย ฯลฯ พากันตำหนิ
ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนภิกษุทั้งหลายจึงคิดเพื่อความมักมากเช่นนี้เล่า”
ครั้นภิกษุทั้งหลายตำหนิภิกษุเหล่านั้นโดยประการต่าง ๆ แล้วจึงนำเรื่องนี้ไปกราบ
ทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ

ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่าพวกภิกษุคิดเพื่อความมักมาก
จริงหรือ” ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า
ทรงตำหนิว่า “ฯลฯ ภิกษุทั้งหลาย ไฉนโมฆบุรุษเหล่านั้นจึงคิดเพื่อความมักมาก
เล่า การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใส
อยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้น
แสดงดังนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๑๔๒ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๓.ปัตตวรรค ๓.เภสัชชสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์
พระบัญญัติ
[๖๒๒] ก็ เภสัชใดควรลิ้มสำหรับภิกษุผู้เป็นไข้ คือ เนยใส เนยข้น น้ำมัน
น้ำผึ้ง น้ำอ้อย ภิกษุรับประเคนเภสัชนั้นแล้วเก็บไว้ฉันได้ ๗ วันเป็นอย่างมาก
ให้เกินกำหนดนั้นไป ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
เรื่องพระปิลินทวัจฉะ จบ

สิกขาบทวิภังค์
[๖๒๓] คำว่า เภสัชใดควรลิ้มสำหรับภิกษุผู้เป็นไข้ มีอธิบายดังนี้
ที่ชื่อว่า เนยใส ได้แก่ เนยใสทำจากน้ำนมโคบ้าง เนยใสทำจากน้ำนมแพะบ้าง
เนยใสทำจากน้ำนมกระบือบ้าง หรือเนยใสทำจากน้ำนมสัตว์ที่มีมังสะเป็นกัปปิยะ
ที่ชื่อว่า เนยข้น ได้แก่ เนยข้นทำจากน้ำนมสัตว์เหล่านั้นแหละ
ที่ชื่อว่า น้ำมัน ได้แก่ น้ำมันที่สกัดจากเมล็ดงา น้ำมันที่สกัดจากเมล็ดผักกาด
น้ำมันที่สกัดจากเมล็ดมะซาง น้ำมันที่สกัดจากเมล็ดละหุ่ง หรือน้ำมันไขสัตว์
ที่ชื่อว่า น้ำผึ้ง ได้แก่ น้ำรสหวานที่แมลงผึ้งทำ
ที่ชื่อว่า น้ำอ้อย ได้แก่ น้ำรสหวานที่เกิดจากอ้อย
คำว่า ภิกษุรับประเคนเภสัชนั้นแล้วเก็บไว้ฉันได้ ๗ วันเป็นอย่างมาก คือ
ภิกษุพึงฉันได้ ๗ วันเป็นอย่างมาก
คำว่า ให้เกินกำหนดนั้นไป ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์ ความว่า เมื่อรุ่ง
อรุณวันที่ ๘ เภสัชนั้นเป็นนิสสัคคีย์ คือเป็นของจำต้องสละแก่สงฆ์ แก่คณะหรือแก่
บุคคล
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงสละเภสัชที่เป็นนิสสัคคีย์อย่างนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๑๔๓ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๓.ปัตตวรรค ๓.เภสัชชสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์
วิธีสละเภสัชที่เป็นนิสสัคคีย์
สละแก่สงฆ์
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง กราบเท้าภิกษุผู้
แก่พรรษา นั่งกระโหย่งประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านผู้เจริญ เภสัชของกระผมนี้เ
กินกำหนด ๗ วัน เป็นนิสสัคคีย์ กระผมสละเภสัชนี้แก่สงฆ์” ครั้นสละแล้วพึงแสดง
อาบัติ
ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงรับอาบัติ พึงคืนเภสัชที่เธอสละให้ด้วยญัตติกรรมวาจา
ว่า “ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า เภสัชของภิกษุชื่อนี้เป็นนิสสัคคีย์ เธอสละ
แก่สงฆ์ ถ้าสงฆ์พร้อมกันแล้วก็พึงให้เภสัชนี้แก่ภิกษุชื่อนี้”

สละแก่คณะ
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุหลายรูป ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง กราบ
เท้าภิกษุผู้แก่พรรษา นั่งกระโหย่งประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านผู้เจริญ เภสัช
ของกระผมนี้เกินกำหนด ๗ วัน เป็นนิสสัคคีย์ กระผมสละเภสัชนี้แก่ท่านทั้งหลาย”
ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ
ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงรับอาบัติ พึงคืนเภสัชที่เธอสละให้ด้วยกล่าวว่า “ท่าน
ทั้งหลายจงฟังข้าพเจ้า เภสัชของภิกษุชื่อนี้เป็นนิสสัคคีย์ เธอสละแก่ท่านทั้งหลาย
ถ้าท่านทั้งหลายพร้อมกันแล้วก็พึงให้เภสัชนี้แก่ภิกษุชื่อนี้”

สละแก่บุคคล
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุรูปหนึ่ง ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง นั่ง
กระโหย่งประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านขอรับ เภสัชของกระผมนี้เกินกำหนด ๗
วัน เป็นนิสสัคคีย์ กระผมสละเภสัชนี้แก่ท่าน” ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ
ภิกษุผู้รับสละนั้นพึงรับอาบัติแล้วคืนเภสัชที่เธอสละให้ด้วยกล่าวว่า “กระผม
คืนเภสัชนี้ให้แก่ท่าน”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๑๔๔ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๓.ปัตตวรรค ๓.เภสัชชสิกขาบท บทภาชนีย์
บทภาชนีย์

นิสสัคคิยปาจิตตีย์
[๖๒๔] เภสัชที่เกินกำหนด ๗ วัน ภิกษุสำคัญว่าเกินกำหนดแล้ว ต้องอาบัติ
นิสสัคคิยปาจิตตีย์
เภสัชเกินกำหนด ๗ วัน ภิกษุไม่แน่ใจ ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
เภสัชเกินกำหนด ๗ วัน ภิกษุสำคัญว่ายังไม่เกินกำหนด ต้องอาบัตินิสสัคคิย
ปาจิตตีย์
เภสัชยังไม่ได้อธิษฐาน ภิกษุสำคัญว่าอธิษฐานแล้ว ต้องอาบัตินิสสัคคิย
ปาจิตตีย์
เภสัชยังไม่ได้สละ ภิกษุสำคัญว่าได้สละแล้ว ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
เภสัชยังไม่สูญหาย ภิกษุสำคัญว่าสูญหายแล้ว ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
เภสัชยังไม่ฉิบหาย ภิกษุสำคัญว่าฉิบหายแล้ว ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
เภสัชยังไม่ถูกไฟไหม้ ภิกษุสำคัญว่าถูกไฟไหม้แล้ว ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
เภสัชยังไม่ถูกชิงไป ภิกษุสำคัญว่าถูกชิงไปแล้ว ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
เภสัชที่สละแล้ว ภิกษุได้คืนมา ไม่พึงใช้ด้วยกิจที่เกี่ยวกับร่างกายและไม่ควร
ฉัน พึงน้อมเข้าไปในการตามประทีปหรือการผสมสี ภิกษุอื่นจะใช้ด้วยกิจที่เกี่ยวกับ
ร่างกายก็ได้ แต่ไม่ควรฉัน

ทุกทุกกฏ
เภสัชยังไม่เกินกำหนด ๗ วัน ภิกษุสำคัญว่าเกินกำหนดแล้ว ต้องอาบัติทุกกฏ
เภสัชยังไม่เกินกำหนด ๗ วัน ภิกษุไม่แน่ใจ ต้องอาบัติทุกกฏ
เภสัชยังไม่เกินกำหนด ๗ วัน ภิกษุสำคัญว่ายังไม่เกินกำหนด ไม่ต้องอาบัติ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๑๔๕ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๓.ปัตตวรรค ๓.เภสัชชสิกขาบท อนาปัตติวาร
อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[๖๒๕] ๑. ภิกษุอธิษฐานภายใน ๗ วัน
๒. ภิกษุสละให้ไป
๓. ภิกษุผู้มีเภสัชสูญหายภายใน ๗ วัน
๔. ภิกษุผู้มีเภสัชฉิบหายภายใน ๗ วัน
๕. ภิกษุผู้มีเภสัชถูกไฟไหม้ภายใน ๗ วัน
๖. ภิกษุผู้มีเภสัชถูกโจรชิงไปภายใน ๗ วัน
๗. ภิกษุผู้มีเภสัชถูกถือเอาไปโดยวิสาสะภายใน ๗ วัน
๘. ภิกษุผู้ไม่เยื่อใย ให้แก่อนุปสัมบันด้วยจิตสละละวางแล้วกลับได้
ของนั้นมาฉันอีก
๙. ภิกษุวิกลจริต
๑๐. ภิกษุต้นบัญญติ

เภสัชชสิกขาบทที่ ๓ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๑๔๖ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๓.ปัตตวรรค ๔.วัสสิกสาฏิกสิกขาบท นิทานวัตถุ
๓. ปัตตวรรค

๔. วัสสิกสาฏิกสิกขาบท
ว่าด้วยผ้าอาบน้ำฝน

เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๖๒๖] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคทรงอนุญาตผ้า
อาบน้ำฝนแก่ภิกษุทั้งหลาย พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ทราบว่า พระผู้มีพระภาคทรง
อนุญาตผ้าอาบน้ำฝน จึงแสวงหาผ้าอาบน้ำฝนก่อนบ้าง ทำนุ่งก่อนบ้าง เมื่อผ้า
อาบน้ำฝนเก่าคร่ำคร่าไปแล้วจึงเปลือยกายอาบน้ำฝน บรรดาภิกษุผู้มักน้อย ฯลฯ
พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพวกภิกษุฉัพพัคคีย์จึงแสวงหาผ้าอาบน้ำ
ฝนก่อนบ้าง ทำนุ่งล่วงหน้าก่อนบ้าง เมื่อผ้าอาบน้ำฝนเก่าคร่ำคร่าไปแล้วจึงเปลือย
กายอาบน้ำฝนเล่า” ครั้นภิกษุเหล่านั้นตำหนิพวกภิกษุฉัพพัคคีย์โดยประการต่าง ๆ
แล้วจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ

ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามพวกภิกษุฉัพพัคคีย์ว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า พวกเธอแสวงหาผ้าอาบ
น้ำฝนก่อนบ้าง ทำนุ่งก่อนบ้าง เมื่อผ้าอาบน้ำฝนเก่าคร่ำคร่าไปแล้วได้เปลือยกาย
อาบน้ำฝน จริงหรือ” พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มี
พระภาคทรงตำหนิว่า “ฯลฯ โมฆบุรุษทั้งหลาย ไฉนพวกเธอจึงแสวงหาผ้าอาบน้ำ
ฝนก่อนบ้าง ทำนุ่งล่วงหน้าก่อนบ้าง เมื่อผ้าอาบน้ำฝนเก่าคร่ำคร่าไปแล้วได้เปลือย
กายอาบน้ำฝนเล่า โมฆบุรุษทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใส
ให้เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่ง
ให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๑๔๗ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๓.ปัตตวรรค ๔.วัสสิกสาฏิกสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์
พระบัญญัติ
[๖๒๗] ภิกษุรู้ว่า “ฤดูร้อนยังเหลืออีก ๑ เดือน” พึงแสวงหาจีวรคือผ้า
อาบน้ำฝนได้ รู้ว่า “ฤดูร้อนยังเหลืออีกกึ่งเดือน” พึงทำนุ่งได้ ถ้ารู้ว่า “ยังไม่ถึง
เดือนสุดท้ายแห่งฤดูร้อน” พึงแสวงหาจีวรคือผ้าอาบน้ำฝน รู้ว่า “ยังไม่ถึงกึ่ง
เดือนสุดท้ายแห่งฤดูร้อน” พึงทำนุ่ง ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ

สิกขาบทวิภังค์
[๖๒๘] คำว่า ภิกษุรู้ว่า “ฤดูร้อนยังเหลืออีก ๑ เดือน” พึงแสวงหาจีวรคือ
ผ้าอาบน้ำฝนได้ อธิบายว่า ภิกษุเข้าไปหาพวกชาวบ้านที่เคยถวายผ้าอาบน้ำฝนพึง
กล่าวอย่างนี้ว่า “ถึงเวลาผ้าอาบน้ำฝนแล้ว ถึงคราวผ้าอาบน้ำฝนแล้ว พวกชาวบ้าน
แม้อื่นก็พากันถวายผ้าอาบน้ำฝน” แต่ไม่ควรกล่าวว่า “ท่านทั้งหลายจงถวายผ้า
อาบน้ำฝนแก่อาตมา จงนำผ้าอาบน้ำฝนมาให้อาตมา จงแลกเปลี่ยนผ้าอาบน้ำฝน
มาให้อาตมา จงซื้อผ้าอาบน้ำฝนมาให้อาตมา”
คำว่า รู้ว่า “ฤดูร้อนยังเหลืออีกกึ่งเดือน” พึงทำนุ่งได้ คือ เมื่อฤดูร้อนยัง
เหลืออยู่กึ่งเดือน ภิกษุพึงทำผ้าอาบน้ำฝนนุ่งได้
คำว่า ถ้ารู้ว่า “ยังไม่ถึงเดือนสุดท้ายแห่งฤดูร้อน” คือ เมื่อฤดูร้อนยังเหลือ
เกินกว่า ๑ เดือน ภิกษุแสวงหาผ้าอาบน้ำฝน ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
คำว่า รู้ว่า “ยังไม่ถึงกึ่งเดือนสุดท้ายแห่งฤดูร้อน” คือ เมื่อฤดูร้อนยังเหลือ
เกินกว่ากึ่งเดือน ภิกษุทำผ้าอาบน้ำฝนนุ่ง เป็นนิสสัคคีย์ คือเป็นของจำต้องสละแก่
สงฆ์ แก่คณะหรือแก่บุคคล
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงสละผ้าอาบน้ำฝนที่เป็นนิสสัคคีย์อย่างนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๑๔๘ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๓.ปัตตวรรค ๔.วัสสิกสาฏิกสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์
วิธีสละผ้าอาบน้ำฝนที่เป็นนิสสัคคีย์
สละแก่สงฆ์
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง กราบเท้าภิกษุผู้
แก่พรรษา นั่งกระโหย่งประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านผู้เจริญ ผ้าอาบน้ำฝนผืนนี้
เมื่อฤดูร้อนยังเหลือเกินกว่า ๑ เดือน กระผมแสวงหาแล้ว เมื่อฤดูร้อนยังเหลือเกิน
กว่ากึ่งเดือน ทำนุ่งแล้ว เป็นนิสสัคคีย์ กระผมสละผ้าอาบน้ำฝนผืนนี้แก่สงฆ์” ครั้น
สละแล้วพึงแสดงอาบัติ
ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงรับอาบัติ พึงคืนผ้าอาบน้ำฝนที่เธอสละให้ด้วย
ญัตติกรรมวาจาว่า “ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ผ้าอาบน้ำฝนของภิกษุชื่อนี้
เป็นนิสสัคคีย์ เธอสละแก่สงฆ์ ถ้าสงฆ์พร้อมกันแล้วก็พึงให้ผ้าอาบน้ำฝนผืนนี้แก่
ภิกษุชื่อนี้”

สละแก่คณะ
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุหลายรูป ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง กราบ
เท้าภิกษุผู้แก่พรรษา นั่งกระโหย่งประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านผู้เจริญ ผ้าอาบ
น้ำฝนผืนนี้ เมื่อฤดูร้อนยังเหลือเกินกว่า ๑ เดือน กระผมแสวงหาแล้ว เมื่อฤดูร้อน
ยังเหลือเกินกว่ากึ่งเดือน ทำนุ่งแล้ว เป็นนิสสัคคีย์ กระผมสละผ้าอาบน้ำฝนผืนนี้แก่
ท่านทั้งหลาย” ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ
ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงรับอาบัติ พึงคืนผ้าอาบน้ำฝนที่เธอสละให้ด้วยกล่าว
ว่า “ท่านทั้งหลายจงฟังข้าพเจ้า ผ้าอาบน้ำฝนของภิกษุชื่อนี้เป็นนิสสัคคีย์ เธอสละแก่
ท่านทั้งหลาย ถ้าท่านทั้งหลายพร้อมกันแล้วก็พึงให้ผ้าอาบน้ำฝนผืนนี้แก่ภิกษุชื่อนี้”

สละแก่บุคคล
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุรูปหนึ่ง ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง นั่ง
กระโหย่งประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านขอรับ ผ้าอาบน้ำฝนผืนนี้ เมื่อฤดูร้อนยัง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๑๔๙ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๓.ปัตตวรรค ๔.วัสสิกสาฏิกสิกขาบท บทภาชนีย์
เหลือเกินกว่า ๑ เดือน กระผมแสวงหาแล้ว เมื่อฤดูร้อนยังเหลือเกินกว่ากึ่งเดือน
ทำนุ่งแล้ว เป็นนิสสัคคีย์ กระผมสละผ้าอาบน้ำฝนผืนนี้แก่ท่าน” ครั้นสละแล้ว
พึงแสดงอาบัติ
ภิกษุผู้รับสละนั้นพึงรับอาบัติแล้วคืนผ้าอาบน้ำฝนที่เธอสละให้ด้วยกล่าวว่า
“กระผมคืนผ้าอาบน้ำฝนผืนนี้ให้แก่ท่าน”

บทภาชนีย์
ติกนิสสัคคิยปาจิตตีย์
[๖๒๙] ฤดูร้อนยังเหลือเกิน ๑ เดือน ภิกษุสำคัญว่าเกิน แสวงหาผ้าอาบ
น้ำฝน ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
ฤดูร้อนยังเหลือเกิน ๑ เดือน ภิกษุไม่แน่ใจ แสวงหาผ้าอาบน้ำฝน ต้องอาบัติ
นิสสัคคิยปาจิตตีย์
ฤดูร้อนยังเหลือเกิน ๑ เดือน ภิกษุสำคัญว่าหย่อนกว่า แสวงหาผ้าอาบน้ำฝน
ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์

ติกนิสสัคคิยปาจิตตีย์
ฤดูร้อนยังเหลือเกินกึ่งเดือน ภิกษุสำคัญว่าเกิน ทำนุ่ง ต้องอาบัตินิสสัคคิย
ปาจิตตีย์
ฤดูร้อนยังเหลือเกินกึ่งเดือน ภิกษุไม่แน่ใจ ทำนุ่ง ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
ฤดูร้อนยังเหลือเกินกึ่งเดือน ภิกษุสำคัญว่าหย่อนกว่า ทำนุ่ง ต้องอาบัติ
นิสสัคคิยปาจิตตีย์

ทุกกฏ
เมื่อมีผ้าอาบน้ำฝน ภิกษุเปลือยกายอาบน้ำฝน ต้องอาบัติทุกกฏ
ฤดูร้อนยังเหลือหย่อนกว่า ๑ เดือน ภิกษุสำคัญว่าเกิน ต้องอาบัติทุกกฏ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๑๕๐ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๓.ปัตตวรรค ๔.วัสสิกสาฏิกสิกขาบท อนาปัตติวาร
ฤดูร้อนยังเหลือหย่อนกว่า ๑ เดือน ภิกษุไม่แน่ใจ ต้องอาบัติทุกกฏ
ฤดูร้อนยังเหลือหย่อนกว่า ๑ เดือน ภิกษุสำคัญว่าหย่อนกว่า ไม่ต้องอาบัติ
ฤดูร้อนยังเหลือหย่อนกว่ากึ่งเดือน ภิกษุสำคัญว่าเกิน ต้องอาบัติทุกกฏ
ฤดูร้อนที่ยังเหลือหย่อนกว่ากึ่งเดือน ภิกษุไม่แน่ใจ ต้องอาบัติทุกกฏ
ฤดูร้อนยังเหลือหย่อนกว่ากึ่งเดือน ภิกษุสำคัญว่าหย่อนกว่า ไม่ต้องอาบัติ

อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[๖๓๐] ๑. ภิกษุรู้ว่า “ฤดูร้อนยังเหลืออีก ๑ เดือน” แสวงหาผ้าอาบน้ำฝน
๒. ภิกษุรู้ว่า “ฤดูร้อนยังเหลืออีกกึ่งเดือน” ทำผ้าอาบน้ำฝนนุ่ง
๓. ภิกษุรู้ว่า “ฤดูร้อนยังเหลือหย่อนกว่า ๑ เดือน” แสวงหาผ้าอาบ
น้ำฝน
๔. ภิกษุรู้ว่า “ฤดูร้อนยังเหลือหย่อนกว่ากึ่งเดือน” ทำผ้าอาบน้ำฝน
นุ่ง เมื่อภิกษุแสวงหาได้ผ้าอาบน้ำฝนแล้ว ฤดูฝนเลื่อนออกไป
เมื่อภิกษุทำผ้าอาบน้ำฝนนุ่งแล้ว ฤดูฝนเลื่อนออกไป ควรซัก
เก็บไว้ พึงนุ่งในสมัย
๕. ภิกษุถูกโจรชิงจีวรไป
๖. ภิกษุจีวรสูญหาย
๗. ภิกษุผู้ตกอยู่ในอันตราย
๘. ภิกษุวิกลจริต
๙. ภิกษุต้นบัญญัติ

วัสสิกสาฏิกสิกขาบทที่ ๔ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๑๕๑ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๓.ปัตตวรรค ๕.จีวรอัจฉินทนสิกขาบท นิทานวัตถุ
๓. ปัตตวรรค

๕. จีวรอัจฉินทนสิกขาบท
ว่าด้วยการให้จีวรแล้วชิงเอาคืน

เรื่องพระอุปนันทศากยบุตร
[๖๓๑] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น ท่านพระอุปนันทศากยบุตร
กล่าวชักชวนสัทธิวิหาริกของภิกษุผู้เป็นพี่ชายว่า “มานี่เถิด ท่าน พวกเราจักไปเที่ยว
ชนบทด้วยกัน” ภิกษุนั้นกล่าวตอบว่า “กระผมไม่ไป กระผมมีจีวรชำรุด” ท่านพระ
อุปนันทศากยบุตรกล่าวว่า “ไปเถิด ท่าน ผมจะถวายจีวรแก่ท่าน” แล้วถวายจีวรแก่
ภิกษุนั้น ภิกษุนั้นทราบข่าวว่า “พระผู้มีพระภาคจักเสด็จจาริกไปในชนบท” ทีนั้น
ท่านได้มีความคิดว่า ‘บัดนี้เราจักไม่ไปเที่ยวชนบทกับท่านพระอุปนันทศากยบุตร
แต่จะไปเที่ยวชนบทกับพระผู้มีพระภาค’ ครั้นท่านพระอุปนันทศากยบุตรกล่าวชัก
ชวนภิกษุนั้นว่า “มาเถิด ท่าน บัดนี้พวกเราจะไปเที่ยวชนบทด้วยกัน” ภิกษุนั้นปฏิเสธ
ว่า “กระผมไม่ไปเที่ยวชนบทกับท่านล่ะ กระผมจะไปเที่ยวชนบทกับพระผู้มีพระภาค”
ท่านพระอุปนันทศากยบุตรกล่าวว่า “เราถวายจีวรท่านเพราะตั้งใจว่า ‘จะไปเที่ยว
ชนบทด้วยกัน” จึงโกรธ ไม่พอใจ ชิงจีวรคืน
ต่อมา ภิกษุนั้นได้เล่าเรื่องนั้นให้ภิกษุทั้งหลายทราบ บรรดาภิกษุผู้มักน้อย
ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนท่านพระอุปนันทศากยบุตรให้
จีวรภิกษุเองแล้วโกรธ ไม่พอใจ ชิงเอาคืนมาเล่า” ครั้นภิกษุเหล่านั้นตำหนิท่าน
พระอุปนันทศากยบุตรโดยประการต่าง ๆ แล้วจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มี
พระภาคให้ทรงทราบ

ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามท่านพระอุปนันทศากยบุตรว่า “อุปนันทะ ทราบว่า เธอให้จีวรภิกษุเองแล้ว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๑๕๒ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๓.ปัตตวรรค ๕.จีวรอัจฉินทนสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์
โกรธ ไม่พอใจ ชิงเอาคืนมา จริงหรือ” ท่านพระอุปนันทศากยบุตรทูลรับว่า “จริง
พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ฯลฯ โมฆบุรุษ ไฉนเธอให้
จีวรภิกษุเองแล้วโกรธ ไม่พอใจ ชิงเอาคืนมาเล่า โมฆบุรุษ การกระทำอย่างนี้ มิได้
ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ”
แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้

พระบัญญัติ
[๖๓๒] ก็ ภิกษุใดให้จีวรแก่ภิกษุเองแล้วโกรธ ไม่พอใจ ชิงเอามาหรือใช้
ให้ชิงเอามา ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
เรื่องพระอุปนันทศากยบุตร จบ

สิกขาบทวิภังค์
[๖๓๓] คำว่า ก็...ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ก็...ใด
คำว่า ภิกษุ มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุ เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระ
ภาคทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุ ในความหมายนี้
คำว่า แก่ภิกษุ คือ แก่ภิกษุรูปอื่น
คำว่า เอง คือ ให้ด้วยตนเอง
ที่ชื่อว่า จีวร ได้แก่ จีวร ๖ ชนิด อย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งมีขนาดพอที่จะวิกัป
ได้เป็นอย่างต่ำ
คำว่า โกรธ ไม่พอใจ คือ ไม่ชอบใจ แค้นใจ เจ็บใจ
คำว่า ชิงเอามา คือ ยื้อแย่งเอามาด้วยตนเอง จีวรนั้นเป็นนิสสัคคีย์
คำว่า ใช้ให้ชิงเอามา คือ สั่งผู้อื่น ต้องอาบัติทุกกฏ
ภิกษุผู้รับคำสั่งครั้งเดียวแต่ชิงเอามาหลายครั้ง จีวรนั้นเป็นนิสสัคคีย์ คือเป็น
ของจำต้องสละแก่สงฆ์ แก่คณะหรือแก่บุคคล
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงสละจีวรที่เป็นนิสสัคคีย์อย่างนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๑๕๓ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๓.ปัตตวรรค ๕.จีวรอัจฉินทนสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์
วิธีสละจีวรที่เป็นนิสสัคคีย์
สละแก่สงฆ์
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง กราบเท้าภิกษุผู้
แก่พรรษา นั่งกระโหย่งประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านผู้เจริญ จีวรผืนนี้กระผม
ให้ภิกษุเองแล้วชิงคืนมา เป็นนิสสัคคีย์ กระผมสละจีวรผืนนี้แก่สงฆ์” ครั้นสละแล้ว
พึงแสดงอาบัติ
ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงรับอาบัติ พึงคืนจีวรที่เธอสละให้ด้วยญัตติกรรมวาจา
ว่า “ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า จีวรของภิกษุชื่อนี้เป็นนิสสัคคีย์ เธอสละ
แก่สงฆ์ ถ้าสงฆ์พร้อมกันแล้วก็พึงให้จีวรผืนนี้แก่ภิกษุชื่อนี้”

สละแก่คณะ
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุหลายรูป ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง กราบ
เท้าภิกษุผู้แก่พรรษา นั่งกระโหย่งประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านผู้เจริญ จีวรผืน
นี้กระผมให้ภิกษุเองแล้วชิงคืนมา เป็นนิสสัคคีย์ กระผมสละจีวรผืนนี้แก่ท่าน
ทั้งหลาย” ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ
ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงรับอาบัติ พึงคืนจีวรที่เธอสละให้ด้วยกล่าวว่า “ท่าน
ทั้งหลายจงฟังข้าพเจ้า จีวรของภิกษุชื่อนี้เป็นนิสสัคคีย์ เธอสละแก่ท่านทั้งหลาย
ถ้าท่านทั้งหลายพร้อมกันแล้วก็พึงให้จีวรผืนนี้แก่ภิกษุชื่อนี้”

สละแก่บุคคล
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุรูปหนึ่ง ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง นั่ง
กระโหย่งประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านขอรับ จีวรผืนนี้กระผมให้ภิกษุเองแล้วชิง
คืนมา เป็นนิสสัคคีย์ กระผมสละจีวรผืนนี้แก่ท่าน” ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ
ภิกษุผู้รับสละนั้นพึงรับอาบัติแล้วคืนจีวรที่เธอสละให้ด้วยกล่าวว่า “กระผมคืน
จีวรผืนนี้ให้แก่ท่าน”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๑๕๔ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๓.ปัตตวรรค ๕.จีวรอัจฉินทนสิกขาบท อนาปัตติวาร
บทภาชนีย์
ติกนิสสัคคิยปาจิตตีย์
[๖๓๔] อุปสัมบัน๑ ภิกษุสำคัญว่าเป็นอุปสัมบัน ให้จีวรเองแล้วโกรธ ไม่พอใจ
ชิงเอามาหรือใช้ให้ชิงเอามา ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
อุปสัมบัน ภิกษุไม่แน่ใจ ให้จีวรเองแล้วโกรธ ไม่พอใจ ชิงเอามาหรือใช้ให้ชิง
เอามา ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
อุปสัมบัน ภิกษุสำคัญว่าเป็นอนุปสัมบัน ให้จีวรเองแล้วโกรธ ไม่พอใจ ชิง
เอามาหรือใช้ให้ชิงเอามา ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์

ทุกกฏ
ภิกษุให้บริขารอย่างอื่นแล้วโกรธ ไม่พอใจ ชิงเอามาหรือใช้ให้ชิงเอามา ต้อง
อาบัติทุกกฏ
ภิกษุให้จีวรหรือบริขารอย่างอื่นแก่อนุปสัมบันแล้วโกรธ ไม่พอใจ ชิงเอามา
หรือใช้ให้ชิงเอามา ต้องอาบัติทุกกฏ
อนุปสัมบัน ภิกษุสำคัญว่าเป็นอุปสัมบัน ต้องอาบัติทุกกฏ
อนุปสัมบัน ภิกษุไม่แน่ใจ ต้องอาบัติทุกกฏ
อนุปสัมบัน ภิกษุสำคัญว่าเป็นอนุปสัมบัน ต้องอาบัติทุกกฏ

อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[๖๓๕] ๑. ภิกษุผู้เป็นเจ้าของเดิมรับจีวรที่เขาให้คืนเอง หรือถือเอาโดย
วิสาสะกับภิกษุผู้รับไป
๒. ภิกษุวิกลจริต
๓. ภิกษุต้นบัญญัติ
จีวรอัจฉินทนสิกขาบทที่ ๕ จบ

เชิงอรรถ :
๑ อุปสัมบัน ผู้ได้รับอุปสมบทด้วยญัตติจตุตถกรรมแล้ว หมายถึงภิกษุ (วิ.อ. ๑/๔๕/๒๕๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๑๕๕ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๓.ปัตตวรรค ๖.สุตตวิญญัตติสิกขาบท นิทานวัตถุ
๓. ปัตตวรรค

๖. สุตตวิญญัตติสิกขาบท
ว่าด้วยการออกปากขอด้าย

เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๖๓๖] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเวฬุวัน สถานที่
ให้เหยื่อกระแต เขตกรุงราชคฤห์ ครั้งนั้น เมื่อถึงคราวทำจีวร พวกภิกษุฉัพพัคคีย์
ออกปากขอด้ายมาเป็นอันมาก ครั้นทำจีวรเสร็จแล้ว ด้ายเหลืออยู่เป็นอันมาก ทีนั้น
พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ได้มีความคิดว่า “เอาเถิด พวกเราจะออกปากขอด้ายอื่นมาใช้
ช่างหูกให้ทอจีวร” ต่อมา พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ได้ไปขอด้ายเป็นอันมากมาใช้ช่างหูก
ทอจีวร เมื่อทอจีวรแล้ว ด้ายก็ยังเหลืออีกมาก แม้ครั้งที่ ๒ พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ได้
ไปออกปากขอด้ายอื่นอีกเป็นอันมากมาใช้ช่างหูกให้ทอจีวร เมื่อทอจีวรแล้ว ด้ายก็
ยังเหลืออยู่มาก แม้ครั้งที่ ๓ พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ได้ไปขอด้ายอื่นอีกเป็นอันมากมา
ให้ช่างหูกทอจีวร
พวกชาวบ้านพากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพวกพระสมณะเชื้อ
สายศากยบุตรจึงออกปากขอด้ายมาเองแล้วใช้ช่างหูกให้ทอจีวรเล่า”
พวกภิกษุได้ยินชาวบ้านตำหนิ ประณาม โพนทะนา บรรดาภิกษุผู้มักน้อย
ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพวกภิกษุฉัพพัคคีย์จึงออกปากขอ
ด้ายมาเองแล้วใช้ช่างหูกให้ทอจีวรเล่า” ครั้นภิกษุเหล่านั้นตำหนิพวกภิกษุฉัพพัคคีย์
โดยประการต่าง ๆ แล้วจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ

ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามพวกภิกษุฉัพพัคคีย์ว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า พวกเธอออกปากขอด้าย
มาเองแล้วใช้ช่างหูกให้ทอจีวร จริงหรือ” พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ทูลรับว่า “จริง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๑๕๖ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๓.ปัตตวรรค ๖.สุตตวิญญัตติสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์
พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคทรงตำหนิว่า “ฯลฯ โมฆบุรุษทั้งหลาย ไฉน
พวกเธอจึงออกปากขอด้ายมาเองแล้วใช้ช่างหูกให้ทอจีวรเล่า โมฆบุรุษทั้งหลาย
การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้ว
ให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง
ดังนี้

พระบัญญัติ
[๖๓๗] ก็ ภิกษุใดออกปากขอด้ายมาเองแล้วใช้ช่างหูกให้ทอจีวร ต้อง
อาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ

สิกขาบทวิภังค์
[๖๓๘] คำว่า ก็...ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ก็...ใด
คำว่า ภิกษุ มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุ เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระ
ภาคทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุ ในความหมายนี้
คำว่า เอง คือ ออกปากขอเขามาด้วยตนเอง
ที่ชื่อว่า ด้าย ได้แก่ ด้าย ๖ ชนิด คือ (๑) ด้ายที่ทำด้วยเปลือกไม้ (๒) ด้าย
ที่ทำด้วยฝ้าย (๓) ด้ายที่ทำด้วยไหม (๔) ด้ายที่ทำด้วยขนสัตว์ (๕) ด้ายที่ทำด้วย
ป่าน (๖) ด้ายที่ทำด้วยวัตถุทั้ง ๕ ชนิดผสมกัน
คำว่า ช่างหูก คือ ใช้ช่างหูกให้ทอ
ต้องอาบัติทุกกฏทุกขณะที่พยายาม จีวรเป็นนิสสัคคีย์เพราะได้มา คือเป็นของ
จำต้องสละแก่สงฆ์ แก่คณะหรือแก่บุคคล
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงสละจีวรที่เป็นนิสสัคคีย์อย่างนี้


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๑๕๗ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๓.ปัตตวรรค ๖.สุตตวิญญัตติสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์
วิธีสละจีวรที่เป็นนิสสัคคีย์
สละแก่สงฆ์
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง กราบเท้าภิกษุผู้
แก่พรรษา นั่งกระโหย่งประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านผู้เจริญ จีวรผืนนี้ของ
กระผมออกปากขอด้ายมาเองแล้วใช้ช่างหูกทอ เป็นนิสสัคคีย์ กระผมสละจีวรผืนนี้
แก่สงฆ์” ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ
ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงรับอาบัติ พึงคืนจีวรที่เธอสละให้ด้วยญัตติกรรมวาจาว่า
“ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า จีวรของภิกษุชื่อนี้เป็นนิสสัคคีย์ เธอสละแก่สงฆ์
ถ้าสงฆ์พร้อมกันแล้วก็พึงให้จีวรผืนนี้แก่ภิกษุชื่อนี้”

สละแก่คณะ
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุหลายรูป ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง กราบ
เท้าภิกษุผู้แก่พรรษา นั่งกระโหย่งประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านผู้เจริญ จีวรผืนนี้
กระผมออกปากขอด้ายมาเองแล้วใช้ช่างหูกให้ทอ เป็นนิสสัคคีย์ กระผมสละจีวรผืน
นี้แก่ท่านทั้งหลาย” ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ
ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงรับอาบัติ พึงคืนจีวรที่เธอสละให้ด้วยกล่าวว่า “ท่าน
ทั้งหลายจงฟังข้าพเจ้า จีวรของภิกษุชื่อนี้เป็นนิสสัคคีย์ เธอสละแก่ท่านทั้งหลาย
ถ้าท่านทั้งหลายพร้อมกันแล้วก็พึงให้จีวรผืนนี้แก่ภิกษุชื่อนี้”

สละแก่บุคคล
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุรูปหนึ่ง ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง นั่ง
กระโหย่งประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านขอรับ จีวรผืนนี้กระผมออกปากขอด้าย
มาเองแล้วใช้ช่างหูกให้ทอ เป็นนิสสัคคีย์ กระผมสละจีวรผืนนี้แก่ท่าน” ครั้นสละ
แล้วพึงแสดงอาบัติ
ภิกษุผู้รับสละนั้นพึงรับอาบัติแล้วคืนจีวรที่เธอสละให้ด้วยกล่าวว่า “กระผมคืน
จีวรผืนนี้ให้แก่ท่าน”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๑๕๘ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๓.ปัตตวรรค ๖.สุตตวิญญัตติสิกขาบท อนาปัตติวาร
บทภาชนีย์
ติกนิสสัคคิยปาจิตตีย์
[๖๓๙] จีวรที่ใช้เขาให้ทอ ภิกษุสำคัญว่าใช้เขาให้ทอ ต้องอาบัตินิสสัคคิย
ปาจิตตีย์
จีวรที่ใช้เขาให้ทอ ภิกษุไม่แน่ใจ ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
จีวรที่ใช้เขาให้ทอ ภิกษุสำคัญว่าไม่ได้ใช้เขาให้ทอ ต้องอาบัตินิสสัคคิย
ปาจิตตีย์

ทุกทุกกฏ
จีวรที่ไม่ได้ใช้เขาให้ทอ ภิกษุสำคัญว่าใช้เขาให้ทอ ต้องอาบัติทุกกฏ
จีวรที่ไม่ได้ใช้เขาให้ทอ ภิกษุไม่แน่ใจ ต้องอาบัติทุกกฏ
จีวรที่ไม่ได้ใช้เขาให้ทอ ภิกษุสำคัญว่าไม่ได้ใช้เขาให้ทอ ไม่ต้องอาบัติ

อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[๖๔๐] ๑. ภิกษุขอด้ายมาเย็บจีวร
๒. ภิกษุขอด้ายมาทำผ้ารัดเข่า
๓. ภิกษุขอด้ายมาทำประคดเอว
๔. ภิกษุขอด้ายมาทำผ้าอังสะ
๕. ภิกษุขอด้ายมาทำถุงบาตร
๖. ภิกษุขอด้ายมาทำผ้ากรองน้ำ
๗. ภิกษุขอจากญาติ
๘. ภิกษุขอจากคนปวารณา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๑๕๙ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๓.ปัตตวรรค ๖.สุตตวิญญัตติสิกขาบท อนาปัตติวาร
๙. ภิกษุขอเพื่อภิกษุอื่น
๑๐. ภิกษุซื้อมาด้วยทรัพย์ของตน
๑๑. ภิกษุวิกลจริต
๑๒. ภิกษุต้นบัญญัติ

สุตตวิญญัตติสิกขาบทที่ ๖ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๑๖๐ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๓.ปัตตวรรค ๗.มหาเปสการสิกขาบท นิทานวัตถุ
๓. ปัตตวรรค

๗. มหาเปสการสิกขาบท
ว่าด้วยการสั่งช่างหูกทอจีวร

เรื่องพระอุปนันทศากยบุตร
[๖๔๑] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น ชายคนหนึ่งจะไปค้างคืนต่างถิ่น
กล่าวกับภรรยาว่า “เธอจงกะด้ายแล้วมอบให้ช่างหูกชื่อโน้น ขอให้เขาทอจีวรเก็บไว้
ฉันกลับมาแล้วจะนิมนต์พระคุณเจ้าอุปนันทะให้ครองจีวร”
ภิกษุผู้ถือเที่ยวบิณทบาตเป็นวัตรรูปหนึ่งได้ยินชายคนนั้นกล่าว จึงเข้าไปหา
ท่านพระอุปนันทศากยบุตรถึงที่อยู่ ครั้นถึงแล้วได้กล่าวว่า “ท่านอุปนันทะ ท่านมี
บุญมาก ชายคนหนึ่งในที่โน้นเมื่อจะไปค้างคืนต่างถิ่น กล่าวกับภรรยาว่า ‘เธอจง
กะด้ายแล้วมอบให้ช่างหูกชื่อโน้น ขอให้เขาทอจีวรเก็บไว้ ฉันกลับมาแล้วจะนิมนต์
พระคุณเจ้าอุปนันทะให้ครองจีวร”
ท่านพระอุปนันทศากยบุตรกล่าวว่า “ใช่ ขอรับ เขาเป็นอุปัฏฐากของกระผม”
แม้ช่างหูกนั้นก็เป็นอุปัฏฐากของท่านพระอุปนันทศากยบุตร ต่อมา ท่านพระ
อุปนันทศากยบุตรได้เข้าไปหาช่างหูกนั้นถึงที่อยู่ ครั้นถึงแล้วได้กล่าวกับช่างหูกว่า
“จีวรผืนนี้เขาให้ท่านทอเจาะจงอาตมา ท่านจงทำให้ยาว ให้กว้าง ให้เนื้อแน่น ขึงให้ดี
ทอให้ดี สางให้ดี และกรีดให้ดี”
ช่างหูกกล่าวว่า “พระคุณเจ้า เขากะด้ายส่งมาให้เท่านี้ ทั้งสั่งกำชับว่า จงเอา
ด้ายนี้ทอจีวร’ กระผมไม่สามารถจะทำให้ยาว ให้กว้าง หรือให้เนื้อแน่นได้ แต่จะขึง
ให้ดี ทอให้ดี สางให้ดี และกรีดให้ดีได้ ขอรับ”
ท่านพระอุปนันทศากยบุตรกล่าวว่า “เอาเถอะ ท่านจงทำให้ยาว ให้กว้าง และ
ให้เนื้อแน่นเถิด ไม่ต้องกังวลเรื่องด้าย”


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๑๖๑ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๓.ปัตตวรรค ๗.มหาเปสการสิกขาบท นิทานวัตถุ
ครั้นช่างหูกนำด้ายตามที่เขาส่งมาเข้าเครื่องทอ จึงเข้าไปหาหญิงนั้นถึงที่อยู่
ครั้นถึงแล้วได้กล่าวกับหญิงนั้นว่า “กระผมต้องการด้าย ขอรับ”
หญิงนั้นกล่าวว่า “ดิฉันสั่งคุณแล้วมิใช่หรือว่า ‘จงเอาด้ายนี้ทอจีวร”
ช่างหูกตอบว่า “จริง ขอรับแม่เจ้า ท่านสั่งกระผมว่า ‘จงเอาด้ายนี้ทอจีวร’ แต่
พระคุณเจ้าอุปนันทศากยบุตรกล่าวอย่างนี้ว่า ‘เอาเถอะ ท่านจงทำให้ยาว ให้กว้าง
และให้เนื้อแน่น ไม่ต้องกังวลเรื่องด้าย” หญิงนั้นจึงให้ด้ายเพิ่มเท่ากับที่ให้คราวแรก
ท่านพระอุปนันทศากยบุตรทราบว่า “ชายคนนั้นกลับมาจากการค้างคืน
ต่างถิ่น” จึงเข้าไปหาถึงที่อยู่ ครั้นถึงแล้วจึงนั่งบนอาสนะที่เขาจัดไว้ ชายนั้นเข้าไป
หาท่านพระอุปนันทศากยบุตรถึงที่นั่ง ครั้นถึงแล้วจึงไหว้แล้วนั่ง ณ ที่สมควร ถาม
ภรรยาว่า “จีวรทอเสร็จแล้วหรือ” ภรรยาตอบว่า “เสร็จแล้ว” เขาสั่งว่า “เธอจงนำ
มา ฉันจะนิมนต์พระคุณเจ้าอุปนันทศากยบุตรให้ครองจีวร” ภรรยานำจีวรผืนนั้น
ออกมาให้สามีแล้วเล่าเรื่องให้ทราบ ชายนั้นถวายจีวรนั้นแก่ท่านพระอุปนันทศากย
บุตรแล้วตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “พระสมณะเชื้อสายศากยบุตรเหล่านี้มักมาก
ไม่สันโดษ จะนิมนต์ให้ครองจีวร มิใช่จะทำได้ง่าย ไฉนพระคุณเจ้าอุปนันทศากยบุตร
ที่เราไม่ได้ปวารณาไว้ก่อน จึงเข้าไปหาช่างหูกแล้วกำหนดจีวรเล่า”
ภิกษุทั้งหลายได้ยินบุรุษนั้นตำหนิ ประณาม โพนทะนา บรรดาภิกษุผู้มักน้อย
ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนท่านพระอุปนันทศากยบุตรที่เขาไม่ได้
ปวารณาไว้ก่อน จึงเข้าไปหาช่างหูกแล้วกำหนดจีวรเล่า” ครั้นภิกษุเหล่านั้นตำหนิ
ท่านอุปนันทศากยบุตรโดยประการต่าง ๆ แล้วจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระ
ภาคให้ทรงทราบ

ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามท่านพระอุปนันทศากยบุตรว่า “อุปนันทะ ทราบว่า เขาไม่ได้ปวารณาไว้ก่อน
แต่เธอเข้าไปหาช่างหูกของคฤหัสถ์แล้วกำหนดจีวร จริงหรือ” ท่านพระ
อุปนันทศากยบุตรทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า
“อุปนันทะ เขาเป็นญาติของเธอหรือไม่ใช่ญาติ” ท่านพระอุปนันทศากยบุตรทูลตอบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๑๖๒ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๓.ปัตตวรรค ๗.มหาเปสการสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์
ว่า “ไม่ใช่ญาติ พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคทรงตำหนิว่า “โมฆบุรุษ คฤหัสถ์ผู้
ไม่ใช่ญาติย่อมไม่รู้ความเหมาะสมหรือไม่เหมาะสม ของที่มีอยู่หรือไม่มีของผู้ไม่ใช่
ญาติ เธอนั้น๑ ซึ่งเขาไม่ได้ปวารณาไว้ก่อน เข้าไปหาช่างหูกของคฤหัสถ์ผู้ไม่ใช่
ญาติแล้ว กำหนดจีวรเล่า โมฆบุรุษ การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้
เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่งให้
ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้

พระบัญญัติ
[๖๔๒] ก็ คฤหัสถ์ชายหรือคฤหัสถ์หญิงผู้ไม่ใช่ญาติ สั่งช่างหูกให้ทอจีวร
เจาะจงภิกษุ ถ้าภิกษุนั้นเขาไม่ได้ปวารณาไว้ก่อน เข้าไปหาช่างหูกแล้วกำหนด
ชนิดจีวรในสำนักของเขาว่า “ท่าน จีวรผืนนี้เขาให้ทอเจาะจงอาตมา ท่านจง
ทำให้ยาว ท่านจงทำให้กว้าง ให้เนื้อแน่น ขึงให้ดี ทอให้ดี สางให้ดี และกรีดให้ดี
เอาเถอะ อาตมาจะให้ของเล็กน้อยเป็นรางวัลแก่ท่าน” ครั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว
ถ้าภิกษุนั้นให้ของเล็กน้อยเป็นรางวัล โดยที่สุดแม้แต่อาหารบิณฑบาต ต้อง
อาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
เรื่องพระอุปนันทศากยบุตร จบ

สิกขาบทวิภังค์
[๖๔๓] คำว่า ก็...เจาะจงภิกษุ ความว่า เพื่อประโยชน์ของภิกษุ คือ มุ่ง
เฉพาะภิกษุ ปรารถนาจะให้ภิกษุครองจีวร
ที่ชื่อว่า ผู้ไม่ใช่ญาติ คือ ไม่ใช่คนที่เกี่ยวเนื่องกันทางมารดาหรือทางบิดา
ตลอดเจ็ดชั่วคน
ที่ชื่อว่า คฤหัสถ์ชาย ได้แก่ บุรุษผู้ครองเรือน

เชิงอรรถ :
๑ ตตฺถ เธอนั้นนี้เป็น ปจฺจตฺตกตฺวตฺถ คือมีอรรถเป็นกัตตา ผู้กระทำ ปฐมาวิภัตติ (ตตฺถ นาม ตฺวนฺติ
โส นาม ตฺวํ - วิมติ. ฏีกา ๑/๕๐๓-๕/๔๑๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๑๖๓ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๓.ปัตตวรรค ๗.มหาเปสการสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์
ที่ชื่อว่า คฤหัสถ์หญิง ได้แก่ สตรีผู้ครองเรือน
ที่ชื่อว่า ช่างหูก ได้แก่ คนทอผ้า
ที่ชื่อว่า จีวร ได้แก่ จีวร ๖ ชนิด อย่างใดอย่างหนึ่งซึ่งมีขนาดพอที่จะทำวิกัป
ได้เป็นอย่างต่ำ
คำว่า สั่ง...ให้ทอ คือ ใช้ให้ทอ
คำว่า ถ้าภิกษุนั้น...ในสำนักของเขา ได้แก่ ภิกษุที่เขาสั่งให้ช่างหูกทอจีวร
เจาะจง
คำว่า เขาไม่ได้ปวารณาไว้ก่อน คือ ทายกไม่ได้กล่าวไว้ก่อนว่า “ท่านผู้เจริญ
ท่านต้องการจีวรชนิดไหน กระผมจะให้ทอจีวรชนิดไหนถวายท่าน”
คำว่า เข้าไปหาช่างหูก คือ ไปถึงเรือนแล้วเข้าไปหาที่ใดที่หนึ่ง
คำว่า กำหนดชนิดจีวร คือ กำหนดว่า “จีวรผืนนี้ทอเจาะจงอาตมา ท่าน
จงทำให้ยาว ให้กว้าง ให้เนื้อแน่น ขึงให้ดี ทอให้ดี สางให้ดี และกรีดให้ดี เอาเถอะ
อาตมาจะให้ของเล็กน้อยเป็นรางวัลแก่ท่าน”
คำว่า ครั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว ถ้าภิกษุนั้นให้ของเล็กน้อยเป็นรางวัลโดยที่สุด
แม้แต่อาหารบิณฑบาต มีความว่า ที่ชื่อว่าบิณฑบาต ได้แก่ ข้าวต้ม ข้าวสวย
ของเคี้ยว ก้อนจุรณ ไม้ชำระฟัน หรือด้ายชายผ้า โดยที่สุดกระทั่งกล่าวธรรม
ช่างหูกทำให้ยาว ให้กว้าง ให้เนื้อแน่นตามคำภิกษุ ต้องอาบัติทุกกฏเพราะ
พยายาม จีวรเป็นนิสสัคคีย์เพราะได้มา คือเป็นของจำต้องสละจีวรแก่สงฆ์ แก่คณะ
หรือแก่บุคคล
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงสละจีวรที่เป็นนิสสัคคีย์อย่างนี้

วิธีสละจีวรที่เป็นนิสสัคคีย์
สละแก่สงฆ์
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง กราบเท้าภิกษุ
ผู้แก่พรรษา นั่งกระโหย่งประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านผู้เจริญ จีวรผืนนี้เขา
ไม่ได้ปวารณาไว้ก่อน กระผมเข้าไปหาช่างหูกของคฤหัสถ์ผู้ไม่ใช่ญาติ กำหนดชนิด
จีวร เป็นนิสสัคคีย์ กระผมสละจีวรผืนนี้แก่สงฆ์” ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๑๖๔ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๓.ปัตตวรรค ๗.มหาเปสการสิกขาบท บทภาชนีย์
ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงรับอาบัติ พึงคืนจีวรที่เธอสละให้ด้วยญัตติกรรมวาจา
ว่า “ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า จีวรผืนนี้ของภิกษุชื่อนี้เป็นนิสสัคคีย์ เธอ
สละแก่สงฆ์ ถ้าสงฆ์พร้อมกันแล้วก็พึงให้จีวรผืนนี้แก่ภิกษุชื่อนี้”

สละแก่คณะ
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุหลายรูป ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง กราบ
เท้าภิกษุผู้แก่พรรษา นั่งกระโหย่งประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านผู้เจริญ จีวรผืนนี้
เขาไม่ได้ปวารณาไว้ก่อน กระผมเข้าไปหาช่างหูกของคฤหัสถ์ผู้ไม่ใช่ญาติ กำหนด
ชนิดจีวร เป็นนิสสัคคีย์ กระผมสละจีวรผืนนี้แก่ท่านทั้งหลาย” ครั้นสละแล้วพึง
แสดงอาบัติ
ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงรับอาบัติ พึงคืนจีวรที่เธอสละให้ด้วยกล่าวว่า “ท่าน
ทั้งหลายจงฟังข้าพเจ้า จีวรผืนนี้ของภิกษุชื่อนี้เป็นนิสสัคคีย์ เธอสละแก่ท่านทั้งหลาย
ถ้าท่านทั้งหลายพร้อมกันแล้วพึงให้จีวรผืนนี้แก่ภิกษุชื่อนี้”

สละแก่บุคคล
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุรูปหนึ่ง ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง นั่ง
กระโหย่งประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านขอรับ จีวรผืนนี้เขาไม่ได้ปวารณาไว้ก่อน
กระผมเข้าไปหาช่างหูกของคฤหัสถ์ผู้ไม่ใช่ญาติ กำหนดชนิดจีวร เป็นนิสสัคคีย์
กระผมสละจีวรผืนนี้แก่ท่าน” ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ
ภิกษุผู้รับสละนั้นพึงรับอาบัติแล้วคืนจีวรที่เธอสละให้ด้วยกล่าวว่า “กระผม
คืนจีวรผืนนี้ให้แก่ท่าน”

บทภาชนีย์
ติกนิสสัคคิยปาจิตตีย์
[๖๔๔] คฤหัสถ์ที่ไม่ใช่ญาติ ภิกษุสำคัญว่าไม่ใช่ญาติ เขาไม่ได้ปวารณาไว้
ก่อน เข้าไปหาช่างหูกของคฤหัสถ์กำหนดชนิดจีวร ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
คฤหัสถ์ที่ไม่ใช่ญาติ ภิกษุไม่แน่ใจ เขาไม่ได้ปวารณาไว้ก่อน เข้าไปหาช่างหูก
ของคฤหัสถ์กำหนดชนิดจีวร ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๑๖๕ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๓.ปัตตวรรค ๗.มหาเปสการสิกขาบท อนาปัตติวาร
คฤหัสถ์ที่ไม่ใช่ญาติ ภิกษุสำคัญว่าเป็นญาติ เขาไม่ได้ปวารณาไว้ก่อน เข้าไป
หาช่างหูกของคฤหัสถ์กำหนดชนิดจีวร ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์

ทุกทุกกฏ
คฤหัสถ์ที่เป็นญาติ ภิกษุสำคัญว่าไม่ใช่ญาติ เข้าไปกำหนดชนิดจีวร ต้องอาบัติ
ทุกกฏ
คฤหัสถ์ที่เป็นญาติ ภิกษุไม่แน่ใจ เข้าไปกำหนดชนิดจีวร ต้องอาบัติทุกกฏ
คฤหัสถ์ที่เป็นญาติ ภิกษุสำคัญว่าเป็นญาติ เข้าไปกำหนดชนิดจีวร ไม่ต้อง
อาบัติ

อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[๖๔๕] ๑. ภิกษุกำหนดชนิดจีวรกับช่างหูกของญาติ
๒. ภิกษุกำหนดชนิดจีวรกับช่างหูกของคนปวารณา
๓. ภิกษุกำหนดชนิดจีวรเพื่อภิกษุอื่น
๔. ภิกษุกำหนดชนิดจีวรด้วยทรัพย์ของตน
๕. คฤหัสถ์จะให้ทอจีวรราคาแพงแต่ภิกษุให้ทอจีวรราคาถูก
๖. ภิกษุวิกลจริต
๗. ภิกษุต้นบัญญติ

มหาเปสการสิกขาบทที่ ๗ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๑๖๖ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๓.ปัตตวรรค ๘.อัจเจกจีวรสิกขาบท นิทานวัตถุ
๓. ปัตตวรรค

๘. อัจเจกจีวรสิกขาบท
ว่าด้วยอัจเจกจีวร

เรื่องมหาอมาตย์ถวายผ้าจำนำพรรษา
[๖๔๖] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น มหาอมาตย์คนหนึ่งจะไปค้างคืน
ต่างถิ่น ส่งทูตไปหาภิกษุว่า “ขอพระคุณเจ้าทั้งหลายมาเถิด กระผมจะถวายผ้าจำนำ
พรรษา๑” ภิกษุทั้งหลายรังเกียจว่า “พระผู้มีพระภาคทรงอนุญาตผ้าจำนำพรรษาแก่
ภิกษุผู้อยู่จำพรรษา” จึงไม่ไป
มหาอมาตย์ตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ทำไมพระคุณเจ้าทั้งหลายเมื่อเรา
ส่งทูตไปจึงไม่มาเล่า เราจะเดินทางไปรบ จะเป็นจะตายก็ยากจะรู้ได้”
พวกภิกษุได้ทราบข่าวที่มหาอมาตย์ตำหนิ ประณาม โพนทะนา จึงนำเรื่องนี้
ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ

ทรงอนุญาตอัจเจกจีวร
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมีกถาเพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ รับสั่ง
กับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้รับอัจเจกจีวร๒ เก็บไว้ได้”
[๖๔๗] สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายทราบว่า “พระผู้มีพระภาคทรงอนุญาตให้รับ
อัจเจกจีวรเก็บไว้ได้” จึงรับอัจเจกจีวรเก็บไว้จนเกินสมัยจีวรกาล จีวรเหล่านั้นภิกษุ
ห่อแขวนไว้ที่สายระเดียง
ท่านพระอานนท์เที่ยวจาริกไปตามเสนาสนะเห็นจีวรเหล่านั้นแขวนอยู่ที่สาย
ระเดียง จึงกล่าวกับภิกษุทั้งหลายว่า “จีวรเหล่านี้ของใครแขวนไว้ที่สายระเดียง”

เชิงอรรถ :
๑ ผ้าจำนำพรรษา คือผ้าที่ทายกถวายแก่พระสงฆ์ผู้อยู่จำพรรษาแล้ว (ดูข้อ ๖๔๙ หน้า ๑๖๙ ประกอบ)
๒ อัจเจกจีวร หมายถึงจีวรรีบร้อนหรือผ้าจำนำพรรษาที่ทายกผู้มีเหตุรีบร้อนขอถวายก่อนกำหนดเวลาปกติ
มีพุทธานุญาตให้ภิกษุรับเก็บไว้ได้ แต่ต้องรับก่อนวันปวารณาไม่เกิน ๑๐ วัน (ดูข้อ ๖๔๙ หน้า ๑๖๙)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๑๖๗ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๓.ปัตตวรรค ๘.อัจเจกจีวรสิกขาบท พระบัญญัติ
ภิกษุทั้งหลายตอบว่า “อัจเจกจีวรของพวกกระผม”
ท่านพระอานนท์ถามว่า “ท่านทั้งหลาย พวกท่านเก็บจีวรเหล่านี้ไว้นานกี่
วันแล้ว” ภิกษุเหล่านั้นบอกพระอานนท์ตามที่ได้เก็บไว้
ท่านพระอานนท์ตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ทำไมภิกษุทั้งหลายรับอัจเจก
จีวรแล้วเก็บไว้จนเกินสมัยจีวรกาลเล่า” ครั้นพระอานนท์ตำหนิพวกภิกษุเหล่านั้น
โดยประการต่าง ๆ แล้วนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ

ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย พวกภิกษุรับอัจเจกจีวรเก็บไว้จนเกินสมัย
จีวรกาล จริงหรือ” ภิกษุเหล่านั้นทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาค
พุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “โมฆบุรุษทั้งหลาย ไฉนพวกเธอจึงรับอัจเจกจีวรเก็บไว้จนเกิน
สมัยจีวรกาลเล่า โมฆบุรุษทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้
เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่งให้
ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้

พระบัญญัติ
[๖๔๘] ก็ เมื่อยังเหลืออีก ๑๐ วันจึงจะถึงวันเพ็ญเดือน ๑๑ ซึ่งเป็นวัน
ครบไตรมาส๑ อัจเจกจีวรเกิดขึ้นแก่ภิกษุ ภิกษุรู้อยู่ว่าเป็นอัจเจกจีวรพึงรับไว้
ครั้นรับไว้แล้วควรเก็บไว้ได้ชั่วสมัยที่เป็นจีวรกาล ถ้าเก็บไว้เกินกำหนดนั้น ต้อง
อาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
เรื่องมหาอมาตย์ถวายผ้าจำนำพรรษา จบ

เชิงอรรถ :
๑ หมายถึง วันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ ซึ่งเป็นวันที่ครบ ๓ เดือน นับแต่วันเข้าพรรษา (ดูข้อ ๖๔๙ หน้า ๑๖๙)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๑๖๘ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๓.ปัตตวรรค ๘.อัจเจกจีวรสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์
สิกขาบทวิภังค์
[๖๔๙] คำว่า เมื่อยังเหลืออีก ๑๐ วัน คือ อีก ๑๐ วันจะถึงวันปวารณา
คำว่า วันเพ็ญเดือน ๑๑ ซึ่งเป็นวันครบไตรมาส ท่านกล่าวหมายเอาวัน
ปวารณาเดือน ๑๑
ที่ชื่อว่า อัจเจกจีวร อธิบายว่า ผู้ประสงค์จะไปในกองทัพ ประสงค์จะไป
พักแรมต่างถิ่น เจ็บไข้ สตรีมีครรภ์ ผู้ไม่มีศรัทธาได้เกิดศรัทธาขึ้นหรือผู้ไม่เลื่อมใส
ได้เกิดความเลื่อมใสขึ้น ถ้าเขาส่งทูตไปถึงภิกษุว่า “นิมนต์พระคุณเจ้าทั้งหลายมา
เถิด ข้าพเจ้าจะถวายผ้าจำนำพรรษา” ผ้าเช่นนี้ชื่อว่าอัจเจกจีวร
คำว่า รู้อยู่ว่าเป็นอัจเจกจีวรพึงรับไว้ ครั้นรับไว้แล้วควรเก็บไว้ได้ชั่วสมัยที่
เป็นจีวรกาล คือ ภิกษุพึงทำเครื่องหมายว่า “นี้คืออัจเจกจีวร” แล้วเก็บไว้
ที่ชื่อว่า สมัยที่เป็นจีวรกาล คือ เมื่อยังไม่ได้กรานกฐินมีเวลาท้ายฤดูฝน ๑
เดือน เมื่อกรานกฐินแล้ว ขยายเวลาออกไปอีกเป็น ๕ เดือน
คำว่า ถ้าเก็บไว้เกินกำหนดนั้น คือ เมื่อไม่กรานกฐิน ให้เกินวันสุดท้ายฤดูฝน
ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์ เมื่อได้กรานกฐินแล้วเก็บไว้เลยวันกฐินเดาะ เป็น
นิสสัคคีย์ คือเป็นของจำต้องสละแก่สงฆ์ แก่คณะหรือแก่บุคคล
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงสละอัจเจกจีวรที่เป็นนิสสัคคีย์อย่างนี้

วิธีสละอัจเจกจีวรที่เป็นนิสสัคคีย์
สละแก่สงฆ์
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง กราบเท้าภิกษุผู้
แก่พรรษา นั่งกระโหย่งประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านผู้เจริญ ผ้าอัจเจกจีวรผืนนี้
กระผมทำให้เกินสมัยที่เป็นจีวรกาล เป็นนิสสัคคีย์ กระผมสละอัจเจกจีวรผืนนี้แก่
สงฆ์” ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ
ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงรับอาบัติ พึงคืนอัจเจกจีวรที่เธอสละให้ด้วยญัตติกรรม
วาจาว่า “ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า อัจเจกจีวรผืนนี้ของภิกษุชื่อนี้เป็น
นิสสัคคีย์ เธอสละแก่สงฆ์ ถ้าสงฆ์พร้อมกันแล้วก็พึงให้อัจเจกจีวรผืนนี้แก่ภิกษุชื่อนี้”


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๑๖๙ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๓.ปัตตวรรค ๘.อัจเจกจีวรสิกขาบท บทภาชนีย์
สละแก่คณะ
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุหลายรูป ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง กราบ
เท้าภิกษุผู้แก่พรรษา นั่งกระโหย่งประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านผู้เจริญ ผ้า
อัจเจกจีวรผืนนี้กระผมทำให้เกินสมัยที่เป็นจีวรกาล เป็นนิสสัคคีย์ กระผมสละ
อัจเจกจีวรผืนนี้แก่ท่านทั้งหลาย” ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ
ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงรับอาบัติ ครั้นรับอาบัติแล้ว พึงคืนอัจเจกจีวรที่เธอ
สละให้ด้วยกล่าวว่า “ท่านทั้งหลายจงฟังข้าพเจ้า อัจเจกจีวรผืนนี้ของภิกษุชื่อนี้เป็น
นิสสัคคีย์ เธอสละแก่ท่านทั้งหลาย ถ้าท่านทั้งหลายพร้อมกันแล้วพึงให้อัจเจกจีวร
ผืนนี้แก่ภิกษุชื่อนี้”

สละแก่บุคคล
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุรูปหนึ่ง ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง นั่ง
กระโหย่งประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านผู้เจริญ ผ้าอัจเจกจีวรผืนนี้กระผมทำให้
เกินสมัยที่เป็นจีวรกาล เป็นนิสสัคคีย์ กระผมสละอัจเจกจีวรผืนนี้แก่ท่าน” ครั้นสละ
แล้วพึงแสดงอาบัติ
ภิกษุผู้รับสละนั้นพึงรับอาบัติ แล้วคืนอัจเจกจีวรที่เธอสละให้ด้วยกล่าวว่า
“กระผมคืนอัจเจกจีวรผืนนี้ให้แก่ท่าน”

บทภาชนีย์
นิสสัคคิยปาจิตตีย์
[๖๕๐] อัจเจกจีวร ภิกษุสำคัญว่าอัจเจกจีวร ทำให้เกินสมัยที่เป็นจีวรกาล
ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
อัจเจกจีวร ภิกษุไม่แน่ใจ ทำให้เกินสมัยที่เป็นจีวรกาล ต้องอาบัตินิสสัคคิย
ปาจิตตีย์
อัจเจกจีวร ภิกษุสำคัญว่าไม่ใช่อัจเจกจีวร ทำให้เกินสมัยที่เป็นจีวรกาล ต้อง
อาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๑๗๐ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๓.ปัตตวรรค ๘.อัจเจกจีวรสิกขาบท อนาปัตติวาร
จีวรที่ยังไม่ได้อธิษฐาน ภิกษุสำคัญว่าอธิษฐานแล้ว ต้องอาบัตินิสสัคคิย
ปาจิตตีย์
จีวรที่ยังไม่ได้วิกัป ภิกษุสำคัญว่าวิกัปแล้ว ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
จีวรที่ยังไม่ได้สละ ภิกษุสำคัญว่าสละแล้ว ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
จีวรที่ยังไม่สูญหาย ภิกษุสำคัญว่าสูญหายแล้ว ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
จีวรที่ยังไม่ฉิบหาย ภิกษุสำคัญว่าฉิบหายแล้ว ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
จีวรที่ยังไม่ถูกไฟไหม้ ภิกษุสำคัญว่าถูกไฟไหม้แล้ว ต้องอาบัตินิสสัคคิย
ปาจิตตีย์
จีวรที่ยังไม่ถูกโจรชิงไป ภิกษุสำคัญว่าถูกโจรชิงไปแล้ว ให้เกินสมัยที่เป็น
จีวรกาล ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์

ติกทุกกฏ
ภิกษุยังไม่ได้สละจีวรที่เป็นนิสสัคคีย์ ใช้สอย ต้องอาบัติทุกกฏ
จีวรที่ไม่ใช่อัจเจกจีวร ภิกษุสำคัญว่าอัจเจกจีวร ต้องอาบัติทุกกฏ
จีวรที่ไม่ใช่อัจเจกจีวร ภิกษุไม่แน่ใจ ต้องอาบัติทุกกฏ
จีวรที่ไม่ใช่อัจเจกจีวร ภิกษุสำคัญว่าไม่ใช่อัจเจกจีวร ไม่ต้องอาบัติ

อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[๖๕๑] ๑. ภิกษุอธิษฐานภายในเวลาที่กำหนด
๒. ภิกษุวิกัปไว้ภายในเวลาที่กำหนด
๓. ภิกษุสละให้ไปภายในเวลาที่กำหนด
๔. ภิกษุที่มีจีวรสูญหายภายในเวลาที่กำหนด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๑๗๑ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๓.ปัตตวรรค ๘.อัจเจกจีวรสิกขาบท อนาปัตติวาร
๕. ภิกษุที่มีจีวรฉิบหายภายในเวลาที่กำหนด
๖. ภิกษุที่มีจีวรถูกไฟไหม้
๗. ภิกษุที่มีจีวรถูกโจรชิงเอาไป
๘. ภิกษุผู้มีจีวรถูกถือเอาไปโดยวิสาสะ
๙. ภิกษุวิกลจริต
๑๐. ภิกษุต้นบัญญัติ

อัจเจกจีวรสิกขาบทที่ ๘ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๑๗๒ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๓.ปัตตวรรค ๙.สาสังกสิกขาบท นิทานวัตถุ
๓. ปัตตวรรค

๙. สาสังกสิกขาบท
ว่าด้วยเสนาสนะป่าที่น่าหวาดระแวง

เรื่องภิกษุหลายรูป
[๖๕๒] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุทั้งหลายเมื่อออกพรรษา
ปวารณาแล้วยังอยู่ในเสนาสนะป่า กลุ่มกัตติกโจร๑ เข้าใจว่า “พวกภิกษุมีลาภ” จึง
เข้าปล้น พวกภิกษุได้นำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ

ทรงอนุญาตภิกษุให้เก็บจีวรไว้ในละแวกบ้าน
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมีกถาเพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ รับสั่ง
กับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุผู้อยู่ในเสนาสนะป่าเก็บไตร
จีวรผืนใดผืนหนึ่งไว้ในละแวกบ้านได้”
สมัยนั้น พวกภิกษุทราบว่า “พระผู้มีพระภาคทรงอนุญาตให้ภิกษุผู้อยู่ใน
เสนาสนะป่าเก็บไตรจีวรผืนใดผืนหนึ่งไว้ในละแวกบ้านได้” จึงเก็บไตรจีวรผืนใดผืน
หนึ่งไว้ในละแวกบ้านอยู่ปราศเกิน ๖ คืน จีวรเหล่านั้นสูญหายบ้าง ฉิบหายบ้าง
ถูกไฟไหม้บ้าง ถูกหนูกัดบ้าง ภิกษุเหล่านั้นมีผ้าไม่ดี มีแต่จีวรเก่า ๆ ภิกษุทั้งหลาย
กล่าวอย่างนี้ว่า “เหตุใดพวกท่านมีผ้าไม่ดี มีแต่จีวรเก่า ๆ ” ทีนั้น ภิกษุเหล่านั้นจึง
บอกเรื่องนั้นให้ทราบ
บรรดาภิกษุผู้มักน้อย ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนภิกษุ
ทั้งหลายจึงเก็บไตรจีวรผืนใดผืนหนึ่งไว้ในละแวกบ้าน แล้วอยู่ปราศเกิน ๖ คืนเล่า”
ครั้นภิกษุทั้งหลายตำหนิภิกษุเหล่านั้นโดยประการต่าง ๆ แล้วจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูล
พระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ

เชิงอรรถ :
๑ กตฺติกโจรกาติ กตฺติกมาเส โจรา หมายถึงพวกโจรเดือน ๑๒ (วิ.อ. ๒/๖๕๒/๒๔๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๑๗๓ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๓.ปัตตวรรค ๙.สาสังกสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์
ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า พวกภิกษุเก็บไตรจีวรผืนใด
ผืนหนึ่งไว้ในละแวกบ้านแล้วอยู่ปราศเกิน ๖ คืน จริงหรือ” ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า
“จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ภิกษุทั้งหลาย ไฉน
โมฆบุรุษเหล่านั้นจึงเก็บไตรจีวรผืนใดผืนหนึ่งไว้ในละแวกบ้านแล้วอยู่ปราศเกิน ๖ คืน
ภิกษุทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่
เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้ ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบท
นี้ขึ้นแสดงดังนี้

พระบัญญัติ
[๖๕๓] ก็ ภิกษุจำพรรษาแล้วหวังจะอยู่ในเสนาสนะป่าที่รู้กันว่าน่าหวาด
ระแวง มีภัยน่ากลัวเช่นนั้น จนถึงวันเพ็ญเดือน ๑๒ พึงเก็บไตรจีวรผืนใดผืน
หนึ่งไว้ในละแวกบ้านได้ และภิกษุนั้นควรมีปัจจัยบางอย่างเพื่อการอยู่ปราศ
จากจีวรนั้น ภิกษุนั้นพึงอยู่ปราศจากจีวรนั้นได้ ๖ คืนเป็นอย่างมาก ถ้าอยู่ปราศ
เกินกว่ากำหนดนั้น ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์ เว้นไว้แต่ภิกษุผู้ได้รับสมมติ
เรื่องภิกษุหลายรูป จบ

สิกขาบทวิภังค์
[๖๕๔] คำว่า ก็...จำพรรษาแล้ว คือ ออกพรรษาแล้ว
คำว่า วันเพ็ญเดือน ๑๒ พระผู้มีพระภาคตรัสว่าตรงกับวันปุรณมีดิถีที่ ๔
ในกัตติกามาส
คำว่า เสนาสนะป่า ความว่า เสนาสนะที่ชื่อว่าป่า มีระยะ ๕๐๐ ชั่วธนู
เป็นอย่างต่ำ
ที่ชื่อว่า น่าหวาดระแวง คือ ในอาราม อุปจารแห่งอาราม ปรากฏที่อยู่
ปรากฏที่กิน ปรากฏที่ยืน ปรากฏที่นั่ง ปรากฏที่นอนของพวกโจร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๑๗๔ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๓.ปัตตวรรค ๙.สาสังกสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์
ที่ชื่อว่า มีภัยน่ากลัว คือ ในอาราม อุปจารแห่งอาราม ปรากฏมีมนุษย์
ถูกพวกโจรฆ่า ปรากฏมีมนุษย์ถูกปล้น ปรากฏมีมนุษย์ถูกทุบตี
คำว่า ภิกษุ...จะอยู่ในเสนาสนะป่าเช่นนั้น ความว่า ภิกษุยับยั้งอยู่ใน
เสนาสนะเช่นนั้น
คำว่า หวัง คือ ปรารถนา
คำว่า ไตรจีวรผืนใดผืนหนึ่ง ได้แก่ สังฆาฏิ อุตตราสงค์หรืออันตรวาสก
คำว่า พึงเก็บไว้ในละแวกบ้านได้ คือ เก็บไว้ในโคจรคามโดยรอบ
คำว่า ภิกษุนั้นควรมีปัจจัยบางอย่างเพื่อการอยู่ปราศจากจีวรนั้น คือ มี
เหตุผลหรือกรณียกิจ
คำว่า ภิกษุพึงอยู่ปราศจากจีวรนั้นได้ ๖ คืนเป็นอย่างมาก ความว่า อยู่
ปราศได้เพียง ๖ คืนเป็นอย่างมาก
คำว่า เว้นไว้แต่ภิกษุผู้ได้รับสมมติ คือ ยกเว้นภิกษุที่ได้รับสมมติ
คำว่า ถ้าอยู่ปราศเกินกว่ากำหนดนั้น ความว่า เมื่อรุ่งอรุณวันที่ ๗ มาถึง
จีวรนั้นเป็นนิสสัคคีย์ คือเป็นของจำต้องสละแก่สงฆ์ แก่คณะหรือแก่บุคคล
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงสละจีวรที่เป็นนิสสัคคีย์อย่างนี้

วิธีสละจีวรที่เป็นนิสสัคคีย์
สละแก่สงฆ์
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง กราบเท้าภิกษุผู้
แก่พรรษา นั่งกระโหย่งประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านผู้เจริญ จีวรผืนนี้ของ
กระผมอยู่ปราศเกิน ๖ คืน เป็นนิสสัคคีย์ กระผมสละจีวรผืนนี้แก่สงฆ์” ครั้นสละ
แล้วพึงแสดงอาบัติ
ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงรับอาบัติ พึงคืนจีวรที่เธอสละให้ด้วยญัตติกรรมวาจา
ว่า “ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า จีวรของภิกษุชื่อนี้เป็นนิสสัคคีย์ เธอสละ
แก่สงฆ์ ถ้าสงฆ์พร้อมกันแล้วก็พึงให้จีวรผืนนี้แก่ภิกษุชื่อนี้”


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๑๗๕ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๓.ปัตตวรรค ๙.สาสังกสิกขาบท บทภาชนีย์
สละแก่คณะ
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุหลายรูป ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง กราบ
เท้าภิกษุผู้แก่พรรษา นั่งกระโหย่งประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านผู้เจริญ จีวรผืนนี้
ของกระผมอยู่ปราศเกิน ๖ คืน เป็นนิสสัคคีย์ กระผมสละจีวรผืนนี้แก่ท่าน
ทั้งหลาย” ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ
ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงรับอาบัติ พึงคืนจีวรที่เธอสละให้ด้วยกล่าวว่า “ท่าน
ทั้งหลายจงฟังข้าพเจ้า จีวรผืนนี้ของภิกษุชื่อนี้เป็นนิสสัคคีย์ เธอสละแก่ท่านทั้งหลาย
ถ้าท่านทั้งหลายพร้อมกันแล้วก็พึงให้จีวรผืนนี้แก่ภิกษุชื่อนี้”

สละแก่บุคคล
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุรูปหนึ่ง ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง นั่ง
กระโหย่งประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านขอรับ จีวรผืนนี้ของกระผมอยู่ปราศเกิน
๖ คืน เป็นนิสสัคคีย์ กระผมสละจีวรผืนนี้แก่ท่าน” ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ
ภิกษุผู้รับสละนั้นพึงรับอาบัติแล้วคืนจีวรที่เธอสละให้ด้วยกล่าวว่า “กระผม
คืนจีวรผืนนี้ให้แก่ท่าน”

บทภาชนีย์
นิสสัคคิยปาจิตตีย์
[๖๕๕] จีวรเกิน ๖ คืน ภิกษุสำคัญว่าเกิน อยู่ปราศ ต้องอาบัตินิสสัคคิย
ปาจิตตีย์ เว้นไว้แต่ภิกษุได้สมมติ
จีวรเกิน ๖ คืน ภิกษุไม่แน่ใจ อยู่ปราศ ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์ เว้นไว้
แต่ภิกษุได้สมมติ
จีวรเกิน ๖ คืน ภิกษุสำคัญว่าหย่อนกว่า อยู่ปราศ ต้องอาบัตินิสสัคคิย
ปาจิตตีย์ เว้นไว้แต่ภิกษุได้สมมติ
จีวรยังไม่ได้ถอน ภิกษุสำคัญว่าถอนแล้ว ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๑๗๖ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๓.ปัตตวรรค ๙.สาสังกสิกขาบท อนาปัตติวาร
จีวรยังไม่ได้สละ ภิกษุสำคัญว่าสละแล้ว ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
จีวรยังไม่สูญหาย ภิกษุสำคัญว่าสูญหายแล้ว ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
จีวรยังไม่ฉิบหาย ภิกษุสำคัญว่าฉิบหายแล้ว ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
จีวรยังไม่ถูกไฟไหม้ ภิกษุสำคัญว่าถูกไฟไหม้แล้ว ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
จีวรยังไม่ถูกชิงเอาไป ภิกษุสำคัญว่าถูกโจรชิงเอาไปแล้ว อยู่ปราศ ต้องอาบัติ
นิสสัคคิยปาจิตตีย์ เว้นไว้แต่ภิกษุได้สมมติ

ติกทุกกฏ
ภิกษุไม่ได้สละจีวรเป็นนิสสัคคีย์ ใช้สอย ต้องอาบัติทุกกฏ
จีวรหย่อนกว่า ๖ ราตรี ภิกษุสำคัญว่าเกินแล้ว ต้องอาบัติทุกกฏ
จีวรหย่อนกว่า ๖ ราตรี ภิกษุไม่แน่ใจ ต้องอาบัติทุกกฏ
จีวรหย่อนกว่า ๖ ราตรี ภิกษุสำคัญว่าหย่อนกว่า ใช้สอย ไม่ต้องอาบัติ

อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[๖๕๖] ๑. ภิกษุอยู่ปราศ ๖ ราตรี
๒. ภิกษุอยู่ปราศหย่อนกว่า ๖ ราตรี
๓. ภิกษุอยู่ปราศ ๖ ราตรี แล้วกลับมาคามสีมาแล้วจากไป
๔. ภิกษุถอนผ้าภายใน ๖ ราตรี
๕. ภิกษุสละให้ภายใน ๖ ราตรี
๖. ภิกษุที่มีจีวรสูญหายภายใน ๖ ราตรี
๗. ภิกษุที่มีจีวรฉิบหายภายใน ๖ ราตรี
๘. ภิกษุที่มีจีวรถูกไฟไหม้ภายใน ๖ ราตรี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๑๗๗ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๓.ปัตตวรรค ๙.สาสังกสิกขาบท อนาปัตติวาร
๙. ภิกษุที่มีจีวรถูกโจรชิงเอาไปภายใน ๖ ราตรี
๑๐. ภิกษุผู้มีจีวรถูกถือเอาไปโดยวิสาสะภายใน ๖ ราตรี
๑๑. ภิกษุได้สมมติ
๑๒. ภิกษุวิกลจริต
๑๓. ภิกษุต้นบัญญัติ

สาสังกสิกขาบทที่ ๙ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๑๗๘ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๓.ปัตตวรรค ๑๐.ปริณตสิกขาบท นิทานวัตถุ
๓. ปัตตวรรค

๑๐. ปริณตสิกขาบท
ว่าด้วยการน้อมลาภ

เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๖๕๗] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น สมาคม๑ หนึ่งในกรุงสาวัตถีเตรียม
ภัตตาหารพร้อมจีวรไว้ถวายสงฆ์ด้วยตั้งใจว่า “พวกเราจักนิมนต์ภิกษุให้ฉันแล้วให้
ครองจีวร” ต่อมา พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ได้เข้าไปหาสมาคมนั้นถึงที่อยู่ ครั้นถึงแล้วได้
กล่าวกับสมาคมนั้นดังนี้ว่า “ท่านทั้งหลาย พวกท่านโปรดถวายจีวรแก่พวกอาตมา”
สมาคมนั้นกล่าวว่า “ท่านผู้เจริญ พวกเราจะไม่ถวาย พวกเราจัดภิกษาหาร
พร้อมกับจีวรไว้ถวายสงฆ์เป็นประจำทุกปี”
พวกภิกษุฉัพพัคคีย์กล่าวว่า “ท่านทั้งหลาย ทายกของสงฆ์มีหลายคน
ภัตตาหารของสงฆ์ก็มีจำนวนมาก พวกอาตมาอาศัยพวกท่าน เห็นแก่พวกท่าน
จึงอยู่ที่นี่ ถ้าพวกท่านไม่ถวายแก่พวกอาตมา คราวนี้ ใครเล่าจะถวายแก่พวก
อาตมา พวกท่านโปรดถวายจีวรแก่พวกอาตมาเถิด”
ลำดับนั้น เมื่อถูกพวกภิกษุฉัพพัคคีย์รบเร้า สมาคมนั้นจึงถวายจีวรตามที่จัด
ไว้แล้วแก่พวกภิกษุฉัพพัคคีย์แล้วประเคนสงฆ์เฉพาะภัตตาหาร
พวกภิกษุที่ทราบว่า “สมาคมจัดอาหารและจีวรไว้ถวายสงฆ์” แต่ไม่ทราบว่า
“พวกเขาถวายพวกภิกษุฉัพพัคคีย์ไปแล้ว” จึงกล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านทั้งหลาย พวก
ท่านจงถวายจีวรแก่สงฆ์”

เชิงอรรถ :
๑ ปูคสฺสาติ สมูหสฺส, ธมฺมคณสฺส หมู่ชน คือคณะผู้ปฏิบัติธรรม หมายถึงสมาคม (วิ.อ.๒/๖๕๗/๒๔๙)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๑๗๙ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๓.ปัตตวรรค ๑๐.ปริณตสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์
สมาคมนั้นกล่าวว่า “ท่านผู้เจริญ ไม่มีจีวรตามที่เคยจัดไว้ พระคุณเจ้า
ฉัพพัคคีย์น้อมไปเพื่อตนแล้ว”
บรรดาภิกษุผู้มักน้อย ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพวก
ภิกษุฉัพพัคคีย์รู้อยู่จึงน้อมลาภที่เขาน้อมไว้เป็นของจะถวายสงฆ์มาเพื่อตนเล่า” ครั้น
ภิกษุเหล่านั้นตำหนิพวกภิกษุฉัพพัคคีย์โดยประการต่าง ๆ แล้วจึงนำเรื่องนี้ไปกราบ
ทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ

ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามพวกภิกษุฉัพพัคคีย์ว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า พวกเธอรู้อยู่ น้อมลาภ
ที่เขาน้อมไว้เป็นของจะถวายสงฆ์มาเพื่อตน จริงหรือ” พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ทูลรับว่า
“จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “โมฆบุรุษทั้งหลาย
ไฉนพวกเธอรู้อยู่จึงน้อมลาภที่เขาน้อมไว้เป็นของจะถวายสงฆ์มาเพื่อตนเล่า
โมฆบุรุษทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำ
คนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยก
สิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้

พระบัญญัติ
[๖๕๘] ก็ ภิกษุใดรู้อยู่ น้อมลาภที่เขาน้อมไว้เป็นของจะถวายสงฆ์มาเพื่อ
ตน ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ

สิกขาบทวิภังค์
[๖๕๙] คำว่า ก็...ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ก็...ใด


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๑๘๐ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๓.ปัตตวรรค ๑๐.ปริณตสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์
คำว่า ภิกษุ มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุ เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มี
พระภาคทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุ ในความหมายนี้
ที่ชื่อว่า รู้อยู่ คือ ภิกษุรู้เอง คนเหล่าอื่นบอกภิกษุนั้น หรือคนนั้นบอกเธอ
ที่ชื่อว่า เป็นของจะถวายสงฆ์ ได้แก่ เป็นของที่เขาถวายหรือบริจาคแล้ว
แก่สงฆ์
ที่ชื่อว่า ลาภ ได้แก่ จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร
โดยที่สุดกระทั่งก้อนจุรณ ไม้ชำระฟัน หรือด้ายชายผ้า
ที่ชื่อว่า น้อมไว้ คือ เขาเปล่งวาจาว่า “เราจะถวาย จะกระทำ”
ภิกษุน้อมมาเพื่อตน ต้องอาบัติทุกกฏเพราะพยายาม เป็นนิสสัคคีย์เพราะ
ได้มา คือเป็นของจำต้องสละแก่สงฆ์ แก่คณะหรือแก่บุคคล
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงสละลาภที่เป็นนิสสัคคีย์อย่างนี้

วิธีสละลาภที่เป็นนิสสัคคีย์
สละแก่สงฆ์
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง กราบเท้าภิกษุผู้
แก่พรรษา นั่งกระโหย่งประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านผู้เจริญ ลาภนี้เขาน้อมไว้
เป็นของจะถวายสงฆ์ กระผมรู้อยู่ น้อมมาเพื่อตน เป็นนิสสัคคีย์ กระผมสละลาภนี้
แก่สงฆ์” ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ
ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงรับอาบัติ พึงคืนลาภที่เธอสละให้ด้วยญัตติกรรมวาจา
ว่า “ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ลาภนี้ของภิกษุชื่อนี้เป็นนิสสัคคีย์ เธอสละ
แก่สงฆ์ ถ้าสงฆ์พร้อมกันแล้วก็พึงให้ลาภนี้แก่ภิกษุชื่อนี้”

สละแก่คณะ
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุหลายรูป ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง กราบ
เท้าภิกษุผู้แก่พรรษา นั่งกระโหย่งประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านผู้เจริญ ลาภนี้


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๑๘๑ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๓.ปัตตวรรค ๑๐.ปริณตสิกขาบท บทภาชนีย์
เขาน้อมไว้เป็นของจะถวายสงฆ์ กระผมรู้อยู่ น้อมมาเพื่อตน เป็นนิสสัคคีย์ กระผม
สละลาภนี้แก่ท่านทั้งหลาย” ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ
ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงรับอาบัติ พึงคืนลาภที่เธอสละให้ด้วยกล่าวว่า “ท่าน
ทั้งหลายจงฟังข้าพเจ้า ลาภของภิกษุชื่อนี้เป็นนิสสัคคีย์ เธอสละแก่ท่านทั้งหลาย
ถ้าท่านทั้งหลายพร้อมกันแล้วพึงให้ลาภนี้แก่ภิกษุชื่อนี้”

สละแก่บุคคล
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุรูปหนึ่ง ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง นั่ง
กระโหย่งประนมมือ กล่าวว่า “ท่านขอรับ ลาภนี้เขาน้อมไว้เป็นของจะถวายสงฆ์
กระผมรู้อยู่ น้อมมาเพื่อตน เป็นนิสสัคคีย์ กระผมสละลาภนี้แก่ท่าน” ครั้นสละแล้ว
พึงแสดงอาบัติ
ภิกษุผู้รับสละนั้นพึงรับอาบัติแล้วคืนลาภที่เธอสละให้ด้วยกล่าวว่า “กระผม
คืนลาภนี้ให้แก่ท่าน”

บทภาชนีย์
นิสสัคคิยปาจิตตีย์
[๖๖๐] ลาภที่เขาน้อมไว้แล้ว ภิกษุสำคัญว่าเขาน้อมไว้แล้ว น้อมมาเพื่อตน
ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์

ทุกกฏ
ลาภที่เขาน้อมไว้แล้ว ภิกษุไม่แน่ใจ น้อมมาเพื่อตน ต้องอาบัติทุกกฏ
ลาภที่เขาน้อมไว้แล้ว ภิกษุสำคัญว่าเขาไม่ได้น้อมไว้ น้อมมาเพื่อตน ไม่ต้อง
อาบัติ
ลาภที่เขาน้อมไว้เพื่อสงฆ์ ภิกษุน้อมมาเพื่อสงฆ์อื่น หรือเพื่อเจดีย์ ต้องอาบัติ
ทุกกฏ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๑๘๒ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] ๓.ปัตตวรรค ๑๐.ปริณตสิกขาบท อนาปัตติวาร
ลาภที่เขาน้อมไว้เพื่อเจดีย์ ภิกษุน้อมมาเพื่อเจดีย์อื่น เพื่อสงฆ์ เพื่อคณะหรือ
เพื่อบุคคล ต้องอาบัติทุกกฏ
ลาภที่เขาน้อมไว้เพื่อบุคคล ภิกษุน้อมมาเพื่อบุคคลอื่น เพื่อสงฆ์ เพื่อคณะ
หรือเพื่อเจดีย์ ต้องอาบัติทุกกฏ
ลาภที่เขาไม่ได้น้อมไว้ ภิกษุสำคัญว่าเขาน้อมไว้ ต้องอาบัติทุกกฏ
ลาภที่เขาไม่ได้น้อมไว้ ภิกษุไม่แน่ใจ ต้องอาบัติทุกกฏ
ลาภที่เขาไม่ได้น้อมไว้ ภิกษุสำคัญว่าเขาไม่ได้น้อมไว้ ไม่ต้องอาบัติ

อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[๖๖๑] ๑. ภิกษุถูกทายกถามว่า “จะถวายที่ไหน” จึงแนะนำว่า “ไทยธรรม
ของพวกท่านพึงได้รับการใช้สอย ได้รับการปฏิสังขรณ์ หรืออยู่
ได้นานในที่ใด หรือท่านมีจิตเลื่อมใสในที่ใด จงถวายในที่นั้นเถิด”
๒. ภิกษุวิกลจริต
๓. ภิกษุต้นบัญญัติ

ปริณตสิกขาบทที่ ๑๐ จบ
ปัตตวรรคที่ ๓ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๑๘๓ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔.นิสสัคคิยกัณฑ์] บทสรุป
รวมสิกขาบทที่มีในปัตตวรรค คือ
ปัตตวรรคมี ๑๐ สิกขาบท คือ

๑. ปัตตสิกขาบท ว่าด้วยบาตร
๒. อูนปัญจพันธนสิกขาบท ว่าด้วยบาตรมีรอยซ่อมหย่อนกว่า ๕ แห่ง
๓. เภสัชชสิกขาบท ว่าด้วยเภสัช
๔. วัสสิกสาฏิกสิกขาบท ว่าด้วยผ้าอาบน้ำฝน
๕. จีวรอัจฉินทนสิกขาบท ว่าด้วยการให้จีวรแล้วชิงเอาคืน
๖. สุตตวิญญัตติสิกขาบท ว่าด้วยการออกปากขอด้าย
๗. มหาเปสการสิกขาบท ว่าด้วยการสั่งช่างหูกทอจีวร
๘. อัจเจกจีวรสิกขาบท ว่าด้วยอัจเจกจีวร
๙. สาสังกสิกขาบท ว่าด้วยเสนาสนะป่าที่น่าหวาดระแวง
๑๐. ปริณตสิกขาบท ว่าด้วยการน้อมลาภ

บทสรุป
[๖๖๒] ท่านทั้งหลาย ธรรมคือนิสสัคคิยปาจิตตีย์ ๓๐ สิกขาบท ข้าพเจ้า
ยกขึ้นแสดงแล้ว
ข้าพเจ้าขอถามท่านทั้งหลายในนิสสัคคิยปาจิตตีย์ ๓๐ สิกขาบทเหล่านั้นว่า
ท่านทั้งหลายบริสุทธิ์แล้วหรือ
ข้าพเจ้าขอถามเป็นครั้งที่ ๒ ว่า “ท่านทั้งหลายบริสุทธิ์แล้วหรือ”
ข้าพเจ้าขอถามเป็นครั้งที่ ๓ ว่า “ท่านทั้งหลายบริสุทธิ์แล้วหรือ”
ท่านทั้งหลายบริสุทธิ์แล้วในนิสสัคคิยปาจิตตีย์ ๓๐ สิกขาบทนี้ เพราะฉะนั้น
จึงนิ่ง
ข้าพเจ้าขอถือความนิ่งนั้นเป็นมติอย่างนี้

นิสสัคคิยกัณฑ์ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๑๘๔ }


>>>>> หน้าต่อไป >>>>>





eXTReMe Tracker