ค้นว่าอยู่เล่มใด แล้วกด [ctrl]+f หรือใช้คำสั่งของเครื่องหาตำแหน่งในเล่มอีกทีนะครับ



จัดรูปหน้าใหม่
เพื่อความสะดวก และสวยงาม
(เฉพาะหน้าจอใหญ่ เช่น คอมพิวเตอร์)
กรุณาคลิก จัดรูปหน้าใหม่
เพื่อให้กรอบ
ค้นข้อความ ปรากฎที่ด้านซ้ายของหน้า

พระไตรปิฎกภาษาไทย
ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ๔๕ เล่ม (ปกสีฟ้า)
ทั้งออนไลน์และออฟไลน์
ที่มาของข้อมูล : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับ มจร.
MCUTRAI Version 1.0

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๗-๕ อภิธรรมปิฎกที่ ๐๔ กถาวัตถุ

พระอภิธรรมปิฎก
กถาวัตถุ
_____________
ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๔. จุททสมวรรค] ๘. อัพยากตกถา (๑๔๓)
สก. หากทิฏฐิมีผลมีวิบาก ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “ทิฏฐิเป็นอัพยากฤต”
สก. ทิฏฐิเป็นอัพยากฤตใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. โทษทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “มีมิจฉาทิฏฐิเป็นอย่างยิ่ง”๑
มิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากโทษทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “มีมิจฉาทิฏฐิเป็นอย่างยิ่ง”
ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “ทิฏฐิเป็นอัพยากฤต”
สก. ทิฏฐิเป็นอัพยากฤตใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “วัจฉะ มิจฉาทิฏฐิแลเป็นอกุศล
สัมมาทิฏฐิเป็นกุศล”๒ มีอยู่จริงมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. ดังนั้น ท่านจึงไม่ควรยอมรับว่า “ทิฏฐิเป็นอัพยากฤต”
สก. ทิฏฐิเป็นอัพยากฤตใช่ไหม
ปร. ใช่

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ องฺ.เอกก. (แปล) ๒๐/๓๑๐/๔๑
๒ ดูเทียบ ม.ม. (แปล) ๑๓/๑๙๔/๒๒๙

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๗๕๗ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๔. จุททสมวรรค] ๘. อัพยากตกถา (๑๔๓)
สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ปุณณะ เรากล่าวว่าคติของคนผู้
เป็นมิจฉาทิฏฐิมี ๒ อย่าง คือ นรกหรือกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน”๑ มีอยู่จริงมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. ดังนั้น ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “ทิฏฐิเป็นอัพยากฤต”
[๗๐๘] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “ทิฏฐิเป็นอัพยากฤต” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “วัจฉะ คำว่า โลกเที่ยง นี้เราไม่
พยากรณ์๒ คำว่า โลกไม่เที่ยง นี้เราไม่พยากรณ์ คำว่า โลกมีที่สุด ฯลฯ คำว่า
โลกไม่มีที่สุด ฯลฯ คำว่า ชีวะ๓กับสรีระเป็นอย่างเดียวกัน ฯลฯ คำว่า ชีวะกับ
สรีระเป็นคนละอย่างกัน ฯลฯ คำว่า หลังจากตายแล้วตถาคต๔เกิดอีก ฯลฯ คำว่า
หลังจากตายแล้วตถาคตไม่เกิดอีก ฯลฯ คำว่า หลังจากตายไป ตถาคตเกิดอีก
และไม่เกิดอีก ฯลฯ คำว่า หลังจากตายแล้วตถาคตเกิดอีกก็มิใช่ ไม่เกิดอีกก็มิใช่
นี้เราไม่พยากรณ์” ๕ มีอยู่จริงมิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. ดังนั้น ทิฏฐิจึงเป็นอัพยากฤต
สก. ทิฏฐิเป็นอัพยากฤตใช่ไหม
ปร. ใช่

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ ม.ม. (แปล) ๑๓/๗๙/๗๖-๗๗
๒ คำนี้ แปลมาจากคำว่า อพฺยากต หรือ อพฺยากฺฤต ในภาษาสันสกฤต
๓ ชีวะ ในที่นี้หมายถึงวิญญาณอมตะหรืออาตมัน (อภิ.ปญฺจ.อ. ๑/๑/๑๒๙), ดูเทียบ องฺ.ทสก. (แปล)
๒๔/๒๐/๓๙-๔๑
๔ คำว่า ตถาคต ในที่นี้เป็นคำที่ลัทธิอื่น ๆ ใช้กันมาก่อนพุทธกาล หมายถึงอัตตา (อาตมัน) ไม่ใช่
หมายถึงพระพุทธเจ้า อรรถกถาอธิบายว่าหมายถึงสัตว์ (ที.สี.อ. ๑๕/๑๐๘, ม.ม.อ. ๒/๑๒๒/๑๐๕)
๕ ดูเทียบ ม.ม. (แปล) ๑๓/๑๘๗-๑๘๙/๒๑๙-๒๒๔

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๗๕๘ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๔. จุททสมวรรค] ๙. อปริยาปันนกถา (๑๔๔)
สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย กายกรรมที่ถือ
ปฏิบัติให้บริบูรณ์ตามสมควรแก่ทิฏฐิ วจีกรรมที่ถือปฏิบัติให้บริบูรณ์ตามสมควรแก่
ทิฏฐิ ฯลฯ มโนกรรมที่ถือปฏิบัติให้บริบูรณ์ตามสมควรแก่ทิฏฐิ เจตนา ความ
ปรารถนา ความตั้งใจและสังขารทั้งหลายของบุคคลผู้เป็นมิจฉาทิฏฐิ ธรรมทั้งหมด
นั้นย่อมเป็นไปเพื่อผลที่ไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่น่าพอใจ ไม่เกื้อกูล เป็นทุกข์”๑
มีอยู่จริงมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. ดังนั้น ท่านจึงไม่ควรยอมรับว่า “ทิฏฐิเป็นอัพยากฤต”
อัพยากตกถา จบ

๙. อปริยาปันนกถา (๑๔๔)
ว่าด้วยธรรมที่ไม่นับเนื่อง(ในโลกิยะ)
[๗๐๙] สก. ทิฏฐิเป็นธรรมที่ไม่นับเนื่องใช่ไหม
ปร.๒ ใช่๓
สก. ทิฏฐิเป็นมรรค ผล นิพพาน โสดาปัตติมรรค โสดาปัตติผล
สกทาคามิมรรค สกทาคามิผล อนาคามิมรรค อนาคามิผล อรหัตตมรรค
อรหัตตผล สติปัฏฐาน สัมมัปปธาน อิทธิบาท อินทรีย์ พละ โพชฌงค์ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๗๑๐] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “ทิฏฐิเป็นธรรมที่ไม่นับเนื่อง” ใช่ไหม
สก. ใช่

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ องฺ.เอกก. (แปล) ๒๐/๓๐๖/๓๙
๒ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายปุพพเสลิยะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๗๐๙/๒๗๗-๒๗๘)
๓ เพราะมีความเห็นว่า ปุถุชนผู้ได้ฌานเรียกว่าผู้ละกามราคะได้ แต่ไม่เรียกว่าผู้ละทิฏฐิได้ ดังนั้น ทิฏฐิ
จึงไม่นับเนื่องในโลกิยะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๗๐๙/๒๗๗-๒๗๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๗๕๙ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๔. จุททสมวรรค] รวมกถาที่มีในวรรค
ปร. ปุถุชน ท่านยอมรับว่า “ปราศจากความกำหนัดในกามทั้งหลาย” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. ท่านยอมรับว่า “ปราศจากทิฏฐิ” ใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. ดังนั้น ทิฏฐิจึงเป็นธรรมที่ไม่นับเนื่อง
อปริยาปันนกถา จบ
จุททสมวรรค จบ

รวมกถาที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. กุสลากุสลปฏิสันทหนกถา ๒. สฬายตนุปปัตติกถา
๓. อนันตรปัจจยกถา ๔. อริยรูปกถา
๕. อัญโญอนุสโยติกถา ๖. ปริยุฏฐานังจิตตวิปปยุตตันติกถา
๗. ปริยาปันนกถา ๘. อัพยากตกถา
๙. อปริยาปันนกถา


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๗๖๐ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๕. ปัณณรสมวรรค] ๑. ปัจจยตากถา (๑๔๕)
๑๕. ปัณณรสมวรรค
๑. ปัจจยตากถา (๑๔๕)
ว่าด้วยความเป็นปัจจัย
[๗๑๑] สก. ความเป็นปัจจัยมีจำกัดไว้ใช่ไหม
ปร.๑ ใช่๒
สก. วิมังสาเป็นเหตุและเป็นอธิบดีมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากวิมังสาเป็นเหตุและเป็นอธิบดี ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า
“วิมังสาเป็นปัจจัยโดยเหตุปัจจัย เป็นปัจจัยโดยอธิปติปัจจัย”
สก. ฉันทาธิบดีเป็นอธิบดีแห่งสหชาตธรรมมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากฉันทาธิบดีเป็นอธิบดีแห่งสหชาตธรรม ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับ
ว่า “ฉันทาธิบดีเป็นปัจจัยโดยอธิปติปัจจัย เป็นปัจจัยโดยสหชาตปัจจัย”
[๗๑๒] สก. วิริยาธิบดีเป็นอธิบดีแห่งสหชาตธรรมมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากวิริยาธิบดีเป็นอธิบดีแห่งสหชาตธรรม ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับ
ว่า “วิริยาธิบดีเป็นปัจจัยโดยอธิปติปัจจัย เป็นปัจจัยโดยสหชาตปัจจัย”

เชิงอรรถ :
๑ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายมหาสังฆิกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๗๑๑-๗๑๗/๒๗๘)
๒ เพราะมีความเห็นว่า สภาวธรรมเหล่าใดมีเหตุปัจจัย(ชื่อปัจจัยหนึ่งในปัจจัย ๒๔ ดูในคัมภีร์ปัฏฐาน)
สภาวธรรมเหล่านั้นก็ต้องเป็นเหตุปัจจัยเท่านั้น จะเป็นปัจจัยอื่นไม่ได้ กล่าวคือในธรรมหนึ่ง ๆ จะต้องมี
ปัจจยสัตติ(แรงหรือพลังของปัจจัย)เดียวเท่านั้น เกินกว่านั้นไม่มี ซึ่งต่างกับความเห็นของสกวาทีที่เห็นว่า
สภาวธรรมหนึ่งมีปัจจัยได้หลายปัจจัย (อภิ.ปญฺจ.อ. ๗๑๑-๗๑๗/๒๗๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๗๖๑ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๕. ปัณณรสมวรรค] ๑. ปัจจยตากถา (๑๔๕)
สก. วิริยาธิบดีเป็นอธิบดีแห่งสหชาตธรรมและเป็นอินทรีย์มิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากวิริยาธิบดีเป็นอธิบดีแห่งสหชาตธรรมและเป็นอินทรีย์ ดังนั้น
ท่านจึงควรยอมรับว่า “วิริยาธิบดีเป็นปัจจัยโดยอธิปติปัจจัย เป็นปัจจัยโดย
อินทรียปัจจัย”
สก. วิริยาธิบดีเป็นอธิบดีแห่งสหชาตธรรมและเป็นองค์แห่งมรรคมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากวิริยาธิบดีเป็นอธิบดีแห่งสหชาตธรรมและเป็นองค์แห่งมรรค ดังนั้น
ท่านจึงควรยอมรับว่า “วิริยาธิบดีเป็นปัจจัยโดยอธิปติปัจจัย เป็นปัจจัยโดยมัคคปัจจัย”
[๗๑๓] สก. จิตตาธิบดีเป็นอธิบดีแห่งสหชาตธรรมมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากจิตตาธิบดีเป็นอธิบดีแห่งสหชาตธรรม ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับ
ว่า “จิตตาธิบดีเป็นปัจจัยโดยอธิปติปัจจัย เป็นปัจจัยโดยสหชาตปัจจัย”
สก. จิตตาธิบดีเป็นอธิบดีแห่งสหชาตธรรมและเป็นอาหารมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากจิตตาธิบดีเป็นอธิบดีแห่งสหชาตธรรมและเป็นอาหาร ดังนั้น
ท่านจึงควรยอมรับว่า “จิตตาธิบดีเป็นปัจจัยโดยอธิปติปัจจัย เป็นปัจจัยโดยอาหาร-
ปัจจัย”
สก. จิตตาธิบดีเป็นอธิบดีแห่งสหชาตธรรมและเป็นอินทรีย์มิใช่หรือ
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๗๖๒ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๕. ปัณณรสมวรรค] ๑. ปัจจยตากถา (๑๔๕)
สก. หากจิตตาธิบดีเป็นอธิบดีแห่งสหชาตธรรมและเป็นอินทรีย์ ดังนั้น ท่าน
จึงควรยอมรับว่า “จิตตาธิบดีเป็นปัจจัยโดยอธิปติปัจจัย เป็นปัจจัยโดยอินทรียปัจจัย”
[๗๑๔] สก. วิมังสาธิบดีเป็นอธิบดีแห่งสหชาตธรรมมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากวิมังสาธิบดีเป็นอธิบดีแห่งสหชาตธรรม ดังนั้น ท่านจึงควรยอม
รับว่า “วิมังสาธิบดีเป็นปัจจัยโดยอธิปติปัจจัย เป็นปัจจัยโดยสหชาตปัจจัย”
สก. วิมังสาธิบดีเป็นอธิบดีแห่งสหชาตธรรมและเป็นอินทรีย์มิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากวิมังสาธิบดีเป็นอธิบดีแห่งสหชาตธรรมและเป็นอินทรีย์ ดังนั้น
ท่านจึงควรยอมรับว่า “วิมังสาธิบดีเป็นปัจจัยโดยอธิปติปัจจัย เป็นปัจจัยโดย
อินทรียปัจจัย”
สก. วิมังสาธิบดีเป็นอธิบดีแห่งสหชาตธรรมและเป็นองค์แห่งมรรคมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากวิมังสาธิบดีเป็นอธิบดีแห่งสหชาตธรรมและเป็นองค์แห่งมรรค ดังนั้น
ท่านจึงควรยอมรับว่า “วิมังสาธิบดีเป็นปัจจัยโดยอธิปติปัจจัย เป็นปัจจัยโดยมัคค-
ปัจจัย”
[๗๑๕] สก. สภาวธรรมที่เป็นเครื่องพิจารณา๑ ทำอริยธรรมให้หนักแน่นแล้ว
เกิดขึ้นและทำอริยธรรมนั้นให้เป็นอารมณ์มิใช่หรือ
ปร. ใช่

เชิงอรรถ :
๑ สภาวธรรมที่เป็นเครื่องพิจารณา หมายถึงกามาวจรกุศลจิตที่สัมปยุตด้วยญาณ ๔ มหากิริยาจิตที่
สัมปยุตด้วยญาณ ๔ (วิภาวินี. ปริจเฉทที่ ๙ ข้อ ๕๙)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๗๖๓ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๕. ปัณณรสมวรรค] ๒. อัญญมัญญปัจจยกถา (๑๔๖)
สก. หากสภาวธรรมที่เป็นเครื่องพิจารณา ทำอริยธรรมให้หนักแน่นแล้วเกิดขึ้น
และทำอริยธรรมนั้นให้เป็นอารมณ์ ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “สภาวธรรมที่
เป็นเครื่องพิจารณาเป็นปัจจัยโดยอธิปติปัจจัย เป็นปัจจัยโดยอารัมมณปัจจัย”
[๗๑๖] สก. สภาวธรรมที่เป็นกุศลก่อน ๆ เป็นปัจจัยโดยอนันตรปัจจัยแก่
สภาวธรรมที่เป็นกุศลหลัง ๆ และสภาวธรรมที่เป็นกุศลนั้นเป็นอาเสวนะมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากสภาวธรรมที่เป็นกุศลก่อน ๆ เป็นปัจจัยโดยอนันตรปัจจัยแก่
สภาวธรรมที่เป็นกุศลหลัง ๆ และสภาวธรรมที่เป็นกุศลนั้นเป็นอาเสวนะ ดังนั้น
ท่านจึงควรยอมรับว่า “สภาวธรรมที่เป็นกุศลก่อน ๆ เป็นปัจจัย โดยอนันตรปัจจัย
เป็นปัจจัยโดยอาเสวนปัจจัย”
สก. สภาวธรรมที่เป็นอกุศลก่อน ๆ เป็นปัจจัยโดยอนันตรปัจจัยแก่
สภาวธรรมที่เป็นอกุศลหลัง ๆ และสภาวธรรมที่เป็นอกุศลนั้นเป็นอาเสวนะมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากสภาวธรรมที่เป็นอกุศลก่อน ๆ เป็นปัจจัยโดยอนันตรปัจจัยแก่
สภาวธรรมที่เป็นอกุศลหลัง ๆ และสภาวธรรมที่เป็นอกุศลนั้นเป็นอาเสวนะ ดังนั้น
ท่านจึงควรยอมรับว่า “สภาวธรรมที่เป็นอกุศลก่อน ๆ เป็นปัจจัยโดยอนันตรปัจจัย
เป็นปัจจัยโดยอาเสวนปัจจัย”
สก. สภาวธรรมที่เป็นกิริยาอัพยากฤตก่อน ๆ เป็นปัจจัยโดยอนันตรปัจจัย
แก่สภาวธรรมที่เป็นกิริยาอัพยากฤตหลัง ๆ และสภาวธรรมที่เป็นกิริยาอัพยากฤต
นั้นเป็นอาเสวนะมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากสภาวธรรมที่เป็นกิริยาอัพยากฤตก่อน ๆ เป็นปัจจัยโดยอนันตรปัจจัย
แก่สภาวธรรมที่เป็นกิริยาอัพยากฤตหลัง ๆ และสภาวธรรมที่เป็นกิริยาอัพยากฤต
นั้นเป็นอาเสวนะ ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “สภาวธรรมที่เป็นกิริยาอัพยากฤต
เป็นปัจจัยโดยอนันตรปัจจัย เป็นปัจจัยโดยอาเสวนปัจจัย”


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๗๖๔ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๕. ปัณณรสมวรรค] ๑. ปัจจยตากถา (๑๔๕)
[๗๑๗] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “ความเป็นปัจจัยมีจำกัดไว้” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. เป็นปัจจัยโดยเหตุปัจจัยก็ได้ เป็นปัจจัยโดยอารัมมณปัจจัยก็ได้ เป็น
ปัจจัยโดยอนันตรปัจจัยก็ได้ เป็นปัจจัยโดยสมนันตรปัจจัยก็ได้ใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “ความเป็นปัจจัยมีจำกัดไว้”
ปัจจยตากถา จบ

๒. อัญญมัญญปัจจยกถา (๑๔๖)
ว่าด้วยอัญญมัญญปัจจัย
[๗๑๘] สก. เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารจึงมี แต่ท่านไม่ยอมรับว่า “เพราะ
สังขารเป็นปัจจัย อวิชชาจึงมี” ใช่ไหม
ปร.๑ ใช่๒
สก. อวิชชาเกิดพร้อมกับสังขารมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากอวิชชาเกิดพร้อมกับสังขาร ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “เพราะ
อวิชชาเป็นปัจจัย สังขารจึงมี เพราะสังขารเป็นปัจจัย อวิชชาจึงมี”
สก. เพราะตัณหาเป็นปัจจัย อุปาทานจึงมี แต่ท่านไม่ยอมรับว่า “เพราะ
อุปาทานเป็นปัจจัย ตัณหาจึงมี” ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ตัณหาเกิดพร้อมกับอุปาทานมิใช่หรือ
ปร. ใช่

เชิงอรรถ :
๑ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายมหาสังฆิกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๗๑๘-๗๑๙/๒๗๘)
๒ เพราะมีความเห็นว่า อัญญมัญญปัจจัยไม่มี เช่น อวิชชาเป็นปัจจัยให้สังขารเกิดได้ แต่สังขารจะเป็นปัจจัย
ให้อวิชชาเกิดไม่ได้ ซึ่งต่างกับความเห็นของสกวาทีที่เห็นว่า มีอัญญมัญญปัจจัย (อภิ.ปญฺจ.อ. ๗๑๘-
๗๑๙/๒๗๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๗๖๕ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๕. ปัณณรสมวรรค] ๓. อัทธากถา (๑๔๗)
สก. หากตัณหาเกิดพร้อมกับอุปาทาน ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับ
ว่า “เพราะตัณหาเป็นปัจจัย อุปาทานจึงมี เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย ตัณหาจึงมี”
[๗๑๙] ปร. พระสูตรที่ว่า “ภิกษุทั้งหลาย เพราะชรามรณะเป็นปัจจัย ชาติจึงมี
เพราะชาติเป็นปัจจัย ภพจึงมี”๑ มีอยู่หรือ
สก. ไม่มี
ปร. ดังนั้น ท่านไม่ควรยอมรับว่า “เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารจึงมี
เพราะสังขารเป็นปัจจัย อวิชชาจึงมี เพราะตัณหาเป็นปัจจัย อุปาทานจึงมี เพราะ
อุปาทานเป็นปัจจัย ตัณหาจึงมี”
สก. พระสูตรที่ว่า “ภิกษุทั้งหลาย เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามรูปจึงมี
เพราะนามรูปเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี” มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ดังนั้น จึงควรยอมรับว่า “เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารจึงมี
เพราะสังขารเป็นปัจจัย อวิชชาจึงมี เพราะตัณหาเป็นปัจจัย อุปาทานจึงมี
เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย ตัณหาจึงมี”
อัญญมัญญปัจจยกถา จบ

๓. อัทธากถา (๑๔๗)
ว่าด้วยกาล
[๗๒๐] สก. กาลเป็นสภาวะสำเร็จแล้วใช่ไหม
ปร.๒ ใช่๓
สก. เป็นรูปใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ ที.ม. (แปล) ๑๐/๙๖-๙๘/๕๗-๕๙
๒ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายมหาสังฆิกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๗๑๘-๗๑๙/๒๗๘)
๓ เพราะมีความเห็นว่า กาลเป็นสภาวะที่สำเร็จมาจากเหตุ (ถูกปัจจัยปรุงแต่ง) ซึ่งต่างกับความเห็นของสกวาที
ที่เห็นว่า กาลไม่จัดเป็นสภาวะที่สำเร็จมาจากเหตุ เป็นเพียงคำบัญญัติเรียก แต่คำบัญญัติว่า “รูป”
เป็นต้นจัดเป็นสภาวะที่สำเร็จมาจากเหตุ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๗๒๐-๗๒๑/๒๗๙)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๗๖๖ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๕. ปัณณรสมวรรค] ๓. อัทธากถา (๑๔๗)
สก. เป็นเวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ สังขาร ฯลฯ วิญญาณใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. กาลที่เป็นอดีตเป็นสภาวะสำเร็จแล้วใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เป็นรูปใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เป็นเวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ สังขาร ฯลฯ วิญญาณใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. กาลที่เป็นอนาคตเป็นสภาวะสำเร็จแล้วใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เป็นรูปใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เป็นเวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ สังขาร ฯลฯ วิญญาณใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. กาลที่เป็นปัจจุบันเป็นสภาวะสำเร็จแล้วใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เป็นรูปใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เป็นเวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ สังขาร ฯลฯ วิญญาณใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณที่เป็นอดีต เป็นกาลที่เป็นอดีตใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๗๖๗ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๕. ปัณณรสมวรรค] ๓. อัทธากถา (๑๔๗)
สก. กาลที่เป็นอดีตมี ๕ อย่างใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณที่เป็นอนาคต เป็นกาลที่เป็น
อนาคตใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. กาลที่เป็นอนาคตมี ๕ อย่างใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณที่เป็นปัจจุบัน เป็นกาลที่เป็น
ปัจจุบันใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. กาลที่เป็นปัจจุบันมี ๕ อย่างใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ขันธ์ ๕ ที่เป็นอดีต เป็นกาลที่เป็นอดีต ขันธ์ ๕ ที่เป็นอนาคต
เป็นกาลที่เป็นอนาคต ขันธ์ ๕ ที่เป็นปัจจุบัน เป็นกาลที่เป็นปัจจุบันใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. กาลมี ๑๕ อย่างใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. อายตนะ ๑๒ ที่เป็นอดีต เป็นกาลที่เป็นอดีต อายตนะ ๑๒ ที่เป็น
อนาคต เป็นกาลที่เป็นอนาคต อายตนะ ๑๒ ที่เป็นปัจจุบัน เป็นกาลที่เป็น
ปัจจุบันใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. กาลมี ๓๖ อย่างใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๗๖๘ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๕. ปัณณรสมวรรค] ๓. อัทธากถา (๑๔๗)
สก. ธาตุ ๑๘ ที่เป็นอดีต เป็นกาลที่เป็นอดีต ธาตุ ๑๘ ที่เป็นอนาคต
เป็นกาลที่เป็นอนาคต ธาตุ ๑๘ ที่เป็นปัจจุบัน เป็นกาลที่เป็นปัจจุบันใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. กาลมี ๕๔ อย่างใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. อินทรีย์ ๒๒ ที่เป็นอดีต เป็นกาลที่เป็นอดีต อินทรีย์ ๒๒ ที่เป็นอนาคต
เป็นกาลที่เป็นอนาคต อินทรีย์ ๒๒ ที่เป็นปัจจุบัน เป็นกาลที่เป็นปัจจุบันใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. กาลมี ๖๖ อย่างใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๗๒๑] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “กาลเป็นสภาวะสำเร็จแล้ว” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย กถาวัตถุ๑ ๓ ประการนี้
กถาวัตถุ ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ควรกล่าวถ้อยคำย้อนอดีตกาลว่า อดีตกาลได้มีมาแล้วอย่างนี้
๒. ควรกล่าวถ้อยคำมุ่งถึงอนาคตกาลว่า อนาคตกาลจักมีอย่างนี้
๓. ควรกล่าวถ้อยคำสืบเนื่องกับปัจจุบันกาลว่า ปัจจุบันกาลมีอยู่
อย่างนี้

เชิงอรรถ :
๑ กถาวัตถุ หมายถึงเรื่องที่นำมาอภิปรายหรือเสวนากัน (องฺ.ติก.อ. ๒/๖๘/๒๐๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๗๖๙ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๕. ปัณณรสมวรรค] ๔. ขณลยมุหุตตกถา (๑๔๘)
ภิกษุทั้งหลาย กถาวัตถุ ๓ ประการนี้” ๑
มีอยู่จริงมิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. ดังนั้น กาลจึงเป็นสภาวะสำเร็จแล้ว
อัทธากถา จบ

๔. ขณลยมุหุตตกถา (๑๔๘)
ว่าด้วยขณะ ลยะ และมุหุตตะ
[๗๒๒] สก. ขณะหนึ่ง๒ เป็นสภาวะสำเร็จแล้ว ลยะหนึ่งเป็นสภาวะสำเร็จแล้ว
มุหุตตะหนึ่งก็เป็นสภาวะสำเร็จแล้วใช่ไหม
ปร.๓ ใช่
สก. เป็นรูปใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เป็นเวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ สังขาร ฯลฯ วิญญาณใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๗๒๓] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “มุหุตตะหนึ่งเป็นสภาวะสำเร็จแล้ว” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย กถาวัตถุ ๓
ประการนี้
กถาวัตถุ ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ องฺ.ติก. (แปล) ๒๐/๖๘/๒๗๐
๒ ขณะหนึ่ง หมายถึงชั่วระยะเวลาดีดนิ้วมือ ๑๐ ครั้ง, ๑๐ ขณะเป็น ๑ ลยะ, ๑๐ ลยะเป็น ๑ ขณลยะ,
๑๐ ขณลยะเป็น ๑ มุหุตตะ, ๑๐ มุหุตตะ เป็น ๑ ขณมุหุตตะ (อภิธานัปปทีปิกา คาถาที่ ๖๖-๖๗)
๓ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายมหาสังฆิกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๗๑๘-๗๑๙/๒๗๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๗๗๐ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๕. ปัณณรสมวรรค] ๕. อาสวกถา (๑๔๙)
๑. ควรกล่าวถ้อยคำย้อนอดีตกาลว่า อดีตกาลได้มีมาแล้วอย่างนี้
๒. ควรกล่าวถ้อยคำมุ่งถึงอนาคตกาลว่า อนาคตกาลจักมีอย่างนี้
๓. ควรกล่าวถ้อยคำสืบเนื่องกับปัจจุบันกาลว่า ปัจจุบันกาลมีอยู่
อย่างนี้
ภิกษุทั้งหลาย กถาวัตถุ ๓ ประการนี้” ๑
มีอยู่จริงมิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. ดังนั้น ขณะหนึ่งจึงเป็นสภาวะสำเร็จแล้ว
ขณลยมุหุตตกถา จบ

๕. อาสวกถา (๑๔๙)
ว่าด้วยอาสวะ
[๗๒๔] สก. อาสวะ ๔ ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะใช่ไหม
ปร.๒ ใช่๓
สก. เป็นมรรค ผล นิพพาน โสดาปัตติมรรค โสดาปัตติผล ฯลฯ
โพชฌงค์ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๗๒๕] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “อาสวะ ๔ ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะ” ใช่ไหม
สก. ใช่

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ องฺ.ติก. (แปล) ๒๐/๖๘/๒๗๐
๒ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายเหตุวาท (อภิ.ปญฺจ.อ. ๗๒๔/๒๘๐)
๓ เพราะมีความเห็นว่า อาสวะมี ๔ อย่างเท่านั้น ไม่อาจเป็นอารมณ์ของอาสวะได้ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๗๒๔/๒๘๐)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๗๗๑ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๕. ปัณณรสมวรรค] ๖. ชรามรณกถา (๑๕๐)
ปร. อาสวะเหล่านั้นเป็นอารมณ์ของอาสวะ ด้วยอาสวะเหล่าใด อาสวะเหล่านั้น
มีอยู่ใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. ดังนั้น อาสวะ ๔ จึงไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะ
อาสวกถา จบ

๖. ชรามรณกถา (๑๕๐)
ว่าด้วยชรามรณะ
[๗๒๖] สก. ชรามรณะแห่งโลกุตตรธรรมเป็นโลกุตตระใช่ไหม
ปร.๑ ใช่๒
สก. เป็นมรรค ผล นิพพาน โสดาปัตติมรรค โสดาปัตติผล ฯลฯ
โพชฌงค์ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ชรามรณะแห่งโสดาปัตติมรรคเป็นโสดาปัตติมรรคใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ชรามรณะแห่งโสดาปัตติมรรคเป็นโสดาปัตติมรรคใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ชรามรณะแห่งโสดาปัตติผลเป็นโสดาปัตติผลใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

เชิงอรรถ :
๑ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายมหาสังฆิกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๗๒๖/๒๘๐)
๒ เพราะมีความเห็นว่า ชรา (ความแก่) และมรณะ (ความตาย) ของโลกุตตรธรรมจัดเป็นโลกุตตระ ซึ่งต่าง
กับความเห็นของสกวาทีที่เห็นว่า ชรามรณะเป็นสภาวธรรมที่ไม่สำเร็จ จึงไม่อาจจัดเป็นโลกิยะหรือ
โลกุตตระ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๗๒๖/๒๘๐)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๗๗๒ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๕. ปัณณรสมวรรค] ๖. ชรามรณกถา (๑๕๐)
สก. ชรามรณะแห่งสกทาคามิมรรค ฯลฯ สกทาคามิผล ฯลฯ อนาคามิ-
มรรค ฯลฯ อนาคามิผล ฯลฯ ชรามรณะแห่งอรหัตตมรรคเป็นอรหัตตมรรค
ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ชรามรณะแห่งอรหัตตมรรคเป็นอรหัตตมรรคใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ชรามรณะแห่งอรหัตตผลเป็นอรหัตตผลใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ชรามรณะแห่งสติปัฏฐาน ฯลฯ สัมมัปปธาน ฯลฯ อิทธิบาท ฯลฯ
อินทรีย์ ฯลฯ พละ ฯลฯ ชรามรณะแห่งโพชฌงค์ เป็นโพชฌงค์ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๗๒๗] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “ชรามรณะแห่งโลกุตตรธรรมเป็นโลกุตตระ”
ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. เป็นโลกิยะใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. ดังนั้น ชรามรณะจึงเป็นโลกุตตระ

ชรามรณกถา จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๗๗๓ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๕. ปัณณรสมวรรค] ๗. สัญญาเวทยิตกถา (๑๕๑)
๗. สัญญาเวทยิตกถา (๑๕๑)
ว่าด้วยสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ๑
[๗๒๘] สก. สัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติเป็นโลกุตตระใช่ไหม
ปร.๒ ใช่๓
สก. เป็นมรรค ผล นิพพาน โสดาปัตติมรรค โสดาปัตติผล ฯลฯ
โพชฌงค์ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๗๒๙] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “สัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติเป็นโลกุตตระ”
ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. เป็นโลกิยะใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. ดังนั้น สัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติจึงเป็นโลกุตตระ

สัญญาเวทยิตกถา จบ

เชิงอรรถ :
๑ สัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ มี ๒ อย่าง คือ (๑) อสัญญสมาบัติ ซึ่งเป็นเหตุให้ปุถุชนเกิดในภพแห่ง
อสัญญสัตว์ (๒) นิโรธสมาบัติ เป็นสมาบัติของพระอริยะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๗๓๕/๒๘๒)
๒ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายเหตุวาท (อภิ.ปญฺจ.อ. ๗๒๘-๗๒๙/๒๘๐-๒๘๑)
๓ เพราะมีความเห็นว่า เนื่องจากสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติไม่ใช่โลกิยะจึงจัดเป็นโลกุตตระ ซึ่งต่างกับ
ความเห็นของสกวาทีที่เห็นว่า สัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติเป็นเพียงความดับแห่งขันธ์ ๔ เท่านั้น จึงไม่เป็น
ทั้งโลกิยะและโลกุตตระ(อภิ.ปญฺจ.อ. ๗๒๘-๗๒๙/๒๘๐-๒๘๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๗๗๔ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๕. ปัณณรสมวรรค] ๘. ทุติยสัญญาเวทยิตกถา (๑๕๒)
๘. ทุติยสัญญาเวทยิตกถา (๑๕๒)
ว่าด้วยสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ ที่ ๒
[๗๓๐] สก. สัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติเป็นโลกิยะใช่ไหม
ปร.๑ ใช่๒
สก. เป็นรูปใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เป็นเวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ สังขาร ฯลฯ วิญญาณใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เป็นกามาวจรใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เป็นรูปาวจรใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เป็นอรูปาวจรใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๗๓๑] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “สัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติเป็นโลกิยะ” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. เป็นโลกุตตระใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. ดังนั้น สัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติจึงเป็นโลกิยะ

ทุติยสัญญาเวทยิตกถา จบ

เชิงอรรถ :
๑ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายเหตุวาท (อภิ.ปญฺจ.อ. ๗๓๐/๒๘๑)
๒ เพราะมีความเห็นว่า เนื่องจากสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติไม่ใช่โลกุตตระ จึงจัดเป็นโลกิยะ ซึ่งต่างกับ
ความเห็นของสกวาทีที่เห็นว่า สัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติเป็นเพียงความดับแห่งขันธ์ ๔ เท่านั้น จึงไม่เป็น
ทั้งโลกิยะและโลกุตตระ(อภิ.ปญฺจ.อ. ๗๓๐-๗๓๑/๒๘๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๗๗๕ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๕. ปัณณรสมวรรค] ๙. ตติยสัญญาเวทยิตกถา (๑๕๓)
๙. ตติยสัญญาเวทยิตกถา (๑๕๓)
ว่าด้วยสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติที่ ๓
[๗๓๒] สก. บุคคลผู้เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติอาจตายได้ใช่ไหม
ปร.๑ ใช่๒
สก. บุคคลผู้เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติยังมีผัสสะ เวทนา สัญญา
เจตนา จิต ที่เกิดในขณะใกล้จะตายใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลผู้เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติไม่มีผัสสะ เวทนา สัญญา
เจตนา จิต ที่เกิดในขณะใกล้จะตายใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. หากบุคคลผู้เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติไม่มีผัสสะ เวทนา สัญญา
เจตนา จิต ที่เกิดในขณะใกล้ตาย ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “บุคคลผู้เข้าสัญญา
เวทยิตนิโรธสมาบัติอาจตายได้”
สก. บุคคลผู้เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติอาจตายได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลผู้เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติมีผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา
จิตใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลผู้เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติไม่มีผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา
จิตใช่ไหม
ปร. ใช่

เชิงอรรถ :
๑ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายราชคิริกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๗๓๒/๒๘๑)
๒ เพราะมีความเห็นว่า ในขณะเข้านิโรธสมาบัติ บุคคลก็อาจตายได้ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๗๓๒/๒๘๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๗๗๖ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๕. ปัณณรสมวรรค] ๙. ตติยสัญญาเวทยิตกถา (๑๕๓)
สก. บุคคลผู้ไม่มีผัสสะ ไม่มีเวทนา ฯลฯ ไม่มีจิต ตายได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลผู้มีผัสสะ ฯลฯ มีจิต ตายได้มิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากบุคคลผู้มีผัสสะ ฯลฯ มีจิต ตายได้ ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า
“บุคคลผู้เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติอาจตายได้”
สก. บุคคลผู้เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติอาจตายได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ยาพิษ ศัสตรา ไฟ พึงกล้ำกรายเข้าไปในร่างกายของบุคคลผู้เข้า
สัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ยาพิษ ศัสตรา ไฟ ไม่พึงกล้ำกรายเข้าไปในร่างกายของบุคคลผู้เข้า
สัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. หากยาพิษ ศัสตรา ไฟ ไม่พึงกล้ำกรายเข้าไปในร่างกายของบุคคล
ผู้เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติได้ ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า ๊บุคคลผู้เข้าสัญญา
เวทยิตนิโรธสมาบัติอาจตายได้ ๋
สก. บุคคลผู้เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธอาจตายได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ยาพิษ ศัสตรา ไฟ พึงกล้ำกรายเข้าไปในร่างกายของบุคคลผู้เข้า
สัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติได้ใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๗๗๗ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๕. ปัณณรสมวรรค] ๙. ตติยสัญญาเวทยิตกถา (๑๕๓)
สก. ไม่ได้เข้านิโรธสมาบัติได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๗๓๓] ปร. บุคคลผู้เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติไม่อาจตายใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. บุคคลผู้เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติไม่อาจตายแน่นอนด้วยนิยามใด
นิยาม นั้นมีอยู่หรือ
สก. ไม่มี
ปร. หากบุคคลผู้เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ ไม่อาจตายแน่นอนด้วย
นิยามใด นิยามนั้นไม่มี ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “บุคคลผู้เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ-
สมาบัติไม่อาจตาย”
[๗๓๔] สก. บุคคลผู้พรั่งพร้อมด้วยจักขุวิญญาณไม่อาจตายใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลผู้พรั่งพร้อมด้วยจักขุวิญญาณไม่อาจตายแน่นอนด้วยนิยามใด นิยามนั้น
มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่มี
สก. หากบุคคลผู้พรั่งพร้อมด้วยจักขุวิญญาณไม่อาจตายแน่นอนด้วยนิยามใด
นิยามนั้นไม่มี ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “บุคคลผู้พรั่งพร้อมด้วยจักขุวิญญาณไม่อาจตาย”

ตติยสัญญาเวทยิตกถา จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๗๗๘ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๕. ปัณณรสมวรรค] ๑๐. อสัญญสัตตูปิกากถา (๑๕๔)
๑๐. อสัญญสัตตูปิกากถา (๑๕๔)
ว่าด้วยสมาบัติที่เป็นเหตุให้เข้าถึงภพแห่งอสัญญสัตว์
[๗๓๕] สก. สัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ๑เป็นเหตุให้เข้าถึงภพแห่งอสัญญสัตว์๒
ได้ใช่ไหม
ปร.๓ ใช่
สก. บุคคลผู้เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติยังมีกุศลมูลคืออโลภะ อโทสะ อโมหะ
มีสัทธา ฯลฯ วิริยะ ฯลฯ สติ ฯลฯ สมาธิ ฯลฯ ปัญญาใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลผู้เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติไม่มีกุศลมูลคืออโลภะ อโทสะ
ฯลฯ ไม่มีปัญญาใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. หากบุคคลผู้เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติไม่มีกุศลมูลคืออโลภะ
อโทสะ อโมหะ ไม่มีสัทธา ฯลฯ วิริยะ ฯลฯ สติ ฯลฯ สมาธิ ฯลฯ ปัญญา
ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “สัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติเป็นเหตุให้เข้าถึงภพแห่ง
อสัญญสัตว์ได้”
สก. สัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติเป็นเหตุให้เข้าถึงภพแห่งอสัญญสัตว์ได้ใช่ไหม
ปร. ใช่

เชิงอรรถ :
๑ สัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ มี ๒ อย่าง คือ (๑) อสัญญสมาบัติ ซึ่งเป็นเหตุให้ปุถุชนเกิดในภพแห่ง
อสัญญสัตว์ (๒) นิโรธสมาบัติ เป็นสมาบัติของพระอริยะ ในที่นี้ปรวาทีถือรวม ๆ โดยไม่แยกว่าอสัญญ-
สมาบัติหรือนิโรธสมาบัติ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๗๓๕/๒๘๒)
๒ ภพแห่งอสัญญสัตว์ หมายถึงภพแห่งสัตว์ไม่มีสัญญา ซึ่งเป็นภพหรือภูมิที่นักบวชในลัทธิเดียรถีย์ เป็นต้น
เมื่อเจริญวาโยกสิณจนบรรลุจตุตถฌานแล้วได้เจริญภาวนาบนแนวทางที่เบื่อหน่ายในนามธรรมมีสัญญา
เป็นต้นเป็นนิจ ครั้นละจากอัตภาพนั้นแล้วก็จะไปบังเกิดที่อสัญญสัตตภพอันเป็นภพที่ปราศจากจิต
วิญญาณหรือความรู้สึกใด ๆ (ที.สี.อ. ๖๘-๗๓/๑๐๘-๑๐๙)
๓ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายเหตุวาท (อภิ.ปญฺจ.อ. ๗๓๕/๒๘๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๗๗๙ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๕. ปัณณรสมวรรค] ๑๐. อสัญญสัตตูปิกากถา (๑๕๔)
สก. บุคคลผู้เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติยังมีผัสสะ เวทนา สัญญา
เจตนา จิตใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลผู้เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติไม่มีผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา
จิตใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลผู้ไม่มีผัสสะมีการเจริญมรรค ฯลฯ ผู้ไม่มีจิตมีการเจริญมรรคได้
ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลผู้มีผัสสะมีการเจริญมรรค ฯลฯ ผู้มีจิตมีการเจริญมรรคได้มิใช่
หรือ
ปร. ใช่
สก. หากบุคคลผู้มีผัสสะมีการเจริญมรรค ฯลฯ ผู้มีจิตมีการเจริญมรรคได้
ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “สัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติเป็นเหตุให้เข้าถึงภพแห่ง
อสัญญสัตว์ได้”
สก. สัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติเป็นเหตุให้เข้าถึงภพแห่งอสัญญสัตว์ได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เหล่าชนผู้เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติทั้งหมดนั้นเป็นผู้เข้าถึงภพแห่ง
อสัญญสัตว์ได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๗๓๖] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “สัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติเป็นเหตุให้เข้าถึง
ภพแห่งอสัญญสัตว์ได้” ใช่ไหม
สก. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๗๘๐ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๕. ปัณณรสมวรรค] ๑๑. กัมมูปจยกถา (๑๕๕)
ปร. บุคคลไม่มีสัญญาแม้ในโลกนี้ก็เป็นผู้ไม่มีสัญญาแม้ในภพแห่งอสัญญ-
สัตว์นั้นมิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. หากบุคคลไม่มีสัญญาแม้ในโลกนี้ก็เป็นผู้ไม่มีสัญญาแม้ในภพแห่ง
อสัญญสัตว์นั้น ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “สัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติเป็นเหตุ
ให้เข้าถึงภพแห่งอสัญญสัตว์ได้”
อสัญญสัตตูปิกากถา จบ

๑๑. กัมมูปจยกถา (๑๕๕)
ว่าด้วยกรรมที่สั่งสม
[๗๓๗] สก. กรรมกับกรรมที่สั่งสมเป็นคนละอย่างกันใช่ไหม
ปร.๑ ใช่๒
สก. ผัสสะกับผัสสะที่สั่งสมเป็นคนละอย่างกัน เวทนากับเวทนาที่สั่งสมเป็น
คนละอย่างกัน สัญญากับสัญญาที่สั่งสมเป็นคนละอย่างกัน เจตนากับเจตนาที่สั่งสม
เป็นคนละอย่างกัน จิตกับจิตที่สั่งสมเป็นคนละอย่างกัน สัทธากับสัทธาที่สั่งสม
เป็นคนละอย่างกัน วิริยะกับวิริยะที่สั่งสมเป็นคนละอย่างกัน สติกับสติที่สั่งสมเป็น
คนละอย่างกัน สมาธิกับสมาธิที่สั่งสมเป็นคนละอย่างกัน ปัญญากับปัญญาที่สั่งสม
เป็นคนละอย่างกัน ราคะกับราคะที่สั่งสมเป็นคนละอย่างกัน ฯลฯ อโนตตัปปะกับ
อโนตตัปปะที่สั่งสมเป็นคนละอย่างกันใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

เชิงอรรถ :
๑ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอันธกะและนิกายสมิติยะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๗๓๗/๒๘๓)
๒ เพราะมีความเห็นว่า กรรมกับกรรมที่สั่งสมเป็นคนละอย่างกัน กรรมที่สั่งสม วิปปยุตจากจิต เป็น
อัพยากฤต รับรู้อารมณ์ไม่ได้ ซึ่งต่างกับความเห็นของสกวาทีที่เห็นว่า กรรมและกรรมที่สั่งสมเป็น
ไวพจน์กัน สัมปยุตด้วยจิต และรับรู้อารมณ์ได้ ต่างกันในเวลาให้ผลเท่านั้น (อภิ.ปญฺจ.อ. ๗๓๗/๒๘๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๗๘๑ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๕. ปัณณรสมวรรค] ๑๑. กัมมูปจยกถา (๑๕๕)
[๗๓๘] สก. กรรมกับกรรมที่สั่งสมเป็นคนละอย่างกันใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. กรรมที่สั่งสมเกิดพร้อมกับกรรมใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. กรรมที่สั่งสมเกิดพร้อมกับกรรมใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. กรรมที่สั่งสมที่เกิดพร้อมกับกุศลกรรมเป็นกุศลใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. กรรมที่สั่งสมที่เกิดพร้อมกับกุศลกรรมเป็นกุศลใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. กรรมที่สั่งสมที่เกิดพร้อมกับกรรมซึ่งสัมปยุตด้วยสุขเวทนาก็สัมปยุต
ด้วยสุขเวทนาใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. กรรมที่สั่งสมที่เกิดพร้อมกับกรรมซึ่งสัมปยุตด้วยทุกขเวทนา ฯลฯ
สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนาก็สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนาใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๗๓๙] สก. กรรมที่สั่งสมเกิดพร้อมกับกรรมใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. กรรมที่สั่งสมที่เกิดพร้อมกับอกุศลกรรมเป็นอกุศลใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. กรรมที่สั่งสมที่เกิดพร้อมกับอกุศลกรรมเป็นอกุศลใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๗๘๒ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๕. ปัณณรสมวรรค] ๑๑. กัมมูปจยกถา (๑๕๕)
สก. กรรมที่สั่งสมที่เกิดพร้อมกับกรรมซึ่งสัมปยุตด้วยสุขเวทนาก็สัมปยุต
ด้วยสุขเวทนาใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. กรรมที่สั่งสมที่เกิดพร้อมกับกรรมซึ่งสัมปยุตด้วยทุกขเวทนา ฯลฯ
สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนาก็สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนาใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๗๔๐] สก. กรรมเกิดพร้อมกับจิต กรรมรับรู้อารมณ์ได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. กรรมที่สั่งสมเกิดพร้อมกับจิต กรรมที่สั่งสมรับรู้อารมณ์ได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. กรรมที่สั่งสมเกิดพร้อมกับจิต กรรมที่สั่งสมรับรู้อารมณ์ไม่ได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. กรรมเกิดพร้อมกับจิต กรรมรับรู้อารมณ์ไม่ได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. กรรมเกิดพร้อมกับจิต เมื่อจิตแตกดับ กรรมก็แตกสลายไปใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. กรรมที่สั่งสมเกิดพร้อมกับจิต เมื่อจิตแตกดับ กรรมที่สั่งสมก็แตก
สลายไปใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. กรรมที่สั่งสมเกิดพร้อมกับจิต เมื่อจิตแตกดับ กรรมที่สั่งสมไม่แตก
สลายไปใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๗๘๓ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๕. ปัณณรสมวรรค] ๑๑. กัมมูปจยกถา (๑๕๕)
สก. กรรมเกิดพร้อมกับจิต เมื่อจิตแตกดับ กรรมไม่แตกสลายไปใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๗๔๑] สก. เมื่อกรรมมีอยู่ กรรมที่สั่งสมก็มีใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. กรรมกับกรรมที่สั่งสมเป็นอย่างเดียวกันใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เมื่อกรรมมีอยู่ กรรมที่สั่งสมเป็นแดนเกิดแห่งวิบากใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. กรรมกับกรรมที่สั่งสมเป็นอย่างเดียวกัน วิบากกรรมก็เป็นอย่างเดียวกัน
ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เมื่อกรรมมีอยู่ กรรมที่สั่งสมเป็นแดนเกิดแห่งวิบาก วิบากรับรู้อารมณ์
ได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. กรรมที่สั่งสมรับรู้อารมณ์ได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. กรรมที่สั่งสมรับรู้อารมณ์ไม่ได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. วิบากไม่มีอารมณ์ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๗๔๒] สก. กรรมกับกรรมที่สั่งสมเป็นคนละอย่างกันใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๗๘๔ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๕. ปัณณรสมวรรค] ๑๑. กัมมูปจยกถา (๑๕๕)
สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ปุณณะ บุคคลบางคนในโลกนี้
ปรุงแต่งกายสังขารที่มีความเบียดเบียนบ้าง ไม่มีความเบียดเบียนบ้าง ปรุงแต่ง
วจีสังขาร ฯลฯ มโนสังขาร ที่มีความเบียดเบียนบ้าง ไม่มีความเบียดเบียนบ้าง
เขาครั้นปรุงแต่งกายสังขารที่มีความเบียดเบียนบ้าง ไม่มีความเบียดเบียนบ้าง
ปรุงแต่งวจีสังขาร ฯลฯ มโนสังขารที่มีความเบียดเบียนบ้าง ไม่มีความ
เบียดเบียนบ้างแล้ว ย่อมเข้าถึงโลกที่มีความเบียดเบียนบ้าง ไม่มีความเบียดเบียน
บ้าง ผัสสะที่มีความเบียดเบียนบ้าง ไม่มีความเบียดเบียนบ้าง ย่อมถูกต้องบุคคล
ผู้เข้าถึงโลกที่มีความเบียดเบียนบ้าง ไม่มีความเบียดเบียนบ้าง เขาถูกผัสสะที่มี
ความเบียดเบียนบ้าง ไม่มีความเบียดเบียนบ้างกระทบเข้า ย่อมเสวยเวทนาที่มี
ความเบียดเบียนบ้าง ไม่มีความเบียดเบียนบ้าง มีสุขและทุกข์ระคนกัน เหมือน
มนุษย์ เทวดาบางพวก๑ และวินิปาติกะ๒บางพวก ปุณณะ เพราะกรรมที่มีดังนี้แล
ความเกิดขึ้นของสัตว์จึงมีได้ สัตว์ย่อมเกิดขึ้นเพราะกรรมที่ทำไว้ ผัสสะย่อมถูก
ต้องสัตว์ผู้เกิดแล้วนั้น เรากล่าวอย่างนี้ว่า สัตว์ทั้งหลายเป็นผู้รับผลแห่งกรรม”๓
มีอยู่จริงมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. ดังนั้น ท่านจึงไม่ควรยอมรับว่า “กรรมกับกรรมที่สั่งสมเป็นคนละ
อย่างกัน”

กัมมูปจยกถา จบ
ปัณณรสมวรรค จบ

เชิงอรรถ :
๑ เทวดาบางพวก หมายถึงกามาวจรเทวดา ๖ ชั้น คือ จาตุมหาราช ดาวดึงส์ ยามา ดุสิต นิมมานรดี และ
ปรนิมมิตวสวัตดี (องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๒๒๓/๔๔๐)
๒ วินิปาติกะ หมายถึงเวมานิกเปรต ได้แก่ เปรตผู้อยู่ในวิมานเสวยสุขและทุกข์สลับกันไป บางตนข้างแรม
เสวยทุกข์ ข้างขึ้นเสวยสุข บางตนกลางคืนเสวยสุข กลางวันเสวยทุกข์ เวลาเสวยสุขอยู่ในวิมานมีร่างกาย
เป็นทิพย์ สวยงาม แต่เวลาจะเสวยทุกข์ก็ต้องออกจากวิมานนี้ไปและร่างกายกลายเป็นร่างกายที่น่าเกลียด
น่ากลัว (องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๒๒๓/๔๔๑)
๓ ดูเทียบ ม.ม. (แปล) ๑๓/๘๑/๗๙-๘๑

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๗๘๕ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๕. ปัณณรสมวรรค] รวมกถาที่มีในวรรค
รวมกถาที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. ปัจจยตากถา ๒. อัญญมัญญปัจจยกถา
๓. อัทธากถา ๔. ขณลยมุหุตตกถา
๕. อาสวกถา ๖. ชรามรณกถา
๗. สัญญาเวทยิตกถา ๘. ทุติยสัญญาเวทยิตกถา
๙. ตติยสัญญาเวทยิตกถา ๑๐. อสัญญสัตตูปิกากถา
๑๑. กัมมูปจยกถา

ตติยปัณณาสก์ จบ

รวมวรรคที่มีในตติยปัณณาสก์นี้ คือ
วรรคที่ ๑๑ เริ่มด้วยติสโสปิอนุสยกถา
วรรคที่ ๑๒ เริ่มด้วยสังวโรกัมมันติกถา
วรรคที่ ๑๓ เริ่มด้วยกัปปัฏฐกถา
วรรคที่ ๑๔ เริ่มด้วยกุสลากุสลปฏิสันทหนกถา
วรรคที่ ๑๕ เริ่มด้วยปัจจยตากถา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๗๘๖ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๖. โสฬสมวรรค] ๑. นิคคหกถา (๑๕๖)
๑๖. โสฬสมวรรค
๑. นิคคหกถา (๑๕๖)
ว่าด้วยการข่มจิต
[๗๔๓] สก. บุคคลอื่นข่มจิตของคนอื่นได้ใช่ไหม
ปร.๑ ใช่๒
สก. บุคคลอื่นข่มจิตของคนอื่นว่า “อย่ากำหนัด อย่าขัดเคือง อย่าหลง
อย่าเศร้าหมองได้” ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลอื่นข่มจิตของคนอื่นได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลอื่นข่มได้ว่า “ผัสสะที่เกิดขึ้นแก่คนอื่นอย่าได้ดับไปเลย” ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลอื่นข่มได้ว่า “เวทนาที่เกิดขึ้น ฯลฯ สัญญาที่เกิดขึ้น ฯลฯ
เจตนาที่เกิดขึ้น ฯลฯ จิตที่เกิดขึ้น ฯลฯ สัทธาที่เกิดขึ้น ฯลฯ วิริยะที่เกิดขึ้น ฯลฯ
สติที่เกิดขึ้น ฯลฯ สมาธิที่เกิดขึ้น ฯลฯ ปัญญาที่เกิดขึ้นแก่คนอื่นอย่าได้ดับไปเลย”
ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลอื่นข่มจิตของคนอื่นได้ใช่ไหม
ปร. ใช่

เชิงอรรถ :
๑ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายมหาสังฆิกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๗๔๓/๒๘๔)
๒ เพราะมีความเห็นว่า ผู้ที่มีความชำนาญในฌานอภิญญาย่อมสามารถข่มจิตของคนอื่นได้ ซึ่งต่างกับความ
เห็นของสกวาทีที่เห็นว่า บุคคลไม่สามารถใช้จิตของตนข่มจิตของคนอื่นได้โดยตรง (อภิ.ปญฺจ.อ. ๗๔๓/๒๘๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๗๘๗ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๖. โสฬสมวรรค] ๑. นิคคหกถา (๑๕๖)
สก. บุคคลอื่นละราคะ โทสะ ฯลฯ อโนตตัปปะ เพื่อประโยชน์แก่คนอื่น
ได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลอื่นข่มจิตของคนอื่นได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลอื่นเจริญมรรค สติปัฏฐาน ฯลฯ โพชฌงค์ เพื่อประโยชน์แก่คนอื่น
ได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลอื่นข่มจิตของคนอื่นได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลอื่นกำหนดรู้ทุกข์ ละสมุทัย ทำให้แจ้งนิโรธ เจริญมรรค เพื่อ
ประโยชน์แก่คนอื่นได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลอื่นข่มจิตของคนอื่นได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลอื่นทำให้แก่คนอื่น สุขทุกข์มีผู้อื่นเป็นตัวการ บุคคลคนละคนกัน
ทั้งทำและเสวยใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลอื่นข่มจิตของคนอื่นได้ใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๗๘๘ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๖. โสฬสมวรรค] ๒. ปัคคหกถา (๑๕๗)
สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า
“บุคคลทำบาปเองก็เศร้าหมองเอง
ไม่ทำบาปเองก็บริสุทธิ์เอง
ความบริสุทธิ์ และไม่บริสุทธิ์เป็นของเฉพาะตน
บุคคลอื่นจะทำคนอื่นให้บริสุทธิ์ไม่ได้”๑
มีอยู่จริงมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. ดังนั้น ท่านจึงไม่ควรยอมรับว่า “บุคคลอื่นข่มจิตของคนอื่นได้”
[๗๔๔] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “บุคคลอื่นข่มจิตของคนอื่นได้” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. บุคคลผู้มีกำลังมีอยู่ บุคคลผู้มีอำนาจก็มีอยู่มิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. หากบุคคลผู้มีกำลังมีอยู่ บุคคลผู้มีอำนาจก็มีอยู่ ดังนั้น ท่านจึงควร
ยอมรับว่า “บุคคลอื่นข่มจิตของคนอื่นได้”
นิคคหกถา จบ
๒. ปัคคหกถา (๑๕๗)
ว่าด้วยการบังคับจิต
[๗๔๕] สก. บุคคลอื่นบังคับจิตของคนอื่นได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลอื่นบังคับจิตของคนอื่นว่า “อย่ากำหนัด อย่าขัดเคือง อย่าหลง
อย่าเศร้าหมองได้” ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ ขุ.ธ. (แปล) ๒๕/๑๖๕/๘๔

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๗๘๙ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๖. โสฬสมวรรค] ๒. ปัคคหกถา (๑๕๗)
สก. บุคคลอื่นบังคับจิตของคนอื่นได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลอื่นให้กุศลมูลคืออโลภะ อโทสะ อโมหะ สัทธา วิริยะ สติ สมาธิ
ปัญญาเกิดแก่คนอื่นได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลอื่นบังคับจิตของคนอื่นได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลอื่นบังคับว่า “ผัสสะที่เกิดขึ้นแก่คนอื่นอย่าได้ดับไปเลย” ได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลอื่นบังคับว่า “เวทนาที่เกิดขึ้น ฯลฯ ปัญญาที่เกิดขึ้นแก่คนอื่น
อย่าได้ดับไปเลย” ได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลอื่นบังคับจิตของคนอื่นได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลอื่นละราคะ โทสะ โมหะ ฯลฯ อโนตตัปปะ เพื่อประโยชน์แก่คนอื่น
ได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลอื่นบังคับจิตของคนอื่นได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลอื่นเจริญมรรค สติปัฏฐาน ฯลฯ โพชฌงค์ เพื่อประโยชน์แก่คนอื่น
ได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๗๙๐ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๖. โสฬสมวรรค] ๒. ปัคคหกถา (๑๕๗)
สก. บุคคลอื่นบังคับจิตของคนอื่นได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลอื่นกำหนดรู้ทุกข์ ฯลฯ เจริญมรรค เพื่อประโยชน์แก่คนอื่นได้
ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลอื่นบังคับจิตของคนอื่นได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลอื่นทำให้แก่คนอื่น สุขทุกข์มีผู้อื่นเป็นตัวการ บุคคลคนละคนกัน
ทั้งทำและเสวยใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลอื่นบังคับจิตของคนอื่นได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “บุคคลทำบาปเอง ฯลฯ บุคคล
อื่นจะทำคนอื่นให้บริสุทธิ์ไม่ได้” ๑ มีอยู่จริงมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. ดังนั้น ท่านจึงไม่ควรยอมรับว่า “บุคคลอื่นบังคับจิตของคนอื่นได้”
[๗๔๖] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “บุคคลอื่นบังคับจิตของคนอื่นได้” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. บุคคลผู้มีกำลังมีอยู่ คนผู้มีอำนาจก็มีอยู่มิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. หากบุคคลผู้มีกำลังมีอยู่ บุคคลผู้มีอำนาจก็มีอยู่ ดังนั้น ท่านจึงควร
ยอมรับว่า “บุคคลอื่นบังคับจิตของคนอื่นได้”

ปัคคหกถา จบ

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ ขุ.ธ. (แปล) ๒๕/๑๖๕/๘๔

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๗๙๑ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๖. โสฬสมวรรค] ๓. สุขานุปปทานกถา (๑๕๘)
๓. สุขานุปปทานกถา (๑๕๘)
ว่าด้วยการมอบสุข
[๗๔๗] สก. บุคคลอื่นมอบสุขให้คนอื่นได้ใช่ไหม
ปร.๑ ใช่๒
สก. บุคคลอื่นมอบทุกข์ให้คนอื่นได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลอื่นมอบทุกข์ให้คนอื่นไม่ได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลอื่นมอบสุขให้คนอื่นไม่ได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลอื่นมอบสุขให้คนอื่นได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลอื่นมอบสุขของตน สุขของคนเหล่าอื่น สุขของผู้รับนั้นให้คนอื่น
ได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลอื่นมอบสุขของตน สุขของคนเหล่าอื่น สุขของผู้รับนั้นให้คนอื่น
ไม่ได้ใช่ไหม
ปร. ใช่

เชิงอรรถ :
๑ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายเหตุวาท (อภิ.ปญฺจ.อ. ๗๔๗/๒๘๕)
๒ เพราะมีความเห็นว่า บุคคลหนึ่งย่อมสามารถบันดาลสุขให้แก่อีกคนหนึ่งได้ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๗๔๗/๒๘๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๗๙๒ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๖. โสฬสมวรรค] ๓. สุขานุปปทานกถา (๑๕๘)
สก. หากบุคคลอื่นมอบสุขของตน สุขของคนเหล่าอื่น สุขของผู้รับนั้นให้คน
อื่นไม่ได้ ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “บุคคลอื่นมอบสุขให้คนอื่นได้”
สก. บุคคลอื่นมอบสุขให้คนอื่นได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลอื่นทำให้แก่คนอื่น สุขทุกข์มีผู้อื่นเป็นตัวการ บุคคลคนละคนกัน
ทั้งทำและเสวยใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๗๔๘] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “บุคคลอื่นมอบสุขให้คนอื่นได้” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. พระสูตรที่ว่า “ท่านพระอุทายีได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า พระผู้มี
พระภาคทรงกำจัด สภาวธรรมอันเป็นเหตุแห่งทุกข์เป็นอันมากของเราทั้งหลายออกไปได้
พระผู้มีพระภาคทรงนำสภาวธรรมอันเป็นเหตุแห่งสุขเป็นอันมากมาให้เราทั้งหลาย
พระผู้มีพระภาคทรงกำจัดสภาวธรรมที่เป็นอกุศลเป็นอันมากของเราทั้งหลายออกไปได้
พระผู้มีพระภาคทรงนำสภาวธรรมที่เป็นกุศลเป็นอันมากมาให้เราทั้งหลาย”๑ มีอยู่
จริงมิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. ดังนั้น บุคคลอื่นจึงมอบสุขให้คนอื่นได้

สุขานุปปทานกถา จบ

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ ม.ม. (แปล) ๑๓/๑๔๙/๑๖๕

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๗๙๓ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๖. โสฬสมวรรค] ๔. อธิคัยหมนสิการกถา (๑๕๙)
๔. อธิคัยหมนสิการกถา (๑๕๙)
ว่าด้วยมนสิการรวบยอด
[๗๔๙] สก. บุคคลมนสิการรวบยอด๑ได้ใช่ไหม
ปร.๒ ใช่๓
สก. รู้ชัดจิตนั้นด้วยจิตนั้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. รู้ชัดจิตนั้นด้วยจิตนั้นใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. รู้ชัดจิตนั้นด้วยจิตนั้นว่า “เป็นจิต” ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. รู้ชัดจิตนั้นด้วยจิตนั้นว่า “เป็นจิต” ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. จิตนั้นเป็นอารมณ์ของจิตนั้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. จิตนั้นเป็นอารมณ์ของจิตนั้นใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ถูกต้องผัสสะนั้นด้วยผัสสะนั้น เสวยเวทนานั้นด้วยเวทนานั้น ฯลฯ
จำสัญญานั้นด้วยสัญญานั้น ฯลฯ จงใจเจตนานั้นด้วยเจตนานั้น ฯลฯ คิดจิตนั้น

เชิงอรรถ :
๑ มนสิการรวบยอด หมายถึงพิจารณาอารมณ์หลายอย่างได้ในขณะเดียวกัน
๒ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายปุพพเสลิยะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๗๔๙-๗๕๓/๒๘๕-๒๘๖)
๓ เพราะมีความเห็นว่า ในการพิจารณาอารมณ์ทั้งหลาย บุคคลสามารถพิจารณาอารมณ์หลายอย่างได้ใน
ขณะเดียวกัน ซึ่งต่างกับความเห็นของสกวาทีที่เห็นว่า บุคคลไม่สามารถพิจารณาอารมณ์หลายอย่างได้ใน
ขณะเดียวกัน แต่สามารถพิจารณาอารมณ์อย่างใดอย่างหนึ่งได้ ส่วนอารมณ์อื่น ๆ ที่เหลือสามารถ
พิจารณาได้โดยนัย (อภิ.ปญฺจ.อ. ๗๔๙-๗๕๓/๒๘๕-๒๘๖)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๗๙๔ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๖. โสฬสมวรรค] ๔. อธิคัยหมนสิการกถา (๑๕๙)
ด้วยจิตนั้น ฯลฯ ตรึกถึงวิตกนั้นด้วยวิตกนั้น ฯลฯ ตรองวิจารนั้นด้วยวิจารนั้น ฯลฯ
เอิบอิ่มปีตินั้นด้วยปีตินั้น ฯลฯ ระลึกสตินั้นด้วยสตินั้น ฯลฯ รู้ชัดปัญญานั้นด้วย
ปัญญานั้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๗๕๐] สก. บุคคลเมื่อมนสิการสภาวธรรมที่เป็นอดีตว่า “เป็นอดีต” ย่อม
มนสิการสภาวธรรมที่เป็นอนาคตว่า “เป็นอนาคต” ได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เมื่อมนสิการสภาวธรรมที่เป็นอดีตว่า “เป็นอดีต” ย่อมมนสิการสภาว-
ธรรมที่เป็นอนาคตว่า “เป็นอนาคต” ได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. มีการประชุมแห่งผัสสะ ๒ อย่าง ฯลฯ จิต ๒ ดวงใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เมื่อมนสิการสภาวธรรมที่เป็นอดีตว่า “เป็นอดีต” ย่อมมนสิการสภาว-
ธรรมที่เป็นปัจจุบันว่า “เป็นปัจจุบัน” ได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เมื่อมนสิการสภาวธรรมที่เป็นอดีตว่า “เป็นอดีต” ย่อมมนสิการสภาว-
ธรรมที่เป็นปัจจุบันว่า “เป็นปัจจุบัน” ได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. มีการประชุมแห่งผัสสะ ๒ อย่าง ฯลฯ จิต ๒ ดวงใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เมื่อมนสิการสภาวธรรมที่เป็นอดีตว่า “เป็นอดีต” ย่อมมนสิการสภาว-
ธรรมที่เป็นอนาคตว่า “เป็นอนาคต” มนสิการสภาวธรรมที่เป็นปัจจุบันว่า “เป็น
ปัจจุบัน” ได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๗๙๕ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๖. โสฬสมวรรค] ๔. อธิคัยหมนสิการกถา (๑๕๙)
สก. เมื่อมนสิการสภาวธรรมที่เป็นอดีตว่า “เป็นอดีต” ย่อมมนสิการสภาว-
ธรรมที่เป็นอนาคตว่า “เป็นอนาคต” มนสิการสภาวธรรมที่เป็นปัจจุบันว่า “เป็น
ปัจจุบัน” ได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. มีการประชุมแห่งผัสสะ ๓ อย่าง ฯลฯ จิต ๓ ดวงใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๗๕๑] สก. เมื่อมนสิการสภาวธรรมที่เป็นอนาคตว่า “เป็นอนาคต” ย่อม
มนสิการสภาวธรรมที่เป็นอดีตว่า “เป็นอดีต” ได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เมื่อมนสิการสภาวธรรมที่เป็นอนาคตว่า “เป็นอนาคต” ย่อมมนสิการ
สภาวธรรมที่เป็นอดีตว่า “เป็นอดีต” ได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. มีการประชุมแห่งผัสสะ ๒ อย่าง ฯลฯ จิต ๒ ดวงใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เมื่อมนสิการสภาวธรรมที่เป็นอนาคตว่า “เป็นอนาคต” ย่อมมนสิการ
สภาวธรรมที่เป็นปัจจุบันว่า “เป็นปัจจุบัน” ได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เมื่อมนสิการสภาวธรรมที่เป็นอนาคตว่า “เป็นอนาคต” ย่อมมนสิการ
สภาวธรรมที่เป็นปัจจุบันว่า “เป็นปัจจุบัน” ได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. มีการประชุมแห่งผัสสะ ๒ อย่าง ฯลฯ จิต ๒ ดวงใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๗๙๖ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๖. โสฬสมวรรค] ๔. อธิคัยหมนสิการกถา (๑๕๙)
สก. เมื่อมนสิการสภาวธรรมที่เป็นอนาคตว่า “เป็นอนาคต” ย่อมมนสิการ
สภาวธรรมที่เป็นอดีตว่า “เป็นอดีต” มนสิการสภาวธรรมที่เป็นปัจจุบันว่า “เป็น
ปัจจุบัน” ได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เมื่อมนสิการสภาวธรรมที่เป็นอนาคตว่า “เป็นอนาคต” ย่อมมนสิการ
สภาวธรรมที่เป็นอดีตว่า “เป็นอดีต” มนสิการสภาวธรรมที่เป็นปัจจุบันว่า “เป็น
ปัจจุบัน” ได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. มีการประชุมแห่งผัสสะ ๓ อย่าง ฯลฯ จิต ๓ ดวงใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๗๕๒] สก. เมื่อมนสิการสภาวธรรมที่เป็นปัจจุบันว่า “เป็นปัจจุบัน” ย่อม
มนสิการสภาวธรรมที่เป็นอดีตว่า “เป็นอดีต” ได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เมื่อมนสิการสภาวธรรมที่เป็นปัจจุบันว่า “เป็นปัจจุบัน” ย่อมมนสิการ
สภาวธรรมที่เป็นอดีตว่า “เป็นอดีต” ได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. มีการประชุมแห่งผัสสะ ๒ อย่าง ฯลฯ จิต ๒ ดวงใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เมื่อมนสิการสภาวธรรมที่เป็นปัจจุบันว่า “เป็นปัจจุบัน” ย่อมมนสิการ
สภาวธรรมที่เป็นอนาคตว่า “เป็นอนาคต” ได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๗๙๗ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๖. โสฬสมวรรค] ๔. อธิคัยหมนสิการกถา (๑๕๙)
สก. เมื่อมนสิการสภาวธรรมที่เป็นปัจจุบันว่า “เป็นปัจจุบัน” ย่อมมนสิการ
สภาวธรรมที่เป็นอนาคตว่า “เป็นอนาคต” ได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. มีการประชุมแห่งผัสสะ ๒ อย่าง ฯลฯ จิต ๒ ดวงใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เมื่อมนสิการสภาวธรรมที่เป็นปัจจุบันว่า “เป็นปัจจุบัน” ย่อมมนสิการ
สภาวธรรมที่เป็นอดีตว่า “เป็นอดีต” มนสิการสภาวธรรมที่เป็นอนาคตว่า “เป็น
อนาคต” ได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เมื่อมนสิการสภาวธรรมที่เป็นปัจจุบันว่า “เป็นปัจจุบัน” ย่อมมนสิการ
สภาวธรรมที่เป็นอดีตว่า “เป็นอดีต” มนสิการสภาวธรรมที่เป็นอนาคตว่า “เป็น
อนาคต” ได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. มีการประชุมแห่งผัสสะ ๓ อย่าง ฯลฯ จิต ๓ ดวงใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๗๕๓] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “บุคคลมนสิการรวบยอด” ได้ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า
“เมื่อใด อริยสาวกพิจารณาเห็นด้วยปัญญา๑ว่า
สังขารทั้งหลายทั้งปวงไม่เที่ยง
เมื่อนั้น ย่อมหน่ายในทุกข์
นั่นเป็นทางแห่งความบริสุทธิ์
เมื่อใด อริยสาวกพิจารณาเห็นด้วยปัญญาว่า

เชิงอรรถ :
๑ เห็นด้วยปัญญา หมายถึงเห็นด้วยวิปัสสนาปัญญา (ขุ.ธ.อ. ๗/๕๖)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๗๙๘ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๖. โสฬสมวรรค] ๕. รูปังเหตูติกถา (๑๖๐)
สังขารทั้งหลายทั้งปวงเป็นทุกข์
เมื่อนั้น ย่อมหน่ายในทุกข์
นั่นเป็นทางแห่งความบริสุทธิ์
เมื่อใด อริยสาวกพิจารณาเห็นด้วยปัญญาว่า
ธรรมทั้งหลายทั้งปวงเป็นอนัตตา
เมื่อนั้น ย่อมหน่ายในทุกข์
นั่นเป็นทางแห่งความบริสุทธิ์” ๑
มีอยู่จริงมิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. ดังนั้น บุคคลจึงมนสิการรวบยอดได้
อธิคัยหมนสิการกถา จบ

๕. รูปังเหตูติกถา (๑๖๐)
ว่าด้วยรูปเป็นเหตุ
[๗๕๔] สก. รูปเป็นเหตุใช่ไหม
ปร.๒ ใช่๓
สก. อโลภะเป็นเหตุใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. อโทสะเป็นเหตุ ฯลฯ อโมหะ ฯลฯ โลภะ ฯลฯ โทสะ ฯลฯ
โมหะเป็นเหตุใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ ขุ.ธ. (แปล) ๒๕/๒๗๗-๒๗๙/๑๑๘
๒ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอุตตราปถกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๗๕๔-๗๕๖/๒๘๖-๒๘๗)
๓ เพราะมีความเห็นว่า รูปสามารถเป็นเหตุให้แก่รูปได้ เช่น มหาภูตรูป ๔ ชื่อว่าเป็นเหตุให้แก่อุปาทายรูปได้
(อภิ.ปญฺจ.อ. ๗๕๔-๗๕๖/๒๘๖-๒๘๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๗๙๙ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๖. โสฬสมวรรค] ๕. รูปังเหตูติกถา (๑๖๐)
สก. รูปเป็นเหตุใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. รูปรับรู้อารมณ์ได้ มีความนึกถึง ฯลฯ มีความตั้งใจใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. รูปรับรู้อารมณ์ไม่ได้ ไม่มีความนึกถึง ฯลฯ ไม่มีความตั้งใจมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากรูปรับรู้อารมณ์ไม่ได้ ไม่มีความนึกถึง ฯลฯ ไม่มีความตั้งใจ
ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “รูปเป็นเหตุ”
[๗๕๕] สก. อโลภะเป็นเหตุ รับรู้อารมณ์ได้ มีความนึกถึง ฯลฯ มีความ
ตั้งใจใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. รูปเป็นเหตุ รับรู้อารมณ์ได้ มีความนึกถึง ฯลฯ มีความตั้งใจใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. อโทสะเป็นเหตุ ฯลฯ อโมหะ ฯลฯ โลภะ ฯลฯ โทสะ ฯลฯ
โมหะเป็นเหตุ รับรู้อารมณ์ได้ มีความนึกถึง ฯลฯ มีความตั้งใจใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. รูปเป็นเหตุ รับรู้อารมณ์ได้ มีความนึกถึง ฯลฯ มีความตั้งใจใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. รูปเป็นเหตุ แต่รับรู้อารมณ์ไม่ได้ ไม่มีความนึกถึง ฯลฯ ไม่มีความ
ตั้งใจใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. อโลภะเป็นเหตุ แต่รับรู้อารมณ์ไม่ได้ ไม่มีความนึกถึง ฯลฯ ไม่มี
ความตั้งใจใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๘๐๐ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๖. โสฬสมวรรค] ๖. รูปังสเหตุกันติกถา (๑๖๑)
สก. รูปเป็นเหตุ แต่รับรู้อารมณ์ไม่ได้ ไม่มีความนึกถึง ฯลฯ ไม่มีความ
ตั้งใจใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. อโทสะเป็นเหตุ ฯลฯ อโมหะ ฯลฯ โลภะ ฯลฯ โทสะ ฯลฯ
โมหะเป็นเหตุ แต่รับรู้อารมณ์ไม่ได้ ไม่มีความนึกถึง ฯลฯ ไม่มีความตั้งใจใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๗๕๖] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “รูปเป็นเหตุ” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. มหาภูตรูปเป็นเหตุ โดยเป็นที่อาศัยแห่งอุปาทายรูปมิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. หากมหาภูตรูปเป็นเหตุโดยเป็นที่อาศัยแห่งอุปาทายรูป ดังนั้น ท่าน
จึงควรยอมรับว่า “รูปเป็นเหตุ”
รูปังเหตูติกถา จบ

๖. รูปังสเหตุกันติกถา (๑๖๑)
ว่าด้วยรูปมีเหตุ
[๗๕๗] สก. รูปมีเหตุ๑ใช่ไหม
ปร.๒ ใช่
สก. รูปมีอโลภเหตุใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

เชิงอรรถ :
๑ เหตุ มี ๒ อย่าง คือ (๑) สัมปยุตตเหตุ (๒) ปัจจยเหตุ ในที่นี้ปรวาทีไม่ได้แยกแยะเหตุเป็น ๒ อย่าง
แต่ใช้รวม ๆ กัน (อภิ.ปญฺจ.อ. ๗๕๔-๗๕๖/๒๘๖-๒๘๗)
๒ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอุตตราปถกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๗๕๔-๗๕๖/๒๘๖-๒๘๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๘๐๑ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๖. โสฬสมวรรค] ๖. รูปังสเหตุกันติกถา (๑๖๑)
สก. รูปมีเหตุโดยเหตุคืออโทสะ ฯลฯ โดยเหตุคืออโมหะ ฯลฯ โดยเหตุ
คือโลภะ ฯลฯ โดยเหตุคือโทสะ ฯลฯ โดยเหตุคือโมหะใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. รูปมีเหตุใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. รูปรับรู้อารมณ์ได้ มีความนึกถึง ฯลฯ มีความตั้งใจใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. รูปรับรู้อารมณ์ไม่ได้ ไม่มีความนึกถึง ฯลฯ ไม่มีความตั้งใจมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากรูปรับรู้อารมณ์ไม่ได้ ไม่มีความนึกถึง ฯลฯ ไม่มีความตั้งใจ
ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “รูปมีเหตุ”
[๗๕๘] สก. อโลภะมีเหตุ รับรู้อารมณ์ได้ มีความนึกถึง ฯลฯ
มีความตั้งใจใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. รูปมีเหตุ รับรู้อารมณ์ได้ มีความนึกถึง ฯลฯ มีความตั้งใจใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. อโทสะเป็นไปกับเหตุ ฯลฯ อโมหะ สัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา
โลภะ โทสะ โมหะ มานะ ทิฏฐิ วิจิกิจฉา ถีนะ อุทธัจจะ อหิริกะ อโนตตัปปะ มีเหตุ
รับรู้อารมณ์ได้ มีความนึกถึง ฯลฯ มีความตั้งใจใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. รูปมีเหตุ รับรู้อารมณ์ได้ มีความนึกถึง ฯลฯ มีความตั้งใจใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๘๐๒ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๖. โสฬสมวรรค] ๖. รูปังสเหตุกันติกถา (๑๖๑)
สก. รูปมีเหตุ แต่รับรู้อารมณ์ไม่ได้ ไม่มีความนึกถึง ฯลฯ ไม่มีความตั้งใจ
ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. อโลภะมีเหตุ แต่รับรู้อารมณ์ไม่ได้ ไม่มีความนึกถึง ฯลฯ ไม่มีความ
ตั้งใจใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. รูปมีเหตุ แต่รับรู้อารมณ์ไม่ได้ ไม่มีความนึกถึง ฯลฯ ไม่มีความตั้งใจ
ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. อโทสะมีเหตุ ฯลฯ อโนตตัปปะมีเหตุ แต่รับรู้อารมณ์ไม่ได้ ไม่มี
ความนึกถึง ฯลฯ ไม่มีความตั้งใจใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๗๕๙] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “รูปมีเหตุ” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. รูปมีปัจจัยมิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. หากรูปมีปัจจัย ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “รูปมีเหตุ”

รูปังสเหตุกันติกถา จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๘๐๓ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๖. โสฬสมวรรค] ๗. รูปังกุสลากุสลันติกถา (๑๖๒)
๗. รูปังกุสลากุสลันติกถา (๑๖๒)
ว่าด้วยรูปเป็นกุศลและอกุศล
[๗๖๐] สก. รูปเป็นกุศลใช่ไหม
ปร.๑ ใช่๒
สก. รูปรับรู้อารมณ์ได้ มีความนึกถึง ฯลฯ มีความตั้งใจใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. รูปรับรู้อารมณ์ไม่ได้ ไม่มีความนึกถึง ฯลฯ ไม่มีความตั้งใจใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. หากรูปรับรู้อารมณ์ไม่ได้ ไม่มีความนึกถึง ฯลฯ ไม่มีความตั้งใจ
ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “รูปเป็นกุศล”
[๗๖๑] สก. อโลภะเป็นกุศล รับรู้อารมณ์ได้ มีความนึกถึง ฯลฯ มีความ
ตั้งใจใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. รูปเป็นกุศล รับรู้อารมณ์ได้ มีความนึกถึง ฯลฯ มีความตั้งใจใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. อโทสะเป็นกุศล ฯลฯ อโมหะ ฯลฯ สัทธา ฯลฯ วิริยะ ฯลฯ สติ ฯลฯ
สมาธิ ฯลฯ ปัญญาเป็นกุศล รับรู้อารมณ์ได้ มีความนึกถึง ฯลฯ มีความตั้งใจใช่ไหม
ปร. ใช่

เชิงอรรถ :
๑ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายมหิสาสกะ และนิกายสมิติยะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๗๖๐-๗๖๔/๒๘๗)
๒ เพราะมีความเห็นว่า รูปเป็นทั้งกุศลและอกุศล ซึ่งต่างกับความเห็นของสกวาทีที่เห็นว่า รูปเป็นอัพยากฤต
(อภิ.ปญฺจ.อ. ๗๖๐-๗๖๔/๒๘๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๘๐๔ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๖. โสฬสมวรรค] ๗. รูปังกุสลากุสลันติกถา (๑๖๒)
สก. รูปเป็นกุศล รับรู้อารมณ์ได้ มีความนึกถึง ฯลฯ มีความตั้งใจใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. รูปเป็นกุศล แต่รับรู้อารมณ์ไม่ได้ ไม่มีความนึกถึง ฯลฯ ไม่มีความ
ตั้งใจใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. อโลภะเป็นกุศล แต่รับรู้อารมณ์ไม่ได้ ไม่มีความนึกถึง ฯลฯ ไม่มี
ความตั้งใจใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. รูปเป็นกุศล แต่รับรู้อารมณ์ไม่ได้ ไม่มีความนึกถึง ฯลฯ ไม่มีความ
ตั้งใจใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. อโทสะเป็นกุศล ฯลฯ ปัญญาเป็นกุศล แต่รับรู้อารมณ์ไม่ได้
ไม่มีความนึกถึง ฯลฯ ไม่มีความตั้งใจใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๗๖๒] สก. รูปเป็นอกุศลใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. รูปรับรู้อารมณ์ได้ มีความนึกถึง ฯลฯ มีความตั้งใจใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. รูปรับรู้อารมณ์ไม่ได้ ไม่มีความนึกถึง ฯลฯ ไม่มีความตั้งใจมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากรูปรับรู้อารมณ์ไม่ได้ ไม่มีความนึกถึง ฯลฯ ไม่มีความตั้งใจ
ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “รูปเป็นอกุศล ฯลฯ”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๘๐๕ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๖. โสฬสมวรรค] ๗. รูปังกุสลากุสลันติกถา (๑๖๒)
[๗๖๓] สก. โลภะเป็นอกุศล รับรู้อารมณ์ได้ มีความนึกถึง ฯลฯ มีความ
ตั้งใจใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. รูปเป็นอกุศล รับรู้อารมณ์ได้ มีความนึกถึง ฯลฯ มีความตั้งใจใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. โทสะเป็นอกุศล ฯลฯ โมหะ ฯลฯ มานะ ฯลฯ อโนตตัปปะ เป็นอกุศล
รับรู้อารมณ์ได้ มีความนึกถึง ฯลฯ มีความตั้งใจใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. รูปเป็นอกุศล รับรู้อารมณ์ได้ มีความนึกถึง ฯลฯ มีความตั้งใจใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. รูปเป็นอกุศล รับรู้อารมณ์ไม่ได้ ไม่มีความนึกถึง ฯลฯ ไม่มีความตั้ง
ใจใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. โลภะเป็นอกุศล รับรู้อารมณ์ไม่ได้ ไม่มีความนึกถึง ฯลฯ ไม่มีความ
ตั้งใจใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. รูปเป็นอกุศล รับรู้อารมณ์ไม่ได้ ไม่มีความนึกถึง ฯลฯ ไม่มีความตั้ง
ใจใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. โทสะเป็นอกุศล ฯลฯ โมหะ ฯลฯ มานะ ฯลฯ อโนตตัปปะ เป็นอกุศล
รับรู้อารมณ์ไม่ได้ ไม่มีความนึกถึง ฯลฯ ไม่มีความตั้งใจใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๘๐๖ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๖. โสฬสมวรรค] ๘. รูปังวิปาโกติกถา (๑๖๓)
[๗๖๔] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “รูปเป็นกุศลก็มี เป็นอกุศลก็มี” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. กายกรรม วจีกรรม เป็นกุศลก็มี เป็นอกุศลก็มีมิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. หากกายกรรม วจีกรรม เป็นกุศลก็มี เป็นอกุศลก็มี ดังนั้น ท่านจึง
ควรยอมรับว่า “รูปเป็นกุศลก็มี เป็นอกุศลก็มี”
รูปังกุสลากุสลันติกถา จบ

๘. รูปังวิปาโกติกถา (๑๖๓)
ว่าด้วยรูปเป็นวิบาก
[๗๖๕] สก. รูปเป็นวิบากใช่ไหม
ปร.๑ ใช่๒
สก. รูปมีสุขเวทนา มีทุกขเวทนา มีอทุกขมสุขเวทนา สัมปยุตด้วยสุขเวทนา
สัมปยุตด้วยทุกขเวทนา สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา สัมปยุตด้วยผัสสะ ฯลฯ
สัมปยุตด้วยจิต รับรู้อารมณ์ได้ มีความนึกถึง ฯลฯ มีความตั้งใจใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. รูปไม่มีสุขเวทนา ไม่มีทุกขเวทนา ฯลฯ รับรู้อารมณ์ไม่ได้ ไม่มีความ
นึกถึง ฯลฯ ไม่มีความตั้งใจมิใช่หรือ
ปร. ใช่

เชิงอรรถ :
๑ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอันธกะและนิกายสมิติยะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๗๖๕-๗๖๘/๒๘๗-๒๘๘)
๒ เพราะมีความเห็นว่า กัมมชรูป(รูปที่เกิดจากกรรม) ก็เรียกว่าวิบากได้ เหมือนกับที่เรียกจิตที่เป็นผลของ
กรรมว่าวิบากจิต (อภิ.ปญฺจ.อ. ๗๖๕-๗๖๘/๒๘๗-๒๘๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๘๐๗ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๖. โสฬสมวรรค] ๘. รูปังวิปาโกติกถา (๑๖๓)
สก. หากรูปไม่มีสุขเวทนา ไม่มีทุกขเวทนา ฯลฯ รับรู้อารมณ์ไม่ได้ ไม่มี
ความนึกถึง ฯลฯ ไม่มีความตั้งใจ ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “รูปเป็นวิบาก”
[๗๖๖] สก. ผัสสะเป็นวิบาก ผัสสะมีสุขเวทนา มีทุกขเวทนา ฯลฯ รับรู้
อารมณ์ได้ มีความนึกถึง ฯลฯ มีความตั้งใจใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. รูปเป็นวิบาก มีสุขเวทนา มีทุกขเวทนา ฯลฯ รับรู้อารมณ์ได้ มี
ความนึกถึง ฯลฯ มีความตั้งใจใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. รูปเป็นวิบาก ไม่มีสุขเวทนา ไม่มีทุกขเวทนา ฯลฯ รับรู้อารมณ์ไม่ได้
ไม่มีความนึกถึง ฯลฯ ไม่มีความตั้งใจใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ผัสสะเป็นวิบาก ไม่มีสุขเวทนา ไม่มีทุกขเวทนา ฯลฯ รับรู้อารมณ์
ไม่ได้ ไม่มีความนึกถึง ฯลฯ ไม่มีความตั้งใจใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๗๖๗] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “รูปเป็นวิบาก” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. สภาวธรรมคือจิตและเจตสิกที่เกิดขึ้นเพราะได้มีการทำกรรมไว้ เป็นวิบาก
มิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. หากสภาวธรรมคือจิตและเจตสิกที่เกิดขึ้นเพราะคนได้มีการทำกรรมไว้ จึง
เป็นวิบาก ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “รูปที่เกิดขึ้นเพราะได้มีการทำกรรมไว้
เป็นวิบาก”

รูปังวิปาโกติกถา จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๘๐๘ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๖. โสฬสมวรรค] ๙. รูปังรูปาวจรารูปาวจรันติกถา (๑๖๔)
๙. รูปังรูปาวจรารูปาวจรันติกถา (๑๖๔)
ว่าด้วยรูปเป็นรูปาวจรและอรูปาวจร
[๗๖๘] สก. รูปที่เป็นรูปาวจรมีอยู่ใช่ไหม
ปร.๑ ใช่๒
สก. รูปเป็นเครื่องแสวงหาสมาบัติ เป็นเครื่องแสวงหาอุบัติ เป็นเครื่องอยู่
เป็นสุขในปัจจุบัน สหรคต เกิดร่วม ระคน สัมปยุต เกิดพร้อมกัน ดับพร้อมกัน
มีวัตถุอย่างเดียวกัน มีอารมณ์อย่างเดียวกันกับจิตดวงที่เป็นเครื่องแสวงหาสมาบัติ
ดวงที่เป็นเครื่องแสวงหาอุบัติ ดวงที่เป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบันใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. รูปไม่เป็นเครื่องแสวงหาสมาบัติ ไม่เป็นเครื่องแสวงหาอุบัติ ไม่เป็น
เครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน สหรคต เกิดร่วม ระคน สัมปยุต เกิดพร้อมกัน ดับ
พร้อมกัน มีวัตถุอย่างเดียวกัน มีอารมณ์อย่างเดียวกันกับจิตดวงที่ไม่เป็นเครื่อง
แสวงหาสมาบัติ ดวงที่แสวงหาอุบัติ ดวงที่ไม่เป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบันมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากรูปไม่เป็นเครื่องแสวงหาสมาบัติ ไม่เป็นเครื่องแสวงหาอุบัติ ไม่
เป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน ฯลฯ มีอารมณ์อย่างเดียวกันกับจิตดวงที่ไม่เป็น
เครื่องแสวงหาสมาบัติ ฯลฯ ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “รูปที่เป็นรูปาวจรมีอยู่”
[๗๖๙] สก. รูปเป็นอรูปาวจรมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่

เชิงอรรถ :
๑ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอันธกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๗๖๘-๗๗๐/๒๘๘)
๒ เพราะมีความเห็นว่า รูปใดเกิดเพราะกรรมอันเป็นส่วนกามาวจร รูปนั้นก็เป็นกามาวจร รูปใดเกิดเพราะ
กรรมอันเป็นส่วนรูปาวจรและอรูปาวจร รูปนั้นก็เป็นรูปาวจรและอรูปาวจร ซึ่งต่างกับความเห็นของ
สกวาทีที่เห็นว่า รูปทั้งหมดเป็นกามาวจร (อภิ.ปญฺจ.อ. ๗๖๘-๗๗๐/๒๘๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๘๐๙ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๖. โสฬสมวรรค] ๙. รูปังรูปาวจรารูปาวจรันติกถา (๑๖๔)
สก. รูปเป็นเครื่องแสวงหาสมาบัติ เป็นเครื่องแสวงหาอุบัติ เป็นเครื่องอยู่
เป็นสุขในปัจจุบัน สหรคต เกิดร่วม ระคน สัมปยุต เกิดพร้อมกัน ดับพร้อมกัน
มีวัตถุอย่างเดียวกัน มีอารมณ์อย่างเดียวกันกับจิตดวงที่เป็นเครื่องแสวงหาสมาบัติ
ดวงที่เป็นเครื่องแสวงหาอุบัติ ดวงที่เป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบันใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. รูปไม่เป็นเครื่องแสวงหาสมาบัติ ไม่เป็นเครื่องแสวงหาอุบัติ ไม่เป็น
เครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน ฯลฯ มีอารมณ์อย่างเดียวกันกับจิตดวงที่ไม่เป็นเครื่อง
แสวงหาสมาบัติ ฯลฯ มิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากรูปไม่เป็นเครื่องแสวงหาสมาบัติ ไม่เป็นเครื่องแสวงหาอุบัติ ฯลฯ
มีวัตถุอย่างเดียวกัน มีอารมณ์อย่างเดียวกัน ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า
“รูปเป็นอรูปาวจรมีอยู่”
[๗๗๐] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “รูปเป็นรูปาวจรก็มี เป็นอรูปาวจรก็มี” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. รูปชื่อว่าเป็นกามาวจร เพราะบุคคลได้ทำกรรมที่เป็นกามาวจรไว้มิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. หากรูปชื่อว่าเป็นกามาวจร เพราะบุคคลได้ทำกรรมที่เป็นกามาวจรไว้
ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “รูปชื่อว่าเป็นรูปาวจร เพราะบุคคลได้ทำกรรมที่
เป็นรูปาวจรไว้ รูปชื่อว่าเป็นอรูปาวจร เพราะบุคคลได้ทำกรรมที่เป็นอรูปาวจรไว้”

รูปังรูปาวจรารูปาวจรันติกถา จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๘๑๐ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๖. โสฬสมวรรค] ๑๐. รูปราโครูปธาตุปริยาปันโนติอาทิกถา (๑๖๕)
๑๐. รูปราโครูปธาตุปริยาปันโนติอาทิกถา (๑๖๕)
ว่าด้วยรูปราคะนับเนื่องในรูปธาตุ เป็นต้น
[๗๗๑] สก. รูปราคะนับเนื่องในรูปธาตุใช่ไหม
ปร.๑ ใช่๒
สก. รูปราคะเป็นเครื่องแสวงหาสมาบัติ เป็นเครื่องแสวงหาอุบัติ เป็น
เครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน สหรคต ระคน สัมปยุต เกิดพร้อมกัน ดับพร้อมกัน
มีวัตถุอย่างเดียวกัน มีอารมณ์อย่างเดียวกันกับจิตดวงที่เป็นเครื่องแสวงหาสมาบัติ
ดวงที่เป็นเครื่องแสวงหาอุบัติ ดวงที่เป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบันใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. รูปราคะไม่เป็นเครื่องแสวงหาสมาบัติ ไม่เป็นเครื่องแสวงหาอุบัติ ไม่
เป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน ฯลฯ มีวัตถุอย่างเดียวกัน มีอารมณ์อย่าง
เดียวกันกับจิตดวงที่ไม่เป็นเครื่องแสวงหาสมาบัติ ฯลฯ มิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. รูปราคะไม่เป็นเครื่องแสวงหาสมาบัติ ไม่เป็นเครื่องแสวงหาอุบัติ
ไม่เป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน ฯลฯ มีวัตถุอย่างเดียวกัน มีอารมณ์อย่าง
เดียวกันกับจิตดวงที่ไม่เป็นเครื่องแสวงหาสมาบัติ ฯลฯ ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า
“รูปราคะนับเนื่องในรูปธาตุ”
[๗๗๒] สก. รูปราคะนับเนื่องในรูปธาตุใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สัททราคะนับเนื่องในสัททธาตุใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

เชิงอรรถ :
๑ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอันธกะและนิกายสมิติยะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๗๗๑/๒๘๘-๒๘๙)
๒ เพราะมีความเห็นว่า รูปราคะจัดเข้าในรูปธาตุ ส่วนอรูปราคะจัดเข้าในอรูปธาตุ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๗๗๑/
๒๘๘-๒๘๙)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๘๑๑ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๖. โสฬสมวรรค] ๑๐. รูปราโครูปธาตุปริยาปันโนติอาทิกถา (๑๖๕)
สก. รูปราคะนับเนื่องในรูปธาตุใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. คันธราคะ ฯลฯ รสราคะ ฯลฯ โผฏฐัพพราคะ นับเนื่องในโผฏฐัพพธาตุ
ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สัททราคะ ท่านไม่ยอมรับว่า “นับเนื่องในสัททธาตุ” ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. รูปราคะ ท่านไม่ยอมรับว่า “นับเนื่องในรูปธาตุ” ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. คันธราคะ ฯลฯ รสราคะ ฯลฯ โผฏฐัพพราคะ ท่านไม่ยอมรับว่า
“นับเนื่องในโผฏฐัพพธาตุ” ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. รูปราคะ ท่านไม่ยอมรับว่า “นับเนื่องในรูปธาตุ” ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๗๗๓] สก. อรูปราคะนับเนื่องในอรูปธาตุใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. อรูปราคะ ท่านไม่ยอมรับว่า “นับเนื่องในอรูปธาตุ” ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. อรูปราคะนับเนื่องในอรูปธาตุใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. อรูปราคะเป็นเครื่องแสวงหาสมาบัติ เป็นเครื่องแสวงหาอุบัติ เป็น
เครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน สหรคต เกิดร่วม ระคน สัมปยุต เกิดพร้อมกัน
ดับพร้อมกัน มีวัตถุอย่างเดียวกัน มีอารมณ์อย่างเดียวกันกับจิตดวงที่เป็นเครื่อง
แสวงหาสมาบัติ ดวงที่เป็นเครื่องแสวงหาอุบัติ ดวงที่เป็นเครื่องอยู่เป็นสุขใน
ปัจจุบันใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๘๑๒ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๖. โสฬสมวรรค] ๑๐. รูปราโครูปธาตุปริยาปันโนติอาทิกถา (๑๖๕)
สก. อรูปราคะไม่เป็นเครื่องแสวงหาสมาบัติ ไม่เป็นเครื่องแสวงหาอุบัติ ไม่
เป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน ฯลฯ มีวัตถุเป็นอันเดียวกัน มีอารมณ์เป็นอันเดียว
กันกับจิตดวงที่ไม่เป็นเครื่องแสวงหาสมาบัติ ฯลฯ มิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากอรูปราคะไม่เป็นเครื่องแสวงหาสมาบัติ ไม่เป็นเครื่องแสวงหาอุบัติ
ไม่เป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน สหรคต เกิดร่วม ระคน สัมปยุต เกิดพร้อมกัน
ดับพร้อมกัน มีวัตถุอย่างเดียวกัน มีอารมณ์อย่างเดียวกันกับจิตดวงที่ไม่เป็น
เครื่องแสวงหาสมาบัติ ดวงที่ไม่เป็นเครื่องแสวงหาอุบัติ ดวงที่ไม่เป็นเครื่องอยู่เป็น
สุขในปัจจุบัน ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “อรูปราคะนับเนื่องในอรูปธาตุ”
[๗๗๔] สก. อรูปราคะนับเนื่องในอรูปธาตุใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สัททราคะนับเนื่องในสัททธาตุใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. อรูปราคะนับเนื่องในอรูปธาตุใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. คันธราคะ ฯลฯ รสราคะ ฯลฯ โผฏฐัพพราคะ นับเนื่องในโผฏฐัพพธาตุ
ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สัททราคะ ท่านไม่ยอมรับว่า “นับเนื่องในสัททธาตุ” ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. อรูปราคะ ท่านไม่ยอมรับว่า “นับเนื่องในอรูปธาตุ” ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๘๑๓ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๖. โสฬสมวรรค] รวมกถาที่มีในวรรค
สก. คันธราคะ ฯลฯ รสราคะ ฯลฯ โผฏฐัพพราคะ ท่านไม่ยอมรับว่า
“นับเนื่องในโผฏฐัพพธาตุ” ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. อรูปราคะ ท่านไม่ยอมรับว่า “นับเนื่องในอรูปธาตุ” ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๗๗๕] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “รูปราคะนับเนื่องในรูปธาตุ อรูปราคะนับเนื่อง
ในอรูปธาตุ” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. กามราคะนับเนื่องในกามธาตุมิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. หากกามราคะนับเนื่องในกามธาตุ ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า
“รูปราคะ นับเนื่องในรูปธาตุ อรูปราคะนับเนื่องในอรูปธาตุ”
รูปราโครูปธาตุปริยาปันโนติอาทิกถา จบ
โสฬสมวรรค จบ

รวมกถาที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. นิคคหกถา ๒. ปัคคหกถา
๓. สุขานุปปทานกถา ๔. อธิคัยหมนสิการกถา
๕. รูปังเหตูติกถา ๖. รูปังสเหตุกันติกถา
๗. รูปังกุสลากุสลันติกถา ๘. รูปังวิปาโกติกถา
๙. รูปังรูปาวจรารูปาวจรันติกถา ๑๐. รูปราโครูปธาตุปริยาปันโนติ-
อาทิกถา


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๘๑๔ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๗. สัตตรสมวรรค] ๑. อัตถิอรหโตปุญญูปจโยติกถา (๑๖๖)
๑๗. สัตตรสมวรรค
๑. อัตถิอรหโตปุญญูปจโยติกถา (๑๖๖)
ว่าด้วยพระอรหันต์มีการสั่งสมบุญ
[๗๗๖] สก. พระอรหันต์มีการสั่งสมบุญใช่ไหม
ปร.๑ ใช่๒
สก. พระอรหันต์มีการสั่งสมบาปใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระอรหันต์ไม่มีการสั่งสมบาปใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระอรหันต์ไม่มีการสั่งสมบุญใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๗๗๗] สก. พระอรหันต์มีการสั่งสมบุญใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระอรหันต์สร้างสมปุญญาภิสังขาร อาเนญชาภิสังขาร ทำกรรมที่เป็น
ไปเพื่อคติ เพื่อภพ เพื่อความเป็นผู้มีอำนาจ เพื่อความเป็นใหญ่(ในแผ่นดิน)
เพื่อมีสมบัติมาก เพื่อมีบริวารมาก เพื่อความงามในหมู่เทพ เพื่อความงามใน
มนุษย์ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๗๗๘] สก. พระอรหันต์มีการสั่งสมบุญใช่ไหม
ปร. ใช่

เชิงอรรถ :
๑ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอันธกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๗๗๖-๗๗๙/๒๘๙)
๒ เพราะมีความเห็นว่า พระอรหันต์ก็ยังสั่งสมบุญอยู่ เช่น ให้ทานและไหว้พระเจดีย์เป็นต้น ซึ่งต่างกับ
ความเห็นของสกวาทีที่เห็นว่า พระอรหันต์เป็นผู้ละทั้งบุญและบาปได้แล้ว การกระทำเช่นนั้นไม่จัดเป็นการ
สั่งสมบุญ เป็นเพียงกิริยาไม่ก่อให้เกิดวิบาก (อภิ.ปญฺจ.อ. ๗๗๖-๗๗๙/๒๘๙)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๘๑๕ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๗. สัตตรสมวรรค] ๑. อัตถิอรหโตปุญญูปจโยติกถา (๑๖๖)
สก. พระอรหันต์ยังสั่งสมอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระอรหันต์ไม่สั่งสมใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระอรหันต์ละ ฯลฯ พระอรหันต์ยังยึดมั่น ฯลฯ พระอรหันต์ยัง
กำจัดอยู่ ฯลฯ พระอรหันต์ยังก่ออยู่ ฯลฯ พระอรหันต์ยังทำลายอยู่ ฯลฯ
พระอรหันต์ยังปรับปรุงอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระอรหันต์สั่งสมอยู่ก็มิใช่ ไม่สั่งสมอยู่ก็มิใช่ แต่เป็นผู้ไม่สั่งสมแล้ว
ดำรงอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. หากพระอรหันต์สั่งสมอยู่ก็มิใช่ ไม่สั่งสมอยู่ก็มิใช่ แต่เป็นผู้ไม่สั่งสม
แล้วดำรงอยู่ ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “พระอรหันต์มีการสั่งสมบุญ”
สก. พระอรหันต์ละอยู่ก็มิใช่ ยึดมั่นอยู่ก็มิใช่ แต่เป็นผู้ละแล้วดำรงอยู่ ...
กำจัดอยู่ก็มิใช่ ก่ออยู่ก็มิใช่ แต่เป็นผู้กำจัดแล้วดำรงอยู่ ... ทำลายอยู่ก็มิใช่
ปรับปรุงอยู่ก็มิใช่ แต่เป็นผู้ทำลายแล้วดำรงอยู่ มิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากพระอรหันต์ทำลายอยู่ก็มิใช่ ปรับปรุงอยู่ก็มิใช่ แต่เป็นผู้ทำลาย
แล้วดำรงอยู่ ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “พระอรหันต์มีการสั่งสมบุญ”
[๗๗๙] ปร. พระอรหันต์ไม่มีการสั่งสมบุญใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. พระอรหันต์ยังให้ทานใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. หากพระอรหันต์ยังให้ทาน ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “พระอรหันต์ไม่มี
การสั่งสมบุญ”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๘๑๖ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๗. สัตตรสมวรรค] ๒. นัตถิอรหโตอกาลมัจจูติกถา (๑๖๗)
ปร. พระอรหันต์ยังถวายจีวร ฯลฯ บิณฑบาต ฯลฯ เสนาสนะ ฯลฯ
คิลานปัจจัยเภสัชบริขาร ฯลฯ ของเคี้ยว ฯลฯ ของบริโภค ฯลฯ น้ำดื่ม ฯลฯ
ยังไหว้พระเจดีย์ ฯลฯ ยังยกดอกไม้ ฯลฯ ของหอม ฯลฯ เครื่องลูบไล้ขึ้นไว้
บนพระเจดีย์ ฯลฯ ยังทำประทักษิณพระเจดีย์ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. หากพระอรหันต์ยังทำประทักษิณพระเจดีย์ ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า
“พระอรหันต์ไม่มีการสั่งสมบุญ”
อัตถิอรหโตปุญญูปจโยติกถา จบ

๒. นัตถิอรหโตอกาลมัจจูติกถา (๑๖๗)
ว่าด้วยพระอรหันต์ไม่มีอกาลมรณะ
[๗๘๐] สก. พระอรหันต์ไม่มีอกาลมรณะ๑ ใช่ไหม
ปร.๒ ใช่๓
สก. ผู้ฆ่าพระอรหันต์ไม่มีใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ผู้ฆ่าพระอรหันต์มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระอรหันต์ไม่มีอกาลมรณะใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

เชิงอรรถ :
๑ อกาลมรณะ ในที่นี้หมายถึงการปรินิพพานในเวลาอันไม่สมควร
๒ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายราชคิริกะและนิกายสิทธัตถิกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๗๘๐/๒๙๐)
๓ เพราะมีความเห็นว่า พระอรหันต์จะต้องเสวยผลกรรมให้หมดก่อนจึงจะปรินิพพานได้ ฉะนั้น จึงไม่มีการ
ปรินิพพานภายในเวลาอันไม่สมควร ซึ่งต่างกับความเห็นของสกวาทีที่เห็นว่า พระอรหันต์ก็อาจ
ปรินิพพานในเวลาอันไม่สมควรได้ ถึงแม้ผลกรรมจะยังเหลืออยู่ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๗๘๐/๒๙๐)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๘๑๗ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๗. สัตตรสมวรรค] ๒. นัตถิอรหโตอกาลมัจจูติกถา (๑๖๗)
สก. พระอรหันต์ไม่มีอกาลมรณะใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลปลงชีวิตพระอรหันต์ได้เมื่อยังมีอายุ๑เหลืออยู่ หรือปลงชีวิตได้
เมื่อหมดอายุใช่ไหม
ปร. ปลงชีวิตได้เมื่อยังมีอายุเหลืออยู่
สก. หากบุคคลปลงชีวิตได้เมื่อยังมีอายุเหลืออยู่ ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า
“พระอรหันต์ไม่มีอกาลมรณะ”
สก. บุคคลปลงชีวิตพระอรหันต์ได้เมื่อหมดอายุ เพราะเหตุนั้น ผู้ฆ่าพระ
อรหันต์จึงไม่มีใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๗๘๑] สก. พระอรหันต์ไม่มีอกาลมรณะใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ยาพิษ ศัสตรา ไฟ ไม่พึงกล้ำกรายเข้าไปในร่างกายของพระอรหันต์
ได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ยาพิษ ศัสตรา ไฟ พึงกล้ำกรายเข้าไปในร่างกายของพระอรหันต์ได้
มิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากยาพิษ ศัสตรา ไฟ พึงกล้ำกรายเข้าไปในร่างกายของพระอรหันต์ได้
ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “พระอรหันต์ไม่มีอกาลมรณะ”
สก. ยาพิษ ศัสตรา ไฟ ไม่พึงกล้ำกรายเข้าไปในร่างกายของพระอรหันต์
ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ผู้ฆ่าพระอรหันต์ไม่มีใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

เชิงอรรถ :
๑ ดูเชิงอรรถที่ ๑ ข้อ ๖๒๑ หน้า ๖๗๙ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๘๑๘ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๗. สัตตรสมวรรค] ๓. สัพพมิทังกัมมโตติกถา (๑๖๘)
[๗๘๒] ปร. พระอรหันต์มีอกาลมรณะใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราจะไม่กล่าว
กรรมที่สัตว์มีเจตนาทำไว้ สั่งสมไว้ว่า สิ้นสุด เพราะยังไม่เสวยผล ก็ผลนั้นแล สัตว์
ต้องเสวยในอัตภาพนี้ ในอัตภาพถัดไป หรือในอัตภาพต่อ ๆ ไป” ๑ มีอยู่จริงมิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. ดังนั้น พระอรหันต์จึงไม่มีอกาลมรณะ
นัตถิอรหโตอกาลมัจจูติกถา จบ

๓. สัพพมิทังกัมมโตติกถา (๑๖๘)
ว่าด้วยสิ่งทั้งปวงนี้เป็นไปเพราะกรรม
[๗๘๓] สก. สิ่งทั้งปวง๒ นี้เป็นไปเพราะกรรมใช่ไหม
ปร.๓ ใช่๔
สก. แม้แต่กรรมเองก็เป็นไปเพราะกรรมใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สิ่งทั้งปวงนี้เป็นไปเพราะกรรมใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สิ่งทั้งปวงนี้เป็นไปเพราะเหตุที่ทำไว้ก่อนใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ องฺ.ทสก. (แปล) ๒๔/๒๑๗/๓๕๗
๒ สิ่งทั้งปวง ในที่นี้หมายถึงวัฏฏะคือกิเลส กรรม และวิบาก (อภิ.ปญฺจ.อ. ๗๘๓/๒๙๑)
๓ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายราชคิริกะและนิกายสิทธัตถิกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๗๘๓/๒๙๑)
๔ เพราะมีความเห็นว่า สิ่งทั้งปวงคือกัมมวัฏฏะ กิเลสวัฏฏะ และวิปากวัฏฏะเกิดขึ้นเพราะกรรมเท่านั้น
ซึ่งต่างกับความเห็นของสกวาทีที่เห็นว่า วิปากวัฏฏะเท่านั้นที่เกิดขึ้นเพราะกรรม (อภิ.ปญฺจ.อ. ๗๘๓/๒๙๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๘๑๙ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๗. สัตตรสมวรรค] ๓. สัพพมิทังกัมมโตติกถา (๑๖๘)
สก. สิ่งทั้งปวงนี้เป็นไปเพราะกรรมใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สิ่งทั้งปวงนี้เป็นไปเพราะวิบากของกรรมใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๗๘๔] สก. สิ่งทั้งปวงนี้เป็นไปเพราะวิบากของกรรมใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลพึงฆ่าสัตว์ เพราะวิบากของกรรมใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ปาณาติบาตมีผลใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. กรรมวิบากมีผลใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. กรรมวิบากไม่มีผลใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ปาณาติบาตไม่มีผลใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลพึงลักทรัพย์ ฯลฯ พูดเท็จ ฯลฯ พูดส่อเสียด ฯลฯ พูดคำหยาบ
ฯลฯ พูดเพ้อเจ้อ ฯลฯ ตัดช่องย่องเบา ฯลฯ ปล้นสะดม ฯลฯ ปล้นเรือนหลังเดียว
ฯลฯ ดักปล้นในทางเปลี่ยว ฯลฯ ผิดภรรยาผู้อื่น ฯลฯ ปล้นชาวบ้าน ฯลฯ
ปล้นชาวนิคม ฯลฯ พึงถวายทาน ฯลฯ จีวร ฯลฯ บิณฑบาต ฯลฯ เสนาสนะ
ฯลฯ คิลานปัจจัยเภสัชบริขาร เพราะวิบากของกรรมใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. คิลานปัจจัยเภสัชบริขารมีผลใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๘๒๐ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๗. สัตตรสมวรรค] ๓. สัพพมิทังกัมมโตติกถา (๑๖๘)
สก. กรรมวิบากมีผลใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. กรรมวิบากไม่มีผลใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. คิลานปัจจัยเภสัชบริขารไม่มีผลใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๗๘๕] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “สิ่งทั้งปวงนี้เป็นไปเพราะกรรม” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า
“สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม
หมู่สัตว์เป็นไปตามกรรม
สัตว์ทั้งหลายมีกรรมเป็นเครื่องผูกพัน
เปรียบเหมือนรถมีหมุดเป็นเครื่องตรึงไว้ แล่นไปอยู่ฉะนั้น๑
บุคคลได้เกียรติ ความสรรเสริญ
ความเสื่อม การถูกฆ่า และการถูกจองจำก็เพราะกรรม
บุคคลทราบชัดกรรมนั้นที่ทำให้ต่างกันได้
ไฉนเล่า จะพึงกล่าวว่ากรรมไม่มีในโลก”
มีอยู่จริงมิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. ดังนั้น สิ่งทั้งปวงนี้จึงเป็นไปเพราะกรรม

สัพพมิทังกัมมโตติกถา จบ

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ ม.ม. (แปล) ๑๓/๔๖๐/๕๘๑-๕๘๒, ขุ.สุ. (แปล) ๒๕/๖๖๐/๖๕๔

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๘๒๑ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๗. สัตตรสมวรรค] ๔. อินทริยพัทธกถา (๑๖๙)
๔. อินทริยพัทธกถา (๑๖๙)
ว่าด้วยสิ่งที่เนื่องด้วยอินทรีย์
[๗๘๖] สก. สิ่งที่เนื่องด้วยอินทรีย์เท่านั้นเป็นทุกข์๑ ใช่ไหม
ปร.๒ ใช่
สก. สิ่งที่เนื่องด้วยอินทรีย์เท่านั้นไม่เที่ยง ถูกปัจจัยปรุงแต่ง อาศัยปัจจัย
เกิดขึ้น มีความสิ้นไป เสื่อมไป คลายไป ดับไป แปรผันไปเป็นธรรมดาใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สิ่งที่ไม่เนื่องด้วยอินทรีย์ไม่เที่ยง ถูกปัจจัยปรุงแต่ง อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น
มีความสิ้นไป เสื่อมไป คลายไป ดับไป แปรผันไปเป็นธรรมดามิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากสิ่งที่ไม่เนื่องด้วยอินทรีย์ไม่เที่ยง ถูกปัจจัยปรุงแต่ง อาศัยปัจจัย
เกิดขึ้น มีความสิ้นไป เสื่อมไป คลายไป ดับไป แปรผันไปเป็นธรรมดา ท่านก็
ไม่ควรยอมรับว่า “สิ่งที่เนื่องด้วยอินทรีย์เท่านั้นเป็นทุกข์”
สก. สิ่งที่ไม่เนื่องด้วยอินทรีย์ไม่เที่ยง ถูกปัจจัยปรุงแต่ง อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น
ฯลฯ มีความแปรผันไปเป็นธรรมดา แต่สิ่งนั้นไม่เป็นทุกข์ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สิ่งที่เนื่องด้วยอินทรีย์ไม่เที่ยง ถูกปัจจัยปรุงแต่ง ฯลฯ มีความแปรผัน
ไปเป็นธรรมดา แต่สิ่งนั้นไม่เป็นทุกข์ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

เชิงอรรถ :
๑ ทุกข์ มี ๒ อย่าง คือ (๑) ทุกข์ที่เนื่องด้วยอินทรีย์ (สิ่งที่มีชีวิต) ที่เรียกว่าทุกข์ เพราะเป็นสภาวะที่สิ่งมีชีวิต
ทนได้ยาก (๒) ทุกข์ที่ไม่เนื่องด้วยอินทรีย์ (สิ่งที่ไม่มีชีวิต) ที่เรียกว่าทุกข์ เพราะตกอยู่ในสภาพที่ไม่ยั่งยืน
ในที่นี้ปรวาทีเห็นว่า ทุกข์ที่เนื่องด้วยอินทรีย์เท่านั้นจัดเป็นทุกข์ ซึ่งต่างกับความเห็นของสกวาทีที่เห็นว่า ทุกข์
ทั้งที่เนื่องด้วยอินทรีย์และไม่เนื่องด้วยอินทรีย์ จัดเป็นทุกข์ทั้งนั้น (อภิ.ปญฺจ.อ. ๗๘๖-๗๘๗/๒๙๒)
๒ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายเหตุวาท (อภิ.ปญฺจ.อ. ๗๘๖-๗๘๗/๒๙๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๘๒๒ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๗. สัตตรสมวรรค] ๔. อินทริยพัทธกถา (๑๖๙)
สก. สิ่งที่เนื่องด้วยอินทรีย์ไม่เที่ยง ถูกปัจจัยปรุงแต่ง ฯลฯ มีความแปรผัน
ไปเป็นธรรมดา แต่สิ่งนั้นเป็นทุกข์ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สิ่งที่ไม่เนื่องด้วยอินทรีย์ไม่เที่ยง ถูกปัจจัยปรุงแต่ง ฯลฯ มีความแปร
ผันไปเป็นธรรมดา แต่สิ่งนั้นเป็นทุกข์ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๗๘๗] สก. สิ่งที่เนื่องด้วยอินทรีย์เท่านั้นเป็นทุกข์ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งที่ไม่เนื่อง
ด้วยอินทรีย์ก็ไม่เที่ยง” มิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากพระผู้มีพระภาคตรัสว่า “สิ่งที่ไม่เที่ยงเป็นทุกข์ สิ่งที่ไม่เนื่องด้วย
อินทรีย์ไม่เที่ยง” ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “สิ่งที่เนื่องด้วยอินทรีย์เท่านั้นเป็นทุกข์”
[๗๘๘] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “สิ่งที่เนื่องด้วยอินทรีย์เท่านั้นเป็นทุกข์” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. บุคคลอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ในสำนักของพระผู้มีพระภาค เพื่อ
กำหนดรู้ทุกข์ที่ไม่เนื่องด้วยอินทรีย์ เหมือนกำหนดรู้ทุกข์ที่เนื่องด้วยอินทรีย์ใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. ทุกข์ที่ไม่เนื่องด้วยอินทรีย์ที่พระอริยะกำหนดรู้แล้ว ย่อมไม่เกิดขึ้นอีก
เหมือนทุกข์ที่เนื่องด้วยอินทรีย์ที่พระอริยะกำหนดรู้แล้วย่อมไม่เกิดขึ้นอีกใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. ดังนั้น สิ่งที่เนื่องด้วยอินทรีย์เท่านั้นจึงเป็นทุกข์

อินทริยพัทธกถา จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๘๒๓ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๗. สัตตรสมวรรค] ๕. ฐเปตวาอริยมัคคันติกถา (๑๗๐)
๕. ฐเปตวาอริยมัคคันติกถา (๑๗๐)
ว่าด้วยการยกเว้นอริยมรรค
[๗๘๙] สก. ยกเว้นอริยมรรค สังขารที่เหลือเป็นทุกข์ใช่ไหม
ปร.๑ ใช่๒
สก. แม้ทุกขสมุทัยก็เป็นทุกข์ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. แม้ทุกขสมุทัยก็เป็นทุกข์ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. อริยสัจมีเพียง ๓ อย่างเท่านั้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. อริยสัจมีเพียง ๓ อย่างเท่านั้นใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. อริยสัจ พระผู้มีพระภาคได้ตรัสไว้ ๔ อย่าง คือ (๑) ทุกข์ (๒) ทุกขสมุทัย
(๓) ทุกขนิโรธ (๔) ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทามิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากอริยสัจ พระผู้มีพระภาคได้ตรัสไว้ ๔ อย่าง คือ (๑) ทุกข์ (๒)
ทุกขสมุทัย (๓) ทุกขนิโรธ (๔) ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า
“อริยสัจมีเพียง ๓ อย่าง เท่านั้น”
สก. แม้ทุกขสมุทัยก็เป็นทุกข์ใช่ไหม
ปร. ใช่

เชิงอรรถ :
๑ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายเหตุกวาท (อภิ.ปญฺจ.อ. ๗๘๙-๗๙๐/๒๙๓)
๒ เพราะมีความเห็นว่า เนื่องจากที่อริยมรรค ท่านเรียกว่าทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ฉะนั้น อริยมรรค จึง
ไม่ชื่อว่าเป็นทุกข์ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๗๘๙-๗๙๐/๒๙๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๘๒๔ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๗. สัตตรสมวรรค] ๕. ฐเปตวาอริยมัคคันติกถา (๑๗๐)
สก. โดยความหมายว่าอย่างไร
ปร. โดยความหมายว่าไม่เที่ยง
สก. อริยมรรคไม่เที่ยงใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. อริยมรรคเป็นทุกข์ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั่น ฯลฯ
สก. อริยมรรคไม่เที่ยง แต่อริยมรรคนั้นไม่เป็นทุกข์ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ทุกขสมุทัยไม่เที่ยง แต่อริยมรรคนั้นไม่เป็นทุกข์ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ทุกขสมุทัยไม่เที่ยง แต่อริยมรรคนั้นเป็นทุกข์ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. อริยมรรคไม่เที่ยง แต่อริยมรรคนั้นเป็นทุกข์ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๗๙๐] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “ยกเว้นอริยมรรค สังขารที่เหลือเป็นทุกข์”
ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. อริยมรรคเป็นทุกขนิโรธคามินีปฏิปทามิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. หากอริยมรรคเป็นทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า
“ยกเว้นอริยมรรค สังขารที่เหลือเป็นทุกข์”

ฐเปตวาอริยมัคคันติกถา จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๘๒๕ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๗. สัตตรสมวรรค] ๖. นวัตตัพพังสังโฆทักขิณังปฏิคคัณหาตีติกถา (๑๗๑)
๖. นวัตตัพพังสังโฆทักขิณังปฏิคคัณหาตีติกถา (๑๗๑)
ว่าด้วยไม่ควรยอมรับว่าพระสงฆ์รับทักษิณา
[๗๙๑] สก. ท่านไม่ยอมรับว่า “พระสงฆ์รับทักษิณาได้” ใช่ไหม
ปร.๑ ใช่๒
สก. พระสงฆ์เป็นผู้ควรแก่ของที่เขานำมาถวาย ควรแก่ของต้อนรับ ควรแก่
ทักษิณา ควรแก่การทำอัญชลี เป็นเนื้อนาบุญอันยอดเยี่ยมของโลกใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. หากพระสงฆ์เป็นผู้ควรแก่ของที่เขานำมาถวาย ควรแก่ของต้อนรับ
ควรแก่ทักษิณา ควรแก่การทำอัญชลี เป็นเนื้อนาบุญอันยอดเยี่ยมของโลก ดังนั้น
ท่านจึงควรยอมรับว่า “พระสงฆ์รับทักษิณาได้”
สก. ท่านไม่ยอมรับว่า “พระสงฆ์รับทักษิณาได้” ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. อริยบุคคล ๔ คู่ คือ ๘ บุคคล พระผู้มีพระภาคตรัสว่า เป็นผู้ควร
แก่ทักษิณามิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากอริยบุคคล ๔ คู่ คือ ๘ บุคคล พระผู้มีพระภาคตรัสว่า เป็นผู้
ควรแก่ทักษิณา ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “พระสงฆ์รับทักษิณาได้”
สก. ท่านไม่ยอมรับว่า “พระสงฆ์รับทักษิณาได้” ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลบางพวกที่ถวายทานแด่พระสงฆ์มีอยู่มิใช่หรือ
ปร. ใช่

เชิงอรรถ :
๑ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายเวตุลลกะ (มหาปุญญวาที) (อภิ.ปญฺจ.อ. ๗๙๑-๗๙๒/๒๙๓-๒๙๔)
๒ เพราะมีความเห็นว่า ว่าโดยปรมัตถ์ มรรคและผลเท่านั้นชื่อว่าสงฆ์ ขึ้นชื่อว่าสงฆ์อื่นไปจากมรรคและผล
ย่อมไม่มี มรรคและผลย่อมรับอะไร ๆ ไม่ได้ ดังนั้น จึงไม่ควรกล่าวว่า พระสงฆ์รับทักษิณาได้ (อภิ.ปญฺจ.อ.
๗๙๑-๗๙๒/๒๙๓-๒๙๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๘๒๖ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๗. สัตตรสมวรรค] ๖. นวัตตัพพังสังโฆทักขิณังปฏิคคัณหาตีติกถา (๑๗๑)
สก. หากบุคคลบางพวกที่ถวายทานแด่พระสงฆ์มีอยู่ ดังนั้น ท่านจึงควร
ยอมรับว่า “พระสงฆ์รับทักษิณาได้”
สก. บุคคลบางพวกที่ถวายจีวร ฯลฯ บิณฑบาต ฯลฯ เสนาสนะ ฯลฯ
คิลานปัจจัยเภสัชบริขาร ฯลฯ ของเคี้ยว ฯลฯ ของบริโภค ฯลฯ น้ำดื่มแด่
พระสงฆ์มีอยู่มิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากบุคคลบางพวกที่ถวายน้ำดื่มแด่พระสงฆ์มีอยู่ ดังนั้น ท่านจึงควร
ยอมรับว่า “พระสงฆ์รับทักษิณาได้”
สก. ท่านไม่ยอมรับว่า “พระสงฆ์รับทักษิณาได้” ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า
“พระสงฆ์ผู้ถึงพร้อมด้วยสมาธิย่อมรับทักษิณาได้
เหมือนไฟรับการบูชา เหมือนแผ่นดินรับน้ำฝนจากเมฆ”
มีอยู่จริงมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. ดังนั้น พระสงฆ์จึงรับทักษิณาได้
[๗๙๒] ปร. พระสงฆ์รับทักษิณาได้ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. มรรครับได้ ผลก็รับได้ใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

นวัตตัพพังสังโฆทักขิณังปฏิคคัณหาตีติกถา จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๘๒๗ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๗. สัตตรสมวรรค] ๗. นวัตตัพพังสังโฆทักขิณังวิโสเธตีติกถา (๑๗๒)
๗. นวัตตัพพังสังโฆทักขิณังวิโสเธตีติกถา (๑๗๒)
ว่าด้วยไม่ควรยอมรับว่าพระสงฆ์ทำทักษิณาให้หมดจด
[๗๙๓] สก. ท่านไม่ยอมรับว่า “พระสงฆ์ทำทักษิณาให้หมดจดได้”๑ ใช่ไหม
ปร.๒ ใช่๓
สก. พระสงฆ์เป็นผู้ควรแก่ของที่เขานำมาถวาย ควรแก่ของต้อนรับ ควรแก่
ทักษิณา ควรแก่การทำอัญชลี เป็นเนื้อนาบุญอันยอดเยี่ยมของโลกมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากพระสงฆ์เป็นผู้ควรแก่ของที่เขานำมาถวาย ฯลฯ เป็นเนื้อนาบุญ
อันยอดเยี่ยมของโลก ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “พระสงฆ์ทำทักษิณาให้หมด
จดได้”
สก. ท่านไม่ยอมรับว่า “พระสงฆ์ทำทักษิณาให้หมดจดได้” ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. อริยบุคคล ๔ คู่ คือ ๘ บุคคล พระผู้มีพระภาคตรัสว่า เป็นผู้ควร
แก่ทักษิณามิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากอริยบุคคล ๔ คู่ คือ ๘ บุคคล พระผู้มีพระภาคตรัสว่า เป็นผู้
ควรแก่ทักษิณา ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “พระสงฆ์ทำทักษิณาให้หมดจดได้”
สก. ท่านไม่ยอมรับว่า “พระสงฆ์ทำทักษิณาให้หมดจดได้” ใช่ไหม
ปร. ใช่

เชิงอรรถ :
๑ ให้หมดจดได้ ในที่นี้หมายถึงทำให้มีผลมาก คือ ทำของที่น้อยให้มีผลมาก ทำของที่มากให้มีผลมากยิ่งขึ้น
(อภิ.ปญฺจ.อ. ๗๙๓-๗๙๔/๒๙๔)
๒ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายเวตุลลกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๗๙๓-๗๙๔/๒๙๔)
๓ เพราะมีความเห็นว่า มรรคและผลเท่านั้นชื่อว่าสงฆ์ มรรคและผลเหล่านั้น ไม่สามารถทำทักษิณาให้
หมดจดได้ ดังนั้น จึงไม่ควรกล่าวว่า พระสงฆ์ทำทักษิณาให้หมดจดได้ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๗๙๓-๗๙๔/๒๙๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๘๒๘ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๗. สัตตรสมวรรค] ๗. นวัตตัพพังสังโฆทักขิณังวิโสเธตีติกถา (๑๗๒)
สก. บุคคลบางพวกที่ถวายทานแด่พระสงฆ์แล้วให้ทักษิณาบริบูรณ์มีอยู่
มิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากบุคคลบางพวกที่ถวายทานแด่พระสงฆ์แล้วให้ทักษิณาบริบูรณ์มีอยู่
ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “พระสงฆ์ทำทักษิณาให้หมดจดได้”
สก. บุคคลบางพวกที่ถวายจีวร ฯลฯ บิณฑบาต ฯลฯ เสนาสนะ ฯลฯ
คิลานปัจจัยเภสัชบริขาร ฯลฯ ของเคี้ยว ฯลฯ ของบริโภค ฯลฯ น้ำดื่มแด่พระ
สงฆ์แล้วให้ทักษิณาบริบูรณ์มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. หากบุคคลบางพวกที่ถวายน้ำดื่มแด่พระสงฆ์แล้วให้ทักษิณาบริบูรณ์มีอยู่
ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “พระสงฆ์ทำทักษิณาให้หมดจดได้”
[๗๙๔] ปร. พระสงฆ์ทำทักษิณาให้หมดจดได้ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. มรรคทำทักษิณาให้หมดจดได้ ผลก็ทำทักษิณาให้หมดจดได้ใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

นวัตตัพพังสังโฆทักขิณังวิโสเธตีติกถา จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๘๒๙ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๗. สัตตรสมวรรค] ๘. นวัตตัพพังสังโฆภุญชตีติกถา (๑๗๓)
๘. นวัตตัพพังสังโฆภุญชตีติกถา (๑๗๓)
ว่าด้วยไม่ควรยอมรับว่าพระสงฆ์ฉันได้
[๗๙๕] สก. ท่านไม่ยอมรับว่า “พระสงฆ์ฉัน ดื่ม เคี้ยว ลิ้มได้” ใช่ไหม
ปร.๑ ใช่๒
สก. บุคคลบางพวกที่ทำสังฆภัต อุทเทสภัต ยาคู และน้ำปานะมีอยู่มิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากบุคคลบางพวกที่ทำสังฆภัต อุทเทสภัต ยาคู และน้ำปานะมีอยู่
ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “พระสงฆ์ฉัน ดื่ม เคี้ยว ลิ้มได้”
สก. ท่านไม่ยอมรับว่า “พระสงฆ์ฉัน ดื่ม เคี้ยว ลิ้มได้” ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. คณโภชนะ ปรัมปรโภชนะ อติริตตโภชนะ อนติริตตโภชนะ พระผู้มี
พระภาคตรัสไว้แล้วมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากคณโภชนะ ปรัมปรโภชนะ อติริตตโภชนะ อนติริตตโภชนะ
พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “พระสงฆ์ฉัน ดื่ม เคี้ยว
ลิ้มได้”
สก. ท่านไม่ยอมรับว่า “พระสงฆ์ฉัน ดื่ม เคี้ยว ลิ้มได้” ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. น้ำปานะพระผู้มีพระภาคตรัสไว้ ๘ อย่าง คือ น้ำมะม่วง น้ำลูกหว้า
น้ำกล้วยมีเมล็ด น้ำกล้วยไม่มีเมล็ด น้ำมะซาง น้ำลูกจันทน์ น้ำเหง้าบัว น้ำมะปราง
มิใช่หรือ
ปร. ใช่

เชิงอรรถ :
๑ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายเวตุลลกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๗๙๕/๒๙๕)
๒ เพราะมีความเห็นว่า มรรคและผลเท่านั้นชื่อว่าสงฆ์ มรรคและผลเหล่านั้นย่อมฉันอะไร ๆ ไม่ได้ ดังนั้น
จึงไม่ควรกล่าวว่า พระสงฆ์ฉัน ดื่ม เคี้ยว และลิ้มได้ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๗๙๕/๒๙๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๘๓๐ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๗. สัตตรสมวรรค] ๙. นวัตตัพพังสังฆัสสทินนังมหัปผลันติกถา (๑๗๔)
สก. หากน้ำปานะพระผู้มีพระภาคตรัสไว้ ๘ อย่าง คือ น้ำมะม่วง น้ำลูกหว้า
น้ำกล้วยมีเมล็ด น้ำกล้วยไม่มีเมล็ด น้ำมะซาง น้ำลูกจันทน์ น้ำเหง้าบัว น้ำมะปราง
ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “พระสงฆ์ฉัน ดื่ม เคี้ยว ลิ้มได้”
[๗๙๖] ปร. พระสงฆ์ฉัน ดื่ม เคี้ยว ลิ้มได้ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. มรรคฉัน ดื่ม เคี้ยว ลิ้มได้ ผลก็ฉัน ดื่ม เคี้ยว ลิ้มได้ใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
นวัตตัพพังสังโฆภุญชตีติกถา จบ

๙. นวัตตัพพังสังฆัสสทินนังมหัปผลันติกถา (๑๗๔)
ว่าด้วยไม่ควรยอมรับว่าทานที่ถวายแด่พระสงฆ์มีผลมาก
[๗๙๗] สก. ท่านไม่ยอมรับว่า “ทานที่ถวายแด่พระสงฆ์มีผลมาก” ใช่ไหม
ปร.๑ ใช่๒
สก. พระสงฆ์เป็นผู้ควรแก่ของที่เขานำมาถวาย ควรแก่ของต้อนรับ ควรแก่
ทักษิณา ควรแก่การทำอัญชลี เป็นเนื้อนาบุญอันยอดเยี่ยมของโลกมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากพระสงฆ์เป็นผู้ควรแก่ของที่เขานำมาถวาย ควรแก่ของต้อนรับ ฯลฯ
เป็นเนื้อนาบุญอันยอดเยี่ยมของโลก ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “ทานที่ถวาย
แด่พระสงฆ์มีผลมาก”
สก. ท่านไม่ยอมรับว่า “ทานที่ถวายแด่พระสงฆ์มีผลมาก” ใช่ไหม
ปร. ใช่

เชิงอรรถ :
๑ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายเวตุลลกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๗๙๗/๒๙๕)
๒เพราะมีความเห็นว่า มรรคและผลเท่านั้น ชื่อว่าสงฆ์ บุคคลไม่สามารถที่จะให้หรือรับอะไรจากมรรคและ
ผลเหล่านั้น การให้ทานแก่มรรคและผลจึงไม่เกิดอุปการะอะไร ดังนั้น จึงไม่ควรกล่าวว่า ทานที่บุคคล
ถวายแด่พระสงฆ์มีผลมาก (อภิ.ปญฺจ.อ. ๗๙๗-๗๙๘/๒๙๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๘๓๑ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๗. สัตตรสมวรรค] ๙. นวัตตัพพังสังฆัสสทินนังมหัปผลันติกถา (๑๗๔)
สก. อริยบุคคล ๔ คู่ คือ ๘ บุคคล พระผู้มีพระภาคตรัสว่าเป็นผู้ควรแก่
ทักษิณามิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากอริยบุคคล ๔ คู่ คือ ๘ บุคคล พระผู้มีพระภาคตรัสว่า เป็นผู้
ควรแก่ทักษิณา ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “ทานที่ถวายแด่พระสงฆ์มีผลมาก”
[๗๙๘] สก. ท่านไม่ยอมรับว่า “ทานที่ถวายแด่พระสงฆ์มีผลมาก” ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “โคตมี พระนางจงถวายสงฆ์เถิด
เมื่อพระนางถวายสงฆ์แล้ว จักชื่อว่าเป็นผู้ได้บูชาอาตมภาพและสงฆ์”๑ มีอยู่จริง
มิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. ดังนั้น ทานที่ถวายแด่พระสงฆ์จึงมีผลมาก
สก. ท่านไม่ยอมรับว่า “ทานที่ถวายแด่พระสงฆ์มีผลมาก” ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ท้าวสักกะจอมเทพได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“เมื่อมนุษย์ทั้งหลายผู้เป็นสัตว์
ปรารถนาบุญ บูชาอยู่ ทำบุญซึ่งให้เกิดผล
ทานให้แล้วในที่ไหนมีผลมาก พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า
“ท่านผู้ปฏิบัติดี ๔ จำพวก
ท่านผู้ตั้งอยู่ในผล ๔ จำพวก
นั่นคือพระสงฆ์ เป็นผู้ปฏิบัติตรง
ตั้งมั่นอยู่ในศีล สมาธิ และปัญญา
เมื่อมนุษย์ทั้งหลายผู้เป็นสัตว์
ปรารถนาบุญ บูชาอยู่ ทำบุญซึ่งให้เกิดผล
ทานให้แล้วในพระสงฆ์มีผลมาก

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ ม.อุ. (แปล) ๑๔/๓๗๖/๔๒๕

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๘๓๒ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๗. สัตตรสมวรรค] ๑๐. นวัตตัพพังพุทธัสสทินนังมหัปผลันติกถา (๑๗๕)
ด้วยว่า พระสงฆ์นี้มีคุณยิ่งใหญ่ ไพบูลย์
หาประมาณมิได้ ดุจทะเลเปี่ยมด้วยน้ำ
พระอริยบุคคลเหล่านี้แลเป็นผู้ประเสริฐสุด
เป็นสาวกของพระพุทธเจ้าผู้มีความเพียร
เป็นผู้ให้แสงสว่างคือปัญญาแก่ชาวโลก ย่อมยกธรรมขึ้นแสดง
ทานที่บุคคลถวายเจาะจงสงฆ์นั้น ชื่อว่าเป็นทานถวายดีแล้ว
บูชาสักการะอย่างดีแล้ว ทักษิณาที่ถวายสงฆ์นั้นมีผลมาก
ทั้งพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลายผู้ทรงรู้แจ้งโลกก็ทรงสรรเสริญแล้ว
เหล่าชนมาหวนระลึกถึงบุญเช่นนี้ได้เกิดปีติและโสมนัส
กำจัดมลทินคือความตระหนี่พร้อมทั้งมูลได้
ท่องเที่ยวไปในโลก ไม่ถูกบัณฑิตติเตียน
จึงเข้าถึงแดนสวรรค์ได้”๑
มีอยู่จริงมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. ดังนั้น ทานที่ถวายแด่พระสงฆ์จึงมีผลมาก
นวัตตัพพังสังฆัสสทินนังมหัปผลันติกถา จบ

๑๐. นวัตตัพพังพุทธัสสทินนังมหัปผลันติกถา (๑๗๕)
ว่าด้วยไม่ควรยอมรับว่าทานที่ถวายแด่พระพุทธเจ้ามีผลมาก
[๗๙๙] สก. ท่านไม่ยอมรับว่า “ทานที่ถวายแด่พระพุทธเจ้ามีผลมาก” ใช่ไหม
ปร.๒ ใช่๓

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ ขุ.วิ. (แปล) ๒๖/๖๔๓-๖๔๕/๗๑,๗๕๒-๗๕๔/๘๗-๘๘
๒ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายเวตุลลกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๗๙๙/๒๙๖)
๓ เพราะมีความเห็นว่า พระพุทธเจ้าย่อมไม่ทรงฉันอะไร ๆ แต่เพื่ออนุเคราะห์ชาวโลก ย่อมทรงแสดงพระ
องค์เหมือนกับว่าทรงฉันอยู่ ดังนั้น การถวายทานแด่พระพุทธเจ้าจึงไม่ควรกล่าวว่ามีผลมาก (อภิ.ปญฺจ.อ.
๗๙๙/๒๙๖)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๘๓๓ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๗. สัตตรสมวรรค] ๑๐. นวัตตัพพังพุทธัสสทินนังมหัปผลันติกถา (๑๗๕)
สก. พระผู้มีพระภาคเป็นผู้เลิศ เป็นผู้ประเสริฐสุด เป็นประธาน เป็นผู้อุดม
เป็นผู้ล้ำเลิศกว่าเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย หาผู้เสมอมิได้๑ เสมอกับบุคคลผู้หาผู้
เสมอมิได้๒ ไม่มีใครเปรียบเทียบ๓ ไม่มีผู้ทำกิจเปรียบเทียบ๔ หาบุคคลเปรียบเทียบ
มิได้๕ ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. หากพระผู้มีพระภาคทรงเป็นผู้เลิศ เป็นผู้ประเสริฐสุด เป็นประธาน
เป็นผู้อุดม เป็นผู้ล้ำเลิศกว่าเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย หาผู้เสมอมิได้ เสมอกับ
บุคคลผู้หาผู้เสมอมิได้ ไม่มีใครเปรียบเทียบ ไม่มีผู้ทำกิจเปรียบเทียบ หาบุคคล
เปรียบเทียบมิได้ ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “ทานที่ถวายแด่พระพุทธเจ้ามี
ผลมาก”
สก. ท่านไม่ยอมรับว่า “ทานที่ถวายแด่พระพุทธเจ้ามีผลมาก” ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ใคร ๆ ที่เสมอเหมือนพระพุทธเจ้าโดยศีล สมาธิ ปัญญา มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่มี
สก. หากใคร ๆ ผู้เสมอเหมือนพระพุทธเจ้าโดยศีล สมาธิ ปัญญา ไม่มี
ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “ทานที่ถวายแด่พระพุทธเจ้ามีผลมาก”

เชิงอรรถ :
๑ หาผู้เสมอมิได้ หมายถึงไม่มีสรรพสัตว์เท่าเทียมกับพระองค์ เพราะไม่มีบุคคลจะเปรียบเทียบได้ (องฺ.เอกก.อ.
๑/๑๗๔/๑๐๕)
๒ เสมอกับบุคคลผู้หาผู้เสมอมิได้ หมายถึงทรงเป็นผู้เสมอกับสัพพัญญูพุทธเจ้าทั้งหลาย ทั้งในอดีตและ
อนาคต ซึ่งหาผู้เสมอมิได้ (องฺ.เอกก.อ. ๑/๑๗๔/๑๐๕)
๓ ไม่มีใครเปรียบเทียบ หมายถึงไม่มีใครสามารถเปลี่ยนแปลงธรรมที่พระตถาคตแสดงไว้ได้ เช่น
สติปัฏฐาน ๔ ประการ ไม่มีใครสามารถแสดงย่อให้เหลือเป็น ๓ ประการ หรือเพิ่มให้เป็น ๕ ประการได้
(องฺ.เอกก.อ. ๑/๑๗๔/๑๐๕)
๔ ไม่มีผู้ทำกิจเปรียบเทียบ หมายถึงไม่มีใครสามารถเปลี่ยนแปลงธรรมที่พระตถาคตแสดงไว้ได้ เช่น
สติปัฏฐาน ๔ ประการ ไม่มีใครสามารถแสดงย่อให้เหลือเป็น ๓ ประการ หรือเพิ่มให้เป็น ๕ ประการได้
(องฺ.เอกก.อ. ๑/๑๗๔/๑๐๕)
๕ หาบุคคลเปรียบเทียบมิได้ หมายถึงไม่มีใครอื่นที่จะกล้าปฏิญาณว่า เราเป็นพระพุทธเจ้าได้เหมือนพระ
ตถาคต (องฺ.เอกก.อ. ๑/๑๗๔/๑๐๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๘๓๔ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๗. สัตตรสมวรรค] ๑๑. ทักขิณาวิสุทธิกถา (๑๗๖)
สก. ท่านไม่ยอมรับว่า “ทานที่ถวายแด่พระพุทธเจ้ามีผลมาก” ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า
“ไม่ว่าในโลกนี้หรือในโลกอื่นก็ตาม
ไม่มีผู้ที่จะประเสริฐกว่า
หรือจะทัดเทียมพระพุทธเจ้า
ผู้ถึงความเป็นยอดแห่งอาหุไนยบุคคล
ของเหล่าชนผู้มีความต้องการบุญ ผู้แสวงหาผลไพบูลย์”
มีอยู่จริงมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. ดังนั้น ทานที่ถวายแด่พระพุทธเจ้าจึงมีผลมาก
นวัตตัพพังพุทธัสสทินนังมหัปผลันติกถา จบ

๑๑. ทักขิณาวิสุทธิกถา (๑๗๖)
ว่าด้วยทักษิณาบริสุทธิ์
[๘๐๐] สก. ทานบริสุทธิ์ฝ่ายทายก(ผู้ให้)เท่านั้น แต่ไม่บริสุทธิ์ฝ่ายปฏิคาหก
(ผู้รับ) ใช่ไหม
ปร.๑ ใช่๒
สก. ปฏิคาหกบางพวกเป็นผู้ควรแก่ของที่เขานำมาถวาย ควรแก่ของต้อนรับ
ควรแก่ทักษิณา ควรแก่การทำอัญชลี เป็นเนื้อนาบุญอันยอดเยี่ยมของโลกมีอยู่
มิใช่หรือ
ปร. ใช่

เชิงอรรถ :
๑ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอุตตราปถกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๘๐๐-๘๐๑/๒๙๖-๒๙๗)
๒ เพราะมีความเห็นว่า ในการให้ทานนั้น ฝ่ายปฏิคาหก ไม่จำเป็นต้องบริสุทธิ์ เพียงทายกบริสุทธิ์ก็พอ
(อภิ.ปญฺจ.อ. ๘๐๐-๘๐๑/๒๙๖-๒๙๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๘๓๕ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๗. สัตตรสมวรรค] ๑๑. ทักขิณาวิสุทธิกถา (๑๗๖)
สก. หากปฏิคาหกบางพวกเป็นผู้ควรแก่ของที่เขานำมาถวาย ควรแก่ของ
ต้อนรับ ควรแก่ทักษิณา ควรแก่การทำอัญชลี เป็นเนื้อนาบุญอันยอดเยี่ยมของ
โลกมีอยู่ ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “ทานบริสุทธิ์ฝ่ายทายกเท่านั้น แต่ไม่บริสุทธิ์ฝ่าย
ปฏิคาหก”
สก. ทานบริสุทธิ์ฝ่ายทายกเท่านั้น แต่ไม่บริสุทธิ์ฝ่ายปฏิคาหกใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. อริยบุคคล ๔ คู่ คือ ๘ บุคคล พระผู้มีพระภาคตรัสว่า เป็นผู้ควร
แก่ทักษิณามิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากอริยบุคคล ๔ คู่ คือ ๘ บุคคล พระผู้มีพระภาคตรัสว่า เป็นผู้
ควรแก่ทักษิณา ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “ทานบริสุทธิ์ฝ่ายทายกเท่านั้น แต่ไม่
บริสุทธิ์ฝ่ายปฏิคาหก”
สก. ทานบริสุทธิ์ฝ่ายทายกเท่านั้น แต่ไม่บริสุทธิ์ฝ่ายปฏิคาหกใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลบางพวกให้ทานแก่พระโสดาบันแล้วให้ทักษิณาบริบูรณ์มีอยู่มิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากบุคคลบางพวกให้ทานแก่พระโสดาบันแล้วให้ทักษิณาบริบูรณ์มีอยู่
ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “ทานบริสุทธิ์ฝ่ายทายกเท่านั้น แต่ไม่บริสุทธิ์ฝ่ายปฏิคาหก”
สก. บุคคลบางพวกให้ทานแด่พระสกทาคามี ฯลฯ พระอนาคามี ฯลฯ
พระอรหันต์แล้วให้ทักษิณาบริบูรณ์มีอยู่มิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากบุคคลบางพวกให้ทานแด่พระอรหันต์แล้วให้ทักษิณาบริบูรณ์มีอยู่
ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “ทานบริสุทธิ์ฝ่ายทายกเท่านั้น แต่ไม่บริสุทธิ์ฝ่ายปฏิคาหก”
[๘๐๑] ปร. ทานบริสุทธิ์ฝ่ายปฏิคาหกเท่านั้น เพราะเหตุนั้น จึงไม่บริสุทธิ์
ฝ่ายทายกใช่ไหม
สก. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๘๓๖ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๗. สัตตรสมวรรค] ๑๑. ทักขิณาวิสุทธิกถา (๑๗๖)
ปร. บุคคลอื่นทำให้แก่คนหนึ่ง สุขทุกข์มีผู้อื่นเป็นตัวการ บุคคลคนละคนกัน
ทั้งทำและเสวยผลใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ทานบริสุทธิ์ฝ่ายทายกเท่านั้น แต่ไม่บริสุทธิ์ฝ่ายปฏิคาหกใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “อานนท์ ความบริสุทธิ์แห่ง
ทักษิณา ๔ ประการนี้
ความบริสุทธิ์แห่งทักษิณา ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ทักษิณาที่บริสุทธิ์ฝ่ายทายก แต่ไม่บริสุทธิ์ฝ่ายปฏิคาหก
๒. ทักษิณาที่บริสุทธิ์ฝ่ายปฏิคาหก แต่ไม่บริสุทธิ์ฝ่ายทายก
๓. ทักษิณาที่ไม่บริสุทธิ์ทั้งฝ่ายทายกและฝ่ายปฏิคาหก
๔. ทักษิณาที่บริสุทธิ์ทั้งฝ่ายทายกและฝ่ายปฏิคาหก
ทักษิณาที่บริสุทธิ์ฝ่ายทายก แต่ไม่บริสุทธิ์ฝ่ายปฏิคาหก เป็นอย่างไร
คือ ทายกในโลกนี้เป็นผู้มีศีล มีกัลยาณธรรม แต่ปฏิคาหกเป็นผู้ทุศีล มีธรรม
เลวทราม ทักษิณาที่บริสุทธิ์ฝ่ายทายก แต่ไม่บริสุทธิ์ฝ่ายปฏิคาหก เป็นอย่างนี้
ทักษิณาที่บริสุทธิ์ฝ่ายปฏิคาหก แต่ไม่บริสุทธิ์ฝ่ายทายก เป็นอย่างไร
คือ ทายกในโลกนี้เป็นผู้ทุศีล มีธรรมเลวทราม แต่ปฏิคาหกเป็นผู้มีศีล มี
กัลยาณธรรม ทักษิณาที่บริสุทธิ์ฝ่ายปฏิคาหก แต่ไม่บริสุทธิ์ฝ่ายทายก เป็นอย่างนี้
ทักษิณาที่ไม่บริสุทธิ์ทั้งฝ่ายทายกและฝ่ายปฏิคาหก เป็นอย่างไร
คือ ทายกในโลกนี้เป็นผู้ทุศีล มีธรรมเลวทราม และปฏิคาหกก็เป็นผู้ทุศีล มี
ธรรมเลวทราม ทักษิณาที่ไม่บริสุทธิ์ทั้งฝ่ายทายกและฝ่ายปฏิคาหก เป็นอย่างนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๘๓๗ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๗. สัตตรสมวรรค] รวมกถาที่มีในวรรค
ทักษิณาที่บริสุทธิ์ทั้งฝ่ายทายกและฝ่ายปฏิคาหก เป็นอย่างไร
คือ ทายกในโลกนี้เป็นผู้มีศีล มีกัลยาณธรรม และปฏิคาหกก็เป็นผู้มีศีล มี
กัลยาณธรรม ทักษิณาที่บริสุทธิ์ทั้งฝ่ายทายกและฝ่ายปฏิคาหก เป็นอย่างนี้
อานนท์ ความบริสุทธิ์แห่งทักษิณา ๔ ประการนี้”๑
มีอยู่จริงมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. ดังนั้น ท่านจึงไม่ควรยอมรับว่า “ทานบริสุทธิ์ฝ่ายทายกเท่านั้น แต่ไม่
บริสุทธิ์ฝ่ายปฏิคาหก”
ทักขิณาวิสุทธิกถา จบ
สัตตรสมวรรค จบ

รวมกถาที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. อัตถิอรหโตปุญญูปจโยติกถา ๒. นัตถิอรหโตอกาลมัจจูติกถา
๓. สัพพมิทังกัมมโตติกถา ๔. อินทริยพัทธกถา
๕. ฐเปตวาอริยมัคคันติกถา ๖. นวัตตัพพังสังโฆทักขิณังปฏิค-
คัณหาตีติกถา
๗. นวัตตัพพังสังโฆทักขิณัง- ๘. นวัตตัพพังสังโฆภุญชตีติกถา
วิโสเธตีติกถา
๙. นวัตตัพพังสังฆัสสทินนัง- ๑๐. นวัตตัพพังพุทธัสสทินนังมหัป-
มหัปผลันติกถา ผลันติกถา
๑๑. ทักขิณาวิสุทธิกถา


เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ ม.อุ. (แปล) ๑๔/๓๘๑/๔๓๐-๔๓๑

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๘๓๘ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๘. อัฏฐารสมวรรค] ๑. มนุสสโลกกถา (๑๗๗)
๑๘. อัฏฐารสมวรรค
๑. มนุสสโลกกถา (๑๗๗)
ว่าด้วยมนุษยโลก
[๘๐๒] สก. ท่านไม่ยอมรับว่า “พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงดำรงอยู่ใน
มนุษยโลก” ใช่ไหม
ปร.๑ ใช่๒
สก. เจดีย์ อาราม วิหาร คาม นิคม นคร รัฐ ชนบทที่พระพุทธเจ้าเคย
ประทับอยู่มีอยู่มิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากเจดีย์ อาราม วิหาร คาม นิคม รัฐ ชนบทที่พระพุทธเจ้าเคย
ประทับอยู่มีอยู่ ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงดำรง
อยู่ในมนุษยโลก”
สก. ท่านไม่ยอมรับว่า “พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงดำรงอยู่ในมนุษยโลก”
ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระผู้มีพระภาคประสูติที่ป่าลุมพินี ตรัสรู้ที่ควงไม้โพธิ์ ประกาศ
ธรรมจักรที่กรุงพาราณสี ปลงอายุสังขารที่ปาวาลเจดีย์ ปรินิพพานที่กรุงกุสินารา
มิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากพระผู้มีพระภาคประสูติที่ป่าลุมพินี ฯลฯ ปรินิพพานที่กรุง
กุสินารา ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงดำรงอยู่ใน
มนุษยโลก”

เชิงอรรถ :
๑ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายเวตุลลกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๘๐๒-๘๐๓/๒๙๗)
๒ เพราะมีความเห็นว่า พระพุทธเจ้าที่เราเห็นอยู่ในโลกนี้เป็นเพียงพุทธนิมิต ส่วนพระองค์จริงยังสถิตอยู่บน
ชั้นดุสิตตลอดกาล (อภิ.ปญฺจ.อ. ๘๐๒-๘๐๓/๒๙๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๘๓๙ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๘. อัฏฐารสมวรรค] ๑. มนุสสโลกกถา (๑๗๗)
สก. ท่านไม่ยอมรับว่า “พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงดำรงอยู่ในมนุษยโลก”
ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย สมัยหนึ่ง เราพักอยู่
ณ ควงไม้สาละ ในสุภควัน เขตกรุงอุกกัฏฐะ” ว่า “ภิกษุทั้งหลาย สมัยหนึ่ง
เราแรกตรัสรู้พักอยู่ที่ต้นอชปาลนิโครธ ตำบลอุรุเวลา” ว่า “ภิกษุทั้งหลาย สมัยหนึ่ง
เราพักอยู่ ณ เวฬุวันสถานที่ให้เหยื่อกระแต เขตกรุงราชคฤห์” ว่า “ภิกษุทั้งหลาย
สมัยหนึ่ง เราพักอยู่ ณ เชตวันอารามของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี” ว่า
“ภิกษุทั้งหลาย สมัยหนึ่ง เราพักอยู่ ณ กูฏาคารศาลา ป่ามหาวัน เขตกรุงเวสาลี”
มีอยู่จริงมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. ดังนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าจึงทรงดำรงอยู่ในมนุษยโลก
[๘๐๓] ปร. พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงดำรงอยู่ในมนุษยโลกใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. พระผู้มีพระภาคทรงกำเนิดในโลก ทรงเจริญในโลก แต่ทรงเป็นผู้อัน
โลกไม่แปดเปื้อน๑ ครอบงำโลกอยู่มิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. หากพระผู้มีพระภาคทรงกำเนิดในโลก ทรงเจริญในโลก แต่ทรงเป็นผู้อัน
โลกไม่แปดเปื้อน ครอบงำโลกอยู่ ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า
ทรงดำรงอยู่ในมนุษยโลก”

มนุสสโลกกถา จบ

เชิงอรรถ :
๑ ผู้อันโลกไม่แปดเปื้อน หมายถึงไม่ถูกกิเลสในโลกธรรม ๘ ประการ คือ ลาภ เสื่อมลาภ ยศ เสื่อมยศ
สรรเสริญ นินทา สุข ทุกข์ แปดเปื้อน (อภิ.ปญฺจ.อ. ๘๐๒-๘๐๓/๒๙๗-๒๙๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๘๔๐ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๘. อัฏฐารสมวรรค] ๒. ธัมมเทสนากถา (๑๗๘)
๒. ธัมมเทสนากถา (๑๗๘)
ว่าด้วยการแสดงธรรม
[๘๐๔] สก. ท่านไม่ยอมรับว่า “พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงแสดงธรรม”
ใช่ไหม
ปร.๑ ใช่๒
สก. ใครแสดง
ปร. พระพุทธนิมิต
สก. พระพุทธนิมิตเป็นพระชินเจ้า เป็นพระศาสดา เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
เป็นพระสัพพัญญู เป็นพระสัพพทัสสาวี เป็นพระธัมมัสสามี เป็นพระธัมมปฏิสรณะ
ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ท่านไม่ยอมรับว่า “พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงแสดงธรรม” ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ใครแสดง
ปร. ท่านพระอานนท์
สก. ท่านพระอานนท์เป็นพระชินเจ้า เป็นพระศาสดา เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
เป็นพระสัพพัญญู เป็นพระสัพพทัสสาวี เป็นพระธัมมัสสามี เป็นพระธัมมปฏิสรณะ
ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๘๐๕] สก. ท่านไม่ยอมรับว่า “พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงแสดงธรรม”
ใช่ไหม
ปร. ใช่

เชิงอรรถ :
๑ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายเวตุลลกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๘๐๔-๘๐๖/๒๙๘)
๒ เพราะมีความเห็นว่า พระพุทธเจ้าทรงเนรมิตพระองค์มาเพื่อทรงแสดงธรรมในมนุษย์ ดังนั้น พระพุทธเจ้า
ที่ปรากฏอยู่ในโลกมนุษย์จึงมิใช่พระองค์จริง (อภิ.ปญฺจ.อ. ๘๐๔-๘๐๖/๒๙๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๘๔๑ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๘. อัฏฐารสมวรรค] ๒. ธัมมเทสนากถา (๑๗๘)
สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “สารีบุตร เราแสดงธรรมโดยย่อ
ก็ได้ เราแสดงธรรมโดยพิสดารก็ได้ เราแสดงธรรมทั้งโดยย่อและโดยพิสดารก็ได้
แต่บุคคลผู้รู้ทั่วถึงหาได้ยาก” ๑ มีอยู่จริงมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. ดังนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าจึงทรงแสดงธรรม
[๘๐๖] สก. ท่านไม่ยอมรับว่า “พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงแสดงธรรม” ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย เรารู้ยิ่งแล้ว๒
จึงแสดงธรรม ไม่รู้ยิ่งแล้วไม่แสดงธรรม เราแสดงธรรมมีเหตุ ไม่ใช่แสดงธรรม
ไม่มีเหตุ เราแสดงธรรมมีปาฏิหาริย์ ไม่ใช่แสดงธรรมไม่มีปาฏิหาริย์ เมื่อเรานั้นรู้
ยิ่งแล้วจึงแสดงธรรม ไม่รู้ยิ่งแล้วไม่แสดงธรรม แสดงธรรมมีเหตุ ไม่ใช่แสดงธรรม
ไม่มีเหตุ แสดงธรรมที่มีปาฏิหาริย์ ไม่ใช่แสดงธรรมไม่มีปาฏิหาริย์ เธอทั้งหลาย
ควรทำตามคำสั่งสอน ควรทำตามคำพร่ำสอน ก็แลเธอทั้งหลายควรที่จะยินดี
ควรที่จะชื่นชม ควรที่จะโสมนัสว่า ‘พระผู้มีพระภาคเป็นผู้ตรัสรู้ด้วยพระองค์เอง
โดยชอบ พระธรรมเป็นธรรมอันพระผู้มีพระภาคตรัสไว้ดีแล้ว พระสงฆ์เป็นผู้
ปฏิบัติดีแล้ว’ เมื่อพระผู้มีพระภาคได้ตรัสเวยยากรณภาษิตนี้อยู่ โลกธาตุมีหมื่น
จักรวาลได้หวั่นไหวสั่นสะเทือนแล้ว” ๓ มีอยู่จริงมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. ดังนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าจึงทรงแสดงธรรม

ธัมมเทสนากถา จบ

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ องฺ.ติก. (แปล) ๒๐/๓๓/๑๘๕
๒ รู้ยิ่งแล้ว ในที่นี้หมายถึงทรงรู้ขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ ธาตุ ๑๘ อินทรีย์ ๒๒ อริยสัจ ๔ เหตุ ๙ ผัสสะ
๗ เวทนา ๗ เจตนา ๗ สัญญา ๗ จิต ๗ และสติปัฏฐาน ๔ เป็นต้น (องฺ.ติก.อ. ๒/๑๒๖/๒๖๕)
๓ ดูเทียบ องฺ.ติก. (แปล) ๒๐/๑๒๖/๓๗๓

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๘๔๒ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๘. อัฏฐารสมวรรค] ๓. กรุณากถา (๑๗๙)
๓. กรุณากถา (๑๗๙)
ว่าด้วยกรุณา
[๘๐๗] สก. กรุณาของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าไม่มีใช่ไหม
ปร.๑ ใช่๒
สก. เมตตาของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าไม่มีใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. กรุณาของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าไม่มีใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. มุทิตา ฯลฯ อุเบกขาของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าไม่มีใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เมตตาของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้ามีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. กรุณาของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้ามีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. มุทิตา ฯลฯ อุเบกขาของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้ามีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. กรุณาของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้ามีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

เชิงอรรถ :
๑ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอุตตราปถกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๘๐๗-๘๐๘/๒๙๘-๒๙๙)
๒ เพราะมีความเห็นว่า สัตว์ผู้มีราคะแสดงความกรุณาต่อผู้ที่ตนรักใคร่เอ็นดูออกมาด้วยอำนาจราคะ จึง
เข้าใจว่า ราคะนั้นแหละคือกรุณา พระผู้มีพระภาคไม่มีราคะเช่นนั้น จึงชื่อว่าไม่มีกรุณา (อภิ.ปญฺจ.อ.
๘๐๗-๘๐๘/๒๙๘-๒๙๙)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๘๔๓ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๘. อัฏฐารสมวรรค] ๓. กรุณากถา (๑๗๙)
สก. กรุณาของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าไม่มีใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระผู้มีพระภาคไม่ใช่ผู้ประกอบด้วยกรุณาใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระผู้มีพระภาคทรงประกอบด้วยกรุณา ทรงเกื้อกูลชาวโลก ทรง
อนุเคราะห์ชาวโลก ทรงประพฤติประโยชน์แก่ชาวโลกมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากพระผู้มีพระภาคทรงประกอบด้วยกรุณา ทรงเกื้อกูลชาวโลก
ทรงอนุเคราะห์ชาวโลก ทรงประพฤติประโยชน์แก่ชาวโลก ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า
“กรุณาของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าไม่มี” ฯลฯ
สก. กรุณาของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าไม่มีใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระผู้มีพระภาคทรงเข้ามหากรุณาสมาบัติมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากพระผู้มีพระภาคทรงเข้ามหากรุณาสมาบัติ ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า
“กรุณาของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าไม่มี”
[๘๐๘] ปร. กรุณาของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้ามีอยู่ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. พระผู้มีพระภาคยังทรงมีราคะใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. ดังนั้น กรุณาของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าจึงไม่มี

กรุณากถา จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๘๔๔ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๘. อัฏฐารสมวรรค] ๔. คันธชาติกถา (๑๘๐)
๔. คันธชาติกถา (๑๘๐)
ว่าด้วยคันธชาติ
[๘๐๙] สก. พระบังคนหนัก พระบังคนเบา ของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า
หอมกว่าคันธชาติอื่น ๆ ใช่ไหม
ปร.๑ ใช่๒
สก. พระผู้มีพระภาคทรงใช้ของหอมใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระผู้มีพระภาคเสวยข้าวสุกและขนมกุมมาสมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากพระผู้มีพระภาคเสวยข้าวสุกและขนมกุมมาส ท่านก็ไม่ควรยอมรับ
ว่า “พระบังคนหนัก พระบังคนเบา ของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าหอมกว่า
คันธชาติอื่น ๆ”
สก. พระบังคนหนัก พระบังคนเบา ของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าหอมกว่า
คันธชาติอื่น ๆ ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลบางพวกที่อาบทา ไล้ทาพระบังคนหนัก พระบังคนเบา ของ
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า เก็บไว้ในหีบ บรรจุไว้ในผอบ แผ่ขายที่ตลาดและใช้ของ
หอมนั้นแทนของหอมมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

คันธชาติกถา จบ

เชิงอรรถ :
๑ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอันธกะบางพวกและนิกายอุตตราปถกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๘๐๙/๒๙๙)
๒ เพราะมีความเห็นว่า พระบังคนหนักและพระบังคนเบาของพระพุทธเจ้ามีกลิ่นหอมกว่าคันธชาติอื่น ๆ
ปรวาทีมีความเห็นเช่นนี้ เพราะมีความรักในพระพุทธเจ้าแต่ไม่ได้พิจารณาให้แยบคายจึงเห็นผิด (อภิ.ปญฺจ.อ.
๘๐๙/๒๙๙)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๘๔๕ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๘. อัฏฐารสมวรรค] ๕. เอกมัคคกถา (๑๘๑)
๕. เอกมัคคกถา (๑๘๑)
ว่าด้วยทางสายเดียว
[๘๑๐] สก. พระผู้มีพระภาคทรงทำให้แจ้งสามัญญผล ๔ ได้ด้วยอริยมรรค
มรรคเดียวใช่ไหม
ปร.๑ ใช่๒
สก. มีการประชุมแห่งผัสสะ ๔ ฯลฯ ปัญญา ๔ ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระผู้มีพระภาคทรงทำให้แจ้งสามัญญผล ๔ ได้ด้วยอริยมรรค
มรรคเดียวใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ด้วยโสดาปัตติมรรคใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ด้วยสกทาคามิมรรค ฯลฯ อนาคามิมรรคใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ด้วยมรรคไหน
ปร. ด้วยอรหัตตมรรค

เชิงอรรถ :
๑ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอันธกะบางพวกและนิกายอุตตราปถกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๘๑๐/๒๙๙)
๒ เพราะมีความเห็นว่า พระพุทธเจ้าทรงสามารถบรรลุอริยผล ๔ ได้ด้วยอริยมรรคเดียว คือ อรหัตตมรรค
เท่านั้น ปรวาทีมีความเห็นเช่นนี้เพราะมีความรักในพระพุทธเจ้า และไม่ได้พิจารณาโดยแยบคาบ จึงเห็นผิด
(อภิ.ปญฺจ.อ. ๘๑๐/๒๙๙)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๘๔๖ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๘. อัฏฐารสมวรรค] ๕. เอกมัคคกถา (๑๘๑)
สก. พระผู้มีพระภาคทรงละสักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาสได้ด้วย
อรหัตตมรรคใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ทรงละสักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาสได้ด้วยอรหัตตมรรค
ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. การละสังโยชน์ ๓ ประการได้ พระผู้มีพระภาคตรัสว่าเป็นโสดาปัตติผล
มิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากการละสังโยชน์ ๓ ประการได้ พระผู้มีพระภาคตรัสว่าเป็น
โสดาปัตติผล ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “พระผู้มีพระภาคละสักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา
สีลัพพตปรามาสได้ด้วยอรหัตตมรรค”
สก. พระผู้มีพระภาคทรงละกามราคะอย่างหยาบ พยาบาทอย่างหยาบได้
ด้วยอรหัตตมรรคใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ทรงละกามราคะอย่างหยาบ พยาบาทอย่างหยาบได้ด้วยอรหัตตมรรค
ใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๘๔๗ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๘. อัฏฐารสมวรรค] ๕. เอกมัคคกถา (๑๘๑)
สก. ความเบาบางแห่งกามราคะและพยาบาท พระผู้มีพระภาคตรัสว่าเป็น
สกทาคามิผลมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากความเบาบางแห่งกามราคะและพยาบาท พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
เป็นสกทาคามิผล ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “พระผู้มีพระภาคทรงละกามราคะ
อย่างหยาบ พยาบาทอย่างหยาบได้ด้วยอรหัตตมรรค”
สก. พระผู้มีพระภาคทรงละกามราคะอย่างละเอียด พยาบาทอย่างละเอียด
ได้ด้วยอรหัตตมรรคใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ทรงละกามราคะอย่างละเอียด พยาบาทอย่างละเอียดได้ด้วยอรหัตต-
มรรคใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. การละกามราคะและพยาบาทได้เด็ดขาด พระผู้มีพระภาคตรัสว่าเป็น
อนาคามิผล มิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากการละกามราคะและพยาบาทได้เด็ดขาด พระผู้มีพระภาคตรัสว่าเป็น
อนาคามิผล ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “พระผู้มีพระภาคทรงละกามราคะอย่างละเอียด
พยาบาทอย่างละเอียดได้ด้วยอรหัตตมรรค”
[๘๑๑] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “พระผู้มีพระภาคทรงทำให้แจ้งสามัญญผล ๔
ได้ด้วยอริยมรรคมรรคเดียว” ใช่ไหม
สก. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๘๔๘ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๘. อัฏฐารสมวรรค] ๕. เอกมัคคกถา (๑๘๑)
ปร. พระผู้มีพระภาคเจริญโสดาปัตติมรรคแล้วใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. พระผู้มีพระภาคเป็นพระโสดาบันใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. พระผู้มีพระภาคเจริญสกทาคามิมรรค ฯลฯ อนาคามิมรรคแล้วใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. พระผู้มีพระภาคเป็นพระอนาคามีใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๘๑๒] สก. พระผู้มีพระภาคทรงทำให้แจ้งสามัญญผล ๔ ได้ด้วยอริยมรรค
มรรคเดียว แต่พระสาวกทั้งหลายทำให้แจ้งสามัญญผล ๔ ได้ด้วยอริยมรรค ๔
ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสาวกทั้งหลายเห็นธรรมที่พระองค์ไม่ทรงเห็น บรรลุธรรมที่พระองค์
ไม่ทรงบรรลุ ทำให้แจ้งธรรมที่พระองค์ไม่ทรงทำให้แจ้งใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

เอกมัคคกถา จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๘๔๙ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๘. อัฏฐารสมวรรค] ๖. ฌานสังกันติกถา (๑๘๒)
๖. ฌานสังกันติกถา (๑๘๒)
ว่าด้วยการเลื่อนฌาน
[๘๑๓] สก. โยคีบุคคลเลื่อนจากฌานหนึ่งไปสู่ฌานหนึ่งได้ใช่ไหม
ปร.๑ ใช่๒
สก. เลื่อนจากปฐมฌานไปสู่ตติยฌานได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เลื่อนจากฌานหนึ่งไปสู่ฌานหนึ่งได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เลื่อนจากทุติยฌานไปสู่จตุตถฌานได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เลื่อนจากปฐมฌานไปสู่ทุติยฌานได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ความนึกถึง ฯลฯ ความตั้งใจ เพื่อความเกิดขึ้นแห่งปฐมฌานก็เพื่อ
ความเกิดขึ้นแห่งทุติยฌานใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. โยคีบุคคลเลื่อนจากปฐมฌานไปสู่ทุติยฌานได้ แต่ท่านไม่ยอมรับว่า
“ความนึกถึง ฯลฯ ความตั้งใจ เพื่อความเกิดขึ้นแห่งปฐมฌานก็เพื่อความเกิดขึ้น
แห่งทุติยฌาน” ใช่ไหม
ปร. ใช่

เชิงอรรถ :
๑ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายมหิสาสกะและนิกายอันธกะบางพวก (อภิ.ปญฺจ.อ. ๘๑๓-๘๑๖/๓๐๐)
๒ เพราะมีความเห็นว่า บุคคลสามารถเลื่อนจากฌานหนึ่งไปสู่ฌานหนึ่งได้ โดยไม่ต้องผ่านอุปจารแห่ง
ฌาน(ภาวนาวิถีจิต)นั้น ๆ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๘๑๓-๘๑๖/๓๐๐)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๘๕๐ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๘. อัฏฐารสมวรรค] ๖. ฌานสังกันติกถา (๑๘๒)
สก. ทุติยฌานเกิดขึ้นแก่โยคีบุคคลผู้ไม่นึกถึงอยู่ ฯลฯ ไม่ตั้งใจอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ทุติยฌานเกิดขึ้นแก่โยคีบุคคลผู้นึกถึงอยู่ ฯลฯ ตั้งใจอยู่มิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากทุติยฌานเกิดขึ้นแก่โยคีบุคคลผู้นึกถึงอยู่ ฯลฯ ผู้ตั้งใจอยู่ ท่านก็
ไม่ควรยอมรับว่า “โยคีบุคคลเลื่อนจากปฐมฌานไปสู่ทุติยฌานได้” ฯลฯ
สก. โยคีบุคคลเลื่อนจากปฐมฌานไปสู่ทุติยฌานได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ปฐมฌานเกิดขึ้นแก่โยคีบุคคลผู้มนสิการกามทั้งหลายโดยความเป็นของ
มีโทษใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ทุติยฌานเกิดขึ้นแก่โยคีบุคคลผู้มนสิการกามทั้งหลายโดยความเป็นของ
มีโทษใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ปฐมฌานมีวิตก มีวิจารใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ทุติยฌานมีวิตก มีวิจารใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. โยคีบุคคลเลื่อนจากปฐมฌานไปสู่ทุติยฌานได้ใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๘๕๑ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๘. อัฏฐารสมวรรค] ๖. ฌานสังกันติกถา (๑๘๒)
สก. ปฐมฌานกับทุติยฌานเป็นอย่างเดียวกันใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๘๑๔] สก. โยคีบุคคลเลื่อนจากทุติยฌานไปสู่ตติยฌานได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ความนึกถึง ฯลฯ ความตั้งใจ เพื่อความเกิดขึ้นแห่งทุติยฌานก็เพื่อ
ความเกิดขึ้นแห่งตติยฌานใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. โยคีบุคคลเลื่อนจากทุติยฌานไปสู่ตติยฌานได้ แต่ท่านไม่ยอมรับว่า
“ความนึกถึง ฯลฯ ความตั้งใจ เพื่อความเกิดขึ้นแห่งทุติยฌานก็เพื่อความเกิดขึ้น
แห่งตติยฌาน” ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ตติยฌานเกิดขึ้นแก่โยคีบุคคลผู้ไม่นึกถึงอยู่ ฯลฯ ไม่ตั้งใจอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ตติยฌานเกิดขึ้นแก่โยคีบุคคลผู้นึกถึงอยู่ ฯลฯ ตั้งใจอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. หากตติยฌานเกิดขึ้นแก่โยคีบุคคลผู้นึกถึงอยู่ ฯลฯ ตั้งใจอยู่ ท่านก็
ไม่ควรยอมรับว่า “โยคีบุคคลเลื่อนจากทุติยฌานไปสู่ตติยฌานได้”
สก. โยคีบุคคลเลื่อนจากทุติยฌานไปสู่ตติยฌานได้ใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๘๕๒ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๘. อัฏฐารสมวรรค] ๖. ฌานสังกันติกถา (๑๘๒)
สก. ทุติยฌานเกิดขึ้นแก่โยคีบุคคลผู้มนสิการวิตกวิจารโดยความเป็นของมี
โทษใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ตติยฌานเกิดขึ้นแก่โยคีบุคคลผู้มนสิการวิตกวิจารโดยความเป็นของมี
โทษใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ทุติยฌานยังมีปีติใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ตติยฌานยังมีปีติใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. โยคีบุคคลเลื่อนจากทุติยฌานไปสู่ตติยฌานได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ทุติยฌานกับตติยฌานเป็นอย่างเดียวกันใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๘๑๕] สก. โยคีบุคคลเลื่อนจากตติยฌานไปสู่จตุตถฌานได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ความนึกถึง ฯลฯ ความตั้งใจ เพื่อความเกิดขึ้นแห่งตติยฌานก็เพื่อ
ความเกิดขึ้นแห่งจตุตถฌานใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. โยคีบุคคลเลื่อนจากตติยฌานไปสู่จตุตถฌานได้ แต่ท่านไม่ยอมรับว่า
“ความนึกถึง ฯลฯ ความตั้งใจ เพื่อความเกิดขึ้นแห่งตติยฌานก็เพื่อความเกิดขึ้น
แห่งจตุตถฌาน” ใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๘๕๓ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๘. อัฏฐารสมวรรค] ๖. ฌานสังกันติกถา (๑๘๒)
สก. จตุตถฌานเกิดขึ้นแก่โยคีบุคคลผู้ไม่นึกถึงอยู่ ฯลฯ ไม่ตั้งใจอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. จตุตถฌานเกิดขึ้นแก่โยคีบุคคลผู้นึกถึงอยู่ ฯลฯ ตั้งใจอยู่มิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากจตุตถฌานเกิดขึ้นแก่โยคีบุคคลผู้นึกถึงอยู่ ฯลฯ ตั้งใจอยู่ ท่านก็
ไม่ควรยอมรับว่า “โยคีบุคคลเลื่อนจากตติยฌานไปสู่จตุตถฌานได้”
สก. โยคีบุคคลเลื่อนจากตติยฌานไปสู่จตุตถฌานได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ตติยฌานเกิดขึ้นแก่โยคีบุคคลผู้มนสิการปีติ โดยความเป็นของมีโทษ
ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. จตุตถฌานเกิดขึ้นแก่โยคีบุคคลผู้มนสิการปีติ โดยความเป็นของมีโทษ
ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ตติยฌานสหรคตด้วยสุขใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. จตุตถฌานสหรคตด้วยสุขใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. โยคีบุคคลเลื่อนจากตติยฌานไปสู่จตุตถฌานได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ตติยฌานกับจตุตถฌานเป็นอย่างเดียวกันใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๘๕๔ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๘. อัฏฐารสมวรรค] ๗. ฌานันตริกกถา (๑๘๓)
[๘๑๖] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “โยคีบุคคลเลื่อนจากฌานหนึ่งไปสู่ฌานหนึ่งได้”
ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัย
นี้สงัดจากกามทั้งหลาย ฯลฯ เข้าจตุตถฌานอยู่”๑ มีอยู่จริงมิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. ดังนั้น โยคีบุคคลจึงเลื่อนจากฌานหนึ่งไปสู่ฌานหนึ่งได้
ฌานสังกันติกถา จบ

๗. ฌานันตริกกถา (๑๘๓)
ว่าด้วยสมาธิที่เกิดในระหว่างฌาน
[๘๑๗] สก. สมาธิที่เกิดในระหว่างฌานมีอยู่ใช่ไหม
ปร.๒ ใช่๓
สก. สมาธิที่เกิดในระหว่างผัสสะ ฯลฯ สมาธิที่เกิดในระหว่างปัญญามีอยู่
ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สมาธิที่เกิดในระหว่างฌานมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สมาธิที่เกิดในระหว่างฌาน มีอยู่ในระหว่างทุติยฌานกับตติยฌานใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

เชิงอรรถ :
๑ ดู ม.อุ. (แปล) ๑๔/๑๖/๒๓-๒๔
๒ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายสมิติยะและนิกายอันธกะบางพวก (อภิ.ปญฺจ.อ. ๘๑๗/๓๐๑)
๓ เพราะมีความเห็นว่า ทุติยฌานในปัญจกนัย เป็นฌานในระหว่างแห่งฌานที่ ๑ กับฌานที่ ๒ ในจตุกกนัย
(อภิ.ปญฺจ.อ. ๘๑๗/๓๐๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๘๕๕ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๘. อัฏฐารสมวรรค] ๗. ฌานันตริกกถา (๑๘๓)
สก. สมาธิที่เกิดในระหว่างฌานมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สมาธิที่เกิดในระหว่างฌานมีอยู่ในระหว่างตติยฌานกับจตุตถฌานใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สมาธิที่เกิดในระหว่างฌานไม่มีในระหว่างทุติยฌานกับตติยฌานใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. หากสมาธิที่เกิดในระหว่างฌานไม่มีในระหว่างทุติยฌานกับตติยฌาน
ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “สมาธิที่เกิดในระหว่างฌานมีอยู่”
สก. สมาธิที่เกิดในระหว่างฌานไม่มีในระหว่างตติยฌานกับจตุตถฌานใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. หากสมาธิที่เกิดในระหว่างฌานไม่มีในระหว่างตติยฌานกับจตุตถฌาน
ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “สมาธิที่เกิดในระหว่างฌานมีอยู่”
[๘๑๘] สก. สมาธิที่เกิดในระหว่างฌานมีอยู่ในระหว่างปฐมฌานกับทุติย-
ฌานใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สมาธิที่เกิดในระหว่างฌานมีอยู่ในระหว่างทุติยฌานกับตติยฌานใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สมาธิที่เกิดในระหว่างฌานมีอยู่ในระหว่างปฐมฌานกับทุติยฌานใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สมาธิที่เกิดในระหว่างฌานมีอยู่ในระหว่างตติยฌานกับจตุตถฌานใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สมาธิที่เกิดในระหว่างฌานไม่มีในระหว่างทุติยฌานกับตติยฌานใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๘๕๖ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๘. อัฏฐารสมวรรค] ๗. ฌานันตริกกถา (๑๘๓)
สก. สมาธิที่เกิดในระหว่างฌานไม่มีในระหว่างปฐมฌานกับทุติยฌานใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สมาธิที่เกิดในระหว่างฌานไม่มีในระหว่างตติยฌานกับจตุตถฌานใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สมาธิที่เกิดในระหว่างฌานไม่มีในระหว่างปฐมฌานกับทุติยฌานใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๘๑๙] สก. สมาธิที่ไม่มีวิตกมีเพียงวิจาร ชื่อว่าสมาธิที่เกิดในระหว่างฌาน
ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สมาธิที่มีวิตกมีวิจาร ชื่อว่าสมาธิที่เกิดในระหว่างฌานใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สมาธิที่ไม่มีวิตกมีเพียงวิจาร ชื่อว่าสมาธิที่เกิดในระหว่างฌานใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สมาธิที่ไม่มีวิตกไม่มีวิจาร ชื่อว่าสมาธิที่เกิดในระหว่างฌานใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สมาธิที่มีวิตกมีวิจาร ไม่ชื่อว่าสมาธิที่เกิดในระหว่างฌานใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สมาธิที่ไม่มีวิตกมีเพียงวิจาร ไม่ชื่อว่าสมาธิที่เกิดในระหว่างฌานใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สมาธิที่ไม่มีวิตกไม่มีวิจาร ไม่ชื่อว่าสมาธิที่เกิดในระหว่างฌานใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๘๕๗ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๘. อัฏฐารสมวรรค] ๗. ฌานันตริกกถา (๑๘๓)
สก. สมาธิที่ไม่มีวิตกมีเพียงวิจาร ไม่ชื่อว่าสมาธิที่เกิดในระหว่างฌานใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๘๒๐] สก. สมาธิที่ไม่มีวิตกมีเพียงวิจาร มีอยู่ในระหว่างฌานทั้ง ๒ ที่เกิด
ขึ้นเฉพาะหน้าใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เมื่อสมาธิที่ไม่มีวิตกมีเพียงวิจารเป็นไปอยู่ ปฐมฌานดับไป ทุติยฌาน
เกิดขึ้นเฉพาะหน้าใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. หากเมื่อสมาธิที่ไม่มีวิตกมีเพียงวิจารเป็นไปอยู่ ปฐมฌานดับไป ทุติยฌาน
เกิดขึ้นเฉพาะหน้า ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “สมาธิที่ไม่มีวิตกมีเพียงวิจาร ชื่อว่า
สมาธิที่เกิดในระหว่างฌานมีอยู่ในระหว่างฌานทั้ง ๒ ที่เกิดขึ้นเฉพาะหน้า”
[๘๒๑] ปร. สมาธิที่ไม่มีวิตกมีเพียงวิจาร ไม่ชื่อว่าสมาธิที่เกิดในระหว่างฌาน
ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. สมาธิที่ไม่มีวิตกมีเพียงวิจาร เป็นปฐมฌาน ฯลฯ ทุติยฌาน ฯลฯ
ตติยฌาน ฯลฯ จตุตถฌานใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น
ปร. ดังนั้น สมาธิที่ไม่มีวิตกมีเพียงวิจาร จึงชื่อว่าสมาธิที่เกิดในระหว่างฌาน
[๘๒๒] สก. สมาธิที่ไม่มีวิตกมีเพียงวิจาร ชื่อว่าสมาธิที่เกิดในระหว่างฌาน
ใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๘๕๘ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๘. อัฏฐารสมวรรค] ๘. สมาปันโนสัททังสุณาตีติกถา (๑๘๔)
สก. สมาธิ พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ ๓ อย่าง คือ (๑) สมาธิที่มีวิตกมีวิจาร
(๒) สมาธิที่ไม่มีวิตกมีเพียงวิจาร (๓) สมาธิที่ไม่มีวิตกไม่มีวิจารมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากสมาธิพระผู้มีพระภาคตรัสไว้ ๓ อย่าง คือ (๑) สมาธิที่มีวิตกมีวิจาร
(๒) สมาธิที่ไม่มีวิตกมีเพียงวิจาร (๓) สมาธิที่ไม่มีวิตกไม่มีวิจาร ท่านก็ไม่ควร
ยอมรับว่า “สมาธิไม่มีวิตกมีเพียงวิจาร ชื่อว่าสมาธิที่เกิดในระหว่างฌาน”
ฌานันตริกกถา จบ

๘. สมาปันโนสัททังสุณาตีติกถา (๑๘๔)
ว่าด้วยผู้เข้าสมาบัติได้ยินเสียง
[๘๒๓] สก. ผู้เข้าสมาบัติได้ยินเสียงใช่ไหม
ปร.๑ ใช่๒
สก. ผู้เข้าสมาบัติเห็นรูปทางตา ฯลฯ ฟังเสียงทางหู ฯลฯ ดมกลิ่นทางจมูก
ฯลฯ ลิ้มรสทางลิ้น ฯลฯ ถูกต้องโผฏฐัพพะทางกายได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ผู้เข้าสมาบัติได้ยินเสียงใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ผู้เข้าสมาบัติเป็นผู้พรั่งพร้อมด้วยโสตวิญญาณใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

เชิงอรรถ :
๑ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายปุพพเสลิยะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๘๒๓-๘๒๕/๓๐๒)
๒ เพราะมีความเห็นว่า ในขณะที่เข้าสมาบัติอยู่ บุคคลสามารถได้ยินเสียงด้วยหูธรรมดาได้ โดยอ้างพระ
พุทธพจน์ที่ว่าเสียงเป็นปฏิปักษ์ต่อปฐมฌาน ซึ่งต่างกับความเห็นของสกวาทีที่เห็นว่า ผู้เข้าฌานไม่สามารถ
ได้ยินเสียงอะไรได้ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๘๒๓-๘๒๕/๓๐๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๘๕๙ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๘. อัฏฐารสมวรรค] ๘. สมาปันโนสัททังสุณาตีติกถา (๑๘๔)
สก. สมาธิมีแก่ผู้พรั่งพร้อมด้วยมโนวิญญาณมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากสมาธิมีแก่ผู้พรั่งพร้อมด้วยมโนวิญญาณ ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า
“ผู้เข้าสมาบัติได้ยินเสียงได้”
สก. สมาธิมีแก่ผู้พรั่งพร้อมด้วยมโนวิญญาณ ผู้พรั่งพร้อมด้วยโสตวิญญาณ
ได้ยินเสียงได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. หากสมาธิมีแก่ผู้พรั่งพร้อมด้วยมโนวิญญาณ ผู้พรั่งพร้อมด้วยโสตวิญญาณ
ได้ยินเสียงได้ ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “ผู้เข้าสมาบัติได้ยินเสียงได้”
สก. สมาธิมีแก่ผู้พรั่งพร้อมด้วยมโนวิญญาณ ผู้พรั่งพร้อมด้วยโสตวิญญาณ
ได้ยินเสียงได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. มีการประชุมแห่งผัสสะ ๒ ฯลฯ จิต ๒ ดวงใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๘๒๔] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “ผู้เข้าสมาบัติได้ยินเสียง” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. เสียง พระผู้มีพระภาคตรัสว่าเป็นปฏิปักษ์ต่อปฐมฌานมิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. หากเสียง พระผู้มีพระภาคตรัสว่าเป็นปฏิปักษ์ต่อปฐมฌาน ดังนั้น
ท่านจึงควรยอมรับว่า “ผู้เข้าสมาบัติได้ยินเสียง”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๘๖๐ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๘. อัฏฐารสมวรรค] ๘. สมาปันโนสัททังสุณาตีติกถา (๑๘๔)
[๘๒๕] สก. เสียงพระผู้มีพระภาคตรัสว่าเป็นปฏิปักษ์ต่อปฐมฌาน เพราะเหตุ
นั้น ผู้เข้าสมาบัติจึงได้ยินเสียงได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. วิตกวิจาร พระผู้มีพระภาคตรัสว่าเป็นปฏิปักษ์ต่อทุติยฌาน ทุติยฌาน
นั้นยังมีวิตกวิจารใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เสียง พระผู้มีพระภาคตรัสว่าเป็นปฏิปักษ์ต่อปฐมฌาน ดังนั้น ผู้เข้า
สมาบัติจึงได้ยินเสียงได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ปีติ พระผู้มีพระภาคตรัสว่าเป็นปฏิปักษ์ต่อตติยฌาน ฯลฯ ลมอัสสาสะ
ปัสสาสะ ตรัสว่าเป็นปฏิปักษ์ต่อจตุตถฌาน ฯลฯ รูปสัญญา ตรัสว่าเป็นปฏิปักษ์
ต่อผู้เข้าอากาสานัญจายตนสมาบัติ ฯลฯ อากาสานัญจายตนสัญญา ตรัสว่าเป็น
ปฏิปักษ์ต่อผู้เข้าวิญญาณัญจายตนสมาบัติ ฯลฯ วิญญาณัญจายตนสัญญา ตรัสว่า
เป็นปฏิปักษ์ต่อผู้เข้าอากิญจัญญายตนสมาบัติ ฯลฯ อากิญจัญญายตนสัญญา
ตรัสว่าเป็นปฏิปักษ์ต่อผู้เข้าเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ ฯลฯ สัญญาและ
เวทนา ตรัสว่าเป็นปฏิปักษ์ต่อผู้เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ ผู้เข้าสัญญาเวทยิต-
นิโรธสมาบัตินั้นยังมีสัญญาและเวทนาอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

สมาปันโนสัททังสุณาตีติกถา จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๘๖๑ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๘. อัฏฐารสมวรรค] ๙. จักขุนารูปังปัสสตีติกถา (๑๘๕)
๙. จักขุนารูปังปัสสตีติกถา (๑๘๕)
ว่าด้วยเห็นรูปทางตา
[๘๒๖] สก. บุคคลเห็นรูปทางตาใช่ไหม
ปร.๑ ใช่๒
สก. บุคคลเห็นรูปด้วยรูปใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลเห็นรูปด้วยรูปใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลรับรู้รูปด้วยรูปใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลรับรู้รูปด้วยรูปใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. รูปเป็นมโนวิญญาณใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลเห็นรูปทางตาใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ตามีความนึกถึง ฯลฯ มีความตั้งใจใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

เชิงอรรถ :
๑ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายมหาสังฆิกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๘๒๖-๘๒๗/๓๐๒)
๒ เพราะมีความเห็นว่า จักขุปสาท(ประสาทคือตา) เป็นผู้เห็นรูป มิใช่จักขุวิญญาณ ซึ่งต่างกับความเห็น
ของสกวาทีที่เห็นว่า จักขุปสาททำหน้าที่รับ(ดู) แต่จักขุวิญญาณทำหน้าที่รู้ (อภิ.ปญฺจ.อ.
๘๒๖-๘๒๗/๓๐๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๘๖๒ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๘. อัฏฐารสมวรรค] ๙. จักขุนารูปังปัสสตีติกถา (๑๘๕)
สก. ตาไม่มีความนึกถึง ฯลฯ ไม่มีความตั้งใจมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากตาไม่มีความนึกถึง ฯลฯ ไม่มีความตั้งใจ ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า
“บุคคลเห็นรูปทางตา”
สก. บุคคลฟังเสียงทางหู ฯลฯ ดมกลิ่นทางจมูก ฯลฯ ลิ้มรสทางลิ้น ฯลฯ
ถูกต้องโผฏฐัพพะทางกายใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลถูกต้องรูปด้วยรูปใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลถูกต้องรูปด้วยรูปใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลรับรู้รูปด้วยรูปใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลรับรู้รูปด้วยรูปใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. รูปเป็นมโนวิญญาณใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลถูกต้องโผฏฐัพพะทางกายใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. กายมีความนึกถึง ฯลฯ ความตั้งใจใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๘๖๓ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๘. อัฏฐารสมวรรค] รวมกถาที่มีในวรรค
สก. กายไม่มีความนึกถึง ฯลฯ ไม่มีความตั้งใจมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากกายไม่มีความนึกถึง ฯลฯ ไม่มีความตั้งใจ ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า
“บุคคลถูกต้องโผฏฐัพพะทางกาย”
[๘๒๗] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “บุคคลเห็นรูปทางตา ฯลฯ ถูกต้องโผฏฐัพพะ
ทางกาย” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัย
นี้เห็นรูปทางตา ฯลฯ ถูกต้องโผฏฐัพพะทางกาย”๑ มีอยู่จริงมิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. ดังนั้น บุคคลจึงเห็นรูปทางตา ฯลฯ ถูกต้องโผฏฐัพพะทางกาย
จักขุนารูปังปัสสตีติกถา จบ
อัฏฐารสมวรรค จบ

รวมกถาที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. มนุสสโลกกถา ๒. ธัมมเทสนากถา
๓. กรุณากถา ๔. คันธชาติกถา
๕. เอกมัคคกถา ๖. ฌานสังกันติกถา
๗. ฌานันตริกกถา ๘. สมาปันโนสัททังสุณาตีติกถา
๙. จักขุนารูปังปัสสตีติกถา


เชิงอรรถ :
๑ ดูความเต็มในข้อ ๓๓๘ หน้า ๓๑๒-๓๑๓ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๘๖๔ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๙. เอกูนวีสติมวรรค] ๑. กิเลสชหนกถา (๑๘๖)
๑๙. เอกูนวีสติวรรค
๑. กิเลสชหนกถา (๑๘๖)
ว่าด้วยการละกิเลส
[๘๒๘] สก. บุคคลละกิเลสที่เป็นอดีตได้ใช่ไหม
ปร.๑ ใช่๒
สก. บุคคลให้ธรรมที่ดับแล้วดับไป ให้ธรรมที่หายไปแล้วหายไป ให้ธรรมที่
สิ้นไปแล้วสิ้นไป ให้ธรรมที่สูญไปแล้วสูญไป ให้ธรรมที่ดับสูญไปแล้วดับสูญไปได้
ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลละกิเลสที่เป็นอดีตได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. อดีตดับไปแล้วมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากอดีตดับไปแล้ว ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “บุคคลละกิเลสที่เป็นอดีตได้”
สก. บุคคลละกิเลสที่เป็นอดีตได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. กิเลสที่เป็นอดีตไม่มีมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากกิเลสที่เป็นอดีตไม่มี ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “บุคคลละกิเลสที่
เป็นอดีตได้”

เชิงอรรถ :
๑ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอุตตราปถกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๘๒๘-๘๓๑/๓๐๓-๓๐๔)
๒ เพราะมีความเห็นว่า เนื่องจากอริยบุคคลละกิเลสในอดีตได้แล้วจึงชื่อว่าละกิเลสทั้งที่เป็นอดีต อนาคต
และปัจจุบันได้ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๘๒๘-๘๓๑/๓๐๓-๓๐๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๘๖๕ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๙. เอกูนวีสติมวรรค] ๑. กิเลสชหนกถา (๑๘๖)
[๘๒๙] สก. บุคคลละกิเลสที่เป็นอนาคตได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลให้ธรรมที่ยังไม่เกิดไม่ให้เกิด ให้ธรรมที่ยังไม่เกิดพร้อมไม่ให้เกิดพร้อม
ให้ธรรมที่ยังไม่บังเกิดไม่ให้บังเกิด ให้ธรรมที่ยังไม่ปรากฏไม่ให้ปรากฏได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลละกิเลสที่เป็นอนาคตได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. กิเลสที่เป็นอนาคตยังไม่เกิดมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากกิเลสที่เป็นอนาคตยังไม่เกิด ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “บุคคลละ
กิเลสที่เป็นอนาคตได้”
สก. บุคคลละกิเลสที่เป็นอนาคตได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. กิเลสที่เป็นอนาคตไม่มีมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากกิเลสที่เป็นอนาคตไม่มี ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “บุคคลละกิเลสที่
เป็นอนาคตได้”
[๘๓๐] สก. บุคคลละกิเลสที่เป็นปัจจุบันได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลผู้กำหนัดละราคะ ผู้ขัดเคืองละโทสะ ผู้หลงละโมหะ ผู้เศร้าหมอง
ละกิเลสได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๘๖๖ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๙. เอกูนวีสติมวรรค] ๑. กิเลสชหนกถา (๑๘๖)
สก. บุคคลละราคะด้วยราคะ ละโทสะด้วยโทสะ ละโมหะด้วยโมหะ ละกิเลส ด้วยกิเลส
ได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ราคะสัมปยุตด้วยจิต มรรคก็สัมปยุตด้วยจิตใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. มีการประชุมแห่งผัสสะ ๒ อย่าง ฯลฯ จิต ๒ ดวงใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ราคะเป็นอกุศล ส่วนมรรคเป็นกุศลใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สภาวธรรมที่เป็นกุศลและอกุศล ที่มีโทษและไม่มีโทษ ที่เลวและประณีต
ที่เป็นฝ่ายดำ เป็นฝ่ายขาว และเป็นฝ่ายมีส่วนเปรียบมาประชุมกันได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สภาวธรรมที่เป็นกุศลและอกุศล ที่มีโทษและไม่มีโทษ ที่เลวและประณีต
ที่เป็นฝ่ายดำ เป็นฝ่ายขาว และเป็นฝ่ายมีส่วนเปรียบมาประชุมกันได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย สิ่งที่อยู่ห่างไกลกัน
เหลือเกิน ๔ อย่างนี้
สิ่งที่อยู่ห่างไกลกันเหลือเกิน ๔ อย่าง อะไรบ้าง คือ
๑. ท้องฟ้ากับแผ่นดิน นี้เป็นสิ่งที่อยู่ห่างไกลกันเหลือเกินอย่างที่ ๑
ฯลฯ
เพราะฉะนั้น ธรรมของสัตบุรุษจึงห่างไกลกันกับธรรมของอสัตบุรุษ”๑
มีอยู่จริงมิใช่หรือ
ปร. ใช่

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ องฺ.จตุกฺก. (แปล) ๒๑/๔๗/๗๗

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๘๖๗ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๙. เอกูนวีสติมวรรค] ๒. สุญญตากถา (๑๘๗)
สก. ดังนั้น ท่านจึงไม่ควรยอมรับว่า “สภาวธรรมที่เป็นกุศลและอกุศล ฯลฯ
มาประชุมกันได้”
[๘๓๑] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “บุคคลละกิเลสที่เป็นอดีต กิเลสที่เป็นอนาคต
กิเลสที่เป็นปัจจุบันได้” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. บุคคลที่ละกิเลสได้ไม่มีใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. ดังนั้น บุคคลจึงละกิเลสที่เป็นอดีต กิเลสที่เป็นอนาคต กิเลสที่เป็น
ปัจจุบันได้
กิเลสชหนกถา จบ

๒. สุญญตากถา (๑๘๗)
ว่าด้วยความว่าง
[๘๓๒] สก. ความว่าง๑นับเนื่องในสังขารขันธ์ใช่ไหม
ปร.๒ ใช่๓
สก. นิพพานที่ไม่มีนิมิต๔ก็นับเนื่องในสังขารขันธ์ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

เชิงอรรถ :
๑ ความว่าง แปลมาจากศัพท์ว่า “สุญฺ�ตา” ซึ่งมีความหมาย ๒ อย่าง คือ (๑) อนัตตลักขณะ(ลักษณะ
ที่เป็นอนัตตา)ของขันธ์ทั้งหลาย (๒) นิพพาน (อภิ.ปญฺจ.อ. ๘๓๒/๓๐๔)
๒ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอันธกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๘๓๒/๓๐๔)
๓ เพราะมีความเห็นว่า ความว่างนับเนื่องในสังขารขันธ์โดยไม่แยก ซึ่งต่างกับความเห็นของสกวาทีที่เห็นว่า
ความว่างที่เป็นอนัตตลักษณะของขันธ์ทั้งหลายเท่านั้น จึงจะชื่อว่านับเนื่องในสังขารขันธ์ได้ ส่วนความว่างที่
เป็นนิพพานไม่ชื่อว่านับเนื่องในสังขารขันธ์ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๘๓๒/๓๐๔)
๔ นิพพานที่ไม่มีนิมิต หมายถึงนิพพานที่ไม่มีนิมิตคือกิเลสทั้งปวง (ขุ.อป.อ. ๒/๒๐๙/๑๗๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๘๖๘ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๙. เอกูนวีสติมวรรค] ๒. สุญญตากถา (๑๘๗)
สก. ความว่างนับเนื่องในสังขารขันธ์ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. นิพพานที่ไม่มีที่ตั้ง๑ นับเนื่องในสังขารขันธ์ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. นิพพานที่ไม่มีนิมิต ท่านไม่ยอมรับว่า “นับเนื่องในสังขารขันธ์” ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ความว่าง ท่านไม่ยอมรับว่า “นับเนื่องในสังขารขันธ์” ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. นิพพานที่ไม่มีที่ตั้ง ท่านไม่ยอมรับว่า “นับเนื่องในสังขารขันธ์” ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ความว่าง ท่านไม่ยอมรับว่า “นับเนื่องในสังขารขันธ์” ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ความว่าง นับเนื่องในสังขารขันธ์ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สังขารขันธ์ไม่ใช่ไม่เที่ยง ไม่ใช่มีปัจจัยปรุงแต่ง ไม่ใช่อาศัยกันและกัน
เกิดขึ้น ไม่ใช่มีความสิ้นไป เสื่อมไป คลายไป ดับไป แปรผันไปเป็นธรรมดาใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สังขารขันธ์ไม่เที่ยง มีปัจจัยปรุงแต่ง อาศัยกันและกันเกิดขึ้น มีความ
สิ้นไป เสื่อมไป คลายไป ดับไป แปรผันไปเป็นธรรมดามิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากสังขารขันธ์ไม่เที่ยง ฯลฯ มีความแปรผันไปเป็นธรรมดา ท่านก็
ไม่ควรยอมรับว่า “ความว่างนับเนื่องในสังขารขันธ์”

เชิงอรรถ :
๑ นิพพานที่ไม่มีที่ตั้ง หมายถึงนิพพานที่ไม่มีที่ตั้งคือกิเลส (ขุ.อป.อ. ๒/๒๐๙/๑๗๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๘๖๙ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๙. เอกูนวีสติมวรรค] ๒. สุญญตากถา (๑๘๗)
[๘๓๓] สก. ความว่างแห่งรูปขันธ์นับเนื่องในสังขารขันธ์ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ความว่างแห่งสังขารขันธ์นับเนื่องในรูปขันธ์ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ความว่างแห่งเวทนาขันธ์ ฯลฯ สัญญาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์
นับเนื่องในสังขารขันธ์ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ความว่างแห่งสังขารขันธ์นับเนื่องในวิญญาณขันธ์ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ความว่างแห่งสังขารขันธ์ ท่านไม่ยอมรับว่า “นับเนื่องในรูปขันธ์” ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ความว่างแห่งรูปขันธ์ ท่านไม่ยอมรับว่า “นับเนื่องในสังขารขันธ์” ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ความว่างแห่งสังขารขันธ์ ท่านไม่ยอมรับว่า “นับเนื่องในเวทนาขันธ์
ฯลฯ นับเนื่องในสัญญาขันธ์ ฯลฯ นับเนื่องในวิญญาณขันธ์” ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ความว่างแห่งวิญญาณขันธ์ ท่านไม่ยอมรับว่า “นับเนื่องในสังขาร-
ขันธ์” ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๘๓๔] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “ความว่างนับเนื่องในสังขารขันธ์” ใช่ไหม
สก. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๘๗๐ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๙. เอกูนวีสติมวรรค] ๓. สามัญญผลกถา (๑๘๘)
ปร. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย สังขารนี้ว่างจาก
อัตตาหรือจากสิ่งที่นับเนื่องด้วยอัตตา” ๑ มีอยู่จริงมิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. ดังนั้น ความว่างจึงนับเนื่องในสังขารขันธ์
สุญญตากถา จบ

๓. สามัญญผลกถา (๑๘๘)
ว่าด้วยผลแห่งความเป็นสมณะ
[๘๓๕] สก. ผลแห่งความเป็นสมณะ๒ เป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง
(เป็นอสังขตะ)ใช่ไหม
ปร.๓ ใช่๔
สก. ผลแห่งความเป็นสมณะ เป็นนิพพาน เป็นที่ต้านทาน เป็นที่เร้น
เป็นที่พึ่ง เป็นที่หมาย เป็นที่มั่น เป็นอมตะใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ผลแห่งความเป็นสมณะเป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง นิพพาน
เป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งมี ๒ อย่างใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ ม.อุ. (แปล) ๑๔/๖๙/๗๕
๒ ผลแห่งความเป็นสมณะ ในที่นี้หมายถึงวิปากจิตแห่งอริยมรรคในมรรควิถีและในผลสมาบัติ (อภิ.ปญฺจ.อ.
๘๓๕-๘๓๖/๓๐๕)
๓ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายปุพพเสลิยะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๘๓๕-๘๓๖/๓๐๕)
๔ เพราะมีความเห็นว่า การละกิเลสและความเกิดขึ้นแห่งผลจิตจัดเป็นผลแห่งความเป็นสมณะ ฉะนั้นจึงเป็น
สภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง (อภิ.ปญฺจ.อ. ๘๓๕-๘๓๖/๓๐๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๘๗๑ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๙. เอกูนวีสติมวรรค] ๓. สามัญญผลกถา (๑๘๘)
สก. สภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งมี ๒ อย่างใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ที่ต้านทานมี ๒ อย่าง ฯลฯ ช่องว่างแห่งนิพพานมี ๒ อย่างใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๘๓๖] สก. ผลแห่งความเป็นสมณะเป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ความเป็นสมณะเป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ความเป็นสมณะเป็นสภาวธรรมที่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ผลแห่งความเป็นสมณะเป็นสภาวธรรมที่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. โสดาปัตติผลเป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. โสดาปัตติมรรคเป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. โสดาปัตติมรรคเป็นสภาวธรรมที่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. โสดาปัตติผลเป็นสภาวธรรมที่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๘๗๒ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๙. เอกูนวีสติมวรรค] ๓. สามัญญผลกถา (๑๘๘)
สก. สกทาคามิผล ฯลฯ อนาคามิผล ฯลฯ อรหัตตผลเป็นสภาวธรรมที่
ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. อรหัตตมรรคเป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. อรหัตตมรรคเป็นสภาวธรรมที่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. อรหัตตผลเป็นสภาวธรรมที่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. โสดาปัตติผลเป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง สกทาคามิผล ฯลฯ
อนาคามิผล ฯลฯ อรหัตตผลเป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง นิพพานก็เป็น
สภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งมี ๕ อย่างใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งมี ๕ อย่างใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ที่ต้านทานมี ๕ อย่าง ฯลฯ ช่องว่างแห่งนิพพานมี ๕ อย่างใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

สามัญญผลกถา จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๘๗๓ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๙. เอกูนวีสติมวรรค] ๔. ปัจตติกถา (๑๘๙)
๔. ปัตติกถา (๑๘๙)
ว่าด้วยการได้
[๘๓๗] สก. การได้๑ เป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง(เป็นอสังขตะ)ใช่ไหม
ปร.๒ ใช่๓
สก. การได้เป็นนิพพาน เป็นที่ต้านทาน เป็นที่เร้น เป็นที่ระลึก เป็นที่หมาย
เป็นที่มั่น เป็นอมตะใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. การได้เป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง นิพพานก็เป็นสภาวธรรม
ที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งมี ๒ อย่างใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งมี ๒ อย่างใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ที่ต้านทานมี ๒ อย่าง ฯลฯ ช่องว่างแห่งนิพพานมี ๒ อย่างใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๘๓๘] สก. การได้จีวรเป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. การได้เป็นนิพพาน ฯลฯ เป็นอมตะใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

เชิงอรรถ :
๑ การได้ แปลมาจากศัพท์ว่า “ปตฺติ” อรรถกถา แก้เป็น ปฏิลาโภ ซึ่งหมายถึงการบรรลุก็ได้ (อภิ.ปญฺจ.อ.
๘๓๗-๘๔๐/๓๐๖)
๒ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายปุพพเสลิยะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๘๓๗-๘๔๐/๓๐๖)
๓ เพราะมีความเห็นว่า การบรรลุฌาน มรรค ผล และการได้ทรัพย์สินจัดเป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง
(อภิ.ปญฺจ.อ. ๘๓๗-๘๔๐/๓๐๖)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๘๗๔ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๙. เอกูนวีสติมวรรค] ๔. ปัจตติกถา (๑๘๙)
สก. การได้จีวรเป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง นิพพานก็เป็นสภาวธรรม
ที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งมี ๒ อย่างใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งมี ๒ อย่างใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ที่ต้านทานมี ๒ อย่าง ฯลฯ ช่องว่างแห่งนิพพานมี ๒ อย่างใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. การได้บิณฑบาต ฯลฯ การได้เสนาสนะ ฯลฯ การได้คิลานปัจจัย-
เภสัชบริขารเป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. การได้เป็นนิพพาน ฯลฯ เป็นที่มั่น เป็นอมตะใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. การได้คิลานปัจจัยเภสัชบริขารเป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง
นิพพานก็เป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งมี ๒ อย่างใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งมี ๒ อย่างใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ที่ต้านทานมี ๒ อย่าง ฯลฯ ช่องว่างแห่งนิพพานมี ๒ อย่างใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๘๗๕ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๙. เอกูนวีสติมวรรค] ๔. ปัจตติกถา (๑๘๙)
สก. การได้จีวรเป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง ฯลฯ การได้บิณฑบาต
ฯลฯ การได้เสนาสนะ ฯลฯ การได้คิลานปัจจัยเภสัชบริขารเป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูก
ปัจจัยปรุงแต่ง นิพพานก็เป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งมี ๕ อย่างใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งมี ๕ อย่างใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ที่ต้านทานมี ๕ อย่าง ฯลฯ ช่องว่างแห่งนิพพานมี ๕ อย่างใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๘๓๙] สก. การได้ปฐมฌานเป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง ฯลฯ
(ควรให้พิสดารทั้งหมดโดยนัยที่กล่าวมาแล้ว) การได้ทุติยฌาน ... ตติยฌาน ...
จตุตถฌาน ... อากาสานัญจายตนะ ... วิญญาณัญจายตนะ ... อากิญจัญญายตนะ
... เนวสัญญานาสัญญายตนะ ... โสดาปัตติมรรค ... โสดาปัตติผล ...
สกทาคามิมรรค ... สกทาคามิผล ... อนาคามิมรรค ... อนาคามิผล ...
อรหัตตมรรค ... การได้อรหัตตผลเป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. การได้เป็นนิพพาน ฯลฯ เป็นที่มั่น เป็นอมตะใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. การได้อรหัตตผลเป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง นิพพานก็เป็น
สภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งมี ๒ อย่างใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งมี ๒ อย่างใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๘๗๖ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๙. เอกูนวีสติมวรรค] ๔. ปัจตติกถา (๑๘๙)
สก. ที่ต้านทานมี ๒ อย่าง ฯลฯ ช่องว่างแห่งนิพพานมี ๒ อย่างใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. การได้โสดาปัตติมรรคเป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง การได้
โสดาปัตติผลเป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง ฯลฯ การได้อรหัตตมรรคเป็น
สภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง การได้อรหัตตผลเป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง
นิพพานก็เป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งมี ๙ อย่างใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งมี ๙ อย่างใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ที่ต้านทานมี ๙ อย่าง ฯลฯ ช่องว่างแห่งนิพพานมี ๙ อย่างใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๘๔๐] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “การได้เป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง”
ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. การได้เป็นรูป เป็นเวทนา เป็นสัญญา เป็นสังขาร เป็นวิญญาณใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. ดังนั้น การได้จึงเป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง

ปัตติกถา จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๘๗๗ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๙. เอกูนวีสติมวรรค] ๕. ตถตากถา (๑๙๐)
๕. ตถตากถา (๑๙๐)
ว่าด้วยความเป็นจริง
[๘๔๑] สก. ความเป็นจริงแห่งสภาวธรรมทั้งปวงเป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัย
ปรุงแต่ง(เป็นอสังขตะ)ใช่ไหม
ปร.๑ ใช่๒
สก. ความเป็นจริงแห่งสภาวธรรมทั้งปวงเป็นนิพพาน ฯลฯ เป็นอมตะใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ความเป็นจริงแห่งสภาวธรรมทั้งปวงเป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง
นิพพานก็เป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งมี ๒ อย่างใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งมี ๒ อย่างใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ที่ต้านทานมี ๒ อย่าง ฯลฯ ช่องว่างแห่งนิพพานมี ๒ อย่างใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๘๔๒] สก. ความเป็นรูปแห่งรูป ความเป็นรูปเป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัย
ปรุงแต่งมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. ความเป็นรูปแห่งรูปนั้นเป็นนิพพาน ฯลฯ เป็นอมตะใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

เชิงอรรถ :
๑ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอุตตราปถกะบางพวก (อภิ.ปญฺจ.อ. ๘๔๑/๓๐๖)
๒ เพราะมีความเห็นว่า สภาวธรรมที่ถูกปัจจัยปรุงแต่งทั้งปวง มีความเป็นจริงอยู่อย่างหนึ่งเรียกว่าสภาวะ
สภาวะนั้นเป็นอสังขตะ (ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง) ซึ่งต่างกับความเห็นของสกวาทีที่เห็นว่า ธรรมที่ถูกปัจจัย
ปรุงแต่งกับสภาวะแห่งธรรมที่ถูกปัจจัยปรุงแต่งจัดเป็นสังขตะเช่นเดียวกัน (อภิ.ปญฺจ.อ. ๘๔๑/๓๐๖)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๘๗๘ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๙. เอกูนวีสติมวรรค] ๕. ตถตากถา (๑๙๐)
สก. ความเป็นรูปแห่งรูป ความเป็นรูปเป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง
นิพพานก็เป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. สภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งมี ๒ อย่างใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งมี ๒ อย่างใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ที่ต้านทานมี ๒ อย่าง ฯลฯ ช่องว่างแห่งนิพพานมี ๒ อย่างใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ความเป็นเวทนาแห่งเวทนา ความเป็นเวทนา ฯลฯ ความเป็นสัญญา
แห่งสัญญา ความเป็นสัญญา ฯลฯ ความเป็นสังขารแห่งสังขาร ความเป็นสังขาร
ฯลฯ ความเป็นวิญญาณแห่งวิญญาณ ความเป็นวิญญาณเป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูก
ปัจจัยปรุงแต่งมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. ความเป็นวิญญาณแห่งนิพพาน ฯลฯ เป็นอมตะใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ความเป็นรูปแห่งรูป ความเป็นรูปเป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง
ฯลฯ ความเป็นวิญญาณแห่งวิญญาณ ความเป็นวิญญาณเป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูก
ปัจจัยปรุงแต่ง นิพพานก็เป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. สภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งมี ๖ อย่างใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๘๗๙ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๙. เอกูนวีสติมวรรค] ๖. กุสลกถา (๑๙๑)
สก. สภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งมี ๖ อย่างใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ที่ต้านทานมี ๖ อย่าง ฯลฯ ช่องว่างแห่งนิพพานมี ๖ อย่างใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๘๔๓] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “ความเป็นจริงแห่งสภาวธรรมทั้งปวงเป็น
สภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. ความเป็นจริงแห่งสภาวธรรมทั้งปวงเป็นรูป เวทนา สัญญา สังขาร
วิญญาณใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น
ปร. ดังนั้น ความเป็นจริงแห่งสภาวธรรมทั้งปวงจึงเป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูก
ปัจจัยปรุงแต่ง
ตถตากถา จบ

๖. กุสลกถา (๑๙๑)
ว่าด้วยกุศล
[๘๔๔] สก. นิพพานธาตุเป็นกุศลใช่ไหม
ปร.๑ ใช่๒
สก. นิพพานธาตุรับรู้อารมณ์ได้ มีความนึกถึง ฯลฯ มีความตั้งใจใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

เชิงอรรถ :
๑ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอันธกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๘๔๔/๓๐๗)
๒ เพราะมีความเห็นว่า นิพพานไม่มีโทษจึงจัดเป็นกุศล ซึ่งต่างกับความเห็นของสกวาทีที่เห็นว่า นิพพาน
เป็นอัพยากฤต ถึงแม้จะไม่มีโทษ แต่ก็ไม่มีการเผล็ดผล (อภิ.ปญฺจ.อ. ๘๔๔/๓๐๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๘๘๐ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๙. เอกูนวีสติมวรรค] ๖. กุสลกถา (๑๙๑)
สก. นิพพานธาตุรับรู้อารมณ์ไม่ได้ ไม่มีความนึกถึง ฯลฯ ไม่มีความตั้งใจ
ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. หากนิพพานธาตุรับรู้อารมณ์ไม่ได้ ไม่มีความนึกถึง ฯลฯ ไม่มีความ
ตั้งใจ ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “นิพพานธาตุเป็นกุศล”
[๘๔๕] สก. อโลภะเป็นกุศล รับรู้อารมณ์ได้ มีความนึกถึง ฯลฯ มีความ
ตั้งใจใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. นิพพานธาตุเป็นกุศล รับรู้อารมณ์ได้ มีความนึกถึง ฯลฯ มีความตั้งใจ
ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. อโทสะเป็นกุศล ฯลฯ อโมหะ ฯลฯ สัทธา ฯลฯ วิริยะ ฯลฯ สติ ฯลฯ
สมาธิ ฯลฯ ปัญญา เป็นกุศล รับรู้อารมณ์ได้ มีความนึกถึง ฯลฯ มีความตั้งใจใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. นิพพานธาตุเป็นกุศล รับรู้อารมณ์ได้ มีความนึกถึง ฯลฯ มีความตั้ง
ใจใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. นิพพานธาตุเป็นกุศล แต่รับรู้อารมณ์ไม่ได้ ไม่มีความนึกถึง ฯลฯ ไม่
มีความตั้งใจใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. อโลภะเป็นกุศล แต่รับรู้อารมณ์ไม่ได้ ไม่มีความนึกถึง ฯลฯ ไม่มี
ความตั้งใจใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. นิพพานธาตุเป็นกุศล แต่รับรู้อารมณ์ไม่ได้ ไม่มีความนึกถึง ฯลฯ ไม่มี
ความตั้งใจใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๘๘๑ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๙. เอกูนวีสติมวรรค] ๗. อัจจันตนิยามกถา (๑๙๒)
สก. อโทสะเป็นกุศล ฯลฯ อโมหะ ฯลฯ สัทธา ฯลฯ วิริยะ ฯลฯ สติ ฯลฯ
สมาธิ ฯลฯ ปัญญา เป็นกุศล แต่รับรู้อารมณ์ไม่ได้ ไม่มีความนึกถึง ฯลฯ ไม่มี
ความตั้งใจใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๘๔๖] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “นิพพานธาตุเป็นกุศล” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. นิพพานธาตุไม่มีโทษมิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. หากนิพพานธาตุไม่มีโทษ ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “นิพพานธาตุ
เป็นกุศล”
กุสลกถา จบ

๗. อัจจันตนิยามกถา (๑๙๒)
ว่าด้วยความแน่นอนโดยส่วนเดียว
[๘๔๗] สก. ความแน่นอนโดยส่วนเดียวของปุถุชนมีอยู่ใช่ไหม
ปร.๑ ใช่๒
สก. บุคคลผู้ฆ่ามารดาเป็นผู้แน่นอนโดยส่วนเดียว ผู้ฆ่าบิดา ฯลฯ ผู้ฆ่า
พระอรหันต์ ฯลฯ ผู้ทำร้ายพระพุทธเจ้าจนถึงพระโลหิตห้อ ฯลฯ ผู้ทำลายสงฆ์
ให้แตกกัน เป็นผู้แน่นอนโดยส่วนเดียวใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

เชิงอรรถ :
๑ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอุตตราปถกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๘๔๗/๓๐๗)
๒ เพราะมีความเห็นว่า นิยตมิจฉาทิฏฐิบุคคล ไปเกิดในอบายแล้วไม่สามารถพ้นจากอบายได้ ซึ่งต่างกับ
ความเห็นของสกวาทีที่เห็นว่า แม้เป็นนิยตมิจฉาทิฏฐิบุคคลก็มิได้หมายความว่าจะอยู่ในอบายภูมิตลอดไป
เพียงแต่ต้องอยู่ในอบายนานกว่าผลกรรมอื่น ๆ จึงเรียกว่า นิยตบุคคล (อภิ.ปญฺจ.อ. ๘๔๗/๓๐๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๘๘๒ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๙. เอกูนวีสติมวรรค] ๗. อัจจันตนิยามกถา (๑๙๒)
[๘๔๘] สก. ความแน่นอนโดยส่วนเดียวของปุถุชนมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. วิจิกิจฉาพึงเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้แน่นอนโดยส่วนเดียวใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. หากวิจิกิจฉาพึงเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้แน่นอนโดยส่วนเดียว ท่านก็ไม่ควร
ยอมรับว่า “ความแน่นอนโดยส่วนเดียวของปุถุชนมีอยู่”
สก. วิจิกิจฉาไม่พึงเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้แน่นอนโดยส่วนเดียวใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เขาละวิจิกิจฉาได้แล้วใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เขาละวิจิกิจฉาได้แล้วใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ละได้ด้วยโสดาปัตติมรรคใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ละได้ด้วยสกทาคามิมรรค ฯลฯ อนาคามิมรรค ฯลฯ อรหัตตมรรค
ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ละได้ด้วยมรรคไหน
ปร. ละได้ด้วยมรรคฝ่ายอกุศล
สก. มรรคฝ่ายอกุศลเป็นสภาวธรรมนำสัตว์ออกจากวัฏฏทุกข์ ให้ถึงความสิ้นไป
ให้ถึงความตรัสรู้ ให้ถึงนิพพาน ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะ ฯลฯ ไม่เป็นอารมณ์
ของสังกิเลสใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๘๘๓ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๙. เอกูนวีสติมวรรค] ๗. อัจจันตนิยามกถา (๑๙๒)
สก. มรรคฝ่ายอกุศลไม่เป็นสภาวธรรมนำสัตว์ออกจากวัฏฏทุกข์ ฯลฯ
(แต่ยัง) เป็นอารมณ์ของสังกิเลสมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากมรรคฝ่ายอกุศลไม่เป็นสภาวธรรมนำสัตว์ออกจากทุกข์ ฯลฯ (แต่
ยัง) เป็นอารมณ์ของสังกิเลส ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “บุคคลผู้แน่นอนโดยส่วน
เดียวละวิจิกิจฉาได้ด้วยมรรคฝ่ายอกุศล”
[๘๔๙] สก. อุจเฉททิฏฐิ๑ พึงเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้แน่นอนโดยสัสสตทิฏฐิ๒ ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. หากอุจเฉททิฏฐิพึงเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้แน่นอนโดยสัสสตทิฏฐิ ท่านก็ไม่
ควรยอมรับว่า “ความแน่นอนโดยส่วนเดียวของปุถุชนมีอยู่”
สก. อุจเฉททิฏฐิไม่พึงเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้แน่นอนโดยสัสสตทิฏฐิใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เขาละอุจเฉททิฏฐิได้แล้วใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เขาละอุจเฉททิฏฐิได้แล้วใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ละได้ด้วยโสดาปัตติมรรคใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ละได้ด้วยสกทาคามิมรรค ฯลฯ อนาคามิมรรค ฯลฯ อรหัตตมรรค
ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

เชิงอรรถ :
๑ อุจเฉททิฏฐิ (ความเห็นว่าขาดสูญ) คือเห็นว่าอัตตาและโลกจักพินาศขาดสูญหมดสิ้นไป (ที.สี. (แปล)
๙/๑๖๘/๑๔๖)
๒ สัสสตทิฏฐิ (ความเห็นว่าเที่ยง) คือเห็นว่าอัตตาและโลกเที่ยงแท้ยั่งยืนคงอยู่ตลอดไป (ที.สี. (แปล)
๙/๑๖๘/๑๔๖)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๘๘๔ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๙. เอกูนวีสติมวรรค] ๗. อัจจันตนิยามกถา (๑๙๒)
สก. ละได้ด้วยมรรคไหน
ปร. ละได้ด้วยมรรคฝ่ายอกุศล
สก. มรรคฝ่ายอกุศลเป็นสภาวธรรมนำสัตว์ออกจากวัฏฏทุกข์ ฯลฯ๑ ท่าน
ก็ไม่ควรยอมรับว่า “บุคคลผู้แน่นอนโดยสัสสตทิฏฐิละอุจเฉททิฏฐิได้ด้วยมรรคฝ่าย
อกุศล”
[๘๕๐] สก. สัสสตทิฏฐิพึงเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้แน่นอนโดยอุจเฉททิฏฐิใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. หากสัสสตทิฏฐิพึงเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้แน่นอนโดยอุจเฉททิฏฐิ ท่านก็ไม่
ควรยอมรับว่า “ความแน่นอนโดยส่วนเดียวของปุถุชนมีอยู่”
สก. สัสสตทิฏฐิไม่พึงเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้แน่นอนโดยอุจเฉททิฏฐิใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เขาละสัสสตทิฏฐิได้แล้วใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เขาละสัสสตทิฏฐิได้แล้วใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ละได้ด้วยโสดาปัตติมรรคใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ละได้ด้วยสกทาคามิมรรค ฯลฯ อนาคามิมรรค ฯลฯ อรหัตตมรรค
ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ละได้ด้วยมรรคไหน
ปร. ละได้ด้วยมรรคฝ่ายอกุศล

เชิงอรรถ :
๑ ดูข้อ ๘๔๘ หน้า ๘๘๓ ในเล่มนี้ ประกอบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๘๘๕ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๙. เอกูนวีสติมวรรค] ๗. อัจจันตนิยามกถา (๑๙๒)
สก. มรรคฝ่ายอกุศลเป็นสภาวธรรมนำสัตว์ออกจากวัฏฏทุกข์ ฯลฯ๑
ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “บุคคลผู้แน่นอนโดยอุจเฉททิฏฐิละสัสสตทิฏฐิได้ด้วยมรรคฝ่าย
อกุศล”
[๘๕๑] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “ความแน่นอนโดยส่วนเดียวของปุถุชนมีอยู่”
ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนใน
โลกนี้ เป็นผู้ประกอบด้วยสภาวธรรมที่เป็นอกุศลฝ่ายดำโดยส่วนเดียว เขาจมแล้ว
ครั้งเดียวก็ยังจมอยู่นั่นเอง”๒ มีอยู่จริงมิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. ดังนั้น ความแน่นอนโดยส่วนเดียวของปุถุชนจึงมีอยู่
[๘๕๒] สก. เพราะท่านเข้าใจว่า “พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า ‘ภิกษุ
ทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้ประกอบด้วยสภาวธรรมที่เป็นอกุศลฝ่ายดำ
โดยส่วนเดียว เขาจมแล้วครั้งเดียวก็ยังจมอยู่นั่นเอง”๓ จึงยอมรับว่า “ความแน่
นอนโดยส่วนเดียวของปุถุชนมีอยู่” ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนใน
โลกนี้โผล่ขึ้นแล้วจมลง”๔ มีอยู่จริงมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. เขาโผล่ขึ้นแล้วกลับจมลงทุกครั้งใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

เชิงอรรถ :
๑ ดูข้อ ๘๔๘ หน้า ๘๘๓ ในเล่มนี้ ประกอบ
๒-๔ ดูเทียบ องฺ.สตฺตก. (แปล) ๒๓/๑๕/๒๑-๒๒, อภิ.ปุ. (แปล) ๓๖/๒๐๓/๒๒๗-๒๒๘

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๘๘๖ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๙. เอกูนวีสติมวรรค] ๘. อินทริยกถา (๑๙๓)
สก. เพราะท่านเข้าใจว่า “พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า ‘ภิกษุทั้งหลาย
บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้ประกอบด้วยสภาวธรรมที่เป็นอกุศลฝ่ายดำโดยส่วนเดียว
เขาจมแล้วครั้งเดียวก็ยังจมอยู่นั่นเอง” จึงยอมรับว่า “ความแน่นอนโดยส่วนเดียว
ของปุถุชนจึงมีอยู่” ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนใน
โลกนี้เป็นผู้โผล่ขึ้นแล้วหยุดอยู่ โผล่ขึ้นแล้วเหลียวมองดู โผล่ขึ้นแล้วข้ามไป โผล่ขึ้น
แล้วได้ที่พึ่ง” ๑ มีอยู่จริงมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. เขาโผล่ขึ้นแล้วก็ได้ที่พึ่งทุกครั้งใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
อัจจันตนิยามกถา จบ

๘. อินทริยกถา (๑๙๓)
ว่าด้วยอินทรีย์
[๘๕๓] สก. สัทธินทรีย์ที่เป็นโลกิยะไม่มีใช่ไหม
ปร.๒ ใช่๓
สก. ศรัทธาที่เป็นโลกิยะไม่มีใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ องฺ.สตฺตก. (แปล) ๒๓/๑๕/๒๑-๒๒, อภิ.ปุ. (แปล) ๓๖/๒๐๓/๒๒๗-๒๒๘
๒ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายเหตุวาทและนิกายมหิสาสกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๘๕๓/๓๐๙)
๓ เพราะมีความเห็นว่า สัทธา วิริยะ สติ สมาธิ และปัญญาที่เป็นโลกิยะไม่เรียกว่าอินทรีย์ ซึ่งต่างกับ
ความเห็นของสกวาทีที่เห็นว่า สัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา เรียกว่าอินทรีย์ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๘๕๓/๓๐๙)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๘๘๗ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๙. เอกูนวีสติมวรรค] ๘. อินทริยกถา (๑๙๓)
สก. วิริยินทรีย์ที่เป็นโลกิยะ ฯลฯ สตินทรีย์ ฯลฯ สมาธินทรีย์ ฯลฯ
ปัญญินทรีย์ที่เป็นโลกิยะไม่มีใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ปัญญาที่เป็นโลกิยะไม่มีใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สัทธาที่เป็นโลกิยะมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สัทธินทรีย์ที่เป็นโลกิยะมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. วิริยะที่เป็นโลกิยะ ฯลฯ สติ ฯลฯ สมาธิ ฯลฯ ปัญญาที่เป็นโลกิยะ
มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ปัญญินทรีย์ที่เป็นโลกิยะมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. มโนที่เป็นโลกิยะมีอยู่ มนินทรีย์ที่เป็นโลกิยะก็มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สัทธาที่เป็นโลกิยะมีอยู่ สัทธินทรีย์ที่เป็นโลกิยะก็มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. มโนที่เป็นโลกิยะมีอยู่ มนินทรีย์ที่เป็นโลกิยะก็มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ปัญญาที่เป็นโลกิยะมีอยู่ ปัญญินทรีย์ที่เป็นโลกิยะก็มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๘๘๘ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๙. เอกูนวีสติมวรรค] ๘. อินทริยกถา (๑๙๓)
สก. โสมนัสที่เป็นโลกิยะมีอยู่ โสมนัสสินทรีย์ที่เป็นโลกิยะก็มีอยู่ ฯลฯ
ชีวิตที่เป็นโลกิยะมีอยู่ ชีวิตินทรีย์ที่เป็นโลกิยะก็มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สัทธาที่เป็นโลกิยะมีอยู่ สัทธินทรีย์ที่เป็นโลกิยะก็มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ชีวิตที่เป็นโลกิยะมีอยู่ ชีวิตินทรีย์ที่เป็นโลกิยะก็มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ปัญญาที่เป็นโลกิยะมีอยู่ ปัญญินทรีย์ที่เป็นโลกิยะก็มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๘๕๔] สก. สัทธาที่เป็นโลกิยะมีอยู่ สัทธินทรีย์ที่เป็นโลกิยะไม่มีใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. มโนที่เป็นโลกิยะมีอยู่ มนินทรีย์ที่เป็นโลกิยะไม่มีใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ปัญญาที่เป็นโลกิยะมีอยู่ ปัญญินทรีย์ที่เป็นโลกิยะไม่มีใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. มโนที่เป็นโลกิยะมีอยู่ มนินทรีย์ที่เป็นโลกิยะไม่มีใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สัทธาที่เป็นโลกิยะมีอยู่ สัทธินทรีย์ที่เป็นโลกิยะไม่มีใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. โสมนัสที่เป็นโลกิยะมีอยู่ โสมนัสสินทรีย์ที่เป็นโลกิยะไม่มี ชีวิตที่เป็น
โลกิยะมีอยู่ ชีวิตินทรีย์ที่เป็นโลกิยะไม่มีใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๘๘๙ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๙. เอกูนวีสติมวรรค] ๘. อินทริยกถา (๑๙๓)
สก. ปัญญาที่เป็นโลกิยะมีอยู่ ปัญญินทรีย์ที่เป็นโลกิยะไม่มีใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. มโนที่เป็นโลกิยะมีอยู่ มนินทรีย์ที่เป็นโลกิยะไม่มี ฯลฯ ชีวิตที่เป็นโลกิยะ
มีอยู่ ชีวิตินทรีย์ที่เป็นโลกิยะไม่มีใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๘๕๕] สก. ศรัทธาที่เป็นโลกุตตระมีอยู่ สัทธินทรีย์ที่เป็นโลกุตตระก็มีอยู่
ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ศรัทธาที่เป็นโลกิยะมีอยู่ สัทธินทรีย์ที่เป็นโลกิยะก็มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. วิริยะที่เป็นโลกุตตระมีอยู่ ฯลฯ ปัญญาที่เป็นโลกุตตระมีอยู่ ปัญญินทรีย์
ที่เป็นโลกุตตระก็มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ปัญญาที่เป็นโลกิยะมีอยู่ ปัญญินทรีย์ที่เป็นโลกิยะก็มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ศรัทธาที่เป็นโลกิยะมีอยู่ สัทธินทรีย์ที่เป็นโลกิยะไม่มีใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ศรัทธาที่เป็นโลกุตตระมีอยู่ สัทธินทรีย์ที่เป็นโลกุตตระไม่มีใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. วิริยะที่เป็นโลกิยะมีอยู่ ฯลฯ ปัญญาที่เป็นโลกิยะมีอยู่ ปัญญินทรีย์ที่
เป็นโลกิยะไม่มีใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๘๙๐ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๙. เอกูนวีสติมวรรค] รวมกถาที่มีในวรรค
สก. ปัญญาที่เป็นโลกุตตระมีอยู่ ปัญญินทรีย์ที่เป็นโลกุตตระไม่มีใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๘๕๖] สก. อินทรีย์ ๕ ที่เป็นโลกิยะไม่มีใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราเมื่อตรวจดู
โลกด้วยพุทธจักษุ๑ ก็ได้เห็นสัตว์ทั้งหลายผู้มีธุลีในดวงตา๒ น้อย มีธุลีในดวงตามาก
มีอินทรีย์แก่กล้า มีอินทรีย์อ่อน มีอาการดี มีอาการทราม สอนให้รู้ได้ง่าย สอนให้
รู้ได้ยาก บางพวกเห็นปรโลกและโทษว่าเป็นสิ่งน่ากลัว” ๓ มีอยู่จริงมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. ดังนั้น อินทรีย์ ๕ ที่เป็นโลกิยะจึงมีอยู่
อินทริยกถา จบ
เอกูนวีสติมวรรค จบ

รวมกถาที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. กิเลสชหนกถา ๒. สุญญตากถา
๓. สามัญญผลกถา ๔. ปัตติกถา
๕. ตถตากถา ๖. กุสลกถา
๗. อัจจันตนิยามกถา ๘. อินทริยกถา


เชิงอรรถ :
๑ พุทธจักษุ หมายถึง (๑) อินทริยปโรปริยัตติญาณ คือปรีชาหยั่งรู้ความยิ่งและความหย่อนแห่งอินทรีย์
ของสัตว์ทั้งหลาย คือรู้ว่าสัตว์นั้น ๆ มีศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา แค่ไหนเพียงไร มีกิเลสมาก กิเลสน้อย
มีความพร้อมที่จะตรัสรู้หรือไม่ (๒) อาสยานุสยญาณ คือปรีชาหยั่งรู้อัธยาศัย ความมุ่งหมาย สถานที่
ที่นอนเนื่องอยู่ (ม.มู.อ. ๒/๒๘๓/๘๗, วิ.อ. ๓/๙/๑๕) และดูเทียบ ขุ.ป. (แปล) ๓๑/๑๑๑-๑๑๕/๑๗๒-๑๗๗
๒ ดวงตา หมายถึงปัญญาจักษุ (ม.มู.อ. ๒/๒๘๓/๘๗, วิ.อ. ๓/๙/๑๕)
๓ ดูเทียบ วิ.ม. (แปล) ๔/๙/๑๔, ม.มู. (แปล) ๑๒/๒๘๓/๓๐๗-๓๐๘

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๘๙๑ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒๐. วีสติมวรรค] ๑. อสัญจิจจกถา (๑๙๔)
๒๐. วีสติมวรรค
๑. อสัญจิจจกถา (๑๙๔)
ว่าด้วยความไม่จงใจ
[๘๕๗] สก. บุคคลไม่จงใจปลงชีวิตมารดา ชื่อว่าเป็นผู้ทำอนันตริยกรรมใช่ไหม
ปร.๑ ใช่๒
สก. บุคคลไม่จงใจฆ่าสัตว์ ชื่อว่าเป็นผู้ทำปาณาติบาตใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลไม่จงใจปลงชีวิตมารดา ชื่อว่าเป็นผู้ทำอนันตริยกรรมใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลไม่จงใจถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้ ฯลฯ พูดเท็จ ชื่อว่าเป็น
ผู้พูดเท็จใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลไม่จงใจฆ่าสัตว์ ชื่อว่าไม่เป็นผู้ทำปาณาติบาตใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลไม่จงใจปลงชีวิตมารดา ชื่อว่าไม่เป็นผู้ทำอนันตริยกรรมใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลไม่จงใจถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้ ฯลฯ ไม่จงใจพูดเท็จ
ชื่อว่าไม่เป็นผู้พูดเท็จใช่ไหม
ปร. ใช่

เชิงอรรถ :
๑ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอุตตราปถกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๘๕๗/๓๐๙-๓๑๐)
๒ เพราะมีความเห็นว่า วัตถุแห่งอนันตริยกรรม (บิดา มารดา พระอรหันต์ พระพุทธเจ้า และพระสงฆ์) เป็น
สิ่งล้ำเลิศและยิ่งใหญ่ เมื่อบุคคลทำลายวัตถุเหล่านั้น แม้โดยไม่ได้ตั้งใจก็เป็นอนันตริยกรรมได้ ซึ่งต่างกับ
ความเห็นของสกวาทีที่เห็นว่า การกระทำทุกอย่างที่จะจัดเป็นกรรมต้องประกอบด้วยเจตนา หากไม่
ประกอบด้วยเจตนา ไม่จัดเป็นกรรม (อภิ.ปญฺจ.อ. ๘๕๗/๓๐๙-๓๑๐)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๘๙๒ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒๐. วีสติมวรรค] ๑. อสัญจิจจกถา (๑๙๔)
สก. บุคคลไม่จงใจปลงชีวิตมารดา ชื่อว่าไม่เป็นผู้ทำอนันตริยกรรมใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๘๕๘] สก. บุคคลไม่จงใจปลงชีวิตมารดา ชื่อว่าเป็นผู้ทำอนันตริยกรรม
ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสูตรที่ว่า “บุคคลไม่จงใจปลงชีวิตมารดา ชื่อว่าเป็นผู้ทำอนันตริย-
กรรม” มีอยู่จริงหรือ
ปร. ไม่มี
สก. พระสูตรที่ว่า “บุคคลจงใจปลงชีวิตมารดา ชื่อว่าเป็นผู้ทำอนันตริย-
กรรม” มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. หากพระสูตรที่ว่า “บุคคลจงใจปลงชีวิตมารดา ชื่อว่าเป็นผู้ทำอนันตริย-
กรรม” มีอยู่จริง ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “บุคคลไม่จงใจปลงชีวิตมารดา ชื่อว่า
เป็นผู้ทำอนันตริยกรรม”
[๘๕๙] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “บุคคลผู้ฆ่ามารดา ชื่อว่าเป็นผู้ทำอนันตริย-
กรรม” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. เขาปลงชีวิตมารดาแล้วมิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. หากเขาปลงชีวิตมารดาแล้ว ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “บุคคลผู้
ฆ่ามารดา ชื่อว่าเป็นผู้ทำอนันตริยกรรม”
ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “บุคคลผู้ฆ่าบิดา ชื่อว่าเป็นผู้ทำอนันตริยกรรม” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. เขาปลงชีวิตบิดาแล้วมิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. หากเขาปลงชีวิตบิดาแล้ว ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “บุคคลผู้ฆ่าบิดา
ชื่อว่าเป็นผู้ทำอนันตริยกรรม”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๘๙๓ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒๐. วีสติมวรรค] ๑. อสัญจิจจกถา (๑๙๔)
ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “บุคคลผู้ฆ่าพระอรหันต์ ชื่อว่าเป็นผู้ทำอนันตริย-
กรรม” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. เขาปลงชีวิตพระอรหันต์แล้วมิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. หากเขาปลงชีวิตพระอรหันต์แล้ว ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “บุคคล
ผู้ฆ่าพระอรหันต์ ชื่อว่าเป็นผู้ทำอนันตริยกรรม”
ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “บุคคลผู้ทำร้ายพระตถาคตจนถึงพระโลหิตห้อ ชื่อว่า
เป็นผู้ทำอนันตริยกรรม” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. เขาทำร้ายพระตถาคตจนถึงพระโลหิตห้อแล้วมิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. หากเขาทำร้ายพระตถาคตจนถึงพระโลหิตห้อแล้ว ดังนั้น ท่านจึงควร
ยอมรับว่า “บุคคลผู้ทำร้ายพระตถาคตจนถึงพระโลหิตห้อ ชื่อว่าเป็นผู้ทำอนันตริย-
กรรม”
[๘๖๐] สก. บุคคลผู้ทำลายสงฆ์ให้แตกกัน ชื่อว่าเป็นผู้ทำอนันตริยกรรม
ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลผู้ทำลายสงฆ์ให้แตกกันทั้งหมด ชื่อว่าเป็นผู้ทำอนันตริยกรรมใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลผู้ทำลายสงฆ์ให้แตกกันทั้งหมด ชื่อว่าเป็นผู้ทำอนันตริยกรรมใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลผู้มีความสำคัญว่าชอบธรรม จึงทำลายสงฆ์ให้แตกกัน ชื่อว่า
เป็นผู้ทำอนันตริยกรรมใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๘๙๔ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒๐. วีสติมวรรค] ๑. อสัญจิจจกถา (๑๙๔)
[๘๖๑] สก. บุคคลผู้มีความสำคัญว่าชอบธรรม จึงทำลายสงฆ์ให้แตกกัน ชื่อ
ว่าเป็นผู้ทำอนันตริยกรรมใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “อุบาลี บุคคลผู้ทำลายสงฆ์ให้
แตกกันเป็นผู้เข้าถึงอบาย อยู่ในนรกตลอดกัป แก้ไขไม่ได้ มีอยู่ บุคคลผู้ทำลาย
สงฆ์ให้แตกกัน ไม่เป็นผู้เข้าถึงอบาย ไม่เข้าถึงนรกตลอดกัป ไม่ใช่ผู้แก้ไขไม่ได้”
มีอยู่จริงมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. ดังนั้น ท่านจึงไม่ควรยอมรับว่า “บุคคลผู้มีความสำคัญว่าชอบธรรม
ทำลายสงฆ์ให้แตกกัน ชื่อว่าเป็นผู้ทำอนันตริยกรรม”
[๘๖๒] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “บุคคลผู้มีความสำคัญว่าชอบธรรมจึงทำลาย
สงฆ์ให้แตกกัน ชื่อว่าเป็นผู้ทำอนันตริยกรรม” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า
“บุคคลผู้ทำลายสงฆ์ให้แตกกัน ยินดีในการแตกกัน
อยู่ในอธรรม เป็นผู้เข้าถึงอบาย อยู่ในนรกตลอดกัป
พลาดจากนิพพานอันเป็นธรรมเกษมจากโยคะ
เสวยผลกรรมอยู่ในนรกตลอดกัป
เพราะทำลายสงฆ์ที่สามัคคีกันให้แตกแยกกัน”๑
มีอยู่จริงมิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. ดังนั้น บุคคลผู้ทำลายสงฆ์ให้แตกกัน จึงชื่อว่าเป็นผู้ทำอนันตริยกรรม
อสัญจิจจกถา จบ

เชิงอรรถ :
๑ ดูเชิงอรรถที่ ๒ ข้อ ๖๕๗ หน้า ๗๑๑ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๘๙๕ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒๐. วีสติมวรรค] ๒. ญาณกถา (๑๙๕)
๒. ญาณกถา (๑๙๕)
ว่าด้วยญาณ
[๘๖๓] สก. ญาณ๑ ไม่มีแก่ปุถุชนใช่ไหม
ปร.๒ ใช่
สก. ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ความวิจัย ความเลือกสรร ความวิจัยธรรม
ความกำหนดหมาย ความเข้าไปกำหนด ความเข้าไปกำหนดจำเพาะ๓ ไม่มีแก่
ปุถุชนใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ความวิจัย ฯลฯ ความเข้าไปกำหนดจำเพาะ
ของปุถุชนมีอยู่มิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ความวิจัย ฯลฯ ความเข้าไปกำหนด
จำเพาะของปุถุชนมีอยู่ ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “ญาณไม่มีแก่ปุถุชน”
[๘๖๔] สก. ญาณไม่มีแก่ปุถุชนใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ปุถุชนเข้าปฐมฌานได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. หากปุถุชนเข้าปฐมฌานได้ ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “ญาณไม่มีแก่ปุถุชน”

เชิงอรรถ :
๑ ญาณ โดยทั่วไปมี ๒ อย่าง คือ (๑) โลกิยญาณ ได้แก่ ญาณในสมาบัติและกัมมัสสกตาญาณ
(๒) โลกุตตรญาณ ได้แก่ มัคคญาณและผลญาณ ในที่นี้ปรวาทีหมายเอาโลกุตตรญาณเท่านั้น (อภิ.ปญฺจ.อ.
๘๖๓/๓๑๑)
๒ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายเหตุวาท (อภิ.ปญฺจ.อ. ๘๖๓/๓๑๑)
๓ ตั้งแต่คำว่า ปัญญา จนถึง ความเข้าไปกำหนดจำเพาะ นี้ล้วนเป็นไวพจน์ของญาณทั้งนั้น (อภิ.ปญฺจ.อ.
๘๖๓/๓๑๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๘๙๖ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒๐. วีสติมวรรค] ๓. นิรยปาลกถา (๑๙๖)
สก. ปุถุชนเข้าทุติยฌาน ฯลฯ ตติยฌาน ฯลฯ จตุตถฌาน ฯลฯ
อากาสานัญจายตนฌาน ฯลฯ วิญญาณัญจายตนฌาน ฯลฯ อากิญจัญญายตนฌาน
ฯลฯ เนวสัญญานาสัญญายตนฌาน ฯลฯ พึงให้ทาน ฯลฯ จีวร ฯลฯ บิณฑบาต
ฯลฯ เสนาสนะ ฯลฯ คิลานปัจจัยเภสัชบริขารได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. หากปุถุชนให้คิลานปัจจัยเภสัชบริขารได้ ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า
“ญาณไม่มีแก่ปุถุชน”
[๘๖๕] ปร. ญาณของปุถุชนมีอยู่ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. ปุถุชนกำหนดรู้ทุกข์ ละสมุทัย ทำให้แจ้งนิโรธ เจริญมรรคได้ ด้วย
ญาณนั้นใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ญาณกถา จบ

๓. นิรยปาลกถา (๑๙๖)
ว่าด้วยนายนิรยบาล
[๘๖๖] สก. นายนิรยบาลไม่มีในนรกใช่ไหม
ปร.๑ ใช่๒
สก. เครื่องสำหรับลงอาญาไม่มีในนรกใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

เชิงอรรถ :
๑ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอันธกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๘๖๖/๓๑๑)
๒ เพราะมีความเห็นว่า ในนรก นายนิรยบาลที่เป็นบุคคลไม่มี กรรมของสัตว์นรกนั้นเองเป็นนายนิรยบาล
ซึ่งต่างกับความเห็นของสกวาทีที่เห็นว่า มีนายนิรยบาลที่เป็นบุคคลเกิดจากกุศลกรรมและอกุศลกรรม
(อภิ.ปญฺจ.อ. ๘๖๖/๓๑๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๘๙๗ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒๐. วีสติมวรรค] ๓. นิรยปาลกถา (๑๙๖)
สก. เครื่องสำหรับลงอาญามีอยู่ในนรกใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. นายนิรยบาลมีอยู่ในนรกใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เครื่องสำหรับลงอาญามีอยู่ในมนุษย์และผู้ลงอาญาก็มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เครื่องสำหรับลงอาญามีอยู่ในนรกและผู้ลงอาญาก็มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เครื่องสำหรับลงอาญามีอยู่ในนรก แต่ผู้ลงอาญาไม่มีใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เครื่องสำหรับลงอาญามีอยู่ในมนุษย์ แต่ผู้ลงอาญาไม่มีใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๘๖๗] ปร. นายนิรยบาลมีอยู่ในนรกใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า
“ท้าวเวสสภู๑ ท้าวเปตติราช๒
ท้าวโสมะไม่ได้ฆ่า ท้าวยมะ
และท้าวเวสวัณก็ไม่ได้ฆ่า
กรรมของตนเองฆ่าบุคคลผู้สิ้นบุญจากโลกนี้
เกิดในปรโลกในนรกนั้น”
มีอยู่จริงมิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. ดังนั้น นายนิรยบาลจึงไม่มีในนรก

เชิงอรรถ :
๑ คำว่า ท้าวเวสสภู เป็นชื่อของเทพองค์หนึ่ง (อภิ.ปญฺจ.อ. ๘๖๗/๓๑๑)
๒ คำว่า ท้าวเปตติราช เป็นเทพผู้มีฤทธิ์มากกว่าเปรตในเปตวิสัย (อภิ.ปญฺจ.อ. ๘๖๗/๓๑๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๘๙๘ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒๐. วีสติมวรรค] ๓. นิรยปาลกถา (๑๙๖)
[๘๖๘] สก. นายนิรยบาลไม่มีในนรกใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย นายนิรยบาลทำ
กรรมกรณ์ (เครื่องสำหรับลงอาญา)ชื่อเครื่องพันธนาการ ๕ อย่าง คือ ตอกตะปู
เหล็กแดงที่มือ ๒ ข้าง ที่เท้า ๒ ข้าง และที่กลางอก เขาเสวยทุกขเวทนากล้า
อย่างหนัก เผ็ดร้อน ณ ที่นั้น แต่ยังไม่ตายตราบเท่าที่บาปกรรมยังไม่สิ้นไป” ๑
มีอยู่จริงมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. ดังนั้น นายนิรยบาลจึงมีอยู่ในนรก
สก. นายนิรยบาลไม่มีในนรกใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย นายนิรยบาล
ฉุดลากเขาไป เอาขวานถาก นายนิรยบาลจับเขาเอาเท้าขึ้น เอาศีรษะลง เอา
มีดเฉือน ฯลฯ จับเขาเทียมรถแล่นกลับไปกลับมาบนพื้นอันร้อนลุกเป็นเปลว
โชติช่วง ฯลฯ บังคับเขาขึ้นลงภูเขาถ่านเพลิงลูกใหญ่ที่ไฟลุกโชน ฯลฯ จับเขา
เอาเท้าขึ้น เอาศีรษะลง ทุ่มลงไปในโลหกุมภีอันร้อนแดง ลุกเป็นแสงไฟ เขาถูก
ต้มเดือดจนตัวพองในโลหกุมภีนั้น บางครั้งลอยขึ้น บางครั้งจมลง บางครั้งลอยขวาง
เขาเสวยทุกขเวทนากล้าอย่างหนัก เผ็ดร้อนอยู่ในในโลหกุมภีอันร้อนแดงนั้น แต่
ยังไม่ตายตราบเท่าที่บาปกรรมยังไม่สิ้นไป นายนิรยบาลจับเขาทุ่มลงไปในมหานรก
ก็มหานรกนั้น (มีลักษณะ) ดังนี้

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ ม.อุ. (แปล) ๑๔/๒๕๐/๒๙๔-๒๙๕, องฺ.ติก. (แปล) ๒๐/๓๖/๑๙๑-๑๙๔

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๘๙๙ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒๐. วีสติมวรรค] ๔. ติรัจฉานกถา (๑๙๗)
มี ๔ มุม ๔ ประตู แบ่งกำหนดออกเป็นส่วน
มีกำแพงเหล็กล้อมรอบ ครอบด้วยฝาเหล็ก
มีพื้นเป็นเหล็กลุกโชติช่วง
แผ่ความร้อนไกลด้านละ ๑๐๐ โยชน์
ตั้งอยู่ทุกเมื่อ”๑
มีอยู่จริงมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. ดังนั้น นายนิรยบาลจึงมีอยู่ในนรก
นิรยปาลกถา จบ

๔. ติรัจฉานกถา (๑๙๗)
ว่าด้วยสัตว์ดิรัจฉาน
[๘๖๙] สก. สัตว์ดิรัจฉานมีอยู่ในหมู่เทวดาใช่ไหม
ปร.๒ ใช่๓
สก. เทวดามีอยู่ในหมู่สัตว์ดิรัจฉานใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สัตว์ดิรัจฉานมีอยู่ในหมู่เทวดาใช่ไหม
ปร. ใช่

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ ม.อุ. (แปล) ๑๔/๒๕๐/๒๙๔-๒๙๕, องฺ.ติก. (แปล) ๒๐/๓๖/๑๙๔, ขุ.เปต. (แปล) ๒๖/๗๐-๗๑/
๑๗๙,๒๔๐-๒๔๑/๒๐๖, ๖๙๓-๖๙๔/๒๘๑, ขุ.ม. (แปล) ๒๙/๑๗๐/๔๘๒, ขุ.จู. (แปล) ๓๐/๑๒๒/
๔๐๒-๔๐๘
๒ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอันธกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๘๖๙/๓๑๒)
๓ เพราะมีความเห็นว่า ในเทวโลก มีเทวบุตรที่เป็นสัตว์ดิรัจฉาน เช่น เอราวัณเทพบุตร ซึ่งต่างกับความเห็น
ของสกวาทีที่เห็นว่า เทพบุตรที่เป็นสัตว์ดิรัจฉานไม่มี แต่มีเทพบุตรจำแลงเป็นสัตว์ (อภิ.ปญฺจ.อ.
๘๖๙/๓๑๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๙๐๐ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒๐. วีสติมวรรค] ๔. ติรัจฉานกถา (๑๙๗)
สก. เทวโลกเป็นภูมิของสัตว์ดิรัจฉานใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สัตว์ดิรัจฉานมีอยู่ในหมู่เทวดาใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ในหมู่เทวดานั้น มีแมลง ตั้กแตน ยุง แมลงวัน งู แมลงป่อง ตะขาบ
ไส้เดือนใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๘๗๐] ปร. สัตว์ดิรัจฉานไม่มีในหมู่เทวดาใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. ช้างประเสริฐชื่อว่าเอราวัณ ยานทิพย์เทียมด้วยม้าพันตัวมีอยู่ในหมู่
เทวดานั้นมิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. หากช้างประเสริฐชื่อว่าเอราวัณ ยานทิพย์เทียมด้วยม้าพันตัวมีอยู่
ในหมู่เทวดานั้น ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “สัตว์ดิรัจฉานมีอยู่ในเทวโลก”
[๘๗๑] สก. สัตว์ดิรัจฉานมีอยู่ในเทวโลกใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ในเทวโลกนั้น มีพวกผูกช้าง พวกผูกม้า พวกตะพุ่นหญ้า พวกผู้ฝึก
พวกทำอาหารสัตว์ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ดังนั้น สัตว์ดิรัจฉานจึงไม่มีในเทวโลก

ติรัจฉานกถา จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๙๐๑ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒๐. วีสติมวรรค] ๕. มัคคกถา (๑๙๙)
๕. มัคคกถา (๑๙๘)
ว่าด้วยมรรค
[๘๗๒] สก. มรรคมีองค์ ๕ ใช่ไหม
ปร.๑ ใช่๒
สก. มรรคมีองค์ ๘ คือ สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ พระผู้มี
พระภาคตรัสไว้แล้วมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากมรรคมีองค์ ๘ คือ สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ พระผู้มี
พระภาคตรัสไว้แล้ว ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “มรรคมีองค์ ๕”
สก. มรรคมีองค์ ๕ ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า
“บรรดามรรค มรรคมีองค์ ๘ ประเสริฐที่สุด
บรรดาสัจจะ สัจจะ ๔ ประเสริฐที่สุด
บรรดาธรรม วิราคธรรม๓ ประเสริฐที่สุด
บรรดาสัตว์สองเท้า๔ พระตถาคตผู้มีพระจักษุ๕
ประเสริฐที่สุด”
มีอยู่จริงมิใช่หรือ
ปร. ใช่

เชิงอรรถ :
๑ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายมหิสาสกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๘๗๒/๓๑๒-๓๑๓)
๒ เพราะมีความเห็นว่า เมื่อว่าโดยตรงแล้ว มรรคมีองค์ ๕ เท่านั้นมิใช่มีองค์ ๘ โดยอ้างว่า สัมมาวาจา
สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะเป็นจิตตวิปปยุต (ไม่ประกอบด้วยจิต)จึงไม่จัดเป็นมรรค เป็นเพียงวิญญัติรูป
ไม่ใช่เจตสิก ซึ่งต่างกับความเห็นของสกวาทีที่เห็นว่า มรรคทั้ง ๓ ดังกล่าวมาเป็นมรรค สัมปยุตด้วยจิต
เป็นเจตสิก (อภิ.ปญฺจ.อ. ๘๗๒/๓๑๒-๓๑๓)
๓ วิราคธรรม หมายถึงนิพพาน (ขุ.ธ.อ. ๗/๕๔)
๔ สัตว์สองเท้า หมายถึงมนุษย์ (ขุ.ธ.อ. ๗/๕๔)
๕ จักษุ หมายถึงปัญญาจักษุ (วิ.อ. ๓/๑๓/๑๗), ดูเทียบ ขุ.ธ. (แปล) ๒๕/๒๗๓/๑๑๗

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๙๐๒ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒๐. วีสติมวรรค] ๕. มัคคกถา (๑๙๙)
สก. ดังนั้น มรรคจึงมีองค์ ๘
[๘๗๓] สก. สัมมาวาจาเป็นองค์มรรค แต่สัมมาวาจานั้นไม่เป็นมรรคใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สัมมาทิฏฐิเป็นองค์มรรค แต่สัมมาทิฏฐินั้นไม่เป็นมรรคใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สัมมาวาจาเป็นองค์มรรค แต่สัมมาวาจานั้นไม่เป็นมรรคใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สัมมาสังกัปปะ ฯลฯ สัมมาวายามะ ฯลฯ สัมมาสติ ฯลฯ สัมมาสมาธิ
เป็นองค์มรรค แต่สัมมาสมาธินั้นไม่เป็นมรรคใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สัมมากัมมันตะ ฯลฯ สัมมาอาชีวะ เป็นองค์มรรค แต่สัมมาอาชีวะ
นั้นไม่เป็นมรรคใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ เป็นองค์มรรค แต่สัมมาสมาธินั้นไม่
เป็นมรรคใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สัมมาทิฏฐิเป็นองค์มรรค และสัมมาทิฏฐินั้นเป็นมรรคใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สัมมาวาจาเป็นองค์มรรค และสัมมาวาจานั้นเป็นมรรคใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สัมมาทิฏฐิเป็นองค์มรรค และสัมมาทิฏฐินั้นเป็นมรรคใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๙๐๓ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒๐. วีสติมวรรค] ๕. มัคคกถา (๑๙๙)
สก. สัมมากัมมันตะ ฯลฯ สัมมาอาชีวะ เป็นองค์มรรค และสัมมาอาชีวะ
นั้นเป็นมรรคใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สัมมาสังกัปปะ ฯลฯ สัมมาวายามะ ฯลฯ สัมมาสติ ฯลฯ สัมมา-
สมาธิเป็นองค์มรรค และสัมมาสมาธินั้นเป็นมรรคใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สัมมาวาจา ฯลฯ สัมมากัมมันตะ ฯลฯ สัมมาอาชีวะ เป็นองค์มรรค
และสัมมาอาชีวะนั้นเป็นมรรคใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๘๗๔] ปร. อริยมรรคมีองค์ ๘ ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “กายกรรม วจีกรรม อาชีวะของ
บุคคลนั้นจัดว่าบริสุทธิ์ดีแล้วในเบื้องต้นนั้นแล เมื่อเป็นอย่างนี้อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้
ของเขาย่อมถึงความเจริญเต็มที่”๑ มีอยู่จริงมิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. ดังนั้น มรรคจึงมีองค์ ๕
[๘๗๕] สก. มรรคมีองค์ ๕ ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “สุภัททะ ในธรรมวินัยที่ไม่มี
อริยมรรคมีองค์ ๘ ย่อมไม่มีสมณะที่ ๑ ย่อมไม่มีสมณะที่ ๒ ย่อมไม่มีสมณะที่ ๓
ย่อมไม่มีสมณะที่ ๔๒ ในธรรมวินัยที่มีอริยมรรคมีองค์ ๘ ย่อมมีสมณะที่ ๑ ย่อมมี

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ ม.อุ. (แปล) ๑๔/๔๓๑/๑๖๒
๒ สมณะที่ ๑-๒-๓-๔ หมายถึงพระโสดาบัน พระสกทาคามี พระอนาคามี พระอรหันต์ ตามลำดับ (ที.ม.อ.
๒๑๔/๑๙๖)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๙๐๔ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒๐. วีสติมวรรค] ๖. ญาณกถา (๑๙๙)
สมณะที่ ๒ ย่อมมีสมณะที่ ๓ ย่อมมีสมณะที่ ๔ สุภัททะ ในธรรมวินัยนี้มีอริยมรรค
มีองค์ ๘ สมณะที่ ๑ มีอยู่ในธรรมวินัยนี้เท่านั้น สมณะที่ ๒ มีอยู่ในธรรมวินัยนี้เท่านั้น
สมณะที่ ๓ มีอยู่ในธรรมวินัยนี้เท่านั้น สมณะที่ ๔ ก็มีอยู่ในธรรมวินัยนี้เท่านั้น
ลัทธิอื่นว่างจากสมณะทั้งหลายผู้รู้ทั่วถึง สุภัททะ ถ้าภิกษุเหล่านี้เป็นอยู่โดยชอบ
โลกจะไม่พึงว่างจากพระอรหันต์ทั้งหลาย”๑ มีอยู่จริงมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. ดังนั้น มรรคจึงมีองค์ ๘
มัคคกถา จบ

๖. ญาณกถา (๑๙๙)
ว่าด้วยญาณ
[๘๗๖] สก. ญาณที่มีวัตถุ ๑๒ เป็นโลกุตตระใช่ไหม
ปร.๒ ใช่๓
สก. โลกุตตรญาณมี ๑๒ ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. โลกุตตรญาณมี ๑๒ ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. โสดาปัตติมรรคมี ๑๒ ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ ที.ม. (แปล) ๑๐/๒๑๔/๑๖๒
๒ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายปุพพเสลิยะและนิกายอปรเสลิยะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๘๗๖/๓๑๓)
๓ เพราะมีความเห็นว่า ในมัคคจิตแต่ละดวง มีญาณที่ทำหน้าที่รับรู้ ๑๒ ประการ (ในมัคคจิตหนึ่ง ๆ มี
๓ ญาณ คือ สัจจญาณ กิจจญาณ และกตญาณ รวมเป็น ๑๒ ญาณ) ซึ่งต่างกับความเห็นของสกวาทีที่เห็นว่า
ในมัคคจิตแต่ละดวง มีสัจจญาณอย่างเดียว จึงไม่ยอมรับว่ามี ๑๒ ญาณ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๘๗๖/๓๑๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๙๐๕ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒๐. วีสติมวรรค] ๖. ญาณกถา (๑๙๙)
สก. โสดาปัตติมรรคมี ๑๒ ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. โสดาปัตติผลมี ๑๒ ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สกทาคามิมรรค ฯลฯ อนาคามิมรรค ฯลฯ อรหัตตมรรคมีอย่างละ ๑๒
ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. อรหัตตมรรคมี ๑๒ ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. อรหัตตผลมี ๑๒ ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๘๗๗] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “ญาณที่มีวัตถุ ๑๒ เป็นโลกุตตระ” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย จักษุเกิดขึ้นแล้ว
ญาณเกิดขึ้นแล้ว ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว วิชชาเกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วใน
ธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยสดับมาก่อนว่า นี้ทุกขอริยสัจ
ภิกษุทั้งหลาย จักษุเกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วในธรรมทั้งหลาย
ที่เราไม่เคยสดับมาก่อนว่า ทุกขอริยสัจนี้ ควรกำหนดรู้
ภิกษุทั้งหลาย จักษุเกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วในธรรมทั้งหลาย
ที่เราไม่เคยสดับมาก่อนว่า ทุกขอริยสัจนี้ เราได้กำหนดรู้แล้ว
ภิกษุทั้งหลาย จักษุเกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วในธรรมทั้งหลาย
ที่เราไม่เคยสดับมาก่อนว่า นี้ทุกขสมุทยอริยสัจ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๙๐๖ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒๐. วีสติมวรรค] ๖. ญาณกถา (๑๙๙)
ภิกษุทั้งหลาย จักษุเกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วในธรรมทั้งหลาย
ที่เราไม่เคยสดับมาก่อนว่า ทุกขสมุทยอริยสัจนี้ ควรละเสีย
ภิกษุทั้งหลาย จักษุเกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วในธรรมทั้งหลาย
ที่เราไม่เคยสดับมาก่อนว่า ทุกขสมุทยอริยสัจนี้ เราละได้แล้ว
ภิกษุทั้งหลาย จักษุเกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วในธรรมทั้งหลาย
ที่เราไม่เคยสดับมาก่อนว่า นี้ทุกขนิโรธอริยสัจ
ภิกษุทั้งหลาย จักษุเกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วในธรรมทั้งหลาย
ที่เราไม่เคยสดับมาก่อนว่า ทุกขนิโรธอริยสัจนี้ ควรทำให้แจ้ง
ภิกษุทั้งหลาย จักษุเกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วในธรรมทั้งหลาย
ที่เราไม่เคยสดับมาก่อนว่า ทุกขนิโรธอริยสัจนี้ เราได้ทำให้แจ้งแล้ว
ภิกษุทั้งหลาย จักษุเกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วในธรรมทั้งหลาย
ที่เราไม่เคยสดับมาก่อนว่า นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ
ภิกษุทั้งหลาย จักษุเกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วในธรรมทั้งหลาย
ที่เราไม่เคยสดับมาก่อนว่า ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจนี้ เราควรให้เจริญ
ภิกษุทั้งหลาย จักษุเกิดขึ้นแล้ว ญาณเกิดขึ้นแล้ว ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว วิชชา
เกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยสดับมาก่อนว่า
ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจนี้ เราได้ให้เจริญแล้ว”๑ มีอยู่จริงมิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. ดังนั้น ญาณที่มีวัตถุ ๑๒ จึงเป็นโลกุตตระ

ญาณกถา จบ
วีสติมวรรค จบ

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ วิ.ม. (แปล) ๔/๑๕/๒๒-๒๓, สํ.ม. (แปล) ๑๙/๑๐๘๑/๕๙๒-๕๙๖

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๙๐๗ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒๐. วีสติมวรรค] รวมกถาที่มีในวรรค
รวมกถาที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. อสัญจิจจกถา ๒. ญาณกถา
๓. นิรยปาลกถา ๔. ติรัจฉานกถา
๕. มัคคกถา ๖. ญาณกถา

จตุตถปัณณาสก์ จบ

รวมวรรคที่มีในจตุตถปัณณาสก์นี้ คือ
วรรคที่ ๑๖ เริ่มด้วยนิคคหกถา
วรรคที่ ๑๗ เริ่มด้วยอัตถิอรหโตปุญญูปจโยติกถา
วรรคที่ ๑๘ เริ่มด้วยมนุสสโลกกถา
วรรคที่ ๑๙ เริ่มด้วยกิเลสชหนกถา
วรรคที่ ๒๐ เริ่มด้วยอสัญจิจจกถา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๙๐๘ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒๑. เอกวีสติมวรรค] ๑. สาสนกถา (๒๐๐)
๒๑. เอกวีสติมวรรค
๑. สาสนกถา (๒๐๐)
ว่าด้วยหลักคำสอน
[๘๗๘] สก. คำสอน๑ ดัดแปลงใหม่ได้ใช่ไหม
ปร.๒ ใช่๓
สก. สติปัฏฐานดัดแปลงใหม่ได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. คำสอนดัดแปลงใหม่ได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สัมมัปปธาน ฯลฯ อิทธิบาท ฯลฯ อินทรีย์ ฯลฯ พละ ฯลฯ โพชฌงค์
ดัดแปลงใหม่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. คำสอนที่เป็นอกุศลในกาลก่อน ในภายหลังดัดแปลงให้เป็นกุศลได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. คำสอนที่เนื่องด้วยอาสวะ ฯลฯ เนื่องด้วยสังโยชน์ ฯลฯ เนื่องด้วยคันถะ
ฯลฯ เนื่องด้วยโอฆะ ฯลฯ เนื่องด้วยโยคะ ฯลฯ เนื่องด้วยนิวรณ์ ฯลฯ เนื่อง
ด้วยปรามาส ฯลฯ เนื่องด้วยอุปาทาน ฯลฯ เนื่องด้วยสังกิเลสในกาลก่อน ใน
ภายหลังดัดแปลงไม่ให้เนื่องด้วยสังกิเลสได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

เชิงอรรถ :
๑ คำสอน หมายถึงหลักคำสอนของพระตถาคต (อภิ.ปญฺจ.อ. ๘๗๘/๓๑๔)
๒ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอุตตราปถกะบางพวก (อภิ.ปญฺจ.อ. ๘๗๘/๓๑๔)
๓ เพราะมีความเห็นว่า การทำสังคายนาก็คือการปรับปรุงคำสอนใหม่ ซึ่งต่างกับความเห็นของสกวาทีที่เห็น
ว่า การทำสังคายนามิใช่การปรับปรุงคำสอนใหม่ แต่เป็นการรวบรวมและจัดหมวดหมู่คำสอนเดิม
เพราะคำสอนเดิมของพระพุทธเจ้าไม่มีใครสามารถปรับปรุงเปลี่ยนแปลงได้ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๘๗๘/๓๑๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๙๐๙ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒๑. เอกวีสติมวรรค] ๑. สาสนกถา (๒๐๐)
สก. บุคคลบางคนดัดแปลงคำสอนของพระตถาคตใหม่ได้มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลบางคนดัดแปลงสติปัฏฐานใหม่ได้มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลบางคนดัดแปลงสัมมัปปธาน ฯลฯ อิทธิบาท ฯลฯ อินทรีย์ ฯลฯ
พละ ฯลฯ โพชฌงค์ใหม่ได้มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลบางคนดัดแปลงคำสอนที่เคยเป็นอกุศลในกาลก่อน ในภายหลัง
ดัดแปลงให้เป็นกุศลได้มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลบางคนดัดแปลงคำสอนที่เนื่องด้วยอาสวะ ฯลฯ เนื่องด้วย
สังกิเลสในกาลก่อน ในภายหลังดัดแปลงไม่ให้เนื่องด้วยสังกิเลสได้มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. คำสอนของพระตถาคตดัดแปลงใหม่อีกได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สติปัฏฐานดัดแปลงใหม่อีกได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สัมมัปปธาน ฯลฯ อิทธิบาท ฯลฯ อินทรีย์ ฯลฯ พละ ฯลฯ โพชฌงค์
ดัดแปลงใหม่อีกได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. คำสอนที่เคยเป็นอกุศลในกาลก่อน ในภายหลังดัดแปลงให้เป็นกุศลได้
ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๙๑๐ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒๑. เอกวีสติมวรรค] ๒. อวิวิตตกถา (๒๐๑)
สก. คำสอนที่เนื่องด้วยอาสวะ ฯลฯ เนื่องด้วยสังกิเลสในกาลก่อน ใน
ภายหลังดัดแปลงไม่ให้เนื่องด้วยสังกิเลสได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สาสนกถา จบ

๒. อวิวิตตกถา (๒๐๑)
ว่าด้วยผู้ไม่สงัด
[๘๗๙] สก. ปุถุชนไม่สงัดจากสภาวธรรมที่เป็นไปในธาตุ ๓๑ ใช่ไหม
ปร.๒ ใช่๓
สก. ปุถุชนไม่สงัดจากผัสสะที่เป็นไปในธาตุ ๓ ฯลฯ เวทนาที่เป็นไปในธาตุ ๓
ฯลฯ สัญญาที่เป็นไปในธาตุ ๓ ฯลฯ เจตนาที่เป็นไปในธาตุ ๓ ฯลฯ จิต
ที่เป็นไปในธาตุ ๓ ฯลฯ สัทธาที่เป็นไปในธาตุ ๓ ฯลฯ วิริยะที่เป็นไปในธาตุ ๓
ฯลฯ สติที่เป็นไปในธาตุ ๓ ฯลฯ สมาธิที่เป็นไปในธาตุ ๓ ฯลฯ ปัญญาที่เป็นไป
ในธาตุ ๓ ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ปุถุชนไม่สงัดจากกรรมที่เป็นไปในธาตุ ๓ ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ในขณะที่ถวายจีวร ปุถุชนเข้าปฐมฌานอยู่ ฯลฯ เข้าอากาสานัญ-
จายตนฌานอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

เชิงอรรถ :
๑ สภาวธรรมที่เป็นไปในธาตุ ๓ หมายถึงสภาวธรรมที่เป็นกามาวจร รูปาวจร และอรูปาวจร (อภิ.ปญฺจ.อ.
๖๗๙/๓๑๕)
๒ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอุตตราปถกะบางพวก (อภิ.ปญฺจ.อ. ๘๗๙/๓๑๕)
๓ เพราะมีความเห็นว่า ปุถุชนผู้ยังละสภาวธรรมที่เป็นไปในภูมิ ๓ ไม่ได้ ชื่อว่ามีสภาวธรรม ๓ ประการนี้
ได้พร้อมกัน ในขณะเดียวกัน ซึ่งต่างกับความเห็นของสกวาทีที่เห็นว่า ปุถุชนไม่สามารถมีสภาวธรรม ๓
ประการได้พร้อมกัน ในขณะเดียวกัน (อภิ.ปญฺจ.อ. ๘๗๙/๓๑๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๙๑๑ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒๑. เอกวีสติมวรรค] ๓. สัญโญชนกถา (๒๐๒)
สก. ในขณะที่ถวายบิณฑบาต ฯลฯ ถวายเสนาสนะ ฯลฯ ถวายคิลาน-
ปัจจัยเภสัชบริขาร ปุถุชนเข้าจตุตถฌานอยู่ เข้าเนวสัญญานาสัญญายตนฌานอยู่
ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๘๘๐] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “ปุถุชนไม่สงัดจากกรรมที่เป็นไปในธาตุ ๓”
ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. ปุถุชนกำหนดรู้กรรมที่ให้เข้าถึงรูปธาตุและอรูปธาตุได้ใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. ดังนั้น ปุถุชนจึงไม่สงัดจากกรรมที่เป็นไปในธาตุ ๓
อวิวิตตกถา จบ

๓. สัญโญชนกถา (๒๐๒)
ว่าด้วยสังโยชน์
[๘๘๑] สก. พระโยคีละสังโยชน์บางอย่างยังไม่ได้แล้วบรรลุอรหัตตผลมีอยู่
ใช่ไหม
ปร.๑ ใช่๒
สก. พระโยคีละสักกายทิฏฐิ ฯลฯ วิจิกิจฉา ฯลฯ สีลัพพตปรามาส ฯลฯ
ราคะ ฯลฯ โทสะ ฯลฯ โมหะ ฯลฯ ละอโนตตัปปะบางอย่างยังไม่ได้แล้วบรรลุ
อรหัตตผลมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

เชิงอรรถ :
๑ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายมหาสังฆิกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๘๘๑/๓๑๕)
๒ เพราะมีความเห็นว่า พระอรหันต์ทั้งหลายไม่สามารถรู้พุทธวิสัย (สัพพัญญุตญาณ) ฉะนั้น จึงชื่อว่าละ
อวิชชาและวิจิกิจฉาได้ไม่หมด ซึ่งต่างกับความเห็นของสกวาทีที่เห็นว่า ผู้บรรลุเป็นพระอรหันต์ต้องละ
สังโยชน์ได้ทั้งหมดไม่เกี่ยวกับการรู้และการไม่รู้พุทธวิสัย (อภิ.ปญฺจ.อ. ๘๘๑/๓๑๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๙๑๒ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒๑. เอกวีสติมวรรค] ๓. สัญโญชนกถา (๒๐๒)
สก. พระโยคีละสังโยชน์บางอย่างยังไม่ได้แล้วบรรลุอรหัตตผลมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระอรหันต์ยังมีราคะ(ความกำหนัด) โทสะ(ความคิดประทุษร้าย)
โมหะ(ความหลง) มานะ(ความถือตัว) มักขะ(ความลบหลู่คุณท่าน) ปลาสะ
(ความตีเสมอ) อุปายาส(ความคร่ำครวญ) กิเลส(สิ่งที่ทำใจให้เศร้าหมอง) อยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระอรหันต์ไม่มีราคะ โทสะ โมหะ มานะ มักขะ ปลาสะ อุปายาส
กิเลส มิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากพระอรหันต์ไม่มีราคะ ฯลฯ ไม่มีกิเลส ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า
“พระโยคีละสังโยชน์บางอย่างยังไม่ได้แล้วบรรลุอรหัตตผลมีอยู่”
[๘๘๒] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “พระโยคีละสังโยชน์บางอย่างยังไม่ได้แล้ว
บรรลุอรหัตตผลมีอยู่” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. พระอรหันต์ย่อมรู้พุทธวิสัยได้ทั้งหมดใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. ดังนั้น พระโยคีละสังโยชน์บางอย่างยังไม่ได้แล้วบรรลุอรหัตตผลจึงมีอยู่

สัญโญชนกถา จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๙๑๓ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒๑. เอกวีสติมวรรค] ๔. อิทธิกถา (๒๐๓)
๔. อิทธิกถา (๒๐๓)
ว่าด้วยฤทธิ์
[๘๘๓] สก. ฤทธิ์ตามที่ประสงค์ของพระพุทธเจ้าหรือพระสาวกมีอยู่ใช่ไหม
ปร.๑ ใช่๒
สก. ฤทธิ์ตามที่ประสงค์ว่า “ขอต้นไม้จงมีใบเป็นนิจ” ของพระพุทธเจ้าหรือ
พระสาวกมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ฤทธิ์ตามที่ประสงค์ว่า “ขอต้นไม้จงผลิดอกเป็นนิจ ฯลฯ ออกผลเป็นนิจ
ฯลฯ ขอสถานที่แห่งนี้จงสว่างเป็นนิจ ฯลฯ จงเกษมเป็นนิจ ฯลฯ จงมีภิกษา
หาได้ง่ายเป็นนิจ ฯลฯ จงมีฝนดีเป็นนิจ” ของพระพุทธเจ้าหรือพระสาวกมีอยู่
ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ฤทธิ์ตามที่ประสงค์ของพระพุทธเจ้าหรือพระสาวกมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ฤทธิ์ตามที่ประสงค์ว่า “ผัสสะที่เกิดขึ้นแล้วอย่าดับไป” ของพระพุทธเจ้า
หรือพระสาวกมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

เชิงอรรถ :
๑ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอันธกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๘๘๓/๓๑๕-๓๑๖)
๒ เพราะมีความเห็นว่า พระพุทธเจ้าและพระสาวกสามารถทำอะไรได้ทุกอย่างด้วยอำนาจฤทธิ์ ซึ่งต่างกับ
ความเห็นของสกวาทีที่เห็นว่า พระพุทธเจ้าและพระสาวกไม่สามารถเปลี่ยนธรรมนิยามคือไตรลักษณ์ได้ เช่น
เปลี่ยนสิ่งที่ไม่เที่ยงให้เป็นสิ่งที่เที่ยงได้ด้วยอำนาจฤทธิ์ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๘๘๓/๓๑๕-๓๑๖)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๙๑๔ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒๑. เอกวีสติมวรรค] ๔. อิทธิกถา (๒๐๓)
สก. ฤทธิ์ตามที่ประสงค์ว่า “เวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ เจตนา ฯลฯ จิต
ฯลฯ สัทธา ฯลฯ วิริยะ ฯลฯ สติ ฯลฯ สมาธิ ฯลฯ ปัญญาที่เกิดขึ้นแล้ว
อย่าดับไป” ของพระพุทธเจ้าหรือพระสาวกมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ฤทธิ์ตามที่ประสงค์ของพระพุทธเจ้าหรือพระสาวกมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ฤทธิ์ตามที่ประสงค์ว่า “รูปจงเป็นของเที่ยง ฯลฯ เวทนา ฯลฯ สัญญา
ฯลฯ สังขาร ฯลฯ วิญญาณจงเป็นของเที่ยง” ของพระพุทธเจ้าหรือพระสาวกมีอยู่
ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ฤทธิ์ตามที่ประสงค์ของพระพุทธเจ้าหรือของพระสาวกมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ฤทธิ์ตามที่ประสงค์ว่า “สัตว์ทั้งหลายผู้มีความเกิดเป็นธรรมดาอย่าได้
เกิดเลย ฯลฯ สัตว์ทั้งหลายผู้มีความแก่เป็นธรรมดาอย่าได้แก่เลย ฯลฯ สัตว์ทั้ง
หลายผู้มีความเจ็บเป็นธรรมดาอย่าได้เจ็บเลย ฯลฯ สัตว์ทั้งหลายผู้มีความตาย
เป็นธรรมดาอย่าได้ตายเลย” ของพระพุทธเจ้าหรือพระสาวกมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรยอมรับอย่างนั้น ฯลฯ
[๘๘๔] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “ฤทธิ์ตามที่ประสงค์ของพระพุทธเจ้าหรือพระ
สาวกมีอยู่” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. ท่านพระปิลินทวัจฉะได้อธิษฐานปราสาทของพระเจ้าแผ่นดินมคธ ผู้เป็น
จอมทัพ พระนามว่าพิมพิสารว่า “จงเป็นทอง” และปราสาทก็ได้กลายเป็นทองไป
จริงมิใช่หรือ
สก. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๙๑๕ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒๑. เอกวีสติมวรรค] ๕. พุทธกถา (๒๐๔)
ปร. หากท่านพระปิลินทวัจฉะได้อธิษฐานปราสาทของพระเจ้าแผ่นดินมคธ
ผู้เป็นจอมทัพ พระนามว่าพิมพิสารว่า “จงเป็นทอง” และปราสาทนั้นก็ได้กลายเป็น
ทองไปจริง ๆ ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “ฤทธิ์ที่เป็นเหตุให้สำเร็จได้ตามความ
ประสงค์ของพระพุทธเจ้าหรือพระสาวกมีอยู่”
อิทธิกถา จบ

๕. พุทธกถา (๒๐๔)
ว่าด้วยพระพุทธเจ้า
[๘๘๕] สก. พระพุทธเจ้ากับพระพุทธเจ้าด้วยกันยังมีความยิ่งความหย่อนกว่า
กันใช่ไหม
ปร.๑ ใช่๒
สก. โดยสติปัฏฐานใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. โดยสัมมัปปธาน ฯลฯ โดยอิทธิบาท ฯลฯ โดยอินทรีย์ ฯลฯ โดยพละ
ฯลฯ โดยโพชฌงค์ ฯลฯ โดยความชำนาญ ฯลฯ โดยสัพพัญญุตญาณทัสสนะใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

พุทธกถา จบ

เชิงอรรถ :
๑ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอันธกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๘๘๕/๓๑๖)
๒ เพราะมีความเห็นว่า พระพุทธเจ้าทุกพระองค์มีพุทธธรรมไม่เท่ากัน ซึ่งต่างกับความเห็นของสกวาทีที่
เห็นว่า พระพุทธเจ้าทุกพระองค์มีพุทธธรรมเท่ากัน เว้น ๓ อย่าง คือ พระพุทธสรีระ พระชนมายุ และ
พระรัศมี (อภิ.ปญฺจ.อ. ๘๘๕/๓๑๖)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๙๑๖ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒๑. เอกวีสติมวรรค] ๖. สัพพทิสากถา (๒๐๕)
๖. สัพพทิสากถา (๒๐๕)
ว่าด้วยพระพุทธเจ้าประทับอยู่ทั่วทุกทิศ
[๘๘๖] สก. พระพุทธเจ้าประทับอยู่ในทิศทั้งปวงใช่ไหม
ปร.๑ ใช่๒
สก. ประทับอยู่ในทิศตะวันออกใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ประทับอยู่ในทิศตะวันออกใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นทรงพระนามว่าอย่างไร มีพระชาติอะไร มี
พระโคตรอะไร พระบิดาและพระมารดาของพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นมีพระนาม
ว่าอย่างไร คู่พระอัครสาวกของพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นมีนามว่าอย่างไร
อุปัฏฐากของพระผู้มีพระภาคนั้นมีนามว่าอย่างไร พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้งทรง
จีวรเช่นไร ทรงบาตรเช่นไร ประทับอยู่ในบ้าน นิคม นคร รัฐ หรือชนบทใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระพุทธเจ้าประทับอยู่ในทิศใต้ ฯลฯ ทิศตะวันตก ฯลฯ ทิศเหนือ ฯลฯ
ทิศเบื้องล่างใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ประทับอยู่ในทิศเบื้องล่างใช่ไหม
ปร. ใช่

เชิงอรรถ :
๑ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายมหาสังฆิกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๘๘๖/๓๑๗)
๒ เพราะมีความเห็นว่า พระพุทธเจ้ามีหลายพระองค์ ประทับอยู่ในโลกธาตุทั้งปวงโดยรอบ โลกธาตุละ ๑
พระองค์ ในขณะเดียวกัน จึงถือว่ามีพระพุทธเจ้าประทับอยู่ในทุกทิศ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๘๘๖/๓๑๗, ดู องฺ.
เอกก. (แปล) ๒๐/๒๗๗/๓๔ ประกอบ)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๙๑๗ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒๑. เอกวีสติมวรรค] ๗. ธัมมกถา (๒๐๖)
สก. พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นทรงพระนามว่าอย่างไร ฯลฯ ประทับอยู่ใน
ชนบทใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ประทับอยู่ในทิศเบื้องบนใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ประทับอยู่ในทิศเบื้องบนใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ประทับอยู่ในชั้นจาตุมหาราช ฯลฯ ชั้นดาวดึงส์ ฯลฯ ชั้นยามา ฯลฯ
ชั้นดุสิต ฯลฯ ชั้นนิมมานรดี ฯลฯ ชั้นปรนิมมิตวสวัตดี ฯลฯ ชั้นพรหมโลกใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สัพพทิสากถา จบ

๗. ธัมมกถา (๒๐๖)
ว่าด้วยสภาวธรรม
[๘๘๗] สก. สภาวธรรมทั้งปวงเป็นสภาวะที่แน่นอนใช่ไหม
ปร.๑ ใช่๒
สก. เป็นสภาวะที่ผิดและแน่นอนใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เป็นสภาวะที่ถูกและแน่นอนใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. กอง(แห่งสภาวธรรม)ที่ไม่แน่นอนไม่มีใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

เชิงอรรถ :
๑ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอันธกะและนิกายอุตตราปถกะบางพวก (อภิ.ปญฺจ.อ. ๘๘๗/๓๑๗)
๒ เพราะมีความเห็นว่า เนื่องจากรูป มีสภาวะเป็นรูปแน่นอน ไม่มีสภาวะเป็นเวทนา เป็นต้น ฉะนั้น ธรรม
ทั้งหลายจึงเป็นสิ่งที่แน่นอนตามสภาวะ ซึ่งต่างกับความเห็นของสกวาทีที่เห็นว่า ธรรมกับสภาวะของ
ธรรมเป็นอย่างเดียวกัน เมื่อธรรมไม่แน่นอน สภาวะของธรรมก็ไม่แน่นอน (อภิ.ปญฺจ.อ. ๘๘๗/๓๑๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๙๑๘ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒๑. เอกวีสติมวรรค] ๗. ธัมมกถา (๒๐๖)
สก. กอง(แห่งสภาวธรรม)ที่ไม่แน่นอนมีอยู่มิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากกอง(แห่งสภาวธรรม)ที่ไม่แน่นอนมีอยู่ ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า
“สภาวธรรมทั้งปวงเป็นสภาวะที่แน่นอน”
สก. สภาวธรรมทั้งปวงเป็นสภาวะที่แน่นอนใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. กอง(แห่งสภาวธรรม)พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ ๓ อย่าง คือ (๑) กองที่ผิด
และแน่นอน (๒) กองที่ถูกและแน่นอน (๓) กองที่ไม่แน่นอน มิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากกอง(แห่งสภาวธรรม)พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ ๓ อย่าง คือ (๑)
กองที่ผิดและแน่นอน (๒) กองที่ถูกและแน่นอน (๓) กองที่ไม่แน่นอน ท่านก็ไม่
ควรยอมรับว่า “สภาวธรรมทั้งปวงเป็นสภาวะที่แน่นอน”
สก. รูปเป็นสภาวะที่แน่นอน เพราะมีสภาวะเป็นรูปใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เป็นสภาวะที่ผิดและแน่นอนใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เป็นสภาวะที่ถูกและแน่นอนใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ สังขาร ฯลฯ วิญญาณ เป็นสภาวะที่แน่นอน
เพราะมีสภาวะเป็นวิญญาณใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เป็นสภาวะที่ผิดและแน่นอนใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เป็นสภาวะที่ถูกและแน่นอนใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๙๑๙ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒๑. เอกวีสติมวรรค] ๘. กัมมกถา (๒๐๗)
[๘๘๘] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “รูปเป็นสภาวะที่แน่นอน เพราะมีสภาวะเป็นรูป
ฯลฯ เวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ สังขาร ฯลฯ วิญญาณเป็นสภาวะที่แน่นอน
เพราะมีสภาวะเป็นวิญญาณ” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. รูปเป็นเวทนา ฯลฯ เป็นสัญญา ฯลฯ เป็นสังขาร ฯลฯ เป็นวิญญาณ
ฯลฯ เวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ สังขาร ฯลฯ วิญญาณเป็นรูป ฯลฯ เป็นเวทนา
ฯลฯ เป็นสัญญา ฯลฯ เป็นสังขารใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. ดังนั้น รูปจึงเป็นสภาวะที่แน่นอนโดยอรรถว่าแปรผันไป เวทนา ฯลฯ
สัญญา ฯลฯ สังขาร ฯลฯ วิญญาณ เป็นสภาวะที่แน่นอน เพราะมีสภาวะเป็น
วิญญาณ
ธัมมกถา จบ

๘. กัมมกถา (๒๐๗)
ว่าด้วยกรรม
[๘๘๙] สก. กรรมทั้งปวงเป็นสภาวะที่แน่นอนใช่ไหม
ปร.๑ ใช่๒
สก. เป็นสภาวะที่ผิดและแน่นอนใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เป็นสภาวะที่ถูกและแน่นอนใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

เชิงอรรถ :
๑ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอันธกะและนิกายอุตตราปถกะบางพวก (อภิ.ปญฺจ.อ. ๘๘๙/๓๑๘)
๒ เพราะมีความเห็นว่า กรรมทุกอย่างเป็นสิ่งที่แน่นอน ไม่เปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่น เช่น กรรมที่ให้ผลใน
ปัจจุบันก็ต้องให้ผลในปัจจุบัน ไม่เปลี่ยนแปลง ซึ่งต่างกับความเห็นของสกวาทีที่เห็นว่า กรรมทุกอย่าง
อาจเปลี่ยนแปลง เช่น กรรมที่ให้ผลในปัจจุบัน ถ้าไม่ให้ผลก็กลายเป็นอโหสิกรรมได้ (อภิ.ปญฺจ.อ.
๘๘๙/๓๑๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๙๒๐ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒๑. เอกวีสติมวรรค] ๘. กัมมกถา (๒๐๗)
สก. กอง(แห่งสภาวธรรม)ที่ไม่แน่นอนไม่มีใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. กอง(แห่งสภาวธรรม)ที่ไม่แน่นอนมีอยู่มิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากกอง(แห่งสภาวธรรม)ที่ไม่แน่นอนมีอยู่ ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า
“กรรมทั้งปวงเป็นสภาวะที่แน่นอน”
สก. กรรมทั้งปวงเป็นสภาวะที่แน่นอนใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. กอง(แห่งสภาวธรรม)พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ ๓ อย่าง คือ (๑) กอง
ที่ผิดและแน่นอน (๒) กองที่ถูกและแน่นอน (๓) กองที่ไม่แน่นอน มิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากกอง(แห่งสภาวธรรม)พระผู้มีพระภาคตรัสกองไว้ ๓ อย่าง คือ (๑)
กองที่ผิดและแน่นอน (๒) กองที่ถูกและแน่นอน (๓) กองที่ไม่แน่นอน ท่านก็ไม่
ควรยอมรับว่า “กรรมทั้งปวงเป็นสภาวะที่แน่นอน”
[๘๙๐] สก. ทิฏฐธรรมเวทนียกรรมเป็นสภาวะที่แน่นอนโดยอรรถว่าเป็นกรรม
อันบุคคลพึงเสวยในปัจจุบันใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ทิฏฐธรรมเวทนียกรรมนั้นเป็นสภาวะที่ผิดและแน่นอนใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เป็นสภาวะที่ถูกและแน่นอนใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. อุปปัชชเวทนียกรรม ฯลฯ อปราปริยเวทนียกรรม เป็นสภาวะที่แน่นอน
โดยอรรถว่าเป็นกรรมอันบุคคลพึงเสวยในอัตภาพต่อ ๆ ไปใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. อปราปริยเวทนียกรรมนั้นเป็นสภาวะที่ผิดและให้ผลแน่นอนใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๙๒๑ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒๑. เอกวีสติมวรรค] รวมกถาที่มีในวรรค
สก. เป็นสภาวะที่ถูกและให้ผลแน่นอนใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๘๙๑] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “ทิฏฐธรรมเวทนียกรรมเป็นสภาวะที่แน่นอน
โดยอรรถว่าเป็นกรรมอันบุคคลพึงเสวยในปัจจุบัน อุปปัชชเวทนียกรรม ฯลฯ
อปราปริยเวทนียกรรมเป็นสภาวะที่แน่นอน โดยอรรถว่าเป็นกรรมอันบุคคลพึง
เสวยในอัตภาพต่อ ๆ ไป” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. ทิฏฐธรรมเวทนียกรรมเป็นอุปปัชชเวทนียกรรม เป็นอปราปริยเวทนีย-
กรรม ฯลฯ อุปปัชชเวทนียกรรมเป็นทิฏฐธรรมเวทนียกรรม เป็นอปราปริย-
เวทนียกรรม ฯลฯ อปราปริยเวทนียกรรมเป็นทิฏฐธรรมเวทนียกรรม เป็น
อุปปัชชเวทนียกรรมใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น
ปร. ดังนั้น ทิฏฐธรรมเวทนียกรรมจึงเป็นสภาวะที่แน่นอน โดยอรรถว่า
เป็นกรรมอันบุคคลพึงเสวยในปัจจุบัน อุปปัชชเวทนียกรรม ฯลฯ อปราปริย-
เวทนียกรรมเป็นสภาวะที่แน่นอน โดยอรรถว่าเป็นกรรมอันบุคคลพึงเสวยใน
อัตภาพต่อ ๆ ไป
กัมมกถา จบ
เอกวีสติมวรรค จบ

รวมกถาที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. สาสนกถา ๒. อวิวิตตกถา
๓. สัญโญชนกถา ๔. อิทธิกถา
๕. พุทธกถา ๖. สัพพทิสากถา
๗. ธัมมกถา ๘. กัมมกถา


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๙๒๒ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒๒. พาวีสติมวรรค] ๑. ปรินิพพานกถา (๒๐๘)
๒๒. พาวีสติมวรรค
๑. ปรินิพพานกถา (๒๐๘)
ว่าด้วยปรินิพพาน
[๘๙๒] สก. พระอรหันต์ละสังโยชน์บางอย่างยังไม่ได้แล้วปรินิพพานมีอยู่ใช่ไหม
ปร.๑ ใช่๒
สก. พระอรหันต์ละสักกายทิฏฐิ ฯลฯ อโนตตัปปะบางอย่างยังไม่ได้แล้ว
ปรินิพพานมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระอรหันต์ละสังโยชน์บางอย่างยังไม่ได้แล้วปรินิพพานมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระอรหันต์ยังมีราคะ ฯลฯ ยังมีกิเลสอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระอรหันต์ไม่มีราคะ ฯลฯ ไม่มีกิเลสมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากพระอรหันต์ไม่มีราคะ ฯลฯ ไม่มีกิเลส ท่านก็ไม่ควรยอมรับ
ว่า “พระอรหันต์ละสังโยชน์บางอย่างยังไม่ได้แล้วปรินิพพานมีอยู่”
[๘๙๓] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “พระอรหันต์ละสังโยชน์บางอย่างยังไม่ได้แล้ว
ปรินิพพานมีอยู่” ใช่ไหม
สก. ใช่

เชิงอรรถ :
๑ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอันธกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๘๙๒/๓๑๙)
๒ เพราะมีความเห็นว่า มีพระอรหันต์ที่ปรินิพพานทั้งที่ยังละอวิชชาและวิจิกิจฉาไม่ได้ ซึ่งต่างกับความเห็น
ของสกวาทีที่เห็นว่า ผู้บรรลุเป็นพระอรหันต์ต้องละสังโยชน์ได้ทั้งหมด (อภิ.ปญฺจ.อ. ๘๙๒/๓๑๙)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๙๒๓ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒๒. พาวีสติมวรรค] ๒. กุสลจิตตกถา (๒๐๙)
ปร. พระอรหันต์รู้พุทธวิสัยได้ทั้งหมดใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. ดังนั้น พระอรหันต์ละสังโยชน์บางอย่างยังไม่ได้แล้วปรินิพพานจึงมีอยู่
ปรินิพพานกถา จบ

๒. กุสลจิตตกถา (๒๐๙)
ว่าด้วยกุศลจิต
[๘๙๔] สก. พระอรหันต์ มีจิตเป็นกุศลปรินิพพานใช่ไหม
ปร.๑ ใช่๒
สก. พระอรหันต์ยังสร้างสมปุญญาภิสังขาร ฯลฯ อาเนญชาภิสังขาร ฯลฯ
ทำกรรมที่เป็นไปเพื่อคติ ฯลฯ เพื่อภพ ฯลฯ เพื่อความเป็นผู้มีอำนาจ ฯลฯ
เพื่อความเป็นใหญ่ ฯลฯ เพื่อมีสมบัติมาก ฯลฯ เพื่อมีบริวารมาก ฯลฯ เพื่อ
ความงามในหมู่เทพ ฯลฯ เพื่อความงามในมนุษย์แล้วปรินิพพานใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระอรหันต์มีจิตเป็นกุศลปรินิพพานใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระอรหันต์สั่งสมอยู่ ไม่สั่งสมอยู่ ฯลฯ ละอยู่ ยึดมั่นอยู่ ฯลฯ กำจัดอยู่
ก่ออยู่ ฯลฯ ทำลายอยู่ ปรับปรุงอยู่ ปรินิพพานใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

เชิงอรรถ :
๑ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอันธกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๘๙๔/๓๑๙)
๒ เพราะมีความเห็นว่า พระอรหันต์เป็นผู้มีสติสัมปชัญญะ เมื่อปรินิพพานก็ปรินิพพานอย่างผู้มีสติ-
สัมปชัญญะ ดังนั้น จึงชื่อว่าปรินิพพานด้วยกุศลจิต (จิตที่เป็นกุศล) ซึ่งต่างกับความเห็นของสกวาทีที่เห็นว่า
พระอรหันต์ปรินิพพานด้วยอัพยากตจิต (มหาวิปากจิต) (อภิ.ปญฺจ.อ. ๘๙๔/๓๑๙)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๙๒๔ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒๒. พาวีสติมวรรค] ๒. กุสลจิตตกถา (๒๐๙)
สก. พระอรหันต์สั่งสมอยู่ก็มิใช่ ไม่สั่งสมอยู่ก็มิใช่ แต่เป็นผู้ไม่สั่งสมแล้ว
ดำรงอยู่มิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากพระอรหันต์สั่งสมอยู่ก็มิใช่ ไม่สั่งสมอยู่ก็มิใช่ แต่เป็นผู้ไม่สั่งสม
แล้วดำรงอยู่ ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “พระอรหันต์มีจิตเป็นกุศลปรินิพพาน”
สก. พระอรหันต์ละอยู่ก็มิใช่ ยึดมั่นอยู่ก็มิใช่ แต่เป็นผู้ละแล้วดำรงอยู่
กำจัดอยู่ก็มิใช่ ก่ออยู่ก็มิใช่ แต่เป็นผู้กำจัดแล้วดำรงอยู่ ทำลายอยู่ก็มิใช่
ปรับปรุงอยู่ก็มิใช่ แต่เป็นผู้ทำลายแล้วดำรงอยู่มิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากพระอรหันต์ทำลายอยู่ก็มิใช่ ปรับปรุงอยู่ก็มิใช่ แต่เป็นผู้ทำลาย
แล้วดำรงอยู่ ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “พระอรหันต์มีจิตเป็นกุศลปรินิพพาน”
[๘๙๕] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “พระอรหันต์มีจิตเป็นกุศลปรินิพพาน” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. พระอรหันต์มีสติตั้งมั่น มีสติสัมปชัญญะปรินิพพานมิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. หากพระอรหันต์มีสติตั้งมั่น มีสติสัมปชัญญะปรินิพพาน ดังนั้น ท่าน
จึงควรยอมรับว่า “พระอรหันต์มีจิตเป็นกุศลปรินิพพาน”

กุสลจิตตกถา จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๙๒๕ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒๒. พาวีสติมวรรค] ๓. อาเนญชกถา (๒๑๐)
๓. อาเนญชกถา (๒๑๐)
ว่าด้วยอาเนญชสมาธิ (จตุตถฌานจิต)
[๘๙๖] สก. พระอรหันต์ดำรงอยู่ในอาเนญชสมาธิ ปรินิพพานใช่ไหม
ปร.๑ ใช่๒
สก. พระอรหันต์ดำรงอยู่ในปกติจิต๓ ปรินิพพานมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากพระอรหันต์ดำรงอยู่ในปกติจิตปรินิพพาน ท่านก็ไม่ควรยอมรับ
ว่า “พระอรหันต์ดำรงอยู่ในอาเนญชสมาธิ ปรินิพพาน”
สก. พระอรหันต์ดำรงอยู่ในอาเนญชสมาธิ ปรินิพพานใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระอรหันต์ดำรงอยู่ในกิริยาจิต ปรินิพพานใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระอรหันต์ดำรงอยู่ในวิปากจิต ปรินิพพานมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากพระอรหันต์ดำรงอยู่ในวิปากจิต ปรินิพพาน ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า
“พระอรหันต์ดำรงอยู่ในอาเนญชสมาธิ ปรินิพพาน”
สก. พระอรหันต์ดำรงอยู่ในอาเนญชสมาธิ ปรินิพพานใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระอรหันต์ดำรงอยู่ในอัพยากตกิริยาจิต ปรินิพพานใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

เชิงอรรถ :
๑ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอุตตราปถกะบางพวก (อภิ.ปญฺจ.อ. ๘๙๖/๓๑๙-๓๒๐)
๒ เพราะมีความเห็นว่า พระอรหันต์ปรินิพพานขณะดำรงอยู่ในอาเนญชสมาธิ(จตุตถฌานจิต)โดยอ้าง
พระสูตรที่ว่า พระผู้มีพระภาคปรินิพพานขณะอยู่ในอาเนญชสมาธิ ซึ่งต่างกับความเห็นของสกวาทีที่เห็นว่า
พระผู้มีพระภาคทรงออกจากอาเนญชสมาธิก่อนแล้วจึงปรินิพพาน (อภิ.ปญฺจ.อ. ๘๙๖/๓๑๙-๓๒๐)
๓ ปกติจิต ในที่นี้หมายถึงภวังคจิต (อภิ.ปญฺจ.อ. ๘๙๖/๓๒๐)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๙๒๖ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒๒. พาวีสติมวรรค] ๔. ธัมมาภิสมยกถา (๒๑๑)
สก. พระอรหันต์ดำรงอยู่ในอัพยากตวิปากจิต ปรินิพพานมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากพระอรหันต์ดำรงอยู่ในอัพยากตวิปากจิต ปรินิพพาน ท่านก็ไม่ควร
ยอมรับว่า “พระอรหันต์ดำรงอยู่ในอาเนญชสมาธิ ปรินิพพาน”
สก. พระอรหันต์ดำรงอยู่ในอาเนญชสมาธิ ปรินิพพานใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระผู้มีพระภาคทรงออกจากจตุตถฌานแล้วปรินิพพานในลำดับติดต่อกัน
มิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากพระผู้มีพระภาคทรงออกจากจตุตถฌานแล้วปรินิพพานในลำดับติดต่อกัน
ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “พระอรหันต์ดำรงอยู่ในอาเนญชสมาธิปรินิพพาน”
อาเนญชกถา จบ

๔. ธัมมาภิสมยกถา (๒๑๑)
ว่าด้วยการบรรลุธรรม
[๘๙๗] สก. การบรรลุธรรมของสัตว์ผู้อยู่ในครรภ์มีได้ใช่ไหม
ปร.๑ ใช่๒
สก. การแสดงธรรม การฟังธรรม การสนทนาธรรม การสอบถาม การ
สมาทานศีล ความคุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย ความเป็นผู้รู้จักประมาณใน

เชิงอรรถ :
๑ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอุตตราปถกะบางพวก (อภิ.ปญฺจ.อ. ๘๙๗/๓๒๑)
๒ เพราะมีความเห็นว่า บุคคลผู้เป็นพระโสดาบันในภพก่อนอยู่ในครรภ์ของมารดาแล้วคลอดออกมา จึงเข้าใจ
ว่ามีการบรรลุธรรมขณะอยู่ในครรภ์ของมารดา ซึ่งต่างกับความเห็นของสกวาทีที่เห็นว่า การบรรลุธรรมไม่
สามารถมีได้ในขณะอยู่ในครรภ์มารดา เพราะผู้อยู่ในครรภ์ไม่มีการเจริญภาวนา ไม่มีสติสัมปชัญญะ
(อภิ.ปญฺจ.อ. ๘๙๗/๓๒๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๙๒๗ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒๒. พาวีสติมวรรค] ๔. ธัมมาภิสมยกถา (๒๑๑)
โภชนะ การหมั่นประกอบความเพียรเป็นเครื่องตื่นทั้งในปฐมยามและปัจฉิมยาม
แห่งราตรี ของสัตว์ผู้อยู่ในครรภ์มีได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. การแสดงธรรม การฟังธรรม ฯลฯ การหมั่นประกอบความเพียรเป็น
เครื่องตื่นทั้งในปฐมยามและปัจฉิมยามแห่งราตรีของสัตว์ผู้อยู่ในครรภ์ไม่มีใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. หากการแสดงธรรม การฟังธรรม ฯลฯ การหมั่นประกอบความเพียร
เป็นเครื่องตื่นทั้งในปฐมยามและปัจฉิมยามแห่งราตรีของสัตว์ผู้อยู่ในครรภ์ไม่มี
ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “การบรรลุธรรมของสัตว์ผู้อยู่ในครรภ์มีได้”
สก. การบรรลุธรรมสัตว์ผู้อยู่ในครรภ์มีได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ปัจจัยเพื่อความเกิดขึ้นแห่งสัมมาทิฏฐิมี ๒ อย่าง คือ (๑) ปรโตโฆสะ
(คำแนะนำจากผู้อื่น) (๒) โยนิโสมนสิการ (การใช้ความคิดถูกวิธี) มิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากปัจจัยเพื่อความเกิดขึ้นแห่งสัมมาทิฏฐิมี ๒ อย่าง คือ (๑)
ปรโตโฆสะ (๒) โยนิโสมนสิการ ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “การบรรลุธรรมของ
สัตว์ผู้อยู่ในครรภ์มีได้”
สก. การบรรลุธรรมของสัตว์ผู้อยู่ในครรภ์มีได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. การบรรลุธรรมของบุคคลผู้หลับ ผู้ประมาท ผู้มีสติหลงลืม ผู้ไม่มี
สัมปชัญญะมีได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ธัมมาภิสมยกถา จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๙๒๘ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒๒. พาวีสติมวรรค] ๕-๗. ติสโสปิกถา (๒๑๒-๒๑๔)
๕-๗. ติสโสปิกถา๑ (๒๑๒-๒๑๔)
ว่าด้วยเรื่องการบรรลุอีก ๓ เรื่อง
[๘๙๘] สก. การบรรลุอรหัตตผลของสัตว์ผู้อยู่ในครรภ์มีได้ใช่ไหม
ปร.๒ ใช่๓
สก. การบรรลุอรหัตตผลของบุคคลผู้หลับ ผู้ประมาท ผู้มีสติหลงลืม ผู้ไม่มี
สัมปชัญญะมีได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๘๙๙] สก. การบรรลุธรรมของบุคคลผู้ฝันมีได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. การบรรลุธรรมของบุคคลผู้หลับ ผู้ประมาท ผู้มีสติหลงลืม ผู้ไม่มี
สัมปชัญญะมีได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๙๐๐] สก. การบรรลุอรหัตตผลของบุคคลผู้ฝันมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. การบรรลุอรหัตตผลของบุคคลผู้หลับ ผู้ประมาท ผู้มีสติหลงลืม ผู้ไม่มี
สัมปชัญญะมีได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ติสโสปิกถา จบ

เชิงอรรถ :
๑ หมายถึงตอนที่ว่าด้วยการบรรลุธรรมอีก ๓ เรื่องเป็นเรื่องที่ ๕-๗ คือ (๕) อรหัตตัปปัตติกถา ว่าด้วยเรื่อง
การบรรลุอรหัตตผลขณะอยู่ในครรภ์ของมารดา (๖) ธัมมาภิสมยกถา ว่าด้วยการบรรลุธรรมของบุคคล
ผู้ฝัน (๗) อรหัตตัปปัตติกถา ว่าด้วยการบรรลุอรหัตตผลของบุคคลผู้ฝัน (อภิ.ปญฺจ.อ. ๘๙๘/๓๒๑)
๒ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอุตตราปถกะบางพวก (อภิ.ปญฺจ.อ. ๘๙๘/๓๒๑)
๓ เพราะมีความเห็นว่า ขณะอยู่ในครรภ์ของมารดา บุคคลก็สามารถบรรลุอรหัตตผลได้ (อภิ.ปญฺจ.อ.
๘๙๘/๓๒๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๙๒๙ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒๒. พาวีสติมวรรค] ๘. อัพยากตกถา (๒๑๕)
๘. อัพยากตกถา (๒๑๕)
ว่าด้วยอัพยากตจิต
[๙๐๑] สก. จิตของบุคคลผู้ฝันทุกดวงเป็นอัพยากฤตใช่ไหม
ปร.๑ ใช่๒
สก. บุคคลอาจฆ่าสัตว์ได้ด้วยความฝันใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. หากบุคคลอาจฆ่าสัตว์ได้ด้วยความฝัน ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “จิต
ของบุคคลผู้ฝันทุกดวงเป็นอัพยากฤต”
สก. บุคคลอาจลักทรัพย์ได้ด้วยความฝัน ฯลฯ พูดเท็จ ฯลฯ พูดส่อเสียด
ฯลฯ พูดคำหยาบ ฯลฯ พูดเพ้อเจ้อ ฯลฯ ตัดช่องย่องเบา ฯลฯ ปล้นสะดม ฯลฯ
ปล้นเรือนหลังเดียว ฯลฯ ดักปล้นในทางเปลี่ยว ฯลฯ ผิดภรรยาของผู้อื่น ฯลฯ
ปล้นชาวบ้าน ฯลฯ ปล้นชาวนิคม ฯลฯ เสพเมถุนธรรมได้ด้วยความฝัน ฯลฯ
อสุจิของผู้ฝันอาจเคลื่อนได้ ฯลฯ อาจให้ทาน ฯลฯ จีวร ฯลฯ บิณฑบาต ฯลฯ
เสนาสนะ ฯลฯ คิลานปัจจัยเภสัชบริขาร ฯลฯ ของขบเคี้ยว ฯลฯ ของกิน ฯลฯ
น้ำดื่ม ฯลฯ อาจไหว้พระเจดีย์ ฯลฯ อาจยกดอกไม้ ฯลฯ ของหอม ฯลฯ
เครื่องลูบไล้ขึ้นไว้บนพระเจดีย์ ฯลฯ อาจทำประทักษิณพระเจดีย์ได้ด้วยความฝัน
ใช่ไหม
ปร. ใช่

เชิงอรรถ :
๑ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอุตตราปถกะบางพวก (อภิ.ปญฺจ.อ. ๙๐๑-๙๐๒/๓๒๑)
๒ เพราะมีความเห็นว่า จิตของบุคคลผู้ฝันเป็นอัพยากฤต โดยอ้างพระสูตรว่า เจตนาของบุคคลผู้ฝัน
เป็นอัพโพหาริก (ไม่สามารถจะเรียกว่าเป็นกุศลหรืออกุศล) ซึ่งต่างกับความเห็นของสกวาทีที่เห็นว่า จิตของ
บุคคลผู้ฝันอาจจะเป็นได้ทั้งกุศล อกุศล และอัพยากฤต แต่ไม่สามารถที่จะให้ผลได้ ฉะนั้น จึงจัดเป็น
อัพโพหาริก แต่ไม่เป็นอัพยากฤต (อภิ.ปญฺจ.อ. ๙๐๑-๙๐๒/๓๒๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๙๓๐ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒๒. พาวีสติมวรรค] ๙. อาเสวนปัจจยตากถา (๒๑๖)
สก. หากบุคคลอาจทำประทักษิณพระเจดีย์ได้ด้วยความฝัน ท่านก็ไม่ควร
ยอมรับว่า “จิตของบุคคลผู้ฝันทุกดวงเป็นอัพยากฤต”
[๙๐๒] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “จิตของบุคคลผู้ฝันทุกดวงเป็นอัพยากฤต”
ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. จิตของบุคคลผู้ฝัน พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “เป็นอัพโพหาริก” มิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. หากจิตของบุคคลผู้ฝัน พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “เป็นอัพโพหาริก”
ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “จิตของบุคคลผู้ฝันทุกดวงเป็นอัพยากฤต”
อัพยากตกถา จบ

๙. อาเสวนปัจจยตากถา (๒๑๖)
ว่าด้วยความเป็นอาเสวนปัจจัย
[๙๐๓] สก. ความเป็นอาเสวนปัจจัยบางอย่างไม่มีใช่ไหม
ปร.๑ ใช่๒
สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย ปาณาติบาต
(การฆ่าสัตว์) ที่บุคคลเสพ เจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมอำนวยผลให้ไปเกิดในนรก
อำนวยผลให้เกิดในกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน อำนวยผลให้ไปเกิดในภูมิแห่งเปรต วิบาก
แห่งปาณาติบาตอย่างเบาที่สุด ย่อมอำนวยผลให้เป็นผู้มีอายุสั้นแก่ผู้เกิดเป็นมนุษย์”๓
มีอยู่จริงมิใช่หรือ
ปร. ใช่

เชิงอรรถ :
๑ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอุตตราปถกะบางพวก (อภิ.ปญฺจ.อ. ๙๐๓-๙๐๕/๓๒๒)
๒ เพราะมีความเห็นว่า สภาวธรรมทุกอย่างตั้งอยู่ชั่วขณะเดียว แม้มีสภาวธรรมบางอย่างตั้งอยู่ชั่วมุหุตตะเดียว
ก็เป็นอาเสวนปัจจัยไม่ได้ ฉะนั้น ความเป็นอาเสวนปัจจัยบางอย่างจึงไม่มี ธรรมบางอย่างที่เกิดเพราะ
อาเสวนปัจจัยไม่มีด้วย ซึ่งต่างกับความเห็นของสกวาทีที่เห็นว่า ธรรมที่ตั้งอยู่ครู่เดียวเป็นอาเสวนปัจจัยได้
(อภิ.ปญฺจ.อ. ๙๐๓-๙๐๕/๓๒๒) ดูเชิงอรรถที่ ๒ ข้อ ๗๒๒ หน้า ๗๗๐ ในเล่มนี้
๓ ดูเทียบ องฺ.อฏฺฐก. (แปล) ๒๓/๔๐/๓๐๑-๓๐๒

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๙๓๑ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒๒. พาวีสติมวรรค] ๙. อาเสวนปัจจยตากถา (๒๑๖)
สก. ดังนั้น ความเป็นอาเสวนปัจจัยบางอย่างจึงมีอยู่
สก. ความเป็นอาเสวนปัจจัยบางอย่างไม่มีใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย อทินนาทาน
(การลักทรัพย์) ที่บุคคลเสพ เจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมอำนวยผลให้ไปเกิดในนรก
อำนวยผลให้ไปเกิดในกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน อำนวยผลให้ไปเกิดในภูมิแห่งเปรต
วิบากแห่งอทินนาทานอย่างเบาที่สุด ย่อมอำนวยผลให้เป็นผู้เสื่อมโภคทรัพย์แก่
ผู้เกิดเป็นมนุษย์ ฯลฯ วิบากแห่งกาเมสุมิจฉาจาร (การประพฤติผิดในกาม)
อย่างเบาที่สุด ย่อมอำนวยผลให้เป็นผู้มีศัตรูและเป็นผู้มีเวรแก่ผู้เกิดเป็นมนุษย์ ฯลฯ
วิบากแห่งมุสาวาท (การพูดเท็จ) อย่างเบาที่สุด ย่อมอำนวยผลให้ถูกกล่าวตู่ด้วย
คำไม่จริงแก่ผู้เกิดเป็นมนุษย์ ฯลฯ วิบากแห่งปิสุณาวาจา (การพูดส่อเสียด)
อย่างเบาที่สุด ย่อมอำนวยผลให้แตกจากมิตรแก่ผู้เกิดเป็นมนุษย์ ฯลฯ วิบาก
แห่งผรุสวาจา (การพูดหยาบคาย) อย่างเบาที่สุด ย่อมอำนวยผลให้ได้ฟังเรื่องที่
ไม่น่าฟังแก่ผู้เกิดเป็นมนุษย์ ฯลฯ วิบากแห่งสัมผัปปลาปะ (การพูดเพ้อเจ้อ)
อย่างเบาที่สุด ย่อมอำนวยผลให้มีวาจาที่ไม่น่าเชื่อถือแก่ผู้เกิดเป็นมนุษย์ ฯลฯ
การดื่มสุราเมรัยที่บุคคลเสพ ฯลฯ วิบากแห่งการดื่มสุราเมรัยอย่างเบาที่สุด
ย่อมอำนวยผลให้เป็นผู้วิกลจริตแก่ผู้เกิดเป็นมนุษย์”๑ มีอยู่จริงมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. ดังนั้น ความเป็นอาเสวนปัจจัยบางอย่างจึงมีอยู่
[๙๐๔] สก. ความเป็นอาเสวนปัจจัยบางอย่างไม่มีใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย มิจฉาทิฏฐิที่บุคคล
เสพ เจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมอำนวยผลให้ไปเกิดในนรก อำนวยผลให้ไปเกิด
ในกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน อำนวยผลให้ไปเกิดในภูมิแห่งเปรต” มีอยู่จริงมิใช่หรือ
ปร. ใช่

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ องฺ.อฏฺฐก. (แปล) ๒๓/๔๐/๓๐๑-๓๐๒

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๙๓๒ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒๒. พาวีสติมวรรค] ๙. อาเสวนปัจจยตากถา (๒๑๖)
สก. ดังนั้น ความเป็นอาเสวนปัจจัยบางอย่างจึงมีอยู่
สก. ความเป็นอาเสวนปัจจัยบางอย่างไม่มีใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย มิจฉาสังกัปปะ
ฯลฯ มิจฉาสมาธิ ที่บุคคลเสพ เจริญ ทำให้มากแล้ว ฯลฯ ย่อมอำนวยผลให้
ไปเกิดในภูมิแห่งเปรต” มีอยู่จริงมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. ดังนั้น ความเป็นอาเสวนปัจจัยบางอย่างจึงมีอยู่
[๙๐๕] สก. ความเป็นอาเสวนปัจจัยบางอย่างไม่มีใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย สัมมาทิฏฐิที่บุคคลเสพ
เจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมหยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นจุดมุ่งหมาย มีอมตะเป็นที่สุด”
มีอยู่จริงมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. ดังนั้น ความเป็นอาเสวนปัจจัยบางอย่างจึงมีอยู่
สก. ความเป็นอาเสวนปัจจัยบางอย่างไม่มีใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย สัมมาสังกัปปะที่
บุคคลเสพ เจริญ ทำให้มากแล้ว ฯลฯ สัมมาสมาธิที่บุคคลเสพ เจริญ ทำให้
มากแล้ว ย่อมหยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นจุดมุ่งหมาย มีอมตะเป็นที่สุด” มีอยู่
จริงมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. ดังนั้น ความเป็นอาเสวนปัจจัยบางอย่างจึงมีอยู่

อาเสวนปัจจยตากถา จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๙๓๓ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒๒. พาวีสติมวรรค] ๑๐. ขณิกกถา (๒๑๗)
๑๐. ขณิกกถา (๒๑๗)
ว่าด้วยสภาวธรรมทั้งปวงเป็นไปชั่วขณะจิตหนึ่ง
[๙๐๖] สก. สภาวธรรมทั้งปวงเป็นไปชั่วขณะจิตหนึ่งใช่ไหม
ปร.๑ ใช่๒
สก. มหาปฐพี มหาสมุทร ภูเขาสิเนรุ น้ำ ไฟ ลม หญ้า ไม้ และไม้เจ้าป่า
ล้วนแต่ดำรงอยู่ได้ในจิตใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สภาวธรรมทั้งปวงเป็นไปชั่วขณะจิตหนึ่งใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. จักขายตนะเกิดพร้อมกับจักขุวิญญาณใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. จักขายตนะเกิดพร้อมกับจักขุวิญญาณใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสูตรที่ว่า “ท่านพระสารีบุตรได้กล่าวไว้ดังนี้ว่า ‘ท่านผู้มีอายุ จักษุ
ที่เป็นอายตนะภายใน ไม่แตกทำลาย รูปที่เป็นอายตนะภายนอกไม่มาสู่คลองจักษุ
และความใส่ใจอันเกิดจากจักษุและรูปก็ไม่มี วิญญาณส่วนที่เกิดจากจักษุและรูปนั้น
ก็ไม่ปรากฏ จักษุที่เป็นอายตนะภายใน ไม่แตกทำลาย รูปที่เป็นอายตนะภายนอก
มาสู่คลองจักษุ แต่ความใส่ใจอันเกิดจากจักษุและรูปนั้นไม่มี วิญญาณส่วนที่เกิดจาก

เชิงอรรถ :
๑ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายปุพพเสลิยะและนิกายอปรเสลิยะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๙๐๖-๙๐๗/๓๒๒-๓๒๓)
๒ เพราะมีความเห็นว่า สังขตธรรม(ธรรมที่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง) คือรูปกับนาม มีอายุเท่ากัน คือ ชั่วขณะจิตหนึ่ง
ซึ่งต่างกับความเห็นของสกวาทีที่เห็นว่า รูป ๑ ขณะมีอายุเท่ากับจิต ๑๗ ขณะ นาม (จิต เจตสิก) เท่านั้น
ที่มีอายุเท่ากับชั่วขณะจิตหนึ่ง (อภิ.ปญฺจ.อ. ๙๐๖-๙๐๗/๓๒๒-๓๒๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๙๓๔ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒๒. พาวีสติมวรรค] ๑๐. ขณิกกถา (๒๑๗)
จักษุและรูปนั้นก็ไม่ปรากฏ แต่เมื่อใด จักษุที่เป็นอายตนะภายในไม่แตกทำลาย รูป
ที่เป็นอายตนะภายนอกมาสู่คลองจักษุ และความใส่ใจอันเกิดจากจักษุและรูปนั้นก็มี
เมื่อนั้น วิญญาณส่วนที่เกิดจากจักษุและรูปนั้นย่อมปรากฏ ด้วยอาการอย่างนี้”๑ มี
อยู่จริงมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. ดังนั้น ท่านจึงไม่ควรยอมรับว่า “จักขายตนะเกิดพร้อมกับจักขุวิญญาณ”
สก. โสตายตนะ ฯลฯ ฆานายตนะ ฯลฯ ชิวหายตนะ ฯลฯ กายายตนะ
เกิดพร้อมกับกายวิญญาณใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. กายายตนะเกิดพร้อมกับกายวิญญาณใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสูตรที่ว่า “ท่านพระสารีบุตรได้กล่าวไว้ดังนี้ว่า ‘ท่านผู้มีอายุ กาย
ที่เป็นอายตนะภายในไม่แตกทำลาย โผฏฐัพพะที่เป็นอายตนะภายนอกไม่มาสู่คลองกาย
และความใส่ใจอันเกิดจากกายและโผฏฐัพพะก็ไม่มี ฯลฯ กายที่เป็นอายตนะ
ภายในไม่แตกทำลาย โผฏฐัพพะที่เป็นอายตนะภายนอกมาสู่คลองกาย แต่ความ
ใส่ใจอันเกิดจากกายและโผฏฐัพพะไม่มี ฯลฯ แต่เมื่อใด กายที่เป็นอายตนะ
ภายในไม่แตกทำลาย โผฏฐัพพะที่เป็นอายตนะภายนอกมาสู่คลองกายและโผฏฐัพพะ
และความใส่ใจอันเกิดจากกายและโผฏฐัพพะก็มี เมื่อนั้น วิญญาณส่วนที่เกิดจาก
กายและโผฏฐัพพะนั้นย่อมปรากฏ ด้วยอาการอย่างนี้” มีอยู่จริงมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. ดังนั้น ท่านจึงไม่ควรยอมรับว่า “กายายตนะเกิดพร้อมกับกายวิญญาณ”

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ ม.มู. (แปล) ๑๒/๓๐๖/๓๓๘-๓๓๙

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๙๓๕ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒๒. พาวีสติมวรรค] รวมกถาที่มีในวรรค
[๙๐๗] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “สภาวธรรมทั้งปวงเป็นไปชั่วขณะจิตหนึ่ง”
ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. สภาวธรรมทั้งปวงเที่ยง ยั่งยืน คงที่ ไม่มีความแปรผันไปเป็นธรรมดา
ใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. ดังนั้น สภาวธรรมทั้งปวงจึงเป็นไปชั่วขณะจิตหนึ่ง
ขณิกกถา จบ
พาวีสติมวรรค จบ

รวมกถาที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. ปรินิพพานกถา ๒. กุสลจิตตกถา
๓. อาเนญชกถา ๔. ธัมมาภิสมยกถา
๕-๗. ติสโสปิกถา ๘. อัพยากตกถา
๙. อาเสวนปัจจยตากถา ๑๐. ขณิกกถา


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๙๓๖ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒๓. เตวีสติมวรรค] ๑. เอกาธิปปายกถา (๒๑๘)
๒๓. เตวีสติมวรรค
๑. เอกาธิปปายกถา (๒๑๘)
ว่าด้วยจุดประสงค์อย่างเดียวกัน
[๙๐๘] สก. บุคคลเสพเมถุนธรรมด้วยจุดประสงค์อย่างเดียวกันได้ใช่ไหม
ปร.๑ ใช่๒
สก. บุคคลผู้เสพเมถุนธรรมไม่ควรเป็นสมณะ ไม่ควรเป็นภิกษุ ควรเป็นผู้มี
มูลขาดแล้ว ควรเป็นปาราชิก ด้วยจุดประสงค์อย่างเดียวกันใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลเสพเมถุนธรรมด้วยจุดประสงค์อย่างเดียวกันได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ พูดเท็จ พูดส่อเสียด พูดคำหยาบ พูดเพ้อเจ้อ
ตัดช่องย่องเบา ปล้นสะดม ปล้นเรือนหลังเดียว ดักปล้นในทางเปลี่ยว ผิดภรรยา
ของผู้อื่น ปล้นชาวบ้าน ปล้นชาวนิคม ด้วยจุดประสงค์อย่างเดียวกันได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

เอกาธิปปายกถา จบ

เชิงอรรถ :
๑ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอันธกะและนิกายเวตุลลกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๙๐๘/๓๒๓)
๒ เพราะมีความเห็นว่า ถ้าภิกษุมีความเห็นพ้องต้องกับหญิงว่าพวกเราจะเกิดร่วมกันในชาติหน้า สามารถ
เสพเมถุนกับเธอได้ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๙๐๘/๓๒๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๙๓๗ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒๓. เตวีสติมวรรค] ๓-๗. อิสสริยกามการิกากถา (๒๒๐-๒๒๔)
๒. อรหันตวัณณกถา (๒๑๙)
ว่าด้วยเพศของพระอรหันต์
[๙๐๙] สก. พวกอมนุษย์เสพเมถุนธรรมโดยเพศของพระอรหันต์ได้ใช่ไหม
ปร.๑ ใช่๒
สก. พวกอมนุษย์ฆ่าสัตว์ ฯลฯ ลักทรัพย์ ฯลฯ พูดเท็จ ฯลฯ พูดส่อเสียด
ฯลฯ พูดคำหยาบ ฯลฯ พูดเพ้อเจ้อ ฯลฯ ตัดช่องย่องเบา ฯลฯ ปล้นสะดม ฯลฯ
ปล้นเรือนหลังเดียว ฯลฯ ดักปล้นในทางเปลี่ยว ฯลฯ ผิดภรรยาของผู้อื่น ฯลฯ
ปล้นชาวบ้าน ฯลฯ ปล้นชาวนิคม โดยเพศของพระอรหันต์ได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
อรหันตวัณณกถา จบ

๓-๗. อิสสริยกามการิกากถา๓ (๒๒๐-๒๒๔)
ว่าด้วยการทำตามอำนาจความประสงค์
[๙๑๐] สก. พระโพธิสัตว์ไปสู่วินิบาต เพราะเหตุทำตามอำนาจความประสงค์
ใช่ไหม
ปร.๔ ใช่๕

เชิงอรรถ :
๑ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอุตตราปถกะบางพวก (อภิ.ปญฺจ.อ. ๙๐๙/๓๒๓)
๒ เพราะปรวาทีเห็นภิกษุผู้ที่ตนเชื่อว่าเป็นพระอรหันต์เสพเมถุนธรรม จึงอ้างว่า พระอรหันต์อาจเสพ
เมถุนธรรมได้ ถ้าถูกอมนุษย์สั่งให้เสพ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๙๐๙/๓๒๓)
๓ หมายถึงตอนที่ว่าด้วยการทำตามอำนาจความประสงค์ ๕ เรื่อง คือ (๓) อิสสริยกามการิกากถา ว่าด้วย
การไปสู่วินิบาต เพราะเหตุ ทำตามอำนาจความประสงค์ (๔) อิสสริยกามการิกากถา ว่าด้วยการหยั่งลงสู่
ปฏิสนธิในครรภ์ เพราะเหตุทำตามอำนาจความประสงค์ (๕) อิสสริยกามการิกากถา ว่าด้วยการทำทุกกร-
กิริยา เพราะเหตุทำตามอำนาจความประสงค์ (๖) อิสสริยกามการิกากถา ว่าด้วยการบำเพ็ญตบะอื่น
เพราะเหตุทำตามอำนาจความประสงค์ (๗) อิสสริยกามการิกากถา ว่าด้วยการอุทิศศาสดาอื่น เพราะเหตุ
ทำตามอำนาจความประสงค์
๔ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอันธกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๙๑๐/๓๒๔)
๕ เพราะมีความเห็นว่า พระโพธิสัตว์อาจเกิดในวินิบาตได้ ด้วยอำนาจแห่งความปรารถนาจะไปเกิด (อภิ.ปญฺจ.อ.
๙๑๐/๓๒๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๙๓๘ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒๓. เตวีสติมวรรค] ๓-๗. อิสสริยกามการิกากถา (๒๒๐-๒๒๔)
สก. พระโพธิสัตว์ไปสู่นรก ฯลฯ สัญชีวนรก ฯลฯ กาลสุตตนรก ฯลฯ
ตาปนนรก ฯลฯ ปตาปนนรก ฯลฯ สังฆาฏนรก ฯลฯ โรรุวนรก ฯลฯ อเวจีนรก
เพราะเหตุทำตามอำนาจความประสงค์ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระโพธิสัตว์ไปสู่วินิบาต เพราะเหตุทำตามอำนาจความประสงค์ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสูตรที่ว่า “พระโพธิสัตว์ไปสู่วินิบาต เพราะเหตุทำตามอำนาจ
ความประสงค์” มีอยู่จริงมิใช่หรือ
ปร. ไม่มี
สก. หากพระสูตรที่ว่า “พระโพธิสัตว์ไปสู่วินิบาต เพราะเหตุทำตามอำนาจ
ความประสงค์” ไม่มีอยู่จริง ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “พระโพธิสัตว์ไปสู่วินิบาต
เพราะเหตุทำตามอำนาจความประสงค์”
[๙๑๑] สก. พระโพธิสัตว์หยั่งลงสู่ปฏิสนธิในครรภ์ เพราะเหตุทำตามอำนาจ
ความประสงค์ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระโพธิสัตว์เข้าถึงนรก กำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน เพราะ
เหตุทำตามอำนาจความประสงค์ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระโพธิสัตว์หยั่งลงสู่ปฏิสนธิในครรภ์ เพราะเหตุทำตามอำนาจ
ความประสงค์ใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๙๓๙ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒๓. เตวีสติมวรรค] ๓-๗. อิสสริยกามการิกากถา (๒๒๐-๒๒๔)
สก. พระโพธิสัตว์เป็นผู้มีฤทธิ์ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระโพธิสัตว์เป็นผู้มีฤทธิ์ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระโพธิสัตว์ได้เจริญฉันทิทธิบาท ฯลฯ วิริยิทธิบาท ฯลฯ จิตติทธิบาท
ฯลฯ วิมังสิทธิบาทแล้วใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระโพธิสัตว์หยั่งลงสู่ปฏิสนธิในครรภ์ เพราะเหตุทำตามอำนาจความ
ประสงค์ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสูตรที่ว่า “พระโพธิสัตว์หยั่งลงสู่ปฏิสนธิในครรภ์ เพราะเหตุทำ
ตามอำนาจความประสงค์” มีอยู่จริงมิใช่หรือ
ปร. ไม่มี
สก. หากพระสูตรที่ว่า “พระโพธิสัตว์หยั่งลงสู่ปฏิสนธิในครรภ์ เพราะเหตุ
ทำตามอำนาจความประสงค์” ไม่มีอยู่จริง ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “พระโพธิสัตว์
หยั่งลงสู่ปฏิสนธิในครรภ์ เพราะเหตุทำตามอำนาจความประสงค์”
[๙๑๒] สก. พระโพธิสัตว์ทำทุกกรกิริยา เพราะเหตุทำตามอำนาจความ
ประสงค์ใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๙๔๐ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒๓. เตวีสติมวรรค] ๓-๗. อิสสริยกามการิกากถา (๒๒๐-๒๒๔)
สก. พระโพธิสัตว์กลับมาสู่ความเห็นว่าโลกเที่ยง ฯลฯ โลกไม่เที่ยง ฯลฯ
โลกมีที่สุด ฯลฯ โลกไม่มีที่สุด ฯลฯ ชีวะกับสรีระเป็นอย่างเดียวกัน ฯลฯ ชีวะ
กับสรีระเป็นคนละอย่างกัน ฯลฯ หลังจากตายแล้วตถาคต๑เกิดอีก ฯลฯ หลัง
จากตายแล้วตถาคตไม่เกิดอีก ฯลฯ หลังจากตายตถาคตแล้วเกิดอีกและไม่เกิดอีก
ฯลฯ หลังจากตายแล้วตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่ เพราะเหตุ
ทำตามอำนาจความประสงค์ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระโพธิสัตว์ทำทุกกรกิริยา เพราะเหตุทำตามอำนาจความประสงค์ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสูตรที่ว่า “พระโพธิสัตว์ทำทุกกรกิริยา เพราะเหตุทำตามอำนาจ
ความประสงค์” มีอยู่จริงมิใช่หรือ
ปร. ไม่มี
สก. หากพระสูตรที่ว่า “พระโพธิสัตว์ทำทุกกรกิริยา เพราะเหตุทำตาม
อำนาจความประสงค์” ไม่มีอยู่จริง ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “พระโพธิสัตว์ทำทุกกร-
กิริยา เพราะเหตุทำตามอำนาจความประสงค์”
[๙๑๓] สก. พระโพธิสัตว์ทำความเพียรอื่นอุทิศศาสดาอื่น เพราะเหตุทำตาม
อำนาจความประสงค์ใช่ไหม
ปร. ใช่

เชิงอรรถ :
๑ ดูเชิงอรรถที่ ๔ ข้อ ๗๐๘ หน้า ๗๕๘ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๙๔๑ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒๒. พาวีสติมวรรค] ๘. ปฏิรูปกถา (๒๒๕)
สก. พระโพธิสัตว์กลับมาสู่ความเห็นว่า “โลกเที่ยง ฯลฯ หลังจากตาย
แล้วตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่ เพราะเหตุทำตามอำนาจความ
ประสงค์” ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๙๑๔] สก. พระโพธิสัตว์อุทิศศาสดาอื่น เพราะเหตุทำตามอำนาจความ
ประสงค์ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสูตรที่ว่า “พระโพธิสัตว์อุทิศศาสดาอื่น เพราะเหตุทำตามอำนาจ
ความประสงค์” มีอยู่จริงมิใช่หรือ
ปร. ไม่มี
สก. หากพระสูตรที่ว่า “พระโพธิสัตว์อุทิศศาสดาอื่น เพราะเหตุทำตาม
อำนาจความประสงค์” ไม่มีอยู่จริง ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “พระโพธิสัตว์อุทิศ
ศาสดาอื่น เพราะเหตุทำตามอำนาจความประสงค์”
อิสสริยกามการิกากถา จบ

๘. ปฏิรูปกถา (๒๒๕)
ว่าด้วยสภาวธรรมที่เทียบกันได้
[๙๑๕] สก. สภาวธรรมที่ไม่ใช่ราคะ แต่เทียบได้กับราคะมีอยู่ใช่ไหม
ปร.๑ ใช่๒

เชิงอรรถ :
๑ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอันธกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๙๑๕/๓๒๔)
๒ เพราะมีความเห็นว่า ราคะปลอม โทสะปลอม โมหะปลอม กิเลสปลอมก็มี ซึ่งต่างกับความเห็นของ
สกวาทีที่เห็นว่า ราคะปลอม เป็นต้น ไม่มี (อภิ.ปญฺจ.อ. ๙๑๕/๓๒๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๙๔๒ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒๒. พาวีสติมวรรค] ๙. อปรินิปผันนกถา (๒๒๖)
สก. สภาวธรรมที่ไม่ใช่ผัสสะแต่เทียบได้กับผัสสะ ไม่ใช่เวทนาแต่เทียบได้
กับเวทนา ไม่ใช่สัญญาแต่เทียบได้กับสัญญา ไม่ใช่เจตนาแต่เทียบได้กับเจตนา
ไม่ใช่จิตแต่เทียบได้กับจิต ไม่ใช่สัทธาแต่เทียบได้กับสัทธา ไม่ใช่วิริยะแต่เทียบได้
กับวิริยะ ไม่ใช่สติแต่เทียบได้กับสติ ไม่ใช่สมาธิแต่เทียบได้กับสมาธิ ไม่ใช่ปัญญา
แต่เทียบได้กับปัญญามีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๙๑๖] สก. สภาวธรรมที่ไม่ใช่โทสะแต่เทียบได้กับโทสะ ไม่ใช่โมหะแต่เทียบ
ได้กับโมหะ ไม่ใช่กิเลสแต่เทียบได้กับกิเลสมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สภาวธรรมที่ไม่ใช่ผัสสะแต่เทียบได้กับผัสสะ ฯลฯ ไม่ใช่ปัญญาแต่
เทียบได้กับปัญญามีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปฏิรูปกถา จบ

๙. อปรินิปผันนกถา (๒๒๖)
ว่าด้วยสภาวธรรมที่ไม่สำเร็จ(มาจากเหตุ)
[๙๑๗] สก. รูปเป็นสภาวธรรมที่ไม่สำเร็จใช่ไหม
ปร.๑ ใช่๒
สก. รูปไม่ใช่ไม่เที่ยง ไม่ใช่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง ไม่ใช่อิงอาศัยปัจจัยเกิดขึ้น
ไม่ใช่มีความสิ้นไป ไม่ใช่มีความเสื่อมไป ไม่ใช่มีความคลายไป ไม่ใช่มีความดับไป
ไม่ใช่มีความแปรผันไปเป็นธรรมดาใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

เชิงอรรถ :
๑ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอุตตราปถกะและนิกายเหตุวาท (อภิ.ปญฺจ.อ. ๙๑๗/๓๒๕)
๒ เพราะมีความเห็นว่า ขันธ์ อายตนะ ธาตุ อินทรีย์ สิ่งเหล่านี้ เรียกว่าสภาวธรรมที่ไม่สำเร็จมาจากเหตุ
เพราะตั้งอยู่โดยปราศจากการเกิดดับ ซึ่งต่างกับความเห็นของสกวาทีที่เห็นว่า สภาวธรรมเหล่านั้นเรียกว่า
สภาวธรรมที่สำเร็จมาจากเหตุ เพราะมีการเกิดดับตามสภาวะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๙๑๗/๓๒๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๙๔๓ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒๒. พาวีสติมวรรค] ๙. อปรินิปผันนกถา (๒๒๖)
สก. รูปไม่เที่ยง ถูกปัจจัยปรุงแต่ง อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น มีความสิ้นไป เสื่อมไป
คลายไป ดับไป แปรผันไปเป็นธรรมดามิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากรูปไม่เที่ยง ถูกปัจจัยปรุงแต่ง ฯลฯ มีความแปรผันไปเป็นธรรมดา
ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “รูปเป็นสภาวธรรมที่ไม่สำเร็จ”
สก. ทุกข์เท่านั้นเป็นสภาวธรรมที่สำเร็จใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นพระผู้มีพระภาคตรัสว่า “เป็นทุกข์” รูปไม่เที่ยง
มิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากสิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นพระผู้มีพระภาคตรัสว่า “เป็นทุกข์” รูปไม่เที่ยง
ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “ทุกข์เท่านั้นเป็นสภาวธรรมที่สำเร็จ”
[๙๑๘] สก. เวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ สังขาร ฯลฯ วิญญาณ ฯลฯ
จักขายตนะ ฯลฯ ธัมมายตนะ ฯลฯ จักขุธาตุ ฯลฯ ธัมมธาตุ ฯลฯ จักขุนทรีย์
ฯลฯ อัญญาตาวินทรีย์ เป็นสภาวธรรมที่ไม่สำเร็จใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. อัญญาตาวินทรีย์ไม่ใช่ไม่เที่ยง ฯลฯ ไม่ใช่มีความแปรผันไปเป็นธรรมดา
ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. อัญญาตาวินทรีย์ไม่เที่ยง ถูกปัจจัยปรุงแต่ง ฯลฯ มีความแปรผันไปเป็น
ธรรมดามิใช่หรือ
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๙๔๔ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒๒. พาวีสติมวรรค] รวมกถาที่มีในวรรค
สก. หากอัญญาตาวินทรีย์ไม่เที่ยง ถูกปัจจัยปรุงแต่ง อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น
มีความสิ้นไป เสื่อมไป คลายไป ดับไป แปรผันไปเป็นธรรมดา ท่านก็ไม่ควร
ยอมรับว่า “อัญญาตาวินทรีย์เป็นสภาวธรรมที่ไม่สำเร็จ”
สก. ทุกข์เท่านั้นเป็นสภาวธรรมที่สำเร็จใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นพระผู้มีพระภาคตรัสว่า “เป็นทุกข์” อัญญาตา-
วินทรีย์ ไม่เที่ยงมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากสิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นพระผู้มีพระภาคตรัสว่า “เป็นทุกข์” อัญญาตา-
วินทรีย์ไม่เที่ยง ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “ทุกข์เท่านั้นเป็นสภาวธรรมที่สำเร็จ”
อปรินิปผันนกถา จบ
เตวีสติมวรรค จบ

รวมกถาที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. เอกาธิปปายกถา ๒. อรหันตวัณณกถา
๓-๗. อิสสริยกามการิกากถา ๘. ปฏิรูปกถา
๙. อปรินิปผันนกถา

ขุททกอัฑฒปัณณาสก์ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๙๔๕ }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ รวมปัณณาสก์ที่มีในกถาวัตถุปกรณ์
รวมวรรคที่มีในขุททกอัฑฒปัณณาสก์นี้ คือ
วรรคที่ ๒๑ เริ่มด้วยสาสนกถา
วรรคที่ ๒๒ เริ่มด้วยปรินิพพานกถา
วรรคที่ ๒๓ เริ่มด้วยเอกาธิปปายกถา
รวมปัณณาสก์ที่มีในกถาวัตถุปกรณ์นี้ คือ
๑. มหาปัณณาสก์
๒. นิยามปัณณาสก์ (ทุติยปัณณาสก์)
๓. อนุสยปัณณาสก์ (ตติยปัณณาสก์)
๔. นิคคหปัณณาสก์ (จตุตถปัณณาสก์)
๕. ขุททกอัฑฒปัณณาสก์ (ปัณณาสก์ที่เกินครึ่งไปเล็กน้อย)
ปัณณาสก์เหล่านี้ ในกถาวัตถุปกรณ์ตั้งอยู่ในพระสูตรเดิมเป็นหลัก ย่ำยีนิกายอื่น
รุ่งเรืองในศาสนาของพระพุทธเจ้า

กถาวัตถุปกรณ์มี ๓๕ ภาณวาร จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๙๔๖ }


พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๗ อภิธรรมปิฎกที่ ๐๔ กถาวัตถุ จบ





eXTReMe Tracker