ค้นว่าอยู่เล่มใด แล้วกด [ctrl]+f หรือใช้คำสั่งของเครื่องหาตำแหน่งในเล่มอีกทีนะครับ



จัดรูปหน้าใหม่
เพื่อความสะดวก และสวยงาม
(เฉพาะหน้าจอใหญ่ เช่น คอมพิวเตอร์)
กรุณาคลิก จัดรูปหน้าใหม่
เพื่อให้กรอบ
ค้นข้อความ ปรากฎที่ด้านซ้ายของหน้า

พระไตรปิฎกภาษาไทย
ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ๔๕ เล่ม (ปกสีฟ้า)
ทั้งออนไลน์และออฟไลน์
ที่มาของข้อมูล : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับ มจร.
MCUTRAI Version 1.0

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๕-๓ อภิธรรมปิฎกที่ ๐๒ วิภังค์

พระอภิธรรมปิฎก
วิภังค์
_____________
ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๙.อิทธิปาทวิภังค์] ๑.สุตตันตภาชนีย์ ๓.จิตติทธิบาท
[๔๓๗] คำว่า อิทธิ มีอธิบายว่า ความสำเร็จ ความสำเร็จด้วยดี กิริยาที่
สำเร็จ กิริยาที่สำเร็จด้วยดี ความได้ ความได้เฉพาะ ความถึง ความถึงด้วยดี
ความถูกต้อง การทำให้แจ้ง ความเข้าถึงธรรมเหล่านั้น
คำว่า อิทธิบาท มีอธิบายว่า เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ และ
วิญญาณขันธ์ของบุคคลผู้เป็นอย่างนั้น
คำว่า เจริญอิทธิบาท มีอธิบายว่า ภิกษุเสพ เจริญ ทำให้มากซึ่งธรรม
เหล่านั้น เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า เจริญอิทธิบาท

๓. จิตติทธิบาท
[๔๓๘] ภิกษุเจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยจิตตสมาธิและปธานสังขาร เป็น
อย่างไร
ถ้าภิกษุทำจิตให้เป็นอธิบดีแล้วได้สมาธิ ได้เอกัคคตาจิต นี้เรียกว่า จิตต-
สมาธิ
ภิกษุนั้นสร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่นเพื่อ
ป้องกันบาปอกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดมิให้เกิด
ฯลฯ เพื่อละบาปอกุศลธรรมอันเกิดแล้ว
ฯลฯ เพื่อทำกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดให้เกิด
ภิกษุนั้นสร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่นเพื่อ
ความดำรงอยู่ ไม่เลือยหาย ภิยโยภาพ ไพบูลย์ เจริญเต็มที่แห่งกุศลธรรมที่เกิด
ขึ้นแล้ว ธรรมเหล่านี้เรียกว่า ปธานสังขาร
ประมวลย่อจิตตสมาธิและปธานสังขารเข้าเป็นอย่างเดียวกัน จึงนับได้ว่า
จิตตสมาธิและปธานสังขาร
[๔๓๙] บรรดาธรรมเหล่านั้น จิต เป็นไฉน
จิต มโน มานัส ฯลฯ มโนวิญญาณธาตุที่เหมาะสมกัน นี้เรียกว่า จิต


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๓๔๕ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๙.อิทธิปาทวิภังค์] ๑.สุตตันตภาชนีย์ ๔.วิมังสิทธิบาท
สมาธิ เป็นไฉน
ความตั้งอยู่แห่งจิต ฯลฯ สัมมาสมาธิ นี้เรียกว่า สมาธิ
ปธานสังขาร เป็นไฉน
การปรารภความเพียรทางใจ ฯลฯ สัมมาวายามะ นี้เรียกว่า ปธานสังขาร
ภิกษุเป็นผู้เข้าไปถึงแล้ว ฯลฯ ประกอบแล้วด้วยจิตนี้ ด้วยสมาธินี้และด้วย
ปธานสังขารนี้ ด้วยประการฉะนี้ เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่าประกอบด้วยจิตตสมาธิ
ปธานสังขาร
[๔๔๐] คำว่า อิทธิ มีอธิบายว่า ความสำเร็จ ความสำเร็จด้วยดี กิริยาที่
สำเร็จ กิริยาที่สำเร็จด้วยดี ความได้ ความได้เฉพาะ ความถึง ความถึงด้วยดี
ความถูกต้อง การทำให้แจ้ง ความเข้าถึงธรรมเหล่านั้น
คำว่า อิทธิบาท มีอธิบายว่า เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ และ
วิญญาณขันธ์ของบุคคลผู้เป็นอย่างนั้น
คำว่า เจริญอิทธิบาท มีอธิบายว่า ภิกษุเสพ เจริญ ทำให้มากซึ่งธรรม
เหล่านั้น เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า เจริญอิทธิบาท

๔. วิมังสิทธิบาท
[๔๔๑] ภิกษุเจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยวิมังสาสมาธิและปธานสังขาร
เป็นอย่างไร
ถ้าภิกษุทำวิมังสาให้เป็นอธิบดีแล้วได้สมาธิ ได้เอกัคคตาจิต นี้เรียกว่า
วิมังสาสมาธิ
ภิกษุนั้นสร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่นเพื่อ
ป้องกันบาปอกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดมิให้เกิด
ฯลฯ เพื่อละบาปอกุศลธรรมที่เกิดแล้ว
ฯลฯ เพื่อยังกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดให้เกิด


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๓๔๖ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๙.อิทธิปาทวิภังค์] ๑.สุตตันตภาชนีย์ ๔.วิมังสิทธิบาท
ภิกษุนั้นสร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่นเพื่อ
ความดำรงอยู่ ไม่เลือนหาย ภิยโยภาพ ไพบูลย์ เจริญเต็มที่แห่งกุศลธรรมที่เกิดแล้ว
ธรรมเหล่านี้เรียกว่า ปธานสังขาร
ประมวลย่อวิมังสาสมาธิและปธานสังขารเข้าเป็นอย่างเดียวกัน จึงนับได้ว่า
วิมังสาสมาธิและปธานสังขาร
[๔๔๒] บรรดาธรรมเหล่านั้น วิมังสา เป็นไฉน
ปัญญา ความรู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลงงมงาย ความเลือกเฟ้นธรรม สัมมา-
ทิฏฐิ นี้เรียกว่า วิมังสา
สมาธิ เป็นไฉน
ความตั้งอยู่แห่งจิต ฯลฯ สัมมาสมาธิ นี้เรียกว่า สมาธิ
ปธานสังขาร เป็นไฉน
การปรารภความเพียรทางใจ ฯลฯ สัมมาวายามะ นี้เรียกว่า ปธานสังขาร
ภิกษุเป็นผู้เข้าไปถึงแล้ว ฯลฯ ประกอบแล้วด้วยวิมังสาสมาธิและปธาน-
สังขารนี้ ด้วยประการฉะนี้ เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า ประกอบด้วยวิมังสาสมาธิและ
ปธานสังขาร
[๔๔๓] คำว่า อิทธิ มีอธิบายว่า ความสำเร็จ ความสำเร็จด้วยดี กิริยาที่
สำเร็จ กิริยาที่สำเร็จด้วยดี ความได้ ความได้เฉพาะ ความถึง ความถึงด้วยดี
ความถูกต้อง การทำให้แจ้ง ความเข้าถึงธรรมเหล่านั้น
คำว่า อิทธิบาท มีอธิบายว่า เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ และ
วิญญาณขันธ์ของบุคคลผู้เป็นอย่างนั้น
คำว่า เจริญอิทธิบาท มีอธิบายว่า ภิกษุเสพ เจริญ ทำให้มากซึ่งธรรม
เหล่านั้น เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า เจริญอิทธิบาท

สุตตันตภาชนีย์ จบ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๓๔๗ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๙.อิทธิปาทวิภังค์] ๒.อภิธรรมภาชนีย์ ๑. ฉันทิทธิบาท
๒. อภิธรรมภาชนีย์
[๔๔๔] อิทธิบาท ๔ ได้แก่ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยฉันทสมาธิและปธานสังขาร
๒. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยวิริยสมาธิและปธานสังขาร
๓. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยจิตตสมาธิและปธานสังขาร
๔. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยวิมังสาสมาธิและปธานสังขาร

๑. ฉันทิทธิบาท
[๔๔๕] ภิกษุเจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยฉันทสมาธิและปธานสังขาร
เป็นอย่างไร
ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญฌานที่เป็นโลกุตตระซึ่งเป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์๑
ให้ถึงนิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐม-
ฌานที่เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา๒ อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ภิกษุชื่อว่าเจริญ
อิทธิบาทที่ประกอบด้วยฉันทสมาธิและปธานสังขาร
[๔๔๖] บรรดาสภาวธรรมเหล่านั้น ฉันทะ เป็นไฉน
ความพอใจ การทำความพอใจ ความเป็นผู้ประสงค์จะทำ ความฉลาด ความ
พอใจในธรรม นี้เรียกว่า ฉันทะ
สมาธิ เป็นไฉน
ความตั้งมั่นแห่งจิต ฯลฯ สัมมาสมาธิ สมาธิสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์มรรค
นับเนื่องในมรรค นี้เรียกว่า สมาธิ
ปธานสังขาร เป็นไฉน
การปรารภความเพียรทางใจ ฯลฯ สัมมาวายามะ วิริยสัมโพชฌงค์ อันเป็น
องค์มรรค นับเนื่องในมรรค นี้เรียกว่า ปธานสังขาร

เชิงอรรถ :
๑ อภิ.สงฺ.อ. ๘๓-๑๐๐/๙๘,๒๗๗/๒๗๐ ๒ อภิ.สงฺ.อ. ๒๗๗/๒๗๑

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๓๔๘ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๙.อิทธิปาทวิภังค์] ๒.อภิธรรมภาชนีย์ ๒.วิริยิทธิบาท
ภิกษุเป็นผู้เข้าไปถึงแล้ว ฯลฯ ประกอบแล้วด้วยฉันทสมาธิและปธานสังขารนี้
ด้วยประการฉะนี้ เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า ประกอบด้วยฉันทสมาธิและปธานสังขาร
[๔๔๗] คำว่า อิทธิ มีอธิบายว่า ความสำเร็จ ความสำเร็จด้วยดี กิริยาที่
สำเร็จ กิริยาที่สำเร็จด้วยดี ความได้ ความได้เฉพาะ ความถึง ความถึงด้วยดี
ความถูกต้อง การทำให้แจ้ง ความเข้าถึงสภาวธรรมเหล่านั้น
คำว่า อิทธิบาท มีอธิบายว่า ความกระทบ ฯลฯ การประคอง ความไม่
ฟุ้งซ่านของบุคคลผู้เป็นอย่างนั้น
คำว่า เจริญอิทธิบาท มีอธิบายว่า ภิกษุเสพ เจริญ ทำให้มากซึ่งสภาวธรรม
เหล่านั้น เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า เจริญอิทธิบาท

๒. วิริยิทธิบาท
[๔๔๘] ภิกษุเจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยวิริยสมาธิและปธานสังขาร
เป็นอย่างไร
ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญฌานที่เป็นโลกุตตระซึ่งเป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ให้
ถึงนิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน
ที่เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญ อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ภิกษุชื่อว่าเจริญ
อิทธิบาทที่ประกอบด้วยวิริยสมาธิและปธานสังขาร
[๔๔๙] บรรดาสภาวธรรมเหล่านั้น วิริยะ เป็นไฉน
การปรารภความเพียรทางใจ ฯลฯ สัมมาวายามะ วิริยสัมโพชฌงค์ อันเป็น
องค์มรรค นับเนื่องในมรรค นี้เรียกว่า วิริยะ
สมาธิ เป็นไฉน
ความตั้งมั่นแห่งจิต ฯลฯ สัมมาสมาธิ สมาธิสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์มรรค
นับเนื่องในมรรค นี้เรียกว่า สมาธิ
ปธานสังขาร เป็นไฉน
การปรารภความเพียรทางใจ ฯลฯ สัมมาวายามะ วิริยสัมโพชฌงค์ อันเป็น
องค์มรรค นับเนื่องในมรรค นี้เรียกว่า ปธานสังขาร


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๓๔๙ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๙.อิทธิปาทวิภังค์] ๒.อภิธรรมภาชนีย์ ๓. จิตติทธิบาท
ภิกษุเป็นผู้เข้าไปถึงแล้ว ฯลฯ ประกอบแล้วด้วยวิริยสมาธิและปธานสังขารนี้
ด้วยประการฉะนี้ เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า ประกอบด้วยวิริยสมาธิและปธานสังขาร
[๔๕๐] คำว่า อิทธิ มีอธิบายว่า ความสำเร็จ ความสำเร็จด้วยดี กิริยาที่
สำเร็จ กิริยาที่สำเร็จด้วยดี ความได้ ความได้เฉพาะ ความถึง ความถึงด้วยดี
ความถูกต้อง การทำให้แจ้ง ความเข้าถึงสภาวธรรมเหล่านั้น
คำว่า อิทธิบาท มีอธิบายว่า ความกระทบ ฯลฯ การประคอง ความไม่
ฟุ้งซ่านของบุคคลผู้เป็นอย่างนั้น
คำว่า เจริญอิทธิบาท มีอธิบายว่า ภิกษุเสพ เจริญ ทำให้มากซึ่งสภาวธรรม
เหล่านั้น เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า เจริญอิทธิบาท

๓. จิตติทธิบาท
[๔๕๑] ภิกษุเจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยจิตตสมาธิและปธานสังขาร
เป็นอย่างไร
ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญฌานที่เป็นโลกุตตระซึ่งเป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ให้
ถึงนิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน
ที่เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ภิกษุชื่อว่าเจริญ
อิทธิบาทที่ประกอบด้วยจิตตสมาธิและปธานสังขาร
[๔๕๒] บรรดาสภาวธรรมเหล่านั้น จิต เป็นไฉน
จิต มโน มานัส ฯลฯ มโนวิญญาณธาตุที่เหมาะสมกัน นี้เรียกว่า จิต
สมาธิ เป็นไฉน
ความตั้งอยู่แห่งจิต ฯลฯ สัมมาสมาธิ สมาธิสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์มรรค
นับเนื่องในมรรค นี้เรียกว่า สมาธิ
ปธานสังขาร เป็นไฉน
การปรารภความเพียรทางใจ ฯลฯ สัมมาวายามะ วิริยสัมโพชฌงค์ อันเป็น
องค์มรรค นับเนื่องในมรรค นี้เรียกว่า ปธานสังขาร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๓๕๐ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๙.อิทธิปาทวิภังค์] ๒.อภิธรรมภาชนีย์ ๔.วิมังสิทธิบาท
ภิกษุเป็นผู้เข้าไปถึงแล้ว ฯลฯ ประกอบแล้วด้วยจิตนี้ ด้วยสมาธินี้ และด้วย
ปธานสังขารนี้ ด้วยประการฉะนี้ เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า ประกอบด้วยจิตตสมาธิ
และปธานสังขาร
[๔๕๓] คำว่า อิทธิ มีอธิบายว่า ความสำเร็จ ความสำเร็จด้วยดี กิริยาที่
สำเร็จ กิริยาที่สำเร็จด้วยดี ความได้ ความได้เฉพาะ ความถึง ความถึงด้วยดี
ความถูกต้อง การทำให้แจ้ง ความเข้าถึงสภาวธรรมเหล่านั้น
คำว่า อิทธิบาท มีอธิบายว่า ความกระทบ ฯลฯ การประคอง ความไม่
ฟุ้งซ่านของบุคคลผู้เข้าถึงสภาวธรรมเหล่านั้น
คำว่า เจริญอิทธิบาท มีอธิบายว่า ภิกษุเสพ เจริญ ทำให้มากซึ่งสภาวธรรม
เหล่านั้น เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า เจริญอิทธิบาท

๔. วิมังสิทธิบาท
[๔๕๔] ภิกษุเจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยวิมังสาสมาธิและปธานสังขาร
เป็นอย่างไร
ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญฌานที่เป็นโลกุตตระซึ่งเป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ให้
ถึงนิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน
ที่เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ภิกษุชื่อว่าเจริญ
อิทธิบาทที่ประกอบด้วยวิมังสาสมาธิและปธานสังขาร
[๔๕๕] บรรดาธรรมเหล่านั้น วิมังสา เป็นไฉน
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลงงมงาย ความเลือกเฟ้นธรรม สัมมา-
ทิฏฐิ ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์มรรค นับเนื่องในมรรค นี้เรียกว่า วิมังสา
สมาธิ เป็นไฉน
ความตั้งมั่นแห่งจิต ฯลฯ สัมมาสมาธิ สมาธิสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์มรรค
นับเนื่องในมรรค นี้เรียกว่า สมาธิ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๓๕๑ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๙.อิทธิปาทวิภังค์] ๒.อภิธรรมภาชนีย์ ๑. ฉันทิทธิบาท
ปธานสังขาร เป็นไฉน
การปรารภความเพียรทางใจ ฯลฯ สัมมาวายามะ วิริยสัมโพชฌงค์ อันเป็น
องค์มรรค นับเนื่องในมรรค นี้เรียกว่า ปธานสังขาร
ภิกษุเป็นผู้เข้าไปถึงแล้ว เข้าไปถึงแล้วด้วยดี เข้ามาถึงแล้ว เข้ามาถึงแล้วด้วยดี
เข้าถึงแล้ว เข้าถึงแล้วด้วยดี ประกอบแล้วด้วยวิมังสาสมาธิและปธานสังขารนี้ ด้วย
ประการฉะนี้ เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า ประกอบด้วยวิมังสาสมาธิและปธานสังขาร
[๔๕๖] คำว่า อิทธิ มีอธิบายว่า ความสำเร็จ ความสำเร็จด้วยดี กิริยาที่
สำเร็จ กิริยาที่สำเร็จด้วยดี ความได้ ความได้เฉพาะ ความถึง ความถึงด้วยดี
ความถูกต้อง การทำให้แจ้ง ความเข้าถึงสภาวธรรมเหล่านั้น
คำว่า อิทธิบาท มีอธิบายว่า ความกระทบ ฯลฯ การประคอง ความไม่
ฟุ้งซ่านของบุคคลผู้เป็นอย่างนั้น
คำว่า เจริญอิทธิบาท มีอธิบายว่า ภิกษุเสพ เจริญ ทำให้มากซึ่งสภาวธรรม
เหล่านั้น เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า เจริญอิทธิบาท
[๔๕๗] อิทธิบาท ๔ คือ

๑. ฉันทิทธิบาท (ธรรมที่เป็นเหตุให้ประสบความสำเร็จคือฉันทะ)
๒. วิริยิทธิบาท (ธรรมที่เป็นเหตุให้ประสบความสำเร็จคือวิริยะ)
๓. จิตติทธิบาท (ธรรมที่เป็นเหตุให้ประสบความสำเร็จคือจิตตะ)
๔. วิมังสิทธิบาท (ธรรมที่เป็นเหตุให้ประสบความสำเร็จคือวิมังสา)

๑. ฉันทิทธิบาท
[๔๕๘] บรรดาอิทธิบาท ๔ นั้น ฉันทิทธิบาท เป็นไฉน
ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญฌานที่เป็นโลกุตตระซึ่งเป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ให้
ถึงนิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน
ที่เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ความพอใจ การทำ
ความพอใจ ความเป็นผู้ประสงค์จะทำ ความฉลาด ความพอใจในธรรม นี้เรียกว่า
ฉันทิทธิบาท สภาวธรรมที่เหลือชื่อว่าสัมปยุตด้วยฉันทิทธิบาท

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๓๕๒ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๙.อิทธิปาทวิภังค์] ๒.อภิธรรมภาชนีย์ ๔.วิมังสิทธิบาท
๒. วิริยิทธิบาท
[๔๕๙] วิริยิทธิบาท เป็นไฉน
ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญฌานที่เป็นโลกุตตระซึ่งเป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ให้
ถึงนิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน
ที่เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น การปรารภความเพียร
ทางใจ ฯลฯ สัมมาวายามะ วิริยสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์มรรรค นับเนื่องในมรรค
นี้เรียกว่า วิริยิทธิบาท สภาวธรรมที่เหลือชื่อว่าสัมปยุตด้วยวิริยิทธิบาท

๓. จิตติทธิบาท
[๔๖๐] จิตติทธิบาท เป็นไฉน
ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญฌานที่เป็นโลกุตตระซึ่งเป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ให้
ถึงนิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน
ที่เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น จิต มโน มานัส ฯลฯ
มโนวิญญาณธาตุที่เหมาะสมกัน นี้เรียกว่า จิตติทธิบาท สภาวธรรมที่เหลือชื่อว่า
สัมปยุตด้วยจิตติทธิบาท

๔. วิมังสิทธิบาท
[๔๖๑] วิมังสิทธิบาท เป็นไฉน
ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญฌานที่เป็นโลกุตตระซึ่งเป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ให้
ถึงนิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน
ที่เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ปัญญา กิริยาที่
รู้ชัดฯลฯ ความไม่หลงงมงาย ความเลือกเฟ้นธรรม สัมมาทิฏฐิ ธัมมวิจย-
สัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์มรรค นับเนื่องในมรรค นี้เรียกว่า วิมังสิทธิบาท สภาวธรรม
ที่เหลือชื่อว่าสัมปยุตด้วยวิมังสิทธิบาท
อภิธรรมภาชนีย์ จบ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๓๕๓ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๙.อิทธิปาทวิภังค์] ๓.ปัญหาปุจฉกะ ๑. ติกมาติกาวิสัชนา
๓. ปัญหาปุจฉกะ
[๔๖๒] อิทธิบาท ๔ ได้แก่ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยฉันทสมาธิและปธานสังขาร
๒. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยวิริยสมาธิและปธานสังขาร
๓. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยจิตตสมาธิและปธานสังขาร
๔. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยวิมังสาสมาธิและปธานสังขาร

ติกมาติกาปุจฉา ทุกมาติกาปุจฉา
[๔๖๓] บรรดาอิทธิบาท ๔ อิทธิบาทเท่าไรเป็นกุศล เท่าไรเป็นอกุศล เท่าไร
เป็นอัพยากฤต ฯลฯ เท่าไรเป็นเหตุให้สัตว์ร้องไห้ เท่าไรไม่เป็นเหตุให้สัตว์ร้องไห้

๑. ติกมาติกาวิสัชนา
๑-๒๒. กุสลติกาทิวิสัชนา
[๔๖๔] อิทธิบาท ๔ เป็นกุศลอย่างเดียว
อิทธิบาท ๔ ที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาก็มี ที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนาก็มี
อิทธิบาท ๔ เป็นเหตุให้เกิดวิบาก
อิทธิบาท ๔ กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือและไม่เป็น
อารมณ์ของอุปาทาน
อิทธิบาท ๔ กิเลสไม่ทำให้เศร้าหมองและไม่เป็นอารมณ์ของกิเลส
อิทธิบาท ๔ ที่มีทั้งวิตกและวิจารก็มี ที่ไม่มีวิตกมีเพียงวิจารก็มี ที่ไม่มีทั้ง
วิตกและวิจารก็มี
อิทธิบาท ๔ ที่สหรคตด้วยปีติก็มี ที่สหรคตด้วยสุขก็มี ที่สหรคตด้วยอุเบกขา
ก็มี
อิทธิบาท ๔ ไม่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคและมรรคเบื้องบน ๓

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๓๕๔ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๙.อิทธิปาทวิภังค์] ๓.ปัญหาปุจฉกะ ๒.ทุกมาติกาวิสัชนา
อิทธิบาท ๔ ไม่มีเหตุต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคและมรรคเบื้องบน ๓
อิทธิบาท ๔ เป็นเหตุให้ถึงนิพพาน
อิทธิบาท ๔ เป็นของเสขบุคคล
อิทธิบาท ๔ เป็นอัปปมาณะ
อิทธิบาท ๔ มีอัปปมาณะเป็นอารมณ์
อิทธิบาท ๔ เป็นชั้นประณีต
อิทธิบาท ๔ มีสภาวะชอบและให้ผลแน่นอน
อิทธิบาท ๔ ไม่ใช่มีมรรคเป็นอารมณ์
อิทธิบาท ๔ มีมรรคเป็นเหตุ
อิทธิบาท ๔ ไม่ใช่มีมรรคเป็นอธิบดี
อิทธิบาท ๔ ที่เกิดขึ้นก็มี ซึ่งยังไม่เกิดขึ้นก็มี แต่กล่าวไม่ได้ว่า จักเกิดขึ้น
แน่นอน
อิทธิบาท ๔ ที่เป็นอดีตก็มี ที่เป็นอนาคตก็มี ที่เป็นปัจจุบันก็มี
อิทธิบาท ๔ กล่าวไม่ได้ว่า มีอดีตธรรมเป็นอารมณ์ มีอนาคตธรรมเป็น
อารมณ์ หรือมีปัจจุบันธรรมเป็นอารมณ์ก็มี
อิทธิบาท ๔ ที่เป็นภายในตนก็มี ที่เป็นภายนอกตนก็มี ที่เป็นภายในตน
และภายนอกตนก็มี
อิทธิบาท ๔ มีธรรมภายนอกตนเป็นอารมณ์
อิทธิบาท ๔ เห็นไม่ได้และกระทบไม่ได้

๒. ทุกมาติกาวิสัชนา
๑. เหตุโคจฉกวิสัชนา
[๔๖๕] วิมังสิทธิบาทเป็นเหตุ อิทธิบาท ๓ ไม่เป็นเหตุ อิทธิบาท ๔ มีเหตุ
อิทธิบาท ๔ สัมปยุตด้วยเหตุ วิมังสิทธิบาทเป็นเหตุและมีเหตุ อิทธิบาท ๓
กล่าวไม่ได้ว่า เป็นเหตุและมีเหตุ หรือมีเหตุแต่ไม่เป็นเหตุ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๓๕๕ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๙.อิทธิปาทวิภังค์] ๓.ปัญหาปุจฉกะ ๒.ทุกมาติกาวิสัชนา
วิมังสิทธิบาทเป็นเหตุและสัมปยุตด้วยเหตุ อิทธิบาท ๓ กล่าวไม่ได้ว่า เป็น
เหตุและสัมปยุตด้วยเหตุ หรือสัมปยุตด้วยเหตุแต่ไม่เป็นเหตุ
อิทธิบาท ๓ ไม่เป็นเหตุแต่มีเหตุ วิมังสิทธิบาทกล่าวไม่ได้ว่า ไม่เป็นเหตุแต่
มีเหตุ หรือไม่เป็นเหตุและไม่มีเหตุ

๒-๙. จูฬันตรทุกาทิวิสัชนา
อิทธิบาท ๔ มีปัจจัยปรุงแต่ง อิทธิบาท ๔ ถูกปัจจัยปรุงแต่ง
อิทธิบาท ๔ เห็นไม่ได้ อิทธิบาท ๔ กระทบไม่ได้
อิทธิบาท ๔ ไม่เป็นรูป อิทธิบาท ๔ เป็นโลกุตตระ
อิทธิบาท ๔ จิตบางดวงรู้ได้ อิทธิบาท ๔ จิตบางดวงรู้ไม่ได้
อิทธิบาท ๔ ไม่เป็นอาสวะ อิทธิบาท ๔ ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะ
อิทธิบาท ๔ วิปปยุตจากอาสวะ อิทธิบาท ๔ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นอาสวะและ
เป็นอารมณ์ของอาสวะ หรือเป็นอารมณ์ของอาสวะแต่ไม่เป็นอาสวะ
อิทธิบาท ๔ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นอาสวะและสัมปยุตด้วยอาสวะ หรือสัมปยุต
ด้วยอาสวะแต่ไม่เป็นอาสวะ อิทธิบาท ๔ วิปปยุตจากอาสวะและไม่เป็นอารมณ์ของ
อาสวะ
อิทธิบาท ๔ ไม่เป็นสังโยชน์ ฯลฯ ไม่เป็นคันถะ ฯลฯ ไม่เป็นโอฆะ ฯลฯ
ไม่เป็นโยคะ ฯลฯ ไม่เป็นนิวรณ์ ฯลฯ ไม่เป็นปรามาส ฯลฯ

๑๐. มหันตรทุกวิสัชนา
อิทธิบาท ๔ รับรู้อารมณ์ได้ อิทธิบาท ๓ ไม่เป็นจิต จิตติทธิบาทเป็นจิต
อิทธิบาท ๓ เป็นเจตสิก จิตติทธิบาทไม่เป็นเจตสิก อิทธิบาท ๓ สัมปยุต
ด้วยจิต จิตติทธิบาทกล่าวไม่ได้ว่า สัมปยุตด้วยจิต หรือวิปปยุตจากจิต
อิทธิบาท ๓ ระคนกับจิต จิตติทธิบาทกล่าวไม่ได้ว่า ระคนกับจิต หรือไม่
ระคนกับจิต อิทธิบาท ๓ มีจิตเป็นสมุฏฐาน จิตติทธิบาทไม่มีจิตเป็นสมุฏฐาน
อิทธิบาท ๓ เกิดพร้อมกับจิต จิตติทธิบาทไม่เกิดพร้อมกับจิต อิทธิบาท ๓
เป็นไปตามจิต จิตติทธิบาทไม่เป็นไปตามจิต


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๓๕๖ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๙.อิทธิปาทวิภังค์] ๓.ปัญหาปุจฉกะ ๒.ทุกมาติกาวิสัชนา
อิทธิบาท ๓ ระคนกับจิตและมีจิตเป็นสมุฏฐาน จิตติทธิบาทไม่ระคนกับจิต
และมีจิตเป็นสมุฏฐาน อิทธิบาท ๓ ระคนกับจิตมีจิตเป็นสมุฏฐานและเกิดพร้อม
กับจิต จิตติทธิบาทไม่ระคนกับจิตมีจิตเป็นสมุฏฐานและเกิดพร้อมกับจิต
อิทธิบาท ๓ ระคนกับจิตมีจิตเป็นสมุฏฐานและเป็นไปตามจิต จิตติทธิบาทไม่
ระคนกับจิตมีจิตเป็นสมุฏฐานและเป็นไปตามจิต
อิทธิบาท ๓ เป็นภายนอก จิตติทธิบาทเป็นภายใน อิทธิบาท ๔ ไม่เป็น
อุปาทายรูป
อิทธิบาท ๔ กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือ

๑๑-๑๓. อุปาทานโคจฉกาทิวิสัชนา
อิทธิบาท ๔ ไม่เป็นอุปาทาน ฯลฯ ไม่เป็นกิเลส ฯลฯ
อิทธิบาท ๔ ไม่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคและมรรคเบื้องบน ๓
อิทธิบาท ๔ ไม่มีเหตุต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคและมรรคเบื้องบน ๓
อิทธิบาท ๔ ที่มีวิตกก็มี ที่ไม่มีวิตกก็มี อิทธิบาท ๔ ที่มีวิจารก็มี ที่ไม่มี
วิจารก็มี
อิทธิบาท ๔ ที่มีปีติก็มี ที่ไม่มีปีติก็มี อิทธิบาท ๔ ที่สหรคตด้วยปีติก็มี
ที่ไม่สหรคตด้วยปีติก็มี
อิทธิบาท ๔ ที่สหรคตด้วยสุขก็มี ที่ไม่สหรคตด้วยสุขก็มี อิทธิบาท ๔ ที่
สหรคตด้วยอุเบกขาก็มี ที่ไม่สหรคตด้วยอุเบกขาก็มี
อิทธิบาท ๔ ไม่เป็นกามาวจร อิทธิบาท ๔ ไม่เป็นรูปาวจร
อิทธิบาท ๔ ไม่เป็นอรูปาวจร อิทธิบาท ๔ ไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์
อิทธิบาท ๔ เป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ อิทธิบาท ๔ ให้ผลแน่นอน
อิทธิบาท ๔ ไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า อิทธิบาท ๔ ไม่เป็นเหตุให้สัตว์ร้องไห้

ปัญหาปุจฉกะ จบ

อิทธิปาทวิภังค์ จบบริบูรณ์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๓๕๗ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๐. โพชฌังควิภังค์] ๑. สุตตันตภาชนีย์
๑๐. โพชฌังควิภังค์
๑. สุตตันตภาชนีย์
โพชฌงค์ ๗ นัยที่ ๑
[๔๖๖] โพงฌงค์ ๗ คือ

๑. สติสัมโพชฌงค์ (ธรรมที่เป็นองค์แห่งการตรัสรู้คือสติ)
๒. ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ (ธรรมที่เป็นองค์แห่งการตรัสรู้คือธัมมวิจยะ)
๓. วิริยสัมโพชฌงค์ (ธรรมที่เป็นองค์แห่งการตรัสรู้คือวิริยะ)
๔. ปีติสัมโพชฌงค์ (ธรรมที่เป็นองค์แห่งการตรัสรู้คือปีติ)
๕. ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ (ธรรมที่เป็นองค์แห่งการตรัสรู้คือปัสสัทธิ)
๖. สมาธิสัมโพชฌงค์ (ธรรมที่เป็นองค์แห่งการตรัสรู้คือสมาธิ)
๗. อุเปกขาสัมโพชฌงค์ (ธรรมที่เป็นองค์แห่งการตรัสรู้คืออุเบกขา)

[๔๖๗] บรรดาโพชฌงค์ ๗ เหล่านั้น สติสัมโพชฌงค์ เป็นไฉน
ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นผู้มีสติ ประกอบด้วยสติและปัญญาอันยิ่ง เป็นผู้ระลึกได้
ระลึกถึงกิจที่ทำไว้นาน ๆ หรือวาจาที่กล่าวไว้นาน ๆ ได้ นี้เรียกว่า สติสัมโพชฌงค์ (๑)
(ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ เป็นไฉน)
ภิกษุนั้นเป็นผู้มีสติอยู่อย่างนั้น วิจัย เลือกสรร ทบทวน สอบสวนธรรมนั้น
ด้วยปัญญา นี้เรียกว่า ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ (๒)
(วิริยสัมโพชฌงค์ เป็นไฉน)
ความเพียร ความไม่ย่อท้อ อันภิกษุนั้นผู้วิจัย เลือกสรร ทบทวน สอบสวน
ธรรมนั้นด้วยปัญญา ปรารภแล้ว นี้เรียกว่า วิริยสัมโพชฌงค์ (๓)
(ปีติสัมโพชฌงค์ เป็นไฉน)
ปีติที่ปราศจากอามิสย่อมเกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้ปรารภความเพียร นี้เรียกว่า ปีติ-
สัมโพชฌงค์ (๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๓๕๘ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๐. โพชฌังควิภังค์] ๑. สุตตันตภาชนีย์
(ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ เป็นไฉน)
กายก็ดี จิตก็ดี ของภิกษุผู้มีใจเอิบอิ่ม ย่อมสงบระงับ นี้เรียกว่า ปัสสัทธิ-
สัมโพชฌงค์ (๕)
(สมาธิสัมโพชฌงค์ เป็นไฉน)
จิตของภิกษุผู้มีกายสงบ ผู้มีความสุข ย่อมตั้งมั่น นี้เรียกว่า สมาธิ-
สัมโพชฌงค์ (๖)
(อุเปกขาสัมโพชฌงค์ เป็นไฉน)
ภิกษุนั้นเป็นผู้วางเฉยด้วยดีซึ่งจิตที่ตั้งมั่นอย่างนั้น นี้เรียกว่า อุเปกขา-
สัมโพชฌงค์ (๗)

โพชฌงค์ ๗ นัยที่ ๒
[๔๖๘] โพชฌงค์ ๗ คือ

๑. สติสัมโพชฌงค์ ๒. ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์
๓. วิริยสัมโพชฌงค์ ๔. ปีติสัมโพชฌงค์
๕. ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ ๖. สมาธิสัมโพชฌงค์
๗. อุเปกขาสัมโพชฌงค์

[๔๖๙] บรรดาโพชฌงค์ ๗ เหล่านั้น สติสัมโพชฌงค์ เป็นไฉน
สติในธรรมภายในตนก็มี ในธรรมภายนอกตนก็มี สติในธรรมภายในตน ก็คือ
สติสัมโพชฌงค์ ย่อมเป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน ถึงสติใน
ธรรมภายนอกตน ก็คือสติสัมโพชฌงค์ ย่อมเป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้
เพื่อนิพพาน (๑)
ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ เป็นไฉน
ความเลือกสรรธรรมในธรรมภายในตนก็มี ในธรรมภายนอกตนก็มี ความ
เลือกสรรธรรมในธรรมภายในตน ก็คือธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ ย่อมเป็นไปเพื่อความรู้
ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน ถึงความเลือกสรรธรรมในธรรมภายนอกตน ก็คือ
ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ ย่อมเป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน (๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๓๕๙ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๐. โพชฌังควิภังค์] ๑. สุตตันตภาชนีย์
วิริยสัมโพชฌงค์ เป็นไฉน
ความเพียรทางกายก็มี ทางใจก็มี ความเพียรทางกาย ก็คือวิริยสัมโพชฌงค์
ย่อมเป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน ถึงความเพียรทางใจ ก็คือ
วิริยสัมโพชฌงค์ ย่อมเป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน (๓)
ปีติสัมโพชฌงค์ เป็นไฉน
ปีติที่มีทั้งวิตกและวิจารก็มี ที่ไม่มีทั้งวิตกและวิจารก็มี ปีติที่มีทั้งวิตกและวิจาร
ก็คือปีติสัมโพชฌงค์ ย่อมเป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน ถึง
ปีติที่ไม่มีทั้งวิตกและวิจาร ก็คือปีติสัมโพชฌงค์ ย่อมเป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความ
ตรัสรู้ เพื่อนิพพาน (๔)
ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ เป็นไฉน
กายปัสสัทธิก็มี จิตตปัสสัทธิก็มี กายปัสสัทธิ ก็คือปัสสัทธิสัมโพชฌงค์
ย่อมเป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน ถึงจิตตปัสสัทธิ ก็คือ
ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ ย่อมเป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน ( ๕)
สมาธิสัมโพชฌงค์ เป็นไฉน
สมาธิที่มีทั้งวิตกและวิจารก็มี ที่ไม่มีทั้งวิตกและวิจารก็มี สมาธิที่มีทั้งวิตกและ
วิจาร ก็คือสมาธิสัมโพชฌงค์ ย่อมเป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน
ถึงสมาธิที่ไม่มีทั้งวิตกและวิจาร ก็คือสมาธิสัมโพชฌงค์ ย่อมเป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง
เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน (๖)
อุเปกขาสัมโพชฌงค์ เป็นไฉน
อุเบกขาในธรรมภายในตนก็มี ในธรรมภายนอกตนก็มี อุเบกขาในธรรมภายใน
ตน ก็คืออุเปกขาสัมโพชฌงค์ ย่อมเป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน
ถึงอุเบกขาในธรรมภายนอกตน ก็คืออุเปกขาสัมโพชฌงค์ ย่อมเป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง
เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน (๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๓๖๐ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๐.โพชฌังควิภังค์] ๒.อภิธรรมภาชนีย์
โพชฌงค์ ๗ นัยที่ ๓
[๔๗๐] โพชฌงค์ ๗ คือ

๑. สติสัมโพชฌงค์ ๒. ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์
๓. วิริยสัมโพชฌงค์ ๔. ปีติสัมโพชฌงค์
๕. ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ ๖. สมาธิสัมโพชฌงค์
๗. อุเปกขาสัมโพชฌงค์

[๔๗๑] บรรดาโพชฌงค์ ๗ เหล่านั้น สติสัมโพชฌงค์ เป็นไฉน
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
(๑) เจริญสติสัมโพชฌงค์ที่อาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ
น้อมไปเพื่อความปล่อยวาง
(๒) เจริญธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ ฯลฯ
(๓) เจริญวิริยสัมโพชฌงค์ ฯลฯ
(๔) เจริญปีติสัมโพชฌงค์ ฯลฯ
(๕) เจริญปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ ฯลฯ
(๖) เจริญสมาธิสัมโพชฌงค์ ฯลฯ
(๗) เจริญอุเปกขาสัมโพชฌงค์ ที่อาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ
น้อมไปเพื่อความปล่อยวาง
สุตตันตภาชนีย์ จบ

๒. อภิธรรมภาชนีย์
เอกโตปุจฉาวิสัชนานัย
[๔๗๒] โพชฌงค์ ๗ คือ

๑. สติสัมโพชฌงค์ ๒. ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์
๓. วิริยสัมโพชฌงค์ ๔. ปีติสัมโพชฌงค์
๕. ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ ๖. สมาธิสัมโพชฌงค์
๗. อุเปกขาสัมโพชฌงค์


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๓๖๑ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๐.โพชฌังควิภังค์] ๒.อภิธรรมภาชนีย์
[๔๗๓] ในสภาวธรรมเหล่านั้น โพชฌงค์ ๗ เป็นไฉน
ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญฌานที่เป็นโลกุตตระซึ่งเป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ให้
ถึงนิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌานที่
เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา๑ อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น โพชฌงค์ ๗ คือ
สติสัมโพชฌงค์ ฯลฯ อุเปกขาสัมโพชฌงค์ ก็เกิดขึ้น
[๔๗๔] บรรดาโพชฌงค์ ๗ เหล่านั้น สติสัมโพชฌงค์ เป็นไฉน
สติ ความตามระลึก ฯลฯ สัมมาสติ สติสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์มรรค นับ
เนื่องในมรรค นี้เรียกว่า สติสัมโพชฌงค์ (๑)
ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ เป็นไฉน
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลงงมงาย ความเลือกเฟ้นธรรม สัมมา-
ทิฏฐิ ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์มรรค นับเนื่องในมรรค นี้เรียกว่า
ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ (๒)
วิริยสัมโพชฌงค์ เป็นไฉน
การปรารภความเพียรทางใจ ฯลฯ สัมมาวายามะ วิริยสัมโพชฌงค์ อันเป็น
องค์มรรค นับเนื่องในมรรค นี้เรียกว่า วิริยสัมโพชฌงค์ (๓)
ปีติสัมโพชฌงค์ เป็นไฉน
ความอิ่มเอิบ ความปราโมทย์ ความยินดีอย่างยิ่ง ความบันเทิง ความร่าเริง
ความรื่นเริง ความปลื้มใจ ความตื่นเต้น ความที่จิตชื่นชมยินดี ปีติสัมโพชฌงค์ นี้
เรียกว่า ปีติสัมโพชฌงค์ (๔)
ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ เป็นไฉน
ความสงบ ความสงบระงับ กิริยาที่สงบ กิริยาที่สงบระงับ ภาวะที่สงบระงับ
แห่งเวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ และวิญญาณขันธ์ ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ นี้
เรียกว่า ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ (๕)

เชิงอรรถ :
๑ ข้อปฏิบัติลำบากทั้งรู้ได้ช้า (อภิ.สงฺ.อ. ๒๗๗/๒๗๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๓๖๒ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๐.โพชฌังควิภังค์] ๒.อภิธรรมภาชนีย์
สมาธิสัมโพชฌงค์ เป็นไฉน
ความตั้งมั่นแห่งจิต ฯลฯ สัมมาสมาธิ สมาธิสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์มรรค
นับเนื่องในมรรค นี้เรียกว่า สมาธิสัมโพชฌงค์ (๖)
อุเปกขาสัมโพชฌงค์ เป็นไฉน
อุเบกขา ความวางเฉย ความเพ่งเฉย ความวางจิตเป็นกลาง อุเปกขา-
สัมโพชฌงค์ นี้เรียกว่า อุเปกขาสัมโพชฌงค์ (๗)
สภาวธรรมเหล่านี้เรียกว่า โพชฌงค์ ๗ สภาวธรรมที่เหลือชื่อว่าสัมปยุต
ด้วยโพชฌงค์ ๗

ปาฏิเยกกปุจฉาวิสัชนานัย
[๔๗๕] โพชฌงค์ ๗ คือ

๑. สติสัมโพชฌงค์ ๒. ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์
๓. วิริยสัมโพชฌงค์ ๔. ปีติสัมโพชฌงค์
๕. ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ ๖. สมาธิสัมโพชฌงค์
๗. อุเปกขาสัมโพชฌงค์

[๔๗๖] บรรดาโพชฌงค์ ๗ เหล่านั้น สติสัมโพชฌงค์ เป็นไฉน
ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญฌานที่เป็นโลกุตตระซึ่งเป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ให้
ถึงนิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน
ที่เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น สติ ความตามระลึก
ฯลฯ สัมมาสติ สติสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์มรรค นับเนื่องในมรรค นี้เรียกว่า
สติสัมโพชฌงค์ สภาวธรรมที่เหลือชื่อว่าสัมปยุตด้วยสติสัมโพชฌงค์ ฯลฯ
สภาวธรรมที่เหลือชื่อว่าสัมปยุตด้วยธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ ฯลฯ
สภาวธรรมที่เหลือชื่อว่าสัมปยุตด้วยวิริยสัมโพชฌงค์ ฯลฯ
สภาวธรรมที่เหลือชื่อว่าสัมปยุตด้วยปีติสัมโพชฌงค์ ฯลฯ
สภาวธรรมที่เหลือชื่อว่าสัมปยุตด้วยปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ ฯลฯ
สภาวธรรมที่เหลือชื่อว่าสัมปยุตด้วยสมาธิสัมโพชฌงค์ ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๓๖๓ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๐.โพชฌังควิภังค์] ๒.อภิธรรมภาชนีย์
อุเปกขาสัมโพชฌงค์ เป็นไฉน
ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญฌานที่เป็นโลกุตตระซึ่งเป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ให้
ถึงนิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน
ที่เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น อุเบกขา ความวาง
เฉย ความเพ่งเฉย ความวางจิตเป็นกลาง อุเปกขาสัมโพชฌงค์ นี้เรียกว่า อุเปกขา-
สัมโพชฌงค์ สภาวธรรมที่เหลือชื่อว่าสัมปยุตด้วยอุเปกขาสัมโพชฌงค์

เอกโตปุจฉาวิสัชนานัย
[๔๗๗] โพชฌงค์ ๗ คือ

๑. สติสัมโพชฌงค์ ๒. ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์
๓. วิริยสัมโพชฌงค์ ๔. ปีติสัมโพชฌงค์
๕. ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ ๖. สมาธิสัมโพชฌงค์
๗. อุเปกขาสัมโพชฌงค์

[๔๗๘] ในสภาวธรรมเหล่านั้น โพชฌงค์ ๗ เป็นไฉน
ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญฌานที่เป็นโลกุตตระซึ่งเป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ให้
ถึงนิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน
ที่เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา๑ อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ
ก็เกิดขึ้น สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล
ภิกษุสงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌานที่เป็นสุญญตะ เป็นทุกขาปฏิปทา-
ทันธาภิญญาซึ่งเป็นวิบาก เพราะได้ทำได้เจริญฌานที่เป็นโลกุตตรกุศลนั้นนั่นแหละ
อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น โพชฌงค์ ๗ คือ สติสัมโพชฌงค์ ฯลฯ อุเปกขาสัมโพชฌงค์
ก็เกิดขึ้น
[๔๗๙] บรรดาโพชฌงค์ ๗ เหล่านั้น สติสัมโพชฌงค์ เป็นไฉน

เชิงอรรถ :
๑ ทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา ข้อปฏิบัติลำบากทั้งรู้ได้ช้า (อภิ.สงฺ.อ. ๒๗๗/๑๗๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๓๖๔ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๐.โพชฌังควิภังค์] ๒.อภิธรรมภาชนีย์
สติ ความตามระลึก ฯลฯ สัมมาสติ สติสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์มรรค
นับเนื่องในมรรค นี้เรียกว่า สติสัมโพชฌงค์
ฯลฯ
อุเปกขาสัมโพชฌงค์ เป็นไฉน
อุเบกขา ความวางเฉย ความเพ่งเฉย ความวางจิตเป็นกลาง อุเปกขา-
สัมโพชฌงค์ นี้เรียกว่า อุเปกขาสัมโพชฌงค์ สภาวธรรมเหล่านี้เรียกว่า โพชฌงค์ ๗
สภาวธรรมที่เหลือชื่อว่า สัมปยุตด้วยโพชฌงค์ ๗
[๔๘๐] โพชฌงค์ ๗ คือ

๑. สติสัมโพชฌงค์ ๒. ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์
๓. วิริยสัมโพชฌงค์ ๔. ปีติสัมโพชฌงค์
๕. ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ ๖. สมาธิสัมโพชฌงค์
๗. อุเปกขาสัมโพชฌงค์

[๔๘๑] บรรดาโพชฌงค์ ๗ เหล่านั้น สติสัมโพชฌงค์ เป็นไฉน
ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญฌานที่เป็นโลกุตตระซึ่งเป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ให้
ถึงนิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน
ที่เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ
ก็เกิดขึ้น สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล
ภิกษุสงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌานที่เป็นสุญญตะ เป็นทุกขาปฏิปทา-
ทันธาภิญญาซึ่งเป็นวิบาก เพราะได้ทำได้เจริญฌานที่เป็นโลกุตตรกุศลนั้นนั่นแหละ
อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น สติ ความตามระลึก ฯลฯ สัมมาสติ สติสัมโพชฌงค์
อันเป็นองค์มรรค นับเนื่องในมรรค นี้เรียกว่า สติสัมโพชฌงค์ สภาวธรรมที่เหลือ
ชื่อว่า สัมปยุตด้วยสติสัมโพชฌงค์ ฯลฯ
สภาวธรรมที่เหลือชื่อว่าสัมปยุตด้วยธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ ฯลฯ
สภาวธรรมที่เหลือชื่อว่าสัมปยุตด้วยวิริยสัมโพชฌงค์ ฯลฯ
สภาวธรรมที่เหลือชื่อว่าสัมปยุตด้วยปีติสัมโพชฌงค์ ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๓๖๕ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๐.โพชฌังควิภังค์] ๓.ปัญหาปุจฉกะ
สภาวธรรมที่เหลือชื่อว่าสัมปยุตด้วยปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ ฯลฯ
สภาวธรรมที่เหลือชื่อว่าสัมปยุตด้วยสมาธิสัมโพชฌงค์
อุเปกขาสัมโพชฌงค์ เป็นไฉน
ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญฌานที่เป็นโลกุตตระซึ่งเป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์
ให้ถึงนิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุ
ปฐมฌานเป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ
อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล
ภิกษุสงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌานที่เป็นสุญญตะ เป็นทุกขาปฏิปทา-
ทันธาภิญญา ซึ่งเป็นวิบาก เพราะได้ทำได้เจริญฌานที่เป็นโลกุตตรกุศลนั้นนั่นแหละ
อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น อุเบกขา ความวางเฉย ความเพ่งเฉย ความวางจิตเป็น
กลาง อุเปกขาสัมโพชฌงค์ นี้เรียกว่า อุเปกขาสัมโพชฌงค์ สภาวธรรมที่เหลือชื่อว่า
สัมปยุตด้วยอุเปกขาสัมโพชฌงค์
อภิธรรมภาชนีย์ จบ

๓. ปัญหาปุจฉกะ
[๔๘๒] โพชฌงค์ ๗ คือ

๑. สติสัมโพชฌงค์ ๒. ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์
๓. วิริยสัมโพชฌงค์ ๔. ปีติสัมโพชฌงค์
๕. ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ ๖. สมาธิสัมโพชฌงค์
๗. อุเปกขาสัมโพชฌงค์

ติกมาติกาปุจฉา ทุกมาติกาปุจฉา
[๔๘๓] บรรดาโพชฌงค์ ๗ โพชฌงค์เท่าไรเป็นกุศล เท่าไรเป็นอกุศล เท่าไร
เป็นอัพยากฤต ฯลฯ เท่าไรเป็นเหตุให้สัตว์ร้องไห้ เท่าไรไม่เป็นเหตุให้สัตว์ร้องไห้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๓๖๖ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๐.โพชฌังควิภังค์] ๓.ปัญหาปุจฉกะ ๑.ติกมาติกาวิสัชนา
๑. ติกมาติกาวิสัชนา
๑-๒๒. กุสลติกาทิวิสัชนา
[๔๘๔] โพชฌงค์ ๗ ที่เป็นกุศลก็มี ที่เป็นอัพยากฤตก็มี
ปีติสัมโพชฌงค์ สัมปยุตด้วยสุขเวทนา โพชฌงค์ ๖ ที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนา
ก็มี ที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนาก็มี
โพชฌงค์ ๗ ที่เป็นวิบากก็มี ที่เป็นเหตุให้เกิดวิบากก็มี
โพชฌงค์ ๗ กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือและไม่เป็นอารมณ์
ของอุปาทาน
โพชฌงค์ ๗ กิเลสไม่ทำให้เศร้าหมองและไม่เป็นอารมณ์ของกิเลส
โพชฌงค์ ๗ ที่มีทั้งวิตกและวิจารก็มี ที่ไม่มีวิตกมีเพียงวิจารก็มี ที่ไม่มีทั้ง
วิตกและวิจารก็มี ปีติสัมโพชฌงค์ไม่สหรคตด้วยปีติ แต่สหรคตด้วยสุข ไม่สหรคต
ด้วยอุเบกขา โพชฌงค์ ๖ ที่สหรคตด้วยปีติก็มี ที่สหรคตด้วยสุขก็มี ที่สหรคต
ด้วยอุเบกขาก็มี
โพชฌงค์ ๗ ไม่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคและมรรคเบื้องบน ๓
โพชฌงค์ ๗ ไม่มีเหตุต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคและมรรคเบื้องบน ๓
โพชฌงค์ ๗ ที่เป็นเหตุให้ถึงนิพพานก็มี ที่ไม่เป็นเหตุให้ถึงปฏิสนธิ จุติ และ
นิพพานก็มี
โพชฌงค์ ๗ ที่เป็นของเสขบุคคลก็มี ที่เป็นของอเสขบุคคลก็มี
โพชฌงค์ ๗ เป็นอัปปมาณะ
โพชฌงค์ ๗ มีอัปปมาณะเป็นอารมณ์
โพชฌงค์ ๗ เป็นชั้นประณีต
โพชฌงค์ ๗ ที่มีสภาวะชอบและให้ผลแน่นอนก็มี ที่ให้ผลไม่แน่นอนก็มี
โพชฌงค์ ๗ ไม่ใช่มีมรรคเป็นอารมณ์


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๓๖๗ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๐.โพชฌังควิภังค์] ๓.ปัญหาปุจฉกะ ๒.ทุกมาติกาวิสัชนา
โพชฌงค์ ๗ ที่มีมรรคเป็นเหตุก็มี ที่มีมรรคเป็นอธิบดีก็มี ที่กล่าวไม่ได้ว่า
มีมรรคเป็นเหตุ หรือมีมรรคเป็นอธิบดีก็มี
โพชฌงค์ ๗ ที่เกิดขึ้นก็มี ที่ยังไม่เกิดขึ้นก็มี ที่จักเกิดขึ้นแน่นอนก็มี
โพชฌงค์ ๗ ที่เป็นอดีตก็มี ที่เป็นอนาคตก็มี ที่เป็นปัจจุบันก็มี
โพชฌงค์ ๗ กล่าวไม่ได้ว่า มีอดีตธรรมเป็นอารมณ์ มีอนาคตธรรมเป็นอารมณ์
หรือมีปัจจุบันธรรมเป็นอารมณ์
โพชฌงค์ ๗ ที่เป็นภายในตนก็มี ที่เป็นภายนอกตนก็มี ที่เป็นภายในตน
และภายนอกตนก็มี
โพชฌงค์ ๗ มีธรรมเป็นภายนอกตนเป็นอารมณ์
โพชฌงค์ ๗ เห็นไม่ได้และกระทบไม่ได้

๒. ทุกมาติกาวิสัชนา
๑. เหตุโคจฉกวิสัชนา
[๔๘๕] ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์เป็นเหตุ โพชฌงค์ ๖ สัมปยุตด้วยเหตุ
ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์เป็นเหตุและมีเหตุ โพชฌงค์ ๖ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นเหตุ
และมีเหตุ หรือมีเหตุแต่ไม่เป็นเหตุ
ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์เป็นเหตุและสัมปยุตด้วยเหตุ โพชฌงค์ ๖ กล่าวไม่ได้ว่า
เป็นเหตุและสัมปยุตด้วยเหตุ หรือสัมปยุตด้วยเหตุแต่ไม่เป็นเหตุ
โพชฌงค์ ๖ ไม่เป็นเหตุแต่มีเหตุ ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์กล่าวไม่ได้ว่า ไม่เป็น
เหตุแต่มีเหตุ หรือไม่เป็นเหตุและไม่มีเหตุ

๒. จูฬันตรทุกวิสัชนา
โพชฌงค์ ๗ มีปัจจัยปรุงแต่ง โพชฌงค์ ๗ ถูกปัจจัยปรุงแต่ง
โพชฌงค์ ๗ เห็นไม่ได้ โพชฌงค์ ๗ กระทบไม่ได้
โพชฌงค์ ๗ ไม่เป็นรูป โพชฌงค์ ๗ เป็นโลกุตตระ
โพชฌงค์ ๗ จิตบางดวงรู้ได้ โพชฌงค์ ๗ จิตบางดวงรู้ไม่ได้


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๓๖๘ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๐.โพชฌังควิภังค์] ๓.ปัญหาปุจฉกะ ๒.ทุกมาติกาวิสัชนา
๓. อาสวโคจฉกวิสัชนา
โพชฌงค์ ๗ ไม่เป็นอาสวะ โพชฌงค์ ๗ ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะ
โพชฌงค์ ๗ วิปปยุตจากอาสวะ โพชฌงค์ ๗ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นอาสวะ
และเป็นอารมณ์ของอาสวะ หรือเป็นอารมณ์ของอาสวะแต่ไม่เป็นอาสวะ
โพชฌงค์ ๗ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นอาสวะและสัมปยุตด้วยอาสวะ หรือสัมปยุต
ด้วยอาสวะแต่ไม่เป็นอาสวะ
โพชฌงค์ ๗ วิปปยุตจากอาสวะ โพชฌงค์ ๗ ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะ

๔-๙. สัญโญชนโคจฉกาทิวิสัชนา
โพชฌงค์ ๗ ไม่เป็นสังโยชน์ ฯลฯ ไม่เป็นคันถะ ฯลฯ ไม่เป็นโอฆะ ฯลฯ
ไม่เป็นโยคะ ฯลฯ ไม่เป็นนิวรณ์ ฯลฯ ไม่เป็นปรามาส ฯลฯ

๑๐-๑๒. มหันตรทุกาทิวิสัชนา
โพชฌงค์ ๗ รับรู้อารมณ์ได้ โพชฌงค์ ๗ ไม่เป็นจิต
โพชฌงค์ ๗ เป็นเจตสิก โพชฌงค์ ๗ สัมปยุตด้วยจิต
โพชฌงค์ ๗ ระคนกับจิต โพชฌงค์ ๗ มีจิตเป็นสมุฏฐาน
โพชฌงค์ ๗ เกิดพร้อมกับจิต โพชฌงค์ ๗ เป็นไปตามจิต
โพชฌงค์ ๗ ระคนกับจิตและมีจิตเป็นสมุฏฐาน โพชฌงค์ ๗ ระคนกับจิตมี
จิตเป็นสมุฏฐานและเกิดพร้อมกับจิต
โพชฌงค์ ๗ ระคนกับจิตมีจิตเป็นสมุฏฐานและเป็นไปตามจิต โพชฌงค์ ๗
เป็นภายนอก
โพชฌงค์ ๗ ไม่เป็นอุปาทายรูป โพชฌงค์ ๗ กรรมอันประกอบด้วยตัณหา
และทิฏฐิไม่ยึดถือ
โพชฌงค์ ๗ ไม่เป็นอุปาทาน ฯลฯ ไม่เป็นกิเลส ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๓๖๙ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๐.โพชฌังควิภังค์] ๓.ปัญหาปุจฉกะ ๒.ทุกมาติกาวิสัชนา
๑๓. ปิฏฐิทุกวิสัชนา
โพชฌงค์ ๗ ไม่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรค โพชฌงค์ ๗ ไม่ต้อง
ประหาณด้วยมรรคเบื้องบน ๓
โพชฌงค์ ๗ ไม่มีเหตุต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรค โพชฌงค์ ๗ ไม่มี
เหตุต้องประหาณด้วยมรรคเบื้องบน ๓
โพชฌงค์ ๗ ที่มีวิตกก็มี ที่ไม่มีวิตกก็มี โพชฌงค์ ๗ ที่มีวิจารก็มี ที่ไม่มี
วิจารก็มี
ปีติสัมโพชฌงค์ไม่มีปีติ โพชฌงค์ ๖ ที่มีปีติก็มี ที่ไม่มีปีติก็มี
ปีติสัมโพชฌงค์ไม่สหรคตด้วยปีติ โพชฌงค์ ๖ ที่สหรคตด้วยปีติก็มี ที่ไม่
สหรคตด้วยปีติก็มี
ปีติสัมโพชฌงค์สหรคตด้วยสุข โพชฌงค์ ๖ ที่สหรคตด้วยสุขก็มี ที่ไม่
สหรคตด้วยสุขก็มี
ปีติสัมโพชฌงค์ไม่สหรคตด้วยอุเบกขา โพชฌงค์ ๖ ที่สหรคตด้วยอุเบกขา
ก็มี ที่ไม่สหรคตด้วยอุเบกขาก็มี
โพชฌงค์ ๗ ไม่เป็นกามาวจร โพชฌงค์ ๗ ไม่เป็นรูปาวจร
โพชฌงค์ ๗ ไม่เป็นอรูปาวจร โพชฌงค์ ๗ ไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์
โพชฌงค์ ๗ ที่เป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ก็มี ที่ไม่เป็นเหตุนำออกจาก
วัฏฏทุกข์ก็มี โพชฌงค์ ๗ ที่ให้ผลแน่นอนก็มี ที่ให้ผลไม่แน่นอนก็มี
โพชฌงค์ ๗ ไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า โพชฌงค์ ๗ ไม่เป็นเหตุให้สัตว์ร้องไห้

ปัญหาปุจฉกะ จบ

โพชฌังควิภังค์ จบบริบูรณ์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๓๗๐ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๑. มัคควิภังค์] ๑. สุตตันตภาชนีย์
๑๑. มัคควิภังค์
๑. สุตตันตภาชนีย์
อริยมรรคมีองค์ ๘ นัยที่ ๑
[๔๘๖] อริยมรรคมีองค์ ๘ คือ

๑. สัมมาทิฏฐิ (เห็นชอบ) ๒. สัมมาสังกัปปะ (ดำริชอบ)
๓. สัมมาวาจา (เจรจาชอบ) ๔. สัมมากัมมันตะ (กระทำชอบ)
๕. สัมมาอาชีวะ (เลี้ยงชีพชอบ) ๖. สัมมาวายามะ (เพียรชอบ)
๗. สัมมาสติ (ระลึกชอบ) ๘. สัมมาสมาธิ (ตั้งจิตมั่นชอบ)

[๔๘๗] บรรดาอริยมรรคมีองค์ ๘ เหล่านั้น สัมมาทิฏฐิ เป็นไฉน
ความรู้ในทุกข์ ความรู้ในทุกขสมุทัย ความรู้ในทุกขนิโรธ ความรู้ในทุกข-
นิโรธคามินีปฏิปทา นี้เรียกว่า สัมมาทิฏฐิ (๑)
สัมมาสังกัปปะ เป็นไฉน
ความดำริในการออกจากกาม ความดำริในการไม่พยาบาท ความดำริใน
การไม่เบียดเบียน นี้เรียกว่า สัมมาสังกัปปะ (๒)
สัมมาวาจา เป็นไฉน
เจตนาเป็นเหตุงดเว้นจากการพูดเท็จ เจตนาเป็นเหตุงดเว้นจากการพูดส่อเสียด
เจตนาเป็นเหตุงดเว้นจากการพูดคำหยาบ เจตนาเป็นเหตุงดเว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ
นี้เรียกว่า สัมมาวาจา (๓)
สัมมากัมมันตะ เป็นไฉน
เจตนาเป็นเหตุงดเว้นจากการฆ่าสัตว์ เจตนาเป็นเหตุงดเว้นจากการลักทรัพย์
เจตนาเป็นเหตุงดเว้นจากการประพฤติผิดในกาม นี้เรียกว่า สัมมากัมมันตะ (๔)
สัมมาอาชีวะ เป็นไฉน
พระอริยสาวกในธรรมวินัยนี้ละมิจฉาอาชีวะแล้ว เลี้ยงชีวิตอยู่ด้วยสัมมาอาชีวะ
นี้เรียกว่า สัมมาอาชีวะ (๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๓๗๑ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๑. มัคควิภังค์] ๑. สุตตันตภาชนีย์
สัมมาวายามะ เป็นไฉน
ภิกษุในธรรมวินัยนี้สร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต
มุ่งมั่นเพื่อป้องกันบาปอกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดมิให้เกิดขึ้น
... เพื่อละบาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว
... เพื่อทำกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น
... เพื่อความดำรงอยู่ ไม่เลือนหาย ภิยโยภาพ ไพบูลย์ เจริญเต็มที่แห่ง
กุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว นี้เรียกว่า สัมมาวายามะ (๖)
สัมมาสติ เป็นไฉน
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ
พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
๒. พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ
มีสติ พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
๓. พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ
พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
๔. พิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ
พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
นี้เรียกว่า สัมมาสติ (๗)
สัมมาสมาธิ เป็นไฉน
ภิกษุในธรรมวินัยนี้สงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลาย บรรลุปฐมฌานที่มี
วิตก มีวิจาร มีปีติและสุขอันเกิดจากวิเวกอยู่ เพราะวิตกวิจารสงบระงับไปแล้ว บรรลุ
ทุติยฌานที่มีความผ่องใสในภายใน มีภาวะที่จิตเป็นหนึ่งผุดขึ้น ไม่มีวิตกไม่มีวิจาร มี
แต่ปีติและสุขอันเกิดจากสมาธิอยู่ เพราะปีติจางคลายไป มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ
เสวยสุขด้วยนามกาย บรรลุตติยฌานที่พระอริยะทั้งหลายกล่าวสรรเสริญว่า ผู้มี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๓๗๒ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๑.มัคควิภังค์] ๒.อภิธรรมภาชนีย์
อุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข เพราะละสุขและทุกข์ได้ เพราะโสมนัส และโทมนัสดับ
ไปก่อน บรรลุจตุตถฌานที่ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขาอยู่ นี้เรียกว่า
สัมมาสมาธิ (๘)

อริยมรรคมีองค์ ๘
[๔๘๘] อริยมรรคมีองค์ ๘ คือ

๑. สัมมาทิฏฐิ ๒. สัมมาสังกัปปะ
๓. สัมมาวาจา ๔. สัมมากัมมันตะ
๕. สัมมาอาชีวะ ๖. สัมมาวายามะ
๗. สัมมาสติ ๘. สัมมาสมาธิ

[๔๘๙] บรรดาอริยมรรคมีองค์ ๘ นั้น สัมมาทิฏฐิ เป็นไฉน
ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญสัมมาทิฏฐิที่อาศัยวิเวก วิราคะ และนิโรธ น้อมไป
เพื่อความปล่อยวาง ฯลฯ เจริญสัมมาสังกัปปะ ฯลฯ เจริญสัมมาวาจา ฯลฯ
เจริญสัมมากัมมันตะ ฯลฯ เจริญสัมมาอาชีวะ ฯลฯ เจริญสัมมาวายามะ ฯลฯ
เจริญสัมมาสติ ฯลฯ เจริญสัมมาสมาธิที่อาศัยวิเวก วิราคะ และนิโรธ น้อมไป
เพื่อความปล่อยวาง
สุตตันตภาชนีย์ จบ

๒. อภิธรรมภาชนีย์
[๔๙๐] มรรคมีองค์ ๘ คือ
๑. สัมมาทิฏฐิ
ฯลฯ
๘. สัมมาสมาธิ
[๔๙๑] บรรดาสภาวธรรมเหล่านั้น มรรคมีองค์ ๘ เป็นไฉน
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เจริญฌานที่เป็นโลกุตตระซึ่งเป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ ให้
ถึงนิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๓๗๓ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๑.มัคควิภังค์] ๒.อภิธรรมภาชนีย์
ที่เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น มรรคมีองค์ ๘ คือ
สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ ก็เกิดขึ้น
[๔๙๒] บรรดามรรคมีองค์ ๘ เหล่านั้น สัมมาทิฏฐิ เป็นไฉน
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลงงมงาย ความเลือกเฟ้นธรรม
สัมมาทิฏฐิ ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์มรรค นับเนื่องในมรรค นี้เรียกว่า
สัมมาทิฏฐิ๑ (๑)
สัมมาสังกัปปะ เป็นไฉน
ความตรึก ความตรึกโดยอาการต่าง ๆ ความดำริ ความที่จิตแนบแน่นใน
อารมณ์ ความที่จิตแนบสนิทในอารมณ์ ความยกจิตขึ้นสู่อารมณ์ สัมมาสังกัปปะ
อันเป็นองค์มรรค นับเนื่องในมรรค นี้เรียกว่า สัมมาสังกัปปะ๒ (๒)
สัมมาวาจา เป็นไฉน
ความงด ความเว้น ความเว้นขาด เจตนาเป็นเหตุเว้นจากวจีทุจริต ๔ การไม่
ทำ การเลิกทำ การไม่ล่วงละเมิด การไม่ล้ำเขต การกำจัดต้นเหตุ(แห่งวจีทุจริต ๔)
สัมมาวาจา อันเป็นองค์มรรค นับเนื่องในมรรค นี้เรียกว่า สัมมาวาจา๓ (๓)
สัมมากัมมันตะ เป็นไฉน
ความงด ความเว้น ความเว้นขาด เจตนาเป็นเหตุเว้นจากกายทุจริต ๓ การไม่
ทำ การเลิกทำ การไม่ล่วงละเมิด การไม่ล้ำเขต การกำจัดต้นเหตุ(แห่งกายทุจริต ๓)
สัมมากัมมันตะ อันเป็นองค์มรรค นับเนื่องในมรรค นี้เรียกว่า สัมมากัมมันตะ๔ (๔)
สัมมาอาชีวะ เป็นไฉน
ความงด ความเว้น ความเว้นขาด เจตนาเป็นเหตุเว้นจากมิจฉาอาชีวะ การไม่
ทำ การเลิกทำ การไม่ล่วงละมิด การไม่ล้ำเขต การกำจัดต้นเหตุ(แห่งมิจฉาอาชีวะ)
สัมมาอาชีวะ อันเป็นองค์มรรค นับเนื่องในมรรค นี้เรียกว่า สัมมาอาชีวะ๕ (๕)

เชิงอรรถ :
๑ อภิ.สงฺ. ๓๔/๒๙๗/๘๘ ๒ อภิ.สงฺ. ๓๔/๒๙๘/๘๘ ๓ อภิ.สงฺ. ๓๔/๒๙๙/๘๘
๔ อภิ.สงฺ. ๓๔/๓๐๐/๘๙ ๕ อภิ.สงฺ. ๓๔/๓๐๑/๘๙

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๓๗๔ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๑.มัคควิภังค์] ๒.อภิธรรมภาชนีย์
สัมมาวายามะ เป็นไฉน
การปรารภความเพียรทางใจ ฯลฯ สัมมาวายามะ วิริยสัมโพชฌงค์ อัน
เป็นองค์มรรค นับเนื่องในมรรค นี้เรียกว่า สัมมาวายามะ๑ (๖)
สัมมาสติ เป็นไฉน
สติ ความตามระลึก ฯลฯ สัมมาสติ สติสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์มรรค
นับเนื่องในมรรค นี้เรียกว่า สัมมาสติ๒ (๗)
สัมมาสมาธิ เป็นไฉน
ความตั้งอยู่แห่งจิต ฯลฯ สัมมาสมาธิ สมาธิสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์มรรค
นับเนื่องในมรรค นี้เรียกว่า สัมมาสมาธิ๓ (๘)
นี้เรียกว่า มรรคมีองค์ ๘ สภาวธรรมที่เหลือชื่อว่าสัมปยุตด้วยมรรคมีองค์ ๘

ปัญจังคิกวาร
เอกโตปุจฉาวิสัชนานัย
[๔๙๓] มรรคมีองค์ ๕ คือ

๑. สัมมาทิฏฐิ ๒. สัมมาสังกัปปะ
๓. สัมมาวายามะ ๔. สัมมาสติ
๕. สัมมาสมาธิ

[๔๙๔] บรรดาสภาวธรรมเหล่านั้น มรรคมีองค์ ๕ เป็นไฉน
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เจริญฌานที่เป็นโลกุตตระซึ่งเป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ ให้
ถึงนิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน
ที่เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น มรรคมีองค์ ๕ คือ
สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ และสัมมาสมาธิ ก็เกิดขึ้น

เชิงอรรถ :
๑ อภิ.สงฺ. ๓๔/๓๐๒/๘๙ ๒ อภิ.สงฺ. ๓๔/๓๐๓/๘๙ ๓ อภิ.สงฺ. ๓๔/๓๐๔/๘๙

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๓๗๕ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๑.มัคควิภังค์] ๒.อภิธรรมภาชนีย์
[๔๙๕] บรรดามรรคมีองค์ ๕ นั้น สัมมาทิฏฐิ เป็นไฉน
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลงงมงาย ความเลือกเฟ้นธรรม
สัมมาทิฏฐิ ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์มรรค นับเนื่องในมรรค นี้เรียกว่า
สัมมาทิฏฐิ
สัมมาสังกัปปะ เป็นไฉน
ความตรึก ความตรึกโดยอาการต่าง ๆ ความดำริ ฯลฯ อันเป็นองค์มรรค
นับเนื่องในมรรค นี้เรียกว่า สัมมาสังกัปปะ
สัมมาวายามะ เป็นไฉน
การปรารภความเพียรทางใจ ฯลฯ สัมมาวายามะ วิริยสัมโพชฌงค์ อัน
เป็นองค์มรรค นับเนื่องในมรรค นี้เรียกว่า สัมมาวายามะ
สัมมาสติ เป็นไฉน
สติ ความตามระลึก ฯลฯ สัมมาสติ สติสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์มรรค
นับเนื่องในมรรค นี้เรียกว่า สัมมาสติ
สัมมาสมาธิ เป็นไฉน
ความตั้งอยู่แห่งจิต ฯลฯ สัมมาสมาธิ สมาธิสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์มรรค
นับเนื่องในมรรค นี้เรียกว่า สัมมาสมาธิ
นี้เรียกว่า มรรคมีองค์ ๕ สภาวธรรมที่เหลือชื่อว่าสัมปยุตด้วยมรรคมีองค์ ๕

ปาฏิเยกกปุจฉาวิสัชนานัย
[๔๙๖] มรรคมีองค์ ๕ คือ

๑. สัมมาทิฏฐิ ๒. สัมมาสังกัปปะ
๓. สัมมาวายามะ ๔. สัมมาสติ
๕. สัมมาสมาธิ

[๔๙๗] บรรดามรรคมีองค์ ๕ เหล่านั้น สัมมาทิฏฐิ เป็นไฉน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๓๗๖ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๑.มัคควิภังค์] ๒.อภิธรรมภาชนีย์
ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญฌานที่เป็นโลกุตตระซึ่งเป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ให้
ถึงนิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน
ที่เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด
ฯลฯ ความไม่หลงงมงาย ความเลือกเฟ้นธรรม สัมมาทิฏฐิ ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์
อันเป็นองค์มรรค นับเนื่องในมรรค นี้เรียกว่า สัมมาทิฏฐิ สภาวธรรมที่เหลือชื่อ
ว่าสัมปยุตด้วยสัมมาทิฏฐิ ฯลฯ
สภาวธรรมที่เหลือชื่อว่าสัมปยุตด้วยสัมมาสังกัปปะ ฯลฯ
สภาวธรรมที่เหลือชื่อว่าสัมปยุตด้วยสัมมาวายามะ ฯลฯ
สภาวธรรมที่เหลือชื่อว่าสัมปยุตด้วยสัมมาสติ
สัมมาสมาธิ เป็นไฉน
ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญฌานที่เป็นโลกุตตระซึ่งเป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ให้
ถึงนิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน
ที่เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ความตั้งอยู่แห่งจิต ฯลฯ
สัมมาสมาธิ สมาธิสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์มรรค นับเนื่องในมรรค นี้เรียกว่า
สัมมาสมาธิ สภาวธรรมที่เหลือชื่อว่าสัมปยุตด้วยสัมมาสมาธิ

อัฏฐังคิกวาร
[๔๙๘] มรรคมีองค์ ๘ คือ

๑. สัมมาทิฏฐิ ๒. สัมมาสังกัปปะ
๓. สัมมาวาจา ๔. สัมมากัมมันตะ
๕. สัมมาอาชีวะ ๖. สัมมาวายามะ
๗. สัมมาสติ ๘. สัมมาสมาธิ

[๔๙๙] บรรดาสภาวธรรมเหล่านั้น มรรคมีองค์ ๘ เป็นไฉน
ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญฌานที่เป็นโลกุตตระซึ่งเป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ให้ถึง
นิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๓๗๗ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๑.มัคควิภังค์] ๒.อภิธรรมภาชนีย์
ที่เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ
ก็เกิดขึ้น สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล
ภิกษุสงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌานที่เป็นสุญญตะ เป็นทุกขาปฏิปทา-
ทันธาภิญญา ซึ่งเป็นวิบาก เพราะได้ทำได้เจริญฌานที่เป็นโลกุตตรกุศลนั้นนั่นแหละ
อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น มรรคมีองค์ ๘ คือ สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ
ก็เกิดขึ้น นี้เรียกว่า มรรคมีองค์ ๘ สภาวธรรมที่เหลือชื่อว่าสัมปยุตด้วยมรรค
มีองค์ ๘

ปัญจังคิกวาร
เอกโตปุจฉาวิสัชนานัย
[๕๐๐] มรรคมีองค์ ๕ คือ

๑. สัมมาทิฏฐิ ๒. สัมมาสังกัปปะ
๓. สัมมาวายามะ ๔. สัมมาสติ
๕. สัมมาสมาธิ

[๕๐๑] บรรดาสภาวธรรมเหล่านั้น มรรคมีองค์ ๕ เป็นไฉน
ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญฌานที่เป็นโลกุตตระซึ่งเป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ให้
ถึงนิพพานเพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน
ที่เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ
ก็เกิดขึ้น สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล
ภิกษุสงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌานที่เป็นสุญญตะ เป็นทุกขาปฏิปทา-
ทันธาภิญญา ซึ่งเป็นวิบาก เพราะได้ทำได้เจริญฌานที่เป็นโลกุตตรกุศลนั้นนั่นแหละ
อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น มรรคมีองค์ ๕ คือ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ
สัมมาวายามะ สัมมาสติ และสัมมาสมาธิ ก็เกิดขึ้น นี้เรียกว่า มรรคมีองค์ ๕
สภาวธรรมที่เหลือชื่อว่าสัมปยุตด้วยมรรคมีองค์ ๕

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๓๗๘ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๑.มัคควิภังค์] ๒.อภิธรรมภาชนีย์
ปาฏิเยกกปุจฉาวิสัชนานัย
[๕๐๒] มรรคมีองค์ ๕ คือ

๑. สัมมาทิฏฐิ ๒. สัมมาสังกัปปะ
๓. สัมมาวายามะ ๔. สัมมาสติ
๕. สัมมาสมาธิ

[๕๐๓] บรรดามรรคมีองค์ ๕ นั้น สัมมาทิฏฐิ เป็นไฉน
ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญฌานที่เป็นโลกุตตระซึ่งเป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ให้
ถึงนิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน
ที่เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ
ก็เกิดขึ้น สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล
ภิกษุสงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน ที่เป็นสุญญตะ เป็นทุกขาปฏิปทา-
ทันธาภิญญา ซึ่งเป็นวิบาก เพราะได้ทำได้เจริญฌานที่เป็นโลกุตตรกุศลนั้นนั่นแหละ
อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลงงมงาย ความ
เลือกเฟ้นธรรม สัมมาทิฏฐิ ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์มรรค นับเนื่องใน
มรรค นี้เรียกว่า สัมมาทิฏฐิ สภาวธรรมที่เหลือชื่อว่าสัมปยุตด้วยสัมมาทิฏฐิ ฯลฯ
สภาวธรรมที่เหลือชื่อว่าสัมปยุตด้วยสัมมาสังกัปปะ ฯลฯ
สภาวธรรมที่เหลือชื่อว่าสัมปยุตด้วยสัมมาวายามะ ฯลฯ
สภาวธรรมที่เหลือชื่อว่าสัมปยุตด้วยสัมมาสติ
สัมมาสมาธิ เป็นไฉน
ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญฌานที่เป็นโลกุตตระซึ่งเป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ให้
ถึงนิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน
ที่เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ
ก็เกิดขึ้น สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล
ภิกษุสงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน ที่เป็นสุญญตะ เป็นทุกขาปฏิปทา-
ทันธาภิญญา ซึ่งเป็นวิบาก เพราะได้ทำได้เจริญฌานที่เป็นโลกุตตรกุศลนั้นนั่นแหละ
อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ความตั้งอยู่แห่งจิต ความตั้งมั่นด้วยดี ความดำรงมั่น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๓๗๙ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๑.มัคควิภังค์] ๓.ปัญหาปุจฉกะ ๑.ติกมาติกาวิสัชนา
ความไม่ซัดส่าย ความไม่ฟุ้งซ่านแห่งจิต ภาวะที่จิตไม่ซัดส่าย สมาธิ สมาธินทรีย์
สมาธิพละ สัมมาสมาธิ สมาธิสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์มรรค นับเนื่องในมรรค
นี้เรียกว่า สัมมาสมาธิ สภาวธรรมที่เหลือชื่อว่าสัมปยุตด้วยสัมมาสมาธิ
อภิธรรมภาชนีย์ จบ

๓. ปัญหาปุจฉกะ
[๕๐๔] อริยมรรคมีองค์ ๘๑ คือ

๑. สัมมาทิฏฐิ ๒. สัมมาสังกัปปะ
๓. สัมมาวาจา ๔. สัมมากัมมันตะ
๕. สัมมาอาชีวะ ๖. สัมมาวายามะ
๗. สัมมาสติ ๘. สัมมาสมาธิ

ติกมาติกาปุจฉา ทุกมาติกาปุจฉา
[๕๐๕] บรรดาองค์มรรค ๘ องค์มรรคเท่าไรเป็นกุศล เท่าไรเป็นอกุศล
เท่าไรเป็นอัพยากฤต ฯลฯ เท่าไรเป็นเหตุให้สัตว์ร้องไห้ เท่าไรไม่เป็นเหตุให้สัตว์ร้องไห้

๑. ติกมาติกาวิสัชนา
๑-๒๒. กุสลติกาทิวิสัชนา
[๕๐๖] องค์มรรค ๘ ที่เป็นกุศลก็มี ที่เป็นอัพยากฤตก็มี
สัมมาสังกัปปะสัมปยุตด้วยสุขเวทนา องค์มรรค ๗ ที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนา
ก็มี ที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนาก็มี
องค์มรรค ๘ ที่เป็นวิบากก็มี ที่เป็นเหตุให้เกิดวิบากก็มี
องค์มรรค ๘ กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือและไม่เป็น
อารมณ์ของอุปาทาน

เชิงอรรถ :
๑ อภิ.วิ.อ. ๔๘๖/๓๔๒.

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๓๘๐ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๑.มัคควิภังค์] ๓.ปัญหาปุจฉกะ ๑.ติกมาติกาวิสัชนา
องค์มรรค ๘ กิเลสไม่ทำให้เศร้าหมองและไม่เป็นอารมณ์ของกิเลส
สัมมาสังกัปปะไม่มีวิตกมีเพียงวิจาร องค์มรรค ๗ ที่มีทั้งวิตกและวิจารก็มี ที่
ไม่มีวิตกมีเพียงวิจารก็มี ที่ไม่มีทั้งวิตกและวิจารก็มี
สัมมาสังกัปปะสหรคตด้วยปีติ สหรคตด้วยสุขแต่ไม่สหรคตด้วยอุเบกขา องค์
มรรค ๗ ที่สหรคตด้วยปีติก็มี ที่สหรคตด้วยสุขก็มี ที่สหรคตด้วยอุเบกขาก็มี
องค์มรรค ๘ ไม่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคและมรรคเบื้องบน ๓
องค์มรรค ๘ ไม่มีเหตุต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคและมรรคเบื้องบน ๓
องค์มรรค ๘ ที่เป็นเหตุให้ถึงนิพพานก็มี ที่ไม่เป็นเหตุให้ถึงปฏิสนธิ จุติ และ
นิพพานก็มี
องค์มรรค ๘ ที่เป็นของเสขบุคคลก็มี ที่เป็นของอเสขบุคคลก็มี
องค์มรรค ๘ เป็นอัปปมาณะ
องค์มรรค ๘ มีอัปปมาณะเป็นอารมณ์
องค์มรรค ๘ เป็นชั้นประณีต
องค์มรรค ๘ ที่มีสภาวะชอบและให้ผลแน่นอนก็มี ที่ให้ผลไม่แน่นอนก็มี
องค์มรรค ๘ ไม่ใช่มีมรรคเป็นอารมณ์
องค์มรรค ๘ ที่มีมรรคเป็นเหตุก็มี ที่มีมรรคเป็นอธิบดีก็มี ที่กล่าวไม่ได้ว่า
มีมรรคเป็นเหตุ หรือมีมรรคเป็นอธิบดีก็มี
องค์มรรค ๘ ที่เกิดขึ้นก็มี ที่ยังไม่เกิดขึ้นก็มี ที่จักเกิดขึ้นแน่นอนก็มี
องค์มรรค ๘ ที่เป็นอดีตก็มี ที่เป็นอนาคตก็มี ที่เป็นปัจจุบันก็มี
องค์มรรค ๘ กล่าวไม่ได้ว่า มีอดีตธรรมเป็นอารมณ์ มีอนาคตธรรมเป็น
อารมณ์ หรือมีปัจจุบันธรรมเป็นอารมณ์
องค์มรรค ๘ ที่เป็นภายในตนก็มี ที่เป็นภายนอกตนก็มี ที่เป็นภายในตน
และภายนอกตนก็มี
องค์มรรค ๘ มีธรรมภายนอกตนเป็นอารมณ์
องค์มรรค ๘ เห็นไม่ได้และกระทบไม่ได้


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๓๘๑ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๑.มัคควิภังค์] ๓.ปัญหาปุจฉกะ ๒.ทุกมาติกาวิสัชนา
๒. ทุกมาติกาวิสัชนา
๑. เหตุโคจฉกวิสัชนา
[๕๐๗] สัมมาทิฏฐิเป็นเหตุ องค์มรรค ๗ ไม่เป็นเหตุ
องค์มรรค ๘ มีเหตุและสัมปยุตด้วยเหตุ
สัมมาทิฏฐิเป็นเหตุและมีเหตุ องค์มรรค ๗ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นเหตุและมี
เหตุหรือมีเหตุแต่ไม่เป็นเหตุ
สัมมาทิฏฐิเป็นเหตุและสัมปยุตด้วยเหตุ องค์มรรค ๗ กล่าวไม่ได้ว่า เป็น
เหตุและสัมปยุตด้วยเหตุ หรือสัมปยุตด้วยเหตุแต่ไม่เป็นเหตุ
องค์มรรค ๗ ไม่เป็นเหตุแต่มีเหตุ สัมมาทิฏฐิกล่าวไม่ได้ว่า ไม่เป็นเหตุแต่มีเหตุ
หรือไม่เป็นเหตุและไม่มีเหตุ

๒. จูฬันตรทุกวิสัชนา
องค์มรรค ๘ มีปัจจัยปรุงแต่ง องค์มรรค ๘ ถูกปัจจัยปรุงแต่ง
องค์มรรค ๘ เห็นไม่ได้ องค์มรรค ๘ กระทบไม่ได้
องค์มรรค ๘ ไม่เป็นรูป องค์มรรค ๘ เป็นโลกุตตระ
องค์มรรค ๘ จิตบางดวงรู้ได้ องค์มรรค ๘ จิตบางดวงรู้ไม่ได้

๓-๙. อาสวโคจฉกาทิวิสัชนา
องค์มรรค ๘ ไม่เป็นอาสวะ องค์มรรค ๘ ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะ
องค์มรรค ๘ วิปปยุตจากอาสวะ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นอาสวะและเป็นอารมณ์
ของอาสวะ หรือเป็นอารมณ์ของอาสวะแต่ไม่เป็นอาสวะ
องค์มรรค ๘ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นอาสวะและสัมปยุตด้วยอาสวะ หรือสัมปยุต
ด้วยอาสวะแต่ไม่เป็นอาสวะ
องค์มรรค ๘ วิปปยุตจากอาสวะ
องค์มรรค ๘ ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๓๘๒ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๑.มัคควิภังค์] ๓.ปัญหาปุจฉกะ ๒.ทุกมาติกาวิสัชนา
องค์มรรค ๘ ไม่เป็นสังโยชน์ ฯลฯ ไม่เป็นคันถะ ฯลฯ ไม่เป็นโอฆะ ฯลฯ
ไม่เป็นโยคะ ฯลฯ ไม่เป็นนิวรณ์ ฯลฯ ไม่เป็นปรามาส ฯลฯ

๑๐-๑๒. มหันตรทุกาทิวิสัชนา
องค์มรรค ๘ รับรู้อารมณ์ได้ องค์มรรค ๘ ไม่เป็นจิต
องค์มรรค ๘ เป็นเจตสิก องค์มรรค ๘ สัมปยุตด้วยจิต
องค์มรรค ๘ ระคนกับจิต องค์มรรค ๘ มีจิตเป็นสมุฏฐาน
องค์มรรค ๘ เกิดพร้อมกับจิต องค์มรรค ๘ เป็นไปตามจิต
องค์มรรค ๘ ระคนกับจิตและมีจิตเป็นสมุฏฐาน องค์มรรค ๘ ระคนกับจิต
มีจิตเป็นสมุฏฐานและเกิดพร้อมกับจิต
องค์มรรค ๘ ระคนกับจิตมีจิตเป็นสมุฏฐานและเป็นไปตามจิต องค์มรรค ๘
เป็นภายนอก
องค์มรรค ๘ ไม่เป็นอุปาทายรูป องค์มรรค ๘ กรรมอันประกอบด้วย
ตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือ
องค์มรรค ๘ ไม่เป็นอุปาทาน ฯลฯ ไม่เป็นกิเลส ฯลฯ

๑๓. ปิฏฐิทุกวิสัชนา
องค์มรรค ๘ ไม่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรค และมรรคเบื้องบน ๓
องค์มรรค ๘ ไม่มีเหตุต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรค และมรรคเบื้องบน ๓
สัมมาสังกัปปะไม่มีวิตก องค์มรรค ๗ ที่มีวิตกก็มี ที่ไม่มีวิตกก็มี
สัมมาสังกัปปะมีวิจาร องค์มรรค ๗ ที่มีวิจารก็มี ที่ไม่มีวิจารก็มี
สัมมาสังกัปปะมีปีติ องค์มรรค ๗ ที่มีปีติก็มี ที่ไม่มีปีติก็มี
สัมมาสังกัปปะ สหรคตด้วยปีติ องค์มรรค ๗ ที่สหรคตด้วยปีติก็มี ที่ไม่
สหรคตด้วยปีติก็มี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๓๘๓ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๑.มัคควิภังค์] ๓.ปัญหาปุจฉกะ ๒.ทุกมาติกาวิสัชนา
สัมมาสังกัปปะสหรคตด้วยสุข องค์มรรค ๗ ที่สหรคตด้วยสุขก็มี ที่ไม่
สหรคตด้วยสุขก็มี
สัมมาสังกัปปะไม่สหรคตด้วยอุเบกขา องค์มรรค ๗ ที่สหรคตด้วยอุเบกขา
ก็มี ที่ไม่สหรคตด้วยอุเบกขาก็มี
องค์มรรค ๘ ไม่เป็นกามาวจร
องค์มรรค ๘ ไม่เป็นรูปาวจร
องค์มรรค ๘ ไม่เป็นอรูปาวจร
องค์มรรค ๘ ไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์
องค์มรรค ๘ ที่เป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ก็มี ที่ไม่เป็นเหตุนำออกจาก
วัฏฏทุกข์ก็มี
องค์มรรค ๘ ที่ให้ผลแน่นอนก็มี ที่ให้ผลไม่แน่นอนก็มี
องค์มรรค ๘ ไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า
องค์มรรค ๘ ไม่เป็นเหตุให้สัตว์ร้องไห้

ปัญหาปุจฉกะ จบ

มัคควิภังค์ จบบริบูรณ์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๓๘๔ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๒. ฌานวิภังค์] ๑. สุตตันตภาชนีย์
๑๒. ฌานวิภังค์
๑. สุตตันตภาชนีย์
มาติกา
[๕๐๘] ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นผู้สำรวมด้วยปาติโมกขสังวรอยู่ ถึงพร้อมด้วย
อาจาระและโคจร เห็นภัยในโทษที่มีประมาณน้อย สมาทานศึกษาในสิกขาบททั้งหลาย
คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย รู้จักประมาณในการบริโภค หมั่นประกอบความ
เพียรเป็นเครื่องตื่นอยู่ตลอดปฐมยามและปัจฉิมยาม หมั่นประกอบความเพียรใน
การเจริญโพธิปักขิยธรรมอย่างต่อเนื่อง มีปัญญาเป็นอุบายในกิจทั้งปวง
ภิกษุนั้นทำความรู้สึกตัวในการก้าวไป การถอยกลับ ๑ ทำความรู้สึกตัวในการ
แลดู การเหลียวดู ๑ ทำความรู้สึกตัวในการคู้เข้า การเหยียดออก ๑ ทำความรู้สึก
ตัวในการครองผ้าสังฆาฏิ บาตร และจีวร ๑ ทำความรู้สึกตัวในการฉัน การดื่ม
การเคี้ยว การลิ้ม ๑ ทำความรู้สึกตัวในการถ่ายอุจจาระปัสสาวะ ๑ ทำความรู้สึกตัว
ในการเดิน การยืน การนั่ง การนอน การตื่น การพูด และการนิ่ง ๑
ภิกษุนั้นอาศัยเสนาสนะที่สงัด เช่น ป่า โคนไม้ ภูเขา ซอกเขา ถ้ำ ป่าช้า ดง
ที่แจ้ง กองฟาง ที่สงัดมีเสียงน้อย มีเสียงอึกทึกน้อย ไม่มีคนสัญจรไปมา ไม่มี
คนพลุกพล่าน เหมาะเป็นที่หลีกเร้น ภิกษุนั้นอยู่ป่า อยู่โคนไม้ หรืออยู่เรือนว่าง
นั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรงดำรงสติมั่นมุ่งเฉพาะกรรมฐาน
ภิกษุนั้นละอภิชฌาในโลกได้ มีจิตปราศจากอภิชฌาอยู่ ชำระจิตให้บริสุทธิ์จาก
อภิชฌา ละความพยาบาทและความคิดประทุษร้ายได้แล้ว มีจิตไม่พยาบาทอยู่ เป็น
ผู้อนุเคราะห์เกื้อกูลแก่สัตว์ทั้งมวล ชำระจิตให้บริสุทธิ์จากความพยาบาทและความ
คิดประทุษร้าย ละถีนมิทธะได้แล้ว เป็นผู้ปราศจากถีนมิทธะอยู่ เป็นผู้ได้อาโลก-
สัญญา มีสติสัมปชัญญะ ชำระจิตให้บริสุทธิ์จากถีนมิทธะ ละอุทธัจจกุกกุจจะได้แล้ว
เป็นผู้ ไม่ฟุ้งซ่านอยู่ มีจิตสงบภายในตน ชำระจิตให้บริสุทธิ์จากอุทธัจจกุกกุจจะ ละ
วิจิกิจฉาได้แล้ว เป็นผู้ข้ามวิจิกิจฉาได้แล้ว ไม่มีความสงสัยในกุศลธรรมอยู่ ชำระ
จิตให้บริสุทธิ์จากวิจิกิจฉา๑

เชิงอรรถ :
๑ ที.สี. ๙/๒๑๔-๒๑๗/๗๑-๗๒

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๓๘๕ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๒.ฌานวิภังค์] ๑.สุตตันตภาชนีย์
ภิกษุนั้นละนิวรณ์ ๕ เหล่านี้ที่เป็นเหตุทำให้จิตเศร้าหมอง ทอนกำลังปัญญา
สงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌานที่มีวิตก มีวิจาร มีปีติ
และสุขอันเกิดจากวิเวกอยู่ เพราะวิตกวิจารสงบระงับไปแล้ว บรรลุทุติยฌานที่มี
ความผ่องใสในภายใน มีภาวะที่จิตเป็นหนึ่งผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีแต่ปีติ
และสุขอันเกิดจากสมาธิอยู่
เพราะปีติจางคลายไป ภิกษุมีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย
บรรลุตติยฌานที่พระอริยะทั้งหลายกล่าวสรรเสริญว่า ผู้มีอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข
เพราะโสมนัสและโทมนัสดับไปก่อนแล้ว บรรลุจตุตถฌานที่ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข เพราะ
ละสุขและทุกข์ได้ มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขาอยู่ เพราะก้าวล่วงรูปสัญญาได้โดย
ประการทั้งปวง เพราะความดับไปแห่งปฏิฆสัญญา เพราะไม่มนสิการนานัตตสัญญา
จึงได้บรรลุอากาสานัญจายตนะ โดยบริกรรมว่า “อากาศไม่มีที่สุด” ดังนี้อยู่ เพราะ
ก้าวล่วงอากาสานัญจายตนะได้โดยประการทั้งปวง จึงได้บรรลุวิญญาณัญจายตนะ
โดยบริกรรมว่า “วิญญาณไม่มีที่สุด” ดังนี้อยู่ เพราะก้าวล่วงวิญญาณัญจายตนะได้
โดยประการทั้งปวง จึงได้บรรลุอากิญจัญญายตนะโดยบริกรรมว่า “อะไร ๆ สักน้อย
หนึ่งก็ไม่มี” ดังนี้ เพราะก้าวล่วงอากิญจัญญายตนะได้โดยประการทั้งปวง จึงได้
บรรลุเนวสัญญานาสัญญายตนะอยู่
มาติกา จบ

มาติกานิทเทส
[๕๐๙] คำว่า ในธรรมวินัยนี้ อธิบายว่า ในความเห็นนี้ ในความพอใจนี้
ในความชอบใจนี้ ในลัทธินี้ ในธรรมนี้ ในวินัยนี้ ในธรรมวินัยนี้ ในปาพจน์นี้
ในพรหมจรรย์นี้ และในคำสอนของพระศาสดานี้ เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า ในธรรม-
วินัยนี้๑
[๕๑๐] คำว่า ภิกษุ อธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุ เพราะสมัญญา ชื่อว่าภิกษุ
เพราะการปฏิญญาตน ชื่อว่าภิกษุ เพราะขอ ชื่อว่าภิกษุ เพราะเป็นผู้ขอ ชื่อว่าภิกษุ

เชิงอรรถ :
๑ ขุ.ป. ๓๑/๑๖๔/๑๘๗, ๑๐/๔๑๙

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๓๘๖ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๒.ฌานวิภังค์] ๑.สุตตันตภาชนีย์
เพราะเป็นผู้เข้าถึงภิกขาจาร ชื่อว่าภิกษุ เพราะทรงผ้าที่ถูกทำลาย๑ ชื่อว่าภิกษุ
เพราะทำลายบาปอกุศลธรรมได้แล้ว ชื่อว่าภิกษุ เพราะละกิเลสได้เฉพาะส่วน ชื่อ
ว่าภิกษุ เพราะละกิเลสได้โดยไม่เฉพาะส่วน ชื่อว่าภิกษุ เพราะเป็นพระเสขะ ชื่อ
ว่าภิกษุ เพราะเป็นพระอเสขะ ชื่อว่าภิกษุ เพราะไม่เป็นพระเสขะและพระอเสขะ
ชื่อว่าภิกษุ เพราะเป็นผู้เลิศ ชื่อว่าภิกษุ เพราะเป็นผู้เจริญ ชื่อว่าภิกษุ เพราะเป็นผู้
ผุดผ่อง ชื่อว่าภิกษุ เพราะเป็นผู้มีสาระ ชื่อว่าภิกษุ เพราะเป็นผู้อุปสมบทด้วย
ญัตติจตุตถกรรมที่ไม่กำเริบ๒ สมควรแก่เหตุ ด้วยสงฆ์ผู้พร้อมเพียงกัน
[๕๑๑] คำว่า ปาติโมกข์ อธิบายว่า ศีลเป็นที่พึ่ง เป็นเบื้องต้น เป็นความ
ประพฤติ เป็นความสำรวม เป็นความระวัง เป็นหัวหน้า เป็นประธาน เพื่อ
ความถึงพร้อมแห่งธรรมที่เป็นกุศล
คำว่า สังวร อธิบายว่า ความไม่ล่วงละเมิดทางกาย ทางวาจา และทั้งทาง
กายและวาจา
คำว่า เป็นผู้สำรวม อธิบายว่า เป็นผู้เข้าไปถึงแล้ว เข้าไปถึงแล้วด้วยดี
เข้ามาถึงแล้ว เข้ามาถึงพร้อมแล้วด้วยดี เข้าถึงแล้ว เข้าถึงแล้วด้วยดี ประกอบแล้ว
ด้วยปาติโมกขสังวรนี้ เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า เป็นผู้สำรวมด้วยปาติโมกขสังวร
[๕๑๒] คำว่า อยู่ อธิบายว่า สืบเนื่องกันอยู่ ดำเนินไปอยู่ รักษาอยู่ เป็นไป
อยู่ ให้เป็นไปอยู่ เที่ยวไปอยู่ พักอยู่ เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า อยู่
[๕๑๓] คำว่า ถึงพร้อมด้วยอาจาระและโคจร อธิบายว่า อาจาระก็มี
อนาจาระก็มี
ใน ๒ อย่างนั้น อนาจาระ เป็นไฉน
ความล่วงละเมิดทางกาย ทางวาจา ทั้งทางกายและวาจา นี้เรียกว่า อนาจาระ
ความเป็นผู้ทุศีลแม้ทั้งหมดก็เรียกว่า อนาจาระ

เชิงอรรถ :
๑ วิ.อ. ๑/๔๕/๒๕๓ ๒ คือถูกต้อง มั่นคง (วิ.มหาวิ. ๑/๔๕/๓๓, อภิ.วิ.อ. ๕๑๐/๓๕๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๓๘๗ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๒.ฌานวิภังค์] ๑.สุตตันตภาชนีย์
ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้เลี้ยงชีวิตด้วยการให้ไม้ไผ่ ให้ใบไม้ ให้ดอกไม้ ให้
ผลไม้ ให้เครื่องสนาน ให้ไม้ชำระฟัน การพูดยกย่องเพราะต้องการประจบให้เขารัก
การพูดทีเล่นทีจริงเหมือนแกงถั่ว การรับเลี้ยงเด็ก การรับใช้ส่งข่าวสาร หรือด้วย
มิจฉาอาชีวะอย่างใดอย่างหนึ่งที่พระพุทธเจ้าทรงรังเกียจ นี้เรียกว่า อนาจาระ
อาจาระ เป็นไฉน
ความไม่ล่วงละเมิดทางกาย ทางวาจา ทั้งทางกายและวาจา นี้เรียกว่า
อาจาระ ศีลสังวรแม้ทั้งหมดก็เรียกว่า อาจาระ
ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ไม่เลี้ยงชีวิตด้วยการให้ไม้ไผ่ ให้ใบไม้ ให้ดอกไม้ ให้
ผลไม้ ให้เครื่องสนาน ให้ไม้ชำระฟัน การพูดยกย่องเพราะต้องการประจบให้เขารัก
การพูดทีเล่นทีจริงเหมือนแกงถั่ว การรับเลี้ยงเด็ก การรับใช้ส่งข่าวสาร หรือด้วย
มิจฉาอาชีวะอย่างใดอย่างหนึ่งที่พระพุทธเจ้าทรงรังเกียจ นี้เรียกว่า อาจาระ
[๕๑๔] คำว่า โคจร อธิบายว่า โคจรก็มี อโคจรก็มี
ใน ๒ อย่างนั้น อโคจร เป็นไฉน
ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้เป็นผู้มีหญิงแพศยาเป็นโคจร มีหญิงหม้ายเป็นโคจร
มีสาวเทื้อเป็นโคจร มีบัณเฑาะก์เป็นโคจร มีภิกษุณีเป็นโคจร หรือมีร้านสุราเป็น
โคจร เป็นผู้อยู่คลุกคลีกับพระราชา มหาอำมาตย์ของพระราชา เดียรถีย์ สาวก
เดียรถีย์ ด้วยการคลุกคลีกับคฤหัสถ์ที่ไม่สมควร หรือเสพ คบ เข้าไปนั่งใกล้ตระกูล
ที่ไม่มีศรัทธา ไม่เลื่อมใส ไม่เป็นดุจบ่อน้ำ มักด่าและบริภาษ ๑ปรารถนาแต่สิ่งที่
มิใช่ประโยชน์ ปรารถนาแต่สิ่งที่ไม่เกื้อกูล ปรารถนาแต่สิ่งที่ไม่ผาสุก ไม่ปรารถนา
ความหลุดพ้นจากโยคะแก่พวกภิกษุ ภิกษุณี อุบาสกและอุบาสิกาเช่นนั้น นี้เรียกว่า
อโคจร๒
โคจร เป็นไฉน
ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ไม่เป็นผู้มีหญิงแพศยาเป็นโคจร ไม่เป็นผู้มีหญิง
หม้ายเป็นโคจร ไม่เป็นผู้มีสาวเทื้อเป็นโคจร ไม่เป็นผู้มีบัณเฑาะก์เป็นโคจร ไม่เป็น
ผู้มีภิกษุณีเป็นโคจร ไม่เป็นผู้มีร้านสุราเป็นโคจร ไม่อยู่คลุกคลีกับพระราชา

เชิงอรรถ :
๑ อภิ.วิ.อ. ๑๙๙/๑๑๔ ๒ ขุ.ม. ๒๙/๑๙๖/๔๐๒

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๓๘๘ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๒.ฌานวิภังค์] ๑.สุตตันตภาชนีย์
มหาอำมาตย์ของพระราชา เดียรถีย์ สาวกเดียรถีย์ ด้วยการคลุกคลีกับคฤหัสถ์
ที่ไม่สมควร หรือเสพ คบ เข้าไปนั่งใกล้ตระกูลที่มีศรัทธาเลื่อมใสเป็นดุจบ่อน้ำ รุ่ง
เรืองไปด้วยผ้ากาสาวะ๑ อบอวลไปด้วยกลิ่นของฤษี ปรารถนาแต่สิ่งที่เป็นประโยชน์
ปรารถนาแต่สิ่งที่เกื้อกูล ปรารถนาแต่สิ่งที่เป็นความผาสุก ปรารถนาแต่ความหลุด
พ้นจากโยคะแก่พวกภิกษุ ภิกษุณี อุบาสกและอุบาสิกาเช่นนั้น นี้เรียกว่า โคจร
ภิกษุเป็นผู้เข้าไปถึงแล้ว ฯลฯ ประกอบแล้วด้วยอาจาระนี้และด้วยโคจรนี้
ด้วยประการฉะนี้ เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า ถึงพร้อมด้วยอาจาระและโคจร๒
[๕๑๕] ในคำว่า เห็นภัยในโทษมีประมาณน้อย อธิบายว่า ในคำว่า เห็น
ภัยในโทษมีประมาณน้อย นั้น โทษมีประมาณน้อย เป็นไฉน
โทษอย่างต่ำ อย่างเบา ที่สมมติกันว่าโทษเบา ที่จะพึงทำด้วยความสำรวม
ระวัง และด้วยจิตตุปบาทที่เนื่องด้วยมนสิการ เหล่านี้เรียกว่า โทษมีประมาณน้อย
ภิกษุเป็นผู้เห็นโทษ ภัย ความชั่วร้าย และเห็นการสลัดออกในโทษที่มีประมาณ
น้อยเหล่านี้ เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า เห็นภัยในโทษมีประมาณน้อย ด้วยประการฉะนี้
[๕๑๖] ในคำว่า สมาทานศึกษาในสิกขาทั้งหลาย นั้น สิกขา เป็นไฉน
สิกขา ๔ คือ
๑. สิกขาของภิกษุ เรียกว่า ภิกขุสิกขา
๒. สิกขาของภิกษุณี เรียกว่า ภิกขุนีสิกขา
๓. สิกขาของอุบาสก เรียกว่า อุปาสกสิกขา
๔. สิกขาของอุบาสิกา เรียกว่า อุปาสิกาสิกขา
เหล่านี้เรียกว่า สิกขา
ภิกษุสมาทานในสิกขาเหล่านี้ทั้งหมดด้วยการสมาทานทุกอย่าง ไม่ให้มีส่วนเหลือ
ประพฤติอยู่ในสิกขาเหล่านี้ด้วยประการฉะนี้ เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า สมาทานศึกษา
ในสิกขาทั้งหลาย

เชิงอรรถ :
๑ คำว่า “ผ้ากาสาวะ” ได้แก่ ผ้าที่ย้อมด้วยน้ำฝาดมีน้ำแก่นขนุนเป็นต้น
๒ ขุ.ม. ๒๙/๑๙๖/๔๐๔

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๓๘๙ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๓.อัปปมัญญาวิภังค์] ๑.สุตตันตภาชนีย์
[๕๑๗] คำว่า คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย อธิบายว่า ความเป็นผู้คุ้ม
ครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลายก็มี ความเป็นผู้ไม่คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลายก็มี
ใน ๒ อย่างนั้น ความเป็นผู้ไม่คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย เป็นไฉน
ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้เห็นรูปด้วยตาแล้วรวบถือ แยกถือ ไม่ปฏิบัติเพื่อ
สำรวมจักขุนทรีย์นั้น ซึ่งเมื่อไม่สำรวมแล้วก็จะเป็นเหตุให้บาปอกุศลธรรมคืออภิชฌา
และโทมนัสครอบงำได้ ย่อมไม่รักษาจักขุนทรีย์ ไม่ถึงความสำรวมในจักขุนทรีย์ ฟัง
เสียงด้วยหู ฯลฯ สูดกลิ่นด้วยจมูก ฯลฯ ลิ้มรสด้วยลิ้น ฯลฯ ถูกต้องโผฏฐัพพะ
ด้วยกาย ฯลฯ รู้ธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว รวบถือ แยกถือ ไม่ปฏิบัติเพื่อสำรวม
มนินทรีย์นั้น ซึ่งเมื่อไม่สำรวมแล้วก็จะเป็นเหตุให้บาปอกุศลธรรมคืออภิชฌาและ
โทมนัสครอบงำได้ ย่อมไม่รักษามนินทรีย์ ไม่ถึงความสำรวมในมนินทรีย์ ความไม่
คุ้มครอง กิริยาที่ไม่คุ้มครอง ความไม่รักษา ความไม่สำรวมอินทรีย์ ๖ เหล่านี้ นี้
เรียกว่า ความเป็นผู้ไม่คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย๑
ความเป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย เป็นไฉน
ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ เห็นรูปทางตาแล้ว ไม่รวบถือ ไม่แยกถือ ย่อม
ปฏิบัติเพื่อสำรวมจักขุนทรีย์นั้น ซึ่งเมื่อไม่สำรวมแล้วก็จะเป็นเหตุให้บาปอกุศลธรรม
คืออภิชฌาและโทมนัสครอบงำได้ ย่อมรักษาจักขุนทรีย์ ถึงความสำรวมในจักขุนทรีย์
ฟังเสียงทางหู ฯลฯ สูดกลิ่นทางจมูก ฯลฯ ลิ้มรสทางลิ้น ฯลฯ ถูกต้องโผฏฐัพพะ
ทางกาย ฯลฯ รู้ธรรมารมณ์ทางใจแล้ว ไม่รวบถือ ไม่แยกถือ ย่อมปฏิบัติเพื่อ
สำรวมมนินทรีย์นั้น ซึ่งเมื่อไม่สำรวมแล้วก็จะเป็นเหตุให้บาปอกุศลธรรมคืออภิชฌา
และโทมนัสครอบงำได้ ย่อมรักษามนินทรีย์ ถึงความสำรวมในมนินทรีย์ ความ
คุ้มครอง กิริยาที่คุ้มครอง ความรักษา ความสำรวมอินทรีย์ ๖ เหล่านี้ นี้เรียกว่า
ความเป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย๒
ภิกษุเป็นผู้เข้าไปถึงแล้ว ฯลฯ ประกอบแล้วด้วยความเป็นผู้คุ้มครองทวารใน
อินทรีย์ทั้งหลาย เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า ความเป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย

เชิงอรรถ :
๑ อภิ.สงฺ. ๓๔/๑๓๕๒/๓๐๒, อภิ.วิ. ๓๕/๙๐๕/๔๔๐ ๒ อภิ.สงฺ. ๓๔/๑๓๕๔/๓๐๓

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๓๙๐ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๓.อัปปมัญญาวิภังค์] ๑.สุตตันตภาชนีย์
[๕๑๘] คำว่า รู้จักประมาณในการบริโภค อธิบายว่า ความเป็นผู้รู้จัก
ประมาณในการบริโภคก็มี ความเป็นผู้ไม่รู้จักประมาณในการบริโภคก็มี
ใน ๒ อย่างนั้น ความเป็นผู้ไม่รู้จักประมาณในการบริโภค เป็นไฉน
ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ไม่พิจารณาโดยแยบคาย บริโภคอาหารเพื่อเล่น
เพื่อความมัวเมา เพื่อประเทืองผิว เพื่อความอ้วนพี ความเป็นผู้ไม่สันโดษ ความ
เป็นผู้ไม่รู้จักประมาณ ความเป็นผู้ไม่พิจารณาในการบริโภคนั้น นี้เรียกว่า ความ
เป็นผู้ไม่รู้จักประมาณในการบริโภค๑
ความเป็นผู้รู้จักประมาณในการบริโภค เป็นไฉน
ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้พิจารณาโดยแยบคายว่า เราบริโภคอาหารไม่ใช่เพื่อ
เล่น เพื่อความมัวเมา เพื่อประเทืองผิว และเพื่อความอ้วนพี แต่เพื่อกายนี้ดำรงอยู่
เพื่อให้ชีวิตินทรีย์เป็นไป เพื่อบำบัดความหิว เพื่ออนุเคราะห์พรหมจรรย์ โดยอุบาย
นี้ เราจักกำจัดเวทนาเก่าเสียได้และจักไม่ให้เวทนาใหม่เกิดขึ้น ความเป็นไปแห่ง
ชีวิตินทรีย์ ความไม่มีโทษ และการอยู่โดยผาสุกจักมีแก่เรา ดังนี้ แล้วจึงบริโภค
อาหาร ความสันโดษ ความเป็นผู้รู้จักประมาณ การพิจารณาในการบริโภคนั้น
นี้เรียกว่า ความเป็นผู้รู้จักประมาณในการบริโภค๑
ภิกษุเป็นผู้เข้าไปถึงแล้ว ฯลฯ ประกอบแล้วด้วยความเป็นผู้รู้จักประมาณใน
การบริโภคนี้ เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า ความเป็นผู้รู้จักประมาณในการบริโภค
[๕๑๙] ภิกษุเป็นผู้หมั่นประกอบความเพียรเป็นเครื่องตื่นอยู่ตลอดปฐม-
ยามและปัจฉิมยาม เป็นไฉน
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ชำระจิตให้บริสุทธิ์จากธรรมที่กั้นจิตไม่ให้บรรลุความดีด้วย
การเดินจงกรม ด้วยการนั่งตลอดวัน ชำระจิตให้บริสุทธิ์จากธรรมที่กั้นจิตไม่ให้บรรลุ
ความดี ด้วยการเดินจงกรม ด้วยการนั่งตลอดปฐมยามแห่งราตรี สำเร็จสีหไสยาสน์
โดยการนอนตะแคงข้างขวา เท้าซ้อนเท้า มีสติสัมปชัญญะ ตั้งใจว่าจะลุกขึ้นตลอด
มัชฌิมยามแห่งราตรี ชำระจิตให้บริสุทธิ์จากธรรมที่กั้นจิตไม่ให้บรรลุความดีด้วยการ
เดินจงกรม ด้วยการนั่งตลอดปัจฉิมยามแห่งราตรี ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้หมั่นประกอบ
ความเพียรเป็นเครื่องตื่นอยู่ตลอดปฐมยามและปัจฉิมยามด้วยประการฉะนี้

เชิงอรรถ :
๑ อภิ.สงฺ. ๓๔/๑๓๕๓/๓๐๓, อภิ.วิ. ๓๕/๙๐๕/๔๔๑

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๓๙๑ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๒.ฌานวิภังค์] ๑.สุตตันตภาชนีย์
[๕๒๐] คำว่า ความเพียรที่เป็นไปติดต่อ อธิบายว่า การปรารภความเพียร
ทางใจ ฯลฯ สัมมาวายามะ
[๕๒๑] คำว่า ปัญญาเป็นอุบายในกิจทั้งปวง อธิบายว่า ปัญญา กิริยาที่
รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลงงมงาย ความเลือกเฟ้นธรรม สัมมาทิฏฐิ
[๕๒๒] ในคำว่า เป็นผู้หมั่นประกอบความเพียรในการเจริญโพธิปักขิยธรรม
นั้น โพธิปักขิยธรรม เป็นไฉน
โพชฌงค์ ๗ คือ

๑. สติสัมโพชฌงค์ ๒. ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์
๓. วิริยสัมโพชฌงค์ ๔. ปีติสัมโพชฌงค์
๕. ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ ๖. สมาธิสัมโพชฌงค์
๗. อุเปกขาสัมโพชฌงค์

เหล่านี้เรียกว่า โพธิปักขิยธรรม
ภิกษุเสพ เจริญ ทำให้มากซึ่งโพธิปักขิยธรรมเหล่านั้นด้วยประการฉะนี้ เพราะ
ฉะนั้นจึงเรียกว่า เป็นผู้หมั่นประกอบความเพียรในการเจริญโพธิปักขิยธรรม
[๕๒๓] ภิกษุทำความรู้สึกตัวในการก้าวไป การถอยกลับ
ทำความรู้สึกตัวในการแลดู การเหลียวดู
ทำความรู้สึกตัวในการคู้เข้า การเหยียดออก
ทำความรู้สึกตัวในการครองผ้าสังฆาฏิ บาตร จีวร
ทำความรู้สึกตัวในการฉัน การดื่ม การเคี้ยว การลิ้ม
ทำความรู้สึกตัวในการถ่ายอุจจาระปัสสาวะ
ทำความรู้สึกตัวในการเดิน การยืน การนั่ง การนอน การตื่น การพูด
การนิ่ง เป็นอย่างไร
ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นผู้มีสติสัมปชัญญะก้าวไป ถอยกลับ ๑ เป็นผู้มีสติ
สัมปชัญญะแลดู เหลียวดู ๑ เป็นผู้มีสติสัมปชัญญะคู้เข้า เหยียดออก ๑ เป็นผู้มีสติ
สัมปชัญญะในการครองผ้าสังฆาฏิ บาตร และจีวร ๑ เป็นผู้มีสติสัมปชัญญะใน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๓๙๒ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๒.ฌานวิภังค์] ๑.สุตตันตภาชนีย์
การฉัน การดื่ม การเคี้ยว การลิ้ม ๑ เป็นผู้มีสติสัมปชัญญะในการถ่ายอุจจาระ
ปัสสาวะ ๑ เป็นผู้มีสติสัมปชัญญะในการเดิน การยืน การนั่ง การนอน การตื่น
การพูด และการนิ่ง ๑
[๕๒๔] บรรดาสภาวธรรมเหล่านั้น สติ เป็นไฉน
สติ ความตามระลึก ความหวนระลึก สติ กิริยาที่ระลึก ความระลึก
ความทรงจำ ความไม่เลื่อนลอย ความไม่หลงลืม สติ สตินทรีย์ สติพละ สัมมาสติ
นี้เรียกว่า สติ๑
[๕๒๕] ในคำว่า มีสัมปชัญญะ นั้น สัมปชัญญะ เป็นไฉน
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ความวิจัย ความเลือกสรร ความวิจัยธรรม ความ
กำหนดหมาย ความเข้าไปกำหนด ความเข้าไปกำหนดเฉพาะ ภาวะที่รู้ ภาวะที่ฉลาด
ภาวะที่รู้ละเอียด ความรู้อย่างแจ่มแจ้ง ความคิดค้น ความใคร่ครวญ ปัญญา
เหมือนแผ่นดิน ปัญญาเครื่องทำลายกิเลส ปัญญาเครื่องนำทาง ความเห็นแจ้ง
ความรู้ดี ปัญญาเหมือนปฏัก ปัญญา ปัญญินทรีย์ ปัญญาพละ ปัญญาเหมือน
ศัสตรา ปัญญาเหมือนปราสาท ความสว่างคือปัญญา แสงสว่างคือปัญญา
ปัญญาเหมือนประทีป ปัญญาเหมือนดวงแก้ว ความไม่หลงงมงาย ความเลือก
เฟ้นธรรม สัมมาทิฏฐิ นี้เรียกว่า สัมปชัญญะ๒
ภิกษุเป็นผู้เข้าไปถึงแล้ว ฯลฯ ประกอบแล้วด้วยสตินี้และสัมปชัญญะนี้
ด้วยประการฉะนี้ ด้วยการปฏิบัติอย่างนี้ ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้มีสติสัมปชัญญะก้าวไป
ถอยกลับ ๑ เป็นผู้มีสติสัมปชัญญะแลดู เหลียวดู ๑ เป็นผู้มีสติสัมปชัญญะคู้เข้า
เหยียดออก ๑ เป็นผู้มีสติสัมปชัญญะในการครองสังฆาฏิ บาตร และจีวร ๑ เป็น
ผู้มีสติสัมปชัญญะในการฉัน การดื่ม การเคี้ยว การลิ้ม ๑ เป็นผู้มีสติสัมปชัญญะใน
การถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ ๑ เป็นผู้มีสติสัมปชัญญะในการเดิน การยืน การนั่ง
การนอน การตื่น การพูด และการนิ่ง ๑

เชิงอรรถ :
๑ อภิ.สงฺ. ๓๔/๑๓๕๘/๓๐๔ ๒ อภิ.สงฺ. ๓๔/๑๓๕๙/๓๐๔

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๓๙๓ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๒.ฌานวิภังค์] ๑.สุตตันตภาชนีย์
[๕๒๖] คำว่า สงัด อธิบายว่า แม้หากเสนาสนะจะอยู่ในที่ใกล้ แต่
เสนาสนะนั้นไม่พลุกพล่านด้วยเหล่าคฤหัสถ์และบรรพชิต เพราะฉะนั้น เสนาสนะนั้น
ชื่อว่าสงัด แม้หากเสนาสนะจะอยู่ในที่ที่ห่างไกล แต่เสนาสนะนั้นไม่พลุกพล่านด้วย
เหล่าคฤหัสถ์และบรรพชิต เพราะฉะนั้น เสนาสนะนั้นก็ชื่อว่าสงัด
[๕๒๗] คำว่า เสนาสนะ อธิบายว่า เสนาสนะ คือ เตียง ตั่ง ฟูก หมอน
วิหาร เพิง ปราสาท ป้อม โรงกลม ที่เร้นลับ ถ้ำ โคนไม้ พุ่มไผ่ หรือสถานที่
ที่ภิกษุยับยั้งอยู่ ที่ทั้งหมดนี้ชื่อว่าเสนาสนะ
[๕๒๘] คำว่า อาศัยเสนาสนะที่สงัดอยู่ อธิบายว่า อาศัย อาศัยอยู่ด้วยดี
พักอยู่ เข้าไปพักอยู่ พักอาศัยเสนาสนะที่สงัดนี้อยู่ เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า อาศัย
เสนาสนะที่สงัดอยู่
[๕๒๙] คำว่า ป่า อธิบายว่า สถานที่ออกไปนอกเขตเมืองทั้งหมด นี้ชื่อว่าป่า
[๕๓๐] คำว่า โคนไม้ อธิบายว่า รุกขมูลคือโคนไม้ บรรพตคือภูเขากันทระ
คือซอกเขา คิริคุหาคือถ้ำในภูเขา สุสานคือป่าช้า อัพโภกาสคือที่แจ้ง ปลาลปุญชะ
คือกองฟาง
[๕๓๑] คำว่า ดง นี้ เป็นชื่อของเสนาสนะที่ห่างไกล
คำว่า ดง นี้ เป็นชื่อของเสนาสนะที่มีป่าทึบ
คำว่า ดง นี้ เป็นชื่อของเสนาสนะที่น่าหวาดกลัว
คำว่า ดง นี้ เป็นชื่อของเสนาสนะที่น่ากลัวจนขนพองสยองเกล้า
คำว่า ดง นี้ เป็นชื่อของเสนาสนะที่ตั้งอยู่ปลายแดน
คำว่า ดง นี้ เป็นชื่อของเสนาสนะที่ไม่อยู่ใกล้มนุษย์
คำว่า ดง นี้ เป็นชื่อของเสนาสนะที่อยู่ได้ยาก
[๕๓๒] คำว่า มีเสียงน้อย อธิบายว่า แม้หากเสนาสนะจะอยู่ในที่ใกล้ แต่
เสนาสนะนั้นไม่พลุกพล่านด้วยเหล่าคฤหัสถ์และบรรพชิต เพราะฉะนั้น เสนาสนะนั้น
จึงชื่อว่ามีเสียงน้อย แม้หากเสนาสนะจะอยู่ในที่ห่างไกล แต่เสนาสนะนั้นไม่พลุก
พล่านด้วยเหล่าคฤหัสถ์และบรรพชิต เพราะฉะนั้น เสนาสนะนั้นก็ชื่อว่ามีเสียงน้อย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๓๙๔ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๒.ฌานวิภังค์] ๑.สุตตันตภาชนีย์
[๕๓๓] คำว่า มีเสียงอึกทึกน้อย อธิบายว่า เสนาสนะใดมีเสียงน้อย
เสนาสนะนั้นชื่อว่ามีเสียงอึกทึกน้อย เสนาสนะใดมีเสียงอึกทึกน้อย เสนาสนะนั้น
ชื่อว่าไม่มีคนสัญจรไปมา เสนาสนะใดไม่มีผู้คนสัญจรไปมา เสนาสนะนั้นชื่อว่าเป็น
สถานที่ที่มนุษย์แอบทำการได้๑ เสนาสนะใดเป็นสถานที่ที่มนุษย์แอบทำการได้
เสนาสนะนั้นก็ชื่อว่าสมควรเป็นที่หลีกเร้นอยู่
[๕๓๔] คำว่า เป็นผู้อยู่ป่า อยู่โคนไม้ หรืออยู่เรือนว่าง อธิบายว่า เป็น
ผู้อยู่ป่า อยู่โคนไม้ หรืออยู่เรือนว่าง
[๕๓๕] คำว่า นั่งคู้บัลลังก์ อธิบายว่า เป็นผู้นั่งขัดสมาธิ
[๕๓๖] คำว่า ตั้งกายตรง อธิบายว่า กายที่ดำรงไว้ ตั้งไว้ ย่อมเป็นกายตรง
[๕๓๗] ในคำว่า ดำรงสติมั่นมุ่งเฉพาะกรรมฐาน นั้น สติ เป็นไฉน
สติ ความตามระลึก ฯลฯ สัมมาสติ นี้เรียกว่า สติ
สตินี้เป็นอันภิกษุดำรงไว้มั่นแล้ว ตั้งไว้ดีแล้วที่ปลายจมูก หรือที่นิมิตเหนือ
ริมฝีปาก เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า ดำรงสติมั่นมุ่งเฉพาะกรรมฐาน
[๕๓๘] ในคำว่า ละอภิชฌาในโลกได้ นั้น อภิชฌา เป็นไฉน
ความกำหนัด ความกำหนัดนัก ฯลฯ ความกำหนัดนักแห่งจิต นี้เรียกว่า
อภิชฌา
โลก เป็นไฉน
อุปาทานขันธ์ ๕ ชื่อว่าโลก นี้เรียกว่า โลก
อภิชฌานี้เป็นอันสงบระงับ สงบเงียบ ดับไป ดับสิ้นไป ถูกทำให้พินาศไป
ให้พินาศย่อยยับไป ให้เหือดแห้งไป ให้เหือดแห้งไปด้วยดี ให้สิ้นไปแล้วในโลกนี้
เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า ละอภิชฌาในโลกได้
[๕๓๙] ในคำว่า มีจิตปราศจากอภิชฌา นั้น จิต เป็นไฉน
จิต มโน มานัส ฯลฯ มโนวิญญาณธาตุที่เหมาะสมกัน นี้เรียกว่า จิต

เชิงอรรถ :
๑ อภิ.วิ.อ. ๕๓๓/๓๙๔

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๓๙๕ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๒.ฌานวิภังค์] ๑.สุตตันตภาชนีย์
จิตนี้เป็นธรรมชาติปราศจากอภิชฌา เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า มีจิตปราศจาก
อภิชฌา
[๕๔๐] คำว่า อยู่ อธิบายว่า สืบเนื่องกันอยู่ ดำเนินไปอยู่ รักษาอยู่ เป็น
ไปอยู่ ให้เป็นไปอยู่ เที่ยวไปอยู่ พักอยู่ เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า อยู่
[๕๔๑] ในคำว่า ชำระจิตให้บริสุทธิ์จากอภิชฌา นั้น อภิชฌา เป็นไฉน
ความกำหนัด ความกำหนัดนัก ฯลฯ ความกำหนัดนักแห่งจิต นี้เรียกว่า
อภิชฌา
จิต เป็นไฉน
จิต มโน มานัส ฯลฯ มโนวิญญาณธาตุที่เหมาะสมกัน นี้เรียกว่า จิต
ภิกษุชำระจิตนี้ให้บริสุทธิ์ ให้ผุดผ่อง ให้หมดจด ให้หลุด ให้พ้น ให้หลุด
พ้นจากอภิชฌานี้ เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า ชำระจิตให้บริสุทธิ์จากอภิชฌา
[๕๔๒] คำว่า ละความพยาบาทและความคิดประทุษร้ายได้แล้ว อธิบาย
ว่า ความพยาบาทก็มี ความประทุษร้ายก็มี
ใน ๒ อย่างนั้น ความพยาบาท เป็นไฉน
จิตอาฆาต ความขัดเคือง ความกระทบกระทั่ง ความแค้น ความเคือง ความ
ขุ่นเคือง ความพลุ่งพล่าน โทสะ ความคิดประทุษร้าย ความคิดมุ่งร้าย ความขุ่นจิต
ธรรมชาติที่ประทุษร้ายใจ ความโกรธ กิริยาที่โกรธ ภาวะที่โกรธ มีลักษณะเช่นว่านี้
(และ) ความคิดประทุษร้าย กิริยาที่คิดประทุษร้าย ภาวะที่คิดประทุษร้าย ความคิด
ปองร้าย กิริยาที่คิดปองร้าย ภาวะที่คิดปองร้าย ความพิโรธ ความแค้น ความดุร้าย
ความเกรี้ยวกราด ความไม่แช่มชื่นแห่งจิต นี้เรียกว่า ความพยาบาท
ความคิดประทุษร้าย เป็นไฉน
ความพยาบาทอันใด อันนั้นเป็นความคิดประทุษร้าย ความคิดประทุษร้ายอัน
ใด อันนั้นเป็นความพยาบาท ความพยาบาทนี้ และความคิดประทุษร้ายนี้ เป็นอัน
สงบระงับ สงบเงียบ ดับไป ดับสิ้นไป ถูกทำให้พินาศไป ให้พินาศย่อยยับไป ให้
เหือดแห้งไป ให้เหือดแห้งไปด้วยดี ให้สิ้นไปแล้ว ด้วยประการฉะนี้ เพราะฉะนั้น
จึงเรียกว่า ละความพยาบาทและความคิดประทุษร้ายได้แล้ว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๓๙๖ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๒.ฌานวิภังค์] ๑.สุตตันตภาชนีย์
[๕๔๓] ในคำว่า มีจิตไม่พยาบาท นั้น จิต เป็นไฉน
จิต มโน มานัส ฯลฯ มโนวิญญาณธาตุที่เหมาะสมกัน นี้เรียกว่า จิต
จิตนี้เป็นจิตไม่พยาบาท เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า มีจิตไม่พยาบาท
[๕๔๔] คำว่า อยู่ อธิบายว่า สืบเนื่องกันอยู่ ฯลฯ พักอยู่ เพราะฉะนั้น
จึงเรียกว่าอยู่
[๕๔๕] คำว่า ชำระจิตให้บริสุทธิ์จากความพยาบาทและความคิดประทุษ
ร้าย อธิบายว่า ความพยาบาทก็มี ความคิดประทุษร้ายก็มี
ใน ๒ อย่างนั้น ความพยาบาท เป็นไฉน
จิตอาฆาต ความขัดเคือง ความกระทบกระทั่ง ความแค้น ความเคือง ความ
ขุ่นเคือง ความพลุ่งพล่าน โทสะ ความคิดประทุษร้าย ความคิดมุ่งร้าย ความขุ่นจิต
ธรรมชาติที่ประทุษร้ายใจ ความโกรธ กิริยาที่โกรธ ภาวะที่โกรธ มีลักษณะเช่นว่านี้
(และ) ความคิดประทุษร้าย กิริยาที่คิดประทุษร้าย ภาวะที่คิดประทุษร้าย ความคิด
ปองร้าย กิริยาที่คิดปองร้าย ภาวะที่คิดปองร้าย ความพิโรธ ความแค้น ความดุร้าย
ความเกรี้ยวกราด ความไม่แช่มชื่นแห่งจิต นี้เรียกว่า ความพยาบาท
ความคิดประทุษร้าย เป็นไฉน
ความพยาบาทอันใด อันนั้นเป็นความคิดประทุษร้าย ความคิดประทุษร้าย
อันใด อันนั้นเป็นความพยาบาท
จิต เป็นไฉน
จิต มโน มานัส ฯลฯ มโนวิญญาณธาตุที่เหมาะสมกัน นี้เรียกว่า จิต
ภิกษุชำระจิตนี้ให้บริสุทธิ์ ให้ผุดผ่อง ให้หมดจด ให้หลุด ให้พ้น ให้หลุด
พ้นจากความพยาบาทและความคิดประทุษร้ายนี้ เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า ชำระจิต
ให้บริสุทธิ์จากความพยาบาทและความคิดประทุษร้าย
[๕๔๖] คำว่า ละถีนมิทธะได้แล้ว อธิบายว่า ถีนมิทธะนั้นแยกเป็น ถีนะ
อย่างหนึ่ง มิทธะอย่างหนึ่ง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๓๙๗ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๒.ฌานวิภังค์] ๑.สุตตันตภาชนีย์
ใน ๒ อย่างนั้น ถีนะ เป็นไฉน
ความหดหู่ ความไม่ควรแก่การงาน ความท้อแท้ ความท้อถอยแห่งใจ ความ
ย่อหย่อน กิริยาที่ย่อหย่อน ภาวะที่ย่อหย่อน ความท้อถอย กิริยาที่ท้อถอย ภาวะ
ที่ท้อถอยแห่งใจ นี้เรียกว่า ถีนะ๑
มิทธะ เป็นไฉน
ความไม่สะดวกกาย ความไม่ควรแก่การงาน ความหงอยเหงา ความซบเซา
แห่งกาย ความง่วงนอน ความง่วงซึม ความหลับ ความโงกง่วง ความอยากหลับ
กิริยาที่อยากหลับ ภาวะที่อยากหลับ นี้เรียกว่า มิทธะ๒
ถีนะและมิทธะนี้ เป็นอันสงบระงับ สงบเงียบ ดับไป ดับสิ้นไป ถูกทำให้
พินาศไป ให้พินาศย่อยยับไป ให้เหือดแห้งไป ให้เหือดแห้งไปด้วยดี ให้สิ้นไปแล้ว
ด้วยประการฉะนี้ เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า ละถีนมิทธะได้แล้ว
[๕๔๗] คำว่า เป็นผู้ปราศจากถีนมิทธะ อธิบายว่า ชื่อว่าเป็นผู้ปราศจาก
ถีนมิทธะ เพราะสละ คลาย ปล่อย วาง สละคืน ละและสละคืนถีนมิทธะนั้นแล้ว
เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า เป็นผู้ปราศจากถีนมิทธะ
[๕๔๘] คำว่า อยู่ อธิบายว่า ฯลฯ เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า อยู่
[๕๔๙] ในคำว่า ได้อาโลกสัญญา นั้น สัญญา เป็นไฉน
ความจำได้ กิริยาที่จำได้ ภาวะที่จำได้ นี้เรียกว่า สัญญา สัญญานี้เป็น
ความสว่าง เปิดเผย บริสุทธิ์ ผ่องใส เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า ได้อาโลกสัญญา
[๕๕๐] ในคำว่า มีสติสัมปชัญญะ นั้น สติ เป็นไฉน
สติ ความตามระลึก ฯลฯ สัมมาสติ นี้เรียกว่า สติ
สัมปชัญญะ เป็นไฉน
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลงงมงาย ความเลือกเฟ้นธรรม
สัมมาทิฏฐิ นี้เรียกว่า สัมปชัญญะ

เชิงอรรถ :
๑ อภิ.สงฺ. ๓๔/๑๑๖๒/๒๗๐, อภิ.วิ. ๓๕/๕๕๑/๓๐๗ ๒ อภิ.สงฺ. ๓๔/๑๑๖๓/๒๗๐, อภิ.วิ. ๓๕/๕๕๑/๓๐๗

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๓๙๘ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๒.ฌานวิภังค์] ๑.สุตตันตภาชนีย์
ภิกษุเป็นผู้เข้าไปถึงแล้ว ฯลฯ ประกอบแล้วด้วยสตินี้และสัมปชัญญะนี้ด้วย
ประการฉะนี้ เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า มีสติสัมปชัญญะ
[๕๕๑] คำว่า ชำระจิตให้บริสุทธิ์จากถีนมิทธะ อธิบายว่า ถีนมิทธะนั้น
แยกเป็นถีนะอย่างหนึ่ง มิทธะอย่างหนึ่ง
ใน ๒ อย่างนั้น ถีนะ เป็นไฉน
ความหดหู่ ฯลฯ ภาวะที่ท้อถอยแห่งใจ นี้เรียกว่า ถีนะ
มิทธะ เป็นไฉน
ความไม่สะดวกกาย ฯลฯ ภาวะที่อยากหลับ นี้เรียกว่า มิทธะ
จิต เป็นไฉน
จิต มโน มานัส ฯลฯ มโนวิญญาณธาตุที่เหมาะสมกัน นี้เรียกว่า จิต
ภิกษุชำระจิตนี้ให้บริสุทธิ์ ให้ผุดผ่อง ให้หมดจด ให้หลุด ให้พ้น ให้หลุดพ้น
จากถีนมิทธะนี้ เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า ชำระจิตให้บริสุทธิ์จากถีนมิทธะ
[๕๕๒] คำว่า ละอุทธัจจกุกกุจจะได้แล้ว อธิบายว่า อุทธัจจกุกกุจจะนั้น
แยกเป็นอุทธัจจะอย่างหนึ่ง กุกกุจจะอย่างหนึ่ง
ใน ๒ อย่างนั้น อุทธัจจะ เป็นไฉน
ความฟุ้งซ่านแห่งจิต ความไม่สงบแห่งจิต ความซัดส่ายแห่งจิต ภาวะที่พล่าน
ไปแห่งจิต นี้เรียกว่า อุทธัจจะ๑
กุกกุจจะ เป็นไฉน
ความสำคัญว่า ควรในสิ่งที่ไม่ควร ไม่ควรในสิ่งที่ควร มีโทษในสิ่งที่ไม่มีโทษ
ไม่มีโทษในสิ่งที่มีโทษ ความรำคาญ กิริยาที่รำคาญ ภาวะที่รำคาญ ความเดือด
ร้อนใจ ความยุ่งใจ มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า กุกกุจจะ๒
อุทธัจจะและกุกกุจจะนี้เป็นอันสงบระงับ สงบเงียบ ดับไป ดับสิ้นไป ถูกทำ
ให้พินาศไป ให้พินาศย่อยยับไป ให้เหือดแห้งไป ให้เหือดแห้งไปด้วยดี ให้สิ้นไปแล้ว
ด้วยประการฉะนี้ เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า ละอุทธัจจกุกกุจจะได้แล้ว

เชิงอรรถ :
๑ อภิ.สงฺ. ๓๔/๑๑๖๕/๒๗๑ ๒ อภิ.สงฺ. ๓๔/๑๑๖๖/๒๗๑

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๓๙๙ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๒.ฌานวิภังค์] ๑.สุตตันตภาชนีย์
[๕๕๓] คำว่า เป็นผู้ไม่ฟุ้งซ่าน อธิบายว่า ชื่อว่าเป็นผู้ไม่ฟุ้งซ่าน เพราะสละ
คลาย ปล่อยวาง ละ สลัดออก ละและสลัดออกซึ่งอุทธัจจกุกกุจจะนั้น เพราะ
ฉะนั้นจึงเรียกว่า เป็นผู้ไม่ฟุ้งซ่าน
[๕๕๔] คำว่า อยู่ อธิบายว่า สืบเนื่องกันอยู่ ฯลฯ พักอยู่ เพราะฉะนั้น
จึงเรียกว่า อยู่
[๕๕๕] คำว่า ภายในตน อธิบายว่า เป็นภายในตน มีเฉพาะตน
ในคำว่า มีจิตสงบ นั้น จิต เป็นไฉน
จิต มโน มานัส ฯลฯ มโนวิญญาณธาตุที่เหมาะสมกัน นี้เรียกว่า จิต
จิตนี้เป็นธรรมชาติสงบระงับ สงบเงียบภายในตน เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า มีจิต
สงบภายในตน
[๕๕๖] คำว่า ชำระจิตให้บริสุทธิ์จากอุทธัจจกุกกุจจะ อธิบายว่า อุทธัจจ-
กุกกุจจะนั้นแยกเป็นอุทธัจจะอย่างหนึ่ง กุกกุจจะอย่างหนึ่ง
ใน ๒ อย่างนั้น อุทธัจจะ เป็นไฉน
ความฟุ้งซ่านแห่งจิต ความไม่สงบแห่งจิต ความซัดส่ายแห่งจิต ภาวะที่พล่าน
ไปแห่งจิต นี้เรียกว่า อุทธัจจะ
กุกกุจจะ เป็นไฉน
ความสำคัญว่าควรในสิ่งที่ไม่ควร ฯลฯ ความยุ่งใจ นี้เรียกว่า กุกกุจจะ
จิต เป็นไฉน
จิต มโน มานัส ฯลฯ มโนวิญญาณธาตุที่เหมาะสมกัน นี้เรียกว่า จิต
ภิกษุชำระจิตนี้ให้บริสุทธิ์ ให้ผุดผ่อง ให้หมดจด ให้หลุด ให้พ้น ให้หลุด
พ้นจากอุทธัจจะและกุกกุจจะนี้ เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า ชำระจิตให้บริสุทธิ์จาก
อุทธัจจกุกกุจจะ
[๕๕๗] ในคำว่า ละวิจิกิจฉาได้แล้ว นั้น วิจิกิจฉา เป็นไฉน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๔๐๐ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๒.ฌานวิภังค์] ๑.สุตตันตภาชนีย์
ความเคลือบแคลง กิริยาที่เคลือบแคลง ภาวะที่เคลือบแคลง ความคิดเห็น
ไปต่าง ๆ ความตัดสินอารมณ์ไม่ได้ ความเห็นเป็น ๒ แง่ ความเห็นเหมือนทาง ๒
แพร่ง ความสงสัย ความไม่สามารถจะถือเอาโดยส่วนเดียวได้ ความคิดส่ายไป
ความคิดพร่าไป ความไม่สามารถหยั่งลงถือเอาโดยเป็นยุติได้ ความกระด้างแห่งจิต
ความลังเลใจ นี้เรียกว่า วิจิกิจฉา
วิจิกิจฉานี้ เป็นอันสงบระงับ สงบเงียบ ดับไป ดับสิ้นไป ถูกทำให้พินาศไป
ให้พินาศย่อยยับไป ให้เหือดแห้งไป ให้เหือดแห้งไปด้วยดี ให้สิ้นไปแล้ว เพราะ
ฉะนั้นจึงเรียกว่า ละวิจิกิจฉาได้แล้ว
[๕๕๘] คำว่า เป็นผู้ข้ามวิจิกิจฉาได้แล้ว อธิบายว่า เป็นผู้ข้ามวิจิกิจฉานี้
คือ ข้ามขึ้น ข้ามออกถึงฝั่ง ถึงความสำเร็จตามลำดับ เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า
เป็นผู้ข้ามวิจิกิจฉาได้แล้ว
[๕๕๙] คำว่า อยู่ อธิบายว่า สืบเนื่องกันอยู่ ฯลฯ พักอยู่ เพราะฉะนั้น
จึงเรียกว่า อยู่
คำว่า ไม่มีความสงสัยในกุศลธรรม อธิบายว่า ไม่เคลือบแคลง ไม่สงสัย
ไม่มีความสงสัย หมดความสงสัย ปราศจากความสงสัยในกุศลธรรมด้วยวิจิกิจฉานี้
เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า ไม่มีความสงสัยในกุศลธรรม
[๕๖๐] ในคำว่า ชำระจิตให้บริสุทธิ์จากวิจิกิจฉา นั้น วิจิกิจฉา เป็นไฉน
ความเคลือบแคลง กิริยาที่เคลือบแคลง ภาวะที่เคลือบแคลง ฯลฯ ความ
กระด้างแห่งจิต ความลังเลใจ นี้เรียกว่า วิจิกิจฉา
จิต เป็นไฉน
จิต มโน มานัส ฯลฯ มโนวิญญาณธาตุที่เหมาะสมกัน นี้เรียกว่า จิต
ภิกษุชำระจิตนี้ให้บริสุทธิ์ ให้ผุดผ่อง ให้หมดจด ให้หลุด ให้พ้น ให้หลุดพ้น
จากวิจิกิจฉานี้ เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า ชำระจิตให้บริสุทธิ์จากวิจิกิจฉา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๔๐๑ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๒.ฌานวิภังค์] ๑.สุตตันตภาชนีย์
[๕๖๑] คำว่า ละนิวรณ์ ๕ เหล่านี้ อธิบายว่า นิวรณ์ ๕ นี้เป็นอันสงบ
ระงับ สงบเงียบ ดับไป ดับสิ้นไป ถูกทำให้พินาศไป ให้พินาศย่อยยับไป ให้เหือด
แห้งไป ให้เหือดแห้งไปด้วยดี ให้สิ้นไปแล้ว เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า ละนิวรณ์ ๕
เหล่านี้
[๕๖๒] คำว่า ที่เป็นเหตุทำให้จิตเศร้าหมอง อธิบายว่า นิวรณ์ ๕ เหล่า
นี้เป็นเครื่องทำให้จิตเศร้าหมอง
[๕๖๓] คำว่า ทอนกำลังปัญญา อธิบายว่า ปัญญาที่ยังไม่เกิดก็จะไม่เกิด
และปัญญาที่เกิดแล้วก็จะดับไป เพราะนิวรณ์ ๕ เหล่านี้ เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า
ทอนกำลังปัญญา
[๕๖๔] ในคำว่า สงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลาย นั้น กาม เป็นไฉน
ฉันทะชื่อว่ากาม ราคะชื่อว่ากาม ฉันทราคะชื่อว่ากาม สังกัปปะชื่อว่ากาม
ราคะชื่อว่ากาม สังกัปปราคะชื่อว่ากาม เหล่านี้เรียกว่า กาม
อกุศลธรรม เป็นไฉน
กามฉันทะ พยาบาท ถีนมิทธะ อุทธัจจกุกกุจจะ และวิจิกิจฉา เหล่านี้เรียกว่า
อกุศลธรรม
ภิกษุเป็นผู้สงัดแล้วจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลายดังกล่าวมานี้ เพราะ
ฉะนั้นจึงเรียกว่า สงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลาย
[๕๖๕] คำว่า มีวิตกวิจาร อธิบายว่า วิตกวิจารนั้นแยกเป็นวิตกอย่างหนึ่ง
วิจารอย่างหนึ่ง
ใน ๒ อย่างนั้น วิตก เป็นไฉน
ความตรึก ความตรึกโดยอาการต่าง ๆ ความดำริ ความที่จิตแนบแน่นใน
อารมณ์ ความที่จิตแนบสนิทในอารมณ์ ความยกจิตขึ้นสู่อารมณ์ สัมมาสังกัปปะ
นี้เรียกว่า วิตก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๔๐๒ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๒.ฌานวิภังค์] ๑.สุตตันตภาชนีย์
วิจาร เป็นไฉน
ความตรอง ความพิจารณา ความตามพิจารณา ความเข้าไปพิจารณา
ความที่จิตสืบต่ออารมณ์ ความที่จิตเพ่งอารมณ์ นี้เรียกว่า วิจาร
ภิกษุเป็นผู้เข้าไปถึงแล้ว ฯลฯ ประกอบแล้วด้วยวิตกวิจารนี้ดังที่กล่าวมานี้
เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า มีวิตกวิจาร
[๕๖๖] คำว่า เกิดจากวิเวก อธิบายว่า วิตก วิจาร ปีติ สุข และ
เอกัคคตา ธรรมเหล่านั้นเกิดแล้ว เกิดพร้อมแล้ว บังเกิดแล้ว บังเกิดเฉพาะแล้ว
ปรากฏแล้วในวิเวกนี้ เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า เกิดจากวิเวก
[๕๖๗] คำว่า ปีติและสุข อธิบายว่า ปีติและสุขนั้นแยกเป็นปีติอย่างหนึ่ง
สุขอย่างหนึ่ง
ใน ๒ อย่างนั้น ปีติ เป็นไฉน
ความอิ่มเอิบ ความปราโมทย์ ความยินดีอย่างยิ่ง ความบันเทิง ความร่าเริง
ความรื่นเริง ความปลื้มใจ ความตื่นเต้น ความที่จิตชื่นชมยินดี นี้เรียกว่า ปีติ
สุข เป็นไฉน
ความสำราญทางใจ ความสุขทางใจ ความเสวยอารมณ์ที่สำราญเป็นสุข
อันเกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่สำราญเป็นสุข อันเกิดแต่เจโตสัมผัส นี้
เรียกว่า สุข
สุขนี้สหรคต เกิดพร้อม ระคน และประกอบด้วยปีตินี้ เพราะฉะนั้นจึงเรียก
ว่า มีปีติและสุข
[๕๖๘] คำว่า ปฐม อธิบายว่า ชื่อว่าปฐม โดยลำดับแห่งการนับ ชื่อว่า
ปฐม เพราะโยคาวจรบุคคลเข้าถึงฌานนี้เป็นที่ ๑
[๕๖๙] คำว่า ฌาน อธิบายว่า วิตก วิจาร ปีติ สุข และเอกัคคตา
[๕๗๐] คำว่า บรรลุ อธิบายว่า การได้ การได้เฉพาะ การถึง การบรรลุถึง
ความถูกต้อง การทำให้แจ้ง การบรรลุปฐมฌาน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๔๐๓ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๒.ฌานวิภังค์] ๑.สุตตันตภาชนีย์
[๕๗๑] คำว่า อยู่ อธิบายว่า สืบเนื่องกันอยู่ ฯลฯ พักอยู่ เพราะฉะนั้น
จึงเรียกว่าอยู่
[๕๗๒] คำว่า เพราะวิตกวิจารสงบระงับไปแล้ว อธิบายว่า วิตกวิจารนั้น
แยกเป็นวิตกอย่างหนึ่ง วิจารอย่างหนึ่ง
ใน ๒ อย่างนั้น วิตก เป็นไฉน
ความตรึก ความตรึกโดยอาการต่าง ๆ ฯลฯ สัมมาสังกัปปะ นี้เรียกว่า วิตก
วิจาร เป็นไฉน
ความตรอง ความพิจารณา ความตามพิจารณา ความเข้าไปพิจารณา
ความที่จิตสืบต่ออารมณ์ ความที่จิตเพ่งอารมณ์ นี้เรียกว่า วิจาร
วิตกและวิจารดังกล่าวมานี้เป็นอันสงบระงับ สงบเงียบ ดับไป ดับสิ้นไป
ถูกทำให้พินาศไป ให้พินาศย่อยยับไป ให้เหือดแห้งไป ให้เหือดแห้งไปด้วยดี ให้
สิ้นไปแล้ว เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า เพราะวิตกวิจารสงบระงับไปแล้ว
[๕๗๓] คำว่า ภายในตน อธิบายว่า เป็นภายในตน มีเฉพาะตน
[๕๗๔] คำว่า ผ่องใส อธิบายว่า ศรัทธา กิริยาที่เชื่อ ความปักใจเชื่อ
ความเลื่อมใสยิ่ง
[๕๗๕] คำว่า มีภาวะที่จิตเป็นหนึ่งผุดขึ้น อธิบายว่า ความตั้งอยู่แห่งจิต
ฯลฯ สัมมาสมาธิ
[๕๗๖] คำว่า ไม่มีวิตกไม่มีวิจาร อธิบายว่า วิตกวิจารนั้นแยกเป็น วิตก
อย่างหนึ่ง วิจารอย่างหนึ่ง
ใน ๒ อย่างนั้น วิตก เป็นไฉน
ความตรึก ความตรึกโดยอาการต่าง ๆ ฯลฯ สัมมาสังกัปปะ นี้เรียกว่า วิตก
วิจาร เป็นไฉน
ความตรอง ความพิจารณา ความตามพิจารณา ความเข้าไปพิจารณา
ความที่จิตสืบต่ออารมณ์ ความที่จิตเพ่งอารมณ์ นี้เรียกว่า วิจาร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๔๐๔ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๒.ฌานวิภังค์] ๑.สุตตันตภาชนีย์
วิตกวิจารดังที่กล่าวมานี้เป็นอันสงบระงับ สงบเงียบ ดับไป ดับสิ้นไป ถูก
ทำให้พินาศไป ให้พินาศย่อยยับไป ให้เหือดแห้งไป ให้เหือดแห้งไปด้วยดี ให้สิ้น
ไปแล้ว เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า ไม่มีวิตกไม่มีวิจาร
[๕๗๗] คำว่า เกิดจากสมาธิ อธิบายว่า ความผ่องใส ปีติ และสุข ธรรม
เหล่านั้นเกิดแล้ว เกิดพร้อมแล้ว บังเกิดแล้ว บังเกิดเฉพาะแล้ว ปรากฏแล้วใน
สมาธินี้ เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า เกิดจากสมาธิ
[๕๗๘] คำว่า มีปีติและสุข อธิบายว่า ปีติและสุขนั้นแยกเป็นปีติอย่าง
หนึ่ง สุขอย่างหนึ่ง
ใน ๒ อย่างนั้น ปีติ เป็นไฉน
ความอิ่มเอิบ ความปราโมทย์ ฯลฯ ความที่จิตชื่นชมยินดี นี้เรียกว่า ปีติ
สุข เป็นไฉน
ความสำราญทางใจ ฯลฯ กิริยาเสวยอารมณ์ที่สำราญเป็นสุข อันเกิดแต่
เจโตสัมผัส นี้เรียกว่า สุข
สุขนี้สหรคต เกิดพร้อม ระคน ประกอบด้วยปีตินี้ เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า
มีปีติและสุข
[๕๗๙] คำว่า ทุติยะ อธิบายว่า ชื่อว่าทุติยะ โดยลำดับแห่งการนับ ชื่อว่า
ทุติยะ เพราะโยคาวจรบุคคลเข้าถึงฌานนี้เป็นที่ ๒
[๕๘๐] คำว่า ฌาน อธิบายว่า ความผ่องใส ปีติ สุข และเอกัคคตา
[๕๘๑] คำว่า บรรลุ อธิบายว่า การได้ การได้เฉพาะ การถึง การบรรลุถึง
ความถูกต้อง การทำให้แจ้ง การบรรลุทุติยฌาน
[๕๘๒] คำว่า อยู่ อธิบายว่า สืบเนื่องกันอยู่ ฯลฯ พักอยู่ เพราะฉะนั้น
จึงเรียกว่าอยู่
[๕๘๓] ในคำว่า เพราะปีติจางคลายไป นั้น ปีติ เป็นไฉน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๔๐๕ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๒.ฌานวิภังค์] ๑.สุตตันตภาชนีย์
ความอิ่มเอิบ ความปราโมทย์ ความยินดีอย่างยิ่ง ความบันเทิง ความร่าเริง
ความรื่นเริง ความปลื้มใจ ความตื่นเต้น ความที่จิตชื่นชมยินดี นี้เรียกว่า ปีติ
ปีตินี้เป็นอันสงบระงับ สงบเงียบ ดับไป ดับสิ้นไป ถูกทำให้พินาศไป ให้
พินาศย่อยยับไป ให้เหือดแห้งไป ให้เหือดแห้งไปด้วยดี ให้สิ้นไปแล้ว เพราะ
ฉะนั้นจึงเรียกว่า เพราะปีติจางคลายไป
[๕๘๔] ในคำว่า มีอุเบกขา นั้น อุเบกขา เป็นไฉน
อุเบกขา ภาวะที่วางเฉย กิริยาที่เพ่งเฉย ความวางตนเป็นกลางแห่งจิต นี้
เรียกว่า อุเบกขา
ภิกษุเป็นผู้เข้าไปถึงแล้ว ฯลฯ ประกอบแล้วด้วยอุเบกขานี้ เพราะฉะนั้นจึง
เรียกว่า มีอุเบกขา
[๕๘๕] คำว่า อยู่ อธิบายว่า สืบเนื่องกันอยู่ ฯลฯ พักอยู่ เพราะฉะนั้น
จึงเรียกว่า อยู่
[๕๘๖] ในคำว่า มีสติสัมปชัญญะ นั้น สติ เป็นไฉน
สติ ความตามระลึก ฯลฯ สัมมาสติ นี้เรียกว่า สติ
สัมปชัญญะ เป็นไฉน
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลงงมงาย ความเลือกเฟ้นธรรม
สัมมาทิฏฐิ นี้เรียกว่า สัมปชัญญะ
ภิกษุเป็นผู้เข้าไปถึงแล้ว ฯลฯ ประกอบแล้วด้วยสตินี้และสัมปชัญญะนี้ ด้วย
ประการฉะนี้ เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า มีสติสัมปชัญญะ
[๕๘๗] ในคำว่า เสวยสุขด้วยนามกาย นั้น สุข เป็นไฉน
ความสำราญทางใจ ความสุขทางใจ ความเสวยอารมณ์ที่สำราญเป็นสุข
อันเกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่สำราญเป็นสุข อันเกิดแต่เจโตสัมผัส นี้
เรียกว่า สุข

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๔๐๖ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๒.ฌานวิภังค์] ๑.สุตตันตภาชนีย์
กาย เป็นไฉน
สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ และวิญญาณขันธ์ นี้เรียกว่า กาย
ภิกษุเสวยสุขนี้ด้วยกายนี้ เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า เสวยสุขด้วยนามกาย
[๕๘๘] ในคำว่า ที่พระอริยะทั้งหลายกล่าวสรรเสริญ นั้น พระอริยะ
ทั้งหลาย เป็นไฉน
พระพุทธเจ้าและสาวกของพระพุทธเจ้า เรียกว่า พระอริยะทั้งหลาย พระอริยะ
เหล่านั้น กล่าวสรรเสริญ แสดง บัญญัติ แต่งตั้ง เปิดเผย จำแนก ทำให้ชัดเจน
ประกาศบุคคลผู้ได้บรรลุนี้ เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า ที่พระอริยะทั้งหลายกล่าว
สรรเสริญ
[๕๘๙] ในคำว่า มีอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข นั้น อุเบกขา เป็นไฉน
อุเบกขา ความวางเฉย กิริยาที่เพ่งเฉย ความเป็นกลางแห่งจิต นี้เรียกว่า
อุเบกขา
สติ เป็นไฉน
สติ ความตามระลึก ฯลฯ สัมมาสติ นี้เรียกว่า สติ
สุข เป็นไฉน
ความสำราญทางใจ ความสุขทางใจ ความเสวยอารมณ์ที่สำราญเป็นสุข
อันเกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่สำราญเป็นสุข อันเกิดแต่เจโตสัมผัส นี้
เรียกว่า สุข
ภิกษุประกอบด้วยอุเบกขา สติและสุขนี้ สืบเนื่องกันอยู่ ดำเนินไปอยู่ รักษาอยู่
เป็นไปอยู่ ให้เป็นไปอยู่ เที่ยวไปอยู่ พักอยู่ ด้วยประการฉะนี้ เพราะฉะนั้นจึง
เรียกว่า เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข
[๕๙๐] คำว่า ตติยะ อธิบายว่า ชื่อว่าตติยะ โดยลำดับแห่งการนับ ชื่อว่า
ตติยะ เพราะโยคาวจรบุคคลเข้าถึงฌานนี้เป็นที่ ๓
[๕๙๑] คำว่า ฌาน อธิบายว่า อุเบกขา สติ สัมปชัญญะ สุข และเอกัคคตา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๔๐๗ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๒.ฌานวิภังค์] ๑.สุตตันตภาชนีย์
[๕๙๒] คำว่า บรรลุ อธิบายว่า การได้ การได้เฉพาะ การถึง การบรรลุถึง
การถูกต้อง การทำให้แจ้ง การบรรลุตติยฌาน
[๕๙๓] คำว่า อยู่ อธิบายว่า สืบเนื่องกันอยู่ ฯลฯ พักอยู่ เพราะฉะนั้น
จึงเรียกว่า อยู่
[๕๙๔] คำว่า เพราะละสุขและทุกข์ได้ อธิบายว่า สุขและทุกข์นั้นแยก
เป็น สุขอย่างหนึ่ง ทุกข์อย่างหนึ่ง
ใน ๒ อย่างนั้น สุข เป็นไฉน
ความสำราญทางกาย ความสุขทางกาย ความเสวยอารมณ์ที่สำราญเป็นสุข
อันเกิดแต่กายสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่สำราญเป็นสุข อันเกิดแต่กายสัมผัส นี้
เรียกว่า สุข
ทุกข์ เป็นไฉน
ความไม่สำราญทางกาย ความทุกข์ทางกาย ความเสวยอารมณ์ที่ไม่สำราญ
เป็นทุกข์ อันเกิดแต่กายสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่ไม่สำราญเป็นทุกข์ อันเกิด
แต่กายสัมผัส นี้เรียกว่า ทุกข์
สุขและทุกข์นี้เป็นอันสงบระงับ สงบเงียบ ดับไป ดับสิ้นไป ถูกทำให้พินาศไป
ให้พินาศย่อยยับไป ให้เหือดแห้งไป ให้เหือดแห้งไปด้วยดี ให้สิ้นไปแล้ว ด้วย
ประการฉะนี้ เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า เพราะละสุขและทุกข์ได้
[๕๙๕] คำว่า เพราะโสมนัสและโทมนัสดับไปก่อนแล้ว อธิบายว่า โสมนัส
และโทมนัสนั้นแยกเป็นโสมนัสอย่างหนึ่ง โทมนัสอย่างหนึ่ง
ใน ๒ อย่างนั้น โสมนัส เป็นไฉน
ความสำราญทางใจ ความสุขทางใจ ความเสวยอารมณ์ที่สำราญเป็นสุข
อันเกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่สำราญเป็นสุข อันเกิดแต่เจโตสัมผัส นี้
เรียกว่า โสมนัส

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๔๐๘ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๒.ฌานวิภังค์] ๑.สุตตันตภาชนีย์
โทมนัส เป็นไฉน
ความไม่สำราญทางใจ ความทุกข์ทางใจ ความเสวยอารมณ์ที่ไม่สำราญเป็น
ทุกข์ อันเกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่ไม่สำราญเป็นทุกข์ อันเกิดแต่
เจโตสัมผัส นี้เรียกว่า โทมนัส
โสมนัสและโทมนัสนี้เป็นอันสงบระงับ สงบเงียบ ดับไป ดับสิ้นไป ถูกทำให้
พินาศไป ให้พินาศย่อยยับไป ให้เหือดแห้งไป ให้เหือดแห้งไปด้วยดี ให้สิ้นไปแล้ว
ด้วยประการฉะนี้ เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า เพราะโสมนัสและโทมนัสดับไปก่อนแล้ว
[๕๙๖] คำว่า ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข อธิบายว่า ความสำราญทางใจก็ไม่ใช่
ความไม่สำราญทางใจก็ไม่ใช่ ความเสวยอารมณ์ที่ไม่ทุกข์ไม่สุข อันเกิดแต่เจโตสัมผัส
กิริยาเสวยอารมณ์ที่ไม่ทุกข์ไม่สุข อันเกิดแต่เจโตสัมผัส เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า ไม่มี
ทุกข์ไม่มีสุข
[๕๙๗] ในคำว่า มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขา นั้น อุเบกขา เป็นไฉน
อุเบกขา ภาวะที่วางเฉย กิริยาที่เพ่งเฉย ความวางตนเป็นกลางแห่งจิต นี้
เรียกว่า อุเบกขา
สติ เป็นไฉน
สติ ความตามระลึก ฯลฯ สัมมาสติ นี้เรียกว่า สติ
สตินี้เป็นอันเปิดเผย บริสุทธิ์ ผุดผ่อง เพราะอุเบกขานี้ เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า
มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขา
[๕๙๘] คำว่า จตุตถะ อธิบายว่า ที่ชื่อว่าเป็นที่ ๔ โดยลำดับแห่งการนับ
ชื่อว่าจตุตถะ เพราะโยคาวจรบุคคลเข้าถึงฌานนี้เป็นที่ ๔
[๕๙๙] คำว่า ฌาน อธิบายว่า อุเบกขา สติ และเอกัคคตา
[๖๐๐] คำว่า บรรลุ อธิบายว่า การได้ การได้เฉพาะ การถึง การบรรลุถึง
การถูกต้อง การทำให้แจ้ง การบรรลุจตุตถฌาน
[๖๐๑] คำว่า อยู่ อธิบายว่า สืบเนื่องกันอยู่ ฯลฯ พักอยู่ เพราะฉะนั้น
จึงเรียกว่า อยู่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๔๐๙ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๒.ฌานวิภังค์] ๑.สุตตันตภาชนีย์
[๖๐๒] ในคำว่า เพราะก้าวล่วงรูปสัญญาได้โดยประการทั้งปวง นั้น
รูปสัญญา เป็นไฉน
ความจำได้ กิริยาที่จำได้ ภาวะที่จำได้ของโยคาวจรบุคคลผู้เข้ารูปาวจรสมาบัติ
ผู้อุบัติในรูปภูมิ หรือของพระอรหันต์ผู้อยู่เป็นสุขในปัจจุบัน เหล่านี้เรียกว่า รูปสัญญา
ภิกษุเป็นผู้ก้าวล่วงแล้ว ก้าวข้ามแล้ว ก้าวพ้นแล้วซึ่งรูปสัญญาเหล่านี้ เพราะ
ฉะนั้นจึงเรียกว่า เพราะก้าวล่วงรูปสัญญาได้โดยประการทั้งปวง
[๖๐๓] ในคำว่า เพราะความดับไปแห่งปฏิฆสัญญา นั้น ปฏิฆสัญญา
เป็นไฉน
รูปสัญญา สัททสัญญา คันธสัญญา รสสัญญา และโผฏฐัพพสัญญา
เหล่านี้เรียกว่า ปฏิฆสัญญา
ปฏิฆสัญญาเหล่านี้เป็นอันสงบระงับ สงบเงียบ ดับไป ดับสิ้นไป ถูกทำให้
พินาศไป ให้พินาศย่อยยับไป ให้เหือดแห้งไป ให้เหือดแห้งไปด้วยดี ให้สิ้นไปแล้ว
เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า เพราะความดับไปแห่งปฏิฆสัญญา
[๖๐๔] ในคำว่า เพราะไม่มนสิการนานัตตสัญญา นั้น นานัตตสัญญา
เป็นไฉน
ความจำได้ กิริยาที่จำได้ ภาวะที่จำได้ของบุคคลผู้มีความพรั่งพร้อมด้วย
มโนธาตุ หรือผู้มีความพรั่งพร้อมด้วยมโนวิญญาณธาตุซึ่งไม่ได้เข้าสมาบัติ เหล่านี้
เรียกว่า นานัตตสัญญา
ภิกษุไม่มนสิการนานัตตสัญญาเหล่านี้ เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า เพราะไม่
มนสิการนานัตตสัญญา
[๖๐๕] ในคำว่า อากาศไม่มีที่สุด นั้น อากาศ เป็นไฉน
อากาศ ธรรมชาติที่นับว่าอากาศ ความว่างเปล่า ธรรมชาติที่นับว่าความ
ว่างเปล่า ช่องว่าง ธรรมชาติที่นับว่าช่องว่างซึ่งมหาภูตรูป ๔ ถูกต้องไม่ได้ นี้เรียกว่า
อากาศ๑

เชิงอรรถ :
๑ อภิ.สงฺ. ๓๔/๗๒๔/๒๐๖

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๔๑๐ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๒.ฌานวิภังค์] ๑.สุตตันตภาชนีย์
ภิกษุตั้งจิตไว้ ตั้งจิตไว้ด้วยดี แผ่ไปไม่มีที่สุดในอากาศนั้น เพราะฉะนั้นจึง
เรียกว่า อากาศไม่มีที่สุด
[๖๐๖] คำว่า อากาสานัญจายตนะ อธิบายว่า ธรรมคือจิตและเจตสิกของ
บุคคลผู้เข้าอากาสานัญจายตนะ ผู้อุบัติในอากาสานัญจายตนภูมิ หรือพระอรหันต์
ผู้อยู่เป็นสุขในปัจจุบัน
[๖๐๗] คำว่า บรรลุ อธิบายว่า การได้ การได้เฉพาะ การถึง การบรรลุ
ถึง การถูกต้อง การทำให้แจ้ง การบรรลุอากาสานัญจายตนะ
[๖๐๘] คำว่า อยู่ อธิบายว่า สืบเนื่องกันอยู่ ฯลฯ พักอยู่ เพราะฉะนั้น
จึงเรียกว่า อยู่
[๖๐๙] คำว่า เพราะก้าวล่วงอากาสานัญจายตนะได้โดยประการทั้งปวง
อธิบายว่า ภิกษุเป็นผู้ก้าวล่วงแล้ว ก้าวข้ามแล้ว ก้าวพ้นแล้วซึ่งอากาสานัญจายตนะ
นี้ เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า เพราะก้าวล่วงอากาสานัญจายตนะได้โดยประการทั้งปวง
[๖๑๐] คำว่า วิญญาณไม่มีที่สุด อธิบายว่า ภิกษุมนสิการอากาศนั้นนั่น
แหละที่วิญญาณถูกต้องแล้ว แผ่ไปไม่มีที่สุด เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า วิญญาณไม่มี
ที่สุด
[๖๑๑] คำว่า วิญญาณัญจายตนะ อธิบายว่า ธรรมคือจิตและเจตสิก
ของบุคคลผู้เข้าวิญญาณัญจายตนะ ผู้อุบัติในวิญญาณัญจายตนภูมิ หรือของพระ
อรหันต์ผู้อยู่เป็นสุขในปัจจุบัน
[๖๑๒] คำว่า บรรลุ อธิบายว่า การได้ การได้เฉพาะ การถึง การบรรลุถึง
การถูกต้อง การทำให้แจ้ง การบรรลุวิญญาณัญจายตนะ
[๖๑๓] คำว่า อยู่ อธิบายว่า สืบเนื่องกันอยู่ ฯลฯ พักอยู่ เพราะฉะนั้นจึง
เรียกว่า อยู่
[๖๑๔] คำว่า เพราะก้าวล่วงวิญญาณัญจายตนะได้โดยประการทั้งปวง
อธิบายว่า ภิกษุเป็นผู้ก้าวล่วงแล้ว ก้าวข้ามแล้ว ก้าวพ้นแล้วซึ่งวิญญาณัญจายตนะ
เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า เพราะก้าวล่วงวิญญาณัญจายตนะได้โดยประการทั้งปวง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๔๑๑ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๒.ฌานวิภังค์] ๑.สุตตันตภาชนีย์
[๖๑๕] คำว่า อะไร ๆ สักน้อยหนึ่งก็ไม่มี อธิบายว่า ภิกษุทำวิญญาณนั้น
นั่นแหละไม่ให้มี ให้เสื่อมไป ให้อันตรธานไป พิจารณาเห็นว่า น้อยหนึ่งก็ไม่มี
เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า อะไร ๆ สักน้อยหนึ่งก็ไม่มี
[๖๑๖] คำว่า อากิญจัญญายตนะ อธิบายว่า ธรรมคือจิตและเจตสิกของ
บุคคลผู้เข้าอากิญจัญญายตนะ ผู้อุบัติในอากิญจัญญายตนภูมิ หรือของพระ
อรหันต์ผู้อยู่เป็นสุขในปัจจุบัน
[๖๑๗] คำว่า บรรลุ อธิบายว่า การได้ การได้เฉพาะ การถึง การบรรลุ
ถึง การถูกต้อง การทำให้แจ้ง การบรรลุอากิญจัญญายตนะ
[๖๑๘] คำว่า อยู่ อธิบายว่า สืบเนื่องกันอยู่ ฯลฯ พักอยู่ เพราะฉะนั้น
จึงเรียกว่า อยู่
[๖๑๙] คำว่า เพราะก้าวล่วงอากิญจัญญายตนะได้โดยประการทั้งปวง
อธิบายว่า ภิกษุเป็นผู้ก้าวล่วงแล้ว ก้าวข้ามแล้ว ก้าวพ้นแล้วซึ่งอากิญจัญญายตนะ
เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า เพราะก้าวล่วงอากิญจัญญายตนะได้โดยประการทั้งปวง
คำว่า ผู้มีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่ อธิบายว่า ภิกษุมนสิการ
อากิญจัญญายตนะนั้นนั่นแหละโดยความเป็นฌานที่สงบ เจริญสมาบัติที่มีสังขาร
เหลืออยู่ เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า ผู้มีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่
[๖๒๐] คำว่า เนวสัญญานาสัญญายตนะ อธิบายว่า ธรรมคือจิตและ
เจตสิกของบุคคลผู้เข้าเนวสัญญานาสัญญายตนะ หรือผู้อุบัติในเนวสัญญานา-
สัญญายตนภูมิ หรือของพระอรหันต์ผู้อยู่เป็นสุขในปัจจุบัน
[๖๒๑] คำว่า บรรลุ อธิบายว่า การได้ การได้เฉพาะ การถึง การบรรลุถึง
การถูกต้อง การทำให้แจ้ง การบรรลุเนวสัญญานาสัญญายตนะ
[๖๒๒] คำว่า อยู่ อธิบายว่า สืบเนื่องกันอยู่ ดำเนินไปอยู่ รักษาอยู่ เป็น
ไปอยู่ ให้เป็นไปอยู่ เที่ยวไปอยู่ พักอยู่ เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า อยู่
สุตตันตภาชนีย์ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๔๑๒ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๒.ฌานวิภังค์] ๒.อภิธรรมภาชนีย์ ๑.รูปาวจรกุศล
๒. อภิธรรมภาชนีย์
๑. รูปาวจรกุศล
ฌานจตุกกนัย
[๖๒๓] ฌาน ๔ คือ
๑. ปฐมฌาน (ฌานที่ ๑)
๒. ทุติยฌาน (ฌานที่ ๒)
๓. ตติยฌาน (ฌานที่ ๓)
๔. จตุตถฌาน (ฌานที่ ๔)
[๖๒๔] บรรดาฌาน ๔ นั้น ปฐมฌาน เป็นไฉน
ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญมรรคเพื่อเข้าถึงรูปภพ สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุ
ปฐมฌานที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ฌานมีองค์ ๕ คือ
วิตก วิจาร ปีติ สุข และเอกัคคตา ก็เกิดขึ้น นี้เรียกว่า ปฐมฌาน สภาวธรรม
ที่เหลือชื่อว่าสัมปยุตด้วยฌาน (๑)
ทุติยฌาน เป็นไฉน
ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญมรรคเพื่อเข้าถึงรูปภพ เพราะวิตกวิจารสงบระงับไป
แล้ว ฯลฯ บรรลุทุติยฌานที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ฌาน
มีองค์ ๓ คือ ปีติ สุข และเอกัคคตา ก็เกิดขึ้น นี้เรียกว่า ทุติยฌาน สภาวธรรม
ที่เหลือชื่อว่าสัมปยุตด้วยฌาน (๒)
ตติยฌาน เป็นไฉน
ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญมรรคเพื่อเข้าถึงรูปภพ เพราะปีติจางคลายไป ฯลฯ
บรรลุตติยฌานที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ฌานมีองค์ ๒
คือ สุข และเอกัคคตา ก็เกิดขึ้น นี้เรียกว่า ตติยฌาน สภาวธรรมที่เหลือชื่อว่า
สัมปยุตด้วยฌาน (๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๔๑๓ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๒.ฌานวิภังค์] ๒.อภิธรรมภาชนีย์ ๑.รูปาวจรกุศล
จตุตถฌาน เป็นไฉน
ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญมรรคเพื่อเข้าถึงรูปภพ บรรลุจตุตถฌานที่มีปฐวีกสิณ
เป็นอารมณ์ ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข เพราะละสุขและทุกข์ได้ ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น
ฌานมีองค์ ๒ คือ อุเบกขา และเอกัคคตา ก็เกิดขึ้น นี้เรียกว่า จตุตถฌาน
สภาวธรรมที่เหลือชื่อว่าสัมปยุตด้วยฌาน (๔)
ฌานจตุกกนัย จบ

ฌานปัญจกนัย
[๖๒๕] ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญมรรคเพื่อเข้าถึงรูปภพ สงัดจากกาม
ฯลฯ บรรลุปฐมฌานที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ฌานมี
องค์ ๕ คือ วิตก วิจาร ปีติ สุข และเอกัคคตา ก็เกิดขึ้น นี้เรียกว่า ปฐมฌาน
สภาวธรรมที่เหลือชื่อว่าสัมปยุตด้วยฌาน (๑)
ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญมรรคเพื่อเข้าถึงรูปภพ สงัดจากกามและสภาวธรรม
ที่เป็นอกุศลทั้งหลาย บรรลุทุติยฌานที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ ไม่มีวิตกมีเพียงวิจาร
มีปีติและสุข อันเกิดจากวิเวก อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ฌานมีองค์ ๔ คือ วิจาร
ปีติ สุข และเอกัคคตา ก็เกิดขึ้น นี้เรียกว่า ทุติยฌาน สภาวธรรมที่เหลือชื่อว่า
สัมปยุตด้วยฌาน (๒)
ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญมรรคเพื่อเข้าถึงรูปภพ เพราะวิตกวิจารสงบระงับไป
แล้ว ฯลฯ บรรลุตติยฌานที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ฌาน
มีองค์ ๓ คือ ปีติ สุข และเอกัคคตา ก็เกิดขึ้น นี้เรียกว่า ตติยฌาน สภาวธรรม
ที่เหลือชื่อว่าสัมปยุตด้วยฌาน (๓)
ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญมรรคเพื่อเข้าถึงรูปภพ เพราะปีติจางคลายไป ฯลฯ
บรรลุจตุตถฌานที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ฌานมีองค์ ๒
คือ สุข และเอกัคคตา ก็เกิดขึ้น นี้เรียกว่า จตุตถฌาน สภาวธรรมที่เหลือชื่อ
ว่าสัมปยุตด้วยฌาน (๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๔๑๔ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๒.ฌานวิภังค์] ๒.อภิธรรมภาชนีย์ ๓.โลกุตตรกุศล
ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญมรรคเพื่อเข้าถึงรูปภพ เพราะละสุขและทุกข์ได้ ฯลฯ
บรรลุปัญจมฌานที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ฌานมีองค์ ๒
คือ อุเบกขา และเอกัคคตา ก็เกิดขึ้น นี้เรียกว่า ปัญจมฌาน สภาวธรรมที่เหลือ
ชื่อว่าสัมปยุตด้วยฌาน (๕)
ฌานปัญจกนัย จบ

๒. อรูปาวจรกุศล
[๖๒๖] ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญมรรคเพื่อเข้าถึงอรูปภพ เพราะก้าวล่วง
อากิญจัญญายตนะได้โดยประการทั้งปวง บรรลุจตุตถฌานที่สหรคตด้วยเนวสัญญา-
นาสัญญายตนสัญญา ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข เพราะละสุขและทุกข์ได้ ฯลฯ อยู่ในสมัยใด
ในสมัยนั้น ฌานมีองค์ ๒ คือ อุเบกขา และเอกัคคตา ก็เกิดขึ้น นี้เรียกว่า
จตุตถฌาน สภาวธรรมที่เหลือชื่อว่าสัมปยุตด้วยฌาน

๓. โลกุตตรกุศล
ฌานจตุกกนัย
[๖๒๗] ฌาน ๔ คือ
๑. ปฐมฌาน ๒. ทุติยฌาน
๓. ตติยฌาน ๔. จตุตถฌาน
[๖๒๘] บรรดาฌาน ๔ นั้น ปฐมฌาน เป็นไฉน
ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญฌานที่เป็นโลกุตตระซึ่งเป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ ให้
ถึงนิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน
ที่เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ฌานมีองค์ ๕ คือ วิตก
วิจาร ปีติ สุข และเอกัคคตา ก็เกิดขึ้น นี้เรียกว่า ปฐมฌาน สภาวธรรมที่เหลือ
ชื่อว่าสัมปยุตด้วยฌาน (๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๔๑๕ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๒.ฌานวิภังค์] ๒.อภิธรรมภาชนีย์ ๓.โลกุตตรกุศล
ทุติยฌาน เป็นไฉน
ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญฌานที่เป็นโลกุตตระซึ่งเป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ให้
ถึงนิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น เพราะวิตกวิจารสงบระงับไปแล้ว
ฯลฯ บรรลุทุติยฌานที่เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น
ฌานมีองค์ ๓ คือ ปีติ สุข และเอกัคคตา ก็เกิดขึ้น นี้เรียกว่า ทุติยฌาน
สภาวธรรมที่เหลือชื่อว่าสัมปยุตด้วยฌาน (๒)
ตติยฌาน เป็นไฉน
ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญฌานที่เป็นโลกุตตระซึ่งเป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ ให้
ถึงนิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น เพราะปีติจางคลายไป ฯลฯ บรรลุ
ตติยฌานที่เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ฌานมีองค์ ๒
คือ สุข และเอกัคคตา ก็เกิดขึ้น นี้เรียกว่า ตติยฌาน สภาวธรรมที่เหลือชื่อว่า
สัมปยุตด้วยฌาน (๓)
จตุตถฌาน เป็นไฉน
ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญฌานที่เป็นโลกุตตระซึ่งเป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ ให้
ถึงนิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น บรรลุจตุตถฌานที่เป็นทุกขา-
ปฏิปทาทันธาภิญญา ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข เพราะละสุขและทุกข์ได้ ฯลฯ อยู่ในสมัย
ใด ในสมัยนั้น ฌานมีองค์ ๒ คือ อุเบกขา และเอกัคคตา ก็เกิดขึ้น นี้เรียกว่า
จตุตถฌาน สภาวธรรมที่เหลือชื่อว่าสัมปยุตด้วยฌาน (๔)
ฌานจตุกกนัย จบ

ฌานปัญจกนัย
[๖๒๙] ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญฌานที่เป็นโลกุตตระซึ่งเป็นเหตุนำออกจาก
วัฏฏทุกข์ให้ถึงนิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม ฯลฯ
บรรลุปฐมฌานที่เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ฌาน
มีองค์ ๕ คือ วิตก วิจาร ปีติ สุข และเอกัคคตา ก็เกิดขึ้น นี้เรียกว่า ปฐมฌาน
สภาวธรรมที่เหลือชื่อว่าสัมปยุตด้วยฌาน (๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๔๑๖ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๒.ฌานวิภังค์] ๒.อภิธรรมภาชนีย์ ๔.รูปาวจรวิบาก
ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญฌานที่เป็นโลกุตตระซึ่งเป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ให้
ถึงนิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกามและสภาวธรรมที่เป็น
อกุศลทั้งหลายแล้ว บรรลุทุติยฌานที่ไม่มีวิตกมีเพียงวิจาร มีปีติและสุขอันเกิดจาก
วิเวก เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ฌานมีองค์ ๔ คือ
วิจาร ปีติ สุข และเอกัคคตา ก็เกิดขึ้น นี้เรียกว่า ทุติยฌาน สภาวธรรมที่
เหลือชื่อว่าสัมปยุตด้วยฌาน (๒)
ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญฌานที่เป็นโลกุตตระซึ่งเป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ให้
ถึงนิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น เพราะวิตกวิจารสงบระงับไปแล้ว
ฯลฯ บรรลุตติยฌานที่เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น
ฌานมีองค์ ๓ คือ ปีติ สุข และเอกัคคตา ก็เกิดขึ้น นี้เรียกว่า ตติยฌาน
สภาวธรรมที่เหลือชื่อว่าสัมปยุตด้วยฌาน (๓)
ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญฌานที่เป็นโลกุตตระซึ่งเป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ให้
ถึงนิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น เพราะปีติจางคลายไป ฯลฯ
บรรลุจตุตถฌานที่เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ฌาน
มีองค์ ๒ คือ สุข และเอกัคคตา ก็เกิดขึ้น นี้เรียกว่า จตุตถฌาน สภาวธรรม
ที่เหลือชื่อว่าสัมปยุตด้วยฌาน (๔)
ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญฌานที่เป็นโลกุตตระซึ่งเป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ให้
ถึงนิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น บรรลุปัญจมฌานที่เป็นทุกขาปฏิปทา-
ทันธาภิญญา ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข เพราะละสุขและทุกข์ได้ ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ใน
สมัยนั้น ฌานมีองค์ ๒ คือ อุเบกขา และเอกัคคตา ก็เกิดขึ้น นี้เรียกว่า ปัญจมฌาน
สภาวธรรมที่เหลือชื่อว่าสัมปยุตด้วยฌาน (๕)
ฌานปัญจกนัย จบ

๔. รูปาวจรวิบาก
[๖๓๐] ฌาน ๔ คือ
๑. ปฐมฌาน ๒. ทุติยฌาน
๓. ตติยฌาน ๔. จตุตถฌาน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๔๑๗ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๒.ฌานวิภังค์] ๒.อภิธรรมภาชนีย์ ๕. อรูปาวจรวิบาก
[๖๓๑] บรรดาฌาน ๔ นั้น ปฐมฌาน เป็นไฉน
ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญมรรคเพื่อเข้าถึงรูปภพ สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุ
ปฐมฌานที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ
ก็เกิดขึ้น สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล
ภิกษุสงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌานที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ ซึ่งเป็น
วิบาก เพราะได้ทำได้สั่งสมรูปาวจรกุศลกรรมนั้นนั่นแหละ อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น
ฌาน มีองค์ ๕ คือ วิตก วิจาร ปีติ สุข และเอกัคคตา ก็เกิดขึ้น นี้เรียกว่า ปฐมฌาน
สภาวธรรมที่เหลือชื่อว่าสัมปยุตด้วยฌาน
ทุติยฌาน เป็นไฉน
ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญมรรคเพื่อเข้าถึงรูปภพ เพราะวิตกวิจารสงบระงับไป
แล้ว ฯลฯ บรรลุทุติยฌานที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ
ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล
เพราะวิตกวิจารสงบระงับไปแล้ว ฯลฯ บรรลุทุติยฌาน ฯลฯ บรรลุตติยฌาน
ฯลฯ บรรลุจตุตถฌาน ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน ฯลฯ บรรลุปัญจมฌานที่มีปฐวี-
กสิณเป็นอารมณ์ ซึ่งเป็นวิบาก เพราะได้ทำได้สั่งสมรูปาวจรกุศลกรรมนั้น
นั่นแหละ อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ฌานมีองค์ ๒ คือ อุเบกขา และเอกัคคตา
ก็เกิดขึ้น นี้เรียกว่า ปัญจมฌาน สภาวธรรมที่เหลือชื่อว่าสัมปยุตด้วยฌาน

๕. อรูปาวจรวิบาก
[๖๓๒] ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญมรรคเพื่อเข้าถึงอรูปภพ เพราะก้าวล่วง
อากิญจัญญายตนะได้โดยประการทั้งปวง ฯลฯ บรรลุจตุตถฌานที่สหรคตด้วย
เนวสัญญานาสัญญายตนสัญญา ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข เพราะละสุขและทุกข์ได้ ฯลฯ
อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น สภาวธรรมเหล่านี้
ชื่อว่าเป็นกุศล
เพราะก้าวล่วงอากิญจัญญายตนะได้โดยประการทั้งปวง ภิกษุบรรลุจตุตถฌาน
ที่สหรคตด้วยเนวสัญญานาสัญญายตนสัญญา ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข เพราะละสุขและ
ทุกข์ได้ ซึ่งเป็นวิบาก เพราะได้ทำได้สั่งสมอรูปาวจรกุศลกรรมนั้นนั่นแหละ ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๔๑๘ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๒. ฌานวิภังค์] ๒. อภิธรรมภาชนีย์ ๖. โลกุตตรวิบาก
อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ฌานมีองค์ ๒ คือ อุเบกขา และเอกัคคตา ก็เกิดขึ้น
นี้เรียกว่า จตุตถฌาน สภาวธรรมที่เหลือชื่อว่าสัมปยุตด้วยฌาน

๖. โลกุตตรวิบาก
[๖๓๓] ฌาน ๔ คือ
๑. ปฐมฌาน ๒. ทุติยฌาน
๓. ตติยฌาน ๔. จตุตถฌาน
[๖๓๔] บรรดาฌาน ๔ นั้น ปฐมฌาน เป็นไฉน
ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญฌานที่เป็นโลกุตตระซึ่งเป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ให้
ถึงนิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน
ที่เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ
ก็เกิดขึ้น สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล
ภิกษุสงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน ที่เป็นสุญญตะ เป็นทุกขาปฏิปทา-
ทันธาภิญญา ซึ่งเป็นวิบาก เพราะได้ทำได้เจริญฌานที่เป็นโลกุตตรกุศลนั้นนั่นแหละ
อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ฌานมีองค์ ๕ คือ วิตก วิจาร ปีติ สุข และเอกัคคตา
ก็เกิดขึ้น นี้เรียกว่า ปฐมฌาน สภาวธรรมที่เหลือชื่อว่าสัมปยุตด้วยฌาน
ทุติยฌาน เป็นไฉน
ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญฌานที่เป็นโลกุตตระซึ่งเป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ให้
ถึงนิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น เพราะวิตกวิจารสงบระงับไปแล้ว
ฯลฯ บรรลุทุติยฌานที่เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น
ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล
... เพราะวิตกวิจารสงบระงับไปแล้ว ฯลฯ บรรลุทุติยฌาน ฯลฯ บรรลุ
ตติยฌาน ฯลฯ บรรลุจตุตถฌาน ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน ฯลฯ บรรลุปัญจมฌาน
ที่เป็นสุญญตะ เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา ซึ่งเป็นวิบาก เพราะได้ทำได้เจริญ
ฌานที่เป็นโลกุตตรกุศลนั้นนั่นแหละ อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ฌานมีองค์ ๒ คือ
อุเบกขา และเอกัคคตา ก็เกิดขึ้น นี้เรียกว่า ปัญจมฌาน สภาวธรรมที่เหลือ
ชื่อว่าสัมปยุตด้วยฌาน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๔๑๙ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๒. ฌานวิภังค์] ๒. อภิธรรมภาชนีย์ ๗. รูปารูปาวจรกิริยา
๗. รูปารูปาวจรกิริยา
[๖๓๕] ฌาน ๔ คือ
๑. ปฐมฌาน ๒. ทุติยฌาน
๓. ตติยฌาน ๔. จตุตถฌาน
[๖๓๖] บรรดาฌาน ๔ นั้น ปฐมฌาน เป็นไฉน
ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญรูปาวจรฌานที่เป็นกิริยา ไม่เป็นกุศล ไม่เป็นอกุศล
และไม่เป็นวิบากแห่งกรรม เป็นธรรมเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน สงัดจากกาม
ฯลฯ บรรลุปฐมฌานที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ฌาน
มีองค์ ๕ คือ วิตก วิจาร ปีติ สุข และเอกัคคตา ก็เกิดขึ้น นี้เรียกว่า ปฐมฌาน
สภาวธรรมที่เหลือชื่อว่าสัมปยุตด้วยฌาน
ทุติยฌาน เป็นไฉน
ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญรูปาวจรฌานที่เป็นกิริยา ไม่เป็นกุศล ไม่เป็นอกุศล
และไม่เป็นวิบากแห่งกรรม เป็นธรรมเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน เพราะวิตกวิจาร
สงบระงับไปแล้ว ฯลฯ บรรลุทุติยฌาน ฯลฯ บรรลุตติยฌาน ฯลฯ บรรลุ
จตุตถฌาน ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน ฯลฯ บรรลุปัญจมฌานที่มีปฐวีกสิณเป็น
อารมณ์ อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ฌานมีองค์ ๒ คือ อุเบกขา และเอกัคคตา
ก็เกิดขึ้น นี้เรียกว่า ปัญจมฌาน สภาวธรรมที่เหลือชื่อว่าสัมปยุตด้วยฌาน
[๖๓๗] ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญอรูปาวจรฌานที่เป็นกิริยา ไม่เป็นกุศล ไม่
เป็นอกุศล และไม่เป็นวิบากแห่งกรรม เป็นธรรมเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน เพราะ
ก้าวล่วงอากิญจัญญายตนะได้โดยประการทั้งปวง บรรลุจตุตถฌานที่สหรคตด้วย
เนวสัญญานาสัญญายตนสัญญา ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข เพราะละสุขและทุกข์ได้ ฯลฯ
อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ฌานมีองค์ ๒ คือ อุเบกขา และเอกัคคตา ก็เกิดขึ้น
นี้เรียกว่า จตุตถฌาน สภาวธรรมที่เหลือชื่อว่าสัมปยุตด้วยฌาน

อภิธรรมภาชนีย์ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๔๒๐ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๒. ฌานวิภังค์] ๓. ปัญหาปุจฉกะ ๑. ติกมาติกาวิสัชนา
๓. ปัญหาปุจฉกะ
[๖๓๘] ฌาน ๔ ได้แก่ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. สงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌานที่มี
วิตก มีวิจาร มีปีติและสุข อันเกิดจากวิเวกอยู่
๒. ฯลฯ เพราะวิตกวิจารสงบระงับไปแล้ว บรรลุทุติยฌานที่มีความ
ผ่องใสในภายใน มีภาวะที่จิตเป็นหนึ่งผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร
มีแต่ปีติและสุข อันเกิดจากสมาธิอยู่
๓. ฯลฯ เพราะปีติจางคลายไป เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ
เสวยสุขด้วยนามกาย บรรลุตติยฌานที่พระอริยะทั้งหลายกล่าว
สรรเสริญว่า ผู้มีอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข ฯลฯ
๔. ฯลฯ เพราะโสมนัสและโทมนัสดับไปก่อนแล้วจึงบรรลุจตุตถฌาน
ที่ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข เพราะละสุขและทุกข์ได้ มีสติบริสุทธิ์เพราะ
อุเบกขาอยู่

ติกมาติกาปุจฉา ทุกมาติกาปุจฉา
[๖๓๙] บรรดาฌาน ๔ ฌานเท่าไรเป็นกุศล เท่าไรเป็นอกุศล เท่าไรเป็น
อัพยากฤต ฯลฯ เท่าไรเป็นเหตุให้สัตว์ร้องไห้ เท่าไรไม่เป็นเหตุให้สัตว์ร้องไห้

๑. ติกมาติกาวิสัชนา
๑-๒๒. กุสลติกาทิวิสัชนา
[๖๔๐] ฌาน ๔ ที่เป็นกุศลก็มี ที่เป็นอัพยากฤตก็มี
เว้นสุขเวทนาที่เกิดในฌานนี้แล้ว ฌาน ๓ สัมปยุตด้วยสุขเวทนา เว้น
อทุกขมสุขเวทนาที่เกิดในฌานนี้แล้ว จตุตถฌานสัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา
ฌาน ๔ ที่เป็นวิบากก็มี ที่เป็นเหตุให้เกิดวิบากก็มี ที่ไม่เป็นวิบากและไม่
เป็นเหตุให้เกิดวิบากก็มี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๔๒๑ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๒. ฌานวิภังค์] ๓. ปัญหาปุจฉกะ ๑. ติกมาติกาวิสัชนา
ฌาน ๔ ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือและเป็นอารมณ์ของ
อุปาทานก็มี ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือแต่เป็นอารมณ์ของ
อุปาทานก็มี ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือและไม่เป็นอารมณ์ของ
อุปาทานก็มี
ฌาน ๔ ที่กิเลสไม่ทำให้เศร้าหมองแต่เป็นอารมณ์ของกิเลสก็มี ที่กิเลสไม่
ทำให้เศร้าหมองและไม่เป็นอารมณ์ของกิเลสก็มี
เว้นวิตกและวิจารที่เกิดในฌานนี้แล้ว ปฐมฌานมีทั้งวิตกและวิจาร ฌาน ๓ ไม่
มีทั้งวิตกและวิจาร
เว้นปีติที่เกิดในฌานนี้แล้ว ฌาน ๒ สหรคตด้วยปีติ เว้นสุขที่เกิดในฌาน
นี้แล้ว ฌาน ๓ สหรคตด้วยสุข เว้นอุเบกขาที่เกิดในฌานนี้แล้ว จตุตถฌาน
สหรคตด้วยอุเบกขา
ฌาน ๔ ไม่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคและมรรคเบื้องบน ๓
ฌาน ๔ ไม่มีเหตุต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคและมรรคเบื้องบน ๓
ฌาน ๔ ที่เป็นเหตุให้ถึงปฏิสนธิและจุติก็มี ที่เป็นเหตุให้ถึงนิพพานก็มี ที่
ไม่เป็นเหตุให้ถึงปฏิสนธิ จุติ และนิพพานก็มี
ฌาน ๔ ที่เป็นของเสขบุคคลก็มี ที่เป็นของอเสขบุคคลก็มี ที่ไม่เป็นของ
เสขบุคคลและอเสขบุคคลก็มี
ฌาน ๔ ที่เป็นมหัคคตะก็มี ที่เป็นอัปปมาณะก็มี
ฌาน ๓ กล่าวไม่ได้ว่า มีปริตตะเป็นอารมณ์ หรือมีมหัคคตะเป็นอารมณ์
ฌาน ๔ ที่มีอัปปมาณะเป็นอารมณ์ก็มี ที่กล่าวไม่ได้ว่า มีอัปปมาณะเป็น
อารมณ์ก็มี จตุตถฌานที่มีปริตตะเป็นอารมณ์ก็มี ที่มีมหัคคตะเป็นอารมณ์ก็มี ที่
มีอัปปมาณะเป็นอารมณ์ก็มี ที่กล่าวไม่ได้ว่า มีปริตตะเป็นอารมณ์ มีมหัคคตะ
เป็นอารมณ์ หรือมีอัปปมาณะเป็นอารมณ์ก็มี
ฌาน ๔ ที่เป็นชั้นกลางก็มี ที่เป็นชั้นประณีตก็มี
ฌาน ๔ ที่มีสภาวะชอบและให้ผลแน่นอนก็มี ที่ให้ผลไม่แน่นอนก็มี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๔๒๒ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๒. ฌานวิภังค์] ๓. ปัญหาปุจฉกะ ๒. ทุกมาติกาวิสัชนา
ฌาน ๓ ไม่ใช่มีมรรคเป็นอารมณ์ ที่มีมรรคเป็นเหตุก็มี ที่มีมรรคเป็นอธิบดี
ก็มี ที่กล่าวไม่ได้ว่า มีมรรคเป็นเหตุ หรือมีมรรคเป็นอธิบดีก็มี จตุตถฌานที่มี
มรรคเป็นอารมณ์ก็มี ที่มีมรรคเป็นเหตุก็มี ที่มีมรรคเป็นอธิบดีก็มี ที่กล่าวไม่ได้ว่า
มีมรรคเป็นอารมณ์ มีมรรคเป็นเหตุ หรือมีมรรคเป็นอธิบดีก็มี
ฌาน ๔ ที่เกิดขึ้นก็มี ที่ยังไม่เกิดขึ้นก็มี ที่จักเกิดขึ้นแน่นอนก็มี
ฌาน ๔ ที่เป็นอดีตก็มี ที่เป็นอนาคตก็มี ที่เป็นปัจจุบันก็มี
ฌาน ๓ กล่าวไม่ได้ว่า มีอดีตธรรมเป็นอารมณ์ มีอนาคตธรรมเป็นอารมณ์
หรือมีปัจจุบันธรรมเป็นอารมณ์ จตุตถฌานที่มีอดีตธรรมเป็นอารมณ์ก็มี ที่มี
อนาคตธรรมเป็นอารมณ์ก็มี ที่มีปัจจุบันธรรมเป็นอารมณ์ก็มี ที่กล่าวไม่ได้ว่า มี
อดีตธรรมเป็นอารมณ์ มีอนาคตธรรมเป็นอารมณ์ หรือมีปัจจุบันธรรมเป็นอารมณ์
ก็มี
ฌาน ๔ ที่เป็นภายในตนก็มี ที่เป็นภายนอกตนก็มี ที่เป็นภายในตนและ
ภายนอกตนก็มี
ฌาน ๓ มีธรรมภายนอกตนเป็นอารมณ์ จตุตถฌานที่มีธรรมภายในตนเป็น
อารมณ์ก็มี มีธรรมภายนอกตนเป็นอารมณ์ก็มี มีธรรมภายในตนและภายนอกตน
เป็นอารมณ์ก็มี ที่กล่าวไม่ได้ว่า มีธรรมภายในตนเป็นอารมณ์ มีธรรมภายนอก
ตนเป็นอารมณ์ หรือมีธรรมภายในตนและภายนอกตนเป็นอารมณ์ก็มี
ฌาน ๔ เห็นไม่ได้และกระทบไม่ได้

๒. ทุกมาติกาวิสัชนา
๑. เหตุโคจฉกวิสัชนา
[๖๔๑] ฌาน ๔ ไม่เป็นเหตุ ฌาน ๔ มีเหตุ
ฌาน ๔ สัมปยุตด้วยเหตุ ฌาน ๔ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นเหตุและมีเหตุ
ฌาน ๔ มีเหตุแต่ไม่เป็นเหตุ ฌาน ๔ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นเหตุและสัมปยุต
ด้วยเหตุ
ฌาน ๔ สัมปยุตด้วยเหตุแต่ไม่เป็นเหตุ ฌาน ๔ ไม่เป็นเหตุแต่มีเหตุ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๔๒๓ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๒.ฌานวิภังค์] ๓.ปัญหาปุจฉกะ ๒.ทุกมาติกาวิสัชนา
๒. จูฬันตรทุกวิสัชนา
ฌาน ๔ มีปัจจัยปรุงแต่ง ฌาน ๔ ถูกปัจจัยปรุงแต่ง
ฌาน ๔ เห็นไม่ได้ ฌาน ๔ กระทบไม่ได้
ฌาน ๔ ไม่เป็นรูป ฌาน ๔ ที่เป็นโลกิยะก็มี ที่เป็นโลกุตตระก็มี
ฌาน ๔ จิตบางดวงรู้ได้ ฌาน ๔ จิตบางดวงรู้ไม่ได้

๓.อาสวโคจฉกวิสัชนา
ฌาน ๔ ไม่เป็นอาสวะ ฌาน ๔ ที่เป็นอารมณ์ของอาสวะก็มี ที่ไม่เป็น
อารมณ์ของอาสวะก็มี
ฌาน ๔ วิปปยุตจากอาสวะ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นอาสวะและเป็นอารมณ์ของ
อาสวะ
ฌาน ๔ ที่เป็นอารมณ์ของอาสวะแต่ไม่เป็นอาสวะก็มี ที่กล่าวไม่ได้ว่า เป็น
อารมณ์ของอาสวะแต่ไม่เป็นอาสวะก็มี
ฌาน ๔ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นอาสวะและสัมปยุตด้วยอาสวะ หรือสัมปยุต
ด้วยอาสวะแต่ไม่เป็นอาสวะ
ฌาน ๔ ที่วิปปยุตจากอาสวะแต่เป็นอารมณ์ของอาสวะก็มี ที่วิปปยุตจาก
อาสวะและไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะก็มี

๔-๙. สัญโญชนโคจฉกาทิวิสัชนา
ฌาน ๔ ไม่เป็นสังโยชน์ ฯลฯ ไม่เป็นคันถะ ฯลฯ ไม่เป็นโอฆะ ฯลฯ
ไม่เป็นโยคะ ฯลฯ ไม่เป็นนิวรณ์ ฯลฯ ไม่เป็นปรามาส ฯลฯ

๑๐. มหันตรทุกวิสัชนา
ฌาน ๔ รับรู้อารมณ์ได้ ฌาน ๔ ไม่เป็นจิต
ฌาน ๔ เป็นเจตสิก ฌาน ๔ สัมปยุตด้วยจิต
ฌาน ๔ ระคนกับจิต ฌาน ๔ มีจิตเป็นสมุฏฐาน
ฌาน ๔ เกิดพร้อมกับจิต ฌาน ๔ เป็นไปตามจิต
ฌาน ๔ ระคนกับจิตและมีจิตเป็นสมุฏฐาน ฌาน ๔ ระคนกับจิตมีจิตเป็น
สมุฏฐานและเกิดพร้อมกับจิต


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๔๒๔ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๒.ฌานวิภังค์] ๓.ปัญหาปุจฉกะ ๒.ทุกมาติกาวิสัชนา
ฌาน ๔ ระคนกับจิตมีจิตเป็นสมุฏฐานและเป็นไปตามจิต ฌาน ๔ เป็น
ภายนอก
ฌาน ๔ ไม่เป็นอุปาทายรูป ฌาน ๔ ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและ
ทิฏฐิยึดถือก็มี ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือก็มี

๑๑-๑๒. อุปาทานโคจฉกาทิวิสัชนา
ฌาน ๔ ไม่เป็นอุปาทาน ฯลฯ ไม่เป็นกิเลส ฯลฯ

๑๓. ปิฏฐิทุกวิสัชนา
ฌาน ๔ ไม่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคและมรรคเบื้องบน ๓
ฌาน ๔ ไม่มีเหตุต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคและมรรคเบื้องบน ๓
เว้นวิตกที่เกิดในฌานนี้แล้ว ปฐมฌานมีวิตก ฌาน ๓ ไม่มีวิตก เว้นวิจาร
ที่เกิดในฌานนี้แล้ว ปฐมฌานมีวิจาร ฌาน ๓ ไม่มีวิจาร เว้นปีติที่เกิดในฌานนี้แล้ว
ฌาน ๒ มีปีติ ฌาน ๒ ไม่มีปีติ เว้นปีติที่เกิดในฌานนี้แล้ว ฌาน ๒ สหรคตด้วยปีติ
ฌาน ๒ ไม่สหรคตด้วยปีติ
เว้นสุขที่เกิดในฌานนี้แล้ว ฌาน ๓ สหรคตด้วยสุข จตุตถฌานไม่สหรคตด้วย
สุข เว้นอุเบกขาที่เกิดในฌานนี้แล้ว จตุตถฌานสหรคตด้วยอุเบกขา ฌาน ๓ ไม่
สหรคตด้วยอุเบกขา
ฌาน ๔ ไม่เป็นกามาวจร ฌาน ๔ ที่เป็นรูปาวจรก็มี ที่ไม่เป็นรูปาวจรก็มี
ฌาน ๓ ไม่เป็นอรูปาวจร จตุตถฌานที่เป็นอรูปาวจรก็มี ที่ไม่เป็นอรูปาวจร
ก็มี ฌาน ๔ ที่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ก็มี ที่ไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ก็มี
ฌาน ๔ ที่เป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ก็มี ที่ไม่เป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์
ก็มี ฌาน ๔ ที่ให้ผลแน่นอนก็มี ที่ให้ผลไม่แน่นอนก็มี
ฌาน ๔ ที่มีธรรมอื่นยิ่งกว่าก็มี ที่ไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่าก็มี ฌาน ๔ ไม่เป็น
เหตุให้สัตว์ร้องไห้

ปัญหาปุจฉกะ จบ

ฌานวิภังค์ จบบริบูรณ์


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๔๒๕ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๓. อัปปมัญญาวิภังค์] ๑. สุตตันตภาชนีย์
๑๓. อัปปมัญญาวิภังค์
๑. สุตตันตภาชนีย์
[๖๔๒] อัปปมัญญา ๔ ได้แก่ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. มีจิตสหรคตด้วยเมตตาแผ่ไปตลอดทิศหนึ่งอยู่ ทิศที่ ๒ ก็เช่น
นั้น ทิศที่ ๓ ทิศที่ ๔ ก็เช่นนั้น ทิศเบื้องบน ทิศเบื้องต่ำ
ทิศเฉียงก็เช่นเดียวกัน มีจิตสหรคตด้วยเมตตาอันไพบูลย์ กว้าง
ขวาง หาประมาณมิได้ ไม่มีเวร ไม่มีพยาบาท แผ่ไปยังสัตว์โลก
ทั้งปวง เพราะเป็นผู้มีจิตเสมอในสัตว์ทุกหมู่เหล่าในที่ทั้งปวงอยู่
๒. มีจิตสหรคตด้วยกรุณาแผ่ไปตลอดทิศหนึ่งอยู่ ทิศที่ ๒ ก็เช่น
นั้น ทิศที่ ๓ ทิศที่ ๔ ก็เช่นนั้น ทิศเบื้องบน ทิศเบื้องต่ำ
ทิศเฉียงก็เช่นเดียวกัน มีจิตสหรคตด้วยกรุณาอันไพบูลย์ กว้างขวาง
หาประมาณมิได้ ไม่มีเวร ไม่มีพยาบาท แผ่ไปยังสัตว์โลกทั้งปวง
เพราะเป็นผู้มีจิตเสมอในสัตว์ทุกหมู่เหล่าในที่ทั้งปวงอยู่
๓. มีจิตสหรคตด้วยมุทิตาแผ่ไปตลอดทิศหนึ่งอยู่ ทิศที่ ๒ ก็เช่น
นั้น ทิศที่ ๓ ทิศที่ ๔ ก็เช่นนั้น ทิศเบื้องบน ทิศเบื้องต่ำ ทิศ
เฉียง ก็เช่นเดียวกัน มีจิตสหรคตด้วยมุทิตาอันไพบูลย์ กว้างขวาง
หาประมาณมิได้ ไม่มีเวร ไม่มีพยาบาท แผ่ไปยังสัตว์โลกทั้งปวง
เพราะเป็นผู้มีจิตเสมอในสัตว์ทุกหมู่เหล่าในที่ทั้งปวงอยู่
๔. มีจิตสหรคตด้วยอุเบกขาแผ่ไปตลอดทิศหนึ่งอยู่ ทิศที่ ๒ ก็เช่น
นั้น ทิศที่ ๓ ทิศที่ ๔ ก็เช่นนั้น ทิศเบื้องบน ทิศเบื้องต่ำ ทิศเฉียง
ก็เช่นเดียวกัน มีจิตสหรคตด้วยอุเบกขาอันไพบูลย์ กว้างขวาง
หาประมาณมิได้ ไม่มีเวร ไม่มีพยาบาท แผ่ไปยังสัตว์โลกทั้งปวง
เพราะเป็นผู้มีจิตเสมอในสัตว์ทุกหมู่เหล่าในที่ทั้งปวงอยู่๑

เชิงอรรถ :
๑ ที.ปา. ๑๑/๓๐๘/๒๐๐, ม.มู. ๑๒/๔๓๘/๓๘๕, อภิ.วิ. ๓๕/๖๙๙/๓๔๖

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๔๒๖ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๒.ฌานวิภังค์] ๑.สุตตันตภาชนีย์ ๑.เมตตาอัปปมัญญานิทเทส
๑. เมตตาอัปปมัญญานิทเทส
[๖๔๓] มีจิตสหรคตด้วยเมตตาแผ่ไปตลอดทิศหนึ่งอยู่ เป็นไฉน
ภิกษุมีจิตสหรคตด้วยเมตตาแผ่ไปยังสัตว์โลกทั้งปวง เหมือนคนเห็นคนผู้หนึ่ง
ผู้เป็นที่รักเป็นที่ชอบใจแล้วพึงรักใคร่ฉะนั้น
บรรดาคำเหล่านั้น เมตตา เป็นไฉน
ความรักใคร่ กิริยาที่รักใคร่ ภาวะที่รักใคร่ในสัตว์ทั้งหลาย เมตตาเจโตวิมุตติ
นี้เรียกว่า เมตตา
จิต เป็นไฉน
จิต มโน มานัส หทัย ปัณฑระ มโน มนายตนะ มนินทรีย์ วิญญาณ
วิญญาณขันธ์ และมโนวิญญาณธาตุที่เหมาะสมกัน นี้เรียกว่า จิต
จิตนี้เป็นธรรมชาติสหรคต เกิดพร้อม ระคน สัมปยุตด้วยเมตตานี้ เพราะ
ฉะนั้นจึงชื่อว่า มีจิตสหรคตด้วยเมตตา
[๖๔๔] คำว่า ทิศหนึ่ง อธิบายว่า ทิศตะวันออก ทิศตะวันตก ทิศเหนือ
ทิศใต้ ทิศเบื้องบน ทิศเบื้องต่ำ ทิศเฉียง หรือทิศต่าง ๆ
[๖๔๕] คำว่า แผ่ไป อธิบายว่า กระจายออกไป น้อมจิตไป
[๖๔๖] คำว่า อยู่ อธิบายว่า สืบเนื่องกันอยู่ ดำเนินไปอยู่ รักษาอยู่ เป็น
ไปอยู่ ให้เป็นไปอยู่ เที่ยวไปอยู่ พักอยู่ เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า อยู่
[๖๔๗] คำว่า ทิศที่ ๒ ก็เช่นนั้น อธิบายว่า ทิศหนึ่งฉันใด ทิศที่ ๒ ทิศที่
๓ ทิศที่ ๔ ทิศเบื้องบน ทิศเบื้องต่ำ ทิศเฉียง ทิศต่าง ๆ ก็เช่นนั้น
[๖๔๘] คำว่า สัตว์โลกทั้งปวง เพราะเป็นผู้มีจิตเสมอในสัตว์ทุกหมู่เหล่า
ในที่ทั้งปวง อธิบายว่า คำว่า สัตว์โลกทั้งปวง เพราะเป็นผู้มีจิตเสมอในสัตว์ทุก
หมู่เหล่าในที่ทั้งปวง นี้เป็นคำกล่าวกำหนดเอาสัตว์ทั้งหมด โดยประการทั้งปวง
ไม่มีส่วนเหลือ หาส่วนเหลือมิได้


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๔๒๗ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๓.อัปปมัญญาวิภังค์] ๑.สุตตันตภาชนีย์ ๒.กรุณาอัปปมัญญานิทเทส
[๖๔๙] ในคำว่า มีจิตสหรคตด้วยเมตตา นั้น เมตตา เป็นไฉน
ความรักใคร่ กิริยาที่รักใคร่ ภาวะที่รักใคร่ในสัตว์ทั้งหลาย เมตตาเจโตวิมุตติ
นี้เรียกว่า เมตตา
จิต เป็นไฉน
จิต มโน มานัส ฯลฯ มโนวิญญาณธาตุที่เหมาะสมกัน นี้เรียกว่า จิต
จิตนี้เป็นธรรมชาติสหรคต เกิดพร้อม ระคน สัมปยุตด้วยเมตตานี้ เพราะ
ฉะนั้นจึงชื่อว่า มีจิตสหรคตด้วยเมตตา
[๖๕๐] คำว่า ไพบูลย์ อธิบายว่า จิตใดไพบูลย์ จิตนั้นกว้างขวาง จิตใด
กว้างขวาง จิตนั้นหาประมาณมิได้ จิตใดหาประมาณมิได้ จิตนั้นไม่มีเวร จิตใด
ไม่มีเวร จิตนั้นไม่มีพยาบาท
[๖๕๑] คำว่า แผ่ไป อธิบายว่า กระจายออกไป น้อมจิตไป
[๖๕๒] คำว่า อยู่ อธิบายว่า สืบเนื่องกันอยู่ ฯลฯ พักอยู่ เพราะฉะนั้น
จึงชื่อว่า อยู่

๒. กรุณาอัปปมัญญานิทเทส
[๖๕๓] มีจิตสหรคตด้วยกรุณาแผ่ไปตลอดทิศหนึ่งอยู่ เป็นไฉน
ภิกษุมีจิตสหรคตด้วยกรุณาแผ่ไปยังสัตว์โลกทั้งปวง เหมือนบุคคลเห็นคน
ผู้หนึ่งผู้ตกทุกข์ได้ยากแล้วพึงสงสารฉะนั้น
บรรดาคำเหล่านั้น กรุณา เป็นไฉน
ความสงสาร กิริยาที่สงสาร ภาวะที่สงสารในสัตว์ทั้งหลาย กรุณาเจโตวิมุตติ
นี้เรียกว่า กรุณา
จิต เป็นไฉน
จิต มโน มานัส ฯลฯ มโนวิญญาณธาตุที่เหมาะสมกัน นี้เรียกว่า จิต
จิตนี้เป็นธรรมชาติสหรคต เกิดพร้อม ระคน สัมปยุตด้วยกรุณานี้ เพราะ
ฉะนั้นจึงชื่อว่า มีจิตที่สหรคตด้วยกรุณา


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๔๒๘ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๓.อัปปมัญญาวิภังค์] ๑.สุตตันตภาชนีย์ ๒.กรุณาอัปปมัญญานิทเทส
[๖๕๔] คำว่า ทิศหนึ่ง อธิบายว่า ทิศตะวันออก ทิศตะวันตก ทิศเหนือ
ทิศใต้ ทิศเบื้องบน ทิศเบื้องต่ำ ทิศเฉียง หรือทิศต่าง ๆ
[๖๕๕] คำว่า แผ่ไป อธิบายว่า กระจายออกไป น้อมจิตไป
[๖๕๖] คำว่า อยู่ อธิบายว่า สืบเนื่องกันอยู่ ดำเนินไปอยู่ รักษาอยู่
เป็นไปอยู่ ให้เป็นไปอยู่ เที่ยวไปอยู่ พักอยู่ เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่าอยู่
[๖๕๗] คำว่า ทิศที่ ๒ ก็เช่นนั้น อธิบายว่า ทิศหนึ่งฉันใด ทิศที่ ๒ ทิศที่
๓ ทิศที่ ๔ ทิศเบื้องบน ทิศเบื้องต่ำ ทิศเฉียง ทิศต่าง ๆ ก็เช่นนั้น
[๖๕๘] คำว่า สัตว์โลกทั้งปวง เพราะเป็นผู้มีจิตเสมอในสัตว์ทุกหมู่เหล่า
ในที่ทั้งปวง อธิบายว่า คำว่า สัตว์โลกทั้งปวง เพราะเป็นผู้มีจิตเสมอในสัตว์ทุก
หมู่เหล่าในที่ทั้งปวง นี้เป็นคำกล่าวกำหนดเอาสัตว์ทั้งหมดโดยประการทั้งปวง ไม่
มีส่วนเหลือ หาส่วนเหลือมิได้
[๖๕๙] ในคำว่า มีจิตสหรคตด้วยกรุณา นั้น กรุณา เป็นไฉน
ความสงสาร กิริยาที่สงสาร ภาวะที่สงสารในสัตว์ทั้งหลาย กรุณาเจโตวิมุตติ
นี้เรียกว่า กรุณา
จิต เป็นไฉน
จิต มโน มานัส ฯลฯ มโนวิญญาณธาตุที่เหมาะสมกัน นี้เรียกว่า จิต
จิตนี้ เป็นธรรมชาติสหรคต เกิดพร้อม ระคน สัมปยุตด้วยกรุณานี้ เพราะ
ฉะนั้นจึงชื่อว่า มีจิตสหรคตด้วยกรุณา
[๖๖๐] คำว่า ไพบูลย์ อธิบายว่า จิตใดไพบูลย์ จิตนั้นกว้างขวาง จิตใด
กว้างขวาง จิตนั้นหาประมาณมิได้ จิตใดหาประมาณมิได้ จิตนั้นไม่มีเวร จิตใด
ไม่มีเวร จิตนั้นไม่มีพยาบาท
[๖๖๑] คำว่า แผ่ไป อธิบายว่า กระจายออกไป น้อมจิตไป
[๖๖๒] คำว่า อยู่ อธิบายว่า สืบเนื่องกันอยู่ ฯลฯ พักอยู่ เพราะฉะนั้น
จึงชื่อว่าอยู่


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๔๒๙ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๓. อัปปมัญญาวิภังค์] ๑. สุตตันตภาชนีย์ ๓. มุทิตาอัปปมัญญานิทเทส
๓. มุทิตาอัปปมัญญานิทเทส
[๖๖๓] มีจิตสหรคตด้วยมุทิตาแผ่ไปตลอดทิศหนึ่งอยู่ เป็นไฉน
ภิกษุมีจิตสหรคตด้วยมุทิตาไปยังสัตว์โลกทั้งปวง เหมือนบุคคลเห็นคนผู้หนึ่ง
ผู้เป็นที่รักชอบใจแล้วพลอยยินดีฉะนั้น
บรรดาคำเหล่านั้น มุทิตา เป็นไฉน
ความพลอยยินดี กิริยาที่พลอยยินดี ภาวะที่พลอยยินดีในสัตว์ทั้งหลาย นี้
เรียกว่า มุทิตา
จิต เป็นไฉน
จิต มโน มานัส ฯลฯ มโนวิญญาณธาตุที่เหมาะสมกัน นี้เรียกว่า จิต
จิตนี้เป็นธรรมชาติสหรคต เกิดพร้อม ระคน สัมปยุตด้วยมุทิตานี้ เพราะ
ฉะนั้นจึงชื่อว่า มีจิตที่สหรคตด้วยมุทิตา
[๖๖๔] คำว่า ทิศหนึ่ง อธิบายว่า ทิศตะวันออก ทิศตะวันตก ทิศเหนือ
ทิศใต้ ทิศเบื้องบน ทิศเบื้องต่ำ ทิศเฉียง หรือทิศต่าง ๆ
[๖๖๕] คำว่า แผ่ไป อธิบายว่า กระจายออกไป น้อมจิตไป
[๖๖๖] คำว่า อยู่ อธิบายว่า สืบเนื่องกันอยู่ ฯลฯ พักอยู่ เพราะฉะนั้น
จึงชื่อว่าอยู่
[๖๖๗] คำว่า ทิศที่ ๒ ก็เช่นนั้น อธิบายว่า ทิศหนึ่งฉันใด ทิศที่ ๒ ทิศที่
๓ ทิศที่ ๔ ทิศเบื้องบน ทิศเบื้องต่ำ ทิศเฉียง หรือทิศต่าง ๆ ก็เช่นนั้น
[๖๖๘] คำว่า สัตว์โลกทั้งปวง เพราะเป็นผู้มีจิตเสมอในสัตว์ทุกหมู่เหล่า
ในที่ทั้งปวง อธิบายว่า คำว่า สัตว์โลกทั้งปวง เพราะเป็นผู้มีจิตเสมอในสัตว์
ทุกหมู่เหล่าในที่ทั้งปวง นี้ เป็นคำกล่าวกำหนดเอาสัตว์ทั้งหมดโดยประการทั้งปวง
ไม่มีส่วนเหลือ หาส่วนเหลือมิได้
[๖๖๙] ในคำว่า มีจิตสหรคตด้วยมุทิตา นั้น มุทิตา เป็นไฉน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๔๓๐ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๓.อัปปมัญญาวิภังค์] ๑.สุตตันตภาชนีย์ ๔.อุเปกขาอัปปมัญญานิทเทส
ความพลอยยินดี กิริยาที่พลอยยินดี ภาวะที่พลอยยินดีในสัตว์ทั้งหลาย
มุทิตาเจโตวิมุตติ นี้ชื่อว่ามุทิตา
จิต เป็นไฉน
จิต มโน มานัส ฯลฯ มโนวิญญาณธาตุที่เหมาะสมกัน นี้เรียกว่า จิต
จิตนี้เป็นธรรมชาติสหรคต เกิดพร้อม ระคน สัมปยุตด้วยมุทิตานี้ เพราะ
ฉะนั้นจึงชื่อว่ามีจิตสหรคตด้วยมุทิตา
[๖๗๐] คำว่า ไพบูลย์ อธิบายว่า จิตใดไพบูลย์ จิตนั้นกว้างขวาง จิตใด
กว้างขวาง จิตนั้นหาประมาณมิได้ จิตใดหาประมาณมิได้ จิตนั้นไม่มีเวร จิตใด
ไม่มีเวร จิตนั้นไม่มีพยาบาท
[๖๗๑] คำว่า แผ่ไป อธิบายว่า กระจายออกไป น้อมจิตไป
[๖๗๒] คำว่า อยู่ อธิบายว่า สืบเนื่องกันอยู่ ฯลฯ พักอยู่ เพราะฉะนั้น
จึงชื่อว่าอยู่

๔. อุเปกขาอัปปมัญญานิทเทส
[๖๗๓] มีจิตสหรคตด้วยอุเบกขาแผ่ไปตลอดทิศหนึ่งอยู่ เป็นไฉน
ภิกษุมีจิตสหรคตด้วยอุเบกขาแผ่ไปยังสัตว์โลกทั้งปวง เหมือนบุคคลเห็นคน
ผู้หนึ่งผู้เป็นที่ชอบใจก็ไม่ใช่ ไม่เป็นที่ชอบใจก็ไม่ใช่ แล้วเป็นผู้มีอุเบกขาฉะนั้น
บรรดาคำเหล่านั้น อุเบกขา เป็นไฉน
ความวางเฉย กิริยาที่วางเฉย ภาวะที่วางเฉยในสัตว์ทั้งหลาย อุเปกขาเจโต-
วิมุตติ นี้เรียกว่า อุเบกขา
จิต เป็นไฉน
จิต มโน มานัส ฯลฯ มโนวิญญาณธาตุที่เหมาะสมกัน นี้เรียกว่า จิต
จิตนี้เป็นธรรมชาติสหรคต เกิดพร้อม ระคน สัมปยุตด้วยอุเบกขานี้ เพราะ
ฉะนั้นจึงชื่อว่ามีจิตสหรคตด้วยอุเบกขา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๔๓๑ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๓.อัปปมัญญาวิภังค์] ๑.สุตตันตภาชนีย์ ๔.อุเปกขาอัปปมัญญานิทเทส
[๖๗๔] คำว่า ทิศหนึ่ง อธิบายว่า ทิศตะวันออก ทิศตะวันตก ทิศเหนือ
ทิศใต้ ทิศเบื้องบน ทิศเบื้องต่ำ ทิศเฉียง หรือทิศต่าง ๆ
[๖๗๕] คำว่า แผ่ไป อธิบายว่า กระจายออกไป น้อมจิตไป
[๖๗๖] คำว่า อยู่ อธิบายว่า สืบเนื่องกันอยู่ ฯลฯ พักอยู่ เพราะฉะนั้นจึง
ชื่อว่าอยู่
[๖๗๗] คำว่า ทิศที่ ๒ ก็เช่นนั้น อธิบายว่า ทิศหนึ่งฉันใด ทิศที่ ๒ ทิศ
ที่ ๓ ทิศที่ ๔ ทิศเบื้องบน ทิศเบื้องต่ำ ทิศเฉียง ทิศต่าง ๆ ก็เช่นนั้น
[๖๗๘] คำว่า สัตว์โลกทั้งปวง เพราะเป็นผู้มีจิตเสมอในสัตว์ทุกหมู่เหล่า
ในที่ทั้งปวง อธิบายว่า คำว่า สัตว์โลกทั้งปวง เพราะเป็นผู้มีจิตเสมอในสัตว์ทุก
หมู่เหล่าในที่ทั้งปวง นี้ เป็นคำกล่าวกำหนดเอาสัตว์ทั้งหมดโดยประการทั้งปวง
ไม่มีส่วนเหลือ หาส่วนเหลือมิได้
[๖๗๙] ในคำว่า มีจิตสหรคตด้วยอุเบกขา นั้น อุเบกขา เป็นไฉน
ความวางเฉย กิริยาที่วางเฉย ภาวะที่วางเฉยในสัตว์ทั้งหลาย อุเปกขา-
เจโตวิมุตติ นี้เรียกว่า อุเบกขา
จิต เป็นไฉน
จิต มโน มานัส ฯลฯ มโนวิญญาณธาตุที่เหมาะสมกัน นี้เรียกว่า จิต
จิตนี้เป็นธรรมชาติสหรคต เกิดพร้อม ระคน สัมปยุตด้วยอุเบกขานี้ เพราะ
ฉะนั้นจึงชื่อว่ามีจิตที่สหรคตด้วยอุเบกขา
[๖๘๐] คำว่า ไพบูลย์ อธิบายว่า จิตใดไพบูลย์ จิตนั้นกว้างขวาง จิตใด
กว้างขวาง จิตนั้นหาประมาณมิได้ จิตใดหาประมาณมิได้ จิตนั้นไม่มีเวร จิตใด
ไม่มีเวร จิตนั้นไม่มีพยาบาท
[๖๘๑] คำว่า แผ่ไป อธิบายว่า กระจายออกไป น้อมจิตไป
[๖๘๒] คำว่า อยู่ อธิบายว่า สืบเนื่องกันอยู่ ฯลฯ พักอยู่ เพราะฉะนั้น
จึงชื่อว่าอยู่
สุตตันตภาชนีย์ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๔๓๒ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๓.อัปปมัญญาวิภังค์] ๒.อภิธรรมภาชนีย์
๒. อภิธรรมภาชนีย์
[๖๘๓] อัปปมัญญา ๔ คือ

๑. เมตตา (ความรักใคร่) ๒. กรุณา (ความสงสาร)
๓. มุทิตา (ความพลอยยินดี) ๔. อุเบกขา (ความวางเฉย)

เมตตากุศลฌานจตุกกนัย
[๖๘๔] บรรดาอัปปมัญญา ๔ นั้น เมตตา เป็นไฉน
ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญมรรคเพื่อเข้าถึงรูปภพ สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุ
ปฐมฌานที่สหรคตด้วยเมตตา อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ความรักใคร่ กิริยาที่รักใคร่
ภาวะที่รักใคร่ เมตตาเจโตวิมุตติ นี้เรียกว่า เมตตา สภาวธรรมที่เหลือชื่อว่าสัมปยุต
ด้วยเมตตา (๑)
เมตตา เป็นไฉน
ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญมรรคเพื่อเข้าถึงรูปภพ เพราะวิตกวิจารสงบระงับไปแล้ว
ฯลฯ บรรลุทุติยฌานที่สหรคตด้วยเมตตา อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ความรักใคร่
กิริยาที่รักใคร่ ภาวะที่รักใคร่ เมตตาเจโตวิมุตติ นี้เรียกว่า เมตตา สภาวธรรม
ที่เหลือชื่อว่าสัมปยุตด้วยเมตตา (๒)
เมตตา เป็นไฉน
ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญมรรคเพื่อเข้าถึงรูปภพ เพราะปีติจางคลายไป ฯลฯ
บรรลุตติยฌานที่สหรคตด้วยเมตตา อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ความรักใคร่ กิริยา
ที่รักใคร่ ภาวะที่รักใคร่ เมตตาเจโตวิมุตติ นี้เรียกว่า เมตตา สภาวธรรมที่เหลือ
ชื่อว่าสัมปยุตด้วยเมตตา (๓)

เมตตากุศลฌานปัญจกนัย
[๖๘๕] ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญมรรคเพื่อเข้าถึงรูปภพ สงัดจากกาม ฯลฯ
บรรลุปฐมฌานที่สหรคตด้วยเมตตา อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ความรักใคร่ กิริยาที่
รักใคร่ ภาวะที่รักใคร่ เมตตาเจโตวิมุตติ นี้เรียกว่า เมตตา สภาวธรรมที่เหลือชื่อว่า
สัมปยุตด้วยเมตตา (๑-๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๔๓๓ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๓.อัปปมัญญาวิภังค์] ๒.อภิธรรมภาชนีย์
ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญมรรคเพื่อเข้าถึงรูปภพ สงัดจากกามและสภาวธรรม
ที่เป็นอกุศลทั้งหลายแล้ว บรรลุทุติยฌานที่สหรคตด้วยเมตตา ไม่มีวิตกมีเพียงวิจาร
มีปีติและสุขอันเกิดจากวิเวก อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ความรักใคร่ กิริยาที่รักใคร่
ภาวะที่รักใคร่ เมตตาเจโตวิมุตติ นี้เรียกว่า เมตตา สภาวธรรมที่เหลือชื่อว่า
สัมปยุตด้วยเมตตา (๒-๕)
ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญมรรคเพื่อเข้าถึงรูปภพ เพราะวิตกวิจารสงบระงับ
ไปแล้ว ฯลฯ บรรลุตติยฌานที่สหรคตด้วยเมตตา อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ความ
รักใคร่ กิริยาที่รักใคร่ ภาวะที่รักใคร่ เมตตาเจโตวิมุตติ นี้เรียกว่า เมตตา สภาวธรรม
ที่เหลือชื่อว่าสัมปยุตด้วยเมตตา (๓-๖)
ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญมรรคเพื่อเข้าถึงรูปภพ เพราะปีติจางคลายไป ฯลฯ
บรรลุจตุตถฌานที่สหรคตด้วยเมตตา อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ความรักใคร่ กิริยา
ที่รักใคร่ ภาวะที่รักใคร่ เมตตาเจโตวิมุตติ นี้เรียกว่า เมตตา สภาวธรรมที่เหลือ
ชื่อว่าสัมปยุตด้วยเมตตา (๔-๗)

กรุณากุศลฌานจตุกกนัย
[๖๘๖] กรุณา เป็นไฉน
ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญมรรคเพื่อเข้าถึงรูปภพ สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุ
ปฐมฌานที่สหรคตด้วยกรุณา อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ความสงสาร กิริยาที่สงสาร
ภาวะที่สงสาร กรุณาเจโตวิมุตติ นี้เรียกว่า กรุณา สภาวธรรมที่เหลือชื่อว่าสัมปยุต
ด้วยกรุณา (๑)
กรุณา เป็นไฉน
ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญมรรคเพื่อเข้าถึงรูปภพ เพราะวิตกวิจารสงบระงับไป
แล้ว ฯลฯ บรรลุทุติยฌานที่สหรคตด้วยกรุณา อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ความ
สงสาร กิริยาที่สงสาร ภาวะที่สงสาร กรุณาเจโตวิมุตติ นี้เรียกว่า กรุณา สภาวธรรม
ที่เหลือชื่อว่าสัมปยุตด้วยกรุณา (๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๔๓๔ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๓.อัปปมัญญาวิภังค์] ๒.อภิธรรมภาชนีย์
กรุณา เป็นไฉน
ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญมรรคเพื่อเข้าถึงรูปภพ เพราะปีติจางคลายไป ฯลฯ
บรรลุตติยฌานที่สหรคตด้วยกรุณา อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ความสงสาร
กิริยาที่สงสาร ภาวะที่สงสาร กรุณาเจโตวิมุตติ นี้เรียกว่า กรุณา สภาวธรรมที่
เหลือชื่อว่าสัมปยุตด้วยกรุณา (๓)

กรุณากุศลฌานปัญจกนัย
[๖๘๗] ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญมรรคเพื่อเข้าถึงรูปภพ สงัดจากกาม ฯลฯ
บรรลุปฐมฌานที่สหรคตด้วยกรุณา อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ความสงสาร
กิริยาที่สงสาร ภาวะที่สงสาร กรุณาเจโตวิมุตติ นี้เรียกว่า กรุณา สภาวธรรมที่
เหลือชื่อว่าสัมปยุตด้วยกรุณา (๑-๔)
ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญมรรคเพื่อเข้าถึงรูปภพ สงัดจากกามและสภาว-
ธรรมที่เป็นอกุศลทั้งหลายแล้ว บรรลุทุติยฌานที่สหรคตด้วยกรุณา ไม่มีวิตกมี
เพียงวิจาร มีปีติและสุขที่เกิดจากวิเวก อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ความสงสาร
กิริยาที่สงสาร ภาวะที่สงสาร กรุณาเจโตวิมุตติ นี้เรียกว่า กรุณา สภาวธรรมที่
เหลือชื่อว่าสัมปยุตด้วยกรุณา (๒-๕)
ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญมรรคเพื่อเข้าถึงรูปภพ เพราะวิตกวิจารสงบระงับ
ไปแล้ว ฯลฯ บรรลุตติยฌานที่สหรคตด้วยกรุณา อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น
ความสงสาร กิริยาที่สงสาร ภาวะที่สงสาร กรุณาเจโตวิมุตติ นี้เรียกว่า กรุณา
สภาวธรรมที่เหลือชื่อว่าสัมปยุตด้วยกรุณา (๓-๖)
ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญมรรคเพื่อเข้าถึงรูปภพ เพราะปีติจางคลายไป ฯลฯ
บรรลุจตุตถฌานที่สหรคตด้วยกรุณา อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ความสงสาร
กิริยาที่สงสาร ภาวะที่สงสาร กรุณาเจโตวิมุตติ นี้เรียกว่า กรุณา สภาวธรรมที่เหลือ
ชื่อว่าสัมปยุตด้วยกรุณา (๔-๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๔๓๕ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๓.อัปปมัญญาวิภังค์] ๒.อภิธรรมภาชนีย์
มุทิตากุศลฌานจตุกกนัย
[๖๘๘] มุทิตา เป็นไฉน
ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญมรรคเพื่อเข้าถึงรูปภพ สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุ
ปฐมฌานที่สหรคตด้วยมุทิตา อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ความพลอยยินดี กิริยา
ที่พลอยยินดี ภาวะที่พลอยยินดี มุทิตาเจโตวิมุตติ นี้เรียกว่า มุทิตา สภาวธรรม
ที่เหลือชื่อว่าสัมปยุตด้วยมุทิตา (๑)
มุทิตา เป็นไฉน
ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญมรรคเพื่อเข้าถึงรูปภพ เพราะวิตกวิจารสงบระงับไป
แล้ว ฯลฯ บรรลุทุติยฌานที่สหรคตด้วยมุทิตา อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ความพลอย
ยินดี กิริยาที่พลอยยินดี ภาวะที่พลอยยินดี มุทิตาเจโตวิมุตติ นี้เรียกว่า มุทิตา
สภาวธรรมที่เหลือชื่อว่าสัมปยุตด้วยมุทิตา (๒)
มุทิตา เป็นไฉน
ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญมรรคเพื่อเข้าถึงรูปภพ เพราะปีติจางคลายไป ฯลฯ
บรรลุตติยฌานที่สหรคตด้วยมุทิตา อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ความพลอย
ยินดี กิริยาที่พลอยยินดี ภาวะที่พลอยยินดี มุทิตาเจโตวิมุตติ นี้เรียกว่า มุทิตา
สภาวธรรมที่เหลือชื่อว่าสัมปยุตด้วยมุทิตา (๓)

มุทิตากุศลฌานปัญจกนัย
[๖๘๙] ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญมรรคเพื่อเข้าถึงรูปภพ สงัดจากกาม ฯลฯ
บรรลุปฐมฌานที่สหรคตด้วยมุทิตา อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ความพลอยยินดี
กิริยาที่พลอยยินดี ภาวะที่พลอยยินดี มุทิตาเจโตวิมุตติ นี้เรียกว่า มุทิตา สภาว-
ธรรมที่เหลือชื่อว่าสัมปยุตด้วยมุทิตา (๑-๔)
ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญมรรคเพื่อเข้าถึงรูปภพ สงัดจากกามและสภาวธรรม
ที่เป็นอกุศลทั้งหลายแล้ว บรรลุทุติยฌานที่ไม่มีวิตกมีเพียงวิจาร มีปีติและสุข อัน
เกิดจากวิเวก อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ความพลอยยินดี กิริยาที่พลอยยินดี
ภาวะที่พลอยยินดี มุทิตาเจโตวิมุตติ นี้เรียกว่า มุทิตา สภาวธรรมที่เหลือชื่อว่า
สัมปยุตด้วยมุทิตา (๒-๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๔๓๖ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๓.อัปปมัญญาวิภังค์] ๒.อภิธรรมภาชนีย์
ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญมรรคเพื่อเข้าถึงรูปภพ เพราะวิตกวิจารสงบระงับไป
แล้ว ฯลฯ บรรลุตติยฌานที่สหรคตด้วยมุทิตา อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ความ
พลอยยินดี กิริยาที่พลอยยินดี ภาวะที่พลอยยินดี มุทิตาเจโตวิมุตติ นี้เรียกว่า
มุทิตา สภาวธรรมที่เหลือชื่อว่าสัมปยุตด้วยมุทิตา (๓-๖)
ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญมรรคเพื่อเข้าถึงรูปภพ เพราะปีติจางคลายไป ฯลฯ
บรรลุจตุตถฌานที่สหรคตด้วยมุทิตา อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ความพลอยยินดี
กิริยาที่พลอยยินดี ภาวะที่พลอยยินดี มุทิตาเจโตวิมุตติ นี้เรียกว่า มุทิตา สภาว-
ธรรมที่เหลือชื่อว่าสัมปยุตด้วยมุทิตา (๔-๗)

อุเปกขากุศลฌาน
[๖๙๐] อุเบกขา เป็นไฉน
ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญมรรคเพื่อเข้าถึงรูปภพ เพราะละสุขและทุกข์ได้ ฯลฯ
บรรลุจตุตถฌานที่สหรคตด้วยอุเบกขา อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ความวางเฉย
กิริยาที่วางเฉย ภาวะที่วางเฉย อุเปกขาเจโตวิมุตติ นี้เรียกว่า อุเบกขา สภาวธรรม
ที่เหลือชื่อว่าสัมปยุตด้วยอุเบกขา
[๖๙๑] อัปปมัญญา ๔ คือ
๑. เมตตา ๒. กรุณา
๓. มุทิตา ๔. อุเบกขา

เมตตาวิปากฌาน
[๖๙๒] บรรดาอัปปมัญญา ๔ นั้น เมตตา เป็นไฉน
ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญมรรคเพื่อเข้าถึงรูปภพ สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุ
ุปฐมฌานที่สหรคตด้วยเมตตา อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ
ก็เกิดขึ้น สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๔๓๗ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๓.อัปปมัญญาวิภังค์] ๒.อภิธรรมภาชนีย์
ภิกษุสงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌานที่สหรตด้วยเมตตา ซึ่งเป็นวิบาก
เพราะได้ทำได้สั่งสมรูปาวจรกุศลกรรมนั้นนั่นแหละ อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น
ความรักใคร่ กิริยาที่รักใคร่ ภาวะที่รักใคร่ เมตตาเจโตวิมุตติ นี้ชื่อว่าเมตตา
สภาวธรรมที่เหลือชื่อว่าสัมปยุตด้วยเมตตา
เมตตา เป็นไฉน
ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญมรรคเพื่อเข้าถึงรูปภพ เพราะวิตกวิจารสงบระงับไป
แล้ว ฯลฯ บรรลุทุติยฌานที่สหรคตด้วยเมตตา อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ
ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า เป็นกุศล
...เพราะวิตกวิจารสงบระงับไปแล้ว ฯลฯ บรรลุทุติยฌาน ฯลฯ บรรลุตติย-
ฌาน ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน ฯลฯ บรรลุจตุตถฌานที่สหรคตด้วยเมตตา ซึ่งเป็น
วิบาก เพราะได้ทำได้สั่งสมรูปาวจรกุศลกรรมนั้นนั่นแหละ อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น
ความรักใคร่ กิริยาที่รักใคร่ ภาวะที่รักใคร่ เมตตาเจโตวิมุตติ นี้เรียกว่าเมตตา
สภาวธรรมที่เหลือชื่อว่าสัมปยุตด้วยเมตตา

กรุณาวิปากฌาน
[๖๙๓] กรุณา เป็นไฉน
ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญมรรคเพื่อเข้าถึงรูปภพ สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุ
ปฐมฌานที่สหรคตด้วยกรุณา อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ
ก็เกิดขึ้น สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล
ภิกษุสงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌานที่สหรคตด้วยกรุณา ซึ่งเป็นวิบาก
เพราะได้ทำได้สั่งสมรูปาวจรกุศลกรรมนั้นนั่นแหละ อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น
ความสงสาร กิริยาที่สงสาร ภาวะที่สงสาร กรุณาเจโตวิมุตติ นี้เรียกว่า กรุณา
สภาวธรรม ที่เหลือชื่อว่าสัมปยุตด้วยกรุณา
กรุณา เป็นไฉน
ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญมรรคเพื่อเข้าถึงรูปภพ เพราะวิตกวิจารสงบระงับไป
แล้ว ฯลฯ บรรลุทุติยฌานที่สหรคตด้วยกรุณา อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ
ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๔๓๘ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๓.อัปปมัญญาวิภังค์] ๒.อภิธรรมภาชนีย์
...เพราะวิตกวิจารสงบระงับไปแล้ว ฯลฯ บรรลุทุติยฌาน ฯลฯ บรรลุตติย-
ฌาน ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน ฯลฯ บรรลุจตุตถฌานที่สหรคตด้วยกรุณา ซึ่งเป็น
วิบาก เพราะได้ทำได้สั่งสมรูปาวจรกุศลกรรมนั้นนั่นแหละ อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น
ความสงสาร กิริยาที่สงสาร ภาวะที่สงสาร กรุณาเจโตวิมุตติ นี้เรียกว่า กรุณา
สภาวธรรมที่เหลือชื่อว่าสัมปยุตด้วยกรุณา

มุทิตาวิปากฌาน
[๖๙๔] มุทิตา เป็นไฉน
ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญมรรคเพื่อเข้าถึงรูปภพ สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุ
ปฐมฌานที่สหรคตด้วยมุทิตา อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ
ก็เกิดขึ้น สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล
ภิกษุสงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌานที่สหรคตด้วยมุทิตา ซึ่งเป็นวิบาก
เพราะได้ทำได้สั่งสมรูปาวจรกุศลกรรมนั้นนั่นแหละ อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น
ความพลอยยินดี กิริยาที่พลอยยินดี ภาวะที่พลอยยินดี มุทิตาเจโตวิมุตติ นี้เรียกว่า
มุทิตา สภาวธรรมที่เหลือชื่อว่าสัมปยุตด้วยมุทิตา
มุทิตา เป็นไฉน
ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญมรรคเพื่อเข้าถึงรูปภพ เพราะวิตกวิจารสงบระงับไป
แล้ว ฯลฯ บรรลุทุติยฌานที่สหรคตด้วยมุทิตา อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ
ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล
...เพราะวิตกวิจารสงบระงับไปแล้ว ฯลฯ บรรลุทุติยฌาน ฯลฯ บรรลุตติย-
ฌาน ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน ฯลฯ บรรลุทุติยฌาน ฯลฯ บรรลุตติยฌาน ฯลฯ
บรรลุจตุตถฌานที่สหรคตด้วยมุทิตา ซึ่งเป็นวิบาก เพราะได้ทำได้สั่งสมรูปาวจร-
กุศลกรรมนั้นนั่นแหละ อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ความพลอยยินดี กิริยาที่พลอย
ยินดี ภาวะที่พลอยยินดี มุทิตาเจโตวิมุตติ นี้เรียกว่า มุทิตา สภาวธรรมที่เหลือ
ชื่อว่าสัมปยุตด้วยมุทิตา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๔๓๙ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๓.อัปปมัญญาวิภังค์] ๒.อภิธรรมภาชนีย์
อุเปกขาวิปากฌาน
[๖๙๕] อุเบกขา เป็นไฉน
ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญมรรคเพื่อเข้าถึงรูปภพ เพราะละสุขและทุกข์ได้ ฯลฯ
บรรลุจตุตถฌานที่สหรคตด้วยอุเบกขา อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ
อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล
...เพราะละสุขและทุกข์ได้ ฯลฯ บรรลุจตุตถฌานที่สหรคตด้วยอุเบกขา
เพราะได้ทำได้สั่งสมรูปาวจรกุศลกรรมนั้นนั่นแหละ อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น
ความวางเฉย กิริยาที่วางเฉย ภาวะที่วางเฉย อุเปกขาเจโตวิมุตติ นี้เรียกว่า
อุเบกขา สภาวธรรมที่เหลือชื่อว่าสัมปยุตด้วยอุเบกขา
[๖๙๖] อัปปมัญญา ๔ คือ
๑. เมตตา ๒. กรุณา
๓. มุทิตา ๔. อุเบกขา

เมตตากิริยาฌาน
[๖๙๗] บรรดาอัปปมัญญา ๔ นั้น เมตตา เป็นไฉน
ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญรูปาวจรฌานที่เป็นกิริยา ไม่เป็นกุศล ไม่เป็นอกุศล
และไม่เป็นวิบากของกรรม เป็นเพียงธรรมเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน สงัดจากกาม
ฯลฯ บรรลุปฐมฌานที่สหรคตด้วยเมตตา อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ความรักใคร่
กิริยาที่รักใคร่ ภาวะที่รักใคร่ เมตตาเจโตวิมุตติ นี้เรียกว่า เมตตา สภาวธรรม
ที่เหลือชื่อว่าสัมปยุตด้วยเมตตา
เมตตา เป็นไฉน
ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญรูปาวจรฌานที่เป็นกิริยา ไม่เป็นกุศล ไม่เป็นอกุศล
และไม่เป็นวิบากของกรรม เป็นเพียงธรรมเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน เพราะวิตก
วิจารสงบระงับไปแล้ว ฯลฯ บรรลุทุติยฌาน ฯลฯ บรรลุตติยฌาน ฯลฯ บรรลุ
ปฐมฌาน ฯลฯ บรรลุจตุตถฌานที่สหรคตด้วยเมตตา อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น
ความรักใคร่ กิริยาที่รักใคร่ ภาวะที่รักใคร่ เมตตาเจโตวิมุตติ นี้เรียกว่า เมตตา
สภาวธรรมที่เหลือชื่อว่าสัมปยุตด้วยเมตตา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๔๔๐ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๓.อัปปมัญญาวิภังค์] ๓.ปัญหาปุจฉกะ
[๖๙๘] กรุณา เป็นไฉน
ฯลฯ
มุทิตา เป็นไฉน
ฯลฯ
อุเบกขา เป็นไฉน
ฯลฯ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญรูปาวจรฌานที่เป็นกิริยา ไม่เป็นกุศล ไม่เป็นอกุศล
และไม่เป็นวิบากของกรรม เป็นเพียงธรรมเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน เพราะละสุข
และทุกข์ได้ ฯลฯ บรรลุจตุตถฌานที่สหรคตด้วยอุเบกขา อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น
ความวางเฉย กิริยาที่วางเฉย ภาวะที่วางเฉย อุเปกขาเจโตวิมุตติ นี้เรียกว่า อุเบกขา
สภาวธรรมที่เหลือชื่อว่าสัมปยุตด้วยอุเบกขา
อภิธรรมภาชนีย์ จบ

๓. ปัญหาปุจฉกะ
[๖๙๙] อัปปมัญญา ๔ ได้แก่ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. มีจิตสหรคตด้วยเมตตาแผ่ไปตลอดทิศหนึ่งอยู่ ทิศที่ ๒ ก็
เช่นนั้น ทิศที่ ๓ ทิศที่ ๔ ก็เช่นนั้น ทิศเบื้องบน ทิศเบื้องต่ำ
ทิศเฉียงก็เช่นเดียวกัน มีจิตสหรคตด้วยเมตตาอันไพบูลย์
กว้างขวาง หาประมาณมิได้ ไม่มีเวร ไม่มีพยาบาท แผ่ไปยัง
สัตว์โลกทั้งปวง เพราะเป็นผู้มีจิตเสมอในสัตว์ทุกหมู่เหล่าในที่
ทั้งปวงอยู่
๒. มีจิตสหรคตด้วยกรุณาแผ่ไปตลอดทิศหนึ่งอยู่ ทิศที่ ๒ ก็เช่น
นั้น ทิศที่ ๓ ทิศที่ ๔ ก็เช่นนั้น ทิศเบื้องบน ทิศเบื้องต่ำ ทิศ
เฉียงก็เช่นเดียวกัน มีจิตสหรคตด้วยกรุณาอันไพบูลย์ กว้างขวาง
หาประมาณมิได้ ไม่มีเวร ไม่มีพยาบาท แผ่ไปยังสัตว์โลกทั้งปวง
เพราะเป็นผู้มีจิตเสมอในสัตว์ทุกหมู่เหล่าในที่ทั้งปวงอยู่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๔๔๑ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๓.อัปปมัญญาวิภังค์] ๓.ปัญหาปุจฉกะ ๑.ติกมาติกาวิสัชนา
๓. มีจิตสหรคตด้วยมุทิตาแผ่ไปตลอดทิศหนึ่งอยู่ ทิศที่ ๒ ก็เช่น
นั้น ทิศที่ ๓ ทิศที่ ๔ ก็เช่นนั้น ทิศเบื้องบน ทิศเบื้องต่ำ ทิศเฉียง
ก็เช่นเดียวกัน มีจิตสหรคตด้วยมุทิตาอันไพบูลย์ กว้างขวาง หา
ประมาณมิได้ ไม่มีเวร ไม่มีพยาบาท แผ่ไปยัง สัตว์โลกทั้งปวง
เพราะเป็นผู้มีจิตเสมอในสัตว์ทุกหมู่เหล่าในที่ทั้งปวงอยู่
๔. มีจิตสหรคตด้วยอุเบกขาแผ่ไปตลอดทิศหนึ่งอยู่ ทิศที่ ๒ ก็
เช่น นั้น ทิศที่ ๓ ทิศที่ ๔ ก็เช่นนั้น ทิศเบื้องบน ทิศเบื้องต่ำ
ทิศเฉียงก็เช่นเดียวกัน มีจิตสหรคตด้วยอุเบกขาอันไพบูลย์
กว้างขวาง หาประมาณมิได้ ไม่มีเวร ไม่มีพยาบาท แผ่ไปยัง
สัตว์โลกทั้งปวง เพราะเป็นผู้มีจิตเสมอในสัตว์ทุกหมู่เหล่าในที่
ทั้งปวงอยู่๑

ติกมาติกาปุจฉา ทุกมาติกาปุจฉา
[๗๐๐] บรรดาอัปปมัญญา ๔ อัปปมัญญาเท่าไรเป็นกุศล เท่าไรเป็นอกุศล
เท่าไรเป็นอัพยากฤต ฯลฯ เท่าไรเป็นเหตุให้สัตว์ร้องไห้ เท่าไรไม่เป็นเหตุให้สัตว์
ร้องไห้

๑. ติกมาติกาวิสัชนา
๑-๒๒. กุสลติกาทิวิสัชนา
[๗๐๑] อัปปมัญญา ๔ ที่เป็นกุศลก็มี ที่เป็นอัพยากฤตก็มี
อัปปมัญญา ๓ สัมปยุตด้วยสุขเวทนา อุเบกขาสัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา
อัปปมัญญา ๔ ที่เป็นวิบากก็มี ที่เป็นเหตุให้เกิดวิบากก็มี ที่ไม่เป็นวิบาก
และไม่เป็นเหตุให้เกิดวิบากก็มี

เชิงอรรถ :
๑ ที.ปา. ๑๑/๓๐๘/๒๐๐, ม.มู. ๑๒/๔๓๘/๓๘๕, อภิ.วิ.๓๕/๖๙๙/๓๔๖

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๔๔๒ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๓.อัปปมัญญาวิภังค์] ๓.ปัญหาปุจฉกะ ๑.ติกมาติกาวิสัชนา
อัปปมัญญา ๔ ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือและเป็นอารมณ์ของ
อุปาทานก็มี ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือแต่เป็นอารมณ์ของ
อุปาทานก็มี
อัปปมัญญา ๔ กิเลสไม่ทำให้เศร้าหมองแต่เป็นอารมณ์ของกิเลส อัปปมัญญา
๓ ที่มีทั้งวิตกและวิจารก็มี ที่ไม่มีวิตกมีเพียงวิจารก็มี ที่ไม่มีทั้งวิตกและวิจารก็มี
อุเบกขาไม่มีทั้งวิตกและวิจาร
อัปปมัญญา ๓ ที่สหรคตด้วยปีติก็มี ที่สหรคตด้วยสุขก็มี แต่ไม่สหรคตด้วย
อุเบกขา ที่กล่าวไม่ได้ว่า สหรคตด้วยปีติก็มี อุเบกขาสหรคตด้วยอุเบกขา
อัปปมัญญา ๔ ไม่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคและมรรคเบื้องบน ๓
อัปปมัญญา ๔ ไม่มีเหตุต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคและมรรคเบื้องบน ๓
อัปปมัญญา ๔ ที่เป็นเหตุให้ถึงปฏิสนธิและจุติก็มี ที่ไม่เป็นเหตุให้ถึงปฏิสนธิ
จุติ และนิพพานก็มี
อัปปมัญญา ๔ ไม่เป็นของเสขบุคคลและอเสขบุคคล
อัปปมัญญา ๔ เป็นมหัคคตะ กล่าวไม่ได้ว่า มีปริตตะเป็นอารมณ์ มี
มหัคคตะเป็นอารมณ์ หรือมีอัปปมาณะเป็นอารมณ์
อัปปมัญญา ๔ เป็นชั้นกลาง
อัปปมัญญา ๔ ให้ผลไม่แน่นอน กล่าวไม่ได้ว่า มีมรรคเป็นอารมณ์ มี
มรรคเป็นเหตุ หรือมีมรรคเป็นอธิบดี
อัปปมัญญา ๔ ที่เกิดขึ้นก็มี ที่ยังไม่เกิดขึ้นก็มี ที่จักเกิดขึ้นแน่นอนก็มี
อัปปมัญญา ๔ ที่เป็นอดีตก็มี ที่เป็นอนาคตก็มี ที่เป็นปัจจุบันก็มี กล่าว
ไม่ได้ว่า มีอดีตธรรมเป็นอารมณ์ มีอนาคตธรรมเป็นอารมณ์ หรือมีปัจจุบันธรรม
เป็นอารมณ์
อัปปมัญญา ๔ ที่เป็นภายในตนก็มี ที่เป็นภายนอกตนก็มี ที่เป็นภายใน
ตนและภายนอกตนก็มี
อัปปมัญญา ๔ มีธรรมภายนอกตนเป็นอารมณ์
อัปปมัญญา ๔ เห็นไม่ได้และกระทบไม่ได้


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๔๔๓ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๓.อัปปมัญญาวิภังค์] ๓.ปัญหาปุจฉกะ ๒.ทุกมาติกาวิสัชนา
๒. ทุกมาติกาวิสัชนา
๑. เหตุโคจฉกวิสัชนา
[๗๐๒] เมตตาเป็นเหตุ อัปปมัญญา ๓ ไม่เป็นเหตุ อัปปมัญญา ๔ มีเหตุ
อัปปมัญญา ๔ สัมปยุตด้วยเหตุ เมตตาเป็นเหตุและมีเหตุ อัปปมัญญา ๓
กล่าวไม่ได้ว่า เป็นเหตุและมีเหตุ
อัปปมัญญา ๓ มีเหตุแต่ไม่เป็นเหตุ เมตตาเป็นเหตุและสัมปยุตด้วยเหตุ
อัปปมัญญา ๓ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นเหตุและสัมปยุตด้วยเหตุ
อัปปมัญญา ๓ สัมปยุตด้วยเหตุแต่ไม่เป็นเหตุ อัปปมัญญา ๓ ไม่เป็นเหตุ
แต่มีเหตุ เมตตากล่าวไม่ได้ว่า ไม่เป็นเหตุแต่มีเหตุ หรือไม่เป็นเหตุและไม่มีเหตุ

๒. จูฬันตรทุกวิสัชนา
อัปปมัญญา ๔ มีปัจจัยปรุงแต่ง อัปปมัญญา ๔ ถูกปัจจัยปรุงแต่ง
อัปปมัญญา ๔ เห็นไม่ได้ อัปปมัญญา ๔ กระทบไม่ได้
อัปปมัญญา ๔ ไม่เป็นรูป อัปปมัญญา ๔ เป็นโลกิยะ
อัปปมัญญา ๔ จิตบางดวงรู้ได้ อัปปมัญญา ๔ จิตบางดวงรู้ไม่ได้

๓. อาสวโคจฉกวิสัชนา
อัปปมัญญา ๔ ไม่เป็นอาสวะ อัปปมัญญา ๔ เป็นอารมณ์ของอาสวะ
อัปปมัญญา ๔ วิปปยุตจากอาสวะ อัปปมัญญา ๔ กล่าวไม่ได้ว่า เป็น
อาสวะและเป็นอารมณ์ของอาสวะ
อัปปมัญญา ๔ เป็นอารมณ์ของอาสวะแต่ไม่เป็นอาสวะ อัปปมัญญา ๔
กล่าวไม่ได้ว่า เป็นอาสวะและสัมปยุตด้วยอาสวะ หรือสัมปยุตด้วยอาสวะแต่ไม่เป็น
อาสวะ
อัปปมัญญา ๔ วิปปยุตจากอาสวะแต่เป็นอารมณ์ของอาสวะ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๔๔๔ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๓.อัปปมัญญาวิภังค์] ๓.ปัญหาปุจฉกะ ๒.ทุกมาติกาวิสัชนา
๔-๑๒. สัญโญชนโคจฉกาทิวิสัชนา
อัปปมัญญา ๔ ไม่เป็นสังโยชน์ ฯลฯ ไม่เป็นคันถะ ฯลฯ ไม่เป็นโอฆะ ฯลฯ
ไม่เป็นโยคะ ฯลฯ ไม่เป็นนิวรณ์ ฯลฯ ไม่เป็นปรามาส ฯลฯ
อัปปมัญญา ๔ รับรู้อารมณ์ได้ อัปปมัญญา ๔ ไม่เป็นจิต
อัปปมัญญา ๔ เป็นเจตสิก อัปปมัญญา ๔ สัมปยุตด้วยจิต
อัปปมัญญา ๔ ระคนกับจิต อัปปมัญญา ๔ มีจิตเป็นสมุฏฐาน
อัปปมัญญา ๔ เกิดพร้อมกับจิต อัปปมัญญา ๔ เป็นไปตามจิต
อัปปมัญญา ๔ ระคนกับจิตและมีจิตเป็นสมุฏฐาน อัปปมัญญา ๔ ระคน
กับจิตมีจิตเป็นสมุฏฐานและเกิดพร้อมกับจิต
อัปปมัญญา ๔ ระคนกับจิตมีจิตเป็นสมุฏฐานและเป็นไปตามจิต อัปปมัญญา
๔ เป็นภายนอก
อัปปมัญญา ๔ ไม่เป็นอุปาทายรูป อัปปมัญญา ๔ ที่กรรมอันประกอบ
ด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือก็มี ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือก็มี

๑๓. ปิฏฐิทุกวิสัชนา
อัปปมัญญา ๔ ไม่เป็นอุปาทาน ฯลฯ ไม่เป็นกิเลส ฯลฯ
อัปปมัญญา ๔ ไม่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคและมรรคเบื้องบน ๓
อัปปมัญญา ๔ ไม่มีเหตุต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคและมรรคเบื้องบน ๓
อัปปมัญญา ๓ ที่มีวิตกก็มี ที่ไม่มีวิตกก็มี อุเบกขาไม่มีวิตก อัปปมัญญา ๓
ที่มีวิจารก็มี ที่ไม่มีวิจารก็มี อุเบกขาไม่มีวิจาร
อัปปมัญญา ๓ ที่มีปีติก็มี ที่ไม่มีปีติก็มี อุเบกขาไม่มีปีติ อัปปมัญญา ๓
ที่สหรคตด้วยปีติก็มี ที่ไม่สหรคตด้วยปีติก็มี อุเบกขาไม่สหรคตด้วยปีติ
อัปปมัญญา ๓ สหรคตด้วยสุข อุเบกขาไม่สหรคตด้วยสุข อัปปมัญญา ๓
ไม่สหรคตด้วยอุเบกขา อุเบกขาสหรคตด้วยอุเบกขา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๔๔๕ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๓.อัปปมัญญาวิภังค์] ๓.ปัญหาปุจฉกะ ๒.ทุกมาติกาวิสัชนา
อัปปมัญญา ๔ ไม่เป็นกามาวจร อัปปมัญญา ๔ เป็นรูปาวจร
อัปปมัญญา ๔ ไม่เป็นอรูปาวจร อัปปมัญญา ๔ เป็นโลกิยะ
อัปปมัญญา ๔ ไม่เป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ อัปปมัญญา ๔ ให้ผลไม่
แน่นอน
อัปปมัญญา ๔ มีธรรมอื่นยิ่งกว่า อัปปมัญญา ๔ ไม่เป็นเหตุให้สัตว์ร้องไห้

ปัญหาปุจฉกะ จบ

อัปปมัญญาวิภังค์ จบบริบูรณ์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๔๔๖ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๔. สิกขาปทวิภังค์] ๑. อภิธรรมภาชนีย์
๑๔. สิกขาปทวิภังค์
๑. อภิธรรมภาชนีย์
[๗๐๓] สิกขาบท ๕ คือ
๑. ปาณาติปาตาเวรมณีสิกขาบท
๒. อทินนาทานาเวรมณีสิกขาบท
๓. กาเมสุมิจฉาจาราเวรมณีสิกขาบท
๔. มุสาวาทาเวรมณีสิกขาบท
๕. สุราเมรยมัชชปมาทัฏฐานาเวรมณีสิกขาบท
[๗๐๔] บรรดาสิกขาบท ๕ นั้น ปาณาติปาตาเวรมณีสิกขาบท เป็นไฉน
จิตที่เป็นกามาวจรซึ่งเป็นกุศล สหรคตด้วยโสมนัส สัมปยุตด้วยญาณ เกิดขึ้น
แก่บุคคลผู้งดเว้นจากการฆ่าสัตว์ ในสมัยใด ในสมัยนั้น การงด การเว้น การงดเว้น
การเว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ การไม่ทำ การเลิกทำ การไม่ล่วงละเมิด การไม่ล้ำเขต
การกำจัดต้นเหตุแห่งการฆ่าสัตว์ ก็เกิดขึ้น นี้เรียกว่า ปาณาติปาตาเวรมณีสิกขาบท
สภาวธรรมที่เหลือชื่อว่าสัมปยุตด้วยเวรมณี
ปาณาติปาตาเวรมณีสิกขาบท เป็นไฉน
จิตที่เป็นกามาวจรซึ่งเป็นกุศล สหรคตด้วยโสมนัส สัมปยุตด้วยญาณ เกิดขึ้น
แก่บุคคลผู้งดเว้นจากการฆ่าสัตว์ ในสมัยใด ในสมัยนั้น ความจงใจ กิริยาที่จงใจ
ภาวะที่จงใจ ก็เกิดขึ้น นี้เรียกว่า ปาณาติปาตาเวรมณีสิกขาบท สภาวธรรมที่
เหลือชื่อว่า สัมปยุตด้วยเจตนา
ปาณาติปาตาเวรมณีสิกขาบท เป็นไฉน
จิตที่เป็นกามาวจรซึ่งเป็นกุศล สหรคตด้วยโสมนัส สัมปยุตด้วยญาณ เกิดขึ้น
แก่บุคคลผู้งดเว้นจากการฆ่าสัตว์ ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ ปัคคาหะ
และอวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น นี้เรียกว่า ปาณาติปาตาเวรมณีสิกขาบท

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๔๔๗ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๔.สิกขาปทวิภังค์] ๑.อภิธรรมภาชนีย์
ปาณาติปาตาเวรมณีสิกขาบท เป็นไฉน
จิตที่เป็นกามาวจรซึ่งเป็นกุศล สหรคตด้วยโสมนัส สัมปยุตด้วยญาณ เกิดขึ้น
โดยมีเหตุชักจูง ฯลฯ สหรคตด้วยโสมนัส วิปปยุตจากญาณ ฯลฯ สหรคตด้วย
โสมนัส วิปปยุตจากญาณเกิดขึ้นโดยมีเหตุชักจูง ฯลฯ สหรคตด้วยอุเบกขา
สัมปยุตด้วยญาณ ฯลฯ สหรคตด้วยอุเบกขา สัมปยุตด้วยญาณ เกิดขึ้นโดยมีเหตุ
ชักจูง ฯลฯ สหรคตด้วยอุเบกขา วิปปยุตจากญาณ ฯลฯ สหรคตด้วยอุเบกขา
วิปปยุตจากญาณเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้งดเว้นจากการฆ่าสัตว์โดยมีเหตุชักจูง ในสมัยใด
ในสมัยนั้น การงด การเว้น การงดเว้น การเว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ การไม่ทำ
การเลิกทำ การไม่ล่วงละเมิด การไม่ล้ำเขต การกำจัดต้นเหตุแห่งการฆ่าสัตว์ ก็
เกิดขึ้น นี้เรียกว่า ปาณาติปาตาเวรมณีสิกขาบท สภาวธรรมที่เหลือชื่อว่าสัมปยุต
ด้วยเวรมณี
[๗๐๕] ปาณาติปาตาเวรมณีสิกขาบท เป็นไฉน
จิตที่เป็นกามาวจรซึ่งเป็นกุศล สหรคตด้วยอุเบกขา วิปปยุตจากญาณ เกิดขึ้น
แก่บุคคลผู้งดเว้นจากการฆ่าสัตว์โดยมีเหตุชักจูง ในสมัยใด ในสมัยนั้น ความจงใจ
กิริยาที่จงใจ ภาวะที่จงใจ ก็เกิดขึ้น นี้เรียกว่า ปาณาติปาตาเวรมณีสิกขาบท
สภาวธรรมที่เหลือชื่อว่าสัมปยุตด้วยเจตนา
ปาณาติปาตาเวรมณีสิกขาบท เป็นไฉน
จิตที่เป็นกามาวจรซึ่งเป็นกุศล สหรคตด้วยอุเบกขา วิปปยุตจากญาณ เกิดขึ้น
แก่บุคคลผู้งดเว้นจากการฆ่าสัตว์โดยมีเหตุชักจูง ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ
ปัคคาหะ และอวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น นี้เรียกว่า ปาณาติปาตาเวรมณีสิกขาบท
[๗๐๖] อทินนาทานาเวรมณีสิกขาบท
ฯลฯ
กาเมสุมิจฉาจาราเวรมณีสิกขาบท
ฯลฯ
มุสาวาทาเวรมณีสิกขาบท
ฯลฯ
สุราเมรยมัชชปมาทัฏฐานาเวรมณีสิกขาบท เป็นไฉน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๔๔๘ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๔.สิกขาปทวิภังค์] ๑.อภิธรรมภาชนีย์
จิตที่เป็นกามาวจรซึ่งเป็นกุศล สหรคตด้วยโสมนัส สัมปยุตด้วยญาณ เกิดขึ้น
แก่บุคคลผู้งดเว้นจากการดื่มน้ำเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท
ในสมัยใด ในสมัยนั้น การงด การเว้น การงดเว้น การเว้นขาดจากการดื่มน้ำเมา
คือสุราและเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท การไม่ทำ การเลิกทำ การไม่ล่วง
ละเมิด การไม่ล้ำเขต การกำจัดต้นเหตุแห่งการดื่มน้ำเมาคือสุราเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่ง
ความประมาท ก็เกิดขึ้น นี้เรียกว่า สุราเมรยมัชชปมาทัฏฐานาเวรมณีสิกขาบท
สภาวธรรมที่เหลือชื่อว่าสัมปยุตด้วยเวรมณี
สุราเมรยมัชชปมาทัฏฐานาเวรมณีสิกขาบท เป็นไฉน
จิตที่เป็นกามาวจรซึ่งเป็นกุศล สหรคตด้วยโสมนัส สัมปยุตด้วยญาณ เกิดขึ้น
แก่บุคคลผู้งดเว้นจากการดื่มน้ำเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท
ในสมัยใด ในสมัยนั้น ความจงใจ กิริยาที่จงใจ ภาวะที่จงใจ ก็เกิดขึ้น นี้เรียกว่า
สุราเมรยมัชชปมาทัฏฐานาเวรมณีสิกขาบท สภาวธรรมที่เหลือชื่อว่าสัมปยุตด้วย
เจตนา
สุราเมรยมัชชปมาทัฏฐานาเวรมณีสิกขาบท เป็นไฉน
จิตที่เป็นกามาวจรซึ่งเป็นกุศล สหรคตด้วยโสมนัส สัมปยุตด้วยญาณ เกิดขึ้น
แก่บุคคลผู้งดเว้นจากการดื่มน้ำเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท
ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ ปัคคาหะ และอวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น นี้เรียกว่า
สุราเมรยมัชชปมาทัฏฐานาเวรมณีสิกขาบท
สุราเมรยมัชชปมาทัฏฐานาเวรมณีสิกขาบท เป็นไฉน
จิตที่เป็นกามาวจรซึ่งเป็นกุศล สหรคตด้วยโสมนัส สัมปยุตด้วยญาณ เกิดขึ้น
โดยมีเหตุชักจูง ฯลฯ สหรคตด้วยโสมนัส วิปปยุตจากญาณ ฯลฯ สหรคตด้วย
โสมนัส วิปปยุตจากญาณ เกิดขึ้นโดยมีเหตุชักจูง ฯลฯ สหรคตด้วยอุเบกขา
สัมปยุตด้วยญาณ ฯลฯ สหรคตด้วยอุเบกขา สัมปยุตด้วยญาณ เกิดขึ้นโดยมีเหตุ
ชักจูง ฯลฯ สหรคตด้วยอุเบกขา สัมปยุตด้วยญาณ ฯลฯ สหรคตด้วยอุเบกขา
วิปปยุตจากญาณ เกิดขึ้นแก่บุคคลผู้งดเว้นจากการดื่มน้ำเมาคือสุราและเมรัยอัน
เป็นที่ตั้งแห่งความประมาทโดยมีเหตุชักจูง ในสมัยใด ในสมัยนั้น การงด การเว้น
การงดเว้น การเว้นขาดจากการดื่มน้ำเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๔๔๙ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๔.สิกขาปทวิภังค์] ๑.อภิธรรมภาชนีย์
การไม่ทำ การเลิกทำ การไม่ล่วงละเมิด การไม่ล้ำเขต การกำจัดต้นเหตุแห่งการดื่ม
น้ำเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท ก็เกิดขึ้น นี้เรียกว่า สุรา-
เมรยมัชชปมาทัฏฐานาเวรมณีสิกขาบท สภาวธรรมที่เหลือชื่อว่าสัมปยุตด้วยเวรมณี
[๗๐๗] สุราเมรยมัชชปมาทัฏฐานาเวรมณีสิกขาบท เป็นไฉน
จิตที่เป็นกามาวจรซึ่งเป็นกุศล สหรคตด้วยอุเบกขา วิปปยุตจากญาณ เกิดขึ้น
แก่บุคคลผู้งดเว้นจากการดื่มน้ำเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท
โดยมีเหตุชักจูง ในสมัยใด ในสมัยนั้น ความจงใจ กิริยาที่จงใจ ภาวะที่จงใจ ก็เกิด
ขึ้น นี้เรียกว่า สุราเมรยมัชชปมาทัฏฐานาเวรมณีสิกขาบท สภาวธรรมที่เหลือชื่อว่า
สัมปยุตด้วยเจตนา
สุราเมรยมัชชปมาทัฏฐานาเวรมณีสิกขาบท เป็นไฉน
จิตที่เป็นกามาวจรซึ่งเป็นกุศล สหรคตด้วยอุเบกขา วิปปยุตจากญาณ เกิดขึ้น
แก่บุคคลผู้งดเว้นจากการดื่มน้ำเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท
โดยมีเหตุชักจูง ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ ปัคคาหะ และอวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น
นี้เรียกว่า สุราเมรยมัชชปมาทัฏฐานาเวรมณีสิกขาบท
[๗๐๘] สิกขาบท ๕ คือ
๑. ปาณาติปาตาเวรมณีสิกขาบท
๒. อทินนาทานาเวรมณีสิกขาบท
๓. กาเมสุมิจฉาจาราเวรมณีสิกขาบท
๔. มุสาวาทาเวรมณีสิกขาบท
๕. สุราเมรยมัชชปมาทัฏฐานาเวรมณีสิกขาบท
[๗๐๙] บรรดาสิกขาบท ๕ นั้น ปาณาติปาตาเวรมณีสิกขาบท เป็นไฉน
จิตที่เป็นกามาวจรซึ่งเป็นกุศล สหรคตด้วยโสมนัส สัมปยุตด้วยญาณ เป็น
ชั้นต่ำ ชั้นกลาง ชั้นประณีต เป็นฉันทาธิปไตย วิริยาธิปไตย จิตตาธิปไตย
วิมังสาธิปไตย เป็นฉันทาธิปไตย ชั้นต่ำ ชั้นกลาง ชั้นประณีต เป็นวิริยาธิปไตย
ชั้นต่ำ ชั้นกลาง ชั้นประณีต เป็นจิตตาธิปไตย ชั้นต่ำ ชั้นกลาง ชั้นประณีต เป็น
วิมังสาธิปไตย ชั้นต่ำ ชั้นกลาง ชั้นประณีต เกิดขึ้นแก่บุคลผู้งดเว้นจากการฆ่าสัตว์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๔๕๐ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๔.สิกขาปทวิภังค์] ๑.อภิธรรมภาชนีย์
ในสมัยใด ในสมัยนั้น การงด การเว้น การงดเว้น การเว้นขาดจากการฆ่าสัตว์
การไม่ทำ การเลิกทำ การไม่ล่วงละเมิด การไม่ล้ำเขต การกำจัดต้นเหตุแห่งการ
ฆ่าสัตว์ ก็เกิดขึ้น นี้เรียกว่า ปาณาติปาตาเวรมณีสิกขาบท สภาวธรรมที่เหลือชื่อ
ว่าสัมปยุต ด้วยเวรมณี
ปาณาติปาตาเวรมณีสิกขาบท เป็นไฉน
จิตที่เป็นกามาวจรซึ่งเป็นกุศล สหรคตด้วยโสมนัส สัมปยุตด้วยญาณ เป็น
ชั้นต่ำ ชั้นกลาง ชั้นประณีต เป็นฉันทาธิปไตย วิริยาธิปไตย จิตตาธิปไตย
วิมังสาธิปไตย เป็นฉันทาธิปไตย ชั้นต่ำ ชั้นกลาง ชั้นประณีต เป็นวิริยาธิปไตย
ชั้นต่ำ ชั้นกลาง ชั้นประณีต เป็นจิตตาธิปไตยชั้นต่ำ ชั้นกลาง ชั้นประณีต เป็น
วิมังสาธิปไตย ชั้นต่ำ ชั้นกลาง ชั้นประณีต เกิดขึ้นแก่บุคคลผู้งดเว้นจากการฆ่าสัตว์
ในสมัยใด ในสมัยนั้น ความจงใจ กิริยาที่จงใจ ภาวะที่จงใจ ก็เกิดขึ้น นี้เรียกว่า
ปาณาติปาตาเวรมณีสิกขาบท สภาวธรรมที่เหลือชื่อว่าสัมปยุตด้วยเจตนา
ปาณาติปาตาเวรมณีสิกขาบท เป็นไฉน
จิตที่เป็นกามาวจรซึ่งเป็นกุศล สหรคตด้วยโสมนัส สัมปยุตด้วยญาณ เป็น
ชั้นต่ำ ชั้นกลาง ชั้นประณีต เป็นฉันทาธิปไตย วิริยาธิปไตย จิตตาธิปไตย
วิมังสาธิปไตย เป็นฉันทาธิปไตย ชั้นต่ำ ชั้นกลาง ชั้นประณีต เป็นวิริยาธิปไตย
ชั้นต่ำ ชั้นกลาง ชั้นประณีต เป็นจิตตาธิปไตย ชั้นต่ำ ชั้นกลาง ชั้นประณีต
เป็นวิมังสาธิปไตย ชั้นต่ำ ชั้นกลาง ชั้นประณีต เกิดขึ้นแก่บุคคลผู้งดเว้นจากการ
ฆ่าสัตว์ ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ ปัคคาหะ และอวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น นี้
เรียกว่า ปาณาติปาตาเวรมณีสิกขาบท
ปาณาติปาตาเวรมณีสิกขาบท เป็นไฉน
จิตที่เป็นกามาวจรซึ่งเป็นกุศล สหรคตด้วยโสมนัส สัมปยุตด้วยญาณ เกิด
ขึ้นโดยมีเหตุชักจูง ฯลฯ สหรคตด้วยโสมนัส วิปปยุตจากญาณ ฯลฯ สหรคต
ด้วยโสมนัส วิปปยุตจากญาณ เกิดขึ้นโดยมีเหตุชักจูง ฯลฯ สหรคตด้วยอุเบกขา
สัมปยุตด้วยญาณ ฯลฯ สหรคตด้วยอุเบกขา สัมปยุตด้วยญาณ เกิดขึ้นโดยมี
เหตุชักจูง ฯลฯ สหรคตด้วยอุเบกขา วิปปยุตจากญาณ ฯลฯ สหรคตด้วยอุเบกขา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๔๕๑ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๔.สิกขาปทวิภังค์] ๑.อภิธรรมภาชนีย์
วิปปยุตจากญาณ เป็นชั้นต่ำ ชั้นกลาง ชั้นประณีต เป็นฉันทาธิปไตย วิริยาธิปไตย
จิตตาธิปไตย เป็นฉันทาธิปไตยชั้นต่ำ ชั้นกลาง ชั้นประณีต เป็นวิริยาธิปไตย
ชั้นต่ำ ชั้นกลาง ชั้นประณีต เป็นจิตตาธิปไตย ชั้นต่ำ ชั้นกลาง ชั้นประณีต เกิดขึ้น
แก่บุคคลผู้งดเว้นจากการฆ่าสัตว์โดยมีเหตุชักจูง ในสมัยใด ในสมัยนั้น การงด
การเว้น การงดเว้น การเว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ การไม่ทำ การเลิกทำ การไม่
ล่วงละเมิด การไม่ล้ำเขต การกำจัดต้นเหตุแห่งการฆ่าสัตว์ ก็เกิดขึ้น นี้เรียกว่า
ปาณาติปาตาเวรมณีสิกขาบท สภาวธรรมที่เหลือชื่อว่าสัมปยุตด้วยเวรมณี ฯลฯ
สภาวธรรมที่เหลือชื่อว่าสัมปยุตด้วยเจตนา ฯลฯ ผัสสะ ฯลฯ ปัคคาหะ และ
อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น นี้เรียกว่า ปาณาติปาตาเวรมณีสิกขาบท
[๗๑๐] อทินนาทานาเวรมณีสิกขาบท
ฯลฯ
กาเมสุมิจฉาจาราเวรมณีสิกขาบท
ฯลฯ
มุสาวาทาเวรมณีสิกขาบท
ฯลฯ
สุราเมรยมัชชปมาทัฏฐานาเวรมณีสิกขาบท เป็นไฉน
จิตที่เป็นกามาวจรซึ่งเป็นกุศล สหรคตด้วยโสมนัส สัมปยุตด้วยญาณ เป็น
ชั้นต่ำ ชั้นกลาง ชั้นประณีต เป็นฉันทาธิปไตย วิริยาธิปไตย จิตตาธิปไตย
วิมังสาธิปไตย เป็นฉันทาธิปไตย ชั้นต่ำ ชั้นกลาง ชั้นประณีต เป็นวิริยาธิปไตย
ชั้นต่ำ ชั้นกลาง ชั้นประณีต เป็นจิตตาธิปไตย ชั้นต่ำ ชั้นกลาง ชั้นประณีต
เป็นวิมังสาธิปไตย ชั้นต่ำ ชั้นกลาง ชั้นประณีต เกิดขึ้นแก่บุคคลผู้งดเว้นจากการ
ดื่มน้ำเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท ในสมัยใด ในสมัยนั้น
การงด การเว้น การงดเว้น การเว้นขาดจากการดื่มน้ำเมาคือสุราและเมรัยอัน
เป็นที่ตั้งแห่งความประมาท การไม่ทำ การเลิกทำ การไม่ล่วงละเมิด การไม่ล้ำเขต
การกำจัดต้นเหตุแห่งการดื่มน้ำเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท
ก็เกิดขึ้น นี้เรียกว่า สุราเมรยมัชชปมาทัฏฐานาเวรมณีสิกขาบท สภาวธรรมที่เหลือ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๔๕๒ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๔.สิกขาปทวิภังค์] ๑.อภิธรรมภาชนีย์
ชื่อว่าสัมปยุตด้วยเวรมณี ฯลฯ สภาวธรรมที่เหลือชื่อว่าสัมปยุตด้วยเจตนา ฯลฯ
ผัสสะ ฯลฯ ปัคคาหะ และอวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น นี้เรียกว่า สุราเมรยมัชช-
ปมาทัฏฐานาเวรมณีสิกขาบท
[๗๑๑] สุราเมรยมัชชปมาทัฏฐานาเวรมณีสิกขาบท เป็นไฉน
จิตที่เป็นกามาวจรซึ่งเป็นกุศล สหรคตด้วยโสมนัส สัมปยุตด้วยญาณ เกิดขึ้น
โดยมีเหตุชักจูง ฯลฯ สหรคตด้วยโสมนัส วิปปยุตจากญาณ ฯลฯ สหรคตด้วย
โสมนัส วิปปยุตจากญาณ เกิดขึ้นโดยมีเหตุชักจูง ฯลฯ สหรคตด้วยอุเบกขา
สัมปยุต ด้วยญาณ ฯลฯ สหรคตด้วยอุเบกขา สัมปยุตด้วยญาณ เกิดขึ้นโดยมี
เหตุชักจูง ฯลฯ สหรคตด้วยอุเบกขา วิปปยุตจากญาณ ฯลฯ สหรคตด้วยอุเบกขา
วิปปยุตจากญาณ เป็นชั้นต่ำ ชั้นกลาง ชั้นประณีต เป็นฉันทาธิปไตย วิริยาธิปไตย
จิตตาธิปไตย เป็นฉันทาธิปไตย ชั้นต่ำ ชั้นกลาง ชั้นประณีต เป็นวิริยาธิปไตย
ชั้นต่ำ ชั้นกลาง ชั้นประณีต เป็นจิตตาธิปไตย ชั้นต่ำ ชั้นกลาง ชั้นประณีต เกิดขึ้น
แก่บุคคลผู้งดเว้นจากการดื่มน้ำเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท
โดยมีเหตุชักจูงในสมัยใด ในสมัยนั้น การงด การเว้น การงดเว้น การเว้นขาด
จากการดื่มน้ำเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท การไม่ทำ การเลิก
ทำ การไม่ล่วงละเมิด การไม่ล้ำเขต การกำจัดต้นเหตุแห่งการดื่มน้ำเมาคือสุรา
และเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท นี้เรียกว่า สุราเมรยมัชชปมาทัฏฐานา-
เวรมณีสิกขาบท สภาวธรรมที่เหลือชื่อว่าสัมปยุตด้วยเวรมณี ฯลฯ สภาวธรรมที่
เหลือชื่อว่าสัมปยุตด้วยเจตนา ฯลฯ ผัสสะ ฯลฯ ปัคคาหะ และอวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น
นี้เรียกว่า สุราเมรยมัชชปมาทัฏฐานาเวรมณีสิกขาบท

สภาวธรรมที่เป็นสิกขา
[๗๑๒] สภาวธรรมที่เป็นสิกขา เป็นไฉน
จิตที่เป็นกามาวจรซึ่งเป็นกุศล สหรคตด้วยโสมนัส สัมปยุตด้วยญาณ มีรูปเป็น
อารมณ์ ฯลฯ มีธรรมเป็นอารมณ์ หรือปรารภอารมณ์ใด ๆ เกิดขึ้น ในสมัยใด
ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นสิกขา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๔๕๓ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๔.สิกขาปทวิภังค์] ๒.ปัญหาปุจฉกะ
สภาวธรรมที่เป็นสิกขา เป็นไฉน
จิตที่เป็นกามาวจรซึ่งเป็นกุศล สหรคตด้วยโสมนัส สัมปยุตด้วยญาณ เกิดขึ้น
โดยมีเหตุชักจูง ฯลฯ สหรคตด้วยโสมนัส วิปปยุตจากญาณ ฯลฯ สหรคตด้วย
โสมนัส วิปปยุตจากญาณ เกิดขึ้นโดยมีเหตุชักจูง ฯลฯ สหรคตด้วยอุเบกขา
สัมปยุตด้วยญาณ ฯลฯ สหรคตด้วยอุเบกขา สัมปยุตด้วยญาณ เกิดขึ้นโดยเหตุ
ชักจูง ฯลฯ สหรคตด้วยอุเบกขา วิปปยุตจากญาณ ฯลฯ สหรคตด้วยอุเบกขา
วิปปยุตจากญาณ มีรูปเป็นอารมณ์ ฯลฯ มีธรรมเป็นอารมณ์ หรือปรารภอารมณ์
ใด ๆ เกิดขึ้นโดยมีเหตุชักจูง ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นสิกขา
[๗๑๓] สภาวธรรมที่เป็นสิกขา เป็นไฉน
ภิกษุเจริญมรรคเพื่อเข้าถึงรูปภพ ฯลฯ เจริญมรรคเพื่อเข้าถึงอรูปภพ ฯลฯ
เจริญฌานที่เป็นโลกุตตระซึ่งเป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ให้ถึงนิพพาน เพื่อละทิฏฐิ
เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌานที่เป็นทุกขาปฏิปทา-
ทันธาภิญญา อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นสิกขา
อภิธรรมภาชนีย์ จบ

๒. ปัญหาปุจฉกะ
[๗๑๔] สิกขาบท ๕ คือ
๑. ปาณาติปาตาเวรมณีสิกขาบท
๒. อทินนาทานาเวรมณีสิกขาบท
๓. กาเมสุมิจฉาจาราเวรมณีสิกขาบท
๔. มุสาวาทาเวรมณีสิกขาบท
๕. สุราเมรยมัชชปมาทัฏฐานาเวรมณีสิกขาบท

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๔๕๔ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๔.สิกขาปทวิภังค์] ๒.ปัญหาปุจฉกะ ๑.ติกมาติกาวิสัชนา
ติกมาติกาปุจฉา ทุกมาติกาปุจฉา
[๗๑๕] บรรดาสิกขาบท ๕ สิกขาบทเท่าไรเป็นกุศล เท่าไรเป็นอกุศล เท่าไร
เป็นอัพยากฤต ฯลฯ เท่าไรเป็นเหตุให้สัตว์ร้องไห้ เท่าไรไม่เป็นเหตุให้สัตว์ร้องไห้

๑. ติกมาติกาวิสัชนา
๑-๒๒. กุสลติกาทิวิสัชนา
[๗๑๖] สิกขาบท ๕ เป็นกุศลอย่างเดียว
สิกขาบท ๕ ที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาก็มี ที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนาก็มี
สิกขาบท ๕ เป็นเหตุให้เกิดวิบาก
สิกขาบท ๕ กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือแต่เป็นอารมณ์ของ
อุปาทาน
สิกขาบท ๕ กิเลสไม่ทำให้เศร้าหมองแต่เป็นอารมณ์ของกิเลส
สิกขาบท ๕ มีทั้งวิตกและวิจาร
สิกขาบท ๕ ที่สหรคตด้วยปีติก็มี ที่สหรคตด้วยสุขก็มี ที่สหรคตด้วย
อุเบกขาก็มี
สิกขาบท ๕ ไม่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคและมรรคเบื้องบน ๓
สิกขาบท ๕ ไม่มีเหตุต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคและมรรคเบื้องบน ๓
สิกขาบท ๕ เป็นเหตุให้ถึงปฏิสนธิและจุติ
สิกขาบท ๕ ไม่เป็นของเสขบุคคลและอเสขบุคคล
สิกขาบท ๕ เป็นปริตตะ
สิกขาบท ๕ มีปริตตะเป็นอารมณ์
สิกขาบท ๕ เป็นชั้นกลาง


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๔๕๕ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๔.สิกขาปทวิภังค์] ๒.ปัญหาปุจฉกะ ๒.ทุกมาติกาวิสัชนา
สิกขาบท ๕ ให้ผลไม่แน่นอน
สิกขาบท ๕ กล่าวไม่ได้ว่า มีมรรคเป็นอารมณ์ มีมรรคเป็นเหตุ หรือมีมรรค
เป็นอธิบดี
สิกขาบท ๕ ที่เกิดขึ้นก็มี ที่ยังไม่เกิดขึ้นก็มี แต่กล่าวไม่ได้ว่า จักเกิดขึ้นแน่นอน
สิกขาบท ๕ ที่เป็นอดีตก็มี ที่เป็นอนาคตก็มี ที่เป็นปัจจุบันก็มี
สิกขาบท ๕ มีปัจจุบันธรรมเป็นอารมณ์
สิกขาบท ๕ ที่เป็นภายในตนก็มี ที่เป็นภายนอกตนก็มี ที่เป็นภายในตนและ
ภายนอกตนก็มี
สิกขาบท ๕ มีธรรมภายนอกตนเป็นอารมณ์
สิกขาบท ๕ เห็นไม่ได้และกระทบไม่ได้

๒. ทุกมาติกาวิสัชนา
๑. เหตุโคจฉกวิสัชนา
[๗๑๗] สิกขาบท ๕ ไม่เป็นเหตุแต่มีเหตุ สิกขาบท ๕ สัมปยุตด้วยเหตุ
แต่กล่าวไม่ได้ว่าเป็นเหตุและมีเหตุ
สิกขาบท ๕ มีเหตุแต่ไม่เป็นเหตุ แต่กล่าวไม่ได้ว่า เป็นเหตุและสัมปยุตด้วย
เหตุ สิกขาบท ๕ สัมปยุตด้วยเหตุแต่ไม่เป็นเหตุ หรือไม่เป็นเหตุแต่มีเหตุ

๒. จูฬันตรทุกวิสัชนา
สิกขาบท ๕ มีปัจจัยปรุงแต่ง สิกขาบท ๕ ถูกปัจจัยปรุงแต่ง
สิกขาบท ๕ เห็นไม่ได้ สิกขาบท ๕ กระทบไม่ได้
สิกขาบท ๕ ไม่เป็นรูป สิกขาบท ๕ เป็นโลกิยะ
สิกขาบท ๕ จิตบางดวงรู้ได้ สิกขาบท ๕ จิตบางดวงรู้ไม่ได้


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๔๕๖ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๔.สิกขาปทวิภังค์] ๒.ปัญหาปุจฉกะ ๒.ทุกมาติกาวิสัชนา
๓. อาสวโคจฉกวิสัชนา
สิกขาบท ๕ ไม่เป็นอาสวะ สิกขาบท ๕ เป็นอารมณ์ของอาสวะ
สิกขาบท ๕ วิปปยุตจากอาสวะ แต่กล่าวไม่ได้ว่า เป็นอาสวะและเป็น
อารมณ์ของอาสวะ สิกขาบท ๕ เป็นอารมณ์ของอาสวะแต่ไม่เป็นอาสวะ
สิกขาบท ๕ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นอาสวะและสัมปยุตด้วยอาสวะ หรือสัมปยุต
ด้วยอาสวะแต่ไม่เป็นอาสวะ สิกขาบท ๕ วิปปยุตจากอาสวะแต่เป็นอารมณ์ของ
อาสวะ

๔-๑๒. สัญโญชนโคจฉกาทิวิสัชนา
สิกขาบท ๕ ไม่เป็นสังโยชน์ ฯลฯ ไม่เป็นคันถะ ฯลฯ ไม่เป็นโอฆะ ฯลฯ
ไม่เป็นโยคะ ฯลฯ ไม่เป็นนิวรณ์ ฯลฯ ไม่เป็นปรามาส ฯลฯ
สิกขาบท ๕ รับรู้อารมณ์ได้ สิกขาบท ๕ ไม่เป็นจิต
สิกขาบท ๕ เป็นเจตสิก สิกขาบท ๕ สัมปยุตด้วยจิต
สิกขาบท ๕ ระคนกับจิต สิกขาบท ๕ มีจิตเป็นสมุฏฐาน
สิกขาบท ๕ เกิดพร้อมกับจิต สิกขาบท ๕ เป็นไปตามจิต
สิกขาบท ๕ ระคนกับจิตและมีจิตเป็นสมุฏฐาน สิกขาบท ๕ ระคนกับจิต
มีจิตเป็นสมุฏฐานและเกิดพร้อมกับจิต
สิกขาบท ๕ ระคนกับจิตมีจิตเป็นสมุฏฐานและเป็นไปตามจิต สิกขาบท ๕
เป็นภายนอก
สิกขาบท ๕ ไม่เป็นอุปาทายรูป สิกขาบท ๕ กรรมอันประกอบด้วยตัณหา
และทิฏฐิไม่ยึดถือ
สิกขาบท ๕ ไม่เป็นอุปาทาน ฯลฯ ไม่เป็นกิเลส ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๔๕๗ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๔.สิกขาปทวิภังค์] ๒.ปัญหาปุจฉกะ ๒.ทุกมาติกาวิสัชนา
๑๓. ปิฏฐิทุกวิสัชนา
สิกขาบท ๕ ไม่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคและมรรคเบื้องบน ๓
สิกขาบท ๕ ไม่มีเหตุต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคและมรรคเบื้องบน ๓
สิกขาบท ๕ มีวิตก สิกขาบท ๕ มีวิจาร
สิกขาบท ๕ ที่มีปีติก็มี ที่ไม่มีปีติก็มี สิกขาบท ๕ ที่สหรคตด้วยปีติก็มี
ที่ไม่สหรคตด้วยปีติก็มี
สิกขาบท ๕ ที่สหรคตด้วยสุขก็มี ที่ไม่สหรคตด้วยสุขก็มี สิกขาบท ๕ ที่
สหรคตด้วยอุเบกขาก็มี ที่ไม่สหรคตด้วยอุเบกขาก็มี
สิกขาบท ๕ เป็นกามาวจร สิกขาบท ๕ ไม่เป็นรูปาวจร
สิกขาบท ๕ ไม่เป็นอรูปาวจร สิกขาบท ๕ เป็นโลกิยะ
สิกขาบท ๕ ไม่เป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ สิกขาบท ๕ ให้ผลไม่แน่นอน
สิกขาบท ๕ มีธรรมอื่นยิ่งกว่า สิกขาบท ๕ ไม่เป็นเหตุให้สัตว์ร้องไห้

ปัญหาปุจฉกะ จบ

สิกขาปทวิภังค์ จบบริบูรณ์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๔๕๘ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [ ๑๕. ปฏิสัมภิทาวิภังค์] ๑. สุตตันตภาชนีย์ ๓. เหตุวาร
๑๕. ปฏิสัมภิทาวิภังค์
๑. สุตตันตภาชนีย์
๑. สังคหวาร
[๗๑๘] ปฏิสัมภิทา ๔ คือ

๑. อัตถปฏิสัมภิทา (ปัญญาแตกฉานในอรรถ)
๒. ธัมมปฏิสัมภิทา (ปัญญาแตกฉานในธรรม)
๓. นิรุตติปฏิสัมภิทา (ปัญญาแตกฉานในนิรุตติ)
๔. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา (ปัญญาแตกฉานในปฏิภาน)

ความรู้ในอรรถชื่อว่าอัตถปฏิสัมภิทา๑ ความรู้ในธรรมชื่อว่าธัมมปฏิสัมภิทา
ความรู้ในการกล่าวธัมมนิรุตตินั้นชื่อว่านิรุตติปฏิสัมภิทา ความรู้ในญาณทั้งหลาย
ชื่อว่าปฏิภาณปฏิสัมภิทา นี้ชื่อว่าสังคหวาร

๒. สัจจวาร
[๗๑๙] ปฏิสัมภิทา ๔ คือ
๑. อัตถปฏิสัมภิทา ๒. ธัมมปฏิสัมภิทา
๓. นิรุตติปฏิสัมภิทา ๔. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา
ความรู้ในทุกข์ชื่อว่าอัตถปฏิสัมภิทา ความรู้ในทุกขสมุทัยชื่อว่าธัมมปฏิสัมภิทา
ความรู้ในทุกขนิโรธชื่อว่าอัตถปฏิสัมภิทา ความรู้ในทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาชื่อว่า
ธัมมปฏิสัมภิทา ความรู้ในการกล่าวธัมมนิรุตตินั้นชื่อว่านิรุตติปฏิสัมภิทา ความรู้ใน
ญาณทั้งหลายชื่อว่าปฏิภาณปฏิสัมภิทา นี้ชื่อว่าสัจจวาร

๓. เหตุวาร
[๗๒๐] ปฏิสัมภิทา ๔ คือ
๑. อัตถปฏิสัมภิทา ๒. ธัมมปฏิสัมภิทา
๓. นิรุตติปฏิสัมภิทา ๔. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา

เชิงอรรถ :
๑ อภิ.วิ.อ. ๗๑๘/๔๑๓

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๔๕๙ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [ ๑๕. ปฏิสัมภิทาวิภังค์] ๑. สุตตันตภาชนีย์ ๕. ปฏิจจสมุปปาทวาร
ความรู้ในเหตุชื่อว่าธัมมปฏิสัมภิทา ความรู้ในผลของเหตุชื่อว่าอัตถปฏิสัมภิทา
ความรู้ในการกล่าวธัมมนิรุตตินั้นชื่อว่านิรุตติปฏิสัมภิทา ความรู้ในญาณทั้งหลาย
ชื่อว่าปฏิภาณปฏิสัมภิทา นี้ชื่อว่าเหตุวาร

๔. ธัมมวาร
[๗๒๑] ปฏิสัมภิทา ๔ คือ
๑. อัตถปฏิสัมภิทา ๒. ธัมมปฏิสัมภิทา
๓. นิรุตติปฏิสัมภิทา ๔. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา
ธรรมเหล่าใดเกิดแล้ว มีแล้ว เกิดพร้อมแล้ว บังเกิดแล้ว บังเกิดเฉพาะแล้ว
ปรากฏแล้ว ความรู้ในธรรมเหล่านี้ชื่อว่าอัตถปฏิสัมภิทา ธรรมเหล่านั้นเกิดแล้ว มี
แล้ว เกิดพร้อมแล้ว บังเกิดแล้ว บังเกิดเฉพาะแล้ว ปรากฏแล้ว เพราะธรรมเหล่าใด
ความรู้ในธรรมเหล่านั้นชื่อว่าธัมมปฏิสัมภิทา ความรู้ในการกล่าวธัมมนิรุตตินั้นชื่อ
ว่านิรุตติปฏิสัมภิทา ความรู้ในญาณทั้งหลายชื่อว่าปฏิภาณปฏิสัมภิทา นี้ชื่อว่า ธัมมวาร

๕. ปฏิจจสมุปปาทวาร
[๗๒๒] ปฏิสัมภิทา ๔ คือ
๑. อัตถปฏิสัมภิทา ๒. ธัมมปฏิสัมภิทา
๓. นิรุตติปฏิสัมภิทา ๔. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา
ความรู้ในชรามรณะชื่อว่าอัตถปฏิสัมภิทา ความรู้ในเหตุเกิดแห่งชรามรณะชื่อ
ว่าธัมมปฏิสัมภิทา ความรู้ในความดับแห่งชรามรณะชื่อว่าอัตถปฏิสัมภิทา ความรู้
ในปฏิปทาที่เป็นเหตุให้ถึงความดับแห่งชรามรณะชื่อว่าธัมมปฏิสัมภิทา ความรู้ใน
การกล่าวธัมมนิรุตตินั้นชื่อว่านิรุตติปฏิสัมภิทา ความรู้ในญาณทั้งหลายชื่อว่า
ปฏิภาณปฏิสัมภิทา
[๗๒๓] ปฏิสัมภิทา ๔ คือ
๑. อัตถปฏิสัมภิทา ๒. ธัมมปฏิสัมภิทา
๓. นิรุตติปฏิสัมภิทา ๔. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๔๖๐ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๕.ปฏิสัมภิทาวิภังค์] ๒.อภิธรรมภาชนีย์ ๑.กุสลวาร
ความรู้ในชาติ ฯลฯ ความรู้ในภพ ฯลฯ ความรู้ในอุปาทาน ฯลฯ ความรู้
ในตัณหา ฯลฯ ความรู้ในเวทนา ฯลฯ ความรู้ในผัสสะ ฯลฯ ความรู้ในสฬายตนะ
ฯลฯ ความรู้ในนามรูป ฯลฯ ความรู้ในวิญญาณ ฯลฯ ความรู้ในสังขารทั้งหลาย
ชื่อว่าอัตถปฏิสัมภิทา ความรู้ในเหตุเกิดแห่งสังขารชื่อว่าธัมมปฏิสัมภิทา ความรู้ใน
ความดับแห่งสังขารชื่อว่าอัตถปฏิสัมภิทา ความรู้ในปฏิปทาที่เป็นเหตุให้ถึงความดับ
แห่งสังขารชื่อว่าธัมมปฏิสัมภิทา ความรู้ในการกล่าวธัมมนิรุตตินั้นชื่อว่านิรุตติ-
ปฏิสัมภิทา ความรู้ในญาณทั้งหลายชื่อว่าปฏิภาณปฏิสัมภิทา นี้ชื่อว่าปฏิจจสมุป-
ปาทวาร

๖. ปริยัตติวาร
[๗๒๔] ปฏิสัมภิทา ๔ คือ
๑. อัตถปฏิสัมภิทา ๒. ธัมมปฏิสัมภิทา
๓. นิรุตติปฏิสัมภิทา ๔. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา
บรรดาปฏิสัมภิทา ๔ เหล่านั้น ธัมมปฏิสัมภิทา เป็นไฉน
ภิกษุในธรรมวินัยนี้รู้ธรรม คือ สุตตะ เคยยะ เวยยากรณะ คาถา อุทาน
อิติวุตตกะ ชาดก อัพภูตธรรม เวทัลละ นี้เรียกว่า ธัมมปฏิสัมภิทา ภิกษุนั้นรู้
แตกฉานอรรถแห่งภาษิตนั้น ๆ ว่า นี้เป็นอรรถแห่งภาษิตนี้ นี้เป็นอรรถแห่ภาษิตนี้
นี้เรียกว่า อัตถปฏิสัมภิทา ความรู้ในการกล่าวธัมมนิรุตตินั้นชื่อว่านิรุตติปฏิสัมภิทา
ความรู้ในญาณทั้งหลายชื่อว่าปฏิภาณปฏิสัมภิทา นี้ชื่อว่าปริยัตติวาร
สุตตันตภาชนีย์ จบ

๒. อภิธรรมภาชนีย์
๑. กุสลวาร
[๗๒๕] ปฏิสัมภิทา ๔ คือ
๑. อัตถปฏิสัมภิทา ๒. ธัมมปฏิสัมภิทา
๓. นิรุตติปฏิสัมภิทา ๔. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๔๖๑ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๕.ปฏิสัมภิทาวิภังค์] ๒.อภิธรรมภาชนีย์ ๑.กุสลวาร
สภาวธรรมที่เป็นกุศล เป็นไฉน
จิตที่เป็นกามาวจรซึ่งเป็นกุศล สหรคตด้วยโสมนัส สัมปยุตด้วยญาณ มีรูป
เป็นอารมณ์ ฯลฯ มีธรรมเป็นอารมณ์ หรือปรารภอารมณ์ใด ๆ เกิดขึ้นในสมัยใด
ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล
ความรู้ในสภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าธัมมปฏิสัมภิทา ความรู้ในวิบากแห่งสภาวธรรม
เหล่านั้นชื่อว่าอัตถปฏิสัมภิทา การบัญญัติสภาวธรรมเหล่านั้นมีได้เพราะนิรุตติใด
ความรู้ในการกล่าวธัมมนิรุตตินั้นชื่อว่านิรุตติปฏิสัมภิทา บุคคลรู้ญาณเหล่านั้นได้
เพราะญาณใดว่า ญาณเหล่านี้ส่องเนื้อความนี้ ความรู้ในญาณทั้งหลายชื่อว่า
ปฏิภาณปฏิสัมภิทา
[๗๒๖] ปฏิสัมภิทา ๔ คือ
๑. อัตถปฏิสัมภิทา ๒. ธัมมปฏิสัมภิทา
๓. นิรุตติปฏิสัมภิทา ๔. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา
สภาวธรรมที่เป็นกุศล เป็นไฉน
จิตที่เป็นกามาวจรซึ่งเป็นกุศล สหรคตด้วยโสมนัส สัมปยุตด้วยญาณ เกิด
ขึ้นโดยมีเหตุชักจูง ฯลฯ สหรคตด้วยโสมนัส วิปปยุตจากญาณ ฯลฯ สหรคต
ด้วยโสมนัส วิปปยุตจากญาณ เกิดขึ้นโดยมีเหตุชักจูง ฯลฯ สหรคตด้วยอุเบกขา
สัมปยุตด้วยญาณ ฯลฯ สหรคตด้วยอุเบกขา สัมปยุตด้วยญาณ เกิดขึ้นโดยมี
เหตุชักจูง ฯลฯ สหรคตด้วยอุเบกขา วิปปยุตจากญาณ ฯลฯ สหรคตด้วยอุเบกขา
วิปปยุตจากญาณ มีรูปเป็นอารมณ์ ฯลฯ มีธรรมเป็นอารมณ์ หรือปรารภอารมณ์
ใด ๆ เกิดขึ้นโดยมีเหตุชักจูง ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล
ความรู้ในสภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าธัมมปฏิสัมภิทา ความรู้ในวิบากแห่งสภาว-
ธรรมเหล่านั้นชื่อว่าอัตถปฏิสัมภิทา การบัญญัติสภาวธรรมเหล่านั้นมีได้เพราะ
นิรุตติใด ความรู้ในการกล่าวธัมมนิรุตตินั้นชื่อว่านิรุตติปฏิสัมภิทา บุคคลรู้ญาณ
เหล่านั้นได้เพราะญาณใดว่า ญาณเหล่านี้ส่องเนื้อความนี้ ความรู้ในญาณทั้งหลาย
ชื่อว่าปฏิภาณปฏิสัมภิทา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๔๖๒ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๕.ปฏิสัมภิทาวิภังค์] ๒.อภิธรรมภาชนีย์ ๑.กุสลวาร
จำแนกปฏิสัมภิทา ๔ โดยรูปาวจรกุศลจิต
[๗๒๗] ปฏิสัมภิทา ๔ คือ
๑. อัตถปฏิสัมภิทา ๒. ธัมมปฏิสัมภิทา
๓. นิรุตติปฏิสัมภิทา ๔. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา
สภาวธรรมที่เป็นกุศล เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคเพื่อเข้าถึงรูปภพ สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐม-
ฌานที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ
ก็เกิดขึ้น สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล
ความรู้ในสภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าธัมมปฏิสัมภิทา ความรู้ในวิบากแห่งสภาว-
ธรรมเหล่านั้นชื่อว่าอัตถปฏิสัมภิทา การบัญญัติสภาวธรรมเหล่านั้นมีได้เพราะนิรุตติ
ใด ความรู้ในการกล่าวธัมมนิรุตตินั้นชื่อว่านิรุตติปฏิสัมภิทา บุคคลรู้ญาณเหล่านั้น
ได้เพราะญาณใดว่า ญาณเหล่านี้ส่องเนื้อความนี้ ความรู้ในญาณทั้งหลายชื่อว่า
ปฏิภาณปฏิสัมภิทา

จำแนกปฏิสัมภิทา ๔ โดยอรูปาวจรกุศลจิต
[๗๒๘] ปฏิสัมภิทา ๔ คือ
๑. อัตถปฏิสัมภิทา ๒. ธัมมปฏิสัมภิทา
๓. นิรุตติปฏิสัมภิทา ๔. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา
สภาวธรรมที่เป็นกุศล เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคเพื่อเข้าถึงอรูปภพ เพราะก้าวล่วงอากิญจัญญายตนะ
ได้โดยประการทั้งปวง ฯลฯ บรรลุจตุตถฌานที่สหรคตด้วยเนวสัญญานาสัญญายตน-
สัญญา ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข เพราะละสุขและทุกข์ได้ อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ
ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล
ความรู้ในสภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าธัมมปฏิสัมภิทา ความรู้ในวิบากแห่งสภาว-
ธรรมเหล่านั้นชื่อว่าอัตถปฏิสัมภิทา การบัญญัติสภาวธรรมเหล่านั้นมีได้เพราะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๔๖๓ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๕.ปฏิสัมภิทาวิภังค์] ๒.อภิธรรมภาชนีย์ ๒.อกุสลวาร
นิรุตติใด ความรู้ในการกล่าวธัมมนิรุตตินั้นชื่อว่านิรุตติปฏิสัมภิทา บุคคลรู้ญาณ
เหล่านั้นได้เพราะญาณใดว่า ญาณเหล่านี้ส่องเนื้อความนี้ ความรู้ในญาณทั้งหลาย
ชื่อว่าปฏิภาณปฏิสัมภิทา

จำแนกปฏิสัมภิทา ๔ โดยโลกุตตรกุศลจิต
[๗๒๙] ปฏิสัมภิทา ๔ คือ
๑. อัตถปฏิสัมภิทา ๒. ธัมมปฏิสัมภิทา
๓. นิรุตติปฏิสัมภิทา ๔. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา
สภาวธรรมที่เป็นกุศล เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคลเจริญฌานที่เป็นโลกุตตระซึ่งเป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ให้
ถึงนิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน
ที่เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา (ข้อปฏิบัติลำบากทั้งรู้ได้ช้า) อยู่ในสมัยใด ในสมัย
นั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล
ความรู้ในสภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าธัมมปฏิสัมภิทา ความรู้ในวิบากแห่งสภาว-
ธรรมเหล่านั้นชื่อว่าอัตถปฏิสัมภิทา การบัญญัติสภาวธรรมเหล่านั้นมีได้เพราะนิรุตติ
ใด ความรู้ในการกล่าวธัมมนิรุตตินั้นชื่อว่านิรุตติปฏิสัมภิทา บุคคลรู้ญาณเหล่านั้น
ได้เพราะญาณใดว่า ญาณเหล่านี้ส่องเนื้อความนี้ ความรู้ในญาณทั้งหลายชื่อว่า
ปฏิภาณปฏิสัมภิทา

๒. อกุสลวาร
จำแนกปฏิสัมภิทา ๔ โดยอกุศลจิต
[๗๓๐] ปฏิสัมภิทา ๔ คือ
๑. อัตถปฏิสัมภิทา ๒. ธัมมปฏิสัมภิทา
๓. นิรุตติปฏิสัมภิทา ๔. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา
สภาวธรรมที่เป็นอกุศล เป็นไฉน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๔๖๔ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๕.ปฏิสัมภิทาวิภังค์] ๒.อภิธรรมภาชนีย์ ๒.อกุสลวาร
จิตที่เป็นอกุศล สหรคตด้วยโสมนัส สัมปยุตด้วยทิฏฐิ มีรูปเป็นอารมณ์ ฯลฯ
มีธรรมเป็นอารมณ์ หรือปรารภอารมณ์ใด ๆ เกิดขึ้นในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ
ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นอกุศล
ความรู้ในสภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าธัมมปฏิสัมภิทา ความรู้ในวิบากแห่งสภาว-
ธรรมเหล่านั้นชื่อว่าอัตถปฏิสัมภิทา การบัญญัติสภาวธรรมเหล่านั้นมีได้เพราะนิรุตติ
ใด ความรู้ในการกล่าวธัมมนิรุตตินั้นชื่อว่านิรุตติปฏิสัมภิทา บุคคลรู้ญาณเหล่านั้น
ได้เพราะญาณใดว่า ญาณเหล่านี้ส่องเนื้อความนี้ ความรู้ในญาณทั้งหลายชื่อว่า
ปฏิภาณปฏิสัมภิทา
[๗๓๑] ปฏิสัมภิทา ๔ คือ
๑. อัตถปฏิสัมภิทา ๒. ธัมมปฏิสัมภิทา
๓. นิรุตติปฏิสัมภิทา ๔. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา
สภาวธรรมที่เป็นอกุศล เป็นไฉน
จิตที่เป็นอกุศล สหรคตด้วยโสมนัส สัมปยุตด้วยทิฏฐิ เกิดขึ้นโดยมีเหตุ
ชักจูง ฯลฯ สหรคตด้วยโสมนัส วิปปยุตจากทิฏฐิ ฯลฯ สหรคตด้วยโสมนัส วิปปยุต
จากทิฏฐิ เกิดขึ้นโดยมีเหตุชักจูง ฯลฯ สหรคตด้วยอุเบกขา สัมปยุตด้วยทิฏฐิ ฯลฯ
สหรคตด้วยอุเบกขา สัมปยุตด้วยทิฏฐิ เกิดขึ้นโดยมีเหตุชักจูง ฯลฯ สหรคตด้วย
อุเบกขา วิปปยุตจากทิฏฐิ ฯลฯ สหรคตด้วยอุเบกขา วิปปยุตจากทิฏฐิ เกิดขึ้นโดย
มีเหตุชักจูง ฯลฯ สหรคตด้วยโทมนัส สัมปยุตด้วยปฏิฆะ ฯลฯ สหรคตด้วยโทมนัส
สัมปยุตด้วยปฏิฆะ ฯลฯ เกิดขึ้นโดยมีเหตุชักจูง ฯลฯ สหรคตด้วยอุเบกขา สัมปยุต
ด้วยวิจิกิจฉา ฯลฯ สหรคตด้วยอุเบกขา สัมปยุตด้วยอุทธัจจะ มีรูปเป็นอารมณ์
ฯลฯ มีธรรมเป็นอารมณ์ หรือปรารภอารมณ์ใด ๆ เกิดขึ้นในสมัยใด ในสมัยนั้น
ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นอกุศล
ความรู้ในสภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าธัมมปฏิสัมภิทา ความรู้ในวิบากแห่งสภาว-
ธรรม เหล่านั้นชื่อว่าอัตถปฏิสัมภิทา การบัญญัติสภาวธรรมเหล่านั้นมีได้เพราะนิรุตติ
ใด ความรู้ในการกล่าวธัมมนิรุตตินั้นชื่อว่านิรุตติปฏิสัมภิทา บุคคลรู้ญาณเหล่านั้น
ได้เพราะญาณใดว่า ญาณเหล่านี้ส่องเนื้อความนี้ ความรู้ในญาณทั้งหลายชื่อว่า
ปฏิภาณปฏิสัมภิทา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๔๖๕ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๕.ปฏิสัมภิทาวิภังค์] ๒.อภิธรรมภาชนีย์ ๓.วิปากวาร
๓. วิปากวาร
จำแนกปฏิสัมภิทา ๓ โดยอเหตุกกุศลวิปากจิต
[๗๓๒] ปฏิสัมภิทา ๓ คือ
๑. อัตถปฏิสัมภิทา ๒. นิรุตติปฏิสัมภิทา
๓. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา
สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤต เป็นไฉน
จักขุวิญญาณที่เป็นวิบาก สหรคตด้วยอุเบกขา มีรูปเป็นอารมณ์เกิดขึ้นเพราะ
ได้ทำได้สั่งสมกามาวจรกุศลกรรมไว้ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ เวทนา สัญญา
เจตนา จิต อุเบกขา เอกัคคตา มนินทรีย์ อุเปกขินทรีย์ และชีวิตินทรีย์ ก็เกิดขึ้น
หรือสภาวธรรมที่ไม่เป็นรูปแม้อื่นซึ่งอิงอาศัยกันเกิดขึ้นมีอยู่ในสมัยนั้น สภาวธรรม
เหล่านี้ชื่อว่าเป็นอัพยากฤต
ความรู้ในสภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าอัตถปฏิสัมภิทา การบัญญัติสภาวธรรม
เหล่านั้นมีได้เพราะนิรุตติใด ความรู้ในการกล่าวธัมมนิรุตตินั้นชื่อว่านิรุตติปฏิสัมภิทา
บุคคลรู้ญาณเหล่านั้นได้เพราะญาณใดว่า ญาณเหล่านี้ส่องเนื้อความนี้ ความรู้ใน
ญาณทั้งหลายชื่อว่าปฏิภาณปฏิสัมภิทา
[๗๓๓] ปฏิสัมภิทา ๓ คือ
๑. อัตถปฏิสัมภิทา ๒. นิรุตติปฏิสัมภิทา
๓. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา
สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤต เป็นไฉน
โสตวิญญาณที่เป็นวิบาก สหรคตด้วยอุเบกขา มีเสียงเป็นอารมณ์เกิดขึ้น ฯลฯ
ฆานวิญญาณที่เป็นวิบาก สหรคตด้วยอุเบกขา มีกลิ่นเป็นอารมณ์เกิดขึ้น ฯลฯ
ชิวหาวิญญาณที่เป็นวิบาก สหรคตด้วยอุเบกขา มีรสเป็นอารมณ์เกิดขึ้น ฯลฯ
กายวิญญาณที่เป็นวิบาก สหรคตด้วยสุข มีโผฏฐัพพะเป็นอารมณ์เกิดขึ้น เพราะ
ได้ทำได้สั่งสมกามาวจรกุศลกรรมไว้ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ เวทนา สัญญา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๔๖๖ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๕.ปฏิสัมภิทาวิภังค์] ๒.อภิธรรมภาชนีย์ ๓.วิปากวาร
เจตนา จิต สุข เอกัคคตา มนินทรีย์ สุขินทรีย์ และชีวิตินทรีย์ ก็เกิดขึ้น หรือ
สภาวธรรมที่ไม่เป็นรูปแม้อื่นซึ่งอิงอาศัยกันเกิดขึ้นมีอยู่ในสมัยนั้น สภาวธรรมเหล่า
นี้ชื่อว่าเป็นอัพยากฤต
ความรู้ในสภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าอัตถปฏิสัมภิทา การบัญญัติสภาวธรรม
เหล่านั้นมีได้เพราะนิรุตติใด ความรู้ในการกล่าวธัมมนิรุตตินั้น ชื่อว่านิรุตติปฏิสัมภิทา
บุคคลรู้ญาณเหล่านั้นได้เพราะญาณใดว่า ญาณเหล่านี้ส่องเนื้อความนี้ ความรู้ใน
ญาณทั้งหลายชื่อว่าปฏิภาณปฏิสัมภิทา
[๗๓๔] ปฏิสัมภิทา ๓ คือ
๑. อัตถปฏิสัมภิทา ๒. นิรุตติปฏิสัมภิทา
๓. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา
สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤต เป็นไฉน
มโนวิญญาณธาตุที่เป็นวิบาก สหรคตด้วยอุเบกขา มีรูปเป็นอารมณ์ ฯลฯ
มีโผฏฐัพพะเป็นอารมณ์ หรือปรารภอารมณ์ใด ๆ เกิดขึ้น เพราะได้ทำได้สั่งสม
กามาวจรกุศลกรรมไว้ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา จิต วิตก
วิจาร อุเบกขา เอกัคคตา มนินทรีย์ อุเปกขินทรีย์ และชีวิตินทรีย์ ก็เกิดขึ้น
หรือสภาวธรรมที่ไม่เป็นรูปแม้อื่นซึ่งอิงอาศัยกันเกิดขึ้นมีอยู่ในสมัยนั้น สภาวธรรม
เหล่านี้ชื่อว่าเป็นอัพยากฤต
ความรู้ในสภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าอัตถปฏิสัมภิทา การบัญญัติสภาวธรรม
เหล่านั้นมีได้เพราะนิรุตติใด ความรู้ในการกล่าวธัมมนิรุตตินั้นชื่อว่านิรุตติปฏิสัมภิทา
บุคคลรู้ญาณเหล่านั้นได้เพราะญาณใดว่า ญาณเหล่านี้ส่องเนื้อความนี้ ความรู้ใน
ญาณทั้งหลายชื่อว่าปฏิภาณปฏิสัมภิทา
[๗๓๕] ปฏิสัมภิทา ๓ คือ
๑. อัตถปฏิสัมภิทา ๒. นิรุตติปฏิสัมภิทา
๓. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๔๖๗ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๕.ปฏิสัมภิทาวิภังค์] ๒.อภิธรรมภาชนีย์ ๓.วิปากวาร
สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤต เป็นไฉน
มโนวิญญาณธาตุที่เป็นวิบาก สหรคตด้วยโสมนัส มีรูปเป็นอารมณ์ ฯลฯ
มีธรรมเป็นอารมณ์ หรือปรารภอารมณ์ใด ๆ เกิดขึ้น เพราะได้ทำได้สั่งสมกามาวจร
กุศลกรรมไว้ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา จิต วิตก
วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา มนินทรีย์ โสมนัสสินทรีย์ และชีวิตินทรีย์ ก็เกิดขึ้น
หรือสภาวธรรมที่ไม่เป็นรูปแม้อื่นซึ่งอิงอาศัยกันเกิดขึ้นมีอยู่ในสมัยนั้น สภาวธรรม
เหล่านี้ชื่อว่าเป็นอัพยากฤต
ความรู้ในสภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าอัตถปฏิสัมภิทา การบัญญัติสภาวธรรม
เหล่านั้นมีได้เพราะนิรุตติใด ความรู้ในการกล่าวธัมมนิรุตตินั้น ชื่อว่านิรุตติปฏิสัมภิทา
บุคคลรู้ญาณเหล่านั้นได้เพราะญาณใดว่า ญาณเหล่านี้ส่องเนื้อความนี้ ความรู้ใน
ญาณทั้งหลายชื่อว่าปฏิภาณปฏิสัมภิทา
[๗๓๖] ปฏิสัมภิทา ๓ คือ
๑. อัตถปฏิสัมภิทา ๒. นิรุตติปฏิสัมภิทา
๓. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา
สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤต เป็นไฉน
มโนวิญญาณธาตุที่เป็นวิบาก สหรคตด้วยอุเบกขา มีรูปเป็นอารมณ์ ฯลฯ
มีธรรมเป็นอารมณ์ หรือปรารภอารมณ์ใด ๆ เกิดขึ้น เพราะได้ทำได้สั่งสม
กามาวจรกุศลกรรมไว้ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา จิต วิตก
วิจาร อุเบกขา เอกัคคตา มนินทรีย์ อุเปกขินทรีย์ และชีวิตินทรีย์ ก็เกิดขึ้น
หรือสภาวธรรมที่ไม่เป็นรูปแม้อื่นซึ่งอิงอาศัยกันเกิดขึ้นมีอยู่ในสมัยนั้น สภาวธรรม
เหล่านี้ชื่อว่าเป็นอัพยากฤต
ความรู้ในสภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าอัตถปฏิสัมภิทา การบัญญัติสภาวธรรม
เหล่านั้นมีได้เพราะนิรุตติใด ความรู้ในการกล่าวธัมมนิรุตตินั้นชื่อว่านิรุตติปฏิสัมภิทา
บุคคลรู้ญาณเหล่านั้นได้เพราะญาณใดว่า ญาณเหล่านี้ส่องเนื้อความนี้ ความรู้ใน
ญาณทั้งหลายชื่อว่าปฏิภาณปฏิสัมภิทา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๔๖๘ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๕.ปฏิสัมภิทาวิภังค์] ๒.อภิธรรมภาชนีย์ ๓.วิปากวาร
จำแนกปฏิสัมภิทา ๓ โดยกามาวจรวิปากจิต
[๗๓๗] ปฏิสัมภิทา ๓ คือ
๑. อัตถปฏิสัมภิทา ๒. นิรุตติปฏิสัมภิทา
๓. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา
สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤต เป็นไฉน
มโนวิญญาณธาตุที่เป็นวิบาก สหรคตด้วยโสมนัส สัมปยุตด้วยญาณ ฯลฯ
สหรคตด้วยโสมนัส สัมปยุตด้วยญาณ เกิดขึ้นโดยมีเหตุชักจูง ฯลฯ สหรคตด้วย
โสมนัส วิปปยุตจากญาณ ฯลฯ สหรคตด้วยโสมนัส วิปปยุตจากญาณเกิดขึ้น
โดยมีเหตุชักจูง ฯลฯ สหรคตด้วยอุเบกขา สัมปยุตด้วยญาณ ฯลฯ สหรคตด้วย
อุเบกขา สัมปยุตด้วยญาณเกิดขึ้นโดยมีเหตุชักจูง ฯลฯ สหรคตด้วยอุเบกขา วิปปยุต
จากญาณ ฯลฯ สหรคตด้วยอุเบกขา วิปปยุตจากญาณ มีรูปเป็นอารมณ์ ฯลฯ
มีธรรมเป็นอารมณ์ หรือปรารภอารมณ์ใด ๆ เกิดขึ้นเพราะได้ทำได้สั่งสมกามาวจร-
กุศลกรรมโดยมีเหตุชักจูงในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นอัพยากฤต
ความรู้ในสภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าอัตถปฏิสัมภิทา การบัญญัติสภาวธรรม
เหล่านั้นมีได้ด้วยนิรุตติใด ความรู้ในการกล่าวธัมมนิรุตตินั้นชื่อว่านิรุตติปฏิสัมภิทา
บุคคลรู้ญาณเหล่านั้นได้เพราะญาณใดว่า ญาณเหล่านี้ส่องเนื้อความนี้ ความรู้ใน
ญาณทั้งหลายชื่อว่าปฏิภาณปฏิสัมภิทา
[๗๓๘] ปฏิสัมภิทา ๓ คือ
๑. อัตถปฏิสัมภิทา ๒. นิรุตติปฏิสัมภิทา
๓. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา
สภาวธรรมเป็นอัพยากฤต เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคเพื่อเข้าถึงรูปภพ สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐม-
ฌานที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ
ก็เกิดขึ้น สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๔๖๙ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๕.ปฏิสัมภิทาวิภังค์] ๒.อภิธรรมภาชนีย์ ๓.วิปากวาร
โยคาวจรบุคคลสงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌานที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์
ซึ่งเป็นวิบาก เพราะได้ทำได้สั่งสมรูปาวจรกุศลกรรมนั้นนั่นแหละ อยู่ในสมัยใด ใน
สมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นอัพยากฤต
ความรู้ในสภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าอัตถปฏิสัมภิทา การบัญญัติสภาวธรรม
เหล่านั้นมีได้เพราะนิรุตติใด ความรู้ในการกล่าวธัมมนิรุตตินั้นชื่อว่านิรุตติปฏิสัมภิทา
บุคคลรู้ญาณเหล่านั้นได้เพราะญาณใดว่า ญาณเหล่านี้ส่องเนื้อความนี้ ความรู้ใน
ญาณทั้งหลายชื่อว่าปฏิภาณปฏิสัมภิทา

จำแนกปฏิสัมภิทา ๓ โดยอรูปาวจรวิปากจิต
[๗๓๙] ปฏิสัมภิทา ๓ คือ
๑. อัตถปฏิสัมภิทา ๒. นิรุตติปฏิสัมภิทา
๓. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา
สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤต เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคเพื่อเข้าถึงอรูปภพ เพราะก้าวล่วงอากิญจัญญายตนะ
ได้โดยประการทั้งปวง จึงบรรลุจตุตถฌานที่สหรคตด้วยเนวสัญญานาสัญญายตนสัญญา
ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข เพราะละสุขและทุกข์ได้ ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ
ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล
โยคาวจรบุคคล เพราะได้ทำได้สั่งสมอรูปาวจรกุศลกรรมนั้นนั่นแหละ เพราะ
ก้าวล่วงอากิญจัญญายตนะได้โดยประการทั้งปวง จึงบรรลุจตุตถฌานที่สหรคตด้วย
เนวสัญญานาสัญญายตนสัญญา ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข เพราะละสุขและทุกข์ได้ ฯลฯ
อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น สภาวธรรมเหล่านี้
ชื่อว่าเป็นอัพยากฤต
ความรู้ในสภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าอัตถปฏิสัมภิทา การบัญญัติสภาวธรรม
เหล่านั้นมีได้เพราะนิรุตติใด ความรู้ในการกล่าวธัมมนิรุตตินั้นชื่อว่านิรุตติปฏิสัมภิทา
บุคคลรู้ญาณเหล่านั้นได้เพราะญาณใดว่า ญาณเหล่านี้ส่องเนื้อความนี้ ความรู้ใน
ญาณทั้งหลายชื่อว่าปฏิภาณปฏิสัมภิทา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๔๗๐ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๕.ปฏิสัมภิทาวิภังค์] ๒.อภิธรรมภาชนีย์ ๓.วิปากวาร
จำแนกปฏิสัมภิทา ๓ โดยโลกุตตรวิปากจิต
[๗๔๐] ปฏิสัมภิทา ๓ คือ
๑. อัตถปฏิสัมภิทา ๒. นิรุตติปฏิสัมภิทา
๓. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา
สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤต เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคลเจริญฌานที่เป็นโลกุตตระซึ่งเป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ให้ถึง
นิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน
ที่เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ
ก็เกิดขึ้น สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล
โยคาวจรบุคคลสงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌานที่เป็นสุญญตะ เป็น
ทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา ซึ่งเป็นวิบาก เพราะได้ทำได้เจริญโลกุตตรกุศลกรรมนั้น
นั่นแหละ อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น สภาวธรรม
เหล่านี้ชื่อว่าเป็นอัพยากฤต
ความรู้ในสภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าอัตถปฏิสัมภิทา การบัญญัติสภาวธรรม
เหล่านั้นมีได้เพราะนิรุตติใด ความรู้ในการกล่าวธัมมนิรุตตินั้นชื่อว่านิรุตติปฏิสัมภิทา
บุคคลรู้ญาณเหล่านั้นได้เพราะญาณใดว่า ญาณเหล่านี้ส่องเนื้อความนี้ ความรู้ใน
ญาณทั้งหลายชื่อว่าปฏิภาณปฏิสัมภิทา

จำแนกปฏิสัมภิทา ๓ โดยอกุศลวิปากจิต
[๗๔๑] ปฏิสัมภิทา ๓ คือ
๑. อัตถปฏิสัมภิทา ๒. นิรุตติปฏิสัมภิทา
๓. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา
สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤต เป็นไฉน
จักขุวิญญาณที่เป็นวิบาก สหรคตด้วยอุเบกขา มีรูปเป็นอารมณ์เกิดขึ้น ฯลฯ
โสตวิญญาณที่เป็นวิบาก สหรคตด้วยอุเบกขา มีเสียงเป็นอารมณ์เกิดขึ้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๔๗๑ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๕.ปฏิสัมภิทาวิภังค์] ๒.อภิธรรมภาชนีย์ ๓.วิปากวาร
ฆานวิญญาณที่เป็นวิบาก สหรคตด้วยอุเบกขา มีกลิ่นเป็นอารมณ์เกิดขึ้น ฯลฯ
ชิวหาวิญญาณที่เป็นวิบาก สหรคตด้วยอุเบกขา มีรสเป็นอารมณ์เกิดขึ้น ฯลฯ
กายวิญญาณที่เป็นวิบาก สหรคตด้วยทุกข์ มีโผฏฐัพพะเป็นอารมณ์เกิดขึ้น
เพราะได้ทำได้สั่งสมอกุศลกรรมไว้ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ เวทนา สัญญา
เจตนา จิต ทุกข์ เอกัคคตา มนินทรีย์ ทุกขินทรีย์ และชีวิตินทรีย์ ก็เกิดขึ้น
หรือสภาวธรรมที่ไม่เป็นรูปแม้อื่นซึ่งอิงอาศัยกันเกิดขึ้นมีอยู่ในสมัยนั้น สภาวธรรม
เหล่านี้ชื่อว่าเป็นอัพยากฤต
ความรู้ในสภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าอัตถปฏิสัมภิทา การบัญญัติสภาวธรรม
เหล่านั้นมีได้เพราะนิรุตติใด ความรู้ในการกล่าวธัมมนิรุตตินั้นชื่อว่านิรุตติปฏิสัมภิทา
บุคคลรู้ญาณเหล่านั้นได้เพราะญาณใดว่า ญาณเหล่านี้ส่องเนื้อความนี้ ความรู้ใน
ญาณทั้งหลายชื่อว่าปฏิภาณปฏิสัมภิทา
[๗๔๒] ปฏิสัมภิทา ๓ คือ
๑. อัตถปฏิสัมภิทา ๒. นิรุตติปฏิสัมภิทา
๓. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา
สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤต เป็นไฉน
มโนธาตุที่เป็นวิบาก สหรคตด้วยอุเบกขา มีรูปเป็นอารมณ์ ฯลฯ หรือมี
โผฏฐัพพะเป็นอารมณ์เกิดขึ้น ฯลฯ
มโนวิญญาณธาตุที่เป็นวิบาก สหรคตด้วยอุเบกขา มีรูปเป็นอารมณ์ ฯลฯ มี
ธรรมเป็นอารมณ์ หรือปรารภอารมณ์ใด ๆ เกิดขึ้น เพราะได้ทำได้สั่งสมอกุศลกรรม
ไว้ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา จิต วิตก วิจาร อุเบกขา
เอกัคคตา มนินทรีย์ อุเปกขินทรีย์ และชีวิตินทรีย์ ก็เกิดขึ้น หรือสภาวธรรมที่
ไม่เป็นรูปแม้อื่นซึ่งอิงอาศัยกันเกิดขึ้นมีอยู่ในสมัยนั้น สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็น
อัพยากฤต
ความรู้ในสภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าอัตถปฏิสัมภิทา การบัญญัติสภาวธรรม
เหล่านั้นมีได้เพราะนิรุตติใด ความรู้ในการกล่าวธัมมนิรุตตินั้นชื่อว่านิรุตติปฏิสัมภิทา
บุคคลรู้ญาณเหล่านั้นได้เพราะญาณใดว่า ญาณเหล่านี้ส่องเนื้อความนี้ ความรู้ใน
ญาณทั้งหลายชื่อว่าปฏิภาณปฏิสัมภิทา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๔๗๒ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๕.ปฏิสัมภิทาวิภังค์] ๒.อภิธรรมภาชนีย์ ๔.กิริยาวาร
๔. กิริยาวาร
จำแนกปฏิสัมภิทา ๓ โดยอเหตุกกิริยาจิต
[๗๔๓] ปฏิสัมภิทา ๓ คือ
๑. อัตถปฏิสัมภิทา ๒. นิรุตติปฏิสัมภิทา
๓. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา
สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤต เป็นไฉน
มโนธาตุที่เป็นกิริยา ไม่เป็นกุศล ไม่เป็นอกุศล และไม่เป็นวิบากแห่งกรรม
สหรคตด้วยอุเบกขา มีรูปเป็นอารมณ์ ฯลฯ มีโผฏฐัพพะเป็นอารมณ์ หรือปรารภ
อารมณ์ใด ๆ เกิดขึ้นในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา จิต
วิบาก วิจาร อุเบกขา เอกัคคตา มนินทรีย์ อุเปกขินทรีย์ และชีวิตินทรีย์ ก็เกิดขึ้น
หรือสภาวธรรมที่ไม่เป็นรูปแม้อื่นซึ่งอิงอาศัยกันเกิดขึ้นมีอยู่ในสมัยนั้น สภาวธรรม
เหล่านั้นชื่อว่าเป็นอัพยากฤต
ความรู้ในสภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าอัตถปฏิสัมภิทา การบัญญัติสภาวธรรม
เหล่านั้นมีได้เพราะนิรุตติใด ความรู้ในการกล่าวธัมมนิรุตตินั้นชื่อว่านิรุตติปฏิสัมภิทา
บุคคลรู้ญาณเหล่านั้นได้เพราะญาณใดว่า ญาณเหล่านี้ส่องเนื้อความนี้ ความรู้ใน
ญาณทั้งหลายชื่อว่าปฏิภาณปฏิสัมภิทา
[๗๔๔] ปฏิสัมภิทา ๓ คือ
๑. อัตถปฏิสัมภิทา ๒. นิรุตติปฏิสัมภิทา
๓. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา
สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤต เป็นไฉน
มโนวิญญาณธาตุที่เป็นกิริยา ไม่เป็นกุศล ไม่เป็นอกุศล และไม่เป็นวิบาก
แห่งกรรม สหรคตด้วยโสมนัส มีรูปเป็นอารมณ์ ฯลฯ มีธรรมเป็นอารมณ์เกิดขึ้น
ฯลฯ
มโนวิญญาณธาตุที่เป็นกิริยา ไม่เป็นกุศล ไม่เป็นอกุศล และไม่เป็นวิบากแห่ง
กรรม มีรูปเป็นอารมณ์ ฯลฯ มีธรรมเป็นอารมณ์ หรือปรารภอารมณ์ใด ๆ เกิด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๔๗๓ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๕.ปฏิสัมภิทาวิภังค์] ๒.อภิธรรมภาชนีย์ ๔.กิริยาวาร
ขึ้นในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา จิต วิตก วิจาร
อุเบกขา เอกัคคตา วิริยินทรีย์ สมาธินทรีย์ มนินทรีย์ อุเปกขินทรีย์ และ
ชีวิตินทรีย์ ก็เกิดขึ้น หรือสภาวธรรมที่ไม่เป็นรูปแม้อื่นซึ่งอิงอาศัยกันเกิดขึ้นมีอยู่ใน
สมัยนั้น สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นอัพยากฤต
ความรู้ในสภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าอัตถปฏิสัมภิทา การบัญญัติสภาวธรรม
เหล่านั้นมีได้เพราะนิรุตติใด ความรู้ในการกล่าวธัมมนิรุตตินั้นชื่อว่านิรุตติปฏิสัมภิทา
บุคคลรู้ญาณเหล่านั้นได้เพราะญาณใดว่า ญาณเหล่านี้ส่องเนื้อความนี้ ความรู้ใน
ญาณทั้งหลายชื่อว่าปฏิภาณปฏิสัมภิทา

จำแนกปฏิสัมภิทา ๓ โดยกิริยาจิต
[๗๔๕] ปฏิสัมภิทา ๓ คือ
๑. อัตถปฏิสัมภิทา ๒. นิรุตติปฏิสัมภิทา
๓. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา
สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤต เป็นไฉน
มโนวิญญาณธาตุที่เป็นกิริยา ไม่เป็นกุศล ไม่เป็นอกุศล และไม่เป็นวิบากแห่ง
กรรม สหรคตด้วยโสมนัส สัมปยุตด้วยญาณ ฯลฯ สหรคตด้วยโสมนัส สัมปยุต
ด้วยญาณ เกิดขึ้นโดยมีเหตุชักจูง ฯลฯ สหรคตด้วยโสมนัส วิปปยุตจากญาณ ฯลฯ
สหรคตด้วยโสมนัส วิปปยุตจากญาณ เกิดขึ้นโดยมีเหตุชักจูง ฯลฯ สหรคตด้วย
อุเบกขา สัมปยุตด้วยญาณ ฯลฯ สหรคตด้วยอุเบกขา สัมปยุตด้วยญาณ เกิดขึ้น
โดยมีเหตุชักจูง ฯลฯ สหรตคด้วยอุเบกขา วิปปยุตจากญาณ ฯลฯ สหรคตด้วย
อุเบกขา วิปปยุตจากญาณ เกิดขึ้นโดยมีเหตุชักจูง ฯลฯ
โยคาวจรบุคคลเจริญรูปาวจรฌาน ฯลฯ เจริญอรูปาวจรฌานที่เป็นกิริยา ไม่
เป็นกุศล ไม่เป็นอกุศล และไม่เป็นวิบากแห่งกรรม เป็นธรรมเครื่องอยู่เป็นสุขใน
ปัจจุบัน ฯลฯ เพราะก้าวล่วงอากิญจัญญายตนะได้โดยประการทั้งปวง จึงบรรลุ
จตุตถฌานที่สหรคตด้วยเนวสัญญานาสัญญายตนสัญญา ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข เพราะ
ละสุขและทุกข์ได้ อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นอัพยากฤต

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๔๗๔ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๕.ปฏิสัมภิทาวิภังค์] ๓.ปัญหาปุจฉกะ ๑.ติกมาติกาวิสัชนา
ความรู้ในสภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าอัตถปฏิสัมภิทา การบัญญัติสภาวธรรม
เหล่านั้นมีได้เพราะนิรุตติใด ความรู้ในการกล่าวธัมมนิรุตตินั้นชื่อว่านิรุตติปฏิสัมภิทา
บุคคลรู้ญาณเหล่านั้นได้เพราะญาณใดว่า ญาณเหล่านี้ส่องเนื้อความนี้ ความรู้ใน
ญาณทั้งหลายชื่อว่าปฏิภาณปฏิสัมภิทา
[๗๔๖] ปฏิสัมภิทา ๔ คือ
๑. อัตถปฏิสัมภิทา ๒. ธัมมปฏิสัมภิทา
๓. นิรุตติปฏิสัมภิทา ๔. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา
ปฏิสัมภิทา ๓ เกิดขึ้นในจิตตุปบาทที่สัมปยุตด้วยญาณ ๔ ฝ่ายกามาวจรกุศล
เกิดขึ้นในจิตตุปบาทที่สัมปยุตด้วยญาณ ๔ ฝ่ายกิริยา อัตถปฏิสัมภิทาเกิดขึ้นใน
จิตตุปบาทเหล่านี้ และเกิดขึ้นในมรรค ๔ ผล ๔
อภิธรรมภาชนีย์ จบ

๓. ปัญหาปุจฉกะ
[๗๔๗] ปฏิสัมภิทา ๔ คือ
๑. อัตถปฏิสัมภิทา ๒. ธัมมปฏิสัมภิทา
๓. นิรุตติปฏิสัมภิทา ๔. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา

ติกมาติกาปุจฉา ทุกมาติกาปุจฉา
[๗๔๘] บรรดาปฏิสัมภิทา ๔ ปฏิสัมภิทา เท่าไรเป็นกุศล เท่าไรเป็นอกุศล
เท่าไรเป็นอัพยากฤต ฯลฯ เท่าไรเป็นเหตุให้สัตว์ร้องไห้ เท่าไรไม่เป็นเหตุให้สัตว์
ร้องไห้

๑. ติกมาติกาวิสัชนา
๑-๒๒. กุสลติกาทิวิสัชนา
[๗๔๙] ปฏิสัมภิทา ๔ ที่เป็นกุศลก็มี ที่เป็นอัพยากฤตก็มี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๔๗๕ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๕.ปฏิสัมภิทาวิภังค์] ๓.ปัญหาปุจฉกะ ๑.ติกมาติกาวิสัชนา
ปฏิสัมภิทา ๔ ที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาก็มี ที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา
ก็มี
ปฏิสัมภิทา ๓ ที่เป็นเหตุให้เกิดวิบากก็มี ที่ไม่เป็นวิบากและไม่เป็นเหตุให้เกิด
วิบากก็มี อัตถปฏิสัมภิทาที่เป็นวิบากก็มี ที่เป็นเหตุให้เกิดวิบากก็มี ที่ไม่เป็นวิบาก
และไม่เป็นเหตุให้เกิดวิบากก็มี
ปฏิสัมภิทา ๓ กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือแต่เป็นอารมณ์
ของอุปาทาน อัตถปฏิสัมภิทาที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือแต่
เป็นอารมณ์ของอุปาทานก็มี ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือและ
ไม่เป็นอารมณ์ของอุปาทานก็มี
ปฏิสัมภิทา ๓ กิเลสไม่ทำให้เศร้าหมองและไม่เป็นอารมณ์ของกิเลส
อัตถปฏิสัมภิทาที่กิเลสไม่ทำให้เศร้าหมองแต่เป็นอารมณ์ของกิเลสก็มี ที่กิเลสไม่
ทำให้เศร้าหมองและไม่เป็นอารมณ์ของกิเลสก็มี
ปฏิสัมภิทา ๓ มีทั้งวิตกและวิจาร อัตถปฏิสัมภิทาที่มีทั้งวิตกและวิจารก็มี
ที่ไม่มีวิตกมีเพียงวิจารก็มี ที่ไม่มีทั้งวิตกและวิจารก็มี
ปฏิสัมภิทา ๔ ที่สหรคตด้วยปีติก็มี ที่สหรคตด้วยสุขก็มี ที่สหรคตด้วย
อุเบกขาก็มี
ปฏิสัมภิทา ๔ ไม่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคและมรรคเบื้องบน ๓
ปฏิสัมภิทา ๔ ไม่มีเหตุต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคและมรรคเบื้องบน ๓
ปฏิสัมภิทา ๓ ที่เป็นเหตุให้ถึงปฏิสนธิและจุติก็มี ที่ไม่เป็นเหตุให้ถึงปฏิสนธิ
จุติ และนิพพานก็มี อัตถปฏิสัมภิทาที่เป็นเหตุให้ถึงปฏิสนธิและจุติก็มี ที่ไม่เป็น
เหตุให้ถึงปฏิสนธิ จุติ และนิพพานก็มี
ปฏิสัมภิทา ๓ ไม่เป็นของเสขบุคคลและอเสขบุคคล อัตถปฏิสัมภิทาที่เป็น
ของเสขบุคคลก็มี ที่เป็นของอเสขบุคคลก็มี ที่ไม่เป็นของเสขบุคคลและอเสขบุคคล
ก็มี
ปฏิสัมภิทา ๓ เป็นปริตตะ อัตถปฏิสัมภิทาที่เป็นปริตตะก็มี ที่เป็นอัปปมาณะ
ก็มี


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๔๗๖ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๕.ปฏิสัมภิทาวิภังค์] ๓.ปัญหาปุจฉกะ ๑.ติกมาติกาวิสัชนา
นิรุตติปฏิสัมภิทามีปริตตะเป็นอารมณ์ ปฏิสัมภิทา ๓ ที่มีปริตตะเป็นอารมณ์
ก็มี ที่มีมหัคคตะเป็นอารมณ์ก็มี ที่มีอัปปมาณะเป็นอารมณ์ก็มี
ปฏิสัมภิทา ๓ เป็นชั้นกลาง อัตถปฏิสัมภิทาที่เป็นชั้นกลางก็มี ที่เป็นชั้น
ประณีตก็มี
ปฏิสัมภิทา ๓ ให้ผลไม่แน่นอน อัตถปฏิสัมภิทาที่มีสภาวะชอบและให้ผล
แน่นอนก็มี ที่ไม่แน่นอนโดยอาการทั้งสองนั้นก็มี
นิรุตติปฏิสัมภิทา กล่าวไม่ได้ว่า มีมรรคเป็นอารมณ์ มีมรรคเป็นเหตุ หรือ
มีมรรคเป็นอธิบดี อัตถปฏิสัมภิทาไม่ใช่มีมรรคเป็นอารมณ์ ที่มีมรรคเป็นเหตุก็มี
ที่มีมรรคเป็นอธิบดีก็มี ที่กล่าวไม่ได้ว่า มีมรรคเป็นเหตุ หรือมีมรรคเป็นอธิบดีก็มี
ปฏิสัมภิทา ๒ ที่มีมรรคเป็นอารมณ์แต่ไม่ใช่มีมรรคเป็นเหตุก็มี ที่มีมรรคเป็น
อธิบดีก็มี ที่กล่าวไม่ได้ว่า มีมรรคเป็นอารมณ์ หรือมีมรรคเป็นอธิบดีก็มี
ปฏิสัมภิทา ๓ ที่เกิดขึ้นก็มี ที่ยังไม่เกิดขึ้นก็มี แต่กล่าวไม่ได้ว่า จักเกิดขึ้น
แน่นอน อัตถปฏิสัมภิทาที่เกิดขึ้นก็มี ที่ยังไม่เกิดขึ้นก็มี ที่จักเกิดขึ้นแน่นอนก็มี
ปฏิสัมภิทา ๔ ที่เป็นอดีตก็มี ที่เป็นอนาคตก็มี ที่เป็นปัจจุบันก็มี
นิรุตติปฏิสัมภิทามีปัจจุบันธรรมเป็นอารมณ์ ปฏิสัมภิทา ๒ ที่มีอดีตธรรม
เป็นอารมณ์ก็มี ที่มีอนาคตธรรมเป็นอารมณ์ก็มี ที่มีปัจจุบันธรรมเป็นอารมณ์ก็มี
อัตถปฏิสัมภิทาที่มีอดีตธรรมเป็นอารมณ์ก็มี ที่มีอนาคตธรรมเป็นอารมณ์ก็มี ที่มี
ปัจจุบันธรรมเป็นอารมณ์ก็มี ที่กล่าวไม่ได้ว่า มีอดีตธรรมเป็นอารมณ์ มีอนาคต-
ธรรมเป็นอารมณ์ หรือมีปัจจุบันธรรมเป็นอารมณ์ก็มี
ปฏิสัมภิทา ๔ ที่เป็นภายในตนก็มี ที่เป็นภายนอกตนก็มี ที่เป็นภายในตน
และภายนอกตนก็มี
นิรุตติปฏิสัมภิทามีธรรมภายนอกตนเป็นอารมณ์ ปฏิสัมภิทา ๓ ที่มีธรรม
ภายในตนเป็นอารมณ์ก็มี ที่มีธรรมภายนอกตนเป็นอารมณ์ก็มี ที่มีธรรมภายใน
ตนและภายนอกตนเป็นอารมณ์ก็มี
ปฏิสัมภิทา ๔ เห็นไม่ได้และกระทบไม่ได้


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๔๗๗ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๕.ปฏิสัมภิทาวิภังค์] ๓.ปัญหาปุจฉกะ ๒.ทุกมาติกาวิสัชนา
๒. ทุกมาติกาวิสัชนา
๑. เหตุโคจฉกวิสัชนา
[๗๕๐] ปฏิสัมภิทา ๔ เป็นเหตุ ปฏิสัมภิทา ๔ มีเหตุ
ปฏิสัมภิทา ๔ สัมปยุตด้วยเหตุ ปฏิสัมภิทา ๔ เป็นเหตุและมีเหตุ
ปฏิสัมภิทา ๔ เป็นเหตุและสัมปยุตด้วยเหตุ แต่กล่าวไม่ได้ว่า ไม่เป็นเหตุ
แต่มีเหตุ หรือไม่เป็นเหตุและไม่มีเหตุ

๒. จูฬันตรทุกวิสัชนา
ปฏิสัมภิทา ๔ มีปัจจัยปรุงแต่ง ปฏิสัมภิทา ๔ ถูกปัจจัยปรุงแต่ง
ปฏิสัมภิทา ๔ เห็นไม่ได้ ปฏิสัมภิทา ๔ กระทบไม่ได้
ปฏิสัมภิทา ๔ ไม่เป็นรูป ปฏิสัมภิทา ๓ เป็นโลกิยะ อัตถปฏิสัมภิทาที่
เป็นโลกิยะก็มี ที่เป็นโลกุตตระก็มี
ปฏิสัมภิทา ๔ จิตบางดวงรู้ได้ ปฏิสัมภิทา ๔ จิตบางดวงรู้ไม่ได้

๓. อาสวโคจฉกวิสัชนา
ปฏิสัมภิทา ๔ ไม่เป็นอาสวะ ปฏิสัมภิทา ๓ เป็นอารมณ์ของอาสวะ
อัตถปฏิสัมภิทาที่เป็นอารมณ์ของอาสวะก็มี ที่ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะก็มี
ปฏิสัมภิทา ๔ วิปปยุตจากอาสวะ ปฏิสัมภิทา ๓ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นอาสวะ
และเป็นอารมณ์ของอาสวะ หรือเป็นอารมณ์ของอาสวะแต่ไม่เป็นอาสวะ อัตถ-
ปฏิสัมภิทากล่าวไม่ได้ว่า เป็นอาสวะและเป็นอารมณ์ของอาสวะ ที่เป็นอารมณ์ของ
อาสวะแต่ไม่เป็นอาสวะก็มี ที่กล่าวไม่ได้ว่า เป็นอารมณ์ของอาสวะแต่ไม่เป็นอาสวะก็มี
ปฏิสัมภิทา ๔ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นอาสวะและสัมปยุตด้วยอาสวะ หรือสัมปยุต
ด้วยอาสวะแต่ไม่เป็นอาสวะ ปฏิสัมภิทา ๓ วิปปยุตจากอาสวะแต่เป็นอารมณ์ของ
อาสวะ อัตถปฏิสัมภิทาที่วิปปยุตจากอาสวะแต่เป็นอารมณ์ของอาสวะก็มี ที่วิปปยุต
จากอาสวะและไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะก็มี


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๔๗๘ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๕.ปฏิสัมภิทาวิภังค์] ๓.ปัญหาปุจฉกะ ๒.ทุกมาติกาวิสัชนา
๔-๑๒. สัญโญชนโคจฉกาทิวิสัชนา
ปฏิสัมภิทา ๔ ไม่เป็นสังโยชน์ ฯลฯ ไม่เป็นคันถะ ฯลฯ ไม่เป็นโอฆะ ฯลฯ
ไม่เป็นโยคะ ฯลฯ ไม่เป็นนิวรณ์ ฯลฯ ไม่เป็นปรามาส ฯลฯ
ปฏิสัมภิทา ๔ รับรู้อารมณ์ได้ ปฏิสัมภิทา ๔ ไม่เป็นจิต
ปฏิสัมภิทา ๔ เป็นเจตสิก ปฏิสัมภิทา ๔ สัมปยุตด้วยจิต
ปฏิสัมภิทา ๔ ระคนกับจิต ปฏิสัมภิทา ๔ มีจิตเป็นสมุฏฐาน
ปฏิสัมภิทา ๔ เกิดพร้อมกับจิต ปฏิสัมภิทา ๔ เป็นไปตามจิต
ปฏิสัมภิทา ๔ ระคนกับจิตและมีจิตเป็นสมุฏฐาน ปฏิสัมภิทา ๔ ระคนกับจิต
มีจิตเป็นสมุฏฐานและเกิดพร้อมกับจิต
ปฏิสัมภิทา ๔ ระคนกับจิตมีจิตเป็นสมุฏฐานและเป็นไปตามจิต ปฏิสัมภิทา ๔
เป็นภายนอก
ปฏิสัมภิทา ๔ ไม่เป็นอุปาทายรูป ปฏิสัมภิทา ๔ กรรมอันประกอบด้วย
ตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือ
ปฏิสัมภิทา ๔ ไม่เป็นอุปาทาน ฯลฯ ไม่เป็นกิเลส ฯลฯ

๑๓. ปิฏฐิทุกวิสัชนา
ปฏิสัมภิทา ๔ ไม่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรค ปฏิสัมภิทา ๔ ไม่
ต้องประหาณด้วยมรรคเบื้องบน ๓
ปฏิสัมภิทา ๔ ไม่มีเหตุต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรค ปฏิสัมภิทา ๔
ไม่มีเหตุต้องประหาณด้วยมรรคเบื้องบน ๓
ปฏิสัมภิทา ๓ มีวิตก อัตถปฏิสัมภิทาที่มีวิตกก็มี ที่ไม่มีวิตกก็มี ปฏิสัมภิทา
๓ มีวิจาร อัตถปฏิสัมภิทาที่มีวิจารก็มี ที่ไม่มีวิจารก็มี
ปฏิสัมภิทา ๔ ที่มีปีติก็มี ที่ไม่มีปีติก็มี ปฏิสัมภิทา ๔ ที่สหรคตด้วยปีติก็มี
ที่ไม่สหรคตด้วยปีติก็มี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๔๗๙ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๕.ปฏิสัมภิทาวิภังค์] ๓.ปัญหาปุจฉกะ ๒.ทุกมาติกาวิสัชนา
ปฏิสัมภิทา ๔ ที่สหรคตด้วยสุขก็มี ที่ไม่สหรคตด้วยสุขก็มี ปฏิสัมภิทา ๔
ที่สหรคตด้วยอุเบกขาก็มี ที่ไม่สหรคตด้วยอุเบกขาก็มี
ปฏิสัมภิทา ๓ เป็นกามาวจร อัตถปฏิสัมภิทาที่เป็นกามาวจรก็มี ที่ไม่เป็น
กามาวจร ไม่เป็นรูปาวจร และไม่เป็นอรูปาวจรก็มี ปฏิสัมภิทา ๓ นับเนื่องใน
วัฏฏทุกข์๑ อัตถปฏิสัมภิทาที่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ก็มี ที่ไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ก็มี
ปฏิสัมภิทา ๓ ไม่เป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ อัตถปฏิสัมภิทาที่เป็นเหตุ
นำออกจากวัฏฏทุกข์๒ ก็มี ที่ไม่เป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ก็มี ปฏิสัมภิทา ๓
ให้ผลไม่แน่นอน อัตถปฏิสัมภิทาที่ให้ผลแน่นอนก็มี ที่ให้ผลไม่แน่นอนก็มี
ปฏิสัมภิทา ๓ มีธรรมอื่นยิ่งกว่า อัตถปฏิสัมภิทาที่มีธรรมอื่นยิ่งกว่าก็มี ที่
ไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่าก็มี
ปฏิสัมภิทา ๔ ไม่เป็นเหตุให้สัตว์ร้องไห้ ฉะนี้แล

ปัญหาปุจฉกะ จบ

ปฏิสัมภิทาวิภังค์ จบบริบูรณ์

เชิงอรรถ :
๑ บาลีว่า ปริยาปนฺนา นับเนื่องในวัฏฏะที่เป็นไปในภูมิ ๓ คือ กามภูมิ รูปภูมิ และอรูปภูมิ (อภิ.สงฺ.อ.
๘๓-๑๐๐/๙๓-๙๘)
๒ บาลีว่า นิยฺยานิกา คือตัดมูลวัฏฏทุกข์และยึดนิพพานเป็นอารมณ์ นำออกจากวัฏฏทุกข์ (อภิ.สงฺ.อ.
๘๓-๑๐๐/๙๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๔๘๐ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๖. ญาณวิภังค์] ๑. เอกกมาติกา
๑๖. ญาณวิภังค์
๑. เอกกมาติกา
[๗๕๑] ญาณวัตถุหมวดละ ๑ คือ
(๑) วิญญาณ ๕ ไม่เป็นเหตุ ไม่มีเหตุ วิปปยุตจากเหตุ มีปัจจัยปรุงแต่ง
ถูกปัจจัยปรุงแต่ง ไม่เป็นรูป เป็นโลกิยะ เป็นอารมณ์ของอาสวะ เป็น
อารมณ์ของสังโยชน์ เป็นอารมณ์ของคันถะ เป็นอารมณ์ของโอฆะ เป็น
อารมณ์ของโยคะ เป็นอารมณ์ของนิวรณ์ เป็นอารมณ์ของปรามาส
เป็นอารมณ์ของอุปาทาน เป็นอารมณ์ของกิเลส เป็นอัพยากฤต รับรู้
อารมณ์ได้ ไม่เป็นเจตสิก เป็นวิบาก กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและ
ทิฏฐิยึดถือและเป็นอารมณ์ของอุปาทาน กิเลสไม่ทำให้เศร้าหมองแต่เป็น
อารมณ์ของกิเลส ไม่ใช่มีทั้งวิตกและวิจาร ไม่ใช่ไม่มีวิตกมีเพียงวิจาร ไม่
มีทั้งวิตกและวิจาร ไม่สหรคตด้วยปีติ ไม่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติ-
มรรคและมรรคเบื้องบน ๓ ไม่มีเหตุต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรค
และมรรคเบื้องบน ๓ ไม่เป็นเหตุให้ถึงปฏิสนธิ จุติ และนิพพาน ไม่เป็น
ของเสขบุคคลและอเสขบุคคล เป็นปริตตะ เป็นกามาวจร ไม่เป็นรูปาวจร
เป็นอรูปาวจร นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ ไม่ใช่ไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ ให้ผล
ไม่แน่นอน ไม่เป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ (๗๖๑)*
(๒) วิญญาณ ๕ มีวัตถุเกิดขึ้น มีอารมณ์เกิดขึ้น (๗๖๒)
(๓) วิญญาณ ๕ มีวัตถุเกิดก่อน มีอารมณ์เกิดก่อน (๗๖๒)
(๔) วิญญาณ ๕ มีวัตถุเป็นภายใน มีอารมณ์เป็นภายนอก (๗๖๒)
(๕) วิญญาณ ๕ มีวัตถุไม่แตกดับ มีอารมณ์ไม่แตกดับ (๗๖๒)
(๖) วิญญาณ ๕ มีวัตถุต่างกัน มีอารมณ์ต่างกัน (๗๖๒)
(๗) วิญญาณ ๕ ไม่เสวยอารมณ์ของกันและกัน (๗๖๓)
(๘) วิญญาณ ๕ ไม่เกิดขึ้นเพราะไม่ใส่ใจ (๗๖๔)
(๙) วิญญาณ ๕ ไม่เกิดขึ้นเพราะไม่มนสิการ (๗๖๔)

เชิงอรรถ :
* ตัวเลขในวงเล็บ หมายถึงข้อที่จะขยายในตอนว่าด้วยนิทเทส เช่น (๗๖๑) ก็จะอยู่ในหน้า ๔๙๖

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๔๘๑ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๖. ญาณวิภังค์] ๑. เอกกมาติกา
(๑๐) วิญญาณ ๕ ไม่เกิดขึ้นโดยไม่สับลำดับกัน (๗๖๔)
(๑๑) วิญญาณ ๕ ไม่เกิดขึ้นพร้อมกัน (๗๖๔)
(๑๒) วิญญาณ ๕ ไม่เกิดขึ้นในลำดับของกันและกัน (๗๖๕)
(๑๓) วิญญาณ ๕ ไม่มีความผูกใจ (๗๖๖)
(๑๔) บุคคลไม่รู้แจ้งธรรมอะไร ๆ ด้วยวิญญาณ ๕ เว้นแต่อารมณ์ที่ตกไป (๗๖๖)
(๑๕) บุคคลไม่รู้แจ้งธรรมอะไร ๆ แม้ต่อจากลำดับแห่งวิญญาณ ๕ (๗๖๖)
(๑๖) บุคคลไม่สำเร็จอิริยาบถอะไร ๆ ด้วยวิญญาณ ๕ (๗๖๖)
(๑๗) บุคคลไม่สำเร็จอิริยาบถอะไร ๆ แม้ต่อจากลำดับแห่งวิญญาณ ๕ (๗๖๖)
(๑๘) บุคคลไม่ประกอบกายกรรมและวจีกรรมด้วยวิญญาณ ๕ (๗๖๖)
(๑๙) บุคคลไม่ประกอบกายกรรมและวจีกรรมแม้ต่อจากลำดับแห่งวิญญาณ ๕
(๗๖๖)
(๒๐) บุคคลไม่สมาทานสภาวธรรมที่เป็นกุศลและอกุศลด้วยวิญญาณ ๕ (๗๖๖)
(๒๑) บุคคลไม่สมาทานสภาวธรรมที่เป็นกุศลและอกุศลแม้ต่อจากลำดับแห่ง
วิญญาณ ๕ (๗๖๖)
(๒๒) บุคคลไม่ได้เข้าสมาบัติ ไม่ได้ออกจากสมบัติด้วยวิญญาณ ๕ (๗๖๖)
(๒๓) บุคคลไม่ได้เข้าสมาบัติ ไม่ได้ออกจากสมาบัติ แม้ต่อจากลำดับแห่ง
วิญญาณ ๕ (๗๖๖)
(๒๔) บุคคลไม่จุติ ไม่ปฏิสนธิด้วยวิญญาณ ๕ (๗๖๖)
(๒๕) บุคคลไม่จุติ ไม่ปฏิสนธิ แม้ต่อจากลำดับแห่งวิญญาณ ๕ (๗๖๖)
(๒๖) บุคคลไม่หลับ ไม่ตื่น ไม่ฝัน ด้วยวิญญาณ ๕ (๗๖๖)
(๒๗) บุคคลไม่หลับ ไม่ตื่น ไม่ฝัน แม้ต่อจากลำดับแห่งวิญญาณ ๕ (๗๖๖)
ปัญญาแสดงเรื่องของวิญญาณ ๕ ตามที่เป็นจริง ญาณวัตถุหมวดละ ๑ มี
ด้วยประการฉะนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๔๘๒ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๖.ญาณวิภังค์] ๒.ทุกมาติกา
๒. ทุกมาติกา
[๗๕๒] ญาณวัตถุหมวดละ ๒ คือ
(๑) โลกิยปัญญา โลกุตตรปัญญา (๗๖๗)
(๒) เกนจิวิญเญยยปัญญา นเกนจิวิญเญยยปัญญา (๗๖๗)
(๓) อาสวปัญญา อนาสวปัญญา (๗๖๗)
(๔) อาสววิปปยุตตสาสวปัญญา อาสววิปปยุตตอนาสวปัญญา (๗๖๗)
(๕) สัญโญชนิยปัญญา อสัญโญชนิยปัญญา (๗๖๗)
(๖) สัญโญชนวิปปยุตตสัญโญชนิยปัญญา สัญโญชนวิปปยุตตอสัญโญชนิย-
ปัญญา (๗๖๗)
(๗) คันถนิยปัญญา อคันถนิยปัญญา (๗๖๗)
(๘) คันถวิปปยุตตคันถนิยปัญญา คันถวิปปยุตตอคันถนิยปัญญา (๗๖๗)
(๙) โอฆนิยปัญญา อโนฆนิยปัญญา (๗๖๗)
(๑๐) โอฆวิปปยุตตโอฆนิยปัญญา โอฆวิปปยุตตอโนฆนิยปัญญา (๗๖๗)
(๑๑) โยคนิยปัญญา อโยคนิยปัญญา (๗๖๗)
(๑๒) โยควิปปยุตตโยคนิยปัญญา โยควิปปยุตตอโยคนิยปัญญา (๗๖๗)
(๑๓) นีวรณิยปัญญา อนีวรณิยปัญญา (๗๖๗)
(๑๔) นีวรณวิปปยุตตนีวรณิยปัญญา นีวรณวิปปยุตตอนีวรณิยปัญญา (๗๖๗)
(๑๕) ปรามัฏฐปัญญา อปรามัฏฐปัญญา (๗๖๗)
(๑๖) ปรามาสวิปปยุตตปรามัฏฐปัญญา ปรามาสวิปปยุตตอปรามัฏฐปัญญา
(๗๖๗)
(๑๗) อุปาทินนปัญญา อนุปาทินนปัญญา (๗๖๗)
(๑๘) อุปาทานิยปัญญา อนุปาทานิยปัญญา (๗๖๗)
(๑๙) อุปาทานวิปปยุตตอุปาทานิยปัญญา อุปาทานวิปปยุตตอนุปาทานิย-
ปัญญา (๗๖๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๔๘๓ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๖.ญาณวิภังค์] ๓.ติกมาติกา
(๒๐) สังกิเลสิกปัญญา อสังกิเลสิกปัญญา (๗๖๗)
(๒๑) กิเลสวิปปยุตตสังกิเลสิกปัญญา กิเลสวิปปยุตตอสังกิเลสิกปัญญา (๗๖๗)

(๒๒) สวิตักกปัญญา อวิตักกปัญญา (๗๖๗)
(๒๓) สวิจารปัญญา อวิจารปัญญา (๗๖๗)
(๒๔) สัปปีติกปัญญา อัปปีติกปัญญา (๗๖๗)
(๒๕) ปีติสหคตปัญญา นปีติสหคตปัญญา (๗๖๗)
(๒๖) สุขสหคตปัญญา นสุขสหคตปัญญา (๗๖๗)
(๒๗) อุเปกขาสหคตปัญญา นอุเปกขาสหคตปัญญา (๗๖๗)
(๒๘) กามาวจรปัญญา นกามาวจรปัญญา (๗๖๗)
(๒๙) รูปาวจรปัญญา นรูปาวจรปัญญา (๗๖๗)
(๓๐) อรูปาวจรปัญญา นอรูปาวจรปัญญา (๗๖๗)
(๓๑) ปริยาปันนปัญญา อปริยาปันนปัญญา (๗๖๗)
(๓๒) นิยยานิกปัญญา อนิยยานิกปัญญา (๗๖๗)
(๓๓) นิยตปัญญา อนิยตปัญญา (๗๖๗)
(๓๔) สอุตตรปัญญา อนุตตรปัญญา (๗๖๗)
(๓๕) อัตถชาปิกปัญญา ชาปิตัตถปัญญา (๗๖๗)

ญาณวัตถุหมวดละ ๒ มีด้วยประการฉะนี้

๓. ติกมาติกา
[๗๕๓] ญาณวัตถุหมวดละ ๓ คือ

(๑) จินตามยปัญญา สุตมยปัญญา ภาวนามยปัญญา (๗๖๘)
(๒) ทานมยปัญญา สีลมยปัญญา ภาวนามยปัญญา (๗๖๙)
(๓) อธิสีลปัญญา อธิจิตตปัญญา อธิปัญญปัญญา (๗๗๐)


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๔๘๔ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๖.ญาณวิภังค์] ๓.ติกมาติกา
(๔) อายโกศล (ความเป็นผู้ฉลาดในความเจริญ) อปายโกศล (ความเป็นผู้
ฉลาดในความเสื่อม) อุปายโกศล ( ความเป็นผู้ฉลาดในอุบาย) (๗๗๑)
(๕) วิปากปัญญา วิปากธัมมธัมมปัญญา เนววิปากนวิปากธัมมธัมม-
ปัญญา (๗๗๒)
(๖) อุปาทินนุปาทานิยปัญญา อนุปาทินนุปาทานิยปัญญา อนุปาทินน-
อนุปาทานิยปัญญา (๗๗๓)
(๗) สวิตักกสวิจารปัญญา อวิตักกวิจารมัตตปัญญา อวิตักกอวิจารปัญญา
(๗๗๔)
(๘) ปีติสหคตปัญญา สุขสหคตปัญญา อุเปกขาสหคตปัญญา (๗๗๕)
(๙) อาจยคามินีปัญญา อปจยคามินีปัญญา เนวาจยคามินาปจยคามินี-
ปัญญา (๗๗๖)
(๑๐) เสกขปัญญา อเสกขปัญญา เนวเสกขนาเสกขปัญญา (๗๗๗)
(๑๑) ปริตตปัญญา มหัคคตปัญญา อัปปมาณปัญญา (๗๗๘)
(๑๒) ปริตตารัมมณปัญญา (๗๗๙) มหัคคตารัมมณปัญญา (๗๘๐)
อัปปมาณารัมมณปัญญา (๗๘๑)
(๑๓) มัคคารัมมณปัญญา มัคคเหตุกปัญญา (๗๘๒) มัคคาธิปตินีปัญญา
(๗๘๓)
(๑๔) อุปปันนปัญญา อนุปปันนปัญญา อุปปาทินีปัญญา (๗๘๔)
(๑๕) อตีตปัญญา อนาคตปัญญา ปัจจุปปันนปัญญา (๗๘๕)
(๑๖) อตีตารัมมณปัญญา (๗๘๖) อนาคตารัมมณปัญญา (๗๘๗)
ปัจจุปปันนารัมมณปัญญา (๗๘๘)
(๑๗) อัชฌัตตปัญญา พหิทธปัญญา อัชฌัตตพหิทธปัญญา (๗๘๙)
(๑๘) อัชฌัตตารัมมณปัญญา พหิทธารัมมณปัญญา อัชฌัตตพหิทธา-
รัมมณปัญญา (๗๙๐)
(๑๙) สวิตักกสวิจารปัญญาที่เป็นวิบากก็มี ที่เป็นเหตุให้เกิดวิบากก็มี ที่ไม่
เป็นวิบากและไม่เป็นเหตุให้เกิดวิบากก็มี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๔๘๕ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๖.ญาณวิภังค์] ๓.ติกมาติกา
(๒๐) สวิตักกสวิจารปัญญาที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือและ
เป็นอารมณ์ของอุปาทานก็มี ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิ
ไม่ยึดถือแต่เป็นอารมณ์ของอุปาทานก็มี ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหา
และทิฏฐิไม่ยึดถือและไม่เป็นอารมณ์ของอุปาทานก็มี
(๒๑) สวิตักกสวิจารปัญญาที่สหรคตด้วยปีติก็มี ที่สหรคตด้วยสุขก็มี ที่
สหรคตด้วยอุเบกขาก็มี
(๒๒) สวิตักกสวิจารปัญญาที่เป็นเหตุให้ถึงปฏิสนธิและจุติก็มี ที่เป็นเหตุให้ถึง
นิพพานก็มี ที่ไม่เป็นเหตุให้ถึงปฏิสนธิ จุติ และนิพพานก็มี
(๒๓) สวิตักกสวิจารปัญญาที่เป็นของเสขบุคคลก็มี ที่เป็นของอเสขบุคคลก็มี
ที่ไม่เป็นของเสขบุคคลและอเสขบุคคลก็มี
(๒๔) สวิตักกสวิจารปัญญาที่เป็นปริตตะก็มี ที่เป็นมหัคคตะก็มี ที่เป็น
อัปปมาณะก็มี
(๒๕) สวิตักกสวิจารปัญญาที่มีปริตตะเป็นอารมณ์ก็มี ที่มีมหัคคตะเป็น
อารมณ์ก็มี ที่มีอัปปมาณะเป็นอารมณ์ก็มี
(๒๖) สวิตักกสวิจารปัญญาที่มีมรรคเป็นอารมณ์ก็มี ที่มีมรรคเป็นเหตุก็มี
ที่มีมรรคเป็นอธิบดีก็มี
(๒๗) สวิตักกสวิจารปัญญาที่เกิดขึ้นก็มี ที่ยังไม่เกิดขึ้นก็มี ที่จักเกิดขึ้นแน่
นอนก็มี
(๒๘) สวิตักกสวิจารปัญญาที่เป็นอดีตก็มี ที่เป็นอนาคตก็มี ที่เป็นปัจจุบันก็มี
(๒๙) สวิตักกสวิจารปัญญาที่มีอดีตธรรมเป็นอารมณ์ก็มี ที่มีอนาคตธรรม
เป็นอารมณ์ก็มี ที่มีปัจจุบันธรรมเป็นอารมณ์ก็มี
(๓๐) สวิตักกสวิจารปัญญาที่เป็นภายในตนก็มี ที่เป็นภายนอกตนก็มี ที่เป็น
ภายในตนและภายนอกตนก็มี
(๓๑) สวิตักกสวิจารปัญญาที่มีธรรมภายในตนเป็นอารมณ์ก็มี ที่มีธรรม
ภายนอกตนเป็นอารมณ์ก็มี ที่มีธรรมภายในตนและภายนอกตนเป็น
อารมณ์ก็มี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๔๘๖ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๖.ญาณวิภังค์] ๓.ติกมาติกา
(๓๒) อวิตักกวิจารมัตตปัญญาที่เป็นวิบากก็มี ที่เป็นเหตุให้เกิดวิบากก็มี ที่
ไม่เป็นวิบากและไม่เป็นเหตุให้เกิดวิบากก็มี
(๓๓) อวิตักกวิจารมัตตปัญญาที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือ
และเป็นอารมณ์ของอุปาทานก็มี ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและ
ทิฏฐิไม่ยึดถือแต่เป็นอารมณ์ของอุปาทานก็มี ที่กรรมอันประกอบด้วย
ตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือและไม่เป็นอารมณ์ของอุปาทานก็มี
(๓๔) อวิตักกวิจารมัตตปัญญาที่เป็นเหตุให้ถึงปฏิสนธิและจุติก็มี ที่เป็นเหตุ
ให้ถึงนิพพานก็มี ที่ไม่เป็นเหตุให้ถึงปฏิสนธิ จุติ และนิพพานก็มี
(๓๕) อวิตักกวิจารมัตตปัญญาที่เป็นของเสขบุคคลก็มี ที่เป็นของอเสขบุคคล
ก็มี ที่ไม่เป็นของเสขบุคคลและอเสขบุคคลก็มี
(๓๖) อวิตักกวิจารมัตตปัญญาที่เกิดขึ้นก็มี ที่ยังไม่เกิดขึ้นก็มี ที่จักเกิดขึ้น
แน่นอนก็มี
(๓๗) อวิตักกวิจารมัตตปัญญาที่เป็นอดีตก็มี ที่เป็นอนาคตก็มี ที่เป็นปัจจุบันก็มี
(๓๘) อวิตักกวิจารมัตตปัญญาที่เป็นภายในตนก็มี ที่เป็นภายนอกตนก็มี ที่
เป็นภายในตนและภายนอกตนก็มี
(๓๙) อวิตักกวิจารมัตตปัญญาที่เป็นวิบากก็มี ที่เป็นเหตุให้เกิดวิบากก็มี ที่
ไม่เป็นวิบากและไม่เป็นเหตุให้เกิดวิบากก็มี
(๔๐) อวิตักกอวิจารปัญญาที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือและ
เป็นอารมณ์ของอุปาทานก็มี ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิ
ไม่ยึดถือ แต่เป็นอารมณ์ของอุปาทานก็มี ที่กรรมอันประกอบด้วย
ตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือและไม่เป็นอารมณ์ของอุปาทานก็มี
(๔๑) อวิตักกอวิจารปัญญาที่สหรคตด้วยปีติก็มี ที่สหรคตด้วยสุขก็มี ที่
สหรคตด้วยอุเบกขาก็มี
(๔๒) อวิตักกอวิจารปัญญาที่เป็นเหตุให้ถึงปฏิสนธิและจุติก็มี ที่เป็นเหตุให้ถึง
นิพพานก็มี ที่ไม่เป็นเหตุให้ถึงปฏิสนธิ จุติ และนิพพานก็มี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๔๘๗ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๖.ญาณวิภังค์] ๓.ติกมาติกา
(๔๓) อวิตักกอวิจารปัญญาที่เป็นของเสขบุคคลก็มี ที่เป็นของอเสขบุคคลก็มี
ที่ไม่เป็นของเสขบุคคลและอเสขบุคคลก็มี
(๔๔) อวิตักกอวิจารปัญญาที่มีปริตตะเป็นอารมณ์ก็มี ที่มีมหัคคตะเป็น
อารมณ์ก็มี ที่มีอัปปมาณะเป็นอารมณ์ก็มี
(๔๕) อวิตักกอวิจารปัญญาที่มีมรรคเป็นอารมณ์ก็มี ที่มีมรรคเป็นเหตุก็มี
ที่มีมรรคเป็นอธิบดีก็มี
(๔๖) อวิตักกอวิจารปัญญาที่เกิดขึ้นก็มี ที่ยังไม่เกิดขึ้นก็มี ที่จักเกิดขึ้นแน่
นอนก็มี
(๔๗) อวิตักกอวิจารปัญญาที่เป็นอดีตก็มี ที่เป็นอนาคตก็มี ที่เป็นปัจจุบันก็มี
(๔๘) อวิตักกอวิจารปัญญาที่มีอดีตธรรมเป็นอารมณ์ก็มี ที่มีอนาคตธรรม
เป็นอารมณ์ก็มี ที่มีปัจจุบันธรรมเป็นอารมณ์ก็มี
(๔๙) อวิตักกอวิจารปัญญาที่เป็นภายในตนก็มี ที่เป็นภายนอกตนก็มี ที่เป็น
ภายในตนและภายนอกตนก็มี
(๕๐) อวิตักกอวิจารปัญญาที่มีธรรมภายในตนเป็นอารมณ์ก็มี ที่มีธรรมภาย
นอกตนเป็นอารมณ์ก็มี ที่มีธรรมภายในตนและภายนอกตนเป็น
อารมณ์ก็มี
(๕๑) ปีติสหคตปัญญา สุขสหคตปัญญาที่เป็นวิบากก็มี ที่เป็นเหตุให้เกิด
วิบากก็มี ที่ไม่เป็นวิบากและไม่เป็นเหตุให้เกิดวิบากก็มี
(๕๒) ปีติสหคตปัญญา สุขสหคตปัญญาที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและ
ทิฏฐิยึดถือและเป็นอารมณ์ของอุปาทานก็มี ที่กรรมอันประกอบด้วย
ตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือแต่เป็นอารมณ์ของอุปาทานก็มี ที่กรรมอัน
ประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือและไม่เป็นอารมณ์ของอุปาทานก็มี
(๕๓) ปีติสหคตปัญญา สุขสหคตปัญญาที่มีทั้งวิตกและวิจารก็มี ที่ไม่มีวิตก
มีเพียงวิจารก็มี ที่ไม่มีทั้งวิตกและวิจารก็มี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๔๘๘ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๖.ญาณวิภังค์] ๓.ติกมาติกา
(๕๔) ปีติสหคตปัญญา สุขสหคตปัญญาที่เป็นเหตุให้ถึงปฏิสนธิและจุติก็มี
ที่เป็นเหตุให้ถึงนิพพานก็มี ที่ไม่เป็นเหตุให้ถึงปฏิสนธิ จุติ และนิพพาน
ก็มี
(๕๕) ปีติสหคตปัญญา สุขสหคตปัญญาที่เป็นของเสขบุคคลก็มี ที่เป็นของ
อเสขบุคคลก็มี ที่ไม่เป็นเสขบุคคลและอเสขบุคคลก็มี
(๕๖) ปีติสหคตปัญญา สุขสหคตปัญญาที่เป็นปริตตะก็มี ที่เป็นมหัคคตะ
ก็มี ที่เป็นอัปปมาณะก็มี
(๕๗) ปีติสหคตปัญญา สุขสหคตปัญญาที่มีปริตตะเป็นอารมณ์ก็มี ที่มี
มหัคคตะเป็นอารมณ์ก็มี ที่มีอัปปมาณะเป็นอารมณ์ก็มี
(๕๘) ปีติสหคตปัญญา สุขสหคตปัญญาที่มีมรรคเป็นอารมณ์ก็มี ที่มีมรรค
เป็นเหตุก็มี ที่มีมรรคเป็นอธิบดีก็มี
(๕๙) ปีติสหคตปัญญา สุขสหคตปัญญาที่เกิดขึ้นก็มี ที่ยังไม่เกิดขึ้นก็มี ที่
จักเกิดขึ้นแน่นอนก็มี
(๖๐) ปีติสหคตปัญญา สุขสหคตปัญญาที่เป็นอดีตก็มี ที่เป็นอนาคตก็มี
ที่เป็นปัจจุบันก็มี
(๖๑) ปีติสหคตปัญญา สุขสหคตปัญญาที่มีอดีตธรรมเป็นอารมณ์ก็มี ที่มี
อนาคตธรรมเป็นอารมณ์ก็มี ที่มีปัจจุบันธรรมเป็นอารมณ์ก็มี
(๖๒) ปีติสหคตปัญญา สุขสหคตปัญญาที่เป็นภายในตนก็มี ที่เป็นภายนอก
ตนก็มี ที่เป็นภายในตนและภายนอกตนก็มี
(๖๓) ปีติสหคตปัญญา สุขสหคตปัญญาที่มีธรรมภายในตนเป็นอารมณ์ก็มี
ที่มีธรรมภายนอกตนเป็นอารมณ์ก็มี ที่มีธรรมภายในตนและภายนอก
ตนเป็นอารมณ์ก็มี
(๖๔) อุเปกขาสหคตปัญญาที่เป็นวิบากก็มี ที่เป็นเหตุให้เกิดวิบากก็มี ที่ไม่
เป็นวิบากและไม่เป็นเหตุให้เกิดวิบากก็มี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๔๘๙ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๖.ญาณวิภังค์] ๓.ติกมาติกา
(๖๕) อุเปกขาสหคตปัญญาที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือ
และเป็นอารมณ์ของอุปาทานก็มี ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและ
ทิฏฐิไม่ยึดถือแต่เป็นอารมณ์ของอุปาทานก็มี ที่กรรมอันประกอบด้วย
ตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือและไม่เป็นอารมณ์ของอุปาทานก็มี
(๖๖) อุเปกขาสหคตปัญญาที่เป็นเหตุให้ถึงปฏิสนธิและจุติก็มี ที่เป็นเหตุให้ถึง
นิพพานก็มี ที่ไม่เป็นเหตุให้ถึงปฏิสนธิ จุติ และนิพพานก็มี
(๖๗) อุเปกขาสหคตปัญญาที่เป็นของเสขบุคคลก็มี ที่เป็นของอเสขบุคคลก็มี
ที่ไม่เป็นของเสขบุคคลและอเสขบุคคลก็มี
(๖๘) อุเปกขาสหคตปัญญาที่เป็นปริตตะก็มี ที่เป็นมหัคคตะก็มี ที่เป็น
อัปปมาณะก็มี
(๖๙) อุเปกขาสหคตปัญญาที่มีปริตตะเป็นอารมณ์ก็มี ที่มีมหัคคตะเป็น
อารมณ์ก็มี ที่มีอัปปมาณะเป็นอารมณ์ก็มี
(๗๐) อุเปกขาสหคตปัญญาที่มีมรรคเป็นอารมณ์ก็มี ที่มีมรรคเป็นเหตุก็มี
ที่มีมรรคเป็นอธิบดีก็มี
(๗๑) อุเปกขาสหคตปัญญาที่เกิดขึ้นก็มี ที่ยังไม่เกิดขึ้นก็มี ที่จักเกิดขึ้นแน่
นอนก็มี
(๗๒) อุเปกขาสหคตปัญญาที่เป็นอดีตก็มี ที่เป็นอนาคตก็มี ที่เป็นปัจจุบันก็มี
(๗๓) อุเปกขาสหคตปัญญาที่มีอดีตธรรมเป็นอารมณ์ก็มี ที่มีอนาคตธรรม
เป็นอารมณ์ก็มี ที่มีปัจจุบันธรรมเป็นอารมณ์ก็มี
(๗๔) อุเปกขาสหคตปัญญาที่เป็นภายในตนก็มี ที่เป็นภายนอกตนก็มี ที่เป็น
ภายในตนและภายนอกตนก็มี
(๗๕) อุเปกขาสหคตปัญญาที่มีธรรมภายในตนเป็นอารมณ์ก็มี ที่มีธรรม
ภายนอกตนเป็นอารมณ์ก็มี ที่มีธรรมภายในตนและภายนอกตนเป็น
อารมณ์ก็มี
ญาณวัตถุหมวดละ ๓ มีด้วยประการฉะนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๔๙๐ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๖.ญาณวิภังค์] ๔.จตุกกมาติกา
๔. จตุกกมาติกา
[๗๕๔] ญาณวัตถุหมวดละ ๔ คือ
(๑) กัมมัสสกตาญาณ สัจจานุโลมิกญาณ มัคคสมังคิญาณ ผลสมังคิ-
ญาณ (๗๙๓)
(๒) ทุกขญาณ ทุกขสมุทยญาณ ทุกขนิโรธญาณ ทุกขนิโรธคามินี-
ปฏิปทาญาณ (๗๙๔)
(๓) กามาวจรปัญญา รูปาวจรปัญญา อรูปาวจรปัญญา อปริยาปันน-
ปัญญา (๗๙๕)
(๔) ธัมมญาณ อันวยญาณ ปริจจญาณ สัมมติญาณ (๗๙๖)
(๕) ธัมมญาณ อันวยญาณ ปริจจญาณ สัมมติญาณที่เป็นอาจยโนอปจย-
ปัญญาก็มี ที่เป็นอปจยโนอาจยปัญญาก็มี ที่เป็นอาจยอปจยปัญญา
ก็มี ที่เป็นเนวาจยโนอปจยปัญญา (๗๙๗)
(๖) ธัมมญาณ อันวยญาณ ปริจจญาณ สัมมติญาณที่เป็นอาจยโนอปจย-
ปัญญาก็มี ที่เป็นอปจยโนอปจยปัญญาก็มี ที่เป็นอาจยอปจยปัญญา
ก็มี ที่เป็นเนวาจยโนอปจยปัญญาก็มี ที่เป็นนิพพิทาโนปฏิเวธปัญญา
ก็มี ที่เป็นปฏิเวธโนนิพพิทาปัญญาก็มี ที่เป็นนิพพิทาปฏิเวธปัญญา
เนวนิพพิทาโนปฏิเวธปัญญาก็มี (๗๙๘)
(๗) หานภาคินีปัญญา ฐิติภาคินีปัญญา วิเสสภาคินีปัญญา นิพเพธ-
ภาคินีปัญญา (๗๙๙)
(๘) ปฏิสัมภิทา ๔ (๘๐๐)
(๙) ปฏิปทา ๔ (๘๐๑)
(๑๐) อารมณ์ ๔ (๘๐๒)
(๑๑) ความรู้ในชรามรณะ ความรู้ในชรามรณสมุทัย ความรู้ในชรามรณนิโรธ
ความรู้ในชรามรณนิโรธคามินีปฏิปทา (๘๐๒)
(๑๒) ความรู้ในชาติ ฯลฯ (๘๐๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๔๙๑ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๖.ญาณวิภังค์] ๖. ฉักกมาติกา
(๑๓) ความรู้ในภพ ฯลฯ (๘๐๓)
(๑๔) ความรู้ในอุปาทาน ฯลฯ (๘๐๓)
(๑๕) ความรู้ในตัณหา ฯลฯ (๘๐๓)
(๑๖) ความรู้ในเวทนา ฯลฯ (๘๐๓)
(๑๗) ความรู้ในผัสสะ ฯลฯ (๘๐๓)
(๑๘) ความรู้ในสฬายตนะ ฯลฯ (๘๐๓)
(๑๙) ความรู้ในนามรูป ฯลฯ (๘๐๓)
(๒๐) ความรู้ในวิญญาณ ฯลฯ (๘๐๓)
(๒๑) ความรู้ในสังขาร (๘๐๓)
(๒๒) ความรู้ในสังขารสมุทัย (๘๐๓)
(๒๓) ความรู้ในสังขารนิโรธ (๘๐๓)
(๒๔) ความรู้ในสังขารนิโรธคามินีปฏิปทา (๘๐๓)
ญาณวัตถุหมวดละ ๔ มีด้วยประการฉะนี้

๕. ปัญจกมาติกา
[๗๕๕] ญาณวัตถุหมวดละ ๕ คือ
(๑) สัมมาสมาธิมีองค์ ๕ (๘๐๔)
(๒) สัมมาสมาธิมีญาณ ๕ (๘๐๔)
ญาณวัตถุหมวดละ ๕ มีด้วยประการฉะนี้

๖. ฉักกมาติกา
[๗๕๖] ญาณวัตถุหมวดละ ๖ คือ
(๑) ปัญญาในอภิญญา ๖ (๘๐๕)
ญาณวัตถุหมวดละ ๖ มีด้วยประการฉะนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๔๙๒ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๖.ญาณวิภังค์] ๑๐.ทสกมาติกา
๗. สัตตกมาติกา
[๗๕๗] ญาณวัตถุหมวดละ ๗ คือ
(๑) ญาณวัตถุ ๗๗ (๘๐๖)
ญาณวัตถุหมวดละ ๗ มีด้วยประการฉะนี้

๘. อัฏฐกมาติกา
[๗๕๘] ญาณวัตถุหมวดละ ๘ คือ
(๑) ปัญญาในมรรค ๔ ผล ๔ (๘๐๗)
ญาณวัตถุหมวดละ ๘ มีด้วยประการฉะนี้

๙. นวกมาติกา
[๗๕๙] ญาณวัตถุหมวดละ ๙ คือ
(๑) ปัญญาในอนุปุพพวิหารสมาบัติ ๙ (๘๐๘)
ญาณวัตถุหมวดละ ๙ มีด้วยประการฉะนี้

๑๐. ทสกมาติกา
[๗๖๐] ญาณวัตถุหมวดละ ๑๐ คือ
พระตถาคตทรงประกอบด้วยกำลังเหล่าใด จึงทรงปฏิญาณฐานะอันประเสริฐ
บันลือสีหนาทในบริษัท ประกาศพรหมจักร กำลังเหล่านี้ชื่อว่ากำลัง ๑๐ ของ
พระตถาคต
กำลัง ๑๐ เป็นไฉน
กำลัง ๑๐ คือ
๑. พระตถาคตในโลกนี้ทรงทราบธรรมที่เป็นฐานะโดยความเป็นฐานะและ
ธรรมที่ไม่เป็นฐานะโดยความไม่เป็นฐานะตามความเป็นจริง แม้ข้อที่พระ
องค์ทรงทราบธรรมที่เป็นฐานะโดยความเป็นฐานะและธรรมที่ไม่เป็นฐานะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๔๙๓ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๖.ญาณวิภังค์] ๑๐.ทสกมาติกา
โดยความไม่เป็นฐานะตามความเป็นจริง นี้ก็เป็นกำลังของพระตถาคต
ซึ่งพระองค์ทรงอาศัยแล้วจึงปฏิญาณฐานะอันประเสริฐ บันลือสีหนาทใน
บริษัท ประกาศพรหมจักร (๘๐๙)
๒. พระตถาคตทรงทราบวิบากของกัมมสมาทานที่เป็นอดีต อนาคต และ
ปัจจุบันตามความเป็นจริงโดยฐานะ โดยเหตุ แม้ข้อที่พระองค์ทรงทราบ
วิบากของกัมมสมาทานที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบันตามความเป็น
จริงโดยฐานะ โดยเหตุ นี้ก็เป็นกำลังของพระตถาคต ซึ่งพระองค์ทรง
อาศัยแล้วจึงปฏิญาณฐานะอันประเสริฐ บันลือสีหนาทในบริษัท ประกาศ
พรหมจักร (๘๑๐)
๓. พระตถาคตทรงทราบทางไปสู่ภูมิทั้งปวงตามความเป็นจริง แม้ข้อที่พระ
องค์ทรงทราบทางไปสู่ภูมิทั้งปวงตามความเป็นจริง นี้ก็เป็นกำลังของ
พระตถาคต ซึ่งพระองค์ทรงอาศัยแล้วจึงปฏิญาณฐานะอันประเสริฐ
บันลือสีหนาทในบริษัท ประกาศพรหมจักร (๘๑๑)
๔. พระตถาคตทรงทราบโลก๑ ที่เป็นอเนกธาตุ๒ และนานาธาตุ๓ ตามความ
เป็นจริง แม้ข้อที่พระองค์ทรงทราบโลกที่เป็นอเนกธาตุและนานาธาตุตาม
ความเป็นจริง นี้ก็เป็นกำลังของพระตถาคต ซึ่งพระองค์ทรงอาศัยแล้ว
จึงปฏิญาณฐานะอันประเสริฐ บันลือสีหนาทในบริษัท ประกาศพรหม-
จักร (๘๑๒)
๕. พระตถาคตทรงทราบความที่สัตว์ทั้งหลายมีอัธยาศัยต่าง ๆ กันตามความ
เป็นจริง แม้ข้อที่พระองค์ทรงทราบความที่สัตว์ทั้งหลายมีอัธยาศัยต่าง ๆ
กันตามความเป็นจริง นี้ก็เป็นกำลังของพระตถาคต ซึ่งพระองค์ทรง
อาศัยแล้วจึงปฏิญาณฐานะอันประเสริฐ บันลือสีหนาทในบริษัท ประกาศ
พรหมจักร (๘๑๓)

เชิงอรรถ :
๑ โลก ในที่นี้หมายถึงขันธายตนโลกธาตุ (อภิ.วิ.อ. ๗๖๐/๔๒๙)
๒ อเนกธาตุ คือธาตุจำนวนมากด้วยจักขุธาตุหรือกามธาตุเป็นต้น (อภิ.วิ.อ. ๗๖๐/๔๒๙)
๓ นานาธาตุ คือธาตุหลายประการ เพราะธาตุเหล่านั้นมีลักษณะต่าง ๆ กัน (อภิ.วิ.อ. ๗๖๐/๔๒๙)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๔๙๔ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๖.ญาณวิภังค์] ๑๐.ทสกมาติกา
๖. พระตถาคตทรงทราบความแก่กล้าและไม่แก่กล้าแห่งอินทรีย์ของสัตว์และ
บุคคลเหล่าอื่นตามความเป็นจริง แม้ข้อที่พระองค์ทรงทราบความแก่กล้า
และไม่แก่กล้าแห่งอินทรีย์ของสัตว์และบุคคลเหล่าอื่น๑ ตามความ เป็นจริง
นี้ก็เป็นกำลังของพระตถาคต ซึ่งพระองค์ทรงอาศัยแล้วจึงปฏิญาณฐานะ
อันประเสริฐ บันลือสีหนาทในบริษัท ประกาศพรหมจักร (๖)
๗. พระตถาคตทรงทราบความเศร้าหมอง ความผ่องแผ้ว ความออกจาก
ฌาน วิโมกข์ สมาธิ สมาบัติ และการออกจากฌานเป็นต้นตามความเป็น
จริง แม้ข้อที่พระองค์ทรงทราบความเศร้าหมอง ความผ่องแผ้ว ความ
ออกจากฌาน วิโมกข์ สมาธิ สมาบัติ และการออกจากฌานเป็นต้น
ตามความเป็นจริง นี้ก็เป็นกำลังของพระตถาคต ซึ่งพระองค์ทรงอาศัย
แล้วจึงปฏิญาณฐานะอันประเสริฐ บันลือสีหนาทในบริษัท ประกาศ
พรหมจักร (๗)
๘. พระตถาคตทรงทราบการระลึกชาติในหนหลังได้ตามความเป็นจริง แม้
ข้อที่พระองค์ทรงทราบการระลึกชาติในหนหลังได้ตามความเป็นจริง นี้ก็
เป็นกำลังของพระตถาคต ซึ่งพระองค์ทรงอาศัยแล้วจึงปฏิญาณฐานะอัน
ประเสริฐ บันลือสีหนาทในบริษัท ประกาศพรหมจักร (๘)
๙. พระตถาคตทรงทราบความจุติและอุบัติของสัตว์ทั้งหลายตามความเป็นจริง
แม้ข้อที่พระองค์ทรงทราบความจุติและอุบัติของสัตว์ทั้งหลายตามความเป็น
จริง นี้ก็เป็นกำลังของพระตถาคต ซึ่งพระองค์ทรงอาศัยแล้วจึงปฏิญาณ
ฐานะอันประเสริฐ บันลือสีหนาทในบริษัท ประกาศพรหมจักร (๙)
๑๐. พระตถาคตทรงทราบความสิ้นอาสวะตามความเป็นจริง แม้ข้อที่พระองค์
ทรงทราบความสิ้นอาสวะตามความเป็นจริง นี้ก็เป็นกำลังของพระตถาคต
ซึ่งพระองค์ทรงอาศัยแล้วจึงปฏิญาณฐานะอันประเสริฐ บันลือสีหนาทใน
บริษัท ประกาศพรหมจักร (๑๐)

เชิงอรรถ :
๑ อภิ.วิ.อ. ๗๖๐/๔๒๙

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๔๙๕ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๖.ญาณวิภังค์] ๑.เอกกนิทเทส
กำลังเหล่านี้ชื่อว่ากำลัง ๑๐ ของพระตถาคต ซึ่งพระองค์ทรงประกอบด้วย
กำลังเหล่านี้แล้วจึงทรงปฏิญาณฐานะอันประเสริฐ บันลือสีหนาทในบริษัท ประกาศ
พรหมจักร
ญาณวัตถุหมวดละ ๑๐ มีด้วยประการฉะนี้
มาติกา จบ

๑. เอกกนิทเทส
[๗๖๑] วิญญาณ ๕ ไม่เป็นเหตุ ไม่มีเหตุ วิปปยุตจากเหตุ มีปัจจัยปรุงแต่ง
ถูกปัจจัยปรุงแต่ง ไม่เป็นรูป เป็นโลกิยะ เป็นอารมณ์ของอาสวะ เป็นอารมณ์ของ
สังโยชน์ เป็นอารมณ์ของคันถะ เป็นอารมณ์ของโอฆะ เป็นอารมณ์ของโยคะ เป็น
อารมณ์ของนิวรณ์ เป็นอารมณ์ของปรามาส เป็นอารมณ์ของอุปาทาน เป็นอารมณ์
ของกิเลส เป็นอัพยากฤต รับรู้อารมณ์ได้ ไม่เป็นเจตสิก เป็นวิบาก กรรมอัน
ประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือ และเป็นอารมณ์ของอุปาทาน กิเลสไม่ทำให้
เศร้าหมองแต่เป็นอารมณ์ของกิเลส ไม่ใช่มีทั้งวิตกและวิจาร ไม่ใช่ไม่มีวิตกมีเพียง
วิจาร ไม่มีทั้งวิตกและวิจาร ไม่สหรคตด้วยปีติ ไม่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรค
และมรรคเบื้องบน ๓ ไม่มีเหตุต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคและมรรคเบื้องบน
๓ ไม่เป็นเหตุให้ถึงปฏิสนธิ จุติ และนิพพาน ไม่เป็นของเสขบุคคลและอเสขบุคคล
เป็นปริตตะ เป็นกามาวจร ไม่เป็นรูปาวจร เป็นอรูปาวจร นับเนื่องในวัฏฏทุกข์
ไม่ใช่ไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ ให้ผลไม่แน่นอน ไม่เป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์
เป็นสภาวะที่เกิดขึ้น มโนวิญญาณรู้ได้ ไม่เที่ยง ถูกชราครอบงำ (๑)
[๗๖๒] คำว่า วิญญาณ ๕ มีวัตถุเกิดขึ้น มีอารมณ์เกิดขึ้น อธิบายว่า
เมื่อวัตถุเกิดขึ้น เมื่ออารมณ์เกิดขึ้น วิญญาณ ๕ ก็เกิดขึ้น (๒)
คำว่า วิญญาณ ๕ มีวัตถุเกิดก่อน มีอารมณ์เกิดก่อน อธิบายว่า เมื่อ
วัตถุเกิดก่อน เมื่ออารมณ์เกิดก่อน วิญญาณ ๕ ก็เกิดขึ้น (๓)
คำว่า วิญญาณ ๕ มีวัตถุเป็นภายใน มีอารมณ์เป็นภายนอก อธิบายว่า
วัตถุของวิญญาณ ๕ เป็นภายใน อารมณ์ของวิญญาณ ๕ เป็นภายนอก (๔)


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๔๙๖ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๖.ญาณวิภังค์] ๑.เอกกนิทเทส
คำว่า วิญญาณ ๕ มีวัตถุไม่แตกดับ มีอารมณ์ไม่แตกดับ อธิบายว่า
เมื่อวัตถุยังไม่แตกดับ เมื่ออารมณ์ยังไม่แตกดับ วิญญาณ ๕ ก็เกิดขึ้น (๕)
คำว่า วิญญาณ ๕ มีวัตถุต่างกัน มีอารมณ์ต่างกัน อธิบายว่า วัตถุและ
อารมณ์ของจักขุวิญญาณเป็นอย่างหนึ่ง วัตถุและอารมณ์ของโสตวิญญาณก็เป็นอย่าง
หนึ่ง วัตถุและอารมณ์ของฆานวิญญาณก็เป็นอย่างหนึ่ง วัตถุและอารมณ์ของชิวหา-
วิญญาณก็เป็นอย่างหนึ่ง วัตถุและอารมณ์ของกายวิญญาณก็เป็นอีกอย่างหนึ่ง (๖)
[๗๖๓] คำว่า วิญญาณ ๕ ไม่เสวยอารมณ์ของกันและกัน อธิบายว่า
โสตวิญญาณไม่เสวยอารมณ์ของจักขุวิญญาณ จักขุวิญญาณก็ไม่เสวยอารมณ์ของ
โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณไม่เสวยอารมณ์ของจักขุวิญญาณ จักขุวิญญาณก็ไม่
เสวยอารมณ์ของฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณไม่เสวยอารมณ์ของจักขุวิญญาณ
จักขุวิญญาณก็ไม่เสวยอารมณ์ของชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณไม่เสวยอารมณ์ของ
จักขุวิญญาณ จักขุวิญญาณก็ไม่เสวยอารมณ์ของกายวิญญาณ จักขุวิญญาณไม่เสวย
อารมณ์ของโสตวิญญาณ ฯลฯ จักขุวิญญาณไม่เสวยอารมณ์ของฆานวิญญาณ ฯลฯ
จักขุวิญญาณไม่เสวยอารมณ์ของชิวหาวิญญาณ ฯลฯ จักขุวิญญาณไม่เสวยอารมณ์
ของกายวิญญาณ แม้กายวิญญาณก็ไม่เสวยอารมณ์ของจักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ
ไม่เสวยอารมณ์ของกายวิญญาณ แม้กายวิญญาณก็ไม่เสวยอารมณ์ของโสตวิญญาณ
ฆานวิญญาณไม่เสวยอารมณ์ของกายวิญญาณ แม้กายวิญญาณก็ไม่เสวยอารมณ์
ของฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณไม่เสวยอารมณ์ของกายวิญญาณ แม้กายวิญญาณ
ก็ไม่เสวยอารมณ์ของชิวหาวิญญาณ (๗)
[๗๖๔] คำว่า วิญญาณ ๕ ไม่เกิดขึ้นเพราะไม่ใส่ใจ อธิบายว่า เมื่อใส่ใจ
อยู่ วิญญาณ ๕ ก็เกิดขึ้น (๘)
คำว่า วิญญาณ ๕ ไม่เกิดขึ้นเพราะไม่มนสิการ อธิบายว่า เมื่อมนสิการ
อยู่ วิญญาณ ๕ ก็เกิดขึ้น (๙)
คำว่า วิญญาณ ๕ ไม่เกิดขึ้นโดยไม่สับลำดับกัน อธิบายว่า วิญญาณ ๕
ไม่เกิดขึ้นตามลำดับของกันและกัน (๑๐)


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๔๙๗ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๖.ญาณวิภังค์] ๑.เอกกนิทเทส
คำว่า วิญญาณ ๕ ไม่เกิดขึ้นพร้อมกัน อธิบายว่า วิญญาณ ๕ ไม่เกิด
ขึ้นในขณะเดียวกัน (๑๑)
[๗๖๕] คำว่า วิญญาณ ๕ ไม่เกิดขึ้นในลำดับของกันและกัน อธิบายว่า
โสตวิญญาณไม่เกิดขึ้นในลำดับที่จักขุวิญญาณเกิด แม้จักขุวิญญาณก็ไม่เกิดขึ้นใน
ลำดับที่โสตวิญญาณเกิด ฆานวิญญาณไม่เกิดขึ้นในลำดับที่จักขุวิญญาณเกิด แม้
จักขุวิญญาณก็ไม่เกิดขึ้นในลำดับที่ฆานวิญญาณเกิด ชิวหาวิญญาณไม่เกิดขึ้นใน
ลำดับที่จักขุวิญญาณเกิด แม้จักขุวิญญาณก็ไม่เกิดขึ้นในลำดับที่ชิวหาวิญญาณเกิด
กายวิญญาณไม่เกิดขึ้นในลำดับที่จักขุวิญญาณเกิด แม้จักขุวิญญาณก็ไม่เกิดขึ้นใน
ลำดับที่กายวิญญาณเกิด จักขุวิญญาณไม่เกิดขึ้นในลำดับโสตวิญญาณเกิด ฯลฯ
จักขุวิญญาณไม่เกิดขึ้นในลำดับที่ฆานวิญญาณเกิด ฯลฯ จักขุวิญญาณไม่เกิดใน
ลำดับชิวหาวิญญาณเกิด ฯลฯ จักขุวิญญาณไม่เกิดขึ้นในลำดับที่กายวิญญาณเกิด
แม้กายวิญญาณก็ไม่เกิดขึ้นในลำดับที่จักขุวิญญาณเกิด โสตวิญญาณไม่เกิดขึ้นใน
ลำดับที่กายวิญญาณเกิด แม้กายวิญญาณก็ไม่เกิดขึ้นในลำดับโสตวิญญาณเกิด
ฆานวิญญาณไม่เกิดขึ้นในลำดับที่กายวิญญาณเกิด แม้กายวิญญาณก็ไม่เกิดขึ้นใน
ลำดับที่ฆานวิญญาณเกิด ชิวหาวิญญาณไม่เกิดขึ้นในลำดับที่กายวิญญาณเกิด แม้
กายวิญญาณก็ไม่เกิดขึ้นในลำดับที่ชิวหาวิญญาณเกิด (๑๒)
[๗๖๖] คำว่า วิญญาณ ๕ ไม่มีความผูกใจ อธิบายว่า ความนึก ความ
คิด ความพิจารณา หรือความทำไว้ในใจไม่มีแก่วิญญาณ ๕ (๑๓)
คำว่า บุคคลไม่รู้แจ้งธรรมอะไร ๆ ด้วยวิญญาณ ๕ อธิบายว่า บุคคลไม่
รู้แจ้งธรรมอะไร ๆ ด้วยวิญญาณ ๕ (๑๔)
คำว่า เว้นแต่อารมณ์ที่ตกไป อธิบายว่า เว้นแต่เพียงอารมณ์ที่มาปรากฏ
คำว่า บุคคลไม่รู้แจ้งธรรมอะไร ๆ แม้ต่อจากลำดับแห่งวิญญาณ ๕ อธิบาย
ว่า บุคคลไม่รู้แจ้งธรรมอะไร ๆ แม้ด้วยมโนธาตุในลำดับต่อจากวิญญาณ ๕ (๑๕)
คำว่า บุคคลไม่สำเร็จอิริยาบถอะไร ๆ ด้วยวิญญาณ ๕ อธิบายว่า บุคคล
ไม่สำเร็จอิริยาบถอะไร ๆ คือ การเดิน ยืน นั่ง หรือนอน ด้วยวิญญาณ ๕ (๑๖)


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๔๙๘ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๖.ญาณวิภังค์] ๑.เอกกนิทเทส
คำว่า บุคคลไม่สำเร็จอิริยาบถอะไร ๆ แม้ต่อจากลำดับแห่งวิญญาณ ๕
อธิบายว่า บุคคลไม่สำเร็จอิริยาบถอะไร ๆ คือ การเดิน ยืน นั่ง หรือนอนแม้
ด้วยมโนธาตุในลำดับต่อจากวิญญาณ ๕ (๑๗)
คำว่า บุคคลไม่ประกอบกายกรรมและวจีกรรมด้วยวิญญาณ ๕ อธิบายว่า
บุคคลไม่ประกอบกายกรรม ไม่ประกอบวจีกรรมด้วยวิญญาณ ๕ (๑๘)
คำว่า บุคคลไม่ประกอบกายกรรมและวจีกรรมแม้ต่อจากลำดับแห่ง
วิญญาณ ๕ อธิบายว่า บุคคลไม่ประกอบกายกรรม ไม่ประกอบวจีกรรมแม้ด้วย
มโนธาตุในลำดับต่อจากวิญญาณ ๕ (๑๙)
คำว่า บุคคลไม่สมาทานสภาวธรรมที่เป็นกุศลและอกุศลด้วยวิญญาณ ๕
อธิบายว่า บุคคลไม่สมาทานสภาวธรรมที่เป็นกุศลและอกุศลด้วยวิญญาณ ๕ (๒๐)
คำว่า บุคคลไม่สมาทานสภาวธรรมที่เป็นกุศลและอกุศลแม้ต่อจากลำดับ
แห่งวิญญาณ ๕ อธิบายว่า บุคคลไม่สมาทานสภาวธรรมที่เป็นกุศลและอกุศล
แม้ด้วยมโนธาตุในลำดับต่อจากวิญญาณ ๕ (๒๑)
คำว่า บุคคลไม่ได้เข้าสมาบัติ ไม่ได้ออกจากสมาบัติด้วยวิญญาณ ๕
อธิบายว่า บุคคลไม่ได้เข้าสมาบัติ ไม่ได้ออกจากสมาบัติด้วยวิญญาณ ๕ (๒๒)
คำว่า บุคคลไม่ได้เข้าสมาบัติ ไม่ได้ออกจากสมาบัติแม้ต่อจากลำดับแห่ง
วิญญาณ ๕ อธิบายว่า บุคคลไม่ได้เข้าสมาบัติ ไม่ได้ออกจากสมาบัติแม้ด้วย
มโนธาตุในลำดับต่อจากวิญญาณ ๕ (๒๓)
คำว่า บุคคลไม่จุติ ไม่ปฏิสนธิด้วยวิญญาณ ๕ อธิบายว่า บุคคลไม่จุติ
ไม่ปฏิสนธิด้วยวิญญาณ ๕ (๒๔)
คำว่า บุคคลไม่จุติ ไม่ปฏิสนธิแม้ต่อจากลำดับแห่งวิญญาณ ๕ อธิบายว่า
บุคคลไม่จุติ ไม่ปฏิสนธิแม้ด้วยมโนธาตุในลำดับต่อจากวิญญาณ ๕ (๒๕)
คำว่า บุคคลไม่หลับ ไม่ตื่น ไม่ฝันด้วยวิญญาณ ๕ อธิบายว่า บุคคลไม่หลับ
ไม่ตื่น ไม่ฝันด้วยวิญญาณ ๕ (๒๖)


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๔๙๙ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๖.ญาณวิภังค์] ๒.ทุกนิทเทส
คำว่า บุคคลไม่หลับ ไม่ตื่น ไม่ฝันแม้ต่อจากลำดับแห่งวิญญาณ ๕ อธิบาย
ว่า บุคคลไม่หลับ ไม่ตื่น ไม่ฝันแม้ด้วยมโนธาตุในลำดับต่อจากวิญญาณ ๕ (๒๗)
ความรู้เรื่องวิญญาณ ๕ ดังกล่าวมานี้ชื่อว่า ปัญญาที่แสดงเรื่องของวิญญาณ
๕ ตามที่เป็นจริง
ญาณวัตถุหมวดละ ๑ มีด้วยประการฉะนี้
เอกกนิทเทส จบ

๒. ทุกนิทเทส
[๗๖๗] ปัญญาในสภาวธรรมที่เป็นกุศลและอัพยากฤตในภูมิ ๓ ชื่อว่า โลกิย-
ปัญญา ปัญญาในมรรค ๔ ผล ๔ ชื่อว่า โลกุตตรปัญญา (๑)
ปัญญาทั้งหมดชื่อว่า เกนจิวิญเญยยปัญญา และชื่อว่า นเกนจิวิญเญยย-
ปัญญา (๒)
ปัญญาในสภาวธรรมที่เป็นกุศลและอัพยากฤตในภูมิ ๓ ชื่อว่า สาสวปัญญา
ปัญญาในมรรค ๔ ผล ๔ ชื่อว่า อนาสวปัญญา (๓)
ปัญญาในสภาวธรรมที่เป็นกุศลและอัพยากฤตในภูมิ ๓ ชื่อว่า อาสววิปปยุตต-
สาสวปัญญา ปัญญาในมรรค ๔ ผล ๔ ชื่อว่า อาสววิปปยุตตอนาสวปัญญา (๔)
ปัญญาในสภาวธรรมที่เป็นกุศลและอัพยากฤตในภูมิ ๓ ชื่อว่า สัญโญชนิย-
ปัญญา ปัญญาในมรรค ๔ ผล ๔ ชื่อว่า อสัญโญชนิยปัญญา (๕)
ปัญญาในสภาวธรรมที่เป็นกุศลและอัพยากฤตในภูมิ ๓ ชื่อว่า สัญโญชน-
วิปปยุตตสัญโญชนิยปัญญา ปัญญาในมรรค ๔ ผล ๔ ชื่อว่า สัญโญชน-
วิปปยุตตอสัญโญชนิยปัญญา (๖)
ปัญญาในสภาวธรรมที่เป็นกุศลและอัพยากฤตในภูมิ ๓ ชื่อว่า คันถนิยปัญญา
ปัญญาในมรรค ๔ ผล ๔ ชื่อว่า อคันถนิยปัญญา (๗)
ปัญญาในสภาวธรรมที่เป็นกุศลและอัพยากฤตในภูมิ ๓ ชื่อว่า คันถวิปปยุตต-
คันถนิยปัญญา ปัญญาในมรรค ๔ ผล ๔ ชื่อว่า คันถวิปปยุตตอคันถนิยปัญญา (๘)


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๕๐๐ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๖.ญาณวิภังค์] ๒.ทุกนิทเทส
ปัญญาในสภาวธรรมที่เป็นกุศลและอัพยากฤตในภูมิ ๓ ชื่อว่า โอฆนิยปัญญา
ปัญญาในมรรค ๔ ผล ๔ ชื่อว่า อโนฆนิยปัญญา (๙)
ปัญญาในสภาวธรรมที่เป็นกุศลและอัพยากฤตในภูมิ ๓ ชื่อว่า โอฆวิปปยุตต-
โอฆนิยปัญญา ปัญญาในมรรค ๔ ผล ๔ ชื่อว่า โอฆวิปปยุตตอโนฆนิยปัญญา (๑๐)
ปัญญาในสภาวธรรมที่เป็นกุศลและอัพยากฤตในภูมิ ๓ ชื่อว่า โยคนิยปัญญา
ปัญญาในมรรค ๔ ผล ๔ ชื่อว่า อโยคนิยปัญญา (๑๑)
ปัญญาในสภาวธรรมที่เป็นกุศลและอัพยากฤตในภูมิ ๓ ชื่อว่า โยควิปปยุตต-
โยคนิยปัญญา ปัญญาในมรรค ๔ ผล ๔ ชื่อว่า โยควิปปยุตตอโยคนิยปัญญา (๑๒)
ปัญญาในสภาวธรรมที่เป็นกุศลและอัพยากฤตในภูมิ ๓ ชื่อว่า นีวรณิยปัญญา
ปัญญาในมรรค ๔ ผล ๔ ชื่อว่า อนีวรณิยปัญญา (๑๓)
ปัญญาในสภาวธรรมที่เป็นกุศลและอัพยากฤตในภูมิ ๓ ชื่อว่า นีวรณ-
วิปปยุตตนีวรณิยปัญญา ปัญญาในมรรค ๔ ผล ๔ ชื่อว่า นีวรณวิปปยุตต-
อนีวรณิยปัญญา (๑๔)
ปัญญาในสภาวธรรมที่เป็นกุศลและอัพยากฤตในภูมิ ๓ ชื่อว่า ปรามัฏฐปัญญา
ปัญญาในมรรค ๔ ผล ๔ ชื่อว่า อปรามัฏฐปัญญา (๑๕)
ปัญญาในสภาวธรรมที่เป็นกุศลและอัพยากฤตในภูมิ ๓ ชื่อว่า ปรามาส-
วิปปยุตตปรามัฏฐปัญญา ปัญญาในมรรค ๔ ผล ๔ ชื่อว่า ปรามาสวิปปยุตต-
อปรามัฏฐปัญญา (๑๖)
ปัญญาในสภาวธรรมที่เป็นวิบากในภูมิ ๓ ชื่อว่า อุปาทินนปัญญา ปัญญา
ในสภาวธรรมที่เป็นกุศลและอัพยากตกิริยาในภูมิ ๓ และในมรรค ๔ ผล ๔ ชื่อว่า
อนุปาทินนปัญญา (๑๗)
ปัญญาในสภาวธรรมที่เป็นกุศลและอัพยากฤตในภูมิ ๓ ชื่อว่า อุปาทานิยปัญญา
ปัญญาในมรรค ๔ ผล ๔ ชื่อว่า อนุปาทานิยปัญญา (๑๘)
ปัญญาในสภาวธรรมที่เป็นกุศลและอัพยากฤตในภูมิ ๓ ชื่อว่า อุปาทาน-
วิปปยุตตอุปาทานิยปัญญา ปัญญาในมรรค ๔ ผล ๔ ชื่อว่า อุปาทานวิปปยุตต-
อนุปาทานิยปัญญา (๑๙)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๕๐๑ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๖.ญาณวิภังค์] ๒.ทุกนิทเทส
ปัญญาในสภาวธรรมที่เป็นกุศลและอัพยากฤตในภูมิ ๓ ชื่อว่า สังกิเลสิกปัญญา
ปัญญาในมรรค ๔ ผล ๔ ชื่อว่า อสังกิเลสิกปัญญา (๒๐)
ปัญญาในสภาวธรรมที่เป็นกุศลและอัพยากฤตในภูมิ ๓ ชื่อว่า กิเลสวิปปยุตต-
สังกิเลสิกปัญญา ปัญญาในมรรค ๔ ผล ๔ ชื่อว่า กิเลสวิปปยุตตอสังกิเลสิก-
ปัญญา (๒๑)
ปัญญาที่สัมปยุตด้วยวิตกชื่อว่า สวิตักกปัญญา ปัญญาที่วิปปยุตจากวิตกชื่อ
ว่า อวิตักกปัญญา (๒๒)
ปัญญาที่สัมปยุตด้วยวิจารชื่อว่า สวิจารปัญญา ปัญญาที่วิปปยุตจากวิจาร
ชื่อว่า อวิจารปัญญา (๒๓)
ปัญญาที่สัมปยุตด้วยปีติชื่อว่า สัปปีติกปัญญา ปัญญาที่วิปปยุตจากปีติชื่อ
ว่า อัปปีติกปัญญา (๒๔)
ปัญญาที่สัมปยุตด้วยปีติชื่อว่า ปีติสหคตปัญญา ปัญญาที่วิปปยุตจากปีติ
ชื่อว่า นปีติสหคตปัญญา (๒๕)
ปัญญาที่สัมปยุตด้วยสุขชื่อว่า สุขสหคตปัญญา ปัญญาที่วิปปยุตจากสุขชื่อว่า
นสุขสหคตปัญญา (๒๖)
ปัญญาที่สัมปยุตด้วยอุเบกขาชื่อว่า อุเปกขาสหคตปัญญา ปัญญาที่วิปปยุต
จากอุเบกขาชื่อว่า นอุเปกขาสหคตปัญญา (๒๗)
ปัญญาในสภาวธรรมที่เป็นกามาวจรกุศลและกามาวจรอัพยากฤตชื่อว่า
กามาวจรปัญญา ปัญญาที่เป็นรูปาวจร ปัญญาที่เป็นอรูปาวจร ปัญญาที่ไม่นับ
เนื่องในวัฏฏทุกข์ชื่อว่า นกามาวจรปัญญา (๒๘)
ปัญญาในสภาวธรรมที่เป็นรูปาวจรกุศลและรูปาวจรอัพยากฤตชื่อว่า รูปาวจร-
ปัญญา ปัญญาที่เป็นกามาวจร ปัญญาที่เป็นอรูปาวจรและปัญญาที่ไม่นับเนื่องใน
วัฏฏทุกข์ชื่อว่า นรูปาวจรปัญญา (๒๙)
ปัญญาในสภาวธรรมที่เป็นอรูปาวจรกุศลและอรูปาวจรอัพยากฤตชื่อว่า
อรูปาวจรปัญญา ปัญญาที่เป็นกามาวจร ปัญญาที่เป็นรูปาวจร และปัญญาที่ไม่
นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ชื่อว่า นอรูปาวจรปัญญา (๓๐)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๕๐๒ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๖.ญาณวิภังค์] ๓.ติกนิทเทส
ปัญญาในสภาวธรรมที่เป็นกุศลและอัพยากฤตในภูมิ ๓ ชื่อว่า ปริยาปันน-
ปัญญา ปัญญาในมรรค ๔ ผล ๔ ชื่อว่า อปริยาปันนปัญญา (๓๑)
ปัญญาในมรรค ๔ ชื่อว่า นิยยานิกปัญญา ปัญญาในสภาวธรรมที่เป็นกุศลใน
ภูมิ ๓ ที่เป็นวิบากในภูมิ ๔ และที่เป็นอัพยากตกิริยาในภูมิ ๓ ชื่อว่า อนิยยานิก-
ปัญญา (๓๒)
ปัญญาในมรรค ๔ ชื่อว่า นิยตปัญญา ปัญญาในสภาวธรรมที่เป็นกุศลในภูมิ ๓
ที่เป็นวิบากในภูมิ ๔ และที่เป็นอัพยากตกิริยาในภูมิ ๓ ชื่อว่า อนิยตปัญญา (๓๓)
ปัญญาในสภาวธรรมที่เป็นกุศลและอัพยากฤตในภูมิ ๓ ชื่อว่า สอุตตรปัญญา
ปัญญาในมรรค ๔ ผล ๔ ชื่อว่า อนุตตรปัญญา (๓๔)
บรรดาปัญญาเหล่านั้น อัตถชาปิกปัญญา เป็นไฉน
ปัญญาในสภาวธรรมที่เป็นกุศลในภูมิ ๔ และที่เป็นอัพยากตกิริยาของพระ
อรหันต์ผู้กำลังทำอภิญญาให้เกิดขึ้น ผู้กำลังทำสมาบัติให้เกิดขึ้น ชื่อว่า อัตถชาปิก-
ปัญญา ปัญญาในสภาวธรรมที่เป็นวิบากในภูมิ ๔ และที่เป็นอัพยากตกิริยาของพระ
อรหันต์ ในเมื่ออภิญญาและสมาบัติเกิดขึ้นแล้ว ชื่อว่า ชาปิตัตถปัญญา (๓๕)
ญาณวัตถุหมวดละ ๒ มีด้วยประการฉะนี้
ทุกนิทเทส จบ

๓. ติกนิทเทส
[๗๖๘] บรรดาญาณวัตถุหมวดละ ๓ นั้น จินตามยปัญญา เป็นไฉน
ในการงานทั้งหลายที่ต้องจัดการด้วยปัญญา ในศิลปะทั้งหลาย๑ ที่ต้องจัดการ
ด้วยปัญญา หรือในวิชาทั้งหลายที่ต้องจัดการด้วยปัญญา บุคคลมิได้ฟังจากผู้อื่น ได้
กัมมัสสกตาญาณ๒ หรือได้สัจจานุโลมิกญาณ๓ว่า รูปไม่เที่ยง ฯลฯ เวทนาไม่เที่ยง

เชิงอรรถ :
๑ อภิ.วิ.อ. ๗๖๘/๔๓๘
๒ ญาณรู้ว่าสัตว์มีกรรมเป็นของ ๆ ตน คือ ทำดีได้ดี ทำชัวได้ชั่ว (อภิ.วิ.อ. ๗๖๘/๔๔๐)
๓ สัจจานุโลมิกญาณ คือ วิปัสสนาญาณ ท่านเรียกว่า สัจจานุโลมิกญาณ เพราะอนุโลมตามสัจจะ ๔ ประการ
มีรูปไม่เที่ยงเป็นต้น (อภิ.วิ.อ. ๗๖๘/๔๔๐)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๕๐๓ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๖.ญาณวิภังค์] ๓.ติกนิทเทส
ฯลฯ สัญญาไม่เที่ยง ฯลฯ สังขารไม่เที่ยง ฯลฯ วิญญาณไม่เที่ยงดังนี้บ้าง ได้
๑ความสามารถ ความคิดอ่าน ความพอใจ ความกระจ่าง ความเพ่งพินิจ และได้
ปัญญาที่สามารถไตร่ตรองสภาวธรรมอันเหมาะสม๑ มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า
จินตามยปัญญา
สุตมยปัญญา เป็นไฉน
ในการงานทั้งหลายที่ต้องจัดการด้วยปัญญา ในศิลปะทั้งหลายที่ต้องจัดการ
ด้วยปัญญา ในวิชาทั้งหลายที่ต้องจัดการด้วยปัญญา บุคคลได้ฟังจากผู้อื่น ได้
กัมมัสสกตาญาณ หรือได้สัจจานุโลมิกญาณว่า รูปไม่เที่ยง ฯลฯ เวทนาไม่เที่ยง
ฯลฯ สัญญาไม่เที่ยง ฯลฯ สังขารไม่เที่ยง ฯลฯ วิญญาณไม่เที่ยงดังนี้บ้าง ได้
ความสามารถ ความคิดอ่าน ความพอใจ ความกระจ่าง ความเพ่งพินิจ และได้
ปัญญาที่สามารถไตร่ตรองสภาวธรรมอันเหมาะสม มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า
สุตมยปัญญา
ปัญญาของผู้เข้าสมาบัติแม้ทั้งหมดชื่อว่า ภาวนามยปัญญา (๑)
[๗๖๙] ทานมยปัญญา เป็นไฉน
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลงงมงาย ความเลือกเฟ้นธรรม
สัมมาทิฏฐิ ปรารภทานเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้ให้ทาน นี้เรียกว่า ทานมยปัญญา
สีลมยปัญญา เป็นไฉน
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลงงมงาย ความเลือกเฟ้นธรรม
สัมมาทิฏฐิ ปรารภศีลเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้รักษาศีล นี้เรียกว่า สีลมยปัญญา
ปัญญาของผู้เข้าสมาบัติแม้ทั้งหมดชื่อว่า ภาวนามยปัญญา (๒)
[๗๗๐] อธิสีลปัญญา เป็นไฉน
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลงงมงาย ความเลือกเฟ้นธรรม
สัมมาทิฏฐิ เกิดขึ้นแก่ผู้สำรวมปาติโมกขสังวร๒ นี้เรียกว่า อธิสีลปัญญา (๓)

เชิงอรรถ :
๑-๑ ตรงกับคำบาลีว่า ขนฺตึ ทิฏฺฐึ รุจึ มุทึ เปกฺขํ ธมฺมนิชฺฌานกฺขนฺตึ (อภิ.วิ.อ. ๗๖๘/๔๔๐)
๒ ศีล คือความสำรวมในพระปาฏิโมกข์ เว้นจากข้อห้ามทำตามข้ออนุญาต ประพฤติเคร่งครัดในสิกขาบท
ทั้งหลาย (วิสุทฺธิ. ๑/๑๙)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๕๐๔ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๖.ญาณวิภังค์] ๓.ติกนิทเทส
อธิจิตตปัญญา เป็นไฉน
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลงงมงาย ความเลือกเฟ้นธรรม สัมมา-
ทิฏฐิเกิดขึ้นแก่ผู้เข้ารูปาวจรสมาบัติและอรูปาวจรสมาบัติ นี้เรียกว่า อธิจิตตปัญญา
อธิปัญญปัญญา เป็นไฉน
ปัญญาในมรรค ๔ ผล ๔ นี้เรียกว่า อธิปัญญปัญญา๑ (๓)
[๗๗๑] อายโกศล เป็นไฉน
เมื่อบุคคลพิจารณาธรรมเหล่านี้อยู่ ธรรมที่เป็นอกุศลซึ่งยังไม่เกิดก็ไม่เกิด ที่
เกิดแล้วก็เสึ่อมไป หรือเมื่อบุคคลพิจารณาธรรมเหล่านี้อยู่ ธรรมที่เป็นกุศลซึ่งยัง
ไม่เกิดก็เกิด และที่เกิดแล้วก็เป็นไปเพื่อภิยโยภาพ ไพบูลย์ เจริญ บริบูรณ์ ปัญญา
กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลงงมงาย ความเลือกเฟ้นธรรม สัมมาทิฏฐิในข้อนั้น
นี้เรียกว่า อายโกศล
อปายโศล เป็นไฉน
เมื่อบุคคลพิจารณาธรรมเหล่านี้อยู่ ธรรมที่เป็นกุศลซึ่งยังไม่เกิดก็ไม่เกิด ที่
เกิดแล้วก็ดับไป หรือเมื่อบุคคลพิจารณาธรรมเหล่านี้อยู่ ธรรมที่เป็นอกุศลซึ่ง
ยังไม่เกิดก็เกิด และที่เกิดแล้วก็เป็นไปเพื่อภิยโยภาพ ไพบูลย์ ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด
ฯลฯ ความไม่หลงงมงาย ความเลือกเฟ้นธรรม สัมมาทิฏฐิในข้อนั้น นี้เรียกว่า
อปายโกศล
ปัญญาแม้ทั้งหมดที่เป็นอุบายสำหรับแก้ไขในเมื่อกิจรีบด่วนหรือภัยที่เกิด๒ แล้ว
นั้นชื่อว่า อุปายโกศล (๔)
[๗๗๒] ปัญญาในสภาวธรรมที่เป็นวิบากในภูมิ ๔ ชื่อว่า วิปากปัญญา ปัญญา
ในสภาวธรรมที่เป็นกุศลในภูมิ ๔ ชื่อว่า วิปากธัมมธัมมปัญญา ปัญญาในสภาวธรรม
ที่เป็นอัพยากตกิริยาในภูมิ ๓ ชื่อว่า เนววิปากนวิปากธัมมธัมมปัญญา (๕)

เชิงอรรถ :
๑ หมายถึงวิปัสสนาปัญญาและมรรคปัญญา (อภิ.วิ.อ. ๗๗๐/๔๔๓)
๒ อภิ.วิ.อ. ๗๗๑/๔๔๓

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๕๐๕ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๖.ญาณวิภังค์] ๓.ติกนิทเทส
[๗๗๓] ปัญญาในสภาวธรรมที่เป็นวิบากในภูมิ ๓ ชื่อว่า อุปาทินนุปาทานิย-
ปัญญา ปัญญาในสภาวธรรมที่เป็นกุศลในภูมิ ๓ และที่เป็นอัพยากตกิริยาในภูมิ ๓
ชื่อว่า อนุปาทินนุปาทานิยปัญญา ปัญญาในมรรค ๔ ผล ๔ ชื่อว่า อนุปาทินน-
อนุปาทานิยปัญญา (๖)
[๗๗๔] ปัญญาที่สัมปยุตด้วยวิตกและวิจารชื่อว่า สวิตักกสวิจารปัญญา
ปัญญาที่วิปปยุตจากวิตกแต่สัมปยุตด้วยวิจารชื่อว่า อวิตักกวิจารมัตตปัญญา ปัญญา
ที่วิปปยุตจากวิตกและวิจารชื่อว่า อวิตักกอวิจารปัญญา (๗)
[๗๗๕] ปัญญาที่สัมปยุตด้วยปีติชื่อว่า ปีติสหคตปัญญา ปัญญาที่สัมปยุต
ด้วยสุขชื่อว่า สุขสหคตปัญญา ปัญญาที่สัมปยุตด้วยอุเบกขาชื่อว่า อุเปกขา-
สหคตปัญญา (๘)
[๗๗๖] ปัญญาในสภาวธรรมที่เป็นกุศลในภูมิ ๓ ชื่อว่า อาจยคามินีปัญญา
ปัญญาในมรรค ๔ ชื่อว่า อปจยคามินีปัญญา ปัญญาในสภาวธรรมที่เป็นวิบาก
ในภูมิ ๔ และที่เป็นอัพยากตกิริยาในภูมิ ๓ ชื่อว่า เนวาจยคามินาปจยคามินี-
ปัญญา (๙)
[๗๗๗] ปัญญาในมรรค ๔ และในผล ๓ ชื่อว่า เสกขปัญญา ปัญญาใน
อรหัตตผลอันเป็นผลเบื้องบนชื่อว่า อเสกขปัญญา ปัญญาในสภาวธรรมที่เป็น
กุศลในภูมิ ๓ ที่เป็นวิบากในภูมิ ๓ และที่เป็นอัพยากตกิริยาในภูมิ ๓ ชื่อว่า
เนวเสกขนาเสกขปัญญา (๑๐)
[๗๗๘] ปัญญาในสภาวธรรมที่เป็นกุศลและอัพยากฤตซึ่งเป็นกามาวจรชื่อ
ว่า ปริตตปัญญา ปัญญาในสภาวธรรมที่เป็นกุศลและอัพยากฤตซึ่งเป็นรูปาวจรและ
อรูปาวจรชื่อว่า มหัคคตปัญญา ปัญญาในมรรค ๔ ผล ๔ ชื่อว่า อัปปมาณ-
ปัญญา (๑๑)
[๗๗๙] บรรดาปัญญาเหล่านั้น ปริตตารัมมณปัญญา เป็นไฉน
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลงงมงาย ความเลือกเฟ้นธรรม สัมมา-
ทิฏฐิ ปรารภสภาวธรรมที่เป็นปริตตะเกิดขึ้น นี้เรียกว่า ปริตตารัมมณปัญญา (๑๒)


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๕๐๖ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๖.ญาณวิภังค์] ๓.ติกนิทเทส
[๗๘๐] มหัคคตารัมมณปัญญา เป็นไฉน
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลงงมงาย ความเลือกเฟ้นธรรม
สัมมาทิฏฐิ ปรารภสภาวธรรมที่เป็นมหัคตะเกิดขึ้น นี้เรียกว่า มหัคคตารัมมณ-
ปัญญา (๑๒)
[๗๘๑] อัปปมาณารัมมณปัญญา เป็นไฉน
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลงงมงาย ความเลือกเฟ้นธรรม
สัมมาทิฏฐิ ปรารภสภาวธรรมที่เป็นอัปปมาณะเกิดขึ้น นี้เรียกว่า อัปปมาณา-
รัมมณปัญญา (๑๒)
[๗๘๒] มัคคารัมมณปัญญา เป็นไฉน
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลงงมงาย ความเลือกเฟ้นธรรม
สัมมาทิฏฐิ ปรารภอริยมรรคเกิดขึ้น นี้เรียกว่า มัคคารัมมณปัญญา
ปัญญาในมรรค ๔ ชื่อว่า มัคคเหตุกปัญญา (๑๓)
[๗๘๓] มัคคาธิปตินีปัญญา เป็นไฉน
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลงงมงาย ความเลือกเฟ้นธรรม
สัมมาทิฏฐิ ทำอริยมรรคให้เป็นอธิบดีเกิดขึ้น นี้เรียกว่า มัคคาธิปตินีปัญญา (๑๓)
[๗๘๔] ปัญญาในสภาวธรรมที่เป็นวิบากในภูมิ ๔ ที่เกิดขึ้นก็มี ที่จักเกิดขึ้น
แน่นอนก็มี แต่กล่าวไม่ได้ว่า ยังไม่เกิดขึ้น ปัญญาในสภาวธรรมที่เป็นกุศลในภูมิ ๔
และที่เป็นอัพยากตกิริยาในภูมิ ๓ ที่เกิดขึ้นก็มี ที่ยังไม่เกิดขึ้นก็มี แต่กล่าวไม่ได้ว่า
จักเกิดขึ้นแน่นอน (๑๔)
[๗๘๕] ปัญญาทั้งหมดที่เป็นอดีตก็มี ที่เป็นอนาคตก็มี ที่เป็นปัจจุบันก็มี
(๑๕)
[๗๘๖] อตีตารัมมณปัญญา เป็นไฉน
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลงงมงาย ความเลือกเฟ้นธรรม สัมมา-
ทิฏฐิ ปรารภสภาวธรรมที่เป็นอดีตเกิดขึ้น นี้เรียกว่า อตีตารัมมณปัญญา (๑๖)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๕๐๗ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๖.ญาณวิภังค์] ๓.ติกนิทเทส
[๗๘๗] อนาคตารัมมณปัญญา เป็นไฉน
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลงงมงาย ความเลือกเฟ้นธรรม
สัมมาทิฏฐิ ปรารภสภาวธรรมที่เป็นอนาคตเกิดขึ้น นี้เรียกว่า อนาคตารัมมณ-
ปัญญา (๑๖)
[๗๘๘] ปัจจุปปันนารัมมณปัญญา เป็นไฉน
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลงงมงาย ความเลือกเฟ้นธรรม
สัมมาทิฏฐิ ปรารภสภาวธรรมที่เป็นปัจจุบันเกิดขึ้น นี้เรียกว่า ปัจจุปปันนารัมมณ-
ปัญญา (๑๖)
[๗๘๙] ปัญญาทั้งหมดนั่นแหละที่เป็นภายในตนก็มี ที่เป็นภายนอกตนก็มี
ที่เป็นภายในตนและภายนอกตนก็มี (๑๗)
[๗๙๐] อัชฌัตตารัมมณปัญญา เป็นไฉน
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลงงมงาย ความเลือกเฟ้นธรรม
สัมมาทิฏฐิ ปรารภสภาวธรรมที่เป็นภายในตนเกิดขึ้น นี้เรียกว่า อัชฌัตตารัมมณ-
ปัญญา (๑๘)
[๗๙๑] พหิทธารัมมณปัญญา เป็นไฉน
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลงงมงาย ความเลือกเฟ้นธรรม
สัมมาทิฏฐิ ปรารภสภาวธรรมที่เป็นภายนอกตนเกิดขึ้น นี้เรียกว่า พหิทธารัมมณ-
ปัญญา (๑๘)
[๗๙๒] อัชฌัตตพหิทธารัมมณปัญญา เป็นไฉน
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลงงมงาย ความเลือกเฟ้นธรรม
สัมมาทิฏฐิ ปรารภสภาวธรรมที่เป็นภายในตนและภายนอกตนเกิดขึ้น นี้เรียกว่า
อัชฌัตตพหิทธารัมมณปัญญา (๑๘)
ญาณวัตถุหมวดละ ๓ มีด้วยประการฉะนี้
ติกนิทเทส จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๕๐๘ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๖.ญาณวิภังค์] ๔.จตุกกนิทเทส
๔. จตุกกนิทเทส
[๗๙๓] บรรดาญาณวัตถุหมวดละ ๔ นั้น กัมมัสสกตาญาณ เป็นไฉน
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลงงมงาย ความเลือกเฟ้นธรรม สัมมา-
ทิฏฐิซึ่งมีลักษณะว่า “ทานที่ให้แล้วมีผล ยัญที่บูชาแล้วมีผล การเซ่นสรวงมีผล
ผลวิบากของกรรมที่ทำดีทำชั่วมีอยู่ โลกนี้มี โลกหน้ามี มารดามีคุณ บิดามีคุณ
สัตว์ผู้เกิดผุดขึ้นมีอยู่ สมณพราหมณ์ผู้ประพฤติดีปฏิบัติชอบรู้แจ้งโลกนี้และโลกหน้า
ด้วยตนเองแล้วสอนให้ผู้อื่นรู้แจ้งมีอยู่ในโลก” ดังนี้ นี้เรียกว่า กัมมัสสกตาญาณ
เว้นสัจจานุโลมิกญาณเสีย ปัญญาที่เป็นกุศลซึ่งเป็นอารมณ์ของอาสวะแม้ทั้งหมดชื่อว่า
กัมมัสสกตาญาณ
สัจจานุโลมิกญาณ เป็นไฉน
ความสามารถ ความคิดอ่าน ความพอใจ ความกระจ่าง ความเพ่งพินิจ
ปัญญาที่สามารถไตร่ตรองสภาวธรรมอันเหมาะสมซึ่งมีลักษณะหรือว่า “รูปไม่เที่ยง
เวทนาไม่เที่ยง ฯลฯ สัญญาไม่เที่ยง ฯลฯ สังขารไม่เที่ยง ฯลฯ หรือวิญญาณ
ไม่เที่ยง” ดังนี้บ้าง นี้เรียกว่า สัจจานุโลมิกญาณ
ปัญญาในมรรค ๔ ชื่อว่า มัคคสมังคิญาณ
ปัญญาในผล ๔ ชื่อว่า ผลสมังคิญาณ (๑)
[๗๙๔] มัคคสมังคิญาณ ได้แก่ ความรู้ในทุกข์ ความรู้ในทุกขสมุทัย
ความรู้ในทุกขนิโรธ ความรู้ในทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา
บรรดาความรู้เหล่านั้น ความรู้ในทุกข์ เป็นไฉน
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลงงมงาย ความเลือกเฟ้นธรรม
สัมมาทิฏฐิ ปรารภทุกข์เกิดขึ้น นี้เรียกว่า ความรู้ในทุกข์
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลงงมงาย ความเลือกเฟ้นธรรม
สัมมาทิฏฐิ ปรารภทุกขสมุทัย ฯลฯ ปรารภทุกขนิโรธ ฯลฯ ปรารภทุกขนิโรธ-
คามินีปฏิปทาเกิดขึ้น นี้เรียกว่า ความรู้ในทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา (๒)


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๕๐๙ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๖.ญาณวิภังค์] ๔.จตุกกนิทเทส
[๗๙๕] ปัญญาในสภาวธรรมที่เป็นกุศลและอัพยากฤตที่เป็นกามาวจรชื่อว่า
กามาวจรปัญญา ปัญญาในสภาวธรรมที่เป็นกุศลและอัพยากฤตที่เป็นรูปาวจรชื่อว่า
รูปาวจรปัญญา ปัญญาในสภาวธรรมที่เป็นกุศลและอัพยากฤตที่เป็นอรูปาวจรชื่อว่า
อรูปาวจรปัญญา ปัญญาในมรรค ๔ ผล ๔ ชื่อว่า อปริยาปันนปัญญา (๓)
[๗๙๖] ธัมมญาณ เป็นไฉน
ปัญญาในมรรค ๔ ผล ๔ ชื่อว่า ธัมมญาณ
พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นทรงนำนัย(คือปัจจเวกขณญาณ)ไปในอดีตและ
อนาคตด้วยธรรมนี้ซึ่งทรงรู้ ทรงเห็น ทรงบรรลุ ทรงรู้แจ้ง และทรงหยั่งถึงแล้วว่า
ในอดีตกาล สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งได้รู้ทุกข์ รู้ทุกขสมุทัย
รู้ทุกขนิโรธ และรู้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นก็ได้รู้ทุกข์นี้
รู้ทุกขสมุทัยนี้ รู้ทุกขนิโรธนี้ รู้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทานี้
ในอนาคตกาล สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งจักรู้ทุกข์ รู้ทุกขสมุทัย
รู้ทุกขนิโรธ รู้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นก็จักรู้ทุกข์นี้
รู้ทุกขสมุทัยนี้ รู้ทุกขนิโรธนี้ รู้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทานี้
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลงงมงาย ความเลือกเฟ้นธรรม
สัมมาทิฏฐิในการนำนัยคือปัจจเวกขณญาณไปนั้น นี้เรียกว่า อันวยญาณ
ปริจจญาณ เป็นไฉน
ภิกษุในธรรมวินัยนี้กำหนดรู้จิตของสัตว์เหล่าอื่น ของบุคคลเหล่าอื่นด้วยจิต
คือ รู้จิตมีราคะว่า จิตมีราคะ รู้จิตปราศจากราคะว่าจิตปราศจากราคะ รู้จิตมีโทสะว่า
จิตมีโทสะ รู้จิตปราศจากโทสะว่า จิตปราศจากโทสะ รู้จิตมีโมหะว่า จิตมีโมหะ
รู้จิตปราศจากโมหะว่า จิตปราศจากโมหะ รู้จิตหดหู่ว่า จิตหดหู่ รู้จิตฟุ้งซ่านว่า
จิตฟุ้งซ่าน รู้จิตที่เป็นมหัคคตะว่า จิตเป็นมหัคคตะ รู้จิตที่ไม่เป็นมหัคคตะว่า จิต
ไม่เป็นมหัคคตะ รู้จิตเป็นสอุตตระว่า จิตเป็นสอุตตระ รู้จิตอนุตตระว่าจิตอนุตตระ
รู้จิตที่เป็นสมาธิว่า จิตเป็นสมาธิ หรือรู้จิตไม่เป็นสมาธิว่า จิตไม่เป็นสมาธิ รู้จิต
หลุดพ้นว่า จิตหลุดพ้น หรือรู้จิตไม่หลุดพ้นว่า จิตไม่หลุดพ้น


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๕๑๐ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๖.ญาณวิภังค์] ๔.จตุกกนิทเทส
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลง ความเลือกเฟ้นธรรม สัมมาทิฏฐิ
ในจิตของสัตว์เหล่าอื่น ของบุคคลเหล่าอื่นนั้น นี้เรียกว่า ปริจจญาณ
เว้นธัมมญาณ อันวยญาณ ปริจจญาณแล้ว ปัญญาที่เหลือชื่อว่า สมมติ-
ญาณ (๔)
[๗๙๗] อาจยโนอปจยปัญญา เป็นไฉน
ปัญญาในกามาวจรกุศลชื่อว่า อาจยโนอปจยปัญญา ปัญญาในมรรค ๔ ชื่อว่า
อปจยโนอาจยปัญญา ปัญญาในรูปาวจรกุศลและอรูปาวจรกุศลชื่อว่า อาจย-
อปจยปัญญา ปัญญาที่เหลือชื่อว่า อาจยโนอปจยปัญญา (๕)
[๗๙๘] นิพพิทาโนปฏิเวธปัญญา เป็นไฉน
บุคคลเป็นผู้ปราศราคะในกามทั้งหลาย แต่ไม่ได้แทงตลอดอภิญญาและสัจจะ
ทั้งหลายด้วยปัญญาใด นี้เรียกว่า นิพพิทาโนปฏิเวธปัญญา
บุคคลนั้นเป็นผู้ปราศจากราคะในกามทั้งหลายนั่นแหละได้แทงตลอดอภิญญา
แต่ไม่ได้แทงตลอดสัจจะทั้งหลายด้วยปัญญา นี้เรียกว่า ปฏิเวธโนนิพพิทาปัญญา
ปัญญาในมรรค ๔ ชื่อว่า นิพพิทาปฏิเวธปัญญา
ปัญญาที่เหลือ ชื่อว่า เนวนิพพิทาโนปฏิเวธปัญญา (๖)
[๗๙๙] หานภาคินีปัญญา เป็นไฉน
สัญญามนสิการที่สหรคตด้วยกามครอบงำโยคาวจรบุคคลผู้ได้ปฐมฌานชื่อว่า
หานภาคินีปัญญา สติที่มีสภาวะสมควรแก่ธรรมนั้นตั้งมั่นชื่อว่า ฐิติภาคินีปัญญา
สัญญามนสิการที่ไม่สหรคตด้วยวิตกครอบงำ...ชื่อว่า วิเสสภาคินีปัญญา สัญญา-
มนสิการที่สหรคตด้วยนิพพิทาประกอบด้วยวิราคะครอบงำ... ชื่อว่า นิพเพธภาคินี-
ปัญญา
สัญญามนสิการที่สหรคตด้วยวิตกครอบงำโยคาวจรบุคคลผู้ได้ทุติยฌานชื่อว่า
หานภาคินีปัญญา สติที่มีสภาวะสมควรแก่ธรรมนั้นตั้งมั่น ชื่อว่า ฐิติภาคินีปัญญา
สัญญามนสิการที่สหรคตด้วยอุเบกขาครอบงำ...ชื่อว่า วิเสสภาคินีปัญญา สัญญา-
มนสิการที่สหรคตด้วยนิพพิทาประกอบด้วยวิราคะครอบงำ...ชื่อว่า นิพเพธภาคินี-
ปัญญา


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๕๑๑ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๖.ญาณวิภังค์] ๔.จตุกกนิทเทส
สัญญามนสิการที่สหรคตด้วยปีติและสุขครอบงำโยคาวจรบุคคลผู้ได้ตติยฌาน
ชื่อว่า หานภาคินีปัญญา สติที่มีสภาวะสมควรแก่ธรรมนั้นตั้งมั่นชื่อว่า ฐิติภาคินีปัญญา
สัญญามนสิการที่สหรคตด้วยอทุกขมสุขเวทนาครอบงำ...ชื่อว่า วิเสสภาคินีปัญญา
สัญญามนสิการที่สหรคตด้วยนิพพิทาประกอบด้วยวิราคะครอบงำ...ชื่อว่า นิพเพธ-
ภาคินีปัญญา
สัญญามนสิการที่สหรคตด้วยอุเบกขาครอบงำโยคาวจรบุคคลผู้ได้จตุตถฌาน ชื่อ
ว่า หานภาคินีปัญญา สติที่มีสภาวะสมควรแก่ธรรมนั้นตั้งมั่นชื่อว่า ฐิติภาคินีปัญญา
สัญญามนสิการที่สหรคตด้วยอากาสานัญจายตนะครอบงำ...ชื่อว่า วิเสสภาคินีปัญญา
สัญญามนสิการที่สหรคตด้วยนิพพิทาประกอบด้วยวิราคะครอบงำ...ชื่อว่า นิพเพธ-
ภาคินีปัญญา
สัญญามนสิการที่สหรคตด้วยรูปครอบงำโยคาวจรบุคคลผู้ได้อากาสานัญจายตนะ
ชื่อว่า หานภาคินีปัญญา สติที่มีสภาวะสมควรแก่ธรรมนั้นตั้งมั่นชื่อว่า ฐิติภาคินี-
ปัญญา สัญญามนสิการที่สหรคตด้วยวิญญาณัญจายตนะครอบงำ...ชื่อว่า วิเสส-
ภาคินีปัญญา สัญญามนสิการที่สหรคตด้วยนิพพิทาประกอบด้วยวิราคะครอบงำ ...
ชื่อว่า นิพเพธภาคินีปัญญา
สัญญามนสิการที่สหรคตด้วยอากาสานัญจายตนะครอบงำโยคาวจรบุคคล
ผู้ได้วิญญาณัญจายตนะชื่อว่า หานภาคินีปัญญา สติที่มีสภาวะสมควรแก่ธรรมนั้น
ตั้งมั่นชื่อว่า ฐิติภาคินีปัญญา สัญญามนสิการที่สหรคตด้วยอากิญจัญญายตนะ
ครอบงำ...ชื่อว่า วิเสสภาคินีปัญญา สัญญามนสิการที่สหรคตด้วยนิพพิทาประกอบ
ด้วยวิราคะ...ชื่อว่า นิพเพธภาคินีปัญญา
สัญญามนสิการที่สหรคตด้วยวิญญาณัญจายตนะครอบงำโยคาวจรบุคคลผู้ได้
อากิญจัญญายตนะชื่อว่า หานภาคินีปัญญา สติที่มีสภาวะสมควรแก่ธรรมนั้นตั้งมั่น
ชื่อว่า ฐิติภาคินีปัญญา สัญญามนสิการที่สหรคตด้วยเนวสัญญานาสัญญายตนะ
ครอบงำ...ชื่อว่า วิเสสภาคินีปัญญา สัญญามนสิการที่สหรคตด้วยนิพพิทา ประกอบ
ด้วยวิราคะครอบงำ...ชื่อว่า นิพเพธภาคินีปัญญา (๗)


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๕๑๒ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๖.ญาณวิภังค์] ๔.จตุกกนิทเทส
[๘๐๐] ปฏิสัมภิทา ๔ เป็นไฉน
ปฏิสัมภิทา ๔ คือ

๑. อัตถปฏิสัมภิทา (ปัญญาแตกฉานในอรรถ)
๒. ธัมมปฏิสัมภิทา (ปัญญาแตกฉานในธรรม)
๓. นิรุตติปฏิสัมภิทา (ปัญญาแตกฉานในนิรุตติ)
๔. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา (ปัญญาแตกฉานในปฏิภาณ)

ความรู้ในอรรถชื่อว่าอัตถปฏิสัมภิทา ความรู้ในธรรมชื่อว่าธัมมปฏิสัมภิทา
ความรู้ในการกล่าวธัมมนิรุตตินั้นชื่อว่านิรุตติปฏิสัมภิทา ความรู้ในญาณทั้งหลาย
ชื่อว่าปฏิภาณปฏิสัมภิทา
เหล่านี้ชื่อว่าปฏิสัมภิทา (๘)
[๘๐๑] ปฏิปทา ๔ เป็นไฉน
ปฏิปทา ๔ คือ

๑. ปัญญาที่เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา (ปฏิบัติลำบากทั้งรู้ได้ช้า)
๒. ปัญญาที่เป็นทุกขาปฏิปทาขิปปาภิญญา (ปฏิบัติลำบากแต่รู้ได้เร็ว)
๓. ปัญญาที่เป็นสุขาปฏิปทาทันธาภิญญา (ปฏิบัติสะดวกแต่รู้ได้ช้า)
๔. ปัญญาที่เป็นสุขาปฏิปทาขิปปาภิญญา (ปฏิบัติสะดวกทั้งรู้ได้เร็ว)

บรรดาปฏิปทา ๔ เหล่านั้น ปัญญาที่เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา เป็นไฉน
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลงงมงาย ความเลือกเฟ้นธรรม สัมมา-
ทิฏฐิเกิด ขึ้นแก่โยคาวจรบุคคลผู้ทำสมาธิให้เกิดขึ้นโดยยากโดยลำบากทั้งรู้ฐานะ
นั้นช้า นี้เรียกว่า ปัญญาที่เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา
ปัญญาที่เป็นทุกขาปฏิปทาขิปปาภิญญา เป็นไฉน
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลงงมงาย ความเลือกเฟ้นธรรม สัมมา-
ทิฏฐิ เกิดขึ้นแก่โยคาวจรบุคคลผู้ทำสมาธิให้เกิดขึ้นโดยยากโดยลำบาก แต่รู้ฐานะ
นั้นได้เร็ว นี้เรียกว่า ปัญญาที่เป็นทุกขาปฏิปทาขิปปาภิญญา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๕๑๓ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๖.ญาณวิภังค์] ๔.จตุกกนิทเทส
ปัญญาที่เป็นสุขาปฏิปทาทันธาภิญญา เป็นไฉน
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลงงมงาย ความเลือกเฟ้นธรรม สัมมา-
ทิฏฐิ เกิดขึ้นแก่โยคาวจรบุคคลผู้ทำสมาธิให้เกิดขึ้นโดยไม่ยาก โดยไม่ลำบาก แต่
รู้ฐานะนั้นช้า นี้เรียกว่า ปัญญาที่เป็นสุขาปฏิปทาทันธาภิญญา
ปัญญาที่เป็นสุขาปฏิปทาขิปปาภิญญา เป็นไฉน
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลงงมงาย ความเลือกเฟ้นธรรม สัมมา-
ทิฏฐิ เกิดขึ้นแก่โยคาวจรบุคคลผู้ทำสมาธิให้เกิดขึ้นโดยไม่ยาก โดยไม่ลำบาก ทั้ง
รู้ฐานะนั้นเร็ว นี้เรียกว่า ปัญญาที่เป็นสุขาปฏิปทาขิปปาภิญญา
เหล่านี้ชื่อว่าปฏิปทา ๔ (๙)
[๘๐๒] อารัมมณปัญญา ๔ เป็นไฉน
อารัมมณปัญญา ๔ คือ
๑. ปัญญาที่เป็นปริตตะและมีปริตตะเป็นอารมณ์
๒. ปัญญาที่เป็นปริตตะแต่มีอัปปมาณะเป็นอารมณ์
๓. ปัญญาที่เป็นอัปปมาณะแต่มีปริตตะเป็นอารมณ์
๔. ปัญญาที่เป็นอัปปมาณะและมีอัปปมาณะเป็นอารมณ์
บรรดาอารัมมณปัญญา ๔ นั้น ปัญญาที่เป็นปริตตะและมีปริตตะเป็นอารมณ์
เป็นไฉน
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลงงมงาย ความเลือกเฟ้นธรรม สัมมา-
ทิฏฐิ เกิดขึ้นแก่โยคาวจรบุคคลผู้ได้สมาธิที่ยังไม่ชำนาญคล่องแคล่ว แผ่อารมณ์ไป
ได้เล็กน้อย นี้เรียกว่า ปัญญาที่เป็นปริตตะและมีปริตตะเป็นอารมณ์
ปัญญาที่เป็นปริตตะแต่มีอัปปมาณะเป็นอารมณ์ เป็นไฉน
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลงงมงาย ความเลือกเฟ้นธรรม สัมมา-
ทิฏฐิ เกิดขึ้นแก่โยคาวจรบุคคลผู้ได้สมาธิที่ยังไม่ชำนาญคล่องแคล่ว แผ่อารมณ์ไป
ได้กว้างขวางจนหาประมาณมิได้ นี้เรียกว่า ปัญญาที่เป็นปริตตะแต่มีอัปปมาณะ
เป็นอารมณ์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๕๑๔ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๖.ญาณวิภังค์] ๔.จตุกกนิทเทส
ปัญญาที่เป็นอัปปมาณะแต่มีปริตตะเป็นอารมณ์ เป็นไฉน
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลงงมงาย ความเลือกเฟ้นธรรม สัมมา-
ทิฏฐิ เกิดขึ้นแก่โยคาวจรบุคคลผู้ได้สมาธิที่ชำนาญคล่องแคล่ว แผ่อารมณ์ไปได้
เล็กน้อย นี้เรียกว่า ปัญญาที่เป็นอัปปมาณะแต่มีปริตตะเป็นอารมณ์
ปัญญาที่เป็นอัปปมาณะและมีอัปปมาณะเป็นอารมณ์ เป็นไฉน
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลงงมงาย ความเลือกเฟ้นธรรม สัมมา-
ทิฏฐิ เกิดขึ้นแก่โยคาวจรบุคคลผู้ได้สมาธิที่ชำนาญคล่องแคล่ว แผ่อารมณ์ไปได้
กว้างขวางจนหาประมาณมิได้ นี้เรียกว่า ปัญญาที่เป็นอัปปมาณะและมีอัปปมาณะ
เป็นอารมณ์
เหล่านี้เรียกว่า อารัมมณปัญญา ๔ (๑๐)
มัคคสมังคิญาณ ได้แก่ นี้ความรู้ในชรามรณะ นี้ความรู้ในชรามรณสมุทัย
นี้ความรู้ในชรามรณนิโรธ นี้ความรู้ในชรามรณนิโรธคามินีปฏิปทา
ความรู้ในชรามรณะ เป็นไฉน
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลงงมงาย ความเลือกเฟ้นธรรม สัมมา-
ทิฏฐิ ปรารภชรามรณะเกิดขึ้น นี้เรียกว่า ความรู้ในชรามรณะ
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลงงมงาย ความเลือกเฟ้นธรรม สัมมา-
ทิฏฐิ ปรารภชรามรณสมุทัยเกิดขึ้น นี้เรียกว่า ความรู้ในชรามรณสมุทัย ฯลฯ ปรารภ
ชรามรณนิโรธเกิดขึ้น นี้เรียกว่า ความรู้ในชรามรณนิโรธ ฯลฯ ปรารภชรามรณ-
นิโรธคามินีปฏิปทาเกิดขึ้น นี้เรียกว่า ความรู้ในชรามรณนิโรธคามินีปฏิปทา (๑๑)
[๘๐๓] มัคคสมังคิญาณ ได้แก่ ความรู้ในชาติ ฯลฯ ความรู้ในภพ ฯลฯ
ความรู้ในอุปาทาน ฯลฯ ความรู้ในตัณหา ฯลฯ ความรู้ในเวทนา ฯลฯ ความรู้
ในผัสสะ ฯลฯ ความรู้ในสฬายตนะ ฯลฯ ความรู้ในนาม ฯลฯ ความรู้ในวิญญาณ
ฯลฯ ความรู้ในสังขาร ฯลฯ ความรู้ในสังขารสมุทัย ความรู้ในสังขารนิโรธ และ
ความรู้ในสังขารนิโรธคามินีปฏิปทา (๑๒-๒๑)


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๕๑๕ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๖.ญาณวิภังค์] ๕. ปัญจกนิทเทส
บรรดาความรู้เหล่านั้น ความรู้ในสังขาร เป็นไฉน
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลงงมงาย ความเลือกเฟ้นธรรม สัมมา-
ทิฏฐิ ปรารภสังขารทั้งหลายเกิดขึ้น นี้เรียกว่า ความรู้ในสังขาร
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลงงมงาย ความเลือกเฟ้นธรรม สัมมา-
ทิฏฐิ ปรารภสังขารสมุทัย ฯลฯ ปรารภสังขารนิโรธ ฯลฯ ปรารภสังขารนิโรธ-
คามินีปฏิปทาเกิดขึ้น นี้เรียกว่า ความรู้ในสังขารนิโรธคามินีปฏิปทา (๒๒-๒๔)
ญาณวัตถุหมวดละ ๔ มีด้วยประการฉะนี้
จตุกกนิทเทส จบ

๕. ปัญจกนิทเทส
[๘๐๔] บรรดาญาณวัตถุหมวดละ ๕ นั้น สัมมาสมาธิมีองค์ ๕ เป็นไฉน
ปัญญาที่แผ่ปีติไป ปัญญาที่แผ่สุขไป ปัญญาที่แผ่จิตไป ปัญญาที่แผ่แสง
สว่างไป และปัจจเวกขณนิมิต๑ (ปัจจเวกขณญาณ)
ปัญญาในฌาน ๒ ชื่อว่า ปัญญาที่แผ่ปีติไป ปัญญาในฌาน ๓ ชื่อว่า ปัญญา
ที่แผ่สุขไป ญาณในการกำหนดรู้จิตของผู้อื่นชื่อว่า ปัญญาที่แผ่จิตไป ทิพยจักษุ
ชื่อว่า ปัญญาที่แผ่แสงสว่างไป ปัจจเวกขณญาณของโยคาวจรบุคคลผู้ออกจากสมาธิ
นั้น ๆ ชื่อว่า ปัจจเวกขณนิมิต นี้เรียกว่า สัมมาสมาธิมีองค์ ๕ (๑)
สัมมาสมาธิมีญาณ ๕ เป็นไฉน
ญาณเกิดขึ้นเฉพาะตนว่า สมาธินี้มีสุขในปัจจุบัน และมีสุขเป็นวิบากในอนาคต
ญาณเกิดขึ้นเฉพาะตนว่า สมาธินี้ไกลจากกิเลส หาอามิสมิได้ ญาณเกิดขึ้นเฉพาะ
ตนว่า สมาธินี้อันบุรุษผู้มีปัญญาทรามเสพไม่ได้ ญาณเกิดขึ้นเฉพาะตนว่า สมาธิ

เชิงอรรถ :
๑ ญาณที่เกิดแก่ผู้บำเพ็ญวิปัสสนาโดยลำดับตั้งแต่ต้นจนถึงจุดหมาย คือ มรรค ผล นิพพาน (อภิ.วิ.อ.
๘๐๔/๔๔๙)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๕๑๖ }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๖.ญาณวิภังค์] ๗.สัตตกนิทเทส
นี้สงบ ประณีต ได้ความสงบระงับ ได้บรรลุแล้วโดยความเป็นธรรมเอกผุดขึ้น และ
ไม่ได้บรรลุโดยการข่มนิวรณ์ ห้ามกิเลสด้วยจิตที่เป็นสสังขาริก๑ ญาณเกิดขึ้นเฉพาะ
ตนว่า ก็เรานั้นแลมีสติเข้าสมาธินี้ มีสติออกจากสมาธินี้ นี้เรียกว่า สัมมาสมาธิมี
ญาณ ๕ (๒)
ญาณวัตถุหมวดละ ๕ มีด้วยประการฉะนี้
ปัญจกนิทเทส จบ

๖. ฉักกนิทเทส
[๘๐๕] บรรดาญาณวัตถุหมวดละ ๖ นั้น ปัญญาในอภิญญา ๖ เป็นไฉน
ปัญญาในอภิญญา ๖ คือ

๑. อิทธิวิธญาณ (ความรู้ที่ทำให้แสดงฤทธิ์ต่าง ๆ ได้)
๒. โสตธาตุวิสุทธิญาณ (ความรู้ที่ทำให้มีหูทิพย์)
๓. ปรจิตตญาณ (ความรู้ที่ทำให้รู้ใจผู้อื่น)
๔. ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ (ความรู้ที่ทำให้ระลึกชาติได้)
๕. จุตูปปาตญาณ (ความรู้การจุติและเกิด)
๖. อาสวักขยญาณ (ความรู้ที่ทำให้อาสวะสิ้นไป)

เหล่านี้ชื่อว่าปัญญาในอภิญญา ๖๒
ญาณวัตถุหมวดละ ๖ มีด้วยประการฉะนี้ (๑)

๗. สัตตกนิทเทส
[๘๐๖] ในญาณวัตถุหมวดละ ๗ นั้น ญาณวัตถุ ๗๗ เป็นไฉน
ความรู้ว่า เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะจึงมี เมื่อชาติไม่มี ก็รู้ว่าชรามรณะ
ไม่มี

เชิงอรรถ :
๑ จิตที่มีสิ่งกระตุ้นเตือน (อภิ.สงฺ.อ. ๑๔๖/๒๐๖)
๒ อภิญญา ๖ นั้น ห้าข้อแรกเป็นโลกิยะ ข้อสุดท้ายเป็นโลกุตตระ (อภิ.วิ.อ. ๘๐๕/๔๕๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๕๑๗ }


>>>>> หน้าต่อไป >>>>>





eXTReMe Tracker