ค้นว่าอยู่เล่มใด แล้วกด [ctrl]+f หรือใช้คำสั่งของเครื่องหาตำแหน่งในเล่มอีกทีนะครับ



จัดรูปหน้าใหม่
เพื่อความสะดวก และสวยงาม
(เฉพาะหน้าจอใหญ่ เช่น คอมพิวเตอร์)
กรุณาคลิก จัดรูปหน้าใหม่
เพื่อให้กรอบ
ค้นข้อความ ปรากฎที่ด้านซ้ายของหน้า

พระไตรปิฎกภาษาไทย
ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ๔๕ เล่ม (ปกสีฟ้า)
ทั้งออนไลน์และออฟไลน์
ที่มาของข้อมูล : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับ มจร.
MCUTRAI Version 1.0

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๖-๒ อภิธรรมปิฎกที่ ๐๓ ธาตุกถา ปุคคลบัญญัติ

พระอภิธรรมปิฎก
ธาตุกถา
_____________
ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น


พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา [๑๔. จุททสมนัย] ๑๔. วิปปยุตเตนสังคหิตาสังหิตปทนิทเทส ๑. สภาวธรรมมีขันธ์เป็นต้น
๑๔. จุททสมนัย
๑๔. วิปปยุตเตนสังคหิตาสังคหิตปทนิทเทส
๑. สภาวธรรมมีขันธ์เป็นต้น
[๔๕๖] สภาวธรรมเหล่าใดวิปปยุตจากรูปขันธ์
สภาวธรรมเหล่านั้นสงเคราะห์เข้าได้กับขันธ์ อายตนะ และธาตุเท่าไร
สภาวธรรมเหล่านั้นสงเคราะห์เข้าได้กับขันธ์ ๔ อายตนะ ๒ และธาตุ ๘
สงเคราะห์เข้าไม่ได้กับขันธ์ อายตนะ และธาตุเท่าไร
สงเคราะห์เข้าไม่ได้กับขันธ์ ๑ อายตนะ ๑๐ และธาตุ ๑๐
[๔๕๗] สภาวธรรมเหล่าใดวิปปยุตจากเวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์
วิญญาณขันธ์ มนายตนะ มนินทรีย์
สภาวธรรมเหล่านั้นสงเคราะห์เข้าได้กับขันธ์ อายตนะ และธาตุเท่าไร
สภาวธรรมเหล่านั้น เว้นธาตุที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งออกจากขันธ์แล้ว
สงเคราะห์เข้าได้กับขันธ์ ๑ อายตนะ ๑๑ และธาตุ ๑๑
สงเคราะห์เข้าไม่ได้กับขันธ์ อายตนะ และธาตุเท่าไร
สงเคราะห์เข้าไม่ได้กับขันธ์ ๔ อายตนะ ๑ และธาตุ ๗
[๔๕๘] สภาวธรรมเหล่าใดวิปปยุตจากจักขายตนะ ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะ
จักขุธาตุ ฯลฯ โผฏฐัพพธาตุ ฯลฯ
สภาวธรรมเหล่านั้นสงเคราะห์เข้าได้กับขันธ์ ๔ อายตนะ ๒ และธาตุ ๘
สงเคราะห์เข้าไม่ได้กับขันธ์ อายตนะ และธาตุเท่าไร
สงเคราะห์เข้าไม่ได้กับขันธ์ ๑ อายตนะ ๑๐ และธาตุ ๑๐
[๔๕๙] สภาวธรรมเหล่าใดวิปปยุตจากจักขุวิญญาณธาตุ โสตวิญญาณธาตุ
ฆานวิญญาณธาตุ ชิวหาวิญญาณธาตุ กายวิญญาณธาตุ มโนธาตุ
มโนวิญญาณธาตุ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๖ หน้า :๑๑๗ }


พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา [๑๔. จุททสมนัย] ๑๔. วิปปยุตเตนสังคหิตาสังหิตปทนิทเทส ๒. สภาวธรรมมีสัจจะเป็นต้น
สภาวธรรมเหล่านั้น เว้นธาตุที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งออกจากขันธ์แล้ว
สงเคราะห์เข้าได้กับขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ และธาตุ ๑๗
สงเคราะห์เข้าไม่ได้กับขันธ์ อายตนะ และธาตุเท่าไร
ไม่มีขันธ์และอายตนะเหล่าไหนที่จะสงเคราะห์เข้าไม่ได้ แต่สงเคราะห์
เข้าไม่ได้กับธาตุ ๑

๒. สภาวธรรมมีสัจจะเป็นต้น
[๔๖๐] สภาวธรรมเหล่าใดวิปปยุตจากทุกขสัจ
สภาวธรรมเหล่านั้นสงเคราะห์เข้าได้กับขันธ์ ๔ อายตนะ ๒ และธาตุ ๒
สงเคราะห์เข้าไม่ได้กับขันธ์ อายตนะ และธาตุเท่าไร
สงเคราะห์เข้าไม่ได้กับขันธ์ ๑ อายตนะ ๑๐ และธาตุ ๑๖
[๔๖๑] สภาวธรรมเหล่าใดวิปปยุตจากสมุทยสัจ มัคคสัจ
สภาวธรรมเหล่านั้น เว้นธาตุที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งออกจากขันธ์แล้ว
สงเคราะห์เข้าได้กับขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ และธาตุ ๑๘
สงเคราะห์เข้าไม่ได้กับขันธ์ อายตนะ และธาตุเท่าไร
ไม่มีขันธ์ อายตนะ และธาตุเหล่าไหนที่จะสงเคราะห์เข้าไม่ได้
[๔๖๒] สภาวธรรมเหล่าใดวิปปยุตจากนิโรธสัจ จักขุนทรีย์ โสตินทรีย์ ฆานินทรีย์
ชิวหินทรีย์ กายินทรีย์ อิตถินทรีย์ ปุริสินทรีย์
สภาวธรรมเหล่านั้นสงเคราะห์เข้าได้กับขันธ์ ๔ อายตนะ ๒ และธาตุ ๘
สงเคราะห์เข้าไม่ได้กับขันธ์ อายตนะ และธาตุเท่าไร
สงเคราะห์เข้าไม่ได้กับขันธ์ ๑ อายตนะ ๑๐ และธาตุ ๑๐
[๔๖๓] สภาวธรรมเหล่าใดวิปปยุตจากสุขินทรีย์ ทุกขินทรีย์ โสมนัสสินทรีย์
โทมนัสสินทรีย์
สภาวธรรมเหล่านั้น เว้นธาตุที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งออกจากขันธ์แล้ว
สงเคราะห์เข้าได้กับขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ และธาตุ ๑๘

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๖ หน้า :๑๑๘ }


พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา [๑๔. จุททสมนัย] ๑๔. วิปปยุตเตนสังคหิตาสังหิตปทนิทเทส ๒. สภาวธรรมมีสัจจะเป็นต้น
สงเคราะห์เข้าไม่ได้กับขันธ์ อายตนะ และธาตุเท่าไร
ไม่มีขันธ์ อายตนะ และธาตุเหล่าไหนที่จะสงเคราะห์เข้าไม่ได้
[๔๖๔] สภาวธรรมเหล่าใดวิปปยุตจากอุเปกขินทรีย์
สภาวธรรมเหล่านั้น เว้นธาตุที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งออกจากขันธ์แล้ว
สงเคราะห์เข้าได้กับขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ และธาตุ ๑๓
สงเคราะห์เข้าไม่ได้กับขันธ์ อายตนะ และธาตุเท่าไร
ไม่มีขันธ์และอายตนะเหล่าไหนที่จะสงเคราะห์เข้าไม่ได้ แต่สงเคราะห์
เข้าไม่ได้กับธาตุ ๕
[๔๖๕] สภาวธรรมเหล่าใดวิปปยุตจากสัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์
ปัญญินทรีย์ อนัญญาตัญญัสสามีตินทรีย์ อัญญินทรีย์ อัญญาตาวินทรีย์
อวิชชา สังขารที่เกิดเพราะมีอวิชชาเป็นปัจจัย
สภาวธรรมเหล่านั้น เว้นธาตุที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งออกจากขันธ์แล้ว
สงเคราะห์เข้าได้กับขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ และธาตุ ๑๘
สงเคราะห์เข้าไม่ได้กับขันธ์ อายตนะ และธาตุเท่าไร
ไม่มีขันธ์ อายตนะ และธาตุเหล่าไหนที่จะสงเคราะห์เข้าไม่ได้
[๔๖๖] สภาวธรรมเหล่าใดวิปปยุตจากวิญญาณที่เกิดเพราะมีสังขารเป็นปัจจัย
ผัสสะที่เกิดเพราะมีสฬายตนะเป็นปัจจัย เวทนาที่เกิดเพราะมีผัสสะเป็น
ปัจจัย
สภาวธรรมเหล่านั้น เว้นธาตุที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งออกจากขันธ์แล้ว
สงเคราะห์เข้าได้กับขันธ์ ๑ อายตนะ ๑๑ และธาตุ ๑๑
สงเคราะห์เข้าไม่ได้กับขันธ์ อายตนะ และธาตุเท่าไร
สงเคราะห์เข้าไม่ได้กับขันธ์ ๔ อายตนะ ๑ และธาตุ ๗
[๔๖๗] สภาวธรรมเหล่าใดวิปปยุตจากตัณหาที่เกิดเพราะมีเวทนาเป็นปัจจัย
อุปาทานที่เกิดเพราะมีตัณหาเป็นปัจจัย กัมมภพ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๖ หน้า :๑๑๙ }


พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา [๑๔. จุททสมนัย] ๑๔. วิปปยุตเตนสังคหิตาสังหิตปทนิทเทส ๒. สภาวธรรมมีสัจจะเป็นต้น
สภาวธรรมเหล่านั้น เว้นธาตุที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งออกจากขันธ์แล้ว
สงเคราะห์เข้าได้กับขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ และธาตุ ๑๘
สงเคราะห์เข้าไม่ได้กับขันธ์ อายตนะ และธาตุเท่าไร
ไม่มีขันธ์ อายตนะ และธาตุเหล่าไหนที่จะสงเคราะห์เข้าไม่ได้
[๔๖๘] สภาวธรรมเหล่าใดวิปปยุตจากอุปปัตติภพ สัญญาภพ ปัญจโวการภพ
สภาวธรรมเหล่านั้นสงเคราะห์เข้าได้กับขันธ์ ๔ อายตนะ ๒ และธาตุ ๓
สงเคราะห์เข้าไม่ได้กับขันธ์ อายตนะ และธาตุเท่าไร
สงเคราะห์เข้าไม่ได้กับขันธ์ ๑ อายตนะ ๑๐ และธาตุ ๑๕
[๔๖๙] สภาวธรรมเหล่าใดวิปปยุตจากกามภพ
สภาวธรรมเหล่านั้นสงเคราะห์เข้าได้กับขันธ์ ๔ อายตนะ ๒ และธาตุ ๕
สงเคราะห์เข้าไม่ได้กับขันธ์ อายตนะ และธาตุเท่าไร
สงเคราะห์เข้าไม่ได้กับขันธ์ ๑ อายตนะ ๑๐ และธาตุ ๑๓
[๔๗๐] สภาวธรรมเหล่าใดวิปปยุตจากรูปภพ อสัญญาภพ เอกโวการภพ
ปริเทวะ
สภาวธรรมเหล่านั้นสงเคราะห์เข้าได้กับขันธ์ ๔ อายตนะ ๒ และธาตุ ๘
สงเคราะห์เข้าไม่ได้กับขันธ์ อายตนะ และธาตุเท่าไร
สงเคราะห์เข้าไม่ได้กับขันธ์ ๑ อายตนะ ๑๐ และธาตุ ๑๐
[๔๗๑] สภาวธรรมเหล่าใดวิปปยุตจากอรูปภพ เนวสัญญานาสัญญาภพ จตุ-
โวการภพ โสกะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส สติปัฏฐาน สัมมัปปธาน
อิทธิบาท ฌาน อัปปมัญญา อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗
อริยมรรคมีองค์ ๘
สภาวธรรมเหล่านั้น เว้นธาตุที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งออกจากขันธ์แล้ว
สงเคราะห์เข้าได้กับขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ และธาตุ ๑๘
สงเคราะห์เข้าไม่ได้กับขันธ์ อายตนะ และธาตุเท่าไร
ไม่มีขันธ์ อายตนะ และธาตุเหล่าไหนที่จะสงเคราะห์เข้าไม่ได้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๖ หน้า :๑๒๐ }


พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา [๑๔. จุททสมนัย] ๑๔. วิปปยุตเตนสังคหิตาสังหิตปทนิทเทส ๔. ติกะ
๓. ผัสสาทิสัตตกะ
[๔๗๒] สภาวธรรมเหล่าใดวิปปยุตจากผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา จิต
มนสิการ
สภาวธรรมเหล่านั้น เว้นธาตุที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งออกจากขันธ์แล้ว
สงเคราะห์เข้าได้กับขันธ์ ๑ อายตนะ ๑๑ และธาตุ ๑๑
สงเคราะห์เข้าไม่ได้กับขันธ์ อายตนะ และธาตุเท่าไร
สงเคราะห์เข้าไม่ได้กับขันธ์ ๔ อายตนะ ๑ และธาตุ ๗
[๔๗๓] สภาวธรรมเหล่าใดวิปปยุตจากอธิโมกข์
สภาวธรรมเหล่านั้น เว้นธาตุที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งออกจากขันธ์แล้ว
สงเคราะห์เข้าได้กับขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ และธาตุ ๑๗
สงเคราะห์เข้าไม่ได้กับขันธ์ อายตนะ และธาตุเท่าไร
ไม่มีขันธ์และอายตนะเหล่าไหนที่จะสงเคราะห์เข้าไม่ได้ แต่สงเคราะห์
เข้าไม่ได้กับธาตุ ๑

๔. ติกะ
[๔๗๔] สภาวธรรมเหล่าใดวิปปยุตจากสภาวธรรมที่เป็นกุศล สภาวธรรมที่เป็น
อกุศล สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนา สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วย
ทุกขเวทนา
สภาวธรรมเหล่านั้น เว้นธาตุที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งออกจากขันธ์แล้ว
สงเคราะห์เข้าได้กับขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ และธาตุ ๑๘
สงเคราะห์เข้าไม่ได้กับขันธ์ อายตนะ และธาตุเท่าไร
ไม่มีขันธ์ อายตนะ และธาตุเหล่าไหนที่จะสงเคราะห์เข้าไม่ได้
[๔๗๕] สภาวธรรมเหล่าใดวิปปยุตจากสภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤต
สภาวธรรมเหล่านั้น เว้นธาตุที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งออกจากขันธ์แล้ว
สงเคราะห์เข้าได้กับขันธ์ ๔ อายตนะ ๒ และธาตุ ๒

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๖ หน้า :๑๒๑ }


พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา [๑๔. จุททสมนัย] ๑๔. วิปปยุตเตนสังคหิตาสังหิตปทนิทเทส ๔. ติกะ
สงเคราะห์เข้าไม่ได้กับขันธ์ อายตนะ และธาตุเท่าไร
สงเคราะห์เข้าไม่ได้กับขันธ์ ๑ อายตนะ ๑๐ และธาตุ ๑๖
[๔๗๖] สภาวธรรมเหล่าใดวิปปยุตจากสภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา
สภาวธรรมที่เป็นวิบาก
สภาวธรรมเหล่านั้น เว้นธาตุที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งออกจากขันธ์แล้ว
สงเคราะห์เข้าได้กับขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ และธาตุ ๑๓
สงเคราะห์เข้าไม่ได้กับขันธ์ อายตนะ และธาตุเท่าไร
ไม่มีขันธ์และอายตนะเหล่าไหนที่จะสงเคราะห์เข้าไม่ได้ แต่สงเคราะห์
เข้าไม่ได้กับธาตุ ๕
[๔๗๗] สภาวธรรมเหล่าใดวิปปยุตจากสภาวธรรมที่เป็นเหตุให้เกิดวิบาก สภาว-
ธรรมที่กิเลสทำให้เศร้าหมองและเป็นอารมณ์ของกิเลส
สภาวธรรมเหล่านั้น เว้นธาตุที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งออกจากขันธ์แล้ว
สงเคราะห์เข้าได้กับขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ และธาตุ ๑๘
สงเคราะห์เข้าไม่ได้กับขันธ์ อายตนะ และธาตุเท่าไร
ไม่มีขันธ์ อายตนะ และธาตุเหล่าไหนที่จะสงเคราะห์เข้าไม่ได้
[๔๗๘] สภาวธรรมเหล่าใดวิปปยุตจากสภาวธรรมที่ไม่เป็นวิบากและไม่เป็นเหตุ
ให้เกิดวิบาก สภาวธรรมที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึด
ถือแต่เป็นอารมณ์ของอุปาทาน สภาวธรรมที่กรรมอันประกอบด้วย
ตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือและไม่เป็นอารมณ์ของอุปาทาน สภาวธรรมที่
กิเลสไม่ทำให้เศร้าหมองและไม่เป็นอารมณ์ของกิเลส
สภาวธรรมเหล่านั้นสงเคราะห์เข้าได้กับขันธ์ ๔ อายตนะ ๒ และธาตุ ๘
สงเคราะห์เข้าไม่ได้กับขันธ์ อายตนะ และธาตุเท่าไร
สงเคราะห์เข้าไม่ได้กับขันธ์ ๑ อายตนะ ๑๐ และธาตุ ๑๐

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๖ หน้า :๑๒๒ }


พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา [๑๔. จุททสมนัย] ๑๔. วิปปยุตเตนสังคหิตาสังหิตปทนิทเทส ๔. ติกะ
[๔๗๙] สภาวธรรมเหล่าใดวิปปยุตจากสภาวธรรมที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหา
และทิฏฐิยึดถือและเป็นอารมณ์ของอุปาทาน
สภาวธรรมเหล่านั้นสงเคราะห์เข้าได้กับขันธ์ ๔ อายตนะ ๒ และธาตุ ๓
สงเคราะห์เข้าไม่ได้กับขันธ์ อายตนะ และธาตุเท่าไร
สงเคราะห์เข้าไม่ได้กับขันธ์ ๑ อายตนะ ๑๐ และธาตุ ๑๕
[๔๘๐] สภาวธรรมเหล่าใดวิปปยุตจากสภาวธรรมที่กิเลสไม่ทำให้เศร้าหมองแต่
เป็นอารมณ์ของกิเลส
สภาวธรรมเหล่านั้นสงเคราะห์เข้าได้กับขันธ์ ๔ อายตนะ ๒ และธาตุ ๒
สงเคราะห์เข้าไม่ได้กับขันธ์ อายตนะ และธาตุเท่าไร
สงเคราะห์เข้าไม่ได้กับขันธ์ ๑ อายตนะ ๑๐ และธาตุ ๑๖
[๔๘๑] สภาวธรรมเหล่าใดวิปปยุตจากสภาวธรรมที่มีทั้งวิตกและวิจาร
สภาวธรรมเหล่านั้น เว้นธาตุที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งออกจากขันธ์แล้ว
สงเคราะห์เข้าได้กับขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ และธาตุ ๑๗
สงเคราะห์เข้าไม่ได้กับขันธ์ อายตนะ และธาตุเท่าไร
ไม่มีขันธ์และอายตนะเหล่าไหนที่จะสงเคราะห์เข้าไม่ได้ แต่สงเคราะห์
เข้าไม่ได้กับธาตุ ๑
[๔๘๒] สภาวธรรมเหล่าใดวิปปยุตจากสภาวธรรมที่ไม่มีวิตกมีเพียงวิจาร
สภาวธรรมที่สหรคตด้วยปีติ สภาวธรรมที่สหรคตด้วยสุข
สภาวธรรมเหล่านั้น เว้นธาตุที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งออกจากขันธ์แล้ว
สงเคราะห์เข้าได้กับขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ และธาตุ ๑๘
สงเคราะห์เข้าไม่ได้กับขันธ์ อายตนะ และธาตุเท่าไร
ไม่มีขันธ์ อายตนะ และธาตุเหล่าไหนที่จะสงเคราะห์เข้าไม่ได้
[๔๘๓] สภาวธรรมเหล่าใดวิปปยุตจากสภาวธรรมที่ไม่มีทั้งวิตกและวิจาร
สภาวธรรมเหล่านั้นสงเคราะห์เข้าได้กับขันธ์ ๔ อายตนะ ๒ และธาตุ ๓

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๖ หน้า :๑๒๓ }


พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา [๑๔. จุททสมนัย] ๑๔. วิปปยุตเตนสังคหิตาสังหิตปทนิทเทส ๔. ติกะ
สงเคราะห์เข้าไม่ได้กับขันธ์ อายตนะ และธาตุเท่าไร
สงเคราะห์เข้าไม่ได้กับขันธ์ ๑ อายตนะ ๑๐ และธาตุ ๑๕
[๔๘๔] สภาวธรรมเหล่าใดวิปปยุตจากสภาวธรรมที่สหรคตด้วยอุเบกขา
สภาวธรรมเหล่านั้น เว้นธาตุที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งออกจากขันธ์แล้ว
สงเคราะห์เข้าได้กับขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ และธาตุ ๑๓
สงเคราะห์เข้าไม่ได้กับขันธ์ อายตนะ และธาตุเท่าไร
ไม่มีขันธ์และอายตนะเหล่าไหนที่จะสงเคราะห์เข้าไม่ได้ แต่สงเคราะห์
เข้าไม่ได้กับธาตุ ๕
[๔๘๕] สภาวธรรมเหล่าใดวิปปยุตจากสภาวธรรมที่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติ-
มรรค สภาวธรรมที่ต้องประหาณด้วยมรรคเบื้องบน ๓ สภาวธรรมที่
มีเหตุต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรค สภาวธรรมที่มีเหตุต้องประหาณ
ด้วยมรรคเบื้องบน ๓ สภาวธรรมที่เป็นเหตุให้ถึงปฏิสนธิและจุติ
สภาวธรรมที่เป็นเหตุให้ถึงนิพพาน สภาวธรรมที่เป็นของเสขบุคคล
สภาวธรรมที่เป็นของอเสขบุคคล สภาวธรรมที่เป็นมหัคคตะ
สภาวธรรมเหล่านั้น เว้นธาตุที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งออกจากขันธ์แล้ว
สงเคราะห์เข้าได้กับขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ และธาตุ ๑๘
สงเคราะห์เข้าไม่ได้กับขันธ์ อายตนะ และธาตุเท่าไร
ไม่มีขันธ์ อายตนะ และธาตุเหล่าไหนที่จะสงเคราะห์เข้าไม่ได้
[๔๘๖] สภาวธรรมเหล่าใดวิปปยุตจากสภาวธรรมที่ไม่ต้องประหาณด้วย
โสดาปัตติมรรคและมรรคเบื้องบน ๓ สภาวธรรมที่มีเหตุไม่ต้อง
ประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคและมรรคเบื้องบน ๓ สภาวธรรมที่ไม่เป็น
เหตุให้ถึงปฏิสนธิ จุติ และนิพพาน สภาวธรรมที่ไม่เป็นของเสขบุคคล
และอเสขบุคคล สภาวธรรมที่เป็นปริตตะ
สภาวธรรมเหล่านั้นสงเคราะห์เข้าได้กับขันธ์ ๔ อายตนะ ๒ และธาตุ ๒
สงเคราะห์เข้าไม่ได้กับขันธ์ อายตนะ และธาตุเท่าไร
สงเคราะห์เข้าไม่ได้กับขันธ์ ๑ อายตนะ ๑๐ และธาตุ ๑๖

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๖ หน้า :๑๒๔ }


พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา [๑๔. จุททสมนัย] ๑๔. วิปปยุตเตนสังคหิตาสังหิตปทนิทเทส ๔. ติกะ
[๔๘๗] สภาวธรรมเหล่าใดวิปปยุตจากสภาวธรรมที่เป็นอัปปมาณะ สภาวธรรม
ชั้นประณีต
สภาวธรรมเหล่านั้นสงเคราะห์เข้าได้กับขันธ์ ๔ อายตนะ ๒ และธาตุ ๘
สงเคราะห์เข้าไม่ได้กับขันธ์ อายตนะ และธาตุเท่าไร
สงเคราะห์เข้าไม่ได้กับขันธ์ ๑ อายตนะ ๑๐ และธาตุ ๑๐
[๔๘๘] สภาวธรรมเหล่าใดวิปปยุตจากสภาวธรรมที่มีปริตตะเป็นอารมณ์
สภาวธรรมเหล่านั้น เว้นธาตุที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งออกจากขันธ์แล้ว
สงเคราะห์เข้าได้กับขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ และธาตุ ๑๒
สงเคราะห์เข้าไม่ได้กับขันธ์ อายตนะ และธาตุเท่าไร
ไม่มีขันธ์และอายตนะเหล่าไหนที่จะสงเคราะห์เข้าไม่ได้ แต่สงเคราะห์
เข้าไม่ได้กับธาตุ ๖
[๔๘๙] สภาวธรรมเหล่าใดวิปปยุตจากสภาวธรรมที่มีมหัคคตะเป็นอารมณ์
สภาวธรรมที่มีอัปปมาณะเป็นอารมณ์ สภาวธรรมชั้นต่ำ สภาวธรรม
ที่มีสภาวะผิดและให้ผลแน่นอน สภาวธรรมที่มีสภาวะชอบและให้ผล
แน่นอน สภาวธรรมที่มีมรรคเป็นอารมณ์ สภาวธรรมที่มีมรรคเป็นเหตุ
สภาวธรรมที่มีมรรคเป็นอธิบดี
สภาวธรรมเหล่านั้น เว้นธาตุที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งออกจากขันธ์แล้ว
สงเคราะห์เข้าได้กับขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ และธาตุ ๑๘
สงเคราะห์เข้าไม่ได้กับขันธ์ อายตนะ และธาตุเท่าไร
ไม่มีขันธ์ อายตนะ และธาตุเหล่าไหนที่จะสงเคราะห์เข้าไม่ได้
[๔๙๐] สภาวธรรมเหล่าใดวิปปยุตจากสภาวธรรมชั้นกลาง สภาวธรรมที่ให้ผล
ไม่แน่นอน
สภาวธรรมเหล่านั้นสงเคราะห์เข้าได้กับขันธ์ ๔ อายตนะ ๒ และธาตุ ๒
สงเคราะห์เข้าไม่ได้กับขันธ์ อายตนะ และธาตุเท่าไร
สงเคราะห์เข้าไม่ได้กับขันธ์ ๑ อายตนะ ๑๐ และธาตุ ๑๖

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๖ หน้า :๑๒๕ }


พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา [๑๔. จุททสมนัย] ๑๔. วิปปยุตเตนสังคหิตาสังหิตปทนิทเทส ๔. ติกะ
[๔๙๑] สภาวธรรมเหล่าใดวิปปยุตจากสภาวธรรมที่เกิดขึ้น สภาวธรรมที่ยังไม่
เกิดขึ้น สภาวธรรมที่จักเกิดขึ้นแน่นอน สภาวธรรมที่เป็นอดีต สภาว-
ธรรมที่เป็นอนาคต สภาวธรรมที่เป็นปัจจุบัน สภาวธรรมที่เป็นภาย
ในตน สภาวธรรมที่เป็นภายนอกตน สภาวธรรมที่เห็นได้และกระทบได้
สภาวธรรมที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้
สภาวธรรมเหล่านั้นสงเคราะห์เข้าได้กับขันธ์ ๔ อายตนะ ๒ และ
ธาตุ ๘
สงเคราะห์เข้าไม่ได้กับขันธ์ อายตนะ และธาตุเท่าไร
สงเคราะห์เข้าไม่ได้กับขันธ์ ๑ อายตนะ ๑๐ และธาตุ ๑๐
[๔๙๒] สภาวธรรมเหล่าใดวิปปยุตจากสภาวธรรมที่มีอดีตธรรมเป็นอารมณ์
สภาวธรรมที่มีอนาคตธรรมเป็นอารมณ์ สภาวธรรมที่มีธรรมภายในตน
เป็นอารมณ์ สภาวธรรมที่มีธรรมภายนอกตนเป็นอารมณ์
สภาวธรรมเหล่านั้น เว้นธาตุที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งออกจากขันธ์แล้ว
สงเคราะห์เข้าได้กับขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ และธาตุ ๑๘
สงเคราะห์เข้าไม่ได้กับขันธ์ อายตนะ และธาตุเท่าไร
ไม่มีขันธ์ อายตนะ และธาตุเหล่าไหนที่จะสงเคราะห์เข้าไม่ได้
[๔๙๓] สภาวธรรมเหล่าใดวิปปยุตจากสภาวธรรมที่มีปัจจุบันธรรมเป็นอารมณ์
สภาวธรรมที่มีธรรมภายในตนและภายนอกตนเป็นอารมณ์
สภาวธรรมเหล่านั้น เว้นธาตุที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งออกจากขันธ์แล้ว
สงเคราะห์เข้าได้กับขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ และธาตุ ๑๒
สงเคราะห์เข้าไม่ได้กับขันธ์ อายตนะ และธาตุเท่าไร
ไม่มีขันธ์และอายตนะเหล่าไหนที่จะสงเคราะห์เข้าไม่ได้ แต่สงเคราะห์
เข้าไม่ได้กับธาตุ ๖

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๖ หน้า :๑๒๖ }


พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา [๑๔. จุททสมนัย] ๑๔. วิปปยุตเตนสังคหิตาสังหิตปทนิทเทส๕. ทุกะ
๕. ทุกะ
[๔๙๔] สภาวธรรมเหล่าใดวิปปยุตจากสภาวธรรมที่เป็นเหตุ สภาวธรรมที่มีเหตุ
สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยเหตุ สภาวธรรมที่เป็นเหตุและมีเหตุ สภาว-
ธรรมที่มีเหตุแต่ไม่เป็นเหตุ สภาวธรรมที่เป็นเหตุและสัมปยุตด้วยเหตุ
สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยเหตุแต่ไม่เป็นเหตุ สภาวธรรมที่ไม่เป็นเหตุแต่
มีเหตุ
สภาวธรรมเหล่านั้น เว้นธาตุที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งออกจากขันธ์แล้ว
สงเคราะห์เข้าได้กับขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ และธาตุ ๑๘
สงเคราะห์เข้าไม่ได้กับขันธ์ อายตนะ และธาตุเท่าไร
ไม่มีขันธ์ อายตนะ และธาตุเหล่าไหนที่จะสงเคราะห์เข้าไม่ได้
[๔๙๕] สภาวธรรมเหล่าใดวิปปยุตจากสภาวธรรมที่ไม่มีเหตุ สภาวธรรมที่
วิปปยุตจากเหตุ สภาวธรรมที่ไม่เป็นเหตุและไม่มีเหตุ
สภาวธรรมเหล่านั้นสงเคราะห์เข้าได้กับขันธ์ ๔ อายตนะ ๒ และธาตุ ๒
สงเคราะห์เข้าไม่ได้กับขันธ์ อายตนะ และธาตุเท่าไร
สงเคราะห์เข้าไม่ได้กับขันธ์ ๑ อายตนะ ๑๐ และธาตุ ๑๖
[๔๙๖] สภาวธรรมเหล่าใดวิปปยุตจากสภาวธรรมที่ไม่มีปัจจัยปรุงแต่ง สภาว-
ธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง สภาวธรรมที่เห็นได้ สภาวธรรมที่กระทบได้
สภาวธรรมที่เป็นรูป สภาวธรรมที่เป็นโลกุตตระ
สภาวธรรมเหล่านั้นสงเคราะห์เข้าได้กับขันธ์ ๔ อายตนะ ๒ และธาตุ ๘
สงเคราะห์เข้าไม่ได้กับขันธ์ อายตนะ และธาตุเท่าไร
สงเคราะห์เข้าไม่ได้กับขันธ์ ๑ อายตนะ ๑๐ และธาตุ ๑๐
[๔๙๗] สภาวธรรมเหล่าใดวิปปยุตจากสภาวธรรมที่เป็นโลกิยะ
สภาวธรรมเหล่านั้นสงเคราะห์เข้าได้กับขันธ์ ๔ อายตนะ ๒ และธาตุ ๒
สงเคราะห์เข้าไม่ได้กับขันธ์ อายตนะ และธาตุเท่าไร
สงเคราะห์เข้าไม่ได้กับขันธ์ ๑ อายตนะ ๑๐ และธาตุ ๑๖

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๖ หน้า :๑๒๗ }


พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา [๑๔. จุททสมนัย] ๑๔. วิปปยุตเตนสังคหิตาสังหิตปทนิทเทส ๕. ทุกะ
[๔๙๘] สภาวธรรมเหล่าใดวิปปยุตจากสภาวธรรมที่เป็นอาสวะ สภาวธรรมที่
สัมปยุตด้วยอาสวะ สภาวธรรมที่เป็นอาสวะและเป็นอารมณ์ของอาสวะ
สภาวธรรมที่เป็นอาสวะและสัมปยุตด้วยอาสวะ สภาวธรรมที่สัมปยุต
ด้วยอาสวะแต่ไม่เป็นอาสวะ
สภาวธรรมเหล่านั้น เว้นธาตุที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งออกจากขันธ์แล้ว
สงเคราะห์เข้าได้กับขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ และธาตุ ๑๘
สงเคราะห์เข้าไม่ได้กับขันธ์ อายตนะ และธาตุเท่าไร
ไม่มีขันธ์ อายตนะ และธาตุเหล่าไหนที่จะสงเคราะห์เข้าไม่ได้
[๔๙๙] สภาวธรรมเหล่าใดวิปปยุตจากสภาวธรรมที่เป็นอารมณ์ของอาสวะ
สภาวธรรมที่วิปปยุตจากอาสวะ สภาวธรรมที่เป็นอารมณ์ของอาสวะแต่
ไม่เป็นอาสวะ สภาวธรรมที่วิปปยุตจากอาสวะแต่เป็นอารมณ์ของอาสวะ
สภาวธรรมเหล่านั้นสงเคราะห์เข้าได้กับขันธ์ ๔ อายตนะ ๒ และธาตุ ๒
สงเคราะห์เข้าไม่ได้กับขันธ์ อายตนะ และธาตุเท่าไร
สงเคราะห์เข้าไม่ได้กับขันธ์ ๑ อายตนะ ๑๐ และธาตุ ๑๖
[๕๐๐] สภาวธรรมเหล่าใดวิปปยุตจากสภาวธรรมที่ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะ
สภาวธรรมที่วิปปยุตจากอาสวะและไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะ
สภาวธรรมเหล่านั้นสงเคราะห์เข้าได้กับขันธ์ ๔ อายตนะ ๒ และธาตุ ๘
สงเคราะห์เข้าไม่ได้กับขันธ์ อายตนะ และธาตุเท่าไร
สงเคราะห์เข้าไม่ได้กับขันธ์ ๑ อายตนะ ๑๐ และธาตุ ๑๐
[๕๐๑] สภาวธรรมเหล่าใดวิปปยุตจากสภาวธรรมที่เป็นสังโยชน์ สภาวธรรมที่
เป็นคันถะ สภาวธรรมที่เป็นโอฆะ สภาวธรรมที่เป็นโยคะ สภาวธรรมที่
เป็นนิวรณ์ สภาวธรรมที่เป็นปรามาส สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยปรามาส
สภาวธรรมที่เป็นปรามาสและเป็นอารมณ์ของปรามาส
สภาวธรรมเหล่านั้น เว้นธาตุที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งออกจากขันธ์แล้ว
สงเคราะห์เข้าได้กับขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ และธาตุ ๑๘

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๖ หน้า :๑๒๘ }


พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา [๑๔. จุททสมนัย] ๑๔. วิปปยุตเตนสังคหิตาสังหิตปทนิทเทส ๕. ทุกะ
สงเคราะห์เข้าไม่ได้กับขันธ์ อายตนะ และธาตุเท่าไร
ไม่มีขันธ์ อายตนะ และธาตุเหล่าไหนที่จะสงเคราะห์เข้าไม่ได้
[๕๐๒] สภาวธรรมเหล่าใดวิปปยุตจากสภาวธรรมที่เป็นอารมณ์ของปรามาส
สภาวธรรมที่วิปปยุตจากปรามาส สภาวธรรมที่เป็นอารมณ์ของปรามาส
แต่ไม่เป็นปรามาส สภาวธรรมที่วิปปยุตจากปรามาสแต่เป็นอารมณ์
ของปรามาส
สภาวธรรมเหล่านั้นสงเคราะห์เข้าได้กับขันธ์ ๔ อายตนะ ๒ และธาตุ ๒
สงเคราะห์เข้าไม่ได้กับขันธ์ อายตนะ และธาตุเท่าไร
สงเคราะห์เข้าไม่ได้กับขันธ์ ๑ อายตนะ ๑๐ และธาตุ ๑๖
[๕๐๓] สภาวธรรมเหล่าใดวิปปยุตจากสภาวธรรมที่ไม่เป็นอารมณ์ของปรามาส
สภาวธรรมที่วิปปยุตจากปรามาสและไม่เป็นอารมณ์ของปรามาส
สภาวธรรมเหล่านั้นสงเคราะห์เข้าได้กับขันธ์ ๔ อายตนะ ๒ และธาตุ ๘
สงเคราะห์เข้าไม่ได้กับขันธ์ อายตนะ และธาตุเท่าไร
สงเคราะห์เข้าไม่ได้กับขันธ์ ๑ อายตนะ ๑๐ และธาตุ ๑๐
[๕๐๔] สภาวธรรมเหล่าใดวิปปยุตจากสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ได้ สภาวธรรม
ที่เป็นจิต สภาวธรรมที่เป็นเจตสิก สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยจิต
สภาวธรรมที่ระคนกับจิต สภาวธรรมที่ระคนกับจิตและมีจิตเป็น
สมุฏฐาน สภาวธรรมที่ระคนกับจิตมีจิตเป็นสมุฏฐานและเกิดพร้อมกับ
จิต สภาวธรรมที่ระคนกับจิตมีจิตเป็นสมุฏฐานและเป็นไปตามจิต
สภาวธรรมเหล่านั้น เว้นธาตุที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งออกจากขันธ์แล้ว
สงเคราะห์เข้าได้กับขันธ์ ๑ อายตนะ ๑๑ และธาตุ ๑๑
สงเคราะห์เข้าไม่ได้กับขันธ์ อายตนะ และธาตุเท่าไร
สงเคราะห์เข้าไม่ได้กับขันธ์ ๔ อายตนะ ๑ และธาตุ ๗

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๖ หน้า :๑๒๙ }


พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา [๑๔. จุททสมนัย] ๑๔. วิปปยุตเตนสังคหิตาสังหิตปทนิทเทส ๕. ทุกะ
[๕๐๕] สภาวธรรมเหล่าใดวิปปยุตจากสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ไม่ได้ สภาว-
ธรรมที่วิปปยุตจากจิต สภาวธรรมที่ระคนกับจิต สภาวธรรมที่เป็น
อุปาทายรูป สภาวธรรมที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่
ยึดถือ
สภาวธรรมเหล่านั้นสงเคราะห์เข้าได้กับขันธ์ ๔ อายตนะ ๒ และ
ธาตุ ๘
สงเคราะห์เข้าไม่ได้กับขันธ์ อายตนะ และธาตุเท่าไร
สงเคราะห์เข้าไม่ได้กับขันธ์ ๑ อายตนะ ๑๐ และธาตุ ๑๐
[๕๐๖] สภาวธรรมเหล่าใดวิปปยุตจากสภาวธรรมที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหา
และทิฏฐิยึดถือ
สภาวธรรมเหล่านั้นสงเคราะห์เข้าได้กับขันธ์ ๔ อายตนะ ๒ และธาตุ ๓
สงเคราะห์เข้าไม่ได้กับขันธ์ อายตนะ และธาตุเท่าไร
สงเคราะห์เข้าไม่ได้กับขันธ์ ๑ อายตนะ ๑๐ และธาตุ ๑๕
[๕๐๗] สภาวธรรมเหล่าใดวิปปยุตจากสภาวธรรมที่เป็นอุปาทาน สภาวธรรม
ที่เป็นกิเลส สภาวธรรมที่กิเลสทำให้เศร้าหมอง สภาวธรรมที่สัมปยุต
ด้วยกิเลส สภาวธรรมที่เป็นกิเลสและเป็นอารมณ์ของกิเลส สภาวธรรม
ที่เป็นกิเลสและกิเลสทำให้เศร้าหมอง สภาวธรรมที่กิเลสทำให้เศร้า
หมองแต่ไม่เป็นกิเลส สภาวธรรมที่เป็นกิเลสและสัมปยุตด้วยกิเลส
สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยกิเลสแต่ไม่เป็นกิเลส
สภาวธรรมเหล่านั้น เว้นธาตุที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งออกจากขันธ์แล้ว
สงเคราะห์เข้าได้กับขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ และธาตุ ๑๘
สงเคราะห์เข้าไม่ได้กับขันธ์ อายตนะ และธาตุเท่าไร
ไม่มีขันธ์ อายตนะ และธาตุเหล่าไหนที่จะสงเคราะห์เข้าไม่ได้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๖ หน้า :๑๓๐ }


พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา [๑๔. จุททสมนัย] ๑๔. วิปปยุตเตนสังคหิตาสังหิตปทนิทเทส ๕. ทุกะ
[๕๐๘] สภาวธรรมเหล่าใดวิปปยุตจากสภาวธรรมที่เป็นอารมณ์ของกิเลส สภาว-
ธรรมที่กิเลสไม่ทำให้เศร้าหมอง สภาวธรรมที่วิปปยุตจากกิเลส
สภาวธรรมที่เป็นอารมณ์ของกิเลสแต่ไม่เป็นกิเลส สภาวธรรมที่วิปปยุต
จากกิเลสแต่เป็นอารมณ์ของกิเลส
สภาวธรรมเหล่านั้นสงเคราะห์เข้าได้กับขันธ์ ๔ อายตนะ ๒ และธาตุ ๒
สงเคราะห์เข้าไม่ได้กับขันธ์ อายตนะ และธาตุเท่าไร
สงเคราะห์เข้าไม่ได้กับขันธ์ ๑ อายตนะ ๑๐ และธาตุ ๑๖
[๕๐๙] สภาวธรรมเหล่าใดวิปปยุตจากสภาวธรรมที่ไม่เป็นอารมณ์ของกิเลส
สภาวธรรมที่วิปปยุตจากกิเลสและไม่เป็นอารมณ์ของกิเลส
สภาวธรรมเหล่านั้นสงเคราะห์เข้าได้กับขันธ์ ๔ อายตนะ ๒ และธาตุ ๘
สงเคราะห์เข้าไม่ได้กับขันธ์ อายตนะ และธาตุเท่าไร
สงเคราะห์เข้าไม่ได้กับขันธ์ ๑ อายตนะ ๑๐ และธาตุ ๑๐
[๕๑๐] สภาวธรรมเหล่าใดวิปปยุตจากสภาวธรรมที่ต้องประหาณด้วยโสดา-
ปัตติมรรค สภาวธรรมที่ต้องประหาณด้วยมรรคเบื้องบน ๓ สภาวธรรม
ที่มีเหตุต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรค สภาวธรรมที่มีเหตุต้องประหาณ
ด้วยมรรคเบื้องบน ๓
สภาวธรรมเหล่านั้น เว้นธาตุที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งออกจากขันธ์แล้ว
สงเคราะห์เข้าได้กับขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ และธาตุ ๑๘
สงเคราะห์เข้าไม่ได้กับขันธ์ อายตนะ และธาตุเท่าไร
ไม่มีขันธ์ อายตนะ และธาตุเหล่าไหนที่จะสงเคราะห์เข้าไม่ได้
[๕๑๑] สภาวธรรมเหล่าใดวิปปยุตจากสภาวธรรมที่ไม่ต้องประหาณด้วยโสดา-
ปัตติมรรค สภาวธรรมที่ไม่ต้องประหาณด้วยมรรคเบื้องบน ๓
สภาวธรรมที่มีเหตุไม่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรค สภาวธรรมที่มี
เหตุไม่ต้องประหาณด้วยมรรคเบื้องบน ๓
สภาวธรรมเหล่านั้นสงเคราะห์เข้าได้กับขันธ์ ๔ อายตนะ ๒ และธาตุ ๒

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๖ หน้า :๑๓๑ }


พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา [๑๔. จุททสมนัย] ๑๔. วิปปยุตเตนสังคหิตาสังหิตปทนิทเทส ๕. ทุกะ
สงเคราะห์เข้าไม่ได้กับขันธ์ อายตนะ และธาตุเท่าไร
สงเคราะห์เข้าไม่ได้กับขันธ์ ๑ อายตนะ ๑๐ และธาตุ ๑๖
[๕๑๒] สภาวธรรมเหล่าใดวิปปยุตจากสภาวธรรมที่มีวิตก สภาวธรรมที่มีวิจาร
สภาวธรรมเหล่านั้น เว้นธาตุที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งออกจากขันธ์แล้ว
สงเคราะห์เข้าได้กับขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ และธาตุ ๑๗
สงเคราะห์เข้าไม่ได้กับขันธ์ อายตนะ และธาตุเท่าไร
ไม่มีขันธ์และอายตนะเหล่าไหนที่จะสงเคราะห์เข้าไม่ได้ แต่สงเคราะห์
เข้าไม่ได้กับธาตุ ๑
[๕๑๓] สภาวธรรมเหล่าใดวิปปยุตจากสภาวธรรมที่มีปีติ สภาวธรรมที่สหรคต
ด้วยปีติ สภาวธรรมที่สหรคตด้วยสุข
สภาวธรรมเหล่านั้น เว้นธาตุที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งออกจากขันธ์แล้ว
สงเคราะห์เข้าได้กับขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ และธาตุ ๑๘
สงเคราะห์เข้าไม่ได้กับขันธ์ อายตนะ และธาตุเท่าไร
ไม่มีขันธ์ อายตนะ และธาตุเหล่าไหนที่จะสงเคราะห์เข้าไม่ได้
[๕๑๔] สภาวธรรมเหล่าใดวิปปยุตจากสภาวธรรมที่สหรคตด้วยอุเบกขา
สภาวธรรมเหล่านั้น เว้นธาตุที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งออกจากขันธ์แล้ว
สงเคราะห์เข้าได้กับขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ และธาตุ ๑๓
สงเคราะห์เข้าไม่ได้กับขันธ์ อายตนะ และธาตุเท่าไร
ไม่มีขันธ์และอายตนะเหล่าไหนที่จะสงเคราะห์เข้าไม่ได้ แต่สงเคราะห์
เข้าไม่ได้กับธาตุ ๕
[๕๑๕] สภาวธรรมเหล่าใดวิปปยุตจากสภาวธรรมที่เป็นกามาวจร สภาวธรรม
ที่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ สภาวธรรมที่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า
สภาวธรรมเหล่านั้นสงเคราะห์เข้าได้กับขันธ์ ๔ อายตนะ ๒ และธาตุ ๒

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๖ หน้า :๑๓๒ }


พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา [๑๔. จุททสมนัย] ๑๔. วิปปยุตเตนสังคหิตาสังหิตปทนิทเทส ๕. ทุกะ
สงเคราะห์เข้าไม่ได้กับขันธ์ อายตนะ และธาตุเท่าไร
สงเคราะห์เข้าไม่ได้กับขันธ์ ๑อายตนะ ๑๐ และธาตุ ๑๖
[๕๑๖] สภาวธรรมเหล่าใดวิปปยุตจากสภาวธรรมที่ไม่เป็นกามาวจร สภาว-
ธรรมที่ไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ สภาวธรรมที่ไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า
สภาวธรรมเหล่านั้นสงเคราะห์เข้าได้กับขันธ์ ๔ อายตนะ ๒ และ
ธาตุ ๘
สงเคราะห์เข้าไม่ได้กับขันธ์ อายตนะ และธาตุเท่าไร
สงเคราะห์เข้าไม่ได้กับขันธ์ ๑ อายตนะ ๑๐ และธาตุ ๑๐
[๕๑๗] สภาวธรรมเหล่าใดวิปปยุตจากสภาวธรรมที่เป็นรูปาวจร สภาวธรรมที่
เป็นอรูปาวจร สภาวธรรมที่เป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ สภาวธรรม
ที่ให้ผลแน่นอน สภาวธรรมที่เป็นเหตุให้สัตว์ร้องไห้
สภาวธรรมเหล่านั้น เว้นธาตุที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งออกจากขันธ์แล้ว
สงเคราะห์เข้าได้กับขันธ์ ๕อายตนะ ๑๒ และธาตุ ๑๘
สงเคราะห์เข้าไม่ได้กับขันธ์ อายตนะ และธาตุเท่าไร
ไม่มีขันธ์ อายตนะ และธาตุเหล่าไหนที่จะสงเคราะห์เข้าไม่ได้
[๕๑๘] สภาวธรรมเหล่าใดวิปปยุตจากสภาวธรรมที่ไม่เป็นรูปาวจร สภาวธรรม
ที่ไม่เป็นอรูปาวจร สภาวธรรมที่ไม่เป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์
สภาวธรรมที่ให้ผลไม่แน่นอน สภาวธรรมที่ไม่เป็นเหตุให้สัตว์ร้องไห้
สภาวธรรมเหล่านั้นสงเคราะห์เข้าได้กับขันธ์ อายตนะ และธาตุเท่าไร
สภาวธรรมเหล่านั้นสงเคราะห์เข้าได้กับขันธ์ ๔ อายตนะ ๒ และ
ธาตุ ๒
สงเคราะห์เข้าไม่ได้กับขันธ์ อายตนะ และธาตุเท่าไร
สงเคราะห์เข้าไม่ได้กับขันธ์ ๑ อายตนะ ๑๐ และธาตุ ๑๖

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๖ หน้า :๑๓๓ }


พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา [๑๔. จุททสมนัย] รวมบทธรรมที่ไม่ได้ในจุททสมนัย ๔๗ บท
รวมบทธรรมที่ไม่ได้ในจุททสมนัย ๔๗ บท
ธัมมายตนะ ๑ ธัมมธาตุ ๑
ชีวิตินทรีย์ ๑ นามรูป ๑ สฬายตนะ ๑
ชาติ ๑ ชรา ๑ มรณะ ๑ ธรรม ๒ บท
จากติกะ (อัชฌัตตพหิทธะและอนิทัสสนอัปปฏิฆะ)
ในจูฬันตรทุกะแรก ๗ บท
ในโคจฉกะ ๑๐ บท ในมหันตรทุกะถัดมา ๑๔ บท
ในปิฏฐิทุกะสุดท้าย ๖ บท สภาวธรรม ๔๗ ประการเหล่านี้
ย่อมไม่ได้ในสมุจเฉทนัย (จุททสมนัย)
และใน (อัฏฐมนัยที่ชื่อว่า) โมฆปุจฉกะ

วิปปยุตเตนสังคหิตาสังคหิตปทนิทเทสที่ ๑๔ จบ
ปกรณ์ที่ชื่อว่าธาตุกถา จบบริบูรณ์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๖ หน้า :๑๓๔ }


พระอภิธรรมปิฎก ปุคคลบัญญัติ ๑. เอกกอุทเทส
พระอภิธรรมปิฎก
ปุคคลบัญญัติ
__________
ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

มาติกา
๑. เอกกอุทเทส
หมวดว่าด้วยบุคคล ๑ จำพวก
[๑] บัญญัติ ๖ ประการ คือ

๑. ขันธบัญญัติ ๒. อายตนบัญญัติ
๓. ธาตุบัญญัติ ๔. สัจจบัญญัติ
๕. อินทริยบัญญัติ ๖. ปุคคลบัญญัติ

๑. ขันธบัญญัติ
[๒] การบัญญัติสภาวธรรมที่เป็นหมวดหมู่กันว่าเป็นขันธ์ มีเท่าไร
ขันธบัญญัติมี ๕ คือ

๑. รูปขันธ์ ๒. เวทนาขันธ์
๓. สัญญาขันธ์ ๔. สังขารขันธ์
๕. วิญญาณขันธ์

การบัญญัติสภาวธรรมที่เป็นหมวดหมู่กันว่าเป็นขันธ์มีเท่านี้

๒. อายตนบัญญัติ
[๓] การบัญญัติสภาวธรรมที่เป็นบ่อเกิดว่าเป็นอายตนะ มีเท่าไร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๖ หน้า :๑๓๕ }


พระอภิธรรมปิฎก ปุคคลบัญญัติ ๑. เอกกอุทเทส
อายตนบัญญัติมี ๑๒ คือ

๑. จักขายตนะ ๒. รูปายตนะ
๓. โสตายตนะ ๔. สัททายตนะ
๕. ฆานายตนะ ๖. คันธายตนะ
๗. ชิวหายตนะ ๘. รสายตนะ
๙. กายายตนะ ๑๐. โผฏฐัพพายตนะ
๑๑. มนายตนะ ๑๒. ธัมมายตนะ

การบัญญัติสภาวธรรมที่เป็นบ่อเกิดว่าเป็นอายตนะมีเท่านี้

๓. ธาตุบัญญัติ
[๔] การบัญญัติสภาวธรรมที่ทรงตัวอยู่ว่าเป็นธาตุ มีเท่าไร
ธาตุบัญญัติมี ๑๘ คือ

๑. จักขุธาตุ ๒. รูปธาตุ
๓. จักขุวิญญาณธาตุ ๔. โสตธาตุ
๕. สัททธาตุ ๖. โสตวิญญาณธาตุ
๗. ฆานธาตุ ๘. คันธธาตุ
๙. ฆานวิญญาณธาตุ ๑๐. ชิวหาธาตุ
๑๑. รสธาตุ ๑๒. ชิวหาวิญญาณธาตุ
๑๓. กายธาตุ ๑๔. โผฏฐัพพธาตุ
๑๕. กายวิญญาณธาตุ ๑๖. มโนธาตุ
๑๗. ธัมมธาตุ ๑๘. มโนวิญญาณธาตุ

การบัญญัติสภาวธรรมที่ทรงตัวอยู่ว่าเป็นธาตุมีเท่านี้

๔. สัจจบัญญัติ
[๕] การบัญญัติสภาวธรรมที่เป็นความจริงว่าเป็นสัจจะ มีเท่าไร
สัจจบัญญัติมี ๔ คือ
๑. ทุกขสัจจะ ๒. สมุทยสัจจะ
๓. นิโรธสัจจะ ๔. มัคคสัจจะ
การบัญญัติสภาวธรรมที่เป็นความจริงว่าเป็นสัจจะมีเท่านี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๖ หน้า :๑๓๖ }


พระอภิธรรมปิฎก ปุคคลบัญญัติ ๑. เอกกอุทเทส
๕. อินทริยบัญญัติ
[๖] การบัญญัติสภาวธรรมที่เป็นใหญ่ว่าเป็นอินทรีย์ มีเท่าไร
อินทริยบัญญัติมี ๒๒ คือ

๑. จักขุนทรีย์ ๒. โสตินทรีย์
๓. ฆานินทรีย์ ๔. ชิวหินทรีย์
๕. กายินทรีย์ ๖. มนินทรีย์
๗. อิตถินทรีย์ ๘. ปุริสินทรีย์
๙. ชีวิตินทรีย์ ๑๐. สุขินทรีย์
๑๑. ทุกขินทรีย์ ๑๒. โสมนัสสินทรีย์
๑๓. โทมนัสสินทรีย์ ๑๔. อุเปกขินทรีย์
๑๕. สัทธินทรีย์ ๑๖. วิริยินทรีย์
๑๗. สตินทรีย์ ๑๘. สมาธินทรีย์
๑๙. ปัญญินทรีย์ ๒๐. อนัญญาตัญญัสสามีตินทรีย์
๒๑. อัญญินทรีย์ ๒๒. อัญญาตาวินทรีย์

การบัญญัติสภาวธรรมที่เป็นใหญ่ว่าเป็นอินทรีย์มีเท่านี้

๖. ปุคคลบัญญัติ
[๗] การบัญญัติเหล่าบุคคลว่าเป็นบุคคล มีเท่าไร
บุคคล ๑ จำพวก คือ

๑. บุคคลผู้เป็นสมยวิมุตตะ (๑) ๒. บุคคลผู้เป็นอสมยวิมุตตะ (๒)
๓. บุคคลผู้เป็นกุปปธรรม (๓) ๔. บุคคลผู้เป็นอกุปปธรรม (๔)
๕. บุคคลผู้เป็นปริหานธรรม (๕) ๖. บุคคลผู้เป็นอปริหานธรรม (๖)
๗. บุคคลผู้เป็นเจตนาภัพพะ (๗) ๘. บุคคลผู้เป็นอนุรักขนาภัพพะ (๘)
๙. บุคคลผู้เป็นปุถุชน (๙) ๑๐. บุคคลผู้เป็นโคตรภู (๑๐)
๑๑. บุคคลผู้เป็นภยูปรตะ(๑๑) ๑๒. บุคคลผู้เป็นอภยูปรตะ (๑๑)
๑๓. บุคคลผู้เป็นภัพพาคมนะ (๑๓) ๑๔. บุคคลผู้เป็นอภัพพาคมนะ (๑๒)
๑๕. บุคคลผู้เป็นนิยตะ (๑๔) ๑๖. บุคคลผู้เป็นอนิยตะ (๑๔)


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๖ หน้า :๑๓๗ }


พระอภิธรรมปิฎก ปุคคลบัญญัติ ๑. เอกกอุทเทส

๑๗. บุคคลผู้เป็นปฏิปันนกะ (๑๕) ๑๘. บุคคลผู้เป็นผเลฐิตะ (๑๕)
๑๙. บุคคลผู้เป็นสมสีสี (๑๖) ๒๐. บุคคลผู้เป็นฐิตกัปปี (๑๗)
๒๑. บุคคลผู้เป็นอริยะ (๑๘) ๒๒. บุคคลผู้เป็นอนริยะ (๑๘)
๒๓. บุคคลผู้เป็นเสขะ (๑๙) ๒๔. บุคคลผู้เป็นอเสขะ (๑๙)
๒๕. บุคคลผู้เป็นเนวเสขานาเสขะ (๑๙) ๒๖. บุคคลผู้เป็นเตวิชชะ (๒๐)
๒๗. บุคคลผู้เป็นฉฬภิญญะ (๒๑) ๒๘. บุคคลผู้เป็นสัมมาสัมพุทธะ (๒๒)
๒๙. บุคคลผู้เป็นปัจเจกพุทธะ (๒๓) ๓๐. บุคคลผู้เป็นอุภโตภาควิมุตตะ (๒๔)
๓๑. บุคคลผู้เป็นปัญญาวิมุตตะ (๒๕) ๓๒. บุคคลผู้เป็นกายสักขี (๒๖)
๓๓. บุคคลผู้เป็นทิฏฐิปัตตะ (๒๗) ๓๔. บุคคลผู้เป็นสัทธาวิมุตตะ (๒๘)
๓๕. บุคคลผู้เป็นธัมมานุสารี (๒๙) ๓๖. บุคคลผู้เป็นสัทธานุสารี (๓๐)
๓๗. บุคคลผู้เป็นสัตตักขัตตุปรมะ (๓๑) ๓๘. บุคคลผู้เป็นโกลังโกละ (๓๒)
๓๙. บุคคลผู้เป็นเอกพีชี (๓๓) ๔๐. บุคคลผู้เป็นสกทาคามี (๓๔)

๔๑. บุคคลผู้เป็นอนาคามี (๓๕)
๔๒. บุคคลผู้เป็นอันตราปรินิพพายี (๓๖)
๔๓. บุคคลผู้เป็นอุปหัจจปรินิพพายี (๓๗)
๔๔. บุคคลผู้เป็นอสังขารปรินิพพายี (๓๘)
๔๕. บุคคลผู้เป็นสสังขารปรินิพพายี (๓๙)
๔๖. บุคคลผู้เป็นอุทธังโสโตอกนิฏฐคามี (๔๐)
๔๗. บุคคลผู้เป็นโสดาบัน (๔๑)
๔๘. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งโสดาปัตติผล (๔๑)
๔๙. บุคคลผู้เป็นสกทาคามี (๔๒)
๕๐. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งสกทาคามิผล (๔๒)
๕๑. บุคคลผู้เป็นอนาคามี (๔๓)
๕๒. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอนาคามิผล (๔๓)
๕๓. บุคคลผู้เป็นอรหันต์ (๔๔)
๕๔. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอรหัตตผล (๔๔)
เอกกอุทเทส จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๖ หน้า :๑๓๘ }


พระอภิธรรมปิฎก ปุคคลบัญญัติ ๒. ทุกอุทเทส
๒. ทุกอุทเทส
หมวดว่าด้วยบุคคล ๒ จำพวก
[๘] บุคคล ๒ จำพวก คือ
๑. บุคคลผู้มักโกรธ บุคคลผู้ผูกโกรธ (๔๕-๔๖)
๒. บุคคลผู้มักลบหลู่ บุคคลผู้ตีเสมอ (๔๗-๔๘)
๓. บุคคลผู้มีความริษยา บุคคลผู้มีความตระหนี่ (๔๙-๕๐)
๔. บุคคลผู้โอ้อวด บุคคลผู้มีมายา (๕๑-๕๒)
๕. บุคคลผู้ไม่มีหิริ บุคคลผู้ไม่มีโอตตัปปะ (๕๓-๕๔)
๖. บุคคลผู้ว่ายาก บุคคลผู้มีมิตรชั่ว (๕๕-๕๖)
๗. บุคคลผู้ไม่คุ้มครองทวารในอินทรีย์ บุคคลผู้ไม่รู้จักประมาณในการ
บริโภค (๕๗-๕๘)
๘. บุคคลผู้มีสติหลงลืม บุคคลผู้ไม่มีสัมปชัญญะ (๕๙-๖๐)
๙. บุคคลผู้มีศีลวิบัติ บุคคลผู้มีทิฏฐิวิบัติ (๖๑-๖๒)
๑๐. บุคคลผู้มีสังโยชน์ในภายใน บุคคลผู้มีสังโยชน์ในภายนอก (๖๓-๖๔)
๑๑. บุคคลผู้ไม่มักโกรธ บุคคลผู้ไม่ผูกโกรธ (๖๕-๖๖)
๑๒. บุคคลผู้ไม่ลบหลู่ บุคคลผู้ไม่ตีเสมอ (๖๗-๖๘)
๑๓. บุคคลผู้ไม่ริษยา บุคคลผู้ไม่ตระหนี่ (๖๙-๗๐)
๑๔. บุคคลผู้ไม่โอ้อวด บุคคลผู้ไม่มีมายา (๗๑-๗๒)
๑๕. บุคคลผู้มีหิริ บุคคลผู้มีโอตตัปปะ (๗๓-๗๔)
๑๖. บุคคลผู้ว่าง่าย บุคคลผู้มีมิตรดี (๗๕-๗๖)
๑๗. บุคคลผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ บุคคลผู้รู้ประมาณในการบริโภค
(๗๗-๗๘)
๑๘. บุคคลผู้มีสติตั้งมั่น บุคคลผู้มีสัมปชัญญะ (๗๙-๘๐)
๑๙. บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยศีล บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยทิฏฐิ (๘๑-๘๒)
๒๐. บุคคลผู้หาได้ยากในโลก ๒ จำพวก (๘๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๖ หน้า :๑๓๙ }


พระอภิธรรมปิฎก ปุคคลบัญญัติ ๓. ติกอุทเทส
๒๑. บุคคลผู้ให้อิ่มได้ยาก ๒ จำพวก (๘๔)
๒๒. บุคคลผู้ให้อิ่มได้ง่าย ๒ จำพวก (๘๕)
๒๓. อาสวะของบุคคล ๒ จำพวกเหล่าไหนย่อมเพิ่มพูน (๘๖)
๒๔. อาสวะของบุคคล ๒ จำพวกเหล่าไหนย่อมไม่เพิ่มพูน (๘๗)
๒๕. บุคคลผู้มีอัธยาศัยเลว บุคคลผู้มีอัธยาศัยประณีต (๘๘-๘๙)
๒๖. บุคคลผู้อิ่มแล้ว บุคคลผู้ทำคนอื่นให้อิ่ม (๙๐)
ทุกอุทเทส จบ

๓. ติกอุทเทส
หมวดว่าด้วยบุคคล ๓ จำพวก
[๙] บุคคล ๓ จำพวก คือ
๑. บุคคลที่หมดความหวัง บุคคลที่ยังมีความหวัง บุคคลที่ปราศจาก
ความหวัง (๙๑-๙๓)
๒. บุคคลเปรียบเหมือนคนไข้ ๓ จำพวก (๙๔)
๓. บุคคลผู้เป็นกายสักขี บุคคลผู้เป็นทิฏฐิปัตตะ บุคคลผู้เป็นสัทธา-
วิมุตตะ (๙๕-๙๗)
๔. บุคคลผู้พูดภาษาคูถ บุคคลผู้พูดภาษาดอกไม้ บุคคลผู้พูดภาษา
น้ำผึ้ง (๙๘-๑๐๐)
๕. บุคคลผู้มีจิตเหมือนแผลเก่า บุคคลผู้มีจิตเหมือนฟ้าแลบ บุคคลผู้มี
จิตเหมือนเพชร (๑๐๑-๑๐๓)
๖. บุคคลตาบอด บุคคลตาเดียว บุคคลสองตา (๑๐๔-๑๐๖)
๗. บุคคลผู้มีปัญญาเหมือนหม้อคว่ำ บุคคลผู้มีปัญญาเหมือนชายพก
บุคคลผู้มีปัญญากว้างขวาง (๑๐๗-๑๐๙)
๘. บุคคลบางคนยังมีกามราคะและภวราคะ บุคคลบางคนไม่มีกามราคะ
แต่ยังมีภวราคะ บุคคลบางคนไม่มีทั้งกามราคะและภวราคะ (๑๑๐-
๑๑๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๖ หน้า :๑๔๐ }


พระอภิธรรมปิฎก ปุคคลบัญญัติ ๔. จตุกกอุทเทส
๙. บุคคลผู้เปรียบเหมือนรอยขีดบนแผ่นหิน บุคคลผู้เปรียบเหมือน
รอยขีดที่แผ่นดิน บุคคลผู้เปรียบเหมือนรอยขีดที่น้ำ (๑๑๓-๑๑๕)
๑๐. บุคคลเปรียบเหมือนผ้าเปลือกไม้ ๓ จำพวก (๑๑๖)
๑๑. บุคคลเปรียบเหมือนผ้าแคว้นกาสี ๓ จำพวก (๑๑๗)
๑๒. บุคคลผู้ประมาณได้ง่าย บุคคลผู้ประมาณได้ยาก บุคคลผู้ประมาณ
ไม่ได้ (๑๑๘-๑๒๐)
๑๓. บุคคลบางคนในโลกนี้ไม่ควรเสพ ไม่ควรคบ ไม่ควรเข้าไปนั่งใกล้
บุคคลบางคนในโลกนี้ควรเสพ ควรคบ ควรเข้าไปนั่งใกล้ บุคคลบาง
คนในโลกนี้ควรสักการะ เคารพ แล้วจึงเสพ คบ เข้าไปนั่งใกล้ (๑๒๑-
๑๒๓)
๑๔. บุคคลบางคนที่ควรรังเกียจ ไม่ควรเสพ ไม่ควรคบ ไม่ควรเข้าไปนั่ง
ใกล้ บุคคลบางคนที่ควรวางเฉย ไม่ควรเสพ ไม่ควรคบ ไม่ควรเข้าไป
นั่งใกล้ บุคคลบางคนที่ควรเสพ ควรคบ ควรเข้าไปนั่งเข้าใกล้ (๑๒๔-
๑๒๖)
๑๕. บุคคลบางคนมีปกติทำให้บริบูรณ์ในศีล ทำให้พอประมาณในสมาธิ
ทำให้พอประมาณในปัญญา บุคคลบางคนมีปกติทำให้บริบูรณ์ในศีล
ทำให้บริบูรณ์ในสมาธิ ทำให้พอประมาณในปัญญา บุคคลบางคนมี
ปกติทำให้บริบูรณ์ในศีล ทำให้บริบูรณ์ในสมาธิ ทำให้บริบูรณ์ใน
ปัญญา (๑๒๗-๑๒๙)
๑๖. บุคคลผู้เป็นศาสดา ๓ จำพวก (๑๓๐)
๑๗. บุคคลผู้เป็นศาสดา ๓ จำพวก แม้อื่นอีก (๑๓๑)
ติกอุทเทส จบ

๔. จตุกกอุทเทส
หมวดว่าด้วยบุคคล ๔ จำพวก
[๑๐] บุคคล ๔ จำพวก คือ
๑. บุคคลผู้เป็นอสัตบุรุษ บุคคลผู้เป็นอสัตบุรุษที่ยิ่งกว่าอสัตบุรุษ บุคคล
ผู้เป็นสัตบุรุษ บุคคลผู้เป็นสัตบุรุษที่ยิ่งกว่าสัตบุรุษ (๑๓๒-๑๓๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๖ หน้า :๑๔๑ }


พระอภิธรรมปิฎก ปุคคลบัญญัติ ๔. จตุกกอุทเทส
๒. บุคคลผู้เป็นคนชั่ว บุคคลผู้เป็นคนชั่วที่ยิ่งกว่าคนชั่ว บุคคลผู้เป็น
คนดี บุคคลผู้เป็นคนดีที่ยิ่งกว่าคนดี (๑๓๖-๑๓๙)
๓. บุคคลผู้มีธรรมชั่ว บุคคลผู้มีธรรมชั่วที่ยิ่งกว่าบุคคลผู้มีธรรมชั่ว บุคคล
ผู้มีธรรมดี บุคคลผู้มีธรรมดีที่ยิ่งกว่าบุคคลผู้มีธรรมดี (๑๔๐-๑๔๓)
๔. บุคคลผู้มีแต่โทษ บุคคลผู้มีโทษเป็นส่วนมาก บุคคลผู้มีโทษเป็น
ส่วนน้อย บุคคลผู้ไม่มีโทษ (๑๔๔-๑๔๗)
๕. บุคคลผู้เป็นอุคฆฏิตัญญู บุคคลผู้เป็นวิปจิตัญญู บุคคลผู้เป็นเนยยะ
บุคคลผู้เป็นปทปรมะ (๑๔๘-๑๕๑)
๖. บุคคลผู้ตอบได้ถูกต้องแต่ไม่รวดเร็ว บุคคลผู้ตอบได้รวดเร็วแต่ไม่
ถูกต้อง บุคคลผู้ตอบได้ถูกต้องและรวดเร็ว บุคคลผู้ตอบได้ไม่
ถูกต้องและไม่รวดเร็ว (๑๕๒-๑๕๕)
๗. บุคคลผู้เป็นธรรมกถึก ๔ จำพวก (๑๕๖)
๘. บุคคลเปรียบเหมือนเมฆ ๔ จำพวก (๑๕๗)
๙. บุคคลเปรียบเหมือนหนู ๔ จำพวก (๑๕๘)
๑๐. บุคคลเปรียบเหมือนมะม่วง ๔ จำพวก (๑๕๙)
๑๑. บุคคลเปรียบเหมือนหม้อ ๔ จำพวก (๑๖๐)
๑๒. บุคคลเปรียบเหมือนห้วงน้ำ ๔ จำพวก (๑๖๑)
๑๓. บุคคลเปรียบเหมือนโคผู้ ๔ จำพวก (๑๖๒)
๑๔. บุคคลเปรียบเหมือนอสรพิษ ๔ จำพวก (๑๖๓)
๑๕. บุคคลไม่พิจารณาไม่ไตร่ตรองแล้วกล่าวสรรเสริญผู้ควรติเตียน
จำพวก ๑ บุคคลไม่พิจารณาไม่ไตร่ตรองแล้วกล่าวติเตียนผู้ควร
สรรเสริญจำพวก ๑ บุคคลไม่พิจารณาไม่ไตร่ตรองแล้วแสดงความ
เลื่อมใสในฐานะที่ไม่ควรเลื่อมใสจำพวก ๑ บุคคลไม่พิจารณาไม่
ไตร่ตรองแล้วแสดงความไม่เลื่อมใสในฐานะที่ควรเลื่อมใสจำพวก ๑
(๑๖๔)
๑๖. บุคคลพิจารณาไตร่ตรองแล้วกล่าวติเตียนผู้ควรติเตียนจำพวก ๑
บุคคลพิจารณาไตร่ตรองแล้วกล่าวสรรเสริญผู้ควรสรรเสริญจำพวก ๑

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๖ หน้า :๑๔๒ }


พระอภิธรรมปิฎก ปุคคลบัญญัติ ๔. จตุกกอุทเทส
บุคคลพิจารณาไตร่ตรองแล้วแสดงความไม่เลื่อมใสในฐานะที่ไม่ควร
เลื่อมใสจำพวก ๑ บุคคลพิจารณาไตร่ตรองแล้วแสดงความเลื่อมใส
ในฐานะที่ควรเลื่อมใสจำพวก ๑ (๑๖๕)
๑๗. บุคคลกล่าวติเตียนผู้ควรติเตียนตามความเป็นจริงเหมาะแก่กาลแต่
ไม่กล่าวสรรเสริญผู้ควรสรรเสริญตามความเป็นจริงเหมาะแก่กาล
จำพวก ๑ บุคคลกล่าวสรรเสริญผู้ควรสรรเสริญตามความเป็นจริง
เหมาะแก่กาลแต่ไม่กล่าวติเตียนผู้ควรติเตียนตามความเป็นจริง
เหมาะแก่กาลจำพวก ๑ บุคคลกล่าวติเตียนผู้ควรติเตียนตาม
ความเป็นจริงเหมาะแก่กาลและกล่าวสรรเสริญผู้ควรสรรเสริญ
ตามความเป็นจริงเหมาะแก่กาลจำพวก ๑ บุคคลไม่กล่าวติเตียนผู้
ควรติเตียนตามความเป็นจริงเหมาะแก่กาลและไม่กล่าวสรรเสริญผู้
ควรสรรเสริญตามความเป็นจริงเหมาะแก่กาลจำพวก ๑ (๑๖๖)
๑๘. บุคคลผู้ดำรงชีพด้วยผลแห่งความขยันหมั่นเพียรแต่ไม่ดำรงชีพด้วย
ผลแห่งบุญ บุคคลผู้ดำรงชีพด้วยผลแห่งบุญแต่ไม่ดำรงชีพด้วยผล
แห่งความขยันหมั่นเพียร บุคคลผู้ดำรงชีพด้วยผลแห่งความขยัน
หมั่นเพียรและดำรงชีพด้วยผลแห่งบุญ บุคคลผู้ไม่ดำรงชีพด้วยผล
แห่งความขยันหมั่นเพียรและไม่ดำรงชีพด้วยผลแห่งบุญ (๑๖๗)
๑๙. บุคคลผู้มืดมาและมืดไป บุคคลผู้มืดมาแต่สว่างไป บุคคลผู้สว่าง
มาแต่มืดไป บุคคลผู้สว่างมาและสว่างไป (๑๖๘)
๒๐. บุคคลผู้ต่ำมาและต่ำไป บุคคลผู้ต่ำมาแต่สูงไป บุคคลผู้สูงมาแต่
ต่ำไป บุคคลผู้สูงมาและสูงไป (๑๖๙)
๒๑. บุคคลเปรียบเหมือนต้นไม้ ๔ จำพวก (๑๗๐)
๒๒. บุคคลผู้ถือรูปเป็นประมาณ เลื่อมใสในรูป บุคคลผู้ถือเสียงเป็น
ประมาณ เลื่อมใสในเสียง (๑๗๑)
๒๓. บุคคลผู้ถือความเศร้าหมองเป็นประมาณ เลื่อมใสในความเศร้าหมอง
บุคคลผู้ถือธรรมเป็นประมาณ เลื่อมในในธรรม (๑๗๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๖ หน้า :๑๔๓ }


พระอภิธรรมปิฎก ปุคคลบัญญัติ ๔. จตุกกอุเทส
๒๔. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตนเองแต่ไม่ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลผู้อื่น
จำพวก ๑ บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลผู้อื่นแต่ไม่ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูล
ตนเองจำพวก ๑ บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตนเองและปฏิบัติเพื่อ
เกื้อกูลผู้อื่นจำพวก ๑ บุคคลผู้ไม่ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตนเองและไม่
ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลผู้อื่นจำพวก ๑ (๑๗๓)
๒๕. บุคคลผู้ทำตนให้เดือดร้อนหมั่นประกอบในการทำตนให้เดือดร้อน
จำพวก ๑ บุคคลผู้ทำผู้อื่นให้เดือดร้อน หมั่นประกอบในการทำผู้
อื่นให้เดือดร้อนจำพวก ๑ บุคคลผู้ทำตนให้เดือดร้อนหมั่นประกอบ
ในการทำตนให้เดือดร้อน และทำผู้อื่นให้เดือดร้อนหมั่นประกอบใน
การทำผู้อื่นให้เดือดร้อนจำพวก ๑ บุคคลผู้ไม่ทำตนให้เดือดร้อนไม่
หมั่นประกอบในการทำตนให้เดือดร้อน และไม่ทำผู้อื่นให้เดือดร้อน
ไม่หมั่นประกอบในการทำผู้อื่นให้เดือดร้อนจำพวก ๑ บุคคลนั้นไม่
ทำตนให้เดือดร้อน ไม่ทำผู้อื่นให้เดือดร้อน เป็นผู้ไม่หิว ดับร้อน
เย็นใจ เสวยสุข มีตนประเสริฐอยู่ในปัจจุบัน (๑๗๔-๑๘๕)
๒๖. บุคคลผู้มีราคะ บุคคลผู้มีโทสะ บุคคลผู้มีโมหะ บุคคลผู้มีมานะ
(๑๘๖)
๒๗. บุคคลผู้ได้ความสงบแห่งจิตภายในแต่ไม่ได้ความเห็นแจ้งธรรมด้วย
ปัญญาอันยิ่งจำพวก ๑ บุคคลผู้ได้ความเห็นแจ้งธรรมด้วยปัญญา
อันยิ่งแต่ไม่ได้ความสงบแห่งจิตภายในจำพวก ๑ บุคคลผู้ได้ความ
สงบแห่งจิตภายในและได้ความเห็นแจ้งธรรมด้วยปัญญาอันยิ่ง
จำพวก ๑ บุคคลผู้ไม่ได้ความสงบแห่งจิตภายในและไม่ได้ความเห็น
แจ้งธรรมด้วยปัญญาอันยิ่งจำพวก ๑ (๑๘๗)
๒๘. บุคคลผู้ไปตามกระแส บุคคลผู้ไปทวนกระแส บุคคลผู้มีภาวะตั้งมั่น
บุคคลผู้ลอยบาปข้ามถึงฝั่งดำรงอยู่บนบก (๑๘๘)
๒๙. บุคคลผู้มีสุตะน้อยทั้งไม่เข้าถึงสุตะ บุคคลผู้มีสุตะน้อยแต่เข้าถึงสุตะ
บุคคลผู้มีสุตะมากแต่ไม่เข้าถึงสุตะ บุคคลผู้มีสุตะมากทั้งเข้าถึงสุตะ
(๑๘๙)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๖ หน้า :๑๔๔ }


พระอภิธรรมปิฎก ปุคคลบัญญัติ ๕. ปัญจกอุทเทส
๓๐. บุคคลผู้เป็นสมณะไม่หวั่นไหว บุคคลผู้เป็นสมณะเหมือนดอกปทุม
บุคคลผู้เป็นสมณะเหมือนดอกบุณฑริก บุคคลผู้เป็นสมณะ
ผู้ละเอียดอ่อนในหมู่สมณะ (๑๙๐)
จตุกกอุทเทส จบ

๕. ปัญจกอุทเทส
หมวดว่าด้วยบุคคล ๕ จำพวก
[๑๑] บุคคล ๕ จำพวก คือ
๑. บุคคลผู้ต้องอาบัติและเดือดร้อนทั้งไม่รู้ชัดตามความเป็นจริงซึ่ง
เจโตวิมุตติปัญญาวิมุตติอันเป็นที่ดับไปโดยไม่เหลือแห่งสภาวธรรม
เหล่านั้นที่เป็นอกุศลซึ่งเป็นบาปอันเกิดขึ้นแก่ตนจำพวก ๑ บุคคลผู้
ต้องอาบัติแต่ไม่เดือดร้อนทั้งไม่รู้ชัดตามความเป็นจริงซึ่งเจโตวิมุตติ
ปัญญาวิมุตติอันเป็นที่ดับไปโดยไม่เหลือแห่งสภาวธรรมเหล่านั้นที่
เป็นอกุศลซึ่งเป็นบาปอันเกิดขึ้นแก่ตนจำพวก ๑ บุคคลผู้ไม่ต้องอาบัติ
แต่เดือดร้อนและไม่รู้ชัดตามความเป็นจริงซึ่งเจโตวิมุตติปัญญาวิมุตตติ
อันเป็นที่ดับไปโดยไม่เหลือแห่งสภาวธรรมเหล่านั้นที่เป็นอกุศลซึ่ง
เป็นบาปอันเกิดขึ้นแก่ตนจำพวก ๑ บุคคลผู้ไม่ต้องอาบัติ ไม่เดือดร้อน
แต่ไม่รู้ชัดตามความเป็นจริงซึ่งเจโตวิมุตติปัญญาวิมุตติอันเป็นที่ดับ
ไปโดยไม่เหลือแห่งสภาวธรรมเหล่านั้นที่เป็นอกุศลซึ่งเป็นบาปอัน
เกิดขึ้นแก่ตนจำพวก ๑ บุคคลผู้ไม่ต้องอาบัติ ไม่เดือดร้อน และ
รู้ชัดตามความเป็นจริงซึ่งเจโตวิมุตติปัญญาวิมุตติอันเป็นที่ดับไป
โดยไม่เหลือแห่งสภาวธรรมเหล่านั้นที่เป็นอกุศลซึ่งเป็นบาปอันเกิดขึ้น
แก่ตนจำพวก ๑ (๑๙๑)
๒. บุคคลให้แล้วดูหมิ่น บุคคลดูหมิ่นด้วยการอยู่ร่วมกัน บุคคลผู้เชื่อ
ง่าย บุคคลผู้โลเล บุคคลผู้โง่งมงาย (๑๙๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๖ หน้า :๑๔๕ }


พระอภิธรรมปิฎก ปุคคลบัญญัติ ๖. ฉักกอุทเทส
๓. บุคคลเปรียบเหมือนนักรบอาชีพ ๕ จำพวก (๑๙๓-๑๙๘)
๔. ภิกษุผู้ถือบิณฑบาตเป็นวัตร ๕ จำพวก (๑๙๙)
๕. ภิกษุผู้ถือการห้ามภัตอันเขานำมาถวายในภายหลังเป็นวัตร ๕ จำพวก
(๒๐๐)
๖. ภิกษุผู้ถือการนั่งฉันอาสนะเดียวเป็นวัตร
๗. ภิกษุผู้ถือผ้าบังสุกุลเป็นวัตร ๕ จำพวก
๘. ภิกษุผู้ถือผ้าไตรจีวรเป็นวัตร ๕ จำพวก
๙. ภิกษุผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร ๕ จำพวก
๑๐. ภิกษุผู้ถือการอยู่โคนไม้เป็นวัตร ๕ จำพวก
๑๑. ภิกษุผู้ถือการอยู่กลางแจ้งเป็นวัตร ๕ จำพวก
๑๒. ภิกษุผู้ถือการนั่งเป็นวัตร ๕ จำพวก
๑๓. ภิกษุผู้ถือการนั่งบนอาสนะตามที่ได้จัดไว้เป็นวัตร ๕ จำพวก
๑๔. ภิกษุผู้ถือการอยู่ป่าช้าเป็นวัตร ๕ จำพวก (๒๐๑)
ปัญจกอุทเทส จบ

๖. ฉักกอุทเทส
หมวดว่าด้วยบุคคล ๖ จำพวก
[๑๒] บุคคล ๖ จำพวก คือ
๑. บุคคลผู้ตรัสรู้สัจจะด้วยตนเองในธรรมที่ไม่เคยสดับมาก่อน ถึง
ความเป็นสัพพัญญูในธรรมนั้น และถึงความชำนาญในทศพลญาณ
จำพวก ๑ บุคคลผู้ตรัสรู้สัจจะด้วยตนเองในธรรมที่ไม่เคยสดับมา
ก่อน แต่ไม่ถึงความเป็นสัพพัญญูในธรรมนั้น และไม่ถึงความ
ชำนาญในทศพลญาณจำพวก ๑ บุคคลผู้ไม่ตรัสรู้สัจจะด้วยตนเอง
ในธรรมที่ไม่เคยสดับมาก่อน เป็นผู้ทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ในปัจจุบัน
และบรรลุสาวกบารมีจำพวก ๑ บุคคลผู้ไม่ตรัสรู้สัจจะด้วยตนเอง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๖ หน้า :๑๔๖ }


พระอภิธรรมปิฎก ปุคคลบัญญัติ ๗. สัตตกอุทเทส
ในธรรมที่ไม่เคยสดับมาก่อน เป็นผู้ทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ในปัจจุบัน
แต่ไม่บรรลุสาวกบารมีจำพวก ๑ บุคคลผู้ไม่ตรัสรู้สัจจะด้วยตนเอง
ในธรรมที่ไม่เคยสดับมาก่อนและไม่ได้ทำที่สุดแห่งทุกข์ในปัจจุบัน
เป็นพระอนาคามี ไม่มาสู่โลกนี้อีกจำพวก ๑ บุคคลผู้ไม่ตรัสรู้สัจจะ
ด้วยตนเองในธรรมที่ไม่เคยสดับมาก่อนและไม่ได้ทำที่สุดแห่งทุกข์
ในปัจจุบัน เป็นพระโสดาบัน เป็นพระสกทาคามี ยังมาสู่โลกนี้
อีกจำพวก ๑ (๒๐๒)
ฉักกอุทเทส จบ

๗. สัตตกอุทเทส
หมวดว่าด้วยบุคคล ๗ จำพวก
[๑๓] บุคคล ๗ จำพวก คือ
(๑) บุคคลเปรียบเหมือนคนตกน้ำ ๗ จำพวก คือ
๑. บุคคลผู้จมแล้วครั้งเดียวก็ยังจมอยู่นั่นเอง
๒. บุคคลผู้โผล่ขึ้นแล้วจมลงอีก
๓. บุคคลผู้โผล่ขึ้นแล้วหยุดอยู่
๔. บุคคลผู้โผล่ขึ้นแล้วเหลียวมองดู
๕. บุคคลผู้โผล่ขึ้นแล้วข้ามไป
๖. บุคคลผู้โผล่ขึ้นแล้วได้ที่พึ่ง
๗. บุคคลผู้โผล่ขึ้นแล้วข้ามไปถึงฝั่งเป็นผู้ลอยบาปอยู่บนบก (๒๐๓)
(๒) บุคคลผู้เป็นอุภโตภาควิมุตตะ (๒๐๔)
บุคคลผู้เป็นปัญญาวิมุตตะ (๒๐๕)
บุคคลผู้เป็นกายสักขี บุคคลผู้เป็นทิฏฐิปัตตะ
บุคคลผู้เป็นสัทธาวิมุตตะ บุคคลผู้เป็นธัมมานุสารี
บุคคลผู้เป็นสัทธานุสารี (๒๐๖)
สัตตกอุทเทส จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๖ หน้า :๑๔๗ }


พระอภิธรรมปิฎก ปุคคลบัญญัติ ๑๐. ทสกอุทเทส
๘. อัฏฐกอุทเทส
หมวดว่าด้วยบุคคล ๘ จำพวก
[๑๔] บุคคล ๘ จำพวก คือ
(๑) บุคคลผู้พร้อมเพรียงด้วยมรรค ๔ จำพวก บุคคลผู้พร้อมเพรียง
ด้วยผล ๔ จำพวก (๒๐๗)
อัฏฐกอุทเทส จบ

๙. นวกอุทเทส
หมวดว่าด้วยบุคคล ๙ จำพวก
[๑๕] บุคคล ๙ จำพวก คือ

๑. บุคคลผู้เป็นสัมมาสัมพุทธะ ๒. บุคคลผู้เป็นปัจเจกพุทธะ
๓. บุคคลผู้เป็นอุภโตภาควิมุตตะ ๔. บุคคลผู้เป็นปัญญาวิมุตตะ
๕. บุคคลผู้เป็นกายสักขี ๖. บุคคลผู้เป็นทิฏฐิปัตตะ
๗. บุคคลผู้เป็นสัทธาวิมุตตะ ๘. บุคคลผู้เป็นธัมมานุสารี
๙. บุคคลผู้เป็นสัทธานุสารี (๒๐๘)

นวกอุทเทส จบ

๑๐. ทสกอุทเทส
หมวดว่าด้วยบุคคล ๑๐ จำพวก
[๑๖] บุคคล ๑๐ จำพวก คือ
(๑) บุคคลผู้มีความสำเร็จในกามาวจรภูมินี้ ๕ จำพวก บุคคลผู้ละ
อัตภาพในกามาวจรภูมินี้แล้วสำเร็จ ๕ จำพวก (๒๐๙)
ทสกอุทเทส จบ
มาติกาปุคคลบัญญัติ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๖ หน้า :๑๔๘ }


พระอภิธรรมปิฎก ปุคคลบัญญัติ ๑. เอกกปุคคลบัญญัติ
นิทเทส
๑. เอกกปุคคลบัญญัติ
[๑] บุคคลผู้เป็นสมยวิมุตตะ เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้สัมผัสวิโมกข์ ๘ ด้วยกาย๑ทุกกาล ทุกสมัย และอาสวะ
ทั้งหลายของเขาย่อมสิ้นไปเพราะเห็นด้วยปัญญา บุคคลนี้เรียกว่า ผู้เป็นสมยวิมุตตะ
[๒] บุคคลผู้เป็นอสมยวิมุตตะ เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้ไม่ได้สัมผัสวิโมกข์ ๘ ด้วยกายทุกกาล ทุกสมัย แต่อาสวะ
ทั้งหลายของเขาย่อมสิ้นไปเพราะเห็นด้วยปัญญา บุคคลนี้เรียกว่า ผู้เป็นอสมยวิมุตตะ
แม้พระอริยบุคคลทั้งหมดก็ชื่อว่าผู้เป็นอสมยวิมุตตะในอริยวิโมกข์๒
[๓] บุคคลผู้เป็นกุปปธรรม เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้มีปกติได้สมาบัติมีรูป๓เป็นอารมณ์หรือมีอรูป๔เป็นอารมณ์
แต่บุคคลนั้นมิใช่ได้ตามที่ต้องการ มิใช่ได้โดยไม่ยาก มิใช่ได้โดยไม่ลำบาก มิใช่จะเข้า
หรือออกจากสมาบัติได้ตามโอกาสที่ต้องการ ตามสมาบัติที่ต้องการ ตามกำหนด
เวลาที่ต้องการ ข้อที่สมาบัติเหล่านั้นจะพึงเสื่อมเพราะอาศัยความประมาทของบุคคล
นั้น นั่นเป็นฐานะที่จะมีได้ บุคคลนี้เรียกว่า ผู้เป็นกุปปธรรม
[๔] บุคคลผู้เป็นอกุปปธรรม เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้มีปกติได้สมาบัติมีรูปเป็นอารมณ์หรือมีอรูปเป็นอารมณ์
และบุคคลนั้นเป็นผู้ได้ตามที่ต้องการ ได้โดยไม่ยาก ได้โดยไม่ลำบาก จะเข้าหรือ
ออกจากสมาบัติได้ตามโอกาสที่ต้องการ ตามสมาบัติที่ต้องการ ตามกำหนดเวลา
ที่ต้องการ ข้อที่สมาบัติเหล่านั้นจะพึงเสื่อมไปเพราะอาศัยความประมาทของบุคคล
นั้น นั่นมิใช่ฐานะ มิใช่โอกาส บุคคลนี้เรียกว่า ผู้เป็นอกุปปธรรม พระอริยบุคคล
แม้ทั้งหมดก็ชื่อว่าผู้เป็นอกุปปธรรมในอริยวิโมกข์

เชิงอรรถ :
๑ กาย ในที่นี้หมายถึงนามกาย (อภิ.ปญฺจ.อ. ๑/๓๕)
๒ อริยวิโมกข์ ในที่นี้หมายถึงโลกุตตระ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๒/๓๗)
๓ รูป ในที่นี้หมายถึงรูปนิมิต (อภิ.ปญฺจ.อ. ๓/๓๗)
๔ อรูป ในที่นี้หมายถึงอรูปนิมิต (อภิ.ปญฺจ.อ. ๓/๓๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๖ หน้า :๑๔๙ }


พระอภิธรรมปิฎก ปุคคลบัญญัติ ๑. เอกกปุคคลบัญญัติ
[๕] บุคคลผู้เป็นปริหานธรรม เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้มีปกติได้สมาบัติมีรูปเป็นอารมณ์หรือมีอรูปเป็นอารมณ์
แต่บุคคลนั้นมิใช่ได้ตามที่ต้องการ มิใช่ได้โดยไม่ยาก มิใช่ได้โดยไม่ลำบาก มิใช่
จะเข้าหรือออกจากสมาบัติได้ตามโอกาสที่ต้องการ ตามสมาบัติที่ต้องการ ตาม
กำหนดเวลาที่ต้องการ ข้อที่บุคคลนั้นจะพึงเสื่อมจากสมาบัติเหล่านั้นเพราะอาศัย
ความประมาท นั่นเป็นฐานะที่จะมีได้ บุคคลนี้เรียกว่า ผู้เป็นปริหานธรรม
[๖] บุคคลผู้เป็นอปริหานธรรม เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้มีปกติได้สมาบัติมีรูปเป็นอารมณ์หรือมีอรูปเป็นอารมณ์
และบุคคลนั้นเป็นผู้ได้ตามที่ต้องการ ได้โดยไม่ยาก ได้โดยไม่ลำบาก จะเข้าหรือ
ออกจากสมาบัติได้ตามโอกาสที่ต้องการ ตามสมาบัติที่ต้องการ ตามกำหนดเวลา
ที่ต้องการ ข้อที่บุคคลนั้นจะพึงเสื่อมจากสมาบัตินั้นเพราะอาศัยความประมาท นั่น
มิใช่ฐานะ มิใช่โอกาส บุคคลนี้เรียกว่า ผู้เป็นอปริหานธรรม พระอริยบุคคลแม้
ทั้งหมดก็ชื่อว่าผู้เป็นอปริหานธรรมในอริยวิโมกข์
[๗] บุคคลผู้เป็นเจตนาภัพพะ เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้มีปกติได้สมาบัติมีรูปเป็นอารมณ์หรือมีอรูปเป็นอารมณ์
แต่บุคคลนั้นมิใช่จะได้ตามที่ต้องการ มิใช่จะได้โดยไม่ยาก มิใช่จะได้โดยไม่ลำบาก
มิใช่จะเข้าหรือออกจากสมาบัติได้ตามโอกาสที่ต้องการ ตามสมาบัติที่ต้องการ
ตามกำหนดเวลาที่ต้องการ ถ้าตามใส่ใจ๑ ย่อมไม่เสื่อมจากสมาบัติเหล่านั้น ถ้าไม่
ตามใส่ใจ ย่อมเสื่อมจากสมาบัติเหล่านั้น บุคคลนี้เรียกว่า ผู้เป็นเจตนาภัพพะ
[๘] บุคคลผู้เป็นอนุรักขนาภัพพะ เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้มีปกติได้สมาบัติมีรูปเป็นอารมณ์หรือมีอรูปเป็นอารมณ์
แต่บุคคลนั้นมิใช่จะได้ตามที่ต้องการ มิใช่จะได้โดยไม่ยาก มิใช่จะได้โดยไม่ลำบาก
มิใช่จะเข้าสมาบัติหรือออกจากสมาบัติได้ตามโอกาสที่ต้องการ ตามสมาบัติที่ต้องการ
ตามกำหนดเวลาที่ต้องการ ถ้าตามรักษา ย่อมไม่เสื่อมจากสมาบัติเหล่านั้น ถ้า
ไม่ตามรักษา ย่อมเสื่อมจากสมาบัติเหล่านั้น บุคคลนี้เรียกว่า ผู้เป็นอนุรักขนาภัพพะ

เชิงอรรถ :
๑ ตามใส่ใจในที่นี้หมายถึงเข้าสมาบัติเนือง ๆ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๗/๔๐)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๖ หน้า :๑๕๐ }


พระอภิธรรมปิฎก ปุคคลบัญญัติ ๑. เอกกปุคคลบัญญัติ
[๙] บุคคลผู้เป็นปุถุชน เป็นไฉน
บุคคลใดยังละสังโยชน์ ๓ ไม่ได้และไม่ปฏิบัติเพื่อละสภาวธรรมเหล่านั้น บุคคล
นี้เรียกว่า ผู้เป็นปุถุชน
[๑๐] บุคคลผู้เป็นโคตรภู เป็นไฉน
การก้าวลงสู่อริยธรรมมีในลำดับแห่งสภาวธรรมเหล่าใด บุคคลผู้ประกอบด้วย
สภาวธรรมเหล่านั้น บุคคลนี้เรียกว่า ผู้เป็นโคตรภู
[๑๑] บุคคลผู้เป็นภยูปรตะ เป็นไฉน
พระเสขะ ๗ จำพวกและปุถุชนผู้มีศีลชื่อว่าผู้เป็นภยูปรตะ พระอรหันต์ชื่อว่า
ผู้เป็นอภยูปรตะ
[๑๒] บุคคลผู้เป็นอภัพพาคมนะ เป็นไฉน
บุคคลผู้ประกอบด้วยเครื่องกั้นคือกรรม๑ เครื่องกั้นคือกิเลส๒ เครื่องกั้นคือ
วิบาก๓ เป็นผู้ไม่มีศรัทธา ไม่มีฉันทะ มีปัญญาทราม โง่เขลา ไม่ควรหยั่งลงสู่
นิยาม๔ที่ถูกต้องในกุศลธรรมทั้งหลาย บุคคลเหล่านี้เรียกว่า ผู้เป็นอภัพพาคมนะ
[๑๓] บุคคลผู้เป็นภัพพาคมนะ เป็นไฉน
บุคคลผู้ไม่ประกอบด้วยเครื่องกั้นคือกรรม เครื่องกั้นคือกิเลส เครื่องกั้นคือ
วิบาก เป็นผู้มีศรัทธา มีฉันทะ มีปัญญา ไม่โง่เขลา ควรหยั่งลงสู่นิยามที่ถูกต้อง
ในกุศลธรรมทั้งหลาย บุคคลเหล่านี้เรียกว่า ผู้เป็นภัพพาคมนะ

เชิงอรรถ :
๑ กรรม ในที่นี้หมายถึงอนันตริยกรรม ๕ คือ (๑) ฆ่ามารดา (๒) ฆ่าบิดา (๓) ฆ่าพระอรหันต์ (๔) ทำร้าย
พระพุทธเจ้าจนถึงห้อพระโลหิต (๕) ทำสงฆ์ให้แตกกัน (อภิ.ปญฺจ.อ. ๑๒/๔๒)
๒ กิเลสในที่นี้หมายถึงนิยตมิจฉาทิฏฐิ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๑๒/๔๒)
๓ วิบากในที่นี้หมายถึงอเหตุกปฏิสนธิ ได้แก่ ปฏิสนธิที่ปราศจากกุศลเหตุ ๓ ประการ คือ อโลภะ อโทสะ
และอโมหะ ได้แก่ ปฏิสนธิของสัตว์ดิรัจฉาน และทุกเหตุกปฏิสนธิ หมายถึงปฎิสนธิที่ปราศจากอโมหเหตุ
ได้แก่ ปฏิสนธิของมนุษย์บางจำพวก เช่น พวกที่บอด ใบ้ มาแต่กำเนิด (อภิ.ปญฺจ.อ. ๑๒/๔๒)
๔ นิยาม ในที่นี้หมายถึงมรรค (อภิ.ปญฺจ.อ. ๑๒/๔๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๖ หน้า :๑๕๑ }


พระอภิธรรมปิฎก ปุคคลบัญญัติ ๑. เอกกปุคคลบัญญัติ
[๑๔] บุคคลผู้เป็นนิยตะ เป็นไฉน
บุคคลผู้ทำอนันตริยกรรม ๕ จำพวก บุคคลผู้เป็นนิยตมิจฉาทิฏฐิ และพระ
อริยบุคคล ๘ จำพวกชื่อว่าผู้เป็นนิยตะ บุคคลที่เหลือชื่อว่าผู้เป็นอนิยตะ
[๑๕] บุคคลผู้เป็นปฏิปันนกะ เป็นไฉน
บุคคลผู้พร้อมเพรียงด้วยมรรค ๔ จำพวก ชื่อว่าผู้เป็นปฏิปันนกะ บุคคลผู้
พร้อมเพรียงด้วยผล ๔ จำพวกชื่อว่าผู้เป็นผเลฐิตะ
[๑๖] บุคคลผู้เป็นสมสีสี เป็นไฉน
ความสิ้นอาสวะและความสิ้นชีวิตของบุคคลใดไม่ก่อนไม่หลัง บุคคลนี้เรียกว่า
ผู้เป็นสมสีสี
[๑๗] บุคคลผู้เป็นฐิตกัปปี เป็นไฉน
บุคคลนี้เป็นผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งโสดาปัตติผล และเป็นเวลาที่กัปถูกไฟไหม้
กัปไม่พึงถูกไฟไหม้ตราบเท่าที่บุคคลนี้ยังไม่ทำให้แจ้งโสดาปัตติผล บุคคลนี้เรียกว่า
ผู้เป็นฐิตกัปปี บุคคลผู้พร้อมเพรียงด้วยมรรคแม้ทั้งหมดชื่อว่าผู้เป็นฐิตกัปปี
[๑๘] บุคคลผู้เป็นอริยะ เป็นไฉน
พระอริยบุคคล ๘ จำพวกชื่อว่าผู้เป็นอริยะ บุคคลที่เหลือชื่อว่าผู้เป็นอนริยะ
[๑๙] บุคคลผู้เป็นเสขะ เป็นไฉน
บุคคลเป็นผู้พร้อมเพรียงด้วยมรรค ๔ จำพวก บุคคลเป็นผู้พร้อมเพรียงด้วย
ผล ๓ จำพวก ชื่อว่าผู้เป็นเสขะ พระอรหันต์ชื่อว่าผู้เป็นอเสขะ บุคคลที่เหลือชื่อว่า
ผู้เป็นเนวเสขานาเสขะ
[๒๐] บุคคลผู้เป็นเตวิชชะ เป็นไฉน
บุคคลผู้ประกอบด้วยวิชชา ๓ ชื่อว่าผู้เป็นเตวิชชะ
[๒๑] บุคคลผู้เป็นฉฬภิญญะ เป็นไฉน
บุคคลผู้ประกอบด้วยอภิญญา ๖ ชื่อว่าผู้เป็นฉฬภิญญะ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๖ หน้า :๑๕๒ }


พระอภิธรรมปิฎก ปุคคลบัญญัติ ๑. เอกกปุคคลบัญญัติ
[๒๒] บุคคลผู้เป็นสัมมาสัมพุทธะ เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้ตรัสรู้สัจจะ ๔ ด้วยตนเองในธรรมที่ไม่เคยสดับมาก่อน
บรรลุความเป็นสัพพัญญูในธรรมคือสัจจะ ๔ นั้น และถึงความชำนาญในทศพลญาณ
บุคคลนี้เรียกว่า ผู้เป็นสัมมาสัมพุทธะ
[๒๓] บุคคลผู้เป็นปัจเจกพุทธะ เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้ตรัสรู้สัจจะ ๔ ด้วยตนเองในธรรมที่ไม่เคยสดับมาก่อน
แต่ไม่บรรลุความเป็นสัพพัญญูในธรรมคือสัจจะ ๔ นั้น และไม่ถึงความชำนาญใน
ทศพลญาณ บุคคลนี้เรียกว่า ผู้เป็นปัจเจกพุทธะ
[๒๔] บุคคลผู้เป็นอุภโตภาควิมุตตะ เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้สัมผัสวิโมกข์ ๘ ด้วยกายอยู่และอาสวะทั้งหลายของเขา
ย่อมสิ้นไปเพราะเห็นด้วยปัญญา บุคคลนี้เรียกว่า ผู้เป็นอุภโตภาควิมุตตะ
[๒๕] บุคคลผู้เป็นปัญญาวิมุตตะ เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้ไม่ได้สัมผัสวิโมกข์ ๘ ด้วยกายอยู่ แต่อาสวะทั้งหลาย
ของเขาย่อมสิ้นไปเพราะเห็นด้วยปัญญา บุคคลนี้เรียกว่า ผู้เป็นปัญญาวิมุตตะ
[๒๖] บุคคลผู้เป็นกายสักขี เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้สัมผัสวิโมกข์ ๘ ด้วยกายอยู่ และอาสวะทั้งหลายของ
เขาย่อมสิ้นไปเพราะเห็นด้วยปัญญา บุคคลนี้เรียกว่า ผู้เป็นกายสักขี
[๒๗] บุคคลผู้เป็นทิฏฐิปัตตะ เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ นี้เหตุเกิดแห่งทุกข์
นี้ความดับทุกข์ นี้ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ อนึ่ง สภาวธรรมที่พระตถาคต
ประกาศแล้วเป็นอันเขาเห็นชัดแล้วประพฤติดีแล้วด้วยปัญญา และอาสวะบางอย่าง
ของเขาย่อมสิ้นไปเพราะเห็นด้วยปัญญา บุคคลนี้เรียกว่า ผู้เป็นทิฏฐิปัตตะ
[๒๘] บุคคลผู้เป็นสัทธาวิมุตตะ เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ นี้เหตุเกิดแห่งทุกข์
นี้ความดับทุกข์ นี้ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ อนึ่ง สภาวธรรมที่พระตถาคต
ประกาศแล้วเป็นอันเขาเห็นชัดแล้วประพฤติดีแล้วด้วยปัญญา และอาสวะบางอย่าง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๖ หน้า :๑๕๓ }


พระอภิธรรมปิฎก ปุคคลบัญญัติ ๑. เอกกปุคคลบัญญัติ
ของเขาย่อมสิ้นไปเพราะเห็นด้วยปัญญา แต่ไม่เหมือนผู้ชื่อว่าทิฏฐิปัตตะ บุคคลนี้
เรียกว่า ผู้เป็นสัทธาวิมุตตะ
[๒๙] บุคคลผู้เป็นธัมมานุสารี เป็นไฉน
ปัญญินทรีย์ของบุคคลใดผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งโสดาปัตติผลมีประมาณยิ่ง
บุคคลนั้นย่อมเจริญอริยมรรคอันมีปัญญาเป็นตัวนำ มีปัญญาเป็นประธาน บุคคล
นี้เรียกว่า ผู้เป็นธัมมานุสารี บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งโสดาปัตติผลชื่อว่าผู้เป็น
ธัมมานุสารี บุคคลผู้ตั้งอยู่ในผลชื่อว่าผู้เป็นทิฏฐิปัตตะ
[๓๐] บุคคลผู้เป็นสัทธานุสารี เป็นไฉน
สัทธินทรีย์ของบุคคลใดผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งโสดาปัตติผลมีประมาณยิ่ง
บุคคลนั้นย่อมเจริญอริยมรรคอันมีศรัทธาเป็นตัวนำ มีศรัทธาเป็นประธาน บุคคล
นี้เรียกว่า ผู้เป็นสัทธานุสารี บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งโสดาปัตติผลชื่อว่าผู้เป็น
สัทธานุสารี บุคคลผู้ตั้งอยู่ในผลชื่อว่าผู้เป็นสัทธาวิมุตตะ
[๓๑] บุคคลผู้เป็นสัตตักขัตตุปรมะ เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้ เพราะสังโยชน์ ๓ ประการสิ้นไป เป็นโสดาบัน ไม่มี
ทางตกต่ำ มีความแน่นอนที่จะสำเร็จสัมโพธิ๑ในวันข้างหน้า บุคคลนั้นท่องเที่ยวไป
ในเทวโลกและมนุษยโลก ๗ ชาติแล้วจึงจะทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ บุคคลนี้เรียกว่า ผู้เป็น
สัตตักขัตตุปรมะ
[๓๒] บุคคลผู้เป็นโกลังโกละ เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้ เพราะสังโยชน์ ๓ ประการสิ้นไป เป็นโสดาบัน ไม่มี
ทางตกต่ำ มีความแน่นอนที่จะสำเร็จสัมโพธิในวันข้างหน้า บุคคลนั้นท่องเที่ยวไป ๒
หรือ ๓ ตระกูลแล้วจึงจะทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ บุคคลนี้เรียกว่า ผู้เป็นโกลังโกละ
[๓๓] บุคคลผู้เป็นเอกพีชี เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้ เพราะสังโยชน์ ๓ ประการสิ้นไป เป็นโสดาบัน ไม่มี
ทางตกต่ำ มีความแน่นอนที่จะสำเร็จสัมโพธิในวันข้างหน้า บุคคลนั้นเกิดเป็น
มนุษย์ภพเดียวเท่านั้นก็จะทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ บุคคลนี้เรียกว่า ผู้เป็นเอกพีชี

เชิงอรรถ :
๑ สัมโพธิ ในที่นี้หมายถึงมรรคเบื้องสูง ๓ (คือ สกทาคามิมรรค อนาคามิมรรค และอรหัตตมรรค)
(สารตฺถ.ฏีกา ๑/๒๑/๕๕๙)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๖ หน้า :๑๕๔ }


พระอภิธรรมปิฎก ปุคคลบัญญัติ ๑. เอกกปุคคลบัญญัติ
[๓๔] บุคคลผู้เป็นสกทาคามี เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้ เพราะสังโยชน์ ๓ ประการสิ้นไป และเพราะทำราคะ
โทสะ และโมหะให้เบาบาง เป็นสกทาคามี มาสู่โลกนี้อีกเพียงครั้งเดียวเท่านั้นก็จะ
ทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ บุคคลนี้เรียกว่า ผู้เป็นสกทาคามี
[๓๕] บุคคลผู้เป็นอนาคามี เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้ เพราะสังโยชน์เบื้องต่ำทั้ง ๕ ประการสิ้นไป เป็น
โอปปาติกะ๑ ปรินิพพานในเทวโลกชั้นสุทธาวาสนั้น ไม่กลับมาจากภพนั้นเป็น
ธรรมดา บุคคลนี้เรียกว่า ผู้เป็นอนาคามี
[๓๖] บุคคลผู้เป็นอันตราปรินิพพายี เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้ เพราะสังโยชน์เบื้องต่ำทั้ง ๕ ประการสิ้นไป เป็น
โอปปาติกะ ปรินิพพานในชั้นสุทธาวาสนั้น ไม่กลับมาจากภพนั้นเป็นธรรมดา
บุคคลนั้นยังอริยมรรคให้เกิดขึ้นเพื่อละสังโยชน์เบื้องสูงในลำดับที่เกิดบ้าง ยังไม่ถึง
ท่ามกลางประมาณอายุบ้าง บุคคลนี้เรียกว่า ผู้เป็นอันตราปรินิพพายี
[๓๗] บุคคลผู้เป็นอุปหัจจปรินิพพายี เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้ เพราะสังโยชน์เบื้องต่ำทั้ง ๕ ประการสิ้นไป เป็น
โอปปาติกะ ปรินิพพานในชั้นสุทธาวาสนั้น ไม่กลับมาจากภพนั้นเป็นธรรมดา
บุคคลนั้นยังอริยมรรคให้เกิดขึ้นเพื่อละสังโยชน์เบื้องสูง ก้าวล่วงท่ามกลางประมาณ
อายุบ้าง ใกล้จะทำกาลกิริยาบ้าง บุคคลนี้เรียกว่า ผู้เป็นอุปหัจจปรินิพพายี
[๓๘] บุคคลผู้เป็นอสังขารปรินิพพายี เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้ เพราะสังโยชน์เบื้องต่ำทั้ง ๕ ประการสิ้นไป เป็น
โอปปาติกะ ปรินิพพานในชั้นสุทธาวาสนั้น ไม่กลับมาจากภพนั้นเป็นธรรมดา
บุคคลนั้นยังอริยมรรคให้เกิดขึ้นโดยไม่ต้องใช้ความพยายามมากเพื่อละสังโยชน์เบื้องสูง
บุคคลนี้เรียกว่า ผู้เป็นอสังขารปรินิพพายี

เชิงอรรถ :
๑ โอปปาติกะ ในที่นี้หมายถึงสัตว์ที่เกิดและเติบโตทันทีเมื่อตายก็หายวับไปไม่ทิ้งซากศพไว้ เช่น เทวดา
และสัตว์นรกเป็นต้น (ที.สี.อ. ๑๗/๑๔๙)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๖ หน้า :๑๕๕ }


พระอภิธรรมปิฎก ปุคคลบัญญัติ ๑. เอกกปุคคลบัญญัติ
[๓๙] บุคคลผู้เป็นสสังขารปรินิพพายี เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้ เพราะสังโยชน์เบื้องต่ำทั้ง ๕ ประการสิ้นไป เป็น
โอปปาติกะ ปรินิพพานในชั้นสุทธาวาสนั้น ไม่กลับมาจากภพนั้นเป็นธรรมดา บุคคล
นั้นยังอริยมรรคให้เกิดขึ้นโดยต้องใช้ความพยายามมากเพื่อละสังโยชน์เบื้องสูง
บุคคลนี้เรียกว่า ผู้เป็นสสังขารปรินิพพายี
[๔๐] บุคคลผู้เป็นอุทธังโสโตอกนิฏฐคามี เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้ เพราะสังโยชน์เบื้องต่ำทั้ง ๕ ประการสิ้นไป เป็น
โอปปาติกะ ปรินิพพานในชั้นสุทธาวาสนั้น ไม่กลับมาจากภพนั้นเป็นธรรมดา
บุคคลนั้นจุติจากอวิหาภพแล้วไปสู่ชั้นอตัปปาภพ จุติจากชั้นอตัปปาภพแล้วไปสู่ชั้น
สุทัสสาภพ จุติจากชั้นสุทัสสาภพแล้วไปสู่ชั้นสุทัสสีภพ จุติจากชั้นสุทัสสีภพแล้ว
ไปสู่ชั้นอกนิฏฐภพ ยังอริยมรรคให้เกิดขึ้นในชั้นอกนิฏฐภพเพื่อละสังโยชน์เบื้องสูง
บุคคลนี้เรียกว่า อุทธังโสโตอกนิฏฐคามี
[๔๑] บุคคลผู้เป็นโสดาบันและบุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งโสดาปัตติผล
เป็นไฉน
บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อละสังโยชน์ ๓ ชื่อว่าผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งโสดาปัตติผล
บุคคลใดละสังโยชน์ ๓ ได้แล้ว บุคคลนี้เรียกว่า ผู้เป็นโสดาบัน
[๔๒] บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำกามราคะและพยาบาทให้เบาบางชื่อว่าผู้ปฏิบัติ
เพื่อทำให้แจ้งสกทาคามิผล บุคคลใดทำกามราคะและพยาบาทให้เบาบาง บุคคล
นี้เรียกว่า ผู้เป็นสกทาคามี
[๔๓] บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อละกามราคะและพยาบาทโดยไม่เหลือชื่อว่าผู้ปฏิบัติ
เพื่อทำให้แจ้งอนาคามิผล บุคคลใดละกามราคะและพยาบาทได้โดยไม่เหลือ บุคคล
นี้เรียกว่า ผู้เป็นอนาคามี
[๔๔] บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อละรูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะ และอวิชชา
โดยไม่เหลือชื่อว่าผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอรหัตตผล บุคคลใดละรูปราคะ อรูปราคะ
มานะ อุทธัจจะ และอวิชชาได้โดยไม่เหลือ บุคคลนี้เรียกว่า ผู้เป็นอรหันต์
เอกกนิทเทส จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๖ หน้า :๑๕๖ }


พระอภิธรรมปิฎก ปุคคลบัญญัติ ๒. ทุกปุคคลบัญญัติ
๒. ทุกปุคคลบัญญัติ
[๔๕] บุคคลผู้มักโกรธ เป็นไฉน ในข้อนั้น ความโกรธ เป็นไฉน
ความโกรธ กิริยาที่โกรธ ภาวะที่โกรธ ความคิดประทุษร้าย กิริยาที่คิด
ประทุษร้าย ภาวะที่คิดประทุษร้าย ความคิดปองร้าย กิริยาที่คิดปองร้าย ภาวะ
ที่คิดปองร้าย ความพิโรธ ความพิโรธตอบ ความดุร้าย ความเกรี้ยวกราด
ความที่จิตไม่เบิกบาน นี้เรียกว่า ความโกรธ บุคคลใดยังละความโกรธนี้ไม่ได้
บุคคลนี้เรียกว่า ผู้มักโกรธ
[๔๖] บุคคลผู้ผูกโกรธ เป็นไฉน ในข้อนั้น ความผูกโกรธ เป็นไฉน
ความโกรธในเบื้องต้นชื่อว่าความโกรธ ความโกรธในเวลาต่อมาชื่อว่าความ
ผูกโกรธ ความผูกโกรธ กิริยาที่ผูกโกรธ ภาวะที่ผูกโกรธ ความไม่หยุดโกรธ
การตั้งความโกรธไว้ การดำรงความโกรธไว้ การโผลงไปตามความโกรธ การตาม
ผูกความโกรธไว้ การทำความโกรธให้มั่น นี้เรียกว่า ความผูกโกรธ บุคคลใดยัง
ละความผูกโกรธนี้ไม่ได้ บุคคลนี้เรียกว่า ผู้ผูกโกรธ
[๔๗] บุคคลผู้มักลบหลู่ เป็นไฉน ในข้อนั้น ความลบหลู่ เป็นไฉน
ความลบหลู่ กิริยาที่ลบหลู่ ภาวะที่ลบหลู่ ความดูหมิ่น การกระทำความ
ดูหมิ่น นี้เรียกว่า ความลบหลู่ บุคคลใดยังละความลบหลู่นี้ไม่ได้ บุคคลนี้เรียกว่า
ผู้มักลบหลู่
[๔๘] บุคคลผู้ตีเสมอ เป็นไฉน ในข้อนั้น ความตีเสมอ เป็นไฉน
ความตีเสมอ กิริยาที่ตีเสมอ ภาวะที่ตีเสมอ สภาวธรรมที่เป็นอาหารแห่ง
ความตีเสมอโดยนำเอาชัยชนะของตนมาอ้างเหตุแห่งความวิวาท ความแข่งดี
ความไม่ยอมสละ นี้เรียกว่า ความตีเสมอ บุคคลใดยังละความตีเสมอนี้ไม่ได้ บุคคล
นี้เรียกว่า ผู้ตีเสมอ
[๔๙] บุคคลผู้มีความริษยา เป็นไฉน ในข้อนั้น ความริษยา เป็นไฉน
ความริษยา กิริยาที่ริษยา ภาวะที่ริษยา ความเกลียดชัง กิริยาที่เกลียดชัง
ภาวะที่เกลียดชังในเมื่อผู้อื่นได้ลาภ สักการะ ความเคารพ ความนับถือ การ
กราบไหว้ และการบูชา นี้เรียกว่า ความริษยา บุคคลใดยังละความริษยานี้ไม่ได้
บุคคลนี้เรียกว่า ผู้มีความริษยา


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๖ หน้า :๑๕๗ }


พระอภิธรรมปิฎก ปุคคลบัญญัติ ๒. ทุกปุคคลบัญญัติ
[๕๐] บุคคลผู้มีความตระหนี่ เป็นไฉน ในข้อนั้น ความตระหนี่ เป็นไฉน
ความตระหนี่ ๕ อย่าง คือ
๑. ความตระหนี่ที่อยู่ ๒. ความตระหนี่ตระกูล
๓. ความตระหนี่ลาภ ๔. ความตระหนี่วรรณะ
๕. ความตระหนี่ธรรม
ความตระหนี่ กิริยาที่ตระหนี่ ภาวะที่ตระหนี่ ความหวงแหน ความเหนียวแน่น
ความปกปิด ความมีจิตไม่เผื่อแผ่ นี้เรียกว่า ความตระหนี่ บุคคลใดยังละความ
ตระหนี่นี้ไม่ได้ บุคคลนี้เรียกว่า ผู้มีความตระหนี่
[๕๑] บุคคลผู้โอ้อวด เป็นไฉน ในข้อนั้น ความโอ้อวด เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้โอ้อวด เป็นผู้โอ้อวดจัด ความโอ้อวด กิริยาที่
โอ้อวด ภาวะที่โอ้อวด ภาวะที่แข็งกระด้าง กิริยาที่แข็งกระด้าง การพูดเป็นเหลี่ยมคู
กิริยาที่พูดแอบอ้าง นี้เรียกว่า ความโอ้อวด บุคคลใดยังละความโอ้อวดนี้ไม่ได้
บุคคลนี้เรียกว่า ผู้โอ้อวด
[๕๒] บุคคลผู้มีมายา เป็นไฉน ในข้อนั้น มายา เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้ประพฤติกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต เพราะเหตุจะ
ปกปิดทุจริตนั้นจึงตั้งความปรารถนาอันเลวทราม ปรารถนาว่า “ใครๆ อย่ารู้จักเรา”
ดำริว่า “ใคร ๆ อย่ารู้จักเรา” กล่าวว่า “ใคร ๆ อย่ารู้จักเรา” พยายามทางกายว่า
“ใคร ๆ อย่ารู้จักเรา” ความเจ้าเล่ห์ ความเป็นคนเจ้าเล่ห์ กิริยาที่หลอกให้หลง
ความหลอกลวง ความโกง ความกลบเกลื่อน ความหลีกเลี่ยง ความซ่อน
ความซ่อนบัง ความปิดบัง ความปกปิด การไม่ทำให้ชัดเจน การไม่ทำให้แจ่มแจ้ง
การปิดบังอำพรางกิริยาที่เลวทรามเช่นนี้ นี้เรียกว่า มายา บุคคลใดยังละมายานี้
ไม่ได้ บุคคลนี้เรียกว่า ผู้มีมายา
[๕๓] บุคคลผู้ไม่มีหิริ เป็นไฉน ในข้อนั้น ความไม่มีหิริ เป็นไฉน
กิริยาที่ไม่ละอายต่อการประพฤติทุจริตที่ควรละอาย กิริยาที่ไม่ละอายต่อการ
ประกอบสภาวธรรมที่เป็นอกุศลซึ่งเป็นบาป นี้เรียกว่า ความไม่มีหิริ บุคคลผู้
ประกอบด้วยความไม่มีหิรินี้ชื่อว่าผู้ไม่มีหิริ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๖ หน้า :๑๕๘ }


พระอภิธรรมปิฎก ปุคคลบัญญัติ ๒. ทุกปุคคลบัญญัติ
[๕๔] บุคคลผู้ไม่มีโอตตัปปะ เป็นไฉน ในข้อนั้น ความไม่มีโอตตัปปะ
เป็นไฉน
กิริยาที่ไม่เกรงกลัวต่อการประพฤติทุจริตที่ควรเกรงกลัว กิริยาที่ไม่เกรงกลัว
ต่อการประกอบสภาวธรรมที่เป็นอกุศลซึ่งเป็นบาป นี้เรียกว่า ความไม่มีโอตตัปปะ
บุคคลผู้ประกอบด้วยความไม่มีโอตตัปปะนี้ชื่อว่าผู้ไม่มีโอตตัปปะ
[๕๕] บุคคลผู้ว่ายาก เป็นไฉน ในข้อนั้น ความเป็นผู้ว่ายาก เป็นไฉน
กิริยาของผู้ว่ายาก ภาวะของผู้ว่ายาก ความเป็นผู้ว่ายาก ความยึดถือข้าง
ขัดขืน ความพอใจการโต้แย้ง ความไม่เอื้อเฟื้อ ภาวะแห่งผู้ไม่เอื้อเฟื้อ ความไม่
เคารพและไม่รับฟังในเมื่อถูกว่ากล่าวโดยชอบ นี้เรียกว่า ความเป็นผู้ว่ายาก
บุคคลผู้ประกอบด้วยความเป็นผู้ว่ายากนี้ชื่อว่าผู้ว่ายาก
[๕๖] บุคคลผู้มีมิตรชั่ว เป็นไฉน ในข้อนั้น ความเป็นผู้มีมิตรชั่ว เป็นไฉน
บุคคลผู้ไม่มีศรัทธา ทุศีล สดับมาน้อย มีความตระหนี่ มีปัญญาทราม
การเสพ การส้องเสพ การส้องเสพด้วยดี การคบ การคบหา ความภักดี
ความจงรักภักดีต่อบุคคลเหล่านั้น ความเป็นผู้มีกายและใจโน้มน้าวไปตามบุคคลเหล่านั้น
นี้เรียกว่า ความเป็นผู้มีมิตรชั่ว บุคคลผู้ประกอบด้วยความเป็นผู้มีมิตรชั่วนี้ชื่อว่า
ผู้มีมิตรชั่ว
[๕๗] บุคคลผู้ไม่คุ้มครองทวารในอินทรีย์ เป็นไฉน ในข้อนั้น ความเป็นผู้
ไม่คุ้มครองทวารในอินทรีย์ เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้เห็นรูปทางตาแล้วรวบถือ๑ แยกถือ๒ ย่อมไม่ปฏิบัติเพื่อ
สำรวมจักขุนทรีย์ซึ่งเมื่อไม่สำรวมแล้วก็เป็นเหตุให้บาปอกุศลธรรมทั้งหลายคืออภิชฌา

เชิงอรรถ :
๑ รวบถือ ในที่นี้หมายถึงการมองภาพด้านเดียว คือมองภาพรวมโดยเห็นเป็นหญิงหรือเป็นชาย เช่น
เห็นว่ารูปสวย เสียงไพเราะ กลิ่นหอม รสอร่อย สัมผัสที่อ่อนนุ่ม เป็นอารมณ์ที่น่าปรารถนาด้วย
อำนาจฉันทราคะ (อภิ.สงฺ.อ. ๑๓๕๒/๔๕๖-๗)
๒ แยกถือ ในที่นี้หมายถึงการมองภาพ ๒ ด้าน คือมองแยกแยะเป็นส่วน ๆ ไปด้วยอำนาจกิเลส เช่น
เห็นมือเท้าว่าสวยหรือไม่สวย เห็นอาการยิ้มแย้ม หัวเราะ การพูด การเหลียวซ้ายแลขวาว่าน่ารักหรือ
ไม่น่ารัก ถ้าเห็นว่าสวยน่ารักก็เกิดอารมณ์ที่น่าปรารถนา ถ้าเห็นว่าไม่สวยไม่น่ารักก็เกิดอารมณ์ที่ไม่น่า
ปรารถนา (อภิ.สงฺ.อ. ๑๓๕๒/๔๕๖-๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๖ หน้า :๑๕๙ }


พระอภิธรรมปิฎก ปุคคลบัญญัติ ๒. ทุกปุคคลบัญญัติ
และโทมนัสครอบงำได้ ย่อมไม่ระวังจักขุนทรีย์ ไม่ถึงความสำรวมในจักขุนทรีย์ ฟัง
เสียงทางหู ฯลฯ ดมกลิ่นทางจมูก ฯลฯ ลิ้มรสทางลิ้น ฯลฯ ถูกต้องโผฏฐัพพะ
ทางกาย ฯลฯ รู้ธรรมารมณ์ทางใจ เป็นผู้รวบถือ แยกถือ ย่อมไม่ปฏิบัติเพื่อ
สำรวมจักขุนทรีย์ซึ่งเมื่อไม่สำรวมแล้วก็เป็นเหตุให้บาปอกุศลธรรมทั้งหลายคืออภิชฌา
และโทมนัสครอบงำได้ ไม่ระวังจักขุนทรีย์ ไม่ถึงความสำรวมในจักขุนทรีย์ ความ
ไม่คุ้มครอง กิริยาที่ไม่คุ้มครอง ความไม่รักษา ความไม่สำรวมอินทรีย์ทั้ง ๖ เหล่านี้
นี้เรียกว่า ความเป็นผู้ไม่คุ้มครองทวารในอินทรีย์ บุคคลผู้ประกอบด้วยความเป็น
ผู้ไม่คุ้มครองทวารในอินทรีย์นี้ชื่อว่าผู้ไม่คุ้มครองทวารในอินทรีย์
[๕๘] บุคคลผู้ไม่รู้จักประมาณในการบริโภค เป็นไฉน ในข้อนั้น ความเป็น
ผู้ไม่รู้จักประมาณในการบริโภค เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้ไม่พิจารณาโดยแยบคายกลืนกินอาหารเพื่อเล่น เพื่อ
ความมัวเมา เพื่อประดับ เพื่อตกแต่ง ความเป็นผู้ไม่สันโดษ ความเป็นผู้ไม่รู้จัก
ประมาณในการพิจารณาแล้วบริโภคโภชนาหารนั้น นี้เรียกว่า ความเป็นผู้ไม่รู้จัก
ประมาณในการบริโภค บุคคลผู้ประกอบด้วยความเป็นผู้ไม่รู้จักประมาณในการ
บริโภคนี้ชื่อว่า ผู้ไม่รู้จักประมาณในการบริโภค
[๕๙] บุคคลผู้มีสติหลงลืม เป็นไฉน ในข้อนั้น ความเป็นผู้มีสติหลงลืม
เป็นไฉน
ความระลึกไม่ได้ ความไม่ตามระลึก ความไม่หวนระลึก ความระลึกไม่ได้
อาการที่ระลึกไม่ได้ ความทรงจำไม่ได้ ความเลื่อนลอย ความหลงลืม นี้เรียกว่า
ความเป็นผู้มีสติหลงลืม บุคคลผู้ประกอบด้วยความมีสติหลงลืมนี้ชื่อว่าผู้มีสติหลงลืม
[๖๐] บุคคลผู้ไม่มีสัมปชัญญะ เป็นไฉน ในข้อนั้น ความไม่มีสัมปชัญญะ
เป็นไฉน
ความไม่รู้ ความไม่เห็น ความไม่ตรัสรู้ ความไม่รู้โดยสมควร ความไม่รู้
ตามความเป็นจริง ความไม่รู้แจ้งตลอด ความไม่ถือเอาให้ถูกต้อง ความไม่หยั่งลง
อย่างรอบคอบ ความไม่พินิจ ความไม่พิจารณา ความไม่ทำให้ประจักษ์ ความ
ทรามปัญญา ความโง่เขลา ความไม่รู้ชัด ความหลง ความหลุ่มหลง ความหลงใหล


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๖ หน้า :๑๖๐ }


พระอภิธรรมปิฎก ปุคคลบัญญัติ ๒. ทุกปุคคลบัญญัติ
อวิชชา อวิชโชฆะ อวิชชาโยคะ อวิชชานุสัย ปริยุฏฐานกิเลสคืออวิชชา ลิ่มคือ
อวิชชา อกุศลมูลคือโมหะ นี้เรียกว่า ความไม่มีสัมปชัญญะ บุคคลผู้ประกอบ
ด้วยความไม่มีสัมปชัญญะนี้ชื่อว่าผู้ไม่มีสัมปชัญญะ
[๖๑] บุคคลผู้มีศีลวิบัติ เป็นไฉน ในข้อนั้น ศีลวิบัติ เป็นไฉน
การล่วงละเมิดทางกาย การล่วงละเมิดทางวาจา การล่วงละเมิดทั้งทางกาย
และทางวาจา นี้เรียกว่า ศีลวิบัติ ความเป็นผู้ทุศีลแม้ทั้งหมดชื่อว่าศีลวิบัติ
บุคคลผู้ประกอบด้วยศีลวิบัตินี้ชื่อว่าผู้มีศีลวิบัติ
[๖๒] บุคคลผู้มีทิฏฐิวิบัติ เป็นไฉน ในข้อนั้น ทิฏฐิวิบัติ เป็นไฉน
ความเห็นว่า ทานที่ให้แล้วไม่มีผล ยัญที่บูชาแล้วไม่มีผล การเซ่นสรวงไม่มี
ผล ผลวิบากแห่งกรรมที่ทำดีทำชั่วไม่มี โลกนี้ไม่มี โลกหน้าไม่มี มารดาไม่มีคุณ
บิดาไม่มีคุณ สัตว์ที่เกิดผุดขึ้นไม่มี สมณพราหมณ์ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบทำให้แจ้ง
โลกนี้และโลกหน้าด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้วสอนผู้อื่นให้รู้แจ้งไม่มีในโลก ดังนี้ ทิฏฐิ
ความเห็นผิด รกชัฏคือทิฏฐิ กันดารคือทิฏฐิ ความเห็นอันเป็นข้าศึกต่อสัมมาทิฏฐิ
ความผันแปรแห่งทิฏฐิ สังโยชน์คือทิฏฐิ ความยึดถือ ความยึดมั่น ความถือผิด
ทางชั่ว ทางผิด ภาวะที่ผิด ลัทธิที่เป็นบ่อเกิดแห่งความพินาศ ความยึดถือโดย
คลาดเคลื่อน นี้เรียกว่า ทิฏฐิวิบัติ มิจฉาทิฏฐิแม้ทั้งหมดชื่อว่าทิฏฐิวิบัติ บุคคลผู้
ประกอบทิฏฐิวิบัตินี้ชื่อว่าผู้มีทิฏฐิวิบัติ
[๖๓] บุคคลผู้มีสังโยชน์ในภายใน เป็นไฉน
บุคคลใดยังละสังโยชน์เบื้องต่ำทั้ง ๕ ประการไม่ได้ บุคคลนี้เรียกว่า ผู้มีสังโยชน์
ในภายใน
[๖๔] บุคคลผู้มีสังโยชน์ในภายนอก เป็นไฉน
บุคคลใดยังละสังโยชน์เบื้องสูงทั้ง ๕ ประการไม่ได้ บุคคลนี้เรียกว่า ผู้มีสังโยชน์
ในภายนอก
[๖๕] บุคคลผู้ไม่มักโกรธ เป็นไฉน ในข้อนั้น ความโกรธ เป็นไฉน
ความโกรธ กิริยาที่โกรธ ภาวะที่โกรธ ความคิดประทุษร้าย กิริยาที่คิด
ประทุษร้าย ภาวะที่คิดประทุษร้าย ความคิดปองร้าย กิริยาที่คิดปองร้าย ภาวะ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๖ หน้า :๑๖๑ }


พระอภิธรรมปิฎก ปุคคลบัญญัติ ๒. ทุกปุคคลบัญญัติ
ที่คิดปองร้าย ความพิโรธ ความพิโรธตอบ ความดุร้าย ความเกรี้ยวกราด
ความที่จิตไม่เบิกบาน นี้เรียกว่า ความโกรธ บุคคลใดละความโกรธนี้ได้ บุคคล
นี้เรียกว่า ผู้ไม่มักโกรธ
[๖๖] บุคคลผู้ไม่ผูกโกรธ เป็นไฉน ในข้อนั้น ความผูกโกรธ เป็นไฉน
ความโกรธในเบื้องต้นชื่อว่าความโกรธ ความโกรธในเวลาต่อมาชื่อว่าความ
ผูกโกรธ ความผูกโกรธ กิริยาที่ผูกโกรธ ภาวะที่ผูกโกรธ ความไม่หยุด
โกรธ การตั้งความโกรธไว้ การดำรงความโกรธไว้ การโผลงไปตามความโกรธ
การตามผูกความโกรธไว้ การทำความโกรธให้มั่น นี้เรียกว่า ความผูกโกรธ
บุคคลใดละความผูกโกรธนี้ได้ บุคคลนี้เรียกว่า ผู้ไม่ผูกโกรธ
[๖๗] บุคคลผู้ไม่ลบหลู่ เป็นไฉน ในข้อนั้น ความลบหลู่ เป็นไฉน
ความลบหลู่ กิริยาที่ลบหลู่ ภาวะที่ลบหลู่ ความดูหมิ่น การกระทำความ
ดูหมิ่น นี้เรียกว่า ความลบหลู่ บุคคลใดละความลบหลู่นี้ได้ บุคคลนี้เรียกว่า ผู้ไม่
ลบหลู่
[๖๘] บุคคลผู้ไม่ตีเสมอ เป็นไฉน ในข้อนั้น ความตีเสมอ เป็นไฉน
ความตีเสมอ กิริยาที่ตีเสมอ ภาวะที่ตีเสมอ สภาวธรรมที่เป็นอาหารแห่ง
ความตีเสมอโดยการนำเอาชัยชนะของตนมาอ้างเหตุแห่งความวิวาท ความแข่งดี
ความไม่ยอมสละ นี้เรียกว่า ความตีเสมอ บุคคลใดละความตีเสมอนี้ได้ บุคคลนี้
เรียกว่า ผู้ไม่ตีเสมอ
[๖๙] บุคคลผู้ไม่มีความริษยา เป็นไฉน ในข้อนั้น ความริษยา เป็นไฉน
ความริษยา กิริยาที่ริษยา ภาวะที่ริษยา ความเกลียดชัง กิริยาที่เกลียดชัง
ภาวะที่เกลียดชังในเมื่อผู้อื่นได้ลาภ สักการะ ความเคารพ ความนับถือ การ
กราบไหว้และการบูชา นี้เรียกว่า ความริษยา บุคคลใดละความริษยานี้ได้ บุคคล
นี้เรียกว่า ผู้ไม่มีความริษยา


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๖ หน้า :๑๖๒ }


พระอภิธรรมปิฎก ปุคคลบัญญัติ ๒. ทุกปุคคลบัญญัติ
[๗๐] บุคคลผู้ไม่มีความตระหนี่ เป็นไฉน ในข้อนั้น ความตระหนี่ เป็นไฉน
ความตระหนี่ ๕ อย่าง คือ
๑. ความตระหนี่ที่อยู่ ๒. ความตระหนี่ตระกูล
๓. ความตระหนี่ลาภ ๔. ความตระหนี่วรรณะ
๕. ความตระหนี่ธรรม
ความตระหนี่ กิริยาที่ตระหนี่ ภาวะที่ตระหนี่ ความหวงแหน ความ
เหนียวแน่น ความปกปิด ความมีจิตไม่เผื่อแผ่ นี้เรียกว่า ความตระหนี่ บุคคล
ใดละความตระหนี่นี้ได้ บุคคลนี้เรียกว่า ผู้ไม่มีความตระหนี่
[๗๑] บุคคลผู้ไม่โอ้อวด เป็นไฉน ในข้อนั้น ความโอ้อวด เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้โอ้อวด เป็นผู้โอ้อวดจัด ความโอ้อวด กิริยาที่
โอ้อวด ภาวะที่โอ้อวด ภาวะที่แข็งกระด้าง กิริยาที่แข้งกระด้าง การพูดเป็นเหลี่ยมคู
กิริยาที่พูดแอบอ้าง นี้เรียกว่า ความโอ้อวด บุคคลใดละความโอ้อวดนี้ได้ บุคคล
นี้เรียกว่า ผู้ไม่โอ้อวด
[๗๒] บุคคลผู้ไม่มีมายา เป็นไฉน ในข้อนั้น มายา เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้ประพฤติกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต เพราะเหตุจะ
ปกปิดทุจริตนั้นจึงตั้งความปรารถนาอันเลวทราม ปรารถนาว่า “ใคร ๆ อย่ารู้จักเรา”
ดำริว่า “ใคร ๆ อย่ารู้จักเรา” กล่าวว่า “ใคร ๆ อย่ารู้จักเรา” พยายามทางกายว่า
“ใคร ๆ อย่ารู้จักเรา” ความเจ้าเล่ห์ ความเป็นคนเจ้าเล่ห์ กิริยาที่หลอกให้หลง
ความหลอกลวง ความโกง ความกลบเกลื่อน ความหลีกเลี่ยง ความซ่อน
ความซ่อนบัง ความปิดบัง ความปกปิด การไม่ทำให้ชัดเจน การไม่ทำให้แจ่มแจ้ง
การปิดบังอำพราง กิริยาที่เลวทรามเช่นนี้ นี้เรียกว่า มายา บุคคลใดละมายานี้ได้
บุคคลนี้เรียกว่า ผู้ไม่มีมายา
[๗๓] บุคคลผู้มีหิริ เป็นไฉน ในข้อนั้น หิริ เป็นไฉน
กิริยาที่ละอายต่อการประพฤติทุจริตที่ควรละอาย กิริยาที่ละอายต่อการ
ประกอบสภาวธรรมที่เป็นอกุศลซึ่งเป็นบาป นี้เรียกว่า หิริ บุคคลผู้ประกอบด้วยหิริ
นี้ชื่อว่าผู้มีหิริ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๖ หน้า :๑๖๓ }


พระอภิธรรมปิฎก ปุคคลบัญญัติ ๒. ทุกปุคคลบัญญัติ
[๗๔] บุคคลผู้มีโอตตัปปะ เป็นไฉน ในข้อนั้น โอตตัปปะ เป็นไฉน
กิริยาที่เกรงกลัวต่อการประพฤติทุจริตที่ควรเกรงกลัว กิริยาที่เกรงกลัวต่อ
การประกอบสภาวธรรมที่เป็นอกุศลซึ่งเป็นบาป นี้เรียกว่า โอตตัปปะ บุคคลผู้
ประกอบด้วยโอตตัปปะนี้ชื่อว่าผู้มีโอตตัปปะ
[๗๕] บุคคลผู้ว่าง่าย เป็นไฉน ในข้อนั้น ความเป็นผู้ว่าง่าย เป็นไฉน
กิริยาของผู้ว่าง่าย ภาวะของผู้ว่าง่าย ความเป็นผู้ว่าง่าย ความไม่ยึดถือข้าง
ขัดขืน ความพอใจในการไม่โต้แย้ง ความเอื้อเฟื้อ ภาวะแห่งผู้เอื้อเฟื้อ ความเคารพ
และรับฟังในเมื่อถูกว่ากล่าวโดยชอบ นี้เรียกว่า ความเป็นผู้ว่าง่าย บุคคลผู้
ประกอบด้วยความเป็นผู้ว่าง่ายนี้ชื่อว่าผู้ว่าง่าย
[๗๖] บุคคลผู้มีมิตรดี เป็นไฉน ในข้อนั้น ความเป็นผู้มีมิตรดี เป็นไฉน
บุคคลผู้มีศรัทธา มีศีล สดับมามาก มีความเสียสละ มีปัญญา การเสพ
การส้องเสพ การส้องเสพด้วยดี การคบ การคบหา ความภักดี ความจงรักภักดี
ต่อบุคคลเหล่านั้น ความเป็นผู้มีกายและใจโน้มน้าวไปตามบุคคลเหล่านั้น นี้เรียกว่า
ความเป็นผู้มีมิตรดี บุคคลผู้ประกอบด้วยความเป็นผู้มีมิตรดีนี้ชื่อว่าผู้มีมิตรดี
[๗๗] บุคคลผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ เป็นไฉน ในข้อนั้น ความเป็นผู้คุ้ม
ครองทวารในอินทรีย์ เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้เห็นรูปทางตาแล้วไม่รวบถือ ไม่แยกถือ ย่อมปฏิบัติ
เพื่อสำรวมจักขุนทรีย์ซึ่งเมื่อไม่สำรวมแล้วก็เป็นเหตุให้บาปอกุศลธรรมทั้งหลายคือ
อภิชฌาและโทมนัสครอบงำได้ ย่อมระวังจักขุนทรีย์ ถึงความสำรวมจักขุนทรีย์
ฟังเสียงทางหู ฯลฯ ดมกลิ่นทางจมูก ฯลฯ ลิ้มรสทางลิ้น ฯลฯ ถูกต้อง
โผฏฐัพพะทางกาย ฯลฯ รู้ธรรมารมณ์ทางใจ เป็นผู้ไม่รวบถือ ไม่แยกถือ ย่อม
ปฏิบัติเพื่อสำรวมมนินทรีย์ซึ่งเมื่อไม่สำรวมแล้วจะเป็นเหตุให้บาปอกุศลธรรม
ทั้งหลายคืออภิชฌาและโทมนัสครอบงำได้ ย่อมระวังมนินทรีย์ ย่อมถึงความ
สำรวมในมนินทรีย์ ความคุ้มครอง กิริยาที่คุ้มครอง การรักษา การสำรวมอินทรีย์
ทั้ง ๖ เหล่านี้ นี้เรียกว่า ความเป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ บุคคลผู้ประกอบ
ด้วยความเป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ นี้ชื่อว่าผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๖ หน้า :๑๖๔ }


พระอภิธรรมปิฎก ปุคคลบัญญัติ ๒. ทุกปุคคลบัญญัติ
[๗๘] บุคคลผู้รู้จักประมาณในการบริโภค เป็นไฉน ในข้อนั้น ความเป็นผู้
รู้จักประมาณในการบริโภค เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้พิจารณาโดยแยบคายแล้วกลืนกินอาหาร มิใช่เพื่อเล่น
มิใช่เพื่อความมัวเมา มิใช่เพื่อประดับ มิใช่เพื่อตกแต่ง เพียงเพื่อความดำรงอยู่
แห่งกายนี้ เพื่อยังชีวิตินทรีย์ให้เป็นไป เพื่อกำจัดความหิว เพื่ออนุเคราะห์
พรหมจรรย์ด้วยคิดเห็นว่า “เราจักกำจัดเวทนาเก่าและจักไม่ให้เวทนาใหม่เกิดขึ้น
ความดำเนินไปแห่งกาย ความไม่มีโทษ และการอยู่อย่างผาสุกจักมีแก่เรา”
ความเป็นผู้สันโดษ ความเป็นผู้รู้จักประมาณในการพิจารณาแล้วบริโภคในโภชนาหารนั้น
นี้เรียกว่า ความเป็นผู้รู้จักประมาณในการบริโภค บุคคลผู้ประกอบด้วยความเป็น
ผู้รู้จักประมาณในการบริโภคนี้ชื่อว่าผู้รู้จักประมาณในการบริโภค
[๗๙] บุคคลผู้มีสติตั้งมั่น เป็นไฉน ในข้อนั้น สติ เป็นไฉน
สติ ความตามระลึก ความหวนระลึก สติ กิริยาที่ระลึก ความทรงจำ
ความไม่เลื่อนลอย ความไม่หลงลืม สติ สตินทรีย์ สติพละ สัมมาสติอันใด นี้
เรียกว่า สติ บุคคลผู้ประกอบด้วยสตินี้ชื่อว่าผู้มีสติตั้งมั่น
[๘๐] บุคคลผู้มีสัมปชัญญะ เป็นไฉน ในข้อนั้น สัมปชัญญะ เป็นไฉน
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ความวิจัย ความเลือกสรร ความวิจัยธรรม ความ
กำหนดหมาย ความเข้าไปกำหนด ความเข้าไปกำหนดเฉพาะ ภาวะที่รู้ ภาวะ
ที่ฉลาด ภาวะที่รู้ละเอียด ความรู้อย่างแจ่มแจ้ง ความคิดค้น ความใคร่ครวญ
ปัญญาเหมือนแผ่นดิน ปัญญาเครื่องทำลายกิเลส ปัญญาเครื่องนำทาง ความ
เห็นแจ้ง ความรู้ดี ปัญญาเหมือนปฏัก ปัญญา ปัญญินทรีย์ ปัญญาพละ
ปัญญาเหมือนศัสตรา ปัญญาเหมือนปราสาท ความสว่างคือปัญญา แสงสว่าง
คือปัญญา ปัญญาเหมือนประทีป ปัญญาเหมือนดวงแก้ว ความไม่หลงงมงาย
ความเลือกเฟ้นธรรม สัมมาทิฏฐิ นี้เรียกว่า สัมปชัญญะ บุคคลผู้ประกอบด้วย
สัมปชัญญะนี้ชื่อว่าผู้มีสัมปชัญญะ
[๘๑] บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยศีล เป็นไฉน ในข้อนั้น ความสมบูรณ์ด้วยศีล
เป็นไฉน


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๖ หน้า :๑๖๕ }


พระอภิธรรมปิฎก ปุคคลบัญญัติ ๒. ทุกนิทเทส
การไม่ล่วงละเมิดทางกาย การไม่ล่วงละเมิดทางวาจา การไม่ล่วงละเมิดทั้ง
ทางกายและทางวาจา นี้เรียกว่า ความสมบูรณ์ด้วยศีล บุคคลผู้ประกอบด้วย
ความสมบูรณ์ด้วยศีลนี้ชื่อว่าผู้สมบูรณ์ด้วยศีล
[๘๒] บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยทิฏฐิ เป็นไฉน ในข้อนั้น ความสมบูรณ์ด้วยทิฏฐิ
เป็นไฉน
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลงงมงาย ความเลือกเฟ้นธรรม
สัมมาทิฏฐิเช่นนี้ว่า ทานที่ให้แล้วมีผล ยัญที่บูชาแล้วมีผล การเซ่นสรวงมีผล
ผลวิบากของกรรมที่ทำดีทำชั่วมีผล โลกนี้มี โลกหน้ามี มารดามีคุณ บิดามีคุณ
สัตว์ที่เกิดผุดขึ้นมี สมณพราหมณ์ผู้ปฏิบัติชอบทำให้แจ้งโลกนี้และโลกหน้าด้วย
ปัญญาอันยิ่งเองแล้วสอนผู้อื่นให้รู้แจ้งมีอยู่ในโลก นี้เรียกว่า ความสมบูรณ์ด้วยทิฏฐิ
สัมมาทิฏฐิแม้ทั้งหมดชื่อว่าความสมบูรณ์ด้วยทิฏฐิ บุคคลผู้ประกอบด้วยความ
สมบูรณ์ด้วยทิฏฐินี้ชื่อว่าผู้สมบูรณ์ด้วยทิฏฐิ
[๘๓] บุคคลผู้หาได้ยากในโลก ๒ จำพวก เป็นไฉน
คือ ปุพพการีบุคคลและกตัญญูกตเวทีบุคคล บุคคล ๒ จำพวกเหล่านี้หาได้
ยากในโลก
[๘๔] บุคคลผู้ให้อิ่มได้ยากในโลก ๒ จำพวก เป็นไฉน
คือ บุคคลผู้เก็บสะสมสิ่งของที่ตนได้แล้ว ๆ และบุคคลผู้สละสิ่งของที่ตนได้
แล้ว ๆ บุคคล ๒ จำพวกเหล่านี้ชื่อว่าผู้ให้อิ่มได้ยาก
[๘๕] บุคคลผู้ให้อิ่มได้ง่าย ๒ จำพวก เป็นไฉน
คือ บุคคลผู้ไม่เก็บสะสมสิ่งของที่ตนได้แล้ว ๆ และบุคคลผู้ไม่สละสิ่งของที่ตน
ได้แล้วๆ บุคคล ๒ จำพวกเหล่านี้ชื่อว่าผู้ให้อิ่มได้ง่าย
[๘๖] อาสวะของบุคคล ๒ จำพวกเหล่าไหนย่อมเพิ่มพูน
บุคคลผู้รังเกียจสิ่งที่ไม่ควรรังเกียจและบุคคลผู้ไม่รังเกียจสิ่งที่ควรรังเกียจ
อาสวะของบุคคล ๒ จำพวกเหล่านี้ย่อมเพิ่มพูน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๖ หน้า :๑๖๖ }


พระอภิธรรมปิฎก ปุคคลบัญญัติ ๓. ติกปุคคลบัญญัติ
[๘๗] อาสวะของบุคคล ๒ จำพวกเหล่าไหนย่อมไม่เพิ่มพูน
บุคคลผู้ไม่รังเกียจสิ่งที่ไม่ควรรังเกียจและบุคคลผู้รังเกียจสิ่งที่ควรรังเกียจ
อาสวะของบุคคล ๒ จำพวกเหล่านี้ย่อมไม่เพิ่มพูน
[๘๘] บุคคลผู้มีอัธยาศัยเลว เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้ทุศีล มีธรรมอันเลวทราม เขาย่อมเสพ ย่อมคบหา
ย่อมเข้าไปนั่งใกล้บุคคลอื่นผู้ทุศีลมีธรรมอันเลวทราม บุคคลนี้เรียกว่า ผู้มีอัธยาศัยเลว
[๘๙] บุคคลผู้มีอัธยาศัยประณีต เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้มีศีล มีธรรมอันงาม เขาย่อมเสพ ย่อมคบหา ย่อม
เข้าไปนั่งใกล้บุคคลอื่นผู้มีศีล มีธรรมอันงาม บุคคลนี้เรียกว่า ผู้มีอัธยาศัยประณีต
[๙๐] บุคคลผู้อิ่มแล้ว เป็นไฉน
พระปัจเจกพุทธเจ้าและพระอรหันตสาวกของพระตถาคตชื่อว่าผู้อิ่มแล้ว พระ
สัมมาสัมพุทธเจ้าชื่อว่าผู้อิ่มแล้วและทำคนอื่นให้อิ่ม
ทุกนิทเทส จบ

๓. ติกปุคคลบัญญัติ
[๙๑] บุคคลที่หมดความหวัง เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้ทุศีล มีธรรมอันเลวทราม ไม่สะอาด๑ มีสมาจารอัน
คนอื่นระลึกด้วยความรังเกียจ มีการงานอันปกปิด มิใช่สมณะแต่ปฏิญญาว่าเป็น
สมณะ มิใช่ผู้ประพฤติพรหมจรรย์แต่ปฏิญญาว่าประพฤติพรหมจรรย์ ผู้เน่าใน ชุ่ม
ด้วยราคะ เป็นเหมือนหยากเยื่อ เธอได้ฟังมาว่า “ภิกษุผู้มีชื่ออย่างนี้ทำให้แจ้ง
เจโตวิมุตติปัญญาวิมุตติอันไม่มีอาสวะเพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่ง
เองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน” เธอย่อมไม่มีความคิดอย่างนี้ว่า “แม้เราก็จักทำให้แจ้ง
เจโตวิมุตติปัญญาวิมุตติอันไม่มีอาสวะเพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่ง
เองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน” ดังนี้ บุคคลนี้เรียกว่า ผู้ที่หมดความหวัง

เชิงอรรถ :
๑ ไม่สะอาด ในที่นี้หมายถึงมีกายกรรมเป็นต้นไม่สะอาด (อภิ.ปญฺจ.อ. ๙๑/๖๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๖ หน้า :๑๖๗ }


พระอภิธรรมปิฎก ปุคคลบัญญัติ ๒. ติกปุคคลบัญญัติ
[๙๒] บุคคลที่ยังมีความหวัง เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้มีศีล มีธรรมอันงาม เธอได้ฟังมาว่า “ภิกษุผู้มีชื่อ
อย่างนี้ทำให้แจ้งเจโตวิมุตติปัญญาวิมุตติอันไม่มีอาสวะเพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไปด้วย
ปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน” เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า “แม้เราก็จะทำให้แจ้ง
เจโตวิมุตติปัญญาวิมุตติอันไม่มีอาสวะเพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเอง
เข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน” ดังนี้ บุคคลนี้เรียกว่า ผู้ที่ยังมีความหวัง
[๙๓] บุคคลที่ปราศจากความหวัง เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้ทำให้แจ้งเจโตวิมุตติปัญญาวิมุตติอันไม่มีอาสวะเพราะ
อาสวะทั้งหลายสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน เธอได้ฟังมาว่า
“ภิกษุผู้มีชื่ออย่างนี้ทำให้แจ้งเจโตวิมุตติปัญญาวิมุตติอันไม่มีอาสวะเพราะอาสวะ
ทั้งหลายสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน” ดังนี้ เธอย่อมไม่มีความ
คิดอย่างนี้ว่า “แม้เราก็ทำให้แจ้งเจโตวิมุตติปัญญาวิมุตติอันไม่มีอาสวะเพราะอาสวะ
ทั้งหลายสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน” ดังนี้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะว่าความหวังในความหลุดพ้นของบุคคลผู้ยังไม่เคยหลุดพ้นในกาลก่อนนั้นสงบ
ระงับแล้ว บุคคลนี้เรียกว่า ผู้ที่ปราศจากความหวัง
[๙๔] บรรดาบุคคลเหล่านั้น บุคคลเปรียบเหมือนคนไข้ ๓ จำพวก๑ เป็นไฉน
คนไข้ ๓ จำพวก คือ
๑. คนไข้บางคนในโลกนี้ได้โภชนะที่เป็นสัปปายะ๒หรือไม่ได้โภชนะที่
เป็นสัปปายะ ได้ยาที่เป็นสัปปายะหรือไม่ได้ยาที่เป็นสัปปายะ ได้
คนพยาบาลที่เหมาะสมหรือไม่ได้คนพยาบาลที่เหมาะสมย่อมไม่หาย
จากอาพาธนั้น
๒. คนไข้บางคนในโลกนี้ได้โภชนะที่เป็นสัปปายะหรือไม่ได้โภชนะที่เป็น
สัปปายะ ได้ยาที่เป็นสัปปายะหรือไม่ได้ยาที่เป็นสัปปายะ ได้คน
พยาบาลที่เหมาะสมหรือไม่ได้คนพยาบาลที่เหมาะสมย่อมหายจาก
อาพาธนั้น

เชิงอรรถ :
๑ ดู องฺ.ติก. (แปล) ๒๐/๒๒/๑๖๙
๒ เป็นสัปปายะ ในที่นี้หมายถึงมีประโยชน์ ก่อให้เกิดความเจริญ (องฺ.ติก.อ. ๒/๒๒/๙๙)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๖ หน้า :๑๖๘ }


พระอภิธรรมปิฎก ปุคคลบัญญัติ ๓. ติกปุคคลบัญญัติ
๓. คนไข้บางคนในโลกนี้ได้โภชนะที่เป็นสัปปายะย่อมหายจากอาพาธ
เมื่อไม่ได้ย่อมไม่หายจากอาพาธนั้น ได้ยาที่เป็นสัปปายะย่อมหาย
จากอาพาธ เมื่อไม่ได้ย่อมไม่หายจากอาพาธนั้น ได้คนพยาบาลที่
เหมาะสมย่อมหายจากอาพาธ เมื่อไม่ได้ย่อมไม่หายจากอาพาธนั้น
บรรดาคนไข้ ๓ จำพวกนั้น คนไข้ผู้ได้โภชนะที่เป็นสัปปายะย่อมหายจากอาพาธ
นั้น เมื่อไม่ได้ย่อมไม่หาย ได้ยาที่เป็นสัปปายะย่อมหายจากอาพาธนั้น เมื่อไม่ได้
ย่อมไม่หาย ได้คนพยาบาลที่เหมาะสมย่อมหายจากอาพาธนั้น เมื่อไม่ได้ย่อมไม่
หายจากอาพาธนั้น เพราะอาศัยคนไข้นี้ พระผู้มีพระภาคจึงทรงอนุญาตอาหาร
สำหรับภิกษุไข้ ยาสำหรับภิกษุไข้ คนพยาบาลสำหรับภิกษุไข้ ก็เพราะอาศัยคนไข้นี้
คนไข้แม้อื่น ๆ ก็ควรได้รับการพยาบาลด้วย
บุคคลเปรียบเหมือนคนไข้ ๓ จำพวก มีปรากฏอยู่ในโลกอย่างนี้เหมือนกัน
บุคคล ๓ จำพวก เป็นไฉน
๑. บุคคลบางคนในโลกนี้ได้เห็นพระตถาคตหรือไม่ได้เห็นก็ตาม ได้ฟัง
ธรรมวินัยที่พระตถาคตประกาศแล้วหรือไม่ได้ฟังก็ตาม ย่อมไม่
หยั่งลงสู่นิยาม๑ที่ถูกต้องในกุศลธรรมทั้งหลาย
๒. บุคคลบางคนในโลกนี้ได้เห็นพระตถาคตหรือไม่ได้เห็นก็ตาม ได้ฟัง
ธรรมวินัยที่พระตถาคตประกาศแล้วหรือไม่ได้ฟังก็ตาม ย่อมหยั่ง
ลงสู่นิยามที่ถูกต้องในกุศลธรรมทั้งหลาย
๓. บุคคลบางคนในโลกนี้ได้เห็นพระตถาคต จึงหยั่งลงสู่นิยามที่ถูกต้อง
เมื่อไม่ได้เห็นย่อมไม่หยั่งลง ได้ฟังธรรมวินัยที่พระตถาคตประกาศ
แล้ว จึงหยั่งลงสู่นิยามที่ถูกต้องในกุศลธรรมทั้งหลาย เมื่อไม่ได้ฟัง
ย่อมไม่หยั่งลง
บรรดาบุคคล ๓ จำพวกนั้น บุคคลผู้ได้เห็นพระตถาคตจึงหยั่งลงสู่นิยามที่ถูก
ต้องในกุศลธรรมทั้งหลาย เมื่อไม่ได้เห็นย่อมไม่หยั่งลง ได้ฟังธรรมวินัยที่พระ
ตถาคตประกาศแล้วจึงหยั่งลงสู่นิยามที่ถูกต้องในกุศลธรรมทั้งหลาย เมื่อไม่ได้ฟังย่อมไม่

เชิงอรรถ :
๑ ดูเชิงอรรถที่ ๔ ข้อ ๑๒ (เอกกปุคคลบัญญัติ) หน้า ๑๕๑ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๖ หน้า :๑๖๙ }


พระอภิธรรมปิฎก ปุคคลบัญญัติ ๓. ติกปุคคลบัญญัติ
หยั่งลง เพราะอาศัยบุคคลนี้ พระผู้มีพระภาคจึงทรงอนุญาตการแสดงธรรม
เพราะอาศัยบุคคลนี้ จึงควรแสดงธรรมแก่คนแม้เหล่าอื่น
บุคคลเปรียบเหมือนคนไข้ ๓ จำพวกนี้มีปรากฏอยู่ในโลก
[๙๕] บุคคลผู้เป็นกายสักขี๑ เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้สัมผัสวิโมกข์ ๘ ด้วยกายอยู่ อนึ่ง อาสวะบางอย่าง
ของเขาย่อมสิ้นไปเพราะเห็นด้วยปัญญา บุคคลนี้เรียกว่า ผู้เป็นกายสักขี
[๙๖] บุคคลผู้เป็นทิฏฐิปัตตะ๑ เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า “นี้ทุกข์ นี้เหตุเกิดแห่งทุกข์
นี้ความดับทุกข์ นี้ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์” และสภาวธรรมที่พระตถาคต
ประกาศแล้ว เป็นอันเขาเห็นชัดแล้วประพฤติดีแล้วด้วยปัญญา และอาสวะบาง
อย่างของเขาย่อมสิ้นไปเพราะเห็นด้วยปัญญา บุคคลนี้เรียกว่า ผู้เป็นทิฏฐิปัตตะ
[๙๗] บุคคลผู้เป็นสัทธาวิมุตตะ๑ เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า “นี้ทุกข์ ฯลฯ” สภาวธรรมที่
พระตถาคตประกาศแล้วเป็นอันเขาเห็นชัดแล้ว ประพฤติดีแล้วด้วยปัญญา และ
อาสวะบางอย่างของเขาย่อมสิ้นไปเพราะเห็นด้วยปัญญา แต่ไม่เหมือนอาสวะของ
บุคคลผู้เป็นทิฏฐิปัตตะ บุคคลนี้เรียกว่า ผู้เป็นสัทธาวิมุตตะ
[๙๘] บุคคลผู้พูดภาษาคูถ๒ เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้ชอบพูดเท็จ อยู่ในสภา อยู่ในบริษัท อยู่ท่ามกลางญาติ
อยู่ท่ามกลางทหาร หรืออยู่ท่ามกลางราชสำนัก ถูกเขานำไปอ้างเป็นพยานซักถาม
ว่า “บุรุษผู้เจริญ มาเถิด ท่านรู้สิ่งใด จงกล่าวสิ่งนั้น” บุคคลนั้นไม่รู้ก็กล่าวว่า “รู้”
หรือรู้ก็กล่าวว่า “ไม่รู้” ไม่เห็นก็กล่าวว่า “เห็น” หรือเห็นก็กล่าวว่า “ไม่เห็น” พูดเท็จ
ทั้งที่รู้ เพราะเหตุแห่งตน เพราะเหตุแห่งบุคคลอื่น หรือเพราะเหตุคือเห็นแก่อามิส
เล็กน้อย ด้วยประการฉะนี้ บุคคลนี้เรียกว่า ผู้พูดภาษาคูถ

เชิงอรรถ :
๑ กายสักขี ทิฏฐิปัตตะ และสัทธาวิมุตตะ ในที่นี้หมายถึงพระอริยบุคคลผู้บรรลุโสดาปัตติผลจนถึงผู้
ปฏิบัติเพื่อบรรลุอรหัตตผล (องฺ.ทุก.อ. ๒/๔๙/๕๕, องฺ.สตฺตก.อ. ๓/๑๔/๑๖๑)
๒ ดู องฺ.ติก. (แปล) ๒๐/๒๘/๑๗๗-๑๗๘

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๖ หน้า :๑๗๐ }


พระอภิธรรมปิฎก ปุคคลบัญญัติ ๓. ติกปุคคลบัญญัติ
[๙๙] บุคคลผู้พูดภาษาดอกไม้ ๑ เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้ละการพูดเท็จ เว้นขาดจากการพูดเท็จ อยู่ในสภา
อยู่ในบริษัท อยู่ในท่ามกลางญาติ อยู่ในท่ามกลางทหาร หรืออยู่ในท่ามกลางราช
สำนัก ถูกเขานำไปอ้างเป็นพยานซักถามว่า “บุรุษผู้เจริญ มาเถิด ท่านรู้สิ่งใด
จงกล่าวสิ่งนั้น” บุคคลนั้นไม่รู้ก็กล่าวว่า “ไม่รู้” หรือรู้ก็กล่าวว่า “รู้” ไม่เห็นก็
กล่าวว่า “ไม่เห็น” หรือเห็นก็กล่าวว่า “เห็น” ไม่พูดเท็จทั้งที่รู้ เพราะเหตุแห่งตน
เพราะเหตุแห่งบุคคลอื่น หรือเพราะเหตุคือเห็นแก่อามิสเล็กน้อย ด้วยประการฉะนี้
บุคคลนี้เรียกว่า ผู้พูดภาษาดอกไม้
[๑๐๐] บุคคลผู้พูดภาษาน้ำผึ้ง๑ เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้กล่าวแต่วาจาที่ไม่มีโทษ สบายหู ไพเราะ จับใจ
เป็นวาจาของชาวเมือง คนส่วนมากรักใคร่พอใจ บุคคลนี้เรียกว่า ผู้พูดภาษาน้ำผึ้ง
[๑๐๑] บุคคลผู้มีจิตเหมือนแผลเก่า๒ เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้มักโกรธ มากไปด้วยความคับแค้นใจ ถูกว่ากล่าว
เพียงเล็กน้อยก็ขัดใจ โกรธเคือง พยาบาท ขึ้งเคียด แสดงอาการโกรธ ขัดเคือง
และไม่พอใจ เปรียบเหมือนแผลเก่าถูกไม้หรือกระเบื้องกระทบเข้า ย่อมหลั่งน้ำ
หนองออกมากขึ้นชื่อแม้ฉันใด บุคคลบางคนในโลกนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เป็นผู้มัก
โกรธ มากไปด้วยความแค้นใจ แม้ถูกว่ากล่าวเพียงเล็กน้อยก็ขัดใจ โกรธเคือง
พยาบาท ขึ้งเคียด แสดงอาการโกรธ ขัดเคืองและไม่พอใจ บุคคลนี้เรียกว่า ผู้มี
จิตเหมือนแผลเก่า
[๑๐๒] บุคคลผู้มีจิตเหมือนฟ้าแลบ๒ เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า “นี้ทุกข์ นี้เหตุเกิดแห่งทุกข์
นี้ความดับทุกข์ นี้ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์” เปรียบเหมือนคนตาดีพึงเห็นรูป
ในขณะที่ฟ้าแลบในเวลากลางคืนที่มืดมิดชื่อแม้ฉันใด บุคคลบางคนในโลกนี้ก็ฉัน
นั้นเหมือนกัน รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า “นี้ทุกข์ นี้เหตุเกิดแห่งทุกข์ นี้ความดับทุกข์
นี้ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์” บุคคลนี้เรียกว่า ผู้มีจิตเหมือนฟ้าแลบ

เชิงอรรถ :
๑ ดู องฺ.ติก. (แปล) ๒๐/๒๘/๑๗๘
๒ ดู องฺ.ติก. (แปล) ๒๐/๒๕/๑๗๓

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๖ หน้า :๑๗๑ }


พระอภิธรรมปิฎก ปุคคลบัญญัติ ๓. ติกปุคคลบัญญัติ
[๑๐๓] บุคคลผู้มีจิตเหมือนเพชร๑ เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้ทำให้แจ้งเจโตวิมุตติปัญญาวิมุตติอันไม่มีอาสวะเพราะอาสวะ
ทั้งหลายสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน เปรียบเหมือนแก้วมณีหรือ
หินบางชนิดที่เพชรจะทำลายไม่ได้ย่อมไม่มีชื่อแม้ฉันใด บุคคลบางคนในโลกนี้ก็ฉันนั้น
เหมือนกันทำให้แจ้งเจโตวิมุตติปัญญาวิมุตติอันไม่มีอาสวะเพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป
ด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน บุคคลนี้เรียกว่า ผู้มีจิตเหมือนเพชร
[๑๐๔] บุคคลตาบอด เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้ไม่มีนัยน์ตา๒เป็นเหตุให้ได้โภคทรัพย์ที่ยังไม่ได้หรือทำ
โภคทรัพย์ที่ได้แล้วให้เพิ่มพูน และเขาไม่มีนัยน์ตาเป็นเครื่องรู้ธรรมที่เป็นกุศลและ
อกุศล รู้ธรรมที่มีโทษและไม่มีโทษ รู้ธรรมที่เลวและประณีต รู้ธรรมที่มีส่วนเปรียบ
ด้วยธรรมฝ่ายดำและธรรมฝ่ายขาว นี้เรียกว่า บุคคลตาบอด
[๑๐๕] บุคคลตาเดียว๓ เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้มีนัยน์ตาเป็นเหตุให้ได้โภคทรัพย์ที่ยังไม่ได้ หรือทำโภคทรัพย์
ที่ได้แล้วให้เพิ่มพูน แต่เขาไม่มีนัยน์ตาเป็นเครื่องรู้ธรรมที่เป็นกุศลและอกุศล รู้ธรรม
ที่มีโทษและไม่มีโทษ รู้ธรรมที่เลวและประณีต รู้ธรรมที่มีส่วนเปรียบด้วยธรรมฝ่าย
ดำและธรรมฝ่ายขาว นี้เรียกว่า บุคคลตาเดียว
[๑๐๖] บุคคลสองตา๓ เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้มีนัยน์ตาเป็นเหตุให้ได้โภคทรัพย์ที่ยังไม่ได้หรือทำโภคทรัพย์
ที่ได้แล้วให้เพิ่มพูน และเขามีนัยน์ตาเป็นเครื่องรู้ธรรมที่เป็นกุศลและอกุศล รู้ธรรม
ที่มีโทษและไม่มีโทษ รู้ธรรมที่เลวและประณีต รู้ธรรมที่มีส่วนเปรียบด้วยธรรมฝ่าย
ดำและธรรมฝ่ายขาว นี้เรียกว่า บุคคลสองตา

เชิงอรรถ :
๑ จิตเหมือนเพชร ในที่นี้หมายถึงจิตที่มีความแข็งแกร่งสามารถกำจัดมูลรากแห่งกิเลสทั้งหลายได้ (องฺ.ติก.อ.
๒/๒๕/๑๐๓) ดู องฺ.ติก. (แปล) ๒๐/๒๕/๑๗๔
๒ นัยน์ตา ในที่นี้หมายถึงปัญญาจักษุ (องฺ.ติก.อ. ๒/๒๙/๑๐๗)
๓ ดู องฺ.ติก. (แปล) ๒๐/๒๙/๑๗๘-๑๗๙

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๖ หน้า :๑๗๒ }


พระอภิธรรมปิฎก ปุคคลบัญญัติ ๓. ติกปุคคลบัญญัติ
[๑๐๗] บุคคลผู้มีปัญญาเหมือนหม้อคว่ำ๑ เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้ไปวัดเป็นประจำเพื่อฟังธรรมในสำนักของภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุทั้งหลายแสดงธรรมมีความงามในเบื้องต้น มีความงามในท่ามกลาง และมี
ความงามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์๒พร้อมทั้งอรรถและพยัญชนะอันบริสุทธิ์
บริบูรณ์ครบถ้วนแก่เขา เขานั่งตรงที่นั้นจำเบื้องต้น ท่ามกลาง และที่สุดแห่งกถานั้น
ไม่ได้ แม้ลุกจากที่นั้นแล้วก็จำเบื้องต้น ท่ามกลาง และที่สุดแห่งกถานั้นไม่ได้
เปรียบเหมือนหม้อคว่ำที่เขาเทน้ำลงไป น้ำย่อมไหลราดไป ไม่ขังอยู่ชื่อแม้ฉันใด
บุคคลบางคนในโลกนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ไปวัดเป็นประจำเพื่อฟังธรรมในสำนักของ
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุทั้งหลายแสดงธรรมมีความงามในเบื้องต้น มีความงามในท่าม
กลาง และมีความงามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถและพยัญชนะ
อันบริสุทธิ์บริบูรณ์ครบถ้วนแก่เขา เขานั่งตรงที่นั้น จำเบื้องต้น ท่ามกลาง และ
ที่สุดแแห่งกถานั้นไม่ได้ แม้ลุกจากที่นั้นแล้วก็ยังจำเบื้องต้น ท่ามกลาง และที่สุด
แห่งกถานั้นไม่ได้ บุคคลนี้เรียกว่า ผู้มีปัญญาเหมือนหม้อคว่ำ
[๑๐๘] บุคคลผู้มีปัญญาเหมือนชายพก เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้ไปวัดเป็นประจำเพื่อฟังธรรมในสำนักของภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุทั้งหลายแสดงธรรมมีความงามในเบื้องต้น มีความงามในท่ามกลาง และมี
ความงามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถและพยัญชนะอันบริสุทธิ์
บริบูรณ์ครบถ้วนแก่เขา เขานั่งตรงที่นั้นจำเบื้องต้น ท่ามกลาง และที่สุดแแห่งกถา
นั้นได้ แต่ลุกจากที่นั้นแล้วจำเบื้องต้น ท่ามกลาง และที่สุดแห่งกถานั้นไม่ได้ เปรียบ
เหมือนบุรุษเก็บของเคี้ยวต่าง ๆ คือ งา ข้าวสาร ขนมต้ม พุทราไว้ที่ชายพก บุรุษ
นั้นเมื่อลุกจากที่นั้นพึงทำเรี่ยราดเพราะเผลอสติชื่อแม้ฉันใด บุคคลบางคนในโลกนี้
ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ไปวัดเป็นประจำเพื่อฟังธรรมในสำนักของภิกษทั้งหลาย ภิกษุ
ทั้งหลายแสดงธรรมมีความงามในเบื้องต้น มีความงามในท่ามกลาง และมีความงาม
ในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถและพยัญชนะอันบริสุทธิ์บริบูรณ์ครบถ้วน

เชิงอรรถ :
๑ ดู องฺ.ติก. (แปล) ๒๐/๓๐/๑๘๐-๑๘๑
๒ พรหมจรรย์ ในที่นี้หมายถึงอริยมรรคมีองค์ ๘ ซึ่งรวมอยู่ในไตรสิกขาคือศีล สมาธิ และปัญญาอันเป็น
ความประพฤติประเสริฐ (องฺ.ติก.อ. ๒/๓๐/๑๐๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๖ หน้า :๑๗๓ }


พระอภิธรรมปิฎก ปุคคลบัญญัติ ๓. ติกปุคคลบัญญัติ
แก่เขา เขานั่งตรงที่นั้นจำเบื้องต้น ท่ามกลางและที่สุดแห่งกถานั้นได้ แต่ลุกจากที่
นั้นแล้วก็จำเบื้องต้น ท่ามกลาง และที่สุดแห่งกถานั้นไม่ได้ บุคคลนี้เรียกว่า ผู้มี
ปัญญาเหมือนชายพก
[๑๐๙] บุคคลผู้มีปัญญากว้างขวาง๑ เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้ไปวัดเป็นประจำเพื่อฟังธรรมในสำนักของภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุทั้งหลายแสดงธรรมมีความงามในเบื้องต้น มีความงามในท่ามกลาง และ
มีความงามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถและพยัญชนะอันบริสุทธิ์
บริบูรณ์ครบถ้วนแก่เขา เขานั่งตรงที่นั้นจำเบื้องต้น ท่ามกลาง และที่สุดแห่งกถา
นั้นได้ แม้ลุกจากที่นั้นก็ยังจำเบื้องต้น ท่ามกลาง และที่สุดแห่งกถานั้นได้ เปรียบ
เหมือนหม้อหงายที่เขาเทน้ำลงไป น้ำย่อมขังอยู่ ไม่ไหลราดไปชื่อแม้ฉันใด บุคคล
บางคนในโลกนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ไปวัดเป็นประจำเพื่อฟังธรรมในสำนักของภิกษุ
ทั้งหลาย ภิกษุทั้งหลายแสดงธรรมมีความงามในเบื้องต้น มีความงามในท่ามกลาง
และมีความงามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถและพยัญชนะอันบริสุทธิ์
บริบูรณ์ครบถ้วนแก่เขา เขานั่งตรงที่นั้นจำเบื้องต้น ท่ามกลาง และที่สุดแห่งกถา
นั้นได้ แม้ลุกจากอาสนะนั้นแล้วก็ยังจำเบื้องต้น ท่ามกลาง และที่สุดแห่งกถานั้นได้
บุคคลนี้เรียกว่า ผู้มีปัญญากว้างขวาง
[๑๑๐] บุคคลผู้ยังมีกามราคะและภวราคะ เป็นไฉน
บุคคลผู้เป็นโสดาบันและสกทาคามี บุคคลเหล่านี้เรียกว่า ผู้ยังมีกามราคะ
และภวราคะ
[๑๑๑] บุคคลผู้ไม่มีกามราคะ แต่ยังมีภวราคะ เป็นไฉน
บุคคลผู้เป็นอนาคามี บุคคลนี้เรียกว่า ผู้ไม่มีกามราคะ แต่ยังมีภวราคะ
[๑๑๒] บุคคลผู้ไม่มีทั้งกามราคะและภวราคะ เป็นไฉน
บุคคลผู้เป็นอรหันต์ บุคคลนี้เรียกว่า ผู้ไม่มีกามราคะแต่ยังมีภวราคะ
[๑๑๓] บุคคลผู้เปรียบเหมือนรอยขีดบนแผ่นหิน๒ เป็นไฉน

เชิงอรรถ :
๑ ดู องฺ.ติก. (แปล) ๒๐/๓๐/๑๘๑-๑๘๒
๒ ดู องฺ.ติก. (แปล) ๒๐/๑๓๓/๓๘๑-๓๘๒

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๖ หน้า :๑๗๔ }


พระอภิธรรมปิฎก ปุคคลบัญญัติ ๓. ติกปุคคลบัญญัติ
บุคคลบางคนในโลกนี้โกรธเป็นประจำและความโกรธของเขานั้นก็หมักหมม
อยู่นาน รอยขีดบนแผ่นหินย่อมไม่ลบเลือนเร็วเพราะลมหรือน้ำ ย่อมติดอยู่นาน
ชื่อแม้ฉันใด บุคคลบางคนในโลกนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน โกรธเป็นประจำ และความ
โกรธของเขานั้นก็หมักหมมอยู่นาน บุคคลนี้เรียกว่า ผู้เปรียบเหมือนรอยขีดบนแผ่นหิน
[๑๑๔] บุคคลผู้เปรียบเหมือนรอยขีดที่แผ่นดิน๑ เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้โกรธเป็นประจำ แต่ความโกรธของเขานั้นไม่หมักหมม
อยู่นาน รอยขีดที่แผ่นดินย่อมลบเลือนเร็วเพราะลมหรือน้ำ ไม่ปรากฏอยู่นานชื่อแม้
ฉันใด บุคคลบางคนในโลกนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน โกรธเป็นประจำ แต่ความโกรธ
ของเขานั้นไม่หมักหมมอยู่นาน บุคคลนี้เรียกว่า ผู้เปรียบเหมือนรอยขีดที่แผ่นดิน
[๑๑๕] บุคคลผู้เปรียบเหมือนรอยขีดที่น้ำ๑ เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้แม้จะถูกว่าด้วยคำหนัก ๆ แม้จะถูกว่าด้วยคำหยาบ
แม้จะถูกว่าด้วยคำที่ไม่น่าพอใจก็ยังคงสมานไมตรีกลมเกลียวอยู่ ปรองดองกันอยู่
รอยขีดที่น้ำย่อมขาดหายไปเร็ว ไม่ปรากฏอยู่นานชื่อแม้ฉันใด บุคคลบางคนใน
โลกนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน แม้จะถูกว่าด้วยคำหนัก ๆ แม้จะถูกว่าด้วยคำหยาบ แม้
จะถูกว่าด้วยคำที่ไม่น่าพอใจก็ยังคงสมานไมตรีกลมเกลียวอยู่ ปรองดองกันอยู่
บุคคลนี้เรียกว่า ผู้เปรียบเหมือนรอยขีดที่น้ำ
[๑๑๖] บรรดาบุคคลเหล่านั้น บุคคลเปรียบเหมือนผ้าเปลือกไม้ ๓ จำพวก๒
เป็นไฉน
ผ้าเปลือกไม้ ๓ ชนิด คือ
๑. ผ้าเปลือกไม้ใหม่ มีสีไม่สวย สัมผัสหยาบทั้งราคาก็ถูก
๒. ผ้าเปลือกไม้ปานกลางมีสีไม่สวย สัมผัสหยาบ ทั้งราคาก็ถูก
๓. ผ้าเปลือกไม้เก่า มีสีไม่สวย สัมผัสหยาบ ทั้งราคาก็ถูก

เชิงอรรถ :
๑ ดู องฺ.ติก. (แปล) ๒๐/๑๓๓/๓๘๒
๒ ดู องฺ.ติก. (แปล) ๒๐/๑๐๐/๓๓๔

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๖ หน้า :๑๗๕ }


พระอภิธรรมปิฎก ปุคคลบัญญัติ ๓. ติกปุคคลบัญญัติ
คนทั้งหลายย่อมทำผ้าเปลือกไม้แม้เก่าให้เป็นผ้าเช็ดหม้อข้าว หรือทิ้งมันที่
กองหยากเยื่อ
บุคคลเปรียบเหมือนผ้าเปลือกไม้ ๓ จำพวกเหล่านี้ มีปรากฏอยู่ในภิกษุทั้ง
หลายอย่างนี้เหมือนกัน
ภิกษุเปรียบเหมือนผ้าเปลือกไม้ ๓ จำพวก เป็นไฉน
๑. แม้ถ้าภิกษุผู้เป็นนวกะ๑ เป็นผู้ทุศีล มีธรรมอันเลวทราม นี้เป็นเหตุให้
ภิกษุนั้นเป็นผู้มีผิวพรรณเศร้าหมอง ผู้นี้เปรียบเหมือนผ้าเปลือกไม้มีสีที่ไม่
สวยนั้น ส่วนบุคคลเหล่าใดคบหา ใกล้ชิด พากันตามอย่างเธอ การ
คบหาเป็นต้นนั้นย่อมเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์เกื้อกูล เพื่อทุกข์แก่คน
เหล่านั้นตลอดกาลนาน นี้เป็นเหตุให้ภิกษุนั้นมีการติดต่อก่อให้เกิดทุกข์
ผู้นี้เปรียบเหมือนผ้าเปลือกไม้ที่มีสัมผัสหยาบนั้น ก็ภิกษุนั้นรับจีวร
บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขารของคนเหล่าใด ทาน
ของบุคคลเหล่านั้น ไม่มีผลมาก ไม่มีอานิสงส์มาก นี้เป็นเหตุให้ภิกษุ
นั้นมีค่าน้อย ผู้นี้เปรียบเหมือนผ้าเปลือกไม้ที่มีราคาถูก
๒. แม้ถ้าภิกษุผู้เป็นมัชฌิมะ๒ ฯลฯ แม้ถ้าภิกษุผู้เป็นเถระ๓ แต่เป็นผู้ทุศีล มี
ธรรมอันเลวทราม นี้เป็นเหตุให้ภิกษุนั้นมีผิวพรรณเศร้าหมอง ผู้นี้เปรียบ
เหมือนผ้าเปลือกไม้ที่มีสีไม่สวยนั้น ส่วนบุคคลเหล่าใดคบหา ใกล้ชิด
พากันตามอย่างเธอ การคบหาเป็นต้นนั้นย่อมเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์
เกื้อกูล เพื่อทุกข์แก่บุคคลเหล่านั้นตลอดกาลนาน นี้เป็นเหตุให้ภิกษุนั้นมี
การติดต่อก่อให้เกิดทุกข์ ผู้นี้เปรียบเหมือนผ้าเปลือกไม้ที่มีสัมผัสหยาบนั้น

เชิงอรรถ :
๑ ผู้เป็นนวกะ ในที่นี้หมายถึงพระใหม่มีระดับอายุ คุณธรรม ความรู้ที่ยังนับว่ายังใหม่ถึงแม้จะมีอายุ ๖๐ ปี
แต่มีพรรษาไม่ครบ ๕ ก็ยังนับว่าเป็นผู้ใหม่ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๑๑๖/๗๗)
๒ ผู้เป็นมัชฌิมะ ในที่นี้หมายถึงพระระดับปานกลาง มีระดับอายุ คุณธรรม ความรู้ที่ยังนับว่าพระ
ปูนกลางคือมีพรรษาตั้งแต่ ๕ จนถึง ๙ แต่ยังไม่ถึง ๑๐ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๑๑๖/๗๗)
๓ ผู้เป็นพระเถระ ในที่นี้หมายถึงพระผู้มีระดับอายุ คุณธรรม ความรู้ที่นับว่าเป็นพระผู้ใหญ่คือมีพรรษา
ตั้งแต่ ๑๐ ขึ้นไปและรู้ปาติโมกข์ เป็นต้น (อภิ.ปญฺจ.อ. ๑๑๖/๗๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๖ หน้า :๑๗๖ }


พระอภิธรรมปิฎก ปุคคลบัญญัติ ๓. ติกปุคคลบัญญัติ
ก็ภิกษุนั้นรับจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขารของ
บุคคลเหล่าใด ทานของบุคคลเหล่านั้นไม่มีผลมาก ไม่มีอานิสงส์มาก
นี้เป็นเหตุให้ภิกษุนั้นมีค่าน้อย ผู้นี้เปรียบเหมือนผ้าเปลือกไม้ที่มีราคาถูก
๓. หากภิกษุผู้เป็นเถระเห็นปานนี้กล่าวในท่ามกลางสงฆ์ ภิกษุทั้งหลายก็จะ
กล่าวกับเธออย่างนี้ว่า “จะมีประโยชน์อะไรด้วยคำที่คนพาล ไม่ฉลาด
กล่าวออกไป แม้ตัวท่านก็เข้าใจคำที่ควรกล่าว” เธอโกรธ ไม่พอใจ
เปล่งวาจาที่เป็นเหตุให้สงฆ์ยกวัตรตน เหมือนผ้าเปลือกไม้ที่เขาทิ้งที่กอง
หยากเยื่อ
บุคคลเปรียบเหมือนผ้าเปลือกไม้ ๓ จำพวกเหล่านี้มีปรากฏอยู่ในภิกษุทั้งหลาย
[๑๑๗] บรรดาบุคคลเหล่านั้น บุคคลเปรียบเหมือนผ้าแคว้นกาสี ๓ จำพวก๑
เป็นไฉน
ผ้าแคว้นกาสี ๓ ชนิด คือ
๑. ผ้าแคว้นกาสีที่ยังใหม่ มีสีสวย สัมผัสสบาย และมีราคาแพง
๒. ผ้าแคว้นกาสีแม้กลางเก่ากลางใหม่ มีสีสวย สัมผัสสบาย และ
มีราคาแพง
๓. ผ้าแคว้นกาสีแม้จะเก่า แต่ก็มีสีสวย สัมผัสสบาย และมี
ราคาแพง
คนทั้งหลายย่อมทำผ้าแคว้นกาสีแม้เก่าให้เป็นผ้าห่อแก้วหรือเอาใส่ไว้ในผอบ
ของหอม
บุคคลเปรียบเหมือนผ้าแคว้นกาสี ๓ จำพวกเหล่านี้มีปรากฏอยู่ในภิกษุทั้ง
หลายอย่างนี้เหมือนกัน
ภิกษุ ๓ จำพวก เป็นไฉน
๑. แม้ถ้าภิกษุผู้เป็นนวกะ มีศีล มีธรรมอันงาม นี้เป็นเหตุให้ภิกษุนั้นมี
ผิวพรรณงาม ผู้นี้เปรียบเหมือนผ้าแคว้นกาสีที่มีสีสวยนั้น ส่วนบุคคล
เหล่าใดคบหา ใกล้ชิด พากันตามอย่างเธอ การคบหาเป็นต้นนั้นย่อม
เป็นไปเพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขแก่บุคคลเหล่านั้นตลอดกาลนาน นี้เป็นเหตุให้
ภิกษุนั้นมีการติดต่อก่อให้เกิดสุข ผู้นี้เปรียบเหมือนผ้าแคว้นกาสีที่มี

เชิงอรรถ :
๑ ดู องฺ.ติก. (แปล) ๒๐/๑๐๐/๓๓๕

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๖ หน้า :๑๗๗ }


พระอภิธรรมปิฎก ปุคคลบัญญัติ ๓. ติกปุคคลบัญญัติ
สัมผัสสบายนั้น ภิกษุนั้นรับจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัย
เภสัชบริขารของบุคคลเหล่าใด ทานของบุคคลเหล่านั้นย่อมมีผลมาก มี
อานิสงส์มาก นี้เป็นเหตุให้ภิกษุนั้นมีค่ามาก ผู้นี้เปรียบเหมือนผ้าแคว้น
กาสีที่มีราคาแพง
๒. แม้ถ้าภิกษุผู้เป็นมัชฌิมะ ฯลฯ ผู้เป็นเถระ มีศีล มีธรรมอันงาม นี้
เป็นเหตุให้ภิกษุนั้นมีผิวพรรณงาม ผู้นี้เปรียบเหมือนผ้าแคว้นกาสีที่มีสีสวย
นั้น ส่วนบุคคลเหล่าใดคบหา ใกล้ชิด พากันตามอย่างเธอ การคบหา
เป็นต้นนั้นย่อมเป็นไปเพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขแก่บุคคลเหล่านั้นตลอดกาลนาน
นี้เป็นเหตุให้ภิกษุนั้นมีการติดต่อก่อให้เกิดสุข ผู้นี้เปรียบเหมือนผ้าแคว้น
กาสีที่มีสัมผัสสบายนั้น ก็ภิกษุนั้นรับจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และ
คิลานปัจจัยเภสัชบริขารของบุคคลเหล่าใด ทานของบุคคลเหล่านั้น
ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก นี้เป็นเหตุให้ภิกษุนั้นมีค่ามาก ผู้นี้
เปรียบเหมือนผ้าแคว้นกาสีที่มีราคาแพง
๓. ถ้าภิกษุผู้เป็นเถระเห็นปานนี้กล่าวในท่ามกลางสงฆ์ ภิกษุทั้งหลายก็จะ
กล่าวกับเธออย่างนี้ว่า ขอให้ท่านทั้งหลายจงสงบเถิด ภิกษุที่เป็นพระ
เถระจะกล่าวธรรมและวินัย ถ้อยคำนั้นของพระเถระควรทรงจำไว้ในหทัย
เหมือนผ้าแคว้นกาสีที่ควรเก็บไว้ในผอบของหอมฉะนั้น
บุคคลเปรียบเหมือนผ้าแคว้นกาสี ๓ จำพวกเหล่านี้มีปรากฏอยู่ในภิกษุทั้งหลาย
[๑๑๘] บุคคลผู้ประมาณได้ง่าย๑ เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นคนฟุ้งซ่าน ถือตัว โลเล ปากกล้า พูดพร่ำเพรื่อ
มีสติหลงลืม ไม่มีสัมปชัญญะ มีจิตไม่ตั้งมั่น มีจิตกวัดแกว่ง ไม่สำรวมอินทรีย์
บุคคลนี้เรียกว่า ผู้ประมาณได้ง่าย
[๑๑๙] บุคคลผู้ประมาณได้ยาก๑ เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นคนไม่ฟุ้งซ่าน ไม่ถือตัว ไม่โลเล ไม่เป็นคนปากกล้า
ไม่พูดพร่ำเพรื่อ มีสติมั่นคง มีสัมปชัญญะ มีจิตตั้งมั่น มีจิตแน่วแน่ สำรวมอินทรีย์
บุคคลนี้เรียกว่า ผู้ประมาณได้ยาก

เชิงอรรถ :
๑ ดู องฺ.ติก. (แปล) ๒๐/๑๑๖/๓๕๘-๓๕๙

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๖ หน้า :๑๗๘ }


พระอภิธรรมปิฎก ปุคคลบัญญัติ ๓. ติกปุคคลบัญญัติ
[๑๒๐] บุคคลผู้ประมาณไม่ได้ เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้ทำให้แจ้งเจโตวิมุตติปัญญาวิมุตติอันไม่มีอาสวะเพราะอาสวะ
ทั้งหลายสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน บุคคลนี้เรียกว่า ผู้ประมาณไม่ได้
[๑๒๑] บุคคลที่ไม่ควรเสพ ไม่ควรคบ ไม่ควรเข้าไปนั่งใกล้๑ เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นคนต่ำทรามกว่าตนในด้านศีล สมาธิ ปัญญา
บุคคลเช่นนี้ไม่ควรเสพ ไม่ควรคบ ไม่ควรเข้าไปนั่งใกล้ เว้นไว้แต่ความเอ็นดู และ
ความอนุเคราะห์
[๑๒๒] บุคคลที่ควรเสพ ควรคบ ควรเข้าไปนั่งใกล้๑ เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นคนเสมอตนในด้านศีล สมาธิ ปัญญา บุคคลเช่นนี้
ควรเสพ ควรคบ ควรเข้าไปนั่งใกล้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะการสนทนาเกี่ยวกับศีล
สมาธิ ปัญญา จักมีแก่เราทั้งหลายผู้ถึงความเสมอกันในด้านศีล สมาธิ ปัญญา
การสนทนาของเราทั้งหลายนั้นจักเป็นความสำราญและจักดำเนินไปได้ เพราะฉะนั้น
บุคคลเช่นนี้จึงควรเสพ ควรคบ ควรเข้าไปนั่งใกล้
[๑๒๓] บุคคลที่ควรสักการะ เคารพแล้วจึงเสพ คบ เข้าไปนั่งใกล้๑ เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้เหนือกว่าตนในด้านศีล สมาธิ ปัญญา บุคคล
เช่นนี้ควรสักการะ เคารพแล้วจึงเสพ คบ เข้าไปนั่งใกล้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะบุคคลเช่นนี้คิดว่า “เราจักได้บำเพ็ญศีลขันธ์ (กองศีล) สมาธิขันธ์ (กองสมาธิ)
ปัญญาขันธ์ (กองปัญญา) ที่ยังไม่บริบูรณ์ให้บริบูรณ์หรือจักอนุเคราะห์ศีลขันธ์ สมาธิขันธ์
ปัญญาขันธ์ที่บริบูรณ์ด้วยปัญญาในที่นั้น ๆ” เพราะฉะนั้น บุคคลเช่นนี้ควรสักการะ
เคารพแล้วจึงเสพ คบ เข้าไปนั่งใกล้
[๑๒๔] บุคคลที่ควรรังเกียจ ไม่ควรเสพ ไม่ควรคบ ไม่ควรเข้าไปนั่งใกล้๒
เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้ทุศีล มีธรรมอันเลวทราม ไม่สะอาด มีความ
ประพฤติที่น่ารังเกียจ มีการงานอันปกปิด ไมใช่สมณะแต่ปฏิญญาว่าป็นสมณะ

เชิงอรรถ :
๑ ดู องฺ.ติก. (แปล) ๒๐/๒๖/๑๗๔-๑๗๕
๒ ดู องฺ.ติก. (แปล) ๒๐/๒๗/๑๗๕-๑๗๖

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๖ หน้า :๑๗๙ }


พระอภิธรรมปิฎก ปุคคลบัญญัติ ๓. ติกปุคคลบัญญัติ
ไม่ใช่พรหมจารีแต่ปฏิญญาว่าเป็นพรหมจารี๑ เน่าภายใน ชุ่มด้วยราคะ เป็นเหมือน
หยากเยื่อ บุคคลเช่นนี้ควรรังเกียจ ไม่ควรเสพ ไม่ควรคบ ไม่ควรเข้าไปนั่งใกล้ ข้อ
นั้นเพราะเหตุไร เพราะคนทั่วไปแม้จะไม่ได้ตามอย่างบุคคลเช่นนี้ แต่กิตติศัพท์อัน
ชั่วของเขาย่อมกระฉ่อนไปว่า คนคบมิตรชั่ว คบสหายชั่ว คบเพื่อนชั่ว เปรียบ
เหมือนงูที่เปื้อนคูถถึงจะไม่กัดใคร ๆ ก็จริง ถึงอย่างนั้นก็ทำให้เขาเปื้อนได้ฉันใด คน
ทั่วไปก็ฉันนั้นเหมือนกัน แม้จะไม่ได้ตามอย่างบุคคลเช่นนี้ แต่กิตติศัพท์อันชั่วของ
เขาก็กระฉ่อนไปว่า คนคบมิตรชั่ว คบสหายชั่ว คบเพื่อนชั่ว เพราะฉะนั้น บุคคล
เช่นนี้จึงควรรังเกียจ ไม่ควรเสพ ไม่ควรคบ ไม่ควรเข้าไปนั่งใกล้
[๑๒๕] บุคคลที่ควรวางเฉย ไม่ควรเสพ ไม่ควรคบ ไม่ควรเข้าไปนั่งใกล้๒
เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นคนมักโกรธ มากไปด้วยความแค้นใจ ถูกว่ากล่าว
เพียงเล็กน้อยก็ขัดใจ โกรธเคือง พยาบาท ขึ้งเคียด แสดงอาการโกรธ ขัดเคือง
และไม่พอใจ เปรียบเหมือนแผลเก่าถูกไม้หรือกระเบื้องกระทบเข้า ย่อมหลั่งน้ำ
หนองออกมากยิ่งขึ้นแม้ฉันใด บุคคลบางคนในโลกนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เป็นคนมัก
โกรธ มากไปด้วยความคับแค้นใจ ถูกว่ากล่าวเพียงเล็กน้อยก็ขัดใจ โกรธเคือง
พยาบาท ขึ้งเคียด แสดงอาการโกรธ ขัดเคือง และไม่พอใจ
เปรียบเหมือนถ่านไม้มะพลับถูกไม้หรือกระเบื้องกระทบเข้าย่อมปะทุเกินประมาณ
แม้ฉันใด บุคคลบางคนในโลกนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เป็นคนมักโกรธ มากไปด้วย
ความคับแค้นใจ ถูกว่ากล่าวเพียงเล็กน้อยก็ขัดใจ โกรธเคือง พยาบาท ขึ้งเคียด
แสดงอาการโกรธ ขัดเคือง และไม่พอใจ
เปรียบเหมือนหลุมคูถถูกไม้หรือกระเบื้องกระทบเข้าย่อมส่งกลิ่นเหม็นรุนแรงขึ้น
แม้ฉันใด บุคคลบางคนในโลกนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เป็นคนมักโกรธ มากไปด้วย
ความคับแค้นใจ ถูกว่ากล่าวเพียงเล็กน้อยก็ขัดใจโกรธเคือง พยาบาท ขึ้งเคียด

เชิงอรรถ :
๑ ไม่ใช่พรหมจารีแต่ปฏิญญาว่าเป็นพรหมจารี ในที่นี้หมายถึงตนเองไม่มีศีล หมดสภาพความเป็นภิกษุ
แต่ยังเรียกตนเองว่าเป็นภิกษุแล้วร่วมอยู่ร่วมฉันกับภิกษุอื่นผู้มีศีลใช้สิทธิถือเอาลาภที่เกิดขึ้นในสงฆ์(องฺ.ติก.อ.
๒/๑๓/๘๖)
๒ ดู องฺ.ติก. (แปล) ๒๐/๒๗/๑๗๖-๑๗๗

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๖ หน้า :๑๘๐ }


พระอภิธรรมปิฎก ปุคคลบัญญัติ ๓. ติกปุคคลบัญญัติ
แสดงอาการโกรธ ขัดเคือง และไม่พอใจ บุคคลเช่นนี้ควรวางเฉย ไม่ควรเสพ
ไม่ควรคบ ไม่ควรเข้าไปนั่งใกล้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะบุคคลบางคนคิดว่า
“บุคคลเช่นนี้จะพึงด่าเราบ้าง บริภาษเราบ้าง ทำเราให้ฉิบหายบ้าง” เพราะฉะนั้น
บุคคลเช่นนี้จึงควรวางเฉย ไม่ควรเสพ ไม่ควรคบ ไม่ควรเข้าไปนั่งใกล้
[๑๒๖] บุคคลที่ควรเสพ ควรคบ ควรเข้าไปนั่งใกล้ เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้มีศีล มีธรรมอันงาม บุคคลเช่นนี้ควรเสพ ควรคบ
ควรเข้าไปนั่งใกล้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะบุคคลทั่วไปแม้จะไม่ได้ตามอย่างบุคคลเช่นนี้
แต่กิตติศัพท์อันงามของเขาก็ขจรไปว่า “คนคบมิตรดี คบสหายดี คบเพื่อนดี”
เพราะฉะนั้น บุคคลเช่นนี้จึงควรเสพ ควรคบ ควรเข้าไปนั่งใกล้
[๑๒๗] บุคคลผู้มีปกติทำให้บริบูรณ์ในศีล ทำให้พอประมาณในสมาธิ
ทำให้พอประมาณในปัญญา เป็นไฉน
บุคคลผู้เป็นโสดาบันและสกทาคามี บุคคลเหล่านี้เรียกว่า ผู้มีปกติทำให้
บริบูรณ์ในศีล ทำให้พอประมาณในสมาธิ ทำให้พอประมาณในปัญญา
[๑๒๘] บุคคลผู้มีปกติทำให้บริบูรณ์ในศีล ทำให้บริบูรณ์ในสมาธิ ทำให้
พอประมาณในปัญญา เป็นไฉน
บุคคลผู้เป็นอนาคามี บุคคลนี้เรียกว่า ผู้มีปกติทำให้บริบูรณ์ในศีล ทำให้
บริบูรณ์ในสมาธิ ทำให้พอประมาณในปัญญา
[๑๒๙] บุคคลผู้มีปกติทำให้บริบูรณ์ในศีล ทำให้บริบูรณ์ในสมาธิ ทำให้
บริบูรณ์ในปัญญา เป็นไฉน
บุคคลผู้เป็นอรหันต์ บุคคลนี้เรียกว่า ผู้มีปกติทำให้บริบูรณ์ในศีล ทำให้
บริบูรณ์ในสมาธิ ทำให้บริบูรณ์ในปัญญา
[๑๓๐] ในบทมาติกานั้น บุคคลผู้เป็นศาสดา ๓ จำพวก เป็นไฉน
ศาสดาบางคนในโลกนี้บัญญัติการละกาม แต่ไม่บัญญัติการละรูป ไม่บัญญัติ
การละเวทนา ศาสดาบางคนในโลกนี้บัญญัติการละกามและบัญญัติการละรูป แต่
ไม่บัญญัติการละเวทนา ศาสดาบางคนในโลกนี้บัญญัติการละกาม บัญญัติการละรูป
และบัญญัติการละเวทนา


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๖ หน้า :๑๘๑ }


พระอภิธรรมปิฎก ปุคคลบัญญัติ ๓. ติกปุคคลบัญญัติ
บรรดาศาสดาเหล่านั้น ศาสดาที่บัญญัติการละกาม แต่ไม่บัญญัติการละรูป
ไม่บัญญติการละเวทนา ด้วยการบัญญัตินั้นพึงเห็นศาสดาผู้ได้รูปาวจรสมาบัติ
บรรดาศาสดาเหล่านั้น ศาสดาที่บัญญัติการละกามและบัญญัติการละรูป แต่ไม่
บัญญัติการละเวทนา ด้วยการบัญญัตินั้นพึงเห็นศาสดาผู้ได้อรูปสมาบัติ บรรดา
ศาสดาเหล่านั้น ศาสดาที่บัญญัติการละกาม บัญญัติการละรูป และบัญญัติการละ
เวทนา ด้วยการบัญญัตินั้นพึงเห็นว่า เป็นศาสดาผู้ตรัสรู้เองโดยชอบ บุคคลผู้เป็น
ศาสดา ๓ จำพวกเหล่านี้
[๑๓๑] บรรดาบุคคลเหล่านั้น บุคคลผู้เป็นศาสดา ๓ จำพวกแม้อื่นอีก เป็นไฉน
ศาสดาบางคนในโลกนี้บัญญัติอัตตาในปัจจุบันโดยความเป็นของมีจริง โดย
ความเป็นของยั่งยืน และบัญญัติอัตตาในภพหน้าโดยความเป็นของมีจริง โดย
ความเป็นของยั่งยืน ส่วนศาสดาบางคนในโลกนี้บัญญัติอัตตาในปัจจุบันโดยความ
เป็นของมีจริง โดยความเป็นของยั่งยืน แต่ไม่บัญญัติอัตตาในภพหน้า โดยความ
เป็นของมีจริง โดยความเป็นของยั่งยืน และศาสดาบางคนในโลกนี้ไม่บัญญัติอัตตา
ในปัจจุบันโดยความเป็นของมีจริง โดยความเป็นของยั่งยืน และไม่บัญญัติอัตตาใน
ภพหน้าโดยความเป็นของมีจริง โดยความเป็นของยั่งยืน
บรรดาศาสดาเหล่านั้น ศาสดาที่บัญญัติอัตตาโดยความเป็นของมีจริง โดย
ความเป็นของยั่งยืน และบัญญัติอัตตาในภพหน้าโดยความเป็นของมีจริง โดย
ความเป็นของยั่งยืน ด้วยการบัญญัตินั้นพึงเห็นว่า เป็นศาสดาผู้มีวาทะว่าเที่ยง
บรรดาศาสดาเหล่านั้น ศาสดาผู้ที่บัญญัติอัตตาในปัจจุบันโดยความเป็นของมีจริง
โดยความเป็นของยั่งยืน แต่ไม่บัญญัติอัตตาในภพหน้าโดยความเป็นของมีจริง
โดยความเป็นของยั่งยืน ด้วยการบัญญัตินั้นพึงเห็นว่าเป็นศาสดาผู้มีวาทะว่าขาดสูญ
ศาสดาผู้ที่ไม่บัญญัติอัตตาในปัจจุบันโดยความเป็นของมีจริง โดยความเป็นของ
ยั่งยืน และไม่บัญญัติอัตตาในภพหน้าโดยความเป็นของมีจริง โดยความเป็นของ
ยั่งยืน ด้วยการบัญญัตินั้นพึงเห็นว่า เป็นศาสดาผู้ตรัสรู้เองโดยชอบ บุคคลผู้เป็น
ศาสดา ๓ จำพวกแม้อื่นอีก
ติกนิทเทส จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๖ หน้า :๑๘๒ }


พระอภิธรรมปิฎก ปุคคลบัญญัติ ๔. จตุกกปุคคลบัญญัติ
๔. จตุกกปุคคลบัญญัติ
[๑๓๒] บุคคลผู้เป็นอสัตบุรุษ๑ เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม พูดเท็จ
เสพของมึนเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นเหตุแห่งความประมาท บุคคลนี้เรียกว่า ผู้
เป็นอสัตบุรุษ
[๑๓๓] บุคคลผู้เป็นอสัตบุรุษที่ยิ่งกว่าอสัตบุรุษ๑ เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้ตนเองเป็นผู้ฆ่าสัตว์และชักชวนผู้อื่นให้ฆ่าสัตว์ ตนเองเป็น
ผู้ลักทรัพย์และชักชวนผู้อื่นให้ลักทรัพย์ ตนเองเป็นผู้ประพฤติผิดในกามและชักชวน
ผู้อื่นให้ประพฤติผิดในกาม ตนเองเป็นผู้พูดเท็จและชักชวนผู้อื่นให้พูดเท็จ ตนเอง
เป็นผู้เสพของมึนเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นเหตุแห่งความประมาทและชักชวนผู้อื่น
ให้เสพของมึนเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นเหตุแห่งความประมาท บุคคลนี้เรียกว่า
ผู้เป็นอสัตบุรุษที่ยิ่งกว่าอสัตบุรุษ
[๑๓๔] บุคคลผู้เป็นสัตบุรุษ๑ เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ เป็นผู้เว้นขาดจากการลัก
ทรัพย์ เป็นผู้เว้นขาดจากการประพฤติผิดในกาม เป็นผู้เว้นขาดจากการพูดเท็จ
เป็นผู้เว้นขาดจากการเสพของมึนเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นเหตุแห่งความประมาท
บุคคลนี้เรียกว่า ผู้เป็นสัตบุรุษ
[๑๓๕] บุคคลผู้เป็นสัตบุรุษที่ยิ่งกว่าสัตบุรุษ๑ เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้ตนเองเป็นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์และชักชวนผู้อื่นให้เว้น
ขาดจากการฆ่าสัตว์ ตนเองเป็นผู้เว้นขาดจากการลักทรัพย์และชักชวนผู้อื่นให้เว้น
ขาดจากการลักทรัพย์ ตนเองเป็นผู้เว้นขาดจากการประพฤติผิดในกามและชักชวน
ผู้อื่นให้เว้นขาดจากการประพฤติผิดในกาม ตนเองเป็นผู้เว้นขาดจากการพูดเท็จและ
ชักชวนผู้อื่นให้เว้นขาดจากการพูดเท็จ ตนเองเป็นผู้เว้นขาดจากการเสพของมึนเมา
คือสุราและเมรัยอันเป็นเหตุแห่งความประมาทและชักชวนผู้อื่นให้เว้นขาดจากการเสพ
ของมึนเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นเหตุแห่งความประมาท บุคคลนี้เรียกว่า ผู้เป็น
สัตบุรุษที่ยิ่งกว่าสัตบุรุษ

เชิงอรรถ :
๑ ดู องฺ. จตุกฺก. (แปล) ๒๑/๒๐๑-๐๖/๓๒๐-๒๑

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๖ หน้า :๑๘๓ }


พระอภิธรรมปิฎก ปุคคลบัญญัติ ๔. จตุกกปุคคลบัญญัติ
[๑๓๖] บุคคลผู้เป็นคนชั่ว๑ เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม พูดเท็จ
พูดส่อเสียด พูดคำหยาบ พูดเพ้อเจ้อ โลภอยากได้ของผู้อื่น มีจิตพยาบาท เป็น
มิจฉาทิฏฐิ บุคคลนี้เรียกว่า ผู้เป็นคนชั่ว
[๑๓๗] บุคคลผู้เป็นคนชั่วที่ยิ่งกว่าคนชั่ว๑ เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้ตนเองเป็นผู้ฆ่าสัตว์และชักชวนผู้อื่นให้ฆ่าสัตว์ ตนเองเป็น
ผู้ลักทรัพย์และชักชวนผู้อื่นให้ลักทรัพย์ ตนเองเป็นผู้ประพฤติผิดในกามและชักชวน
ผู้อื่นให้ประพฤติผิดในกาม ตนเองเป็นผู้พูดเท็จและชักชวนผู้อื่นให้พูดเท็จ ตนเองเป็น
ผู้พูดส่อเสียดและชักชวนผู้อื่นให้พูดส่อเสียด ตนเองเป็นผู้พูดคำหยาบและชักชวน
ผู้อื่นให้พูดคำหยาบ ตนเองเป็นผู้พูดเพ้อเจ้อและชักชวนผู้อื่นให้พูดเพ้อเจ้อ ตนเอง
เป็นผู้โลภอยากได้ของผู้อื่นและชักชวนผู้อื่นให้โลภอยากได้ของผู้อื่น ตนเองเป็นผู้มี
จิตพยาบาทและชักชวนผู้อื่นให้มีจิตพยาบาท ตนเองเป็นมิจฉาทิฏฐิและชักชวนผู้อื่น
ให้เป็นมิจฉาทิฏฐิ บุคคลนี้เรียกว่า ผู้เป็นคนชั่วที่ยิ่งกว่าคนชั่ว
[๑๓๘] บุคคลผู้เป็นคนดี๑ เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ เป็นผู้เว้นขาดจากการลัก
ทรัพย์ เป็นผู้เว้นขาดจากการประพฤติผิดในกาม เป็นผู้เว้นขาดจากการพูดเท็จ
เป็นผู้เว้นขาดจากการพูดส่อเสียด เป็นผู้เว้นขาดจากการพูดคำหยาบ เป็นผู้เว้น
ขาดจากการพูดเพ้อเจ้อ เป็นผู้ไม่โลภอยากได้ของผู้อื่น เป็นผู้มีจิตไม่พยาบาท เป็น
สัมมาทิฏฐิ บุคคลนี้เรียกว่า ผู้เป็นคนดี
[๑๓๙] บุคคลผู้เป็นคนดีที่ยิ่งกว่าคนดี๑ เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้ตนเองเป็นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์และชักชวนผู้อื่นให้เว้น
ขาดจากการฆ่าสัตว์ ตนเองเป็นผู้เว้นขาดจากการลักทรัพย์และชักชวนผู้อื่นให้เว้น
ขาดจากการลักทรัพย์ ตนเองเป็นผู้เว้นขาดจากการประพฤติผิดในกามและชักชวน
ผู้อื่นให้เว้นขาดจากการประพฤติผิดในกาม ตนเองเป็นผู้เว้นขาดจากการพูดเท็จและ

เชิงอรรถ :
๑ ดู องฺ. จตุกฺก. (แปล) ๒๑/๒๐๗-๐๘/๓๒๗-๒๘

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๖ หน้า :๑๘๔ }


พระอภิธรรมปิฎก ปุคคลบัญญัติ ๔. จตุกกปุคคลบัญญัติ
ชักชวนผู้อื่นให้เว้นขาดจากการพูดเท็จ ตนเองเป็นผู้เว้นขาดจากการพูดส่อเสียด
และชักชวนผู้อื่นให้เว้นขาดจากการพูดส่อเสียด ตนเองเป็นผู้เว้นขาดจากการพูด
คำหยาบและชักชวนผู้อื่นให้เว้นขาดจากการพูดคำหยาบ ตนเองเป็นผู้เว้นขาดจาก
การพูดเพ้อเจ้อและชักชวนผู้อื่นให้เว้นขาดจากการพูดเพ้อเจ้อ ตนเองเป็นผู้ไม่โลภ
อยากได้ของผู้อื่นและชักชวนผู้อื่นไม่ให้โลภอยากได้ของผู้อื่น ตนเองเป็นผู้มีจิตไม่
พยาบาทและชักชวนผู้อื่นไม่ให้มีจิตพยาบาท ตนเองเป็นสัมมาทิฏฐิและชักชวนผู้อื่น
ให้เป็นสัมมาทิฏฐิ บุคคลนี้เรียกว่า ผู้เป็นคนดีที่ยิ่งกว่าคนดี
[๑๔๐] บุคคลผู้มีธรรมชั่ว เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ฯลฯ๑ เป็นมิจฉาทิฏฐิ บุคคล
นี้เรียกว่า ผู้มีธรรมชั่ว
[๑๔๑] บุคคลผู้มีธรรมชั่วที่ยิ่งกว่าบุคคลผู้มีธรรมชั่ว เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้ตนเองเป็นผู้ฆ่าสัตว์และชักชวนผู้อื่นให้ฆ่าสัตว์ ตนเอง
เป็นผู้ลักทรัพย์และชักชวนผู้อื่นให้ลักทรัพย์ ฯลฯ๒ ตนเองเป็นมิจฉาทิฏฐิและชักชวน
ผู้อื่นให้เป็นมิจฉาทิฏฐิ บุคคลนี้เรียกว่า ผู้มีธรรมชั่วที่ยิ่งกว่าบุคคลผู้มีธรรมชั่ว
[๑๔๒] บุคคลผู้มีธรรมดี เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ เป็นผู้เว้นขาดจากการลัก
ทรัพย์ ฯลฯ๓ เป็นสัมมาทิฏฐิ บุคคลนี้เรียกว่า ผู้มีธรรมดี
[๑๔๓] บุคคลผู้มีธรรมดีที่ยิ่งกว่าบุคคลผู้มีธรรมดี เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้ตนเองเป็นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์และชักชวนผู้อื่นให้เว้น
ขาดจากการฆ่าสัตว์ ฯลฯ๔ ตนเองเป็นสัมมาทิฏฐิและชักชวนผู้อื่นให้เป็นสัมมาทิฏฐิ
บุคคลนี้เรียกว่า ผู้มีธรรมดีที่ยิ่งกว่าบุคคลผู้มีธรรมดี

เชิงอรรถ :
๑ ดูความเต็มในข้อ ๑๓๖ หน้า ๑๘๔ ในเล่มนี้
๒ ดูความเต็มในข้อ ๑๓๗ หน้า ๑๘๔ ในเล่มนี้
๓ ดูความเต็มในข้อ ๑๓๘ หน้า ๑๘๔ ในเล่มนี้
๔ ดูความเต็มในข้อ ๑๓๙ หน้า ๑๘๔ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๖ หน้า :๑๘๕ }


พระอภิธรรมปิฎก ปุคคลบัญญัติ ๔. จตุกกปุคคลบัญญัติ
[๑๔๔] บุคคลผู้มีแต่โทษ๑ เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้ประกอบด้วยกายกรรมที่มีโทษ ประกอบด้วยวจีกรรมที่
มีโทษ ประกอบด้วยมโนกรรมที่มีโทษ บุคคลนี้เรียกว่า ผู้มีแต่โทษ
[๑๔๕] บุคคลผู้มีโทษเป็นส่วนมาก๑ เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้ประกอบด้วยกายกรรมที่มีโทษเป็นส่วนมาก ไม่มีโทษ
เป็นส่วนน้อย ประกอบด้วยวจีกรรมที่มีโทษเป็นส่วนมาก ไม่มีโทษเป็นส่วนน้อย
ประกอบด้วยมโนกรรมที่มีโทษเป็นส่วนมาก ไม่มีโทษเป็นส่วนน้อย บุคคลนี้เรียกว่า
ผู้มีโทษเป็นส่วนมาก
[๑๔๖] บุคคลผู้มีโทษเป็นส่วนน้อย๑ เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้ประกอบด้วยกายกรรมที่ไม่มีโทษเป็นส่วนมาก มีโทษ
เป็นส่วนน้อย ประกอบด้วยวจีกรรมที่ไม่มีโทษเป็นส่วนมาก มีโทษเป็นส่วนน้อย
ประกอบด้วยมโนกรรมที่ไม่มีโทษเป็นส่วนมาก มีโทษเป็นส่วนน้อย บุคคลนี้เรียกว่า
ผู้มีโทษเป็นส่วนน้อย
[๑๔๗] บุคคลผู้ไม่มีโทษ๑ เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้ประกอบด้วยกายกรรมที่ไม่มีโทษ ประกอบด้วย
วจีกรรมที่ไม่มีโทษ ประกอบด้วยมโนกรรมที่ไม่มีโทษ บุคคลนี้เรียกว่า ผู้ไม่มีโทษ
[๑๔๘] บุคคลผู้เป็นอุคฆฏิตัญญู๒ เป็นไฉน
บุคคลใดบรรลุธรรมพร้อมกับเวลาที่ท่านยกหัวข้อขึ้นแสดง บุคคลนี้เรียกว่า
ผู้เป็นอุคฆฏิตัญญู
[๑๔๙] บุคคลผู้เป็นวิปจิตัญญู๒ เป็นไฉน
บุคคลใดเมื่อเขาอธิบายเนื้อความแห่งภาษิตโดยย่อให้พิสดาร จึงบรรลุธรรม
บุคคลนี้เรียกว่า ผู้เป็นวิปจิตัญญู

เชิงอรรถ :
๑ ดู องฺ. จตุกฺก. (แปล) ๒๑/๑๓๕/๒๐๓-๐๔
๒ ดู องฺ. จตุกฺก. (แปล) ๒๑/๑๓๓/๒๐๒

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๖ หน้า :๑๘๖ }


พระอภิธรรมปิฎก ปุคคลบัญญัติ ๔. จตุกกปุคคลบัญญัติ
[๑๕๐] บุคคลผู้เป็นเนยยะ ๑ เป็นไฉน
บุคคลใดบรรลุธรรมโดยลำดับอย่างนี้ คือ โดยการแสดง การถาม การ
มนสิการโดยแยบคาย การเสพ การคบ การเข้าไปนั่งใกล้กัลยาณมิตร บุคคลนี้
เรียกว่า ผู้เป็นเนยยะ
[๑๕๑] บุคคลผู้เป็นปทปรมะ๑ เป็นไฉน
บุคคลใดฟังก็มาก กล่าวก็มาก ทรงจำก็มาก บอกสอนก็มาก แต่ไม่ได้บรรลุ
ธรรมในชาตินั้น บุคคลนี้เรียกว่า ผู้เป็นปทปรมะ
[๑๕๒] บุคคลผู้ตอบได้ถูกต้องแต่ไม่รวดเร็ว๒ เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้ถูกถามปัญหาย่อมตอบได้ถูกต้องแต่ไม่รวดเร็ว บุคคล
นี้เรียกว่า ผู้ตอบได้ถูกต้องแต่ไม่รวดเร็ว
[๑๕๓] บุคคลผู้ตอบได้รวดเร็วแต่ไม่ถูกต้อง๒ เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้ถูกถามปัญหาก็ตอบได้รวดเร็วแต่ไม่ถูกต้อง บุคคลนี้เรียกว่า
ผู้ตอบได้รวดเร็วแต่ไม่ถูกต้อง
[๑๕๔] บุคคลผู้ตอบได้ถูกต้องและรวดเร็ว๒ เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้ถูกถามปัญหาย่อมตอบได้ถูกต้องและรวดเร็ว บุคคลนี้
เรียกว่า ผู้ตอบได้ถูกต้องและรวดเร็ว
[๑๕๕] บุคคลผู้ตอบได้ไม่ถูกต้องและไม่รวดเร็ว๒ เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้ถูกถามปัญหาย่อมตอบได้ไม่ถูกต้องและไม่รวดเร็ว บุคคล
นี้เรียกว่า ผู้ตอบได้ไม่ถูกต้องและไม่รวดเร็ว
[๑๕๖] ในบทมาติกานั้น บุคคลผู้เป็นธรรมกถึก ๔ จำพวก๓ เป็นไฉน
๑. ธรรมกถึกบางคนในธรรมวินัยนี้กล่าวธรรมน้อยและไม่มีประโยชน์ ทั้งหมู่
ผู้ฟังก็ไม่ฉลาดในเรื่องที่มีประโยชน์และไม่มีประโยชน์ ธรรมกถึกเช่นนี้นับ
ว่าเป็นธรรมกถึกสำหรับผู้ฟังเช่นนี้เหมือนกัน

เชิงอรรถ :
๑ ดู องฺ. จตุกฺก. (แปล) ๒๑/๑๓๓/๒๐๒
๒ ดู องฺ. จตุกฺก. (แปล) ๒๑/๑๓๒/๒๐๑
๓ ดู องฺ. จตุกฺก. (แปล) ๒๑/๑๓๙/๒๐๗-๐๘

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๖ หน้า :๑๘๗ }


พระอภิธรรมปิฎก ปุคคลบัญญัติ ๔. จตุกกปุคคลบัญญัติ
๒. ธรรมกถึกบางคนในธรรมวินัยนี้กล่าวธรรมน้อยแต่มีประโยชน์และหมู่ผู้ฟัง
ก็เป็นผู้ฉลาดในเรื่องที่มีประโยชน์และไม่มีประโยชน์ ธรรมกถึกเช่นนี้นับ
ว่าเป็นธรรมกถึกสำหรับหมู่ผู้ฟังเช่นนี้เหมือนกัน
๓. ธรรมกถึกบางคนในธรรมวินัยนี้กล่าวธรรมมากแต่ไม่มีประโยชน์ และหมู่
ผู้ฟังก็เป็นผู้ไม่ฉลาดในเรื่องที่มีประโยชน์และไม่มีประโยชน์ ธรรมกถึกเช่น
นี้นับว่าเป็นธรรมกถึกสำหรับหมู่ผู้ฟังเช่นนี้เหมือนกัน
๔. ธรรมกถึกบางคนในธรรมวินัยนี้กล่าวธรรมมากและมีประโยชน์ และหมู่
ผู้ฟังก็เป็นผู้ฉลาดในเรื่องที่มีประโยชน์และไม่มีประโยชน์ ธรรมกถึกเช่นนี้
นับว่าเป็นธรรมกถึกสำหรับหมู่ผู้ฟังเช่นนี้เหมือนกัน
บุคคลผู้เป็นธรรมกถึก ๔ จำพวกเหล่านี้
[๑๕๗] ในบทมาติกานั้น บุคคลเปรียบเหมือนเมฆ ๔ จำพวก๑ เป็นไฉน
เมฆ ๔ ชนิด คือ
๑. เมฆที่คำรามแต่ไม่ให้ฝนตก
๒. เมฆที่ให้ฝนตกแต่ไม่คำราม
๓. เมฆที่คำรามและให้ฝนตก
๔. เมฆที่ไม่คำรามและไม่ให้ฝนตก
บุคคลเปรียบเหมือนเมฆ ๔ จำพวกมีปรากฏอยู่ในโลกอย่างนี้เหมือนกัน
บุคคล ๔ จำพวก เป็นไฉน
๑. บุคคลเปรียบเหมือนเมฆที่คำรามแต่ไม่ให้ฝนตก
๒. บุคคลเปรียบเหมือนเมฆที่ให้ฝนตกแต่ไม่คำราม
๓. บุคคลเปรียบเหมือนเมฆที่คำรามและให้ฝนตก
๔. บุคคลเปรียบเหมือนเมฆที่ไม่คำรามและไม่ให้ฝนตก
บุคคลเปรียบเหมือนเมฆที่คำรามแต่ไม่ให้ฝนตก เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้ชอบพูดแต่ไม่ทำ บุคคลเช่นนี้เปรียบเหมือนเมฆที่คำราม
แต่ไม่ให้ฝนตก บุคคลประเภทนี้จึงเปรียบเหมือนเมฆที่คำรามแต่ไม่ให้ฝนตก (๑)

เชิงอรรถ :
๑ ดู องฺ. จตุกฺก. (แปล) ๒๑/๑๐๑/๑๕๔-๕๕

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๖ หน้า :๑๘๘ }


พระอภิธรรมปิฎก ปุคคลบัญญัติ ๔. จตุกกปุคคลบัญญัติ
บุคคลเปรียบเหมือนเมฆที่ให้ฝนตกแต่ไม่คำราม เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้ชอบทำแต่ไม่พูด บุคคลเช่นนี้เปรียบเหมือนเมฆที่ให้ฝน
ตกแต่ไม่คำราม บุคคลประเภทนี้จึงเปรียบเหมือนเมฆที่ให้ฝนตกแต่ไม่คำราม (๒)
บุคคลเปรียบเหมือนเมฆที่คำรามและให้ฝนตก เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้ชอบพูดและชอบทำ บุคคลเช่นนี้เปรียบเหมือนเมฆที่
คำรามและให้ฝนตก บุคคลประเภทนี้จึงเปรียบเหมือนเมฆที่คำรามและให้ฝนตก (๓)
บุคคลเปรียบเหมือนเมฆที่ไม่คำรามและไม่ให้ฝนตก เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้ไม่พูดและไม่ทำ บุคคลเช่นนี้เปรียบเหมือนเมฆที่ไม่คำราม
และไม่ให้ฝนตก บุคคลประเภทนี้จึงเปรียบเหมือนเมฆที่ไม่คำรามและไม่ให้ฝนตก (๔)
บุคคลเปรียบเหมือนเมฆ ๔ จำพวกเหล่านี้มีปรากฏอยู่ในโลกอย่างนี้เหมือนกัน
[๑๕๘] ในบทมาติกานั้น บุคคลเปรียบเหมือนหนู ๔ จำพวก๑ เป็นไฉน
หนู ๔ จำพวก คือ
๑. หนูขุดรูแต่ไม่อยู่ ๒. หนูอยู่แต่ไม่ขุดรู
๓. หนูขุดรูและอยู่ ๔. หนูไม่ขุดรูและไม่อยู่
บุคคลเปรียบเหมือนหนู ๔ จำพวกเหล่านี้มีปรากฏอยู่ในโลกอย่างนี้เหมือนกัน
บุคคลเปรียบเหมือนหนู ๔ จำพวก เป็นไฉน
๑. บุคคลเปรียบเหมือนหนูขุดรูแต่ไม่อยู่
๒. บุคคลเปรียบเหมือนหนูอยู่แต่ไม่ขุดรู
๓. บุคคลเปรียบเหมือนหนูขุดรูและอยู่
๔. บุคคลเปรียบเหมือนหนูไม่ขุดรูและไม่อยู่
บุคคลเปรียบเหมือนหนูขุดรูแต่ไม่อยู่ เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้เรียนธรรม คือ สุตตะ เคยยะ เวยยากรณะ คาถา อุทาน
อิติวุตตกะ ชาตกะ อัพภูตธรรม เวทัลละ แต่เขาไม่รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า “นี้ทุกข์
นี้เหตุเกิดแห่งทุกข์ นี้ความดับทุกข์ นี้ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์” บุคคลเช่นนี้
เปรียบเหมือนหนูขุดรูแต่ไม่อยู่ บุคคลประเภทนี้จึงเปรียบเหมือนหนูที่ขุดรูแต่ไม่อยู่(๑)

เชิงอรรถ :
๑ ดู องฺ. จตุกฺก. (แปล) ๒๑/๑๐๗/๑๖๒-๖๓

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๖ หน้า :๑๘๙ }


พระอภิธรรมปิฎก ปุคคลบัญญัติ ๔. จตุกกปุคคลบัญญัติ
บุคคลเปรียบเหมือนหนูอยู่แต่ไม่ขุดรู เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้ไม่เรียนธรรม คือ สุตตะ เคยยะ เวยยากรณะ คาถา
อุทาน อิติวุตตกะ ชาตกะ อัพภูตธรรม เวทัลละ แต่เขารู้ชัดตามความเป็นจริงว่า
“นี้ทุกข์ นี้เหตุเกิดแห่งทุกข์ นี้ความดับทุกข์ นี้ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์’
บุคคลเช่นนี้เปรียบเหมือนหนูอยู่แต่ไม่ขุดรู บุคคลประเภทนี้จึงเปรียบเหมือนหนูที่อยู่
แต่ไม่ขุดรู (๒)
บุคคลเปรียบเหมือนหนูขุดรูและอยู่ เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้เรียนธรรม คือ สุตตะ เคยยะ เวยยากรณะ คาถา อุทาน
อิติวุตตกะ ชาตกะ อัพภูตธรรม เวทัลละ และเขารู้ชัดตามความเป็นจริงว่า “นี้ทุกข์
นี้เหตุเกิดแห่งทุกข์ นี้ความดับทุกข์ นี้ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์” บุคคลเช่นนี้
เปรียบเหมือนหนูขุดรูและอยู่ บุคคลประเภทนี้จึงเปรียบเหมือนหนูที่ขุดรูและอยู่ (๓)
บุคคลเปรียบเหมือนหนูไม่ขุดรูและไม่อยู่ เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้ไม่เรียนธรรม คือ สุตตะ เคยยะ เวยยากรณะ คาถา
อุทาน อิติวุตตกะ ชาตกะ อัพภูตธรรม เวทัลละ และเขาไม่รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า
“นี้ทุกข์ นี้เหตุเกิดแห่งทุกข์ นี้ความดับทุกข์ นี้ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์”
บุคคลเช่นนี้เปรียบเหมือนหนูไม่ขุดรูและไม่อยู่ บุคคลประเภทนี้จึงเปรียบเหมือนหนู
ที่ไม่ขุดรูและไม่อยู่ (๔)
บุคคลเปรียบเหมือนหนู ๔ จำพวกเหล่านี้มีปรากฏอยู่ในโลก
[๑๕๙] ในบทมาติกานั้น บุคคลเปรียบเหมือนมะม่วง ๔ จำพวก๑ เป็นไฉน
มะม่วง ๔ ชนิด คือ
๑. มะม่วงดิบแต่ผิวสุก ๒. มะม่วงสุกแต่ผิวดิบ
๓. มะม่วงดิบและผิวดิบ ๔. มะม่วงสุกและผิวสุก
บุคคลเปรียบเหมือนมะม่วง ๔ จำพวกเหล่านี้มีปรากฏอยู่ในโลกอย่างนี้เหมือนกัน

เชิงอรรถ :
๑ ดู องฺ. จตุกฺก. (แปล) ๒๑/๑๐๕/๑๖๐-๖๑

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๖ หน้า :๑๙๐ }


พระอภิธรรมปิฎก ปุคคลบัญญัติ ๔. จตุกกปุคคลบัญญัติ
บุคคล ๔ จำพวก เป็นไฉน
๑. บุคคลเปรียบเหมือนมะม่วงดิบแต่ผิวสุก
๒. บุคคลเปรียบเหมือนมะม่วงสุกแต่ผิวดิบ
๓. บุคคลเปรียบเหมือนมะม่วงดิบและผิวดิบ
๔. บุคคลเปรียบเหมือนมะม่วงสุกและผิวสุก
บุคคลเปรียบเหมือนมะม่วงดิบแต่ผิวสุก เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้มีการก้าวไป การถอยกลับ การแลดู การเหลียวดู
การคู้เข้า การเหยียดออก การครองสังฆาฏิ บาตร และจีวรน่าเลื่อมใส แต่เขา
ไม่รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า “นี้ทุกข์ นี้เหตุเกิดแห่งทุกข์ นี้ความดับทุกข์ นี้ข้อ
ปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์” บุคคลเช่นนี้เปรียบเหมือนมะม่วงดิบแต่ผิวสุก บุคคล
ประเภทนี้จึงเปรียบเหมือนมะม่วงดิบแต่ผิวสุก (๑)
บุคคลเปรียบเหมือนมะม่วงสุกแต่ผิวดิบ เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้มีการก้าวไป การถอยกลับ การแลดู การเหลียวดู
การคู้เข้า การเหยียดออก การครองสังฆาฏิ บาตร และจีวรที่ไม่น่าเลื่อมใส
แต่เขารู้ชัดตามความเป็นจริงว่า “นี้ทุกข์ นี้เหตุเกิดแห่งทุกข์ นี้ความดับทุกข์ นี้
ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์” บุคคลเช่นนี้เปรียบเหมือนมะม่วงสุกแต่ผิวดิบ
บุคคลประเภทนี้จึงเปรียบเหมือนมะม่วงสุกแต่ผิวดิบ (๒)
บุคคลเปรียบเหมือนมะม่วงดิบและผิวดิบ เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้มีการก้าวไป การถอยกลับ การแลดู การเหลียวดู
การคู้เข้า การเหยียดออก การครองสังฆาฏิ บาตร และจีวรที่ไม่น่าเลื่อมใส และ
เขาไม่รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า “นี้ทุกข์ นี้เหตุเกิดแห่งทุกข์ นี้ความดับทุกข์ นี้ข้อ
ปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์” บุคคลเช่นนี้เปรียบเหมือนมะม่วงดิบและผิวดิบ บุคคล
ประเภทนี้จึงเปรียบเหมือนมะม่วงดิบและผิวดิบ (๓)
บุคคลเปรียบเหมือนมะม่วงสุกและผิวสุก เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้มีการก้าวไป การถอยกลับ การแลดู การเหลียวดู
การคู้เข้า การเหยียดออก การครองสังฆาฏิ บาตร และจีวรที่น่าเลื่อมใส และเขา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๖ หน้า :๑๙๑ }


พระอภิธรรมปิฎก ปุคคลบัญญัติ ๔. จตุกกปุคคลบัญญัติ
รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า “นี้ทุกข์ นี้เหตุเกิดแห่งทุกข์ นี้ความดับทุกข์ นี้ข้อ
ปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์” บุคคลเช่นนี้เปรียบเหมือนมะม่วงสุกและผิวสุก บุคคล
ประเภทนี้จึงเปรียบเหมือนมะม่วงสุกและผิวสุก (๔)
บุคคลเปรียบเหมือนมะม่วง ๔ จำพวกเหล่านี้มีปรากฏอยู่ในโลก
[๑๖๐] ในบทมาติกานั้น บุคคลเปรียบเหมือนหม้อ ๔ จำพวก๑ เป็นไฉน
หม้อ ๔ ชนิด คือ
๑. หม้อเปล่าแต่ปิดฝา ๒. หม้อเต็มแต่เปิดฝา
๓. หม้อเปล่าและเปิดฝา ๔. หม้อเต็มและปิดฝา
บุคคลเปรียบเหมือนหม้อ ๔ จำพวกเหล่านี้มีปรากฏอยู่ในโลกอย่างนี้เหมือนกัน
บุคคล ๔ จำพวก เป็นไฉน
๑. บุคคลเปรียบเหมือนหม้อเปล่าแต่ปิดฝา
๒. บุคคลเปรียบเหมือนหม้อเต็มแต่เปิดฝา
๓. บุคคลเปรียบเหมือนหม้อเปล่าและเปิดฝา
๔. บุคคลเปรียบเหมือนหม้อเต็มและปิดฝา
บุคคลเปรียบเหมือนหม้อเปล่าแต่ปิดฝา เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้มีการก้าวไป การถอยกลับ การแลดู การเหลียวดู
การคู้เข้า การเหยียดออก การครองสังฆาฏิ บาตร และจีวรที่น่าเลื่อมใส แต่เขา
ไม่รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า “นี้ทุกข์ นี้เหตุเกิดแห่งทุกข์ นี้ความดับทุกข์ นี้ข้อ
ปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์” บุคคลเช่นนี้เปรียบเหมือนหม้อเปล่าแต่ปิดฝา บุคคล
ประเภทนี้จึงเปรียบเหมือนหม้อเปล่าแต่ปิดฝา
บุคคลเปรียบเหมือนหม้อเต็มแต่เปิดฝา เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้มีการก้าวไป การถอยกลับ การแลดู การเหลียวดู
การคู้เข้า การเหยียดออก การครองสังฆาฏิ บาตร และจีวรที่ไม่น่าเลื่อมใส แต่
เขารู้ชัดตามความเป็นจริงว่า “นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์”
บุคคลเช่นนี้เปรียบเหมือนหม้อเต็มแต่เปิดฝา บุคคลประเภทนี้จึงเปรียบเหมือน
หม้อเต็มแต่เปิดฝา

เชิงอรรถ :
๑ ดู องฺ. จตุกฺก. (แปล) ๒๑/๑๐๓/๑๕๗-๕๘

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๖ หน้า :๑๙๒ }


พระอภิธรรมปิฎก ปุคคลบัญญัติ ๔. จตุกกปุคคลบัญญัติ
บุคคลเปรียบเหมือนหม้อเปล่าและเปิดฝา เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้มีการก้าวไป การถอยกลับ การแลดู การเหลียวดู
การคู้เข้า การเหยียดออก การครองสังฆาฏิ บาตร และจีวรที่ไม่น่าเลื่อมใส และเขา
ไม่รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า “นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์” บุคคล
เช่นนี้เปรียบเหมือนหม้อเปล่าและเปิดฝา บุคคลประเภทนี้จึงเปรียบเหมือนหม้อ
เปล่าและเปิดฝา
บุคคลเปรียบเหมือนหม้อเต็มและปิดฝา เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้มีการก้าวไป การถอยกลับ การแลดู การเหลียวดู
การคู้เข้า การเหยียดออก การครองสังฆาฏิ บาตร และจีวรที่น่าเลื่อมใส และ
เขารู้ชัดตามความเป็นจริงว่า “นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์”
บุคคลเช่นนี้เปรียบเหมือนหม้อเต็มและปิดฝา บุคคลประเภทนี้จึงเปรียบเหมือน
หม้อเต็มและปิดฝา
บุคคลเปรียบเหมือนหม้อ ๔ จำพวกเหล่านี้มีปรากฏอยู่ในโลก
[๑๖๑] ในบทมาติกานั้น บุคคลเปรียบเหมือนห้วงน้ำ ๔ จำพวก๑ เป็นไฉน
ห้วงน้ำ ๔ ชนิด คือ
๑. ห้วงน้ำตื้นแต่เงาลึก ๒. ห้วงน้ำลึกแต่เงาตื้น
๓. ห้วงน้ำตื้นและเงาตื้น ๔. ห้วงน้ำลึกและเงาลึก
บุคคลเปรียบเหมือนห้วงน้ำ ๔ จำพวกเหล่านี้มีปรากฏอยู่ในโลกอย่างนี้เหมือนกัน
บุคคล ๔ จำพวก เป็นไฉน
๑. บุคคลเปรียบเหมือนห้วงน้ำตื้นแต่เงาลึก
๒. บุคคลเปรียบเหมือนห้วงน้ำลึกแต่เงาตื้น
๓. บุคคลเปรียบเหมือนห้วงน้ำตื้นและเงาตื้น
๔. บุคคลเปรียบเหมือนห้วงน้ำลึกและเงาลึก

เชิงอรรถ :
๑ ดู องฺ. จตุกฺก. (แปล) ๒๑/๑๐๔/๑๕๙-๑๖๐

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๖ หน้า :๑๙๓ }


พระอภิธรรมปิฎก ปุคคลบัญญัติ ๔. จตุกกปุคคลบัญญัติ
บุคคลเปรียบเหมือนห้วงน้ำตื้นแต่เงาลึก เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้มีการก้าวไป การถอยกลับ การแลดู การเหลียวดู
การคู้เข้า การเหยียดออก การครองสังฆาฏิ บาตร และจีวรที่น่าเลื่อมใส แต่เขา
ไม่รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า “นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์”
บุคคลเช่นนี้เปรียบเหมือนห้วงน้ำตื้นแต่เงาลึก บุคคลประเภทนี้จึงเปรียบเหมือน
ห้วงน้ำตื้นแต่เงาลึก
บุคคลเปรียบเหมือนห้วงน้ำลึกแต่เงาตื้น เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้มีการก้าวไป การถอยกลับ การแลดู การเหลียวดู
การคู้เข้า การเหยียดออก การครองสังฆาฏิ บาตร และจีวรที่ไม่น่าเลื่อมใส แต่
เขารู้ชัดตามความเป็นจริงว่า “นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ข้อปฏิบัติให้ถึงความุดับทุกข์”
บุคคลเช่นนี้เปรียบเหมือนห้วงน้ำลึกแต่เงาตื้น บุคคลประเภทนี้จึงเปรียบเหมือน
ห้วงน้ำลึก แต่เงาตื้น
บุคคลเปรียบเหมือนห้วงน้ำตื้นและเงาตื้น เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้มีการก้าวไป การถอยกลับ การแลดู การเหลียวดู
การคู้เข้า การเหยียดออก การครองสังฆาฏิ บาตร และจีวรที่ไม่น่าเลื่อมใส และ
เขาไม่รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า “นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์”
บุคคลเช่นนี้เปรียบเหมือนห้วงน้ำตื้นและเงาตื้น บุคคลประเภทนี้จึงเปรียบเหมือน
ห้วงน้ำตื้นและเงาตื้น
บุคคลเปรียบเหมือนห้วงน้ำลึกและเงาลึก เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้มีการก้าวไป การถอยกลับ การแลดู การเหลียวดู
การคู้เข้า การเหยียดออก การครองสังฆาฏิ บาตร และจีวรที่น่าเลื่อมใส และ
เขารู้ชัดตามความเป็นจริงว่า “นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์”
บุคคลเช่นนี้เปรียบเหมือนห้วงน้ำลึกและเงาลึก บุคคลประเภทนี้จึงเปรียบเหมือน
ห้วงน้ำลึกและเงาลึก
บุคคลเปรียบเหมือนห้วงน้ำ ๔ จำพวกเหล่านี้มีปรากฏอยู่ในโลก


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๖ หน้า :๑๙๔ }


พระอภิธรรมปิฎก ปุคคลบัญญัติ ๔. จตุกกปุคคลบัญญัติ
[๑๖๒] ในบทมาติกานั้น บุคคลเปรียบเหมือนโคผู้ ๔ จำพวก๑ เป็นไฉน
โคผู้ ๔ จำพวก คือ
๑. โคผู้ที่ข่มเหงโคฝูงตนแต่ไม่ข่มเหงโคฝูงอื่น
๒. โคผู้ที่ข่มเหงโคฝูงอื่นแต่ไม่ข่มเหงโคฝูงตน
๓. โคผู้ที่ข่มเหงโคฝูงตนและข่มเหงโคฝูงอื่น
๔. โคผู้ที่ไม่ข่มเหงโคฝูงตนและไม่ข่มเหงโคฝูงอื่น
บุคคลเปรียบเหมือนโคผู้ ๔ จำพวกเหล่านี้มีปรากฏอยู่ในโลกอย่างนี้เหมือนกัน
บุคคล ๔ จำพวก เป็นไฉน
๑. บุคคลเปรียบเหมือนโคผู้ที่ข่มเหงโคฝูงตนแต่ไม่ข่มเหงโคฝูงอื่น
๒. บุคคลเปรียบเหมือนโคผู้ที่ข่มเหงโคฝูงอื่นแต่ไม่ข่มเหงโคฝูงตน
๓. บุคคลเปรียบเหมือนโคผู้ที่ข่มเหงโคฝูงตนและข่มเหงโคฝูงอื่น
๔. บุคคลเปรียบเหมือนโคผู้ที่ไม่ข่มเหงโคฝูงตนและไม่ข่มเหงโคฝูงอื่น
บุคคลเปรียบเหมือนโคผู้ที่ข่มเหงโคฝูงตนแต่ไม่ข่มเหงโคฝูงอื่น เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้ทำให้บริษัทของตนหวาดกลัวแต่ไม่ทำให้บริษัทของคน
อื่นหวาดกลัว บุคคลเช่นนี้เปรียบเหมือนโคผู้ที่ข่มเหงโคฝูงตนแต่ไม่ข่มเหงโคฝูงอื่น
บุคคลประเภทนี้จึงเปรียบเหมือนโคผู้ที่ข่มเหงโคฝูงตนแต่ไม่ข่มเหงโคฝูงอื่น
บุคคลเปรียบเหมือนโคผู้ที่ข่มเหงโคฝูงอื่นแต่ไม่ข่มเหงโคฝูงตน เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้ทำให้บริษัทของคนอื่นหวาดกลัวแต่ไม่ทำให้บริษัทของ
ตนหวาดกลัว บุคคลเช่นนี้เปรียบเหมือนโคผู้ที่ข่มเหงโคฝูงอื่นแต่ไม่ข่มเหงโคฝูงตน
บุคคลประเภทนี้จึงเปรียบเหมือนโคผู้ที่ข่มเหงโคฝูงอื่นแต่ไม่ข่มเหงโคฝูงตน

เชิงอรรถ :
๑ ดู องฺ. จตุกฺก. (แปล) ๒๑/๑๐๘/๑๖๔-๖๕

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๖ หน้า :๑๙๕ }


พระอภิธรรมปิฎก ปุคคลบัญญัติ ๔. จตุกกปุคคลบัญญัติ
บุคคลเปรียบเหมือนโคผู้ที่ข่มเหงโคฝูงตนและข่มเหงโคฝูงอื่น เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้ทำให้บริษัทของตนและบริษัทของคนอื่นหวาดกลัว
บุคคลเช่นนี้เปรียบเหมือนโคผู้ที่ข่มเหงโคฝูงตนและข่มเหงโคฝูงอื่น บุคคลประเภทนี้
จึงเปรียบเหมือนโคผู้ที่ข่มเหงโคฝูงตนและข่มเหงโคฝูงอื่น
บุคคลเปรียบเหมือนโคผู้ที่ไม่ข่มเหงโคฝูงตนและไม่ข่มเหงโคฝูงอื่น เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้ไม่ทำให้บริษัทของตนและบริษัทของคนอื่นหวาดกลัว
บุคคลเช่นนี้เปรียบเหมือนโคผู้ที่ไม่ข่มเหงโคฝูงตนและไม่ข่มเหงโคฝูงอื่น บุคคล
ประเภทนี้จึงเปรียบเหมือนโคผู้ที่ไม่ข่มเหงโคฝูงตนและไม่ข่มเหงโคฝูงอื่น
บุคคลเปรียบเหมือนโคผู้ ๔ จำพวกเหล่านี้มีปรากฏอยู่ในโลก
[๑๖๓] ในบทมาติกานั้น บุคคลเปรียบเหมือนอสรพิษ ๔ จำพวก๑ เป็นไฉน
อสรพิษ ๔ จำพวก คือ
๑. อสรพิษที่มีพิษแล่นเร็วแต่พิษไม่ร้ายแรง
๒. อสรพิษที่มีพิษร้ายแรงแต่พิษไม่แล่นเร็ว
๓. อสรพิษที่มีพิษแล่นเร็วและพิษร้ายแรง
๔. อสรพิษที่มีพิษไม่แล่นเร็วและพิษไม่ร้ายแรง
บุคคลเปรียบเหมือนอสรพิษ ๔ จำพวกเหล่านี้มีปรากฏอยู่ในโลกอย่างนี้
เหมือนกัน
บุคคล ๔ จำพวก เป็นไฉน
๑. บุคคลเปรียบเหมือนอสรพิษที่มีพิษแล่นเร็วแต่พิษไม่ร้ายแรง
๒. บุคคลเปรียบเหมือนอสรพิษที่มีพิษร้ายแรงแต่พิษไม่แล่นเร็ว
๓. บุคคลเปรียบเหมือนอสรพิษที่มีพิษแล่นเร็วและพิษร้ายแรง
๔. บุคคลเปรียบเหมือนอสรพิษที่มีพิษไม่แล่นเร็วและพิษไม่ร้ายแรง

เชิงอรรถ :
๑ ดู องฺ. จตุกฺก. (แปล) ๒๑/๑๑๐/๑๖๗-๖๘

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๖ หน้า :๑๙๖ }


พระอภิธรรมปิฎก ปุคคลบัญญัติ ๔. จตุกกปุคคลบัญญัติ
บุคคลเปรียบเหมือนอสรพิษที่มีพิษแล่นเร็วแต่พิษไม่ร้ายแรง เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้โกรธบ่อย ๆ แต่ความโกรธของเขาไม่คงอยู่นาน บุคคล
เช่นนี้เปรียบเหมือนอสรพิษที่มีพิษแล่นเร็วแต่พิษไม่ร้ายแรง บุคคลประเภทนี้จึง
เปรียบเหมือนอสรพิษที่มีพิษแล่นเร็วแต่พิษไม่ร้ายแรง (๑)
บุคคลเปรียบเหมือนอสรพิษที่มีพิษร้ายแรงแต่พิษไม่แล่นเร็ว เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้ไม่โกรธบ่อยนักแต่ความโกรธของเขาคงอยู่นาน บุคคล
เช่นนี้เปรียบเหมือนอสรพิษที่มีพิษร้ายแรงแต่พิษไม่แล่นเร็ว บุคคลประเภทนี้จึง
เปรียบเหมือนอสรพิษที่มีพิษร้ายแรงแต่พิษไม่แล่นเร็ว (๒)
บุคคลเปรียบเหมือนอสรพิษที่มีพิษแล่นเร็วและพิษร้ายแรง เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้โกรธบ่อย ๆ และความโกรธของเขาคงอยู่นาน บุคคล
เช่นนี้เปรียบเหมือนอสรพิษที่มีพิษแล่นเร็วและพิษร้ายแรง บุคคลประเภทนี้จึง
เปรียบเหมือนอสรพิษที่มีพิษแล่นเร็วและพิษร้ายแรง (๓)
บุคคลเปรียบเหมือนอสรพิษที่มีพิษไม่แล่นเร็วและพิษไม่ร้ายแรง เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้ไม่โกรธบ่อยนักและความโกรธของเขาไม่คงอยู่นาน
บุคคลเช่นนี้เปรียบเหมือนอสรพิษที่มีพิษไม่แล่นเร็วและพิษไม่ร้ายแรง บุคคล
ประเภทนี้จึงเปรียบเหมือนอสรพิษที่มีพิษไม่แล่นเร็วและพิษไม่ร้ายแรง (๔)
บุคคลเปรียบเหมือนอสรพิษ ๔ จำพวกเหล่านี้มีปรากฏอยู่ในโลก
[๑๖๔] บุคคลไม่พิจารณา ไม่ไตร่ตรองแล้วกล่าวสรรเสริญผู้ควรติเตียน
เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้กล่าวสรรเสริญพวกเดียรถีย์ สาวกเดียรถีย์ผู้ปฏิบัติชั่ว
ปฏิบัติผิดว่า “ปฏิบัติดีบ้าง ปฏิบัติชอบบ้าง” บุคคลเช่นนี้ชื่อว่าไม่พิจารณา ไม่
ไตร่ตรองแล้วกล่าวสรรสเสริญผู้ควรติเตียน (๑)
บุคคลไม่พิจารณา ไม่ไตร่ตรองแล้วกล่าวติเตียนผู้ควรสรรเสริญ เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้กล่าวติเตียนพระพุทธเจ้า สาวกของพระพุทธเจ้าผู้ปฏิบัติดี
ปฏิบัติชอบว่า “ปฏิบัติชั่วบ้าง ปฏิบัติผิดบ้าง” บุคคลเช่นนี้ชื่อว่าไม่พิจารณา ไม่
ไตร่ตรองแล้วกล่าวติเตียนผู้ควรสรรเสริญ (๒)


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๖ หน้า :๑๙๗ }


พระอภิธรรมปิฎก ปุคคลบัญญัติ ๔. จตุกกปุคคลบัญญัติ
บุคคลไม่พิจารณา ไม่ไตร่ตรองแล้วแสดงความเลื่อมใสในฐานะที่ไม่ควร
เลื่อมใส เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้แสดงความเลื่อมใสในข้อปฏิปทาชั่ว ในข้อปฏิปทาผิดว่า
“ข้อปฏิปทาดี ข้อปฏิปทาชอบ” บุคคลเช่นนี้ชื่อว่าไม่พิจารณา ไม่ไตร่ตรองแล้วแสดง
ความเลื่อมใสในฐานะที่ไม่ควรเลื่อมใส (๓)
บุคคลไม่พิจารณา ไม่ไตร่ตรองแล้วแสดงความไม่เลื่อมใสในฐานะที่ควร
เลื่อมใส เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้แสดงความไม่เลื่อมใสในข้อปฏิปทาดี ในข้อปฏิปทาชอบ
ว่า “ข้อปฏิปทาชั่วบ้าง ข้อปฏิปทาผิดบ้าง” บุคคลเช่นนี้ชื่อว่าไม่พิจารณา ไม่
ไตร่ตรอง แล้วแสดงความไม่เลื่อมใสในฐานะที่ควรเลื่อมใส (๔)
[๑๖๕] บุคคลพิจารณา ไตร่ตรองแล้วกล่าวติเตียนผู้ควรติเตียน เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้กล่าวติเตียนพวกเดียรถีย์ สาวกของเดียรถีย์ผู้ปฏิบัติชั่ว
ปฏิบัติผิดว่า “ปฏิบัติชั่วบ้าง ปฏิบัติผิดบ้าง” บุคคลเช่นนี้ชื่อว่าพิจารณา ไตร่ตรอง
แล้วกล่าวติเตียนผู้ควรติเตียน (๑)
บุคคลพิจารณา ไตร่ตรองแล้วกล่าวสรรเสริญผู้ควรสรรเสริญ เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้กล่าวสรรเสริญพระพุทธเจ้า สาวกของพระพุทธเจ้าผู้
ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบว่า “ปฏิบัติดีบ้าง ปฏิบัติชอบบ้าง” บุคคลเช่นนี้ชื่อว่าพิจารณา
ไตร่ตรองแล้วกล่าวสรรเสริญผู้ควรสรรเสริญ (๒)
บุคคลพิจารณา ไตร่ตรองแล้วแสดงความไม่เลื่อมใสในฐานะที่ไม่ควร
เลื่อมใส เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้แสดงความไม่เลื่อมใสในข้อปฏิปทาชั่ว ข้อปฏิปทาผิดว่า
“ข้อปฏิปทาชั่วบ้าง ข้อปฏิปทาผิดบ้าง” บุคคลเช่นนี้ชื่อว่าพิจารณา ไตร่ตรองแล้ว
แสดงความไม่เลื่อมใสในฐานะที่ไม่ควรเลื่อมใส (๓)
บุคคลพิจารณา ไตร่ตรองแล้วแสดงความเลื่อมใสในฐานะที่ควรเลื่อมใส
เป็นไฉน


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๖ หน้า :๑๙๘ }


พระอภิธรรมปิฎก ปุคคลบัญญัติ ๔. จตุกกปุคคลบัญญัติ
บุคคลบางคนในโลกนี้แสดงความเลื่อมใสในข้อปฏิปทาดี ข้อปฏิปทาชอบว่า
ข้อปฏิปทาดีบ้าง ข้อปฏิปทาชอบบ้าง บุคคลเช่นนี้ชื่อว่าพิจารณา ไตร่ตรองแล้ว
แสดงความเลื่อมใสในฐานะที่ควรเลื่อมใส (๔)
[๑๖๖] บุคคลกล่าวติเตียนผู้ควรติเตียนตามความเป็นจริงเหมาะแก่กาล
แต่ไม่กล่าวสรรเสริญผู้ควรสรรเสริญตามความเป็นจริงเหมาะแก่กาล๑ เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้ควรสรรเสริญก็มี ควรติเตียนก็มี ในสองคนนั้น ผู้ใด
ควรติเตียนก็กล่าวติเตียนผู้นั้นตามความเป็นจริงเหมาะแก่กาล ผู้ใดควรสรรเสริญก็
ไม่กล่าวสรรเสริญผู้นั้นตามความเป็นจริงเหมาะแก่กาล บุคคลเช่นนี้ชื่อว่า กล่าวติ
เตียนผู้ควรติเตียนตามความเป็นจริงเหมาะแก่กาล แต่ไม่กล่าวสรรเสริญผู้ควร
สรรเสริญตามความเป็นจริงเหมาะแก่กาล (๑)
บุคคลกล่าวสรรเสริญผู้ควรสรรเสริญตามความเป็นจริงเหมาะแก่กาล
แต่ไม่กล่าวติเตียนผู้ควรติเตียนตามความเป็นจริงเหมาะแก่กาล เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้ควรสรรเสริญก็มี ควรติเตียนก็มี ในสองคนนั้น ผู้ใดควร
สรรเสริญก็กล่าวสรรเสริญผู้นั้นตามความเป็นจริงเหมาะแก่กาล ผู้ใดควรติเตียน
ก็ไม่กล่าวติเตียนผู้นั้นตามความเป็นจริงเหมาะแก่กาล บุคคลเช่นนี้ชื่อว่ากล่าว
สรรเสริญผู้ควรสรรเสริญตามความเป็นจริงเหมาะแก่กาล แต่ไม่กล่าวติเตียนผู้ควร
ติเตียนตามความเป็นจริงเหมาะแก่กาล (๒)
บุคคลกล่าวติเตียนผู้ควรติเตียนตามความเป็นจริงเหมาะแก่กาลและกล่าว
สรรเสริญผู้ควรสรรเสริญตามความเป็นจริงเหมาะแก่กาล เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้ควรสรรเสริญก็มี ควรติเตียนก็มี ในสองคนนั้น ผู้ใดควร
ติเตียนก็กล่าวติเตียนผู้นั้นตามความเป็นจริงเหมาะแก่กาล ผู้ใดควรสรรเสริญก็
กล่าวสรรเสริญผู้นั้นตามความเป็นจริงเหมาะแก่กาล เป็นผู้รู้เวลาเพื่อตอบคำถามนั้น
ในการกล่าวนั้น บุคคลเช่นนี้ชื่อว่ากล่าวติเตียนผู้ควรติเตียนตามความเป็นจริงเหมาะ
แก่กาลและกล่าวสรรเสริญผู้ควรสรรเสริญตามความเป็นจริงเหมาะแก่กาล (๓)
บุคคลไม่กล่าวติเตียนผู้ควรติเตียนตามความเป็นจริงเหมาะแก่กาลและ
ไม่กล่าวสรรเสริญผู้ควรสรรเสริญตามความเป็นจริงเหมาะแก่กาล เป็นไฉน

เชิงอรรถ :
๑ ดู องฺ. จตุกฺก. (แปล) ๒๑/๑๐๐/๑๕๐-๕๓

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๖ หน้า :๑๙๙ }


พระอภิธรรมปิฎก ปุคคลบัญญัติ ๔. จตุกกปุคคลบัญญัติ
บุคคลบางคนในโลกนี้ควรสรรเสริญก็มี ควรติเตียนก็มี ในสองคนนั้น ผู้ใดควร
ติเตียนก็ไม่กล่าวติเตียนผู้นั้นตามความเป็นจริงเหมาะแก่กาล ผู้ใดควรสรรเสริญก็ไม่
กล่าวสรรเสริญผู้นั้นตามความเป็นจริงเหมาะแก่กาล เป็นผู้วางเฉย มีสติสัมปชัญญะอยู่
บุคคลเช่นนี้ชื่อว่าไม่กล่าวติเตียนผู้ควรติเตียนตามความเป็นจริง เหมาะแก่กาลและ
ไม่กล่าวสรรเสริญผู้ควรสรรเสริญตามความเป็นจริงเหมาะแก่กาล (๔)
[๑๖๗] บุคคลผู้ดำรงชีพด้วยผลแห่งความขยันหมั่นเพียร แต่ไม่ดำรงชีพ
ด้วยผลแห่งบุญ๑ เป็นไฉน
การดำรงชีพของบุคคลใดเกิดขึ้นเพราะความขยัน ความหมั่น ความเพียร
มิใช่เกิดขึ้นเพราะบุญ บุคคลนี้เรียกว่า ผู้ดำรงชีพด้วยผลแห่งความขยันหมั่นเพียร
แต่ไม่ดำรงชีพด้วยผลแห่งบุญ
บุคคลผู้ดำรงชีพด้วยผลแห่งบุญ แต่ไม่ดำรงชีพด้วยผลแห่งความขยันหมั่น
เพียร เป็นไฉน
เทวดาชั้นสูงขึ้นไปกระทั้งเทวดาชั้นปรนิมมิตวสวัตดี ดำรงชีพด้วยผลแห่งบุญ
แต่ไม่ดำรงชีพด้วยผลแห่งความขยันหมั่นเพียร
บุคคลผู้ดำรงชีพด้วยผลแห่งความขยันหมั่นเพียรและดำรงชีพด้วยผลแห่ง
บุญ เป็นไฉน
การดำรงชีพของบุคคลใดเกิดขึ้นเพราะความขยัน ความหมั่น ความเพียร
และเกิดขึ้นเพราะผลบุญ บุคคลนี้เรียกว่า ผู้ดำรงชีพด้วยผลแห่งความขยันหมั่น
เพียรและดำรงชีพด้วยผลแห่งบุญ
บุคคลผู้ไม่ดำรงชีพด้วยผลแห่งความขยันหมั่นเพียรและไม่ดำรงชีพด้วย
ผลแห่งบุญ เป็นไฉน
สัตว์นรกชื่อว่าผู้ไม่ดำรงชีพด้วยผลแห่งความขยันหมั่นเพียรและไม่ดำรงชีพ
ด้วยผลแห่งบุญ

เชิงอรรถ :
๑ ดู องฺ. จตุกฺก. (แปล) ๒๑/๑๓๔/๒๐๓

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๖ หน้า :๒๐๐ }


พระอภิธรรมปิฎก ปุคคลบัญญัติ ๔. จตุกกปุคคลบัญญัติ
[๑๖๘] บุคคลผู้มืดมาและมืดไป๑ เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้เกิดในตระกูลต่ำ คือ ตระกูลจัณฑาล ตระกูลนายพราน
ตระกูลช่างสาน ตระกูลช่างรถ หรือตระกูลคนเทขยะ เป็นตระกูลยากจน มีข้าว น้ำ
และสิ่งของเครื่องใช้น้อย เป็นไปอย่างฝืดเคือง เป็นแหล่งที่หาของกินและเครื่องนุ่งห่ม
ได้ยาก และเขามีผิวพรรณหม่นหมอง ไม่น่าดู ต่ำเตี้ย มีความเจ็บป่วยมาก ตาบอด
เป็นง่อย เป็นคนกระจอก หรือเป็นโรคอัมพาต มักไม่ได้ข้าว น้ำ ผ้า ยาน ดอกไม้
ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่พักและเครื่องประทีป เขายังประพฤติกายทุจริต
วจีทุจริต มโนทุจริต ครั้นประพฤติกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริตแล้ว หลังจาก
ตายแล้วจะไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก บุคคลผู้มืดมาและมืดไป เป็นอย่าง
นี้ (๑)
บุคคลผู้มืดมาแต่สว่างไป เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้เกิดในตระกูลต่ำ คือ ตระกูลจัณฑาล ตระกูลนายพราน
ตระกูลช่างสาน ตระกูลช่างรถ หรือตระกูลคนเทขยะ เป็นตระกูลยากจน มีข้าว น้ำ
และสิ่งของเครื่องใช้น้อย เป็นไปอย่างฝืดเคือง เป็นแหล่งที่หาของกินและเครื่องนุ่งห่ม
ได้ยาก และเขามีผิวพรรณหม่นหมอง ไม่น่าดู ต่ำเตี้ย มีความเจ็บป่วยมาก ตาบอด
เป็นง่อย เป็นคนกระจอก หรือเป็นโรคอัมพาต มักไม่ได้ข้าว น้ำ ผัา ยาน ดอกไม้
ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่พัก เครื่องประทีป แต่เขาประพฤติกายสุจริต วจีสุจริต
มโนสุจริต ครั้นประพฤติกายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริตแล้ว หลังจากตายแล้วจะ
ไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์ บุคคลผู้มืดมาแต่สว่างไป เป็นอย่างนี้ (๒)
บุคคลผู้สว่างมาแต่มืดไป เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้เกิดในตระกูลสูงคือตระกูลขัตติยมหาศาล๒ ตระกูลพราหมณ์
มหาศาล หรือตระกูลคหบดีมหาศาล เป็นตระกูลมั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีโภคะมาก

เชิงอรรถ :
๑ ดู องฺ. จตุกฺก. (แปล) ๒๑/๘๕/๑๒๙-๑๓๐
๒ มหาศาล หมายถึงผู้ที่มั่งคั่ง มีทรัพย์สมบัติมาก ขัตติยมหาศาลมีพระราชทรัพย์ ๑๐๐-๑,๐๐๐ โกฏิ
พราหมณ์มหาศาลมีทรัพย์สมบัติ ๘๐ โกฏิ คหบดีมหาศาลมีทรัพย์สมบัติ ๔๐ โกฏิ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๑๖๘/๙๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๖ หน้า :๒๐๑ }


พระอภิธรรมปิฎก ปุคคลบัญญัติ ๔. จตุกกปุคคลบัญญัติ
มีทองและเงินมากมาย มีเครื่องใช้ที่น่าปลื้มใจมากมาย มีทรัพย์และธัญชาติมากมาย
และเขามีรูปงาม น่าดู น่าเลื่อมใส มีฉวีวรรณผุดผ่องยิ่งนัก ได้ข้าว น้ำ ผ้า ยาน
ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่พัก เครื่องประทีป แต่เขา
ประพฤติกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต ครั้นประพฤติกายทุจริต วจีทุจริต
มโนทุจริตแล้ว หลังจากตายแล้วจะไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก บุคคล
ผู้สว่างมาแต่มืดไป เป็นอย่างนี้ (๓)
บุคคลผู้สว่างมาและสว่างไป เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้เกิดในตระกูลสูง คือ ตระกูลขัตติยมหาศาล ตระกูล
พราหมณ์มหาศาล หรือตระกูลคหบดีมหาศาล เป็นตระกูลมั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มี
โภคะมาก มีทองและเงินมากมาย มีเครื่องใช้ที่น่าปลื้มใจมากมาย มีทรัพย์และ
ธัญชาติมากมาย และเขามีรูปงาม น่าดู น่าเลื่อมใส มีฉวีวรรณผุดผ่องยิ่งนัก ได้ข้าว
น้ำ ผ้า ยาน ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่พัก เครื่องประทีป
และเขาประพฤติกายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต ครั้นประพฤติกายสุจริต วจีสุจริต
มโนสุจริตแล้ว หลังจากตายแล้วจะไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์ บุคคลผู้สว่างมาและ
สว่างไป เป็นอย่างนี้ (๔)
[๑๖๙] บุคคลผู้ต่ำมาและต่ำไป๑ เป็นไฉน
ฯลฯ๒
บุคคลผู้ต่ำมาและต่ำไป เป็นอย่างนี้
บุคคลผู้ต่ำมาแต่สูงไป เป็นไฉน
ฯลฯ๒
บุคคลผู้ต่ำมาแต่สูงไป เป็นอย่างนี้
บุคคลผู้สูงมาแต่ต่ำไป เป็นไฉน
ฯลฯ๒
บุคคลผู้สูงมาแต่ต่ำไป เป็นอย่างนี้

เชิงอรรถ :
๑ ดู อง.จตุกฺก. (แปล) ๒๑/๘๖/๑๓๑-๓๒
๒ ดูความเต็มในข้อ ๑๖๘

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๖ หน้า :๒๐๒ }


พระอภิธรรมปิฎก ปุคคลบัญญัติ ๔. จตุกกปุคคลบัญญัติ
บุคคลผู้สูงมาและสูงไป เป็นไฉน
ฯลฯ๑
บุคคลผู้สูงมาและสูงไป เป็นอย่างนี้
[๑๗๐] ในบทมาติกานั้น บุคคลเปรียบเหมือนต้นไม้ ๔ จำพวก๒ เป็นไฉน
ต้นไม้ ๔ ชนิด คือ
๑. ต้นไม้เนื้ออ่อนแต่มีต้นไม้เนื้อแข็งแวดล้อม
๒. ต้นไม้เนื้อแข็งแต่มีต้นไม้เนื้ออ่อนแวดล้อม
๓. ต้นไม้เนื้ออ่อนและมีต้นไม้เนื้ออ่อน๓แวดล้อม
๔. ต้นไม้เนื้อแข็งและมีต้นไม้เนื้อแข็งแวดล้อม
บุคคลเปรียบเหมือนต้นไม้ ๔ จำพวกเหล่านี้มีปรากฏอยู่ในโลกอย่างนี้เหมือนกัน
บุคคล ๔ จำพวก เป็นไฉน
๑. บุคคลเปรียบเหมือนต้นไม้เนื้ออ่อนแต่มีต้นไม้เนื้อแข็งแวดล้อม
๒. บุคคลเปรียบเหมือนต้นไม้เนื้อแข็งแต่มีต้นไม้เนื้ออ่อนแวดล้อม
๓. บุคคลเปรียบเหมือนต้นไม้เนื้ออ่อนและมีต้นไม้เนื้ออ่อนแวดล้อม
๔. บุคคลเปรียบเหมือนต้นไม้เนื้อแข็งและมีต้นไม้เนื้อแข็งแวดล้อม
บุคคลเปรียบเหมือนต้นไม้เนื้ออ่อนแต่มีต้นไม้เนื้อแข็งแวดล้อม เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้ทุศีล มีธรรมอันเลวทราม แต่บริษัทของเขาเป็นผู้มี
ศีล มีธรรมอันงาม บุคคลเช่นนี้เปรียบเหมือนต้นไม้เนื้ออ่อนแต่มีต้นไม้เนื้อแข็งแวดล้อม
บุคคลประเภทนี้จึงเปรียบเหมือนต้นไม้เนื้ออ่อนแต่มีต้นไม่เนื้อแข็งแวดล้อม
บุคคลเปรียบเหมือนต้นไม้เนื้อแข็งแต่มีต้นไม้เนื้ออ่อนแวดล้อม เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้มีศีล มีธรรมอันงาม แต่บริษัทของเขาเป็นผู้ทุศีล
มีธรรมอันเลวทราม บุคคลเช่นนี้เปรียบเหมือนต้นไม้เนื้อแข็งแต่มีต้นไม้เนื้ออ่อนแวดล้อม
บุคคลประเภทนี้จึงเปรียบเหมือนต้นไม้เนื้อแข็งแต่มีต้นไม้เนื้ออ่อนแวดล้อม

เชิงอรรถ :
๑ ดูความเต็มในข้อ ๑๖๘
๒ ดู องฺ. จตุกฺก. (แปล) ๒๑/๑๐๙/๑๖๕-๖๖
๓ต้นไม้เนื้ออ่อน แปลจากบาลีว่า เผคฺคุ ซึ่งโดยทั่วไปแปลว่า กระพี้ แต่ในอรรถกถาแก้เป็น นิสฺสาโร เผคฺคุรุกฺโข
หมายถึงต้นไม้มีกระพี้ แต่ปราศจากแก่น (องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๑๐๙/๓๗๐)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๖ หน้า :๒๐๓ }


พระอภิธรรมปิฎก ปุคคลบัญญัติ ๔. จตุกกปุคคลบัญญัติ
บุคคลเปรียบเหมือนต้นไม้เนื้ออ่อนและมีต้นไม้เนื้ออ่อนแวดล้อม เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้ทุศีล มีธรรมอันเลวทราม แม้บริษัทของเขาก็
เป็นผู้ทุศีล มีธรรมอันเลวทราม บุคคลเช่นนี้เปรียบเหมือนต้นไม้เนื้ออ่อนและมีต้น
ไม้เนื้ออ่อนแวดล้อม บุคคลประเภทนี้จึงเปรียบเหมือนต้นไม้เนื้ออ่อนและมีต้นไม้
เนื้ออ่อนแวดล้อม
บุคคลเปรียบเหมือนต้นไม้เนื้อแข็งและมีต้นไม้เนื้อแข็งแวดล้อม เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้มีศีล มีธรรมอันงาม แม้บริษัทของเขาเป็นผู้มีศีล
มีธรรมอันงาม บุคคลเช่นนี้เปรียบเหมือนต้นไม้เนื้อแข็งและมีต้นไม้เนื้อแข็งแวดล้อม
บุคคลประเภทนี้จึงเปรียบเหมือนต้นไม้เนื้อแข็งและมีต้นไม้เนื้อแข็งแวดล้อม
บุคคลเปรียบเหมือนต้นไม้ ๔ จำพวกเหล่านี้มีปรากฏอยู่ในโลก
[๑๗๑] บุคคลผู้ถือรูปเป็นประมาณเลื่อมใสในรูป๑ เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้เห็นรูปที่สูง รูปที่ผอม รูปที่อ้วน รูปที่มีอวัยวะสมส่วน
ถือเอาประมาณในรูปนั้นแล้ว เกิดความเลื่อมใส บุคคลนี้เรียกว่า ผู้ถือรูปเป็น
ประมาณเลื่อมใสในรูป
บุคคลผู้ถือเสียงเป็นประมาณเลื่อมใสในเสียง เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้ถือเอาประมาณในเสียงนั้นที่ผู้อื่นกล่าวสรรเสริญ ที่ผู้
อื่นชมเชย ที่ผู้อื่นกล่าวยกย่อง ที่ผู้อื่นกล่าวสรรเสริญสืบ ๆ กันมาแล้ว เกิดความ
เลื่อมใส บุคคลนี้เรียกว่า ผู้ถือเสียงเป็นประมาณเลื่อมใสในเสียง
[๑๗๒] บุคคลผู้ถือความเศร้าหมองเป็นประมาณเลื่อมใสในความ
เศร้าหมอง เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้เห็นจีวรเศร้าหมอง บาตรเศร้าหมอง เสนาสนะ
เศร้าหมอง หรือเห็นทุกกรกิริยาต่าง ๆ ถือเอาประมาณในความเศร้าหมองนั้นแล้ว
เกิดความเลื่อมใส บุคคลนี้เรียกว่า ผู้ถือความเศร้าหมองเป็นประมาณเลื่อมใสใน
ความเศร้าหมอง
บุคคลผู้ถือธรรมเป็นประมาณเลื่อมใสในธรรม เป็นไฉน

เชิงอรรถ :
๑ ดู องฺ.จตุกฺก. (แปล) ๒๑/๖๕/๑๐๘-๐๙

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๖ หน้า :๒๐๔ }


พระอภิธรรมปิฎก ปุคคลบัญญัติ ๔. จตุกกปุคคลบัญญัติ
บุคคลบางคนในโลกนี้เห็นศีล สมาธิ ปัญญา แล้วถือเอาประมาณในศีล
เป็นต้นนั้นแล้ว เกิดความเลื่อมใส บุคคลนี้เรียกว่า ผู้ถือธรรมเป็นประมาณ
เลื่อมใสในธรรม
[๑๗๓] บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตนเอง แต่ไม่ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลผู้อื่น
เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้ตนเองเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีลแต่ไม่ชักชวนผู้อื่นให้ถึง
พร้อมด้วยศีล ตนเองเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยสมาธิแต่ไม่ชักชวนผู้อื่นให้ถึงพร้อมด้วยสมาธิ
ตนเองเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยปัญญาแต่ไม่ชักชวนผู้อื่นให้ถึงพร้อมด้วยปัญญา ตนเอง
เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิมุตติแต่ไม่ชักชวนผู้อื่นให้ถึงพร้อมด้วยวิมุตติ ตนเองเป็นผู้ถึง
พร้อมด้วยวิมุตติญาณทัสสนะแต่ไม่ชักชวนผู้อื่นให้ถึงพร้อมด้วยวิมุตติญาณทัสสนะ
บุคคลเช่นนี้ชื่อว่าผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตนเองแต่ไม่ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลผู้อื่น
บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลผู้อื่นแต่ไม่ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตนเอง เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้ตนเองเป็นผู้ไม่ถึงพร้อมด้วยศีลแต่ชักชวนผู้อื่นให้ถึงพร้อม
ด้วยศีล ตนเองเป็นผู้ไม่ถึงพร้อมด้วยสมาธิแต่ชักชวนผู้อื่นให้ถึงพร้อมด้วยสมาธิ
ตนเองเป็นผู้ไม่ถึงพร้อมด้วยปัญญาแต่ชักชวนผู้อื่นให้ถึงพร้อมด้วยปัญญา ตนเอง
เป็นผู้ไม่ถึงพร้อมด้วยวิมุตติแต่ชักชวนผู้อื่นให้ถึงพร้อมด้วยวิมุตติ ตนเองเป็นผู้ไม่
ถึงพร้อมด้วยวิมุตติญาณทัสสนะแต่ชักชวนผู้อื่นให้ถึงพร้อมด้วยวิมุตติญาณทัสสนะ
บุคคลเช่นนี้ชื่อว่าผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลผู้อื่นแต่ไม่ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตนเอง
บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตนเองและปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลผู้อื่น เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้ตนเองเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีลและชักชวนผู้อื่นให้ถึงพร้อม
ด้วยศีล ตนเองเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยสมาธิและชักชวนผู้อื่นให้ถึงพร้อมด้วยสมาธิ ตน
เองเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยปัญญาและชักชวนผู้อื่นให้ถึงพร้อมด้วยปัญญา ตนเองเป็นผู้
ถึงพร้อมด้วยวิมุตติและชักชวนผู้อื่นให้ถึงพร้อมด้วยวิมุตติ ตนเองเป็นผู้ถึงพร้อม
ด้วยวิมุตติญาณทัสสนะและชักชวนผู้อื่นให้ถึงพร้อมด้วยวิมุตติญาณทัสสนะ บุคคล
เช่นนี้ชื่อว่าผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตนเองและปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลผู้อื่น


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๖ หน้า :๒๐๕ }


พระอภิธรรมปิฎก ปุคคลบัญญัติ ๔. จตุกกปุคคลบัญญัติ
บุคคลผู้ไม่ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตนเองและไม่ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลผู้อื่น เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้ตนเองเป็นผู้ไม่ถึงพร้อมด้วยศีลและไม่ชักชวนผู้อื่นให้ถึง
พร้อมด้วยศีล ตนเองเป็นผู้ไม่ถึงพร้อมด้วยสมาธิและไม่ชักชวนผู้อื่นให้ถึงพร้อมด้วย
สมาธิ ตนเองเป็นผู้ไม่ถึงพร้อมด้วยปัญญาและไม่ชักชวนผู้อื่นให้ถึงพร้อมด้วยปัญญา
ตนเองเป็นผู้ไม่ถึงพร้อมด้วยวิมุตติและไม่ชักชวนผู้อื่นให้ถึงพร้อมด้วยวิมุตติ ตนเอง
เป็นผู้ไม่ถึงพร้อมด้วยวิมุตติญาณทัสสนะและไม่ชักชวนผู้อื่นให้ถึงพร้อมด้วยวิมุตติ-
ญาณทัสสนะ บุคคลเช่นนี้ชื่อว่าผู้ไม่ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตนเองและไม่ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลผู้อื่น
[๑๗๔] บุคคลผู้ทำตนให้เดือดร้อน หมั่นประกอบการทำตนให้เดือดร้อน๑
เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นคนเปลือย ไร้มารยาท เลียมือ เขาเชิญมารับ
ภิกษาก็ไม่มา เขาเชิญให้หยุดก็ไม่หยุด ไม่รับภิกษาที่เขาแบ่งไว้ก่อน ไม่รับภิกษา
ที่เขาเจาะจงทำไว้ ไม่ยินดีกิจนิมนต์ ไม่รับภิกษาปากหม้อ ไม่รับภิกษาจากกระเช้า
ไม่รับภิกษาคร่อมธรณีประตู ไม่รับภิกษาคร่อมท่อนไม้ ไม่รับภิกษาคร่อมสาก ไม่
รับภิกษาที่คนสองคนบริโภคอยู่ ไม่รับภิกษาของหญิงมีครรภ์ ไม่รับภิกษาของหญิง
ที่กำลังให้ลูกดื่มนม ไม่รับภิกษาของหญิงที่คลอเคลียบุรุษ ไม่รับภิกษาที่นัดแนะ
กันทำไว้ ไม่รับภิกษาในที่ที่รับเลี้ยงสุนัข ไม่รับภิกษาในที่ที่มีแมลงวันไต่ตอมเป็น
กลุ่ม ไม่รับปลา ไม่รับเนื้อ ไม่ดื่มสุรา ไม่ดื่มเมรัย ไม่ดื่มน้ำหมักดอง เขารับ
ภิกษาเฉพาะเรือนหลังเดียว เยียวยาอัตภาพด้วยข้าวคำเดียว รับภิกษาที่เรือน ๒
หลัง เยียวยาอัตภาพด้วยข้าว ๒ คำ ฯลฯ หรือรับภิกษาที่เรือน ๗ หลัง เยียวยา
อัตภาพด้วยข้าว ๗ คำ เยียวยาอัตภาพด้วยภิกษาในถาดน้อยใบเดียวบ้าง
เยียวยาอัตภาพด้วยภิกษาในถาดน้อย ๒ ใบบ้าง ฯลฯ เยียวยาอัตภาพด้วยภิกษา
ในถาดน้อย ๗ ใบบ้าง กินอาหารที่เก็บค้างไว้วันเดียวบ้าง กินอาหารที่เก็บค้างไว้ ๒
วันบ้าง ฯลฯ กินอาหารที่เก็บค้างไว้ ๗ วันบ้าง เขาหมั่นประกอบในการบริโภคที่
เวียนมาตั้งกึ่งเดือนอย่างนี้

เชิงอรรถ :
๑ ดู องฺ. จตุกฺก. (แปล) ๒๑/๑๙๘/๓๐๓-๐๕

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๖ หน้า :๒๐๖ }


พระอภิธรรมปิฎก ปุคคลบัญญัติ ๔. จตุกกปุคคลบัญญัติ
เขากินผักดองเป็นอาหารบ้าง กินข้าวฟ่างเป็นอาหารบ้าง กินลูกเดือยเป็น
อาหารบ้าง กินกากข้าวเป็นอาหารบ้าง กินยางไม้เป็นอาหารบ้าง กินรำเป็นอาหาร
บ้าง กินข้าวตังเป็นอาหารบ้าง กินกำยานเป็นอาหารบ้าง กินหญ้าเป็นอาหารบ้าง
กินมูลโคเป็นอาหารบ้าง กินเหง้าและผลไม้ในป่าเป็นอาหารบ้าง กินผลไม้ที่หล่น
เยียวยาอัตภาพ เขานุ่งห่มผ้าป่านบ้าง นุ่งห่มผ้าแกมกันบ้าง นุ่งห่มผ้าห่อศพบ้าง
นุ่งห่มผ้าบังสุกุลบ้าง นุ่งห่มผ้าเปลือกไม้บ้าง นุ่งห่มหนังเสือบ้าง นุ่งห่มหนังเสือ
ที่มีเล็บติดอยู่บ้าง นุ่งห่มคากรองบ้าง นุ่งห่มผ้าเปลือกปอกรองบ้าง นุ่งห่มผ้าผล
ไม้กรองบ้าง นุ่งห่มผ้ากัมพลทำด้วยผมคนบ้าง นุ่งห่มผ้ากัมพลทำด้วยขนสัตว์ร้าย
บ้าง นุ่งห่มผ้าทำด้วยขนปีกนกเค้าบ้าง ถอนผมและหนวด หมั่นประกอบการ
ถอนผมและหนวดบ้าง ยืนอย่างเดียวปฏิเสธการนั่งบ้าง นั่งกระโหย่ง ประกอบ
ความเพียรด้วยการนั่งกระโหย่งบ้าง นอนบนหนาม สำเร็จการนอนบนหนามบ้าง
อาบน้ำวันละ ๓ ครั้ง หมั่นประกอบการลงน้ำบ้าง เขาหมั่นประกอบการทำร่างกาย
ให้เดือดร้อนหลายวิธีดังกล่าวนี้อยู่ บุคคลผู้ทำตนให้เดือดร้อนหมั่นประกอบในการ
ทำตนให้เดือดร้อน เป็นอย่างนี้
[๑๗๕] บุคคลผู้ทำคนอื่นให้เดือดร้อน หมั่นประกอบในการทำผู้อื่นให้
เดือดร้อน๑ เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้ฆ่าแพะ ฆ่าสุกร เป็นนายพรานนก เป็นนาย
พรานเนื้อ เป็นชาวประมง เป็นโจร เป็นเพชฌฆาต เป็นคนฆ่าโค เป็นผู้คุม
หรือเป็นผู้ทำกรรมอันหยาบช้าชนิดใดชนิดหนึ่งก็ตาม บุคคลผู้ทำคนอื่นให้เดือดร้อน
หมั่นประกอบในการทำผู้อื่นให้เดือดร้อน เป็นอย่างนี้
[๑๗๖] บุคคลผู้ทำตนให้เดือดร้อน หมั่นประกอบในการทำตนให้เดือด
ร้อนและทำผู้อื่นให้เดือดร้อน หมั่นประกอบในการทำผู้อื่นให้เดือดร้อน๑ เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นพระราชามหากษัตริย์ได้รับมูรธาภิเษก หรือว่า
เป็นพราหมณ์มหาศาล เขาให้สร้างสัณฐาคารใหม่ทางทิศตะวันออกแห่งพระนคร
แล้วโกนผมและหนวด นุ่งห่มหนังสัตว์มีเล็บ ชโลมกายด้วยเนยใสและน้ำมัน เกาหลัง

เชิงอรรถ :
๑ ดู องฺ. จตุกฺก. (แปล) ๒๑/๑๙๘/๓๐๕-๐๖

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๖ หน้า :๒๐๗ }


พระอภิธรรมปิฎก ปุคคลบัญญัติ ๔. จตุกกปุคคลบัญญัติ
ด้วยเขามฤค เข้าไปสู่สัณฐาคารใหม่พร้อมด้วยมเหสีและพราหมณ์ผู้เป็นปุโรหิต เขา
สำเร็จการนอนบนพื้นอันปราศจากการปูลาดไว้ด้วยมูลโคสด พระราชาให้พระชนม์
ชีพเป็นไปด้วยน้ำนมที่มีอยู่ในเต้าที่หนึ่งของแม่โคตัวหนึ่งที่มีลูกอ่อน พระมเหสีให้
พระชนม์ชีพเป็นไปด้วยน้ำนมที่มีอยู่ในเต้าที่ ๒ พราหมณ์ผู้เป็นปุโรหิตให้อัตภาพ
เป็นไปด้วยน้ำนมที่มีอยู่ในเต้าที่ ๓ พระราชาทรงบูชาไฟด้วยน้ำนมที่มีอยู่ในเต้าที่ ๔
ลูกโคให้อัตภาพเป็นไปด้วยน้ำนมที่เหลือ พระราชานั้นตรัสอย่างนี้ว่า “ท่านทั้ง
หลายจงฆ่าโคเท่านี้ จงฆ่าลูกโคผู้เท่านี้ จงฆ่าลูกโคเมียเท่านี้ จงฆ่าแพะเท่านี้ จง
ฆ่าเแกะเท่านี้ เพื่อบูชายัญ (จงฆ่าม้าเท่านี้เพื่อบูชายัญ) จงตัดไม้และเกี่ยวหญ้าคา
เท่านี้เพื่อบังและลาด”
แม้เหล่าชนที่เป็นทาส เป็นคนรับใช้ เป็นคนงานของพระราชานั้น ย่อมสะดุ้ง
ต่ออาชญา สะดุ้งต่อภัย มีหน้านองด้วยน้ำตา ร้องไห้ทำการงานอยู่ บุคคลผู้ทำตน
ให้เดือดร้อน หมั่นประกอบในการทำตนให้เดือดร้อน และทำผู้อื่นให้เดือดร้อน
หมั่นประกอบในการทำผู้อื่นให้เดือดร้อน เป็นอย่างนี้
[๑๗๗] บุคคลผู้ไม่ทำตนให้เดือดร้อน ไม่หมั่นประกอบในการทำตน
ให้เดือดร้อน และไม่ทำผู้อื่นให้เดือดร้อน ไม่หมั่นประกอบในการทำผู้อื่นให้
เดือดร้อน๑ เป็นไฉน
บุคคลนั้นไม่ทำตนให้เดือดร้อน ไม่ทำผู้อื่นให้เดือดร้อน เป็นผู้ไม่หิว ดับร้อน
เย็นใจ เสวยสุข มีตนอันประเสริฐอยู่ในปัจจุบัน
พระตถาคตเสด็จอุบัติขึ้นมาในโลกนี้เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้ด้วยพระองค์เอง
โดยชอบ เพียบพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดี ทรงรู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึก
ผู้ที่ควรฝึกได้อย่างยอดเยี่ยม เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระ
พุทธเจ้า เป็นพระผู้มีพระภาค พระองค์ทรงรู้แจ้งโลกนี้พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก
พรหมโลก และหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ด้วยพระองค์เอง
แล้วประกาศให้ผู้อื่นรู้ตาม ทรงแสดงธรรมมีความงามในเบื้องต้น๒ งามในท่ามกลาง๓

เชิงอรรถ :
๑ ดู องฺ. จตุกฺก. (แปล) ๒๑/๑๙๘/๓๐๖
๒ หมายถึงศีล (ที.สี.อ. ๑๙๐/๑๕๙)
๓ หมายถึงอริยมรรค (ที.สี.อ. ๑๙๐/๑๕๙)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๖ หน้า :๒๐๘ }


พระอภิธรรมปิฎก ปุคคลบัญญัติ ๔. จตุกกปุคคลบัญญัติ
และงามในที่สุด๑ ทรงประกาศพรหมจรรย์๒พร้อมทั้งอรรถและพยัญชนะบริสุทธิ์
บริบูรณ์ครบถ้วน
คหบดี บุตรแห่งคหบดีหรืออนุชนในตระกูลใดตระกูลหนึ่งได้สดับธรรมนั้น
ครั้นได้สดับธรรมนั้นแล้วเกิดศรัทธาในพระตถาคต เมื่อมีศรัทธาย่อมตระหนักว่า
“การอยู่ครองเรือนเป็นเรื่องอึดอัด๓เป็นทางแห่งธุลี๔ การบวชเป็นทางปลอดโปร่ง๕
การที่ผู้ครองเรือนจะประพฤติพรหมจรรย์ให้บริสุทธิ์บริบูรณ์ครบถ้วนดุจสังข์ที่ขัด
แล้วมิใช่ทำได้ง่าย ทางที่ดี เราควรโกนผมและหนวด นุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์ออก
จากเรือนบวชเป็นบรรพชิตเถิด”
ต่อมาเขาละทิ้งกองโภคสมบัติน้อยใหญ่และเครือญาติน้อยใหญ่ โกนผมและหนวด
นุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต
[๑๗๘] บุคคลนั้นบวชแล้วอย่างนี้ ถึงความเป็นผู้มีสิกขา๖และสาชีพ๗แห่ง
ภิกษุทั้งหลาย ละเว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ คือ วางทัณฑาวุธและศัสตราวุธ มี
ความละอาย มีความเอ็นดู หวังประโยชน์เกื้อกูลต่อสรรพสัตว์อยู่

เชิงอรรถ :
๑ หมายถึงนิพพาน (ที.สี.อ. ๑๙๐/๑๕๙)
๒ พรหมจรรย์ ในที่นี้หมายถึงความประพฤติประเสริฐ มีนัย ๑๐ ประการ คือ
(๑) ทาน การให้ (๒) เวยยาวัจจะ การขวนขวายช่วยเหลือ
(๓) ปัญจศีล ศีลห้า (๔) อัปปมัญญา การประพฤติพรหมจรรย์อย่างไม่
มีขอบเขต
(๕) เมถุนวิรัติ การงดเว้นจากการเสพเมถุน (๖) สทารสันโดษ ความยินดีเฉพาะคู่ครองของตน
(๗) วิริยะ ความเพียร (๘) อุโปสถังคะ องค์อุโบสถ
(๙) อริยมรรค ทางอันประเสริฐ (๑๐) ศาสนา ในที่นี้หมายถึงพุทธศาสนา
(ที.สี.อ. ๑๙๐/๑๖๑-๑๖๒)
๓ เป็นเรื่องอึดอัด ในที่นี้หมายถึงมีความกังวลใจ ห่วงใยต่อกันและกันระหว่างสามีภรรยา ไม่สะดวกต่อ
การสั่งสมกุศล (องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๑๙๘/๔๒๑)
๔ เป็นทางแห่งธุลี ในที่นี้หมายถึงเป็นที่เกิดและเป็นที่ตั้งแห่งกิเลสอันทำจิตให้เศร้าหมอง เช่น ราคะเป็นต้น
(ที.สี.อ. ๑๙๑/๑๖๓,องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๑๙๘/๔๒๒)
๕ เป็นทางปลอดโปร่ง ในที่นี้หมายถึงนักบวชแม้จะอยู่ในเรือนยอด ปราสาทแก้ว หรือเทพวิมานซึ่งมีประตู
หน้าต่างปลอดปิดมิดชิดก็ยังถือว่าปลอดโปร่ง เพราะนักบวชไม่มีความยึดติดในสิ่งใด ๆ (ที.สี.อ. ๑๙๑/๑๖๓)
๖ สิกขา หมายถึงอธิศีลสิกขาของภิกษุ (วิ.มหา. (แปล) ๑/๕๕/๓๓)
๗ สาชีพ หมายถึงสิกขาบทที่พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติไว้แก่ภิกษุ (วิ.มหา. (แปล) ๑/๕๕/๓๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๖ หน้า :๒๐๙ }


พระอภิธรรมปิฎก ปุคคลบัญญัติ ๔. จตุกกปุคคลบัญญัติ
ละเว้นขาดจากการถือเอาสิ่งของที่เจ้าของเขาไม่ได้ให้ คือรับเอาแต่สิ่งของที่เขาให้
มุ่งหวังแต่ของที่เขาให้ ไม่เป็นขโมย เป็นคนสะอาดอยู่
ละพฤติกรรมอันเป็นข้าศึกต่อพรหมจรรย์ คือประพฤติพรหมจรรย์๑ เว้นห่าง
ไกลเมถุนธรรมอันเป็นกิจของชาวบ้าน
ละเว้นขาดจากการพูดเท็จ คือ พูดแต่คำสัตย์ ดำรงความสัตย์ มีถ้อยคำ
เป็นหลัก เชื่อถือได้ ไม่หลอกลวงชาวโลก
ละเว้นขาดจากคำส่อเสียด คือฟังความจากฝ่ายนี้แล้ว ไม่ไปบอกฝ่ายโน้น
เพื่อทำลายฝ่ายนี้ หรือฟังความฝ่ายโน้นแล้วไม่มาบอกฝ่ายนี้ เพื่อทำลายฝ่ายโน้น
สมานคนที่แตกแยกกัน ส่งเสริมคนที่ปรองดองกัน ชื่นชม ยินดี เพลิดเพลินต่อผู้
ที่สามัคคีกัน พูดแต่ถ้อยคำที่สร้างสรรค์ความสามัคคี
ละเว้นขาดจากคำหยาบ คือ พูดแต่คำไม่มีโทษ เสนาะโสต น่ารัก จับใจ
เป็นคำชาวเมือง คนส่วนมากรักใคร่ พอใจ
ละเว้นขาดจากคำเพ้อเจ้อ คือ พูดถูกเวลา พูดคำจริง พูดอิงประโยชน์
พูดอิงธรรม พูดอิงวินัย พูดคำที่มีหลักฐาน มีที่อ้างอิง มีที่กำหนด ประกอบ
ด้วยประโยชน์ เหมาะแก่กาลเวลา
[๑๗๙] ภิกษุนั้นเป็นผู้เว้นขาดจากการพรากพืชคามและภูตคาม ฉันมื้อเดียว
ไม่ฉันในเวลากลางคืน เว้นขาดจากการฉันในเวลาวิกาล๒
เว้นขาดจากการฟ้อนรำขับร้องประโคมดนตรีและดูการละเล่นอันเป็นข้าศึกแก่กุศล
เว้นขาดการทัดทรง ประดับตกแต่งร่างกายด้วยพวงดอกไม้ ของหอม และ
เครื่องประทินผิวอันเป็นลักษณะแห่งการแต่งตัว

เชิงอรรถ :
๑ ประพฤติพรหมจรรย์ หมายถึงการงดเว้นจากการเสพเมถุนธรรม ได้แก่ การร่วม
ประเวณี การร่วม
สังวาสกล่าวคือการเสพอสัทธรรมอันเป็นประเวณีของชาวบ้าน มีน้ำเป็นที่สุด เป็นกิจที่ต้องทำในที่ลับ
เป็นการกระทำของคนที่เป็นคู่ ๆ (วิ.มหา. (แปล) ๑/๕๕/๓๖)
๒ เวลาวิกาล หมายถึงเวลาที่ห้าม ใช้เฉพาะแต่ละเรื่อง ในที่นี้หมายถึงผิดเวลาที่กำหนดไว้ คือตั้งแต่หลัง
เที่ยงวันจนถึงอรุณขึ้น (ที.สี.อ. ๑๐/๗๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๖ หน้า :๒๑๐ }


พระอภิธรรมปิฎก ปุคคลบัญญัติ ๔. จตุกกปุคคลบัญญัติ
เว้นขาดจากที่นอนสูงใหญ่
เว้นขาดจากการรับทองและเงิน
เว้นขาดจากการรับธัญญาหารดิบ๑
เว้นขาดจากการรับเนื้อดิบ
เว้นขาดจากการรับสตรี๒และกุมารี๓
เว้นขาดจากการรับทาสหญิงและทาสชาย
เว้นขาดจากการรับแพะและแกะ
เว้นขาดจากการรับไก่และสุกร
เว้นขาดจากการรับช้าง โค ม้า และลา
เว้นขาดจากการรับเรือกสวน ไร่นา และที่ดิน
เว้นขาดจากการทำหน้าที่เป็นตัวแทนและผู้สื่อสาร๔
เว้นขาดจากการซื้อขาย
เว้นขาดจากการโกงด้วยตาชั่ง ด้วยของปลอม และด้วยเครื่องตวงวัด
เว้นขาดจากการรับสินบน การล่อลวง และการตลบตะแลง
เว้นขาดจากการตัด(อวัยวะ) การฆ่า การจองจำ การตีชิงวิ่งราว การปล้น
และการขู่กรรโชก
[๑๘๐] ภิกษุนั้นเป็นผู้สันโดษด้วยจีวรพอคุ้มร่างกายและบิณฑบาตพออิ่มท้อง
เธอจะไป ณ ที่ใด ๆ ก็ไปได้ทันที เหมือนนกบินไป ณ ที่ใด ๆ ก็มีแต่ปีกเป็นภาระ
เธอประกอบด้วยสีลขันธ์อันเป็นอริยะนี้แล้วย่อมเสวยสุขอันปราศจากโทษในภายใน

เชิงอรรถ :
๑ ธัญญาหารดิบ หมายถึงธัญชาติที่มีเมล็ด มีเปลือกสมบูรณ์พร้อมที่จะงอกได้ เช่น ข้าวเปลือก (ที.สี.อ.
๑๐/๗๕)
๒ สตรี หมายถึงหญิงที่แต่งงานแล้ว (อภิ.ปญฺจ.อ. ๑๗๙/๑๐๓)
๓ กุมารี หมายถึงหญิงที่ยังไม่ได้แต่งงาน (อภิ.ปญฺจ.อ. ๑๗๙/๑๐๓)
๔ เป็นตัวแทนและผู้สื่อสาร หมายถึงการส่งหนังสือหรือข่าวสารของคฤหัสถ์ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๑๗๙/๑๐๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๖ หน้า :๒๑๑ }


พระอภิธรรมปิฎก ปุคคลบัญญัติ ๔. จตุกกปุคคลบัญญัติ
[๑๘๑] ภิกษุนั้นเห็นรูปทางตาแล้ว ไม่รวบถือ ไม่แยกถือ ย่อมปฏิบัติเพื่อ
สำรวมจักขุนทรีย์ซึ่งเมื่อไม่สำรวมแล้วก็จะเป็นเหตุให้บาปอกุศลธรรมคืออภิชฌา
และโทมนัส ครอบงำได้ จึงรักษาจักขุนทรีย์ ถึงความสำรวมในจักขุนทรีย์ ฟังเสียง
ทางหู ฯลฯ ดมกลิ่นทางจมูก ฯลฯ ลิ้มรสทางลิ้น ฯลฯ ถูกต้องโผฏฐัพพะทางกาย
ฯลฯ รู้ธรรมารมณ์ทางใจแล้ว ไม่รวบถือ ไม่แยกถือ ย่อมปฏิบัติเพื่อสำรวมมนินทรีย์
ซึ่งเมื่อไม่สำรวมแล้วก็จะเป็นเหตุให้บาปอกุศลธรรมคืออภิชฌาและโทมนัสครอบงำได้
จึงรักษามนินทรีย์ ถึงความสำรวมในมนินทรีย์ เธอประกอบด้วยการสำรวมอินทรีย์
อันเป็นอริยะนี้ย่อมเสวยสุขอันไม่ระคนกับกิเลสในภายใน
[๑๘๒] ภิกษุนั้นทำความรู้สึกตัวในการก้าวไป การถอยกลับ การแลดู
การเหลียวดู การคู้เข้า การเหยียดออก การครองสังฆาฏิ บาตร และจีวร การฉัน
การดื่ม การเคี้ยว การลิ้ม การถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ การเดิน การยืน การนั่ง
การนอน การตื่น การพูด การนิ่ง
เธอประกอบด้วยอริยสีลขันธ์ อริยอินทรียสังวร อริยสติสัมปชัญญะ และ
อริยสันโดษนี้ พักอยู่ ณ เสนาสนะอันเงียบสงัด คือป่า โคนไม้ ภูเขา ซอกเขา ถ้ำ
ป่าช้า ป่าชัฏ ที่แจ้ง ลอมฟาง เธอกลับจากบิณฑบาต ภายหลังฉันอาหารเสร็จแล้ว
นั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรงดำรงสติให้มั่น เธอละอภิชฌาในโลก มีใจปราศจากอภิชฌา
ชำระจิตให้หมดจดจากอภิชฌา ละความมุ่งร้ายคือพยาบาท มีจิตไม่พยาบาท มุ่ง
ประโยชน์เกื้อกูลต่อสรรพสัตว์อยู่ ชำระจิตให้หมดจดจากความมุ่งร้ายคือพยาบาท
ละถีนมิทธะ ปราศจากถีนมิทธะ กำหนดแสงสว่าง มีสติสัมปชัญญะ ชำระจิตให้
หมดจดจากถีนมิทธะ ละอุทธัจจกุกกุจจะ เป็นผู้ไม่ฟุ้งซ่าน มีจิตสงบภายใน
ชำระจิตให้หมดจดจากอุทธัจจกุกกุจจะ ละวิจิกิจฉา ข้ามพ้นวิจิกิจฉาได้แล้ว ไม่มี
ความสงสัยในกุศลธรรมทั้งหลายอยู่ ชำระจิตให้หมดจดจากวิจิกิจฉา
[๑๘๓] ภิกษุนั้นละนิวรณ์ ๕ ประการเหล่านี้ที่ทำให้จิตเศร้าหมอง บั่นทอน
กำลังปัญญา สงัดจากกาม สงัดจากสภาวธรรมที่เป็นอกุศล บรรลุปฐมฌานที่มีวิตก
มีวิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวกอยู่ เพราะวิตกวิจารสงบระงับไปบรรลุทุติยฌาน
อันมีความผ่องใสในภายใน มีภาวะที่จิตเป็นหนึ่งผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีปีติและ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๖ หน้า :๒๑๒ }


พระอภิธรรมปิฎก ปุคคลบัญญัติ ๔. จตุกกปุคคลบัญญัติ
สุขเกิดแต่สมาธิอยู่ เพราะปีติจางคลายไป มีจิตเป็นอุเบกขา มีสติและมีสัมปชัญญะ
อยู่ และเสวยสุขทางกาย บรรลุตติยฌานที่พระอริยะกล่าวว่า “มีจิตเป็นอุเบกขา
มีสติอยู่เป็นสุข” เพราะละสุขและทุกข์ได้ เพราะโสมนัสและโทมนัสดับไป บรรลุ
จตุตถฌานอันไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข มีความบริสุทธิ์แห่งสติอันเกิดจากอุเบกขาอยู่
เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ ผุดผ่อง ไม่มีกิเลสเพียงดังเนิน ปราศจากความ
เศร้าหมอง อ่อน เหมาะแก่การใช้งาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ภิกษุนั้นน้อม
จิตไปเพื่อปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ระลึกชาติก่อนได้หลายชาติ คือ ๑ ชาติบ้าง
๒ ชาติบ้าง ๓ ชาติบ้าง ๔ ชาติบ้าง ๕ ชาติบ้าง ๑๐ ชาติบ้าง ๒๐ ชาติบ้าง
๓๐ ชาติบ้าง ๔๐ ชาติบ้าง ๕๐ ชาติบ้าง ๑๐๐ ชาติบ้าง ๑,๐๐๐ ชาติบ้าง ๑๐๐,๐๐๐
ชาติบ้าง ตลอดสังสัฏฏกัปเป็นอันมากบ้าง ตลอดวิวัฏฏกัปเป็นอันมากบ้าง ตลอด
สังวัฏฏกัปเป็นอันมากบ้างว่า “ในภพโน้นเรามีชื่ออย่างนั้น มีตระกูล มีวรรณะ มี
อาหาร เสวยสุข ทุกข์ และมีอายุอย่างนั้น ๆ จุติจากภพนั้นก็ไปเกิดในภพโน้น
แม้ในภพนั้นเราก็มีชื่ออย่างนั้น มีตระกูล มีวรรณะ มีอาหาร เสวยสุขทุกข์และมี
อายุอย่างนั้น ๆ จุติจากภพนั้นจึงมาเกิดในภพนี้” เธอระลึกชาติก่อนได้หลายชาติ
พร้อมทั้งลักษณะทั่วไปและชีวประวัติอย่างนี้
[๑๘๔] ภิกษุนั้นเมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ ผุดผ่อง ไม่มีกิเลสเพียงดังเนิน
ปราศจากความเศร้าหมอง อ่อน เหมาะแก่การใช้งาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้
เธอน้อมจิตไปเพื่อจุตูปปาตญาณ เห็นหมู่สัตว์ผู้กำลังจุติ กำลังเกิด ทั้งชั้นต่ำและ
ชั้นสูง งามและไม่งาม เกิดดีและเกิดไม่ดี ด้วยตาทิพย์อันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์ รู้
ชัดซึ่งหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรมว่า “หมู่สัตว์ที่ประกอบด้วยกายทุจริต วจีทุจริต
และมโนทุจริตติเตียนพระอริยะมีความเห็นผิดและชักชวนผู้อื่นให้ทำกรรมตามความ
เห็นผิด เขาเหล่านั้นหลังจากตายแล้วจะไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก
ส่วนหมู่สัตว์ที่ประกอบด้วยกายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต ไม่ติเตียนพระอริยะ มี
ความเห็นชอบ ชักชวนผู้อื่นให้ทำกรรมตามความเห็นชอบ เขาเหล่านั้นหลังจาก
ตายแล้วจะไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์” เธอเห็นหมู่สัตว์ผู้กำลังจุติ กำลังเกิด ทั้งชั้นต่ำ
และชั้นสูง งามและไม่งาม เกิดดีและเกิดไม่ดี ด้วยตาทิพย์อันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์
รู้ชัดถึงหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรม

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๖ หน้า :๒๑๓ }


พระอภิธรรมปิฎก ปุคคลบัญญัติ ๔. จตุกกปุคคลบัญญัติ
[๑๘๕] ภิกษุนั้นเมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ ผุดผ่อง ไม่มีกิเลสเพียงดังเนิน
ปราศจากความเศร้าหมอง อ่อน เหมาะแก่การใช้งาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้
น้อมจิตไปเพื่ออาสวักขยญาณ รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า “นี้ทุกข์ นี้เหตุเกิดแห่งทุกข์
นี้ความดับทุกข์ นี้ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ นี้อาสวะ นี้เหตุเกิดแห่งอาสวะ นี้
ความดับอาสวะ นี้ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับอาสวะ”
เมื่อเธอรู้เห็นอยู่อย่างนี้ จิตย่อมหลุดพ้นจากกามาสวะ ภวาสวะ และ
อวิชชาสวะ เมื่อจิตหลุดพ้นแล้วก็รู้ว่า “หลุดพ้นแล้ว” รู้ชัดว่า “ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบ
พรหมจรรย์๑แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป”
บุคคลผู้ไม่ทำตนให้เดือดร้อน ไม่หมั่นประกอบในการทำตนให้เดือดร้อน
และไม่ทำผู้อื่นให้เดือดร้อนไม่หมั่นประกอบในการทำผู้อื่นให้เดือดร้อน เป็นอย่างนี้
เขาไม่ทำตนให้เดือดร้อน ไม่ทำผู้อื่นให้เดือดร้อน ไม่หมั่นประกอบในการทำผู้อื่น
ให้เดือดร้อน เป็นผู้ไม่หิว ดับร้อน เย็นใจ เสวยสุข มีตนประเสริฐอยู่ในปัจจุบัน
[๑๘๖] บุคคลผู้มีราคะ เป็นไฉน
บุคคลผู้ยังละราคะไม่ได้ บุคคลนี้เรียกว่า ผู้มีราคะ
บุคคลผู้มีโทสะ เป็นไฉน
บุคคลผู้ยังละโทสะไม่ได้ บุคคลนี้เรียกว่า ผู้มีโทสะ
บุคคลผู้มีโมหะ เป็นไฉน
บุคคลผู้ยังละโมหะไม่ได้ บุคคลนี้เรียกว่า ผู้มีโมหะ
บุคคลผู้มีมานะ เป็นไฉน
บุคคลผู้ยังละมานะไม่ได้ บุคคลนี้เรียกว่า ผู้มีมานะ

เชิงอรรถ :
๑ อยู่จบพรหมจรรย์ ในที่นี้หมายถึงกิจแห่งการปฏิบัติเพื่อทำลายอาสวกิเลสจบสิ้นสมบูรณ์แล้ว ไม่มีกิจ
อื่นที่จะต้องทำเพื่อตนเอง แต่ยังมีหน้าที่เพื่อผู้อื่นอยู่ ผู้บรรลุถึงขั้นนี้ได้ชื่อว่าอเสขบุคคล (ที.สี.อ.
๒๔๘/๒๐๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๖ หน้า :๒๑๔ }


พระอภิธรรมปิฎก ปุคคลบัญญัติ ๔. จตุกกปุคคลบัญญัติ
[๑๘๗] บุคคลผู้ได้ความสงบแห่งจิตภายใน๑ แต่ไม่ได้ความเห็นแจ้งธรรม
ด้วยปัญญาอันยิ่ง๒ เป็นไฉน๓
บุคคลบางคนในโลกนี้ได้สมาบัติมีรูปเป็นอารมณ์หรือมีอรูปเป็นอารมณ์ แต่
ไม่ได้โลกุตตรมรรคหรือโลกุตตรผล บุคคลเช่นนี้ชื่อว่าผู้ได้ความสงบแห่งจิตภายใน
แต่ไม่ได้ความเห็นแจ้งธรรมด้วยปัญญาอันยิ่ง
บุคคลผู้ได้ความเห็นแจ้งธรรมด้วยปัญญาอันยิ่ง แต่ไม่ได้ความสงบแห่ง
จิตภายใน เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้ได้โลกุตตรมรรคหรือโลกุตตรผล แต่ไม่ได้สมาบัติมีรูป
เป็นอารมณ์หรือมีอรูปเป็นอารมณ์ บุคคลเช่นนี้ชื่อว่าผู้ได้ความเห็นแจ้งธรรมด้วย
ปัญญาอันยิ่ง แต่ไม่ได้ความสงบแห่งจิตภายใน
บุคคลผู้ได้ความสงบแห่งจิตภายในและได้ความเห็นแจ้งธรรมด้วย
ปัญญาอันยิ่ง เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้ได้สมาบัติมีรูปเป็นอารมณ์หรือมีอรูปเป็นอารมณ์ ได้
โลกุตตรมรรคหรือโลกุตตรผล บุคคลเช่นนี้ชื่อว่าผู้ได้ความสงบแห่งจิตภายในและได้
ความเห็นแจ้งธรรมด้วยปัญญาอันยิ่ง
บุคคลผู้ไม่ได้ความสงบแห่งจิตภายในและไม่ได้ความเห็นแจ้งธรรมด้วย
ปัญญาอันยิ่ง เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้ไม่ได้สมาบัติมีรูปเป็นอารมณ์หรือมีอรูปเป็นอารมณ์ ไม่
ได้โลกุตตรมรรคหรือโลกุตตรผล บุคคลเช่นนี้ชื่อว่าผู้ไม่ได้ความสงบแห่งจิตภายใน
และไม่ได้ความเห็นแจ้งธรรมด้วยปัญญาอันยิ่ง

เชิงอรรถ :
๑ หมายถึงอัปปนาจิตตสมาธิในสันดาน(ความสืบต่อแห่งจิตคือกระแสจิตที่เกิดดับต่อเนื่องกัน)ของตน
(องฺ.สตฺตก.อ. ๒/๙๒/๓๖๖)
๒ ความเห็นแจ้งธรรมด้วยปัญญาอันยิ่ง ในที่นี้หมายถึงวิปัสสนาญาณที่กำหนดรู้สังขารคือปัญญาอันยิ่ง
และความเห็นแจ้งในธรรมคือเบญจขันธ์ (องฺ.สตฺตก.อ. ๒/๙๒/๓๖๖)
๓ ดู องฺ. จตุกฺก. (แปล) ๒๑/๙๒/๑๔๐

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๖ หน้า :๒๑๕ }


พระอภิธรรมปิฎก ปุคคลบัญญัติ ๔. จตุกกปุคคลบัญญัติ
[๑๘๘] บุคคลผู้ไปตามกระแส๑ เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้เสพกามและทำบาปกรรม๒ บุคคลนี้เรียกว่า ผู้ไปตาม
กระแส
บุคคลผู้ไปทวนกระแส เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้ไม่เสพกามและไม่ทำบาปกรรม ถึงจะมีทุกข์ โทมนัส
ร้องไห้น้ำตานองหน้า แต่ก็ยังประพฤติพรหมจรรย์ให้บริสุทธิ์ บริบูรณ์ได้ บุคคลนี้
เรียกว่า ผู้ไปทวนกระแส
บุคคลผู้มีภาวะตั้งมั่น เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้ เพราะสังโยชน์เบื้องต่ำทั้ง ๕ ประการสิ้นไป เป็น
โอปปาติกะ ปรินิพพานในภพนั้น ไม่กลับมาจากภพนั้นเป็นธรรมดา บุคคลนี้เรียกว่า
ผู้มีภาวะตั้งมั่น
บุคคลผู้ลอยบาปข้ามถึงฝั่งดำรงอยู่บนบก เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้ทำให้แจ้งเจโตวิมุตติปัญญาวิมุตติอันไม่มีอาสวะเพราะอาสวะ
ทั้งหลายสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเองอยู่ บุคคลนี้เรียกว่า ผู้ลอยบาปข้ามถึงฝั่งดำรง
อยู่บนบก
[๑๘๙] บุคคลผู้มีสุตะน้อย ทั้งไม่เข้าถึงสุตะ๓ เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้มีสุตะ เคยยะ เวยยากรณะ คาถา อุทาน อิติวุตตกะ
ชาตกะ อัพภูตธรรม เวทัลละน้อย แต่เขาหารู้อรรถ๔รู้ธรรม๕แห่งสุตะน้อยนั้นแล้ว
ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรมไม่ บุคคลผู้มีสุตะน้อย ทั้งไม่เข้าถึงสุตะ เป็นอย่างนี้
บุคคลผู้มีสุตะน้อย แต่เข้าถึงสุตะ เป็นไฉน

เชิงอรรถ :
๑ ดู องฺ. จตุกฺก. (แปล) ๒๑/๕/๗-๘
๒ บาปกรรม ในที่นี้หมายถึงการฆ่าสัตว์เป็นต้น (องฺ. จตุกฺก. อ. ๒/๕/๒๘๑)
๓ ดู องฺ. จตุกฺก. (แปล) ๒๑/๖/๙-๑๐
๔ อรรถ ในที่นี้หมายถึงอรรถกถา (องฺ. จตุกฺก. อ. ๒/๖/๒๘๒)
๕ ธรรม ในที่นี้หมายถึงบาลี (องฺ. จตุกฺก. อ. ๒/๖/๒๘๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๖ หน้า :๒๑๖ }


พระอภิธรรมปิฎก ปุคคลบัญญัติ ๔. จตุกกปุคคลบัญญัติ
บุคคลบางคนในโลกนี้มีสุตะ เคยยะ เวยยากรณะ คาถา อุทาน อิติวุตตกะ
ชาตกะ อัพภูตธรรม เวทัลละน้อย แต่เขารู้อรรถรู้ธรรมแห่งสุตะน้อยนั้นปฏิบัติธรรม
สมควรแก่ธรรม บุคคลผู้มีสุตะน้อยแต่เข้าถึงสุตะเป็นอย่างนี้
บุคคลผู้มีสุตะมากแต่ไม่เข้าถึงสุตะ เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้มีสุตะ เคยยะ เวยยากรณะ คาถา อุทาน อิติวุตตกะ
ชาตกะ อัพภูตธรรม เวทัลละมาก แต่เขาหารู้อรรถรู้ธรรมแห่งสุตะมากนั้นแล้ว
ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรมไม่ บุคคลผู้มีสุตะมากแต่ไม่เข้าถึงสุตะ เป็นอย่างนี้
บุคคลผู้มีสุตะมากทั้งเข้าถึงสุตะ เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้มีสุตะ เคยยะ เวยยากรณะ คาถา อุทาน อิติวุตตกะ
ชาตกะ อัพภูตธรรม เวทัลละมาก ทั้งเขาก็รู้อรรถรู้ธรรมแห่งสุตะมากนั้นปฏิบัติ
ธรรมสมควรแก่ธรรม บุคคลผู้มีสุตะมาก ทั้งเข้าถึงสุตะ เป็นอย่างนี้
[๑๙๐] บุคคลผู้เป็นสมณะไม่หวั่นไหว๑ เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้ เพราะสังโยชน์ ๓ ประการสิ้นไป เป็นโสดาบัน ไม่มี
ทางตกต่ำ มีความแน่นอนที่จะสำเร็จสัมโพธิ๒ ในวันข้างหน้า บุคคลนี้เรียกว่า ผู้
เป็นสมณะไม่หวั่นไหว
บุคคลผู้เป็นสมณะเหมือนดอกบุณฑริก เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้ เพราะสังโยชน์ ๓ ประการสิ้นไป และเพราะราคะ โทสะ
โมหะเบาบาง เป็นสกทาคามี มาสู่โลกนี้อีกเพียงครั้งเดียวเท่านั้นก็จะทำที่สุดแห่ง
ทุกข์ได้ บุคคลนี้เรียกว่า ผู้เป็นสมณะเหมือนดอกบุณฑริก
บุคคลผู้เป็นสมณะเหมือนดอกปทุม เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้ เพราะสังโยชน์เบื้องต่ำทั้ง ๕ ประการสิ้นไป เป็น
โอปปาติกะ ปรินิพพานในโลกนั้น ไม่กลับมาจากภพนั้นเป็นธรรมดา บุคคลนี้เรียกว่า
ผู้เป็นสมณะเหมือนดอกปทุม
บุคคลผู้เป็นสมณะผู้ละเอียดอ่อนในหมู่สมณะ เป็นไฉน

เชิงอรรถ :
๑ ดู องฺ. จตุกฺก. (แปล) ๒๑/๘๘/๑๓๔-๓๕
๒ ดูเชิงอรรถที่ ๑ ข้อ ๓๑ (เอกกปุคคลบัญญัติ) หน้า ๑๕๔ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๖ หน้า :๒๑๗ }


พระอภิธรรมปิฎก ปุคคลบัญญัติ ๕. ปัญจกปุคคลบัญญัติ
บุคคลบางคนในโลกนี้ทำให้แจ้งเจโตวิมุตติปัญญาวิมุตติอันไม่มีอาสวะเพราะอาสวะ
ทั้งหลายสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน บุคคลนี้เรียกว่า ผู้เป็น
สมณะผู้ละเอียดอ่อนในหมู่สมณะ
จตุกกนิทเทส จบ

๕. ปัญจกปุคคลบัญญัติ
[๑๙๑] บรรดาบุคคลที่แสดงแล้วเหล่านั้น บุคคลผู้ต้องอาบัติและเดือดร้อน
ทั้งไม่รู้ชัดตามความเป็นจริงซึ่งเจโตวิมุตติปัญญาวิมุตติอันเป็นที่ดับไปโดยไม่เหลือ
แห่งสภาวธรรมที่เป็นอกุศลซึ่งเป็นบาปอันเกิดขึ้นแล้วแก่ตน บุคคลนั้นพึงถูกว่า
กล่าวอย่างนี้ว่า “อาสวะที่เกิดจากการต้องอาบัติมีแก่ท่าน อาสวะที่เกิดจากความ
เดือดร้อนเจริญแก่ท่าน ดีละ ท่านจงละอาสวะที่เกิดจากการต้องอาบัติ บรรเทา
อาสวะที่เกิดจากความเดือดร้อน เจริญจิตและเจริญปัญญา เมื่อเจริญอย่างนี้แล้ว
ท่านจักเป็นผู้เสมอด้วยบุคคลที่ ๕๑”
บรรดาบุคคลเหล่านั้น บุคคลผู้ต้องอาบัติแต่ไม่เดือดร้อน ทั้งไม่รู้ชัดตามความ
เป็นจริงซึ่งเจโตวิมุตติปัญญาวิมุตติอันเป็นที่ดับไปโดยไม่เหลือแห่งสภาวธรรมที่เป็น
อกุศลซึ่งเป็นบาปอันเกิดขึ้นแล้วแก่ตน บุคคลนั้นพึงถูกว่ากล่าวอย่างนี้ว่า “อาสวะ
ที่เกิดจากการต้องอาบัติมีแก่ท่าน อาสวะที่เกิดจากความเดือดร้อนย่อมไม่เจริญแก่
ท่าน ดีละ ท่านจงละอาสวะที่เกิดจากการต้องอาบัติแล้ว เจริญจิตและปัญญา
เมื่อเจริญอย่างนี้แล้ว ท่านจักเป็นผู้เสมอด้วยบุคคลที่ ๕”
บรรดาบุคคลเหล่านั้น บุคคลผู้ไม่ต้องอาบัติแต่เดือดร้อนและไม่รู้ชัดตาม
ความเป็นจริงซึ่งเจโตวิมุตติปัญญาวิมุตติอันเป็นที่ดับไปโดยไม่เหลือแห่งสภาวธรรม
ที่เป็นอกุศลซึ่งเป็นบาปอันเกิดขึ้นแล้วแก่ตน บุคคลนั้นพึงถูกว่ากล่าวอย่างนี้ว่า
“อาสวะที่เกิดจากการต้องอาบัติไม่มีแก่ท่าน อาสวะที่เกิดจากความเดือดร้อนเจริญ
แก่ท่าน ดีละ ท่านจงละอาสวะที่เกิดจากความเดือดร้อนแล้วเจริญจิตและปัญญา
เมื่อเจริญแล้วอย่างนี้ ท่านจักเป็นผู้เสมอด้วยบุคคลที่ ๕”

เชิงอรรถ :
๑ หมายถึง ผู้สิ้นอาสวะแล้ว (อภิ.ปญฺจ.อ. ๑๙๑/๑๑๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๖ หน้า :๒๑๘ }


พระอภิธรรมปิฎก ปุคคลบัญญัติ ๕. ปัญจกปุคคลบัญญัติ
บรรดาบุคคลเหล่านั้น บุคคลผู้ไม่ต้องอาบัติ ไม่เดือดร้อน และไม่รู้ชัดตาม
ความเป็นจริงซึ่งเจโตวิมุตติปัญญาวิมุตติอันเป็นที่ดับไปโดยไม่เหลือแห่งสภาวธรรม
ที่เป็นอกุศลซึ่งเป็นบาปอันเกิดขึ้นแล้วแก่ตน บุคคลนั้นพึงถูกว่ากล่าวอย่างนี้ว่า
“อาสวะที่เกิดจากการต้องอาบัติไม่มีแก่ท่าน อาสวะที่เกิดจากความเดือดร้อนไม่
เจริญแก่ท่าน ดีละ ท่านจงเจริญจิตและปัญญา เมื่อเจริญอย่างนี้แล้ว ท่านจัก
เป็นผู้เสมอด้วยบุคคลที่ ๕”
บุคคล ๔ จำพวกเหล่านี้ เมื่อบุคคลที่ ๕ โอวาทพร่ำสอนอยู่อย่างนี้ จะถึง
ความสิ้นอาสวะโดยลำดับ
[๑๙๒] บุคคลให้แล้วดูหมิ่น เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้ให้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัช
บริขารแก่บุคคลใด บุคคลนั้นกลับมีความคิดอย่างนี้ว่า “เราจะให้ ผู้นี้จะรับ” ให้
แล้วย่อมดูหมิ่นผู้นั้น บุคคลเช่นนี้ชื่อว่าให้แล้วดูหมิ่น
บุคคลดูหมิ่นด้วยการอยู่ร่วมกัน เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้อยู่ร่วมกับบุคคลใดตลอด ๒ หรือ ๓ ปี ดูหมิ่นบุคคล
นั้นเพราะการอยู่ร่วมกัน บุคคลเช่นนี้ชื่อว่าดูหมิ่นด้วยการอยู่ร่วมกัน
บุคคลผู้เชื่อง่าย เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้เมื่อเขากล่าวสรรเสริญหรือกล่าวติเตียนผู้อื่นก็เชื่อทันที
บุคคลเช่นนี้ชื่อว่าผู้เชื่อง่าย
บุคคลผู้โลเล เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้มีศรัทธานิดหน่อย มีความภักดีนิดหน่อย มีความรัก
นิดหน่อย มีความเลื่อมใสนิดหน่อย บุคคลเช่นนี้ชื่อว่าผู้โลเล
บุคคลผู้โง่งมงาย เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้ไม่รู้สภาวธรรมทั้งที่เป็นกุศลและอกุศล มีโทษและไม่มี
โทษ ที่เลวและประณีต มีส่วนเปรียบด้วยธรรมฝ่ายดำและธรรมฝ่ายขาว บุคคลเช่นนี้
ชื่อว่าผู้โง่งมงาย
[๑๙๓] ในบทมาติกานั้น บุคคลเปรียบเหมือนนักรบอาชีพ ๕ จำพวก เป็นไฉน
นักรบอาชีพ ๕ จำพวก คือ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๖ หน้า :๒๑๙ }


พระอภิธรรมปิฎก ปุคคลบัญญัติ ๕. ปัญจกปุคคลบัญญัติ
นักรบบางคนในโลกนี้พอเห็นกลุ่มควัน๑เท่านั้น ย่อมชะงัก หยุด ไม่ตั้งมั่น
ไม่สามารถเข้าสู่สงครามได้ นักรบบางคนแม้เช่นนี้ก็ชื่อว่าเป็นนักรบอาชีพ นักรบ
อาชีพจำพวกที่ ๑ นี้มีปรากฏอยู่ในโลก
ยังมีอีก นักรบอาชีพบางคนในโลกนี้แม้เห็นกลุ่มควันก็อดทนได้ แต่ว่าเห็น
ปลายธง๒แล้วย่อมชะงัก หยุด ไม่ตั้งมั่น ไม่สามารถจะเข้าสู่สงครามได้ นักรบ
บางคนแม้เช่นนี้ก็ชื่อว่าเป็นนักรบอาชีพ นักรบอาชีพจำพวกที่ ๒ นี้มีปรากฏอยู่ในโลก
ยังมีอีก นักรบอาชีพบางคนในโลกนี้แม้เห็นกลุ่มควันก็อดทนได้ เห็นปลาย
ธงก็อดทนได้ แต่พอได้ยินเสียงอึกทึก๓แล้วย่อมชะงัก หยุด ไม่ตั้งมั่น ไม่สามารถ
จะเข้าสู่สงครามได้ นักรบบางคนแม้เช่นนี้ก็ชื่อว่าเป็นนักรบอาชีพ นักรบอาชีพจำ
พวกที่ ๓ นี้มีปรากฏอยู่ในโลก
ยังมีอีก นักรบอาชีพบางคนในโลกนี้แม้เห็นกลุ่มควันก็อดทนได้ เห็นปลาย
ธงก็อดทนได้ ได้ยินเสียงอึกทึกก็อดทนได้ แต่พอปะทะกันย่อมเหนื่อยหน่าย
ระส่ำระสาย นักรบบางคนแม้เช่นนี้ก็ชื่อว่าเป็นนักรบอาชีพ นักรบอาชีพจำพวกที่ ๔
นี้มีปรากฏอยู่ในโลก
ยังมีอีก นักรบอาชีพบางคนในโลกนี้แม้เห็นกลุ่มควันก็อดทนได้ เห็นปลายธง
ก็อดทนได้ ได้ยินเสียงอึกทึกก็อดทนได้ ปะทะกันก็อดทนได้ นักรบอาชีพนั้นชนะ
สงครามนั้นแล้วชื่อว่าผู้พิชิตสงคราม ย่อมครอบครองค่ายที่ชนะมาไว้ได้ นักรบบาง
คนแม้เช่นนี้ก็ชื่อว่าเป็นนักรบอาชีพ นักรบอาชีพจำพวกที่ ๕ นี้มีปรากฏอยู่ในโลก
นักรบอาชีพ ๕ จำพวกเหล่านี้มีปรากฏอยู่ในโลก
[๑๙๔] บุคคลเปรียบเหมือนนักรบอาชีพ ๕ จำพวกเหล่านี้มีปรากฏอยู่ใน
ภิกษุทั้งหลายอย่างนี้เหมือนกัน

เชิงอรรถ :
๑ กลุ่มควัน ในที่นี้หมายถึงฝุ่นซึ่งโพยพุ่งขึ้นไปตามภาคพื้นดินอันเกิดจากการเหยียบย่ำของช้างและม้าเป็นต้น
(อภิ.ปญฺจ.อ. ๑๙๓/๑๑๓)
๒ ปลายธง ในที่นี้หมายถึงยอดธงที่เขายกประดับไว้บนหลังช้าง ม้า หรือรถ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๑๙๓/๑๑๔)
๓ เสียงอึกทึก ในที่นี้หมายถึงเสียงเอ็ดตะโรของช้าง ม้า รถ และพลเดินเท้า (อภิ.ปญฺจ.อ. ๑๙๓/๑๑๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๖ หน้า :๒๒๐ }


พระอภิธรรมปิฎก ปุคคลบัญญัติ ๕. ปัญจกปุคคลบัญญัติ
ภิกษุ ๕ จำพวก เป็นไฉน
ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้เห็นกลุ่มธุลีเท่านั้น ย่อมซบเซา หงอยเหงา ไม่
ตั้งมั่น ย่อมไม่สามารถจะสืบต่อพรหมจรรย์๑ ประกาศความย่อหย่อนในสิกขา
บอกคืนสิกขาเวียนมาเป็นคฤหัสถ์ อะไรเป็นกลุ่มธุลีของภิกษุนั้น ภิกษุในธรรมวินัย
นี้ได้ทราบข่าวว่า “ในบ้านหรือนิคมชื่อโน้น มีหญิงหรือกุมารี ผู้มีรูปงาม น่าดู
น่าชื่นชม มีผิวพรรณงามยิ่ง” เธอได้ทราบข่าวนั้นแล้ว ย่อมซบเซา หงอยเหงา
ไม่ตั้งมั่น ไม่สามารถเพื่อจะสืบต่อพรหมจรรย์ได้ ประกาศความย่อหย่อนในสิกขา
บอกคืน สิกขาเวียนมาเป็นคฤหัสถ์ นี้ชื่อว่ากลุ่มธุลีของภิกษุนั้น
นักรบอาชีพนั้นพอเห็นกลุ่มควันเท่านั้นย่อมชะงัก หยุดอยู่ ไม่ตั้งมั่น ไม่
สามารถจะเข้าสู่สงครามได้แม้ฉันใด ภิกษุนี้ก็อุปมาฉันนั้น บุคคลบางคนในโลกนี้
เป็นเช่นนี้ บุคคลเปรียบเหมือนนักรบอาชีพจำพวกที่ ๑ นี้มีปรากฏอยู่ในภิกษุ
ทั้งหลาย
[๑๙๕] ยังมีอีก ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้เห็นกลุ่มธุลีก็อดทนได้ แต่พอเห็น
ปลายธงเท่านั้นย่อมซบเซา หงอยเหงา ไม่ตั้งมั่น ย่อมไม่สามารถจะสืบต่อ
พรหมจรรย์ได้ ประกาศความย่อหย่อนในสิกขา บอกคืนสิกขาเวียนมาเป็นคฤหัสถ์
อะไรเป็นปลายธงของภิกษุนั้น ภิกษุในธรรมวินัยนี้ไม่เพียงได้ยินข่าวว่า “ในบ้าน
หรือนิคมชื่อโน้น มีหญิงหรือกุมารี มีรูปงาม น่าดู น่าชื่นชม มีผิวพรรณงามยิ่ง”
ครั้นเธอเห็นแล้ว ก็ประกาศความย่อหย่อนในสิกขา หงอยเหงา ไม่ตั้งมั่น ไม่
สามารถจะสืบต่อพรหมจรรย์ ประกาศความย่อหย่อนในสิกขา บอกคืนสิกขาเวียน
มาเป็นคฤหัสถ์ นี้ชื่อว่าปลายธงของภิกษุนั้น
นักรบอาชีพนั้นพอเห็นกลุ่มควันก็อดทนได้ เห็นปลายธงจึงชะงัก หยุดอยู่ ไม่ตั้งมั่น
ไม่สามารถจะเข้าสู่สงครามได้แม้ฉันใด ภิกษุนี้ก็อุปมาฉันนั้น บุคคลบางคนในโลกนี้
เป็นเช่นนี้ บุคคลเปรียบเหมือนนักรบอาชีพจำพวกที่ ๒ นี้มีปรากฏอยู่ในภิกษุ
ทั้งหลาย

เชิงอรรถ :
๑ พรหมจรรย์ ในที่นี้หมายถึงการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ในเพศบรรพชิต (อภิ.ปญฺจ.อ. ๑๙๔/๑๑๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๖ หน้า :๒๒๑ }


พระอภิธรรมปิฎก ปุคคลบัญญัติ ๕. ปัญจกปุคคลบัญญัติ
[๑๙๖] ยังมีอีก ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้เห็นกลุ่มธุลีก็อดทนได้ เห็นปลาย
ธงก็อดทนได้ แต่พอได้ยินเสียงอึกทึกเท่านั้นก็จมอยู่ในมิจฉาวิตก หยุดอยู่ ไม่ตั้งมั่น
ไม่สามารถจะสืบต่อพรหมจรรย์ ประกาศความย่อหย่อนในสิกขา บอกคืนสิกขา
เวียนมาเป็นคฤหัสถ์ อะไรเป็นเสียงอึกทึกของภิกษุนั้น มาตุคาม เข้าไปหาภิกษุใน
ธรรมวินัยนี้ผู้อยู่ป่า อยู่โคนไม้ หรืออยู่เรือนว่าง ย่อมยิ้มยวน ทักทาย ซิกซี้
พูดล้อเลียน เธอถูกมาตุคามยิ้มยวน ทักทาย ซิกซี้ ล้อเลียน ย่อมจมอยู่ในมิจฉาวิตก
หยุดอยู่ ไม่ตั้งมั่น ไม่สามารถจะสืบต่อพรหมจรรย์ได้ ประกาศความย่อหย่อนในสิกขา
บอกคืนสิกขาเวียนมาเป็นคฤหัสถ์ นี้ชื่อว่าเสียงอึกทึกของภิกษุนั้น
นักรบอาชีพนั้นเห็นกลุ่มธุลีก็อดทนได้ เห็นปลายธงก็อดทนได้ แต่พอได้ยิน
เสียงอึกทึกเท่านั้น ย่อมชะงัก หยุด ไม่ตั้งมั่น ไม่สามารถจะเข้าสู่สงครามได้ แม้ฉันใด
ภิกษุนี้ก็อุปมาฉันนั้น บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นเช่นนี้ บุคคลเปรียบเหมือนนักรบ
อาชีพจำพวกที่ ๓ นี้มีปรากฏอยู่ในภิกษุทั้งหลาย
[๑๙๗] ยังมีอีก ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้เห็นกลุ่มธุลีก็อดทนได้ เห็นปลาย
ธงก็อดทนได้ ได้ยินเสียงอึกทึกก็อดทนได้ แต่เมื่อปะทะกันก็เหนื่อยหน่าย ระส่ำ
ระสาย อะไรเป็นการปะทะกันของภิกษุนั้น คือ มาตุคามเข้าไปหาภิกษุในธรรม
วินัยนี้ผู้อยู่ป่า อยู่โคนไม้ หรืออยู่เรือนว่าง ย่อมนั่งใกล้ชิด นอนใกล้ชิด กอดรัด
เธอถูกมาตุคามนั่งใกล้ชิด นอนใกล้ชิด กอดรัดอยู่ก็ไม่บอกคืนสิกขา ไม่ประกาศ
ความย่อหย่อนให้ปรากฏ เสพเมถุนธรรม นี้ชื่อว่าการปะทะกันของภิกษุนั้น
นักรบอาชีพนั้นเห็นกลุ่มควันก็อดทนได้ เห็นปลายธงก็อดทนได้ ได้ยินเสียง
อึกทึกก็อดทนได้ แต่ว่าย่อมเหนื่อยหน่าย ระส่ำระสายในเมื่อมีการปะทะกัน
แม้ฉันใด ภิกษุนี้ก็อุปมาฉันนั้น บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นเช่นนี้ บุคคลเปรียบ
เหมือนนักรบอาชีพจำพวกที่ ๔ นี้มีปรากฏอยู่ในภิกษุทั้งหลาย
[๑๙๘] ยังมีอีก ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้เห็นกลุ่มธุลีก็อดทนได้ เห็นปลาย
ธงก็อดทนได้ ได้ยินเสียงอึกทึกก็อดทนได้ ปะทะกันก็อดทนได้ เธอชนะสงคราม
แล้วชื่อว่าผู้พิชิตสงคราม ย่อมครอบครองค่ายรบที่ชนะมาไว้ได้ อะไรเป็นชัยชนะใน
สงครามของภิกษุนั้น คือ มาตุคามเข้าไปหาภิกษุในธรรมวินัยนี้ผู้อยู่ป่า อยู่โคนไม้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๖ หน้า :๒๒๒ }


พระอภิธรรมปิฎก ปุคคลบัญญัติ ๕. ปัญจกปุคคลบัญญัติ
หรืออยู่เรือนว่างแล้ว ย่อมนั่งใกล้ชิด นอนใกล้ชิด กอดรัด เธอถูกมาตุคามนั่งใกล้ชิด
นอนใกล้ชิด กอดรัดอยู่ก็ปลดเปลื้องเอาตัวรอดได้ หลีกไปตามที่ปรารถนา
ภิกษุนั้นย่อมเข้าสู่เสนาสนะอันสงัด เช่น ป่า โคนไม้ ภูเขา ซอกเขา ถ้ำ ป่าช้า
ป่าทึบ กลางแจ้ง ลอมฟาง เธออยู่ป่า อยู่โคนไม้ หรืออยู่เรือนว่าง นั่งคู้บัลลังก์
ตั้งกายให้ตรงดำรงสติให้มั่น เธอละอภิชฌาในโลก มีใจปราศจากอภิชฌา ชำระจิต
ให้หมดจดจากอภิชฌา ละความมุ่งร้ายคือพยาบาท มีจิตไม่พยาบาท มุ่งประโยชน์
เกื้อกูลแก่สรรพสัตว์อยู่ ชำระจิตให้หมดจดจากความมุ่งร้ายคือพยาบาท ละถีนมิทธะ
ปราศจากถีนมิทธะ กำหนดแสงสว่าง มีสติสัมปชัญญะ ชำระจิตให้หมดจดจาก
ถีนมิทธะ ละอุทธัจจกุกกุจจะ เป็นผู้ไม่ฟุ้งซ่าน มีจิตสงบภายใน ชำระจิตให้หมด
จดจากอุทธัจจกุกกุจจะ ละวิจิกิจฉา ข้ามพ้นวิจิกิจฉาได้แล้ว ไม่มีความสงสัยใน
กุศลธรรมทั้งหลายอยู่ ชำระจิตให้หมดจดจากวิจิกิจฉา
ภิกษุนั้นละนิวรณ์ ๕ ประการเหล่านี้ ที่ทำให้จิตเศร้าหมอง บั่นทอนกำลัง
ปัญญา สงัดจากกาม สงัดจากสภาวธรรมที่เป็นอกุศล บรรลุปฐมฌานที่มีวิตก มี
วิจาร มีปีติ และสุขอันเกิดแต่วิเวกอยู่ เพราะวิตกวิจารสงบระงับไป บรรลุทุติยฌาน
ฯลฯ บรรลุตติยฌาน ฯลฯ บรรลุจตุตถฌาน ฯลฯ อยู่
ภิกษุนั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ ผุดผ่อง ไม่มีกิเลสเพียงดังเนิน ปราศจาก
ความเศร้าหมอง อ่อน เหมาะแก่การใช้งาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นอย่างนี้ น้อมจิตไป
เพื่ออาสวักขยญาณ เธอย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า “นี้ทุกข์ นี้เหตุเกิดแห่ง
ทุกข์ นี้ความดับทุกข์ นี้ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ นี้อาสวะ นี้เหตุเกิดแห่งอาสวะ
นี้ความดับอาสวะ นี้ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับอาสวะ”
เมื่อเธอรู้เห็นอยู่อย่างนี้ จิตย่อมหลุดพ้นจากกามาสวะ ภวาสวะ และอวิชชาสวะ
เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว ก็รู้ว่า “หลุดพ้นแล้ว” รู้ชัดว่า “ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหม-
จรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป” นี้
คือการได้ชัยชนะในสงครามของภิกษุนั้น นักรบอาชีพนั้นเห็นกลุ่มควันแล้วก็อดทนได้
เห็นปลายธงก็อดทนได้ ได้ยินเสียงอึกทึกก็อดทนได้ ปะทะกันก็อดทนได้ นักรบ
อาชีพนั้น ชนะสงครามนั้นแล้ว เป็นผู้พิชิตสงคราม ย่อมครอบครองค่ายรบที่ชนะ
มานั้นนั่นแล แม้ฉันใด ภิกษุนี้ก็อุปมาฉันนั้น บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นเช่นนี้
บุคคลเปรียบเหมือนนักรบอาชีพ ๕ จำพวกนี้มีปรากฏอยู่ในภิกษุทั้งหลาย


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๖ หน้า :๒๒๓ }


พระอภิธรรมปิฎก ปุคคลบัญญัติ ๕. ปัญจกปุคคลบัญญัติ
[๑๙๙] ในบทมาติกานั้น ภิกษุผู้ถือบิณฑบาตเป็นวัตร ๕ จำพวก เป็นไฉน
ภิกษุเป็นผู้ถือบิณฑบาตเป็นวัตร เพราะความไม่เข้าใจ ความไม่รู้ มีความ
ปรารถนาเลวทราม ถูกความอยากครอบงำ เป็นผู้ถือบิณฑบาตเป็นวัตร เพราะ
วิกลจริต มีจิตฟุ้งซ่าน เป็นผู้ถือบิณฑบาตเป็นวัตรเพราะคิดว่า “การถือ
บิณฑบาตเป็นวัตรนี้ พระพุทธเจ้า สาวกของพระพุทธเจ้ากล่าวสรรเสริญ”
อีกประการหนึ่ง เป็นผู้ถือบิณฑบาตเป็นวัตร เพราะอาศัยความเป็นผู้มัก
น้อยอย่างเดียว เพราะอาศัยความสันโดษอย่างเดียว เพราะอาศัยความขัดเกลา
อย่างเดียว เพราะอาศัยความต้องการปฏิบัติในวัตรอันดีงามนี้อย่างเดียว บรรดา
ภิกษุเหล่านั้น ภิกษุใด เป็นผู้ถือบิณฑบาตเป็นวัตร เพราะอาศัยความมักน้อย
อย่างเดียว เพราะอาศัยความสันโดษอย่างเดียว เพราะอาศัยความขัดเกลาอย่าง
เดียว เพราะอาศัยความต้องการปฏิบัติในวัตรอันดีงามนี้อย่างเดียว ภิกษุนี้เป็นผู้เลิศ
ประเสริฐสุด เป็นประธาน สูงสุด และยิ่งใหญ่ที่สุด
เปรียบเหมือนนมสดเกิดจากแม่โค นมส้มเกิดจากนมสด เนยข้นเกิดจาก
นมส้ม เนยใสเกิดจากเนยข้น ยอดเนยใสเกิดจากเนยใส ยอดเนยใสชาวโลกถือว่า
เป็นเลิศ ในบรรดานมสดเป็นต้นนั้น ฉันใด
บรรดาภิกษุผู้ถือบิณฑบาตเป็นวัตร ๕ จำพวกนี้ ภิกษุผู้ถือบิณฑบาตเป็นวัตร
เพราะอาศัยความมักน้อยอย่างเดียว เพราะอาศัยความสันโดษอย่างเดียว เพราะ
อาศัยความขัดเกลาอย่างเดียว เพราะอาศัยความต้องการปฏิบัติในวัตรอันดีงามนี้
อย่างเดียว เป็นผู้เลิศ ประเสริฐสุด เป็นประธาน สูงสุด และยิ่งใหญ่ที่สุด ฉันนั้น
ภิกษุผู้ถือบิณฑบาตเป็นวัตร ๕ จำพวกเหล่านี้
[๒๐๐] บรรดาภิกษุเหล่านั้น ภิกษุผู้ถือการห้ามภัตอันเขานำมาถวายใน
ภายหลังเป็นวัตร ๕ จำพวก ฯลฯ
ภิกษุผู้ถือการนั่งฉันอาสนะเดียวเป็นวัตร ๕ จำพวก
ฯลฯ
ภิกษุผู้ถือผ้าบังสุกุลเป็นวัตร ๕ จำพวก
ฯลฯ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๖ หน้า :๒๒๔ }


พระอภิธรรมปิฎก ปุคคลบัญญัติ ๕. ปัญจกปุคคลบัญญัติ
ภิกษุผู้ถือไตรจีวรเป็นวัตร ๕ จำพวก
ฯลฯ
ภิกษุผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร ๕ จำพวก
ฯลฯ
ภิกษุผู้ถือการอยู่โคนไม้เป็นวัตร ๕ จำพวก
ฯลฯ
ภิกษุผู้ถือการอยู่กลางแจ้งเป็นวัตร ๕ จำพวก
ฯลฯ
ภิกษุผู้ถือการนั่งเป็นวัตร ๕ จำพวก
ฯลฯ
ภิกษุผู้ถือการนั่งบนอาสนะตามที่ได้จัดไว้เป็นวัตร ๕ จำพวก เป็นไฉน
ฯลฯ
[๒๐๑] บรรดาภิกษุเหล่านั้น ภิกษุผู้ถือการอยู่ป่าช้าเป็นวัตร ๕ จำพวก
เป็นไฉน
ภิกษุผู้ถือการอยู่ป่าช้าเป็นวัตร เพราะความไม่เข้าใจ ความไม่รู้ มีความ
ปรารถนาเลวทราม ถูกความอยากครอบงำ เป็นผู้ถือการอยู่ป่าช้าเป็นวัตร เพราะ
วิกลจริต มีจิตฟุ้งซ่าน เป็นผู้ถือการอยู่ป่าช้าเป็นวัตรเพราะคิดว่า “การอยู่ป่าช้า
เป็นวัตรนี้ พระพุทธเจ้า สาวกของพระพุทธเจ้ากล่าวสรรเสริญ”
อีกประการหนึ่ง เป็นผู้ถือการอยู่ป่าช้าเป็นวัตร เพราะอาศัยความมักน้อย
อย่างเดียว เพราะอาศัยความสันโดษอย่างเดียว เพราะอาศัยความขัดเกลาอย่าง
เดียว เพราะอาศัยความต้องการปฏิบัติในวัตรอันดีงามอย่างเดียว บรรดาภิกษุเหล่านั้น
ภิกษุใดเป็นผู้ถือการอยู่ป่าช้าเป็นวัตร เพราะอาศัยความมักน้อยอย่างเดียว เพราะ
อาศัยความสันโดษอย่างเดียว เพราะอาศัยความขัดเกลาอย่างเดียว เพราะอาศัย
ความต้องการปฏิบัติในวัตรอันดีงามอย่างเดียว ภิกษุนี้เป็นผู้เลิศ ประเสริฐสุด
เป็นประธาน สูงสุด และยิ่งใหญ่ที่สุด


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๖ หน้า :๒๒๕ }


พระอภิธรรมปิฎก ปุคคลบัญญัติ ๖. ฉักกปุคคลบัญญัติ
เปรียบเหมือนนมสดเกิดจากแม่โค นมส้มเกิดจากนมสด เนยข้นเกิดจากนม
ส้ม เนยใสเกิดจากเนยข้น ยอดเนยใสเกิดจากเนยใส ยอดเนยใสชาวโลกถือว่า
เป็นเลิศในบรรดานมสดเป็นต้นนั้น ฉันใด
บรรดาภิกษผู้ถือการอยู่ป่าช้าเป็นวัตร ๕ จำพวกนี้ ภิกษุผู้ถือการอยู่ป่าช้าเป็นวัตร
เพราะอาศัยความมักน้อยอย่างเดียว เพราะอาศัยความสันโดษอย่างเดียว
เพราะอาศัยความขัดเกลาอย่างเดียว เพราะอาศัยความปฏิบัติในวัตรอันดีงามนี้
อย่างเดียว เป็นผู้เลิศ ประเสริฐสุด เป็นประธาน สูงสุด และยิ่งใหญ่ที่สุด ฉันนั้น
ภิกษุผู้ถือการอยู่ป่าช้าเป็นวัตร ๕ จำพวกเหล่านี้
ปัญจกนิทเทส จบ

๖. ฉักกปุคคลบัญญัติ
[๒๐๒] บรรดาบุคคเหล่านั้น บุคคลผู้ตรัสรู้สัจจะด้วยตนเองในธรรมที่ไม่
เคยสดับมาก่อนถึงความเป็นสัพพัญญูในธรรมนั้นและถึงความชำนาญในทศพลญาณ
บุคคลนั้นพึงทราบว่า เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเพราะสัพพัญญุตญาณนั้น
บุคคลผู้ตรัสรู้สัจจะด้วยตนเองในธรรมที่ไม่เคยสดับมาก่อน แต่ไม่ถึงความ
เป็นสัพพัญญูในธรรมนั้นและไม่ถึงความชำนาญในทศพลญาณ บุคคลนั้นพึงทราบว่า
เป็นพระปัจเจกพุทธเจ้าเพราะสัพพัญญุตญาณนั้น
บุคคลผู้ไม่ตรัสรู้สัจจะด้วยตนเองในธรรมที่ไม่เคยสดับมาก่อน เป็นผู้ทำที่สุด
แห่งทุกข์ได้ในปัจจุบันและบรรลุสาวกบารมีญาณ บุคคลเหล่านั้นพึงทราบว่า เป็น
พระสารีบุตรและเป็นพระโมคคัลลานะเพราะสาวกบารมีญาณนั้น
บุคคลผู้ไม่ตรัสรู้สัจจะด้วยตนเองในธรรมที่ไม่เคยสดับมาก่อน เป็นผู้ทำที่สุด
แห่งทุกข์ได้ในปัจจุบัน แต่ไม่บรรลุสาวกบารมีญาณ บุคคลเหล่านั้นพึงทราบว่า
เป็นพระอรหันต์ที่เหลือเพราะการทำที่สุดแห่งทุกข์นั้น
บุคคลผู้ไม่ตรัสรู้สัจจะด้วยตนเองในธรรมที่ไม่เคยสดับมาก่อนและไม่ได้ทำ
ที่สุดแห่งทุกข์ในปัจจุบัน เป็นพระอนาคามี ไม่มาสู่โลกนี้อีก บุคคลนั้นพึงทราบว่า
เป็นพระอนาคามี เพราะการไม่กลับมาสู่โลกนี้อีก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๖ หน้า :๒๒๖ }


พระอภิธรรมปิฎก ปุคคลบัญญัติ ๗. สัตตกปุคคลบัญญัติ
บุคคลผู้ไม่ตรัสรู้สัจจะด้วยตนเองในธรรมที่ไม่เคยสดับมาก่อนและไม่ได้ทำ
ที่สุดแห่งทุกข์ในปัจจุบัน ยังมาสู่โลกนี้อีก บุคคลนั้น พึงทราบว่า เป็นพระโสดาบัน
และพระสกทาคามี เพราะการมาสู่โลกนี้อีก
ฉักกนิทเทส จบ

๗. สัตตกปุคคลบัญญัติ
[๒๐๓] บุคคลผู้จมแล้วครั้งเดียวก็ยังจมอยู่นั่นเอง เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้ประกอบด้วยสภาวธรรมที่เป็นอกุศลฝ่ายดำโดย
ส่วนเดียว๑ บุคคลเช่นนี้ชื่อว่าจมแล้วครั้งเดียวก็ยังจมอยู่นั่นเอง
บุคคลผู้โผล่ขึ้นแล้วจมลงอีก เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้โผล่ขึ้น ได้แก่ เขามีศรัทธาดีในกุศลธรรมทั้งหลาย มีหิริดี
... มีโอตตัปปะดี ... มีวิริยะดี ... มีปัญญาดีในกุศลธรรมทั้งหลาย แต่ศรัทธา
ของเขานั้น ย่อมไม่คงอยู่กับที่ ไม่เจริญ มีแต่เสื่อมอย่างเดียว หิริของเขานั้น ...
โอตตัปปะของเขานั้น ... วิริยะของเขานั้น ... ปัญญาของเขานั้นย่อมไม่คงอยู่กับที่
ไม่เจริญ มีแต่เสื่อมอย่างเดียว บุคคลเช่นนี้ชื่อว่าโผล่ขึ้นแล้วจมลงอีก
บุคคลผู้โผล่ขึ้นแล้วหยุดอยู่ เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้โผล่ขึ้น ได้แก่ เขามีศรัทธาดีในกุศลธรรมทั้งหลาย มีหิริดี
... มีโอตตัปปะดี ... มีวิริยะดี ... มีปัญญาดีในกุศลธรรมทั้งหลาย และศรัทธา
ของเขานั้นไม่เสื่อม ไม่เจริญ คงอยู่กับที่ หิริของเขานั้น ... โอตตัปปะของเขานั้น ...
วิริยะของเขานั้น ... ปัญญาของเขานั้นไม่เสื่อม ไม่เจริญ คงอยู่กับที่ บุคคลเช่นนี้ชื่อว่า
โผล่ขึ้นแล้วหยุดอยู่
บุคคลผู้โผล่ขึ้นแล้วเหลียวมองดู เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้โผล่ขึ้น ได้แก่ เขามีศรัทธาดีในกุศลธรรมทั้งหลาย มี
หิริดี ... มีโอตตัปปะดี ... มีวิริยะดี ... มีปัญญาดีในกุศลธรรมทั้งหลาย บุคคลนั้น
เพราะสังโยชน์ ๓ ประการสิ้นไป เป็นโสดาบัน ไม่มีทางตกต่ำ มีความแน่นอนที่จะ
สำเร็จสัมโพธิในวันข้างหน้า บุคคลเช่นนี้ชื่อว่าโผล่ขึ้นแล้วเหลียวมองดู

เชิงอรรถ :
๑ อกุศลธรรมฝ่ายดำโดยส่วนเดียว ในที่นี้หมายถึงนิยตมิจฉาทิฏฐิ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๒๐๓/๑๑๖)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๖ หน้า :๒๒๗ }


พระอภิธรรมปิฎก ปุคคลบัญญัติ ๗. สัตตกนิทเทส
บุคคลผู้โผล่ขึ้นแล้วข้ามไป เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้โผล่ขึ้น ได้แก่ เขามีศรัทธาดีในกุศลธรรมทั้งหลาย มีหิริดี
... มีโอตตัปปะดี ... มีวิริยะดี ... มีปัญญาดีในกุศลธรรมทั้งหลาย บุคคลนั้น
เพราะสังโยชน์ ๓ ประการสิ้นไป และเพราะทำราคะ โทสะ โมหะให้เบาบาง เป็น
สกทาคามี กลับมาสู่โลกนี้อีกเพียงครั้งเดียวเท่านั้นก็จะทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ บุคคล
เช่นนี้ชื่อว่าโผล่ขึ้นแล้วข้ามไป
บุคคลผู้โผล่ขึ้นแล้วได้ที่พึ่ง เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้โผล่ขึ้น ได้แก่ เขามีศรัทธาดีในกุศลธรรมทั้งหลาย มีหิริดี
... มีโอตตัปปะดี ... มีวิริยะดี ... มีปัญญาดีในกุศลธรรมทั้งหลาย และเพราะ
สังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ ประการสิ้นไป เป็นโอปปาติกะ จะปรินิพพานในเทวโลกนั้น
ไม่กลับมาจากภพนั้นเป็นธรรมดา บุคคลเช่นนี้ชื่อว่าโผล่ขึ้นแล้วได้ที่พึ่ง
บุคคลผู้โผล่ขึ้นแล้วข้ามไปถึงฝั่งเป็นผู้ลอยบาปอยู่บนบก เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้โผล่ขึ้น ได้แก่ เขามีศรัทธาดีในกุศลธรรมทั้งหลาย มีหิริดี
... มีโอตตัปปะดี ... มีวิริยะดี ... มีปัญญาดีในกุศลธรรมทั้งหลาย และเขา
ทำให้แจ้งเจโตวิมุตติปัญญาวิมุตติอันไม่มีอาสวะ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไปด้วย
ปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน บุคคลเช่นนี้ชื่อว่าโผล่ขึ้นแล้วข้ามไปถึงฝั่งเป็น
ผู้ลอยบาปได้อยู่บนบก
[๒๐๔] บุคคลผู้เป็นอุภโตภาควิมุตตะ เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้สัมผัสวิโมกข์ ๘ ด้วยกายอยู่ และอาสวะของเขาย่อม
สิ้นไป เพราะเห็นด้วยปัญญา บุคคลนี้เรียกว่า ผู้เป็นอุภโตภาควิมุตตะ
[๒๐๕] บุคคลผู้เป็นปัญญาวิมุตตะ
ฯลฯ
บุคคลผู้เป็นกายสักขี
ฯลฯ
บุคคลผู้เป็นทิฏฐิปัตตะ
ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๖ หน้า :๒๒๘ }


พระอภิธรรมปิฎก ปุคคลบัญญัติ ๙. นวกปุคคลบัญญัติ
บุคคลผู้เป็นสัทธาวิมุตตะ
ฯลฯ
บุคคลผู้เป็นธัมมานุสารี เป็นไฉน
ฯลฯ
[๒๐๖] บุคคลผู้เป็นสัทธานุสารี เป็นไฉน
บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งโสดาปัตติผล มีสัทธินทรีย์อันมีประมาณยิ่ง เจริญ
อริยมรรคอันมีศรัทธาเป็นตัวนำ มีศรัทธาเป็นประธาน บุคคลนี้เรียกว่า สัทธานุสารี
บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งโสดาปัตติผลชื่อว่าสัทธานุสารี บุคคลผู้ดำรงอยู่ในผล
ชื่อว่าสัทธาวิมุตตะ
สัตตกนิทเทส จบ

๘. อัฏฐกปุคคลบัญญัติ
[๒๐๗] บุคคลผู้พร้อมเพรียงด้วยมรรค ๔ จำพวก บุคคลผู้พร้อมเพรียง
ด้วยผล ๔ จำพวก เป็นไฉน
๑. บุคคลผู้เป็นพระโสดาบัน บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งโสดาปัตติผล
๒. บุคคลผู้เป็นพระสกทาคามี บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งสกทาคามิผล
๓. บุคคลผู้เป็นพระอนาคามี บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอนาคามิผล
๔. บุคคลผู้เป็นพระอรหันต์ บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอรหัตตผล
๕. บุคคลผู้พร้อมเพรียงด้วยมรรค ๔ จำพวก ผู้พร้อมเพรียงด้วยผล ๔ จำพวก
เหล่านี้
อัฏฐกนิทเทส จบ

๙. นวกปุคคลบัญญัติ
[๒๐๘] บุคคลผู้เป็นสัมมาสัมพุทธะ เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้ตรัสรู้สัจจะ ๔ ด้วยตนเองในธรรมที่ไม่เคยสดับมาก่อน
บรรลุความเป็นสัพพัญญูในธรรมคือสัจจะ ๔ นั้น และถึงความชำนาญในทศพลญาณ
บุคคลนี้เรียกว่า ผู้เป็นสัมมาสัมพุทธะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๖ หน้า :๒๒๙ }


พระอภิธรรมปิฎก ปุคคลบัญญัติ ๙. นวกปุคคลบัญญัติ
บุคคลผู้เป็นปัจเจกพุทธะ เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้ตรัสรู้สัจจะ ๔ ด้วยตนเองในธรรมที่ไม่เคยสดับมาก่อน
แต่ไม่บรรลุความเป็นสัพพัญญูในธรรมคือสัจจะ ๔ นั้น และไม่ถึงความชำนาญใน
ทศพลญาณ บุคคลนี้เรียกว่า ผู้เป็นปัจเจกพุทธะ
บุคคลผู้เป็นอุภโตภาควิมุตตะ เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้สัมผัสวิโมกข์ ๘ ด้วยกายอยู่ และอาสวะทั้งหลายของ
เขาย่อมสิ้นไปเพราะเห็นด้วยปัญญา บุคคลนี้เรียกว่า ผู้เป็นอุภโตภาควิมุตตะ
บุคคลผู้เป็นปัญญาวิมุตตะ เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้ไม่ได้สัมผัสวิโมกข์ ๘ ด้วยกายอยู่ แต่อาสวะทั้งหลาย
ของเขาย่อมสิ้นไปเพราะเห็นด้วยปัญญา บุคคลนี้เรียกว่า ผู้เป็นปัญญาวิมุตตะ
บุคคลผู้เป็นกายสักขี เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้สัมผัสวิโมกข์ ๘ ด้วยกายอยู่ และอาสวะทั้งหลายของ
เขาย่อมสิ้นไปเพราะเห็นด้วยปัญญา บุคคลนี้เรียกว่า ผู้เป็นกายสักขี
บุคคลผู้เป็นทิฏฐิปัตตะ เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า “นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ข้อ
ปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์” อนึ่ง สภาวธรรมที่พระตถาคตประกาศแล้ว บุคคลนั้น
เห็นชัดแล้วด้วยปัญญา ประพฤติดีแล้วด้วยปัญญา และอาสวะบางอย่างของเขา
ย่อมสิ้นไปเพราะเห็นด้วยปัญญา บุคคลนี้เรียกว่า ผู้เป็นทิฏฐิปัตตะ
บุคคลผู้เป็นสัทธาวิมุตตะ เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า “นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ข้อปฏิบัติ
ให้ถึงความดับทุกข์” อนึ่ง สภาวธรรมที่พระตถาคตประกาศแล้ว บุคคลนั้นเห็น
ชัดแล้วด้วยปัญญา ประพฤติดีแล้วด้วยปัญญา และอาสวะบางอย่างของเขาย่อม
สิ้นไปเพราะเห็นด้วยปัญญา แต่ไม่เหมือนผู้เป็นทิฏฐิปัตตะ บุคคลนี้เรียกว่า ผู้เป็น
สัทธาวิมุตตะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๖ หน้า :๒๓๐ }


พระอภิธรรมปิฎก ปุคคลบัญญัติ ๑๐. ทสกปุคคลบัญญัติ
บุคคลผู้เป็นธัมมานุสารี เป็นไฉน
ปัญญินทรีย์ของบุคคลใดผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งโสดาปัตติผล มีประมาณยิ่ง
บุคคลนั้นย่อมเจริญอริยมรรคอันมีปัญญาเป็นตัวนำ มีปัญญาเป็นประธาน บุคคล
นี้เรียกว่า ผู้เป็นธัมมานุสารี บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งโสดาปัตติผลชื่อว่าผู้เป็น
ธัมมานุสารี บุคคลผู้ตั้งอยู่ในผลชื่อว่าผู้เป็นทิฏฐิปัตตะ
บุคคลผู้เป็นสัทธานุสารี เป็นไฉน
สัทธินทรีย์ของบุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งโสดาปัตติผล มีประมาณยิ่ง
บุคคลนั้นย่อมเจริญอริยมรรคอันมีศรัทธาเป็นตัวนำ มีศรัทธาเป็นประธาน บุคคล
นี้เรียกว่า ผู้เป็นสัทธานุสารี บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งโสดาปัตติผลชื่อว่าผู้เป็น
สัทธานุสารี บุคคลผู้ตั้งอยู่ในผลชื่อว่าผู้เป็นสัทธาวิมุตตะ
นวกนิทเทส จบ

๑๐. ทสกปุคคลบัญญัติ
[๒๐๙] บุคคลผู้มีความสำเร็จในกามาวจรภูมินี้ ๕ จำพวก เป็นไฉน
บุคคล ๕ จำพวกเหล่านี้ คือ
๑. บุคคลผู้เป็นสัตตักขัตตุปรมะ๑
๒. บุคคลผู้เป็นโกลังโกละ๒
๓. บุคคลผู้เป็นเอกพีชี๓
๔. บุคคลผู้เป็นสกทาคามี๔
๕. บุคคลผู้สำเร็จเป็นพระอรหันต์ในอัตภาพนี้
บุคคลผู้มีความสำเร็จในกามาวจรภูมินี้ ๕ จำพวกเหล่านี้

เชิงอรรถ :
๑ ดูนิทเทส ข้อ ๓๑ หน้า ๑๕๔ ในเล่มนี้
๒ ดูนิทเทส ข้อ ๓๒ หน้า ๑๕๔ ในเล่มนี้
๓ ดูนิทเทส ข้อ ๓๓ หน้า ๑๕๔ ในเล่มนี้
๔ ดูนิทเทส ข้อ ๓๔ หน้า ๑๕๕ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๖ หน้า :๒๓๑ }


พระอภิธรรมปิฎก ปุคคลบัญญัติ ๑๐. ทสกปุคคลบัญญัติ
บุคคลผู้ละอัตภาพในกามาวจรภูมิแล้วสำเร็จ ๕ จำพวก เป็นไฉน
บุคคล ๕ จำพวกเหล่านี้ คือ
๑. บุคคลผู้เป็นอันตราปรินิพพายี๑
๒. บุคคลผู้เป็นอุปหัจจปรินิพพายี๒
๓. บุคคลผู้เป็นอสังขารปรินิพพายี๓
๔. บุคคลผู้เป็นสสังขารปรินิพพายี๔
๕. บุคคลผู้เป็นอุทธังโสโตอกนิฏฐคามี๕
บุคคลผู้ละอัตภาพในกามาวจรภูมินี้แล้วสำเร็จ ๕ จำพวกเหล่านี้แล
การบัญญัติบุคคลย่อมมีด้วยบัญญัติเพียงเท่านี้
ทสกนิทเทส จบ

ปกรณ์ที่ชื่อว่าปุคคลบัญญัติ ฉภาณวาร จบ

เชิงอรรถ :
๑ ดูนิทเทส ข้อ ๓๖ หน้า ๑๕๕ ในเล่มนี้
๒ ดูนิทเทส ข้อ ๓๗ หน้า ๑๕๕ ในเล่มนี้
๓ ดูนิทเทส ข้อ ๓๘ หน้า ๑๕๕ ในเล่มนี้
๔ ดูนิทเทส ข้อ ๓๙ หน้า ๑๕๖ ในเล่มนี้
๕ ดูนิทเทส ข้อ ๔๐ หน้า ๑๕๖ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๖ หน้า :๒๓๒ }


พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๖ อภิธรรมปิฎกที่ ๐๓ ธาตุกถา ปุคคลบัญญัติ จบ





eXTReMe Tracker