กลุ่มโรคลิ้นที่สัมพันธ์กับโรคของช่องปากอื่นๆ

                                                                                                หมอ 1991 

        โรคที่เกิดกับอวัยวะอื่นๆ ในช่องปาก  อาจจะเกิดรอยโรคที่ลิ้นหรือแสดงอาการที่ลิ้นได้ ดังต่อไปนี้

โรคติดเชื้อ แอคติโนมัยโคสิส

                ความหมาย  :  โรคติดเชื้อ แอคติโนมัยโคสิส ที่พบได้ในช่องปาก เป็นโรคติดเชื้อแบคทีเรีย ที่ก่อหนอง มีทั้งแบบติดเชื้อเฉียบพลันและเรื้อรัง 

                      ลักษณะที่พบ  :  เมื่อเนื้อเยื่อในช่องปากฉีกขาดหรือมีแผล เชื้อโรคชนิดนี้ ซึ่งมีอยู่ในช่องปากอยู่แล้ว จะรุกรานเข้าสู่เนื้อเยื่อ และเกิดการติดเชื้อขึ้นมา หากการติดเชื้อค่อยๆเป็นไป ในที่สุดจะมีหนองเป็นเม็ดๆสีเหลือง ออกมาตามรูหนองหลายๆแห่ง ในช่องปาก เม็ดหนองสีเหลืองเหล่านั้นจะเต็มไปด้วยเชื้อโรคทั้งสิ้น

                        ลิ้นเป็นอวัยวะหนึ่ง ที่พบการติดเชื้อชนิดนี้ คนไข้จะมีอาการปวด ลิ้นบวม มีหนองสีเหลืองเป็นเม็ดๆ

                        การรักษา  :  ผ่าตัดและให้ยาปฏิชีวนะ  ( ดูการรักษา )

 

ภูมิแพ้

                ความหมาย  :  ร่างกายมีปฏิกริยาก่อภูมิแพ้ จากสาเหตุต่างๆ เช่น วัสดุทำฟัน หรือทำฟันปลอม ยาสีฟันบางชนิด หมากฝรั่ง น้ำยาบ้วนปาก ลิบสติก ยาหลายชนิด เป็นต้นทำให้เกิดการบวมหรืออาการอื่นๆอันเนื่องมาจากภูมิแพ้นั้น ที่เยื่อบุช่องปากและเยื่อคลุมลิ้นจะมีอาการแพ้และบวมเกิดขึ้นด้วย 

                        ลักษณะที่พบ  :  อาจพบว่าลิ้นบวมทั้งลิ้น โดยบวมเป็นคลื่นหยักๆ หรือบวมเปล่ง ซึ่งอาจมีผลให้เกิดการเสียดสีและเกิดแผลขึ้นมาได้

                        การรักษา  :  รักษาสาเหตุของการแพ้นั้น 

 

การติดเชื้อราแคนดิดา

                    ความหมาย  :  ในปากคนเรา มีเชื้อราชนิดหนึ่ง ที่เรียกกันว่า เชื้อราแคนดิดา อัลบิแคน เชื้อตัวนี้จะเจริญเติบโต จนกลายเป็นการติดเชื้อได้ หากมีเงื่อนไขที่เหมาะสม  การติดเชื้อที่เกิดขึ้นอาจเป็นไปทั่วทั้งปาก รวมทั้งเกิดที่ลิ้นพร้อมกันไปก็ได้

                                สาเหตุ  :  สาเหตุหรือเงื่อนไขที่เหมาะสม จนเชื้อราก่อโรคขึ้นมาได้ เช่น สุขภาพช่องปากไม่ดี น้ำลายน้อย สูบบุหรี่จัด ภูมิต้านทานต่ำ ( เช่น ติดเชื้อเอดส์ระยะสุดท้าย เป็นเบาหวานที่ไม่ควบคุม ฯลฯ)  ขาดสารอาหาร หรือมีโรคต่อมไร้ท่อบางชนิด

                                ลักษณะที่พบ  :   การติดเชื้อราแคนดิดา อาจมีหลายลักษณะที่พบ เช่น เป็นฝ้าขาวหนาตัว เมื่อลอกฝ้าออกจะมีเลือดซิบๆ หรือ เยื่อบุออกแดงแสบ ลิ้นเลี่ยนแดงแสบ หากพบที่ลิ้นก็อาจพบได้ที่อื่นๆ เช่น ที่มุมาปาก ที่ริมฝีปาก ที่แก้ม 

                                การรักษา  ดูเรื่อง เชื้อรา และ การรักษา

 

แผลอีโอซิโนฟิลิคที่ลิ้น 

                    ความหมาย  :   เป็นรอยโรคที่ไม่ร้ายแรงชนิดหนึ่งในช่องปาก เกิดได้ที่ลิ้น ไม่รู้สาเหตุแน่ชัด  แต่มักพบว่าอาจเกี่ยวข้องกับการบาดเจ็บของลิ้น เช่น จากการเสียดสี กระทบกระแทก 

                               ลักษณะที่พบ  :  เป็นแผลค่อนข้างกลม ขอบรอบๆรอยแผลไม่แข็ง แตกต่างจากแผลร้อนในมีเนื้อกลางแผลที่ไม่ใช่เนื้อปกติ จนอาจทำให้หลงเข้าใจว่าเป็นแผลมะเร็ง อาจพบแผลเดี่ยว หรือหลายๆแผลหร้อมๆกัน 

                                การรักษา  :  พบว่าหายได้เองในเวลามากวก่า 1 สัปดาห์ จนถึงหลายสัปดาห์

 

การระคายเคือง การบาดเจ็บและแผลลิ้น

                    ความหมาย  :  ลิ้น เป็นอวัยวะที่อ่อนนุ่ม วางอยู่กลางช่องปาก ระหว่างฟันล่างทั้งสองด้าน เคลื่อนไหวเกือบตลอดเวลา โอกาสที่จะได้รับบาดเจ็บมีอยู่มาก  ทั้งจากอวัยวะในปาก เช่น ฟันที่แหลมคม และอุปกรณ์ที่คนๆนั้นใส่เข้าไป เช่น ฟันปลอม  นอกจกากนั้นเมื่อได้รับอุบัติเหตุ จนช่องปากบาดเจ็บ มักจะกระทบไปถึงลิ้น เช่น กระดูกขากรรไกรหักทิ่มแทงลิ้น  ฟันกระทบกันจนกัดลิ้นขาด  หรือ มีแผล หรือคนไข้มีโรคลมชัก เมื่อชักมักไม่รู้ตัวและกัดลิ้นขาดได้ 

                          ลักษณะที่พบ  :  

                                                1. แผลลิ้น ที่พบในเด็กพิการ  อันเนื่องมาจากภาวะความผิดปกติทางสมอง หรือภาวะชัก ทำให้เด็กกัดลิ้นตลอดเวลา เกิดแผลเรื้อรังและลิ้นตายบางส่วน

                                                2.ในคนไข้ ที่ได้รับการบูรณะหรืออุดฟันด้วยโลหะ แล้วลิ้นไปเสียดสีโลหะเหล่านี้ตลอดเวลา  ทำให้ลิ้นเกิดรอยโรคที่ตำแหน่งเสียดสีนั้นได้ เช่น เป็นรอยสีขาวหนา หรือ รอยแดงและแสบ

                                                3.อาจพบแผลที่ลิ้น ในผู้ป่วยที่มีโรคไฮโปไทรอยด์ [ Hypothyroidism ] แล้วไม่ได้รับการรักษา เมื่อทำการรักษาโรคแล้ว แผลที่ลิ้นจะหายไปได้เองอย่างรวดเร็ว

                                                4.ผู้ป่วยที่ได้รับยาหลายขนาน พบว่ามีแผลที่ลิ้น เช่น ผู้ป่วยโรคหัวใจที่ได้รับยาพวก oral converting enzyme inhibitor หรือที่ได้รับยา พวก dihydroergotamine ร่วมกับยา triacetyloleandomycin ในผู้ป่วยสูงอายุ

                                                 5.ผู้ป่วยที่มีโรคผนังหลอดเลือดหัวใจแข็งตัว  พบว่ามีแผลที่ลิ้นร่วมด้วย เมื่อได้รับการรักษาโรคแล้ว แผลที่ลิ้นจะหายไปด้วย

                                                 6.แผลที่ระบุสาเหตุไม่ได้ 

 

แผลร้อนใน

                ความหมาย  : แผลร้อนใน ที่เกิดในปากนั้น พบได้หลายตำแหน่ง ที่แก้ม ริมฝีปาก เหงือก เพดาน ลิ้นไก่ คอ และที่ลิ้น  หาสาเหตุที่แน่นอนชัดเจนไม่ได้ ทราบแต่ว่า อารมณ์ จิตใจ และระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย อาจมีส่วนเกี่ยวข้องกับการเกิดแผลร้อนใน

                       ลักษณะที่พบ : แผลร้อนในที่ลิ้น มีลักษณะเหมือนแผลร้อนในที่อื่นๆ เป็นแผลกลมรี แดง ขอบแผลเหลือง ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง ประมาณ 1 มม.ในแผลเล็ก และ เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 2-3 มม.ขึ้นไปในแผลใหญ่ ผู้ป่วยจะมีอาการเจ็บปวดแผลพอควร และแผลจะหายเองใน 2 สัปดาห์

กล้ามเนื้อมีก้อนแคลเซียม

                ความหมาย : ดังที่ทราบกันว่า ลิ้น คือถุงของกล้ามเนื้อหลายๆมัด เรียงตัวกันอย่างมีระเบียบภายในถุงหรือเยื่อบุหุ้มกล้ามเนื้อลิ้น  ภายในมัดกล้ามเนื้อลิ้นนี้ พบว่าอาจเกิดก้อนแคลเซียมแข็งคล้ายกระดูก ที่มีขนาดใหญ่หรือเล็ก พบเพียงก้อนเดียวหรือกระจายหลายๆก้อนก็ได้

                ลักษณะที่พบ : หากก้อนอยู่ใกล้ผิวลิ้น อาจพบเห็นรอยนูนที่ลิ้น คลำดูจะแข็ง ค่อนข้างกลม ถ่ายภาพรังสี จะเห็นก้อนขาวภายในตัวลิ้น

                การรักษา  หากขัดขวางการทำหน้าที่ของลิ้น ก็ผ่าตัดออก

 

 กลับบ้านหน้าแรก / ประวัติคลินิก / รู้จักกับเรา / กายวิภาคช่องปาก / โรคช่องปากขากรรไกร / การรักษา / เครื่องมือดูแลสุขภาพช่องปาก / ท่านถามเราตอบ / สมัครสมาชิก / WEBSITE COMPUTER

Hosted by www.Geocities.ws

1