ค้นว่าอยู่เล่มใด แล้วกด [ctrl]+f หรือใช้คำสั่งของเครื่องหาตำแหน่งในเล่มอีกทีนะครับ



จัดรูปหน้าใหม่
เพื่อความสะดวก และสวยงาม
(เฉพาะหน้าจอใหญ่ เช่น คอมพิวเตอร์)
กรุณาคลิก จัดรูปหน้าใหม่
เพื่อให้กรอบ
ค้นข้อความ ปรากฎที่ด้านซ้ายของหน้า

พระไตรปิฎกภาษาไทย
ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ๔๕ เล่ม (ปกสีฟ้า)
ทั้งออนไลน์และออฟไลน์
ที่มาของข้อมูล : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับ มจร.
MCUTRAI Version 1.0

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๔-๑ อภิธรรมปิฎกที่ ๐๑ ธัมมสังคนี

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี ติกมาติกา

พระอภิธรรมปิฎก
ธัมมสังคณี
_________
ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

มาติกา
ติกมาติกา (๒๒ ติกะ)
๑. กุสลติกะ


[๑] กุสลา ธมฺมา. สภาวธรรมที่เป็นกุศล (๓๖๓,๙๘๕,๑๓๘๔)
อกุสลา ธมฺมา. สภาวธรรมที่เป็นอกุศล (๓๖๕,๔๒๗,๙๘๖,๑๓๘๕)
อพฺยากตา ธมฺมา. สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤต (๔๓๑,๕๘๓,๙๘๗)

๒. เวทนาติกะ

[๒] สุขาย เวทนาย สมฺปยุตฺตา ธมฺมา. สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนา (๙๘๘,๑๓๘๗)
ทุกฺขาย เวทนาย สมฺปยุตฺตา ธมฺมา. สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนา (๙๘๙,๑๓๘๘)
อทุกฺขมสุขาย เวทนาย สมฺปยุตฺตา ธมฺมา. สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา (๙๙๐,
๑๓๘๙)

๓. วิปากติกะ

[๓] วิปากา ธมฺมา. สภาวธรรมที่เป็นวิบาก (๙๙๑,๑๓๙๐)
วิปากธมฺมธมฺมา. สภาวธรรมที่เป็นเหตุให้เกิดวิบาก (๙๙๒,๑๓๙๑)
เนววิปากนวิปากธมฺมธมฺมา. สภาวธรรมที่ไม่เป็นวิบากและไม่เป็นเหตุให้เกิดวิบาก
(๙๙๓,๑๓๙๒)


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๑ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี ติกมาติกา
๔. อุปาทินนติกะ

[๔] อุปาทินฺนุปาทานิยา ธมฺมา. สภาวธรรมที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาทิฏฐิยึด
ถือและเป็นอารมณ์ของอุปาทาน (๙๙๔,๑๓๙๓)
อนุปาทินฺนุปาทานิยา ธมฺมา. สภาวธรรมที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิ
ไม่ยึดถือแต่เป็นอารมณ์ของอุปาทาน (๙๙๕,๑๓๙๔)
อนุปาทินฺนานุปาทานิยา ธมฺมา. สภาวธรรมที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาทิฏฐิไม่ยึด
ถือและไม่เป็นอารมณ์ของอุปาทาน (๙๙๖,๑๓๙๕)

๕. สังกิลิฏฐติกะ

[๕] สํกิลิฏฺฐสํกิเลสิกา ธมฺมา. สภาวธรรมที่กิเลสทำให้เศร้าหมองและเป็นอารมณ์
ของกิเลส (๙๙๗,๑๓๙๖)
อสํกิลิฏฺฐสํกิเลสิกา ธมฺมา. สภาวธรรมที่กิเลสไม่ทำให้เศร้าหมองแต่เป็น
อารมณ์ของกิเลส (๙๙๘,๑๓๙๗)
อสํกิลิฏฺฐาสํกิเลสิกา ธมฺมา. สภาวธรรมที่กิเลสไม่ทำให้เศร้าหมองและไม่เป็น
อารมณ์ของกิเลส (๙๙๙,๑๓๙๘)

๖. วิตักกติกะ

[๖] สวิตกฺกสวิจารา ธมฺมา. สภาวธรรมที่มีทั้งวิตกและวิจาร (๑๐๐๐,๑๓๙๙)
อวิตกฺกวิจารมตฺตา ธมฺมา. สภาวธรรมที่ไม่มีวิตกมีเพียงวิจาร (๑๐๐๑,๑๔๐๐)
อวิตกฺกาวิจารา ธมฺมา. สภาวธรรมที่ไม่มีทั้งวิตกและวิจาร (๑๐๐๒,๑๔๐๑)

๗. ปีติติกะ

[๗] ปีติสหคตา ธมฺมา. สภาวธรรมที่สหรคตด้วยปีติ (๑๐๐๓,๑๔๐๒)
สุขสหคตา ธมฺมา. สภาวธรรมที่สหรคตด้วยสุข (๑๐๐๔,๑๔๐๓)
อุเปกฺขาสหคตา ธมฺมา. สภาวธรรมที่สหรคตด้วยอุเบกขา (๑๐๐๕,๑๔๐๔)

๘. ทัสสนติกะ

[๘] ทสฺสเนน ปหาตพฺพา ธมฺมา. สภาวธรรมที่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรค
(๑๐๐๖,๑๔๐๕)
ภาวนาย ปหาตพฺพา ธมฺมา. สภาวธรรมที่ต้องประหาณด้วยมรรคเบื้องบน ๓
(๑๐๑๑,๑๔๐๖)

เนว ทสฺสเนน น ภาวนาย ปหาตพฺพา ธมฺมา. สภาวธรรมที่ไม่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติ-
มรรคและมรรคเบื้องบน ๓ (๑๐๑๒,๑๔๐๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๒ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี ติกมาติกา
๙. ทัสสนเหตุติกะ

[๙] ทสฺสเนน ปหาตพฺพเหตุกา ธมฺมา. สภาวธรรมที่มีเหตุต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรค
(๑๐๑๓,๑๔๐๘)
ภาวนาย ปหาตพฺพเหตุกา ธมฺมา. สภาวธรรมที่มีเหตุต้องประหาณด้วยมรรคเบื้องบน ๓
(๑๐๑๘,๑๔๐๙)

เนว ทสฺสเนน น ภาวนาย ปหาตพฺพเหตุกา ธมฺมา. สภาวธรรมที่ไม่มีเหตุต้อง
ประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคและมรรคเบื้องบน ๓
(๑๐๑๙,๑๔๑๐)
๑๐. อาจยคามิติกะ

[๑๐] อาจยคามิโน ธมฺมา. สภาวธรรมที่เป็นเหตุให้ถึงปฏิสนธิและจุติ (๑๐๒๐,
๑๔๑๑)
อปจยคามิโน ธมฺมา. สภาวธรรมที่เป็นเหตุให้ถึงนิพพาน (๑๐๒๑,๑๔๑๒)
เนวาจยคามิโน นาปจยคามิโน ธมฺมา. สภาวธรรมที่ไม่เป็นเหตุให้ถึงปฏิสนธิจุติและนิพพาน
(๑๐๒๒,๑๔๑๓)

๑๑. เสกขติกะ

[๑๑] เสกฺขา ธมฺมา. สภาวธรรมที่เป็นของเสขบุคคล (๑๐๒๓,๑๔๑๔)
อเสกฺขา ธมฺมา. สภาวธรรมที่เป็นของอเสขบุคคล (๑๐๒๔,๑๔๑๕)
เนวเสกฺขา นาเสกฺขา ธมฺมา. สภาวธรรมที่ไม่เป็นของเสขบุคคลและอเสขบุคคล
(๑๐๒๕,๑๔๑๖)

๑๒. ปริตตติกะ

[๑๒] ปริตฺตา ธมฺมา. สภาวธรรมที่เป็นปริตตะ (กามาวจร) (๑๐๒๖,๑๔๑๗)
มหคฺคตา ธมฺมา. สภาวธรรมที่เป็นมหัคคตะ (รูปาวจรและอรูปาวจร)
(๑๐๒๗,๑๔๑๘)
อปฺปมาณา ธมฺมา. สภาวธรรมที่เป็นอัปปมาณะ (โลกุตตระ) (๑๐๒๘,
๑๔๑๙)

๑๓. ปริตตารัมมณติกะ

[๑๓] ปริตฺตารมฺมณา ธมฺมา. สภาวธรรมที่มีปริตตะ (กามาวจร) เป็นอารมณ์
(๑๐๒๙,๑๔๒๐)


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๓ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี ติกมาติกา

มหคฺคตารมฺมณา ธมฺมา. สภาวธรรมที่มีมหัคคตะ (รูปาวจรอรูปาวจร) เป็นอารมณ์ (๑๐๓๐,
๑๔๒๑)
อปฺปมาณารมฺมณา ธมฺมา. สภาวธรรมที่มีอัปปมาณะ (โลกุตตระ)เป็นอารมณ์ (๑๐๓๑,๑๔๒๒)

๑๔. หีนติกะ

[๑๔] หีนา ธมฺมา. สภาวธรรมชั้นต่ำ (๑๐๓๒,๑๔๒๓)
มชฺฌิมา ธมฺมา. สภาวธรรมชั้นกลาง (๑๐๓๓,๑๔๒๔)
ปณีตา ธมฺมา. สภาวธรรมชั้นประณีต (๑๐๓๔,๑๔๒๕)

๑๕. มิจฉัตตติกะ

[๑๕] มิจฺฉตฺตนิยตา ธมฺมา. สภาวธรรมที่มีสภาวะผิดและให้ผลแน่นอน (๑๐๓๕,๑๔๒๖)
สมฺมตฺตนิยตา ธมฺมา. สภาวธรรมที่มีสภาวะชอบและให้ผลแน่นอน (๑๐๓๖,๑๔๒๗)
อนิยตา ธมฺมา. สภาวธรรมที่ไม่แน่นอนโดยอาการทั้งสองนั้น (๑๐๓๗,๑๔๒๘)

๑๖. มัคคารัมมณติกะ

[๑๖] มคฺคารมฺมณา ธมฺมา. สภาวธรรมที่มีมรรคเป็นอารมณ์ (๑๐๓๘,๑๔๒๙)
มคฺคเหตุกา ธมฺมา. สภาวธรรมที่มีมรรคเป็นเหตุ (๑๐๓๙,๑๔๒๙)
มคฺคาธิปติโน ธมฺมา. สภาวธรรมที่มีมรรคเป็นอธิบดี (๑๐๔๐,๑๔๒๙)

๑๗. อุปปันนติกะ

[๑๗] อุปฺปนฺนา ธมฺมา. สภาวธรรมที่เกิดขึ้น (๑๐๔๑,๑๔๓๐)
อนุปฺปนฺนา ธมฺมา. สภาวธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้น (๑๐๔๒,๑๔๓๐)
อุปฺปาทิโน ธมฺมา. สภาวธรรมที่จักเกิดขึ้นแน่นอน (๑๐๔๓,๑๔๓๐)

๑๘. อตีตติกะ

[๑๘] อตีตา ธมฺมา. สภาวธรรมที่เป็นอดีต (๑๐๔๔,๑๔๓๑)
อนาคตา ธมฺมา. สภาวธรรมที่เป็นอนาคต (๑๐๔๕,๑๔๓๑)
ปจฺจุปฺปนฺนา ธมฺมา. สภาวธรรมที่เป็นปัจจุบัน (๑๐๔๖,๑๔๓๑)

๑๙. อตีตารัมมณติกะ

[๑๙] อตีตารมฺมณา ธมฺมา. สภาวธรรมที่มีอดีตธรรมเป็นอารมณ์ (๑๐๔๗,๑๔๓๒)
อนาคตารมฺมณา ธมฺมา. สภาวธรรมที่มีอนาคตธรรมเป็นอารมณ์ (๑๐๔๘,๑๔๓๓)
ปจฺจุปฺปนฺนารมฺมณา ธมฺมา. สภาวธรรมที่มีปัจจุบันธรรมเป็นอารมณ์ (๑๐๔๙,๑๔๓๔)


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๔ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี ทุกมาติกา
๒๐. อัชฌัตตติกะ
[๒๐] อชฺฌตฺตา ธมฺมา. สภาวธรรมที่เป็นภายในตน (๑๐๕๐,๑๔๓๕)
พหิทฺธา ธมฺมา. สภาวธรรมที่เป็นภายนอกตน (๑๐๕๑,๑๔๓๕)
อชฺฌตฺตพหิทฺธา ธมฺมา. สภาวธรรมที่เป็นภายในตนและภายนอกตน (๑๐๕๒, ๑๔๓๕)
๒๑. อัชฌัตตารัมมณติกะ
[๒๑] อชฺฌตฺตารมฺมณา ธมฺมา. สภาวธรรมที่มีธรรมภายในตนเป็นอารมณ์ (๑๐๕๓,๑๔๓๖)
พหิทฺธารมฺมณา ธมฺมา. สภาวธรรมที่มีธรรมภายนอกตนเป็นอารมณ์ (๑๐๕๔,๑๔๓๗)
อชฺฌตฺตพหิทฺธารมฺมณา ธมฺมา. สภาวธรรมที่มีธรรมภายในตนและภายนอกตนเป็นอารมณ์
(๑๐๕๕,๑๔๓๗)
๒๒. สนิทัสสนติกะ
[๒๒] สนิทสฺสนสปฺปฏิฆา ธมฺมา. สภาวธรรมที่เห็นได้และกระทบได้ (๑๐๕๖,๑๔๓๘)
อนิทสฺสนสปฺปฏิฆา ธมฺมา. สภาวธรรมที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้ (๑๐๕๗,๑๔๓๙)
อนิทสฺสนาปฺปฏิฆา ธมฺมา. สภาวธรรมที่เห็นไม่ได้และกระทบไม่ได้ (๑๐๕๘,๑๔๔๐)
ติกมาติกา ๒๒ ติกะ จบ

ทุกมาติกา (๑๐๐ ทุกะ)
๑. เหตุโคจฉกะ
๑. เหตุทุกะ
[๑] เหตู ธมฺมา. สภาวธรรมที่เป็นเหตุ (๑๐๕๙,๑๐๗๗,๑๔๔๑)
น เหตู ธมฺมา. สภาวธรรมที่ไม่เป็นเหตุ (๑๐๗๘,๑๔๔๒)
๒. สเหตุกทุกะ
[๒] สเหตุกา ธมฺมา. สภาวธรรมที่มีเหตุ (๑๐๗๙,๑๔๔๓)
อเหตุกา ธมฺมา. สภาวธรรมที่ไม่มีเหตุ (๑๐๘๐,๑๔๔๔)
๓. เหตุสัมปยุตตทุกะ
[๓] เหตุสมฺปยุตฺตา ธมฺมา. สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยเหตุ (๑๐๘๑,๑๔๔๕)
เหตุวิปฺปยุตฺตา ธมฺมา. สภาวธรรมที่วิปปยุตจากเหตุ (๑๐๘๒,๑๔๔๖)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๕ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี ทุกมาติกา
๔. เหตุสเหตุกทุกะ
[๔] เหตู เจว ธมฺมา สเหตุกา จ. สภาวธรรมที่เป็นเหตุและมีเหตุ (๑๐๘๓,๑๔๔๗)
สเหตุกา เจว ธมฺมา น จ เหตู. สภาวธรรมที่มีเหตุแต่ไม่เป็นเหตุ (๑๐๘๔,๑๔๔๘)
๕. เหตุเหตุสัมปยุตตทุกะ
[๕] เหตู เจว ธมฺมา เหตุสมฺปยุตฺตา จ. สภาวธรรมที่เป็นเหตุและสัมปยุตด้วยเหตุ
(๑๐๘๕,๑๔๔๙)
เหตุสมฺปยุตฺตา เจว ธมฺมา น จ เหตู. สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยเหตุแต่ไม่เป็นเหตุ
(๑๐๘๖,๑๔๕๐)
๖. นเหตุสเหตุกทุกะ
[๖] น เหตู โข ปน ธมฺมา สเหตุกาปิ. สภาวธรรมที่ไม่เป็นเหตุแต่มีเหตุ (๑๐๘๗,๑๔๕๑)
(น เหตู โข ปน ธมฺมา) อเหตุกาปิ. สภาวธรรมที่ไม่เป็นเหตุและไม่มีเหตุ (๑๐๘๘,๑๔๕๒)
เหตุโคจฉกะ จบ

๒. จูฬันตรทุกะ
๑. สัปปัจจยทุกะ
[๗] สปฺปจฺจยา ธมฺมา. สภาวธรรมที่มีปัจจัยปรุงแต่ง (๑๐๘๙,๑๔๕๓)
อปฺปจฺจยา ธมฺมา. สภาวธรรมที่ไม่มีปัจจัยปรุงแต่ง (๑๐๙๐,๑๔๕๔)
๒. สังขตทุกะ
[๘] สงฺขตา ธมฺมา. สภาวธรรมที่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง (๑๐๙๑,๑๔๕๕)
อสงฺขตา ธมฺมา. สภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง (๑๐๙๒,๑๔๕๖)
๓. สนิทัสสนทุกะ
[๙] สนิทสฺสนา ธมฺมา. สภาวธรรมที่เห็นได้ (๑๐๙๓,๑๔๕๗)
อนิทสฺสนา ธมฺมา. สภาวธรรมที่เห็นไม่ได้ (๑๐๙๔,๑๔๕๘)
๔. สัปปฏิฆทุกะ
[๑๐] สปฺปฏิฆา ธมฺมา. สภาวธรรมที่กระทบได้ (๑๐๙๕,๑๔๕๙)
อปฺปฏิฆา ธมฺมา. สภาวธรรมที่กระทบไม่ได้ (๑๐๙๖,๑๔๖๐)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๖ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี ทุกมาติกา
๕. รูปีทุกะ
[๑๑] รูปิโน ธมฺมา. สภาวธรรมที่เป็นรูป (๑๐๙๗,๑๔๖๑)
อรูปิโน ธมฺมา. สภาวธรรมที่ไม่เป็นรูป (๑๐๙๘,๑๔๖๒)
๖. โลกิยทุกะ
[๑๒] โลกิยา ธมฺมา. สภาวธรรมที่เป็นโลกิยะ (๑๐๙๙,๑๔๖๓)
โลกุตฺตรา ธมฺมา. สภาวธรรมที่เป็นโลกุตตระ (๑๑๐๐,๑๔๖๔)
๗. เกนจิวิญเญยยทุกะ
[๑๓] เกนจิ วิ�ฺเ�ยฺยา ธมฺมา. สภาวธรรมที่จิตบางดวงรู้ได้ (๑๑๐๑,๑๔๖๔)
เกนจิ น วิ�ฺเ�ยฺยา ธมฺมา. สภาวธรรมที่จิตบางดวงรู้ไม่ได้ (๑๑๐๑,๑๔๖๔)
จูฬันตรทุกะ จบ

๓. อาสวโคจฉกะ
๑. อาสวทุกะ
[๑๔] อาสวา ธมฺมา. สภาวธรรมที่เป็นอาสวะ (๑๑๐๒,๑๔๖๕)
โน อาสวา ธมฺมา. สภาวธรรมที่ไม่เป็นอาสวะ (๑๑๐๗,๑๔๖๖)
๒. สาสวทุกะ
[๑๕] สาสวา ธมฺมา. สภาวธรรมที่เป็นอารมณ์ของอาสวะ (๑๑๐๘,๑๔๖๗)
อนาสวา ธมฺมา. สภาวธรรมที่ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะ (๑๑๐๙,๑๔๖๘)
๓. อาสวสัมปยุตตทุกะ
[๑๖] อาสวสมฺปยุตฺตา ธมฺมา. สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยอาสวะ (๑๑๑๐,๑๔๖๙)
อาสววิปฺปยุตฺตา ธมฺมา. สภาวธรรมที่วิปปยุตจากอาสวะ (๑๑๑๑,๑๔๗๐)
๔. อาสวสาสวทุกะ
[๑๗] อาสวา เจว ธมฺมา สาสวา จ. สภาวธรรมที่เป็นอาสวะและเป็นอารมณ์ของอาสวะ
(๑๑๑๒,๑๔๗๑)
สาสวา เจว ธมฺมา โน จ อาสวา. สภาวธรรมที่เป็นอารมณ์ของอาสวะแต่ไม่เป็นอาสวะ
(๑๑๑๓,๑๔๗๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๗ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี ทุกมาติกา
๕. อาสวอาสวสัมปยุตตทุกะ
[๑๘] อาสวา เจว ธมฺมา อาสวสมฺปยุตฺตา จ. สภาวธรรมที่เป็นอาสวะและสัมปยุตด้วย
อาสวะ (๑๑๑๔,๑๔๗๓)
อาสวสมฺปยุตตา เจว ธมฺมา โน จ อาสวา. สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยอาสวะแต่ไม่เป็น
อาสวะ (๑๑๑๕,๑๔๗๔)
๖. อาสววิปปยุตตสาสวทุกะ
[๑๙] อาสววิปฺปยุตฺตา โข ปน ธมฺมา สาสวาปิ. สภาวธรรมที่วิปปยุตจากอาสวะแต่เป็น
อารมณ์ของอาสวะ (๑๑๑๖,๑๔๗๕)
(อาสววิปฺปยุตฺตา โข ปน ธมฺมา) อนาสวาปิ. (สภาวธรรมที่วิปปยุตจากอาสวะ)และไม่เป็น
อารมณ์ของอาสวะ (๑๑๑๗,๑๔๗๖)
อาสวโคจฉกะ จบ
__________
๔. สัญโญชนโคจฉกะ
๑. สัญโญชนทุกะ
[๒๐] ส�ฺโ�ชนา ธมฺมา. สภาวธรรมที่เป็นสังโยชน์ (๑๑๑๘,๑๔๗๗)
โน ส�ฺโ�ชนา ธมฺมา. สภาวธรรมที่ไม่เป็นสังโยชน์ (๑๑๒๙,๑๔๗๘)
๒. สัญโญชนิยทุกะ
[๒๑] ส�ฺโ�ชนิยา ธมฺมา. สภาวธรรมที่เป็นอารมณ์ของสังโยชน์
(๑๑๓๐,๑๔๗๙)
อส�ฺโ�ชนิยา ธมฺมา. สภาวธรรมที่ไม่เป็นอารมณ์ของสังโยชน์
(๑๑๓๑,๑๔๘๐)
๓. สัญโญชนสัมปยุตตทุกะ
[๒๒] ส�ฺโ�ชนสมฺปยุตฺตา ธมฺมา. สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยสังโยชน์ (๑๑๓๒,๑๔๘๑)
ส�ฺโ�ชนวิปฺปยุตฺตา ธมฺมา. สภาวธรรมที่วิปปยุตจากสังโยชน์ (๑๑๓๓,๑๔๘๒)
๔. สัญโญชนสัญโญชนิยทุกะ
[๒๓] ส�ฺโ�ชนา เจว ธมฺมา ส�ฺโ�ชนิยา จ. สภาวธรรมที่เป็นสังโยชน์และเป็นอารมณ์
ของสังโยชน์ (๑๑๓๔,๑๔๘๓)
ส�ฺโ�ชนิยา เจว ธมฺมา โน จ ส�ฺโ�ชนา. สภาวธรรมที่เป็นอารมณ์ของสังโยชน์แต่ไม่
เป็นสังโยชน์ (๑๑๓๕,๑๔๘๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๘ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี ทุกมาติกา
๕. สัญโญชนสัญโญชนสัมปยุตตทุกะ
[๒๔] ส�ฺโ�ชนา เจว ธมฺมา ส�ฺโ�ชนสมฺปยุตฺตา จ. สภาวธรรมที่เป็นสังโยชน์และสัมปยุต
ด้วยสังโยชน์ (๑๑๓๖,๑๔๘๕)
ส�ฺโ�ชนสมฺปยุตฺตา เจว ธมฺมา โน จ ส�ฺโ�ชนา. สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยสังโยชน์แต่
ไม่เป็นสังโยชน์ (๑๑๓๗,๑๔๘๖)
๖. สัญโญชนวิปปยุตตสัญโญชนิยทุกะ
[๒๕] ส�ฺโ�ชนวิปฺปยุตฺตา โข ปน ธมฺมา ส�ฺโ�ชนิยาปิ. สภาวธรรมที่วิปปยุตจากสังโยชน์แต่
เป็นอารมณ์ของสังโยชน์ (๑๑๓๘,
๑๔๘๗)
(ส�ฺโ�ชนวิปฺปยุตฺตา โข ปน ธมฺมา) อส�ฺโ�ชนิยาปิ. สภาวธรรมที่วิปปยุตจากสังโยชน์ และ
ไม่เป็นอารมณ์ของสังโยชน์ (๑๑๓๙,
๑๔๘๘)
สัญโญชนโคจฉกะ จบ

๕. คันถโคจฉกะ
๑. คันถทุกะ
[๒๖] คนฺถา ธมฺมา. สภาวธรรมที่เป็นคันถะ (๑๑๔๐,๑๔๘๙)
โน คนฺถา ธมฺมา. สภาวธรรมที่ไม่เป็นคันถะ (๑๑๔๕,๑๔๙๐)
๒. คันถนิยทุกะ
[๒๗] คนฺถนิยา ธมฺมา. สภาวธรรมที่เป็นอารมณ์ของคันถะ (๑๑๔๖,๑๔๙๑)
อคนฺถนิยา ธมฺมา. สภาวธรรมที่ไม่เป็นอารมณ์ของคันถะ (๑๑๔๗, ๑๔๙๒)
๓. คันถสัมปยุตตทุกะ
[๒๘] คนฺถสมฺปยุตฺตา ธมฺมา. สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยคันถะ (๑๑๔๘,๑๔๙๓)
คนฺถวิปฺปยุตฺตา ธมฺมา. สภาวธรรมที่วิปปยุตจากคันถะ (๑๑๔๙,๑๔๙๔)
๔. คันถคันถนิยทุกะ
[๒๙] คนฺถา เจว ธมฺมา คนฺถนิยา จ. สภาวธรรมที่เป็นคันถะและเป็นอารมณ์ของคันถะ
(๑๑๕๐,๑๔๙๕)
คนฺถนิยา เจว ธมฺมา โน จ คนฺถา. สภาวธรรมที่เป็นอารมณ์ของคันถะแต่ไม่เป็นคันถะ
(๑๑๕๑,๑๔๙๖)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๙ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี ทุกมาติกา
๕. คันถคันถสัมปยุตตทุกะ
[๓๐] คนฺถา เจว ธมฺมา คนฺถสมฺปยุตฺตา จ. สภาวธรรมที่เป็นคันถะและสัมปยุตด้วย
คันถะ (๑๑๕๒, ๑๔๙๗)
คนฺถสมฺปยุตฺตา เจว ธมฺมา โน จ คนฺถา. สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยคันถะแต่ไม่เป็น
คันถะ (๑๑๕๓,๑๔๙๘)
๖. คันถวิปปยุตตคันถนิยทุกะ
[๓๑] คนฺถวิปฺปยุตฺตา โข ปน ธมฺมา คนฺถนิยาปิ. สภาวธรรมที่วิปปยุตจากคันถะแต่เป็น
อารมณ์ของคันถะ (๑๑๕๔,๑๔๙๙)
(คนฺถวิปฺปยุตฺตา โข ปน ธมฺมา) อคนฺถนิยาปิ. สภาวธรรมที่วิปปยุตจากคันถะและไม่
เป็นอารมณ์ของคันถะ (๑๑๕๕,๑๕๐๐)
คันถโคจฉกะ จบ

๖. โอฆโคจฉกะ
๑. โอฆทุกะ
[๓๒] โอฆา ธมฺมา. สภาวธรรมที่เป็นโอฆะ (๑๑๕๖,๑๕๐๑)
โน โอฆา ธมฺมา. สภาวธรรมที่ไม่เป็นโอฆะ
๒. โอฆนิยทุกะ
[๓๓] โอฆนิยา ธมฺมา. สภาวธรรมที่เป็นอารมณ์ของโอฆะ
อโนฆนิยา ธมฺมา. สภาวธรรมที่ไม่เป็นอารมณ์ของโอฆะ
๓. โอฆสัมปยุตตทุกะ
[๓๔] โอฆสมฺปยุตฺตา ธมฺมา. สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยโอฆะ
โอฆวิปฺปยุตฺตา ธมฺมา. สภาวธรรมที่วิปปยุตจากโอฆะ
๔. โอฆโอฆนิยทุกะ
[๓๕] โอฆา เจว ธมฺมา โอฆนิยา จ. สภาวธรรมที่เป็นโอฆะและเป็นอารมณ์ของโอฆะ
โอฆนิยา เจว ธมฺมา โน จ โอฆา. สภาวธรรมที่เป็นอารมณ์ของโอฆะแต่ไม่เป็นโอฆะ
๕. โอฆโอฆสัมปยุตตทุกะ
[๓๖] โอฆา เจว ธมฺมา โอฆสมฺปยุตฺตา จ. สภาวธรรมที่เป็นโอฆะและสัมปยุตด้วยโอฆะ
โอฆสมฺปยุตฺตา เจว ธมฺมา โน จ โอฆา. สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยโอฆะแต่ไม่เป็นโอฆะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๑๐ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี ทุกมาติกา
๖. โอฆวิปปยุตตโอฆนิยทุกะ
[๓๗] โอฆวิปฺปยุตฺตา โข ปน ธมฺมา โอฆนิยาปิ. สภาวธรรมที่วิปปยุตจากโอฆะแต่เป็นอารมณ์
ของโอฆะ
(โอฆวิปฺปยุตฺตา โข ปน ธมฺมา) อโนฆนิยาปิ. สภาวธรรมที่วิปปยุตจากโอฆะและไม่เป็น
อารมณ์ของโอฆะ
โอฆโคจฉกะ จบ

๗. โยคโคจฉกะ
๑. โยคทุกะ
[๓๘] โยคา ธมฺมา. สภาวธรรมที่เป็นโยคะ (๑๑๕๗,๑๕๐๒)
โน โยคา ธมฺมา. สภาวธรรมที่ไม่เป็นโยคะ
๒. โยคนิยทุกะ
[๓๙] โยคนิยา ธมฺมา. สภาวธรรมที่เป็นอารมณ์ของโยคะ
อโยคนิยา ธมฺมา. สภาวธรรมที่ไม่เป็นอารมณ์ของโยคะ
๓. โยคสัมปยุตตทุกะ
[๔๐] โยคสมฺปยุตฺตา ธมฺมา. สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยโยคะ
โยควิปฺปยุตฺตา ธมฺมา. สภาวธรรมที่วิปปยุตจากโยคะ
๔. โยคโยคนิยทุกะ
[๔๑] โยคา เจว ธมฺมา โยคนิยา จ. สภาวธรรมที่เป็นโยคะและเป็นอารมณ์ของโยคะ
โยคนิยา เจว ธมฺมา โน จ โยคา. สภาวธรรมที่เป็นอารมณ์ของโยคะแต่ไม่เป็นโยคะ
๕. โยคโยคสัมปยุตตทุกะ
[๔๒] โยคา เจว ธมฺมา โยคสมฺปยุตฺตา จ. สภาวธรรมที่เป็นโยคะและสัมปยุตด้วยโยคะ
โยคสมฺปยุตฺตา เจว ธมฺมา โน จ โยคา สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยโยคะแต่ไม่เป็นโยคะ
๖. โยควิปปยุตตโยคนิยทุกะ
[๔๓] โยควิปฺปยุตฺตา โข ปน ธมฺมา โยคนิยาปิ. สภาวธรรมที่วิปปยุตจากโยคะแต่เป็นอารมณ์
ของโยคะ
(โยควิปฺปยุตฺตา โข ปน ธมฺมา) อโยคนิยาปิ. สภาวธรรมที่วิปปยุตจากโยคะและไม่เป็น
อารมณ์ของโยคะ
โยคโคจฉกะ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๑๑ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี ทุกมาติกา
๘. นีวรณโคจฉกะ
๑. นีวรณทุกะ
[๔๔] นีวรณา ธมฺมา. สภาวธรรมที่เป็นนิวรณ์ (๑๑๕๘,๑๕๐๓)
โน นีวรณา ธมฺมา. สภาวธรรมที่ไม่เป็นนิวรณ์ (๑๑๖๙,๑๕๐๔)
๒. นีวรณิยทุกะ
[๔๕] นีวรณิยา ธมฺมา. สภาวธรรมที่เป็นอารมณ์ของนิวรณ์ (๑๑๗๐,๑๕๐๕)
อนีวรณิยา ธมฺมา. สภาวธรรมที่ไม่เป็นอารมณ์ของนิวรณ์ (๑๑๗๑,๑๕๐๖)
๓. นีวรณสัมปยุตตทุกะ
[๔๖] นีวรณสมฺปยุตฺตา ธมฺมา. สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยนิวรณ์ (๑๑๗๒,๑๕๐๗)
นีวรณวิปฺปยุตฺตา ธมฺมา. สภาวธรรมที่วิปปยุตจากนิวรณ์ (๑๑๗๓,๑๕๐๘)
๔. นีวรณนีวรณิยทุกะ
[๔๗] นีวรณา เจว ธมฺมา นีวรณิยา จ. สภาวธรรมที่เป็นนิวรณ์และเป็นอารมณ์ของนิวรณ์
(๑๑๗๔,๑๕๐๙)
นีวรณิยา เจว ธมฺมา โน จ นีวรณา. สภาวธรรมที่เป็นอารมณ์ของนิวรณ์แต่ไม่เป็นนิวรณ์
(๑๑๗๕,๑๕๑๐)
๕. นีวรณนีวรณสัมปยุตตทุกะ
[๔๘] นีวรณา เจว ธมฺมา นีวรณสมฺปยุตฺตา จ. สภาวธรรมที่เป็นนิวรณ์และสัมปยุตด้วย
นิวรณ์ (๑๑๗๖,๑๕๑๑)
นีวรณสมฺปยุตฺตา เจว ธมฺมา โน จ นีวรณา. สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยนิวรณ์แต่ไม่เป็น
นิวรณ์ (๑๑๗๗,๑๕๑๒)
๖. นีวรณวิปปยุตตนีวรณิยทุกะ
[๔๙] นีวรณวิปฺปยุตฺตา โข ปน ธมฺมา นีวรณิยาปิ. สภาวธรรมที่วิปปยุตจากนิวรณ์แต่เป็น
อารมณ์ของนิวรณ์ (๑๑๗๘,๑๕๑๓)
(นีวรณวิปฺปยุตฺตา โข ปน ธมฺมา) อนีวรณิยาปิ. สภาวธรรมที่วิปปยุตจากนิวรณ์และไม่
เป็นอารมณ์ของนิวรณ์ (๑๑๗๙,๑๕๑๔)
นีวรณโคจฉกะ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๑๒ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี ทุกมาติกา
๙. ปรามาสโคจฉกะ
๑. ปรามาสทุกะ
[๕๐] ปรามาสา ธมฺมา. สภาวธรรมที่เป็นปรามาส (๑๑๘๐,๑๕๑๕)
โน ปรามาสา ธมฺมา. สภาวธรรมที่ไม่เป็นปรามาส (๑๑๘๒,๑๕๑๖)
๒. ปรามัฏฐทุกะ
[๕๑] ปรามฏฺฐา ธมฺมา. สภาวธรรมที่เป็นอารมณ์ของปรามาส (๑๑๘๓,๑๕๑๗)
อปรามฏฺฐา ธมฺมา. สภาวธรรมที่ไม่เป็นอารมณ์ของปรามาส (๑๑๘๔,
๑๕๑๘)
๓. ปรามาสสัมปยุตตทุกะ
[๕๒] ปรามาสสมฺปยุตฺตา ธมฺมา. สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยปรามาส (๑๑๘๕,๑๕๑๙)
ปรามาสวิปฺปยุตฺตา ธมฺมา. สภาวธรรมที่วิปปยุตจากปรามาส (๑๑๘๖,๑๕๒๐)
๔. ปรามาสปรามัฏฐทุกะ
[๕๓] ปรามาสา เจว ธมฺมา ปรามฏฺฐา จ. สภาวธรรมที่เป็นปรามาสและเป็นอารมณ์
ของปรามาส (๑๑๘๗,๑๕๒๑)
ปรามฏฺฐา เจว ธมฺมา โน จ ปรามาสา. สภาวธรรมที่เป็นอารมณ์ของปรามาส
แต่ไม่เป็นปรามาส (๑๑๘๘,๑๕๒๒)
๕. ปรามาสวิปปยุตตปรามัฏฐทุกะ
[๕๔] ปรามาสวิปฺปยุตฺตา โข ปน ธมฺมา ปรามฏฺฐาปิ. สภาวธรรมที่วิปปยุตจากปรามาสแต่เป็น
อารมณ์ของปรามาส (๑๑๘๙,๑๕๒๓)
(ปรามาสวิปฺปยุตฺตา โข ปน ธมฺมา อปรามฏฺฐาปิ. สภาวธรรมที่วิปปยุตจากปรามาสและไม่
เป็นอารมณ์ของปรามาส (๑๑๙๐,๑๕๒๔)
ปรามาสโคจฉกะ จบ

๑๐. มหันตรทุกะ
๑. สารัมมณทุกะ
[๕๕] สารมฺมณา ธมฺมา. สภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ได้ (๑๑๙๑,๑๕๒๕)
อนารมฺมณา ธมฺมา. สภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ไม่ได้ (๑๑๙๒,๑๕๒๖)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๑๓ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี ทุกมาติกา
๒. จิตตทุกะ
[๕๖] จิตฺตา ธมฺมา. สภาวธรรมที่เป็นจิต (๑๑๙๓,๑๕๒๗)
โน จิตฺตา ธมฺมา. สภาวธรรมที่ไม่เป็นจิต (๑๑๙๔,๑๕๒๘)
๓. เจตสิกทุกะ
[๕๗] เจตสิกา ธมฺมา. สภาวธรรมที่เป็นเจตสิก (๑๑๙๕,๑๕๒๙)
อเจตสิกา ธมฺมา. สภาวธรรมที่ไม่เป็นเจตสิก (๑๑๙๖,๑๕๓๐)
๔. จิตตสัมปยุตตทุกะ
[๕๘] จิตฺตสมฺปยุตฺตา ธมฺมา. สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยจิต (๑๑๙๗,๑๕๓๑)
จิตฺตวิปฺปยุตฺตา ธมฺมา. สภาวธรรมที่วิปปยุตจากจิต (๑๑๙๘,๑๕๓๒)
๕. จิตตสังสัฏฐทุกะ
[๕๙] จิตฺตสํสฏฺฐา ธมฺมา. สภาวธรรมที่ระคนกับจิต (๑๑๙๙,๑๕๓๓)
จิตฺตวิสํสฏฺฐา ธมฺมา. สภาวธรรมที่ไม่ระคนกับจิต (๑๒๐๐,๑๕๓๔)
๖. จิตตสมุฏฐานทุกะ
[๖๐] จิตฺตสมุฏฺฐานา ธมฺมา. สภาวธรรมที่มีจิตเป็นสมุฏฐาน (๑๒๐๑,๑๕๓๕)
โน จิตฺตสมุฏฺฐานา ธมฺมา. สภาวธรรมที่ไม่มีจิตเป็นสมุฏฐาน (๑๒๐๒,๑๕๓๖)
๗. จิตตสหภูทุกะ
[๖๑] จิตฺตสหภุโน ธมฺมา. สภาวธรรมที่เกิดพร้อมกับจิต (๑๒๐๓,๑๕๓๗)
โน จิตฺตสหภุโน ธมฺมา. สภาวธรรมที่ไม่เกิดพร้อมกับจิต (๑๒๐๔,๑๕๓๘)
๘. จิตตานุปริวัตติทุกะ
[๖๒] จิตฺตานุปริวตฺติโน ธมฺมา. สภาวธรรมที่เป็นไปตามจิต (๑๒๐๕,๑๕๓๙)
โน จิตฺตานุปริวตฺติโน ธมฺมา. สภาวธรรมที่ไม่เป็นไปตามจิต (๑๒๐๖,๑๕๔๐)
๙. จิตตสังสัฏฐสมุฏฐานทุกะ
[๖๓] จิตฺตสํสฏฺฐสมุฏฺฐานา ธมฺมา. สภาวธรรมที่ระคนกับจิตและมีจิตเป็นสมุฏฐาน
(๑๒๐๗,๑๕๔๑)
โน จิตฺตสํสฏฺฐสมุฏฺฐานา ธมฺมา. สภาวธรรมที่ไม่ระคนกับจิตและมีจิตเป็นสมุฏฐาน
(๑๒๐๘,๑๕๔๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๑๔ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี ทุกมาติกา
๑๐. จิตตสังสัฏฐสมุฏฐานสหภูทุกะ
[๖๔] จิตฺตสํสฏฺฐสมุฏฺฐานสหภุโน ธมฺมา. สภาวธรรมที่ระคนกับจิตมีจิตเป็นสมุฏฐาน
และเกิดพร้อมกับจิต (๑๒๐๙,๑๕๔๓)
โน จิตฺตสํสฏฺฐสมุฏฺฐานสหภุโน ธมฺมา. สภาวธรรมที่ไม่ระคนกับจิตมีจิตเป็นสมุฏฐาน
และเกิดพร้อมกับจิต (๑๒๑๐,๑๕๔๔)
๑๑. จิตตสังสัฏฐสมุฏฐานานุปริวัตติทุกะ
[๖๕] จิตฺตสํสฏฺฐสมุฏฺฐานานุปริวตฺติโน ธมฺมา. สภาวธรรมที่ระคนกับจิตมีจิตเป็นสมุฏฐาน
และเป็นไปตามจิต (๑๒๑๑,๑๕๔๕)
โน จิตฺตสํสฏฺฐสมุฏฺฐานานุปริวตฺติโน ธมฺมา. สภาวธรรมที่ไม่ระคนกับจิตมีจิตเป็นสมุฏฐาน
และเป็นไปตามจิต (๑๒๑๒,๑๕๔๖)
๑๒. อัชฌัตติกทุกะ
[๖๖] อชฺฌตฺติกา ธมฺมา. สภาวธรรมที่เป็นภายใน (๑๒๑๓,๑๕๔๗)
พาหิรา ธมฺมา. สภาวธรรมที่เป็นภายนอก (๑๒๑๔,๑๕๔๘)
๑๓. อุปาทาทุกะ
[๖๗] อุปาทา ธมฺมา. สภาวธรรมที่เป็นอุปาทายรูป (๑๒๑๕,๑๕๔๙)
โน อุปาทา ธมฺมา. สภาวธรรมที่ไม่เป็นอุปาทายรูป (๑๒๑๖,๑๕๕๐)
๑๔. อุปาทินนทุกะ
[๖๘] อุปาทินฺนา ธมฺมา. สภาวธรรมที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิ
ยึดถือ (๑๒๑๗,๑๕๕๑)
อนุปาทินฺนา ธมฺมา. สภาวธรรมที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิ
ไม่ยึดถือ (๑๒๑๘,๑๕๕๒)
มหันตรทุกะ จบ

๑๑. อุปาทานโคจฉกะ
๑. อุปาทานทุกะ
[๖๙] อุปาทานา ธมฺมา. สภาวธรรมที่เป็นอุปาทาน (๑๒๑๙,๑๕๕๓)
โน อุปาทานา ธมฺมา. สภาวธรรมที่ไม่เป็นอุปาทาน (๑๒๒๔,๑๕๕๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๑๕ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี ทุกมาติกา
๒. อุปาทานิยทุกะ
[๗๐] อุปาทานิยา ธมฺมา. สภาวธรรมที่เป็นอารมณ์ของอุปาทาน (๑๒๒๕,๑๕๕๕)
อนุปาทานิยา ธมฺมา. สภาวธรรมที่ไม่เป็นอารมณ์ของอุปาทาน (๑๒๒๖,๑๕๕๖)
๓. อุปาทานสัมปยุตตทุกะ
[๗๑] อุปาทานสมฺปยุตฺตา ธมฺมา. สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยอุปาทาน (๑๒๒๗,๑๕๕๗)
อุปาทานวิปฺปยุตฺตา ธมฺมา. สภาวธรรมที่วิปปยุตจากอุปาทาน (๑๒๒๘,๑๕๕๘)
๔. อุปาทานอุปาทานิยทุกะ
[๗๒] อุปาทานา เจว ธมฺมา อุปาทานิยา จ. สภาวธรรมที่เป็นอุปาทานและเป็น
อารมณ์ของอุปาทาน (๑๒๒๙,๑๕๕๙)
อุปาทานิยา เจว ธมฺมา โน จ อุปาทานา. สภาวธรรมที่เป็นอารมณ์ของอุปาทาน
แต่ไม่เป็นอุปาทาน (๑๒๓๐,๑๕๖๐)
๕. อุปาทานอุปาทานสัมปยุตตทุกะ
[๗๓] อุปาทานา เจว ธมฺมา อุปาทานสมฺปยุตฺตา จ. สภาวธรรมที่เป็นอุปาทานและสัมปยุต
ด้วยอุปาทาน (๑๒๓๑,๑๕๖๑)
อุปาทานสมฺปยุตฺตา เจว ธมฺมา โน จ อุปาทานา. ภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยอุปาทานแต่
ไม่เป็นอุปาทาน (๑๒๓๒,๑๕๖๒)
๖. อุปาทานวิปปยุตตอุปาทานิยทุกะ
[๗๔] อุปาทานวิปฺปยุตฺตา โข ปน ธมฺมา อุปาทานิยาปิ. สภาวธรรมที่วิปปยุตจากอุปาทานแต่
เป็นอารมณ์ของอุปาทาน (๑๒๓๓,
๑๕๖๓)
(อุปาทานวิปฺปยุตฺตา โข ปน ธมฺมา) อนุปาทานิยาปิ. สภาวธรรมที่วิปปยุตจากอุปาทานและ
ไม่เป็นอารมณ์ของอุปาทาน (๑๒๓๔,
๑๕๖๔)
อุปาทานโคจฉกะ จบ

๑๒. กิเลสโคจฉกะ
๑. กิเลสทุกะ
[๗๕] กิเลสา ธมฺมา. สภาวธรรมที่เป็นกิเลส (๑๒๓๕,๑๕๖๕)
โน กิเลสา ธมฺมา. สภาวธรรมที่ไม่เป็นกิเลส (๑๒๔๖,๑๕๖๖)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๑๖ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี ทุกมาติกา
๒. สังกิเลสิกทุกะ
[๗๖] สํกิเลสิกา ธมฺมา. สภาวธรรมที่เป็นอารมณ์ของกิเลส (๑๒๔๗,๑๕๖๗)
อสํกิเลสิกา ธมฺมา. สภาวธรรมที่ไม่เป็นอารมณ์ของกิเลส (๑๒๔๘,๑๕๖๘)
๓. สังกิลิฏฐทุกะ
[๗๗] สํกิลิฏฺฐา ธมฺมา. สภาวธรรมที่กิเลสทำให้เศร้าหมอง (๑๒๔๙,๑๕๖๙)
อสํกิลิฏฺฐา ธมฺมา. สภาวธรรมที่กิเลสไม่ทำให้เศร้าหมอง (๑๒๕๐,๑๕๗๐)
๔. กิเลสสัมปยุตตทุกะ
[๗๘] กิเลสสมฺปยุตฺตา ธมฺมา. สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยกิเลส (๑๒๕๑,๑๕๗๑)
กิเลสวิปฺปยุตฺตา ธมฺมา. สภาวธรรมที่วิปปยุตจากกิเลส (๑๒๕๒,๑๕๗๒)
๕. กิเลสสังกิเลสิกทุกะ
[๗๙] กิเลสา เจว ธมฺมา สํกิเลสิกา จ. สภาวธรรมที่เป็นกิเลสและเป็นอารมณ์
ของกิเลส (๑๒๕๓,๑๕๗๓)
สํกิเลสิกา เจว ธมฺมา โน จ กิเลสา. สภาวธรรมที่เป็นอารมณ์ของกิเลสแต่
ไม่เป็นกิเลส (๑๒๕๔,๑๕๗๔)
๖. กิเลสสังกิลิฏฐทุกะ
[๘๐] กิเลสา เจว ธมฺมา สํกิลิฏฺฐา จ. สภาวธรรมที่เป็นกิเลสและกิเลสทำให้
เศร้าหมอง (๑๒๕๕,๑๕๗๕)
สํกิลิฏฺฐา เจว ธมฺมา โน จ กิเลสา. สภาวธรรมที่กิเลสทำให้เศร้าหมองแต่
ไม่เป็นกิเลส (๑๒๕๖,๑๕๗๖)
๗. กิเลสกิเลสสัมปยุตตทุกะ
[๘๑] กิเลสา เจว ธมฺมา กิเลสสมฺปยุตฺตา จ. สภาวธรรมที่เป็นกิเลสและสัมปยุต
ด้วยกิเลส (๑๒๕๗,๑๕๗๗)
กิเลสสมฺปยุตฺตา เจว ธมฺมา โน จ กิเลสา. สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยกิเลสแต่ไม่
เป็นกิเลส (๑๒๕๘,๑๕๗๘)
๘. กิเลสวิปปยุตตสังกิเลสิกทุกะ
[๘๒] กิเลสวิปฺปยุตฺตา โข ปน ธมฺมา สํกิเลสิกาปิ. สภาวธรรมที่วิปปยุตจากกิเลสแต่เป็น
อารมณ์ของกิเลส (๑๒๕๙,๑๕๗๙)
(กิเลสวิปฺปยุตฺตา โข ปน ธมฺมา) อสํกิเลสิกาปิ. สภาวธรรมที่วิปปยุตจากกิเลสและไม่
เป็นอารมณ์ของกิเลส (๑๒๖๐,๑๕๘๐)
กิเลสโคจฉกะ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๑๗ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี ทุกมาติกา
๑๓. ปิฏฐิทุกะ
๑. ทัสสเนนปหาตัพพทุกะ
[๘๓] ทสฺสเนน ปหาตพฺพา ธมฺมา. สภาวธรรมที่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรค
(๑๒๖๑,๑๕๘๑)
น ทสฺสเนน ปหาตพฺพา ธมฺมา. สภาวธรรมที่ไม่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรค
(๑๒๖๕,๑๕๘๒)
๒. ภาวนายปหาตัพพทุกะ
[๘๔] ภาวนาย ปหาตพฺพา ธมฺมา. สภาวธรรมที่ต้องประหาณด้วยมรรคเบื้องบน ๓
(๑๒๖๖,๑๕๘๓)
น ภาวนาย ปหาตพฺพา ธมฺมา. สภาวธรรมที่ไม่ต้องประหาณด้วยมรรคเบื้องบน ๓
(๑๒๖๗,๑๕๘๔)
๓. ทัสสเนนปหาตัพพเหตุกทุกะ
[๘๕] ทสฺสเนน ปหาตพฺพเหตุกา ธมฺมา. สภาวธรรมที่มีเหตุต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรค
(๑๒๖๘,๑๕๘๕)
น ทสฺสเนน ปหาตพฺพเหตุกา ธมฺมา. สภาวธรรมที่ไม่มีเหตุต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรค
(๑๒๗๒,๑๕๘๖)
๔. ภาวนายปหาตัพพเหตุกทุกะ
[๘๖] ภาวนาย ปหาตพฺพเหตุกา ธมฺมา. สภาวธรรมที่มีเหตุต้องประหาณด้วยมรรคเบื้องบน ๓
(๑๒๗๓,๑๕๘๗)
น ภาวนาย ปหาตพฺพเหตุกา ธมฺมา. สภาวธรรมที่มีไม่เหตุต้องประหาณด้วยมรรคเบื้องบน
๓ (๑๒๗๔,๑๕๘๘)
๕. สวิตักกทุกะ
[๘๗] สวิตกฺกา ธมฺมา. สภาวธรรมที่มีวิตก (๑๒๗๕,๑๕๘๙)
อวิตกฺกา ธมฺมา. สภาวธรรมที่ไม่มีวิตก (๑๒๗๖,๑๕๙๐)
๖. สวิจารทุกะ
[๘๘] สวิจารา ธมฺมา. สภาวธรรมที่มีวิจาร (๑๒๗๗,๑๕๙๑)
อวิจารา ธมฺมา. สภาวธรรมที่ไม่มีวิจาร (๑๒๗๘,๑๕๙๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๑๘ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี ทุกมาติกา
๗. สัปปีติกทุกะ
[๘๙] สปฺปีติกา ธมฺมา. สภาวธรรมที่มีปีติ (๑๒๗๙,๑๕๙๓)
อปฺปีติกา ธมฺมา. สภาวธรรมที่ไม่มีปีติ (๑๒๘๐,๑๕๙๔)
๘. ปีติสหคตทุกะ
[๙๐] ปีติสหคตา ธมฺมา. สภาวธรรมที่สหรคตด้วยปีติ (๑๒๘๑,๑๕๙๕)
น ปีติสหคตา ธมฺมา. สภาวธรรมที่ไม่สหรคตด้วยปีติ (๑๒๘๒,๑๕๙๖)
๙. สุขสหคตทุกะ
[๙๑] สุขสหคตา ธมฺมา. สภาวธรรมที่สหรคตด้วยสุข (๑๒๘๓,๑๕๙๗)
น สุขสหคตา ธมฺมา. สภาวธรรมที่ไม่สหรคตด้วยสุข (๑๒๘๔,๑๕๙๘)
๑๐. อุเปกขาสหคตทุกะ
[๙๒] อุเปกฺขาสหคตา ธมฺมา. สภาวธรรมที่สหรคตด้วยอุเบกขา (๑๒๘๕,๑๕๙๙)
น อุเปกฺขาสหคตา ธมฺมา. สภาวธรรมที่ไม่สหรคตด้วยอุเบกขา (๑๒๘๖,๑๖๐๐)
๑๑. กามาวจรทุกะ
[๙๓] กามาวจรา ธมฺมา. สภาวธรรมที่เป็นกามาวจร (๑๒๘๗,๑๖๐๑)
น กามาวจรา ธมฺมา. สภาวธรรมที่ไม่เป็นกามาวจร (๑๒๘๘,๑๖๐๒)
๑๒. รูปาวจรทุกะ
[๙๔] รูปาวจรา ธมฺมา. สภาวธรรมที่เป็นรูปาวจร (๑๒๘๙,๑๖๐๓)
น รูปาวจรา ธมฺมา. สภาวธรรมที่ไม่เป็นรูปาวจร (๑๒๙๐,๑๖๐๔)
๑๓. อรูปาวจรทุกะ
[๙๕] อรูปาวจรา ธมฺมา. สภาวธรรมที่เป็นอรูปาวจร (๑๒๙๑,๑๖๐๕)
น อรูปาวจรา ธมฺมา. สภาวธรรมที่ไม่เป็นอรูปาวจร (๑๒๙๒,๑๖๐๖)
๑๔. ปริยาปันนทุกะ
[๙๖] ปริยาปนฺนา ธมฺมา. สภาวธรรมที่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ (โลกิยะ) (๑๒๙๓,๑๖๐๗)
อปริยาปนฺนา ธมฺมา. สภาวธรรมที่ไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ (โลกุตตระ)(๑๒๙๔,๑๖๐๘)
๑๕. นิยยานิกทุกะ
[๙๗] นิยฺยานิกา ธมฺมา. สภาวธรรมที่เป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ (๑๒๙๕,๑๖๐๙)
อนิยฺยานิกา ธมฺมา. สภาวธรรมที่ไม่เป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ (๑๒๙๖,๑๖๑๐)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๑๙ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี สุตตันติกทุกมาติกา
๑๖. นิยตทุกะ
[๙๘] นิยตา ธมฺมา. สภาวธรรมที่ให้ผลแน่นอน (๑๒๙๗,๑๖๑๑)
อนิยตา ธมฺมา. สภาวธรรมทีไม่แน่นอนโดยอาการทั้งสองนั้น (๑๒๙๘,๑๖๑๒)
๑๗. สอุตตรทุกะ
[๙๙] สอุตฺตรา ธมฺมา. สภาวธรรมที่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า (๑๒๙๙,๑๖๑๓)
อนุตฺตรา ธมฺมา. สภาวธรรมที่ไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า (๑๓๐๐,๑๖๑๔)
๑๘. สรณทุกะ
[๑๐๐] สรณา ธมฺมา. สภาวธรรมที่เป็นเหตุให้สัตว์ร้องไห้ (๑๓๐๑,๑๖๑๕)
อรณา ธมฺมา. สภาวธรรมที่ไม่เป็นเหตุให้สัตว์ร้องไห้ (๑๓๐๒,๑๖๑๖)
ปิฏฐิทุกะ จบ
อภิธัมมทุกมาติกา จบ

สุตตันติกทุกมาติกา (๔๒ ทุกะ)
๑. วิชชาภาคีทุกะ
[๑๐๑] วิชฺชาภาคิโน ธมฺมา. ธรรมที่มีส่วนแห่งวิชชา (๑๓๐๓)
อวิชฺชาภาคิโน ธมฺมา. ธรรมที่มีส่วนแห่งอวิชชา (๑๓๐๔)
๒. วิชชูปมทุกะ
[๑๐๒] วิชฺชูปมา ธมฺมา. ธรรมที่เปรียบเหมือนสายฟ้า (๑๓๐๕)
วชิรูปมา ธมฺมา. ธรรมที่เปรียบเหมือนฟ้าผ่า (๑๓๐๖)
๓. พาลทุกะ
[๑๐๓] พาลา ธมฺมา. ธรรมที่ทำให้เป็นพาล (๑๓๐๗)
ปณฺฑิตา ธมฺมา. ธรรมที่ทำให้เป็นบัณฑิต (๑๓๐๘)
๔. กัณหทุกะ
[๑๐๔] กณฺหา ธมฺมา. ธรรมที่ดำ (๑๓๐๙)
สุกฺกา ธมฺมา. ธรรมที่ขาว (๑๓๑๐)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๒๐ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี สุตตันติกทุกมาติกา
๕. ตปนียทุกะ
[๑๐๕] ตปนียา ธมฺมา. ธรรมที่ทำให้เร่าร้อน (๑๓๑๑)
อตปนียา ธมฺมา. ธรรมที่ไม่ทำให้เร่าร้อน (๑๓๑๒)
๖. อธิวจนทุกะ
[๑๐๖] อธิวจนา ธมฺมา. ธรรมที่เป็นชื่อ (สัททบัญญัติ) (๑๓๑๓)
อธิวจนปถา ธมฺมา. ธรรมที่เป็นเหตุแห่งชื่อ (๑๓๑๓)
๗. นิรุตติทุกะ
[๑๐๗] นิรุตฺติ ธมฺมา. ธรรมที่เป็นนิรุตติ (สัททบัญญัติ) (๑๓๑๔)
นิรุตฺติปถา ธมฺมา. ธรรมที่เป็นเหตุแห่งนิรุตติ (๑๓๑๔)
๘. ปัญญัตติทุกะ
[๑๐๘] ป�ฺ�ตฺติ ธมฺมา. ธรรมที่เป็นบัญญัติ (๑๓๑๕)
ป�ฺ�ตฺติปถา ธมฺมา. ธรรมที่เป็นเหตุแห่งบัญญัติ (๑๓๑๕)
๙. นามรูปทุกะ
[๑๐๙] นาม�ฺจ. นาม (๑๓๑๖)
รูปญฺจ. รูป (๑๓๑๗)
๑๐. อวิชชาทุกะ
[๑๑๐] อวิชฺชา จ. ความไม่รู้ (๑๓๑๘)
ภวตณฺหา จ. ความปรารถนาภพ (๑๓๑๙)
๑๑. ภวทิฏฐิทุกะ
[๑๑๑] ภวทิฏฺฐิ จ. ความเห็นว่าเกิด (๑๓๒๐)
วิภวทิฏฺฐิ จ. ความเห็นว่าไม่เกิด (๑๓๒๑)
๑๒. สัสสตทิฏฐิทุกะ
[๑๑๒] สสฺสตทิฏฺฐิ จ. ความเห็นว่าเที่ยง (๑๓๒๒)
อุจฺเฉททิฏฺฐิ จ. ความเห็นว่าขาดสูญ (๑๓๒๓)
๑๓. อันตวาทิฏฐิทุกะ
[๑๑๓] อนฺตวาทิฏฺฐิ จ. ความเห็นว่ามีที่สุด (๑๓๒๔)
อนนฺตวาทิฏฺฐิ จ. ความเห็นว่าไม่มีที่สุด (๑๓๒๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๒๑ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี สุตตันติกทุกมาติกา
๑๔. ปุพพันตานุทิฏฐิทุกะ
[๑๑๔] ปุพฺพนฺตานุทิฏฺฐิ จ. ความเห็นปรารภส่วนอดีต (๑๓๒๖)
อปรนฺตานุทิฏฺฐิ จ. ความเห็นปรารภส่วนอนาคต (๑๓๒๗)
๑๕. อหิริกทุกะ
[๑๑๕] อหิริก�ฺจ. ความไม่ละอายบาป (๑๓๒๘)
อโนตฺตปฺปญฺจ. ความไม่เกรงกลัวบาป (๑๓๒๙)
๑๖. หิรีทุกะ
[๑๑๖] หิรี จ. ความละอาย (๑๓๓๐)
โอตฺตปฺปญฺจ. ความเกรงกลัว (๑๓๓๑)
๑๗. โทวจัสสตาทุกะ
[๑๑๗] โทวจสฺสตา จ. ความเป็นผู้ว่ายาก (๑๓๓๒)
ปาปมิตฺตตา จ. ความเป็นผู้มีมิตรชั่ว (๑๓๓๓)
๑๘. โสวจัสสตาทุกะ
[๑๑๘] โสวจสฺสตา จ. ความเป็นผู้ว่าง่าย (๑๓๓๔)
กลฺยาณมิตฺตตา จ. ความเป็นผู้มีมิตรดี (๑๓๓๕)
๑๙. อาปัตติกุสลตาทุกะ
[๑๑๙] อาปตฺติกุสลตา จ. ความเป็นผู้ฉลาดในอาบัติ (๑๓๓๖)
อาปตฺติวุฏฺฐานกุสลตา จ. ความเป็นผู้ฉลาดในการออกจากอาบัติ (๑๓๓๗)
๒๐. สมาปัตติกุสลตาทุกะ
[๑๒๐] สมาปตฺติกุสลตา จ. ความเป็นผู้ฉลาดในสมาบัติ (๑๓๓๘)
สมาปตฺติวุฏฺฐานกุสลตา จ. ความเป็นผู้ฉลาดในการออกจากสมาบัติ (๑๓๓๙)
๒๑. ธาตุกุสลตาทุกะ
[๑๒๑] ธาตุกุสลตา จ. ความเป็นผู้ฉลาดในธาตุ (๑๓๔๐)
มนสิการกุสลตา จ. ความเป็นผู้ฉลาดในมนสิการ (๑๓๔๑)
๒๒. อายตนกุสลตาทุกะ
[๑๒๒] อายตนกุสลตา จ. ความเป็นผู้ฉลาดในอายตนะ (๑๓๔๒)
ปฏิจฺจสมุปฺปาทกุสลตา จ. ความเป็นผู้ฉลาดในปฏิจจสมุปปาท (๑๓๔๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๒๒ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี สุตตันติกทุกมาติกา
๒๓. ฐานกุสลตาทุกะ
[๑๒๓] ฐานกุสลตา จ. ความเป็นผู้ฉลาดในฐานะ (๑๓๔๔)
อฏฺฐานกุสลตา จ. ความเป็นผู้ฉลาดในอฐานะ (๑๓๔๕)
๒๔. อาชชวทุกะ
[๑๒๔] อาชฺชโว จ. ความซื่อตรง (๑๓๔๖)
มทฺทโว จ. ความอ่อนโยน (๑๓๔๗)
๒๕. ขันติทุกะ
[๑๒๕] ขนฺติ จ. ขันติ (๑๓๔๘)
โสรจฺจ�ฺจ. โสรัจจะ (๑๓๔๙)
๒๖. สาขัลยทุกะ
[๑๒๖] สาขลฺย�ฺจ. ความเป็นผู้มีวาจาอ่อนหวาน (๑๓๕๐)
ปฏิสนฺถาโร จ. การปฏิสันถาร (๑๓๕๑)
๒๗. อินทริเยสุอคุตตทวารตาทุกะ
[๑๒๗] อินฺทฺริเยสุ อคุตฺตทฺวารตา จ. ความเป็นผู้ไม่สำรวมทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย
(๑๓๕๒)
โภชเน อมตฺตญฺ�ุตา จ. ความเป็นผู้ไม่รู้จักประมาณในการบริโภค (๑๓๕๓)
๒๘. อินทริเยสุคุตตทวารตาทุกะ
[๑๒๘] อินฺทฺริเยสุ คุตฺตทฺวารตา จ. ความเป็นผู้สำรวมทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย
(๑๓๕๔)
โภชเน มตฺต�ฺ�ุตา จ. ความเป็นผู้รู้จักประมาณในการบริโภค (๑๓๕๕)
๒๙. มุฏฐสัจจทุกะ
[๑๒๙] มุฏฺฐสจฺจ�ฺจ. ความเป็นผู้มีสติหลงลืม (๑๓๕๖)
อสมฺปชญฺ��ฺจ. ความเป็นผู้ไม่มีสัมปชัญญะ (๑๓๕๗)
๓๐. สติสัมปชัญญทุกะ
[๑๓๐] สติ จ. สติ (๑๓๕๘)
สมฺปชญฺ��ฺจ. สัมปชัญญะ (๑๓๕๙)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๒๓ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี สุตตันติกทุกมาติกา
๓๑. ปฏิสังขานพลทุกะ
[๑๓๑] ปฏิสงฺขานพล�ฺจ. กำลังคือการพิจารณา (๑๓๖๐)
ภาวนาพล�ฺจ. กำลังคือภาวนา (๑๓๖๑)
๓๒. สมถวิปัสสนาทุกะ
[๑๓๒] สมโถ จ. สมถะ (๑๓๖๒)
วิปสฺสนา จ. วิปัสสนา (๑๓๖๓)
๓๓. สมถนิมิตตทุกะ
[๑๓๓] สมถนิมิตฺต�ฺจ. นิมิตแห่งสมถะ (๑๓๖๔)
ปคฺคาหนิมิตฺต�ฺจ. นิมิตแห่งความเพียร (๑๓๖๕)
๓๔. ปัคคาหทุกะ
[๑๓๔] ปคฺคาโห จ. ความเพียร (๑๓๖๖)
อวิกฺเขโป จ. ความไม่ฟุ้งซ่าน (๑๓๖๗)
๓๕. สีลวิปัตติทุกะ
[๑๓๕] สีลวิปตฺติ จ. ความวิบัติแห่งศีล (๑๓๖๘)
ทิฏฺฐิวิปตฺติ จ. ความวิบัติแห่งทิฏฐิ (๑๓๖๙)
๓๖. สีลสัมปทาทุกะ
[๑๓๖] สีลสมฺปทา จ. ความสมบูรณ์แห่งศีล (๑๓๗๐)
ทิฏฺฐิสมฺปทา จ. ความสมบูรณ์แห่งทิฏฐิ (๑๓๗๑)
๓๗. สีลวิสุทธิทุกะ
[๑๓๗] สีลวิสุทฺธิ จ. ความหมดจดแห่งศีล (๑๓๗๒)
ทิฏฺฐิวิสุทฺธิ จ. ความหมดจดแห่งทิฏฐิ (๑๓๗๓)
๓๘. ทิฏฐิวิสุทธิโขปนทุกะ
[๑๓๘] ทิฏฺฐิวิสุทฺธิ โข ปน. ความหมดจดแห่งทิฏฐิ (๑๓๗๔)
ยถาทิฏฺฐิสฺส จ ปธานํ. ความเพียรของบุคคลผู้มีความเห็นหมดจด
(๑๓๗๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๒๔ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี สุตตันติกทุกมาติกา
๓๙. สังเวชนียัฏฐานทุกะ
[๑๓๙] สํเวโค จ สํเวชนีเยสุ ฐาเนสุ. ความสังเวชในฐานะเป็นที่ตั้งแห่งความสลดใจ
(๑๓๗๖)
สํวิคฺคสฺส จ โยนิโส ปธานํ. ความเพียรโดยแยบคายของบุคคลผู้สลดใจ
(๑๓๗๗)
๔๐. อสันตุฏฐิตากุสลธัมมทุกะ
[๑๔๐] อสนฺตุฏฺฐิตา จ กุสเลสุ ธมฺเมสุ. ความเป็นผู้ไม่สันโดษในธรรมที่เป็นกุศล (๑๓๗๘)
อปฺปฏิวานตา จ ปธานสฺมึ. ความเป็นผู้ไม่ท้อถอยในความเพียร (๑๓๗๙)
๔๑. วิชชาทุกะ
[๑๔๑] วิชฺชา จ. ความรู้แจ้ง (๑๓๘๐)
วิมุตฺติ จ. ความหลุดพ้น (๑๓๘๑)
๔๒. ขเยญาณทุกะ
[๑๔๒] ขเย �าณํ. ญาณในอริยมรรค (๑๓๘๒)
อนุปฺปาเท �าณํ. ญาณในอริยผล (๑๓๘๓)

สุตตันติกทุกมาติกา จบ
มาติกา จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๒๕ }





หน้าว่าง



{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๒๖ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๑. จิตตุปปาทกัณฑ์] กุศลบท กามาวจรกุศลจิตดวงที่ ๑ บทภาชนีย์
๑. จิตตุปปาทกัณฑ์
กุศลบท
กามาวจรกุศลจิต
กุศลจิตดวงที่ ๑
[๑] สภาวธรรม๑ ที่เป็นกุศล เป็นไฉน
จิตที่เป็นกามาวจรซึ่งเป็นกุศล สหรคตด้วยโสมนัส สัมปยุตด้วยญาณ มีรูป
เป็นอารมณ์ มีเสียงเป็นอารมณ์ มีกลิ่นเป็นอารมณ์ มีรสเป็นอารมณ์ มีโผฏฐัพพะ
เป็นอารมณ์ มีธรรมเป็นอารมณ์ หรือปรารภอารมณ์ใดๆ เกิดขึ้นในสมัยใด ในสมัยนั้น
ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา จิต วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์
สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์ มนินทรีย์ โสมนัสสินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ สัมมาทิฏฐิ
สัมมาสังกัปปะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ สัทธาพละ วิริยพละ สติพละ
สมาธิพละ ปัญญาพละ หิริพละ โอตตัปปพละ อโลภะ อโทสะ อโมหะ อนภิชฌา
อัพยาบาท สัมมาทิฏฐิ หิริ โอตตัปปะ กายปัสสัทธิ จิตตปัสสัทธิ กายลหุตา จิตต-
ลหุตา กายมุทุตา จิตตมุทุตา กายกัมมัญญตา จิตตกัมมัญญตา กายปาคุญญตา
จิตตปาคุญญตา กายุชุกตา จิตตุชุกตา สติ สัมปชัญญะ สมถะ วิปัสสนา ปัคคาหะ
และอวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น หรือสภาวธรรมที่ไม่เป็นรูปซึ่งอิงอาศัยกันเกิดขึ้นแม้อื่นใน
สมัยนั้น สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล
บทภาชนีย์
[๒] ผัสสะ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ความกระทบ กิริยาที่กระทบ กิริยาที่ถูกต้อง ภาวะที่ถูกต้อง ในสมัยนั้น
นี้ชื่อว่าผัสสะที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[๓] เวทนา ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน

เชิงอรรถ :
๑ คำว่า สภาวธรรม บาลีคือ ธมฺมา ในพระอภิธรรมนี้ ใช้ในความหมายว่า ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่ชีวะ เป็นแต่
สภาวธรรมเท่านั้น (อภิ.สงฺ.อ. ๘๖, สัททนีติธาตุมาลา ๔๔๙)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๒๗ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๑. จิตตุปปาทกัณฑ์] กุศลบท กามาวจรกุศลจิตดวงที่ ๑ บทภาชนีย์
ความสำราญทางใจ ความสุขทางใจ อันเกิดแต่สัมผัสแห่งมโนวิญญาณธาตุที่
เหมาะสมกัน ความเสวยอารมณ์ที่สำราญเป็นสุข อันเกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวย
อารมณ์ที่สำราญเป็นสุข อันเกิดแต่เจโตสัมผัส ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่าเวทนาที่เกิดขึ้น
ในสมัยนั้น
[๔] สัญญา ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ความจำได้ กิริยาที่จำได้ ภาวะที่จำได้ อันเกิดแต่สัมผัสแห่งมโนวิญญาณธาตุ
ที่เหมาะสมกัน ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่าสัญญาที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[๕] เจตนา ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ความจงใจ กิริยาที่จงใจ ภาวะที่จงใจ อันเกิดแต่สัมผัสแห่งมโนวิญญาณธาตุ
ที่เหมาะสมกัน ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่า เจตนาที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[๖] จิต ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
จิต ๑มโน มานัส หทัย ปัณฑระ มโน มนายตนะ มนินทรีย์ วิญญาณ วิญญาณ-
ขันธ์ มโนวิญญาณธาตุ๑ ที่เหมาะสมกัน ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่าจิตที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[๗] วิตก ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ความตรึก ความตรึกโดยอาการต่าง ๆ ความดำริ ความที่จิตแนบแน่นใน
อารมณ์ ความที่จิตแนบสนิทในอารมณ์ ความยกจิตขึ้นสู่อารมณ์ สัมมาสังกัปปะ
ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่าวิตกที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[๘] วิจาร ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ความตรอง ความพิจารณา ความตามพิจารณา ความเข้าไปพิจารณา ความ
ที่จิตสืบต่ออารมณ์ ความที่จิตเพ่งอารมณ์ ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่าวิจารที่เกิดขึ้นใน
สมัยนั้น
[๙] ปีติ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ความอิ่มเอิบ ความปราโมทย์ ความยินดีอย่างยิ่ง ความบันเทิง ความร่าเริง
ความรื่นเริง ความปลื้มใจ ความตื่นเต้น ความที่จิตชื่นชมยินดี ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่า
ปีติที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น

เชิงอรรถ :
๑-๑ คำเหล่านี้เป็นไวพจน์ของจิตทั้งนั้น (อภิ.สงฺ.อ. ๑๙๑-๑๙๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๒๘ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๑. จิตตุปปาทกัณฑ์] กุศลบท กามาวจรกุศลจิตดวงที่ ๑ บทภาชนีย์
[๑๐] สุข ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ความสำราญทางใจ ความสุขทางใจ ความเสวยอารมณ์ที่สำราญเป็นสุข อัน
เกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่สำราญเป็นสุข อันเกิดแต่เจโตสัมผัส ในสมัย
นั้น นี้ชื่อว่าสุขที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[๑๑] เอกัคคตา ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ความตั้งอยู่แห่งจิต ความดำรงอยู่ ความตั้งมั่น ความไม่ซัดส่าย ความไม่
ฟุ้งซ่าน ความที่จิตไม่ซัดส่าย สมถะ สมาธินทรีย์ สมาธิพละ สัมมาสมาธิ
ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่าเอกัคคตาที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[๑๒] สัทธินทรีย์ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ความเชื่อ กิริยาที่เชื่อ ความปลงใจเชื่อ ความเลื่อมใสยิ่ง ศรัทธา สัทธินทรีย์
สัทธาพละ ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่าสัทธินทรีย์๑ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[๑๓] วิริยินทรีย์ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
การปรารภความเพียรทางใจ ความขะมักเขม้น ความบากบั่น ความ
ขวนขวาย ความพยายาม ความอุตสาหะ ความทนทาน ความเข้มแข็ง ความหมั่น
ความมุ่งมั่นอย่างไม่ท้อถอย ความไม่ทอดทิ้งฉันทะ ความไม่ทอดทิ้งธุระ ความเอาใจ
ใส่ธุระ วิริยะ วิริยินทรีย์ วิริยพละ สัมมาวายามะ ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่าวิริยินทรีย์๑
ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[๑๔] สตินทรีย์ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
สติ ความตามระลึก ความหวนระลึก สติ กิริยาที่ระลึก ความทรงจำ ความ
ไม่เลื่อนลอย ความไม่หลงลืม สติ สตินทรีย์ สติพละ สัมมาสติ ในสมัยนั้น นี้
ชื่อว่าสตินทรีย์๑ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[๑๕] สมาธินทรีย์ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ความตั้งอยู่แห่งจิต๒ ความดำรงอยู่ ความตั้งมั่น ความไม่ซัดส่าย ความ
ไม่ฟุ้งซ่าน ความที่จิตไม่ซัดส่าย สมถะ สมาธินทรีย์ สมาธิพละ สัมมาสมาธิ
ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่าสมาธินทรีย์ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น

เชิงอรรถ :
๑ อภิ.วิ. ๓๕/๒๒๐/๑๔๗ ๒ หมายถึงตั้งอยู่ในอารมณ์โดยไม่หวั่นไหว (อภิ.สงฺ.อ. ๑๙๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๒๙ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๑. จิตตุปปาทกัณฑ์] กุศลบท กามาวจรกุศลจิตดวงที่ ๑ บทภาชนีย์
[๑๖] ปัญญินทรีย์ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ความวิจัย ความเลือกสรร ความวิจัยธรรม ความ
กำหนดหมาย ความเข้าไปกำหนด ความเข้าไปกำหนดเฉพาะ ภาวะที่รู้ ภาวะ
ที่ฉลาด ภาวะที่รู้ละเอียด ความรู้อย่างแจ่มแจ้ง ความค้นคิด ความใคร่ครวญ
ปัญญาเหมือนแผ่นดิน ปัญญาเครื่องทำลายกิเลส ปัญญาเครื่องนำทาง ความ
เห็นแจ้ง ความรู้ดี ปัญญาเหมือนปฏัก ปัญญา ปัญญินทรีย์ ปัญญาพละ ปัญญา
เหมือนศัสตรา ปัญญาเหมือนปราสาท ความสว่างคือปัญญา แสงสว่างคือปัญญา
ปัญญาเหมือนประทีป ปัญญาเหมือนดวงแก้ว ความไม่หลงงมงาย ความเลือก
เฟ้นธรรม สัมมาทิฏฐิ ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่าปัญญินทรีย์๑ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[๑๗] มนินทรีย์ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
จิต มโน มานัส หทัย ปัณฑระ มโน มนายตนะ มนินทรีย์ วิญญาณ
วิญญาณขันธ์ มโนวิญญาณธาตุที่เหมาะสมกัน ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่ามนินทรีย์๑ ที่
เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[๑๘] โสมนัสสินทรีย์ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ความสำราญทางใจ ความสุขทางใจ ความเสวยอารมณ์ที่สำราญเป็นสุข
อันเกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่สำราญเป็นสุข อันเกิดแต่เจโตสัมผัส
ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่าโสมนัสสินทรีย์๒ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[๑๙] ชีวิตินทรีย์ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
อายุ ความดำรงอยู่ ความเป็นไป กิริยาที่ให้เป็นไป อาการที่สืบเนื่องกัน
ความดำเนินไป ความหล่อเลี้ยง ชีวิต ชีวิตินทรีย์ แห่งสภาวธรรมที่ไม่เป็นรูปเหล่านั้น
ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่าชีวิตินทรีย์๓ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[๒๐] สัมมาทิฏฐิ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ความวิจัย ความเลือกสรร ความวิจัยธรรม ความ
กำหนดหมาย ความเข้าไปกำหนด ความเข้าไปกำหนดเฉพาะ ภาวะที่รู้ ภาวะ
ที่ฉลาด ภาวะที่รู้ละเอียด ความรู้อย่างแจ่มแจ้ง ความค้นคิด ความใคร่ครวญ
ปัญญาเหมือนแผ่นดิน ปัญญาเครื่องทำลายกิเลส ปัญญาเครื่องนำทาง ความ

เชิงอรรถ :
๑ อภิ.วิ. ๓๕/๒๒๐/๑๔๘ ๒ อภิ.วิ. ๓๕/๒๒๐/๑๔๗ ๓ อภิ.วิ. ๓๕/๒๒๐/๑๔๖

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๓๐ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๑. จิตตุปปาทกัณฑ์] กุศลบท กามาวจรกุศลจิตดวงที่ ๑ บทภาชนีย์
เห็นแจ้ง ความรู้ดี ปัญญาเหมือนปฏัก ปัญญา ปัญญินทรีย์ ปัญญาพละ ปัญญา
เหมือนศัสตรา ปัญญาเหมือนปราสาท ความสว่างคือปัญญา แสงสว่างคือ
ปัญญา ปัญญาเหมือนประทีป ปัญญาเหมือนดวงแก้ว ความไม่หลงงมงาย ความ
เลือกเฟ้นธรรม สัมมาทิฏฐิ ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่าสัมมาทิฏฐิที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[๒๑] สัมมาสังกัปปะ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ความตรึก ความตรึกโดยอาการต่าง ๆ ความดำริ ความที่จิตแนบแน่นใน
อารมณ์ ความที่จิตแนบสนิทในอารมณ์ ความยกจิตขึ้นสู่อารมณ์ สัมมาสังกัปปะ
ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่าสัมมาสังกัปปะที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[๒๒] สัมมาวายามะ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
การปรารภความเพียรทางใจ ความขะมักเขม้น ความบากบั่น ความขวนขวาย
ความพยายาม ความอุตสาหะ ความทนทาน ความเข้มแข็ง ความหมั่น ความ
มุ่งมั่นอย่างไม่ท้อถอย ความไม่ทอดทิ้งฉันทะ ความไม่ทอดทิ้งธุระ ความเอาใจ
ใส่ธุระ วิริยะ วิริยินทรีย์ วิริยพละ สัมมาวายามะ ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่าสัมมาวายามะ
ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[๒๓] สัมมาสติ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
สติ ความตามระลึก ความหวนระลึก สติ กิริยาที่ระลึก ความทรงจำ ความ
ไม่เลื่อนลอย ความไม่หลงลืม สติ สตินทรีย์ สติพละ สัมมาสติ ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่า
สัมมาสติที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[๒๔] สัมมาสมาธิ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ความตั้งอยู่แห่งจิต ความดำรงอยู่ ความตั้งมั่น ความไม่ซัดส่าย ความไม่ฟุ้งซ่าน
ความที่จิตไม่ซัดส่าย สมถะ สมาธินทรีย์ สมาธิพละ สัมมาสมาธิ ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่า
สัมมาสมาธิที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[๒๕] สัทธาพละ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ความเชื่อ กิริยาที่เชื่อ ความปลงใจเชื่อ ความเลื่อมใสยิ่ง ศรัทธา สัทธินทรีย์
สัทธาพละ ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่าสัทธาพละที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[๒๖] วิริยพละ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๓๑ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๑. จิตตุปปาทกัณฑ์] กุศลบท กามาวจรกุศลจิตดวงที่ ๑ บทภาชนีย์
การปรารภความเพียรทางใจ ความขะมักเขม้น ความบากบั่น ความขวนขวาย
ความพยายาม ความอุตสาหะ ความทนทาน ความเข้มแข็ง ความหมั่น ความ
มุ่งมั่นอย่างไม่ท้อถอย ความไม่ทอดทิ้งฉันทะ ความไม่ทอดทิ้งธุระ ความเอาใจ
ใส่ธุระ วิริยะ วิริยินทรีย์ วิริยพละ สัมมาวายามะ ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่าวิริยพละ
ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[๒๗] สติพละ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
สติ ความตามระลึก ความหวนระลึก สติ กิริยาที่ระลึก ความทรงจำ
ความไม่เลื่อนลอย ความไม่หลงลืม สติ สตินทรีย์ สติพละ สัมมาสติ ในสมัยนั้น
นี้ชื่อว่าสติพละที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[๒๘] สมาธิพละ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ความตั้งอยู่แห่งจิต ความดำรงอยู่ ความตั้งมั่น ความไม่ซัดส่าย ความ
ไม่ฟุ้งซ่าน ความที่จิตไม่ซัดส่าย สมถะ สมาธินทรีย์ สมาธิพละ สัมมาสมาธิ
ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่าสมาธิพละที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[๒๙] ปัญญาพละ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ความวิจัย ความเลือกสรร ความวิจัยธรรม ความ
กำหนดหมาย ความเข้าไปกำหนด ความเข้าไปกำหนดเฉพาะ ภาวะที่รู้ ภาวะ
ที่ฉลาด ภาวะที่รู้ละเอียด ความรู้อย่างแจ่มแจ้ง ความค้นคิด ความใคร่ครวญ
ปัญญาเหมือนแผ่นดิน ปัญญาเครื่องทำลายกิเลส ปัญญาเครื่องนำทาง ความ
เห็นแจ้ง ความรู้ดี ปัญญาเหมือนปฏัก ปัญญา ปัญญินทรีย์ ปัญญาพละ ปัญญา
เหมือนศัสตรา ปัญญาเหมือนปราสาท ความสว่างคือปัญญา แสงสว่างคือ
ปัญญา ปัญญาเหมือนประทีป ปัญญาเหมือนดวงแก้ว ความไม่หลงงมงาย ความ
เลือกเฟ้นธรรม สัมมาทิฏฐิ ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่าปัญญาพละที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[๓๐] หิริพละ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
กิริยาที่ละอายต่อการประพฤติทุจริตอันเป็นสิ่งที่ควรละอาย กิริยาที่ละอาย
ต่อการประกอบสภาวธรรมที่เป็นอกุศลซึ่งเป็นบาป ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่าหิริพละ
ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๓๒ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๑. จิตตุปปาทกัณฑ์] กุศลบท กามาวจรกุศลจิตดวงที่ ๑ บทภาชนีย์
[๓๑] โอตตัปปพละ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
กิริยาที่เกรงกลัวต่อการประพฤติทุจริตอันเป็นสิ่งที่ควรเกรงกลัว กิริยาที่
เกรงกลัวต่อการประกอบสภาวธรรมที่เป็นอกุศลซึ่งเป็นบาป ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่า
โอตตัปปพละที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[๓๒] อโลภะ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ความไม่โลภ กิริยาที่ไม่โลภ ภาวะที่ไม่โลภ ความไม่กำหนัด กิริยาที่ไม่กำหนัด
ภาวะที่ไม่กำหนัด ความไม่เพ่งเล็ง กุศลมูลคืออโลภะ ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่าอโลภะ๑ ที่
เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[๓๓] อโทสะ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ความไม่คิดประทุษร้าย กิริยาที่ไม่คิดประทุษร้าย ภาวะที่ไม่คิดประทุษร้าย
ความไม่พยาบาท ความไม่คิดเบียดเบียน กุศลมูลคืออโทสะ ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่า
อโทสะ๑ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[๓๔] อโมหะ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ความวิจัย ความเลือกสรร ความวิจัยธรรม ความ
กำหนดหมาย ความเข้าไปกำหนด ความเข้าไปกำหนดเฉพาะ ภาวะที่รู้ ภาวะ
ที่ฉลาด ภาวะที่รู้ละเอียด ความรู้อย่างแจ่มแจ้ง ความค้นคิด ความใคร่ครวญ
ปัญญาเหมือนแผ่นดิน ปัญญาเครื่องทำลายกิเลส ปัญญาเครื่องนำทาง ความ
เห็นแจ้ง ความรู้ดี ปัญญาเหมือนปฏัก ปัญญา ปัญญินทรีย์ ปัญญาพละ ปัญญา
เหมือนศัสตรา ปัญญาเหมือนปราสาท ความสว่างคือปัญญา แสงสว่างคือ
ปัญญา ปัญญาเหมือนประทีป ปัญญาเหมือนดวงแก้ว ความไม่หลงงมงาย ความ
เลือกเฟ้นธรรม สัมมาทิฏฐิ กุศลมูลคืออโมหะ ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่าอโมหะ๑ ที่เกิดขึ้น
ในสมัยนั้น
[๓๕] อนภิชฌา ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ความไม่โลภ กิริยาที่ไม่โลภ ภาวะที่ไม่โลภ ความไม่กำหนัด กิริยาที่ไม่กำหนัด
ภาวะที่ไม่กำหนัด ความไม่เพ่งเล็ง กุศลมูลคืออโลภะ ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่าอนภิชฌาที่
เกิดขึ้นในสมัยนั้น

เชิงอรรถ :
๑ อภิ.วิ. ๓๕/๒๙๓/๒๐๑

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๓๓ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๑. จิตตุปปาทกัณฑ์] กุศลบท กามาวจรกุศลจิตดวงที่ ๑ บทภาชนีย์
[๓๖] อัพยาบาท ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ความไม่คิดประทุษร้าย กิริยาที่ไม่คิดประทุษร้าย ภาวะที่ไม่คิดประทุษร้าย
ความไม่พยาบาท ความไม่คิดเบียดเบียน กุศลมูลคืออโทสะ ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่า
อัพยาบาทที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[๓๗] สัมมาทิฏฐิ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ความวิจัย ความเลือกสรร ความวิจัยธรรม ความ
กำหนดหมาย ความเข้าไปกำหนด ความเข้าไปกำหนดเฉพาะ ภาวะที่รู้ ภาวะ
ที่ฉลาด ภาวะที่รู้ละเอียด ความรู้อย่างแจ่มแจ้ง ความค้นคิด ความใคร่ครวญ
ปัญญาเหมือนแผ่นดิน ปัญญาเครื่องทำลายกิเลส ปัญญาเครื่องนำทาง ความ
เห็นแจ้ง ความรู้ดี ปัญญาเหมือนปฏัก ปัญญา ปัญญินทรีย์ ปัญญาพละ ปัญญา
เหมือนศัสตรา ปัญญาเหมือนปราสาท ความสว่างคือปัญญา แสงสว่างคือปัญญา
ปัญญาเหมือนประทีป ปัญญาเหมือนดวงแก้ว ความไม่หลงงมงาย ความเลือกเฟ้น
ธรรม สัมมาทิฏฐิ ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่าสัมมาทิฏฐิที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[๓๘] หิริ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
กิริยาที่ละอายต่อการประพฤติทุจริตอันเป็นสิ่งที่ควรละอาย กิริยาที่ละอาย
ต่อการประกอบสภาวธรรมที่เป็นอกุศลซึ่งเป็นบาป ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่าหิริที่เกิดขึ้นใน
สมัยนั้น
[๓๙] โอตตัปปะ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
กิริยาที่เกรงกลัวต่อการประพฤติทุจริตอันเป็นสิ่งที่ควรเกรงกลัว กิริยาที่
เกรงกลัวต่อการประกอบสภาวธรรมที่เป็นอกุศลซึ่งเป็นบาป ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่า
โอตตัปปะที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[๔๐] กายปัสสัทธิ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ความสงบ ความสงบระงับ กิริยาที่สงบ กิริยาที่สงบระงับ ภาวะที่สงบระงับ
แห่งเวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ และสังขารขันธ์ ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่ากายปัสสัทธิที่เกิด
ขึ้นในสมัยนั้น
[๔๑] จิตตปัสสัทธิ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๓๔ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๑. จิตตุปปาทกัณฑ์] กุศลบท กามาวจรกุศลจิตดวงที่ ๑ บทภาชนีย์
ความสงบ ความสงบระงับ กิริยาที่สงบ กิริยาที่สงบระงับ ภาวะที่สงบระงับ
แห่งวิญญาณขันธ์ ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่าจิตตปัสสัทธิที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[๔๒] กายลหุตา ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ความเบา ความรวดเร็ว ความไม่เชื่องช้า ความไม่หนักแห่งเวทนาขันธ์
สัญญาขันธ์ และสังขารขันธ์ ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่ากายลหุตาที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[๔๓] จิตตลหุตา ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ความเบา ความรวดเร็ว ความไม่เชื่องช้า ความไม่หนักแห่งวิญญาณขันธ์
ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่าจิตตลหุตาที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[๔๔] กายมุทุตา ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ความอ่อน ภาวะที่อ่อน ความไม่แข็ง ความไม่กระด้างแห่งเวทนาขันธ์
สัญญาขันธ์ และสังขารขันธ์ ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่ากายมุทุตาที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[๔๕] จิตตมุทุตา ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ความอ่อน ภาวะที่อ่อน ความไม่แข็ง ความไม่กระด้างแห่งวิญญาณขันธ์ใน
สมัยนั้น นี้ชื่อว่าจิตตมุทุตาที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[๔๖] กายกัมมัญญตา ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ความควรแก่การงาน กิริยาที่ควรแก่การงาน ภาวะที่ควรแก่การงานแห่ง
เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ และสังขารขันธ์ ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่ากายกัมมัญญตาที่เกิดขึ้น
ในสมัยนั้น
[๔๗] จิตตกัมมัญญตา ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ความควรแก่การงาน กิริยาที่ควรแก่การงาน ภาวะที่ควรแก่การงานแห่ง
วิญญาณขันธ์ ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่าจิตตกัมมัญญตาที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[๔๘] กายปาคุญญตา ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ความคล่องแคล่ว กิริยาที่คล่องแคล่ว ภาวะที่คล่องแคล่วแห่งเวทนาขันธ์
สัญญาขันธ์ และสังขารขันธ์ ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่ากายปาคุญญตาที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[๔๙] จิตตปาคุญญตา ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๓๕ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๑. จิตตุปปาทกัณฑ์] กุศลบท กามาวจรกุศลจิตดวงที่ ๑ บทภาชนีย์
ความคล่องแคล่ว กิริยาที่คล่องแคล่ว ภาวะที่คล่องแคล่วแห่งวิญญาณขันธ์
ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่าจิตตปาคุญญตาที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[๕๐] กายุชุกตา ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ความตรง กิริยาที่ตรง ความไม่คด ความไม่โค้ง ความไม่งอแห่งเวทนาขันธ์
สัญญาขันธ์ และสังขารขันธ์ ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่ากายุชุกตาที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[๕๑] จิตตุชุกตา ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ความตรง กิริยาที่ตรง ความไม่คด ความไม่โค้ง ความไม่งอแห่งวิญญาณขันธ์
ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่าจิตตุชุกตาที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[๕๒] สติ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
สติ ความตามระลึก ความหวนระลึก สติ กิริยาที่ระลึก ความทรงจำ ความ
ไม่เลื่อนลอย ความไม่หลงลืม สติ สตินทรีย์ สติพละ สัมมาสติ ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่า
สติที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[๕๓] สัมปชัญญะ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ความวิจัย ความเลือกสรร ความวิจัยธรรม ความ
กำหนดหมาย ความเข้าไปกำหนด ความเข้าไปกำหนดเฉพาะ ภาวะที่รู้ ภาวะ
ที่ฉลาด ภาวะที่รู้ละเอียด ความรู้อย่างแจ่มแจ้ง ความค้นคิด ความใคร่ครวญ
ปัญญาเหมือนแผ่นดิน ปัญญาเครื่องทำลายกิเลส ปัญญาเครื่องนำทาง ความ
เห็นแจ้ง ความรู้ดี ปัญญาเหมือนปฏัก ปัญญา ปัญญินทรีย์ ปัญญาพละ ปัญญา
เหมือนศัสตรา ปัญญาเหมือนปราสาท ความสว่างคือปัญญา แสงสว่างคือ
ปัญญา ปัญญาเหมือนประทีป ปัญญาเหมือนดวงแก้ว ความไม่หลงงมงาย ความ
เลือกเฟ้นธรรม สัมมาทิฏฐิ ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่าสัมปชัญญะที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[๕๔] สมถะ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ความตั้งอยู่แห่งจิต ความดำรงอยู่ ความตั้งมั่น ความไม่ซัดส่าย ความ
ไม่ฟุ้งซ่าน ความที่จิตไม่ซัดส่าย สมถะ สมาธินทรีย์ สมาธิพละ สัมมาสมาธิ
ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่าสมถะที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[๕๕] วิปัสสนา ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๓๖ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๑. จิตตุปปาทกัณฑ์] กุศลบท กามาวจรกุศลจิตดวงที่ ๑ โกฏฐาสวาร
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ความวิจัย ความเลือกสรร ความวิจัยธรรม ความ
กำหนดหมาย ความเข้าไปกำหนด ความเข้าไปกำหนดเฉพาะ ภาวะที่รู้ ภาวะ
ที่ฉลาด ภาวะที่รู้ละเอียด ความรู้อย่างแจ่มแจ้ง ความค้นคิด ความใคร่ครวญ
ปัญญาเหมือนแผ่นดิน ปัญญาเครื่องทำลายกิเลส ปัญญาเครื่องนำทาง ความ
เห็นแจ้ง ความรู้ดี ปัญญาเหมือนปฏัก ปัญญา ปัญญินทรีย์ ปัญญาพละ ปัญญา
เหมือนศัสตรา ปัญญาเหมือนปราสาท ความสว่างคือปัญญา แสงสว่างคือปัญญา
ปัญญาเหมือนประทีป ปัญญาเหมือนดวงแก้ว ความไม่หลงงมงาย ความเลือกเฟ้น
ธรรม สัมมาทิฏฐิ ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่าวิปัสสนาที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[๕๖] ปัคคาหะ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
การปรารภความเพียรทางใจ ความขะมักเขม้น ความบากบั่น ความขวนขวาย
ความพยายาม ความอุตสาหะ ความทนทาน ความเข้มแข็ง ความหมั่น ความ
มุ่งมั่นอย่างไม่ท้อถอย ความไม่ทอดทิ้งฉันทะ ความไม่ทอดทิ้งธุระ ความเอาใจ
ใส่ธุระ วิริยะ วิริยินทรีย์ วิริยพละ สัมมาวายามะ ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่าปัคคาหะ
ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[๕๗] อวิกเขปะ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ความตั้งอยู่แห่งจิต ความดำรงอยู่ ความตั้งมั่น ความไม่ซัดส่าย ความ
ไม่ฟุ้งซ่าน ความที่จิตไม่ซัดส่าย สมถะ สมาธินทรีย์ สมาธิพละ สัมมาสมาธิ
ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่า อวิกเขปะที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น หรือสภาวธรรมที่ไม่เป็นรูปซึ่ง
อิงอาศัยกันเกิดขึ้นแม้อื่นในสมัยนั้น
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล
บทภาชนีย์ จบ
ปฐมภาณวาร จบ

โกฏฐาสวาร
[๕๘] ขันธ์ ๔ อายตนะ ๒ ธาตุ ๒ อาหาร ๓ อินทรีย์ ๘ ฌานมีองค์ ๕
มรรคมีองค์ ๕ พละ ๗ เหตุ ๓ ผัสสะ ๑ เวทนา ๑ สัญญา ๑ เจตนา ๑ จิต ๑

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๓๗ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๑. จิตตุปปาทกัณฑ์] กุศลบท กามาวจรกุศลจิตดวงที่ ๑ โกฏฐาสวาร
เวทนาขันธ์ ๑ สัญญาขันธ์ ๑ สังขารขันธ์ ๑ วิญญาณขันธ์ ๑ มนายตนะ ๑
มนินทรีย์ ๑ มโนวิญญาณธาตุ ๑ ธัมมายตนะ ๑ และธัมมธาตุ ๑ ในสมัยนั้น หรือ
สภาวธรรมที่ไม่เป็นรูปซึ่งอิงอาศัยกันเกิดขึ้นแม้อื่นในสมัยนั้น สภาวธรรมเหล่านี้
ชื่อว่าเป็นกุศล
[๕๙] ขันธ์ ๔ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ขันธ์ ๔ คือ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ และวิญญาณขันธ์
[๖๐] เวทนาขันธ์ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ความสำราญทางใจ ความสุขทางใจ ความเสวยอารมณ์ที่สำราญเป็นสุข
อันเกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่สำราญเป็นสุข อันเกิดแต่เจโตสัมผัส
ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่าเวทนาขันธ์ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[๖๑] สัญญาขันธ์ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ความจำได้ กิริยาที่จำได้ ภาวะที่จำได้ ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่า สัญญาขันธ์ที่เกิดขึ้น
ในสมัยนั้น
[๖๒] สังขารขันธ์ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ผัสสะ เจตนา วิตก วิจาร ปีติ เอกัคคตา สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์
สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวายามะ
สัมมาสติ สัมมาสมาธิ สัทธาพละ วิริยพละ สติพละ สมาธิพละ ปัญญาพละ หิริพละ
โอตตัปปพละ อโลภะ อโทสะ อโมหะ อนภิชฌา อัพยาบาท สัมมาทิฏฐิ หิริ
โอตตัปปะ กายปัสสัทธิ จิตตปัสสัทธิ กายลหุตา จิตตลหุตา กายมุทุตา จิตตมุทุตา
กายกัมมัญญตา จิตตกัมมัญญตา กายปาคุญญตา จิตตปาคุญญตา กายุชุกตา
จิตตุชุกตา สติ สัมปชัญญะ สมถะ วิปัสสนา ปัคคาหะ และอวิกเขปะ หรือ
สภาวธรรมที่ไม่เป็นรูปซึ่งอิงอาศัยกันเกิดขึ้นแม้อื่นในสมัยนั้น เว้นเวทนาขันธ์
สัญญาขันธ์ และวิญญาณขันธ์ นี้ชื่อว่าสังขารขันธ์ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[๖๓] วิญญาณขันธ์ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๓๘ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๑. จิตตุปปาทกัณฑ์] กุศลบท กามาวจรกุศลจิตดวงที่ ๑ โกฏฐาสวาร
จิต มโน มานัส หทัย ปัณฑระ มโน มนายตนะ มนินทรีย์ วิญญาณ
วิญญาณขันธ์ และมโนวิญญาณธาตุที่เหมาะสมกัน๑ ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่าวิญญาณ-
ขันธ์ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าขันธ์ ๔ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[๖๔] อายตนะ ๒ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
อายตนะ ๒ คือ มนายตนะ และธัมมายตนะ
[๖๕] มนายตนะ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
จิต มโน มานัส หทัย ปัณฑระ มโน มนายตนะ มนินทรีย์ วิญญาณ
วิญญาณขันธ์ และมโนวิญญาณธาตุที่เหมาะสมกัน ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่ามนายตนะ
ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[๖๖] ธัมมายตนะ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ และสังขารขันธ์ นี้ชื่อว่าธัมมายตนะที่เกิดขึ้นในสมัย
นั้น
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าอายตนะ ๒ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[๖๗] ธาตุ ๒ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ธาตุ ๒ คือ มโนวิญญาณธาตุ และธัมมธาตุ
[๖๘] มโนวิญญาณธาตุ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
จิต มโน มานัส หทัย ปัณฑระ มโน มนายตนะ มนินทรีย์ วิญญาณ
วิญญาณขันธ์ และมโนวิญญาณธาตุที่เหมาะสมกัน ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่ามโน-
วิญญาณธาตุที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[๖๙] ธัมมธาตุ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ และสังขารขันธ์ นี้ชื่อว่าธัมมธาตุที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าธาตุ ๒ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น

เชิงอรรถ :
๑ อภิ.สงฺ.อ. ๑๙๒

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๓๙ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๑. จิตตุปปาทกัณฑ์] กุศลบท กามาวจรกุศลจิตดวงที่ ๑ โกฏฐาสวาร
[๗๐] อาหาร ๓ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
อาหาร ๓ คือ ผัสสาหาร มโนสัญเจตนาหาร และวิญญาณาหาร
[๗๑] ผัสสาหาร ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ความกระทบ กิริยาที่กระทบ กิริยาที่ถูกต้อง ภาวะที่ถูกต้อง ในสมัยนั้น นี้
ชื่อว่าผัสสาหารที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[๗๒] มโนสัญเจตนาหาร ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ความจงใจ กิริยาที่จงใจ ภาวะที่จงใจ ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่ามโนสัญเจตนาหาร
ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[๗๓] วิญญาณาหาร ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
จิต มโน มานัส หทัย ปัณฑระ มโน มนายตนะ มนินทรีย์ วิญญาณ
วิญญาณขันธ์ และมโนวิญญาณธาตุที่เหมาะสมกัน ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่าวิญญาณาหาร
ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าอาหาร ๓ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[๗๔] อินทรีย์ ๘ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
อินทรีย์ ๘ คือ

๑. สัทธินทรีย์ ๒. วิริยินทรีย์
๓. สตินทรีย์ ๔. สมาธินทรีย์
๕. ปัญญินทรีย์ ๖. มนินทรีย์
๗. โสมนัสสินทรีย์ ๘. ชีวิตินทรีย์

[๗๕] สัทธินทรีย์ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ความเชื่อ กิริยาที่เชื่อ ความปลงใจเชื่อ ความเลื่อมใสยิ่ง ศรัทธา สัทธินทรีย์
สัทธาพละ ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่าสัทธินทรีย์ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[๗๖] วิริยินทรีย์ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
การปรารภความเพียรทางใจ ความขะมักเขม้น ความบากบั่น ความขวนขวาย
ความพยายาม ความอุตสาหะ ความทนทาน ความเข้มแข็ง ความหมั่น ความ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๔๐ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๑. จิตตุปปาทกัณฑ์] กุศลบท กามาวจรกุศลจิตดวงที่ ๑ โกฏฐาสวาร
มุ่งมั่นอย่างไม่ท้อถอย ความไม่ทอดทิ้งฉันทะ ความไม่ทอดทิ้งธุระ ความเอาใจ
ใส่ธุระ วิริยะ วิริยินทรีย์ วิริยพละ สัมมาวายามะ ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่าวิริยินทรีย์
ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[๗๗] สตินทรีย์ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
สติ ความตามระลึก ความหวนระลึก สติ กิริยาที่ระลึก ความทรงจำ ความ
ไม่เลื่อนลอย ความไม่หลงลืม สติ สตินทรีย์ สติพละ สัมมาสติ ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่า
สตินทรีย์ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[๗๘] สมาธินทรีย์ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ความตั้งอยู่แห่งจิต ความดำรงอยู่ ความตั้งมั่น ความไม่ซัดส่าย ความ
ไม่ฟุ้งซ่าน ความที่จิตที่ไม่ซัดส่าย สมถะ สมาธินทรีย์ สมาธิพละ สัมมาสมาธิ
ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่าสมาธินทรีย์ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[๗๙] ปัญญินทรีย์ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ความวิจัย ความเลือกสรร ความวิจัยธรรม ความ
กำหนดหมาย ความเข้าไปกำหนด ความเข้าไปกำหนดเฉพาะ ภาวะที่รู้ ภาวะ
ที่ฉลาด ภาวะที่รู้ละเอียด ความรู้อย่างแจ่มแจ้ง ความค้นคิด ความใคร่ครวญ
ปัญญาเหมือนแผ่นดิน ปัญญาเครื่องทำลายกิเลส ปัญญาเครื่องนำทาง ความ
เห็นแจ้ง ความรู้ดี ปัญญาเหมือนปฏัก ปัญญา ปัญญินทรีย์ ปัญญาพละ ปัญญา
เหมือนศัสตรา ปัญญาเหมือนปราสาท ความสว่างคือปัญญา แสงสว่างคือปัญญา
ปัญญาเหมือนประทีป ปัญญาเหมือนดวงแก้ว ความไม่หลงงมงาย ความเลือกเฟ้น
ธรรม สัมมาทิฏฐิ ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่าปัญญินทรีย์ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[๘๐] มนินทรีย์ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
จิต มโน มานัส หทัย ปัณฑระ มโน มนายตนะ มนินทรีย์ วิญญาณ
วิญญาณขันธ์ และมโนวิญญาณธาตุที่เหมาะสมกัน ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่ามนินทรีย์ที่
เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[๘๑] โสมนัสสินทรีย์ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๔๑ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๑. จิตตุปปาทกัณฑ์] กุศลบท กามาวจรกุศลจิตดวงที่ ๑ โกฏฐาสวาร
ความสำราญทางใจ ความสุขทางใจ ความเสวยอารมณ์ที่สำราญเป็นสุข อัน
เกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่สำราญเป็นสุข อันเกิดแต่เจโตสัมผัส ในสมัย
นั้น นี้ชื่อว่าโสมนัสสินทรีย์ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[๘๒] ชีวิตินทรีย์ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
อายุ ความดำรงอยู่ ความเป็นไป กิริยาที่ให้เป็นไป อาการที่สืบเนื่องกัน
ความดำเนินไป ความหล่อเลี้ยง ชีวิต ชีวิตินทรีย์ แห่งสภาวธรรมที่ไม่เป็นรูปเหล่านั้น
นี้ชื่อว่าชีวิตินทรีย์ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าอินทรีย์ ๘ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[๘๓] ฌานมีองค์ ๕ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ฌานมีองค์ ๕ คือ
๑. วิตก
๒. วิจาร
๓. ปีติ
๔. สุข
๕. เอกัคคตา
[๘๔] วิตก ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ความตรึก ความตรึกโดยอาการต่าง ๆ ความดำริ ความที่จิตแนบแน่นใน
อารมณ์ ความที่จิตแนบสนิทในอารมณ์ ความยกจิตขึ้นสู่อารมณ์ สัมมาสังกัปปะ
ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่าวิตกที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[๘๕] วิจาร ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ความตรอง ความพิจารณา ความตามพิจารณา ความเข้าไปพิจารณา ความ
ที่จิตสืบต่ออารมณ์ ความที่จิตเพ่งอารมณ์ ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่าวิจารที่เกิดขึ้นใน
สมัยนั้น
[๘๖] ปีติ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๔๒ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๑. จิตตุปปาทกัณฑ์] กุศลบท กามาวจรกุศลจิตดวงที่ ๑ โกฏฐาสวาร
ความอิ่มเอิบ ความปราโมทย์ ความยินดีอย่างยิ่ง ความบันเทิง ความร่าเริง
ความรื่นเริง ความปลื้มใจ ความตื่นเต้น ความที่จิตชื่นชมยินดี ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่า
ปีติที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[๘๗] สุข ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ความสำราญทางใจ ความสุขทางใจ ความเสวยอารมณ์ที่สำราญเป็นสุข
อันเกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่สำราญเป็นสุข อันเกิดแต่เจโตสัมผัส
ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่าสุขที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[๘๘] เอกัคคตา ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ความตั้งอยู่แห่งจิต ความดำรงอยู่ ความตั้งมั่น ความไม่ซัดส่าย ความไม่ฟุ้ง
ซ่าน ความที่จิตไม่ซัดส่าย สมถะ สมาธินทรีย์ สมาธิพละ สัมมาสมาธิ ในสมัยนั้น
นี้ชื่อว่าเอกัคคตาที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น สภาวธรรมนี้ชื่อว่าฌานมีองค์ ๕ ที่เกิดขึ้นใน
สมัยนั้น
[๘๙] มรรคมีองค์ ๕ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
มรรคมีองค์ ๕ คือ

๑. สัมมาทิฏฐิ (เห็นชอบ)
๒. สัมมาสังกัปปะ (ดำริชอบ)
๓. สัมมาวายามะ (เพียรชอบ)
๔. สัมมาสติ (ระลึกชอบ)
๕. สัมมาสมาธิ (ตั้งจิตมั่นชอบ)

[๙๐] สัมมาทิฏฐิ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ความวิจัย ความเลือกสรร ความวิจัยธรรม ความ
กำหนดหมาย ความเข้าไปกำหนด ความเข้าไปกำหนดเฉพาะ ภาวะที่รู้ ภาวะ
ที่ฉลาด ภาวะที่รู้ละเอียด ความรู้อย่างแจ่มแจ้ง ความค้นคิด ความใคร่ครวญ
ปัญญาเหมือนแผ่นดิน ปัญญาเครื่องทำลายกิเลส ปัญญาเครื่องนำทาง ความ
เห็นแจ้ง ความรู้ดี ปัญญาเหมือนปฏัก ปัญญา ปัญญินทรีย์ ปัญญาพละ ปัญญา
เหมือนศัสตรา ปัญญาเหมือนปราสาท ความสว่างคือปัญญา แสงสว่างคือปัญญา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๔๓ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๑. จิตตุปปาทกัณฑ์] กุศลบท กามาวจรกุศลจิตดวงที่ ๑ โกฏฐาสวาร
ปัญญาเหมือนประทีป ปัญญาเหมือนดวงแก้ว ความไม่หลงงมงาย ความเลือกเฟ้น
ธรรม สัมมาทิฏฐิ ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่าสัมมาทิฏฐิที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[๙๑] สัมมาสังกัปปะ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ความตรึก ความตรึกโดยอาการต่าง ๆ ความดำริ ความที่จิตแนบแน่นใน
อารมณ์ ความที่จิตแนบสนิทในอารมณ์ ความยกจิตขึ้นสู่อารมณ์ สัมมาสังกัปปะ
ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่าสัมมาสังกัปปะที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[๙๒] สัมมาวายามะ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
การปรารภความเพียรทางใจ ความขะมักเขม้น ความบากบั่น ความขวนขวาย
ความพยายาม ความอุตสาหะ ความทนทาน ความเข้มแข็ง ความหมั่น ความ
มุ่งมั่นอย่างไม่ท้อถอย ความไม่ทอดทิ้งฉันทะ ความไม่ทอดทิ้งธุระ ความเอาใจ
ใส่ธุระ วิริยะ วิริยินทรีย์ วิริยพละ สัมมาวายามะ ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่าสัมมาวายามะ
ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[๙๓] สัมมาสติ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
สติ ความตามระลึก ความหวนระลึก สติ กิริยาที่ระลึก ความทรงจำ
ความไม่เลื่อนลอย ความไม่หลงลืม สติ สตินทรีย์ สติพละ สัมมาสติ ในสมัยนั้น
นี้ชื่อว่าสัมมาสติที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[๙๔] สัมมาสมาธิ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ความตั้งอยู่แห่งจิต ความดำรงอยู่ ความตั้งมั่น ความไม่ซัดส่าย ความ
ไม่ฟุ้งซ่าน ความที่จิตไม่ซัดส่าย สมถะ สมาธินทรีย์ สมาธิพละ สัมมาสมาธิ
ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่าสัมมาสมาธิที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
สภาวธรรมนี้ชื่อว่ามรรคมีองค์ ๕ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[๙๕] พละ ๗ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
พละ ๗ คือ

๑. สัทธาพละ ๒. วิริยพละ
๓. สติพละ ๔. สมาธิพละ
๕. ปัญญาพละ ๖. หิริพละ
๗. โอตตัปปพละ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๔๔ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๑. จิตตุปปาทกัณฑ์] กุศลบท กามาวจรกุศลจิตดวงที่ ๑ โกฏฐาสวาร
[๙๖] สัทธาพละ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ความเชื่อ กิริยาที่เชื่อ ความปลงใจเชื่อ ความเลื่อมใสยิ่ง ศรัทธา สัทธินทรีย์
สัทธาพละ ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่าสัทธาพละที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[๙๗] วิริยพละ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
การปรารภความเพียรทางใจ ความขะมักเขม้น ความบากบั่น ความขวนขวาย
ความพยายาม ความอุตสาหะ ความทนทาน ความเข้มแข็ง ความหมั่น ความมุ่งมั่น
อย่างไม่ท้อถอย ความไม่ทอดทิ้งฉันทะ ความไม่ทอดทิ้งธุระ ความเอาใจใส่ธุระ วิริยะ
วิริยินทรีย์ วิริยพละ สัมมาวายามะ ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่าวิริยพละที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[๙๘] สติพละ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
สติ ความตามระลึก ความหวนระลึก สติ กิริยาที่ระลึก ความทรงจำ ความไม่
เลื่อนลอย ความไม่หลงลืม สติ สตินทรีย์ สติพละ สัมมาสติ ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่า
สติพละที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[๙๙] สมาธิพละ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ความตั้งอยู่แห่งจิต ความดำรงอยู่ ความตั้งมั่น ความไม่ซัดส่าย ความไม่
ฟุ้งซ่าน ความที่จิตไม่ซัดส่าย สมถะ สมาธินทรีย์ สมาธิพละ สัมมาสมาธิ ใน
สมัยนั้น นี้ชื่อว่าสมาธิพละที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[๑๐๐] ปัญญาพละ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ความวิจัย ความเลือกสรร ความวิจัยธรรม ความ
กำหนดหมาย ความเข้าไปกำหนด ความเข้าไปกำหนดเฉพาะ ภาวะที่รู้ ภาวะที่ฉลาด
ภาวะที่รู้ละเอียด ความรู้อย่างแจ่มแจ้ง ความค้นคิด ความใคร่ครวญ ปัญญาเหมือน
แผ่นดิน ปัญญาเครื่องทำลายกิเลส ปัญญาเครื่องนำทาง ความเห็นแจ้ง ความรู้ดี
ปัญญาเหมือนปฏัก ปัญญา ปัญญินทรีย์ ปัญญาพละ ปัญญาเหมือนศัสตรา ปัญญา
เหมือนปราสาท ความสว่างคือปัญญา แสงสว่างคือปัญญา ปัญญาเหมือนประทีป
ปัญญาเหมือนดวงแก้ว ความไม่หลงงมงาย ความเลือกเฟ้นธรรม สัมมาทิฏฐิ ใน
สมัยนั้น นี้ชื่อว่าปัญญาพละที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[๑๐๑] หิริพละ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๔๕ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๑. จิตตุปปาทกัณฑ์] กุศลบท กามาวจรกุศลจิตดวงที่ ๑ โกฏฐาสวาร
กิริยาที่ละอายต่อการประพฤติทุจริตอันเป็นสิ่งที่ควรละอาย กิริยาที่ละอายต่อ
การประกอบสภาวธรรมที่เป็นอกุศลซึ่งเป็นบาป ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่าหิริพละที่เกิด
ขึ้นในสมัยนั้น
[๑๐๒] โอตตัปปพละ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
กิริยาที่เกรงกลัวต่อการประพฤติทุจริตอันเป็นสิ่งที่ควรเกรงกลัว กิริยาที่เกรง
กลัวต่อการประกอบสภาวธรรมที่เป็นอกุศลซึ่งเป็นบาป ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่า
โอตตัปปพละที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าพละ ๗ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[๑๐๓] เหตุ ๓ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
เหตุ ๓ คือ
๑. อโลภะ
๒. อโทสะ
๓. อโมหะ
[๑๐๔] อโลภะ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ความไม่โลภ กิริยาที่ไม่โลภ ภาวะที่ไม่โลภ ความไม่กำหนัด กิริยาที่ไม่กำหนัด
ภาวะที่ไม่กำหนัด ความไม่เพ่งเล็ง กุศลมูลคืออโลภะ ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่า อโลภะที่
เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[๑๐๕] อโทสะ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ความไม่คิดประทุษร้าย กิริยาที่ไม่คิดประทุษร้าย ภาวะที่ไม่คิดประทุษร้าย
ความไม่พยาบาท ความไม่คิดเบียดเบียน กุศลมูลคืออโทสะ ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่า
อโทสะที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[๑๐๖] อโมหะ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ความวิจัย ความเลือกสรร ความวิจัยธรรม ความ
กำหนดหมาย ความเข้าไปกำหนด ความเข้าไปกำหนดเฉพาะ ภาวะที่รู้ ภาวะ
ที่ฉลาด ภาวะที่รู้ละเอียด ความรู้อย่างแจ่มแจ้ง ความค้นคิด ความใคร่ครวญ
ปัญญาเหมือนแผ่นดิน ปัญญาเครื่องทำลายกิเลส ปัญญาเครื่องนำทาง ความ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๔๖ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๑. จิตตุปปาทกัณฑ์] กุศลบท กามาวจรกุศลจิตดวงที่ ๑ โกฏฐาสวาร
เห็นแจ้ง ความรู้ดี ปัญญาเหมือนปฏัก ปัญญา ปัญญินทรีย์ ปัญญาพละ ปัญญา
เหมือนศัสตรา ปัญญาเหมือนปราสาท ความสว่างคือปัญญา แสงสว่างคือปัญญา
ปัญญาเหมือนประทีป ปัญญาเหมือนดวงแก้ว ความไม่หลงงมงาย ความเลือกเฟ้น
ธรรม สัมมาทิฏฐิ กุศลมูลคืออโมหะ ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่าอโมหะที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเหตุ ๓ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[๑๐๗] ผัสสะ ๑ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ความกระทบ กิริยาที่กระทบ กิริยาที่ถูกต้อง ภาวะที่ถูกต้อง ในสมัยนั้น
นี้ชื่อว่าผัสสะ ๑ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[๑๐๘] เวทนา ๑ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ความสำราญทางใจ ความสุขทางใจ ความเสวยอารมณ์ที่สำราญเป็นสุข อัน
เกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่สำราญเป็นสุข อันเกิดแต่เจโตสัมผัสในสมัย
นั้น นี้ชื่อว่าเวทนา ๑ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[๑๐๙] สัญญา ๑ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ความจำได้ กิริยาที่จำได้ ภาวะที่จำได้ ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่าสัญญา ๑ ที่เกิดขึ้น
ในสมัยนั้น
[๑๑๐] เจตนา ๑ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ความจงใจ กิริยาที่จงใจ ภาวะที่จงใจ ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่าเจตนา ๑ ที่เกิดขึ้น
ในสมัยนั้น
[๑๑๑] จิต ๑ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
จิต มโน มานัส หทัย ปัณฑระ มโน มนายตนะ มนินทรีย์ วิญญาณ
วิญญาณขันธ์ และมโนวิญญาณธาตุที่เหมาะสมกัน ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่าจิต ๑ ที่
เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[๑๑๒] เวทนาขันธ์ ๑ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ความสำราญทางใจ ความสุขทางใจ ความเสวยอารมณ์ที่สำราญเป็นสุข
อันเกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่สำราญเป็นสุข อันเกิดแต่เจโตสัมผัส
ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่าเวทนาขันธ์ ๑ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๔๗ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๑. จิตตุปปาทกัณฑ์] กุศลบท กามาวจรกุศลจิตดวงที่ ๑ โกฏฐาสวาร
[๑๑๓] สัญญาขันธ์ ๑ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ความจำได้ กิริยาที่จำได้ ภาวะที่จำได้ ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่าสัญญาขันธ์ ๑
ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[๑๑๔] สังขารขันธ์ ๑ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ผัสสะ เจตนา วิตก วิจาร ปีติ เอกัคคตา สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์
สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวายามะ
สัมมาสติ สัมมาสมาธิ สัทธาพละ วิริยพละ สติพละ สมาธิพละ ปัญญาพละ หิริพละ
โอตตัปปพละ อโลภะ อโทสะ อโมหะ อนภิชฌา อัพยาบาท สัมมาทิฏฐิ หิริ
โอตตัปปะ กายปัสสัทธิ จิตตปัสสัทธิ กายลหุตา จิตตลหุตา กายมุทุตา จิตตมุทุตา
กายกัมมัญญตา จิตตกัมมัญญตา กายปาคุญญตา จิตตปาคุญญตา กายุชุกตา
จิตตุชุกตา สติ สัมปชัญญะ สมถะ วิปัสสนา ปัคคาหะ และอวิกเขปะ หรือ
สภาวธรรมที่ไม่เป็นรูปซึ่งอิงอาศัยกันเกิดขึ้นแม้อื่นในสมัยนั้น เว้นเวทนาขันธ์
สัญญาขันธ์ และวิญญาณขันธ์ นี้ชื่อว่าสังขารขันธ์ ๑ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[๑๑๕] วิญญาณขันธ์ ๑ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
จิต มโน มานัส หทัย ปัณฑระ มโน มนายตนะ มนินทรีย์ วิญญาณ
วิญญาณขันธ์ และมโนวิญญาณธาตุที่เหมาะสมกัน ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่าวิญญาณขันธ์
๑ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[๑๑๖] มนายตนะ ๑ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
จิต มโน มานัส หทัย ปัณฑระ มโน มนายตนะ มนินทรีย์ วิญญาณ
วิญญาณขันธ์ และมโนวิญญาณธาตุที่เหมาะสมกัน ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่ามนายตนะ
๑ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[๑๑๗] มนินทรีย์ ๑ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
จิต มโน มานัส หทัย ปัณฑระ มโน มนายตนะ มนินทรีย์ วิญญาณ
วิญญาณขันธ์ และมโนวิญญาณธาตุที่เหมาะสมกัน ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่ามนินทรีย์ ๑
ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[๑๑๘] มโนวิญญาณธาตุ ๑ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๔๘ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๑. จิตตุปปาทกัณฑ์] กุศลบท กามาวจรกุศลจิตดวงที่ ๑ สุญญตวาร
จิต มโน มานัส ฯลฯ มโนวิญญาณธาตุที่เหมาะสมกัน ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่า
มโนวิญญาณธาตุ ๑ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[๑๑๙] ธัมมายตนะ ๑ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ และสังขารขันธ์ นี้ชื่อว่าธัมมายตนะ ๑ ที่เกิดขึ้น
ในสมัยนั้น
[๑๒๐] ธัมมธาตุ ๑ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ และสังขารขันธ์ นี้ชื่อว่าธัมมธาตุ ๑ ที่เกิดขึ้นในสมัย
นั้น หรือสภาวธรรมที่ไม่เป็นรูปซึ่งอิงอาศัยกันเกิดขึ้นแม้อื่นในสมัยนั้น
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล
โกฏฐาสวาร จบ

สุญญตวาร
[๑๒๑] สภาวธรรม คือ ขันธ์ อายตนะ ธาตุ อาหาร อินทรีย์ ฌาน มรรค
พละ เหตุ ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา จิต เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์
วิญญาณขันธ์ มนายตนะ มนินทรีย์ มโนวิญญาณธาตุ ธัมมายตนะ และธัมมธาตุ
ในสมัยนั้น หรือสภาวธรรมที่ไม่เป็นรูปซึ่งอิงอาศัยกันเกิดขึ้นแม้อื่นในสมัยนั้น
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล
[๑๒๒] สภาวธรรม ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ และวิญญาณขันธ์ เหล่านี้ชื่อว่า
สภาวธรรมที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[๑๒๓] ขันธ์ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ และวิญญาณขันธ์ เหล่านี้ชื่อว่าขันธ์ที่
เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[๑๒๔] อายตนะ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
มนายตนะ และธัมมายตนะ เหล่านี้ชื่อว่าอายตนะที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๔๙ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๑. จิตตุปปาทกัณฑ์] กุศลบท กามาวจรกุศลจิตดวงที่ ๑ สุญญตวาร
[๑๒๕] ธาตุ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
มโนวิญญาณธาตุ และธัมมธาตุ เหล่านี้ชื่อว่าธาตุที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[๑๒๖] อาหาร ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ผัสสาหาร มโนสัญเจตนาหาร และวิญญาณาหาร เหล่านี้ชื่อว่าอาหารที่เกิดขึ้น
ในสมัยนั้น
[๑๒๗] อินทรีย์ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์ มนินทรีย์
โสมนัสสินทรีย์ และชีวิตินทรีย์ เหล่านี้ชื่อว่าอินทรีย์ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[๑๒๘] ฌาน ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
วิตก วิจาร ปีติ สุข และเอกัคคตา นี้ชื่อว่าฌานที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[๑๒๙] มรรค ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ และสัมมาสมาธิ
นี้ชื่อว่ามรรคที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[๑๓๐] พละ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
สัทธาพละ วิริยพละ สติพละ สมาธิพละ ปัญญาพละ หิริพละ และ
โอตตัปปพละ เหล่านี้ชื่อว่าพละที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[๑๓๑] เหตุ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
อโลภะ อโทสะ และอโมหะ เหล่านี้ชื่อว่าเหตุที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[๑๓๒] ผัสสะ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ฯลฯ นี้ชื่อว่าผัสสะที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[๑๓๓] เวทนา ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ฯลฯ นี้ชื่อว่าเวทนาที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[๑๓๔] สัญญา ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ฯลฯ นี้ชื่อว่าสัญญาที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[๑๓๕] เจตนา ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ฯลฯ นี้ชื่อว่าเจตนาที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๕๐ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๑. จิตตุปปาทกัณฑ์] กุศลบท กามาวจรกุศลจิตดวงที่ ๑ สุญญตวาร
[๑๓๖] จิต ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ฯลฯ นี้ชื่อว่าจิตที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[๑๓๗] เวทนาขันธ์ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ฯลฯ นี้ชื่อว่าเวทนาขันธ์ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[๑๓๘] สัญญาขันธ์ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ฯลฯ นี้ชื่อว่าสัญญาขันธ์ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[๑๓๙] สังขารขันธ์ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ฯลฯ นี้ชื่อว่าสังขารขันธ์ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[๑๔๐] วิญญาณขันธ์ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ฯลฯ นี้ชื่อว่าวิญญาณขันธ์ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[๑๔๑] มนายตนะ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ฯลฯ นี้ชื่อว่ามนายตนะที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[๑๔๒] มนินทรีย์ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ฯลฯ นี้ชื่อว่ามนินทรีย์ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[๑๔๓] มโนวิญญาณธาตุ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ฯลฯ นี้ชื่อว่ามโนวิญญาณธาตุที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[๑๔๔] ธัมมายตนะ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ และสังขารขันธ์ นี้ชื่อว่าธัมมายตนะที่เกิดขึ้น
ในสมัยนั้น
[๑๔๕] ธัมมธาตุ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ และสังขารขันธ์ นี้ชื่อว่าธัมมธาตุที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
หรือสภาวธรรมที่ไม่เป็นรูปซึ่งอิงอาศัยกันเกิดขึ้นแม้อื่นในสมัยนั้น
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล
สุญญตวาร จบ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๕๑ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๑. จิตตุปปาทกัณฑ์] กุศลบท กามาวจรกุศลจิตดวงที่ ๓
กุศลจิตดวงที่ ๒
[๑๔๖] สภาวธรรมที่เป็นกุศล เป็นไฉน
จิตที่เป็นกามาวจรซึ่งเป็นกุศล สหรคตด้วยโสมนัส สัมปยุตด้วยญาณ มีรูป
เป็นอารมณ์ ฯลฯ มีธรรมเป็นอารมณ์ หรือปรารภอารมณ์ใด ๆ เกิดขึ้นโดยมีเหตุ
ชักจูงในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น ฯลฯ
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล

กุศลจิตดวงที่ ๓
[๑๔๗] สภาวธรรมที่เป็นกุศล เป็นไฉน
จิตที่เป็นกามาวจรซึ่งเป็นกุศล สหรคตด้วยโสมนัส วิปปยุตจากญาณ มีรูป
เป็นอารมณ์ ฯลฯ มีธรรมเป็นอารมณ์ หรือปรารภอารมณ์ใด ๆ เกิดขึ้นในสมัยใด
ในสมัยนั้น ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา จิต วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา
สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ มนินทรีย์ โสมนัสสินทรีย์
ชีวิตินทรีย์ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ สัทธาพละ
วิริยพละ สติพละ สมาธิพละ หิริพละ โอตตัปปพละ อโลภะ อโทสะ อนภิชฌา
อัพยาบาท หิริ โอตตัปปะ กายปัสสัทธิ จิตตปัสสัทธิ กายลหุตา จิตตลหุตา
กายมุทุตา จิตตมุทุตา กายกัมมัญญตา จิตตกัมมัญญตา กายปาคุญญตา
จิตตปาคุญญตา กายุชุกตา จิตตุชุกตา สติ สมถะ ปัคคาหะ และอวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น
หรือสภาวธรรมที่ไม่เป็นรูป ซึ่งอิงอาศัยกันเกิดขึ้นแม้อื่นในสมัยนั้น สภาวธรรม
เหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล ฯลฯ
ขันธ์ ๔ อายตนะ ๒ ธาตุ ๒ อาหาร ๓ อินทรีย์ ๗ ฌานมีองค์ ๕ มรรคมี
องค์ ๔ พละ ๖ เหตุ ๒ ผัสสะ ๑ ฯลฯ ธัมมายตนะ ๑ และธัมมธาตุ ๑ ก็เกิดขึ้น
ในสมัยนั้น หรือสภาวธรรมที่ไม่เป็นรูปซึ่งอิงอาศัยกันเกิดขึ้นแม้อื่นในสมัยนั้น
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล ฯลฯ
[๑๔๘] สังขารขันธ์ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๕๒ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๑. จิตตุปปาทกัณฑ์] กุศลบท กามาวจรกุศลจิตดวงที่ ๕
ผัสสะ เจตนา วิตก วิจาร ปีติ เอกัคคตา สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์
สมาธินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ
สัทธาพละ วิริยพละ สติพละ สมาธิพละ หิริพละ โอตตัปปพละ อโลภะ อโทสะ
อนภิชฌา อัพยาบาท หิริ โอตตัปปะ กายปัสสัทธิ จิตตปัสสัทธิ กายลหุตา
จิตตลหุตา กายมุทุตา จิตตมุทุตา กายกัมมัญญตา จิตตกัมมัญญตา กาย-
ปาคุญญตา จิตตปาคุญญตา กายุชุกตา จิตตุชุกตา สติ สมถะ ปัคคาหะ และ
อวิกเขปะ หรือสภาวธรรมที่ไม่เป็นรูปซึ่งอิงอาศัยกันเกิดขึ้นแม้อื่นในสมัยนั้น เว้น
เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ และวิญญาณขันธ์ นี้ชื่อว่าสังขารขันธ์ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล

กุศลจิตดวงที่ ๔
[๑๔๙] สภาวธรรมที่เป็นกุศล เป็นไฉน
จิตที่เป็นกามาวจรซึ่งเป็นกุศล สหรคตด้วยโสมนัส วิปปยุตจากญาณ มีรูป
เป็นอารมณ์ ฯลฯ มีธรรมเป็นอารมณ์ หรือปรารภอารมณ์ใด ๆ เกิดขึ้นโดยมีเหตุ
ชักจูงในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น ฯลฯ สภาวธรรม
เหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล

กุศลจิตดวงที่ ๕
[๑๕๐] สภาวธรรมที่เป็นกุศล เป็นไฉน
จิตที่เป็นกามาวจรซึ่งเป็นกุศล สหรคตด้วยอุเบกขา สัมปยุตด้วยญาณ มีรูป
เป็นอารมณ์ มีเสียงเป็นอารมณ์ มีกลิ่นเป็นอารมณ์ มีรสเป็นอารมณ์ มีโผฏฐัพพะ
เป็นอารมณ์ มีธรรมเป็นอารมณ์ หรือปรารภอารมณ์ใด ๆ เกิดขึ้นในสมัยใด ในสมัย
นั้น ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา จิต วิตก วิจาร อุเบกขา เอกัคคตา สัทธินทรีย์
วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์ มนินทรีย์ อุเปกขินทรีย์ ชีวิตินทรีย์
สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ สัทธาพละ
วิริยพละ สติพละ สมาธิพละ ปัญญาพละ หิริพละ โอตตัปปพละ อโลภะ อโทสะ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๕๓ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๑. จิตตุปปาทกัณฑ์] กุศลบท กามาวจรกุศลจิตดวงที่ ๕
อโมหะ อนภิชฌา อัพยาบาท สัมมาทิฏฐิ หิริ โอตตัปปะ กายปัสสัทธิ จิตตปัสสัทธิ
กายลหุตา จิตตลหุตา กายมุทุตา จิตตมุทุตา กายกัมมัญญตา จิตตกัมมัญญตา
กายปาคุญญตา จิตตปาคุญญตา กายุชุกตา จิตตุชุกตา สติ สัมปชัญญะ สมถะ
วิปัสสนา ปัคคาหะ และอวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น หรือสภาวธรรมที่ไม่เป็นรูปซึ่งอิง
อาศัยกันเกิดขึ้นแม้อื่นในสมัยนั้น สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล
[๑๕๑] ผัสสะ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ความกระทบ กิริยาที่กระทบ กิริยาที่ถูกต้อง ภาวะที่ถูกต้อง ในสมัยนั้น
นี้ชื่อว่าผัสสะที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[๑๕๒] เวทนา ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ความสำราญทางใจก็ไม่ใช่ ความไม่สำราญทางใจก็ไม่ใช่ อันเกิดแต่สัมผัสแห่ง
มโนธาตุที่เหมาะสมกัน ความเสวยอารมณ์ที่ไม่ทุกข์ไม่สุข อันเกิดแต่เจโตสัมผัส
กิริยาเสวยอารมณ์ที่ไม่ทุกข์ไม่สุข อันเกิดแต่เจโตสัมผัส ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่าเวทนาที่
เกิดขึ้นในสมัยนั้น ฯลฯ
[๑๕๓] อุเบกขา ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ความสำราญทางใจก็ไม่ใช่ ความไม่สำราญทางใจก็ไม่ใช่ ความเสวยอารมณ์
ที่ไม่ทุกข์ไม่สุข อันเกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่ไม่ทุกข์ไม่สุข อันเกิดแต่
เจโตสัมผัส ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่าอุเบกขาที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น ฯลฯ
[๑๕๔] อุเปกขินทรีย์ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ความสำราญทางใจก็ไม่ใช่ ความไม่สำราญทางใจก็ไม่ใช่ ความเสวยอารมณ์ที่
ไม่ทุกข์ไม่สุข อันเกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่ไม่ทุกข์ไม่สุข อันเกิดแต่
เจโตสัมผัส ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่าอุเปกขินทรีย์๑ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น ฯลฯ หรือ
สภาวธรรมที่ไม่เป็นรูปซึ่งอิงอาศัยกันเกิดขึ้นแม้อื่นในสมัยนั้น สภาวธรรมเหล่านี้
ชื่อว่าเป็นกุศล ฯลฯ

เชิงอรรถ :
๑ อภิ.วิ. ๓๕/๒๒๐/๑๔๗

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๕๔ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๑. จิตตุปปาทกัณฑ์] กุศลบท กามาวจรกุศลจิตดวงที่ ๗
ขันธ์ ๔ อายตนะ ๒ ธาตุ ๒ อาหาร ๓ อินทรีย์ ๘ ฌานมีองค์ ๔ มรรค
มีองค์ ๕ พละ ๗ เหตุ ๓ ผัสสะ ๑ ฯลฯ ธัมมายตนะ ๑ และธัมมธาตุ ๑ ในสมัยนั้น
หรือสภาวธรรมที่ไม่เป็นรูปซึ่งอิงอาศัยกันเกิดขึ้นแม้อื่นในสมัยนั้น สภาวธรรม
เหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล ฯลฯ
[๑๕๕] สังขารขันธ์ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ผัสสะ เจตนา วิตก วิจาร เอกัคคตา สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์
สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวายามะ
สัมมาสติ สัมมาสมาธิ สัทธาพละ วิริยพละ สติพละ สมาธิพละ ปัญญาพละ หิริพละ
โอตตัปปพละ อโลภะ อโทสะ อโมหะ อนภิชฌา อัพยาบาท สัมมาทิฏฐิ หิริ
โอตตัปปะ กายปัสสัทธิ จิตตปัสสัทธิ กายลหุตา จิตตลหุตา กายมุทุตา จิตตมุทุตา
กายกัมมัญญตา จิตตกัมมัญญตา กายปาคุญญตา จิตตปาคุญญตา กายุชุกตา
จิตตุชุกตา สติ สัมปชัญญะ สมถะ วิปัสสนา ปัคคาหะ และอวิกเขปะ หรือ
สภาวธรรมที่ไม่เป็นรูปซึ่งอิงอาศัยกันเกิดขึ้นแม้อื่นในสมัยนั้น เว้นเวทนาขันธ์
สัญญาขันธ์ และวิญญาณขันธ์ นี้ชื่อว่าสังขารขันธ์ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น ฯลฯ
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล

กุศลจิตดวงที่ ๖
[๑๕๖] สภาวธรรมที่เป็นกุศล เป็นไฉน
จิตที่เป็นกามาวจรซึ่งเป็นกุศล สหรคตด้วยอุเบกขา สัมปยุตด้วยญาณ มีรูป
เป็นอารมณ์ ฯลฯ มีธรรมเป็นอารมณ์ หรือปรารภอารมณ์ใด ๆ เกิดขึ้นโดยมีเหตุ
ชักจูง ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น ฯลฯ สภาวธรรม
เหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล

กุศลจิตดวงที่ ๗
[๑๕๗] สภาวธรรมที่เป็นกุศล เป็นไฉน


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๕๕ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๑. จิตตุปปาทกัณฑ์] กุศลบท กามาวจรกุศลจิตดวงที่ ๗
จิตที่เป็นกามาวจรซึ่งเป็นกุศล สหรคตด้วยอุเบกขา วิปปยุตจากญาณ มีรูป
เป็นอารมณ์ ฯลฯ มีธรรมเป็นอารมณ์ หรือปรารภอารมณ์ใด ๆ เกิดขึ้นในสมัยใด
ในสมัยนั้น ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา จิต วิตก วิจาร อุเบกขา เอกัคคตา
สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ มนินทรีย์ อุเปกขินทรีย์ ชีวิตินทรีย์
สัมมาสังกัปปะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ สัทธาพละ วิริยพละ
สติพละ สมาธิพละ หิริพละ โอตตัปปพละ อโลภะ อโทสะ อนภิชฌา อัพยาบาท
หิริ โอตตัปปะ กายปัสสัทธิ จิตตปัสสัทธิ กายลหุตา จิตตลหุตา กายมุทุตา
จิตตมุทุตา กายกัมมัญญตา จิตตกัมมัญญตา กายปาคุญญตา จิตตปาคุญญตา
กายุชุกตา จิตตุชุกตา สติ สมถะ ปัคคาหะ และอวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น หรือ
สภาวธรรมที่ไม่เป็นรูปซึ่งอิงอาศัยกันเกิดขึ้นแม้อื่นในสมัยนั้น สภาวธรรมเหล่านี้
ชื่อว่าเป็นกุศล ฯลฯ
ขันธ์ ๔ อายตนะ ๒ ธาตุ ๒ อาหาร ๓ อินทรีย์ ๗ ฌานมีองค์ ๔ มรรคมี
องค์ ๔ พละ ๖ เหตุ ๒ ผัสสะ ๑ ฯลฯ ธัมมายตนะ ๑ และธัมมธาตุ ๑ ในสมัยนั้น
หรือสภาวธรรมที่ไม่เป็นรูปซึ่งอิงอาศัยกันเกิดขึ้นแม้อื่นในสมัยนั้น สภาวธรรม
เหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล ฯลฯ
[๑๕๘] สังขารขันธ์ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ผัสสะ เจตนา วิตก วิจาร เอกัคคตา สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์
สมาธินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ
สัทธาพละ วิริยพละ สติพละ สมาธิพละ หิริพละ โอตตัปปพละ อโลภะ อโทสะ
อนภิชฌา อัพยาบาท หิริ โอตตัปปะ กายปัสสัทธิ จิตตปัสสัทธิ กายลหุตา
จิตตลหุตา กายมุทุตา จิตตมุทุตา กายกัมมัญญตา จิตตกัมมัญญตา กายปาคุญญตา
จิตตปาคุญญตา กายุชุกตา จิตตุชุกตา สติ สมถะ ปัคคาหะ และอวิกเขปะ หรือ
สภาวธรรมที่ไม่เป็นรูปซึ่งอิงอาศัยกันเกิดขึ้นแม้อื่นในสมัยนั้น เว้นเวทนาขันธ์
สัญญาขันธ์ และวิญญาณขันธ์ นี้ชื่อว่าสังขารขันธ์ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น ฯลฯ
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๕๖ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๑. จิตตุปปาทกัณฑ์] กุศลบท รูปาวจรกุศลจิต จตุกกนัย
กุศลจิตดวงที่ ๘
[๑๕๙] สภาวธรรมที่เป็นกุศล เป็นไฉน
จิตที่เป็นกามาวจรซึ่งเป็นกุศล สหรคตด้วยอุเบกขา วิปปยุตจากญาณ มีรูป
เป็นอารมณ์ ฯลฯ มีธรรมเป็นอารมณ์ หรือปรารภอารมณ์ใด ๆ เกิดขึ้นโดยมีเหตุ
ชักจูงในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น ฯลฯ
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล
กามาวจรมหากุศลจิตทั้ง ๘ ดวง จบ
ทุติยภาณวาร จบ

รูปาวจรกุศลจิต
จตุกกนัย
[๑๖๐] สภาวธรรมที่เป็นกุศล เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคลเจริญมรรค๑ เพื่อเข้าถึงรูปภพ สงัดจากกามและอกุศลธรรม
ทั้งหลายแล้วบรรลุปฐมฌานที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ มีวิตก วิจาร ปีติ และสุข อัน
เกิดจากวิเวก อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น ฯลฯ สภาว
ธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล
[๑๖๑] สภาวธรรมที่เป็นกุศล เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคเพื่อเข้าถึงรูปภพ เพราะวิตกวิจารสงบระงับไปแล้ว
บรรลุทุติยฌานที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ มีความผ่องใสในภายใน มีภาวะที่จิตเป็น
หนึ่งผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีปีติและสุขอันเกิดจากสมาธิ อยู่ในสมัยใด ในสมัย
นั้น ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา จิต ปีติ สุข เอกัคคตา สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์
สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์ มนินทรีย์ โสมนัสสินทรีย์ ชีวิตินทรีย์

เชิงอรรถ :
๑ คำว่า เจริญมรรค หมายถึงอุบายหรือเหตุที่จะให้ได้ไปเกิดในรูปภพ (อภิ.สงฺ.อ. ๒๑๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๕๗ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๑. จิตตุปปาทกัณฑ์] กุศลบท รูปาวจรกุศลจิต จตุกกนัย
สัมมาทิฏฐิ สัมมาวายามะ ฯลฯ ปัคคาหะ และอวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น หรือสภาวธรรม
ที่ไม่เป็นรูปซึ่งอิงอาศัยกันเกิดขึ้นแม้อื่นในสมัยนั้น สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็น
กุศล ฯลฯ
ขันธ์ ๔ อายตนะ ๒ ธาตุ ๒ อาหาร ๓ อินทรีย์ ๘ ฌานมีองค์ ๓ มรรค
มีองค์ ๔ พละ ๗ เหตุ ๓ ผัสสะ ๑ ฯลฯ ธัมมายตนะ ๑ และธัมมธาตุ ๑ ใน
สมัยนั้น หรือสภาวธรรมที่ไม่เป็นรูปซึ่งอิงอาศัยกันเกิดขึ้นแม้อื่นในสมัยนั้น
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล ฯลฯ
[๑๖๒] สังขารขันธ์ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ผัสสะ เจตนา ปีติ เอกัคคตา สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์
ปัญญินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ สัมมาทิฏฐิ สัมมาวายามะ ฯลฯ ปัคคาหะ และอวิกเขปะ
หรือสภาวธรรมที่ไม่เป็นรูปซึ่งอิงอาศัยกันเกิดขึ้นแม้อื่นในสมัยนั้น เว้นเวทนาขันธ์
สัญญาขันธ์ และวิญญาณขันธ์ นี้ชื่อว่าสังขารขันธ์ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น ฯลฯ
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล
[๑๖๓] สภาวธรรมที่เป็นกุศล เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคเพื่อเข้าถึงรูปภพ เพราะปีติจางคลายไป มีอุเบกขา
มีสติสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย บรรลุตติยฌานที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ ที่
พระอริยะทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้มีอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข ดังนี้ อยู่ในสมัยใด ใน
สมัยนั้น ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา จิต สุข เอกัคคตา สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์
สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์ มนินทรีย์ โสมนัสสินทรีย์ ชีวิตินทรีย์
สัมมาทิฏฐิ สัมมาวายามะ ฯลฯ ปัคคาหะ และอวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น หรือสภาวธรรม
ที่ไม่เป็นรูปซึ่งอิงอาศัยกันเกิดขึ้นแม้อื่นในสมัยนั้น สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็น
กุศล ฯลฯ
ขันธ์ ๔ อายตนะ ๒ ธาตุ ๒ อาหาร ๓ อินทรีย์ ๘ ฌานมีองค์ ๒ มรรคมี
องค์ ๔ พละ ๗ เหตุ ๓ ผัสสะ ๑ ฯลฯ ธัมมายตนะ ๑ และธัมมธาตุ ๑ ในสมัย
นั้น หรือสภาวธรรมที่ไม่เป็นรูปซึ่งอิงอาศัยกันเกิดขึ้นแม้อื่นในสมัยนั้น สภาวธรรม
เหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล ฯลฯ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๕๘ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๑. จิตตุปปาทกัณฑ์] กุศลบท รูปาวจรกุศลจิต จตุกกนัย
[๑๖๔] สังขารขันธ์ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ผัสสะ เจตนา เอกัคคตา สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์
ปัญญินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ สัมมาทิฏฐิ สัมมาวายามะ ฯลฯ ปัคคาหะ และอวิกเขปะ
หรือสภาวธรรมที่ไม่เป็นรูปซึ่งอิงอาศัยกันเกิดขึ้นแม้อื่นในสมัยนั้น เว้นเวทนาขันธ์
สัญญาขันธ์ และวิญญาณขันธ์ นี้ชื่อว่าสังขารขันธ์ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น ฯลฯ
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล
[๑๖๕] สภาวธรรมที่เป็นกุศล เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคเพื่อเข้าถึงรูปภพ เพราะละสุขและทุกข์ได้ เพราะ
โสมนัสและโทมนัสดับไปก่อนแล้ว บรรลุจตุตถฌานที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ ไม่มี
ทุกข์ ไม่มีสุข มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขา อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ เวทนา
สัญญา เจตนา จิต อุเบกขา เอกัคคตา สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์
สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์ มนินทรีย์ อุเปกขินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ สัมมาทิฏฐิ
สัมมาวายามะ ฯลฯ ปัคคาหะ และอวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น หรือสภาวธรรมที่ไม่เป็นรูป
ซึ่งอิงอาศัยกันเกิดขึ้นแม้อื่นในสมัยนั้น สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล ฯลฯ
ขันธ์ ๔ อายตนะ ๒ ธาตุ ๒ อาหาร ๓ อินทรีย์ ๘ ฌานมีองค์ ๒ มรรคมี
องค์ ๔ พละ ๗ เหตุ ๓ ผัสสะ ๑ ฯลฯ ธัมมายตนะ ๑ และธัมมธาตุ ๑ ใน
สมัยนั้น หรือสภาวธรรมที่ไม่เป็นรูปซึ่งอิงอาศัยกันเกิดขึ้นแม้อื่นในสมัยนั้น
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล ฯลฯ
[๑๖๖] สังขารขันธ์ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ผัสสะ เจตนา เอกัคคตา สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์
ปัญญินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ สัมมาทิฏฐิ สัมมาวายามะ ฯลฯ ปัคคาหะ และอวิกเขปะ
หรือสภาวธรรมที่ไม่เป็นรูปซึ่งอิงอาศัยกันเกิดขึ้นแม้อื่นในสมัยนั้น เว้นเวทนาขันธ์
สัญญาขันธ์ และวิญญาณขันธ์ นี้ชื่อว่าสังขารขันธ์ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น ฯลฯ
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล
จตุกกนัย จบ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๕๙ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๑. จิตตุปปาทกัณฑ์] กุศลบท รูปาวจรกุศลจิต ปัญจกนัย
ปัญจกนัย
[๑๖๗] สภาวธรรมที่เป็นกุศล เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคเพื่อเข้าถึงรูปภพ สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุ
ปฐมฌานที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ
อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล
[๑๖๘] สภาวธรรมที่เป็นกุศล เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคเพื่อเข้าถึงรูปภพ บรรลุทุติยฌานที่มีปฐวีกสิณ
เป็นอารมณ์ ไม่มีวิตกมีเพียงวิจาร มีปีติและสุขอันเกิดจากสมาธิ อยู่ในสมัยใด ใน
สมัยนั้น ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา จิต วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา สัทธินทรีย์
วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์ มนินทรีย์ โสมนัสสินทรีย์
ชีวิตินทรีย์ สัมมาทิฏฐิ สัมมาวายามะ ฯลฯ ปัคคาหะ และอวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น
หรือสภาวธรรมที่ไม่เป็นรูปซึ่งอิงอาศัยกันเกิดขึ้นแม้อื่นในสมัยนั้น สภาวธรรมเหล่า
นี้ชื่อว่าเป็นกุศล ฯลฯ
ขันธ์ ๔ อายตนะ ๒ ธาตุ ๒ อาหาร ๓ อินทรีย์ ๘ ฌานมีองค์ ๔ มรรคมี
องค์ ๔ พละ ๗ เหตุ ๓ ผัสสะ ๑ ฯลฯ ธัมมายตนะ ๑ และธัมมธาตุ ๑ ในสมัย
นั้น หรือสภาวธรรมที่ไม่เป็นรูปซึ่งอิงอาศัยกันเกิดขึ้นแม้อื่นในสมัยนั้น สภาวธรรม
เหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล ฯลฯ
[๑๖๙] สังขารขันธ์ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ผัสสะ เจตนา วิจาร ปีติ เอกัคคตา สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์
สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ สัมมาทิฏฐิ สัมมาวายามะ ฯลฯ ปัคคาหะ
และอวิกเขปะ หรือสภาวธรรมที่ไม่เป็นรูปซึ่งอิงอาศัยกันเกิดขึ้นแม้อื่นในสมัยนั้น
เว้นเวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ และวิญญาณขันธ์ นี้ชื่อว่าสังขารขันธ์ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล
[๑๗๐] สภาวธรรมที่เป็นกุศล เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคเพื่อเข้าถึงรูปภพ เพราะวิตกวิจารสงบระงับไปแล้ว
ฯลฯ บรรลุตติยฌานที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๖๐ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๑. จิตตุปปาทกัณฑ์] กุศลบท รูปาวจรกุศลจิต ปัญจกนัย
เวทนา สัญญา เจตนา จิต ปีติ สุข เอกัคคตา สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์
สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์ มนินทรีย์ โสมนัสสินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ สัมมาทิฏฐิ
สัมมาวายามะ ฯลฯ ปัคคาหะ และอวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น หรือสภาวธรรมที่ไม่เป็นรูป
ซึ่งอิงอาศัยกันเกิดขึ้นแม้อื่นในสมัยนั้น สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล ฯลฯ
ขันธ์ ๔ อายตนะ ๒ ธาตุ ๒ อาหาร ๓ อินทรีย์ ๘ ฌานมีองค์ ๓ มรรคมี
องค์ ๔ พละ ๗ เหตุ ๓ ผัสสะ ๑ ฯลฯ ธัมมายตนะ ๑ และธัมมธาตุ ๑ ในสมัย
นั้น หรือสภาวธรรมที่ไม่เป็นรูปซึ่งอิงอาศัยกันเกิดขึ้นแม้อื่นในสมัยนั้น สภาวธรรม
เหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล ฯลฯ
[๑๗๑] สังขารขันธ์ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ผัสสะ เจตนา ปีติ เอกัคคตา สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์
ปัญญินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ สัมมาทิฏฐิ สัมมาวายามะ ฯลฯ ปัคคาหะ และอวิกเขปะ
หรือสภาวธรรมที่ไม่เป็นรูปซึ่งอิงอาศัยกันเกิดขึ้นแม้อื่นในสมัยนั้น เว้นเวทนาขันธ์
สัญญาขันธ์ และวิญญาณขันธ์ นี้ชื่อว่าสังขารขันธ์ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น ฯลฯ
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล
[๑๗๒] สภาวธรรมที่เป็นกุศล เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคเพื่อเข้าถึงรูปภพ เพราะปีติจางคลายไป ฯลฯ
บรรลุจตุตถฌาน ที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ เวทนา
สัญญา เจตนา จิต สุข เอกัคคตา สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์
ปัญญินทรีย์ มนินทรีย์ โสมนัสสินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ สัมมาทิฏฐิ สัมมาวายามะ
ฯลฯ ปัคคาหะ และอวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น หรือสภาวธรรมที่ไม่เป็นรูปซึ่งอิงอาศัยกัน
เกิดขึ้นแม้อื่นในสมัยนั้น สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล ฯลฯ
ขันธ์ ๔ อายตนะ ๒ ธาตุ ๒ อาหาร ๓ อินทรีย์ ๘ ฌานมีองค์ ๒ มรรค
มีองค์ ๔ พละ ๗ เหตุ ๓ ผัสสะ ๑ ฯลฯ ธัมมายตนะ ๑ และธัมมธาตุ ๑ ในสมัยนั้น
หรือสภาวธรรมที่ไม่เป็นรูปซึ่งอิงอาศัยกันเกิดขึ้นแม้อื่นในสมัยนั้น สภาวธรรม
เหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล ฯลฯ
[๑๗๓] สังขารขันธ์ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๖๑ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๑. จิตตุปปาทกัณฑ์] กุศลบท รูปาวจรกุศลจิต ปัญจกนัย
ผัสสะ เจตนา จิต เอกัคคตา สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์
ปัญญินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ สัมมาทิฏฐิ สัมมาวายามะ ฯลฯ ปัคคาหะ และอวิกเขปะ
หรือสภาวธรรมที่ไม่เป็นรูปซึ่งอิงอาศัยกันเกิดขึ้นแม้อื่นในสมัยนั้น เว้นเวทนาขันธ์
สัญญาขันธ์ และวิญญาณขันธ์ นี้ชื่อว่าสังขารขันธ์ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น ฯลฯ
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล
[๑๗๔] สภาวธรรมที่เป็นกุศล เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคเพื่อเข้าถึงรูปภพ เพราะละสุขได้แล้ว ฯลฯ บรรลุ
ปัญจมฌานที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ
เวทนา สัญญา เจตนา จิต อุเบกขา เอกัคคตา สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์
สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์ มนินทรีย์ อุเปกขินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ สัมมาทิฏฐิ
สัมมาวายามะ ฯลฯ ปัคคาหะ และอวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น หรือสภาวธรรมที่ไม่เป็น
รูปซึ่งอิงอาศัยกันเกิดขึ้นแม้อื่นในสมัยนั้น สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล ฯลฯ
ขันธ์ ๔ อายตนะ ๒ ธาตุ ๒ อาหาร ๓ อินทรีย์ ๘ ฌานมีองค์ ๒ มรรคมี
องค์ ๔ พละ ๗ เหตุ ๓ ผัสสะ ๑ ฯลฯ ธัมมายตนะ ๑ และธัมมธาตุ ๑ ในสมัย
นั้น หรือสภาวธรรมที่ไม่เป็นรูปซึ่งอิงอาศัยกันเกิดขึ้นแม้อื่นในสมัยนั้น สภาวธรรม
เหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล ฯลฯ
[๑๗๕] สังขารขันธ์ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ผัสสะ เจตนา เอกัคคตา สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์
ปัญญินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ สัมมาทิฏฐิ สัมมาวายามะ ฯลฯ ปัคคาหะ และอวิกเขปะ
หรือสภาวธรรมที่ไม่เป็นรูปซึ่งอิงอาศัยกันเกิดขึ้นแม้อื่นในสมัยนั้น เว้นเวทนาขันธ์
สัญญาขันธ์ และวิญญาณขันธ์ นี้ชื่อว่าสังขารขันธ์ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น ฯลฯ
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล
ปัญจกนัย จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๖๒ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๑. จิตตุปปาทกัณฑ์] กุศลบท รูปาวจรกุศลจิต ปฏิปทา ๔
ปฏิปทา ๔
[๑๗๖] สภาวธรรมที่เป็นกุศล เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคเพื่อเข้าถึงรูปภพ สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุ
ปฐมฌานที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ในสมัยใด ใน
สมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล
[๑๗๗] สภาวธรรมที่เป็นกุศล เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคเพื่อเข้าถึงรูปภพ สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุ
ปฐมฌานที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ เป็นทุกขาปฏิปทาขิปปาภิญญา อยู่ในสมัยใด
ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล
[๑๗๘] สภาวธรรมที่เป็นกุศล เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคเพื่อเข้าถึงรูปภพ สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุ
ปฐมฌานที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ เป็นสุขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ในสมัยใด
ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล
[๑๗๙] สภาวธรรมที่เป็นกุศล เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคเพื่อเข้าถึงรูปภพ สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐม
ฌานที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ เป็นสุขาปฏิปทาขิปปาภิญญา อยู่ในสมัยใด ในสมัย
นั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล
[๑๘๐] สภาวธรรมที่เป็นกุศล เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคเพื่อเข้าถึงรูปภพ เพราะวิตกวิจารสงบระงับไปแล้ว
ฯลฯ บรรลุทุติยฌาน ฯลฯ บรรลุตติยฌาน ฯลฯ บรรลุจตุตถฌาน ฯลฯ บรรลุ
ปฐมฌาน ฯลฯ บรรลุปัญจมฌานที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ เป็นทุกขาปฏิปทา-
ทันธาภิญญา ฯลฯ ที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ เป็นทุกขาปฏิปทาขิปปาภิญญา ฯลฯ
ที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ เป็นสุขาปฏิปทาทันธาภิญญา ฯลฯ ที่มีปฐวีกสิณเป็น
อารมณ์ เป็นสุขาปฏิปทาขิปปาภิญญา อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ
อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล
ปฏิปทา ๔ จบ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๖๓ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๑. จิตตุปปาทกัณฑ์] กุศลบท รูปาวจรกุศลจิต อารมณ์ ๔
อารมณ์ ๔
[๑๘๑] สภาวธรรมที่เป็นกุศล เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคเพื่อเข้าถึงรูปภพ สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุ
ปฐมฌานที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ ซึ่งมีกำลังน้อยและมีอารมณ์เล็กน้อย อยู่ใน
สมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า
เป็นกุศล
[๑๘๒] สภาวธรรมที่เป็นกุศล เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคเพื่อเข้าถึงรูปภพ สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐม-
ฌานที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ ซึ่งมีกำลังน้อย แต่มีอารมณ์ไพบูลย์ ฯลฯ อยู่ในสมัยใด
ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล
[๑๘๓] สภาวธรรมที่เป็นกุศล เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคเพื่อเข้าถึงรูปภพ สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุ
ปฐมฌานที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ ซึ่งมีกำลังมาก แต่มีอารมณ์เล็กน้อย อยู่ในสมัยใด
ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล
[๑๘๔] สภาวธรรมที่เป็นกุศล เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคเพื่อเข้าถึงรูปภพ สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุ
ปฐมฌานที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ ซึ่งมีกำลังมากและมีอารมณ์ไพบูลย์ อยู่ในสมัยใด
ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล
[๑๘๕] สภาวธรรมที่เป็นกุศล เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคเพื่อเข้าถึงรูปภพ เพราะวิตกวิจารสงบระงับไปแล้ว
ฯลฯ บรรลุทุติยฌาน ฯลฯ บรรลุตติยฌาน ฯลฯ บรรลุจตุตถฌาน ฯลฯ บรรลุ
ปฐมฌาน ฯลฯ บรรลุปัญจมฌานที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ ซึ่งมีกำลังน้อย และมี
อารมณ์เล็กน้อย ฯลฯ ที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ ซึ่งมีกำลังน้อยแต่มีอารมณ์ไพบูลย์
ฯลฯ ที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ ซึ่งมีกำลังมากแต่มีอารมณ์เล็กน้อย ฯลฯ ที่มี
ปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ ซึ่งมีกำลังมากและมีอารมณ์ไพบูลย์ อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น
ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล
อารมณ์ ๔ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๖๔ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๑. จิตตุปปาทกัณฑ์] กุศลบท รูปาวจรกุศลจิต จำแนกฌานเป็นอย่างละ ๑๖
จำแนกฌานเป็นอย่างละ ๑๖
[๑๘๖] สภาวธรรมที่เป็นกุศล เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคเพื่อเข้าถึงรูปภพ สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุ
ปฐมฌานที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา ซึ่งมีกำลังน้อย
และมีอารมณ์เล็กน้อย อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น
ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล
[๑๘๗] สภาวธรรมที่เป็นกุศล เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคเพื่อเข้าถึงรูปภพ สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุ
ปฐมฌานที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา ซึ่งมีกำลังน้อย
แต่มีอารมณ์ไพบูลย์ อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น ฯลฯ
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล
[๑๘๘] สภาวธรรมที่เป็นกุศล เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคเพื่อเข้าถึงรูปภพ สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐม
ฌานที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา ซึ่งมีกำลังมาก แต่มี
อารมณ์เล็กน้อย อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น ฯลฯ
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล
[๑๘๙] สภาวธรรมที่เป็นกุศล เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคเพื่อเข้าถึงรูปภพ สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุ
ปฐมฌานที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา ซึ่งมีกำลังมาก
และมีอารมณ์ไพบูลย์ อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น ฯลฯ
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล
[๑๙๐] สภาวธรรมที่เป็นกุศล เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคเพื่อเข้าถึงรูปภพ สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุ
ปฐมฌานที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ เป็นทุกขาปฏิปทาขิปปาภิญญา ซึ่งมีกำลังน้อย
และมีอารมณ์เล็กน้อย อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น
ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๖๕ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๑. จิตตุปปาทกัณฑ์] กุศลบท รูปาวจรกุศลจิต จำแนกฌานเป็นอย่างละ ๑๖
[๑๙๑] สภาวธรรมที่เป็นกุศล เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคเพื่อเข้าถึงรูปภพ สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุ
ปฐมฌานที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ เป็นทุกขาปฏิปทาขิปปาภิญญา ซึ่งมีกำลังน้อย
แต่มีอารมณ์ไพบูลย์ อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น
ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล
[๑๙๒] สภาวธรรมที่เป็นกุศล เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคเพื่อเข้าถึงรูปภพ สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุ
ปฐมฌานที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ เป็นทุกขาปฏิปทาขิปปาภิญญา ซึ่งมีกำลังมาก
แต่มีอารมณ์เล็กน้อย อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น
ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล
[๑๙๓] สภาวธรรมที่เป็นกุศล เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคเพื่อเข้าถึงรูปภพ สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุ
ปฐมฌานที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ เป็นทุกขาปฏิปทาขิปปาภิญญา ซึ่งมีกำลังมาก
และมีอารมณ์ไพบูลย์ อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น
ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล
[๑๙๔] สภาวธรรมที่เป็นกุศล เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคเพื่อเข้าถึงรูปภพ สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุ
ปฐมฌานที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ เป็นสุขาปฏิปทาทันธาภิญญา ซึ่งมีกำลังน้อย
และมีอารมณ์เล็กน้อย อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น
ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล
[๑๙๕] สภาวธรรมที่เป็นกุศล เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคเพื่อเข้าถึงรูปภพ สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุ
ปฐมฌานที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ เป็นสุขาปฏิปทาทันธาภิญญา ซึ่งมีกำลังน้อย แต่
มีอารมณ์ไพบูลย์ อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น ฯลฯ
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๖๖ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๑. จิตตุปปาทกัณฑ์] กุศลบท รูปาวจรกุศลจิต จำแนกฌานเป็นอย่างละ ๑๖
[๑๙๖] สภาวธรรมที่เป็นกุศล เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคเพื่อเข้าถึงรูปภพ สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุ
ปฐมฌานที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ เป็นสุขาปฏิปทาทันธาภิญญา ซึ่งมีกำลังมาก แต่
มีอารมณ์เล็กน้อย อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น ฯลฯ
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล
[๑๙๗] สภาวธรรมที่เป็นกุศล เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคเพื่อเข้าถึงรูปภพ สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุ
ปฐมฌานที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ เป็นสุขาปฏิปทาทันธาภิญญา ซึ่งมีกำลังมาก
และมีอารมณ์ไพบูลย์ อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น ฯลฯ
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล
[๑๙๘] สภาวธรรมที่เป็นกุศล เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคเพื่อเข้าถึงรูปภพ สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุ
ปฐมฌานที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ เป็นสุขาปฏิปทาขิปปาภิญญา ซึ่งมีกำลังน้อย
และมีอารมณ์เล็กน้อย อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น
ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล
[๑๙๙] สภาวธรรมที่เป็นกุศล เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคเพื่อเข้าถึงรูปภพ สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุ
ปฐมฌานที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ เป็นสุขาปฏิปทาขิปปาภิญญา ซึ่งมีกำลังน้อย แต่
มีอารมณ์ไพบูลย์ อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น ฯลฯ
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล
[๒๐๐] สภาวธรรมที่เป็นกุศล เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคเพื่อเข้าถึงรูปภพ สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุ
ปฐมฌานที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ เป็นสุขาปฏิปทาขิปปาภิญญา ซึ่งมีกำลังมาก แต่
มีอารมณ์เล็กน้อย อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น ฯลฯ
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล
[๒๐๑] สภาวธรรมที่เป็นกุศล เป็นไฉน


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๖๗ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๑. จิตตุปปาทกัณฑ์] กุศลบท รูปาวจรกุศลจิต จำแนกฌานเป็นอย่างละ ๑๖
โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคเพื่อเข้าถึงรูปภพ สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุ
ปฐมฌานที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ เป็นสุขาปฏิปทาขิปปาภิญญา ซึ่งมีกำลังมาก
และมีอารมณ์ไพบูลย์ อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น
ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล
[๒๐๒] สภาวธรรมที่เป็นกุศล เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคเพื่อเข้าถึงรูปภพ เพราะวิตกวิจารสงบระงับไปแล้ว
ฯลฯ บรรลุทุติยฌาน ฯลฯ บรรลุตติยฌาน ฯลฯ บรรลุจตุตถฌาน ฯลฯ บรรลุ
ปฐมฌาน ฯลฯ บรรลุปัญจมฌานที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ เป็นทุกขาปฏิปทา-
ทันธาภิญญา ซึ่งมีกำลังน้อย และมีอารมณ์เล็กน้อย ฯลฯ ที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์
เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา ซึ่งมีกำลังน้อยแต่มีอารมณ์ไพบูลย์ ฯลฯ ที่มี
ปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา ซึ่งมีกำลังมาก แต่มีอารมณ์
เล็กน้อย ฯลฯ ที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา ซึ่งมีกำลัง
มากและมีอารมณ์ไพบูลย์ ฯลฯ ที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ เป็นทุกขาปฏิปทา-
ขิปปาภิญญา ซึ่งมีกำลังน้อย และมีอารมณ์เล็กน้อย ฯลฯ ที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์
เป็นทุกขาปฏิปทาขิปปาภิญญา ซึ่งมีกำลังน้อยแต่มีอารมณ์ไพบูลย์ ฯลฯ ที่มี
ปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ เป็นทุกขาปฏิปทาขิปปาภิญญา ซึ่งมีกำลังมากแต่มีอารมณ์
เล็กน้อย ฯลฯ ที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ เป็นทุกขาปฏิปทาขิปปาภิญญา ซึ่งมีกำลัง
มาก และมีอารมณ์ไพบูลย์ ฯลฯ ที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ เป็นสุขาปฏิปทาทันธา-
ภิญญา ซึ่งมีกำลังน้อยและมีอารมณ์เล็กน้อย ฯลฯ ที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ เป็น
สุขาปฏิปทาทันธาภิญญา ซึ่งมีกำลังน้อยแต่มีอารมณ์ไพบูลย์ ฯลฯ ที่มีปฐวีกสิณ
เป็นอารมณ์ เป็นสุขาปฏิปทาทันธาภิญญา ซึ่งมีกำลังมากแต่มีอารมณ์เล็กน้อย
ฯลฯ ที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ เป็นสุขาปฏิปทาทันธาภิญญา ซึ่งมีกำลังมากและมี
อารมณ์ไพบูลย์ ฯลฯ ที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ เป็นสุขาปฏิปทาขิปปาภิญญา ซึ่ง
มีกำลังน้อย และมีอารมณ์เล็กน้อย ฯลฯ ที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ เป็นสุขาปฏิปทา-
ขิปปาภิญญา ซึ่งมีกำลังน้อยแต่มีอารมณ์ไพบูลย์ ฯลฯ ที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์
เป็นสุขาปฏิปทาขิปปาภิญญา ซึ่งมีกำลังมากแต่มีอารมณ์เล็กน้อย ฯลฯ ที่มี
ปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ เป็นสุขาปฏิปทาขิปปาภิญญา ซึ่งมีกำลังมากและมีอารมณ์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๖๘ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๑. จิตตุปปาทกัณฑ์] กุศลบท รูปาวจรกุศลจิต อภิภายตนะ ปริตตะ
ไพบูลย์ ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น ฯลฯ
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล
จำแนกฌานเป็นอย่างละ ๑๖ จบ

จำแนกกสิณ ๘ เป็นอย่างละ ๑๖
[๒๐๓] สภาวธรรมที่เป็นกุศล เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคเพื่อเข้าถึงรูปภพ สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐม-
ฌานที่มีอาโปกสิณเป็นอารมณ์ ฯลฯ มีเตโชกสิณเป็นอารมณ์ ฯลฯ มีวาโยกสิณ
เป็นอารมณ์ ฯลฯ มีนีลกสิณเป็นอารมณ์ ฯลฯ มีปีตกสิณเป็นอารมณ์ ฯลฯ มี
โลหิตกสิณเป็นอารมณ์ ฯลฯ มีโอทาตกสิณเป็นอารมณ์ อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น
ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล
จำแนกกสิณ ๘ เป็นอย่างละ ๑๖ จบ

อภิภายตนะ ปริตตะ
[๒๐๔] สภาวธรรมที่เป็นกุศล เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคเพื่อเข้าถึงรูปภพ ไม่ได้ทำบริกรรมสัญญาที่รูป
ภายใน เห็นรูปภายนอกเพียงเล็กน้อย ข่มรูปนั้นด้วยคิดว่า เรารู้ เราเห็น สงัดจาก
กาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น
ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล
[๒๐๕] สภาวธรรมที่เป็นกุศล เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคเพื่อเข้าถึงรูปภพ ไม่ได้ทำบริกรรมสัญญาที่รูป
ภายใน เห็นรูปภายนอกเพียงเล็กน้อย ข่มรูปนั้นด้วยคิดว่า เรารู้ เราเห็น เพราะ
วิตกวิจารสงบระงับไปแล้ว ฯลฯ บรรลุทุติยฌาน ฯลฯ บรรลุตติยฌาน ฯลฯ บรรลุ
จตุตถฌาน ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน ฯลฯ บรรลุปัญจมฌาน อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น
ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล
อภิภายตนะ ปริตตะ จบ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๖๙ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๑. จิตตุปปาทกัณฑ์] กุศลบท รูปาวจรกุศลจิต ปฏิปทา ๒
ปฏิปทา ๔
[๒๐๖] สภาวธรรมที่เป็นกุศล เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคเพื่อเข้าถึงรูปภพ ไม่ได้ทำบริกรรมสัญญาที่รูป
ภายใน เห็นรูปภายนอกเพียงเล็กน้อย ข่มรูปนั้นด้วยคิดว่า เรารู้ เราเห็น สงัดจาก
กาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ในสมัยใด ในสมัย
นั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล
[๒๐๗] สภาวธรรมที่เป็นกุศล เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคเพื่อเข้าถึงรูปภพ ไม่ได้ทำบริกรรมสัญญาที่รูป
ภายใน เห็นรูปภายนอกเพียงเล็กน้อย ข่มรูปนั้นด้วยคิดว่า เรารู้ เราเห็น สงัด
จากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน เป็นทุกขาปฏิปทาขิปปาภิญญา อยู่ในสมัยใด ใน
สมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล
[๒๐๘] สภาวธรรมที่เป็นกุศล เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคเพื่อเข้าถึงรูปภพ ไม่ได้ทำบริกรรมสัญญาที่รูป
ภายใน เห็นรูปภายนอกเพียงเล็กน้อย ข่มรูปนั้นด้วยคิดว่า เรารู้ เราเห็น สงัดจาก
กาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌานเป็นสุขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น
ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล
[๒๐๙] สภาวธรรมที่เป็นกุศล เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคเพื่อเข้าถึงรูปภพ ไม่ได้ทำบริกรรมสัญญาที่รูป
ภายใน เห็นรูปภายนอกเพียงเล็กน้อย ข่มรูปนั้นด้วยคิดว่า เรารู้ เราเห็น สงัดจาก
กาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌานเป็นสุขาปฏิปทาขิปปาภิญญา อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น
ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล
[๒๑๐] สภาวธรรมที่เป็นกุศล เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคเพื่อเข้าถึงรูปภพ ไม่ได้ทำบริกรรมสัญญาที่รูป
ภายใน เห็นรูปภายนอกเพียงเล็กน้อย ข่มรูปนั้นด้วยคิดว่า เรารู้ เราเห็น เพราะ
วิตกวิจารสงบระงับไปแล้ว ฯลฯ บรรลุทุติยฌาน ฯลฯ บรรลุตติยฌาน ฯลฯ บรรลุ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๗๐ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๑. จิตตุปปาทกัณฑ์] กุศลบท รูปาวจรกุศลจิต อารมณ์ ๒
จตุตถฌาน ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน ฯลฯ บรรลุปัญจมฌาน เป็นทุกขาปฏิปทา-
ทันธาภิญญา ฯลฯ เป็นทุกขาปฏิปทาขิปปาภิญญา ฯลฯ เป็นสุขาปฏิปทา-
ทันธาภิญญา ฯลฯ เป็นสุขาปฏิปทาขิปปาภิญญา อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ
ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล
ปฏิปทา ๔ จบ

อารมณ์ ๒
[๒๑๑] สภาวธรรมที่เป็นกุศล เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคเพื่อเข้าถึงรูปภพ ไม่ได้ทำบริกรรมสัญญาที่รูป
ภายใน เห็นรูปภายนอกเพียงเล็กน้อย ข่มรูปนั้นด้วยคิดว่า เรารู้ เราเห็น สงัด
จากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน ซึ่งมีกำลังน้อย และมีอารมณ์เล็กน้อย อยู่ในสมัยใด
ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล
[๒๑๒] สภาวธรรมที่เป็นกุศล เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคเพื่อเข้าถึงรูปภพ ไม่ได้ทำบริกรรมสัญญาที่รูป
ภายใน เห็นรูปภายนอกเพียงเล็กน้อย ข่มรูปนั้นด้วยคิดว่า เรารู้ เราเห็น สงัด
จากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน ซึ่งมีกำลังมากแต่มีอารมณ์เล็กน้อย อยู่ในสมัยใด
ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล
[๒๑๓] สภาวธรรมที่เป็นกุศล เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคเพื่อเข้าถึงรูปภพ ไม่ได้ทำบริกรรมสัญญาที่รูป
ภายใน เห็นรูปภายนอกเพียงเล็กน้อย ข่มรูปนั้นด้วยคิดว่า เรารู้ เราเห็น เพราะ
วิตกวิจารสงบระงับไปแล้ว ฯลฯ บรรลุทุติยฌาน ฯลฯ บรรลุตติยฌาน ฯลฯ บรรลุ
จตุตถฌาน ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน ฯลฯ บรรลุปัญจมฌาน ซึ่งมีกำลังน้อย และมี
อารมณ์เล็กน้อย ฯลฯ ซึ่งมีกำลังมากแต่มีอารมณ์เล็กน้อย อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น
ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล
อารมณ์ ๒ จบ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๗๑ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๑. จิตตุปปาทกัณฑ์] กุศลบท รูปาวจรกุศลจิต จำแนกฌานเป็นอย่างละ ๘
จำแนกฌานเป็นอย่างละ ๘
[๒๑๔] สภาวธรรมที่เป็นกุศล เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคเพื่อเข้าถึงรูปภพ ไม่ได้ทำบริกรรมสัญญาที่รูป
ภายใน เห็นรูปภายนอกเพียงเล็กน้อย ข่มรูปนั้นด้วยคิดว่า เรารู้ เราเห็น สงัดจาก
กาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา ซึ่งมีกำลังน้อยและมี
อารมณ์เล็กน้อย อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น ฯลฯ
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล
[๒๑๕] สภาวธรรมที่เป็นกุศล เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคเพื่อเข้าถึงรูปภพ ไม่ได้ทำบริกรรมสัญญาที่รูป
ภายใน เห็นรูปภายนอกเพียงเล็กน้อย ข่มรูปนั้นด้วยคิดว่า เรารู้ เราเห็น สงัดจาก
กาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา ซึ่งมีกำลังมากแต่มี
อารมณ์เล็กน้อย อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น ฯลฯ
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล
[๒๑๖] สภาวธรรมที่เป็นกุศล เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคเพื่อเข้าถึงรูปภพ ไม่ได้ทำบริกรรมสัญญาที่รูป
ภายใน เห็นรูปภายนอกเพียงเล็กน้อย ข่มรูปนั้นด้วยคิดว่า เรารู้ เราเห็น สงัดจาก
กาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน เป็นทุกขาปฏิปทาขิปปาภิญญา ซึ่งมีกำลังน้อยและมี
อารมณ์เล็กน้อย อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น ฯลฯ
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล
[๒๑๗] สภาวธรรมที่เป็นกุศล เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคเพื่อเข้าถึงรูปภพ ไม่ได้ทำบริกรรมสัญญาที่รูป
ภายใน เห็นรูปภายนอกเพียงเล็กน้อย ข่มรูปนั้นด้วยคิดว่า เรารู้ เราเห็น สงัดจาก
กาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน เป็นทุกขาปฏิปทาขิปปาภิญญา ซึ่งมีกำลังมากแต่มี
อารมณ์เล็กน้อย อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น ฯลฯ
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๗๒ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๑. จิตตุปปาทกัณฑ์] กุศลบท รูปาวจรกุศลจิต จำแนกฌานเป็นอย่างละ ๘
[๒๑๘] สภาวธรรมที่เป็นกุศล เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคเพื่อเข้าถึงรูปภพ ไม่ได้ทำบริกรรมสัญญาที่รูป
ภายใน เห็นรูปภายนอกเพียงเล็กน้อย ข่มรูปนั้นด้วยคิดว่า เรารู้ เราเห็น สงัดจาก
กาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน เป็นสุขาปฏิปทาทันธาภิญญา ซึ่งมีกำลังน้อยและมี
อารมณ์เล็กน้อย อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น ฯลฯ
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล
[๒๑๙] สภาวธรรมที่เป็นกุศล เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคเพื่อเข้าถึงรูปภพ ไม่ได้ทำบริกรรมสัญญาที่รูป
ภายใน เห็นรูปภายนอกเพียงเล็กน้อย ข่มรูปนั้นด้วยคิดว่า เรารู้ เราเห็น สงัดจาก
กาม บรรลุปฐมฌาน เป็นสุขาปฏิปทาทันธาภิญญา ซึ่งมีกำลังมากแต่มีอารมณ์เล็ก
น้อย อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น ฯลฯ สภาวธรรม
เหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล
[๒๒๐] สภาวธรรมที่เป็นกุศล เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคเพื่อเข้าถึงรูปภพ ไม่ได้ทำบริกรรมสัญญาที่รูป
ภายใน เห็นรูปภายนอกเพียงเล็กน้อย ข่มรูปนั้นด้วยคิดว่า เรารู้ เราเห็น สงัดจาก
กาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน เป็นสุขาปฏิปทาขิปปาภิญญา ซึ่งมีกำลังน้อยและมี
อารมณ์เล็กน้อย อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น ฯลฯ
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล
[๒๒๑] สภาวธรรมที่เป็นกุศล เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคเพื่อเข้าถึงรูปภพ ไม่ได้ทำบริกรรมสัญญาที่รูป
ภายใน เห็นรูปภายนอกเพียงเล็กน้อย ข่มรูปนั้นด้วยคิดว่า เรารู้ เราเห็น สงัดจาก
กาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน เป็นสุขาปฏิปทาขิปปาภิญญา ซึ่งมีกำลังมากแต่มีอารมณ์
เล็กน้อย อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น ฯลฯ
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล
[๒๒๒] สภาวธรรมที่เป็นกุศล เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคเพื่อเข้าถึงรูปภพ ไม่ได้ทำบริกรรมสัญญาที่รูป
ภายใน เห็นรูปภายนอกเพียงเล็กน้อย ข่มรูปนั้นด้วยคิดว่า เรารู้ เราเห็น เพราะ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๗๓ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๑. จิตตุปปาทกัณฑ์] กุศลบท รูปาวจรกุศลจิต จำแนกอภิภายตนะแม้นี้เป็นอย่างละ ๘
วิตกวิจารสงบระงับไปแล้ว ฯลฯ บรรลุทุติยฌาน ฯลฯ บรรลุตติยฌาน ฯลฯ บรรลุ
จตุตถฌาน ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน ฯลฯ บรรลุปัญจมฌาน เป็นทุกขาปฏิปทา
ทันธาภิญญา ซึ่งมีกำลังน้อยและมีอารมณ์เล็กน้อย ฯลฯ เป็นทุกขาปฏิปทา
ทันธาภิญญา ซึ่งมีกำลังมากแต่มีอารมณ์เล็กน้อย ฯลฯ เป็นทุกขาปฏิปทา
ขิปปาภิญญา ซึ่งมีกำลังน้อยและมีอารมณ์เล็กน้อย ฯลฯ เป็นทุกขาปฏิปทา
ขิปปาภิญญา ซึ่งมีกำลังมากแต่มีอารมณ์เล็กน้อย ฯลฯ เป็นสุขาปฏิปทา
ทันธาภิญญา ซึ่งมีกำลังน้อยและมีอารมณ์เล็กน้อย ฯลฯ เป็นสุขาปฏิปทา
ทันธาภิญญา ซึ่งมีกำลังมากแต่มีอารมณ์เล็กน้อย ฯลฯ เป็นสุขาปฏิปทา
ขิปปาภิญญา ซึ่งมีกำลังน้อยและมีอารมณ์เล็กน้อย ฯลฯ เป็นสุขาปฏิปทา
ขิปปาภิญญา ซึ่งมีกำลังมากแต่มีอารมณ์เล็กน้อย อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ
ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล
จำแนกฌานเป็นอย่างละ ๘ จบ

จำแนกอภิภายตนะแม้นี้เป็นอย่างละ ๘
[๒๒๓] สภาวธรรมที่เป็นกุศล เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคเพื่อเข้าถึงรูปภพ ไม่ได้ทำบริกรรมสัญญาที่รูป
ภายใน เห็นรูปภายนอกเพียงเล็กน้อยที่มีสีงามหรือไม่งาม ข่มรูปนั้นด้วยคิดว่า เรารู้
เราเห็น สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ
อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล
[๒๒๔] สภาวธรรมที่เป็นกุศล เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคเพื่อเข้าถึงรูปภพ ไม่ได้ทำบริกรรมสัญญาที่รูป
ภายใน เห็นรูปภายนอกเพียงเล็กน้อยที่มีสีงามหรือไม่งาม ข่มรูปนั้นด้วยคิดว่า เรารู้
เราเห็น เพราะวิตกวิจารสงบระงับไปแล้ว บรรลุทุติยฌาน ฯลฯ บรรลุตติยฌาน
ฯลฯ บรรลุจตุตถฌาน ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน ฯลฯ บรรลุปัญจมฌาน อยู่ในสมัยใด
ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล
จำแนกอภิภายตนะแม้นี้เป็นอย่างละ ๘ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๗๔ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๑. จิตตุปปาทกัณฑ์] กุศลบท รูปาวจรกุศลจิต ปฏิปทา ๔
อัปปมาณะ
[๒๒๕] สภาวธรรมที่เป็นกุศล เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคเพื่อเข้าถึงรูปภพ ไม่ได้ทำบริกรรมสัญญาที่รูป
ภายใน เห็นรูปภายนอกที่ไพบูลย์ ข่มรูปนั้นด้วยคิดว่า เรารู้ เราเห็น สงัดจาก
กาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็
เกิดขึ้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล
[๒๒๖] สภาวธรรมที่เป็นกุศล เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคเพื่อเข้าถึงรูปภพ ไม่ได้ทำบริกรรมสัญญาที่รูป
ภายใน เห็นรูปภายนอกที่ไพบูลย์ ข่มรูปนั้น ด้วยคิดว่า เรารู้ เราเห็น เพราะ
วิตกวิจารสงบระงับไปปล้ว บรรลุทุติยฌาน ฯลฯ บรรลุตติยฌาน ฯลฯ บรรลุ
จตุตถฌาน ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน ฯลฯ บรรลุปัญจมฌาน อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น
ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล
อัปปมาณะ จบ

ปฏิปทา ๔
[๒๒๗] สภาวธรรมที่เป็นกุศล เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคเพื่อเข้าถึงรูปภพ ไม่ได้ทำบริกรรมสัญญาที่รูป
ภายใน เห็นรูปภายนอกที่ไพบูลย์ ข่มรูปนั้นด้วยคิดว่า เรารู้ เราเห็น สงัดจากกาม
ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น
ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล
[๒๒๘] สภาวธรรมที่เป็นกุศล เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคเพื่อเข้าถึงรูปภพ ไม่ได้ทำบริกรรมสัญญาที่รูป
ภายใน เห็นรูปภายนอกที่ไพบูลย์ ข่มรูปนั้นด้วยคิดว่า เรารู้ เราเห็น สงัดจากกาม
ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน เป็นทุกขาปฏิปทาขิปปาภิญญา อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น
ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๗๕ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๑. จิตตุปปาทกัณฑ์] กุศลบท รูปาวจรกุศลจิต อารมณ์ ๒
[๒๒๙] สภาวธรรมที่เป็นกุศล เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคเพื่อเข้าถึงรูปภพ ไม่ได้ทำบริกรรมสัญญาที่รูป
ภายใน เห็นรูปภายนอกที่ไพบูลย์ ข่มรูปนั้นด้วยคิดว่า เรารู้ เราเห็น สงัดจากกาม
ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน เป็นสุขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น
ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล
[๒๓๐] สภาวธรรมที่เป็นกุศล เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคเพื่อเข้าถึงรูปภพ ไม่ได้ทำบริกรรมสัญญาที่รูป
ภายใน เห็นรูปภายนอกที่ไพบูลย์ ข่มรูปนั้นแล้ว ด้วยคิดว่า เรารู้ เราเห็น สงัด
จากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน เป็นสุขาปฏิปทาขิปปาภิญญา อยู่ในสมัยใด ในสมัย
นั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล
[๒๓๑] สภาวธรรมที่เป็นกุศล เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคเพื่อเข้าถึงรูปภพ ไม่ได้ทำบริกรรมสัญญาที่รูป
ภายใน เห็นรูปภายนอกที่ไพบูลย์ ข่มรูปนั้นด้วยคิดว่า เรารู้ เราเห็น เพราะวิตก
วิจารสงบระงับไปแล้ว ฯลฯ บรรลุทุติยฌาน ฯลฯ บรรลุตติยฌาน ฯลฯ บรรลุ
จตุตถฌาน ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน ฯลฯ บรรลุปัญจมฌาน เป็นทุกขาปฏิปทา-
ทันธาภิญญา ฯลฯ เป็นทุกขาปฏิปทาขิปปาภิญญา ฯลฯ เป็นสุขาปฏิปทา-
ทันธาภิญญา ฯลฯ เป็นสุขาปฏิปทาขิปปาภิญญา อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ
ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล
ปฏิปทา ๔ จบ

อารมณ์ ๒
[๒๓๒] สภาวธรรมที่เป็นกุศล เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคเพื่อเข้าถึงรูปภพ ไม่ได้ทำบริกรรมสัญญาที่รูป
ภายใน เห็นรูปภายนอกที่ไพบูลย์ ข่มรูปนั้นด้วยคิดว่า เรารู้ เราเห็น สงัดจากกาม
ฯลฯ บรรลุปฐมฌานซึ่งมีกำลังน้อยแต่มีอารมณ์ไพบูลย์ อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น
ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๗๖ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๑. จิตตุปปาทกัณฑ์] กุศลบท รูปาวจรกุศลจิต จำแนกฌานเป็นอย่างละ ๘ อีกนัยหนึ่ง
[๒๓๓] สภาวธรรมที่เป็นกุศล เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคเพื่อเข้าถึงรูปภพ ไม่ได้ทำบริกรรมสัญญาที่รูป
ภายใน เห็นรูปภายนอกที่ไพบูลย์ ข่มรูปนั้นด้วยคิดว่า เรารู้ เราเห็น สงัดจากกาม
ฯลฯ บรรลุปฐมฌานซึ่งมีกำลังมากและมีอารมณ์ไพบูลย์ อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น
ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล
[๒๓๔] สภาวธรรมที่เป็นกุศล เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคเพื่อเข้าถึงรูปภพ ไม่ได้ทำบริกรรมสัญญาที่รูป
ภายใน เห็นรูปภายนอกที่ไพบูลย์ ข่มรูปนั้นด้วยคิดว่า เรารู้ เราเห็น เพราะวิตก
วิจารสงบระงับไปแล้ว ฯลฯ บรรลุทุติยฌาน ฯลฯ บรรลุตติยฌาน ฯลฯ บรรลุ
จตุตถฌาน ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน ฯลฯ บรรลุปัญจมฌาน ซึ่งมีกำลังน้อยแต่มี
อารมณ์ไพบูลย์ ฯลฯ มีกำลังมากและมีอารมณ์ไพบูลย์ อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น
ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล
อารมณ์ ๒ จบ

จำแนกฌานเป็นอย่างละ ๘ อีกนัยหนึ่ง
[๒๓๕] สภาวธรรมที่เป็นกุศล เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคเพื่อเข้าถึงรูปภพ ไม่ได้ทำบริกรรมสัญญาที่รูป
ภายใน เห็นรูปภายนอกที่ไพบูลย์ ข่มรูปนั้นด้วยคิดว่า เรารู้ เราเห็น สงัดจาก
กาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา ซึ่งมีกำลังน้อยแต่มี
อารมณ์ไพบูลย์ อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น ฯลฯ
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล
[๒๓๖] สภาวธรรมที่เป็นกุศล เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคเพื่อเข้าถึงรูปภพ ไม่ได้ทำบริกรรมสัญญาที่รูป
ภายใน เห็นรูปภายนอกที่ไพบูลย์ ข่มรูปนั้นด้วยคิดว่า เรารู้ เราเห็น สงัดจากกาม
ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา ซึ่งมีกำลังมากและมี
อารมณ์ไพบูลย์ อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น ฯลฯ
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๗๗ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๑. จิตตุปปาทกัณฑ์] กุศลบท รูปาวจรกุศลจิต จำแนกฌานเป็นอย่างละ ๘ อีกนัยหนึ่ง
[๒๓๗] สภาวธรรมที่เป็นกุศล เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคเพื่อเข้าถึงรูปภพ ไม่ได้ทำบริกรรมสัญญาที่รูป
ภายใน เห็นรูปภายนอกที่ไพบูลย์ ข่มรูปนั้นด้วยคิดว่า เรารู้ เราเห็น สงัดจาก
กาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน เป็นทุกขาปฏิปทาขิปปาภิญญา ซึ่งมีกำลังน้อยแต่มี
อารมณ์ไพบูลย์ อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น ฯลฯ
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล
[๒๓๘] สภาวธรรมที่เป็นกุศล เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคเพื่อเข้าถึงรูปภพ ไม่ได้ทำบริกรรมสัญญาที่รูป
ภายใน เห็นรูปภายนอกที่ไพบูลย์ ข่มรูปนั้นด้วยคิดว่า เรารู้ เราเห็น สงัดจากกาม
ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน เป็นทุกขาปฏิปทาขิปปาภิญญา ซึ่งมีกำลังมากและมี
อารมณ์ไพบูลย์ อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น ฯลฯ
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล
[๒๓๙] สภาวธรรมที่เป็นกุศล เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคเพื่อเข้าถึงรูปภพ ไม่ได้ทำบริกรรมสัญญาที่รูป
ภายใน เห็นรูปภายนอกที่ไพบูลย์ ข่มรูปนั้นด้วยคิดว่า เรารู้ เราเห็น สงัดจาก
กาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน เป็นสุขาปฏิปทาทันธาภิญญา ซึ่งมีกำลังน้อยแต่มี
อารมณ์ไพบูลย์ อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น ฯลฯ
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล
[๒๔๐] สภาวธรรมที่เป็นกุศล เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคเพื่อเข้าถึงรูปภพ ไม่ได้ทำบริกรรมสัญญาที่รูป
ภายใน เห็นรูปภายนอกที่ไพบูลย์ ข่มรูปนั้นด้วยคิดว่า เรารู้ เราเห็น สงัดจากกาม
ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน เป็นสุขาปฏิปทาทันธาภิญญา ซึ่งมีกำลังมากและมีอารมณ์
ไพบูลย์ อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น ฯลฯ สภาวธรรม
เหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล
[๒๔๑] สภาวธรรมที่เป็นกุศล เป็นไฉน


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๗๘ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๑. จิตตุปปาทกัณฑ์] กุศลบท รูปาวจรกุศลจิต จำแนกฌานเป็นอย่างละ ๘ อีกนัยหนึ่ง
โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคเพื่อเข้าถึงรูปภพ ไม่ได้ทำบริกรรมสัญญาที่รูป
ภายใน เห็นรูปภายนอกที่ไพบูลย์ ข่มรูปนั้นด้วยคิดว่า เรารู้ เราเห็น สงัดจาก
กาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน เป็นสุขาปฏิปทาขิปปาภิญญา ซึ่งมีกำลังน้อยแต่มี
อารมณ์ไพบูลย์ อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น ฯลฯ
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล
[๒๔๒] สภาวธรรมที่เป็นกุศล เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคเพื่อเข้าถึงรูปภพ ไม่ได้ทำบริกรรมสัญญาที่รูป
ภายใน เห็นรูปภายนอกที่ไพบูลย์ ข่มรูปนั้น ด้วยคิดว่า เรารู้ เราเห็น สงัดจาก
กาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน เป็นสุขาปฏิปทาขิปปาภิญญา ซึ่งมีกำลังมากและมี
อารมณ์ไพบูลย์ อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น ฯลฯ
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล
[๒๔๓] สภาวธรรมที่เป็นกุศล เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคเพื่อเข้าถึงรูปภพ ไม่ได้ทำบริกรรมสัญญาที่รูป
ภายใน เห็นรูปภายนอกที่ไพบูลย์ ข่มรูปนั้นด้วยคิดว่า เรารู้ เราเห็น เพราะวิตก
วิจารสงบระงับไปแล้ว ฯลฯ บรรลุทุติยฌาน ฯลฯ บรรลุตติยฌาน ฯลฯ บรรลุ
จตุตถฌาน ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน ฯลฯ บรรลุปัญจมฌาน เป็นทุกขาปฏิปทา-
ทันธาภิญญา ซึ่งมีกำลังน้อยแต่มีอารมณ์ไพบูลย์ ฯลฯ เป็นทุกขาปฏิปทา-
ทันธาภิญญา ซึ่งมีกำลังมากและมีอารมณ์ไพบูลย์ ฯลฯ เป็นทุกขาปฏิปทาขิปปา-
ภิญญา ซึ่งมีกำลังน้อยแต่มีอารมณ์ไพบูลย์ ฯลฯ เป็นทุกขาปฏิปทาขิปปาภิญญา ซึ่ง
มีกำลังมากและมีอารมณ์ไพบูลย์ เป็นสุขาปฏิปทาทันธาภิญญา ซึ่งมีกำลังน้อยแต่มี
อารมณ์ไพบูลย์ ฯลฯ เป็นสุขาปฏิปทาทันธาภิญญา ซึ่งมีกำลังมากและมีอารมณ์
ไพบูลย์ ฯลฯ เป็นสุขาปฏิปทาขิปปาภิญญา ซึ่งมีกำลังน้อยแต่มีอารมณ์ไพบูลย์
ฯลฯ เป็นสุขาปฏิปทาขิปปาภิญญา ซึ่งมีกำลังมากและมีอารมณ์ไพบูลย์ อยู่ในสมัย
ใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า
เป็นกุศล
จำแนกฌานเป็นอย่างละ ๘ อีกนัยหนึ่ง จบ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๗๙ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๑. จิตตุปปาทกัณฑ์] กุศลบท รูปาวจรกุศลจิต จำแนกอภิภายตนะเป็นอย่างละ ๑๖
จำแนกอภิภายตนะแม้นี้เป็นอย่างละ ๘
[๒๔๔] สภาวธรรมที่เป็นกุศล เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคเพื่อเข้าถึงรูปภพ ไม่ได้ทำบริกรรมสัญญาที่รูป
ภายใน เห็นรูปภายนอกที่ไพบูลย์ ที่มีสีงามหรือไม่งาม ข่มรูปนั้นด้วยคิดว่า เรารู้
เราเห็น สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ
อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล
[๒๔๕] สภาวธรรมที่เป็นกุศล เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคเพื่อเข้าถึงรูปภพ ไม่ได้ทำบริกรรมสัญญาที่รูป
ภายใน เห็นรูปภายนอกที่ไพบูลย์ ที่มีสีงามหรือไม่งาม ข่มรูปนั้นด้วยคิดว่า เรา
รู้ เราเห็น เพราะวิตกวิจารสงบระงับไปแล้ว ฯลฯ บรรลุทุติยฌาน ฯลฯ บรรลุ
ตติยฌาน ฯลฯ บรรลุจตุตถฌาน ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน ฯลฯ บรรลุปัญจมฌาน
อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้
ชื่อว่าเป็นกุศล
จำแนกอภิภายตนะแม้นี้เป็นอย่างละ ๘ จบ

จำแนกอภิภายตนะเป็นอย่างละ ๑๖
[๒๔๖] สภาวธรรมที่เป็นกุศล เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคเพื่อเข้าถึงรูปภพ ไม่ได้ทำบริกรรมสัญญาที่รูป
ภายใน เห็นรูปภายนอกที่เขียวมีสีเขียว สีเขียวล้วน มีแสงสีเขียว ข่มรูปนั้นด้วยคิดว่า
เรารู้ เราเห็น สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ
ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล
[๒๔๗] สภาวธรรมที่เป็นกุศล เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคเพื่อเข้าถึงรูปภพ ไม่ได้ทำบริกรรมสัญญาที่รูป
ภายใน เห็นรูปภายนอก ที่เหลือง มีสีเหลือง สีเหลืองล้วน มีแสงสีเหลือง ฯลฯ
เห็นรูปภายนอกที่แดง มีสีแดง สีแดงล้วน มีแสงสีแดง ฯลฯ เห็นรูปภายนอก ที่ขาว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๘๐ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๑. จิตตุปปาทกัณฑ์] กุศลบท รูปาวจรกุศลจิต จำแนกพรหมวิหารฌาน ๔ เป็นอย่างละ ๑๖
มีสีขาว สีขาวล้วน มีแสงสีขาว ข่มรูปนั้นด้วยคิดว่า เรารู้ เราเห็น สงัดจากกาม
ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น
ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล
จำแนกอภิภายตนะเป็นอย่างละ ๑๖ จบ

จำแนกวิโมกข์ ๓ เป็นอย่างละ ๑๖
[๒๔๘] สภาวธรรมที่เป็นกุศล เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคเพื่อเข้าถึงรูปภพ เป็นผู้ได้รูปฌาน มีรูปภายในเป็น
อารมณ์ เห็นรูป สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น
ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล
[๒๔๙] สภาวธรรมที่เป็นกุศล เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคเพื่อเข้าถึงรูปภพ ไม่ได้ทำบริกรรมสัญญาที่รูป
ภายใน เห็นรูปภายนอก สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น
ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล
[๒๕๐] สภาวธรรมที่เป็นกุศล เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคเพื่อเข้าถึงรูปภพ มนสิการวรรณกสิณว่างาม สงัด
จากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ
ก็เกิดขึ้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล
จำแนกวิโมกข์ ๓ เป็นอย่างละ ๑๖ จบ

จำแนกพรหมวิหารฌาน ๔ เป็นอย่างละ ๑๖
[๒๕๑] สภาวธรรมที่เป็นกุศล เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคเพื่อเข้าถึงรูปภพ สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐม-
ฌานที่สหรคตด้วยเมตตาพรหมวิหาร อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ
อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๘๑ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๑. จิตตุปปาทกัณฑ์] กุศลบท รูปาวจรกุศลจิต จำแนกพรหมวิหารฌาน ๔ เป็นอย่างละ ๑๖
[๒๕๒] สภาวธรรมที่เป็นกุศล เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคเพื่อเข้าถึงรูปภพ เพราะวิตกวิจารสงบระงับไปแล้ว
ฯลฯ บรรลุทุติยฌาน ที่สหรคตด้วยเมตตาพรหมวิหาร อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น
ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล
[๒๕๓] สภาวธรรมที่เป็นกุศล เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคเพื่อเข้าถึงรูปภพ เพราะปีติจางคลายไป ฯลฯ
บรรลุตติยฌานที่สหรคตด้วยเมตตาพรหมวิหาร อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ
ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล
[๒๕๔] สภาวธรรมที่เป็นกุศล เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคเพื่อเข้าถึงรูปภพ สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุ
ปฐมฌานที่สหรคตด้วยเมตตาพรหมวิหาร อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ
อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล
[๒๕๕] สภาวธรรมที่เป็นกุศล เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคเพื่อเข้าถึงรูปภพ บรรลุทุติยฌานที่สหรคตด้วย
เมตตาพรหมวิหารอันไม่มีวิตกมีเพียงวิจาร มีปีติและสุขอันเกิดจากสมาธิ อยู่ใน
สมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า
เป็นกุศล
[๒๕๖] สภาวธรรมที่เป็นกุศล เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคเพื่อเข้าถึงรูปภพ เพราะวิตกวิจารสงบระงับไปแล้ว
ฯลฯ บรรลุตติยฌานที่สหรคตด้วยเมตตาพรหมวิหาร อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น
ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล
[๒๕๗] สภาวธรรมที่เป็นกุศล เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคเพื่อเข้าถึงรูปภพ เพราะปีติจางคลายไป ฯลฯ
บรรลุจตุตถฌาน ที่สหรคตด้วยเมตตาพรหมวิหาร อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ
ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๘๒ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๑. จิตตุปปาทกัณฑ์] กุศลบท รูปาวจรกุศลจิต จำแนกพรหมวิหารฌาน ๔ เป็นอย่างละ ๑๖
[๒๕๘] สภาวธรรมที่เป็นกุศล เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคเพื่อเข้าถึงรูปภพ สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุ
ปฐมฌานที่สหรคตด้วยกรุณาพรหมวิหาร อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ
อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล
[๒๕๙] สภาวธรรมที่เป็นกุศล เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคเพื่อเข้าถึงรูปภพ เพราะวิตกวิจารสงบระงับไปแล้ว
ฯลฯ บรรลุทุติยฌาน ฯลฯ บรรลุตติยฌาน ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน ฯลฯ บรรลุ
จตุตถฌานที่สหรคตด้วยกรุณาพรหมวิหาร อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ
อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล
[๒๖๐] สภาวธรรมที่เป็นกุศล เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคเพื่อเข้าถึงรูปภพ สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุ
ปฐมฌานที่สหรคตด้วยมุทิตาพรหมวิหาร อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ
อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล
[๒๖๑] สภาวธรรมที่เป็นกุศล เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคเพื่อเข้าถึงรูปภพ เพราะวิตกวิจารสงบระงับไปแล้ว
ฯลฯ บรรลุทุติยฌาน ฯลฯ บรรลุตติยฌาน ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน ฯลฯ บรรลุ
จตุตถฌานที่สหรคตด้วยมุทิตาพรหมวิหาร อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ
อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล
[๒๖๒] สภาวธรรมที่เป็นกุศล เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคเพื่อเข้าถึงรูปภพ เพราะละสุขได้ ฯลฯ บรรลุ
จตุตถฌานที่สหรคตด้วยอุเบกขาพรหมวิหาร อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ
ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล
จำแนกพรหมวิหารฌาน ๔ เป็นอย่างละ ๑๖ จบ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๘๓ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๑. จิตตุปปาทกัณฑ์] อรูปาวจรกุศลจิต จำแนกอรูปฌาน ๔ เป็นอย่างละ ๑๖
จำแนกอสุภฌานเป็นอย่างละ ๑๖
[๒๖๓] สภาวธรรมที่เป็นกุศล เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคเพื่อเข้าถึงรูปภพ สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐม-
ฌานที่สหรคตด้วยอุทธุมาตกสัญญา อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ
ก็เกิดขึ้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล
[๒๖๔] สภาวธรรมที่เป็นกุศล เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคเพื่อเข้าถึงรูปภพ สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุ
ปฐมฌานที่สหรคตด้วยวินีลกสัญญา ฯลฯ ที่สหรคตด้วยวิปุพพกสัญญา ฯลฯ ที่
สหรคตด้วยวิจฉิททกสัญญา ฯลฯ ที่สหรคตด้วยวิกขายิตกสัญญา ฯลฯ ที่สหรคต
ด้วยวิกขิตตกสัญญา ฯลฯ ที่สหรคตด้วยหตวิกขิตตกสัญญา ฯลฯ ที่สหรคด้วย
โลหิตกสัญญา ฯลฯ ที่สหรคตด้วยปุฬุวกสัญญา ฯลฯ ที่สหรคตด้วยอัฏฐิกสัญญา
อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้
ชื่อว่าเป็นกุศล
จำแนกอสุภฌานเป็นอย่างละ ๑๖ จบ
รูปาวจรกุศลจิต จบ

อรูปาวจรกุศลจิต
จำแนกอรูปฌาน ๔ เป็นอย่างละ ๑๖
[๒๖๕] สภาวธรรมที่เป็นกุศล เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคเพื่อเข้าถึงอรูปภพ เพราะก้าวล่วงรูปสัญญาโดย
ประการทั้งปวง เพราะปฏิฆสัญญาดับไป เพราะไม่มนสิการนานัตตสัญญา บรรลุ
จตุตถฌานที่สหรคตด้วยอากาสานัญจายตนสัญญา สหรคตด้วยอุเบกขา ไม่มีทุกข์
ไม่มีสุข เพราะละสุขและทุกข์ได้ อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็
เกิดขึ้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๘๔ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๑. จิตตุปปาทกัณฑ์] เตภูมิกกุศลจิต กามาวจรกุศลจิต
[๒๖๖] สภาวธรรมที่เป็นกุศล เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคเพื่อเข้าถึงอรูปภพ เพราะก้าวล่วงอากาสานัญ-
จายตนะเสียได้โดยประการทั้งปวง เพราะละสุขได้ ฯลฯ บรรลุจตุตถฌานที่สหรคต
ด้วยวิญญาณัญจายตนสัญญา สหรคตด้วยอุเบกขา อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ
ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล
[๒๖๗] สภาวธรรมที่เป็นกุศล เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคเพื่อเข้าถึงอรูปภพ เพราะก้าวล่วงวิญญาณัญ-
จายตนะเสียได้โดยประการทั้งปวง บรรลุจตุตถฌานที่สหรคตด้วยอากิญจัญ-
ญายตนสัญญา สหรคตด้วยอุเบกขา ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข เพราะละสุขได้ ฯลฯ อยู่ใน
สมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้
ชื่อว่าเป็นกุศล
[๒๖๘] สภาวธรรมที่เป็นกุศล เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคเพื่อเข้าถึงอรูปภพ เพราะก้าวล่วงอากิญจัญ-
ญายตนะเสียได้โดยประการทั้งปวง จึงบรรลุจตุตถฌานที่สหรคตด้วยเนวสัญญา-
นาสัญญายตนสัญญา สหรคตด้วยอุเบกขา ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข เพราะละสุขได้ ฯลฯ
อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น ฯลฯ สภาวธรรม
เหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล
จำแนกอรูปฌาน ๔ เป็นอย่างละ ๑๖ จบ
อรูปาวจรกุศลจิต จบ

เตภูมิกกุศลจิต
กามาวจรกุศลจิต
[๒๖๙] สภาวธรรมที่เป็นกุศล เป็นไฉน
จิตที่เป็นกามาวจรซึ่งเป็นกุศล สหรคตด้วยโสมนัส สัมปยุตด้วยญาณ เป็น
ชั้นต่ำ ฯลฯ เป็นชั้นกลาง ฯลฯ เป็นชั้นประณีต ฯลฯ เป็นฉันทาธิปไตย ฯลฯ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๘๕ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๑. จิตตุปปาทกัณฑ์] เตภูมิกกุศลจิต รูปาวจรกุศลจิต
เป็นวิริยาธิปไตย ฯลฯ เป็นจิตตาธิปไตย ฯลฯ เป็นวิมังสาธิปไตย ฯลฯ เป็น
ฉันทาธิปไตยชั้นต่ำ ฯลฯ ชั้นกลาง ฯลฯ ชั้นประณีต ฯลฯ เป็นวิริยาธิปไตยชั้นต่ำ
ฯลฯ ชั้นกลาง ฯลฯ ชั้นประณีต ฯลฯ เป็นจิตตาธิปไตยชั้นต่ำ ฯลฯ ชั้นกลาง ฯลฯ
ชั้นประณีต ฯลฯ เป็นวิมังสาธิปไตยชั้นต่ำ ฯลฯ ชั้นกลาง ฯลฯ ชั้นประณีต เกิดขึ้น
ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้
ชื่อว่าเป็นกุศล
[๒๗๐] สภาวธรรมที่เป็นกุศล เป็นไฉน
จิตที่เป็นกามาวจรซึ่งเป็นกุศล สหรคตด้วยโสมนัส สัมปยุตด้วยญาณ เกิดขึ้น
โดยมีเหตุชักจูง ฯลฯ สหรคตด้วยโสมนัส วิปปยุตจากญาณ ฯลฯ สหรคตด้วย
โสมนัส วิปปยุตจากญาณ เกิดขึ้นโดยมีเหตุชักจูง๑ ฯลฯ สหรคตด้วยอุเบกขา
สัมปยุตด้วยญาณ ฯลฯ สหรคตด้วยอุเบกขา สัมปยุตด้วยญาณ เกิดขึ้นโดยมีเหตุ
ชักจูง ฯลฯ สหรคตด้วยอุเบกขา วิปปยุตจากญาณ ฯลฯ สหรคตด้วยอุเบกขา
วิปปยุตจากญาณ เกิดขึ้นโดยมีเหตุชักจูง ฯลฯ เป็นชั้นต่ำ ฯลฯ ชั้นกลาง ฯลฯ
ชั้นประณีต ฯลฯ เป็นฉันทาธิปไตย ฯลฯ เป็นวิริยาธิปไตย ฯลฯ เป็นจิตตาธิปไตย
ฯลฯ เป็นฉันทาธิปไตยชั้นต่ำ ฯลฯ ชั้นกลาง ฯลฯ ชั้นประณีต ฯลฯ เป็น
วิริยาธิปไตยชั้นต่ำ ฯลฯ ชั้นกลาง ฯลฯ ชั้นประณีต ฯลฯ เป็นจิตตาธิปไตยชั้นต่ำ
ฯลฯ ชั้นกลาง ฯลฯ ชั้นประณีต เกิดขึ้นในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ
อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล
กามาวจรกุศลจิต จบ

รูปาวจรกุศลจิต
[๒๗๑] สภาวธรรมที่เป็นกุศล เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคเพื่อเข้าถึงรูปภพ สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุ
ปฐมฌานที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ เป็นชั้นต่ำ ฯลฯ ชั้นกลาง ฯลฯ ชั้นประณีต

เชิงอรรถ :
๑ อภิ.สงฺ.อ. ๒๐๖-๒๐๗

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๘๖ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๑. จิตตุปปาทกัณฑ์] เตภูมิกกุศลจิต อรูปาวจรกุศลจิต
ฯลฯ เป็นฉันทาธิปไตย ฯลฯ เป็นวิริยาธิปไตย ฯลฯ เป็นจิตตาธิปไตย ฯลฯ เป็น
วิมังสาธิปไตย ฯลฯ เป็นฉันทาธิปไตย ชั้นต่ำ ฯลฯ ชั้นกลาง ฯลฯ ชั้นประณีต
ฯลฯ เป็นวิริยาธิปไตยชั้นต่ำ ฯลฯ ชั้นกลาง ฯลฯ ชั้นประณีต ฯลฯ เป็นจิตตา-
ธิปไตยชั้นต่ำ ฯลฯ ชั้นกลาง ฯลฯ ชั้นประณีต ฯลฯ เป็นวิมังสาธิปไตยชั้นต่ำ
ฯลฯ ชั้นกลาง ฯลฯ ชั้นประณีต อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ
ก็เกิดขึ้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล
[๒๗๒] สภาวธรรมที่เป็นกุศล เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคเพื่อเข้าถึงรูปภพ เพราะวิตกวิจารสงบระงับไปแล้ว
ฯลฯ บรรลุทุติยฌาน ฯลฯ บรรลุตติยฌาน ฯลฯ บรรลุจตุตถฌาน ฯลฯ บรรลุ
ปฐมฌาน ฯลฯ บรรลุปัญจมฌาน ที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ เป็นชั้นต่ำ ฯลฯ เป็น
ชั้นกลาง ฯลฯ เป็นชั้นประณีต ฯลฯ เป็นฉันทาธิปไตย ฯลฯ เป็นวิริยาธิปไตย ฯลฯ
เป็นจิตตาธิปไตย ฯลฯ เป็นวิมังสาธิปไตย ฯลฯ เป็นฉันทาธิปไตยชั้นต่ำ ฯลฯ ชั้น
กลาง ฯลฯ ชั้นประณีต ฯลฯ เป็นวิริยาธิปไตยชั้นต่ำ ฯลฯ ชั้นกลาง ฯลฯ ชั้นประณีต
ฯลฯ เป็นจิตตาธิปไตยชั้นต่ำ ฯลฯ ชั้นกลาง ฯลฯ ชั้นประณีต ฯลฯ เป็น
วิมังสาธิปไตยชั้นต่ำ ฯลฯ ชั้นกลาง ฯลฯ ชั้นประณีต อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น
ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล
รูปาวจรกุศลจิต จบ

อรูปาวจรกุศลจิต
[๒๗๓] สภาวธรรมที่เป็นกุศล เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคเพื่อเข้าถึงอรูปภพ เพราะก้าวล่วงรูปสัญญาโดย
ประการทั้งปวง เพราะปฏิฆสัญญาดับไป เพราะไม่มนสิการนานัตตสัญญา จึงบรรลุ
จตุตถฌานที่สหรคตด้วยอากาสานัญจายตนสัญญา ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข เพราะละสุข
และทุกข์ได้ เป็นชั้นต่ำ ฯลฯ เป็นชั้นกลาง ฯลฯ เป็นชั้นประณีต ฯลฯ เป็น
ฉันทาธิปไตย ฯลฯ เป็นวิริยาธิปไตย ฯลฯ เป็นจิตตาธิปไตย ฯลฯ เป็น
วิมังสาธิปไตย ฯลฯ เป็นฉันทาธิปไตยชั้นต่ำ ฯลฯ ชั้นกลาง ฯลฯ ชั้นประณีต ฯลฯ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๘๗ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๑. จิตตุปปาทกัณฑ์] เตภูมิกกุศลจิต อรูปาวจรกุศลจิต
เป็นวิริยาธิปไตยชั้นต่ำ ฯลฯ ชั้นกลาง ฯลฯ ชั้นประณีต ฯลฯ เป็นจิตตาธิปไตย
ชันต่ำ ฯลฯ ชั้นกลาง ฯลฯ ชั้นประณีต ฯลฯ เป็นวิมังสาธิปไตยชั้นต่ำ ฯลฯ ชั้น
กลาง ฯลฯ ชั้นประณีต อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น
ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล
[๒๗๔] สภาวธรรมที่เป็นกุศล เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคเพื่อเข้าถึงอรูปภพ เพราะก้าวล่วงอากาสานัญ-
จายตนะโดยประการทั้งปวง จึงบรรลุจตุตถฌานที่สหรคตด้วยวิญญาณัญจายตน-
สัญญา ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข เพราะละสุขและทุกข์ได้แล้ว เป็นชั้นต่ำ ฯลฯ ชั้นกลาง ฯลฯ
ชั้นประณีต ฯลฯ เป็นฉันทาธิปไตย ฯลฯ เป็นวิริยาธิปไตย ฯลฯ เป็นจิตตาธิปไตย
ฯลฯ เป็นวิมังสาธิปไตย ฯลฯ เป็นฉันทาธิปไตยชั้นต่ำ ฯลฯ ชั้นกลาง ฯลฯ
ชั้นประณีต ฯลฯ เป็นวิริยาธิปไตยชั้นต่ำ ฯลฯ ชั้นกลาง ฯลฯ ชั้นประณีต ฯลฯ เป็น
จิตตาธิปไตยชั้นต่ำ ฯลฯ ชั้นกลาง ฯลฯ ชั้นประณีต ฯลฯ เป็นวิมังสาธิปไตยชั้นต่ำ
ฯลฯ ชั้นกลาง ฯลฯ ชั้นประณีต อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ
ก็เกิดขึ้น ฯลฯ สภาวธรรมแม้เหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล
[๒๗๕] สภาวธรรมที่เป็นกุศล เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคเพื่อเข้าถึงอรูปภพ เพราะก้าวล่วงวิญญาณัญ-
จายตนะโดยประการทั้งปวง บรรลุจตุตถฌานที่สหรคตด้วยอากิญจัญญายตนสัญญา
ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข เพราะละสุขและทุกข์ได้แล้ว เป็นชั้นต่ำ ฯลฯ ชั้นกลาง ฯลฯ ชั้น
ประณีต ฯลฯ เป็นฉันทาธิปไตย ฯลฯ เป็นวิริยาธิปไตย ฯลฯ เป็นจิตตาธิปไตย ฯลฯ
เป็นวิมังสาธิปไตย ฯลฯ เป็นฉันทาธิปไตยชั้นต่ำ ฯลฯ ชั้นกลาง ฯลฯ ชั้นประณีต
ฯลฯ เป็นวิริยาธิปไตยชั้นต่ำ ฯลฯ ชั้นกลาง ฯลฯ ชั้นประณีต ฯลฯ เป็นจิตตาธิปไตย
ชั้นต่ำ ฯลฯ ชั้นกลาง ฯลฯ ชั้นประณีต ฯลฯ เป็นวิมังสาธิปไตยชั้นต่ำ ฯลฯ
ชั้นกลาง ฯลฯ ชั้นประณีต อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น
ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล
[๒๗๖] สภาวธรรมที่เป็นกุศล เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคเพื่อเข้าถึงอรูปภพ เพราะก้าวล่วงอากิญจัญ-
ญายตนะได้โดยประการทั้งปวง จึงบรรลุจตุตถฌานที่สหรคตด้วยเนวสัญญานา-

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๘๘ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๑. จิตตุปปาทกัณฑ์] โลกุตตรกุศลจิต สุทธิกปฏิปทา มรรคจิตดวงที่ ๑
สัญญายตนสัญญา ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข เพราะละสุขและทุกข์ได้ ฯลฯ เป็นชั้นต่ำ ฯลฯ
ชั้นกลาง ฯลฯ ชั้นประณีต ฯลฯ เป็นฉันทาธิปไตย ฯลฯ เป็นวิริยาธิปไตย ฯลฯ
เป็นจิตตาธิปไตย ฯลฯ เป็นวิมังสาธิปไตย ฯลฯ เป็นฉันทาธิปไตยชั้นต่ำ ฯลฯ
ชั้นกลาง ฯลฯ ชั้นประณีต ฯลฯ เป็นวิริยาธิปไตยชั้นต่ำ ฯลฯ ชั้นกลาง ฯลฯ
ชั้นประณีต ฯลฯ เป็นจิตตาธิปไตยชั้นต่ำ ฯลฯ ชั้นกลาง ฯลฯ ชั้นประณีต ฯลฯ
เป็นวิมังสาธิปไตยชั้นต่ำ ฯลฯ ชั้นกลาง ฯลฯ ชั้นประณีต อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น
ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล
อรูปาวจรกุศลจิต จบ

โลกุตตรกุศลจิต
สุทธิกปฏิปทา
มรรคจิตดวงที่ ๑
[๒๗๗] สภาวธรรมที่เป็นกุศล เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคลเจริญฌานที่เป็นโลกุตตระซึ่งเป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ให้
ถึงนิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลาย
บรรลุปฐมฌาน เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา มีวิตก วิจาร ปีติ และสุขอันเกิด
จากวิเวก อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา จิต วิตก วิจาร
ปีติ สุข เอกัคคตา สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์
มนินทรีย์ โสมนัสสินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ อนัญญาตัญญัสสามีตินทรีย์ สัมมาทิฏฐิ
สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ
สัมมาสติ สัมมาสมาธิ สัทธาพละ วิริยพละ สติพละ สมาธิพละ ปัญญาพละ
หิริพละ โอตตัปปพละ อโลภะ อโทสะ อโมหะ อนภิชฌา อัพยาบาท สัมมาทิฏฐิ
หิริ โอตตัปปะ กายปัสสัทธิ จิตตปัสสัทธิ กายลหุตา จิตตลหุตา กายมุทุตา
จิตตมุทุตา กายกัมมัญญตา จิตตกัมมัญญตา กายปาคุญญตา จิตตปาคุญญตา
กายุชุกตา จิตตุชุกตา สติ สัมปชัญญะ สมถะ วิปัสสนา ปัคคาหะ และอวิกเขปะ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๘๙ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๑. จิตตุปปาทกัณฑ์] โลกุตตรกุศลจิต สุทธิกปฏิปทา มรรคจิตดวงที่ ๑
ก็เกิดขึ้น หรือสภาวธรรมที่ไม่เป็นรูปซึ่งอิงอาศัยกันเกิดขึ้นแม้อื่นในสมัยนั้น
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล
[๒๗๘] ผัสสะ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ความกระทบ กิริยาที่กระทบ กิริยาที่ถูกต้อง ภาวะที่ถูกต้อง ในสมัยนั้น
นี้ชื่อว่าผัสสะที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[๒๗๙] เวทนา ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ความสำราญทางใจ ความสุขทางใจ อันเกิดแต่สัมผัสแห่งมโนวิญญาณธาตุที่
เหมาะสมกัน ความเสวยอารมณ์ที่สำราญเป็นสุข อันเกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวย
อารมณ์ที่สำราญเป็นสุข อันเกิดแต่เจโตสัมผัส ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่าเวทนาที่เกิดขึ้น
ในสมัยนั้น
[๒๘๐] สัญญา ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ความจำได้ กิริยาที่จำได้ ภาวะที่จำได้ อันเกิดแต่สัมผัสแห่งมโนวิญญาณธาตุที่
เหมาะสมกัน ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่าสัญญาที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[๒๘๑] เจตนา ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ความจงใจ กิริยาที่จงใจ ภาวะที่จงใจ อันเกิดแต่สัมผัสแห่งมโนวิญญาณธาตุที่
เหมาะสมกัน ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่าเจตนาที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[๒๘๒] จิต ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
จิต มโน มานัส หทัย ปัณฑระ มโน มนายตนะ มนินทรีย์ วิญญาณ
วิญญาณขันธ์ และมโนวิญญาณธาตุที่เหมาะสมกัน ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่าจิตที่เกิดขึ้น
ในสมัยนั้น
[๒๘๓] วิตก ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ความตรึก ความตรึกโดยอาการต่าง ๆ ความดำริ ความที่จิตแนบแน่นในอารมณ์
ความที่จิตแนบสนิทในอารมณ์ ความยกจิตขึ้นสู่อารมณ์ สัมมาสังกัปปะ อัน
เป็นองค์มรรค นับเนื่องในมรรค ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่าวิตกที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[๒๘๔] วิจาร ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๙๐ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๑. จิตตุปปาทกัณฑ์] โลกุตตรกุศลจิต สุทธิกปฏิปทา มรรคจิตดวงที่ ๑
ความตรอง ความพิจารณา ความตามพิจารณา ความเข้าไปพิจารณา ความ
ที่จิตสืบต่ออารมณ์ ความที่จิตเพ่งอารมณ์ ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่าวิจารที่เกิดขึ้นใน
สมัยนั้น
[๒๘๕] ปีติ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ความอิ่มเอิบ ความปราโมทย์ ความยินดีอย่างยิ่ง ความบันเทิง ความร่าเริง
ความรื่นเริง ความปลื้มใจ ความตื่นเต้น ความที่จิตชื่นชมยินดี ปีติสัมโพชฌงค์
ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่าปีติที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[๒๘๖] สุข ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ความสำราญทางใจ ความสุขทางใจ ความเสวยอารมณ์ที่สำราญเป็นสุข
อันเกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่เป็นสุข อันเกิดแต่เจโตสัมผัส ในสมัยนั้น
นี้ชื่อว่าสุขที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[๒๘๗] เอกัคคตา ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ความตั้งอยู่แห่งจิต ความดำรงอยู่ ความตั้งมั่น ความไม่ซัดส่าย ความไม่ฟุ้งซ่าน
ความที่จิตไม่ซัดส่าย สมถะ สมาธินทรีย์ สมาธิพละ สัมมาสมาธิ สมาธิสัมโพชฌงค์
อันเป็นองค์มรรค นับเนื่องในมรรค ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่าเอกัคคตาที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[๒๘๘] สัทธินทรีย์ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ความเชื่อ กิริยาที่เชื่อ ความปลงใจเชื่อ ความเลื่อมใสยิ่ง ศรัทธา สัทธินทรีย์
สัทธาพละ ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่าสัทธินทรีย์ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[๒๘๙] วิริยินทรีย์ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
การปรารภความเพียรทางใจ ความขะมักเขม้น ความบากบั่น ความขวนขวาย
ความพยายาม ความอุตสาหะ ความทนทาน ความเข้มแข็ง ความหมั่น ความ
มุ่งมั่นอย่างไม่ท้อถอย ความไม่ทอดทิ้งฉันทะ ความไม่ทอดทิ้งธุระ ความเอาใจใส่ธุระ
วิริยะ วิริยินทรีย์ วิริยพละ สัมมาวายามะ วิริยสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์มรรค นับ
เนื่องในมรรค ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่าวิริยินทรีย์ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[๒๙๐] สตินทรีย์ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๙๑ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๑. จิตตุปปาทกัณฑ์] โลกุตตรกุศลจิต สุทธิกปฏิปทา มรรคจิตดวงที่ ๑
สติ ความตามระลึก ความหวนระลึก สติ กิริยาที่ระลึก ความทรงจำ ความ
ไม่เลื่อนลอย ความไม่หลงลืม สติ สตินทรีย์ สติพละ สัมมาสติ สติสัมโพชฌงค์
อันเป็นองค์มรรค นับเนื่องในมรรค ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่าสตินทรีย์ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[๒๙๑] สมาธินทรีย์ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ความตั้งอยู่แห่งจิต ความดำรงมั่น ความดำรงอยู่ ความตั้งมั่น ความไม่
ซัดส่าย ความไม่ฟุ้งซ่าน ความที่จิตไม่ซัดส่าย สมถะ สมาธินทรีย์ สมาธิพละ
สัมมาสมาธิ สมาธิสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์มรรค นับเนื่องในมรรค ในสมัยนั้น
นี้ชื่อว่า สมาธินทรีย์ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[๒๙๒] ปัญญินทรีย์ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ปัญญา กิริยาที่รู้จัก ความวิจัย ความเลือกสรร ความวิจัยธรรม ความกำหนด
หมาย ความเข้าไปกำหนด ความเข้าไปกำหนดเฉพาะ ภาวะที่รู้ ภาวะที่ฉลาด ภาวะ
ที่รู้ละเอียด ความรู้อย่างแจ่มแจ้ง ความค้นคิด ความใคร่ครวญ ปัญญาเหมือน
แผ่นดิน ปัญญาเครื่องละกิเลส ปัญญาเครื่องนำทาง ความเห็นแจ้ง ความรู้ดี
ปัญญาเหมือนปฏัก ปัญญา ปัญญินทรีย์ ปัญญาพละ ปัญญาเหมือนศัสตรา ปัญญา
เหมือนปราสาท ความสว่างคือปัญญา แสงสว่างคือปัญญา ปัญญาเหมือนประทีป
ปัญญาเหมือนดวงแก้ว ความไม่หลงงมงาย ความเลือกเฟ้นธรรม สัมมาทิฏฐิ
ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์มรรค นับเนื่องในมรรค ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่า
ปัญญินทรีย์ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[๒๙๓] มนินทรีย์ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
จิต มโน มานัส หทัย ปัณฑระ มโน มนายตนะ มนินทรีย์ วิญญาณ
วิญญาณขันธ์ และมโนวิญญาณธาตุที่เหมาะสมกัน ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่ามนินทรีย์ที่
เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[๒๙๔] โสมนัสสินทรีย์ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ความสำราญทางใจ ความสุขทางใจ ความเสวยอารมณ์ที่สำราญเป็นสุขอัน
เกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่สำราญเป็นสุข อันเกิดแต่เจโตสัมผัส ในสมัย
นั้น นี้ชื่อว่าโสมนัสสินทรีย์ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๙๒ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๑. จิตตุปปาทกัณฑ์] โลกุตตรกุศลจิต สุทธิกปฏิปทา มรรคจิตดวงที่ ๑
[๒๙๕] ชีวิตินทรีย์ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
อายุ ความดำรงอยู่ ความเป็นไป กิริยาที่ให้เป็นไป อาการที่สืบเนื่องกัน ความ
ดำเนินไป ความหล่อเลี้ยง ชีวิต ชีวิตินทรีย์แห่งสภาวธรรมที่ไม่เป็นรูปเหล่านั้น
ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่าชีวิตินทรีย์ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[๒๙๖] อนัญญาตัญญัสสามีตินทรีย์ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ความวิจัย ความเลือกสรร ความวิจัยธรรม ความ
กำหนดหมาย ความเข้าไปกำหนด ความเข้าไปกำหนดเฉพาะ ภาวะที่รู้ ภาวะ
ที่ฉลาด ภาวะที่รู้ละเอียด ความรู้อย่างแจ่มแจ้ง ความค้นคิด ความใคร่ครวญ
ปัญญาเหมือนแผ่นดิน ปัญญาเครื่องทำลายกิเลส ปัญญาเครื่องนำทาง ความ
เห็นแจ้ง ความรู้ดี ปัญญาเหมือนปฏัก ปัญญา ปัญญินทรีย์ ปัญญาพละ ปัญญา
เหมือนศัสตรา ปัญญาเหมือนปราสาท ความสว่างคือปัญญา แสงสว่างคือ
ปัญญา ปัญญาเหมือนประทีป ปัญญาเหมือนดวงแก้ว ความไม่หลงงมงาย ความ
เลือกเฟ้นธรรม สัมมาทิฏฐิ ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์มรรค นับเนื่องในมรรค
เพื่อรู้ธรรมที่ยังไม่เคยรู้ เพื่อเห็นธรรมที่ยังไม่เคยเห็น เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่เคย
บรรลุ เพื่อทราบธรรมที่ยังไม่เคยทราบ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่เคยทำให้แจ้ง
นั้น ๆ ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่าอนัญญาตัญญัสสามีตินทรีย์๑ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[๒๙๗] สัมมาทิฏฐิ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ความวิจัย ความเลือกสรร ความวิจัยธรรม ความกำหนด
หมาย ความเข้าไปกำหนด ความเข้าไปกำหนดเฉพาะ ภาวะที่รู้ ภาวะที่ฉลาด ภาวะ
ที่รู้ละเอียด ความรู้อย่างแจ่มแจ้ง ความค้นคิด ความใคร่ครวญ ปัญญาเหมือน
แผ่นดิน ปัญญาเครื่องทำลายกิเลส ปัญญาเครื่องนำทาง ความเห็นแจ้ง ความรู้ดี
ปัญญาเหมือนปฏัก ปัญญา ปัญญินทรีย์ ปัญญาพละ ปัญญาเหมือนศัสตรา ปัญญา
เหมือนปราสาท ความสว่างคือปัญญา แสงสว่างคือปัญญา ปัญญาเหมือนประทีป
ปัญญาเหมือนดวงแก้ว ความไม่หลงงมงาย ความเลือกเฟ้นธรรม สัมมาทิฏฐิ
ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์มรรค นับเนื่องในมรรค ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่า
สัมมาทิฏฐิ๒ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น

เชิงอรรถ :
๑ อภิ.วิ. ๓๕/๒๒๐/๑๔๘ ๒ อภิ.วิ. ๓๕/๒๐๕/๑๒๕,๒๐๖/๑๒๗,๒๑๑/๑๓๑,๔๙๒/๒๘๕

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๙๓ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๑. จิตตุปปาทกัณฑ์] โลกุตตรกุศลจิต สุทธิกปฏิปทา มรรคจิตดวงที่ ๑
[๒๙๘] สัมมาสังกัปปะ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ความตรึก ความตรึกโดยอาการต่าง ๆ ความดำริ ความที่จิตแนบแน่นใน
อารมณ์ ความที่จิตแนบสนิทในอารมณ์ ความยกจิตขึ้นสู่อารมณ์ สัมมาสังกัปปะ อัน
เป็นองค์มรรค นับเนื่องในมรรค ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่าสัมมาสังกัปปะที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[๒๙๙] สัมมาวาจา ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ความงด ความเว้น ความเว้นขาด เจตนาเป็นเหตุเว้น การไม่ทำ การไม่ประกอบ
การไม่ล่วงละเมิด การไม่ล้ำเขต การกำจัดต้นเหตุแห่งวจีทุจริต ๔ การกล่าววาจา
ชอบ อันเป็นองค์มรรค นับเนื่องในมรรค ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่าสัมมาวาจาที่เกิดขึ้นใน
สมัยนั้น
[๓๐๐] สัมมากัมมันตะ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ความงด ความเว้น ความเว้นขาด เจตนาเป็นเหตุเว้น การไม่ทำ การไม่ประกอบ
การไม่ล่วงละเมิด การไม่ล้ำเขต การกำจัดต้นเหตุแห่งกายทุจริต ๓ การงานชอบ อัน
เป็นองค์มรรค นับเนื่องในมรรค ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่าสัมมากัมมันตะที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[๓๐๑] สัมมาอาชีวะ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ความงด ความเว้น ความเว้นขาด เจตนาเป็นเหตุเว้น การไม่ทำ การไม่ประกอบ
การไม่ล่วงละเมิด การไม่ล้ำเขต การกำจัดต้นเหตุแห่งมิจฉาชีพ การเลี้ยงชีพชอบ อัน
เป็นองค์มรรค นับเนื่องในมรรค ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่าสัมมาอาชีวะที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[๓๐๒] สัมมาวายามะ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
การปรารภความเพียรทางใจ ความขะมักเขม้น ความบากบั่น ความขวนขวาย
ความพยายาม ความอุตสาหะ ความทนทาน ความเข้มแข็ง ความหมั่น ความมุ่งมั่น
อย่างไม่ท้อถอย ความไม่ทอดทิ้งฉันทะ ความไม่ทอดทิ้งธุระ ความเอาใจใส่ธุระ วิริยะ
วิริยินทรีย์ วิริยพละ สัมมาวายามะ วิริยสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์มรรค นับเนื่องใน
มรรค ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่าสัมมาวายามะที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[๓๐๓] สัมมาสติ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๙๔ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๑. จิตตุปปาทกัณฑ์] โลกุตตรกุศลจิต สุทธิกปฏิปทา มรรคจิตดวงที่ ๑
สติ ความตามระลึก ความหวนระลึก สติ กิริยาที่ระลึก ความทรงจำ ความ
ไม่เลื่อนลอย ความไม่หลงลืม สติ สตินทรีย์ สติพละ สัมมาสติ สติสัมโพชฌงค์
อันเป็นองค์มรรคนับเนื่องในมรรค ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่าสัมมาสติ๑ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[๓๐๔] สัมมาสมาธิ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ความตั้งอยู่แห่งจิต ความดำรงอยู่ ความไม่ซัดส่าย ความไม่ฟุ้งซ่าน ความที่
จิตไม่ซัดส่าย สมถะ สมาธินทรีย์ สมาธิพละ สัมมาสมาธิ สมาธิสัมโพชฌงค์ อัน
เป็นองค์มรรค นับเนื่องในมรรค ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่าสัมมาสมาธิ๑ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[๓๐๕] สัทธาพละ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ความเชื่อ กิริยาที่เชื่อ ความปลงใจเชื่อ ความเลื่อมใสยิ่ง ศรัทธา สัทธินทรีย์
สัทธาพละ ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่าสัทธาพละที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[๓๐๖] วิริยพละ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
การปรารภความเพียรทางใจ ความขะมักเขม้น ความบากบั่น ความขวนขวาย
ความพยายาม ความอุตสาหะ ความทนทาน ความเข้มแข็ง ความหมั่น ความ
มุ่งมั่นอย่างไม่ท้อถอย ความไม่ทอดทิ้งฉันทะ ความไม่ทอดทิ้งธุระ ความเอาใจใส่ธุระ
วิริยะ วิริยินทรีย์ วิริยพละ สัมมาวายามะ วิริยสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์มรรค นับ
เนื่องในมรรค ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่าวิริยพละที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[๓๐๗] สติพละ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
สติ ความตามระลึก ความหวนระลึก สติ กิริยาที่ระลึก ความทรงจำ ความ
ไม่เลื่อนลอย ความไม่หลงลืม สติ สตินทรีย์ สติพละ สัมมาสติ สติสัมโพชฌงค์
อันเป็นองค์มรรค นับเนื่องในมรรค ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่าสติพละที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[๓๐๘] สมาธิพละ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ความตั้งอยู่แห่งจิต ความดำรงอยู่ ความตั้งมั่น ความไม่ซัดส่าย ความไม่
ฟุ้งซ่าน ความที่จิตไม่ซัดส่าย สมถะ สมาธินทรีย์ สัมมาสมาธิ สมาธิพละ สมาธิ
สัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์มรรค นับเนื่องในมรรค ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่าสมาธิพละ
ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น

เชิงอรรถ :
๑ อภิ.วิ. ๓๕/๒๑๑/๑๓๑,๔๙๕/๒๘๗

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๙๕ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๑. จิตตุปปาทกัณฑ์] โลกุตตรกุศลจิต สุทธิกปฏิปทา มรรคจิตดวงที่ ๑
[๓๐๙] ปัญญาพละ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ความวิจัย ความเลือกสรร ความวิจัยธรรม ความ
กำหนดหมาย ความเข้าไปกำหนด ความเข้าไปกำหนดเฉพาะ ภาวะที่รู้ ภาวะ
ที่ฉลาด ภาวะที่รู้ละเอียด ความรู้อย่างแจ่มแจ้ง ความค้นคิด ความใคร่ครวญ
ปัญญาเหมือนแผ่นดิน ปัญญาเครื่องทำลายกิเลส ปัญญาเครื่องนำทาง ความ
เห็นแจ้ง ความรู้ดี ปัญญาเหมือนปฏัก ปัญญา ปัญญินทรีย์ ปัญญาพละ ปัญญา
เหมือนศัสตรา ปัญญาเหมือนปราสาท ความสว่างคือปัญญา แสงสว่างคือ
ปัญญา ปัญญาเหมือนประทีป ปัญญาเหมือนดวงแก้ว ความไม่หลงงมงาย ความ
เลือกเฟ้นธรรม สัมมาทิฏฐิ ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์มรรค นับเนื่องใน
มรรค ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่าปัญญาพละที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[๓๑๐] หิริพละ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
กิริยาที่ละอายต่อการประพฤติทุจริตอันเป็นสิ่งที่ควรละอาย กิริยาที่ละอายต่อ
การประกอบสภาวธรรมที่เป็นอกุศลซึ่งเป็นบาป ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่าหิริพละที่เกิด
ขึ้นในสมัยนั้น
[๓๑๑] โอตตัปปพละ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
กิริยาที่เกรงกลัวต่อการประพฤติทุจริตอันเป็นสิ่งที่ควรเกรงกลัว กิริยาที่เกรง
กลัวต่อการประกอบสภาวธรรมที่เป็นอกุศลซึ่งเป็นบาป ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่า
โอตตัปปพละที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[๓๑๒] อโลภะ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ความไม่โลภ กิริยาที่ไม่โลภ ภาวะที่ไม่โลภ ความไม่กำหนัด กิริยาที่ไม่กำหนัด
ภาวะที่ไม่กำหนัด ความไม่เพ่งเล็ง กุศลมูลคืออโลภะ ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่าอโลภะ
ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[๓๑๓] อโทสะ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ความไม่คิดประทุษร้าย กิริยาที่ไม่คิดประทุษร้าย ภาวะที่ไม่คิดประทุษร้าย
ความไม่พยาบาท ความไม่คิดเบียดเบียน กุศลมูลคืออโทสะ ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่า
อโทสะที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๙๖ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๑. จิตตุปปาทกัณฑ์] โลกุตตรกุศลจิต สุทธิกปฏิปทา มรรคจิตดวงที่ ๑
[๓๑๔] อโมหะ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ความวิจัย ความเลือกสรร ความวิจัยธรรม ความ
กำหนดหมาย ความเข้าไปกำหนด ความเข้าไปกำหนดเฉพาะ ภาวะที่รู้ ภาวะ
ที่ฉลาด ภาวะที่รู้ละเอียด ความรู้อย่างแจ่มแจ้ง ความค้นคิด ความใคร่ครวญ
ปัญญาเหมือนแผ่นดิน ปัญญาเครื่องทำลายกิเลส ปัญญาเครื่องนำทาง ความ
เห็นแจ้ง ความรู้ดี ปัญญาเหมือนปฏัก ปัญญา ปัญญินทรีย์ ปัญญาพละ ปัญญา
เหมือนศัสตรา ปัญญาเหมือนปราสาท ความสว่างคือปัญญา แสงสว่างคือ
ปัญญา ปัญญาเหมือนประทีป ปัญญาเหมือนดวงแก้ว ความไม่หลงงมงาย ความ
เลือกเฟ้นธรรม สัมมาทิฏฐิ ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์มรรค นับเนื่องใน
มรรค ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่าอโมหะที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[๓๑๕] อนภิชฌา ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ความไม่โลภ กิริยาที่ไม่โลภ ภาวะที่ไม่โลภ ความไม่กำหนัด กิริยาที่ไม่กำหนัด
ภาวะที่ไม่กำหนัด ความไม่เพ่งเล็ง กุศลมูลคืออโลภะ ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่าอนภิชฌาที่
เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[๓๑๖] อัพยาบาท ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ความไม่คิดประทุษร้าย กิริยาที่ไม่คิดประทุษร้าย ภาวะที่ไม่คิดประทุษร้าย
ความไม่พยาบาท ความไม่คิดเบียดเบียน กุศลมูลคืออโทสะ ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่า
อัพยาบาทที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[๓๑๗] สัมมาทิฏฐิ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ความวิจัย ความเลือกสรร ความวิจัยธรรม ความ
กำหนดหมาย ความเข้าไปกำหนด ความเข้าไปกำหนดเฉพาะ ภาวะที่รู้ ภาวะ
ที่ฉลาด ภาวะที่รู้ละเอียด ความรู้อย่างแจ่มแจ้ง ความค้นคิด ความใคร่ครวญ
ปัญญาเหมือนแผ่นดิน ปัญญาเครื่องทำลายกิเลส ปัญญาเครื่องนำทาง ความ
เห็นแจ้ง ความรู้ดี ปัญญาเหมือนปฏัก ปัญญา ปัญญินทรีย์ ปัญญาพละ ปัญญา
เหมือนศัสตรา ปัญญาเหมือนปราสาท ความสว่างคือปัญญา แสงสว่างคือปัญญา
ปัญญาเหมือนประทีป ปัญญาเหมือนดวงแก้ว ความไม่หลงงมงาย ความเลือกเฟ้น
ธรรม สัมมาทิฏฐิ ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์มรรค นับเนื่องในมรรค
ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่าสัมมาทิฏฐิที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๙๗ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๑. จิตตุปปาทกัณฑ์] โลกุตตรกุศลจิต สุทธิกปฏิปทา มรรคจิตดวงที่ ๑
[๓๑๘] หิริ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
กิริยาที่ละอายต่อการประพฤติทุจริตอันเป็นสิ่งที่ควรละอาย กิริยาที่ละอาย
ต่อการประกอบสภาวธรรมที่เป็นอกุศลซึ่งเป็นบาป ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่าหิริที่เกิดขึ้น
ในสมัยนั้น
[๓๑๙] โอตตัปปะ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
กิริยาที่เกรงกลัวต่อการประพฤติทุจริตอันเป็นสิ่งที่ควรเกรงกลัว กิริยาที่เกรง
กลัวต่อการประกอบสภาวธรรมที่เป็นอกุศลซึ่งเป็นบาป ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่า
โอตตัปปะที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[๓๒๐] กายปัสสัทธิ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ความสงบ ความสงบระงับ กิริยาที่สงบ กิริยาที่สงบระงับ ภาวะที่สงบระงับ
แห่งเวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่า
กายปัสสัทธิที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[๓๒๑] จิตตปัสสัทธิ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ความสงบ ความสงบระงับ กิริยาที่สงบ กิริยาที่สงบระงับ ภาวะที่สงบระงับ
แห่งวิญญาณขันธ์ ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่าจิตตปัสสัทธิที่เกิดขึ้นใน
สมัยนั้น
[๓๒๒] กายลหุตา ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ความเบา ความรวดเร็ว ความไม่เชื่องช้า ความไม่หนักแห่งเวทนาขันธ์
สัญญาขันธ์ และสังขารขันธ์ ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่ากายลหุตาที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[๓๒๓] จิตตลหุตา ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ความเบา ความรวดเร็ว ความไม่เชื่องช้า ความไม่หนักแห่งวิญญาณขันธ์ใน
สมัยนั้น นี้ชื่อว่าจิตตลหุตาที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[๓๒๔] กายมุทุตา ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ความอ่อน ภาวะที่อ่อน ความไม่แข็ง ความไม่กระด้างแห่งเวทนาขันธ์
สัญญาขันธ์ และสังขารขันธ์ ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่ากายมุทุตาที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[๓๒๕] จิตตมุทุตา ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๙๘ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๑. จิตตุปปาทกัณฑ์] โลกุตตรกุศลจิต สุทธิกปฏิปทา มรรคจิตดวงที่ ๑
ความอ่อน ภาวะที่อ่อน ความไม่แข็ง ความไม่กระด้างแห่งวิญญาณขันธ์ใน
สมัยนั้น นี้ชื่อว่าจิตตมุทุตาที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[๓๒๖] กายกัมมัญญตา ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ความควรแก่การงาน กิริยาที่ควรแก่การงาน ภาวะที่ควรแก่การงานแห่ง
เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ และสังขารขันธ์ ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่ากายกัมมัญญตาที่
เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[๓๒๗] จิตตกัมมัญญตา ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ความควรแก่การงาน กิริยาที่ควรแก่การงาน ภาวะที่ควรแก่การงานแห่ง
วิญญาณขันธ์ ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่าจิตตกัมมัญญตาที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[๓๒๘] กายปาคุญญตา ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ความคล่องแคล่ว กิริยาที่คล่องแคล่ว ภาวะที่คล่องแคล่วแห่งเวทนาขันธ์
สัญญาขันธ์ และสังขารขันธ์ ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่ากายปาคุญญตาที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[๓๒๙] จิตตปาคุญญตา ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ความคล่องแคล่ว กิริยาที่คล่องแคล่ว ภาวะที่คล่องแคล่วแห่งวิญญาณขันธ์
ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่าจิตตปาคุญญตาที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[๓๓๐] กายุชุกตา ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ความตรง กิริยาที่ตรง ความไม่คด ความไม่โค้ง ความไม่งอแห่งเวทนาขันธ์
สัญญาขันธ์ และสังขารขันธ์ ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่ากายุชุกตาที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[๓๓๑] จิตตุชุกตา ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ความตรง กิริยาที่ตรง ความไม่คด ความไม่โค้ง ความไม่งอแห่งวิญญาณขันธ์
ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่าจิตตุชุกตาที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[๓๓๒] สติ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
สติ ความตามระลึก ความหวนระลึก สติ กิริยาที่ระลึก ความทรงจำ ความไม่
เลื่อนลอย ความไม่หลงลืม สติ สตินทรีย์ สติพละ สัมมาสติ สติสัมโพชฌงค์ อันเป็น
องค์มรรค นับเนื่องในมรรค ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่าสติที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๙๙ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๑. จิตตุปปาทกัณฑ์] โลกุตตรกุศลจิต สุทธิกปฏิปทา มรรคจิตดวงที่ ๑
[๓๓๓] สัมปชัญญะ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ความวิจัย ความเลือกสรร ความวิจัยธรรม ความ
กำหนดหมาย ความเข้าไปกำหนด ความเข้าไปกำหนดเฉพาะ ภาวะที่รู้ ภาวะ
ที่ฉลาด ภาวะที่รู้ละเอียด ความรู้อย่างแจ่มแจ้ง ความค้นคิด ความใคร่ครวญ
ปัญญาเหมือนแผ่นดิน ปัญญาเครื่องทำลายกิเลส ปัญญาเครื่องนำทาง ความ
เห็นแจ้ง ความรู้ดี ปัญญาเหมือนปฏัก ปัญญา ปัญญินทรีย์ ปัญญาพละ ปัญญา
เหมือนศัสตรา ปัญญาเหมือนปราสาท ความสว่างคือปัญญา แสงสว่างคือปัญญา
ปัญญาเหมือนประทีป ปัญญาเหมือนดวงแก้ว ความไม่หลงงมงาย ความเลือกเฟ้น
ธรรม สัมมาทิฏฐิ ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์มรรค นับเนื่องในมรรค
ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่าสัมปชัญญะที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[๓๓๔] สมถะ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ความตั้งอยู่แห่งจิต ความดำรงอยู่ ความตั้งมั่น ความไม่ซัดส่าย ความไม่
ฟุ้งซ่าน ความที่จิตไม่ซัดส่าย สมถะ สมาธินทรีย์ สมาธิพละ สัมมาสมาธิ สมาธิ
สัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์มรรค นับเนื่องในมรรค ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่าสมถะที่เกิดขึ้น
ในสมัยนั้น
[๓๓๕] วิปัสสนา ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ความวิจัย ความเลือกสรร ความวิจัยธรรม ความ
กำหนดหมาย ความเข้าไปกำหนด ความเข้าไปกำหนดเฉพาะ ภาวะที่รู้ ภาวะ
ที่ฉลาด ภาวะที่รู้ละเอียด ความรู้อย่างแจ่มแจ้ง ความค้นคิด ความใคร่ครวญ
ปัญญาเหมือนแผ่นดิน ปัญญาเครื่องทำลายกิเลส ปัญญาเครื่องนำทาง ความ
เห็นแจ้ง ความรู้ดี ปัญญาเหมือนปฏัก ปัญญา ปัญญินทรีย์ ปัญญาพละ ปัญญา
เหมือนศัสตรา ปัญญาเหมือนปราสาท ความสว่างคือปัญญา แสงสว่างคือปัญญา
ปัญญาเหมือนประทีป ปัญญาเหมือนดวงแก้ว ความไม่หลงงมงาย ความเลือกเฟ้น
ธรรม สัมมาทิฏฐิ ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์มรรค นับเนื่องในมรรค
ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่าวิปัสสนาที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๑๐๐ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๑. จิตตุปปาทกัณฑ์] โลกุตตรกุศลจิต สุทธิกปฏิปทา มรรคจิตดวงที่ ๑
[๓๓๖] ปัคคาหะ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
การปรารภความเพียรทางใจ ความขะมักเขม้น ความบากบั่น ความขวนขวาย
ความพยายาม ความอุตสาหะ ความทนทาน ความเข้มแข็ง ความหมั่น ความ
มุ่งมั่นอย่างไม่ท้อถอย ความไม่ทอดทิ้งฉันทะ ความไม่ทอดทิ้งธุระ ความเอาใจ
ใส่ธุระ วิริยะ วิริยินทรีย์ วิริยพละ สัมมาวายามะ วิริยสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์
มรรค นับเนื่องในมรรค ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่าปัคคาหะที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[๓๓๗] อวิกเขปะ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ความตั้งอยู่แห่งจิต ความดำรงอยู่ ความตั้งมั่น ความไม่ซัดส่าย ความไม่
ฟุ้งซ่าน ความที่จิตไม่ซัดส่าย สมถะ สมาธินทรีย์ สมาธิพละ สัมมาสมาธิ สมาธิ
สัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์มรรค นับเนื่องในมรรค ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่าอวิกเขปะ
ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น หรือสภาวธรรมที่ไม่เป็นรูปซึ่งอิงอาศัยกันเกิดขึ้นแม้อื่นในสมัย
นั้น สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล
ขันธ์ ๔ อายตนะ ๒ ธาตุ ๒ อาหาร ๓ อินทรีย์ ๙ ฌานมีองค์ ๕
มรรคมีองค์ ๘ พละ ๗ เหตุ ๓ ผัสสะ ๑ เวทนา ๑ สัญญา ๑ เจตนา ๑ จิต ๑
เวทนาขันธ์ ๑ สัญญาขันธ์ ๑ สังขารขันธ์ ๑ วิญญาณขันธ์ ๑ มนายตนะ ๑
มนินทรีย์ ๑ มโนวิญญาณธาตุ ๑ ธัมมายตนะ ๑ และธัมมธาตุ ๑ ในสมัยนั้น หรือ
สภาวธรรมที่ไม่เป็นรูปซึ่งอิงอาศัยกันเกิดขึ้นแม้อื่นในสมัยนั้น สภาวธรรมเหล่านี้
ชื่อว่าเป็นกุศล
[๓๓๘] สังขารขันธ์ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ผัสสะ เจตนา วิตก วิจาร ปีติ เอกัคคตา สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์
สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ อนัญญาตัญญัสสามีตินทรีย์ สัมมาทิฏฐิ
สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ
สัมมาสติ สัมมาสมาธิ สัทธาพละ วิริยพละ สติพละ สมาธิพละ ปัญญาพละ
หิริพละ โอตตัปปพละ อโลภะ อโทสะ อโมหะ อนภิชฌา อัพยาบาท สัมมาทิฏฐิ
หิริ โอตตัปปะ กายปัสสัทธิ จิตตปัสสัทธิ กายลหุตา จิตตลหุตา กายมุทุตา
จิตตมุทุตา กายกัมมัญญตา จิตตกัมมัญญตา กายปาคุญญตา จิตตปาคุญญตา
กายุชุกตา จิตตุชุกตา สติ สัมปชัญญะ สมถะ วิปัสสนา ปัคคาหะ และอวิกเขปะ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๑๐๑ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๑. จิตตุปปาทกัณฑ์] โลกุตตรกุศลจิต สุทธิกปฏิปทา มรรคจิตดวงที่ ๑
หรือสภาวธรรมที่ไม่เป็นรูปซึ่งอิงอาศัยกันเกิดขึ้นแม้อื่นในสมัยนั้น เว้นเวทนาขันธ์
สัญญาขันธ์และวิญญาณขันธ์ นี้ชื่อว่าสังขารขันธ์ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น ฯลฯ
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล
[๓๓๙] สภาวธรรมที่เป็นกุศล เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคลเจริญฌานที่เป็นโลกุตตระซึ่งเป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ให้ถึง
นิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน
เป็นทุกขาปฏิปทาขิปปาภิญญา อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ
ก็เกิดขึ้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล
[๓๔๐] สภาวธรรมที่เป็นกุศล เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคลเจริญฌานที่เป็นโลกุตตระซึ่งเป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ให้ถึง
นิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน
เป็นสุขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ
ก็เกิดขึ้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล
[๓๔๑] สภาวธรรมที่เป็นกุศล เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคลเจริญฌานที่เป็นโลกุตตระซึ่งเป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ให้ถึง
นิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน
เป็นสุขาปฏิปทาขิปปาภิญญา อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ
ก็เกิดขึ้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล
[๓๔๒] สภาวธรรมที่เป็นกุศล เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคลเจริญฌานที่เป็นโลกุตตระซึ่งเป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ให้ถึง
นิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น เพราะวิตกวิจารสงบระงับไปแล้ว ฯลฯ
บรรลุ ทุติยฌาน ฯลฯ บรรลุตติยฌาน ฯลฯ บรรลุจตุตถฌาน ฯลฯ บรรลุ
ปฐมฌาน ฯลฯ บรรลุปัญจมฌาน เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา ฯลฯ เป็น
ทุกขาปฏิปทาขิปปาภิญญา ฯลฯ เป็นสุขาปฏิปทาทันธาภิญญา ฯลฯ เป็น
สุขาปฏิปทาขิปปาภิญญา อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น
ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล
สุทธิกปฏิปทา จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๑๐๒ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๑. จิตตุปปาทกัณฑ์] โลกุตตรกุศลจิต สุญญตมูลกปฏิปทา มรรคจิตดวงที่ ๑
สุญญตะ๑
[๓๔๓] สภาวธรรมที่เป็นกุศล เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคลเจริญฌานที่เป็นโลกุตตระซึ่งเป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ให้ถึง
นิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน
อันเป็นสุญญตะ อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น ฯลฯ
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล
[๓๔๔] สภาวธรรมที่เป็นกุศล เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคลเจริญฌานที่เป็นโลกุตตระซึ่งเป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ให้ถึง
นิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น เพราะวิตกวิจารสงบระงับไปแล้ว ฯลฯ
บรรลุทุติยฌาน ฯลฯ บรรลุตติยฌาน ฯลฯ บรรลุจตุตถฌาน ฯลฯ บรรลุ
ปฐมฌาน ฯลฯ บรรลุปัญจมฌานอันเป็นสุญญตะ อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น
ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล
สุญญตะ จบ

สุญญตมูลกปฏิปทา
[๓๔๕] สภาวธรรมที่เป็นกุศล เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคลเจริญฌานที่เป็นโลกุตตระซึ่งเป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ให้ถึง
นิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌานอัน
เป็นสุญญตะ เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ
อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล
[๓๔๖] สภาวธรรมที่เป็นกุศล เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคลเจริญฌานที่เป็นโลกุตตระซึ่งเป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ให้ถึง
นิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌานอัน
เป็นสุญญตะ เป็นทุกขาปฏิปทาขิปปาภิญญา อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ
อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล

เชิงอรรถ :
๑ สุญญตะ เป็นชื่อของมรรคที่สูญจากความยึดมั่นว่ามีตัวตน (อภิ.สงฺ.อ. ๒๘๐)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๑๐๓ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๑. จิตตุปปาทกัณฑ์] โลกุตตรกุศลจิต อัปปณิหิตะ มรรคจิตดวงที่ ๑
[๓๔๗] สภาวธรรมที่เป็นกุศล เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคลเจริญฌานที่เป็นโลกุตตระซึ่งเป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ให้ถึง
นิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌานอัน
เป็นสุญญตะ เป็นสุขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล
[๓๔๘] สภาวธรรมที่เป็นกุศล เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคลเจริญฌานที่เป็นโลกุตตระซึ่งเป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ให้ถึง
นิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌานอัน
เป็นสุญญตะ เป็นสุขาปฏิปทาขิปปาภิญญา อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ
อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล
[๓๔๙] สภาวธรรมที่เป็นกุศล เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคลเจริญฌานที่เป็นโลกุตตระซึ่งเป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ให้ถึง
นิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น เพราะวิตกวิจารสงบระงับไปแล้ว ฯลฯ
บรรลุทุติยฌาน ฯลฯ บรรลุตติยฌาน ฯลฯ บรรลุจตุตถฌาน ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน
ฯลฯ บรรลุปัญจมฌานอันเป็นสุญญตะ เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา ฯลฯ
อันเป็นสุญญตะ เป็นทุกขาปฏิปทาขิปปาภิญญา ฯลฯ อันเป็นสุญญตะ เป็น
สุขาปฏิปทาทันธาภิญญา ฯลฯ อันเป็นสุญญตะ เป็นสุขาปฏิปทาขิปปาภิญญา อยู่
ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้
ชื่อว่าเป็นกุศล
สุญญตมูลกปฏิปทา จบ

อัปปณิหิตะ๑
[๓๕๐] สภาวธรรมที่เป็นกุศล เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคลเจริญฌานที่เป็นโลกุตตระซึ่งเป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ให้ถึง
นิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌานอัน

เชิงอรรถ :
๑ อัปปณิหิตะ เป็นชื่อของมรรคเพราะไม่มีที่ตั้งแห่งตัณหา (อภิ.สงฺ.อ. ๒๗๙)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๑๐๔ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๑. จิตตุปปาทกัณฑ์] โลกุตตรกุศลจิต อัปปณิหิตมูลกปฏิปทา มรรคจิตดวงที่ ๑
เป็นอัปปณิหิตะ อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น ฯลฯ
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล
[๓๕๑] สภาวธรรมที่เป็นกุศล เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคลเจริญฌานที่เป็นโลกุตตระซึ่งเป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ให้ถึง
นิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น เพราะวิตกวิจารสงบระงับไปแล้ว ฯลฯ
บรรลุทุติยฌาน ฯลฯ บรรลุตติยฌาน ฯลฯ บรรลุจตุตถฌาน ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน
ฯลฯ บรรลุปัญจมฌานอันเป็นอัปปณิหิตะ อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ
อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล
อัปปณิหิตะ จบ

อัปปณิหิตมูลกปฏิปทา
[๓๕๒] สภาวธรรมที่เป็นกุศล เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคลเจริญฌานที่เป็นโลกุตตระซึ่งเป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ให้ถึง
นิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌานอัน
เป็นอัปปณิหิตะ เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ
ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล
[๓๕๓] สภาวธรรมที่เป็นกุศล เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคลเจริญฌานที่เป็นโลกุตตระซึ่งเป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ให้ถึง
นิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌานอัน
เป็นอัปปณิหิตะ เป็นทุกขาปฏิปทาขิปปาภิญญา อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ
อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล
[๓๕๔] สภาวธรรมที่เป็นกุศล เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคลเจริญฌานที่เป็นโลกุตตระซึ่งเป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ให้ถึง
นิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌานอัน
เป็นอัปปณิหิตะ เป็นสุขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ
อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๑๐๕ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๑. จิตตุปปาทกัณฑ์] โลกุตตรกุศลจิต มหานัย ๒๐ มรรคจิตดวงที่ ๑
[๓๕๕] สภาวธรรมที่เป็นกุศล เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคลเจริญฌานที่เป็นโลกุตตระซึ่งเป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ให้ถึง
นิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌานอัน
เป็นอัปปณิหิตะ เป็นสุขาปฏิปทาขิปปาภิญญา อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ
อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล
[๓๕๖] สภาวธรรมที่เป็นกุศล เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคลเจริญฌานที่เป็นโลกุตตระซึ่งเป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ให้ถึง
นิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น เพราะวิตกวิจารสงบระงับไปแล้ว ฯลฯ
บรรลุทุติยฌาน ฯลฯ บรรลุตติยฌาน ฯลฯ บรรลุจตุตถฌาน ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน
ฯลฯ บรรลุปัญจมฌานอันเป็นอัปปณิหิตะ เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา ฯลฯ อัน
เป็นอัปปณิหิตะ เป็นทุกขาปฏิปทาขิปปาภิญญา ฯลฯ อันเป็นอัปปณิหิตะ เป็น
สุขาปฏิปทาทันธาภิญญา ฯลฯ อันเป็นอัปปณิหิตะ เป็นสุขาปฏิปทาขิปปาภิญญา
อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้
ชื่อว่าเป็นกุศล
อัปปณิหิตมูลกปฏิปทา จบ

มหานัย ๒๐๑
[๓๕๗] สภาวธรรมที่เป็นกุศล เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคที่เป็นโลกุตตระ ฯลฯ เจริญสติปัฏฐานที่เป็น
โลกุตตระ ฯลฯ เจริญสัมมัปปธานที่เป็นโลกุตตระ ฯลฯ เจริญอิทธิบาทที่เป็น
โลกุตตระ ฯลฯ เจริญอินทรีย์ที่เป็นโลกุตตระ ฯลฯ เจริญพละที่เป็นโลกุตตระ ฯลฯ
เจริญโพชฌงค์ที่เป็นโลกุตตระ ฯลฯ เจริญสัจจะที่เป็นโลกุตตระ ฯลฯ เจริญสมถะที่
เป็นโลกุตตระ ฯลฯ เจริญธรรมที่เป็นโลกุตตระ ฯลฯ เจริญขันธ์ที่เป็นโลกุตตระ ฯลฯ
เจริญอายตนะที่เป็นโลกุตตระ ฯลฯ เจริญธาตุที่เป็นโลกุตตระ ฯลฯ เจริญอาหารที่

เชิงอรรถ :
๑ อภิ.สงฺ.อ. ๒๙๔-๒๙๕

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๑๐๖ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๑. จิตตุปปาทกัณฑ์] โลกุตตรกุศลจิต อธิบดี มรรคจิตดวงที่ ๑
เป็นโลกุตตระ ฯลฯ เจริญผัสสะที่เป็นโลกุตตระ ฯลฯ เจริญเวทนาที่เป็นโลกุตตระ ฯลฯ
เจริญสัญญาที่เป็นโลกุตตระ ฯลฯ เจริญเจตนาที่เป็นโลกุตตระ ฯลฯ เจริญจิตที่เป็น
โลกุตตระ ซึ่งเป็นเหตุออกจากวัฏฏทุกข์ให้ถึงนิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิ
เบื้องต้น สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่
ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้
ชื่อว่าเป็นกุศล
มหานัย ๒๐ จบ

อธิบดี
[๓๕๘] สภาวธรรมที่เป็นกุศล เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคลเจริญฌานที่เป็นโลกุตตระซึ่งเป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ให้ถึง
นิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน
เป็นฉันทาธิปไตย เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา ฯลฯ เป็นวิริยาธิปไตย ฯลฯ
เป็นจิตตาธิปไตย ฯลฯ เป็นวิมังสาธิปไตย อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ
อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล
[๓๕๙] สภาวธรรมที่เป็นกุศล เป็นไฉน
โยคาวจบุคคลเจริญฌานที่เป็นโลกุตตระซึ่งเป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ให้ถึง
นิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น เพราะวิตกวิจารสงบระงับไปแล้ว ฯลฯ
บรรลุทุติยฌาน ฯลฯ บรรลุตติยฌาน ฯลฯ บรรลุจตุตถฌาน ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน
ฯลฯ บรรลุปัญจมฌาน เป็นฉันทาธิปไตย เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา ฯลฯ
เป็นวิริยาธิปไตย ฯลฯ เป็นจิตตาธิปไตย ฯลฯ เป็นวิมังสาธิปไตย ฯลฯ อยู่ใน
สมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า
เป็นกุศล
[๓๖๐] สภาวธรรมที่เป็นกุศล เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคที่เป็นโลกุตตระ ฯลฯ เจริญสติปัฏฐานที่เป็น
โลกุตตระ ฯลฯ เจริญสัมมัปปธานที่เป็นโลกุตตระ ฯลฯ เจริญอิทธิบาทที่เป็น


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๑๐๗ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๑. จิตตุปปาทกัณฑ์] โลกุตตรกุศลจิต มรรคจิตดวงที่ ๓
โลกุตตระ ฯลฯ เจริญอินทรีย์ที่เป็นโลกุตตระ ฯลฯ เจริญพละที่เป็นโลกุตตระ ฯลฯ
เจริญโพชฌงค์ที่เป็นโลกุตตระ ฯลฯ เจริญสัจจะที่เป็นโลกุตตระ ฯลฯ เจริญสมถะ
ที่เป็นโลกุตตระ ฯลฯ เจริญธรรมที่เป็นโลกุตตระ ฯลฯ เจริญขันธ์ที่เป็นโลกุตตระ
ฯลฯ เจริญอายตนะที่เป็นโลกุตตระ ฯลฯ เจริญธาตุที่เป็นโลกุตตระ ฯลฯ เจริญ
อาหารที่เป็นโลกุตตระ ฯลฯ เจริญผัสสะที่เป็นโลกุตตระ ฯลฯ เจริญเวทนาที่เป็น
โลกุตตระ ฯลฯ เจริญสัญญาที่เป็นโลกุตตระ ฯลฯ เจริญเจตนาที่เป็นโลกุตตระ
ฯลฯ เจริญจิตที่เป็นโลกุตตระ อันเป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ให้ถึงนิพพาน เพื่อ
ละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌานอันเป็น
ฉันทาธิปไตย ฯลฯ เป็นวิริยาธิปไตย ฯลฯ เป็นจิตตาธิปไตย ฯลฯ เป็นวิมังสาธิปไตย
อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้
ชื่อว่าเป็นกุศล
อธิบดี จบ

มรรคจิตดวงที่ ๒
[๓๖๑] สภาวธรรมที่เป็นกุศล เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคลเจริญฌานที่เป็นโลกุตตระซึ่งเป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ให้ถึง
นิพพาน เพื่อบรรลุภูมิที่ ๒ เพื่อทำกามราคะและพยาบาทให้เบาบาง สงัดจาก
กาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น
ผัสสะ ฯลฯ อัญญินทรีย์ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า
เป็นกุศล
มรรคจิตดวงที่ ๓
[๓๖๒] สภาวธรรมที่เป็นกุศล เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคลเจริญฌานที่เป็นโลกุตตระซึ่งเป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ให้ถึง
นิพพาน เพื่อบรรลุภูมิที่ ๓ เพื่อละกามราคะและพยาบาทโดยไม่มีส่วนเหลือ สงัด
จากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ในสมัยใด
ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อัญญินทรีย์ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น ฯลฯ สภาวธรรม
เหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๑๐๘ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๑. จิตตุปปาทกัณฑ์] โลกุตตรกุศลจิต มรรคจิตดวงที่ ๔
มรรคจิตดวงที่ ๔
[๓๖๓] สภาวธรรมที่เป็นกุศล เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคลเจริญฌานที่เป็นโลกุตตระซึ่งเป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ให้ถึง
นิพพาน เพื่อบรรลุภูมิที่ ๔ เพื่อละรูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะ และอวิชชา
โดยไม่มีส่วนเหลือ สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน เป็นทุกขาปฏิปทา-
ทันธาภิญญา อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อัญญินทรีย์ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็
เกิดขึ้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล
[๓๖๔] อัญญินทรีย์ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ความวิจัย ความเลือกสรร ความวิจัยธรรม ความ
กำหนดหมาย ความเข้าไปกำหนด ความเข้าไปกำหนดเฉพาะ ภาวะที่รู้ ภาวะ
ที่ฉลาด ภาวะที่รู้ละเอียด ความรู้อย่างแจ่มแจ้ง ความค้นคิด ความใคร่ครวญ
ปัญญาเหมือนแผ่นดิน ปัญญาเครื่องทำลายกิเลส ปัญญาเครื่องนำทาง ความ
เห็นแจ้ง ความรู้ดี ปัญญาเหมือนปฏัก ปัญญา ปัญญินทรีย์ ปัญญาพละ ปัญญา
เหมือนศัสตรา ปัญญาเหมือนปราสาท ความสว่างคือปัญญา แสงสว่างคือปัญญา
ปัญญาเหมือนประทีป ปัญญาเหมือนดวงแก้ว ความไม่หลงงมงาย ความเลือกเฟ้น
ธรรม สัมมาทิฏฐิ ธัมมวิจัยสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์มรรค นับเนื่องในมรรค เพื่อรู้
ธรรมที่รู้แล้ว เพื่อเห็นธรรมที่เห็นแล้ว เพื่อบรรลุธรรมที่บรรลุแล้ว เพื่อทราบธรรม
ที่ทราบแล้ว เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ทำให้แจ้งแล้ว ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่าอัญญินทรีย์๑
ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น หรือสภาวธรรมที่ไม่เป็นรูปซึ่งอิง
อาศัยกันเกิดขึ้นแม้อื่นในสมัยนั้น สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล
โลกุตตรจิต จบ

เชิงอรรถ :
๑ อภิ.วิ. ๓๕/๒๒๑/๑๔๘

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๑๐๙ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๑. จิตตุปปาทกัณฑ์] อกุศลบท อกุศลจิต ๑๒ อกุศลจิตดวงที่ ๑
อกุศลบท
อกุศลจิต ๑๒
อกุศลจิตดวงที่ ๑
[๓๖๕] สภาวธรรมที่เป็นอกุศล เป็นไฉน
จิตที่เป็นอกุศล สหรคตด้วยโสมนัส สัมปยุตด้วยทิฏฐิ มีรูปเป็นอารมณ์ มี
เสียงเป็นอารมณ์ มีกลิ่นเป็นอารมณ์ มีรสเป็นอารมณ์ มีโผฏฐัพพะเป็นอารมณ์
มีธรรมเป็นอารมณ์ หรือปรารภอารมณ์ใดๆ เกิดขึ้นในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ
เวทนา สัญญา เจตนา จิต วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา วิริยินทรีย์ สมาธินทรีย์
มนินทรีย์ โสมนัสสินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ มิจฉาทิฏฐิ มิจฉาสังกัปปะ มิจฉาวายามะ
มิจฉาสมาธิ วิริยพละ สมาธิพละ อหิริกพละ อโนตตัปปพละ โลภะ โมหะ
อภิชฌา มิจฉาทิฏฐิ อหิริกะ อโนตตัปปะ สมถะ ปัคคาหะ และอวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น
หรือสภาวธรรมที่ไม่เป็นรูปซึ่งอิงอาศัยกันเกิดขึ้นแม้อื่นในสมัยนั้น สภาวธรรม
เหล่านี้ชื่อว่าเป็นอกุศล
[๓๖๖] ผัสสะ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ความกระทบ กิริยาที่กระทบ กิริยาที่ถูกต้อง ภาวะที่ถูกต้อง ในสมัยนั้น
นี้ชื่อว่าผัสสะที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[๓๖๗] เวทนา ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ความสำราญทางใจ ความสุขทางใจ อันเกิดแต่สัมผัสแห่งมโนธาตุที่เหมาะ
สมกัน ความเสวยอารมณ์ที่สำราญเป็นสุข อันเกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์
ที่สำราญเป็นสุข อันเกิดแต่เจโตสัมผัส ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่าเวทนาที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[๓๖๘] สัญญา ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ความจำได้ กิริยาที่จำได้ ภาวะที่จำได้ อันเกิดแต่สัมผัสแห่งมโนวิญญาณธาตุ
ที่เหมาะสมกัน ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่าสัญญาที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[๓๖๙] เจตนา ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ความจงใจ กิริยาที่จงใจ ภาวะที่จงใจ อันเกิดแต่สัมผัสแห่งมโนวิญญาณธาตุ
ที่เหมาะสมกัน ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่าเจตนาที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๑๑๐ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๑. จิตตุปปาทกัณฑ์] อกุศลบท อกุศลจิต ๑๒ อกุศลจิตดวงที่ ๑
[๓๗๐] จิต ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
จิต มโน มานัส หทัย ปัณฑระ มโน มนายตนะ มนินทรีย์ วิญญาณ
วิญญาณขันธ์ และมโนวิญญาณธาตุที่เหมาะสมกัน ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่าจิตที่เกิดขึ้น
ในสมัยนั้น
[๓๗๑] วิตก ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ความตรึก ความตรึกโดยอาการต่าง ๆ ความดำริ ความที่จิตแนบแน่นใน
อารมณ์ ความที่จิตแนบสนิทในอารมณ์ ความยกจิตขึ้นสู่อารมณ์ มิจฉาสังกัปปะใน
สมัยนั้น นี้ชื่อว่าวิตกที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[๓๗๒] วิจาร ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ความตรอง ความพิจารณา ความตามพิจารณา ความเข้าไปพิจารณา
ความที่จิตสืบต่ออารมณ์ ความที่จิตเพ่งอารมณ์ ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่าวิจารที่เกิดขึ้น
ในสมัยนั้น
[๓๗๓] ปีติ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ความอิ่มเอิบ ความปราโมทย์ ความยินดีอย่างยิ่ง ความบันเทิง ความร่าเริง
ความรื่นเริง ความปลื้มใจ ความตื่นเต้น ความที่จิตชื่นชมยินดี ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่า
ปีติที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[๓๗๔] สุข ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ความสำราญทางใจ ความสุขทางใจ ความเสวยอารมณ์ที่สำราญเป็นสุข อัน
เกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่สำราญเป็นสุข อันเกิดแต่เจโตสัมผัสในสมัย
นั้น นี้ชื่อว่าสุขที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[๓๗๕] เอกัคคตา ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ความตั้งอยู่แห่งจิต ความดำรงอยู่ ความตั้งมั่น ความไม่ซัดส่าย ความ
ไม่ฟุ้งซ่าน ภาวะที่จิตไม่ซัดส่าย สมถะ สมาธินทรีย์ สมาธิพละ มิจฉาสมาธิ
ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่าเอกัคคตาที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[๓๗๖] วิริยินทรีย์ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๑๑๑ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๑. จิตตุปปาทกัณฑ์] อกุศลบท อกุศลจิต ๑๒ อกุศลจิตดวงที่ ๑
การปรารภความเพียรทางใจ ความขะมักเขม้น ความบากบั่น ความขวนขวาย
ความพยายาม ความอุตสาหะ ความทนทาน ความเข้มแข็ง ความหมั่น ความมุ่ง
มั่นอย่างไม่ท้อถอย ความไม่ทอดทิ้งฉันทะ ความไม่ทอดทิ้งธุระ ความเอาใจใส่ธุระ
วิริยะ วิริยินทรีย์ วิริยพละ มิจฉาวายามะ ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่าวิริยินทรีย์ที่เกิดขึ้นใน
สมัยนั้น
[๓๗๗] สมาธินทรีย์ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ความตั้งอยู่แห่งจิต ความดำรงอยู่ ความตั้งมั่น ความไม่ซัดส่าย ความไม่
ฟุ้งซ่าน ความที่จิตไม่ซัดส่าย สมถะ สมาธินทรีย์ สมาธิพละ มิจฉาสมาธิ ใน
สมัยนั้น นี้ชื่อว่าสมาธินทรีย์ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[๓๗๘] มนินทรีย์ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
จิต มโน มานัส หทัย ปัณฑระ มโน มนายตนะ มนินทรีย์ วิญญาณ
วิญญาณขันธ์ และมโนวิญญาณธาตุที่เหมาะสมกัน ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่ามนินทรีย์ที่
เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[๓๗๙] โสมนัสสินทรีย์ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ความสำราญทางใจ ความสุขทางใจ ความเสวยอารมณ์ที่สำราญเป็นสุขอัน
เกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่สำราญเป็นสุข อันเกิดแต่เจโตสัมผัส ในสมัย
นั้น นี้ชื่อว่าโสมนัสสินทรีย์ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[๓๘๐] ชีวิตินทรีย์ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
อายุ ความดำรงอยู่ ความเป็นไป กิริยาที่ให้เป็นไป อาการที่สืบเนื่องกัน
ความดำเนินไป ความหล่อเลี้ยง ชีวิต ชีวิตินทรีย์แห่งสภาวธรรมที่ไม่เป็นรูปเหล่านั้น
ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่าชีวิตินทรีย์ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[๓๘๑] มิจฉาทิฏฐิ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ทิฏฐิ ความเห็นผิด รกชัฏคือทิฏฐิ กันดารคือทิฏฐิ ความเห็นอันเป็นข้าศึก
ต่อสัมมาทิฏฐิ ความผันแปรแห่งทิฏฐิ สังโยชน์คือทิฏฐิ ความยึดถือ ความยึดมั่น
ความถือผิด ทางชั่ว ทางผิด ภาวะที่ผิด ลัทธิที่เป็นบ่อเกิดแห่งความพินาศ
ความยึดถือโดยคลาดเคลื่อน ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่ามิจฉาทิฏฐิที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๑๑๒ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๑. จิตตุปปาทกัณฑ์] อกุศลบท อกุศลจิต ๑๒ อกุศลจิตดวงที่ ๑
[๓๘๒] มิจฉาสังกัปปะ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ความตรึก ความตรึกโดยอาการต่าง ๆ ความดำริ ความที่จิตแนบแน่นใน
อารมณ์ ความที่จิตแนบสนิทในอารมณ์ ความยกจิตขึ้นสู่อารมณ์ มิจฉาสังกัปปะ
ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่ามิจฉาสังกัปปะที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[๓๘๓] มิจฉาวายามะ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
การปรารภความเพียรทางใจ ความขะมักเขม้น ความบากบั่น ความขวนขวาย
ความพยายาม ความอุตสาหะ ความทนทาน ความเข้มแข็ง ความหมั่น ความ
มุ่งมั่นอย่างไม่ท้อถอย ความไม่ทอดทิ้งฉันทะ ความไม่ทอดทิ้งธุระ ความเอาใจ
ใส่ธุระ วิริยะ วิริยินทรีย์ วิริยพละ มิจฉาวายามะ ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่ามิจฉาวายามะ
ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[๓๘๔] มิจฉาสมาธิ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ความตั้งอยู่แห่งจิต ความดำรงอยู่ ความตั้งมั่น ความไม่ซัดส่าย ความไม่
ฟุ้งซ่าน ความที่จิตไม่ซัดส่าย สมถะ สมาธินทรีย์ สมาธิพละ มิจฉาสมาธิ ในสมัย
นั้น นี้ชื่อว่ามิจฉาสมาธิที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[๓๘๕] วิริยพละ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
การปรารภความเพียรทางใจ ความขะมักเขม้น ความบากบั่น ความขวนขวาย
ความพยายาม ความอุตสาหะ ความทนทาน ความเข้มแข็ง ความหมั่น ความมุ่งมั่น
อย่างไม่ท้อถอย ความไม่ทอดทิ้งฉันทะ ความไม่ทอดทิ้งธุระ ความเอาใจใส่ธุระ วิริยะ
วิริยินทรีย์ วิริยพละ มิจฉาวายามะ ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่าวิริยพละที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[๓๘๖] สมาธิพละ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ความตั้งอยู่แห่งจิต ความดำรงอยู่ ความตั้งมั่น ความไม่ซัดส่าย ความไม่ฟุ้งซ่าน
ความที่จิตไม่ซัดส่าย สมถะ สมาธินทรีย์ สมาธิพละ มิจฉาสมาธิ ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่า
สมาธิพละที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[๓๘๗] อหิริกพละ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
กิริยาที่ไม่ละอายต่อการประพฤติทุจริตอันเป็นสิ่งที่ควรละอาย กิริยาที่
ไม่ละอายต่อการประกอบสภาวธรรมที่เป็นอกุศลซึ่งเป็นบาป ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่า
อหิริกพละที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๑๑๓ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๑. จิตตุปปาทกัณฑ์] อกุศลบท อกุศลจิต ๑๒ อกุศลจิตดวงที่ ๑
[๓๘๘] อโนตตัปปพละ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
กิริยาที่ไม่เกรงกลัวต่อการประพฤติทุจริตอันเป็นสิ่งที่ควรเกรงกลัว กิริยาที่
ไม่เกรงกลัวต่อการประกอบสภาวธรรมที่เป็นอกุศลซึ่งเป็นบาป ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่า
อโนตตัปปพละที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[๓๘๙] โลภะ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ความโลภ กิริยาที่โลภ ภาวะที่โลภ ความกำหนัด กิริยาที่กำหนัด ภาวะที่
กำหนัด ความเพ่งเล็ง อกุศลมูลคือโลภะ ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่าโลภะที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[๓๙๐] โมหะ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ความไม่รู้ ความไม่เห็น ความไม่ตรัสรู้ ความไม่รู้โดยสมควร ความไม่รู้ตาม
ความเป็นจริง ความไม่รู้แจ้งตลอด ความไม่ถือเอาให้ถูกต้อง ความไม่หยั่งลงอย่าง
รอบครอบ ความไม่พินิจ ความไม่พิจารณา การไม่ทำให้ประจักษ์ ความทรามปัญญา
ความโง่เขลา ความไม่รู้ชัด ความหลง ความหลุ่มหลง ความหลงไหล อวิชชา
อวิชโชฆะ อวิชชาโยคะ อวิชชานุสัย ปริยุฏฐานกิเลสคืออวิชชา ลิ่มคืออวิชชา
อกุศลมูลคือโมหะ ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่าโมหะที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[๓๙๑] อภิชฌา ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ความโลภ กิริยาที่โลภ ภาวะที่โลภ ความกำหนัด กิริยาที่กำหนัด ภาวะที่
กำหนัด ความเพ่งเล็ง อกุศลมูลคือโลภะ ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่าอภิชฌาที่เกิดขึ้นใน
สมัยนั้น
[๓๙๒] มิจฉาทิฏฐิ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ทิฏฐิ ความเห็นผิด รกชัฏคือทิฏฐิ กันดารคือทิฏฐิ ความเห็นที่เป็นข้าศึกต่อ
สัมมาทิฏฐิ ความผันแปรแห่งทิฏฐิ สังโยชน์คือทิฏฐิ ความยึดถือ ความยึดมั่น ความ
ตั้งมั่น ความยึดผิด ทางชั่ว ทางผิด ภาวะที่ผิด ลัทธิที่เป็นบ่อเกิดแห่งความพินาศ
ความยึดถือโดยคลาดเคลื่อน ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่ามิจฉาทิฏฐิที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[๓๙๓] อหิริกะ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
กิริยาที่ไม่ละอายต่อการประพฤติทุจริตอันเป็นสิ่งที่ควรละอาย กิริยาที่
ไม่ละอายต่อการประกอบสภาวธรรมที่เป็นอกุศลซึ่งเป็นบาป ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่า
อหิริกะที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๑๑๔ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๑. จิตตุปปาทกัณฑ์] อกุศลบท อกุศลจิต ๑๒ อกุศลจิตดวงที่ ๑
[๓๙๔] อโนตตัปปะ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
กิริยาที่ไม่เกรงกลัวต่อการประพฤติทุจริตอันเป็นสิ่งที่ควรเกรงกลัว กิริยาที่ไม่
เกรงกลัวต่อการประกอบสภาวธรรมที่เป็นอกุศลซึ่งเป็นบาป ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่า
อโนตตัปปะที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[๓๙๕] สมถะ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ความตั้งอยู่แห่งจิต ความดำรงอยู่ ความตั้งมั่น ความไม่ซัดส่าย ความ
ไม่ฟุ้งซ่าน ความที่จิตไม่ซัดส่าย สมถะ สมาธินทรีย์ สมาธิพละ มิจฉาสมาธิ
ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่าสมถะที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[๓๙๖] ปัคคาหะ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
การปรารภความเพียรทางใจ ความขะมักเขม้น ความบากบั่น ความขวนขวาย
ความพยายาม ความอุตสาหะ ความทนทาน ความเข้มแข็ง ความหมั่น ความ
มุ่งมั่นอย่างไม่ท้อถอย ความไม่ทอดทิ้งฉันทะ ความไม่ทอดทิ้งธุระ ความเอาใจ
ใส่ธุระ วิริยะ วิริยินทรีย์ วิริยพละ มิจฉาวายามะ ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่าปัคคาหะ
ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[๓๙๗] อวิกเขปะ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ความตั้งอยู่แห่งจิต ความดำรงอยู่ ความตั้งมั่น ความไม่ซัดส่าย ความไม่
ฟุ้งซ่าน ความที่จิตไม่ซัดส่าย สมถะ สมาธินทรีย์ สมาธิพละ มิจฉาสมาธิ ใน
สมัยนั้น นี้ชื่อว่าอวิกเขปะที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น หรือสภาวธรรมที่ไม่เป็นรูปซึ่งอิง
อาศัยกันเกิดขึ้นแม้อื่นในสมัยนั้น สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นอกุศล
ขันธ์ ๔ อายตนะ ๒ ธาตุ ๒ อาหาร ๓ อินทรีย์ ๕ ฌานมีองค์ ๕
มรรคมีองค์ ๔ พละ ๔ เหตุ ๒ ผัสสะ ๑ ฯลฯ ธัมมายตนะ ๑ และธัมมธาตุ ๑
ในสมัยนั้น หรือสภาวธรรมที่ไม่เป็นรูปซึ่งอิงอาศัยกันเกิดขึ้นแม้อื่น ในสมัยนั้น
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นอกุศล ฯลฯ
[๓๙๘] สังขารขันธ์ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ผัสสะ เจตนา วิตก วิจาร ปีติ เอกัคคตา วิริยินทรีย์ สมาธินทรีย์ มิจฉาทิฏฐิ
มิจฉาสังกัปปะ มิจฉาวายามะ มิจฉาสมาธิ วิริยพละ สมาธิพละ อหิริกพละ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๑๑๕ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๑. จิตตุปปาทกัณฑ์] อกุศลบท อกุศลจิต ๑๒ อกุศลจิตดวงที่ ๓
อโนตตัปปพละ โลภะ โมหะ อภิชฌา มิจฉาทิฏฐิ อหิริกะ อโนตตัปปะ สมถะ
ปัคคาหะ และอวิกเขปะ หรือสภาวธรรมที่ไม่เป็นรูปซึ่งอิงอาศัยกันเกิดขึ้นแม้อื่น
เว้นเวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ และวิญญาณขันธ์ ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่าสังขารขันธ์ที่เกิด
ขึ้นในสมัยนั้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นอกุศล

อกุศลจิตดวงที่ ๒
[๓๙๙] สภาวธรรมที่เป็นอกุศล เป็นไฉน
จิตที่เป็นอกุศลสหรคตด้วยโสมนัส สัมปยุตด้วยทิฏฐิ มีรูปเป็นอารมณ์ ฯลฯ
มีธรรมเป็นอารมณ์ หรือปรารภอารมณ์ใด ๆ เกิดขึ้นโดยมีเหตุชักจูง ในสมัยใด ใน
สมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นอกุศล

อกุศลจิตดวงที่ ๓
[๔๐๐] สภาวธรรมที่เป็นอกุศล เป็นไฉน
จิตที่เป็นอกุศล สหรคตด้วยโสมนัส วิปปยุตจากทิฏฐิ มีรูปเป็นอารมณ์ มี
เสียงเป็นอารมณ์ มีกลิ่นเป็นอารมณ์ มีรสเป็นอารมณ์ มีโผฏฐัพพะเป็นอารมณ์
มีธรรมเป็นอารมณ์ หรือปรารภอารมณ์ใด ๆ เกิดขึ้นในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ
เวทนา สัญญา เจตนา จิต วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา วิริยินทรีย์ สมาธินทรีย์
มนินทรีย์ โสมนัสสินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ มิจฉาสังกัปปะ มิจฉาวายามะ มิจฉาสมาธิ
วิริยพละ สมาธิพละ อหิริกพละ อโนตตัปปพละ โลภะ โมหะ อภิชฌา อหิริกะ
อโนตัปปะ สมถะ ปัคคาหะ และอวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น หรือสภาวธรรมที่ไม่เป็นรูป
ซึ่งอาศัยกันเกิดขึ้นแม้อื่นในสมัยนั้น สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นอกุศล ฯลฯ
ขันธ์ ๔ อายตนะ ๒ ธาตุ ๒ อาหาร ๓ อินทรีย์ ๕ ฌานมีองค์ ๕
มรรคมีองค์ ๓ พละ ๔ เหตุ ๒ ผัสสะ ๑ ฯลฯ ธัมมายตนะ ๑ และธัมมธาตุ ๑
ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น หรือสภาวธรรมที่ไม่เป็นรูป ซึ่งอิงอาศัยกันเกิดขึ้นแม้อื่น
ในสมัยนั้น สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นอกุศล ฯลฯ
[๔๐๑] สังขารขันธ์ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๑๑๖ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๑. จิตตุปปาทกัณฑ์] อกุศลบท อกุศลจิต ๑๒ อกุศลจิตดวงที่ ๕
ผัสสะ เจตนา วิตก วิจาร ปีติ เอกัคคตา วิริยินทรีย์ สมาธินทรีย์ ชีวิตินทรีย์
มิจฉาสังกัปปะ มิจฉาวายามะ มิจฉาสมาธิ วิริยพละ สมาธิพละ อหิริกพละ
อโนตตัปปพละ โลภะ โมหะ อภิชฌา อหิริกะ อโนตตัปปะ สมถะ ปัคคาหะ และ
อวิกเขปะ หรือสภาวธรรมที่ไม่เป็นรูปซึ่งอิงอาศัยกันเกิดขึ้นแม้อื่นในสมัยนั้น เว้น
เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ และวิญญาณขันธ์ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น นี้ชื่อว่าสังขารขันธ์
ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นอกุศล

อกุศลจิตดวงที่ ๔
[๔๐๒] สภาวธรรมที่เป็นอกุศล เป็นไฉน
จิตที่เป็นอกุศล สหรคตด้วยโสมนัส วิปปยุตจากทิฏฐิ มีรูปเป็นอารมณ์ ฯลฯ
มีธรรมเป็นอารมณ์ หรือปรารภอารมณ์ใด ๆ เกิดขึ้นโดยมีเหตุชักจูงในสมัยใด ใน
สมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นอกุศล

อกุศลจิตดวงที่ ๕
[๔๐๓] สภาวธรรมที่เป็นอกุศล เป็นไฉน
จิตที่เป็นอกุศล สหรคตด้วยอุเบกขา สัมปยุตด้วยทิฏฐิ มีรูปเป็นอารมณ์ มี
เสียงเป็นอารมณ์ มีกลิ่นเป็นอารมณ์ มีรสเป็นอารมณ์ มีโผฏฐัพพะเป็นอารมณ์ มี
ธรรมเป็นอารมณ์ หรือปรารภอารมณ์ใด ๆ เกิดขึ้นในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ
เวทนา สัญญา เจตนา จิต วิตก วิจาร อุเบกขา เอกัคคตา วิริยินทรีย์ สมาธินทรีย์
มนินทรีย์ อุเปกขินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ มิจฉาทิฏฐิ มิจฉาสังกัปปะ มิจฉาวายามะ
มิจฉาสมาธิ วิริยพละ สมาธิพละ อหิริกพละ อโนตตัปปพละ โลภะ โมหะ อภิชฌา
มิจฉาทิฏฐิ อหิริกะ อโนตตัปปะ สมถะ ปัคคาหะ และอวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น หรือ
สภาวธรรมที่ไม่เป็นรูปซึ่งอิงอาศัยกันเกิดขึ้นแม้อื่นในสมัยนั้น สภาวธรรมเหล่านี้
ชื่อว่าเป็นอกุศล
[๔๐๔] ผัสสะ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ความกระทบ กิริยาที่กระทบ กิริยาที่ถูกต้อง ภาวะที่ถูกต้องที่เกิดขึ้น
ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่าผัสสะที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๑๑๗ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๑. จิตตุปปาทกัณฑ์] อกุศลบท อกุศลจิต ๑๒ อกุศลจิตดวงที่ ๕
[๔๐๕] เวทนา ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ความสำราญทางใจก็ไม่ใช่ ความไม่สำราญทางใจก็ไม่ใช่ อันเกิดแต่สัมผัสแห่ง
มโนวิญญาณธาตุที่เหมาะสมกัน ความเสวยอารมณ์ที่ไม่ทุกข์ไม่สุข อันเกิดแต่
เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่ไม่ทุกข์ไม่สุข อันเกิดแต่เจโตสัมผัส ในสมัยนั้น
นี้ชื่อว่าเวทนาที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[๔๐๖] อุเบกขา ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ความสำราญทางใจก็ไม่ใช่ ความไม่สำราญทางใจก็ไม่ใช่ ความเสวยอารมณ์ที่
ไม่ทุกข์ไม่สุข อันเกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่ไม่ทุกข์ไม่สุข อันเกิดแต่
เจโตสัมผัส ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่าอุเบกขาที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[๔๐๗] อุเปกขินทรีย์ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ความสำราญทางใจก็ไม่ใช่ ความไม่สำราญทางใจก็ไม่ใช่ ความเสวยอารมณ์
ที่ไม่ทุกข์ไม่สุข อันเกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่ไม่ทุกข์ไม่สุข อันเกิดแต่
เจโตสัมผัส ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่าอุเปกขินทรีย์ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น ฯลฯ หรือ
สภาวธรรมที่ไม่เป็นรูปซึ่งอิงอาศัยกันเกิดขึ้นแม้อื่นในสมัยนั้น สภาวธรรมเหล่านี้
ชื่อว่าเป็นอกุศล
ขันธ์ ๔ อายตนะ ๒ ธาตุ ๒ อาหาร ๓ อินทรีย์ ๕ ฌานมีองค์ ๔ มรรคมี
องค์ ๔ พละ ๔ เหตุ ๒ ผัสสะ ๑ ฯลฯ ธัมมายตนะ ๑ และธัมมธาตุ ๑ ใน
สมัยนั้น หรือสภาวธรรมที่ไม่เป็นรูปซึ่งอิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นในสมัยนั้น สภาวธรรม
เหล่านี้ชื่อว่าเป็นอกุศล ฯลฯ
[๔๐๘] สังขารขันธ์ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ผัสสะ เจตนา วิตก วิจาร เอกัคคตา วิริยินทรีย์ สมาธินทรีย์ ชีวิตินทรีย์
มิจฉาทิฏฐิ มิจฉาสังกัปปะ มิจฉาวายามะ มิจฉาสมาธิ วิริยพละ สมาธิพละ
อหิริกพละ อโนตตัปปพละ โลภะ โมหะ อภิชฌา มิจฉาทิฏฐิ อหิริกะ อโนตตัปปะ
สมถะ ปัคคาหะ และอวิกเขปะ หรือสภาวธรรมที่ไม่เป็นรูปซึ่งอิงอาศัยกันเกิดขึ้นแม้
อื่น เว้นเวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ และวิญญาณขันธ์ที่เกิดขึ้น ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่า
สังขารขันธ์ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นอกุศล

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๑๑๘ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๑. จิตตุปปาทกัณฑ์] อกุศลบท อกุศลจิต ๑๒ อกุศลจิตดวงที่ ๗
อกุศลจิตดวงที่ ๖
[๔๐๙] สภาวธรรมที่เป็นอกุศล เป็นไฉน
จิตที่เป็นอกุศล สหรคตด้วยอุเบกขา สัมปยุตด้วยทิฏฐิ มีรูปเป็นอารมณ์ ฯลฯ
มีธรรมเป็นอารมณ์ หรือปรารภอารมณ์ใด ๆ เกิดขึ้นโดยมีเหตุชักจูงในสมัยใด ใน
สมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นอกุศล

อกุศลจิตดวงที่ ๗
[๔๑๐] สภาวธรรมที่เป็นอกุศล เป็นไฉน
จิตที่เป็นอกุศล สหรคตด้วยอุเบกขา วิปปยุตจากทิฏฐิ มีรูปเป็นอารมณ์ มี
เสียงเป็นอารมณ์ มีกลิ่นเป็นอารมณ์ มีรสเป็นอารมณ์ มีโผฏฐัพพะเป็นอารมณ์ มี
ธรรมเป็นอารมณ์ หรือปรารภอารมณ์ใด ๆ เกิดขึ้นในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ
เวทนา สัญญา เจตนา จิต วิตก วิจาร อุเบกขา เอกัคคตา วิริยินทรีย์ สมาธินทรีย์
มนินทรีย์ อุเปกขินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ มิจฉาสังกัปปะ มิจฉาวายามะ มิจฉาสมาธิ
วิริยพละ สมาธิพละ อหิริกพละ อโนตตัปปพละ โลภะ โมหะ อภิชฌา อหิริกะ
อโนตตัปปะ สมถะ ปัคคาหะ และอวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น หรือสภาวธรรมที่ไม่เป็นรูปซึ่ง
อิงอาศัยกันเกิดขึ้นแม้อื่นในสมัยนั้น สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นอกุศล ฯลฯ
ขันธ์ ๔ อายตนะ ๒ ธาตุ ๒ อาหาร ๓ อินทรีย์ ๕ ฌานมีองค์ ๔ มรรคมี
องค์ ๓ พละ ๔ เหตุ ๒ ผัสสะ ๑ ฯลฯ ธัมมายตนะ ๑ และธัมมธาตุ ๑ ในสมัย
นั้น หรือสภาวธรรมที่ไม่เป็นรูปซึ่งอิงอาศัยกันเกิดขึ้นแม้อื่นในสมัยนั้น สภาวธรรม
เหล่านี้ชื่อว่าเป็นอกุศล ฯลฯ
[๔๑๑] สังขารขันธ์ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ผัสสะ เจตนา วิตก วิจาร เอกัคคตา วิริยินทรีย์ สมาธินทรีย์ ชีวิตินทรีย์
มิจฉาสังกัปปะ มิจฉาวายามะ มิจฉาสมาธิ วิริยพละ สมาธิพละ อหิริกพละ
อโนตตัปปพละ โลภะ โมหะ อภิชฌา อหิริกะ อโนตตัปปะ สมถะ ปัคคาหะ และ
อวิกเขปะ หรือสภาวธรรมที่ไม่เป็นรูปซึ่งอิงอาศัยกันเกิดขึ้นแม้อื่นในสมัยนั้น เว้น
เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ และวิญญาณขันธ์ นี้ชื่อว่าสังขารขันธ์ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นอกุศล ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๑๑๙ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๑. จิตตุปปาทกัณฑ์] อกุศลบท อกุศลจิต ๑๒ อกุศลจิตดวงที่ ๙
อกุศลจิตดวงที่ ๘
[๔๑๒] สภาวธรรมที่เป็นอกุศล เป็นไฉน
จิตที่เป็นอกุศล สหรคตด้วยอุเบกขา วิปปยุตจากทิฏฐิ มีรูปเป็นอารมณ์ ฯลฯ
มีธรรมเป็นอารมณ์ หรือปรารภอารมณ์ใด ๆ เกิดขึ้น โดยมีเหตุชักจูงในสมัยใด ในสมัย
นั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นอกุศล ฯลฯ

อกุศลจิตดวงที่ ๙
[๔๑๓] สภาวธรรมที่เป็นอกุศล เป็นไฉน
จิตที่เป็นอกุศล สหรคตด้วยโทมนัส สัมปยุตด้วยปฏิฆะ มีรูปเป็นอารมณ์ มี
เสียงเป็นอารมณ์ มีกลิ่นเป็นอารมณ์ มีรสเป็นอารมณ์ มีโผฏฐัพพะเป็นอารมณ์ มี
ธรรมเป็นอารมณ์ หรือปรารภอารมณ์ใด ๆ เกิดขึ้นในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ
เวทนา สัญญา เจตนา จิต วิตก วิจาร ทุกข์ เอกัคคตา วิริยินทรีย์ สมาธินทรีย์
มนินทรีย์ โทมนัสสินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ มิจฉาสังกัปปะ มิจฉาวายามะ มิจฉาสมาธิ
วิริยพละ สมาธิพละ อหิริกพละ อโนตตัปปพละ โทสะ โมหะ พยาบาท อหิริกะ
อโนตตัปปะ สมถะ ปัคคาหะ และอวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น หรือสภาวธรรมที่ไม่เป็นรูป
ซึ่งอิงอาศัยกันเกิดขึ้นแม้อื่นในสมัยนั้น สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นอกุศล
[๔๑๔] ผัสสะ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ความกระทบ กิริยาที่กระทบ กิริยาที่ถูกต้อง ภาวะที่ถูกต้อง ในสมัยนั้น
นี้ชื่อว่าผัสสะที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[๔๑๕] เวทนา ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ความไม่สำราญทางใจ ความทุกข์ทางใจ อันเกิดแต่สัมผัสแห่งมโนวิญญาณธาตุ
ที่เหมาะสมกัน ความเสวยอารมณ์ที่ไม่สำราญเป็นทุกข์ อันเกิดแต่เจโตสัมผัส
กิริยาเสวยอารมณ์ที่ไม่สำราญเป็นทุกข์ อันเกิดแต่เจโตสัมผัส ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่า
เวทนาที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น ฯลฯ
[๔๑๖] ทุกข์ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ความไม่สำราญทางใจ ความทุกข์ทางใจ ความเสวยอารมณ์ที่ไม่สำราญเป็น
ทุกข์ อันเกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่ไม่สำราญเป็นทุกข์ อันเกิดแต่
เจโตสัมผัส ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่าทุกข์ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๑๒๐ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๑. จิตตุปปาทกัณฑ์] อกุศลบท อกุศลจิต ๑๒ อกุศลจิตดวงที่ ๙
[๔๑๗] โทมนัสสินทรีย์ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ความไม่สำราญทางใจ ความทุกข์ทางใจ ความเสวยอารมณ์ที่ไม่สำราญเป็น
ทุกข์ อันเกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่ไม่สำราญเป็นทุกข์ อันเกิดแต่
เจโตสัมผัส ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่าโทมนัสสินทรีย์ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น ฯลฯ
[๔๑๘] โทสะ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ความคิดประทุษร้าย กิริยาที่คิดประทุษร้าย ภาวะที่คิดประทุษร้าย ความคิด
ปองร้าย กิริยาที่คิดปองร้าย ความพิโรธ ความพิโรธตอบ ความดุร้าย ความ
เกรี้ยวกราด ความที่จิตไม่แช่มชื่น ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่าโทสะที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น ฯลฯ
[๔๑๙] พยาบาท ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ความคิดประทุษร้าย กิริยาที่คิดประทุษร้าย ภาวะที่คิดประทุษร้าย ความคิด
ปองร้าย กิริยาที่คิดปองร้าย ความพิโรธ ความพิโรธตอบ ความดุร้าย ความ
เกรี้ยวกราด ความที่จิตไม่แช่มชื่น ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่าพยาบาทที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
ฯลฯ หรือสภาวธรรมที่ไม่เป็นรูปซึ่งอิงอาศัยกันเกิดขึ้นแม้อื่นในสมัยนั้น สภาวธรรม
เหล่านี้ชื่อว่าเป็นอกุศล
ขันธ์ ๔ อายตนะ ๒ ธาตุ ๒ อาหาร ๓ อินทรีย์ ๕ ฌานมีองค์ ๔ มรรคมีองค์
๓ พละ ๔ เหตุ ๒ ผัสสะ ๑ ฯลฯ ธัมมายตนะ ๑ และธัมมธาตุ ๑ ในสมัยนั้น หรือ
สภาวธรรมที่ไม่เป็นรูปซึ่งอิงอาศัยกันเกิดขึ้นแม้อื่นในสมัยนั้น สภาวธรรมเหล่านี้
ชื่อว่าเป็นอกุศล ฯลฯ
[๔๒๐] สังขารขันธ์ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ผัสสะ เจตนา วิตก เอกัคคตา วิริยินทรีย์ สมาธินทรีย์ ชีวิตินทรีย์
มิจฉาสังกัปปะ มิจฉาวายามะ มิจฉาสมาธิ วิริยพละ สมาธิพละ อหิริกพละ
อโนตตัปปพละ โทสะ โมหะ พยาบาท อหิริกะ อโนตตัปปะ สมถะ ปัคคาหะ และ
อวิกเขปะ หรือสภาวธรรมที่ไม่เป็นรูปซึ่งอิงอาศัยกันเกิดขึ้นแม้อื่นในสมัยนั้น เว้น
เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ และวิญญาณขันธ์ นี้ชื่อว่าสังขารขันธ์ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นอกุศล ฯลฯ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๑๒๑ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๑. จิตตุปปาทกัณฑ์] อกุศลบท อกุศลจิต ๑๒ อกุศลจิตดวงที่ ๑๑
อกุศลจิตดวงที่ ๑๐
[๔๒๑] สภาวธรรมที่เป็นอกุศล เป็นไฉน
จิตที่เป็นอกุศล สหรคตด้วยโทมนัส สัมปยุตด้วยปฏิฆะ มีรูปเป็นอารมณ์
ฯลฯ มีธรรมเป็นอารมณ์ หรือปรารภอารมณ์ใด ๆ เกิดขึ้นโดยมีเหตุชักจูงในสมัยใด
ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็น
อกุศล ฯลฯ

อกุศลจิตดวงที่ ๑๑
[๔๒๒] สภาวธรรมที่เป็นอกุศล เป็นไฉน
จิตที่เป็นอกุศลสหรคตด้วยอุเบกขา สัมปยุตด้วยวิจิกิจฉา มีรูปเป็นอารมณ์
มีเสียงเป็นอารมณ์ มีกลิ่นเป็นอารมณ์ มีรสเป็นอารมณ์ มีโผฏฐัพพะเป็นอารมณ์
มีธรรมเป็นอารมณ์ หรือปรารภอารมณ์ใด ๆ เกิดขึ้นในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ
เวทนา สัญญา เจตนา จิต วิตก วิจาร อุเบกขา เอกัคคตา วิริยินทรีย์ มนินทรีย์
อุเปกขินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ มิจฉาสังกัปปะ มิจฉาวายามะ วิริยพละ อหิริกพละ
อโนตตัปปพละ วิจิกิจฉา โมหะ อหิริกะ อโนตตัปปะ และปัคคาหะ ก็เกิดขึ้น หรือ
สภาวธรรมที่ไม่เป็นรูปซึ่งอิงอาศัยกันเกิดขึ้นแม้อื่นในสมัยนั้น สภาวธรรมเหล่านี้
ชื่อว่าเป็นอกุศล
[๔๒๓] ผัสสะ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ความกระทบ กิริยาที่กระทบ กิริยาที่ถูกต้อง ภาวะที่ถูกต้อง ที่เกิดขึ้นใน
สมัยนั้น นี้ชื่อว่าผัสสะที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น ฯลฯ
[๔๒๔] เอกัคคตา ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ความตั้งอยู่แห่งจิต ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่าเอกัคคตาที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[๔๒๕] วิจิกิจฉา ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ความเคลือบแคลง กิริยาที่เคลือบแคลง ภาวะที่เคลือบแคลง ความคิดเห็น
ไปต่าง ๆ ความตัดสินอารมณ์ไม่ได้ ความเห็นเป็นสองอย่าง ความเห็นเหมือนทาง
สองแพร่ง ความสงสัย ความไม่สามารถถือเอาโดยส่วนเดียวได้ ความคิดส่ายไป

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๑๒๒ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๑. จิตตุปปาทกัณฑ์] อกุศลบท อกุศลจิต ๑๒ อกุศลจิตดวงที่ ๑๒
ความคิดพร่าไป ความไม่สามารถหยั่งลงถือเอาเป็นยุติได้ ความกระด้างแห่งจิต
ความลังเล ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่าวิจิกิจฉา๑ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น ฯลฯ หรือสภาวธรรม
ที่ไม่เป็นรูปซึ่งอิงอาศัยกันเกิดขึ้นแม้อื่นในสมัยนั้น สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็น
อกุศล
ขันธ์ ๔ อายตนะ ๒ ธาตุ ๒ อาหาร ๓ อินทรีย์ ๔ ฌานมีองค์ ๔
มรรคมีองค์ ๒ พละ ๓ เหตุ ๑ ผัสสะ ๑ ฯลฯ ธัมมายตนะ ๑ และธัมมธาตุ ๑
ในสมัยนั้น หรือสภาวธรรมที่ไม่เป็นรูปซึ่งอิงอาศัยกันเกิดขึ้นแม้อื่นในสมัยนั้น
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นอกุศล ฯลฯ
[๔๒๖] สังขารขันธ์ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ผัสสะ เจตนา วิตก วิจาร เอกัคคตา วิริยินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ มิจฉาสังกัปปะ
มิจฉาวายามะ วิริยพละ อหิริกพละ อโนตตัปปพละ วิจิกิจฉา โมหะ อหิริกะ
อโนตตัปปะ และปัคคาหะ หรือสภาวธรรมที่ไม่เป็นรูป ซึ่งอิงอาศัยกันเกิดขึ้นแม้
อื่นในสมัยนั้น เว้นเวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ และวิญญาณขันธ์ นี้ชื่อว่าสังขารขันธ์
ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นอกุศล

อกุศลจิตดวงที่ ๑๒
[๔๒๗] สภาวธรรมที่เป็นอกุศล เป็นไฉน
จิตที่เป็นอกุศล สหรคตด้วยอุเบกขา สัมปยุตด้วยอุทธัจจะ มีรูปเป็นอารมณ์
มีเสียงเป็นอารมณ์ มีกลิ่นเป็นอารมณ์ มีรสเป็นอารมณ์ มีโผฏฐัพพะเป็นอารมณ์
มีธรรมเป็นอารมณ์ หรือปรารภอารมณ์ใด ๆ เกิดขึ้นในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ
เวทนา สัญญา เจตนา จิต วิตก วิจาร อุเบกขา เอกัคคตา วิริยินทรีย์ สมาธินทรีย์
มนินทรีย์ อุเปกขินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ มิจฉาสังกัปปะ มิจฉาวายามะ มิจฉาสมาธิ
วิริยพละ สมาธิพละ อหิริกพละ อโนตตัปปพละ อุทธัจจะ โมหะ อหิริกะ
อโนตตัปปะ สมถะ ปัคคาหะ และอวิกเขปะ หรือสภาวธรรมที่ไม่เป็นรูปซึ่งอิงอาศัย
กันเกิดขึ้นแม้อื่นในสมัยนั้น สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นอกุศล

เชิงอรรถ :
๑ อภิ.วิ. ๓๕/๒๘๙/๑๙๙

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๑๒๓ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๑. จิตตุปปาทกัณฑ์] อัพยากตบท กามาวจรวิปากจิต ปัญจวิญญาณที่เป็นกุศลวิบาก
[๔๒๘] ผัสสะ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ความกระทบ กิริยาที่กระทบ กิริยาที่ถูกต้อง ภาวะที่ถูกต้อง ที่เกิดขึ้นในสมัย
นั้น นี้ชื่อว่าผัสสะที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น ฯลฯ
[๔๒๙] อุทธัจจะ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ความฟุ้งซ่านแห่งจิต ความไม่สงบ ความวุ่นวายใจ ความพล่านแห่งจิต ในสมัย
นั้น นี้ชื่อว่าอุทธัจจะที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น ฯลฯ หรือสภาวธรรมที่ไม่เป็นรูปซึ่งอิง
อาศัยกันเกิดขึ้นแม้อื่นในสมัยนั้น สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นอกุศล
ขันธ์ ๔ อายตนะ ๒ ธาตุ ๒ อาหาร ๓ อินทรีย์ ๕ ฌานมีองค์ ๔ มรรค
มีองค์ ๓ พละ ๔ เหตุ ๑ ผัสสะ ๑ ฯลฯ ธัมมายตนะ ๑ และธัมมธาตุ ๑ ในสมัยนั้น
หรือ สภาวธรรมที่ไม่เป็นรูปซึ่งอาศัยกันเกิดขึ้นแม้อื่นในสมัยนั้น สภาวธรรมเหล่านี้
ชื่อว่าเป็นอกุศล ฯลฯ
[๔๓๐] สังขารขันธ์ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ผัสสะ เจตนา วิตก วิจาร เอกัคคตา วิริยินทรีย์ สมาธินทรีย์ ชีวิตินทรีย์
มิจฉาสังกัปปะ มิจฉาวายามะ มิจฉาสมาธิ วิริยพละ สมาธิพละ อหิริกพละ
อโนตตัปปพละ อุทธัจจะ โมหะ อหิริกะ อโนตตัปปะ สมถะ ปัคคาหะ และอวิกเขปะ
หรือสภาวธรรมที่ไม่เป็นรูปซึ่งอิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่น ในสมัยนั้น เว้นเวทนาขันธ์
สัญญาขันธ์ และวิญญาณขันธ์ นี้ชื่อว่าสังขารขันธ์ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น ฯลฯ
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นอกุศล
อกุศลจิต ๑๒ จบ

อัพยากตบท
กามาวจรวิปากจิต
ปัญจวิญญาณที่เป็นกุศลวิบาก
[๔๓๑] สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤต เป็นไฉน
จักขุวิญญาณที่เป็นวิบาก สหรคตด้วยอุเบกขา มีรูปเป็นอารมณ์ เกิดขึ้น
เพราะได้ทำได้สั่งสมกามาวจรกุศลกรรมไว้แล้วในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ เวทนา


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๑๒๔ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๑. จิตตุปปาทกัณฑ์] อัพยากตบท กามาวจรวิปากจิต ปัญจวิญญาณที่เป็นกุศลวิบาก
สัญญา เจตนา จิต อุเบกขา เอกัคคตา มนินทรีย์ อุเปกขินทรีย์ และชีวิตินทรีย์
ก็เกิดขึ้น หรือสภาวธรรมที่ไม่เป็นรูปซึ่งอิงอาศัยกันเกิดขึ้นแม้อื่นในสมัยนั้น
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นอัพยากฤต
[๔๓๒] ผัสสะ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ความกระทบ กิริยาที่กระทบ กิริยาที่ถูกต้อง ภาวะที่ถูกต้องที่เกิดขึ้นในสมัย
นั้น นี้ชื่อว่าผัสสะที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[๔๓๓] เวทนา ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ความสำราญทางใจก็ไม่ใช่ ความไม่สำราญทางใจก็ไม่ใช่ อันเกิดแต่สัมผัส
แห่งจักขุวิญญาณธาตุที่เหมาะสมกัน ความเสวยอารมณ์ที่ไม่ทุกข์ไม่สุข อันเกิดแต่
เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่ไม่ทุกข์ไม่สุข อันเกิดแต่เจโตสัมผัส ในสมัยนั้น
นี้ชื่อว่าเวทนาที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[๔๓๔] สัญญา ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ความจำได้ กิริยาที่จำได้ ภาวะที่จำได้ อันเกิดแต่สัมผัสแห่งจักขุวิญญาณธาตุ
ที่เหมาะสมกัน ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่าสัญญาที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[๔๓๕] เจตนา ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ความจงใจ กิริยาที่จงใจ ภาวะที่จงใจ อันเกิดแต่สัมผัสแห่งจักขุวิญญาณธาตุ
ที่เหมาะสมกัน ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่าเจตนาที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[๔๓๖] จิต ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
จิต มโน มานัส หทัย ปัณฑระ มโน มนายตนะ มนินทรีย์ วิญญาณ
วิญญาณขันธ์ และมโนวิญญาณธาตุที่เหมาะสมกัน ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่าจิตที่เกิดขึ้น
ในสมัยนั้น
[๔๓๗] อุเบกขา ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ความสำราญทางใจก็ไม่ใช่ ความไม่สำราญทางใจก็ไม่ใช่ ความเสวยอารมณ์ที่
ไม่ทุกข์ไม่สุข อันเกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่ไม่ทุกข์ไม่สุข อันเกิดแต่
เจโตสัมผัส ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่าอุเบกขาที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[๔๓๘] เอกัคคตา ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ความตั้งอยู่แห่งจิต ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่าเอกัคคตาที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๑๒๕ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๑. จิตตุปปาทกัณฑ์] อัพยากตบท กามาวจรวิปากจิต ปัญจวิญญาณที่เป็นกุศลวิบาก
[๔๓๙] มนินทรีย์ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
จิต มโน มานัส หทัย ปัณฑระ มโน มนายตนะ มนินทรีย์ วิญญาณ
วิญญาณขันธ์ และมโนวิญญาณธาตุที่เหมาะสมกัน ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่ามนินทรีย์
ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[๔๔๐] อุเปกขินทรีย์ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ความสำราญทางใจก็ไม่ใช่ ความไม่สำราญทางใจก็ไม่ใช่ ความเสวยอารมณ์ที่
ไม่ทุกข์ไม่สุข อันเกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่ไม่ทุกข์ไม่สุข อันเกิดแต่
เจโตสัมผัส ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่าอุเปกขินทรีย์ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[๔๔๑] ชีวิตินทรีย์ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
อายุ ความดำรงอยู่ ความเป็นไป กิริยาที่เป็นไป อาการสืบเนื่องกัน ความ
ดำเนินไป ความหล่อเลี้ยง ชีวิต ชีวิตินทรีย์ แห่งสภาวธรรมที่ไม่เป็นรูปเหล่านั้น
ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่าชีวิตินทรีย์ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น หรือสภาวธรรมที่ไม่เป็นรูปซึ่ง
อิงอาศัยกันเกิดขึ้นแม้อื่นในสมัยนั้น สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นอัพยากฤต
ขันธ์ ๔ อายตนะ ๒ ธาตุ ๒ อาหาร ๓ อินทรีย์ ๓ ผัสสะ ๑ ฯลฯ
จักขุวิญญาณธาตุ ๑ ธัมมายตนะ ๑ และธัมมธาตุ ๑ ในสมัยนั้น หรือสภาวธรรม
ที่ไม่เป็นรูปซึ่งอิงอาศัยกันเกิดขึ้นแม้อื่นในสมัยนั้น สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า
เป็นอัพยากฤต ฯลฯ
[๔๔๒] สังขารขันธ์ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ผัสสะ เจตนา เอกัคคตา และชีวิตินทรีย์ หรือสภาวธรรมที่ไม่เป็นรูปซึ่งอาศัย
กันเกิดขึ้นแม้อื่นในสมัยนั้น เว้นเวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ และวิญญาณขันธ์ นี้ชื่อว่า
สังขารขันธ์ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นอัพยากฤต
[๔๔๓] สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤต เป็นไฉน
โสตวิญญาณที่เป็นวิบาก สหรคตด้วยอุเบกขา มีเสียงเป็นอารมณ์เกิดขึ้น
ฯลฯ ฆานวิญญาณที่เป็นวิบาก สหรคตด้วยอุเบกขา มีกลิ่นเป็นอารมณ์เกิดขึ้น ฯลฯ
ชิวหาวิญญาณที่เป็นวิบาก สหรคตด้วยอุเบกขา มีรสเป็นอารมณ์เกิดขึ้น ฯลฯ
กายวิญญาณที่เป็นวิบาก สหรคตด้วยสุขเวทนา มีโผฏฐัพพะเป็นอารมณ์เกิดขึ้น


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๑๒๖ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๑. จิตตุปปาทกัณฑ์] อัพยากตบท กามาวจรวิปากจิต ปัญจวิญญาณที่เป็นกุศลวิบาก
เพราะได้กระทำได้สั่งสมกามาวจรกุศลกรรมไว้ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ เวทนา
สัญญา เจตนา จิต สุข เอกัคคตา มนินทรีย์ สุขินทรีย์ และชีวิตินทรีย์ ก็เกิดขึ้น
หรือสภาวธรรมที่ไม่เป็นรูปซึ่งอิงอาศัยกันเกิดขึ้นแม้อื่นในสมัยนั้น สภาวธรรมเหล่า
นี้ชื่อว่าเป็นอัพยากฤต
[๔๔๔] ผัสสะ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
การกระทบ กิริยาที่กระทบ กิริยาที่ถูกต้อง ภาวะที่ถูกต้องที่เกิดขึ้น ในสมัย
นั้น นี้ชื่อว่าผัสสะที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[๔๔๕] เวทนา ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ความสำราญทางกาย ความสุขทางกาย อันเกิดแต่สัมผัสแห่งกายวิญญาณ-
ธาตุที่เหมาะสมกัน ความเสวยอารมณ์ที่สำราญเป็นสุข อันเกิดแต่กายสัมผัส กิริยา
ที่เสวยอารมณ์ที่สำราญเป็นสุข อันเกิดจากกายสัมผัส ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่าเวทนา
ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[๔๔๖] สัญญา ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ความจำได้ กิริยาที่จำได้ ภาวะที่จำได้ อันเกิดแต่สัมผัสแห่งกายวิญญาณธาตุ
ที่เหมาะสมกัน ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่าสัญญาที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[๔๔๗] เจตนา ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ความจงใจ กิริยาที่จงใจ ภาวะที่จงใจ อันเกิดแต่สัมผัสแห่งกายวิญญาณธาตุ
ที่เหมาะสมกัน ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่าเจตนาที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[๔๔๘] จิต ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
จิต มโน มานัส หทัย ปัณฑระ มโน มนายตนะ มนินทรีย์ วิญญาณ
วิญญาณขันธ์ และมโนวิญญาณธาตุที่เหมาะสมกัน ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่าจิตที่เกิดขึ้น
ในสมัยนั้น
[๔๔๙] สุข ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ความสำราญทางกาย ความสุขทางกาย ความเสวยอารมณ์ที่สำราญเป็นสุข
อันเกิดแต่กายสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่สำราญเป็นสุข อันเกิดแต่กายสัมผัสใน
สมัยนั้น นี้ชื่อว่าสุขที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๑๒๗ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๑. จิตตุปปาทกัณฑ์] อัพยากตบท กามาวจรวิปากจิต ปัญจวิญญาณที่เป็นกุศลวิบาก
[๔๕๐] เอกัคคตา ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ความตั้งอยู่แห่งจิต ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่าเอกัคคตาที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[๔๕๑] มนินทรีย์ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
จิต มโน มานัส หทัย ปัณฑระ มโน มนายตนะ มนินทรีย์ วิญญาณ
วิญญาณขันธ์ และมโนวิญญาณธาตุที่เหมาะสมกัน ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่ามนินทรีย์
ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[๔๕๒] สุขินทรีย์ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ความสำราญทางกาย ความเสวยอารมณ์ที่สำราญเป็นสุข อันเกิดแต่
กายสัมผัส กิริยาที่เสวยที่สำราญเป็นสุข อันเกิดแต่กายสัมผัส ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่า
สุขินทรีย์ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[๔๕๓] ชีวิตินทรีย์ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
อายุ ความดำรงอยู่ ความเป็นไป กิริยาที่เป็นไป อาการที่สืบเนื่องกัน ความ
ดำเนินไป ความหล่อเลี้ยง ชีวิต ชีวิตินทรีย์ แห่งสภาวธรรมที่ไม่เป็นรูปเหล่านั้น
ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่าชีวิตินทรีย์ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น หรือสภาวธรรมที่ไม่เป็นรูป
ซึ่งอิงอาศัยกันเกิดขึ้นแม้อื่นในสมัยนั้น สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นอัพยากฤต
ขันธ์ ๔ อายตนะ ๒ ธาตุ ๒ อาหาร ๓ อินทรีย์ ๓ ผัสสะ ๑ ฯลฯ
กายวิญญาณธาตุ ๑ ธัมมายตนะ ๑ และธัมมธาตุ ๑ ในสมัยนั้น หรือสภาวธรรม
ที่ไม่เป็นรูปซึ่งอิงอาศัยกันเกิดขึ้นแม้อื่นในสมัยนั้น สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็น
อัพยากฤต ฯลฯ
[๔๕๔] สังขารขันธ์ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ผัสสะ เจตนา เอกัคคตา และชีวิตินทรีย์ หรือสภาวธรรมที่ไม่เป็นรูปซึ่ง
อิงอาศัยกันเกิดขึ้นแม้อื่นในสมัยนั้น เว้นเวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ และวิญญาณขันธ์
นี้ชื่อว่าสังขารขันธ์ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นอัพยากฤต
ปัญจวิญญาณที่เป็นกุศลวิบาก จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๑๒๘ }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๑. จิตตุปปาทกัณฑ์] อัพยากตบท กามาวจรวิปากจิต มโนธาตุที่เป็นกุศลวิบาก
มโนธาตุที่เป็นกุศลวิบาก
[๔๕๕] สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤต เป็นไฉน
มโนธาตุที่เป็นวิบาก สหรคตด้วยอุเบกขา มีรูปเป็นอารมณ์ ฯลฯ มีโผฏฐัพพะ
เป็นอารมณ์ หรือปรารภอารมณ์ใดๆ เกิดขึ้นเพราะได้ทำได้สั่งสมกามาวจรกุศล
กรรมในสมัยใด ในสมัยนั้นผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา จิต วิตก วิจาร อุเบกขา
เอกัคคตา มนินทรีย์ อุเปกขินทรีย์ และชีวิตินทรีย์ ก็เกิดขึ้น หรือสภาวธรรมที่ไม่เป็น
รูปซึ่งอิงอาศัยกันเกิดขึ้นแม้อื่นในสมัยนั้น สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นอัพยากฤต
[๔๕๖] ผัสสะ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
การกระทบ กิริยาที่กระทบ กิริยาที่ถูกต้อง ภาวะที่ถูกต้องที่เกิดขึ้น ในสมัย
นั้น นี้ชื่อว่าผัสสะที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[๔๕๗] เวทนา ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ความสำราญทางใจก็ไม่ใช่ ความไม่สำราญทางใจก็ไม่ใช่ อันเกิดแต่สัมผัสแห่ง
จักขุวิญญาณธาตุที่เหมาะสมกัน ความเสวยอารมณ์ที่ไม่ทุกข์ไม่สุข อันเกิดแต่
เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่ไม่ทุกข์ไม่สุข อันเกิดแต่เจโตสัมผัส ในสมัยนั้น
นี้ชื่อว่าเวทนาที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[๔๕๘] สัญญา ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ความจำได้ กิริยาที่จำได้ ภาวะที่จำได้ อันเกิดแต่สัมผัสแห่งมโนธาตุที่เหมาะ
สมกัน ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่าสัญญาที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[๔๕๙] เจตนา ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ความจงใจ กิริยาที่จงใจ ภาวะที่จงใจ อันเกิดแต่สัมผัสแห่งมโนวิญญาณธาตุ
ที่เหมาะสมกัน ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่าเจตนาที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[๔๖๐] จิต ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
จิต มโน มานัส หทัย ปัณฑระ มโน มนายตนะ มนินทรีย์ วิญญาณ
วิญญาณขันธ์ และมโนธาตุที่เหมาะสมกัน ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่าจิตที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[๔๖๑] วิตก ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๑๒๙ }


>>>>> หน้าต่อไป >>>>>





eXTReMe Tracker